Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 21st Century Skills Education Teacher Manual

21st Century Skills Education Teacher Manual

Published by educat tion, 2021-04-15 07:30:02

Description: 2 21st Century Skills Education Teacher Manual

Search

Read the Text Version

ทักษะชีว�ต รหัสครูศตวรรษที่ 21 การจัดการเร�ยนการสอนเพ�่อพัฒนาทักษะชีว�ตแห‹งศตวรรษที่ 21



ค�ำนำ� การเรียนรู้ทักษะชีวิตเป็นส่ิงส�ำคัญในการเตรียมความพร้อม ให้กับเด็กและผู้ใหญ่เพื่อให้อยู่ร่วมกับความเสี่ยงและความท้าทายใน ยคุ ปจั จบุ นั ได้ รวมถงึ ยงั ทำ� ใหเ้ กดิ ปฏสิ มั พนั ธก์ นั ในเชงิ บวกและอยรู่ ว่ มกนั ในสังคมอย่างเป็นสุข การเรียนรู้ทักษะชีวิตเป็นส่ิงส�ำคัญที่ท�ำให้ เกิดคุณภาพการศึกษา กล่าวคือ เป็นการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ ในการพฒั นาความสามารถทจ่ี ำ� เปน็ มเี นอ้ื หาความร้ทู เ่ี กยี่ วข้องกบั ชวี ติ ประจ�ำวัน และมีใช้เทคนิคและกระบวนการเรียนรู้เพ่ือส่งเสริมให้เกิด การพฒั นาทกั ษะและการเรยี นรู้แบบมสี ่วนร่วม คำ� วา่ “ทกั ษะชวี ติ ” ใชก้ นั แพรห่ ลายในสาขาวชิ าสขุ ภาพ การศกึ ษา และนโยบายสังคม แต่ยังไม่มีค�ำนิยามที่ครบถ้วนและได้รับการยอมรับ อยา่ งกวา้ งขวาง แนวคดิ ขององคก์ ารอนามยั โลก หรอื WHO ใหค้ วามหมาย ของทักษะชีวิตว่า “อาจหมายถึงความสามารถส�ำหรับพฤติกรรม การปรบั ตวั และพฤตกิ รรมเชงิ บวกทชี่ ่วยให้แต่ละคนสามารถจดั การกบั ความต้องการและความท้าทายในชวี ติ ประจ�ำวันอย่างมปี ระสทิ ธิภาพ” เริ่มแรก WHO ได้ให้ค�ำนิยามองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้ 5 ประการ ได้แก่: (1) การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา (2) การคิด วิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ (3) ทักษะการสื่อสารและทักษะ การสร้างสัมพันธภาพ (4) การตระหนักรู้ในตนเองและการเห็นใจผู้อ่ืน และ (5) การจดั การอารมณ์และความเครยี ด กรอบปฏิบัติการดาการ์ว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน ได้รวบรวม ทกั ษะชวี ติ ไว้ 2 เปา้ หมายจาก 6 เปา้ หมาย คอื ในเรอ่ื งเกยี่ วกบั ความตอ้ งการ เรียนรู้ของเด็กวัยเรียน (เป้าหมาย 3) และผลการเรียนรู้ที่จ�ำเป็นของ การศกึ ษาทมี่ คี ณุ ภาพ (เปา้ หมาย 6) ซงึ่ เปา้ หมายทง้ั 2 นเี้ ปน็ การยนื ยนั วา่ “เดก็ และผใู้ หญท่ กุ คนตอ้ งไดร้ บั โอกาสทจ่ี ะไดค้ วามรู้ และพฒั นาคา่ นยิ ม ทัศนคติและทักษะที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถพัฒนาขีดความสามารถ ในการท�ำงานของพวกเขา มีส่วนร่วมอย่างเต็มท่ีในสังคมของพวกเขา ควบคุมการใช้ชวี ิตของตนเอง และเรยี นรู้อย่างต่อเนอ่ื ง” ประเทศไทยได้มกี ารปฏริ ูปการศกึ ษาเพ่ือแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในระบบการศึกษา ซง่ึ ให้ความส�ำคญั อย่างมากในการมุ่งประเดน็ ไปทคี่ วามจำ� เปน็ ของระบบการศกึ ษาทต่ี ้องพฒั นาทกั ษะทจ่ี ำ� เปน็ ในศตวรรษท่ี 21 ให้กับเด็กนักเรียนอย่างเพียงพอ เช่น การเข้าร่วมในโครงการประเมินผลผู้เรียนนานาชาติของประเทศไทย ทกั ษะชวี ิต รหัสครูศตวรรษท่ี 21 3

เผยให้เห็นถึงข้อบกพร่องในการบรรลุทักษะทางด้านการอ่านออกเขียนได้ การคิดค�ำนวณ วิทยาศาสตร์ และทกั ษะความคดิ วเิ คราะหท์ เี่ ปน็ ทกั ษะสำ� คญั อยา่ งยงิ่ และมคี วามแตกตา่ งในการบรรลทุ กั ษะทเ่ี หน็ ไดช้ ดั เจน ในส่วนต่างๆ ของประเทศ แน่นอนว่า หากโรงเรียนสามารถให้ทักษะและความรู้ในศตวรรษท่ี 21 แก่เด็กนักเรียนได้ สิ่งที่มี ความสัมพันธ์กับการศึกษาทั้งหมดและคุณภาพการศึกษาก็จะดีข้ึน ตามไปด้วย หากหลกั สตู รต่างๆ มีทกั ษะเหล่าน้ี และครูมคี วามสามารถ ในการท�ำการประเมิน สะท้อนให้เห็นถึงความส�ำคัญของการพัฒนา ทักษะและความสามารถในตัวนักเรียนเพิ่มข้ึนแล้ว นักเรียนก็จะได้ เรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาทักษะและ กระบวนการในการได้มาซ่งึ ความรู้ องค์การยูนิเซฟระบุว่า ประเทศไทยการเรียนรู้ทักษะชีวิต ประกอบไปดว้ ยการพฒั นาทกั ษะทางการรคู้ ดิ ทางสงั คมและทางอารมณ์ ท่ีจ�ำเป็น ซ่ึงเด็กและเยาวชนจะต้องก้าวต่อไปข้างหน้าและด�ำรงชีวิต อยา่ งเปน็ ประโยชนแ์ ละสมประสงค์ ซง่ึ ทกั ษะเหลา่ นมี้ สี ว่ นชว่ ยสนบั สนนุ ผลการเรยี นรู้ ทักษะทางการรู้คิดเป็นทักษะที่ใช้ส�ำหรับวิเคราะห์และใช้ข้อมูล ทักษะทางอารมณ์จะใช้ส�ำหรับการพัฒนาความสามารถส่วนบุคคล และการควบคุมตนเอง และทักษะทางสงั คมครอบคลุมการส่อื สารและ การมปี ฏสิ ัมพนั ธ์กบั ผู้อ่นื ห ลั ก สู ต ร ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ไ ด ้ ใ ห ้ ค ว า ม ส� ำ คั ญ กั บ แ น ว คิ ด เรอื่ งความสามารถโดยไดร้ ะบคุ วามสามารถสำ� คญั 5ประการซงึ่ คาดหวงั วา่ นักเรียนทุกคนจะได้รับ ได้แก่ (1) ความสามารถทางการส่ือสาร (2) ความสามารถทางการคิด (3) ความสามารถทางการแก้ปัญหา (4) ความสามารถในการนำ� ทกั ษะชวี ติ ไปปรบั ใช้ และ (5) ความสามารถ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่นเดียวกับครูท่ัวโลก ครูในประเทศไทย ไดร้ บั การคาดหวงั วา่ จะสอนทกั ษะในศตวรรษท่ี 21 เชน่ การคดิ วเิ คราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา และการท�ำงานเป็นทีม รวมท้ัง สนับสนนุ การเรยี นรู้นอกห้องเรยี นให้กับเด็กนกั เรยี นได้ เพอ่ื ใหบ้ รรลสุ ง่ิ นี้ ครตู อ้ งเขา้ ใจธรรมชาตขิ องความสามารถดงั กลา่ ว และต้องได้รับตัวอย่างที่ชัดเจนของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนา ขดี ความสามารถในวชิ าเฉพาะตา่ งๆ และวธิ กี ารทจี่ ะพฒั นาความสามารถ ผ่านแผนงานการสอนและกิจกรรมในชั้นเรียน มูลนิธิ ไร้ท์ ทู เพลย์ ตระหนักว่า เพื่อให้ครูสามารถ สง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ ทกั ษะชวี ติ และบรรลผุ ลการศกึ ษาอยา่ งทต่ี งั้ ใจ จำ� เปน็ ตอ้ งใหค้ วามสนใจมากขน้ึ กบั กระบวนการ และวิธีการของครูที่ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่นโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง และสร้างสภาพแวดล้อม 4 ทกั ษะชวี ติ รหสั ครูศตวรรษที่ 21

การเรยี นรทู้ ดี่ ี ซง่ึ เปน็ สงิ่ หนงึ่ ทสี่ ง่ เสรมิ สขุ ภาวะและความรสู้ กึ เปน็ เจา้ ของ และมสี ว่ นชว่ ยสนบั สนนุ การพฒั นา ทด่ี ตี ่อสขุ ภาพเดก็ และการเรยี นร้ตู ลอดชวี ติ ขณะทก่ี ารเรยี นร้ผู ่านการเล่นเปน็ วธิ กี ารเรยี นจากประสบการณ์ มีส่วนร่วม และได้รับการกำ� หนดทิศทาง ซ่งึ จะท�ำให้กระบวนการสอนและกระบวนการเรียนรู้ดขี ึ้น สิง่ เหล่าน้ี รวมกนั มจี ุดมุ่งหมายเพ่อื สร้างและพัฒนาทกั ษะชวี ิตทางร่างกาย สังคม อารมณ์ และสตปิ ญั ญา ซึ่งเปน็ ส่ิงท่ี ต้องมใี ห้ได้ก่อนเพอ่ื ความสำ� เร็จในการเรยี บนรู้และในการศกึ ษา ด้วยเหตุนี้ จึงจ�ำเป็นต้องค้นหาครูต้นแบบที่สามารถจัด กระบวนการเรยี นการสอนทส่ี ง่ เสรมิ และนำ� ไปสกู่ ารฝกึ ปฏบิ ตั กิ ารพฒั นา ทักษะชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการเหล่านี้จะครอบคลุมถึง การสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วม การใช้กระบวนการเรียนรู้อย่างมี ปฏสิ มั พันธ์ การผนวกกจิ กรรมการนำ� ไปใช้งานได้จรงิ เช่น การจำ� ลอง การเรยี นรผู้ า่ นโครงการ การสรา้ งภาวะผนู้ ำ� ในหมเู่ ดก็ ในสภาพแวดลอ้ ม ท่ีเหมาะกับการเรียนรู้ และการเชิญชวนให้ต้ังค�ำถามเกี่ยวกับเนื้อหา ต่างๆ เอกสารฉบบั นไ้ี ดร้ บั การพฒั นารว่ มกนั โดยสำ� นกั งานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (สพฐ.) องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และ มลู นธิ ิ ไรท้ ์ ทู เพลย์ ซง่ึ เปน็ สว่ นหนง่ึ ของแผนงานทกั ษะชวี ติ ของกระทรวง ศึกษาธิการ เพ่ือเผยแพร่ให้กับครูทั่วประเทศพร้อมกับแนวทางที่มอง เห็นได้และใช้ได้จริง เพ่ือน�ำการเรียนรู้ทักษะชีวิตไปใช้ในช้ันเรียนและ ท�ำให้การเรียนรู้น้ีมีประสิทธิภาพมากขึ้น เอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ท่ีจะน�ำมาใช้ในทุกโรงเรียนทั่วประเทศและในแผนงานการฝึกอบรมครู และใช้โดยครูแต่ละคนผู้มีส่วนเก่ียวข้องในการริเริ่มการเรียนรู้ด้วย ตนเอง แนวทางการเรยี นแบบเพอ่ื นช่วยเพอ่ื นน้เี ป็นวธิ ที ่ีมีประสทิ ธิภาพ ส�ำหรับครูในทุกวิชาและทุกช้ันที่จะสังเกตการปฏิบัติและกระบวนการ จดั การเรยี นการสอนในชน้ั เรยี นของครผู ผู้ า่ นการฝกึ อบรม ซงึ่ ใหแ้ นวคดิ และคำ� แนะนำ� เกยี่ วกบั การนำ� กจิ กรรมเหลา่ นไ้ี ปใช้ และเปน็ การสนบั สนนุ ให้เกิดการพัฒนาทักษะท่จี �ำเป็นในศตวรรษท่ี 21ให้แก่นกั เรยี น สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร องค์การยนู เิ ซฟ ประเทศไทย มูลนธิ ิไร้ท์ ทู เพลย์ ทักษะชวี ิต รหัสครูศตวรรษท่ี 21 5

สารบญั หนา้ 7 1. บทน�ำ 11 2. การพัฒนาทกั ษะชีวิตแหง่ ศตวรรษที่ 21 2.1 การพัฒนาทักษะชวี ิตในประเทศไทย 13 2.2 ความสำ� คัญของทักษะชวี ติ 15 2.3 ความหมายของทักษะชวี ิตและทกั ษะชวี ติ 4 องค์ประกอบ 15 2.4 การพัฒนาทักษะชวี ิตในโรงเรยี นผ่านกจิ กรรม 16 2.5 การพฒั นาทกั ษะชวี ิตผ่านกระบวนการ R – C – A 18 2.6 การนำ� ทกั ษะชวี ิตสู่การจัดการเรียนการสอน 20 2.7 การประเมินและพัฒนาทกั ษะชวี ติ 20 2.8 รหัสครูแห่งศตวรรษท่ี 21 21 2.9 การดูวีดโิ อการจัดกระบวนการเรยี นการสอนผ่าน QR code 23 3. ตวั อย่างแผนการจดั การเรยี นการสอนเพื่อพฒั นาทักษะชวี ิต 25 3.1 การตระหนักรู้และเหน็ คุณค่าในตวั เองและผู้อน่ื 3.2 การคิดวเิ คราะห์ ตดั สนิ ใจ และแก้ปญั หาอย่างสร้างสรรค์ 26 3.3 การจัดการกบั อารมณ์และความเครยี ด 54 3.4 การสร้างสมั พนั ธภาพท่ดี ีกับผู้อนื่ 90 4. วิสัยทศั นก์ ารพัฒนาทกั ษะชวี ิต 108 205 6 ทักษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21

1 บทน�ำ : การเตรยี มพลเมอื งคณุ ภาพ 7

8 ทกั ษะชวี ติ รหัสครศู ตวรรษท่ี 21

บทน�ำ การเตรียมพลเมืองคณุ ภาพ สภาพสงั คมในศตวรรษท่ี 21 หรอื สงั คมปจั จบุ นั มคี วามเปลย่ี นแปลงในทกุ ๆ ดา้ นอยา่ งรวดเรว็ การรเู้ ทา่ ทนั ความเปล่ียนแปลงและความสามารถต่อการแก้ไขปัญหาของทุกคนในสังคม รวมถึงความสามารถที่จะดูแล ตัวเองได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคมและประเทศชาติ อีกทั้งยังสมัครสมานสามัคคี ช่วยดูแลสังคม ทำ� ให้สังคม อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข เป็นความปรารถนาอย่างยิ่งของทุกประเทศ และประเทศไทยก็เช่นกันไม่อาจจะ หลกี เลย่ี งความเปลย่ี นแปลงดงั กลา่ วไดจ้ งึ ใหค้ วามสำ� คญั ตอ่ คณุ ภาพของผคู้ นทกุ คนในประเทศหรอื พลเมอื งไทย ทุกคน ให้มีทักษะชีวิตเพราะทักษะชีวิตหมายถึงความสามารถของบุคคลท่ีจะจัดการกับปัญหา ต่างๆ รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมส�ำหรับการปรับตัวในอนาคต จะเห็นได้จาก การระบกุ ารพฒั นาทกั ษะชวี ติ ไวใ้ นแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาตฉิ บบั ที่ 8 ซง่ึ กลา่ ววา่ …. “ เสรมิ สรา้ ง ทกั ษะชวี ติ ในหลกั สตู รการเรยี นการสอนทกุ ระดบั รวมทง้ั พฒั นาคนใหม้ คี วามรู้ ความเขา้ ใจในเรอื่ งนอี้ ยา่ งถกู ตอ้ ง และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้….” และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 12 ท่ีระบุทิศทาง ในการพฒั นาประเทศ คอื (1) การนอ้ มนำ� และประยกุ ตใ์ ชห้ ลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง (2) คนเปน็ ศนู ยก์ ลาง ของการพฒั นาอยา่ งมสี ว่ นรว่ ม (3) การสนบั สนนุ และสง่ เสรอมแนวคดิ การปฏริ ปู ประเทศ และ (4) การพฒั นาสู่ ความมนั่ คง มง่ั คง่ั ยง่ั ยนื อยรู่ ว่ มกนั อยา่ งมคี วามสขุ ดงั นนั้ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร โดยสำ� นกั งานคณะกรรมการ การศึกษาข้ันพื้นฐานซ่ึงรับผิดชอบการจัดการศึกษาต้ังแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เปา้ หมายในการพฒั นาเนน้ การพฒั นาเยาวชนแตล่ ะระดบั ใหม้ คี ณุ ภาพ มที กั ษะชวี ติ สามารถพฒั นาตนเองให้ เปน็ พลเมอื งไทยท่มี ีคุณภาพหรอื อาจกล่าวได้ว่า “มหี น้าทเ่ี ตรยี มพลเมอื งไทยให้มีคุณภาพ” นน่ั เอง ด้วยความตระหนักในความส�ำคัญดังกล่าวข้างต้นประกอบกับภาระหน้าท่ีอันส�ำคัญยิ่ง ส�ำนักงาน คณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน จงึ ไดน้ ำ� “การพฒั นาทกั ษะชวี ติ ” บรรจไุ วใ้ นหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษา ขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ระบใุ นสมรรถณผเู้ รยี นขอ้ 4 วา่ “ผเู้ รยี นมคี วามสามารถในการพฒั นาทกั ษะชวี ติ ” และเพื่อเป็นการน�ำสู่การปฏิบัติการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ได้ก�ำหนดองค์ประกอบส�ำคัญของ ทกั ษะชวี ติ ครอบคลมุ 4 ดา้ นคอื (1) การตระหนกั รแู้ ละเหน็ คณุ คา่ ในตวั เองและผอู้ นื่ (2) การคดิ วเิ คราะห์ ตดั สนิ ใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด (4) การสร้างสัมพันธภาพท่ีดี กับผู้อ่ืน และได้ก�ำหนดตัวชี้วัดในแต่ละด้าน แต่ละระดับช้ัน รวมถึงสนับสนุนให้ครูทุกคนท�ำความเข้าใจกับ ทกั ษะชวี ติ ตลอดจนนำ� ทักษะชวี ติ สู่การเรยี นการสอน ทัง้ ทีด่ �ำเนนิ การอยู่แล้วและจะพัฒนาให้มีความเข้มข้น ยิ่งข้ึน ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาการเรียนการสอน มูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ ด้วยการสนับสนุน ขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้น�ำเสนอการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีสอดแทรกเทคนิคการใช้ ชดุ ค�ำถาม R – C – A อนั จะช่วยส่งเสรมิ การพัฒนาทกั ษะชวี ิต ซ่งึ มีครูจ�ำนวน 42 คน ได้ผ่านการฝึกอบรม การใชเ้ ทคนคิ ดงั กลา่ วมาระยะเวลาหนง่ึ และไดอ้ อกแบบการเรยี นการสอนทสี่ อดแทรกเทคนคิ ชดุ คำ� ถาม R – C – A ตลอดจนได้ปฏิบัติการสอนอย่างสอดคล้องกับทักษะชีวิต ท้ังน้ีเพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอน เพ่อื การเสรมิ สร้างทกั ษะชีวิตให้แก่นักเรยี น ทกั ษะชีวิต รหัสครศู ตวรรษที่ 21 9

R – C – A เปน็ เทคนคิ การใช้ชุดคำ� ถามท่กี ระตนุ้ ความคิดช่วยให้ค้นพบทักษะชีวติ ซึง่ มีหลักคดิ ส�ำคญั และผ่านกระบวนการทดลองมาแล้วพบว่า เครอื่ งมอื ในการเรยี นรู้ทกั ษะชวี ติ ตามธรรมชาตอิ ย่างหน่งึ ท่งี ่ายและมีประสทิ ธิภาพที่สดุ คอื การตงั้ ค�ำถามที่ 3 ลกั ษณะ ดังนี้ (1) เป็นคำ� ถามเพ่อื ใหผ้ ้เู รียนสะทอ้ นความรูส้ กึ หรอื มมุ มองของตน (R : Reflect) (2) เปน็ ค�ำถามเพ่อื ใหผ้ ู้เรียนได้คดิ เชอ่ื มโยง (C : Connect) (3) เป็นคำ� ถามเพ่อื การปรบั ใช้ (A : Apply) ทั้งนี้ โดยบูรณาการหรือสอดแทรกในการเรียนการสอนปกติในรายวิชา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ การเลน่ หรอื ทำ� กจิ กรรมตา่ งๆ ซงี่ การใชค้ ำ� ถาม R – C – A จะใชร้ ะหวา่ งจดั กจิ กรรม หรอื หลงั จากจบกจิ กรรม และเน่ืองจากทักษะชีวิตเป็น “ทักษะ” จึงควรมีจัดกิจกรรมหลายๆ คร้ังต่อกลุ่มนักเรียนและเพ่ิมความถ่ี ในการจัดกิจกรรม ซึ่งจ�ำนวนคร้ังและความถ่ีมีผลต่อการพัฒนาทักษะชีวิต อาจจะด�ำเนินการจากการสอน ทกุ วชิ า การสอนทุกชน้ั เปน็ เวลาต่อเนอ่ื ง เมอื่ ประเมนิ จงึ จะสามารถสรปุ ได้ว่า มีหรือเกิดทักษะชวี ิตหรือไม่ วธิ กี ารการสอดแทรกหรอื บรู ณาการ โดยการกำ� หนดวตั ถปุ ระสงคท์ กั ษะชวี ติ โดยเชอื่ มโยง องคป์ ระกอบใด องคป์ ระกอบหนงึ่ ไวใ้ นแผนการสอน จากนนั้ กอ็ อกแบบการเรยี นรู้ พรอ้ มกบั กำ� หนดชดุ คำ� ถาม R – C – A นำ� ไป สู่ การคน้ พบทกั ษะชวี ติ ทตี่ อ้ งการสรา้ ง หรอื อาจสงั เกตพฤตกิ รรมทพ่ี บในขณะผเู้ รยี นรว่ มกจิ กรรม แลว้ กำ� หนด คำ� ถามทจี่ ะนำ� ไปสคู่ ำ� ตอบทส่ี ะทอ้ นใหผ้ เู้ รยี นฉกุ ใจคดิ และปรบั พฤตกิ รรมทไี่ มเ่ หมาะสมทผ่ี สู้ อนตอ้ งการแกไ้ ข ส�ำหรับตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีน�ำเสนอในเอกสารฉบับนี้มีลักษณะเป็น “interactive guidebook” มจี ดุ ประสงคเ์ พอ่ื นำ� เสนอตวั อยา่ งการจดั การเรยี นการสอนแบบ Active Learning แผนจดั การเรยี น การสอนจงึ เปน็ ลกั ษณะของ แผนทแ่ี สดงการปฏบิ ตั กิ จิ กรรมของครแู ละการปฏบิ ตั กิ จิ กรรมของนกั เรยี นอยา่ ง สอดคลอ้ งกนั มลี กั ษณะเปน็ “Action Lesson plan” ทง้ั หมดทกี่ ลา่ วมานเ้ี ปน็ ขอ้ มลู หนง่ึ เพอื่ การแลกเปลยี่ น เรยี นรู้ อย่างไรกต็ าม สำ� หรับการสอดแทรกชุดค�ำถาม R – C – A ทีเ่ ปน็ การน�ำเสนอท่หี ลากหลายสาระและ หลากหลายระดับชั้นซึ่งไม่ใช่นักเรียนกลุ่มเดียวตลอดแนว ยังไม่ได้แสดงความถ่ีในการเรียนรู้ของนักเรียน แต่ละกลุ่มได้ จงึ ไม่ได้น�ำเสนอตวั อย่างการประเมนิ ทักษะชีวติ ในภาพรวม ส�ำหรบั ในตอนท้าย ทุก Action lesson plan ได้น�ำเสนอ รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21 ซง่ึ ในทน่ี ี้ “รหสั ” หมายถงึ ค�ำอธิบายพฤติกรรมการเรียนการสอนที่ได้เห็นจากคลิปวิดีโอ หรือถอดจากคลิป มาเป็น “รหัส” เพื่อที่จะ ช่วยให้เข้าใจตรงกนั ว่า พฤติกรรมการเรยี นการสอนส่วนใดท่บี อกความเป็นครไู ทย ท่ีคงมีลกั ษณะความเป็น ผถู้ า่ ยทอดวฒั นธรรมทด่ี งี าม และลกั ษณะการเรยี นรใู้ ด ทค่ี งความมหี ลกั การองิ องคค์ วามรทู้ เ่ี ปน็ สากล ซงึ่ ครู จะยงั คงดำ� เนนิ จดั การเรยี นสเู่ ดก็ และเยาวชน นบั วา่ เปน็ แนวทางทเี่ หมาะสม ดงั นน้ั เอกสาร “รหสั ครศู ตวรรษ ท่ี 21” เล่มนี้ จึงน�ำเสนอตัวอย่างหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนสนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิต อันเป็น ส่วนสำ� คญั ในการเตรยี มพลเมืองท่มี คี ณุ ภาพตอ่ ไป 10 ทกั ษะชวี ติ รหสั ครูศตวรรษที่ 21

2 การพัฒนาทักษะชวี ิตแหง่ ศตวรรษท่ี 21 11

12 ทกั ษะชวี ติ รหัสครศู ตวรรษท่ี 21

การพฒั นาทกั ษะชวี ิตแหง่ ศตวรรษท่ี 21 ดงั ไดก้ ลา่ วแลว้ วา่ โรงเรยี นและครู มคี วามสำ� คญั ตอ่ การเตรยี มพลเมอื งไทยใหม้ ที กั ษะชวี ติ ิ เปน็ พลเมอื ง ที่มีคุณภาพ โดยการน�ำเสนอสาระส�ำคัญ และตัวอย่างแนวทางการน�ำทักษะชีวิตสู่การเรียนการสอน จึงมี ความจ�ำเปน็ ท่จี ะทบทวนสาระสำ� คัญบางประการท่เี ก่ยี วข้องกบั การพฒั นาทักษะชีวิต 2.1 การพฒั นาทักษะชีวติ ในประเทศไทย ช่วงศตวรรษทผ่ี ่านมา นกั การศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามท่จี ะแก้ไขปญั หาเด็กและเยาวชนอย่าง ยงั่ ยนื และแนวคดิ หนงึ่ กค็ อื การเสรมิ สร้างหรอื พฒั นาทกั ษะชวี ติ ให้กบั เดก็ และเยาวชน โดยรเิ รมิ่ จากองค์การ อนามยั โลก (WHO) ทกี่ ลา่ ววา่ มอี งคป์ ระกอบของการพฒั นาพฤตกิ รรมทกั ษะชวี ติ 5 คู่ คอื ความคดิ วเิ คราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ ความตระหนักรู้ในตนและความเห็นใจผู้อ่ืน การสร้างสัมพันธภาพและ การส่อื สาร การตัดสินใจและการแกไ้ ขปญั หา การจดั การกบั อารมณแ์ ละความเครียด จากแนวคิดน้ี ประเทศไทยได้น�ำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยโดยได้เพิ่มองค์ประกอบทักษะชีวิตอีกคู่หน่ึง คอื ความภูมใิ จในตนเองและความรับผดิ ชอบตอ่ สังคม ต่อมาปี พ.ศ. 2537 – 2539 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ส�ำนักงานคณะกรรมการ การประถมศกึ ษาแหง่ ชาติ และกรมสามญั ศกึ ษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร องคก์ ารยนู เิ ซฟ ประเทศไทย สถาบนั ราชภฏั และสภากาชาดไทย ได้นำ� แนวคดิ การพฒั นาทกั ษะชวี ติ ด้วยกระบวนการเรยี นร้แู บบมสี ่วนร่วม (Participatory learning) มาใช้ในการพัฒนาครู เด็ก และเยาวชน เพ่ือป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และสารเสพติด ซ่งึ เปน็ ทกั ษะชวี ติ เฉพาะด้าน (Specific Life Skills)และจากนน้ั ก็ได้ให้ความสำ� คัญอย่างต่อเนอ่ื ง จะเห็นได้จาก ระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2544 แผนพัฒนาต่างๆ ล้วนแต่ให้ความสำ� คัญกับการพัฒนาทักษะชวี ิต โดยระบไุ ว้ ในแผนพฒั นาประเทศ นบั ตง้ั แต่แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 8 ในด้านแผนพัฒนาคนและ สังคมกล่าวถงึ การเสรมิ สรา้ งทกั ษะชวี ติ ในหลกั สูตรการเรยี นการสอนทุกระดบั รวมทัง้ พัฒนาครใู หม้ ี ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องทักษะชีวิตอย่างถูกต้องตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ นอกจากนี้ แผนการป้องกันสารเสพติดของกระทรวงศึกษาธิการได้ระบุไว้ในนโยบายว่า “เน้นการฝึกทักษะท่ีจ�ำเป็น ส�ำหรับเยาวชนเพื่อผลทางการพัฒนาบุคลิกภาพและการตัดสินใจในการเลือกพฤติกรรม และได้เช่ือมโยง ต่อการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิต ป้องกันปัญหาเร่ืองเพศ สารเสพติดและทักษะชีวิตที่เก่ียวข้องกับ การดำ� เนนิ ชวี ติ อยา่ งรเู้ ทา่ ทนั ภายใตช้ อื่ เรยี กพฤตกิ รรมแตกตา่ งกนั อาทิ “ความฉลาดทางอารมณ”์ (Emotional Intelligence) “ความเข้มแข็งทางใจ” (Resilience) และในวงการศกึ ษาได้ใช้คำ� ว่า “ดี เก่ง สขุ ” ปี พ.ศ. 2543 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดท�ำคู่มือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำ� หรบั ผ้บู รหิ ารและครใู ช้เปน็ แนวทางการดแู ลช่วยเหลอื นกั เรยี นในสถานศกึ ษาโดย มแี นวคดิ ทวี่ า่ เดก็ ปกติ จะได้รับการสร้างทักษะชีวิตเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาท่ีเผชิญตามวัย ในกิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมช่ัวโมง แนะแนว สำ� หรบั กลมุ่ เดก็ ทมี่ พี ฤตกิ รรมเสยี่ งจะไดร้ บั การพฒั นาและสรา้ งทกั ษะชวี ติ เพอ่ื ปรบั เปลย่ี นพฤตกิ รรม ใหเ้ ปน็ เดก็ ปกติ โดยการใหค้ ำ� ปรกึ ษา ความรว่ มมอื ของผปู้ กครองและเฝา้ ระวงั โดยนกั เรยี นแกนนำ� ตลอดถงึ ทกั ษะชวี ิต รหัสครศู ตวรรษท่ี 21 13

การปลูกฝังทัศนคติ การเห็นคุณค่าในตนเอง และในกลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อ การเรียน สุขภาพและสัมพันธ์ภาพระหว่างเพ่ือนและครอบครัว จะได้รับการดูแลช่วยเหลือ บ�ำบัด รักษา ปรับเปล่ียนพฤติกรรมเป็นเด็กปกติโดยนักจิตวิทยา จิตแพทย์ ผู้ปกครอง ครอบครัวและครู ระบบการดูแล ชว่ ยเหลอื นกั เรยี นไดร้ บั การตอบรบั เปน็ นโยบายของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร และเปน็ นวตั กรรมสำ� คญั ดา้ นทกั ษะ ชวี ิต ทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพมาอย่างต่อเน่อื ง ยง่ั ยนื เมื่อถึงช่วงเปล่ียนผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 วงการศึกษาท่ัวโลกต่างตื่นตัวกับการเตรียมผู้เรียนให้พร้อม กับชีวิตในโลกยุคใหม่ จึงมีการพัฒนาเด็กและเยาชนให้มีทักษะความสามารถที่จ�ำเป็นส�ำหรับศตวรรษท่ี 21 (21st Century Skills) ประกอบด้วยทกั ษะการเรยี นรู้ ทกั ษะการใชข้ ้อมลู สารสนเทศ ทกั ษะชวี ติ และการทำ� งาน ความสามารถในการบริหารตนเอง การจัดการความสัมพันธ์อยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายและ แตกต่างทางวัฒนธรรม แนวคดิ “ทกั ษะชีวติ ” จงึ ได้น�ำกลบั มาปรบั องค์ประกอบใหม่เพอ่ื ให้ครอบคลุมทกั ษะ ต่างๆ ท่จี ำ� เป็นส�ำหรับการดำ� เนนิ ชวี ิตในศตวรรษใหม่ ช่วงย่างก้าวสู่ศตวรรษท่ี 21 ได้มีแนวคิดนวัตกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิตของมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์ ที่มีลักษณะเป็น Active learning หรือ Active Participation ท่ีจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านการเล่น การกีฬาและการมีส่วนร่วมเพ่ือเสริมสร้างทักษะชีวิตของผู้เรียน มีจุดเด่นของกิจกรรมอยู่ 2 ประการ คือ การออกแบบกิจกรรมการเล่นท่ีมีจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการใช้ ค�ำถามเช่ือมโยงองค์ความรู้ท่ีได้กับชีวิตจริงของผู้เรียน และน�ำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ท้ังต่อ ตนเองและผู้อ่ืนอย่างเป็นรูปธรรม ท�ำให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการเรียนรู้ที่ได้รับและกระตุ้น ความต้องการเรยี นรู้มากยงิ่ ขนึ้ สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานไดพ้ ฒั นาบคุ ลากรทางการศกึ ษาในระดบั เขตพน้ื ทปี่ ระถม ศึกษา และมัธยมศึกษาท่ัวประเทศ ให้มีทักษะในการขับเคล่ือนทักษะชีวิตในสถานศึกษาทุกรูปแบบ พัฒนา ครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิตป้องกันปัญหายาเสพติด ปัญหาการต้ังครรภ์ก่อนวัยอันควร ความรนุ แรง และการปกปอ้ งคมุ้ ครองใหก้ บั นกั เรยี นในสถานศกึ ษา ซงึ่ สามารถจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอน ในรายวชิ าทรี่ บั ผดิ ชอบได้ รวมถงึ สามารถจดั กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี นทเ่ี สรมิ สรา้ งทกั ษะชวี ติ อนั ไดแ้ ก่ กจิ กรรม ค่ายทักษะชีวิต กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมนักเรียนแกนน�ำ ตลอดจนจัดท�ำเอกสารเผยแพร่ความรู้ คู่มือ การเสริมสร้างทักษะชีวิต เป็นแนวทางส�ำหรับพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิต ในสถานศึกษาส�ำหรับครู นกั เรยี นแกนนำ� และผู้ปกครองอย่างต่อเนอ่ื ง 14 ทกั ษะชวี ิต รหสั ครูศตวรรษที่ 21

2.2 ความสำ� คญั ของทกั ษะชวี ติ (Life Skills) ดังได้กล่าวแล้วว่าปัจจุบันอยู่ในสังคมแห่งศตวรรษที่ 21 ซ่ึงมีความลำ�้ สมัยของเทคโนโลยี ส่งผลต่อ ความรวดเร็วในการรับข้อมูลและการส่ือสาร ท�ำให้สังคมที่มีความหลากหลายทางเช้ือชาติ วัฒนธรรม ตลอดจนความคดิ และความเชอื่ ของคน ในสงั คมจำ� เปน็ ตอ้ งตง้ั รบั กบั การมวี ถิ ชี วี ติ ยคุ ใหมอ่ ยา่ งมวี จิ ารณญาณ ด้วยสภาพสังคมท่ีเปล่ียนแปลงอย่างมากน้ีเอง ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียน ท้ังการด�ำเนินชีวิตท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลง และความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการศึกษาต่อของบุตรหลาน ประกอบกบั การเผชญิ กบั สิ่งย่ัวยหุ รอื ตัวแบบทีไ่ ม่เหมาะสมต่างๆ รอบตวั ก่อให้เกดิ ปัญหาต่อเดก็ และเยาวชนอย่างมาก ทัง้ ปญั หา ด้านการปรับตัว ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความรุนแรง ปัญหาที่มาจากสิ่งย่ัวยุ เช่น ปัญหาเด็กติดเกม ปัญหายาเสพติด ปัญหาจากพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับ การแกไ้ ข หรอื เตรยี มการปกปอ้ งหรอื สรา้ งภมู คิ มุ้ กนั โดยเฉพาะเดก็ และเยาวชนทไี่ มม่ ภี มู คิ มุ้ กนั ทางสงั คม และ ทักษะชวี ติ ส่งผลให้เมือ่ จบการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานแล้ว อาจเป็นคนท่ไี ม่ประสบความส�ำเรจ็ ในชวี ติ มปี ญั หาทาง อารมณ์ จติ ใจ และมกั จะมคี วามขดั แย้งในชวี ติ ได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อสงั คมโดยรวม ซงึ่ จะเปน็ ภาระในสงั คม ดังน้ัน โรงเรียนและครูจึงมีความส�ำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กนักเรียน ทั้งน้ี โดยการจดั กจิ กรรมในโรงเรยี นและการจดั กระบวนการเรยี นร้ทู มี่ ปี ระสทิ ธภิ าพเพอื่ ให้ผู้เรยี นมที กั ษะชวี ติ เปน็ ภมู คิ ุ้มกนั ใช้ชวี ิตอย่างมีสติ ตั้งรบั ต่อการก้าวรกุ ทางสังคมได้อย่างรู้เท่าทนั 2.3 ความหมายของทักษะชวี ิต สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน (สพฐ.) ใหค้ ำ� จำ� กดั ความของคำ� วา่ “ทกั ษะชวี ติ ” (Life Skills) ไวว้ า่ ทกั ษะชวี ติ หมายถงึ “ ความสามารถของบคุ คลทจี่ ะจดั การกบั ปญั หาตา่ งๆ รอบตวั ในสภาพสงั คมปจั จบุ นั และเตรยี มพร้อมสำ� หรบั การปรับตัวในอนาคต” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคอื 1. การตระหนกั รู้และเห็นคุณคา่ ในตนเองและผู้อ่นื การตระหนกั รู้และเหน็ คณุ ค่าในตนเองและผ้อู นื่ หมายถงึ การร้คู วามถนดั ความสามารถ รู้จดุ เด่น จุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับ เห็นคุณค่าและ ภาคภมู ใิ จในตนเองและผู้อน่ื มเี ป้าหมายในชวี ิต และมคี วามรบั ผดิ ชอบต่อสงั คม 2. การคดิ วิเคราะห์ ตดั สนิ ใจ และแก้ปัญหาอยา่ งสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและสถานการณ์รอบตัว วิพากษ์วิจารณ์และประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยหลักเหตุผล และข้อมูลท่ีถูกต้อง รับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา หาทางเลือกและตัดสินใจในการแก้ปัญหาใน สถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ 3. การจัดการกับอารมณ์และความเครยี ด การจดั การกบั อารมณ์และความเครยี ด หมายถงึ ความเข้าใจและรู้เท่าทนั ภาวะอารมณ์ของบคุ คล รู้สาเหตุของความเครยี ด รู้วธิ กี ารควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วธิ ีผ่อนคลาย หลีกเลยี่ ง และ ปรบั เปลีย่ นพฤตกิ รรมทกี่ ่อให้เกดิ อารมณ์ไม่พงึ ประสงค์ไปในทางทีด่ ี ทกั ษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษที่ 21 15

4. การสรา้ งสมั พันธภาพท่ดี กี บั ผอู้ น่ื การสรา้ งสมั พนั ธภาพทดี่ กี บั ผอู้ นื่ หมายถงึ การเขา้ ใจมมุ มอง อารมณ์ ความรสู้ กึ ของผอู้ น่ื ใชภ้ าษา พูดและภาษากายเพื่อส่ือสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการ ของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ใช้การสื่อสารท่ีสร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างความร่วมมอื และท�ำงานร่วมกบั ผู้อ่นื ได้อย่างมีความสขุ แต่ละองค์ประกอบจะแบ่งเป็นพฤติกรรมทักษะชีวิตท่ีคาดหวังและตัวช้ีวัดซึ่งจ�ำแนกตามระดับชั้น รายชัน้ ปี สำ� หรบั ความเชอื่ มโยงของทกั ษะชวี ติ ทง้ั 4 องคป์ ระกอบ นนั้ หากสงั เกตใหด้ จี ะเหน็ วา่ องคป์ ระกอบ ของทักษะชีวิตล้วนเช่ือมโยงกัน เช่น การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อ่ืนก็ย่อมท�ำให้เด็กสร้าง สัมพันธภาพท่ีดีกับบุคคลรอบข้างได้ เพราะเด็กเข้าใจตนเองและผู้อ่ืน เห็นคุณค่าและยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล การอยู่ร่วมกับผู้อื่นสามารถเป็นไปด้วยความเข้าใจและเปิดกว้าง ในขณะที่องค์ประกอบ การจดั การกบั อารมณ์และความเครยี ด กต็ ้องเรมิ่ ด้วยการตระหนกั ร้แู ละเข้าใจตนเอง ทงั้ ในด้านอารมณ์และ ความคดิ จากนนั้ กอ็ าศยั ทกั ษะในองคป์ ระกอบ การคดิ วเิ คราะห์ ตดั สนิ ใจ และแกป้ ญั หาอยา่ งสรา้ งสรรค์ เพอ่ื สร้างความเข้าใจในตนเอง ผู้อืน่ และสถานการณ์ คิดไตร่ตรองทางเลือกแต่ละทางเลอื ก เพื่อหาทางจัดการ กบั อารมณข์ องตนเองและสถานการณท์ ตี่ งึ เครยี ดไดอ้ ยา่ งเหมาะสม ซง่ึ องคป์ ระกอบทกั ษะชวี ติ ทเี่ ปน็ แกนหลกั ของการเรยี นรู้ คอื การวเิ คราะห์ วิจารณ์และความคดิ สร้างสรรค์ 2.4 การพัฒนาทักษะชวี ิตในโรงเรยี นผ่านกิจกรรม ทกั ษะชีวติ เปน็ ความสามารถทเ่ี กดิ ขึ้นในตัวผู้เรยี นได้ด้วยวธิ กี ารสำ� คญั 2 วธิ ี คือ 1. เกิดเองตามธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และการมีแบบอย่างที่ดี แต่การเรียนรู้ตามธรรมชาตจิ ะไม่มีทิศทางและเวลาที่แน่นอน บางครง้ั กว่าจะรู้ ก็อาจสายเกินไป 2. การสร้างและพัฒนาโดยกระบวนการเรียนการสอน เป็นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน ในกลุ่ม ผ่านกจิ กรรมรปู แบบต่างๆ ได้ลงมอื ปฏิบตั ิ ได้ร่วมคดิ อภปิ ราย แสดงความคดิ เหน็ ได้แลก เปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ซ่ึงกันและกัน ได้สะท้อน ความรู้สึกนึกคิด มุมมอง เช่ือมโยงสู่ วิถชี วี ติ ของตนเอง เพอ่ื สร้างองค์ความรู้ใหม่และปรบั ใช้กบั ชวี ิต การพฒั นาทกั ษะชวี ติ จงึ เปน็ การพฒั นาความสามารถจากภายในของตวั ผเู้ รยี น เพอื่ ใหม้ คี วามเขม้ แขง็ ใน การจดั การกบั ปญั หาทอ่ี าจเผชญิ ในอนาคต และเปน็ ความสามารถในการปรบั ตวั ตอ่ สถานการณต์ า่ งๆ เพอื่ ให้ อยู่ร่วมกบั สังคมได้อย่างเปน็ สุข ดงั นน้ั การพฒั นาทกั ษะชวี ิตไม่อาจเกดิ ได้ภายในวันเดยี ว แต่ต้องอาศยั ระยะ เวลาความถใี่ นการจดั กจิ กรรมและความตอ่ เนอื่ งในการพฒั นา ซง่ึ ตอ้ งสอดคลอ้ งกบั พฒั นาการตามชว่ งวยั ของ ผู้เรียนอีก โดยส�ำนักคณะกรรมการการศึกษาข้ึนพื้นฐานได้ก�ำหนดจุดเน้นทักษะชีวิตในระบบการศึกษา ข้ันพื้นฐาน เพ่ือเป็นตัวอย่างในการพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่ผู้เรียน เป็นล�ำดับขั้นอย่างต่อเนื่องและสอดคล้อง กบั ช่วงวัย 16 ทกั ษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษที่ 21

กิจกรรมการสร้างและพัฒนาทักษะชีวติ กิจกรรมเป็นส่วนส�ำคัญที่จะขับเคล่ือนแนวคิดสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น การจะสร้างและ พัฒนาทักษะชีวิตจึงต้องเป็นกิจกรรมท่ีมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ (Child – Centered Learning) ผู้เรียนเป็น ผู้ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ ซ่ึงลักษณะของกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพในการสร้างและพัฒนาทักษะชีวิต ผู้เรยี น มดี ังนี้ 1. กิจกรรมท่ีผู้เรียนมีส่วนร่วมค้นพบความรู้หรือสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะท�ำให้ผู้เรียน เกิดทักษะชีวิตในด้านการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เช่น กิจกรรม การเรียนรู้ท่ีให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ข่าวสาร เหตุการณ์ สถานการณ์ หรือประสบการณ์ของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีผู้เรียนได้สืบค้นหรือศึกษาค้นคว้า คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากส่ือต่างๆ และแหล่งเรียนรู้ท้ังภายในและภายนอกสถานศึกษา ได้สะท้อนตนเองเช่อื มโยงกบั ชีวติ และการดำ� เนินชีวิตในอนาคต 2. กิจกรรมท่ผี ูเ้ รยี นไดท้ �ำกิจกรรมร่วมกนั ได้ลงมอื กระทำ� กิจกรรมลักษณะตา่ งๆ ไดป้ ระยุกต์ ใชค้ วามรู้ เชน่ กจิ กรรมทศั นศกึ ษา กจิ กรรมคา่ ย กจิ กรรมวนั สำ� คญั กจิ กรรมชมรม/ชมุ นมุ กจิ กรรม โครงงาน/โครงการ กิจกรรมจิตอาสา เป็นต้น กิจกรรมเหล่าน้ีเป็นกิจกรรมที่จะท�ำให้ผู้เรียนเกิด การพัฒนาทักษะชวี ติ ดงั ต่อไปน้ี 2.1 การได้เสริมสร้างสัมพันธภาพและใช้ทักษะการสื่อสาร ได้ฝึกจัดการกับอารมณ์และ ความเครียดของตนเอง 2.2 การไดร้ บั ฟงั ความคดิ เหน็ ของผอู้ นื่ ทำ� ใหเ้ ขา้ ใจผอู้ นื่ นำ� ไปสกู่ ารยอมรบั ความคดิ เหน็ ของผอู้ นื่ รู้จกั ไตร่ตรองท�ำความเข้าใจและตรวจสอบตนเองทำ� ให้เข้าใจตนเองและเห็นใจผู้อน่ื 2.3 การไดร้ บั การยอมรบั จากกลมุ่ ไดแ้ สดงออกดา้ นความคดิ การพดู และการทำ� งานมคี วามสำ� เรจ็ ท�ำให้ได้รับค�ำชม เกิดเป็นความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง น�ำไปสู่ความรับผิดชอบ ทงั้ ต่อตนเองและสังคม 3. กิจกรรมการบูรณาการการเรียนรู้ทักษะชีวิตในวิถีการเรียนรู้ปกติในรายวิชาด้วยค�ำถาม ท่ีกระตุ้นกระบวนการคดิ อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ และ อาจใช้ชุดค�ำถาม “R – C – A” หลังจากเสรจ็ สน้ิ กิจกรรมการเรยี นรู้รายครงั้ หรอื รายกจิ กรรม โดยวธิ ี 3.1 ก�ำหนดวตั ถุประสงค์ทกั ษะชวี ติ ไว้ในแผนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ 3.2 ก�ำหนดค�ำถามน�ำไปสู่ทักษะชีวิตที่ต้องการเสริมสร้างหรืออาจจะสังเกตพฤติกรรในขณะ ผู้เรียนร่วมกจิ กรรม แล้วก�ำหนดคำ� ถามท่จี ะนำ� ไปสู่คำ� ตอบที่สะท้อนให้ผู้เรยี นฉกุ ใจคดิ และ ปรับพฤติกรรมทไ่ี ม่เหมาะสมที่ผู้สอนต้องการแก้ไข ทกั ษะชีวิต รหัสครศู ตวรรษที่ 21 17

2.5 การพฒั นาทักษะชวี ติ ผ่านกระบวนการ R – C – A กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น การกีฬาและการมีส่วนร่วมตามแนวคิดของมูลนิธิไร้ท์ ทู เพลย์น้ี ด�ำเนินการตามคู่มอื การออกแบบการเรยี นการสอนของ David E. Kolb นักทฤษฎดี ้านการศกึ ษาชาวอเมรกิ ัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาทักษะชีวิต เป็นกิจกรรมกระบวนการที่อาศัยเทคนิคการเรียนการสอน มีกติกา มีล�ำดับขั้นตอนและมีข้อคิดท่ีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ มีการใช้ประเด็นค�ำถามส�ำคัญให้ ผเู้ รยี นไดอ้ ภปิ รายแสดงความรสู้ กึ นกึ คดิ และการประยกุ ตค์ วามคดิ อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพหลงั สน้ิ สดุ การเรยี นรู้ ในแต่ละครง้ั ด้วยประเด็นคำ� ถามสะท้อน คดิ เชอ่ื มโยง การปรบั ใช้ในสถานการณ์ใหม่ เพื่อให้ผู้เรยี นได้เรียนรู้ บทเรยี นสำ� คญั ทจี่ ะพฒั นาทกั ษะชวี ติ ใหผ้ เู้ รยี นไดต้ ระหนกั รแู้ ละเหน็ คณุ คา่ ในตนเองและผอู้ นื่ รจู้ กั การจดั การ กับอารมณ์และความเครียดอย่างเหมาะสมและรู้จักการสร้างสัมพันธภาพท่ีดีกับผู้อื่น รู้จักการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการสะท้อนด้วยชุดค�ำถาม R – C – A ซ่ึงเป็นกลยุทธ ในการเรียนรู้ที่จะช่วยให้นักเรียนสร้างกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผ่านการสะท้อนและ บทสนทนากบั เพอ่ื นและบุคคลอน่ื กล่าวคอื R : Reflect (สะทอ้ น) เปน็ คำ� ถามเพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นสะทอ้ นความรสู้ กึ หรอื มมุ มองของตน เปน็ การถามถงึ สิ่งที่ผู้เรียนสังเกตเห็น มองเห็น หรือสัมผัส หรือถามถึงความรู้สึกของผู้เรียนที่เกิดข้ึนในขณะร่วมกิจกรรม การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ในชั่วโมงน้ัน ผู้เรียนจะพิจารณาว่า “ ฉันเพ่ิงได้เรียนรู้อะไร?” “มีส่ิงใดเกิดข้ึน บ้างภายนอกตัวฉันและภายในตัวฉัน” ผู้เรียนจะจดจ�ำประสบการณ์และท�ำให้มันเป็นรูปเป็นร่างข้ึนมา เช่น ผู้เรียนอาจจะเรียงล�ำดับและปะติดปะต่อเหตุการณ์ให้เป็นล�ำดับเหตุการณ์อย่างง่ายๆ แสดงความสัมพันธ์ ของเหตุและผล หรือแสดงให้เห็นปัญหาและการแก้ปัญหา และเรื่องอ่ืนๆ ประสบการณ์ท่ีเพิ่งได้รับมาจะได้ รบั จดั เรียงล�ำดบั C : Connect (เชื่อมโยง) เป็นค�ำถามเพ่ือให้ผู้เรียนได้คิดเช่ือมโยง เป็นการถามเพื่อให้เกิด การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้ท่ีมีมาก่อนกับประสบการณ์หรือความคิดท่ีเกิดจากการเรียน รู้ใหม่ในชัว่ โมงนน้ั ผู้เรยี นจะพิจารณาว่า “ประสบการณ์นเ้ี กีย่ วข้องกับประสบการณ์ก่อนหน้าน้ีเป็นอย่างไร” “มีความเช่ือมโยงกับสิ่งท่ีผู้เรียนเคยรู้ เชื่อ และรู้สึกอย่างไรบ้าง” “เสริมสร้างหรือขยายมุมมองของผู้เรียน หรอื ไม่” “คดั ค้านหรอื หักล้างความคดิ ของผู้เรียนหรอื ไม่” ประสบการณ์จะถูกจัดลำ� ดบั และรวบรวมต่อไป A: Apply (ปรับใช้) เป็นค�ำถามเพ่ือการปรับใช้หรือประยุกต์ เป็นการถามถึงส่ิงท่ีได้เรียนรู้ใหม่ ในปัจจุบันไปปรับใช้ในสถานการณ์ใหม่ท่ีอาจจะเผชิญเพ่ือเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับเหตุการณ์หรือ สถานการณ์ต่างๆ ในอนาคต ผู้เรยี นจะพจิ ารณาว่า “สิง่ ท่ีได้เรยี นรู้จากประสบการณ์ในครัง้ นน้ี �ำไปปรับใช้ได้ อย่างไรในสถานการณ์ท่ีคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน” “ผู้เรียนจะใช้ส่ิงที่เพ่ิงได้เรียนรู้มาเพ่ือประโยชน์ของ ตัวเอง ของผู้อน่ื และเพื่อกลุ่มของผู้เรยี นอย่างไร” การเรยี นรู้จะถูกถ่ายทอดและถกู น�ำมาประยกุ ต์ใช้ กล่าวโดยท่ัวไป การสะท้อน-เช่ือมโยง-ปรับใช้นี้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ท้ังรายบุคคลและเป็นกลุ่ม พิจารณาสิ่งท่ีได้เรียนรู้มาอย่างมีสติ เช่ือมโยงประสบการณ์เหล่าน้ันกับส่ิงท่ีได้เรียนรู้มาแล้ว และวางแผนท่ี จะใช้ต่อไป 18 ทักษะชีวิต รหสั ครูศตวรรษที่ 21

ตวั อยา่ งชดุ ค�ำถาม R – C – A เพอ่ื การพฒั นาทักษะชีวิต 1. องคป์ ระกอบทักษะชวี ิตท่ี 1 การตระหนกั รแู้ ละเห็นคณุ ค่าในตนเองและผอู้ ื่น ทกั ษะชีวิต R (Reflect – สะทอ้ น) C (Connect – เชือ่ มโยง) A (Apply – ปรับใช้) ยอมรับความแตกต่างระหว่าง ในเกมนี้ แต่ละคนมี คุณคิดว่าคุณมีความเหมือน หากคณุ พบคนทม่ี คี วามแตกตา่ ง ตนเองและผู้อื่น ความแตกต่างอย่างไรบ้าง หรือแตกต่างจากผู้อืน่ อย่างไร กบั ตัวเอง คุณจะมีวิธีการปรับ บ้าง ตัวเข้าหาอย่างไร มีความเชือ่ มน่ั ในตนเอง ในระหว่างที่ทำ�กิจกรรม เมือ่ ก่อนคณุ เชือ่ ม่นั ในตัวเอง คณุ สามารถทำ�งานอย่างไร คุณได้ใช้ความเชือ่ มัน่ ใน ตอนไหนบ้าง เพื่อให้ตัวเองมน่ั ใจมากยิ่งขึ้น ตนเองตอนไหน และอย่างไร 2. องค์ประกอบทกั ษะชวี ติ ที่ 2 การคดิ วิเคราะห์ ตดั สินใจ และแกป้ ญั หาอย่างสร้างสรรค์ ทกั ษะชีวิต R (Reflect – สะทอ้ น) C (Connect – เชื่อมโยง) A (Apply – ปรบั ใช้) วิเคราะห์สาเหตขุ องปัญหา ในกิจกรรม เกิดปัญหาอะไร เมื่อก่อน คุณเจอปัญหา หากคณุ เจอปัญหาใน การวางแผน บ้าง คุณแก้ปัญหานั้นอย่างไร คณุ ทำ�อย่างไร ครั้งต่อไป คณุ จะทำ�อย่างไร คณุ วางแผนในทีมของคณุ คุณเคยใช้การวางแผน คร้ังต่อไป เมื่อทำ�งานกับผู้อืน่ อย่างไรเพื่อชนะเกมนี้ ตอนไหนบ้างในชีวิตคุณ คุณจะมีการวางแผนอย่างไร ให้งานสำ�เร็จ 3. องคป์ ระกอบทกั ษะชวี ติ ท่ี 3 การจดั การอารมณ์และความเครียด ทักษะชีวิต R (Reflect – สะท้อน) C (Connect – เชือ่ มโยง) A (Apply – ปรบั ใช้) ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ เมื่อจบกิจกรรม คณุ รู้สึก ในประสบการณ์ของคุณ ต่อไป ถ้าคณุ รู้สึกหงดุ หงิด อย่างไร มีใครรู้สึกหงดุ หงิด เมื่อคณุ รู้สึกโกรธ คณุ จะมีวิธีการควบคุม ผ่อนคลายอารมณ์ หรือไม่ ถ้ามี คุณทำ�อย่างไร คุณทำ�อย่างไร อารมณ์อย่างไร ในเกมนี้ คณุ ทำ�อย่างไรเพื่อ ในอดีต เมือ่ คุณหงดุ ดหงิด หากเพือ่ นของคณุ อารมณ์ ผ่อนคลายอารมณ์ของคุณ? คณุ มีวิธีการผ่อนคลาย อารมณ์ไม่ดี คุณจะแนะนำ� อารมณ์อย่างไร วิธีการผ่อนคลายอารมณ์ อย่างไร 4. องคป์ ระกอบทักษะชวี ิตท่ี 4 การสร้างสัมพันธภาพทด่ี ีกบั ผูอ้ ่นื ทกั ษะชีวิต R (Reflect – สะท้อน) C (Connect – เชือ่ มโยง) A (Apply – ปรับใช)้ ใช้ภาษาทีเ่ หมาะสม ในการสื่อสาร ระหว่างกิจกรรมทีเ่ ล่นไป แต่ก่อน เมื่อคุณสือ่ สารกบั หากคณุ ต้องการสือ่ สาร เพือ่ นของคุณใช้ภาษาอย่างไร ผู้อื่น คุณใช้ภาษาอย่างไรใน ในเชิงบวก คณุ จะพดู อย่างไร ปฏิบตั ิตามกฏกติกา ในการสื่อสารกบั คุณ การพูดคุย เกิดอะไรขึ้น ในครั้งต่อไป คณุ จะทำ� กฏกติกาของเกมนี้คืออะไร กฏกติกาของการอยู่ร่วมกัน อย่างไรให้ตวั เองทำ�ตามกฏ ทกุ คนได้ทำ�ตามกฏหรือไม่ ในโรงเรียนของคณุ มีอะไรบ้าง กติกา เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีคนไม่ทำ� ตามกฏ ทักษะชวี ติ รหสั ครูศตวรรษท่ี 21 19

2.6 การน�ำทักษะชวี ติ สูก่ ารจัดการเรยี นการสอน การนำ� ทกั ษะชวี ติ สกู่ ารจดั การเรยี นการสอนดว้ ยการใชค้ ำ� ถามนำ� ไปสู่ การรคู้ ดิ สง่ ผลตอ่ การเสรมิ สรา้ ง ทักษะชีวติ โดยชุดค�ำถาม R – C – A R: Reflect ให้ผู้เรียนสะท้อนความคิด ความรู้สึก คำ� ถาม C: Connect ให้ ผู้เรียนคิดเชื่อมโยงถึงประสบการณ์ท่ีเคยมีหรือเคยประสบ และค�ำถาม A: Apply ให้ผู้เรียนคิดหาแนวทาง หรอื วธิ กี ารปฏิบัติที่เหมาะสม เป็นไปได้จรงิ มีวิธกี าร ขน้ั ตอนสำ� คญั ของการออกแบบการเรียนการสอนดงั น้ี 1. กำ� หนดวตั ถุประสงค์การเรยี นรู้พฤตกิ รรม 2 ด้าน หรอื 2 พฤตกิ รรม คอื 1.1 พฤตกิ รรมตามตวั ชว้ี ดั รายชนั้ ปี กลมุ่ สาระการเรยี นรตู้ ามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษา ข้นั พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1.2 พฤตกิ รรมทักษะชวี ติ ทคี่ าดหวงั หรอื ตัวชวี้ ดั พฤตกิ รรมทักษะชีวิตใน 4 องค์ประกอบ 2. ออกแบบกิจกรรมการเรยี นรู้ที่มลี กั ษณะสำ� คญั 2.1 เป็นกจิ กรรม Active Learning ผู้เรยี นเปน็ ผู้ปฏบิ ตั แิ ละเรียนรู้เต็มศักยภาพ 2.2 เปน็ กจิ กรรมทเ่ี ปน็ ลำ� ดบั ขน้ั ตอนมุ่งเน้นให้ผู้เรยี นเกดิ การเรยี นรู้ ความรู้ ทกั ษะ เจตคตใิ น เนือ้ หาสาระตามวตั ถปุ ระสงค์ท่กี ำ� หนด 3. จัดกิจกรรมการเรยี นรู้ตามล�ำดบั ขน้ั ตอนทีอ่ อกแบบไว้ 4. สังเกต ตรวจสอบผลการเรียนรู้และสังเกตพฤติกรรมการใช้ทักษะชีวิตของผู้เรียนระหว่างปฏิบัติ กจิ กรรม 5. ใช้ชุดค�ำถาม R – C – A ถามผู้เรยี น ให้ผู้เรยี นคดิ พูด แสดงความคดิ เห็น R – C – A เตรียมพร้อม หากเผชิญในอนาคต 6. ตรวจสอบ เติมเตม็ แนวคิดท่ถี ูกต้อง เหมาะสมและใช้ได้จรงิ ในโอกาสต่อไป สรปุ ชน่ื ชม ให้กำ� ลังใจ 2.7 การประเมินและพัฒนาทักษะชีวิต การประเมินทักษะชีวิต เป็นการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพ่ือพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน ให้มีพัฒนาการที่ดีตรงความต้องการของท้องถ่ินและสังคม โดยการประเมินความสามารถหรือแนวทางใน การเผชญิ สถานการณต์ า่ งๆ ของผเู้ รยี นดว้ ยวธิ กี ารสงั เกต การแกป้ ญั หาในสถานการณท์ ก่ี ำ� หนดให้ และวเิ คราะห์ การเปลย่ี นแปลงความคดิ ความเชอื่ การรคู้ ดิ และภมู คิ มุ้ กนั ทางปญั ญา จากการสะทอ้ นความคดิ การเชอื่ มโยง ความคดิ และการแสดงพฤตกิ รรมต่อเนอื่ งหลงั การเรยี นรู้ ดำ� เนนิ ไประยะหนงึ่ ซงึ่ ผ้ปู ระเมนิ อาจเปน็ ครู เพอื่ น ผู้ปกครองหรอื ผู้เรยี นเปน็ ผู้ประเมนิ ตนเอง เม่ือต้องการประเมนิ ควร ควรด�ำเนนิ การดงั นี้ (1)กำ� หนดพฤตกิ รรมและตัวชว้ี ดั ให้ชดั เจน (2)จดั ท�ำแบบ บนั ทกึ พฤตกิ รรมทส่ี อดคลอ้ งกบั ตวั ชว้ี ดั (3) ออกแบบกจิ กรรมหรอื กำ� หนดสถานการณใ์ หน้ กั เรยี นปฏบิ ตั เิ พอื่ การประเมนิ (4) จดั กจิ กรรมตามทอ่ี อกแบบ และสงั เกต บนั ทกึ การสงั เกตและ ประเมินสรปุ ส�ำหรับตัวอย่างกิจกรรมการเรียนการสอนในเอกสารฉบับน้ีเป็นการน�ำเสนอท่ีหลากหลาย ต่างสาระ ต่างระดับชั้น ต่างกลุ่มนักเรียน ยังไม่ได้แสดงความถี่ในการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละกลุ่มจึงไม่ได้น�ำเสนอ ตัวอย่างการประเมนิ 20 ทักษะชีวิต รหัสครศู ตวรรษท่ี 21

2.8 รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21 จากการศึกษาตวั อย่างแนวทางการสอนของครูทง้ั 42 คน ซึ่งเป็นครทู ี่ผ่านการพัฒนาการจดั การเรยี น การสอนโดยบรู ณาการหรอื สอดแทรกชดุ คำ� ถาม R – C – A อนั จะสง่ ผลตอ่ การพฒั นาทกั ษะชวี ติ พบลกั ษณะ ส�ำคัญทเ่ี ปน็ การสะท้อน หรอื บอก หรอื อธบิ ายความเปน็ ตวั ตนของครู ซงึ่ น�ำเสนอเปน็ 2 ด้าน คอื รหัสด้าน บุคลิกภาพ และด้านพฤตกิ รรมการเรยี นการสอน ดังน้ี รหสั ด้านบุคลกิ ภาพ 1. ยิ้มแย้มแจ่มใส มีกิริยาท่ีผ่อนคลาย เป็นกันเอง ใกล้ชิดนักเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสม 2. แสดงออกซ่งึ ความรกั ความเมตตา เช่น เรยี กนักเรยี นว่าลูก 3. รักและศรทั ธาในวชิ าทีส่ อน 4. มีความรู้ ความสามารถในทักษะการสอนในวิชาท่ีรับผิดชอบสอนเป็นอย่างดี พร้อมน�ำไปสู่ การสอนอย่างคล่องแคล่ว สอดคล้องกบั บทเรยี น 5. ศึกษาหลักสูตรและบูรณาการเนื้อหาสาระน�ำไปสู่การเรียนรู้ท่ีจะท�ำให้เกิดทักษะการท�ำงาน ซ่งึ สอดคล้องกบั สภาพและบรบิ ทของผู้เรยี น 6. เตรยี มการสอน โดยเฉพาะการทดลองท่ที ดลองด้วยตนเองก่อนลงมือปฏบิ ัติการสอนจรงิ 7. ฝึกฝนตนเองให้มีความช�ำนาญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพ่ือถ่ายทอดเจตคติ ความซาบซง้ึ (วรรณคดี) และสาระสำ� คญั (Concept) 8. มีความพร้อมในการจดั ทำ� แสวงหาแหล่งเรยี นรู้ และหรอื แหล่งข้อมลู 9. รู้และเข้าใจนักเรยี นโดยเฉพาะความต้องการและความสามารถตามวัย 10. รู้จักนักเรียนและน�ำข้อมูลจากการรู้จักนักเรียนมาออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสม และให้มี กจิ กรรมที่หลากหลาย 11. สนใจศกึ ษาหาความรู้เพอ่ื น�ำมาพัฒนาการจัดการเรยี นการสอน เช่น การสอนวทิ ยาศาสตร์ น�ำแนวคิดในการพัฒนาขน้ั ตอนการสอน 7 ขนั้ ตอนมาใช้ 12. มีความรู้รอบตัวและสามารถถ่ายทอดข้อมูลสู่นักเรียนได้อย่างเหมาะสมกับวัยการรับรู้และ กาลเทศะ 13. มีความสามารถใช้ส่อื และเทคโนโลยีเพอื่ การจัดการเรยี นการสอนอย่างเหมาะสม 14. ครูสอนภาษาอังกฤษมคี วามสามารถใช้ภาษาองั กฤษในห้องเรยี น รหสั ด้านการจัดการเรยี นการสอน 1. นำ� เข้าสู่บทเรยี นด้วยบรรยากาศผ่อนคลายเพอ่ื สอดคล้องการพัฒนาสมองซกี ซ้ายขวา 2. จัดขั้นตอนการสอนอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมท่ีสอดคล้องข้ันตอนนั้นๆ เช่น การสอนคณติ ศาสตร์ ประกอบดว้ ยขน้ั นำ� เขา้ สบู่ ทเรยี น ขน้ั สงั เกต และการรบั รู้ ขน้ั ฝกึ จนเกดิ ความช�ำนาญ เป็นต้น 3. ออกแบบกิจกรรมการสอน มีลักษณะท่ีเริ่มต้นบทเรียนด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนา สมองซกี ชวาและจบด้วยการพัฒนาสมองซกี ขวา ทักษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษที่ 21 21

4. จดั การเรยี นรู้ด้วยวธิ กี ารและสอ่ื ที่หลากหลายซ่ึงไม่จำ� เป็นต้องมีราคาแพง 5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อค้นหาความสามารถเฉพาะและความต้องการ ทีไ่ ม่เหมอื นกัน (พหุปัญญาและหรอื นกั เรยี นท่ีมีความต้องการพเิ ศษ) 6. จดั ใหม้ สี ถานการณแ์ ละแหลง่ เรยี นรทู้ ห่ี ลากหลายในการคน้ หาคำ� ตอบทง้ั ในและนอกหอ้ งเรยี น 7. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้หลากหลายวิธีการ เริ่มจากของจริงสู่ของจ�ำลองหรือ สญั ลกั ษณ์ และสู่การเขยี น เรยี นรู้จากผู้ทม่ี ที ักษะเฉพาะ ตลอดจนเรียนรู้จากกลุ่ม 8. ใช้เทคนิคและวธิ ีการทแ่ี ยบยลในการถ่ายทอดสาระส�ำคัญ (concept) ในเนื้อหาสาระที่ส่งผล ต่อเจตคตสิ อดคล้องกบั พัฒนาการของวยั รุ่น หรอื ความซาบซึ้งในวรรณคดี เปน็ ต้น 9. ให้ความส�ำคญั ต่อการเรยี นรู้ด้วยการลงมอื ปฏบิ ตั จิ รงิ 10. การสอนแต่ละครงั้ จะเตรียมค�ำถามส�ำคญั ในการช่วยกระตุ้นหาคำ� ตอบ 11. การเรียนการสอนที่มีการทดลอง ครูจะคอยสนทนาซักถามระหว่างการทดลอง ชักชวนให้ ศกึ ษาเปรยี บเทยี บโดยใหน้ กั เรยี นเปน็ ผปู้ ฏบิ ตั ิ และครทู ำ� หนา้ ทเ่ี ปน็ ผแู้ นะนำ� โดยเฉพาะนกั เรยี น ระดับประถมศกึ ษา 12. การถามคำ� ถาม เปดิ โอกาสใหน้ กั เรยี นตอบเปน็ กลมุ่ กอ่ นถามเปน็ รายบคุ คลและจะถามคำ� ถาม ก่อนเรยี กชอ่ื 13. ครูสนใจนักเรียนท่ัวถึง ระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ครูจะคอยดูแลใกล้ชิดกับ นกั เรียน ให้กำ� ลังใจและให้คำ� แนะน�ำ 14. ซกั ถามถงึ ประโยชน์ทีไ่ ด้จากการทำ� งานกลุ่ม ซ่งึ แสดงถึงการให้ความสำ� คญั ต่อกระบวนการ ท�ำงานกลุ่มมากกว่าผลส�ำเร็จของงานเพยี งอย่างเดียว 15. เปิดโอกาสให้นักเรียนประเมินความสามารถของตนเอง และให้นักเรียนปรับปรุงงานให้ ตรงกบั ความสามารถหรอื ความชอบของตนเอง 16. ให้ความส�ำคัญต่อทกั ษะการสังเกต กระตุ้นให้เกดิ การคดิ วิเคราะห์ด้วยคำ� ถามทกุ ขนั้ ตอน 17. สามารถเปรียบเทียบ เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ให้เป็นสาระท่ีมีความส�ำคัญต่อชีวิตและ ใช้ในชวี ติ ประจำ� วันได้อย่างอย่างสอดคล้องกับบทเรยี น (บรู ณาการ) 18. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เผชิญปัญหาและ แลกเปลยี่ นประสบการณ์ 19. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพ่ือเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือท�ำอย่างครบวงจร ต้ังแต่ การวางแผน การด�ำเนนิ ตามแผน และการประเมนิ ผล 20. สามารถอธิบาย หรือการให้ค�ำนิยามต่อค�ำส�ำคัญได้อย่างสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การสอนและวัยของการรบั รู้ เช่น คำ� ว่า วางแผน ค�ำว่า ประชาธปิ ไตย เปน็ ต้น 21. ให้นกั เรยี นได้ความรู้ด้วยการท�ำกจิ กรรมต่างๆ โดยทค่ี รูไม่เปน็ คนบอกความรู้โดยตรง 22. สนใจทุกค�ำตอบของนักเรียน และมีความสามารถในการสอน มีความฉับไวในลักษณะ ทเ่ี รยี กว่า “ เชอ่ื มโยงค�ำตอบนักเรยี นสู่คำ� ถามต่อไปทันท”ี 23. มีความฉบั ไวในการแก้ปญั หา และให้ความช่วยเหลอื นักเรยี นให้ได้เรยี นรู้อย่างทันท่วงที 24. ประเมนิ ผลการสอนเปน็ รายบคุ คล และใช้วธิ ีการทสี่ อดคล้องกบั จุดประสงค์ 25. การสอนภาษาอังกฤษ จัดกจิ กรรมอย่างสนกุ สนาน มชี วี ติ ชีวา ทำ� ให้ผู้เรียนรกั ภาษาองั กฤษ 26. การสอนภาษาอังกฤษ มกี จิ กรรมกระตุ้นการใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรยี น 22 ทกั ษะชวี ติ รหัสครูศตวรรษท่ี 21

27. สอดแทรกกจิ กรรมและชุดค�ำถาม เพือ่ การฝึกและพฒั นาทกั ษะชีวติ 28. ระหว่างท�ำกิจกรรมในห้องเรยี นมกี ารเคล่ือนไหว มชี วี ติ ชวี า 29. มคี วามพร้อมด้านการใช้ส่อื อุปกรณ์เพ่อื การเรียนรู้ 2.9 การดูวีดิโอกระบวนการจดั การเรียนการสอนผ่าน QR code สำ� หรบั ผู้ท่ีมีแอพลเิ คชัน่ ไลน์ (Line) 1. กดเข้าไปยังแอพลเิ คชนั่ ไลน์ในโทรศัพท์มอื ถือหรอื แทบ็ เล็ต 2. กดเข้าไปทเ่ี ครื่องหมาย ‘...’ หรอื ‘More’ ด้านบนขวา ดังรปู 3. กดไปทเี่ ครอ่ื งหมาย QR code ด้านขวา ดังรปู ทกั ษะชวี ิต รหัสครูศตวรรษท่ี 21 23

4. หนา้ จอจะแสดงผลเปน็ กรอบสเ่ี หลยี่ ม 5. เม่ือสแกนสัญลักษณ์ QR code ให้นำ� โทรศพั ท์มอื ถอื หรอื แท็บเล็ต สำ� เรจ็ ใหก้ ดไปทคี่ ำ� วา่ ‘Open’ หรอื ไปสแกนบนสัญลักษณ์ QR code ที่ ‘เปิด’ ดังรปู อยู่ในเอกสาร ดังรปู 6. ระบบจะเชื่อมโยงไปยังวีดิโอที่อยู่ในแอพลิเคช่ันยูทูป (youtube) โดยอัตโนมัติ และสามารถ ศึกษากระบวนการจัดการเรยี นการสอนเพ่อื พฒั นาทักษะชวี ิตจากวีดโิ อดังกล่าวได้ ดังรปู หมายเหตุ ส�ำหรับผู้ที่ไม่มีแอพลิเคช่ันไลน์ (Line) สามารถดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น ‘QR code scanner’ ได้จาก App store (สำ� หรับ iphone หรอื ipad) หรอื Play store (ส�ำหรบั Android) 24 ทักษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21

3 ตัวอยา่ งการจดั การเรยี นการสอน เพอื่ พัฒนาทักษะชวี ติ 25

องคป์ ระกอบทักษะชวี ิตท่ี 1 การตระหนักรู้และเห็นคณุ คา่ ในตนเองและผู้อน่ื 26 ทักษะชวี ิต รหัสครศู ตวรรษที่ 21

ครูแห่งศตวรรษท่ี 21 ครมู ยุรี ศรสี วุ รรณ วิทยาศาสตร์ ป.5 โรงเรยี นชุมชนประชานคิ ม จังหวดั ชมุ พร สามารถพัฒนาและปรับปรุงวิธีการสอนให้มีความหลากหลาย ก็จะท�ำให้นักเรียนรักและช่ืนชอบในวิชาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าค�ำสอน ถ้าคุณครูมีลักษณะอย่างไร นักเรียนก็จะมีลักษณะอย่างน้ันด้วย จดุ ประสงค์การเรียนรู้ • อธิบายและทดลองวฏั จกั รของน้ำ� ได้ องคป์ ระกอบทักษะชีวิต : การตระหนกั รู้และเห็นคณุ ค่าในตนเองและผ้อู ่ืน • แสดงความชืน่ ชมในความส�ำเร็จของตนเองและผู้อ่นื ได้ ทักษะชวี ติ รหสั ครศู ตวรรษที่ 21 27

กิจกรรมการเรยี นการสอน กิจกรรมครู กจิ กรรมนักเรยี น ข้ันน�ำเขา้ สู่บทเรยี น ข้นั นำ� เข้าส่บู ทเรยี น 1. นำ� สนทนาเรอ่ื งน้�ำ และวัฏจกั รของนำ้� โดยค�ำถาม 1. ร่วมสนทนาโดยการตอบค�ำถามท้ังเป็นกลุ่มและ ทช่ี วนสนทนา : นำ�้ จะมโี อกาสหมดไปจากโลกหรอื ไม่ รายบคุ คล 2. รอฟงั คำ� ตอบ และเชอ่ื มโยงการสนทนาสคู่ ำ� ถามหลกั 2. ตอบคำ� ถามสำ� คัญ พร้อมยกตวั อย่าง 3. ชมวีดิโอ ร่วมสนทนาโดยตอบคำ� ถามชวนสนทนา คำ� ถามสำ� คญั การเปลย่ี นแปลงของน�้ำ ทำ� ให้เกดิ ปรากฏการณ์ใด ทกุ คำ� ถาม 3. เปิดวดี ิโอ กระบวนการเกดิ วัฏจักรของน้�ำและชวน สนทนาค�ำถามชวนสนทนาเช่อื มโยงสู่กจิ กรรม 3.1 เหน็ อะไรจากวดี โิ อ 3.2 วีดิโอเก่ยี วกับเรอ่ื งใด 3.3 การระเหยของน้ำ� จากแหล่งน�้ำเกดิ จากอะไร 3.4 ไอน้�ำลอยไปในอากาศจะเปลย่ี นแปลงสภาพ หรอื ไม่ เพราะอะไร นักเรยี นรู้ได้อย่างไร 3.5 การเปล่ยี นแปลงสภาพของไอนำ�้ ทำ� ให้เกดิ ปรากฏการณ์ใด ขน้ั ดำ� เนินกิจกรรมการเรียนรู้ ข้นั ด�ำเนนิ กิจกรรมการเรยี นรู้ 4. ให้เรียนรู้จากการปฏบิ ัตจิ รงิ ชุดการทดลอง การเกดิ 4. ปฏิบตั ิการทดลองโดยอุปกรณ์ชุดทดลองการเกิด วฏั จกั รของนำ้� เสรจ็ การทดลองมคี ำ� ถาม “วัฏจักรของน้�ำ” สนทนาในกลุ่มขณะท�ำการทดลอง Concept : น�้ำในกล่องระเหยกลายเป็นไออยู่ใน สังเกตบันทกึ การเปลี่ยนแปลงจากการทดลองและ อากาศภายในกล่อง เมอ่ื กระทบผวิ กล่องและ ตอบคำ� ถาม พลาสติก ซง่ึ เย็นกว่าไอน�้ำ จะควบแน่นเปน็ ค�ำตอบสำ� คัญ ละอองน้�ำเกาะอยู่ท่ีผวิ พลาสตกิ ภายในกล่อง 4.1 อุณหภมู ใิ นกล่องพลาสตกิ จะสูงขึ้น คำ� ถามชวนสนทนา 4.2 เกดิ ละอองไอน้�ำเป็นฝ้าเกาะบนแผ่นพลาสตกิ 4.1 อณุ หภูมใิ นกล่องพลาสตกิ เปน็ อย่างไร 4.2 เกดิ อะไรข้นึ ในกล่องพลาสตกิ และเกิดข้ึน เนื่องจากน�้ำในกล่อง เมอ่ื ได้รับความร้อน กลายเป็นไอควบแน่นเปน็ ละอองไอน�้ำเกาะ อย่างไร บนผวิ พลาสตกิ ภายในกล่อง ขน้ั สรปุ ขัน้ สรุป 5. ให้สรปุ ความรู้จาการทดลองเปน็ แผนภมู ิ 5. ร่วมกันจดั ท�ำแผนภูมสิ รุปผลการทดลอง 6. เพ่มิ ข้อมูลโดยให้ศกึ ษาวฏั จกั รจากภาพและชวน 6. บนั ทกึ ข้อมูลจากภาพ โดยการตอบคำ� ถาม สนทนา 6.1 แหล่งนำ�้ ต่างๆ การคายน�้ำของพชื ดนิ ทช่ี ุ่มช้ืน Concept : ไอนำ�้ ในอากาศเมอ่ื กระทบอากาศทเี่ ย็น 6.2 ไอนำ้� ในอากาศเม่ือกระทบอากาศท่เี ย็นกว่า กว่าจะควบแน่นเป็นละอองนำ�้ โดยมฝี ุ่นละอองน�ำ้ ในอากาศเย็นจับตัวและมองเหน็ เปน็ รปู ร่างต่างๆ ควบแน่นกลายเปน็ ละอองน้�ำ ละอองน�ำ้ ในเมฆเม่ือมจี �ำนวนเพม่ิ ขึ้น จะรวมตวั เป็นหยดน�้ำขนาดใหญ่ขน้ึ จนอากาศพยุงไม่ไหว จึงตกลงสู่พน้ื โลก กลายเปน็ ฝน 28 ทักษะชีวิต รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21

กิจกรรมครู กจิ กรรมนักเรียน ค�ำถามชวนสนทนา ค�ำถามชวนสนทนา 6.1 นำ้� ระเหยสู่อากาศจากแหล่งใดบ้าง 7. ศกึ ษาข้อมูลเพ่มิ เตมิ จากบัตรงานอภปิ รายซักถาม 6.2 น�ำ้ ในอากาศกลับสู่พน้ื โลกได้อย่างไร เพื่อตอบคำ� ถามส�ำคญั 7. เพิม่ ข้อมูลโดยแจกใบงาน คำ� ถามสำ� คัญ “น�้ำลงสู่ พื้นโลกแล้วไปไหน” ข้ันขยายความรู้ ขั้นขยายความรู้ 8. ให้ร่วมเปรยี บเทียบปรากฏการณ์ทเ่ี กดิ ข้ึนในกล่อง 8. ช่วยกันเปรยี บเทียบปรากฏการณ์ที่เกดิ ขึ้นในกล่อง พลาสติกกับปรากฏการณ์เดยี วกนั ที่เกดิ ขึน้ ใน พลาสติกกบั ปรากฏการณ์เดยี วกันท่เี กิดขน้ึ ใน ธรรมชาติ ด้วยแผนภูมิการหมนุ เวยี นน้�ำในกล่อง ธรรมชาติ ด้วยแผนภมู ิการหมุนเวยี นน้�ำในกล่อง พลาสตกิ พลาสตกิ 9. ขยายขอบเขตความรู้ด้วยภาพ พร้อมค�ำอธิบายและ 9. ฟงั สนทนา ซักถามเพ่อื ขยายขอบเขตความรู้ ศึกษาใบงานเก่ยี วกับปจั จัยทม่ี ีผลต่อวัฏจกั รของน�้ำ ด้วยภาพ พร้อมค�ำอธบิ ายและศกึ ษาใบงาน เกย่ี วกับปจั จยั ท่มี ผี ลต่อวฏั จกั รของน�้ำ ขนั้ ประเมิน ขัน้ ประเมนิ 10. ได้สรปุ เนอื้ หาด้วยการต่อจก๊ิ ซอว์ (Jig Saw) แล้ว 10. ต่อจิก๊ ซอว์ (Jig Saw) แล้วส่งตวั แทนนำ� เสนอผลงาน ส่งตัวแทนมาน�ำเสนอ พร้อมช่วยกนั ตรวจสอบ และช่วยกนั ตรวจสอบผลงาน ผลงานของกลุ่ม 11. การพัฒนาทักษะชวี ิต โดยสนทนาตอบค�ำถาม 11. การพัฒนาทกั ษะชวี ิตโดยใช้เทคนคิ คำ� ถาม R–C–A R – C – A ทกุ คนร่วมสนทนาตอบค�ำถามเพอื่ สะทอ้ น R (Reflect) พัฒนาทักษะชวี ติ พร้อมยกตวั อย่างจากชีวิตจริง 11.1 หลงั จากที่ได้น�ำเสนอ มใี ครชน่ื ชมผลงานของ ตามคำ� ถามที่ 11.1 – 11.5 ตวั เองบ้าง และชน่ื ชมว่าอย่างไร 11.2 เม่ือเพอื่ นแต่ละกลุ่มนำ� เสนอ กลุ่มใดแสดง ช่ืนชมผลงานของเพ่อื นบ้างหรอื ไม่ มีวธิ ีการ ช่นื ชมอย่างไรบ้าง 11.3 เมื่อเพ่ือนชื่นชมแล้ว รู้สกึ อย่างไรบ้าง เชอื่ มโยง C (Connect) 11.4 ท่ผี ่านมา นกั เรียนเคยได้รับค�ำชนื่ ชม จากใครบ้าง เร่อื งอะไรบ้าง ปรบั ใช้ A (Apply) 11.5 นกั เรียนจะใช้ค�ำพดู หรอื ท่าทางแสดง ความช่ืนชมในสถานการณ์ใดบ้าง ทกั ษะชีวิต รหัสครูศตวรรษท่ี 21 29

ถอดรหสั ครแู ห่งศตวรรษที่ 21 1. ยม้ิ แยม้ แจม่ ใส มกี รยิ าทผ่ี อ่ นคลาย ความกนั เอง ใกลช้ ดิ ดแู ลนกั เรยี น แตง่ กายสภุ าพเรยี บรอ้ ย เหมาะสม 2. มคี วามรู้ และมที กั ษะการสอนในวชิ าทรี่ บั ผดิ ชอบสอนเปน็ อย่างดี พร้อมนำ� ส่กู ารปฏบิ ตั กิ ารสอนได้อย่าง คล่องแคล่วสอดคล้องกับบทเรยี น 3. จัดการเรยี นรู้ด้วยการลงมอื ปฏิบัตจิ รงิ 4. การเรียนการสอนที่มีการทดลอง ครูจะคอยสนทนาซักถามระหว่างการทดลอง ชักชวนให้ศึกษา เปรียบเทียบโดยให้นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ และครูท�ำหน้าที่เป็นผู้แนะน�ำโดยเฉพาะนักเรียนระดับ ประถมศึกษา 5. การถามค�ำถาม เปิดโอกาสให้นักเรียนตอบเป็นกลุ่มก่อนจึงจะเป็นรายบุคคลและจะถามค�ำถามก่อน จึงเรยี กชอ่ื ให้ตอบ 6. สอดแทรกค�ำถามหลงั กจิ กรรม เพอื่ การฝึกและพฒั นาทักษะชีวติ แผนการสอนและวีดิโอการจัดการเรียนการสอนฉบบั เต็ม http://lifeskills.obec.go.th/ 30 ทักษะชีวิต รหัสครูศตวรรษท่ี 21

ครแู ห่งศตวรรษท่ี 21 ครกู ฤษขจร ศรีถาวร วทิ ยาศาสตร์ ป.6 โรงเรยี นบา้ นหนองหญ้าววั จงั หวดั บุรีรัมย์ เด็กได้ท�ำงานร่วมกัน ท�ำให้เกิดการคิด และประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตโดยท่ีเด็กไม่รู้ตัว ได้ทักษะชีวิตไปจากการท�ำงานกลุ่ม การร่วมงานเป็นทีม วันหนึ่งที่ผมมาเป็นครู ก็เพ่ือที่จะส่ังสอนลูกศิษย์ให้โตขึ้นมาเป็นคนดี มีความรู้ และสามารถอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ 1. บอกประโยชน์การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนกุ รมได้ 2. อธิบาย ออกแบบ ปฏบิ ัติการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนกุ รมได้ องคป์ ระกอบทกั ษะชีวิต : การตระหนักรู้และเหน็ คุณคา่ ในตนเองและผูอ้ ่นื • ยอมรบั ความแตกต่างระหว่างตนเองและผู้อ่นื ทักษะชวี ติ รหสั ครูศตวรรษที่ 21 31

กิจกรรมการเรยี นการสอน กจิ กรรมครู กิจกรรมนกั เรยี น ทบทวนความรู้เดมิ ทบทวนความรเู้ ดิม 1. สนทนาทบทวนความรู้เรอ่ื งไฟฟ้า ซกั ถามและ 1. ทุกคนร่วมสนทนา ถาม – ตอบ เกี่ยวกับความรู้ ยกตวั อย่างเคร่อื งใช้ไฟฟ้าทใ่ี กล้ตัว เบ้อื งต้น และยกตัวอย่างเครอ่ื งใช้ไฟฟ้าใกล้ตัว ขน้ั น�ำเข้าสู่บทเรยี น ขน้ั นำ� เข้าสบู่ ทเรยี น 2. ทดลองการเกิดไฟฟ้าจากอปุ กรณ์ที่เตรียมไว้ 2. แบ่งกลุ่มเล่นเกม “ต่อไฟฟ้า” โดยเข้าร่วมเรยี นรู้จากกลุ่ม 2.1 เล่นเกมต่อไฟฟ้าเปน็ กลุ่ม 2.1 ให้เล่นเกมต่อวงจรไฟฟ้า กลุ่มท่ี 1 เปน็ ถ่านไฟฉายก้อนท่ี 1 2.2 สรุปการเล่นเกม โดยต่อวงจรไฟฟ้าจาก มคี วามจไุ ฟฟ้า 1.5 โวลต์ กลุม่ ท่ี 2 เป็นถ่านไฟฉายก้อนท่ี 2 อปุ กรณ์จ�ำลอง มคี วามจุไฟฟ้า 1.5 โวลต์ กลมุ่ ท่ี 3 เป็นสวติ ซ์ไฟฟ้า กลมุ่ ท่ี 4 เป็นหลอดไฟ 2.2 ช่วยกนั สรปุ ความรู้จากการเล่นเกม ขน้ั ด�ำเนนิ กจิ กรรมการเรียนรู้ ข้ันด�ำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ 3. ให้เรยี นรู้โดยการลงมอื ปฏบิ ตั จิ รงิ แจกใบงานและ 3. ทุกกลุ่มเตรยี มการปฏิบัตจิ รงิ โดยรบั ใบงาน ศกึ ษา อุปกรณ์ไฟฟ้า กลุ่มละ 1 ชดุ โดยให้แต่ละกลุ่มเลอื ก ใบงาน โดยแต่ละกลุ่มเลอื กเพ่อื นท่คี ดิ ว่าเก่งทส่ี ุด คนท่ีเก่งทสี่ ุดในกลุ่มมารับอุปกรณ์ ในกลุ่มออกไปรับอุปกรณ์ 4. จัดตลาดนดั ขยะรไี ซเคิล (Recycle) ให้แต่ละกลุ่ม 4. เลอื กวัสดุเหลอื ใช้จากตลาดนัดขยะ เลือกวัสดเุ หลอื ใช้มาสร้างชนิ้ งาน 4.1 ตวั แทนกลุ่มบอกความดที ่ไี ด้ทำ� ในวันนี้ 4.1 ให้ตวั แทนแต่ละกลุ่มบอกว่าวันนที้ ำ� ความดี เพื่อรบั อุปกรณ์ อะไรบ้างก่อนออกมาเลอื กอปุ กรณ์ 4.2 ตัวแทนกลุ่มทแ่ี ข็งแรงทส่ี ุดออกไปรบั อุปกรณ์ 4.2 ให้แต่ละกลุ่มเลอื กตวั แทนท่แี ขง็ แรงท่ีสุดใน Concept หลัก : หลักในการสร้างชิน้ งาน อ่านใบงาน ให้เข้าใจ ออกแบบชน้ิ งานให้สอดคล้องกบั สิ่งทีเ่ ลอื ก กลุ่มออกมารับอปุ กรณ์ชน้ิ ต่อไป ส่งผลงานการออกแบบก่อนลงมอื ทำ� ของจริง 5. ให้เรียนรู้จากวทิ ยากร โดยวทิ ยากรจะคอยให้ 5. ฟังค�ำแนะน�ำจากวทิ ยากรก่อนลงมอื ปฏิบตั ิจรงิ 6. สนทนากันเพอ่ื ออกแบบสิ่งประดิษฐ์จากวสั ดุ คำ� แนะน�ำในขณะท่นี ักเรยี นสร้างชน้ิ งาน เหลอื ใช้ 6. ให้นกั เรยี นปฏิบตั กิ ารสร้างช้นิ งาน และประเมนิ 6.1 ออกแบบส่งิ ประดษิ ฐ์ 6.2 น�ำเสนอการออกแบบ รบั ฟังการประเมนิ ชิ้นงาน จากครู วทิ ยากร และเพ่อื น และปรบั ปรงุ 6.3 แต่ละกลุ่มปฏบิ ัตกิ ารสร้างช้ินงาน 6.4 ขณะปฏิบตั ิงาน เรยี นรู้จากการลงมือท�ำ การเสนอแนะจากวทิ ยากร จากเพ่อื น และจากครู 32 ทกั ษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21

กิจกรรมครู กจิ กรรมนักเรยี น ขัน้ สรุป ข้ันสรุป 7. ให้แต่ละกลุ่มนำ� เสนอชน้ิ งาน และให้นกั เรยี นช่วยกนั 7. แต่ละกลุ่มนำ� เสนอชน้ิ งาน 8. รบั ฟังข้อเสนอแนะ ร่วมสนทนาถึงการน�ำไปใช้ ประเมนิ 8. เสนอแนะเพ่อื ปรับปรงุ ชิ้นงาน และให้แสดงความคดิ ปรบั ใช้จริงในชวี ิตประจำ� วัน 9. การพัฒนาทักษะชวี ิต โดยสนทนาตอบคำ� ถาม เห็นในการทำ� ต่อ เพอ่ื นำ� ไปใช้ได้จรงิ 9. การพฒั นาทกั ษะชวี ติ โดยใชเ้ ทคนคิ คำ� ถาม R – C – A ทุกคนร่วมสนทนาตอบค�ำถามเพ่ือ พฒั นาทกั ษะชีวติ พร้อมยกตวั อย่างจากชวี ติ จริง R–C–A ตามค�ำถามท่ี 9.1 – 9.3 สะท้อน R (Reflect) 9.1 ระหว่างการทำ� งานกลุ่ม เพ่อื นในกลุ่มมี ความคดิ ที่แตกต่างจากนกั เรยี นหรอื ไม่ แล้วนกั เรยี นท�ำอย่างไร เมอ่ื เพ่อื นมี ความคดิ เหน็ ท่แี ตกต่าง เชื่อมโยง C (Connect) 9.2 ในการท�ำกจิ กรรมในโรงเรียนหรือทบ่ี ้าน นักเรยี นเคยมคี วามคดิ เห็นที่แตกต่างจากเพอื่ น บ้างหรอื ไม่ ให้เล่าประสบการณ์ และนกั เรยี น ท�ำอย่างไร เพ่อื หาข้อสรปุ ในขณะนนั้ ปรบั ใช้ A (Apply) 9.3 ถ้าหากนักเรยี นจะต้องไปทำ� งานหรือคยุ กับ เพอื่ นทม่ี คี วามคดิ เหน็ แตกต่างจากนกั เรยี น นกั เรยี นจะท�ำอย่างไรเพ่อื ให้สามารถทำ� งาน ได้อย่างมีความสขุ ทกั ษะชีวติ รหัสครศู ตวรรษที่ 21 33

ถอดรหัสครูแห่งศตวรรษที่ 21 1. ศึกษาหลักสูตรและบูรณาการเน้ือหาสาระ น�ำไปสู่การเรียนรู้ที่ท�ำให้เกิดทักษะการท�ำงานซ่ึงจัดอย่าง สอดคล้องกับสภาพและบรบิ ทของผู้เรียน 2. ให้ความส�ำคญั ต่อการเรยี นรู้ด้วยการลงมอื ปฏบิ ตั ิจรงิ 3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้หลายวิธีการ เริ่มจากของจริง สู่ของจ�ำลองหรือสัญลักษณ์และเรียนรู้ สง่ิ ที่เป็นรปู ธรรม เช่น การเขยี น เรยี นรู้จากผู้ท่มี ที กั ษะเฉพาะตลอดจนเรยี นรู้จากกลุ่ม 4. ครูสนใจนักเรียนทั่วถึง ระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ครูจะคอยดูแลใกล้ชิดกับนักเรียน ให้ก�ำลังใจและให้คำ� แนะนำ� 5. ซักถามถึงประโยชน์จากการท�ำงานกลุ่ม ซ่ึงแสดงถึงการให้ความส�ำคัญต่อกระบวนการท�ำงานกลุ่ม มากกว่าผลสำ� เรจ็ ของงานเพยี งอย่างเดยี ว 6. สอดแทรกคำ� ถามหลงั จากจดั กจิ กรรม เพอ่ื ฝึกและพฒั นาทักษะชีวติ แผนการสอนและวีดโิ อการจดั การเรียนการสอนฉบบั เตม็ http://lifeskills.obec.go.th/ 34 ทักษะชีวิต รหสั ครศู ตวรรษที่ 21

ครแู ห่งศตวรรษท่ี 21 ครอู ัญชรี ไชยสถติ วานชิ วทิ ยาศาสตร์ ม.1 โรงเรียนเชียงของวิทยาคม จังหวัดเชยี งราย การลดบทบาทของตนเอง เปล่ียนแปลงทัศนคติเดิมๆ เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคม สิ่งท่ีคาดหวังให้เกิดข้ึนกับเด็ก เพียงแค่ให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ให้เขามองว่าเขาไม่ได้เป็นเด็กแบบน้ีตลอดไป สักวันหนึ่งเขาต้องโตข้ึนไป ครูไม่ต้องการคนเก่ง ไม่ต้องการคนที่ร่�ำรวย แต่เป็นคนที่อยู่กับใครก็ได้ ส่ิงน้ีจะส�ำคัญกับนักเรียนในการท่ีจะเอาตัวรอดในอนาคตได้ จุดประสงค์การเรยี นรู้ • เข้าใจและสามารถสร้างแผนผงั แสดงสภาพแวดล้อมชมุ ชนทีอ่ ยู่อาศยั ได้ องค์ประกอบทักษะชวี ิต : การตระหนกั รูแ้ ละเหน็ คณุ คา่ ในตนเองและผู้อ่ืน • ยอมรบั ในความแตกต่างทางกาย ทางความคดิ ความรู้สกึ และพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น ทกั ษะชวี ติ รหสั ครศู ตวรรษที่ 21 35

กิจกรรมการเรยี นการสอน กิจกรรมครู กจิ กรรมนักเรยี น ขน้ั นำ� เข้าส่บู ทเรยี น ขนั้ น�ำเข้าสูบ่ ทเรยี น 1. ทกั ทาย แนะน�ำการเรยี นในชัว่ โมง 1. ร่วมสนทนาทักทาย ทำ� ความเข้าใจกบั การออกไป 2. แบ่งกลุ่มนกั เรยี น โดยให้แบ่งกลุ่มตามหมู่บ้านเพือ่ เรียนนอกห้องเรยี น ออกไปสำ� รวจชมุ ชน 2. แบ่งกลุ่มตามหมู่บ้านของตนเอง กจิ กรรมส�ำรวจนอกห้องเรียน กิจกรรมส�ำรวจนอกห้องเรียน 3. น�ำนกั เรยี นไปสำ� รวจชมุ ชน 3. ทุกคนบนั ทึกสง่ิ ทีพ่ บเหน็ นอกห้องเรียน 4. ชวนสนทนาประสบการณ์ท่พี บเห็นหลงั จากไป 4. ร่วมสนทนาแลกเปลย่ี นประสบการณ์กบั ครแู ละ ส�ำรวจชมุ ชน เพอ่ื นำ� ข้อมูลไปสร้างแลนด์มาร์ค เพอ่ื นๆ เก่ยี วกับประสบการณ์ทพ่ี บเหน็ (Landmark) และแผนผังชุมชน ขัน้ ดำ� เนนิ กิจกรรมการเรียนรู้ ขนั้ ดำ� เนนิ กจิ กรรมการเรียนรู้ 5. ให้แต่ละกลุ่มสร้างแลนด์มาร์ค (Landmark) และ 5. แต่ละกลุ่มรบั อปุ กรณ์ ได้แก่ ไม้จิม้ ฟัน 30 อนั แผนผังชมุ ชน โดยก�ำหนดอุปกรณ์ให้ ฝรงั่ หนั่ เปน็ ลูกเต๋า 50 ช้นิ และโจทย์คือ การร่วม สร้างแลนด์มาร์ค (Landmark) และแผนผงั ในชมุ ชน 6. สังเกตการณ์ท�ำงานกลุ่ม 5.1 วางแผน ทำ� แผนผัง 7. ให้รายงาน หลังจากรายงานสะท้อนสถานการณ์ 5.2 ลงมอื สร้างแลนด์มาร์ค 5.3 นำ� เสนอผลงาน ในกลุ่ม และการท�ำงานในอนาคตทใ่ี หญ่ข้ึน 6. ร่วมสนทนา เพอ่ื แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 8. การพฒั นาทกั ษะชวี ติ โดยใช้เทคนคิ ค�ำถาม ในการท�ำงานกลุ่ม 7. นำ� เสนอรายงาน R–C–A 8. การพฒั นาทักษะชวี ติ โดยสนทนาตอบค�ำถาม สะทอ้ น R (Reflect) R – C – A ทุกคนร่วมสนทนาตอบคำ� ถามเพอ่ื 8.1 กิจกรรมท่รี ่วมกับเพอ่ื นในกลุ่ม มคี วามคดิ เหน็ พัฒนาทักษะชีวติ พร้อมยกตวั อย่างจากชีวติ จริง ตามค�ำถามที่ 8.1 – 8.4 ท่ีเหมอื นหรอื แตกต่างกนั หรอื ไม่ อย่างไร 8.2 นักเรียนมวี ิธกี ารพูดคุยกันอย่างไรในกลุ่ม ท่มี ี ความเห็นไม่ตรงกัน แต่สามารถยอมรบั กนั ได้ เชื่อมโยง C (Connect) 8.3 นักเรยี นเคยพบเห็นเหตุการณ์ทอ่ี ยู่ท่ามกลาง คนท่ีมีความคดิ เหน็ แตกต่างกันหรอื ไม่ ให้เล่า ประสบการณ์ ปรบั ใช้ A (Apply) 8.4 นกั เรียนท�ำอย่างไรให้เกดิ การยอมรับ ความคิดเห็นทแ่ี ตกต่างนนั้ ได้ (สุ่มให้นกั เรยี นเล่าประสบการณ์) 36 ทักษะชีวิต รหัสครศู ตวรรษที่ 21

ถอดรหสั ครแู หง่ ศตวรรษท่ี 21 1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เผชิญปัญหาและแลกเปล่ียน ประสบการณ์ 2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือท�ำอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวางแผน การดำ� เนินการตามแผนและการประเมนิ ผล 3. สอดแทรกค�ำถามหลังกจิ กรรม เพือ่ การฝึกและพัฒนาทักษะชีวติ แผนการสอนและวีดิโอการจัดการเรียนการสอนฉบับเต็ม http://lifeskills.obec.go.th/ ทักษะชวี ติ รหัสครศู ตวรรษที่ 21 37

ครูแหง่ ศตวรรษท่ี 21 ครสู ภุ าพร พงษเ์ มธา สงั คมศกึ ษา ม.1 โรงเรียนอุดรพิทยานกุ ลู จงั หวัดอุดรธานี วัยเด็กเป็นวัยท่ีมีความสนุกสนาน ดังน้ัน กิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเหมาะสม คือ การจัดกิจกรรมที่สนุกสนาน การพัฒนาผู้เรียนให้ไปสู่เป้าหมาย คือ แรงบันดาลใจที่ท�ำให้พัฒนาตนเอง เพ่ือน�ำความรู้ไปพัฒนานักเรียน จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ • ปฏิบตั ิตนให้เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อสงั คมและส่วนร่วม องคป์ ระกอบทักษะชวี ิต : การตระหนักรแู้ ละเหน็ คณุ ค่าในตนเองและผู้อืน่ • ปฏิบตั ติ นเป็นประโยชน์ต่อครอบครวั และสงั คม 38 ทักษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21

กจิ กรรมการเรียนการสอน กิจกรรมครู กิจกรรมนักเรยี น ข้ันน�ำเขา้ สบู่ ทเรียน ขน้ั นำ� เขา้ ส่บู ทเรียน 1. ทกั ทายอย่างเปน็ กนั เอง ชวนให้นกั เรียนทกั ทาย 1. ร่วมสนทนาทกั ทายกันเปน็ ภาษาอาเซยี น และบอก เปน็ ภาษาอาเซยี นและถามค�ำถามสำ� คัญ ถึงการทำ� ความดที ีผ่ ่านมาทีละคน คำ� ถามสำ� คญั : นักเรียนท�ำความดีอะไรบ้าง 2. เสนอตัวอย่างการท�ำความดี จากทบี่ ้านสู่สงั คม (เล่าทลี ะคน) 2. สนทนาเชอื่ มโยงคำ� ตอบนกั เรยี นสกู่ ารทำ� ความดี โรงเรียน และชมุ ชน เรมิ่ จากตวั นกั เรยี น จากทบี่ า้ นสสู่ งั คม โรงเรยี น และชมุ ชน ขั้นดำ� เนนิ กจิ กรรมการเรียนรู้ ข้นั ดำ� เนินกิจกรรมการเรยี นรู้ 3. ให้แบ่งกลุ่มตามความสมคั รใจ กลุ่มละ 6 คน ตงั้ ช่ือ 3. แบ่งกลุ่ม เลอื กหวั หน้าและให้เหตผุ ลในการเลอื ก กลุ่มและเลอื กหวั หน้ากลุ่ม หวั หน้ากลุ่ม ค�ำถามสำ� คญั : ถามเหตผุ ลในการเลือกคนเปน็ หวั หน้ากลุ่ม 4. ชมคลิปวดี ิโอและร่วมอภปิ รายสรปุ concept 4. เปิดคลปิ วดี โิ อของรุ่นพใ่ี ห้นักเรยี นศึกษาและสรปุ จากคลิปวีดโิ อ concept ของเร่อื ง ค�ำถามส�ำคญั : จากคลิปวดี โิ อ พี่เขาทำ� อะไรผดิ 5. สนทนาเช่ือมโยงสู่ค่านยิ ม 12 ประการ และเมื่อรู้สึกตัว ปรบั ปรุงตวั อย่างไร 6. แต่ละกลุ่มน�ำค่านยิ ม 12 ประการไปกำ� หนดเปน็ 5. ขณะทน่ี ักเรยี นตอบ ครูเพ่มิ เตมิ ข้อมลู ข้อสรุป ทจ่ี ะ เป็นประโยชน์ต่อการปลกู ฝังค่านยิ ม 12 ประการ เรอ่ื งสั้นๆ และน�ำเสนอในรปู แบบบทบาทสมมติ 6. ให้แต่ละกลุ่มช่วยกนั คดิ ถึงค่านยิ ม 12 ประการ 7. สนทนาเชือ่ มโยง ข้อสรุปจากแต่ละบทบาทสมมติ และนำ� ไปคิดเปน็ เรอ่ื งราว เพื่อนำ� เสนอในรูปแบบ บทบาทสมมติ โดยก�ำหนดเวลากลุ่มละ 10 นาที สู่ค่านิยม 12 ประการ 7. เมื่อนักเรยี นนำ� เสนอ ครใู ห้ค�ำชม ชวนสนทนาเพื่อ 8. น�ำเสนอบทบาทสมมตุ ิ สรปุ ขอ้ คดิ และกระตนุ้ ใหค้ ดิ ไปสคู่ า่ นยิ ม 12 ประการ 8. ให้นำ� เสนอบทบาทสมมติ ขั้นสรุป ขน้ั สรุป 9. การพฒั นาทกั ษะชวี ติ โดยใชเ้ ทคนคิ คำ� ถาม R–C–A 9. การพฒั นาทักษะชวี ติ โดยสนทนาตอบค�ำถาม สะท้อน R (Reflect) R–C–A ทกุ คนร่วมสนทนาตอบคำ� ถามเพื่อพัฒนา 9.1 นักเรยี นได้รับหน้าท่ี หรอื บทบาทอะไรบ้างใน ทกั ษะชีวติ พร้อมยกตวั อย่างจากชวี ิตจริงตาม คำ� ถามท่ี 9.1 – 9.5 บทบาทสมมุติ 9.2 นกั เรยี นคดิ ว่าตนเองได้ท�ำหน้าทน่ี น้ั เตม็ ที่แล้ว หรือไม่และผลออกมาเปน็ อย่างไร เชอื่ มโยง C (Connect) 9.3 นักเรียนเห็นใครละเลยต่อหน้าท่รี ับผดิ ชอบของ ตนเองหรอื ไม่และถ้าเปน็ เช่นนัน้ ส่งผลต่อผู้อืน่ อย่างไรบ้าง ให้เล่าประสบการณ์ ปรับใช้ A (Apply) 9.4 ให้นกั เรยี นเขียนพฤติกรรมการเปน็ คนดีของ สงั คมและพฤตกิ รรมไม่ควรท�ำ 9.5 ให้นักเรยี นคิดค�ำขวญั เชิญชวนคนท�ำดีและออก มาแสดงท่าทางประกอบ ทักษะชีวติ รหัสครูศตวรรษท่ี 21 39

ถอดรหัสครแู หง่ ศตวรรษที่ 21 1. สามารถเปรียบเทียบ เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ให้เป็นสาระที่มีความส�ำคัญต่อชีวิตและใช้ในชีวิต ประจ�ำวันได้อย่างสอดคล้องกบั บทเรยี น (บรู ณาการ) 2. ครเู ปน็ ผอู้ ำ� นวยการใหเ้ กดิ การเรยี นรู้ โดยเรม่ิ ตง้ั แตก่ ารเตรยี มวสั ดอุ ปุ กรณ์ เตรยี มความพรอ้ มของผเู้ รยี น และเปน็ ผู้คอยอ�ำนวยความสะดวก ให้ค�ำแนะนำ� พจิ ารณาผลงาน ให้ข้อเสนอแนะในการต่อยอดผลงาน 3. รู้จักนักเรียนและน�ำข้อมูลจากการรู้จักนักเรียนไปออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสม และให้มีกิจกรรมที่ หลากหลาย 4. สอดแทรกคำ� ถามหลังกจิ กรรม เพ่ือฝึกและพฒั นาทกั ษะชวี ิต แผนการสอนและวดี โิ อการจดั การเรยี นการสอนฉบับเตม็ http://lifeskills.obec.go.th/ 40 ทักษะชีวติ รหสั ครศู ตวรรษที่ 21

ครูแหง่ ศตวรรษท่ี 21 ครูสุมน คณานติ ย์ สขุ ศกึ ษา ม. 1 โรงเรยี นสตรวี ิทยา 2 กรุงเทพมหานคร การสอนเรื่องเพศศึกษา เป็นอุปสรรคในการสอน เพราะมีวัฒนธรรมมาเก่ียวข้อง ไม่ว่าจะเป็นครูหรือบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และสังคม ดังนั้น การสอนจึงจะต้องระมัดระวัง ประกอบกับนักเรียนได้รับความรู้จากแหล่งข้อมูลท่ีหลากหลาย ทั้งการบอกเล่าจากเพื่อน ผู้ใกล้ชิด หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองท้ังในหนังสือต่างๆ และสื่อออนไลน์ การให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น การกล้าพูด กล้าถามในช่วงเวลาที่เหมาะสม และได้รับค�ำตอบท่ีถูกต้องจึงเป็นส่ิงท่ีดี จากการที่เป็นครูสอนสุขศึกษา ซึ่งเป็นวิชาท่ีเหมาะท่ีจะสอนเพศศึกษาที่เป็นเร่ืองละเอียดอ่อน และเป็นการสอนทักษะชีวิตโดยตรง จึงเป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญ ที่จะคิดหากิจกรรม ที่สอดคล้องกับวัย กับยุคสมัย ให้นักเรียนสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้อย่างเหมาะสม เรียกได้ว่ามีทักษะชีวิต จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ • อธบิ ายลกั ษณะทางเพศและการเปลยี่ นแปลงทางรา่ งกาย จติ ใจ อารมณ์ และพฒั นาการทางเพศได้ องคป์ ระกอบทักษะชีวิต : การตระหนกั รู้และเหน็ คณุ ค่าในตนเองและผูอ้ ่นื • กล้าแสดงออกทางความคดิ ความรู้สกึ และพฤติกรรมของตนเองด้วยความมน่ั ใจ ทกั ษะชวี ติ รหสั ครศู ตวรรษที่ 21 41

กิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมนักเรยี น กิจกรรมครู ขนั้ นำ� เขา้ สู่บทเรียน 1. ร่วมสนทนาถงึ สาระความรู้ในชั่วโมงเพ่อื เชื่อมโยง ข้ันน�ำเข้าสู่บทเรียน 1. สนทนาทักทาย และกล่าวถงึ สาระความรู้ในชวั่ โมง ความรู้เดมิ เรอ่ื งการเปลีย่ นแปลงทางร่างกาย จติ ใจ อารมณ์ และพฒั นาการทางเพศโดยตาม เพอ่ื เชื่อมโยงความรู้เดมิ เรอ่ื งการเปล่ยี นแปลงทาง สาระหลักในชว่ั โมง คอื ร่างกาย จติ ใจ อารมณ์ และพฒั นาการทางเพศ 1.1 การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่น โดยมีสาระหลกั ในชว่ั โมงคอื 1.2 ความลบั กับของลบั 1.1 การเปลยี่ นแปลงในวยั รุ่น 1.2 ความลบั กบั ของลับ ขั้นดำ� เนนิ กิจกรรมการเรยี นรู้ ขน้ั ด�ำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ 2. แนะนำ� กจิ กรรม “ความลบั ของลบั ” 2. ร่วมสนทนาซักถามในกจิ กรรม “ความลับ ของลบั ” 3. ตั้งคำ� ถามส�ำคัญ “ให้บอกความแตกต่างระหว่าง 3. ตอบถามส�ำคญั “ให้บอกความแตกต่างระหว่าง ความลับกบั ของลบั ” โดยให้แต่ละคนบอก ความลับกับของลบั ” บอกข้อแตกต่าง ให้คะแนน ข้อแตกต่าง ให้คะแนนข้อละ 1 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน 4. ให้น่ังเปน็ แถว แยกเพศชาย – หญงิ 4. นงั่ เปน็ แถว แยกเพศชาย – หญงิ 5. แจกภาพสญั ลักษณ์ของเพศชาย – หญิง ให้นกั เรยี น 5. รบั ภาพสัญลักษณ์ของเพศชาย – หญิง ให้นักเรียน ตรงตามเพศ ตรงตามเพศ 6. ให้วาดภาพต่อเตมิ ตรงตามเพศและแนะนำ� กตกิ า 6. วาดภาพต่อเตมิ ตรงตามเพศ ร่วมกิจกรรมตาม 6.1 ไม่ให้ใครเหน็ (เกบ็ เปน็ ความลับ) กตกิ า 6.2 ไม่ให้เขียนชอ่ื เลขท่ี โดยเด็ดขาด 6.1 ไม่ให้ใครเห็น (เกบ็ เปน็ ความลับ) 6.3 เมอื่ ทกุ คนวาดเสร็จ เกบ็ ภาพทั้งหมด 6.2 ไม่ให้เขยี นช่อื เลขท่ี โดยเด็ดขาด 6.3 เมอื่ ทุกคนวาดเสรจ็ เกบ็ ภาพทั้งหมด แล้วแจกกลบั ไปไม่ต้องตรงกบั เจ้าของภาพ 6.4 ส่งสัญญาณให้เปิดภาพ และให้สังเกตภาพ แล้วแจกกลับไปไม่ต้องตรงกับเจ้าของภาพ คำ� ถามสำ� คญั หลังกจิ กรรม 6.4 เมอื่ มสี ัญญาณให้เปิดภาพ สังเกตภาพและ 6.4.1 มอี ะไรทีเ่ ปลี่ยน มอี ะไรที่ไม่ตรงกบั ตอบค�ำถามสำ� คญั ทลี ะคน โดยยกมือแสดง นักเรียน ความสมัครใจตอบค�ำถาม 6.4.2 ถ้านักเรียนพบความเปล่ยี นแปลงในตัว เอง นกั เรยี นจะบอกใครหรือไม่ หรอื ควรบอกใคร เพราะเหตุใด 6.4.3 นกั เรยี นเปล่ยี นอะไรบ้าง เขยี นบน กระดานตามค�ำตอบของนักเรยี น 42 ทักษะชีวติ รหัสครศู ตวรรษท่ี 21

กจิ กรรมครู กิจกรรมนกั เรียน ขนั้ ดำ� เนนิ กจิ กรรมการเรียนรู้ ขั้นด�ำเนินกิจกรรมการเรยี นรู้ 7. สนทนาเพม่ิ เตมิ Concept ส�ำคัญ โดยมขี ้อมูล 7. ร่วม สนทนาและตอบค�ำถามสำ� คัญโดยมขี ้อมลู ประกอบและยกตัวอย่าง caption ทเี่ ดก็ ๆ ชอบใน ประกอบ เฟสและให้นกั เรยี นคิด caption เกย่ี วกบั การปรบั ตัว 7.1 เสนอแนะการดแู ลรกั ษาอวยั วะเพศของตวั เอง และการดแู ลต่อพฒั นาการทางเพศ 7.1 นกั เรยี นรู้แล้วว่ามีการเปลย่ี นแปลงทางเพศ โดยตอบทลี ะคนตามความสมัครใจ 7.2 แสดงความคิดเห็นเกย่ี วกบั เรอ่ื งเพศทนี่ ่าสนใจ อย่างไร ดงั นน้ั นกั เรยี นมวี ิธดี ูแลรักษาอวัยวะ เพศของตัวเองอย่างไร ครเู ขยี นบนกระดาน ขดี ในปจั จุบัน โดยตอบพร้อมกัน และตอบทลี ะคน รอยคะแนนถ้าค�ำตอบซำ�้ เรยี งลำ� ดบั ตามความสมัครใจ ความสำ� คัญ 7.2 ถามนกั เรียนเก่ยี วกับความคดิ เหน็ เรอ่ื งเพศ ทีน่ ่าสนใจในปัจจุบนั ขน้ั สรปุ ข้นั สรปุ 8. เล่าเรื่องเล่าจากพ่อ พร้อมถามแนวคดิ จากนกั เรยี น 8. ฟังเร่ืองเล่าจากพ่อ ร่วมอภปิ ราย ตอบคำ� ถาม เมอ่ื เรือ่ งเล่าจบ ส�ำคัญ โดยตอบเปน็ กลุ่ม และตอบทลี ะคนตาม 9. การพฒั นาทักษะชวี ิตโดยใชเ้ ทคนคิ ค�ำถาม ความสมคั รใจ 9. การพัฒนาทกั ษะชวี ติ โดยสนทนาตอบคำ� ถาม R–C–A R – C – A ทกุ คนร่วมสนทนาตอบค�ำถามเพ่ือ สะท้อน R (Reflect) พฒั นาทกั ษะชีวติ พร้อมยกตวั อย่างจากชีวิตจรงิ 9.1 ตอนท่ที ำ� กจิ กรรมมีใครบ้างท่กี ล้าแสดง ตามค�ำถามท่ี 9.1 – 9.3 ความคิดเหน็ หรอื กล้าเล่าประสบการณ์ ทำ� ไมถงึ กล้า และท�ำไมจงึ ไม่กล้า เช่อื มโยง C (Connect) 9.2 มีใครบ้างทีเ่ คยมปี ระสบการณ์ในการ เปลี่ยนแปลงตัวเองจากการไม่กล้า แสดงความคดิ เห็นในเร่ืองทเี่ หมาะสมจนมี ความกล้าข้ึนมา อะไรทเ่ี ป็นปัจจัยให้เกดิ ความกล้า ปรบั ใช้ A (Apply) 9.3 ต่อไปถ้านกั เรยี นแสดงความคดิ เหน็ ความรู้สกึ ของนกั เรียนอย่างม่ันใจ โดยไม่ส่งผลกระทบ ต่อตนเอง และผู้อ่นื นกั เรยี นควรจะคำ� นงึ ถึง อะไรบ้าง ทักษะชวี ติ รหัสครศู ตวรรษที่ 21 43

ถอดรหสั ครแู หง่ ศตวรรษที่ 21 1. ย้มิ แย้มแจ่มใส มกี ิริยาท่ผี ่อนคลาย เป็นกนั เอง ใกล้ชดิ นกั เรยี น 2. รจู้ กั นกั เรยี นและนำ� ขอ้ มลู จากการรจู้ กั นกั เรยี นไปออกแบบกจิ กรรมใหเ้ หมาะสม และใหม้ กี จิ กรรมทห่ี ลากหลาย 3. สามารถเปรียบเทยี บ เชอื่ มโยงสาระการเรยี นรู้ ให้เปน็ สาระทมี่ ีความส�ำคญั ต่อชวี ิตและใช้ชีวติ ประจำ� วัน ได้อย่างสอดคล้องบทเรยี น 4. มคี วามรู้รอบตัวและสามารถถ่ายทอดข้อมลู สู่นักเรยี นได้อย่างเหมาะสมกบั วัยการรบั รู้และกาลเทศะ 5. เลือกใช้ค�ำพดู สอ่ื ได้อย่างเหมาะสมกบั สาระและวัยของผู้เรียน 6. ใชค้ ำ� ถามกระตนุ้ ความคดิ วเิ คราะหต์ ลอดกจิ กรรมการเรยี นรทู้ ง้ั ทเี่ ปน็ คำ� ถามโดยตรงและมบี ตั รงาน หรอื ส่อื ประกอบ 7. สนใจทุกคำ� ตอบของนกั เรยี น และมคี วามฉบั ไวในลกั ษณะท่เี รียกว่า “เช่อื มโยงคำ� ตอบนกั เรยี นสู่คำ� ถาม หรือการเรยี นรู้ต่อทนั ท”ี 8. สอดแทรกหลงั คำ� ถามกจิ กรรม เพอื่ ฝึกและพฒั นาทักษะชวี ติ แผนการสอนและวีดิโอการจัดการเรยี นการสอนฉบับเตม็ http://lifeskills.obec.go.th/ 44 ทักษะชีวิต รหัสครูศตวรรษที่ 21

ครูแหง่ ศตวรรษท่ี 21 ครูเมธาวี เกดา ภาษาอังกฤษ ม.3 โรงเรียนเตรยี มอดุ มศึกษาน้อมเกล้า จังหวัดปทุมธานี การสอนภาษาซึ่งเป็นการฝึกทักษะ จึงเลือกการสอนซ�้ำย้�ำทวนและให้ความส�ำคัญกับสภาพนักเรียนในวัยรุ่น ซึ่งคุ้นชินกับการใช้สื่อเทคโนโลยีท่ีทันสมัย เช่น smart phone, อินเทอร์เน็ท นอกจากนี้ ยังให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้กับกลุ่มเพ่ือน และคุณครูจะต้องมีการเสริมแรง อาจจะเป็นการชมเชย และให้ก�ำลังใจ ไม่ดุถึงแม้ผู้เรียนจะตอบผิด จัดการเรียนการสอนให้มีบรรยากาศสนุกสนานเป็นกันเอง และที่ต้องถามเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงกระตุ้นให้ตอบได้ ท้ังภาษาอังกฤษและภาษาไทยเพราะจะได้คุ้นชิน จะท�ำให้เห็นว่าภาษาอังกฤษไม่ยาก ถ้าผู้เรียนได้รับการฝึกฝนทักษะ ภาษาอังกฤษและทักษะชีวิตอย่างต่อเน่ือง จะท�ำให้มีความมั่นใจ และน�ำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้ ความใฝ่ฝันในวัยเด็กท่ีอยากเป็นครู ประกอบกับมีความชอบภาษาจึงต้องการพัฒนาตนเอง และพัฒนาเด็กไทย ให้รักและ เห็นคุณค่าของการเรียนภาษามากขึ้น เพราะภาษาเป็นสิ่งใกล้ตัว เป็นใบเบิกทางในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น นอกจากน้ัน ภาษาองั กฤษยงั เปน็ ภาษากลางทจ่ี ะนำ� เราไปศกึ ษาหาความรตู้ า่ งๆ ไดม้ ากมายจากเวบ็ ไซต์ จากสอื่ ICT และหนงั สอื ทเี่ ปน็ ภาษาองั กฤษ จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ 1. สามารถสนทนาทักทายเปน็ ภาษาอังกฤษได้ 2. มปี ฏสิ ัมพันธ์โดยการสอ่ื สารกบั คนอ่นื เป็นภาษาองั กฤษ 3. น�ำความรู้ไปใช้ในชวี ติ ประจำ� วัน องค์ประกอบทกั ษะชวี ิต : การตระหนกั รู้และเห็นคณุ คา่ ในตนเองและผู้อืน่ • กล้าแสดงออกทางความคดิ ความรู้สกึ และพฤตกิ รรมของตนด้วยความมั่นใจ ทกั ษะชวี ติ รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21 45

กจิ กรรมการเรียนการสอน กจิ กรรมครู กจิ กรรมนักเรยี น ขัน้ นำ� เข้าสู่บทเรยี น ขัน้ นำ� เขา้ สู่บทเรียน 1. ทกั ทายนกั เรยี นด้วยประโยคสำ� คัญ 1. สนทนาทักทายตามบทสนทนาส�ำคัญ 1.1 Good morning my lovely students. How are you? 1.1. Good morning teacher. I’m very well. 1.2 Ni hao, xin chao, kumusta Thank you. And you? 1.3 Do you know we use these phrases for 1.2. Ni hao, xin chao, kumusta greeting in which countries? 1.3. Yes, Ni hao is for Singapore, xin chao is 1.4 So Singapore, Vietnam and Philippines are in for Vietnam and kumusta is for Philippines. which community? 1.4. ASEAN community 2. ชวนนักเรยี นฟงั เพลง ASEAN Way และสนทนากบั 2. ฟังและร่วมสนทนาเกย่ี วกบั บทเพลง 2.1 The ASEAN Way นักเรียนเก่ยี วกบั บทเพลง ด้วยคำ� ถามสำ� คัญ 2.2 There are 10 countries 2.1 What is the title of this song? 2.3 Brunei, Cambodia, Indonesia, Laos, 2.2 How many countries are there in ASEAN Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, community? Thai, and Vietnam 2.3 What are they? ขน้ั ดำ� เนินกจิ กรรมการเรียนรู้ ข้นั ดำ� เนนิ กิจกรรมการเรียนรู้ 3. แบ่งกลุ่มนักเรยี นเปน็ 10 กลุ่ม ตามช่อื ประเทศ 3. แบ่งเปน็ 10 กลุ่ม ตามชอ่ื ประเทศ โดยการจบั ฉลาก โดยการจับฉลากธงประจำ� ประเทศ “I’d like you to ธงประจ�ำประเทศ divide you into 10 groups by the countries.” 4. ช่วยแจกบตั รงาน แต่ละกลุ่มรบั บตั รงาน และ 4. แจกบัตรงาน ให้เวลานักเรยี นท�ำงานกลุ่มโดยให้ นักเรียนค้นคว้า และสรุปเพ่อื น�ำไปแลกเปลีย่ น วางแผนการท�ำงานตามบัตรงาน โดยศกึ ษาจาก ให้คำ� ปรกึ ษานกั เรยี นขณะทำ� งานกลุ่ม internet บัตรงานท่ี 1 ให้ค้นคว้าข้อมลู และเขยี นคำ� ทักทาย บัตรงานท่ี 1 ค้นคว้าและเขยี นคำ� ทกั ทายส�ำคัญๆ ขอโทษ ขอบคณุ กล่าวลา เปน็ ภาษาอังกฤษ เปน็ ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศของตน และภาษาของประเทศตนเอง โดยช่วยกันค้นคว้าและสรปุ เป็นงานกลุ่มๆ ละ บตั รงานท่ี 2 ให้ค้นคว้าข้อมูล ดงั ต่อไปนี้ 3 ชดุ • ช่อื ประเทศ • ชอ่ื เมอื งหลวง บัตรงานที่ 2 ค้นคว้าข้อมูลส�ำคัญเป็นภาษาองั กฤษ • ภาพธงชาติ • ชอ่ื สกุลเงนิ และวาดภาพธงประจำ� ประเทศ โดยช่วยกนั • สถานทที่ ่องเท่ยี วสำ� คญั 2 แห่ง ค้นคว้าและสรปุ เป็นงานกลุ่มๆ ละ 3 ชุด • เทศกาลทสี่ ำ� คัญของประเทศ 1 เทศกาล 5. สนทนาแลกเปล่ยี นผลงานคร้ังท่ี 1 กับเพื่อนประเทศ 5. ให้แลกเปลย่ี นผลงานครง้ั ที่ 1 และให้คำ� ปรกึ ษา อ่นื และแจกผลงาน นกั เรยี น ทุกกลุ่ม กตกิ า พดู อ่าน เขยี น เปน็ ภาษาองั กฤษ และแจก 6. ให้แลกเปลีย่ นผลงานครงั้ ท่ี 2 ให้คำ� ปรกึ ษานกั เรยี น ผลงานให้เพอ่ื น ทุกกลุ่ม 6. สนทนาแลกเปลย่ี นผลงานครงั้ ท่ี 2 เลอื กประเทศ 7. จบั ฉลากธงประจ�ำประเทศ หรอื ขออาสาสมัคร แลกเปลีย่ นตามความสนใจ และแจกผลงาน ให้นักเรยี นรายงานผลการสนทนาแลกเปลี่ยนกับ 7. จับฉลากธงประจ�ำประเทศ หรอื าสาสมัครรายงาน ประเทศอื่น เปน็ ภาษาองั กฤษ ผลการสนทนาแลกเปล่ยี นกบั ประเทศอืน่ เป็น ภาษาอังกฤษ 46 ทกั ษะชีวติ รหัสครูศตวรรษที่ 21

กิจกรรมครู กิจกรรมนักเรยี น ขนั้ สรปุ ขั้นสรุป 8. สนทนากบั นักเรยี น ด้วยค�ำถามส�ำคญั 8. ตอบค�ำถามสำ� คัญ (8.1 – 8.8) เป็นภาษาองั กฤษ 8.1 How do you say hello in Philippines? เป็นกลุ่มและรายบคุ คล 8.2 How do you say thank you in Laos? 9. การพฒั นาทักษะชวี ิต โดยสนทนาตอบคำ� ถาม 8.3 How do you say sorry in Singapore? 8.4 How do you say goodbye in Brunei? R – C – A ทกุ คนร่วมสนทนาตอบคำ� ถามเพ่ือ 8.5 What is the capital city’s name of Indonesia? พัฒนาทักษะชวี ติ พร้อมยกตวั อย่างจากชวี ติ จริง 8.6 Which one is the national flag of Cambodia? ตามค�ำถามที่ 9.1 – 9.4 8.7 What is the currency in Myanmar? 10. ยืนเป็นวงกลมร่วมร้องเพลง The ASEAN Way 8.8 What is the famous festival in Thailand? พร้อมโบกธงประจำ� ประเทศ 9. การพฒั นาทักษะชวี ติ โดยใช้เทคนิคค�ำถาม R–C–A สะทอ้ น R (Reflect) 9.1 How do you feel when you talk to your friends in English? 9.2 Which action shows that you are confident? เชื่อมโยง C (Connect) 9.3 In your experiences, have you ever felt shy or unconfident? Why? ปรับใช้ A (Apply) 9.4 What should you do to be more confident next time? 10. ชวนนกั เรยี นร้องเพลง The ASEAN Way ทกั ษะชีวิต รหัสครูศตวรรษท่ี 21 47

ถอดรหสั ครูแห่งศตวรรษที่ 21 1. มีความรู้และมีทักษะการสอนวิชาที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี พร้อมน�ำสู่การปฏิบัติอย่างคล่องแคล่ว สอดคล้องกบั บทเรยี น 2. ศกึ ษาหลกั สตู รและบรู ณาการเนอ้ื หาสาระนำ� ไปสกู่ ารเรยี นรทู้ จ่ี ะทำ� ใหเ้ กดิ ทกั ษะการทำ� งาน ซงึ่ สอดคลอ้ ง กับสภาพและบรบิ ทของผู้เรียน 3. รู้และเข้าใจนักเรยี น โดยเฉพาะความต้องการ และความสามารถตามวัย 4. มีความสามารถใช้สอ่ื และเทคโนโลยเี พอ่ื การจดั การเรยี นการสอนอย่างเหมาะสม 5. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้หลากหลายวิธีการ เร่ิมจากของจริง สู่ของจ�ำลองหรือสัญลักษณ์ และสู่การเรยี นรู้จากสิ่งท่ีเปน็ รูปธรรม เช่น เขยี น เรยี นรู้จากผู้ท่มี ที กั ษะเฉพาะตลอดจนเรยี นรู้จากกลุ่ม 6. ยม้ิ แย้มแจ่มใส มกี ิริยาทีผ่ ่อนคลาย เปน็ กนั เอง ใกล้ชดิ นกั เรียน แต่งกายสภุ าพเรียบร้อย เหมาะสม 7. มคี วามฉับไวในการแก้ปัญหา และให้ความช่วยเหลอื นักเรยี นให้ได้เรยี นรู้อย่างทนั ท่วงที 8. มีความพร้อมด้านการใช้ส่อื อปุ กรณ์เพอ่ื การเรยี นรู้ 9. สอดแทรกค�ำถามหลังกจิ กรรม เพื่อฝึกและพฒั นาทักษะชวี ิต แผนการสอนและวดี โิ อการจดั การเรียนการสอนฉบับเต็ม http://lifeskills.obec.go.th/ 48 ทกั ษะชวี ติ รหัสครูศตวรรษท่ี 21

ครแู ห่งศตวรรษที่ 21 ครูสมร ตาระพันธ์ กิจกรรมชมุ นุม ม.6 โรงเรยี นเลยอนกุ ลู วทิ ยา จงั หวัดเลย อยากให้ยอมรับความสามารถที่อยู่ในตัวของเด็ก ยอมรับความคิดของเขา แล้วก็ดึงศักยภาพที่อยู่ในตัวเขาออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากท่ีสุด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ ท่ีอยู่ใกล้ตัวนักเรียนมาก ครูจึงมีหน้าท่ีต้องให้นักเรียนได้ใช้ศักยภาพในเรื่องของสื่อเหล่าน้ีมาพัฒนาตนเอง จุดประสงค์การเรยี นรู้ • มีความรู้ ความเข้าใจเก่ยี วกบั บทบาทหน้าทใ่ี นการผลิตคลิปวดี ิโอ องค์ประกอบทกั ษะชีวิต : การตระหนกั รู้และเหน็ คุณค่าในตนเองและผอู้ ืน่ • ค้นพบความชอบ ความถนดั และความสามารถของตนเอง ทักษะชวี ิต รหสั ครศู ตวรรษท่ี 21 49

กจิ กรรมการเรียนการสอน กิจกรรมครู กิจกรรมนกั เรียน ข้นั นำ� เขา้ ส่บู ทเรียน ข้นั นำ� เข้าสู่บทเรยี น 1. ทกั ทายแบบสบายๆ กับนกั เรยี นโดยร้องเพลง 1. ให้ความสนใจทกั ทายครู และร่วมร้องเพลง 2. แบ่งกลุ่มตามคำ� บอกครู เช่น รวมเงิน “หากพวกเราก�ำลังสบายจงตบมอื พลนั ” 2. แบ่งกลุ่มนักเรยี นเปน็ กลุ่มเล็กๆ ประมาณกลุ่มละ เปน็ 2 บาท ห้าสบิ สตางค์ เปน็ ต้น 4 – 5 คน โดยใช้เพลงรวมเงนิ “รวมเงนิ ให้ดีๆ รวมเงนิ คราวนอ้ี ย่าให้พลาด ผู้หญงิ น้นั เป็น เหรยี ญบาท ผชู้ ายเกง่ อาจเปน็ เหรยี ญหา้ สบิ สตางค”์ ขนั้ การเรียนรู้ ขน้ั การเรยี นรู้ 3. เปิดคลิปวีดิโอ เน่อื งจากการถ่ายทำ� ผลงานของ 3. ชมคลิปวีดโิ อเพอ่ื ศึกษาการท�ำหน้าทขี่ องบทบาท รุ่นพ่ที ี่ส่งเข้าประกวดเพ่อื ให้นกั เรยี นได้ศกึ ษา ต่างๆ ที่จะสร้างส่อื สร้างสรรค์ ได้แก่ คนเขียนบท การท�ำหน้าท่ตี ่างๆ ของทำ� สอื่ เพือ่ ผลติ สอ่ื และทำ� กราฟิก และคนท�ำหน้าท่ปี ระสานงานทวั่ ไป 4. แนะน�ำแหล่งเรยี นรู้เพมิ่ เตมิ คอื 4. เรียนรู้บทบาทหน้าทต่ี ่างๆ จาก http.//www. http.//www.krusamorn.com Krusamorn.com โดยดาวน์โหลดใบงานที่ 3 – 4 จากเวป็ ไซต์ แล้วเขยี นส่งกระดาษคำ� ตอบที่กระทู้ facebook ของกลุ่มในหวั ข้อบทบาทหน้าทขี่ องทุก คนในทมี สื่อสร้างสรรค์ ควรประกอบไปด้วยหน้าที่ อะไรบ้าง แสดงความคดิ เห็นเลก็ ๆ ขั้นด�ำเนินกจิ กรรมการเรียนรู้ ขัน้ ด�ำเนนิ กิจกรรมการเรียนรู้ 5. ให้ค�ำอธบิ ายถงึ ความสำ� คญั ของบทบาทหน้าทตี่ ่างๆ 5. ฟังคำ� อธิบายเพมิ่ เตมิ 6. แบ่งกลุ่มตามบทบาทหน้าท่ี พร้อมทจ่ี ะเรียนรู้จาก ในการผลติ สอื่ สร้างสรรค์ประเภทสารคดี 6. ทบทวนบทบาทหลังจากนกั เรยี นไปฝึกมาแล้ว กลุ่มตามฐานต่างๆ 7. ร่วมเรียนรู้กับรุ่นพต่ี ามฐานต่างๆ คำ� ถามส�ำคญั “นักเรยี นรู้หรอื ยังว่าอยากทำ� หน้าท่ี อะไรในทมี และให้แบ่งกลุ่มตามบทบาทหน้าท่ี” ฐานที่ 1 การเขยี นบทสครปิ ท์ (script writer) 7. เชญิ รุ่นพ่มี าให้คำ� แนะนำ� โดยแบ่งเป็นฐานตาม 7.1.1 ศึกษาวธิ กี ารเขยี นบทสครปิ ท์ บทบาทหน้าทแ่ี ละให้นักเรยี นได้เข้าไปเรยี นรู้ ผลติ บทส�ำหรบั พธิ ีกร เขียนการดำ� เนนิ โดยลองท�ำในฐาน เร่อื งประกอบไปด้วย scene เวลา รายละเอยี ด บท จ�ำนวน shot ฉาก อปุ กรณ์ sound 7.1.2 ทกุ คนในกลุ่มศกึ ษาวิธเี ขียนสครปิ ท์ โดยศกึ ษารูปแบบการเขยี น ฐานที่ 2 พธิ ีกร (MC – Master of Ceremony) 7.2.1 ศกึ ษาบทบาทหน้าทข่ี องพิธีกร คณุ ลกั ษณะ เทคนคิ การเปน็ พิธีกร 7.2.2 ฝึกการหยุด ในลกั ษณะพธิ ีภาคสนาม ตามแนวสารคดหี รืออน่ื ๆ ต่อหน้า เพื่อนๆ หรอื หน้าห้อง โดยมรี ุ่นพ/ี่ เพอื่ น คอยแนะน�ำ 50 ทกั ษะชีวติ รหัสครูศตวรรษท่ี 21


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook