Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 58นักการเมืองถิ่นภูเก็ต

58นักการเมืองถิ่นภูเก็ต

Published by Meng Krub, 2021-05-11 06:19:52

Description: 58นักการเมืองถิ่นภูเก็ต

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต โดย วทิ ยา อาภรณ ์ ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data วิทยา อาภรณ.์ นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ภเู กต็ - - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2559. 291 หน้า. 1. นักการเมือง - - ภูเก็ต. 2. ภูเก็ต - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหสั ส่งิ พิมพข์ องสถาบนั พระปกเกล้า สวพ.59-XX-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนงั สือ 978-974-449-XXX-X ราคา พมิ พค์ รัง้ ท่ี 1 กันยายน 2559 จำนวนพมิ พ ์ 500 เล่ม ลิขสทิ ธ์ ิ สถาบันพระปกเกล้า ทป่ี รึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผแู้ ต่ง วิทยา อาภรณ์ ผ้พู มิ พ์ผู้โฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพมิ พโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศนู ย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพ์ท่ี

นักการเมืองถ่ิน จังหวัดภูเก็ต วิทยา อาภรณ์ สถาบันพระปกเกล้า

คำนำ ในช่วงที่การเก็บข้อมูลเพื่อศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัด ภูเก็ตกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม ผู้ศึกษาอ่านเอกสารไปแล้ว จำนวนมาก และกำลังจะไปสัมภาษณ์บุคคลเป้าหมายก็มีการ เคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างคึกคักเกิดขึ้นตั้งแต่กลางถึง ปลายปี 2556 เป็นต้นมา ทำให้การติดต่อขอสัมภาษณ์เป็นไป อย่างยากลำบาก จนถึงต้องตามล่ากลุ่มเป้าหมายไปตามที่ ต่างๆ ทั้งกรุงเทพและภูเก็ต ทุกคนซึ่งส่วนมากเป็นสมาชิกพรรค ประชาธิปัตย์ดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหว ไม่อยู่กับที่ ที่สำนักงาน บางแห่งติดป้ายยาวนานว่า “ปิด ไปกู้ชาติ” ลองส่งจดหมายไป ก็ถูกตีกลับ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องไปสัมภาษณ์หลายคนพร้อมที่ จะให้ข้อมูล แต่ก็มีภาระยุ่งจนเลื่อนแล้วเลื่อนอีกในที่สุด ก็นัดหมายเวลาไม่ได้ บางคนก็บอกว่าไม่สะดวกหรือไม่พร้อม ที่จะให้สัมภาษณ์ บางคนก็ไม่สามารถติดต่อได้เลย

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตาม งานศึกษาก็ดำเนินไป ผู้ศึกษาสามารถ สัมภาษณ์บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลสำคัญได้หลายคน แต่ใน ภาวะสับสนทางการเมืองหลายคนย้ำว่า ไม่ต้องระบุว่าเป็นใคร จนทำให้ผู้ศึกษาสามารถเขียนรายงานการศึกษานี้จนสำเร็จได้ และต้องจบการศึกษาตามเงื่อนไขของเวลา ทั้งที่ยังมีหลาย ประเด็นและรายละเอียดที่อยากรู้อีกมากมาย ซึ่งคงต้องรอไว้ โอกาสต่อไป ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณอย่างสูงต่อหลายฝ่ายที่มีส่วน ให้การศึกษานี้สำเร็จ ขอบคุณสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่เปิดโอกาสให้ได้ไปทำวิจัย ขอบคุณ อาจารย์ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ อาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์ ที่ให้คำ แนะนำปรึกษา ขอบคุณอาจารย์สีลาภรณ์ บัวสาย สำหรับ ข้อมูลทำเนียบกุลญาติ ณ ถลาง ที่ อาจารย์ฐะปะนีย์ (ณ ถลาง) นาครทรรพได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ขอบคุณคุณพิเชษฐ์ ปานดำ คุณรัตนาภรณ์ แจ้งใจดี คุณสามารถ สระกวี สำหรับ แรงบันดาลใจ น้ำใจ ที่พัก ข้อมูล ช่วยติดต่อประสานงาน พร้อมกับไปร่วมสัมภาษณ์หลายครั้ง ขอบคุณหนังสือพิมพ ์ ข่าวเศรษฐกิจธุรกิจที่ส่งข่าวมาอย่างต่อเนื่องจนได้ติดตาม เหตุการณ์สำคัญในภูเก็ตติดต่อกันมานาน ขอบคุณคุณอัญชลี วานิช เทพบุตร คุณเรวัต อารีรอบ ขอบคุณเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ของพรรคประชาธิปัตย์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดของรัฐสภาสำหรับ น้ำใจอารี ขอบคุณคุณอภิญญา ดิสสะมาน ที่แนะนำให้รู้จัก โครงการนี้ ขอบคุณอาจารย์ ดร.อัจฉราวรรณ บุรีภักดี สำหรับ บทคัดย่อ ขอบคุณคุณดวงดาว อาภรณ์ ที่ช่วยเหลืออะไร ต่อมิอะไรจิปาถะ เหนืออื่นใดขอขอบคุณผู้ที่กรุณาให้สัมภาษณ์

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ด้วยเวลายาวนานทุกท่าน และขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมที่ไม่ได้ เอ่ยชื่อที่ร่วมกันทำให้การศึกษานี้สำเร็จลง แน่นอนว่าความ ผิดพลาดใดๆ ย่อมเกิดจากความอ่อนด้อยของผู้ศึกษาเอง และ หวังว่าจะได้รับเสียงสะท้อนเพื่อการปรับปรุงต่อไป วิทยา อาภรณ ์ ผูว้ ิจัย VI

บทคัดย่อ การศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต เป็นส่วนหนึ่งในชุดโครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของสถาบันพระปกเกล้า มีวัตถุประสงค์เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง ทราบ บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนในการ สนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง ทราบบทบาทและความ สัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมือง และทราบถึงวิธีการ หาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต โดยมี ขอบเขตของการวิจัยตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในจังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2554 วิธีการศึกษาอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษา จากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ และการสัมภาษณ์บุคคล

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่า การเมืองและนักการเมืองถิ่นจังหวัด ภูเก็ต ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มาจน ปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 การประลองกำลังหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2475-2521) ยุคที่ 2 การค้นหา แนวทางหลังยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522-2534) และยุคที่ 3 การ กุมอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน พ.ศ. 2556) มีนักการเมืองที่โดดเด่น ในจังหวัดภูเก็ตแต่ละยุครวม 3 คน คือ นายชิต เวชประสิทธิ์ นายเรวุฒิ จินดาพล และนางอัญชลี วานิช เทพบุตร เครือข่าย และความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต แตกต่างกัน ออกไปในช่วงเวลาต่างๆ โดยยุคที่ 1 นักการเมืองถิ่นจะแข่งขัน กันในเชิงแนวคิดทางการเมืองระหว่างระบบเดิมกับแนวคิด สังคมนิยมแต่ไม่ขัดแย้งกันรุนแรง ยุคที่ 2 เป็นช่วงของ การค้นหาแนวทางหลังยุคเหมืองแร่ ส่วนยุคที่ 3 มีการแข่งขัน ระหว่างนักการเมืองรุนแรงขึ้น มีการพยายามแย่งฐานเสียง การกีดกัน ระหว่างนักการเมืองคนละกลุ่มอย่างชัดเจน ในด้านบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมือง แก่นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต ในยุคที่ 1 มีทั้งที่เป็นครอบครัว เครือญาติของผู้ลงสมัคร นอกจากนี้ยังมีการสร้างกลุ่มที่ไม่เป็น ทางการขึ้นมาหนุนเพื่อเป็นฐานเสียงให้กับผู้ลงสมัคร ในยุคที่ 2 มีการพยายามวางระบบความสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆ ที่จะมีหนุน ผู้ลงสมัครอย่างชัดเจนมากขึ้น ส่วนในยุคที่ 3 บทบาทและ ความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทาง การเริ่มมีบทบาทชัดเจนอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากเศรษฐกิจของ VIII

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ภูเก็ตเริ่มลงตัวว่า มาเน้นที่การท่องเทียวและบริการ จึงมี นายทุนจากกิจการเหล่านี้มาสนับสนุนนักการเมืองถิ่น ในด้านบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับ นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต ในยุคที่ 1 และยุคที่ 2 บทบาทของ ระบบพรรคการเมืองยังไม่มีความชัดเจนนัก จนถึงยุคที่ 3 จึงเริ่มมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบมากขึ้น และในด้าน วิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากตั้งแต่สมัยนายเรวุฒิ จินดาพล ลงสมัครใน พ.ศ. 2529 วิธีการที่สำคัญในการหาเสียง ของนักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ตแบ่งได้เป็น 9 วิธีการ คือ การลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน การใช้สื่อ การปราศรัย การใช้ ขบวนแห่ การร่วมงานด้านประเพณีวัฒนธรรม การชูจุดเด่น การสร้าง รักษา และขยายฐานเสียงสนับสนุน การร่วมมือกับ กลไกราชการ และการใช้วิธีการที่พลิกแพลงหลากหลาย สำหรับแนวโน้มในอนาคตของการเมืองในจังหวัดภูเก็ต ควรจะต้องมีการพัฒนาให้ระบบพรรคการเมืองก้าวหน้ามากขึ้น และพัฒนาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง อันจะ ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้จริง ไม่เกิดการผูกขาด ทำให้ทุกคน จะสามารถอาศัยการเมืองแก้ไขปัญหาในสังคมได้จริง IX

Abstract This study of Phuket politicians is part of a research project under a broader project studying provincial politicians, conducted by King Prajadhipok’s Institute. This study is aimed to examine the characteristics, relationships, and networks of elected politicians to explore the roles and relationships among supporters, political parties, and the politicians, as well as politicians’ campaign strategies. This research covers the period from the first general election in Phuket Province in 1933 until the most recent general election in 2011. This research employed qualitative research methods, drawing on documents and interviews. The results reveal that three political periods can be identified in Phuket following the change from absolute monarchy in 1932: 1) maneuvering after the country’s change in regime (1932-1978 ); 2) seeking for athe way after the mine

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต industry; and 3) the Democrat Party seizes power in globalization (1992-2013). The outstanding politicians in Phuket Province in each period include Mr. Chitt Wethcprasitt, Mr. Rewutt Jindaphole, and Mrs. Anchalee Wanich Tepephabootr. The networks and relationships of Phuket politicians differed depending on period. In the first period, local politicians fought by using the way of old political ideas and socialism but did not go strongly against them. In the second period, the local politician found out the way. And in the third period, the competition among the local politicians became more intense. There were snatching votes and fierce obstruction of competitors. There is a strong relationship between the role of the benefit groups and general group that support the politicians in Phuket. In the first period, political network members were all family members and cousins of the selected candidates who arranged for general voters to vote for them. In the second period, the politicians tried to construct systems of close connections with general voters to be their supporters. And in the third period, a close relationship emerged among the political groups and general voters because Phuket’s economy relies on tourism and services so travel and service business operators became supporters of politicians. XI

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต As a result, there was a link among political parties and politicians in Phuket. In the first period and the second periods the role of political parties was not evidently clear. Until the third period, there was systematic administration. Regarding the campaign methods, these have changed a great deal since the time of Mr. Rewutt Jindaphole. Phuket politicians use nine main campaign methods: 1) knocking on doors; 2) advertising through mass media; 3) speeches; 4) parades; 5) participating in traditional fairs; 6) raisinge up the prominent point; 7) building, maintaining, and expanding the vote; 8) work with authorities; and 9) Mmodifying various tricks. For the tendency of Phuket politics, the political party system should be developed and established to make more progress and to strengthen the local administrative organization in order to prevent dictatorship and promote real participation to use political means to solve social problems. Keywords: republic, roman, democracy, mixed regime, separation of power XII

สารบัญ หน้า คำนำ IV บทคดั ย่อ VI Abstract IX บทท่ี 1 บทนำ 1 1.1 ที่มาและความสำคัญของการศึกษา 1 1.2 วัตถุประสงค์ 4 1.3 ขอบเขตของการศึกษา 4 1.4 วิธีการศึกษา 5 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 บทที่ 2 ขอ้ มูลทัว่ ไปของจังหวัดภูเก็ต 7 2.1 ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ 9 2.2 สภาพเศรษฐกิจ 12 2.3 สภาพสังคมและวัฒนธรรม 15 2.4 การบริหารและการปกครอง 17

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต หน้า บทท่ี 3 แนวคิด ทฤษฎี และงานวจิ ยั ท่ีเกีย่ วข้อง 21 3.1 แนวคิดและทฤษฎี 21 3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 27 บทที่ 4 นกั การเมอื งถน่ิ จังหวัดภเู ก็ต 33 4.1 ภูมิหลังทางการเมืองของจังหวัดภเู ก็ต 33 4.2 การเลือกตั้งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภเู ก็ต 58 ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึงปัจจุบัน (2557) 4.3 การเมือง ภูมิหลังเครือข่ายทางการเมือง 82 และกลวิธีหาเสียงของนักการเมืองถิ่นจังหวัดภเู ก็ต ตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน บทท่ี 5 สรปุ อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ 213 5.1 สรุปผลการศึกษา 213 5.2 อภิปรายผล 244 บรรณานุกรม 252 ภาคผนวก 262 ภาคผนวก ก รายชื่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 262 จังหวัดภูเก็ตตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง 2556 266 ภาคผนวก ข ภาพนักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2476 ถึง 2556 274 ประวตั ินกั วจิ ยั XIV

บ1ทท ี่ บทนำ 1.1 ท่ีมาและความสำคัญของการศึกษา การวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต เป็นส่วนหนึ่ง ของชุดโครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาการเมืองการปกครองไทยที่ผ่านมา ยังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาติเป็นส่วนใหญ่ แต่มักไม่มี การศึกษาถึงสิ่งที่เรียกว่า การเมืองถิ่น หรือการเมืองท้องถิ่น อันเป็นเรื่องราวของการเมืองที่เกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆ ใน ประเทศไทยซึ่งย่อมมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป สถาบัน พระปกเกล้าจึงได้สนับสนุนให้มีการศึกษานักการเมืองถิ่น โดยเน้นศึกษาผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ของจังหวัดต่าง ๆ เป็นรายจังหวัด เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยัง ขาดหาย และทำให้สามารถเข้าใจการเมืองไทยได้ชัดเจนขึ้น สำหรับการที่จะทำความเข้าใจนักการเมืองถิ่นจังหวัด ภูเก็ตนั้นมีประเด็นที่น่าศึกษาหลายประการ ภาพลักษณ์โดย ทั่วไปของจังหวัดภูเก็ตคือการเป็นจังหวัดเล็กๆ เป็นเกาะ มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดรวมกันไม่มากนัก ประชากรมีจำนวนไม่มาก และมีอาชีพหลักไม่มากนัก อาชีพ ที่โดดเด่นในอดีต คือ การทำเหมืองแร่ดีบุก ส่วนในปัจจุบัน คือ การท่องเที่ยว แต่ภายใต้สิ่งที่ดูเรียบง่ายเหล่านี้กลับซ่อนไว้ด้วย ความซับซ้อนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองมาตั้งแต่อดีต ก่อน พ.ศ. 2475 ย้อนขึ้นไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย จากอดีตสภาพเศรษฐกิจ การเมืองของภูเก็ตได้มีการ เปลี่ยนแปลงคลี่คลายอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูเก็ตยังเกี่ยวโยงกับความเป็นไปของ ระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ ระดับภูมิภาค จนถึงระดับโลกอย่างไม่ สามารถแยกจากกันได้มาโดยตลอด ถ้าพิจารณาจังหวัดภูเก็ตใกล้ชิดยิ่งขึ้นจะเห็นเหตุการณ ์ ที่น่าสนใจค้นคว้าต่อ เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภูเก็ตมีความ หลากหลายของประชากร ชาวพื้นเมืองเคยลุกฮือขับไล่ชาว ฮอลันดาออกไปจากเกาะ เจ้าเมืองภูเก็ตมีเชื้อสายและฐาน อำนาจสำคัญมาจากเมืองไทรบุรีสืบมาตั้งแต่ปลายกรุง ศรีอยุธยาจนสิ้นระบบเจ้าเมือง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภูเก็ต ได้มีชาวจีนโยกย้ายเข้ามามาก มีการลุกฮือของกลุ่มอั้งยี่ ภูเก็ต แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่เป็นเมืองราชทรัพย์ที่เสียภาษีให้กับ

บทนำ รัฐสูงมาก ภูเก็ตเป็นจุดเริ่มในการสร้างฐานะของคหบดีตระกูล สำคัญจำนวนมากที่ต่อมาได้มีบทบาทในระดับจังหวัด ระดับ ภาคใต้ ระดับประเทศ จนถึงระดับภูมิภาค ต่อมาหลังจาก เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ที่มีการต่อสู้ต่อรองของ กลุ่มการเมืองต่างๆ อย่างเข้มข้นก็สามารถพบลักษณะเหล่านั้น ได้ในการเมืองของจังหวัดภูเก็ตเช่นกัน ซึ่งจะพบได้จากการ ศึกษาถึงการเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีการ เปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ ของจังหวัดภูเก็ตมาตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2554 ซึ่งภูเก็ตได้กลายมา เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ แรงงานรับจ้างเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก ในด้านเศรษฐกิจก็จะพบว่า ในปัจจุบันผู้ที่ลงทุน ในกิจการต่างๆ มีทั้งกลุ่มทุนท้องถิ่น และกลุ่มทุนจากภายนอก เข้ามาดำเนินการ มีการเคลื่อนย้ายทุนอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ จังหวัดภูเก็ตในแต่ละสมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา ย่อม เกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกับสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม ดังที่กล่าวมา จึงน่าศึกษาว่า นักการเมืองถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันเข้ามาและดำรงอยู่ด้วยเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ในจังหวัดภเู ก็ต 1.2.2 เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ นักการเมืองในจังหวัดภเู ก็ต 1.2.3 เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนในการสนับสนุน ทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดภเู ก็ต 1.2.4 เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของ พรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดภเู ก็ต 1.2.5 เพื่อทราบถึงวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของ นักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต 1.3 ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาการเมืองของนักการเมืองระดับชาติ ตั้งแต่ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดในจังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2554 โดยเจาะลึกประวัตินักการเมืองถิ่นในแต่ละช่วงเวลา/ยุค สำหรับนักการเมืองที่เสียชีวิตแล้วจะศึกษาจากเอกสาร และ สัมภาษณ์ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หัวคะแนน ประชาชน เพื่อ ให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยให้ประเด็นที่ศึกษาครอบคลุมประเด็น ตามวัตถุประสงค์การศึกษา และสรุปให้เห็นภาพรวม ของพัฒนาการการเมืองในจังหวัดภูเก็ตจากอดีตถึงปัจจุบัน

บทนำ ตลอดจนนักการเมืองที่สำคัญหรือโดดเด่น และแนวโน้ม การเมืองในจังหวัด 1.4 วิธีการศึกษา การศึกษานี้จะอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือ สำคัญในการศึกษา ได้แก่ การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ และการสัมภาษณ์นักการเมือง ตลอดจนบุคคลที่ สามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึงนักการเมืองได้ เช่น ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หัวคะแนน และประชาชน 1.5 ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะได้รับ 1.5.1 เข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 1.5.2 ได้ทราบว่า ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองคนใดในจังหวัดภูเก็ตได้รับการเลือกตั้งบ้าง และ ชัยชนะของนักการเมืองเหล่านี้มีสาเหตุและปัจจัยอะไร สนับสนุน 1.5.3 ได้ทราบถึงความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีต่อนักการเมืองในจังหวัดภูเก็ต 1.5.4 ได้ทราบถึงความสำคัญของพรรคการเมืองในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดภเู ก็ต 1.5.5 ไดท้ ราบรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ งๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการเลือกตั้ง

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 1.5.6 ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ การเมืองถิ่น และ นักการเมืองถิ่น สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป

บ2ทท ี่ ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตได้ชื่อว่า เป็นจังหวัดที่โดดเด่นในด้านการ เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นจังหวัดที่เป็นเกาะ มีชายหาดสวยงาม มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตศูนย์สูตร อยู่ในเขตอิทธิพลของลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน เมษายน ถึงเดือนพฤศจิกายน และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน ธันวาคม ถึงเดือนมีนาคม เกาะภูเก็ตเดิมเป็นผืนดินอยู่ส่วนปลายสุดของผืนดิน ใหญ่ต่อเนื่องมาจากจังหวัดพังงาที่ถูกดันออกมาทางใต้กลาย เป็นแหลมยาว ๆ อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัด สุราษฎร์ธานี และพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่นี้ออกจาก ผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่าง จังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่อง น้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บนเกาะภูเก็ต ข้อมลู จาก ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ระบุว่า ได้มีการค้นพบหลักฐาน ทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ขุดพบ เครื่องมือหิน และขวานหินอันแสดงว่า มีมนุษย์อาศัยในดินแดน แถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้ว1 นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้ในชื่อเรียกต่างๆ คือเมื่อ พ.ศ. 700 พบในบันทึกของนักเดินเรือชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี เรียกแผ่นดิน ในส่วนนี้ว่า “แหลมตะโกลา” ต่อมาได้พบหลักฐานการ กล่าวถึงผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้งหนึ่งจากบันทึก และแผนที่ การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรประหว่าง พ.ศ. 2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า “จังซีลอน” นอกจากนี้ได้มีหลักฐาน เกี่ยวกับการเรียกชื่อผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ. 1568 ว่า “มณิคราม” อันหมายถึงเมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับ ชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฏในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ใน พ.ศ. 2328 คำว่า “ภูเก็จ” ได้ถูกใช้เรียกและเขียนเรื่อยมาจนกลาย 1 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต. http://www.phuketculture.net (สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2557).

ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็น ภูเก็ต ต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมาทางการ จึงประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาให้เปลี่ยนเป็นเขียนว่า “ภูเก็ต” มาจนปัจจุบันนี้ ดังนั้นชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการ เรียกตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น มีหลายคำ ได้แก่ แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต บางครั้ง ยังได้มีการเรียกว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคา ร่วมด้วย (เพิ่งอ้าง) สำหรับในรายงานนี้จะให้คำว่า ภูเก็ต เป็นหลักนอกจาก คำเฉพาะและบางแห่งตามความเหมาะสม 2.1 ท่ีต้ังและสภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดภูเก็ตอยู่ด้านฝั่งทะเลตะวันตกในภาคใต้ตอนบน2 อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 402 รวมระยะทาง 867 กิโลเมตร หรือ 688 กิโลเมตรทางอากาศ มีลักษณะเป็น หมู่เกาะวางตัวในแนวจากทิศเหนือไปทิศใต้ในทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ส่วนกว้างที่สุดของเกาะภูเก็ตเท่ากับ 21.3 กิโลเมตร ส่วนยาว ที่สุดของเกาะภูเก็ตเท่ากับ 48.7 กิโลเมตร มีเกาะบริวาร 32 เกาะ ตัวเกาะภูเก็ตมีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร ส่วนเกาะบริวารมีพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ทั้งหมด 570.034 ตารางกิโลเมตร หรือ 356,271.25 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ 2 ข้อมูลในบทนี้ส่วนใหญ่นำมาจาก บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2555

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต ทิศเหนือ ติดติดช่องแคบปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพาน สารสิน และเทพกระษัตรี ทิศตะวันออก ติดทะเลเขตจังหวัดพังงา ทิศใต้ ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตก ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 70 เป็นภูเขา มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง สูงจากระดับ น้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร และประมาณร้อยละ 30 เป็น พื้นที่ราบอยู่ตอนกลาง และตะวันออกของเกาะ พื้นที่ชายฝั่ง ด้านตะวันออกเป็นดินเลน และป่าชายเลน ชายฝั่งทะเลด้าน ตะวันตกเป็นภูเขา หาดทรายที่สวยงาม 10

ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ภาพที่ 2.1 แผนทจี่ งั หวดั ภูเก็ต ที่มา: http://www.phuket.go.th/webpk/images/courthouse/mapPhuket.gif 11

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 2.2 สภาพเศรษฐกิจ ในอดีตภาพรวมของเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ตขึ้นอยู่กับ การทำเหมืองแร่ของนายทุน และการทำเกษตรของชาวบ้าน ทั่วไป ต่อมาตั้งแต่ประมาณทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา การทำ เหมืองแร่ซบเซาลง ขณะที่การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อ เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น ลักษณะทางเศรษฐกิจ และ การประกอบอาชีพของประชาชนเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สำคัญ ต่อลักษณะการเมืองที่เกิดขึ้น ปัจจุบันการประกอบอาชีพของ ชาวจังหวัดภูเก็ต นอกจากการท่องเที่ยวแล้วก็ยังมีอาชีพอื่น ที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพนอกภาคการเกษตร การประกอบอาชีพของประชากรและครัวเรือนส่วนใหญ่ ของจังหวัดภูเก็ตที่สำรวจโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ภูเก็ตใน พ.ศ. 2554 พบว่า ส่วนใหญ่ชาวภูเก็ตประกอบอาชีพ นอกภาคเกษตรมากกว่า คือ รับจ้างทั่วไปมากที่สุดจำนวน 34,407 คน สว่ นอาชพี อน่ื รองลงมาทม่ี จี ำนวนจากมากไปหานอ้ ย คือ นักเรียน นักศึกษา 13,538 คน ค้าขาย 8,365 คน ธุรกิจ สว่ นตวั 7,962 คน พนกั งานบรษิ ทั 6,638 คน ไมม่ อี าชพี 3,015 คน รับราชการ 2,343 คน ทำสวน 1,534 คน รัฐวิสาหกิจ 693 คน ประมง 624 คน ทำไร่ 38 คน ปศุสัตว์ 8 คน ทำนา 6 คน และอาชีพอื่นๆ 8,079 คน ด้านโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ ถ้าพิจารณาจาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมและรายได้ของประชากรของจังหวัดภูเก็ต ณ พ.ศ. 2553 ที่สำรวจโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า มีความสอดคล้อง 12

ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง กัน คือ มีผลิตภัณฑ์นอกภาคเกษตรสูงกว่าผลิตภัณฑ์ภาค เกษตรถึงกว่า 13 เท่า ดังตารางที่ 2.1 ตารางท่ี 2.1 แสดงผลิตภัณฑ์จังหวัด จำแนกตามสาขา การผลติ พ.ศ. 2553 รายการ พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553 (%) +10.44 ภาคเกษตร (ล้านบาท) 4,813 5,374 +11.15 +11.10 นอกภาคเกษตร (ล้านบาท) 65,383 73,590 +9.93 ผลิตภัณฑ์จังหวัด (ล้านบาท) 70,196 78,964 +1.33 มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว 236,461 262,529 (บาท) ประชากร (1,000 คน) 297 301 ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถ้าจะพิจารณาเฉพาะการผลิตในภาคเกษตรกรรมใน พื้นที่จังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่จะพบว่า เป็นการทำสวนยางพารา สับปะรดกระจัดกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ แต่มีจำนวนพื้นที่ไม่มาก นัก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกษตรกรปรับมาดำเนินการด้านการท่องเที่ยวแทน พื้นที่ ทำการเกษตรประเภทต่าง ๆ คือ สวนยางพารา 101,064 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น 25,244 ไร่ พืชผัก 3,909 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ 200 ไร่ ด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2552 มีจำนวน 432 โรงงาน มีคนงานทั้งหมด 7,073 คน มีปริมาณเงินทุนรวม 7,603 ล้านบาท 13

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต สำหรับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งทำรายได้ที่สำคัญของ จังหวัดภูเก็ต การท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้มี นายทุนจากภายนอกทั้งระดับประเทศและระดับโลกเข้ามา ลงทุน และมีบทบาทในจังหวัดภูเก็ตมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจ ของจังหวัดภูเก็ตโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวผูกโยงกับ ทุนภายนอกและมีความสำคัญมากขึ้น ขณะที่การขยายตัวด้าน การท่องเที่ยวยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง พบว่า ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ต มีทรัพยากรการท่องเที่ยวหลากหลายประเภท ได้แก่ - แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ แบ่งเป็น แหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แหล่งท่องเที่ยวประเภทเกาะ จุดชมทิวทัศน์ เช่น หาดป่าตอง อ่าวปอ น้ำตกโตนไทร เกาะราชาใหญ่ แหลมพรหมเทพ - แหล่งท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์ เช่น อาคาร ศิลปะแบบชิโน-โปรตุกีส วัดฉลอง - แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง - แหล่งท่องเที่ยวประเภทกิจกรรมและความสนใจ พิเศษ เช่น แหล่งดำน้ำ สนามขี่ม้า สปา เป็นต้น จังหวัดภูเก็ตยังมีสิ่งที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวหลายอย่าง เช่น ท่าเทียบเรือ ใน พ.ศ. 2552 มีการขึ้นทะเบียนท่าเทียบเรือ รวม 33 แห่ง แบ่งเป็น ท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ 3 แห่ง ท่าเทียบเรือประมงรัฐ/เอกชน 14 แห่ง และท่าเทียบเรือพาณิชย์ และขนส่ง 16 แห่ง นอกจากนี้ยังมีท่าเทียบเรือมารีน่าเอกชนอีก 14

ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 4 แห่ง เพื่อรองรับลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่ม ี รายได้สูง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ ในมารีน่า ส่วนใหญ่มีบริการต่าง ๆ เช่น ท่าจอดเรือยอร์ช บริการซ่อมเรือ ยอร์ช บริการให้เช่าเรือยอร์ช ร้านอาหาร ร้านค้า ที่พัก เป็นต้น สนามบินนานาชาติ มี 1 แห่ง ใน พ.ศ. 2553 มีเที่ยวบิน ทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 21,818 เที่ยวบิน มีผู้โดยสาร เข้าออก จำนวน 3,092,148 คน โรงพยาบาล ใน พ.ศ. 2553 จังหวัดภูเก็ตมีโรงพยาบาล ของรัฐ 3 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จำนวน 503 เตียง โรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลถลาง จำนวน 60 เตียง โรงพยาบาลป่า ตอง จำนวน 60 เตียง มีโรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลสิริโรจน์ จำนวน 151 เตียง โรงพยาบาลกรุงเทพฯ ภูเก็ต จำนวน 200 เตียง โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต จำนวน 83 เตียง และใน พ.ศ. 2554 องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เปิดให้บริการโรงพยาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวน 129 เตียง 2.3 สภาพสังคมและวัฒนธรรม ในด้านประชากรของจังหวัดภูเก็ตซึ่งถือว่า เป็นฐานเสียง ทางการเมืองของผู้ที่ลงรับสมัครรับเลือกตั้งนั้น ประชากร ในจังหวัดภูเก็ตมีจำนวนมากและหลากหลายกลุ่ม จากการ สำรวจ ณ กันยายน 2554 พบว่า ประชากรของจังหวัดภูเก็ต มี 186,848 ครัวเรือน คิดเป็นจำนวน 351,909 คน แบ่งเป็น 15

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ชาย 166,513 คน หญิง 185,396 คน ความหนาแน่นของ ประชากร 617 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ จังหวัดภูเก็ตยังมีจำนวนประชากรแฝงอยู่สูง โดยใน พ.ศ. 2552 มีประชากรแฝงที่เป็นชาวไทยจำนวน 103,895 คน คิดเป็นร้อยละ 31.77 ของประชากรตามทะเบียน ราษฎร ประชากรแฝงที่เป็นชาวไทยส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอ เมืองภูเก็ต ร้อยละ 79.01 อำเภอกระทู้ ร้อยละ 24.30 และ อำเภอถลาง ร้อยละ 3.92 ส่วนใหญ่เป็นประชากรทั่วไปที่อพยพ เข้ามาตามคู่สมรส และกลุ่มคนทำงานแรงงานทุกประเภท นอกจากนั้น เป็นนักเรียน นักศึกษา จังหวัดภูเก็ตยังมีแรงงาน ต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ข้อมูล จากสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตระบุว่า ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 มีแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นและขอรับ ใบอนุญาตทำงานรวมทั้งสิ้น 136,136 คน แบ่งเป็นแรงงาน ต่างด้าวสัญชาติพม่าเป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 99 (134,594 คน) รองลงมาร้อยละ 1 เป็นแรงงานสัญชาติลาว (904 คน) และ กัมพูชา (138 คน) และจังหวัดภูเก็ตยังมีนักท่องเที่ยวเดินทาง เข้ามาจำนวนมากมิได้ขาด จังหวัดภูเก็ตจึงมีความหลากหลายทางด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมมากจนผสมผสานเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ใน พ.ศ. 2553 มีผู้นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 246,739 คน นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 84,210 คน นับถือศาสนาคริสต์ จำนวน 4,537 คน และนับถือศาสนาอื่น ๆ จำนวน 1,450 คน ในจังหวัดภูเก็ตมีประเพณีและกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ปฏิบัติประจำปี 16

ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ซึ่งปัจจุบันได้เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวแทบตลอดปี คือ ประเพณตี รษุ จนี ประเพณไี หวเ้ ทวดา ประเพณสี ารทจนี งานพอ้ ตอ่ ประเพณีไหว้พระจันทร์ ประเพณีกินเจ ประเพณีลอยเรือ ประเพณสี ารทไทย (เดอื นสบิ ) งานทา้ วเทพกระษตั ร-ี ทา้ วศรสี นุ ทร ประเพณีเช็งเม้ง ประเพณีปล่อยเต่า เทศกาลอาหารทะเล ภูเก็ต ลากูน่าไตรกีฬา ประเพณีเดินเต่า เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว ภูเก็ต และงานแข่งเรือใบชิงถ้วยพระราชทา สิ่งเหล่านี้ยังเป็น องค์ประกอบที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัด ภูเก็ต 2.4 การบริหารและการปกครอง รูปแบบการบริหารและการปกครองเป็นสิ่งที่กำหนดให้ ประชากรรวมกลุ่มกันตามขอบเขตของการบริหารและการ ปกครอง ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อการขยายบทบาททางการเมือง ของนักการเมืองถิ่น เนื่องจากนักการเมืองจะใช้เป็นตัวกำหนด เบื้องต้นต่อการขยายฐานเสียงและบทบาททางเมือง การบริหาร และการปกครองในจังหวัดภูเก็ตแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น 2.4.1 สภาพเศรษฐกิจ จังหวัดภูเก็ต แบ่งออกเป็น 3 อำเภอ มี 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน 44 ชุมชน คือ 1) อำเภอเมืองภูเก็ต ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2481 มีพื้นที่ 224.000 ตารางกิโลเมตร ห่างจากจังหวัด 1 กิโลเมตร มี 8 ตำบล 17

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 44 หมู่บ้าน 22 ชุมชน (อยู่ในเขตเทศบาลนครภเู ก็ต 18 ชุมชน) 2) อำเภอกะทู้ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2457 มีพื้นที่ 67.034 ตาราง กิโลเมตร ห่างจากจังหวัด 10 กิโลเมตร มี 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน 21 ชุมชน (อยู่ในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง 7 ชุมชน เขตเทศบาล เมืองกะทู้ 19 ชุมชน) 3) อำเภอถลาง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2441 มีพื้นที่ 252.000 ตารางกิโลเมตร ห่างจากจังหวัด 19 กิโลเมตร มี 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน 2.4.2 การบริหารราชการส่วนท้องถ่ิน จังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แบ่งเป็น 1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด มี 1 แห่ง คือ องค์การ บริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 2) เทศบาล มี 11 แห่ง แบ่งเป็น 2.1) เทศบาลนคร มี 1 แห่ง คือ เทศบาลนครภเู ก็ต 2.2) เทศบาลเมอื ง มี 2 แหง่ คอื เทศบาลเมอื งปา่ ตอง และเทศบาลเมืองกะทู้ 2.3) เทศบาลตำบล มี 8 แห่ง คือ เทศบาลตำบล กะรน เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี เทศบาลตำบลเชิงทะเล เทศบาลตำบลรัษฎา เทศบาลตำบลวิชิต เทศบาลตำบลราไวย์ เทศบาลตำบลฉลอง และเทศบาลตำบลศรีสุนทร 18

ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 3) องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบล มี 7 แหง่ คอื อบต.เกาะแกว้ อบต.กมลา อบต.ป่าคลอก อบต.สาคู อบต.ไม้ขาว อบต. เชิงทะเล และ อบต.เทพกระษัตรี นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดแบ่งเขตในการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารที่มีผลต่อการเมืองในท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เดิมการ กำหนดแบ่งเขตในการเลือกตั้งของจังหวัดภูเก็ตในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีเพียงเขตเดียว หรือไม่มีการแบ่งเขต ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 จึงได้แบ่งเป็น 2 เขตมาจนปัจจุบัน นอกจากในการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ได้รวมเป็นเขตเดียวอีกครั้งหนึ่ง เขตเลือกตั้ง ทั้ง 2 เขต ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองภูเก็ต ทั้งหมด ยกเว้น ต.รัษฎา และ ต.เกาะแก้ว เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ ต.รัษฎา ต.เกาะแก้ว อ.เมืองภูเก็ต อ.ถลาง และ อ.กะทู้ จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า สภาพทั่วไปที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของจังหวัดภูเก็ตมีทั้งด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะ มีอากาศดี มีชายหาดเหมาะแกก่ ารท่องเทีย่ วจนไดช้ ื่อว่าไขม่ กุ แห่งอนั ดามัน ป ั จ จ ุ บ ั น ป ร ะ ช า ก ร ข อ ง จ ั ง ห ว ั ด ภู เ ก ็ ต ม ี จ ำ น ว น ม า ก แ ล ะ หลากหลาย ทั้งที่เป็นชาวภูเก็ตโดยตรงและประชากรแฝง เช่น นักศึกษา นักท่องเที่ยว ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบการทั้งที่เป็น ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตมีการลงทุน จากภายนอกเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในด้านเศรษฐกิจหลักของ 19

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต จ ั ง ห ว ั ด ภู เ ก ็ ต ก ็ ไ ด ้ เ ป ล ี ่ ย น จ า ก ก า ร ท ำ เ ห ม ื อ ง แ ร ่ ม า เ ป ็ น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอันทำให้มีทุนจากภายนอกเข้ามี บทบาทมากขึ้นดังกล่าว และทำให้นายทุนท้องถิ่นต้องปรับตัว สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อลักษณะทางการเมืองของนักการเมือง ถิ่นและประชาชนในจังหวัดภูเก็ตที่มีอยู่ 3 อำเภอ และแบ่งเขต การเลือกตั้งเป็น 2 เขตในปัจจุบันให้มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง อย่างน่าสนใจ 20

บ3ทท ่ี แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 3.1 แนวคิดและทฤษฎี จากการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับพัฒนาการของเศรษฐกิจ การเมืองในจังหวัดภูเก็ตทำให้เห็นว่า แนวคิดหลักที่จะประยุกต์ มาใช้สำหรับการศึกษานักการเมืองถิ่นภูเก็ต ได้แก่ แนวคิด เกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ แนวคิดเกี่ยวกับพรรคการเมืองและ การเลือกตั้ง และแนวคิดกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ซึ่งทั้งหมดมีความสัมพันธ์กัน

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต 3.1.1 ระบบอุปถัมภ์ ระบบอุปถัมภ์ เป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งของคน 2 ฝ่ายที่มีอำนาจไม่เท่ากัน คนที่มีอำนาจน้อยกว่าจะต้องพึ่งพิง หรืออยู่ในความอุปถัมภ์ของคนที่มีอำนาจสูงกว่า โดยคนทั้ง สองฝ่ายต่างก็แลกเปลี่ยนหรือได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ขยายความสัมพันธ์ออกไปจนเป็นกลุ่มที่ใหญ่โตขึ้นโดยยังคง ความสัมพันธ์ในแนวดิ่งหรือความไม่เท่าเทียมกันไว้ ผู้ที่อยู่บน ยอดของความสัมพันธ์แต่ละกลุ่มจะเป็นหัวหน้าของกลุ่ม เมื่อรวมกันหลายกลุ่มมาอยู่ในโครงสร้างสังคมขนาดใหญ่ เดียวกันก็จะเป็นสังคมแบบศักดินา เป็นระบบรัฐแบบศักดินา ที่มีหลายกลุ่มมารวมกันและมีการต่อรองอำนาจกันระหว่าง กลุ่ม มีการเก็บส่วยหรือภาษีจากสมาชิกระดับล่างของกลุ่ม ต่าง ๆ ขึ้นมารวบรวมไว้ที่ส่วนกลางอันได้แก่รัฐ แต่ส่วยหรือ ภาษีอาจถูกกักไว้เพียงแค่ระดับหัวหน้าของแต่ละกลุ่ม และ ถ้ากลุ่มใดมีอำนาจมากก็มักจะพยายามแย่งชิงความเป็นใหญ่ เหนือกลุ่มอื่น ระบบโครงสร้างของรัฐแบบศักดินาที่อยู่บนฐาน ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ เป็นระบบที่มีความผันแปรสูง โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับรัฐที่อยู่ชายขอบอย่างเมืองถลางในอดีต เมื่อลักษณะเศรษฐกิจค่อยๆ พัฒนามาเป็นแบบทุนนิยม ทำให้โครงสร้างการเมืองแบบศักดินาหรืออุปถัมภ์ค่อยๆ ลดลง พร้อมกับการเกิดรัฐที่ใช้กฎหมาย และองค์กรที่เป็นทางการมา แทนที่มากขึ้น (เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา, 2551, น. 284) อย่างไร ก็ตาม ในช่วงเปลี่ยนผ่านก็อาจยังมีลักษณะระบบอุปถัมภ์ ปรากฏอยู่ เช่น การสะสมทุนของนายทุนในช่วงแรกมักจะเกิด 22

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง จากการหาประโยชน์จากความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์อย่างเข้มข้น ต่อมาก็ค่อยๆ อ่อนจางลง ในระดับโครงสร้างทางการเมืองของรัฐก็เช่นกัน ที่เมื่อ ก้าวสู่ยุคทุนนิยมก็จำเป็นต้องปรับให้เป็นระบบที่เรียกว่า รัฐสมัยใหม่ มากขึ้นพร้อมกับลดลักษณะของโครงสร้างที่เป็น แบบอุปถัมภ์หรือศักดินาให้น้อยลง ดังที่จะพบได้ในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ที่มีการปฏิรูปการปกครองเกิดขึ้นหลายครั้ง ระบบทุนทุนนิยมจะพัฒนาควบคู่กับระบบการเมืองแบบ ประชาธิปไตยเสรีนิยม ที่เมื่อถึงที่สุดแล้วจะปรับให้โครงสร้าง ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองเป็นแนวราบ ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน ซึ่งแตกต่างจากระบบศักดินาก่อนหน้านั้นอย่างสิ้น เชิง อย่างไรก็ตามในช่วงที่ยังไม่เป็นระบบทุนนิยมที่มีความ สมบูรณ์ลงตัวทุกด้าน ก็ยังคงมีรูปแบบการปกครองที่เป็นระบบ อุปถัมภ์อยู่ เช่น บทบาทของผู้มีอิทธิพลต่อการเมืองในระดับ ต่าง ๆ แม้จนในปัจจุบัน 3.1.2 แนวคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง และการเลือกต้ัง ในการที่จะทำให้โครงสร้างทางการเมืองมีความทันสมัย จะต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมรองรับ ระบบพรรคการเมืองและ การเลือกตั้งเป็นกลไกสำคัญของการเมืองแบบประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนมีช่องทางในการแสดงออกซึ่งความต้องการ และข้อเรียกร้อง พรรคการเมืองจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงาน ท้องถิ่น ในระบบที่พรรคการเมืองเข้มแข็งพรรคการเมือง จะมีหน้าที่สำคัญ 4 ประการ คือ เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ปกครอง กับผู้ถูกปกครอง เป็นผู้รวบรวมผลประโยชน์ที่หลากหลาย 23

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต เข้าด้วยกัน เลือกสรรผู้นำทางการเมืองในระดับต่าง ๆ และ กำหนดทิศทางของรัฐบาล (สิริพรรณ นกสวน, 2551, น. 243- 244) การทำบทบาททั้ง 4 ประการของพรรคการเมืองเพื่อให้ บรรลุถึงกระบวนการเคลื่อนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย (Democratization) ซึ่งจะเกิดเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบนั้น การเลือกตั้ง เป็นวิธีการเชิงปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดย กระบวนการเลือกตั้งต้องเกิดขึ้นภายใต้การมีสิทธิเสรีภาพของ ผู้เลือก ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า สภาวการณ์มีสิทธิเสรีภาพ จะแยกจากเงื่อนไขต่างๆ โดยสิ้นเชิง แต่การเลือกของผู้เลือก สัมพันธ์กับชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคมของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง อย่างแนบแน่น ความสำคัญของการเลือกตั้งในการปกครอง แบบประชาธิปไตยก็คือผลการเลือกตั้งจะสะท้อนความเป็นจริง ทางเศรษฐกิจ สังคมที่เป็นอยู่ อันจะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการ กำหนดทิศทางการเมืองของรัฐอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของ ประชาชน (ปฐมพงศ์ มโนหาญ, 2555, น.168) อย่างไรก็ตาม ทั้งพรรคการเมืองและการเลือกตั้งก็มีการ เปลี่ยนแปลงและพัฒนาตามบริบทที่เฉพาะเจาะจง เช่น พรรคการเมืองตะวันตกได้ปรับตัวมาแล้ว 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นพรรคชนชั้นนำ (ศตวรรษที่ 19) ช่วงที่ 2 เป็นพรรคมวลชน (1880) ช่วงที่ 3 เป็นพรรคหว่านกลุ่มเป้าหมาย (เริ่มจาก ค.ศ. 1945) และช่วงที่ 4 เป็นพรรคสมาพันธ์ (เริ่มจาก ค.ศ. 1970) สิ่งที่ต้องตระหนักสำหรับการศึกษาพรรคการเมืองไทย คือ ที่ผ่านมาการศึกษาพรรคการเมืองไทยส่วนมากจะยึดหลักการ และทฤษฎีตะวันตกเป็นเกณฑ์ ส่วนมากมักเน้นย้ำให้ความ 24

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำคัญกับระบบอุปถัมภ์ และมักใช้แนวคิดเรื่องรัฐราชการ มาอธิบาย แต่พัฒนาการของพรรคการเมืองไทยไม่ได้เป็นไป ตามขั้นตอนแบบตะวันตก และแนวคิดบางอย่างก็อาจไม่ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว ดังนั้น สิริพรรณ นกสวน ((ข), 2551, น. 252-253, 257-266) จึงได้เสนอ ว่า สิ่งที่ต้องทำในการศึกษาเรื่องพรรคการเมืองของไทย คือ การมองให้ลึกซึ้งขึ้นและชัดขึ้น และนำความเข้าใจนั้นมาสร้าง แนวคิดที่สามารถผูกโยงทฤษฎีเข้ากับเนื้อหาสาระของสังคม ไทย 3.1.3 แนวคิดกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) การนำแนวคิดกลุ่มผลประโยชน์ มาปรับใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ จะพิจารณาการเมืองในมิติที่ไม่เป็นทางการซึ่งอาจจะพบ ในการศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต โดยมีแนวคิดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้องกันด้วย คือ แนวคิด กลุ่มผลักดัน (Pressure groups) แนวคิดเหล่านี้สอดคล้องกับทฤษฏีพหุนิยม ที่มีหลักการสำคัญว่า ประชาธิปไตยจะมีขึ้นและมั่งคงได้จะต้อง มีกลุ่มมากมายหลากหลายอยู่ภายในรัฐ กลุ่มต่างๆ ต้องเกิดขึ้น และดำเนินการโดยสมัครใจของสมาชิก และตามแนวคิด พหุนิยมทางการเมือง (Political pluralism) ก็เห็นว่า ต้องให้มี สถาบัน หรือองค์การอิสระต่างๆ ทำหน้าที่ควบคุมและจำกัด อำนาจของรัฐให้เหลือน้อยที่สุด เช่น พรรคการเมือง สหภาพแรงงาน สมาคมอาชีพ และสอดคล้องกับแนวคิด ประชาธิปไตยแบบสมาคม (Associative Democracy) ที่ต้องการ ทำให้สมาคมและการรวมกลุ่มในระบบการเมืองมีความเข้มแข็ง ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างรัฐและประชาชน 25

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต (สิริพรรณ นกสวน (ก), 2551, น. 67-68) กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) หมายถึง กลุ่มที ่ จัดตั้งขึ้นเพื่อภารกิจหรือผลประโยชน์เฉพาะอย่าง ซึ่งอาจ หมายถึงผลประโยชน์เฉพาะของกลุ่มหรือผลประโยชน์ สาธารณะ รวมถึงจุดหมายสุดท้าย คือ การมีอิทธิพลเหนือ นโยบายสาธารณะ เมื่อกลุ่มผลประโยชน์ลงมือปฏิบัติการก็จะ เป็น กลุ่มผลักดัน (Pressure groups) เป้าหมายของกลุ่มผลักดัน ไม่ได้การชัยชนะเพื่อจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศเหมือนกับ พรรคการเมือง แต่คือผลประโยชน์ในการเป็นเจ้าของหรือ มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่จะมีผลโดยตรง หรือโดยอ้อมต่อสมาชิกของกลุ่มตน วธิ กี ารในการทจ่ี ะบรรลถุ งึ เปา้ หมายของกลมุ่ ผลประโยชน์ และกลุ่มผลักดันตามแนวทางพหุนิยม คือ การพยายามที่จะ เข้าไปมีอิทธิพลเหนือมติมหาชน (Public opinion) เหนือการ ตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ วิธีการที่กลุ่มผลักดันมักใช้ คือ ลอบบี้ (Lobbies) องค์การต่างๆ เช่น องค์กรทางด้านธุรกิจ องค์การเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน องค์การทางเกษตรกรรม สหภาพแรงงานทั่วๆ ไป องค์การทาง ศีลธรรม องค์การทางศาสนา เป็นต้น กลุ่มผลประโยชน์ ถ้ามีการเคลื่อนไหวทางการเมือง (Political Movement) อยา่ งตอ่ เนอ่ื งกอ็ าจพฒั นาเปน็ พรรคการเมอื ง (Political Party) ได้ ดังเช่นการเกิดขึ้นของพรรคแรงงานใน อังกฤษ 26

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3.2 งานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง งานวิจัยที่สำรวจเพื่อศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ งานศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองของ จังหวัดภูเก็ต งานศึกษาเกี่ยวกับบริบทของเศรษฐกิจการเมือง จังหวัดภูเก็ต และงานศึกษาเกี่ยวกับนักการเมืองถิ่น 3.2.1 งานศึกษาเก่ียวกับเศรษฐกิจการเมืองของจังหวัดภูเก็ต งานวิจัยกลุ่มนี้แบ่งได้เป็นสภาพของจังหวัดภูเก็ตในอดีต และในปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองของภูเก็ต ในอดีตมีอยู่หลายชิ้น เช่น สุรีย์ เลียงแสงทอง (2524) ศึกษา เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจเมืองภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ. 2396-2475, นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2528/2550) ศึกษาเรื่อง จากรัฐชายขอบถึงมณฑลเทศาภิบาล: ความ เสื่อมสลายของกลุ่มอำนาจเดิมในเกาะภูเก็ต, พวงทิพย์ เกียรติสหกุล (2534) ศึกษาเรื่อง บทบาทชาวจีนและ ชาวตะวันตกต่อกิจการเหมืองแร่ดีบุกของมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่พุทธศตวรรษท่ี 25-พ.ศ. 2474, นวลศรี พงศ์ภัทรวัต (2543) ศึกษาเร่ือง บทบาทผู้นำชาวจีนฮกเก้ียนในเกาะ ภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ. 2396-2475 เป็นต้น งานศึกษาเหล่านี้ ทำให้ทราบถึงถึงการสะสมทุนทางเศรษฐกิจและการ เปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองในอดีตโดยเฉพาะช่วงต้นสมัย กรุงรัตนโกสินทร์จนถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ซึ่งทำให้เห็นถึงการสร้างฐานทางเศรษฐกิจสังคม ของผู้ที่มีบทบาททางการเมืองในภูเก็ตช่วง พ.ศ. 2475 เป็นต้น มาซึ่งมีผลประโยชน์จากแร่ดีบุก และเป็นช่วงของการพยายาม 27

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางของสยาม ส่วนงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองของภูเก็ตใน ปัจจุบันหรือร่วมสมัย เช่น สุดารา สุจฉายา ( 2543) เป็น บรรณาธิการ ภูเก็ต, อัปสร ณ ระนอง (2552) ศึกษาเร่ือง การ เปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจจากกิจการเหมืองแร่ดีบุกสู่ อุตสาหกรรมการท่องเท่ียวในจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2484- 2530, หนึ่งหทัย อินทขันตี (2554) ศึกษาเรื่อง พลวัตการ ปรับตัวของกลุ่มทุนภูเก็ต พ.ศ. 2515-2551 เป็นต้น งานกลุ่มนี้ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ของจังหวัดภูเก็ตจากการทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีตมาสู่การเป็น เมืองแห่งการท่องเที่ยวที่มีกลุ่มทุนจากภายนอกเข้ามาลงทุน ในปัจจุบัน ขณะที่การศึกษาของสุจารี ไชยบุญ (2554) เร่ือง แลภูเก็ตในยุคอุตสาหกรรมไร้ปล่องควัน ได้กล่าวถึง ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อมและคนใน ท้องถิ่น 3.2.2 งานศึกษาเก่ียวกับบริบทของเศรษฐกิจการเมืองจังหวัด ภูเก็ต งานศึกษากลุ่มนี้จะทำให้ทราบถึงลักษณะเชิงมหภาค ที่รายล้อมความเป็นไปของจังหวัดภูเก็ต เช่น พรรณี อวนสกุล (2522) ศึกษาเร่ือง กิจการเหมืองแร่กับการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจภาคใต้ พ.ศ. 2411-2474, วชิราวรรณ ตัณฑะหงษ์ (2522) ศึกษาเร่ือง นโยบายเศรษฐกิจท่ีมีต่อ หัวเมืองไทยฝ่ังตะวันตกสมัยรัชกาลที่ 5, อุษณีย์ ฉวีกุลรัตน์ (2526/2550) ศึกษาเร่ือง การเก็บภาษีอากรหัวเมืองฝ่าย 28

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ทะเลตะวันตก, วิไล พงศ์ภัทรกิจ (2542) ศึกษาเรื่อง บทบาท ของเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์): ข้าหลวง สำเร็จราชการหัวเมืองฝั่งตะวันตกระหว่าง พ.ศ. 2329- 2350, สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ดิลก วุฒิพาณิชย์ และ ประสิทธิ์ ชิณการณ์ (2544) ศึกษาเร่ือง จีนทักษิณ วิถีและพลัง, ภูวดล ทรงประเสริฐ (2546) ศึกษาเร่ือง ทุนจีนปักษ์ใต้: ภูมิหลัง เบื้องลึกทุนใหญ่โพ้นทะเล เป็นต้น งานศึกษาเหล่านี้ทำให้ เข้าใจถึงสภาพของภาคใต้โดยรวมและมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ภเู ก็ตโดยตรงด้วย นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวทาง เศรษฐกิจการเมืองในขอบเขตที่กว้างกว่าภาคใต้ ซึ่งสามารถ เชื่อมโยงมาถึงภูเก็ต เช่น ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์ (2539/2542) ศึกษาเร่ือง เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัย กรุงเทพฯ, การศึกษาหลายชิ้นของภูวดล ทรงประเสริฐ คือ (2545) ศึกษาเร่ือง The OVERSEAS CHINESE ลอดลาย มังกรโพ้นทะเล, (2547) ศึกษาเรื่อง จีนโพ้นทะเลสมัยใหม่ รวมถึงการศึกษาปรับตัวทางเศรษฐกิจการเมืองในพื้นที่ อ่ืนท่ีสามารถนำมาเปรียบเทียบกับภูเก็ตได้ เช่น ปลายอ้อ ชนะนนท์ (2530) ศึกษาเรื่อง พ่อค้ากับพัฒนาการระบบ ทุนนิยมภาคเหนือ พ.ศ. 2464-2523, เวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2552) ศกึ ษาเรอ่ื ง ทนุ เชยี งใหม่ เป็นต้น 3.2.3 งานศึกษาเกี่ยวกับนักการเมืองถ่ิน ผู้วิจัยได้สำรวจกลุ่มงานศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับ นักการเมืองถิ่นจากงานวิจัยในชุดโครงการสำรวจเพื่อประมวล 29

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ข้อมูลนักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่สนับสนุนโดย สถาบันพระปกเกล้าที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ได้ทราบถึงแนวคิดวิธีการ ในการเขา้ มาสกู่ ารเมอื งและการรกั ษาสถานภาพของนกั การเมอื ง ที่มีความหลากหลายไปตามเหตุปัจจัยของจังหวัดต่าง ๆ เช่น ณรงค์ บุญสวยขวัญ (2548) ศึกษาเร่ือง นักการเมืองถ่ิน จังหวัดนครศรีธรรมราช, พรชัย เทพปัญญา ได้ศึกษาใน 2 จังหวัด คือ (2549) ศึกษาเร่ือง นักการเมืองถิ่นจังหวัด ปทุมธานี และ (2552) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถ่ินจังหวัด ชลบุรี, บูฆอรี ยีหมะ (2549) ศึกษาเร่ือง นักการเมืองถิ่น จังหวัดปัตตานี, สุเชาวน์ มีหนองหว้า และ กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี, นิรันดร์ กุลฑานันท์ (2549) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถ่ิน จังหวัดบุรีรัมย์, ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง (2550) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงราย, ศรุดา สมพอง (2550) ศึกษาเร่ือง นักการเมืองถ่ินจังหวัดฉะเชิงเทรา, สานิตย์ เพชรกาฬ (2550) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง, พิชญ์ สมพอง (2551) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัด ยโสธร, ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์ (2551) ศึกษาเรื่อง นักการเมือง ถิ่นจังหวัดเลย, รักฎา เมธีโภคพงษ์ และ วีระ เลิศสมพร (2551) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่, ภาค ภูมิ ฤกขะเมธ (2552) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัด ตาก, ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (2553) ศึกษาเร่ือง นักการเมือง ถ่ินจังหวัดตรัง, วีระ เลิศสมพร (2553) ศึกษาเร่ือง นักการเมืองถ่ินจังหวัดแม่ฮ่องสอน, ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ (2553) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี, 30

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เก่ียวข้อง รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ (2553) ศึกษาเรื่อง นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ าน,ี ณชั ชานชุ พชิ ติ ธนารตั น์ (2554) ศึกษาเร่ือง นักการเมืองถิ่นจังหวัดเพชรบุรี, นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ (2554) ศึกษาเร่ือง นักการเมืองถิ่นจังหวัด สระแก้ว, กฤษณา ไวสำรวจ (2555) ศึกษาเร่ือง นักการเมือง ถ่ินจังหวัดสมุทรสงคราม, สิริกร กำพลังฤทธิ์ (2555) ศึกษา เรื่อง นกั การเมอื งถิ่นจังหวัดชยั ภูมิ เป็นต้น กล่าวโดยสรุป งานศึกษาที่ผู้ศึกษาได้สำรวจทั้ง 3 กลุ่ม คือ งานศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองของจังหวัดภูเก็ต งานศึกษาเกี่ยวกับบริบทของเศรษฐกิจการเมืองจังหวัดภูเก็ต และงานศึกษาเกี่ยวกับนักการเมืองถิ่น ไม่มีการศึกษาชิ้นใด ที่วิเคราะห์ถึงนักการเมืองถิ่นของจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 เป็นต้นมาโดยตรง อย่างไรก็ตาม งานศึกษาเหล่านี้ก็เป็นข้อมูล เบื้องต้นที่สำคัญมากในการศึกษาครั้งนี้ โดยจะนำมาประมวล รวมกับข้อมลู ที่ได้จากการสัมภาษณ์ สำหรับแนวคิดสำคัญที่จะนำมาปรับใช้ศึกษานักการ เมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ตจะพิจารณาผ่านแนวคิดระบบอุปถัมภ์ แนวคิดเกี่ยวกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง และแนวคิด กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) สมมุติฐานในการศึกษาคือเห็นว่า พื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดสภาพของการเมืองถิ่น ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเศรษฐกิจแบบทุนนิยมขยายตัวมากขึ้น จะผลักให้เกิดกลไกทางการเมืองที่ลงตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงของการเคลื่อนผ่านจะเกิดการต่อสู้ ต่อรองของกลุ่ม 31

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต ประโยชน์ต่างๆ ที่จะปรับใช้กลยุทธ์และทรัพยากรทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ตนมีอยู่เพื่อรักษาสถานะของตนเองไว้ การศึกษาผ่านบทบาทของนักการเมืองถิ่นน่าจะทำให้เข้าใจ ความสัมพันธ์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น โดยปรากฏให้เห็นผ่านการ สร้างและรักษาเครือข่ายความสัมพันธ์ และการคิดค้นรูปแบบ การหาเสียงที่การศึกษาครั้งนี้ต้องการค้นหาคำตอบ 32

บ4ทท ่ี นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต บทนี้จะกล่าวถึงภูมิหลังทางการเมืองของจังหวัดภูเก็ต การเลือกตั้ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) และการเมืองและนักการ เมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน 4.1 ภูมิหลังทางการเมืองของจังหวัดภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่เหมาะสำหรับทำการเกษตรน้อย แม้จะตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลแต่ในอดีตก็ไม่ได้เป็นท่าเรือหรือ ศูนย์กลางการค้าขายที่คึกคักเหมือนเมืองท่าอื่น ๆ ในละแวกนี้ แต่จุดเด่นของภูเก็ต คือ การที่มีแร่ดีบุกอย่างอุดมสมบูรณ์ทำให้ มีผู้คนหลากหลายกลุ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานนานแล้ว เช่น เคยมี

นักการเมืองถิ่นจังหวัดภูเก็ต คนจีนมาทำเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยสุโขทัย (วิลเลียม สกินเนอร์, 1957/2529, น. 1) ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของภูเก็ต คือ ในอดีตภูเก็ตตั้งอยู่ตรงชายขอบของศูนย์กลางอำนาจอื่น ๆ ทั้งที่ เป็นศูนย์อำนาจขนาดใหญ่อย่างอยุธยาหรือกรุงเทพฯ พม่า และศูนย์กลางอำนาจขนาดเล็กประจำถิ่นอย่างไทรบุรี นครศรีธรรมราช ปีนัง มะละกา (นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2528/2550, น. 237, 241) ในขณะที่ภูเก็ตเป็นแหล่งผลประโยชน์อันมหาศาล จากแร่ดีบุก ความเป็นไปบนเกาะภเู ก็ตจึงมีความเข้มข้น ถ้าอาศัยลักษณะทางเศรษฐกิจการเมืองเพื่อนำมา แ บ ่ ง ย ุ ค แ ห ่ ง ก า ร เ ป ล ี ่ ย น แ ป ล ง ท ี ่ เ ก ิ ด ข ึ ้ น บ น เ ก า ะ ภู เ ก ็ ต โดยพิจารณาผ่านการขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มต่างๆ ในแต่ละยุค ก็จะสามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค โดยสองยุคแรกอยู่ในช่วงก่อน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และสามยุคต่อจาก นั้นอยู่ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเป็นช่วงของการ ศึกษานักการเมืองถิ่นครั้งนี้ ได้แก่ ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 แบ่งเป็น ยุคที่ 1 การกุมอำนาจโดย เครือข่ายเจ้าเมือง (พ.ศ. 2253-2424) และยุคที่ 2 การกุมอำนาจ โดยรัฐส่วนกลางและการเริ่มสะสมทุนของชาวจีน (พ.ศ. 2425- 2574) ส่วนช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แบ่งเป็น ยุคที่ 1 การประลองกำลังหลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง (พ.ศ. 2475-2521) ยุคที่ 2 การค้นหาแนวทางหลัง ยุคเหมืองแร่ (พ.ศ. 2522-2534) และยุคที่ 3 การกุมอำนาจของ พรรคประชาธิปัตย์ท่ามกลางทุนโลกาภิวัตน์ (พ.ศ. 2535 ถึง ปัจจุบัน 2557) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 34

นักการเมืองถ่ินจังหวัดภูเก็ต 4.1.1 การเมืองของจังหวัดภูเก็ตช่วงก่อนการเปล่ียนแปลง การปกครอง พ.ศ. 2475 4.1.1.1 ยุ ค ท่ี 1 ก า ร กุ ม อ ำ น า จ โ ด ย เ ค รื อ ข่ า ย เจ้าเมอื ง (พ.ศ. 2253 ถงึ 2424) ภูเก็ต เดิมเรียกว่า ถลาง มีผู้คนหลากหลาย ชาติพันธุ์มาตั้งแต่อดีต เช่น ไทย มลายู จีน อินเดีย โปรตุเกส ฮอลันดา พม่า มอญ เนื่องจากภูเก็ตเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกล จึงไม่ได้รับการใส่ใจอย่างใกล้ชิดจากส่วนกลาง เช่น สมัย พระเจ้าทรงธรรมได้อนุญาตให้ชาวฮอลันดามาผูกขาดการค้า ดีบุก มาแต่งงานกับหญิงพื้นเมืองและทอดทิ้ง จนมีลูกครึ่งไม่มี พ่ออยู่บนเกาะจำนวนมากทั้งยังขดู รีดชาวบ้านเพื่อหากำไรอย่าง หนักจนชาวบ้านได้ลุกฮือขึ้นฆ่าฟันขับไล่ชาวฮอลันดาออกไปใน พ.ศ. 2204-2214 (สุดารา สุจฉายา, 2543, น. 47) เครือข่ายอำนาจของเจ้าเมืองถลางที่มีบทบาท สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันได้เริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2253 เมื่อพระเจ้า ท้ายสระได้ตั้งจอมเฒ่า ซึ่งเป็นขุนนางจากส่วนกลางอันอยู่ใน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมาเป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมือง ชายทะเลตะวันตกเพื่อจับช้างส่งขายให้บริษัทของอังกฤษ น้องชายของจอมเฒ่าชื่อจอมร้างได้เป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมือง ชายทะเลตะวันตกคนต่อมาและเป็นเจ้าเมืองถลาง ภรรยาของ จอมร้างชื่อหม่าเรี้ย ซึ่งเป็นธิดาของผู้ครองเมืองไทรบุรี (ปัญญา ศรีนาค, 2546, น. 27-32) จากนั้น เครือญาติกลุ่มนี้ก็ได้เป็น เจ้าเมืองถลางสืบต่อกันมาจนกลายเป็นกลุ่มอำนาจท้องถิ่น ที่มีบทบาทหลัก แม้ว่า บางช่วงจะมีการขัดแย้งกันภายในกลุ่ม 35


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook