Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

Published by thanya_rato, 2022-03-12 13:00:32

Description: แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

Search

Read the Text Version

[94] แนวคดิ ทางเศรษฐกิจและการตัดสนิ ใจเลอื กเชงิ นโยบาย/โครงการ ของฝ่ายการเมอื ง วตั ถุประสงคข์ องโครงการจาํ นาํ /ประกันราคาข้าว คอื (1) เพือ่ ยกระดบั รายได้และชวี ิตความเปน็ อยู่ของชาวนา (2) เพ่ือสร้างเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ดว้ ยการขยายตัวของการบรโิ ภคภายใน (3) เพื่อดึงอุปทานข้าวเข้ามาอยู่ในความควบคุม สร้างเสถียรภาพ ของราคาขา้ ว (4) เพ่อื ยกระดับขา้ วไทยให้สูงขึน้ ทั้งระบบ เพอื่ การสง่ ออก หากวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการจะเห็นได้ว่ามี วตั ถุประสงค์หลกั 2 ประการ คอื (ก) ทางด้านการเมอื ง คอื รฐั บาลต้องการเสยี งสนับสนุนจาก ชาวนา ซ่ึงเปน็ กลุม่ ผสู้ ิทธิเลือกตงั้ กลุ่มใหญ่ (ข) ทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องการแทรกแซงกลไก การตลาดข้าว โดยการผูกขาดตลาดด้วยการซ้ือข้าวเปลือกจาก ชาวนา และจํากัดปริมาณการส่งออกเพ่ือยกระดับราคาการส่งออก ขา้ ว จากทฤษฎีการตัดสินใจเลือกของส่วนรวมหรือทฤษฎี ทางเลือกสาธารณะ (public choice theory) มีหลักการ ประกอบด้วย หลักการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล โดยมาจากแนวคิด ท่ีว่า ทุกคนมีพฤติกรรม/แสดงพฤติกรรมท่ีมีเหตุผล (rational behavior) โดยการจัดลําดับความสําคัญในความต้องการของตน หลักการดังกล่าวนํามาใช้ในการตัดสินใจทางการเมืองในด้านต่างๆ ทั้งการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนักการเมืองหรือพรรค

[95] การเมืองอันเป็นการตัดสินใจอย่างมีเป้าหมาย เช่นเดียวกันกับการ ตัดสินใจกําหนดนโยบายของรัฐบาลหรือพรรคการเมืองเป็นการ ตดั สินใจอย่างมีเหตผุ ล โดยอยู่บนพน้ื ฐานที่คาํ นงึ ถึงคะแนนเสียงของ ประชาชนอันเป็นคะแนนเสยี งสนับสนนุ หลักการมุ่งประโยชน์สูงสุด (maximization of utility) โดยมองว่าการเลือกของปัจเจกบุคคลล้วนอยู่หลักการของเหตุผล พฤตกิ รรมการเลือกดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หรือความต้องการให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง โดยรัฐบาล/พรรคการเมืองมุ่งดําเนิน นโยบายทางเศรษฐกิจภายใต้ความต้องการและความคาดหวังให้ ประชาชนเลือกพรรคของตนเพ่ือชนะการเลือกตั้งหรือพยายามปรับ ภาวะเศรษฐกิจให้เป็นประโยชน์ต่อคะแนนเสียงหรือเป้าหมายใน การชนะการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกันประชาชนตัดสินใจเลือก นักการเมืองหรือพรรคการเมืองเพราะต้องการให้เป็นรัฐบาล โดยมี ความคาดหวังว่าจะสามารถกําหนดนโยบายและดําเนินนโยบาย ตามท่ีหาเสียงไว้และเปน็ ไปตามความต้องการของตน กลไกและกระบวนการในทางปฏิบัติ รัฐบาล พรรคการเมืองหรือนักการเมืองใช้นโยบาย เศรษฐกจิ เป็นยุทธวิธีในการหาเสียง โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความ ต้องการทางเศรษฐกิจของกลุ่มประชาชนท่ีสนับสนุนหรือลงคะแนน เสยี งให้ตน เพื่อเรียกคะแนนนิยม การตัดสินใจเลือกนโยบายของ พรรคจึงอยู่ท่ีประชาชน (คะแนนเสียง) เป็นสําคัญ โดยใช้กลไกการ นํ า เ ส น อ น โ ย บ า ย ที่ ต ร ง ใ จ แ ล ะ ถู ก ใ จ ป ร ะ ช า ช น ส่ ว น ม า ก ห รื อ กล่มุ เปา้ หมาย เม่ือได้รบั การเลือกต้ังเป็นรัฐบาลแล้วต้องนํานโยบาย ที่เคยหาเสียงไว้มาปฏิบัติ เพื่อคงไว้ซ่ึงความนิยมของประชาชนต่อ

[96] รัฐบาล เป็นลักษณะการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างพ่อค้ากับ ผบู้ ริโภค ความสาเรจ็ หรอื ความลม้ เหลว : ผลทเี่ กดิ ขนึ ต่อผู้เก่ียวขอ้ ง จากการเปรียบเทียบข้อดีของโครงการรับจานา/ประกัน ราคาข้าว พบว่า แม้ทั้งสองโครงการจะมีข้อดี ที่แตกต่างกันแต่ถ้า พิจารณาจากวัตถุประสงค์โครงการแล้ว พบว่าท้ังสองโครงการ มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน คือ การกําหนดราคาข้าวข้ันตํ่าให้แก่ ชาวนา เพ่ือช่วยยกระดับรายได้ของชาวนาให้มีรายได้เพ่ิมข้ึน หรือ มีความเสย่ี งในการประกอบอาชีพน้อยลง โดยทั้งสองโครงการมีการ กําหนดราคาข้าวข้ันตํ่าไว้สูงกว่าราคาตลาด หากพิจารณาข้อดีของ โครงการประกันราคาข้าว ถอื เปน็ โครงการท่ีช่วยเหลือรายได้ข้ันตํ่า ให้กับชาวนาทุกคนท่ีมาลงทะเบียน เพราะชาวนาท่ีมาขึ้นทะเบียน ขอรับการประกันราคาไว้จะได้รับเงินส่วนต่างภายใต้เงื่อนไขของ จํานวนข้าวตามจํานวนสูงสุดที่รัฐประกาศไว้ล่วงหน้า เป็นการสร้าง ความเป็นธรรมให้กับชาวนาและเป็นการแก้ปัญหาการสวมสิทธ์ิ รวมทั้งถือเป็นโครงการที่สนับสนุนต่อกลไกตลาดไม่มีการบิดเบือน ท้ังน้ี เพราะรัฐไม่ได้เข้าไปมีบทบาทเป็นผู้ซ้ือผู้ขายในตลาด ในขณะ ท่ีโครงการรับจานาข้าว ชาวนาสามารถทราบล่วงหน้าก่อนการ เพาะปลูกว่าจะขายผลผลิตได้ในราคาใดซึ่งจะมีส่วนช่วยในการ ตัดสินใจว่าชาวนาจะเลือกปลูกข้าวหรือไม่ และสร้างความเข้มแข็ง ให้ชาวนาในการเรียนรู้การตัดสินใจจําหน่ายข้าว ถึงแม้จะมีความ คล้ายคลึงกันแต่ท้ังสองโครงการนั้นก็มีความแตกต่างกันในวิธีการ ดาํ เนินการ

[97] จากการเปรียบเทียบข้อเสียของโ ครงการ เมื่อนํา รายละเอียดมาทําการเปรียบเทียบในส่วนของข้อเสียจะเห็นได้ว่า โครงการประกันราคาข้าวรัฐต้องจ่ายเงินสู่เกษตรกรโดยตรง ทําให้ รัฐตอ้ งจ่ายเงินมาก โดยไม่ได้อะไรกลับมาเนื่องจากโครงการประกัน ราคาข้าวไม่ได้คํานึงถึงความต้องการการซ้ือข้าวในตลาด ส่งผลให้ ราคาขา้ วกรณที ี่ชาวนานําผลผลิตออกจําหน่ายในปริมาณมากพร้อม ๆกัน จะทําให้ราคาข้าวในตลาดลดตํ่าลงมาก ซึ่งรัฐจะต้องรับภาระ จ่ายส่วนต่างราดาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ข้อเสียต่อมาของโครงการ ประกันราคาข้าวคือ ปัญหาในการทุจริตที่เกิดข้ึนในขั้นตอนการข้ึน ทะเบียนชาวนาซ่ึงมีการแจ้งพ้ืนท่ีการทํานาที่เป็นเท็จ ซึ่งเหตุจาก ขาดความซื่อสัตย์ของชาวนามีการแจ้งหลักฐานการทํานาท่ีเป็นเท็จ ไม่ตรงตามความจริง ทําให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการจ่าย ส่วนต่างเป็นจํานวนมากทั้งท่ีไม่มีการทํานาจริง นอกจากข้อเสียท่ี กล่าวมาของโครงการประกันราคาข้าวแล้วยังพบว่า ทําให้ราคาข้าว สูงขึ้นไม่เกินราคาประกันท่ีกําหนด เนื่องจากพ่อค้ารับรู้ว่ารัฐจ่าย สว่ นต่างให้กับชาวนาอยู่แล้วจึงกดราคารับซ้ือข้าว นอกจากน้ีในการ จา่ ยสว่ นต่างน้ันจะจา่ ยใหเ้ ท่ากบั ผลผลิตท่ีกาํ หนดคอื ขา้ วเปลือกหอม มะลิครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกเจ้าครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกหอมเหนียวครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน กรณี ที่ผลผลิตของชาวนาดีกว่าที่กําหนดไว้นั้นจะทําให้ชาวนาไม่ได้รับ ส่วนต่างที่เกิน และหากเกิดภัยพิบัติชาวนาจะได้ส่วนต่างโดยคิดให้ จากผลผลิตข้าวเฉล่ียที่ 500 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ซ่ึงส่งผลต่อ ชาวนาทีม่ ีผลผลิตขา้ วในปริมาณทสี่ ูง สาหรับข้อเสียในส่วนของโครงการจานาข้าว น้ัน พบว่า จากผลกระทบของการท่ีรัฐได้เข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดข้าวจนรัฐ

[98] เป็นผู้ซื้อข้าวเปลือกรายใหญ่ในตลาด ส่งผลให้ปริมาณสต็อกข้าวมี จํานวนมาก ซ่ึงสังเกตได้จากข้อมูลปริมาณสต็อกข้าวจากกรมการ ข้าว พบว่าในปีพ.ศ.2554/55 มีปริมาณการสต็อกข้าวสะสม 98.47 ล้านตัน ปีพ.ศ.2555/56 มีปริมาณการสต็อกข้าว สะสม 102.53 ล้านตัน และปีพ.ศ.2556/57 มีปริมาณการสต็อกข้าวสะสม 105.3769 ล้านตัน ซ่ึงมีปริมาณการสต็อกข้าวเพ่ิมสูงข้ึนในช่วงที่มี โครงการรับจํานําข้าว ทําให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ข้าวเอง หรืออาจมีข้าวต่างประเทศเข้ามาสวมสิทธ์ิทําให้รัฐสูญเสีย งบประมาณดงั กล่าวเปน็ เงินจาํ นวนมาก และระหว่างการเก็บข้าวใน สต็อก การเก็บข้าวไว้ในสต็อกจํานวนมาก ไม่เป็นผลดี เพราะการ เก็บข้าวในระยะเวลาท่ียาวนานข้ึนไว้ไนสต็อกจํานวนมากย่อมนํามา ซ่ึงต้นทุนในการจัดเก็บ และหากจัดเก็บข้าวไว้ ไม่ดีจะทําให้ข้าวที่ จดั เกบ็ ไว้เส่อื มคุณภาพ และจะขายออกยากยิ่งข้ึน เพราะคงไม่มีผู้ใด อยากซื้อข้าวที่เส่ือมคุณภาพไปบริโภคหากเปรียบเทียบโครงการรับ จาํ นาํ และประกันราคาข้าวแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งสองโครงการมีทั้งข้อดีและข้อเสียท่ีแตกต่าง กัน ส่งผลท่ีต่างกันออกไปทั้งต่อเกษตรกรชาวนา โรงสี พ่อค้าและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบเศรษฐกิจ ไปจนถึงการสนับสนุนและ การคดั คา้ นในด้านการเมอื ง โดยสรุปได้ดังน้ี โครงการประกนั ราคาข้าว การขาดทุน เงินท่ีขาดทุนไม่ตกถึงมือชาวนา แต่ไปตกกับพ่อค้าคนกลาง ผู้ ส่งออก และโรงสี ที่สําคัญเม่ือรัฐขาดทุน ชาวนาก็ขาดทุน ผู้ท่ีได้ กําไรทุกปีจนเคยตัว ก็คือ พ่อค้าคนกลาง ผู้ส่งออก และโรงสี ด้วย เหตุนี้ พ่อค้าคนกลาง ผู้ส่งออก โรงสี หรือแม้แต่ธนาคารพาณิชย์

[99] และพรรคการเมืองบางพรรคจึงชอบการประกันราคาข้าวมากกว่า การรบั จาํ นําขา้ ว ขา้ วเปลือกในมือรฐั ขา้ วเปลือกไม่ไดอ้ ยใู่ นมอื รฐั แต่อยู่ในมือผูส้ ง่ ออก โรงสี และพ่อค้า คนกลาง ส่วนที่ยังอยู่ในมือชาวนาก็มักจะถูกกดราคา และหักค่า ความชื้นสูง ด้วยเหตุนี้ อํานาจต่อรองของท้ังรัฐและชาวนาจึงมีน้อย กวา่ การรับจาํ นาํ ข้าว การเพม่ิ จดี พี ขี องประเทศ เนื่องจากรายได้เกือบทั้งหมดตกอยู่กับผู้ส่งออก พ่อค้าคนกลาง และโรงสี ซ่ึงเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ที่ใช้จ่ายเงินประเภทมือเติบ และเกือบท้งั หมดรัว่ ไหลออกนอกประเทศ เพราะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งรวมท้ังการท่องเที่ยวต่างประเทศจึงไม่เกิดการกระตุ้นให้มีการ ลงทุนขัน้ พื้นฐาน ซึง่ เป็นประโยชนข์ องคนระดับล่างมากนัก ซ่ึงไม่ทํา ให้จีดีพีโดยรวมของประเทศเพ่ิมข้ึน เพราะชาวนาซึ่งเป็นประชากร จํานวนมากได้เงินไม่เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนใน ปีต่อๆ ไป มิหนําซํ้ายังต้องตกเป็นหน้ีท้ังภาคครัวเรือนและภาค เกษตรกร จนโงหวั ไมข่ ้นึ การสรา้ งความมน่ั คงในชวี ิตใหแ้ ก่อาชพี ชาวนา ไม่สามารถสร้างความมั่นคงในชีวิตให้แก่ผู้ประกอบอาชีพชาวนา เพราะมองไม่เห็นความหวังว่าจะลืมตาอ้าปาก หรือหลุดพ้นจาก ภาระหน้ีสินล้นพ้นตัวได้อย่างไร แต่พอมีทางไปประกอบอาชีพอ่ืนๆ ก็ขายที่ขายนาไปทําอย่างอื่น ละท้ิงอาชีพชาวนา ท่ีเหลืออยู่ก็เป็น ลักษณะซังกะตายขาดความมั่นคงในชวี ติ โดยสิ้นเชิง เพราะทุกสิ่งทุก อย่างขึ้นกับความเมตตาของพ่อค้านายทุน ลมฟ้าอากาศ และราคา

[100] ข้าวในตลาดโลก ไม่มีหลักประกันในคุณภาพชีวิตและสุขภาพ อนามยั ของครอบครัว ยทุ ธศาสตรด์ า้ นความมน่ั คงของชาติ ไม่มีผลบวกต่อยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติเลย เพราะไม่ สามารถจูงใจและรักษาอาชีพการทํานาไว้เป็นสมบัติของชาติได้ วัน ใดที่เกิดวิกฤตภัยธรรมชาติอย่างร้ายแรง หรือเกิดศึกสงคราม หรือ ต่างชาติรวมตัวกันสลายตลาดข้าวของไทย จนชาวนาอยู่ไม่ได้ เม่ือ นั้น ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้ ดังนั้น ยุทธศาสตร์ความม่ันคงของชาติจึง ไม่สามารถพ่ึงพาอาศัยนโยบายการประกันราคาข้าว เพราะเห็นได้ ชัดว่า นโยบายประกันราคาขา้ วนั้น เอ้อื ประโยชน์และเป็นการเอาใจ พ่อค้าคนกลาง ผู้ส่งออก โรงสี รวมทั้งประเทศมหาอํานาจตะวันตก ซ่ึงมงุ่ ปกป้องเกษตรกรของเขาอยา่ งเดยี ว โดยไม่คํานึงถึงความมั่นคง ในชวี ิตของเกษตรกรในประเทศอืน่ ยุทธศาสตร์ด้านการเป็นครวั ของโลก โครงการประกันราคาข้าว ไม่มีทางท่ีจะทําให้ประเทศไทยเป็น ครัวของโลกได้ เพราะอาชีพการทํานาไม่ม่ันคง ถึงแม้อาหารการกิน อย่างอ่ืนจะมีอยู่อย่างบริบูรณ์ แต่ถ้าการผลิตข้าวไม่มีความม่ันคง แน่นอนเสียแล้ว เราจะเป็นครัวของโลกได้อย่างไร ? อย่าลืมว่า ประชากรของโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีถึงกว่าห้าพันล้านนั้น ประชากรท่ี กินข้าวสาลีกับข้าวโพดมีจํานวนน้อยกว่า ประชากรที่กินข้าวเป็น หลายเท่า การประกันราคาข้าวทําให้ชาวนามีข้อจํากัดในการผลิต อย่างมาก เพราะหลังการเก็บเก่ียวก็ต้องรอ ไม่รู้ว่าเม่ือไรจะได้เงิน และได้เท่าไร ดังนั้น อย่าว่าแต่เป็นครัวของโลกเลย แค่เป็นครัวให้

[101] ตัวเองและครอบครัวกท็ ้ังยาก เพราะเม่ือขายข้าวเปลือกไปหมดแล้ว ตอ่ จากน้ัน กต็ ้องไปซอื้ ขา้ วสารกนิ ในราคาแพงอยา่ งเหลือเช่ือ โครงการรบั จานาขา้ ว การขาดทนุ เงินที่ขาดทุนเกือบท้ังหมดตกถึงมือชาวนา ท่ีสําคัญ เม่ือรัฐ ขาดทุน ชาวนาไม่ขาดทุน แถมมีกําไรตามสมควร และถึงแม้พ่อค้า นายทนุ โรงสี และผู้ส่งออกจะขาดทุนบ้าง แต่ก็เป็นเพียงแค่ขาดทุน กําไร เพราะฉะนนั้ การขาดทุนหรือกําไรในการรบั จํานําข้าว จึงไม่ใช่ ดัชนีช้ีวัดในเรื่องความล้มเหลวหรือความสําเร็จของโครงการฯ ผลประโยชนท์ ช่ี าวนาได้รับโดยตรงและทนั ทว่ งทีต่างหาก ที่จะแสดง ถงึ ความสําเรจ็ ตามเปา้ หมาย ข้าวเปลอื กในมือรฐั ขา้ วเปลอื กเกอื บทั้งหมดอยู่ในมือรัฐ ทําให้รัฐมีอํานาจต่อรองกับผู้ ซ้ือในต่างประเทศ รวมท้ังพ่อค้า ผู้ส่งออก และโรงสี ด้วยเหตุน้ี อาํ นาจต่อรองของทงั้ รฐั และชาวนาจงึ มสี งู กวา่ การประกนั ราคาขา้ ว การเพมิ่ จดี พี ีของประเทศ เนอ่ื งจากรายได้มีจํานวนมากและแน่นอน ตกปีละหลายแสนบาท เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ชาวนาจับจ่ายใช้สอยจะหมุนเวียนอยู่แต่ ภายในประเทศ และกระจายตัวไปท่ัวทุกภูมิภาค จึงเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจและเงินทุนหมุนเวียนโดยรวม พร้อมท้ังผลักดันให้เกิดการ ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นปัจจัยข้ันพื้นฐานในการดํารงชีพ ซ่ึง นอกเหนือจากปัจจัยส่ี แล้ว ยังมีเคร่ืองอํานวยความสะดวกสบาย และความบันเทิงเริงรมย์ระดับพ้ืนฐาน รวมตลอดถึงเงินสะพัดจาก การทําบุญแก่วัดวาอารามและกิจกรรมของสงฆ์ เพราะเหตุว่าเกือบ

[102] ร้อยทั้งรอ้ ยของชาวนาเปน็ พุทธศาสนิกชน ดังน้ัน จีดีพี โดยรวมของ ประเทศจึงเพ่ิมขึ้นและไม่เป็นตัวเลขหลอก เพราะชาวนาซึ่งมีอยู่ หลายล้านครอบครัวมีรายได้เพ่ิมขึ้น และพ้นจากภาวะหน้ีสินล้นพ้น ตวั การสรา้ งความมั่นคงในชีวิตให้แก่อาชพี ชาวนา ทําให้ชาวนาและครอบครัว มีความหวังและมีหลักประกันว่า ทุก ปีพวกตนและครอบครัวจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกํา ทําให้การ จับจ่ายใช้สอยและชําระหนี้สินให้เป็นไทยแก่ตัวได้ คนท่ีท้ิงอาชีพ การทํานาไปทําอย่างอ่ืนหรือปลูกพืชชนิดอื่น ก็จะหันกลับมาทํานา อย่างเดิม ขณะเดียวกัน ก็ทําให้เกิดขวัญกําลังใจในการเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทํานา โดยลดต้นทุน หันมาใช้แนวทาง เกษตรอินทรยี ์ อนั เปน็ การลดภาวะโลกร้อนและมลภาวะ ชีวิตความ เปน็ อยู่และสุขภาพอนามัยของชาวนาและครอบครวั ก็จะดีขึน้ ยทุ ธศาสตรด์ ้านความมั่นคงของชาติ โครงการรับจํานําข้าวในระยะยาวจะเป็นผลดี ด้านยุทธศาสตร์ ความมั่นคงของชาติ เพราะชาวนาและครอบครัวจะเป็นกลุ่ม ประชากรท่ีมีความเข้มแข็ง รายได้ดี ความเป็นอยู่ดี และสุขภาพ อนามัยดี การกระจายรายได้มีประสิทธิภาพ รัฐเก็บภาษีได้เต็มเม็ด เตม็ หน่วย มีอํานาจต่อรองสูง และไม่ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง โรงสี ผู้มีอิทธิพล ไม่เป็นหน้ีนอกระบบ และที่สําคัญ มีจิต สํานึก ประชาธิปไตยสูงข้ึน เพราะเห็นว่าประชาธิปไตยกินได้ การเลือก ต้ังแต่ละครั้ง อย่าหวังว่าจะมาซ้ือเสียงชาวนาได้ เพราะชาวนาใน ร ะ บ บ รั บ จํ า นํ า ข้ า ว มี ร า ย ไ ด้ ม า ก พ อ ท่ี จ ะ ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ เ ศ ษ เ งิ น ที่ นักการเมือง ผู้มีอิทธิพล หรือพ่อค้านายทุนหยิบย่ืนมาให้

[103] นักการเมืองและนักเลือกต้ัง จึงต้องหันมาซ้ือใจชาวนาโดยแข่งขัน กันทางนโยบายมากข้ึน ยุทธศาสตรด์ ้านการเป็นครัวของโลก โครงการรับจํานําข้าว จะทําให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิต อาหารไปเล้ียงพลเมืองโลก หรือที่เรียกว่า “ครัว” ของโลกได้อย่าง สมบูรณ์แบบ เพราะถ้าชาวนามีหลักประกันรายได้สูงขึ้น ชีวิตความ เป็นอยู่ดีข้ึน สุขภาพอนามัยดีข้ึน ชีวิตมีความมั่นคงข้ึน และท่ีสําคัญ มีจํานวนชาวนาเพ่ิมมากขึ้นเป็นลําดับแล้ว ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ นอกจากจะมีปริมาณเพ่ิมข้ึนแล้ว คุณภาพข้าวและพันธุ์ข้าวก็จะ ได้รับการปรบั ปรุงใหด้ ีขึน้ เป็นเงาตามตัว นอกจากนั้น การลดการใช้ ปุ๋ยเคมีและหันมาใช้เกษตรอินทรีย์แทน นอกจากจะเป็นการลด ต้นทนุ การผลติ แลว้ ยังชว่ ยให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย ซ่ึงตรงกัน ขา้ มกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมซง่ึ ใช้แต่แรงงานต่างด้าว เงินร่ัวไหล ออกนอกประเทศ ในขณะที่กําไรและรายได้กลับไปตกอยู่ในมือของ พ่อค้าคนกลาง ผู้ส่งออก และนายทุนต่างชาติ ซ่ึงคนเหล่านั้น ล้วน แลว้ แตใ่ ช้จ่ายเงินมือเตบิ ซงึ่ ทาํ ให้เงนิ รั่วไหลออกนอกประเทศทุกวัน วนั ละมหาศาล บทสรปุ ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกตํ่าเป็นปัญหาท่ีเร้ือรังและอยู่คู่ กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานก็โดยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรม และสินค้าส่งออกที่สําคัญก็มาจากภาคการเกษตร อย่างไรก็ตามแม้ว่าในปัจจุบันโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย จะไม่ได้พ่ึงพาสินค้าเกษตรเป็นหลัก และอาชีพเกษตรกรก็ไม่ใช่ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศต่อไป แต่ปัญหาของเกษตรกรก็

[104] ยังคงเหมือนเดิมคือต้องพึ่งพาดินฟ้า อากาศ และราคาตลาดโลก เป็นหลัก เพราะไม่สามารถกําหนดราคาผลผลิตได้ด้วยตัวเอง จึงทํา ให้ต้องประสบกับภาวะการขาดทุนและก่อให้เกิดปัญหาหน้ีสินอยู่ ตลอดเวลา รัฐบาลทุกชุดท่ีผ่านมาต่างได้พยายามเข้าไปให้ความ ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเต็มท่ีแต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ปัญหาเหล่าน้ันหมด ไปเกษตรกรยงั คงแบกรับกับปัญหาหน้ีสินต่อไป การแทรกแซงราคา ตลาดสําหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย นับว่ายังมี ความจําเป็นอย่างมากท่ีต้องพ่ึงพารัฐบาลในการแทรกแซงราคา สินค้าเกษตร เพ่ือให้ความเป็นธรรมกับเกษตรกรและแก้ปัญหา ชาวไร่ชาวนา ที่มักถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง หาก เปรียบเทียบว่านโยบายการแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาลด้วย ระบบการรับจาํ นํากบั ระบบการประกันราคาน้ัน ระบบไหนดีกว่ากัน จะเหน็ ไดว้ า่ หนา้ ท่พี งึ ต้องกระทาํ เพือ่ ชว่ ยเหลือใหค้ วามเป็นธรรมต่อ เกษตรกรของรัฐบาล กลายเป็นปัญหาระหว่างนักการเมือง ข้าราชการและพ่อค้า เพราะระบบการจํานําเกิดปัญหาการการ ทุจริต อาทิ การใช้เงินงบประมาณสูงเกินจริง ปัญหาในการจัดเก็บ สนิ ค้าทร่ี ับจํานํา ตลอดจนการนําข้าวท่ีจํานําไว้แล้วมาเวียนจํานําซ้ํา อกี นอกจากนี้ยังประสบกบั ปัญหาการบริหารจัดการระบายข้าวการ ขายข้าวที่ไม่โปร่งใส ทําให้รัฐบาลสูญเสียผลประโยชน์และขาดทุน เป็นจํานวนมาก มาตรการใหม่ในการแทรกแซงราคาข้าวด้วยการ ประกันราคาข้ันต่ําให้กับเกษตรกร จึงเป็นทางเลือกที่เช่ือกันว่าจะ ลดปัญหาการบริหารและกระบวนการท่ีไม่โปร่งใสท้ังหลายของการ รับจํานํา อย่างน้อยก็การนําข้าวมาเวียนจํานําซ้ําแล้วซํ้าอีก และ ค่าใช้จ่ายในการสีข้าวและเก็บข้าวเกินจริงก็จะไม่เกิดข้ึน แต่จะมี หลักประกันอะไรบ้างที่รัฐบาลจะสามารถยืนยันได้ว่า การประกัน ราคาข้าวแทนการรับจํานําน้ัน การทุจริตจะหมดไป เพราะในอดีตที่

[105] ผ่านมารัฐบาลได้เคยนําวิธีการประกันราคาข้าวมาใช้ก็ขาดทุน มาแลว้ จากปญั หาการทุจริตเป็นขบวนการ ดังน้ัน นอกจากรัฐบาลมี ความต้ังใจแน่วแน่ทําในสิ่งถูกต้อง ด้วยการหาทางแก้ไขและป้องกัน ปัญหาทุจริต อันเน่ืองมาจากกระบวนการรับจํานําข้าวซ่ึงเรื้อรังมา จากอดีตทุกยุคทุกสมัยแล้ว ระบบการประกันราคาข้าวก็ยังคงต้อง พ่ึงพาองคาพยพ ข้าราชการ พ่อค้า และนักการเมือง ซ่ึงรัฐบาลต้อง มีมาตรการกําจัดขบวนการนี้ให้ได้ มิเช่นน้ันแล้วไม่ว่าจะระบบรับ จํานําหรือการประกันราคาก็คงแตกต่างกันเฉพาะชื่อโครงการ เท่าน้ัน ปัจจุบันความสําเร็จทางการเมืองในเชิงการบริหารนั้น มักพิจารณาจากความสามารถหรือความก้าวหน้า เติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศ ความอยู่ดีกินดีของประชาชน สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการบริหารของรัฐบาลจึงเป็นสิ่งที่แสดงให้ เหน็ ถงึ ความชอบธรรมในการดาํ รงอยู่ในตาํ แหน่งหรืออํานาจ สรุปได้ วา่ เศรษฐกิจและการเมืองนั้นมีความสัมพันธ์กันไม่สามารถแยกออก จากกันได้ นโยบายทางเศรษฐกิจของนักการเมืองหรือรัฐบาลส่งผล ต่อการสนับสนุนหรือคัดค้านของประชาชนผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง ในทางกลับกันภาวะเศรษฐกิจของสังคมส่วนรวมก็ส่งผลต่อการ ตัดสินใจกําหนดนโยบายของนักการเมืองหรือรัฐบาลที่จะเสนอหรือ ดําเนินการให้ตรงตามความตอ้ งการของประชาชนด้วย

[106] เอกสารอา้ งองิ - ณัฐพงศ์ บุญเหลือ.(2565).เอกสารประกอบการสอนวิชาแนวทาง การศึกษารัฐศาสตร์POL6100. ศูนย์เอกสารทางวิชาการ คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. - พัชนีวรรณ เช้ือเล็กและสํารวม จงเจริญ.(2559).การเปรียบเทียบ ข้อมูลทางสถิติของโครงการการประกันราคาข้าวและโครงการรับ จํานําข้าว และปัจจัยท่ีมีผลต่อราคาข้าวของแต่ละโครงการ. (ออนไลน)์ .สืบคน้ เมื่อ 12 กมุ ภาพนั ธ์ 2565, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/issue/ - สถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย.(2555).ผลดีผลเสียของ การจาํ นาํ ขา้ วทกุ เมด็ .(ออนไลน)์ .สืบค้นเมอื่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 , จาก https://tdri.or.th/2012/10/ar3/ - อริยพร โพธิไสย.(2552).นโยบายประกันราคาข้าว:ทางเลือกใหม่ ของเกษตรกรไทย.(ออนไลน์).สืบค้นเม่ือ 12 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://web.senate.go.th/all16.pdf

[107] แนวการศกึ ษาการตดั สินใจเลอื กสาธารณะ (Public Choice Approach) ; บทวเิ คราะห์ว่าด้วยนโยบายพรรคการเมือง และพฤตกิ รรมการเลอื กตังของประชาชนจงั หวัดอานาจเจรญิ พลอยปภัส ตงั ควณชิ ย,์ พชั รพร หานาม,ชยั ณรงค์ จงใจ, เฟ่ืองลดา สิงหาวงค์ และตลุ าศานต์ เหลา่ ออง บทนา 1. ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) หมายถึง ระบบการ ปกครองที่ประช าช นเป็นใหญ่ดังน้ัน การปกครองท่ีเป็น ประชาธิปไตยก็คือ การปกครองที่ยึดถอื อํานาจอธิปไตยเป็นของปวง ชนลักษณะสําคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยสามารถ พิจารณาได้จากรัฐบาล การเลือกต้ังและการปกครองโดยเสียงข้าง มาก ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจําเป็นต้องมีการเลือกตั้ง เพ่ือเปิด โอกาสให้บุคคลสามารถเสนอตัวเข้ารับใช้ส่วนรวมโดยการรับสมัคร เลือกตั้ง และเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิในการที่จะเลือกบุคคล ที่ตนต้องการให้เป็นผู้ปกครอง หรือเป็นผู้ใช้สิทธิเป็นปากเป็นเสียง แทนตนในสภา ในระบอบประชาธิปไตยน้ันการมีสิทธิเลือกต้ังเพียง อย่างเดียวยัง ไม่เพยี งพอ ตอ้ งมีหลักประกันในการใช้สิทธิน้ันด้วยว่า สามารถใช้ได้อย่างเสรี เต็มท่ี และมีโอกาสเลือกสรรตัวบุคคลที่ ต้องการจริง ๆ คือ ต้องเป็นการลงคะแนนลับ (Secret Ballot)การ ปกครองระบอบประชาธปิ ไตยมีลักษณะสาํ คญั ดงั น้ี 1. ลกั ษณะทางสงั คม คอื ความเสมอภาคในการดําเนินชีวิต ทุกคนมีส่วนเท่าเทียมกัน 2. ลักษณะทางเศรษฐกิจ คือ ประชาชนมีโอกาสท่ีจะได้รับ ประโยชนส์ ุขทางเศรษฐกิจ

[108] 3. ลกั ษณะทางการเมือง คือ ประชาชนมีสิทธิทางการเมือง เชน่ การออกเสียงเลือกตง้ั 2. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย อาจกลา่ วได้ว่า ประเทศไทยได้นําระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยมาใช้ในการปกครองประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ก็ เพื่อให้อํานาจการปกครองเป็นของประชาชน ประชาชนมีสิทธิ เสรภี าพ มคี วามเสมอภาค ผู้นําประเทศหรือรัฐบาลเป็นตัวแทนของ ประชาชนที่ประชาชนมีฉันทานุมัติให้เป็นผู้แทนท่ีมาจากการ เลือกต้ังโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน เป็นรัฐบาลท่ีเปิดเผยและ ตรวจสอบได้ และผลประโยชนส์ าธารณะโดยรวมเป็นของประชาชน ที่รัฐบาลต้องทําเพ่ือประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม การ เปลี่ยนแปลงการปกครองในวันท่ี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดย คณะราษฎร มีความมุ่งหมายจัดการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซ่ึงเปล่ียนแนวคิดจากอํานาจท่ีอยู่ใน มอื พระมหากษัตริยต์ ามแบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นอํานาจอธิปไตยเป็นของ ประชาชน การปกครองแบบใหม่ที่ประชาชนเลือกตั้งผู้นํา เป็น ของใหม่สําหรับชาวสยาม ในระยะแรกชนช้ันนําสยามมักเรียกว่า ระบอบการเมืองการปกครองแบบตะวันตก จากการเปล่ียนแปลง การปกครองในยุคที่การปกครองยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่าง สมบูรณ์ก็มีแนวโน้มที่จะเน้นตัวบุคคลที่มีความแข็งแกร่ง มีอํานาจ เด็จขาด แต่การปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยก็ล้มลุก คลุกคลานมาจนถึงปัจจุบัน ท้ังนี้ รัฐราชการ-อํานาจนิยม เป็นรัฐที่ ปกครองโดยทหารในฐานะท่ีเป็นสถาบันท่ีทรงอํานาจเหนือพลังอื่น

[109] ๆ ในสังคมมิใช่ในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล คณะทหารที่ปกครองรัฐ ราชการ-อาํ นาจนิยมน้ี ได้รับความรว่ มมืออย่างแขง็ ขัน จากบรรดาขา้ ราชการพลเรือนและนักเทคนิค รวมตลอดถึง ชนชั้นนายทนุ ระดบั สูงภายในประเทศและนายทุนต่างชาติด้วย และ เกิดรัฐราชการ-อํานาจนิยม อันเน่ืองมาจากการชะงักงันของระบบ ประเทศไทยยงั เผชญิ ปัญหาสําคญั ๆอยู่หลายประการ ดังน้ี ก. การขาดระบบการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของสังคม สว่ นรวม ปญั หาสําคัญที่สุดประการหนึ่งของระบบการเมืองไทยก็คือ การขาดระบบการเมืองท่ียึดม่ันในผลประโยชน์ของสังคมส่วนร่วม เปน็ ท่ตี งั้ เรายงั ไมอ่ าจหาระบบหนึ่งระบบใดมาทดแทนการปกครอง ระบอบราชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบที่ดีอย่างหนึ่งท่ีมุ่งปกครองเพื่อ ผลประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่ได้ ท้ังน้ีเพราะนับแต่การ เปลยี่ นแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยหา ได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยท่ียึดมั่นว่า เป็นการปกครอง ของประชาชนโดยประชาชนและเพอ่ื ประชาชนไม่ ประการแรก รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่จะร่างขึ้นมาเพ่ือให้กลุ่ม ผู้มีอํานาจท่ีแท้จริงขณะนั้นได้เข้ามามีอํานาจในการปกครอง ประเทศด้วยการเป็นหัวหน้ารัฐบาลและมีอํานาจในสภานิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ก็ร่างข้ึนมาเพ่ือให้คณะราษฎรได้ ผกู ขาดการครองอํานาจอยู่อีก 10 ปี หรอื จนกวา่ ประชาชนส่วนใหญ่ จะมกี ารศกึ ษาระดับประถมศึกษา ประการทสี่ อง การพัฒนาสถาบันทางการเมืองการปกครอง ต่าง ๆ ถูกขัดขวางและปิดกั้นจากกลุ่มผู้มีอํานาจทางการเมือง ทั้งที่ เปน็ ผู้นําของข้าราชการและนายทุน นักธุรกิจ เพราะบุคคลเหล่านี้มี ผลประโยชน์ส่วนตัวที่จะต้องพิทักษ์รักษา เช่น โดยการยึดอํานาจ

[110] ห้ามการมีส่วนร่วมทางการเมือง ห้ามการรวมกลุ่มหรือชุมนุมทาง การเมือง บดิ เบอื นอดุ มการณ์ของระบอบประชาธปิ ไตย ประการท่ีสาม ชนชั้นปกครองของไทยส่วนมากไม่ยอมรับ หลักความชอบธรรมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย หาก จะนิยมระบอบเผด็จการมากกว่า ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้นําที่เป็น ข้าราชการ ทหาร พลเรือน นักวิชาการหรือนักธุรกิจ แม้แต่นิสิต นักศกึ ษาไทย ประการท่ีส่ี ประชาธิปไตยจะถูกใช้เป็นเพียงข้ออ้างสําหรับ การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าสภานิติบัญญัติใน บางขณะจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก็ยังเรียกได้ว่าเป็น ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ในบางยุคบางสมัยอาจมีสภาท่ีมาจากการ เลือกตั้งอยู่บ้าง แต่เราก็หาได้มีประชาธิปไตยตามหลักการ วิธีการ และวัตถุประสงค์ ของการปกครองแบบนีไ้ ม่ ประการที่ห้า มีการร่วมมือกันแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ระหว่างผู้มีอํานาจกับผู้มั่งมีในประเทศด้อยพัฒนา กลุ่มพ่อค้านัก ธุรกิจ ทั้งในประเทศและจากต่างประเทศจะร่วมมือกันกอบโกย ผลประโยชน์และทรัพยากรทางสังคม อีกท้ังจะเอารัดเอาเปรียบคน สว่ นใหญ่ โดยสนบั สนนุ บุคคลกลุ่มหนึ่งข้ึนมาเป็นรัฐบาล แต่ในกรณี ของประเทศไทย บรรดาในทุนกับข้าราชการผู้มีอํานาจจะร่วมมือซ่ึง กนั และกนั ในการทําสงิ่ ดังกล่าว ประการท่ีหก การปกครองส่วนใหญ่ของไทยเป็นระบอบ เผด็จการ มีช่วงระยะเวลาสั้นมากท่ีเป็นประชาธิปไตยในรูปแบบอยู่ บ้าง การปกครองแบบเผด็จการไม่ได้มุ่งทําการปกครองเพื่อ ประโยชน์ของสงั คมสว่ นรวม

[111] ข. ความจาเป็นของการพฒั นาพรรคการเมือง ปัญหาท่ีสําคัญยิ่งอย่างหน่ึงของระบอบการเมืองไทย คือ การพัฒนาพรรคการเมือง ลักษณะเดิมของพรรคการเมืองไทยที่ เป็นอยู่ ก็คือ การย้ําบทบาทของพรรคในการแข่งขันทางการเมือง อยู่ในขอบเขตการชิงชัยในการเลือกต้ัง พรรคการเมืองไทยคือกลุ่ม บุคคลที่มาร่วมกันเพื่อเข้าสมัครรับเลือกตั้ง เม่ือใดไม่มีการเลือกตั้ง กลุ่มบุคคลเหล่านี้ก็หยุดดําเนินการทางการเมืองและต่างก็แยกย้าย กันไปประกอบอาชีพเดิมของตน และรอคอยโอกาสท่ีผู้มีอํานาจทาง การเมืองจะปล่อยให้มีการเลือกต้ังครั้งต่อไปอีก ในกรณีที่พรรค การเมืองหยุดดําเนินการเม่ือไม่มีการเลือกตั้ง ประชาชนก็ขาดการ ติดต่อกบั นักการเมอื ง ปัญหาสําคัญต่าง ๆ ในการพัฒนาพรรคการเมืองของไทย ไดแ้ ก่สิง่ เหล่านี้ ประการแรก พรรคการเมืองขาดอุดมการณ์ทางการเมืองท่ี ชัดเจน อุดมการณ์ท่ีมีอยู่ค่อนข้างคลุมเครือ ยากท่ีจะนําไปสู่ แผนการปฏิบตั ทิ แี่ ทจ้ รงิ ได้ ประการที่สอง นโยบายของพรรคต่าง ๆ คล้ายคลึงกันมาก ยากทปี่ ระชาชนท่ัวไปจะแยกได้ออกว่า พรรคใดมีแนวทางการแก้ไข ปญั หาตา่ ง ๆ ของสังคมแตกต่างกันหรอื ดีกว่ากัน ประการท่ีสาม ไม่ยึดมั่นในหลักการ หากแต่ยึดมั่นในตัว บคุ คล พรรคการเมืองไทยอยู่ได้เพราะผู้นํา เม่ือสิ้นผู้นํา สมาชิกของ พรรคจะแปรปรวนและอย่ไู มร่ อด ประการที่ส่ี สมาชิกของพรรคการเมืองมักจะขาดวินัย ไม่ ยึดม่ันในอุดมการณ์ของพรรค คุมกันได้ยาก ขาดความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน สมาชิกของพรรคสามารถจะแปรพักตร์ได้ตลอดเวลา ด้วยผลประโยชนท่ไี ดร้ ับ

[112] ประการที่ห้า การขาดความต่อเน่ืองทําให้ไม่สามารถ พฒั นาองค์การไปสกู่ ารเป็นพรรคการเมืองท่ีม่นั คงได้ ประการที่หก ไม่มีฐานสนับสนุนที่มาจากมวลชนอย่าง แท้จริงเพราะไม่ได้ขยายสาขาพรรคออกไปสู่ชาวบ้านในระดับ ทอ้ งถ่ิน หากแตม่ ุง่ รบั เลอื กตงั้ ไปนั่งอยูใ่ นสภา โดยสรุปแล้ว การช้ีให้เห็นแนวโน้มและปัญหาสําคัญของ ระบบการเมืองไทยในอนาคต ย่อมจะศึกษาได้จากแนวโน้มและ ปญั หาตา่ ง ๆ ที่มีมาแตอ่ ดตี จนถงึ ปจั จบุ นั สิ่งท่ีพอจะมองเห็นได้ก็คือ ในรอบสิบปีข้างหน้าน้ี หากไม่รีบแก้ไข ประเทศไทยจะยังประสบ ปญั หาต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรก ได้แก่ การขาดระบบการเมืองท่ียึดมั่นใน ผลประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญที่มีอยู่ยังคงมี ไว้สําหรับผู้มีอํานาจ การพัฒนาสถาบันทางการเมืองต่าง ๆจะถูก สกัดก้ัน ชนช้ันปกครองส่วนมากไม่ยอมรับหลักความชอบธรรม ระบอบประชาธปิ ไตย ประชาธปิ ไตยถูกใช้เปน็ ขอ้ อ้างในการแสวงหา ผลประโยชน์ส่วนตัว มีการร่วมมือกันแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ระหว่างผู้มีอํานาจกับผู้ม่ังมี รวมทั้งการปกครองของไทยท่ียังเป็น แบบเผดจ็ การ ประการที่สอง การดําเนินกิจกรรมทางการเมืองท่ีสําคัญๆ จะยังถูกครอบงําจากระบบราชการ ซ่ึงได้แก่ การมองปัญหาของ สังคม การกาํ หนดแนวทางในการแกป้ ญั หาเหล่านั้น การสรรหาผู้นํา ให้แก่ระบบการเมือง การปลูกฝังวัฒนธรรมทางการเมือง การให้ ข่าวสารและความคิดเห็นต่าง ๆ แก่สาธารณชน รวมทั้งการกําหนด ข้อบัญญัติให้แก่สงั คมการนํานโยบายและการตัดสินใจแก้ปัญหาของ สังคมไปปฏิบัติ และการตีความในข้อบัญญัติเม่ือเกิดการขัดแย้งกัน

[113] ข้ึนในลกั ษณะที่เป็นการปกครองของข้าราชการโดยข้าราชการ และ เพื่อขา้ ราชการเอง ประการท่ีสาม ระบบราชการไทยขาดความรับผิดชอบต่อ ประชาชน และขาดประสิทธิภาพ ข้าราชการไทยสนใจท่ีจะ สนองตอบตอ่ ความต้องการของผบู้ ังคับบัญชามากกว่าจะปฏิบัติตาม นโยบายของรัฐบาล หรือสนองตอบต่อความต้องการของพรรค การเมอื ง กลมุ่ ผลประโยชน์และประชาชน ยิ่งกว่าน้ัน ระบบราชการ ไทยยังขาดการประสานงานกันในทุกระดับ นิยมการรวบอํานาจไว้ท่ี หน่วยเหนือและส่วนกลาง มีการเล่นพรรคเล่นพวก ขาดการใช้ เทคนิคในการวางแผนและประเมินโครงการ และผู้บริหารเองขาด ความรู้ทางการบริหาร ประการท่ีส่ี มีการขยายตัวขององค์การในระบบราชการ เพม่ิ มากข้นึ เร่ือย ๆ ทําให้ต้องแก้ปัญหาทางด้านการบริหารและต้อง จัดตั้งหน่วยงานใหม่ข้ึนมาอีกไม่มีที่ส้ินสุด โดยมุ่งสร้างอาณาจักร ใหแ้ ก่ตนเองมากกว่าทีจ่ ะมงุ่ ให้เกดิ ประโยชนต์ ่อการแกป้ ัญหาสงั คม ประการท่ีห้า ประเทศไทยประสบปัญหาของการพัฒนา พรรคการเมืองที่มีฐานสนับสนุนมาจากประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศ ท้ังนี้เพราะขาดความต่อเนื่อง ขาดอุดมการณ์ ขาดวินัย และยึดถือตวั บคุ คลมากไป 3. สถาบันทางการเมือง หมายถึง สถาบันที่ดูแล รักษากฎระเบียบ ควบคุมกลุ่มคนต่างๆในสังคม สถาบันตัวแทนของประชาชนต่าง ๆ เป็นสถาบันทางการเมืองท่ีมีบทบาทสําคัญท่ีแสดงบทบาทเชิง นโยบาย มรี ปู แบบของการบรหิ ารจัดการทางการเมืองท่ีถูกจัดตั้งขึ้น ในลักษณะท่ีมีความเป็นทางการ และมีองค์กรของสถาบันการเมือง ท่ีสาํ คัญ คอื ฝ่ายนิติบัญญัติ มีอํานาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย 2)

[114] ฝ่ายบริหาร มีอํานาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน 3) ฝ่าย ตุลาการ มีอํานาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบพิจารณาตีความ และขี้ขาดการกระทําของสมาชิกในสังคมที่มีความขัดแย้งกัน 4) ฝ่ายองค์กรอิสระ ท าหน้าท่ีเพื่อดําเนินการให้ปลอดอิทธิพลของ บุคคลในสังคม โดยสถาบันทางการเมืองมีหน้าท่ีต่าง ๆ ได้แก่ 1) ป้องกันรักษาความมั่นคงของชาติ 2) สร้างและรักษากฎเกณฑ์ของ สังคม 3) บําบัดทุกข์ บํารุงสุข ของประชาชน 4) บริหารองค์กรของ รัฐบาล และองค์กรปกครองท้องถ่ิน 5) พัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชน สถาบันทางการเมืองจะถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญ หมายถึงการวมส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็น องค์การทางสังคม มโี ครงสรา้ งเปน็ รูปแบบ มีวตั ถุประสงค์ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติขององค์กรส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ปทัสถาน หรือบรรทัดฐานซึ่งควบคุมตัวบทกฎหมายที่รัฐท่ีรัฐประกาศใช้กับ ราษฎร เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับขั้นมูลฐาน เป็นพ้ืนฐานในการ ดําเนินงานของรัฐบาล สถาปนาโครงสร้างการปกครองประเทศ กําหนดอํานาจหน้าท่ีของหน่วยงานต่าง ๆ กําหนดความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการ วางกฎเกณฑ์เพ่ือการปกครองบ้านเมือง สําหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญทใี่ ช้อยใู่ นปจั จุบนั คือ รฐั ธรรมนญู 2560 4. รัฐธรรมนูญ 2560 ได้บัญญัติเก่ียวกับสถาบันทางการเมืองไว้ ดงั น้ี 4.1 ฝา่ ยนิตบิ ัญญัติ องค์กรทางการเมืองฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรซึ่งสมาชิกท่ีมาจากการ เลือกต้ังแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวนสามร้อยห้าสิบคน และสมาชิก ท่ีมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวนหน่ึงร้อยห้าสิบคน และวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวนสองร้อยคนซึ่งมาจากการ

[115] เลอื กกนั เองของบุคคลโดยการจดั กลมุ่ และอีกห้าสิบคนท่ีคณะรักษา ความสงบแห่งชาติคัดเลือก รวมเป็นจํานวนวุฒิสมาชิกสองร้อยห้า สิบคน ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยมีหน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุล ในการเมืองการปกครองไทย คือการต้ังกระทู้ถามรัฐมนตรีเก่ียวกับ การบริหารงานในหน้าท่ีของรัฐมนตรีต่างๆ การพิจารณาอนุมัติและ ตดิ ตามการใชเ้ งนิ งบประมาณประจําปขี องรัฐบาล และการย่ืนญัตติ เปิดอภปิ รายท่วั ไปเพือ่ ลงมตไิ ม่ไวว้ างใจรฐั บาลเป็นรายบุคคลหรือทั้ง คณะ ให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี และการเปิด ประชุมให้คณะรฐั มนตรีแถลงนโยบายตอ่ รัฐสภา 4.2 ฝ่ายบริหาร องค์กรทางการเมืองฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ซึ่งมีราชการส่วนกลางได้แก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาคได้แก่จังหวัด อําเภอ และองค์กร ปกครองส่วนท้องถ่ิน มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน มี อาํ นาจถ่วงดุลฝ่ายนิติบัญญัติโดยการยุบสภาเมื่อมีเหตุขัดแย้งต่าง ๆ เกดิ ขน้ึ ไมว่ า่ จะเกิดกับรัฐบาล หรอื รัฐสภาก็ตาม 4.3 ฝ่ายตุลาการ องค์กรทางการเมืองฝ่ายตุลาการ คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร มีหน้าท่ีตรวจสอบ ควบคุมทกุ ภาคสว่ นของสงั คมใหป้ ฏิบตั ติ ามกฎหมาย 4.4 ศาลรัฐธ รรมนูญ เป็นองค์กรทางการเมืองที่ ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวนเก้าคน มีหน้าท่ีและ อํานาจพจิ ารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือ ร่างกฎหมาย และปัญหาเก่ียวกับหน้าท่ีและอํานาจของสภา ผู้แทนราษฎร วฒุ สิ ภา รฐั สภา คณะรัฐมนตรี หรอื องค์กรอิสระ 4.5 องค์กรอิสระ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการการ เลือกตั้งจํานวนเจ็ดคน มีหน้าที่และอํานาจเกี่ยวกับการจัดการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารท้องถ่ิน สมาชิกสภา

[116] ท้องถิ่น การสรรหาเพื่อแต่งต้ังสมาชิกวุฒิสภา การจัดการพรรค การเมือง และส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย 2) ผู้ตรวจการแผ่นดินจํานวนสามคน มีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงท่ีมีผู้ ได้รับความเดือดร้อนเพื่อเสนอแนะหน่วยงานของรัฐให้แก้ไขและ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีทราบ 3) คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทจุ ริตแหง่ ชาติ จาํ นวนเก้าคน มีหน้าท่ีและอํานาจไต่ สวนชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้เก่ียวข้อง รวมท้ังดําเนิน คดีอาญาผู้กระทาํ ผดิ 4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจํานวนเจ็ด คน มีหน้าท่ีและอํานาจเก่ียวกับการตรวจเงินแผ่นดินและส่ังลงโทษ ทางปกครองกรณีมีการกระทําผิดกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการ คลังของรัฐ 5) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจํานวนเจ็ดคน มหี นา้ ท่แี ละอํานาจตรวจสอบและรายงานขอ้ เทจ็ จรงิ เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า และ เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางทเ่ี หมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไข การละเมดิ สิทธิมนุษยชน 4.6 องค์กรอัยการ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าท่ี และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย มีอิสระใน การพิจารณาสงั่ คดี 4.7 การปกครองส่วนท้องถ่ิน เป็นองค์กรตรมรัฐธรรมนูญ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน มีหน้าท่ีและอํานาจดูแลและจัดทํา บริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในทอ้ งถิน่ ตามหลักการพฒั นาอย่างยงั่ ยนื สรุปแล้วการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับสถาบันการ เมอื งไทยในยุครัฐธรรมนูญ 2560 ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อาจ สรุปได้ว่าประเทศไทยได้ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มาต้ังแต่ พ.ศ. 2475โดยหยิบยืมรูปแบบการปกครองแบบ

[117] ประชาธิปไตยของประเทศอังกฤษมาใช้ เพราะการปกครองแบบ ประชาธิปไตยประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจการปกครอง ประชาชน มีฉันทามติมอบอํานาจให้ผู้ใดไปเป็นรัฐบาลจากเสียงส่วนใหญ่ด้วย การเลือกต้ัง โดยมีกฎเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญซ่ึงเป็นกฎหมายสูงสุด ส่วนสถาบันทางการเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้แก่ ฝ่ายนิติ บัญญัติ คือ องค์กรรัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา ฝ่ายบริหารคือองค์กรรัฐบาล ประกอบด้วยราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถ่ิน ฝ่ายตุลา การ คือ องค์กรศาล ประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาล ทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการ การเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทจุ รติ แหง่ ชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ท้ังน้ี เป็นสถาบันทางการ เมอื งไทยตามทีบ่ ญั ญัติไวใ้ นรฐั ธรรมนูญ 2560 บริบทการเมืองและการเลือกตงั ปี 2562 กับการเลอื กสาธารณะ จังหวดั อํานาจเจรญิ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ไดร้ ับการจัดต้งั ขึน้ เปน็ จงั หวัดลําดับที่ 75 ของประเทศไทย เมอื่ วนั ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลําภูและ จังหวัดสระแกว้ เดิมเป็นอาํ เภอในจังหวดั อุบลราชธานี ประกอบด้วย อําเภออํานาจเจริญ (ปัจจุบันคืออําเภอเมืองอํานาจเจริญ) อําเภอ ชานุมาน อําเภอปทุมราชวงศา อําเภอพนา อําเภอหัวตะพาน อําเภอเสนางคนิคม และก่ิงอําเภอลืออํานาจ (ปัจจุบันคืออําเภอลือ อํานาจ) เป็นพ้ืนที่เกษตรกรรม มีพื้นท่ีทั้งหมด 3,162 ตาราง กิโลเมตร มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 378,000 คน มี จํานวนครัวเรือน 98,004 ครัวเรือน แบ่งเขตปกครองออกเป็น

[118] 7 อําเภอ 56 ตําบล 607 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 64 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตําบล 23 แห่ง และ องค์การบริหาร ส่วนตําบล 39 แห่ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่าน มา เม่ือวันที่ 24 มีนาคม 2562 จังหวัดอํานาจเจริญ แบ่งเขต เลือกต้ังออกเป็น ๒ เขตเลือกต้ัง เขตเลือกต้ังที่ 1 ประกอบด้วย อําเภอเมืองอํานาจเจริญ และอําเภอหัวตะพาน เขตเลือกต้ังที่ 2 ประกอบด้วย อําเภอปทุมราชวงศา อําเภอลืออํานาจ อําเภอชานุ มาน อําเภอเสนางนิคม และอําเภอพนา ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จํานวน 296,630 คน หน่วยเลือกต้ังทั้ง 2 เขต จํานวน 639 หน่วยเลือกต้ัง มีผู้สนใจสมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งท่ี 1 จํานวน 29 คน ส่วนเขต เลือกตั้งที่ 2 มีผู้สมัคร ส.ส. จํานวน 30 คน รวมท้ัง 2 เขต จํานวน 59 คน โดยมีผลจากการลงคะแนนเสียง ดังน้ี มีผู้มีมาใช้สิทธิ เลอื กตั้ง จาํ นวน 214,231 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 72.22

[119] ซึ่งจากการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต เลือกตั้งน้ัน พรรคเพ่ือไทยยังได้รับความนิยมสูงสุดจากเขตเลือกตั้ง ท้ัง 2 เขต คือ เขตเลือกต้ังที่ 1 นางสมหญิง บัวบุตร สังกัด พรรค เพื่อไทย และเขตเลือกต้ังท่ี 2 คือ นายดะนัย มะหิพันธ์ สังกัด พรรคเพ่ือไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายช่ือ จํานวน 2 ท่าน คือ นายสุทัศน์ เงินหมื่น สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และ นายคฑาเทพ เตชะเดชเรอื งกลุ หัวหนา้ พรรคพลังไทยรกั ไทย 5. นโยบายพรรคการเมือง 5.1 พรรคเพื่อไทย แก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง สร้าง ความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ลงทุนในโครงสร้างพน้ื ฐานและระบบคมนาคมขนส่ง ระบบน้ํา สร้าง รายได้จากการท่องเที่ยว การส่งออก การเกษตร SME และ

[120] เศรษฐกิจดิจิทัล ให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตอาหารปลอดภัยของโลก ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพ่ือเพิ่มผลผลิตและเชื่อมตลาดโลก ยกระดับราคาสินค้าเกษตร ลดความเหล่ือมล้ําทางเศรษฐกิจและ สังคม ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน พัฒนาคน ยกระดับคุณภาพและ ลดความเหล่ือมลํ้าทางการศึกษา พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า กระจายอํานาจ ลดขนาดภาครัฐ ขจัดอุปสรรคในการ ประกอบธุรกิจด้วยการยกเลิกกฎหมายและใบอนุญาตท่ีไม่จําเป็น ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปช่ัน แก้ปัญหายาเสพติด ดูแลผใู้ ช้แรงงาน ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้พิการ แกร้ ัฐธรรมนญู ใหเ้ ปน็ ประชาธิปไตยและคุม้ ครองสิทธมิ นุษยชน 5.2 พรรคประชาธิปัตย์ มุ่งขจัดความเหล่ือมล้ําทาง เศรษฐกิจและสังคม ยกระดับรายได้เกษตรกร ส่งเสริมสังคม สวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมเร่งกระจายอํานาจและ ความเจริญไปทั่วประเทศ ยึดม่ันแนวทางประชาธิปไตยเสรี ต่อต้าน เผด็จการทุกรูปแบบ ภายใต้แนวทาง “ประชาชนเป็นใหญ่ ประชาธิปไตยสุจริต” เพื่อบรรลุภารกิจ “แก้จน สร้างคน สร้าง ชาติ” 5.3 พรรคพลังไทยรักไทย นโยบาย พักหนี้เกษตรกร 3 ปี ตง้ั กองทุนหมู่บา้ น ๆ ละ 3,000,000 พร้อมต่อยอด OTOP 30 บาท รักษาทุกโรคได้จริง พลังแผ่นดินปลอดยาเสพติด อิสานเขียวภาค 2 เมกโปรเจค โขงชีมูลปิงวังยมน่าน พื้นที่การเกษตรมีน้ําตลอดปี เปลี่ยน สปก. เป็นโฉนด ใต้ร่มเย็นเน้นการพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เพิ่มสวสั ดกิ ารพน้ื ฐานผู้สงู อายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาสให้สูงข้ึน ตั้ง กองทุนแห่งรัฐพัฒนาประเทศ ตั้งบรรษัท เกษตรแห่งชาติจํากัด (มหาชน) สร้างทา่ เรอื นํา้ ลึกอ่าวไทยอันดามันเชื่อมด้วยรถไฟรางคู่ 1

[121] ตําบล 1 ธนาคาร 1 จังหวัด 1 แหล่งท่องเที่ยว 1 ตําบล 1 ทุน ทุนการศกึ ษาจบปรญิ ญาตรฟี รี มงี านทํา 5.4 พรรคภูมิใจไทย นโยบาย 1. ทวงคืนกําไรให้เกษตรกร โดยเสนอกฎหมายระบบกําไรแบ่งปัน ต้ังกองทุนข้าว ข้าวหอมมะลิ ตันละ 18,000 บาท บวกกําไรเพิ่ม 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 19,500 บาท มันสําปะหลัง ไม่ตํ่ากว่า กก.ละ 4 บาท อ้อย ไม่ตํ่า กว่าตันละ 1,200 บาท ปาล์มทะลาย ไม่ตํ่ากว่ากก.ละ 5 บาท ยางพารา เป้าหมายราคา กก.ละ 70 บาท 2. ยกระดับ อสม. เป็น หมอประจําบ้าน ค่าตอบแทน 2,500 – 10,000 บาท ต่อเดือน 3. แก้หนี้ กยศ. โดยปลดภาระผู้ค้ําประกัน ไม่มีดอกเบ้ีย ไม่มีค่าปรับ ผ่อนคืนเงินต้น 10 ปี และปลอดหนี้ 5 ปี 4. กัญชาไทย ปลูกได้เสรี โดยแก้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ นํากัญชามาใช้ในทางการแพทย์ เป็นพชื แก้จน ปลกู ได้ สูบได้ ภายใตก้ ฎหมาย 5.5 พรรคอนาคตใหม่ จะพัฒนาประเทศไทยให้คนไทย เท่าเทียมกัน ประเทศไทยเท่าทันโลก ด้วยการกระจายอํานาจสู่ใน ท้องถ่ิน สร้างสวัสดิการประชาชนถ้วนหน้า ปฏิวัติการศึกษา ทลาย เศรษฐกจิ ผูกขาด หยุดการเอื้อประโยชน์ระหว่างรัฐบาลและกลุ่มทุน ขนาดใหญ่ สร้างระบบขนส่งสาธารณะเพ่ือทุกคน ยกระดับการภาค เกษตรสู่เกษตรก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อ ประชาชน แก้ปัญหาทุจริตด้วยการสร้างรัฐเปิดเผย เปิดรับความ แตกต่างหลากหลายในสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมย่ังยืน ปฏิรูปกองทัพ ปรับลดงบประมาณกระทรวงกลาโหม เลิกระบบเกณฑ์ทหาร ล้ม ล้างมรดก คสช. คืนประชาธิปไตยและสทิ ธิมนุษยชน

[122] 6. แนวคดิ และทฤษฎีท่เี กีย่ วขอ้ ง ทางเลือกสาธารณะ (Public Choice) เป็นอีกแนวทาง การศึกษาหน่ึงท่ีสําคัญภายหลังจากที่พ้นจากวิกฤตการณ์ด้าน เอกลักษณ์ของรัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วงปี ค.ศ. 1960–1970 นักวชิ าการไดใ้ ห้ความหมายของทางเลอื กสาธารณะไว้ ดังนี้ ทางเลือกสาธารณะ ก็คือวิชาที่นําเอาหลักเศรษฐศาสตร์มา ใชใ้ นการวินจิ ฉัยสง่ั การในส่วนของภาครัฐ (Mueller, 1979) โดยมุ่ง เอาความรู้เก่ียวกับพฤติกรรมของตลาด (Market behavior) มา อธิบายถึงการตัดสินใจท่ีเกิดข้ึนในส่วนของภาครัฐบาล ตลอดจนมุ่ง ท่จี ะนาํ เอา กลไกลของตลาดมาปรับปรุง เพื่อให้การตัดสินใจในส่วน ของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” (Bish, 1971) เป็น การใช้เครื่องมือและวิธีการที่ได้พัฒนาจากการศึกษาวิเคราะห์ด้าน เศรษฐศาสตร์กับภาคการเมือง การปกครอง การบริหารภาครัฐ ตลอดจนการคลงั รฐั บาล (Buchanan,1993) โดยผู้บริหารภาครัฐจะ ออกแบบทางเลือกหรือโอกาสต่าง ๆ ท่ีมนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพที่จะ เลือกหรือตัดสินใจได้ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจที่หลากหลายๆ อันมีรากฐานมาจาก ทฤษฎีมนุษยนิยมท่ีให้ความสําคัญกับการจูงใจ และพฤติกรรม หลักเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายอุปสงค์ อุปทาน และ หลักการตลาดเรื่อง 4 P ได้แก่ Product (ผลิตภัณฑ์) Price (ราคา) Place (สถานท่ีจัดจําหน่าย) และ Promotion (การส่งเสริมการ ขาย) (สถาพร ป่ินเจรญิ , 2544) รัฐ/ รัฐบาลมีหน้าท่ีกําหนดนโยบายสาธารณะตามความ ต้องการของประชาชน (Breton, 1978;McKenzie and Tullock, 1978 ใน อนุสรณ์ลิ่มมณี, หน้า 95) ภายใต้อิทธิพลเศรษฐศาสตร์ การคลัง

[123] 1. จัดให้มีสินค้าและบริการสาธารณะ อาทิ ความมั่นคง แหง่ รฐั การปกป้องกรรมสิทธ์ิในทีด่ ิน เป็นต้น 2. การแทรกแซงเพ่ือแก้ไขข้อบกพร่องเศรษฐกิจระบบ ตลาด 3. การกระจายรายได้ (Alt and Crystel, 1983) ดังน้ันแนวคิดทางเลือกสาธารณะจึงประกอบด้วยการร่วม กลุ่มกันอย่างหลวม ๆ ของนักเศรษฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ผู้ซึ่ง ต้องการนําทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์การเมืองมาใช้เป็นเครื่องมือใน การศกึ ษาวา่ สินค้าและบริการสาธารณะที่มีอยู่อย่างจํากัดควรจะถูก จัดสรรในสังคมให้ดีที่สุดได้อย่างไร แนวคิดทางเลือกสาธารณะ แนวคิดหน่ึงในรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่สมัยที่มุ่งเอาความรู้ เก่ียวกับพฤติกรรมของตลาด (Market Behavior) มาอธิบายถึง พฤติกรรมการตัดสินใจของภาครัฐบาล โดยเอากลไกของตลาดมา ปรับปรุง เพื่อให้การบริการของรัฐดีขึ้น ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การ ให้บริการรูปแบบใหม่ เน้นการตอบสนองความต้องการจําเป็นของ ประชาชนหรอื ผูบ้ รโิ ภคได้มากย่ิงข้ึน 6.1 การแลกเปล่ียนซื้อขาย (exchange) คือ ความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐบาลหรือนโยบายเศรษฐกิจของรัฐกับประชาชนผู้ออก เสียงมีลักษณะเป็นการแลกเปล่ียนในตลาดการเมือง (ตลาดผู้ซื้อ - ผู้บริโภค) ประชาชนใช้คะแนนเสียงท่ีมีซ้ือสินค้าในรูปนโยบายหรือ ภาวะเศรษฐกิจที่ต้องการจากรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน รัฐบาล เปรียบเสมือนเป็นหน่วยธุรกิจหรือโรงงานผลิตสินค้าหรือบริการ (public goods and services) 6.2 ปัจเจกชนในฐานะหน่วยพื้นฐานการศึกษาวิเคราะห์ (Methodology logical individualism); (Frey, 1978) กล่าวคือ พฤตกิ รรมของคนแต่ละคนมารวมกนั เทา่ กับพฤติกรรมของกลุ่ม

[124] กรอบแนวคิดทางเลือกสาธารณะ กรอบแนวคิดของทฤษฎีทางเลือกสาธารณะประมวลออกมาได้ 3 มุมมองตามทศั นะของนักวชิ าการทมี่ มี ุมมองไปทางเดียวกัน ดงั น้ี กรอบแนวคิดที่ 1 พฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์และ แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมใน กิจกรรมของกลุ่ มแล ะ กิจกรรมสาธารณะทัศนะของ Buchanan, Tullock และ Niskanen โดยภาพรวมแล้วไดใ้ หค้ วามสาํ คัญกับปัญหาสาธารณะ 3 ประการ ได้แก่ (1) ทําไมสังคมถึงเลือกให้รัฐบาลเป็นผู้จัดหาสินค้า และบริการ (2) ทําไมต้องให้หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ส่งมอบบริการ สาธารณะ และ (3) นักการเมืองสามารถควบคุมข้าราชการประจํา ไดอ้ ย่างไร กล่าวคอื บุคคลจะเลือกทางเลอื กเกี่ยวกับการบริโภคและ การผลิตซึ่งสินค้าและบริการสาธารณะภายใต้กฎเกณฑ์และ โครงสร้างของการตัดสินใจที่แตกต่างกัน (Buchanan, 1993; Tullock, 1960;Niskanen, 1971) ดังน้ัน ทางเลือกสาธารณะจึง เร่ิมด้วยรูปแบบของมนุษย์ในฐานะท่ีเป็นผู้ตัดสินใจและดําเนินการ โดยหลักการที่ว่าบุคคลจะเลือกทางเลือกเกี่ยวกับการบริโภคและ การผลิตซ่ึงสินค้าและบริการสาธารณะภายใต้กฎเกณฑ์และ โครงสร้างของการตัดสินใจท่ีแตกต่างกัน โดยการหาคําอธิบาย เก่ียวกับพฤติกรรมของกลุ่มผลประโยชน์ รวมท้ังสาเหตุหรือ แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลเข้าไปร่วมในกิจกรรมสาธารณะ พฤติกรรม ของหน่วยงานในการให้บริการสาธารณะและผลกระทบที่มีต่อ พฤตกิ รรมของบุคคล และ ศึกษาเพื่อแสวงหาวิธีการทางการบริหาร หรอื โครงสรา้ งท่ีเหมาะสมสําหรบั การให้บริการสาธารณะ ซึ่งมีความ เก่ียวพันกัน เพราะใช้กรอบหลักเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์มา ประยกุ ต์ใชก้ บั ศาสตรอ์ ื่น ๆ ทางการเมอื งและการบรหิ าร

[125] กรอบแนวคิดท่ี 2 พฤติกรรมของหน่วยงานในการบริการ สาธารณะและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ทัศนะของ Anthony Downs ได้เขียนหนังสือชื่อ Inside Bureaucracy อธบิ ายพฤติกรรมของข้าราชการว่าเกิดขึ้นจากใช้เหตุและผลของตัว ข้าราชการเอง การให้ความสําคัญกับตัวข้าราชการที่จะตัดสินใจใน เรือ่ งใด ๆ โดยคํานึงถึงประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก ซ่ึงเป็นมุมมอง ที่แตกต่างจากวิธีการที่ใช้ทฤษฎีองค์การสมัยด้ังเดิม กล่าวคือ พฤติกรรมการตัดสินใจของข้าราชการว่าเกิดขึ้นจากใช้เหตุและผล ของตัวข้าราชการเอง การให้ความสําคัญกับตัวข้าราชการที่จะ ตดั สินใจในเร่อื งใด ๆ ข้าราชการมักจะคํานึงถึงประโยชน์ของตนเอง เป็นหลัก โดยแบ่งประเภทข้าราชการภายในองค์การออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทร้อนวิชา (Zealots) ประเภทปีนป่าย (Climbers) ประเภทอนุรักษ์ (Conservers) ประเภทผู้สนับสนุน (Advocates) และ ประเภทรัฐบุรุษ (State man) กล่าวคือ ทุก องค์กรมักจะประกอบด้วยข้าราชการท้ัง 5 ประเภทมากน้อย แตกต่างกัน องค์ใดที่มีข้าราชการประเภทใดมากกว่ากลุ่มอ่ืน ๆ องค์การน้ันก็จะมีพฤติกรรมเป็นไปในลักษณะของข้าราชการ ประเภทนนั้ (Downs,1962) กรอบแนวคิดท่ี 3 การแสวงหาวิธีการทางการบริหาร หรือ โครงสร้างที่เหมาะสมสําหรับการให้บริการสาธารณะทัศนะของ Ostrom เขียนหนังสือช่ือ Intellectual Crisis in American Public Administrationโดยได้แสดงความกังวลถึงสถานภาพและ ทิศทางของรัฐประศาสนศาสตร์ และได้เสนอแนวคิดของการ บริหารงานแบบประชาธิปไตย 8 ประการ ได้แก่ (Vincet, 2008) (1)ปัจเจกบคุ คลที่บรหิ ารงานในหน่วยงานราชการมีการแสวงหาสิทธิ พิเศษไม่แตกต่างจากบุคคลกลุ่มอื่น ๆ (2) การใช้อํานาจทาง

[126] การเมอื งจะถูกใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับตัวเองและอาจเกิดผล เสียหายกับบุคคลอื่น หากอํานาจนั้นมิได้แบ่งแยกหรือมีหน่วยงาน อ่ืน ๆ คอยจํากัดและควบคุมการใช้อํานาจนั้น (3) โครงสร้างการ กระจายอํานาจในการตัดสินใจของกลุ่มต่าง ๆ เน้นหลักของการ ถว่ งดลุ ซ่งึ กนั และกัน สมรรถนะของหน่วยงานจึงขึ้นอยู่กับสมรรถนะ ของบุคคลหรอื หนว่ ยงานอ่ืน ๆ ด้วย (4) การจัดหาสินค้าและบริการ สาธารณะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกลุ่มหลากหลาย ตลอดจน ความเป็นไปได้ทางการเมืองของเรื่องกลุ่มประโยชน์ที่เห็นว่าดีที่สุด ในแต่ละช่วงเวลา (5) ยอมรับรูปแบบการจัดองค์การที่หลากหลาย ในการจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะประเภทต่าง ๆ ซึ่งรูปแบบ การจัดโครงสร้างองค์การเหล่านี้ข้ึนได้ผ่านการประสานงานจาก หน่วยงานท้ังหลายท่ีเก่ียวข้องในรูปการแลกเปล่ียน การทําสัญญา เพือ่ ประโยชนร์ ่วมกัน หรอื เกดิ ขึน้ จากการแขง่ ขันระหว่างกัน รวมไป ถึงอํานาจสั่งการท่ีถูกจํากัดตามสายการบังคับบัญชา (6) การรับฟัง คําสั่งตามสายการบังคับบัญชาจากศูนย์รวมอํานาจเพียงแห่งเดียว จะลดความสามารถของการระบบการบริหารงานขนาดใหญ่ในการ ตอบสนองต่อความต้องการท่ีหลากหลายของประชาชน ตลอดจน สภาพแวดล้อมท่ีแตกต่างกัน (7) ระบบบริหารขนาดใหญ่ที่ รับผิดชอบต่อศูนย์อํานาจเพียงแห่งเดียว ทําให้การบริการของรัฐ เป็นไปอย่างไม่ประหยัด ล่าช้า ไม่อาจบรรลุประสิทธิภาพในการใช้ ทรัพยากรได้อย่างเต็มท่ี และ (8) การจัดระบบของการกระจาย อํานาจการตัดสินใจให้กับหลายศูนย์อํานาจ ที่สามารถถ่วงดุลซ่ึงกัน และกันในแต่ละเขตการปกครอง จะเป็นเงื่อนไขอย่างสําคัญที่จะทํา ให้ระบบน้ันสามารถส่งเสริมสวัสดิภาพของประชาชน จากการ เปลย่ี นแปลงสภาพแวดลอ้ มทีเ่ กิดขึน้ อยา่ งรวดเรว็

[127] โดยหลักการแล้วทางเลือกสาธารณะเป็นการศึกษาเพ่ือหา คําอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมของหน่วยงานในการให้บริการ สาธารณะและผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ซ่ึงให้ความ สนใจเกยี่ วกบั พฤตกิ รรมของผบู้ รโิ ภค นักรฐั ประศาสนศาสตร์จะเน้น ความสนใจไปทป่ี ระสทิ ธผิ ลของการใหบ้ ริการ โดยพยายามมองว่า มี ปจั จัยใดบา้ งทแี่ สดงใหเ้ ห็นวา่ ประชากรผ้บู ริโภคเริ่มจะแสดงความไม่ พอใจตอ่ การใหบ้ รกิ ารของรฐั ซ่ึงข้อเรยี กร้องของนักทฤษฎีทางเลือก สาธารณะ คือ มุ่งหวังให้มีการจัดตั้งหรือแยกหน่วยงานในการ ให้บรกิ ารในเขตพื้นที่การปกครองหน่ึง ๆ ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ หลาย หน่วย เพ่ือที่จะได้สามารถทําให้ประชากรผู้บริโภคในแต่ละชุมชนมี โอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการของตนเอง ตลอดจนสามารถตรวจสอบการให้บริการของเจ้าหน้าท่ีของรัฐได้ อย่างทวั่ ถงึ บทวเิ คราะห์การตดั สนิ ใจเลอื กของประชาชน การศึกษานโยบายสาธารณะเป็นส่ิงท่ีสําคัญสําหรับนัก รัฐศาสตรแ์ ละรัฐประศาสนศาสตร์ ท้ังน้ี นโยบายสาธารณะเป็นแนว ทางการดําเนินกิจกรรมของรัฐบาล การศึกษาเกี่ยวกับการ บรหิ ารงานของรฐั บาลน้นั จําเป็นตอ้ งมีความร้คู วามเข้าใจในกิจกรรม ที่รัฐบาลมุ่งปฏิบัติ เปรียบเสมือนการศึกษามนุษย์ต้องสนใจใน พฤติกรรมและการแสดงออกของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้การศึกษา นโยบายสาธารณะจึงมีความสําคัญท้ังต่อการศึกษาทางรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ การศึกษานโยบายสาธารณะด้วยทฤษฎี ทางเลือกสาธารณะ ถูกกําหนดให้เป็นตัวแบบหนึ่งในตัวแบบการ วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ เรียกว่า “ตัวแบบทฤษฎีทางเลือก สาธารณะ (Public Choice Theory)”

[128] ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมีสมมติฐานว่าปัจเจกบุคคลแต่ ละคนมีเหตุผล ซ่ึงในความมีเหตุผลน้ันทุกคนย่อมแสวงหา อรรถประโยชนส์ งู สดุ ให้กับตนเองเสมอ เช่น นกั การเมืองอยากได้ชัย ชนะในการเลือกตั้ง ผู้บริโภคอยากได้สินค้าและบริการท่ีถูกที่สุดดี ท่ีสุด ข้าราชการอยากได้ช่ือเสียงเกียรติยศตําแหน่ง ตัวแบบ ทางเลือกสาธารณะจึงมองว่านโยบายสาธารณะเป็นส่ิงที่เกิดข้ึนจาก การตัดสินใจร่วมกันโดยคํานึงถึงความต้องการของปัจเจกบุคคล จึง ต้องเปิดทางเลอื กหลาย ๆ ทางให้ผู้ท่ีเก่ียวข้องได้ตัดสินใจเลือกในส่ิง ทีต่ รงความต้องการมากท่ีสดุ ด้วยความเช่ือที่วา่ ทุกคนย่อมเลือกสิ่งท่ี ดีท่ีสุดสําหรับตนเอง ดังนั้นตัวแบบทางเลือกสาธารณะจึงได้เสนอ แนวคิดให้เห็นว่านโยบายสาธารณะเป็นการกําหนดนโยบายโดย รวบรวมการตัดสินใจโดยดูท่ีประโยชน์ของแต่ละบุคคล (Policy as collective decision making by self-interested individuals) โดยทางเลือกสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจที่ไม่นําการตลาดมา พิจารณาในการศึกษาด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ทาง เศรษฐกิจในการกําหนดนโยบายสาธารณะ ตัวแบบน้ีเชื่อว่าบุคคล สนใจประโยชน์ส่วนตัวและต้องการได้ประโยชน์สูงสุด ในการ กําหนดนโยบายก็จะพิจารณาจากความต้องการของแต่ละบุคคล นโยบายที่ออกมาจะเป็นการตัดสินใจร่วมกันแต่มีประโยชน์แต่ละ บุคคลด้วย ดังน้ันแนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้วย ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะจะมีข้อสมมติฐานท่ีสําคัญดังน้ี (วรเดช จนั ทรศร, 2540)

[129] 1. กําหนดหน่วยวิเคราะห์เป็นปัจเจกบุคคล หน่วยพื้นฐาน ในการวิเคราะห์ คอื ปัจเจกบุคคล 2. วิเคราะห์ความต้องการผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคลมักจะใช้อํานาจทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ให้ ตนเองในลกั ษณะทีเ่ ป็นผลประโยชน์สาธารณะ 3. วิเคราะห์โครงสร้างของอํานาจ โครงสร้างการกระจาย อํานาจตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้แต่ละบุคคลในแต่ละตําแหน่ง แต่ ละองคก์ าร จาํ เปน็ ตอ้ งตดั สนิ ใจให้เป็นไปในรูปของหลักเหตุผล และ สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนให้มากทส่ี ุด 4. วเิ คราะหข์ ดี ความสามารถในการจัดหาสินค้าและบริการ สาธารณะ การจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ ขึ้นอยู่กับการ ตัดสินใจของกลมุ่ หลากหลาย และความเป็นไปไดท้ างการเมือง 5. วิเคราะห์ประเภทของสินค้าและบริการสาธารณะ สินค้าและบริการสาธารณะแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน จึง ตอ้ งมวี ิธีการจัดทีแ่ ตกตา่ งกัน 6. วเิ คราะหร์ ะบบการบรหิ ารราชการแผ่นดิน ระบบบริหาร ขนาดใหญ่ ไม่สามารถสนองตอบความตอ้ งการท่ีหลากหลายได้ 7. วิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบการบริหารราชการ แผ่นดิน ท้ังนี้เนื่องจากระบบบริหารขนาดใหญ่มักจะทําให้การ บรกิ ารไม่มีประสทิ ธภิ าพ 8. วิเคราะห์ประสิทธิผลการกระจายอํานาจ ท้ังนี้เน่ืองจาก การกระจายอํานาจเป็นเงื่อนไขสําคัญที่ทําให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างไรก็ตามปัจจัยท่ีมีผลต่อการ ตดั สินใจเลอื กนโยบายสาธารณะ พจิ ารณาไดด้ งั น้ี 1. ค่านิยม เป็นผลมาจากกระบวนการหล่อหลอมทาง สังคมและการเมือง ซึ่งมีผลต่อความเช่ือและค่านิยมของผู้ตัดสินใจ

[130] นโยบาย ทงั้ ทางตรงและทางอ้อม ลักษณะของค่านิยมท่ีมีผลต่อการ ตัดสนิ ในนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ค่านิยมขององค์การ ค่านิยมด้าน วิชาชีพ ค่านิยมส่วนบุคคล ค่านิยมด้านนโยบาย ค่านิยมด้าน อุดมการณ์ 2. ความสัมพันธ์กับผู้มีอานาจทางการเมือง ความ จงรักภักดีต่อพรรคการเมืองของนักการเมืองแต่ละพรรค มีอิทธิพล ตอ่ การตดั สนิ ใจนโยบายของนักการเมืองเหล่านี้ รูปแบบของระบอบ การเมอื ง มีผลตอ่ การแสดงบทบาทของสมาชิกพรรค ดังนี้ 2.1 รูปแบบการแบ่งแยกอํานาจ สมาชิกมีอิสระท่ี จะออกเสียงตามมติของพรรคหรือไม่ก็ได้ แสดงให้เห็นถึงความ จงรักภกั ดีของสมาชิกพรรคได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ถ้าสมาชิกพรรค ไม่มีความจงรักภักดีต่อพรรค สมาชิกสามารถออกเสียงลงมติได้โดย อิสระ โดยท่ีพรรคก็ไม่มีอํานาจลงโทษสมาชิกท่ีออกเสียงลงมติใน รฐั สภาตรงกันขา้ มกบั มติพรรค 2.2 รูปแบบควบอํานาจ พรรคการเมืองรูปแบบน้ี จะมีกฎ ระเบียบในการควบคุม กํากับพฤติกรรมของสมาชิกพรรค อย่างเข้มงวด เพราะการใช้สิทธิออกเสียงของสมาชิกในพรรคมีผล ต่อความอยู่รอดของฝ่ายบริหาร ดังน้ัน มติของพรรคจึงเป็นสิ่งท่ี สมาชกิ ทุกคนตอ้ งปฏบิ ตั ติ าม 3. ผลประโยชน์ของเขตเลือกตัง มีความสําคัญต่อการ ตัดสินใจของผู้ตัดสินใจนโยบายสาธารณะเป็นอย่างมาก ท้ังน้ี เน่ืองจากประชาชนในเขตเลือกตั้งมีอํานาจท่ีจะกําหนดอนาคตของ นกั การเมอื งในเขตเลอื กต้งั ของตนโดยตรง 4. มติมหาชน ผูต้ ัดสนิ ใจนโยบายสาธารณะจะต้องให้ความ สนใจต่อมติมหาชน ในการกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ เพราะอาจจะก่อให้เกิด

[131] อนั ตรายต่ออนาคตทางการเมืองของผู้ตัดสินใจนโยบายอย่างคาดไม่ ถึงได้ 5. ประโยชน์ของสาธารณชน เป็นเป้าประสงค์ที่สําคัญ ของนโยบายสาธารณะ ทั้งน้ีการพิจารณาลักษณะของผลประโยชน์ สาธารณะ จําแนกได้เปน็ 3 ประการ ไดแ้ ก่ 5.1 พิจารณาจากนโยบายในแต่ละด้านว่ามีความ ขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์มากหรือไม่ หรืออาจพิจารณาจาก ผลประโยชน์โดยตรงของกลุ่มผลประโยชน์แต่ละกลุ่ม ซ่ึงเป็นท่ี ยอมรบั คือ ผลประโยชนส์ าธารณะ 5. 2 แ นว ท าง ที่ เก่ี ย ว ข้ อง กั บก า รแ บ่ งส ร ร ผลประโยชน์อย่างกว้างขวางและต่อเน่ือง ลักษณะเช่นน้ีเรียกว่า ผลประโยชน์สาธารณะ 5.3 พิจารณาจากความต้องการขององค์การและ ระเบียบวิธีปฏิบัติการ จะเป็นตัวแทนการสร้างประโยชน์ท่ีสมดุล หรอื เพือ่ การแกไ้ ขปญั หา เพ่ือทจ่ี ะมผี ลต่อการประนีประนอมต่อการ ก่อรูปนโยบาย และการนํานโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสําเร็จ จุดเน้นในประเด็นน้ีจะมงุ่ ทก่ี ระบวนการมากกว่าเนื้อหาของนโยบาย โดยสรุปแล้วตัวแบบการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะตาม ตัวแบบทางเลือกสาธารณะ (Public Choice Model) มองว่า ปัจเจกบุคคลแต่ละคนมีเหตุผลในความมีเหตุผล ทุกคนย่อมแสวงหา อรรถประโยชน์สูงสุดให้กับตนเองเสมอ ตัวแสดงการเมือง เช่น ผู้ ลงคะแนนเสียง ผู้เสียภาษี ผู้สมัครรับเลือกต้ัง ฝ่ายนิติบัญญัติ ข้าราชการ กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง และรัฐบาล ต่างก็ พยายามแสวงหาหนทางที่จะเพิ่มผลประโยชน์ของตนในทาง การเมือง ทุกคนต้องการได้รับอรรถประโยชน์สูงสุด แต่อย่างไรก็ดี จากแรงขับเคลื่อนท่ีประกอบไปด้วยความเห็นแก่ตัวของกลุ่มก็ยัง

[132] สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจเพื่อส่วนรวมได้ ตัวแบบทางเลือก สาธารณะอธิบายความหมายของการเมืองว่าเป็นการท่ีบุคคล ทั้งหลายเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์พิเศษ โดยผ่านนโยบาย สาธารณะ ซึ่งเป้าหมายในเชิงการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์และ เจา้ หนา้ ทีข่ องรัฐท่เี อ้อื ประโยชน์ตอ่ กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ ทรงพลัง อาจส่งผลให้เกิดความไร้เหตุผลทางเศรษฐกิจ และจะ ก่อใหเ้ กดิ ความไรป้ ระสิทธภิ าพทางเศรษฐกิจก็ได้ บทสรปุ กล่าวโดยสรุปแล้วทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมีแนวคิด พื้นฐานที่ว่า คนทุกคนเป็นคนเห็นแก่ตัว ต้องการแสวงหาประโยชน์ สูงสุดเฉพาะตน ทางเลือกสาธารณะ จึงเสนอส่ิงจูงใจ (Incentives) เน้นการสร้างส่ิงจูงใจทางบวก (Positive Incentives) ย่ิงมีสิ่งจูงใจ ทางบวกมากเท่าไร ประชาชนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของ รัฐมากเท่าน้ัน ทางเลือกสาธารณะ ต้องจัดระบบการบริการให้ ประชาชนมีทางออกหรือทางเลอื กในการใช้บริการสาธารณะ เช่น มี ความสะดวก มีความเสมอภาค มีความเป็นธรรม มีความโปร่งใส สุจริต เกิดความพึงพอใจ ประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชน สร้าง รายได้แฝงให้ประชาชน ดังนั้น รัฐจึงควรจัดให้มีระบบการรับฟัง เสียง (Voice) ของประชาชน เพื่อรับทราบความต้องการของ ประชาชน ในขณะเดียวกันต้องกระจายข่าวสารของรัฐให้ประชาชน ไดร้ บั ทราบอยา่ งท่วั ถงึ ค่านยิ มทางการเมืองของประชาชนในจงั หวัดอานาจเจรญิ พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ต้ั ง ข อ ง ผู้ มี สิ ท ธิ เ ลื อ ก ต้ั ง จั ง ห วั ด อํานาจเจริญ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุไหนประชาชนก็จะถูกจูงใจให้

[133] เกิดความนิยมศรัทธาในกิจกรรมของ พรรค การเมือง ซึ่งเป็น ตัวกระตุ้นที่สําคัญของการไปใช้สิทธิเลือกต้ังโดยเฉพาะในเขต เลือกต้ังท่ีมีการแข็งขันสูง โดยจะกระตุ้นให้ผู้ไปใช้สิทธิมีความ กระตือรือร้นมากขึ้น เลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายสนับสนุน สวัสดิการและการเสริมสร้างความม่ันคงในการทํางานของตนหรือ พ ร ร ค ท่ี ค่ อ ย ข้ า ง มี แ น ว น โ ย บ า ย อ นุ รั ก ษ์ นิ ย ม พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง ที่ มี นโยบายสนับสนุนการข้ึนค่าจ้างข้ันต่ําการลดค่าครองชีพการจัด สวัสดิการสังคมให้ในลักษณะฟรีและท่ัวถึง ดังน้ัน พฤติกรรมการ เลือกต้ังของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควรเป็นแบบอย่างในการใช้สิทธิทาง การเมืองชอบด้วยกฎหมายและเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พิจารณา องค์ประกอบพฤติกรรมของตัวบุคคลว่าเป็นไปแล้วจะพัฒนา บ้านเมืองได้ ควรจะคิดถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสําคัญ มีกฎ กติกาทางการปฏิบัติงานต่อสังคมในชุมชน และเปิดโอกาสให้ ประชาชนแสดงความคิดเห็นกับการเมืองได้อย่างเต็มที่ ความ แตกต่างกันของวัยที่มีผลต่อความคิดทัศนคติ และพฤติกรรม ปัจจัย ท่ีให้ความสําคัญในการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในการ ลงคะแนนเลือกตั้ง ในด้านต่าง ๆ ซ่ึงพิจารณาองค์ประกอบ พฤติกรรมของตัวบุคคลว่าเป็นไปแล้วจะพัฒนาบ้านเมืองได้ควรจะ คิดถึงประโยชนข์ องประชาชนเป็นสําคัญ จึงจะทําให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดในการดําเนินการจัดการเลือกต้ังให้มี ประสทิ ธภิ าพในโอกาสต่อไป ข้อเสนอแนะเก่ียวกับแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการ เลอื กตงั้ ของประชาชนจังหวัดอํานาจเจริญ ของผู้มีสิทธิเลือกต้ังด้าน การลงคะแนนเลอื กตัง้ ประชาชนจะแสดงความคดิ เห็นทางการเมือง เ พื่ อ พิ จ า ร ณ า บุ ค ค ล ท่ี ล ง ส มั ค ร รั บ เ ลื อ ก ต้ั ง ว่ า เ ม่ื อ เ ข้ า ไ ป แ ล้ ว จ ะ

[134] สามารถนําความรู้ความสามารถจังหวัดอํานาจเจริญให้มีความ เจริญรุ่งเรืองได้มากน้อยเพียงใด ด้านการลงคะแนนเลือกตั้ง ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เพ่ือพิจารณาบุคคลที่ ลงสมัคร รับเลือกต้ังว่าเม่ือเข้าไปแล้วจะสามารถนําความรู้ ความสามารถมาพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญรุ่งเรืองได้มากน้อย เพียงใด ด้านระยะเวลาและการตัดสินใจ ประชาชนจะใช้ระยะเวลา ในการตัดสินใจผลงานของผู้รับสมัครลงเลือกต้ังจากหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านความรู้ความสามารถของตัวผู้สมัครรับเลือกต้ัง เมื่อเลือก เข้าไปแลว้ จะพฒั นาจงั หวดั อาํ นาจเจริญไดม้ ากน้อยเพียงใด

[135] เอกสารอ้างองิ บูฆอรี ยีหมะ. (2543). ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational Choice Theory): อีกหน่ึงความพยายามของ สงั คมศาสตรท์ ี่จะเปน็ วทิ ยาศาสตร์. กรุงเทพฯ; จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2541). การมีส่วนร่วมในทางการเมือง ข อ ง ป ร ะ ช า ช น ใ น รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ ฉ บั บ ใ ห ม่ กั บ ค ว า ม เ ป็ น ประชาธิปไตยทางตรง. วารสารกฎหมายปกครอง, 57–81. มนัส สินสอน. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน โครงการก่อสร้างลานจอดรถยนต์ให้เช่าในพื้นที่ Free Zone กรณีศึกษา บริษัท เอ็ม เอส เอส โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จากัด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่ อุปทาน,มหาวทิ ยาลยั บูรพา วรเดช จันทศร. (2540). การนานโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ. วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2552). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของ ไทย : มุมมองทางนิติศาสตร์ สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 35 (2), 15-25. สถาพร ป่ินเจริญ. (2544). ทางเลือกสาธารณะ (Public Choice) : แนวทางการพัฒนาองค์การเพ่ือการตอบสนองต่อความ ต้องการของสมาชิกและกลุ่มลูกค้าขององค์การ. วารสาร มฉก.วชิ าการ, 5 (9),91-98. เสกสรรค์ ประเสริฐกลุ . (2548). การเมืองภาคประชาชนในระบอบ ประชาธปิ ไตยไทย. กรงุ เทพฯ: อมรินทร์.

[136] อุทัย เลาหวิเชียร, (2550). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและ มติ ติ ่าง ๆ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม. Bish, Robert. (1971). The Public Economy of Metropolitan Areas. Chicago: Markham. Buchanan, James M. (1993), Public Choice after Socialism. 77 Public Choice, 67-74 Denhardt, R. B. (1990). Public administration theory: The state of the discipline. Belmont,CA: Brooks & Cole.

[137] แนวการศกึ ษาแนวการสือ่ สารทางการเมือง(Communication Approach) ;บทวิเคราะหก์ ารหาเสยี งในการเลอื กตงั ส.ส. ปี 2562 ของพรรคการเมอื ง ศุภชัย คํากณุ า, ทิพยส์ ุดาวลั ย์ วงละคร , ธีรวัฒน์ หมีคํา และชลลดา สาํ รวมรัมย์ บทนา การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) เป็นศาสตร์ที่มีจุดเริ่มต้นมาต้ังแต่ยุคกรีกโบราณ ซึ่งเน้นในเรื่อง วาทวิทยา (rhetoric) การเมือง และจริยธรรม เป็นการนําเอาการ โฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) มาผสมผสานกับเนื้อหาทางการ เมืองและการส่ือสารเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทาง การเมือง การส่ือสารทางการเมืองจึงเป็นแนวทางการศึกษาท่ี ตระหนักถงึ การส่ือสารในฐานะเครื่องมือของการกําหนดยุทธศาสตร์ เพ่ือนําไปสู่เป้าหมายทางการเมือง โดยอาศัยการส่ือสารสร้างแนว ทางการยอมรับข้ึนในกลุ่มประชาชน ผู้รับสาร ซึ่งในการดําเนินการ ทางการเมืองการปกครองของทุกสังคมจะมีความเกี่ยวข้องกับ กิจกรรมการส่ือสารทางการเมืองไม่ลักษณะใดก็ลักษณะหนึ่ง ทําให้ เกิดการทาํ หนา้ ทีข่ องระบบการเมือง ความหมายของการสอ่ื สารทางการเมอื ง นักวิชาการอย่าง วอร์เรน เค จี ได้มองการส่ือสารทาง การเมืองว่า เป็นกระบวนการทางการเมืองท่ีเก่ียวข้องกับการ แลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง ทัศนะและความคิดเห็น ตลอดจน ประสบการณ์ทางการเมืองระหว่างบุคคลการส่ือสารทางการเมือง

[138] นับเป็นกระบวนการพิเศษ ที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สมาชิกของสังคมการเมืองและทําให้บุคคลสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ ในสังคมการเมือง และการส่ือสารทางการเมืองยังเป็นกิจกรรมท่ี แพร่หลายทั่วไป ตามความหมายของ อัลมอนด์ และโคลแมน (Almond & Coleman) ระบุว่าการส่ือสารทางการเมืองคือ กิจกรรมท่ีเผยแพร่ท่ัวไป อันเป็นการทําหน้าท่ีทั้งหลายดําเนินอยู่ใน ระบบการเมืองกระบวนการ สังคมประกิต การสร้างโครงข่าย ผลประโยชน์ การประสานผลประโยชน์ การสรา้ งกฎการประยุกต์ใช้ กฎและการปรับเปลี่ยนกฎ ล้วนดําเนินไปโดยอาศัยการส่ือสารเป็น เครื่องมือ สําหรับไมเคิล รัช และฟิลลิป อัลทอฟฟ์ (Rush & Althoff) ให้ความหมายว่า การส่ือสารทางการเมือง หมายถึง การ ถ่ า ย ท อ ด ข่ า ว ส า ร ท่ี เ ก่ี ย ว กั บ ก า ร เ มื อ ง จ า ก ส่ ว น ห นึ่ ง ข อ ง ร ะ บ บ การเมือง ไปยังอีกส่วนหน่ึงของระบบการเมือง และเป็นการ ถ่ายทอดระหวา่ งระบบสงั คมกบั ระบบการเมือง นอกจากน้ี ชัฟฟี (Shaffee) กล่าวถึงการสื่อสารทาง การเมืองว่า มีลักษณะเป็นระบบของการแพร่ข่าวสารทางการเมือง ไปยังสมาชิกของการเมือง ดังน้ัน จึงอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารทาง การเมืองเป็นแบบแผนหรือกระบวนการแพร่ข่าวสารทางการเมือง ระหว่างสมาชิกกับหน่วยต่าง ๆ ในระบบการเมือง หรือกล่าวอีกนัย หน่ึงได้ว่าการส่ือสารทางการเมืองมีบทบาทเป็นตัวกลางระหว่าง ประชาชนและรัฐบาล โดยเป็นช่องทางในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ทางการเมืองต่าง ๆ ท่ีเก่ียวกับการตัดสินใจและนโยบายของรัฐบาล ให้ประชาชนได้รับรู้ และขณะเดียวกันก็เป็นกระบวนการในการ นําเอาข้อเรียกร้องและความต้องการของประชาชนไปสู่รัฐบาลท่ีจะ ทําให้การกําหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐบาลสอดคล้อง และสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนไดด้ ยี ่ิงขนึ้ นักวิชาการ

[139] อย่าง โพล์ (Pool) ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านการส่ือสารชาวอเมริกัน ได้อธิบายความหมายของคําว่า การสื่อสารทางการเมืองท้ังใน ความหมายเชิงกว้างและเชิงแคบ ในความหมายเชิงกว้างการสื่อสาร ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมการส่ือสารที่มนุษย์กระทําข้ึนหรือ เกิดขึ้นนอกบ้านเรือนของตน การยื่นข้อเรียกร้องระหว่างประเทศ หรือการกล่าวคําปราศรัยของนักการเมืองย่อมหมายถึง การส่ือสาร ทางการเมือง ส่วนในความหมายเชิงแคบ โพล์ กล่าวว่า การส่ือสาร ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ของสถาบันเฉพาะ ซ่ึงถูก จัดต้ังข้ึนเพื่อทําหน้าท่ีในการกระจายข้อมูลข่าวสาร ความคิด และ ทัศนคติ อันเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว การศึกษาเร่ืองการส่ือสารทางการเมือง มักจะมองการสื่อสารทาง การเมือง โดยนัยแห่งความหมายแคบนี้ เช่น การศึกษาเรื่องการ รณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้ง อาจเน้นในเรื่องการใช้โทรทัศน์ โปสเตอร์และการกล่าวคําปราศรัยของพรรคและนักการเมือง เป็น ต้น อาจกล่าวได้ว่า การสื่อสารทางการเมืองเป็นกระบวนการ ถ่ายทอด และการแพร่ของข่าวสารทางการเมือง อันเกี่ยวกับ การเมืองระหว่างผู้มีตําแหน่งทางการเมืองกับประชาชน หรือ ระหว่างนักการเมืองกับสถาบันทางการเมืองท่ีครอบคลุมการสื่อสาร ในทุกกิจกรรมของมนุษย์ ทางสงั คมและการเมือง รวมทั้งเป็นการจัด ระเบียบทางสังคม เพื่อให้คนในสังคมเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมการเมือง เช่น การเข้าร่วม ทางการเมือง การเลือกสรรทางการเมือง นอกจากน้ี เบรน แมค แนร์ (Brian McNair) ได้กล่าวถึงความหมายของการส่ือสารทาง การเมือง (Political Communication) โดยยกคํากล่าวของ Denton and Woodward ท่ีได้ให้นิยามของการส่ือสารทาง การเมืองไว้ว่า “เป็นการอภิปรายเก่ียวกับการจัดสรรทรัพยากร

[140] สาธารณะ (รายได้จากภาษี) อาํ นาจรฐั (ใครเป็นผู้มอบอํานาจในการ ตรากฎหมายการตัดสินใจในการใช้อํานาจนิติบัญญัติและอํานาจ บริหาร) การอนุญาตท่ีเป็นทางการ (รัฐจะให้ประโยชน์หรือลงโทษ อย่างไร) นิยามดังกล่าวเป็นนิยามท่ีรวมท้ังภาษาที่เป็นการพูดและ การเขียนทเ่ี ปน็ วาทศิลปท์ างการเมือง แต่ไม่รวมถึงการกระทําที่เป็น สัญลักษณ์ทางการเมือง แต่ในทัศนะของแมคแนร์ การส่ือสารทาง การเมืองจะรวมถึงสัญญะเพื่อท่ีจะเข้าใจกระบวนการทางการเมือง ท้ังหมด เช่น คํานิยามของโดริส แกร็บเบอร์ (Doris Graber) ท่ี อธิบายการสื่อสารทางการเมืองนั้นรวมถึง ภาษาทางการเมือง (political language) ซึ่งไม่ได้มีเพียงการสื่อสารที่เป็นคําพูด หาก รวมถึง การส่ือสารท่ีไม่เป็นคําพูด (paralinguistic) ด้วย ได้แก่ ภาษาร่างกาย การกระทําทางการเมือง เช่น การควํ่าบาตรและการ ประท้วง เปน็ ต้น แมคแนร์ ไดอ้ ธบิ ายวา่ คํานิยามของเดนตัน และวู้ด วาร์ด (Denton and Woodward) ได้จัดลักษณะ ของการสื่อสาร ทางการเมืองในลักษณะที่เน้นผู้ส่งสารในการที่จะมีอิทธิพลต่อ สภาพแวดล้อมทางการเมืองดังที่เดนตันและวู้ดวาร์ด ได้กล่าวว่า “ปัจจัยสําคัญที่ทําให้การสื่อสารเป็นการเมืองไม่ใช่แหล่งที่มาของ สาร (the source of a message) แต่เป็นเนื้อหาสาระและ จดุ มุ่งหมายของการส่อื สารน้นั ” อย่างไรก็ตาม แมคแนร์ ได้ดําเนินรอยตามแนวทางของ เดนตันและวู้ดวาร์ด โดยเน้นการอธิบายที่เจตนาของการส่ือสาร การเมือง โดย แมคแนร์ ได้นิยามการสื่อสารการเมืองว่าเป็นการ สื่ อ ส า ร ที่ มี เ ป้ า ป ร ะ ส ง ค์ ท า ง ก า ร เ มื อ ง ( purposeful communication about politic) ซึง่ รวมถงึ

[141] 1. การสื่อสารทุกรูปของนักการเมืองและผู้ท่ีเกี่ยวข้องทาง การเมอื งในการบรรลเุ ป้าหมายอยา่ งใดอยา่ งหนึง่ 2. การส่ือสารท่ีส่งถึงนักการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องทาง การเมืองโดยผู้ที่ไม่ใช่นักการเมือง เช่น ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง และคอลมั นสิ ต์หนังสือพมิ พ์ 3. การส่ือสารและกิจกรรมของบุคคลท่ีกล่าวมาข้างต้น ที่ ปรากฏในการรายงานข่าวบทบรรณาธิการและรปู แบบอนื่ ๆ ของส่ือ ในการกล่าวถงึ การเมอื ง แมคแนร์ อธิบายว่า การส่ือสารทางการเมืองก็คือท้ังหมด ของวาทกรรมทางการ (all political discourse) ซึ่งไม่จํากัดอยู่ เฉพาะภาษาพดู และภาษาเขียน หากรวมถึงความหมายของสัญญะที่ มองเห็นด้วยสายตา เช่น การแต่งกาย การทําผม การออกแบบ โลโก้ ซ่งึ อาจกลา่ วได้ว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ หรืออัตลักษณ์ทาง การเมือง ซึ่ง แมคแนร์ ได้เขียนแบบจําลองขององค์ประกอบของ การส่อื สารการเมือง โดยพิจารณาได้ ดงั น้ี องค์กรทางการเมือง สื่อ ประชาชน ภาพแสดงแบบจาลองขององค์ประกอบของการสอ่ื สารการเมอื งของ Brian McNair

[142] มิเชล รัชช์ และฟิลิปป์ อัลทอฟ์ (Micheal Rush and Phillip Althoff) ได้ให้ความหมายของการสื่อสารทางการเมืองว่า เปน็ การถ่ายทอดข่าวสารเกี่ยวกับการเมือง จากส่วนหนึ่งของระบบ การเมืองไปอีกส่วนหนึ่งของระบบการเมืองและเป็นการถ่ายทอด ระหวา่ งระบบสงั คมกับระบบการเมืองด้วย การส่ือสารทางการเมือง เป็นองค์ประกอบท่ีอยู่ในสภาวะไม่อยู่น่ิงของระบบการเมือง กระบวนการต่าง ๆ ทางการเมืองเป็นต้นว่า สังคมการทางการเมือง ก็ดี การเข้าร่วมทางการเมืองก็ดี ตลอดจนการเลือกสรรทาง การเมืองก็ดีต้องพ่ึงพาอาศัยการสื่อสารทางการเมืองท้ังสิ้น ส่วนประกอบของระบบการสือ่ สารทางการเมือง ประกอบด้วย 1) แหล่งท่ีมาของข่าวสาร (the source of the message) 2) ตวั เน้อื หา (the message) 3) เสน้ ทาง (channel) ท่ีขา่ วสารถูกส่งออกไปยังผู้รับ (the audience) และปฏิกริ ิยาตอบกลบั พฒั นาการของการสอ่ื สารทางการเมอื ง ประวตั ศิ าสตร์การส่ือสารของมนุษยชาติมีการเปล่ียนแปลง ที่สําคัญอันอาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติทางด้านการส่ือสารทั้งหมด 4 คร้ังด้วยกัน กล่าวคือ คร้ังแรก เมื่อมนุษย์เริ่มมีภาษาพูดและมี วัฒนธรรม โดยการเล่าสืบต่อกันมา ครั้งท่ีสอง เม่ือมนุษย์มีภาษา เขียนและถ่ายทอดวัฒนธรรมโดยการเขียน คร้ังที่สาม เม่ือมี เทคโนโลยีทางการพิมพ์เกิดข้ึนทําให้สามารถเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ออกไปสูม่ วลชนได้เป็นจํานวนมาก และคร้ังท่ีส่ี คือในยุคปัจจุบันท่ีมี การเกิดข้ึนของระบบอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล การปฏิวัติการส่ือสารแต่ ละคร้ังนั้นล้วนส่งผลให้เกิดลักษณะทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ท่ีสืบ

[143] เน่ืองจาก การปฏิวัติคร้ังนั้นขึ้นมา หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เกิดการเปลย่ี นแปลงท้ังทางเศรษฐกิจ และสังคมตามมา ท้ังนี้เพราะ การส่ือสารน้ันมีอิทธิพลอย่างลึกซ้ึงต่อวิถีทางที่สังคมจะจัดการกับ การผลิตและการกระจายความมั่งคั่ง ตลอดจนวิถีทางในการ ปกครอง แฮร์โรลด์ อินนิสส์ (Harold A. lnnis) นักวิชาการด้าน เศรษฐศาสตร์ ชาวแคนาดาท่ีสนใจพัฒนาการของเทคโนโลยีการ ส่ือสารได้ยกตัวอย่างว่า เมื่อมนุษย์เร่ิมมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมโดย การเขียนในยุคต้น ๆ น้ัน มนุษย์เขียนบันทึกลงบนแผ่นหิน ต่อมา เม่ือพัฒนาการทางเทคโนโลยีก้าวหน้าข้ึนมนุษย์สามารถประดิษฐ์ กระดาษปาปิรุส (papyrus) ขึ้นมาใช้ เทคโนโลยีการส่ือสารจึงเร่ิม เปล่ียนแปลงจากการใช้ส่ือท่ีเป็น “แผ่นหิน” มาเป็นสื่อท่ีเป็น “กระดาษ” ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น กล่าวคือ อํานาจทาง การเมือง และการปกครองได้เปล่ียนมือจากกษัตริย์มาเป็นกลุ่มพระ และนักบวช เน่ืองจากพระและนักบวชสามารถท่ีจะผูกขาดการ อบรม กล่อมเกลาสมาชิกในสังคมได้ ต่อมาเม่ือเกิดเทคโนโลยีการ พิมพ์ขึ้นทําให้คนมีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของ หนังสือและแสวงหา ความรเู้ องได้ การผูกขาดอาํ นาจโดยพระและนักบวชก็เส่ือมสลายลง ไป เกิดเป็นแนวคิดใหม่เรื่อง “ชาติ” การส่งเสริมสิทธิส่วนบุคคล และลัทธิปัจเจกชนนิยมในยุคโลกา ภิวัตน์ท่ีมีการใช้เทคโนโลยีการ ส่ือสารและโทรคมนาคมผ่าน “ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล”อํานาจได้ ถูกเปล่ียนผ่านมายังผู้ท่ีมีเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร ภาวะของ การผสานกันระหว่างทุน เทคโ นโ ลยีและข้อมูลข่าว สาร (convergence) ท่ีเกิดข้ึน จึงส่งผลให้ “กลุ่มทุน” เข้ามามีบทบาท และอิทธิพลต่อการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก โดย แนวคิด “เสรีนิยมใหม่” (Neo-Liberalism) ซึ่งเป็นเครื่องมือสําคัญ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook