Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

Published by thanya_rato, 2022-03-12 13:00:32

Description: แนวทางศึกษารัฐศาสตร์.อำนาจเจริญ.E-Book1

Search

Read the Text Version

[293] 4 ) ข้ั น ก า ร มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ก า ร ติ ด ต า ม ป ร ะ เ มิ น ผ ล เป็นการประเมินผลในประสิทธิผลของโครงการหรือกิจกรรม และ การประเมินผลสําหรับการดาํ เนนิ กิจกรรมตอ่ ไป 5) การประเมินความพึงพอใจของประชาชนในพ้ืนท่ีในการ บริการสาธารณะ ความสาคญั ของการมสี ว่ นร่วมในระดับทอ้ งถิน่ การมีส่ว นร่ว มของประช าช นในระดับท้องถ่ินเป็ น กระบวนการประชาธิปไตยที่มีความสําคัญอย่างย่ิง อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่จะได้จากการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ้นอยู่กับความ จริงใจและความจริงจังในการดาเนินการด้วย รายงานการวิจัยของ สถาบันพระปกเกล้า ได้ชี้ให้เห็นประโยชน์โดยท่ัวไปของการมีส่วน ร่วมในระดับทอ้ งถิ่น ได้แก่ 1) การเพ่ิมคุณภาพการตัดสินใจ การให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นต่าง ๆ จะช่วยให้ ไ ด้ ข้ อ มู ล ป ร ะ ก อ บ ก า ร ตั ด สิ น ใ จ ท่ี ค ร บ ถ้ ว น ร อ บ ค อ บ ม า ก ขึ้ น นอกจากนน้ั ยงั ช่วยให้เกิดทางเลือกใหม่ ทาให้การตัดสินใจรอบคอบ และได้รับการยอมรับมากข้ึน โดยเฉพาะการตัดสินใจท่ีกระทบกับ ประชาชนโดยตรง 2) ลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา เม่ือการตัดสินใจน้ัน ได้รับการยอมรับ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น รับทราบ ข้อมูลคาอธิบายต่าง ๆ เห็นประโยชน์ส่วนรวมท่ีจะได้รับ จะช่วยลด ความขดั แยง้ ระหว่างการนาไปปฏิบัติ แน่นอนว่ากระบวนการมีส่วน ร่วมของประชาชนมีค่าใช้จ่ายและใช้ระยะเวลา แต่เมื่อประชาชน ยอมรับ การนาโครงการไปสู่การปฏิบัติจะรวดเร็วขึ้น ซึ่งในประเด็น

[294] นี้จะเห็นว่าโครงการของภาครัฐท่ีเร่งการตัดสินใจหรือปกปิด เม่ือ ประชาชนทราบภายหลังและต่อตา้ น บางโครงการนาไปสกู่ ารปฏิบัติ ไม่ได้ ล่าช้าเป็นปี ๆ บางโครงการสามารถก่อสร้างได้เสร็จและ ประชาชนไม่ยอมให้เข้าไปดาเนินการ กลายเป็นอนุสาวรีย์ร้าง ซึ่ง เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย งบประมาณดังกล่าวสามารถนาไปสร้าง คุณประโยชน์ไดม้ ากมาย 3) การสร้างฉันทามติ สาหรับสถานการณ์ปัจจุบันการสร้าง ฉันทามติอาจเป็นเร่ืองยาก สังคมไทยกลายเป็นพหุลักษณ์และต้อง ยอมรับความหลากหลายแตกต่างทางความคิด กลไกท่ีช่วยให้ความ แตกต่างนั้นได้มีการแลกเปล่ียน คือ กลไกการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ในทางหลักการเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนอาจ ช่วยป้องกันความขัดแย้งได้ แต่ในสังคมไทยท่ีผ่านมาภาครัฐมักดา เนินการตัดสินใจไปก่อน เมื่อประชาชนต่อต้านจึงจัดกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาภายหลัง หากเกิดเป็นความ ขัดแย้งขึ้น จาเป็นต้องใช้หลักการจัดการความขัดแย้งเข้ามาแทน ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงสามารถช่วยลดความขัดแย้ง ทางการเมืองและเกิดความชอบธรรมในการตดั สนิ ใจของรัฐ 4) ร่วมมือในการนําไปปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของประชาชน เมือ่ ประสบความสําเรจ็ จะทาํ ให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีความกระตอื รอื รน้ ในการชว่ ยให้เกิดผลในทางปฏบิ ัติ 5) ช่วยทําให้ผู้บริหารท้องถ่ินมีความใกล้ชิดกับประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดความใกล้ชิด สร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความรู้สึกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นของประชาชน ไม่ใช่เป็นของนักการเมืองเท่านั้น นอกจากนั้นด้วยความใกล้ชิด

[295] ผู้บริหารท้องถิ่นจะไวต่อความรู้สึกห่วงกังวลของประชาชนและเกิด ความตระหนักในการตอบสนองต่อความกงั วลของประชาชน 6) ช่วยพัฒนาความเช่ียวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของ สาธารณชน การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการให้การศึกษาแก่ ประชาชน เพ่ือเรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและเป็นเวทีฝึกผู้นา ชุมชน 7) ช่วยทําให้ประชาชนสนใจประเด็นสาธารณะมากขึ้น การมี ส่วนร่วมเป็นการเพ่ิมทุนทางสังคม และช่วยเสริมสร้างให้ประชาชน เป็นพลเมืองท่ีกระตือรือร้นสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยแบบมี สว่ นรว่ ม

[296] เอกสารอ้างองิ - ปฏิมาภรณ์ อรรคนันท์, สญั ญา เคณาภมู ิ, ภกั ดี โพธ์ิสิงห.์ วฒั นธรรมทางการเมอื งกับการพัฒนาประชาธปิ ไตย. สบื คน้ เม่ือ 12 กมุ ภาพนั ธ์ 2565 จาก www.bing.com - ณฐั พงศ์ บุญเหลือ. เอกสารประกอบการสอนวิชาแนวทาง การศกึ ษารัฐศาสตร์ POL 6100 - เกรยี งไกร เจรญิ ธนาวัฒน.์ วัฒนธรรมการเมือง อานาจการเมอื ง และรัฐธรรมนญู . สบื ค้นเมอ่ื 12 กุมภาพันธ์ 2565 จาก www.pub-law.net - ทิพาพร ตันตสิ ุนทร. การศกึ ษาเพอื่ สร้างพลเมือง. สืบค้นเมือ่ 12 กมุ ภาพันธ์ 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/515936 - ยทุ ธพร อสิ รชยั .การมีสว่ นรว่ มในระดบั ท้องถ่ิน. สืบคน้ เมอ่ื 13 กุมภาพนั ธ์ 2565 จาก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile - จรสั สุวรรณมาลา.วัฒนธรรมการเมอื งทอ้ งถน่ิ ในประเทศไทย. สืบค้นเม่ือ13 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://kpi-lib.com/library/books/kpibook-10151/

[297] แนวการศกึ ษาเชิงสถาบัน (Institutional Approach) ; บทวเิ คราะห์บทบาทการพฒั นาโครงสร้างพนื ฐานและเศรษฐกจิ : หมู่บา้ นแถบเขื่อนสิรนิ ธร อาเภอสิรนิ ธร จังหวัดอุบลราชธานี ปยิ ะ กุลวงค์, ชญานนั ท์ สุภาษร, วิเชียร ใจศรี และกฤษฏป์ ฐม กรวยทอง บทนา ตงั้ แตป่ ี พ.ศ.2504 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับแรกได้ประกาศใช้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นส่ิงที่ถูกยก ให้ความสําคัญเป็นอันดับแรก “เขื่อน” ซ่ึงเป็นเสมือน สัญลักษณ์ แห่งการพัฒนา เป็นแหล่งที่มาของนํ้าและไฟฟ้า ก็ถูกสร้างขึ้นมา อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองแนวคิดการพัฒนาท่ีกล่าวว่าเป็นยุค สร้างชาติ แปลงเมือง โดยแท้ เริ่มต้ังแต่ เขื่อนภูมิพล เขื่อน สริ ิกติ ต์ เขอ่ื นศรนี ครินทร์ เข่อื นอบุ ลรัตน์ และเขอ่ื นสิรนิ ธร เปน็ ต้น โดยรัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายในการสร้างเข่ือนสิรินธร เพ่ือผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ในโซนอีสานใต้ การสร้างเข่ือนสิรินธร เพ่ือผลิตกระแสไฟฟ้าให้ เพียงพอกบั ความต้องการของประชาชน เข่ือนเป็นลักษณะเขื่อนหิน ถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นลําโดมน้อย อันสาขาของแม่นํ้ามูล การก่อสร้างโรงไฟฟ้า ได้เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2511 และมีพธิ วี างศิลาฤกษ์เมอื่ วนั ท่ี 2 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2512

[298] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อันเชิญนามของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีขนานนามเข่ือนว่า \"เขอื่ นสิรนิ ธร\"ต่อมาพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราช ดําเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนสิรินธร เม่ือวันท่ี 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 การสร้างเข่ือนขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด เพื่อวัตถุประสงค์ใดได้ทําให้เกิดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมและ ทรัพยากรธรรมชาติ ซ่ึงเป็นพื้นฐานในการดํารงชีวิตของชาวบ้าน รอบเขื่อน แต่เดิมวิถีชีวิตที่เคยหาอยู่หากินกับทรัพยากรธรรมชาติ ต้องหายไป และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนและ ชาวบ้านในท้องถิ่น ผลกระทบท่ีชัดเจนมากที่สุดก็คือ การสูญเสีย ท่ดี ินในบริเวณทีต่ ้งั เขื่อนซ่ึงเป็นทรัพยากรสําคัญท่ีมนุษย์จําเป็นท่ีสุด ท่ีเป็นส่วนสําคัญในทุกขั้นตอนของวิถีการดํารงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นใน ฐานะของแหล่งท่ีอยู่อาศัย แหล่งทํามาหากิน และแหล่งวัฒนธรรม ประเพณีทางสังคม ด้วยเหตุน้ี ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน จงึ เกิดการรวมกลุ่มกันต่อต้าน คัดค้าน พร้อมรวมพลังกันตรวจสอบ ในด้านความรับผิดชอบตอ่ ความเสียหายที่เกดิ ขึน้ กับชมุ ชน แม้ว่ารัฐเองจะมีเจตนาดีในการสร้างเขื่อนเพื่อเป็นการ วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพ่ือพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มีความเจริญ มีการเร่งก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการค้า การลงทุน การพัฒนาเมือง และเกษตรกรรม แต่เมื่อผลลัพธ์ท่ีเกิดขึ้นกลับ กลายเป็นสภาพท่ีวิกฤติ คือ ในขณะที่รัฐบาลนํานโยบายมาพัฒนา พื้นทแี่ ถวเข่อื นสริ ินธรนนั้ กลายเปน็ วา่ เมืองก็ยิ่งเจรญิ ขน้ึ จากพลังงานไฟฟ้า

[299] และนํ้าประปา ชาวบ้านชนบทกลับย่ําแย่ลงทุกขณะ ปัญหาของ ชาวบ้าน เร่ืองผลผลิต ความยากจนต่างๆ ยังแก้ไม่ได้ และสภาพ ความเปน็ อย่ขู องชาวบา้ นไดเ้ ปล่ยี นไปอย่างส้ินเชิง โดยรัฐมีนโยบายที่จะพัฒนาวิถีความเป็นอยู่ของประชาชน ในหมู่บ้านต่างๆ รอบเขื่อนสิรินธร ให้ดีขึ้น โดยเชื่อว่าจะทําให้ การทําเกษตรที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น เกิดอาชีพการประมง มีการ ท่องเที่ยวเฟื่องฟู และให้สัญญาว่าจะจัดสรรที่ดินทํากินที่น้ําท่วมถึง ให้แก่ชาวบ้าน แต่เมื่อมีการสร้างเขื่อนสิรินธร ทําให้น้ําท่วมท่ีดิน จํานวน 182,000 ไร่กระทบท่ีดินแก่ชาวบ้าน จํานวน 2,850 แปลง คิดเป็นท่ีดิน 39,800 ไร่สูญเสียที่ดินทํากิน ต้องอพยพ 6,000 คน รัฐจัดที่ดินทํากินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ บางส่วนไม่ได้รับค่าชดเชย ราคาคา่ ทดแทนท่ดี นิ อยูใ่ นอัตราทต่ี ํ่ากว่าความเปน็ จรงิ มาก เมอ่ื ทดี่ นิ ทํากินมีน้อยลง การทํามาหากินเริ่มฝืดเคือง ข้าวก็ ต้องซ้ือ ปลาก็หาได้น้อยลง ชาวบ้านก็เริ่มมีหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน้ี กองทุนหมู่บา้ นละล้าน หน้ี ธกส. เป็นต้น เมื่อเงินได้กลายเป็นปัจจัย หลักในการดํารงชีวิต ผู้คนในวัยทํางานจึงต้องรับจ้าง ท้ังรับจ้าง ทวั่ ไปในหมูบ่ ้าน รบั จา้ งทาํ งานนอกหมู่บ้าน และไปทาํ งานท่จี ังหวัด อ่ืนๆ ตามการชักชวนของเพื่อนผู้ไปทํางานอยู่ก่อน อาชีพประมงที่ ทางราชการเคยให้ความหวังว่าจะเป็นอาชีพใหม่ หลังสร้างเขื่อน ปลาเศรษฐกิจที่เคยมีเช่น ปลาเคิง ปลาแข้ ปลาคัง ปลาเทโพ หายไป เหลอื แตป่ ลานลิ ปลาตะเพยี น และปลาแกว้ ซง่ึ เป็นปลาที่ไม่ มรี าคา และท่ดี นิ ท่ีทางราชการ จัดไว้ให้ มีสภาพไม่เหมาะสมกับการ ทําการเกษตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบไม่สามารถฟ้ืนฟูวิถี ชวี ติ ขนึ้ มาได้ดง่ั เดิม เนอื่ งจากทด่ี ินทจี ดั ไว้ให้ มีสภาพไม่เหมาะสมกับ

[300] การทําการเกษตร ถูกอพยพมาอยู่ บนที่สูงลาด ชันและกันดารไม่มี ทรัพยากรที่เป็นพ้ืนฐานในการยังชีพ รวมถึงการชดเชยท่ีบางส่วน ไมไ่ ดร้ ับ กล่าวได้ว่าการสร้างเข่ือนซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง เขอื่ นอยา่ งมหาศาล นํามาซงึ่ ปัญหาต่างๆ มากมาย และการชวนเชื่อ ของภาครัฐต่างๆ ว่าชาวบ้านรอบเขื่อนจะได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทําเกษตร การประมง ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทําให้ชาวบ้านยอมรับ กลบั นาํ ผลเชิงลบมากกว่าผลเชิงบวกที่ภาครัฐ เคยให้สัญญาไว้ ซึ่งในบทความนี้เองจะศึกษาถึงกลไกสถาบันใดๆ ที่ทําให้ชาวบ้านแถบเขื่อนสิรินธรแต่เดิม ยินยอม ยอมรับการสร้าง เขือ่ นน้ี ซึ่งสง่ ผลกระทบตอ่ ชวี ติ ของตนเองอยา่ งมหาศาล กรอบแนวคดิ การวิเคราะหก์ ารศกึ ษาเชงิ สถาบัน การวิเค ราะห์แ น วสถาบัน นิยม (Institutionalism) เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายชีวิตทางสังคมการเมือง ภายใต้กรอบ ความคดิ วา่ “พฤตกิ รรมของมนุษย์หรือตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ จะถูกกาหนดและกากับโดยบริบทเชิง “สถาบัน” ที่คอยจัด ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในสังคม” ซึ่งสถาบันจะมีกฎ ระเบียบ กติกา และบรรทดั ฐานบางอย่างในการกํากับมนุษย์ในสังคม และมนุษย์จะ แสดงพฤติกรรมผ่านสถานภาพและบทบาทของตัวเองออกมาเป็น หน้าที่ของตน ท้ังบทบาทและหน้าที่ดังกล่าวจะถูกกํากับโดย องค์กร หรือสถาบันทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น สถาบัน การเมอื ง สถาบันศาสนา สถาบันการศกึ ษา เป็นตน้

[301] สถาบัน หมายถึง แบบแผน กฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน ธรรมเนียมปฏิบัติที่มีความสืบเนื่องต่อกันมา โดยแสดงบทบาท หน้าท่ีผ่านตัวองค์กรทําให้มีผลต่อพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล ใน สังคมเพราะเป็นตัวควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน แต่ก็มีความ ยดื หย่นุ สามารถ ปรับตวั รับมอื กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ได้ ส่วนสถาบันทางการเมืองหมายถึง แบบแผนของพฤติกรรมหรือ การกระทําทางการเมืองซึ่งถูกสร้าง วางระเบียบ กฎเกณฑ์ บรรทัด ฐานและกระบวนการต่าง ๆ โดยมีโครงสร้างและองค์กรทางการ เมอื งทีก่ ําหนด รูปแบบและวธิ กี ารในการประพฤติปฏิบัติหรือกระทํา ทางการเมืองและมีปฏิสัมพันธ์หรือ การกระทําท่ีเก่ียวข้องกับ กิจกรรมทางการเมอื งของบคุ คลในสังคม และมนุษย์หน่ึงคนสามารถอยู่ในความสัมพันธ์ของหลาย สถาบันและจะมีบทบาทหน้าท่ีหลายอย่างควบคู่กันไป เช่น ชายไทย อายุ 25 ปี ภายใต้สถาบันการเมืองจะมีบทบาทเป็นพลเมือง มีสิทธิ และหน้าที่ในพลเมืองไทย ภายใต้สถาบันศาสนาอาจมีบทบาทเป็น ชาวพุทธ ภายใต้สถาบันการศึกษามีบทบาทเป็นนักศึกษาจึงมี หน้าทใ่ี นการเรยี น หรือมหี นา้ ทตี่ อ้ งไปเกณฑ์ทหาร ตัวแสดงที่เป็นไป ตามกฎหมายท่ีออกโดยรัฐบาลซ่ึงเป็นสถาบันการเมืองกําหนด ตามแต่สงั คมนั้นๆ การวิเคราะห์แนวสถาบัน (Institutional Approach) หรือแนวคิดสถาบันนิยม (Institutionalism) เป็นหน่ึงในแนวการ วเิ คราะหป์ รากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมท่ีนักสังคมศาสตร์แขนงต่าง ๆ รวมถึง นักรัฐศาสตร์ใช้เป็นเคร่ืองมือ ซึ่งได้รับความนิยมสูงในช่วง ศตวรรษท่ี 19 ในทางรัฐศาสตร์แนววิเคราะห์นี้ กลายเป็นกระแสหลัก ในการศึกษาการเมืองและการเมืองเปรียบเทียบในอดีต อย่างไรก็ตาม

[302] ความนิยมของ กรอบแนวคิดสถาบันนิยมในการอธิบายสังคมใน สาขาต่าง ๆ ถูกท้าทายในยุคที่พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) เฟอ่ื งฟูจนทําให้ความนิยมลดน้อยลงไป แต่ในระยะต่อมา มีการปรบั ปรงุ เปลี่ยนแปลงแก้ไขกรอบ แนวคิดในการวิเคราะห์และ กลบั มาใหม่ในช่อื สถาบันนยิ มใหม่ (New Institutionalism) แนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันแบบด้ังเดิมท่ียึด ติดกับตัวสถาบันที่เป็นทางการมากเกินไป ทําให้การวิเคราะห์ ปรากฏการณ์ทางสังคมขาดความรอบด้านและไม่สมบูรณ์ การเกิดข้ึน ของแนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันแบบใหม่ได้เข้ามาลด ขอ้ จํากดั ดงั กลา่ ว และสร้างความรอบด้านในการวิเคราะห์ให้มีความ ชัดเจนมากย่ิงข้ึน ระดับการวิเคราะห์ท่ีเคยผูกติดอยู่กับความเป็น องค์รวม (Collectivism) ในแนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิง สถาบันแบบดั้งเดิม ได้ถูกผสมผสานด้วยระดับการวิเคราะห์แบบ ปัจเจกนิยม (Individualism) ส่งผลในแนวการวิเคราะห์ทางการเมือง เชิงสถาบันมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อสร้าง ความเป็นรูปธรรมใน การอธบิ าย โดยลักษณะโดยท่ัวไปของสถาบัน ทางการเมอื งดงั ตอ่ ไปนี้ 1. สถาบันทางการเมืองต้องมีแบบแผนในการจัดตั้ง ให้การ ยอมรับในพฤติกรรมท้ังหลายซึ่งรวมถึง กฎเกณฑ์ บรรทัดฐานและ กระบวนการต่าง ๆ 2. สถาบนั ทางการเมอื งต้องมโี ครงสร้างและองค์กรทางการ เมอื งท่ีกาํ หนดรูปแบบและวธิ ีการในการ ประพฤติปฏิบัติหรือกระทํา กจิ กรรมทางการเมอื ง

[303] 3. สถาบันทางการเมืองจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ หรือการกระทํา ที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง หรือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ของบคุ คล กลุม่ สมาคมหรอื สงั คมท้ังสงั คม ลักษณะท่ัวไปของสถาบันทางการเมืองท่ีกล่าวมา มีการวัด หรือประเมินสภาวะการ ดํารงอยู่ของสถาบันทางการเมืองหนึ่งก็คือ การวัดการพัฒนาความเป็นสถาบัน(Institutionalization) ซึ่งเกณฑ์ในการวัดประเมินน้ี จากงานของ Samuel P. Huntington ช่ือ Political Order in Changing Societies. เสนอให้พิจารณา ความสามารถของสถาบัน 4 ประการดังน้ี 1. ความเป็นอิสระ (Autonomy) คือ การท่ีสถาบันมี ความสามารถในการตัดสนิ ใจและดาํ เนนิ การ ตามบทบาทหน้าที่ของ ตนอยา่ งอิสระ ปราศจากการถูกครอบงําจากองค์กรอืน่ 2. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) คือ การที่ สถาบันมีความสามารถในการปรับตัว เพ่ือรับมือกับการ เปลยี่ นแปลงท่เี กดิ ข้นึ ในสภาพแวดลอ้ ม 3. ความซับซ้อน (Complexity) คือ ความสามารถของ สถาบันในการสร้างโครงสร้างภายในต่าง ๆ เพ่ือให้บรรลุเป้าหมาย หรอื ภารกิจที่วางไว้และสามารถรบั มอื กับสภาพแวดลอ้ มได้ 4. ความเปน็ เอกภาพ (Coherence) คือ ความสามารถของ สถาบันในการจัดการกับภาระงาน ของตนและพัฒนาขั้นตอนการ ดําเนินงานเพอ่ื ปฏิบตั ิงานได้อย่างสมเหตุสมผล ดังนั้นแล้ว การศึกษาเชิงสถาบัน จึงหมายถึง การศึกษาท่ี มุ่งเน้นถึงตัวแบบสถาบัน ภายใต้แนวคิดที่ว่าการกระทํา ใดๆ ของสถาบันมันส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในสถาบันนั้น หรือกล่าว อีกนัยหน่ึงก็คือ พฤติกรรมของมนุษย์ท่ีเกิดน้ัน ล้วนแล้วถูกสถาบัน

[304] เป็นตัวกําหนด โดยสถาบันหมายถึง โครงสร้างขององค์กรหรอื หน่วย สมาชกิ ทั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อาจเป็นโครงสร้างที่กฎหมายรองรับหรือไม่ รองรับก็ได้ เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ แต่มีวัตถุประสงค์ หนา้ ที่ชัดเจน กรณีศึกษาเขื่อนสิรินธร : โครงสร้างพืนฐานการพัฒนาแหล่ง ไฟฟา้ สาคัญ ข้อมูลทว่ั ไป : เข่ือนสิรนิ ธร ความเปน็ มา ลาํ นํ้าโดมน้อยเปน็ ลาํ นาํ้ สาขาของแม่น้ํามูล ไหลผ่านอําเภอ บุณฑริก อําเภอพิบูลมังสาหาร ก่อนมาบรรจบกันที่บ้านห้วยไฮ ตาํ บลคาํ เข่อื นแกว้ อําเภอสิรินธร ก่อนสร้างเข่ือนสิรนธร ชุมชนรอบ ลํานํ้าโดมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ พ่ึงพิงธรรมชาติท่ีสมบูรณ์เป็นแหล่ง ทํากินหลัก จากป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์รอบสองข้างแม่น้ําลําโดมน้อย เมื่อมีการสร้างเขื่อนสิรินธรเป็นเข่ือนอเนกประสงค์ที่มีความสําคัญ ย่ิงแห่งหน่ึงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการคาดการณ์ว่าเข่ือน สามารถให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอํานวย ประโยชน์ทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเท่ียว สร้างการประชาสัมพันธ์การสร้างเข่ือนแก่ชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบวา่ จะมีชีวติ ท่ดี ีกวา่ เดมิ ในด้านๆ ต่างๆ

[305] ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟา้ เข่ือนสิรินธร เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวสร้าง ปิดกั้นแม่น้ําลําโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่นํ้ามูล ที่บริเวณแก่งแซ น้อย ต.ชอ่ งเมก็ อ.พิบลู มังสาหาร จ.อบุ ลราชธานี (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.นิคมสร้างตนเองลําโดมน้อย อ.สิรินธร จ. อุบลราชธานี) มี ความสงู 42 เมตร ยาว 940 เมตร สนั เขื่อนกว้าง 7.5 เมตร อ่างเก็บ น้ํามีพื้นท่ีประมาณ 288 ตารางกิโลเมตรสามารถกักเก็บนํ้าได้ 1,966.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับกักเก็บน้ําสูงสุด +142.2 ม. รทก. มีการติดต้ังเครื่องกําเนิดไฟฟ้า 3 เคร่ือง ขนาดกําลังผลิต เครอ่ื งละ 12,000 กโิ ลวัตต์ รวมกําลงั ผลิตท้ังสิน้ 36,000 กิโลวัตต์ การกอ่ สร้างโครงการ ได้เร่ิมในเดือนมิถุนายน 2511 และมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนาม เขือ่ นว่า “เขื่อนสิรินธร” การก่อสร้างตัวเข่ือนและระบบ ส่งไฟฟ้า ระยะแรกแล้วเสร็จในปี 2514 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดําเนินไปทรงเปิด เข่ือนสิรินธรเม่ือ วนั ที่ 27 พฤศจกิ ายน 2514 หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2515 สํานักงานคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มอบเข่ือนสิรินธร ให้อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต่อไป

[306] การศึกษาเชิงสถาบัน : บทบาทการพัฒนาโครงสร้างพืนฐานและ เศรษฐกจิ กรณเี ขือ่ นสิรนิ ธร กฎหมาย/แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสังคม ฉบบั ที่ 2 ตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 โดย ระบแุ ละสงั คม ไว้ในช่ือแผน เน้นการพัฒนาสังคมมากข้ึน โดยขยาย ขอบเขตของแผนให้ครอบคลุม ถึงการพัฒนาของรัฐ โดยสมบูรณ์ ทางด้านสังคม โดยเฉพาะการศึกษาและสาธารณสุข เพ่ือยกระดับ คุณภาพชีวิตประชาชนและทรัพยากรมนุษย์ กระจายให้เกิดผลไปสู่ ภูมภิ าคต่างๆ ทั่วประเทศ เน้นเขตทรุ กันดารและหา่ งไกลความเจริญ เพื่อลดปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ซึ่งเป็นปัจจัย ให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองในขณะน้ัน โดยจัดทําแผนพัฒนา ภูมิภาคต่างๆ เช่นแผนพัฒนาภาคเหนือ จัดต้ัง สํานักงานเร่งรัด พัฒนาชนบท(รพช.) โครงการพัฒนาแหล่งนํ้าทุรกันดาร การสร้าง ถนน โครงการพัฒนาพลังงานท่ีสําคัญๆ ตามแผนพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2510–2514 แบ่งออก ได้ตามลักษณะงานได้ 3 ประเภท คือ 1. การพัฒนาระบบผลิต 2. การพัฒนาระบบจําหนา่ ย 3. การพัฒนาดา้ นวิชาการ

[307] ที่มา : แผนพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติฉบับที่ 2 หน้า 191 โดยเขื่อนสิรินธรถูกกําหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สงั คม ฉบบั ท่ี 2 นี้ โดยมีชื่อว่ามีการกล่าวถึงรายละเอียดโครงการว่า “โครงการลําโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี กําหนดการดําเนินงาน ก่อสร้าง เขื่อนเอนกประสงค์ เพ่ือผลิตกําลังไฟฟ้าจากพลังน้ําได้ ประมาณ 22 เม็กกะวัตต์ และเพื่อประโยชน์ในการชลประทานใน พื้นท่ีประมาณ 150,000 ไร่ ซ่ึงจะเร่ิมดําเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2511 และแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการภายในปี พ.ศ. 2513 โครงการนี้ได้ดําเนินงาน สํารวจข้อมูล สถิติ และรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมตามรายงานและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ในปี พ.ศ. 2510”

[308] ซึ่งรัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายในการสร้างเขื่อนต่างๆ ในโซน อีสาน เพ่ือผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของ ประชาชน ขณะนั้นได้มีเพียงเขื่อนเดียวในอีสานท่ีถูกบรรจุใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือ เขื่อนอุบลรัตน์ ที่ลําน้ําพอง จังหวัดขอนแก่น ซ่ึงไม่เพียงพอต่อความต้องการในขณะนั้นที่ ปริมาณการใชไ้ ฟฟา้ พุง่ สงู ขึน้ อยา่ งกา้ วกระโดด จากความต้องการใช้ ไฟฟ้าในระหวา่ ง พ.ศ. 2510– 2514 ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า สูงสุดทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 29.5 ต่อปี ส่วนในดา้ นปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตประมาณว่าจะมีอัตราเพ่ิมขึ้น โดยเฉลย่ี ประมาณรอ้ ย ละ 33.2 ตอ่ ปี ดังนั้นแล้วเป้าหมายความต้องการใช้ไฟฟ้าในระหว่าง แผนพัฒนาฉบับท่ีสองนี้ ถืออัตราเฉล่ียของการเพิ่มระหว่างปี 2507–2509 เป็นพื้นฐานในการประมาณการ ท่ีคาดว่าอัตราการ ขยายตัวดังกล่าวคงจะสูงข้ึนต่อไปอีกในระยะห้าปีข้างหน้า เน่ืองมาจาก นโยบายการพัฒนาการเศรษฐกิจ การส่งเสริมการ ลงทุน จึงมีความจําเป็นที่จะต้องจัดเตรียมโครงการการสร้างเข่ือน สิรนิ ธรอกี เพื่อขยายปริมาณการผลิตให้ เพียงพอกับความต้องการใช้ ไฟฟา้ ความต้องการของประชาชนนีเ้ อง

[309] อิทธพิ ลคอมมวิ นสิ ต์กบั การเร่งกระจายความเจรญิ ของรัฐ นับแต่ พรรคคอมมิว นิสต์ ไทยถูกก่อต้ังขึ้นในวัน ท่ี 1 ธันวาคม 2485 พ้ืนที่ชายแดนเชื่อมต่อระหว่าง 3 ประเทศ ไทย - ลาว – กัมพูชา ท่ีถูกเรียกว่า “สามเหลี่ยมมรกต” ก็ถูกอิทธิพลของ คอมมิวนิสต์เข้ากลืนกินผ่านความลําบาก ทุรกันดารของชนบทไทย ในขณะนน้ั ทาํ ใหก้ ารเขา้ มาของลัทธิคอมมิวนสิ ต์น้นั เร่มิ มีบทบาทมาก ขึ้นเร่ือยๆ โดย ปี พ.ศ. 2500 ภายหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปฏิวัติสําเร็จ ขับไล่รัฐบาลจอมพล ป.พิบูล สงคราม ออกไปแล้ว สหรัฐอเมริกามหามติ รของไทย ก็เริ่มมบี ทบาทมากขึ้นในการต่อต้าน ภัยคุกคามของลัทธิ คอมมิวนิสต์ที่มีต้นแบบมาจากประเทศรัสเซีย แล้วซึมเข้าสู่ประเทศจีนในรูปของลัทธิเหมา โดยมีผู้นําจีนเหมา เซตุง เป็นประธานาธิบดี สาธารณรัฐประชาชนจีน ลัทธิคอมมิวนิสต์เหมา แทรกซมึ เข้ามามีอทิ ธิพลในญวน ลาว และเขมร ลัทธิคอมมิวนิสต์ ซ่ึงอเมริกาและพันธมิตรถือว่าเป็นศัตรู สําคัญ ตรงข้ามกับลัทธิเสรีนิยมประชาธิปไตย เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ เหมารกุ เขา้ มาถึงลาว จนมสี งครามกลางเมอื งเกดิ ขึน้ ระหว่างฝ่ายเจ้า สุวรรณภูมา(ฝ่ายเสรีนิยม) และเจ้าภูมีหน่อสวรรค์(ฝ่ายคอมมิวนิสต์ เหมา) เจ้าพ่ีและเจ้าน้องสู้รบกันอย่างดุเดือด บาดเจ็บล้มตายลง เป็นจํานวนมาก เพราะฝ่ายหน่ึงมีอเมริกาหนุน ส่วนอีกฝ่ายมีจีน หนุนจนกระท่ังเป็นฝ่ายชนะ ต่อมาลัทธิ คอมมิวนิสต์เหมาก็ข้ามโขง จากลาวแทรกซึมเข้ามายังจังหวัดชายแดนของประเทศไทย ท่ีอยู่ฝ่ัง ตรงข้ามกับลาว โดยมีเอกสารเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามา เผยแพร่ยังชุมชนต่างๆ วัดวาอาราม โรงเรียน วิทยาลัย ท้ังใน ภาครัฐและเอกชนท่ัวไปตามจังหวัดชายฝ่ังโขงของไทย อาทิจังหวัด

[310] น่าน, เลย, หนองคาย, อุดรธานี, สกลนคร, ยโสธร, มุกดาหาร, อบุ ลราชธานี ฯลฯ โดยลัทธิเหมาเร่ิมจากประเทศในฝั่งตะวันออกของ แม่นํ้า โขง จากญวนไปลาวและเขมร ประเทศเหล่าน้ันทั้งหมดในอดีตเป็น ประเทศภายใต้อาณานิคมของ ฝร่ังเศส แต่ได้ปลดแอกมาแล้ว อเมริกาซ่ึงเป็นประเทศเสรีนิยมหวั่นเกรงว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์จะ แทรกซึมเข้ามาจนท่ัวภูมิภาคเอเชียวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศ ไทยขณะนั้นเป็นด่านหน้า หากประเทศไทยต้องเปลี่ยนไปเป็น ประเทศคอมมิวนิสต์อีกประเทศหน่ึง จะมีผลให้ประเทศในเอเชีย อาคเนย์ ต้องล้มครืนไปเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ดังท่ี เรยี กวา่ ปรากฏการณ์โดมิโน่ (Domino Phenomenon) เพราะฉะน้ัน รัฐบาลไทยโดยการสนับสนุนของอเมริกาจึง ทุ่มสุดตัวให้ต่อต้านอย่างสุดฤทธ์ิ ผ่านการต่อสู้ทางกําลังอาวุธและ การบังคับใช้กฎหมายยับย้ังไม่ให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แผ่กระจายผ่าน อําเภอ หมู่บ้าน และอีกยุทธศาสตร์หนึ่งท่ีสําคัญในการยับย้ังการ แพร่กระจายของลัทธิคอมมินิสต์ คือการเร่งกระจายความเจริญสู่ ภูมภิ าค หมูบ่ ้านชนบท ผา่ นการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากมาย ท้งั ดา้ นคมนาคม พลังงานไฟฟ้า นํ้าประปา การศึกษา โดย เชื่อว่าความเจริญจะทําให้ประชาชน ไม่จําเป็นต้องพึ่งพาระบบ คอมมวิ นสิ ต์ จะเห็นได้จากถนนมิตรภาพ ซ่ึงเป็นถนนสายหลักเชื่อม ภาคอีสานและกรุงเทพ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ระบบ ชลประทาน พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนใหญ่ๆท้ังเข่ือนอุบลรัตน์ที่ จังหวัดขอนแก่น และเข่ือนสิรินธรก็ถูกทําให้กําหนดสร้างข้ึนเพ่ือ เปน็ การกระจายความเจริญผ่านการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานน่ันเอง นี้โดยจะเห็นได้จากการเร่งบรรจุแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

[311] ฉบับที่ 2 ถึงความจําเป็นในการพัฒนาความเจริญต่างๆ สู่ชนบท เพอ่ื ป้องกนั ภยั ทางการเมอื งท่ีสาํ คัญ บทบาทการพฒั นาของโครงการของรฐั ตอ่ ชุมชนรอบเขอื่ นสิริธร ก่อนสร้างเข่ือนสิรินธร ชุมชนรอบลําน้ําโดมเป็นชุมชน หลายชุมชนขนาดใหญ่ พ่ึงพิงธรรมชาติที่สมบูรณ์เป็นแหล่งทํากิน หลกั จากป่าดบิ ชนื้ ทส่ี มบรู ณร์ อบสองข้างแม่นํ้าลาํ โดมนอ้ ย จนเมื่อมี การจนมีเจ้าหน้าท่ีพลังงานแห่งชาติได้เข้ามาประชาสัมพันธ์การ สร้างเขื่อนแก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบว่าจะมีชีวิตท่ีดีกว่าเดิม สามารถใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง นอกจากจะให้ ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอํานวยประโยชน์ ทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการ ทอ่ งเท่ียว เป็นประโยชน์แกช่ ุมชนพืน้ ทีโ่ ดยรอบเขื่อน ดงั น้ี การผลติ พลงั งานไฟฟา้ สามารถใช้พลังน้ํามาผลิตพลังงานได้เฉลี่ยปีละ 90 ล้าน กิโลวัตต์ชั่วโมง ทําให้ขยายขอบเขตการจ่ายกระแสไฟฟ้าในภาค ตะวนั ออกเฉยี งเหนือออกไปได้กว้างขวางข้นึ การชลประทาน สามารถส่งน้ําที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บนํ้าไปใช้ในระบบ ชลประทานไดเ้ ป็นพ้ืนที่ 152,000 ไร่ ช่วยให้เกษตรกรในแถบนนี้ทํา การเพาะปลูกไดต้ ลอดปี บรรเทาอทุ กภยั เขอ่ื นสิรนิ ธรสามารถกกั เก็บนํา้ ที่ไหลบา่ มาตามแม่นํ้าลําโดม น้อยไว้ได้เป็นจํานวนมาก จึงช่วยป้องกันปัญหานํ้าท่วมและช่วยให้ แม่นา้ํ มูลสามารถระบายนา้ํ ลงสแู่ ม่น้ําโขงได้สะดวกยง่ิ ขนึ้

[312] การประมง อ่างเก็บน้ําเข่ือนสิรินธร เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุปลาน้ําจืด ขนาดใหญโ่ ดย กฟผ. รว่ มมือกบั กรมประมง นาํ พันธป์ ลาน้ําจืดขนาด ใหญ่มาปล่อย อาทิ ปลายี่สก ปลานิล ปลาไน ฯลฯ และกุ้ง กา้ มกรามทําใหร้ าษฎรมีอาชพี หลกั เพมิ่ ขน้ึ การคมนาคม สามารถใช้อา่ งเกบ็ นํ้าเป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขายและ คมนาคมขนสง่ ผลผลติ ออกส่ตู ลาดได้สะดวกอกี ทางหนึ่ง การท่องเทย่ี ว ความสวยงามสงบร่มร่ืนของภายในบริเวณเข่ือนและอ่าง เก็บน้ํา เป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเท่ียวเดินทางมาเท่ียวชมและ พักผ่อนหล่อนใจ เป็นจํานวนมากก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้าน ธุรกจิ อืน่ ๆ ตามไปด้วย ส่ิงเหล่าน้ี คือกล่าวอ้างของรัฐบาลท่ีมีนโยบายที่จะพัฒนา วิถีความเปน็ อยขู่ องประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ รอบเข่ือนสิรินธรให้ดี ข้ึน รวมถึงการพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่สําคัญของภาคอีสาน จากคํากล่าวถึงแผนงานโครงการในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับท่ี 2 โดยได้ประชาสัมพันธ์แก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก เขอ่ื นว่าจะมชี วี ติ ทดี่ ีกวา่ เดมิ การสรา้ งเข่อื นสิรินธรจะนํามาซ่ึงความ เจริญของหมู่บ้านโดยรอบเขื่อน ทําให้การทําเกษตรที่มี ประสิทธิภาพดีขึ้น เกิดอาชีพการประมง การท่องเที่ยวเฟ่ืองฟู รวมถงึ ให้สญั ญาว่าการชดเชยท่ดี ินทาํ กินท่ีสญู เสียไปให้แกช่ าวบ้าน

[313] ชีวติ และผลกระทบชุมชนรอบเขอื่ นสิรนิ ธร เม่ือมีการสร้างเข่ือนสิรินธร ทําให้น้ําท่วมท่ีดินจํานวน 182,000 ไร่ กระทบที่ดินแก่ชาวบ้าน จํานวน 2,850 แปลง คิดเป็น ท่ีดิน 39,800 ไร่ ที่สูญเสียท่ีดินทํากิน หมู่บ้าน19 หมู่บ้าน 4 ตําบล 2 อําเภอ รอบเขื่อนสิรินธร มีการอพยพคนของหมู่บ้านจํานวน 6,000 คน เป็นเหตุให้รัฐต้องจัดสรรท่ีดินทํากินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ ซ่ึงนอ้ ยกว่าท่ีดนิ ทํากินของครอบครวั เดมิ ก่อนสร้างเข่ือน หรือจ่ายค่า ทดแทนทดี่ ิน อยู่ในอัตราที่ตํ่ากว่าความเป็นจริงมาก โดยการจ่ายค่า ทดแทนกําหนดราคาไว้ตั้งแตไ่ ร่ละ ๑๕๐ – ๔๐๐ บาท และบางส่วน ไม่ไดร้ บั ค่าชดเชยราคาคา่ ทดแทนทีด่ ิน เมื่อท่ีดินทํากินมีน้อยลง ที่ดินท่ีทางราชการจัดไว้ให้ การ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบไม่สามารถฟ้ืนฟูวิถีชีวิตข้ึนมาได้ดั่งเดิม เน่ืองจากที่ดินทีจัดไว้ให้ มีสภาพไม่เหมาะสมกับการทําการเกษตร ถูกอพยพมาอยู่ บนท่ีสูงลาด ชันและกันดารไม่มีทรัพยากรที่เป็น พื้นฐานในการยงั ชีพ การทํามาหากินเร่ิมฝืดเคือง ข้าวก็ต้องซื้อ ปลา ก็หาได้น้อยลง ชาวบ้านก็เร่ิมมีหน้ี ไม่ว่าจะเป็นหนี้กองทุนหมู่บ้าน ละล้าน หนี้ ธกส. เป็นต้น เมื่อเงินได้กลายเป็นปัจจัยหลักในการ ดาํ รงชีวิต ผู้คนในวัยทาํ งานจึงต้องรับจ้าง ทั้งรับจ้างท่ัวไปในหมู่บ้าน รับจ้างทํางานนอกหมู่บ้าน และไปทํางานท่ีจังหวัดอื่นๆ ตามการ ชักชวนของเพื่อนผู้ไปทํางานอยู่ก่อนอาชีพประมงท่ีทางราชการเคย ให้ความหวังว่าจะเป็นอาชีพใหม่ หลังสร้างเขื่อน ปลาเศรษฐกิจท่ี เคยมีเชน่ ปลาเคิง ปลาแข้ ปลาคัง ปลาเทโพ หายไป เหลือแต่ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาแก้ว ซ่ึงเป็นปลาที่ไม่มีราคา และพ้ืนท่ี ทางการเกษตรที่อยู่ติดกับแนวเขื่อน ก็มักจะเกิดนํ้าท่วมในฤดูนํ้า หลาก ทําให้ผลผลิตทางการเกษตรและ รายได้ของชาวบ้านลด

[314] น้อยลง ส่งผลให้ชาวบ้านเลิก อาชีพเกษตรกรรมและขายท่ีดิน ให้กับนายทุนจากภายนอก แล้วหัน ไปประกอบอาชีพนอกภาค การเกษตร เช่น รับจ้างทั่วไป ทําประมง และการดํานํ้าหาขอนไม้ใต้ น้ํา มีรายได้ไม่แน่นอน ทําใหช้ าวบา้ นขาดความมั่นคงทางเศรษฐกจิ ผลที่เกิดขึนต่อผู้ท่ีเก่ียวข้อง(ความสาเร็จ/ความล้มเหลวของ โครงการ) ความสาเรจ็ ความสําเร็จที่เกิดขึ้นประการแรก จากการสร้างเขื่อน สิรินธรคือการที่รัฐบาลได้ก่อสร้างเข่ือนสําเร็จตามเป้าหมายท่ีวางไว้ ซ่ึงเป็นเป้าหมายท่ีสําคัญในการเร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานใน ประเทศช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับท่ี 1 น้ัน ซ่ึงปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงนั้นหลายๆประเทศท่ัวโลกได้ขับเคลื่อนและ ดาํ เนนิ นโยบายดา้ นเศรษฐกิจแบบเสรนี ิยมตามกลุ่มประเทศเสรีนิยม ฝั่งตะวันตก ดังนั้นการขับเคล่ือนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ สามารถรองรับต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมจึงถือเป็น โครงการท่ีรัฐบาลให้ความสําคัญในช่วงนั้น ท้ังนี้เพื่อให้มีการลงทุน จากต่างชาติ เพ่ือให้มีการขนส่งที่ดีข้ึน ตลอดจนการมีไฟฟ้าใช้อย่าง ท่ัวถึงภายในประเทศก็ถือว่าเป็นพ้ืนฐานของการขับเคลื่อนด้าน เศรษฐกิจ และถือเป็นวาทกรรมของการพัฒนา ที่นับว่าในสมัยน้ัน ภาครัฐให้ความสําคญั เปน็ อยา่ งยงิ่ ความสาํ เร็จประการทสี่ อง คือ การก่อสร้างเข่ือนสิรินธรนั้น ถอื เป็นความสําเร็จของการกําหนดนโยบายและการดําเนินนโยบาย แบบสถาบัน เพราะมีโครงสร้างการกําหนดมาจากสถาบันเป็นผู้ กาํ หนดและบังคับใหเ้ กอดขน้ึ ในสังคม และทาํ ใหส้ ามารถผลติ

[315] กระแสไฟฟ้า มีการขยายเขตไฟฟ้าไปในหลายจังหวัดท่ัวภูมิภาค อีสานได้จริง ปฏิเสธไม่ได้ว่าทําให้พื้นท่ีภาคอีสานมีไฟฟ้าใช้มีความ สะดวกสบายมากข้ึน ความสาํ เรจ็ ประการท่ีสาม คือ เมื่อมีการก่อสร้างเขื่อนสิริน ธรส่งผลให้พ้ืนท่ีตําบลลําโดมน้อย อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลฯ มีแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ สวยงาม กลายเป็นสถานที่ท่ีมีทัศนียภาพ สวยงาม และได้พฒั นามาเปน็ แหลง่ ท่องเทย่ี ว จุดเชค็ อินท่ีสําคัญของ จังหวดั อุบลมาจนถงึ ปัจจบุ ัน ความสําเร็จประการที่ส่ี คือ ประชาชนในพ้ืนท่ีตําบล ลําโดมน้อยมีอาชีพค้าขายและธุรกิจด้านการท่องเท่ียวมากข้ึน จาก แต่เดิมประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเพียง อย่างเดียว เน่ืองจากพื้นที่บริเวณเขื่อนได้กลายมาเป็นแหล่ง ท่องเท่ยี วที่สําคัญ มีปริมาณนักท่องเท่ียวหลั่งไหลเข้ามาจํานวนมาก ยกตัวอย่างเช่น บริเวณสถานท่ีท่องเท่ียว เช่น หาดพัทยาน้อย สถานทีล่ อ่ งแพเข่อื นสริ ินธร ร้านอาหาร แพอาหาร เป็นตน้

[316] ความล้มเหลว ความล้มเหลวประการแรก คือ การกําหนดโครงการ ก่อสร้างเข่ือนสิรินธรน้ัน ถูกกําหนดมาจากสถาบันท่ีเป็นทางการ ไม่ได้ถูกกําหนดมาจากความต้องการของประชาชนในพ้ืนท่ีอย่าง แทจ้ รงิ จึงเปน็ โครงการทท่ี าํ ลายวิถชี ีวิตตามธรรมชาติของประชาชน ตลอดจนระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ ดังนั้นจึงส่งผลให้มีประชาชน จํานวนไม่น้อยท่ีได้รับผลกระทบความเสียหายและเกิดความรู้สึ ก ต่อต้าน ไม่พอใจต่อโครงการนี้ จึงทําให้ชาวบ้านมีการรวมกลุ่ม เรยี กร้องผา่ นกล่มุ สมัชชาคนจนเกดิ ขนึ้ ความล้มเหลวประการที่สอง คือ แน่นอนท่ีสุดคือในช่วงปี 2504 หรือในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 1 นั้น เป็นช่วงของการหลั่งไหลเข้ามาของกระแสเศรษฐกิจเสรีนิยม ถือเป็นความลุ่มหลงท่ีหลายประเทศว่ิงตามวาทกรรมของการ “พัฒนา” ตามชาติตะวันตก โดยขาดการวิเคราะห์ไตร่ตรองถึง ผลเสียที่ตามมาของวาทกรรมการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาด้าน โครงสร้างพ้ืนฐาน เช่น ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ท่ีเป็นการไป ทําลายระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติหรือแม้กระทั่งวิถีชีวิตของชน พน้ื เมืองตามชนบท ให้เรง่ เขา้ สคู่ วามเปน็ สังคมเมือง ความล้มเหลวประการท่ีสาม คือ การก่อสร้างเขื่อนไม่ว่าจะ ในยคุ สมัยใดหรอื ทไี่ หน ส่ิงที่ปฏเิ สธไมไ่ ด้คือความเสียหายในด้านการ ทําลายสภาพนิเวศน์ทางธรรมชาติ เช่น เป็นการทําลายผืนป่าซึ่งแต่ เดิมชาวบา้ นเคยใช้ประโยชน์ ปลาบางสายพันธ์สูญหายไปจากลําน้ํา ตลอดจนเกดิ นา้ํ ทว่ มในบรเิ วณโดยรอบ

[317] ความล้มเหลวประการที่สี่ คือ การเยียวยาประชาชนที่ ได้รับผลกระทบจากการสร้างเข่ือน ท่ีอพยพถิ่นฐาน รัฐบาลไม่ สามารถดําเนินการได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แม้กระท่ังการเวนคืน ท่ีดินก็เป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถทําการเกษตรได้ หรือการชดเชยราคา ที่ดินก็ต่าํ กว่าราคาทด่ี ินปกติ ความล้มเหลวประการที่ห้า คือ วิถีชีวิตของประชาชนได้ เปลี่ยนไปจากการทําลายพ้ืนที่ทางการเกษตรหรือพ้ืนท่ีป่าชุมชน กลายเป็นว่าต้องเข้าไปทํางานในเมืองและส่งเงินมากลับมาจุนเจือท่ี บา้ นแทน ความลม้ เหลวประการท่หี ก คือ เนื่องจากในปัจจุบันบริเวณ เขื่อนสิรินธรได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของจังหวัด อุบลราชธานี มีนักท่องเท่ียวจํานวนมาก ทําให้มีนักลงทุนหลั่งไหล เข้ามาทําธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ มากมาย ส่งผลให้ท่ีดิน ที่ดินมรี าคาแพง ระบบวิถีชีวิตของประชาชนและภาคการเกษตรหด หายไป ความล้มเหลวประการที่เจ็ด คือ ประชาชนในพื้นท่ีตําบล ลําโดมนอ้ ยหรือกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน น้ัน ท้ายที่สุดแล้วจนถึงปัจจุบันไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพวกเขา เหล่านั้นประกอบอาชีพอะไร หรือได้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยว บรเิ วณเข่ือนสิรนิ ธรในปจั จุบันหรือไม่

[318] บทสรุป ตั้งแต่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกได้ ป ร ะ ก า ศ ใ ช้ ก า ร พั ฒ น า โ ค ร ง ส ร้ า ง พื้ น ฐ า น เ ป็ น ส่ิ ง ที่ ถู ก ย ก ใ ห้ ความสําคญั เข่ือนจงึ มักตัวเลือกสาํ คัญในการพัฒนาแหล่งทรัพยากร ที่สําคัญในประเทศ และมักถูกพูดถึงในประเด็นต่างๆ ท่ีภาครัฐให้ เหตุผลความจําเป็น รวมถึงคุณประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นด้าน พลงั งานไฟฟ้า แหลง่ นาํ้ การชลประทาน การประมง คมนาคม และ การสร้างการสร้างเข่ือนสิรินธร ก็นับว่าเป็นเขื่อนหนึ่งท่ีเกิดจาก นโยบายเหล่านัน้ เพ่ือผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการ ของประชาชน ในโซนอสี านใต้ โดยเขื่อนสร้างปิดก้ันลําโดมน้อย อัน สาขาของแมน่ ้ํามูล การก่อสรา้ งโรงไฟฟ้า ได้เริ่มตน้ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2511 แม้ว่ารัฐเองจะมองว่ามีเจตนาดีในการสร้างเขื่อนเพ่ือมีจะ พฒั นาวิถีความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ รอบเขื่อนสิรินธร ให้ดีขึ้น เป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคเพื่อป้องกันภัยจาก คอมมิวนิสต์ในขณะน้ัน จากการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อพัฒนาประเทศ แต่เมื่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นสภาพที่ วิกฤติ คือ ไม่เป็นตามเป้าหมายการพัฒนา ผู้ได้ประโยชน์กลับเป็น ชุมชนเมืองท่ีได้แหล่งพลังงานไฟฟ้า ชลประทาน แหล่งท่องเท่ียว มากกว่าชาวบ้านแถบเขื่อน กลับย่ําแย่ลงทุกขณะ ปัญหาของ ชาวบ้าน เรื่องผลผลิต ความยากจนต่างๆ ยังแก้ไม่ได้ และสภาพ ความเป็นอยูข่ องชาวบ้านไดเ้ ปล่ยี นไปอย่างสิ้นเชิง การสร้างเขื่อน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด จะทําให้เกิดผล กระทบต่อส่ิงแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก และ กระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านรอบเข่ือนท่ีเปล่ียนไป ด้วยเหตุน้ี

[319] ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเข่ือน จึงเกิดการรวมกลุ่มกันต่อต้าน คดั คา้ น ตรวจสอบ กลไกของรฐั ในดา้ นความรับผิดชอบต่อวิถีชีวิตที่ เกิดขน้ึ กลา่ วโดยสรุปได้ว่าการสร้างเขื่อนสิรินธรซึ่งมีผลกระทบต่อ ชุมชนรอบข้างเข่ือนสิรินธรอย่างมหาศาล นํามาซ่ึงปัญหาต่างๆ มากมาย โดยขาดการเหลียวแลจากภาครัฐ และการบังคับใช้ กฎหมาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงโฆษณาชวนเช่ือ อิทธิพลของภาครัฐ บีบให้ชาวบ้านบริเวณรอบเข่ือนสิรินธรยอมรับ กลับนําผลเชิงลบมากกว่าผลเชิงบวกท่ีภาครัฐเคยให้สัญญาไว้ ซึ่งใน บทความนี้เองจะศึกษาถึงกลไกสถาบันท้ังเป็นแบบทางการและไม่ เป็นทางการ ที่ทําให้ชาวบ้านรอบลําน้ําโดมน้อยแต่เดิม ยินยอม ยอมรับการสร้างเขื่อนสิรินธรนี้ ซ่ึงสง่ ผลกระทบต่อวิถีชีวิต การดํารง อยู่ของตนเองเปน็ อย่างมาก

[320] เอกสารอา้ งองิ 1. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, หัวหน้าโครงการ และ สุภาวดี บุญเจือ, ผู้วิจัย. คนจนอํานาจ จนโอกาส บ้านบากชุม ผลกระทบโครงการ พัฒนาของรัฐกรณีเข่ือนสิรินธร: รายงานวิจัยย่อยฉบับสมบูรณ์. สืบค้นเม่ือวันที่ 5 มีนาคม 2565. จากhttp://digital.library.tu.ac. th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:80853. 2. จักรี ไชยพินจิ . แนวการวเิ คราะห์ทางการเมือง เชิงสถาบันของเบ เวอรี่ ครอเฟิ ร์ด: บทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ An Institutional Approach of Beverly Crawford: A Critical Analysis. สืบค้น เมื่อวันท่ี 5 มีนาคม 2565. จาก http://www.polsci- law.buu.ac.th/pegjournal/document/3-1/1.pdf 3. วิชัย ลุนสอน และบุษราภรณ์ พวงปัญญา. แนวทางการส่งเสริม พัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืนของชุมชนรอบ เข่ือนสิรินธร อําเภอสิริน ธร จังหวัดอุบลราธานี. สืบค้นเม่ือวันท่ี 5 มีนาคม 2565. จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article /view/247076 /167870 4.ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.บูฆอรี ยีหมะ. การวิเคราะห์การเมืองแนว สถาบนั นยิ ม และรฐั ธรรมนญู นิยม. สืบคน้ เม่ือวนั ท่ี 7 มนี าคม 2565. จ า ก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci /UploadedFile/81713-5.pdf 5.พิศดาร แสนชาต. การใช้ประโยชน์ ปัญหา และความต้องการ พัฒนาในพ้ืนท่ีอ่างเก็บน้ํา ตอนใต้ของเข่ือนสิรินธร จังหวัด อุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565. จาก

[321] http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2561Vol7No1_ 34.pdf 6.สมัชชาคนจน. หยาดเหง่ือ หยาดนํ้าตา ความเป็นมาของคนหลัง เข่ือนสิรินธร. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565. จาก http://www.livingriversiam.org/3river-thai/other- dams/sr.htm 7.นรา หัตถสิน และสายรุ้ง ดินโคกสูง. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ บ้านแหลมสวรรค์ จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565. จาก http://www.livingriversiam.org/3river- thai/other-dams/sr.htm 8.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล, หัวหน้าโครงการวิจัย และ ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร. ความรุนแรงในมิติวัฒนธรรม: บทความย่อย เล่มท่ี 2. สืบค้นเมื่อวันท่ี 7 มีนาคม 2565. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc: 84638

[322] แนวการศึกษาปรชั ญาการเมือง : บทวเิ คราะห์วา่ ความดี ความรู้ ความสามารถของผู้บรหิ ารองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน และข้อโต้แย้งวา่ ดว้ ยความรู้ในบทบาทหน้าท่ีองค์กรปกครอง ทอ้ งถ่นิ ของประชาชน หมู่ที่ 8 ตาบลเคง็ ใหญ่ อาเภอหัวตะพาน จังหวัดอานาจเจรญิ กรณศี ึกษา : ปัจจยั ท่มี ีอิทธิพล ต่อการลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรีตาบลเคง็ ใหญ่ พทั ธพล เก้ือทาน , สุเมธา ขนั เงิน, ญาณาธิป สุนาวงค์, และนายนทั พงษ์ ทีฆะพันธ์ บทนา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรฐั มาตรา 78 รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชน และชมุ ชนมีความรูค้ วามเข้าใจท่ถี กู ต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ การจัดทําบริการสาธารณะท้ังใน ระดับชาติและระดับท้องถ่ิน การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐการ ตอ่ ตา้ นการทจุ ริตและประพฤตมิ ิชอบ รวมตลอดท้ังการตัดสินใจทาง การเมอื ง และการอ่นื ใด บรรดาท่ีอาจมีผลกระทบต่อประชาชนหรือ ชมุ ชน (รัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั รไทย, 2560) การปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นการปกครองระดับราก หญ้าท่ีสําคัญอย่างย่ิงของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะ เป็นการกระจายอํานาจให้ประชาชนในท้องถ่ินได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางการเมือง (Political participation) ด้วยการเป็น โอกาสให้ประชาชนได้ปกครองและบริหารงานในท้องถ่ินของตนเอง

[323] โดยให้มกี ารเลือกตัวแทนที่ตนเองไว้วางใจไปทําหน้าท่ีในการบริหาร และนิตบิ ัญญัติซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ในทอ้ งถนิ่ นนั้ ๆ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเป็นการแบ่งเบา ภาระหน้าที่ของรัฐบาล และเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนได้เรียนรู้ การปกครองตนเอง การกระจายอํานาจ (Decentralization) เป็น การมอบหมายอํานาจหน้าท่ีจากผู้บริหารระดับสูงลงสูงผู้บริหาร ระดับต่าง ๆ ภายในองค์กร เพื่อให้องค์การในระดับต่าง ๆ ได้มี อํานาจในการตัดสินใจเพราะเป็นองค์การที่สามารถรับรู้ถึง ความ ต้องการ และปัญหาได้ละเอียดและรวดเร็วทําให้สามารถท่ีจะแก้ไข ปญั หาและความต้องการ ได้รวดเร็วและตรงเป้าหมาย ดังน้ันในการ ปกครองจึงได้ทําการกระจายอํานาจในการปกครองจากส่วนกลาง ย่อยลงไปจากรัฐบาลสู่จังหวัด สู่อําเภอ สู่ตําบล สู่เทศบาล สู่ชุมชน สู่ประชาชนทั้งอํานาจการปกครองและงบประมาณในการปกครอง แบบนี้เรียกว่าการปกครองส่วนท้องถิ่น (สุพรรณษา อ่ําสุข และ ทัศนีย์ ทองจันดี, 2555) ปกครองส่วนท้องถ่ินเป็นการปกครองของ ประชาชนโดยประชาชนและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประช าชน มากที่สุดโดยมีตัวแทนของประชาชนเข้าไปทําหน้าที่ในองค์กรที่ เรียกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท่ีจะทําภารกิจเพื่อตอบสนอง ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถ่ินได้ตรงตาม เป้าหมาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากท่ีสุด (โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง, 2547) พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น แ ล ะ ผู้บริหารท้องถ่ิน พ.ศ. 2545 กําหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการ เลือกต้ัง โดยตรงของประชาชนเป็นการสร้างให้เกิดการเมืองเชิง นโยบายเนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นได้รับมอบความไว้วางใจจาก

[324] ประชาชนในท้องถ่ิน และนโยบายซึ่งถือเป็นสัญญาท่ีผู้บริหาร ท้องถิ่นเคยให้ไว้กับประชาชนในช่วงเวลาการหาเสียง เม่ือได้รับการ เลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นแล้วกฎหมายการจัดต้ังองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจะกําหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นแถลงนโยบายต่อสภา ท้องถิ่นและจะต้องจัดทํารายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตาม นโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาฯ และผู้บริหารจะต้องให้ประชาชนได้ ทราบคําแถลงนโยบายรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย ข้อบัญญัติ ประกาศต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสารขององค์กรปกครอง ส่วนทอ้ งถิ่นอย่างเปิดเผย และ ทั่วถึงซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดใน การทํางานของผู้บริหารโดยท่ีผู้บริหารจะต้องยึดประชาชนเป็น ศูนย์กลางในการทํางาน โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็น สาํ คัญ (พระราชบัญญัตกิ ารเลอื กต้งั สมาชิกสภาท้องถ่ินและผู้บริหาร ท้องถิน่ ,2545) ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการเมืองระบบหนึ่งซึ่งหมายถึง ระบบทางการเมืองการปกครองที่ให้ประชาชนได้มีโอกาสปกครอง ตนเองหรือหมายถึงการปกครองโดยประชาชนซ่ึงอาจจะเป็น ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ หลักการขั้นมูลฐานของประชาธิปไตยมา จากหลายประการกล่าวคือ 1.ถือว่าเป็นบุคคลทุกคน มีคุณค่าและ ความเท่าเทียมกัน 2. มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลและสามารถใน กระบวนการปกครองตนเองได้เป็นอย่างดี และถือว่าบุคคลพึงมี เสรีภาพ และได้รับหลักประกันที่จะมีและใช้เสรีภาพนั้น (สมพงศ์ เกษมสิน และจรญู สภุ าพ, 2520) กระบวนการท่ีประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยท่ีสําคัญคือ การไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนการ ปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีกระบวนการทาง

[325] การเมืองท่ีสําคัญต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมี ความชัดเจนและชอบธรรมมากที่สุดคือการไปลงคะแนนเสียง เลอื กต้ังของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกต้ังระดับท้องถิ่น ได้แก่ การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นการเลือกตั้ง ผบู้ ริหารทอ้ งถน่ิ เปน็ ตน้ (สจุ ติ บุญบงการ, 2542) จากที่กล่าวมาน้ันจะเห็นได้ว่าการปกครองที่ใกล้ชิดกับ ประชาชนมากที่สุดคือ การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะสามารถ เข้าถึงปัญหาและแก้ไขปัญหาของประชาชนมากที่สุด ดังนั้น ประชาชนจึงต้องเข้าใช้สิทธิในการเลือกต้ัง เพ่ือท่ีจะเลือกผู้แทน สํ า ห รั บ ต น ใ น ก า ร แ ก้ ไ ข ปั ญ ห า แ ล ะ พั ฒ น า ใ น ส่ ว น ท้ อ ง ถิ่ น แ ล ะ ระดับประเทศสบื ตอ่ ไป ผู้ศึกษาส่วนหน่ึงเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตําบลเค็งใหญ่ จึงมีความสนใจท่ีจะศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของ ประชาชนในการเลือกนายกเทศมนตรี ว่าประชาชนใช้ปัจจัยใดใน การตัดสินใจเลือกนายกเทศมนตรีตําบลเค็งใหญ่ ตําบลเค็งใหญ่ อําเภอหวั ตะพาน จังหวัดอํานาจเจริญ และนําข้อเสนอแนะท่ีได้จาก แบบสอบถาม เพ่อื นาํ ผลการศึกษาในคร้ังนี้เปน็ ข้อมูลแก่บุคคลทั่วไป ท่ีสนใจมีส่วนร่วมในทางการเมืองระดับท้องถ่ิน และเกิดประโยชน์ แกผ่ ทู้ ่ีเกย่ี วข้อง เพื่อที่จะได้นําไปใชเ้ ปน็ แนวทางสาํ หรับการปรับปรุง หรอื พฒั นาต่อไป

[326] ความคิด ค่านิยมและทัศนคติต่อคุณงามความดี คุณธรรม ศีลธรรม ความสามารถของผู้นาทอ้ งถนิ่ คุณสมบัตผิ นู้ ําทดี่ ี (รัตนาภรณ์ แววกระไทก, 2562) 1. ความรู้ (Knowledge) ความรู้เป็นสิ่งที่ผู้นําควรมีท่ีสุด เพราะย่ิงมีความรอบรู้มากเท่าใดย่ิงสร้างความมั่นคงและความ ไวว้ างใจกบั ผนู้ ําเท่าน้นั 2. ความริเร่ิม (Initiative) คือ การตัดสินใจทําอะไรหรือ แก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องรอคําสั่ง ผู้นําจะต้องมองถึงสิ่งที่กําลังจะลง มือทําหรือเข้าใจปัญหาและต้องมีความกระตือรือร้น มีความเอาใจ ใส่ต่อหน้าท่ี เพื่อจะมีพลังใจในการทํางานหรือแก้ไขปัญหาเพื่อ ความสาํ เร็จอยู่เบ้ืองหนา้ 3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด (Courage and firmness) ผู้นําท่ีมีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องาน ต่าง ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปได้ นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความ เด็ดขาดกเ็ ป็นลกั ษณะอันหน่ึงที่จะต้องทําให้เกิดมีข้ึน ในตัวของผู้นํา เองต้องอยใู่ นลกั ษณะของการ “กลา้ ได้ กลา้ เสยี ”ด้วย 4. การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations) ผู้นําที่ดีต้อง สามารถทาํ งานรว่ มกบั คนอื่นได้โดยไม่แบ่งแยก เพราะ จะช่วยแก้ไข ปญั หาในการทํางานได้ 5. มีความยุติธรรมและซ่ือสัตย์สุจริต (Fairness and honesty) ผ้นู ําตอ้ งมคี วามยุติธรรมและชื่อสัตยส์ ุจรติ โดยไม่ลําเอียง ไม่เลน่ พรรคพวก และไมเ่ ห็นแกป่ ระโยชนข์ องตนเองเปน็ หลกั 6. มีความอดทน (Patience) ความอดทน จะเป็นพลัง อนั หนึง่ ท่ีจะผลกั ดนั งานให้ไปสู่จดุ หมายปลายทางได้อยา่ งแท้จริง

[327] 7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ต่ืนตูม (Alertness) หมายถึง ผู้นํา จะต้องมีความระมัดระวังความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงาน ทัน ต่อเหตุการณ์ความต่ืนตัวเป็นลักษณะท่ีแสดงออกทางกาย แต่การ ไม่ตืน่ ตมู เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรอง ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่เี กดิ ขนึ้ รจู้ ักใช้ดุลยพินิจท่ีจะพิจารณาส่ิงต่าง ๆ หรือเหตุต่าง ๆ ได้ อย่างถูกต้อง พูดง่ายๆ ผู้นําท่ีดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองน่ันเอง (Self control) การศึกษาปัจจยั ทีส่ ง่ ผลต่อการตดั สินใจของประชาชนใน การเลือกนายกเทศมนตรตี ําบลเคง็ ใหญ่ อาํ เภอหวั ตะพาน จังหวดั อํานาจเจรญิ เป็นการศึกษาที่มลี าํ ดับข้ันตอนตอ่ ไปนี้ 1. เครอ่ื งมือท่ีใช้ในการเก็บขอ้ มูล 2. การเก็บรวบรวมขอ้ มลู 3. การวเิ คราะหข์ อ้ มลู เคร่ืองมือท่ใี ชใ้ นการเกบ็ ข้อมลู เ ค รื่ อ ง มื อ ท่ี ใ ช้ ใ น ก า ร ศึ ก ษ า ค ร้ั ง น้ี เ ป็ น แ บ บ ส อ บ ถ า ม (Questionnaires) ทผี่ ู้ศึกษาสรา้ งขึ้นจากการศึกษาแนวคิด เอกสาร ต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนท่ี 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ ตอนท่ี 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปจั จัยด้านคณุ สมบตั ขิ องผู้สมคั ร ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกย่ี วกับปจั จยั ดา้ นการกาํ หนดนโยบาย ตอนท่ี 4 แบบสอบถามเกี่ยวกบั ปจั จยั ด้านวธิ กี ารหาเสียง

[328] การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ผู้ศึกษาดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดย ชอ่ งทางดงั นี้ 1. ใช้เทคโนโลยี ช่องทางการส่ือสารสังคมออนไลน์ เช่น facebook Line โดยเลือกประชาชนผู้มสี ิทธิเลือกตั้งในการให้ข้อมูล ผา่ นแพตฟอร์ม Google from 2. ผู้ศึกษาดําเนินการเดินสอบถามผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ใน หมบู่ า้ นกล่มุ เป้าหมาย 3. เมื่อเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามเสร็จแล้ว นักวิจัยต้อง ตรวจสอบข้อมูลแบบสอบถามอกี คร้งั 4. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามจากการเก็บ รวบรวมข้อมลู เพื่อเตรียมไปวเิ คราะห์ตอ่ ไป การวเิ คราะห์ข้อมูล การวเิ คราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ โดย ใช้สถิตดิ งั ต่อไปน้มี าใชใ้ นการวิเคราะหข์ อ้ มลู สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive analytical statistics) สถิติท่ีนํามาใช้บรรยายคุณลักษณะของข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมข้อมูลท่ี เก็บรวบรวมข้อมลู จากกลมุ่ ตวั อยา่ งทศี่ ึกษา ได้แก่ 1.1 หาค่าจํานวนความถ่ี (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) เพื่อให้แปลความหมายข้อมูลด้านประชากรของ แบบสอบถาม 1.2 คา่ เฉล่ีย (Mean) เพ่อื แปลความหมายของข้อมูล 1.3 ค่าความเบ่ียงมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) เพื่ออธิบายลักษณะ การกระจายของขอ้ มลู

[329] สรปุ ผลการวเิ คราะห์ข้อมูลแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ลงคะแนนเลือกนายกเทศมนตรตี าบลเค็งใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสาํ เรจ็ รปู คอมพวิ เตอร์ ( SPSS ) ดังนี้ 1. ขอ้ มูลทวั่ ไปของกลุม่ ตวั อย่าง จาํ นวน 153 คน จะ วิเคราะหข์ ้อมูล โดยใช้แจกแจงความถ่ี คาํ นวณค่าร้อยละ คา่ เฉลี่ย และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน 2. ข้อมูลปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือก นายกเทศมนตรีตําบลเค็งใหญ่ กับปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร ปัจจัยด้านการกาํ หนดนโยบาย ปัจจัยด้านวิธีการหาเสียง นําข้อมูลมาแปรค่าเฉลี่ยพฤติกรรมของตัวแปรต่าง ๆ ท่ีมี ตอ่ ระดับความพงึ พอใจ ทม่ี อี ิทธพิ ลในการเลอื กผู้นําท้องถิ่น โดยแบ่ง ออกเป็น 5 ระดบั โดยการหาความกวา้ งของอนั ตรภาคชัน้ ดงั นี้ ช่องกวา้ งของอันตรภาคช้ัน = คะแนนสงู สดุ – คะแนนต่ําสุด จาํ นวนชน้ั =5–1 5 = 0.80 คาชแี จง คะแนนเฉล่ยี 4.22– 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจที่ มอี ิทธิพลตอ่ การเลือกผ้บู ริหารทอ้ งถ่ิน ในระดบั มากทส่ี ุด คะแนนเฉล่ีย 3.42 – 4.21 หมายถึง ระดับความพึงพอใจที่ มอี ิทธิพลต่อการเลือกผู้บริหารท้องถนิ่ ในระดบั มาก คะแนนเฉล่ีย 2.62 – 3.41 หมายถึง ระดบั ความพงึ พอใจทมี่ ีอิทธิพลตอ่ การเลอื ก

[330] ผ้บู ริหารทอ้ งถ่นิ ในระดับปานกลาง คะแนนเฉล่ยี 1.81 – 2.61 หมายถงึ ระดับความพงึ พอใจทม่ี ีอทิ ธิพลต่อการเลือกผบู้ ริหาร ท้องถนิ่ ในระดบั น้อย คะแนนเฉล่ยี 1.00 – 1.80 หมายถึง ระดบั ความพึงพอใจที่ มีอทิ ธิพลต่อการเลอื กผบู้ ริหารทอ้ งถิ่น ในระดับน้อยทสี่ ดุ 1.ข้อมลู ทั่วไป ตารางที่ 1.1 จํานวนและรอ้ ยละ แยกตามเพศ เพศ จานวนคน รอ้ ยละ ชาย 93 60.8 หญิง 60 39.2 จากตารางที่ 1.1 ปรากฏวา่ ผ้ตู อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เปน็ เพศ ชาย จาํ นวน 93 คน คดิ เป็นร้อยละ 60.8 และเพศหญิง จาํ นวน 60 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 39.2 ดงั ตารางที่ 1.1

[331] ตารางท่ี 1.2 จํานวนและร้อยละ แยกตามชว่ งอายุ ชว่ งอายุ จานวน ร้อยละ ลาดบั 18 – 25 ปี 17 11.1 4 26 – 30 ปี 34 22.2 3 31 – 40 ปี 47 30.7 1 41 – 50 ปี 35 22.9 2 51 – 60 ปี 16 10.5 5 61 ปขี ึน้ ไป 4 2.6 6 จากตารางที่ 1.2 ปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ ผู้ที่มี ช่วงอายุต้ังแต่ 31 - 40 ปี จํานวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 30.7 รองลงมาคือ ผู้ท่ีมีช่วงอายุต้ังแต่ 41 - 50 ปี จํานวน 35คน คิดเป็น ร้อยละ 22.9 และลําดับท้ายสุดคือ ผู้ที่มีช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ จํานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.6 ดงั ตารางที่ 1.2

[332] ตารางที่ 1.3 จํานวนและร้อยละ แยกตามระดับการศึกษา ระดบั จานวน ร้อยละ ตาํ่ กว่ามัธยม 27 17.6 มัธยม 39 25.5 ปวช. - ปวส. 46 30.1 ปริญญาตรี 40 26.1 สงู ปริญญาตรี 1 0.7 จากตารางที่ 1.3 ปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับ การศึกษา ปวช. – ปวส. จํานวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 30.1 รองลงมาคือปริญญาตรี จํานวน 40 คนคิดเป็นร้อยละ 26.1 และ ลําดับท้ายสุดคือสูงกว่าปริญญาตรี จํานวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.7 ดังตารางที่ 1.3

[333] ตารางที่ 1.4 จํานวนและรอ้ ยละ แยกตามอาชีพ ตาแหนง่ จานวน รอ้ ยละ เกษตรกร 46 30.1 พนักงานของรัฐ 16 10.5 ค้าขาย 32 20.9 ธรุ กจิ ส่วนตวั 20 13.1 ลกู จา้ งภาครฐั / 46 30.1 เอกชน ว่างงาน 6 3.9 นกั ศึกษา 1 0.7 ว่าง 1 0.7 จากตารางที่ 1.4 ปรากฏว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพ เกษตรกร และลูกจ้างภาครัฐ/เอกชน จํานวนเท่ากันที่ 46 คน คิด เป็นร้อยละ 30.1 รองลงมาคืออาชีพค้าขาย จํานวน 32 คนคิดเป็น รอ้ ยละ 20.9 และลําดับท้ายสุดคือนักศึกษา/ว่างงาน อื่น ได้ จํานวน 5 คน คิดเป็นรอ้ ยละ 10.2 ดงั ตารางท่ี 1.4

[334] 2. ปัจจยั ทม่ี ีอทิ ธพิ ลต่อการลงคะแนนเสยี งเลือกนายกเทศมนตรี 2.1 ประเดน็ คุณลักษณะของผสู้ มคั ร รายการ มาก มาก ปาน นอ้ ย น้อย x S.D. ระดบั ลาดับ ท่สี ดุ (๔) กลาง (๒) ทส่ี ดุ 1. มีความรู้ (5) (๑) 3 ความสามารถ 94 (๓) 0 0 4.58 0.54 มาก 1 2. มีความซ่ือสัตย์ (61.4) 55 44 (0) (0) ทส่ี ดุ 2 สจุ รติ 116 (35.9) (2.6) 0 0 4.73 0.48 มาก 3. ความเสยี สละ (75.8) 34 3 (0) (0) ท่สี ดุ 7 ชอบช่วยเหลอื งาน 104 (22.2) (1.9) 0 0 4.65 0.52 มาก ส่วนรวม (67.9) 45 4 (0) (0) ที่สดุ 4 4. เปน็ คนตําบล (29.4) (2.6) 6 เคง็ ใหญ่โดย 49 4 5 3.93 0.97 มาก 5 กาํ เนิด (32.0) 59 36 (2.6) (3.2) 8 5. มีประสบการณ์ (38.5) (23.5) การทาํ งาน 85 0 1 4.47 0.67 มาก 6. มีชอื่ เสียงเป็นท่ี (55.5) 57 10 (0) (0.6) ยอมรบั ในสงั คม 68 (37.2) (6.5) 4 0 4.29 0.74 มาก 7. มมี นษุ ยส์ มั พนั ธ์ (44.4) 66 15 (2.6) (0) ทดี่ ี 60 (43.1) (9.8) 0 0 4.35 0.55 มาก 8. ฐานะทาง (39.2 87 6 (0) (0) เศรษฐกจิ ดี 44 (56.8) (3.9) 2 1 3.91 0.84 มาก (28.7) 56 50 (1.3) (0.6) (36.6) (32.6) 4.36 0.74 มาก รวม จากตารางที่ 2.1 พบว่าปัจจัยที่มีผลในการลงคะแนนเลือก นายกเทศมนตรีฯ ประเด็นคุณลักษณะของผู้สมัคร เมื่อนําข้อมูลมา แปรค่าเฉล่ียโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( x = 4.36 S.D. = 0.74 ) เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อท่ีมีคําเฉลี่ยสูงสุดคือ มีความ ซื่อสัตย์ สุจริต โดยมีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับ มากท่ีสุด ( x = 4.73 S.D. = 0.48) รองลงมาคือ ความเสียสละชอบชว่ ยเหลอื งานสว่ นรวม โดย มคี า่ เฉลย่ี อยู่ในระดบั มาก ( x = 4.65 S.D. = 0.52 )

[335] 2.2 ประเด็นการกาหนดนโยบาย รายการ มาก มาก ปาน น้อย นอ้ ย x S.D. ระดับ ลาดบั ที่สุด (๔) กลาง (๒) ทส่ี ุด (5) (๓) (๑) 1. นโยบายปฏิบตั ิ 84 63 5 1 0 4.50 0.59 มาก 3 ได้จรงิ (54.9) (41.1) (3.2) (0.6) (0) 2. นโยบายตรง 97 51 4 1 0 4.59 0.57 มาก 1 ตามความตอ้ งการ (63.4) (33.3) (2.6) (0.6) (0) ทส่ี ุด ของประชาชน 3. นโยบาย 93 57 2 1 0 4.58 0.55 มาก 2 ก่อให้เกิด (60.7) (37.2) (1.3) (0.65) (0) ท่สี ุด ประโยชนต์ อ่ ส่วนรวม 4. นโยบายมคี วาม 51 91 9 2 0 4.24 0.61 มาก 4 ชัดเจนเข้าใจง่าย (33.3) (59.4) (5.8) (1.31) (0) 5. นโยบายมคี วาม 36 80 34 3 0 3.97 0.73 มาก 5 แปลกใหม่ (23.5) (52.2) (22.2) (1.96) (0) รวม 4.38 0.66 มาก จากตารางท่ี 2.2 พบว่าปัจจัยท่ีมีผลในการลงคะแนนเลือก นายกเทศมนตรีฯ ประเด็นการกําหนดนโยบาย เม่ือนําข้อมูลมาแปร ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( x = 4.38 S.D. = 0.66 ) เม่ือ พจิ ารณาเป็นรายขอ้ พบว่า ข้อทม่ี คี ําเฉล่ียสูงสุดคือ นโยบายตรงตาม ความต้องการของประชาชน โดยมคี ่าเฉล่ียอยู่ในระดับ มากท่ีสุด ( x = 4.59 S.D. = 0.57) รองลงมาคือ นโยบายก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ส่วนรวม โดยมีค่าเฉล่ียอยู่ในระดับ มากที่สุด ( x = 4.58 S.D. = 0.55 )

[336] 2.3 ประเดน็ วธิ ีการหาเสียง รายการ มาก มาก ปาน น้อย นอ้ ย x S.D. ระดับ ลาดบั ที่สุด (๔) กลาง (๒) ทีส่ ุด (5) (๓) (๑) 1. เดินหาเสียง 54 56 40 3 0 4.05 0.83 มาก 2 (35.2) (36.6) (26.1) (1.9) (0) 2. การปราศรัย 68 41 41 2 1 4.13 0.89 มาก 1 (44.4) (26.8) (26.8) (1.3) (0.6) 3. ใบปลวิ 21 43 65 17 7 3.35 1.00 ปาน 5 (13.7) (28.1) (42.4) (11.1) (4.5) กลาง 4. รถโฆษณา 26 40 57 26 4 3.37 1.03 ปาน 4 (16.9) (26.1) (37.2) (16.9) (2.61) กลาง 5. หวั คะแนน 29 44 59 14 7 3.48 1.04 ปาน 3 (18.9) (28.7) (38.5) (9.1) (4.5) กลาง 6. ซือ้ เสยี ง แจก 33 10 45 23 42 2.79 1.46 ปาน 6 สิ่งของหรอื ให้ (21.5) (6.5) (29.4) (15.3) (27.4) กลาง ผลประโยชนอ์ ย่าง อ่ืน รวม 3.53 1.15 มาก จากตารางที่ 2.3 พบว่าปัจจัยที่มีผลในการลงคะแนนเลือก นายกเทศมนตรีฯ ประเด็นวิธีการหาเสียง เม่ือนําข้อมูลมาแปร ค่าเฉล่ียโดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( x = 3.53 S.D. = 1.15 ) เม่ือ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อท่ีมีคําเฉล่ียสูงสุดคือ การปราศรัย โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( x = 4.13 S.D. = 0.89) รองลงมา คือ เดินหาเสียง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( x = 4.05 S.D. = 0.83 )

[337] บทสรุป จากการสํารวจความต้องการ/ทัศนะของประชาชน พบว่า ปัจจัยที่ ประชาชนให้ความสําคัญในการลงคะแนนเสียงเลือกผู้บริหาร ทอ้ งถิน่ คอื 1. \"คุณสมบัติของผ้สู มัคร\" มีปัจจัยด้านความซ่ือสัตย์ สุจริต เป็นผู้ท่ีเสียสละช่วยเหลือส่วนรวม มีความรู้ความสามารถ ตามลาํ ดับ โดยมคี วามสอดคลอ้ งกับงานนิพนธ์ (ขวัญหทัย แจ่มแจ้ง, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนายก องค์การบริหารส่วนตําบลวัดสุวรรณ อําเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562), หน้า 69 ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ตดั สนิ ใจของประชาชนในการเลือกผูบ้ รหิ ารท้องถิ่น พบว่าคุณสมบัติ ของผูส้ มัคร มคี า่ เฉล่ียในภาพรวมอยู่ในระดบั สงู โดยเลือกผู้ที่มีความ ซื่อสัตย์ สุจริต อยู่ในลําดับท่ี 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่สูงมาก และรองลงมา คือเป็นผู้ท่ีเข้ากับผู้อื่นได้ดี ซ่ึงสอดคล้องกับ แนวคิดของนักปรัชญา ยุคคลาสสิก ได้แก่ โสเครตีส (Socrates) ท่ีมองว่า การปกครองที่ดี ต้องมีผู้ปกครองเป็นราชาปราชญ์ คือ ผู้ปกครองที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้ฉลาดรอบรู้ เข้าใจหลักการปกครองของรัฐ เป็นผู้ ออกกฎหมาย และควบคมุ การใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรม เพ่ือ ประโยชน์สุขแก่ประชาชน และประชาชนควรตอบแทน บุญคุณรัฐ ด้วยการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย เป้าหมายสูงสุดของชีวิต การเมอื งคอื คุณธรรม

[338] ท้ังนี้ยังสอดคล้องกับปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ของ รุสโซ ในเร่ือง เจตนาร่วม ( general will ) ของรุสโซ จึงอยู่ที่ว่า เจตนารมณ์ร่วม จะไม่มีวันผิด กล่าวคือ เสียงของประชาชนซ่ึงเป็นเสียงขององค์ อธปิ ตั ย์ ยอ่ มเปน็ เสยี งทีถ่ กู ต้องเสมอ และคนสว่ นมากมีแนวโน้มที่จะ ยอมรับว่า ประชาธิปไตยปัจจุบัน คือ วิวัฒนาการขั้นสูงสุดของ ปรัชญาการเมอื งสมยั ใหม่ สอดคล้องกับหลักความสําคัญของการ ปกครองส่วนท้องถ่ิน ที่ว่า การปกครองท้องถิ่นทําให้ประชาชนใน ท้องถน่ิ รูจ้ ักการปกครองตนเอง (Self Government) หัวใจของการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ประการหน่ึงก็คือ การปกครอง ตนเองมิใช่เป็น การปกครองอันเกิดจากคําสั่งเบื้องบน การปกครอง ตนเองคือ การที่ประชาชนมีส่วนร่วม ในการปกครอง ซึ่งผู้บริหาร ท้องถิ่นนอกจากจะได้รับเลือกต้ังมาเพ่ือรับผิดชอบบริหารท้องถิ่น โดยอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากประชาชนแล้ว ผู้บริหารท้องถ่ิน จะตอ้ งฟงั เสียง ประชาชนด้วยวิถีทางประชาธิปไตยต่าง ๆ เช่น เปิด โอกาสให้ประชาชนออกเสียงประชามติ (Referendum) ให้ ประชาชนมีอํานาจถอดถอน (Recall) ซ่ึงจะทําให้ประชาชนเกิด ความสํานึก ในความสําคัญของตนต่อท้องถิ่น ประชาชนจะมีส่วน รับรู้ถึงอุปสรรคปัญหาและช่วยกันแก้ไข ปัญหาของท้องถิ่นของตน (อนนั ต์ อนันตกูล, 2521 : 6-7) 2. \"นโยบายของผู้สมัคร\" โดยมีปัจจัยที่นโยบายตรงตาม ความต้องการของประชาชน มาเป็นอันดับที่ 1 ซ่ึงมีความสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถ่ิน ที่มองว่า การกระจาย อํานาจในการปกครองท้องถิ่นน้ันเพ่ือสนองตอบต่อความต้องการ ของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริงเน่ืองจากประเทศมีขนาดกว้าง ใหญ่ ความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องที่ ย่อมมีความ

[339] แตกต่างกัน การรอรับการบริการจากรัฐบาลแต่อย่างเดียว อาจไม่ ตรงตามความตอ้ งการท่ีแทจ้ ริงและล่าช้า หน่วยการปกครองท้องถิ่น ที่มีประชาชน ในท้องถ่ินเป็นผู้บริหารเท่านั้น จึงจะสามารถ ตอบสนองความต้องการนั้นได้ การปกครองท้องถ่ินสามารถสนอง ความต้องการของท้องถิ่นตรงเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ เนื่องจากท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไม่ว่าทางสภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากร ประชาชน ความต้องการ และปัญหาย่อมต่างกันออกไป ผู้ที่ให้บริการหรือแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด และสอดคล้องกับความ ต้องการของประชาชนก็ต้องเป็น ผู้ที่รู้ถึงปัญหาและความต้องการ ของประชาชนเป็นอย่างดี การบริหารงานจึงจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียเวลาเสนอเรื่องขออนุมัติ ไปยังส่วน เหนือขึ้นไป ท้องถิ่นจะบริหารงานให้เสร็จสิ้นลง ภายในท้องถิ่น นั่นเอง ไมต่ อ้ งสิ้นเปลืองเวลาและค่าใชจ้ ่ายโดยไม่จําเป็น 3. “วิธีการหาเสียงของผู้สมัคร” โดยมีปัจจัยการเดินหา เสียงมาเป็นอับดับที่ 1 สอดคล้องกับองค์ประกอบของการปกครอง ท้องถนิ่ การเลือกตั้ง สมาชิกองค์การหรือคณะผู้บริหารจะต้องได้รับ เลือกต้ังจากประชาชนในท้องถ่ินนั้น ๆ ท้ังหมดหรือบางส่วน เพ่ือ แสดงถึงการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชน โดยเลือกผู้บริหารท้องถิ่นของตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญา การเมืองสมัยใหม่ ของ จอห์น ล็อก (John Locke) มนุษย์มีความ จําเป็นต้องเข้ามารวมกันเป็นสังคมการเมืองและจัดต้ังรัฐบาลข้ึ น โดยการรวมกันในลักษณะเป็นสัญญาประชาคม การปกครองสังคม น้ันจะต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก เพราะเสียงข้างมากนั้นสะท้อน ใหเ้ หน็ เจตจํานงของคนส่วนใหญใ่ นสงั คม

[340] เอกสารอา้ งอิง โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). มติ ใิ หมอ่ งค์การ ปกครองส่วนทอ้ งถิ่น: ผูบ้ รหิ ารทอ้ งถ่นิ ท่ีมาจากการเลอื กต้ังโดยตรง จากประชาชน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม. ขวัญหทัย แจม่ แจ้ง, ปจั จัยท่ีสง่ ผลตอ่ การตดั สนิ ใจของประชาชนในการ เลือกนายกองค์การบริหารสว่ นตาํ บลวดั สุวรรณ อาํ เภอบอ่ ทอง จังหวัดชลบุรี งานนพิ นธ์ปรญิ ญามหาบณั ฑิต คณะรัฐศาสตร์และ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรู พา, 2562) พระราชบัญญตั ิการเลือกต้งั สมาชกิ สภาทอ้ งถ่นิ และผ้บู รหิ ารท้องถิ่น. (2545, 11 ตุลาคม). ราชกจิ จานุเบกษา. หน้า 1-17. รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย. คน้ เม่ือวันท่ี 4 มีนาคม 2565 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF รตั นากรณ์ แววกระ โทก. (2562). ผนู้ ําทด่ี ีควรมีคณุ สมบตั อิ ย่างไร. เข้าถงึ ได้จาก https://www.gotoknow.org./posts/461096 วราภรณ์ มเู ล็ง, ปจั จยั ท่ีมผี ลต่อการไดร้ ับคะแนนเสยี งเลือกต้งั ของ นายกเทศมนตรีตาํ บลเหมอื ง งานนิพนธ์ปรญิ ญามหาบณั ทติ คณะ รฐั ศาสตร์และนติ ศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบรู พา, 2557) สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ. (2520). ลทั ธิการเมือง และเศรษฐกจิ เปรียบเทียบ. กรงุ เทพฯ: ไทยวัฒนาพานชิ . สจุ ิต บญุ บงการ. (2542). การพฒั นาทางการเมอื งไทย: ปฏิสมั พนั ธ์ ระหวา่ งทหารสถาบันการเมืองและการมสี ว่ นรว่ มทางการเมืองของ ประชาชน (พิมพ์ครง้ั ท่ี 4). กรุงเทพฯ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook