Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทสธรรมล้านนา

เทสธรรมล้านนา

Published by sutthirak147izaak, 2021-09-24 09:02:07

Description: เทสธรรมล้านนา

Keywords: เทสธรรม

Search

Read the Text Version

การใส่บาตรพระอปุ คุตในคนื วันเพง็ พุธ (ขอบคุณภาพจาก นายธงชัย เปาอนิ ทร์) 201

พระครพู ัฒนาธิมุต เจา้ อาวาสวดั อุปคตุ ไดเ้ ล่าว่า๑๘๒ “...ถงึ แมว้ ่าปัญญานันทภกิ ขุ จะปาฐกถาต่อต้านประเพณีตักบาตร วันเพง็ พธุ แตช่ าวล้านนาที่อยู่อ�ำเภอรอบนอก เช่น ดอยสะเกด็ สันทราย สันก�ำแพง เป็นต้น กย็ งั ยึดถอื ปฏบิ ตั กิ นั อยู่ สมยั นัน้ ยงั ไม่ได้ตกั บาตรในบริเวณ วัดอุปคตุ แตท่ �ำรอบๆ ก�ำแพงวดั ประมาณเทย่ี งคืน เขากม็ าจดุ เทียนจดุ ผาง ประทปี ตามรัว้ ก�ำแพงวดั ซ่ึงเป็นกำ� แพงรวั้ เหลก็ แล้วกใ็ ส่บาตรกนั แตย่ งั ไม่ ไดท้ �ำเปน็ พิธกี ารใหญโ่ ต กลางวนั กม็ าไหว้พระสวดมนต์ สว่ นการบิณฑบาต ตอนกลางคนื กม็ ีอยู่ แต่เป็นการใสบ่ าตรนอกวดั มผี ูศ้ รทั ธามาใส่บาตรจ�ำนวน มาก ภายหลังทางวัดเหน็ วา่ เปน็ การล�ำบากสำ� หรบั ญาตโิ ยมผมู้ ีศรัทธา จงึ เปิดประตวู ดั ให้ญาตโิ ยมมาใส่บาตรภายในวดั โดยมพี ระเณรในวดั ออกมา รับบณิ ฑบาต พอนานไปก็เรมิ่ เปิดวิหารให้มีการไหวพ้ ระรบั ศลี ตัง้ แต่น้ันมาก็ เริ่มประกอบพธิ กี ารอยา่ งเป็นแบบแผน ตอนกลางวนั ญาตโิ ยมจะเตรยี มขา้ ว มธุปายาสถวายพระพทุ ธรปู และพระอปุ คุต ส่วนตอนกลางคนื ประกอบพธิ ี ไหว้พระรบั ศีล เจรญิ พระพทุ ธมนต์ น่ังสมาธิ และตักบาตรหลงั เทยี่ งคนื ภาย หลังมผี ู้สนใจมาร่วมพธิ ีมากขึ้น โดยเฉพาะนักทอ่ งเท่ยี วและคนกรุงเทพฯ แต่ สว่ นใหญ่เปน็ คนเมอื งลา้ นนาที่อยตู่ ามอำ� เภอรอบนอก ภายหลงั ประเพณีใส่ บาตรวันเพง็ พุธของวดั อุปคุต ถกู เผยแพร่ทางสือ่ มวลชน กม็ ีวัดต่างๆ จดั พธิ ี เลยี นแบบ เช่น วดั สวนดอก อำ� เภอเมือง วดั ดอนมูล อำ� เภอสารภี วัดศรนี ว รฐั (ทงุ่ เสยี้ ว) อำ� เภอสันปา่ ตอง ส่วนจังหวัดเชยี งราย จดั อย่างยิ่งใหญ่ทวี่ ดั มงิ่ เมอื ง ท้งั คณะสงฆ์ หนว่ ยงานราชการ และการทอ่ งเท่ียวต่างใหก้ ารสนบั สนนุ คร้งั แรกทจี่ ัด เขากม็ าอญั เชญิ พระอุปคุตที่วัดนไ้ี ปประดิษฐานกลางแม่น้ำ� มี ขบวนแหอ่ ยา่ งยง่ิ ใหญห่ ลายวดั ทจี่ ดั ใสบ่ าตรวนั เพง็ พธุ มกั มาดงู านทวี่ ดั อปุ คตุ ก่อน เช่น เมอื งแพร่ พิษณุโลก ลำ� ปาง น่าน แมจ้ ะมีผตู้ อ่ ตา้ นไม่เหน็ ด้วย แต่ กลุ่มทมี่ าดงู านกลับบอกวา่ ช่างเขาเพราะในขณะท่เี ราจดั งานประเพณเี พ็ง พธุ เราไดเ้ หน็ พ่อแมพ่ าลกู หลานเขา้ วัด ไหวพ้ ระ สวดมนต์ ซง่ึ ดกี ว่าปลอ่ ย ให้พวกเขาพากันไปเท่ียวตามแหลง่ อบายมุข...” ๑๘๒สัมภาษณ์ พระครพู ัฒนาธิมุต เจา้ อาวาสวดั อปุ คต ตำ� บลช้างคลาน อำ� เภอเมือง จังหวดั เชยี งใหม.่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕. 202

ปจั จบุ นั ประเพณใี สบ่ าตรเพง็ พธุ ในเมอื งเชยี งใหม่ ไดร้ บั ความสนใจมากขน้ึ เจพารรตีาะปกระารเพปณระที ชอ้ างสถัมน่ิ พลา้ันนธน์ขาอลงดสล่ืองมเวนลอื่ ชงนจากแปลญั ะญกราะนแนั สทกภากิ รข๑เ๘ผุ ๓ยไดแย้ผา้ ่ธยรไรปมจทำ� ่ีปพฏรริเษสธา ทวี่ ัดชลประทานรงั สฤษดิ์ อ�ำเภอปากเกรด็ จงั หวัดนนทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ และชราภาพลง ไมไ่ ดม้ บี ทบาทในการเผยแผ่ธรรมท่ีจังหวัดเชยี งใหม่ แม้จะขนึ้ มา ปาฐกถาท่ีภาคเหนือเป็นบางคร้ัง หรือปาฐกถาธรรมออกอากาศทางสถานีวิทยุ แห่งประเทศไทย และตามสถานท่ตี ่างๆ ทั่วประเทศ แตก่ ไ็ มไ่ ดเ้ น้นการโจมตจี ารีต ประเพณีท้องถ่ินล้านนาเหมือนในอดีต อีกท้ังการเผยแผ่ธรรมแบบยืนปาฐกถา ในล้านนากล็ ดบทบาทลง พระมหามณี กิตตฺ ิวณฺโณ (ศาสตราจารยเ์ กียรติคณุ มณี พยอมยงค์) (ขอบคุณภาพจาก นายจรยี ์ สนุ ทรสิงห)์ ๑๘๓สมณศักดส์ิ ดุ ทา้ ย พระพรหมมังคลาจารย์ มรณภาพเมอื่ วนั ท่ี ๑๐ ตลุ าคม ๒๕๕๐ อายุ ๙๖ พรรษา ๗๖. 203

๓.๓ การพฒั นารปู แบบการเผยแผธ่ รรมใหท้ นั สมยั ของพระสงฆล์ า้ นนา กระแสความนิยมในการเผยแผ่ธรรมรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน หลังจาก ผ่านพ้นการปฏิรูปองค์กรสงฆ์ และการเผยแผ่ธรรมของพุทธทาสภิกขุและ ปญั ญานันทภกิ ขแุ ลว้ ทำ� ใหพ้ ระสงฆ์เชียงใหมไ่ ดพ้ ัฒนารูปแบบการเผยแผธ่ รรม ใหท้ ันสมัย โดยไมจ่ ำ� กัดแตเ่ พยี งการเทศน์แบบจารีตเท่าน้นั ยังนำ� การเทศนแ์ บบ พระสงฆ์ไทยภาคกลาง และการปาฐกถาธรรม มาผสมในการเผยแผ่ธรรม โดย เฉพาะวัดทีอ่ ยู่ในตัวเมืองเชยี งใหม่ ซ่งึ มีคนมาท�ำบญุ ฟงั ธรรมที่หลากหลาย ทง้ั ชาวเชียงใหม่ ชาวไทยภาคกลาง และตา่ งชาติ จึงปรับเปลย่ี นการเทศนใ์ ห้เหมาะ กบั กาลสมัย ดงั คำ� บอกเลา่ ของนายดุสติ ชวชาต๑ิ ๘๔วา่ “...แตก่ อ่ นในเมอื งเชยี งใหม่ นยิ มเทศนธ์ รรมเมอื งในตอนบ่ายของ วันศลี (วันพระ) ส่วนธรรมไทยแบบภาคกลาง หรอื แบบปฏภิ าณโวหารนยิ ม เทศนต์ อนเชา้ วดั ในเวยี งบางวัด เชน่ วดั หลวงหรือวัดที่ต้ังส�ำนกั เรยี น กน็ ยิ ม ใหพ้ ระเณรฝึกเทศน์ธรรมไทยแบบภาคกลางในวนั ศลี ตอนเชา้ ส่วนภาคบา่ ย กใ็ หเ้ ทศน์ธรรมเมอื งหรอื ธรรมครา่ ว ตอนน้นั ยงั มศี รัทธาสนใจ มาฟังจำ� นวน มาก แตภ่ ายหลงั จำ� นวนศรัทธาได้ลดนอ้ ยลง ทางวัดกเ็ ลยจดั ให้มกี ารเทศน์ ธรรมไทยเฉพาะตอนเช้า สว่ นตอนบ่ายไมม่ ีเทศน์ธรรมเมืองแล้ว บางครั้งก็ ยนื ปาฐกถาธรรม ไม่เทศนเ์ ปน็ ผูก เม่ือปาฐกถาเสรจ็ แล้วก็ให้พร...” เมอื่ ปญั ญานนั ทภกิ ขปุ าฐกถาตอ่ ตา้ นการเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนา พระสงฆ์ เชียงใหม่ จึงเริ่มเทศน์แบบผสมผสานระหว่างการเทศน์แบบจารีตกับการเทศน์ แบบใหม่ โดยเร่ิมจากการกล่าวอธิบายสรุปใจความส�ำคัญของคัมภีร์ธรรม เร่อื งน้ันๆ ดว้ ยปฏิภาณโวหารก่อน แล้วจงึ เทศนแ์ บบจารตี ในภายหลัง เรยี กวา่ สรุปธรรม โดยเฉพาะมหาเวสสนั ดรชาดก ๑๓ กณั ฑ์ ก็เทศน์แบบสรุปธรรมให้ จบภายในระยะเวลา ๑-๓ ช่ัวโมง จากเดมิ ทเ่ี ทศนแ์ บบจารตี ใหจ้ บภายใน ๑ วัน ๑ คืน ผ้ทู ีเ่ คยเทศน์มหาชาติรูปแบบนีท้ ี่มีชื่อเสยี งคือ๑๘๕ครูบาคำ� ตัน ติกขฺ ปญโฺ ญ อดีตเจ้าอาวาสวัดสันทรายหลวง อ�ำเภอสนั ทราย และพระมหามณี กติ ตฺ ิวณฺโณ ๑๘๔สมั ภาษณ์ นายดสุ ิต ชวชาติ. อา้ งแลว้ . ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕. ๑๘๕สัมภาษณ์ พระครอู ดลุ ย์สลี กติ ต์ิ วัดธาตคุ ำ� ตำ� บลหายยา อ�ำเภอเมือง จังหวดั เชยี งใหม.่ ๒๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๔. 204

(ศาสตราจารยเ์ กียรตคิ ุณ มณี พยอมยงค์๑๘๖) แตพ่ ระมหามณี กติ ฺตวิ ณฺโณ จะมี ความชำ� นาญและเทศนไ์ ดด้ ีกวา่ เพราะมคี วามร้ทู ัง้ ทางโลกทางธรรม อีกทง้ั ยัง สามารถเทศนม์ หาชาตกิ ณั ฑม์ ทั รี กณั ฑม์ หาราช และนครกณั ฑด์ ว้ ยทำ� นองขบั ขาน ลา้ นนาไดอ้ ยา่ งไพเราะ พระมหามณี กิตฺติวณฺโณ เทศน์มหาชาติแบบสรุปธรรมด้วยปฏิภาณ โวหารโดยแทรกท�ำนองขับขานล้านนาและเรื่องตลกขบขันเปน็ ระยะๆทำ� ให้ผู้ฟัง ชภนื่ายชหอลบังพเรระียคกรรูโปูสแภบณบบกญุ ารญเทาภศรนณม์ ์ห(บาชุญาทตอนิ ง้ีวา่สุวณกโฺาณรเ)๑ท๘อ๗ศดนีต์มเหจาา้ ชคาณตะิแอบ�ำบเภปอระแยมกุร่ ิมต์ อดตี เจ้าอาวาสวัดโสภณาราม ตำ� บลดอนแก้ว อำ� เภอแมร่ มิ จงั หวัดเชยี งใหม่ ซง่ึ เปน็ ลกู ศษิ ย์ ได้เทศน์มหาชาติแบบประยุกต์ ๑๓ กณั ฑส์ บื มา โดยบันทึกลง แถบบนั ทกึ เสยี งจำ� หนา่ ยทวั่ ภาคเหนอื พรอ้ มกบั ผลงานเทศนแ์ ละปาฐกถาเรอ่ื งอนื่ ๆ อีก ๒๐ กวา่ ชดุ ท�ำใหม้ ีชื่อเสียงเปน็ ทรี่ ูจ้ กั ผลงานท่ีสรา้ งชอื่ เสียงคอื การเทศน์ มหาชาติแบบประยกุ ตก์ ัณฑช์ ชู ก จนไดร้ ับนามเรียกขานว่า ทุจก จจู ก หรอื จจุ๊ ก (ชูชก) ซ่ึงเป็นนามเรียกขานท่ีได้จากช่ือตัวละครชูชก นอกจากน้ันยังมีพระครู อาทรวสิ ทุ ธคิ ณุ (บญุ ตนั ปรสิ ทุ โฺ ธ) เจา้ คณะอ�ำเภอหางดง เจา้ อาวาสวัดหนองตอง ต�ำบลหนองตอง อำ� เภอหางดง จงั หวดั เชยี งใหม่ อกี รปู หนงึ่ ทเี่ คยเทศนม์ หาชาติ เวสสันดรชาดกด้วยรูปแบบน้ีและเคยเทศน์แบบปุจฉาวิสัชนามหาชาติประยุกต์ ๑๓ กณั ฑร์ ว่ มกบั พระครโู สภณบญุ ญาภรณม์ าก่อน แม้การเทศน์รูปแบบนี้จะเป็นที่สนใจฟัง แต่ก็ไม่สามารถน�ำไปเทศน์ ในงานประเพณีตั้งธรรมหลวง(ประเพณีเทศน์มหาชาติ)ได้ นอกจากจะใช้เทศน์ ในงานบ�ำเพ็ญกุศลศพ หรืองานท�ำบุญปอยหลวง (เฉลิมฉลองศาสนวัตถุทาง- พระพทุ ธศาสนา) เทา่ นัน้ เพราะถอื เปน็ ส่งิ ทไี่ ม่เหมาะสมและเป็นสิ่งตอ้ งห้ามทไี่ ม่ ให้ตัดลดั เนือ้ หาธรรมตามจารตี ลา้ นนา ๑๘๖ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. ๒๕๔๙ จบนกั ธรรมเอก เปรยี ญธรรม ๖ ประโยค ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหา บณั ฑติ (ภาษาไทยและวรรณคดีไทย) มหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒประสานมติ ร เสียชวี ิต ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ สริ อิ ายุ ๗๙ ปี. ๑๘๗อดีตเจา้ คณะอำ� เภอแม่รมิ อดีตเจ้าอาวาสวัดโสภณาราม ต�ำบลดอนแกว้ อ�ำเภอแมร่ มิ จังหวดั เชยี งใหม่ จบนักธรรมเอก มรณภาพ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๐ อายุ ๗๓ พรรษา ๕๓. 205

การเทศน์มหาชาติแบบประยุกต์น้ี ได้รับแบบอย่างมาจากการเทศน์ มหาชาติรีววิ หรอื รีววิ มหาชาติ ของพทุ ธทาสภิกขุ และการเทศนม์ หาชาติ แบบปฏิภาณโวหารของพระสงฆ์ไทยภาคกลาง เพราะในอดีตพระสงฆไ์ ทยกลาง ไดพ้ ฒั นาการเทศนม์ หาชาตเิ วสสนั ดรชาดก จากการเทศนแ์ บบจารตี มาสกู่ ารเทศน์ แบบปฏภิ าณโวหาร ในลักษณะตลกขบขันอย่างกวา้ งขวาง จนมหาเถรสมาคม เห็นเปน็ ส่งิ ทไ่ี ม่เหมาะสมจงึ ไดอ้ อกประกาศเปน็ ส่งิ ต้องหา้ มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ หากรูปใดฝ่าฝืนมีโทษถึงขั้นให้ลาสิกขาและถอดออกจากสมณศักดิ์สงฆ์ หาก เจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะให้การสนับสนุนต้องถูกถอดออกจากต�ำแหน่งทางการ ปกครองและสมณศักดิส์ งฆ์ดว้ ยเชน่ กนั ดงั ประกาศนี้ ๑๘๘ “...ประกาศ หา้ มมใิ ห้ภกิ ษุสามเณรเทศน์มหาชาตติ ลกคะนองเสยี สมณสารปู เร่ืองการเทศน์มหาชาตินิยมกันแพร่หลายว่า เป็นเร่ืองมีคติมากจับใจ ผู้อา่ นผู้ฟังแมใ้ นเมอื งไทยครั้งโบราณก็นิยม เคยมีคฤหสั ถส์ วดใหอ้ บุ าสกอุบาสิกา ฟัง ในกาลต่อมาเปลี่ยนเป็นภิกษุสามเณรเทศน์เพราะเป็นเหตุปลุกความ เช่ือความเลื่อมใสได้มั่นคงกว่าคฤหัสถ์สวด ภายหลังปรากฏว่า การเทศน์ มหาชาติกลายเป็นเรื่องสนุกเฮฮาขบขัน เพราะผู้เทศน์น�ำเร่ืองไม่เป็นสาระมา แทรกแซงคลุกเคล้ายักย้ายท�ำนองโลดโผนไปต่างๆ ตามใจของตน บางทีก็ยก เอามหาชาติข้ึนน�ำตอนต้นเพียงเล็กน้อย ตอนปลายกลายเป็นเล่นแหล่ต่างๆ แสดงอาการตลกคะนองจนเสยี สมณสารูป ไม่ควรแก่วสิ ยั ของบรรพชติ เป็นเหตุ ให้วญิ ญชู นตเิ ตยี นตลอดจนชาวต่างประเทศก็ดหู มน่ิ อาศัยเหตนุ ้ี มหาเถรสมาคมพจิ ารณาเหน็ แล้วลงมติเห็นพร้อมกนั ให้ ประกาศวา่ ๑.หา้ มเทศนแ์ หลต่ า่ งๆ นอกเรอื่ งมหาชาตทิ ส่ี ำ� รากหยาบโลน ทำ� นองโลด โผดและทำ� ตลกคะนองตา่ งๆ จนเสยี สมณสารปู ๒.ภิกษุสามเณรประพฤติฝ่าฝืนข้อห้ามนี้ในวัดในแขวงใดให้เจ้าอาวาส วัดน้ันเสนอเร่ืองให้เจ้าคณะแขวงน้ันบังคับให้สึกเสีย แล้วรายงานให้เจ้าคณะ เหนอื ตนทราบ ถา้ ภกิ ษสุ ามเณรรปู นนั้ เปน็ เปรยี ญหรอื มสี มณศกั ดิ์ ใหเ้ จา้ คณะ แขวงแจง้ การกระทำ� พรอ้ มทง้ั หลกั ฐานใหเ้ จา้ อาวาสซง่ึ ผเู้ ทศนานนั้ สงั กดั อยแู่ ขวง 206 ๑๘๘สุทธพิ งศ์ ตนั ตยาพิศาลสทุ ธ์.ิ กฎ ระเบียบ และค�ำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์การศาสนา. ๒๕๔๐. หน้า ๒๗๓.

แจ้งการกระท�ำพร้อมท้ังหลักฐานให้เจ้าอาวาสซ่ึงผู้เทศนาน้ันสังกัดอยู่ทราบแล้ว ใหเ้ จ้าอาวาสนน้ั ขอพระราชทานพระบรมราชานญุ าตให้สกึ เสยี ๓.ถ้าเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะสนับสนุนยินยอมให้ภิกษุสามเณรกระท�ำ การฝ่าฝืนข้อหา้ มน้ี ใหเ้ จา้ คณะผูม้ ีอ�ำนาจเหนอื ถอดเสียจากต�ำแหน่ง ถ้ามี สัญญาบัตรให้น�ำเร่ืองขอเสนอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดเสียจาก สมณศกั ดิ์และใหอ้ อกเสียจากวดั น้ัน ๔.ให้เจ้าอาวาสเจ้าคณะเป็นผู้ควบคุมและปฏิบัติการให้เป็นไปตาม ประกาศน้ีทกุ ประการ ประกาศแต่วนั ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙ สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม บญั ชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสงั ฆราชเจ้า 207

เม่ือการเทศน์มีพัฒนาการขึ้น กิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมก็ตามมา เพราะคนรุ่นใหม่สนใจฟังเทศน์มากขึ้น การเผยแผ่ธรรมท่ีส�ำคัญของคณะสงฆ์ เชยี งใหมใ่ นยคุ นนั้ คอื กิจกรรม รถด่วนขบวนพิเศษ ของกลมุ่ หน่มุ สาวจังหวัด เชยี งใหม่ เน่ืองจากประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๙ กลุม่ วยั รนุ่ ระหว่างชุมชนต่างๆ ในตวั เมอื งเชียงใหม่ มักหาเรอื่ งทะเลาะววิ าทและชกตอ่ ยกนั ไมเ่ ว้นงานบญุ ประเพณี ทางพระพุทธศาสนา ท�ำให้วยั รนุ่ แตล่ ะชมุ ชนตา่ งมีความบาดหมาง หวาดระแวง เซชึ่งยี กงันใหแมล่เะปก็นันอจยน่างแมบา่งกเปพ็นระกศลรุ่มีธตร่ารงมๆนเิ ทสศรก้า์ (งกคมวลามโชเดตือิมดนรโฺ ต้อ๑)น๘๙ใเหกร้กงับวส่าเังหคตมกุ เามรือณง์ จะลกุ ลามจนเมอื งเชยี งใหมไ่ ม่สงบสขุ จึงร่วมกับพทุ ธสมาคมจังหวัดเชียงใหม่ นำ� กลมุ่ หนมุ่ สาวในแตล่ ะชมุ ชนเมอื ง มาทำ� กจิ กรรมบำ� เพญ็ สาธารณประโยชนร์ ว่ มกนั เชน่ ชมุ ชนวดั สนั ปา่ ขอ่ ย ชมุ ชนวดั เกตการาม ชมุ ชนวดั เชยี งยนื ชมุ ชนวดั ศรดี อนชยั ชุมชนวดั หมน่ื สาร ชุมชนวดั ฟ้าฮ่าม ชุมชนวดั ชมพู ชมชนวดั เมืองกาย เปน็ ตน้ โดยชักน�ำแกนน�ำของกลุ่มต่างๆ มาเป็นกรรมการ เม่ือมีกิจกรรมทางสังคม แกนนำ� กลมุ่ ตา่ งๆ ก็จะชักน�ำสมาชกิ เขา้ รว่ มกจิ กรรมและแตง่ ต้งั ใหเ้ ปน็ กรรมการ ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย ท�ำให้สถานการณ์สงบข้ึน ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๒ กลุ่มหนุ่มสาวจากชุมชนต่างๆ ได้รวมกลุ่มกันมากขึ้นจึงตั้งเป็นกลุ่มหนุ่มสาว จังหวัดเชียงใหม่โดยเชิญชวนใหน้ งุ่ ขาวหม่ ขาว ไหวพ้ ระ รับศีล ฟงั เทศน์ และ ตอบปัญหาธรรมะทกุ วันพระในช่วงเขา้ พรรษา ตามวัดต่างๆ ทเี่ ป็นสมาชิก เรียก กิจกรรมนี้ว่า “รถดว่ นขบวนพิเศษ” โดยมีพระศรีธรรมนิเทศก์ เป็นองคเ์ ทศน์ แพบจนบวปรฏาิภภราณณ์โ(วจหนั าทรรส์ กลสุ ับโกล๑)บั ๙พ๐พรระะธนรักรมเทสศทิ นธา์ทจ่ีมาีชรอ่ืย์เ(สหยี นงู ใถนาสวโมรยั๑)๙นพ๑นั้ระเทเชพน่วรสพทิ ธราะจพาทุ รยธ์ (ดวงค�ำ ธมฺมทินฺโน)๑๙๒พระครูโอภาสวิหารกิจ (จ�ำรัส ธมฺมวาที) พระศรีธรรม ๑๘๙อดีตเจา้ อาวาสวัดสนั ปา่ ข่อย อดตี รองเจ้าคณะจังหวดั เชยี งใหม.่ ๑๙๐อดตี เจ้าคณะภาค ๔-๕-๖-๗ (ธรรมยุติ) อดีตเจา้ อาวาสวัดเจดยี ห์ ลวงวรมหาวหิ าร ต�ำบลพระสิงห์ อ�ำเภอเมอื ง จังหวัดเชียงใหม่ ขณะนั้นดำ� รงสมณศกั ด์ทิ ่ี “พระราชวินยาภรณ”์ . ๑๙๑อดตี เจา้ คณะจงั หวดั เชียงใหม่ อดตี เจา้ อาวาสวดั พระสงิ หว์ รมหาวหิ าร ตำ� บลพระสงิ ห์ อำ� เภอเมือง จังหวัดเชยี งใหม่. ขณะนั้น ดำ� รงสมณศักดท์ิ ี่ “พระวิมลญาณปยตุ ” ๑๙๒อดีตเจ้าคณะจังหวัดเชยี งใหม่ อดตี เจา้ อาวาสวดั ส�ำเภา ตำ� บลศรภี ูมิ อำ� เภอเมอื ง จังหวัดเชยี งใหม่ ขณะนน้ั ดำ� รงสมณศักด์ิ “พระอุดมวฒุ ิคุณ”. 208

บณั ฑิต(นอ้ ม ถิรจติ โฺ ต๑)๙๓พระครอู นุสรณ์ศีลขนั ธ์ (อนนั ต์ ธมมฺ ธโร๑)๙๔พระครูโสภณ บ(สญุ ายญณั าภหร์ ณย์ ส(บปญุ าโทลอ)๑ง๙๖เสปวุ ็นณตโฺ ้นณ) พระมหาเกษม เขมาภนิ นโฺ ท๑๙๕พระครวู บิ ลู ยก์ ติ ตริ กั ษ์ กจิ กรรมรถดว่ นขบวนพิเศษของกลุ่มหนมุ่ สาวจงั หวัดเชยี งใหม่ นับเป็น กิจกรรมส�ำคัญท่กี ่อให้เกิดพระนกั เทศนแ์ บบปฏภิ าณโวหารรุน่ ใหมห่ ลายรปู ถา้ หากรปู ใดไดร้ บั นมิ นต์ให้เปน็ องค์เทศน์ กเ็ สมอื นเป็นการแจง้ เกดิ ในวงการพระ นกั เทศน์เมืองเชียงใหม่ เพราะคณะกรรมการจะประชุมคดั เลอื กพระนักเทศน์ อยา่ งเขม้ ข้น ถ้ารูปใดเทศนเ์ ก่ง มีเนอื้ หาสาระ ใช้เวลาเทศน์ไม่นาน บรรยากาศ สนุกสนาน ผู้ฟังชื่นชอบ กจ็ ะไดร้ บั นิมนต์ให้เทศนอ์ กี เรียกกันภายในกลมุ่ คณะ กรรมการคัดเลอื กว่า เอาออกเทศน์ ภายหลังมักเป็นพระนักเทศน์ พระนกั คดิ นัก เขียน และพระนักพฒั นาสงั คมทมี่ ชี อื่ เสยี ง เพราะผา่ นประสบการณใ์ นการเผยแผ่ ธรรมจนเปน็ ทีย่ อมรบั อีกท้งั ผฟู้ ังในกิจกรรมรถด่วนขบวนพิเศษมีจ�ำนวนมาก มาจากหลายพื้นที่ เมือ่ ประทบั ใจองค์เทศนร์ ปู ใดก็จะตดิ ตอ่ ไปเทศน์ในงานตา่ งๆ อยู่เสมอ แตถ่ า้ รปู ใดเทศนไ์ มเ่ ก่ง ใชเ้ วลานาน ไม่มสี าระ ผูฟ้ ังไมช่ ่ืนชอบ คณะ กรรมกาพรกรจ็ะะศไรมีธ่นรริมมนนติเใ์ ทหศ้เทกศ์ ๑๙น๗อ์ นกี ับเเรปยี น็กพวา่ระถสูกงเฆกท์บ็ ีม่ ีบทบาทในการเผยแผ่ธรรมท่ี ทนั สมยั รปู หนงึ่ ของจงั หวดั เชยี งใหมท่ ร่ี ว่ มสมยั กบั พทุ ธทาสภกิ ขแุ ละปญั ญานนั ทภกิ ขุ นอกจากจะเป็นพระนักเทศนแ์ บบปฏิภาณโวหารแลว้ ยังเปน็ พระนกั คดิ นกั เขียน นักแต่งบทเทศน์และเทศน์ด้วยส�ำเนียงภาษาไทยกลางแบบพระสงฆ์ไทยภาค กลางไดอ้ ยา่ งไพเราะ เข้าใจงา่ ย มคี วามทันสมยั ฟังไดท้ กุ วยั สามารถเขยี น บทความ จดั พมิ พห์ นังสือธรรมะแจกจ่าย และจัดรายการธรรมะทางสถานวี ทิ ยุ ๑๙๓อดตี เจา้ อาวาสวดั ฝายหิน ตำ� บลสเุ ทพ อ�ำเภอเมอื ง จงั หวัดเชยี งใหม.่ ๑๙๔อดีตเจ้าอาวาสวัดหมืน่ ลา้ น ต�ำบลศรภี มู ิ อำ� เภอเมือง จังหวัดเชยี งใหม่. ๑๙๕เจ้าอาวาสวัดท่าสะต๋อย ตำ� บลวดั เกต อำ� เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม.่ ๑๙๖เจ้าอาวาสวดั ช่างแต้ม ต�ำบลพระสงิ ห์ อ�ำเภอเมอื ง จงั หวดั เชียงใหม่. ๑๙๗กชรวี าะฟปกิ ร.ะว๒ตั ๕ิข๓อ๙งพ. รหะนศา้รธี ร๓ร๓ม-น๔ิเ๒ท.ศกแ์.ลระำ� พลรกึ ะม๑ห๒าปรปะี ดพิษรฐะ์ ศปรณธี รฑฺ ริตมธนมเิ ทฺโมศก(์ ป๒ญั ๒ญามจนี ีนา)ค. มชวี ๒ติ ๕แ๓ล๙ะผ. ลเงชายี นงขใหอมง่:พรดะาศวรคีธอรมรพมิว รนาเิ ชทวศิทกย์ า(ลกัยม.ล๒โ๕ช๔ต๖ม.นหฺโตน)า้ . วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวทิ ยาลยั มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณ ๑๒-๒๖. 209

เช่น บันทึกเทปรายการ “ประทีปชีวิต” เผยแพร่ทางสถานวี ทิ ยกุ ระจายเสยี ง กรมประชาสมั พนั ธแ์ หง่ ประเทศไทย จังหวดั เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ เปน็ ตอนสั้นๆ ตอนละ ๓ นาที จ�ำนวน ๔๐๐ กว่าตอน การบรรยายธรรมและตอบ ปญั หาธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง ว.ป.ถ. ๒ คา่ ยกาวลิ ะ จังหวัดเชียงใหม่ ภายหลงั คณุ ขนษิ ฐา ศรรี ตั น์ และวดั สนั ปา่ ขอ่ ย ตำ� บลวดั เกต อำ� เภอเมอื ง จังหวัดเชียงใหม่ได้นำ� การบรรยายธรรมประทปี ชวี ติ บนั ทึกลงในแถบบันทึกเสยี ง (เทปคาสเซท็ ) เผยแพร่ เน่อื งจากมผี สู้ นใจฟังจ�ำนวนมาก ปกแถบบันทึกเสียงธรรมบรรยาย ประทปี ชวี ติ โดย พระศรีธรรมนิเทศก์ (พระมหากมล โชติมนฺโต) 210

คมั ภีร์ธรรมลานกระดาษสำ� นวนภาษาไทยกลาง เรียบเรียงโดย พระศรีธรรมนิเทศก์ (พระมหากมล โชติมนฺโต) งคมโดบยทปบราะทยสุกำ� คตญั์หอลกีักปพรุทะกธาธรรหรนมงึ่ เขปอ็นงพแรนะวศทรธีารงรใมนนกเิ ทารศพก์ัฒคอื นเปานส็ พังคระม๑น๙กั๘ผพลฒั งนาาน- สั สก�ำลคุ่มัญอาคนือนั เปท็นภแูมก๑ิ ๙น๙เนม�ำอื่ กป่อี ตพั้ง.ศก.ล๒ุ่ม๕ก๒า๑รเมเพืออ่ืงทพ้อฒั งนถาิ่นสเทงั คศมบเามลือนงเคชรยี เชงใียหงมให่ โมด่ยนในำ� พนุทามธ ธรรมมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาอย่างจริงจัง แต่ประสบผลส�ำเร็จในการเข้า บรหิ ารเทศบาลนครเชยี งใหมใ่ นปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เมอ่ื มกี ารเลอื กตงั้ สมาชกิ สภาเทศบาล นครเชยี งใหม่ โดยกลุ่มอานันทภูมไิ ดร้ บั เลือกตั้ง ๑๔ คน จึงไดเ้ ข้าบริหารเทศบาล นครเชียงใหม่ มีนายวรกร ตันตรานนท์ ซง่ึ เป็นลกู ศษิ ย์ของพระศรีธรรมนเิ ทศก์ เปน็ นายกเทศมนตรี แต่ความส�ำเร็จในครั้งน้ี ไมอ่ าจเปน็ ท่ลี ่วงร้ขู องพระศรธี รรม- นิเทศก์ ในฐานะผูก้ อ่ ตัง้ กล่มุ อานนั ทภูมิได้ เพราะพระคณุ ทา่ นได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๗ หลงั จากน้ันกลุ่มอานันทภมู ิ ก็คอ่ ยๆ ลดบทบาท ทางการเมอื งท้องถ่ินลง จากประวัติของพระศรีธรรมนิเทศก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การที่ พระคณุ ท่านเป็นพระนักเทศน์ พระนักคดิ นกั เขียน และพระนกั พัฒนาสังคมอย่าง ม่งุ ม่ันเช่นนี้ เกิดจากแรงบนั ดาลใจทตี่ ้องการเผยแผ่พุทธธรรมและพฒั นาสังคม เมืองเชยี งใหม่ โดยมีพุทธทาสภกิ ขแุ ละปญั ญานนั ทภกิ ขเุ ป็นต้นแบบ และไดร้ ับ พ้ืนฐานความรู้ทางพระพุทธศาสนาจากระบบการศึกษาพระปริยัติธรรมท้ัง ๑๙๘สัมภาษณ์ นายดสุ ติ ชวชาต.ิ อ้างแล้ว. ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕. 211 ๑๙๙พ.ต.ท. อนุ เนนิ หาด. ซะปะ๊ เร่ืองเกา่ . หนงั สือพมิ พไ์ ทยนิวส์ ปที ี่ ๓๗. ๒๕ สงิ หาคม ๒๕๔๙. หน้า ๕.

แผนกบาลแี ละนักธรรม๒๐๐ อันเป็นผลมาจากการปฏิรปู การศึกษาขององคก์ รสงฆ์ ส่วนกลาง ในขณะที่พุทธทาสภิกขุและปัญญานันทภิกขุซ่ึงเป็นพระต่างถิ่น เข้ามา เผยแผ่ธรรมแบบปาฐกถาธรรมในจังหวัดเชียงใหม่จนมีช่ือเสียงโด่งดัง เป็นที่ ยอมรบั ของกลมุ่ ปญั ญาชนในเมอื งเชยี งใหมแ่ ละทวั่ ประเทศ แตพ่ ระศรธี รรมนเิ ทศก์ ที่สามารถ เปน็ พระทอ้ งถ่ินเชียงใหมท่ ่สี ามารถศกึ ษาและพัฒนาตนเองจนมคี วาม สามารถในเผยแผพ่ ทุ ธธรรม ไมแ่ พพ้ ทุ ธทาสภกิ ขแุ ละปญั ญานนั ทภกิ ขเุ ชน่ กนั ต่าง แต่เพียงพุทธทาสภิกขุเป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี และปัญญานันทภิกขุเป็น ชาวจังหวัดพัทลุง(ภายหลังเป็นเจ้าอาวาสวัดในภาคกลาง) แต่มีโอกาสไปศกึ ษา ในกรงุ เทพฯ ภายหลงั ไดพ้ ฒั นาการเผยแผธ่ รรมทโ่ี ดดเดน่ สามารถพดู สำ� เนยี งภาษา ไทยกลางได้ชัดเจน มีโอกาสปาฐกถาออกส่ือส่วนกลางอย่เู สมอ เช่น วทิ ยกุ ระจาย เสียงแหง่ ประเทศไทย โทรทศั น์ เปน็ ตน้ จงึ ทำ� ใหม้ ชี อื่ เสยี งเปน็ ทรี่ จู้ กั อยา่ งรวดเรว็ ในขณะทพ่ี ระศรธี รรมนเิ ทศก์เปน็ พระทอ้ งถ่นิ อยตู่ า่ งจังหวดั ห่างไกลจากสอ่ื ส่วน กลาง และมบี ทบาทภายในท้องถ่ิน จงึ เปน็ ทร่ี จู้ ักของคนในทอ้ งถ่นิ เทา่ นัน้ พระครูวิสิฐศลี าภรณ์ เจา้ อาวาสวดั วงั สงิ ห์ค�ำ ก�ำลังเทศนแ์ บบปฏภิ าณโวหาร ในกิจกรรมรถด่วนขบวนพิเศษ จดั โดย กลุ่มหนุ่มสาวจังหวัดเชยี งใหม่ ๒๐๐จบนกั ธรรมเอก พ.ศ. ๒๕๐๒ จบเปรยี ญธรรม ๗ ประโยค พ.ศ. ๒๕๑๖ สำ� นักเรยี นเจ้าคณะจังหวดั เชียงใหม.่ 212

บรรยากาศฟังเทศนข์ องกลุม่ หน่มุ สาวจงั หวดั เชยี งใหม่ (ขอบคุณภาพจาก นายศรีมูล แสนเมืองมา) ๓.๔ ลกั ษณะการเทศนร์ ูปแบบใหม่ในล้านนา เทศน์ด้วหยลปงั าจกาเกปทลพ่ี ่ารเะรสียงกฆว์ล่า้านเทนศานได์แเ้บรบิม่ พปฒัฏิภนาาณกาโรวเหทาศรนป์รปู ฏแิภบาบณใเหทมศ่ นทา่เี น๒๐น้๑หกราือร ธรรมบรรยาย ซงึ่ มลี กั ษณะผสมทางวฒั นธรรมการเทศนร์ ะหวา่ งแบบจารตี ลา้ นนา กบั การเทศนแ์ บบไทยภาคกลาง และปาฐกถาธรรม ๓.๔.๑ ความหมายของการเทศน์แบบปฏภิ าณ พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน๒๐๒ให้ความหมายปฏภิ าณว่าหมายถึง เชาวน์ไวสใว่นนกพาจรกนลาน่าวกุ แรมกพ้หทุรือธศโตา้สตนอ์บฉเบปบั็นปตร้นะมไดวล้ฉศับพั พทล์๒ัน๐๓ทใันหทค้ ีแวลามะหเเมยาบยคาปยฎภิ าณ ว่า โต้ตอบได้ทนั ทีทันควัน, ปัญญาแก้การณเ์ ฉพาะหนา้ , ความคดิ ทันการ ความหมายของคำ� ว่า “ปฏิภาณ” ดังกล่าวข้างต้น เม่ือนำ� มาใชก้ บั การ เทศน์แบบปฏิภาณ จงึ หมายถึง การเทศนท์ ่มี ีลกั ษณะไมอ่ า่ นตามคมั ภรี ท์ ่ีได้รับ การเรียบเรียงแนวคิดเอาไว้ก่อนแล้ว แต่เทศน์ด้วยปากเปล่าโดยอาศัยความรู้ ความสามารถ อนั เป็นปฏิภาณเฉพาะตนของพระสงฆอ์ งคเ์ ทศน์ ในการอธิบาย ขยายความพุทธธรรมใหก้ ระจา่ งแจง้ และมคี วามนา่ สนใจโดยมีลกั ษณะเทศน์ไป ๒๐๑พระวิสทุ ธญิ าณมุนี,บนั ทกึ เทศนา, (จัดพมิ พ์เปน็ ท่ีระลกึ ในงานทำ� บญุ อายคุ รบ ๘๖ ปีของพระครวู มิ ลวรเวทย์ (บุญมี ชยวุฑฺโฒ) วัดทา่ สะตอ๋ ย ตำ� บลวดั เกต อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั เชยี งใหม่ ๒๐ กนั ยายน ๒๕๓๕), หนา้ ๒๙. ๒๐๒พราับชลบเิ ัณคชฑ่ันิตสย์,ส๒ถ๕าน๔,๖พ),จหนนาา้ นุก๖ร๔ม๗ฉบ. บั ราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, พมิ พค์ รง้ั ที่ ๑,(กรุงเทพมหานคร : นานมบี ุค๊ ส ๒๐๓พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบบั ประมวลศัพท์ (ชำ� ระ-เพิ่มเติม ชว่ งท่ี ๑). อา้ งแลว้ . หน้า ๑๙๖. 213

คิดแตง่ ในใจไปดว้ ย แนวคิดท่ีถกู ถ่ายทอดออกมานั้น ถือเป็นสิ่งทเี่ กิดจากความรู้ ความเขา้ ใจ อันเป็นประสบการณข์ องพระผเู้ ทศน์ เม่ือศึกษาถึงหลักการเทศน์แบบปฏิภาณโวหาร หรอื เทศน์ปากเปล่าแลว้ จะเห็นวา่ เป็นการพดู แบบฉบั พลนั ยดึ หลกั ธรรมเปน็ หัวข้อในการพดู ใชส้ �ำนวน ภาษาทันสมยั และแทรกเรอื่ งราวตา่ งๆ ประกอบการเทศน์ เชน่ นทิ าน ชาดก สุภาษติ คำ� คม เหตกุ ารณป์ ัจจบุ ัน หรอื สง่ิ ใกลต้ วั ผฟู้ ัง เป็นตน้ เพอื่ สร้างความ สนใจใหแ้ ก่ผู้ฟงั ซึ่งใช้หลกั การเดียวกนั กับหลักการพดู หรือการแสดงวาทะแบบ ฉับพลันตามหลักการพูดในที่ชุมนุมชนที่ต้องอาศัยปฏภิ าณไหวพรบิ ในการพดู เชน่ เดียวกัน เพยี งแต่เนื้อหาที่นำ� เสนอมีความแตกต่างกนั ตามจุดประสงค์ของผพู้ ูด การเทศนแ์ บบปฏิภาณโวหาร สามารถท�ำให้ผ้ฟู ังเข้าใจไดโ้ ดยงา่ ย และมี ความรู้สึกว่าธรรมะเปน็ สิง่ ใกล้ตวั สามารถน�ำมาปฏบิ ตั ใิ นชวี ิตประจำ� วันได้ พระครูโสภณบญุ ญาภรณ์ (บุญทอง สวุ ณฺโณ) สนทนากบั เจา้ ชน่ื สโิ รรส ผกู้ ่อตั้งสวนอุโมงค์พทุ ธธรรม (ภาพประกอบจากหนงั สือ ชวี ิต ขอ้ คดิ และงานของเจา้ ชน่ื ) 214

๓.๔.๒ ลักษณะการเทศนร์ ูปแบบใหมใ่ นล้านนา พระครโู สภณบญุ ญาภรณ์ เปน็ พระสงฆเ์ ชยี งใหมร่ ปู หนงึ่ ทไี่ ดพ้ ฒั นารปู แบบ การเทศน์ให้ทันสมัยหากน�ำบทเทศน์แบบประยุกต์ของพระครูโสภณบุญญาภรณ์ มาเป็นกรณีศึกษา จะพบว่าได้น�ำรูปแบบการเทศน์แบบจารีตล้านนากับการ เทศน์แบบพระสงฆ์ไทยภาคกลาง และการปาฐกถาธรรมมาปรับใช้จนกลาย เปน็ การเผยแผธ่ รรมรปู แบบใหมท่ ยี่ งั คงความเปน็ ลา้ นนาไว้ เรยี กวา่ การเทศนป์ ระยกุ ต์ หรอื การเทศน์แบบประยกุ ต์ ประกอบดว้ ย ๓.๔.๒.๑การเทศน์แบบปฏิภาณโวหารที่พัฒนามาจากการแสดงพระ ธรรมเทศนาของพระสงฆ์ไทยภาคกลาง การเทศน์แบบปฏิภาณโวหารของพระสงฆ์ไทยภาคกลาง เรียกอย่าง เปน็ พธิ กี ารวา่ การแสดงพระธรรมเทศนา หรอื เรยี กอยา่ งไมเ่ ปน็ พธิ กี ารวา่ การเทศน์ ทมี่ กี ารตง้ั นะโม หรอื เทศนธ์ รรมบรรยาย เปน็ รปู แบบการเทศนท์ สี่ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส สมเด็จพระสงั ฆราชเจา้ ทรงก�ำหนดหลักการอธิบาย ขยายความไว้ในหลักสูตรนักธรรม๒๐๔แม้การเทศน์แบบปฏิภาณโวหารจะไม่เน้น การอา่ นตามคมั ภีรห์ รอื หนงั สือทีแ่ ต่ง แต่ยงั ยึดถือจารตี การเทศนาธรรมอยู่ เชน่ นง่ั บนธรรมาสน์ พนมมอื ถอื คมั ภรี ธ์ รรม ขนึ้ ตน้ ดว้ ยบทปณามคาถา(นะโม) เปน็ ตน้ บรรยากาศจงึ มีลกั ษณะกง่ึ พิธกี าร กึ่งศกั ด์สิ ทิ ธิ์ และเปน็ กันเอง เร่ิมแรกมีพระสงฆ์ เทศนเ์ พยี งรูปเดยี วเรียกวา่ เทศน์เดี่ยว หรอื ธรรมาสน์เด่ยี ว ภายหลงั ไดพ้ ัฒนา รปู แบบการเทศนท์ มี่ ลี ักษณะถามตอบปัญหาธรรมะระหว่างพระนกั เทศน์ ๒ – ๓ รปู เรยี กว่าเทศน์แบบปจุ ฉาวสิ ชั นา ซง่ึ ได้จำ� ลองมาจากเหตุการณส์ ังคายนาพระ ธรรมวินยั ครงั้ ที่ ๑ มาเป็นตน้ แบบ มีการสมมติรปู ที่ ๑ เปน็ พระมหากัสสปะ รูป ท่ี ๒ เป็นพระอุบาลี และรปู ท่ี ๓ เป็นพระอานนท์๒๐๕ถ้าเทศน์ ๒ รปู เรียกวา่ เทศนค์ ู่ หรอื เทศนธ์ รรมาสน์คู่ ถา้ เทศน์ ๓ รปู เรยี กวา่ เทศน์ ๓ ธรรมาสน์ หรือ เทศน์แจง โดยมกี ารสมมตหิ น้าท่ีกันดงั นี้ พระสงฆ์รูปที่ ๑ มพี รรษาหรอื สมณศักดส์ิ งู กว่าสมมตเิ ปน็ พระสกวาที ท�ำ หน้าทใี่ หศ้ ลี ปจุ ฉาปญั หา สรุปการเทศน์ และกล่าวอนโุ มทนา (ยถา) ๒๐๔พระครโู สภณบญุ ญาภรณ์, แถบบนั ทึกเสยี ง เร่ืองเทศนม์ หาชาติประยุกต,์ (ห.จ.ก. ทิพย์เนตรเอนเตอรไ์ พรส:์ เชียงใหม่), ถอดความโดยพระนคร ปญญฺ าวชิโร, เมอ่ื วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๑. ๒๐๕นิราลยั . คู่มอื พระนกั เทศน์ วธิ กี ารเทศนแ์ ละเทคนคิ การพดู -การสอนธรรมะ. อ้างแล้ว. หน้า ๖๘. 215

พระสงฆร์ ปู ท่ี ๒ มีพรรษาหรือสมณศกั ดิ์อ่อนกว่าสมมตเิ ปน็ พระปรวาที ทำ� หน้าทีบ่ อกศักราช อานสิ ังกถา และวสิ ชั นาปัญหา แต่ถา้ เทศน์ ๓ ธรรมาสน์ รูปที่ ๓ สมมติเป็นพระอนปุ รวาทที ำ� หนา้ แสดง อานิสังกถา และวิสัชนาปญั หา ภายหลังพระสงฆ์ล้านนาก็รับรูปแบบการเทศน์แบบปุจฉาวิสัชนาดัง กลา่ วมาปรับใชใ้ นการเผยแผ่ธรรมด้วย โครงสร้างบทเทศน์แบบปฏิภาณโวหารซึ่งเป็นการเทศน์เด่ียวของ พระครูโสภณบญุ ญาภรณ์ เรอ่ื ง เทศนม์ หาชาตแิ บบประยกุ ต์ มลี กั ษณะเหมอื นกบั โครงสรา้ งบทเทศนก์ ารแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆไ์ ทยภาคกลาง แตป่ รับ เปล่ียนกลวิธีการน�ำเสนอที่เน้นความเป็นท้องถิ่นโดยขึ้นต้นและปิดท้ายบทเทศน์ ดว้ ยส�ำเนียงภาษาไทยกลางสว่ นการน�ำเสนอเนื้อหาใชภ้ าษาถ่ินลา้ นนา ในการ บรรยายพรอ้ มกับแทรกกาพยก์ ารขบั ขานลา้ นนา และนทิ านหรอื เรอ่ื งเลา่ ทต่ี ลก ขบขนั ในบรบิ ทลา้ นนา บรรยากาศในช่วงข้นึ ตน้ และปดิ ทา้ ยบทเทศน์ จะมีความ ศักดิ์สิทธ์ิ ผู้ฟงั มีปฏสิ ัมพนั ธ์แบบเปน็ กันเอง โครงสรา้ งของบทเทศนเ์ รอื่ งมหาชาติ แบบประยกุ ต์ สรุปไดด้ ังนี้ 216

ตารางแสดงลักษณะโครงสรา้ งบทเทศน์แบบปฏภิ าณโวหาร ของพระครโู สภณบญุ ญาภรณ์ ทพ่ี ฒั นามาจากรปู แบบการแสดงพระธรรม เทศนาของพระสงฆ์ไทยภาคกลาง เรื่อง เทศน์มหาชาติประยกุ ต์ “... ” 217

๓.๔.๒.๒ การเทศน์แบบปฏภิ าณโวหารท่พี ฒั นามาจากการเทศนแ์ บบ จารีตล้านนา เปน็ การน�ำรูปแบบการเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนา มาพัฒนาเป็นการเทศน์ แบบปฏภิ าณโวหาร เพราะเคยผ่านกระบวนการฝกึ ฝนและมีประสบการณ์ในการ เทศน์แบบจารตี ลา้ นนามากอ่ น จึงนำ� รปู แบบการเทศนท์ ้งั เกา่ และใหมผ่ สมกัน เพอื่ ให้คนรุน่ ใหม่สนใจฟัง เช่น การเทศนเ์ รื่อง มหาเวสสันดรกัณฑช์ ูชก๒๐๖โดยยดึ โครงสรา้ งบทเทศน์แบบจารตี ล้านนาเปน็ หลัก โดยเฉพาะในชว่ งข้นึ ต้นและปิด ทา้ ยบทเทศน์ แลว้ เทศนด์ ้วยทำ� นองขบั ขานลา้ นนา ส่วนช่วงนำ� เสนอเนือ้ หาใช้ การพดู ปากเปลา่ หรือปฏิภาณโวหารด้วยภาษาถนิ่ ลา้ นนา แทรกด้วยกาพย์และ นิทานหรอื เรื่องราวตลกขบขันเปน็ ระยะๆ บรรยากาศการเทศนจ์ งึ มลี กั ษณะกึ่ง พธิ กี าร กึง่ ศักดสิ์ ิทธ์ิ และเปน็ กนั เอง โครงสรา้ งบทเทศนเ์ ร่ือง มหาชาติเวสสันดร- กัณฑช์ ชู ก สรุปได้ดังน้ี ๒๐๖พระครูโสภณบุญญาภรณ์, แถบบันทึกเสียง เรอ่ื งการแสดงธรรมเทศนาประยกุ ต์เรอ่ื ง มเมหื่อาวเวนั สทสี่ นั ๑ด๓ร มกนี ัณาคฑมช์ ูช๒ก๕, ๕๑. (ห.จ.ก. ทิพย์เนตรเอนเตอรไ์ พรส:์ เชียงใหม)่ , ถอดความโดยพระนคร ปญญฺ าวชโิ ร, 218

ตารางแสดงลกั ษณะโครงสร้างบทเทศนแ์ บบปฏิภาณโวหาร ของพระครโู สภณบญุ ญาภรณ์ ท่พี ฒั นามาจากการเทศน์แบบจารีตลา้ นนา เรื่องมหาชาตเิ วสสนั ดรกณั ฑ์ชูชก “... .... 219

๓.๔.๒.๓ การเผยแผแ่ บบปฏิภาณโวหารทพ่ี ัฒนามาจากการปาฐกถา ธรรม การปาฐกถาธรรม บางทเี รียกวา่ การเทศนท์ ไ่ี มต่ งั้ นะโม เป็นรปู แบบ การเผยแผ่ธรรมด้วยปฏิภาณโวหารรูปแบบหนึ่ง แต่ไม่ถือเป็นการเทศน์ตาม คตินยิ มของชาวลา้ นนา มลี ักษณะส�ำคัญ คอื ไมเ่ น้นความเปน็ พิธีการ ไม่นั่งบน ธรรมาสน์ ไมถ่ ือคมั ภีร์ธรรม แตใ่ หค้ วามสำ� คัญกับการน�ำเสนอเนื้อหา บรรยากาศ มีความเป็นกันเอง พระสงฆ์ยืนพูดด้วยปากเปล่าบนแท่นท่ามกลางฝูงชนท่ีนั่ง บนเก้าอี้ หรือนง่ั กบั พืน้ อาศัยปฏิภาณไหวพรบิ เฉพาะตวั ในการอธบิ ายขยาย ความ เรยี กการยืนปาฐกถาเพอ่ื กล่าวธรรมวา่ ปาฐกถาธรรม เรียกพระสงฆผ์ ยู้ ืน ปาฐกถาธรรมวา่ องคป์ าฐก ส่วนฆราวาสผยู้ ืนปาฐกถาเรยี กวา่ ผู้ปาฐก๒๐๗พระ สงฆท์ ีส่ ามารถยนื ปาฐกถาธรรมไดด้ ี ถือเปน็ ผทู้ ี่มีความรู้ ความสามารถ และมี ประสบการณ์ด้านการเทศน์ท้ังแบบอ่านตามคัมภีร์ใบลาน และแบบปฏิภาณ โวหารมาเปน็ อยา่ งดแี ลว้ บทปาฐกถาธรรมเรอ่ื ง แผน่ ดนิ ธรรมแผน่ ดนิ ทอง๒๐๘ของพระครโู สภณบญุ ญาภรณ์ ประกอบดว้ ยโครงสร้าง ๓ สว่ น เหมอื นกับบทปาฐกถาธรรมของพุทธทาสภิกขุ และปญั ญานันทภกิ ขุ คอื ประกอบดว้ ย บทน�ำ ใจความหรอื เนื้อหา และบทสรปุ แต่วธิ กี ารนำ� เสนอเน้นการใช้ภาษาถ่ินล้านนา แทรกนิทานหรอื เรอ่ื งเลา่ และเรือ่ ง ตลกขบขันเป็นระยะๆ บรรยากาศมีความเปน็ กันเอง ไม่เนน้ พธิ กี าร โครงสร้าง บทปาฐกถาธรรมเรอื่ ง แผ่นดนิ ธรรมแผน่ ดินทอง สรุปได้ดังน้ี ๒๐๗พระธรรมวโรดม (บญุ มา คณุ สมปฺ นโฺ น), เทศนาวิธี, บทความใน วิชาการเทศนา, (กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลยั , ๒๕๔๓), หนา้ ๖๘; พิสทิ ธ์ิ เจรญิ สขุ , คูม่ ือเผยแผพ่ ุทธศาสนา, อา้ งแลว้ , หนา้ ๙๖. ๒๐๘ไพพรระสค์:รโู เสชภยี ณงใบหุญม)่ญ, าถภอรดณค,์ วแาถมบโดบยนั พทรึกะเนสคยี รงปปาฐญกญฺ ถาาวธชรริโรม,เรเอื่ มงื่อวแันผท่นี่ ด๑ิน๓ธรรมมีนแาผคม่นดนิ ๒ท๕อ๕ง๑.(ห.จ.ก. ทิพยเ์ นตรเอนเตอร์ 220

ตารางแสดงลกั ษณะโครงสร้างบทปาฐกถาธรรม ของพระครูโสภณบุญญาภรณ์ ท่พี ฒั นาการมาจากบทปาฐกถาของพุทธทาสภิกขุและปญั ญานนั ทภกิ ขุ เรอ่ื ง แผน่ ดินธรรมแผ่นดนิ ทอง 221

๓.๕ การดำ� รงอยูข่ องการเทศนแ์ บบจารีตล้านนาในปจั จุบนั เม่ือการเทศนร์ ูปแบบใหม่มีบทบาทมากขึ้น สง่ ผลให้การเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนาลดความส�ำคัญลง พระครูอดลุ ย์สีลกิต๒์ิ ๐ก๙ ล่าวถงึ สถานการณ์ฟังเทศน์แบบ จารตี ในปจั จบุ นั ว่า ชาวลา้ นนานิยมฟงั พอเปน็ พิธี (ฟังพอเป็นบุญกริ ิยา) ในงาน ท�ำบญุ เท่านนั้ ไม่ได้ฟังเพ่ือมุ่งเอาเนือ้ หาสาระอยา่ งแท้จริง บางคนไปนง่ั ฟังเพอ่ื สบื ชะตาสะเดาะเคราะหต์ ามความเช่ือ ไมไ่ ด้ใส่ใจวา่ จะได้ความรู้ ไดเ้ นื้อหาสาระ จากคัมภรี ์ท่เี ทศน์ แล้วจะน�ำไปปฏิบัตแิ ตอ่ ย่างใด นายศรีเลา เกษพรม๒๑๐เคยผ่านการอุปสมบทมาหลายพรรษา มคี วาม ชำ� นาญดา้ นอกั ษรลา้ นนากล่าววา่ “...ถา้ เปรยี บเทยี บระหวา่ งตวั เมอื งเชยี งใหม่ กบั หมบู่ า้ นทอี่ ยใู่ นชนบท หรอื รอบนอกตวั เมืองแล้ว จะเหน็ ว่า หมบู่ ้านชนบทยงั นยิ มฟังการเทศน์แบบ จารีตอยู่ แต่ผฟู้ ังส่วนใหญเ่ ปน็ กลุ่มผูส้ ูงอายุ สว่ นงานประเพณที น่ี ิยมเทศน์ คอื งานบ�ำเพญ็ กศุ ลศพ ซึ่งใช้คัมภีร์ธรรมที่เปน็ คำ� สอนทวั่ ไป เป็นการเทศน์สำ� หรับ อุทศิ ใหแ้ ก่ผตู้ าย ส่วนคัมภีร์ธรรมที่น�ำมาเทศน์ก็เป็นคัมภรี ์ทเี่ คยฟงั เคยเทศน์ ซ�้ำกนั หลายครัง้ หลายงาน คนทต่ี ั้งใจฟังเทศน์เพ่อื เอาเน้ือหาสาระจริงๆ มนี ้อย สว่ นใหญ่ฟงั พอเป็นพธิ ี พนมมอื แสดงความความเคารพการเทศนเ์ ฉพาะตอนขน้ึ ตน้ และลงท้ายเทศน์เทา่ นน้ั ...” พระไชยวทิ ย์ ธมฺมรโต๒๑๑เป็นพระสงฆท์ ม่ี บี ทบาทในการเทศน์ทง้ั แบบจารีต และแบบปฏภิ าณโวหารรูปหน่งึ ของอ�ำเภอสนั ทราย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า “...ในปัจจุบันยังมีผู้นิมนต์ให้ไปเทศน์แบบอ่านตามคัมภีร์ใบลานอยู่ ส่วนมากเทศน์ในงานทำ� บญุ กุศลศพของผ้สู ูงอายุ ทเ่ี คยสนใจเข้าวัดปฏิบตั ธิ รรม แตก่ ป็ รบั เปลยี่ นรูปแบบการเทศน์จากเดิม ที่อ่านตามคัมภีรใ์ บลานอย่างเดยี ว มาเป็นการเทศน์แบบผสมผสานระหว่างปฏิภาณโวหารกับอ่านตามคัมภีร์ ใบลาน โดยสรุปเน้ือหาส�ำคัญของคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ด้วยปฏิภาณโวหารก่อน แล้วจึงเทศน์แบบอ่านตามคัมภีร์ แต่ถ้ากลุ่มผู้ฟังเป็นคนรุ่นใหม่หรือกลุ่มที่มี ๒๐๙สมั ภาษณ์ พระครอู ดุลสีลกติ ์ิ. อ้างแลว้ . ๒๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๔. ๒๑๐สัมภาษณ์นายศรเี ลา เกษพรม อา้ งแล้ว. ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑. 222 ๒๑๑สมั ภาษณพ์ ระไชยวทิ ย์ ธมมฺ รโต. อ้างแลว้ . ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔.

การศึกษาดี กเ็ ทศนแ์ บบปฏิภาณโวหารอย่างเดียว แตน่ ำ� สาระสำ� คญั จากคมั ภีร์ ธรรมมาประกอบการเทศน์ การเทศน์แบบอา่ นตามคัมภีรน์ ้ัน ส่วนใหญ่ผฟู้ งั อายุ ๔๐ ปขี ึ้นไป จะ ฟงั รเู้ ร่ืองเพราะเคยนำ� ปญั หาจากคมั ภีร์เทศนม์ าถาม มกั จะตอบได้ แตถ่ ้าอายุ ๔๐ ปลี งมา มักตอบไมค่ ่อยได้ ยิ่งถา้ อายุ ๓๐ ลงมาย่งิ ไม่เข้าใจ บางครงั้ ไปเทศน์ ด้วยท�ำนองขับขานแบบท้องถิ่นให้ฟัง เขากลับล้อเลียนเสียงเทศน์อย่างตลก ขบขนั ...” จากบทสัมภาษณ์ดังกลา่ วแสดงใหเ้ หน็ ว่า ปัจจบุ ันการเทศนแ์ บบจารตี ล้านนา ได้เส่ือมความนยิ มลงโดยล�ำดับ แต่ยงั คงมบี ทบาทเป็นสว่ นประกอบ หนึ่งของพธิ ีกรรมตามความเช่อื ไมไ่ ดม้ ุง่ เทศน์เพื่อเสรมิ สรา้ งปัญญา ขจัดทุกขแ์ ต่ อย่างใด ตวั อยา่ งการดำ� รงอยขู่ องการเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนาในพิธีกรรม ๑. การเทศนเ์ พ่อื เยยี วยาผู้ป่วย การเทศน์เพ่ือเยียวยาผู้ป่วย เป็นพิธีกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างหน่ึงใน วัฒนธรรมล้านนา เรียกว่า พิธกี รรมบ�ำบัด เมื่อเหน็ ว่าผปู้ ่วยมีอาการหนกั เรือ้ รงั ไม่มีทา่ ทีว่าจะหายจากโรคหรือตาย เรยี กว่า อยใู่ นช่วงวิบาก บรรดาญาติจะ ปรกึ ษากนั นิมนตพ์ ระสงฆ์มาเทศน์คัมภีร์ธรรมเรอื่ งมหาวบิ ากให้ผปู้ ว่ ยฟัง โดย เชอ่ื วา่ การท่ผี ปู้ ว่ ยมอี าการป่วยหนกั เร้ือรงั เปน็ เพราะวบิ ากกรรมท่เี คยท�ำไว้ อกี ทัง้ จิตใจยงั หว่ งอาลัยลกู หลาน ทรัพย์สมบัติ หรือมสี ่ิงที่คา้ งคาอยู่ในใจทีย่ งั ไม่ ได้รับการปลดปล่อย หากผู้ป่วยได้ฟังการเทศน์คัมภีร์มหาวิบากแล้วจะช่วย ปลดเปลื้องให้พ้นจากวิบากกรรม เจ้ากรรมนายเวรกจ็ ะให้อโหสกิ รรม จิตใจก็ จะปล่อยวางไมย่ ึดติดในส่งิ ตา่ งๆ ถา้ ผู้ปว่ ยยงั มีบญุ อยูก่ ็จะหายเป็นปกติในเร็ววัน แต่หากหมดบุญหรอื หมดอายขุ ยั แลว้ กจ็ ะตายอยา่ งสงบในไมช่ ้าเชน่ เดียวกนั พิธี เทศน์เรม่ิ จากพระสงฆเ์ ดินทางมาถึงบา้ นผูป้ ่วย อาจเป็นเวลาใดกไ็ ด้ตามแตญ่ าติ ผปู้ ่วยนมิ นต์ไว้ แต่ส่วนมากมักเป็นเวลาเรง่ ดว่ นท่ผี ปู้ ว่ ยมีอาการใกล้จะตาย เมอ่ื พร้อมเพรียงกันแล้วก็อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนแท่นหรือเตียงเหนือ ศีรษะผปู้ ว่ ยแลว้ โยงดา้ ยสายสญิ จนจ์ ากพระพทุ ธรูปมาพันรอบศรี ษะผปู้ ่วย ให้ พระสงฆ์ถอื ดา้ ยสายสิญจน์ประกบกบั คมั ภรี ธ์ รรมมหาวบิ ากไว้ จากนนั้ มคั นายกหรอื อาจารยน์ ำ� ไหวพ้ ระ รบั ศลี และอาราธนาธรรม พระสงฆเ์ รมิ่ เทศนค์ มั ภรี ม์ หาวบิ าก 223

ด้วยท�ำนองขับขานท้องถิ่นในขณะที่ญาติพี่น้องน่ังพนมมือล้อมผู้ป่วยพร้อมกับ บอกผปู้ ว่ ยเปน็ ระยะๆ ใหต้ ง้ั ใจฟังการเทศนเ์ ป็นคร้ังสุดทา้ ย โดยให้ทำ� ใจให้สบาย นึกถึงบุญกศุ ลที่เคยท�ำ อยา่ ไดห้ ่วงอาลัยลูกหลานและทรัพย์สมบัติ เมื่อพระ สงฆ์เทศน์จบ มัคนายกน�ำกล่าวสมู าครวั ทาน ถวายสงั ฆทาน พระสงฆใ์ หพ้ ร โดยกล่าวค�ำอุทิศด้วยโวหารล้านนาว่าผู้ป่วยได้ถวายทานคัมภีร์มหาวิบากแล้ว ตอ้ งการอทุ ศิ บญุ กศุ ลไปใหพ้ อ่ เกดิ แมเ่ กดิ เจา้ กรรมนายเวร สพั พสตั ว์ สพั พวญิ ญาณ ทั้งหลาย เพื่อให้ปลดปล่อยจากวิบากกรรม เม่ือพระสงฆ์ให้พรอนุโมทนาเสร็จ ก็กล่าวค�ำแผ่เมตตาเป็นเสร็จพิธี บรรยากาศการเทศน์คัมภีร์มหาวิบากมีความ สำ� คญั และศกั ดส์ิ ทิ ธิ์ ผรู้ ว่ มพธิ จี ะนงั่ ฟงั อยา่ งสงบไดย้ ินแตเ่ สียงพระสงฆ์เทศน์ และ เสียงกระนซาบิ ยขสอชุ งาญติาแตกพิ ้วีน่ ก้อ้อ๒ง๑ท๒เคส่ี ยอื่ ผสา่านรกกับารผอู้ปุปว่ สยมเทบ่าทนแั้นละเคยเทศน์เยยี วยาผูป้ ่วยมา ก่อน กลา่ วถึงคตคิ วามเช่อื ต่อการเทศน์เช่นนวี้ า่ เคยมีประสบการณ์เทศน์คมั ภรี ์ ธรรมเร่ืองมหาวิบากใหผ้ ูป้ ่วยหนกั เรือ้ รังฟัง เม่อื เทศน์จบผู้ปว่ ยก็ได้เสยี ชวี ิตอย่าง สงบ เหตุการณด์ งั กล่าวทำ� ให้ลูกหลานผ่อนคลายความวติ กลง เพราะเห็นว่าผู้ ป่วยทนทุกขท์ รมานมานาน จึงเกิดความศรัทธาตอ่ พระสงฆ์ผ้เู ทศน์ คัมภีร์เทศน์ และรปู แบบการเทศนว์ า่ มีความศักดิ์สิทธิ์ การที่ผปู้ ว่ ยไดฟ้ ังเทศน์ดงั กล่าวแล้ว เสยี ชีวติ ในเวลาไม่นาน เชือ่ วา่ เป็นเพราะหมดวิบากกรรม สภาพจติ ใจได้รบั การ ปลดปลอ่ ย ไมห่ ่วงอาลยั สิง่ ตา่ งๆ จงึ ละสงั ขารในท่ีสุด พระสงฆ์กำ� ลงั เทศนค์ มั ภรี ม์ หาวิบากให้ผูป้ ว่ ยหนกั หญงิ ชรารายหน่งึ ฟัง 224 ๒๑๒สมั ภาษณ์นายสุชาติ แก้วก้อ. อายุ ๔๗ ปี บา้ นเลขที่ ๓๒๗/๔๙ หมูบ่ ้านเศรษฐกี าญจน์ ตำ� บลหนองผ้งึ อำ� เภอสารภี จงั หวดั เชียงใหม.่ ๒๓ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๔.

บรรดาลกู หลานร่วมฟังการเทศน์คัมภีร์ธรรมมหาวิบากและใหก้ ำ� ลงั ใจผู้ป่วยอย่างพร้อมเพรียง (ขอบคณุ ภาพจาก นายตวั ดี ท. ทวิ เทอื กเขา http://www.youtube.com/watch?v=jNCZFUdH6g4 ) ปจั จบุ นั การเทศน์เพอ่ื เยยี วยาผู้ปว่ ยเชน่ น้ี ยังเปน็ ทีน่ ยิ มในสังคมล้านนา ผเู้ ขยี นเองกเ็ คยไดร้ บั นมิ นตไ์ ปเทศนเ์ ยยี วยาผปู้ ว่ ยหลายครงั้ โดยเฉพาะปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เคยเทศน์เยียวยาผู้ป่วยหนักชายสูงอายุคนหน่ึงในท้องท่ีอ�ำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จนหายจากโรคและกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติอีก ๓ เดือน จงึ เสียชวี ติ อยา่ งสงบสขุ ๒. การเทศนเ์ พ่ืออุทิศให้แก่ผูต้ าย ประเพณีล้านนา เมื่อญาตเิ สยี ชีวิตเจ้าภาพจะต้ังศพไว้เพอื่ บำ� เพ็ญกุศล หลายคืน แตล่ ะคืนจะนิมนตพ์ ระสงฆ์มาเทศน์แบบจารตี และสวดอภธิ รรม เชอ่ื วา่ เปน็ การบอกกลา่ วดวงวิญญาณและอุทศิ บญุ กศุ ลให้แก่ผ้ตู าย โดยคมั ภีรท์ นี่ �ำมา เทศนเ์ ปน็ คัมภีรโ์ ทน(คัมภีรท์ ม่ี เี นอ้ื หาจบภายในผกู เดยี ว)หลายคัมภีร์ แบ่งออก เป็น ๓ ประเภท ไดแ้ ก่ ๑. คมั ภีรป์ ระเภทอานิสงส์ ไดแ้ ก่ ธรรมอานสิ งสป์ ลงศพ ธรรมอานิสงส์ ทานหาคนตาย ธรรมอานสิ งส์ล้างฅาบ ธรรมอานสิ งสท์ านผ้าบงั สกุ ุล ธรรม อานิสงส์เผาศพ เป็นตน้ ๒. คมั ภรี ป์ ระเภทค�ำสอน ไดแ้ ก่ ธรรมมาลยั โผดโลก ธรรมมหานพิ พานสตู ร ธรรมมูลนพิ พานสูตร ธรรมกรรมวบิ าก ธรรมวิสทุ ธิยา เปน็ ต้น ๓. คมั ภรี ป์ ระเภทสง่ วญิ ญาณผตู้ ายใหพ้ น้ วบิ ากกรรม ไดแ้ ก่ ธรรมกรรมวาจา ธ รรมทาคนมัหภาผีร์ธีตรารยมหทรใ่ี ชือเ้ ทธรศรนม์ใผนีตงาานย๒บ๑๓ำ� เพ็ญกุศลศพดงั กลา่ ว ชาวล้านนาเรียกว่า ๒๑๓มณี พยอมยงค์ และศิรริ ตั น์ อาศนะ. เคร่ืองสกั การะในลา้ นนาไทย. อา้ งอิงแล้ว. ๒๕๓๘. หน้า ๖๘. 225

พธิ เี ทศนใ์ นงานบำ� เพญ็ กศุ ลศพตอนกลางคนื เมอื่ ไหวพ้ ระรบั ศลี เสรจ็ แลว้ มคั นายกอาราธนาธรรม พระสงฆ์ ๔ รปู เทศนค์ มั ภีร์ประเภทคำ� สอนพรอ้ มกันรูป ละ ๑ กัณฑ์ รวมเปน็ ๔ กัณฑ์ อาจจะเรือ่ งเดยี วกนั หรือรปู ละเรอื่ งกไ็ ด้ บรเิ วณ พธิ ีจงึ มเี สยี งเทศน์ดงั อ้อื องึ เรยี กการเทศน์แบบน้วี า่ เทศนฝ์ นแสนหา่ เนอ่ื งจาก ในอดตี มีผู้รับเปน็ เจ้าภาพกณั ฑเ์ ทศน์หลายกณั ฑ์ หากเทศนท์ ลี ะกัณฑ์กจ็ ะใช้เวลา นาน จึงกระชับเวลาดว้ ยการเทศน์พร้อมกนั ท้ัง ๔ รูป พระสงฆท์ ่ีเป็นประธาน จะเทศนจ์ นจบผกู ส่วนอีก ๓ รปู จะเทศน์เฉพาะใบแรกและใบสุดท้าย เรยี กว่า เทศน์เคา้ ใบปลายใบ คือเทศนพ์ อเปน็ กิรยิ าบญุ (เทศน์เอาอานิสงส)์ เทา่ นั้น หลัง จากนั้นพระสงฆ์จะสวดสิยาด้วยท�ำนองท้องถ่ิน แต่ภายหลังนิยมสวดมาติกา (กสุ ลาหลวง) และอภิธรรม ๗ คัมภรี ์ (กุสลาน้อย) ตามแบบอยา่ งประเพณงี าน ศพแบบไทยภาคกลาง นอกจากน้ันบางแหง่ ยงั สวดภาษาบาลแี ละบทร้อยกรอง ภาษาไทยกลางคลา้ ยท�ำนองสรภัญญะดว้ ย พระสงฆ์ ๔ รูปกำ� ลงั เทศน์คัมภีรธ์ รรมทานหาผตี ายพร้อมกนั เรยี กวา่ เทศนฝ์ นแสนหา่ เพ่ืออทุ ศิ ไปหาผูเ้ สยี ชีวติ เม่ือถึงวันฌาปนกจิ (เผาศพ) ก่อนจะประกอบพธิ ีทำ� บญุ ถวายสังฆทาน เจ้าภาพจะถวายทานเจดีย์ทรายและเครื่องใช้สอยเพ่ืออุทิศให้แก่ผู้ตาย โดย นมิ นตพ์ ระสงฆ์เทศนค์ มั ภรี ์ธรรมเรื่องกรรมวาจา เรยี กวา่ พธิ ที านครวั กรรม เชื่อ วา่ จะทำ� ให้วญิ ญาณผู้ตายพน้ จากวิบากกรรม หลังจากท�ำบญุ ถวายสงั ฆทานเสร็จ แล้ว ก่อนเคล่ือนศพไปสปู่ ่าช้า พระสงฆจ์ ะเทศนค์ ัมภรี ์ธรรมเรอื่ งอานสิ งสเ์ ผาศพ เป็นกัณฑ์สุดท้าย เพ่ือแจกแจงอานิสงส์ผลบุญท่ีเจ้าภาพและผู้เข้าร่วมพิธีจะได้ รบั จากการรว่ มทำ� บญุ กศุ ลศพในครง้ั นใ้ี หท้ ราบ เมอื่ เทศกาลสำ� คญั ทางพระพทุ ธศาสนา เวียนมาถึงในแต่ละรอบปี ญาติพ่ีน้องจะนิยมนิมนต์พระสงฆ์เทศน์คัมภีร์ 226 ดังกล่าว เพอื่ อุทศิ ใหแ้ ก่ญาตทิ ่เี สียชีวติ เชน่ ประเพณี ๔ เพ็ง (วันเพญ็ ขน้ึ ๑๕

ค�่ำ เดือน ๔) ประเพณี ๑๒ เพ็ง (วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่�ำ เดือน ๑๒) ประเพณี เขา้ พรรษา ออกพรรษา เปน็ ตน้ เชอื่ วา่ อานสิ งสท์ เี่ กดิ จากการเทศนจ์ ะสง่ ผลบญุ ไป ใหว้ ญิ ญาณของผูต้ ายไปเกิดในสคุ ติ พน้ จากวิบากกรรม ปจั จุบนั พธิ ีเทศน์เพ่อื อุทิศให้แก่ผู้ตาย ยังปฏิบัติอยู่ในงานบ�ำเพ็ญกุศลศพและงานบุญประเพณีทาง พระพุทธศาสนาในลา้ นนา หากศึกษาเนื้อหาสาระของคัมภีร์ธรรมดังกล่าวจะพบว่า เน้ือหาคัมภีร์ ธรรมมุ่งสอนคติธรรมให้แก่ผู้ท่ียังมีชีวิตอยู่ได้น�ำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้การ ดำ� เนินชีวติ เปน็ ไปอยา่ งปกตสิ ุข ซึง่ เปน็ ความประสงค์ของโบราณาจารย์ผรู้ จนา แตช่ าวลา้ นนารุ่นหลงั เช่อื ว่า๒๑๔ เปน็ การเทศน์ทมี่ จี ุดมงุ่ หมายเพ่อื อุทศิ บุญกุศลไป ใหแ้ กผ่ ู้เสยี ชีวิต หรอื เทศน์ให้ผีฟัง จึงไมส่ นใจฟัง ๓. การเทศนเ์ พ่อื สืบชะตา การสืบชะตาเป็นพิธีกรรมล้านนา ที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างคติ แบบพราหมณ์ คตทิ างพระพทุ ธศาสนา และคตทิ อ้ งถน่ิ เดมิ นน้ั เปน็ พธิ พี ราหมณ์ ซง่ึ เป็นคตคิ วามเชือ่ เกี่ยวกบั การบูชานพเคราะห์ บชู าพระราหู การปดั เคราะห์ และ การต่ออายุ ภายหลังไดผ้ สมผสานพธิ ีทางพระพุทธศาสนาเขา้ ไปไดอ้ ย่างกลมกลนื พรอ้ มกบั เปลี่ยนแปลงผปู้ ระกอบพิธี จากอดตี ผ้ปู ระกอบพิธคี ือพราหมณ์ แล้ว เปล่ียนเป็นเป็นฆราวาสที่ท�ำหน้าที่แทนพราหมณ์ในการกล่าวค�ำโอกาสสงั เวยนพ เคราะห์ ภายหลังมีพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์แทน พร้อมกับเทศน์คัมภีร์ ธรรมที่ถือเปน็ สริ มิ งคล เชน่ ธรรมโลกาวฒุ ิ ธรรมไชยสงั คหะ ธรรมไชยท้งั ๗ ธรรม ปาระมี เปน็ ต้น เช่ือวา่ หากเทศน์คมั ภรี ์เหลา่ นใี้ นพิธสี ืบชะตา พธิ ีทำ� บุญขนึ้ บา้ น ใหม่และพิธสี ังคหะบา้ น (การท�ำบุญบ้านหลังจากประกอบพธิ ีฌาปนกิจศพ) จะ เกิดความเปน็ สริ มิ งคลและสะเดาะเคราะหใ์ หแ้ กผ่ เู้ ขา้ รว่ มพธิ ตี ลอดจนบา้ นเรอื นที่ อยอู่ าศยั นอกจากนนั้ ยงั มกี ารเทศนม์ หาเวสสนั ดรชาดก เพอื่ สบื ชะตาสะเดาะเคราะห์ ด้วย ซ่ึงเป็นการปรับเปล่ียนบทบาทการเทศน์มหาชาติใหม่อีกรูปแบบหน่ึง โดยก�ำหนดให้ผู้ที่เกิดในแต่ละปีมาบูชาและฟังมหาเวสสันดรชาดกแต่ละกัณฑ์ ประจำ� ราศีปีเกิด นอกจากจะตกแต่งบริเวณสถานท่จี ัดเทศนด์ ้วยเครือ่ งบูชาในพิธี เทศนม์ หาชาติแล้ว ยงั ตง้ั เคร่อื งประกอบพธิ สี ืบชะตาด้วย โดยนำ� ซมุ้ โขงสืบชะตา ๒๑๔วบรีัณยฑุทิตธวทินยาาคลเจยั รญิ ม.หากวาทิ รยศาึกลษยั าเวชเิียคงรใหาะมห.่ ว์ ๒รร๕ณ๔ก๕ร.รมหทน่ีใ้าชเ้๓ท๒ศ.น์ในพิธีศพแบบลา้ นนา. วทิ ยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรม์ หาบัณฑติ 227

ไปตั้งไว้ในบริเวณพิธีเทศน์ แล้วให้เจ้าภาพแต่ละกัณฑ์ในแต่ละปีเกิด เข้ามา น่งั ในซมุ้ โขงสบื ชะตานนั้ พระผเู้ ทศนพ์ นมมอื ถือด้ายสายสญิ จน์ ซึ่งโยงมาจาก พระพุทธรปู และบาตรน�้ำพระพทุ ธมนตป์ ระกบกบั คมั ภีร์ธรรมกัณฑ์ทเ่ี ทศน์ แลว้ โยงพนั รอบศรี ษะของเจ้าภาพ และผู้เขา้ รว่ มพิธที ีน่ ่งั บชู าฟังเทศนจ์ นจบ จากนั้นก็ จะผูกข้อมือ พรมน้�ำพระพทุ ธมนต์ และใหพ้ รเป็นเสร็จพธิ ี การเทศน์มหาชาติเวสสนั ดรชาดก พรอ้ มกบั สืบชะตาสะเดาะเคราะห์ วดั ศรสี ุพรรณ อ�ำเภอเมอื ง จังหวัดเชยี งใหม่ การเทศนม์ หาชาตเิ พอื่ สบื ชะตาน้ีพระครโู อภาสคณาภบิ าล๒๑๕อดตี เจา้ อาวาส วัดหมื่นสาร ต�ำบลหายยา อำ� เภอเมือง จังหวดั เชยี งใหม่ เปน็ ผรู้ ิเรม่ิ จดั เป็นครั้ง แรกเมอ่ื ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐ เน่ืองจากในสมยั นัน้ ความนยิ มในการฟงั เทศน์ มหาชาตเิ วสสนั ดรชาดกลดความสำ� คญั ลง ในขณะทเ่ี ทศบาลนครเชยี งใหม่ จดั งาน ประเพณีลอยกระทงหรือประเพณียี่เป็งอย่างเอิกเกริก มีชาวเชียงใหม่และ คนต่างถิ่นสนใจร่วมกิจกรรมอย่างครึกครื้น แต่ประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือ เทศนม์ หาชาตเิ วสสนั ดรชาดกทีว่ ัดหมน่ื สารกลับไม่ไดร้ บั ความสนใจ ทา่ นจึงคดิ อุบายให้คนมาสนใจฟัง โดยก�ำหนดให้คนที่เกิดในแต่ละปีมาฟังธรรมมหาชาติ เวสสนั ดรชาดกประจำ� ปเี กดิ ของตน เพอ่ื ความเปน็ สริ มิ งคลโดยสงเคราะหม์ หาชาติ เวสสันดรชาดกแต่ละกัณฑ์ ไปตามจักรวาลราศีปีเกิดของเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ นั้นๆ ดงั น้ี ๒๑๕สมั ภาษณ์ พระครูอดลุ สลี กิต.ิ์ อา้ งแลว้ . ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔. 228

รูปแบบการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกเพื่อสืบชาตาสะเดาะเคราะห์เช่น น้ี เปน็ ที่นิยมมีคนสนใจเขา้ รว่ มกิจกรรมมากข้นึ ภายหลังปี พ.ศ.๒๕๒๗ ชมรม สหธรรมจังหวัดเชียงใหม่ น�ำรูปแบบการเทศน์ลักษณะนี้ไปจัดท่ีวัดสวนดอก อำ� เภอเมอื ง พรอ้ มกบั จดั พมิ พห์ นงั สอื ประเพณตี ง้ั ธรรมหลวงเทศนม์ หาชาตลิ า้ นนา ไทยเผยแพรด่ ้วย ซงึ่ กไ็ ด้รบั ความนยิ มและแพรห่ ลายในกาลต่อมา ๔. การเทศน์เพอ่ื ส่งั สมบญุ บารมี ในชว่ งเขา้ พรรษา แต่ละวดั ในล้านนาโดยเฉพาะวดั ทอ่ี ยู่นอกเมอื ง นยิ ม จดั เทศนแ์ บบจารตี ทุกวันพระ บางวัดจดั พธิ ีเทศน์ในภาคเช้า บางวัดจดั ภาคบ่าย แลว้ แต่ความสะดวก ผฟู้ งั สว่ นใหญม่ กั เปน็ ผูส้ ูงอายุ ซ่ึงเปน็ วยั ท่ีตอ้ งการพกั ผ่อน ทางจติ ใจ มงุ่ ทำ� บุญบ�ำเพญ็ ทาน รกั ษาศลี คัมภรี ์ธรรมทีใ่ ชเ้ ทศนส์ ่วนใหญ่ เป็น นิทานหรอื ชาดกพ้นื บา้ นท่ีมีเน้ือหายาวหลายผกู เช่น ธรรมกำ่� กาด�ำ ธรรมหงสห์ นิ กำ� พร้าหมาดำ� ธรรมชา้ ง ๗ หัว ๗ หาง ธรรมชวิ หาลิ้นฅ�ำ ธรรมชา้ ง ๗ หัวบวั พนั กาบ ธรรมนางงูอม ธรรมสุพรหมโมกขกุมาร(หมาเก้าหาง) เป็นต้น แต่พระสงฆ์ จะแบง่ เทศนว์ ันพระละ ๑ - ๒ ผูก บางวดั อาจเทศน์เน้ือหาคำ� สอนทเี่ ป็นธรรมโทน 229

เชน่ อานสิ งส์รักษาศลี ตณั หาสามเหง้า การเอาชนะใจตน เป็นตน้ การฟงั เทศน์ ของผูส้ งู อายใุ นชว่ งเข้าพรรษา เชือ่ ว่าเป็นการสงั่ สมบุญบารมี เม่ือตายไปดวง วิญญาณจะไดไ้ ปเกดิ ในสวรรค์ บางคนมาฟงั เทศน์ทุกวันพระ บางคนมาฟงั เฉพาะ วนั พระข้ึน - แรม ๑๕ ค่ำ� (วนั ศีลใหญ)่ บางคนอาจมาฟังเฉพาะวันเขา้ พรรษาและ วันออกพรรษาเทา่ นั้น แล้วแตค่ วามสะดวกของแต่ละคน พ๕ธิ. พีกทุารธเาทภศเิ ษนกใ์ น๒๑พช๖ าธิ วพี ลุทา้ ธนานภาเิเษรยี กกวา่ พธิ อี บรมสมโภชพระเจา้ เปน็ พธิ กี รรม ทสี่ ำ� คญั และศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ เพอ่ื อญั เชญิ พระพทุ ธคณุ เขา้ มาประดษิ ฐานในองคพ์ ระพทุ ธรปู ทส่ี รา้ งใหม่ บริเวณประกอบพธิ อี าจเปน็ พระวิหาร อุโบสถ หรอื ศาลาการเปรียญ มีการตกแต่งเคร่ืองประกอบพิธีและเคร่ืองสักการะตามคติโบราณอย่างพิถีพิถัน ได้แก่องคพ์ ระพทุ ธรปู ใหม่ที่เขา้ พิธีพุทธาภิเษกจะปิดพระเนตรพระกณั ฑด์ ว้ ยข้ีผง้ึ พระเศยี รและพระพกั ตรค์ ลมุ ดว้ ยผา้ ฝา้ ยสขี าวซงึ่ ทำ� เปน็ กรวย บรเิ วณพธิ ขี ดั ราชวตั ร ล้อมรอบ ประดับด้วยฉตั ร ธง ช่อนอ้ ย ทงุ ไชย ต้นออ้ ย ตน้ กล้วย คาเขียว อา่ งน้�ำ (กสกรธุ ะภโัณบกฑขแ์ รบณบี)ลา้ แนวน่นาพเรรียะกเจวา่้าเคบรอื่าตงทรา้ วผท้าง้ั ไ๕ต๒๑ร๗ซจึง่ีวเรป็นนเคอรก่อื จงาสกงู นแั้สนดยงังถมงึีเคควราื่อมงเรปาน็ช กษัตริยข์ องพระพุทธเจ้า ไดแ้ ก่ เพงิ ฉัตต์ พัดคา้ ว(พดั พา้ ว) จาวมอร ละแอ(บงั วัน) และไมเ้ ทา้ (ไมว้ า)มดี า้ ยสายสญิ จนโ์ ยงจากพระพทุ ธรปู ใหมล่ อ้ มรอบเครอื่ งประกอบพธิ ี และเคร่ืองสักการะ มายังอาสนะที่พระสงฆ์น่ังปรกและนั่งเจริญพระพุทธมนต์ แบบล้านนาเรยี กว่า สวดมนต์ต๋นั (สูตรตง้ั ล�ำ) การประกอบพิธีพุทธาภิเษก นอกจากจะมีพิธีกล่าวค�ำโอกาสยอคุณ พระพทุ ธเจา้ ยอขันตงั้ ครู พธิ ีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีกวนขา้ วมธปุ ายาส (เข้าทิพย)์ แลว้ ยงั มพี ธิ ีเทศนธ์ รรมแบบจารีตทำ� นองธรรมวัตรดว้ ย โดยคัมภรี ์ธรรมทีน่ �ำมา เทศนจ์ ะมเี นอ้ื หาทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั พทุ ธประวตั แิ ละเทศนห์ ลงั จากเจรญิ พระพทุ ธมนต์ เสร็จแล้ว ประกอบด้วย ธรรมปฐมสมโพธิ์ ธรรมสิทธาตถ์ออกบวช ธรรมพุทธาภิเษก ธรรมจักกัปปวัตนสูตร และธรรมพิมพาพิลาป คัมภีร์ ธรรมเหล่านี้ได้เสริมสร้างศรัทธาของผู้เข้าร่วมพิธีให้เกิดความรื่นเริงในธรรม ๒๑๖พระครูสิริสุตาภมิ ณฑ์ (ศุภชยั ค�ำปัน). การศึกษาวิเคราะหว์ รรณกรรมที่ใชใ้ นพิธพี ุทธาภเิ ษกแบบลา้ นนา. วทิ ยานพิ นธ์ ศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑิต บณั ฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยั เชียงใหม่. ๒๕๔๕. หนา้ ๑. 230 ๒๑๗อุดม รุ่งเรืองศร.ี พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง ฉบับปรับปรงุ ครงั้ ท่ี ๑. อา้ งองิ แล้ว. หนา้ ๑๔๓.

ชว่ ยสรา้ งจนิ ตนาการเสมือนว่า ผฟู้ งั ยังมีชวี ิตอยูร่ ว่ มสมยั กบั พระพทุ ธเจา้ ไดร้ บั รู้ เหตกุ ารณ์ทีป่ รากฏในพทุ ธประวัตโิ ดยตลอด ปจั จุบนั การเทศนธ์ รรมด้วยคัมภีร์ ดังกลา่ วกย็ ังปรากฏอย่ใู นพธิ พี ุทธาภเิ ษกแบบล้านนา พธิ ีพทุ ธาภิเษกพระพทุ ธรูปแบบลา้ นนาในอโุ บสถ การเทศน์แบบจารตี ในพธิ ีพทุ ธาภิเษกแบบล้านนา โดยเทศน์แบบอา่ นตามคมั ภีรใ์ บลาน 231

๖. การเทศนเ์ พื่อขอฝน๒๑๘ สังคมล้านนา เป็นสังคมเกษตรกรรม ต้องพงึ่ พาอาศัยธรรมชาตใิ นการ เพาะปลูก หากปีใดฤดูกาลเปลีย่ นแปลง ฝนไมต่ ก ท�ำใหข้ าดนำ�้ ในการท�ำไร่ท�ำนา ชุมชนท่ีได้รับผลกระทบจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลจะร่วมใจกันประกอบพิธี ขอฝนโดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์และเทศน์ธรรมปลาช่อน หรือ มจั ฉราชาปลาช่อน บางผกู ใชช้ อ่ื วา่ ธรรมมัจฉาพญาปลาช่อน พธิ ขี อฝนโดยเทศนธ์ รรมปลาชอ่ นนี้ นยิ มจดั ในเดอื น ๘ - ๙ เหนอื (ระหวา่ ง เดอื นพฤษภาคม - มถิ นุ ายน - กรกฏาคม) เพราะเปน็ ชว่ งทเ่ี รม่ิ ทำ� นาแลว้ สถานที่ จัดพธิ มี กั เปน็ กลางทงุ่ นาหรือลานกวา้ งโล่งแจ้ง ประกอบด้วยเครอื่ งสักการะ และ เครอ่ื งประกอบพธิ ี ตลอดถงึ ลำ� ดบั ขน้ั ตอนตา่ งๆ เพอื่ ขอพรจากอำ� นาจของพทุ ธคณุ และส่งิ ศักดส์ิ ทิ ธิ์ ได้แก่ ทา้ วจตโุ ลกบาลท้งั ๔ ปัชชุนนะเทวบตุ ร (เทวดารักษาฝน) และวราหกเทวบตุ ร (เทวดารักษาเมฆ) ช่วยดลบันดาลใหฝ้ นตก เคร่ืองประกอบพิธีส�ำคญั ไดแ้ ก่ ขันตั้งหรอื เครอื่ งบูชาครู สะทวงหรอื กระทงใส่เคร่ืองบูชาทา้ วจตโุ ลกบาล (ทา้ วท้ัง ๔) สะทวงบูชาปชั ชนุ นะเทวบตุ ร และสะทวงบูชาวราหกเทวบตุ ร บริเวณประกอบพธิ ีขุดหนองนำ้� กว้างประมาณ ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร ก้นหนองใส่ทรายและน้�ำพอสมควร ท�ำเป็นหนองน้ำ� แล้ว ขดั ราชวตั รลอ้ มรอบประดบั ดว้ ยตน้ กลว้ ย ต้นออ้ ย ช่อน้อย ตงุ ไชย ต้นกล้าผักจิก ตน้ กล้าไม้พุทรา (ไม้ตนั ) ต้นกลา้ ไมข้ นนุ ต้นกล้าไม้ไคน้ นุ่ ตน้ กล้าไม้ไคน้ วน สว่ น บรเิ วณหนองนำ้� ใสร่ ปู ปลาชอ่ นทำ� ดว้ ยไมท้ ไี่ หลมากบั นำ้� นอง ๑ ตวั ทำ� ดว้ ยไมอ้ รี มุ ๑ ตวั บรเิ วณขอบหนองนำ้� ตงั้ รปู นกแรง้ รปู อกี า รปู นกกระยาง รปู เหยย่ี ว (แหลว) รปู นกค้อยหยุ แล้วตง้ั แทน่ ประดษิ ฐานพระพทุ ธรูปท่ีกลางหนองน�้ำนัน้ ทางทศิ ใต้ ของราชวตั รจะตง้ั รปู เหยยี่ ว ทศิ ตะวนั ตกตง้ั รปู นกกระยาง ทางทศิ เหนอื ตงั้ รปู นกแรง้ และรปู อีกา พร้อมกบั ตัง้ หอหรอื แท่นบูชาทา้ วจตโุ ลกบาล และต้ังหอเสาเดยี ว ๒ หอ เพอื่ เปน็ ท่บี ชู าปัชชนุ นะเทวบุตร และบชู าวราหกเทวบตุ ร ส่วนทศิ ใตเ้ ป็น สถานที่อยขู่ องพระสงฆ์ ๔ รปู และศรัทธาประชาชนท่ีมาประกอบพิธี การประกอบพธิ ี เรม่ิ จากการนมิ นตพ์ ระพทุ ธรปู ขนึ้ ประดษิ ฐานในปะรำ� พธิ ี พระสงฆน์ ง่ั บนอาสนะ แลว้ อาจารยห์ รอื มคั นายกนำ� กลา่ วคำ� ไหวพ้ ระ อาราธนาศลี เปน็ เบอื้ งตน้ จากนน้ั ยกขนั ตงั้ หรอื ขนั ครมู อบใหอ้ าจารยผ์ ปู้ ระกอบพธิ ี เพอื่ บอกกลา่ ว และขอพรจากวญิ ญาณศกั ดสิ์ ทิ ธขิ์ องครบู าอาจารย์ จากนนั้ อาจารยย์ กเครอื่ งบชู า 232 ๒๑๘สัมภาษณ์ นายศรเี ลา เกษพรหม. อา้ งแล้ว. ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑.

กลา่ วคำ� โอกาสบูชาพระพุทธคณุ ท้าวจตโุ ลกบาล เสร็จแล้วนำ� เครื่องบูชาถวาย ปัชชนุ นะเทวบุตร ๑ สะทวงพรอ้ มกบั กลา่ วค�ำโอกาส แล้วยกเครอื่ งบชู าถวาย วราหกเทวบตุ ร ๑ สะทวง แล้วกลา่ วค�ำโอกาส เมอื่ กลา่ วค�ำโอกาสเสรจ็ แล้ว นำ� ไมแ้ กะสลักรูปปลาปลอ่ ยลงในหนองน�ำ้ จากนั้นนมิ นตพ์ ระสงฆ์เทศน์ธรรมมจั ฉาพญาปลาชอ่ น จบแลว้ อาจารย์อาราธนา- พระปริตร พระสงฆเ์ จริญพระพุทธมนต์และพระคาถามจั ฉาราช ถวายสงั ฆทาน รบั พร เป็นเสร็จพิธสี งฆ์ หลังจากน้ันผู้เขา้ ร่วมพธิ ีน�ำน้ำ� สม้ ปอ่ ย น้ำ� อบ น�้ำหอม ไปสรงนำ้� พระพทุ ธรปู ทหี่ อสรงและรปู ปลาชอ่ นกลางหนองนำ้� มกี ารประโคมดนตรี เพอื่ เปน็ การสง่ เสพ ทงั้ น้ใี หร้ ักษาบริเวณประกอบพธิ ีให้ครบ ๓ วัน ๗ วัน เชื่อว่า ฝนจะตกลงมาภายใน ๓ วนั หรือ ๗ วนั ปัจจุบัน บางพ้ืนที่ยังประกอบพิธีเทศน์ธรรมมัจฉาปลาช่อนอยู่ เนื่อง สภาพภมู ิอากาศแปรปรวน ฝนไม่ตกต้องตามฤดกู าล อีกทั้งยงั มีกลมุ่ อนุรกั ษ์ ธรรมชาติได้จัดพิธีเพ่ือปลูกฝังจิตส�ำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้แก่ชุมชนผ่าน พิธนี ้ีด้วย คมั ภรี ์ธรรมมัจฉราชาปลาชอ่ นและไมแ้ กะสลกั รูปปลาชอ่ นในพิธเี ทศน์ธรรมปลาชอ่ น 233

๓.๖ การสบื ทอดการเทศน์แบบจารีตลา้ นนาในปจั จุบัน ปัจจุบนั การสืบทอดการเทศน์แบบจารตี ยงั มอี ยู่ ท้ังการเทศนแ์ บบ ธรรมวัตร(ธรรมคร่าว) และการเทศนแ์ บบมหาชาติ เพราะชาวล้านนาโดยเฉพาะ ผ้สู ูงอายยุ งั นยิ มฟังการเทศน์แบบจารีตในโอกาสตา่ งๆ เช่น ประเพณีฟงั ธรรม เขา้ วสั สา (พรรษา) ประเพณตี งั้ ธรรมหลวง (เทศนม์ หาชาต)ิ เปน็ ตน้ ทำ� ใหแ้ ตล่ ะ วดั ตอ้ งฝกึ ฝนพระสงฆส์ ามเณรให้เทศน์อยา่ งช�ำนาญ โดยเฉพาะในชว่ งกอ่ นเข้า พรรษา แต่ละวัดจะจัดซ้อื คมั ภีรธ์ รรมกระดาษเรอ่ื งต่างๆ ส่วนใหญเ่ ปน็ นทิ าน ชาดก (ชาดกนอกนบิ าต) ซึ่งเป็นธรรมครา่ ว จากร้านจ�ำหนา่ ยสงั ฆภัณฑ์หรือ กลมุ่ พ่อคา้ ที่น�ำมาเสนอขายในวดั แล้วแจกคมั ภีร์ธรรมใหพ้ ระสงฆส์ ามเณร ได้ ฝึกเทศน์ให้คลอ่ งชำ� นาญกอ่ นขนึ้ เทศนจ์ รงิ เนอื่ งจากในชว่ งเขา้ พรรษา ถอื เปน็ ชว่ ง ทศ่ี รทั ธาประชาชนจะเขา้ วัดฟงั ธรรมทุกวันพระ เจ้าอาวาสจะผลดั เปลย่ี นพระ สงฆส์ ามเณรแตล่ ะรูปขน้ึ เทศน์ ถา้ หากพระสงฆ์สามเณรเทศน์ไดด้ ี ถกู ตอ้ ง และ ไพเราะ นอกจากจะท�ำใหต้ นเองมชี อ่ื เสียงแล้ว ยังถือเป็นเกยี รตติ ่อเจา้ อาวาสด้วย แสดงใหเ้ หน็ วา่ เจา้ อาวาสไดใ้ หค้ วามสนใจ ดแู ล สนบั สนนุ และอบรมสงั่ สอนจน สามารถเทศนไ์ ดด้ ี นอกจากนนั้ ประเพณเี ทศน์มหาชาตกิ ย็ ังมวี ัดและสถาบันการ ศกึ ษาหลายแหง่ ให้ความสนใจผลัดเปลี่ยนกนั จดั เทศนใ์ นแต่ละโอกาส โดยเฉพาะ ในชว่ งเดอื นยเี่ ปง็ บางวดั หรอื บางสถาบนั ศกึ ษากจ็ ดั แบบผสมผสานทางวัฒนธรรม โดยนิมนต์พระสงฆ์ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทภูมิภาคลุม่ แมน่ �้ำโขง เชน่ ไทเขิน เมอื ง เชียงตุง ไทยอง เมอื งยอง ประเทศสหภาพเมยี นมาร์ไทลอื้ เมอื งสบิ สองพนั นา สาธารณรัฐประชาชนจนี ไทยวน (ล้านนา) ไทยสยาม (ภาคกลาง) ไทยอีสาน และเมอื งหลวงพระบาง มาเทศน์ในแตล่ ะกัณฑ์ เพ่ือใหเ้ กิดความสนุกสนานและ ไดฟ้ ังทำ� นองเทศนท์ ่แี ตกต่างกัน เช่น วดั สวนดอก วดั โลกโมฬี จังหวดั เชยี งใหม่ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เชยี งใหม่ มหาวทิ ยาลัยนอรท์ เชียงใหม่ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏ เชยี งราย เป็นตน้ เมอ่ื การเทศนแ์ บบจารตี ยงั ดำ� รงอยู่ทำ� ใหพ้ ระสงฆส์ ามเณรบางรปู ทสี่ นใจ ฝกึ เทศน์ท้งั แบบธรรมวตั รและแบบมหาชาติ ตา่ งแสวงหาครูบาอาจารย์ ท่ีมีความ รูค้ วามสามารถในการสอนเทศนท์ �ำนองตา่ งๆ ทัง้ ที่เป็นพระสงฆแ์ ละฆราวาสท่ี เคยผา่ นการบวชเรยี นมาก่อน บางรปู กน็ �ำแถบบนั ทึกเสยี งและแผน่ ซีดีมาเปิด แลว้ ฝกึ เทศนต์ าม เช่น แถบบนั ทึกเสียงการเทศน์ของพระครอู มรธรรมประยุต 234

อดตี เจา้ คณะอำ� เภอแมร่ มิ พระครโู อภาสคณาภบิ าล อดตี เจา้ อาวาสวดั หมนื่ สาร อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั เชยี งใหม่ เป็นต้น แต่ส�ำเนียงฝึกเทศน์ก็ไม่ไพเราะ เหมือนรูป ท่ีไปฝึกกับครูบาอาจารย์ท่ีชำ� นาญ ปจั จุบันคณะสงฆ์จงั หวัดเชยี งใหม่ มสี ำ� นักเรียนทเ่ี ปดิ สอนการเทศนแ์ บบ จารีต ทั้งแบบธรรมวัตรและแบบมหาชาตอิ ย่างจรงิ จงั และต่อเน่อื ง จนมพี ระสงฆ์ สามเณรทีจ่ บเทศน์ (จบธรรม) แล้ว สามารถไปเทศน์ในงานบุญประเพณีต่างๆ จ�ำนวนมากได้แก่ ส�ำนักเรียนวัดลอยเคราะห์ ต�ำบลช้างคลาน อ�ำเภอเมือง จงั หวดั เชยี งใหม่ โดยมีพระครสู ุวมิ ลธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวดั ลอยเคราะห์ เปน็ ผ้รู ิเริ่มและใหก้ ารสนับสนุน พระครูสุวิมลธรรมรักษ์๒๑๙เล่าถึงการเร่ิมต้นสอนเทศน์แบบจารีตว่า สมัยก่อนเคยนง่ั ฟงั พระสงฆ์สามเณรในวัดเทศนธ์ รรมแบบจารตี แตอ่ อกสำ� เนียง- ภาษาท้องถน่ิ ชัดเจนบา้ ง ไมช่ ดั เจนบ้าง ในขณะท่ีศรัทธาประชาชนต้งั ใจฟงั อย่างดี แต่กลับฟังแล้วไม่รู้เรื่องและไม่ได้อรรถรส จึงคิดแสวงหาครูอาจารย์มาสอน การเทศน์ท่ีถูกต้องและมีท�ำนองที่ไพเราะให้แก่พระสงฆ์สามเณร จึงได้เชิญ นายประพฒั น์ ไชยชนะ บา้ นแม่ขกั ต�ำบลหางดง อำ� เภอหางดง มาเปน็ ครูสอน ทง้ั แบบธรรมวตั รและแบบมหาชาตคิ รัง้ แรก เมอื่ พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙ ปรากฏวา่ มีพระสงฆ์สามเณรสนใจเรียนและเทศน์ได้ดีหลายรูป ภายหลังได้นิมนต์ พระครวู ิบลู กติ ตริ ักษ์ วดั ช่างแตม้ ต�ำบลพระสิงห์ พระครูอดุลยส์ ีลกิต์ิ วดั ธาตุค�ำ ตำ� บลหายยา พระครูวิสฐิ ศีลาภรณ์ วัดวงั สิงหค์ �ำ ต�ำบลป่าแดด อำ� เภอเมอื ง พระครูบัณฑิตธรรมาภรณ์ วัดลัฏฐวิ ันขอนตาล อำ� เภอแมร่ ิม จงั หวัดเชียงใหม่ มาเปน็ ครสู อนเพม่ิ อีก โดยมีนายประพฒั น์ ไชยชนะ เปน็ ครใู หญ่ หรอื เปน็ ผู้ควบคุมการสอน ท�ำให้พระสงฆ์สามเณรทั้งจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง เดินทางมาเรียนจนประสบผลส�ำเร็จมากขึ้นโดยล�ำดับ ภายหลังครูบาอาจารย์ บางรปู ไมไ่ ดม้ าสอน เพราะเปน็ เจา้ อาวาสและมตี ำ� แหนง่ ทางการปกครองคณะสงฆ์ อีกทั้งนายประพฒั น์ ไชยชนะไดเ้ สยี ชวี ติ ลง พระครสู วุ มิ ลธรรมรกั ษจ์ งึ ไดม้ อบหมาย ใหพ้ ระใบฏกี าชาญณรงค์ จนทฺ สาโร เจา้ อาวาสวดั ทงุ่ หมนื่ นอ้ ย ตำ� บลหนองหาร อำ� เภอ สนั ทราย และพระธรี วตั ร ขตตฺ โิ ย วดั มหาวนั ตำ� บลชา้ งคลาน อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั เชยี งใหม่ ซงึ่ เปน็ ลกู ศษิ ยแ์ ละมคี วามชำ� นาญในการเทศน์ มาเปน็ ครสู อนรนุ่ นอ้ งสบื มา จนถงึ ปจั จบุ นั ๒๑๙สัมภาษณพ์ ระครสู ุวิมลธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวดั ลอยเคราะห์ ต�ำบลชา้ งคลาน อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั เชียงใหม.่ 235 ๒๐ มถิ นุ ายน ๒๕๕๖.

นอกจากวัดลอยเคราะหจ์ ะสอนเทศนธ์ รรมแบบจารตี แล้ว ยังสอนอกั ษร ล้านนา (ตวั เมอื ง) ดว้ ย เพ่ือใหพ้ ระสงฆส์ ามเณรอ่านออกเขยี นได้ เม่ือเทศน์แบบ จารีตจะไดอ้ อกส�ำเนยี งลา้ นนาไดช้ ดั เจน ท้ังนี้ การเรยี นเทศนแ์ บบจารีตตอ้ งใช้ เวลานาน ผ้สู อนและผู้เรียนตอ้ งมีความตงั้ ใจจริง มคี วามเสียสละ และอดทน จงึ จะประสบผลสำ� เร็จ เม่อื จบเทศนแ์ ลว้ ควรจะสอนพระสงฆส์ ามเณรรุน่ ตอ่ ไป เพ่อื ไมใ่ หว้ ฒั นธรรมการเทศน์แบบจารีตล้านนาสญู หาย ส่วนการเทศน์แบบใหม่ทงั้ การเทศนแ์ บบปฏภิ าณโวหารและปาฐกถากค็ วรพฒั นาไปดว้ ย แตเ่ มอื่ เปน็ นกั เทศน์ แลว้ ตอ้ งเป็นนักเทศนท์ ่ดี ี มจี รรยาบรรณ คือเทศนเ์ พอ่ื อนเุ คราะห์ศรัทธาญาติโยม ไมเ่ หน็ แกล่ าภสกั การะ ยดึ องคแ์ หง่ พระธรรมกถกึ ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ทรงแสดงไวใ้ หม้ นั่ เพ่ือประโยชน์สูงสดุ ในการเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนา 236

ภาพการสอนเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนาของวดั ลอยเคราะห์ อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั เชยี งใหม่ (ขอบคณุ ภาพจาก วดั ลอยเคราะห์ http://www.watloikroh.com/showactdetail.php?act_id=474) พระครสู ุวิมลธรรมรกั ษ์ เจ้าอาวาสวัดลอยเคราะห์ ก�ำลังให้โอวาทแก่พระสงฆ์สามเณรทม่ี าเรยี นเทศนแ์ บบจารตี ล้านนา 237

พระใบฏีกาชาญณรงค์ จนทฺ สาโร และพระธรี วัตร ขตฺตโิ ย ก�ำลงั สอนเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนา 238

พระภิกษสุ ามเณรที่สนใจเรยี นการเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนาทีว่ ดั ลอยเคราะห์ 239

๓.๗ ปจั จัยที่ส่งผลตอ่ การเปลย่ี นแปลงรูปแบบการเทศน์ของลา้ นนา การเทศน์เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในล้านนา เม่ือมีความรู้ใหม่ ประสบการณ์ใหม่หลั่งไหลเข้ามา ยอ่ มส่งผลต่อวิถกี ารดำ� รงชวี ติ ของชาวลา้ นนา ท�ำใหต้ อ้ งปรบั เปลยี่ น หยบิ ยืม ผสมผสาน เพ่อื ตอบสนองความต้องการในการ ดำ� เนินชีวิตให้ดียง่ิ ขน้ึ ตามกาลสมยั ปจั จยั หลักทส่ี ง่ เสริมให้เกดิ การเปลีย่ นแปลง รปู แบบการเทศน์ในล้านนา ประกอบดว้ ย ๓.๗.๑ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวฒั นธรรม เปน็ ผลสบื เนอื่ งจากการลม่ สลายของอาณาจกั รลา้ นนา แลว้ ผนวกดนิ แดน เข้าเป็นส่วนหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจบุ นั ประกอบด้วย ๘ จงั หวดั ไดแ้ ก่ เชียงใหม่ เชยี งราย ล�ำพนู ล�ำปาง พะเยา แพร่ นา่ น และแม่ฮ่องสอน โครงสร้างทางสงั คมล้านนาเกดิ การเปลย่ี นแปลง ความร้แู ละวัฒนธรรมต่างถนิ่ ทง้ั จากไทยภาคกลางและชาตติ ะวันตกหลงั่ ไหลเขา้ สู่ล้านนาอยา่ งทว่ มท้น ชาว ล้านนารุ่นใหม่ได้เปล่ียนเเปลงวิธีคิดและรูปแบบการด�ำเนินชีวิตตามความรู้ และวทิ ยาการสมยั ใหม่ จนทำ� ให้วัฒนธรรมท้องถิ่นลดความสำ� คญั ลงโดยเฉพาะ องค์กรสงฆ์ล้านนาหลังจากได้รับการปฏิรูปจากองค์กรสงฆ์ส่วนกลางปกครอง แล้ว มกี ารแตง่ ตัง้ สมณศกั ดสิ์ งฆแ์ ละตำ� แหน่งบรหิ ารตามพระราชบญั ญตั ลิ ักษณะ การปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๔๕ จึงให้ความสำ� คัญกบั นโยบายที่องคก์ รสงฆ์ ส่วนกลางหรือพระสงฆ์ช้ันผู้ใหญ่ท่ีมีสมณศักดิ์และต�ำแหน่งบริหารสูงกว่ามอบ หมายใหด้ �ำเนินการ ท�ำให้วฒั นธรรมเกี่ยวกับองค์กรสงฆ์ทอ้ งถนิ่ ที่ยดึ ถอื กนั มาได้ เปลยี่ นแปลงและลดบทบาทลง โดยเฉพาะพระภกิ ษุ - สามเณรล้านนารนุ่ ใหม่ ซ่งึ เป็นศาสนทายาทที่ต้องขนึ้ นงั่ ธรรมาสน์เทศน์ เพอ่ื ปลกู ฝังอัตลักษณ์ลา้ นนา ต่างไดร้ บั การศกึ ษาแผนใหมท่ ่ีเนน้ การใชอ้ ักษรภาษาไทยกลาง ทำ� ใหพ้ ระภิกษุ- สามเณรสว่ นใหญ่ไมส่ ามารถอา่ นเขยี นอักษรล้านนาได้ ส่งผลให้รูปลกั ษณข์ อง คมั ภีรธ์ รรมล้านนาเปล่ยี นแปลง จากคมั ภีร์ใบลานจารดว้ ยอกั ษรล้านนาสคู่ มั ภีร์ กระดาษแขง็ สนี �ำ้ ตาลพิมพ์ด้วยอกั ษรภาษาไทยกลาง แมก้ ารผลิตคมั ภีรธ์ รรม เช่นนี้ จะสะดวก รวดเรว็ ทนั สมยั แตก่ ท็ ำ� ใหเ้ กดิ ปัญหาในการพิมพ์อักษรภาษา ไทยกลางด้วยส�ำเนยี งลา้ นนา (การปรวิ รรตอกั ษรล้านนาสู่อกั ษรภาษไทยกลาง) พระภกิ ษุ - สามเณรลา้ นนารนุ่ ใหมท่ เี่ ทศนแ์ บบจารตี โดยอา่ นตามอกั ษรไทยกลาง 240

จึงมกั ออกเสยี งสำ� เนียงล้านนาไม่ถกู ตอ้ งไมช่ ดั เจน ทำ� ให้ขาดอรรถรสทางภาษา นายศรเี ลา เกษพรหม๒๒๐กล่าวถึงพระภิกษ-ุ สามเณรชาวล้านนาในปัจจุบนั เทศน์แบบจารีต ออกเสียงไม่ถูกตอ้ งว่า “...เจ้าของโรงพิมพ์น�ำเอาคัมภีร์ธรรมล้านนา ซึ่งท�ำจากใบลานจาร ดว้ ยอกั ษรล้านนามาปริวรรต แลว้ จดั พมิ พด์ ว้ ยภาษาไทยกลางแทน ย่ิงทำ� ให้ อักษรลา้ นนาลดความส�ำคญั ลง เนือ่ งจากพระสงฆ์สามเณรชาวล้านนา เหน็ ว่า ไม่มีความจำ� เป็นทีจ่ ะตอ้ งเรียนอักษรลา้ นนา เพราะคัมภีรธ์ รรมที่ใช้เทศน์ จัด พิมพ์ด้วยอักษรไทยกลางแลว้ แทท้ ี่จรงิ แลว้ พระสงฆ์สามเณรทเี่ ทศนแ์ บบจารีต ดว้ ยการอา่ นตามอกั ษรไทยกลาง มกั มีปัญหาในการออกเสยี งส�ำเนียงลา้ นนาผดิ เพีย้ นไม่ไพเราะ เช่น ค�ำว่า โรคา (โรคา หมายถงึ โรคภัยไขเ้ จบ็ ) แต่พระสงฆ์ สามเณรรนุ่ ใหมอ่ อกเสยี งเป็น โลกา ซง่ึ หมายถงึ โลก ทำ� ใหฟ้ ังแลว้ ไม่ไดอ้ รรถรส ทางภาษาและความหมายเปลยี่ นไปดว้ ย...” ข้อสงั เกตดงั กล่าวน้ี นอกจากจะเป็นปัญหาของผเู้ ทศนแ์ ลว้ ยงั เปน็ ปัญหาในการปริวรรตถ่ายทอดอักษรล้านนามาสู่อักษรไทยกลางของผู้จัดพิมพ์ ดว้ ย แม้แต่ในวงวิชาการด้านล้านนาคดีในปัจจบุ นั กม็ ีขอ้ ถกเถียงในระบบการ ปรวิ รรตถ่ายทอดอักษรภาษาล้านนามาสภู่ าษาไทยกลาง ฝา่ ยหน่ึงเหน็ ว่า ควร ปรวิ รรตถา่ ยทอดอกั ษรโดยยดึ หลกั นริ กุ ตศิ าสตร์ อกี ฝ่ายเหน็ ว่า ควรปรวิ รรตให้ ใกล้เคียงตามส�ำเนยี งท่เี คยชินในท้องถิ่น อกี ฝา่ ยหน่งึ เห็นว่า ควรปริวรรตให้ใกล้ เคยี งกบั ภาษาไทยกลางเพื่อส่ือความหมายให้เขา้ ใจ ซ่ึงปัญหาน้ยี งั ไม่เปน็ ที่ยตุ ิ แต่ ขนึ้ อยกู่ บั แตล่ ะฝา่ ยวา่ จะหยดึ หลกั การปรวิ รรตถา่ ยทอดอกั ษรแบบใดใหเ้ หมาะสม กับงานและกลมุ่ เปา้ หมายทต่ี ้องการส่ือสาร นอกจากรูปแบบคัมภีรธ์ รรมล้านนาจะเปล่ียนแปลงแลว้ ยังมีรูปแบบ การเทศนธ์ รรมแบบพระสงฆ์ไทยภาคกลาง ทัง้ การเทศน์แบบอา่ นตามหนงั สอื ที่ แตง่ ด้วยส�ำเนียงภาษาไทยกลาง การเทศนแ์ บบปฏิภาณโวหาร และการเผยแผ่ แบบปาฐกถาธรรมแพรเ่ ขา้ มา ทำ� ใหเ้ กดิ การยอมรบั และนำ� มาเทศนอ์ ยา่ งแพรห่ ลาย โดยเฉพาะพระสงฆ์ล้านนาชั้นผู้ใหญ่ ท่ีได้รับสมณศักดิ์และต�ำแหน่งปกครอง ทางคณะสงฆจ์ ากองคก์ รสงฆ์สว่ นกลาง ต้องเทศน์ใหบ้ รรดาเจา้ นาย ข้าราชการ ๒๒๐สัมภาษณ์ นายศรีเลา เกษพรหม. อา้ งแลว้ . ๒๗ ตลุ าคม ๒๕๕๑. 241

และประชาชนชาวไทยภาคกลางฟงั โดยไมใ่ หค้ วามสำ� คญั กบั การเทศนแ์ บบจารตี พระครูอดลุ ยส์ ีลกติ ์ิ๒๒๑กล่าวถึงการเปลย่ี นแปลงจารตี การเทศน์ของล้านนาว่า “...การเทศน์แบบธรรมาสน์เดีย่ วหรือ๒–๓ธรรมาสน์เร่มิ เขา้ สลู่ ้านนา หลังจากท่ีรวมเเผ่นดินกับสยามแลว้ โดยทางสยามสง่ ขา้ ราชการและพระสงฆ์ มาปฏิรูปการปกครองทงั้ ฝ่ายบา้ นเมอื งและฝา่ ยพระสงฆ์ โดยเฉพาะพระสงฆ์ ทีส่ ่งมานัน้ ไดต้ ง้ั โรงเรยี นสอนภาษาไทยและนักธรรมข้นึ เม่ือมขี า้ ราชการจาก ภาคกลางเข้ามาฟงั การเทศนด์ ้วยภาษาถน่ิ คำ� เมืองแลว้ ไม่รู้เรอ่ื ง พระสงฆล์ า้ นนา จึงเรม่ิ ฝึกเทศนแ์ บบไทยภาคกลาง ครัง้ หน่ึงในสมัยของพระเทพวรสทิ ธาจารย์ (ดวงคำ� ธมฺมทนิ ฺโน)๒๒๒ อดีตเจา้ อาวาสวดั ส�ำเภา อดีตเจ้าคณะจังหวดั เชยี งใหม่ ได้จดั งานบำ� เพ็ญกศุ ลพระศพพระราชชายาเจ้าดารารศั มี ซึ่งมขี ้าราชการและ คนไทยภาคกลางมารว่ มงานจำ� นวนมาก เจา้ ภาพจะนมิ นตพ์ ระสงฆจ์ ากกรงุ เทพฯ มาเทศน์ก็ไม่ได้ เพราะไมส่ ะดวกตอ่ การเดนิ ทาง ครัน้ จะนิมนตพ์ ระสงฆเ์ ชยี งใหม่ เทศนใ์ หค้ นไทยภาคกลางฟงั กไ็ มถ่ นดั จงึ สง่ เสรมิ ใหพ้ ระสงฆเ์ ชยี งใหมเ่ ทศนแ์ บบไทย ภาคกลาง รวมทง้ั สวดถวายพรพระชยั มงคลคาถา ธมั มนยิ าม อาทติ ตปรยิ ายสตู ร ภายหลงั มคี �ำสั่งไม่ใหพ้ ระสงฆเ์ รยี นอักษรล้านนา โดยเฉพาะในเมอื งเชยี งใหม่จะ เขม้ งวดมาก แตบ่ า้ นนอกกย็ งั มเี รยี นอยู่ ตอ่ มาพทุ ธทาสภกิ ขแุ ละปญั ญานนั ทภกิ ขุ ขน้ึ มาเผยแผธ่ รรมรปู แบบใหมด่ ว้ ยการยนื ปาฐกถา กย็ ง่ิ ทำ� ใหก้ ารเทศนแ์ บบจารตี ลดความสำ� คัญลง...” ๒๒๑สมั ภาษณ์พระครูอดุลย์สีลกิติ์. อา้ งแลว้ . ๒๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๔. ๒๒๒มรณภาพ พ.ศ. ๒๕๓๒ อายุ ๗๙ ปี. 242

๓.๗.๒ การเปลยี่ นแปลงดา้ นการศกึ ษาและทศั นคตขิ องพระสงฆล์ า้ นนา ในระยะเริ่มแรก ท่ีองค์กรสงฆ์ล้านนาได้รับการปฏิรูปการศึกษาและ การปกครองจากองค์กรสงฆ์ส่วนกลาง แม้พระสงฆ์ล้านนาบางส่วนท่ียังยึดถือ จารตี เดมิ อยู่ จะมปี ฏกิ ริ ยิ าตอ่ ตา้ นผา่ นตวั แทนอำ� นาจสงฆส์ ว่ นกลาง เชน่ ขอ้ ขดั แยง้ ระหวา่ งครบู าโสภา โสภโณ (เจ้าคณุ พระอภัยสารทะ ปฐมสงั ฆราชานครเชียงใหม)่ กบั เจ้าคณุ พระนพีสพี ิศาลคุณ หรอื ขอ้ ขัดแยง้ ระหว่างครูบาศรวี ิชยั กบั เจ้าคณะ จงั หวดั ล�ำพูน เปน็ ตน้ แตท่ างกรงุ เทพฯ ก็ใชม้ าตรการผ่อนผันเพอ่ื ให้เกิดการ ยอมรบั โดยนมิ นตค์ รบู าโสภาและครบู าศรวี ชิ ยั ไปทำ� ความเขา้ ใจและอบรมกฏระเบยี บ คณะสงฆใ์ หมท่ ก่ี รุงเทพฯ มกี ารมอบสมณศกั ด์ิและแตง่ ตงั้ ต�ำแหน่งการปกครอง คณะสงฆ์ใหม่ โดยใหค้ รูบาโสภาเป็นเจา้ คณุ พระอภยั สารทะ สังฆปาโมกข์ ด�ำรง ตำ� แหน่งเจ้าคณะจงั หวดั เชียงใหมร่ ปู แรก เมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๙ สว่ นครบู าศรีวชิ ยั ก็ได้ รับการปลอ่ ยตวั โดยไมม่ คี วามผิด การกระทำ� เช่นนท้ี ำ� ให้ชาวลา้ นนา โดยเฉพาะ กลมุ่ ลกู ศษิ ยท์ ใ่ี หค้ วามเคารพนบั ถอื เกดิ ทศั นคตทิ ดี่ ี ภายหลงั พระสงฆล์ า้ นนากเ็ รม่ิ เคยชนิ และเกดิ การยอมรบั การปฏริ ปู องคก์ รสงฆ์ จนนำ� ไปสกู่ ารพัฒนาดา้ นการ ศกึ ษาและการปกครององคก์ รสงฆอ์ ยา่ งรวดเรว็ ในขณะทสี่ มณศกั ดส์ิ งฆ์ พธิ เี ถราภเิ ษก การศกึ ษา และการปกครองสงฆ์ลา้ นนาแบบหมวดอุโบสถก็ถกู ยกเลกิ แตม่ ีการ มอบสมณศกั ดิ์ ตำ� แหนง่ การปกครอง การจดั การศกึ ษาแบบพระสงฆไ์ ทยกลาง แทน โดยเฉพาะพระสงฆ์ล้านนาท่ผี า่ นการศึกษานกั ธรรม สามารถพัฒนาตนเป็น พระนกั เทศนท์ งั้ แบบอา่ นตามหนงั สอื ทแ่ี ตง่ ดว้ ยสำ� เนยี งภาษาไทยกลาง เทศนแ์ บบ ปฏิภาณโวหาร และยืนพูดปาฐกถาไดเ้ ปน็ อย่างดี พระมหาสงา่ ธีรสวํ โร๒๒๓กลา่ ว ถึงบทบาทของการศกึ ษานักธรรมทม่ี ตี อ่ พัฒนาการเทศนใ์ นล้านนาว่า “...หลกั สตู รนักธรรม มสี ่วนสำ� คัญทที่ ำ� ใหพ้ ระสงฆล์ า้ นนา สามารถ เทศน์แบบภาคกลางได้ ผมเองก็เคยฝึกการปาฐกถาธรรมจากการฝึกแต่ง กระทู้ธรรมมากอ่ น โดยพระอาจารยท์ ีค่ วบคุมการสอนฝึกเทศน์ ได้น�ำรูปแบบ ของการเทศน์มาผา่ นกระบวนการเขยี นเรียงความแก้กระทูธ้ รรมก่อน โดยขัน้ แรกให้ทอ่ งจ�ำการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ต้งั แต่เริม่ ต้นว่า ณ บัดนจี้ ัก ได้อธิบายขยายความ ไปจนกระทั่งการเช่ือมพุทธภาษิตและสรุปความ ๒๒๓สัมภาษณ์พระมหาสงา่ ธีรสวํ โร. อ้างแลว้ . ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑. 243

แล้วมาฝึกพดู ใหพ้ ระอาจารยฟ์ ัง ตอ่ มาก็สอนจงั หวะการพูด การขน้ึ ตน้ การ ด�ำเนินเรือ่ ง การสรุปจบและให้พรปดิ ท้าย พระครรู ัตนชยาภรณ์ อดตี ประธาน ศนู ยเ์ ผยแผธ่ รรมของคณะสงฆ์อำ� เภอสารภี กเ็ คยกลา่ วว่า ถ้าหากรูปใดแต่งเรยี ง ความแก้กระทู้ธรรมได้ ก็สามารถเทศนไ์ ด้ เพราะท่านเองก็เคยไปฝกึ เทศน์จาก ส�ำนกั จติ ตภาวันวิทยาลยั อ�ำเภอบางละมงุ จังหวดั ชลบุรีมาก่อน จนภายหลงั ได้ เปน็ พระนกั เทศน์แบบปฏภิ าณโวหารที่มีชอ่ื เสยี งรปู หนงึ่ ในอ�ำเภอสารภี เคยมี พระสงฆร์ ูปหนง่ึ ถามท่านว่า ท�ำอยา่ งไรจงึ จะเป็นพระนกั เทศนท์ ี่เกง่ ได้ ทา่ นตอบ ว่า ถา้ จบนักธรรมเอกแล้วสามารถแต่งเรยี งความแกก้ ระทธู้ รรมได้ ก็สามารถ เทศนไ์ ด้ แสดงใหเ้ หน็ วา่ การศึกษาระบบนกั ธรรมมสี ่วนสำ� คญั ทพี่ ัฒนาพระสงฆ์ ล้านนาให้สามารถเทศน์แบบภาคกลางได้...” นอกจากนนั้ ยังมสี ิ่งจูงใจท่ีท�ำให้พระสงฆล์ ้านนาเปล่ยี นแปลงทัศนคติ แล้วขวนขวายฝึกฝนพฒั นาตนใหเ้ ปน็ พระนักเทศนส์ มัยใหม่ ได้แก่ ๑. ความตอ้ งการเผยแผ่พุทธธรรมในบรบิ ทล้านนา การปาฐกถาของพุทธทาสภกิ ขุและปญั ญานนั ทภิกขุ ทเี่ น้นแกน่ แท้ของ พระพุทธศาสนา ปฏิเสธส่งิ ทีเ่ ป็นเปลือกนอกท่หี อ่ หุ้มพุทธธรรมโดยสนิ้ เชิง แม้ชาว ล้านนาระดบั ปัญญาชนกลุม่ หนึง่ จะช่ืนชอบมคี วามเห็นคล้อยตามแต่ชาวล้านนา อีกกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะกลุ่มท่ียังยึดถือจารีตเดิมก็ไม่เห็นด้วย ผลกระทบ ดังกล่าวน้ี ท�ำให้พระสงฆ์ล้านนากลุ่มหนึ่งท่ีมีแนวคิดอนุรักษ์จารีตประเพณี ท้องถ่นิ เหน็ ว่า ทกุ สง่ิ ทุกอยา่ งยอ่ มมที ้ังขอ้ ดีขอ้ เสีย ประเพณีวัฒนธรรมท้องถนิ่ ก็มีความส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน เป็นส่ิงน้อมน�ำให้เข้าสู่หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา เช่น ก่อใหเ้ กิดความรักความสามคั คี ความกตัญญู ความ ออ่ นน้อมถ่อมตน การรจู้ กั เอื้อเฟอื้ เผอื่ แผ่ การพง่ึ พาอาศยั ซึ่งกนั และกนั ซ่ึงเป็น แก่นแท้ของประเพณีวัฒนธรรมและสอดคล้องกับหลักธรรมเช่นเดียวกัน จึงใช้ รูปแบบการเทศนแ์ บบปฏภิ าณโวหารและปาฐกถา มาอธิบายวิธีคิดหรอื โลกทัศน์ ของชาวลา้ นนาที่มตี ่อประเพณวี ฒั นธรรม โดยอธิบายความหมายของประเพณี ท้องถิ่นทีอ่ งิ อยกู่ บั หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพือ่ ใหช้ าวล้านนาเกดิ ปญั ญา ในขณะเดยี วกันก็อนรุ ักษป์ ระเพณีวัฒนธรรมเดิมไว้ เมือ่ มีการอธิบายความอยา่ ง น้ี ชาวลา้ นนาระดับปัญญาชนก็เรม่ิ เข้าใจและมองเหน็ ความส�ำคญั ของประเพณี 244

วัฒนธรรม ดงั คำ� กลา่ วของพระมหาสง่า ธรี สํวโร๒๒๔ว่า “...ในชว่ งท่ีปญั ญานนั ทภกิ ขมุ าปาฐกถาธรรมทเี่ ชียงใหม่ โดยเนน้ แก่น พทุ ธธรรมแล้วปฏิเสธคตคิ วามเชื่อ ประเพณวี ฒั นธรรม ลทั ธพิ ธิ กี รรม จารตี ทอ้ ง ถน่ิ อย่างส้นิ เชิงนั้น ชาวลา้ นนาบางส่วนคล้อยตาม ในขณะเดยี วกันคนในทอ้ งถ่ิน ทรี่ กั วัฒนธรรมของตนเอง ไม่อยากเหน็ การใช้วิธกี ารแบบนีม้ าท�ำลายวฒั นธรรม ทอ้ งถนิ่ กใ็ ชก้ ารเทศนแ์ บบปฏภิ าณโวหารและปาฐกถาธรรมอธบิ ายประเพณี วัฒนธรรมทอ้ งถ่นิ โดยเช่อื มโยงกบั หลักการทางพระพุทธศาสนา เช่น แต่เดมิ ชาวล้านนามาวดั จะใสเ่ ขา้ ตอกดอกไมใ้ นขันบชู าพระรตั นตรัยทง้ั ๓ สว่ น (ใสข่ ัน แก้วทงั ๓) กอ่ น แลว้ ก็ใส่ดอกไม้ในขนั ขอศีล (ขันศลี ) ขันส�ำหรับขอถวายทาน (ขนั น�ำทาน) แล้วน�ำน้�ำสำ� หรบั กรวดอุทิศบญุ (นำ้� หยาด) ไปเทรวมกนั ในขันน�้ำ (สลุง) จากนน้ั กไ็ ปนั่งในท่สี มควรแกต่ น พระสงฆ์ล้านนากอ็ ธบิ ายความวา่ การ ใส่ดอกไมใ้ นขันบชู าพระรตั นตรยั หมายถึง การบชู าพุทธคณุ ธรรมคณุ และสังฆ คณุ การนำ� น�ำ้ สำ� หรับกรวดไปรวมกันในขันนำ�้ เดียวกนั หมายถงึ ความรัก ความ สามคั คี ความเปน็ น�ำ้ หน่งึ ใจเดยี วกัน เป็นตน้ เมือ่ มีคำ� อธิบายเช่นน้เี กิดข้ึน ท�ำให้ คนรนุ่ ใหม่เริ่มเข้าใจวา่ ส่งิ ทบ่ี รรพชนท�ำน้นั ไม่ใช่เรอ่ื งงมงาย ไร้สาระ แตม่ ีคุณคา่ ความส�ำคัญ ทแ่ี สดงออกถงึ ความศรทั ธาของชาวลา้ นนา ทมี่ ีตอ่ พระรตั นตรยั และเสริมสร้างความสามัคคใี นชุมชน ถอื เป็นส่งิ จำ� เปน็ ที่จะตอ้ งรักษาไว้ไม่ให้สญู เพราะการใส่ดอกไม้ในขนั บูชา ส่อื ความถงึ พระรตั นตรยั การใส่ดอกไมใ้ นขนั ขอ ศลี และขันสำ� หรบั ขอถวายทาน ส่ือความถึงความงามด้านจิตใจ และการน�ำนำ้� ส�ำหรบั กรวดไปรวมกนั ในขันน�้ำเดยี วกัน สอ่ื ความถึงความรักความสามัคคี ท่ีเรา ตอ้ งรวมใจกันใหเ้ ป็นหนึ่งเดียว นอกจากนั้น ยังมีการน�ำเร่อื งราวท้องถิ่น ซึ่งเปน็ ส่ิงท่ีชาวล้านนาคุ้นเคยมาประกอบการเทศน์แบบปฏิภาณโวหารและปาฐกถา ธรรม เชน่ นทิ านสน้ั (เจีย้ ก้อม) คร่าว จ๊อย กาพย์ (การขับขานทอ้ งถ่นิ ) เป็นตน้ ท�ำให้บรรยากาศการเทศน์แบบปฏิภาณโวหารและปาฐกถามีความเป็นท้องถิ่น ล้านนามากข้นึ ส่วนการเทศน์แบบจารตี นน้ั กใ็ ชว้ ธิ กี ารผสมผสานกบั รปู แบบ การเทศน์ใหม่ มกี ารกล่าวสรุปความเนอื้ หาสำ� คัญของแต่ละคมั ภรี ์ ใหผ้ ูฟ้ งั เขา้ ใจเนอื้ หาค�ำสอนกอ่ น แล้วจงึ ค่อยเทศน์แบบจารีตเป็นลำ� ดบั ไป...” ๒๒๔สัมภาษณ์ พระมหาสง่า ธีรสํวโร. อา้ งแล้ว. ๒๔ ตลุ าคม ๒๕๕๑. 245

๒. ความต้องการมีช่อื เสียงเหมือนพระนกั เทศน์ตน้ แบบ ความอยากมีช่ือเสียงเหมือนพระนักเทศน์ต้นแบบ นับเป็นแรงจูงใจอีก ประการหน่ึงท่ีส่งเสริมให้พระสงฆ์ล้านนาฝึกเทศน์แบบใหม่ เนื่องจากผู้ฟังท่ีมี สถานภาพและมีบทบาทสำ� คัญในสงั คมมกั ให้ความนยิ มสนใจฟัง หากพระสงฆ์ รปู ใด มคี วามสามารถในการเทศนแ์ บบปฏภิ าณโวหารและปาฐกถาธรรม ยอ่ มเปน็ ทร่ี ู้จกั ไดร้ บั ความเคารพนบั ถอื และเปน็ กลา่ วถงึ โดยทัว่ ไป โดยเฉพาะในช่วงที่ พุทธทาสภิกขุและปัญญานันทภิกขุมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ ชนชนั้ นำ� ของจงั หวดั เชยี งใหม่ ตา่ งใหค้ วามนยิ มและกลา่ วยกยอ่ งอยเู่ สมอ ภายหลงั พระพยอม กลั ยาโณ จากวดั สวนแกว้ จงั หวดั นนทบรุ ี ลกู ศษิ ยข์ องพทุ ธทาสภกิ ขุ ไดข้ ้ึนมาปาฐกถาท่เี ชยี งใหม่อกี ยง่ิ ทำ� ให้พระสงฆล์ ้านนาหลายรปู อยากมชี ่ือเสียง ด้านการเทศน์เหมือนท้ัง ๓ รูป จึงฝึกฝนการเทศน์แบบปฏิภาณโวหารและ ปาฐกถาธรรม ดงั ค�ำกลา่ วของพระมหาสง่า ธีรสํวโร วา่ “...ปกตมิ ักเห็นการเทศนแ์ บบจารีต ภายหลังไดเ้ ห็นการปาฐกถาธรรม พระท่ถี ูกกลา่ วขวญั ถงึ มากที่สุดในสมยั นนั้ กค็ ือหลวงพอ่ ปญั ญานันทะ หลวงพ่อ เจา้ อาวาสมักพดู บอ่ ยๆ ว่า ตอ้ งสามารถยนื ปาฐกถาหรือยนื เทศนใ์ ห้ได้ เพราะ คนที่สามารถยืนเทศน์แบบนี้หาได้ยากมาก ในขณะที่เรามองเห็นวิธีการเทศน์ แบบโบราณ และก�ำลังจะไปฝึกเทศน์แบบเสียงดี (มหาชาติเวสสันดรชาดก) เราก็เห็นภาพของพระที่ท่านสามารถเทศน์แบบปฏิภาณโวหาร แล้วสามารถ ดึงดดู ความสนใจให้คนฟังจ�ำนวนมาก น่งั ฟังจนจบ โดยเฉพาะการปาฐกถา ธรรมและการเทศนบ์ รรยาย ในความคดิ ของผมขณะนน้ั เริ่มมองเห็นภาพความ สามารถของหลวงพ่อปัญญานันทะ ภายหลังไปเห็นการเทศนแ์ บบปฏภิ าณ โวหารของพระศรธี รรมนเิ ทศ (พระมหากมล โชติมนโฺ ต) ในโครงการรถด่วน ขบวนพิเศษ ท่านเปน็ พระนักเทศนท์ ี่มคี วามสามารถมาก ความคิดของผมใน ขณะน้นั คอื ทำ� ไมท่านถงึ เก่งขนาดน้ี พอท่านเทศน์จบ ผมก็ไดย้ นิ ชาวบ้านกลา่ ว ขวญั วา่ หลวงพ่อรปู นี้เทศน์เก่งมาก เป็นที่เลา่ ขานของชาวบ้าน ก็เลยสนใจทจ่ี ะ ฝึกเทศน์แบบปฏิภาณโวหารนับต้งั แตน่ ้ันมา...” 246

กระแสความนิยมในการเทศน์แบบปฏิภาณโวหารและปาฐกถาธรรม ในสมัยนั้น ท�ำให้พระสงฆ์ล้านนาหลายรูป เดินทางไปศึกษาและฝึกเป็น พระนักเทศน์นักเผยแผ่ในโครงการอบรมพระธรรมทายาทของปัญญานันทภิกขุ วดั ชลประทานรังสฤษด์ิ อ�ำเภอปากเกรด็ จงั หวัดนนทบุรี ตง้ั แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ บางรูปไปศึกษากับกิตติวุฑโฒภิกขุ (พระเทพกิตติปัญญาคุณ) ในโครงการ พัฒนาการทางจิต สำ� นักจติ ตภาวัน อ�ำเภอบาลละมุง จังหวดั ชลบรุ ี ตงั้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ บางรปู ไปศกึ ษากับพระพยอม กัลยาโณ ท่ีวัดสวนแก้ว อ�ำเภอ บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แล้วกลับมาเป็นพระนักเทศน์ พระนักพฒั นาสังคม หลายรปู ๓. ความตอ้ งการได้รบั เกียรติ สมณศักด์ิ และวัตถปุ ัจจัย สังคมล้านนาปจั จุบนั เปน็ สังคมท่มี ีความซบั ซอ้ น มีการแข่งขันเพ่อื เอา เกยี รตทิ างสงั คมสูง (เอาหนา้ เอาตา) หลายคนยอมเปน็ หนสี้ ินไปก้เู งินหรือผอ่ น ชำ� ระสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกทีถ่ ือเป็นปจั จยั สำ� คญั ในสังคม เชน่ ผอ่ นช�ำระบ้านที่ หรูหรา รถยนต์ เครอื่ งใชไ้ ฟฟา้ เครอื่ งประดบั ราคาแพง เปน็ ต้น เพอื่ ใหต้ นเองไม่ เปน็ ทดี่ หู มิ่นของเพือ่ นบา้ น การเทศนเ์ ป็นอีกสง่ิ หนง่ึ ที่ถูกน�ำไปแสดงถึงความมเี กยี รตทิ างสงั คม โดย เฉพาะการเทศนแ์ บบปฏิภาณโวหาร มักไดร้ บั ความสำ� คัญและจัดอย่างพิถพี ถิ ัน มากกวา่ การเทศนแ์ บบจารตี ดงั จะเหน็ ได้จากงานบำ� เพ็ญกศุ ลศพทนี่ ิยมจดั การ เทศน์ท้ังแบบจารีตและแบบปฏิภาณโวหารควบคู่กัน แต่การเทศน์แบบจารีต มักจัดพอให้เป็นพธิ ี หรอื เป็นเพยี งสว่ นประกอบหนงึ่ ในพธิ กี รรมเท่านั้น โดยเร่ิม เทศนต์ ัง้ แต่หวั คำ่� ซึง่ เปน็ ชว่ งทผ่ี ้ฟู ังก�ำลงั ทะยอยมา ก่อนท่ีจะมีพระสงฆ์อกี รปู หน่งึ เทศนแ์ บบปฏิภาณโวหารอย่างเป็นพธิ ีการในช่วงถดั ไป กณั ฑเ์ ทศนแ์ บบจารีต มกั ถวายวตั ถุสงิ่ ของตามแตจ่ ะหาได้ ปัจจยั (เงิน) ท่ีถวาย มกั ใสซ่ องปิดผนึกแนน่ หนาและมีจ�ำนวนไม่มากนัก ประมาณ ๒๐-๑๐๐ บาท อาสนะส�ำหรบั น่งั เทศนก์ ็จัดอยา่ งเรยี บง่ายอยูบ่ นบา้ น ซึ่งผู้ฟงั ทนี่ ั่งอยดู่ ้าน นอกหรือขา้ งล่างบ้าน มกั มองไม่เหน็ พระสงฆอ์ งค์เทศน์ ภาชนะใสน่ ำ้� สำ� หรับ กรวดอุทิศ (กอ๊ กนำ้� หยาด) มักนำ� แกว้ น้ำ� ธรรมดา หรอื ใชข้ วดเคร่ืองด่มื ชกู ำ� ลัง ยี่หอ้ ต่างๆ มาบรรจุนำ�้ ใหเ้ จ้าภาพกรวดอุทิศใหแ้ ก่ผู้ตาย เชน่ ขวดกระทิงแดง ขวดลิโพ ขวดเอ็มรอ้ ยหา้ สิบ เป็นตน้ สว่ นการประเคนกัณฑเ์ ทศน์แบบจารตี มกั เป็นเจา้ ภาพหรือลกู หลานผู้เสยี ชวี ิต 247

ในขณะท่กี ารเทศน์แบบปฏภิ าณโวหาร นยิ มจัดอยา่ งพิถีพิถนั เพราะถอื เปน็ เกียรติแก่เจ้าภาพ เรมิ่ ต้ังแต่การคัดเลือกพระสงฆ์องคเ์ ทศนท์ ่ีต้องมีสมณศักดิ์ มีต�ำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์หรือเป็นพระท่ีมีชื่อเสียงท่ีเจ้าภาพหรือผู้ฟัง ส่วนใหญ่พึงพอใจ เมื่อพระสงฆ์องค์เทศน์เดินทางมาถึงจะน่ังบนธรรมาสน์ แบบภาคกลางซ่ึงตั้งอยู่ในท่ามกลางผู้ฟังที่น่ังรายรอบอย่างเป็นระเบียบ ข้าง ธรรมาสน์มกี ณั ฑเ์ ทศนซ์ ่ึงนิยมถวายเคร่อื งอปุ โภคบริโภคอยา่ งดี เชน่ ผา้ ไตร พดั ลม กระติกน้�ำร้อน โคมไฟฟา้ ผ้าห่ม ข้าวสาร หรอื พชื ผักสวนครัวชดุ ใหญ่ เปน็ ตน้ ส่วนปัจจยั กัณฑ์เทศนน์ ยิ มถวายเงินธนบตั รทเ่ี สยี บตดิ กับไมไ้ ผป่ ักกณั ฑ์ เทศน์ใหเ้ ห็นธนบัตรใบละ ๑๐๐ ๕๐๐ และ ๑,๐๐๐ บาท อย่างเดน่ ชดั หลาย ใบ การถวายปัจจยั จะมากหรอื นอ้ ยขึน้ อยกู่ ับฐานะ ชอ่ื เสียง ยศต�ำแหน่งของ เจา้ ภาพและสถานภาพของพระสงฆ์องคเ์ ทศน์ดว้ ย กลา่ วคอื ถ้าหากเจา้ ภาพมี ฐานะและสถานภาพทางสังคมดกี ็มกั ถวายอยา่ งน้อย ๓,๐๐๐ บาทขึ้นไป แต่ถ้า หากฐานะคอ่ นขา้ งขัดสนกถ็ วายอย่างน้อยประมาณ ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ บาท เม่อื พระสงฆ์เริม่ เทศน์แบบปฏภิ าณโวหาร มักเกรนิ่ นำ� ดว้ ยการกลา่ วยกย่องประกาศ เกยี รติคณุ หรอื กลา่ วสรรเสรญิ เจ้าภาพอย่างพึงพอใจ เมอ่ื เทศนจ์ บมักเชญิ แขกท่ี มียศต�ำแหนง่ หรอื มีฐานะทางสังคมเป็นผู้ประเคนกณั ฑ์เทศน์ ทำ� ให้เจ้าภาพหรอื ผ้ปู ระเคนมีความรู้สกึ เปน็ เกียรตแิ ละภาคภมู ิใจ สว่ นพระสงฆ์องคเ์ ทศนห์ ากเป็น พระที่มีช่ือเสียงหรือมียศต�ำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ นิยมถวายปัจจัย จ�ำนวนมากต้ังแต่ ๓,๐๐๐ ขนึ้ ไป แตห่ ากเป็นพระนักเทศนธ์ รรมดาไม่มยี ศ ไมม่ ี ตสุชำ� แาตหินแ่งก้วหกรอ้ อื ๒๒ไ๕มเกม่ ่ยี ชี วอื่ กเสับยีคง่านมยิ ักมถใวนากยาร๓เท๐ศ๐น-๑์วา่,๐๐๐ บาท ดังค�ำบอกเลา่ ของนาย “...งานศพของคนที่มียศถาบรรดาศักด์ิทางสังคม มักคัดเลือกพระ นักเทศน์ที่มีช่ือเสียง ส่วนพระท่ีไม่มีชื่อเสียง มักไม่ได้รับนิมนต์ การถวาย ปัจจัยก็แตกต่างกัน พระนักเทศน์ท่ีมีชื่อเสียง ก็ถวายหลายพันบาท ส่วนพระ ท่ีไม่มีช่ือเสียง ก็ลดจ�ำนวนลง เปรียบเหมือนเราเอารถหรูมาใช้ ย่อมมีค่าซ่อม บ�ำรุงรถแพง พระนักเทศน์ก็เช่นกัน ถ้าเอาพระสงฆ์ในวัดหรือวัดทั่วไปมา เทศน์ ก็ถวายประมาณ ๓๐๐ - ๕๐๐ บาท ถ้าเป็นเจ้าอาวาสหรือมีต�ำแหน่ง สมณศักดิ์ ก็ถวายหลายพันตามยศถาบรรดาศักด์ิ การถวายเงินเช่นนี้ บางทีคน 248 ๒๒๕สัมภาษณ์ นายสุชาติ แกว้ กอ้ . อา้ งแลว้ . ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔.

ใกล้ชิดเป็นผู้ก�ำหนดให้เจ้าภาพใส่ซองปัจจัยเอง บางทีมัคนายกหรืออาจารย์ วดั เป็นผู้ก�ำหนดเอง เพราะคนทีจ่ ัดงานศพหรืองานเทศน์จะต้องถามมคั นายก ก่อนวา่ ถา้ นมิ นต์พระรปู นม้ี าเทศน์ ปกตถิ วายเงนิ เท่าไร เพอ่ื ให้เหมาะสมไม่ เดือดร้อนทั้งสองฝา่ ย คือฝา่ ยผู้เทศน์และฝา่ ยเจา้ ภาพ ทำ� ใหพ้ อดีแลว้ มคี วามสุข ไมใ่ ชว่ ่าจัดงานศพหรอื งานเทศน์เสรจ็ แล้วเป็นหน้ี ต้องตามใชห้ นี้ อย่างนีก้ ไ็ ม่ถกู แตถ่ ้าถวายไปแลว้ มาเสยี ดายในภายหลงั ก็ทำ� ให้ทุกข์ สิ่งน้ีคือคนใกลช้ ิดเปน็ ผู้ ชแี้ นะ แต่บางทกี ถ็ ามมคั นายกกอ่ น แต่สว่ นมากเจ้าภาพมกั ไปถามคนท่ีเคยจดั งานมาก่อน ท้ังน้ีการจัดงานเทศน์ในงานศพ ทั้งตัวพระนักเทศน์และรูปแบบการ เทศน์ ก็มสี ่วนช่วยเสริมความเปน็ เกยี รตทิ างสงั คมให้แกเ่ จ้าภาพ เพราะสังคม ทุกวนั น้ี ยึดเอาเกยี รตยิ ศเป็นสำ� คญั ถ้านิมนต์พระธรรมดาไม่มยี ศ ไมม่ ตี ำ� แหนง่ กบั นิมนตเ์ จา้ คณะต�ำบล เจ้าคณะอ�ำเภอ เจ้าคณะจงั หวัดไปเทศน์ ยอ่ มมีความ รสู้ ึกทีเ่ ปน็ เกียรติแตกตา่ งกัน พระธรรมดาจะนมิ นตม์ างานไหน เมอื่ ไหร่ ก็ได้ แต่ถา้ งานศพท่ีมผี ้ใู หญห่ รอื แขกทม่ี ีเกียรติ กต็ อ้ งนิมนต์พระระดบั ผู้ใหญ่ทม่ี ยี ศ สมณศักด์ิ เพือ่ ให้เจ้าภาพหรืองานน้ันๆ มเี กียรติทางสงั คม หากมีพระนักเทศน์ ท่มี ยี ศสมณศักดห์ิ รือมีชื่อเสียงมาเทศน์ เจา้ ภาพจะโหมโรง เขยี นประกาศติด บนกระดานโฆษณาลว่ งหนา้ ตา่ งกบั การเทศน์แบบจารีตหรือการเทศน์แบบ ปฏิภาณของพระธรรมดาที่ไม่มียศสมณศักดิ์ ไม่มีการโหมโรงโฆษณาล่วงหน้า แม้แต่สังฆทานหรือกัณฑ์เทศน์ ถ้าพระนักเทศน์ท่ีมียศสมณศักดิ์หรือ มีช่ือเสยี งมาเทศน์ กัณฑเ์ ทศน์กจ็ ะหรหู รา มไี มค้ ีบปจั จัยธนบตั รใบละพัน หา้ ร้อย หน่งึ ร้อย ปักเสียบแสดงอยา่ งหรหู รา แตถ่ ้าบา้ นนอกจดั เทศนแ์ บบจารตี หรอื พระสงฆ์ธรรมดาเปน็ องค์เทศน์ กัณฑ์เทศน์กไ็ ม่หรหู รา เพราะเอาเงินใส่ซอง ปดิ อย่างมิดชดิ ผ้เู ข้ารว่ มพธิ กี ไ็ ม่รวู้ า่ เจา้ ภาพถวายเท่าไหร่...” การน�ำการเทศน์แบบปฏิภาณโวหาร มาเปน็ สว่ นหน่งึ ในการเสรมิ สร้าง เกยี รตทิ างสงั คม ทำ� ใหพ้ ระสงฆล์ า้ นนาบางรปู ขวนขวายแสวงหายศถาบรรดาศกั ดิ์ มาประกอบความเป็นพระนักเทศน์เพื่อให้สังคมยอมรับ อีกท้ังระเบียบการ ขอสมณศักดิ์สงฆ์ก็ให้สิทธิแก่พระสงฆ์ที่มีความสามารถด้านการเทศน์แบบ ปฏิภาณโวหารให้ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์และต�ำแหน่งการปกครอง คณะสงฆ์ มากกวา่ พระสงฆท์ ม่ี คี วามสามารถดา้ นการเทศนแ์ บบจารตี เพราะการเทศน์ 249

แบบปฏภิ าณโวหาร จดั เปน็ ความดคี วามชอบสว่ นหนงึ่ ของการเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนา ตามระเบยี บการพจิ ารณาสมณศกั ดส์ิ งฆ์ ดงั นนั้ ความตอ้ งการไดร้ บั เกยี รติ สมณศกั ด์ิ และวตั ถปุ จั จยั นบั เปน็ ปจั จยั หนงึ่ ทสี่ ง่ เสรมิ ใหพ้ ระสงฆล์ า้ นนา นยิ มฝกึ ฝนพฒั นา เป็นพระนักเทศน์แบบปฏิภาณโวหารท่ีมีช่ือเสียงในล�ำดบั ตน้ ๆ ในแต่ละพื้นที่ ๓.๗.๓ การเปลย่ี นแปลงทศั นคตแิ ละความต้องการของผฟู้ งั ผฟู้ งั ซงึ่ เปน็ กลมุ่ เปา้ หมายสำ� คญั ในการเทศน์ เมอ่ื สงั คมมกี ารเปลย่ี นแปลง ประชาชนต่างถ่ินเขา้ มาตงั้ ถ่ินฐานประกอบอาชีพคา้ ขาย รบั ราชการ และรับจา้ ง เช่น ชาวไทยภาคกลาง ชาวจนี ชาวอินเดยี เปน็ ต้น มธี ุรกจิ คา้ ขาย บา้ นจัดสรร โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรมมากมาย ทำ� ใหช้ าวลา้ นนาตอ้ งปรบั สภาพเศรษฐกจิ ของตน ใหม้ รี ายได้ท่เี พียงพอตอ่ การใช้จ่าย จงึ ท�ำใหเ้ กิดทัศนคติและมคี วาม ตอ้ งการแบบใหม่ มีการแขง่ ขนั มุ่งทำ� งานแสวงหาเงนิ ทอง จงึ ทำ� ให้จติ ใจเกิดความ ตึงเครียด บางส่วนหาวิธีการผ่อนคลายด้วยการเที่ยวสถานที่บันเทิงสมัยใหม่ แตบ่ างส่วนตอ้ งการฟงั เทศน์ท่เี ขา้ ใจง่ายใช้เวลาไมน่ าน สามารถน�ำมาประยุกต์ ใชใ้ นชวี ติ ประจำ� วนั ได้ อกี ทง้ั การเขา้ มาเผยแผข่ องลทั ธศิ าสนาอน่ื เชน่ ศาสนาครสิ ต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาซกิ ซ์ ศาสนาฮนิ ดู ลทั ธิโยเร ลัทธิบาไฮ เปน็ ตน้ ตา่ งกเ็ นน้ การเผยแผท่ ่ีทันสมยั เขา้ ใจงา่ ย เพอื่ ให้เขา้ ถึงกล่มุ เปา้ หมาย ท�ำให้เกิดการแยง่ ชิง ศาสนิกชน หากพระสงฆ์ล้านนายังใช้การเทศน์แบบจารีตอยู่ ไม่ปรับเปลี่ยนวิธี การเผยแผ่ให้ทนั สมยั ไม่ใช้การเผยแผ่เชงิ รุก นอกจากชาวล้านนารนุ่ ใหมแ่ ละคน ต่างถน่ิ จะไม่สนใจฟังแลว้ ยงั อาจเปลี่ยนไปนบั ถือลัทธิศาสนาอน่ื อกี หลายคน ดัง ปรากฏชาวลา้ นนาเข้ารตี จำ� นวนมาก มศี าสนสถานของลทั ธศิ าสนาอ่นื ในล้านนา เกดิ ข้นึ จำ� นวนหลายแห่ง เหตุการณเ์ หลา่ น้จี งึ เปน็ ปัจจยั สำ� คญั ประการหนึง่ ท่ี ท�ำให้พระสงฆล์ า้ นนาตอ้ งพัฒนาการเทศนใ์ หท้ นั สมัย ชาวลา้ นนาบางคนเคย นับถอื ศาสนาครสิ ต์มากอ่ น แตเ่ มื่อไดฟ้ ังการปาฐกถาธรรมของปัญญานนั ทภกิ ขุ แลว้ กเ็ ปลี่ยนมานบั ถือพุทธศาสนาก็มี ดังค�ำบอกเล่าของนายสมบรู ณ์ กนั ทะปา ว่า ๒๒๖ ๒๒๖สมั ภาษณ์ นายสมบรู ณ์ กันทะปา ณ สถานปฏิบตั ิธรรมนานาชาติ ตำ� บลป่าไผ่ อำ� เภอสนั ทราย จงั หวดั เชยี งใหม.่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔. 250


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook