Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

Published by thanya_rato, 2022-03-12 13:00:32

Description: แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

Search

Read the Text Version

[194] ซ่ึงเป็นรัฐธรรมนูญท่ีกระจายอํานาจให้แก่ท้องถ่ิน ในมาตรา 334 ของรัฐธรรมนูญได้มีบทบังคับให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายกําหนด แผนและข้ันตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ภายในเวลา 2 ปี ทําให้รัฐบาลตราพระราชบัญญัติกําหนดแผนและ ข้ันตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถ่ิน พ.ศ. 2542 ข้ึน ผู้ศึกษาพบเห็นระบบอุปถัมภ์ในหมู่ญาติ ในหมู่มิตรสหาย ในองค์กร และการอุปถัมภ์ระหว่างอาชีพ พบว่า ปัญหาท่ีสําคัญท่ีเป็นสาเหตุหลัก ของปญั หาการบริหารงานในจังหวัดอํานาจเจริญ คือ การกระจุกตัว ของอํานาจท่ีอยู่กับชนช้ันนําหรือผู้ท่ีมีอิทธิพลทางการเมืองของจังหวัด สง่ ผลกระทบถึงการเมอื งท้องถิ่นทีม่ กี ารแข่งขันทางการเมืองระหว่าง กลุ่มต่าง ๆ ในระดับต่ํามาก หรือกล่าวได้ว่าแทบจะปราศจากการ แข่งขันโดยสิ้นเชิง จนกระท่ังมีกลุ่มใหญ่เพียงกลุ่มเดียวซึ่งแทบจะ ครอบงําการเมืองในจงั หวัดอํานาจเจริญได้เกือบจะทั้งหมด ระบบอุปถัมภ์ เป็นกรณีของความสัมพันธ์คู่ระหว่าง 2 คน ทเ่ี ป็นกลไกของความสัมพันธ์ในลักษณะที่บุคคลหนึ่งจะมีสถานภาพ ทางสังคมและเศรษฐกิจในระดับสูงจะเป็นผู้อุปถัมภ์ ที่จะใช้อิทธิพล และทรัพยากรของตนในการช่วยปกป้องคุ้มครองหรือให้ประโยชน์ หรอื ท้งั สองอย่างแกบ่ คุ คลทีม่ สี ถานภาพตาํ่ กว่าคือ ผู้รับอุปถัมภ์ ผู้ซ่ึง จะต้องตอบแทนโดยการให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนให้บริการแก่ผู้อุปถัมภ์ ลักษณะความสัมพันธ์ของระบบ อุปถัมภ์ เป็นความสัมพันธ์ท่ีมิใช่ญาติและท้ังสองฝ่ายมีฐานะไม่เท่า เทียมกัน ฝ่ายที่เหนือกว่าจะอยู่ในฐานะผู้อุปถัมภ์ และฝ่ายที่อยู่ต่ํา กวา่ จะเปน็ ผรู้ บั อปุ ถัมภ์ ทั้งสองฝา่ ยมีความผูกพันกันเป็นการส่วนตัว มีการแสวงหาผลประโยชน์ ต่างฝ่ายต่างแลกเปล่ียนผลประโยชน์ ระหว่างกัน ผู้อุปถัมภ์จะให้ประโยชน์ในความคุ้มครอง สนับสนุน

[195] ส่วนผู้รับอุปถัมภ์จะให้ผลประโยชน์ตอบแทน ในรูปของความ จงรักภักดี ใช้แรงงานและของกํานัล เป็นที่รับรู้หรือยอมรับกันตาม ธรรมเนียมประเพณีหรือวัฒนธรรมของสังคมระบบอุปถัมภ์ใน สังคมไทย เป็นระบบอุปถัมภ์อย่างไม่เป็นทางการยังมีอยู่มากใน สังคมทุกระดับชั้นและได้มีการพัฒนาการสืบเนื่องมาโดยตลอด ปัจจัยท่ีมีอิทธิพลให้เกิดความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์คือ ค่านิยมของ สังคมไทย ในเรื่อง “การให้” เพื่อหวังจะได้รับความช่วยเหลือและ ความคุ้มครองเป็นการตอบแทน ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์เป็น รากฐานสําคัญของการจัดองค์การของสังคมไทยมาแต่โบราณ ซึ่ง สังคมไทยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์กับลูกน้องคือ ความสัมพันธ์เช่นนี้มีลักษณะเปราะบาง เพราะข้ึนอยู่กับตัวบุคคล มากกว่าหลกั การ ดังนนั้ การจะรักษาเสถียรภาพของความสัมพันธ์ไว้ ไดจ้ ะตอ้ งมกี ารแลกเปล่ียนผลประโยชน์ตอ่ กนั อยา่ งต่อเน่อื ง 5. กรณีการออกเสียงเลือกตังของประชาชน บ้านนาผือ ตาบลนาผือ อาเภอเมืองอานาจเจรญิ การเลือกต้ังถือเป็นหัวใจสําคัญของการบริหารตามระบอบ ประชาธิปไตย โดยประชาชนต้องตระหนักว่าตนเองเป็นเจ้าของ ประเทศและต้องเข้าไปรับผิดชอบในกิจการบ้านเมืองในทุกโอกาส ทสี่ ามารถกระทาํ ได้ ประชาชนต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉยการกระทํา หน้าท่ี ในฐานะพลเมืองดีของสังคม หน้าท่ีสําคัญย่ิง ของประชาชน คือ การสร้างเสริมคนดีให้เข้ามาบริหารบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไมใ่ หม้ อี าํ นาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ สําหรับการเลือกตั้ง ในส่วนของท้องถ่ินในแง่ของการต่อสู้ทางชนชั้นแนวคิดรัฐทุนนิยม เปน็ ผลผลติ ของการต่อสทู้ างชนช้นั การช่วงชิงอํานาจการใช้อิทธิพล ในกรณีต่างๆของรัฐ รัฐเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากแรงบีบค้ันจากความสัมพันธ์

[196] สภาพด้านพลังอํานาจระหว่างชนช้ันและกลุ่มชนช้ันย่อยความสัมพันธ์ ระหว่างกัน ในส่วนของสังคมทุนนิยมมีอํานาจครอบงําหรือครอบครอง ความเป็นใหญ่นโยบายของรัฐหรือการดําเนินการส่วนใหญ่จะเป็น การตอบสนองต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนําหรือชนช้ันข้างบน นโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ จึงเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อได้รับ การสนับสนุนจากชนช้ันนําหรือในส่วนของสังคมทุนนิยมมีอํานาจ ครอบงําหรือครอบครองความเป็นใหญ่ นโยบายของรัฐหรือการ ดาํ เนินการส่วนใหญ่จะเปน็ การตอบสนองต่อผลประโยชน์ของชนช้ัน นําหรือชนช้ันปกครอง นโยบายท่ีเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ จึงเกิดขึ้นได้ ต่อเม่ือได้รับการสนับสนุนจากชนช้ันนําเช่น ปัจจุบัน มีการแทรกแซงจากชนชั้นนํา โดยพรรคการเมือง ในระดับประเทศ ให้การสนับสนุนนักการเมืองท้องถิ่นต้ังสังกัดพรรคการเมือง นโยบายในระดับท้องถิ่น จึงได้มาจากชนชั้นนํา รวมท้ังการเสนอ แผนงานโครงการเพ่ือขอรับการสนับสนุนงบประมาณในชิ่งทาง ต่างๆ ซ่ึงเป็นแผนงาน โครงการท่ีเกิดจากความต้องการของ ประชาชนในพื้นท่ี หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนําดังกล่าว โครงการเหล่าน้ันก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ปัญหาและความต้องการ ของประชาชนก็ไม่ได้รับการแก้ไข การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น จงึ ไม่เกดิ ขนึ้ อย่างแท้จรงิ

[197] พ้ืนท่ปี ระชากรท่ศี กึ ษาและกลมุ่ ตัวอย่างประชากร ในการศึกษา วิจัยเชิงปริมาณในคร้ังน้ี คือ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ด้วยวิธีการ ใช้ แบบสอบถาม ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกต้ังในตําบลนาผือ อําเภอเมอื ง จังหวัดอาํ นาจเจริญ ตามทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง พ.ศ. 2563 จํานวนประชากร รวมทั้งสิ้น จํานวนหลังคาเรือน :1,578 หลังคาเรือน จํานวนประชากร :7,745 คน จํานวนผู้สูงอายุ :926 คน จํานวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี :197 คน จํานวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเร้ือรัง :154 คน จํานวนสตรีตั้งครรภ์ :53คน จํานวน สตรีอายุ 35 ปี ข้ึนไป :1,500 คน จํานวนผู้พิการ :13 คนกลุ่ม ตัวอยา่ ง ในการศึกษาวิจัยคร้ังน้ี ผู้ศึกษาได้ทําการกําหนดขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างสําหรับ การวิจัย เชิงปริมาณ โดยอาศยั สูตรการคํานวณของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ท่ีระดบั ความ คลาดเคลื่อน 0.05 จํานวน ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งน้ี จึงเท่ากับ 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสําคัญจํานวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้สถิติ ค่าเฉลย่ี และค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน ผลการศกึ ษาพบว่า

[198] 1. ระดับการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีระดับ การมีส่วนรว่ มมากท่ีสดุ คือการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาและ สาเหตุของปัญหาเพ่ือกําหนดเป็นนโยบายการพัฒนาท้องถ่ิน การมี สว่ นรว่ มในการเป็นกรรมการจดั ซอื้ และจดั จ้าง การมีส่วนร่วมในการ ยนื่ ญตั ตเิ พ่อื ถอดถอนคณะเทศมนตรที ้งั คณะหรือรายบุคคล และการ มสี ่วนรว่ มในการดูแลสวนสาธารณะหรอื สถานที่พักผอ่ นของชมุ ชน 2. การเปรียบเทียบการมีสว่ นร่วมของประชาชนพบว่าปัจจัยส่วน บคุ คลสง่ ผลต่อการมสี ว่ นร่วมของประชาชนไม่แตกต่างกนั ทุกด้าน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการปกครองส่วนท้องถ่ิน พบว่าโครงสร้าง อํานาจหน้าท่ีการได้มาซ่ึงผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ กบั การมสี ่วนร่วมของประชาชนอยูใ่ นระดับปานกลาง 4. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น ต้องมี การแสดงออกอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย การจัดต้ังหรือรวมกลุ่ม โดยสภาประชาชนเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็นสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดขึ้นก่อน ประชาชนต้องมีความรู้และตระหนักถึง ความสําคัญถึงสาเหตุของการเข้ามีส่วนร่วมและการสร้างวัฒนธรรม ทางการเมืองท่ีชัดเจน ข้อมลู เลอื กตงั อบต.นาผือ ผู้ มี สิ ท ธิ ผู้มา ใช้ รอ้ ยละ บัตรดี รอ้ ยละ บตั รเสีย ร้อยละ บัตรไม่เลือก รอ้ ยละ เลือกตงั สทิ ธเิ ลอื กตัง ผสู้ มคั รผใู้ ด 5,352 4,069 76.03 3,958 97.27 91 2.24 20 0.49

[199] สรปุ สําหรับแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการปกครองส่วนท้องถ่ินในเขตตําบลนาผือ จังหวัดอํานาจเจริญ ปัจจัยหลักในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถ่ิน ประกอบด้วยปัจจัยสําคัญเร่ิมจากการกําหนดนโยบาย ซ่ึงต้องมีการ แสดงออกอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย การบริหารจัดการต้อง ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม รับรู้ประโยชน์ที่ได้รับจากการบริการ การกํากับตรวจสอบและติดตาม เป็นการควบคุมตรวจสอบของประชาชน ต่อการทํางานขององค์กรปกครองในรูปแบบผ่านสื่อต่าง ๆ และ ปัจจัยสุดท้ายคือการสนับสนุน ซึ่งรวมไปถึงความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจท่ีแท้จริงในสิทธิ และบทบาทหน้าที่ของตนเอง โดยทั้งหมดนั้น มีแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมเริ่มจากการมีส่วนร่วมเป็น แนวทางในการรวมกลุ่ม เพ่ือเพิ่มศักยภาพของประชาชนในการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งจําเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องให้ประชาชน ตระหนักความสําคัญในข้อนี้มากท่ีสุด การมีส่วนร่วมเป็นเวทีในการ เรียนร้ปู ญั หาเชิงโครงสร้างของสังคม ในระบบความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวบ้านกับหน่วยงานของรัฐ เพ่ือนําไปสู่แนวทางเสริมสร้างความ เข้มแขง็ ใหก้ ับองค์กรชาวบา้ น และสามารถเพิ่มอํานาจในการต่อรอง ในการแกป้ ัญหาตา่ ง ๆ ให้แก่ชุมชนการให้ความสําคัญกับวัฒนธรรม ชุมชน ให้ความสําคัญกับระบบคุณค่า และจิตใจมากกว่าด้านวัตถุ พยายามส่งเสริมให้นําภูมิปัญญาท้องถ่ิน มาใช้ในการแก้ปัญหาผ่าน รูปแบบของการระดมทุน เพื่อต้ังเป็นกองทุนช่วยเหลือกันเอง ซึ่ง อาศัยประเพณีต่าง ๆ เป็นการปลูกจิตสํานึก และสร้างเครือข่าย กันเองระหวา่ งชมุ ชนและกลุม่ คน การส่งเสริมให้เกิดจิตสํานึกในการ

[200] เสริมสร้างความรู้สึก ในการรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคมในชุมชนอีก ด้วย เน้นท่ีความคิดริเร่ิมของชาวบ้าน ในการรวมกลุ่มในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เพ่ือเรียนรู้ปัญหาของชุมชน พร้อมท้ังวิเคราะห์ปัญหา ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ท่ีเชื่อมโยงกับกลไกทางสังคม เสริมสร้างความ เข้มแข็งให้กับกลุ่มหรือองค์กรชาวบ้าน ในการตัดสินใจผ่าน เครือข่ายของความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยอาศัย หลักการต่อรองกับรัฐบาล ระดมความร่วมมือร่วมใจกันในการ พัฒนาท้องถ่ินให้ดีข้ึน และการส่งเสริมให้ขบวนการท้องถ่ินมีความ ร่วมมือกันต้องช่วยกันคิดว่าทําอย่างไร จึงสามารถทําให้ แผนงาน ของชุมชนมคี วามเป็นบรู ณาการร่วมกับหน่วยงานของรัฐ โดยเป็นไป ในลักษณะคิดจากข้างล่าง ภาครัฐหนุนเสริม หลีกเล่ียงข้อบกพร่อง ในอดีตการส่งเสริมให้ขบวนการท้องถิ่นร่วมกันคิด มีตัวช้ีวัด ความสําเร็จอยู่ที่การเน้นความพึงพอใจของประชาชนมากกว่า ความรวดเรว็ ในการทาํ งาน “ถา้ มองว่าส่งิ ที่มารก์ ซ์คิดผิด มองว่าท่จี ริงทนุ ก็ไม่ได้เลวร้าย ขนาดนั้นท้ังๆ ท่ีรู้ว่าระบบมีจุดผิดพลาดตรงไหน แล้วหมดหวังกับ การเมืองเพ่ือการปลดปล่อยเพราะยังจมปลักอยู่กับความล้มเหลว ของสงั คมนิยมคอมมวิ นสิ ตใ์ นอดีต กลายเป็นซ้ายซึมเศร้า คําถามคือ การเมืองเร่ืองการปลดปล่อยจะนําไปสู่อะไรท่ีเลวร้ายกว่าน้ีหรือ เปล่า หรือเราต้องรอให้ระบบทุนนิยมสร้างความหายนะมากกว่าน้ี แน่นอนว่าระบอบคอมมิวนิสต์ในศตวรรษท่ี 20 คือหายนะที่พราก ชวี ิตคนไปจาํ นวนมาก แตท่ นุ นยิ มก็ฆา่ คนตายเหมือนกัน”

[201] เอกสารอา้ งอิง บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษท่ี 21. ค้นเมอ่ื วันที่ 4 มนี าคม 2565 จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/download/ 76578/61528/ คุณลักษณะสําคัญของผู้นาํ ชุมชนท้องถิ่น. ค้นเมื่อวันที่ 4 มนี าคม 2565 จาก https://thaihealthycommunity.org/?p=11711 นักการเมอื งกบั ขา้ ราชการประจาํ . ค้นเมือ่ วันท่ี 7 มีนาคม 2565 จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/book/52/b17_52.pdf การสร้างฐานอํานาจของผู้นําทางการเมืองทอ้ งถ่ิน.คน้ เมื่อวนั ท่ี 18กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/download/220566/152570 นายทนุ ไทยในการเมอื ง. คน้ เม่ือวนั ที่ 21 กมุ ภาพันธ์ 2565 จาก https://www.the101.world/thai-capitalist/ อทิ ธิพลในการเมอื งท้องถ่นิ ไทย. ค้นเมอ่ื วนั ที่ 21 กมุ ภาพนั ธ์ 2565 จากhttp://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/a5673335056b6378ca67cc49397202b9 คอลัมนก์ ารเมอื ง. คน้ เมอื่ วันที่ 27 กมุ ภาพันธ์ 2565, https://www.naewna.com/politic/columnist/42638 ความสมั พันธ์และรปู แบบของระบบอุปถมั ภ์. ค้นเมือ่ วนั ที่ 27 กมุ ภาพนั ธ์ 2565, https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/download/245017/166066/

[202] แนวการศกึ ษาการพัฒนาการเมอื ง (Development Approach) กรณีศึกษาพฤติกรรมการเมืองท้องถิ่น อบต./ตาบล/เทศบาลและการเมอื งระดับชาติในพนื ที่ ตาบลหนองบวั ฮี อาเภอพบิ ูลมังสาหาร จงั หวดั อุบลราชธานี หทยั กานต์ จนั ทร์พวง, วไิ ล หอมหวล, ปรติ า บญุ มาลี และณฐั พล สนิ ธวุ า บทนา ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลทําให้เกิดความ เจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากข้ึน รวมท้ังการพัฒนา ดา้ นการเมอื งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยโดยมีประชาชน มีส่วนร่วมซึ่งเป็นสิ่งท่ีดี แต่ในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ไม่เหมาะสมจึงส่งผลทําให้เกิดปัญหา วิกฤตทางการเมืองการปกครองข้ึนภายในประเทศอย่างต่อเน่ือง ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาปัญหาเหล่าน้ีเกิดจากความขัดแย้ง ระหว่างกลุม่ การเมืองและการทหารที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซ่ึงมีความเห็น ต่อต้านและสนับสนุนต่าง ๆ นานา และยังสะท้อนถึงความไม่เสมอ

[203] ภาคและความแตกแยกระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท ซึ่งมีผลทํา ใหก้ ารเมืองเกดิ ความปั่นปว่ นว่นุ วาย ท้ังยงั สง่ ผลกระทบถงึ ปัญหาอื่น ตามมาอีกหลายด้านอาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหา การศึกษา เป็นต้น นอกจากน้ียังทําให้การเมืองของประเทศไทย เสอื่ มถอยลงอย่างเห็นไดช้ ัด สาเหตุสว่ นใหญเ่ กิดจาก “คน” ซึ่งคนในท่ีนี้มีหลายบทบาท ท่เี ก่ยี วขอ้ งกบั การเมือง อาทิ คนในบทบาท ผู้บริหารประเทศ คนใน บทบาทนักการเมือง คนในบทบาทของประชาชนท่ัวไป แต่ทุกคนก็ มีความต้องการในการเรียกร้องสิทธิและหน้าที่ทางการเมืองที่มี จุดมงุ่ หมายแตกตา่ งกนั จงึ ทาํ ใหเ้ กดิ ปญั หาของระบบการเมืองไทยที่ จะต้องแก้ไขปัญหาตามมาเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองอย่าง เหมาะสมของทุกฝ่ายและทุกคนในประเทศอย่างแท้จริง ปัญหาท่ี แสดงให้เหน็ วา่ ประเทศไทยตอ้ งมกี ารพฒั นาทางการเมอื ง มดี ังนี้ 1) ปญั หาการใช้รัฐธรรมนูญ โดยเกิดปัญหาจากการตีความ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญท่ีคลาดเคลื่อนเนื่องจากผู้มีอํานาจใน ประเทศพยายามตีความรัฐธรรมนูญ เพ่ือให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และพวกพอ้ ง รวมถึงปัญหาการเปลย่ี นแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยคร้ังจน ทําให้ขาดความต่อเน่อื งในการบงั คับใช้ 2) ปัญหาการขาดความสามัคคีของประชาชนไทย ซ่ึงมีผล มาจากการมีความคิดเห็นทางด้านการเมือง การปกครองท่ี แตกต่างกัน ความไม่ยุติธรรมของกระบวนการทางสังคมต่าง ๆ รวมถึงการขัดผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเกิดปัญหาการ ทจุ ริต ปญั หาคอรปั ชั่น เปน็ ต้น

[204] 3) ปญั หาการขาดจริยธรรมทางการเมืองของประชาชนชาว ไทย เช่น การซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งของประชาชน นักการเมืองมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องมาก เกินไป การไม่ปฏิบัติตามคําม่ันสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนก่อนการ เลือกตงั้ หัวใจสําคัญของ ประชาธิปไตยอยู่ท่ีการมีส่วนร่วมในการ ติดตามตรวจสอบของประชาชนในท้องถิ่น แม้ว่าการมีส่วนร่วมของ ประชาชนเป็นเรื่องที่มีความสําคัญอย่างมากต่อการกระจายอํานาจ มีความเช่ือมโยงกันกับความเชื่อมั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน การปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินไทยโดยให้ ประชาชนมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย ก็ยังพบกับปัญหาที่ สําคัญอยู่หลายประการ คือสภาพปัญหาสําคัญของการปกครอง ท้ อ ง ถ่ิ น ไ ท ย ใ น ปั จ จุ บั น ท่ี ทํ า ใ ห้ ไ ม่ ส า ม า ร ถ ต อ บ ส น อ ง ต่ อ ก า ร เปลี่ยนแปลงของบริบทแวดล้อม และความต้องการของประชาชน และสังคมได้อยา่ งเตม็ ที่ ไดแ้ ก่ 1) ปัญหาโครงสร้างของระบบการบริหารท้องถ่ินไม่เป็น ประชาธิปไตยท่ีชัดเจน ท้ังยังมีส่วนคาบเกี่ยว หรือเหลื่อมทับกับ ระบบการบริหารประเทศในภาพรวม 2) ปัญหาด้านการคัดสรรเลือกต้ังหรือแต่งต้ังผู้บริหาร องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นต่าง ๆ เขา้ สู่อาํ นาจ 3) ปัญหาดา้ นการบริหารงานของทอ้ งถ่นิ การเมืองท้องถิ่นสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเร่ืองของการมีส่วนร่วม ของภาคส่วนท่ีเก่ียวข้องในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในท้องถิ่น โดย ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดข้ึนอาจเป็นความขัดแย้งหรือความร่วมมือกันหรือ ท้ังสองอย่างควบคู่กันก็ได้การเมืองท้องถ่ินเป็นเสมือนโรงเรียนสอน ความเป็นประชาธิปไตยในทางปฏิบัติแก่ประชาชนในท้องถ่ินและมี

[205] ส่วนสําคัญในการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่ระบอบ ประชาธิปไตย การศึกษาการเมืองท้องถ่ินต้องมองในมุมมองที่ หลากหลายเพราะการเมืองท้องถิ่นมีความสลับซับซ้อนเกี่ยวพันกับ หลายภาคส่วนซ่ึงมีผลประโยชน์ของตนเอง ทําให้เกิดความขัดแย้ง หรือร่วมมือกันได้ในบางสถานการณ์ การเมืองท้องถิ่นเป็นการเมือง ท่ีเป็นฐานสําคัญของการเมืองระดับชาติ จึงมีผลต่อการพัฒนาการ ทางการเมืองของระบอบการเมือง และความมีเสถียรภาพทาง การเมืองอกี ด้วย แนวทางการศกึ ษาการเมอื งทอ้ งถิ่น ก่อนยุคพฤติกรรมนิยมให้ความสําคัญกับการศึกษาเชิง โครงสร้าง หน้าที่ และสถาบันทางการเมืองซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษารัฐศาสตร์โดยทั่วไป ดังปรากฏการณ์ว่า การศึกษา การเมืองท้องถ่ินมุ่งเน้นไปท่ีการปกครองท้องถ่ิน (Local Government) ซึ่งเป็นการเมืองการปกครองท้องถ่ินระดับล่าง การ ปกครองท้องถ่ินเป็นการเมืองระดับท้องถิ่น โดยมีการสร้างองค์ ความรู้เก่ียวกับการปกครองท้องถิ่นไว้มากโดยเฉพาะการศึกษา เก่ียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรหลักในทาง การเมืองท้องถ่ิน โดยมีผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถ่ินมาจากการ เลือกต้ังโดยตรงของประชาชนและมีบทบาทสําคัญในการอํานวย บริการสาธารณะท่ีจําเป็นแก่ประชาชนในท้องถ่ิน และตอบสนอง ความต้องการของประชาชนในท้องถ่นิ ยุคพฤติกรรมนยิ ม มงุ่ เน้นศึกษาเชิงพฤติกรรมทางการเมือง ในระดับท้องถ่ินของประชาชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ (body of knowledge) โดยการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเพ่ือแสวงหาความรู้

[206] อย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น เน่ืองจากการศึกษาพฤติกรรมของ มนุษย์เป็นเรื่องท่ีสลับซับซ้อนและต้องใช้เครื่องมือที่สามารถวัดเชิง พฤตกิ รรมไดอ้ ย่างเที่ยงตรง น่าเชื่อถือ ทําให้มีการใช้ระเบียบวิธีวิจัย ทั้งในเชงิ ปรมิ าณ และเชิงคณุ ภาพในการศกึ ษา ยุคหลังพฤติกรรมนิยม เป็นยุคท่ีให้ความสําคัญกับการนํา องค์ความรู้ท่ีมีอยู่ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสังคมให้ดีข้ึน อันเป็นปรากฏการณ์ท่ีสะท้อนถึงการที่นักวิชาการได้ตระหนักว่า บทบาทของตนไม่เพียงแต่การสร้างองค์ความรู้เท่าน้ันแต่ยังต้องนํา องคค์ วามรทู้ ่ีสรา้ งขน้ึ มาไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย หรือ กล่าวได้ว่าเป็นการก้าวลงจากหอคอยงาช้างมาสู่โลกความเป็นจริง มากขึ้น

[207] กรณศี ึกษา องค์การบริหารส่วนตาบลหนองบัวฮี อาเภอพบิ ูลมงั สาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพท่ัวไปและข้อมูลพืนฐานสาคัญขององค์การบริหารส่วน ตาบลหนองบวั ฮี ตําบลหนองบัวฮี มีเน้ือท่ี โดยประมาณ 96 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 39,757 ไร่ โดยแบ่งเป็นพ้ืนท่ีอยู่อาศัยประมาณ 1,690 ไร่ พื้นที่ทําการเกษตรประมาณ 38,059 ไร่ เขตการ ปกครองจํานวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลหนอง บัวฮี มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน พื้นท่ีส่วนใหญ่เป็นพ้ืนที่ราบเหมาะแก่ การทาํ การเกษตร ประมาณปี พ.ศ.2321 มีครอบครัวสองครอบครัว โดยการนําของ นายสุโพธิ์ พันธ์นา และ มีสมาชิกจํานวน 5 คน ได้มาต้ังบ้านเรือน อยู่บริเวณหนองน้ํา ซ่ึงหนองน้ํานี้ ช่ือว่า หนองบัวฮี ตั้งอยู่บริเวณ บ้านหนองบัวฮีน้อย หมู่ท่ี 1 และ ในสมัยนั้นเป็นหมู่บ้านฝากของ ตําบลดอนจิก ต่อมาปี พ.ศ.2457 มีการตั้งหมู่บ้านและมีประชากร

[208] เพ่ิมมากข้ึนเป็นจํานวนมาก ได้ขอมาตั้งเป็นหมู่บ้านและเป็นตําบล หนองบัวฮี เมอ่ื ปี พ.ศ.2465 ปัจจบุ นั มีเขตการปกครอง 16 หมู่บา้ น องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี เป็นองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น 1 ใน 13 แห่ง ของอําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี เดิมการบริหารท้องถิ่นในอดีตเป็นรูปแบบสภาตําบล จนกระทั้งได้ยกฐานะจากสภาตําบลข้ึนเป็นองค์การบริหารส่วน ตําบลเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 โดยมีนายเสรี ฉัตรสุวรรณ เป็นผู้บริหารคนแรก องค์การบริหารส่วนตําบล หนองบัวฮี ตั้งอยู่ท่ีบ้านหนองบัวฮีน้อย หมู่ที่ 1 ตําบลหนองบัวฮี อาํ เภอพิบลู มงั สาหาร จงั หวัดอบุ ลราชธานี จนถึงปจั จุบัน ที่ตังและขนาด องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี เป็นองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 1 ใน 13 แห่ง ของอําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี ต้ังอยู่ท่ี บ้านหนองบัวฮีน้อย หมู่ที่ 1 ตําบลหนองบัวฮี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง อยู่ห่างจากอําเภอ พิบูลมังสาหาร ไปทางทิศใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 60 กิโลเมตร เนือท่ี องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี มีพ้ืนที่รวมทั้งส้ิน 96 ตารางกโิ ลเมตร หรือประมาณ 60,000 ไร่ แยกเป็นแต่ละหมู่บ้านได้ ดงั น้ี - หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัวฮีนอ้ ย - หมู่ที่ 2 บา้ นหนองบวั ฮี - หมู่ที่ 3 บา้ นหนองบัวฮี - หมทู่ ี่ 4 บ้านเมก็ - หมู่ที่ 5 บา้ นบัวแดง

[209] - หมทู่ ่ี 6 บ้านดกู อง่ึ - หมู่ที่ 7 บ้านดอนงวั - หมู่ที่ 8 บ้านดอนงวั - หมทู่ ี่ 9 บ้านบัวทอง - หมทู่ ่ี 10 บ้านหนองกอก - หมู่ที่ 11 บ้านโนนยานาง - หมทู่ ่ี 12 บ้านหนองสองหอ้ ง - หมู่ที่ 13 บา้ นโนนเจริญ - หมู่ท่ี 14 บา้ นโนนพะยอม - หม่ทู ี่ 15 บา้ นนาหว้า - หมทู่ ี่ 16 บา้ นหนิ ลาด อาณาเขต องค์การบริหารสว่ นตําบลหนองบวั ฮี มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ - ทิศเหนอื ติดต่อ ตาํ บลดอนจกิ อําเภอพิบูลมังสาหาร - ทศิ ใต้ ติดต่อ ตาํ บลกดุ ประทาย อาํ เภอเดชอดุ ม - ทิศตะวนั ออก ติดต่อ ตําบลอ่างศิลา อําเภอพิบูลมังสาหาร - ทิศตะวนั ตก ตดิ ต่อ ตําบลนาโพธ์ิ อําเภอพิบูลมงั สาหาร ลักษณะภมู ิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของตําบลหนองบัวฮี พื้นท่ีส่วนใหญ่ เป็นท่ีราบลุ่ม ดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทํานาและการเกษตร ท่วั ไป ทางทศิ ตะวันออกของตําบล มีแม่น้ําไหลผ่านคือ ลําห้วยกว้าง และมีคลองชลประทานเพื่อทําการเกษตรอุดมสมบูรณ์ตลอดปี สามารถทํานาได้ปีละ 2 ครั้ง ประชาชนสร้างบ้านรวมกันอย่าง หนาแน่นพ้นื ท่โี ดยประมาณ 96 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 60,000 ไร่ โดยเป็นพ้ืนท่ีอยู่อาศัย ประมาณ 1,890 ไร่ พ้ืนที่ทํา การเกษตรประมาณ 57,660 ไร่ และพื้นท่ี ปา่ สาธารณะ 450 ไร่

[210] อาชีพ ราษฎรของตําบลหนองบัวฮี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม โดยเฉพาะการทํานา การปลูกผักสวนครัว การเล้ียง สัตวไ์ ว้ใชง้ านและเพื่อบรโิ ภค รองลงมาคือ อาชีพรบั จา้ ง หน่วยธรุ กิจ ในเขตองคก์ ารบริหารสว่ นตาํ บลหนองบัวฮี - ปัม๊ นาํ้ มันและกา๊ ซ จํานวน 8 แห่ง - โรงสีข้าว (ขนาดเลก็ ) จาํ นวน 20 แห่ง - โรงนํา้ แขง็ จํานวน 1 แห่ง - ร้านคา้ ขายของชํา/อปุ กรณ์การเกษตร/อปุ กรณ์ก่อสร้าง จาํ นวน 71 แห่ง - รา้ นอาหาร จาํ นวน 7 แห่ง - ร้านซ่อมรถยนต์/รถมอเตอร์ จาํ นวน 18 แห่ง กล่มุ อาชพี /องค์กร ในตาบล - กลุ่มถกั ประเป๋า บา้ นหนองบวั ฮี หมู่ 2 - กลมุ่ สตรถี ักเชอื กเทียนและเครื่องประดับทองเหลือง บา้ นหนอง บวั ฮี หมู่ 2 - กลุม่ สตรีทอผา้ ไหม บา้ นหนองบัวฮี หมู่ 2,3 - กล่มุ ขา้ วกล้องงอก บ้านดกู องึ่ หมู่ 6 - กลุ่มสตรีทอผา้ ไหม บา้ นหนองบวั ฮี หมู่ 6 - กล่มุ ทาํ ไม้กวาด บ้านบัวทอง หมู่ 9 - กลุ่มจักสานไม้ไผ่ บา้ นดอนงัว หมู่ 7,8 - กลมุ่ สตรีตัดเยบ็ เสือ้ ผ้า บา้ นโนนยานาง หมู่ 11 - กลุ่มจักสารกระติบขา้ ว บ้านโนนเจรญิ หมู่ 13 การศกึ ษา

[211] - โรงเรยี นประถมศึกษา จาํ นวน 9 แหง่ - โรงเรียนมธั ยมศกึ ษา จํานวน 1 แหง่ - ศูนย์การเรยี นชมุ ชน/ห้องสมดุ ประจาํ ตําบล จํานวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ 2 บา้ นหนองบัวฮี - ศูนย์พัฒนาเดก็ เล็ก จํานวน 5 แหง่ - ศูนยก์ ารเรยี นรู้ ICT ชมุ ชน เพ่อื พ่อหลวง จาํ นวน 1 แห่ง ตัง้ อยูใ่ น พืน้ ท่ี อบต. หนองบัวฮี สาธารณสุข - โรงพยาบาลสง่ เสรมิ สขุ ภาพตาํ บล จาํ นวน 2 แห่ง (บ้านหนองบวั ฮี , บา้ นโนนยานาง) - สถานพยาบาล (คลินิก) จาํ นวน 4 แห่ง - วัด/ทพ่ี ักสงฆ์ - วดั /ทพ่ี กั สงฆ์ จํานวน 13 แห่ง การโทรคมนาคม - ทท่ี ําการไปรษณยี ์ จํานวน 1 แห่ง สถานที่ทอ่ งเทีย่ วธรรมชาติ มีสถานทท่ี ่องเทีย่ วธรรมชาติ 4 แหง่ คือ - แก่งบรูพา บ้านหนองบวั ฮี หมูท่ ่ี 2,3 - แก่งไฮ บ้านเม็ก หมู่ที่ 4 - แกง่ ดอนปู่ตา บ้านดกู อึ่ง หมู่ที่ 6 - แก่งใหญ่ บา้ นโนนยานาง หมทู่ ี่ 11 การเลือกตัง แบ่งเขตเลือกต้ังออกเป็น 16 หน่วยเลือกต้ังในจํานวน 16 หมู่บ้าน ซ่ึงจะมีการเลือกตั้งท้ังผู้บริหารท้องถ่ิน สมาชิกสภา ท้องถิน่ และผนู้ ําท้องถ่นิ วิสัยทัศน์

[212] “หนองบัวฮีเข็มแข็ง ร่วมแรงพัฒนา ส่งเสริมการศึกษา พัฒนา คุณภาพชีวิต สรา้ งเศรษฐกจิ ม่งั คง ดํารงไวซ้ ึ่งวฒั นธรรม” พันธกิจ 1. พฒั นาชมุ ชนให้นา่ อยู่ มีความเขม็ แขง็ โดยรับการบรกิ าร สาธารณะทีจ่ ําเป็นเพื่อรองรบั การขยายตัวของชมุ ชน 2. พัฒนาคณุ ภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดบั อยา่ งทั่วถงึ 3. สง่ เสรมิ ใหป้ ระชาชนทุกระดับมคี ุณภาพชีวติ ทดี่ ี 4. สรา้ งความเข้มแขง็ ด้านการพฒั นาอาชีพทกุ ดา้ นเพื่อใหเ้ ศรษฐกจิ โดยรวมมคี วามมน่ั คง 5. อนรุ ักษ์และพฒั นาศิลปวฒั นธรรมอันดงี ามและภูมปิ ญั ญาทอ้ งถิ่น คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี ได้ กาํ หนดนโยบายและแนวทางในการพฒั นาองคก์ ารบริหารส่วนตําบล หนองบวั ฮี ดงั น้ี 1.นโยบายดา้ นโครงสร้างพืนฐาน องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮีมุ่งมั่นท่ีจะพัฒนาโครงสร้า ง พื้ น ฐ า น ใ ห้ ไ ด้ ม า ต ร ฐ า น เ พื่ อ ต อ บ ส น อ ง ต่ อ ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ข อ ง ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแผนพัฒนา ทอ้ งถนิ่ โดยมีแนวทางดงั น้ี 1.1 สร้างและบํารุงรักษาถนนทุกสาย ท้ังเส้นทางสายหลัก และทางเชือ่ มระหวา่ งหมบู่ ้าน ตลอดถึงถนนเขา้ สพู่ ืน้ ท่ีการเกษตร 1.2 ก่อสร้างและปรับปรุงระบบน้ําเพ่ือการอุปโภค บริโภค ประปาหมบู่ า้ นและแหล่งนํ้าเพื่อการเกษตรให้ครอบคลุมท่ัวถึงอย่าง มปี ระสทิ ธภิ าพ 1.3 จัดให้มีการขุดลอก คู คลองท่ีตื้นเขินและการป้องกัน น้ํากัดเซาะตล่งิ

[213] 1.4 พัฒนาแหลง่ นา้ํ เพื่อการเกษตรขนาดใหญ่ ให้เป็นแหล่ง น้ําเพ่ือการเกษตร แหล่งเพาะพันธ์ุสัตว์น้ํา และสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ ใหเ้ ป็นแหลง่ ทอ่ งเทย่ี วประจาํ ตาํ บล 1.5 จัดให้มีการก่อสร้างฝายชะลอนํ้าขนาดเล็กตามลําห้วย คู คลอง เพื่อใหม้ ีนํา้ ใช้ในการเกษตรในฤดแู ลง้ 1.6 ส่งเสริมสนับสนุนขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้ารายทางให้ ท่ัวถึง 2. นโยบายดา้ นเศรษฐกิจ องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี จะส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายให้กับ ประชาชนทุกระดับ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตามศักยภาพของชุมชนในระดับรากฐานของตําบล โดยมีแนวทาง ดงั นี้ 2.1 ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนโดยยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยูห่ วั 2.2 ส่งเสริมให้ประชาชน ได้นําภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาใช้ ใหเ้ กดิ ประโยชนเ์ พ่ือเพิ่มรายได้ให้แกร่ าษฎรในท้องถิ่น 2.3 จัดฝึกอาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงานของเยาวชน สตรี และประชาชนทว่ั ไป 2.4 สง่ เสริมใหเ้ กษตรกรลดต้นทนุ การผลิตเพ่ือช่วยเหลือใน เร่อื งปยุ๋ , เมลด็ พนั ธ์ุ, ยารักษาโรค 3. นโยบายด้านสงั คม องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี จะส่งเสริมและ สนับสนุนให้ตําบลหนองบัวฮี เป็นชุมชนท่ีปลอดภัย น่าอยู่และ พฒั นาเก่ียวกบั คุณภาพชีวิตชองประชาชนและเยาวชนในตําบลให้มี

[214] ความเป็นอยู่ที่ดีข้ึน และสร้างโอกาสให้ทุกคนได้รับการบริการอย่าง เท่าเทียมกัน โดยมีแนวทางดังนี้ 3.1 ส่งเสริมการสร้างชุมชนน่าอยู่ การสร้างความเข้มแข็ง และความสามัคคีของชมุ ชนปลูกฝงั ค่านิยมท่ดี ีต่อชมุ ชน 3.2 ส่งเสริมการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัว สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นการ เสริมสร้างความเข้มแข็งและความอบอนุ่ ใหแ้ กค่ รอบครวั 3.3 สนับสนุนกิจกรรมสร้างระบบความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน เพ่ิมศักยภาพการปฏิบัติหน้าที่ อปพร. ตาํ บลหนองบวั ฮี 3.4 ให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผดู้ ้อยโอกาสทางสงั คมใหม้ คี วามเปน็ อยทู่ ด่ี ีขึ้น 3.5 สนับสนุนกิจกรรมในการป้องกันและบําบัดยาเสพติด ในชุมชน/หมบู่ า้ น 4. นโยบายด้านสาธารณสุขและส่งิ แวดล้อม องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี จะส่งเสริมและสนับสนุน ระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและมีความเข้มแข็ง ตลอดจน สร้างระบบสุขภาพท่ีดีให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในตําบลให้มีสุขภาพ แข็งแรง ท้ังทางร่างกายและจิตใจ โดยมีแนวทางดังน้ี 4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในตําบลหนองบัวฮี มีความรู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ พร้อมทั้งป้องกันโรคระบาด และโรคติดตอ่ รวมทัง้ สามารถปฐมพยาบาลเบือ้ งตน้ ได้ 4.2 ส่งเสริมให้ประชาชนในตําบลหนองบัวฮี มีสุขภาพ รา่ งกายแขง็ แรง สง่ เสริมใหม้ ีการออกกาํ ลังกาย 4.3 สนบั สนุนพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ชาวตาํ บลหนองบัวฮี ตาม ยทุ ธศาสตรอ์ ยูด่ มี สี ขุ

[215] 4.4 ส่งเสริมการป้องกันโรคและบริการความรู้ด้าน สาธารณสุขมูลฐานแก่ประชาชนได้มีสุขภาพอนามัยท่ีสมบูรณ์ แขง็ แรง 5. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและกีฬา องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี จะส่งเสริมและ สนับสนุนระบบการศึกษาและส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ของประชาชน ในตาํ บล โดยผา่ นกระบวนการศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาตลอด ชีวิต การพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศเพ่ือการเรียนรู้ชุมชน ตลอดจนการส่งเสริมจริยธรรม วัฒนธรรมท้องถิ่น และรักษา ประเพณีท้องถ่ินให้ยัง่ ยืน โดยมแี นวทางดังน้ี 5.1 พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนให้ได้มาตรฐาน ตามเกณฑ์ 5.2 ส่งเสรมิ กิจกรรมการกีฬาใหห้ ลากหลายและทัว่ ถงึ 5.3 ส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมให้เป็นเอกลักษณ์ที่ โดดเดน่ ของตําบล 5.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี 5.5 ส่งเสริมให้มีการจัดแข่งขันกีฬาเพ่ือให้ประชาชน สามารถใชป้ ระโยชนจ์ ากการทํากิจกรรมตา่ ง ๆ ร่วมกัน 5.6 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดงานประเพณี เช่น งานวันสงกรานต์, งานแห่เทียนเข้าพรรษาและวันลอยกระทงให้คง อย่กู ับชุมชนตอ่ ไป 6.นโยบายด้านการเมอื งการบริหาร องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮีจะบริหารงานโดยยึด หลักธรรมาภิบาล มุ่งเน้นความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม โดยมี แนวทางดังน้ี

[216] 6.1 ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วน ร่วมในทุก ๆ ดา้ น ในรปู แบบของกระบวนการประชาคม 6.2 ให้ความร่วมมือช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน และหน่วยงานอ่ืน ๆ ในกรณีท่ีมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน อันจะก่อให้เกิด ความเสียหายร้ายแรงต่อราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล หนองบัวฮี 6.3 ปรับเปลยี่ นกระบวนการหรือวิธีการทํางาน โดยการนํา การบริหารงานแนวใหม่มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนด้วยความรวดเรว็ และมีประสทิ ธิภาพ 6.4 เน้นการบริหารราชการแบบเปิด โดยเปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารท้องถ่ินมากขึ้น เปิดโอกาส ให้ประชาชนเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นร่วมปฏิบัติงานและ ตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบตั งิ าน โครงสรา้ ง บทบาท หนา้ ท่ี

[217] องค์การบรหิ ารส่วนตาบล 1. เปน็ องคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตําบล มีฐานะเป็น นิติบุคคล และเปน็ ราชการบริหารสว่ นทอ้ งถิ่น 2. มีอํานาจหน้าท่ีในการพัฒนาตําบลท้ังในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนในทอ้ งถ่นิ ของตนเอง อานาจหนา้ ท่ีขององค์การบริหารสว่ นตาบล (อบต.) ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วน ตําบล พ.ศ. 2537และ ทแี่ ก้ไขเพิ่มเตมิ ถงึ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 1. มีอํานาจหน้าท่ีในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สงั คม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตําบลมี หน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67) 1) จดั ให้มแี ละบํารงุ รกั ษาทางน้ําและทางบก 2) รกั ษาความสะอาดของถนน ทางนํา้ ทางเดิน และท่ี สาธารณะรวมท้ังกําจดั มูลฝอยและสงิ่ ปฏกิ ลู 3) ป้องกนั โรคและระงบั โรคติดต่อ 4) ป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั 5) สง่ เสรมิ การศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม 6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และ ผูพ้ กิ าร 7) คุ้มครองดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสง่ิ แวดล้อม 8) บํารงุ รักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวฒั นธรรมอนั ดีของท้องถ่นิ

[218] 9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดย จดั สรรงบประมาณหรือบคุ ลากร ให้ตามความจาํ เป็นและสมควร 3. ภายใต้บงั คับแหง่ กฎหมายองค์การบรหิ ารสว่ นตาํ บลอาจ จัดทํากิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68) 1) ใหม้ ีนา้ํ เพือ่ การอุปโภค บริโภค และการเกษตร 2) ให้มกี ารบาํ รงุ การไฟฟา้ หรือแสงสวา่ งโดยวิธอี ่นื 3) ให้มีการบํารุงรกั ษาทางระบายนา้ํ 4) ให้มีและบํารุงสถานท่ีประชุมการกีฬา การพักผ่อน หย่อนใจ และสวนสาธารณะ 5) ให้มีการสง่ เสรมิ กล่มุ เกษตรกรและกจิ การสหกรณ์ 6) ส่งเสริมให้มอี ตุ สาหกรรมในครอบครวั 7) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชพี ของราษฎร 8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสา ธารณสมบัตขิ องแผน่ ดนิ 9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหาร สว่ นตําบล 10) ให้มตี ลาด ท่าเทียบเรอื และท่าขา้ ม 11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ 12) การทอ่ งเที่ยว 13) การผงั เมือง 4. การดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันท่ีจะดําเนินกิจการใด ๆ เพ่ือประโยชน์ของประชาชน ในตําบลต้องแจ้งให้ อบต. ทราบ ล่วงหน้าตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดําเนิน

[219] กิจการดังกล่าว ใหน้ ําความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณา ดาํ เนนิ กจิ การนั้นด้วย (มาตรา 69) 5. การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าท่ีของ อบต. ต้องเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองท่ีดี และให้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการ จัดทําแผนพัฒนา อบต. การจัดทํางบประมาณ การจัดซ้ือจัด จา้ ง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสาร ทั้งน้ีให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่า ด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีกระทรวงมหาดไทย กําหนด (มาตรา 69/1) 6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการใน เรื่องที่เก่ียวกับการดําเนินกิจการ ของทางราชการในตําบล เว้นแต่ ข้อมูลหรือข่าวสารท่ีทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การ รกั ษาความมน่ั คงแห่งชาติ (มาตรา 70) 7. ออกข้อบัญญัติ อบต. เพ่ือใช้บังคับในตําบลได้เท่าท่ีไม่ ขดั ตอ่ กฎหมายหรอื อํานาจหน้าท่ีของ อบต. ในการนี้จะกําหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกําหนดโทษปรับ ผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กําหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่ จะมีกฎหมายบัญญัตไิ ว้เปน็ อย่างอน่ื (มาตรา 71) 8. อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วย ราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นไปดํารงตําแหน่งห รือปฏิบัติกิจการ ของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)

[220] 9. อาจทํากิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตําบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถ่ินอื่น เพื่อ กระทาํ กิจการร่วมกนั ได้ (มาตรา 73) อาํ นาจหนา้ ท่ี ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและข้ันตอน การกระจายอาํ นาจใหแ้ ก่องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น พ.ศ. 2542 1. มอี ํานาจและหนา้ ทใี่ นการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพ่อื ประโยชน์ของประชาชนในทอ้ งถิ่นของตนเอง ดงั นี้ (มาตรา 16) (1) การจดั ทําแผนพัฒนาท้องถนิ่ ของตนเอง (2) การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ํา และทางระบายน้าํ (3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอืน่ ๆ (5) การสาธารณปู การ (6) การสง่ เสรมิ การฝกึ และประกอบอาชพี (7) การพาณชิ ย์ และการส่งเสรมิ การลงทุน (8) การสง่ เสรมิ การท่องเท่ยี ว (9) การจัดการศกึ ษา (10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพ ชีวติ เด็ก สตรี คนชรา และผดู้ อ้ ยโอกาส (11) การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิ ปญั ญาทอ้ งถิน่ และวฒั นธรรมอันดีของทอ้ งถิน่ (12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการ จดั การเก่ียวกบั ท่อี ย่อู าศัย (13) การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ

[221] (14) การส่งเสริมกีฬา (15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรภี าพของประชาชน (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการ พัฒนาท้องถ่ิน (17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรยี บรอ้ ยของบ้านเมือง (18) การกาํ จัดมูลฝอย สง่ิ ปฏกิ ลู และนํา้ เสีย (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และ การรักษาพยาบาล (20) การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปน สถาน (21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (22) การจัดให้มีและควบคุมการฆา่ สตั ว์ (23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบ เรยี บร้อย และการอนามยั โรงมหรสพ และสาธารณสถานอืน่ ๆ (24) การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ ประโยชน์จากป่าไม้ ทีด่ นิ ทรัพยากรธรรมชาติ และสง่ิ แวดล้อม (25) การผังเมือง (26) การขนสง่ และการวศิ วกรรมจราจร (27) การดแู ลรกั ษาทสี่ าธารณะ (28) การควบคุมอาคาร (29) การป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั (30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริม และสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัย ในชีวิตและ ทรพั ยส์ ิน

[222] (31) กิ จ ก า ร อ่ื น ใ ด ท่ี เ ป็ น ผ ล ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ประชาชนในทอ้ งทตี่ ามทค่ี ณะกรรมการประกาศกาํ หนด 2. อํานาจหน้าท่ีของ อบต. ตามข้อ 1 ต้องดําเนินการตาม “แผน ป ฏิบั ติการกําหน ดข้ัน ตอน แล ะการ กร ะจายอํานาจ ให้ แก่ องค์กรปกครองส่วนทอ้ งถนิ่ ” สภาองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตาบล 1. สภา อบต. ประกอบด้วยสมาชิกสภา อบต. ซึ่งเลือกตั้ง โดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขต อบต. นั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่น จํานวน หมบู่ ้านละ 2 คน อบต. ใดมี 2 หมู่บ้านๆ ละ 3 คน : ถ้ามี 1 หมู่บ้านให้มี สมาชิก 6 คน มีอายุคราวละ 4 ปี นับแตว่ นั 2. สภา อบต. มีประธานสภา อบต. 1 คน รองประธานสภา อบต. 1คน ซึ่งสภาเลือกจากสมาชิกให้นายอําเภอแต่งต้ัง (มาตรา 48) ดํารงตําแหน่งจนครบอายุของสภา อบต. หรือมีการ ยุบสภา อบต. (มาตรา 49) และมีเลขานุการสภา อบต. 1 คน ซึ่ง สภาเลือกจากปลดั อบต. หรอื สมาชิกสภา อบต. ดาํ รงตําแหน่งจน ครบอายุของสภา อบต. หรือมีการยุบสภา อบต. หรือสภา อบต. มี มติใหพ้ ้นจากตาํ แหน่ง (มาตรา 57) 3. การประชุมสภา อบต. ในปหี นึง่ ใหม้ สี มยั ประชมุ สามัญ 2 -4 สมัย แล้วแต่สภา อบต. จะกําหนด : สมัยประชุมสามัญสมัย หนึ่งๆ ให้มีกําหนด ไม่เกิน 15 วัน (มาตรา 58) : เมื่อมีความ จําเป็นเพ่ือประโยชน์ของ อบต. สามารถขอเปิดประชุมวิสามัญได้ สมยั ประชมุ วิสามัญให้ กาํ หนดไม่เกนิ 15วัน (มาตรา 53)

[223] อานาจหน้าท่ขี องสภา อบต. 1. เลือกประธานสภา รองประธานสภา (มาตรา 48) และ เลขานกุ ารสภา อบต. (มาตรา 57) 2. รบั ทราบนโยบายของนายก อบต. ก่อนนายก อบต. เข้า รับหน้าที่และรับทราบรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย ที่นายก อบต. ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็นประจําทุกปี (มาตรา 58/5) 3. มีอํานาจหน้าทีต่ ามมาตรา 46 ดงั นี้ (1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพ่ือเป็น แนวทางในการบริหารกจิ การของ อบต. (2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างขอ้ บญั ญัตงิ บประมาณรายจ่ายประจําปีและร่างข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพมิ่ เติม (3) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้ เ ป็ น ไ ป ต า ม ก ฎ ห ม า ย น โ ย บ า ย แ ผ น พั ฒ น า อ บ ต . ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบงั คบั ของทางราชการ 4. ในท่ีประชุมสภา อบต. สมาชิกสภา อบต. มีสิทธิตั้ง กระทู้ถามต่อนายก อบต. หรือรองนายก อบต. ในเรื่องใดอัน เกี่ยวกับงานในหน้าท่ี (มาตรา 56/1) : เสนอญัตติขอเปิดอภิปราย ทั่วไปเพ่ือใหน้ ายก อบต. แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นใน ปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 58/7) + นายก อบต. (1) อบต. มีนายก อบต. 1 คน ซ่ึงมาจากการ เลือกต้ังโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกต้ัง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือหรือผู้บริหารท้องถิ่น (มาตรา 58) ดํารง ตําแหน่งนับแต่วันเลือกต้ังและมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละ 4 ปี

[224] นับแต่วันเลือกต้ัง แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ (มาตรา 58/2) (2) นายก อบต. สามารถแต่งต้ังรองนายก อบต. ซ่ึงมิใช่สมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน แต่งต้ังเลขานุการนายก อบต. ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 1 คน (มาตรา 58/3) อานาจหนา้ ท่ขี องนายก อบต. 1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก อบต. ต้องแถลงนโยบายต่อ สภา อบต. โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดําเนินการได้ให้ทํา เป็นหนังสือ แจ้งต่อสมาชิกสภา อบต. ทุกคนและจัดทํารายงาน แสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบต. เป็น ประจาํ ทุกปี (มาตรา 58/5) 2. มีอาํ นาจหน้าท่ี ตามมาตรา 59 ดังน้ี (1) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และ รบั ผดิ ชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เปน็ ไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของ ทางราชการ (2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเก่ียวกับราชการของ อบต. (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และ เลขานุการนายก อบต. (4) วางระเบียบเพ่ือให้งานของ อบต. เป็นไปด้วย ความเรยี บร้อย (5) รกั ษาการให้เป็นไปตามขอ้ บัญญัติ อบต. (6) ป ฏิ บั ติ ห น้ า ท่ี อ่ื น ต า ม ที่ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ น พระราชบัญญตั ิน้ี และกฎหมายอ่นื

[225] 3. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตําบลและลูกจ้าง ของ อบต. (มาตรา 60) 4. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซ่ึงนายก อบต. มอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริง ตลอดจนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับงานในหน้าท่ีของตนต่อท่ี ประชมุ แต่ไม่มสี ิทธิออกเสียงลงคะแนน (มาตรา 58/6) 5. กรณที ่ไี ม่มผี ้ดู ํารงตาํ แหน่งประธานและรองประธานสภา อบต. หรือสภา อบต. ถูกยุบตามมาตรา 53 หากมีกรณีท่ีสําคัญและ จําเป็นเร่งด่วนซ่ึงปล่อย ให้เน่ินช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สําคัญ ของราชการหรือราษฎร นายก อบต. จะดําเนินการไปพลางก่อน เท่าท่ีจําเป็นก็ได้ แต่เม่ือได้เลือกประธานสภา อบต. แล้วให้เรียก ประชมุ สภา อบต. เพอื่ ให้นายก อบต. แถลงนโยบายโดยไม่มีการลง มติภายใน 15 วันนับแต่วันท่ีมีการเลือกตั้งประธานสภา อบต. (มาตรา 58/5 วรรคสอง) 6. กรณีนายก อบต. ปฏิบัติการที่อาจเสียหายแก่ อบต. หรือราชการ และนายอําเภอได้ช้ีแจงแนะนําตักเตือนแล้วไม่ปฏิบัติ ตาม ในกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็นเร่งด่วนที่จะรอช้าไม่ได้ นายอําเภอมี อํานาจออกคําสั่งระงับการปฏิบัติราชการของนายก อบต. ไว้ตามที่ เ ห็ น ส ม ค ว ร ไ ด้ แ ล้ ว รี บ ร า ย ง า น ผู้ ว่ า ร า ช ก า ร จั ง ห วั ด ภายใน 15 วัน เพ่ือวินิจฉัยตามท่ีเห็นสมควรโดยเร็ว : การกระทํา ของนายก อบต. ที่ฝ่าฝืนคําสั่งนายอําเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ดังกล่าว ไมม่ ีผลผกู พนั กบั อบต. (มาตรา 90)

[226] 7. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. (มาตรา 71) ร่างข้อบัญญัติ ประมาณรายจ่ายประจําปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม (มาตรา 87) 8. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการ ปฏบิ ัติหนา้ ท่ีตามพระราชบัญญัติ อบต. (มาตรา 65) องค์กรปกครองส่วนตาบลขนาดเล็ก ให้มีระดับตาแหน่งสายงาน ผบู้ ริหาร ดงั นี 1. ตาํ แหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ให้เป็นตําแหน่ง ประเภทบรหิ ารทอ้ งถ่ินระดับต้น 2. ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ได้แก่ผู้อํานวยการหรือท่ี เรียกชื่ออย่างอ่ืน ให้เป็นตําแหน่งประเภทอํานวยการท้องถิ่นระดับ ตน้ 3. ตําแหน่งหัวหน้าฝ่าย ไม่กําหนดใหม้ หี ัวหนา้ ฝา่ ย โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ คํานึงถึงความต้องการและความ เหมาะสมขององคก์ ารบริหารส่วนตาํ บล ดังน้ี 1. สํานักปลัดองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตาํ บล 2. สาํ นกั /กองคลัง 3. สาํ นัก/กองชา่ ง 4. สํานัก/กองสาธารณสขุ และสง่ิ แวดลอ้ ม 5. สํานกั /กองยุทธศาสตรแ์ ละงบประมาณ 6. สํานัก/กองการศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม 7. กองการเจ้าหน้าที่

[227] กรอบแนวคิดวเิ คราะห์พฤติกรรมการทางานของท้องถิน่ / ความสามารถในการปรับตัวของทอ้ งถนิ่ การจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการ ปกครองตนเองตามเจตนารมย์ของประชาชนในท้องถิ่นเพ่ือเป็นการ ให้โอกาสและสง่ เสรมิ ความสามารถของประชาชนและชุมชนท้องถ่ิน ในการปกครองตนเองอันเป็นรากฐานของการปกครองในระบบ ประชาธิปไตยและเป็นการมอบความรับผิดชอบและอํานาจหน้าที่ ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถ่ินตามวิธีและ รูปแบบองคก์ รปกครองส่วนท้องถนิ่ ตามทีก่ ฎหมายบัญญตั ิ การพัฒนาองค์กรก็คือการทําให้องค์กรน้ันดีขึ้น เกิดการ เปลยี่ นแปลงไปในทางที่ดีกว่าเดิม ต้ังแต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การปฏิบัติงาน ระบบโครงสร้างองค์กร ไปจนถึงทัศนคติในการ ทํางาน ปัจจบุ นั การพฒั นาองคก์ รกลายเป็นเครื่องมือทถ่ี ูกนํามาใช้ใน การบรหิ ารตลอดจนขับเคลอื่ นองคก์ รให้ก้าวหนา้ กา้ วทนั การ เปล่ียนแปลง และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบ ตลอดจนเปน็ รูปธรรมมากขึ้น การพัฒนาองค์กรยังหมายถึงการยกระดับองค์กรอย่าง สร้างสรรค์และให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยท่ียังให้ความสําคัญกับ บุคลากรทุกระดับ โดยการพัฒนาองค์กรนั้นยังต้องควรตอบสนอง ต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ ตลอดจนค่านิยม ขององค์กรด้วย การพัฒนา องค์กรควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและการปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ให้เกิด ความสําเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นจะทําให้องค์กรพัฒนาได้ อย่างต่อเน่ืองและย่ังยืนตลอดไป การมีส่วนร่วมของประชาชนใน การเลือกผู้ที่จะเข้ามาบริหารในพ้ืนที่ส่วนท้องถิ่นโดยผู้บริหารที่ดี ควรจะตอ้ งกาํ หนดทิศทาง การพัฒนาท่ีเหมาะสมการได้ผู้บริหารที่ดี ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาที่ดีและบุคลากร ก็เป็นหน่ึงในฟันเฟือง

[228] สําคัญของการพัฒนาองค์กร ผู้บริหารที่ดีจะเข้าใจการประสานงาน ตลอดจนแนะนําวิธีปฏิบัติท่ีดีท่ีสุดรวมถึงสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ทําให้องค์กร สามารถพัฒนาและประสบความสําเร็จ

[22 กรอบแนว ปัจจยั ทสี่ ่งผลตอ่ การพัฒนา องค์กรปกค การเมืองในท้องถ่นิ โครงสรา้ ง บทบาท/ห 1.ปญั หาทางดา้ นการบรหิ าร 2.ปัญหาการบริหารการเงิน, การคลัง 3 . ปั ญ ห า ก า ร บ ริ ห า ร ทรพั ยากรมนษุ ย์ 4.การทบั ซอ้ นอาํ นาจ 5.ความล่าช้าในการกระจาย อํานาจ

29] วคิดวิเคราะห์ ครองทอ้ งถ่ิน ผลงานการบริหารงาน/ เป้าหมายการพฒั นา หน้าท่ี บุคคลกรองค์กรทอ้ งถ่ิน/ 1.จัดต้ังภาคเี ครือขา่ ยเอกชน การมสี ว่ นรว่ มของ 2.จัดตงั้ ภาควชิ าการในพ้นื ท่ี ประชาชน 3.การมสี ่วนร่วมของชุมชน

การเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ เป็นการขยายผล โครงการพัฒนาพื้นท่ีต้นแบบการพัฒนาคุณภาพ และเป็น หน่วยงานหลักขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพ้ืนท่ี โดยเฉพาะพื้นที่ตําบล หนองบัวฮี อําเภอพิบูลมังสาหาร มีการร่วมมือระหว่างภาค ประชาชนและภาคเอกชนในพื้นที่ ที่สามารถส่งผลต่อการแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มีการพัฒนาโดยใช้ศาสตร์อื่น ๆ เพ่ือมาเป็นแหล่งเรียนรู้ มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ หลายสิบ ครัวเรอื น พ้ืนท่มี ากกว่า 500 ไร่ มีการขับเคล่ือนกิจกรรมการพัฒนา พื้นท่ีอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 5 ปี ต่อจากนี้ เช่น คันทองคํา ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตลอดจนการปลูกผักสวนครัว เพ่ือ สรา้ งความม่นั คงทางอาหาร และพืชสมุนไพร เช่น กระชาย และฟ้า ทลายโจร เพือ่ ป้องกันและบรรเทาโรคโควดิ -19 ก่อนขยายผลให้เป็น ครัวเรือนตัวอย่างและศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ให้ผู้ท่ีสนใจเข้ามาเรียนรู้ เป็นการพัฒนาท้องถิ่น กระบวนการของการเพ่ิมทางเลือกใหม่ การเปล่ียนเสน้ ทางการคิด โดยมีการดําเนินการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ณ ศูนย์การเรียนรู้เฮือนฮ่วมแฮง หมู่ที่ 2 บ้านหนองบัวฮี ตําบล หนองบัวฮี อําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ว่าราชการ จังหวัดอุบลราชธานี พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อม ด้วย นายอําเภอพิบูลมังสาหาร คณาจารย์และนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ทีมวิทยากรจากศูนย์พุทธธรรม และสํานกั งานพัฒนาชุมชนอําเภอพิบูลมังสาหาร พร้อมกับผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตําบลหนองบัวฮี กํานันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําอาสา พัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ตลอดจนภาคีเครือข่าย

[231] ภาคเอกชน จัดเวทีสํารวจและประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อม การดาํ เนินโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง)SEDZ) ด้วยโมเดล เศรษฐกิจใหม่ เพ่ือขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย ลดความเหลื่อมลํ้าทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพ้ืนท่ีตําบลหนองบัวฮี และพ้ืนท่ีใกล้เคียงในเขตอําเภอพิบูลมังสา หาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในเบ้ืองต้นพื้นที่ดังกล่าว มีผู้สนใจเข้า ร่วมโครงการฯ หลายสิบครัวเรือน พ้ืนท่ีมากกว่า 500 ไร่ และถือ เป็นหนึ่งในพนื้ ที่เปา้ หมายในแผนการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พอเพียง )SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ )BCG Model) ของ จังหวดั อุบลราชธานี การขยายผลโครงการพัฒนาพ้ืนที่ต้นแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่“โคก หนอง นา โมเดล” เพอื่ ช่วยเหลอื ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งรัฐบาลได้มีแนวทางการขับเคล่ือนแนวทาง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซ่ึงกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนําของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่มีบทบาทสําคัญในการ “บําบัดทุกข์ บํารุงสุข” ให้แก่ประชาชนตามแนวทางของหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และเป็นหน่วยงานหลักขับเคล่ือนการพัฒนาเชิง พื้นที่ จงึ ไดเ้ สนอการขับเคลอื่ นแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยภาครัฐจะได้สนับสนุนการจ้างงาน โครงสร้างพืน้ ฐาน อุปกรณพ์ ้นื ฐาน อํานวยความสะดวกด้านต่างๆ ที่ จําเป็น ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วน ต่างๆในพื้นท่ี ภาควิชาการในพ้ืนท่ีร่วมพัฒนาและยกระดับ ทรัพยากรมนุษย์ ตอ่ ยอดด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมที่เหมาะสม

[232] โดยมีภาคเอกชนร่วมสนับสนุนการบริหารงานโครงการ วางแผน พัฒนาและต่อยอดผลผลิตต่างๆ ที่จะเกิดข้ึนจากความสมบูรณ์ของ การพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญโดยเฉพาะ พื้นท่ีที่มีศักยภาพในกรพัฒนา พ้ืนที่ประสบปัญหาภัยพิบัติซํ้าซาก และใช้โอกาสจากภาคแรงงานที่มีทักษะและศักยภาพท่ีประสบกับ ปัญหาการเลิกจ้างจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กลบั ไปยงั บา้ นเกิดเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาพื้นที่ เป้าหมาย ดว้ ยการใหค้ วามรู้ตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง หรือทฤษฎีใหม่ ควบคู่กับการศึกษาถึงรากเหง้าภูมิปัญญาด้ังเดิม และเพ่ิมพูนด้วยชุดความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม กับการแก้ไขปัญหาของพื้นท่ีและภูมิสังคม เพ่ือพัฒนาหรือยกระดับ เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ เพื่อขจัด ความยากจน ลดความเหล่ือมล้ําทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชน และเสริมสร้างความม่ันคงด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สง่ิ แวดล้อมในพื้นท่ี ภายในปี 2030

[233] โดยเฉพาะในส่วนของพ้ืนท่ีตําบลหนองบัวฮี อําเภอพิบูลมังสาหาร ถือว่ามีความพร้อมในการดําเนินงานและสนับสนุนการขับเคลื่อน นโยบาย, พื้นที่ใกล้เคียง ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตําบลหัวดอน และตําบลก่อเอ้ อําเภอเข่ืองใน, วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตําบลห้วยยาง อําเภอโขงเจียม, ดอนป่าติ้ว บ้านโนนมะเขือ ตําบลกาบิน อําเภอกุดข้าวปุ้น และใน พ้ืนที่อําเภอต่างๆ ท่ีมีความพร้อมและอยู่ระหว่างการกระจายกําลัง เพอ่ื ไปชแ้ี จงและทําความเข้าใจ โดยหน่วยงานทรี่ ับผิดชอบ และภาคี เครือข่ายในจังหวัดฯ ซึ่งถือเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย ท่ีสนใจ และให้ความสําคัญ ในการขับเคล่ือนโครงการฯ ดังกล่าวหรือเป็น การนําร่องการดําเนนิ งานและตน้ แบบในการขับเคลื่อนนโยบายและ โครงการสําคัญต่างๆ ไดอ้ ยา่ งเป็นรปู ธรรม ตลอดระยะเวลาที่ผา่ นมา ซ่ึ ง จ า ก ก า ร ดํ า เ นิ น ก า ร ดั ง ก ล่ า ว ข อ ง ตํ า บ ล ห น อ ง บั ว ฮี แตกต่างจากเดิม และการคาดการณ์ เก่ียวกับการเปล่ียนแปลงใน อนาคตการพัฒนาจึงเก่ียวข้องกับการเปล่ียนแปลง การปรับปรุง และการสร้างชีวิตซ่ึงเป็นความพยายามโดยตรงที่จะปรับปรุงด้าน ทศั นคตกิ ารมีส่วนร่วมความยืดหยนุ่ ความเท่าเทยี ม บทบาทหนา้ ที่

[234] ของสถาบัน สังคมให้เกื้อกูล ต่อคุณภาพชีวิตของการพัฒนา การ สร้างความม่ังคั่งหรือสิ่งที่คนให้คุณค่าและการนําไปสู่การพัฒนาคือ การทปี่ ระชาชนเข้ามามสี ว่ นรว่ ม บทสรปุ การท่ีประชาชน เปรยี บเสมือนรากฐานความชอบธรรมของ รัฐดังคํากล่าวท่ีว่า“สถานะของประชาชนในการเมือง ภายใต้ โครงสร้างของรัฐประชาชาติทําให้ประชาชนกลายเป็นรากฐานของ อํานาจรัฐเพราะเมื่ออํานาจอธิปไตย “เป็นของ” หรือ “มาจาก” ประชาชน ก็ทําให้ประชาชนกลายเป็นรากฐานของความชอบธรรม ให้แก่รัฐ การอ้างอิงประชาชนที่ไม่ได้แสดงความแตกต่างทางชนช้ัน อายุ เพศ จึงเปน็ การกระทําสามัญในการเมืองของสภาวะสมัยใหม่” การท่ีจะพัฒนาการเมืองในระดับ ท้องถิ่น จนเกิดเป็นการเมืองแบบ มีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถ่ินตามระบอบประชาธิปไตย สิ่งท่ีสําคัญท่ีสุดอย่างหน่ึง คือ การท่ีหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ องค์กร บริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรู้ถึงสาเหตุที่ แท้จริงของปัญหาว่าเกิดจาก สาเหตุใดเพ่ือจะได้แก้ไขปัญหาและ พัฒนาทางการเมืองในระดับท้องถ่ินได้ตรงประเด็นโดยต้องอาศัย ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องกับประชาชนท่ีมี เปา้ หมายในการพฒั นาอย่างแท้จรงิ แนวทางการพัฒนาการเมืองอย่างหน่ึงคือ การเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมือง เป็นพัฒนาการการมีส่วน รว่ มในทางการเมอื งไทยแบบพหนุ ิยม หรือเป็นแนวความคิดท่ีเคารพ ความแตกต่าง และความหลากหลายในมิติต่าง ๆ ของผู้คนในสังคม ตง้ั แตก่ ารเมืองชีวิตทางสังคม และวัฒนธรรม อันเป็นการส่งเสริมให้

[235] ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการผลักดันหรือการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก่อให้ชุมชนเข้มแข็ง หรือที่เรียกว่า “ประชา สังคม”เป็นส่วนหนึ่งท่ีผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์กรปกครองส่วน ท้องถ่ิน โดยในการ พัฒนาภายในการปกครองส่วนท้องถิ่นที่นับว่า เป็นหน่วยงานปกครองท่ีใกล้ชิดกับประชาชนมากท่ีสุดรูปแบบหนึ่ง ได้มกี ารนําหลัก ( Development Approach) ตามความเข้าใจคือ การพัฒนาด้านหลักภายในองค์กร เพื่อให้สนองตอบต่อ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ที่องค์กรกําหนด ขึ้นมา การพัฒนาทั้ง 3 ด้านให้สอดคล้องกัน จะทําให้องค์กรพัฒนา อย่างต่อเน่ืองและยั่งยนื ครับ ดังนี้ 1. การพัฒนาโครงสร้างพน้ื ฐานขององค์กร 2. การพัฒนากระบวนการทํางานอย่างเป็นระบบทําให้การ ทํางานของแตห่ นว่ ยงานเกดิ ประสทิ ธิภาพและประสิทธผิ ล 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพ่ือให้บุคลากรได้ใช้ ศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างเต็มความสามารถ นํามาซึ่งคุณภาพ ของงานและจิตใจ ปกครองส่วนท้องถ่ินในอนาคต ควรกําหนดให้เป็น หน่วยงานหลักในการ ดูแลประชาชน โดยให้มีหน้าท่ีจัดบริการ สาธารณะ จัดระบบการศึกษา การรักษาความปลอดภัย และให้มี ความเป็นอิสระ โดยภาครัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเข้มแข็งในการบริหารงานได้โดยอิสระ ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ กําหนดให้การกากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทําเท่าที่ จาํ เปน็ และไม่ กระทบตอ่ ความเป็นอิสระ โดยให้มีองค์กรท่ีทาหน้าท่ี ในการตรวจสอบการใช้อาํ นาจของผู้กํากับดูแล ในรูปคณะกรรมการ

[236] กลาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพ่ือทําหน้าท่ี วางกรอบและนโยบายในการจัดทามาตรฐานการกากับดูแลท้องถ่ิน ของหน่วยงานรัฐที่เก่ียวข้อง รวมท้ังตรวจสอบประเมินผลการ ดาํ เนินงานขององคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของ รัฐให้ เป็นไปตามมาตรฐานการกํากับดูแล พร้อมท้ังกําหนดอํานาจหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นใหม่ โดยกําหนดอํานาจหน้าท่ีให้ ชัดเจน เปิดโอกาสใหป้ ระชาชนมีส่วนร่วมในการ บริหารกิจการและ ตรวจสอบการบรหิ ารงานของผบู้ รหิ ารท้องถิน่ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม การศกึ ษาเรื่องแนวทางการพฒั นาการเมอื งในระดับท้องถน่ิ สรุป ได้ดังนี ต้ังแต่รัฐธรรมนูญ 2540 จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ 2550 จนปัจจุบันด้วยการกําหนดรายละเอียดเก่ียวกับการปกครองส่วน ท้องถิ่นไว้ในรัฐธรรมนูญกลับทําให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลาย ประการเมื่อต้องการแก้ไขเพื่อหาทางออกก็ไม่อาจกระทําได้เพราะ ติดอยพู่ ี่เรือ่ งน้นั นั้นบญั ญัตไิ วใ้ นรฐั ธรรมนูญ เช่น การกระจายอํานาจ การจดั สรรรายได้และภาษีการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเป็นต้น หรือเพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เคร่งครัดเกินไปไม่อาจดําเนินการ เป็นประการอื่นเพ่ือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ รัฐจัดให้มีการจัดการ ป ก ค ร อ ง ส่ ว น ท้ อ ง ถ่ิ น ต า ม ห ลั ก แ ห่ ง ก า ร ป ก ค ร อ ง ต น เ อ ง ต า ม เจตน ารม ณ์ของประชาช นใน ท้องถิ่ นเพ่ื อให้ โอกา สแล ะส่ง เสริ ม ความสามารถของประชาชนในท้องถ่ิน การจะทําให้การปกครอง ส่วนท้องถ่ินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต้องคํานึงถึงความสามารถ ในการปกครองของตนเองในด้านรายได้จํานวนและความหนาแน่น ของประชากรและพื้นที่ท่ีรับผิดชอบประกอบกัน โดยองค์กร ปก คร อง ส่ ว น ท้ อง ถ่ิน มี ห น้ าท่ี แล ะอํ าน าจ ดู แล แล ะจั ด ทํ าบ ริ ก า ร

[237] สาธารณะกิจกรรมสาธารณะประโยชน์เพื่อประโยชน์ของประชาชน ในท้องถ่ินตามหลักการพัฒนาอย่างยังยืน เช่นหลักการพัฒนาเชิง พื้นที่ของพ้ืนท่ีตําบลหนองบัวฮีอําเภอพิบูลมังสาหาร มีการร่วมมือ ระหว่างภาคประชาชนเอกชนและท้องถิ่นที่สามารถแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชน โดยการดําเนินการน้ันต้องมุ่งให้ ประชาชนในท้องถ่ินได้รับผลประโยชน์ รัฐบาลจําเป็นต้อง ดําเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ของตนเองให้ สามารถดําเนินการได้อย่างพอเพียง การมีส่วนร่วมร่วมของคนใน ท้องถิ่นถือเป็นส่วนสําคัญของการปกครองส่วนท้องถ่ิน โดยแต่ละ ทอ้ งถนิ่ ประสบปญั หาการมสี ว่ นร่วมของประชาชน เช่น 1) ประชาชนในบางท้องถ่ินไม่เห็นความสําคัญและเข้ามามี ส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างจริงจัง ดังน้ัน องค์การบริหาร ส่วนท้องถ่ินหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเสริมแรงท้ังท่ีเป็น รปู ธรรมและ นามธรรม 2) ควรใหค้ วามรู้ทางด้านกฎหมาย แก่ประชาชนในท้องถ่ิน โดยการจัดโครงการ หรือ กิจกรรมต่าง ๆ เพ่ือเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในสทิ ธิการมีส่วนร่วมในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นโดย การโน้มน้าวใหค้ นในชุมชนเข้ารว่ มโครงการ 3) ฝึกอบรมและพัฒนาผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภา ท้องถ่ินและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินตามหลัก ธรรมาภิบาลให้มีคุณธรรม ศีลธรรมและทํางานเพ่ือรักษา ผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง รวมทั้งฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายข้อบังคับ และระเบียบต่าง ๆ ท่ีมี

[238] ผลกระทบต่อประชาชนและการมีส่วนร่วม ของประชาชนอย่างมี ประสิทธภิ าพ 4) ส่งเสริมให้ชมุ ชนท่มี กี ารศกึ ษามาสนใจศึกษาวิจัยในเรื่อง เก่ียวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครอง ส่วนท้องถ่ิน การดําเนินงาน พัฒนาด้านการส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่นและกฎหมายท่ีเก่ียวข้อง และ หน่วยงานของรัฐ เช่น อบต. ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ )Workshop) อย่างต่อเนื่อง เพ่อื ใหค้ นในชมุ ชนได้ เรยี นรู้สทิ ธกิ ารเขา้ ร่วมกจิ กรรมการพัฒนาทาง การเมืองในท้องถ่ิน และตระหนักถึงความสําคัญ ในผลประโยชน์ ของชุมชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังทําให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อ กันระหว่างผู้ร่วมประชุมและชุมชนกับหน่วยงานของรัฐสร้างการมี ส่วนร่วมของประชาชนในท้องถ่ินให้มากข้ึนผ่านการศึกษาปัญหา สร้างความเข้าใจของการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพ่ือเป็นส่วน สาํ คัญในการผลกั ดันการพฒั นาทางการเมืองในระดับท้องถิ่นเป็นผล ไปสู่การพัฒนาท้องถ่ินโดยผ่านการมีส่วนร่วมตามหลักของการ ปกครองสว่ นทอ้ งถ่ิน

[239] เอกสารอ้างอิง Stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/ แนวการศึกษา%201%20แนวทางศึกษาการเมืองท้องถนิ่ .pdf หลักและแนวทางการศึกษาการเมืองท้องถิ่น รองศาสตราจารย์ ดรปธาน สุวรรณมงคล. คงชิต ชินสิญจน์และธเนศ วงศ์ยานนาวา (2564).แนวทางการพัฒนาการเมอื งในระดบั ท้องถิน่ ปัณณธร เธียยรชัยพฤกษ์.(2561)ทิศทางองค์กรปกครองท้องถิ่น ไทยในอนาคต วารสาร มจร พทุ ธปญั ญา ปริทรรศน,์ 3(2)191-192 อบุ ลฯ เดินหนา้ ! สานพลังภาคี “บวร” & ม.ราชภัฏฯ จัดเวทีเตรียม ขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดล เศรษฐกิจใหม่ อ.พิบูลมังสาหาร.สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, www.thailandplus.tv/archives/423060 ความรเู้ กย่ี วกบั การปกครองส่วนท่องถ่ินและวัฒนธรรมทางการเมือง สาํ นักงานคณะกรรมการการเลอื กต้ัง โครงสร้างรวมและอาํ นาจหน้าทีข่ อง อบต. ตามพระราชบัญญัติสภา ตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไข เพิม่ เติมถึงฉบับท่ี 5 พ.ศ. 2546 //http://www.oic.go.th/

[240] แนวการศึกษาชนชนั นาทางการเมือง (Political Elite Approach): บทวิเคราะห์ว่าด้วยผู้นาทางการเมืองกรณีศึกษา องคก์ ารบริหารส่วนตาบลโนนงาม อาเภอปทุมราชวงศา จงั หวัดอานาจเจริญ ชัยรตั น์ โพธ์ิไทรย์, อญั ชราภรณ์ ผลด,ี บษุ ราพร กลุ ทอง และ ณรงค์ สารคะณา แนวทางการศกึ ษา ในบริบทของสังคมมีผู้คนอยู่หลากหลาย ซึ่งแต่ละกลุ่มมี อิทธิพลต่อความคิดหรืออีกนัยหนึ่งเป็นผู้นําความคิด กระแส ความคิดก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวอาจเรียกได้ว่าเป็น ชนช้ันนํา สอดคล้องกับ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2555) ได้กล่าวไวว้ ่า ปัญหาความแตกร้าวในสังคมไทย ปัจจุบันมีสาเหตุมาจากความแตกร้าวของช้ันชั้นนํากันเอง หรือเป็น ความแตกร้าวระหว่างชนช้ันนํากับชนชั้นล่าง ดูเหมือนจะคลี่คลาย ไปแล้ว เพราะความเห็นส่วนใหญ่ก็คือ มันเป็นทั้งสองอย่าง แต่เป็น ท้ังสองอย่างทีไ่ ม่ได้หมายความวา่ เป็นโดยไม่เกี่ยวกัน ในทางตรงกัน ข้ามเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออกทีเดียว ชนช้ันนําไทยซึ่งถืออํานาจ บริหารจัดการบ้านเมอื งมานานน้นั ไม่ได้ประกอบด้วยกลุ่มเดียวมีแต่ กลุ่มใหม่ ๆ แทรกตัวเข้ามาเพิ่มอยู่เสมอ ในขณะที่กลุ่มเก่าบางกลุ่ม เคยถูกลดอํานาจและบทบาทลง ก็สามารถกลับมาเถลิงอํานาจได้ ใหมแ่ ละเพม่ิ พูนอย่างต่อเนอ่ื งกม็ ี ตา่ งเข้าไปยดึ ถือการนําร่วมกันบ้าง แข่งกนั บ้าง ในองคก์ รและสาขาการบริหารจัดการ ท้ังท่ีเป็นของรัฐที่ เป็นเอกชน หรือเป็นพลังทางสังคมหรือวัฒนธรรมท่ีทําให้สังคม ยอมรับอํานาจบางกลุ่มก็จับมือเป็นพันธมิตรกัน บางกลุ่มก็ต่อต้าน

[241] บางกลุ่มร่วมกัน พูดง่าย ๆก็คือ \"การเมือง\" การเมืองของชนชั้นนํา น้ันเอง ก็สลับซับซ้อนและมีพลวัตในตัวเองไมใช่กลุ่มเดิมที่เกาะกัน กินหัวชาวบ้านมายาวนานโดยไม่เปล่ียนแปลงกลุ่มหรือวิธีการเลย (ณัชชานชุ พิชติ ธนารตั น,์ ม.ป.ป., นิธเิ อียวศรวี งศ์, 2555) การศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ คงได้รับรู้ผ่าน กระบวนการทางความคิดของคําว่า\"ชนชั้นนํา\" (Elite) หมายถึง กลุ่มบุคคลระดับแนวหน้าของแต่ละวงการ ทั้งทหาร ตํารวจ ข้าราชการระดับสูง ที่มียศตําแหน่ง นักการเมือง นักธุรกิจ ระดับ เศรษฐี นักวิชการท่ีมีชื่อเสียงระดับชาติ รวมถึงบุคคลทั่วไป บุคคล สาธารณะท่ีมีชื่อเสียงทางสังคม พระ ดารา นักร้อง ผู้นําองค์กรต่าง ๆ เปน็ ตน้ (นิติ เอยี วศรวี งศ,์ 2554) ในด้านเศรษฐกิจ มีการพูดถึงกติกา หรือโครงการใหม่ ๆ ท่ีเอ้ือให้ \"ทุนใหญ่\"ทําลาย \"ทุนเล็ก\" สร้างเง่ือนไขให้มหาเศรษฐี รวบรวมทรัพย์สมบัติของชาติไปไว้ท่ีตระกูลตัวเอง คนเล็กคนน้อย คนช้ันกลางต้องขายทรัพย์สินเพื่อประทังความอยู่รอด ในการเมือง อาํ นาจถกู รวมศูนย์ โดยกลไกของ \"นักธุรกิจใหญ่ไม่กี่ตระกูล\" เข้าไป ชน้ี ํา แทรกแซงและบญั ชาการอาํ นาจ โดยผู้ดูแลอํานาจรัฐทําเหมือน ไม่รู้เท่ากัน ในสังคมด้วยเร่ืองราวท่ีสะท้อนจิตใจผู้คนท่ีชั่วร้ายแรง มากขึน้ เรอื่ ย ๆ เร่อื งอ่ืนกเ็ ช่นกันต่างคนตา่ งม่งุ ที่จะเอาตัวรอด รักษา สถานะของตัวเองไว้ โดยไม่ใส่ใจกับคุณธรรมการอยู่รวมกันน้อยลง เร่ือย ๆ มีการประเมินนับจากน้ีโครงสร้างของสังคมไทยหากแบ่ง ดว้ ยฐานะทางเศรฐกจิ \"คนจน\"อนั หมายถึงผู้ที่พง่ึ พาตัวเองไม่ได้ ต้อง รอขอความช่วยเหลือจากอํานาจรัฐ หรือเจ้าของทุนใหม่เพ่ือ ประคับประคองชีวิตจะมากขึ้น เนื่องจาก \"คนช้ันกลาง\" จะลดลง เพราะหนทางการทํามาหาได้จะตีบตันไปเรื่อย ๆ เนื่องจาก

[242] \"ความสามารถในการแข่งขัน\" ถูกทําให้สู่ไม่ได้กับ \"นายทุนใหญ่\" และ \"นักลงทุนจากต่างชาติ\" ที่ได้รับประโยชน์จากกติกาใหม่ ๆ ที่ อํานาจรัฐเอื้อให้ \"คนชั้นกลาง\" มีความสําคัญย่ิงในการพัฒนาก่อน หน้านั้นมีการสรุปว่า \"ความมั่นคงของประชาธิปไตย\" ข้ึนอยู่กับ สัดส่วนคนชั้นกลางในสังคมในประเทศน้ัน หากจะทําให้ ประชาธิปไตยมีเสถียรภาพ จะต้องเพ่ิมจํานวนของคนชั้นกลางให้ มาก ๆ เพราะเมื่อเป็นคนชั้นกลางแล้ว คน ๆ นั้นจะมีความคิด \"ปกป้องสิทธิของตัวเอง\" ซ่ึงเป็นหัวใจสําคัญ \"ความเช่ือม่ันใน ประชาธปิ ไตย\" พน้ จากสังคมแบบคนส่วนใหญ่รอการอุปถัมภ์ ซึ่งทํา ให้งา่ ยตอ่ ความคดิ ยนิ ยอมให้ตวั เองถูกละเมิดสิทธิเพ่ือแลกกับโอกาส ท่ีจะได้รับการอุปถัมภ์ ทํามองกันว่า ยุคสมัยที่คนชั้นกลางถูกทําให้ ล้มตายจาก ต้องกลับไปเป็นคนในชนชั้นรอการอุปถัมภ์จะก่อ ความชอบธรรมให้เห็นว่า \"ประชาธิปไตย\"ที่หัวใจอยู่ท่ีความเท่า เทยี มในสทิ ธแิ ละเสรีภาพ มามีความจําเปน็ คาํ วา่ \"ชนชน้ั กลาง\" โดย ความหมายดั้งเดิม หมายถึง ชนชั้นท่ีอยู่ระหว่างชนชั้นล่างและชน ชั้นสุงของสังคม ประกอบอาชีพการค้ารวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพ อิสระ มีการศึกษา มีการรวมตัวเพ่ือทากิจกรรมอย่างใดอย่างหน่ึง โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์สภาวะทางสังคมที่ดําเนินการอยู่ใน ขณะนนั้ ปัจจยั บ่งชี้ท่ีทําให้ชนชั้นกลางมีความแตกต่างจากชนช้ันใน สังคม คือ สถานะทางเศรษฐกิจ รายได้ อาชีพ รวมถึงโอกาสในการ เลื่อนชั้นทางสังคม (สุชาติ ศรีสุวรรณ, 2563, Robinson,1995, สงั ศติ พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษไ์ พจิตร, 2536)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook