Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 59นักการเมืองถิ่นสุโขทัย

59นักการเมืองถิ่นสุโขทัย

Published by Meng Krub, 2021-06-04 02:21:39

Description: เล่มที่59นักการเมืองถิ่นสุโขทัย

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย โดย ดาริน คงสจั ววิ ัฒน ์ ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ดารนิ คงสัจววิ ฒั น.์ นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั สโุ ขทยั - - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2561. 270 หน้า. 1. นักการเมือง - - สุโขทัย. 2. สุโขทัย - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหสั ส่งิ พิมพ์ของสถาบนั พระปกเกล้า สวพ.61-XX-600.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสอื 978-974-449-XXX-X ราคา พมิ พค์ รัง้ ที่ 1 2561 จำนวนพมิ พ ์ 500 เล่ม ลขิ สทิ ธ์ ิ สถาบันพระปกเกล้า ทีป่ รึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผแู้ ตง่ ดาริน คงสัจวิวัฒน์ ผ้พู มิ พผ์ ูโ้ ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพิมพ์โดย สถาบันพระปกเกล้า ศนู ย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พมิ พ์ท่ี บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225

นักการเมืองถิ่น จังหวัดสุโขทัย ดาริน คงสัจวิวัฒน์ สถาบันพระปกเกล้า

คำนำ งานวิจัยเรื่อง “นักการเมืองถิ่น จังหวัดสุโขทัย” เป็นการ ศึกษาประวัติและรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน บทบาทและการทำ หน้าที่ในฐานะนักการเมือง ลักษณะความสัมพันธ์ของเครือข่าย และเครือญาติทางการเมืองในระดับต่างๆ อันนำมาสู่ความ เปลี่ยนแปลงและความเข้าใจทางการเมืองของจังหวัดสุโขทัย ที่มีผลต่อการพัฒนาการเมืองทั้งในระดับจังหวัดและระดับ ประเทศ การศึกษาสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี ด้วยการสนับสนุนและ ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดีจากบุคคล หลายฝ่าย ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับสำนักวิจัย และพัฒนา สถาบันพระปกเกล้าที่ได้สนับสนุนทุนการดำเนิน งานวิจัย ขอขอบพระคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการ พิจารณางานวิจัยและคำแนะนำอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อ ให้งานมีความสมบูรณ์มากขึ้น รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน ของสำนักงานวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้าที่ได้

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย ให้คำแนะนำและสนับสนุนในการดำเนินเอกสารต่างๆ ขอขอบพระคุณอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิก วุฒิสภา และผู้ให้ข้อมูลระหว่างการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทุกท่าน โดยเฉพาะ นายไชยา บุญเกิด สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุโขทัย ในการประสานงานและให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ดาริน คงสัจววิ ัฒน์ ผู้วจิ ัย

กิตติกรรมประกาศ นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย คุณประโยชน์ซึ่งเกิดจากงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยขอมอบให้แด่ คุณพ่อสมศักดิ์ และคุณแม่ประนอม คงสัจวิวัฒน์ บิดามารดา ผู้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการศึกษาและการทำงานของ ผู้วิจัยเสมอมา ครูและคณาจารย์ ผู้ให้ความรู้และอบรมสั่งสอน อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดีด้วย ความทุ่มเทและตั้งใจจริงในการทำงานของนายวิศวะ สิทธิอิสระ ผู้ช่วยนักวิจัยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลทำให้งานวิจัย สามารถสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา รวมถึงบุคคล ที่ให้การสนับสนุนอื่นๆ อีกหลายท่านที่มิได้กล่าวนาม ผู้วิจัย ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้ ดารนิ คงสัจวิวัฒน ์ VI

บทคัดย่อ การศึกษานักการเมืองถิ่น จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติและรวบรวมข้อมูลของนักการเมือง ลักษณะ ของเครือข่ายและความสัมพันธ์ทั้งต่อกลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง รวมถึง เครือญาติทางการเมืองในระดับต่างๆ อันนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจังหวัด ผู้วิจัยได้ รวบรวมข้อมูลและประมวลเอกสารจากแหล่งต่างๆ ทั้งในส่วน เอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง การสัมภาษณ์นักการเมือง และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งมีความรู้ด้านการเมืองภายใน จังหวัด ผลการศึกษา พบว่า นักการเมืองถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2554 มีจำนวน ทั้งสิ้น 27 ราย และสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 7 ราย โดยสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร มาจากพรรคการเมืองต่างๆ ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย พรรค

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย ชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย และพรรคการเมืองอื่น ซึ่งผู้สมัคร ได้หมุนเวียนย้ายสังกัดพรรคการเมืองตามเหตุการณ์และ การต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ขณะนั้น ในระยะแรก นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจะมีการศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาและปริญญาตรี ในปัจจุบันมีนักการเมือง เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทเพิ่มมากขึ้น โดยพื้นฐานอาชีพ ของนักการเมืองในระยะแรกเริ่มมีความหลากหลาย อาทิ ข้าราชการประจำ แพทย์ ครูอาจารย์ ทนายความ นักธุรกิจ แต่ภายหลังจาก พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่ล้วนเคยมีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งข้าราชการ การเมืองส่วนท้องถิ่นหรือทำงานร่วมกับนักการเมืองมาแล้ว ทั้งสิ้น สำหรับเครือข่ายความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นต่อ กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง และเครือญาติ ปรากฏ รูปแบบความสัมพันธ์ทั้งในด้านการสนับสนุน และการแข่งขัน ทางการเมืองระหว่างกลุ่มเครือญาติ ด้านการสนับสนุนทาง การเมือง อาทิ เครือข่ายทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับกลุ่ม นักธุรกิจ เครือข่ายทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับกลุ่มข้าราชการ ส่วนจังหวัด รวมถึง เครือข่ายจากกลุ่มการเมืองระดับชาติ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์กับเครือญาติทั้งที่เกิดขึ้นจากคู่สมรส ของตนเองและการเกี่ยวดองทางตระกลู บทบาทการนำเสนอตนเองและกลยุทธ์การหาเสียง เลือกตั้งของนักการเมืองถิ่นภายใต้ช่วงยุคก่อนธุรกิจการเมือง VIII

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย จะเน้นปัจจัยยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่กับความเป็นเจ้าของถิ่น ที่ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน เนื่องด้วยความ คุ้นเคยของราษฎรในพื้นที่ซึ่งแบ่งแยกชัดเจนระหว่างสุโขทัย เขตเหนือ-เขตใต้และความมีชื่อเสียงของครอบครัวนักการเมือง ในพื้นที่นั้นอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ยุคธุรกิจ การเมือง นักการเมืองจำป็นต้องอาศัยกลวิธีหาเสียงเพิ่มเติม มากขึ้นจากการปรากฏในลักษณะทั่วไป เช่น การพบปะกับ ประชาชน การใช้รถขยายเสียงนำเสนอนโยบาย การปราศรัย ในเวทีกลางหรือในเวทีพรรคการเมือง การสร้างหัวคะแนน เพื่อจัดหาคะแนนเสียงในเขตพื้นที่เลือกตั้ง ในปัจจุบันพบว่า นักการเมืองได้มีการลงพื้นที่เพื่อพบกับประชาชน เปิดโอกาส และเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างนักการเมืองกับประชาชน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับประชาชนใกล้ชิด กันมากขี้น การกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งโดยการ ซอ้ื เสยี ง กระทำไดย้ ากมากกวา่ ในอดตี เนอ่ื งจากมคี ณะกรรมการ การเลือกตั้งเข้ามากำกับดูแลเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วย ความสุจริต การสังกัดพรรคการเมืองยังไม่มีผลต่อการเลือกตั้ง มากนัก เนื่องจากนักการเมืองหลายท่านมีการย้ายสังกัด พรรคการเมืองจำนวนหลายครั้ง แต่ประชาชนในจังหวัดก็ยัง ให้การสนับสนุนและเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก หลายสมัย แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับ พรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล ดังนั้น ปัจจัยที่จะส่งผลให้ นักการเมืองประสบความสำเร็จในทางการเมืองได้ จำเป็นต้องมี คุณลักษณะเฉพาะตัวที่โด่ดเด่น มีความสามารถในการแก้ไข IX

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย ปัญหาของประชาชน รวมถึงบารมีในการสร้างอิทธิพลและสร้าง ผลงานให้ประชาชนในพื้นที่ได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการ สั่งสมประสบการณ์ทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง นักการเมือง จำเป็นต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแนวคิดวิธีการทำงาน มาเป็นการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทั้งในระดับจังหวัด และประเทศให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

Abstract The study of Sukhothai Politicians aims to gather and describe factual backgrounds of local politicians in political networking and their relationships among interest groups, political parties, and political clans of different social classes that lead to political changes in the province. Qualitative research from primary and secondary literature reviews and interactive interviews with local politicians and key political informants in Sukhothai province shows that from 1933 to 2011 there were twenty-seven elected Members of Parliament and seven elected Senators. The political party of each successful political candidate included the Democrat Party, the Social Action Party, the Chart Thai Party, the Chart Pattana Party, the Thai Rak Thai Party and others. Successful candidates changed parties frequently to negotiate political interests at election times.

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย Initially, elected politicians had high school diplomas or bachelor degrees. Now, a large number of politicians hold master degrees. Before 1957, elected politicians came from many walks of life, e.g., doctors, teachers, lawyers and businessmen. Since then, they have all previously served in government entities, local politics or political collaborations. Relationships among political interest groups, political parties and political clans direct political support and competitions among clans, e.g., business politics and high- ranking bureaucrats at both the provincial and national levels. Apart from business-political relationships, political marriage and political competitions among family members have profoundly influenced politics. Politicians have introduced political marriages to bolster their political strongholds. Prior to the business politics era, in order to secure a winning number of votes from the electorate, political candidates strategically immersed themselves in geopolitics and community membership because eligible voters in Sukhothai province were well acquainted with local politics from northern Sukhothai as well as the southern areas and these voters also cared about the reputation of the family of political candidates. During the business politics era, each political candidate actively introduced aggressive political marketing to cultivate full support from local people, e.g., XII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย constituent meetings, mobile-audio political campaign trails, and speeches to the general public, and appointed political campaigners in their constituencies. Currently, political candidates frequently visit communities and open up new communication channels. In doing so, the relationship between them and local people has become increasingly stronger. Reportedly, political elections are fairer than before while rigged elections are fewer because of active Election Commissioners. Becoming a political party member has not significantly influenced political elections simply because of frequent party membership changes. Despite such frequent changes, the successful political candidate still attracts a winning number of votes from people. This situation indicates that people favor an individual candidate over political parties. Evidently, factors influencing political careers include consummate problem- solving skills for constituents, extension of political influence, and devotion to their constituencies. Politicians need to be socio-politically adaptive and change their work attitudes to include active collaborations in order to achieve development goals at both the provincial and national levels. XIII

สารบัญ หนา้ คำนำ IV บทคดั ยอ่ VII Abstract XI บทท่ี 1 บทนำ 1 หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ 1 กรอบของการวิจัย 3 วิธีดำเนินการ 4 แผนการดำเนินงานวิจัย 6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 7 8 บทท่ี 2 แนวคิด เอกสารและงานวิจยั ทเ่ี กย่ี วข้อง 9 แนวคิดว่าด้วยคุณสมบัติและบทบาทการเป็นผู้นำ 10 แนวคิดว่าด้วยกลุ่มผลประโยชน์กับกระบวนการทางการเมือง 12 แนวคิดสถาบันนิยมกับการเลือกตั้ง 14 แนวคิดระบบอุปถัมภ์และความสัมพันธ์ทางเครือญาติ 15 แนวคิดว่าด้วยภมู ิศาสตร์การเมืองกับการจัดแบ่งเขต 17 พื้นที่เลือกตั้ง

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย หนา้ แนวคิดว่าด้วยรปู แบบและพฤติกรรมการหาเสียงเลือกตั้ง 18 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 19 บทท่ี 3 การเลอื กตงั้ กับความเปลยี่ นแปลงอำนาจการเมอื งไทย 31 กฎหมายรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย และ 32 พระราชบัญญัติพรรคการเมือง หลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พุทธศักราช 2475-2499 กฎหมายรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย และ 34 พระราชบัญญัติพรรคการเมืองยุคหลังประชาธิปไตยครึ่งใบ พุทธศักราช 2500-2516 กฎหมายรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย และ 36 พระราชบัญญัติพรรคการเมืองยุคหลังประชาธิปไตยครึ่งใบ พุทธศักราช 2517-ปัจจุบัน บทท่ี 4 นักการเมืองถ่ิน จังหวัดสุโขทัย 52 ข้อมลู ภาพรวมของนักการเมืองถิ่นสุโขทัย 53 นักการเมืองถิ่นสุโขทัย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 63 (พุทธศักราช 2475-2499) 64 นายไสว อินทรประชา 67 นายทิม อติเปรมานนท์ 71 ขุนระดับคดี (นายปัญญา รมยานนท์) 74 หลวงนรัตถรักษา (นายชื่น วิจิตรเนตร) 77 นายเพ่ง ลิมปะพันธุ์ 81 นายธวัช ทานสัมฤทธิ์ 83 นักการเมืองถิ่นสุโขทัย ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ 84 (พุทธศักราช 2500-2516) 89 นายบุญธรรม ชุมดวง 92 นายสุข แสนโกศิก นายทัศนัย แสนโกศิก XV

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย หน้า นักการเมืองถิ่นสุโขทัย ยุคหลังประชาธิปไตยครึ่งใบ 97 ถึงปัจจุบัน นายไพฑูรย์ โมกขมรรคกุล 98 นายธวัช สุรินทร์คำ 100 ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ 103 นายอารยะ ชุมดวง 107 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน 110 นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ 117 นายประทวน เขียวฤทธิ์ 121 นายกุศลหมีเทศริ์ ศรีอารยวงศา 125 นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน 130 นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ 133 นายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล 137 นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ 141 นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกุล 145 นายมนู พุกประเสริฐ 149 สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในจังหวัดสุโขทัย 152 นายจำเจน จิตรธร 153 พลเอกพนม จีนะวิจารณะ 157 นายปิยะชนก ลิมประพันธุ์ 160 นางพยุง จิตรธร 164 นายอารยะ ชุมดวง 166 นางสุอำภา คชไกร 167 นางบุญพา ลิมปะพันธุ์ 170 บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล 174 สรุปและอภิปรายผล 175 ปัจจัยภายนอกกับนักการเมืองถิ่นสุโขทัย 175 XVI

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย หน้า ปัจจัยภายในกับนักการเมืองถิ่นสุโขทัย 181 ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัย 196 บรรณานกุ รม 198 ภาคผนวก 221 ประวัติผู้วจิ ัย 248 XVII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 แผนการดำเนินงานวิจัยนักการเมืองถิ่นสุโขทัย 7 ตารางที่ 2 จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมือง 42 ในจังหวัดสุโขทัยที่ได้รับการเลือกตั้งระหว่าง พ.ศ. 2518-2539 50 ตารางที่ 3 จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมือง ในจังหวัดสุโขทัยที่ได้รับการเลือกตั้งระหว่าง 56 พ.ศ. 2544-2554 152 ตารางที่ 4 ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 189 จังหวัดสุโขทัย 230 ตารางที่ 5 ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุโขทัย 244 ตารางที่ 6 ความสัมพันธ์ของตระกลู ครอบครัวกับการขึ้นสู่ ตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติ ตารางที่ 7 ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย ตารางที่ 8 ข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง จังหวัดสุโขทัย XVIII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย สารบัญภาพ หนา้ ภาพที่ 1 กรอบการศึกษานักการเมืองถิ่นสุโขทัย 4 ภาพที่ 2 สำนักงานพรรคไทเป็นไท อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 128 ภาพที่ 3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 144 ลงพื้นที่ตำบลบ้านสวน จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2554 ภาพที่ 4 ป้ายขอบคุณ ส.ส. จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูลและภรรยา 147 ในการสนับสนุนงานวัดท่าเกษม ส.ส. จักรวาล ชัยวิรัตน์นุกลู ผู้จัดการทีมสุโขทัยเอฟซี และภรรยา ภาพที่ 5 การหาเสียงของมนู พุกประเสริฐ ร่วมกับ 151 สมาชิกพรรคภูมิใจไทย ภาพที่ 6 นายจำเจน – นางพยุง จิตรธร ที่บ้านอำเภอศรีสัชนาลัย 156 จังหวัดสุโขทัย ภาพที่ 7 นายปิยะชนก ลิมปะพันธุ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 162 ภาพที่ 8 แผนผังความสัมพันธ์ของผู้สมัครทางการเมืองของ 187 ตระกูลลิมปะพันธุ์ XIX



บ1ทท ่ี บทนำ 1. หลักการและเหตุผล นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยมีการประกาศใช้ธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มีการ แต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ให้ดำรงตำแหน่งประธาน กรรมการราษฎร แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีและ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว จำนวน 70 คน ภายหลังจากที่ได้มีประกาศใช้รัฐธรรมนูญถาวร ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้มีเหตุการณ์สำคัญๆ ในการเมืองไทยเกิดขึ้น หลายประการ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การเลือกตั้งครั้งแรกด้วย วิธีอ้อม โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้รับเลือกทั้งหมด 78 คน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประชาชนคนไทยได้เรียนรู้ระบบการเลือกผู้แทน

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย ในรัฐสภา โดยผ่านการเลือกตั้งทั้งทางตรงและทางอ้อมจำนวน หลายครั้ง ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 26 ครั้ง มีการ เลือกตั้งสมาชิกพฤฒิสภาทางอ้อม 1 ครั้ง ใน พ.ศ. 2489 และ เริ่มมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยตรงครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543 เห็นได้ว่าสมาชิกรัฐสภามีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างยิ่ง ในระบบรัฐสภา ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะในระดับชาติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระดับท้องถิ่นที่สมาชิกรัฐสภาได้รับการเลือกตั้ง และ/หรือแต่งตั้งเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ในพื้นที่ในการกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ประเทศและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ อย่างยิ่ง สำหรับการศึกษา “นักการเมืองถิ่น” เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในพัฒนาการและบทบาทของนักการเมืองเหล่านี้ สามารถที่จะอธิบายหรือวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน การเมืองของไทยได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มีประชากรประมาณ 602,713 คน (กรมการปกครอง, 2556) มีประวัติศาสตร์ของการพัฒนาทางการเมืองการปกครอง ที่ยาวนาน ในปัจจุบันจังหวัดสุโขทัยมีนักการเมืองซึ่งเป็นที่รู้จัก ในระดับประเทศและได้รับให้ดำรงตำแหน่งสำคัญระดับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ในหลายๆ กระทรวงและรัฐบาล ที่ผ่านมา อาทิ ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นต้น ในกรณีของตระกูล “ลิมปะพันธุ์” ถือได้ว่า

บทนำ เป็นตระกูลของนักการเมืองอย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่สมัย “ขุนเพ่งจีนานุเคราะห์” (นายเพ่ง ลิมปะพันธุ์) อดีตนายก- เทศมนตรีเทศบาลเมืองสวรรคโลก จนมาถึงบุตรหลานใน ปัจจุบันที่ได้เข้าสู่ “วงการเมือง” ในทุกระดับของการเลือกตั้ง ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่น เป็นระยะเวลายาวนาน มากกว่า 70 ปี ดังนั้น การศึกษาประวัติการเลือกตั้งของ นักการเมืองถิ่นในแต่ละยุคสมัย รวมถึงการขยายฐานความ สัมพันธ์ของบุคคลในระบบเครือญาติไปสู่ตำแหน่งนักการเมือง ในระดับท้องถิ่นต่างๆ ทำให้เกิดคำถามหรือความน่าสนใจว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อนักการเมืองถิ่นในการทำงานและพัฒนา ท้องถิ่นในแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป 2. วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประวัติและรวบรวมข้อมูลของนักการเมือง (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา) ที่เคยได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดสุโขทัย 2. ศึกษาถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง ในจังหวัดจังหวัดสุโขทัย 3. ศกึ ษาบทบาทและความสมั พนั ธข์ องกลมุ่ ผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด สุโขทัย 4. ศึกษาบทบาทของนักการเมืองในที่ส่งผลต่อการ พัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสุโขทัย

2 ท้องถน่ินักตกา่ งาๆรเมทือาใงหถ้เกิ่นิดจคังาหถวาัดมสหุโรขือทควัยา มนา่ สนใจวา่ ปัจจยั ใดบ้างที่มีผลตอ่ นกั การเมืองถิ่นในการทางาน และพฒั นาท้องถ่ินในแตล่ ะยคุ สมยั ท่ีเปลี่ยนแปลงไป ๒. วัต3ถ.ุประกสงรค์อบของการวิจัย ทั่ว๒ว๑ฒุ..ไศศสิ ปกึกึภษษาคาา)ศปถทรงึรกึี่เคเะั้งคษวยรตแัไือดแิาขร้รลา่นับะกยกรกัแวาจลบรกะเรนลควาือวมถรกาขตมเ้อึงมงัสม้ ใมกัลูนอื พขจางอนังั หงถธรน์ขวนเ่ิกัดอั ลกงสขนาโุ ืขอรกัอเทกมกงยัาือรจงตเมงั(สือั้งหมงใสาวนชจดัมกิ งัสหสาภวโุาดัชผขจ้แูิงกัททหนสวยั รดั าภสษตโุ ขฎาง้ัทรผแแยั ลตู้แะสก่ ทมาานชรกิ เรลาอื ษกฎตง้รั พ.๓ศ. .ศกึ 2ษ5าบ5ท4บาแทแลละะคสวามมสามั ชพนัิกธว์ขอุฒงกลิสมุ่ ภผลาประพโย.ชศน์แ.ล2ะก5ล5มุ่ ท7ี่ไมโเ่ ปด็นยทาใงหกา้คร เวชน่าคมรอสบำครคัว ัญ กซึ่งับว๔ปง.ศปศารกึ คะรษณากะาบญอทวบาบัตตาทิ ฯดิขแลอ้วฯงลทนยี่มกัะสกีสบาว่ มรนเใทมานือกชบงาใิกรนาสทวน่ีสทบัุฒง่ สผกนลิสตนุาอ่ทภกราางาทกรพาแำรฒั เลมนงือะาางทแส้อนกงม่นถขกัิ่นากใอานชรจงเิกงมั หนือสวงดัใัภกนสจโุากขงั ทหผายัวู้ดแั รสทโุเขมนทยั รือางษถฎิ่นร ส๓ม. ากชรกแิกอสลรบศภอขกะึ าอษบผปง้าแู กกนทัจากันารกจรวาราิจษัรยศัยเฎมทึกรืองพี่ษสถ.ศิ่น่งา.ข๒ผอตง๕ลาจ๕งั มต๔หวแแ่อดั ลสผะนโุ สขนัมกทาภยั กชกิาาวพฒุรทสิเมภี่ตา1ืองั้พแ.งตดศก่.ถังา๒ริ่นน๕เล๕ี้ ใือ๗กนตโดจงั้ ทยังวใั่ หไหป้คคววราังมั้ดแสรสากคจุโญันขถกึงบัทกปาัยรระเลวโตือั ดกแิ ลตยะงั้ มี บปัจทจบยัาภทท่ีสกาง่าพผรทลทตางอ่ าี่นน1กั ขกอากงรนเรมกั ือกองาถรบเิ่นมใกือนงจถางั ่ินหรซวศง่ึดั ปสึกรโุ ะขกษทอยั บาโดด้วยนยมสีกักมราอกชบกิากวารฒุ รศเสิ กึมภษาอืาแตลงาะมสถแมผ่นิานชิกภสสาุโภพขาทผ่ี ๑้ทแู ทดยันงั รน าี ้ษฎร และ ปัจจัยภายนอกกับนักการเมืองถ่นิ นักการเมืองถ่ิน จังหวัดสุโขทัย - กลมุ่ มผลประโยชน์และพรรคการเมอื ง - การจดั แบง่ เขตพนื ้ ทเ่ี ลอื กตงั้ - พนื ้ ฐานการดาเนินงาน - กฎหมายวา่ ด้วยพรรคการเมอื ง ในพนื ้ ทกี่ อ่ นลงสมคั ร - องค์กรและสถาบนั การเมอื งท่ที าหน้าท่ีจดั ระเบยี บการเลอื กตงั้ รับเลอื กตงั้ - บทบาทระหวา่ ง ปัจจัยภายในกับนักการเมืองถ่นิ ดารงตาแหนง่ ทางการเมือง - คณุ สมบตั แิ ละภาวะผ้นู าท่ีมีอิทธิพลตอ่ การสบื ทอดตาแหนง่ ทางการเมือง - ระบบอปุ ถมั ภ์ การสร้างเครือขา่ ยทางการเมอื ง และ ความสมั พนั ธ์ทางเครือญาติ - รูปแบบและพฤตกิ รรมการหาเสยี งเลอื กตงั้ ของผ้สู มคั ร จากกภาาพรทท่ี ๑บกทรอวบนกาวรศรกึ รษณา นกักกรารรเมมือแงถล่ินะสุโงขาทัยนวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต่างๆ ผู้วิจัยสามารถสร้างกรอบการศึกษา คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ นักการเมืองถิ่นในจังหวัดสุโขทัย แบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายในของนักการเมือง ประกอบด้วย คุณสมบัติ บทบาท และภาวะผู้นำ ระบบอุปถัมภ์ การสร้างเครือข่ายทางการเมือง และความสัมพันธ์ทางเครือญาติ รูปแบบและพฤติกรรมการหา

บทนำ เสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบ โดยตรงต่อนักการเมืองถิ่น และปัจจัยภายนอกหรือปัจจัย แวดล้อม ประกอบด้วย กลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง การจัดแบ่งเขตพื้นที่เลือกตั้ง กฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง และองค์กรและสถาบันการเมืองที่ทำหน้าที่จัดระเบียบ การเลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดจะเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบ ทางอ้อมต่อนักการเมืองถิ่นและการทำงานในแต่ละพื้นที่ เช่นเดียวกัน โครงสร้างของงานวิจัยประกอบด้วย 5 บท ดังนี้ บทที่ 1 บทนำ: นักการเมืองถ่ิน จังหวัดสุโขทัย กล่าวถึงหลักการและเหตุผลของการศึกษา วัตถุประสงค์ กรอบการศึกษา แผนการดำเนินงาน ฯลฯ เพื่อแสดงภาพรวม ของการศึกษา บทท่ี 2 แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การค้นคว้าและทบทวนเอกสารทางวิชาการเพื่อทำให้เข้าใจ การศึกษามากยิ่งขึ้น สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการและบริบทของพื้นที่ศึกษา บทที่ 3 การเลือกต้ังกับความเปล่ียนแปลงอำนาจ การเมืองไทย เป็นการนำเสนอความเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองในบริบทและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติพรรคการเมืองที่ส่งผลทำให้ เกดิ ความเปลย่ี นแปลงอำนาจการเมอื งไทย โดยผา่ นการเลอื กตง้ั และสิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย บทท่ี 4 นักการเมืองถ่ิน จังหวัดสุโขทัย เนื้อหาใน บทนี้จะแสดงข้อมูลของนักการเมืองถิ่นที่ได้จากการรวบรวม เอกสารและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เป็นข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ และข้อมูลจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล ในส่วนสุดท้ายนี้มุ่ง นำเสนอบทสรุปนักการเมืองถิ่นโดยประมวลจากการวิเคราะห์ ข้อมูลบนฐานของกรอบการศึกษาวิจัย แนวคิดและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการวิจัย นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัยและพื้นที่อื่นๆ ต่อไป 4. วิธีดำเนินการ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา ได้แก่ 1. ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ การศึกษาจากเอกสารที่ เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปแบบเอกสารชั้นต้น เช่น เอกสาร รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร/วุฒิสภา ข่าวหนังสือพิมพ์ กฤตภาคข่าว หนังสือที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพ คำสั่ง ประกาศต่างๆ และเอกสารชั้นรอง เช่น ตำราและบทความ วิชาการ วิทยานิพนธ์ รวมถึง ข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งสืบค้น ต่างๆ 2. ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ การสัมภาษณ์นักการเมือง และบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึงนักการเมืองได้ เช่น ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด และประชาชน เป็นต้น

บทนำ 5. แผนการดำเนินงานวิจัย ศึกษาค้นคว้าจากงานเอกสารต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนของ วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลพื้นฐานของ จังหวัดสุโขทัย โดยทำการค้นคว้าข้อมูลจากหอจดหมายเหตุ รวมถึงการลงพื้นที่สัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในการวิจัย ระยะเวลาการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามเริ่มตั้ง แต่เดือนกันยายน 2558 เป็นต้นไป บุคคลที่ได้ติดต่อเพื่อขอ สัมภาษณ์เก็บข้อมูล ประกอบด้วย อดีตสมาชิกวุฒิสภา นายจำเจน จิตรธร นางพยุงจิตรธร นายปิยะชนก ลิมปะพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกุล เป็นต้น แผนการดำเนินงานวิจัยกำหนดไว้ตามตารางที่ 1 ดังนี้ ตารางท่ี 1 แผนการดำเนินงานวจิ ยั นกั การเมอื งถ่นิ สโุ ขทยั แผนการดำเนินงาน ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. 1. การลงพื้นที่สัมภาษณ์ P P P นักการเมืองถิ่น 2. การสืบค้นเอกสารเพิ่มเติม P ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองถิ่น จากแหล่งข้อมูลต่างๆ 3. การสรุปข้อมลู ที่ได้รับจาก P P P P การสัมภาษณ์ 4. การวิเคราะห์ข้อมลู P P P P 5. การเขียนสรุปและ P P อภิปรายผล 6. การทบทวนและส่งรายงาน P ฉบับสมบูรณ์

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต ่ มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 2. ไดท้ ราบประวตั ศิ าสตรน์ กั การเมอื งทไ่ี ดร้ บั การเลอื กตง้ั ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน และสาเหตุและปัจจัยที่ สนับสนุนให้นักการเมืองเหล่านี้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง 3. ได้ทราบถึงความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มี ต่อการเมืองในจังหวัดสุโขทัย 4. ได้ทราบถึงความสำคัญของพรรคการเมืองในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในจังหวัด สุโขทัย 5. รับรู้บทบาทของนักการเมืองที่ส่งผลต่อการพัฒนา เปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นในจังหวัดสุโขทัย 6. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป

บ2ทท ่ี แนวคิด เอกสาร และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้สำรวจงานการศึกษาจากข้อมูลเชิงเอกสาร ตา่ งๆ อาทิ บทความวารสาร ตำราวชิ าการ วทิ ยานพิ นธ์ รวมถงึ การสืบค้นหลักฐานจากเอกสารอื่นๆ โดยผลการสำรวจแหล่ง เอกสารเหลา่ น้ี ผวู้ จิ ยั รวบรวมประเดน็ ในการศกึ ษานกั การเมอื งถน่ิ ไว้ในแต่ละส่วน ดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดว่าด้วยคุณสมบัติและบทบาทการเป็นผู้นำ 2.2 แนวคิดว่าด้วยกลุ่มผลประโยชน์กับกระบวนการ ทางการเมือง 2.3 แนวคิดสถาบันนิยมกับการเลือกตั้ง

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย 2.4 แนวคดิ ระบบอปุ ถมั ภแ์ ละความสมั พนั ธท์ างเครอื ญาต ิ 2.5 แนวคิดว่าด้วยภูมิศาสตร์การเมืองกับการจัดแบ่งเขต พื้นที่เลือกตั้ง 2.6 แนวคิดว่าด้วยรูปแบบและพฤติกรรมการหาเสียง เลือกตั้ง 2.7 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดว่าด้วยคุณสมบัติและบทบาทการเป็น ผู้นำ คุณสมบัติของผู้นำ จะปรากฎขึ้นภายใต้การแสดง พฤติกรรมในการผลักดันให้บุคคลอื่นกระทำต่างๆ เพื่อบรรล ุ เปา้ หมายตามทต่ี นตอ้ งการ ไมว่ า่ ตนเองนน้ั จะมสี ถานะทางสงั คม ที่สูงกว่าบุคคลอื่นหรือไม่ (Dubrin, 2012, p. 2, สงวน นิตยารัมภ์- พงศ์ และ สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ, 2540, น. 18-19) อีกทั้งบุคคล ที่เป็นผู้นำต้องสามารถที่จะรู้ว่าผู้ตามต้องการอย่างไร เมื่อไหร่ ที่ผู้ตามต้องการ และสิ่งใดที่จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อความ ต้องการของพวกเขา (Bass, 1981, p. 111) ซึ่งบุคคลที่สามารถ โน้มน้าวและใช้อิทธิพลเพื่อกระตุ้นบุคคลอื่นได้นั้น ย่อมมาจาก การที่บุคคลนั้นมีอำนาจมาจากหลายปัจจัย อาทิ ทรัพยากร สถานภาพครอบครวั บคุ ลกิ ภาพ ทกั ษะความสามารถ สตปิ ญั ญา รวมถึง ความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย (Plano และ คณะ 1973, p. 134, Zenger and Folkman, 2545, น. 53-55, รังสรรค์ ประเสริฐศรี, 2544, น. 35-40, ณรงค์ สินสวัสดิ์, 2537, น. 112-130) ภายใต้การพิจารณาบทบาทของผู้นำ นอกเหนือ 10

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากกระบวนการของการใช้อิทธิพลและการให้ความสำคัญกับ ความสำเร็จของเป้าหมายแล้ว สิ่งที่จะต้องปรากฏให้เห็นใน บทบาทของผู้นำ นั่นคือ ความชอบธรรมของการใช้อิทธิพล ทั้งนี้ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ตามยินยอมให้ผู้นำใช้อิทธิพล ต่อเขา ไม่ใช้อำนาจของตนเองขู่เข็ญ หรือบีบบังคับให้ผู้อื่นทำ ตาม อันจะเป็นส่วนสำคัญของการสร้างภาวะผู้นำให้มีความ ต่อเนื่องและยืนยาวนานแม้ผู้นำจะไม่ได้ดำรงหน้าที่และบทบาท ดังกล่าวแล้วก็ตาม (เศาวนิต เศาณานนท์, 2541, น. 4-5) ผู้นำจะต้องคำนึงในบทบาทของตนเองในฐานะการเป็น ศูนย์กลางของกลุ่มเพื่อประสานความร่วมมือ เป็นผู้กำหนด จุดมุ่งหมายและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะต้องรักษาบทบาทของ ตนเองโดยการใช้ความคิดริเริ่มในการทำงาน รวมถึง ศิลปะ การทำงานเพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Stogdill and Coons, 1974) นอกจากนี้ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่ถือเป็นบทบาทและ หน้าที่ของผู้นำที่ควรยึดถือไว้ เช่น การค้นหาโอกาสเพื่อการ เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตนเอง ยอมรับความเสี่ยงและเรียนรู้ ข้อผิดพลาดจากผู้อื่น ส่งเสริมขีดความสามารถและศักยภาพ ของลูกน้องให้ได้รับโอกาสในการทำงาน ยอมรับและให้ความ สำคัญกับการมีส่วนร่วมของลูกน้องในความสำเร็จของงาน (Kouzes and Posner, 1995) บทบาทของผู้นำต่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชุมชนและสังคมนั้น อาจปรากฏหน้าที ่ ที่สำคัญและเกี่ยวข้องด้วย อาทิ การระงับข้อพิพาทระหว่าง บุคคลที่เป็นความขัดแย้งจากผลประโยชน์ หรือความคิดเห็น แตกต่างกัน การคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัย การรักษาความ สงบเรียบร้อย ส่งเสริมความมั่นคงและสวัสดิการสังคม รวมถึง 11

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (สุพัตรา สุภาพ, 2534, น. 74) 2.2 แนวคิดว่าด้วยกลุ่มผลประโยชน์กับ กระบวนการทางการเมือง ลักษณะของกลุ่มผลประโยชน์โดยทั่วไปนั้น เป็นกลุ่มที่ เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของบุคคลต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ผลักดันผลประโยชน์ของตนเอง รวมถึงการใช้ตนเองเป็น เครื่องมือเพื่อดำเนินการทางการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายรัฐซึ่งสนองกับผลประโยชน์ของตนเอง (แสวง รัตนมงคลมาศ, 2532, น. 213, มนตรี เจนวิทย์การ, 2538, น. 1) ขณะเดียวกัน กลุ่มในลักษณะดังกล่าวมิได้มุ่งเข้ามาครอง อำนาจแทนกลุ่มเดิม หากแต่ส่งเสริมอิทธิพลทางอำนาจให้กับ กลุ่มอำนาจหลักที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกัน (Maurice, 1972, p. 102) กระบวนการทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายหลัก คือ มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการร่วมมือและ ประสานผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่ม ผ่านช่องทางของ การช่วยเหลือในลักษณะการล็อบบี้ (Lobby) เพื่อผลประโยชน์ ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการล็อบบี้โดยตรงโดยอาศัยความ สัมพันธ์ส่วนบุคคลต่อผู้มีอำนาจทางการเมือง ข้าราชการ รวมไปถึง ผู้บังคับใช้กฎหมายให้ดำเนินการตามความประสงค์ ของกลุ่มผลประโยชน์นั้น และการล็อบบี้ทางอ้อม โดยมุ่งเน้นไป ที่การสร้างมวลชนสนับสนุน หรือ การระดมหาพันธมิตรซึ่งไม่ได้ มีบทบาทหน้าที่ทางการเมืองโดยตรง เช่น สื่อมวลชน 12

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง กลุ่มสมาคมธุรกิจต่างๆ สร้างพลังในการต่อรองเพื่อให้กลุ่ม ผลประโยชน์ได้รับผลประโยชน์ร่วมจากการสนับสนุนของ ประชาชนด้วย (จุมพล หนิมพานิช, 2546, น. 17-32, รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ 2546, น. 124) ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งทั้งการช่วยเสริมความเข้มแข็งของกลุ่ม สนับสนุนแหล่ง ทรัพยากรในการดำเนินการ สร้างความเชื่อมั่นทั้งต่อชนชั้นนำ ทางการเมืองและชนชั้นรากหญ้า รวมถึง ช่วยลดและแก้ไข ปัญหาอันซับซ้อน โดยการเชื่อมโยงการสร้างความรู้สึกร่วม ความไว้วางใจ และการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อ ขับเคลื่อนเป้าหมายทางการเมืองร่วมกันได้ในที่สุด (Strolovitch, 2010, p. 203) สิ่งที่ถือเป็นตัวชี้วัดความสําเร็จของกลุ่มผลประโยชน์ ภายใต้การดำเนินการหรือกิจกรรมของกลุ่ม มีหลักเกณฑ์หลาย ประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิด บรรยากาศที่ดีสำหรับการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม ซึ่งมีผล สืบเนื่องมาจากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือระบบ การเมืองที่เปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วม ความสามารถในการระดม กลุ่มภายใต้เงื่อนไขด้านทรัพยากร ความเป็นอิสระของกลุ่ม ซึ่งไม่ถูกแทรกแซงโดยผู้มีอิทธิพล หรือ กลุ่มบุคคลผู้มีอำนาจ เป็นต้น (Almond and Powell, 1976, p. 80-81, พฤทธิสาณ ชุมพล, 2531, น. 125-130) และนอกจากนี้อาจพิจารณาในเชิง แรงจูงใจของกลุ่มผลประโยชน์ในด้านวัตถุ การรักษาสถานะ ของกลุ่ม และความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันว่า สามารถสนองต่อความต้องการสมาชิกได้มากน้อยเพียงใด (Wilson, 1995, p. 40) 13

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย 2.3 แนวคิดสถาบันนิยมกับการเลือกต้ัง ความเป็นสถาบันนิยมกับความเปลี่ยนแปลงต่อ การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับ ท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่การเลือกตั้งเป็นกลไก สำหรับจัดการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อให้การเมือง เข้าสู่สภาวะปกติและมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้นำประเทศมาจากอำนาจของฝ่ายทหารเสื่อมอำนาจ ลง ย่อมมีผลทำให้การเลือกตั้งมีความสำคัญมากสำหรับ กระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้หากการเลือกตั้งจัดอยู่ในสภาวะปกติ ก็อาจจะเป็นโอกาสสำหรับเข้ามาทำงานต่ออีกวาระหนึ่ง (Maisrigrod and McCargo, 1997, p. 132-133) ขณะเดียวกัน ความเป็นสถาบันนิยมยังมีผลในระดับ ท้องถิ่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสถาบันการเมืองกับ แนวคิดในระบบการเมืองท้องถิ่น ซึ่งพบว่ามีปัจจัยหลักอยู่ 2 ด้าน โดยในด้านที่การเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็ง บทบาทของ สภาและพรรคการเมืองในพื้นที่จะมีบทบาทน้อยลง ขณะที่หาก การเมืองภาคพลเมืองในพื้นที่ยังไม่เข้มแข็งพอ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีผู้แทนระบบพรรคการเมืองหรือสภาบริหารเข้ามา ทำหน้าที่เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน (Denters and Klok, 2013, p. 661-680) ขณะเดียวกัน อิทธิพลของความ เป็นสถาบันทางการเมืองกับการเลือกตั้ง ล้วนมีพื้นที่การเมือง ซึ่งเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ การเมืองบนพื้นที่ทางการและ การเมืองบนพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการ (เช่น กลุ่มสมาคม กลุ่ม การเมืองระดับชาติ) ซึ่งในบริบทปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองกรณี 14

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง การเลือกตั้ง อาจปรากฏได้ในสี่ลักษณะ คือ ลักษณะเสริมกัน (Complementary), ลักษณะอาศัยพึ่งพิง (Accommodating), ลักษณะแข่งขัน (Competing) และลักษณะการเป็นตัวแทน (Substitutive) (Helmke and Levitsky, 2006) นอกจากนี้แล้ว ระบบสถาบันการเมืองระดับท้องถิ่น อาจจะมีผลสนับสนุนหรือ มีอิทธิพลทางการเมืองให้กับผู้สมัครด้วย โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ลง สมัครรับเลือกตั้งนั้นเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับ ท้องถิ่นมาก่อน (Mouritzen and Svara, 2002, p. 54-55) 2.4 แนวคิดระบบอุปถัมภ์และความสัมพันธ์ทาง เครือญาติ ความสัมพันธ์ภายใต้โครงสร้างระบบอุปถัมภ์เป็นความ สัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่มีสถานะทางสังคมที่แตกต่าง กัน ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สิน อำนาจ และสถานภาพ โดยความ สัมพันธ์แบบดังกล่าวจะไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างโดดเดี่ยว แต่เป็นการแสดงผลประโยชน์ตอบแทนกันของทั้งสองฝ่ายซึ่งจะ ต้องมีอุดมการณ์และความเคารพ นับถือ ศรัทธา ที่ช่วยจรรโลง และสืบทอดความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวเอาไว้ได้ (Scott, 2539 อ้างถึงใน อมรา และ ปรีชา น. 49-53, นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2539, น. 171-172) โดยรูปแบบดังกล่าวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในมิติต่างๆ ทั้งในมิติทาง เศรษฐกิจ ทำให้ผู้นำท้องถิ่นสามารถสร้างระบบอุปถัมภ์ของ ตนเองขึ้นมาโดยการแลกเปลี่ยนเชิงวัตถุหรือการใช้สอย เป็นหลัก และมิติทางสังคมที่นำไปสู่สังคมที่มีการซ้ำซ้อนของ ค่านิยมสังคมประชาธิปไตยและอาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น 15

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย ในสังคมและอาจเกิดขึ้นต่อคู่กรณีได้ (พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร, 2540, น. 33-34) ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปถัมภ์ พบว่ามีอยู่หลายประการ ด้วยกัน ไม่ว่าจะด้วย โครงสร้างของสังคมไทยเป็นสังคมที่มี ความแตกต่างระหว่างฐานะ ตำแหน่ง อย่างชัดเจน ประกอบกับ ความคิด ความเชื่อ ของสังคมไทยในเรื่องบุญ กรรม และ การตายแล้วเกิดใหม่ โดยมองว่าสถานะของบุคคลที่ดี มีความ สมบูรณ์มาจากการสะสมบุญในชาติปางก่อน ซึ่งลักษณะ ความไม่เท่าเทียมกันก่อให้เกิดการอุปถัมภ์ขึ้น (อคิน รพีพัฒน์, 2546, น. 3-4) ขณะเดียวกัน ประเด็นด้านค่านิยมของคนใน สังคม ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมระบบอุปถัมภ์ได้เป็น อย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ค่านิยมคณะนิยม โดยการใช้ความสัมพันธ์ ส่วนบุคคลมาใช้เพื่อเลื่อนตำแหน่งมากกว่าการพิจารณาความรู้ ความสามารถ ค่านิยมน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ช่วยเหลือโดย แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่างตอบแทนทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องชอบธรรม และค่านิยมประการ สุดท้าย คือ ค่านิยมกตัญญูนิยม ซึ่งอาจส่งเสริมให้เกิดการใช้ อำนาจในทางมิชอบด้วย อาทิ การช่วยเหลือผู้กระทำผิดเพราะ เคยได้รับความช่วยเหลือนั้นมาก่อน (ศุภชัย ยาวะประภาษ, 2544, น. 4-8) ด้านกระบวนการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ในเชิง อุปถัมภ์ อาจเกิดขึ้นโดยใช้ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมที่อยู่บน รากฐานเฉพาะท้องถิ่นโดยการสร้างจุดศูนย์กลางอำนาจด้วย ช่องทางติดต่อที่เป็นทางการ แบบความสัมพันธ์โดยใช้เครือข่าย 16

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้นำกับนายหน้าที่ติดต่อผลประโยชน์ทางการเมือง ที่ประกอบด้วยช่องทางติดต่อที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ (Eisenstadt and Roniger, 1984, p. 243-244) ทั้งนี้ในการใช้ นายหน้าเป็นกลวิธีนั้น นับได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะ เป็นผู้ชักจูงผู้เลือกตั้งให้ลงคะแนนเสียงมายังกลุ่มผู้สมัครของ ตนเอง ซึ่งถือได้ว่ามีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจลงคะแนนอันจะ มีผลกับความคิดเห็นและความนิยมในการเลือกตั้งด้วย (Stokes และคณะ, 2013, น. 94) 2.5 แนวคิดว่าด้วยภูมิศาสตร์การเมือง กับการจัดแบ่งเขตพ้ืนที่เลือกตั้ง ภายใต้การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรล้วนก่อให้เกิดผล เปลี่ยนแปลงในแต่ละพื้นที่ด้วย ไม่ว่าจะด้วยการที่คนในกลุ่ม ชนชั้นกลางจะเป็นฐานสนับสนุนนโยบาย ขณะที่คนชนบทเป็น ฐานเสียงให้นักการเมือง อันนำมาสู่การปะทะสังสรรค์ที่ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกและวิถีปฏิบัติทางการเมือง ในสังคมชนบทสมัยใหม่ (อเนก, 2552, น. 23) นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งโดยเพิ่มรูปแบบบัญชีรายชื่อ มาใช้ร่วมกับระบบแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเดิม อาจเป็นรูปแบบ ของการเลือกตั้งที่อาจเอื้อให้เกิดระบบธุรกิจการเมืองกว่า ในอดีตที่ผ่านมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพรรคการเมือง มีอิทธิพลอย่างมากในพื้นที่ (วัชรา ไชยสาร, 2544, น. 102-105) 17

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย 2.6 แนวคิดว่าด้วยรูปแบบและพฤติกรรม การหาเสียงเลือกต้ัง กระบวนการและขั้นตอนการหาเสียงนับได้ว่าเป็นจุด สำคัญอย่างยิ่งต่อการได้คะแนนความนิยมทางการเมือง ซึ่งโดย ทั่วไปนั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งจะเลือกใช้วิธีการต่างๆ อาทิ วิธีการ ใช้สิ่งพิมพ์ เช่น ป้ายคัทเอาท์ แผ่นโปสเตอร์ ใบปลิว และ การประชาสัมพันธ์โดยรถขยายเสียงสำหรับโฆษณาตามชุมชน ต่างๆ วิธีการปราศรัยในงานพิธีต่างๆ ทั้งในกรณีที่ผู้สมัคร เลือกตั้งได้รับเชิญให้ปรากฏตัว หรือ กล่าวคำปราศรัยในโอกาส ตา่ งๆ ในงานทห่ี วั คะแนนอา้ งโอกาสวา่ จะจดั ขน้ึ เชน่ งานบวชนาค งานวันเกิด งานศพ เป็นต้น หรือ เป็นงานที่จัดขึ้นโดยองค์กร ที่เป็นกลางทางการเมือง อาทิ การอภิปรายโดยหอการค้า จังหวัด วิธีการเข้าถึงตัวผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือ การเคาะ ประตูบ้าน เพื่อสร้างความใกล้ชิดสนิทสนมกับชาวบ้าน รวมถึง วิธีการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือหาเสียง ไม่ว่าจะเป็น การใช้ พื้นที่ข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เพื่อสร้างกระแสความ นิยมและการรับรู้นโยบายให้กับผู้ลงคะแนน (สมบัติ จันทรวงศ์, 2530, น. 14-26) นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว อาจมีการจัดชุดทีมงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบ และความแตกต่างจากกลุ่มอื่นเพื่อที่ จะได้รับโอกาสหรือคะแนนเสียงจากคู่แข่ง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องอาศัยการใช้เทคนิคและการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อให้ได้ รับชัยชนะในการเลือกตั้ง (Mouser, 1983, 3-11) เมื่อพิจารณารูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ทางการเมือง พบว่า เป็นการนําหลักและกระบวนการด้านการตลาด 18

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง มาประยุกต์ใช้ในการรณรงค์ทางการเมืองผ่านตัวบุคคลหรือ องค์กร ด้วยวิธีการนำเสนอคุณสมบัติและบุคลิกของตนเองที่มี ความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ น่าจดจำ เพื่อนำไปสู่การยอมรับ และจงรักภักดีต่อบุคคลผู้นั้น (Newman and Perloff, 2004) ขณะเดยี วกนั เมอ่ื ศกึ ษาถงึ องคป์ ระกอบของการสรา้ งภาพลกั ษณ์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่าง เด็ดขาด ได้แก่ ส่วนแรก องค์ประกอบเชิงรับรู้ มาจากการ สังเกตโดยตรงภายใต้สภาพแวดล้อมในบริบทรอบข้าง ส่วนที่ สอง องค์ประกอบเชิงเรียนรู้ เป็นภาพลักษณ์จากการเรียนรู้ คุณสมบัติที่ดีและเหมาะสมของบุคคลตามบทบาทและ สถานการณ์นั้น ส่วนที่สาม องค์ประกอบเชิงความรู้สึก เป็นภาพลักษณ์ที่มาจากความรู้สึกส่วนบุคคลและความรู้สึก เกี่ยวพันในการยอมรับหรือปฏิเสธสิ่งหนึ่งสิ่งใด และส่วนสุดท้าย องค์ประกอบเชิงการกระทำ เป็นภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะปฏิบัติสนองต่อองค์ประกอบเชิง ความรู้และความรู้สึก ซึ่งทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อ การเรียนรู้ขั้นตอนการสร้างภาพลักษณ์เพื่อช่วยให้ประชาชน ยอมรับนับถือ และให้ความไว้วางใจเข้ามาทำงานทางการเมือง (Boulding, 1975) 2.7 เอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง งานวิจัยเรื่อง “นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย” ผู้วิจัย ดำเนินการศึกษาโดยสำรวจข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 19

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย 1) งานวิจัยท่ีศึกษาบทบาทการเป็นผู้นำของชนช้ันนำใน ท้องถิ่น งานศึกษาในส่วนแรกนี้เป็นการศึกษาที่จะพิจารณาที่มา ของการขึ้นสู่ตำแหน่งทางการเมืองโดยอาศัยบทบาทการเป็น ผู้นำในท้องถิ่น ไม่ว่าสถานะทางสังคมนั้นจะมาจากการวาง ฐานรากด้วยตนเอง หรือมาจากบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนร่วมวางฐาน นั้น ยกตัวอย่างเช่น วิทยานิพนธ์เรื่อง Opinion Leadership and Elite in Rural Thailand: A Case Study of Two Village เป็นงาน ที่ศึกษาโครงสร้างอำนาจชุมชนในชนบท ผ่านการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำและผู้นำความคิดเห็นในพื้นที่ ภาคกลางและภาคเหนือ ซึ่งพบว่า ชนชั้นนำและผู้นำความคิด แม้เกือบจะเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ลักษณะของ บุคคลที่เป็นผู้นำทางความคิดมีลักษณะของการกระจายตัว ที่มากกว่าชนชั้นนำ ส่งผลให้ชนชั้นนำทั้งหมดมักจะเป็นผู้นำ ความคิด แต่ผู้นำความคิดเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เป็นชนชั้นนำ และการมีหรือเคยได้รับตำแหน่ง ในชุมชน ย่อมถือว่า เป็นอีก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคลได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำในสังคม (ระดม วงษ์น้อย, 1980) บทความเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของผู้นำชุมชน กับประชาชนที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในตำบล พระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นงานศึกษาที่นำเสนอ โครงสร้างของเครือข่ายสังคมระบบอุปถัมภ์ของผู้นำชุมชนกับ ประชาชนซึ่งมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนในตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยผล 20

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง การศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า ความสัมพันธ์และรูปแบบระบบ อุปถัมภ์ของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่เป็นไปในลักษณะ การช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยเอื้อเฟื้อต่อกัน และหากผู้นำชุมชน มีคุณลักษณะ หรือคุณสมบัติและความรู้ ความสามารถที่ดี สิ่งเหล่านี้ล้วนถือเป็นคุณสมบัติที่สนับสนุนให้ประชาชนใน ชุมชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น โดยผ่านสายสัมพันธ์เชิง อุปถัมภ์ของกับผู้นำชุมชนกับประชาชน (อุดม คุมา, 2555) ขณะที่ วิทยานิพนธ์เรื่อง ผู้นำกับการมีส่วนร่วมทาง การเมืองของชุมชน เป็นงานศึกษาเกี่ยวกับผู้นำชุมชนกับ บทบาทและอิทธิพลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในพื้นที่เขตบางคอแหลมกรุงเทพมหานคร โดยผลการศึกษา พบว่า ผู้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เนื่องมาจากผู้นำชุมชน ถือเป็นบุคคลที่ชุมชนให้ความเชื่อถือและมอบความไว้วางใจให้ เป็นตัวแทนของชุมชนในการมีสิทธิและเสียงตัดสินใจแสดง ความคิดเห็นต่างๆ อีกทั้งยังถือเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ชักจูงโน้มน้าว ให้บุคคลในชุมชนไปลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ตนเองเห็นว่ามีความเหมาะสมอีกด้วย (เกรียงไกร จงเจริญ, 2536) 2) งานวิจัยที่ศึกษารูปแบบการสื่อสารของชนช้ันนำและ นักการเมืองถิ่น งานศึกษาส่วนที่สองเป็นการศึกษากระบวนการสื่อสาร ของชนชั้นนำและนักการเมืองถิ่น ซึ่งถือเป็นการริเริ่มกิจกรรม ทางการเมืองที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาทิ บทความ รูปแบบ 21

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย การสื่อสารของนักการเมืองถิ่น ได้ศึกษารูปแบบการสื่อสาร ทางการเมืองจากกลุ่มตัวอย่างคือ นักการเมืองถิ่นในภาคใต้ 10 จังหวัด โดยผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการสื่อสารของ นักการเมืองถิ่นประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ การสื่อสารแบบ เผชิญหน้ากันระหว่างนักการเมืองถิ่นกับชาวบ้าน การสื่อสาร โดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ และ การประชุมอย่างเป็น ทางการและไม่เป็นทางการ โดยปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการ เลือกกลวิธีการสื่อสารและนำเสนอตนเองทางการเมือง มีอยู่ หลายประการ อาทิ ปัจจัยว่าด้วยงบประมาณ ประสิทธิผล ของสื่อ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ ความเหมาะสมของเนื้อหาที่จะนำเสนอ ระดับการศึกษาของ กลุ่มเป้าหมาย ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปัญหา ทอ้ งถน่ิ นน้ั เปน็ ตน้ (อรอนงค์ สวสั ดบ์ิ รุ ี และ รสชงพร โกมลเสวนิ , 2552) นอกจากนี้ งานศึกษาเรื่อง เลือกตั้งวิกฤต : ปัญหา และทางออก ได้นำเสนอกลวิธีการสื่อสาร ทางการเมืองในการ เลือกตั้งของไทย โดยมีข้อสรุปพอสังเขปว่า นอกจากการที่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะมีการติดต่อพูดคุยกับทีมผู้สมัครคนอื่นเพื่อ เปิดทางในการหาเสียงให้กับผู้นำสมัครทีมเลือกตั้งในจังหวัด แล้ว บางส่วนยังมีการเจรจากันกับผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม ในลักษณะการฮั้วการแข่งขันเกิดขึ้น และนอกจากนี้ในบาง จังหวัดมีการเรียกประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหัวคะแนนเพื่อ ตกลงจัดแบ่งคะแนนเสียงในการเลือกตั้งอีกด้วย ซึ่งถ้าหาก พิจารณารูปแบบการหาเสียงยังพบออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การหาเสียงเปิดเผยแบบที่เป็นทางการเพื่อสร้างความสนิทสนม 22

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง และความคุ้นเคยต่อกัน และการหาเสียงที่ไม่เปิดเผยโดยใช้ บทบาทการเป็นผู้ที่มีอิทธิพล หรือ ผู้มีบารมีซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในพื้นที่เป็นสำคัญ (สมบัติ จันทรวงศ์, 2530) 3) งานวิจัยท่ีศึกษาอิทธิพลของความเป็นสถาบัน ทางการเมืองกับการเลือกต้ัง ในงานวิจัย พฤติกรรมนิยม (Behavioralism) และสถาบัน นิยม (Institutionalism) ในการเมืองเรื่องการเลือกตั้งของไทย ได้นำเสนออิทธิพลของความเป็นสถาบันทางการเมือง ได้นำ เสนอข้อสรุปที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งว่า กฎเกณฑ์ กติกา และกระบวนการต่างๆ ที่สถาบันทางสังคมและการเมืองต่างๆ เป็นผู้กำหนดหรือวางหลักเกณฑ์นั้น ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในการกำหนดพฤติกรรมและความคาดหวังให้เกิดการพัฒนา กระบวนการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและสอดคล้องกับหลักการ ประชาธิปไตย (สติธร ธนานิธิโชติ, 2550) นอกจากนี้งานวิจัย The Market for Votes in Thailand ได้นำเสนอเชิงเปรียบเทียบจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช พ.ศ. 2540 มีการปฏิรูปการเลือกตั้งภายใต้ รูปแบบผสมระหว่างสมาชิกจากแต่ละเขตจังหวัดและสมาชิก จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง รูปแบบการแลกเปลี่ยน คะแนนเสียงเลือกตั้งระหว่างผู้ลงคะแนนเสียงและตัวแทน ผู้สมัครมีลักษณะผลประโยชน์ต่างตอบแทน ปัญหานี้จะเกิดขึ้น มากในกรณีเขตจังหวัด นับตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ปัจจัย การซื้อเสียงในการเลือกตั้งลดน้อยลง เนื่องมาจากการกำหนด กติกาการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม 23

นักการเมืองถ่ินจังหวัดสุโขทัย สิ่งนี้เพียงสิ่งเดียวไม่สามารถขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ต้องอาศัย การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เป็นรากฐานของการซื้อสิทธิขายเสียง ฉะนั้นบริบทข้างต้น ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น อาจนำไปสู่รูปแบบการซื้อเสียงในลักษณะ อื่นได้ (Hicken, 2002) 4) งานวิจัยที่ศึกษาการจัดต้ังเครือข่ายชนชั้นนำและ กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของนักการเมือง ถ่ิน พบกรณีศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของ ชนชั้นนำทางการเมืองในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานวิจัยเรื่อง การแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย: พบทางตัน จริงหรือ? ซึ่งนำเสนอความสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจการเมือง ที่ให้การสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการระดมหาเสียงและ ช่วยวางแผนนโยบายที่สนองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของ ชุมชน รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้นำชุมชนซึ่งจะต้องอาศัย ช่องทางเพื่อช่วยสนับสนุนในการเป็นฐานเสียงหรือหัวคะแนน (สุพัตรา จิตตเสถียร, 2553) โดยกรณีความสัมพันธ์นักธุรกิจ ยังสอดคล้องกับความเห็นในบทความเรื่อง โครงสร้างอำนาจ ท้องถิ่นในภาคตะวันออก ซึ่งนำเสนอความสัมพันธ์ของ นักการเมืองกับกลุ่มธุรกิจต่างๆ ว่ามาจากความต้องการสะสม ทุนทางเศรษฐกิจของชนชั้นนำทางการเมืองด้วยการอาศัยฐาน ทรัพยากรในพื้นที่เพื่อใช้เป็นฐานในการประกอบธุรกิจ อีกทั้ง การอุปถัมภ์ของชนชั้นนำทางการเมืองภายใต้ระบบความ สัมพันธ์บนฐานของการดูแล ช่วยให้กระบวนการสะสมทุนทาง 24

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง สังคมในท้องถิ่นเป็นไปได้สะดวกขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการจัดตั้ง เครือข่ายนักการเมืองถิ่นในพื้นที่ (โอฬาร ถิ่นบางเตียว, 2553) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ ที่มีความ เกี่ยวเนื่องและเป็นผลให้เกิดการจัดตั้งเครือข่ายชนชั้นนำ อาทิ งานวิทยานิพนธ์เรื่อง วัฒนธรรมทางการเมือง : รูปแบบ ที่เหมาะสมในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างการรวมกลุ่มและ บทบาททางการเมืองของสมาชิกผู้แทนราษฎร ได้นำเสนอกรณี ความสัมพันธ์กับนายทุนพรรคการเมือง ซึ่งให้การสนับสนุน งบประมาณและมีส่วนกำหนดบทบาทของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในพื้นที่นั้น (ศตพล วรปัญญาตระกูล, 2554) วิทยานิพนธ์เรื่อง ความสัมพันธ์เชิงการเมืองระหว่างสื่อมวลชนกับนักการเมืองถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับกรณีความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน ซึ่งอาจเกิดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นโดยวิธีการเข้าเป็นหุ้นส่วน ในธุรกิจหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองพื้นที่ข่าว นำเสนอกลุ่มของตนเอง (ผ่องพรรณ จงยศยิ่ง, 2547) หรือใน วิทยานิพนธ์เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับนักการเมือง ถิ่นในระบบการเลือกตั้ง: กรณีศึกษา เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นลักษณะความสัมพันธ์ของนักการเมืองกับกลุ่มทางศาสนา ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในรูปแบบความสัมพันธ์ลูกศิษย์กับอาจารย์ ด้วยการถวายตัวขอเป็นศิษย์ของนักการเมือง ความสัมพันธ์ แบบโยมอุปัฎฐาก ด้วยการอุปถัมภ์พระหรือวัดด้วยสิ่งของ เงินทอง กำลังคน ซึ่งจะเป็นที่เกรงใจของพระสงฆ์และชาวบ้าน และความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนโดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างพึ่งพา ซึ่งกันและกัน เช่น คำมั่นสัญญาของนักการเมืองว่าจะจัดหาเงิน เพื่อสร้างถาวรวัตถุให้วัด เป็นต้น (นิพนธ์ ศรีตระกูล, 2549) 25

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย 5) งานวิจัยท่ีศึกษาภูมิศาสตร์การเมืองการแบ่งเขต เลือกตั้งกับการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นพิจารณาประเด็นปัญหาและ ข้อสังเกตเชิงพื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องในเชิงสาระสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ในด้านความสัมพันธ์จากวัฒนธรรมการเมือง ดังเช่น บทความ วัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทย พบว่าวัฒนธรรม ทางการเมืองในพื้นที่มีที่มาทั้งจากส่วนองค์กรชุมชนและกลุ่มขั้ว การเมืองจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และ นอกจากนี้ การต่อสู้แข่งขันทางการเมืองระดับชาติ ยังถือเป็น อีกเหตุปัจจัยหนึ่ง ที่นำไปสู่การแย่งชิงฐานคะแนนเสียงเพื่อจัด ระบบเข้าสู่การสนับสนุนกลุ่มก้อนทางการเมืองในท้องถิ่น ด้วยเช่นกัน (จรัส สุวรรณมาลา, 2550) ขณะที่ประเด็นด้าน หัวคะแนนในพื้นที่ล้วนมีบทบาทสำคัญเช่นกัน โดยบทความ เรื่อง Thai Electoral Campaigning: Vote-Canvassing Networks and Hybrid Voting พบว่า เครือข่ายหัวคะแนนที่กระจายอยู่ตาม แต่ละเขตเลือกตั้ง ปรากฏความสัมพันธ์ทั้งในเชิงอำนาจและใน ระดับส่วนบุคคล โดยบทบาทของหัวคะแนนนั้นช่วยให้ผู้สมัคร สามารถสร้างฐานความสัมพันธ์กับผู้นำชุมชนของตนเองและ ชุมชนอื่นๆ (อัญญารัตน์ ฉัตรธารากุล, 2010) เช่นเดียวกับ งานศึกษาเรื่อง แนวโน้มของระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผแู้ ทนราษฎรและระบบการเมืองไทย: ปัญหาความไม่สอดคล้อง ซึ่งศึกษาโดยพบว่า การจัดตั้งหัวคะแนนมีขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็น ตัวแทนของผู้สมัครเลือกตั้งในการดูแลและพดู คุยกับชาวบ้านใน พื้นที่เพื่อรับรู้ปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือ ทั้งจาก ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพลใหญ่ในท้องถิ่น หรือ ปัญหาความไม่ 26

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ปลอดภยั ในชวี ติ และทรพั ยส์ นิ (สามารถ ภาวไิ ล, 2532, น. 40-44) นอกจากนี้ ในด้านวิธีการหาเสียงเลือกตั้งยังถือเป็น อีกตัวแปรหนึ่งซึ่งส่งผลโดยตรงมาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังเช่นวิทยานิพนธ์เรื่อง การวางแผนปฏิบัติการ การกำกับ ติดตาม และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวคะแนนระดับ ตำบล: กรณีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในเขตเลือกตั้งจังหวัด นครศรีธรรมราช ซึ่งค้นพบลักษณะของการหาเสียงในรูปแบบ “สามเขต ยุทธศาสตร์” ได้แก่ กลุ่มแรก “เขตเรา” กลุ่มสอง “เขตเขา” และกลุ่มสาม “เขตเป็นกลาง” โดยวิธีสำคัญ คือ การกระชับ กลุ่มแกน โดยให้ผู้สมัครเลือกตั้งลงพื้นที่กับกลุ่มสนับสนุน และ เมื่อกลุ่มสนับสนุนมีความเข้มแข็งมากขึ้นแล้วจึงสามารถใช้ ยุทธศาสตร์การช่วงชิงมวลชนในกลุ่มเป็นกลาง และการช่วงชิง กลุ่มแกนคู่แข่งเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นและความมั่นใจได้ว่า จะมีโอกาสชนะผลการเลือกตั้งได้เป็นผลสำเร็จ (พนมพร ไตรต้นวงศ์, 2535, น. 24-25) 6) งานวิจัยที่ศึกษาเฉพาะพ้ืนท่ีในประเด็นเกี่ยวข้องกับ นักการเมืองถ่ิน เป็นการรวบรวมกรณีศึกษา ซึ่งมีความสัมพันธ์จาก ประเด็นต่างๆ ที่นำเสนอข้างต้น เช่นงานวิจัย นักการเมืองถิ่น จังหวัดชุมพร พบว่า ลักษณะของนักการเมืองถิ่นของจังหวัด มีอาชีพที่หลากหลาย อาทิ ข้าราชการ ทนายความ นักธุรกิจ แพทย์ ครู ซึ่งมีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่ดี อยู่ใน สังคมชั้นนำของจังหวัด เครือข่ายและความสัมพันธ์ของ 27

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุโขทัย นักการเมืองมีลักษณะเครือข่ายเป็นรูปแบบต่างๆ ทั้งความ สัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและข้าราชการ ความสัมพันธ์ ระหว่างนักการเมืองถิ่นด้วยกัน และความสัมพันธ์กับ นักธุรกิจในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตอบแทนกัน เช่น กลุ่มหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับพรรคการเมืองกลับไม่ ค่อยมีความสำคัญนัก เพราะฐานเสียงของจังหวัดมาจากความ นิยมจากพรรคประชาธิปัตย์เพียงพรรคเดียวเท่านั้น สำหรับ รูปแบบและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้หัวคะแนนในกลุ่มผู้นำชุมชน การโฆษณาผ่านสื่อ วิทยุชุมชน รถขยายเสียง การแจกแผ่นพับ ใบปลิว การติดป้าย ประชาสัมพันธ์ ขนาดใหญ่ การแนะนำตนเองด้วยการเคาะ ประตูบ้าน รวมถึง การปราศรัยนโยบายในพื้นที่ชุมชนขนาดเล็ก และการปราศรัยครั้งใหญ่ที่จะมีแกนนำของพรรคการเมือง เข้ามาช่วยสนับสนุนการหาเสียงด้วย (วัชระ ศิลป์เสวตร์, 2556) งานวิจัยนักการเมืองถิ่นจังหวัดเพชรบุรี พบว่า ภูมิหลัง ของนักการเมืองถิ่นมีที่มาจากกลุ่มต่างๆ รวม 6 ประเภท ได้แก่ กลุ่มนักกฏหมาย กลุ่มนักการศึกษา กลุ่มข้าราชการทหารและ ฝ่ายปกครอง กลุ่มนักธุรกิจผู้กว้างขวางและนักการเมืองถิ่น กลุ่มนักสื่อสารมวลชน และกลุ่มนักเคลื่อนไหว ขณะที่ความ สัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นอาศัยความเป็นเครือญาติของ ตระกูลทางการเมืองใหญ่ของพื้นที่ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อ กลุ่มการเมืองถิ่น และการอาศัยความสัมพันธ์จากความเป็น เพื่อนและหุ้นส่วนทางธุรกิจ สำหรับกลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้ง ปรากฏในหลายลักษณะ ได้แก่ การให้ความช่วยเหลืออุปถัมภ์ 28

แนวคิด เอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ด้านสาธารณปู โภคและโครงสร้างพื้นฐาน การลงพื้นที่พบปะกับ ประชาชนด้วยวิธีการเคาะประตูบ้าน การเข้าร่วมกิจกรรมทาง สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานศพ และ งานณาปนกิจศพ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ (การใช้บัตรหาเสียงขนาดเล็ก โปสเตอร์ ใบปลิว หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก การปราศรัยหาเสียง ในพื้นที่) รวมถึง การกระทำอื่นๆ นอกกฎหมายการเลือกตั้ง อาทิ การให้เงินหรือสิ่งของเพื่อซื้อเสียง การสัญญาว่าจะให ้ ภายหลังจากการได้รับการเลือกตั้ง หรือการจัดมหรศพและ เลี้ยงสุราอาหาร โดยเป็นการสนับสนุนเงินจากผู้สมัครรับ เลือกตั้ง (ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์, 2554) งานวิจัย นักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม มีข้อสังเกตต่ออัตลักษณ์นักการเมืองถิ่นในพื้นที่โดยแบ่งออก เป็น 5 ประเภท ได้แก่ คนท้องถิ่นบ้านเกิด อดีตขุนนางสาย ราชินิกุล กลุ่มอาชีพข้าราชการ ครู นักธุรกิจท้องถิ่น ผู้มีบารมีใน ท้องถิ่น และนักการเมืองหญิงที่ทำงานด้านนักเคลื่อนไหว ทั้งนี้ เครือข่ายในการสนับสนุนนักการเมืองนั้นวางอยู่บนพื้นฐาน จากความสัมพันธ์ทางเครือญาติ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่ม พรรคการเมือง และกลุ่มเครือข่ายเอกชนต่างๆ รวมถึง การใช้ อัตลักษณ์ส่วนบุคคล เช่น ความเป็นหญิงในการทำงาน ช่วยเหลือสังคม เป็นต้น ขณะที่กลวิธีการหาเสียงมีฐานหลัก จากการใช้เครือญาติ เครือข่ายเพื่อนร่วมรุ่นในการพบปะ สังสรรค์และการช่วยเหลือทำนุบำรุงศาสนา การโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์อนุรักษ์ท้องถิ่น (กฤษณา ไวสำรวจ, 2555) 29


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook