Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 01ศิลปินแห่งชาติ 2561 S

01ศิลปินแห่งชาติ 2561 S

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-10-30 21:52:18

Description: 01ศิลปินแห่งชาติ 2561 S

Search

Read the Text Version

ศลิ ปนิ แห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑



ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑

ช่อื หนงั สอื ศลิ ปินแห่งชาติ พุทธศกั ราช ๒๕๖๑ ลิขสิทธ์ิ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวฒั นธรรม ข้อมูลทางบรรณานกุ รม ๙๒๗.๕๙๓ สง่ เสริมวัฒนธรรม, กรม ค ๑๒๓ ศ ศลิ ปนิ แห่งชาติ พุทธศกั ราช ๒๕๖๑/กรมส่งเสรมิ วัฒนธรรม กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพอ์ งค์การสงเคราะหท์ หารผ่านศกึ , ๒๕๖๑. ๓๒๘ หนา้ ISBN 978-616-543-592-5 ๑. ศิลปนิ แหง่ ชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑. ๒. ชื่อเรอ่ื ง

คำ�นิยม ศิลปินแห่งชาติ เป็นปราชญ์ผู้มีภูมิปัญญาเป็นเลิศด้านศิลปะ ถือเป็นปูชนียบุคคลอันลํ้าค่า ของประเทศ ด้วยความรู้ความสามารถท่ีได้ส่ังสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ปรากฏเป็นผลงาน อันทรงคุณค่า เป็นท่ียอมรับ ยกย่องช่ืนชม และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ของศิลปินรุ่นต่อมา รวมถึงชว่ ยเสรมิ สรา้ งภาพลกั ษณท์ ี่ดี และเผยแพรช่ อ่ื เสยี งของประเทศ รัฐบาลมีนโยบาย รักษา สืบทอด ศิลปวัฒนธรรมของชาติทุกสาขา รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุนศิลปินทุกประเภท เพ่ือการสร้างสรรค์ผลงานออกสู่สาธารณชน ดังน้ัน เพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติศิลปินให้มีขวัญกำ�ลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้เป็นมรดกของแผ่นดิน กระทรวง วฒั นธรรมโดยคณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาติ จงึ ไดป้ ระกาศยกยอ่ งศลิ ปนิ ผอู้ ทุ ศิ ตนในการสรา้ งสรรค์ ผลงานและถ่ายทอดผลงานศิลปะเป็นท่ีประจักษ์ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ มาต้ังแต่พุทธศักราช ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบัน ในนามของกระทรวงวัฒนธรรม ผมขอแสดงความยินดีและภาคภูมิใจกับศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ ทั้ง ๓ สาขา คือ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และสาขาศิลปะการแสดง จำ�นวน ๑๒ ท่าน เกยี รตปิ ระวตั ิผลงานของแตล่ ะทา่ นท่ีปรากฏในหนงั สอื ศลิ ปินแห่งชาตเิ ล่มนี้ จะเป็น ประโยชน์ และชว่ ยสร้างแรงบนั ดาลใจให้เกดิ แก่ศิลปนิ รุ่นใหม่ ขอขอบพระคุณศิลปนิ แห่งชาตทิ ุกๆ ทา่ น ที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการจรรโลงรักษาศิลปวัฒนธรรมของชาตไิ ทยใหค้ งอยูส่ ืบตอ่ ไป (นายวีระ โรจนพ์ จนรัตน์) รฐั มนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ศิลปนิ แหง่ ชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑ 3

คำ�ปรารภ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันท่ี ๒๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ เนื่องจาก ตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลท่ี ๒ แห่งกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ พระผู้ทรงพระปรชี าสามารถล้าํ เลิศในศิลปกรรมดา้ นต่างๆ นบั เป็นวันสำ�คัญยิ่ง ของประชาชนชาวไทย กระทรวงวัฒนธรรมได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของศิลปินทุกท่านท่ีได้ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกสาขาว่าสมควรจะได้รับการดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุนการสร้างสรรค์ ผลงานให้ปรากฏเป็นผลงานที่มีคุณค่า และสะท้อนความจริง ความงาม ท้ังน้ีงานศิลปะทุกช้ิน ทุกด้านล้วนเป็นภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน จึงได้มีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ทโ่ี ดดเดน่ ยกยอ่ งเชดิ ชูเกียรติเปน็ ศลิ ปนิ แหง่ ชาติประจำ�ทกุ ปี เพ่ือเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ และให้เกิดการพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม กระทรวง วัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะไว้เป็นมรดกสำ�คัญของชาติ จึงได้สืบค้น สรรหา คัดเลือก และประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ๓ สาขา ได้แก่ สาขาทศั นศลิ ป์ สาขาวรรณศลิ ป์ และสาขาศลิ ปะการแสดง มาตง้ั แตพ่ ทุ ธศกั ราช ๒๕๒๘ จนถงึ ปจั จบุ นั ได้มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ อีก ๑๒ คน ทำ�ให้ปัจจุบัน มศี ิลปินไดร้ บั การยกยอ่ งเชิดชเู กียรตเิ ปน็ ศลิ ปนิ แห่งชาตแิ ล้ว จำ�นวน ๓๐๗ คน ในโอกาสน้ี กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือศิลปิน แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ ขึ้น เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ และเผยแพร่ชีวประวัติและผลงาน รวมทั้งแนวคิดของผู้ที่ได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นศิลปิน แห่งชาติ โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรคผ์ ลงานศลิ ปะต่อไป (นายกฤษศญพงษ์ ศิริ) ปลัดกระทรวงวฒั นธรรม 4 ศิลปนิ แห่งชาติ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑

คำ�นำ� ศิลปินไทยจำ�นวนมากได้สร้างสรรค์ผลงานไว้ให้แก่ประเทศชาติในสาขาต่างๆ ซึ่งมีท้ังสาขา ทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และสาขาศิลปะการแสดง ทำ�ให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องสรรเสริญ จากนานาประเทศว่าเป็นประเทศท่ีมีวัฒนธรรมและอารยธรรมสูงส่ง ศิลปินแห่งชาติเป็นนักปราชญ์ ทม่ี คี วามรูค้ วามสามารถทางศลิ ปะ เปน็ ทรพั ยากรบุคคลทีม่ คี ณุ คา่ เป็นบุคคลที่ได้อทุ ิศตนสรา้ งสรรค์ ผลงานศิลปะอันล้ําค่าไว้เป็นมรดกของแผ่นดินตลอดระยะเวลายาวนาน มีผลงานเป็นคุณูปการ ต่อการเรยี นรู้ เพ่ือนำ�ไปประยกุ ตใ์ ชแ้ ละเปน็ แบบอย่างตลอดมา ดังนน้ั เพอ่ื เปน็ การสง่ เสริมสนบั สนุน ศิลปินให้มีขวัญกำ�ลังใจสามารถสร้างสรรค์ผลงาน พัฒนางานศิลปะให้ตกทอดเป็นมรดกลูกหลาน ต่อไป กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ดำ�เนินการสรรหาและคัดเลือก เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ศิลปินแห่งชาติ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๘ เปน็ ต้นมา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการเผยแพร่ผลงานอันเป็นภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมอันล้ําค่าที่ศิลปินแห่งชาติแต่ละท่านได้สร้างสรรค์ไว้ในแผ่นดิน เพ่ือเป็น ส่ือในการศึกษาเรียนรู้ จึงได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติชีวิต ผลงาน และแนวคิดของศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ ที่ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จำ�นวน ๑๒ คน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม หวังเป็นอย่างย่ิงว่าหนังสือศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ เล่มน้ี จะเป็นส่วนสำ�คัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่มีความสนใจงานศิลปะเกิดพลังที่จะสืบสาน สร้างสรรค์ศิลปะให้เจริญก้าวหน้า และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางด้านศิลปวัฒนธรรม อีกท้ังขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูลและภาพประกอบในการจัดพิมพ์ หนงั สอื เล่มน้ี เป็นการรว่ มกันรกั ษาสมบัตขิ องแผน่ ดินใหค้ งอยูแ่ ละสบื ทอดต่อไป (นายชาย นครชัย) อธิบดกี รมส่งเสริมวฒั นธรรม ศิลปินแหง่ ชาติ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑ 5

สารบญั ศลิ ปนิ แห่งชาติ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑ สาขาทศั นศิลป์ ศลิ ปนิ แห่งชาติ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑ ๒๐ ๓ นายชนิ ประสงค์ คำ�นิยม (ประติมากรรม) ๔ ๔๘ คำ�ปรารภ นายปรญิ ญา ตนั ตสิ ขุ (จิตรกรรม) ๕ คำ�นำ� ๙ ๒๔ กมุ ภาพันธ์ “วนั ศลิ ปินแหง่ ชาต”ิ ๑๑ อคั รศลิ ปิน ๑๕ อัคราภริ กั ษศิลปนิ ๑๗ วิศษิ ฏศลิ ปนิ ภาคผนวก ๗๖ ๒๘๙ นางคำ�ปุน ศรใี ส (ประณีตศิลป์ - ทอผ้า) ประกาศคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กฎกระทรวง ๑๐๔ ๒๙๒ นายคงศักดิ์ ยกุ ตะเสวี (สถาปตั ยกรรมภายใน) เขม็ และโล่ศิลปนิ แห่งชาติ เน้ือเพลงและโนต้ เพลงศลิ ปนิ แหง่ ชาติ หลกั เกณฑก์ ารคดั เลือกศิลปินแห่งชาติ ๒๙๖ ท�ำ เนยี บศลิ ปนิ แห่งชาติ ๓๒๑ คณะผ้จู ัดทำ� ๓๒๒ หออัครศิลปิน

ศลิ ปินแห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑ สาขาวรรณศิลป์ ๑๓๒ นายจำ�ลอง ฝัง่ ชลจิตร ๑๕๐ นายเสน่ห์ สังข์สขุ (แดนอรัญ แสงทอง) ศลิ ปนิ แห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑ สาขาศิลปะการแสดง ๑๗๐ นายวิโรจน์ วรี ะวัฒนานนท์ (ลเิ ก) ๑๘๘ นางก้ัน เชาวพ้อง (โนรา) ๒๐๖ นางสคุ นธ์ พรพริ ุณ (ผู้ประพนั ธ์เพลงไทยสากล) ๒๓๐ นายประภาส ชลศรานนท์ (ผู้สร้างสรรคง์ านบนั เทงิ และดนตรีไทยสากล) ๒๕๐ นางสมสขุ กลั ยจ์ าฤก (ละครวทิ ยุ - ละครโทรทัศน์) ๒๖๘ นางเอก นันทนาคร (ภาพยนตร)์ (เพชรา เชาวราษฎร์)



๒๔ กมุ ภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ วันท่ี ๒๔ กุมภาพันธ์ของทุกปี นับเป็นวันสำ�คัญย่ิงของประชาชนชาวไทย เนอ่ื งจากเปน็ วนั คลา้ ยวนั พระบรมราชสมภพของพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถลํ้าเลิศในด้าน ศิลปกรรมต่างๆ ท้ังด้านกวีนิพนธ์ ด้านดนตรี และด้านประติมากรรม อันเป็นที่มา ของวันศิลปินแหง่ ชาตใิ นปจั จบุ นั คณะรัฐมนตรไี ดม้ ีมติเมอื่ วนั ท่ี ๒๖ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๒๘ ใหว้ นั ท่ี ๒๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ เพื่อการแสดงความสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่ง องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนั้น เพ่ือส่งเสริมสนับสนุนศิลปิน ใหเ้ จรญิ รอยตามเบอ้ื งพระยคุ ลบาท และเพอื่ เปน็ การยกยอ่ งเชดิ ชเู กยี รตบิ คุ คลผสู้ รา้ งสรรค์ ผลงานศลิ ปะช้นั เยยี่ ม ตามเกณฑก์ ารพิจารณาของโครงการศิลปนิ แหง่ ชาติ การประกาศ ยกยอ่ งเชดิ ชเู กยี รตใิ หเ้ ปน็ ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ โดยดำ�เนนิ การเปน็ ประจำ�ทกุ ปี ตง้ั แตพ่ ทุ ธศกั ราช ๒๕๒๘ ซึ่งขณะน้ีมีศิลปินแห่งชาติแล้วจำ�นวนท้ังส้ิน ๓๐๗ คน ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ จำ�นวน ๘๙ คน สาขาวรรณศลิ ป์ จำ�นวน ๕๔ คน และสาขาศลิ ปะการแสดง จำ�นวน ๑๖๔ คน ปัจจุบันมีศิลปินแห่งชาตถิ งึ แก่กรรม จำ�นวน ๑๔๑ คน และยังมชี วี ิตอยู่ ๑๖๖ คน ศิลปินแห่งชาติทุกท่าน เป็นทรัพยากรบุคคลท่ีมีค่า เป็นปราชญ์ทางด้านศิลปะ ท่ีมีความรู้ความสามารถ เป็นผู้ท่ีอุทิศตนสร้างสรรค์และถ่ายทอดผลงานศิลปะอันล้ําค่า ไว้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ ซ่ึงถือเป็นหน้าที่สำ�คัญของรัฐและประชาชน ชาวไทยทุกคน ทจ่ี ะต้องช่วยกันธำ�รงรักษา ส่งเสริมสนบั สนนุ ใหก้ ำ�ลงั ใจแก่ศลิ ปนิ ในการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และเป็นการสานต่อมรดกทางวัฒนธรรมจากศิลปินรุ่นหน่ึงไปสู่ อีกร่นุ หนึ่งให้สืบทอดเปน็ สมบตั ิอนั ลํา้ ค่าของชาติไทยสบื ไป ศลิ ปนิ แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ 9

10 ศลิ ปินแห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑

อัครศิลปิน เมื่อวันท่ี ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๙ คณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ไดน้ อ้ มเกลา้ นอ้ มกระหมอ่ มถวายพระราชสมญั ญา “อัครศิลปิน” แด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ณ พระตำ�หนกั จติ รลดารโหฐาน พระราชวงั ดสุ ติ ดว้ ยทรง เปน็ เลิศในศิลปะหลายสาขา ทรงไดร้ บั การยกยอ่ งสดดุ ใี นพระเกยี รติคณุ เป็นท่ีประจักษ์ชัด บรรดาศิลปินต่างตระหนักในพระปรีชาสามารถ อยา่ งหาทเ่ี ปรยี บมไิ ด้ จงึ พรอ้ มใจกนั เทดิ ทนู พระเกยี รตยิ ศใหเ้ ปน็ ทปี่ รากฏ แก่พสกนิกรและชาวโลก โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายพระราชสมัญญา “อคั รศลิ ปิน” ศลิ ปินแหง่ ชาติ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑ 11

พระบาทสมเดจ็ พระมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นเอตทัคคะ ในศลิ ปะสาขาตา่ งๆ อาทิ ดรุ ยิ างคศลิ ป์ ทศั นศลิ ป์ และนฤมติ ศลิ ป์ เป็นตน้ ด้านดุริยางคศิลป์ เป็นท่ีประจักษ์กัน ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศว่าทรงดนตรี ได้หลายชนิดและได้พระราชนิพนธ์เพลงไว้ เป็นจำ�นวนมาก จนสถาบันดนตรีต่างประเทศ ยกยอ่ งวา่ ทรงเปน็ เอกในทางดนตรพี ระองคห์ นง่ึ นอกจากนั้น ยังได้ทรงส่งเสริมเพลงไทย ไดพ้ ระราชทานเงนิ จำ�นวนหนงึ่ แกก่ รมศลิ ปากร ให้รวบรวมเพลงไทยพิมพ์ออกจำ�หน่ายแก่ นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ และทรง พระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ มเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ อบุ ลรตั นราชกญั ญาฯ (ทลู กระหมอ่ มหญงิ อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี) และ สมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ สริ นิ ธรเทพรตั นสดุ าฯ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) 12 ศลิ ปินแห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑

มอื แดง, พ.ศ. ๒๕๐๔ ทรงเรียนซอสามสายและซอด้วงต้ังแต่คร้ัง และของทลู กระหมอ่ มหญงิ อบุ ลรตั นราชกญั ญา สีน้าํ มนั , ๔๙ x ๕๙ ซม. ยงั ทรงพระเยาว์ สิริวัฒนาพรรณวดี ก็สำ�เร็จด้วยฝีพระหัตถ์ ลงพระนามย่อ ด้านทัศนศิลป์ ปรากฏว่าทรงชำ�นาญ จากโรงตอ่ เรอื ในสวนจิตรลดา พระราชวังดสุ ิต ภอ 10-2504 ทั้งในการถ่ายรูปและการเขียนภาพสีน้ํามัน มีผลงานเปน็ จำ�นวนมาก คำ�วา่ “อคั รศิลปิน” แปลตามคำ�ศัพทว์ า่ นอกจากงานศิลปะแขนงตา่ งๆ ดังกล่าว ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศหรือจะหมายเอาว่า แล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถในการออกแบบ ผู้เป็นใหญ่ในศิลปินก็ได้ เพราะพระบาทสมเดจ็ และทรงก่อสร้างเรือใบด้วยฝีพระหัตถ์ ท้ังทรง พระมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร รว่ มแขง่ ขนั ในกฬี าแหลมทอง ครง้ั ท่ี๔ พทุ ธศกั ราช นอกจากจะทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งปวงแล้ว ๒๕๑๐ ปรากฏวา่ ทรงชนะเปน็ ท่ี ๑ ประเภทโอเค ยงั ทรงมคี ณุ ปู การ ไดท้ รงอปุ ถมั ภศ์ ลิ ปนิ ทง้ั หลาย เรือใบที่ทรงใช้ในการแข่งขันทั้งของพระองค์ มาโดยตลอดอกี ดว้ ย ศิลปินแหง่ ชาติ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑ 13

14 ศลิ ปินแห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑

อัคราภิรักษศิลปิน เนอ่ื งในโอกาสอนั เปน็ มงิ่ มหามงคลทสี่ มเดจ็ พระบรม พระราชด�ำรนิ านปั การของสมเดจ็ พระบรมราชชนนี ราชชนนีพนั ปหี ลวงทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พันปีหลวง ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ ส่งเสริม ในวันท่ี ๑๒ สงิ หาคม ๒๕๕๕ กระทรวงวัฒนธรรมในนาม และสืบทอดงานศิลปะโบราณให้ด�ำรงคงอยู่อย่างกลมกลืน คณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาติ ไดถ้ วายพระราชสมญั ญา กบั บรบิ ทของสงั คมไทยสมยั ใหม่ พระองคท์ รงรเิ รมิ่ ใหม้ กี าร “อัคราภิรักษศิลปิน” (อัก-คะ-รา-พิ-รัก-สิน-ละ-ปิน) ศกึ ษา คน้ ควา้ และท�ำนบุ �ำรงุ งานศลิ ปะแตโ่ บราณ ไมว่ า่ จะเปน็ แด่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซ่ึงมีความหมายว่า สถาปตั ยกรรม ประตมิ ากรรม จิตรกรรม วรรณคดี ดนตรี ศิลปินยิ่งใหญ่ผู้ปกปักรักษางานศิลปะ ท้ังนี้เพื่อร่วมน้อม นาฏศลิ ป์ และหตั ถศลิ ป์ พระองคท์ รงฟน้ื ฟรู กั ษาและพฒั นา สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณท่ีทรงมีพระปรีชาสามารถ มรดกทางศิลปะของแผ่นดนิ ใหเ้ จริญร่งุ เรือง อีกท้ังพระองค์ ลํ้าเลิศในงานประณีตศิลป์ทุกแขนง ทรงตระหนักในคุณค่า ทรงให้ความส�ำคัญแก่การถ่ายทอดคุณค่าของศิลปะไทย ความงามของศลิ ปะ และทรงทุม่ เทพระกำ�ลังทง้ั ปวงในการ ทกุ แขนงสเู่ ดก็ และเยาวชน ซงึ่ เปน็ ก�ำลงั ส�ำคญั ในอนาคตทจ่ี ะ ทำ�นุบำ�รงุ งานศิลปะไวเ้ ป็นสมบัตศิ ลิ ป์แห่งแผน่ ดนิ ไทย ดแู ลรกั ษามรดกศลิ ปข์ องไทยสบื ไป พระราชเสาวนยี ใ์ นเรอื่ ง สมเดจ็ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง ทรงใหก้ ารสง่ เสรมิ การอนุรักษ์ดูแลงานศิลปะไทยแต่ละครั้งสร้างความตื่นตัว และอนุรักษ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะด้านงาน ในหมู่ประชาชน ก่อให้เกิดการท�ำนุบ�ำรุงงานศิลปะอย่าง หัตถกรรมพื้นบ้านและงานช่าง อาทิ ทรงได้จัดต้ังศูนย์ เขม้ แขง็ และตอ่ เนอื่ ง นอกจากนี้พระองคท์ รงเปน็ แบบอยา่ ง ศิลปาชีพข้ึนหลายแห่ง เพ่ือเป็นที่รวบรวมสินค้าจากฝีมือ ในการทรงใช้สอยงานศิลปหัตถกรรมของไทยเป็นประจ�ำ ชาวบ้านและเป็นแหล่งสอนงานหัตถกรรมแก่ชาวบ้าน สมา่ํ เสมอจนเกดิ ความนยิ มแพรห่ ลายในหมปู่ ระชาชนชาวไทย พระราชกรณยี กจิ ทที่ รงตงั้ พระราชหฤทยั จะชว่ ยใหช้ าวไทย ทรงสร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์แห่งศิลปวัฒนธรรมไทย มีงานศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจาก ให้เป็นทปี่ ระจกั ษแ์ กส่ ายตาของชาวโลก อนั นบั เปน็ พระมหา เกษตรกรรมซง่ึ เปน็ อาชพี หลกั ไดช้ ว่ ยใหป้ ระชาชาตมิ รี ายได้ กรณุ าธคิ ณุ ยิ่งใหญ่และทรงคุณคา่ อเนกอนันต์ เพม่ิ ขนึ้ ชว่ ยรกั ษาศลิ ปหตั ถกรรมโบราณของไทยหลายชนดิ มิให้เสอ่ื มสูญไป ศิลปินแห่งชาติ พุทธศกั ราช ๒๕๖๑ 15

16 ศลิ ปินแห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑

วิศิษฏศิลปิน พระอจั ฉรยิ ภาพดา้ นศลิ ปะของสมเดจ็ พระกนษิ ฐา- ราชชนนีพันปีหลวง ในการสร้างสรรค์ ส่งเสริม และ ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ทำ�นบุ ำ�รงุ ดา้ นศลิ ปะและวฒั นธรรมของชาตใิ หเ้ จรญิ รงุ่ เรอื ง ราชกุมารี ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่เหล่าพสกนิกร เปน็ มรดกของชาตขิ องแผ่นดิน มาอย่างยาวนาน ท้ังด้านวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้น้อมเกล้า การแสดง (ดนตรีไทย ดนตรีสากล) และอ่ืนๆ อีกอย่าง น้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “วิศิษฏศิลปิน” หลากหลาย แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ พระอจั ฉรยิ ภาพดา้ นศลิ ปะของสมเดจ็ พระกนษิ ฐา- รตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี เมอ่ื วนั ที่ ๑๕ กนั ยายน ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม พทุ ธศักราช ๒๕๔๖ ซงึ่ มคี วามหมายเด่นชัดวา่ ผู้เปน็ เลศิ ราชกุมารีนั้น ทรงเป็นยิ่งกว่าศิลปินที่นอกเหนือจากทรง ทางศิลปะ ประเสริฐกว่าศิลปินทั้งปวง นับเป็นการ สรา้ งสรรคผ์ ลงานศลิ ปะหลากสาขาไวเ้ ปน็ จำ�นวนมากแลว้ เฉลิมพระเกียรติของพระองค์ให้ปรากฏเป็นเกียรติภูมิ ยังทรงอุปถัมภ์คํ้าชูศิลปิน ทรงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ของแผ่นดินไทยที่สง่างดงามด้วยศิลปวัฒนธรรมโดดเด่น ของชาติให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อพสกนิกร พระองค์เป็นดั่งร่มโพธิ์แก้วของศิลปิน ศิลปะและ ชาวไทยและชาวตา่ งชาตติ ่อเนอ่ื งตลอดมา ทรงเจริญรอย วัฒนธรรมไทย ตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรม ศลิ ปนิ แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ 17

ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑ ศลิ ปินแห่งชาติ สาขาทัศนศลิ ป์ นายชิน ประสงค์ นายปริญญา ตนั ตสิ ขุ (ประติมากรรม) (จติ รกรรม) นางคำ�ปนุ ศรใี ส นายคงศักดิ์ ยุกตะเสวี (ประณีตศลิ ป์ - ทอผา้ ) (สถาปตั ยกรรมภายใน) ศิลปนิ แหง่ ชาติ สาขาวรรณศลิ ป์ นายจำ�ลอง ฝ่ังชลจิตร นายเสนห่ ์ สังข์สขุ 18 ศลิ ปินแห่งชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑

ศลิ ปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นายวิโรจน์ วรี ะวัฒนานนท์ นางกน้ั เชาวพอ้ ง (ลเิ ก) (โนรา) นางสคุ นธ์ พรพริ ณุ นายประภาส ชลศรานนท์ (ผปู้ ระพนั ธ์เพลงไทยสากล) (ผสู้ ร้างสรรคง์ านบันเทิงและดนตรไี ทยสากล) นางสมสุข กัลย์จาฤก นางเอก นันทนาคร (ละครวทิ ยุ - ละครโทรทศั น์) (ภาพยนตร์) ศิลปนิ แหง่ ชาติ พทุ ธศักราช ๒๕๖๑ 19

20 ศิลปนิ แหง่ ชาติ สาขาทศั นศิลป์ (ประตมิ ากรรม)

คำ� ประกาศเกียรตคิ ุณ นายชนิ ประสงค์ ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประตมิ ากรรม) พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๑ นายชิน ประสงค์ ปัจจบุ ันอายุ ๗๗ ปี เกดิ เมอื่ วนั ท่ี ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ทีจ่ งั หวัดนนทบรุ ี จบการศึกษา ระดับปริญญาศิลปบัณฑิต (ประติมากรรม) จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ (เป็นนักศึกษารุ่นสุดท้ายที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกข้อสอบภาคปฏิบัติ) และได้เข้า รับราชการในโรงหลอ่ ของกรมศิลปากร นายชนิ ประสงค์ ไดส้ รา้ งสรรคผ์ ลงานประตมิ ากรรมไวม้ ากมาย งานแรกอนั เปน็ งานประตมิ ากรรมทส่ี �ำ คญั คอื ปน้ั พระบรมราชานสุ าวรยี พ์ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจา้ อย่หู ัว รชั กาลที่ ๖ ซง่ึ ประดิษฐาน ณ ค่ายลกู เสือแหง่ ชาติ จงั หวดั ชลบรุ ี และผลงานชน้ิ ส�ำ คญั อนื่ ๆ ประกอบดว้ ย พระบรมราชานสุ าวรยี พ์ ระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทุ่งนาเชย จังหวัดจันทบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก และไดร้ ว่ มแสดงนทิ รรศการในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ท่ี ๒๑ ครง้ั ที่ ๒๔ และมหกรรมประตมิ ากรรม ๙๓ รอ้ ยประติมากรรมรอ้ ยปีอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ หอศิลปแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๓๖ นอกจากนี้ นายชิน ประสงค์ ยังเปน็ ผู้ท่ีออกแบบอนุสาวรีย์หลายแห่ง อาทิ ภาพแกะสลักหินนูนตํ่า พระกรณียกิจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ท่ีนิเวศสถาน ย่านคลองสาน ออกแบบและอำ�นวยการสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดษิ ฐานทีส่ วนสมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี ๑๒ แห่งทัว่ ประเทศ พระบรมราชานุสาวรยี พ์ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ บริเวณเชิงสะพานพระราม ๘ ฝั่งธนบุรี พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๔๕ รวมถึง ประติมากรรมสุนัขทรงเล้ียงทั้ง ๑๒ สุนัข ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๙ ถวายในหลวงรัชกาลที่ ๙ และภายหลัง การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นายชิน ประสงค์ ได้รับ มอบหมายจากกรมศิลปากร ให้ปั้นประติมากรรม “คุณทองแดงและคุณโจโฉ” สุนัขทรงเล้ียง เพื่อนำ�ไปประดับข้าง พระจิตกาธาน พระเมรุมาศ โดยใช้ระยะเวลา ๘ เดือน ดำ�เนินการเสร็จสมบูรณ์ ยังความภาคภูมิใจเป็นอย่างย่ิง ที่ได้รับเกียรติสูงสุดในชีวิตในการถวายงานแด่พระองค์เป็นคร้ังสุดท้าย สำ�หรับงานด้านวิชาการ นายชิน ประสงค์ เปน็ วทิ ยากรถา่ ยทอดและแลกเปลย่ี นองคค์ วามรทู้ างศลิ ปะ และเปน็ ทป่ี รกึ ษาใหแ้ กผ่ ทู้ สี่ นใจงานดา้ นประตมิ ากรรมดว้ ย นายชิน ประสงค์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พทุ ธศักราช ๒๕๖๑ นายชนิ ประสงค ์ 21

นปราะวยัตชชิ วีนิ ติ แลปะรผละงสานงค์ ศิลปนิ แหง่ ชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประตมิ ากรรม) 22 ศิลปินแหง่ ชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)

นายชิน ประสงค์ เกิดเมือ่ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ทจ่ี ังหวดั นนทบุรี ปัจจุบันอายุ ๗๗ ปี ประวตั กิ ารศกึ ษา พ.ศ. ๒๔๙๖ ระดับประถมศึกษา โรงเรยี นวัดแดง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๐๒ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรยี นนนทบุรี “ศรบี ุณยานนท์” จงั หวดั นนทบรุ ี พ.ศ. ๒๕๐๔ ระดับอาชีวศกึ ษา โรงเรยี นศลิ ปศกึ ษา กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๑๒ ระดบั อดุ มศกึ ษา ปรญิ ญาตรีศิลปบณั ฑติ (ประตมิ ากรรม) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศลิ ปากร ประวตั ิการทำ�งาน พ.ศ. ๒๕๑๓ นายชา่ งศลิ ปกรรมตรี แผนกชา่ งป้ัน กองหัตถศิลป กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๑๖ นายชา่ งศลิ ปกรรมโท แผนกช่างป้ัน กองหัตถศิลป กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้เชี่ยวชาญดา้ นประติมากรรม (ประตมิ ากร ๙) ส�ำนักศลิ ปกรรม กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๔๔ ผ้เู ชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะดา้ นประติมากรรม (นายชา่ งศลิ ปกรรม ๑๐ ชช.) ส�ำนกั สถาปัตยกรรม กรมศลิ ปากร นายชิน ประสงค์ 23

ประวัติการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม ๑. ออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร มหาราช จงั หวัดล�ำปาง ๒. ออกแบบภาพแกะสลักหินพระราชกรณียกิจ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชุมชนวัดอนงคาราม กรงุ เทพมหานคร ๓. เปน็ คณะอนกุ รรมการด�ำเนินการจดั สร้างพระบรมรปู แกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ ณ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร จังหวดั ชลบรุ ี ๔. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระพุทธสิหิงส์ ขนาดหน้าตัก ๕๙ น้ิว ของกองทัพอากาศ ณ วัดดอนเมอื ง กรงุ เทพมหานคร ๕. อ�ำนวยการตรวจพิจารณาพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ๖. อ�ำนวยการตรวจพิจารณาพระอนุสาวรีย์พลเรือเอก กรมหลวงชมุ พรเขตอดุ มศกั ด์ิ จงั หวดั นครพนมและจงั หวดั ชลบรุ ี ๗. อ�ำนวยการตรวจพิจารณาพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาด ๒ เท่า พระองคจ์ รงิ จังหวัดสมทุ รปราการ ๘. อ�ำนวยการตรวจพิจารณาอนุสาวรีย์หลวงอิงคยุทธ (นายอินทรีย์ จันทรสถิตย์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ๙. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เทศบาลอ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรขี ันธ์ ๑๐. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับน่ัง ขนาดคร่ึงเท่า พระองค์จริง ประดิษฐาน ณ เหมืองแม่เมาะ ให้การไฟฟ้า ฝา่ ยผลิตแห่งประเทศไทย จังหวดั ล�ำปาง ๑๑. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระ มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขนาดเท่า พระองค์จริง ณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร 24 ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ สาขาทศั นศิลป์ (ประตมิ ากรรม)

๑๒. อ�ำนวยการปน้ั หลอ่ อนสุ าวรีย์บูรพาจารย์ ขนาดเท่าคร่ึง จ�ำนวน ๒ รูป ให้มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ๑๓. อ�ำนวยการปนั้ หล่อภาพนนู ตำ�่ ประวัตพิ ระยาทกุ ขราษฎร์ จังหวัดพัทลงุ ๑๔. อ�ำนวยการปั้นหล่อภาพนูนต่�ำประกอบอนุสรณ์สถานทหารผ่านศึกเวียดนาม ให้กองพล ทหารราบท่ี ๙ จงั หวัดกาญจนบุรี ๑๕. อ�ำนวยการป้ันหลอ่ ยอดนพศลู เพ่ือติดตงั้ ยอดพระปรางค์วัดไชยวัฒนาราม วัดราชบรู ณะ และวดั พระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๖. อ�ำนวยการปั้นต้นแบบพระกรณียกจิ สมเดจ็ พระศรีนครนิ ทราบรมราชชนนี เพื่อแกะสลกั หนิ ในโครงการจดั สรา้ งอทุ ยานเฉลิมพระเกยี รติสมเด็จยา่ จ�ำนวน ๒ แผน่ ๑๗. สเกต็ ชต์ น้ แบบพระราชานสุ าวรยี ส์ มเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี ในอริ ยิ าบถตา่ งๆ ของมลู นธิ สิ วนสมเด็จพระศรีนครนิ ทร์ ๑๘. ควบคุมอ�ำนวยการปั้นหล่อพระพุทธรูปทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อทรงอุทิศถวายอดีตพระมหากษัตริย์สมัยกรุงสุโขทัย เนื่องในพระราชพิธฉี ลองสิรริ าชสมบัติครบ ๕๐ ปี นายชนิ ประสงค์ 25

๑๙. อ�ำนวยการปั้นหล่ออนุสาวรีย์พลเอก เปรม ตณิ สูลานนท์ ขนาดสองเทา่ คนจรงิ ๒๐. ร่วมควบคุมการแกะสลักพระพุทธมหาวชิร- อุตตโมภาสศาสดา บนหน้าผาเขาชีจรรย์ อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบรุ ี ๒๑. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จ พระเอกาทศรถ จงั หวัดพษิ ณโุ ลก ๒๒. อ�ำนวยการปน้ั หลอ่ พระบรมราชานสุ าวรยี พ์ ระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเท่าพระองค์จริง อ�ำเภอปทมุ ราชวงศา จังหวดั อ�ำนาจเจริญ ๒๓. อ�ำนวยการปน้ั หลอ่ พระบรมราชานสุ าวรยี พ์ ระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเท่าพระองค์จริง สถาบันราชภัฎพระนคร กรุงเทพมหานคร ๒๔. อ�ำนวยการปน้ั หลอ่ พระบรมราชานสุ าวรยี พ์ ระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเท่าพระองค์จริง จังหวดั นครนายก ๒๕. ออกแบบและควบคมุ การจดั สรา้ งพระราชานสุ าวรยี ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิสวนสมเด็จ พระศรนี ครนิ ทร์ฯ จงั หวดั ศรีสะเกษ โดยนายโสพศิ พุทธรักษ์ เปน็ ประตมิ ากรผูป้ ั้นขยาย ๒๖. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์สมเด็จ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี โครงการของมลู นธิ สิ วนสมเดจ็ พระศรีนครินทร์ฯ ใน ๑๒ เขตการศกึ ษา ๒๗. อ�ำนวยการปั้นหล่อและพิจารณาสถานที่ติดต้ัง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระบรมราชชนก ขนาดหนง่ึ เทา่ ครึ่ง ประดิษฐาน ภายนอกอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วดั อนงคาราม กรงุ เทพมหานคร ๒๘. ออกแบบพระบรมราชานสุ าวรยี ส์ มเดจ็ พระนเรศวร มหาราชทรงมา้ ขนาดสามเท่าพระองค์จรงิ ติดตง้ั ณ อ�ำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซ่ึงสมเด็จ พระบรมราชชนนพี นั ปหี ลวง เสด็จพระราชด�ำเนินไปเททอง เมื่อวนั ที่ ๒๙ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ 26 ศลิ ปินแหง่ ชาติ สาขาทศั นศิลป์ (ประตมิ ากรรม)

๒๙. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเท่าพระองค์จริง ณ โรงพยาบาลเลิดสิน สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเททองเมือ่ วันที่ ๑๗ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ๓๐. ด�ำเนินการติดตั้งพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ของมูลนิธิ สวนสมเด็จพระศรีนครนิ ทร์ฯ ๑๒ เขตการศกึ ษา ได้แก่ จงั หวัดเชยี งราย พงั งา ศรสี ะเกษ ร้อยเอ็ด ปตั ตานี สกลนคร พิจติ ร กาญจนบรุ ี ฉะเชิงเทรา นนทบุรี พระนครศรอี ยุธยา และชุมพร ๓๑. ควบคุมการออกแบบพระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดหนง่ึ เท่าคร่ึงพระองคจ์ ริง ณ ศาลากลางเดิม จงั หวดั ปทมุ ธานี ๓๒. ออกแบบและปั้นต้นแบบจ�ำลองพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมา้ ศกึ จงั หวดั ล�ำปาง เพ่ือหาทุนกอ่ สรา้ งพระบรมราชานสุ าวรีย์ ๓๓. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดหนึ่งเทา่ คร่งึ พระองค์จรงิ จังหวดั สโุ ขทัย นายชิน ประสงค์ 27

๓๔. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขนาด เทา่ พระองคจ์ รงิ ณ วัดอนงคาราม กรงุ เทพมหานคร ๓๕. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดหน่ึงเทา่ คร่ึงพระองค์จรงิ ณ โรงเรยี นศรีอยุธยา กรงุ เทพมหานคร ๓๖. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเทา่ พระองคจ์ ริง ณ โรงเรียนทวธี าภเิ ศก กรุงเทพมหานคร ๓๗. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขนาดหนงึ่ เทา่ ครงึ่ พระองคจ์ รงิ ณ โรงพยาบาลศรมี หาโพธิ์ จงั หวดั อบุ ลราชธานี ๓๘. อ�ำนวยการปน้ั หลอ่ พระบรมรปู สมเดจ็ พระเจา้ พนี่ างเธอ เจา้ ฟา้ กลั ยาณวิ ฒั นา กรมหลวง นราธวิ าสราชนครนิ ทร์ ขนาดเท่าพระองค์จรงิ ครง่ึ พระองค์ ณ ส�ำนักโบราณคดี กรมศลิ ปากร ๓๙. พระบรมราชานสุ าวรยี พ์ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ขนาดเทา่ พระองคจ์ รงิ ณ โรงเรียนเบญจมราชูทศิ จังหวดั ราชบุรี ๔๐. ซ่อมบูรณะประติมากรรมนูนสงู ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรงุ เทพมหานคร ๔๑. อ�ำนวยการปัน้ หล่อพระพิฆเนศวร ขนาดสองเท่า ณ วิทยาลัยนาฏศิลป จงั หวดั รอ้ ยเอด็ ๔๒. โครงการค้นคว้า วิจยั และตรวจสอบเนอ้ื โลหะ ๔๓. อ�ำนวยการปั้นรูปพระพิฆเนศวรเป็นภาพนูนสูงในวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๙ เซนติเมตร ใชป้ ระกอบปา้ ยของสถาบันศิลปกรรม ๔๔. พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดหน่ึงเท่าคร่ึง พระองค์จริง ๔๕. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเท่าพระองค์จรงิ ๔๖. อ�ำนวยการปน้ั ตราสญั ลกั ษณเ์ ฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร เน่ืองในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธนั วาคม ๒๕๔๒ (พระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา) ขนาดเสน้ ผา่ ศูนย์กลาง ๒.๘๐ เมตร ๑.๘๐ เมตร และ ๑.๐๐ เมตร ๔๗. อ�ำนวยการปน้ั หลอ่ พระบรมราชานสุ าวรยี ส์ มเดจ็ พระนเรศวรมหาราชขนาดเทา่ พระองคจ์ รงิ ประดิษฐาน ณ บรเิ วณหน้าวดั เนรญั ชราราม อ�ำเภอชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี ๔๘. อ�ำนวยการปั้นหลอ่ พระพิฆเนศวร ณ วทิ ยาลัยนาฏศิลป จังหวัดจนั ทบุรี ๔๙. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ โรงเรียนพุทธชินราช จังหวัด พิษณุโลก ๕๐. อ�ำนวยการปน้ั หลอ่ พระราชานสุ าวรยี ส์ มเดจ็ พระศรสี วรนิ ทริ าบรมราชเทวี พระพนั วสั สา อัยยกิ าเจา้ ณ โรงเรียนวรนารเี ฉลิม จังหวดั สงขลา ๕๑. อ�ำนวยการปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ คา่ ยลกู เสอื แห่งชาติ จังหวดั ตรงั 28 ศิลปนิ แห่งชาติ สาขาทศั นศิลป์ (ประตมิ ากรรม)

๕๒. กรรมการพิจารณาอ�ำนวยการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จงั หวดั สโุ ขทัย ๕๓. อ�ำนวยการและควบคุมการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช ประทบั พระทนี่ ง่ั ณ กองก�ำกบั การต�ำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จงั หวดั กาญจนบุรี ๕๔. กรรมการพจิ ารณาอ�ำนวยการจัดสรา้ งอนุสรณ์สถานใตร้ ่มเย็น จังหวดั สรุ าษฎร์ธานี ๕๕. อ�ำนวยการและควบคมุ การจัดสรา้ งพระพฆิ เณศวร วทิ ยาลยั นาฏศลิ ป์ จงั หวดั จนั ทบุรี ๕๖. อ�ำนวยการออกแบบและควบคมุ การจดั สรา้ งพระราชานสุ าวรยี ส์ มเดจ็ พระศรนี ครนิ ทรา บรมราชชนนี ขนาดเท่าคร่ึงพระองค์จริง ประทับน่ังบนพระเก้าอี้ ประดิษฐาน ณ สวนสมเด็จ พระศรีนครนิ ทร์ จังหวัดนครศรธี รรมราช ๕๗. อ�ำนวยการออกแบบพระบรมราชานสุ าวรีย์พอ่ ขนุ ผาเมอื ง จังหวัดสุโขทัย ๕๘. พจิ ารณาสถานทตี่ ดิ ตง้ั พระบรมราชานสุ าวรยี พ์ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ณ โรงเรียนสวนกุหลาบนนทบุรี จงั หวดั นนทบุรี นายชนิ ประสงค ์ 29

๕๙. ออกแบบและควบคุมการจัดสร้างพระบรม ราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขนาดสามเท่า พระองค์จรงิ ณ ทงุ่ ภูเขาทอง จงั หวัดพระนครศรอี ยุธยา ๖๐. พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ณ คา่ ยลกู เสอื แหง่ ชาติ จงั หวดั ชลบรุ ี โรงพยาบาล สราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสวนสาธารณะ จังหวัด ระนอง ๖๑. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงม้าเผชิญศึก ณ ทงุ่ นาเชย จังหวัดจันทบุรี ๖๒. อนสุ าวรียพ์ อ่ ขนุ ผาเมอื ง จงั หวัดเพชรบรู ณ์ ๖๓. พระอนุสาวรีย์พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองคเ์ จ้าบรุ ฉัตรไชยากร กรมพระก�ำแพงเพชรอัครโยธิน ๖๔. อนสุ าวรยี พ์ ระยาไชยบรู ณ์ จงั หวัดแพร่ ๖๕. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ท่งุ ภเู ขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา ๖๖. อ�ำนวยการออกแบบและกอ่ สรา้ งพระราชานสุ าวรยี ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ สวนสมเด็จ พระศรีนครนิ ทร์ฯ ๑๒ สวนท่ัวประเทศ ๖๗. รูปปั้นสัมฤทธ์ิคุณทองหลาง และรูปปั้นสัมฤทธิ์ ของสุนัขหลวง (สุนัขทรงเลี้ยง) เพ่ิมเติม จ�ำนวน ๑๑ สุนัข รวมทั้งสิ้น ๑๒ สุนัข น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จ พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งได้ ส่งมอบใหห้ น่วยงานธรุ การสนุ ัขหลวง เม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ๖๘. ออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ณ บ้านพรานนก อ�ำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยธุ ยา ๖๙. ผลงานประติมากรรม “คุณทองแดงและคุณ โจโฉ” สุนัขทรงเล้ียง เพื่อน�ำไปประดับข้างพระจิตกาธาน พระเมรมุ าศพระบาทสมเดจ็ พระมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ปัจจุบันเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาการสร้าง อนุสาวรยี ์แห่งชาติ และการจ�ำลองพระพทุ ธรูปส�ำคัญ 30 ศิลปนิ แหง่ ชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประตมิ ากรรม)

การสรา้ งสรรค์และเผยแพร่ผลงาน พ.ศ. ๒๕๑๕ รว่ มแสดงงานศลิ ปกรรมแหง่ ชาติ ครง้ั ที่ ๒๑ พ.ศ. ๒๕๕๒ รว่ มแสดงนทิ รรศการ “Nude” ณ อาคารสลี ม พ.ศ. ๒๕๑๗ รว่ มแสดงงานศลิ ปกรรมแหง่ ชาติ ครง้ั ท่ี ๒๒ แกลลอเรยี พ.ศ. ๒๕๒๐ รว่ มแสดงงานศลิ ปกรรมแหง่ ชาติ ครง้ั ท่ี ๒๔ พ.ศ. ๒๕๓๙ ร่วมแสดงนิทรรศการ “ศิลปะรัชกาลท่ี ๙” พ.ศ. ๒๕๕๓ มหกรรมศิลปกรรมวันศิลป์ พีระศรี “ปิติ” (GIadness) ณ หอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร ณ ศนู ยก์ ารประชมุ แหง่ ชาตสิ ริ กิ ติ ์ิ พ.ศ. ๒๕๔๑ รว่ มแสดงนทิ รรศการ “๕๕ ปี คณะจติ รกรรม” พ.ศ. ๒๕๕๗ นทิ รรศการศลิ ปะ ณ หอศลิ ปแ์ หง่ ชาติ จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา ณ หอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร พ.ศ. ๒๕๔๖ รว่ มแสดงนทิ รรศการ “๖๐ ปี คณะจติ รกรรม” นทิ รรศการ BRONZE WORLD ณ HOF ART SPACE (W District) ณ หอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร พ.ศ. ๒๕๕๐ ร่วมแสดงนิทรรศการ “โฉมหน้าศิลปิน” พ.ศ. ๒๕๔๕ นิตยสารรายสองเดือน “กรมศิลปากร” กระทรวงวฒั นธรรม ปที ่ี ๔๕ ฉบบั ท่ี ๖ ณ อาคารสลี มแกลลอเรยี พ.ศ. ๒๕๕๑ ร่วมแสดงนิทรรศการ “๕๕ ปี มหกรรม พ.ศ. ๒๕๕๒ หนงั สอื ผลงานประตมิ ากรรมของพนั โทนภดล สุวรรณสมบตั ิ ศลิ ปศกึ ษา - ชา่ งศลิ ป” ณ หอศลิ ปส์ มเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ นายชนิ ประสงค ์ 31

หมอประสพ หลอ่ โลหะ bronze, 37x39x53 cm. 32 ศิลปนิ แหง่ ชาติ สาขาทศั นศิลป์ (ประติมากรรม)

พทุ ธทาส หล่อโลหะ bronze, 25x25x40 cm. นายชนิ ประสงค์ 33

หมู (๒๕๑๗) หลอ่ โลหะ bronze, 33x100x50 cm. 1974 34 ศิลปนิ แห่งชาติ สาขาทศั นศลิ ป์ (ประตมิ ากรรม)

หมา (๒๕๑๕) หล่อโลหะ bronze, 40x72x40 cm. 1972 นายชนิ ประสงค ์ 35

วัว หล่อโลหะ bronze, 42x96x62 cm. 36 ศลิ ปินแหง่ ชาติ สาขาทศั นศิลป์ (ประติมากรรม)

ความผูกพัน หลอ่ โลหะ bronze นายชนิ ประสงค์ 37

ปะการัง หลอ่ โลหะ bronze 38 ศลิ ปินแหง่ ชาติ สาขาทัศนศลิ ป์ (ประตมิ ากรรม)

ครุ่นคิด (๒๕๔๕) หลอ่ โลหะ bronze, 12x32x20.5 cm. 2002 นายชนิ ประสงค ์ 39

แรงบันดาลใจ หลอ่ โลหะ bronze, 42x83x80 cm. 40 ศิลปนิ แหง่ ชาติ สาขาทัศนศลิ ป์ (ประตมิ ากรรม)

อหี งิม หล่อโลหะ bronze, 21x62x56 cm. นายชนิ ประสงค์ 41

ค่รู ัก หลอ่ โลหะ bronze 42 ศลิ ปินแหง่ ชาติ สาขาทัศนศลิ ป์ (ประตมิ ากรรม)

อกุ กาบาต (๒๕๔๘) หลอ่ โลหะ bronze นายชนิ ประสงค ์ 43

เกยี รติ ? หลอ่ โลหะ bronze 44 ศลิ ปินแหง่ ชาติ สาขาทศั นศลิ ป์ (ประตมิ ากรรม)

รางวลั และเกียรตคิ ุณทีไ่ ด้รับ ๑. ประธานกรรมการพิจารณาคุณสมบัติและ ๑๓. ที่ปรึกษาอุทยานหุ่นขี้ผ้ึงไทย อ�ำเภอบางแพ ประเมนิ ผลงานของบคุ คล เพอ่ื แตง่ ตงั้ ขา้ ราชการ จังหวัดราชบุรี ให้ด�ำรงต�ำแหน่งนายช่างศิลปกรรม ๗ว. และ ๘ว. ๑๔. อนุกรรมการจัดสร้างพระพุทธมหาวชิรอุตต- โมภาสศาสดา พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา ๒. กรรมการตรวจพสิ จู นโ์ บราณวตั ถหุ รอื ศลิ ปะวตั ถุ เขาชจี รรย์ จงั หวัดชลบุรี ทีข่ ออนุญาตสง่ หรอื น�ำออกนอกราชอาณาจกั ร ๑๕. รองประธานกรรมการเพ่ือการจัดนิทรรศการ ๓. อนุกรรมการฝ่ายออกแบบและจัดสร้างภาพ พิเศษ “ศิลปกรรมภาพพิมพใ์ นประเทศไทย” แกะสลักหิน อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี ตามพระราชด�ำริ ๑๖. ท่ีปรึกษาคณะกรรมการอ�ำนวยการจัดสร้าง พระพุทธนิรโรคันตราย ประจ�ำกระทรวง ๔. กรรมการฝ่ายสร้างสิ่งอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ สาธารณสขุ การจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว เสดจ็ ประพาสยโุ รป ๑๗. คณะกรรมการตัดสินการสร้างประติมากรรม อาคารส�ำนักงานใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด ๕. กรรมการที่ปรึกษาเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกหรือ (มหาชน) เหรยี ญทร่ี ะลึก ๑๘. คณะกรรมการอ�ำนวยการสร้างประติมากรรม ๖. กรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทรา ประดับสวนเบญจสิริ กรงุ เทพมหานคร บรมราชชนนี ๑๙. ที่ปรึกษาด้านศิลปกรรมการสร้างพระบรมรูป ๗. กรรมการตดั สนิ ต้นแบบ “พระพฆิ เนศวร” ของ สลักหินอ่อนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล บริษัทเอเชีย เทเลวชิ ัน่ จ�ำกดั อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยน�ำไป สลัก ณ ประเทศเยอรมนี ๘. กรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจ�ำลองพระพทุ ธรูปส�ำคญั ๒๐. ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลผู้กระท�ำ คุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สาขา ๙. ที่ปรึกษาด้านศิลปกรรมการจัดสร้างรูป สอื่ มวลชน เพอ่ื เดก็ และเยาวชนทป่ี อ้ งกนั ปญั หา “นารายณ์กวนเกษียรสมุทร” ณ สนามบิน สงั คม เนอ่ื งในวนั เยาวชนแหง่ ชาติ ๒๐ กนั ยายน สุวรรณภูมิ พ.ศ. ๒๕๕๗ ๑๐. ที่ปรึกษาด้านศิลปกรรม โรงเรียนนนทบุรี “ศรีบณุ ยานนท์” ๑๑. ที่ปรึกษาสมาคมศษิ ย์เกา่ ศิลปศึกษา - ช่างศิลป ๑๒. ทปี่ รกึ ษาด้านศลิ ปกรรมของคุณถวัลย์ เมืองชา้ ง ในนามของโรงหล่อเอเชีย ไฟน์อาร์ต จ�ำกัด จังหวดั พระนครศรีอยุธยา นายชิน ประสงค์ 45

46 ศิลปนิ แหง่ ชาติ สาขาทศั นศิลป์ (ประตมิ ากรรม)

ต้นแบบดนิ คณุ ทองแดง การทำ�คุณประโยชนเ์ พือ่ สงั คม นายชิน ประสงค์ ยังคงสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในผลงาน ท่ีเป็นอนุสาวรีย์และผลงานท่ีเป็นการสร้างสรรค์ ตลอดจนเป็นวิทยากรถ่ายทอด และแลกเปล่ียนองค์ความรู้ทางศิลปะ และเป็นท่ีปรึกษาให้แก่ผู้ท่ีสนใจงาน ดา้ นประติมากรรมด้วย ท่ีอย่ปู จั จบุ นั เลขที่ ๑๗/๔ หมู่ ๑ ซอยท่าอฐิ ถนนรตั นาธิเบศร์ ต�ำบลไทรม้า อ�ำเภอเมือง จงั หวดั นนทบรุ ี ๑๑๐๐๐ นายชิน ประสงค ์ 47


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook