Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore SO2015 รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์

SO2015 รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์

Description: แนวคิดทางการเมือง การบริหาร และการปกครองของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก เอกสาร ตำราทางพระพุทธศาสนา และจากผลงานของนักวิชาการสมัยใหม่ หลักธรรมสำหรับการปกครอง และเปรียบเทียบหลักการปกครองพระพุทธศาสนากับรัฐศาสตร์กระแสหลัก
The political concepts, administration and administration of Buddhism from Tripitaka, Buddhist texts and from the academic works of modern scholars, the Buddhist principles for administration and compare the principles of Buddhist principles with mainstream political science.

Keywords: พุทธศาสตร์

Search

Read the Text Version

151 บทท่ี 6 ทฤษฎีประชาธปิ ไตยตามแนวพุทธศาสตร์ (Theory of Democracy in Buddhistic Appraoch) 6.1 แนวคิด (Concept) ประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองท่ียอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นท่ีมีความเห็น แตกตา่ งกัน และท่สี ําคัญ คือเปน็ การเผยแพร่แนวคิดทางพระพทุ ธศาสนาท่ีเกี่ยวขอ้ งกบั การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยเป็นการนําเสนอจุดเด่นในพระพุทธศาสนามาตีแผ่ให้โลกประจักษ์วา่ คาํ สอนในพระพุทธศาสนามคี วามสอดคลอ้ งกบั ทกุ แขนงหรอื ทุกศาสตร์ท่มี ีอยใู่ นโลกปจั จุบันจงึ ได้ช่ือ วา่ เปน็ คาํ สอนสากล 6.2 เน้อื หาสําคญั ประจาํ บทเรยี น 6.2.1 ความเปน็ มาของแนวคิดประชาธิปไตยตะวนั ตก 6.2.2 แนวคดิ ประชาธปิ ไตยตะวนั ออก 6.2.3 ความหมายประชาธปิ ไตยตามแนวคดิ ตะวนั ตกและตะวันออก 6.2.4 กระบวนการประชาธปิ ไตย 6.2.5 ประชาธิปไตยตามทศั นะของพระพทุ ธศาสตร์ 6.2.6 สาระสําคญั ของแนวคิดประชาธิปไตย 6.3 วัตถปุ ระสงคเ์ ชิงพฤติกรรม 6.3.1 อธิบายและวิเคราะห์แนวคิดประชาธิปไตยท้ังตะวนั ตกและตะวนั ออกได้ 6.3.2 อธิบายและวเิ คราะห์กระบวนการประชาธิปไตยได้ 6.3.3 อธบิ ายและวเิ คราะห์ประชาธิปไตยตามทศั นะของพระพทุ ธศาสตรไ์ ด้ 6.3.4 อธบิ ายและวเิ คราะห์แนวคดิ ประชาธปิ ไตยได้ 6.4 กจิ กรรมการเรียนการสอน 6.4.1 บรรยายประกอบเอกสารประจําวิชา 6.4.2 ยกประเด็น/แลกเปล่ียนความคดิ เห็น 6.4.3 ตอบคําถาม/ทาํ แบบฝกึ หัด 6.4.4 นาํ ผลการคน้ คว้าตามท่ผี ู้สอนกาํ หนดให้

152 6.5 สื่อการเรยี นการสอน 6.5.1 เอกสารประกอบการบรรยายเรือ่ ง แนวคิด ทฤษฎปี ระชาธปิ ไตย 6.5.2 คอมพิวเตอร์ Power Point 6.5.3 วดี ทิ ศั น์ และภาพยนตส์ ารคดที เี่ กย่ี วข้องกับประชาธปิ ไตย 6.5.4 แนะนาํ หนงั สือและเอกสาร บทความท่ีเกยี่ วขอ้ งกับวชิ าท่เี รียน 6.6 สารตั ถะสําคญั ในวิชาประชาธิปไตยตามแนวพุทธศาสตร์ 1) ความเป็นมาของประชาธิปไตย 2) ความหมายของประชาธปิ ไตย 3) แนวคดิ พ้นื ฐานของอดุ มการณ์ประชาธปิ ไตย 3.1 อาํ นาจเป็นของประชาชน 3.2 สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของปัจเจกชน 3.3 ฉันทานมุ ตั ิจากประชาชน 3.4 การเปน็ ตัวแทนของประชาชน 3.5 ปกครองดว้ ยเสยี งส่วนใหญ่ 3.6 รฐั บาลท่เี ปดิ เผย และตรวจสอบได้ 3.7 ปกครองสาธารณะประโยชน์ 4) ประชาธปิ ไตยตามแนวพทุ ธศาสนาศาสตร์ 6.7 แบบฝกึ หัดตอบคําถามประจําบทท่ี 6

153 1. ความเป็นมาของประชาธปิ ไตย ประชาธิปไตย (Democracy) มีความหมายตามลายลกั ษณ์อักษรว่า อํานาจการปกครองเป็น ของประชาชน ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ให้กําเนิดคําวา่ ประชาธิปไตยเปน็ คําผสมระหว่าง “demos” ซึง่ นยิ มแปลกันวา่ “ ประชาชน” กบั คาํ ว่า “Kratos” ซึง่ หมายถงึ อาํ นาจหรือการปกครอง คนจํานวนไม่น้อยในโลกปัจจุบันเรียนรู้ความหมายของประชาธิปไตยจากสุนทรพจน์ของ ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ท่ีเก็ตติสเบอร์ก เมื่อค.ศ. 1864 ซึ่งท่านกล่าว ว่า ประชาธปิ ไตย คอื “การปกครองของประชาชนโดยประชาชน และเพอื่ ประชาชน” (Government of the people by the people and for the people) ไม่ว่าประชาธิปไตยจะมีความหมายสั้นๆอย่างที่ชาวกรีกโบราณเข้าใจหรือยาวข้ึนมาอีก หน่อยดังที่อดีตประธานาธิบดีลินคอล์นอยากให้เราเข้าใจก็ตาม ในโลกของความเป็นจริง คํานิยาม ส้ันๆดงั กล่าวกถ็ ูกตคี วามใหแ้ ตกต่างออกไปอีกมากมายหลายแบบ จนกลา่ วไดว้ า่ ไม่มีการตีความใด ที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายโดยเอกฉันท์ คําจํากัดความ การตีความ หรือแม้แต่การอธิบายแบบ ต่างๆจึงล้วนมีลักษณะต้องประชันขันแข่งกัน (Contested) เสมอ ประชาธิปไตยจึงไม่เคยมี ความหมายและรูปแบบเดยี ว ต้ังแต่โบราณตราบเท่าจนถึงคริสตศวรรษที่ 19 ประชาธิปไตยมีความหมายในเชิงลบ กล่าวคือ ถูกมองโดยปราชญ์ส่วนใหญ่ว่าเป็นการปกครองโดยฝูงชน (Mob rule) ซ่ึงคนท่ีประกอบ กันข้นึ เป็นฝงู ชนไม่ว่าที่ไหนๆ สว่ นใหญแ่ ลว้ มีลักษณะคลา้ ยคลึงกัน นั่นคอื ยากจน และถูกโน้มนา้ ว ด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล อย่างไรก็ตาม ศตวรรษท่ี 20 เป็นศตวรรษแห่งการพัฒนาของ ประชาธิปไตยท่ีมีความหมายในเชิงบวกมากข้ึนๆตามลําดับ ในปลายศตวรรษที่ 1980 ต่อต้น ทศตวรรษ 1990 เม่ือระบบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมถึงแก่การล่มสลายในสหภาพโซเวียตยุโรป ตะวันออก และที่อ่ืนๆในขอบข่ายทั่วโลก ประชาธิปไตยจึงยืนหยัดเป็นลัทธิในต้นศตวรรษท่ี 21 นี้ ใคร ๆ ก็อยากเป็นประชาธิปไตย ไมว่ า่ เมือ่ กอ่ นหนา้ นี้เขาจะเคยเป็นเสรนี ิยมอนรุ กั ษ์นยิ ม สังคมนยิ ม คอมมิวนิสต์ อนาธิปัตย์ หรือแม้แต่ฟัสซิสม์ ประชาธิปไตยคืออะไรกันแน่ จึงมีเสน่ห์และพลังงาน มากมายมหาศาลในการครองใจผู้คนถงึ เพยี งน?้ี 2. ความหมายของประชาธิปไตย คําว่า Democracy เข้ามาสู่ภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 16 โดยมาจากคําภาษาฝร่ังเศสว่า Democratie คําว่า Democratie มาจากคําภาษาละตินยุคกลางว่า Democratia คําว่า Democratiaแปล มาจากคําภาษากรีกว่า Demokratia รากศัพท์ของ Demokratia คือ demos ซึ่งแปลว่า ประชาชน (People) และ kratos ซ่งึ แปลว่าการปกครอง (Rule)

154 เอเลียต (Elyot) นิยามไว้ในปี ค.ศ. 1531 ว่าประชาธิปไตย คือ “รูปแบบการปกครอง ประเภทหนึ่งซึ่งใช้กันในหมู่ชาวเอเธนส์ ซ่ึงถือเอาความเสมอภาค (Equalitie) เป็นลักษณะสําคัญ ของประชาชน... การปกครองในลักษณะนี้เรียกในภาษากรีกว่า Democratia ซึ่งเท่ากับความหมาย ในภาษาละตินว่า Popularis potential และเท่ากับท่ีในภาษาอังกฤษเรียกว่า คือ การปกครองของ สามัญชน (Comminaltie) รากศพั ท์ภาษากรกี ของคาํ วา่ ประชาธิปไตยมี 2 คํา คอื “Demos” และ “kratos” ดังกลา่ วแล้ว แต่รากศัพท์ก็มีการแปลความหมายต่างกันได้ Demos คือ ประชาชน แล้วประชาชนคือใคร คําถาม นี้เม่ือใคร่ครวญให้ละเอียดจะเห็นได้ว่าไม่ใช่การเล่นคําอย่างแน่นอน แม้ในสมัยกรีกโบราณความ คิดเห็นไม่ตรงกันสนิทในเรื่องของประชาธิปไตยก็เกิดข้ึนแล้ว โซลอน (Solon) ให้ความหมายว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองที่ไม่มีผู้เปน็ นายนอกจากกฎหมาย (Obeying no master but law) คลี ออน (Cleon) ให้ความหมายซ่ึงมาลินคอล์นนําไปใช้ต่อว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองของ ประชาชน โดยประชาชน เพ่ือประชาชน (of the people by the people and for the people) เฮโรโด ตุส (Herodutus) ให้ความหมายว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองที่แสดงออกถึงความหยาบ (Insolence) ที่แสดงออกโดยสามญั ชนที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ (Unbridled Commonalty) ทิวซิโดดิส (Thucydides) ให้คําอธิบายว่า ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่อํานาจอยเู่ หนือของคนส่วน ใหญ่ (Its administration is in the hands not of the few but of the many) หรืออีกอย่างหน่ึงว่า คือ อะไรก็ตาม ที่ตรงข้ามกับอํานาจเผด็จการเรียกว่าประชาธิปไตย (all that is opposed to despotic power has the name of democracy) อริสโตเตลิ (Atistotle, 384-322 B.C.) ในหนงั สือ Politics, IV, 4 เขยี นวา่ “ประชาธิปไตยคอื ระบอบการปกครองที่เสรีชนและคนจน (The freeman and the poor) ซ่ึงประกอบข้ึนเป็นคน ส่วนมาก (Being in the Majority) เป็นผูถ้ อื อาํ นาจของบา้ นเมอื ง” ในหนงั สอื Republic, VIII, 10 เพล โต (Plato, 427-347 B.C.) ให้โสกราตีสเป็นคนพูดว่า “ประชาธิปไตยจะมาถึงเมื่อคนจนได้ชัยชนะ เหนอื ฝ่ายตรงขา้ มของตน โดยท่ีพวกเขาจะอาจจะฆ่าบางคนเสีย บางคนอาจถูกเนรเทศและบางคนที่ เหลืออยอู่ าจจะไดร้ บั อํานาจและเสรภี าพเก่าๆกบั ทคี่ นจนได้รบั ” (สมเกยี รติ วันทะนะ, 2551) 3. แนวคดิ พ้ืนฐานของอุดมการณป์ ระชาธิปไตย เมื่อใดก็ตามท่ีมีการพูดถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตย แนวคิดบางประการจะต้องได้รับการ กล่าวขวัญถึงเป็นพิเศษในฐานะท่ีมีส่วนเก่ียวพันหรือเป็นส่วนหน่ึงของประชาธิปไตย แนวคิด เหลา่ น้ีมีมากมายนบั สิบประการ แตใ่ นทนี่ ้เี ห็นควรคัดเลือกมากลา่ วเพยี ง 7 ประการ ซึง่ ผเู้ ขียนเช่ือว่า นา่ จะมคี วามสาํ คัญขน้ั พ้ืนฐานมากท่สี ุด คือ

155 1. อํานาจของประชาชน (Popular Sovereignty) 2. สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล (Individuals Rights liberty and Equality) 3. ฉนั ทานุมัติ (Consent) 4. การเป็นตวั แทน (Representation) 5. การปกครองโดยเสยี งส่วนใหญ่ (Majority rule) 6. รฐั บาลทีเ่ ปิดเผยและตรวจสอบได้ (Open and Accountable Government) 7. สาธารณะประโยชน์ (public interest) 3.1 อํานาจของประชาชน (Popular Sovereignty) หัวใจของประชาธิปไตย คือ อํานาจ สูงสุดเด็ดขาดในแผ่นดินของประชาชนแนวคิดนี้เป็นหัวใจสําคัญที่ปรากฏทั้งในรากศัพท์กรีก โบราณ (Demos+kratos; ประชาชน + อาํ นาจ/การปกครอง) และในสนุ ทรพจน์ที่เก็ตตสิ เบอรก์ ค.ศ. 1864ของประธานาธิบดีลินคอล์น (Government of the people by the people and for the people) ด้วยเหตุน้ี ไม่ว่าเราจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันขนาดไหนในเรื่องที่ว่าใครคือ “ประชาชน” ก็ตาม แตส่ ิ่งที่จะต้องยอมรับรว่ มกันก่อนกค็ ือ ความคิดหรอื ความเชื่อท่วี ่า อาํ นาจสูงสดุ ของประชาชนน้ีคือ หัวใจของสิ่งที่เรียกว่า ประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี ก่อให้เกิดความคิดย่อยๆแตกแขนงออกไปอีกได้ มากมาย โดยเฉพาะอย่างย่ิงความคิดย่อยๆท่ีผูกพันกับ 2 ประเด็นใหญ่ๆนั้น ประเด็นแรกประชาชน คอื ใคร และประเดน็ ทีส่ อง ประชาชนใช้อาํ นาจสงู สุดปกครองประเทศอย่างไร ในสมัยกรีกโบราณ “Demos” มีความหมายว่า สามัญชนที่เป็นพลเมืองเพศชายเท่าน้ัน มิได้ หมายรวมถึงประชากรทุกคนของรัฐที่เราเข้าใจกันโดยท่ัวไปในทุกวันน้ี ในสมัยเอเธนส์โบราณ คร่ึงหนึ่งของประเทศ (คือ สตรี) จึงไม่นับเป็นประชาชนตามธรรมเนียมปฏิบัตทางการเมืองในยุค นั้น นอกจากสตรีเพศจะถูกกีดกันออกไปจากคําว่า Demos แล้ว ยังมีประชากรเพศชายอีก 2 กลุ่ม ของเอเธนส์ซ่ึงอาจจะมีจํานวนมากกว่าพวกท่ีพลเมืองเสียด้วยซํ้า คือ ชาวต่างเมืองที่ทํามาหากินใน เอเธนส์ (Metics) และพวกทาส (Slaves) ซึ่งไม่ถูกนับว่าเป็น Demos และด้วยเหตุนี้จึงไม่มีสิทธิเข้า ร่วม กิจกรรมทางการเมือง ดังน้ัน ถ้ากล่าวอย่างเคร่งครัดแล้ว ประชาธิปไตยในสมัยเอเธนส์โบราณ จงึ เปน็ การปกครองท่ปี ระชากรเพยี งส่วนนอ้ ย (ท่ีเรียกวา่ Demos หรอื สามัญชนพลเมอื งชาย) เทา่ นั้น มีส่วนร่วม ในยุคใหมข่ อบขา่ ยของ “ประชาชน” ขยายเพมิ่ ขึน้ ตามลําดับกระทัง่ ครอบคลุมประชากรทั้ง เพศชายและเพศหญิง ท่ีมีวัยบรรลุนิติภาวะ แต่กระบวนการขยายขอบข่ายของคําว่า “ประชาชน” น้ี ใช้เวลายาวนาน และมีอัตราการเคลื่อนไหวช้าเร็วต่างกันไปในแต่ละประเทศ แม้ในประเทศ ตะวันตกที่ได้ช่ือว่าเป็นแม่แบบของประชาธิปไตยในยุคใหม่ ความหมายของประชาชน ที่

156 ครอบคลุมประชากรทกุ สว่ นอย่างกว้างขวาง กเ็ พิ่งบรรลุผลในศตวรรษที่ 20 นี้เอง สหราชอาณาจักร เพิ่งให้สิทธิในการเลือกตั้งแก่สตรีอย่างเท่าเทียมกับบุรุษ เมื่อ ค.ศ. 1928 และสวิตเซอร์แลนด์เพงิ่ ให้ สิทธิดังกล่าวเม่ือ ค.ศ. 1971น้ีเอง ในสหรัฐอเมริกามลรัฐทางใต้บางรัฐเพิ่งจะให้สิทธิในการออก เสยี งเลือกต้งั แกเ่ มืองผิวดาํ ท่ีมเี ช้อื สายแอฟริกัน เม่ือทศตวรรษ1960น้เี ช่นกัน 3.1.1 ประชาชนใชอ้ ํานาจสงู สุดปกครอง ถ้าเรายอมรับว่า ความหมายท่ีเป็นหัวใจของคําว่าประชาธิปไตย คือ ประชาชนเป็น เจ้าของอํานาจสูงสุดในแผ่นดิน คําถามต่อไปท่ีจะเกิดตามมาโดยปริยายก็คือ ประชาชนใช้อํานาจ ดังกล่าวอย่างไร ประชาชนตอ้ งใช้อํานาจน้นั ด้วยตวั เองหรือมอบใหผ้ ู้อน่ื ใชไ้ ด้ การพิจารณาคาํ ถามน้ี จะนาํ ไปสเู่ รอ่ื งราวการควบคมุ โดยประชาชน (control by the people ) วา่ มไี ด้ก่แี บบ และแตล่ ะแบบ มคี วามสําคัญต่างจากแบบอ่ืนๆอยา่ งไร แอ็กเซล ฮาเดนิอุส (Azel Hadenius) เสนอว่า รูปแบบในการที่ประชาชนใช้ควบคุม นโยบายสาธารณะอาจแบ่งไดเ้ ป็น 5 แบบ ดงั รูป

157 การควบคมุ การเลือกผูต้ ัดสินใจ ควบคุมนโยบายโดยทวั่ ไป ควบคมุ นโยบายโดยรายละเอียด (ก) โดยอ้อม โดยตรง โดยอ้อม โดยตรง (จ) (ข) (ค) (ง) แผนภมู ิที่ 4.1 การควบคุมนโยบายสาธารณะของประชาชน จากรูป การควบคุมในแบบ (ก) คือ แบบท่ีประชาชนเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทําหน้าที่ ตัดสนิ ใจกําหนดนโยบายสาธารณะแทนตน ในแง่น้กี ารใช้อํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศของ ประชาชนจงเป็นไปในทางอ้อมและเราเรียกประชาธิปไตยแบบน้ีว่า ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Respresentative Democracy) แต่เปน็ เพยี งระบอบทปี่ ระชาชนเลือกผ้ปู กครองได้ ตรงขา้ มกับแบบ (ก) คอื การควบคุมในแบบ (ง) ซ่งึ เรียกไดว้ า่ เปน็ ประชาธิปไตยในอุดมคติ เป็นแบบท่ีประชาชนมีส่วนในการปกครองโดยตรง (Participatory or Populistic Democracy) การ ควบคุมนโยบายสาธารณะในรูปนี้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอํานาจสูงสุดใช้อํานาจน้ันได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านตวั แทนและใช้แม้ในเรื่องรายละเอยี ดของนโยบายท่ีจะกําหนดขึ้นอย่างไรก็ตาม การ ควบคุมนโยบายสาธารณะโดยประชาชนโดยตรงในแบบ (ง) นี้ ถกู วิพากษว์ ิจารณว์ ่าไม่เหมาะสมกับ สังคมการเมืองในโลกปัจุบัน ซ่ึงมีประชากรขนาดใหญ่และเร่ืองราวเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะมี ความสลับซับซ้อนเกินกว่าที่ประชาชนจะจัดการดูแลได้ด้วยตนเองโดยตรง เม่ือพูดถึงการควบคุม นโยบายในแบบ (ง) เรามักหมายถึงประชาธิปไตยแบบคลาสสิก (Classical Democracy) ของ เอเธนสโ์ บราณ การควบคุมแบบ (จ) คือ การที่ประชาชนเลือกตัวแทนเพื่อทําหน้าท่ีตัดสินใจแทนตนใน เฉพาะเร่ืองตัวแทนแบบน้ีมีลักษณะเฉพาะกิจ (Delegater with bound mandates) มิใช่ตัวแทนทั่วไป อย่างเช่นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การควบคุมแบบ (ข) คือ สิ่งท่ีเราเรียกว่า การลงประชามติ (referenda) ซ่ึงประชาชนใช้อํานาจขอตนเองโดยตรง แต่มีลักษณะชว่ั คร้ังช่ัวคราวเฉพาะที่เกยี่ วขอ้ ง

158 กับนโยบายสาธารณะท่ีสําคัญมากๆ เท่านั้น เช่น การเปล่ียนแปลงรูปแบบของการปกครองหรือ กฎหมายทส่ี าํ คัญๆ การควบคุมแบบ (ค) คือ แบบที่เชื่อกันว่าน่าจะสะท้อนภาพประชาธิปไตยแบบที่ปฏิบตั ิได้ จริงในโลกปัจจุบัน ได้มากท่ีสุด การควบคุมแบบน้ี คือ ความพยายามประนีประนอมระหว่างแบบ (ง) ซง่ึ ยากทจ่ี ะปฏบิ ตั ิได้ในโลกปัจจบุ ันกับแบบ (ก) ซึง่ อํานาจหลดุ จากมอื ประชาชนไปอยูก่ ับผู้แทน มากเกินไป แบบ (ค) คือ รูปแบบการควบคุมที่ประชาชนใช้อํานาจเลือกตัวแทนของตนเข้าไป กําหนดนโยบายสาธารณะและในขณะเดยี วกันก็มีมาตรการเชิงสถาบันท่ีตรวจสอบได้เป็นระยะๆว่า ตัวแทนนั้นยังดําเนนิ การกําหนดนโยบายสาธารณะไปในกรอบกว้างๆ ซง่ึ ตรงกับที่พวกเขาเคยตกลง หรอื สัญญากบั ประชาชนไว้ 3.2 สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล (Individuals Rights liberty and equality) สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล เป็นแนวคิดที่เป็นหัวใจสําคัญของลัทธิ เสรีนิยม ลัทธิเสรีนิยมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและแนบแน่นกับประชาธิปไตยมาก ประชาธิปไตยที่ เรารู้จักกันท่ัวไปในปัจจุบัน น้ี คือ เสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) มากกว่าอย่างอื่น ประเทศในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือซึ่งเป็นประเทศแนวหน้าที่ให้กําเนิดกับระบอบเสรี ประชาธิปไตยนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศท่ีเป็น “เสรีนิยม” (Liberal) ก่อน และค่อยขยายเป็น “ประชาธิปไตย” (Democratic) ในภายหลัง แนวคิดเร่ืองสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของ ปัจเจกบุคคลแบบที่พัฒนาขึ้นมาภายใต้ลัทธิเสรีนิยม จึงถูกส่งผ่านเข้ามาเป็นแนวคิดพ้ืนฐานของ อดุ มการณ์ (เสร)ี ประชาธิปไตยโดยปริยาย สิทธิ (Rights) มีหลายชนิด วิธีแบ่งสิทธิออกเป็นประเภทต่างๆท่ีนิยมกันได้แก่ แบ่งเป็น สทิ ธิพลเมือง (Civil rights) สิทธิทางการเมอื ง (Political rights) สทิ ธิทางสังคม (Social Rights) สิทธิ ทางเศรษฐกิจ (Economic rights) และสิทธิทางวฒั นธรรม (Cultural rights) สทิ ธิพลเมอื ง ได้แก่ สิทธิ ท่ีจะมีชีวิตหรือเสรีภาพจากการถูกทรมาน (Freedom from Torture) เสรีภาพจากการถูกบังคับใช้ แรงงาน เสรีภาพจากการถกู จับกุมตามอาํ เภอใจ (Freedom from Arbitrary Arrest) สทิ ธิในการได้รับ การพิจารณาอย่างเป็นธรรม เสรีภาพทางความคิด มโนธรรม ความเชื่อ หรือการนับถือศาสนา สิทธิ ในการดําเนนิ ชีวิตทีเ่ ป็นส่วนตวั (The right to private life) เปน็ ต้น สิทธิทางการเมือง ได้แก่ เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการเข้ามี สว่ นร่วมในกิจการสาธารณะ สิทธิทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ได้แก่ สิทธิท่ีจะมีอาหารกินมีบริการสาธารณสขุ มีมาตรฐานความเปน็ อยู่ทพ่ี อเพียง สิทธิท่จี ะได้รับคา่ จ้างแรงงานเท่ากันสาํ หรบั ผลงานทเี่ ท่ากัน สิทธิ

159 ท่จี ะไดร้ บั การประกนั สงั คม มีงานทํา นัดหยุดงานได้ มีท่อี ยอู่ าศยั ไดร้ ับการศึกษา และสิทธิในการมี ส่วนร่วมในชวี ติ ทางวัฒนธรรม เปน็ ตน้ แนวความคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพในโลกปัจจุบันได้รับการรับรองไว้ในหลายแหล่ง ด้วยกันที่สําคัญได้แก่ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ซ่ึงสมัชชาสหประชาชาติ ได้ลงมติยอมรับและประกาศใช้เมื่อ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1966 สหประชาชาติได้ตราข้อกําหนดเรื่องสิทธิต่างๆดังกล่าวในรูปปกติกา ระหว่างประเทศ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปัจจุบันประเทศในโลกประมาณ สองในสามได้ใหก้ ารรบั รองกติการะหวา่ งประเทศ (International Covenant) ทงั้ สองฉบบั น้แี ลว้ สําหรับแนวคิดเร่ืองความเสมอภาค (Equality) หมายถึงการที่ปัจเจกบุคคลย่อมเสมอกันใน สิทธแิ ละศกั ดศ์ รแี หง่ ความเปน็ มนษุ ย์ (Equality of Rights and Dignity) มิได้หมายความว่าทกุ คนจะ ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในทุกเร่ืองทุกโอกาส แนวคิดความเสมอภาคในท่ีน้ีจึงเป็นความ เสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย (Equality before the law) ซ่ึงเป็นความเสมอภาคในโอกาสนี้ (Equality of Opportunity) มิใชก่ ารคาํ้ ประกันวา่ จะตอ้ งมคี วามเสมอภาคในผลลัพธ์ คํากล่าวที่ว่า “หน่ึงคน หน่ึงเสียง” (One person one vote) เป็นคํากล่าวท่ีแสดงถึงหลักการ แห่งความเสมอภาคทางการเมือง ซ่ึงมิได้แปลว่าทุกคนจะต้องมีตําแหน่งหรืออํานาจหน้าท่ีทาง การเมืองเท่ากนั ประการใด 3.3 ฉนั ทานมุ ตั ิ (Consent) ฉันทานุมัติหรือได้รับความยินยอมจากประชาชนในการท่ีประชาชนจะถูกปกครองเป็น แนวคิดพ้ืนฐานท่ีสําคัญอีกประการหนึ่งของอุดมการณ์ประชาธิปไตย แนวคิดนี้เกิดขึ้นโดยนับแห่ง ตรรกของแนวคิดสองประการแรกท่ีกล่าวไปแล้ว นั่นคือ ด้วยเหตุที่ประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจ สูงสุดและมีสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งความเสมอภาคในอันที่จะใช้อํานาจปกครองดังกล่าว ดังน้ัน จึง เปน็ ไปไม่ไดท้ ีจ่ ะเกดิ การปกครองข้ึนโดยสงบสุข ถา้ หากปราศจากเสยี ซึ่งความยินยอมทีถ่ ูกปกครอง โดยประชาชนเอง ประชาชนยอมรับที่จะถูกปกครองในเง่อื นไขใด การที่ประชาชนจะถูกปกครอง แสดงว่าประชาชนจะไม่ปกครองหรือใช้อํานาจด้วยตนเอง โดยตรง แต่จะให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอ่ืนมาทําหน้าท่ีปกครองแทนตน ดังน้ัน บนเง่ือนไขนี้จึงดู เหมือนจะมีทางเลือกเพียงประการเดียวว่า การที่ประชาชนจะยินยอมถูกปกครองได้ก็ต่อเมื่อ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบุคคลหรือกลุ่มบุคคลทีจ่ ะมาทําหน้าท่ีปกครองทําอย่างไรประชาชนจงึ จะมีความเช่ือม่ันดังกล่าวได้ คําตอบดูเหมือนจะถูกบีบให้เลือกทางเลือกเพียงประการเดียวน่ันคือ วิธีทด่ี ที ่สี ุดทีจ่ ะทาํ ให้ประชาชนมนั่ ใจในผปู้ กครองของเขาไดก้ ็คอื ให้ประชาชนเลอื กผูป้ กครองด้วย

160 ตนเอง แนวคิดเรื่องความยินยอมพร้อมใจหรือฉันทานุมัติในทนี่ ี้จึงเป็นหลักประกันอีกอย่างหนึง่ วา่ อํานาจการตัดสินใจข้ันสุดท้ายว่าจะปกครองหรือตัดสินกันอย่างไร และโดยใครในเร่ืองนโยบาย สาธารณะนั้นยังอย่กู บั ประชาชนนน่ั เอง แนวคิดนส้ี อ่ นยั ทางความหมายต่อไปอีกว่า คณะบคุ คลที่จะ เขา้ มาใช้อาํ นาจปกครองโดยฝนื ใจประชาชนนั้นกระทาํ มิได้ และไมช่ อบด้วยหลักคิดและความนิยม ของอุดมการณ์ประชาธิปไตย ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะเปลี่ยนคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาลท่ีไม่ได้ รับฉันทานมุ ัตจิ ากประชาชนได้ 3.4 การเป็นตวั แทน (Representation) ได้กล่าวมาแล้ว และเป็นท่ีตระหนักกันดีว่าในโลกยุคปัจจุบัน ประชาธิปไตยทางตรง (direct democracy) ทีพ่ ลเมอื งเข้าประชุมกําหนดนโยบายสาธารณะท้ังปวงดว้ ยตนเองไม่อาจกระทํา ได้ในสังคมการเมืองที่มีขนาดใหญ่ดังรัฐประชาชาติท้ังหลาย ดังน้ันประชาธิปไตยจึงล้วนถูกเข้าใจ กนั โดยท่วั ไปว่า หมายถึง ประชาธิปไตยแบบผูแ้ ทนหรือตัวแทน (Represintative) น้นั หมายความว่า อย่างไรตัวแทนต้องคิดให้เหมือนประชาชน หรือมีอิสระในการคิดซ่ึงอาจจะทําให้เขาคิดต่างจาก ประชาชนได้ แนวคิดเรื่องการเป็นตัวแทนจําแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ (1) เป็นผู้ได้รับความ ไว้วางใจให้ตัดสินใจแทน (Trustee) (2) เป็นตัวแทนถือสาส์นคล้ายบุรุษไปรษณีย์ (Delegate) (3) เป็นผู้ไปปฏิบัติพันธกิจท่ีตนสัญญากับประชาชนไว้ (Mandate) และ (4) ทําหน้าท่ีเป็นตัวแทนกลุ่ม หรือสัดส่วนของกลุ่มในสังคมโดยรวม (Representative cross- section) ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น ตวั แทนแบบย่อสว่ น (Resemblance) ตัวแทนประเภทแรก (Trustee)คือ ผู้ที่ประชาชนเลือกให้ไปใช้ความคิดวิจารณาญาณแทน ประชาชน เมื่อได้รบั เลอื กเข้าเป็นตวั แทนแล้ว ตวั แทนแบบทรสั ตไี มจ่ ําเป็นต้องคิดเหมือนประชาชน แต่ให้ใช้ความคิดโดยอิสระ เพราะประชาชนมอบความไว้วางใจในตัวเขาแล้วว่าเขาจะไปคิดและ กระทําการใดๆ ได้โดยสิทธ์ิขาดได้อย่างดีที่สุด โดยท่ีประชาชนไม่คอยห่วงคอยพะวง เอ็ดมันด์ เบอร์ค (Edmund Burke, 1729-1797) นักการเมืองและปรมาจารย์ของลัทธิอนุรักษ์นิยมชาวอังกฤษ เปน็ คนสาํ คญั ท่เี สนอแนวคดิ หรือทฤษฎีการเป็นตวั แทนแบบทรัสตี ตัวแทนแบบเดเลเกต (Delegate) หรืออาจเรียกได้ว่าตัวแทนแบบบุรุษไปรษณีย์กําเนิดมา จากความคิดท่ีว่า อํานาจและเจตจํานงที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีเหตุมีผลน้ันยังเป็นของประชาชน โดยเต็มเปี่ยม สังคมสมัยใหม่อาจมีประชากรมากมายจนประชาชนไม่สามารถใช้อํานาจและ วิจารณญาณของตนโดยตรงในการปกครองบ้านเมืองได้ ดังนั้นพวกเขาจึงเลือกตัวแทนเข้าไปทํา หน้าที่แทนแต่ตัวแทนมิได้เขา้ ไปคดิ เอง ตัวแทนเพียงแต่นาํ ความคิดของประชาชนเขา้ ไปแสดงออก ให้มีผลทางปฏิบัติเท่าน้ันตัวแทนนี้อาจเปรียบเทียบได้กับตัวแทนการขายหรือตัวแทนจําหน่าย

161 (Ales Representsative) หรือทูต (Ambassadors) ซ่ึงไม่มีสิทธิเข้าไปจัดการเปล่ียนแปลงสินค้าหรือ ไปแก้ไขพระราชสาสน์ หรือหนงั สือสญั ญาทางไมตรีใดๆตามใจชอบ ตัวแทนแบบแมนเดต (Mandate) เป็นตัวแทนที่มีบทบาทหน้าที่อยู่ก่ึงกลางระหว่างท่ีหน่ึง กับแบบที่สอง จะเห็นได้ว่าตัวแทนแบบทรัสตีนั้นใช้วิจารณญาณได้อิสระเต็มท่ี ส่วนตัวแทนแบบ เดเลเกต ไม่ต้องใช้วิจารณญาณของตนเองเลย ตัวแทนแบบแมนเดตนับเป็นตัวแทนแบบทางสาย กลาง กล่าวคือ ตัวแทนแบบนี้เริ่มด้วยการเสอนพันธสัญญากับประชาชน และเมื่อได้รับความ ไว้วางใจให้เป็นตัวแทนแล้ว เขาก็ต้องใช้ความสามารถและวิจารณญาณของตนเองในการทําให้ พันธสัญญาที่เข้าสร้างไว้น้ันบรรลุผล ตัวแทนแบบแมนเดตจึงไม่มีอิสระเท่าตัวแทนแบบทรัสตี แต่ ก็ยังมีอิสระกวา่ ตัวแทนแบบเดเลเกต ตัวแทนแบบย่อส่วน (Resemblance) ทําหน้าที่เสมือนเป็นส่วนย่อยของสังคมใหญ่เช่น ตัวแทนบางคนทําหน้าทีแ่ ทนกลุ่มทม่ี ีเพศเดยี วกันกับตน ตัวแทนบางคนทําหน้าท่แี ทนกลุ่มคนที่นับ ถือศาสนาเดียวกัน ตัวแทนบางคนทําหน้าท่ีแทนกลุ่มบุคคลท่ีมีอาชีพเดียวกัน เป็นต้น กล่าวได้อีก อยา่ งหน่ึงว่า สงั คมใหญข่ องเขาก็ควรจะมสี ดั สว่ นท่ีสอดคล้องกันพูดง่ายๆว่า สภาผแู้ ทนราษฎรควร จะเป็นภาพจาํ ลองหรือการย่อสว่ นของสังคมนน้ั ๆให้ใกลเ้ คียงทส่ี ดุ ตัวแทนจะได้มาด้วยวิธีการใด คําถามนี้นําไปสู่แนวคิดท่ีสําคัญอีกประการหนึ่งของ ประชาธปิ ไตย น่ันคือ การเลือกตง้ั (Election) การเลือกตั้งโดยประชาชน (Popular Election) เป็นกลไกทางการเมืองสมัยใหม่ท่ีทําให้ ได้มาซึ่งตวั แทนของประชาชนเข้าไปทําหนา้ รทที่ างการปกครองหรือทใ่ี นระยะหลงั เรยี กกันว่า การ กาํ หนดนโยบายสาธารณะไมเ่ พียงแต่เท่าน้ัน การเลือกตง้ั ยงั เปน็ กลไกทป่ี ระชาชนสามารถใช้เปล่ียน รัฐบาลท่ตี นเองไม่ชอบได้อย่างสันติวิธีอีกดว้ ย การเลอื กต้งั เป็นนวัตกรรมทางการเมืองสมยั ใหม่ท่ีมี คุณค่าอย่างย่ิงในแง่ของการแบ่งงานกันทําทางการเมือง (Division of Labor in Politics) ทําให้ได้ บุคลการทางการเมืองเข้าสู่ระบบการเมือง โดยมีประชาชนทั้งสังคมคอยจับจ้องสนใจตามสมควร เปน็ วาระอย่างสม่าํ เสมอ 3.5 การปกครองโดยเสยี งส่วนใหญ่ (Majority Rule) ประชาธปิ ไตยกบั การปกครองโดยเสยี งสว่ นใหญ่เป็นส่ิงเดียวกันหรือไม่ คาํ ตอบก็คอื “ไม่” เพราะหากประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองโดยประชาชนก็ย่อมหมายความว่าเป็นการปกครอง โดยประชาชนท้ังมวล มใิ ชแ่ ค่บางสว่ นของประชาชนเท่าน้ัน แต่ในโลกทเี่ ป็นจริง การท่ีจะบรรลุถึง ความเห็นพ้องต้องกันอย่างเป็นเอกฉันท์เป็นสิ่งท่ีหาได้ยากจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเร่ืองที่หาไม่ได้ ด้วยซํ้า ดังน้ัน เม่ือมีความเห็นที่แตกต่างกัน ข้อยุติท่ีดีที่สุดเท่าท่ีจะบรรลุได้ในทางปฏิบัติจึงอยู่ที่ เสียงส่วนใหญ่หรือเสียงข้างมาก (Majority)

162 ปัญหาก็คือ เม่ือมีความคิดเห็นแตกต่างกันและลงมติจนได้เสียงส่วนใหญ่แล้ว ฝ่ายท่ีเป็น เสียงส่วนน้อยจะต้องยอมปฏิบัติตามเสียงส่วนใหญ่โดยสมบูรณ์ หรือว่ายังสามารถปฏิบัติไปตามที่ ฝ่ายคนคิดดังเดิม? คําตอบต่อคําถามนี้ ควรแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ ประการแรก สําหรับเรื่องที่ ไม่มเี สยี งข้างน้อยถาวรมติของเสยี งสว่ นใหญ่ได้รบั การปฏบิ ัตติ ามไม่มีข้อยกเว้น เชน่ กฎจราจรเป็น เรื่องที่ไม่มีเสียงข้างน้อยถาวร ถ้ามีการตกลงกติกาแล้วว่าในประเทศหนึ่งให้เดินรถทางซ้ายเสียง ส่วนน้อย (ซ่ึงหมายถงึ คนที่เห็นว่าควรให้เดินรถทางขวาก็ต้องปฏิบัติตาม เพราะมิฉะนั้น การสัญจร ไปมากจ็ ะไมเ่ ป็นระเบยี บ ในกรณีที่สอง ซึ่งเป็นกรณีที่มีเสียงส่วนน้อยถาวร (Permanentminorities) เช่น บุคคลบาง กลมุ่ เปน็ เสยี งส่วนน้อยถาวร เพราะลกั ษณะของเชื้อสายเผ่าพันธ์ ศาสนา หรือภาษาทใี่ ช้ การแข่งขัน ทางการเมืองใดๆจึงมักจะลงเอยด้วยการท่ีเสียงส่วนน้อยเหล่าน้ีก็จะได้เสียงส่วนน้อยอยู่เสมอใน กรณีเช่นนี้ควรจะทําอย่างไร? คําตอบก็คือ ในระบอบที่มีประสิทธิภาพจะต้องใช้กลไก ทาง รัฐธรรมนูญป้องกันมิให้เกดิ สภาพการณ์ที่เสียงส่วนน้อยตกเป็นเบี้ยล่างของเสียงส่วนใหญ่ เช่นการ กําหนดสัดส่วนของตําแหน่งหน้าที่ในรัฐบาลหรือองค์กรสาธารณะไว้ให้แก่กลุ่มที่เป็นเสียงส่วน น้อยอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี การกําหนดเง่ือนไขให้แก่เสียงส่วนน้อยมากเพียงใดก็จะไปกระกับ หลักความเสมอภาคมากเป็นเงาตามตัวดังน้ัน หลักเสียงส่วนใหญ่จึงจะนํามาใช้โดยการเน้นการแพ้ หรือชนะกันตามคะแนนหรือตัวบทกฎหมายล้วนๆ ไม่ได้ในทางการเมืงเมื่อพูดถึงหลักเสียงส่วน ใหญ่ (Majority Rule)เราจงึ มกั เนน้ ควบคกู่ นั ไปถงึ เรอ่ื งของสทิ ธิของเสียงสว่ นน้อย (Minority Right) ซึ่งหมายความว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกรองที่มิได้มุ่งแสวงหาทางประนีประนอม รอมชอมแบบทางสายกลาง และให้เกียรติซ่ึงกันและกันระหว่างเสียงส่วนใหญ่และเสียงส่วนน้อย เพราะในทสี่ ุดแล้วคนทั้งสองกลุม่ ลว้ นเปน็ ประชาชนดว้ ยกนั นอกจากนี้ ในโลกของความเป็นจริง มีบ่อยคร้ังท่ีคนบางกลุ่มจะตกอยู่ในฐานะเป็น “เสียง ส่วนน้อยที่จริงจัง” (Intense Minorities) ซ่ึงหมายความว่า ในเรื่องบางเรื่องคนกลุ่มดังกล่าวเช่ือม่ัน อย่างจริงจังและบริสุทธิ์ใจว่า ความคิดเห็นของพวกตนถูกต้อง แต่ไม่สามารถโน้มนําชักชวนให้ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันกับเขาได้ และการท่ีจะรอให้พวกเขากลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ ในโอกาสหน้าหรอื ในเร่ืองอ่นื ๆ เพื่อจะเอามาชดเชยกบั การเปน็ เสยี งส่วนน้อยในเรือ่ งนก้ี แ็ ทนจะไม่ มีผลจะให้เกิดความหวังใด ๆได้ ในกรณีเช่นน้ีจะใช้มาตราทางกฎหมายหรือนิติบัญญัติใดๆ ช่วยก็ ไมไ่ ด้ จะทําอย่างไร คาํ ตอบกค็ อื เสยี งส่วนใหญท่ ี่เฉลียวฉลาดย่อมพยายามหาทางโอนอ่อนผ่อนตาม เสยี งส่วนน้อย เท่าทจี่ ะสามารถกระทาํ ได้ มากกว่าที่จะใชฐ้ านะความเปน็ เสียงสว่ นใหญ่ของพวกตน เข้าไปหักหาญประชาธิปไตยจะยั่งยืนได้ก็ต่อเม่ือผู้คนในสังคมสามารถตกลงท่ีจะอยู่ร่วมกันต่อไป ได้อย่างสงบสุขและในสภาพการณ์แบบท่ีว่าน้ีเสียงส่วนใหญ่และรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของเสียง

163 ส่วนใหญ่ก็ชอบท่ีจะใช้วิธีการยับยั้งชั่งใจตนเอง (Self- Restraint) (ชุมพล, 2551)เป็นหลักมากกว่า ทําตามอําเภอใจของเสยี งส่วนใหญ่โดยไมค่ ํานึงถึงหวั อกของเสียงส่วนนอ้ ย 3.6 รฐั บาลท่ีเปดิ เผยและตรวจสอบได้ (Open and Accountable Government) รัฐบาลท่ีเปิดเผย (Open Government) มีความสําคัญต่อประชาธิปไตยเพราะช่วยทําให้ ประชาชนเห็นได้ว่า รัฐบาลทําอะไรท่ีเป็นความสุรุ่ยสุร่ายหรือไม่มีการคอร์รับชั่นหรือไม่ และมี ความผดิ พลาดเชงิ นโยบายอะไรหรือไม่ อย่างไรท้งั น้ี ประชาชนจะไดท้ ราบสถานะของบ้านเมืองได้ ทันการณ์ก่อนที่จะสายเกินแก้ นอกจากนี้ รัฐบาลที่เปิดเผยยังมีส่วนสําคัญในการพิทักษ์เสรีภาพ ให้แก่ปัจเจกบคุ คลท้งั หลายอนั เปน็ พลเมอื งด้วย เมื่อพูดถึงกิจการมีรัฐบาลที่เปิดเผย ส่วนใหญ่เราหมายถงึ ขอ้ ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ประการแรก หมายถึง การท่ีรัฐบาลต้องจัดหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาลไว้ให้ประชาชนได้ศึกษา พิจารณา ไดว้ า่ นโยบายน้ันๆ รฐั บาลเอาข้อมลู มาจากไหน มผี ลกระทบในเชงิ ปฏิบัติอยา่ งไร ตอ้ งใช้ งบประมาณเท่าไร และต้องมีกฎเกณฑ์ประกอบการดําเนินการอะไรบ้าง เป็นต้น ประการท่ีสอง รัฐบาลท่ีเปิดเผย หมายถึง รัฐบาลที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและหนังสือพิมพ์เข้าถึงเอกสารข้อมูล ของรัฐบาลได้ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม (ผ่านรัฐสภา) รวมท้ังการเข้าถึงเอกสารส่วนบุคคลของ บุคคลบางคนซงึ่ มีสว่ นเกย่ี วข้องกบั นโยบายของรฐั บาลดว้ ย ประการท่สี าม คือ การเปดิ ใหส้ าธารณะ และส่ือสารมวลชนได้มีโอกาสเข้าฟังการประชุมขององค์กรของรัฐต้ังแต่รัฐสภาคณะกรรมาธิการ ของรัฐสภาไปจนกระทั่งถึงการประชุมของสภาของหน่วยการปกครองท้องถิ่น ประการท่ีส่ี รัฐบาล ที่เปิดเผย หมายถึง รัฐบาลที่ปรึกษาหารือกับกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในการกําหนด นโยบายและในการปฏิบัติตามนโยบาย รวมทั้งการตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลและคําแนะนําท่ีได้รับให้ สาธารณชนได้ทราบ บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และสวีเดน มีมาตรการทางกฎหมายกําหนด ชัดเจนว่า เป็นหน้าท่ีของรัฐบาลท่ีจะต้องเปิดเผยข้อมูลอันเป็นกิจการสาธารณะ และประชาชนมี สิทธิในการรับรู้ข่าวสารดังกลา่ ว นอกเหนือจากข้อมูลบางประการที่มขี ้อยกเว้นไม่ต้องเปิดเผย เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับความม่ันคงของรัฐ หรือเก่ียวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของบุคคล ข้อมูลส่วน ใหญ่ทมี่ ไิ ดม้ ขี อ้ ยกเว้นไว้ รฐั บาลมีหนา้ ท่ีตอ้ งเปิดเผยให้แก่ประชาชนทงั้ หมดตามการเรียกร้อง รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะต้องเปิดเผยแล้ว ยังต้องถูกตรวจสอบได้ (Accountable Government) อีกด้วย รัฐบาลที่ถูกตรวจสอบได้มี 3 มิติ คือ การตรวจสอบได้ทาง กฎหมาย (Legal Accountability) การตรวจสอบได้ทางการเมือง (Political Accountability) และการ ตรวจสอบได้ทางการคลัง (Financial Accountability) การตรวจสอบได้ทางกฎหมาย ดําเนินการภายใต้หลัก “นิติธรรม” (Rule of Law) นั่นคือ ผู้ ท่ีบัญญัติกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแบบเดียวกันไม่มีข้อยกเว้น

164 บุคลากรของรัฐทุกคนไม่ว่าจะมาจากการเลือกต้ังหรือแต่งตั้งล้วนต้องรับผิดชอบทางกฎหมายต่อ ศาลเชน่ เดียวกับประชาชนท้ังปวง การตรวจสอบได้ท้ังทางการเมือง หมายถงึ บุคลากรหรือพนกั งานที่กินเงินเดือนประจําของ รัฐต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติงานต่อนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และนักการเมืองเป็นผู้ที่ ต้องรบั ผดิ ชอบต่อประชาชนอกี ทอดหนึ่ง โดยผ่านรัฐสภาและการเลือกต้ัง ซง่ึ จดั ใหม้ ีขนึ้ เปน็ ระยะๆ อยา่ งสม่ําเสมอ การตรวจสอบไดท้ างการคลัง หมายถงึ การใช้จา่ ยเงินจากภาษอี ากรของรัฐบาลนั้นได้ใช้ไป เพื่อจุดหมายอันได้แถลงไว้ให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้ให้ความเห็นชอบแล้วเท่านั้น โดยปกติระบบ การเมืองท่ีดีมักจะมีสํานักงานผู้ตรวจเงินแผ่นดินซึ่งเป็นองค์กรอิสระรับผิดชอบในการตรวจสอบ การใชจ้ า่ ยเงินของรัฐบาลอยา่ งรอบคอบตามหลักวชิ าชีพ การมีรัฐบาลท่ีตรวจสอบได้น้ัน นอกจากจะต้องมีการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมอย่าง เคร่งครัดแล้ว ยังมีมาตรการสําคัญอีกประการหนึ่งท่ีประเทศประชาธิปไตยท้ังหลายพยายาม พัฒนาขนึ้ ใช้ นนั่ คือ หลักการแบง่ แยกอํานาจ (Separation of Powers) ตามหลกั การแบ่งแยกอาํ นาจน้ี รฐั บาลหรอื การปกครองประเทศจะแบง่ กิจกรรมออกเป็น 3 ฝา่ ยใหญ่ๆ คอื (1) ฝ่ายบรหิ ารซง่ึ บางทีก็ เรียกว่า “รัฐบาล” ทําหน้าท่ีกําหนดนโยบายและนํานโยบายต่างๆดังกล่าวไปปฏิบัติ (2) ฝ่ายนิติ บัญญัติ ซ่ึงบางทีเรียกว่า “รัฐสภา” ทําหน้าที่ให้ความเห็นชอบในการประกาศใช้กฎหมายต่างๆ รวมท้ังการเก็บภาษี ตรวจสอบการทําหน้าที่ของฝ่ายบริหาร และ (3) ฝ่ายตุลาการ ซึ่งบางทีเรียกว่า “ศาล” ซ่ึงดูแลรับผิดชอบให้บุคคลทั้งปวงปฏิบัติตามกฎหมาย โดยการพิพากษาลงโทษผู้กระทําผดิ การแบ่งอํานาจของการปกครองประเทศออกเป็นสามฝ่ายเช่นน้ี มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ทั้งสามฝ่าย ได้ตรวจสอบซ่ึงกันและกนั ด้วย กล่าวคือ การแบ่งแยกอํานาจดงั กล่าวน้ี ทําให้ศาลมีความเป็นอสิ ระ ไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ และเมื่อศาลมีอิสระดังกล่าวก็สามารถ ประกันให้บุคคลทุกคน (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติหรือประชาชนท่ัวไป) ปฏิบัติตาม กฎหมายอยา่ งเสมอหนา้ กัน ในทํานองเดียวกัน ถา้ ไม่ใหฝ้ า่ ยนติ ิบัญญัติมีอํานาจในการผ่านกฎหมาย และอนุมัติให้ฝ่ายบริหารเก็บภาษแี ละใช้จ่ายเงินได้ก็จะไม่มีองค์กรใดหรือประชาชนคนใดสามารถ เขา้ ไปล่วงรไู้ ดว้ ่าการใชจ้ ่ายเงินของฝา่ ยบริหารน้นั สจุ ริต และชอบด้วยหลักวิชาหรอื ไม่ การแบง่ แยก (การใช้) อํานาจในการปกครองประเทศดังกล่าว จึงมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ท่ีการสร้างรั ฐบาลท่ี เปดิ เผย และตรวจสอบได้โดยแท้

165 3.7 สาธารณะประโยชน์ (Public Interest) นอจากจะเปน็ การปกครองโดยประชาชน (Government by the people) แลว้ ประชาธิปไตย ยังเป็นการปกครองเพื่อประชาชน (Government for the people) อีกด้วย การปกครองท่ีได้ชื่อว่า “เพ่ือประชาชน” น้ีเอง เป็นท่ีมาของคําว่า “สาธารณะประโยชน์” (Public Interest) กล่าวอีกนัยหน่ึง ก็คือ ผลประโยชน์ที่ประชาชนโดยส่วนรวมควรจะได้รับน้ันเรียกได้อีกอย่างหน่ึงว่า สาธารณะ ประโยชน์ ซึ่งต่างจากผลประโยชน์ส่วนตัวท่ีปัจเจกบุคคลแต่ละคนพึงมี (Private Interests) ปัญหา อยู่ท่ีว่าอะรคือ “สาธารณะประโยชน์” และเราจะกําหนดสิ่งน้ีให้เห็นชดั เจนเป็นรูปธรรมได้อยา่ งไร ตรงน้ีคําตอบดูเหมือนจะแยกออกเป็น 2 กระแสใหญ่ๆซึ่งเปน็ กระแสท่ีไม่อาจบรรจบกันได้ และถงึ ทุกวันน้กี ไ็ มม่ ีวี่แวววา่ จะบรรลสุ ภาพทที่ ุกฝา่ ยเหน็ พ้องตอ้ งกนั อยา่ งเป็นเอกฉันท์ กระแสแรกมปี รมาจารย์ คอื รสุ โซ (Jean Jacques Rousseau, 1712-1778) ซึง่ มีความคดิ หลัก อยู่ที่เราสามารถกําหนดไว้ว่าอะไรคือสาธารณะประโยชน์ (Public Interests) ซึ่งอาจเรียกด้วยชื่อ อื่นๆท่ีคล้ายคลึงกัน ได้แก่ ผลประโยชน์ ของส่วนรวม (Collective Interest) หรือความดีงามร่วม (Common Good) สําหรับรุสโซ รัฐบาลหรือการปกครองควรตั้งอยู่พื้นฐานของอํานาจอธิปไตย ซึ่ง เปน็ ของประชาชน (Popular Sovereignty) และเพื่อการน้รี ฐั บาลจงึ ต้องดําเนินการบนความยดึ ม่ันใน “เจตน์จํานงท่ัวไป” (General Will) รุสโซเชื่อว่า เจตน์จํานงทั่วไปนี้เป็นเจตน์จํานงที่แท้จริง (True Will) ของแต่ละบุคคลท้ังปวงเข้ามารวมไว้ในท่ีเดียวกัน เพราะเจตน์จํานงส่วนบุคคลมีธรรมชาติที่ เห็นแก่ตนเอง (Selfish) และคิดไปเอง (Filt) เป็นที่ต้ัง การปฏิบัติตามเจตน์จํานงท่ัวไปจะทําให้ ประชาชนแต่ละคนกระทําการใดๆโดยไม่ยึดเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ปัญหาที่ติดตามมา จากแนวคิดหรือทฤษฎีของรุสโซก็คือ ใครเป็นผู้ช้ีหรือกําหนดว่า “เจตน์จํานงท่ัวไป” ดังกล่าวคือ อะไร อยู่ท่ีไหน หน้าตาเป็นอย่างไร ถึงตรงนี้ คําตอบเร่ิมไม่ชัดเจน เราทราบเพียงว่า รุสโซต้องการ ให้เจตน์จํานงท่ัวไปเป็นหลักชี้นําการกระทําของรัฐบาลและพลเมืองการ ที่จะเป็นเช่นท่ีหวังไ ว้ พลเมืองควรมีความเสมอภาคอย่างมากที่สุดทั้งในทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจ ซึ่งความเสมอ ภาคดังกล่าวจะเป็นเงื่อนไขให้พลเมืองทุกคนสามารถใส่ใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองได้เต็มท่ี และโดยตรง อย่างไรก็ดี การมอบความสําคัญไว้กับเจตน์จํานงท่ัวไปอย่างมากโดยท่ีไม่มีกลไกการ ได้มาอย่างเป็นรูปธรรมเช่นน้ี ทําให้บางคร้งั แนวคิดหรือทฤษฎีของรุสโซถกู นกั เผด็จการทง้ั ฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวานําไปเป็นข้ออ้างว่าตนคือ ผู้ท่ีรู้แจ้งเห็นจริงว่า เจตน์จํานงท่ัวไปน้ันเป็นอย่างไร อยู่ที่ ไหน และควรจะทําอย่างไรกบั มัน ประชาธิปไตยท่ีเกิดจากความเช่ือม่ันในแนวคิดเร่ือง “สาธารณะ ประโยชน์” อย่างเข้มข้นนี้ นักวิชาการเรียกกันว่า ประชาธิปไตยพัฒนาการ (Developmental Democracy) หมายความวา่ ประชาธปิ ไตยเป็นระบอบการปกครองที่ทาํ ให้มนษุ ยไ์ ด้พัฒนาศักยภาพ ของบุคคลกระทงั่ บรรลุความเปน็ หนึ่งเดียวระหว่าง “เจตน์จํานงส่วนบุคคล” กบั “เจตนจ์ ํานงทั่วไป”

166 ซึ่งน่ันหมายความว่า “ผลประโยชน์ส่วนบุคคล” ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับ “สาธารณะ ประโยชน์” โดยสมบูรณ์และไม่มีความรู้สึกแปลกแยกใดๆต่อไป นักเผด็จการชอบคิดแทนและจา้ ง แทนประชาชนท่ัวไป ว่าอะไรคือ สาธารณะประโยชน์ที่แท้จริง จึงมีแนวโน้มท่ีจะสร้างระบอบ ประชาธปิ ไตยโดยทอี่ าจเรยี กไดว้ า่ “ประชาธปิ ไตยแบบเบด็ เสรจ็ ” (Totalitarian Democracy) กระแสที่สอง คือ กระแสท่ีมีปรมาจารย์ ชื่อ เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham, 1748-1832) เป็นหัวขบวน เบนแธม มีความคิดพ้ืนฐานว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกท่ีถือเอาประโยชน์ส่วนตน (Self- Interested Creatures) เป็นที่ตัง้ และดาํ เนนิ ชีวิตโดยยดึ หลกั การดังกลา่ วอย่างมีเหตุมีผล เพราะฉะนั้น เสรีภาพในอันที่จะกระทําการใดๆอย่างมีเหตุมีผลเพ่ือให้บรรลุผลประโยชน์ส่วนตนของบุคคลจึง ควรได้รับการคุ้มครอง ประชาธิปไตยที่เริ่มฟื้นฟขู ้ึนมาอีกคร้ังหน่ึงในยุโรปและอเมริกาในศตวรรษ ท่ี 17 และ 18 จึงถูกมองว่าเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พลเมืองจะใช้ปกป้องเสรีภาพของตนเองให้ พ้นจากการครอบงําหรือการกดข่ีบีฑาของรัฐบาล ประชาธิปไตยแบบที่เบนแธมและศิษย์ของเขา ประสงค์ จึงเป็นประชาธิปไตยแบบปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคล (Protective Democracy) ซ่ึงก็คือ อนั เดียวกันกับการปกป้องผลประโยชน์ส่วนบุคคลนน่ั เอง ผลประโยชนข์ องสาธารณะในทศั นะของ นักคิดกระแสน้ี จึงไม่มีความหมาย แทนที่จะพูดถึงสาธารณะประโยชน์ซ่ึงกําหนดให้เห็นชัดเจน เป็นรูปธรรมไม่ได้ เบนแธมและศิษยซ์ ่ึงเรยี กรวมๆว่า นกั อรรถประโยชน์นยิ ม (Utiltarians) จงึ พอใจ มากกว่าที่จะพูดถึงผลประโยชน์ส่วนบุคคล (Individual Interests) ปัจเจกบุคคลแต่ละคนล้วนคิด และต้องการอย่างเดียวกันท้ังนั้น น่ันคือ แสวงหาความสําราญ (Pleasure) และหลีกเลี่ยงความ เจ็บปวด (pain) ระบอบการปกครองที่ดีท่ีสุด จึงเป็นระบอบท่ีทําให้ “ความสุขในปริมาณมากท่ีสุด เกิดแก่บุคคลจํานวนมากท่ีสุด” (The greatest happiness for the greatest number) ในทัศนะของ กระแสท้ังสองนี้ ประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน มีการเลือกต้ัง มีการวัดกันที่ คะแนนท่ีเป็นรูปธรรมอย่างดีท่ีสุด ผลประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรมของปวงสมาชิกที่ประกอบกันขึ้น เป็นชุมชนหรือประชาคมนั้น”(The sum of the interests of the several members who compose it) (ชมุ พล, 2551) ทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษท่ี 20 ที่ผ่านมา โดยได้พบชัยชนะอย่างเด็ดขาดของระบอบ ประชาธิปไตย ประชาธิปไตยแบบที่ได้รับชัยชนะ คือ เสรีประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน (Representative Liberal Democracy) รูปแบบของประชาธิปไตยท่ีใช้งานได้ในโลกปัจจุบัน ตามที่ บีแธม และบอยล์ เสนอไว้น้นั เป็นดังรปู

167 รปู ปิรามิดประชาธิปไตย รฐั บาล ทีเ่ ปิดเผยและ ตรวจสอบได้ สังคมทเ่ี ป็น การเลอื กต้งั ประชาธปิ ไตย สทิ ธขิ องพลเมอื ง ทอี่ ิสระและ และทางการเมอื ง เปน็ ธรรม ท่ีมา: Beetham and Boyle, 1995: 31 ม.ร.ว. พฤทธิสาน ชุมพล, 2541 : 52. จากรูป องค์ประกอบหลัก 4 ประการ ท่ีจะทําให้ระบอบประชาธิปไตยใช้งานได้ดีใน ประเทศหนึ่งๆ คือ ประการแรก ต้องมีการเลือกต้ังที่เป็นอิสระและเป็นธรรม ( free and fair elections) ประการที่สอง ต้องได้รัฐบาลที่เปิดเผยและพร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้เสมอ (open and accountable government) ประการที่สาม ต้องให้หลักประกันแกส่ ิทธิของพลเมืองและสทิ ธิทางการ เมือง (civil and political rights) อย่างกว้างขวาง และประการสุดท้าย ต้องมีสังคมท่ีมีลักษณะเป็น ประชาธิปไตย (a democratic society) ซ่ึงหมายถึงเป็น “อารยะสังคม” (civil society) หรือที่นิยม แปลกันไปว่า “ประชาสังคม”) กล่าวคือ มีองค์กรและสมาคมที่เก่ียวข้องกับกิจการสาธารณะท่ีเป็น อิสระจากรัฐดําเนินงานได้อย่างจริงจังและกว้างขวาง อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ เสรีประชาธิปไตย แบบมีตัวแทนก็ยังประสบปัญหาหลายด้านแตกต่างกนั ไป สุดแท้แต่บริบทของแต่ละประเทศท้งั ใน ประเทศท่ีพัฒนาแล้วและประเทศที่กําลังพัฒนา ปญั หาที่เกิดขึน้ กับระบอบประชาธิปไตยพอจะแยก ออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปัญหาอันเกิดจากเงื่อนไขภายนอกระบอบประชาธิปไตย (Democracy’s Extrinsic Conditions) และปัญหาอันเกิดจากแนวโน้มภายในของระบอบ ประชาธิปไตยเอง (Democracy’s Intrinsic Tendencies) (ชมุ พล, 2551)

168 4. ประชาธิปไตยตามแนวพทุ ธศาสตร์ ความรู้เบอื้ งต้นเกีย่ วกับประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา (Introduction to Democracy in Buddhism) พระพุทธศาสนาทีคําสอนท่ีสอดคล้องกับแนวคิดเชิงรัฐศาสตร์ในหลายประเด็นแต่ในที่น้ี จะนําเสนอเฉพาะแนวคดิ เชิงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น พุทธศาสนาเป็นตัวอย่าง ระบอบประชาธิปไตยทเ่ี ก่าแก่ที่สดุ ในโลก หลักการประชาธิปไตยท่ียดึ ถือกันมาตลอด ก็คือ การให้ ประชาชนปกครองตนเอง ในทางพระพุทธศาสนาก็ยึดถือหลักเดียวกันนี้เป็นสําคัญ จะดูได้จาก เหตุผล ท่ีพระพุทธองค์ทรงมอบอํานาจใหค้ ณะสงฆ์เป็นใหญ่ทุกสงั ฆกจิ ในสงั ฆกรรมน้ันก็หมายถึง วา่ ใหค้ ณะสงฆป์ กครองกันเอง เพ่อื ให้หลักการน้ีเกิดสัมฤทธิผลในทางปกครองพระองคไ์ ดก้ ําหนด หลักเกณฑ์ต่างๆขึ้น โดยแยกประเภทภารกิจหลักที่เรียกว่า สังฆกรรม อย่างเช่น การบรรพชา อุปสมบท การสวดพระปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือนและการเข้าพรรษา – ออกพรรษาเป็นต้น ได้ทรง กําหนดระเบียบปฏิบตั ไิ ว้ ดงั นี้ องคค์ ณะและองคป์ ระชุม (Qualification of Counch) เน่ืองจากสังฆกรรมแตล่ ะประเภท มี ความสําคัญแตกต่างกัน จะต้องกําหนดจํานวนพระภิกษุซึ่งเป็นสมาชิกเข้าร่วมประชุมเพ่อื ประกอบ กจิ กรรมในแต่ละสงั ฆกรรมมีจาํ นวนสมาชกิ น้อยแตกตา่ งกันไปอยา่ งเช่น 1) การประชมุ เพ่ือประกอบสงั ฆกรรมท่วั ๆไป มสี มาชิกไมต่ ํา่ หว่า 4 รปู เรียกวา่ จตวุ รรค 2) การประชุมเพื่อลงมติรับสมาชกิ ใหม่ที่เรยี กวา่ การบรรพชาอุปสมบท ให้มสี มาชิกไมต่ ่ํา กว่า 5 รูป จึงจะครบองค์ประชุม เรียกว่า ปัญจวรรค แต่ถ้าสังฆกรรมน้ันประกอบข้ึนในเมืองหรือที่ เจริญเรียกวา่ มธั ยมชนบท องคป์ ระชมุ จะตอ้ งมีตงั้ แต่ 10 รปู ขึน้ ไปเรียกวา่ ทสวรรค 3) การประชุมเพ่ือประกอบสังฆกรรมในกรณีท่ีทําความผิดวินัยตามมาตราน้ันๆ (สิกขาบท) เพอื่ ให้ผ้กู ระทาํ ผิด มีโอกาสกลับใจสารภาพความผิดต่อท่ีประชุม มีสมาชกิ ไม่ต่าํ กว่า 20 รปู เรียกวา่ ภกิ ษวุ ีสติวรรค สวดอัพภานออกจากอาบตั ิ สถานท่ีประชุม (Surrounding of Council) การทํากิจกรรมของสงฆ์ทุกประเภทต้องมี ข้อกําหนด เกี่ยวกับสถานที่ประชุมอย่างชัดเจนเรียกตามภาษาวินัยว่า การกําหนดสีมาเพื่อรองรับ สมาชิกให้เพียงพอกับประเภทของสังฆกรรมน้ันๆ ในพระวินัยได้บัญญัติเกี่ยวกับเร่ืองน้ีอย่าง ละเอียด สิทธิของผู้เข้าประชุม (Rights of Member) สมาชิกที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมเพ่ือประกอบ สังฆกรรมทุกประเภทย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการแสดงความคิดเห็นคัดค้านและสนับสนุน ใน กรณีท่ีมีผู้คัดค้าน ซ่ึงต้องทําความเข้ากันจนกว่าจะเข้าใจกันจนกว่าจะเห็นด้วยในทางรัฐศาสตร์ ใช้ คาํ วา่ ล็อบบี้ (Lobby) ถ้าผคู้ ดั ค้ายนนื กรานไมเ่ หน็ ด้วยเปน็ สังฆกรรมนั้นกเ็ ป็นโมฆะ

169 มติท่ีประชมุ (Opinion of Council) การประกอบสังฆกรรมท่ัวๆไป มติในทปี่ ระชุมตอ้ งเป็น เอกฉันท์จะคัดค้านแม้แต่เสียงเดียวก็ไม่ได้ วิธีลงมติเช่นนี้ ถ้าเห็นด้วยในประเด็นใดก็ให้น่ิงเฉย ถ้า ไม่เห็นด้วยก็ให้คัดค้าน แต่ก็ยังมีบางสังฆกรรมโดยเฉพาะอย่างย่ิงการระงับอธิกรณ์หรือการตัดสิน คดีของพระภิกษุ ถ้ามคี วามเห็นแตกตา่ งกันเป็น 2 ฝา่ ยก็ให้ลงมตถิ ือเอาเสียงขา้ งมากเช่นเดียวกับการ ประชุมทัว่ ไป วิธลี งมตเิ ชน่ นเ้ี รียกว่า เยภยุ ยสิกา (สุกิจ ชยั มสุ กิ , 2553) ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ซ่ึงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ประเทศไทยใช้ปกครองในปัจจุบันน้ัน นักรัฐศาสตร์ นักวิชาการ ลงความเห็นว่า ประเทศไทยรับ เอามาจากตะวันตก แต่ประชาธิปไตยระบบรัฐสภานี้มีได้ขัดแย้งหรือเป็นอุปสรรคต่อระบบ ประชาธิปไตยของไทยอย่างใด แต่กลับผสมผสานกลมกลืนและสนับสนุนซ่ึงกันและกัน ทําให้ ระบบประชาธิปไตยระบบน้ีสมบูรณ์ย่ิงขึ้น ทั้งสอดคล้องกับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรมอันดีงามของไทยซงึ่ มมี าแต่โบราณกาลอกี ด้วย อยา่ งไรกต็ าม เมอื่ พิจารณาดว้ ยวิจารณญาณอยา่ งถ่องแท้แน่นอนตามทรรศนะของเรียบเรียง หนังสือเล่มน้ีแล้ว ประชาธิปไตยแบบท่ัวไปนั้นน่าจะมีแนวโน้มเน้นหนักไปทางหลักโลกาธิปไตย โดยยึดหลัก “ถือเสียงข้างมาก คุ้มครองสิทธิของชนช้ันน้อย” (Majorityrules, Minority rights) ซ่ึง หลักเกณฑ์น้ีมีจุดอ่อนอยู่บ้างคือ หากเสียงส่วนใหญ่ไม่เป็นเสียงที่ประกอบด้วยธรรมะ ไม่ ประกอบด้วยความชอบธรรมและยตุ ธิ รรม (Justice) แลว้ กก็ ลายเปน็ ประชาธปิ ไตยแบบสุดโต่ง หรือ เกินขอบเขต (Exterme Democracy) หรืออาจกลายเป็นระบอบอนาธปิ ไตย (Anarchism) ไปในทีส่ ดุ อันเป็นระบบท่ีไม่พึงปรารถนา เพราะความถูกต้องชอบธรรมและความยุติธรรมจะหาไม่ได้ในรัฐ เชน่ นนั้ แต่ถ้าหากเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงท่ีประกอบด้วยธรรมะ ประกอบด้วยความถูกต้องชอบ ธรรมก็ถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบสายกลาง หรือเรียกว่า มัชฌมาธิปไตย ( Moderate Democracy/Polity) ซึ่งเปน็ ระบอบประชาธปิ ไตยที่พึงปรารถนา ประชาชนก็จะมชี วี ติ อยู่รว่ มกันด้วย ความร่มเยน็ เป็นสขุ ประชาธิปไตยก็ถือเสยี งข้างมากและคุ้มครองสทิ ธิของเสยี งขา้ งน้อยตามหลักสากล แต่หาก จะมองในแบบประชาธปิ ไตย ในพทุ ธจะเน้นหนกั ไปท่ีหลกั ธมั มาธปิ ไตย กล่าวคอื ยอ่ มรบั เสยี งสว่ น ใหญ่ท่ีมีธรรมะท่ีมีความถูกต้องชอบธรรมและยุติธรรมเป็นหลักใหญ่ (Moderate Democracy/ Polity) เต็มตัว ไม่เป็นประชาธิปไตยแบบสุดโต่งหรือเกินขอบเขต สําหรับสังคมประชาธิปไตย (Democratic Society) น้ัน ประชาธิปไตยแบบมัชฌิมาประชาธิปไตย จึงเป็นประชาธิปไตยที่ เอ้ืออาํ นวยประโยชนส์ ขุ ใหแ้ กป่ ระชาชนไดอ้ ยา่ งแท้จรงิ

170 หากมองวา่ ประชาธปิ ไตยท้ังแบบทั่วไปกับมัชฌิมาประชาธปิ ไตยแล้ว ทงั้ 2 ซกี โลกมีความ แตกต่างกันอยู่บ้าง ก็เห็นจะแตกต่างกันตรงท่ีประชาธิปไตยโดยท่ัวไป หนักไปทางโลกาธิปไตย แบบมัชฌิมาธิปไตยของไทยทางตะวันออก เน้นหนักไปทางธัมมาธิปไตย ซ่ึงจะเห็นความแตกต่าง กนั นีไ้ ด้ชดั เจน ดุจซอ 3 สายสายกลาง ย่อมฟังนุ่มนวลกวา่ สายทีต่ ึงและหย่อนจนเกนิ ไป แต่ประชาธิปไตยทั้ง 2 คือ โลกาธิปไตยกับธัมมาธิปไตยน้ัน แตกต่างจากอัตตาธิปไตย (Autocracy) อย่างสิ้นเชิง เพราะอัตตาธิปไตยถืออํานาจนิยม (Authoritaranism) ยึดถืออํานาจ เบ็ดเสร็จ (Totalitarianisam) เป็นหลักเป็นสําคัญ ซ่ึงอัตตาธิปไตยน้ีมีแนวโน้มว่ากําลังจะสูญสิ้นไป จากโลก 5. ศาสนาเป็นพ้นื ฐานประชาธิปไตย มีนักวิชาการบางท่าน กล่าวว่า ประชาธิปไตยตะวันตกมีพื้นฐานตั้งอยู่บนหลักคําสอนของ พระศาสนาบางศาสนา กล่าวคือ มนุษย์ย่อมมศี ักยภาพ เกียรติภูมิ และศักด์ิศรีเท่าเทียมกัน ซึ่งมาจาก รากฐานคําสอนของพระศาสนาที่ว่า “มนุษย์ชาติเท่าเทียมกันในสายตาของพระพุทธเจ้า” ซ่ึงหลักนี้ ได้พัฒนาเป็นหลักแหง่ กฎหมายวา่ “มนุษยท์ กุ คนเทา่ เทยี มกันต่อหนา้ กฎหมาย”ซ่งึ เป็นหลักทั่วไป สําหรับประชาธิปไตยในทางตะวันออก หากจะมองในบางมุมมอง ก็มีคําสอนของ พระพุทธศาสนาเป็นพ้ืนฐานต้ังอยู่กล่าวคือ มีหลักคําสอนอยู่ว่า “มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันต่อหลัก กฎแห่งกรรม” คือ ทําดีได้ดี เสมอหน้ากันหมด ทําชั่วก็ได้ช่ัว เสมอหน้ากันหมด และมนุษย์ทุกคน ย่อมมีศักด์ิศรี มีศักยภาพมีเกียรติภูมิเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎธรรมชาติ (Natural Law) ซ่ึงได้แก่ กฎ แห่งพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า กฎแห่งสามัญลักษณะ ไม่มี ผู้ใดมีอภิสิทธิ์ หรือหลีกพ้นจากหลักกฎแห่งกรรมและหลักพระไตรลักษณ์ไปได้ ทุกคนต้องตกอยู่ ในหลักนี้เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลเช่นไร ไม่จะเป็นจะเป็นคนยากไร้ คนมั่งมี คนมียศ คนไร้ยศ คนตระกูลสูง คนตระกูลต่ํา ทุกคนเท่าเทียมกันหมดต่อหน้าหลักต่อหน้ากฎท้ัง 2 ประการ ดังกลา่ ว นอกจากน้ัน ในกฎหมายไทยก็เชน่ เดียวกนั กับกฎหมายของตะวนั ตก ท่ถี อื หลักวา่ ทุกคนเทา่ เทียมกันหมดต่อหนา้ กฎหมาย เว้นแต่จะมกี ฎหมายกําหนดไวเ้ ปน็ อยา่ งอื่น นอกจากกฎเกณฑ์ต่างๆดังกล่าวมาที่ระบุวา่ มนษุ ย์เท่าเทียมกนั แล้วยังมกี ฎอีกกฎหน่ึงท่ีระบุ ว่า มนุษย์เท่าเทียมกันหมด คือ กฎของความเก่าความแก่ (ชรา) ความเจ็บไข้ได้ป่วย (พยาธิ) และ ความตาย (มรณะ) ไมม่ ผี ู้ใดจะหลกี พน้ จากกฎน้ไี ปได้

171 6. หัวใจประชาธปิ ไตย นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า หัวใจของประชาธิปไตยตะวันตกน้ัน ประกอบด้วยสิทธิ เสรีภาพ สมภพ และภราดร มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมตะวันตก อันมีรากฐานมาจากความเช่ือ เบือ้ งต้นในพระศาสนา สว่ นหวั ใจของประชาธิปไตยแบบไทยทางตะวันออก หากวเิ คราะห์เจาะลกึ กันใหถ้ ึง “แก่น แท้” ในทรรศนะหนึ่งแล้วก็มีพ้ืนฐานมาจากพุทธศาสนา การมีสิทธิและหน้าท่ีการมีอิสรภาพการมี เสรีภาพ การมีสมภพ/เสมอภาค และการมีภราดร ก็มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมตะวันออกอันมี พื้นฐานตง้ั อยู่บนศรทั ธาความเชอ่ื และปญั ญาความรอบรใู้ นหลกั พระพทุ ธศาสนาเป็นหลักสําคัญ (1) สิทธแิ ละหนา้ ที่ Rights and Duties หลักพระพุทธศาสนาสอนให้บุคคลรู้จักสิทธิ นับแต่สิทธิข้ันพื้นฐานหรือสิทธิตาม ธรรมชาติ เชน่ สิทธิในการรักษาชวี ิต ในการรกั ษาทรพั ย์สนิ สทิ ธิในการพดู และการคิดในขอบเขต ภายใต้ข้อจํากัดของกุศลกรรมบถ 10 ประการ (ทางกาย 3 ทางวาจา 4 และทางใจ 3) สิทธิท่ีจะไดร้ บั จากรัฐ คือ การคุ้มครองป้องกันอันตราย ตลอดจนให้รู้จักหน้าทีท่ ี่จะปฏบิ ัติต่อสังคมหรือต่อรัฐ เช่น การเสยี ภาษี หนา้ ทใ่ี นการทาํ สังคมสงเคราะห์ ประชานเุ คราะห์ ตลอดจนมสี ิทธิและหน้าที่ตามหลัก ทิศ 6 เหลา่ นี้เปน็ ตน้ (2) อิสรภาพ (Freedom/Independence) หลักพระพุทธศาสนา จะสอนมนษุ ย์ชาตใิ ห้เป็นอิสระไมต่ กเปน็ ทาสใคร ห้ามมใิ ห้มที าสซอื้ ทาสและขายทาส การไร้อิสรภาพเป็นทุกข์ไปสารพัด การมีอิสรภาพภายในเช่น ทําจิตใจให้ว่าง (สุญญตา) ให้ปลอดจากกิเลสขั้นมูลฐาน คือ ราคะ/โลภะ โทสะ และโมหะ ทํากาย วาจาให้สะอาด สงบและสว่าง (ไมท่ ําบาป ทํากศุ ลและทาํ จิตใจให้บริสทุ ธท์ิ ่เี รียกวา่ ศลี สมาธิ และปญั ญา) (3) เสรภี าพ (Liberty) หลักพระพุทธศาสนาจะสอนมนุษย์ชาติมีเสรีภาพและให้รู้จักใช้เสรีภาพในทางพอเหมาะ พอดี ไมใ่ ชเ่ สรภี าพจนเกินขอบเขต ทเี่ รยี กว่า การใช้เสรีภาพแบบสุดโต่ง หรอื เกินขอบเขต (Extreme Liberty) จนไปกระทบเสรีภาพของบุคคลอ่ืน หากบุคคลใช้เสรีภาพจนขอบเขตจํากัดในท่ีสุดสังคม หรือรัฐน้นั ก็จะมีเสรภี าพเหลืออยเู่ ลย (4) ภราดรภาพ (Fraternity/Brotherhood) พระพุทธศาสนามีหลกั คําสอนให้ถือว่า มนุษย์ชาตริ ่วมโลกเปรยี บเสมอญาติเป็นพี่เป็นน้อง เป็นมิตร เป็นเพื่อนกันทั้งโลก ที่เรียกว่า หลัก “อัปปมัญญาเมตตา” ไม่จํากัดประมาณว่าจะเป็นญาติ เฉพาะร่วมสายเลือดเท่าน้ัน โดยให้ถือว่า มนุษย์ชาติท้ังโลกเป็นเพ่ือนเป็นญาติกันท้ังหมดท้ังสิ้น

172 เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแกเ่ จ็บตายด้วยกันทกุ คน ถือว่าเป็นญาติอันสนิท แม้ไม่ใช่ญาติรวมสายโลหิต แต่ กถ็ ือเป็นญาติกนั ได้ การนับถือผี นับถือบรรพบุรุษ นับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์ิน้ันในตะวันตกก็มี ใช้คําว่า Supertion/Supernaturalism (การนับถือเทวดาผีสาง เวทมนต์คาถา) จนลุถึงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสูงข้ึนแล้วทางตะวันตก ลัทธิดังกล่าวจึงต่อบรรเทาเบาบางลง แต่ก็ยังไม่หมดไปเสีย ทีเดียว ยังคงมฝี ังลึกอยู่ในพ้นื ฐานทางจิตใจ (5) ประชาธิปไตยเคารพลาํ ดับอาวุโส สําหรับเรื่องการนับถืออาวุโส นับถือความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่นั้น มิใช่มีแต่ตะวันออกทาง ตะวันตก็มีคําว่า seniority และ Juniority ท้ังตะวันตกและตะวันออก ก็มีการถือลําดับก่อนหลัง เช่นกัน เรียกกันว่าคิว (Queue) คือ การอุปสมบทก่อน – หลัง ไม่ได้คํานึงถึงอาวุโส “แก่เพราะกิน ข้าว เฒ่าเพราะอยนู่ าน” ทางพระพุทธศาสนาทางวันออก แม้จะถืออาวุโส แต่เวลาคิวเข้าห้องนํ้าห้องส้วมให้ถือ ตามลําดับก่อนหลัง ผู้ใดมาก่อนเข้าก่อน จะใช้ลําดับอาวุโสเป็นเกณฑ์ จะถือเร่ืองคิวนี้เคร่งครัดมาก ไม่ว่าจะซื้อของข้ึนรถ – ลงเรือ โดยสารเคร่ืองบิน เป็นต้น เขารู้จักคอย รู้จักอดทนไม่ลัดคิว ไม่ เบยี ดเสยี ดยดั เยียด หรอื ย้อื แยง่ กัน แมม้ ารยาทในการขบั รถ การเคารพกฎจราจรมนี ้อยมาก ซึ่งเรือ่ งนี้ ทางตะวนั ออก ไทยต้องชดิ ซ้าย แพต้ ะวันตกเขาหลุดลยุ่ ปัญหาสังคมทางตะวันออก คือ ไทยเราจึงมี คอ่ นขา้ งมาก เพราะชงิ ไฟเขียว เลี้ยวตดั หน้า ฝ่าไฟแดงกันน้นั เอง เร่ืองผู้หลักผู้ใหญ่อาวุโสนั้น หลักพระพุทธศาสนาสอนว่า หากแก่เฒ่าจนศีรษะเปล่ียนสแี ต่ ไร้คุณธรรม ก็สู้ผู้มีอายุน้อย แต่มีคุณธรรมมิได้ อายุจึงเป็นเพียงแต่บอกว่า ผ่านร้อนผ่านหนาวมา หลายปี แต่ไมใ่ ช่เครือ่ งหมายของความมีคุณธรรมแต่ประการใด 7. การบรหิ ารจัดการบุคคลภายในรฐั เร่ืองพระพุทธศาสนาจัดมนุษย์ออกเป็น 4 ประเภท โดยเปรียบเทียบกับบัว 4 เหล่านั้น เป็น การจัดตาม IQ ไม่ใช่จัดเพื่อให้เกิดความแตกแยก เป็นการจัดประเภทความเป็นจริงตามหลัก วทิ ยาศาสตร์ ไม่ได้จดั เพอื่ ให้เกิดช้ันวรรณะ แมท้ างตะวันตก ในสมัยกรกี กม็ กี ารจัดประเภทกลมุ่ คนไว้ 3 ประเภท ตามหน้าที่รบั ผิดชอบ เชน่ เดยี วกัน เช่นจดั เป็นกลมุ่ ป้องกันประเทศ กลุม่ ผู้ผลติ เศรษฐีทรพั ย์ และกลุ่มผูใ้ ชแ้ รงงาน เปน็ การ แบ่งงานกันทํา แบ่งกันรับผิดชอบดุจเดียวกับการบริหาร ก็จัดเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี รับผิดชอบแบ่งงานกันทํา ที่เรียกว่า Division of work และจะไม่ก้าวก่ายกันให้วุ่นวาย แม้แต่อํานาจอธิปไตยก็ยังจัดเป็นอํานาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ โดยไม่ก้าวก่ายกันแต่ก็มี

173 ความเป็นเอกภาพในวิวิธภาพ (Unity in Diversity) ไม่ได้แยกประเภทหรือเกิดการแตกแยกแต่ ประการใด แต่เป็นการจัดเพ่อื ใหไ้ ดด้ ลุ และคานกนั ประชาธิปไตยต้องใช้ประยกุ ตศ์ าสตร์ (Appleid Science) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าในอดีตแห่ง วดั บวรนิเวศวิหาร ไดท้ รงนพิ นธเ์ ก่ียวกับ “ปรชั ญาการศกึ ษา” เอาไว้โดยสรปุ เปน็ นยั ได้ทํานองว่า “การศึกษาศิลปะวิทยาการทางตะวันตก ต้องรู้จักนํามาประยุกต์ เราจะ เลื่อนแผ่นดินของเราให้ไปอยู่ทางตะวันตกก็ไม่ได้ จะขัดผิวของเราให้ขาว อย่างฝรั่งก็ไม่ได้ เห็นฝร่ังกินขนมปังหมูแฮมไข่ดาว ฮอทดอกหรือแฮมเบอร์เกอร์ เราก็คงกินไม่ได้ทุกวัน เพราะตะวันออกเราโดยเฉพาะประเทศไทย พ้ืนฐานกิน นาํ้ พริกผกั ตม้ แกงสม้ แกงเลยี ง” การศึกษาจึงต้องประยุกต์ จะรับมาท้ังดุ้นก็เหมือนกินมังคุดไม่ปอกเปลือกน้ันเอง เพราะ ตา่ งชาติต่างก็ย่อมมวี ัฒนธรรมแตกต่างกนั จะให้เหมือนกันอยา่ งกบั แกะกระไรได้ ประชาธิปไตยมีหลักสําคัญประการหนึ่ง คือ หลักพึ่งพาตนเอง ให้ยืนหยัดอย่บู นขาของตน พึ่งผู้อน่ื ให้นอ้ ยทส่ี ุด ให้พึ่งธรรม ทําตนใหเ้ ปน็ เกาะเปน็ ทพ่ี ึ่ง การพ่งึ พาตนเองน้นั มีพทุ ธภาษติ สอนไวใ้ นระดับโลกิยโดยตรงท่เี ดียวว่า “ตนเป็นที่พึง่ ของ ตน” จงเตือนตน และพิจารณาสํารวจตน คนอ่ืนจะเป็นที่พึ่งของตนตลอดไปอย่างไรได้ ตนของตน จะตอ้ งทําตนให้เปน็ ทพี่ ง่ึ ของตนเอง ประชาธิปไตยตะวันออก โดยเฉพาะประเทศไทย ในทรรศนะของผู้เรียบเรียงมีรูปเป็น ประชาธิปไตยแบบผสมคือ ปิตาธิปไตย+กษัตริยาธิปไตย+ธัมมาธิปไตย+มัชฌิมาประชาธิปไตย = ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซ่ึงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสอดคล้องกับแนวคิด ของโพลิบิอุส (Polybius205-125ก่อน ค.ศ. ) นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์กรีกก็กลา่ วว่า ระบบ การปกครองทด่ี ีท่สี ุด จะตอ้ งเปน็ รปู แบบการปกครองแบบผสม (Mixed Form) คอื นาํ เอาสว่ นดขี อง แต่ละระบบมาใช้ร่วมกัน ประชาธิปไตยของไทย จึงเป็นประชาธิปไตยแบบผสม (Mixed Democracy) คอื ผสมท้งั ตะวันออก และตะวนั ตก เขา้ ด้วยกัน และกไ็ ปด้วยกนั ไดอ้ ย่างไม่ขดั เขนิ เม่ือกล่าวกันโดยตามความจริงแล้ว รากฐานประชาธิปไตยทางตะวันออก ตามแนวพุทธ ศาสตร์น้ัน เก่าแก่มีอายุยาวนานมาหลายพันปีแล้ว โดยมีหลักคําสอนทางพระพุทธศาสนาเป็น ต้นแบบ และมลี กั ษณะเปน็ ประชาธปิ ไตยแท้ (Pure Democracy)

174 8. ระยะการเกดิ ของประชาธปิ ไตยตะวันออก – ตะวนั ตก ประชาธิปไตยทางตะวันตกน้ัน มีนักวิชาการกล่าวว่า “ มีอายุไล่เล่ียกับประชาธปิ ไตยแหง่ พระพทุ ธศาสนาทางตะวันออกในคร้งั พุทธกาล โดยยกเอาแนวคดิ ของโซลอน (640-559ก่อน ค.ศ. ) คลิสเธนิส ( ประมาณ 500 ปี ก่อน ค.ศ. ) และเปริคลิส ( 459-429 ก่อน ค.ศ.) ว่าเป็นผู้กําเนิดระบอบ ประชาธิปไตยตะวันตก แต่เมื่อได้ศึกษากันอย่างจริงจังแล้ว ในระยะของนักปราชญ์ท้ัง 3 นั้น ตะวนั ตกยังเปน็ ระบอบอภิชนาธิปไตย ( Aristocracy ) อยแู่ ม้ในสมยั โสกราตีส (470-400 ก่อนค.ศ. ) กรีซก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตยแท้ ถ้าหากเป็นประชาธิปไตยแท้แล้ว โสกราตีสคงไม่ถูกบังคับให้ ด่มื ยาพิษจนตายเป็นแน่นอน “ “สมัยโสกราตีส คือ ตกมาถึงสมัยเพลโต ( 427-347 ก่อน ค.ศ. ) สานุศิษย์ของโสกราตีส และสมัยอาริโตเติล ( 384-322 ก่อน ค.ศ. ) ซึ่งเป็นยุคทองของกรีซ จึงจัดได้ว่าเป็นประชาธิปไตยท่ี แท้จริง (Pure Democracy ) เป็นประชาธิปไตยโดยตรง ( Direct Democracy )ท่ีกล่าวว่าคําสอนทาง พระพุทธศาสนามีลักษณะเป็นประชาธิปไตยท่ีเก่าแก่น้ันมีเพราะมีหลักฐานอยู่ว่า ในยุดทองของ กรีซ พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก่อนโสกราตีสเกิดประมาณ 75 ปีก่อนเพลโต เกิดประมาณ 115 ปี และก่อนอาริสโตเติลเกิดประมาณ 175 ปี ฉะน้ันประชาธิปไตยตามแนวทางคํา สอนของพระพทุ ธศาสนา จงึ เกดิ กอ่ นประชาธิปไตยในยุคทองของกรีซนับรอ้ ยปขี ้ึนไป ระบอบประชาธปิ ไตยต้องการนกั ปกครองผ้ทู รงธรรม ประเดน็ ปัญหาเรื่องประชาธปิ ไตยตะวันตกหรือตะวันออก ตามแนวพทุ ธศาสตร์ใครจะเกิด ก่อนใครนั้น ไมใ่ ชป้ ระเด็นสําคัญ แตป่ ระเด็นสําคัญอยู่ตรงที่ว่า ผ้บู รหิ าร ผูป้ กครองราชธรรม มรี าช สังคหวัตถุธรรม มีพรหมวิหารธรรม และไม่มีอคติธรรม เป็นต้น ตามแนวคิดของเพลโตหรือไม่ เทา่ น้นั เป็นสําคัญ นกั บรหิ ารนกั ปกครองในระบอบประชาธิปไตยท่เี ปน็ ผทู้ รงธรรมเทา่ น้ัน เปน็ ยอดปรารถนา ของบริหาร การปกครองในระบอบประชาธปิ ไตย ประชาธิปไตยน้ันต้องอาศัยเวลาปลกู ฝังอยูบ่ ้าง ข้อสําคัญขอให้มีผู้มหี น้าท่ีให้การศึกษาแก่ ประชาชน ให้การศึกษาให้เข็มแข็งหนักแน่นยิงขึ้นในทุกระดับการศึกษา หากอยากให้ประชาชน รู้จักประชาธิปไตย รู้จักศีลธรรม ประพฤติตนอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ประพฤติตนอยู่ในกรอบ ของศีลธรรมจรรยาที่ดี ‘’รัฐต้องปลูกฝังเสียตั้งแต่การศึกษษระดับประถม มัธยม ปละอุดมศึกษา รัฐ ก็เหมือนโรงเรียน หากอยากจะให้อะไรรัฐก็จงปลูกฝังแต่โรงเรียนน้ันเถิด” ดุจแนวคิดของเบคอน ( 1561-1626 แห่ง ค.ศ.) ท่ีว่า “การศึกษาจะทําให้มนุษย์ที่สมบรูณ์ “ ซึ่งในประเด็นน้ีจะเห็นได้จาก ประเทศท่ีมีระบอบประชาธิปไตยท่ีเข็มแข็ง และถาวร ประชากรของเขาส่วนใหญ่หรือแทบ ทัง้ หมดจะมกี ารศึกษาดี มีการศกึ ษาในเกณฑเ์ ฉลย่ี สงู มาก

175 การปลกู ฝังประชาธปิ ไตยตอ้ งใช้เวลา ประชาธิปไตยจึงเป็นการเรื่องของอดทน ประชาธปิ ไตยต้องอาศยั ขอ้ สําคญั ท่สี ดุ ก็คอื ตอ้ ง ช่วยกันประคับประคองให้ประชาธิปไตย ค่อย ๆ คลาน ค่อย ๆ ต้ังไข่ ค่อย ๆ เดิน ค่อย ๆ ว่ิง เป็น ข้ันเป็นตอนจนกว่าจะแข็งแรง อย่าคิดว่ามนุษย์น้ันพอเกิดปุ๊บจะให้ว่ิงได้ป๊ับ ก็หกล้มบาดเจ็บหรือ ลม้ ไมไ่ ด้ลุกกันเท่าน้ันเอง คําว่า “ประชาธิปไตย” นั้นแปลว่า อํานาจเป็นของประชาชน หรือประชาชนเป็นส่วนใหญ่ สันนิฐานว่า ผู้บัญญัติใช้เป็นคนแรกน่าจะได้แก่ กรมหม่ืนนราธิปพงษ์ประพันธ์ นักการเมือง นักการทูต นักปราชญ์ คนสําคัญของไทย เพราะทรงเป็นนักบัญญัติศัพท์ท่ีเช่ียวชาญพระองค์หนึ่ง คําว่า “ประชา” (ปรฺชา) เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หมู่สัตว์โลก แต่ในท่ีนี้ หมายถึง “ประชาชน” ตรงกับภาษากรีกว่า Demos คําว่า อธิปัตย์ หรือ “อธิไตย” (อธิ + ปติ) แปลว่า อํานาจอธิปไตย (Sovereignty) ตรงกับภาษากรีกว่า Kratein แปลว่า ปกครอง (To Rule) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า ปกครองโดยประชาชน (Rule by The People) ซึ่งอาจเป็นประชาธิปไตยแบบบริสุทธ์ิ (Pure Democracy) ที่ประชาชนเข้าไปบริหารโดยตรง หรือจะเป็นประชาธิปไตยแบบเลือกผู้แทนเข้าไป บริหาร เข้าไปปกครองแทนประชาชน ที่เรียกว่า Representative Democracy ก็ข้ึนอยู่กับจํานวน ประชากรของแต่ละรฐั เปน็ สาํ คญั ประชาธปิ ไตยหากเปน็ ภาษากรกี จะเป็น Demos Kratein ตรงกบั ภาษาองั กฤษวา่ Democracy คําว่า Cracy ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “อํานาจอธิปไตย” คําว่า Democracy เป็นคําที่มีมาแต่สมัยกรีซ แล้ว ท่ีกล่าวมาทั้งหมด ต้องการเน้นให้เห็นความหมายของคําว่า “ปรฺชา หรือประชา” ท่ีเป็น ภาษาสนั สกฤต แต่ถา้ หากเป็นภาษาบาลใี ช้ว่า “ปชา” กแ็ ปลว่า หมสู่ ัตว์หรือหมู่ชนเช่นกนั หลักคําสอนทางพระพุทธศาสนาบางประการ มีลักษณะที่สอนเป็นแบบประชาธิปไตย เพราะ พระพุทธเจ้าทรงมอบให้สงฆ์มีอํานาจเป็นใหญ่ในการบริหารในการปกครอง ในการทําสังฆกิจ และสังฆกรรม เหล่าน้ี เปน็ ต้น ฉะนั้น หากจะยืมคําวา่ สังฆาธปิ ไตย (สงฆ์มีอํานาจเป็นใหญห่ รือปกครองดว้ ยสงฆ์มาใช้ก็ นา่ จะใชแ้ ทนกนั ได้ เพราะคําว่า “สังฆะ” ก็แปลว่า “หมู่ภิกษุหรือหมู่สงฆ์” ดุจเดียวกับคําว่า “ประชาชน” ท่ี แปลว่า “หม่ชู น” เชน่ เดยี วกนั ต่างกันแต่วา่ คําว่า “สงั ฆะ” ปกติหรือส่วนใหญแ่ ล้วใชก้ บั พระภิกษุ สงฆ์ ส่วนคําว่า “ประชา” ใช้กับหมู่ชน หรือกลุ่มชน ยังไม่เคยพบว่าใช้กับหมู่พระภิกษุสงฆ์เลย หากมกี อ็ าจเปน็ เพราะผ้เู ขยี นยงั ศึกษาไม่ครบถ้วนท่ัวเทา่ น้นั เอง (ประยงค์ สวุ รรณบปุ ผา, 2541)

176 พระพทุ ธศาสนาไม่ใชล่ ัทธกิ ารเมือง พระพุทธศาสนาเป็นพระศาสนา แต่พระพุทธศาสนา มีรูปแบบ มีคําสอนท่ีนักบริหาร นักปกครอง หรือนักการเมืองสามารถเลือกนําไปใช้ปฏิบัติงาน ทางด้านบริหาร การปกครอง และกํากับระบบทางการเมืองได้ และจะได้ผลในทางปฏิบัติอย่าง แท้จรงิ จะผิดถูกประการใด ขอฝากให้นักคิด นักวิชาการ นักปราชญ์ราชบัณฑิต และนัก รัฐศาสตร์ กรุณาพิจารณาตอ่ ไป 9. สรุปบทที่ 6 ท่ีกล่าวมาท้ังหมดพอจะสรุปได้ว่า แนวความคิดเชิงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระพุทธเจา้ มิไดจ้ ัดไวโ้ ดยตรง แตเ่ มอื่ พิจารณาอย่างรอบคอบก็จะพบหลักประชาธปิ ไตยในแทบทุก เร่ือง สังเกตได้จากการประกอบสังฆกรรมของสงฆ์จะต้องปฏิบัติตามมติของที่ประชุมเป็นสําคัญ และถ้ามองในทางรัฐศาสตร์การเมืองการปกครองในมิติอื่นๆที่ศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มี ความเกยี่ วข้องกับหลกั คําสอนในศาสนาโดยเฉพาะหลักประชาธิปไตย

177 แบบฝึกหดั ตอบคาํ ถามประจําบทท่ี 6 1. ประชาธิปไตยเกดิ ขึน้ เม่ือไร? มคี วามหมายวา่ อยา่ งไร? จงอธบิ าย 2. จงใหค้ วามหมายประชาธิปไตยตามทัศนะของอรสิ โตเตลิ โดยสังเขป 3. จงชแ้ี จง แนวคิดพืน้ ฐานของอดุ มการณป์ ระชาธปิ ไตย 4. คําวา่ “อาํ นาจของประชาชน คือ หวั ใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย” มีความหมาย วา่ อยา่ งไร จงแสดงความเห็นมาดู 5. จงแสดงความเหน็ รวบยอด คําวา่ ประชาธิปไตยตามแนวพทุ ธพอไดใ้ จความ 6. จงยกตวั อยา่ งแนวคิดประชาธิปไตยของเพลโตมาดูโดยสังเขป 7. จงอธบิ ายความหมายของคาํ ตอ่ ไปน้ี 1. อสิ รภาพ 2. สทิ ธเิ สรภี าพ 3. ความเสมอภาคและภราดรภาค 8. จงแสดงทัศนะกระบวนการรา่ งรฐั ธรรมนญู ไทย 9. จงแสดงทศั นะกระบวนการเลอื กสมาชิกรัฐสภาไทย

178 การอ้างองิ ประยงค์ สุวรรณบุบผา. (2541). รัฐปรัชญา แนวคิดตะวนั ออก-ตะวนั ตก, . กรงุ เทพฯ: สาํ นักพิมพ์ โอเดยี้ นสโตร์. ม.ร.ว. พฤทธสิ าณ, ชุมพล. (2551). อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: เอส.พี.ว.ี การพมิ พ.์ สมเกียรติ วนั ทะนะ. (2551). อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. กรงุ เทพฯ: เอส.พี.ว.ี การพิมพ.์ สุกจิ ชยั มสุ กิ . (2553). พระพทุ ธศาสนาในมติ ปิ ระชาธปิ ไตย. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์มหามกฏุ ราช วทิ ยาลัย. สขุ สําราญ สมบรู ณ์. (2527). พทุ ธศาสนากับการเปล่ียนแปลงทางการเมอื งและสงั คม. กรงุ เทพฯ: สํานกั พมิ พ์จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั . เสถียร โพธนิ นั ทะ. (2512). เมธีตะวนั ออก, . กรงุ เทพฯ: ธนบรุ ี : โพธ์ิสามต้น. อรยิ ธมฺโม พระมหาธรรมรัต. (2542). การศึกษาเชงิ วิเคราะห์ หลักรัฐศาสตรท์ มี่ ใี นพระไตรปฎิ ก. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลัย. อัตพัฒน์ ชัยวฒั น์, และ สชุ วี คิ ุปต์, วธิ าน. (2533). หลักการดารงชีวิตในสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. อานนท์ อาภิรม. (2545). รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

179 บทที่ 7 กฎหมายมหาชนตามแนวพทุ ธศาสตร์ (Public Law in Buddhistie Approach) 7.1 แนวคดิ (Concept) กฎหมายมหาชน หรือกฎหมายสาธารณะเป็นเครื่องมือหรือสําหรับปฏิบัติงานของรัฐบาล ท่ัวโลกเป็นกฎหมายท่ีเน้นการบริการประชาชนอันเป็นหัวใจของวิชานี้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ งานบรกิ ารสาธารณะคอื หวั ใจของกฎหมายมหาชน ซงึ่ สามารถอธิบายตีความและเปรยี บเทียบความ แตกต่างโดยพฤตนิ ยั และมีความเหมือนกนั โดยนิตนิ ัย 7.2 เน้อื หาสําคัญประจําบทเรยี น 7.2.1 ความเปน็ มาและความหมายของกฎหมายมหาชน 7.2.2 กระบวนการบญั ญตั ิกฎหมายของอาณาจกั ร และศาสนจกั ร 7.2.3 กระบวนการลงโทษกฎหมายทัง้ ฝ่ายอาณาจกั ร และศาสนจกั ร 7.2.4 สาระสาํ คัญของแนวคดิ กฎหมายมหาชนกบั แนวคดิ ในพุทธศาสนา 7.3 วตั ถปุ ระสงค์เชงิ พฤติกรรม 7.3.1 อธิบายและวิเคราะห์ความเป็นมาและความหมายของกฎหมายมหาชนได้ 7.3.2 อธบิ ายและวิเคราะห์กระบวนการบญั ญตั ิกฎหมายท้ังฝ่ายอาณาจักรและศาสนจกั รได้ 7.3.3 อธบิ ายและวเิ คราะห์กระบวนการลงโทษตามกฎหมายฝา่ ยอาณาจักรศาสนจกั รได้ 7.4 กจิ กรรมการเรียนการสอน 7.4.1 สรปุ การบรรยายประกอบเอกสารประจาํ วิชา 7.4.2 ยกประเด็นปญั หามาอภปิ ราย แสวงหาคําตอบรว่ มกนั 7.4.3 แลกเปลยี่ นทัศนะระหว่างผสู้ อนกับผ้เู รยี นเก่ยี วกับกฎหมายมหาชนและพระวินัย 7.4.4 ตอบคําถามพร้อมทําแบบฝกึ หดั ในชัน้ เรียน 7.4.5 นาํ เสนอรายงานผลการคน้ ควา้ ตามที่ผูส้ อนกําหนดให้

180 7.5 สื่อการเรียนการสอน 7.5.1 เอกสารประกอบการบรรยายประจาํ วิชา 7.5.2 คอมพิวเตอร์ Power Point 7.5.3 วิดิทศั น์ และภาพยนตรส์ ารคดที เี่ กย่ี วข้องกับกฎหมายมหาชนและพระวนิ ยั 7.5.4 แนะนาํ หนงั สืออา่ นประกอบวชิ ากฎหมายมหาชนและการวินิจฉยั พระวนิ ัย 7.6 สารตั ถะกฎหมายมหาชนบทท่ี 7 7.6.1 ความหมายของกฎหมายมหาชน 7.6.2 ความสมั พนั ธ์ระหวา่ งกฎหมายมหาชนกบั ศาสตรอ์ น่ื 7.6.3 ขอบเขตของกฎหมายมหาชน 7.6.4 ประเภทของกฎหมายมหาชน 7.6.5 ที่มาของกฎหมาย 7.6.6 กฎหมายมหาชนตามแนวพุทธศาสตร์ 7.6.7 ความเป็นมาของการบญั ญตั พิ ระวินยั 7.6.8 กระบวนการบัญญตั ิพระวินยั 7.6.9 สรปุ บทที่ 7 7.7 แบบฝกึ หัดตอบคําถามประจาํ บทที่ 7

181 1. ความหมายกฎหมายสาธารณะ หรือกฎหมายมหาชน (Public Law) กฎหมายสาธารณะ ความหมาย ท่ีมา และประเภทของกฎหมายเบ้ืองต้น จะเน้นท่ีกฎหมาย สาธารณะ หรือกฎหมายมหาชนประเภทต่างๆ ทั้งวัตถุประสงค์ ท่ีมาและลักษณะของกฎหมาย รวมถงึ ผลของกฎหมายทจ่ี ะมตี อ่ สังคม และบุคคลในสงั คมนน้ั โดยท่ัวไป กฎหมาย หมายถึง บรรดาข้อบังคับของรัฐ หรือประเทศท่ีใช้บังคับความ ประพฤติท้ังหลายของบุคคลอันเกี่ยวกับเร่ืองความสัมพันธ์ระหว่างกัน ใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็ จะต้องมคี วามผิด และถกู ลงโทษ ดังน้ัน กฎหมายจึงเป็นกรอบความประพฤติของประชาชนภายในรัฐ เพื่อปกครองในรัฐ ควบคุมความประพฤติเป็นบรรทดั ฐานในการตดิ ตอ่ สมั พนั ธก์ ันเพ่ือความสงบและความเปน็ ระเบียบ เรียบร้อยของสงั คม นอกจากนี้ยงั เป็นหลกั ประกัน ความมั่นคงปลอดภยั สทิ ธเิ สรีภาพเปน็ ตัวกําหนด หน้าที่อันพงึ กระทําของบคุ คลและองคก์ าร โดยยดึ กฎหมายเป็นหลักเพือ่ ส่วนรวม ในทางทฤษฎีและปฏิบัติ กฎหมายที่ส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดอยู่กับเร่ืองของการปกครอง และการเมือง กฎหมายเป็นเครื่องมือพเิ ศษในการควบคมุ กฎหมายโดยตัวของมันเองแล้วเป็นกฎท่ัวไปที่จะควบคุมความประพฤติของสมาชิกใน สงั คม โดยอาํ นาจรฐั รัฐใช้บังคับ กฎหมายมีทั้งเปน็ ลายลักษณอ์ ักษรและทีเ่ ปน็ จารีตประเพณี กฎหมายคืออะไร ศาสตราจารย์ สง่า ลีนะสมิตกล่าวว่า นักปราชญืทางกฎหมายหลายท่าน ไดใ้ ห้ความหมายไวด้ ังนี้ 1. เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธ์ิ ให้ความหมายว่า กฎหมายคือ คําสั่งท้ังหลายของ ผู้ปกครองวา่ การแผน่ ดินต่อราษฎรทงั้ หลาย เมือ่ ไมท่ าํ ตามแล้ว ตามธรรมดาต้องได้รับโทษ 2. ดร. องั รี โลรงั อธิบายว่า กฎหมายคอื คาํ สัง่ และบงั คบั ของรัฐธิปตั ย์ 3. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ อธิบายว่า กฎหมายเป็นคําส่ัง คําบังคับของรัฐาธิปัตย์ ซึ่งใคร จะขัดขวางใครจะเถยี งมิได้ และซ่งึ มสี ภาพบังคับดว้ ย (สงา่ , 2554) ความหมายของกฎหมายตามยุคสมยั ได้ดงั นี้ ยุคท่ี 1 กฎหมายคือ คําสัง่ พระผเู้ ปน็ เจ้าบญั ชา หรือประทานลงมาใหแ้ กม่ งลมนุษย์โลก ยุคที่ 2 กฎหมายคือ จารีตประเพณี (Custom) อันเป็นมรดกตกทอดท่ีสร้างข้ึนโดยผู้รู้ใน สงั คม เพื่อให้มนษุ ยเ์ ชื่อฟังและปฏิบตั ิตาม ยุคท่ี 3 ในสมัยที่โลกเจริญข้ึนบา้ งแล้ว กฎหมายคือ การอนุมานจากการประมวลศลี ธรรมที่ เป็นอมั ตะเข้าด้วยกัน ยุคท่ี 4 กฎหมายคือ สัญญาประชาคม (Social Contreet) เมื่อคนในสังคมตกลงจะเคารพ กฎหมายแตล่ ะคนจะต้องทาํ ตามสญั ญาท่ีไดใ้ หไ้ ว้ (วารี นาสกลุ และคณะฯ, 2545)

182 จอห์น แซลมอนด์ (John Salmond) นักกฎหมายที่มีช่ือเสียงชาวอังกฤษให้ความหมายว่า กฎหมายไดแ้ กม่ วลขอ้ บงั คับอนั รบั รู้ และบังคับใช้โดยรัฐและกระทําโดยศาลยุตธิ รรม ศาสตราจารย์ เอช.เอ.คอร์ท (Professo.H.A. Court) กล่าวว่า กฎหมายเป็นคําส่ังและข้อ หา้ มซึง่ มนษุ ย์จาํ ต้องเคารพในความประพฤติตอ่ เพ่ือนมนษุ ย์ด้วยกนั ความรู้ทางนิติศาสตร์ของสภาวิจัยแห่งชาติ ได้อ้างความคิดของนักปราชญ์ ทางกฎหมาย2 ทา่ นทเ่ี ขียนไว้ใน Common Sense in Law วา่ เซอร์ ปอล วินโกราดอฟฟ์ (Sir Paul Vino Gredoff) แห่งอังกฤษ ให้ความหมายกฎหมาย ไวว้ ่า กฎหมายคอื หลักขอ้ บงั คับความประพฤติทีบ่ ัญญัติข้ึน และบังคับโดยผทู้ รงอาํ นาจอธิปไตย จอห์น ออกสติน (John Austin) นักกฎหมายชาวอังกฤษ ได้ให้ความหมายกฎหมายว่า ที่ รวมแหง่ กฎหมายท้ังหลาย ศาลยตุ ิธรรมให้นํามาใช้และถือตาม (สภาวิจัยแห่งชาติ, 2545) สรุปได้ว่าจากนิยามต่างๆกฎหมายเป็นคําสอนหรือข้อบังคับของรัฐซ่ึงได้บัญญัติข้ึนเพ่ือ กําหนดความประพฤติของประชาชน ซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนโดยไม่ ประพฤตติ ามกจ็ ะมคี วามผิดและต้องลงโทษดว้ ย กฎหมายเป็นคําสั่งหรือข้อบังคับท่ีเกิดข้ึนจากรัฐาธิปัตยท์ ่ีใช้ได้ทว่ั ไป กับบุคคลทุกคนท่ีอยู่ ในรัฐหรือประเทศน้ัน ที่ใช้ได้เสมอไปจนกว่าจะมีการแก้ไขหรือยกเลิก และเป็นข้อบังคับท่ีต้อง ปฏบิ ตั ติ ามประการสาํ คญั คอื กฎหมายตอ้ งมขี ้อบังคบั (Sanctions) กฎหมายมหาชนเกิดจากปรากฏการณ์ต่างๆของสังคม และการเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัย เพราะธรรมชาติของมนุษย์ต้องพยายามหาหนทางท่ีดีให้กับตนและสังคมของตน จึงได้ออก กฎหมายขนึ้ เพ่อื มาบังคบั ใช้ เพ่ือให้สังคมอย่รู ว่ มกนั โดยปกตสิ ุขเมื่อได้มีการประกาศใช้กฎหมาย จะ เห็นได้ว่า กฎหมายท่ีออกมานั้น บางฉบับใช้กับบุคคลท่ัวไป บางฉบับใช้กับบุคคลบางประเภท จึง เกิดมีแนวความคิดที่จะแบ่งกฎหมาย เพ่ือสะดวกแก่การศึกษา และการตีความ ในระยะเริ่มแรก ได้ แบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเพ่งและกฎหมายอาญาเท่าน้ัน โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก ได้มีการแบ่งแยกตั้งแต่สมัยโรมัน แต่แนวความคิดในการแบ่งแยกมิได้เป็นเช่นปัจจุบัน คือสมัย แบ่งแยกโดยใชห้ ลักปรัชญา อนั มีผลตอ่ การเมอื งการปกครอง แตเ่ มอื่ โรมนั ล่มสลาย ความคดิ ในการ แบ่งก็ชะงักไป ย่ิงกว่ามีผลบางประการยังไม่มีทางประสงค์ให้แบ่ง เพราะกฎหมายมหาชนเป็น กฎหมายท่ีจํากัดอํานาจหน้าท่ีของรัฐทําให้รัฐดําเนินข้อกฎหมายด้วยความสามารถ ต่อมามนุษย์มี ความรมู้ ีประสบการณ์มากข้นึ จึงไดเ้ ริ่มมี กฎหมายแพง่ แยกอกี เมอื่ มกี ฎหมายมากขน้ึ จงึ ไดแ้ บ่งเป็น กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กําหนดถึง ความสัมพันธ์ ระหวา่ งรฐั ในการรักษาเสถยี รภาพของประเทศ รัฐกบั เอกชนในฐานะทร่ี ัฐมีฐานะเหนือเอกชน เปน็ ผู้บริหารบ้านเมืองเพ่ือประโยชน์ของประชาชนกับเอกชน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐมี

183 อํานาจเหนือราษฎรผู้ต้องปฏิบัติตาม รัฐมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม ส่วน เอกชนรักษาผลประโยชน์ของตน ฉะนั้น กฎหมายมหาชนจึงเป็นกฎหมายที่ต้องสร้างความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง สร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของเอกชน กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองคก์ รของฝา่ ยปกครอง กล่าวถงึ ขอบเขตการใช้อํานาจ ของรัฐ ในการบริหารประเทศ จัดต้ังองค์กรดําเนินการสาธารณะ จัดให้มีผู้ใช้อํานาจในการ ดําเนินการในองค์กรนั้น กฎหมายมหาชนเป็นหลักประกันพ้ืนฐานของประชาชน กฎหมายมหาชน อาจเป็นเรื่องการเมือง การปกครองหรือการคลังก็ได้ ถ้าจะมองรัฐในเชิงบังคับบัญชา กฎหมาย มหาชนต้องมีการแทรกแซงของรัฐ เป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค เพราะเป็นความสัมพันธ์พิเศษ ระหว่างจัดระเบียบบริหาราชการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการเมืองอย่าง สมาชิกสภา คณะรัฐมนตรี หรือว่าเจ้าหน้าท่ีการปกครอง สมาชิกสภาเทศบาล เจ้าหน้าท่ีมีอํานาจ บงั คับส่งั ให้ปฏิบัติการได้เปน็ กฎหมายทผ่ี ้ปู ฏิบตั ไิ ดแ้ ก่เจา้ หน้าที่ของรัฐ ไม่วา่ จะเปน็ ในทางปกครอง หรือในทางการเมือง และตอ้ งปฏิบัตกิ ารเพื่อสาธารณะประโยชน์ ฉะนนั้ จึงมีอาํ นาจส่ังการฝ่ายเดียว ได้ โดยไม่จําเป็นต้องฟ้องศาลให้บังคับให้ประชาชนต้องปฏบิ ัติตาม กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมาย ท่ีเกี่ยวกับอํานาจของรัฐ ในสมัยก่อนเป็นทีเ่ ข้าใจกันอยู่ท่ัวไปว่า กฎหมายมหาชนหมายถงึ กฎหมาย ทุกชนิดท่ีรัฐออกมาบังคับใช้ ส่วนกฎหมายเอกชนหมาถึง กฎหมายท่ีรัฐออกมาใช้เฉพาะบคุ คล ท่ีมี นิติสัมพันธ์ท่ีเกิดจากการทํานิติกรรมผูกพันกัน ได้มีนักปรัชญาและนักนิติศาสตร์พยายาม อธบิ ายให้เหน็ วา่ กฎหมายมหาชนมีลักษณะอยา่ งไร ซึ่งจะขอยกตวั อยา่ งดงั นี้ Ulpien ได้กล่าวไว้ว่า กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายท่ีกําหนดสถานะของรัฐ กฎหมาย เอกชน คือ กฎหมายท่เี กยี่ วกับการบงั คบั เอกชนเป็นเรื่องเกย่ี วกับผลประโยชนข์ องเอกชน Papinian กล่าวว่า กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มา กฎหมายมหาชนเป็นรากฐาน เพราะวา่ กฎหมายเอกชนตอ้ งตั้งอยู่บนความสงบเรยี บร้อย Maurice Duverger กลา่ วไวว้ ่า กฎหมายมหาชนคือ กฎหมายท่กี ล่าวถึงกฎเกณฑท์ ัง้ หลายท่ี เกย่ี วกับสถานะและอาํ นาจของผู้ปกครอง รวมท้ังความสัมพนั ธร์ ะหวา่ สงรัฐต่อรัฐ รัฐต่อองค์กรของ รัฐ รัฐต่อเอกชน หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง ใน ฐานะทีม่ ีฐานะเหนือราษฎร ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย ได้กล่าวว่า กฎหมายมหาชนได้แก่ กฎหมายท่ีบัญญัติถึง ความสมั พันธร์ ะหว่างรฐั หรือหนว่ ยงานของรัฐกบั ราษฎร ในฐานะที่รฐั เป็นฝา่ ยปกครอง ในฐานะที่ รฐั มฐี านะเหนือราษฎร ศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ ชัยนาม กล่าวไว้ว่า กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายท่ีบัญญัติถึง ความสัมพันธร์ ะหวา่ งรฐั กบั พลเมืองของรัฐ กําหนดฐานะของนิติบุคคลหรอื สถาบันในกฎหมาย

184 และในยุค Classic ได้มีการอ้างว่า กฎหมายมหาชนคือ กฎหมายทุกชนิดที่รัฐออกมาบังคับ ใช้ โดยรฐั เขา้ ไปเป็นคกู่ รณี เช่น กฎหมายทหาร สว่ นกฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายท่บี ัญญัติเก่ียวกับ นติ ิสัมพันธร์ ะหวา่ งเอกชน (ศ.ดร. วารี และ อคั รเดช มณีภาค, 2545) การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายมหาชนน้ี ได้มีเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะใน ประเทศตะวันตก ได้มีการแบ่งแยกตั้งแต่สมัยกรีกโบราณแต่แนวความคิดในการแบ่งแยกมิได้เป็น ดังเช่นในปัจจุบัน คือ ในสมัยน้ันได้เกิดความคิดแบ่งแยกกฎหมายโดยหลักปรัชญา อันมีผลต่อ การเมือง การปกครอง ซึ่งเท่ากับเป็นการแบ่งแยกกฎหมายเช่นน้ัน เพราะในการปกครองผู้มีอํานาจ จําตอ้ งมกี ฎหมายออกมาบังคบั ใช้ เชน่ ถ้าเปน็ กจิ การทางการเมือง การปกครองของสมาชกิ สภา ของ ศาล หรือเป็นกฎหมายที่ใช้กับบุคคลพวกใดพวกหน่ึงโดยเฉพาะ เช่น กฎหมายศาสนา ก็ถือว่าเป็น กฎหมายมหาชน สําหรับประเทศไทยในอดีตก็มีการแบ่งแยกกฎหมาย โดยแบ่งเป็นกฎหมายจารีต ประเพณี พระธรรมศาสตร์ และพระราชศาสตร์ ต่อมาได้แบ่งเป็นกฎหมายแพ่งกับกฎหมายอาญา เพราะกฎหมายในสมัยนั้นมไี ม่มากนัก และเมื่อมีกฎหมายออกมาใช้มากขนึ้ จึงได้แบ่งเป็นกฎหมาย เอกชน และกฎหมายมหาชน การแบ่งกฎหมายเช่นน้ันได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักกฎหมายท่ี นิยมกฎหมายระบบ Common Law ว่าการแบ่งแยกกฎหมายเป็นไปไม่ได้ เพราะกฎหมายมี ความสัมพันธ์กันและเก่ียวเน่ืองกันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ นักศึกษาจะพบได้ว่า กฎหมายบางฉบับมี ลักษณะเปน็ ท้ังกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่กฎหมายบางฉบับเป็น กฎหมายเอกชนอย่างเดียว เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บางฉบับเป็นกฎหมายมหาชน อย่างเดียว เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เป็นต้น มีบางท่านกล่าวว่า กฎหมายใดเป็น กฎหมายของประชาชน กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายมหาชน แต่คํากล่าวอ้างเช่นน้ีก็ไม่เป็นความจริง เสมอไป ได้มีนักปราชญ์หลายท่านพยายามที่จะช้ีให้เห็นข้อแตกต่างของกฎหมายมหาชน (Jus Publicum) และกฎหมายเอกชน (Jus Gentium; Jus Privatum) ซ่ึงจะได้ศึกษากันตอ่ ไป อย่างไรก็ตาม การแบง่ แยกกฎหมายเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน มีขอ้ จาํ กัดอยู่ หลายประการ จะพบว่าในบางครั้งกฎหมายฉบับหนึ่งเป็นทั้งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ฉะน้ันในการตีความหรือการใช้กฎหมายน้ัน จะต้องใช้ความระมัดระวัง สังเกตให้ดี มาตราใดเป็น กฎหมายเอกชน มาตราใดเป็นกฎหมายมหาชน ต้องใช้หลักกฎหมายนั้นตีความตามหลักชนิด ประเภทของกฎหมาย เพราะหลักการตีความของกฎหมายท้ังสองประเภทไม่เหมือนกัน ถ้าเป็น กฎหมายมหาชนต้องตีความอยา่ งเคร่งครัด และถ้ากฎหมายไมก่ ําหนดให้อํานาจไว้ ผู้ใช้กฎหมายจะ กระทํามิได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายเอกชนมีหลักตรงข้าม คือ การตีความกฎหมายจะใช้กฎหมายที่ ใกล้เคียงได้ และถ้ากฎหมายไม่เขียนไว้เท่ากับกฎหมายไม่ห้าม ให้ทําได้ ยิ่งกว่าน้ัน รัฐหรือ หน่วยงานของรัฐ สามารถเลอื กใชก้ ฎหมายเอกชนได้ ถา้ ไมม่ ีกฎหมายห้ามวา่ เรื่องนี้ต้องใช้กฎหมาย

185 มหาชน เช่น กรมไปรษณีย์ซึ่งเป็นองค์กรมหาชนควรจะใช้กฎหมายมหาชน แต่กรมไปรษณีย์อาจ เลือกใช้กฎหมายเอกชนได้ โดยลดตวั ลงมาเท่ากับเอกชน เช่น เมอื่ ตอ้ งการซอื้ ท่ีดินเพื่อตงั้ สํานักงาน ไปรษณีย์เป็นต้น และในบางคร้ังเอกชนก็มาร่วมมือกับรัฐ ทําหน้าที่เป็นฝ่ายปกครองทํากิจการ สาธารณะประโยชน์ เช่น บริษัทเอกชนต้ังเจ้าหน้าท่ีตนมาเก็บค่าบริการทางด่วน หรือตรากฎหมาย พระราชบญั ญัตวิ ิชาชีพ ในกรณดี ังกล่าวตอ้ งใช้กฎหมายมหาชน บางคร้ังรัฐก็เข้ามาแทรกแซงกจิ การ ของเอกชน เช่น ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน จะเห็นได้ว่าการแยกกฎหมายเป็นกฎหมาย มหาชนมีความสําคัญ การศึกษาหลักกฎหมายมหาชนในประเทศไทย เพิ่งจะเริ่มต่ืนตัวหลังจาก การศกึ ษากฎหมายเอกชนมาเปน็ เวลานานเพราะกฎหมายมหาชนเปน็ เรื่องทจ่ี ํากัดอาํ นาจของรัฐ ของ ผู้ปกครอง ไม่ใช่เป็นเร่ืองเก่ียวกับการทําประโยชน์ส่วนรวม เช่น ซ้ือขาย เช่าทรัพ ย์ รัฐก็ไม่ สนับสนุน เพราะตนต้องถูกจํากดั อํานาจ แต่เมื่อประชาชนในชาติมีความรู้มากขน้ึ รู้จักสิทธิของตน มากขึ้น จึงได้หันมาศึกษากฎหมายมหาชน การเกิดของกฎหมายมหาชนมาหลังกฎหมายเอกชน จึง ทําให้ในระยะเร่ิมแรกไม่มีการจัดทําเป็นประมวลกฎหมาย เวลามีปัญหาเกิดข้ึนก็ใช้กฎหมาย ธรรมดาและใหศ้ าลยุตธิ รรมเปน็ ผ้พู จิ ารณา เม่อื มีผู้เร่มิ รู้จกั เขา้ ใจกฎหมายมหาชนมากขน้ึ จงึ ไดม้ ีการ บัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจาณราคดีปกครอง โดยรวบรวมท่ีกระจัดกระจายอยู่ตาม พระราชบญั ญตั ติ ่างๆมาไว้ที่เดียวกัน และจัดตัง้ ศาลเพอ่ื ทาํ การพิจารณาคดีโดยเฉพาะ การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนมีเฉพาะในประเทศท่ี ใช้กฎหมายระบบลายลักษณ์อักษรเท่าน้ัน แต่ถึงกระนั้น การแบ่งแยกก็ไม่เหมือนกันเท่าใดนัก ดังเช่น ศาสตราจารย์ดร. บวรศักด์ิ กล่าวว่าในประเทศเยอรมันกฎหมายมหาชนได้แก่ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง และประเทศส่วนมากก็ได้แบ่งเช่นน้ี แต่ในประเทศฝร่ังเศสไม่ถือว่ากฎหมาย อาญา เป็นกฎหมายมหาชน ประเทศเบลเยย่ี ม และประเทศเนเธอร์แลนดไ์ ดแ้ บ่งแยกตาม ทัง้ น้ี เพราะ ประเทศฝรง่ั เศสไดใ้ ห้เหตุผลวา่ กฎหมายเหลา่ นขี้ ึ้นอยู่กับศาลยตุ ิธรรม หากมกี ารฟ้องคดีขึ้น รัฐมไิ ด้เปน็ คู่ความ เป็นแต่เพียง ผู้รักษากติกา ผู้เช่ียวชาญกฎหมายเหล่านี้ ได้แก่ นักกฎหมายเอกชน แม้แต่ในประเทศไทยนัก นิติศาสตร์ก็แบ่งแยกไว้ไม่เหมือนกัน ศาสตราจารย์ดร.หยุด แสงอุทัย ศาสตราจารย์ ดร. เสริม วินจิ ฉยั กุล เหน็ วา่ กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน ซ่ึงผูเ้ ขนี ก็เห็นดว้ ยเพราะกฎหมายมหาชนนั้น ไม่จําเป็นที่รัฐจะต้องเข้าไปคู่ความด้วยเสอมไป แต่นักนิติศาสตร์รุ่นใหม่ เห็นว่ากฎหมายอาญา ไมใ่ ชก่ ฎหมายมหาชน มผี ูก้ ลา่ ววา่ หลักสําคัญของกฎหมายมหาชนนน้ั จกั ต้องมดี ังน้ี คือ

186 1. ต้องเป็นกฎหมายที่บัญญัติข้ึนเพ่ือสาธารณะประโยชน์ คือ เพ่ือประโยชน์ของบุคคล ท่ัวไปที่จะได้รับผลจากกฎหมายนั้นเท่าเทียมกัน เช่น กฎหมายปกครอง เพราะถือหลักท่ีว่า มนุษย์ เกิดมาเทา่ เทียมกัน 2. ต้องเป็นกฎหมายท่ีขจัดความขัดแย้งที่เกิดข้ึนในสังคม โดยทตี่ ้องพยายามใหท้ กุ ฝ่ายเสีย ประโยชน์นอ้ ยทสี่ ุด การใชอ้ ํานาจปกครองตอ้ งใหป้ ระชาชนเห็นด้วย 3. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ เช่น มีส่วนร่วมท่ีจะแสดงประชามติ ว่าจะรบั หรือไม่รบั กฎหมายฉบบั ใดฉบับหนึ่ง 4. การปกครองประเทศต้องมีกฎหมายให้อํานาจตรวจสอบ ต้องปฏิบัติตามท่ีกฎหมาย บัญญตั ไิ ว้ 5. เนื้อหาของกฎหมายมหาชนต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะทั่วไป ซึ่งจะต้องปฏิบัติตาม จะตกลงยกเว้นไมไ่ ด้ 6. นิติสัมพันธ์ในกฎหมายมหาชนน้ันแม้เอกชนจะไม่สมัครใจ รัฐก็สามารถใช้อํานาจ บงั คับได้ รัฐมีฐานะเหนอื เอกชน เป็นวธิ ีการฝ่ายเดียว การศึกษาวิชาน้ีนอกจะต้องศึกษาถึงความเป็นมาของกฎหมายมหาชน ท่ีมา ของกฎหมาย มหาชน ตลอดจนจะต้องรู้ถึงปรัชญาพ้ืนฐานของกฎหมายมหาชนด้วย จึงจะเข้าใจถึงกฎหมาย มหาชนท่ีสําคัญๆได้ มิฉะนั้นแล้วจะเท่ากับว่าเรียนรู้แต่เพียงส่วนเดียว จึงไม่อาจจะเข้าใจใน กฎหมายสาํ คญั ท่ีจะต้องศึกษาในชัน้ สูงตอ่ ไปไดอ้ ยา่ งดี ต้องยอมรับว่า การพัฒนากฎหมายมหาชนของแต่ละประเทศไม่เท่ากันข้ึนอยู่กับเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ประเทศตะวันตกได้พัฒนากฎหมายมหาชนไปอย่าง รวดเร็ว จนเป็นพ้ืนฐานของการพัฒนากฎหมายมหาชนในประเทศต่างๆ ตราบเท่าทุกวันนี้ สําหรับ ประเทศไทย การแบ่งแยกเป็นกฎหมายเอกชนหรอื มหาชนนน้ั พึ่งจะตนื่ ตัวกนั ในระยะ4-5 ปีนี้เอง 2. ความสมั พันธร์ ะหว่างกฎหมายกับศาสตร์อื่นๆ วิชานิติศาสตณ์หรือวิชากฎหมายนั้นมีลักษณะแตกต่างจากวิชาอ่ืนๆเพราะนอกจากจะเป็น วิชาเอกเทศ หรือแยกตัวออกเป็นสาขาหนึ่งต่างหากแล้ว ยังผสมผสานกับวิชาอ่ืน ๆ เช่น วิชา คณิตศาสตร์ เป็นต้น เคยมีผู้กลา่ วว่า วิชานิติศาสตร์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ (Science and Arts) ทว่ี ่า เป็นศาสตร์ เพราะว่า เป็นความรู้ที่มีระเบียบแบบแผน ที่ว่ากฎหมายเป็นศิลป์ คือ การออกกฎหมาย ผู้ร่างจะตอ้ งรู้จักวิธีออกกฎหมรายท่ีดี เพ่ือให้ผตู้ อ้ งใช้กฎหมายเข้าใจได้ และยอมรับปฏิบตั ิตาม และ นาํ กฎหมายไปใชใ้ ห้ถูกวธิ ี ฉะน้ัน การศึกษาวชิ านติ ิศาสตร์ จะศึกษาแตว่ ิชากฎหมายอย่างเดยี วไม่ได้ จะต้องศึกษาวิชาอ่ืนๆท่ีเกี่ยวข้อง ความจริงแล้ว วิชากฎหมายเกี่ยวข้องกับหลายวิชา แต่จะมากน้อย

187 เพียงไร แล้วแต่ความสัมพันธ์ของกฎหมายกับวิชานั้นๆ ในที่นี้จะได้ยกตัวอย่างวิชาท่ีกฎหมาย เกี่ยวข้องทง้ั เหตุผลทีก่ ฎหมายต้องเข้าไปเก่ียวข้องดว้ ย ดงั น้ี (ศ.ดร. วารี และ อัครเดช มณีภาค, 2545) 1. สงั คมวทิ ยากับกฎหมาย 2. เศรษฐศาสตรก์ บั กฎหมาย 3. ประวัตศิ าสตร์กับกฎหมาย 4. จิตวทิ ยากบั กฎหมาย 5. รฐั ศาสตรก์ ับกฎหมาย 6. ปรัชญากับกฎหมาย 1. สงั คมวิทยากับกฎหมาย สังคมวิทยาเปน็ วิชาทีส่ ําคัญวชิ าหนงึ่ เปน็ วชิ าที่ศึกษาถึงมนุษย์ และปรากฏการณ์ท่ีเกิดข้ึนจากความสัมพันธ์ของมนุษย์ท่ีจําต้องมาอยู่ร่วมกัน รวมตลอดถึง การศึกษาส่ิงแวดล้อมของมนุษย์ การศึกษาดังกล่าวนี้ จะประสบความสําเร็จได้ ก็ต้องศึกษาถึง โครงสร้างของสังคมหรือสถาบันต่างๆในสังคม และพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ในสังคมด้วย Max Weber นักสงั คมวิทยาผมู้ ชี อ่ื เสียงคนหนึง่ ของโลก ไดใ้ หค้ าํ จาํ กัดความของคําวา่ สังคมวิทยา ไว้ดงั นี้ สังคมวิทยาเป็นศาสตร์ซ่ึงพยายามเข้าใจและตีความหมายของการกระทําในสังคม โดยพยายาม อธิบายว่า การกระทําในสังคม หมายความถึงการกระทําทุกอย่างของมนุษย์ ที่ผู้กระทํามุ่งให้มี ความหมายอยา่ งใดอย่างหน่ึงนั้น มีเหตุผลต่อเนื่องกันอยา่ งไร นอกจากนั้นยังต้องศึกษาสถาบันทาง ศาสนา เศรษฐกจิ การเมือง และครอบครัว นกั กฎหมายชือ่ Rodolf Van Jhering ไดก้ ลา่ ววา่ กฎหมาย ย่อมต้องมีหน้าท่ีประสานความขัดกันซ่ึงประโยชน์ได้เสียต่างๆ ตลอกจนคุ้มครองประโยชน์ของ เอกชนและของส่วนรวม ฉะนั้น การออกกฎหมายและการใช้กฎหมาย จึงต้องศึกษาถึงสังคม และ คาํ นงึ ถึงสังคมดว้ ย 2. เศรษฐศาสตร์กับกฎหมาย เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาท่ีศึกษาถึงการกระทําของมนุษย์ที่อยู่ ในสังคม เพื่อบําบัดความต้องการของตนและของสังคม เป็นวิชาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจของมนุษย์ ศึกษาถึงการเงินของสังคม ศึกษาถึงผลผลิต การจําหน่าย การใช้ทรัพยากร การออมทรัพย์ และการ กระจายรายได้ ซึ่งนักกฏหมายจะต้องศึกษาและหาวิธีจัดระเบียบเศรษฐกิจให้เกิดความผาสุขใน สังคมโดยเท่าเทียมกัน เพ่ือการอยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข ให้เกิดความเป็นธรรมเสมอภาคและความ เจริญของสงั คม เชน่ ออกกฎหมายการปฏิรูปทีด่ นิ และการค้มุ ครองผบู้ ริโภค เป็นตน้ 3. ประวัติศาสตร์กับกฎหมาย ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงเหตุการณ์ต่างๆท่ีเกิดขึ้น ในอดีต ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือไม่ เพ่ือให้ทราบถึงความเป็นมาและพฤติกรรมของคนใน ชาติน้ัน ๆ การศึกษาประวัติศาสตร์ย่อมทําให้เข้าใจถึงความเป็นมา และความรู้สึกทั้งจิตใจของ มนุษย์ ส่วนการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย ย่อมทําให้ทราบถึงที่มาของกฎหมายทําให้เข้าใจ

188 ความหมายของกฎหมายท่ีใช้อย่ไู ด้ดีข้นึ เพราะการบัญญัติกฎหมายแต่ละคร้ัง ก็เพื่อแก้ไขเหตุการณ์ ในอดตี เพอ่ื มใิ หเ้ หตกุ ารณ์นน้ั ๆเกิดขน้ึ อีก และจะตอ้ งเหมาะสมกบั สถานะการณ์ขณะน้ัน การศกึ ษา วิชาน้ีทาํ ใหส้ ะดวกการตีความของกฎหมายทีก่ ําลงั ใช้ 4. จิตวิทยากับกฎหมาย จิตวิทยาเป็นวิชาท่ีศึกษาถึงจิตใจของส่ิงมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือสัตว์ ศึกษาถึงกระบวนการทางจิตใจ การเรียนรู้ การรับรู้ เหตุจูงใจ บุคลิกภาพ ความจํา สติปัญญา และความแปรปรวนทางจิต เป็นวิชาที่สําคัญสําหรับนักกฎหมายอีกเช่นกัน เพราะการออกกฎหมาย จะต้องคํานึงจิตวิทยาของผู้ใช้กฎหมายและผู้ซ่ึงจะต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมาย เช่น เม่ือออกกฎหมาย มาแล้ว ประชาชนจะเคารพเชื่อฟังกฎหมายนั้นหรือไม่ การออกกฎหมายจะต้องคํานึงถึงว่าเหตุใดผู้น้ัน ถึงกระทาํ ความผดิ และ จะวางหลกั เกณฑ์และวธิ ใี ดจึงจะไมก่ ระทําความผิดอีก 5. รัฐศาสตร์กับกฎหมาย รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับรัฐ โดยมี รัฐเป็นศูนย์กลางการศึกษา โดยค้นคว้าวา่ รัฐคืออะไร เกิดข้ึนและดับสูญไปได้อยา่ งไร มีวิวฒั นาการ ในการปกครองอย่างไร นักกฏหมายจะต้องออกกฎเกณฑ์ไปในทางท่ีเป็นประโยชน์แก่รัฐ ไม่ว่าจะ เป็นเร่ืองการเมือง หรือการปกครอง เช่น การบริหารราชการแผ่นดิน ควรเป็นไปในรูปใด นัก นติ ิศาสตร์จึงจาํ เป็นที่จะตอ้ งศกึ ษาถงึ เรอ่ื งของรัฐและสงิ่ ท่ีเกย่ี วข้องกับรฐั 3. ขอบเขตของกฎหมายมหาชนและการแบง่ ประเภทกฎหมายมหาชน นักนิติศาสตร์ได้แบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนแล้ว ก่อนท่ีจะ ศึกษาถึงขอบเขตของกฎหมายมหาชน และการแบ่งประเภทของกฎหมายมหาชน จึงควรศึกษาถึง ความแตกต่างระหว่างกฎหมายท้ังสองประเภทก่อน แล้วจึงจะได้พิจารณาถึงลักษณะของกฎหมาย มหาชน ฉะน้นั ในเนอ้ื หานจี้ งึ ได้แบ่งออกเปน็ 3 ขอ้ ดงั น้ี คือ (1) ความแตกตา่ งระหวา่ งกฎหมายมหาชนกบั กฎหมายเอกชน ให้พิจารณา ดงั นี้ 1. พจิ ารณาจากเน้ือหาของกฎหมาย กฎหมายมหาชนจะเปน็ เร่ืองทว่ั ๆไป เช่น เร่ืองการ จัดตั้งองค์การของรัฐ หรือเป็นเร่ืองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรัฐ มีลักษณะบังคับ เปลี่ยนแปลง ไม่ได้ กฎหมายนั้นก็เป็นกฎหมายมหาชน นอกจากน้ัน ยังสามารถพิจารณาจากผลประโยชน์หรือ วัตถุประสงค์ท่ีกฎหมายคุ้มครอง ถ้าเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของมหาชน หรือที่เรียกว่า ประโยชน์สาธารณะ กฎหมายน้ันก็เป็นกฎหมายมหาชน เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค แต่ถ้าเป็น การคุ้มครองผลประโยชน์ของเอกชนเป็นส่วนตัว กฎหมายนั้นก็เป็นกฎหมายเอกชน เช่น กฎหมาย แพง่ และพาณชิ ยว์ า่ ด้วยทรพั ย์ อันเปน็ เรือ่ งเกีย่ วกบั กรรมสทิ ธิ์ในท่ีดนิ เป็นตน้ 2. พิจารณาตัวบุคคล หรือตัวการ หรือคู่กรณีในกฎหมาย คือ ถ้าเป็นนิติสัมพันธ์ ระหว่างองค์กรต่างๆของรัฐด้วยกันเอง หรือเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐกับเอกชน เช่น

189 รัฐทําสัญญากับบริษัททางด่วนเพื่อสร้างถนนลอยฟ้า กฎหมายท่เี ก่ียวข้องนั้นกเ็ ป็นกฎหมายมหาชน แต่ถ้าเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง เช่น เอกชนทําสัญญาซ้ือขายกับเอกชน กฎหมายท่ี เกย่ี วขอ้ งน้นั กเ็ ปน็ กฎหมายเอกชน 3. พิจารณาถึงสถานะ ของคู่กรณีในนิติสัมพันธ์น้ันๆหรือรูปแบบนิติสัมพันธ์นั้น ถ้า คู่กรณีหน่ึงมีสถานะเหนอื คู่กรณอี ีกฝ่ายหน่ึง กฎหมายที่ใช้กบั นติ สิ ัมพันธน์ นั้ กเ็ ปน็ กฎหมายมหาชน อีกฝ่ายจะสมัครใจหรือไม่ ไม่สําคัญ เช่น พระราชบัญญัติเวนคืน กฎหมายบางฉบับให้อํานาจฝ่าย ปกครองยึดทรัพยข์ ายทอดตลาด โดยไมต่ อ้ งฟอ้ งศาล แต่ถา้ คกู่ รณีมีฐานะเท่าเทียมกัน เช่น ในสัญญา ที่เอกชนคนหนึ่งทําสัญญาเช่าทรัพย์กับเอกชนด้วยกัน กฎหมายท่ีนํามาบังคับใช้ก็คือ กฎหมาย เอกชน ในท่ีน้ีให้พิจารณาถึงรูปแบบของนิติสัมพันธ์ คือ รัฐมีอํานาจพิเศษ มีเอกสิทธิ์ที่จะออก มาตรการบงั คบั แตฝ่ ่ายเดยี ว เชน่ การออกประกาศต่างๆ เมื่อได้เห็นความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน แล้ว จึงจะเห็น ประโยชน์ในการแบ่งแยกประเภทกฎหมาย ท่จี ะพอสรปุ ได้ คอื (1) การตีความหรอื การแปลกฎหมาย หมายความว่า ถ้าขอ้ ความในกฎหมายได้บัญญตั ไิ ว้ไม่ ชัดเจน จําต้องมีการตีความให้ชัดแจ้ง ถ้าเป็นกฎหมายมหาชน การตีความจะต้องตีความอย่าง เคร่งครัดตามตัวอักษร จะเทียบเคียงไม่ได้ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้ง ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้จะกระทํามิได้ การใช้กฎหมายจะย้อนหลังมิได้ ถ้ามีกฎหมายสองฉบับมีข้อความอย่าง เดียวกัน แต่โทษไม่เหมือนกัน หรือเหมือนกันแต่ไม่เทา่ กัน จะต้องใช้กฎหมายที่มีโทษเบากวา่ หรือ น้อยกว่ามาใช้บังคับ ถ้าการกระทําใดไม่เข้าหลักเกณฑ์ หรือองค์ประกอบของกฎหมายแล้ว จะ ลงโทษผู้ซ่ึงถูกกล่าวหาหรือจําเลยไม่ได้ และในกรณีเป็นท่ีสงสัยจะต้องตีความให้เป็นผลดีแก่ ผู้กระทําความผิดไม่ว่าผู้นั้นอยู่ในฐานะใด เพราะโทษทางกฎหมายมหาชนเป็นโทษท่ีมีลักษณะ รุนแรง เช่น โทษประหารชีวิต จําคุก เป็นต้นส่วนการตีความกฎหมายมหาชน มีหลักว่าศาลจะยก ฟ้องโดยอ้างว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้ ฉะนั้น การตีความแม้ว่ากฎหมาบัญญัติไว้ไม่ชัดแจ้ง จะต้องตีความต่อไป โดยอาศัยเจตนารมณ์ของผู้ร่าง และถ้ายังไม่ได้ความชัด ก็จะต้องตีความอาศัย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น และถ้าไม่มีให้อาศัยบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างย่ิง เป็นต้น ทั้งน้ีเพื่อ ประโยชน์แหง่ ความยุติธรรม (2) การดูช่องว่างของกฎหมาย ถ้าเป็นกฎหมายมหาชนจะต้องอุดช่องว่างโดยกฎหมาย เช่น ตรวจค้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องท่ีมีอยู่ว่ามีบัญญัติไว้หรือไม่ ถ้าไม่มีจําต้องออกกฎหมายมาอุดช่องว่าง นั้น แตถ่ า้ เปน็ กฎหมายเอกชนการอุดช่องว่างของกฎหมายอาจทาํ ได้โดยการใชก้ ฎหมายใกล้เคยี ง ใช้ เจตนารมณข์ องกฎหมาย ใช้จารีตประเพณที อ้ งถ่นิ เป็นต้น

190 (3) ประโยชน์ในการนําคดีสู่ศาล หากมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นตามกฎหมายเอกชน จะต้อง ดําเนินคดีในศาลปกติ เชน่ ศาลแพง่ แต่ถ้ามขี อ้ ขดั แย้งเกิดข้ึนตามกฎหมายมหาชน จะตอ้ งดาํ เนินคดี ในศาลเฉพาะ เชน่ ศาลอาญา ศาลภาษอี ากรเปน็ ต้น (4) การแก้ไขเปล่ียนแปลงกฎหมายเอกชน อาจทําได้เม่ือคู่สัญญายินยอม และมีบท สนั นิษฐาน แตถ่ ้าเป็นเร่ืองกฎหมายมหาชน จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ก็โดยกฎหมายเท่านั้น และจะมี การสนั นษิ ฐานไมไ่ ด้ (5) ในการดําเนินการพิจารณา จะพบว่าหากเป็นเรื่องเก่ียวกับกฎหมายเอกชนแล้ว วิธี พจิ ารณาใชร้ ะบบกลา่ วหา แตถ่ ้าเปน็ เร่ืองเกี่ยวกบั กฎหมายมหาชนจะใชร้ ะบบไต่สวน (6) เพอ่ื ความสะดวกในด้านวิชาการ เช่น ในการเรยี นการสอน (7) กฎหมายมหาชนให้โอกาสประชาชนตรวจสอบการกระทําของเจา้ หนา้ ทีไ่ ด้ (2) ลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กําหนดกลไกของรัฐและการปกครอง รวมตลอดถึงการ เคารพและคุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อวางระเบียบของสังคม เพ่ือให้ประชาชนอยู่ ร่วมกันโดยความสงบเรียบร้อย จึงกล่าวกันว่า เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรอื ระหวา่ งหน่วยงานของรัฐ หรือระหวา่ งรัฐกับเอกชน ในฐานะท่รี ฐั หรอื หน่วยงานของรฐั มีฐานะ เหนือราษฎร นอกจากนัน้ กฎหมายมหาชนยังรวมถึงกฎหมายทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั องคก์ รของฝ่ายปกครอง การจดั ระเบยี บบริหารราชการ ไมว่ ่าจะเป็นส่วนกลาง ส่วนภมู ิภาคหรือสว่ นท้องถน่ิ ตลอดจนระบบ เจ้าหน้าที่ เป็นกฎหมายท่ีมีเนื้อหาเป็นลักษณะทั่วไป ปราศจากการระบุตัวบุคคลใดบุคคลหน่ึง โดยเฉพาะ เร่ืองลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชนนี้ จะขอแบ่งพิจารณาเปน็ 6 ขอ้ คอื 1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ใช้กับนิติบุคคล และองค์กรต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล หรือองค์กรตามกฎหมายมหาชน นิติบุคคลหรือองค์กรตามกฎหมายเอกชน และบุคคลธรรมดา ก่อนอ่ืนนักศึกษาต้องทําความเข้าใจว่า นิติบุคคล ว่าหมายความว่าอย่างใด เราทราบแล้วว่า บุคคล นนั้ คือสิง่ ท่มี สี ทิ ธแิ ละหน้าที่ได้ตามกฎหมาย มีสภาพบคุ คลที่เร่มิ แตเ่ มอ่ื คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเม่ือตาย ส่วนนิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น ให้มีสิทธิและหน้าท่ีได้บาง เรอื่ ง กฎหมายท่กี ําหนดให้กลุ่มบุคคล กองทรัพย์สนิ หรือสถานที่พร้อมกลุม่ บุคคล เปน็ นติ บิ คุ คล มี หลายฉบบั แต่ฉบับทีเ่ ปน็ หลกั ทั่วไปไดแ้ ก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ยท์ ี่บัญญัติว่า นิติบคุ คล จะมีข้ึนได้ก็แต่โดยอาศัยอํานาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอ่ืน กฎหมายอ่ืนท่ีกําหนดให้ หน่วยงานของรัฐบาลเป็นนิติบุคคล เช่น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัติธนาคารแห่ง ประเทศไทย จึงเกิดปัญหาว่า นิติบุคคลท่ีต้ังขึ้นตาม ป.พ.พ. เป็นนิติบุคคลเอกชนหรือนิติบุคคล มหาชน ทําให้เกิดความสับสน อย่างไรก็ตามนักศึกษาจะต้องระลึก่อนท่ีจะมี ป.พ.พ.นั้น เรามีการ

191 ปกครองแบบสมบูรณาญาสทิ ธิราชย์ กระทรวง ทบวง กรม ข้ึนอยู่กับพระมหากษัตริย์ มีการยอมให้ ฟ้องส่วนราชการในสมัยน้ันได้ แต่ส่วนราชการเป็นอิสระมาเป็นจําเลยหรือไม่ก็ได้ ถ้ามาศาลก็ พิจารณาไปได้เช่นบุคลธรรมดา แต่ถ้าไม่มาศาลก็ไม่อาจบังคับได้ ต่อมาเม่ือมี ป.พ.พ. แล้ว กระทรวง ทบวง กรม แยกออกจากพระมหากษตั ริย์ แต่ก็คงมีหลักเดิม คือ จะมาเป็นจําเลยหรือไมก่ ็ ได้ จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญ 2492 มีการยอมรับในสิทธิของบุคคลจะฟ้องส่วนราชการที่เป็นนิติ บุคคลได้ สรุปรวมความว่า นติ ิบคุ คลตัง้ แต่มกี ฎหมายรัฐธรรมนูญเมื่อถกู ฟ้องต้องมาเป็นจาํ เลยเสมอ จะปฏิเสธไม่ได้ เราจะมามองว่านิติบุคคลเหล่าน้ัน เป็นนิติบุคคลมหาชนหรือนนิติบุคคลเอกชน จะต้องพิจารณา ดู ดังนี้ 1. การจัดต้ังนิติบุคคล คือ นิติบุคคลเกิดขึ้นโดยกฎหมายเอกชน หรือ กฎหมายมหาชน ถ้าเกิดโดยกฎหมายมหาชน นิติบุคคลน้ันกเ็ ป็นนติ บิ ุคคลมหาชน 2. การดาํ เนนิ การ ของนติ ิบคุ คลเป็นการดําเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์หรือไม่ และ 3. บคุ คลทั่วไปหรอื ผู้ปกครอง รฐั มสี ว่ นเข้าร่วมจัดการนติ บิ ุคคลนั้นหรอื ไม่ ความแตกต่างระหว่างนติ ิบุคคลมหาชนกับนิติบุคคลเอกชนมคี วามสาํ คัญโดยย่อ ดังนี้ 1. สิทธิบางประการผู้ใช้อํานาจบริหารนิติบุคคลมหาชน มีได้ แต่นิติบุคคลเอกชนมีไม่ได้ เชน่ การเกบ็ ภาษี การเวนคนื 2. ฐานะของนิติบุคคลมหาชนไม่เท่ากัน เช่น รัฐมีฐานะเหนือกว่ากระทรวง แต่ฐานะของ นิติบุคคลเอกชนเทา่ กัน เช่น บริษทั จาํ กดั 3. การจัดต้ังและยกเลิกบุคคลมหาชน ต้องกระทําโดยกฎหมารยเฉพาะเป็นรายๆไป แต่ การจัดตั้งและการยกเลิกนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน กระทําได้ตามท่ีกําหนดไว้ในประมวล กฎหมายแพง่ และพาณิชย์ประกอบด้วยเจตนารมณ์ของผกู้ อ่ ตงั้ 2. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายท่ีมีข้ึนเพื่อสาธารณประโยชน์ หมายความว่า เป็น กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารงานท่ีดี จัดระเบียบสังคมให้เรียบร้อย เพื่อเกิดความผาสุก กับประชาชนท่ัวไปในสังคม ให้ประชาชนได้รับความพอใจ ซ่ึงเอกชนจะสมัครใจหรือไม่สมัครใจ ไม่ใชค่ วามประสงค์ของกฎมายมหาชน กฎหมายมหาชนมีข้ึนเพื่อส่วนรวม ไม่หวังผลกําไรจากการ ดําเนินการ เช่น ฝ่ายปกครองเขา้ ไปทาํ สญั ญาก่อสร้างอาคาร มีวัตถุประสงค์ก็เพ่อื สถานที่ใชส้ ําหรับ การบรหิ ารงาน ตา่ งกับกฎหมายเอกชน เพราะเม่อื เอกชนเข้าไปทําสัญญาก่อสรา้ ง วตั ถุประสงคก์ ็คือ เพ่ือหากาํ ไรหรือหาผลประโยชน์ในอาคารนั้น แมค้ วามจริงบางอย่างหน่วยงานของรัฐ อาจมีการซ้ือ ที่ดินไว้มากๆ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย แต่ก็ซื้อเพ่ือดําเนินงานในกิจการของรถไฟ เพื่อ ส่วนรวมและบังเอิญวัตถุประสงค์ของกิจการนั้นขาดทุน ก็จําต้องขายที่ดินให้กับหน่วยงานอ่ืน ได้ กําไรจากท่ีดินที่ซ้ือไว้ เพ่ือไปลงทุนด้านรถไฟต่อซ่ึงไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักในขณะท่ีซ้ือ บางครั้ง วัตถุประสงค์ของเอกชนก็อาจมีเพ่ือสาธารณประโยชน์ได้เช่นกัน เช่น มูลนิธิ แต่เป็นเร่ืองท่ีเอกชน

192 สมัครใจ แต่ถ้าเป็นเรื่องของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐแล้วจะถือว่าเอกชนสมัครใจไม่ได้ จะต้องเป็น เรื่องทเ่ี ก่ียวกับสาธารณะประโยชน์ทงั้ สิน้ 3. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายท่ีไม่เสมอภาค คือ กฎหมายมหาชนไม่ก่อนิติสัมพันธ์ท่ี ต้ังขึ้นบนพ้ืนฐานของความเสมอภาค ซ่ึงต่างกับกฎหมายเอกชนท่ีต้ังขึ้นบนพ้ืนฐานของความเสมอ ภาคระหว่างเอกชนด้วยกนั กฎหมายมหาชนมลี ักษณะบังคับ เพราะวตั ถปุ ระสงค์เพอ่ื จดั ระเบียบของ สังคม ให้อํานาจเจ้าหน้าท่ีของรัฐ เพ่ือดําเนินการ เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับนิติบุคคลธรรมดาจะทําการ ซ้ือขาย ถ้าฝ่ายหน่ึงไม่ประสงค์จะทําสัญญาหรือนิติกรรมใดๆ จะไปบังคับให้เขาทําไม่ได้ เช่น ก. ตอ้ งการซ้ือท่ีดินจาก ข. จะบังคับให้ ข. ขายไม่ได้ หรอื จะใชอ้ บุ ายหลอกลวงให้ ข. ทาํ สญั ญาซ้ือขาย ก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะถ้าทําแล้วสญั ญาก็จะไมส่ มบูรณ์เป็นโมฆียะ แต่ถ้ารัฐต้องการที่ดินจากเอกชน เม่ือขอซ้ือแล้วเอกชนไม่ขาย รัฐก็จะออกกฎหมายเวนคืน แต่ทั้งนี้ รัฐจะต้องนําที่ดินนั้นไปใช้เพ่ือ สาธารณะประโยชน์ และต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับเจ้าของท่ีดินด้วยความเป็นธรรม จะเห็นได้ว่า แมเ้ จา้ ของไมย่ อมขายแตก่ จ็ ําใจตอ้ งขาย ฉะนั้น กฎหมายมหาชนจึงสรา้ งความไมเ่ สมอภาค 4. เพ่ือขจดั ความขัดแย้ง การใชอ้ าํ นาจปกครองต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน 5. ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหาร เช่น มีส่วนร่วมว่าจะรับร่างกฎหมายฉบับใด ฉบับ หน่ึงหรือไม่ 6. การแบ่งแยกอํานาจปกครองต้องตรวจสอบได้ เช่นมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการ ภายในหน่วยงานปกครองน้ัน และองค์กรอิสระท่ีจัดต้ังขึ้นมาตรวจสอบการใช้อํานาจของฝ่าย ปกครอง 4. ประเภทของกฎหมายมหาชน ก่อนที่จะไปทําความรู้จักกับประเภทของกฎมายมหาชนนั้น นักศึกษาจําต้องรู้ว่า นัก นิติศาสตรใ์ นระบบกฎหมาย Positive Law เทา่ นนั้ ท่ไี ดแ้ บง่ ประเภทของกฎหมาย ในระบบกฎหมาย Common Law ไม่มีการแบ่งประเภทของกฎหมาย ยิ่งกว่าน้ันนักกฎหมายในระบบ Common Law ยังเห็นว่า การแบ่งประเภทของกฎหมายน้ันเป็นไปไม่ได้ เพราะกฎหมายย่อมเกี่ยวโยงกันแต่นัก นิติศาสตร์ในระบบ Positive Law ยังเห็นว่ากฎหมายนั้นแบ่งแยกประเภทได้ประเภทได้ และควร แบ่งประเภท เพราะการตีความการอุดช่องว่างไม่เหมือนกัน การแบ่งประเภทของกฎหมายน้ีมีอยู่ หลายวิธี แตม่ ี 2 วธิ ีทแี่ พร่หลายและยอมรับกนั ท่ัวไป คือ 1. แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลกั ษณะการใช้ คือ คํานงึ ถงึ การใช้กฎหมายเป็นหลัก การแบง่ ตามวธิ นี ี้ได้แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ

193 1.1 กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายท่ีบัญญัติว่าการกระทําใดเป็นความผิดและ กําหนดโทษไว้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ซ่ึงถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน หรือถ้าเป็นกฎหมายท่ี บัญญตั ถิ งึ สิทธแิ ละหน้าทข่ี องบุคคล เชน่ ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ถอื วา่ เปน็ กฎหมายเอกชน 1.2 กฎหมายวิธสี บญั ญัติ คอื กฎหมายท่ีกาํ หนดวา่ เม่ือมีการกระทําความผิดเกิดข้นตาม กฎหมายสารบัญญัติแล้ว จะนําตัวผู้กระทําความผิดมาลงโทษได้อย่างําร เช่น ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถือว่าเป็นกฎหมาย เอกชน เพราะถือว่าเปน็ เร่ืองการดําเนินการของรฐั 2. แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามข้อความของกฎหมาย มีนักกฎหมายหลายท่านเรียก การแบ่งตามลักษณะนี้ว่า แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี การแบ่งตามาวิธีน้ีได้แบ่ง กฎหมายออกเปน็ 3 ประเภท คอื 2.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายท่ีกําหนดสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่าง เอกชนต่อเอกชน หรือต่อรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เม่ือรัฐหรือหน่วยงานของรัฐนั้นลดตัวมาเท่า เอกชน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเอกชน เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ ได้แก่ ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นต้น สําหรับประมวล กฎหมายวิธพี ิจารณาความแพ่ง ไดม้ ีอาจารยบ์ างท่านมีความเห็นว่าเป็นกฎหมายเอกชน แตแ่ นวโน้ม ในปัจจบุ นั นี้เหน็ ว่าเป็นกฎหมายมหาชน 2.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือ หน่วยงานของรัฐ เพื่อจัดระเบียบภายในรัฐ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง และ กฎหมายเศรษฐกิจการคลัง เป็นต้น นอกจากน้ันกฎหมายมหาชน ยังได้แก่กฎหมายที่บัญญัติการ กระทําใดว่าเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา สําหรับประมวลกฎหมายอาญาน้ัน บางประเทศไม่ถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน และกลา่ วว่าถ้าเปน็ กฎหมายมหาชนก็ถอื วา่ เป็นกฎหมายมหาชนทม่ี ลี กั ษณะพเิ ศษ 2.3 กฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎเกณฑ์ต่างๆที่มีอยู่โดยจารีตประเพณี หรือความ ตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน แบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ กฎหมายระหว่าง ประเทศแผนกคดเี มือง คดบี คุ คล และคดีอาญา นักนิติศาสตร์ท่านได้แบ่งแยกโดยพิจารณากฎหมายว่า กฎหมายใดมุ่งถึงประโยชน์ สาธารณะ กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐหรือองค์กรของรัฐกับเอกชนและสถานะ คู่กรณีว่าไม่เท่าเทียมกัน กฎหมายนั้นเป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายใดมุ่งถงึ ประโยชน์ระหว่าง เอกชน ในฐานะเทา่ เทยี มกัน กฎหมายนัน้ เปน็ กฎหมายเอกชน

194 กฎหมายมหาชนน้นั ยังมผี ูแ้ บง่ ยอ่ ยออกไปหลายอยา่ งดว้ ยกัน เช่น แบ่งเป็นกฎหมายมหาชน ภายใน เช่น กฎหมายปกครอง กฎหมายการคลัง และกฎหมายมหาชนภายนอก เช่น กฎหมาย ระหว่างประเทศ ซึ่งแบ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง คดีบุคคล และคดีอาญา แต่ ผูเ้ ขียนจะกลา่ วถึงแต่เฉพาะกฎหมายมหาชนภายในประเทศเทา่ นั้น 5. ท่มี าของกฎหมาย ท่ีมาของกฎหมายน้ัน มีหลายประการแตกต่างกันตามลักษณะของกฎหมายและสิ่งท่ีเป็น กําหนดข้ึนของการเปล่ียนแปลงและวิวัฒนาการ โดยทั่วไปแล้วท่มี าของกฎหมายมีอยู่ 9 ประการ 1. ความเช่ือคณุ งามความดี 2. จารตี ประเพณี 3. คําตดั สินพิพากษาของศาล 4. ฝา่ ยนติ ิบัญญตั ิ 5. รัฐธรรมนูญ 6. ขอ้ ตกลงสนธิสัญญา 7. คาํ ประกาศและข้อบังคบั หรือขอ้ กําหนดของฝ่ายบริหาร 8. คาํ บรรยาย ความคดิ เห็นของนกั นติ ศิ าสตร์ 9. การประมวลกฎหมาย สํานักเยอรมนั กลา่ ววา่ ท่มี าของกฎหมายมาจาก 1. กฎหมายลายลกั ษณ์อักษร 2. กฎหมายจารตี ประเพณี สาํ นักฝรง่ั เศสกลา่ ววา่ กฎหมายมีท่มี าจากตัวบทกฎหมาย จารีตประเพณี สาํ นักองั กฤษ กล่าววา่ ตวั บทกฎหมาย จารีตประเพณี ศาสนา ความยตุ ธิ รรม ความเห็นของ นกั ปราชญก์ ฎหมาย คําพพิ ากษา (1) เจตนารมณ์ของการบัญญัตกิ ฎหมาย ฉะนั้น การท่ีรัฐหรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติต้องบัญญัติกฎหมายขึ้นมา ก็ด้วยมีเจตนารมณ์ จะให้เป็นเกณฑ์ หรือมาตราการ (Measure) ที่เกิดความเป็นธรรม และยุติธรรมในสังคม กฎหมายท่ี กาํ หนดขึ้นมานเ้ี รียกว่า กฎหมาย สรปุ ไดว้ ่า เจตนารมณ์ของการบัญญัตกิ ฎหมายขึน้ กเ็ พือ่ 1. ให้เกิดความเปน็ ธรรมในสงั คม

195 2. เป็นข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้ประพฤติอยู่ในกรอบกฎหมายกฎ เดียวกัน 3. ต้องการให้เกดิ ความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม (2) ประเภทของกฎหมาย กฎหมายแบง่ ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1. กฎหมายเอกชน 2. กฎหมายมหาชน 3. กฎหมายระหวา่ งประเทศ สาํ หรบั บทความน้ีมงุ่ ศึกษาเฉพาะกฎหมายมหาชน กฎหมายสาธารณะ แทนคาํ วา่ กฎหมาย มหาชน กฎหมายสาธารณะ ได้แก่ กฎหมายที่กําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของ รัฐ กับประชาชน ในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครอง กล่าวคืออํานาจรัฐนั้นประชาชนจะต้องยอมรับว่ามี อํานาจเหนอื ประชาชน กฎหมายสาธารณะ แบง่ ออกเปน็ 6 สาขา คือ 1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2. กฎหมายปกครอง 3. กฎหมายอาญา 4. กฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม 5. กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง 6. กฎหมายว่าดว้ ยวิธีพจิ ารณาความอาญา (3) สมฏุ ฐานของโทษทางกฎหมายบ้านเมอื ง รัฐมีหน้าที่ลงโทษผู้กระทําผิดเพื่อประโยชน์แก่สังคม ท้ังนี้ด้วยมีมูลเหตุมาจากความรู้สึก ของประชาชนผู้สุจรติ ท่ีเกดิ ความหวาดระแวงวิตกกังวลถึงภยั ท่ีจะมาถงึ ตน ความรสู้ กึ ประชาชนอัน เป็นมลู เหตุให้รัฐลงโทษผ้กู ระทําผิด ประมวลได้ 3 ประการ คอื 1. ความกลัว (ของประชาชน) ท่ีเห็นความผิดเช่นน้ันเกิดขน้ึ อีก กล่าวคือ ประชาชนไม่ยาก เห็นความผิดน้ันๆ เกิดข้ึนซํา้ สองโดยผู้กระทําผดิ คนเดยี วกัน 2. ความเกลียดชังและรังเกียจในตัวผู้กระทําผิด เพราะบุคคลผู้ประพฤติช่ัวเป็นผู้ขาด ความรู้สึกอันดใี นหลักศีลธรรม ย่อมเปน็ ท่รี งั เกียจและเปน็ ท่ีเกลียดชังของประชาชนทวั่ ไป

196 3. ความประสงค์ที่แก้แค้น ดังเคยปรากฏว่าถูกกลุ่มรุมทําร้ายอย่างสาหัส การลงโทษ ผกู้ ระทําผิดใหไ้ ด้รบั ทกุ ข์ทรมานเสียบา้ ง จึงเปน็ การบรรเทาความเคอื งแคน้ ของประชาชน อย่างไรกต็ าม ความรู้สึกที่ดีบางประการของมนุษย์ที่คอยขวางกัน และผ่อนคลายความรู้สึก เคียดแคน้ ชิงชังใหเ้ บาลง คือ 1. มนุษยธรรม เมตตาธรรม และความกรณุ า 2. ความยุตธิ รรม (4)การลงโทษผกู้ ระทาํ ความผดิ ตามกฎหมายทําใหเ้ กิดผล 2 ประการ หากผกู้ ระทาํ ผิดแตไ่ ม่มกี ารลงโทษ โดยอาศยั มาตรการทางกฎหมาย สังคมก็จะไมเ่ กิดสันติ สุข ฉะนั้น จึงบัญญตั กิ ฎหมายลงโทษผูก้ ระทําผิดตามควรแกก่ รณี ซึง่ การลงโทษผกู้ ระทําผิดนี้ทําให้ เกิดผล 2 ประการ คอื 1. เปน็ การคุ้มครองหรือแกป้ ัญหาสังคม (Curitive) 2. เปน็ การคมุ้ ครองสงั คมให้เกิดสนั ตสิ ขุ (5)หลกั สาํ คญั ท่รี ฐั จําตอ้ งเข้าแทรกแซงในการลงโทษผูก้ ระทําผิดกฎหมาย การที่รัฐต้องเข้าแทรกแซง โดยบัญญัติกฎหมายลงโทษผู้กระทําผิด เพ่ือเกิดความสงบ เรียบร้อยในสังคม กโ็ ดยึดหลกั 3 ประการ 1. หลักยุติธรรม 2. หลักป้องกนั สังคม 3. หลักผสม หลกั ยุติธรรม รัฐถือว่าผู้กระทําผิดตอ้ งไดร้ ับโทษ หลักป้องกันสังคม นักนิติศาสตร์เห็นว่าสังคมหรือบ้านเมือง จะต้องป้องกันสังคมจาก ผู้กระทําผิด โดยกันเอาตัวผู้กระทําผิดไปไว้ในท่ีๆจะไม่สามารถทําอันตรายแก่สังคม เพื่อความ ปลอดภยั ของประชาชนโดยวางวิธีการตอบแทนผกู้ ระทําผิดไว้ ดงั น้ี 1. ลงโทษใหเ้ ป็นทหี่ วาดกลวั 2. ป้องกันผ้รู า้ ยทีไ่ ม่มีความเกรงกลัวทจี่ ะรบั โทษ 3. เป็นการดัดนิสยั ผูร้ ้ายให้กลับตวั เป็นคนดี หลกั ผสม เป็นหลกั ผสมระหว่างหลักความยตุ ธิ รรมและหลกั ป้องกันสังคม เพอ่ื ความจําเป็น ของรฐั ทจี่ ะตอ้ งลงโทษผูก้ ระทําผดิ เพอื่ รักษาความยตุ ิธรรม

197 (6)สภาพบังคบั ของกฎหมายสาธารณะ สภาพบงั คบั ของกฎหมายสาธารณะ กําหนดโทษไวเ้ ป็น 5 สถาน 1. ประหารชวี ติ 2. จําคกุ 3. กักขัง 4. ปรับ 5. รบิ ทรัพย์ (7)หลกั เกณฑใ์ นการยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมาย กฎหมายบ้านเมอื งน้ัน หากไมม่ กี ฎหมายฉบับอ่นื บัญญัติข้ึนมากถ็ ือว่ากฎหมายฉบับนั้นยังอยู่ กฎหมายหากลา้ สมัย ไม่เหมาะสมกับสภาพของคดีท่เี กิด และกาลเทศะกม็ ีการแก้ไขยกเลิก ได้มี 4 วิธีคอื 1. การยกเลิกโดยตรง 2. การยกเลิกโดยปริยาย 3. การยกเลิกโดยคณะตลุ าการรฐั ธรรมนญู 4. การยกเลกิ โดยคาํ พพิ ากษาของศาล 6. กฎหมายมหาชนตามแนวพทุ ธศาสตร์ เน้ือหาสาระได้นําเอาพระธรรมวินัยในพุทธศาสนามาเทียบเคียงว่ามีลักษณะเหมือน ใกล้เคียง หรือแตกต่างกันอย่างไร เร่ืองที่มา วัตถุประสงค์ ลักษณะของพระวินัย ตลอดจนสภาพ บังคับและสงั คมโดยส่วนรวม ในทางพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน การที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ข้ึนก็เพ่ือความ ผาสกุ และความสงบเรียบร้อยดงี ามแหง่ สงฆ์ เพอื่ กาํ หราบผมู้ ีความประพฤติทราม ในทางพุทธศาสนามีทั้งคําสั่ง (พระวินัย) และคําสอน (พระธรรม) ในข้อท่ีพึงกระทําและ ข้อหา้ มทมี่ ีความละเอยี ดออ่ นและลึกซงึ้ ในทางพุทธศาสนาว่ามีความหมายอยา่ งไร ทั้งน้ีเพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของบ้านเมือง ความหมายของคําวา่ วนิ ยั จากแหลง่ ตา่ ง ๆ มาพจิ ารณาดงั นี้ 1. ในพจนานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจัน บุรีนฤนาถ พิมพ์เม่ือ พ.ศ. 2512 สรุปได้ความว่า วินัย คือ การฝึกและเป็นช่ือของคัมภีร์ทางพุทธ สาสนา (พระวนิ ัยปฎิ ก)คัมภีร์หนง่ึ 2. ในพจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2493 ใหค้ วามหมายวา่ การอยูใ่ นระเบยี บ

198 3. แบบแผนและข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ พระวินัยเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เรียกว่า พระวินยั ปฎิ ก อย่างหน่งึ พระวนิ ยั หมายถึง สิกขาของพระสงฆ์ 4. ในตําราบาลีไวยากรณ์ ว่าด้วยวจีภาค ภาคที่ 2 กล่าวถึงอาขยาต และกิตก์ ได้วิเคราะห์ วินัยว่า วิเนต-ิ ติ วนิ โย (บณั ฑติ ) 5. ใน พระไตรปิฎกเล่มท่ี 10 ข้อ 141 หน้า 178 ความหมายว่า วินัยไว้ส้ันๆ ว่า หมายถึง ข้อบัญญัติท่วี างไวเ้ ป็นหลกั กาํ กบั ความประพฤตใิ ห้เป็นระเบียบเรยี บร้อยเสมอกัน สรุปความหมายว่า วินัยในพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล คือ หลักหรือข้อกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ นักบวช (สมณะหรอื สงฆ)์ วินัยนี้หากนักบวช คือ สมณะ หรือสงฆ์(ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี)ไม่ ปฏิบัติ วินัยท้ังท่ีเป็นข้อห้าม และทเ่ี ป็นข้ออนุญาต(คาํ สงั่ ให้ปฏบิ ัต)ิ วนิ ยั ขอ้ บงั คับของนกั บวชทางพุทธศาสนาน้ัน มีทัง้ ขอ้ ห้ามไม่ให้กระทํา ตัวอยา่ งทีเ่ ปน็ ขอ้ ห้าม เชน่ หา้ มฆ่ามนษุ ย์ หา้ มลักทรัพย์ ห้ามยุยง ให้สงฆแ์ ตกแยกกนั กฎหมายของบ้านเมืองก็มีลักษณะคลา้ ยกับวินัยนักบวช ในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ มีทั้ง ที่เป็นข้อหา้ ม และขอ้ บังคบั ใหก้ ระทํา ตวั อยา่ งที่เปน็ ข้อบังคับให้กระทาํ เชน่ ห้ามฆา่ มนุษย์ หา้ มลักทรพั ย์ ห้ามฉอ้ โกง เป็นต้น ข้อห้ามตามมาตรา 374 แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า ผู้ใดเห็นผู้อ่ืนตกอยู่ใน อันตรายแหง่ ชีวติ ซง่ึ ตนอาจช่วยได้ แตไ่ ม่ชว่ ยตามความจําเป็นตอ้ งโทษจาํ คกุ ไม่เกิน หน่งึ เดอื น หรือ ปรบั ไมเ่ กนิ หน่งึ พันบาท หรือท้ังจําท้ังปรบั พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยไว้สําหรับความประพฤติและเพ่ือประสานสามัคคี การที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัย ก็เพ่ือต้องการบริหารสงฆ์ หากสงฆ์ไม่มีพระวินัยเป็นเครื่อง ควบคมุ ความประพฤติกจ็ ะมีศลี (วนิ ยั ) ไม่เสมอกัน จาํ แตกสามคั คีกนั ประโยชนข์ องการบญั ญัติสิกขาบท ในอัรถวเสกรณก์ ลา่ วไว้ในพระไตรปิฎกฉบับสาํ หรบั ประชาชน เพอ่ื ประโยชน์ 10 ประการ 1. เพอ่ื ความดีงามแหง่ สงฆ์ 2. เพ่ือความผาสุกแหง่ สงฆ์ 3. เพื่อขม่ คนทเี่ ก้อยาก (หนา้ ดา้ น) 4. เพอื่ อยสู่ บายของภิกษุผู้มศี ีลเป็นทีร่ กั 5. เพื่อป้องกนั อาสวะ (กิเลสที่หมกั หมมในจติ )ปัจจุบนั 6. เพอื่ ป้องกันอาสวะในอนาคต

199 7. เพอ่ื ความเลอื่ มใสของคนทย่ี งั ไมเ่ ลื่อมใส 8. เพ่ือความเลื่อมใสยิง่ ขนึ้ ของผูเ้ ล่อื มใสแลว้ 9. เพ่อื ความต้งั มั่นแห่งพระสัทธรรม 10. เพ่ืออนเุ คราะหพ์ ระวนิ ยั 7. ความเป็นมาของการบญั ญัตพิ ระวินัย พระสารีบุตรกราบทูลพระพทุ ธเจา้ ใหท้ รงบัญญตั พิ ระวินัย มีความในเวรัญกัณฑ์แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาในช้ัน แรกๆนั้น พระสารีบุตร ธรรมเสนาบดี (แม่ทัพใหญ่กองทัพธรรม) ฝ่ายขวาได้กราบทูลขอให้ พระพทุ ธเจ้าทรงบญั ญัติพระวนิ ัย (กฎหมายสงฆ์) เพ่อื ความม่ันคงดาํ รงอย่แู หง่ พทุ ธศาสนา แตพ่ ระพุทธเจ้าตอบว่า ยงั ไมถ่ ึงเวลาเพราะพระสงฆย์ งั มีน้อยลาภสักการะก็ยงั ไม่มาก กเิ ลส ที่ดองสันดาน (อาสวะ) ในพระสงฆ์ก็ยังไม่ปรากฏจึงยังไม่ต้องบัญญัติพระวินัยต่อเม่ือมีพระสงฆ์ มาก ลาภสักการะมีมาก กิเลสดองสันดาน (อาสวะ) ปรากฏในหมู่สงฆ์แล้งจึงสมควรบัญญัติพระ วินัย (พระไตรปฎิ กฉบบั สยามรัฐ, 2523) จากใจความพระวินัยมีความสําคัญมาก จนทําให้พระสารีบุตรวิตกว่าหากพระพุทธเจ้าไม่ บัญญัติพระวนิ ัยเพ่ือเป็นข้อบงั คับของพระภิกษสุ งฆ์แล้ว พระพุทธศาสนาจะต้ังอย่ไู มไ่ ด้ เพราะไม่มี หลักเกณฑอ์ ะไรเปน็ เคร่ืองยึดเหนย่ี วหรือเปน็ เกณฑต์ ดั สนิ เม่อื มีคดี (อธิกรณ)์ เกดิ ข้นึ (1) ประเภทของวนิ ยั ในทางพุทธศาสนา วินัยคือ กฎหมายที่สาวกของพระพุทธเจ้าต้องประพฤติปฏิบัติ แบ่ง ออกเปน็ 2 ประเภท ดงั น้ี 1. วินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรี เรียกว่า วินัย หรือศีล ของผไู้ มค่ รองเรอื น (อนาคารยิ วนิ ยั 2. วินัยหรือศีลของฆราวาส คือ ผู้ครองเรือน (อาคาริยวินัย) เช่น อุบาสก อุบาสิกา หรือ ประชาชนท่วั ไปท่นี บั ถือพระพุทธศาสนา เช่น ศลี 5 (นติ ยศลี ) และศลี 8 (อโุ บสถศีล) ในโลกแห่งพระพุทธศาสนา หากแบ่งประชากรออกไปก็น่าจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ 1. ในโลกของกาสวพัสตร์ คือ โลกของสงฆ์ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากโลกอีกโลกหนงึ่ (โลกประเภทที่ 2)

200 2. โลกของชาวบ้าน (อุบาสก อุบาสิกา) เป็นโลกของปุถุชนคนธรรมดาสามัญท่ัวๆไป ไม ไดถ้ ือเพศเป็นนกั บวช (2) สภาพบังคับ การทําผิดวินัยในส่วนของชาวบ้านนั้น เป็นสภาพบังคับที่มองไม่เห็นเป็นวัตถุ แต่เป็น สภาพบังคับที่เป็นธรรม (Abstract) เป็นสภาพบังคับท่ีถูกสังคมตําหนิติเตียน ได้รับความเดือดร้อน ทางจติ ใจ คิดถงึ ความผดิ ขน้ึ มาเมอ่ื ใดกย็ ่อมได้รับความไมส่ บายใจเพราะเป็นความผดิ ที่เกิดกบั ใจ ความผิดท่ีเกิดข้ึนทางโลก เป็นวัชชะ เป็นโทษทางโลก เช่น ฆ่ามนุษย์ตายแต่บุคคลอาจพน้ ผิดโดยตอ่ สูท้ างศาลสถิตยตุ ิธรรม และหลุดพน้ คดี เพราะหลกั ฐานอ่อน การทําช่ัวทําบาปทาํ ผิดวินัย ผดิ ศีลของชาวบ้าน แม้จะไม่มีคกุ มีตะรางสําหรบั ควบคุมกักขัง หรือมีการปรับไหมลงโทษ แต่ผู้กระทําผิดย่อมจะเดือดร้อนเศร้าหมองทั้งในปัจจุบันและอนาคต ความสาํ นึกในความผดิ น้ันย่อมบบี คั้นจิตใจของผูน้ ัน้ อยู่ตลอดเวลา มีนักนิติศาสตร์ (Jurists) และนักกฎหมาย (Lawyers) อีกบางท่านที่เข้าใจว่าการทําผิดทาง ศาสนาคงไปรอรบั ใชผ้ ลแห่งการกรทาํ ในชาตหิ น้า 8. วิธบี ญั ญตั พิ ระวนิ ัย พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นไว้ล่วงหน้าก่อนจะมีกรณี (อธิกรณ์) เกิดข้ึนจะทรง บญั ญัตติ อ่ เมือ่ มีคดเี กดิ ขน้ึ แลว้ เช่น เม่ือจะทรงบัญญัตอิ าบัติปาราสกิ ขาบทท่ี 3 (ตติยปาราชกิ กณั ฑ์) การบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้าจะทรงกระทําในท่ามกลางสงฆ์ มีการไต่สวน สอบสวน ความผดิ แล้วจึงจะบญั ญตั ิโทษ ตามตัวอย่างเป็นการฆ่ามนุษย์ธรรมดาซ่ึงเป็นบุคคลอ่ืน แต่หากภิกษุฆ่าบิดามารดาพระ อรหันต์ นอกจากจะต้องอาบัติปาราชิกขาดความเป็นภิกษุแล้ว เช่น พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพระเจ้าพมิ พิสารผู้เปน็ พระราชบิดา สําหรับในสังคมก็ได้รับการตเิ ตียน ได้รบั การรงั เกยี จจากสังคม ในกฎหมายบ้านเมือง (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289) ก็บัญญัติเพิ่มโทษผู้ฆ่าบุรพการี หนกั ขึน้ เชน่ เดียวกนั คือต้องระวางโทษประหารชีวติ สถานเดยี ว (1) ผู้ไดร้ ับการยกเว้นไม่ต้องรับโทษตามความผดิ ท่ีกระทาํ ในพระพุทธศาสนา มีขอ้ ยกเว้นเรียกวา่ อนาบตั ิ (คอื การไมต่ อ้ งอาบตั ิ) สําหรบั ภกิ ษุผกู้ ระทํา ผิด เช่น ตัวอย่างภิกษุฆ่ามนุษย์ หรือใช้ให้บุคคลอ่ืน มีภิกษุ 6 ประเภท ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับโทษ ตามสกิ ขาบทน้ี (ตติยปาราชกิ ) คอื


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook