๓ภาค ชุดความคิดว่าด้วยความคิดเชิงบวก (positivity mindset) บทที่ ๘ วทิ ยาการเรียนรบู้ อกขา่ วดจี ากบรรยากาศเชงิ บวก บทท่ี ๙ กระตุ้นความหวังและการมองโลกในแง่ดี บทที่ ๑๐ สร้างเจตคตเิ ชงิ บวก บทท่ี ๑๑ เปลี่ยนพ้ืนฐานทางอารมณ์
๘ วทิ ยาการเรยี นรู้ บอกข่าวดจี ากบรรยากาศเชิงบวก บันทึกนี้เป็นบันทึกแรกใน ๔ บันทึก ภายใต้ชุดความคิดบวก (positivity mindset) ตคี วามจาก Part Three : Why the Positivity Mindset? บนั ทกึ ท่ี ๘ นวี้ า่ ดว้ ยทฤษฎเี กย่ี วกบั ผลกระทบของบรรยากาศเชงิ บวกตอ่ ผลลพั ธ์ การเรียนรู้ของนักเรียน ว่ามีกลไกทางสมองอย่างไร ส่วนในบันทึกที่ ๙ - ๑๑ จะเป็นเรื่องการประยุกต์ทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ อ่านรายละเอียดจากผลงานวิจัย เหล่านี้แล้ว ผมสรุปกับตนเองว่านี่คือหลักฐานบอกว่าสมองมนุษย์มีความสามารถ ฟื้นตัว (brain plasticity) ได้เก่งมาก โดยเฉพาะสมองของเดก็ ความรู้เหล่านี้บอกเราว่า การด�ำเนินการที่ถูกต้อง เอาใจใส่ และมีใจเมตตา ของครู มคี ณุ คา่ ตอ่ ชวี ติ ของเดก็ นกั เรยี นขาดแคลนอยา่ งยง่ิ หรอื กลา่ วใหมว่ า่ ยง่ิ เดก็ ขาดแคลนอ่อนแอมากเพียงใดก็เป็นโอกาสของครูที่จะจัดการเรียนรู้ให้เกิดคุณค่า ต่อชีวิตของศิษย์ได้มากเพียงน้ัน โดยท่ีการเรียนรู้ท่ีเป็นหัวใจคือการปลูกฝังเจตคติ หรอื ชดุ ความคดิ (รวม ๗ ชดุ หลกั ) ท่จี ะตดิ ตัวเดก็ กอ่ คณุ ค่าไปตลอดชีวติ จุดเริ่มต้นคือ ชุดความคิดบวกของครูที่ยึดเอาผลประโยชน์ของศิษย์เป็นตัวตั้ง หาวธิ ดี ำ� เนนิ การหลากหลายมติ เิ พอื่ ปลกู ฝงั ความแขง็ แรง และความดงี ามในตวั ศษิ ย์ โดยครูต้องไม่ดูดาย ไม่แก้ตัว ท่ีจะไม่จัดการเพ่ือแก้ปัญหาความอ่อนแอขาดแคลน ทน่ี กั เรยี นมีติดตัวมาจากบา้ น • 102 •
ถงึ ตอนนผี้ มอดเถยี ง Eric Jensen ผเู้ ขยี นหนงั สอื เลม่ นไ้ี มไ่ ดว้ า่ นกั เรยี นทต่ี ดิ ลบ มาจากบา้ น ไมไ่ ดม้ เี ฉพาะทตี่ ดิ ลบเพราะความขาดแคลน และความเลวรา้ ยของชวี ติ ทางสังคมที่บ้านและชุมชนโดยรอบเท่านั้น ยังมีนักเรียนติดลบมาจากบ้านที่ร�่ำรวย หรือเศรษฐานะดี แต่ติดลบดา้ นการมองโลกแง่ดี การมชี ดุ ความคิดหยดุ นิง่ (fixed mindset) หรอื ดา้ นความเห็นแกต่ วั ท่พี ่อแมท่ �ำตวั เปน็ แบบอย่าง เปน็ ตน้ เมื่อครูมีชุดความคิดบวก มันจะช่วยหนุนความเอาใจใส่ความรู้สึกของนักเรียน (empathy) เสียงในหัวของครูที่มีชุดความคิดบวกคือ “ฉันเป็นผู้มองโลกแง่ดี และเปน็ พนั ธมติ รของเดก็ ทท่ี งั้ ขอบคณุ เดก็ และพรอ้ มทจ่ี ะชว่ ยเดก็ ใหส้ รา้ งเปา้ หมาย ชวี ติ ทด่ี ใี นอนาคต” และ “ฉนั รกั ความเปน็ ครู แมช้ วี ติ ครไู มใ่ ชช่ วี ติ ทด่ี พี รอ้ ม แตฉ่ นั ก็ ใช้พลังบวกทกุ วันเพอ่ื สนองความตอ้ งการของศษิ ย”์ ขอ้ มูลหลกั ฐาน พฤติกรรมของนักเรียนพัฒนาข้ึนท่ีบ้าน มีหลักฐานบอกว่าเด็กจากครอบครัว ยากจนขาดแคลนไดร้ ับความเครยี ดแบบทนั ทที นั ใด (acute stress) และบาดแผล ทางใจ (trauma) มากกว่าเด็กท่ัวไป ความรู้น้ีบอกครูว่าพฤติกรรมก้าวร้าว หรือ ไมเ่ หมาะสมของเดก็ ทโ่ี รงเรยี นอาจมจี ดุ กำ� เนดิ ทบ่ี า้ น ซง่ึ อยนู่ อกการควบคมุ ของครู ครูพงึ เข้าใจแหลง่ กำ� เนิดความเครียดของนักเรยี น ต่อไปน้ี ประวัติชีวิตของแม่ยากจน มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กในห้องเรียน ใน สหรัฐอเมริกา แม่ที่เป็นคนด�ำ อยู่ในชุมชนคนยากจน อาจมีประสบการณ์ ในบรรยากาศการคกุ คามทางเพศ ส่งผลให้มพี ื้นฐานจติ ใจท่ีเครียดเรื้อรัง (chronic stress) หดหู่ (depressed) อยากฆ่าตัวตาย หรือหลีกหนีสังคม มองกลับมาท่ี สังคมไทย เวลานี้มีเด็กกว่าคร่ึงที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ อาจอยู่ในสภาพแม่หรือพ่อ เลย้ี งเดยี่ ว หรอื ไมไ่ ดอ้ ยกู่ บั พอ่ แม่ เพราะพอ่ แมแ่ ยกกนั เอาลกู ไปฝากปยู่ า่ หรอื ตายาย ช่วยเลยี้ ง หรือพอ่ แมเ่ ขา้ เมืองไปหางานท�ำ ทง้ิ ลูกไวก้ ับป่ยู า่ หรอื ตายาย หรือญาติ เดก็ เหลา่ นี้อยู่ในสภาพจิตใจทตี่ ิดลบทงั้ สนิ้ • 103 •
คนอพยพเข้าเมือง มักมีประสบการณ์ถูกกดขี่ ข่มเหง รังแก ฉกฉวย ผลประโยชน์ รวมทั้งหวาดกลัวว่าจะถูกขับไล่ ปัญหาคล้ายคลึงกันเกิดกับคน ไร้รัฐ พลัดพรากจากพ่อแม่ และยากจนสุดๆ คนเหล่าน้ีมีบาดแผลทางใจจาก ความหวาดกลัว ความหดหู่ ความว้าเหว่ ความเศร้า และความเครียดเร้ือรัง ครูมีโอกาสช่วยสร้างทักษะการก�ำกับตนเองเชิงบวกในห้องเรียน ช่วยพัฒนา ท้ังคุณลกั ษณะส่วนตวั และผลลพั ธก์ ารเรียนรู้ การเหยยี ดผวิ เหยยี ดชนชน้ั สรา้ งความเครยี ดใหแ้ กเ่ ดก็ ทำ� ใหเ้ ดก็ มปี มดอ้ ย และมคี วามเครยี ดเรื้อรัง รวมท้ังมผี ลต่อสุขภาพด้วย สภาพเหลา่ นที้ ำ� ใหน้ กั เรยี นมาโรงเรยี นพรอ้ มกบั ชดุ ความคดิ เชงิ ลบ และอาจถกู ครูตราหน้าวา่ เป็นเดก็ เลว ทง้ั ๆ ทเี่ ดก็ เลอื กเกิดไมไ่ ด้ เลือกดเี อน็ เอ พ่อแม่ ชุมชน และวฒั นธรรมแวดลอ้ มไมไ่ ด้ แตค่ รชู ว่ ยใหศ้ ษิ ยพ์ ฒั นาชดุ ความคดิ บวก และพฒั นา ตนเองสู่อนาคตที่ดไี ด้ ผลกระทบของการดำ� เนินการเชิงบวกตอ่ ความส�ำเรจ็ ของนกั เรยี น มงี านวจิ ยั ในสหรฐั อเมรกิ า ทำ� โดยเอาเครอ่ื งบนั ทกึ เสยี งไปไวท้ บี่ า้ นของคนฐานะดี ฐานะปานกลาง และฐานะยากจนจำ� นวนหนง่ึ แลว้ รายงานผลการวจิ ยั ในปคี .ศ. 2006 พบวา่ สดั สว่ นของถอ้ ยคำ� เชงิ บวกตอ่ ถอ้ ยคำ� เชงิ ลบ แตกตา่ งกนั อยา่ งนา่ ตกใจ คอื ใน ครอบครวั ฐานะดี ถอ้ ยคำ� เชงิ บวก : ถอ้ ยคำ� เชงิ ลบ เทา่ กบั ๖ : ๑ ตวั เลขนใี้ นครอบครวั ฐานะปานกลางเท่ากบั ๒ : ๑ แต่ในครอบครวั ยากจนเทา่ กับ ๑ : ๒ สะทอ้ นภาพ ติดลบของนักเรยี นจากครอบครวั ยากจน มผี ลงานวจิ ยั บอกวา่ อารมณบ์ วกมผี ลตอ่ ความยดื หยนุ่ ในการเรยี นรู้ และตอ่ ความ มานะพยายาม จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องสร้างบรรยากาศเชิงบวกในชั้นเรียน และสรา้ งอารมณบ์ วกในนกั เรยี น โดยมผี ลงานวจิ ยั บอกวา่ อารมณบ์ วกชว่ ยขยายหรอื เพ่ิมแนวทางการแสดงออกเชิงพฤติกรรม และช่วยพัฒนาปัญญาญาณ (intuition) และความรเิ ริ่มสร้างสรรค์ (creativity) • 104 •
ความแตกตา่ งของผลกระทบ ในหอ้ งเรียนท่ีมีบรรยากาศเชิงบวก กับหอ้ งเรยี น ท่ีมีบรรยากาศเชงิ ลบ แสดงในตารางข้างล่าง บรรยากาศเชงิ บวกสูง บรรยากาศเชงิ บวกตำ�่ ความรเิ รม่ิ สรา้ งสรรค์ โกรธ ความหวงั ไมพ่ ร้อมเรยี นรู้ อดทนมานะพยายาม สน้ิ หวงั ปญั ญาญาณ คิดเลกิ เรยี น ความสนใจกวา้ ง ความประพฤติไมด่ ี มคี วามยดื หยนุ่ ในการเรยี น (cognitive flexibility) ย้ำ� คดิ ย�้ำท�ำ มีทางเลอื กในการแสดงพฤติกรรมหลากหลายขนึ้ มที างเลือกในการแสดงพฤตกิ รรมจำ� กดั ครูคิดลบมักคิดว่าการสร้างชุดความคิดบวกของศิษย์เป็นเร่ืองนอกหน้าท่ีครู นคี่ อื ความคดิ ท่ผี ดิ และนำ� ไปส่พู ฤติกรรมทีท่ �ำลายเกียรติศกั ดข์ิ องครู มีงานวิจัยทดลองในนักเรียนมัธยมต้นในเขตยากจนในเมืองของสหรัฐอเมริกา กลุ่มทดลอง ๙๔ คน เทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับกระบวนการเรียนรู้ ท่ีเน้นสร้างความคิดบวกผ่านการตั้งเป้า การด�ำเนินการ และการเตรียมเผชิญ อุปสรรค โดยด�ำเนินการใน ๔ ภาคการศึกษาแบบ ๔ ภาคเรียน พบว่านักเรียน กลุ่มทดลองมีผลการเรียน อัตราการมาโรงเรียน และความประพฤติในห้องเรียน สูงกวา่ กล่มุ ทดลองอย่างชัดเจน • 105 •
เขาสรุปว่ากลยุทธฝึกการควบคุมอารมณ์และควบคุมการเรียน (cognitive control) มีผลชว่ ยใหเ้ ดก็ ยากจนเรยี นรไู้ ดด้ ีขน้ึ นอกจากนั้นยังมีผลการวิจัยสรุปว่า การฝึกอารมณ์บวกสม�่ำเสมอ ช่วยเป็นปราการป้องกันเรื่องเลวร้ายในชีวิตของเด็ก บรรยากาศเชงิ บวกในหอ้ งเรยี น ทำ� ใหร้ ะดบั ฮอรโ์ มนเครยี ด (คอรต์ ซิ อล) ในนกั เรยี น ลดตำ�่ ลง เพม่ิ สารสอ่ื ประสาท (โดปามนี ) ซง่ึ สง่ ผลดตี อ่ การเรยี นรู้ เขาจงึ แนะนำ� ครู ให้สร้างบรรยากาศในหอ้ งเรยี นให้อบอวลไปดว้ ยความหวงั และการมองโลกในแง่ดี ผลกระทบของการด�ำเนินการเชิงบวกต่อสมอง มีงานวิจัยในโรงเรียน ๙๖ แห่ง เลือกครูแบบสุ่ม (random sample) แยกครู ทใ่ี ชค้ ำ� พดู เชงิ ลบ (เชน่ อยา่ หวงั เลยวา่ เธอจะได้ A) กบั ครทู ใ่ี ชค้ ำ� พดู เชงิ บวก เชงิ ให้ ความหวังแก่ศิษย์ สรุปได้ว่าบรรยากาศเชิงบวกมีผลอย่างมีนัยส�ำคัญต่อผลลัพธ์ การเรยี นรู้ของนักเรียน อกี งานวจิ ยั หนงึ่ ทดลองสอดแทรกการดำ� เนนิ การใหเ้ ดก็ มคี วามสขุ ในกระบวนการ เรียนการสอนตามปกติ โดยใช้เคร่ืองมือ ๒ ชิ้นคือ การแสดงความขอบคุณ และ การแสดงความเมตตากรุณา พบวา่ ชว่ ยเพมิ่ อารมณบ์ วก และเพ่มิ ความสนใจเรียน สรปุ แบบก�ำป้ันทุบดินได้ว่า เมื่อนกั เรียนอยใู่ นสภาพอารมณด์ ีสิ่งดๆี จะเกดิ ขึน้ ในทางชีววิทยา มีสารสื่อประสาท ๓ ชนิด ที่มีผลช่วยให้จิตใจดีข้ึน ได้แก่ โดปามีน ซโี รโทนนิ และ นอร์อะดรีนาลนิ หากทำ� ใหส้ ารสามตัวนี้อยู่ในระดับพอดี จะเปน็ ผลดีตอ่ การเรยี นร้ขู องนักเรียนสูงยง่ิ โดยมรี ายละเอียดดงั น้ี โดปามนี ในระดบั สงู นำ� ไปสกู่ ารเรยี นรทู้ สี่ งู การพฒั นาความจำ� ใชง้ าน (working memory) ความยืดหยุ่นในการเรียน และเพ่ิมความมานะพยายาม ครูสามารถ เพิ่มระดับโดปามีนในตัวนักเรียนได้โดยการเคลื่อนไหวร่างกาย กิจกรรมท่ีให้ ความสนกุ สนาน ให้ความประหลาดใจ และความคาดหวังรางวลั • 106 •
ซโี รโทนนิ ในระดบั สงู ชว่ ยเพมิ่ ปรมิ าณเซลลส์ มอง เพม่ิ จติ จดจอ่ การเรยี นรู้ การควบคุมอารมณ์ และความจ�ำระระยาว (long - term memory) ครูช่วยเพิ่ม ระดับซีโรโทนินในตัวนักเรียนได้โดยให้ช้ันเรียนมีความสงบ ความรู้สึกว่าทุกอย่าง อยู่ในระเบียบ พิธีกรรมท่ีคุ้นเคย ความเป็นมิตรและร่วมมือกัน พูดง่ายๆ ว่า บรรยากาศท่ปี ลอดภยั ชว่ ยเพมิ่ ระดบั ซีโรโทนินในรา่ งกาย นอร์อะดรีนาลิน ช่วยพุ่งความสนใจอยู่กับเร่ืองใดเร่ืองหน่ึง และช่วยเพิ่ม ความจำ� ระยะยาว ครูชว่ ยเพ่มิ ระดบั นอรอ์ ะดรีนาลินไดโ้ ดยสร้างบรรยากาศคึกคัก รีบร้อน ต่ืนเต้น และรู้สึกว่ามีความเส่ียง เช่น ตอนที่นักเรียนต้องน�ำเสนอผลงาน หน้าชน้ั สรปุ วา่ สารเคมใี นสมองของนกั เรยี น มีผลต่อหอ้ งเรียน ดงั ตอ่ ไปน้ี โดปามีน : อารมณ์ รางวัล ความมานะพยายาม ความมีจิตจดจ่อ แรงจูงใจ เจรญิ อาหาร ซโี รโทนนิ : ความมจี ิตจดจ่อ การบงั คบั ความจำ� ความวติ กกงั วล อารมณ์ นอรอ์ ะดรีนาลนิ : การพงุ่ ความสนใจ ความจ�ำ ความตื่นตัว ครูควรใช้ความรู้เชิงชีววิทยาเก่ียวกับฮอร์โมนทั้ง ๓ นี้ ในการจัดบรรยากาศ ของชั้นเรียน ให้หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนบรรยากาศท่ีกระตุ้นสารส่ือประสาทตัว ที่เหมาะสมต่อเปา้ หมายการเรียนรใู้ นขณะนน้ั ครทู ่มี ีความรู้ทางชวี วทิ ยาเกย่ี วกับสมอง สามารถใชค้ วามรนู้ ั้นใหเ้ ป็นประโยชน์ ในการสรา้ งบรรยกาศในชนั้ เรยี นใหเ้ หมาะสมตอ่ การเรยี นรขู้ องศษิ ยใ์ นแตล่ ะชว่ งได้ ก็จะเกิดสภาพห้องเรียนที่มีชีวิตชีวา มีหลายบรรยากาศ และถูกจริตของนักเรียน เพราะไม่นา่ เบื่อ • 107 •
๙ กระตุ้นความหวงั และการมองโลกในแง่ดี บันทึกนี้เป็นบันทึกท่ี ๒ ใน ๔ บันทึก ภายใต้ชุดความคิดบวก (positivity mindset) ตคี วามจาก Chapter 7 : Boost Optimism and Hope ความหวัง (hope) และ การมองโลกแง่ดี (optimism) แตกต่างกัน แต่มีการ สับสนกันบ่อยมาก แม้ในวงการวิจัยก็สับสน ความหวังเป็นความรู้สึกว่าในท่ีสุด เรอื่ งราวหรอื เหตกุ ารณจ์ ะเปลย่ี นไปในทางดขี นึ้ สว่ นการมองโลกแงด่ เี ปน็ ความเชอ่ื วา่ เรอื่ งราวจะกา้ วหนา้ ไปในทางทดี่ ขี น้ึ จากฝมี อื ของตนเอง นคี่ อื นยิ ามจากในหนงั สอื นะครบั ไม่ใช่นยิ ามของผม บ่อยครั้งที่คนมีความหวังเป็นคนท่ีมีระดับของการควบคุมตนเองต�่ำ คือหวังว่า จะมคี นอน่ื มาทำ� ใหด้ ขี นึ้ ไมใ่ ชฝ่ มี อื ของตนเอง สว่ นการมองโลกแงด่ เี ปน็ การเชอื่ มน่ั ในตนเองวา่ จะทำ� ใหด้ ีข้นึ ได้ การมีความหวังและการมองโลกแง่ดี ท�ำให้นักเรียนมีชีวิตชีวา และขยันท�ำงาน เปน็ สภาพที่ทำ� ให้ชวี ติ ครูเป็นชวี ิตทีด่ ี และมผี ลงานดี หนังสือเสนอกลยุทธสร้างการมองโลกแง่ดีและมีความหวัง ๔ ประการคือ (๑) สรา้ งรปู แบบการมองโลกแงด่ ที กุ วนั (๒) สรา้ งความหวงั ทกุ วนั (๓) สรา้ งความ คิดทีด่ ีต่อตนเอง (๔) ส่งเสริมสนับสนุนการมีความฝัน • 108 •
สร้างรปู แบบการมองโลกแง่ดีทกุ วัน เมื่อเรามองโลกในแง่ดี เท่ากับมองว่าเร่ืองร้ายเป็นสิ่งชั่วคราว มีข้อจ�ำกัด และจัดการได้ การฝึกมองโลกแง่ดีเท่ากับการฝึกมองโลกจากมุมมองท่ีแตกต่าง ครตู อ้ งหาทางใหถ้ อ้ ยคำ� ในการสนทนาประจำ� วนั เปน็ วาทกรรมของการมองโลกแงด่ ี เชน่ เมอ่ื นกั เรยี นทกั ทายครวู า่ How are you doing? ครตู อบวา่ Never be better หรอื I am living my dream หรอื It’s a great day to learn และอาจถามกลบั วา่ And how about you? ครแู สดงตวั อยา่ งใหน้ กั เรยี นเหน็ วา่ ครมู คี วามพงึ พอใจงาน ของตน ชวี ติ ของตน สภาพเชน่ นตี้ ดิ ตอ่ ไปยงั คนรอบขา้ ง คอื นกั เรยี น ไดม้ องโลกแงด่ ี จดุ สำ� คญั คอื จงใจละเลย ไมส่ นใจ หรอื มองขา้ มเรอื่ งรา้ ย หรอื ขา่ วรา้ ย เพอ่ื สรา้ ง บรรยากาศชั้นเรียนทมี่ องโลกแงด่ ี ตอ่ ไปนเี้ ป็นเครอ่ื งมอื สร้างการมองโลกแง่ดี สอนให้เดก็ มองเรื่องต่างๆ เสมอื นภาพสามมติ ิ เร่ืองราวต่างๆ มีความซับซ้อน มีหลายมิติ ครูพึงฝึกให้นักเรียนหัดมองเร่ือง ราวต่างๆ จากหลายแงห่ ลายมุม วธิ ีฝึกท�ำโดยจบั คูน่ กั เรียน ครูให้ฉากสถานการณ์ แล้วให้นักเรียนผลัดกันเสนอมุมมองต่อเพ่ือน ทั้งมุมมองด้านบวก และมุมมอง ดา้ นลบ ตวั อย่างฉากสถานการณ์ เช่น ตัวนักเรียนได้รับคะแนนผลการทดสอบต่�ำ นักเรียนจะใช้ให้เป็นประโยชน์ ตอ่ ตนเองได้อยา่ งไร ตัวนักเรียนไม่ได้รับคัดเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยตามตัวเลือกอันดับหนึ่ง ทีร่ ะบุ สภาพเชน่ น้ันมขี อ้ ดีอย่างไร นักเรียนไปสมัครงานแตไ่ มไ่ ด้รบั เลือก มองวา่ เปน็ เรอ่ื งดไี ดอ้ ย่างไร ครูอาจเล่าเรื่องจริงในชีวิตของตนเอง เพื่อให้เห็นว่าชีวิตจริงมีหลายแง่มุมจริงๆ เปิดโอกาสให้นักเรยี นซักถาม และใหค้ วามคิดเห็นเพอ่ื ใหไ้ ด้ซมึ ซับ • 109 •
ใชค้ ำ� ทสี่ รา้ งพลงั ครฝู กึ ใหน้ กั เรยี นใชค้ ำ� พดู ในชวี ติ ประจำ� วนั ทส่ี รา้ งพลงั หรอื บง่ บอกถงึ สง่ิ ทส่ี งู สง่ ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน โดยมตี ัวอยา่ งวิธฝี กึ ต่อไปนี้ ใหน้ ักเรียนระดมความคดิ หาคำ� หรอื วลที ี่มีพลังบวก ๑๐ ค�ำหรอื วลี ใหน้ ักเรียนใชเ้ วลา ๓ - ๕ นาที เขยี นเล่าเรอ่ื งดๆี ในสปั ดาห์ทผ่ี า่ นมา ใหน้ กั เรยี นใช้ เขยี นเวลา ๓ - ๕ นาที เขยี นเลา่ เรอื่ งทก่ี อ่ ปญั หา และสะทอ้ น คิดบทเรยี นจากเร่อื งนนั้ ให้นักเรียนเลือกคำ� ทกี่ อ่ พลงั ประจ�ำวนั และใช้คำ� น้ันอีก ๕ คร้ัง จงอยา่ ใหค้ ะแนนกจิ กรรมเหลา่ น้ี เพอื่ สง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นมงุ่ เรยี นรเู้ พอ่ื ฝกึ ตนเอง ไมใ่ ชท่ ำ� เพอื่ คะแนน เอาชนะความล้มเหลว ทกุ คนเคยลม้ เหลว ประเดน็ สำ� คญั คอื เราทำ� อะไรหลงั ความลม้ เหลวนน้ั ความลบั คอื เมอ่ื เราลม้ เราลุกขนึ้ ดังนัน้ บทเรียนจากความล้มเหลวคอื จงอยา่ ถอย ท้อได้ แตอ่ ยา่ ถอย จงพยายามตอ่ ไป โดยใชค้ วามผิดพลาดเป็นครู แนะน�ำให้ครูแชร์เรื่องราวความล้มเหลวของตนในอดีต แล้วให้นักเรียนแชร์ ตวั อยา่ งเรอ่ื งราวความลม้ เหลวตอ่ เพอ่ื นทงั้ ชนั้ แลว้ ตงั้ คำ� ถามวา่ ควรทำ� อยา่ งไรตอ่ ไป เทคนิค “เขียนอย่างเร็ว” (quick write) จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจตนเอง และ มองโลกต่างออกไป ท�ำโดยให้เวลา ๓ - ๑๐ นาที เขียนวิธีเอาชนะความล้มเหลว เช่น ให้ตอบค�ำถามฉันจะแก้ปัญหาท่ีก�ำลังเผชิญอย่างไร หรือ ฉันจะยกระดับ เกรดที่ได้ในการทดสอบคร้ังต่อไปได้อย่างไร แล้วให้นักเรียนแชร์ข้อเขียนกับเพื่อน เปน็ กลมุ่ หรอื แชร์กบั เพอ่ื นทง้ั ช้นั เขาแนะน�ำหนังสือ The Success Principles เขียนโดย Jack Canfield (2015) ส�ำหรับเป็นคู่มือหาวิธีการสร้างเจตคติเชิงบวกในช้ันเรียนประจ�ำวันเพื่อ การเปล่ยี นแปลงพฤติกรรมนกั เรียน • 110 •
สรา้ งความหวังทกุ วัน การสร้างความหวังทุกวัน เป็นกระบวนการปลูกฝังความเชื่อว่าชีวิตคนเรา มีโอกาสทำ� สงิ่ ท่มี คี ุณคา่ ได้ ครูเรมิ่ โดยการสรา้ งปฏสิ มั พนั ธ์กบั นกั เรยี นในลกั ษณะ ที่ให้เกียรติ และเข้าใจความคิดของนักเรียน แค่นี้ก็ช่วยให้นักเรียนมีความหวัง นอกจากนัน้ ยังมเี คร่ืองมอื สรา้ งความหวงั ดังตวั อย่าง สอนการต้งั เปา้ การจัดการอนาคตของตนเองเป็นการสร้างความหวัง ฝึกนักเรียนให้เขียน เปา้ หมายใหญข่ องตน และตารางเปา้ หมายรายทางบนกระดาษ โดยมชี ว่ งเวลาของ แตล่ ะเปา้ มชี อ่ งใหก้ รอกความกา้ วหนา้ ครสู อนนกั เรยี นใหป้ ระเมนิ ความกา้ วหนา้ เปน็ นำ� มาเปน็ ขอ้ มลู ป้อนกลับ เพอื่ ปรับปรงุ วิธที ำ� งานสู่ผลงานท่ีดยี ิ่งขน้ึ แสดงความก้าวหน้าประจ�ำวนั ครูจัดให้มีแผ่นภาพแสดงเป้าหมายของช้ันเรียน และความก้าวหน้าติดใน ห้องเรียน อาจแสดงรายงานความก้าวหน้าของทีม อาจแนะน�ำให้นักเรียนแต่ละ คนเขยี นรายงานความก้าวหน้าของตนเอง การไดเ้ ห็นความกา้ วหนา้ เป็นการสรา้ ง ความหวงั ใชค้ �ำยนื ยนั ความหวัง ท�ำให้เป็นวัฒนธรรมของช้ันเรียนว่าทุกคนจะพูดค�ำปลุกใจ ให้พลังแก่กันและกัน ในชั้นเรียนประจ�ำวัน เช่น “สวัสดีครับคุณไฟแรง” “ครูชอบบทกลอนของเธอ คณุ กวีนอ้ ย” อาจจัดท�ำโปสเตอร์ มีค�ำปลุกใจ ติดในห้องเรียน เช่น “ยิ่งท�ำงานหนัก ฉันยิ่ง โชคด”ี อาจแนะนำ� นกั เรยี นให้อา่ นหนังสอื เกย่ี วกบั ความหวังและความส�ำเรจ็ อาจก�ำหนดให้นักเรียนผลัดกันเขียนค�ำหรือวลีแสดงความหวัง น�ำมาอ่าน หน้าช้นั • 111 •
สรา้ งแนวความคดิ ของตนเอง และยกระดับความพยายาม ครูต้องหม่ันยืนยันจุดแข็งของนักเรียนแต่ละคน และต้องสนับสนุนให้นักเรียน สร้างแนวความคิดของตนเอง และเพ่ิมระดับความมานะพยายามของตน การมุ่ง ส่งเสริมด้านท่ีเป็นจุดแข็งจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้การแก้ไขจุดอ่อน และรู้จักใช้ ประโยชน์ของคำ� แนะน�ำป้อนกลบั วิธกี ารสำ� หรบั ครมู ีดังต่อไปนี้ หนึง่ นาทีแห่งพลงั ให้นกั เรียนเล่าเรอ่ื งทม่ี ีพลงั เร่ืองละ ๑ นาที ในประเดน็ ตอ่ ไปน้ี ความสามารถพิเศษของตน คนทตี่ นไดช้ ว่ ยเหลอื เมอ่ื เร็วๆ นี้ สิ่งทีต่ นยกยอ่ งในคนอื่น เร่ืองราวการชว่ ยเหลือเพอื่ นเม่อื เรว็ ๆ น้ี การบรรลเุ ปา้ หมายรายทางหรือเป้าหมายรายทางเม่ือเร็วๆ นี้ โดยจดั ใหม้ ขี น้ึ สปั ดาหล์ ะครงั้ ครง้ั ละ ๓ - ๔ นาที เหมาะทส่ี ดุ คอื จดั ในวนั จนั ทร์ หรือวนั ศกุ ร์ แต่ละคร้งั มีนักเรียน ๓ - ๔ คน เปน็ ผู้พูด โดยอาจพดู ในเวทแี บบใด แบบหน่งึ ใน ๔ แบบ ได้แก่ (๑) เขียน (๒) บอกตอ่ เกลอรว่ มเรียน (๓) บอกใน ทมี รว่ มเรยี นรหู้ รอื ทำ� โครงงาน (๔) เลา่ ในชน้ั เรยี นทงั้ ชนั้ หมนุ เวยี นสบั เปลยี่ นกนั ไป โดยต้องให้เกียรติความเป็นส่วนตัวของนักเรียนด้วย รวมท้ังครูต้องไม่สรรเสริญ ความฉลาดของนักเรียน แต่ชมความพยายาม กลยุทธ การเลือกประเด็น และ เจตคติของนักเรียน เพราะการชมความฉลาดจะก่อ “ชุดความคิดหยุดน่ิง” (fixed mindset) ส่วนการชมแบบหลังช่วยปลูกฝัง “ชุดความคิดเจริญเติบโต” (growth mindset) • 112 •
เชื่อมโยงความส�ำเร็จของนักเรยี นสู่เปา้ หมายท่ยี ่ิงใหญ่ สิ่งที่ครูใช้คือ attribution ซ่ึงหมายถึงการเชื่อมโยงการกระท�ำกับผลที่เกิดขึ้น เพ่ือให้นักเรียนตระหนักว่าส่ิงที่ตนก�ำลังท�ำนั้นจะน�ำไปสู่การบรรลุผลท่ีตนใฝ่ฝัน เปน็ การยนื ยนั ความสามารถของนกั เรยี น โดยอธบิ ายเชอื่ มโยงรายละเอยี ดของการ กระท�ำไปสู่ผลที่เห็น ตัวอย่างท่ีไม่ถูกต้องคือ “สมศักด์ิ เธอเขียนได้ดีมาก” ค�ำพูด ที่มีพลังกว่าคือ “สมศักด์ิการท่ีเธอเขียนอธิบายกลยุทธ์ท�ำให้ครูเข้าใจชัดเจนว่าเธอ กำ� ลงั บอกอะไร และกลยทุ ธนจี้ ะชว่ ยใหเ้ ธอประสบความสำ� เรจ็ ในการตพี มิ พห์ นงั สอื ออกเผยแพร่” ครูต้องใช้ค�ำพูด attribution ท่ีเหมาะสมต่ออายุ หรือระดับความเข้าใจของ นักเรยี น แบง่ ออกเป็น ๔ ระดบั คอื ระดับ ๑ (อายุ ๕ - ๖ ปี) พึงตระหนักว่า นักเรียนยังไม่เข้าใจความแตก ตา่ งระหว่างความพยายามกับความสามารถ หรือระหวา่ งเหตกุ บั ผล ระดับ ๒ (อายุ ๗ - ๙ ปี) นักเรียนเชื่อมโยงผลส�ำเร็จกับความพยายาม เท่านนั้ ระดบั ๓ (อายุ ๑๐ – ๑๑ ป)ี นกั เรยี นเรมิ่ แยกแยะความพยายามออกจาก ความสามารถได้ แตบ่ างคร้งั ก็สบั สน ระดับ ๔ (อายุ ๑๒ ปีข้ึนไป) นักเรียนเข้าใจความแตกต่างระหว่างความ พยายามกับความสามารถอย่างชดั เจน นามานกุ รมของช้ันเรียน ครสู ง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นทำ� แฟม้ หรอื เฟซบกุ๊ ระบจุ ดุ แขง็ หรอื ความสามารถพเิ ศษ ของนักเรียนแต่ละคน คนละ ๒ - ๓ อย่าง และอาจเติมความสามารถพิเศษของ เพ่ือน หรือคนในครอบครัว สามารถใช้เป็นแหล่งค้นหาผู้เช่ียวชาญเฉพาะด้านใน ชนั้ ทน่ี กั เรยี นไปขอความชว่ ยเหลอื ได้ เชน่ ผเู้ ชย่ี วชาญการแกป้ ญั หาโทรศพั ทม์ อื ถอื ผเู้ ชย่ี วชาญการซอ้ื เสอื้ ผา้ ผเู้ ชยี่ วชาญแบดมนิ ตนั ผเู้ ชยี่ วชาญวชิ าคณติ ศาสตร์ ฯลฯ • 113 •
สง่ เสริมสนับสนุนการมีความฝัน วิธีช่วยให้เด็กค่อยๆ พัฒนาความคิด เส้นทางชีวิตและความสามารถ ท�ำโดย ตัง้ ค�ำถามเรือ่ งความฝนั เร่ืองอนาคตของตนเอง ค�ำถามเชิงขดุ ลกึ เข้าไปภายในตนท่ี นักเรียนถามตนเองต่อไปนี้ จะช่วยให้นักเรียนคิดถึงอนาคต และความสามารถใน ปัจจบุ นั ของตนเอง ฉันอยากเป็นอะไรใน ๕ ปี ๑๐ ปี และ ๑๕ ปี ขณะนฉ้ี ันมีความสามารถพเิ ศษอะไรบา้ ง ฉันจะช่วยคนอน่ื ไดอ้ ยา่ งไรบา้ ง ฉันอยากเป็นคนชนิดไหน นกั เรยี นอาจตอบคำ� ถามเหลา่ นอ้ี อกมาเปน็ เพลง ภาพวาด บทกวี ขอ้ เขยี น หรอื เล่า แชร์กับเพื่อนๆ ซึ่งจะช่วยให้ความฝันชัดเจนย่ิงข้ึน โดยต้องมีกติกาในชั้นว่า ห้ามดับฝัน เม่ือนักเรียนคนใดคนหนึ่งแชร์ความฝันอาจไม่มีเพ่ือนสนับสนุนเลย แตจ่ ะมคี นคนหน่งึ ท่ีสนบั สนนุ คอื ครู เมื่อใดก็ตามท่ีนักเรียนเสนอความฝันที่ดูเสมือนเพ้อฝัน ครูต้องชวนเด็กว่า “มา... เรามาวางแผนกนั ” • 114 •
๑๐ สร้างเจตคติเชิงบวก บันทึกน้ีเป็นบันทึกท่ี ๓ ใน ๔ บันทึก ภายใต้ชุดความคิดบวก (positivity mindset) ตคี วามจาก Chapter 8 : Build Positive Attitudes เป้าหมายของเจตคติเชิงบวกในท่ีนี้ เป็นเจตคติต่อผู้อ่ืน ไม่ใช่ต่อตัวเอง โดยใช้ เครอื่ งมอื ๓ ชนิ้ คอื (๑) สรา้ งความรสู้ กึ กตญั ญรู คู้ ณุ (๒) ทำ� งานบรกิ ารสงั คม และ ท�ำกจิ กรรมทแ่ี สดงความเมตตากรุณา (๓) มีความรับผดิ ชอบต่อตนเองและกำ� กับ ตนเอง สร้างความรูจ้ ักกตัญญรู ู้คณุ มผี ลงานวจิ ยั ในเดก็ วยั แรกรนุ่ ในสหรฐั อเมรกิ า วา่ การฝกึ ความรจู้ กั กตญั ญรู คู้ ณุ ช่วยให้ระดับการมองโลกแง่ดีที่ตนเองประเมิน (self-reported optimism) สูงข้ึน ความพงึ พอใจในชวี ติ เพมิ่ ขนึ้ ลดความคดิ ดา้ นลบ และขอ้ คน้ พบทมี่ นี ำ�้ หนกั ทส่ี ดุ คอื ความพงึ พอใจต่อประสบการณท์ ี่โรงเรยี นเพิ่มขึน้ มีผลงานวิจัยบอกว่า การฝึกความรู้จักกตัญญูรู้คุณ ช่วยสร้างการเช่ือมต่อ ใยประสาท ที่ช่วยปกป้องความเครียดและความคิดเชิงลบ ความมีกตัญญูรู้คุณ เป็นท้ังเร่ืองส่วนบุคคล และเร่ืองทางสังคม เม่ือเราแสดงความรู้สึกเป็นหน้ีบุญคุณ ต่อคนท่เี ราคบ ความสมั พันธ์จะแนน่ แฟน้ ข้ึน • 115 •
เนอื่ งจากนกั เรยี นมกั ยงั ไมม่ ที กั ษะน้ี กศุ โลบายงา่ ยๆ คอื จดั ใหน้ กั เรยี นแตล่ ะคน มี “บัญชีคลงั อารมณ์” (emotional bank account) ซ่ึงมรี ายการต่อไปนี้ ท�ำความดีและมีคนเหน็ ได้รบั การสนับสนนุ ในความพยายามหรือกลยทุ ธ ได้รบั ค�ำชมในเรือ่ งเจตคติ ชว่ ยเหลอื ผู้อื่น ได้รับความชน่ื ชมในการชว่ ยเหลอื มีความส�ำเร็จในการพฒั นางาน เฉลิมฉลองชยั ชนะของช้นั เรยี น ให้นักเรียนแต่ละคนลงบัญชีฝากธนาคาร เพื่อจะได้มีสติระลึกถึงความกตัญญู รู้คุณโดยเริ่มที่ครูท�ำเป็นตัวอย่าง ครูแชร์ความรู้สึกขอบคุณท่ีตนสุขภาพดี มีครอบครัวดี มีงานดี มีเพ่ือนดี อากาศดี ฯลฯ หลักการคือ เด็กๆ ต้องการให้ ผ้ใู หญ่ท�ำเปน็ ตวั อย่าง เขาแนะน�ำหลกั การ (ท่ไี ดจ้ ากงานวจิ ยั ) ในการพัฒนาความกตญั ญรู คู้ ณุ ดงั น้ี ใหเ้ ปน็ เรอื่ งของบคุ คล เขาแนะนำ� วา่ การโฟกสั ความกตญั ญรู คู้ ณุ ไปยงั บคุ คล ใหผ้ ลตอ่ การพัฒนาจิตใจสูงกวา่ โฟกสั ไปท่สี ิง่ ของ เริ่มจากการก�ำหนดเป้าหมาย ท�ำโดยเขียนบันทึกส่วนตัว หรือบันทึกของ ช้ันเรียน ก�ำหนดเปา้ หมายเชงิ บวก เชิงร้คู ณุ เนน้ ความลกึ มากกวา่ ความกวา้ ง โฟกสั ทเ่ี รอ่ื งเดยี ว เพง่ พนิ จิ ลงรายละเอยี ด ใหผ้ ลดกี วา่ ทำ� หลายๆ เรือ่ ง ใช้จินตนาการ จินตนาการและใคร่ครวญสะท้อนคิดว่าชีวิตของตนจะ เปน็ อย่างไร หากไมม่ ีเหตกุ ารณบ์ างอย่างที่ก่อผลดี ใคร่ครวญสะท้อนคิดต่อเรื่องดีๆ ทุกสัปดาห์ มีผลงานวิจัยบอกว่าการ เขยี นบนั ทกึ สะทอ้ นคดิ เชงิ รคู้ ณุ ทกุ สปั ดาหใ์ หผ้ ลดกี วา่ เขยี นทกุ วนั เขาอธบิ ายวา่ การ ท�ำทุกวันอาจกอ่ ความเคยชิน • 116 •
หลังจากนักเรียนคุ้นกับการแชร์ความรู้สึกรู้คุณทุกวัน ผสมผสานวิธีการโดยใช้ ๕ แนวทางตอ่ ไปน้ี ๑. แชร์กบั เพือ่ นคหู่ คู นหนึง่ ๒. เขียนบนั ทกึ ๓. เร่มิ จากเลก็ เรมิ่ จากแชร์เรื่องเล็กๆ ๔. แชร์ในวง แชร์ในวงเล็กๆ หลังจากแต่ละคนพูด สมาชิกของวงคนอ่ืนๆ กลา่ วขอบคณุ ๕. ท�ำโปสเตอร์ โดยร่วมกันท�ำกับเพ่ือนหรือทีมเล็กๆ ติดไว้ในห้อง หรืออาจ ทำ� เป็นโปสเตอร์ที่เพ่มิ เตมิ ภายหลังได้ ผู้รว่ มทำ� ทุกคนลงชื่อในโปสเตอร์ ใหน้ กั เรยี นทำ� กจิ กรรมนวี้ นั ละ ๕ - ๗ นาที ๓ ครง้ั ตอ่ สปั ดาห์ เปน็ เวลา ๒ - ๖ เดอื น โดยค่อยๆ เพม่ิ ความซบั ซ้อนหรอื ความท้าทาย เพอื่ ไมใ่ ห้นักเรียนเบื่อ ท�ำงานบริการสงั คม และทำ� กิจกรรมทีแ่ สดงความเมตตากรุณา มผี ลงานวิจยั ยนื ยันวา่ การกระท�ำทแี่ สดงความมเี มตตากรณุ าทที่ ำ� ทุกวัน มผี ล สร้างความเปล่ียนแปลงทั้งต่อชีวิตของผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้รู้สึกมีความสุขเพิ่มข้ึน โครงการสร้างบุคลิกที่ดีให้แก่เด็ก มีกลยุทธง่ายๆ ในการท�ำให้เด็กมีเป้าหมายเป็น ผูใ้ ห้ (net giver) มากกว่าเป็นผู้รบั (net taker) ผลงานวิจัยชิ้นหน่ึงบอกว่า ความสุขจะพุ่งสูงมากเมื่อมีการกระท�ำเพื่อผู้อ่ืน ๓ - ๕ คร้งั ต่อวัน สูงกวา่ ท�ำวันละครงั้ ทกุ วัน เขาจึงแนะนำ� ให้มี ๑ วนั ในสปั ดาหท์ ่ี นกั เรยี นไดท้ ำ� กจิ กรรมเพอ่ื สงั คม หรอื แสดงความเมตตากรณุ าตอ่ ผอู้ น่ื อยา่ งเขม้ ขน้ งานบริการสงั คม การทำ� งานบรกิ ารสงั คม เปน็ การทำ� กจิ กรรมเพอื่ ประโยชนข์ องผอู้ นื่ นกั เรยี นจะ สนใจทำ� เพราะตนเอง (๑) รสู้ กึ ดี (๒) รสู้ ึกว่าตนมีความสามารถ (๓) รู้สกึ วา่ ได้ ท�ำสงิ่ ทมี่ ีคณุ คา่ ตอ่ ผ้อู ่นื • 117 •
ครูสามารถหาข่าวหรือข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย ส�ำหรับน�ำมาคิดกิจกรรม ใหน้ กั เรยี นทำ� เช่น ขา่ วทอ้ งถน่ิ หรอื ระดบั ประเทศ หากจิ กรรมทมี่ อี ยแู่ ลว้ และเมอ่ื ทำ� แลว้ มผี ใู้ ช้ บรกิ ารจ�ำนวนมาก กิจกรรมของสวนสาธารณะ ชายหาด หรือแม่น้�ำล�ำธาร เพื่อจัดการด้าน สภาพแวดล้อม รวมทง้ั จดั การด้านบริการผ้มู าพกั ผอ่ น สถานดแู ลคนชรา หรอื ผปู้ ว่ ยเรอ้ื รงั อาจใหน้ กั เรยี นชว่ ยทำ� ความสะอาดสถานที่ ทำ� ความสะอาดร่างกาย หรอื ทำ� หน้าทีค่ ลา้ ย care giver กจิ กรรมชว่ งเทศกาล เชน่ ชว่ งเทศกาลปใี หม่ เทศกาลสงกรานต์ นกั เรยี นอาจ ทำ� งานอาสาดา้ นชว่ ยเหลอื ผเู้ ดนิ ทาง ชว่ ยเหลอื ดา้ นการจราจร ดา้ นชว่ ยเหลอื ผบู้ าดเจบ็ หรอื ชว่ ยบรกิ ารในสถานท่ีทอ่ งเทยี่ ว ครูควรศึกษาแนวทางของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ซึ่งผมได้เขียนบันทึกไว้ที่ https:// www.gotoknow.org/posts/tags/ฉอื จ้ี ซง่ึ หลกั การสำ� คญั คอื ผใู้ หต้ อ้ งขอบคณุ ผรู้ บั และตอ้ งทำ� กจิ กรรมทแี่ สดงเมตตากรณุ าตอ่ ผอู้ นื่ อยา่ งสมำ่� เสมอตามทตี่ งั้ ปณธิ านไว้ และมกี ารจดบนั ทกึ โดยผมขอเพมิ่ เตมิ วา่ ในบนั ทกึ ควรบนั ทกึ การสะทอ้ นคดิ ความรสู้ กึ ของตน ทำ� กิจกรรมท่แี สดงความมีเมตตากรุณา มีผลการวิจัยบอกว่า การให้นักเรียนประถมท�ำกิจกรรมที่แสดงความเมตตา ๓ ครัง้ ตอ่ สัปดาห์ เปน็ เวลา ๔ สัปดาห์ มีผลใหเ้ พอื่ นยอมรบั นักเรียนผ้นู น้ั มากขนึ้ และมผี ลสะท้อนตอ่ ในการท�ำให้นกั เรยี นผู้น้นั มคี วามประพฤติดีขึ้น ในนักเรียนช้ันมัธยม พบว่าการให้นักเรียนท�ำกิจกรรมที่แสดงความเมตตา ทุกวัน ทำ� ใหน้ กั เรยี นมีความประพฤตดิ ีขึ้น และผลการเรียนดีขึ้น การให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมท่ีแสดงความเมตตาเป็นเร่ืองง่าย ท�ำได้โดยให้ ทำ� กจิ กรรมสองอยา่ งนี้ • 118 •
สามมนตรา มนตราถ้อยค�ำ ๓ ค�ำคือ ให้เกียรติหรือเคารพ (respect) เห็นพ้อง (agree) และช่ืนชม (appreciate) โดยมีตัวอย่างการใช้มนตราของครู เม่ือนักเรียนเร่ิม โตแ้ ยง้ กนั ครแู ทรกแซงโดยกลา่ วคำ� วา่ “ครเู คารพ สทิ ธใิ นการความคดิ เหน็ ทแี่ ตกตา่ งกนั ของนกั เรยี น ...” และอาจกล่าวตอ่ วา่ “ครเู หน็ พ้องกบั การมีแนวความคิด ...” ในตอนทา้ ยครอู าจกลา่ ววา่ “ครชู นื่ ชมทน่ี กั เรยี นทำ� งานนอ้ี ยา่ งจรงิ จงั การนำ� เอาความคิดเห็นท่ีแตกต่างมาตีความ เรียนรู้ ท�ำความเข้าใจ เป็นส่ิงมีค่าย่ิงต่อ การเรียนรขู้ องนักเรยี น” จะสังเกตว่า ถ้อยค�ำสามค�ำนี้ช่วยสร้างบรรยากาศของการรับฟัง และเข้าใจ ความคิดของผู้อื่น เพราะครูแสดงทา่ ทรี ับฟงั รายการกจิ กรรมเออ้ื เฟอ้ื ครสู ง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นแตล่ ะคนจดั ทำ� รายการกจิ กรรมทแี่ สดงความเออื้ เฟอ้ื ทตี่ น ตงั้ ใจจะทำ� เอาไว้เตือนใจ ตัวอย่างเชน่ ระหว่างรอควิ ใหเ้ พอื่ นทรี่ บี รอ้ นได้ลดั ควิ ก่อน แบง่ ปันอาหาร ขนม ภาพยนตร์ หรอื เพลง ชว่ ยเพอ่ื นซ่อมของ ชว่ ยเพ่อื นทำ� การบ้าน ช่วยยนื่ ทิชชใู หเ้ พอ่ื น เมอื่ เพ่ือนจาม สง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นเลา่ เรอ่ื งราวของการแสดงนำ�้ ใจเออ้ื เฟอ้ื ซง่ึ นอกจากจะสง่ ผล ให้นักเรียนมีความสุข ยังจะสร้างวัฒนธรรมของโรงเรียนที่สมาชิกมีความเอื้อเฟื้อ ต่อกันในระยะยาว • 119 •
พฒั นาความรบั ผดิ ชอบตอ่ ตนเอง และก�ำกบั ตนเอง นี่คือการฝึกนักเรียนให้เป็นคนไม่ดูดาย เมื่อเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ท่ีต้องการ ความชว่ ยเหลอื และตนอยใู่ นฐานะทจี่ ะชว่ ยได้ กไ็ มด่ ดู าย ไมห่ ลกี เลยี่ ง มคี ำ� กลา่ ววา่ ชวี ติ ของเราจะเปน็ อยา่ งไรในอนาคต ไมไ่ ดข้ นึ้ กบั วา่ ตอ่ ไปจะมอี ะไรเกดิ ขนึ้ ตอ่ ตวั เรา แต่ขึ้นกับตัวเราท�ำอะไรต่อสิ่งที่เกิดข้ึน ซึ่งเป็นค�ำพูดที่ส่งเสริมให้ผู้คนสร้างตัวจาก การกระท�ำของตนเอง ไมร่ อโชคช่วย ตอ่ ไปนเี้ ปน็ เครอ่ื งมอื ๕ ชนิ้ ทชี่ ว่ ยใหน้ กั เรยี นฝกึ เปน็ ผกู้ ำ� หนดอนาคตของตนเอง กำ� กบั สมองของตนเอง ฝึกนักเรียนให้มที กั ษะตอ่ ไปน้ี ทักษะลดความเครยี ด (มรี ายละเอียดในตอนท่ี ๑๘) ทักษะเล่ียงความยว่ั ยวน (หนั เหความสนใจ เลีย่ งไปใหห้ า่ ง รจู้ ักปฏเิ สธ) วิธีจัดการความรู้สึกไม่พอใจ (ระบายกับเพื่อนสนิท ออกก�ำลังกาย เขียน ระบายความรู้สึก หรือใคร่ครวญสะท้อนคิดหาทางรอมชอม) วธิ จี ดั การคำ� แนะนำ� ปอ้ นกลบั เชงิ ลบโดยฝกึ ใหเ้ ขยี นบอกความรสู้ กึ และฝกึ พดู ขอคำ� แนะน�ำว่าควรปรบั ปรุงอย่างไร ซึ่งเปน็ ทักษะแปรลบเป็นบวก วธิ ที ำ� กจิ กรรม “คยุ กบั ตวั เองเชงิ สรา้ งสรรค”์ (constructive self-talk) โดย ครูท�ำเป็นตัวอย่าง และมอบการบ้านรายสัปดาห์ให้ทำ� เป็นคู่ร่วมกับเพ่ือน ตัวอย่าง ข้อเขียน เช่น “ฉันเรียนตก จะต้องเร่งให้ทันเพ่ือน จะต้องเริ่มเปลี่ยนนิสัยต้ังแต่ เดยี๋ วน”ี้ “ฉนั ลมื ทำ� การบา้ น ฉนั ควรจดไว้ ตอ่ ไปนฉ้ี นั จะจดสงิ่ ทตี่ อ้ งทำ� ไวก้ นั ลมื ” “วนั น้ี ฉนั ทะเลาะกบั เพอื่ นในเรอื่ งไมเ่ ปน็ เรอื่ ง โดยฉนั เปน็ ผกู้ อ่ ตอ่ ไปฉนั จะมสี ติ ไมแ่ สดง อารมณฉ์ ุนเฉยี วตอ่ ผอู้ ื่น” • 120 •
การกำ� กบั สมองของตนเอง อาจทำ� ไดโ้ ดยผา่ นการกำ� กบั ตนอง (self-regulation) โดยให้นกั เรียนฝึกทักษะตอ่ ไปน้ี ไมห่ นุ หันพลนั แล่น มองคนอนื่ ในแงด่ ี สงั เกตนานๆ เรยี นจากขอ้ ผดิ พลาด ท�ำตามทผ่ี ใู้ หญข่ อร้อง อยา่ งเหมาะสม รอคอยสิง่ ทด่ี ีกวา่ จัดการความเครียด จดั การความคิดลบของตนเอง อดกลนั้ ไม่โกรธงา่ ย คิดกอ่ นทำ� ทำ� ความเขา้ ใจสถานการณ์ เรยี นจากตัวอย่างในโลกแหง่ ความเปน็ จริง ครูแชร์ตัวอย่างจากเร่ืองจริง หนังสือ หรือค�ำคม กับนักเรียน ให้นักเรียนได้ ตระหนักว่าการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง ก�ำกับตนเอง เป็นทักษะชีวิตท่ี ต้องเรยี นรไู้ ปตลอดชวี ิต สรา้ งกรอบความคิดเชงิ บวก ฝกึ ทกั ษะใหน้ กั เรยี นเปลยี่ นจากกรอบความคดิ ลบเปน็ ความคดิ บวก เชน่ แทนท่ี จะคดิ วา่ “ชวี ติ บดั ซบ” เปลย่ี นเปน็ คดิ วา่ “วนั นเี้ ปน็ วนั ซวย” แทนทจ่ี ะคดิ วา่ “ฉนั มนั โง”่ เปลยี่ นเปน็ “ฉนั ตอบขอ้ ทดสอบนไ้ี ดไ้ มด่ ”ี ครคู วรสอนนกั เรยี นใหไ้ มห่ มกมนุ่ อยกู่ บั เรอ่ื งรา้ ยๆ • 121 •
จัดการความคิดเชิงลบอย่างสรา้ งสรรค์ ครูจัดท�ำโปสเตอร์ “ส่ิงที่ควรท�ำห้าขั้นตอน เมื่อท�ำงานไม่ส�ำเร็จ” ติดไว้ใน หอ้ งเรยี น ดงั นี้ (๑) หายใจยาวๆ (๒) บอกตวั เองวา่ “ฉนั ทำ� ได”้ (๓) เขยี นรายการ ๓ อย่างที่จะท�ำต่างจากเดิม (๔) ลองท�ำวิธีที่เลือกว่าดีท่ีสุดใน ๓ ทางเลือก (๕) ประเมนิ ผล แลว้ เดนิ หนา้ ตอ่ หรือยอ้ นกลบั ไปท่ขี นั้ ที่ (๑) จงอย่าต�ำหนินักเรียนเพราะเด็กจะไม่ได้เรียนรู้ อย่าบอกเด็กว่าให้ (หรือห้าม) ท�ำโน่นท�ำน่ี ให้แนะน�ำวิธีแสดงพฤติกรรม เช่น แนะน�ำนักเรียนท่ีก�ำลังสับสนหรือ ไม่พอใจ ให้พูดว่า “ผม (หรือหนู) ขอโทษที่ท�ำผิดพลาด แต่ผมไม่รู้ว่าจะท�ำใน แนวทางอื่นได้อย่างไร กรุณาช่วยแนะน�ำ กรุณาบอกวิธีการท่ีถูกต้อง อย่าเพียง บอกวา่ ที่ผมท�ำน้ันผดิ ” เลอื กการตอ่ สู้ สอนนักเรียนว่าอย่าทะเลาะ หรือโต้แย้งกับคนที่ก�ำลังโกรธ โดยครูท�ำเป็น ตัวอย่าง เมื่อศิษย์เกเรบางคนอาละวาด ครูพูดว่า “ครูเคารพข้อคิดเห็นของเธอ และชนื่ ชมทเ่ี ธอมคี วามคดิ ของตวั เอง ทพี่ ดู มานคี้ รไู มร่ สู้ กึ วา่ ตวั เธอพดู และครตู อ้ งหา ทางท�ำความเข้าใจ เราหาเวลาคุยกันทีหลังจะดีกว่า เพ่ือให้การเรียนรู้ของเพ่ือนๆ ในชั้นเดินต่อได้” ค�ำแนะน�ำคือ ให้หายใจเอาความคิดดีๆ ความคิดเชิงบวก เข้าไป และหายใจเอาความเครียดออกไป พึงมีสติว่าครูและนักเรียนที่เหลือมีส่ิงท่ีส�ำคัญ กว่ารอ • 122 •
เรอื่ งเลา่ จากห้องเรยี น คุณครูต้อง – นฤตยา ถาวรพรหม ผู้สอนหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ระดับ ชั้น ๒ เขียนบันทึกสั้นๆ เลา่ ถึงผลการทำ� กิจกรรม “ตัง้ เปา้ หมาย” เอาไว้ว่า วนั น้ี ๗ สิงหาคม ๖๒ ฉนั ทำ� กิจกรรมตั้งเปา้ หมายกบั เด็กๆ ห้อง ๒/๑ แล้ว รูส้ กึ ว่าพวกเขา ต้ังใจมองตนเองได้ดีมาก เด็กๆ หลายคนสะท้อนปัญหาของตัวเองลึกซ้ึง มาก ตอนท้ายคาบพวกเขายงั สะทอ้ นความรู้สึกและสิ่งทีเ่ ขาได้เรียนรเู้ อาไวไ้ ดด้ ีมากๆ เดก็ คนหนง่ึ บอกวา่ “หนรู สู้ กึ ดที ร่ี วู้ า่ ปญั หาของหนกู ค็ ลา้ ยๆ กบั เพอื่ น และดใี จทวี่ ธิ กี าร ที่หนคู ิดชว่ ยเพ่อื นไดด้ ว้ ย” “ผมเห็นว่า ทุกคนไม่มีใครเก่งเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้แต่คนเก่งๆ ก็ไม่เต็มร้อย เพราะเราทกุ คนมีปัญหาท่ตี อ้ งฝกึ ฝนใหเ้ ราเกง่ ขึน้ ” “หนรู ้สู ึกวา่ หนูอยากทำ� และจะตอ้ งทำ� มันให้ได้” “หนแู ปลกใจวา่ คนเกง่ ๆ เขามปี ญั หาดว้ ยเหรอ พอเขาออกมาเลา่ ทำ� ใหห้ นทู งึ่ เลย เพราะหนไู มค่ ดิ วา่ คนเกง่ จะตอ้ งแกไ้ ขอะไร หนรู สู้ กึ วา่ เราทกุ คนตอ้ งพยายามใหเ้ กง่ ขน้ึ ” ... ย่างก้าวทีส่ �ำคญั ของพวกเขาไดเ้ รมิ่ ต้นขึน้ แล้วในวนั น้ี ! เช่นเดียวกับ คุณครูกิ๊ฟ – จิตตินันท์ มากผล ครูคู่วิชาที่ได้น�ำทดลองน�ำเอา กิจกรรมการคุยกับตัวเองเชิงสร้างสรรค์ (constructive self-talk) และกิจกรรมการ กำ� กบั สมองของตนเองผ่านการก�ำกบั ตนเอง (self-regulation) ไปใช้กบั กจิ กรรมการ ต้ังเป้าหมายในช้ันเรียนของตนเอง ด้วยการให้เด็กๆ สังเกตสมุดเรียนของเพื่อนต่าง ห้องที่ครูถ่ายรูปแล้วน�ำไปฉายข้ึนจอให้ดูเพ่ือเป็นกรณีศึกษาร่วมกันไปทีละหน้า แล้ว ถามเดก็ ๆ วา่ ถา้ หนเู ปน็ เจา้ ของสมดุ เลม่ นี้ หนอู ยากจะทำ� อะไรใหด้ ขี น้ึ อกี กอ่ นทจ่ี ะให้ เวลาทกุ คนยอ้ นกลบั มาพจิ ารณาสมดุ เรยี นของตนเอง แลว้ นำ� เสนอปญั หาพรอ้ มทง้ั วธิ ี แกไ้ ขลงในกระดาษ แล้วครกู ฟ๊ิ ก็ไดพ้ บกับความมหศั จรรย์ ไม่ตา่ งไปจากครูต้องเลย... • 123 •
เจา้ ของผลงาน : เด็กหญิงกานต์ธีรา เจยี รนันทะ เจา้ ของผลงาน : เด็กชายธชั ทฤต เอ้ยี วสินทรัพย์ • 124 •
เจ้าของผลงาน : เดก็ ชายภูวัน ชัยอดิศักดิ์โสภา เจ้าของผลงาน : เดก็ หญงิ ณัฏฐา อศั วณชิ ยช์ ากร • 125 •
เจ้าของผลงาน : เดก็ หญิงเวยี นนา ไวเนอร์ เจ้าของผลงาน : เดก็ หญงิ สมชั ญา โสมาภา • 126 •
เจ้าของผลงาน : เด็กหญงิ พมิ พ์พชิ ชา บริบรู ณ์ประเสริฐ เจ้าของผลงาน : เดก็ หญงิ ปญุ ชรัสม์ิ ปยิ ะอัศวจนิ ดา • 127 •
เจา้ ของผลงาน : เด็กหญิงเพลินใจ สขุ หิ้น เจ้าของผลงาน : เด็กชายวสวตั ติ์ ยศสมศกั ด์ ิ • 128 •
๑๑ เปลี่ยนพนื้ ฐานทาง อารมณ์ บันทึกนี้เป็นบันทึกสุดท้ายใน ๔ บันทึก ภายใต้ชุดความคิดบวก (positivity mindset) ตคี วามจาก Chapter 9 : Change the Emotional Set Point กล่าวอย่างง่ายคือ อารมณ์เป็นส่ิงที่เรียนรู้ได้ ฝึกได้ คนเราเปลี่ยนพื้นฐาน ทางอารมณข์ องตนเองได้ การเรยี นรเู้ พอ่ื เปลยี่ นพน้ื ฐานทางอารมณใ์ นสายตาของผม เปน็ การเรยี นรทู้ ักษะชีวิต คนบางคนพ้นื ฐานทางอารมณค์ ือ ความไมพ่ อใจหรือโกรธ แตบ่ างคนมพี ื้นฐาน เปน็ ความสงบเย็นและพึงพอใจ ข้อมลู หลกั ฐานหรอื ทฤษฎีวา่ ด้วยพืน้ ฐานทางอารมณ์ นกั เรยี นทมี่ าจากครอบครวั ขาดแคลน มกั อยภู่ ายใตส้ ภาพจติ ใจทมี่ คี วามเครยี ด เรอื้ รงั ซงึ่ สมองจะปรบั ตวั โดยอตั โนมตั ิ โดยเปลยี่ นพน้ื ฐานทางอารมณ์ (emotional set-point) ให้ไปในทางลบมากข้ึน เชน่ ก้าวร้าวมากขนึ้ ตอบสนองนอ้ ยลง • 129 •
อารมณ์กับสมอง พฤติกรรมของคนเราข้ึนกับการเช่ือมต่อระหว่างสมองส่วนก�ำกับอารมณ์ (amygdala) กับสมองส่วนก�ำกับความคิดและพฤติกรรม (prefrontal cortex) พฤตกิ รรมในหอ้ งเรยี นทเี่ ชอ่ื มโยงกบั อารมณค์ อื การเรยี นรู้ และการฝกึ ควบคมุ ตวั เอง ความสามารถเผชญิ สถานการณข์ นึ้ อยกู่ บั ทง้ั อารมณแ์ ละการรบั รู้ (cognition) มผี ล การวจิ ยั บอกวา่ ความสามารถเผชญิ สถานการณไ์ ดด้ ชี ว่ ยลดปฏกิ ริ ยิ าตอ่ ความเครยี ด ในโรงเรยี น น�ำไปสู่ผลการเรยี นทด่ี ขี ้ึน ผลการวจิ ยั บอกวา่ การทจี่ ะเปลย่ี นพนื้ ฐานอารมณข์ องคนไดส้ ำ� เรจ็ ตอ้ งการการ ด�ำเนินการต่อเน่ืองสม่�ำเสมอ ไม่ใช่ด�ำเนินการแบบเป็นคร้ังคราวสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง ซึ่งหมายความว่าในเรื่องนี้สภาพแวดล้อมมีความส�ำคัญกว่า พนั ธุกรรม สภาพแวดล้อมที่เอือ้ ไดแ้ ก่ ความคดิ แบบใหม่ พฤตกิ รรมทีด่ กี ว่าเดมิ ร่างกายแข็งแรง มเี พอื่ นดี มีเปา้ หมายสงู ส่ง สุขภาพดี นักเรียนจากครอบครัวยากจนมักตกอยู่ใต้วงจรที่หมุนลงหรือหมุนสู่ความเส่ือม คือ พ้ืนฐานทางอารมณ์เป็นลบ น�ำไปสู่การตัดสินใจท่ีผิดพลาด ยิ่งท�ำให้พื้นฐาน ทางอารมณ์ตกต่�ำ เป็นวงจรชว่ั ร้ายท่ีอาจดำ� รงอย่ตู ลอดชวี ติ ครสู ามารถชว่ ยเหลอื ฟน้ื โอกาสมชี วี ติ ทดี่ ใี หแ้ กน่ กั เรยี นจากครอบครวั ขาดแคลน ได้โดยเปลี่ยนพื้นฐานทางอารมณ์ของนักเรียนให้เอียงไปทางบวกมากขึ้นๆ น�ำไป สู่การตัดในใจที่ถูกต้อง และยกระดับพ้ืนฐานทางอารมณ์ เกิดเป็นวงจรแห่งความ ดีงามในชวี ิตของนกั เรียน • 130 •
ความสขุ ๓ แบบ เพอ่ื ใหค้ รแู ละศษิ ยพ์ ฒั นาพน้ื ฐานทางอารมณไ์ ดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง ตอ้ งการความเขา้ ใจ ความสขุ ๓ แบบ ไดแ้ ก่ ความสขุ ชวั่ แลน่ (spontaneous happiness) เชน่ ไดก้ นิ ไอศกรมี ไดก้ ลน่ิ หอม ไดเ้ หน็ ดอกไมส้ วยงาม ไดฟ้ งั ครเู ลา่ โจก๊ เปน็ ความสขุ ทเ่ี กดิ แบบไมค่ าดฝนั สารเคมี ท่ีหล่งั ออกมาจากสมองคอื โดปามีน ความสขุ จากการทคี่ วามอยากไดร้ บั การตอบสนอง (hedonic happiness) เปน็ ความสขุ ทเี่ กดิ ขนึ้ เมอ่ื ความตอ้ งการไดร้ บั การตอบสนอง เชน่ เมอ่ื คนทเ่ี สพตดิ บางสงิ่ ไดร้ บั สงิ่ ทต่ี อ้ งการ อาจเรยี กวา่ สขุ เมอ่ื กเิ ลสไดร้ บั การตอบสนอง มลี กั ษณะ พเิ ศษคอื (๑) มคี วามอยากหรอื ความตอ้ งการลว่ งหนา้ และ (๒) บคุ คลนน้ั แสวงหา ส่ิงท่ีตนต้องการ สารท่ีหลั่งออกมาจากสมองคือ โดปามีน แต่เม่ือความอยากและ การตอบสนองเกดิ ซำ้� ๆ หลายครงั้ เขา้ การหลงั่ ปามนี จะลดลง ตอ้ งการการตอบสนอง ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นกลไกของการเสพติด โดยนัยน้ีค�ำชมของครูอาจก่อผลร้ายต่อศิษย์ กลายเป็นการสร้างการเสพติดค�ำชม อาจเรียกความสุขชนิดนี้ว่าความสุขท่ีได้จาก การเสพ ความสุขจากการได้ธ�ำรงเป้าหมายท่ีทรงคุณค่า (eudaimonic happiness อา่ นวา่ ยเู ดโมนกิ ) เปน็ ความอมิ่ เอบิ เบกิ บานใจทเี่ กดิ ขน้ึ จากการไดท้ ำ� สง่ิ ทท่ี รงคณุ คา่ มายาวนาน อาจเรยี กวา่ เปน็ ความสขุ จากฉนั ทะ หรอื เกดิ จากการไดส้ รา้ งสรรคส์ ง่ิ ที่ มีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณุ คา่ ทอี่ ยเู่ หนือผลประโยชนข์ องตนเอง ความรู้เก่ียวกับความสุข ๓ แบบ มีความหมายต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะมหี ลกั ฐานวา่ สมองตอบสนองตอ่ ความสขุ ๓ แบบ แตกตา่ งกนั เฉพาะความสขุ แบบท่ี ๓ คอื ความสขุ ทเี่ กดิ จากการสรา้ งสรรคเ์ ทา่ นน้ั ทมี่ ผี ลสรา้ งสมอง มหี ลกั ฐาน จากงานวจิ ยั วา่ ทำ� ใหส้ มองสว่ นสเี ทา (gray matter) และสว่ นสขี าว (white matter) เพิ่มข้ีน ทำ� ให้สมองท�ำงานไดเ้ พม่ิ ขนึ้ • 131 •
นอกจากนน้ั ยงั มผี ลงานวจิ ยั บอกวา่ คนทม่ี คี วามสขุ แบบท่ี ๓ มกี ารทำ� งานของยนี กอ่ การอักเสบลดลง และมีการท�ำงานของยนี สร้างภูมิคมุ้ กนั ตอ่ ไวรัส และยีนสร้าง ภูมิคุ้มกันเพ่ิมข้ึน มีผลให้อัตรามาโรงเรียนของนักเรียนมัธยมเพ่ิมข้ึน มีแนวโน้ม ของสุขภาพดีข้นึ หลกี เลย่ี งยาเสพตดิ และมชี วี ติ ท่ีปรับตัวได้ดีขน้ึ วิธีเปลีย่ นพื้นฐานทางอารมณข์ องนกั เรยี น เขาบอกว่า มีวิธีเปล่ียนพ้ืนฐานทางอารมณ์ของนักเรียน ๒ แนวทาง คือ (๑) ใชม้ าตรการทเ่ี ขม้ ขน้ เชน่ สรา้ งบาดแผลทางใจอยา่ งรนุ แรง เปน็ วธิ ที ไี่ มแ่ นะนำ� (๒) ใชเ้ วลายาวนานทำ� สง่ิ ทเี่ หมาะสม นคี่ อื การเปลยี่ นพนื้ ฐานทางอารมณจ์ ากการ ทำ� สงิ่ ทีม่ ีคุณค่า มคี วามหมาย และท�ำตอ่ เนื่องยาวนาน โดยได้รับการสนบั สนนุ ให้ ตคี วามคณุ คา่ เกดิ สมั พนั ธภาพทดี่ ี และนำ� ไปสกู่ ารเตบิ โตสว่ นบคุ คล โดยเขาแนะนำ� เคร่ืองมอื ๔ ช้นิ คอื ใช้โครงงานทีม่ ีความหมาย มหี ลักฐานจากงานวิจัยว่าเด็ก ป.๖ ถึง ม.๖ ท่ที �ำโครงงานระยะเวลา ๑ เทอม ถึงหน่ึงปี มีอุบัติการของโรคซึมเศร้าลดลง ค�ำแนะน�ำต่อครูคือ ควรมอบหมายให้ นกั เรยี นเรยี นแบบ project - based learning หรอื service learning หรอื ใหท้ ำ� งาน เป็นทมี ในเวลาหลายสัปดาหห์ รือหลายเดือน มงุ่ ทีผ่ ลลพั ธ์สุดท้าย ในการมอบหมายงานใหน้ กั เรยี นทำ� เพอื่ การเรยี นรู้ ครพู งึ เนน้ ทเ่ี ปา้ หมายสดุ ทา้ ย อธิบายคุณค่าของการบรรลุเป้าหมายนั้น และคุณค่าของการใช้ความพยายามเพื่อ บรรลเุ ปา้ หมาย อาจใหน้ กั เรยี นวาดภาพความรสู้ กึ ทต่ี นคาดหมายเมอื่ บรรลเุ ปา้ หมาย และนำ� มาแชรก์ บั เพอื่ น หรอื นำ� เอารปู ของนกั เรยี นรนุ่ กอ่ นทรี่ ว่ มกนั ฉลองความสำ� เรจ็ มาติดไว้ในห้อง หลังจากน้ันครูจึงหันมาเอาใจใส่กระบวนการท�ำงานของนักเรียนท่ี จะน�ำไปสู่ผลลัพธ์ท่ีมีคุณภาพสูง หาทางให้นักเรียนเกิดความสุขความพึงพอใจ จากการไดใ้ ช้กระบวนการท�ำงานท่ดี ี • 132 •
มผี ลงานคุณภาพสงู ให้ดเู ปน็ ตัวอย่าง นักเรียนต้องการเรียนรู้ว่าผลงานท่ีดีเป็นอย่างไร และต้องการให้ครูแสดง ความใส่ใจในคุณภาพของผลงาน ไม่ใช่ส่งงานได้เร็วแค่ไหน ครูจึงต้องหาผลงาน คุณภาพสูงมาให้นักเรียนดู และวางไว้เป็นตัวอย่างในช้ันเรียน หรือโพสต์ไว้ใน อินทราเน็ตของชั้นเรียน เพื่อสร้างความประทับใจของนักเรียนเข้ากับเหตุการณ์ และผลงานคณุ ภาพสงู ตอกย้�ำวธิ ีการท่ีใช้ได้ผล ตอกยำ�้ วธิ กี ารทใี่ ชไ้ ดผ้ ลดว้ ยวธิ กี ารงา่ ยๆ เชน่ ยม้ิ กลา่ วคำ� ยนื ยนั จดั เฉลมิ ฉลอง เขียนค�ำชม ชมกันเองภายในทีม อธิบายความมคี ณุ ภาพสูงของผลงาน เปน็ ต้น สร้างอารมณ์ความรู้สึกมีความสุขจากการได้สร้างสรรค์ให้เป็นอารมณ์พื้นฐาน ในชั้นเรียนหรือในโรงเรียน จะช่วยให้นักเรียนป่วยน้อยลงมาโรงเรียนมากขึ้น มีความมานะพยายามมากข้ึน และประสบความส�ำเร็จมากข้ึน พลังบวกท่ีเกิดข้ึน จะมผี ลสะทอ้ นกลบั มายงั ครู ครจู ะมคี วามมน่ั ใจมากขน้ึ และรสู้ กึ เสมอื นไดร้ บั รางวลั น่คี อื ผลที่ยนื ยนั จากงานวจิ ยั เปลี่ยนวาทกรรม เปล่ียนพฤตกิ รรม เพ่ือสร้างชุดความคิดบวกให้แก่ศิษย์ ครูต้องท�ำตนเป็นตัวอย่าง โดยเปล่ียน วาทกรรมในสมอง จาก “ฉันได้พยายามมองโลกแง่บวกแล้ว แต่ในความเป็นจริง มีสารพัดอุปสรรค มองโลกแง่บวกเป็นเรื่องหลอกๆ แต่ฉันจริงใจต่อนักเรียน ฉันบอกความจริงตามที่เป็น” ไปเป็น “ฉันเป็นพันธมิตรท่ีมองโลกแง่บวกต่อเด็ก และจะชว่ ยให้ศษิ ย์สรา้ งความฝันสู่อนาคต” • 133 •
ใคร่ครวญสะทอ้ นคดิ และตัดสินใจ การเปลี่ยนแปลงท่ีมีความหมายและย่ังยืน เริ่มจาก “กระจก” ซ่ึงหมายถึง การสะท้อนภาพของตนเองออกมา ซ่ึงในบันทึกท่ี ๘ - ๑๑ หมายถึงภาพ “ชุด ความคดิ บวก” สำ� หรบั ใชพ้ ฒั นาชดุ ความคดิ ของตนเอง โดยพนื้ ฐานความคดิ ทสี่ ำ� คญั คอื “ฉันมีทางเลือก” เสมอ ฉันจะเลอื กใช้ชวี ิตในวิชาชีพครอู ย่างไร เพื่อพัฒนาชุดความคิดบวกในตนเอง และในศิษย์ มีขั้นตอนส�ำคัญ ๓ ขั้นคือ (๑) สร้างวาทกรรมใหม่ เก่ียวกับตนเอง และศิษย์ (๒) เลือกกลยุทธเชิงบวก ในการสรา้ งความรสู้ กึ เรง่ ดว่ นทจ่ี ะตอ้ งเปลยี่ นแปลง (๓) สรา้ งกระบวนการสนบั สนนุ เพื่อให้เกิดการด�ำเนินการสู่ความส�ำเร็จ กระบวนการสนันสนุนอาจเป็นการพูดคุย กบั เพอื่ นครู การเขยี นบนั ทกึ สง่ ใหต้ นเอง การยกรา่ งแผนการสอนตามกลยทุ ธใหม่ และตามวาทกรรมใหม่ • 134 •
เรอ่ื งเลา่ จากหอ้ งเรยี น คุณครูเก้า - จตุรพร หอมนวล ครูแนะแนวช่วงช้ันที่ ๒ ได้น�ำเอาวิธีเปล่ียน พ้ืนฐานทางอารมณ์ ที่แนะน�ำไว้ในบันทึกนี้ไปแก้ปัญหาที่พบอยู่เสมอทุกๆ วัน ในชีวิตของครูแนะแนว ได้แก่ การเผชิญกับปัญหาของเด็กท่ีมีปัญหาพฤติกรรม ในช้ันเรียน ซึ่งเรื่องราวเหล่าน้ีมีความถ่ีที่ชวนให้ครูเป็นไมเกรนและเกิดภาวะ ความเครยี ดสะสมในทกุ ๆ วนั แนน่ อนวา่ เมอื่ ตวั ครเู กา้ เองไดร้ บั รขู้ อ้ มลู ดงั กลา่ วจาก ครปู ระจำ� วชิ าหรอื ครปู ระจำ� ชน้ั กม็ กั จะเกดิ อารมณห์ งดุ หงดิ ไมช่ อบใจ และเมอื่ เรา พบเจอเด็กๆ ท่ถี กู กล่าวถงึ ก็ยงิ่ ท�ำให้เรามภี าพจ�ำในมมุ ลบเก่ยี วกับเดก็ ๆ เหล่านนั้ จากมุมมองของเพ่ือนครทู า่ นอน่ื ๆ ทถี่ กู ส่งต่อกนั มาเป็นทอดๆ เราจงึ เหมอื นคนทีม่ ี เร่ืองขนุ่ ขอ้ งหมองใจโกรธแค้นต่อกนั กับเด็กกล่มุ น้ีมานานแสนนาน เมื่อครูได้สัมผัสกับอารมณ์เชิงลบท่ีเกิดข้ึนกับตนเอง ก็กลับมาคิดทบทวนกับ ตัวเองอย่างจริงจัง แล้วก็ได้พบกับความจริงว่าความรู้สึกท่ีเกิดขึ้นน้ีบ่ันทอน สัมพันธภาพ ท่ีเป็นความเช่ือมโยงความมั่นคงปลอดภัยระหว่างตัวครูและนักเรียน ท�ำให้ไม่มีเด็กไหนท่ีจะอยากเข้ามาปรึกษากับครู หวาดกลัวการพูดคุยกับครู เพราะเข้าใจว่าครูแนะแนวคือผู้ที่คอยตักเตือน และพูดคุยกับเด็กท่ีมีปัญหา พฤตกิ รรมเท่าน้นั คำ� ถามทเี่ กดิ ขน้ึ กบั ตวั เองกค็ อื แลว้ เราจะเปลย่ี นแปลงตนเองเพอื่ ทจี่ ะชว่ ยพฒั นา เด็กๆ ได้อย่างไร ต้องยอมรับว่าครูเก้าใช้กระบวนการลองผิดลองถูกมาหลายปี ต้ังแต่การตั้งกติกาให้นักเรียนมาหาทุกวันตอนเย็นเพื่อทบทวนตนเอง นักเรียน บางคนมาหานักเรียนบางคนครูต้องว่ิงตาม เรียกมาตักเตือนเมื่อนักเรียนมี พฤติกรรมท่ีไม่เป็นไปตามข้อตกลง วิธีการเหล่าน้ีแม้จะช่วยให้พฤติกรรมของ นักเรียนที่เป็นอุปสรรคลดลงในบางราย แต่ในบางรายความสัมพันธ์ของเรา ไปต่อกันไม่ได้ นักเรียนมีพฤติกรรมท่ีแย่ลง เน่ืองจากนักเรียนเกิดความรู้สึก อึดและเบื่อหน่ายที่ต้องมาพูดคุยกับครูเป็นเวลานาน และพบกับความล้มเหลว ในความพยายามท่ตี นเองทำ� แล้ว แตค่ รเู ก้าไม่เขา้ ใจ • 135 •
จนท้ายท่ีสุดครูเก้ากลับมาย้อนทวนตนเอง และบอกกับตัวเองว่าฉันจะไม่เป็น ครูท่เี ด็กๆ วิง่ หนอี กี แลว้ เพราะเราเองก็อยากเป็นพื้นท่ปี ลอดภยั ให้เด็กๆ ไดเ้ ขา้ มา พดู คยุ ปรกึ ษาหารอื ครเู กา้ จงึ เรม่ิ ตน้ ใหมด่ ว้ ยการยกเอาความสขุ และความภาคภมู ใิ จ ของนกั เรยี นเปน็ ตวั ตงั้ ตน้ ในการเรมิ่ บทสนทนา ซง่ึ ตา่ งจากทผ่ี า่ นมาทเี่ รามกั เรม่ิ ตน้ คยุ กนั ดว้ ยเรอื่ งทเ่ี ขาทำ� ไมไ่ ด้ เชน่ ไมพ่ ดู แทรกเกนิ ๓ ครง้ั ไมเ่ ลน่ อปุ กรณก์ ารเรยี น ครเู กา้ จงึ พยายามมองหาจดุ เดน่ ความสามารถ ความถนดั คณุ ลกั ษณะทดี่ ขี องเขา ท่ีเราพบจากการสังเกต เพื่อเป็นจุดเช่ือมโยงในการพูดคุยส่ือสารและน�ำมาใช้ใน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่ครูอยากให้เกิดเป็นการใช้น้�ำดีไล่น�้ำเสีย ตอนแรกๆ ก็ชมได้ไม่จริงใจมากนัก แต่พอฝึกฝนทุกๆ วันตัวเราก็เร่ิมถนัดและมี ทักษะในการชื่นชมมากขึ้น เช่น วันน้ีครูเก้าสังเกตเห็นว่านีโอพยายามท�ำโจทย์ ด้วยตัวเองด้วยความตั้งใจ ครูเก้าได้เห็นพฤติกรรมน้ีแล้วรู้สึกประทับใจมากๆ เลย ครอู ยากใหน้ โี อใชว้ ธิ นี ใ้ี นการแกป้ ญั หาตอ่ ไปนะครบั ปณุ ณก์ ลา้ หาญมากทหี่ นสู อ่ื สาร กับคุณครูผู้สอนในเรื่องท่ีหนูมีความเห็นแตกต่าง ครูขอช่ืนชม ครูรู้สึกมีความสุข เวลาที่หนูฟังค�ำแนะน�ำและท�ำตามค�ำขอร้องของครูนะครับ ครูขอบคุณหมีพูห์ท่ี น�ำสมุดมาส่งครูต้ังแต่เช้าโดยไม่ต้องเตือนเลย มีความรับผิดชอบดีมากเลยครับ เปน็ ตน้ • 136 •
• 137 •
ซ่ึงเรื่องราวดังกล่าวครูเก้าเริ่มต้นจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ท้ัง ในคาบเรียน นอกคาบเรียนระหว่างการกิน การเล่น โดยที่ครูต้ังสายตาสังเกต พฤตกิ รรมของนกั เรยี นอยา่ งตรงไปตรงมา เลอื กเกบ็ คณุ ลกั ษณะทจี่ ะเปน็ เมลด็ พนั ธ์ุ ใหค้ วามดี ความงามของนกั เรยี นงอกงาม เตบิ โต ซง่ึ ไดแ้ ก่ การฟงั เปน็ พดู ถกู จงั หวะ รักในการอ่านเขียน ตรงต่อเวลา มีใจนึกถึงผู้อื่น มีความรับผิดชอบ เผชิญปัญหา ไมย่ อ่ ทอ้ พรอ้ มเรยี นรอู้ ยเู่ สมอ ทำ� งานรว่ มกบั ผอู้ น่ื ไดส้ ำ� เรจ็ และใชเ้ ทคนคิ การชน่ื ชม ในพฤตกิ รรมความพยายามของเขาดว้ ยการสอื่ สารกบั นกั เรยี นตวั ตอ่ ตวั อยา่ งชดั เจน ชื่นชมในทสี่ าธารณะให้เพอ่ื นๆ หรอื ครูได้ยินด้วย นอกจากน้ีครูเก้ายังได้สอบถามจากเพื่อนครูด้วยว่า “วันน้ีพบเห็นพฤติกรรม ที่ดีของนักเรียนอะไรบ้าง” แล้วน�ำเร่ืองราวดีๆ เหล่านั้นไปเขียนบันทึกความดีของ นักเรียนลงในสมุดบันทึกท่ีมีช่ือเรียกว่า สมุดสานรัก โดยเขียนท้ังเรื่องท่ีครูเก้าเอง สังเกตเห็น และเร่ืองท่ีครูประจ�ำวิชากล่าวช่ืนชมเด็กๆ เพ่ือให้เขาน�ำสารความดี ความภาคภูมิใจของตนเองกลับบ้านให้คุณพ่อ คุณแม่ ได้มีส่วนร่วมชื่นชม ซึ่ง ทางบา้ นเองกฝ็ กึ ฝนตนเองเพอ่ื มองหาพฤตกิ รรมทด่ี ี และเลอื กชน่ื ชมลกู ของตนเอง ได้พูดคยุ สอ่ื สารสร้างสัมพันธภาพทีด่ รี ะหว่าง พ่อแม่ ลกู เป็นพ้นื ทปี่ ลอดภัยใหแ้ ก่ ลกู ดว้ ย • 138 •
จากการที่ครูได้ฝึกใช้สายตาในการสังเกตเลือกคัดสรรเมล็ดพันธุ์ความดี ครูเก้าพบว่าในช่วงระยะแรกตัวเองจะใช้เวลาในการมองหาเมล็ดพันธ์ุความดี หรือพฤติกรรมเชิงบวกของนักเรียนได้ช้ามากและหาได้ยากมาก แต่เม่ือฝึกฝน ตนเองไปเรอ่ื ยๆ โดยมกี ำ� ลงั ใจเปน็ รอยยม้ิ ของเดก็ ๆ ทเี่ ราไดช้ น่ื ชมเขา ไดร้ บั ถอ้ ยคำ� ความสขุ จากทางบา้ นทเ่ี หน็ ลกู ในมมุ บวก ครเู กา้ กเ็ รม่ิ พบวา่ ตนเองมองหาพฤตกิ รรม หรือคุณลักษณะที่ดีเพ่ือชื่นชมหรือพูดกับนักเรียนได้คล่องข้ึน และตอบสนอง ได้รวดเร็วทันทีเมื่อเห็นนักเรียนคนน้ัน รวมท้ังสะท้อนนักเรียนได้รวดเร็วมากขึ้น ครูเก้าสังเกตเห็นว่าเด็กๆ พยายามท่ีจะดูแล ก�ำกับตนเองให้มีคุณลักษณะท่ีดี ได้อย่างต่อเนื่อง การใช้เวลาในช่วงเย็นพูดคุยกับนักเรียนก็กลายเป็นบรรยากาศ ที่ผ่อนคลาย สบาย เป็นกันเองและอบอุ่นมากขึ้น เพราะครูจะเริ่มต้นบทสนทนา ด้วยการส่ือสารพฤติกรรมท่ีน่ารัก น่าช่ืนชมของเขาก่อนเสมอ หลังจากนั้นจึงจะ ขอความร่วมมืออ่ืนๆ ต่อไป ตัวนักเรียนก็เปิดรับค�ำแนะน�ำในเร่ืองพฤติกรรรม ที่ไม่เหมาะสมที่แสดงออกมาในแต่ละวันได้มากขึ้น มีความพยายามท่ีจะดูแล รับผิดชอบพฤติกรรมที่ตนเองต้องพัฒนาได้มากข้ึน รวมถึงเพื่อนครูก็มีสายตา มองเห็นนักเรียนในมมุ บวก และช่ืนชมนกั เรยี นได้มากขน้ึ เช่นกนั • 139 •
๔ภาค ชุดความคิดว่าด้วยห้องเรียน ท่ีมีบรรยากาศเรียนเข้ม (rich classroom climate mindset) บทท่ี ๑๒ ให้ความส�ำคญั ต่อวิสัยทัศนแ์ ละ การแสดงออกของนักเรียน บทท่ี ๑๓ กำ� หนดความปลอดภัยเปน็ สภาพปกตขิ องห้องเรยี น บทที่ ๑๔ สร้างความเชื่อมน่ั ว่าตนเรยี นสำ� เรจ็ ได้
๑๒ ใหค้ วามสำ� คญั ตอ่ วสิ ัยทัศน์ และการแสดงออกของนักเรยี น บนั ทกึ นเ้ี ปน็ บนั ทกึ แรกใน ๓ บนั ทกึ ภายใตช้ ดุ ความคดิ หอ้ งเรยี นทม่ี บี รรยากาศ เรียนเขม้ (rich classroom climate mindset) ตีความจาก Part Four : Why the Rich Classroom Climate Mindset และ Chapter 10 : Engage Voice and Vision สาระหลกั ในบนั ทกึ นคี้ อื นกั เรยี นจากครอบครวั ขาดแคลน มาโรงเรยี นพรอ้ มกบั ผลลบจากความเครียดเรื้อรัง ท�ำให้สมองไม่เปิดและขาดแคลนทักษะหลายด้าน ทส่ี ำ� คญั ตอ่ การเรยี นรู้ มี “ยาวเิ ศษ” แกข้ อ้ ดอ้ ยของนกั เรยี นเหลา่ น้ี คอื ความรสู้ กึ วา่ ตนไดร้ บั การยอมรบั นบั ถอื จากครแู ละเพอื่ นๆ หรอื ศกั ดศ์ิ รขี องความเปน็ มนษุ ยข์ อง นักเรียนได้รับการยอมรับ หรือเอกลักษณ์ (identity) ของนักเรียนแต่ละคนได้รับ การยอมรบั รายละเอยี ดในบนั ทกึ นใ้ี นสว่ นตน้ เปน็ เรอ่ื งทฤษฎที ไี่ ดจ้ ากการวจิ ยั และ สว่ นหลงั เป็นภาคปฏบิ ตั ิซึ่งก็มีหลักฐานจากงานวิจยั เช่นเดยี วกนั ทฤษฎี ช่อื ของตอนท่ี ๔ ในหนังสอื ภาคภาษาองั กฤษใชค้ �ำว่า rich (ร่�ำรวย) ซึ่งพ่งุ เป้า ไปท่ีสภาพห้องเรียนท่ีมีบรรยากาศท่ีร่�ำรวยปัจจัยท่ีส�ำคัญย่ิงต่อการเรียนรู้ของ นกั เรยี น ๔ ปจั จยั ไดแ้ ก่ รำ่� รวยการยอมรบั (affirmation) รำ่� รวยสภาพทตี่ รงตาม ความตอ้ งการของนกั เรยี น (relevancy) รำ่� รวยการผกู พนั (engagement) ตวั นกั เรยี น และรำ�่ รวยปฏสิ ัมพนั ธ์ (relationship) ระหวา่ งมนษุ ย์ • 142 •
บรรยากาศห้องเรียนเช่นนี้ช่วยให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลายและรู้สึกปลอดภัย ทจี่ ะกลา้ เรยี นรแู้ บบกลา้ เสยี่ ง ทง้ั เสยี่ งเชงิ วชิ าการและเชงิ พฤตกิ รรม รวมทง้ั ชว่ ยให้ นักเรยี นกลา้ ฝนั ในลักษณะของ “ฝันใหญ”่ ค�ำว่า บรรยากาศ (climate) ในท่ีน้ีมีองค์ประกอบคือ พลัง การมีส่วนร่วม สปิริต ความยอมรับนับถือ การเรียนรู้ การเคล่ือนไหว การฟัง การแลกเปล่ียน การใครค่ รวญสะทอ้ นคดิ และเปา้ ใหญ่ ทงั้ หมดนน้ี ำ� ไปสสู่ ภาพหอ้ งเรยี นทมี่ ผี ลลพั ธส์ งู (high-performing classroom) และมคี วามเทา่ เทียมสูง หอ้ งเรยี นทม่ี บี รรยากาศเชน่ น้ี ไมใ่ ชด่ ตี อ่ นกั เรยี นเทา่ นน้ั แตย่ งั ดตี อ่ ครดู ว้ ยเพราะ จะช่วยใหช้ วี ติ ครูงา่ ยข้นึ มปี ญั หาจากความประพฤติของนักเรยี นน้อยลง ครูที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศดังกล่าว ต้องมีชุดความคิดห้องเรียนที่มี บรรยากาศเรียนเข้ม (rich classroom climate mindset) ซ่ึงตรงกันข้ามกับชุด ความคิดหอ้ งเรียนแบบเดิมๆ (traditional classroom climate mindset) ในชุดความคิดห้องเรียนแบบเดิมก�ำหนดว่า นักเรียนต้องมาโรงเรียนพร้อมกับ ความต้ังใจเรียน รู้ว่าจะต้องประพฤติตัวอย่างไร รู้ว่าจะท�ำงานเป็นทีมอย่างไร รู้ว่า จะถามคำ� ถามทเี่ หมาะสมอยา่ งไร และรวู้ า่ จะตอ้ งเรยี นรหู้ ลกั การยากๆ ดว้ ยตนเอง โดยไม่มีคนช่วย วาทกรรมของครูที่มีชุดความคิดน้ีคือ “ฉันมีหน้าท่ีสอนเนื้อหา วิชาความรู้ หากคุณต้องการให้นักเรียนเรียนได้ดี จงบอกให้เขาตื่นและต้ังใจเรียน หอ้ งเรยี นไม่ใช่สถานบนั เทิง” ในขณะท่ีครูที่มีชุดความคิดห้องเรียนท่ีมีบรรยากาศเรียนเข้ม ยึดถือวาทกรรม ที่ตรงกันข้าม ได้แก่ “ฉันโฟกัสท่ีผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน และเช่ือมโยง สู่กระบวนการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของทุกวัน” รวมท้ังวาทกรรม “นกั เรยี นรวู้ า่ ชน้ั เรยี นของฉนั มไี วเ้ พอ่ื การเจรญิ เตบิ โตของนกั เรยี น นกั เรยี นสามารถ เปน็ ตวั ของตวั เอง ปฏบิ ตั งิ านผดิ พลาด รวมทง้ั กลา้ เสย่ี งตอ่ ความผดิ พลาดในการเรยี น โดยมัน่ ใจว่าจะมีครูอยเู่ คียงขา้ ง” • 143 •
วัฒนธรรมของชน้ั เรียนกับบรรยากาศของชน้ั เรียน หนังสือบอกว่า “วัฒนธรรมของช้ันเรียน” กับ “บรรยากาศของชั้นเรียน” ไม่ใช่ส่ิงเดียวกัน วัฒนธรรมเป็นสิ่งท่ีเราปฏิบัติ (พฤติกรรมและลักษณะนิสัย) ส่วนบรรยากาศเปน็ สภาพความรู้สึกของเรา วัฒนธรรมเป็นตัวก�ำหนดและท�ำนายพฤติกรรม แต่บรรยากาศเป็นผลของ พฤติกรรมและอารมณ์ร่วมของคนส่วนใหญ่ ซ่ึงในกรณีของโรงเรียนบรรยากาศ ข้ึนอยู่กบั อารมณ์ความรสู้ ึกของนกั เรียนทัง้ หมดในขณะใดขณะหนึง่ บรรยากาศเป็นเรื่องช่ัวคราวหรือช่ัวขณะใดชั่วขณะหน่ึง ส่วนวัฒนธรรมเป็น เรือ่ งทค่ี อ่ นขา้ งถาวรและมาจากการสัง่ สมระยะยาว การเปลีย่ นวัฒนธรรมต้องการ การด�ำเนินการท่ีมีเป้าหมายย่ิงใหญ่ และต้องด�ำเนินการต่อเน่ืองระยะยาว แต่บรรยากาศเปลี่ยนได้ในบัดดล ในบนั ทกึ ตอนที่ ๑๒ - ๑๔ นี้ เราเนน้ ทบี่ รรยากาศ แตโ่ ดยทก่ี ารสรา้ งบรรยากาศ หอ้ งเรยี นทมี่ กี ารเรยี นเขม้ มพี นื้ ฐานจากวฒั นธรรมของโรงเรยี นและชนั้ เรยี น เขาจงึ แนะน�ำว่าต้องสร้างวัฒนธรรมต้อนรับนักเรียนทุกคนให้มาโรงเรียน ไม่ใช่ต้อนรับ เฉพาะนกั เรียนท่ีครรู กั หรือนกั เรียนท่มี คี วามประพฤตดิ ีเท่าน้นั สร้างวัฒนธรรมท่ีเอ้ือต่อการใคร่ครวญสะท้อนคิดว่า พฤติกรรมของสมาชิก ของแตล่ ะคนในโรงเรยี นมผี ลตอ่ สมาชกิ ทงั้ หมดและตอ่ โรงเรยี นอยา่ งไร เพอื่ รว่ มกนั สรา้ งโรงเรียนใหเ้ ป็นชุมชนท่ียิ่งใหญ่ สร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมวาทกรรมท่ีเอื้อให้เกิดความรู้สึกว่าตนมีเกียรติ มเี ปา้ หมายยง่ิ ใหญ่ และมพี ลงั โดยการพดู วาทกรรมเชงิ บวกซำ�้ ๆ รวมทงั้ สรา้ งสภาพ ทเี่ อ้ือใหเ้ กดิ การเรียนรสู้ งู สุด • 144 •
บรรยากาศห้องเรียนเป็นผลรวมของสารพัดสิ่ง รวมท้ังการสร้างปฏิสัมพันธ์ การสอน การเรียนแบบร่วมมือกัน กลยุทธสร้างวินัย หลักสูตร ความคาดหวัง และความเอาใจใส่ (engagement) มีผลงานวิจัยวา่ การสรา้ งบรรยากาศห้องเรียน ทดี่ ขี องครู มี effect size เท่ากบั ๐.๘๐ หรือเทา่ กับการเพ่ิมการเรียนรู้ถึง ๒ ปี บรรยากาศห้องเรียนที่มีบรรยากาศเชิงบวกสูงกับห้องเรียนท่ีมีบรรยากาศ เชิงบวกต�่ำ เปรยี บเทียบกนั ไดต้ ามตารางน้ี บรรยากาศเชงิ บวกสูง บรรยากาศเชิงบวกต่ำ� ความรเิ ริ่มสร้างสรรค์ ความโกรธ สมองต้อื รูส้ กึ มีความหวัง รู้สกึ สิ้นหวัง ความอดทนมานะพยายาม อยากออกจากโรงเรยี น ปัญญาญาณ พฤตกิ รรมไมด่ ี ความสนใจกวา้ ง คิดวกวน ความยดื หยนุ่ ตอ่ การรบั รู้ มีทางเลือกในการแสดงพฤตกิ รรมจ�ำกัด มที างเลือกในการแสดงพฤตกิ รรมเพิ่มขนึ้ ผลลัพธ์ของชน้ั เรียนท่ีมีบรรยากาศเรียนเข้ม ห้องเรียนที่มีบรรยากาศเรียนเข้มมีกระบวนการท่ีซับซ้อนทางด้านสังคม อารมณ์ และวิชาการ ไม่ใช่ช้ันเรียนที่ครูแสดงความเข้มงวด ดุด่าว่ากล่าวนักเรียน ทไี่ มต่ ง้ั ใจเรยี น มผี ลงานวจิ ยั ระบวุ า่ ในสหรฐั อเมรกิ าโรงเรยี นทเี่ ดก็ สว่ นใหญย่ ากจน จ�ำนวน ๑๐ โรงเรียน พบว่าการจัดชั้นเรียนท่ีมีบรรยากาศเรียนเข้มตามท่ีจะ กล่าวถึงในบันทึกที่ ๑๒ - ๑๔ ท�ำให้ครึ่งหนึ่งของนักเรียน กลายเป็นนักเรียนท่ีมี ผลการเรยี นดี มีผลการเรียนอยู่ในรอ้ ยละ ๒๕ แรกของรฐั • 145 •
ผลงานวิจัยบอกว่า ประสิทธิผลของครู (teacher effectiveness) เป็นปัจจัย ส�ำคัญที่สุดต่อความก้าวหน้าในการเรียนของศิษย์ (effect size ๐.๙๘) หากมี บรรยากาศช้ันเรียนแบบเรียนเข้มเสริมเข้าไป ผลดีที่เกิดต่อศิษย์จะย่ิงเพิ่มข้ึนได้ อกี มากมาย การพัฒนาชุดความคิดห้องเรียนท่ีมีบรรยากาศเรียนเข้มได้ส�ำเร็จ จะช่วยให้ หอ้ งเรียนเปน็ ทง้ั สวรรคข์ องนักเรียน และของครู ชุดความคิดนี้เริ่มจากการท�ำให้นักเรียนแต่ละคนรับรู้ว่า ครูและคนอ่ืนๆ ในชั้น เรยี นรบั รตู้ วั ตนของนกั เรยี น รบั รสู้ ง่ิ ทนี่ กั เรยี นมงุ่ หวงั และรบั รคู้ วามรสู้ กึ นกึ คดิ ของ นกั เรยี น โดยเครอื่ งมอื ทำ� ใหเ้ กดิ การรบั รนู้ มี้ ี ๓ ชน้ิ คอื (๑) ความหมาย (relevance) ตอ่ นักเรยี น (๒) เสยี ง (voice) ของนักเรียน และ (๓) วสิ ยั ทศั น์ (vision) ของ นักเรยี น มีความหมายตอ่ นกั เรยี น เร่ืองที่มีความหมายต่อตัวนักเรียนมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน และมี ความแตกต่างหลากหลายในนักเรียนในชั้น หากเน้นท่ีบทเรียนค�ำถามที่ใช้ใน การหาความเหมาะสมหรอื ความจำ� เปน็ คอื “ทำ� ไมฉนั ตอ้ งเรยี นสงิ่ น”ี้ นน่ั คอื บทเรยี น ต้องมีความหมายในความคิดของนักเรียนด้วย ไม่ใช่แค่มีความหมายในความคิด ของครู มองอกี มมุ หนงึ่ ครตู อ้ งชว่ ยใหน้ กั เรยี นเชอ่ื มโยงบทเรยี นเขา้ กบั ชวี ติ ในอนาคตของ ตนได้ ยิ่งในช้ันเรียนท่ีนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวขาดแคลน ซึ่งมักมาจาก ครอบครัวท่ีมีวัฒนธรรมย่อยหรือเป็นชนกลุ่มน้อย ครูต้องช่วยให้นักเรียนมองเห็น หรือเข้าใจว่า บทเรียนน้ันมีความหมายตามนัยวัฒนธรรมของตนอย่างไร หนังสือ เรยี กครทู เี่ อาใจใสเ่ รอื่ งนวี้ า่ culturally responsive teacher (ครทู เี่ อาใจใสว่ ฒั นธรรม ของนกั เรียน) โดยครูพงึ ตอบคำ� ถาม ๔ ขอ้ ต่อไปนี้ • 146 •
๑. ครูช่วยเสริมความมั่นใจ (affirming) หรือไม่ ครูที่ตระหนักในปัจจัย ด้านวัฒนธรรมต่อการเรียนรู้จะหมั่นท�ำความเข้าใจ (validate) และเสริม ความมัน่ ใจให้แก่ศิษย์ โดยตอ้ งหาทางให้นักเรยี นได้เล่าประสบการณข์ องตนที่บ้าน ใหเ้ พอื่ นๆ และครรู บั รู้ เพอื่ ครหู าทางชว่ ยเหลอื สง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นจดั การโลกทบ่ี า้ น (หรือชุมชน) กับโลกที่โรงเรียน และเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้ของตนได้ เมื่อนักเรียน แชรป์ ระสบการในชมุ ชนของตนจบ ครกู ล่าวว่า “ขอบคณุ สมศรมี าก ครูดีใจทีเ่ ธอ แชร์เร่อื งนตี้ อ่ เพื่อนๆ การท่เี ราเรียนรเู้ รอื่ งราวของกนั และกนั มคี วามส�ำคญั มาก” ๒. การสอนของครมู คี วามแตกตา่ งหลากหลายหรอื ไม่ การสอนนกั เรยี นทม่ี า จากครอบครัวขาดแคลน ต้องมีลักษณะท่ี “สอดคล้องกับวัฒนธรรม” (culturally relevant) โดยต้องใช้ส่ือการสอนท่ีสอดคล้องกับวัฒนธรรมของนักเรียนเพื่อสร้าง การเรียนรู้ ความรู้ ทักษะ คุณค่า และเจตคติ ผ่านบรรยากาศในห้องเรียน วิธี การสอน และวธิ ีประเมนิ หากจะมีการฉายภาพคน ต้องพยายามหาคนทีม่ หี น้าตา บง่ บอกวา่ เปน็ คนในวฒั นธรรมเดยี วกนั กบั นกั เรยี น และเนน้ ใช้ reciprocal teaching (ครกู บั นกั เรยี นผลดั กนั ทำ� หนา้ ทน่ี ำ� กระบวนการเรยี นรใู้ นหนว่ ยยอ่ ยของคาบเรยี น) และ cooperative learning (นักเรียนผลัดกันแสดงบทบาทหลากหลายบทบาท ในชั้นเรียน) ๓. ครูช่วยเอ้ืออ�ำนาจ (empower) แก่นักเรียนหรือไม่ ท�ำโดยเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้ผลัดกันแสดงบทบาทผู้น�ำในชั้น การเชิญบุคคลที่มีเช้ือชาติเดียวกัน กับนักเรียนมาเป็นแขกหรือวิทยากรเฉพาะเร่ืองก็เป็นการเอื้ออ�ำนาจแก่นักเรียน การทน่ี กั เรยี นไดร้ บั การเออื้ อำ� นาจ มผี ลตอ่ สมรรถนะทางวชิ าการ ความมน่ั ใจตนเอง ความกลา้ และการแสดงบทบาทในชนั้ เรยี น ๔. ครชู ว่ ยเปลยี่ นชวี ติ ใหแ้ กน่ กั เรยี นหรอื ไม่ นค่ี อื การเรยี นรเู้ พอื่ การเปลยี่ นแปลง (transformative learning) ครูต้องร่วมกับนักเรียนท�ำความเข้าใจด้านลบของ การศึกษาที่ไม่ดี ครูต้องช่วยให้นักเรียนเติบโตทางวิชาการ มีเป้าหมายชีวิต เตรียมตัวเข้าสู่การมีงานท�ำ รวมท้ังช่วยติวพิเศษเพ่ือไปสอบเข้าโรงเรียนชั้นมัธยม เป้าหมายคือ ชว่ ยใหน้ กั เรียนหลุดพ้นจากสภาพยากจนในอนาคต • 147 •
ครูที่เอาใจใส่วัฒนธรรมของนักเรียน จะท�ำความรู้จัก ให้ความยอมรับ และ เอาใจใส่ นกั เรยี นทกุ คน โดยกำ� หนดความคาดหวงั สงู จดั หลกั สตู รเขม้ และจดั การ สนับสนุนที่ต้องการ เพ่ือให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายตามความคาดหวังท่ีก�ำหนด และต้องหม่ันทบทวนไตร่ตรองพฤติกรรมของตนเองว่า เผลอแสดงพฤติกรรม ทีไ่ ม่เหมาะสมอยา่ งไรบ้าง และด�ำเนนิ การแก้ไขตนเอง เสียงของนกั เรยี น เมอื่ นกั เรยี นไดม้ โี อกาสพดู หรอื แสดงออก นกั เรยี นจะรสู้ กึ วา่ ไดร้ บั ฟงั และไดร้ บั ความเขา้ ใจ ชว่ ยสรา้ งความมน่ั ใจตนเอง และความรสู้ กึ วา่ สามารถกำ� กบั การเรยี นรู้ ของตนเองได้ ครตู อ้ งรบั ฟงั เสรมิ ความมนั่ ใจ และคอ่ ยๆ ทำ� ใหน้ กั เรยี นเขา้ ใจความ แตกต่างระหว่างความเห็น (opinion) กับความจริง (fact) โดยครูอาจใช้ค�ำพูด ในทำ� นอง “ครชู อบมากทเ่ี ธอแชรค์ วามเหน็ ตอ่ ชนั้ เรยี น และหวงั วา่ พรงุ่ นเ้ี ธอจะแสดง ความเหน็ อกี ” การได้แสดงความคิดเห็นและได้รับการรับฟัง ถือเป็นความต้องการพื้นฐาน ของมนุษย์ ช่วยให้รู้สึกว่าตนมีความส�ำคัญ ได้รับความชื่นชม ได้รับเกียรติ ได้รับ ความยอมรับนับถือ ย่ิงนักเรียนจากครอบครัวด้อยโอกาส ย่ิงต้องการส่ิงน้ีมาก เปน็ พเิ ศษ เพราะจะชว่ ยลดความเครยี ดและชว่ ยพฒั นาทกั ษะยนื หยดั ในสถานการณ์ เลวรา้ ย ใหไ้ มเ่ กดิ ความเครยี ด มผี ลงานวจิ ยั บอกวา่ นกั เรยี นทรี่ สู้ กึ วา่ ไดร้ บั การยอมรบั ในชั้นเรียนต้ังแต่สองสามสัปดาห์แรกของเทอมจะเพิ่มความเอาใจใส่ในการเรียน และพฤติกรรมน้จี ะด�ำรงตอ่ เนื่องไปตลอดรายวิชานน้ั ในสหรัฐอเมริกามีขบวนการสร้างความรู้สึกมีตัวตนของเด็กด้อยโอกาส เพ่ือแก้ปัญหาการเรียนและปัญหาสังคม ดังตัวอย่าง โปรแกรม We All Have a Voice (http://weallhaveavoice.org) • 148 •
หนงั สอื แนะนำ� วิธสี ง่ เสริมใหน้ กั เรยี นแสดงออก ดังต่อไปนี้ เชื้อเชิญให้นักเรียนแชร์ความต้องการของตน โดยเปิดช่องทางเสนอ ความต้องการหลากหลายแบบ ทำ� ความเข้าใจนักเรยี น และใช้เป็นฐานของปฏสิ มั พนั ธ์ ครูท�ำความเข้าใจ ความรปู้ ฏบิ ตั ิ (tacit knowledge) ทกั ษะดา้ นสงั คมและดา้ นจติ ใจ และแวดวงสงั คม ของนักเรยี น เชิญชวนให้นักเรียนระบายปัญหาส่วนตัวกับผู้ใหญ่ท่ียินดีรับฟัง มีผู้ใหญ่ ท่ีนักเรียนไว้วางใจ และรับฟังนักเรียนเป็น เช่น ครูประจ�ำวิชา ครูแนะแนว ผปู้ กครองนักเรยี นบางคน โดยทค่ี นเหล่านตี้ อ้ งมีทักษะรบั ฟงั และรักษาความลับได้ สง่ เสริมใหน้ ักเรยี นกลา้ เส่ยี ง กลา้ เสี่ยงในท่ีนห้ี มายถงึ เสย่ี งในการกอ่ การดี เช่น สร้างการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน สมัครเป็นกรรมการนักเรียน รวมท้ังท�ำ กจิ กรรมในชุมชน เช้อื เชิญใหน้ กั เรียนมหี ุ้นส่วน โดยท่ีหนุ้ สว่ นอาจเป็นผู้ใหญท่ หี่ วงั ดีทจี่ ะชว่ ย ใหค้ �ำแนะน�ำเรื่องวธิ ีสือ่ สารกับพอ่ แม่ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนเขียนและพูดต่อสาธารณะ เพ่ือสร้าง ความมน่ั ใจและสร้างทกั ษะทางสงั คม มีผลงานวิจัยบอกว่าในช่วงวัยรุ่นมนุษย์เราแต่ละคนจะแสวงหาอัตลักษณ์ หรือ ความมีตัวตนของตนเอง การช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ของตนเองจะ สง่ ผลต่อการปรบั ตัวและพฒั นาการ • 149 •
การทค่ี รชู ว่ ยใหน้ กั เรยี นมคี วามยอมรบั อตั ลกั ษณข์ องตนเอง โดยการกลา้ แสดง ความคดิ เหน็ เป็นการเออ้ื อำ� นาจใหแ้ กน่ ักเรยี น วิสยั ทัศนข์ องนกั เรยี น ในท่ีน้ีวิสัยทัศน์ของนักเรียนหมายถึง ความคาดหวังต่ออนาคตของตนเอง หากความคาดหวงั หรอื เปา้ หมายนเี้ ชอ่ื มเปน็ เนอ้ื เดยี วกนั กบั การเรยี น การเรยี นหรอื ชวี ติ ในโรงเรยี นกจ็ ะมพี ลงั นกั เรยี นจะเปน็ เจา้ ของการเรยี นรเู้ พอื่ อนาคตของตนเอง ครพู งึ เชอื่ มโยงวสิ ยั ทศั นข์ องนกั เรยี นนเี้ ขา้ กบั สาระในบนั ทกึ ท่ี ๕ ตง้ั เปา้ หมายสงู เพอื่ ใหว้ ธิ กี ารในบนั ทกึ ท่ี ๕ ชว่ ยสง่ เสรมิ ความสำ� เรจ็ ในการบรรลเุ ปา้ หมายในอนาคต ระยะยาวของนกั เรยี น โดยพงึ ตระหนกั วา่ เปา้ หมายตามในบนั ทกึ ท่ี ๕ เปน็ เปา้ หมาย จ�ำเพาะ เฉพาะเร่ืองการเรียนและเป็นเป้าหมายระยะไม่ยาวมาก คือ ๑ ปี หรือ ๑ เทอม แตเ่ ปา้ หมายทเี่ รยี กวา่ วสิ ยั ทศั นเ์ ปน็ เปา้ หมายชวี ติ ซงึ่ เปน็ เรอ่ื งระยะยาวมาก เปน็ หน้าที่ของครทู ี่จะช่วยส่งเสริมให้ “ฝันใหญ”่ ของนกั เรียน โผล่ออกมา หรอื พูด ในอีกนัยหน่ึงว่าหนุนให้นักเรียนกล้าฝันและต้องไม่ใช่แค่ช่วยให้ฝัน ครูต้องช่วยฝึก ทกั ษะในการท�ำใหฝ้ ันเปน็ จรงิ ด้วย โดยเขาแนะน�ำ ๓ วิธี ๑. ถาม ครูตั้งค�ำถามให้นักเรียนบอกความฝันในชีวิตว่า ในอนาคตเมื่อโตขึ้น เป็นผู้ใหญ่ต้องการมีชีวิตอย่างไร อยากประสบความส�ำเร็จในชีวิตในลักษณะไหน นักเรียนจ�ำนวนหนึ่งจะต้ังเป้าไม่เป็นหรือไม่กล้าฝันใหญ่ เขาแนะน�ำให้ฟังหรืออ่าน ความฝนั ในชวี ติ ของคนอน่ื เชน่ คน้ ดว้ ย Google ดว้ ยคำ� คน้ วา่ “teens or students who have changed the world” เขาแนะน�ำว่า เมื่อครูตั้งค�ำถามและนักเรียน ตอบเร่ืองความฝันในชีวติ ของตน ให้รับฟัง และท�ำความเข้าใจ อยา่ ตัดสนิ แต่บอก นักเรียนให้เขียนแล้วแชร์กับเพื่อนสนิท ท�ำความชัดเจน และระบุขั้นตอนเพ่ือการ บรรลเุ ปา้ หมาย • 150 •
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304