Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นักการเมืองถิ่นอุตรดิตถ์

นักการเมืองถิ่นอุตรดิตถ์

Published by Meng Krub, 2021-06-04 02:02:04

Description: นักการเมืองถิ่นอุตรดิตถ์
เล่มที่ 61

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ โดย ดร.สพุ ตั ตรา ตนั ตจิ ริยาพันธ ์ ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุพตั ตรา ตันตจิ ริยาพันธ.์ นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั อตุ รดติ ถ-์ - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2561. 331 หน้า. 1. นักการเมือง - - อุตรดิตถ์. 2. อุตรดิตถ์ - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหสั สิ่งพิมพข์ องสถาบันพระปกเกล้า สวพ.61-XX-600.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-XXX-X ราคา พมิ พ์คร้งั ท่ี 1 2561 จำนวนพมิ พ ์ 500 เล่ม ลขิ สทิ ธ ์ิ สถาบันพระปกเกล้า ทป่ี รึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผแู้ ตง่ ดร.สุพัตตรา ตันติจริยาพันธ์ ผพู้ ิมพ์ผ้โู ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพิมพโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพ์ท่ี บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225

นักการเมืองถ่ิน จังหวัดอุตรดิตถ์ ดร.สุพัตตรา ตันติจริยาพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า

คำนำ เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นการศึกษา วิจัยเพื่อทำความเข้าใจและสำรวจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของนักการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ อันเป็นการนำเสนอถึง กระบวนการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของนักการเมืองซึ่งเป็น ผู้อาสาเข้ามาทำงานรับใช้ประชาชนในพื้นที่ระดับจังหวัด ซึ่งการศึกษาพฤติกรรมของนักการเมืองและการเลือกตั้ง ของประชาชนในพื้นที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตยที่สำคัญ

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับสถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้สนับสนุนทุนการวิจัย และขอขอบพระคุณกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน และขอขอบพระคุณนักการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ และผู้ให้ข้อมูล ทุกท่านอันนำมาสู่ความสำเร็จในการจัดทำการวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจยั

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง “นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์” มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลประวัตินักการเมืองที่เคยได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อศึกษา เครอื ขา่ ยผสู้ นบั สนนุ ทางการเมอื งนกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั อตุ รดติ ถ์ เพื่อศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับ นักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อ ศึกษารูปแบบและกระบวนการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมือง ที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยสรุปผลการวิจัย ดังนี้ ข้อมูลประวัตินักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ในจังหวดั อุตรดิตถ ์ ผลการวิจัยพบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด อุตรดิตถ์มีทั้งหมดจำนวน 22 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขานิติศาสตร์ และเป็น

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ นักธุรกิจมากกว่าอาชีพอื่น อีกทั้งส่วนใหญ่เคยเป็นนักการเมือง ท้องถิ่นก่อนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่เคยเป็นสมาชิก กลุ่มทางสังคมใดๆ และนักการเมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน ในด้านจำนวนครั้งที่ลง สมัครรับเลือกตั้งมีนักการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งสูงสุดจำนวน 6 ครั้ง และได้รับเลือกตั้งสูงสุดจำนวน 5 สมัย โดยส่วนใหญ่เป็น สมาชิกพรรคการเมืองมากกว่าเป็นผู้ก่อตั้งและร่วมก่อตั้ง พรรคการเมือง และมีเพียงจำนวน 1 คนที่เคยดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร เครือข่ายผู้สนับสนุนทางการเมืองนักการเมืองถ่ิน จังหวัดอตุ รดิตถ์ ผลการวิจัยพบว่าบุคคล/ตำแหน่งที่เข้ามาเป็นเครือข่าย สนับสนุนทางการเมืองแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด อุตรดิตถ์สูงสุด คือ ผู้ใหญ่บ้านและกำนัน และนักการเมือง ส่วนใหญ่มีเครือข่ายผู้สนับสนุนทางการเมืองมากกว่า 2 แหล่ง ขึ้นไป และจำนวนเครือข่ายที่สนับสนุนการเมืองสูงสุดคือ มจี ำนวน 9 แหลง่ ครอบคลมุ ทง้ั การสนบั สนนุ จากพรรคการเมอื ง นักการเมืองระดับชาติ กลุ่มทางการ กลุ่มไม่เป็นทางการ นักการเมืองท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ข้าราชการ นักธุรกิจ และญาติ บทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองและ นกั การเมืองทเ่ี คยไดร้ บั เลือกตัง้ ผลการวิจัยพบว่าพรรคการเมืองที่นักการเมืองจังหวัด อุตรดิตถ์สังกัดนั้นมีบทบาทโดยตรงต่อความสำเร็จในการได้รับ VII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนักการเมือง ส่วนใหญ่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ แกนนำพรรคจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งใน คณะรัฐมนตรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 สมัย รูปแบบและกระบวนการหาเสียงเลือกต้ังของ นกั การเมืองทเี่ คยได้รับการเลือกตงั้ ในจังหวดั อตุ รดติ ถ ์ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบและกระบวนการหาเสียงของ นักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์มีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก โดยส่วนใหญ่ อาศัยผู้สนับสนุนทางการเมืองหลัก คือ ผู้ใหญ่บ้านและกำนัน และใช้รูปแบบการหาเสียงเลือกตั้งที่เป็นรูปแบบร่วม คือ แจกเอกสารแผน่ ปลวิ แนะนำตวั ใชพ้ าหนะในการตระเวนหาเสยี ง ปราศรัยบนเวที แผ่นป้ายโฆษณาหาเสียง สื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ และ พบปะเยี่ยมเยียนตามบ้านและชุมชน VIII

Abstract The purposes of research on “The Local Politicians of Uttaradit Province” are: 1) To collect information of the local politicians who had been successfully elected in Uttaradit Province from the first general election to the present, 2) To study the political support networks of the elected local politicians in Uttaradit Province, 3) To study the role and relationship between political parties and elected local politicians in Uttaradit Province and 4) To study the pattern and process of the election campaign of the elected local politicians in Uttaradit. This study illustrates: The information of the elected local politicians in Uttaradit Province This research found that the total of politicians of Uttaradit Province is 22 people. The most of them are males and graduated with a bachelor’s degree in jurisprudence. There are more businessmen than other occupations. The

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ majority of them had been the local politicians in a Local Government but not a member of any social group. It was also found that most of them were not a relative. In additional, it revealed that the most successful politicians have been elected five out of six times. The most of them were the member of the political parties rather than the party founder and coordinate founder. Further, this research found that only one politician was the house speaker which was the highest position of the house of representative. The local political support networks of the Uttaradit politicians This research found that that the most significant supporters in the local political support network in Uttaradit Province were a village headmen and sub-district headmen. It also found that the most politicians had more than two political support networks and the highest number are nine political support networks which were political parties, national politician, formal groups, informal groups, politicians in local organizations, village headmen/sub- district headmen, government officials, businessmen and relatives . The role and relationship between political parties and elected politicians in Uttaradit Province This research found that the political parties have an important role in helping the candidate to be successfully

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ elected in Uttaradit Province. Most of them had a close relationship with the political party leaders, who have a position in the Cabinet and had been elected for not less than 3 times. . The pattern and process of the election campaign of the elected politicians in Uttaradit Province This research found that the patterns and processes of the political campaign were not different. It found that the most of the politicians had a campaign pattern to gain vote from the supporters through a village headmen and sub-district headmen. Moreover, it also found that the collective pattern of a political campaign was to rely on political candidate introduction letter, election campaigning vehicles, speech, billboards, other publications and visiting ordinary voters in their home and community. XI

สารบัญ หน้า คำนำ บทคดั ยอ่ IV Abstract VI บทที่ 1 บทนำ VIII ความเป็นมาและความสําคัญของการวิจัย 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 2 ขอบเขตการวิจัย 14 วิธีดําเนินการวิจัย 15 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 16 บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมที่เกีย่ วข้อง 19 แนวคิดระบบอุปถัมภ์ 21 แนวคิดชนชั้นนำนิยม 22 แนวคิดพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ 31 แนวคิดการเลือกตั้ง 40 53

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ หนา้ บทท่ี 3 พัฒนาการทางการเมอื งและนกั การเมืองถนิ่ 71 จังหวดั อุตรดติ ถ์ พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2530 บริบททางการเมืองระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ 73 นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ (พ.ศ. 2476 – พ.ศ 2530) 83 นายฟัก ณ สงขลา 83 นายพึ่ง ศรีจันทร์ 88 นายสุ่ม ตันติพลาผล 96 นายเทพ เกตุพันธ์ 100 นายชื้น อยู่ถาวร 103 นายสมพงษ์ หาญประเสริฐ 105 นายส่ง ศัลยพงษ์ 112 นายเสริม โลกเลื่อง 117 เรืออากาศตรีบุญยง วัฒนพงศ์ 122 นายบรรลือ น้อยมณี 135 นายเปรม มาลากุล ณ อยุธยา 143 สิบเอกสนิทพงษ์ มุกดาสนิท 149 นายเชาวลิต สุขสวัสดิ์ 155 นายอารมณ์ พุ่มพิริยพฤนท์ 164 บทท่ี 4 นักการเมอื งถน่ิ จังหวดั อตุ รดิตถ์ 174 พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2554 นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ นายสุรพล เลี้ยงบำรุง 176 นายกนก ลิ้มตระกลู 183 นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร 189 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย 199 นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ 208 นายศรัณย์ ศรัณย์เกตุ 216 นายวารุจ ศิริวัฒน์ 224 234 XIII

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ หนา้ บทที่ 5 สรุป อภปิ รายผล และคาดการณ์แนวโน้ม 241 ทางการเมอื งจังหวดั อตุ รดติ ถ์ สรุปผลการวิจัย 249 การอภิปรายผลการวิจัย 275 การคาดการณ์แนวโน้มการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ 287 บรรณานกุ รม 291 ภาคผนวก 303 ภาคผนวกที่ 1 ภาพนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ 303 ภาคผนวกที่ 2 ตัวอย่างภาพการสัมภาษณ์นักการเมืองถิ่น 308 จังหวัดอุตรดิตถ์ ประวตั ิผวู้ จิ ัย 313 XIV

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 ข้อมลู พื้นฐานของนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ 243 ตารางที่ 2 สรุปเครือข่ายสนับสนุนทางการเมืองของ 253 นักการเมืองถิ่น ตารางที่ 3 สรุปบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมือง และนักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ 260 XV



บ1ทท ่ี บทนำ การวิจัย เรื่อง “นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์” นี้ ผวู้ จิ ยั มงุ่ ศกึ ษาเกย่ี วกบั นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั อตุ รดติ ถ์ ทง้ั ภมู หิ ลงั ส่วนบุคคล ครอบครัว และเครือญาติ ภูมิหลังทางการเมือง เครือข่ายผู้สนับสนุนทางการเมืองนักการเมืองถิ่น และบทบาท ของพรรคการเมืองที่มีต่อนักการเมืองถิ่น ตลอดจนรูปแบบและ กระบวนการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองถิ่นจังหวัด อุตรดิตถ์ร่วมกับศึกษาพัฒนาการทางการเมืองระดับจังหวัด อุตรดิตถ์ด้วย โดยจะนำเสนอเนื้อหาตามลำดับต่อไป ในบทนี้ ผู้วิจัยจักได้นำเสนอในประเด็นเกี่ยวกับ 1. ความสำคัญของ การวิจัย 2. วัตถุประสงค์การวิจัย 3. ขอบเขตการการวิจัย 4. วิธีดำเนินการวิจัย และ 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยมี รายละเอียดตามลำดับ ดังนี้

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 นั้น ส่งผลให้ ประเทศไทยก้าวสู่การเรียนรู้ทางการเมืองแบบใหม่ภายใต้บริบท การเมืองที่มีตัวแทนของประชาชนเข้าไปมีอำนาจทางการเมือง อย่างเป็นรูปธรรมผ่านระบบตัวแทน (representative system) โดยผ่านการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่นิติบัญญัติ และบริหารประเทศแทนประชาชน ซึ่งเปรียบเสมือนประชาชน คนไทยได้แสดงเจตจำนงให้ผู้แทนใช้อำนาจทั้งสองประการแทน ฉะนั้น ระบบผู้แทนระดับชาติจึงได้รับการยอมรับและอยู่ใน ความสนใจอย่างยิ่งสำหรับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฐานะ ผู้ทำหน้าที่เลือกตัวแทนของตนและนักการเมือง ตลอดจน พรรคการเมือง ซึ่งการเลือกตั้งในระดับชาติที่ผ่านมาของ ประเทศไทยนั้นได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 26 ครั้ง มีการเลือกตั้งสมาชิก พฤฒิสภาทางอ้อม 1 ครั้ง ใน พ.ศ. 2489 และเริ่มมีการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาโดยตรงครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยการเลือกตั้งระดับชาติดังกล่าวอยู่ในความสนใจของทุก ภาคส่วนโดยเฉพาะในส่วนของสถาบันการศึกษาที่มีการศึกษา ถึงบทบาท เครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมือง ตลอดจน พฤติกรรมของนักการเมือง และพรรคการเมืองที่มีการศึกษา และเผยแพร่อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง จากปรากฏการณ์การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของ นักการเมืองและพรรคการเมืองระดับชาติที่อยู่ในความสนใจ

บทนำ จึงสามารถนำมาสู่การศึกษาและรวบรวมเป็นองค์ความรู้อย่าง เป็นระบบสำหรับการศึกษาและทำนายกิจกรรมทางการเมือง ของไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่การเมืองถิ่นซึ่งเป็น ปรากฏการณ์คู่ขนานกับการเมืองระดับชาตินั้นยังไม่ได้รับความ สนใจที่จะศึกษาและรวบรวมอย่างเป็นระบบที่จะนำความรู้ เกี่ยวกับการเมืองถิ่นนั้นมาอธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ ทางการเมืองระดับชาติที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสัมพันธ์กัน ในมิติใดมิติหนึ่งกับการเมืองถิ่น ขณะเดียวกันการเมืองถิ่น ในระดับจังหวัดก็สามารถสะท้อนให้เห็นภาพของการเมืองระดับ ชาติได้เช่นเดียวกัน สืบเนื่องจากทั้งนักการเมืองถิ่นนั้น ถูกกำหนดให้มีบทบาทในพื้นที่โดยทิศทางหรือนโยบายของ พรรคการเมืองเป็นเข็มทิศนำทาง ฉะนั้น กิจกรรมทางการเมือง ระดับชาติโดยพรรคการเมือง และการเมืองถิ่นจะสนับสนุน ซึ่งกันและกัน กรณีจังหวัดอุตรดิตถ์ก็เช่นเดียวกันที่การเมืองถิ่นนั้น ที่เป็นทั้งผลผลิตของการเมืองระดับชาติจากการวางระบบ โครงสร้างอำนาจทางการเมืองส่วนบนมาสู่การเมืองระดับ ท้องถิ่น ขณะเดียวกันการเมืองถิ่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ก็ถือ ได้ว่าเป็นผู้ผลิตนักการเมืองระดับชาติเช่นเดียวกัน ซึ่งข้อมูล นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ก็ยังไม่ได้จัดเก็บข้อมูลอย่าง เป็นระบบเช่นกัน สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มี ชายแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป. ลาว) จึงถือได้ว่ามีศักยภาพในการพัฒนาการค้าข้ามแดน เนื่องจากมีแนวชายแดนติดกับแขวงไซยะบูลีของส.ป.ป. ลาว ในเขตอำเภอบ้านโคก ประมาณ 115 กิโลเมตร และอำเภอ

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ น้ำปาด ประมาณ 20 กิโลเมตร โดยในปัจจุบันการค้าข้ามแดน ระหว่างไทย-ลาวของจังหวัดนั้นดำเนินผ่านด่านชั่วคราว และมี จุดผ่อนปรนทางการค้าในเขตอำเภอบ้านโคก คือ จุดผ่อนปรน ทางการค้าภูดู่ (ด่านภูดู่) (พ.ศ. 2556 เป็นจุดผ่านแดนถาวร) จดุ ผอ่ นปรนทางการคา้ หว้ ยตา่ ง (ดา่ นหว้ ยตา่ ง) และดา่ นมหาราช สินค้า ส่งออกส่วนใหญ่ ได้แก่ สินค้าอุปโภค - บริโภคและ อุปกรณ์ก่อสร้าง และสินค้าที่นำเข้า ได้แก่ ถั่วลิสง, ถ่านไม้, ข้าวโพด, บุหรี่, ไวน์, เหล้า ฯลฯ (สำนักงานพาณิชย์จังหวัด อุตรดิตถ์, 2558) โดยจังหวัดอุตรดิตถ์มีด่านการค้าชายแดน ที่สำคัญ คือ ด่านภูดู่ ซึ่งตั้งเชื่อมโยงการค้าของไทยผ่านด่าน ผาแก้ว เมืองปากลาย แขวงไซยะบูลี สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ด่านนี้จึงถือว่าเป็นประตูเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งรัฐบาลไทยโดยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ให้เงินกู้ยืมแก่ รัฐบาลลาว ดำเนิน “โครงการก่อสร้างถนนจากภูดู่ (อำเภอ บ้านโคกจังหวัดอุตรดิตถ์) ถึงเมืองปากลาย แขวงไซยะบูลี สปป.ลาว” โดยลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555  ระยะเวลาก่อสร้าง 18 เดือนนับจากวันเริ่มปฏิบัติงาน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การคมนาคมจากภาคเหนือ ตอนล่าง (จังหวัดอุตรดิตถ์) ถึงนครหลวงเวียงจันทน์ ประมาณ 200 กิโลเมตรมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและส่งเสริมให้ การค้าขายการลงทุนและการท่องเที่ยวมีการขยายตัวอย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งเส้นทางโครงการมีระยะทางทั้งสิ้น 32 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ด่านภูดู่บ้านม่วงเจ็ดต้น อำเภอ บ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ และสิ้นสุดที่เมืองปากลาย แขวงไซ

บทนำ ยะบูลี สปป.ลาว วงเงินกู้ 718 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลให้ความ ช่วยเหลือแบบให้เปล่าร้อยละ 20 (ไม่เกิน 143.60 ล้านบาท) และเงินกู้ร้อยละ 80 (ไม่เกิน 574.40 ล้านบาท) (สำนักงาน ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน อ้างอิงใน สุพัตตรา ตันติจริยาพันธ์, 2557, น. 69-70) นอกจากนี้จังหวัดอุตรดิตถ์ยังถือได้ว่ามีโอกาสในการ พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ โดยผลจากความร่วมมือระดับชาต ิ ที่รัฐบาลไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือในระดับ ทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน กรณีของ สปป.ลาว เพื่อยืนยัน ความร่วมมือทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีเมื่อวันที่ 20 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2555 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ โดยได้ยืนยัน เจตนารมณ์ของรัฐบาลสองประเทศที่จะกระชับความร่วมมือ ทั้งให้ใกล้ชิด แน่นแฟ้น และเอื้ออำนวยต่อผลประโยชน์ต่อ ประเทศทั้งสองในทุกด้านเพื่อนำมาสู่ความสมบูรณ์พูนสุขแก่ ประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยส่งเสริมความเชื่อมโยงในทุก มิติโดยเฉพาะระหว่างภาคประชาสังคมและความร่วมมือทาง เศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนให้ทั้งสองประเทศร่วมมือกันอย่าง ใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้สาขาความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาว ที่จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดประเทศไทยที่มี พรมแดนติดต่อกับ สปป.ลาว เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ อาทิ ความร่วมมือด้านไฟฟ้าและพลังงานอื่นๆ การขนส่งทาง บก ทางรถไฟ ทางน้ำ และทางอากาศ การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน (การก่อสร้างเส้นทางถนน ทางรถไฟ และสะพาน พัฒนาสนามบิน เมือง และน้ำประปา) และความร่วมมือด้าน

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ การค้าและการลงทุน และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง ไทย-ลาว อาทิ ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาการศึกษา กีฬา การเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานความร่วมมือ พัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน, 2555, น. 11) จากความ ช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลไทยที่มีต่อรัฐบาล สปป.ลาว ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และจากกรอบความร่วมมือ ทวิภาคี และความร่วมมือในนามประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังกล่าว จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งมีพรมแดนติดกับ สปป.ลาว จึงถือ ได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ด้านการค้าข้ามแดนและการท่องเที่ยวที่มีการผลักดันโดย สมาคมสมาพันธ์การท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดอุตรดิตถ์ร่วม กับสภาหอการค้าในการเสนอให้จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจุดเชื่อม เมืองมรดกโลกเมืองหลวงพระบางกับเมืองมรดกโลกสุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร ที่เรียกว่า “แพ็คเกจเมืองมรดก โลก” (World Heritage Package) (สุพัตตรา ตันติจริยาพันธ์, 2557, น. 82) ซึ่งความร่วมมือทุกประการข้างต้นระหว่างไทย และสปป.ลาว จึงถือว่าโจทย์สำคัญในการพัฒนาจังหวัดโดย นักการเมืองถิ่นและพรรคการเมืองที่มีเป้าหมายในการหาเสียง ด้านการบริหารการพัฒนาการค้า ข้ามแดนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่พึ่งถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นเท่านั้น ในการบริหารราชการรูปแบบใหม่ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ให้มีการบริหารแบบบูรณาการ โดยการรวมกลุ่มจังหวัดที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในด้านต่างๆ

บทนำ เข้าด้วยกัน ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก โดยกลุ่มจังหวัดนี้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่ม คือ “ศูนย์กลางการบริการสี่แยก อินโดจีน” และได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ได้ 4 ประเด็น ได้แก่ 1. พัฒนากระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด สินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน 2. พัฒนาโครงข่ายการค้า การลงทุน การบริการ เครือข่ายคมนาคมขนส่งสี่แยกอินโดจีน และอาเซียน 3. พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม กีฬาและสุขภาพ และ 4. บริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สำหรับกลยุทธ์ที่สำคัญ อาทิ พัฒนาการคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ พัฒนาและ ส่งเสริมการค้า การตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ ส่งเสริม การเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็น ฐานการผลิต การค้า การบริการอย่างมีคุณภาพและคุ้มค่า และ ส่งเสริมการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการ เป็นต้น (สำนักยุทธศาสตร์ภาคเหนือ ตอนล่าง, 2555, ออนไลน์) สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ได้กำหนด ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านทาง เศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด ที่มุ่งการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่การค้าข้ามแดนไปยัง สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ ยุทธศาสตร ์ การเพิ่มศักยภาพการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมียุทธศาสตร์ย่อย

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่สำคัญ คือ พัฒนาจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ในทุกด้านเพื่อให้เป็น ประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ที่สำคัญของ ประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พัฒนา สัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับจังหวัดทั้งภายในและระหว่าง ประเทศ และพัฒนาการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดีระหว่างกันอย่างยั่งยืน (สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์, 2557, น. 3) จากการพัฒนาในรูป ของกลุ่มจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันของกลุ่มจังหวัดภาค เหนือล่าง 1 และการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดรับกับ ยุทธศาสตร์โดยเฉพาะด้านการเป็นประตูสู่เศรษฐกิจประเทศ เพื่อนบ้านที่สำคัญ คือ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีพรมแดนติดกันนั้น ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์สามารถพัฒนา เศรษฐกิจได้โดยมีทิศทางในการพัฒนาที่ชัดเจนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในกระบวนการพัฒนาประการที่สำคัญของ การได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์และ รัฐบาลที่จะต้องขานรับในรูปของนโยบายและงบประมาณ สนับสนุนต่อประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าว สำหรับในมิติด้านการเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ ์ นักการเมืองถิ่นของจังหวัดอุตรดิตถ์นั้นถือได้ว่ามีบทบาท ในการเมืองระดับชาติในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ การเลือกตั้งแรกใน พ.ศ. 2476 จวบจนปัจจุบัน ที่การเมืองถิ่น ยังคงทำหน้าที่ผลิตนักการเมืองระดับชาติที่เข้าไปดำรงตำแหน่ง ทั้งนิติบัญญัติและบริหารอย่างต่อเนื่อง ดังรายชื่อนักการเมือง ระดบั ชาตทิ ท่ี ำหนา้ ทด่ี า้ นนติ บิ ญั ญตั ิ และดา้ นการบรหิ ารในนาม ของนกั การเมอื งถน่ิ ของจงั หวดั อตุ รดติ ถ์ อาทิ เรอื อากาศตรบี ญุ ยง

บทนำ วัฒนพงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 สมัย และอดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาติ ประชาชน และอดีตเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นนักการเมืองถิ่นที่มีบทบาทในฐานะผู้ก่อตั้งและ หัวหน้าพรรคการเมืองอีกทั้งมีบทบาททางการบริหารในฐานะ คณะรัฐมนตรีด้วย นอกจากนี้จังหวัดอุตรดิตถ์มีนักการเมืองถิ่น ที่ถือว่ามีบทบาททางการเมืองระดับประเทศอย่างยิ่ง คือ นายชยั ภกั ด ์ิ ศริ วิ ฒั น์ หรอื บก๊ิ แนต อดตี สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร 5 สมัย และอดีตหัวหน้าพรรคราษฎร และอดีตรัฐมนตรีประจำ สำนกั นายกรฐั มนตรี อดตี รฐั มนตรชี ว่ ยวา่ การกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย และด้วยการที่เป็นนักการเมืองต่อเนื่อง ของตระกูล “ศิริวัฒน์” จึงทำให้มีฐานคะแนนเสียงเดิมส่งผลให้ น้องชายคือ นายวารุจ ศิริวัฒน์ ชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้ 2 สมัยในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2544 และ 2550 นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งสมาชิก วุฒิสภาของภรรยา คือ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ซึ่งจากฐาน การสนับสนุนทางการเมืองของประชาชนในระดับจังหวัด อุตรดิตถ์ที่ผลักดันการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติ ทำให้ตระกูลศิริวัฒน์ เข้าสู่ตำแหน่งทางสังคมอื่นๆ ที่ยิ่งสามารถ สร้างฐานความชื่นชมในการทำสาธารณะประโยชน์ให้ประเทศ ไทย อาทิ การดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฮอกกี้แห่งประเทศ ไทยของนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ และการดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทยนางนฤมล ศิริวัฒน์ จากบทบาท ดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนว่านักการเมืองถิ่นและครอบครัว เป็นผลผลิตของการเมืองถิ่น และสร้างบุคคลสำคัญที่เกี่ยวโยง กับฐานอำนาจทางการเมืองเช่นทางด้านกีฬาในระดับชาติด้วย

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากนี้การเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ยังได้ผลิต นักการเมืองถิ่นที่สามารถเข้าสู่อำนาจทางการเมืองระดับ ประเทศ และมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจและการเมือง คือ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 สมัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต 2 สมัย ใน พ.ศ. 2544 และ 2548 และแบบบัญชี รายชื่อสังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2550 นักการเมืองถิ่นกลุ่มนี้ ถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาททางการเมืองในฐานะสมาชิกรัฐสภาและ ฝ่ายบริหาร ซึ่งหากพิจารณาปัจจัยส่วนบุคคลจะเห็นได้ว่า นักการเมืองดังรายนามที่ระบุเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงจากฐาน ชื่อเสียงของตระกูลที่เป็นที่รู้จักกรณีนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ และ นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ และ ฐานการเมืองจากการเป็น นักการเมืองท้องถิ่นกรณีของนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย และหาก พจิ ารณาจากพรรคการเมอื งทส่ี งั กดั แลว้ ถอื ไดว้ า่ มสี ว่ นอยา่ งยง่ิ ใน การผลกั ดนั การเขา้ สตู่ ำแหนง่ ทางการเมอื ง เชน่ พรรคไทยรกั ไทย พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคพลังประชาชน ที่ถือว่าเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในการสนับสนุน การรณรงค์หาเสียงเพื่อนำไปสู่การได้รับเลือกตั้ง จากตัวอย่างนักการเมืองถิ่นข้างต้นจะเห็นได้ว่าเป็น คณะบุคคลที่สำคัญของโครงสร้างอำนาจทางการเมืองระดับ ชาติที่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ฉะนั้น การทำกิจกรรมระดับชาติของนักการเมืองถิ่นย่อม 10

บทนำ สะท้อนผลประโยชน์กลับมายังการเมืองถิ่นในด้านของ การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบาย การพัฒนาของรัฐบาล หรืออาจกล่าวได้ว่าจังหวัดอุตรดิตถ์ย่อม ได้รับผลประโยชน์จากการที่นักการเมืองถิ่นเข้าไปมีบทบาท ในฐานะนักการเมืองระดับชาติ กรณีตัวอย่างที่สะท้อนได้อย่าง ชัดเจน เช่น การที่นักการเมืองถิ่นของจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถ จัดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรยังจังหวัดอุตรดิตถ์ใน วันที่ 20-21 มกราคม 2556 เพื่อเสนอโครงการของกลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนล่างต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการ และงบประมาณ 3 จังหวัด คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก และ สโุ ขทยั และกรณที น่ี กั การเมอื งถน่ิ คอื นายศรณั ยว์ ฒุ ิ ศรณั ยเ์ กตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของจังหวัดอุตรดิตถ์สังกัดพรรค เพื่อไทย ที่ผลักดันการตัดสินใจของรัฐบาลร่วมกับสภา หอการค้า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ และกลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนล่างให้รัฐบาลยกระดับด่านภูดู่ให้เป็นจุดผ่าน ถาวร (สุพัตตรา ตันติจริยาพันธ์, 2557, น. 66) ในที่นี้มิได้ หมายถงึ การผลกั ดนั ในสมยั ของนายศรณั ยว์ ฒุ ิ ศรณั ยเ์ กตุ เทา่ นน้ั แต่กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจดังที่ระบุข้างต้นได้เคลื่อนไหว ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านอื่นด้วย เช่น นายกนก ลิ้มตระกูล ซึ่งภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ยังจังหวัดอุตรดิตถ์ในมกราคม 2556 ด่านภูดู่ที่เป็นจุดผ่อนปรน ชั่วคราวได้รับการประกาศเป็นจุดผ่านแดนถาวร การดำเนิน กิจกรรมทางการเมืองดังกล่าวในฐานะนักการเมืองระดับชาติ และนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์จึงดำเนินควบคู่กัน ซึ่งบ่งชี้ ให้เห็นว่าการเมืองระดับชาติและการเมืองถิ่นนั้น มีมิติเชื่อมโยง 11

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ กันทั้งในการแสดงบทบาทและการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ทางการเมืองในฐานะนักการระดับชาติที่ผูกติดและยึดโยงกับ การเมืองถิ่น จากปรากฏการณ์ทางการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ จะเห็น ได้ชัดเจนว่าการเมืองถิ่นนั้นทำหน้าที่ผลิตนักการเมืองถิ่นเข้าสู่ ระบบการเมืองระดับชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักการเมืองเหล่านั้น เข้าไปมีบทบาททั้งนิติบัญญัติ และบริหารในบทบาทของรัฐบาล ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของ ประเทศ หากพิจารณาถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในมิติเศรษฐกิจแล้ว จะเห็นได้ว่า เป็นจังหวัดที่มีฐานการผลิตในภาคการเกษตร เป็นหลัก แม้ว่าจะมีศักยภาพในด้านการค้าชายแดน แต่ถือ ได้ว่าอยู่ในช่วงของการเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมใน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งบ่งชี้บทบาทในเชิงเศรษฐกิจต่อการ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัด ชายแดนอื่นถือว่ายังมีบทบาทค่อนข้างน้อย แต่เมื่อเปรียบเทียบ กับบทบาทของนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์แล้วถือว่าอยู่ใน ทิศทางตรงกันข้าม เพราะการเมืองถิ่นอุตรดิตถ์ได้ทำหน้าที่ผลิต ผู้ที่มีอำนาจในโครงสร้างการเมืองส่วนบนทั้งนิติบัญญัติและ บริหาร ฉะนั้น สิ่งที่พึงพิจารณาถึงบทบาททางการเมืองระดับ ประเทศของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ผลักดันในนักการเมืองถิ่น สามารถเข้าสู่โครงสร้างอำนาจได้ ก็คือ กลุ่มทางการเมือง (ที่ทำ หน้าที่ในนามพรรคการเมือง) และกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) อื่น ซึ่งกรณีจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 – 2557 การเมืองถิ่นอยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของกลุ่มการเมืองที่เด่นชัด คือ กลุ่มวังบัวบาน (ในนามพรรคการเมือง คือ ไทยรักไทย 12

บทนำ พลังประชาชน และเพื่อไทย) โดยนางเยาวภา วงษ์สวัสดิ์ น้อง สาวอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งพรรค ไทยรักไทย และภรรยาอดีตนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ โดยนางเยาวภาได้ร่วมทำกิจกรรมทางการเมือง ในนามของพรรคเพื่อไทย (ภายหลังการยุบพรรคไทยรักไทยและ พรรคพลังประชาชน) กับผู้สมัครของพรรคครบทั้ง 3 เขตของ จังหวัดอุตรดิตถ์ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 โดยเน้นชูประเด็น นโยบายของพรรคที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาพรรค เพื่อไทย ซึ่งช่วยคิดและนำเสนอนโยบายร่วมกับคณะกรรมการ จัดทำยุทธศาสตร์สื่อสารไปยังฐานคะแนนเสียงจังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากนี้นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ยังมีกลุ่มผลประโยชน์ อื่นที่ค่อยสนับสนุนทางการเมือง เนื่องจากนักการเมืองถิ่น ส่วนใหญ่เคยดำรงตำแหน่งบริหารและเป็นสมาชิกในสมาคม ทางการค้าของจังหวัดด้วย อีกทั้งมีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.อุตรดิตถ์) ที่สามารถเข้าถึง ประชาชนแทนนักการเมืองถิ่นหรือผู้สมัครของพรรคการเมืองได้ ดังนั้นนักการเมืองถิ่นอุตรดิตถ์ที่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งทาง การเมืองระดับถิ่นและระดับชาติได้นั้นมีส่วนมาจากการดำเนิน กจิ กรรมทางการเมอื งรว่ มกนั กบั กลมุ่ ทางการเมอื ง พรรคการเมอื ง และกลุ่มผลประโยชน์อื่นร่วมด้วย จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยต้องการชี้ให้เห็นถึง ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองถิ่นจังหวัด อุตรดิตถ์และนักการเมืองระดับชาติ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่าง ใกล้ชิด โดยทั้งสองส่วนเป็นฐานการได้มาซึ่งอำนาจทาง การเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ฉะนั้น การเมืองทั้ง 13

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ สองระดับจึงสัมพันธ์กับประชาชนโดยตรง การศึกษาเกี่ยวกับ กิจกรรมทางการเมืองระดับชาติของไทยจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยง ที่จะศึกษาถึงบริบทการได้มาซึ่งอำนาจของนักการเมืองถิ่นใน ระดับจังหวัดด้วย เช่นเดียวกันกับนักการเมืองถิ่นจังหวัด อุตรดิตถ์ที่ยังไม่การศึกษาอย่างเป็นระบบ และทำความเข้าใจ ถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างนักการเมืองถิ่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนสนับสนุนการเมืองอย่างบูรณาการ อันที่จะนำไปสู่การเข้าใจ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมือง ถิ่น” เพื่อที่จะนำข้อมูลไปวิเคราะห์โครงสร้างอำนาจทาง การเมืองเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางการเมืองระดับชาติ ซึ่งการเมืองถิ่นและนักการเมืองถิ่นนั้นจะช่วยฉายภาพการเมือง ระดับชาติได้สมบูรณ์มากขึ้น ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ แนวโน้มโครงสร้างอำนาจการเมืองระดับท้องถิ่นที่ยึดโยงกับ นกั การเมอื งถน่ิ ไดอ้ กี ดว้ ย ผศู้ กึ ษาจงึ สนใจทจ่ี ะศกึ ษานกั การเมอื ง ถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ในครั้งนี้อันจะเป็นประโยชน์ในการศึกษา ทางการเมืองระดับจังหวัดและระดับประเทศของไทยโดยมีฐาน ในการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงการเมืองทั้งสองระดับได้อย่างเป็น ระบบต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อรวบรวมข้อมูลประวัตินักการเมืองที่เคยได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาเครือข่ายผู้สนับสนุนทางการเมือง นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ 14

บทนำ 3. เพื่อศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัด อุตรดิตถ์ 4. เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการหาเสียงเลือกตั้ง ของนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ขอบเขตการวิจัย การศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาของการศึกษา ดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลประวัตินักการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้ รับการเลือกตั้งทั่วไปทั้งการเลือกตั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 26 ครั้ง ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2476 –3 กรกฎาคม 2554 โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติครอบครัว การศึกษา อาชีพ การดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่นทั้งในส่วน ของสมาชิกสภาและฝ่ายบริหาร สถานภาพทางเศรษฐกิจและ สังคม ตลอดจนกลุ่มทางสังคมที่เป็นสมาชิก ฯลฯ 2. ศึกษาเครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมืองของ นักการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รับการเลือกตั้งทั่วไป อาทิ เครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างนักการเมืองที่ได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่าง นักการเมืองระดับท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล) เครือข่ายความสัมพันธ์กับ ข้าราชการระดับสูงและหัวหน้าส่วนราชการภายในจังหวัด อุตรดิตถ์ เครือข่ายความสัมพันธ์กับสมาคมธุรกิจในจังหวัด 15

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ฯลฯ) 3. ศกึ ษาบทบาทและการทำหนา้ ทข่ี องกลมุ่ ผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีอิทธิพลและ/หรือสนับสนุนทาง การเมืองแก่นักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัด อุตรดิตถ์ อาทิ สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคม ธนาคาร 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองที่ได้รับ การเลือกตั้งของจังหวัดอุตรดิตถ์กับพรรคการเมือง ทั้งพรรค ที่นักการเมืองเคยสังกัดเดิม และพรรคที่สังกัดใหม่ 5. ศึกษารูปแบบและกระบวนการหาเสียงเลือกตั้งของ นักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative methodology) เป็นเครื่องมือหลักในการศึกษา โดย รวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร (document research) รว่ มกบั วธิ กี ารศกึ ษาภาคสนาม (field research) ซง่ึ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสังเกตแบบ ไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้ 16

บทนำ วิธีการวิจัย 1. ศึกษาจากเอกสารที่เก่ียวข้อง (documentary research) สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ อาทิ เอกสารราชการ งานเขียนทางวิชาการ บทสัมภาษณ์ และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับ นักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจังหวัดอุตรดิตถ์ผ่าน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและหนังสือพิมพ์รายวันภาคภาษาไทย นิตยสาร วารสารทั้งที่ยังดำเนินกิจการอยู่ หรือปิดกิจการไปแล้ว การบันทึกผ่านสื่อวิทยุตลอดจนโทรทัศน์ที่ได้มีการบันทึกไว้ นอกจากนี้ยังศึกษาจากเอกสารอื่น อาทิ รายงานการประชุม พรรคการเมือง จดหมายข่าวของพรรคการเมือง รายงาน การวิจัย วิทยานิพนธ์ ที่มีการศึกษาหรือการอ้างถึงนักการเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อีกทั้งศึกษาผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง นักการเมืองถิ่นกลุ่มเป้าหมายของจังหวัดอุตรดิตถ์ 2. ศึกษาภาคสนาม (field approach) โดยการ สัมภาษณ์นักการเมืองถิ่น และบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลโยงใย ไปถึงนักการเมืองได้ เช่น สมาชิกในครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หวั คะแนน และประชาชน และใชว้ ธิ กี ารสงั เกตแบบไมม่ สี ว่ นรว่ ม ถึงบทบาทและความสัมพันธ์ทางการเมืองของนักการเมืองกลุ่ม เป้าหมาย ผ่านการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างไม่เป็น ทางการเท่าที่นักการเมืองได้ปฏิบัติในช่วงที่ทำการศึกษาครั้งนี้ และในขณะสัมภาษณ์นั้นผู้ศึกษาจะดำเนินการบันทึก (Field Note) ไปพร้อมด้วย 17

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง สำหรับการศึกษาภาคสนามผู้ศึกษาได้กำหนดประชากร และวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ดังนี้ 1. นักการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รับการเลือกตั้ง ทั่วไปทั้งการเลือกตั้งทางตรงและทางอ้อม จำนวน 26 ครั้ง ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2476 – 3 กรกฎาคม 2554 ใช้วิธีการ สุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) 2. สมาชิกในครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หัวคะแนน และ ประชาชน ของนักการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดวิธีการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างจากกลุ่มนี้จากการได้รับข้อมูลการสัมภาษณ์จาก ประชากรนักการเมืองในกลุ่มที่ 1 หรือจากการสอบถามผู้นำ ชุมชนที่เป็นทางการ อาทิ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สมาชิกสภา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับบ้านพักของนักการเมือง และ เมื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มบุคคลที่กำหนดได้แล้ว ผู้ศึกษา จะสอบถามจากบุคคลนั้นโดยใช้วิธีการ Snowball sampling เพื่อ หาสมาชิกในครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หัวคะแนน หรือผู้ที่ เกี่ยวข้องกับนักการเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ต่อไป โดยให้ความ เพียงพอของข้อมูลว่าครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด เป็น เกณฑ์ในการกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อรวบรวมข้อมูลครบถ้วนตามวัตถุประสงค์แล้ว ผู้ศึกษากำหนดจัดระเบียบข้อมูล และจัดกลุ่มข้อมูล เช่น ข้อมูล 18

บทนำ ทางการเมือง ข้อมูลทางสังคม ข้อมูลทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยแยกนักการเมืองทีละรายบุคคล จากนั้นมีการนำเสนอ ขอ้ มลู ดว้ ยการบรรยาย และดำเนนิ การสรปุ สำหรบั การวเิ คราะห์ ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เช่น การ วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาแบบแผน (patterns) และความสัมพันธ์ (relations) ทางอำนาจของนักการเมืองกับกลุ่มผลประโยชน์/ กลมุ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการฯลฯ โดยอาศยั การตคี วาม /แปลความหมาย (interpretation) จากการข้อมูลการให้สัมภาษณ์ น้ำเสียง และ สีหน้าท่าทางประกอบในขณะที่สัมภาษณ์ จากนั้นดำเนินการ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งจักต้องมีการรวบรวมและ ตีความข้อมูลซ้ำอีกครั้ง ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ 1. ได้ชุดข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักการเมืองที่เคยได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2. ได้ทราบถึงความสำคัญ บทบาทและความสัมพันธ์ ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่สนับสนุน ทางการเมืองแก่นักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัด อุตรดิตถ์ ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลสาเหตุและปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน นักการเมืองให้ชนะการเลือกตั้งอย่างเป็นระบบมากขึ้น 3. ทำให้ทราบถึงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ระหว่างนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งระดับโครงสร้างส่วนบน (รัฐบาล พรรคการเมือง และ นักการเมืองระดับชาติ) กับโครงสร้างส่วนล่าง (นักการเมือง 19

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ ท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น) ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้ชนะ การเลือกตั้ง 4. ทำให้ทราบถึงรูปแบบและกระบวนการหาเสียง เลือกตั้งที่นักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้ในการหาเลือกตั้ง 20

บ2ทท ่ี การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาสำหรับรวบรวมข้อมูลและ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่ออธิบาย ตีความ และคาดการณ์ ปรากฏการณ์การเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ซึ่งสัมพันธ์กับ การเมืองระดับชาติ การวิจัยครั้งนี้จึงนำแนวคิด 4 แนวคิด มาเป็นกรอบในการศึกษา ได้แก่ 1. แนวคิดระบบอุปถัมภ์ (patron-client system) 2. แนวคิดชนชั้นนำนิยม (elitism) 3. แนวคิดพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ (political party, interest group) และ 4. แนวคิดการเลือกตั้ง (election) โดยมี รายละเอียดตามลำดับ ดังต่อไปนี้

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ แนวคิดระบบอุปถัมภ์ (patron-client system) โดยลักษณะเฉพาะของสังคมไทยนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า เป็นสังคมที่มีชนชั้น แม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างของชนชั้นที่ชัดเจน เช่นเดียวกับสังคมชนชั้นอินเดีย สิ่งซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดความเป็น ชนชั้นของสังคมไทยก็คือ ฐานะทางสังคม ซึ่งการจะวัดฐานะ ทางสังคมว่าบุคคลใดจะมีฐานะทางสังคมที่สูงหรือต่ำใน โครงสร้างทางสังคมไทยนั้นมักยึดอาชีพและตำแหน่งวงศ์ ตระกูล สถานะทางเศรษฐกิจ และสถานภาพทางการศึกษา ฯลฯ เป็นเกณฑ์ในการบ่งชี้ ลักษณะของการมีชนชั้นดังกล่าวนี้ นำมาซึ่งการพึ่งพาระหว่างกัน หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดระบบ อุปถัมภ์ขึ้นมา อันสืบเนื่องมาจากความจำเป็นในการพึ่งพา ซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลที่อยู่ในชนชั้นเดียวกัน และ ต่างชนชั้น ฉะนั้น ทิศทางของระบบอุปถัมภ์จึงมีทั้งที่เป็น ระนาบ (tier) เดียวกันและต่างระนาบ ในสังคมไทยจึงมีทั้ง ผู้อุปถัมภ์ และผู้ถูกอุปถัมภ์ที่ทำหน้าที่ในการเอื้อผลประโยชน์ ให้ความเอื้อเฟื้อ และดูและระหว่างกัน ถือได้ว่าระบบอุปถัมภ์ ทำหน้าที่ทางสังคมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม (social relations) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบุคคลที่อยู่ในความสัมพันธ์ เชิงอุปถัมภ์นั้นๆ ซึ่งในทัศนะของชัยอนันต์ สมุทวณิช (2525, น. 41-42) เห็นว่าลักษณะสังคมไทยมีการรวมกลุ่ม และเกิด กลุ่มซึ่งมีความเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กันเป็นส่วนบุคคลใน ลักษณะความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์ ส่วนตัว ความไว้วางใจ และความใกล้ชิด ความสัมพันธ์เชิง อุปถัมภ์ มีลักษณะเดียวกับความสัมพันธ์แบบนายกับไพร่ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบศักดินาที่ยังคงอยู่ในสังคมไทย 22

การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับลิขิต ธีรเวคิน (2548, น. 431-432) ได้อธิบาย โครงสร้างสังคมไทยที่สะท้อนระบบวรรณะ (caste) ตระกูล (clan) ระบบสโมสร (club) และระบบพรรคพวก (clique) ว่าเป็น ฐานในการหลอ่ หลอมจนเปน็ วฒั นธรรมของคนไทยทม่ี กี ารพง่ึ พา หรืออุปถัมภ์ระหว่างกันว่าเป็นผลมาจาก 4 วัฒนธรรมกล่าวคือ สังคมไทยเป็นสังคมที่ได้รับอิทธิพลของอินเดีย จีน ฝรั่ง ผสมกับ วัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยในกรณีของอินเดียสะท้อนให้เห็นชัด คือ ระบบการแบ่งชนชั้นในสังคมแบบตายตัวหรือวรรณะ (caste) แม้ว่าสังคมไทยไม่มีระบบวรรณะเหมือนอินเดีย แต่เนื่องจาก หลักกฎแห่งกรรมซึ่งให้ความชอบธรรมกับความเหลื่อมล้ำใน สังคม และเนื่องจากโอกาสการขยับชั้นในสมัยโบราณเป็นไปได้ ยาก เช่น ในสมัยแผ่นดินบรมโกศคนที่ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก จะต้องสืบเชื้อสายมาจากเสนาบดี ในส่วนของอิทธิพลจากจีน คือ ลักษณะของตระกูล (chan) ที่ถือแซ่เดียวกันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของกลุ่มครอบครัวให้ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน และพึ่งพากันได้ในทางเศรษฐกิจ ตลอดทั้ง การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกิจกรรมต่างๆ ในสังคมไทย นักธุรกิจที่มีการศึกษาสูงและคุมธุรกิจนั้นประกอบด้วยตระกูล ใหญ่ๆ ไม่กี่ตระกูลที่ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ตระกูลเหล่านี้ จะแต่งงานและดองกันจนมีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการเมือง หุ้นส่วนธุรกิจ และกลุ่มสำคัญทางสังคม ส่วนอิทธิพลจาก ตะวันตกในแง่ของการรวมกลุ่มเป็นสโมสร (club) โดยคนที่อยู่ใน สโมสรจะมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น ผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัย ภาคพน้ื ยโุ รป องั กฤษ สหรฐั อเมรกิ า วทิ ยาลยั ปอ้ งกนั ราชอาณาจกั ร โรงร้อยนายร้อย จปร. โรงเรียนสวนกุหลาบ หรือมาจากภูมิภาค 23

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ เดียวกันแล้วจัดตั้งเป็นสมาคม เช่น สมาคมปักษ์ใต้ สมาคม อีสาน หรือการรวมกลุ่มผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัย เช่น สิงห์แดง สิงห์ดำ ฯลฯ และอิทธิพลของวัฒนธรรมพื้นบ้าน คือ พรรคพวก ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยมีลักษณะสะท้อน ถึงระบบอุปถัมภ์ ที่มีหัวหน้ากลุ่มซึ่งได้แก่ผู้อุปถัมภ์และผู้อยู่ใต้ อุปถัมภ์คอยให้การสนับสนุนขณะเดียวกันก็ได้รับผลประโยชน์ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า clique ในพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมี กลุ่มพรรคพวก แต่ละกลุ่มมีหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งมี ส.ส.เป็นผู้อยู่ใต้ อุปถัมภ์ ทำให้หัวหน้ากลุ่มมีอำนาจต่อรอง ดังนั้น พรรคการเมืองไทยจึงมีลักษณะของสหพันธ์ของ กลุ่มพรรคพวกรวมกันเป็นพรรคการเมือง ซึ่งลิขิต ธีรเวคิน. (2553) เหน็ วา่ ระบบอปุ ถมั ภเ์ ปน็ ฐานของสถาบนั สงั คม การเมอื ง และการปกครองของไทย และภายใต้ระบบดังกล่าวจะม ี ผู้อุปถัมภ์คอยให้คุณให้โทษกับคนที่ติดตามให้การสนับสนุนตน หรือที่เรียกว่าผู้อยู่ใต้ระบบอุปถัมภ์โดยต่างคนต่างได้ประโยชน์ จากกันและกัน ส่วนใหญ่ผู้อุปถัมภ์จะเป็นผู้ที่มีฐานะทางสังคม สูง มีอำนาจและบารมีทั้งการเงินและการปกครองเหนือกว่า โดยบารมีนั้นถือว่าเป็นฐานสำคัญทางการเมืองและทางสังคม การสร้างบารมีด้วยการสร้างความดีทำให้ตนเองเป็นที่ยอมรับ ในหมู่ชนทั่วไปจึงเป็นเรื่องสำคัญ และถือว่าเป็นทุนชนิดหนึ่ง และบารมีที่แท้จริงคือการมีคนที่มีความภักดีและมีความผูกพัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะถาวรด้วยความรู้สึกส่วนตัว หรือการ เออ้ื อำนวยประโยชนต์ า่ งตอบแทนทล่ี งตวั กต็ าม ดงั นน้ั ผอู้ ปุ ถมั ภ์ ในสังคมไทยจึงต้องสร้างบารมีด้วยการหาพรรคพวกมากๆ อันแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้กว้างขวางในสังคมและการม ี 24

การทบทวนวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง คนสนับสนุน ปรากฏการณ์ที่จะชี้ให้เห็นถึงบารมีด้วยจำนวน คนนั้นก็คือในโอกาสที่มีงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานฉลองขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองรับตำแหน่ง แม้กระทั่งงานศพ ที่สามารถวัดบารมีได้จากจำนวนผู้ที่ซึ่งไปงานศพ ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย จากความเหน็ เกี่ยวกับความสัมพันธ์เชงิ อปุ ถมั ภ์ดงั ทศั นะ ของชัยอนันต์และลิขิตจะเห็นได้ว่าเป็นชัยอนันต์พิจารณาระบบ อุปถัมภ์ในระดับต่างระนาบเท่านั้น กล่าวคือ เป็นความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ที่มีสถานะสูงกว่าที่อุปถัมภ์ผู้ที่มีสถานะต่ำกว่า ส่วน ลิขิต เห็นว่า ระบบอุปถัมภ์แม้อาจไม่ได้ชี้ชัดว่าอยู่ในระนาบใด แต่ก็เห็นว่าระบบอุปถัมภ์ประกอบด้วยผู้อุปถัมภ์ที่มักมีสถานะ สูงกว่าผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ แต่ทั้งสองต่างมีผลประโยชน์ระหว่างกัน ซึ่งนักวิจัยมีทัศนะว่าระบบอุปถัมภ์ไม่ว่าผู้ที่มีสถานะทางสังคม และเศรษฐกิจที่สูงกว่าก็สามารถเป็นได้ทั้งผู้อุปถัมภ์และ ผู้ถูกอุปถัมภ์ โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการเลือกตั้งผู้แทน หรือตัวแทนที่ทำให้ผู้ที่มีสถานะสูงกว่า กลายเป็นผู้อุปถัมภ์จะ ผู้ที่มีสถานะต่ำกว่า ซึ่งทำหน้าที่สนับสนับเข้าไปสู่ตำแหน่งทาง การเมือง จากที่มาของลักษณะสังคมไทยที่มีส่วนผสมผสานจาก หลายวัฒนธรรมอันที่เป็นมาของความสัมพันธ์ทางสังคมแบบ อุปถัมภ์ และถือว่าเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ทางการเมืองในการศึกษาครั้งนี้ โดย “ระบบอุปถัมภ์” (patron- client system) มีฐานคิดอยู่สำคัญ คือ เป็นกระบวนการ การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทั้งที่เป็นนามธรรม หรืออาจกล่าว 25

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ว่าเป็นเชิงสัญญะ (symbolic) และที่เป็นรูปธรรมหรือเป็นวัตถุ นั่นเอง โดยระบบอุปถัมภ์เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีการ พัฒนาทั้งในรูปแบบและกระบวนการของความสัมพันธ์ของ ตัวมันเอง ซึ่ง James C.Scott. (1972, p. 106) ได้อธิบายถึง การเปลย่ี นผา่ นของระบบอปุ ถมั ภแ์ บบดง้ั เดมิ ในเอเชยี ตะวนั ออก เฉียงใต้ไว้ 7 ประการ ดังสรุปต่อไปนี้ 26

แนวโน้มระบบอุปถัมภใ์ นเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต ้ คณุ ลักษณะทเ่ี ปลี่ยนแปลง ดั้งเดมิ ปัจจบุ นั (รว่ มสมยั ) ระยะของความผูกพัน (duration of bond) มีความยั่งยืนมากกว่า (more persistent) มีความยั่งยืนน้อยกว่า (less persistent) ขอบเขตของการแลกเปลี่ยนทรัพยากร หลากมิติ มีลักษณะเฉพาะเรื่อง (scope of exchange) (multiplex) (increasingly simples) ฐานทรัพยากร ชุมชนท้องถิ่น,ระดับบุคคล เชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกชุมชนท้องถิ่น, (resource base) (local, personal) มีลักษณะเป็นทางการ (external links, office-based) ความสมดุลระหว่างบุญคุณกับ ให้ความสำคัญในเรื่องบุญคุณมากกว่า สิ่งแลกเปลี่ยนเชิงวัตถุ การแลกเปลี่ยนเชิงวัตถุ (higher ratio of ให้ความสำคัญในเรื่องบุญคุณน้อยกว่า (affective/instrumental balance) affective to instrumental ties) การแลกเปลี่ยนเชิงวัตถุ (lower ratio of affective to instrumental ties) การควบคุมทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น ผกู ขาดโดยชุมชนท้องถิ่นมาก (local resource control) (more local monopoly) ผูกขาดโดยชุมชนท้องถิ่นน้อย ความแตกต่างระหว่างสมาชิกในกลุ่ม มีความแตกต่างระหว่างสมาชิกน้อย (less local monopoly) อุปถัมภ์ (differentiation between clusters) (less differentiation) มีความแตกต่างระหว่างสมาชิกมาก ความกลมเกลียวภายในกลุ่มอุปถัมภ์ มีความกลมเกลียวมาก (more differentiation) (density of coverage) (greater density) มีความกลมเกลียวน้อย (less density) การทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 27

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ จากข้อมูล 7 ประเภทของแนวโน้มระบบอุปถัมภ์ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อธิบายได้ ดังนี้ 1. ระยะของความผูกพัน ระบบอุปถัมภ์แบบดั้งเดิม สมาชกิ ในกลมุ่ อปุ ถมั ภม์ ลี กั ษณะยง่ั ยนื (มน่ั คง)มาก หากบคุ คลใด สังกัดกลุ่มอุปถัมภ์ใดแล้ว แนวโน้มในการเปลี่ยนไปสังกัด กลุ่มอุปถัมภ์ใหม่มีค่อนข้างน้อย ขณะที่ระบบอุปถัมภ์ใน ปัจจุบันนั้น การสังกัดกลุ่มอุปถัมภ์ใดกลุ่มหนึ่งของบุคคลอาจ จะมีระยะเวลาไม่นาน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายจาก กลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งได้ง่ายกว่า 2. ขอบเขตการแลกเปลี่ยนทรัพยากร ภายในกลุ่ม อุปถัมภ์แบบดั้งเดิมนั้นการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ในแทบทุกมิติของชีวิตระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้ที่อยู่ใต้อุปถัมภ์ แต่ในปัจจุบันมิติของการแลกเปลี่ยนจะมีลักษณะเฉพาะเรื่อง มากขน้ึ เชน่ กลมุ่ อปุ ถมั ภใ์ นเชงิ เศรษฐกจิ กจ็ ะเนน้ การแลกเปลย่ี น ด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนกลุ่มอุปถัมภ์ทางการเมืองก็จะเน้น การแลกเปลี่ยนทางการเมือง และในชุมชนหนึ่งอาจมีกลุ่ม อุปถัมภ์หลายกลุ่มตามลักษณะอาชีพของบุคคลเหล่านั้น 3. ฐานทรพั ยากร ระบบอปุ ถมั ภด์ ง้ั เดมิ นน้ั ฐานทรพั ยากร ในการแลกเปลี่ยนจะอยู่ภายในชุมชนท้องถิ่นและเป็นฐานของ ผู้อุปถัมภ์ในชุมชนเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันนั้นฐานทรัพยากร ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนจะมีการเชื่อมโยงกับภายนอกชุมชน ซึ่งประกอบด้วยระบบราชการ ระบบการเมือง และระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นมีความ สัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์โดยตรงกับกลุ่มภายนอกชุมชน หรืออาจ สัมพันธ์โดยอ้อมผ่านผู้นำชุมชนก็ได้ 28

การทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง 4. ความสมดุลระหว่างบุญคุณกับสิ่งแลกเปลี่ยนเชิง วัตถุ ปัจจัยที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ภายในกลุ่มอุปถัมภ์แบบ ดั้งเดิมนั้น คือ ความเป็นบุญเป็นคุณเป็นหลัก ส่วนวัตถุนั้น มีความสำคัญรองลงมา แต่ในปัจจุบันมีลักษณะตรงกันข้ามกัน 5. การควบคุมทรัพยากรท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์แบบ ดั้งเดิมนั้น กลุ่มอุปถัมภ์สามารถควบคุมทรัพยากรท้องถิ่นสูง แต่ในปัจจุบันอำนาจในการควบคุมทรัพยากรท้องถิ่นของ กลุ่มอุปถัมภ์ลดลง โดยมีอำนาจจากภายนอกทั้งอำนาจรัฐ และอำนาจทุนเข้ามามีอิทธิพลในการควบคุมทรัพยากรท้องถิ่น มากกว่า 6. ความแตกต่างระหว่างสมาชิกในกลุ่มอุปถัมภ์ ระบบ อุปถัมภ์แบบดั้งเดิมนั้น ความแตกต่างของระหว่างสมาชิก ภายในกลุ่มอุปถัมภ์นั้นมีน้อย แต่ในปัจจุบันสมาชิกในกลุ่ม อุปถัมภ์ค่อนข้างมีความแตกต่างกันมากขึ้น 7. ความสนิทสนมกลมเกลียว ระบบอุปถัมถ์แบบ ดั้งเดิมนั้นสมาชิกกลุ่มสมาชิกมีความผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น มาก แต่ในปัจจุบันความผกู พันดังกล่าวมีน้อย เราจะเห็นได้ว่าระบบอุปถัมภ์เป็นแนวคิดที่สามารถ อธิบายและทำนายกระบวนการเกิดกลุ่มทางสังคม และ พรรคการเมือง ในระบบการเมืองทุกระดับ อีกทั้งยังสามารถ ทำนายแนวโน้มโครงสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลที่รวมเป็น กลุ่มทางสังคม หรือจัดตั้งพรรคการเมืองนั้นว่าจะมีความ แน่นแฟ้นหรือมีทิศทางตรงกันข้ามคือ มีความสัมพันธ์ที่แย่ลง อันสืบเนื่องมาจากระดับความจำเป็นและความต้องการพึ่งพา 29

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุตรดิตถ์ กันนั่นเอง โดยเฉพาะในระบบการเมืองแบบตัวแทนที่ผู้ต้องการ เข้าสู่การเมือง และผู้ที่ทำหน้าที่เลือกตัวแทนหรือประชาชนที่มี ความหลากหลาย จำเป็นต้องพึ่งพาระหว่างกัน ระบบอุปถัมภ ์ จึงทำหน้าที่เชื่อมโยงบุคคลสองฝ่ายให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้ ได้มาซึ่งประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต้องการบรรลุ อย่างไรก็ตามดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าระบบอุปถัมภ ์ มีพัฒนาการในตัวของมันเอง ซึ่งรูปแบบของการพึ่งพาระหว่าง นักการเมืองกับประชาชนอาจเปลี่ยนแปลงโดยทั้งสองฝ่าย อาจไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กันโดยตรง อาจกระทำผ่านกลุ่ม “ตัวแทน” หรือ “agent” หรือ นักจัดการ การเลือกตั้ง โดยเฉพาะในบริบทสังคมไทยที่ความสัมพันธ์ทาง สังคมจักต้องเป็นความสัมพันธ์ที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้ที่ต้องการ สัมพันธ์ เช่น นักการเมือง สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่าง ชัดเจน ซึ่งก็คือ คะแนนการเลือกตั้งที่เป็นผลลัพธ์ของความ สัมพันธ์ทางสังคมเชิงอุปถัมภ์ ซึ่งผู้วิจัยเรียกว่า เป็นความ สัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน นอกจากนี้บริบททางเศรษฐกิจตลอดจน ทางสังคมที่เปลี่ยนผ่านก็ย่อมส่งผลต่อระบบอุปถัมภ์ได้ด้วย เช่นกัน ฉะนั้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสังคมในเชิง อุปถัมภ์ดังกล่าวมาแล้วนั้นจำเป็นที่ต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง การเปลี่ยนผ่านของบริบทอื่นร่วมด้วย หากนำระบบอุปถัมภ์มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทาง การเมือง เราจะยังคงเห็นรูปแบบของระบบอุปถัมภ์ที่เป็น รูปแบบหลักอยู่เพียง 2 รูปแบบ ตามความเห็นของ อนุช อาภาภิรม (2540, น. 12) ที่ได้อธิบายรูปแบบของระบบอุปถัมภ์ ทางการเมืองไว้ว่าปรากฏเด่นชัด 2 รูปแบบ คือ 30

การทบทวนวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 1. อุปถัมภ์ชาวบ้านผ่านตัวแทน ซึ่งจะใช้มากในการ หาเสียง หรือซื้อเสียงมักจะกระทำผ่านหัวคะแนน ซึ่งประกอบ ไปด้วยบุคคลหลายฐานะที่เด่นๆ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น 2. อุปถัมภ์โดยตรง เช่น ผู้สมัครรับเลือกตั้งอุปถัมภ ์ หัวคะแนนให้ทรัพย์สินเงินทองตำแหน่งผู้ช่วย ส.ส. เป็นต้น รูปแบบที่อนุช อธิบายให้เห็นนี้ถือว่าเป็นการยืนยันว่า แม้บริบททั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทยมีการ เปลย่ี นแปลงตามบรบิ ทสงั คมโลก แตร่ ะบบอปุ ถมั ภท์ างการเมอื ง ยังคงดำรงอยู่ใน 2 รูปแบบข้างต้น และในปัจจุบันก็ยิ่งปรากฏ ให้เห็นในรูปของหัวคะแนน ซึ่งจากสาระสำคัญของแนวคิด ระบบอุปถัมภ์ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจะนำมาเป็นฐานคิด ในการศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับแนวคิด ชนชั้นนำดังที่จะได้อธิบายลำดับต่อจากนี้ แนวคิดชนชั้นนำ (Elitism) แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นนำเริ่มแพร่หลายในปลายศตวรรษ ที่ 19 โดยแนวคิดดังกล่าวนี้มีฐานความคิดมาจากการจัดลำดับ ชั้นทางสังคม ที่เน้นอธิบายปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมว่าไม่มี ความเสมอภาค ฉะนั้น สังคมจึงมีความแตกต่างกันและมีการ จัดลำดับชั้นเกิดขึ้น อันสืบเนื่องจากสังคมมีการกระจายการ ครอบครองทรัพย์สิน ฐานะ ตำแหน่ง ฯลฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้แก่สมาชิกในสังคมไม่ เท่าเทียมกัน จึงก่อให้เกิดการแบ่ง ชนชั้นทางสังคม ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 31

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุตรดิตถ์ 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือ ชนชั้นปกครอง หรือชนชั้นนำ และ ชนชั้นผู้ถูกปกครอง ซึ่งก็คือประชาชนส่วนใหญ่ที่อาจมีความ แตกต่างในการครอบครองทรัพย์สิน ฐานะ และตำแหน่งใน ระดับที่ต่ำลงมาในสังคมนั้นๆ โดย ชนชั้นนำ (elite) มักเป็น เพียงกลุ่มขนาดเล็กที่อยู่ในตำแหน่งระดับสูงในโครงสร้างของ สังคม อันสืบเนื่องมาจากการครอบครองทรัพย์สินหรือปัจจัย การผลิตและมีอำนาจมากในสังคม สำหรับคนที่มีอำนาจน้อย อันมักเป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่ที่ไม่มีฐานะทางสังคมและทาง สังคม จึงเป็นผู้ที่ไม่มีบทบาทในการชี้นำสังคม ซึ่งถือว่าเป็น non-elite ดังนั้น ในการศึกษาเกี่ยวกับนักการเมืองถิ่นจังหวัด อุตรดิตถ์ในครั้งนี้ ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับผู้ที่เข้าสู่อำนาจ ทางการเมืองในฐานะนักการเมืองถิ่นนั้นมีฐานะทางสังคม ไม่ว่าจะมาจากฐานเศรษฐกิจ และฐานทางสังคม หรือฐานอื่นๆ ที่พบว่าโดยส่วนใหญ่นักการเมืองถิ่นอุตรดิตถ์เป็นผู้ที่ถูกเรียกว่า เป็น “ชนชั้นนำ” (elite) ในระดับจังหวัด ซึ่งแนวคิดชนชั้นนำนี้ ถูกนำไปเป็นแนวคิดพื้นฐานในการอธิบายอิทธิพลของชนชั้นนำ ที่มีต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม หากกล่าวถึงมโนทัศน์ (concept) ที่สำคัญเกี่ยวกับ “ชนชั้น” (class) นั้น ในงานของ Karl Marx ได้จำแนกชนชั้นใน สังคมออกเป็น 2 ชั้นใหญ่ๆ คือ ชนชั้นที่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น (exploiters) และชนชั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ (exploited) ซึ่ง นัยยะนี้ผู้วิจัยมิได้หมายถึงมโนทัศน์ “class” และ “elite” เป็น มโนทัศน์เดียวกัน แต่เป็นการอธิบายให้เห็นว่านักการเมือง ส่วนใหญ่มักเป็นชนชั้นที่ครอบครองปัจจัยการผลิต จึงนำไปสู่ การมีโอกาสทางสังคมกว่ามากชนชั้นอื่น ซึ่ง Marx เห็นว่าคนที่ 32

การทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง ถูกเอาเปรียบในสังคมสามารถมองเห็นการเอารัดเอาเปรียบ ในสังคมที่มีอยู่ และจะเป็นแรงผลักดันนำไปสู่การหาทาง เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น การเปลี่ยนถ่ายอำนาจจาก ชนชั้นหนึ่งไปสู่อีกชนชั้นหนึ่งจะเป็นตัวกำหนดกระบวนการ ต่างๆ ที่ทำให้สังคมมนุษย์ได้มีวิวัฒน์จากขั้นตอนหนึ่งไปสู่อีกขั้น ตอนหนึ่ง และ Marx ได้พัฒนา มโนทัศน์เรื่อง “ชนชั้น” ขึ้นมา เพิม่ เติม กลา่ วคือ “ชนชน้ั ” หมายถึง กระบวนการทางเศรษฐกิจ ของการผลิตและการแบ่งปันแรงงานส่วนเกิน หรือกล่าวอีก อย่างหนึ่งได้ว่า ชนชั้นเกิดจากชีวิตทางการผลิตทางเศรษฐกิจที่ เป็นจริงของสังคม (Calvert, 1982 อ้างใน กนกศักดิ์ แก้วเทพ, 2550, น. 17) และด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์ชนชั้นในสังคมใด สังคมหนึ่งอย่างเป็นรูปธรรมนั้นจำเป็นต้องพิจารณาในมิติเชิง เศรษฐศาสตร์ร่วมด้วย ทั้งนี้ในทัศนะของ Marx ชนชั้นเกิดจาก กระบวนการทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดชนชั้นโดยมีเงื่อนไข ทางเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง จากมโนทัศน์หรือแนวคิดของ Marx ข้างต้นเราจะเห็น ได้ว่าความสัมพันธ์ในการผลิตมีสองชนชั้นที่สัมพันธ์กัน คือ ชนชั้นนายทุน และชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่อยู่ใน โครงสร้างส่วนล่างในการขับเคลื่อนทุน คือ กรรมกร (worker) หรือที่ Marx เรียกว่า “พลังแรงงาน” (labour power) ฉะนั้น หาก นำแนวคิดของ Marx มาอธิบายปรากฏการณ์ของกระบวนการ ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อาจพิจารณาได้ว่า “ชนชั้นสูง” ที่อยู่ในโครงสร้างส่วนบนของระบบการเมือง ประกอบด้วยชนชั้นนายทุนที่เข้าสู่ระบบการเมืองโดยตรง ในบทบาทของนักการเมือง และโดยอ้อมในฐานะที่เป็นทุน 33


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook