Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คติชนในนวนิยาย

คติชนในนวนิยาย

Published by sukunyasopee, 2019-12-25 02:30:04

Description: คติชนในนวนิยาย

Keywords: คติชน

Search

Read the Text Version

138 พงศกรสร้างฉากบ้านวังพรายและฉายภาพความขัดแย้งระหว่างโรมกบั ขิมทอง เม่ือโรมกลับมาสรา้ ง ห้างสรรพสนิ ค้าขน้ึ ยงั หมู่บ้านวงั พราย หา้ งสรรพสนิ ค้าของโรมสรา้ งความฮือฮาให้กบั คนในพ้ืนท่ีเป็นอยา่ งมาก ดว้ ยเป็นห้าง ทนั สมยั แหง่ แรกย่านน้ี แรกที่รู้วา่ โรมก้าลงั จะท้าอะไร กา้ นันขล่ยุ กับลูกสาว และกรรมการหม่บู ้านอีกหลาย คนรวมพลังคัดค้านโครงการห้างสรรพสินค้าของเขาอย่างหัวชนฝา ด้วยเหตุผลท่ีว่า ห้างสรรพสนิ ค้าแหง่ น้ี ก้าลงั จะท้าลายวถิ ีชีวิตของคนในหม่บู ้านไปอย่างไม่อาจจะแก้ไข แล้วก็เป็นเชน่ น้นั จรงิ ๆ โรมไม่เคยสนใจค้าคัดค้านของคนในหมู่บ้าน นอกจากไม่สนใจแล้ว เขายังเดินหน้า ผลักดันโครงการต่อไปจนเป็นผลส้าเร็จ ด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาเอา ความเจริญทางด้านต่างๆ มาสู่ทอ้ งถิ่นและในขณะเดียวกัน ห้างสรรพสินค้าทเี่ ปดิ ขึ้นนี้ก็ จะน้ารายได้มหาศาลมาสู่เขาซ่ึงเป็นเจ้าของอีกด้วย ห้างสรรพสินค้าของโรมเจริญ กจิ การก้าวหน้าไปด้วยดีไม่หยดุ ย้งั หากคนที่ก้าลังจะแย่ คือ พ่อคา้ แมข่ ายรายเล็กๆ ท่ี เคยมีวถิ ชี วี ติ สงบสุขและเคยคา้ ขายกนั อย่แู ตใ่ นตลาดสด (พงศกร 2557ค, 44-45) ภาพความเลวรา้ ยของห้างสรรพสินค้าข้างต้นถ่ายทอดผา่ นสายตาของขมิ ทอง เพราะ ขิมทองเห็นว่า “เราอยู่ของเราแบบชาวบ้านชนบทมานาน ใครเล้ียงไก่ ก็เอาไก่เอาไข่มาขายที่ตลาด ใครมีผักมีปลาก็เอาปลามาขาย ได้ก้าไรนิดหนอ่ ยก็เก็บเอาไว้ใช้สอย ซ้ือข้าวซื้อของพอกนิ พอใช้ ตาม หลักเศรษฐกิจพอเพยี งเลยละฮะ แต่พอห้างเปิดตมู ขึ้นมา ระบบเศรษฐกจิ การตลาดรายยอ่ ยตายหมด” (พงศกร 2557ค, 122) ต่อมา การเล่าเรื่องในนวนิยายได้สลับมาเล่าผ่านมุมมองของโรมเพื่อชี้แจง เหตผุ ลทีเ่ ขาเลือกเปดิ ห้างสรรพสนิ คา้ ในตอนที่ผจู้ ัดการห้างสรรพสินค้าไดเ้ สนอให้โรมขยายกิจการไป อกี หลายสาขา โรมปฏิเสธ “ผมไม่อยากขยายสาขาไปที่ไหน เพราะท่ีท้านีก่ ็แค่อยากใหก้ ารค้าในตา้ บล ของผมเป็นระบบ มีสินค้าราคาถกู ใหซ้ ้อื กันโดยไม่ต้องเดินทางไปไหนไกลๆ คนแถวนม้ี งี านทา้ ไมต่ อ้ ง ไปท้างานในเมืองใหญ่ เป็นการกระจายรายได้สทู่ ้องถิ่น แต่อย่างนั้นกย็ ังมคี นไม่เข้าใจ ผมถึงไม่อยาก ขยายกจิ การไปไหนอกี ” (พงศกร 2557ค, 92) และในช่วงต่อมา โรมยังได้อธบิ ายสาเหตทุ เ่ี ขาเลอื กเปดิ ห้างสรรพสินคา้ ดว้ ยว่า เขาสังเกตเห็นคนรุ่นหนุ่มสาวมากมายท้ิงถ่ินฐานบ้านช่อง ทง้ิ พ่อแม่ผู้แก่ชราเพื่อเข้า ไปทา้ งานในเมืองใหญ่ อาจจะเปน็ เพราะเหตนุ ีล้ ะมงั ที่เขาคิดสรา้ งห้างสรรพสนิ คา้ ขน้ึ มา ถ้าเขาไม่ท้า อีกไม่นานก็จะมีนายทุนจากต่างชาติเข้ามาท้าและเม่ือนั้นทุกอย่างกจ็ ะ อยนู่ อกเหนือการควบคุม

139 อย่างน้อยในเวลาน้ี เขาก็กล้าพูดไดอ้ ย่างเต็มปากว่า ห้างสรรพสินค้าวังพรายของเขา สร้างงานให้กบั คนรนุ่ หนมุ่ สาวในหม่บู ้านไม่ต้่ากว่าหนึง่ ร้อยคน พวกเขาเหล่านัน้ ไมต่ ้องไปหางานที่ไหน ไมจ่ ้าเป็นต้องกระเสือกกระสนเข้าไปใช้ชีวิต ในเมืองใหญ่ โรมมั่นใจว่า พนักงานของเขาจะมีเงินเหลือมากกว่าพนักงานที่ท้างาน หา้ งสรรพสินคา้ ในเมืองใหญ่แน่ (พงศกร 2557ค, 129-130) ประเด็นท่ีน่าสนใจ คือ แม้ขิมทองกล่าวหาว่าโรมชักน้าคนในบ้านวังพรายไปสู่ระบบ ทุนนิยมซ่ึงท้าลายวิถีชีวิตด้ังเดิมของชาวบา้ น แต่ทว่าขิมทองกลับน้ารายการโทรทัศน์มาถ่ายรายการ พิสูจน์ผที ีบ่ ึงพรายเสียเอง และยังวางแผนหลอกผีใหร้ ายการโทรทศั นน์ ้าไปออกอากาศเพ่ือหวังว่าจะ นา้ รายไดเ้ ขา้ หมู่บา้ นจนน้ามาสู่ความวุน่ วายทเ่ี กดิ ขึ้นในหมูบ่ ้านตามมา “ขิมกไ็ มน่ กึ วา่ จะเปน็ นน้ี ฮี่ ะ” แมล่ กู สาวก้านนั ยังคงไม่ยอมแพ้ “ใครจะนึกว่าเขาจะ เอาไปออกรายการจริงๆ ล่ะ แต่ก็ดีนะฮะหลวงลุง หมู่บ้านเราดังระเบิดเลย แถม เศรษฐกี พ็ ลอยดไี ปดว้ ย คนงแี้ หก่ นั มาเท่ยี วบงึ พราย มาตลาดนดั ถลม่ ทลาย ขิมว่าถ้าดี แบบนี้ อีกหน่อยจะชวนพ่อก้านันเปิดบ้านพักแบบโฮมสเตย์เสียเลย จะได้กระจาย รายได้ให้คนในหมู่บ้าน เห็นไหมละฮะว่ามันไม่ได้เลวร้ายสักหน่อย มองอีกด้านก็มี ข้อดเี หมือนกันละ ของอะไรก็ตามแต่ก็เหมือนเหรียญละฮะหลวงลุง มสี องด้าน มดี า้ น รา้ ยกม็ ีดา้ นดี” “จ้าคา้ ของเอง็ เอาไว้ใหด้ ีนะไอข้ ิม” หลวงลงุ ย้อน “ฮะ หลวงลงุ วา่ ไงนะ” ขิมทองยังไมเ่ ข้าใจ “ก็ท่ีเอ็งบอกว่า ของทุกอย่างก็เหมือนเหรียญน่ันไง จ้าค้าของเอ็งเอาไว้ให้ดี ” หลวงพ่อถือโอกาสสอนเสียเลย “ที่เอ็งชอบไปปาวๆ เที่ยวด่าโรมเขาว่าเปิด หา้ งสรรพสินค้าในหมู่บ้าน ทา้ ใหร้ ะบบเศรษฐกิจ การคา้ ขายของชาวบ้านพังหมดน่ัน ไง ยังไงกอ็ ยา่ ลืมมองวา่ มันกม็ ดี า้ นดีเหมือนกัน” (พงศกร 2557ค, 183-184) กล่าวไดว้ ่า ฉากชนบทในวงั พญาพราย มใิ ชช่ นบทที่หยดุ น่ิง แตน่ วนยิ ายได้ฉายภาพ ให้เห็นสงั คมชนบททีเ่ ริ่มเปลยี่ นแปลงไปตามกระแสทุนนยิ ม โดยแสดงใหเ้ หน็ ความขดั แยง้ ระหวา่ งการ พัฒนากบั การรกั ษาวิถดี งั้ เดมิ ไว้ นอกจากนี้ นวนยิ ายของพงศกรไมไ่ ด้เพยี งฉายภาพวิถชี วี ิตท่ีเปลีย่ นไป เพราะระบบทนุ นิยมและความทันสมัยเท่านั้น แต่ได้น้าเสนอให้เหน็ ถงึ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ ก้าลังเปล่ียนไปอย่างน่าวิตก ดังเช่นในฤดูดาว สวนส้มของดร.สินธพได้เข้ามาเปล่ียนแปลง สภาพแวดลอ้ มและวถิ ีชีวติ ของชาวผาช้างรอ้ ง วันแรกท่ีหล่อนกลบั มาถงึ ผาช้างร้องน้ัน ดรสาได้แตต่ กตะลึงมองความเปลย่ี นแปลง ด้วยความไม่เชื่อในสายตาของตนเอง เพียงแค่ห้าปีท่ีหล่อนไม่ได้กลับบ้าน สภาพแวดลอ้ มของผาช้างร้องเปลยี่ นแปลงไปนานเกินกว่าทหี่ ล่อนจะคิดไปถงึ

140 ตอนที่หล่อนจากไปน้ัน ป่ายังเขียวชอุ่ม สองข้างถนนลูกรังยังมีล้าธารน้าสายเล็ก ไหลเย็น มาวันนี้ ล้าธารสายนนั้ หายไป ไมม่ แี ม้แตร่ ่องรอยว่าในบริเวณน้นั เคยมีธารน้า อยู่ ปา่ สเี ขยี วสองขา้ งทางหายไปหมด มแี ตด่ นิ แดงแหง้ แล้งจนฝุน่ กระจาย... หลอ่ นเหลอื บมองส้มสีทองทีอ่ อกลกู พราวเต็มต้นทร่ี ายเรียงอยู่สองข้างถนนท่ีรถวิ่ง ผ่านไป ก่อนจะหันไปมองชายวัยกลางคนท่ีขับรถให้หล่อน และเอ่ยกับเขาเสียงแผ่ว เบาว่า “อาซอง ท้าไมผาชา้ งร้องเปลี่ยนไปมากขนาดน้ี แคไ่ ม่กี่ปเี องนะเน่ีย” “โอ๊ย อน่ี าย” ชายชาวเย้าท่ที ้างานกับแมข่ องหล่อนมาตัง้ แตย่ ังเป็นเด็กชายพูดกับ หลอ่ นด้วยภาษากลางชดั ถอ้ ยชัดคา้ “รอใหถ้ งึ ไร่ก่อนเตอ๊ ะ อี่นายจะต้องตกใจ” “เปน็ ยงั ไงเหรอ” ดรสาทา้ หนา้ นวิ่ ในใจรสู้ กึ เป็นกงั วัลข้ึนมาทีเดียว “ก็ป่ารอบไร่ที่อี่นายชอบไปว่ิงเล่นและเก็บดอกเอื้องน่ันน่ะ กลายเป็นสวนส้มไป หมดแลว้ ” อาซองเลา่ ดว้ ยนา้ เสยี งรนั ทด (พงศกร 2555ข, 28-29) การเปล่ยี นแปลงทางสง่ิ แวดล้อมดังกลา่ วเป็นส่วนท่ีท้าให้ดรสาในฐานะนักอนุรักษไ์ ม่ พอใจและเปน็ สาเหตุใหด้ รสาผดิ ใจกบั สนิ ธพ จากทก่ี ลา่ วมาเหน็ ไดว้ ่า การเปลยี่ นแปลงท่เี กิดขน้ึ ในฉาก ท้ังจากการเปลีย่ นแปลงทางวิถชี วี ติ และสภาพแวดลอ้ มไดก้ ลายเป็นปัจจยั สา้ คัญทา้ ให้ ตัวละครเอกเข้า มาเก่ียวขอ้ ง การสรา้ งฉากสถานท่ใี ห้สะท้อนภาพความเปล่ียนแปลงเช่นนี้นา้ ไปสู่การน้าเสนอแนวคิด ซึ่งจะกล่าวถึงในบทถัดไป (4) บทบาทเป็นสญั ลกั ษณ์ใหต้ ัวละครเรียนรู้ ฉากสถานที่ยังเป็นสัญลักษณ์ (symbol) หมายถึง ฉากท่ีปรากฏในเรื่องเป็นตัวแทน ของนามธรรมหรอื แนวคดิ ท่ีพงศกรแฝงไว้ใหผ้ อู้ ่านตีความ โดยการเดินทางเขา้ ไปในสถานทแี่ ตล่ ะแห่ง ท้าให้ตัวละครพบเห็นสิ่งต่างๆ ท่ีน้าไปสู่การเรียนรู้ ดังเช่นการเดินทางในเร่ืองคชาปุระ- นครไอยรา พงศกรสรา้ งฉากเมอื งคชาปุระใหแ้ ยกออกมาจากโลกปจั จบุ นั เหมือนเมอื งลบั แล แต่ “ถึงคชาปุระของ เราจะแยกออกมาจากโลกภายนอกเหมอื นกบั เปน็ เมอื งลบั แล แต่เมอื งของเราก็ไมไ่ ดบ้ า้ นเมืองเถอื่ นนะ จ๊ะ...พวกเรารู้ทุกอย่างละ เพียงแต่เราไม่ได้ลุ่มหลงไปกับมายาเหลา่ นั้น คชาปุระเลือกท่ีจะอยู่อยา่ ง พอเพยี งเชน่ น้ีเอง” (พงศกร 2557ข, 60) ภาพของเมอื งคชาปุระท่ีตวั ละครผเู้ ดนิ ทางจากภายนอกพบ เห็นลว้ นแล้วแต่เป็นภาพอุดมคติของการอนรุ ักษ์ในทุกด้าน นอกจากต้นไม้ท่ีร่มคร้ึมปกคลุมเมือง หนูน้อยนิ้งโหน่งสังเกตเห็นว่าบ้านทุกหลัง ของคชาปรุ ะสร้างขึ้นมาจากดิน ภายในจึงเย็นสบายจนไมต่ ้องใชเ้ คร่ืองปรับอากาศ ยามกลางคืนก็เก็บความร้อนให้ความอบอุ่นได้เป็นอย่างดีย่ิง แถมบนหลังคาของ บา้ นแตล่ ะหลงั จะมีแผ่นโซลารเ์ ซลล์ส้าหรับเป็นแหลง่ พลงั งานในบ้าน ทแ่ี ทรกอยู่ใน หมู่ไม้เป็นกังหันลมขนาดใหญ่จ้านวนมาก ส้าหรับเป็นแหล่งพลังงานของเมือง เช่นกัน คามินรู้สึกท่ึงเพราะคชาปุระใช้พลังงานจากลม แสงอาทิตย์และน้าเท่านัน้ ไม่มีพลังงานจากถา่ นหินเลย! (พงศกร 2557ข, 102)

141 อัยย์ประมวลได้ในชั่วพริบตาว่าเมืองแห่งน้ีเป็นกรีนซิตี้ เมืองสีเขียวท่ีปรับการ ด้าเนินชีวิตประจ้าวันให้เข้ากับส่ิงแวดล้อมและสภาพธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน พลังงานทั้งหมดในเมืองมาจากธรรมชาติ ไม่ใช่ถ่านหินหรือคาร์บอนเหมือนอย่าง เมืองใหญ่ทีห่ ล่อนจากมานยิ มใชก้ ัน (พงศกร 2557ข, 133) การสรา้ งฉากอุดมคติผา่ นเมืองคชาปรุ ะสะท้อนส่งิ ท่โี ลกแห่งความเปน็ จรงิ ขาดหายไป คอื ผูค้ นขาดความตระหนักถงึ ส่ิงแวดล้อมรอบตวั เหตนุ ้ีพงศกรจึงต้องสรา้ งโลกอุดมคตเิ ปน็ สัญลกั ษณ์ ให้ตัวละครจากโลกปัจจุบันเดินทางเข้ามาเรียนรู้ เพราะ “คชาปุระไม่อาจจะช่วยให้โลกรอดพ้นจาก วิกฤติโลกร้อนได้ แต่คชาปุระเป็นเมืองตัวอย่างให้ได้เห็นต่างหากว่า ในภาวะที่โลกบอบช้าจากการ กระท้าของมนุษย์ จนส่งผลให้เกิดการเปลยี่ นแปลงของสภาพแวดลอ้ มอยา่ งมากมาย มนุษย์ทัง้ หลาย จะปรับตวั ปรับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ให้กลมกลนื กบั ธรรมชาติได้อย่างไร” (พงศกร 2557ข, 105) อย่างไรก็ดี การเรียนรู้จากเมืองคชาปุระมิได้มีเพียงการเรียนรู้เฉพาะด้านดีเท่าน้ัน เพราะตัวละคร ภายในเมืองคชาปรุ ะก้าลงั เขา้ สู่สงครามกลางเมอื งจากการแย่งชงิ อ้านาจในหมู่ผู้ปกครอง เหตกุ ารณ์นี้ ท้าใหผ้ ู้อา่ นเห็นภยั ท้งั สองด้าน คือ ภัยจากสงครามกบั ภัยธรรมชาตทิ ีก่ ้าลงั เกิดขึ้นพรอ้ มกันและแสดง ให้เห็นว่า ภัยธรรมชาติเป็นภัยที่น่าหวาดหว่ันมากกว่าภัยจากสงครามที่มนุษย์มัวแต่ให้ความสนใจ เพ่ือให้ผู้อ่านย้อนกลับมาคิดทบทวนว่า หากมนุษยส์ นใจแต่เรือ่ งอา้ นาจแลว้ วันหนึ่งเมื่อภัยธรรมชาติ มาถงึ แล้วทุกคนไมร่ ่วมมือกนั ทกุ คนยอ่ มเดอื ดร้อน ขณะท่ฉี ากเมืองคชาปุระเป็นตน้ แบบการอนรุ ักษ์ธรรมชาติ ฉากปราสาทปกั ษาจา้ จอง และหมู่บ้านชาวกูยในสร้อยแสงจันทร์ ต่างเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงคุณค่าของวัฒนธรรมโบราณ กล่าวคอื ตวั ปราสาทปักษาจ้าจองและหมู่บ้านปักษานั้น มีบทบาทสา้ คัญยิ่งในฐานะเครื่องแสดงความ เก่าแก่ของวัฒนธรรมโบราณ แม้ไม่อาจเรียกไดว้ ่าเปน็ “ไทย” แต่พงศกรได้เสนอวา่ ดินแดนแถบนี้มี วัฒนธรรมรว่ มกันมา คนสมยั หลงั ต่างหากที่มาแบ่งเขตแดนกัน ความเก่าแก่ของปราสาทและหมู่บ้าน ยังเชือ่ มโยงกับความลกึ ลบั ไม่วา่ จะเปน็ การปรากฏตัวของนกกีรณะในปราสาท ของวเิ ศษอย่างอัญมณี สร้อยแสงจนั ทร์ สว่ นหมบู่ า้ นเมืองปักษา พงศกรได้เล่าภาพด้านบวกของหมู่บ้านออกมาด้วยความเป็น มิตรของผู้คนและใช้พิธีกรรมเชื่อเชื่อมโยงตัวละครจากภายนอกกับภายในให้มีความรู้สึกเป็นพวก เดียวกัน ดังจะเหน็ ว่า พุทธิรู้สึกกลมเกลยี วกับชาวกยู เป็นอย่างดี หรือกระทั่งเดือนเตม็ ดวงที่สามารถ เขา้ รว่ มพธิ ีของชาวบา้ นไดโ้ ดยไมร่ ้สู กึ แปลกแยก ความอบอนุ่ ท่เี กดิ ขึ้นน้ี พงศกรไดเ้ นน้ ยา้ ผ่านตวั ละคร เอกท้งั สองตัว แม้ฉากจะเตม็ ไปดว้ ยความลึกลบั จากสิง่ เหนอื ธรรมชาติ แตฉ่ ากหมู่บา้ นปกั ษากลบั เปน็ พน้ื ที่ใหค้ วามปลอดภยั แก่ตัวละครเอก อนั สง่ ผลไปส่กู ารมองเห็นคุณคา่ ของวฒั นธรรมโบราณและการ อนรุ ักษ์วัฒนธรรมในสงั คมปัจจบุ นั ในกหุ ลาบรตั ตกิ าล “คุ้มคีรคี ้า” เป็นสญั ลกั ษณ์ทแ่ี สดงตัวตนของเจา้ นาย ไทใหญ่พลัด ถน่ิ การจ้าลองคุม้ แห่งน้ีแสดงความเป็นไทใหญแ่ ละแสดงสถานภาพเจ้านายในเวลาเดยี วกัน คมุ้ ครี คี ้า

142 มีบทบาทอย่างยง่ิ ท่ที ้าให้ภาวรี ทายาททไ่ี มเ่ คยรู้วา่ ตนมีสายเลอื ดไทใหญ่ไดก้ ลบั มาเรียนรูร้ ากเหงา้ ของ ตน เห็นได้ชัดจากตอนแรกภาวรปี ฏิเสธอัตลกั ษณ์ดังกลา่ ว จากการท่ีหลอ่ นตัดสนิ ใจจะขายคุ้มแหง่ น้ี เพือ่ แลกกบั เงินกอ้ นใหญ่ หากเมื่อหล่อนเริ่มพบสิง่ ทีซ่ ุกซ่อนอยู่ในคุ้มแหง่ นี้มากข้ึนเร่อื ยๆ ภาวรไี ดเ้ ริ่ม ซึมซบั อัตลักษณ์ไทใหญ่จนกระทั่งในตอนท้ายของเร่อื ง ภาวรีจึงตดั สนิ ใจไมข่ ายค้มุ แห่งน้ี การจบเรอื่ ง จากการเปล่ียนใจไม่ขายคุ้มก็เท่ากบั การเปลย่ี นจากการปฏิเสธสู่การยอมรับอตั ลักษณ์ไทใหญว่ ่าเป็น ส่วนหนงึ่ ในตัวของหล่อน ส่วนในเคหาสน์นางคอย คฤหาสน์นางคอยถือเป็นสัญลักษณ์ของ “อ้านาจที่ไม่เป็น ธรรม” เหน็ ได้จากการกระทา้ ของประเวศนก์ ับประกาศิตทีท่ ารณุ ประพมิ พรรณอย่างหนักเพ่อื ให้บอก ที่ซ่อนเพชรสีชมพู ความรุนแรงที่เกิดในบ้านกินเวลายาวนานมากกว่าย่ีสบิ ปีกว่าเรอ่ื งราวจะกระจา่ ง คฤหาสน์นางคอยจงึ เปน็ ตัวแทนของอ้านาจท่ไี ม่เปน็ ธรรมซ่ีงหน่วงเหนยี่ วอสิ รภาพของประพมิ พรรณไว้ การใชฉ้ ากเป็นสญั ลักษณแ์ ทนความไม่เปน็ ธรรมยงั สอดคล้องกบั การสรา้ งฉากสถานทีใ่ นนวนยิ ายของ พงศกรเรือ่ งอืน่ ดังที่ชุติมา ประกาศวุฒิสาร (2556, 11) วิเคราะห์มติ ิสถานท่ใี นนวนิยายของพงศกร เร่ืองเพรงสนธยาไว้ประเด็นหน่ึงว่า ฉากสถานทใี่ นเพรงสนธยาเปน็ “บา้ นผีสิง” ทม่ี วี ิญญาณออกมา หลอกหลอนคนในบา้ น ทา้ ให้บ้านท่ีควรมคี วามอบอ่นุ กลับมีส่ิงแปลกปลอมอาศยั อยู่ และเมอ่ื ตวั ละคร สืบหาความจริงจนพบวา่ วิญญาณที่ปรากฏตวั เกิดจากการฆาตกรรมในบ้านหลงั นี้ วิญญาณท่ีปรากฏ จึงเปรียบเหมือนกับการทวงคืนความเป็นธรรมท่ีหล่อนโดนกระท้า หากมองในแนวทางนี้ ฉาก คฤหาสน์นางคอยนับว่าไม่ต่างจากบ้านผีสิง เพียงแต่ในเคหาสน์นางคอยประพิมพรรณไม่ได้เป็น วิญญาณ หากประพิมพรรณสามารถหลอกหลอนคนในบ้านให้หวาดกลัวกับความผิดและต้องคอย ปกปิดการกระท้าผิดของพวกเขา จนเม่ือกุ้งซึ่งเข้ามาพบประพิมพรรณเป็นผู้ช่วยเหลือให้ ประพิมพรรณได้รับความเป็นธรรมและในตอนจบ ห้องใต้ดินซ่ึงเป็นหอ้ งคุมขังถลม่ ลงพรอ้ มกับการ ตายของตัวละครปฏิปักษ์ท้ังหมด เหตุการณ์นี้เท่ากับเป็นการปดิ ฉากการกักขังและสะท้อนว่าความ เป็นธรรมไดก้ ลับคนื มาแล้วนั่นเอง โดยสรปุ แลว้ ฉากสถานทใ่ี นนวนยิ ายของพงศกรมักเปน็ พื้นท่ีหา่ งไกลจากความรบั รู้ แยก เป็นเอกเทศ โดยมีสถานที่จริงเป็นจุดอ้างอิงให้ผู้อา่ นกา้ หนดท่ีต้ังของพ้ืนท่ีในความคิดและพงศกรได้ จนิ ตนาการฉากหลักของเรอื่ งควบคกู่ บั การนา้ เอาขอ้ เทจ็ จรงิ จากสถานที่จรงิ เขา้ มาผูกโยง ฉากสถานท่ี เหล่าน้ีมีบทบาทต่อการเปิดพ้ืนท่ีให้เร่ืองราวที่ดูเหลือเช่ือเกิดข้ึนได้อย่างสมจริง น้าเสนอภาพการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและส่ิงแวดล้อม และยังเป็นสญั ลกั ษณ์ให้ผู้อา่ นตีความไปพร้อมกนั บทบาท ท้ังหมดน้ีล้วนแล้วแต่เอื้อให้ตัวละครผู้เดินทางเกิดการเรียนรู้ ฉากสถานที่จึงเป็น “พ้ืนที่แห่งการ เรียนรู้” เพราะไม่ว่าจะเป็นส่ิงท่ีเหนือธรรมชาติ ความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดข้ึนหรือ อุดมคติที่ตวั ละครพบกล็ ว้ นแลว้ แต่กระต้นุ ให้ตวั ละครเกดิ กระบวนการเรียนรแู้ ละพบค้าตอบในท่สี ุด

143 3.3.1.2 การสรา้ งฉากสถานทเ่ี พอ่ื นา้ ไปสกู่ ารเรียนรจู้ ากเรอื่ งเลา่ เชงิ คติชน การสร้างฉากสถานท่ใี นนวนิยายของพงศกรเชื่อมโยงกับเรื่องเล่าเชิงคติชนอย่างเด่นชัด เพราะฉากสมมติท่ีห่างไกลเหล่านี้มีเร่ืองเล่าเชิงคติชนอธิบายความเป็นมาอยู่แทบทุกเรื่อง บางเรื่องมีเร่ืองเล่าในครอบครัวที่ช่วยอธิบายความส้าคัญของฉากให้เด่นชัด ส่วนเรื่องเล่าเก่ียวกับ ต้านาน โดยเฉพาะตา้ นานน้าทว่ มโลกมสี ว่ นน้ามาสร้างฉากเมืองสมมติดว้ ย เร่ืองเล่าเชงิ คติชนเหล่านี้ จึงมีบทบาทต่อการสร้างลกั ษณะฉากให้มีความพิเศษ และน่าสังเกตว่า ฉากสถานท่ีในนวนิยายของ พงศกรยงั นา้ เอาสถานที่เดยี วกับทีก่ ล่าวถึงในเรอื่ งเลา่ เชิงคติชนกลุ่มเรอ่ื งเล่าทอ่ี ธบิ ายความเป็นมาของ สถานที่และเร่ืองเลา่ ในครอบครัวมาสร้างฉากสถานท่ีในนวนิยาย ฉากดังกล่าวได้วนกลบั มาเป็นฉาก สถานท่ีในจุดสูงสุดของความขัดแย้งเพอื่ ใหต้ ัวละคร เหตุการณ์และสถานท่เี ดิมวนกลบั มาบรรจบกนั ขณะท่ีพงศกรได้น้าต้านานน้าท่วมโลกมาสร้างฉากเมืองคชาปุระเพ่ือเป็นตัวแทนของการอยู่ร่วมกับ ธรรมชาติ แต่หากสังเกตฉากที่ปรากฏระหว่างการเดินทางของตัวละครจะพบว่า ฉากสถานท่รี ะหว่าง การเดนิ ทางมีทศิ ทางมุ่งไปขา้ งหน้าท่ีค่อยๆพฒั นาไปสอู่ ุดมคติของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ดังนี้ (1) การสร้างฉากสถานที่ในนวนยิ ายให้วนกลบั มายังสถานที่เดยี วกบั เรือ่ งเล่าเชิงคตชิ น ฉากหลักในนวนยิ ายของพงศกรมกั อิงกับเรอ่ื งเล่าเชิงคตชิ นทอ่ี ธิบายความเป็นมาของ สถานท่ี ท้าให้ฉากสถานท่ีในนวนิยายมคี วามเปน็ มาเฉพาะที่แตกต่างจากสถานทีอ่ นื่ ตัวอย่างเช่น ใน วงั พญาพราย เร่ืองเล่าเวยี งพรายทา้ ให้บึงพรายมคี วามลึกลบั และมีท่มี าท่ไี ปมากกวา่ บึงน้าธรรมดา ใน ฤดูดาว เรือ่ งเล่าเวียงแสนเพง็ ช่วยอธบิ ายว่าเหตุใดชาวเยา้ ในหมู่บา้ นผาชา้ งร้องจึงต้องปักหลกั อยู่ในผา ช้างร้อง ไม่ย้ายไปที่อื่น ขณะเดียวกันเร่ืองเล่าเวียงแสนเพง็ น้ีกย็ ังช่วยบง่ บอกความเป็นมาของความ เช่ือต่างๆ ของชาวเย้าในผาช้างร้องเกี่ยวข้องกับเรือ่ งเลา่ เวียงแสนเพ็งด้วย และในเคหาสน์นางคอย เรื่องเล่าเกี่ยวกับโจรสลัดกบั เจา้ หญงิ ช่วยให้ฉากสมมติบ้านนางคอยปรากฏชัดเจนและมมี ิติมากย่ิงข้ึน เพราะเร่ืองเล่าได้เพ่มิ มิติความเช่ือและวถิ ปี ฏิบตั ิของคนในแถบนั้นที่ผกู พนั กบั เรือ่ งเล่า เชน่ “เจ้าหญิง จะมานัง่ รอท่ีโขดหนิ นี้จนกระท่งั สิน้ ใจตาย และตรงจดุ นีเ้ ชอื่ ว่าเปน็ ท่ซี ง่ึ เจ้าหญงิ เดวสี นิ้ พระชนม์น่ันเอง ...คุณปู่ของพินรชี ว่ ยกันกับชาวบ้านสรา้ งรูปปัน้ ของเจา้ หญิงเอาไว้เหนอื หน้าผาเมอ่ื หลายสิบปกี ่อน […] ในแต่ละวนั จึงมีชาวเรือและชาวบ้านนางคอยน้าพวงมาลยั ดอกตนั หยงมาสักการบูชาเจา้ หญิงเดวีเพื่อ ขอพรให้ท่านคุ้มครองเสมอๆ” (พงศกร 2556, 41) และเรื่องเล่าเก่ียวกับโจรสลดั ยังมีส่วนเน้นภาพ ของบ้านนางคอยซ่ึงพงศกรก้าหนดให้เปน็ พื้นทแี่ ถบชายฝ่ังทะเลท่ีติดกับชายแดนไทยกับมาเลเซียได้ ชดั เจนมากขน้ึ การอ้างอิงเรอื่ งเล่าเชิงคติชนที่อธิบายความเป็นมาของสถานที่สง่ ผลใหก้ ารสร้างฉาก สมมตติ ่างๆ มีความสมเหตุสมผลมากขน้ึ ดังเชน่ ในเรอ่ื งเบอ้ื งบรรพ์ ฉากหลักของเรื่องไดอ้ งิ สถานทจี่ รงิ คอื หนองหานกมุ ภวาปี ส่วนฉากสมมตคิ อื ฉากโพรงใต้ดินทวี่ รัณพบเมอื งเอกทะชิตา พงศกรไดเ้ ลือก

144 “ดอนแม่ม่าย” ซึง่ กล่าวถึงไวใ้ นนิทานประจา้ ถนิ่ อีสานมาจินตนาการใหเ้ ปน็ ฉากเชื่อมโยงไปสู่เมืองเอก ทะชิตา เพราะจากนิทานเราจะทราบว่าบ้านแมม่ ่ายเปน็ พื้นท่เี ดียวทไ่ี ม่ล่มลงกลายเป็นหนองน้า เมื่อ เป็นเช่นน้ันย่อมหมายความว่า หากนิทานผาแดงนางไอ่เป็นเร่อื งจรงิ ดอนแม่ม่ายย่อมเป็นหลักฐาน เดียวที่หลงเหลือจากสมยั เมอื งเอกทะชิตา การขุดค้นกลับไปยังเมืองเอกทะชิตาจึงควรเรม่ิ จากดอน แมม่ า่ ย “มนี วา พเ่ี ชอื่ วา่ ดอนสวนเป็นบริเวณปากทางเข้าเมืองเอกทะชติ า” วรณั ยิ้มกว้าง “เพราะแผ่นศิลาแลงท่ลี ้าดวนขุดพบนน้ั เป็นแผ่นจารึกท่ีประตูเมอื ง” “อะไรนะ พแี่ มค” นวาระตาโต “ง้นั เราก็เจอเมอื งแล้วนะสิ” “ยังหรอกวา น่ีเป็นเพียงทางเข้าเมืองเท่านั้น พ่ีเชื่อว่า เวลานี้เรามาถูกทางแล้ว ใตด้ อนสวนลงไปเปน็ ทางเข้าเมืองแน่นอน เพราะตลอดเวลาท่ีขดุ มา พ่พี บศลิ าแลงท่ี เปน็ สว่ นของก้าแพงเมืองมากมาย แตไ่ ม่เคยมีศลิ าชิน้ ไหนเหมอื นชิน้ วนั นีม้ าก่อน” “ที่ศลิ า จารกึ อะไรไวบ้ า้ งคะพแ่ี มค” มนี ถามดว้ ยความสนใจ “พี่ยังอ่านไม่หมด แต่สองสามบรรทัดแรกเขียนไว้ว่า ...เบิ่งปากทางเข้า...ในเมือง แสงสว่าง...ตามฮมิ ทางเดิ่นกว้าง...” (พงศกร 2552, 80-81) เร่ืองเล่าในครอบครัวของภาวรีในกุหลาบรัตติกาล ก็คล้ายคลึงกับเร่ืองเล่าท่ีอธิบาย ความเป็นมาของสถานท่ี เพราะเรื่องเล่าภายในครอบครวั ได้อธิบายความเป็นมาของฉากสถานท่ี ให้ ความหมายแก่คุ้มคีรีค้าให้เป็นมากกว่าอาคารหลงั หน่ึง อีกทั้งเรื่องเลา่ ในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการ ลภี้ ัยทางการเมอื งจากเมอื งยอ้ งห้วย การจ้าลองหอคา้ จากเมอื งยองห้วยมาสร้างเปน็ คมุ้ คีรคี ้า ตลอดจน หลกั ฐานเก่ยี วกับบรรพบุรุษทภ่ี าวรีค้นพบในคุ้มแห่งน้มี ีสว่ นย้อนกลับมาช่วยสง่ เสรมิ ฉากค้มุ ครี คี ้าว่ามี “ราก” และเป็นรากทีส่ ัมพันธ์กับภาวรดี ้วย น่าสนใจว่า การน้าเสนอฉากสถานท่ใี นจุดสงู สุดของความขัดแย้ง หลังจากท่ีตัวละคร ได้เดินทางค้นหาและค้นพบ พวกเขาได้วนกลับมายังสถานทเี่ ดียวกับฉากสงู สุดในเร่อื งเล่าเชิงคตชิ น ได้แก่ ในเบ้ืองบรรพ์ พื้นที่หนองหานเป็นฉากท่ีมีนเคยก่อกรรมในอดีตชาติและเป็นฉากท่ีมีนมาขอ อโหสิกรรมเพ่ือยุติความขัดแย้งในปัจจุบัน ในสร้อยแสงจันทร์ พุทธิกับเดือนเต็มดวงกลับมายัง ปราสาทปกั ษาจ้าจองและเปน็ การเดินทางกลบั มายงั สถานท่ีนก้ี ็ถือปลดปล่อยนกกรี ณะให้พ้นคา้ สาป หลงั จากพวกเขาหนตี ามกันไป วงั พญาพราย โรมกับขมิ ทองได้กลบั มาเผชญิ หน้าเรืองแสงฟา้ บนพน้ื ท่ี ที่บงึ พรายซ่งึ เคยเปน็ เวียงพรายมาก่อน ท้งั คไู่ ดย้ ตุ คิ วามเข้าใจผิดและความอาฆาตของเรอื งแสงฟ้าลง ฤดูดาว ดรสาได้กลบั ไปยังเวียงแสนเพ็งซึง่ อดีตชาติของหล่อนในฐานะดารกาประกายได้ก่อกรรมกบั เอื้องแสนเพ็งและแถนเมืองแมนไว้ กล่าวได้ว่า ฉากสถานที่ในนวนิยายได้ล้อกับฉากในเรื่องเล่าเชิง คติชนกลุ่มอธิบายความเป็นมาของสถานท่ี โดยการเดินทางของตัวละครท้าให้พวกเขาวนกลับมายัง ฉากดังกล่าว การวนกลับมายังฉากเดิมเกิดข้ึนพรอ้ มกับเหตุการณ์วนกลับท่ีเกิดข้ึนนมี้ ีลกั ษณะคล้าย

145 “วัฏจกั ร” ท่เี อื้อให้ตัวละครเอกเหน็ ทั้งเรื่องเดิมในสถานท่เี ดิม เพื่อเปน็ บทเรียนใหต้ ัวละครยตุ เิ รื่องราว ความขัดแย้งในอดีตลง (2) การสรา้ งฉากอุดมคตจิ ากเรอื่ งเล่าเชิงคตชิ นเกี่ยวกบั ต้านานนา้ ทว่ มโลก ในคชาปุระและนครไอยรา พงศกรได้ใชเ้ รื่องเล่าเชิงคติชนกลุ่มตา้ นานน่ันคือ ต้านาน น้าท่วมโลก มาสร้างเป็นเมืองคชาปรุ ะ โดยการใช้ต้านานน้าท่วมโลกมีบทบาทแตกตา่ งไปจากการใช้ เรือ่ งเล่าเชิงคตชิ นตามหวั ขอ้ ทผ่ี ่านมา กล่าวคือ ตา้ นานน้าท่วมโลกมักไม่เจาะจงว่าพืน้ ทใ่ี ดเกดิ น้าท่วม หากพูดโดยภาพรวมถงึ “น้าท่วมโลก” ทเ่ี ปน็ สากล สว่ นเร่ืองเลา่ ทอ่ี ธบิ ายความเป็นมาของสถานท่ีต่าง มีเนอ้ื หาอธิบายเชื่อมโยงกับสถานท่ใี ดสถานทหี่ น่งึ โดยเฉพาะ เชน่ นิทานผาแดงนางไอ่ผูกติดกบั หนอง หาน เป็นต้น โดยนัยน้ี เม่ือพงศกรใช้ต้านานน้าท่วมโลกมาสร้างเป็นนวนิยาย นัยยะของต้านาน น้าท่วมโลกจงึ ไม่ได้เช่ือมโยงกับฉากสถานทีห่ นึ่งโดยเฉพาะดงั เช่นในนวนยิ ายเรอ่ื งอื่นๆ แต่ต้านานนา้ ท่วมโลกไดส้ ะทอ้ นภยั ท่ีเปน็ “ภยั สากลของมนุษยชาติ” ซึ่งก้าวขา้ มพรมแดนของพ้นื ทีใ่ ดพืน้ ท่หี นึ่งอัน กระทบต่อมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน หรือกล่าวอีกนัยหน่ึงว่า ขณะท่ีพงศกรใช้เร่ืองเล่าท่ีอธิบายความ เป็นมาของสถานท่ีและเร่ืองในครอบครัวมาเชื่อมโยงปมปัญหาท่ีเกิดข้ึนในพื้นท่ีหน่ึงๆ ส่วนการใช้ ต้านานน้าท่วมโลก พงศกรได้น้าเสนอให้เหน็ ถึงภัยสากลร่วมกนั ของมนษุ ย์ในปัจจบุ นั โดยน้าต้านาน มาตีความเปน็ ฉากเมืองคชาปรุ ะให้เห็นทง้ั การเตรยี มภัยและการเผชญิ ภัย พ ง ศ ก ร น้ า เ อ า ต้ า น า น เ รื อ โ น อ า ห์ ม า ใ ช้ ส ร้ า ง ฉ า ก เ มื อ ง ค ช า ปุ ร ะ ห ล า ย มิ ติ เห็นได้ชัดจากฉากเรือขนาดใหญ่กลางเมืองคชาปุระซึ่งชาวเมืองสร้างข้ึนเพ่ือเตรียมพรอ้ มรับมือภยั ธรรมชาติ เรอื ขนาดใหญล่ ้าน้มี ลี กั ษณะทพี่ อ้ งกับเรือโนอาห์ในต้านานน้าท่วมโลก ส่งิ ทคี่ ามินรูส้ กึ ท่ึงที่สดุ กค็ ือ เรือโนอาห์ ท่ีอยู่ตรงเชงิ เขาใกลก้ ับทางข้นึ สูว่ ิหารไอยรา ที่จริงไม่มีใครในคชาปุระเรียกสถานท่ีแห่งนี้ว่าเรือของโนอาห์หรอก ทุกคนเรียก อาคารไม้ขนาดใหญ่ท่ีมีรูปร่างเหมอื นเรือยักษ์ที่มีสัตว์มากมายหลายชนิดอย่างละหนึ่ง ถงึ สองคู่อาศยั อยู่ในน้ันว่า สวนสัตว์ แต่หนนู อ้ ยนง้ิ โหน่งอยากจะเรียกมันว่า เรือโนอาห์ เพราะดแู ล้วไม่ตา่ งอะไรกบั เรอื ยักษใ์ นต้านานน้าท่วมโลก “เจ้าหลวงพระองค์ก่อนทรงสร้างเอาไว้เตรยี มความพร้อมสา้ หรับน้าท่วมโลกที่ก้าลัง จะเกดิ ขนึ้ ในอนาคต มีพระราชด้ารัสใหส้ ร้างอาคารเรือยักษ์น้ขี ึ้นมา พร้อมกับรวบรวม สิ่งมีชีวิตทุกชนิด พืชและสัตว์อย่างละหนึ่งถึงสองคู่เพ่ือท่ีวันหนึ่งหากเกิดน้าท่วมโลก ข้ึนมาจริง เผ่าพันธุ์ส่ิงมีชีวิตทั้งหลายจะยังคงอยู่รอดต่อไป เรามีทุกอย่างพร้อมสรรพ ภายในอาคารแหง่ นี้ ไม่วา่ จะเปน็ อาหารหรือยา สามารถอยไู่ ดเ้ ป็นปีๆ โดยไม่เดอื ดร้อน เมอื่ น้าท่วมใหญ่สงู ข้ึน อาคารกจ็ ะลอยออกมาจากฐานทต่ี ้ังลอยอยู่ในน้าเหมือนกับเรือ ขนาดใหญ่” คุณพระนมเลา่ ถงึ เรอ่ื งน้าท่วมโลกและแผนเตรียมความพร้อมของชาวคชา ปุระด้วยน้าเสียงธรรมดา เหมือนกับเอ่ยว่าเช้าวันนี้ฝนตก บ่ายวันน้ีแดดออกอย่างไร อยา่ งนั้น (พงศกร 2557ข, 103)

146 ข้อความขา้ งตน้ สะท้อนการเตรยี มความพรอ้ มของชาวเมอื งว่าเป็นเร่ืองปกติ อกี ทงั้ จะ เห็นว่าฉากเมืองน้ีไม่ได้เป็นเมืองที่ล้าหลัง พงศกรได้สอดแทรกวิทยาการท่ีเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ ส่ิงแวดล้อมไว้ตลอด ท้ังเพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่านและย้าให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ใช้วิทยาการ ความก้าวหน้ามาใช้เพือ่ เตรยี มพร้อมรบั มือภยั ธรรมชาติ เช่น “ธนาคารเมล็ดพชื ” คุณพระนมพาหนนู ้อยนิง้ โหน่งเดินเล้ียวซ้ายเล้ียวขวาอยา่ งผู้ชา้ นาญผ่านประตูหลาย บาน แต่ละบานมีเคร่ืองสแกนนิ้วมือควบคุม คุณพระนมต้องยกมือข้ึนแตะบนแผ่น กระจกใสหน้าประตูเสียก่อน จากนั้นเครื่องก็จะเริ่มสแกนลายน้ิวมือของคุณพระนม แลว้ บานประตูกจ็ ะเล่ือนออก เปดิ ทางให้คุณพระนมเดนิ น้าหนนู ้ิงโหนง่ เขา้ ไปได้ เหมือน หนังวทิ ยาศาสตร์อย่างไรอยา่ งนน้ั ! เขาอ้าปากค้างด้วยไม่คิดว่าจะได้พบกับเทคโนโลยีสูงล้าในอาคารแห่งนี้ ความเรียบ ง่ายกบั ความซับซ้อนของคชาปรุ ะดูจะแตกตา่ งกันจนสุดข้ัว หากทว่าผสมกลมกลืนกันได้ ลงตัว […] “ธนาคารเมลด็ พืช” คณุ พระกรณิ หี ันมาท้าท่ากระซบิ กระซาบ “ธนาคารเมล็ดพืช” อดีตดาราเดก็ ชอ่ื ดงั ทวนค้าบอกเลา่ ของคุณพระนม หวั ค้ิวเข้มคม ของเขาขมวดมุ่นจ้าได้ว่าตอนท้ารายการสารคดีให้สายฟ้าทีวีนั้น มีอยู่ตอนหนึ่งท่ีเป็น เร่ืองของธนาคารเมล็ดพืช- Svalbard Global Seed Vault ของประเทศนอร์เวย์ “แบบเดียวกบั สวาลบารค์ โกลบอล ซดี้ วาลตห์ รือเปล่าครบั ” “นั่นละ” คุณพระนมพยกั หน้าหงกึ ๆ “แบบเดยี วกัน” อธิบายเพียงเท่าน้ัน คามินก็เข้าใจทะลุปรุโปร่งทุกอย่าง ธนาคารเมล็ดพืชของ คชาปุระคงสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เดียวกับธนาคารเมล็ดพืชของนอร์เวย์ […] ตัวอย่างของเมล็ดพืชกว่า 250,000 ตัวอย่างถูกส่งมาจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก เมล็ดพืชทุกชนิดล้วนเป็นพืชที่มนุษย์สามารถใช้เป็นอาหารได้ ถูกนา้ ไปเก็บรักษาเอาไว้ เปน็ อยา่ งดี จนกวา่ จะถึงวันที่จ้าเปน็ ต้องใชใ้ นอนาคตซ่ึงก็คือ วันที่พืชเหล่านั้นสูญพันธ์ุ ไปจากธรรมชาติ หรือเกิดหายนะภัยข้ึนกับมวลมนุษยชาติ เมล็ดพืชก็จะถูกน้าออกมา จากธนาคารแห่งนี้เพ่ือน้ามาเพาะปลูกเป็นแหล่งอาหารให้กับมนุษย์รุ่นต่อๆ ไป (พงศกร 2557ข, 106-108) พงศกรยังสร้างภัยพิบัติคร้ังใหญ่ในเมืองคชาปุระคล้ายกับเหตุการณ์น้าท่วมโลกใน ต้านานเรอื โนอาห์ และผู้คนในเมืองสามารถรอดชวี ิตไดเ้ พราะการรบั มอื เช่นเดียวกบั โนอาห์ การสร้าง เหตกุ ารณ์ดังกลา่ วก็เพอ่ื ยืนยันถงึ ผลดีทม่ี าจากการเตรียมพรอ้ มรับมือภยั จากธรรมชาติ อัยย์และคามินอดจะรู้สึกท่ึงไม่ได้ เมืองใหญ่ขนาดน้ี หากเวลาท่ีเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้คน ท้ังหลายล้วนมรี ะเบียบวินัย อพยพหนีภัยกนั เป็นล้าดบั ไมม่ กี ารแก่งแย่งเพ่ือจะหนีเอา

147 ตัวรอดออกไปก่อน อัยย์คิดว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในบ้านเมืองของเธอบ้าง ทุก อย่างคงโกลาหลอลหมา่ น […] เจา้ หลวงพระองค์ก่อนมองการณ์ไกล ทรงสร้างสถานท่ีหลบภยั เอาไว้หลายจุด ทุก จุดมีเครื่องอุปโภคบริโภค หยูกยารักษาโรคและน้าด่ืมพร้อม พลเมืองท่ีหลบภัยจะ สามารถอาศัยอยู่ได้เป็นเวลาอย่างน้อยๆ สองสปั ดาห์โดยไมเ่ ดือดร้อน พระองค์ทรงท้า ทุกวิถีทางเท่าท่ีมนุษย์คนหนึ่งจะสามารถท้าได้ หลังจากนั้นจะเกิดอะไรข้ึนต่อไป แผน่ ดินสว่ นไหนจะทรดุ ตัวหรือแตกสลาย ใครจะรอดชีวติ ใครจะสูญเสียชีวติ ทง้ั หมดน้ี เกินกว่าที่มนุษย์จะเป็นผู้ก้าหนด มีเพียงน้าพระทัยของธรรมชาติ แม่พระธรณีและแม่ พระคงคาเท่านั้นว่าจะทรงเมตตาต่อมนุษย์ผู้หาญกล้าท้าทายอ้านาจของพ ระอง ค์ เพยี งใด! (พงศกร 2557ข, 333-334) ส่ิงที่น่าสังเกตคือ ก่อนท่ีตัวละครจะเดินทางไปพบกับเมืองคชาปุระซึ่งเป็นอุดมคติ สูงสุด ฉากต่างๆ ที่ปรากฏระหว่างการเดินทางของตัวละครเอกยังเป็นพ้ืนท่ีให้ตัวละครเรียนรู้ที่จะ ปรับตัวเพื่ออยู่กับธรรมชาติไปตามล้าดับก่อนได้พบกับเมืองคชาปุระในตอนท้าย กล่าวคือ ขณะที่นวนิยายของพงศกรเร่อื งอน่ื ตัวละครมักตอ้ งยอ้ นกลับมายังสถานท่ีเดิมคล้าย “วัฏจักร” หาก โครงเร่ืองการเดินทางในคชาปุระและนครไอยรากลับเป็นการเดินทางแบบ “เส้นตรง” ไปข้างหน้า (linear line) นวนิยายเรื่องน้ีน้าเสนอฉากใหม่ไปตลอดตามการเดินทางผจญภัยของตัวละครเอก โดยการเรียงล้าดบั ฉากสถานที่ท่ีตวั ละครเดินทางผา่ นนั้นเรียกได้ว่า เพ่มิ ระดบั อุดมคติจากนอ้ ยที่สดุ คอื พน้ื ทีเ่ ลก็ ๆ ในกรุงเทพฯ ไปสอู่ ุดมคติสงู สุดของการอย่รู ่วมกบั ธรรมชาติท่ีนวนยิ ายต้องการน้าเสนอคือ เมืองคชาปุระ ดังท่ีในช่วงต้นเร่ือง นวนิยายเปิดฉากที่กรุงเทพฯพร้อมบรรยายการเปล่ียนแปลง สภาพแวดล้อมตา่ งๆ จากภาวะโลกรอ้ น ก่อนนา้ เสนอฉาก “โรงเรียนอนุบาลไอยรา” โรงเรียนของอัยย์ ผา่ นสายตาของคามินวา่ ท่ามกลางเด็กนักเรียนชายหญิงในชุดเครือ่ งแบบนักเรียนอนุบาล เสื้อสีขาว กางเกง กระโปรงสีเขียวอ่อน ถ้าหากสายตาของเขาไม่ผดิ เพีย้ นไปแล้วละก็ คามินออกจะม่ันใจ ว่าทั้งเสอ้ื และกางเกงของเด็กๆ ตัดเย็บขน้ึ มาด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ แทนท่ีจะเป็น ผา้ ทที่ อข้นึ จากใยสงั เคราะห์ คามินยังสังเกตอีกว่า หนูน้อยทุกคนหิ้วกระเป๋าผ้าสีเขียวใบโต ปักตราช้างน้อย สนี า้ ตาลซง่ึ เป็นสัญลกั ษณ์ของโรงเรยี นอนุบาลไอยรา แทนที่จะเปน็ เป้พลาสติกสีสวยๆ หรือกระเปา๋ หนงั ราคาแพงอย่างทเี่ ดก็ อืน่ ๆ ก้าลงั นยิ มกัน […] โอ้โฮ เขาอา้ ปากคา้ ง คราวนี้ยอมรบั อยา่ งจริงใจวา่ โรงเรยี นอนุบาลชอ่ื ประหลาด แห่งน้ีสมควรได้รบั รางวัลโรงเรยี นอนุรกั ษ์ส่ิงแวดล้อมเป็นอยา่ งยง่ิ เพราะหน่วยเซลลส์ ี น้าตาลท่ีกรุอยู่บนหลังคาของอาคารเรียนน้ันบอกให้รู้ว่า ดร.เศวตให้ความสนใจกับ

148 พลังงานทดแทนเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับลงทุนใช้พลังงานแสงอาทิตย์ภายในโรงเรียนของ ตนเอง แทนพลังงานจากกระแสไฟฟ้า (พงศกร 2557ก, 72-73) โรงเรียนอนุบาลไอยราเสมอื นเปน็ อีกโลกหนึ่งทมี่ ีการจัดการใหม้ นุษย์กบั ธรรมชาตอิ ยู่ ด้วยกนั อย่างเรยี บง่ายกลางกรงุ เทพฯ ฉากโรงเรยี นแห่งน้ีสะท้อนความพยายามให้คนในเมืองใหญ่หัน มาใส่ใจธรรมชาติและเสนอถึงการปลูกฝังจิตส้านึกด้าน ส่ิงแวดล้อมให้เห็นความส้าคัญต้ังแต่เด็ก จากน้ันเน้ือเรื่องได้แสดงการกลับไปอยู่ในป่าของคนเมือง ดังที่ตัวละครเอกต้องท้าภารกิจแข่งขัน รายการเรียลลติ ้ีโชว์ (reality show) โดยตัวละครเอกต้องไปใช้ชีวิตในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จงั หวดั เพชรบรุ ี ขณะที่ตัวละครทา้ ภารกจิ ไป พงศกรได้อธิบายและให้ข้อมลู เกย่ี วกบั ธรรมชาติ ทงั้ นก สมุนไพรและอื่นๆ เพื่อเลา่ ถึงความสวยงามของธรรมชาติ และฉากแก่งกระจานนเี้ องนับเปน็ จดุ เชื่อม ตอ่ ไปส่เู มอื งคชาปุระ เหตทุ ่พี งศกรเลอื กใช้แก่งกระจานเป็นจุดเชื่อมตอ่ ระหวา่ งโลกแหง่ ความเป็นจริง กับเมอื งคชาปุระกน็ ่าจะเปน็ เพราะแกง่ กระจานเปน็ พน้ื ทอ่ี ดุ มสมบูรณ์อย่างยิง่ พืน้ ที่อดุ มสมบรู ณ์เชน่ น้ี จึงเหมาะสมที่จะพาตัวละครไปสู่เมืองคชาปุระซึ่งเป็นอุดมคติสูงสุดของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ทนี่ วนยิ ายต้องการนา้ เสนอ กล่าวได้ว่า การเดินทางไปตามฉากสถานที่ตามล้าดบั นเี้ ป็นการเดนิ ทางไป เพ่ือไปหาอุดมคติของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยล้าดับของฉากที่พงศกรได้จัดวางให้ตัวละครเอก เดินทางไปมีส่วนโน้มน้าไปสู่อุดมคติสงู สดุ และการอยกู่ ับธรรมชาตินั้นมใิ ช่การกลบั ไปอยใู่ นปา่ เพราะ คงไปได้ยาก แต่ทางที่ดีคือ การประสานวิถีคนเมืองกับธรรมชาติให้เข้ากันเป็นสิ่งท่ีพงศกรต้องการ น้าเสนอนั่นเอง จากทก่ี ล่าวมาอาจสรุปได้ว่า การสร้างฉากสถานที่จากเรือ่ งเล่าเชิงคติชนนบั เปน็ ส่วนส้าคญั ให้ พื้นทใ่ี นนวนิยายกลายเปน็ พืน้ ทแี่ ห่งการเรียนรูข้ องตัวละคร การนา้ เร่ืองเลา่ ท่อี ธิบายความเปน็ มาของ สถานท่ีและเรือ่ งเลา่ ในครอบครัวกบั ต้านานน้าท่วมโลกซ่ึงเป็นเร่ืองเล่าเชิงคตชิ นท่ีมีลักษณะต่างกันนี้ ทา้ ให้เสน้ ทางนา้ ไปสูก่ ารเรยี นรขู้ องตัวละครแตกต่างกัน ดังท่ีจะแสดงใหเ้ หน็ เป็นแผนภาพตอ่ ไปนี้ พงศกรน้าเร่อื งเลา่ ที่อธบิ ายความเป็นมาของสถานท่ีและเร่ืองเลา่ พงศกรนา้ ต้านานน้าทว่ มโลกมาสรา้ งเป็นเมอื งคชาปรุ ะ ในครอบครัวน้ามาประกอบสรา้ งฉากหลกั ในนวนิยาย ให้เปน็ อดุ มคตขิ องการอยรู่ ว่ มกับธรรมชาติ ฉาก เมือง สถานท่ี คชาปรุ ะ เส้นทางการเดนิ ทางวนกลบั มาบรรจบกับสถานท่ี จดุ ที่ปรากฏในเรอื่ งเลา่ เชิงคติชน เริม่ ตน้ เส้นทางการเดนิ ทางเปน็ เส้นตรงท่ี ยกระดับไปสอู่ ดุ มคติสูงสดุ ภาพท่ี 10 แผนภาพแสดงการนาข้อมลู เชิงคตชิ นมาประกอบสร้างฉากสถานที่เพ่ือสร้างการเรียนรู้ของตัวละคร

149 แผนภาพข้างต้นอธิบายไดว้ ่า พงศกรน้าเรอ่ื งเลา่ เชิงคติชนท่ีอธิบายความเป็นมาของสถานที่ และเรื่องเลา่ ในครอบครัวมาประกอบสรา้ งตามรูปด้านซา้ ยใหเ้ ปน็ ฉากสถานท่ีวนกลบั เป็นวง หมายถงึ ฉากสถานทม่ี ที มี่ าจากปมขดั แยง้ ในเรอื่ งเลา่ เชิงคติชน ตัวละครผู้เดินทางเคยเกีย่ วข้องกับฉากสถานทนี่ ้ี มาในอดีต ก่อนที่ในปัจจุบัน ตัวละครจะเดินทางค้นหาไปเรื่อยๆ ตามทิศทางของลูกศรกระทั่งวน กลบั มายงั ฉากสถานทเ่ี ดมิ ในจุดสูงสุดของความขดั แยง้ ของนวนยิ าย การสร้างฉากทวี่ นกลับยงั จุดเดิม เชน่ นเี้ พอื่ ใหต้ ัวละครเอกไดเ้ รียนรู้ถงึ วัฏจกั รของความขดั แยง้ และให้ตวั ละครเอกหาทางออกจากวังวน แห่งความขัดแย้งดังกล่าว ซ่ึงจะสัมพันธ์กับแนวคิดเร่ืองกรรมเป็นเคร่ืองก้าหนดความเป็นไปต่อไป ส่วนต้านานน้าท่วมโลก พงศกรน้ามาใช้เพื่อสร้างฉากสถานท่ีโดยพาตัวละครไปสู่การเรียนรูเ้ พ่ืออยู่ ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลนื โดยพงศกรน้าต้านานน้าท่วมโลกมาสร้างเป็นฉากเมืองคชาปุระให้ ตัวละครค่อยๆตามหา โดยระหว่างทางพงศกรได้สร้างฉากอื่นๆ ดังที่มีอนุบาลไอยรา แก่งกระจาน ก่อนที่ตัวละครจะข้ามไปสู่เมืองคชาปุระ เห็นได้ว่า การเดินทางของตัวละครจะเป็นเสน้ ตรงท่คี วาม เขม้ ข้นของการอยูร่ ว่ มกับธรรมชาติค่อยๆ ยกระดบั ไปจนเมือ่ ไปถึงเมอื งคชาปุระนับเป็นอดุ มคติสูงสุด ท่ีพงศกรต้องการนา้ เสนอ หรอื กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การสร้างฉากเมืองคชาปรุ ะให้ตัวละครเขา้ มาพบนน้ั สมั พันธก์ บั อุดมคตทิ ี่พงศกรต้องการใหต้ วั ละครเรยี นรู้ โดยระหว่างทางตวั ละครจะพบกบั การเรียนรู้ท่ี เพิ่มข้ึนตามรูปด้านขวาในแผนภาพก่อนไปพบอุดมคติในตอนท้าย ดังน้ัน การประกอบสร้างฉาก สถานที่จึงเป็นนับเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของตัวละครเอกท่ีน้าเอาเร่ืองเล่าเชิงคติชนมาผูกโยงสู่ บทเรียนท่พี งศกรต้องการสือ่ อยา่ งเด่นชัด 3.3.2 ข้อมูลเชิงคติชนกบั การประกอบสรา้ งฉากเวลา นอกจากฉากสถานที่แล้ว ฉากเวลานับเป็นส่วนส้าคัญอย่างหนึ่งในนวนิยายของพงศกร เวลากลางวันกลางคืนและสภาพแวดลอ้ มท่เี กิดพรอ้ มกบั ช่วงเวลานั้นๆ สัมพันธ์กับเหตกุ ารณ์ในเรื่อง อย่างมีนัยส้าคัญ โดยพงศกรใช้ฉากเวลาท่ีมีความพิเศษเป็นจุดเช่ือมต่อระหว่างเวลาของปัจจุบนั ใน นวนยิ ายกับเวลาสมมตใิ นอดตี ทอี่ ยใู่ นเร่อื งเล่าเชงิ คติชน ดงั น้ี 3.3.2.1 ลักษณะและบทบาทของฉากเวลา บรรยากาศรอบตัวตัวละครไม่ว่าจะเป็นฝนตก พายุกระหน้่า ลมพัดแรงมักเกี่ยวข้องกบั อารมณต์ ัวละครและสอดคลอ้ งกับเหตกุ ารณใ์ นนวนิยาย เพราะตัวละครเป็นองค์ประกอบท่ีสมั พนั ธก์ บั ฉากอยา่ งมนี ัยส้าคัญ พวกเขาเป็นผลผลติ ของส่ิงแวดลอ้ มนน้ั ทัง้ กระบวนความคดิ และการกระท้าย่อม ถูกขับเคลื่อนผ่านฉาก (Bickham 1994, 5) ในนวนิยายของพงศกรมักใช้ฉากเวลากลางคืนเป็นฉาก เวลาส้าคัญของเรื่อง สังเกตได้ต้ังแต่ชื่อนวนิยายท่ีมักเกี่ยวกับเวลากลางคืนอย่างสร้อยแสงจันทร์ ฤดูดาว กุหลาบรัตติกาล และเน้ือเร่ืองในนวนยิ ายยังสมั พนั ธก์ บั เวลากลางคืนอย่างชัดเจน ดังเชน่ ใน เรือ่ งสรอ้ ยแสงจันทร์ พงศกรได้บรรยายฉากเวลากลางคืนออกมาอย่างมีนัยยะ ช่อื ตัวละครแทบทุกตัว

150 สมั พนั ธ์กับแสงจนั ทร์ อย่างนกจโกระทด่ี ม่ื แสงจนั ทร์เปน็ อาหารช่ือว่ากรี ณะ เดือนเต็มดวง พุทธิ อกี ท้ัง อิทธพิ ลจาก “แสงจันทร์” ยังมผี ลต่อเหตุการณ์ในเรอ่ื งทแ่ี ตกต่างกนั ดงั ที่ครงั้ แรกที่พุทธิมายังปราสาท ปกั ษาจ้าจอง เขามาในคนื ท่พี ระจันทรเ์ ต็มดวงและแสงจันทร์สาดส่องลงมาจับปราสาทให้มีแสงงดงาม ละเป็นคืนทีพ่ ทุ ธพิ บกีรณะ เวลาที่แสงจนั ทร์สาดแสงลงมานบั วา่ “ให้คุณ” แกต่ ัวละคร เหน็ ชัดจากที่ นกกีรณะไดก้ ล่าวถงึ ความส้าคัญของแสงจันทร์ไว้วา่ สางเหลา่ น้ันจะเรืองอ้านาจเมื่อพระจันทรเ์ ริม่ เข้าส่ขู ้างแรมและเริ่มอ่อนแรงลงเมื่อจันทร์ เริ่มย่างเข้าสู่ข้างข้ึน ตรงกันข้ามกับเหล่าจโกระท่ีพละก้าลังจะลดน้อยถอยลงยาม พระจันทร์แรม ดงั นน้ั หากรอจนถึงยามนนั้ พละก้าลังของเราจะลดลงเร่ือยๆ สว่ นอ้านาจ มืดของสางไพรจะแกร่งกล้าขน้ึ เร่ือยๆ ด้วยแสงจันทราทรี่ างเลือน เราจะไม่สามารถช่วย เจ้าไดอ้ ีก (พงศกร 2558, 91) นวนิยายยังสะท้อนอิทธิพลจากแสงจันทร์ต่อความรู้สึกของตัวละครที่เกิดขึ้นไว้อย่าง หลากหลาย อยา่ งเชน่ เหตกุ ารณ์ที่ตวั ละครเอกชายหญิงไดส้ บตากันก่อนเกดิ เปน็ ความรกั ในเวลาต่อมา “เขาถอนหายใจยืดยาว พลางจ้องมองดวงตาท่ีวิบวาวอยู่ภายใต้แสงจันทร์ของหล่อน เดือนเต็มดวง หลบตาพุทธไิ ม่ยอมสบตาด้วยตรงๆ เขาเห็นหลอ่ นเสมองไปทางทศิ อนื่ ...(ส่วน)นัยน์ตาของนายคนนี้ดู แวววาวอย่างไรพิกล หล่อนคิด ส่วนลึกที่สุดในดวงใจของหล่อนเหมือนมีความหวามไหวอยู่ในนัน้ ” (พงศกร 2558, 216-217) ในอีกตอนหนึ่ง เวลาที่แสงจันทร์ส่องมาต้องปราสาทปักษาจ้าจอง แสงจันทร์ท้าใหป้ ราสาทงดงามและขณะเดยี วก็ท้าใหพ้ ุทธิไดเ้ กิดปญั ญาบางอยา่ ง ทอ้ งฟา้ ยงั ไมร่ ุ่งรางและหมู่ดาวยังเกลอื่ นกระจายอยเู่ ตม็ ฟากฟ้า พุทธิเหลือบมองไปยังปราสาทที่มลังเมลืองอยู่ท่ามกลางแสงจันทร์อ่อนนวล แล้วนึก สะท้อนใจว่า กับเพียงแค่แผ่นหินและดินทรายไม่ก่ีก้อนเท่าน้ันเองหรือที่ครอบง้ามนุษย์ เอาไว้เป็นทาสของความโลภต้องการน้าไปเก็บไว้เป็นสมบัติตน...พวกนั้นจะรู้ไหมว่า สุดท้ายแลว้ ไม่มีใครเปน็ ผคู้ รอบครองโดยแท้จรงิ มนษุ ย์เกิดมาเพอื่ จะจากไปแล้วจะด้ินรน เดอื ดร้อนไปเพอื่ สงิ่ ใดกัน (พงศกร 2558, 236-237) ในทางกลับกัน ช่วงคับขันท่ีตัวละครก้าลังเผชิญเหตุการณ์ร้าย ดังเช่นตอนที่ ตัวละครปฏปิ กั ษก์ า้ ลงั ถูกสางไพรทา้ รา้ ย พงศกรบรรยายฉากเวลาวา่ “แสงสว่างที่เกิดแต่ดวงจันทรบ์ น ฟากฟา้ หมน่ มวั ลงราวมใี ครเอ้อื มมอื ไปปดิ ไฟ เมอ่ื เมฆสดี ้ากอ้ นใหญเ่ คล่อื นตัวเข้ามาบดบังรัศมสี ีเงิน” (พงศกร 2558, 250) เห็นได้ชัดว่า เวลาที่แสงจนั ทร์ส่องลงมานับว่ามบี ทบาททสี่ มั พนั ธ์กบั เหตกุ ารณ์ท่ี ให้คณุ หรือใหโ้ ทษกบั ตัวละครอยา่ งชดั เจน ในกุหลาบรัตติกาล พงศกรได้ต้ังช่ือนวนยิ ายตามดอกกุหลาบรัตติกาลซงึ่ “กหุ ลาบของเรา มีสีน้าเงินเข้มจนเกือบจะด้า เหมือนกับสีของท้องฟ้าเวลากลางคืน ผมเลยต้ังช่ือเรียกขึ้นมาเองว่า

151 กหุ ลาบรตั ตกิ าล” (พงศกร 2555ก, 76) แสดงใหเ้ หน็ วา่ ดอกกุหลาบดอกนไ้ี ด้นา้ เอาเวลากลางคืนมา เป็นช่อื ของดอกไม้ ยิ่งเมอ่ื พจิ ารณาตลอดทงั้ เรื่องแล้ว รตั ติกาลหรือเวลากลางคนื ในดอกไม้ดอกนกี้ ็เปน็ มากกว่าสขี องเวลากลางคนื หากหมายรวมไปถงึ ความมืดภายในจิตใจของมนุษย์ตามทีไ่ ด้อภิปรายใน หัวข้อตัวละครไปบ้างแล้ว และน่าสังเกตว่า การปรากฏตัวของนิลนวารามกั ปรากฏในเวลากลางคนื มสี ายลมพัดพาความหนาวเยน็ เข้ามา แตก่ ็มกี ลนิ่ หอมของกุหลาบเยา้ ยวนใจใหต้ วั ละครได้หลงใหลอยู่ กับดอกกุหลาบเหล่านี้ ดอกกุหลาบดอกน้ีจึงน้าเอาเวลาและบรรยากาศของกลางคืนท่ีมีความมืด ความหนาวเย็นมาเปน็ สว่ นหนึ่งของการปรากฏตัวของตัวละครและดอกไม้อันสัมพันธก์ ับการน้าเสนอ ให้เห็นถึงกเิ ลสและจิตใจดา้ นมดื ของมนษุ ย์ ฉากเวลาและบรรยากาศในนวนิยายยังเป็นสัญลักษณ์ต่อการคลี่คลายความขัดแย้งใน นวนิยาย เห็นได้ชัดจากเรื่องเบ้ืองบรรพ์และฤดูดาว นวนิยายสองเรื่องน้ี ตัวละครเอกไม่ได้ต่อสกู้ ับ ตวั ละครปฏปิ กั ษท์ ีเ่ ป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ แต่คขู่ ดั แยง้ ของตัวละครเอกปรากฏในเปน็ แรงอาฆาตหรือ ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติทเ่ี ป็นนามธรรม นามธรรมทั้งดีและรา้ ยที่เกิดขึ้น พงศกรมักใช้ฉากเวลา และบรรยากาศแทนความรู้สึกและเหตุการณ์ที่ตัวละครเอกก้าลงั เผชิญ ตัวอย่างเช่นในเบ้ืองบรรพ์ พงศกรได้น้าเสนอฉากเวลาท่ีมีนของอโหสกิ รรมไว้ว่า ลมเย็นยามใกล้รุง่ โชยพัดมาแผ่วเบา อาจเป็นอปุ าทานของมีนเพราะหญิงสาวรู้สึกว่า เสียง หรีดหริง่ เรไรคืนนี้ฟงั โหยหวนกว่าทุกคืน...[มีน]เงยหน้าข้ึนมองท้องฟา้ ที่ยังคงมืดสนิทก็เห็น เพยี งดาวระยิบระยับจากท่ขี อบฟา้ ด้านหน่งึ มดี าวดวงเลก็ พุ่งเป็นทาง เป็นหางยาวสกุ สว่าง พาดอยู่บนท้องฟา้ ...ดาวตก...ตอนเล็กๆ พอ่ เคยบอกวา่ เห็นดาวตกใหร้ บี อธษิ ฐานขออะไรก็ ไดส้ งิ่ หนึง่ มีนรีบคกุ เข่าลงเพื่อท่ีจะตั้งสตั ยอ์ ธษิ ฐาน […] จะด้วยความบังเอิญหรือด้วยเหตุอันใดสุดท่ีหญิงสาวจะล่วงรู้ได้ ที่ขอบฟ้าด้านทิศ ตะวันออกน้ัน มีนมองเห็นท้องฟ้าแลบเป็นสาย เสียงฟ้าร้องสะเทือนเล่ือนลั่น ปราศจาก แมเ้ งาของเมฆฝน ฟา้ ดนิ รับร!ู้ ! (พงศกร 2552, 170-171) ฉากเวลากับบรรยากาศรอบตวั มีนเป็นสัญลักษณข์ องการคลค่ี ลายความขดั แย้ง ตัง้ แต่การ เร้าบรรยากาศทง้ั เสยี งโหยหวนและความรู้สกึ ที่หนาวเย็น การใช้เวลาใกล้รุง่ ท่กี ้ากึง่ ระหว่างกลางคืน กับกลางวันนบั เป็นสญั ลกั ษณ์ให้เหน็ ว่า เวลากลางคืนหรอื ความมืดใกลจ้ บลงและแสงสว่างจากเช้าวัน ใหม่อนั เป็นสัญญาณของการเร่ิมตน้ ก้าลังจะมาถงึ การใช้ฉากเวลานี้เทา่ กบั การบง่ บอกวา่ การเรม่ิ ต้น ใหม่ด้วยการให้อภัยก้าลังมาแทนทค่ี วามมืดมิดของการอาฆาต และเมื่อมีนขออโหสกิ รรม ท้ังฟ้าแลบ และฟ้าร้องท่ีเกิดข้ึนบนท้องฟ้าเปน็ สัญลักษณ์ต่อการตอบสนองต่อการขออโหสิกรรมของหล่อนหรอื “ฟ้าดินรับรู้” จากท่ีกล่าวมาเห็นได้ว่า ฉากเวลาในนวนิยายของพงศกรมีบทบาทต่อตัวละครและ เหตุการณท์ อี่ ย่ใู นฉากความมืดและความสว่างเป็นสัญลกั ษณ์สา้ คญั ของการนา้ เสนอภาพท่แี ตกต่างกัน

152 ระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ความมืดยังเป็นสัญลักษณ์ที่แทนนามธรรมของจิตใจมนุษย์ ซึ่ง เกดิ ข้ึนพรอ้ มกับเหตกุ ารณ์รา้ ยต่างๆ ขณะทีแ่ สงสวา่ งก็เปน็ คตู่ รงข้ามทีม่ าพรอ้ มทางออก 3.3.2.2 การสร้างฉากเวลาเป็นจุดเชือ่ มตอ่ โลกปจั จุบนั กบั โลกในเรอื่ งเลา่ เชงิ คตชิ น หากสังเกตวิธกี ารทพี่ งศกรใช้เชอื่ มระหวา่ งโลกปจั จบุ นั กับโลกในเรือ่ งเลา่ เชิงคติชนแลว้ จะ พบวา่ พงศกรใชฉ้ ากเวลาเป็นจุดเชือ่ มต่อให้ตัวละครจากโลกปจั จบุ นั สามารถกา้ วข้ามไปส่โู ลกสมมตไิ ด้ ในอีกแงห่ นึง่ ฉากเวลายังเป็นจุดเช่ือมต่อทที่ ้าให้โลกปจั จบุ ันเกดิ การเหล่อื มซอ้ นกบั โลกในเรื่องเล่าเชงิ คติชน จนท้าให้ตัวละครและเหตกุ ารณ์ไดม้ าบรรจบกนั ลักษณะแรก ฉากเวลาเป็นจดุ เช่ือมต่อคลา้ ยสะพานใหต้ ัวละครก้าวข้ามจากโลกปจั จบุ นั ไปสู่โลกสมมติ ลักษณะน้ีพบได้ในเรอ่ื งคชาปรุ ะและนครไอยรา กลา่ วคือ ตัวละครทั้งหมดหลุดออก จากโลกปัจจุบันในเวลาที่ธรรมชาติแปรปรวนผิดปกติและมีน้าป่าซัดพาตัวละครในแก่งกระจาน ออกมายงั ทางเข้าเมืองคชาปรุ ะ น้าป่าน้ีเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยตัวละครไม่ทันต้ังตัว “เหตุการณ์ทุก อย่างเกิดข้ึนอย่างรวดเร็วจนไม่มีใครทันได้ต้ังตัว ทุกคนได้แต่ลอยตัวไปตามกระแสน้าป่า ประคอง ไม่ให้ถูกคล่ืนซัดจมลง ไม่ต้องสงสยั เลยว่าน้าปา่ คร้ังน้ีรนุ แรงแค่ไหน เพราะขนาดช้างท่ีมีน้าหนักนบั ร้อยกิโลยังถูกพดั ใหล้ อยละลวิ่ ไปไมต่ ่างกบั สายลมพัดปยุ นุน่ กระจดั กระจาย” (พงศกร 2557ก, 468) ภายหลังจากท่ีถูกน้าพัดพาไป พวกเขาพบว่าอยู่ในดินแดนใหม่ที่ไม่ใช่แก่งกระจาน เวลาที่พวกเขา มาถึงเหมือนตัดขาดจากโลกภายนอก “น้าป่าพัดถล่มท่ีต้ังเต็นท์เมื่อคืนน้ี หล่อนลอยละลิ่วไปกับ สายน้าจนหมดสติไปในท่ีสุด มารู้สึกตัวอีกทีก็จวนจะเที่ยงของอีกวันหน่ึง จากตอนน้ันถึงตอนน้ี เวลาผ่านไปเกือบสิบช่ัวโมงแลว้ หรอื เป็นไปได้อย่างไรกัน อัยย์ยกนาฬิกาข้อมอื เพ่ือตรวจสอบดเู วลา ก็พบว่าเข็มนาฬิกาหยุดเดินไปแลว้ ตั้งแต่เม่ือเทีย่ งคืนท่ีผา่ นมา” (พงศกร 2557ก, 472) เห็นได้ว่าใน นวนิยายเรอ่ื งนใ้ี ชเ้ วลาและบรรยากาศท่ีผิดปกติแปรปรวนเปน็ สะพานเชือ่ มต่อไปสโู่ ลกสมมติ และการ ใช้เหตุการณ์น้าป่านี้สอดคล้องกบั จุดประสงคด์ ้านการน้าเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อมของนวนิยาย เพราะ การสร้างฉากน้าปา่ ที่เกิดข้นึ อย่างฉับพลนั เชน่ นไ้ี ดต้ อกย้าให้เหน็ ปญั หาธรรมชาติอย่างเดน่ ชัด อกี ลักษณะหนงึ่ ฉากเวลาเปน็ ฉากท่ีทา้ ให้เกิดการเหล่อื มซอ้ นระหว่างโลกปจั จุบันกับโลก ในเรือ่ งเลา่ เชงิ คตชิ น ดงั ทฉ่ี ากแสงจันทรใ์ นสรอ้ ยแสงจันทร์ซงึ่ พงศกรขบั เนน้ ใหม้ คี วามพเิ ศษมาตลอด เป็นฉากท่ีพุทธิได้พบกับนกกีรณะ เมื่อน้าเสนอตัวละครนี้เป็นครั้งแรก พงศกรได้บรรยายให้เห็น ความสัมพนั ธร์ ะหว่างแสงจันทรก์ ับนกกีรณะไว้อย่างเดน่ ชดั ท่ามกลางเวิ้งฟ้าท่ีอาบด้วยแสงจันทรค์ ืนวันเพญ็ มีนกตวั หนึ่งบนิ วนเวยี นอย่เู หนอื เทวาลัย ...แสงสีเงินยวงของพระจันทร์เต็มดวงอาบไล้ร่างของนกตัวนั้นท้าให้นกสีขาวอมส้มของ มันเปล่งประกายเรืองรอง ราวสามารถเรืองแสงได้ในตวั เอง […] ยิ่งบินวนเวียนมากรอบ เพยี งใด ขนของมนั ก็ย่ิงเปล่งประกายเรืองรองราวไดร้ ับการประจเุ อาพลังเข้าไวใ้ นกาย ท่ี

153 บนศรี ษะของนกนั้นมหี งอนสที องสุกสกาวส่องล้อแสงจันทร์นวลเป็นประกายระยิบระยับ คล้ายมมี งกุฎวงเล็กสวมครอบอยูบ่ นส่วนหัว (พงศกร 2558, 46-47) ในเร่อื งฤดูดาว พงศกรใหค้ วามสา้ คัญกบั เวลาของเรือ่ งเปน็ อย่างยิง่ โดยเฉพาะชว่ งเวลาท่ี เกิดปรากฏการณ์ฤดูดาว ดังจะเห็นว่าปรากฏการณ์ฤดูดาวนี้เองเป็นช่วงเวลาที่ตัวละครในเร่ืองเลา่ เวียงแสนเพ็ง ไดแ้ ก่ นางอัว้ แสนเพง็ และแถนเมอื งแมนไดม้ าปรากฏตวั ใหค้ นในโลกปจั จบุ นั ไดเ้ หน็ เป็น ช่วงเวลาท่ีดอกเออื้ งแสนเพง็ กลายรา่ งเป็นหญงิ สาวและเป็นชว่ งเวลาที่ท้าให้ตวั ละครเอกได้แกไ้ ขความ ขัดแย้งในอดีต ช่วงเวลาท่ีปรากฏการณ์ฤดูดาวเกิดขึ้นในนวนิยายสองครง้ั ครั้งแรกเกดิ ช่วงเปิดเร่อื ง เมือ่ ซิบเม้ียนเม่ยี นพรอ้ มกับลกู สาว (ซ่งึ คอื อตู๋ าบา้ ในเวลาตอ่ มา) เดินทางไปยังเวียงแสนเพ็ง ดวงดาวนบั พันนับหมื่นกระจายตวั เกลื่อนฟา้ เบือ้ งบนศีรษะ กะพริบวิบวาบแขง่ กับแสง จันทราทรงกลด ปกติแล้วในคืนเดือนหงาย ดวงดาวมักจะหรุบแสง ไม่กล้าแข่งกับรัศมี ดวงจันทร์ หากแต่คืนนี้ ท้องฟ้ากระจ่างจนกระท่ังดวงดาราอดใจไม่ไหว ต้องออกมาเริง แสงแขง่ ขันกัน ฤดูดาว พ่อบอกหลอ่ นวา่ อยา่ งน้นั (พงศกร 2555ข, 7) เด็กหญิงเหลือบมองไปทางทศิ ท่ีพ่อของหล่อนก้าลังมุ่งหน้าเดินไปบนกึ่งกลางของศลิ า และซากปรกั หกั พงั น่ันเองที่อะไรบางอย่างกระพรบิ วบิ วาวอยทู่ ี่นั่น เดก็ หญิงต้องกระพริบ ตาถี่ๆ เมื่อประกายสีทองของกลีบดอกไม้ที่กึ่งกลางซากวิหารร้างจับกับแสงจันทร์งาม กระจ่าง ดอกเอ้ืองสีทองชูก้านระเหิดระหงราวกับเจ้าหญิงสูงศักดิ์หยัดยืนอย่างสง่างาม ทา่ มกลางซากเมืองรา้ ง “อ้วั แสนเพ็ง” เด็กหญิงครางอย่าลืมตัว อว้ั แสนเพง็ ดอกเอ้ืองทองค้าทท่ี ุกคนในหมบู่ ้านเล่าขานถงึ ดอกเอื้องในต้านานเย้าของ พวกหล่อน ดอกเอือ้ งท่ีไม่เคยมีใครเช่ือว่ามอี ยู่จรงิ ดอกเอ้อื งท่ีจะบานเพยี งคร้ังเดียวและ คนื เดียวเท่านั้น ในคนื วันเพ็ญของฤดดู าว บัดนี้ อั้วแสนเพ็งก้าลังคลี่กลีบเบ่งบานต้อนรับ แสงจนั ทรอ์ ยู่ตรงหน้าของหลอ่ น ล้าแสงสีเงนิ ยวงจากบนฟากฟ้าค่อยลดต้่าลงมาเรื่อยๆ ทิศทางของล้าแสงน้ันม่งุ ลงมาสู่ ดอกกล้วยไม้...ยิง่ ล้าแสงสเี งินนั้นลดต้า่ ลงเทา่ ใด เด็กหญิงก็ยิ่งตื่นตะลึง เม่อื เหน็ ถนัดตาว่า ล้าแสงสีเงินน้ันท่ีจริงแล้วเป็นประกายจากดุมล้อของรถม้าคันหนึ่ง รถม้าท่ีเคล่ือนลงมา จากฟากฟ้าเบ้ืองบน รถมา้ ทม่ี ารับอ้ัวแสนเพง็ กลับเมืองแถน (พงศกร 2555ข, 16-17) เห็นได้ชัดว่า วันเพ็ญในช่วงปราฏการณ์ฤดูดาวเป็นเวลาท่ีตัวละครมนุษย์ได้พบเห็น ตัวละครท่อี ยใู่ นเรอ่ื งเล่าเชงิ คตชิ น แตก่ ารปรากฏตัวของแถนเมอื งแมนกบั อ้ัวแสนเพ็งในตอนแรกยังไม่

154 อาจกลับไปครองรกั ได้ เพราะเมือ่ บรรยายกาศในฉากน้ันเปลี่ยนแปลงไป “สายลมทีร่ ้าเพยพัดมาอย่าง แผว่ เบา เริ่มเปล่ยี นเป็นกระโชกแรงขนึ้ และแรงข้นึ ทกุ ขณะ พร้อมกับเอาเมฆฝนมาดว้ ย พ่อของหลอ่ น ร้องเสียงดังด้วยความตกใจ...รถม้าคันน้ันหยุดชะงักลงในทันใดที่เสียงร้ องของพ่อดังก้อง ข้ึ นม า ท่ามกลางความเงียบสงัดของราตรีกาล จากน้ันก็เปล่ียนทิศทางที่ลอยลงต้่า เลี้ยวกลับหลังสูงขึ้น มุ่งหน้ากลับไปทางดวงจันทร์” (พงศกร 2555ข, 18) การที่มีอากาศแปรปรวนอย่างรวดเร็วท้าให้ บรรยากาศในเรอื่ งกลับเปน็ ตรงข้าม จากตอนแรกทแี่ ถนเมืองแมนก้าลังลงมารบั นางอ้ัวแสนเพง็ แตฝ่ น และลมกรรโชกไดท้ า้ ให้ซิบเมย้ี นเมย่ี นร้องออกมาดว้ ยความตกใจ ผลท้าให้แถนเมืองแมนหนั รถกลบั ไป เมืองบน เหตนุ เี้ องอั้วแสนเพ็งจึงยังไมไ่ ด้ครองรกั กบั แถนเมอื งแมน และทา้ ให้เด็กหญงิ คนนั้นต้องมาน้า ทางดรสาไปเวียงแสนเพ็งนนั่ เอง ตอ่ มาดอกเอือ้ งแสนเพ็งปรากฏอีกคร้ังในจุดสงู สุดของความขัดแยง้ ในเรือ่ ง เวลานด้ี อกไม้ กลายเปน็ นางอัว้ แสนเพ็งทีไ่ ดเ้ ผชิญหน้ากับดรสาและเปน็ ช่วงเวลาทค่ี วามขัดแย้งทัง้ หมดสลายลง พระจันทร์ซ่ึงลอยเด่นอยกู่ ลางเวหา เคล่ือนดวงกลมโตข้ึนจนถึงเกือบกึ่งกลางฟ้าแล้ว ที่ ลอ้ มรอบดวงเดือนเป็นวงรัศมีสีรุ้งถึงสองวง ดวงดาราจ้านวนมากมายเหลือคณานับเกล่ือน กระจายเตม็ ทอ้ งฟ้าราตรีอันใสกระจา่ งปราศจากเมฆหมอก […] ดอกเอ้ืองแสนเพง็ ท่ชี ชู ่อหยัดสง่าอยู่บนแท่นศิลากลางหอ้ งก้าลงั คล่ีกลบี บานทลี ะน้อย ยิ่งกลีบดอกเบ่งบานมากเพียงใด กลิ่นหอมของดอกไม้ท่ีหอมยิ่งกว่ามวลมาลีใดก็กรุ่น กา้ จายไปทัว่ บรเิ วณ เป็นกรุน่ หอมทีไ่ มเ่ หมือนดอกไมใ้ ดในโลกหล้า เปน็ กรุ่นหอมแนบสนิทติดปลายนาสา เป็นกร่นุ หอมเหนือกรุ่นหอมของเหล่ามวลมาลา เป็นกรุ่นหอมของหัวใจรกั ท่ีร้างรามาชว่ั กัลป์ (พงศกร, 2555ข: 571) หญิงสาวเหลอื บตามองไปท่เี อื้องแสนเพ็งอีกคร้ัง และพบวา่ บัดนบ้ี นแทน่ ศิลาตรงนั้น ไม่มี เอื้องแสนเพ็ง ดอกไม้ในต้านานอีกต่อไป ณ ท่ีซ่ึงเคยเป็นเอ้ืองสีทอง มีร่างระหงเฉิดเฉลา ของนางอวั้ แสนเพง็ เดน่ ชดั ปรากฏข้นึ มาแทนท่ี... ดวงตาสเี ขม้ ดา้ ขลบั ราวนิลเนอื้ งามจ้องมองมาทด่ี รสาด้วยสายตาขอบใจและให้อภยั […] รถม้าจากฟากฟ้าเคลื่อนมาจอดเทียบลงตรงหน้าแท่นศิลา...อ้ัวแสนเพ็งหันมายิ้มอย่าง อ่อนหวานให้กับหล่อนและดรสารู้ดีว่าน่ันจะเปน็ ครั้งเดยี วและครง้ั สดุ ท้ายทีห่ ล่อนจะได้เห็น นางกษตั ริย์ยุรยาตรย่างเยื้องก้าวขึ้นส่รู ถม้าจากเบ้ืองบน รถมา้ ทนี่ างควรจะได้ข้ึนไปกับคน รักเสียเมอื่ นานมาแล้ว (พงศกร, 2555ข: 578-579) กล่าวได้ว่า เวลากลางคืน พระจนั ทร์เต็มดวงและดวงดาวท่เี ปน็ ฉากหลังของเหตุการณน์ ี้ มิได้เกิดข้ึนอย่างไร้ความหมาย แต่ได้สอดรับกับเรื่องเล่าเวียงแสนเพ็ง ที่เป็นช่วงเวลาส้ันๆ ท้าให้

155 โลกปัจจุบันกับโลกในเร่ืองเล่าได้บรรจบกัน ตัวละครได้พบเจอกัน น่าสังเกตด้วยว่า ชื่อตัวละคร “ดารกาประกาย” ท่ีแปลว่า ประกายของดวงดาวนับว่าสัมพันธ์กับช่วงเวลาฤดูดาวอย่างแนบแน่น เพราะดารกาประกายเป็นผูผ้ กู ปมในเรื่องเล่า และดรสาตอ้ งกลบั มาแกไ้ ขในคืนทม่ี ีดารกาประกายเต็ม ท้องฟ้า ฉากปรากฏการณ์ฤดูดาวจึงยังเป็นสัญลักษณ์แทนการเรียนรู้ของตัวละครดารกาประกาย ฉากปรากฏการณ์ฤดูดาวท่ีดารกาส่องประกายเปรียบเหมือนการฉายแสงแห่งความดีของตัวละครนี้ เพื่อการช่วยเหลือให้คนท่ีตนเคยกระท้าผิดไว้ได้กลับไปครองรักกัน ดังค้าท่ีอ้ัวแสนเพ็งกล่าวไว้ ตอนท้ายวา่ “ในทสี่ ุดเจ้ากไ็ ดร้ จู้ ักกบั ความรักทีแ่ ทจ้ ริง ขอบใจ ดารกาประกาย ขอบใจ” อิทธิพลของฉากเวลาของพงศกรต่อตัวละครและเหตุการณ์ในเร่ืองที่ท้าให้เกิดการ เหลื่อมซ้อนระหว่างสองโลกน้ันยังพบได้ในนวนิยายเร่ืองอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกุหลาบรัตติกาล ใช้ ดอกกหุ ลาบรัตตกิ าลให้เป็นสีดา้ แทนสีท้องฟา้ เวลากลางคืน ในวังพญาพรายการกลายร่างเป็นผีพราย ของโรมก็มีส่วนเช่ือมโยงกับฉากเวลากลางคืน โดยเฉพาะคืนวันเพ็ญด้วย กล่าวได้ว่า ฉากเวลามี บทบาททา้ ให้พ้นื ทขี่ องโลกปจั จบุ นั ซง่ึ เป็นปกติสามญั ไดม้ าบรรจบกับโลกในเร่ืองเล่าเชิงคติชนได้อย่าง สมจริง พงศกรได้เลอื กใชฉ้ ากเวลาอย่างมีนยั ส้าคญั และบรรยายภาพเหตุการณ์อย่างประณีตเพอื่ เสนอ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสังเกตได้ว่าอิทธิพลจากแสงจันทร์ดูเหมือนเป็นฉากเวลาท่ีพงศกรใช้อยู่ บ่อยคร้ัง ทงั้ หมดท่กี ล่าวมาเกยี่ วกับฉากเวลาและฉากสถานทีย่ อ่ มจะเหน็ วา่ ฉากในนวนิยายของพงศกร มีบทบาทสา้ คัญยิ่งต่อการนา้ เสนอเรื่องบทบาทท่สี อดคลอ้ งกับทแี่ จค็ บิกค์แฮม (Jack M. Bickham) กล่าวถึงความสา้ คญั ของฉากว่า Setting does more than provide a framework within the story is told. It makes some things possible, other things quite impossible. [ … ] In addition to its importance in terms of credibility, setting also contributes enormously to general feeling or tone of a story. (Bickham 1994, 2) ฉากในนวนิยายของพงศกรสร้างความสมจรงิ ใหแ้ ก่เหตุการณ์ทเ่ี กิดขึ้นในเร่ือง รวมถึงฉากได้ ส่งผลต่อเหตุการณ์และตัวละครในเรอื่ งอยา่ งมนี ัยส้าคญั โดยพงศกรนา้ ขอ้ มลู เชิงคตชิ นมาใช้ประกอบ สร้างฉากนับว่าท้าใหเ้ กดิ ลกั ษณะฉากสถานทที่ ่เี รยี กได้ว่ามี “สีสันท้องถ่นิ ” (local colour) หมายถงึ ฉากที่ใช้รายละเอียดหรือลักษณะพิเศษของภูมิภาคหรือสิ่งแวดล้อมแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะการ แต่งกาย ประเพณี ดนตรี ฯลฯ เพ่ือความน่าสนใจและความสมจริงใหแ้ ก่เร่ืองเลา่ (พจนานุกรมศัพท์ วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑติ ยสถาน 2545, 243) ดังที่พงศกรสร้างเรือ่ งเลา่ เชิงคติชนท่ี อธิบายความเป็นมาของสถานท่ีและเรือ่ งเลา่ ในครอบครวั เพื่อช่วยเพิม่ มติ ิของฉากสถานท่ีสมมติให้ดู สมจริงและมที ่ีมาที่ไปสอดคลอ้ งกับเน้อื เรอ่ื ง แต่เรื่องเล่าเชิงคติชนมิได้มีหน้าท่ีเพอื่ สรา้ งสีสนั ท้องถ่ิน

156 เท่านั้น เพราะสถานท่ีที่เกิดความขัดแย้งเรื่องเล่าเชิงคติชนดังกล่าวได้กลายเป็นฉากหลักของเร่ือง เพอื่ ให้ตวั ละครไดเ้ ดินทางกลบั มาเรียนรู้ อกี ด้านหนึง่ พงศกรนา้ ตา้ นานน้าท่วมโลกมาเช่ือมโยงกับการ สร้างเมืองสมมติเพอื่ เป็นอุดมคติของการรับมอื ภัยโลกร้อนให้ตัวละครค่อยๆ เรียนรู้ผา่ นฉากสถานที่ ต่างๆท่ีจัดวางไว้ ฉากสถานท่ีจึงมีหน้าที่เป็นพื้นที่ให้ตัวละครได้เรียนรู้จากการเดินทางเพ่ือน้าไปสู่ ค้าตอบในตอนจบ ส่วนฉากเวลายังเป็นอีกองค์ประกอบท่ีพงศกรเลอื กใช้อยา่ งมีนัยยะต่อพฤติกรรม ของตัวละคร และแสดงสญั ลักษณ์ต่อการคลี่คลายความขัดแย้ง นวนิยายของพงศกรมักเลือกใช้ฉาก เวลากลางคืน อิทธิพลจากเวลาหนึ่งๆ โดยเฉพาะแสงจันทร์ส่งผลต่อตัวละคร ท่ีส้าคัญคือ ฉากเวลา เหล่าน้ีนับเป็นจุดเชื่อมตอ่ ระหวา่ งโลกปจั จบุ นั ทีต่ ัวละครเอกดา้ เนินชวี ิตกบั โลกจากเรื่องเล่าเชิงคติชน ตัวละครได้พบเจอ ได้เดินทางข้ามไปอีกโลกหน่ึงได้ในฉากเวลาเหล่านี้ก่อนท่ีโลกทั้งสองจะแยกออก จากกัน เห็นไดว้ ่าฉากเวลาเปน็ สะพานเชอ่ื มเรื่องเลา่ เชิงคตชิ นใหส้ ามารถเกดิ ข้นึ ไดใ้ นโลกปัจจบุ นั ทั้งหมดที่กล่าวมาในบทท่ี 3 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นวนิยายของพงศกรน้าข้อมูลเชิง คตชิ นมาเป็นส่วนสา้ คญั ในการประกอบสรา้ งนวนยิ าย ผลการวเิ คราะหช์ ีใ้ หเ้ หน็ ความสมั พนั ธท์ ซี่ ับซอ้ น ของการประกอบสรา้ งโครงเร่ือง ตัวละครและฉาก ซึ่งท้ังสามสว่ นมีจดุ รว่ มกัน คือ การน้าข้อมูลเชิง คตชิ นมาใชเ้ พื่อทา้ ใหน้ วนิยายเกดิ ความลกึ ลับเปน็ เบอ้ื งต้น ดงั เชน่ การสรา้ งองคป์ ระกอบแฟนทาสติก ต่างๆในนวนิยายท้าให้โครงเร่ืองมีความลึกลับ การปรากฏตัวของตัวละครอมนุษย์ การสร้างฉาก สถานที่ที่ห่างไกล การท้าให้ฉากเวลามีบทบาทเช่ือมต่อระหว่างโลกปัจจุบันกับโลกในเร่ืองเล่าเชิง คติชน ฯลฯ หากแต่ไม่เพยี งเท่าน้ัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นอีกว่า ความลึกลบั ที่มาจากขอ้ มูลเชิงคตชิ น ท้าให้นวนิยายมี “เรื่องราว” หมายถึง ข้อมูลเชิงคติชนท้าให้ความขดั แย้งในนวนิยายมี “สาเหตุ” ว่า เหตุการณค์ วามขดั แยง้ ท่ตี ัวละครพบเจอมาจากอะไร เหตุใดตวั ละครลึกลับตา่ งๆ จงึ ต้องมาปรากฏตัว สถานท่ีทีต่ ัวละครมาปฏิบัติภารกิจมีท่มี าอยา่ งไร จากน้ันข้อมูลเชิงคติชนไดเ้ สนอใหเ้ หน็ ทางออกของ ปัญหาโดยอาศัยขอ้ มูลเชิงคตชิ นมาเป็น “แนวทาง” ในการแกไ้ ขปญั หาให้ตรงจุด กล่าวได้ว่า การน้า ข้อมูลเชิงคติชนมาใช้ประกอบสร้างนวนิยายมีส่วนส้าคัญต่อการสร้างความลึกลับก็จริงอยู่ แต่เป็น ความลึกลบั ซึ่งมีทมี่ าอนั จะส่งผลต่อทิศทางของเรอ่ื งนนั่ เอง ท้ังน้ี ผู้วิจัยยังพบด้วยว่า ไม่เพียงแต่นวนิยายของพงศกรจะมีการใช้ข้อมูลเชิงคติชนมา ประกอบสร้างนวนิยายตามองค์ประกอบต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วเท่านั้น หากโครงสร้างโดยรวมของ นวนยิ ายพงศกรซ่ึงเน้นการเดินทางของตวั ละครเอก การเดินทางเขา้ ไปในฉากท่หี ่างไกล การพบเจอสงิ่ ลกึ ลบั เหนือธรรมชาติ พบมติ รทช่ี ที้ างและพบศตั รผู ู้ขวางทาง ลว้ นสอดคล้องกบั โครงสร้างเรอ่ื งเลา่ ทาง คติชนอย่างนิทาน ต้านานที่พบได้เป็นสากล ดังที่ในหนังสือเร่ือง The Writer’s Journey: Mythic Structure of Writing (1998) ของคริสโตเฟอร์ โวคเลอร์ (Christopher Vogler) เรยี กว่า “แบบแผนการเดินทางของวีรบรุ ุษ” (the hero’s journey model) กลา่ วคอื โวคเลอรเ์ ป็นนกั เขียน

157 บทภาพยนตร์ฮอลลีวูดซึ่งได้สังเกตโครงสร้างที่ปรากฏซ้าในเร่ืองเล่าต่างๆเพื่อจะน้ามาสร้างเป็น บทภาพยนตร์ โดยโวคเลอร์ได้รับอิทธิพลจากหนังสอื The Hero with a Thousand Faces ของ โจเซฟ แคมป์เบลล์ (Joseph Campbell) เรื่องแบบแผนการเดนิ ทางของวีรบุรุษในต้านาน12 ในงาน ศึกษาของโวคเลอร์ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า “All stories consist of a few common structural elements found universally in myths, fairy tales, dreams, and movies. They are known collectively as The Hero’s Journey.” (Vogler 1998, 1) โดยโครงสร้างยอ่ ยๆ รว่ มกนั ในเรอ่ื งราว ที่เรียกว่าแบบแผนการเดินทางของวีรบุรุษน้ัน แบ่งเป็น 12 ข้ันตอน (stages) ได้แก่ เรื่องเปิดในโลก สามัญ (ordinary world) เพือ่ แนะนา้ ชีวติ ของวีรบุรษุ เหล่านั้นและเป็นพน้ื ทใ่ี หพ้ วกเขาได้รับสญั ญาณ เพื่อออกเดินทางท้าภารกิจ (call to adventure) พวกเขาเกิดความไม่แน่ใจจนปฏิเสธสัญญาณนั้น (refuse the call) จนต่อมาพวกเขาไดพ้ บกับผเู้ ป็นน้าทาง (mentor) ทไ่ี ดใ้ หค้ วามมัน่ ใจแก่เขา เขาจึง ตดั สินใจก้าวข้ามประตูไปสู่โลกท่พี วกเขาไม่คุ้นเคย (cross the first threshold) ในโลกท่แี ตกตา่ งไป นั้นพวกเขาพบทั้งบททดสอบ มิตรและศัตรู (test, allies, and enemies) การเดินทางผลักดันตัว ละครต้องเดินทางไปยังพื้นที่น่ากลัวที่สุดเหมือนกับเข้าไปในถ้าท่ีลึกที่สุด (approach the inmost cave) พ้ืนที่น้ีได้ท้าใหพ้ วกเขาก้าวข้ามไปสูจ่ ดุ ทเ่ี ขาต้องเผชิญหน้ากับความกลัวสงู สุด และชะตาของ เขาก่้ากึง่ ระหว่างเป็นหรอื ตาย (the ordeal) ท้ายที่สดุ พวกเขากร็ อดชีวติ กลบั มาพร้อมกับไดส้ มบัตทิ ี่ พวกเขาตามหา (reward) จากนั้นพวกเขาก็จะได้เดนิ ทางกลบั (the road back) และการกลับมาของ พวกเขาก็เหมอื นการคืนชพี จากความตายอนั หมายถึงการเปล่ยี นแปลงเป็นคนใหม่ (resurrection) ซงึ่ มาพร้อมกบั ของวิเศษ (return with the elixir) ที่อาจเป็นทรพั ยส์ มบัติหรือประโยชน์แก่มวลมนษุ ย์ ในโลกสามัญ (Vogler 1998, 26) แบบแผนการเดินทางของวีรบุรุษของโวคเลอร์แสดงให้เห็นเค้าของโครงสร้างปรัมปรา (mythic structure) อย่างชัดเจนท่ีไม่ว่าเรื่องเล่าจะเปล่ียนไป แต่แก่นน้ียังปรากฏอยู่ โดยค้าว่า “วีรบุรุษ” ในงานของโวคเลอรไ์ ม่ได้หมายถึงเพียงวีรบุรุษในนิทานหรือต้านานเทา่ น้ัน หากยังหมาย รวมถึงตัวละครเอกในเรอ่ื งเลา่ ท่ีอาจไม่ได้มีอ้านาจพิเศษ งานของโวคเลอรไ์ ด้เปิดประเด็นการศึกษา โครงสร้างของเร่ืองเล่าและสง่ อทิ ธิพลต่อการวิเคราะห์โครงสร้างของเร่ืองเล่าหลายประเภท โดยใน หนงั สอื Myth and the Movies : discovering the mythic structure of 50 unforgettable films (1999) ของสจ๊วต วอยทลิ ลา (Stuart Voytilla) ไดน้ า้ เอาแบบแผนของโวคเลอรม์ าใช้พจิ ารณา 12 หนังสือของแคมปเ์ บลล์ไดเ้ สนอแนวคิด “the myth of the hero” ซึง่ ชใ้ี หเ้ ห็นว่าต้านานเก่ยี วกบั วีรบุรุษมแี ก่นเร่ืองทีค่ งท่ี และ เรียกได้ว่าแทบเป็นเร่ืองเดียวกัน หากเมื่อน้ามาเล่าใหม่ก็แตกเป็นเรื่องเล่าท่ีมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ผู้เล่าเรื่องต่างเลา่ ตา้ นา นท่ี หลากหลายออกมาโดยอาศยั แบบแผนดังกลา่ ว ท้งั ท่พี วกเขารตู้ วั หรอื ไม่ร้ตู วั กต็ าม ดังนนั้ ผเู้ ล่าเร่อื งต่างนา้ เอาแบบแผนด้งั เดิมเหล่าน้ัน มาผสมกบั เรือ่ งเลา่ ของตนแตกตา่ งไปแต่ละจุดประสงค์ เหตุนี้เองวรี บรุ ษุ (hero) จงึ มหี ลายพนั หนา้ ( thousand faces) แตกต่างกนั

158 ภาพยนตร์ยอดนิยมท่ีอยู่ในความทรงจ้าของคนท่ัวไป อย่างเช่น สตาร์วอร์ ไททานิก เป็นต้น โดย หนังสอื ของวอยทิลลาไดส้ รปุ ความคดิ ของโวคเลอร์เป็นแผนภาพอยา่ งชัดเจน ดังภาพท่ี 11 ภาพที่ 11 แบบแผนการเดินทางของวรี บรุ ุษตามแนวคิดของโวคเลอร์ (ทมี่ า Voytilla 1999, 6) เม่ือน้าแบบแผนการเดนิ ทางของวีรบรุ ุษมาพิจารณาโครงสร้างในนวนยิ ายของพงศกรจะพบ ลักษณะท่ีสอดคล้องกัน โดยพบเหตุการณ์ที่พอ้ งกันอย่างเด่นชัด ได้แก่ นวนิยายของพงศกรทกุ เร่อื ง เปิดเร่ืองด้วยการกล่าวถึงตัวละครเอกเป็นผู้มีสถานภาพสูงต้องออกจาก พื้นท่ีคุ้นเคยไปสู่พ้ืนที่ท่ี ไม่ คุ้นเคยอันชี้ให้เห็นเรื่องราวในโลกสามัญของพวกเขา โดยมักมีเหตุการณ์มากระตุ้นให้พวกเขาต้อง

159 เดินทางไป เชน่ ไดร้ ับมรดกจากบรรพบรุ ษุ ไปสานต่อกจิ การครอบครัว การยอ้ นกลบั มาหาสาเหตขุ อง อาการแปลกประลาด ฯลฯ การเดินทางเข้าไปในพ้ืนท่ีห่างไกลท้าให้ตัวละครเผชิญเรื่องแปลก ประหลาดและพวกเขาพบตัวละครผนู้ า้ ทางท่ีใหข้ อ้ มลู คอยชว่ ยเหลอื และชี้ทางแก่พวกเขา จนพวกเขา ยอมก้าวเข้าไปสู่การทา้ ภารกจิ ซ่ึงไดเ้ ปลย่ี นชีวติ พวกเขาไปอย่างส้าคัญ เช่น การยอมรบั ขอ้ แลกเปลยี่ น จากกีรณะเพื่อหาอญั มณีสร้อยแสงจนั ทร์ทา้ ใหพ้ ุทธิต้องเก่ียวข้องกับการแยง่ ชงิ อัญมณี การเดินทางไป ยงั เมืองคชาปรุ ะ การคน้ หาความจริงเกยี่ วกบั ประพมิ พรรณทถี่ ูกขงั ในคฤหาสน์ เป็นต้น การค้นหาและ การคน้ พบของตวั ละครเอกทา้ ให้พบเจอมติ รซ่ึงอาจมาในรูปแบบของคนรกั ศัตรจู ากตัวละครปฏปิ ักษ์ ที่มาขัดขวางและบททดสอบหลายประการท่ีต้องอาศัยความกล้าของตัวละคร แล้วเร้าตัวละครให้ เดินทางไปยังสถานทีส่ ้าคัญซงึ่ เปน็ พืน้ ท่แี ห่งการช้ีชะตา เช่น การตัดสินใจเดินทางไปยังเวียงแสนเพง็ ท้าใหด้ รสาได้ปรับความเข้าใจกับสินธพ และพบว่าโคลินจากมติ รไดก้ ลายเปน็ ศัตรู ในการเดนิ ทางน้ีดร สาต้องสูก้ บั ความกลัวเพ่ือปกป้องเอื้องแสนเพง็ น้าท่วมใหญท่ า้ ให้ขิมทองตดั สนิ ใจเดินทางไปหาเรือง แสงฟ้าที่บึงพรายด้วยตนเอง เป็นต้น บททดสอบเร้ามาถึงจุดสงู สดุ ของความขัดแย้งทตี่ ัวละครเอก ต้องเผชิญหน้ากับความกลวั สดุ และพวกเขาได้พบค้าตอบเป็นรางวัล น่นั คอื การพบค้าตอบที่ช่วยโลก หรือสัจธรรมของชีวิต นวนิยายมักจบลงด้วยการเดินทางกลับหรอื การย้ายกลับมาอยู่ในพื้นที่แรกท่ี พวกเขาเดินทางเข้ามาอันเป็นพ้ืนที่ที่พวกเขาได้น้าของวิเศษมาบอกต่อแก่ชาวโลก เช่น การได้เห็น แบบอย่างจากเมอื งคชาปุระมาเป็นแนวทางต่อการช่วยแก้ปัญหาส่ิงแวดล้อม เป็นต้น เห็นได้ว่า แม้ เหตุการณ์หลักในภาพรวมของนวนิยายพงศกรอาจไม่ได้ครบทั้งสิบสองขั้นตอน แต่นวนิยายของ พงศกรบางเร่ืองมีองค์ประกอบอยู่บ้าง เช่น การปฏิเสธสัญญาณของมีน การเร่ิมต้นชีวิตใหม่ของ ตวั ละครท่เี ข้าไปในเมอื งคชาปรุ ะ ฯลฯ กล่าวได้วา่ ไมว่ ่าพงศกรรตู้ ัวหรอื ไมร่ ู้ตัววา่ ก้าลังใช้แบบแผนการเดนิ ทางของวรี บุรุษอยกู่ ต็ ามที หากการเดินทางของตวั ละครในนวนิยายเรยี กได้วา่ สอดคลอ้ งกันอยา่ งชดั เจนกับแบบแผนการเดินทาง ของวีรบุรุษ องค์ประกอบของนวนิยายของพงศกรหลายส่วนได้พ้องกัน ตั้งแต่การประกอบสร้าง โครงเรอ่ื งให้เป็นการเดินทางเพอ่ื หาค้าตอบของตวั ละครเอก การสรา้ งตัวละครผ้นู า้ ทางใหต้ วั ละครเอก พบเจอและช้ีน้าให้ตัวละครเอกทา้ ภารกิจ ตัวละครทีอ่ ยู่ในพื้นทก่ี ็เป็นท้ังมติ รและศัตรู รวมถึงเป็นบท ทดสอบให้ตัวละครต้องเผชิญ การตามหาของวิเศษเพ่ือน้ามาบอกต่อแก่ชาวโลก เป็นต้น และน่า สังเกตว่า การน้าเอาข้อมูลเชิงคติชนมาประกอบสร้างเอ้ือต่อการสร้างโครงสร้างการเดินทางเชน่ น้ี เพราะการน้าการลงโทษจากเร่ืองเลา่ เชิงคติชนมาใช้ส่งผลตอ่ จดุ สูงสดุ ของเร่ืองและน้ามาสู่รางวัลหรือ การเรียนรู้ น่ันคือ การยกโทษ และน้าไปสู่การเดินทางกลับมาด้วยของวิเศษ ของวิเศษดังกล่าวคือ การรู้จักตนเองและการอยกู่ ับโลกสามญั อย่างมีความสุข นอกจากนี้การน้าเร่อื งเล่าเชิงคติชนมาใชย้ งั สัมพันธ์กับตัวละครท่ีเป็นท้ังมิตรและศัตรูหรือกระท่ังผู้น้าทางเพื่อให้ตัวละครต้องมาเกี่ยวข้อง ทั้ง ปลดปล่อยพวกเขา อยา่ งกรี ณะ อู๋ตาบ้า หรอื ต้องปรับความเขา้ ใจกนั อย่างเรืองแสงฟ้า ไดร้ บั มติ รจาก

160 การชว่ ยเหลอื จากชาวบังบด ฯลฯ ส่วนฉากสถานทเ่ี องเปน็ พน้ื ทพ่ี เิ ศษ ดว้ ยค้าอธบิ ายจากเรอ่ื งเล่าเชิง คติชนท้ังเร่ืองเลา่ ที่อธิบายความเปน็ มาของสถานที่ เรื่องเล่าในครอบครัวและต้านานเรือโนอาห์ ฉาก เวลาเป็นจดุ เชอื่ มต่อใหโ้ ลกสามัญและโลกพิสดารมาบรรจบกนั ทา้ ใหต้ ัวละครได้ก้าวข้ามและทา้ ภารกจิ ได้น่นั เอง กล่าวไดว้ า่ การน้าขอ้ มูลเชิงคติชนมาประกอบสรา้ งได้ทา้ ให้การเดนิ ทางของตัวละครเอกใน ภาคโลกพสิ ดารมีความพิเศษและมีความหมาย ท้ังตอ่ การค้นหาและคน้ พบ กระทง่ั ค้าตอบทีไ่ ด้รบั ล้วน โยงไปยงั ข้อมูลเชงิ คตชิ นทนี่ ้ามาใช้ทงั้ ส้ิน นวนิยายของพงศกรจึงมไิ ด้นา้ เพียงข้อมูลเชิงคติชนมาประกอบสร้างเปน็ โครงเรอ่ื ง ตัวละคร และฉากเท่าน้ัน หากการเทียบเคียงกับแบบแผนการเดินทางของวีรบรุ ษุ ตามแนวคิดของโวคเลอรย์ ัง แสดงให้เหน็ อีกวา่ นวนิยายเหลา่ นีต้ ่างสอดคลอ้ งกับโครงสรา้ งปรมั ปราท่มี มี าด้งั เดมิ ตั้งแต่ตา้ นานของ วีรบรุ ษุ การค้นพบน้ีสะทอ้ นวา่ นวนิยายของพงศกรมิไดป้ ระกอบสรา้ งเพยี งน้าเอา “ขอ้ มลู เชงิ คติชน” มาประกอบสรา้ งเพยี งอยา่ งเดยี ว หากแตโ่ ครงสรา้ งนวนิยายในภาพรวมสะทอ้ นโครงสรา้ งเรอ่ื งเลา่ ทาง “คติชน” ทไี่ หลวนอยูใ่ นสว่ นลึกของความคดิ ผู้คน โดยของวเิ ศษที่ตวั ละครค้นพบในตอนจบจะปรากฏ ในฐานะแนวคดิ สา้ คญั ของนวนยิ ายซึง่ จะกลา่ วถึงในบทถัดไป

บทท่ี 4 ความสมั พันธร์ ะหว่างข้อมูลเชงิ คตชิ นกับแนวคิดหลักในนวนิยายของพงศกร บทน้ีจะเป็นการอภิปรายต่อเน่ืองจากบททีผ่ า่ นมาเพอื่ ช้ีให้เหน็ ว่า การน้าข้อมูลเชิงคติชนมา ประกอบสร้างนวนิยาย นอกจากเพ่ิมความน่าสนใจต่อการด้าเนินเรื่องแล้ว ข้อมูลเชิงคติชนยังเป็น องค์ประกอบท่ีพงศกรใช้เพื่อน้าเสนอแนวคิด ท้ังนี้ “แนวคิด” (theme) หมายถึง ความคิดท่ีเป็น ข้อสรุปจากเรื่องทอี่ ่าน ขอ้ สรุปทางความคิดจะเกดิ ขึ้นไดต้ ่อเมื่อผ้อู ่านค้นพบความหมายของเร่ืองแล้ว เชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ในเรื่องเล่าเข้ากับชีวิตจริงอันน้าไปสู่ความเข้าใจชีวิต (อิราวดี ไตลังคะ 2543, 66) ในงานวรรณกรรมวิจารณ์รุ่นบุกเบิกอย่างหนังสือแว่นวรรณกรรมของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2539, 77) ได้เสนอถึงการวิเคราะห์แนวคิดว่า แนวคิดเป็นส่ิงที่มักพิจารณาหลังสุด ผู้อ่านแต่ละคนอาจวินิจฉัยแนวคิดของเรอื่ งเดียวกนั แตกต่างกนั ได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแตล่ ะ บคุ คลทม่ี ีมมุ มองแตกตา่ งกนั เหตุนข้ี อ้ สรปุ ทางความคิดจึงอาจเหมือนหรอื แตกตา่ งกนั ไปได้ โดยอิงอร สุพันธุ์วณิช (2558, 108) ระบุว่าแนวคิดหนึ่งๆ จะเสนอออกมาได้ต้องเกิดจากการพิจารณาความ เช่ือมโยงระหว่างองคป์ ระกอบท้งั โครงเรื่อง ตัวละครและฉากท่ีประสมกลมกลืนกันน่นั เอง จากการวิเคราะห์การประกอบสร้างพบว่า นวนิยายของพงศกรน้าไปส่แู นวคิดสองด้าน คือ แนวคิดทางธรรมกับแนวคิดทางสังคม แนวคิดแรกเก่ียวกับค้าสอนทางพทุ ธศาสนา โดยเฉพาะเรอ่ื ง กิเลสและกรรมเพอ่ื ให้ข้อคิดสอนใจแก่ผูอ้ ่าน ขณะที่แนวคิดด้านสังคมประกอบดว้ ยสองแนวคิดหลัก ได้แก่ แนวคิดเก่ียวกับการแสดงคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้าน กับแนวคิดการแสดงปัญหาและเสนอ ทางออกทีส่ งั คมปจั จุบนั ดา้ เนินอยู่ โดยการนา้ เสนอแต่ละแนวคิด พงศกรใช้ข้อมูลเชิงคติชนเปน็ ส่วน สา้ คญั ต่อการเสนอแนวคดิ ดงั น้ี 4.1 ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งข้อมลู เชงิ คติชนกบั แนวคิดเกย่ี วกบั คาสอนทางพทุ ธศาสนา แนวคดิ เกยี่ วกบั ค้าสอนทางพทุ ธศาสนาปรากฏสบื เนื่องในวรรณคดไี ทยต้งั แต่โบราณเรื่อยมา กระทง่ั ในวรรณกรรมปจั จุบนั แนวคดิ น้ีก็ยังปรากฏอยา่ งเดน่ ชัด ดังเชน่ กลุ่มกวนี ิพนธส์ มัยใหม่ สจุ ติ รา จงสถิตย์วฒั นา (2544, 261) ชี้ใหเ้ ห็นว่า พทุ ธธรรมได้รบั การสบื ทอดและถูกตีความใหเ้ ปน็ สากลมาก ย่ิงขึ้น ยิ่งเมื่อประกอบกับกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่หลากหลายด้วยแล้วก็ท้าให้กวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ น้าเสนอพุทธธรรมได้อย่างกว้างขวางและลึกซ้ึงมากกว่าในอดีต นวนิยายไทยหลายเร่ืองโดยเฉพาะ นวนยิ ายแนวลึกลบั เหนอื ธรรมชาตมิ ักนา้ เสนอแนวคิดทางพุทธศาสนาเสมอ ดังเช่นท่ีอิงอร สุพันธ์วุ ณชิ (2558, 290) ช้ีให้เห็นว่า นวนิยายของแก้วเก้าสร้างความบันเทิงควบคู่กับการแฝงแนวคิดทาง พทุ ธศาสนา โดยเฉพาะเรอื่ งกเิ ลสของมนษุ ยอ์ ันนา้ ไปส่หู ายนะ

162 นวนยิ ายของพงศกรนบั วา่ สะทอ้ นแนวคดิ เกย่ี วกบั ค้าสอนทางพุทธศาสนาอย่างเด่นชดั เช่นกัน ดังที่ปรากฏจากโครงเรื่อง ตัวละครและฉากบางสว่ นทผี่ ู้วิจัยวิเคราะหไ์ ปแล้ว รวมถึงผลการวิจัยของ จิณณะ รุจิเสนีย์ (2554, 140) ได้ระบุว่า ส่ิงเหนือธรรมชาติและกลวิธีการสร้างความเหนือธรรมชาติ ในนวนิยายของพงศกรมีความสัมพันธ์อย่างมีเอกภาพต่อการน้าเสนอแนวคิดทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะเรอ่ื งกเิ ลส การให้อภยั และกฎแหง่ กรรม ท้ังนี้ แมข้ ้อคน้ พบว่านวนิยายของพงศกรนา้ เสนอ แนวคิดทางพุทธศาสนาอาจมิใช่เร่ืองแปลกใหม่นัก แต่ในท่ีนี้ผู้วิจัยต้องการมุ่งพิจารณาบทบาทของ ข้อมูลเชงิ คตชิ นต่อการน้าเสนอแนวคิดทางพทุ ธศาสนา และมงุ่ ช้ีให้เหน็ ว่าข้อมูลเชงิ คติชนยังเป็นส่วน สนับสนุนให้เข้าใจแนวคิดทางพุทธศาสนาได้อย่างลึกซ้ึงมากยิ่งขึ้น แนวคิดทางพุทธศาสนาใน นวนิยายของพงศกรแบง่ ได้เป็นสองแนวคิด ได้แก่ แนวคิดเร่ืองกิเลสเปน็ เหตุของทกุ ข์ซ่งึ แนวคิดนี้จะ เก่ียวข้องกับจิตใจภายในตัวละคร และอีกแนวคิดหนึ่ง แนวคิดเร่ืองกรรมก้าหนดความเป็นไปของ สรรพสิง่ ซ่ึงเกย่ี วขอ้ งกับการกระทา้ ทตี่ ัวละครกระท้าตอ่ กัน 4.1.1 ขอ้ มลู เชงิ คตชิ นกบั การนาเสนอแนวคิดเรื่องกิเลสเปน็ เหตุแหง่ ทุกข์ 4.1.1.1 แนวคิดเรื่องกเิ ลสเป็นเหตุแหง่ ทุกข์ กิเลสในทางพุทธศาสนา หมายถึง สิ่งท่ีท้าให้เศร้าหมอง อาจเป็นความชั่วที่แฝงอยู่ใน ความรู้สึกนกึ คดิ ท้าใหจ้ ิตใจขนุ่ มวั ไม่บรสิ ุทธ์ิและปรุงแต่งความคิดให้น้าไปสู่กรรมตามมา (พระพรหม คุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) 2551, 22) นวนยิ ายของพงศกรใช้แนวคิดเร่อื งกเิ ลสมาอธิบายแรงขบั เคลื่อน ภายในจิตใจของตัวละครจนน้าไปสคู่ วามขัดแยง้ โดยเน้นว่าความโลภ ความโกรธและความหลงเปน็ เหตุแหง่ ปญั หา ทง้ั จุดจบของตวั ละครและการยึดม่นั ถอื ม่นั ไมป่ ล่อยวาง (1) ความโลภเป็นเหตุแหง่ หายนะ กเิ ลสท่เี กิดจากความโลภปรากฏอย่างเดน่ ชัดในนวนิยายของพงศกร สังเกตได้จากชว่ ง การค้นหาและการค้นพบท่ีมักมีปมขัดแย้งให้ตัวละครต่างต้องแย่งชิงของส้าคัญ ได้แก่ การแย่งชิง อัญมณีสร้อยแสงจันทร์ การแย่งชิงดอกกุหลาบรัตติกาล การแย่งชิงของวิเศษเพื่อหาทางไปยังเมอื ง คชาปุระ การแย่งชิงช้างมงคลเพื่อครองบัลลงั ก์ ครองความเป็นอมตะหรอื ทรพั ย์สนิ เงินทองท่ีอยู่ใน เมืองคชาปุระ และการแย่งชิงเพชรสีชมพู สาเหตุที่น้าไปสู่การแย่งชิงก็เพราะสิ่งของเหล่าน้ันเป็น ตวั แทนของ “อ้านาจ” ทั้งอ้านาจเงนิ อ้านาจการปกครอง และอา้ นาจวิเศษ ดังเชน่ “กุหลาบสีน้าเงนิ คอื กเิ ลส คือความเยา้ ยวนใจ จติ ใจท่ีเปี่ยมไปดว้ ยความโลภโมโทสนั นั้นไม่เขา้ ใครออกใคร กุหลาบสนี ้า เงินเป็นของล้าค่าเกินกว่าจะตคี ่าออกมาเป็นเงินทอง ใครกต็ ามทีไ่ ดค้ รอบครองกหุ ลาบสีนา้ เงนิ ต้นน้จี ะ เป็นยงิ่ กวา่ มหาเศรษฐี” (พงศกร 2555ก, 273) หรอื “ไมว่ า่ สา้ นึกของชาวเมอื งจะดอี ยา่ งไร หากชาวค ชาปรุ ะไม่สามารถหลกี หนีกิเลส ความอยากได้อยากมอี ันฝังลกึ อยู่ในกมลสันดานของมนุษย์ไปได้ การ แข่งขันเพอื่ แย่งชงิ บัลลงั กค์ ชาปรุ ะจงึ เกิดขนึ้ ” (พงศกร 2557ข, 251) เป็นตน้

163 นวนิยายของพงศกรนา้ เสนอตัวละครปฏปิ ักษ์ท้งั ทเี่ ดินทางเข้ามาและตวั ละครท่ีอาศัย อยู่ในพื้นท่ีเปน็ สญั ลกั ษณ์แทนความโลภ เพราะพฤติกรรมของตัวละครเหล่าน้ีโน้มนา้ ไปสู่การแยง่ ชิง โดยตัวละครปฏิปักษ์มกั สามารถครอบครองของส้าคัญได้ในช่วงส้ันๆกอ่ นพบกับจดุ จบ และของวิเศษ เหล่านนั้ ก็จะสูญสลายไปพร้อมพวกเขา ดังทีม่ สี ัญชพี นรกมาเกิดขน้ึ ต่อหน้าบญุ ทา กอ่ นเขาถูกนรกสูบ ลงไปพรอ้ มกบั อญั มณีสร้อยแสงจันทรท์ ี่ตนต้องการ ตัวละครท่ีเข้ามาแย่งชิงดอกกหุ ลาบรัตติกาลทุก คนต่างพบจุดจบทเ่ี ลวร้าย ไม่ว่าจะเห็นนิลนวารามาหลอกหลอนจนเสยี ชีวิตอย่างฉับพลันหรอื ท้าให้ เขามีอาการทางประสาท คนในตระกูลคเชนทราตา่ งแย่งชิงเพชรสชี มพูอยา่ งไมค่ ดิ ชวี ิตขณะทค่ี ฤหาสน์ กา้ ลงั ถลม่ ลง แมพ้ วกเขาได้ครอบครองเพชร แตช่ ีวติ พวกเขาตอ้ งจบลง สว่ นนายเมษทโี่ ลภอยากได้ทั้ง ทรัพยส์ ิน อา้ นาจและความเป็นอมตะก็ได้เปน็ อมตะสมใจ เพราะกลอ่ งแหง่ ความเปน็ อมตะถกู เปดิ ออก แลว้ ไอหมอกแหง่ ความเป็นอมตะพวยพุ่งมาส่เู มษ แต่ต้องแลกกับการเปน็ อัมพาตตลอดไป ลักษณะเช่นนีแ้ สดงว่าความโลภของตัวละครปฏิปักษ์น้าความหายนะมาส่พู วกเขาเอง พวกเขาใช้ความโลภขับเคลื่อนจิตใจ จนได้ครองส่งิ ท่ตี ้องการสา้ เร็จ แต่อ้านาจทีม่ าอย่างไม่ถูกต้องได้ นา้ พาชวี ิตของพวกเขาไปสหู่ ายนะ ของวเิ ศษจึงเปน็ ตวั แทนของอา้ นาจท่มี ีท้ังคณุ และโทษ หากอ้านาจ ท่ีได้มาอย่างไม่ชอบธรรมแล้วต้องได้รับโทษจากกิเลสของพวกเขาเองอย่างทันด่วน และน่าสังเกตวา่ จุดจบของตัวละครปฏิปักษ์แบบเหนือธรรมชาติหรือเกินจริงเป็นการขับเน้นภาพความโลภของ ตัวละครฉายชัดข้ึนสอดคล้องกับที่รื่นฤทัย สัจจพันธ์ุ (2544, 29-34) กล่าวไว้ว่า ภาพเกินจริงใน วรรณคดีเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์อยา่ งหน่ึง ซึ่งมิได้มุ่งเสนอภาพท่ีเป็นจรงิ ตามตัวอักษร แต่เป็นการ สร้างพลังแห่งอารมณ์ความรู้สึก โดยการย้าความรู้สึกให้หนักแน่นเข้มข้นขึ้น โดยนัยนี้ การสร้าง เหตุการณ์จุดจบด้วยหายนะอย่างเหนือธรรมชาติจึงเป็นการขับเน้นแนวคิดให้เห็นถึงความโลภที่ นา้ ไปส่หู ายนะอยา่ งหนักแน่น อนงี่ ในบรรดาของส้าคัญจะมีเพยี งดอกกหุ ลาบรัตตกิ าลเท่านั้นทีไ่ มส่ ูญสลายไปในตอน จบ ดังที่ “กุหลาบรัตติกาลก็ได้หยั่งรากลกึ ลงในบ้านหลังใหม่เสยี ที อีกไม่นานนิลนวารากจ็ ะเตบิ ใหญ่ ฟืน้ คนื ชีพขนึ้ มาใหม่พรอ้ มจะแผ่กง่ิ ก้านใบและผลิตดอกสนี า้ เงินให้โลกท่เี ตม็ ไปด้วยกเิ ลสและตณั หาใบ นี้ได้ชื่นชมความงามของเธออีกครัง้ หนงึ่ อกี ไมน่ านนกั หรอก” (พงศกร 2555ก, 509) การจบเรื่องแบบ ปลายเปดิ เช่นน้ตี คี วามได้ว่า อา้ นาจจากกหุ ลาบรัตตกิ าลจะเป็นชนวนของความขดั แย้งใหแ้ กม่ นุษย์ได้ ต่อไป เพราะ “โลกทเี่ ต็มไปดว้ ยกิเลสและตณั หา” ไม่มวี นั ส้นิ สุด และจากชะตากรรมของตวั ละครท่ไี ด้ ครอบครองดอกกุหลาบมาตลอดท้ังเรื่อง ก็สามารถอนุมานตอ่ ได้ว่า ผคู้ รอบครองดอกกหุ ลาบคนถัดๆ ไปยอ่ มพบกบั ชะตากรรมทีไ่ ม่ต่างจากตัวละครในเรอ่ื ง โดยนยั นี้ ดอกกุหลาบรตั ติกาลจงึ สะทอ้ นความ โลภออกมาวา่ เปน็ สงิ่ สากลที่อยู่คู่กบั มนษุ ย์และไมม่ ีวันสน้ิ สุด เมื่อความโลภเป็นสาเหตุไปสู่หายนะ นวนิยายของพงศกรจึงเสนอทางออกจากความ หายนะดว้ ยการ “ละวาง” กิเลสลง แต่นวนยิ ายของพงศกรมิไดเ้ สนอว่ามนษุ ย์ตอ้ งดับความโลภอย่าง

164 สิ้นเชิงถึงจะหลีกเล่ียงหายนะได้ เพียงแต่เสนอว่า ความโลภที่ “เกินพอดี” จะเป็นเหตุของหายนะ เห็นได้จากตัวละครปฏิปักษ์ในนวนิยายลว้ นมีสถานะทางสังคมสงู และเพยี บพรอ้ มแทบทุกด้าน หาก พวกเขากลับต้องการอ้านาจที่มากเกินขอบเขตจนน้ามาสู่หายนะ ขณะเดียวกันพงศกรสร้าง ตัวละครเอกท่ีมิได้ตัดขาดจากความโลภเสยี ท้ังหมด เพราะตัวละครเอกยังเปน็ ส่วนหนึ่งในการแยง่ ชงิ ของส้าคญั แต่ส่ิงท่ีท้าให้ตวั ละครเอกต่างจากตัวละครปฏิปักษ์ คอื ตวั ละครเอกมกั หวังครอบครองของ ส้าคัญเพ่ือประโยชน์สว่ นรวม ส่วนตัวละครปฏิปกั ษ์ต้องการครอบครองมาเป็นของตน อย่างในสร้อย แสงจนั ทร์ พทุ ธิได้รับภารกิจตามหาอญั มณีสรอ้ ยแสงจันทร์ที่หายไปและตอ้ งเข้าไปแยง่ ชงิ อญั มณีเพื่อ ปกป้องอัญมณีดวงน้ีจากตัวละครปฏิปักษ์ แต่เขาไม่ได้ต้องการเก็บอัญมณีไว้กับตน หากแต่ท้าเพ่ือ สว่ นรวม ในคชาปุระ-นครไอยรา คามินและอัยย์ต่างตอ้ งการเดินทางตามหาเมอื งคชาปุระ โดยมไิ ด้มี จุดประสงค์เพอ่ื ความร่า้ รวยหรือความเป็นอมตะ แต่พวกเขาตระหนกั ถึงภัยธรรมชาติทก่ี ้าลงั รุนแรง มากย่งิ ขนึ้ เพอื่ หาทางออกใหแ้ ก่โลก สว่ นในเคหาสนน์ างคอย กงุ้ และประพิมพรรณไมต่ อ้ งการเพชรสี ชมพูเลย แมใ้ นตอนท้ายเม่ือทราบว่าท่ีอยู่ของเพชรอยู่ที่ไหน ประพิมพรรณก็ไม่เลอื กจะเกบ็ ไว้ เพราะ หลอ่ นมองว่าเพชรเม็ดนี้ได้ท้าลายชีวิตของหลอ่ นพงั ลง ปลอ่ ยใหญ้ าติของหล่อนแย่งชงิ เพชรเมด็ น้ันจน พวกเขาเสยี ชวี ิตไปพร้อมกบั คฤหาสนท์ ่ถี ล่มลง ขณะท่ีกหุ ลาบรัตตกิ าล ภารวเี องกม็ องเห็นทง้ั เงนิ และ ชื่อเสียงทห่ี ล่อนจะได้รับ หากการแยง่ ชิงดอกกหุ ลาบทแี่ มก้ ระทั่งเพอื่ นสนทิ ของหลอ่ นยังหกั หลงั หลอ่ น ท้าให้หล่อนตระหนักถึงภยั จากดอกกหุ ลาบดอกน้ี จนทา้ ยท่สี ดุ ชษุ ณะและภาวรจี งึ ตดั สินใจทา้ ลายดอก กุหลาบท้งิ กล่าวไดว้ า่ พงศกรมไิ ดส้ ร้างใหต้ ัวละครเอกเปน็ ผู้ทลี่ ะท้งิ กเิ ลสไดท้ ัง้ หมด ตัวละครเอกยังมี ความโลภ แตพ่ วกเขาสามารถละวางความโลภลงกอ่ นที่หายนะจะมาถึงตน การละวางกิเลสทปี่ รากฏก็ มาจาก “การแบ่งปัน” เพื่อส่วนรวมมากกว่าการครอบครองอ้านาจไว้กับตนเพียงอย่างเดียว และ เสนอแนะ “การรู้จักประมาณตน” ดว้ ยการพอใจกับสงิ่ ที่ตนเองมีเพื่อมิให้ตอ้ งไขว่คว้าเกินพอดีจนน้า หายนะมาส่ตู วั (2) ความโกรธและความหลงทา้ ให้ยึดมนั่ ถือมัน่ การยึดม่นั ถือมัน่ หรอื “อุปาทาน” ในทางพุทธศาสนา หมายถงึ ความถือม่ัน ความยึด ติดถือค้างถือคาไว้ ไม่ปล่อยไม่วางตามควรแก่เหตุผล เน่ืองจากติดใครช่ อบใจใฝ่ปรารถนาอย่างแรง ด้วยอ้านาจของกิเลส (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) 2551, 571) ในเรื่องเบื้องบรรพ์ วังพญาพรายและฤดดู าว ไดส้ ะท้อนแนวคิดเร่อื งการยดึ ม่ันถอื ม่ัน อนั มีสาเหตมุ าจากความโกรธและ ความหลงอย่างเด่นชดั จนท้าให้เกดิ ความขัดแยง้ ท่ีขา้ มภพชาติ นวนยิ ายของพงศกรเสนอการคลายปม ขดั แย้งด้วยการใหอ้ ภยั และการปรับความเขา้ ใจระหวา่ งกัน นวนิยายท้งั สามเรื่องมจี ุดรว่ มกันคอื ตัวละครเอกเคยเป็นผผู้ ูกปมในอดตี ชาติแล้วกลับ ชาติมาเกิดเป็นผู้ได้รับผลความขัดแย้งนั้น ดังท่ีมีนกับวรัณต้องเจอเหตุการณ์ประหลาดมากมาย เพราะความอาฆาตท่ีผูกพันมาของท้าวภังคี เช่นเดียวกับดรสา หล่อนเป็นคนเดียวทีจ่ ะแก้ไขเหตุการณ์

165 วุ่นวายได้เพราะหลอ่ นเปน็ ดารกาประกายกลับชาติมาเกิด น่าสังเกตว่า เบื้องบรรพ์และฤดูดาว ไม่มี ตัวละครปฏิปักษ์เข้ามาก่อให้เกิดอุปสรรค หากเกิดเป็นนามธรรมต่างๆ เพ่ือเน้นย้าความขัดแย้งท่ี เกิดขึ้นภายในจิตใจ (inner conflict) ของตัวละครเอก กระตุ้นให้เกิดการค้นหาถึงต้นตอของความ ขัดแย้ง และในอีกดา้ นหนง่ึ การผูกความขดั แย้งเชน่ น้ีได้เร้าให้ตัวละครเอกตระหนกั ถึงความผดิ พลาด ของตนเองมากกว่าการกลา่ วโทษตวั ละครอีกฝา่ ย ส่วนในวังพญาพราย ต่างจากสองเรื่องข้างต้นตรงที่ มีนางเรืองแสงฟ้าเป็นตัวละครปฏิปักษ์ เป็นผู้ดลบันดาลให้ตัวละครเอกต้องประสบเหตุการณ์เหนือ ธรรมชาติ นวนยิ ายของพงศกรฉายภาพการยดึ ติด แสดงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการยดึ มั่นถือม่ันกับ เรื่องราวในอดตี และเสนอทางออกดว้ ย “การปล่อยวาง” และ “การให้อภยั ” ดงั ท่ตี อนท้ายของเบื้อง บรรพ์และฤดดู าว มีนและดรสาได้เหน็ ความผิดพลาดของตนเองในอดีต ท้ังสองคนไดแ้ ก้ไขความผดิ ของตน โดยมนี ขออโหสิกรรมจากท้าวภังคี เพราะ “มีนสมั ผัสถงึ ความอาฆาตพยาบาทที่ยงั คงวนเวียน อยู่ในที่แหง่ น้ี หล่อนเช่ือว่านท่ี ้าให้วรัณต้องมาประสบเคราะห์รา้ ย มีนรู้สึกว่าเรอ่ื งราวท้งั หมดนั้น มัน เก่ียวพนั และคาราคาซงั มานานนกั หนา ท้ังหมดนี้อาจจะมที ่ีมาจากตวั ของหล่อนเอง และบดั น้ี ถึงเวลา แล้วท่ีหล่อนจะตัดบ่วงกรรมน้ันลง” (พงศกร 2552, 177) ส่วนดรสาได้ช่วยเหลือให้แถนเมืองแมน กับอัว้ แสนเพง็ ไดค้ รองรักกนั หลงั จากอดตี ชาตหิ ล่อนได้พรากทั้งคจู่ ากกัน จนทา้ ยท่สี ุด “ดวงตาสเี ข้ม ดา้ ขลบั ราวนิลเนอ้ื งามจ้องมองมาท่ดี รสาดว้ ยสายตาขอบใจและใหอ้ ภัย” (พงศกร 2555ข, 522-523) สว่ นวังพญาพราย สะท้อนการยึดติดของเรืองแสงฟ้าท่ีแม้ลอื อินไทจะเกิดใหม่ไปแล้ว แต่หล่อนยังจมอยู่ในความอาฆาตกับเรื่องราวในอดีต “เป็นเพราะจิตอาฆาตพยาบาทของท่านเอง ตา่ งหากท่ีกักขังหน่วงเหนยี่ วท่านไว้ หาใชล่ อื อนิ ไทอยา่ งทา่ นกลา่ วหา” (พงศกร 2557ค, 340) ความ โกรธของเรอื งแสงฟา้ ยังทา้ ใหห้ ล่อนไม่เคยรบั รถู้ ึงความปรารถนาดีของลอื อนิ ไทเลย “โกหก” เรืองแสงฟ้าตวาดเสียงแหลม “ท่านโกหก ถ้าเป็นเช่นน้ันจริง เหตุใดเราจงึ มิรู้ เลย” “ดวงจิตอันเป่ียมด้วยโมหะและโทสะ ย่อมไม่อาจจะสัมผัสพลังแห่งความรักและ ปรารถนาดีที่ส่งผ่านมาได้ ดวงตาที่เป่ียมไปด้วยความอาฆาตพยาบาทย่อมมิอาจจะเปิด กว้างแลมองเหน็ ส่งิ ใด” […] “อย่ายึดติดกับอดีตกาลอีกเลยเรืองแสงฟ้า” น้าเสียงท่ีโรมเอ่ยนั้นเปี่ยมด้วยความ โศกสลด “อดีตกาลผ่านมานานนักหนา ไม่มีลืออินไท ไม่มีเรืองแสงฟ้าอีกแล้ว แม้ผมจะเคยเป็น ลืออินไทมาก่อนหรือไม่ก็ตาม หากบัดน้ีผมไม่ใช่ลืออินไทอีกต่อไป ลืออินไทเปรียบเสมอื น เป็นเพียงเปลือกนอกของดักแด้ เม่ือเปลือกแตกดับลงไป จิตซึ่งเปรียบเสมือนผีเส้ือก็จะ ล่องลอยไปสภู่ พภมู ิใหม่ ชีวติ ใหม่ เพือ่ เรยี นรใู้ นสิ่งใหม่ มเี พียงบาปและบญุ ท่ีผมเคยท้ายาม

166 ที่เป็นลืออินไทเท่าน้ัน ที่ยังคงติดตามราวกับเป็นเงาและส่งผลถึงชาติภพใหม่ของผม” (พงศกร 2557ค, 353-354) เม่อื โรมได้กลับมาแก้ไขความเขา้ ใจผดิ แก่เรืองแสงฟา้ เหตุน้ีทา้ ใหเ้ รอื งแสงฟ้าตระหนกั ว่าตนเองเข้าใจผิดมาตลอด เพราะจมอยู่ในความยึดติดจากโทสะและโมหะ ยิง่ เมอื่ ทราบว่า “ลอื อนิ ไท อโหสิกรรมให้คุณนบั แต่วนิ าทที ่ไี ด้ปลงผมบรรพชาโนน่ แลว้ ...ผู้มีพุทธิปญั ญาเชน่ เรอื งแสงฟา้ ย่อมเขา้ ใจ ทุกสิ่งโดยแจ่มแจ้ง เพลิงแห่งความพยาบาททีร่ ุมสุมอยู่ภายในดวงจติ มาเนิ่นนานกลับคล่ีคลายลงไป ภายในเวลาเพยี งไม่ถึงอดึ ใจ” (พงศกร 2557ค, 355) กลา่ วได้ว่า หากตวั ละครยังคงยดึ ติดต่อไปไมย่ อม ปลอ่ ยวางแล้ว การใหอ้ ภัยกไ็ มอ่ าจเกิดขนึ้ ความขดั แยง้ ในนวนิยายคงไม่จบลงอย่างสงบสขุ เหตุนี้ การ ปล่อยวางด้วยการให้อภัยจึงเป็นแนวคิดที่นวนิยายของพงศกรน้าเสนอเพื่อคล่ีคลายความขัดแย้งที่ ยืดเยื้อข้ามภพชาติให้จบลง การให้อภัยนับเป็นสิ่งที่นวนิยายของพงศกรน้าเสนอควบคู่กับการยอมละ “อัตตา” หรือการยึดติดในตัวตน วัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่กับปัจจุบันได้อย่างสงบสุข ดังที่ นวนิยายทกุ เรอ่ื งเสนอไปในทศิ ทางเดียวกันว่า “ไมส่ า้ คัญอีกแลว้ วา่ หลอ่ น ‘เคย’ เป็นใครมากอ่ น ไม่ ส้าคัญอีกแล้วว่า บุตรสาวเศรษฐจี ะโกรธแค้นชายใบ้ผ้สู ามจี นถึงกับอธิษฐานเพ่ือท่ีจะตามไปฆ่าเขาใน ชาติภพใหม่ และไม่ส้าคัญอีกแลว้ ว่า ไอ่ค้าจะฆ่ากระรอกเผือกและเหล่านาคโกรธแค้นจนถึงกับต้อง ตามมาล่มเมอื ง ฆ่าผู้คนให้ล้มตายมากมาย สิ่งส้าคัญท่ีสดุ ในเวลานี้คือ การให้อภัย” (พงศกร 2552, 177) หรือ “อดีตกาลผา่ นมานานนักหนา ไม่มีลืออินไท ไม่มีเรืองแสงฟ้าอีกแล้ว แม้ผมจะเคยเป็นลือ อินไทมาก่อนหรือไม่ก็ตาม หากบดั นี้ผมไม่ใช่ลืออินไทอีกต่อไป” (พงศกร 2557ค, 353-354) หรือ กล่าวอีกนัยหน่ึง เหตุการณ์ความวุ่นวายในนวนิยายเป็นกลวิธีที่ท้าให้ผู้อ่านได้ฉุกคิดเรื่องของ “ปัจจบุ ัน” เปน็ หลกั การเคยเป็นใครหรอื เปน็ อย่างไรในอดตี ไม่เท่ากับการปฏบิ ัติตนในปัจจุบนั โดยสรุปแล้ว แนวคิดเรื่องกิเลสเป็นต้นเหตุแห่งหายนะท่ีมนุษย์ควรละวางสัมพันธ์กับ “จิตใจ” ของมนุษย์ นวนิยายของพงศกรแสดงให้เหน็ ว่ากิเลสเหนี่ยวร้ังจิตใจของตัวละครไปสู่ความ เศร้าหมองและความขดั แย้ง สะทอ้ นความโลภทม่ี ากเกินพอดจี นน้ามาสู่หายนะ สะทอ้ นความโกรธกบั ความหลงท่ีนา้ มาสู่การยดึ ติดไม่ยอมปลอ่ ยวาง เพ่อื นา้ เสนอใหม้ องเหน็ ทกุ ขม์ ากมายทเ่ี กิดขึ้น หากไม่ รู้จักละวางตัวตน โดยนัยน้ี แนวคิดเรื่องกิเลสจากนวนิยายของพงศกรนับว่าให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านให้ “คดิ ดี” จากรู้จักแบ่งปนั เพ่ือส่วนรวม การร้จู กั ประมาณตนเพอ่ื หลกี เลีย่ งภัยจากความโลภ และการละ วางความโกรธและการยอมรับฟังผูอ้ ืน่ มิได้ยึดแต่อตั ตาของตนเปน็ ทตี่ ัง้ 4.1.1.2 การใช้ตวั ละครและฉากจากเร่อื งเลา่ เชงิ คตชิ นเป็นสญั ลักษณ์ของกเิ ลส นวนิยายของพงศกรอาศัยข้อมูลเชิงคติชนท่ีประกอบสร้างผ่านตัวละครและฉากมา นา้ เสนอแนวคิดเรื่องกิเลสเปน็ เหตแุ ห่งทกุ ข์ กล่าวคือ ตวั ละครแตล่ ะตวั ต่างเป็นสญั ลักษณ์ให้ผู้อ่านได้

167 เอามาไตรต่ รองว่าพฤติกรรมใดควรประพฤตหิ รอื ควรหลกี เลย่ี ง โดยตวั ละครอมนุษย์ที่มาจากขอ้ มลู เชงิ คติชนลว้ นเป็นการนา้ กเิ ลสมาสรา้ งเป็นรูปธรรมเพื่อให้หลกี เลย่ี งพฤติกรรมดังกล่าว ตวั ละครท่ีสะทอ้ น กิเลสอย่างเด่นชดั คือ เรอื งแสงฟา้ เป็นสญั ลักษณข์ องการยดึ ติดด้วยความโกรธและความหลงดงั กล่าว ไปแล้ว สว่ นนลิ นวาราเป็นตวั ละครที่กระตุน้ ความโลภและความหลงของมนุษยอ์ อกมา รวมถงึ เปน็ ตัว ละครทเี่ ข้ามาท้าร้ายคนท่ีตอ้ งการแยง่ ชงิ กหุ ลาบรตั ติกาล ตวั อยา่ งตอนหน่งึ ทีน่ ิลนวาราไดป้ รากฏกาย ตอ่ หนา้ รมิตา นิลนวาราได้เผยให้เหน็ ความโลภในใจของรมิตาใหป้ รากฏ ดงั เชน่ “ไม่ ฉนั ไมเ่ อาแล้ว ปวดเหลือเกิน ช่วยฉนั ด้วย” “ไมม่ ีใครช่วยเธอไดห้ รอกรมิตา คนโลภอย่างเธอสมควรได้รับผลกรรมทีก่ อ่ ขนึ้ มาแล้วละ” […] “ฉันไม่ไดต้ ้งั ใจ เรา เราจา้ เป็น” “จา้ เป็น” สตรใี นอาภรณส์ ีน้าเงนิ เขม้ อันกรยุ กรายก้มหน้าอันสวยหวานจนชิดรมติ า “ทุก คนทีท่ ้าความผิดล้วนอ้างว่ามีความจ้าเป็นทั้งน้ันละ พอคนยากจน ล้าบาก เดอื ดร้อน ไมม่ ี เงนิ แปลวา่ เขาจะตอ้ งกลายไปเปน็ ขโมย ตอ้ งลงมือท้ารา้ ยคนอื่นเพ่ือให้ตนเองอยรู่ อด อยา่ ง น้ันหรอื ”(พงศกร 2555ก, 246-247) นกกรี ณะเปน็ ตวั ละครอกี ตวั หนึ่งซ่ึงทา้ หนา้ ทส่ี อื่ ใหเ้ หน็ ความโลภของมนุษย์ที่ไมม่ วี นั สน้ิ สดุ จากการทา้ หน้าทีข่ องนกกีรณะท่ีต้องเฝา้ อญั มณีสร้อยแสงจนั ทรอ์ ย่างไมม่ ีวนั สิน้ สุด “...แม้เทวาลัยเสื่อมลง แต่หน้าที่ของจโกระยังไม่จบส้ิน เรามีหน้าที่รักษาสร้อยแสงจันทร์ คือสังวาลนาคราชอันมีมณีสองดวงประกอบกันเป็นดวงเนตรของนาคราชา อัญมณีส้าคัญ แห่งราชปุระ เพ่ือรอเวลาอันเหมาะสมส้าหรับมอบให้มหาบุรุษที่เหมาะสมและเม่ือน้ัน หน้าที่ของเราก็จะจบส้ินลงและจึงจะสามารถกลบั คืนสู่ถ่ินท่ีจากมาได้” จโกระชื่อกีรณะอัน หมายถึงแสงจันทร์ ทอดถอนหายใจยาวนานกอ่ นจะกลา่ วสบื ไปว่า “แต่มนุษย์ผู้หลงมัวเมาและจมอยู่ในห้วงแห่งกิเลส ความโลภความหลง พวกมันมุ่ง ค้นหาอัญมณีแห่งสร้อยแสงจันทร์เพ่ือครอบครองน้าไปใช้เพ่ือประโยชน์ส่วนตัว...ดังน้ัน หนา้ ที่ปกปอ้ งอญั มณีของเราจงึ ไม่มีวนั ส้ินสุด” (พงศกร 2558, 51) การกลับไปอยู่ในถิ่นทก่ี ีรณะจากมาในตอนจบของสร้อยแสงจันทร์ จึงเท่ากับว่า ค้าสาป ของกีรณะได้รับการคลี่คลาย และอีกด้านหนึ่ง “มณีแห่งสร้อยแสงจันทร์ตกไปอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ มหาเทพแห่งความยตุ ิธรรม พระด้ารัสของพระองค์ทา่ นถือเป็นท่ีสดุ แหง่ ค้าตัดสนิ จะมิมีผู้ใดเอามณี แห่งสร้อยแสงจนั ทรไ์ ปใชใ้ นทางทีไ่ มถ่ ูกตอ้ งไดอ้ กี ต่อไป” (พงศกร 2558, 290) หรอื เมือ่ อัญมณีดวงนนั้ ได้ตกลงไปในนรกพร้อมกับบุญทา หน้าที่ที่กีรณะต้องปกปอ้ งอัญมณีจากความโลภของมนุษย์ยตุ ิลง หน้าทขี่ องกีรณะจงึ มีบทบาทส่ือแนวคิดถึงความโลภของมนษุ ย์

168 ในนวนิยายเรื่องคชาปุระและนครไอยรา การสร้างความขัดแย้งระหว่างตัวละครในเมอื ง คชาปุระจากคตเิ กี่ยวกับชา้ งไดส้ ะท้อนความโลภเชน่ กนั และยงิ่ เป็นการเน้นย้าทกุ ขจ์ ากความโลภที่มิ เพียงท้าให้เกิดผลร้ายแก่ตัวละครใดตัวละครหน่ึง แต่ส่งผลเดือดร้อนต่อสังคมโดยรวม กล่าวคือ ตัวละครเจ้าชายและเจ้าหญิงแบ่งฝักฝ่ายเพราะต่างต้องการครองเมืองไว้แต่เพียงผู้เดี ยว โดยมี เบอื้ งหลงั ความขัดแย้งจากการครอบครองชา้ งมงคลสองเชือก การแบ่งฝกั แบง่ ฝา่ ยและการใชไ้ หวพรบิ แย่งชิงช้างสะท้อนถึงความโลภเพ่ือยึดอ้านาจไว้กับตน หากแต่การแย่งชิงช้างเกิดข้ึนในหมู่ชนชั้น ปกครองยังทา้ ใหเ้ ร่อื งราวลกุ ลามเกือบกลายเป็นสงครามกลางเมือง แต่เม่ือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัตใิ น เมอื งขนึ้ ตัวละครเอกไดเ้ บยี่ งเบนความสนใจจากอ้านาจ หันมาใสใ่ จทุกข์สุขของประชาชน การกลับมา ร่วมมอื รว่ มใจชว่ ยเหลือประชาชนทา้ ใหเ้ จา้ ชายและเจา้ หญงิ ละความโลภ ยอมลดอัตตาของตนลงเพ่ือ เห็นแกป่ ระโยชน์ของส่วนรวม จากนัน้ นวนิยายได้จบเรอื่ งดว้ ยการประนปี ระนอมให้ภัยธรรมชาติแบ่ง เมืองคชาปุระเป็นสองสว่ นและแบ่งเมืองกันปกครอง การแบ่งเมืองเปน็ สองสว่ นเช่นนี้อาจมองได้ว่า เป็นการจบเร่ืองใหต้ ัวละครสมหวัง แต่เป็นการสมหวังท่ีจะเกดิ ขึ้นได้เม่ือตัวละครเอกสามารถละวาง ความโลภแล้วแบง่ ปนั การแบง่ เมืองจงึ ถอื เปน็ สัญลักษณข์ องรางวลั จากธรรมชาตทิ จ่ี ัดสรรแกผ่ ทู้ า้ ดี คชาปุระและนครไอยรายังแฝงนัยเรื่องความโลภจนต้องการเอาชนะกฎแห่งธรรมชาติ ผ่านการแย่งชิงความเป็นอมตะ กล่าวคือ ความเป็นอมตะเป็นสิ่งเร้าให้เอ็ดเวิร์ดกับเมษต้องการ เดินทางมาท่ีเมืองคชาปุระ กระท่ังตัวละครทงั้ สองได้เดนิ ทางมาถึงวิหารไอยรา เมษและเอ็ดเวิร์ดจับ ตวั อยั ย์เพ่อื ขม่ ข่พู ระมหาราชครูเมอื งคชาปุระให้พาพวกเขาไปยังที่เกบ็ กล่องแหง่ ความเปน็ อมตะ ทั้งคู่ เย้ยหยันพระมหาราชครู เมอ่ื รู้ว่าแมม้ ีกล่องแห่งความเป็นอมตะอยู่ แต่ไม่มีใครคิดจะเปิดกลอ่ ง พระ มหาราชครตู รัสตอบว่า “ความเป็นอมตะสา้ คญั มากหรอื อย่างไร...ธรรมชาติไดจ้ ดั สรรทกุ อยา่ งมาอยา่ ง ลงตัว สิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธ์ุ เม่ือมีเกิดก็ต้องมีดับไปเป็นของธรรมดา ความไม่ตาย...เป็นสิ่งท่ีดีจริงๆ หรือ” (พงศกร 2557ข, 404) ค้าพดู ของพระมหาราชครูแสดงถึงจดุ ยืนทเี่ ชื่อในกฎแหง่ ธรรมชาติ ผดิ กบั เอ็ดเวริ ด์ และเมษทีต่ อ้ งการเอาชนะธรรมชาติ ท้ายทีส่ ุดเมือ่ เมษสามารถครองความเป็นอมตะไว้ได้ แต่เขากลับเป็นอมั พาต “นายเมษไดก้ ลายเปน็ อมตะสมดังใจปรารถนาแล้ว เขาจะอยูอ่ ยา่ งนเ้ี ร่ือยไป คนบาปอย่างนายเมษจะไม่มีวันตาย!” (พงศกร 2557ข, 427) การเอาชนะความตายได้แต่อาจไมใ่ ช่ การเอาชนะการเจบ็ ปว่ ย และไม่อาจเอาชนะกฎแห่งกรรมท่นี ายเมษเคยกอ่ ไวม้ ากมาย กิเลสจึงพาเมษ มาพบจดุ จบทีร่ ้ายแรงย่ิงกวา่ ความตายเสยี อีก โดยนยั นี้ การแยง่ ชงิ กลอ่ งแหง่ ความเปน็ อมตะกส็ ะทอ้ น ความโลภจนอยากเอาชนะกฎของธรรมชาติ แตแ่ มไ้ ดค้ รองความเปน็ อมตะ เขาตอ้ งทกุ ขย์ ง่ิ กวา่ กลอ่ ง แหง่ ความเปน็ อมตะจงึ อาจเป็นสญั ลกั ษณท์ ี่บง่ บอกวา่ ส่งิ ทเ่ี ปน็ อมตะก็คือกเิ ลสท่ีน้าหายนะมาส่มู นษุ ย์ ไปโดยตลอดเชน่ เดียวกับนายเมษ สว่ นด้านการสรา้ งฉากเป็นสญั ลกั ษณข์ องกเิ ลสพบว่า การเลือกสถานที่ การต้งั ชอ่ื และการ สร้างเร่ืองเล่าเชิงคติชนทีผ่ กู ติดกับสถานท่ีสะท้อนถึงการยึดติดจากกิเลสไว้หลายฉาก ดังเช่นฉากบงึ

169 พรายในวังพญาพราย ได้ใชน้ ้าเปน็ สัญลักษณ์แสดงถงึ การหยดุ น่ิงเปรยี บเหมือนกบั ชีวติ ทีห่ ยุดน่ิงของ เรืองแสงฟ้า ลักษณะเช่นนเี้ ทยี บเคียงไดก้ ับผลการศกึ ษาของรื่นฤทยั สัจจพันธ์ุซึ่งเคยวิเคราะห์น้าใน วรรณกรรมไทยว่า น้ามีบทบาทมากกว่าเพียงฉากสถานที่ แต่น้ายังเปน็ สัญลกั ษณ์ นักเขียนส่วนใหญ่ มักเปรียบสายน้าเหมอื นกระแสชีวิต บ้างมองว่ากระแสชีวิตมีอปุ สรรค มีคลื่นลม ชีวิตเหมือนนาวาท่ี มนุษย์ตอ้ งประคบั ประคอง บา้ งก็มองวา่ น้าเปน็ สัญลกั ษณ์แหง่ ความสุขสงบ (รืน่ ฤทยั สัจจพันธ์ุ 2553, 225-251) เม่ือมองในแนวทางน้สี ามารถนา้ มาพจิ ารณาเข้ากบั ฉากบึงนา้ ได้วา่ การเลอื กใชบ้ งึ น้าซ่ึงเปน็ สถานที่ปดิ แตกตา่ งจากแม่นา้ ลา้ คลองหรือทะเลทเ่ี คลือ่ นไหวอย่ตู ลอดอาจเปรยี บได้กบั การหยุดนิ่งท่ี ไม่เคล่ือนไหว การไม่เปลี่ยนแปลง การหยุดน่ิงสอดคล้องกบั ตัวละครผีพรายท่ียึดติดและการไมย่ อม ปล่อยกับอดีต ไม่ยอมรับการเปลย่ี นแปลง บึงน้าจึงเป็นสัญลักษณ์แทนการยึดติดที่สอดคล้องกับตวั ละครผีพรายด้วย นอกจากนี้ หากมองว่าน้าในวังพญาพรายเป็นสัญลกั ษณ์ของการยึดติดท่ีไม่ยอม เปล่ียนแปลง เมื่อประกอบกบั ที่ผู้วิจัยตีความเกี่ยวกับตัวละครผพี รายอีกประการหนึ่งว่า ผีพรายเปน็ ตวั ละครท่เี ตอื นภัยจากสายน้า โดยนัยนี้ ภยั จากน้ากค็ อื ภัยของการยึดติดไม่ยอมปล่อยวาง การเตอื น ภยั จากน้าโดยใช้ผพี รายจงึ เท่ากับการเตือนภัยไมใ่ ห้มนษุ ย์ยึดตดิ และรูจ้ ักปล่อยวางนั่นเอง ฉากบ้านนางคอยและคฤหาสน์นางคอยในเคหาสน์นางคอยสมั พันธ์กับการยึดติดเชน่ กัน ดังที่การตั้งช่ือนางคอยสะท้อนถึงการรอคอยซึ่งนัยหน่งึ คือการต้ังจิตใจยึดม่นั เพ่อื จะได้พบเจอ เราจะ เห็นถึงจติ ใจท่ีม่นั คงในความรักระหว่างโจรสลดั กบั เจา้ หญิงทีพ่ ลัดพรากจนเปน็ ที่มาของบา้ นนางคอย หากในอีกด้านหนึ่งการรอคอยความรกั อาจสะท้อนการยดึ ติดอยูก่ ับความรกั ทีไ่ มส่ มหวังจนท้าใหเ้ ปน็ ตวั ละครจบชวี ติ และกลายเป็นหินซง่ึ เทา่ กบั การหยดุ นิ่งไม่เปล่ียนแปลง แตอ่ กี แงห่ นึง่ สาเหตุที่ทา้ ใหต้ วั ละครอยา่ งเจ้าหญงิ หรือประพมิ พรรณต้องยดึ ติดกับการรอคอยกม็ าจากอ้านาจทไ่ี ม่เปน็ ธรรม โดยนัยน้ี การรอคอยจึงอาจหมายถึงการรอคอยความเปน็ ธรรมให้หวนกลบั มา คฤหาสน์นางคอยจงึ เปน็ สถานท่ี ที่ช้ีให้เห็นถึงอ้านาจที่ไมเ่ ป็นธรรมของพ่ีชายท้ังสองคนซึ่งมีกิเลสจากความโลภเป็นสว่ นผลักดัน ส่วน การรอคอยของประพิมพรรณเพื่อให้พบลกู สาวและได้รบั การปลดปล่อยเทา่ กับการรอคอยความเป็น ธรรมกลับคืนมา ในทา้ ยทีส่ ดุ ตัวละครปฏปิ ักษก์ ต็ ่างจบชีวติ ลงดว้ ยความโลภและถูกฝังร่างอยใู่ นห้องใต้ ดนิ เหมือนทปี่ ระพมิ พรรณถูกกักขงั ฉากเวลามสี ่วนสนับสนุนแนวคิดเรื่องกเิ ลส ฉากเวลาทม่ี แี สงสว่างเป็นตวั แทนของจติ ใจท่ี ผ่องใส ขณะที่ความมืดเป็นจิตใจที่ยึดติดอยู่กับกิเลส ดังเช่นในฤดูดาว พงศกรได้สร้างฉาก ปรากฏการณ์ฤดูดาวผา่ นฉากเวลากลางคนื ท่ีมแี สงดาวเปลง่ ประกายอย่างมากมาย แม้แต่แสงจนั ทรว์ นั เพ็ญก็ไม่อาจบดบังแสงดาวได้ การท่ีมีแสงสว่างเช่นนี้ชี้ให้เห็นเหตุการณ์ที่เป็นคุณกับตัวละครเอก และการสรา้ งเหตุการณ์ท่ใี หค้ วามสัมพันธ์กับแสงดาวก็น่าจะสัมพันธ์กบั ตัวละครดารกาประกายท่ผี กู ปมขัดแย้งไว้ เพราะเป็นไปได้ว่า ปรากฏการณ์ฤดูดาวอาจเปน็ สญั ลกั ษณ์ให้เห็นด้านสว่างของดารกา ประกายทย่ี อมละวางความอาฆาตไวห้ นหลัง โดยเฉพาะจุดสูงสุดของดรสาที่เดนิ ทางกลบั มาช่วงเวลาน้ี

170 และได้ปลดปล่อยอวั้ แสนเพง็ จากพันธนาการ ฉากท่ีแสงดาวส่องสว่างเปน็ พ้ืนหลังจึงเปรียบเหมือนกับ ตัวละครดารกาประกายยอมปลอ่ ยวางความโกรธและการยึดติด มาสู่การปลอ่ ยวาง การใช้ฉากแสง ดาว ดารกาประกายกับการแก้ไขความขัดแย้งจงึ สมั พันธ์กนั 4.1.2 ขอ้ มูลเชิงคตชิ นกับการนาเสนอแนวคิดเร่อื งกรรมกาหนดความเป็นไป 4.1.2.1 แนวคิดเร่ืองกรรมก้าหนดความเปน็ ไป “กรรม” ในทางพุทธศาสนาหมายถงึ การกระทา้ ท่ีประกอบด้วยเจตนาหรอื ความจงใจ ไม่ ว่าจะเปน็ ทางกาย ทางวาจาและทางใจ สามารถแบง่ เปน็ อกศุ ลกรรม คือ กรรมท่ีไม่ดี และกุศลกรรม คือกรรมดี (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยตุ ฺโต) 2551, 3-4) สนุ ทร ณ รังษี (2552, 164-167) อธิบาย สาระส้าคญั ของค้าสอนเรอื่ งกรรมและกฎแห่งกรรมไว้วา่ กฎแห่งกรรมเปน็ กฎแหง่ ธรรมชาตทิ ี่เป็นเหตุ และผลล้อกันว่า เม่ือมีส่ิงใดส่ิงหนึ่งเกิดข้ึนก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยท้าใหอ้ ีกสง่ิ หน่ึงเกิดขึ้น ในแง่ของกฎ ทางศีลธรรมแลว้ หากประกอบกรรมดี ผลทไ่ี ดร้ บั ก็จะต้องเป็นผลดี ถา้ ประกอบกรรมช่ัวก็ไดร้ บั ผลชั่ว โดยนยั นี้ กรรมจงึ หมายถงึ กรรมดีหรอื กรรมชัว่ กไ็ ด้ นวนิยายของพงศกรทกุ เรอื่ งมกั ใช้แนวคิดเรอ่ื งกรรมมาเป็นหลกั ในการอธิบายการกระท้า ความขัดแย้งและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนวนิยาย แต่น่าสังเกตว่า กรรมในนวนิยายของพงศกรมัก หมายถึง “บาปกรรม” หรือกรรมช่ัวเสียมากกว่า โดยเฉพาะการกล่าวถึงบาปกรรมที่ตัวละครเคย กระท้าไว้จนก่อให้เกิดผลกรรมติดตามมา เหตุท่ีเปน็ เช่นน้นี ่าจะเป็นเพราะค้าว่ากรรมในการรับรู้ของ สังคมไทยโดยท่วั ไปมคี วามหมายเคลอ่ื นไปจากค้ากลางๆ ทห่ี มายถงึ กรรมดหี รือกรรมชัว่ กไ็ ดไ้ ปสู่นัยยะ ของ“บาปกรรม” หรือกรรมชั่วเสียมากกว่า (พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 2542, 114- 115) นวนิยายของพงศกรแสดงให้เห็นว่ากรรมเป็นเครื่องก้าหนดความเป็นไปผ่านความขัดแย้งใน โครงเร่ือง การสร้างตวั ละครและฉาก กลา่ วคอื การเดินทางค้นหาของตวั ละครเอกในนวนิยายทมี่ โี ครง เร่ืองกลบั ชาตมิ าเกดิ ตัวละครจะคน้ พบบาปกรรมในอดีตอันเป็นเหตใุ ห้ผ้อู ื่นไดร้ บั ความเดอื ดร้อนจาก การลงโทษ เหน็ ได้ชัดจากเร่ืองเบอ้ื งบรรพ์ สรอ้ ยแสงจนั ทร์ ฤดดู าวและวังพญาพราย ดงั ท่ีมีน ค้น พบว่าตนเคยฆ่ากระรอกเผอื กเมื่อครงั้ เป็นนางไอ่ค้า พุทธิพบว่าเมื่อคร้ังอดีตชาติเขาได้หลบหนีออก จากปราสาทปักษาจ้าจอง จนท้าให้นกกีรณะเป็นผู้รับเคราะห์ถูกจองจ้าไว้ในปราสาท ดรสาพบว่า หลอ่ นเคยเปน็ ดารกาประกายซึ่งพรากแถนเมอื งแมนและอวั้ แสนเพ็งออกจากกนั โรมเคยเป็นลืออินไท ที่ผิดค้าสัญญากบั นางเรืองแสงฟา้ ย่ิงเม่ือเร่ืองด้าเนินมาถึงจดุ สูงสดุ พงศกรใช้เหตุการณ์ซ้ารอยจาก อดตี กลับมาเกิดข้นึ อีกคร้ังเพ่ือตอกย้าให้ตัวละครเอกไดม้ องเหน็ ภาพบาปกรรมที่ตนกอ่ ไวใ้ นอดีตอย่าง เป็นรูปธรรม ส่งผลให้ตัวละครเอกตัดสินใจแก้ไขปัญหาโดยการยุติกรรมกับคู่ขัดแย้ง เรื่องจึงจบลง อยา่ งสงบสขุ

171 นวนิยายของพงศกรมักน้าเสนอฉากสถานทที่ เ่ี คยเกิดความขัดแย้งในอดีตแล้วให้ตัวละคร ซ่ึงเคยผกู กรรมกลับมายงั สถานท่ไี ว้ในอดตี ตัวละครเอกจงึ ไมเ่ พยี งแตเ่ จอ “เรื่องเดมิ ” ในอดตี กลบั มา เกิดใหม่ หากยังยนื อยใู่ น “สถานท่ีเดิม” อันสะท้อนให้เหน็ ภาพของวัฏจักรที่เวียนกลบั มาบรรจบอีก ครั้ง ลักษณะเช่นน้ีสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมอย่างเด่นชัดว่า กรรมเป็นเคร่ืองก้าหนด ความเปน็ ไปของสรรพส่ิงในลกั ษณะ “หว่านพชื เชน่ ไร ย่อมได้ผลเชน่ น้นั ” เมื่อพวกเขาไดก้ ลบั มาเห็น ดอกผลของบาปกรรมในอดีต ซ่งึ พวกเขาเคยปลูกไว้เองในพื้นที่แห่งนัน้ อน่ึง นวนิยายท่ีมิไดม้ ีการข้าม ภพชาติอยา่ งกุหลาบรัตติกาล คชาปรุ ะ นครไอยราและเคหาสนน์ างคอย ตา่ งกส็ ะท้อนแนวคดิ เรื่อง กรรมเป็นเครื่องก้าหนดเช่นกัน หากเปล่ียนจากการแสดงผลกรรมท่ีต้องรอการสะสางข้ามเวลา ยาวนานเป็นกรรมที่สง่ ผลในภพชาติปัจจบุ นั แทน ดังที่ปรากฏผ่านจุดจบของตวั ละครปฏปิ ักษ์ทง้ั หลาย แนวคิดเรื่องกรรมยังสัมพันธ์กับแนวคิดเร่ืองกิเลส นวนิยายของพงศกรแสดงสาเหตุที่ น้าไปสู่การก่อกรรมว่ามีบ่อเกิดจากกิเลสในจิตใจของตัวละคร กล่าวคือ กิเลสเป็นเรื่องของจิตใจที่ น้าพาชีวิตของมนษุ ย์ไปสู่หายนะและยึดตดิ ไม่ยอมปล่อยวาง กิเลสท้าใหม้ นุษย์ขาดหิรโิ อตตัปปะหรือ การเกรงกลัวต่อบาป เหตุน้ีเองจึงท้าให้มนุษย์ก่อกรรมต่อกัน นวนิยายของพงศกรสะท้อนการขาด ความเกรงกลวั ต่อบาปด้วยโลภะ โทสะ โมหะเป็นแรงขบั เคลอื่ นแลว้ ถ่ายทอดผา่ นการลงโทษทร่ี ุนแรง เช่น การกกั ขังน้องสาวของตนไว้เปน็ เวลาหลายสบิ ปดี ้วยความโลภอยากได้สมบตั ิ การสาปแช่งใหเ้ มอื ง ล่มลง ฆ่าผูค้ นท้ังเมืองและคา้ สาปแชง่ ตา่ งๆ เป็นต้น หรอื การยอมท้าผิดศลี ธรรมเพอื่ ให้ได้ครอบครอง อา้ นาจ เช่น ยอมหักหลังเพอ่ื นสนทิ เพ่ือครองดอกกุหลาบรัตติกาล เปน็ ตน้ กลา่ วไดว้ า่ นวนิยายของพงศกรชีใ้ ห้เห็นว่าทุกคนลว้ นอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ทั้งตัวละคร เอกหรือตัวละครปฏิปักษ์ต่างต้องรับผลกรรมท่ีตนก่อไว้เช่นกัน หากส่ิงที่ต่างไปคือ คนท่ีถูกกิเลส ครอบง้าไว้จนก่อบาปกรรมต้อง “แพ้ภัยตนเอง” ด้วยความตายหรือไม่ก็ต้องทนทุกข์ไปตลอดกาล สว่ นฝ่ายตวั ละครเอกเมอ่ื รู้ถึงบาปกรรมของตนแลว้ พวกเขาไดห้ าทางแกไ้ ขความผิดพลาดของตนและ สามารถมีชีวิตต่อไปอย่างเปน็ สขุ ส่ิงท่ีเกิดขึ้นกับตัวละครท้ังสองฝา่ ยล้วนแลว้ สัมพนั ธ์ไปสู่เร่ืองกรรม เป็นเคร่อื งก้าหนดเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า “ท้าดีได้ดี ท้าชั่วได้ช่ัว” และเน้นการแกไ้ ขความผดิ พลาดของ ตนต่อไป ส้าหรับการแก้ไขความผิดจากบาปกรรม นวนิยายของพงศกรมิได้เสนอว่า เมื่อมีใครมา กระท้าผิดต่อเรา เราต้องตอบโต้กลับ หากเสนอว่า กรรมจะเป็นเครอ่ื งก้าหนดความเป็นไปและเป็น กลไกในการจัดการเอง แนวคิดนี้ก็สัมพันธ์กับการเสนอแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการขอ อโหสกิ รรม เน่ืองจากเมื่อเราตระหนกั ว่ากรรมเปน็ เครอ่ื งกา้ หนดความเป็นไปของสรรพสง่ิ แลว้ เราย่อม มองเหน็ ถงึ ผลของกรรมทส่ี มั พันธ์มาเหมอื นเงาตามตวั และมีผลผกู พันไปเป็นลกู โซ่ การผูกพยาบาทกับ คนท่ีกระท้าผิดต่อเราย่อมกลายเปน็ หนทางแห่งทกุ ข์ใจแก่ตนเองภายหลงั ดังนั้น การอโหสกิ รรมตอ่ กันอันหมายถึง การท้าให้กรรมเลิกใหผ้ ลหรือไม่มีผลอีกต่อไป (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

172 2551, 524) จึงเป็นทางออกของความขัดแย้งท่ีนวนิยายของพงศกรน้าเสนอ การขออโหสิกรรมที่ พงศกรน้าเสนอมีหลายรูปแบบด้วยกนั เช่น การบอกกลา่ วโดยการตั้งจติ อธิษฐาน ดังเช่นที่มีนได้ขอ อโหสิกรรมต่อท้าวภังคี ฉากการอธิษฐานมีท้ังฉากเวลาและบรรยากาศท่ีเป็นสัญลักษณ์ว่า “ฟ้าดิน รับรู้” ก่อนที่ความขัดแย้งได้จบลง การลงมือแก้ไขความขัดแย้งทตี่ นเองก่อข้ึนมาด้วยใจจริงเปน็ อกี หนทางในการยุติกรรม ดังท่ีดรสาเอาชีวิตตวั เองเข้าเสี่ยงปกปอ้ งดอกอั้วแสนเพ็งเพอ่ื ใหด้ อกไม้ดอกน้ี กลายร่างและกลับคืนไปครองรักกับแถนเมืองแมน “หล่อนไม่คิดค้านึงอีกต่อไปแล้วว่าจะเกิดอะไร ขึ้นกับตัวหล่อนบ้าง ขอเพียงใหห้ ลอ่ นได้ชดใช้ให้กับอั้วแสนเพ็งและแถนเมอื งแมน คนรักท้ังสองควร จะต้องสุขสมหวังเสียที หลังจากพลัดพรากจากกันและรอคอยมาชั่วกัปชั่วกัลป์” (พงศกร 2555ข, 575) การกระท้าของดรสาอาจมองได้ว่าเปน็ การแกไ้ ขความผิดของตนเพอื่ ใหอ้ ีกฝ่ายให้อภัย และเรอื่ ง ก็จบลงดว้ ยการให้อภัย เหน็ ไดว้ า่ ผลจากการอโหสิกรรมท้าให้นวนิยายจบลงอยา่ งสงบสขุ เห็นได้ว่า นวนิยายของพงศกรนา้ เสนอว่ากรรมและกฎแหง่ กรรมเป็นเคร่อื งก้าหนดความ เป็นไป กรรมของแต่ละคนจะเป็นกลไกให้คุณหรือให้โทษกับผู้ก่อกรรมน้ัน เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ก าร แกแ้ ค้นจงึ ไม่ใช่แกน่ สาร แต่กลบั จะผูกกรรมสัมพนั ธ์ไปอย่างไมส่ น้ิ สุด การยุตกิ รรมหรืออโหสกิ รรมจงึ เป็นทางออกทนี่ วนิยายของพงศกรน้าเสนอเพ่อื ตัดบ่วงกรรมต่อกัน ในอีกด้านหนึ่ง การเช่ือว่ากรรม เป็นเครอื่ งกา้ หนดความเปน็ ไปของสรรพสงิ่ ยังสะทอ้ นถึงการไมย่ ดึ ตดิ กับอดีต เพราะเมื่อเรายอมรบั กฎ แหง่ กรรมทต่ี นเองหรือใครเป็นผู้กอ่ เรายอ่ มยอมรับและให้อภยั ได้ เพราะ “ไม่ส้าคัญอีกแลว้ วา่ ‘เคย’ เป็นใครมาก่อน สิ่งส้าคัญท่สี ดุ ในเวลานี้คือ การให้อภัย” หมายถึง การได้แก้ไขความผดิ ของตนให้จบ ลงด้วยการให้อภยั เพือ่ ให้สามารถอยูก่ บั ปจั จบุ นั ได้อย่างมีความสุข 4.1.2.2 การใช้การลงโทษในเร่อื งเล่าเชงิ คตชิ นเพ่อื น้าเสนอแนวคิดเรอื่ งกรรม บทบาทของข้อมูลเชิงคติชนต่อการน้าเสนอแนวคิดเรื่องกรรมเป็นเคร่ืองก้าหนดความ เปน็ ไปสะท้อนจากการประกอบสรา้ งโครงเรอ่ื ง ตวั ละครและฉากซ่งึ ลว้ นสัมพันธ์กบั การลงโทษด้วยกัน ท้ังส้ิน เพราะการลงโทษจากเรอื่ งเล่าเชิงคติชนเป็นสว่ นหนึ่งของการสรา้ งโครงเรือ่ งและช่วยนา้ เสนอ ให้เห็นภาพบาปกรรมของตัวละคร การสร้างตัวละครที่ช่วยช้ีบาปกรรมจากการลงโทษของตัวละคร เอกและหาทางออก ตลอดจนการสร้างฉากทวี่ นกลบั มาปรากฏซ้าเหมือนบาปกรรมท่ีตามตดิ มา บทบาทจากการประกอบสร้างโครงเรื่อง เร่ืองเล่าเชิงคติชนที่สัมพันธ์กับการลงโทษ อนุภาคการลงโทษมีผลต่อการผูกโครงเรื่องทั้งเป็นสาเหตุและเกร่นิ การณ์ให้ตัวละครในโลกปัจจุบนั มองเห็นความผดิ พลาดในอดีต ก่อนจบเรือ่ งด้วยการแปรเปล่ียนจากการลงโทษมาส่กู ารยกโทษ การ ลงโทษกับการยกโทษจงึ นับว่าสัมพนั ธก์ ับแนวคิดทางพทุ ธศาสนาอย่างเด่นชัด เน่ืองจากการลงโทษท่ี เกิดขึ้นในเร่ืองเลา่ เชิงคติชนล้วนแลว้ แต่น้ามาส่กู รรมท่ผี กู พันกนั มา ขณะท่ีการยกโทษในตอนจบของ เรอ่ื งคอื การเสนอทางออกดว้ ยการอโหสิกรรม

173 เรื่องเล่าเชิงคตชิ นในนวนิยายของพงศกรแตล่ ะเร่ืองสะทอ้ นบาปกรรมอันเป็นผลจากการ ลงโทษ เช่น การสังหารคนอนื่ ด้วยความรษิ ยา การกักขัง การสาปแชง่ ให้เมืองลม่ และผ้คู นลม้ ตาย ฯลฯ และชี้ให้เหน็ ว่า บาปกรรมได้ติดตัวผู้ลงโทษหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่เู สมอ แม้เวลาจะผ่านไปเท่าใดก็ ตาม กระทั่งการกลบั ชาติมาเกิดใหม่ถึงภพชาติปจั จุบัน ผลของการลงโทษก็ยังคงอยู่ ส่วนอีกแงห่ นง่ึ การลงโทษจากธรรมชาติ โดยเฉพาะการลงโทษใหน้ ้าท่วมโลกเพอื่ ช้าระล้างโลกน้ันสะท้อนใหเ้ หน็ ถงึ บาปกรรมท่ีมนษุ ยใ์ นอดตี กระทา้ ไว้ จนทา้ ใหพ้ ระเจ้าหรอื อกี นยั หนึง่ คอื ธรรมชาตริ อบตัวลงโทษ การ น้าการลงโทษเป็นส่วนส้าคัญในโครงเร่ืองเพ่ือสะทอ้ นให้เห็นผลการกระท้าท่ีไม่ดีของมนุษย์เพื่อเป็น บทเรียนแก่มนุษย์ในโลกปจั จบุ ันได้เห็นผลของบาปกรรมท่ีมนุษย์ก่อไว้และอาจปรากฏข้ึนซ้ารอยใน ปจั จบุ นั พงศกรยังไดส้ ร้างตัวละครผู้นา้ ทางเขา้ มาชท้ี างออกของความขดั แย้งแกต่ ัวละครทป่ี ระสบ ความเดือดรอ้ น พวกเขามีบทบาทชี้ปมปญั หาจากการลงโทษในอดีตและเสนอแนะทางออกโดยใช้ค้า สอนในพุทธศาสนา แลว้ โน้มนา้ ไปสู่แนวคิดเรื่องการอโหสกิ รรม ดงั เชน่ ในวงั พญาพราย หลวงพ่อชม ผู้รู้ความลบั ของโรมทีเ่ ขาต้องกลายเปน็ ผีพรายทุกคืนวันเพ็ญ ในคืนหน่ึงหลวงพ่อได้เข้าไปหาโรมเพอื่ ช้ีแนะให้โรมซึ่งก้าลงั กลายรา่ งเปน็ ผีพรายได้ท้าสมาธิกา้ หนดลมหายใจเขา้ ออก ผลปรากฏว่า ไม่เคยเลยทคี่ ร้งั ใดในช่ัวชีวติ ของเขาจะร้สู ึกเบาสบายเท่ากับครั้งน้ี ความเจบ็ ปวดรวดร้าว แสนสาหสั ทเี่ กิดขนึ้ กบั ร่างกายและจติ ใจในค่้าคืนวันพระจันทร์เต็มดวงผ่อนบรรเทาเบาบาง ลงไป เพียงเพราะเขาก้าหนดจิตจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกตามค้าแนะน้าของหลวงพ่อ ชม... สิ่งที่หลวงพ่อชมแนะน้าคือการท้าสมาธิขั้นต้นอย่างท่ีเขาเคยเรียนรู้ เคยเห็นและเคยได้ ยิน หากไม่เคยสนใจเอาใจใสป่ ฏบิ ัติอย่างจริงจัง เขาก็คงเหมือนกับชาวพุทธอีกมากมายใน โลกปจั จบุ ันที่นบั ถือศาสนาพทุ ธแตเ่ พยี งปาก...ไมเ่ คยรู้จักพุทธศาสนาที่แท้จริง ดว้ ยเหตนุ เ้ี ขาจงึ มาที่วัดวงั พรายเพอ่ื พบและสนทนากบั หลวงพอ่ ผู้ทรงวิสุทธิศลี ใครจะรู้ บางทีนี่อาจจะเป็นหนทางเดียวเพื่อปลดเปลื้องพันธนาการค้าสาปท่ีฝังอยู่ใน สายเลือดของตระกูลเขามานานแสนนานแลว้ ก็ได้ (พงศกร 2557ค, 188-189) ค้าแนะน้าของหลวงพ่อชมนับเป็นจุดเร่ิมต้นต่อการบรรเทาค้าสาปในร่างกายของโรม กอ่ นท่ตี ัวละครเอกจะใช้การอโหสกิ รรมเพ่ือยตุ ิคา้ สาปท้ังหมดลง ค้าสอนของหลวงพอ่ ชมยังคล้ายคลึง กบั หลวงตาสขุ ในเรื่องเบอ้ื งบรรพ์ ซึ่งชใี้ หม้ ีนได้ตระหนักถงึ กรรมในอดตี เพ่ืออยู่กบั ปัจจบุ นั “ในชาติท่ีผ่านมา ดิฉันได้ท้าบาปยิ่งนัก มีหลายชีวิตท่ีต้องรับทุกข์ทรมานต้องส้ินไปเพราะ การกระทา้ ของดฉิ ันใชไ่ หมคะหลวงตา” มีนพึมพ้า...

174 “โยมเอย” นัยย์ตาของพระภิกษุมีแววตาเมตตาย่ิงนัก “...การที่อาตมาเล่านิทานเร่ืองลูก สาวเศรษฐแี ละชายใบ้ผูส้ ามใี หโ้ ยมฟงั นนั้ มิใชด่ ้วยประสงคใ์ ห้โยมมานงั่ ครุ่นคดิ เร่ืองชาติก่อน เราเคยเกิดมาเป็นใครและได้กระท้าส่ิงใดลงไปบ้าง หากท่ีอาตมาเล่าให้โยมฟังน้ันก็เพราะ ตอ้ งการจะอธิบายใหเ้ ห็นเร่ืองของกรรมและการกระท้าทุกอย่างที่ส่งผลตดิ ตามกันต่อเนื่อง มาประดุจเงาท่ีจะต้องติดตัวไปในทุกหนทุกแห่งและทุกกาลเวลาต่างหากเล่า”... “ไม่มี หนทางใดท่ีเราจะย้อนเวลากลับไปเพ่ือแก้ไขสิ่งผิดพลาดในอดีต จงรับรู้และยอมรับผลท่ี สบื เนื่องมาถึงในเวลานี้และด้ารงสติ กระท้าแต่สิง่ ทีด่ ีในปัจจุบันเพ่ือที่จะได้ส่งผลท่ีดีงามให้ เกิดข้ึนต่อไปในอนาคตและเพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจเม่ือเวลาได้ผ่านพ้นไป” (พงศกร 2552, 100-101) อกี ประเดน็ หนึ่ง การสรา้ งเหตุการณว์ นกลบั จากเร่ืองเล่าเชิงคตชิ นมาเกิดขึ้นเปน็ จุดสูงสุด ในโครงเรื่องหลัก เช่น ในเร่ืองเล่ากล่าวถึงเมอื งล่มลงเป็นหนองน้า แล้วในจุดสงู สดุ ของเรอ่ื ง พ้ืนน้าที่ เคยล่มลงยกตัวเป็นพื้นดิน ให้ตัวละครเอกท่ีเคยเป็นคู่ขัดแย้งกนั ได้มาเผชิญหน้ากัน เป็นต้น ยังช่วย ฉายภาพเทยี บเคียงกบั เหตกุ ารณล์ กั ษณะเดียวกันทเี่ ปล่ียนแปลงไป อกี ท้ังการสรา้ งฉากสถานท่ีที่เป็น ฉากเดิมท้ังจุดผูกปมขัดแย้งในเร่ืองเล่าเชิงคติชนและการแก้กรรมในนวนิยายยิ่งตอกย้าแนวคิดเร่ือง กรรมที่ติดพนั กัน การย้อนกลบั มายงั สถานทเ่ี ดิมไมต่ ่างจากการยอ้ นกลบั มาของผลกรรมท่ตี ดิ ตามและ ผลักให้ตัวละครต้องแก้ไขในส่ิงที่ตนเองกระท้า เรื่องเล่าเชิงคติชนที่จบลงด้วยการลงโทษก่อใหเ้ กดิ กิเลสและกรรมท่ีผูกพันกันไปอย่างไม่สนิ้ สดุ กล่าวได้ว่า เรื่องเล่าเชิงคติชนมีบทบาทต่อการน้าเสนอ แนวคดิ เรอื่ งกรรมอยา่ งเดน่ ชดั โดยเฉพาะการใช้ “อนภุ าคการลงโทษ” เพ่อื เป็นบทเรยี นมิให้เกดิ การ ลงโทษซา้ แลว้ ซา้ เลา่ ไมม่ ีท่ีสนิ้ สดุ แต่เปน็ การยกโทษเพอ่ื ตดั บว่ งกรรมลง โดยสรุปแล้ว แนวคิดทางพุทธศาสนาในนวนิยายของพงศกรเสนอให้ละวางกิเลสจากความ โลภทีเ่ ป็นเหตแุ ห่งหายนะ ละวางความโกรธและความหลงเพ่ือใหส้ ามารถปล่อยวางอดตี ได้ และเสนอ ว่ากรรมเป็นเครื่องกา้ หนดความเป็นไปของสรรพสง่ิ การมองเช่นน้ีท้าใหม้ องเห็นทางออกของความ ขดั แย้งทย่ี ดื เยอ้ื ดว้ ยการอโหสกิ รรมและละวางอัตตาของตน โดยพงศกรน้าเอาข้อมลู เชงิ คตชิ นมาเสนอ แนวคิดทางพุทธศาสนาหลายรูปแบบ ท้ังผ่านสัญลักษณ์จากตัวละครและฉาก การน้าอนุภาคการ ลงโทษจากเรื่องเล่าเชิงคติชนมาใช้เพ่ือเสนอถึงแนวคิดเรื่องกรรม เหตุนี้คงไม่ผิดนักหากจะกล่าววา่ ข้อมูลเชิงคติชนท่ีปรากฏในนวนิยายมีบทบาท (role) ต่อการ “สอนใจ” ผู้อ่าน และการสอนใจใน นวนยิ ายก็มบี ทบาทไมต่ า่ งจากขอ้ มลู คตชิ นท่ไี หลเวียนในสังคมดังที่ศิราพร ณ ถลาง (2552, 392-395) ช้ีให้เห็นว่า ข้อมูลคติชนหลายประเภทนอกจากให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังมีหน้าที่ในการอบรม ระเบียบสงั คม (socialization) ปลูกฝังคา่ นยิ มและรักษาบรรทัดฐานทางพฤตกิ รรมให้สงั คม เพอื่ บ่งสงิ่ ที่พงึ ท้าและส่งิ ท่ีพงึ หลกี เล่ียง ในสังคมไทยในอดตี มนี ิทานชาดกท่ีใช้ถ่ายทอดปรัชญาการด้าเนินชีวติ ใน แนวทางพุทธศาสนา เช่น การให้ทาน การเสยี สละ ความเพียร ฯลฯ หรือนิทานคา้ สอนจ้านวนมากที่

175 ใช้สอนให้เห็นเร่ืองกฎแห่งกรรม หรือบ่อยครั้งท่ีนิทานเรื่องสัตว์ในท้านองเดียวกับนิทานอีสปที่ใช้ สั่งสอนศลี ธรรม ย่ิงเมื่อพิจารณาลงลึกเฉพาะการลงโทษในนทิ านไทยด้วยแล้ว เรายังจะเห็นความเชื่อมโยงของ การลงโทษในนทิ านไทยกับการลงโทษทปี่ รากฏในเรอื่ งเลา่ เชิงคตชิ นของพงศกรดว้ ย กล่าวคือ งานวจิ ยั ของณีรนชุ แมลงภู่ (2552, 228-230) ซ่งึ ศึกษาอนุภาคการลงโทษและการให้รางวัลในนทิ านพ้ืนบ้าน ไทยไว้อยา่ งละเอียดเสนอว่า การลงโทษและการใหร้ างวัลทีป่ รากฏในนิทานพ้ืนบ้านไทยแสดงบรรทัด ฐานของสังคมไทย การลงโทษคือพฤติกรรมที่พึงหลีกเล่ียง ขณะที่การให้รางวัลคือพฤติกรรมท่ีพึง ปรารถนา ยิ่งเมอ่ื พิจารณาสาเหตุท่นี ้าไปสู่การลงโทษและการใหร้ างวัลแล้วจะพบว่า แนวคดิ การท้าดี ได้ดีท้าช่ัวไดช้ ่ัวตามค้าสอนในพุทธศาสนาเป็นทม่ี าของการไดร้ างวัลและการลงโทษ การท้าความดีทาง พุทธศาสนา โดยเฉพาะการชว่ ยชวี ติ การท้าทานและการรกั ษาศีลเปน็ เหตุแห่งการได้รบั รางวลั ในทาง กลับกัน เม่ือท้าความชั่วอย่างการเบยี ดเบียนชีวิตและทรัพย์สินผู้อ่นื การท้าความผิดเรื่องชู้สาวและ การท้าผิดต่อสิง่ เหนอื ธรรมชาติมักเป็นเหตแุ หง่ การได้รบั การลงโทษ การหลกี เลีย่ งไมใ่ ห้ถูกลงโทษจงึ ต้องหลีกเลี่ยงการท้าความชั่วนั่นเอง งานของณีรนุชสรุปให้เห็นว่า ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ ล้วนแล้วแต่เก่ียวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติทั้งส้ิน บทบาทของการลงโทษและให้รางวัลในนิทานไทยจงึ เน้นสอนใหส้ มาชิกในสังคมอยู่รว่ มกันอย่างเป็น สขุ นั่นเอง บทบาทการสอนใจผา่ นอนภุ าคลงโทษในนวนิยายของพงศกร โดยเฉพาะอนุภาคการลงโทษท่ี ปรากฏในเร่อื งเล่าเชงิ คติชนท่ีอธิบายความเป็นมาของสถานท่เี รียกได้ว่า มที ิศทางเดยี วกบั อนภุ าคการ ลงโทษในนิทานพ้ืนบ้านไทย สงั เกตไดจ้ ากการลงโทษในนวนยิ ายของพงศกรมกั มีสาเหตมุ าจากการทา้ ผิดระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ดังเช่นการสังหารผู้อ่ืนดังท่ีนางไอ่ค้ากระท้าต่อท้าวภังคี ดารกาประกาย สงั หารนางอว้ั แสนเพ็ง รวมถึงการผิดคา้ สัตย์น้ามาสเู่ มืองล่ม หรือมาจากความรักต้องหา้ มระหว่างคน ต่างสถานะทั้งต่างชนชั้นอย่างโจรสลัดกับเจา้ หญิง พุทธิกุมารท่ีต้องดูแลปราสาทหนิ กับนางโสมรศั ม์ิ ความรักต่างเผ่าพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับยักษ์ผีเส้ือ การลงโทษท่ีเกิดขึ้นในเรื่องเล่าเชิงคติชนเหล่าน้ี นับเป็นบทเรียนให้ตัวละครพึงหลีกเล่ียง ซึ่งพงศกรได้ชี้ทางออกของการลงโทษด้วยการยกโทษใน ตอนท้าย การยกโทษด้วยการอโหสิกรรม การปล่อยวางและการละวางกิเลสกส็ มั พนั ธ์กบั การด้าเนนิ ชีวติ อย่รู ่วมกันอย่างสงบสขุ การทีน่ วนิยายของพงศกรเสนอทางออกทีเ่ ปล่ยี นจากการลงโทษสูก่ ารยก โทษนับว่าสะท้อนถึงการปรับใช้ความคิดทางพุทธศาสนาเพื่อหลีกเลยี่ งความขัดแย้งและอยู่ร่วมกับ ผ้อู น่ื ได้อย่างสงบสุข นอกจากน้ี หากพจิ ารณาอย่างละเอยี ดแล้วจะพบอีกวา่ การน้าเสนอแนวคิดทางพุทธศาสนา ในนวนิยายของพงศกรมงุ่ เน้นเรือ่ งธรรมทางโลกหรอื โลกียธรรมมากกว่าการม่งุ บรรลธุ รรมขน้ั สูงหรือ โลกุตรธรรม คือ ทา้ ให้ผอู้ า่ นไดฉ้ กุ คดิ และปรับใชเ้ พอื่ ด้าเนนิ ชวี ติ อยรู่ ่วมกับผอู้ ืน่ อย่างสงบสุข หลกี เลีย่ ง

176 ความขัดแย้งท่ีอาจเกดิ ขึ้นต่อสงั คม ความคิดเช่นนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยอยู่เสมอ สุกัญญา สุจฉายา (2557, 249-261) จึงไดเ้ สนอไวว้ า่ วรรณคดไี ทยมิได้ใหแ้ งค่ ดิ เพือ่ ให้ผู้คน “เอาตวั รอด” (survive) จาก ภยั อันตรายหรือเอาตวั รอดด้วยกลอุบายตา่ งๆ หากวรรณคดไี ทยมกั ใหแ้ งค่ ดิ เพ่อื “การร้รู กั ษาตวั รอด” อันหมายถึง การรู้รักษาจิตและกาย ระวังจิตของตนให้มสี ติไมต่ กอยู่ภายใต้กิเลสเพ่ือให้เรารักษาตวั รอดให้ตนมีความสุข และเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต การรู้รักษาตัวรอดที่ส้าคัญก็คือ การ ยอมรบั วา่ ทกุ ข์เกดิ จากกรรม เมื่อเรายอมรบั กับสิง่ ที่เกดิ ข้ึนว่ามาจากกรรมจะท้าใหเ้ ราไม่ผกู พยาบาท จากพ้ืนฐานความคิดเช่นนี้เองช่วยให้สังคมไทยรอดพ้นวิกฤตมาได้หลายครั้ง ในแง่นี้ นวนิยายของ พงศกรเสนอการรู้รกั ษาตัวรอดระดบั ปัจเจกเพ่อื ใหส้ ังคมโดยรวมอยู่รอดได้ไม่ต่างจากในวรรณคดีไทย 4.2 ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งขอ้ มลู เชงิ คตชิ นกบั แนวคิดการแสดงคุณค่าวฒั นธรรมพนื้ บา้ น การเดินทางของตัวละครเอกซึ่งมักเป็นชาวเมืองท่ีมีสถานะทางสังคมสูงแล้วต้องไปเผชิญ เหตกุ ารณป์ ระหลาดในฉากทหี่ ่างไกลเป็นกลวิธใี ห้ผู้อา่ นเห็นภาพผคู้ นและวฒั นธรรมท่แี ตกต่างจากไป ตน กลวิธีน้ีแฝงนัยยะยกย่องวัฒนธรรมพื้นบ้านว่ามีคุณค่าและมีความเท่าเทียมไม่ต่างไปจาก วัฒนธรรมอ่ืนๆ โดยนวนิยายของพงศกรไม่เพียงแต่น้าเสนอแนวคิดผ่านภาพด้านบวกของกลุ่มคน เหล่านน้ั ออกมา หากแต่นวนิยายของพงศกรยังน้าวิถคี นเมืองและองค์ความรู้ของคนเมือง โดยเฉพาะ องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเทียบเคียงกับความรู้ของชาวบ้านให้เห็นว่าเมื่อตัวละครเอกต้องพบ เหตุการณ์ท่ีไมส่ ามารถอธิบายได้ ความรู้ของท้องถิ่นกลบั มามีบทบาทต่อการอธิบายเหตุการณ์และ แก้ไขปญั หาท่เี กดิ ข้ึนได้แทน 4.2.1 ขอ้ มลู เชงิ คติชนกบั การนาเสนอแนวคดิ เชดิ ชภู มู ปิ ญั ญาที่เทา่ เทยี ม นวนิยายของพงศกรน้าเสนอกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อต้องการแสดงความเท่าเทียมทาง วัฒนธรรม โดยข้อมูลเชิงคติชนที่ปรากฏในนวนิยายแสดงถึงภูมปิ ัญญาของคนน้ันๆในการธ้ารงสงั คม ของพวกเขามาเปน็ เวลานานเพอ่ื แสดงให้เห็นภมู ปิ ัญญาของคนแต่ละกลุ่มว่าไมด่ ้อยกวา่ วัฒนธรรมอื่น 4.2.1.1 แนวคดิ เรือ่ งการเชิดชูภูมปิ ญั ญาทีเ่ ท่าเทยี ม การเชิดชูภูมิปัญญาของแต่ละกลมุ่ ชนอย่างเท่าเทยี มปรากฏชัดผ่านนวนิยายเรื่องสร้อย แสงจันทร์ ฤดูดาวและกุหลาบรัตติกาล ซ่ึงพงศกรน้าเอาภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์กยู เย้าและไท ใหญ่มาน้าเสนอตามล้าดับ นวนิยายท้งั สามเร่ืองไดน้ า้ เสนอภาพดา้ นบวกของกลมุ่ ชนชาตพิ นั ธผุ์ ่านการ สร้างตัวละครท่ีอาศัยอยู่ในพื้นท่ีใหเ้ ป็นมิตร ใช้สายตาของตัวละครเอกที่เดินทางเข้ามาปรับมุมมอง ของผูอ้ า่ นวา่ กลุม่ คนท่ีมวี ฒั นธรรมแตกต่างมคี วามเปน็ คนทมี่ ีศักดศ์ิ รแี ละมวี ฒั นธรรมเปน็ ของตน สา้ หรับการนา้ เสนอความเทา่ เทียมทางวัฒนธรรม นวนยิ ายน้าเสนอให้ผ้อู ่านเห็นถงึ การมี อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ ดังที่สร้อยแสงจันทร์เริ่มต้นเร่ืองด้วยการเน้นย้าว่า “...คนไทยส่วนมาก

177 เขา้ ใจผิด คิดวา่ กวยหรอื กยู คอื คนเขมร เมอื่ มาได้คลกุ คลีอย่กู บั ชาวบา้ น พุทธิจงึ รู้ว่า กยู เป็นชนชาติท่ี อาศยั อยใู่ นแอง่ ทรี่ าบอีสานของไทยมานานหลายรอ้ ยปแี ล้ว และพวกเขาไมไ่ ดเ้ ป็นคนลาวหรือคนเขมร อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่เป็นกูย... เป็นชนชาติที่มีภาษา มีวัฒนธรรมและประเพณีเป็นของ ตนเอง เพยี งแตไ่ มม่ ผี นื แผ่นดินท่ปี รากฏเป็นประเทศอยู่ในแผนทเี่ ท่านนั้ เอง” (พงศกร 2558, 10) เพื่อ น้าความคดิ ของผอู้ ่านมิใหเ้ หมารวมกลมุ่ คนน้ีเข้ากับกลมุ่ คนอนื่ อยา่ งทเ่ี ขา้ ใจผดิ กัน และนา่ สังเกตอกี วา่ พงศกรเลอื กใช้คา้ ว่า “กูย” ซึง่ เปน็ คา้ เรียกแทนตวั เองของคนกล่มุ นี้ มิใช่ใชค้ ้าว่าสว่ ยหรอื เขมรปา่ ดงท่ี คนนอกวัฒนธรรมเป็นผู้มอบให้ การเลือกใช้ค้าท่ีกูยใช้เรียกตัวเองก็สะทอ้ นการหลกี เล่ยี งนัยยะดูถูก ทมี่ าจากความคดิ ของคนนอกและให้เกยี รติ ภาพของกูยก็ไม่ต่างไปจากเย้าในฤดูดาว พงศกรบรรยายว่าชาวเย้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ท่ี เฉลียวฉลาด สอดแทรกอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น “ชาวเย้าเป็นชนเผ่าที่มีความเฉลยี วฉลาดและใช้ภมู ิ ปัญญานั้นสร้างเคร่ืองอ้านวยความสะดวกให้กบั เผา่ ตนมานานแล้ว เย้ามักจะเลอื กต้ังหมู่บา้ นอยู่ใกล้ กับแหล่งที่เป็นต้นน้าล้าธารซึ่งไหลแรงหรือบริเวณที่เป็นธารน้าตกจากเนินเขาขนาดเล็ก เพื่อท่ีจะ สามารถใช้ท่อหรอื ลา้ ไมไ้ ผ่ต่อกนั เป็นระบบรางน้า น้าน้าเข้ามาส้าหรบั ไว้ใช้ภายในหมู่บา้ นได้ แทนท่ี จะต้องเสียเวลาและล้าบากเดินลงไปตักน้าในแอ่งน้าหรือล้าธารอย่างกับชาวเขาเผ่าอ่ืน” (พงศกร 2555ข, 43) และ “ในบรรดาชาวเขาด้วยกนั แล้ว เยา้ นบั เป็นเผ่าทม่ี ีฝีมือในด้านการชา่ งมากทส่ี ุด เม่อื มีเวลาว่างจากการทา้ ไร่ทา้ สวน ผ้หู ญิงเยา้ ทุกคนจะปกั ลวดลายลงบนผ้าหรอื ทเี่ รยี กว่า เย็บดอก ลงบน เสื้อผ้าที่สวมใส่ ลวดลายท่ีปักจะมีสสี นั งดงามเป็นลกั ษณะเฉพาะของเผ่าเย้า เด็กผหู้ ญิงทกุ คนในเผ่า จะต้องเย็บดอกเป็นเพราะถือเป็นสง่ิ สา้ คัญของลกู ผหู้ ญงิ ผู้ชายเย้าจะเลือกเมียก็ดูเอาจากฝีมือปักผา้ น่เี อง” (พงศกร 2555ข, 38) นวนิยายท้ังสามเรื่องถ่ายทอดผ่านมุมมองของตัวละครเอกผู้เดินทางเข้ามาเป็นหลัก มุมมองเช่นน้ีส่งผลต่อการปรับความคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธ์ุแก่ผู้อ่าน เพราะเม่ือ ตัวละครได้เข้าไปคลกุ คลีกบั กลุ่มคนน้ันๆ แล้วได้สมั ผัสท้งั ความเป็นมิตร มองวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างใน ด้านบวก ผู้อ่านจะคลอ้ ยตามไปตามทต่ี ัวละครเอกสมั ผสั ดงั เชน่ ในสรอ้ ยแสงจนั ทร์ ไดน้ ้าพิธีกรรมของ ชาวกยู มาสอดแทรก ใหต้ วั ละครเอกได้เข้าร่วม พทุ ธกิ บั เดอื นเต็มดวงก็สัมผสั ไดถ้ ึงศรัทธา มิไดม้ องว่า เปน็ เรือ่ งงมงาย นอกจากด้านวฒั นธรรม นวนิยายเสนอภาพความเปน็ มิตรของกยู ท้ังจากระหว่างการ เดินทางเพ่อื ท้าภารกิจยงั ปราสาทปักษาจ้าจอง ตัวละครชาวกยู ท่ีติดตามไปด้วยก็ท้าใหเ้ ดือนเต็มดวง “รสู้ กึ และสมั ผัสไดถ้ งึ ความเช่อื และใจทบี่ รสิ ุทธส์ิ ะอาดของพวกเขาและหลอ่ นยังไดเ้ รียนรเู้ ร่ืองเกย่ี วกบั ชาวกูยที่หล่อนไม่เคยรู้มาก่อน” (พงศกร 2558, 165) กระทั่งมาถึงเหตุการณ์คับขัน ตัวละครกูยได้ ชว่ ยตัวละครเอกไวจ้ ากตัวละครปฏปิ กั ษ์ ในเร่ืองฤดูดาวใช้มุมมองของดรสาเป็นกระบอกเสยี งปรับความคิดของคนเมืองคนอน่ื ที่ มองชาวเย้าว่าเปน็ เพียงชาวเขาทดี่ ้อยกว่าคนเมอื ง เหตุการณ์ท่ีเหน็ ชัด คือ ตอนที่ดรสาเอาชุดเย้ามา

178 สวมแล้วหลงเข้าไปในเขตสวนส้มของดร.สินธพ ดรสาพบคนงานก้าลังยิงนกเงอื กจึงเข้าไปห้าม หาก กลุ่มคนงานคดิ วา่ หลอ่ นเปน็ เยา้ จงึ ดูถูกดรสาอย่างรนุ แรงว่า “เป็นเยา้ ไมอ่ ยสู่ ว่ นเย้านะมึง มหี นา้ ท่ที ้าไร่ ท้าสวนก็กลับไปท้าซะ มายุง่ อะไรกบั คนเมืองอยา่ งพวกกดู ว้ ย อยา่ งพวกมึงก็ดกั ดานอยู่บนดอยนี่ละว้า จะไปรู้เรื่องของคนเมอื งได้อย่างไร” (พงศกร 2555ข, 76) เหตุน้ีเองท้าใหด้ รสาโกรธอย่างมาก “คน พวกนกี้ ลา้ ดีอยา่ งไรมาวา่ คนทนี่ ่อี ย่างนน้ั คนพวกนีก้ ลา้ ดถู ูกคนที่ผาชา้ งร้องได้อยา่ งไรกัน แม้วา่ คนที่น่ี จะยากจน มีการศึกษา มีความรู้ไม่มากมายนกั หากดรสาเชื่อว่าหากวัดกันทีจ่ ิตใจแล้ว คนที่นี่มีจติ ใจ สูงมากกว่าผู้ชายสามคนทอ่ี ้างตนว่าเปน็ คนเมืองมากนัก... ‘พวกนายทั้งสามคนเปน็ ใคร’ น้าเสยี งของ หล่อนที่ตวาดออกไปน้ันจึงทรงอ้านาจ ‘พวกนายท้ังสามคนมีสิทธ์ิอะไรมาว่าคนเย้า คนเย้าหรือคน เมืองกเ็ หมือนกนั คนเยา้ อยา่ งพวกฉันไมเ่ คยทา้ รา้ ยป่าซง่ึ ให้ที่อยอู่ าศัย ใหท้ ท่ี า้ กินกบั เรา มแี ต่พวกนาย นั่นละท่ีรุกรานและเอาแต่ได้’” (พงศกร 2555ข, 76-77) เหตุการณ์ตอนนี้แสดงบทบาทของดรสาท่ี เขา้ ไปแก้ต่างแทนคนในทอ้ งถ่ินเพื่อบง่ บอกว่าคนเย้ากเ็ ปน็ คนเสมอเหมือนกันไดอ้ ย่างดี ส่วนในกุหลาบรัตตกิ าล นา้ เสนอผา่ นมุมมองของภาวรใี นการเดนิ ทางหารากเหง้าไทใหญ่ เริ่มด้วยการบรรยายภาวรีว่าเป็นคนเมืองท่ีให้ความส้าคัญกับวัตถุเงินทองและมีปัญหาซึมเศร้า เนื่องจากเสียบิดามารดาไปอย่างกะทันหัน จากน้ันนวนิยายสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร เร่ิมแรกแม้ภาวรีรู้ว่าตนมเี ช้ือสายไทใหญ่กบั ไดค้ รองคุ้มคีรคี ้า แตห่ ลอ่ นก็มิได้รู้สึกหวงแหนความเปน็ ไท ใหญ่หรอื สมบัติของเจา้ ยายมากนัก ดังท่ีหลอ่ นตอ้ งการจะขายคมุ้ คีรีค้ามากกว่าจะรกั ษาไว้ จนหล่อน ได้เริ่มเรยี นรเู้ กยี่ วกับรากของตนเองมากย่งิ ข้นึ ภวารีเคยเป็นสาววัตถุนิยม ใช้เงินทอง เคร่ืองประดับ ทรัพย์สินเป็นเคร่ืองตัดสินตัว บุคคล หลอ่ นมกั คิดถึงเร่ืองเงินๆ ทองๆ นา้ หนา้ มาก่อนเร่ืองอ่ืนใด...จนกระท่ังมีโอกาส ได้มานอนบนเตียงที่เจ้าตาเคยนอน ค้นพบกุหลาบสีน้าเงินของเจ้ายาย พบไดอารี่บน ห้องใตห้ ลงั คา ได้เรียนรเู้ รอ่ื งราวเบื้องหลงั ความพยายามของเจ้าแหวนแก้วและเจ้าขุน สิงห์ ที่อุตสา่ หม์ านะสร้างคฤหาสน์ขนาดใหญข่ น้ึ ท่ามกลางป่าเขาพงไพร เพือ่ เป็นฐานส่ง เสบียงและขา่ วสารให้กองก้าลังกู้ชาติไทใหญ่ ภาวรีจึงเพ่ิงตระหนักถึงความผูกพันใน สายเลือดของชาวยองห้วย ซงึ่ ไหลวนเป็นส่วนหนง่ึ ในกายของเธอ บัดนน้ั หญงิ สาวจึงได้ ตระหนกั ว่า เงนิ ไม่ใชค่ ้าตอบของทุกสิ่ง” (พงศกร 2555ก, 362-363) การเรยี นรู้เร่ืองเลา่ ภายในครอบครัวของภาวรีจึงเปน็ เหตใุ หห้ ล่อนได้เติมเต็มจากภาวะ ทางจิตที่รู้สึกไร้ญาติขาดมิตรมาเป็นคนที่มีราก ดังตอนหนึ่งท่ีเจ้านวลตองพาภาวรีไปวัดไทใหญ่ซ่ึง บรรจุอัฐิประจ้าตระกูลหลอ่ นไว้ พงศกรได้บรรยายความรู้สึกของภาวรีไว้ว่า “หญิงสาวก้มลงกราบ พระพทุ ธรูปองค์ใหญ่ดว้ ยหัวใจเตม็ ต้นื เลือดในกายไหลแรง บางสง่ิ บางอย่างท่ีขาดหายไปจากชีวติ ของ หลอ่ นเนน่ิ นานได้กลับคืนมาในวาระนั้น” (พงศกร 2555ก, 239) อีกตอนหนึง่ ที่เจา้ นวลตองมอบแหวน

179 ของเจา้ ยายให้ภาวรี เม่อื หลอ่ นสวมแหวนแลว้ “กระแสความอบอุน่ จากแหวนทองวาบลกึ เข้าสูใ่ จของ หญงิ สาว ภาวรีขนลกุ ซู่รู้สกึ เหมือนได้ใกลช้ ดิ กบั เจา้ แหวนแกว้ มากย่งิ กว่าเก่า” (พงศกร 2555ก, 204) เหตุนี้ในตอนท้ายของเร่อื งแม้ “คุ้มคีรีค้าใหญ่เกินกว่าหล่อนจะดูแลได้ท่ัวถึง...ถึงจะย่ิงใหญแ่ ละเป็น ภาระมากมายเพียงใด ภวารกี ็ไม่คดิ จะขายคุม้ ครี ีค้าอีกแล้ว เพราะท่ีนเี่ ป็นสถานทซี่ ่ึงเจา้ ยายของหลอ่ น รกั และผูกพนั หล่อนจะพยายามรกั ษาเอาไว้ให้ดที ส่ี ดุ ” (พงศกร 2555ก, 314) ความภาคภมู ิใจในราก ของภาวรสี ะทอ้ นให้เห็นถงึ ความภาคภมู ิใจในตัวตนไทใหญ่ทมี่ ีประวัติความเป็นมา มวี ัฒนธรรมให้น่า ภูมใิ จไมน่ ้อยไปกว่าวฒั นธรรมอ่นื การน้าเสนอภาพเชน่ นี้ก็สะท้อนคุณค่าของวฒั นธรรมไทยใหญ่มาสู่ ผูอ้ า่ นอีกตอ่ หน่งึ น่าสังเกตว่า การเดินทางของตัวละครเอกมักมาพร้อมกับความขัดแย้งในท้องถิ่น ดังท่ี ดรสาและดร.สนิ ธพ มายังผาชา้ งรอ้ งจนทา้ ใหช้ มุ ชนชาวเยา้ เปลีย่ นแปลง พุทธิเดินทางเข้ามาจนท้าให้ วัตถุโบราณถูกโจรกรรม ภาวรีเดินทางมาและพบกุหลาบรัตติกาลจนเป็นที่มาของการแย่งชิงดอก กุหลาบ เหตุที่เปน็ เช่นนี้อาจอธิบายได้ว่า คนเมืองพยายามเปลยี่ นแปลงโครงสรา้ งเดมิ ในสังคมน้ันๆ โดยขาดความเข้าใจ และมองว่าการกระท้ากับความคิดของตนเป็นฝ่ายถูก กระท่ังเม่ือเนื้อเร่ืองได้ พัฒนาไป นวนิยายได้ฉายภาพความขัดแย้งท่ีรุนแรงมากย่ิงขึ้นและได้ฉายภาพภูมิปัญญากับ ความสามารถของคนในชุมชนที่ย้อนกลับมาช่วยตัวละครเอก จนพวกเขาเร่ิมเข้าใจและเปิดรับ ความคิดของกล่มุ ชนน้ันๆ ดังท่ีเมอ่ื ตัวละครเอกเจอเหตกุ ารณ์คับขันในสร้อยแสงจันทร์ ตัวละครชาว กูยกลายเป็นผู้ช่วยเหลือให้ตัวละครเอกรอดพ้นจากตัวละครปฏิปักษ์ “พวกนั้นยังไม่รู้ว่ามีลูกหาบ หายไปหนึ่งคน เพราะตลอดการเดินทางนัน้ พวกเขาไม่เคยมาคลุกคลกี บั พวกลกู หาบซ่ึงถอื ว่าเป็นคน ช้ันต้่า แถมในสายตาของคนเมือง หน้าตาของพวกเขาคงจะดูเหมอื นกนั ไปเสียท้งั หมด...น่อยเปน็ เดก็ หนมุ่ ทเ่ี ขาสอนการใช้ชวี ติ ในป่าและหดั เป็นพรานไพรมาตัง้ แต่ยงั เปน็ เด็ก เด็กคนนเ้ี ป็นเด็กฉลาด...ด้วย เหตุนี้เขาจึงเช่ือว่าอย่างไรเสียน่อยจะยังซุ่มซ่อนตัวอยู่แถวนี้เพ่ือรอจังหวะเวลาอันเหมาะสมออกมา ช่วยเขาและลูกหาบคนอื่น” (พงศกร 2558, 246) จนน่อยก็สามารถช่วยเหลือพุทธิได้ส้าเร็จ ที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะเมือ่ เหตุการณ์คับขันเกิดในพ้ืนทข่ี องชาวกูยทพ่ี วกเขาช้านาญเส้นทางและเติบโตมากับ ป่าต่างจากคนเมือง ส่วนฤดดู าว พงศกรไดส้ ร้างปรากฏการณฤ์ ดดู าวทสี่ ะท้อนถงึ ขดี จ้ากัดความร้ขู องคนเมือง เพื่อให้คนเมืองเห็นความสา้ คัญของภูมิปญั ญาท้องถ่ิน ดังท่ปี รากฏการณ์ฤดูดาวทา้ ให้สัตว์ประหลาด คอื กะนาแปะยอ้ งออกอาละวาดท้าร้ายผคู้ นในผาช้างร้อง ชาวผาชา้ งรอ้ งมเี รื่องเล่าและภูมปิ ญั ญาใน การป้องกันสัตว์ร้าย แต่ชาวเมืองท่ีเข้ามาไม่ได้เช่ือถือและคิดว่าเป็นเร่ืองไร้สาระ จนหลายคนโดน กะนาแปะยอ้ งทา้ ร้าย ดงั เช่น

180 ผกากรองกรีดร้องโหยหวนดว้ ยความเจบ็ ปวดเป็นทสี่ ุด เมื่ออะไรที่เฝ้ารอคอยหลอ่ น อยู่ในความมืดของยามราตรีฝังเข้ียวแหลมคมเข้ากับข้อมือหล่อนอย่างรวดเร็ว... สติสัมปชัญญะสุดท้ายของหล่อนนึกเสียใจที่ไม่เชื่อค้าเตือนของต่อนอู่ เม่ือฝ่ายนั้นย่ืน น้ามันอะไรบางอยา่ งทก่ี ล่นิ หอมหวานจนคลื่นเหียนมาใหพ้ รอ้ มบอกว่า “ครูระวังตัวนะครับ เข้าฤดูดาว มีสัตว์ร้ายมากมาย เก็บน้ามันน้ีเอาไว้กับตัวและใช้ หยดใส่เส้อื ผ้าทุกวัน นา้ มนั เอือ้ งหอมจะปอ้ งกันครูจากสตั ว์รา้ ยทมี่ าจากปา่ โหงได้” ตอนน้นั ผกากรองคิดว่าน่นั เปน็ ความเช่ือทโี่ ง่งมงาย โลกเจริญมาจนปา่ นน้แี ล้ว คนทมี่ คี วามเช่อื เกา่ ๆ อย่างนีย้ ังมีหลงเหลืออยู่อีกด้วยหรือ หล่อนรับขวดน้ามนั มาอย่างเสยี ไม่ได้ หากเมื่อกลับมาถึงบ้านก็โยนท้งิ ไปอย่างไมส่ นใจ เพ่ิงมานึกเสียใจเอาในตอนนี้ หากมันอาจจะสายเกินไปส้าหรับหล่อนเสียแล้ว (พงศกร 2555ข, 528-529) เมอื่ เหตุการณใ์ นหมบู่ ้านเร่มิ รุนแรงมากขนึ้ ดรสาตดั สนิ ใจเดินทางไปเวยี งแสนเพง็ ตามท่ีอู๋ ตาบา้ แนะน้า หากสินธพแย้งดรสาเพราะเหน็ ว่า “คุณเชอื่ นิทานหลอกเด็กนั่นด้วยหรือ” สนิ ธพถอนหายใจ “เรอ่ื งดอกไมท้ ี่กลายเป็นคน ได้ ในคืนวนั เพญ็ ” “แล้วคุณอธิบายฤดูดาวไดไ้ หม” ดรสาเงยหน้าข้ึนมองดดู วงดาวทีท่ อแสงแน่นขนัดบน ฟากฟา้ ท่หี า่ งไกลออกไป “ทา้ ไมถึงมีดาวเตม็ ฟ้ามากอย่างท่ีเราไม่เคยเห็นทไี่ หนมาก่อน ในชว่ งสามส่เี ดอื นมาน้ี” “อาจจะเป็นเพราะวงโคจรของโลก ทางช้างเผือกหรือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์” สนิ ธพพยายามหาเหตผุ ลมาอธบิ าย “ลึกลงไปในใจแล้ว คุณก็รู้ว่าไม่จริง คุณแค่พยายามหาเหตผุ ลทางวิทยาศาสตร์เพ่ือมา อธบิ ายใหส้ บายใจต่างหาก” […] ดรสาพูดตอ่ ไปเม่อื เหน็ ว่าสนิ ธพไดแ้ ต่ส่ายหน้าอย่างจน ปัญญา “เห็นไหมคะ ว่าที่จริงแล้วคุณก็อธิบายปรากฏการณ์นี้ไม่ได้ คุณสินธพโลกยังมีอีก มากมายหลายสิ่งท่ีมนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราไม่เคยรู้ ก่อนหน้าน้ี ฉันก็เคยคิดอย่างคุณ แต่มาถึงตอนน้ี ฉันยอมรับแล้วละค่ะว่าอะไรก็อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ ในโลกของเรา และทผ่ี าชา้ งร้องแหง่ น้ี” (พงศกร 2555ข, 460-461) เมื่อความรู้ของคนเมอื งไมส่ ามารถใช้อธิบายปรากฏการณต์ ่างๆ ได้แล้ว ส่ิงที่ใช้แกป้ ัญหา ได้ดี คือ ภมู ปิ ญั ญาของชาวผาช้างรอ้ ง ดรสา สนิ ธพ โคลินและต่อนอจู ึงตามอู๋ตาบา้ ออกเดินทางไปยัง เวียงแสนเพ็ง ตวั ละครแตล่ ะตวั ได้พยายามแสดงความเหน็ ว่าที่ใดน่าจะเปน็ ที่เหมาะสมท่ีดอกเออื้ งแสน เพง็ ตง้ั อยู่ ตอ่ นอซู ง่ึ เป็นหัวหน้าเผา่ เยา้ ในผาช้างร้องไดเ้ สนอความคดิ เหน็ กับสนิ ธพดว้ ยทา่ ทที ่ีเกรงใจว่า

181 “ดอกเตอรค์ รบั ” เสียงท่ีต่อนอูเอย่ ค่อยเสยี จนเกือบจะเป็นกระซบิ นัยนต์ าของชายวัย กลางคนมีแววกริ่งเกรงแล้วน่ิงเงียบไปพักใหญ่ ก่อนท่ีจะตัดสินใจเอ่ยสิ่งท่ีคิดเอาไว้ ออกมาในทา้ ยทีส่ ดุ “ผมอาจจะไม่ใช่คนเก่ง ไม่ได้เรียนสูงอย่างดอกเตอร์ แต่ผมคิดว่าเวลาของเราเหลือ น้อยลงไปเรื่อยๆ หากเรามัวแต่ควานหาเหมือนกับเหวี่ยงแหไปเร่ือยๆ อย่างที่เราท้า กันอยู่ ต่อใหถ้ ึงเที่ยงวนั พรุง่ นี้ กห็ าเอื้องแสนเพ็งไม่พบแน่...” “แล้วต่อนอคู ดิ ว่าอย่างไรล่ะ” นา้ เสียงของสินธพเย็นชา ด้วยรสู้ ึกรับไมไ่ ดท้ ี่ชาวเย้ามา ยืนพูดแสดงความคดิ เห็นของตน เหมือนกับต้องการจะส่ังสอนเขา สินธพรดู้ ีว่าตนเอง มีอัตตาสูงเพียงใด เขาเรียนสูงจนจบถึงปริญญาเอก หากใครรู้ว่า ดอกเตอร์อย่างเขา ถกู ชาวเขาซ่ึงมีความรู้เพยี งน้อยนิดสอนให้คดิ เสียใหม่คงเป็นเรื่องน่าอบั อาย (พงศกร 2555ข, 540-541) บทสนทนาข้างต้นท้าให้สินธพซึ่งมองว่าชาวเย้าอยู่ในฐานะด้อยกว่ารู้สึกเหมือนถูก ท้าทายทั้งต่อตัวเขาและต่อองค์ความรู้ที่เขามี แต่สินธพก็ไม่สามารถท้าอะไรได้มากไปกว่าเดินตาม ต่อนอูไป ต่อนอูกลายเป็นผนู้ ้าทางพาสินธพไปตามทิศทางที่คดิ ว่าถูกต้อง หากสินธพยงั แสดงท่าทีไม่ วางใจ กระท่ังตอ่ นอกู ล่าวว่า “ ‘ขอให้วางใจเถิด เยีย (สรรพนามแทนตนเองของเย้า—ผู้วิจัย) เป็น ลูกบ้านป่า อยู่กับป่ากับเขามามากกว่าอายุของดอกเตอรอ์ ีก’ สินธพจึงเงียบเสียงลงไปได้” (พงศกร 2555ข, 546) จนท้ายทส่ี ุดภารกจิ การค้นพาดอกเอื้องแสนเพ็งไดส้ ้าเรจ็ ลลุ ว่ ง เหตกุ ารณ์ทัง้ หมดท้าให้ “สินธพมองดูชายชาวเย้าด้วยสายตาทีเ่ ปล่ยี นไป ณ เวลานี้ โลกทศั น์และมุมมองของสนิ ธพที่เคยมีต่อ ตอ่ นอูและชาวบา้ นผาช้างรอ้ งเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชงิ ” (พงศกร 2555ข, 565) กล่าวไดว้ ่า นวนยิ ายมิได้ เพยี งบอกว่ากลุ่มชาตพิ นั ธ์ตุ า่ งมวี ฒั นธรรมทีแ่ ตกตา่ งไปจากคนเมือง หากมาพรอ้ มนัยยะของการแสดง ความเทา่ เทยี มว่าคนกลุ่มตา่ งๆ มีภมู ปิ ัญญาและมีศักยภาพไม่ต่างไปจากกลุ่มคนกระแสหลัก เพียงแต่ เปน็ ความถนดั คนละด้าน คนเมืองมักดถู กู ว่าชาวเขานั้นโงเ่ ขลาเบาปญั ญากว่าตน จึงพยายามจะน้าเอาเทคโนโลยี กับความรู้ที่คนเมืองมี เข้ามาให้ชาวเขาได้เรียนรู้และถือปฏิบัติตาม โดยหลงลืมความ จริงว่าชาวเขานั้นอยู่ของเขามานานนมอย่างมีความสุข มีวิถีชีวิตและจารีตของตนมา นานนักหนา แถมวิถีชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นยังสอดผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติ รอบดา้ นอย่างลงตวั เกนิ กว่าท่ีพวกคนเมืองจะเคยไดร้ ู้ (พงศกร 2555ข, 25) การใช้สายตาของ “คนนอก” จากตัวละครผู้เดินทางเพื่อช้ีใหเ้ หน็ ศักยภาพของ “คนใน” หรือตัวละครกลุ่มชาติพันธุ์ยังเชื่อมโยงกบั การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจากคนใน ตามที่ปรากฏในสรอ้ ย แสงจันทร์ พงศกรต้องการสะท้อนปัญหาการขโมยวัตถุโบราณ การขาดความเอาใจใส่ดูแล โบราณสถานและโบราณวัตถุเพ่ือมุ่งให้ผู้อ่านหันกลับมาเกิดส้านึกหวงแหนสมบัติของชาติ (พงศกร

182 2558, คา้ น้าผู้เขียน) โดยใชพ้ ุทธเิ ปน็ กระบอกเสยี งในการถ่ายทอดความคิด พงศกรเสนอว่าการจัดการ มรดกทางวัฒนธรรมเหล่าน้ีมิอาจรอภาครัฐเข้ามาจัดการเพียงอย่างเดียว แต่ควรเริ่มต้นจากชุมชน ทอ้ งถ่ินเป็นศนู ยก์ ลาง ชายหน่มุ เพียงแตต่ ้องการให้สารคดีชิ้นนั้นจุดประกายให้แก่ผมู้ ีหน้าท่เี ก่ียวข้องได้และ เห็นความส้าคัญของปราสาทเล็กๆ แห่งนี้ และด้าเนินการขึ้นทะเบียนโบราณสถานให้ เป็นเรื่องเป็นราว จากน้ันก็อาจจะมีงบประมาณเทลงมาให้กับจังหวัดหรืออ้าเภอเพ่ือ พัฒนาบรเิ วณปราสาท รวมไปถงึ การซอ่ มแซมและปรับปรงุ ให้กลายเป็นแหลง่ ทอ่ งเท่ียว ไปในที่สุด หากเป็นเช่นนั้น ชาวบ้านหมู่บ้านเมืองปักษาก็จะได้รับผลพลอยได้เรื่องของธุรกิจ ขนาดเล็กไปด้วยอีกมากมาย หากส่ิงที่เขาคิดวาดหวังเอาไว้ก็เป็นเพียงความนึกฝันที่ อาจจะไม่มีวันเป็นความจริงขึ้นมาได้ […] บางที..แทนที่จะรอให้รัฐทุ่มเทงบประมาณเพื่อบูรณะปราสาทอย่างที่เคยวาดหวัง เอาไว้แตแ่ รก เขาอาจจะหาทางกระตุ้นให้จา้ อูย และชาวบา้ นในท้องถิ่นช่วยกันบริหาร จัดการเสียเอง […] สิ่งเหล่านี้อาจจะมั่นคงและย่ังยืนมากกว่า เพราะมันมาจากภูมิปัญญาของคนใน ท้องถ่ินเอง และพวกเขาก็ย่อมจะมีความรักและหวงแหนสมบัติมีค่าของถ่ินก้าเนิด มากกวา่ คนของทางการท่ีมาจากถ่ินที่อ่ืน..ผ่านมา แล้วกผ็ า่ นไปในท่ีสุด (พงศกร 2558, 116,118) การน้าเสนอภาพด้านบวกของชาวกูยท่ีทั้งเป็นมิตร มีความเฉลียวฉลาดและมี ภูมิปัญญามาตลอดทั้งเร่อื งนี้ก็เพื่อให้สอดรับกบั ข้อเสนอทีพ่ งศกรแฝงไว้ เพราะเม่อื ชาวกูยในหมบู่ ้าน เมืองปักษาล้วนมีความสามารถ มีภูมิปัญญาแล้วคงไม่จ้าเป็นต้องรอคนนอกเข้ามาจัดการ และใน ตอนจบของเร่ือง ข้อเสนอน้ีได้เกิดข้ึนเป็นรูปธรรม “...ปราสาทท่ีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน ได้รับการบูรณะดูแลเป็นอย่างดี คนในท้องถ่ินมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เด็กหนุ่มสาวก็ สามารถทา้ งานสร้างรายได้ให้กับตนเอง โดยที่ไม่ต้องดนิ้ รนเข้าไปท้างานในเมืองใหญ่” (พงศกร 2558, 299) เหตทุ เ่ี ป็นเชน่ นไี้ ด้ไม่ใชเ่ พียงเพราะพุทธหิ รือเดือนเต็มดวงเขา้ มาชี้แนะเทา่ นัน้ หากแต่ “ชาวบ้าน ที่นี่มีศักยภาพ และพร้อมทจ่ี ะพัฒนาท้องถิ่นของพวกเขาอยู่แล้ว เพียงแต่รอคนท่ีเข้าใจระบบมาชน้ี า้ ให้” (พงศกร 2558, 299) ในอีกด้านหนึ่ง บทบาทของคนในมิได้มีเพียงแต่ด้านดเี ท่านั้น แต่นวนิยายยังเสนอให้ เหน็ ภยั จากคนในที่อาจยอ้ นกลับมาทา้ ลายวัฒนธรรมของตนเอง ดังเช่นตวั ละครปฏิปักษ์ในสรอ้ ยแสง จันทรอ์ ย่างบญุ ทาและอ้่าเฟยในฤดูดาว ตัวละครทัง้ สองเป็นตวั ละครผู้นา้ ทางจิตวญิ ญาณต่อชมุ ชนทมี่ ี อ้านาจต่อชุมชน พวกเขาควรเป็นผู้บรรเทาความทกุ ข์และบนั ดาลสขุ แก่คนที่เดอื ดรอ้ น หากตัวละคร

183 กลุ่มนี้กลับใช้อ้านาจในทางท่ีผิดเพ่ือประโยชน์ส่วนตน บุญทาเป็นถึงจ้าซ่ึงถือเป็นต้าแหน่งที่มี ความส้าคญั ทางสงั คมในชุมชนชาวกยู กลับกลายเปน็ ผู้กระท้าผดิ เสียเอง สว่ นอ้า่ เฟยได้หลอกชาวบา้ น มาเป็นเวลายาวนาน และยงั จะใชต้ ้าแหนง่ ของตนเพือ่ ขายผนื ป่าของชมุ ชนไป เหตุนี้คนทีร่ ้ายกาจและ เป็นภัยที่ส้าคัญทสี่ ุดคือ “คนใน” ไม่ใช่ “คนนอก” เพราะคนในทเ่ี ปน็ ผทู้ รงอา้ นาจถือเปน็ ผทู้ รงพลัง ทางความคิดตอ่ คนในชุมชนอยา่ งมาก จากท่ีกล่าวมาจะใหเ้ หน็ ได้ว่า นวนิยายของพงศกรทั้งสามเร่ืองน้ีพยายามแสดงความเทา่ เทียมทางวัฒนธรรมของคนแต่ละชาติพนั ธุ์ และเนน้ บทบาทของคนในพื้นทีอ่ ยา่ งสงู ผลการวเิ คราะห์ ข้างตน้ นับวา่ สอดคลอ้ งกบั ผลการวิจยั ของวิรี เกวลกลุ (2552, 185) ที่ชใี้ หเ้ ห็นวา่ นวนยิ ายของพงศกร มงุ่ นา้ เสนอประเดน็ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมทั้งในมิตทิ างเชื้อชาติและเพศวถิ ี เปดิ พื้นทีใ่ หเ้ ห็น กลุม่ คนต่างๆสามารถอย่รู ่วมกนั ได้ โดยยงั คงดา้ รงวิถที างของกลมุ่ ตน และนวนยิ ายมักจบเรอ่ื งให้เห็น ว่า ความแตกต่างไม่จ้าเป็นต้องหลอมรวมเข้าใหเ้ หมอื นกับกระแสหลกั และไม่มองว่าความแตกตา่ ง เป็นภัยท่ีต้องก้าจัดออกไป ผู้วิจัยเห็นว่า เหตุท่ีนวนิยายของพงศกรเน้นย้าประเด็นนี้อาจเป็นเพราะ บริบทโลกปจั จบุ ัน “ความหลากหลายทางวฒั นธรรม” (cultural diversity) เป็นประเดน็ ทีไ่ ด้รบั การ กล่าวถึงในวงกวา้ ง ทั้งน้ี ชศู กั ด์ิ ภทั รกลุ วณชิ ย์ (2551, 16-36) อธิบายวา่ ความคดิ เรือ่ งความหลากหลายทาง วัฒนธรรมไดร้ บั การน้าเสนอขน้ึ มาในยุคโลกาภิวัตน์ มจี ุดประสงค์เพ่ือต่อสู้กบั มโนทศั น์กระแสหลกั ซึ่ง เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เน่ืองจากคนบางสว่ นเชื่อว่า โลกาภิวัตน์จะเป็นกระบวนการท้าให้ โลกกลายเป็นแบบเดียวกันตามแบบตะวันตก คนบางกลุ่มจึงหวาดเกรงว่าจะถูกกลืนกลายทาง อัตลักษณ์ เหตุน้ีจึงเกิดปฏิกิริยาโต้กลับอย่างกระแสท้องถ่ินนิยมเพื่อลุกข้ึนมาเรียกรอ้ งการอนรุ ักษ์ ภูมิปัญญาท้องถ่ิน การปกป้องและรณรงค์ให้เกิดความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของชาติ ความ หลากหลายทางวัฒนธรรมในบรบิ ทโลกาภวิ ตั น์นแ้ี ตกต่างจากความหลากหลายทีม่ ีอยู่ในสังคมอยูม่ าใน อดีต เพราะในอดีตความแตกต่างหลากหลายถูกมองว่าเป็นความหลากหลายที่ไม่เท่าเทียม (hierarchical diversity) ดงั เชน่ สังคมศักดนิ าหรือระบบวรรณะได้กา้ หนดความสูงต้า่ ของคนในสังคม ไว้อย่างชัดเจน เม่ือสังคมพัฒนาไปสู่ยุคการสร้างชาติแบบรัฐสมัยใหม่ (modern state) ความ หลากหลายต่างๆท่ีไมเ่ ทา่ เทยี มเหล่านั้นได้ถูกหลอมรวมให้กลายเป็นหนึ่ง (homogeneity) โดยเน้น ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในบริบทน้ีจงึ ถูกมองเป็นการ “แตกสามคั คี” ดังท่ีเห็นว่าการสร้างชาติไทยจ้าเป็นต้องหลอมให้คนท้องถ่ิน กลุ่มคนชาติพันธุ์ต่างๆเป็น “คนไทย” ทง้ั สิ้น กระท่ังชว่ งกลางครสิ ตศ์ ตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะหลงั ทศวรรษ 1960 เป็นตน้ มา โลกตะวนั ตกได้ เกิดกระแสขบวนการสตรนี ิยมและกล่มุ เรียกร้องสิทธิมนุษยชนต่างๆ อันน้ามาส่แู นวคิดการประนอม ปรองดองความหลากหลาย (diversity) ท่ีเรียกร้องให้ตระหนักถึง “ความเท่าเทยี มและยอมรบั ความ หลากหลาย” ความคิดข้างต้นปรากฏอย่างชัดเจนในปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายทาง

184 วัฒนธรรมของยูเนสโก (UNESCO Universal Declaration of Cultural Diversity) ซึ่งแสดงให้เหน็ ว่า ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นส่งิ จ้าเป็นต่อมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับที่ความหลากหลายทาง ชีวภาพจ้าเป็นต่อธรรมชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงถือเปน็ มรดกร่วมกันของมนุษยชาติ และควรได้รับการยอมรับตลอดจนการสนบั สนุนอนั จะยงั ประโยชนต์ อ่ มนษุ ยท์ งั้ ในปจั จุบนั และอนาคต Culture takes diverse forms across time and space. This diversity is embodied in the uniqueness and plurality of the identities of the groups and societies making up humankind. As a source of exchange, innovation and creativity, cultural diversity is as necessary for humankind as biodiversity is for nature. In this sense, it is the common heritage of humanity and should be recognized and affirmed for the benefit of present and future generations. (UNESCO 2001, online) แมใ้ นภายหลังความเชอ่ื ท่ีว่าความหลากหลายทางวฒั นธรรมเหมือนกบั ความหลากหลาย ทางชีวภาพตรงท่ีแก่นแท้ (essence) แน่นอนไม่เปลยี่ นแปลงถกู แยง้ จากกลุ่มที่มองวัฒนธรรมเป็นสิ่ง ประกอบสร้างทางสังคม (social constructed) และมีแนวคิดเร่ืองการผสมผสานทางวัฒนธรรม ตามมาก็ตาม 13 หากในบรบิ ทปจั จบุ นั คงปฏิเสธไมไ่ ดว้ ่า การตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละวัฒนธรรมทม่ี ี อยา่ งหลากหลาย เปดิ พน้ื ท่ีของการยอมรบั วัฒนธรรมอยา่ งเทา่ เทียม และสะท้อนภาพการไหลวนของ วิถีชีวิตรอบตัวเรา (way of life) ว่ามีทั้งการปะทะและผสมผสานเข้าด้วยกันอย่ตู ลอดเป็นสิ่งทสี่ ังคม โดยรวมให้ความสนใจ การน้ากลุ่มคนหลายกลมุ่ มานา้ เสนอในนวนิยายของพงศกรจงึ เป็นการเผยให้ เห็นความแตกต่างหลากหลายที่ต้องการปรับความคิดให้ผู้อ่านมองเห็นว่า แต่ละกลุ่มคนก็มีความ เปน็ อยู่ มภี ูมปิ ญั ญาไมต่ า่ งจากวฒั นธรรมอน่ื 13 นักคิดกลุ่มหลงั นี้มองวา่ วัฒนธรรมมีความซับซอ้ น ยืดหยนุ่ แปรเปลยี่ นรวดเร็วมากกวา่ ความหลากหลายทางชวี ภาพ ท่ีส้าคัญใน แต่ละกล่มุ วฒั นธรรมยงั ประกอบด้วยกล่มุ วฒั นธรรมยอ่ ยมากมาย วัฒนธรรมจงึ มไิ ด้มีสารตั ถะทีต่ ิดตัวมาโดยธรรมชาติ แตว่ ฒั นธรรมเป็น พลวัตทมี่ ีการเลอื ก คดั ตัด ต่อ ปรับแปลง เสริม แตง่ ไปจนเกิดการผสมผสาน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจึงมมิ เี พียงหนงึ่ เดยี ว หยดุ นง่ิ หรือ แยกขาดจากกัน (ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ 2551, 33)แนวคิดว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคมเป็นฐานมาสู่แนวคิดการ ผสมผสานทางวฒั นธรรม (cultural hybridization) เพราะเมอ่ื มองวา่ วฒั นธรรมเปน็ สิง่ ท่มี ิได้มเี พยี งหน่ึงเดยี ว หยดุ น่งิ หรอื แยกขาดจาก กันแลว้ เห็นพลวตั ของวฒั นธรรมจากหลายแหลง่ มาพบกันจนเกดิ เปน็ วฒั นธรรมรูปแบบใหม่หรือวัฒนธรรมแบบลกู ผสม (hybridity) ข้ึน ศิริพร ภักดีผาสุข (2548, 29-32)สรุปไว้ว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมมีที่มาจากส้านกั คิดท่ีมองกระแสโลกาภิวตั น์เป็นกลไกสรา้ ง ความแปลกใหม่และความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมข้ึน การไหลบา่ ของกระแสโลกมิอาจจะลบความเป็นท้องถิน่ แตเ่ มอื่ ท้งั สอง กระแสมาปะทะกนั นา้ ไปสูก่ ารเกดิ วัฒนธรรมรปู แบบใหม่ ซง่ึ มีผสมผสานระหวา่ งวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้าดว้ ยกัน จนเกิดลักษณะการผสมทางวัฒนธรรม (cultural hybridity) โดยนยั น้ี โลกาภิวัตนจ์ งึ ทา้ ให้วัฒนธรรมมีการก้าวข้ามพรมแดนของรฐั ชาติ และมกี ารผสมผสานจนเกิดเปน็ วฒั นธรรมแบบใหมข่ ้ึน

185 ดังน้ัน แนวคิดเชิดชูภูมิปัญญาของคนกลมุ่ ชาติพันธ์ุต่างๆ โดยเฉพาะในสร้อยแสงจันทร์ ฤดูดาวและกุหลาบรัตติกาล แสดงให้เห็นแนวคิดท่ีสอดรับไปกับบริบทโลกที่ประเด็นความ หลากหลายทางวัฒนธรรมไดร้ ับกลา่ วถึงอยา่ งกวา้ งขวางเพือ่ แสดงให้เห็นถึงวฒั นธรรมทเ่ี ท่าเทยี ม เปดิ พืน้ ทใี่ หเ้ หน็ ความหลากหลายที่สามารถด้ารงอยู่ร่วมกนั ได้ในสงั คม โดยพงศกรใชส้ ายตาของคนเมอื งท่ี มองไปยังกลุ่มชาติพันธ์ุ เริ่มด้วยความแปลกใจในความแตกต่างจากคนที่พวกเขารู้จัก ไปจนถึง ตัวละครบางตัวก็มีความคิดท่ีดถู ูกวัฒนธรรมเหลา่ น้ันว่าด้อยกว่า หากเม่ือเรื่องได้ด้าเนินไป ตัวละคร ชาวเมืองได้ปรบั เปลย่ี นมุมมองไปในทิศทางบวก โดยตัวละครที่เปน็ ตวั แทนของกลมุ่ ชาติพันธม์ุ ีบทบาท ช่วยเหลือตัวละครเอกอันท้าให้ช่วยถ่ายทอดภาพด้านบวกของชาติพันธ์ุน้ันๆ ท้ังความเป็นมิตรและ ความเฉลียวฉลาด ทา้ ยทีส่ ดุ พงศกรได้สร้างความตระหนักวา่ ไม่วา่ กลมุ่ ชนชาติพันธ์ุใดต่างมศี กั ดิ์ศรีเทา่ เทียมกัน และพวกเขามีภูมิปัญญาของตนท่ีสร้างข้ึนมาเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับท้องถิ่นได้อย่าง กลมกลืนอันสะทอ้ นถึงความเฉลียวฉลาดไม่ต่างจากคนกระแสหลัก นอกจากแสดงว่าวัฒนธรรมของ พวกเขามคี ณุ คา่ แลว้ นวนยิ ายของพงศกรยงั สะท้อนศกั ยภาพของกลุ่มคนเหล่านเี้ พ่ือช้ีแนะแนวทางใน การพฒั นาชมุ ชนทอ้ งถ่นิ ดว้ ย 4.2.1.2 การนา้ ข้อมูลเชิงคติชนมาแสดงถงึ ภูมปิ ญั ญาของกลมุ่ ชาติพนั ธ์ุ นวนยิ ายของพงศกรแสดงบทบาทของขอ้ มูลเชิงคติชนต่อชมุ ชนในนวนิยายไวอ้ ย่างเด่นชัด วา่ แตล่ ะกล่มุ ชนต่างมคี วามเปน็ อยู่ทส่ี มั พนั ธก์ บั ความเช่อื พิธีกรรมและเร่อื งเลา่ เชิงคตชิ น ดังเช่น ชาว เย้าในฤดดู าว มตี ้านาน ความเชอื่ และขอ้ ห้ามตา่ งๆ ที่เกยี่ วพันสืบเน่ืองไปถึงเวยี งแสนเพ็งในเรือ่ งเพ่ือ อธิบายความเปน็ มาของตนและกา้ หนดแบบแผนการด้าเนินชวี ิต ฯลฯ ค้าอธิบายลกั ษณะนบี้ ง่ บอกว่า ข้อมูลเชิงคติชนมีบทบาทหน้าท่ีท้งั ต่อตัวละครและสังคมภายในเรื่องอย่างมีนยั ส้าคัญ และพงศกรได้ น้าเอาบทบาทเหลา่ น้ใี ชม้ าสะท้อนถงึ ภูมปิ ัญญาทอ้ งถน่ิ ท่ีกลุม่ ชนใชธ้ ้ารงสงั คมมาเปน็ เวลานาน บทบาทการให้ความรู้ อบรมระเบียบและมาตรฐานของพฤติกรรมทางสงั คมเป็นบทบาท หน้าท่ีประการส้าคัญของข้อมูลเชิงคติชนท่ีปรากฏในนวนิยายของพงศกร สอดคล้องกับที่ศิราพร ณ ถลางได้อธิบายว่า ในสังคมที่ไม่มีตัวหนังสือใช้ (nonliterate societies) อย่างเช่นสังคมชนเผ่า ชาวเขารวมไปถึงสังคมท่ีมีตัวหนังสือใช้แต่ก็ยังมีประเพณีบอกเล่าในการถ่ายทอดวัฒนธรรม คติชน นับเป็นกลไกส้าคัญในฐานะเป็นสถาบันการศึกษาในความหมายที่ว่า สถาบันท่ีให้ความรู้ ถ่ายทอด วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชน ตัวอย่างเช่น นิทานประจา้ ถ่ินใช้อธิบายประวัติความเป็นมาของช่อื สถานท่หี รอื ภมู ศิ าสตร์ในท้องถิ่นซึ่งนอกจากใหค้ วามรแู้ ล้วก็ยงั สร้างความภาคภูมิใจเกย่ี วกบั รากเหง้า ของตนเอง ในแงน่ ี้ คติชนจึงมบี ทบาทต่อชมุ ชนเพ่ือนิยามวา่ เราคอื ใคร เขาคือใคร ฯลฯ ขณะเดยี วกัน ข้อมูลคติชนยังช่วยขัดเกลาระเบียบสังคม (socialization) ปลูกฝังทัศนคติ อบรมระเบยี บและรักษา มาตรฐานทางจริยธรรมและแบบแผนพฤติกรรมท่ีสังคมยอมรบั และพึงหลีกเลี่ยงให้สมาชิกท่ีเติบโต

186 ขนึ้ มาไดเ้ รียนรู้กฎระเบียบของสงั คม ดงั เชน่ นทิ านชาดกไดช้ ่วยขัดเกลาให้สมาชิกช่วยด้าเนนิ ชีวิตตาม กรอบพุทธศาสนา ภาษติ ค้าพงั เพยช่วยบ่งบอกวา่ สิ่งใดดีส่งิ ใดไม่ดี หรือการละเล่นของเด็กกช็ ว่ ยให้เดก็ รบั รกู้ ติกาของสงั คม รวมถงึ รู้จักการวางตัวในสงั คมด้วย (ศริ าพร ณ ถลาง 2552, 392-395) นวนิยายของพงศกรมักใชข้ ้อมูลเชิงคติชนเพือ่ สรา้ งความรบั รเู้ ก่ียวกับฉากและตวั ละครใน เรื่อง ตั้งแต่บ่งบอกว่า “พวกเขาเป็นใคร” ตัวอย่างท่ีชัดเจน คือ ในนวนิยายแต่ละเร่ืองจะมเี รือ่ งเลา่ เชิงคติชนช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับความเป็นมาของคนในชุมชนและอธิบายส่ิงแวดล้อมรอบตัว เช่น เหตุใดจงึ มบี งึ นา้ ขนาดใหญอ่ ย่กู ลางชุมชน คนในพน้ื ทก่ี ม็ เี รอื่ งเลา่ ว่าเคยมีเมอื งอยู่ในอดตี แล้วล่มลงเปน็ หนองน้า หรือเมื่อมปี รากฏการณ์ที่ดาวเตม็ ทอ้ งฟ้าอย่างแปลกประหลาด ชาวผาช้างร้องก็มีเรื่องเลา่ เกย่ี วกบั ความรักตอ้ งห้ามระหว่างแถนกับหญิงสาวบนโลกเพอ่ื ไขขอ้ ขอ้ งใจ เปน็ ตน้ นอกจากนี้ นวนยิ ายของพงศกรไดส้ ะท้อนวิธีการให้ความรู้จากขอ้ มลู เชิงคตชิ นเพ่ืออธิบาย สิ่งที่มนุษย์ไม่รู้ อย่างเช่นมนุษย์ไม่รู้ว่าโลกท่ีตนอาศัยอยู่เกิดข้ึนได้อย่างไร ต้านานน้าท่วมโลกมีส่วน ช่วยอธิบายให้ความรู้หรือไขข้อข้องใจ หรือกระท่งั การอธิบายเหตุถึงว่าช้างมีท่ีมาอย่างไรและเหตใุ ด ช้างจึงมีบทบาทส้าคัญต่อกษัตริย์ คติเกี่ยวกับช้างในต้ารามีสว่ นช่วยอธิบายใหค้ วามรดู้ ังกลา่ วนัน่ เอง ความร้ทู เี่ กดิ ข้นึ จากข้อมูลเชิงคติชนจึงนับวา่ เปน็ ความรทู้ ี่เกิดขึ้นเพ่ืออธิบายสิ่งรอบตวั ของคนในชุมชน เปน็ หลัก ส้าหรับการน้าเสนอบทบาทข้างต้น พงศกรได้น้าข้อมูลเชิงคติชนอย่างความเช่ือและ พิธกี รรมมาใหต้ ัวละครเอกเข้าร่วม ภาพชมุ ชนท้องถิน่ ในนวนิยายจงึ ไดร้ ับการนา้ เสนอผ่านสายตาของ ตัวละครเอกท่ีเป็นคนต่างถิ่น ตัวอย่างท่ีเห็นชัดจากการเข้าร่วมพิธีกรรมของชาวกูยใน สร้อยแสง จันทร์ พุทธิมีโอกาสได้เข้าไปร่วมพิธีบูชา “กะตวมเนียะตา” หรือศาลปู่ตา “เพราะการท่ีพุทธิมา คลุกคลีตโี มงกนิ อยูก่ ับชาวบ้านกยู มานานนบั เดือน มันท้าให้พวกเขาเหลา่ นน้ั ยอมรบั พุทธิเขา้ เป็นส่วน หน่งึ โดยไม่รูต้ วั และเม่อื พุทธิเดอื ดรอ้ นมาตามหาเด็กชายที่หายตวั ไปในบริเวณน้ี ชาวเมอื งปกั ษาจึงถอื เปน็ หน้าทหี่ น่งึ ท่ีพวกเขาจะตอ้ งช่วยกนั ” (พงศกร 2558, 28) และพงศกรบรรยายความรสู้ กึ ของพุทธิ ว่า “เม่ือทุกคนในหมู่บา้ นมาพร้อมหน้าจึงเริ่มพิธี โดยจ้าอูยเป็นผู้กลา่ วค้าเซ่นพลีเป็นภาษากูยที่ฟัง เข้าใจยาก หากพุทธิรู้สกึ ว่าเป็นภาษาท่ีไพเราะไม่แพก้ ับภาษาใดทเ่ี ขาเคยได้ยินมา ค้าบวงสรวงทจี่ า้ กล่าวก่อให้เกิดบรรยากาศท่ีท้าให้ชายหนุ่มรู้สึกขุมขนลุกด้วยความศรัทธา” (พงศกร 2558, 28) ความรู้สึกศรัทธาของพุทธิสอดคล้องกับเดือนเต็มดวงที่หล่อนได้เข้าร่วม “พิธีฟ้อนผีมด” นวนิยาย ถ่ายทอดความร้สู กึ ของเดอื นเต็มดวงว่า “แมะเทากายนื หลบั ตาพึมพา้ คาถาดว้ ยภาษากยู ทา้ นองเสยี ง สงู ต้า่ ฟงั ไพเราะราวเสยี งดนตรี […] ผู้หญงิ ทกุ คนทน่ี ง่ั ลอ้ มกนั อยู่ รวมทง้ั ครรู ชั นีและแม่ละมนุ ยกขนั ใน มอื ข้ึนสักการบชู าจนเหนอื หนา้ ผาก และพึมพา้ อธิษฐานดว้ ยถอ้ ยค้าที่แตกต่างกัน เสียงของแมะเทากา สวดภาวนายังคงใสราวระฆังแก้ว ฟังแล้วช่างแตกต่างจากวัยอันชราภาพของนาง” (พงศกร 2558, 75-76) แม้ว่าการประกอบพิธีกรรมอาจไม่ได้แก้ไขสถานการณ์ได้โดยตรง แต่จากการประกอบ

187 พิธีกรรมของทง้ั สองได้ช่วยใหก้ ้าลงั ใจตัวละครเอกไดอ้ ย่างสา้ คัญ ส้าหรบั พุทธิ “อะไรบางอย่างบอกกบั เขาว่า ทีมค้นหาเด็กคงจะได้พบตัวเด็กชายจอมซนในอีกไม่นานนัก” (พงศกร 2558, 28) ส่วน เดือนเตม็ ดวงรู้สกึ อุ่นใจเพราะทราบจากแมะเทากาวา่ หลานชายของหลอ่ นถูกสางไพรพลางตัว แตย่ ัง ปลอดภัยดี ต้องรอจนกวา่ พุทธิจะไปชว่ ยเหลอื ไดใ้ หท้ ันเวลา ดงั นัน้ สิ่งท่ีพวกเขาเหน็ และสัมผสั ไดจ้ าก ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกูยคือความศรทั ธาของชาวกูย และเห็นว่าการประกอบพิธีกรรมเป็น กลไกในการ “รวมพลัง” ของคนในชุมชนเพ่ือแก้ปญั หาแก่ตัวละครเอกอันสะทอ้ นถงึ ความเป็นมิตรที่ ใช้องค์ความร้ใู นชมุ ชนของตนเพ่ือแก้ปัญหา นวนิยายของพงศกรยงั แสดงระเบยี บแบบแผนต่อการยดึ เหนยี่ วสงั คมที่มาจากข้อมูลเชงิ คติชน ดังเช่นความเช่ือของเย้าในฤดูดาว มีส่วนต่อการจัดระเบียบสงั คมผาช้างร้อง เพราะผี “เป็น จารีต เป็นความเชื่อ เป็นเคร่อื งมือส้าคัญของมนุษยท์ ่ีใช้จัดระเบียบในสังคม โดยไม่ต้องอาศัยต้ารวจ หรือกฎหมายอย่างกับทกุ วันนี้” (พงศกร 2555b, 161) นอกจากความเชื่อเร่ืองผี เรื่องเล่าเวียงแสน เพ็งยงั มสี ่วนกา้ กบั ความคดิ และการกระท้าของชาวผาช้างรอ้ ง แมก้ ระทง่ั มผี ลทางอ้อมต่อการอนุรักษ์ ป่าไม้ “เรื่องเล่าท่ีน่าหวาดกลัวท้ังหลายเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ ไม่มีใครรู้ หากนั่นท้าให้ป่าโหงยังคง ความเป็นผืนปา่ บรสิ ทุ ธท์ิ ่ีอุดมสมบรู ณ์ด้วยพืชพรรณไมแ้ ละสัตว์ป่านานาพนั ธ์ุ ไม่ถูกเหยียบย้่าทา้ ลาย นับว่าเร่ืองเล่าขานของชาวผาช้างร้องนั้นได้ผลในการป้องกันป่าถูกรุกรานได้เป็นอย่างดี” (พงศกร 2555b, 51) ฤดูดาวแสดงพลังของระเบียบแบบแผนที่ยึดเหนย่ี วสังคมผาช้างร้อง เห็นได้ชัดจากความ ขัดแย้งระหว่างดรสากับคนในผาช้างร้องเกิดขึ้นเม่ือหล่อนเข้าไปท้าลายพิธีกรรมของอ่้าเฟยอัน เปรียบเสมือนการท้าลาย “ตวั ตน” ของชมุ ชนทสี่ บื กนั ลง กล่าวคอื ชุมชนผาชา้ งรอ้ งอยดู่ ้วยความเชื่อ เร่ืองผี ความเชื่อนี้กลายเป็นกลไกทางสังคมท่ียกย่องซิบเม้ียนเมี่ยนในฐานะผู้น้าทางจิตวิญญาณ ระหว่างโลกสามัญกับโลกศักด์สิ ทิ ธ์ิ “อ้่าเฟยในฐานะซิบเมย้ี นเมี่ยนเปรียบเสมอื นเปน็ รูปเคารพที่ชาว เย้าท้ังหม่บู ้านให้ความนบั ถือ[…] ดังนั้น ส่ิงท่ีหล่อนท้าไปในคืนวันเพญ็ ทผ่ี า่ นมา จึงไม่ใช่เพียงแต่การ กระชากหนา้ กากของอา้่ เฟยออกมาให้ประจักษเ์ ท่านั้น หากยงั เปน็ การสน่ั คลอนความเชอ่ื ถือ ท้าลาย ศรัทธาและความรสู้ กึ ภาคภมู ิของคนผาช้างร้องลงในชั่วเวลาเพยี งแค่ข้ามคืน” (พงศกร 2555ข, 255- 256) เม่ือเกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดในชุมชน พวกเขาจึงหนั มาโทษดรสา “ไม่เคยมีเรือ่ งอย่างน้ี เกิดในหมบู่ า้ นเรามาก่อนจนกระทัง่ อี่นาย (หมายถึงดรสา-ผวู้ ิจยั ) สร้างเร่อื งข้นึ มาไล่ซิบเม้ยี นเม่ียนไป จากหม่บู า้ น...อ่ีนายท้าให้เจยี่ ห่งุ เม้ียนสาปแช่งพวกเรา หมบู่ า้ นของเราตอ้ งพบกบั ความวบิ ตั ิฉิบหายก็ เพราะอี่นาย...แลว้ เราจะแกไ้ ขอยา่ งไร ซิบเม้ียนเมีย่ นกไ็ มอ่ ยเู่ สยี แลว้ ” (พงศกร 2555b, 383) ส่วนในกุหลาบรัตติกาล เสนอว่าเรอ่ื งเล่าเวียงคีรีค้าท้าให้คนในมอ่ นผาเมงิ หลกี เลี่ยงท่ีจะ เข้าไปใกล้บริเวณท่ีมดี อกนิลนวาราอยู่ เพราะดอกนิลนวารานั้น “เกิดจากความเศร้าเสียใจ อาฆาต พยาบาทของนางกหุ ลาบค้า จึงวา่ กันว่าทกุ สว่ นของล้าตน้ ไม่วา่ จะเป็นราก ใบ หรอื ดอกล้วนแล้วแต่มี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook