Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทสธรรมล้านนา

เทสธรรมล้านนา

Published by sutthirak147izaak, 2021-09-24 09:02:07

Description: เทสธรรมล้านนา

Keywords: เทสธรรม

Search

Read the Text Version

วธิ เี ตรยี มใบลานสำ� หรับจารพระธรรมในลา้ นนา ตน้ ลาน การตัดใบลาน การตม้ ใบลาน น�ำใบลานมาตัดแตง่ และนำ� ไปตากใหแ้ หง้ น�ำใบลานทแ่ี ห้งแลว้ มาตดั และเรียงซอ้ นกนั โดยมไี มไ้ ผ่เสียบ น�ำใบลานท่ไี ด้ขนาดตามตอ้ งการแล้ว มาดีดเส้นบรรทัด ให้ไดข้ นาดเท่ากนั แล้วใช้ไม้ประกบดา้ นบน-ลา่ ง เพอ่ื หนีบ เพ่อื เตรียมจารพระธรรม ใบลานให้แนน่ ราบเรยี บ 51

คมั ภีรใ์ บลานทีม่ ีอายเุ ก่าแกจ่ วงั นัหไวหัดลลห่ �ำินปาตงำ� บลไหลห่ นิ อำ� เภอเกาะคา ตงิ สนิบาต (โสณนนั ทชาดก) จาร จ.ศ. ๘๓๓ (พ.ศ. ๒๐๑๔) (ขอบคณุ ภาพจาก สำ� นกั เรือนเดมิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 52

สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี เสดจ็ อญั เชิญพระไตรปฎิ ก ซ่ึงพระครูบากัญจนะอรญั วาสมี หาเถระรวบรวมไว้ ข้นึ สู่หอพระไตรปิฎกอักษรล้านนา วัดสงู เม่น ตำ� บลสงู เมน่ อ�ำเภอสูงเม่น จงั หวัดแพร่ เม่อื วนั อังคารที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ทอดพระเนตรการจารคมั ภีร์ใบลานลา้ นนา ทรงจารึกพระนามาภไิ ธยลงบนแผ่นใบลานด้วยอกั ษรลา้ นนา 53 (ขอบคณุ ภาพจาก นายดิเรก อนิ จันทร์)

๒.๓ คมั ภรี ใ์ บลานลา้ นนา คมั ภีรใ์ บลานหรือคัมภรี ธ์ รรม ชาวล้านนามักเรยี กส้นั ๆวา่ ธรรม หรือ ธัมม์ ๒๗ บางทีเรียกก็เรียกวา่ กมั พีร์ หมายถงึ คมั ภีรห์ รอื ตำ� ราทบี่ นั ทกึ เรื่องราวทาง พระพทุ ธศาสนา ทพี่ ระสงฆล์ า้ นนาใชส้ ำ� หรบั เทศน์ ดงั ความปรากฏในคมั ภรี เ์ รอ่ื ง- ปฐมมาลัยตอนตน้ ว่า๒๘ “...สาธโวดรู าโสตชุ นะสปั ปรุ สิ สะทงั หลายอาจารยเ์ จา้ ตนจกั แปลงกมั พรี ์ มาเลยยวตั ถอุ นั นี้ จกั กะทำ� ปณามะแกลแ่ กว้ ทงั ๓ เพอื่ หายอนทรายทงั มวล จงิ่ กลา่ วคาถาอนั นวี้ า่ อตั ถะแหง่ คาถาอนั นว้ี า่ ตนจกั แปลงกมั พรี น์ ้ี คไ็ หวน้ บครพ ยำ� ยงั พระพทุ ธเจา้ ตนประเสรฐิ ...” พระสงฆล์ ้านนากับคมั ภรี ์ใบลาน (ขอบคุณภาพจาก ดร.พรศิลป์ รตั นชูเดช) คัมภีร์ใบลานแตล่ ะเรือ่ ง ประกอบดว้ ยใบลานหลายใบ เมือ่ น�ำแต่ละใบ มาเจาะรรู อ้ ยเชอื กเข้าดว้ ยกนั แล้วผูกให้เป็นมัด เรยี กคมั ภีรธ์ รรมแต่ละมดั ว่า ผกู คัมภีร์ธรรมท่มี ีเน้ือหาสั้นจบภายในผูกเดียวเรียกวา่ ธรรมโทน แตถ่ ้าหากคัมภรี ์ ธรรมเรอ่ื งใดมีเนื้อหายาว แบ่งออกเป็นหลายผูกตัง้ แต่ ๒ ผูกเป็นต้นไป เรยี กวา่ ธรรมกับ เมือ่ นำ� คัมภีร์ธรรมแตล่ ะกับท่มี ีเนอ้ื หาเดยี วกันหรืออยู่ในหมวดเดยี วกนั มามัดรวมกัน เรยี กว่า ธรรม ๑ มัด ๒๗อ๒ุด๕ม๔๗รุง่.เหรือนง้าศ๓รี.๔พ๓จ.นานกุ รมลา้ นนา-ไทย ฉบบั แมฟ่ ้าหลวง ปรบั ปรุงคร้งั ที่ ๑ . เชียงใหม่: มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่. 54 ๒๘๒อดุ๕ม๔๕รุ่ง.หเรนอื า้งศ๒ร๖ี. .เวสสันตรชาดก ฉบับไมไ้ ผแ่ จ้เรยี วแดง พิมพ์คร้ังท่ี ๑. เชยี งใหม่:โรงพมิ พ์ม่ิงเมอื ง เชยี งใหม่.

คมั ภีร์ใบลานที่กำ� ลงั ได้รบั การส�ำรวจและอนุรักษ์ โดยศูนยใ์ บลานศึกษา สถาบนั ภาษา ศลิ ปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราภัฏเชยี งใหม่ คมั ภีร์ใบลานแต่ละมัดมสี ว่ นประกอบสำ� คัญ๒๙ ดงั น้ี ๒.๓.๑ สายสยอง ได้แก่ เสน้ ด้ายท่ีฟั่นเปน็ เชอื กทมี่ ีขนาดพอเหมาะ ส�ำหรบั ใชร้ ้อยคัมภีรใ์ บลานแตล่ ะใบตามล�ำดบั ของเนอ้ื หา รวมกันให้เป็นผูกอย่าง เปน็ ระเบยี บ เส้นดา้ ยน้ที ำ� จากดา้ ยดบิ น�ำมาฟ่นั ใหเ้ ป็นเชือกขนาดพอเหมาะกับ รขู องใบลาน มคี ณุ สมบตั สิ ำ� คญั คอื เหนยี ว ไมข่ าดงา่ ย มคี วามคงทน นอกจากสาย สยองที่ทำ� จากด้ายดิบแล้ว ยงั พบสายสยองท่มี เี ส้นผมของผหู้ ญิงปนอย่ดู ว้ ย โดย ผหู้ ญงิ ลา้ นนาท่ีมศี รัทธาจะน�ำเส้นผมของตนมาฟ่นั รว่ มกับเสน้ ด้าย สำ� หรับใช้ เปน็ เชือกรอ้ ยใบลาน โดยเช่ือว่า๓๐เป็นการสัง่ สมบุญบารมี ท�ำให้เป็นผู้มสี ติปัญญา เฉลียวฉลาด สามารถบรรลุธรรมช้ันสูงสุดคือพระนิพพาน เม่ือถึงแก่กรรม ดวงวิญญาณจกั ได้ไปเกดิ ในสวรรค์ จากการส�ำรวจคัมภีร์ใบลานตามหอธรรมวัดตา่ งๆ ในจังหวดั เชียงใหม่ เช่น วดั ออนหลวย อำ� เภอแม่ออน วัดพทุ ธเอ้น อำ� เภอแม่แจ่ม วัดทา่ ทุ่ม อำ� เภอ สนั ทราย วดั ชยั สถาน อำ� เภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชยี งใหม่ เปน็ ตน้ พบวา่ สายสยอง มี ๓ ลักษณะ ได้แก่ ๑. สายสยองทีฟ่ ั่นดว้ ยด้ายดิบ ๒. สายสยองทีฟ่ ั่นดว้ ยดา้ ยดิบ แทรกด้วยเส้นผมของผูห้ ญิง ๓. สายสยองที่ฟัน่ ด้วยดา้ ยดิบ แทรกดว้ ยเส้นผมของผหู้ ญงิ แล้วชุบหรือ ปดิ ทองค�ำเปลว ๒๙ แพลระะโดฮิเรงกเฮียวชนริสญบื าสโาณนภ(มู อิปนิ ัญจันญทารล)์า้ .นคนู่มาอื .ก๒า๕ร๔สำ�๕ร.วหจนคา้ มั ๘ภ.ีรใ์ บลาน. เชยี งใหม:่ สำ� นกั งานกองทุนเพอ่ื สงั คม หนา้ ๖๕. 55 ๓๐ มณี พยอมยงค์ และศิริรตั น์ อาศนะ. ๒๕๓๘. เครอ่ื งสักการะในลา้ นนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรพั ยก์ ารพิมพ.์

หากศกึ ษาถงึ ธรรมชาตขิ องเสน้ ผมแลว้ อาจกลา่ วไดว้ า่ มคี ณุ สมบตั ทิ ไ่ี หลลนื่ ง่าย หากน�ำมาฟ่ันเป็นสายสยองร่วมกับเส้นด้ายดิบ เม่อื คลี่คัมภีร์ใบลานออก ท�ำให้ไม่ฉีกขาดหรือติดขัดแต่ประการใด นับเป็นภูมิปัญญาท้องถ่ินที่ต้องการ รกั ษาคมั ภีรใ์ บลานไว้ให้คงทน คัมภีรใ์ บลานพรอ้ มดว้ ยสายสยองสำ� หรับร้อยใบลานใหเ้ ป็นผกู ๒.๓.๒ ไม้ประกบั เปน็ แผน่ ไม้ขนาดกวา้ งและยาวเทา่ กบั คัมภีร์ธรรม แต่ มขี นาดหนาพอสมควร จำ� นวน ๒ แผ่น ชาวลา้ นนาเรยี กว่า ไมก้ บั ธรรม สำ� หรับใช้ ประกบคมั ภรี ใ์ บลานทง้ั ดา้ นหนา้ และดา้ นหลงั ใหต้ รง ปอ้ งกนั ไมใ่ หค้ มั ภรี ธ์ รรมหกั งอ สว่ นใหญ่เปน็ คัมภรี ธ์ รรมกรรมวาจา จติ รกรหรือผูส้ รา้ ง มกั แกะสลักหรือวาด ลวดลาย แล้วลงรักปิดทองอย่างวิจิตรสวยงาม เพราะเป็นคัมภีร์ท่ีใช้ในพิธี อุปสมบท เชือ่ ว่าหากสร้างไม้กบั ธรรมอยา่ งวจิ ิตรสวยงามแลว้ ถวายรว่ มกบั คัมภรี ์ ธรรมกรรมวาจาจะได้ผลานิสงสท์ ีย่ งิ่ ใหญ่ 56 ไมป้ ระกบั หรอื ไม้กับธรรมทีม่ ีลวดลายวิจิตร

๒.๓.๓ ผา้ ห่อคมั ภรี ธ์ รรม เปน็ ผ้าทีใ่ ชส้ ำ� หรับหอ่ คัมภรี ์ธรรม เพื่อเก็บ รวบรวมคมั ภรี ์ธรรมแต่ละเรอ่ื งแตล่ ะชดุ ใหเ้ ป็นหมวดหมเู่ ดยี วกัน เปน็ วธิ เี ก็บ รกั ษาคมั ภีรธ์ รรมใหเ้ ปน็ ระเบียบ ป้องกนั ไม่ใหใ้ บลานหกั งอ โดยทัว่ ไปผา้ ห่อ คัมภีร์ธรรม ทำ� จากผ้าทอมือสีสนั ต่างๆ บางผนื อาจสอดแทรกดว้ ยแผน่ ไม้ไผ่ เหลาแบน บางผืนอาจทอด้วยผา้ ไหมลวดลายสวยงาม ชาวลา้ นนาเรยี กผ้าหอ่ คัมภรี ์ธรรมวา่ ก�ำ่ ปรี ธ์ รรม หรือ ผ้ากมั พีรธ์ รรม ผู้สงู อายวุ ดั บ้านทพั อำ� เภอแมแ่ จ่ม จังหวดั เชยี งใหม่ ก�ำลัง ผา้ หอ่ คมั ภีร์ธรรมสีสันตา่ งๆ ถักผา้ ห่อคมั ภีร์ใบลาน ๒.๓.๔ บัญชัก เปน็ แผน่ ปา้ ยทีเ่ ขียนหรือจารตวั อกั ษรล้านนา เพือ่ บอก ใหร้ ูช้ ่อื เรือ่ งและจ�ำนวนผกู ของคัมภรี ธ์ รรม บญั ชักบางอันยงั จารกึ รายละเอยี ด อื่นๆ เพม่ิ เติม เชน่ ชอ่ื นามสกลุ ของผจู้ ารหรือผ้สู รา้ งถวายพร้อมกับคำ� อธิษฐาน วนั เดอื น ปที ถ่ี วาย เปน็ ตน้ สว่ นใหญบ่ ญั ชกั มกั ทำ� ดว้ ยแผน่ ไม้ งาชา้ ง และแผน่ โลหะ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางเรียวยาวขนาดพอเหมาะ บางแผ่นจิตรกรหรือผู้สร้าง แกะสลักและประดับดว้ ยลวดลายสสี นั ตา่ งๆ ส่วนดา้ นบนเจาะรสู ำ� หรับผกู เชือก ขนาดพอประมาณเพอ่ื ใชพ้ นั ดา้ นนอกของผา้ หอ่ คมั ภรี ธ์ รรมใหเ้ ปน็ มดั ทำ� ใหส้ ะดวก ตอ่ การคน้ หาเชอื่ วา่ หากทำ� บญั ชกั ใหส้ วยงามคงทนแลว้ ถวายรว่ มกบั คมั ภรี ธ์ รรมจะ ไดผ้ ลานสิ งสท์ ่ยี งิ่ ใหญ่ 57

บัญชกั ส�ำหรับจารชื่อเรือ่ งและจ�ำนวนผูกของคัมภรี ธ์ รรม คัมภรี ใ์ บลานหรอื คมั ภรี ธ์ รรมล้านนาทสี่ มบูรณ์แบบ (ขอบคุณภาพจาก อาจารย์พรรณเพญ็ เครอื ไทย) ๒.๔ ความหมายและความส�ำคัญของการเทศน์ในลา้ นนา คำ� ว่า เทสน์ หรือ เทศน์ มรี ากศพั ท์เดมิ มาจากภาษาบาลีและสนั สกฤต๓๑ ดงั น้ี ภาษาบาล ี รากศพั ท์เดิม ทิสฺ รวมกับ อน ปัจจัย เปน็ เทสน ภาษาสนั สกฤต รากศพั ทเ์ ดิม ทศิ ฺ รวมกับ อน ปจั จัย เปน็ เทศน เอกสารโบราณล้านนาใชค้ �ำภาษาบาลีเปน็ หลักว่า เทสนาฯ ปรวิ รรตเปน็ กเทณั สฑนา์ทศดพงั ตรวั ๓อ๒ยวา่า่ งคำ� ปรวิ รรตจากมหาชาตเิ วสสนั ดรชาดกลา้ นนา ฉบบั ไมไ้ ผแ่ จเ้ รยี วแดง ๓๑มั่นเกยี รติ โกศลนริ ัตวิ งษ.์ ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำ� ปรึกษาพทุ ธรรม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. ๒๕๔๑. หนา้ ๑๖๑. ๓๒อดุ ม รุ่งเรอื งศรี. เวสสันตรชาดก ฉบบั ไมไ้ ผแ่ จ้เรยี วแดง พิมพค์ รัง้ ท่ี ๑. อ้างแล้ว. หนา้ ๙๐. 58

“...สาธโวฟงั ราโสตชุ นสปั ปรุ สิ ะเจา้ ทงั หลายสตถฺ าอนั วา่ สพั พญั ญพู ระพทุ ธเจา้ แห่งเราตนเปนนายน�ำหมสู่ ัตต์ทงั หลายเข้าสู่นพิ พานเมอื่ พระยังธอรมานอาไสรเซ่งิ เมอื ง กัปปิลวัตถุนคอร ทีโ่ คจรคามจระเดินปณิ ฑบิ าต ค็อย่สู ถติ ส�ำราญในนิโครธอาราม ปรารภเซ่งิ กรขี าอันตกลงมาแหง่ หรา่ ฝนโปกขรวสั ส์ หอ้ื เปนเหตเุ ปนประไจยแกลญ่ าณ ธมั มเทสนาแล้ว ตนแก้วจ่ิงปวตั ตเิ ทสนายงั มหาเวสสันตรชาตกะอันนี้ อาจารย์เจา้ ทงั หลายหากกฎหมายด้วยอาทบิ าทคาถาวา่ “ผุสฺสติ วรวณณฺ า เภติ” ดัง่ นแี้ ล แทแ้ ล อุปตั ตนิ ิทานเหตกุ ารณ์อนั พระพทุ ธเจา้ เทสนายงั มหาเวสสนั ตระธัมมเทสนาอนั น้ี ผู้มี ประหญาเพงิ รู้ด้วยไนยะอันอาจารยเ์ จ้าจกั กลา่ วไพพายหนา้ นเ้ี ทิอะ...” พจนานกุ รมลา้ นนา - ไทย๓๓ ใหค้ วามหมายตามอยา่ งภาษาบาลวี า่ “เทสนา ก./น. การแสดงธรรม” ในขณะทีส่ ารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนอื ๓๔ ก็ใช้ ศพั ท์ท่แี ผลงมาจากภาษาบาลี แตอ่ ธบิ ายความหมายในบรบิ ทลา้ นนาว่า เทสน์ (อา่ น “เตด้ ”) เทสนฯ์ เทสน์ หรอื การเทศน์ คือการอ่านตามคัมภีรใ์ บลานทีจ่ ารกึ พระธรรมในพระพุทธศาสนาให้ผอู้ ื่นไดร้ บั รู้ ซ่ึงการเทศนแ์ บบล้านนาน้นั ถือได้ ว่าเป็นการอ่านด้วยลีลาน้�ำเสียงที่มีท่วงท�ำนองงดงามตามแบบประเพณีนิยมใน แตล่ ะท้องถิ่น...” สว่ นภาษาไทยกลาง นิยมใช้ เทศน์ ซง่ึ เปน็ ภาษาสนั สกฤต แต่ก็มคี วาม หมายเหมือนภาษาบาลี ดังพจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๖๓๕ให้ ความหมายว่า “เทศน์, เทศนา (เทด, เทสะนา, เทดสะหนฺ า) น. การแสดงธรรม สง่ั สอนในทางศาสนา ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน.์ ..” สว่ นพจนานกุ รมพทุ ธ- ศาสตร์ ฉบบั ประมวลธรรม๓๖ ใหค้ วามหมายเหมอื นกนั วา่ “เทศนา การแสดงธรรม สง่ั สอนในทางศาสนา, การชีแ้ จงให้ร้จู ักดีร้จู กั ชั่ว, คำ� สอน...” ภายหลัง เม่ือภาษาไทยกลางมีบทบาทในล้านนามากขึ้น จึงนิยมใช้ ค�ำว่า เทศนา หรือเทศน์ ตามแบบอย่างภาษาไทยกลาง เมอื่ ประมวลความหมาย จากค�ำจ�ำกัดความในเอกสารวิชาการของล้านนาและไทยกลางแล้ว จะเห็นว่า มีความหมายตรงกนั จึงเปน็ ทีเ่ ขา้ ใจไดว้ ่า การเทศนห์ รอื เทสน์ คอื การชแ้ี จงแสดง ธรรมทางพระพุทธศาสนา แตก่ ารเทศนใ์ นวฒั นธรรมล้านนาให้ความส�ำคัญกบั ๓๓อุดม รงุ่ เรอื งศร.ี พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแมฟ่ ้าหลวง.อา้ งแลว้ . หน้า ๓๓๕. 59 ๓๔ส๒า๕ร๔า๒น.กุ หรมนวา้ ฒั ๒น๘ธ๗ร๖ร.มไทย ภาคเหนือ เล่มท่ี ๖. กรงุ เทพฯ: มูลนธิ สิ ารานกุ รมวฒั นธรรมไทย ธนาคารไทยพานชิ ย์. ๓๕รหานช้าบ๕ณั ๔ฑ๑ิต.ยสถาน. พจนานกุ รม ฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรงุ เทพฯ: นานมีบ๊คุ พบั ลเิ คชนั่ . ๒๕๔๖. ๓๖หพนระ้าพ๑ร๔ห๐มค. ุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานกุ รมพทุ ธศาสตร์ ฉบบั ประมวลศัพท์ (ช�ำระ-เพ่ิมเติม ช่วงที่ ๑). อา้ งแล้ว.

การเทศนด์ ้วยการอ่านตามคัมภรี ใ์ บลาน ด้วยท�ำนองขบั ขานในท้องถ่ิน ถือเป็น พธิ กี ารทสี่ ำ� คญั และศกั ดส์ิ ทิ ธ์ิ สว่ นการพดู ดว้ ยปากเปลา่ โดยไมอ่ า่ นตามคมั ภรี ธ์ รรม ไม่ถอื เป็นการเทศน์ เปน็ เพยี งการใหโ้ อวาทสั่งสอนตามปกตโิ ดยท่วั ไปเทา่ นั้น การเทศน์เปน็ พธิ สี �ำคัญ เพราะเป็นการเผยแผพ่ ระธรรม ซึง่ เป็นรตั นะ องคท์ ่ี ๒ ในพระรัตนตรัย กอ่ นท่ีพระพุทธเจ้าจะเสด็จดบั ขนั ธปรินพิ พาน ทรง มอบพระธรรมวินัยใหเ้ ป็นส่ิงแทนของพระองค์ ดงั นนั้ การเผยแผพ่ ระธรรมวินยั ใหม้ นั่ คงรงุ่ เรอื งจงึ เปน็ หวั ใจสำ� คญั ในการธำ� รงรกั ษาพระพทุ ธศาสนา ชาวลา้ นนา ใหค้ วามสำ� คญั กบั การเผยแผ่พระธรรมเปน็ อย่างมาก โดยจัดเปน็ พิธที ่ศี ักด์ิสทิ ธิ์ เพอ่ื เทดิ ทนู พระธรรมอยา่ งมคี า่ ประเสรฐิ สดุ เหนอื สงิ่ อน่ื ใด การเทศนใ์ นวฒั นธรรมลา้ นนา จงึ มคี วามส�ำคญั ดงั นี้ ๑. เปน็ ภูมปิ ัญญาท้องถนิ่ ในการเทดิ ทูนและสบื ทอดพระธรรมคำ� สง่ั สอน ของพระพุทธเจา้ ให้ด�ำรงคงอยอู่ ยา่ งมีคณุ คา่ ๒. เป็นรปู แบบการเผยแผ่ธรรมท่แี สดงให้เหน็ ถงึ ความเคารพศรทั ธาของ ชาวล้านนาที่มตี อ่ การตรสั รู้ของพระพุทธเจ้า ๓. เป็นการปลกู ฝังทัศนคติ ความเชอื่ โลกทศั น์ และค่านิยมทางพระ พุทธศาสนาใหแ้ ก่ชาวลา้ นนา ๔. ทำ� ใหเ้ กดิ กระบวนการรวมกลมุ่ และทำ� กจิ กรรมรว่ มกนั ระหวา่ งพระสงฆ์ และศรัทธาประชาชน ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความมีเมตตา และปรารถนาดีต่อกัน ท�ำให้พระพุทธศาสนา เจรญิ มั่นคง สงั คมดำ� รงอยอู่ ยา่ งสงบสขุ ๕. ทำ� ใหเ้ กดิ ความศรัทธาในพระรัตนตรยั แล้วถา่ ยทอดความศรัทธา อนั บริสทุ ธ์นิ ั้น สู่การสร้างสรรค์พทุ ธศิลปกรรมต่างๆ เชน่ วรรณกรรม จิตรกรรม สถาปัตยกรรม ประตมิ ากรรม และประเพณวี ฒั นธรรมท้องถนิ่ แขนงต่างๆ พระพุทธรูปประจำ� ๔ ทิศ วัดปงสนกุ เหนือ ตำ� บลเวียงเหนอื อำ� เภอเมือง จงั หวดั ล�ำปาง 60

๒.๕ แนวคิดและคตคิ วามเช่ือเกีย่ วกับการเทศน์ในลา้ นนา การท่ีชาวล้านนาใช้การเทศน์เป็นรูปแบบในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่ีมีลักษณะเปน็ พิธกี รรมสำ� คัญและศกั ดิส์ ทิ ธิ์ เพราะมแี นวคิดและคตคิ วามเชือ่ ดงั นี้ ๒.๕.๑ แนวคดิ และคตคิ วามเชอ่ื เกย่ี วกบั การสรา้ งและถวายคมั ภรี ธ์ รรม ชาวล้านนานิยมคัดลอกหรือจ้างวานผู้อื่น ให้คัดลอกคัมภีร์ธรรมทาง พระพทุ ธศาสนาเรอื่ งตา่ งๆ เพอื่ นำ� ไปถวายวัด ตามคติความเชื่อท่ีว่า การคัดลอก คมั ภีร์ธรรมทางพระพทุ ธศาสนาแล้วถวายไว้กบั วดั ย่อมมผี ลานสิ งสท์ ่ียง่ิ ใหญ่ ดงั อานิสงส์ที่ปรากฏในคมั ภีรส์ ัทธัมมสังคหะ๓๗ และสุสมิ ชาดก๓๘ ท่ีกลา่ วถงึ การสรา้ ง ธรรมอักขระ ๑ ตัว ย่อมมอี านิสงสเ์ หมอื นกบั สรา้ งพระพุทธรปู ๑ องค์ ความ ตอนหน่งึ ในคมั ภรี ส์ ัทธมั มสังคหะ รจนาโดยพระธรรมกติ ตมิ หาสามี (พระเถระ ชาวอยธุ ยา ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๓-๑๙๔๑) ว่า๓๙ “...(๑) อกั ขระแต่ละตัว มีคา่ เทา่ กบั พระพทุ ธรปู ๑ องค์ เพราะฉะน้ัน ผ้ทู ี่ เป็นบณั ฑติ จงึ ควรเขยี นพระไตรปฎิ ก (๒) เมอ่ื พระไตรปฎิ กคงอยู่ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ กย็ ่อมช่ือวา่ ทรงพระชนม์ชพี อยู่ (๓) อักขระตัวหนงึ่ ๆ ทม่ี ใี น ปริยตั ศิ าสนาของพระศาสนา อกั ขระตัวนั้นและพระพุทธรูป ๑ องค์อำ� นวยผลให้ เทา่ เทียมกัน (๔) เพราะฉนนั้ คนทฉี่ ลาด ปรารถนาสุข ๓ ประการ คือ สุขในเมืองมนุษย์ สวรรค์ และนิพพาน ควรจะให้เขียนพระไตรปฎิ ก อนั เปน็ ธรรมเจดีย.์ ..” อานิสงสก์ ารสรา้ งคัมภีรธ์ รรมดังกล่าวนี้ ชใ้ี ห้เห็นความส�ำคญั ว่า อกั ขระ ท่ใี ชบ้ นั ทึกพระไตรปฎิ กนนั้ เป็นสือ่ ใหเ้ ขา้ ถึงพระธรรม อนั เป็นรตั นะส�ำคัญยง่ิ ใน พระรตั นตรยั หากมกี ารสรา้ งคมั ภรี ธ์ รรมทม่ี เี นอื้ หาถกู ตอ้ ง ยอ่ มทำ� ใหพ้ ระสทั ธรรม ต้ังม่ันและแพร่หลาย เป็นแนวคิดที่แสดงให้เห็นถึงการธ�ำรงรักษาไว้ซึ่งพระ รัตนตรัย ๓๗1tบh9ำ� e9เพ66ญ็. tหhรนะIา้ nวนิt2e.1r6วnนิ.aัยtiดoอnกaเlดCอ่ื o:nคfeมั rภenรี พ์ceระoวnินยัThทaถี่ iือSวtา่uอdกั ieขsระTเhปeน็ mพeน้ื ฐVาI,นCขhอiaงnพgทุ Mธธaรi,รTมh, aบiทlaคnวdา,ม1ใ4น-1P7roOccetoedbienrgs of 61 ๓๘อพดุรรมณรเุ่งพเรญ็ ืองศเครร.ี ือวไรทรยณบกรรรรมณชาาธดกิ กาทร.ม่ี เลี ชักยี ษงใณหะมเ่:ปส็นถลาา้ บนันนวาิจ.ัยสบงัทคคมวามมหใานวหทิ นยงั าสลอื ยั เวชรียรงณใหกมร่.ร๒ม๕พ๔ทุ ๐ธศ. าหสนน้าา๕ใน๒ล. า้ นนา. ๓๙บ�ำเพ็ญ ระวนิ . วนิ ัยดอกเดื่อ: คมั ภีรพ์ ระวนิ ัยทถ่ี อื ว่าอักขระเปน็ พืน้ ฐานของพทุ ธธรรม. อ้างแล้ว. หน้า ๒๑๖.

อนั เปน็ ประโยชนต์ อ่ พระพทุ ธศาสนาโดยรวม แตภ่ ายหลงั ไดม้ กี ารรจนาคมั ภรี ธ์ รรม ล้านนาหลายฉบับ มีเน้ือหากล่าวถึงอานิสงส์การสร้างคัมภีร์ธรรมถวายวัด ที่เนน้ ประโยชนส์ ว่ นตนเปน็ ทีต่ ั้ง เช่น คมั ภีรธ์ รรมล้านนาเรือ่ งอานสิ งสส์ รา้ งพระไตรปิฎก๔๐กล่าวถงึ พระสารบี ตุ ร ได้ทูลถามพระพทุ ธเจา้ ถงึ อานิสงส์ของการสร้างคมั ภีร์ธรรม พระองคต์ รสั ตอบวา่ การสรา้ งคมั ภรี ธ์ รรมมอี านสิ งสม์ ากมาย ไมว่ า่ จะสรา้ งดว้ ยตนเองกด็ ี จา้ งวานคนอนื่ เขยี นให้ก็ดี ย่อมไดร้ ับอานสิ งส์ดังน้ี ได้รับความสุขในมนษุ ย์สมบตั ิ ๘๔,๐๐๐ กปั ป์ ได้เป็นพระเจา้ จักรพรรดิ ๘๔,๐๐๐ กปั ป์ ไดเ้ ป็นกษตั ริยป์ ระเทศราช ๙ อสงไขย ได้เปน็ มหาเศรษฐ ี ๙ อสงไขย ไดเ้ กิดเปน็ พระพรหม ๙ อสงไขย ได้เกดิ เป็นเทวดาชั้นจาตุมมหาราชกิ า ๙ อสงไขย ได้เกิดเป็นเทวดาช้ันดาวดงึ ส์ ๙ อสงไขย ได้เกิดเปน็ เทวดาชนั้ ยามา ๙ อสงไขย ได้เกิดเปน็ เทวดาช้นั ดสุ ิต ๙ อสงไขย ไดเ้ กิดเปน็ เทวดาชน้ั นิมมานรดี ๙ อสงไขย ไดเ้ กิดเปน็ เทวดาชั้นปรนมิ มิตวสวด ี ๙ อสงไขย ไดเ้ กดิ เปน็ มนษุ ยใ์ นตระกลู ทดี่ ี ประกอบดว้ ยผมงาม ควิ้ งาม ขนั ธง์ าม นวิ้ งาม ผวิ พรรณงาม และถึงพรอ้ มดว้ ยกัลยาณมติ ร ตอนท้ายของคัมภรี ธ์ รรมบางเรอ่ื ง กล่าวถงึ อานิสงสข์ องการคัดลอกและ การสรา้ งคัมภรี ธ์ รรมถวายไวก้ ับวดั เชน่ คัมภรี ธ์ รรมต�ำนานย่าขวันเข้า๔๑ ฉบบั วดั ทา่ ทมุ่ ตำ� บลสนั พระเนตร อำ� เภอสนั ทราย จงั หวดั เชยี งใหม่ ความตอนทา้ ยของ คมั ภรี ์ธรรมกลา่ วถึงอานสิ งส์วา่ ๔๐พระมหาสิงหค์ �ำ รักปา่ . การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อานสิ งสล์ า้ นนา. วิทยานิพนธศ์ ลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลัยเชียงใหม.่ ๒๕๔๓. หน้า ๑๘๑. ๔๑ พระนคร ปรังฤทธ์ิ และคณะ. ตำ� นานย่าขวนั เขา้ : ส่อื พน้ื บา้ นเพอื่ การพฒั นาสุขภาวะของชุมชน. เอกสารประกอบการ นำ� เสนอเวทเี สริมการเรียนรเู้ ร่ืองข้าวในวฒั นธรรมล้านนา. งานมหกรรมสมนุ ไพรแห่งชาติครัง้ ที่ ๕ ณ อมิ แพค็ เมอื งทองธานี ๓-๗ กนั ยายน ๒๕๕๑. เชียงใหม:่ มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตเชียงใหม่ 62 ๒๕๕๑. หน้า ๔๐.

“...บา้ นใดเมืองใดคด็ ี คันเปนทพุ ภกิ ขภัยอยากนำ้� กัน้ เข้าน้นั จุง่ แต้ม เขียนเอาธัมม์อนั ช่ือวา่ ย่าขวันเขา้ อันน้ี แตม้ เขยี นเอาด้วยตนคด็ ี จา้ งท่านผอู้ ื่น เขียนหื้อค็ดีแล้วปูชาเอาค็ดี ดว้ ยวัตถุเข้าของเงินฅำ� สมั ปัตติ เข้าตอกดอกไม้ ล�ำเทียนตามเจตนาสัทธาหาได้และตามขะกูลผู้น้อยผู้ใหย่และไหว้นบครบ ยำ� แยง แตง่ ตง้ั สกั การะปชู า คนั วา่ เทสนาในฐานะทใ่ี ดค็ดี ในบ้านในเรอื นใน เมอื งใดค็ดี ค็จักกา้ นกงุ่ รุ่งเรืองดว้ ยวตั ถเุ ขา้ ของเงินฅำ� สัมปตั ติถราบ ๕ พนั พระ วสั สานีแ้ ล ปุคละผใู้ ด ไดแ้ ตม้ ไดเ้ ขยี น และได้สักการะปูชา ฟังด้วยสัจจคารวะ ครบย�ำเเยงแทด้ งั่ อัน้ ปคุ ละผนู้ นั้ แม่นวา่ เกดิ มาในภาวะชาติใดค็ดี ค็บห่ อ่ นวา่ จกั อยากนำ้� กน้ั เขา้ สกั ภาวะชาตแิ ล แมน่ วา่ ในชาตนิ ค้ี จ็ กั ประกอบดว้ ยยสั สะสรสี มั ปตั ตแิ ละมีฑฆี า อายุ วัณณะ สุขะ พละ ลาภะ สกั การะมากนกั อนั ๑ คเ็ ปนท่ี รกั จ�ำเริญใจแก่หมฅู่ นและเทวดาอินทาพรหมทังหลาย เทียรยอ่ มนำ� มายงั เขา้ ของเงนิ ฅ�ำ มาห้อื ปุคละผอู้ นั ไดป้ ฏิบตั ิอุปัฏฐากรกั ษายังธมั ม์ อันชอื่ วา่ ยา่ ขวนั เข้าอันน้ี บ่อยา่ ชะแล...” โบราณาจารย์ล้านนา ก�ำหนดให้ชาวล้านนาสร้างคัมภีร์ธรรมถวายวัด พรอ้ มกบั ฟงั ธรรมเรอื่ งตา่ งๆ ตามวนั เดอื น และปเี กดิ ของตน เรยี กวา่ “ธรรมชาตา” ถ้าเป็นคัมภีรธ์ รรมส�ำหรบั ถวายประจำ� วนั เกดิ เรียกว่า “ธรรมชาตาวนั เกดิ ” ถ้า ถวายเดอื นเกิดเรยี กวา่ “ธรรมชาตาเดอื นเกดิ ” และถา้ ถวายประจำ� ปเี กิด เรยี กว่า “ธรรมชาตาปีเกดิ ” เชอื่ ว่า เป็นการส่งั สมบญุ บารมีให้กับตนเอง ดงั คัมภีรธ์ รรม ชาตาตอ่ ไปน้ี ธรรมชาตาประจำ� วนั เกดิ วันจันทร ์ ถวายธรรมสงั คณิ ี วนั องั คาร ถวายธรรมวภิ ังคะ วันพธุ ถวายธรรมธาตุกถา วนั พฤหสั บดี ถวายธรรมปคุ ลบญั ญัติ วนั ศกุ ร์ ถวายธรรมกถาวัตถุ วันเสาร์ ถวายธรรมยมกะ วันอาทติ ย์ ถวายธรรมมหาปัฏฐาน 63

ธรรมชาตาประจ�ำเดือนเกิด๔๒ เดือนเจียง ถวายธรรมสุทธนู หรอื ปฐมกปั ป์ เดือนย ี่ ถวายธรรมช้างฉัททันต์ หรือปทมุ กมุ าร เดอื นสาม ถวายธรรมมฏั ฐกุณฑลี หรือมโหสถ เดอื นส ่ี ถวายธรรมหงสผ์ าค�ำ หรือภูริทตั ต์ เดือนห้า ถวายธรรมอุทธรา หรอื โปริสาท เดอื นหก ถวายธรรมพทุ ธโฆสา เดอื นเจ็ด ถวายธรรมอรนิ ทมุ หรอื เนมิราช เดอื นแปด ถวายธรรมสารทมานพ หรอื สิทธาตถ์ เดือนเกา้ ถวายธรรมพทุ ธาภเิ ษก หรอื สบิ ชาติ เดอื นสบิ ถวายธรรมสุวรรณสาม เดอื นสบิ เอด็ ถวายธรรมพทุ ธนพิ พานหรอื เวสสนั ตระ เดอื นสบิ สอง ถวายธรรมมหามงั คละสตู ตห์ รอื สมภมติ ธรรมชาตาประจ�ำปเี กดิ ๔๓ ปใี จ ้ (ชวด-หนู) ถวายธรรมเตมยิ ะ ปเี ป้า (ฉลู-ววั ) ถวายธรรมเวสสันตระ ปียี (ขาล-เสือ) ถวายธรรมสุทธนู ปีเหมา้ (เถาะ-กระตา่ ย) ถวายธรรมเนมิราช ปีส ี (มะโรง-งูใหญ)่ ถวายธรรมสภุ มิตร ปีใส ้ (มะเส็ง-งเู ลก็ ) ถวายธรรมภูริทตั ปสี งา้ (มะเมยี -มา้ ) ถวายธรรมสธุ น หรอื จนั ทกมุ าร ปีเมด็ (มะแม-แพะ) ถวายธรรมช้างฉัททนั ต์ ปีสนั (วอก-ลงิ ) ถวายธรรมมโหสถ ปเี ลา้ (ระกา-ไก)่ ถวายธรรมสทิ ธาตถห์ รอื สทิ ธตั ถะ ปีเสด็ (จอ-สุนขั ) ถวายธรรมกุสราช ปไี ค ้ (กนุ -หมหู รือช้าง) ถวายธรรมสุตตโสม ๔๒ออด้าุ งมแลรุ่ง้วเ.รหอื นงศา้ ร๕.ี ว๑ร-ร๕ณ๒ก. รรมชาดกทีม่ ลี ักษณะเปน็ ลา้ นนา. บทความในหนังสอื วรรณกรรมพทุ ธศาสนาในล้านนา. 64 ๔๓เอกสารพับสาโบราณฉบบั วัดศรเี ต้ีย ตำ� บลศรีเตย้ี อ�ำเภอบา้ นโฮง่ จังหวัดล�ำพนู . รหัสไมโครฟลิ ์ม ๘๐.๐๕๐.๑๑.๐๐๓-๐๐๓ สถาบันวิจยั สงั คม มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม.่ หนา้ พบั ท่ี ๑๓๘-๑๓๙. ปรวิ รรตจากอกั ษรธรรมล้านนาเป็นภาษาไทยกลาง โดย พระนคร ปญฺญาวชิโร.

คติความเช่ือเก่ียวกับอานิสงส์การสร้างคัมภีร์ธรรมถวายวัดดังกล่าว ท�ำใหช้ าวล้านนานิยมสร้างคมั ภรี ์ธรรมถวายวัดในโอกาสต่างๆ จนมีคมั ภรี ์ธรรม แพร่หลาย และหนุนเน่ืองในวดั มาโดยตลอด จนถึงกบั สร้างอาคารส�ำหรบั เป็น สถานทจ่ี ดั เกบ็ รักษาคัมภีรธ์ รรมอยา่ งเป็นสดั ส่วน เรียกว่า หอธรรม หรือ หอไตร ไดแ้ กอ่ าคารส�ำหรับเก็บรักษาพระไตรปฎิ ก ชาวบา้ นทัพ อ�ำเภอแมแ่ จ่ม จงั หวดั เชียงใหม่ กำ� ลังถวายทานคัมภรี ์ใบลาน เพ่ืออทุ ิศให้แก่ญาติทีล่ ่วงลับ ชาวลา้ นนาใหค้ วามเคารพและให้ความส�ำคญั ตอ่ คมั ภีรธ์ รรมมาก จะไม่ แสดงพฤติกรรมอนั ไม่เหมาะสมต่อคมั ภรี ธ์ รรมทัง้ ทางกาย วาจา และใจ เช่น การ ไมเ่ ดินเหยียบย�่ำข้ามกราย การไม่ลบหลู่ การไม่คดิ ทำ� ลายให้เกดิ ความเสยี หาย เป็นตน้ เพราะถอื ว่าคัมภรี ธ์ รรมเปน็ ส่วนหนึ่งของพระพุทธพจน์ ถือเปน็ ของสงู และศกั ดส์ิ ิทธ์ิ ควรใหค้ วามเคารพบูชา หากใครลว่ งละเมดิ ด้วยกาย วาจา ใจ ถอื เปน็ บาปหนกั อยา่ งหนง่ึ ๔๔ ตอ้ งประกอบพธิ ี ขอสมู าธรรม คอื การนำ� ขา้ วตอกดอกไม้ ไปกล่าวขอขมาต่อคัมภรี ์ธรรม แม้จะนำ� คัมภีรธ์ รรมออกมาท�ำความสะอาดหรอื จัดเกบ็ ให้เปน็ หมวดหมกู่ ็ต้องประกอบพธิ ขี อสูมาธรรม เพ่อื ความเปน็ สิริมงคล ๔๔มณี พยอมพยงค์ และศิรริ ัตน์ อาศนะ. เครอื่ งสกั การะในลา้ นนาไทย. อา้ งแล้ว. หน้า ๖๓. 65

พธิ ีสูมาธรรมหรือพธิ ีขอขมาตอ่ คัมภรี ธ์ รรมตามจารีตในวัฒนธรรมล้านนา (ภาพประกอบจาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนอื เลม่ ๑๔ หนา้ ๗๑๕๘) ชาวลา้ นนาเรยี กสง่ิ ทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ไดต้ รสั แสดงเอาไวว้ า่ “ออกมาจากขะอบู แกว้ ” ดังความตอนหนึ่งของคัมภีรธ์ รรมมหาวบิ าก กล่าวว่า๔๕ “นโม ตสฺสตฺถุฯ เอวมเฺ ม สตุ ํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตถฺ ิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปณิ ฺฑิกสฺส อาราเมฯ สุตนตฺ อิ าทกิ ํ นิทานวจนํ ค�ำมีต้นว่า เอวมเฺ ม สุตํ นี้ หากเปนคำ� แห่งมหาอานันทเถระเจา้ อนั ได้สดับรบั ฟัง มาแตข่ ะอบู แกว้ กลา่ วคอื ปากแหง่ พระพทุ ธเจา้ หากกลา่ วแกอ่ รหนั ตา ๕๐๐ ตน อนั มมี หากสั สปะเถระเจา้ เปนเค้าเปนประธาน เมือ่ ปฐมะ สงั คายนาธัมมว์ นั นัน้ ดง่ั จักวิสัชชนาไพพายหนา้ น้เี ทอะ....” คัมภรี ์ธรรมอานสิ งส์ปใี หม่๔๖วัดแมแ่ ก้ดหลวง ตำ� บลหนองจอ๊ ม อ�ำเภอ สันทราย จังหวดั เชยี งใหม่ กล่าววา่ “...สตุ ฺตํ อันวา่ สูตตอ์ นั นี้ เม มยา อนั วา่ ข้าตนชือ่ วา่ อานันโท หากได้สดบั รบั ฟังแต่ขะอบู แกว้ คือมุขทวารแหง่ พระพุทธเจ้า...” ๔๕คัมภรี ธ์ รรมลานกระดาษเร่ือง มหาวิบาก. ล�ำพูน: ร้านภญิ โญ. มปพ. ๔๖ปรวิ รรตจากอกั ษรล้านนาเป็นภาษาไทยกลางโดย พระศุภชัย ชยสุโภ. วัดสวนดอก ตำ� บลสเุ ทพ อ�ำเภอเมือง จงั หวดั เชยี งใหม่ 66

พจนานกุ รมลา้ นนา - ไทย ฉบับแมฟ่ ้าหลวง๔๗ ใหค้ วามหมาย “ขะอูบ แก้ว” ว่า ผอบแก้ว หมายถึง พระโอษฐ์ (ปาก) ของพระพทุ ธเจ้า เป็นการใช้ อปุ มาเปรียบเทยี บวา่ ผอบเปน็ ส่งิ ท่ใี ชบ้ รรจขุ องหอม เมือ่ เปิดครัง้ ใดกล่นิ หอม จากผอบ ยอ่ มท�ำใหจ้ ิตใจของผ้สู ดู ดมเกดิ ความเบกิ บาน เสมือนพระโอษฐข์ อง พระพุทธเจ้า เม่ือตรัสแสดงพระธรรมเทศนาคร้ังใด ย่อมท�ำให้สัตว์โลกและ เหล่าเทพยดามีความเบิกบานใจและพน้ จากความทุกขเ์ มอ่ื น้ัน เม่ือกล่าวอ้างอิงถึงค�ำสอนหรือเน้ือหาในคัมภีร์ธรรม มักกล่าวอ้างอิง พข้อรคะวเจาม้า”น๔น้ั ๘หๆมดา้วยยคคววาามมเวค่าารคพ�ำวส่าอ“นอหอรกือในเรธ่ือรงรรมา”วท“มี่จอีารยึกู่ในในธครรัมมภ”ีรห์ธรรรอื ม“ทเป่ีน็น�ำคม�ำา กลา่ วอ้างองิ นั้น ล้วนแล้วแตเ่ ป็นสิ่งที่พระพุทธเจา้ ได้ตรัสแสดงเอาไว้ ดงั นน้ั การสร้างและถวายคัมภรี ์ธรรมไวก้ ับพระพทุ ธศาสนา นอกจากจะ เช่ือวา่ เปน็ การท�ำบุญสัง่ สมบารมใี หแ้ กต่ นเองแล้ว ยงั เป็นการสืบทอดพระธรรม คำ� สง่ั สอนของพระพทุ ธเจา้ ให้ดำ� รงคงอยแู่ ละแพร่หลาย ๒.๕.๒ แนวคดิ และคติความเช่อื เกย่ี วกบั พระผ้เู ทศน์ ภายหลงั พุทธกาล การศกึ ษา การปฏบิ ัติ การรวบรวม และการเผยแผ่ พระธรรมวนิ ยั เป็นภารกิจของเหล่าพุทธบรษิ ทั ๔ ประกอบดว้ ย ภิกษุ ภกิ ษณุ ี อบุ าสก อุบาสิกา การเทศน์ธรรม เป็นรปู แบบการเผยแผ่พระธรรมอย่างหน่ึง ถอื เป็นหน้าท่ี และภารกจิ อนั สำ� คญั ยิ่งของบรรดาพระภกิ ษสุ ามเณร ซงึ่ เปน็ ศาสนทายาท ทตี่ ้อง ชว่ ยกนั เผยแผแ่ ละจรรโลงไว้ โดยการเทศนเ์ พอ่ื โปรดสตั ว์โลกตามรอยพระพุทธ ปฏิปทา มพี ุทธศาสนกิ ชนนับตง้ั แตก่ ษัตริย์ตลอดจนถงึ ประชาชนให้การอปุ ถมั ภ์ เหมือนกับการสังคายนาพระไตรปิฎกในแต่ละคร้ังท่ีเหล่าพุทธบริษัทต่างมีส่วน ร่วมเป็นอยา่ งดี ๔๗อดุ ม รงุ่ เรอื งศร.ี พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแมฟ่ ้าหลวง. ปรับปรุงครัง้ ท่ี ๑. อ้างอิงแลว้ . หน้า ๗๑. ๔๘สมั ภาษณ์ นายบุญคดิ วชั รศาสตร.์ มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั วทิ ยาเขตเชียงใหม่. ๑๖ ธนั วาคม ๒๕๕๓. 67

ชาวล้านนาแต่โบราณถือคติว่า๔๙ พระผเู้ ทศน์เป็นตวั แทนขององค์สมเดจ็ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการแสดงพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์โลก ดังส�ำนวน ค�ำกล่าวอาราธนาธรรมแบบล้านนาท่ีปรากฏในคัมภีร์ใบลานของวัดท่าทุ่ม ๕๐ ตำ� บลสนั พระเนตร อ�ำเภอสนั ทราย จงั หวดั เชียงใหม่วา่ สหมปฺ ติ มหาพรหมตนองอาจ หนา้ เจียรจากฟา้ พิมาน มือขา้ นอ้ ยขอยออญั ชลุ ี ผะหนมน้อมไหวก้ ราบบงั คม ขอลูกสิกขพ์ ระโคดมตนจบแจง้ เจตน์ อนั เขียนขดี ไวใ้ ส่ลานฅ�ำ ค่อยแกไ้ ขยังรสั สะธรรมอันล้�ำเลิศ ชีโ้ ลกาตามดง่ั พระพุทธเจ้า หากเทสนามา ธมฺมํ อนกุ มฺปิมํ ปชํ อาราธนํ กโรม ฯ คำ� อาราธนาธรรมบทนมี้ ใี จความสำ� คญั วา่ ทา้ วสหมั บดพี รหมผอู้ งอาจเคย เสดจ็ ลงมาจากเทพวิมานแล้วทลู อาราธนาพระพทุ ธเจ้าใหท้ รงแสดงพระสัทธรรม โปรดสัตว์โลก ข้าพเจ้าก็ขอยกมือขึ้นน้อมอัญชลี แล้วขออาราธนาพระผู้ เป็นสาวกของพระพุทธโคดมซ่ึงเป็นผู้ท่ีมีความรู้ ความเข้าใจในพระสัทธรรม ทน่ี กั ปราชญไ์ ดร้ จนาเอาไวใ้ นคมั ภรี ใ์ บลานทอง อนั ทรงคณุ คา่ และมคี วามประเสรฐิ สดุ ขอพระคณุ เจา้ จงแสดงรสแห่งพระสัทธรรมอนั ล้ำ� เลิศนัน้ เพอ่ื ชที้ างอนั สว่างไสว ให้แกส่ ตั วโ์ ลก เหมอื นดง่ั พระพทุ ธปฏิปทาทเี่ คยแสดงพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์ โลกมาแต่กาลกอ่ นด้วยเถดิ ค�ำอาราธนาธรรมบทน้ีแสดงให้เห็นว่า พระผู้เทศน์เป็นตัวแทนของ พระพทุ ธเจา้ ในการแสดงธรรม ซ่งึ ฆราวาสไม่อาจเผยแผ่พระธรรมดว้ ยพิธีเทศน์ เชน่ นไี้ ด้ นอกจากจะใช้รูปแบบอนื่ ในการเผยแผพ่ ระธรรม เช่น การเลา่ คร่าว ธรรม จ๊อย ออื่ กนั่ โลง จารคัมภรี ์ใบลาน เขียนหนงั สอื ธรรมะ สนทนาธรรม และ ปาฐกถา เป็นต้น ๒.๕.๓ แนวคิดและคติความเชื่อเก่ียวกบั การฟงั ธรรม การฟงั เทศนห์ รอื ฟังธรรมในโอกาสต่างๆ ชาวล้านนาถือเปน็ สงิ่ ส�ำคญั และถือเป็นมงคลแกช่ วี ิต ดังสำ� นวนลา้ นนากล่าวว่า เสยี งทเ่ี ป็นมังคละมี ๓ เสยี ง ๔๙สัมภาษณ์ ดร. พรศิลป์ รัตนชูเดช. มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม.่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒. 68 ๕๐ขอบคณุ ขอ้ มลู จากพระไชยวทิ ย์ ธมมฺ รโต. วัดท่าทุ่ม ต�ำบลสันพระเนตร อำ� เภอสันทราย จงั หวดั เชียงใหม่. ๑๕ กรกฏาคม ๒๕๕๑.

ไดแ้ ก่ เสยี งคอ้ งเสยี งกลอง เสยี งมองต�ำเขา้ (ขา้ ว) เสยี งทเุ จ้า (พระสงฆ์) เทสน์ธัมม์ ความหมายคอื เสียงท่ีถือเปน็ สิรมิ งคลมี ๓ เสียง ไดแ้ ก่ ๑) เสียงการประโคมฆ้องและกลอง แสดงถงึ ความปีตยิ ินดที ่ีได้ทำ� บญุ ให้ทานในงานบญุ ประเพณที างพทุ ธศาสนา การประโคมกลองสะบัดชัยในงานทอดกฐินกรุงเทพฯ-เชยี งใหม่ ณ วดั เจดยี เ์ หลยี่ ม อ�ำเภอสารภี จังหวดั เชียงใหม่ โดยมีพระพรหมบัณฑิต อธิการบดมี หาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ดร. สนธยา กลอ่ มเปล่ียน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เมื่อวนั ท่ี ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ 69

๒) เสยี งครกกระเดื่องทต่ี ำ� ขา้ ว แสดงถึงความอดุ มสมบรู ณ์ในด้าน อาหารการกิน ๓) เสียงพระสงฆ์เทศนธ์ รรม แสดงถึงความดงี ามทางด้านจติ ใจของชาว ลา้ นนาที่ได้รับการขัดเกลาจากการฟังพระสงฆเ์ ทศน์ธรรม 70

ชาวล้านนานยิ มฟังเทศน์ตามโอกาสตา่ งๆ อยู่เสมอโดยเฉพาะในชว่ งเข้า พรรษาซ่ึงเป็นช่วงท่ีพระสงฆ์อยู่จำ� พรรษา ชาวล้านนาทั้งชาย - หญิงจะนิยมนุ่ง ขาวห่มขาว หรอื นุ่งผา้ พนื้ เมอื งมานอนวดั ในวนั โกนและวันพระ เพ่ือรกั ษาอโุ บสถ ศีล ปฏบิ ตั ธิ รรม และฟงั เทศน์ จนวันออกพรรษาจงึ งดนอนวัดและกลบั ไปทำ� งาน ตามปกติ เรียกวา่ ออกวสั สาลาพระเจ้า เรียกการฟังเทศน์ในชว่ งเข้าพรรษาว่า ประเพณฟี งั เทศน์ หรอื ประเพณฟี ังธรรม บางครง้ั ก็เรียกรวมกันวา่ ประเพณีฟัง เทศนฟ์ ังธรรม แม้ในชว่ งออกพรรษาแลว้ ชาวล้านนากย็ งั นิยมฟังเทศนใ์ นโอกาส พิเศษต่างๆ ชาวลา้ นนามคี วามเชอ่ื เรอื่ งอานสิ งสก์ ารฟงั ธรรมวา่ เปน็ การสรา้ งบญุ กศุ ล ส่ังสมบุญบารมีให้กับตนเอง อีกท้ังยังอุทิศบุญกุศลไปให้บรรพชนผู้ล่วงลับ ให้ไดไ้ ปเกิดในสวรรค์ และพ้นจากวิบากกรรมทท่ี ำ� ไว้ ดงั ความในตอนทา้ ยของ คมั ภีร์ใบลานเร่อื ง ต�ำนานพระแก้วดอนเต้า ซงึ่ กล่าวถงึ บคุ คลทีไ่ ด้สรา้ งคมั ภีรใ์ บ ลานเร่อื งนถี้ วายไวก้ ับวัดว่า จะได้อานิสงสต์ ่างๆ คอื ภายภาคหนา้ จักไดบ้ รรลุ พระอรหันต์ มคี วามสุขสมปรารถนา เมอ่ื สิ้นชวี ติ ย่อมไปเกดิ บนสวรรคช์ ั้นดาวดึงส์ ถ้าหากนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์ แล้วถวายทานด้วยเครื่องบูชาต่างๆ สามารถ อุทศิ บญุ กศุ ลไปถงึ บรรพชนผลู้ ่วงลับได้ ดงั ความว่า๕๑ ๕๑คมั ภีร์ใบลานเร่อื ง ต�ำนานพระแกว้ ดอนเตา้ ฉบับวดั ชัยสถาน (ปา่ เสรา้ นอ้ ย) ตำ� บลสนั ปูเลย อ�ำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ปรวิ รรตจากอักษรลา้ นนาเป็นอักษรไทยกลางโดย พระนคร ปญญฺ าวชโิ ร. ๑๑ เมษายน ๒๕๕๑. 71

“...ดูกราอานันทะ ปุคละผูใ้ ดไดส้ รา้ งเขียนยงั ต�ำนานนิทานวัดพระแกว้ ดอนเต้านแี้ ล เขยี นดว้ ยตนบ่ช่าง ได้จา้ งทา่ นผ้อู ่ืนเขยี นค็ดี ค็เท่ยี งวา่ จกั ไดเ้ ถงิ อรหนั ตาเจา้ ตน ๑ ในสำ� นกั พระเมตไตยเ์ จา้ ตนจกั มาพายหนา้ มหี น้ั ชะแล แม่นวา่ จักปรารถนาเปนจักกวัตตดิ ง่ั อ้นั แมน่ วา่ จักปรารถนาเปนพระญาในประเทศราช บา้ นนอ้ ยเมืองใหยค่ ด็ ี แม้นวา่ จกั ปรารถนาเอาลกู ญิงลกู ชายผู้ประเสริฐคด็ ี คห็ าก จักสมฤทธีชุอันแล เเมน้ ว่าจกั ปรารถนาเปนเสฏฐสี ะคว่ ยคไ็ ดด้ ัง่ ใจมกั ชุประการ แล ดูกราอานนั ทะเหยิ ปุคละผใู้ ดไดส้ ร้างเขียนยังต�ำนานนิทานวดั พระแก้ว ดอนเตา้ ทน่ี ่แี ลว้ แลนิมันตนาพระชนิ ะสังฆเจ้ามาเทสนาหอ้ื ฟงั คด็ ีแล ห้ือมีเครอ่ื ง ปูชาสิ่งมตี ้นว่าชอ่ น้อยแลทุงไชย หมาก เบ้ีย วตั ถุปฐานแล้ว แลห้ือทานยังวตั ถุ เข้าของ เงนิ ฅ�ำ เครอื่ งกนิ คด็ ี เคร่อื งบวั ริโภค แก่เจ้าสมณพราหมณต์ นทไ่ี ดม้ าแล้ว หยาดน้ำ� อุทิสะบุญไพจจุ อดรอดเถิง ผูอ้ นั ตายไพนัน้ ค็ดี สว่ นว่าผละอานสิ งส์ คไ็ พ จจุ อดรอดเถงิ ผอู้ นั ตายนน้ั ชฅุ นแล ผตู้ ายคเ็ ทย่ี งวา่ จกั ไดไ้ พเกดิ ในชนั้ ฟา้ ตาวตงิ สา สวรรคเทวโลก อยูใ่ นวมิ านฅำ� สูงไดโ้ ยชนะมนี างฟา้ พนั ๑ เปนปรวิ ารชะแล ดูกราอานันทะ ปุคละผใู้ ดไดต้ ายเสือขบค็ดี ชา้ งแทงคด็ ี ตายรา่ ตายโหง ตายเกิดลกู คด็ ี ตายไข้หนาวค็ดี หลับตายค็ดี แม่นวา่ เขาเจ้าทงั หลายฝงู ตายไพนัน้ ไพตกนารกอยูค่ ด็ ี คันว่าพอ่ แม่พ่นี ้องลกู หลานแลได้สร้างธมั มต์ �ำนานนทิ านวัด พระแกว้ ดอนเต้าเวยี งดนิ ทน่ี แี้ ล้ว ทานหยาดน�้ำอุทิสะบญุ หือ้ ไพรอดผอู้ นั ตายไพ ตกนารกอยู่ คพ็ ันรอดบดั เดยี วนัน้ แล แม้ว่าเขาเจ้าทงั หลายไดก้ ะท�ำปาณาตบิ าต คอื ขา้ สตั ตแ์ ลลกั ของทา่ นคด็ ี ไดก้ ะทำ� ปาณาตบิ าต ๕ ประการคด็ ี แมน้ วา่ ไดเ้ หลน้ ชู้สู่ผัวเมียตนค็ดี คันว่าได้สร้างธัมม์ต�ำนานนิทานวัดพระแก้วดอนเต้าสันน้ีแล ห้อื ยังวัตถเุ ขา้ ของเงินฅ�ำเคร่ืองกนิ เครอ่ื งบัวรโภค เปนทานแก่พระชนิ ะสงั ฆะเจ้า ตนเปนธัมมกถกิ เทสนานัน้ ดง่ั อนั้ ค็จกั พน้ จากอบายทงั ๔ มนี ารกเปนต้นแล...” คัมภรี ธ์ รรมเร่อื งมหาวิบาก๕๒กลา่ วถงึ อานสิ งส์วา่ “...พระพทุ ธเจ้าค็กล่าวว่า ภิกขฺ เว ดูราภกิ ขทุ งั หลาย ปคุ ละญิงชายผู้ มปี ระหยา จักปรารถนาเอายงั สุขสามประการ มีนพิ พานเปนทแ่ี ล้วดงั่ อ้นั ควร กะท�ำบญุ แทแ้ ล บญุ เปนทีเ่ พง่ิ แกฅ่ นแลเทวดาทงั หลาย บ่มีทส่ี งสัยแท้แล อันหน่ึง ปคุ ละผู้ใดมใี จสทั ทา ไดป้ ูชาธมั ม์ดวงผาเสิฐนม้ี าทานคด็ ี อทุ สิ ะส่วนกศุ ลไพหาพ่อ แม่และญาตกิ าพน่ี ้อง อนั ตายไพสู่ปรโลกพายหนา้ คด็ ี ค็จกั มีผละอานสิ งส์มาก นกั แล...” 72 ๕๒คัมภีรธ์ รรมลานกระดาษเรอ่ื ง มหาวบิ าก. อ้างแลว้ .

คมั ภรี ์ใบลานเรือ่ งอานสิ งส์ฟังธรรม๕๓ มเี นอื้ หากล่าวถึงอานิสงส์ท่ีเกดิ จาก การฟงั ธรรม ทำ� ใหไ้ ดร้ บั ผลแห่งความดีในระดบั ตา่ งๆ ความโดยย่อว่า สมยั หนึง่ พระพุทธเจา้ ประทบั อยู่ ณ เชตวนั มหาวหิ าร เมอื งสาวตั ถี ทรงโปรดมานพหนมุ่ บุตรของพราหมณ์คนหน่ึงก�ำลังเดินทางไปคารวะอาจารย์ ระหว่างทางได้ฟัง พระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความศรัทธา จึงได้สมาทานยึดเอา พระรัตนตรัยเป็นสรณะ ครั้นต่อมาถูกโจรฆ่าตาย ด้วยอานิสงส์แห่งการฟัง พระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ ยกั ษ์รา้ ยตนหนง่ึ ปรารถนาจะกนิ พระพุทธเจ้าเป็นอาหาร แต่เม่อื ไดฟ้ งั พระธรรมเทศนาแลว้ กเ็ กิดความศรัทธาและต้งั ใจสมาทานรกั ษาศีล ครัน้ เสยี ชีวติ ก็ไปเกิดเป็นเทวดา มีอายยุ นื ยาวถงึ พนั ปี ไก่ตัวหน่ึงนอนอยู่ใกล้ศาลาฟังพระสงฆ์รูปหน่ึงสาธยายพระธรรมจน จติ ใจเกดิ ความปตี ยิ นิ ดแี ละเลอ่ื มใสในพระธรรมเปน็ ยง่ิ นกั ตอ่ มาถกู เหยยี่ วโฉบกนิ ด้วยอานิสงส์แห่งการฟงั ธรรม จึงไปเกดิ เป็นลูกกษัตริย์แล้วออกบวชจนบรรลุโลกิ ยฌาน พระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานเถระซึ่งเป็นอัครสาวกของ พระพุทธเจา้ ต่างก็ไดบ้ รรลุธรรมเพราะอานิสงสข์ องการฟงั ธรรมจากพระอัสสชิ ตอนท้ายของคัมภีร์อานิสงส์ฟังธรรมกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง กิรยิ าอาการของอบุ าสก ๕ คนที่นง่ั ฟังธรรม ดังนี้ อุบาสกที่น่งั ฟงั ธรรมแลว้ หลบั เพราะอดตี ชาตเิ คยเกิดเปน็ งูมาก่อน อุบาสกที่นั่งฟังธรรมแล้วขีดเขียนแผ่นดิน เพราะอดีตชาติเคยเกิดเป็น ไส้เดือนมาก่อน อุบาสกทีน่ ง่ั ฟังธรรมดว้ ยอาการแหงนหน้าดูบนอากาศ เพราะอดีตชาติ เคยเกดิ เป็นหมอโหราศาสตรม์ ากอ่ น อบุ าสกทย่ี นื ฟงั ธรรมแลว้ เขยา่ ตน้ ไม้ เพราะอดตี ชาตเิ คยเกดิ เปน็ พราหมณ์ เรยี นจบไตรเพทมากอ่ น สว่ นอบุ าสกทฟี่ งั ธรรมแลว้ ไดบ้ รรลพุ ระโสดาบนั เพราะมคี วามตง้ั ใจฟงั ธรรม แล้วไตร่ตรองด้วยสตปิ ัญญาจนสามารถรู้แจง้ เหน็ จริงได้ ดงั น้นั การฟงั ธรรมจึงเป็นสงิ่ ส�ำคญั และเปน็ หนทางนำ� สตั วโ์ ลกให้เข้าใจ ในสภาวธรรมนำ� ไปสู่การบรรลธุ รรมในระดบั ตา่ งๆ ๕๓พระมหาสิงหค์ �ำ รักป่า. การศกึ ษาวิเคราะห์คมั ภรี อ์ านสิ งสล์ ้านนา. อ้างแล้ว. หน้า ๒๒๕. 73

คมั ภรี ธ์ รรมอานสิ งสแ์ ปดหมนื่ สพ่ี นั ขนั ธ์ กลา่ วถงึ อานสิ งสข์ องการฟงั ธรรม ว่า ค้างคาวฝูงหนึ่งตั้งใจฟังพระภิกษุรูปหน่ึงสาธยายพระอภิธรรมจนจิต เข้าสู่สมาธิ แล้วตกลงมาเสยี ชีวิตทำ� ให้ไปเกดิ ในสวรรค์ หากใครได้ฟังธรรมโดย เคารพ ย่อมถือก�ำเนดิ เป็นราชาแห่งเทวดา เมื่อลงมาเกดิ ในเมอื งมนษุ ย์ ย่อมเกดิ ในตระกลู พราหมณแ์ ละเศรษฐี บคุ คลทใี่ หท้ านดว้ ยสตั วส์ งิ่ ของและเงนิ ทองอยา่ งละ ๘๔,๐๐๐ อัน หรอื ถวายทานด้วยข้าวปลาอาหารเป็นระยะเวลา ๗ ปี ๗ เดอื น ๗ วัน ยังไมไ่ ดอ้ านิสงสเ์ ทา่ สว่ นเสย้ี วหนง่ึ ของการฟังธรรม การฟังธรรมมหาชาตเิ วสสันดรชาดก ซง่ึ เป็นพระชาติทยี่ ิ่งใหญแ่ ละเป็น พระชาตสิ ดุ ทา้ ยของพระพทุ ธเจา้ เชอื่ วา่ หากผใู้ ดสามารถฟงั จนครบถว้ น ๑๓ กณั ฑ์ ในเวลา ๑ คืน ๑ วัน บุคคลผู้น้ันจะมีบุญบารมีที่ย่ิงใหญ่ หากล่วงลับจะได้ ไปเกดิ ในยคุ ของพระอรยิ เมตไตย์พระพทุ ธเจา้ องคท์ ี่ ๕ ในภัทรกปั น้ที ีจ่ ะตรสั รู้ ในอนาคต ซงึ่ เชอื่ กนั วา่ เปน็ ยคุ ทม่ี คี วามอดุ มสมบรู ณด์ ว้ ยสรรพสงิ่ ซงึ่ เปน็ สง่ิ ทม่ี นษุ ย์ ปรารถนาย่ิงนัก ดังความปรากฏในคัมภีร์ทุติยมาลัยวัตถ๕ุ ๔กล่าวว่า เม่ือครั้งท่ี พระมหาเถระเทพมาลยั ขนึ้ ไปนมสั การพระเกศแกว้ จฬุ ามณบี นสวรรคช์ นั้ ดาวดงึ ส์ แลว้ ไดพ้ บกบั พระอรยิ เมตไตยเ์ ทวบตุ ร ผทู้ จี่ ะจตุ มิ าตรสั รเู้ ปน็ พระพทุ ธเจา้ ในอนาคต พระอรยิ เมตไตยเ์ ทวบตุ รบอกวา่ ผใู้ ดประสงคจ์ ะเกดิ รว่ มในพระศาสนาของพระองค์ ใหบ้ ำ� เพ็ญทานและฟงั ธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดกใหค้ รบถว้ นทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ภายใน ๑ วนั ๑ คืนด้วยความเคารพ แลว้ บชู าดว้ ยเคร่อื งบชู า เชน่ ประทีปโคมไฟ ๑,๐๐๐ ดวง ดอกกาสะลอง ๑,๐๐๐ ดอก ชอ่ ๑,๐๐๐ อนั เป็นตน้ ตามกำ� ลงั ของ พระคาถาที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก ส่วนคัมภีรอ์ านสิ งสม์ หาเวสสันตระ๕๕ ได้กล่าวย้�ำถงึ อานิสงส์การฟังธรรม มหาชาติว่า ครง้ั หนงึ่ พระพุทธเจา้ ประทับอยู่ ณ เขาคชิ ฌกูฏ พระเจ้าพมิ พิสาร ทลู ถามวา่ ผทู้ ตี่ อ้ งการพบพระอรยิ เมตไตยน์ น้ั ควรประกอบกศุ ลกรรมอยา่ งไรบา้ ง ทรงตรสั ตอบว่า “...จงุ่ ฟงั มหาเวสสันตรชาตกะ ปชู าดว้ ยสิ่งมีตน้ ว่า ประทษี เทยี น ธูป คันธะ ของหอมดอกไม้ ตั้งใจฟังห้ือแล้ววัน ๑ วันเดียว...” นอกจากน้ัน ยงั กลา่ วถึงอานิสงส์ของการบชู าและฟงั ธรรมมหาชาติในแต่ละกัณฑด์ ังนี้๕๖ ๕๔อดุ ม รงุ่ เรอื งศร.ี เวสสนั ตรชาดก ฉบบั ไมไ้ ผแ่ จเ้ รยี วแดง. อา้ งแล้ว. หน้า ๕๘. ๕๕เรือ่ งเดยี วกนั . หนา้ ๗๖. ๕๖เรอ่ื งเดยี วกนั . หนา้ เดียวกัน. 74

ผ้ใู ดบชู ากัณฑท์ ศพร เกิดมาจะอดุ มสมบรู ณด์ ว้ ยขา้ วของเงนิ ทอง ผู้ใดบูชากัณฑห์ ิมพานต ์ เกิดมาจะอุดมสมบรู ณด์ ้วยขา้ วของเงินทอง และมีสามีหรอื ภรรยาทด่ี ี ผู้ใดบชู ากัณฑ์ทานกณั ฑ ์ เกดิ มาจะมีตระกลู ทด่ี ีประกอบดว้ ยทรพั ยส์ นิ สัตวเ์ ลย้ี งและบริวารมากมาย ผใู้ ดบูชากณั ฑ์วนปเวศน์ เกิดมาจะมสี ตปิ ัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบดว้ ยปฏิภาณโวหาร ผู้ใดบชู ากัณฑช์ ชู ก เกิดมาจะมตี ระกลู ที่ดี มรี ปู กาย และภรยิ าที่ งามอดุ มดว้ ยทรพั ย์สมบัติ ผใู้ ดบูชากัณฑจ์ ุลพน เกดิ มาจะสมบรู ณด์ ว้ ยทรพั ย์สนิ บา้ นเรอื น และไร่นาสวน ผู้ใดบชู ากัณฑม์ หาพน เกดิ มาจะสมบูรณด์ ้วยข้าวของและไร่นาสวน ผใู้ ดบชู ากณั ฑก์ มุ ารบรรพ ์ เกดิ มาจะไดเ้ ปน็ ผนู้ ำ� และอดุ มสมบรู ณด์ ว้ ย ทรพั ยส์ นิ ขา้ ทาสบรวิ าร ผใู้ ดบูชากัณฑ์มัทร ี เกิดมาจะได้เสวยสมบัตอิ นั ยงิ่ ใหญ่ ปราศจากโรคภยั เบยี ดเบยี น ผู้ใดบชู ากัณฑ์สักบรรพ์ เกดิ มาจะมีโชคลาภ เป็นทร่ี ักทีจ่ ำ� เริญใจ และประสบผลสำ� เรจ็ ทกุ ประการ ผู้ใดบูชากณั ฑ์มหาราช เกิดมาจะได้เปน็ ผู้นำ� สมบูรณไ์ ปดว้ ยทรัพย์สนิ อยรู่ ่วมกับญาตพิ นี่ ้องในทีเ่ กิด ผใู้ ดบชู ากณั ฑ์ฉกษัตริย ์ เกดิ มาจะมั่งคั่งดว้ ยทรพั ย์สนิ และบริวาร เปน็ ทีย่ กย่องและปราศจากโรคภัย ผ้ใู ดบูชากัณฑน์ ครกณั ฑ์ เกิดมาจะได้เป็นพระญาในทกุ ชาติ อุดมสมบรู ณ์ดว้ ยทรัพย์สมบตั แิ ละบริวาร มลี กู หลานอยใู่ นโอวาทคำ� สอน ปราศจากโรคภยั และมสี ขุ ภาพทดี่ ี 75

อานิสงส์ท่ปี รากฏตามคมั ภรี ์ธรรมดังกล่าว จะเหน็ ไดว้ ่า ประโยชน์ทไี่ ด้ รบั จากการฟงั ธรรมหรอื บชู าธรรมแตล่ ะกณั ฑค์ อื โลกยิ สขุ ทงั้ ในชาตนิ แ้ี ละชาตหิ นา้ ปรารถนาเอาวัตถุ ยศถาบรรดาศักด์ิ และความความเป็นอยทู่ ีด่ ีข้นึ ท้ังของตน และบรรพชนทล่ี ว่ งลบั ซงึ่ มคี วามแตกตา่ งจากอานสิ งสใ์ นการฟงั ธรรมทพ่ี ระพทุ ธเจา้ ทรงแสดงไว้ใน ธัมมัสสวนานิสงส์๕๗อันเป็นประโยชน์ท่ีจะได้รับในชาติปัจจุบัน คือสติปัญญาอันเลิศ ท่ีจะท�ำให้รู้แจ้งเห็นจริงในพระสัทธรรม จนน�ำไปสู่ การบรรลมุ รรคผลนพิ พาน ประกอบด้วย ๑) อสฺสุตํ สุณาติ ไดฟ้ ังสิ่งท่ียังไมเ่ คยฟงั ๒) สุตํ ปรโิ ยทเปต ิ สิง่ ที่เคยฟงั กเ็ ขา้ ใจแจ่มแจง้ ชัดเจนย่งิ ขึน้ ๓) กงขฺ ํ วิหนติ บรรเทาความสงสยั เสยี ได้ ๔) ทฏิ ฺฐึ อชุ ุ กโรติ ท�ำความเหน็ ให้ถูกตอ้ งได้ ๕) จติ ตฺ มสฺส ปสีทติ จติ ของเขายอ่ มผอ่ งใส ๒.๖ รปู แบบและเนอ้ื หาการเทศนใ์ นลา้ นนา การที่นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาในล้านนา ได้รจนาวรรณกรรม พระพุทธศาสนาเรอ่ื งตา่ งๆ ลงใบลาน เม่ือพระสงฆน์ �ำคัมภีรธ์ รรมมาเทศน์ ตอ้ ง ข้นึ นง่ั บนธรรมาสน์ ซึง่ สรา้ งอย่างวจิ ิตสวยงาม และยกพืน้ สูงกว่าท่ีน่งั ของผูฟ้ ังพอ ประมาณ เพ่ือแสดงความเคารพต่อพระธรรม แล้วเทศน์ด้วยการอ่านตาม คมั ภรี ใ์ บลาน ดว้ ยทำ� นองขบั ขานทน่ี ยิ มในทอ้ งถน่ิ โดยถอื เปน็ พธิ กี รรมทส่ี ำ� คญั และ ศักด์สิ ทิ ธิ์ คัมภรี ์ธรรมลา้ นนา หากแบง่ เน้ือหาตามโอกาสทเ่ี ทศน์ แบง่ ออกเปน็ ๔ ประเภท ๕๘ ๑. คัมภีร์ใช้เทศน์ในงานมงคลและพิธกี รรม ได้แก่ ธรรมสรากริวิชาสตู ร ธรรมโลกาวฒุ ิ ธรรมทิพมนต์ ธรรมปารมี ธรรมพทุ ธสงั คหะโลก ๒. คมั ภรี ธ์ รรมทใ่ี ชเ้ ทศนใ์ นงานศพ ไดแ้ ก่ ธรรมเทวทตู ทงั ๕ ธรรมมาลยั โผด ธรรมมหามูลนพิ พานสตู ร ธรรมหาวบิ าก ธรรมเปตพลี ธรรมพราหมณปัญหา ธรรมอานสิ งส์เสียงศพ ๕๗ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ๑ป๙ย๒ุต-ฺโ๑ต๙).๓.พจนานกุ รมพุทธศาสตร์ ฉบบั ประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจฬุ าลงกรณราช วิทยาลัย. ๒๕๒๘. หน้า 76 ๕๘พระครูอดุลสีลกิตต์.ิ การศึกษาของสามเณรและพระภิกษหุ ลงั การบวช. บทความใน ประวตั ิศาสตรพ์ ุทธศาสนาในล้านนา ฉบับ ๖๓๕ ปี พระบรมธาตุดอยสุเทพ. เชียงใหม่: มลู นิธิพระบรมพระธาตุดอยสุเทพ. ๒๕๔๙. หนา้ ๒๓๑-๒๓๒.

๓. คัมภรี ์ธรรมท่ีใช้เทศนเ์ ทศกาลและประเพณี ไดแ้ ก่ อานสิ งส์ปีใหม่ อานิสงสท์ านเจดีย์ทราย อานิสงสท์ านผ้าวัสสา อานสิ งสผ์ างผะทสี (ประทปี ) อานสิ งส์สพั พะทาน ธรรมชาตาปี ชาตาเดอื น ชาตาวนั ธรรมอานิสงสด์ อยเขา้ ธรรมอานสิ งส์หลัวหิง ธรรมอานสิ งสท์ านทงุ ๔. คัมภรี ์ธรรมคร่าวชาดก ไดแ้ ก่ ธรรมหงสห์ นิ ธรรมวรรณพราหมณ์ ธรรมหมาเกา้ หาง ธรรมเตโจ ยาโม ธรรมพระเจ้าสิบชาติ แตถ่ า้ หากแบ่งเนอื้ หาตามทำ� นองเทศนม์ ี ๒ ประเภท๕๙ ไดแ้ ก่ ๑. การเทศนท์ ำ� นองธรรมวตั ร คอื คมั ภรี ธ์ รรมทเี่ ทศนด์ ว้ ยทำ� นองธรรมวตั ร แบง่ เนอ้ื หาออกเปน็ ๖ ประเภท ไดแ้ ก่ ๑. ประเภทค�ำสอน เปน็ เนอื้ หาคำ� สอนตามหลกั ธรรมทางพระพทุ ธศาสนา เชน่ การใหท้ าน รกั ษาศลี การอบรมขดั เกลาจติ ใจใหม้ คี วามสงบสขุ การเวยี นวา่ ย ตายเกิดในสังสารวัฏตามอ�ำนาจแห่งกิเลส กรรม วิบาก วิธีปฏิบัติตนให้พ้น จากความทุกข์ รจู้ กั ด�ำรงตนอยา่ งมคี ุณค่า และทำ� คณุ ประโยชน์ตอ่ สังคม เรียก คมั ภีร์ธรรมประเภทนวี้ า่ ธรรมสอน ส่วนมากมีเนอื้ หาจบภายในผูกเดยี ว เรยี กวา่ ธรรมโทน เช่น ธรรมตณั หา ๓ เหง้า ธรรมเทวทูตทงั ๕ ธรรมเตอื นใจเขา้ วัสสา ธรรมปัญหา ๔ หนอ่ ธรรมอบายมุข ธรรมดาสอนโลก ธรรมกตัญญูต่อพอ่ แม่ เป็นต้น ๒. ประเภทพทุ ธประวตั หิ รอื อรยิ สาวกประวตั ิ เนอื้ หากลา่ วถงึ ประวตั ขิ อง พระพทุ ธเจา้ หรอื พระอรยิ สาวกรปู สำ� คญั ในพระพทุ ธศาสนา เชน่ ธรรมปฐมสมโพธกิ ถา ธรรมสทิ ธาตถอ์ อกบวช ธรรมพมิ พาพลิ าป ธรรมยโสธรานพิ พาน ธรรมธมั มจกั กปั ปวตั นสตู ร ธรรมมหาอุปคุตมัดพระยามาร ธรรมพระโมคคัลลานดับเปลวไฟ เป็นต้น คัมภีร์ธรรมเหล่านี้บางเร่ืองนิยมใช้เทศน์ในพิธีพุทธาภิเษกแบบล้านนา และ งานบุญประเพณีสำ� คญั ทางพุทธศาสนา ๓. ประเภทชาดก เปน็ เน้อื หาเกีย่ วกบั อดตี ชาตขิ องพระพทุ ธเจา้ ในขณะ ทเี่ ปน็ พระโพธสิ ตั วบ์ ำ� เพญ็ พระบารมธี รรมตา่ งๆ บางพระชาตกิ ำ� เนดิ เปน็ เทพเทวดา บางพระชาติเป็นมนุษย์ บางพระชาติเป็นสัตว์เดรัจฉาน ชาดกท่ีน�ำมาเทศน์ มีท้ังนิบาตชาดกและชาดกนอกนิบาต ส่วนใหญ่เป็นชาดกนอกนิบาต ซึ่งน�ำ ๕๙มณี พยอมยงค์.วฒั นธรรมล้านนาไทย. กรงุ เทพฯ: ส�ำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาต.ิ ๒๕๓๔. หนา้ ๙๔. 77

นทิ านพนื้ บา้ นมาแตง่ เลยี นแบบนบิ าตชาดก สว่ นนบิ าตชาดกหลายเรอ่ื งนกั ปราชญ์ ล้านนาน�ำมารจนาใหม่ด้วยส�ำนวนภาษาท้องถ่ินล้านนา พร้อมกับสอดแทรกคติ ความเชื่อและโลกทศั นแ์ บบล้านนาในยุคนน้ั ๆ เขา้ ไป จนกลายเป็นวรรณกรรม พุทธศาสนาทม่ี ีลกั ษณะเปน็ ลา้ นนา เช่น ธรรมพระเจา้ สิบชาติ ประกอบด้วย ธรรมเตมิยะ ธรรมมหาชนก ธรรมสวุ รรณสาม ธรรมเนมิราช ธรรมมโหสถ ธรรมภูริทัตต์ ธรรมจนั ทกมุ าร ธรรมนารทกสั สปะ ธรรมวิธุร เป็นตน้ และ ธรรมในปัญญาสชาดกล้านนาอีก ๕๐ เรอื่ ง พรอ้ มทา้ ยผนวกอีก ๖ เรอื่ ง รวม เปน็ ๕๖ เรือ่ ง สว่ นชาดกนอกนิบาตหรอื ชาดกท้องถนิ่ นั้น ปัจจุบนั พบวา่ มีมากถึง ๒๒๗ เรื่อง๖๐แพร่หลายตามวดั ในล้านนา เช่น ธรรมแสงเมืองหลงถ้ำ� ธรรมกำ�่ กาด�ำ ธรรมอ้ายรอ้ ยขอด ธรรมชวิ หาลิ้นคำ� ธรรมพระยาค้างคาก ธรรมพรหมจกั ร ธรรมชา้ งโพรงนางผมหอม ธรรมจำ� ปาสตี่ น้ ธรรมนนั ทเสน ธรรมชา้ งเจด็ หวั บวั พนั กาบ ธรรมนางมะลิซอ้ น ธรรมก�ำพร้าบวั ตอง ธรรมกำ� พรา้ หมาเน่า ธรรมกล้วยพันกอ ธรรมชา้ งงาเดยี ว ธรรมดาววไี กน่ อ้ ย เปน็ ตน้ พระสงฆล์ า้ นนานยิ มนำ� มาเทศนส์ งั่ สอน เป็นบุคลาธิษฐาน เพื่อให้ผู้ฟังมีจิตตั้งม่ันในคุณงามความดีตามหลักธรรมทาง- พระพทุ ธศาสนา คนไทยในอดตี ๖๑ ชืน่ ชอบค�ำสอนทีม่ ีอยใู่ นชาดกมานานอยา่ งนอ้ ย ๘๐๐ ปแี ลว้ โดยเฉพาะหลกั ฐานทปี่ รากฏในลา้ นนาในอดตี เป็นสิง่ สะทอ้ นให้เหน็ วา่ ชาดกเปน็ ธรรมนยิ ายทชี่ าวลา้ นนาชน่ื ชอบ ทงั้ ในแงก่ ารนำ� หลกั ธรรมมาเปน็ บทเรยี น ในการกล่อมเกลาศีลธรรมและในแง่การให้ความบันเทิง ที่ส�ำคัญท่ีสุด คือ การนำ� ชาดกมาเปน็ บทสะทอ้ นชวี ิตของพระโพธสิ ตั ว์ เมื่อครงั้ ทีเ่ ปน็ สามัญชนใน หลายพระชาตแิ ละไดก้ ลอ่ มเกลาตนเองในแตล่ ะพระชาติ จนบรรลอุ ดุ มคตอิ นั สงู สดุ ในพระชาติสดุ ทา้ ย คือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดงั นน้ั ชาวลา้ นนาสว่ นใหญจ่ งึ นยิ มฟงั ชาดก แลว้ นำ� ไปเลา่ เปน็ คตสิ อนใจ ใหแ้ กล่ กู หลานฟงั บางคนจดจำ� เรอ่ื งราวไวไ้ ดท้ งั้ หมด บางคนจำ� ไดก้ ระทอ่ นกระแทน่ บางคนสบั สนนำ� เรอื่ งอน่ื มาผสมกม็ จี นมนี ทิ านธรรมสำ� นวนใหมก่ ม็ ี ดงั นนั้ ชาดกพน้ื บา้ น ทเ่ี ลา่ ดว้ ยมุขปาฐะ(บอกเล่า) จึงมหี ลายส�ำนวน ตามสถานะของผู้เลา่ ดว้ ย ๖๐ อุดม รงุ่ เรอื งศร.ี วรรณกรรมชาดกทมี่ ีลักษณะเป็นล้านนา. บทความในหนงั สอื วรรณกรรมพุทธศาสนาในลา้ นนา. อ้างแล้ว. หน้า ๕๖-๖๐. 78 ๖๑พชิ ิต อคั นิจ และคณะ. การศกึ ษาเชิงวิเคราะห์ปัญญาสชาดกฉบับล้านนาไทย. เชยี งใหม:่ ภาควชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม.่ ๒๕๔๑. หนา้ ๑ บทน�ำ.

๔. ประเภทนิยายธรรม เปน็ นทิ านหรอื เร่ืองเลา่ ในทอ้ งถ่ินทนี่ �ำมาแตง่ เปน็ บทเทศน์ ใหค้ ติธรรมและเปน็ อุทาหรณเ์ ตอื นใจชาวล้านนาใหด้ �ำรงตนอย่ใู น แนวทางท่ีถูกต้อง เชน่ ธรรมย่าขวันเข้า ธรรมเศรษฐที ัง ๕ ธรรมแม่รา้ ง ๓๒ ผวั ธรรมหอยไห้ ธรรมพรานคืนศลี ธรรมเตโชยาโม เปน็ ต้น ๕. ประเภทอานิสงส์ เนือ้ หาสำ� คญั กลา่ วถงึ ผลบุญหรอื ประโยชน์ทไี่ ด้รบั จากการท�ำกจิ กรรมหรือความดีอยา่ งใดอยา่ งหนงึ่ ทเ่ี กย่ี วข้องกับพระพทุ ธศาสนา หากผูใ้ ดไดบ้ ำ� เพญ็ แลว้ จะไดร้ บั อานสิ งสต์ ่างๆ เชน่ อานสิ งสก์ ารใหท้ าน อานสิ งส์ การรักษาศลี อานสิ งสก์ ารฟังธรรม อานิสงสก์ ารสรา้ งธรรมาสน์ อานิสงสก์ าร สร้างคมั ภีรธ์ รรม อานสิ งส์เผาศพ อานิสงสอ์ าราธนาพระเจ้าเข้าวสั สา อานิสงส์ ทานเขา้ บิณฑบิ าต อานิสงสท์ านทุง อานสิ งสส์ ร้างเสาทงุ เป็นตน้ ๖. ประเภทต�ำนาน กลา่ วถงึ ก�ำเนดิ เร่อื งราวหรือเหตกุ ารณ์เก่ียวกับ ประเพณีพธิ ีกรรม ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ เชน่ ตำ� นานพระแก้วดอนเตา้ ต�ำนาน พระแกน่ จนั ทน์ ตำ� นานพระธาตดุ อยสเุ ทพ ตำ� นานกาเผอื ก ตำ� นานพระเจา้ เลยี บโลก ต�ำนานพระยาอินทร์ เปน็ ต้น ๒. การเทศน์มหาชาติ คือคัมภีร์ธรรมที่เทศน์ด้วยท�ำนองมหาชาติ เวสสันดรชาดกทเ่ี น้นการเออื้ นเสียงขึ้น - ลงอยา่ งไพเราะ มเี นื้อหาสำ� คัญ กล่าวถงึ การบ�ำเพ็ญพระบารมีในพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าในพระชาติปัจจุบัน มีเน้ือหาท้ังหมด ๑๓ กัณฑ์ ชาวล้านนาให้ ความสำ� คญั กบั การฟงั เทศนม์ หาชาตเิ วสสนั ดรชาดกมาก เพราะเปน็ พระชาตสิ ดุ ทา้ ย และเชอ่ื ในอานสิ งสท์ ีจ่ ะได้รบั จากการฟงั เทศน์อย่างตอ่ เน่อื งให้จบภายใน ๑ วนั ๑ คนื โดยจดั อยา่ งพิถพี ิถนั กวา่ การเทศน์แบบธรรมวตั ร และจดั เป็นการเทศน์ เฉพาะเทศกาลเทา่ นั้น ไมใ่ ช่การเทศนโ์ ดยท่ัวไป เมื่อวัดใดมคี วามพรอ้ มทจ่ี ะจัดให้ มกี ารเทศน์มหาชาติ จะมีวธิ ดี ำ� เนนิ การประกอบดว้ ย ๑) การประชมุ รว่ มกันระหว่างพระสงฆ์และคณะศรัทธา เพ่อื กำ� หนด ระยะเวลา การจดั เตรยี มสถานท่ี เตรยี มเครือ่ งสักการะและเครื่องประกอบพิธี เทศนม์ หาชาติ นิยมจดั ในช่วงหลงั ออกพรรษาโดยเฉพาะเดือนยี่ ออก ๑๕ ค�่ำ เรยี กวา่ ปาเวณยี ีเ่ ปง็ (ตรงกบั วนั เพ็ญ ขน้ึ ๑๕ คำ�่ เดอื น ๑๒ ของไทยภาคกลาง) บางแหง่ อาจจัดในเดอื น ๒ หรือ เดอื น ๓ (ลา้ นนา) ก็มี เรยี กการเทศนม์ หาชาติ 79

เวสสันดรชาดกว่า ประเพณตี งั้ ธรรมหลวง หรือ ปาเวณีเทศน์มหาชาติ ซง่ึ ช่วง ระยะเวลาดังกลา่ ว เปน็ ชว่ งฤดหู นาว และคณะศรัทธาว่างเวน้ จากการทำ� นาแล้ว จึงเหมาะกบั การท�ำบุญประเพณที ี่ยงิ่ ใหญ่ ๒) การนมิ นตพ์ ระผเู้ ทศน์ ต้องคัดเลือกพระสงฆ์ท่มี ีความชำ� นาญการ เทศนใ์ นแตล่ ะกณั ฑ์ โดยนมิ นตล์ ว่ งหนา้ อยา่ งนอ้ ย ๒ - ๓ เดอื น เพอ่ื ใหพ้ ระผเู้ ทศน์ ได้เตรียมความพร้อมและป้องกันไม่ให้รับกิจนิมนต์ในงานอ่ืน ส่วนเจ้าภาพ กณั ฑเ์ ทศนแ์ ต่ละกัณฑ์ อาจร่วมกันเป็นเจ้าภาพกไ็ ด้ หรือผ้มู จี ติ ศรทั ธาจะรับ เป็นเจ้าภาพเฉพาะในแต่ละกัณฑก์ ็ได้ ๓) เมือ่ ใกล้ถึงวนั งานเทศนม์ หาชาติ คณะสงฆ์และคณะศรัทธารว่ มใจกนั เตรยี มงานดว้ ยการท�ำความสะอาดวัด พอใกล้วนั งานอกี ๑ - ๒ วนั ชว่ ยกันตกแต่ง สถานทีเ่ ทศน์ เรียกวา่ วนั ดา เช่น จัดทำ� ธรรมาสน์แบบลา้ นนา จดั ทำ� ราชวตั ร คือรัว้ ท่ที �ำดว้ ยไมไ้ ผส่ านมลี กั ษณะเปน็ ตาข่ายสเี่ หล่ยี มขา้ วหลามตัด เพอ่ื แสดง อาณาเขตศกั ดส์ิ ทิ ธ์ิ ประดบั ไปดว้ ยเครอื่ งสกั การะเครอ่ื งบชู า ตน้ ไม้ และดอกไมห้ อม นานาพนั ธ์ุ เชน่ ตน้ กลว้ ย ตน้ ออ้ ย ตน้ กกุ๊ ตน้ ขา่ ดอกบวั ดอกบนุ นาค ดอกกาสะลอง ดอกสารภี ปักช่อ ๑,๐๐๐ อัน รูปช้างและม้าอย่าง ๑๐๐ ตัว เป็นต้น สว่ นบรเิ วณวดั กป็ กั ตุง โคมไฟ พรอ้ มกบั จัดท�ำซ้มุ ประตูโขงหรอื ประตปู ่าบริเวณ ทางขึน้ วหิ าร หรือหนา้ วัด บรเิ วณลานวดั กจ็ ัดท�ำเขาวงกต โดยใช้ไมไ้ ผส่ านทำ� เปน็ แนววงกลมหลายชนั้ มที างเข้า - ออก ดา้ นในสดุ ประดิษฐานพระพุทธรูปส�ำหรบั ให้คนที่เขา้ ไปได้สักการบูชา การจดั แตง่ สถานทีเ่ ชน่ น้ี กจ็ �ำลองมาจากเนื้อหา ในคัมภีรธ์ รรมเวสสันดรชาดก เชน่ ดอกบวั คือดอกไม้ที่พระมาลยั นำ� ไปบูชา พระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ช้ันดาวดึงส์ จนได้พบกับพระศรีอาริยเมตไตย์ ดอกบนุ นาค คือดอกของตน้ ไมบ้ นุ นาคทพ่ี ระศรอี ารยิ เมตไตยจ์ ะมาน่งั ตรสั รเู้ ป็น พระพทุ ธเจ้าในอนาคต (ภัทรกปั น้ีมีพระพทุ ธเจ้าบังเกิดขน้ึ ๕ องค์ พระพุทธเจา้ ทเ่ี ราเคารพบชู าในปจั จบุ ัน เป็นพระองค์ที่ ๔ สว่ นในอนาคต พระศรอี ริยเมตไตย์ จะลงมาตรสั รเู้ ปน็ พระพทุ ธเจา้ พระองค์ท่ี ๕) ดอกไม้ ผางประทปี และช่อ อย่าง ละ ๑,๐๐๐ เป็นเคร่อื งบชู าพระคาถาเวสสันดรชาดก ๑,๐๐๐ พระคาถา รปู ชา้ ง และมา้ อย่างละ๑๐๐ ตัว สมมตุ ิเป็นค่าไถ่ตัวกัณหาและชาลี การตกแต่งซ้มุ ประตู โขงและบริเวณวดั คอื การสมมตุ ิให้เป็นปา่ หิมพานต์ เป็นต้น 80

๔) เม่อื ถงึ วันงานเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก หรอื วันตัง้ ธรรมหลวง ซง่ึ จัด ๒ วัน คือ วันเพญ็ ขึน้ ๑๔ คำ่� จะเริม่ เทศนค์ มั ภรี ์ธรรมแบบธรรมวัตร ก่อน ประกอบดว้ ย ธรรมมาลัยเค้า ธรรมมาลยั ปลาย ธรรมคาถาพนั และธรรม อานสิ งสเ์ วสสันดร ซ่งึ คมั ภรี ์ธรรมเหลา่ นี้ มีเนื้อกลา่ วถึงมูลเหตแุ ละอานสิ งส์การ ฟังธรรมมหาเวสสนั ดรชาดก บางแห่งเทศนธ์ รรมเพอื่ อทุ ิศใหผ้ ลู้ ว่ งลับ เชน่ ธรรม มาลยั โผดโลก ธรรมมหามลู นิพพานสูตร ธรรมอานสิ งสอ์ ทุ ิศหาคนตาย เป็นต้น พอรุ่งเช้าวนั เพ็ญข้ึน ๑๕ คำ�่ กเ็ รม่ิ เทศน์เนอ้ื หาธรรมมหาชาตเิ วสสนั ดรชาดก ลว้ นๆ ตง้ั แต่เช้ามดื ประมาณ ๐๔.๓๐ น. เร่ิมจากกัณฑ์แรก คือกณั ฑท์ ศพร แล้ว เทศน์กัณฑต์ ่อไปโดยลำ� ดบั จนจบกณั ฑส์ ุดทา้ ย คือนครกณั ฑ์ ในเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ – ๒๕.๐๐ น. ในขณะท่เี ทศน์กณั ฑส์ ุดท้าย บางแห่งก็จัดขบวนแห่จ�ำลอง อญั เชิญพระเวสสันดร นางมัทรี กัณหา และชาลี เขา้ สู่พระนครสพี ี เมอื่ ขบวนแห่ เขา้ สบู่ รเิ วณพธิ เี ทศน์ จะจดุ พลุ ประทดั ประโคมฆอ้ งกลอง ผมู้ จี ติ ศรทั ธาจะโปรยเงนิ ข้าวตอกดอกไม้ เพอื่ เปน็ การถวายทาน ถวายสักการะและสมมุติเปน็ ฝนหา่ แก้ว ที่ตกลงมาตามเนื้อหาท่ีปรากฏในพุทธประวัติ ท�ำให้บรรยากาศมีความคึกคัก เปน็ พิเศษ 81

ภาพทุงผ้าบฏพระเวสสันดรชาดก วดั ปงสนุกเหนอื ตำ� บลเวยี งเหนอื อำ� เภอเมอื ง จังหวัดล�ำปาง กัณฑ์ท่ี ๑ ทศพร ๑๙ พระคาถา กัณฑ์ที่ ๒ หมิ พานต์ ๑๓๔ พระคาถา กัณฑ์ที่ ๓ ทานกณั ฑ์ ๒๐๙ พระคาถา กณั ฑ์ที่ ๔ วนปเวสน์ ๕๗ พระคาถา 82

กณั ฑท์ ี่ ๕ ชูชก ๗๙ พระคาถา กณั ฑท์ ่ี ๖ จุลพน ๓๕ พระคาถา กัณฑท์ ี่ ๗ มหาพน ๘๐ พระคาถา กัณฑท์ ี่ ๘ กมุ ารบรรพ์ ๑๐๑ พระคาถา 83

กณั ฑท์ ่ี ๙ มทั รี ๙๐ พระคาถา กณั ฑท์ ่ี ๑๐ สกั กบรรพ์ ๔๓ พระคาถา กณั ฑ์ท่ี ๑๑ มหาราช ๖๙ พระคาถา กัณฑ์ท่ี ๑๒ ฉกษตั รยิ ์ ๓๖ พระคาถา 84

กัณฑ์ท่ี ๑๓ นครกณั ฑ์ ๔๘ พระคาถา อานิสงสเ์ วสสันตระ มาลยั เค้า มาลัยปลาย 85

ภาพการเทศนม์ หาชาตเิ วสสันดรชาดก วัดชัยสถาน (ปา่ เสร้านอ้ ย) ต�ำบลสันปเู ลย อ�ำเภอดอยสะเกด็ จงั หวดั เชียงใหม่ พระครปู ระภัศรช์ ยั คุณ เจา้ อาวาสวัดชยั สถาน ก�ำลงั เทศน์ธรรมมาลัยปลาย พระใบฏีกาชาญณรงค์ จนทฺ สโร เจา้ อาวาสวัดทงุ่ หมืน่ น้อย กำ� ลังเทศน์ธรรมกณั ฑ์มทั รี 86

นายชัดชาญ นางชลดิ า เอกชัยพัฒนกุล รา้ นวนสั นันท์เชียงใหม่ เจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ การจดุ ผางประทีป ๑,๐๐๐ ดวง บชู าพระคาถาพัน 87

บรรยากาศการฟังเทศน์มหาชาตเิ วสสนั ดรชาดก 88

ขบวนแห่จ�ำลองอญั เชิญพระเวสสันดรเข้าสู่พระนครสพี ี ในขณะที่เทศนน์ ครกณั ฑ์ ศรัทธาประชาชนโปรยเขา้ ตอกดอกไม้ สมมุติเปน็ ฝนห่าแก้ว 89

๒.๗ ทำ� นองการเทศนใ์ นล้านนา ท�ำนองขับขานในการเทศน์ของพระสงฆ์ล้านนา เรียกว่า ระบ�ำเทศน์ ออกเสียงในภาษาถิ่นล้านนาว่า ล�ำบ�ำเทศน์ หรือ ละบ�ำเทศน์ ค�ำว่า ระบ�ำ๖๒ หมายถึง ท่วงทำ� นองหรือแบบอยา่ งในการขับเพลงหรือซอ แตเ่ ม่ือนำ� มาใชก้ ับ การเทศน์ จึงหมายถงึ ทว่ งทำ� นองหรอื จังหวะการเทศนท์ ่มี กี ารเออื้ นเสยี งขนึ้ - ลง และลากเสยี งยาวประกอบเปน็ ระยะๆ อยา่ งไพเราะโดยแตล่ ะทอ้ งถน่ิ หรอื แตล่ ะเมอื ง ในล้านนา มรี ะบำ� การเทศน์ท่ีแตกต่างกนั ไปตามความนิยมในแต่ละท้องถ่นิ จน ถือเปน็ ระบำ� เทศน์ประจำ� ถ่นิ หรอื ประจำ� เมือง พระครูอดุลย์สีลกิตต๖์ิ ๓แบ่งระบำ� การเทศนข์ องล้านนาเปน็ ๒ ประเภท ตามลกั ษณะของการเทศน์ ประกอบด้วย ๑. ระบ�ำหรือทำ� นองการเทศนแ์ บบธรรมวตั ร ค�ำว่า ธรรมวัตร๖๔เปน็ ค�ำ ที่ชาวไทยภาคกลาง ใช้เรียกการเทศน์ท่ีมที ำ� นองธรรมดาเรียบๆ ที่พระสงฆแ์ สดง อยทู่ วั่ ไป ม่งุ อธิบายตามแนวเหตุผล ไม่เน้นทำ� นองทีไ่ พเราะเพอ่ื เร้าอารมณ์ สว่ น ลา้ นนาได้ยืมมาใช้เรียกการเทศนธ์ รรมคร่าว ซ่งึ เปน็ คัมภีร์ธรรมทีม่ ีเนอ้ื หาท่วั ไป โดยเทศน์ดว้ ยระบำ� หรอื ทำ� นองการเทศนธ์ รรมดา ไมเ่ นน้ การเออื้ นเสียงขน้ึ -ลง แตจ่ ะลากเสยี งยาวในคำ� ท่ีมสี ระเสียงยาว เชน่ อา อี อู โอ เอา เปน็ ต้น เม่ือหยุด หายใจในแตล่ ะวรรค ประกอบดว้ ย ๔ ท�ำนอง ไดแ้ ก่ ก. ท�ำนองน�ำ้ ดน้ั ท่อรินค�ำ (น�้ำไหลวนลงท่อ) เปน็ ทำ� นองการเทศนท์ ีใ่ ช้ เสยี งราบเรยี บธรรมดาไมเ่ รว็ ไมช่ า้ มจี ังหวะการเทศนพ์ อดี เมื่อหยดุ หายใจ จะหยดุ ตรงคำ� ทมี่ ีเสยี งยาว และลากเสียงตวั สดุ ท้ายของแตล่ ะค�ำ เพื่อสง่ ต่อไป ยังค�ำถัดไป ข. ท�ำนองข่มี า้ แอ่วเมือง (ขมี่ ้าเทยี่ วชมเมือง) เป็นท�ำนองท่ใี ช้เสียง เสมอต้นเสมอปลาย รักษาจงั หวะการอา่ นคำ� แตล่ ะคำ� ให้ลงจงั หวะเดยี วกันตั้งแต่ เรม่ิ ตน้ จนจบโดยไม่รบี รอ้ นหรือเรง่ ให้จบ เปรยี บเหมอื นกับการข่มี า้ เท่ียวชมเมือง ไปเร่ือยๆ เมอื่ หยุดหายใจก็หยดุ ทีค่ ำ� ท่มี ีเสียงยาวโดยลากเสียงตัวสดุ ท้ายไวเ้ พือ่ ส่งต่อไปยังค�ำถดั ไป ๖๒อดุ ม ร่งุ เรืองศร.ี พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบบั แม่ฟ้าหลวง.อ้างแล้ว. หน้า ๖๐๔. ๖๓พระครูอดลุ สีลกิตต.ิ์ ปัจจัยทีม่ อี ิทธพิ ลตอ่ ความนยิ มมหาชาตเิ วสสันดรชาดกในลา้ นนา. วิทยานพิ นธป์ ริญญาพทุ ธศาสตร มหาบัณฑติ บณั ฑิตวทิ ยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย. ๒๕๕๑.หน้า ๙๘. 90 ๖๔ พระพรหมคณุ าภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบบั ประมวลศัพท์ (ช�ำระ-เพม่ิ เตมิ ชว่ งที่ ๑) พมิ พ์คร้ังที่ ๑๒. อา้ งแลว้ . หน้า ๑๔๗.

ค. ท�ำนองม้ายำ�่ ไฟ (มา้ เหยียบไฟ) เป็นท�ำนองทมี่ จี ังหวะเรว็ กระช้นั ชิด มกี ารรวั ลนิ้ โดยไม่ค�ำนึงถึงคำ� ทจ่ี ะหยุดวา่ จะมเี สยี งสน้ั หรอื ยาว ระบำ� นี้สว่ นมาก ใช้เทศน์คัมภีร์ธรรมท่ีเป็นคาถาภาษาบาลีซงึ่ มักเทศนต์ อนท่ีมีเวลาจ�ำกัด หรือ เทศนใ์ นกรณีที่คัมภรี ธ์ รรมนัน้ มีเน้ือเรือ่ งยาว ง. ท�ำนองฝนแสนหา่ (ฝนตกหนกั มเี สยี งดงั อกึ ทกึ ) เปน็ การเทศนด์ ว้ ยทำ� นอง มา้ ย�่ำไฟ โดยพระสงฆ์ตง้ั แต่ ๒ รปู ข้นึ ไป เทศน์พร้อมๆกัน เสียงเทศน์จึงดังอกึ ทึก คล้ายกบั ฝนตกหนกั มีเสียงดังอ้อื องึ ฟังไมไ่ ด้ศัพท์ การเทศนล์ กั ษณะนีม้ ักใช้ เทศน์ในงานศพ ๒. ระบำ� หรือท�ำนองการเทศนแ์ บบมหาชาติ เป็นท�ำนองทใี่ ชเ้ ฉพาะ การเทศน์มหาชาตเิ วสสนั ดรเท่านัน้ แบ่งออกเปน็ ๒ ลักษณะไดแ้ ก่ ก. ระบำ� หรอื ทำ� นองเทศนป์ ระจำ� ทอ้ งถน่ิ มลี กั ษณะเปน็ ทำ� นองผสมผสาน หรอื อาจดดั แปลงจากทำ� นองประจำ� เมอื งอนื่ ๆ มาเปน็ เอกลกั ษณข์ องตวั เองกไ็ ด้ ประกอบดว้ ยระบำ� หมาไตค่ นั นา (สนุ ขั เดนิ ไตค่ นั นา) ระบำ� กวางเดนิ ดง ระบำ� นำ�้ ดน้ั ทอ่ (นำ้� ไหลลงทอ่ ทแี่ คบ) ระบำ� กวิ่ นกแล (นกแกว้ เอยี งคอ) ระบำ� แมข่ องนองบน (แมน่ ำ้� โขงไหลบา่ อยา่ งรวดเรว็ ) และระบำ� ไกส่ บั ดง้ (ไกจ่ กิ อาหารในกระดง้ ) ข. ระบำ� หรอื ทำ� นองประจำ� เมอื ง เปน็ ทำ� นองเทศน์ที่มคี วามโดดเดน่ นยิ มใชเ้ ทศนใ์ นเมืองใหญ่ๆ จนถอื เปน็ เอกลักษณ์ของเมอื งน้นั ๆ ประกอบด้วย ๑. ระบ�ำประจ�ำเมืองเชียงแสน - เชยี งราย นยิ มระบ�ำมะนาวลอ่ งของ ซึง่ มีลลี าการเอ้ือนเสยี งขนึ้ - ลง คล้ายกับลูกมะนาวที่ไหลเอ่อื ยไปตามลำ� นำ้� ของ (แม่น�้ำโขง) มีจงั หวะช้า เสยี งทุ้มต่ำ� ๆ สูงๆ เหมอื นมะนาวทไี่ หลลอยไปตาม กระแสน�้ำ มลี กั ษณะผลุบๆโผลๆ่ ๒. ระบ�ำประจ�ำเมืองล�ำพูน - เชียงใหม่ นิยมระบ�ำนำ�้ ตกตาด และระบ�ำ- พรา้ วไกวใบ มลี ลี าการเอ้อื นเสยี งข้นึ - ลง คล้ายกับนำ้� ฝนตกจากชายคาเป็น ระยะๆ มีความถีห่ า่ งเสมอกัน เรียกว่า ระบ�ำน้ำ� ตกตาด ส่วนลลี าการเอ้อื นเสยี ง ทม่ี ลี กั ษณะเหมอื นใบมะพรา้ วกวดั แกวง่ ไปมาอยา่ งชา้ ๆ ยามเมอ่ื ถกู ลมพดั เรยี กวา่ ระบ�ำพร้าวไกวใบ การเทศน์นนั้ นยิ มใช้ระบ�ำน�้ำตกตาด เปน็ ทำ� นองเทศน์ใน ชว่ งทม่ี ีการบรรยายขยายความ และช่วงตนื่ เต้น เรา้ ใจ แตถ่ า้ เทศน์ในตอนท่ีมี ความเศรา้ โศกสลดคร�่ำครวญ มกั จะเทศนด์ ้วยระบำ� พรา้ วไกวใบ 91

๓. ระบ�ำประจ�ำเมอื งล�ำปาง นยิ มระบำ� แมลงภู่ชมดวงซงึ่ มีลลี าการ เออ้ื นเสยี งเหมือนลกั ษณะแมลงภูก่ ำ� ลงั ดูดกินน้ำ� หวานของดอกไมจ้ ากดอกหนง่ึ บนิ ไปอกี ดอกหนงึ่ การเทศนด์ ว้ ยระบำ� นจ้ี ะออกเสยี งพยญั ชนะทลี ะตวั ตอ่ เนอ่ื งกนั ไปเรื่อยๆ พรอ้ มกับมีการเล่นเสียงข้นึ - ลงอย่างไพเราะ ๔. ระบ�ำประจ�ำเมืองแพร่ นิยมระบำ� นกเขาเหนิ ซง่ึ มลี ลี าการเออื้ นเสียง คลา้ ยกบั นกเขาบนิ ไปอยา่ งช้าๆ แล้วเหนิ ตัวข้ึนบนอากาศแลว้ ร่อนลงอย่างช้าๆ การเทศนร์ ะบ�ำนีจ้ ึงมจี ังหวะการเทศนช์ า้ ๆ แล้วเอ้อื นเสียงสงู - ตำ่� ๕. ระบ�ำประจ�ำเมอื งนา่ น นยิ มระบำ� ชา้ งขา้ มทงุ่ มีลีลาการเอื้อนเสยี งชา้ เนบิ นาบชดั ถ้อยชัดคำ� คลา้ ยกับการเดนิ ของชา้ งทีม่ ีทว่ งท่าลลี าอย่างสม่ำ� เสมอ ๖. ระบ�ำประจ�ำเมอื งลับแล (อตุ รดิตถ์) นยิ มระบำ� ส�ำเภาหลงท่าซ่งึ มีลลี า คลา้ ยกบั ระบำ� มะนาวลอ่ งของ แต่เวลาหยุดหายใจจะมกี ารตวัดหางเสียงขน้ึ เลก็ นอ้ ย การเทศน์มหาชาติในแต่ละกัณฑ์ นอกจากเทศน์ด้วยระบ�ำประจ�ำถ่ิน แลว้ ยงั ประกอบดว้ ย การออ่ื กาพย์ หรอื การใสก่ าพย์ ซง่ึ เปน็ ลลี าขบั ขานอกี ชนดิ หนงึ่ เพื่อให้เป็นท่ีประทับใจของผู้ฟังย่ิงข้ึน การออื่ กาพยม์ หาชาติเวสสนั ดรชาดกแบง่ ออกเปน็ ๓ ประเภท ตามคุณภาพของเสียง กลา่ วคือ ๑. กาพยเ์ สยี งเล็ก ใชส้ ำ� หรบั เทศน์กณั ฑ์ทศพร กมุ าร มทั รี และฉกษัตริย์ ๒. กาพยเ์ สียงกลาง ใช้ส�ำหรับเทศน์กัณฑ์ทานกัณฑ์ วนปเวศน์ จุลพน มหาพน และสักบรรพ์ ๓. กาพยเ์ สียงใหญ่ ใช้สำ� หรบั เทศน์กณั ฑช์ ูชก มหาราช และนครกณั ฑ์ การอื่อกาพย์นั้น พระสงฆ์องค์เทศน์จะอ่ือแทรกในระหว่างการเทศน์ มหาชาติเวสสันดรชาดกแตล่ ะกณั ฑ์ ๓ ช่วง เรียกวา่ กาพย์ ๓ บง้ั ประกอบดว้ ย๖๕ ๑. กาพยเ์ ค้า เปน็ การออื่ กาพย์ช่วงแรกในขณะขึน้ ต้น หรือเรมิ่ เทศน์ ในแตล่ ะกณั ฑ์ ซึ่งเปน็ บทเทศนก์ ่อนการกล่าวบทปณามคาถา (นะโม) เพื่อเกรน่ิ นำ� ถงึ เหตทุ ตี่ อ้ งมกี ารเทศน์ พรอ้ มกบั กลา่ วยกยอ่ งเจา้ ภาพ และสรา้ งแรงจงู ใจใหผ้ ฟู้ งั เกดิ ความศรัทธาต่อการฟังเทศน์ ก่อนทีจ่ ะเข้าสูเ่ น้ือหาหลัก ๖๕ยุพนิ เข็มมุกด์. นครกัณฑ์: ผา้ เครือ่ งประดบั และความงามของพระนางมัทรี. พมิ พค์ รั้งท่ี ๒. เชยี งใหม:่ สทุ นิ การพมิ พ.์ ๒๕๕๐. หนา้ ๕๒-๕๓. 92

๒. กาพยก์ ลาง เป็นการอือ่ กาพย์ในระหว่างการเทศนแ์ ตล่ ะกณั ฑ์ เพอื่ พรรณนาถงึ เหตกุ ารณ์สำ� คญั ของกัณฑน์ ั้นๆ ใหผ้ ฟู้ ังได้อรรถรสยงิ่ ขึ้น เชน่ กณั ฑ์ มทั รี เพิ่มการเรียกขวญั นางมทั รี กณั ฑ์มหาราช เพิ่มการเรียกขวัญสองกมุ าร เป็นต้น การใส่กาพยก์ ลางน้ี ทางจงั หวัดแพร่ น่าน และลำ� ปาง นิยมใชป้ ระกอบ การเทศน์ แตจ่ ังหวดั เชียงใหม่ ลำ� พนู พะเยา และเชียงราย ไมน่ ยิ มใส่กาพยก์ ลาง ๓. กาพยป์ ลาย เป็นการออื่ กาพยใ์ นชว่ งสดุ ท้ายของกณั ฑ์น้นั ๆ เพื่อสรุป เน้อื หาส�ำคัญ ต้ังแตต่ ้นจนจบในแต่ละกณั ฑ์ ให้สั้น กะทัดรดั และชัดเจน เพ่อื ให้ ผู้ฟงั เขา้ ใจและจดจ�ำได้ง่าย ท�ำนองการขับขานในการเทศน์แบบจารีตล้านนาดังกล่าว ไม่ปรากฏ ชดั เจนวา่ มีมาอย่างไร แต่ลักษณะท�ำนองขับขานดงั กล่าว เปน็ การขับล�ำนำ� ดว้ ย ถอ้ ยคำ� ทมี่ สี มั ผสั คลอ้ งจองมกี ารเออ้ื นเสยี งขน้ึ -ลงลากเสยี งยาวเปน็ ทำ� นองเสนาะ ฟังแล้วเกิดความไพเราะ เคลิบเคล้ิมไปตามท่วงท�ำนอง เหมือนการขับขาน ของชาวบา้ น ทง้ั นใ้ี นพทุ ธประวตั ไิ ดก้ ลา่ วถงึ ๖๖ พระพทุ ธเจา้ ทรงบญั ญตั หิ ้ามภิกขุ สวดธรรม(เทศน์ธรรม) ด้วยการเอ้ือนเสียงยาวอย่างเพลงขับของชาวบ้าน ต้นบญั ญัตดิ ังกลา่ วเกิดจากกลมุ่ ภิกษุฉพั พัคคียพ์ ากันไปชมมหรสพ มีการฟอ้ นร�ำ ขบั รอ้ ง และประโคมดนตรบี นยอดเขา เมอื งราชคฤห์ จนเกดิ ความพงึ พอใจ แต่ชาวบ้านที่พบเห็นได้กล่าวติเตียน ความทราบถึงพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ สกิ ขาบท ห้ามภิกษไุ ปดูการฟ้อนร�ำ ขับร้อง และประโคมดนตรี ภายหลังกลมุ่ ภกิ ษฉุ พั พคั คยี ไ์ ดน้ ำ� ทำ� นองเพลงขบั ของชาวบา้ น มาดดั แปลงเปน็ ทำ� นองสวดธรรม ดว้ ยการเอ้อื นเสยี งขน้ึ - ลง ลากเสยี งยาว อยา่ งเพลงขับ ชาวบา้ นทไ่ี ดย้ ินกก็ ลา่ ว ตเิ ตยี นวา่ ทำ� ไมพระสมณะศากยบตุ รจงึ สวดธรรมดว้ ยทำ� นองทเี่ ออื้ นเสยี งขน้ึ - ลง ลากเสยี งยาว เหมอื นเพลงขับของพวกตน ความทราบถึงพระพทุ ธเจ้า ทรงชี้แจง โทษของการสวดธรรมด้วยเสยี งขบั วา่ ๖๗ ๖๖วิ. จ.ู ๗/๒๐/๑๑. ๖๗ใสนุชพพี รปะบุญรญมารนาชุภูปาพถมั. ภพ์.ร๒ะไ๕ต๕ร๐ป.ิฎหกนฉา้บบั๖ส๙ำ� .หรบั ประชาชน พมิ พค์ ร้ังที่ ๑๗. กรุงเทพฯ: มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั 93

“ดกู รภิกษทุ ้ังหลาย โทษ ๕ ประการเหลา่ นี้ ของภกิ ษผุ กู้ ล่าวธรรม ด้วยเสียงขบั อันยาว คอื ๑) ตนเองกต็ ิดในเสียงนั้น ๒) ผ้อู นื่ ก็ติดในเสียงน้ัน ๓) คฤหบดีทง้ั หลายจะยกโทษว่า สมณะศากยบุตรเหล่าน้ขี บั ร้องเหมอื นพวกตน ๔) เมื่อติดใจในการทอดเสียง สมาธิกท็ ำ� ลาย ๕) ประชมุ ชน (ภิกษ)ุ ในภายหลงั จะถอื เป็นแบบอยา่ ง ดูกรภิกษุท้งั หลาย โทษของภิกษุผ้กู ล่าวธรรมด้วยเสยี งขบั อันยาว ๕ ประการเหลา่ นี้แล” จากนั้นทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุสวดธรรมด้วยเสียงเอื้อน ยาวอย่างเพลงขับอีก ต่อมาบรรดาภิกษุได้เกิดความขัดข้องใจในการสวด ทำ� นองสรภญั ญะ เพราะพระโสณกฏุ กิ ณั ณเถระ เคยเขา้ เฝา้ พระพทุ ธเจา้ ในพระวหิ าร เชตวัน เมืองสาวัตถี แล้วกล่าวพระสูตรในอัฏฐกวัคค์ด้วยท�ำนองสรภัญญะให้ พระพุทธเจา้ และมารดาฟงั จนไดร้ ับเอตทัคคะวา่ ผู้เลิศกวา่ ภกิ ษุท้งั หลาย ผู้แสดง ธรรมด้วยถอ้ ยค�ำอันไพเราะ จงึ กราบทูลถาม พระองคต์ รสั ว่า “ภิกษทุ ั้งหลาย เรา อนญุ าตสรภัญญะ” (อนชุ านามิ มภกิ ฺขเว สรภญญฺ )ํ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยตุ โฺ ต)๖๗ อธบิ ายคำ� วา่ สรภัญญะ หมายถึง การกลา่ ว (ธรรม) ด้วยเสยี ง(หรอื “(ธรรม) อันพงึ กลา่ วด้วยเสียง”) คอื ใชเ้ สียงเปน็ เครอ่ื งกล่าวหรือบอกธรรม หมายความวา่ แทนที่จะกล่าวบรรยายอธิบายธรรม ด้วยถอ้ ยคำ� อย่างที่เรยี กวา่ ธรรมกถา กเ็ อาเสยี งทต่ี ั้งใจเปลง่ ออกไปอยา่ งประณีต บรรจง ด้วยจติ เมตตา และเคารพธรรม อันชดั เจน เรียบรื่น กลมกลนื สมำ่� เสมอ เปน็ ทำ� นองไพเราะ นุ่มนวล ชวนฟงั มาเปน็ สอื่ เพอ่ื น�ำธรรมทม่ี อี ยเู่ ปน็ หลกั หรือ เรียบเรยี งไว้ดแี ลว้ ออกไปใหถ้ งึ ใจของผูส้ ดับ, สรภัญญะเป็นวธิ ีกล่าวธรรมเป็น ทำ� นองใหม้ ีเสียงไพเราะน่าฟงั ในระดบั ทเี่ หมาะสม ซ่ึงพระพุทธเจา้ ทรงอนญุ าต แกภ่ กิ ษ.ุ ..แตส่ รภญั ญะนม้ี ใิ ชก่ ารสวดเออ้ื นเสยี งยาวอยา่ งเพลงขบั (อายตกะคตี สร) ที่ทำ� เสียงยาวเกนิ ไป จนท�ำให้อักขระเสีย คือผดิ พลาดไป สรภัญญะมีลักษณะ สำ� คญั ทวี่ ่า ตอ้ งไมท่ �ำให้อกั ขระผิดพลาดคลาดเคลอื่ น แต่ใหบ้ ทและพยญั ชนะ กลมกล่อม ว่าตรงลงตัว ไม่คลมุ เครือ ไพเราะ แต่ไม่มวี ิการ(อาการผดิ แปลกหรอื ไม่เหมาะสม) ดำ� รงสมณสารปู ๖๘พระพรหมคณุ าภรณ์ (ปอ. ปยุตโฺ ต). พจนานกุ รมพุทธศาสน์ ฉบบั ประมวลธรรม (ช�ำระ-เพมิ่ เติม ชว่ งท่ี ๑). อ้างแลว้ . หนา้ ๔๐๕. 94

ค�ำอธิบายดังกล่าว เม่ือศึกษาท�ำนองขับขานในการเทศน์ของล้านนา จะเห็นว่า มีลักษณะเป็นเพลงขับที่เน้นการเอ้ือนเสียงขึ้น - ลง ลากเสียงยาว ทง้ั ภาษาบาลแี ละภาษาถน่ิ ลา้ นนา จงึ ทำ� ใหเ้ กดิ อกั ขรวบิ ตั ิ ฟงั ไมถ่ นดั ชดั เจน ดว้ ยการ เทศนเ์ ชน่ น้ี เปน็ เหตหุ นง่ึ ทนี่ ำ� ไปสวู่ วิ าทะระหวา่ งพระสงฆฝ์ า่ ยวดั สวนดอก(ลงั กาวงศเ์ กา่ ) และพระสงฆฝ์ า่ ยวัดป่าแดง(ลังกาวงศใ์ หม)่ ตงั้ แต่ พ.ศ. ๑๙๗๓ ดังความปรากฏ ในคมั ภรี พ์ ระวนิ ยั ดอกเดอื่ ๖๙ผกู ที่ ๒ ฉบบั วดั บา้ นเออื้ ม ตำ� บลบา้ นเออื้ ม อำ� เภอเมอื ง จังหวัดลำ� ปาง คัดลอกจากวัดสนั กา้ งปลา (ปัจจุบันคอื วดั ทรายมูล ตำ� บลทรายมูล อำ� เภอสนั กำ� แพง จงั หวดั เชยี งใหม)่ เมอ่ื จ.ศ.๑๒๖๓ (พ.ศ.๒๔๔๔) ไดก้ ลา่ วถงึ การสวด และเทศนท์ เี่ ออ้ื นเสยี งขนึ้ - ลง เปน็ ทำ� นองขบั ขาน เชน่ การออื่ ลำ� นำ� (ลำ� บำ� -ระบำ� ) และใสก่ าพยเ์ ปน็ ทำ� นองระบำ� หมากนาวลอ่ งของ ระบำ� พา้ วไกวใบ และระบำ� ลมพดั ใบไม้ เหมอื นดง่ั คลนื่ นำ้� สมทุ รซดั และระบำ� คำ� ขบั ซอ ซง่ึ เปน็ เพลงขบั ชาวบา้ น ยอ่ มถอื เปน็ บาปและตกนรกทั้งผู้สวด ผู้เทศน์ และผู้ฟัง เพราะท�ำให้พระพุทธพจน์เกิด อักขระวบิ ัติ เปน็ การ “มา้ งธัมมพ์ ระเจ้า” (ทำ� ลายพระพทุ ธพจน์) บ�ำเพญ็ ระวนิ ๗๐ ใหค้ วามเห็นเกยี่ วกบั คมั ภรี ์พระวนิ ัยดอกเดื่อวา่ ค�ำว่า วินัยดอกเดื่อ มาจากภาษาบาลีว่า อุทุมฺพรวินย หากพิจารณาแต่ชื่อ ชวนให้ สนั นษิ ฐานวา่ วนิ ยั ชดุ นมี้ คี วามเกย่ี วขอ้ งกบั พระสงฆฝ์ า่ ยวดั สวนดอก ซง่ึ พระสมุ นเถระ สบื มาจากพระอทุ มุ พรปุปผสวามี แหง่ เมืองพัน แตห่ ากพิจารณาเน้อื หาของคัมภรี ์ วนิ ัยดอกเด่อื แล้ว จะเห็นได้ว่า พระสงฆ์ฝา่ ยวัดสวนดอก ไมไ่ ดม้ ีบทบาทในการ แต่งคมั ภีรน์ ี้ เพราะการสืบทอดพระธรรมวนิ ยั ฝ่ายวัดสวนดอก ไมเ่ นน้ การสวด อกั ขระภาษาบาลใี หถ้ กู ตอ้ ง แตพ่ ระสงฆฝ์ า่ ยวดั ปา่ แดง ซง่ึ ไปศกึ ษาพระพทุ ธศาสนา ท่ีลังกา แล้วกลับมาให้ความส�ำคัญกับการออกเสียงอักขรวิธีภาษาบาลีให้ ถูกตอ้ งตามคมั ภรี ์สทั ทา และกลา่ วโจมตพี ระสงฆฝ์ า่ ยวดั สวนดอกวา่ สวดออก เสยี งผดิ อักขรวิธีภาษาบาลี ท�ำให้เกิดอักขรวบิ ตั ิ ดงั น้ันพระสงฆ์ฝ่ายวดั ปา่ แดง จึงน่าจะเปน็ ผ้แู ตง่ คัมภีร์พระวนิ ัยดอกเดอ่ื ๖๙พระดิเรก อนิ จันทร.์ การศึกษาคัมภรี ป์ กรณว์ ิเสสพระวินัยล้านนา. วิทยานพิ นธ์ ศลิ ปศาสตรบัณฑิต บัณฑิตวทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ ๒๕๔๖. หนา้ ๒๙๗-๓๐๐. ๗๐6บ�ำtเhพญ็Intรeะrnวินat.ioวnินaัยlดCอoกnเดfe่ือre:nคcมั eภoรี nพ์ รTะhวaนิ i ยั Sทtuี่ถdอื iวe่าsอTกั hขeรmะเeปVน็ IพC้นื hฐiaาnนgขอMงaพi,ุทthธaธiรlaรnมd,บ1ท4ค-1ว7ามOในctoPbroecre1e9d9in6g. sหoนfา้ the 215. 213- 95

ในขณะทส่ี ุจติ ต์ วงษเ์ ทศ๗๑ได้แสดงทัศนะสอดคลอ้ งกนั เกยี่ วกับท่มี าของ ทำ� นองขบั ขานของการเทศน์ในภมู ภิ าคอุษาคเนย์ (เอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้) วา่ การใช้ภาษาในชีวติ ประจำ� วนั ของคนที่พูดภาษาตระกูลไทย - ลาว มกั เล่นถอ้ ยค�ำ ส�ำนวนที่เป็นค�ำคล้องจองสอดแทรกอยู่เสมอ เช่น ท�ำไร่ไถนา ท�ำมาหากิน ทำ� มาคา้ ขาย เปน็ ตน้ การสรา้ งคำ� ทมี่ สี มั ผสั คลอ้ งจองอยา่ งงา่ ยๆ เชน่ นเ้ี อง ไดค้ อ่ ยๆ พฒั นาเปน็ โคลงกลอน ส่วนทำ� นองสวด ท�ำนองเทศน์๗๒ เป็นทำ� นองเสนาะที่มี พฒั นาการมาจากคำ� สขู่ วญั หรอื คำ� ขบั ในตระกลู ไทย - ลาวของหมอผแี ละหมอขวญั ซงึ่ เปน็ ถอ้ ยคำ� สำ� นวนทม่ี สี มั ผสั คลอ้ งจองเชน่ กนั ในขณะทรี่ าชสำ� นกั มสี วดคำ� หลวง แตช่ มุ ชนชาวบา้ นมีเทศน์มหาชาติ ทง้ั ๒ แบบน้ี เป็นเร่อื งพระเวสสนั ดรชาดก เช่นเดียวกัน สวดค�ำหลวงจะมีพัฒนาการเป็นประเพณีสวดโอ้เอ้พิหารราย ตามระเบียงโบสถ์วิหารการเปรียญวัดหลวง อีกท้ังท�ำนองอ่านโองการแช่งน�้ำ กม็ ลี กั ษณะเปน็ อยา่ งเดยี วกนั กบั คำ� สขู่ วญั ของหมอผแี ละหมอขวญั ของลาวสองฝง่ั โขง แลว้ มพี ัฒนาการเป็นทำ� นองเสนาะและเทศนม์ หาชาตใิ นลมุ่ น�ำ้ เจ้าพระยา เม่อื ประมวลเนื้อหาดังกล่าว จะเห็นไดว้ ่า การเทศน์แบบทำ� นองขับขาน มมี าตง้ั แตส่ มยั พทุ ธกาลแลว้ แตเ่ ปน็ สง่ิ ทมี่ โี ทษและเปน็ สง่ิ ตอ้ งหา้ มตามพทุ ธบญั ญตั ิ ซงึ่ แตเ่ ดมิ กม็ พี ฒั นาการมาจากคำ� ขบั ขานของชาวบา้ น สว่ นการเทศนแ์ บบจารตี ลา้ นนา ที่ใช้ท�ำนองขับขานน้ัน จะใช้กับการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดกเป็นพิเศษ ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั ทัศนะของสุจิตต์ วงษ์เทศดงั กล่าว เนอื่ งจากเสยี งเทศน์ท่ไี พเราะ จะเรา้ อารมณ์ ดึงดูดความสนใจของผ้ฟู งั ให้ติดตามฟังอยา่ งต่อเน่ือง เนอ่ื งจาก เน้ือหาเวสสันดรชาดกในแต่ละกัณฑ์ มีความยาวและใชเ้ วลาเทศนม์ าก หากเทศน์ ตามปกติ อาจท�ำใหผ้ ฟู้ ังเกิดความเบ่ือหน่าย ไม่สนใจฟงั โดยปกติแล้ว วถิ ชี ีวติ ของชาวล้านนา มกั ใชถ้ อ้ ยค�ำท่ีมสี มั ผสั คล้องจอง อยแู่ ลว้ ภายหลังไดพ้ ฒั นามาส่กู ารขบั ขานดว้ ยท�ำนองที่ไพเราะในกิจกรรมต่างๆ เพือ่ สือ่ สารและสรา้ งความบันเทงิ ใจ ทัง้ การกลา่ วโวหารในพิธีกรรมศักดิส์ ทิ ธแิ์ ละ การละเลน่ พนื้ บ้าน เชน่ การสขู่ วัญ การจอ๊ ย การซอ การเล่าครา่ ว การอ่อื โคลง (ครรโลง) การรำ�่ บอกไฟ คำ� อบู้ ่าวอสู้ าว(การเกี้ยวพาราสี) เปน็ ตน้ ๗๑สจุ ติ ต์ วงษ์เทศ.คนไทยอย่ทู ่นี ี่ ท่ีอษุ าคเนย์. กรุงเทพฯ: สำ� นกั พิมพศ์ ลิ ปวฒั นธรรม. ๒๕๓๗. หนา้ ๓๐. ๗๒สุจติ ต์ วงษ์เทศ. ดนตรีไทยมาจากไหน?. กรงุ เทพฯ: สำ� นกั พิมพ์วทิ ยาลยั ดรุ ิยางคศิลป์ มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล. ๒๕๕๓. หน้า ๑๑๔. 96

ผทู้ ผ่ี า่ นการอปุ สมบทเปน็ พระภกิ ษุ เคยเทศนม์ หาชาตมิ ากอ่ น เมอ่ื ลาสกิ ขา ออกมาเป็นอาจารย์วดั (ปู่อาจารย์) มักกล่าวค�ำโวหารหรอื โอกาสเวนทานได้อยา่ ง ไพเราะ เพราะนำ� ระบ�ำหรือท�ำนองทเี่ คยเทศน์มหาชาติ มาดดั แปลงใช้กบั การ กลา่ วค�ำโอกาสเวนทานในพิธีต่างๆ ๒.๘ ลกั ษณะการประพันธค์ มั ภรี ธ์ รรมล้านนา คัมภีร์ธรรมล้านนา แต่เดิมแต่งด้วยภาษาบาลีล้วน เน่ืองจากในอดีต พระสงฆล์ า้ นนาใหค้ วามสนใจศกึ ภาษาบาลอี ยา่ งแตกฉาน จนมนี กั ปราชญร์ จนาคมั ภรี ์ ทม่ี ชี อ่ื เสยี งจำ� นวนมาก เชน่ พระสริ มิ งั คลาจารย์ (พ.ศ.๒๐๖๓) แตง่ คมั ภรี ภ์ าษาบาลี เวสสนั ตรทีปนี มงั คลตั ถทีปนี จักกวาฬทีปนี และสงั ขยาปกาสกฏีกา เป็นต้น ต่อมามีการแต่งคัมภีร์ธรรมแบบนิสัย คือแปลโดยยกศัพท์ภาษาบาลีแล้ว ใชภ้ าษาถิน่ ล้านนาแปลศัพทน์ ้นั โดยเฉพาะปัญญาสชาดกลา้ นนา เช่น คัมภีร์ ธรรมเรื่องสุธนชาดก๗๓“...สตถฺ า อันว่าพระเจา้ ปกาเสนโฺ ต อนั จักส�ำแดง ตํ อตถฺ ํ ซงึ่ อัตถะอนั นั้น อาห กลา่ วคาถาวา่ ดง่ั นี้ ภิกขฺ เว ดกู ราภิกขุทงั หลาย เทวา อนั ว่า เทวดาทงั หลาย...” เปน็ ต้น จากนั้นได้แต่งเป็นโวหาร คือยกภาษาบาลขี นึ้ ต้นเพยี ง เลก็ น้อย(จุณณียบท) แลว้ ใช้ภาษาถ่นิ ล้านนาแปลบรรยายขยายความพอสมควร แล้วก็แทรกภาษาบาลีและใช้ภาษาถ่ินล้านนาแปลบรรยายขยายความอีก เป็นระยะๆ จนจบเรอ่ื ง คร้ันภายหลงั ไดพ้ ัฒนาการประพนั ธ์คมั ภีรธ์ รรมทีส่ ำ� หรับ ใช้เทศน์ด้วยถ้อยค�ำส�ำนวนที่มีสัมผัสคล้องจอง เป็นบทประพันธ์แบบร่าย ซง่ึ เป็นรอ้ ยกรองชนดิ หนึง่ ท�ำให้สามารถเทศนด์ ว้ ยทำ� นองตา่ งๆ ได้ไพเราะย่ิงข้ึน สงิ ฆะ วรรณสัย๗๔ กลา่ วว่า เดิมวิธกี ารแต่งค�ำประพันธ์ชนดิ น้ี จะมชี ่ือ อย่างไรไมท่ ราบ แตเ่ ม่ือเทียบเคียงจากร่าย ซึง่ เปน็ ฉันทลกั ษณช์ นดิ หน่ึงของไทย ภาคกลาง เห็นว่าคลา้ ยกัน โดยเฉพาะร่ายโบราณ จงึ อนุโลมเรยี กชือ่ คำ� ประพนั ธ์ น้ีวา่ ร่าย แมว้ า่ หลกั การกำ� หนดเสียง เพ่ือให้เป็นไปตามทำ� นองอา่ น จะผดิ แผก จากร่ายของภาคกลางไปบา้ งก็ตาม นอกจากน้ันยงั กล่าววา่ การแต่งชาดกใน ล้านนา ถา้ หากชาดกใดท่ีพระสารีบุตรได้รบั ฟงั จากพระพทุ ธเจ้าแลว้ นำ� มาแสดง ๗๓พิชิต อัคนจิ และคณะ. การศกึ ษาเชงิ วิเคราะห์ปญั ญาสชาดกฉบับล้านนา. อ้างอิงแลว้ . ๒๕๔๑. หน้า ๘๖. ๗๔อ้างองิ ใน ลมูล จนั ทนห์ อม.วรรณกรรมท้องถนิ่ ล้านนา พิมพ์ครง้ั ที่ ๓. เชยี งใหม:่ วิทยาลยั ครูเชยี งใหม่ สหวิทยาลยั ลา้ นนาเชยี งใหม่. ๒๕๓๔. หนา้ ๑๐๖-๑๐๗. 97

เช่น มหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น มกั แตง่ เป็นบทร้อยกรองตามแบบฉนั ทลักษณ์ กลอนธรรม(ร่าย) ถ้าชาดกเร่อื งใดทพ่ี ระอานนท์น�ำมาแสดง นยิ มแตง่ เปน็ ร้อย แกว้ ธรรมดา เรียกกนั วา่ ธรรมวัตร ในขณะที่ อุดม ร่งุ เรืองศรี๗๕ กลา่ วถงึ คา่ นิยมในการใชร้ ้อยกรองของลา้ น นาวา่ รอ้ ยกรองท่เี ปน็ รา่ ยน้ัน มักเป็นเร่ืองทเ่ี กี่ยวกับศาสนา หรือเรื่องท่ีเกย่ี วกบั ความหนกั แน่น ศกั ด์สิ ทิ ธิ์ หรอื มฉิ ะนน้ั ก็เปน็ การป่าวประกาศถงึ การท�ำบุญ ดังนนั้ คัมภีรธ์ รรมล้านนา จึงมลี ักษณะค�ำประพันธ์ ๒ ชนิด ได้แก่ ๑) รอ้ ยกรองเปน็ คำ� ประพนั ธท์ น่ี ำ� ถอ้ ยคำ� มาเรยี บเรยี งใหส้ มั ผสั คลอ้ งจอง กันในแต่ละวรรค ค�ำประพันธ์ท่ีนำ� มาแต่งคมั ภีรธ์ รรมลา้ นนาเรยี กวา่ รา่ ย หรือ วภัตารษ(าฟถู ิ่นอลต้าฺตนสนโิ วา)๗เร๖ยี ไดกวเ้ รา่ ยี บธเรรรียมงคม่าหวาชหารตือิลา้ ธนรนรามคโดรา่ยวนำ� ใสนำ� ขนณวะนทตพี่า่ งรๆะธมรารปมรรบัาชปารนุงุ ใหม้ ีถอ้ ยค�ำสัมผสั คล้องจองหรือรบั กันไดใ้ นแตล่ ะวรรค เรยี กลักษณะคำ� ประพันธ์ นี้วา่ สรอ้ ย และเรยี กมหาชาติฉบบั นี้วา่ มหาชาตภิ าคพายพั ฉบบั สร้อยสงั กร ดงั คำ� กล่าววา่ “ข้าพเจ้าไดพ้ ยายามเรยี บเรยี งมหาชาตลิ ้านนาโดยให้มถี อ้ ยค�ำสัมผัส กันมากที่สดุ ทช่ี าวลา้ นนาเรียกว่า“สร้อย” จึงให้นามวา่ “ธรรมมหาชาตภิ าค พายพั ฉบับสร้อยสังกร” ...” พระครอู ดลุ สลี กติ ต(ิ์ ประพฒั น์ ฐานวฑุ โฺ ฒ)๗๗ กลา่ ววา่ ชาวลา้ นนานยิ มแตง่ มหาชาตเิ วสสนั ดรชาดกในรูปแบบรอ้ ยกรอง เรียกว่า ธรรมค่าว หรือ ร่ายธรรม ซง่ึ มีรูปแบบเฉพาะของลา้ นนา ประกอบดว้ ยจำ� นวนอกั ษร วรรค บาท และบท ที่เทา่ กัน เรียกลกั ษณะการแตง่ ว่า สามตวั เหลียว เจด็ ตัวเทยี ว บาทหลงั บาท หนา้ คือในหนึง่ บทมีสีบ่ าท แบง่ เป็นบาทหน้าและบาทหลงั แต่ละบาทจะมีหา้ คำ� คำ� สุดทา้ ยของบาทหนา้ จะสมั ผสั กบั ค�ำทสี่ ามของบาทหลงั และคำ� สดุ ทา้ ยของ บาทหลัง จะสัมผัสกบั ค�ำทีส่ ามของบาทหนา้ การแตง่ จะเป็นลกั ษณะน้จี นจบ ดงั แผนผงั การแตง่ ร่าย ดงั น้ี ๗๕เรื่องเดียวกนั ,หนา้ ๑๐๗. ๗๖อ้างใน ประคอง นิมมานเหมนิ ท.์ มหาชาตลิ านนา: การศกึ ษาในฐานะทว่ี รรณคดีท้องถนิ่ . กรุงเทพฯ: สำ� นกั พิมพไ์ ทยวัฒนา พานิชจ�ำกดั .๒๕๒๖. หน้า ๑๐. ๗๗พระครอู ดลุ สีลกติ ต.์ิ ปจั จัยที่มอี ทิ ธิพลต่อความนยิ มมหาชาตเิ วสสันดรชาดกในลา้ นนา. อ้างอิงแลว้ . ๒๕๕๑. หน้า ๓๒-๓๔. 98

ตัวอย่างการแตง่ ร่ายมหาเวสสันดรชาดก ฉบับห่งิ แกว้ มโนวอน๗๘ตอนหน่งึ วา่ สองอดุ มอะเคื้อ ฝุ่นกลั้วเนือ้ ผบั ตน คเู ทียวหนมาค่ำ� ลกู น้อยร�ำ่ เรรน ลูกสองฅนเมอ่ื ก่อน เคยแล่นตอ้ นถามกนิ ท้ังหมากพินหมากม่วง ว่ิงเตน้ ป่วงจกถง ซา้ บป่ ลงจกตอ้ น สองเจ้าอ้อนชิงกนั อัศจรรย์ดูหลาก สองเจ้าพรากไพไหน ท้ังน้ี คัมภีร์ธรรมบางเรอื่ ง แม้จะแต่งดว้ ยรา่ ยเหมือนกัน แต่ไม่เคร่งครัด ในฉนั ทลกั ษณ์เพราะจ�ำนวนคำ� ในแตล่ ะบาท มไี มแ่ น่นอน บางบาทอาจ ๗ - ๙ คำ� กม็ ี แตค่ �ำสดุ ทา้ ยของแต่ละบาท กย็ งั ส่งสมั ผสั ไปยงั ค�ำท่ี ๓ ของบาทต่อไปเสมอ ๗๘ลม้าหนานชาาเตปเิ ็นวอสักสษนั รดไรทชยาดโกดยฉพบรับะหคิง่รแอู กดวุ้ลมสโลี นกวิตอตนิ์ .เจฉา้บอับาววัดาสแวมดั่ตธนื าตอุคำ� เ�ำภอตลำ� ้ีบจลงั หหวายัดยลาำ� พอนู �ำหเภนอ้าเลมาอื นงที่จ๑งั ๗ห.วัดเปชรียิวงรใหรตมจ่.ากอกั ษร 99

๒)ร้อยแก้ว เป็นการแต่งด้วยการน�ำถ้อยค�ำมาเรียงกันธรรมดาไม่เน้น การสมั ผสั คล้องจอง แตเ่ ปน็ ถ้อยคำ� ทม่ี คี วามหมาย ไพเราะ สละสลวย คมั ภรี ธ์ รรม ลา้ นนาทแี่ ต่งเปน็ รอ้ ยแกว้ มีลักษณะแตง่ แบบนสิ ัย เมอ่ื ไมม่ คี ำ� สมั ผัสคลอ้ งจอง จึง อ่านแบบธรรมดา ไม่สามารถเอื้อนเสยี งขึ้น - ลงได้ เพียงแต่ลากเสยี งยาวในค�ำท่ี มสี ระเสยี งยาว ตอนหยดุ หายใจเทา่ นน้ั ดงั ตวั อยา่ งเชน่ คมั ภรี ธ์ รรมเรอื่ งมทุ งิ คเภรี๗๙ “...ดกู ราสปั ปรุ สิ ะทงั หลาย เอวมเฺ ม สตุ ตฺ ํ นทิ านวจจฺ นํ คำ� มตี น้ วา่ เอวมเฺ ม สตุ ตฺ ํ นิหากเปนนิทาน วจจฺ นํ ยังค�ำแหง่ สตู รอนั น้ี อนั มหาอานันทเถรเจ้า หากกลา่ วในท�ำ่ กลางหมอู่ รหนั ตาเจ้าทงั หลายได้ ๕ รอ้ ยพระองค์ มีมหากัสสปะเถระเจ้าเปนประธาน ในกาละเมอ่ื ปถมะสงั คายนาธมั มห์ วั ทวี นั นน้ั วา่ ภนเฺ ต กสสฺ ป ขา้ แดม่ หากสั สปะเถระเจา้ อทิ ํ สตุ ตฺ ํ อันว่าสตู รอนั น้ี อันชือ่ ว่า อาทกิ มฺมทงิ ฺคสูตร ดว้ ยอนั ขา้ ตนชื่อว่า อานนั ทะ หาก ไดส้ ดบั รบั ฟงั เอาแตข่ ระอบู แกว้ กลา่ วคอื มกุ ขทวารปากแหง่ พระพทุ ธเจา้ เมอ่ื ยงั ธรมาน เอวํ ด้วยประการด่งั จกั วสิ ัชชนาไพพายหนา้ นี้แล...” ๒.๙ โครงสรา้ งของบทเทศนใ์ นคมั ภีรธ์ รรมล้านนา บทเทศนใ์ นคมั ภรี ธ์ รรมล้านนา ประกอบดว้ ยสว่ นส�ำคญั ๖ ประการ ดงั น้ี ๑) บทปณามคาถา เปน็ บทไหวค้ รู คือการนอ้ มร�ำลึกถึงองคส์ มเดจ็ พระ สมั มาสมั พทุ ธเจา้ ผเู้ ปน็ พระบรมครขู องเหลา่ มนษุ ยแ์ ละเทพ ในคมั ภรี ธ์ รรมลา้ นนา มกั เขยี นอยา่ งย่อวา่ นโม ตสฺสตฺถุ ฯ แต่เมอ่ื เทศนจ์ รงิ พระผ้เู ทศนต์ ้องกลา่ ว บทปณามคาถา ดว้ ยทำ� นองขบั ขานในทอ้ งถิน่ ใหเ้ ตม็ พระคาถา ๑ จบ ว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพทุ ธฺ สสฺ แต่พระภกิ ษุ - สามเณรท่ีบวชใหม่บาง รปู ที่ไมไ่ ด้ฝกึ เรยี นกบั ครบู าอาจารยม์ าก่อน มักอา่ น นโม ตสสฺ ตฺถุ ฯ เพราะ เรยี นรูก้ ารเทศนด์ ว้ ยตนเอง แต่ภายหลงั ไดร้ บั คำ� แนะนำ� จากครูบาอาจารย์หรือ ผูฟ้ งั ก็อ่านจนจบบทพระคาถาแลว้ พัฒนาตนเองเป็นพระนกั เทศนท์ ี่ดไี ด้ ๒) ภาษาบาลที ย่ี กขนึ้ เปน็ บทนำ� หรอื หวั ขอ้ เทศน์ มลี กั ษณะเปน็ ประโยค ท่ีไม่ยาว เรียกว่า จุณณียบท เปน็ บทพระบาลีท่แี สดงใหร้ ูว้ ่า เนื้อหาที่เทศน์น้ี มตี น้ เคา้ หรอื ตน้ ฉบบั เดมิ เปน็ ภาษาบาลซี งึ่ เปน็ พระพทุ ธพจนม์ ากอ่ น เมอื่ พระผเู้ ทศน์ 100 ๗๙ 7ค9มั -ภ0รี2ใ์ 4บ-ล0า1นE-0เร6อ่ื 4งม–ุท0ิง6ค4เภสรีถฉาบบับนั ววัดจิ ดยั อสนงั คปมีน ตำ� บลแชช่ ้าง อำ� เภอสันก�ำแพง จังหวดั เชียงใหม่ รหสั ไมโครฟิล์ม มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม.่ ปรวิ รรตโดย พระนคร ปัญญาวชโิ ร. ๒๕๕๕.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook