๓๐ต อ น ท่ี พอ่ หวั เราะเบาก่อนถามยอ้ น (ปฏิปุจฉา) วา่ “ก็ท�ำไมคนดีๆ บางคนจึงตายล่ะ ? ทีคนช่ัวบางคน มีแต่คน แช่งชกั หักกระดกู กลบั อายุมัน่ ขวัญยืน” “น่นั ซิ” แม่หัวเราะบ้าง “ท�ำไมจึงเป็นอย่างนัน้ ?” “อย่างน้ันคืออะไรล่ะ ? อย่างไหน ? พระดีๆ สึก หรือ คนดีๆ ตาย ?” “ทง้ั สองอย่างนน้ั แหละ” “เร่ืองการบวชการสึก เป็นเรื่องของเนกขัมมบารมีของแต่ละ คน สว่ นการเป็นการตายเปน็ เร่อื งของกรรม” “ยงั ไมค่ ่อยเข้าใจครบั พอ่ ?” ผมถาม
ต อ น ีท่ ๓ ๐ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 252 “ไม่เข้าใจอะไร ?” “เนกขมั มบารมีอะไรของพ่อนะ่ ครับ” “เนกขัมมบารมี คือ การท่ีได้ส่ังสมมาทางการบวช เว้นจาก การครองเรอื น คนทส่ี ะสมมาน้อยก็บวชอยนู่ านไมไ่ ด้ พอถงึ เวลาก็ให ้ ร้อนใจอยากสึก ใครระงับก็ไม่อยู่ เอาธรรมอะไรมาสอนก็ไม่ฟัง ใจ คดิ สกึ อยา่ งเดยี ว เหน็ บา้ นเลก็ บา้ นนอ้ ยนา่ อยไู่ ปหมด สว่ นวดั วาอาราม สวยอย่างไรก็ไม่ปรารถนาเข้าไป ไม่ปรารถนาอยู่ คนที่มีเนกขัมม บารมมี าด ี คอื เคยสง่ั สมมาทางนม้ี าก กบ็ นั ดาลใหใ้ จนอ้ มไปในบรรพ- ชาโดยไม่ต้องมีใครบังคับ เม่ือบวชแล้วก็อยู่เป็นสุข แม้จะคิดสึก บา้ งบางครงั้ บางคราวตามฐานะทยี่ งั เปน็ พระปถุ ชุ น กม็ สี งิ่ มาชว่ ยระงบั ได ้ จึงอยไู่ ปได้ตลอด” “ฝ่ายการอยู่การตายท่ีว่าเป็นเร่ืองของกรรมนั้น คือ ใครท�ำ กรรมอันเป็นเหตุให้อายุสั้นก็ส้ัน ใครท�ำกรรมอันเป็นเหตุให้อายุยืน ก็ยนื ” “พอ่ เชอื่ อย่างนีจ้ รงิ ๆ หรอื ?” ผมถาม “เชอื่ จรงิ ๆ” พอ่ ยนื ยนั “พระพทุ ธเจา้ ทา่ นตรสั ไวอ้ ยา่ งนน้ั พอ่ เชอ่ื ตามพระพทุ ธเจา้ เพราะพอ่ เชอื่ ความตรสั รขู้ องพระองค ์ คนทกุ คนหน ี กรรมของตนไม่พน้ ” “คนทป่ี ระสบภยั กเ็ พราะกรรมเหมอื นกนั คอื เพราะมกี รรมจงึ มีเวร และเพราะมีเวรจึงมีภัย ถ้าไม่มีกรรมก็ไม่มีเวรติดตาม ถ้าไม่มี เวรกไ็ ม่มีภัย ดงั นี้” “ถ้าอยา่ งน้นั เราก็ไมต่ ้องระวังภยั ?” ผมถาม “กค็ วรระวงั ไวบ้ า้ ง เพอ่ื ความไมป่ ระมาท” พอ่ ตอบ “การประพฤติ ธรรม เราตอ้ งประพฤตพิ รอ้ มๆ กนั หลายอยา่ ง ไมใ่ ชเ่ พยี งอยา่ งเดยี ว เหมือนรถคันหนึ่งจะวิ่งไปได้โดยไม่ติดขัด จะต้องมีปัจจัยพร้อม
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 253 มากมาย เครอ่ื งของมนั ทกุ สว่ นตอ้ งทำ� งานตามหนา้ ท ี่ ลอ้ ตอ้ งด ี คนขบั เปน็ ถนนไม่มีส่ิงกีดขวาง และวิ่งตามกฎจราจร เปน็ ตน้ ” “อะไรคือเหตใุ ห้คนอายุสัน้ อายุยนื คะ ?” แมถ่ าม “พระพุทธเจ้าท่านว่า คนอายุส้ันเพราะชาติก่อนเคยฆ่าสัตว์ คือผิดศีลเนืองๆ ในข้อปาณาติบาต ส่วนคนอายุยืนเพราะไม่ฆ่าสัตว ์ คนข้โี รคเพราะเบียดเบียนสตั ว์ คนสุขภาพดีเพราะไมเ่ บียดเบียนสตั ว”์ “ผมว่าเหตุมนั ไกลเกนิ ไป มองไมค่ อ่ ยชัด” ผมแยง้ “ทชี่ ดั ก็คือ คนข้ีโรค กค็ อื คนจน เมื่อจนก็ทำ� ให้อายสุ น้ั ” “ต่อไป” พ่อว่ามองผมอย่างปรานี “ความจนท�ำให้ขาดแคลน อาหาร เส้ือผ้า ท่ีอยู่อาศัย และยา บำ� บดั โรค ความขาดแคลนสงิ่ เหลา่ น ้ี ทำ� ใหข้ โ้ี รค อาหารไมพ่ อแกค่ วาม ตอ้ งการของรา่ งกาย คณุ ภาพไมด่ ี เสอ้ื ผา้ ไมพ่ อปอ้ งกนั หนาวรอ้ น บา้ น อยู่ในสลัม อุดมด้วยเชื้อโรคนานาชนิด เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยยาจะรักษา ก็ไม่มี ถึงมีคุณภาพก็ไม่ดีเหมือนยาของพวกม่ังมี เมื่อเป็นดังน้ีความ ข้ีโรคก็เกิดขึ้น โรคเป็นสิ่งบั่นทอนสุขภาพ เมื่อสุขภาพทรุดโทรม ชีวิตก็สั้น ส่วนคนม่ังมีโอกาสที่จะอายุยืนน้ันมีมาก เพราะร่างกาย ตอ้ งการสงิ่ ใดกไ็ ดส้ งิ่ นนั้ มาตามตอ้ งการ อาหารมคี ณุ ภาพและปรมิ าณ ท่ีเพียงพอ เสื้อผ้าดี ที่อยู่อาศัยสบาย เม่ือเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย ก็ได้หมอได้ยาอย่างดี นอกจากยาบ�ำบัดโรคเป็นอย่างๆ ไปแล้ว ยังม ี ยาบ�ำรุงให้สุขภาพแข็งแรง นอกจากน้ีแม้ไม่ได้ท�ำงานด้วยแรงกาย แต่เขามีเรื่องออกก�ำลังกายอันช่วยบ�ำรุงสุขภาพอนามัยมากมาย เช่น กีฬาประเภทต่างๆ มีสระว่ายน้�ำอย่างดี มีสนามเด็กเล่น มีการ พักผ่อนหย่อนใจ ล้วนเป็นประโยชน์แก่ชีวิตจิตใจท้ังนั้น ผมว่า ความจนท�ำให้ขี้โรคและอายุสั้น ส่วนความม่ังมีทำ� ให้สุขภาพอนามัยด ี และอายุยนื เหตุต่อเน่ืองมันมีอยอู่ ย่างนี”้
ต อ น ีท่ ๓ ๐ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 254 “พ่อเห็นลูกของคนม่ังมีบางคนเป็นโรคเร้ือรังรักษาไม่หายและ ต้องตายตั้งแต่อายุยังน้อย ตัวคนม่ังมีเองก็เป็นโรคสารพัด และอายุ สน้ั กม็ ี แมล้ กู เจา้ ฟา้ เจา้ แผน่ ดนิ บางพระองคก์ ม็ โี รคภยั มาก และอายสุ น้ั เหมอื นกนั ตรงกนั ขา้ ม คนธรรมดาทยี่ ากจน มอี าชพี เปน็ ชาวนาชาวสวน หรอื กรรมกร ใชช้ วี ติ อยทู่ า่ มกลางอนั ตรายรอบดา้ น แตก่ ไ็ มม่ โี รค และ อายุยืน บางคนมีโรค แต่อายุยืน ร�ำคาญโรคอยู่ตลอดเวลา บ่นอยู ่ ทกุ วนั วา่ เมอ่ื ไรจะตายเสยี ทกี ไ็ มต่ าย บางคนไมเ่ ปน็ โรครา้ ยไขเ้ จบ็ อะไร แต่อายุสั้นตายต้ังแต่ ๒๐-๓๐ หรือ ๔๐-๕๐ ก็มี ที่ลูกพูดมาทั้งหมด จึงไม่แน่เสมอไป เรื่องรวย เร่ืองจน ก็ไม่ใช่เกณฑ์ตัดสินอันแน่นอน พอ่ เชอื่ วา่ เปน็ เรื่องส่วนบุคคลมากกว่า” “ในกรณีของอาหารการกิน บางคนจน อาหารไม่พอก็ตาย บางคนมงั่ ม ี กนิ มากเกนิ ไปกต็ าย มนั เปน็ เรอื่ งเฉพาะบคุ คลจรงิ ๆ หรอื ลูกวา่ อย่างไร ?” “ก็น่าคิดเหมือนกันครับพ่อ” ผมพูด “เมื่อผมอยู่มหาวิทยาลัย ผมไดย้ นิ อาจารยค์ นหนง่ึ พดู ในหอ้ งเรยี นวา่ “การรบั เชอื่ เรอ่ื งเวรกรรม ชาตกิ อ่ นชาตหิ นา้ นนั้ เปน็ อปุ สรรคในการพฒั นาประเทศ เพราะฉะนน้ั เราต้องการพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้ารวดเร็วทันอารยประเทศ ทง้ั หลาย เราควรหยดุ สอน เลกิ เชอื่ เรอื่ งเวรกรรม เรอ่ื งชาตกิ อ่ น ชาต ิ หนา้ กนั เสยี ที” “แล้วตอนนนั้ ลูกเชือ่ หรอื เปล่า ?” “เชื่อไปมากเหมอื นกันครบั พ่อ” “เขามเี หตุผลอย่างไร ?” พอ่ ถาม “อาจารยบ์ อกวา่ ถา้ เราเชอื่ เรอื่ งเวรกรรม เรากไ็ มค่ วรจบั คนรา้ ย เขา้ คกุ เพราะการทำ� อยา่ งนน้ั เปน็ การสรา้ งเวรกรรม ถา้ คนรา้ ยคนนนั้ ไปฆ่าใคร ก็เพราะเวรกรรมของผู้ถูกฆ่าเอง ไปปล้นใครก็เพราะ
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 255 เวรกรรมของผู้ถูกปล้นท่ีเคยท�ำไว้ ปล่อยให้กรรมมันสนองกันเองจะ มิดีหรือ ไปลงโทษเขาท�ำไม ถ้าเราปกครองกันด้วยกฎแห่งเวรกรรม ดังกล่าวมา ประเทศก็ไม่เป็นประเทศ สังคมมนุษย์ก็จะตกตำ่� ลงอยู ่ ในสภาพเดยี วกับความเปน็ อยู่ของดิรจั ฉาน” “ก็น่าคิดเหมือนกัน” พ่อว่า “แต่พ่อคิดว่า การไม่เช่ือเร่ืองเวร กรรม เร่ืองชาติก่อน ชาติหน้า ก็ท�ำให้สังคมมนุษย์วุ่นวายไม่น้อย เพราะไม่เชื่อเร่ืองเวรกรรมจึงไปท�ำการร้าย ผลร้ายตกแก่ตนเองบ้าง ครอบครัวบ้าง สังคมและประเทศชาติบ้าง ถ้าเขาเชื่อเร่ืองเวรกรรม เขาจะไมท่ ำ� กรรมชวั่ จรงิ อย ู่ ขอ้ นไ้ี มจ่ รงิ เสมอไปหรอก แตช่ ว่ ยไดม้ าก ทีเดียว อนึง่ เราพจิ ารณากบั อกี ด้านหนึ่ง การท่ีคนไปท�ำการรา้ ยและ ตอ้ งตดิ คกุ นน้ั กเ็ ปน็ เวรกรรมของเขาเอง ใชห่ รอื ไม ่ แสดงวา่ เวรกรรม มีอยู่จริง เขาจึงได้รับผลของเวรกรรมในปัจจุบันทันตาเห็น แต่ถ้าเขา ท�ำการร้ายแล้วไม่ติดคุกตะราง ยังครองชีวิตอยู่อย่างสบายในสายตา ของคนทั้งหลายอื่น แต่ตะรางอารมณ์ ซึ่งเกิดขึ้นแก่ตัวเขาเองตลอด เวลา เขาต้องทนทุกข์ทรมานใจ เพราะกรรมชั่วร้ายที่เขาท�ำไปแล้ว คอยวนเวยี นมาเตอื นอยเู่ สมอนนั้ เปน็ เวรกรรมทผ่ี ทู้ ำ� เหน็ เพยี งคนเดยี ว และก็เห็นด้วยใจซ่ึงเป็นผู้รับสุขทุกข์โดยตรง แม้กฎหมายจะลงโทษ เขาไม่ได้ในบางกรณีเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม แต่กฎแห่งกรรม จะต้องลงโทษเขาจนได ้ ท้งั ในชาตินีแ้ ละชาติหนา้ ” “พ่อคิดว่า ถ้าคนตั้งอยู่ในศีลธรรม ไม่เบียดเบียนท�ำร้ายกัน ตั้งหน้าทำ� มาหากินโดยสุจริต ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อเรื่องเวรกรรม ไม่กล้าท�ำความช่ัวเพราะความเชื่อนั้น เหล่าน้ีเป็นปัจจัยสำ� คัญในการ พัฒนาประเทศทั้งสิ้น” “การจับคนผิดลงโทษเช่นขังคุกเป็นต้น เป็นเรื่องของกฎหมาย บา้ นเมอื ง ซง่ึ เมอื งไหนๆ เขากท็ ำ� กนั เพอ่ื ความสงบสขุ ของคนด ี เพอ่ื
ต อ น ีท่ ๓ ๐ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 256 ให้คนท�ำช่ัวเข็ดหลาบไม่ท�ำอีก เป็นหน้าที่ของนักปกครองที่จะต้องท�ำ อย่างน้ัน จะเช่ือเร่ืองเวรกรรมหรือไม่เชื่อก็ตาม เพราะกฎหมายระบ ุ ไว้แลว้ เขามหี น้าท่ีต้องรักษากฎหมาย กท็ ำ� ไปตามกฎหมาย” “เก่ียวกับเรื่องศาสนากับการพัฒนาประเทศน้ัน มีท่านผู้รู ้ แสดงความคดิ เหน็ ไวม้ ากแลว้ วา่ ธรรมในศาสนาไมเ่ ปน็ อปุ สรรคตอ่ การ พฒั นาประเทศ” มีผู้ถาม หม่อมราชวงค์ คึกฤทธิ์ ปราโมชว่า “ปัจจุบันมักม ี คำ� กลา่ วเปน็ ทำ� นองวา่ คำ� สอนทางศาสนาเปน็ อปุ สรรคของการพฒั นา ประเทศ พทุ ธศาสนกิ ชนมกั เฉอ่ื ยชา ขาดความกระตอื รอื รน้ จรงิ หรอื ไม ่ ?” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตอบว่า๑ “คนที่พูดอย่างนั้น ไม่รู้จักค�ำสอนของศาสนาพุทธ ความจริง ศาสนาพุทธสอนให้คนประกอบการงานด้วยความสุจริตและความ ขยันขันแข็ง สอนให้ใช้จ่ายทรัพย์ด้วยความระมัดระวัง สอนมิให้ เบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ผู้อื่น สอนมิให้เห็นแก่ตัว เหล่าน้เี ปน็ ประโยชนอ์ ยา่ งยงิ่ ในการพัฒนาทง้ั สิน้ ” “ถ้าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยส่วนมาก สอนนิสิตนักศึกษาของ เราไมใ่ หเ้ ชอ่ื เรอ่ื งเวรกรรม หรอื เรอ่ื งชาตหิ นา้ ชาตกิ อ่ น เรอื่ งตายแลว้ เกิด พ่อก็ไม่อยากให้ลูกหลานเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะถึง จะได้ความรู้ทางวิชาชีพมาก็ไม่คุ้มกับความสูญเสียทางจิตใจ อันเป็น ความสูญเสียท่ีย่ิงใหญ่ของบุคคล ของสังคมและชาติ ความวุ่นวาย ในสังคมของเราในปัจจุบันไม่ได้มีสาเหตุมาจากความขาดแคลนวัตถุ แต่สาเหตุใหญ่มาจากความสูญเสียทางจิตใจ มาจากความเห็นแก่ตัว ๑ คึกฤทธ ์ิ ปราโมช สยามรฐั รายวนั ๒ มกราคม ๒๕๑๖
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 257 อยา่ งเหนยี วแนน่ ของคนบางกลมุ่ บางพวก และมาจากการไมป่ ระพฤติ ธรรมให้สมควรแก่ฐานะและหน้าที่ของตนๆ ของแพงข้ึนอย่างพรวด พราดขึ้นอยู่ทุกเดือน ข้าวสารแพงอย่างที่ไม่น่าจะแพงก็เพราะคน เห็นแก่ตัวบางพวก บางกลุ่มฉวยโอกาสกอบโกย กักตุนและโดยวิธ ี อ่ืนๆ ไม่เห็นแก่ความทุกข์ยากเดือดร้อนของคนส่วนใหญ่ ถ้าทุกฝ่าย มีความสุจริต ประพฤติตามหลักธรรมของศาสนา เรื่องเดือดร้อน เหล่านี้ก็ไม่เกิดข้ึน ความเดือดร้อน วุ่นวายของสังคมเกิดขึ้นเพราะ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ซึ่งเป็นสิ่งท่ีทางศาสนาสอนให ้ ละ แตค่ นพยายามเพ่มิ พนู มนั เพ่ือแขง่ ขันกนั ในเรือ่ งลาภผล ในเรือ่ ง ความมวั เมา” “ปัญหาทางเศรษฐกิจจะแก้ไม่ได้เป็นอันขาด ถ้าเราไม่ตั้งต้น แก้ใขจากคนของเรา ถ้าเราไม่สร้างค่านิยมทางสังคมข้ึนใหม่ ให้คน ของเรามีทัศนะอันถูกต้องว่า อะไรคือเกียรติ ? อะไรคือความสุข ? ชวี ติ อยา่ งไรคอื ชวี ติ ทมี่ คี ณุ คา่ ? จะตอ้ งใหเ้ ขาเรยี นรแู้ ละเขา้ ใจทศั นะอนั ถกู ตอ้ งวา่ ‘Morality is simply the best way of living’. รฐั นาวา ของเราจะอับปาง ถ้าเรายังมีค่านิยมทางสังคมอยู่ว่า คนมีเกียรติคือ คนฟุ้งเฟ้อหรูหรา ความสุขคือการสามารถตามใจตัวเองได้ทุกอย่าง และค่าของชวี ิตอยทู่ ีก่ ารได้เสวยความสขุ ทางอารมณอ์ ยา่ งเตม็ ท ี่ และ เมาอยใู่ นอารมณ์สขุ นั้น เราตอ้ งสรา้ งคา่ นยิ มกนั ใหม่ว่า คนมีเกยี รต ิ คอื คนทที่ ำ� งานดว้ ยใจรกั และงานนนั้ สจุ รติ ความสขุ คอื การไดป้ ระกอบ กรรมดี และชีวิตท่ีมีค่าคือชีวิตของผู้ได้ท�ำประโยชน์แก่ผู้อ่ืน ไม่ว่า โดยตรงหรอื โดยอ้อม”
ต อ น ีท่ ๓ ๑ ๓๑ต อ น ท่ี “เรอื่ งทพ่ี อ่ พดู หนกั สมองมาก ไมใ่ ชเ่ รอื่ งเบาเลย” ผมพดู แมเ่ งยหนา้ ขนึ้ มองผมเป็นทำ� นองเห็นดว้ ย “หนกั หรอื เบา มนั ไมไ่ ดอ้ ยทู่ เ่ี รอื่ ง” พอ่ บอก “แตม่ นั อยทู่ สี่ มอง คน” “อย่างไรคะ ?” แมถ่ าม พ่อตอบวา่ “คนสมองน้อย เรื่องนิดหน่อยก็เห็นเป็นเร่ืองหนัก เหมือนคน มแี รงน้อย ยกของนิดหนอ่ ยก็ไม่ไหว” “ไดค้ วามรเู้ พมิ่ อกี อยา่ งหนงึ่ ” แมเ่ ปรย “เรอ่ื งหนกั หรอื เบาสมอง ไมไ่ ด้อย่ทู เี่ ร่อื ง แตอ่ ย่ทู ีส่ มองคน”
ต อ น ีท่ ๓ ๑ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 260 “ใช่ มันอยู่ท่ีการเปรียบเทียบและส่วนสัมพันธ์” พ่อย�้ำ “เรื่อง เกง่ หรอื ไมเ่ กง่ ดหี รอื ไมด่ กี ข็ นึ้ อยกู่ บั มาตรฐานทเ่ี ราตง้ั ไวส้ งู ตำ�่ เพยี งใด เชน่ มาตรฐานความประพฤตขิ องฆราวาส เราตงั้ ไวต้ ำ�่ ทำ� ความดเี พยี ง เลก็ นอ้ ยกเ็ ปน็ ฆราวาสทดี่ ไี ด ้ สว่ นมาตรฐานความประพฤตขิ องพระ เรา ต้งั ไวส้ ูง ต้องมคี วามประพฤตดิ อี ย่างสงู จงึ จะเป็นพระทดี่ ีได”้ “ผมไดย้ นิ บอ่ ยๆ คนเขาพดู วา่ ความเปน็ อยอู่ ยา่ งพระ เปน็ กาฝาก สงั คม พ่อมีข้อแกอ้ ย่างไรในเรื่องน ้ี ?” “เป็นกาฝากในแงไ่ หน ?” พอ่ ถาม “ในแง่ท่ีเป็นผู้บริโภคปัจจัยของสังคมอย่างเดียว ไม่ช่วยผลิต อะไรให้แก่สังคม เปน็ ผกู้ นิ แรงของสงั คม เอาเปรียบสงั คม” “ทีว่ า่ ไมไ่ ด้ผลติ นัน้ ไมไ่ ด้ผลติ อะไร ?” พอ่ ถาม “ไมไ่ ด้ผลติ ข้าว ผลไม้ เสื้อผา้ เปน็ ต้น อย่างนนั้ ใช่ไหม ?” “ก็คงหมายความอย่างน้ันครับพ่อ คือไม่ได้ช่วยผลิตเครื่อง อุปโภคบริโภคให้แก่สังคมเลย มีแต่บริโภคปัจจัยของสังคมให้หมดไป อยา่ งเดียว” “แล้วอย่างพ่อ อย่างลูก และคนอ่ืนๆ อีกมากมายก็ไม่ได้ผลิต เหมอื นกนั ชาวนากบั ชาวสวนเทา่ นน้ั ทผ่ี ลติ ขา้ วและผลไม ้ พวกอตุ สาห- กรได้ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้อันนับเป็นเคร่ืองอุปโภค คนอาชีพอ่ืนๆ อีกมากก็ไม่ได้ผลิตอะไรให้แก่สังคม พวกนี้จะไม่เป็นกาฝากสังคมไป หมดหรอื ? ตวั อยา่ งเชน่ ขา้ ราชการในกระทรวงตา่ งๆ ทหาร ต�ำรวจ ครู นิสิตนักศึกษา นักเรียน หมอ ล้วนแต่ไม่ได้ผลิตเคร่ืองอุปโภค บรโิ ภคอะไรเลย ทำ� ไมจงึ ไมว่ า่ เขาเปน็ กาฝากสงั คม ? ทำ� ไมจงึ จงใจมา ว่าแตพ่ ระ ?” “คนอนื่ ๆ เขามอี าชพี เขาทำ� งานตามหนา้ ทขี่ องเขาแลว้ แมจ้ ะ ไม่ได้ผลิตอย่างชาวนาชาวสวน ก็ถือว่าเป็นผู้ได้ช่วยสังคมตามหน้าที่
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 261 ของเขา” ผมว่า “พระท่านก็ได้ช่วยเหลือสังคม ตามหน้าท่ีของท่านเหมือนกัน” พอ่ ตอบ “หนา้ ทอ่ี ะไร ?” ผมถาม “เราตอ้ งรกู้ อ่ นวา่ คนท�ำงานมอี ย ู่ ๓ ประเภท คอื ผทู้ �ำงานใช้ สมอง (Mental labour) ผทู้ �ำงานโดยใชก้ ำ� ลงั กาย (Skilled or un- skilled labour) และผทู้ ำ� งานโดยการรบั ผดิ ชอบ (Responsible) พระ สงฆ์น้ันจัดอยู่ในประเภทผู้ทำ� งานโดยใช้สมองและรับผิดชอบ ทำ� นอง เดยี วกับคร ู ข้าราชการ และนักเรียน” “ท่านท�ำอะไรครับ ? ชาวบ้านท่ัวไปเข้าใจว่า ท่านอยู่เฉยๆ ฉนั แลว้ กอ็ า่ นหนงั สอื บา้ ง นอนบา้ ง แลว้ กอ็ อกไปนนั่ ไปนบ่ี า้ ง เลก็ ๆ นอ้ ยๆ ไม่ไดท้ ำ� อะไรแกส่ ังคม” “ท่านก็ท�ำงานตามหน้าที่ของท่าน ซ่ึงมีมากมายหลายประเภท ทา่ นทก่ี ำ� ลงั เรยี นอยกู่ เ็ รยี นอยา่ งขะมกั เขมน้ เรยี นอยา่ งหนกั เพราะแนว การศกึ ษาของพระนนั้ ตอ้ งการให้ท่านรจู้ รงิ ” “คุณนเรศ นโรปกรณ์ คอลัมนิสต์ ของสยามรัฐได้เขียนไว้ใน คอลัมน์ของเขา ประจำ� วันท่ี ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ ว่า๑ “กระบวน การเรยี นกนั แลว้ ผมรดู้ วี า่ พระทา่ นมโี อกาสรจู้ รงิ เพราะเรยี นจรงิ กวา่ นสิ ติ นกั ศกึ ษามากมายนัก น่กี ลา่ วโดยส่วนรวมนะครบั “ที่ท่านท�ำงานการสอนก็มี ที่ท�ำการก่อสร้างก็มี ท่านท่ีเรียน หนังสือได้พอสมควรแล้ว ก็มักสอนคนอื่นไปด้วย เรียนไปด้วย ต้อง ทำ� งานสงั คมสงเคราะหไ์ ปดว้ ย กลา่ วคอื ชว่ ยเหลอื ชาวบา้ น เมอ่ื เขามา ขอความชว่ ยเหลอื พระทา่ นมเี จา้ หนา้ ทห่ี ลายฝา่ ยเหมอื นกนั แตล่ ะฝา่ ย ๑ คณุ นเรศบอกว่าเคยเป็นเด็กวัดเก่า
ต อ น ีท่ ๓ ๑ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 262 ก็ท�ำหน้าท่ีของท่านไป เช่น ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายก่อสร้าง ฝ่ายเทศนา สง่ั สอนเผยแผ ่ ฝา่ ยปกครอง ผทู้ ม่ี คี วามสามารถนอ้ ย ท�ำอะไรออกหนา้ ออกตาไมไ่ ดก้ อ็ ยชู่ ว่ ยเหลอื ผทู้ สี่ ามารถ ชว่ ยตม้ นำ้� รอ้ นนำ�้ ชา ชว่ ยกวาด วัด ช่วยรักษาโบสถ์วิหารการเปรียญและเสนาสนะสงฆ์ อันเป็นของ ส่วนรวมเป็นต้น นอกจากน้ี ยังช่วยขวนขวายในกุศลจริยาต่างๆ ท ี่ ชวาบา้ นตอ้ งการท�ำ เชน่ งานศพ งานบวชนาค งานแตง่ งาน ขนึ้ บา้ น ใหม”่ “มีคนเขาพูดว่า พระไม่น่าจะต้องไปวุ่นวายกับการก่อสร้าง ทา่ นควรจะอย่อู ย่างสงบๆ ชาวบา้ นเขาศรทั ธา เขาสรา้ งใหเ้ อง พอ่ ว่า อยา่ งไรครับ ?” ถ้าเป็นอย่างน้ันได้ก็ดี พระท่านก็ไม่อยากวุ่นวายนักหรอก ถ้า มีคนศรัทธามาสร้างให้จริงๆ แต่เมื่อกุฏิวิหาร การเปรียญ โบสถ์ ช�ำรุดทรุดโทรมเหลือเกิน คอยแล้วคอยอีกก็ไม่มีคนศรัทธามาซ่อมให้ สักที ท่านก็ต้องขวนขวายท�ำเอง ถ้าไม่ท�ำ ปล่อยไว้เฉยๆ ชาวบ้าน มาเห็นเข้าก็ติเตียนท่านอีกเหมือนกันว่าน่ังนอนอยู่เฉยๆ ปล่อยให้ วัดวาอารามสกปรกทรุดโทรม พอท่านทำ� เข้าก็ว่าท่านอีก ท�ำเขาก็ว่า ไม่ท�ำเขาก็ว่า ท�ำดีกว่า มีผลบ้าง ท�ำนองเดียวกับท�ำดีเขาก็ริษยา ท�ำชว่ั เขากน็ ินทา ตำ� หนิตเิ ตียน ทำ� ดดี ีกวา่ เอาอะไรกบั ปากคน” “พูดถึงการบริโภคปัจจัย ๔ ของพระ ท่านก็บริโภคใช้สอย แตน่ อ้ ย คอื นอ้ ยกวา่ ชาวบา้ น อาหารกเ็ พยี ง ๒ มอื้ และกเ็ ปน็ อาหาร ธรรมดาๆ เท่าที่ชาวบ้านศรัทธาถวาย พระส่วนมากยังอยู่ในสภาพท่ ี ขาดแคลน ไม่ได้มีอาหารอุดมสมบูรณ์อะไรเลย มีบางรูปเท่าน้ันที่มี อย่างเหลือเฟือ เพราะชาวบ้านศรัทธามาก เครื่องนุ่งห่มท่านก็ใช้จีวร สบงเพียงเล็กน้อย ไม่มากชุดเหมือนของชาวบ้าน รองเท้าก็ราคาถูก เครื่องตกแต่งร่างกายชนิดฟุ่มเฟือยอย่างชาวบ้านก็ไม่มี น้�ำมันใส่ผม
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 263 ของผู้ชายกับลิปสติกของผู้หญิง ๒ อย่างเท่านั้น เราต้องเสียเงินให้ ต่างชาติปีหน่ึงๆ เท่าไร พระท่านไม่ต้องใช้ ท่านช่วยประหยัดปัจจัย ของชาติไว้ได้มากทีเดียว ท่านยังได้มีส่วนช่วยนโยบายคุมก�ำเนิดของ รัฐบาลด้วย นอกจากช่วยคุมก�ำเนิดแล้ว ใครมีลูก ท่านยังช่วยเล้ียง ให้อีก พระบางองค์ช่วยเล้ียงลูกชาวบ้านถึง ๒๐-๓๐ คน ช่วยสอน หนงั สอื ใหด้ ว้ ย เดก็ วดั นนั่ ไง ทา่ นชว่ ยเลยี้ งดสู ง่ั สอนโดยไมค่ ดิ คา่ เลย้ี ง ดูส่ังสอนอะไรเลย วัดหนึ่งๆ เวลานี้ โดยเฉพาะวัดในเมือง มีเด็กวัด มากกวา่ จำ� นวนพระ” “พระรปู ใด ทา่ นอยไู่ มไ่ ด ้ สกึ ออกมา ทา่ นกม็ าเปน็ ประโยชนแ์ ก่ สงั คมไทย เพราะทา่ นเปน็ คนไทย รกั แผน่ ดนิ ไทยเหมอื นคนทง้ั หลาย๒” “การมองอะไร เราควรมองกวา้ งๆ อยา่ มองเพยี งดา้ นเดยี ว คน ทกุ อาชพี ทกุ ชน้ั เปน็ โครงสรา้ งของสงั คม เขามปี ระโยชนต์ อ่ สงั คมใน ด้านใดด้านหน่ึง ตามหน้าท่ีและความถนัดของเขา กล่าวโดยเฉพาะ พระไทย วัดไทย และค�ำสอนทางศาสนาพุทธนั้น เป็นประโยชน์กับ สงั คมไทยอยา่ งสดุ จะพรรณนาได้” “สถาปตั ยกรรม ศลิ ปกรรมทางศาสนาพทุ ธนนั้ เปน็ เครอ่ื งเชดิ หน้าชูตาของประเทศไทย ชาวต่างประเทศมาเท่ียวเมืองไทยก็ไม่พ้น วดั พระแกว้ วดั โพธ ์ิ (วดั พระเชตพุ น) วดั เบญจมบพติ ร วดั สทุ ศั น ์ วดั มหาธาตุ เจดีย์นครปฐม อยุธยา เป็นต้น ส่วนมากก็เกี่ยวกับสถา- ปตั ยกรรม ศลิ ปกรรม และโบราณวตั ถทุ างศาสนาทง้ั นนั้ อยา่ งอนื่ เรา มอี ะไรให้เขาดบู ้าง นอกจากความแรน้ แคน้ ยากจนของชาวนา” “พูดถึงชาวนาแล้วน่าสงสาร” แม่เปรย “ท�ำงานหนักกร�ำแดด ๒ โปรดดู “พระสงฆ์กับสังคม” ในหนังสือสายธารที่เปลี่ยนทาง ของวศิน อินทสระ, บรรณาคารพมิ พ ์ ๒๕๐๙ และเรอื่ งพอ่ ผมเปน็ มหา ตอนท ี่ ๒๗, บรรณาคาร ๒๕๑๓
ต อ น ีท่ ๓ ๑ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 264 กร�ำฝน แต่ผลที่ไดไ้ มเ่ ท่าไร” “พอเลยี้ งชพี ไปวนั ๆ เทา่ นน้ั ” พอ่ เสรมิ “ผลไดไ้ มค่ มุ้ แรงงานท่ ี ลงไป” “มันไปตกอยู่ท่ใี ครหมดครับพอ่ ?” ผมถาม “คนกลาง” พ่อตอบ มีแววขมข่ืนอยู่ในน้�ำเสียง “ถ้าจะจัดคน พวกใดพวกหน่ึงในสังคมไทยให้เป็นกาฝากสังคมละก็ พ่อเห็นว่า คนกลางนแ่ี หละเปน็ กาฝากสงั คม เปน็ พวกเอารดั เอาเปรยี บ ขดู รดี ทงั้ ผู้ผลิตและผู้บริโภค ไปกดซ้ือของจากเกษตรกรผู้ยากจนมาด้วยราคา ถูก แล้วมาโก่งราคาขายเอากับผู้บริโภค ซึ่งเป็นคนยากจนเหมือนกัน ด้วยราคาแพง ผู้ผลิตก็ขาดทุน ผู้บริโภคก็ต้องซื้อของแพงเกินเหตุ กำ� ไรและความมงั่ คงั่ ไปอยทู่ ค่ี นกลาง พวกซอ้ื ถกู ขายแพง แตท่ งั้ ผผู้ ลติ และผู้บริโภคก็ต้องยอมมัน ยอมเพราะความจ�ำเป็นบังคับให้ยอม ชาวนาผลิตข้าว ชาวสวนผลิตผลไม้จริง แต่ส่ิงจ�ำเป็นในชีวิตของ พวกเขาไม่ได้อยู่เพียงข้าวและผลไม้อย่างเดียว เขาต้องมีเส้ือผ้า ยา รักษาโรค ท่ีอยู่อาศัย และส่ิงจ�ำเป็นอื่นๆ อีกมาก รวมทั้งการศึกษา ของบุตรด้วย ส่ิงเหลานี้พวกเขาได้มาด้วยผลิตผลทางเกษตรเพียง ประการเดียว พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมในราคาขาย แต่ก็ต้อง ขาย เพราะความจ�ำเป็นอย่างอื่นคอยบีบค้ันอยู่ ฝ่ายผู้บริโภคท่ัวไป ซ่ึงเป็นคนยากจนเหมือนกัน แม้ไม่อยากซื้อก็ต้องซื้อ ของมันข้ึนราคา ไปวนั ละบาทวนั ละ ๕๐ สตางคก์ ต็ อ้ งซอื้ เพราะไมซ่ อื้ กไ็ มม่ กี นิ ไมม่ ใี ช ้ ความจ�ำเป็นบังคับให้ต้องซื้อ ไม่ซื้อก็ต้องอดตาย อย่างข้าวสารแพง น้�ำมันปรุงอาหารแพง ไข่แพง ยาแพง เส้ือผ้าแพง วัสดุก่อสร้างแพง ผักบ้งุ พริกข้ีหนแู พง มนั ของจำ� เปน็ ในการครองชีพทงั้ นั้น” “ถ้าของเหล่าน้ันแพงข้ึน ผลก�ำไรไปตกอยู่กับผู้ผลิตจริงๆ ผู้ บรโิ ภคกย็ งั พอยนิ ดดี ว้ ยได ้ ถอื วา่ เขาลงทนุ ลงแรงไปมาก แตน่ ผ่ี ผู้ ลติ ก ็
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 265 ขาดทุน ยากจนลงทุกวันๆ ผู้บริโภคก็กัดฟันกิน พวกที่ยิ้มแป้นคือ พวกพ่อค้าคนกลาง เราจะท�ำอย่างไรกับสภาพอย่างน้ีในเมืองไทย ?” พอ่ จบลงดว้ ยเสียงเครียด “ผมคดิ วา่ พวกคนกลางกม็ สี ว่ นชว่ ยเหลอื ทง้ั ผผู้ ลติ และผบู้ รโิ ภค เหมือนกัน คือเขาช่วยซื้อผลิตผลของเกษตรกร และช่วยให้ถึงมือ ผู้บริโภค เมื่อเขาลงแรงและเสียเวลาวุ่นอยู่กับธุรกิจเช่นน้ีเขาก็ต้อง เอาก�ำไรบ้าง ถ้าซ้ือมาเท่าไรขายเท่าน้ัน เขาก็ไม่มีกินเหมือนกัน วัน หนึ่งๆ ในสมองพวกน้ีไม่มีเร่ืองอื่นนอกจากก�ำไรขาดทุน” ผมแย้งพ่อ “เวลานี้เราพร้อมหรือไม่ที่จะอำ� นวยความสะดวกให้แก่ประชาชนโดย บรกิ ารของรฐั ถา้ เราไมย่ อมใหร้ า้ นคา้ ยอ่ ยเอกชนจำ� หนา่ ยผลติ ผลทาง เกษตรกรรม คือรัฐเข้าควบคุมจัดท�ำเสียเอง จะมีปัญหาใหม่เกิดข้ึน หรอื ไม ่ ? เชน่ การขนสง่ การเดนิ ทางไปซอ้ื ของในสถานทที่ ร่ี ฐั จดั ไวใ้ ห้ เชน่ อยพู่ ระราม ๖ ตอ้ งเดนิ ทางไปซอ้ื ขา้ วสาร ๑ ถงั ทบ่ี างล�ำพ ู เพอ่ื ให้ได้ราคาถูกกว่าที่พระราม ๖ สัก ๕-๑๐ บาท เมื่อบวกค่าพาหนะ แล้ว อาจแพงกว่าท่ีพระราม ๖ ก็ได้ การต้องรอคิว ต้องเสียเวลา มากมาย อะไรทำ� นองนจี้ ะเกดิ ขนึ้ หรอื ไม ่ ผมเหน็ คนเขา้ ควิ ซอ้ื ขา้ วสาร ตามสถานทจ่ี ำ� หนา่ ยในราคาควบคมุ แลว้ กใ็ จหาย วนั หนง่ึ ผมขนึ้ รถเมล์ ผ่านกรมการค้าภายใน เห็นคนยืนซ้ือข้าวสารหน้ากรมการค้าภายใน แถวยาวเหยียด รถจอด มีชายคนหนึ่งอายุประมาณ ๒๙ ปี แบกถุง ข้าวสารข้ึนมา ยังไม่ทันได้นั่งก็ล้มลง ผู้โดยสารอื่นๆ ช่วยกันพยุงแก ให้นั่ง ผมเดินเข้าไปถามแกว่ามาคอยอยู่นานเท่าไร ? แกบอกว่า ๓ ชั่วโมง ผมดนู าฬกิ า เวลานนั้ ๙.๓๐ น. แสดงวา่ แกมายนื คอยอย ู่ ตง้ั แต ่ ๐๖.๓๐ น. ได้ข้าวสารไป ๑ ถัง” “เรื่องก�ำไรน้ันพ่อไม่ว่าหรอก ใครประกอบการใดก็ย่อมหวัง ก�ำไรเป็นธรรมดา แต่อย่าให้มากเกินไป เช่น พ่อค้าคนกลางตั้งร้าน
ต อ น ีท่ ๓ ๑ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 266 อยู่ในตลาด มีผู้มาเสนอขายผลิตผล รับซื้อไว้ในราคา ๑๕ บาท ได้ ก�ำไรถึง ๓๐ บาท โดยไม่ต้องท�ำอะไรเลย อย่างนี้พ่อว่ามากเกินไป คนพวกนแี้ หละทีร่ �ำ่ รวยอยูใ่ นเมืองไทย” “แตพ่ อโอนกจิ การใดไปใหร้ ฐั ดำ� เนนิ การ พวกเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ก ็ โกงกนิ เสยี อกี ” ผมระเบดิ ออกมา “ดงั ทม่ี ขี า่ วทางวทิ ยแุ ละหนงั สอื พมิ พ์ อยู่เวลานี้ว่า ข้าราชการบางคนมีส่วนเก่ียวข้องกับเรื่องข้าวสาร โกง ข้าวสาร จรงิ หรอื ไมน่ นั้ ไมท่ ราบ แตข่ า่ วออกมาอย่างนั้น” “มันเป็นเสียอย่างนี้” พ่อพูดอย่างท้อแท้ “ใครเข้าไปเก่ียวข้อง กับอะไรก็โกงส่ิงนั้น กินส่ิงน้ัน อย่างน้ีประเทศชาติของเราจะไปไหว หรอื ?”
๓๒ต อ น ท่ี ระยะน้ีใครๆ ก็พูดถึงประชาธิปไตยว่า เราได้ประชาธิปไตย๑มาแล้ว ทง้ั ๆ ทรี่ ฐั บาลทกุ รฐั บาล ตง้ั แต ่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เปน็ ตน้ มา ประกาศวา่ รฐั บาลนน้ั ๆ เปน็ ประชาธปิ ไตย แมร้ ฐั บาลโดยการนำ� ของจอมพลสฤษด์ ิ และจอมพลถนอม ซ่ึงปกครองเมืองไทยมาเกือบ ๒๐ ปี ก็ประกาศ ว่าพวกตนปกครองแบบประชาธิปไตย ผมได้คุยเรื่องนี้กับพ่อเสมอ เหมือนกนั แต่ไมค่ อ่ ยจะสนกุ นัก เพราะพอ่ ไม่ค่อยพูด วันหน่ึงเพ่ือนของพ่อซึ่งเป็นอัยการมาหาพ่อและคุยกันถึงเร่ือง ตา่ งๆ มากมาย เรอ่ื งสดุ ท้ายคือเร่อื งการปกครองบา้ นเมือง ๑ หมายถงึ เหตกุ ารณห์ ลงั วนั ท ่ี ๑๔ ตลุ าคม ๒๕๑๖ ไดเ้ ปลย่ี นแปลงจากรฐั บาลทหาร โดยจอมพลถนอม-ประภาส มาเป็นรัฐบาลพลเรอื น
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 269 “การปกครองไมส่ �ำคญั เทา่ คนปกครอง” พอ่ เอย่ ขนึ้ ในตอนหนงึ่ “ท�ำไมคณุ จงึ มคี วามเห็นอย่างนน้ั ?” นา้ วิเชยี รถาม “ผมคดิ วา่ ระบอบการปกครองเปน็ เพยี งสกั แตว่ า่ ชอื่ ” พอ่ ตอบ “จะชอื่ อยา่ งไรกต็ าม ถา้ เปน็ คนๆ นนั้ มนั กค็ อื คนนนั้ คอื มกี ารกระท�ำ และความคดิ อยา่ งคนๆ นนั้ อยา่ งคณุ วเิ ชยี ร ถงึ จะเปลย่ี นชอ่ื เปน็ วชิ ติ วชิ ม หรอื อะไรอนื่ กต็ าม แตบ่ คุ ลกิ ลกั ษณะ อปุ นสิ ยั นสิ ยั และอธั ยาศยั ก็หาเปล่ียนไม่ คงเป็นคุณวิเชียรคนเดิมอยู่น่ันเอง นอกจากคุณจะ พยายามเปล่ยี นบุคลิกของคณุ เองเสียก่อน” “แตผ่ มวา่ ไมเ่ หมอื นกนั ” นา้ วเิ ชยี รออกความเหน็ “ระบอบการ ปกครองมคี วามสำ� คญั มาก ประเทศตา่ งๆ จงึ พยายามทสี่ ดุ ทจ่ี ะเปลย่ี น แปลงการปกครองให้เหมาะสมแก่ประเทศชาติและประชาชนของตน ระบอบการปกครองเปรยี บเหมอื นบรรทดั หรอื รางทบี่ งั คบั ใหร้ ฐั บาลเดนิ ผมยกตัวอย่าง เช่น ระบอบเผด็จการ Dictatorship, the state of being ruled by a dictator…” ผมลืมบอกท่านไปว่า น้าวิเชียรน้ันชอบพูดภาษาอังกฤษควบคู ่ คำ� ศพั ทภ์ าษาไทยเสมอ เปน็ ความเคยชินของท่านอย่างนั้นเอง “ผู้ปกครองในระบอบเผด็จการ” น้าวิเชียรพูดต่อ “มีอ�ำนาจ เด็ดขาดแต่ผู้เดียว เรียกว่า absolute power คล้ายกับราชาธิปไตย หรือ absolute monarchy เป็นแต่พวกนั้นไม่ได้ต้ังตนเป็นกษัตริย ์ ตวั อยา่ งเชน่ สตาลนิ ฮติ เลอร ์ มสุ โสลนิ ี สมยั ใดประเทศไดผ้ เู้ ผดจ็ การ รา้ ย ประเทศชาตจิ ะลม่ จม ประชาชนจะเดอื ดรอ้ น เหมอื นคนถกู ไฟไหม ้ บ้านทีเดียว ระบอบราชาธิปไตยก็เหมือนกัน ประวัติศาสตร์บอกเรา ว่าสมัยใดได้กษัตริย์ดี ประเทศชาติก็ดี แต่ถ้าได้กษัตริย์ร้ายประเทศ ชาติก็เสียหายเส่ือมโทรม ประชาชนเสียขวัญ กว่ากษัตริย์ดีจะมา บูรณะประเทศและจิตใจของประชาชนเรียกขวัญกลับคืนมาได้ก็ต้อง
ต อ น ีท่ ๓ ๒ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 270 ใชเ้ วลานาน ถ้าบังเอิญเคราะห์ไมด่ ี ได้กษตั รยิ ์ร้ายติดต่อกันสกั ๒-๓ รัชกาล ประเทศและประชาชนก็เคราะห์ร้ายมากทีเดียว ระบอบ ประชาธิปไตย เป็นการจ�ำกัดอ�ำนาจของผู้ปกครองให้อยู่ในขอบเขต ท่ีกฎหมายรัฐธรรมนูญมอบไว้ให้ และมีด้วยกันหลายคนช่วยกันได ้ โอกาสทจ่ี ะเสยี มนี อ้ ย นอกจากนน้ั เรายงั มอี ำ� นาจถงึ สามอำ� นาจถว่ งกนั ไว ้ คืออ�ำนาจบริหาร อำ� นาจตุลาการ และอ�ำนาจนติ บิ ัญญัต”ิ “แม้ระบอบประชาธิปไตยเองก็ยังมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างมิใช่ หรอื ? ผมหมายความว่า ไม่ไดเ้ หมือนกันทุกประเทศ ?” พอ่ ถาม “ข้อนี้ใช่” น้าวิเชียรตอบ “คือประชาธิปไตยของบางประเทศ ผู้บริหารรับผิดชอบแต่ผู้เดียว คนอ่ืนๆ เป็นเพียงตัวประกอบ เช่น ประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า A Single Executive ประธานาธิบดีรับผิดชอบแต่ผู้เดียว คณะรัฐมนตรีหรือองค์การอื่นใด จะใชอ้ ำ� นาจบรหิ ารไมไ่ ด ้ เพราะมบี ทบญั ญตั ใิ หร้ ฐั ธรรมนญู มาตรา ๒ ว่า “อ�ำนาจบริหารนั้นเป็นของประธานาธิบดีสหรัฐ” ประธานาธิบดี สหรัฐจึงมีอ�ำนาจในการบริหารมาก ต�ำแหน่งประธานาธิบดีมีความ ส�ำคัญเทียบเท่ากษัตริย์ของประเทศ เพียงแต่เป็นกษัตริย์ท่ีได้รับ เลอื กตงั้ จากประชาชน เขาตอ้ งทำ� หนา้ ทที่ ง้ั สองอยา่ งคอื หนา้ ทก่ี ษตั รยิ ์ และนายกรฐั มนตรพี รอ้ มกนั ไป เรยี กวา่ มที ง้ั อ�ำนาจและวาสนา เปน็ ทง้ั ประมขุ ของรัฐและผู้บริหาร” “ส่วนประเทศท่ีปกครองแบบมีประธานาธิบดีและนายก รัฐมนตรีด้วย เช่นอินเดียเป็นต้นน้ัน ประธานาธิบดีเป็นเพียงประมุข ของรัฐ ท�ำหน้าท่ีคล้ายกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยท่ีกษัตริย์ อยภู่ ายใตร้ ฐั ธรรมนญู บทบาททางการบรหิ ารอยทู่ นี่ ายกรฐั มนตรแี ละ คณะรฐั มนตร ี ประเทศไทยเรากอ็ ยใู่ นลกั ษณะน ี้ ตา่ งแตเ่ พยี งประเทศ เราประมุขของรัฐทรงเป็นกษัตริย์ ประชาธิปไตยแบบนี้เรียก Plural
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 271 Executive ฝา่ ยบรหิ ารตอ้ งรบั ผดิ ชอบรว่ มกนั หลายนาย คณะรฐั มนตรี องั กฤษกเ็ หมือนกนั ” “เลคเชอ่ รย์ าวด ี นา่ ฟงั ” พอ่ พดู พรอ้ มหวั เราะชอบใจ นา้ วเิ ชยี ร ก็พลอยหัวเราะดว้ ย “ก็มันเป็นอย่างน้ันจริงๆ ” น้าวิเชียรว่า “แต่ไม่รู้เอามะพร้าว ห้าวมาขายสวนหรือเปล่า ?” “ไม่หรอก” พ่อว่า “ถ้าเป็นสวนท่ีนี่ก็เป็นสวนมะละกอไม่ใช่ สวนมะพร้าว มีแต่ไม้ล้มลุก ไม่มีไม้ยืนต้นทนนานอย่างสวนของคุณ แต่เอาเถอะ ผมอยากฟังคุณพูดต่อ คือผมอยากรู้ว่า ผลได้ผลเสีย ของการบริหารแบบ A Single Executive กับ Plural Executive มีอยา่ งไรบ้าง ?” “ก็มีบ้างเหมือนกัน แบบ Single มีผลดีท่ีการปกครองบังคับ บญั ชาเปน็ อนั หนง่ึ อนั เดยี วกนั กำ� หนดตวั ผรู้ บั ผดิ ชอบไวเ้ ปน็ การแนน่ อน คอื ประธานาธบิ ด ี สว่ นผลเสยี กค็ อื อำ� นาจไปอยทู่ ค่ี นๆ เดยี วมากเกนิ ไป อาจท�ำอะไรเลยเถิดไปได้ง่าย ฝ่าย Plural มีผลดีตรงที่หลายคน รับผิดชอบร่วมกัน กระจายอ�ำนาจออกไป การตัดสินใจรอบคอบข้ึน ผลเสยี อยทู่ อ่ี าจชกั ชา้ ไปบา้ งและไมร่ ะบตุ วั ผรู้ บั ผดิ ชอบเปน็ การแนน่ อน” น่ิงกันไปครู่หน่ึง น้าวิเชียรจึงว่า “คุณยิ้มเห็นหรือยังว่าระบอบ การปกครองนัน้ มคี วามสำ� คญั มาก ?” “เหน็ แลว้ ” พอ่ ตอบ “แตผ่ มวา่ คนผมู้ าปกครองกม็ คี วามสำ� คญั ไมน่ ้อยกวา่ ระบอบ ถ้าเราได้ผู้ปกครองดี มีความยุติธรรม ปราศจาก อคติ ปราศจากความเห็นแก่ตัว เขาย่อมบันดาลความยุติธรรมให้ เกิดขึ้นแก่สังคมได้เท่าท่ีอ�ำนาจเขามีอยู่ ระบอบอย่างเดียวไม่เป็น การเพยี งพอ คนผปู้ กครองต้องมธี รรมด้วย...” พอ่ หันเหเข้าจดุ ของพอ่ จนได้
ต อ น ีท่ ๓ ๒ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 272 “และใชธ้ รรมนน้ั เปน็ อำ� นาจ ความยตุ ธิ รรมในสงั คมยอ่ มมาจาก ผปู้ กครองทม่ี ธี รรม ถา้ ผปู้ กครองไมด่ ยี อ่ มบดิ เบอื นความจรงิ ตา่ งๆ ให ้ เป็นประโยชน์ข้างตัวและพวกพ้องของตัว แม้กฎหมายก็กลายเป็น เคร่ืองมือของผู้รักษากฎหมายไปได้ และเป็นอันตรายต่อประชาชน เป็นเครื่องประหัตประหารประชาชนไปทันที ดังมีเร่ืองปรากฏอยู่ ในสังคมทั่วไป ผมคิดว่า คนผู้มาปกครองถึงจะไม่ส�ำคัญกว่าระบอบ การปกครอง แตก่ ็คงจะส�ำคัญไมน่ ้อยกวา่ เปน็ แน”่ “แม้ในการปกครองแบบประชาธิปไตยท่ีเราเห็นว่าดีที่สุดน้ีเอง ถ้าประชาชนเรารู้เท่าไม่ทันนักการเมือง ก็จะเป็นเคร่ืองมือให้นักการ เมืองลามกแสวงหาประโยชน์เพ่ือตนบนความเสียสละและบนความ ไมร่ ูข้ องประชาชนได้ โดยเฉพาะคนในชนบทบ้านนอกทย่ี ังไมไ่ ด้ศกึ ษา เลา่ เรยี น ยงั ไมร่ เู้ รอื่ งการเมอื ง ใครเขา้ ถงึ ตวั เขากอ่ น เขากล็ งคะแนน ให้คนน้ันเข้าไปน่ังในสภาเป็นตัวแทนของเขา โดยท่ีเขาไม่เคยรู้เลยว่า ผู้แทนเขา้ มหี น้าที่ทำ� อะไร” “เมืองไทยเราเรียกตัวเองว่าปกครองระบอบประชาธิปไตยมา ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ไม่เคยเป็นประชาธิปไตยจริงๆ การเมืองเป็น เรอื่ งของการเลน่ มาตลอดเวลา จนเรยี กกนั ตดิ ปากวา่ “เลน่ การเมอื ง” เราวา่ ตอ่ ไปน ้ี (หลงั ๑๔ ตลุ าคม ๒๕๑๖) เราจะเปน็ ประชาธปิ ไตยกนั จรงิ ๆ เสยี ท ี กไ็ มร่ วู้ า่ จะเปน็ อยา่ งไรอกี คนสว่ นมากของเรายงั ไมค่ อ่ ย รู้จักรับผิดชอบตนเอง พอเขาเข้มงวดเข้าก็ร้องว่าเขาลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ ไม่เห็นใจคนยากคนจน พอเขาอนุโลมให้บ้างก็ท�ำตามใจ ตัวเองจนเลยเถิด ขาดความรับผิดชอบตนเองและความรับผิดชอบ ต่อความผาสุกของส่วนรวม ดูแม่ค้าพ่อค้าท่ีวางของขายตามทางเท้า เปน็ ตวั อยา่ ง วางเสยี จนไมม่ ที างใหค้ นเดนิ เมอื่ ทางเดนิ กลายเปน็ ตลาด ขายของเสียแล้ว คนก็ต้องลงเดินข้างถนนเฉียดกันไปมากับรถยนต์
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 273 อย่างน่ากลัวอันตราย ประชาธิปไตยจะงอกงามดีมาก ถ้าเรารู้จัก รบั ผดิ ชอบตนเอง และรจู้ กั เคารพตอ่ สทิ ธขิ องสว่ นรวม ประชาธปิ ไตย เป็นเร่ืองของการรับผิดชอบตนเอง เม่ือเราปกครองเดก็ เราจะบังคบั เด็กท่ีไม่รู้จักรับผิดชอบตนเองมากกว่าเด็กที่รู้จักรับผิดชอบตัวเอง คนใดรับผิดชอบตนเองได้มากท่ีสุดย่อมได้เสรีภาพจากการปกครอง มากท่ีสุด เพราะเหน็ วา่ เขาปกครองตนเองได้แล้ว นคี่ ือจุดเรมิ่ ต้นของ ประชาธิปไตย การปลูกฝังประชาธิปไตย เราต้องเริ่มต้นกันท่ีความ รบั ผดิ ชอบตนเองโดยการสอน โดยการทำ� ตวั อย่างให้ดู” “ตามปา้ ยรถเมลป์ ระจำ� ทาง เราจะเหน็ เศษตว๋ั โดยสารทง้ิ เกลอ่ื น แสดงวา่ พอลงรถกท็ งิ้ เศษตว๋ั ทนั ท ี จะถอื ไปอกี สกั หนอ่ ยหนงึ่ เมอ่ื พบท ่ี ท้ิงเศษของแล้วจึงค่อยท้ิงลงไปหรือใส่กระเป๋าตัวเองไปก่อนไปทิ้งท่ี ถังขยะแห่งใดแห่งหน่ึงหรือที่บ้านของตัวเอง ก็ไม่น่าจะหนักหนาอะไร นค่ี อื เรื่องของความรับผิดชอบเลก็ ๆ นอ้ ยๆ ” “คงกลวั คนกวาดถนนจะไมม่ งี านทำ� กระมงั ?” นา้ วเิ ชยี รเยา้ เลน่ “กใ็ หม้ นั จรงิ เถอะ” พอ่ วา่ “ขอใหเ้ ราไดเ้ ลกิ กจิ การต�ำรวจเพราะ ไมม่ ผี รู้ า้ ยกนั ทเี ถอะ เมอื งไทยจะไดเ้ ปน็ สวรรคใ์ นพนื้ พภิ พ และตำ� รวจ กองปราบก็คงจะยนิ ดีหานอ้ ยไม่” “ประชาธิปไตยสมัยแรกๆ เป็นอย่างไร ?” น้าวิเชียรดึงเข้าหา ประชาธปิ ไตยอกี “ผมหมายถงึ ประวตั ขิ องการปกครองระบอบประชา- ธปิ ไตยท่มี ีอยูใ่ นโลก ไม่หมายถึงเมอื งไทย ?” “อันนี้เห็นจะย้อนไปถึงกรีกโบราณ ว่ากันว่าประชาธิปไตยของ ยโุ รป เรมิ่ ตน้ ทปี่ ระเทศกรซี ดเู หมอื นโซลอน (Solon) จะไดร้ บั เกยี รต ิ เปน็ ผู้เร่ิมประชาธิปไตย โซลอนเกดิ กอ่ น ค.ศ. (ครสิ ตศกั ราช) ๖๓๘ ปี ก่อนพระพุทธเจ้าของเรา ๑๕ ปี (พระพุทธเจ้าประสูติก่อน ค.ศ. ๖๒๓ ปี) นับว่าเป็นนักปราชญ์ร่วมยุคกัน และเริ่มประชาธิปไตย
ต อ น ีท่ ๓ ๒ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 274 มาด้วยกัน โซลอนเริ่มในกรีซ พระพุทธเจ้าทรงเร่ิมในอินเดีย แต่ด ู เหมือนของพระพุทธเจ้าจะก้าวหน้ากว่า เพราะของพระพุทธเจ้า เป็น ประชาธปิ ไตยท่ีสมบูรณใ์ นสมัยของพระองค์ทีเดียว แต่ประชาธปิ ไตย ในกรีซสมัยโซลอนนั้นเป็นระยะเริ่มต้น นักประวัติศาสตร์บางคนยัง ปฏิเสธด้วยซ�้ำไป คือบอกว่าสมัยโซลอนนั้นยังเป็นอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) อยู ่ ราษฎรสามญั ยงั ไมม่ สี ิทธป์ิ กครองตนเอง” สมยั ทสี่ อง คอื ยคุ ของคลสี เธนสิ (Cleisthenes) ๕๐๙ ป ี กอ่ น ค.ศ. คือ ๒๕ ปีต่อจากสมัยของโซลอน คลีสเธนีสได้ช่วยสานต่อ ประชาธิปไตยของโซลอน ท�ำให้ประชาชนได้มีเสรีภาพมากขึ้น สมัย แรกเพียงตัดอ�ำนาจของอภิชนไปบ้างเท่าน้ัน สมัยท่ีสาม ยุคของเปอริคลีส (Pericles) ๔๖๑ ปีก่อน ค.ศ. คือ ๔๘ ปีต่อมา เปอริคลีสได้ช่วยให้ประชาธิปไตย เจริญก้าวหน้า ไปมาก ยุคนี้เองท่ีเรียกกันว่ายุคทองของกรีก (The Golden Age) โสกระตีส (Socrates) เพลโต้ (Plato) และ อริสโตเติล (Aris- totle) นักปราชญ์กรีกทั้ง ๓ ท่าน ก็เกิดตามกันมา มาร่วมยุคทอง ของกรีกและมีส่วนช่วยให้ยุคน้ันมีรัศมีของทองเปล่งปลั่งย่ิงขึ้น นักศึกษาต้องเรียนความคิดเห็นของท่านเหล่านั้นตลอดมา แม ้ จนกระทั่งวินาทีท่ีเรานั่งคุยกันอยู่น้ี และคงตลอดไปจนกว่าคนจะเลิก เรียนหนังสือ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้กษัตริย์กรีกและกษัตริย์ของ ยุโรปได้ส้ินพระชนม์มากมายโดยไม่มีใครระลึกถึง โลกไม่รู้จัก คน ท�ำประโยชน์เป็นคนไม่ตายอย่างนี้ ส่วนคนเกิดมาเพียงแต่สักว่า กิน นอน เมถุน เทยี่ ว มีลมหายใจอยูว่ นั ๆ ก็เหมือนตายแลว้ ตง้ั แตเ่ กดิ “นกั ปราชญใ์ หญ ่ ๓ คนของกรกี คอื โสกระตสี , เพลโต ้ และ อริสโตเตลิ น้นั ไดท้ ำ� ประโยชนท์ างการปกครองและทางวิชาการไวม้ าก จนใครๆ ลืมไม่ได้ เรื่องน่าประหลาดอย่างหน่ึงของคนทั้ง ๓ นี้คือ
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 275 เกดิ ห่างกนั คนละ ๔๓ ปี ลองคิดดูก็ได้” โสกระตสี เกดิ ป ี ๔๗๐ B.C. (ก่อน ค.ศ.) เพลโต ้ เกดิ ปี ๔๒๗ B.C. อริสโตเตลิ เกิดป ี ๓๘๔ B.C. “คนแรกเป็นนักปรัชญาอุดมคติอย่างเดียว สองคนหลังเป็น นักวิชาการหลายดา้ น ทงั้ นกั ประพนั ธ์ มีผลงานท่ีโลกตอ้ งศึกษามาก” “แม้มาในสมัยของเพลโต้แล้ว ทัศนะทางการเมืองแห่งการ ปกครองรัฐก็ยังเป็นแบบอภิชนาธิปไตยอยู่นั่นเอง (Aristocracy) คือ ปกครองโดยอภชิ น ดอี ยหู่ นอ่ ยหนงึ่ ทเ่ี พลโตบ้ อกวา่ ตอ้ งเปน็ อภชิ นโดย ปญั ญา มใิ ช่โดยกำ� เนดิ หรอื โดยความมง่ั คั่ง” “สมัยท่ีเพลโต้เป็นหนุ่ม เป็นสมัยท่ีคนชั้นสูงและคนมั่งคั่ง ๓๐ คนมอี �ำนาจและบ้าอำ� นาจ เขาเบอ่ื หนา่ ยเร่ืองนีม้ าก...” หยดุ ครู่หน่งึ พอ่ หยิบแกว้ น�้ำข้นึ จบิ แล้วน่งั เฉย “พูดต่อซิ” นา้ วิเชียรขอรอ้ ง “พอแลว้ ” พ่อวา่ “ทำ� ไมหยุดไปเฉยๆ ก�ำลงั เพลิน” “ไปหาหนงั สอื อา่ นเอาเองบ้าง ขเ้ี กียจพูด” พ่อบอก “อุวะ” น้าวิเชียรอุทาน “ลงเอวังเอาดื้อๆ เออ นึกได้แล้วตอน บวชเราเคยฟงั เทศนค์ ณุ ยม้ิ เทศนก์ ำ� ลงั ฟงั เพลนิ นกึ จะจบกล็ งเอวงั เฉยๆ อยา่ งนเ้ี หมอื นกนั อยา่ งนเ้ี ปน็ นกั บนิ ไมไ่ ด ้ ไมค่ อ่ ยๆ รอ่ นลง” แลว้ เรา ก็หัวเราะกนั ครืน้ เครง
ต อ น ีท่ ๓ ๓ ๓๓ต อ น ที่ วันต่อมาได้พูดถึงประชาธิปไตยในพุทธศาสนา พ่อได้เล่าให้ผมฟังว่า ประชาธปิ ไตยในพระพทุ ธศาสนา มขี น้ึ ตง้ั แตพ่ ระพทุ ธเจา้ ยงั ทรงพระชนม ์ อยู่ ทรงวางรากฐานประชาธิปไตยครั้งแรก โดยการทรงมอบอำ� นาจ ให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรมทุกอย่าง เร่ิมต้ังแต่อ�ำนาจในการให้ อุปสมบทกุลบตุ รต่อผ้ศู รทั ธาใคร่บวช พธิ อี ปุ สมบทดงั กลา่ วนน้ั เรยี กวา่ ญตั ตจิ ตตุ ถกรรม อปุ ชั ฌายะ ต้องขอความเห็นชอบจากสงฆ์ อุปัชฌายะ คือภิกษุผู้เป็นประธานใน การให้อุปสมบท ในการนี้มีภิกษุรูปหน่ึงหรือสองรูปสวดประกาศใน ทา่ มกลางสงฆ ์ ขอความเหน็ ชอบจากสงฆถ์ งึ ๓ ครง้ั รวม ๔ ครง้ั ทงั้
ต อ น ีท่ ๓ ๓ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 278 ญตั ต ิ (ญตั ตจิ ตตุ ถกรรม มญี ตั ตเิ ปน็ ท ี่ ๔ หรอื ๔ ครง้ั ทง้ั ญตั ต)ิ ญตั ติ หมายถึง การประกาศเรื่องให้รู้ก่อนว่า จะสวดประกาศเร่ืองอะไร เมื่อสงฆ์ผู้มาประชุมทราบแล้ว ก็ประกาศต่อไปว่าบุคคลผู้นี้มีศรัทธา ขอบวช มีท่านผู้นี้ (เอ่ยชื่อ) เป็นอุปัชฌายะ ท่านผู้ใดไม่เห็นด้วยกับ การบวชของท่านผู้น้ีก็ขอให้พูดขึ้น ถ้าเห็นด้วยก็ขอให้นิ่งอยู่ ประกาศ อยา่ งน ้ี ๓ ครงั้ เมอ่ื สงฆท์ ง้ั ปวงนง่ิ อย ู่ กถ็ อื วา่ เรอ่ื งนไี้ ดผ้ า่ นไปโดยความ เห็นชอบของสงฆ์ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ถ้าภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง คัดค้านขึ้น ก็ต้องระงับการอุปสมบทไว้ช่ัวคราว แล้วซักถามผู้คัดค้าน ว่ามีเหตุผลอย่างไร ? ผู้บวชมีข้อบกพร่องอันพึงรังเกียจอย่างไร ? ถ้า ผู้คัดค้านมีเหตุผลพอ และเร่ืองนั้นเป็นเร่ืองจริง การอุปสมบทก็เป็น อันระงับ ตัวอย่างเช่นผู้บวชจะต้องไม่มีหน้ีสิน แต่เมื่อมีคนประกาศ ซักถามแล้วในโบสถ์นั่นเอง ผู้ขอบวชบอกว่าไม่มีหน้ีสิน แต่เม่ือมีคน ทกั ทว้ งขน้ึ เมอื่ สอบแลว้ ไดค้ วามเปน็ จรงิ การอปุ สมบทกเ็ ปน็ อนั ระงบั จนกวา่ จะใชห้ นสี้ นิ แลว้ หรอื เจา้ หนยี้ กให ้ เปน็ อนั เลกิ แลว้ ตอ่ กนั หรอื ม ี คนใดคนหน่งึ มารับประกันวา่ จะรบั ใชห้ นสี้ นิ ใหเ้ อง เร่ืองพิธีกฐินก็เหมือนกัน พ่อเล่าว่า พิธีกรรมท่ีท�ำก็เป็นแบบ ประชาธิปไตย คือ ต้องขอความเห็นชอบของสงฆ์เสียก่อนว่า การจะ มอบผา้ น้ใี ห้แกภ่ ิกษรุ ปู น้ ี (เอ่ยชือ่ ) เป็นความเหน็ ชอบของสงฆ์หรอื ไม ่ แตป่ ระกาศเพยี งครง้ั เดยี ว รวมเปน็ ๒ ครงั้ ทงั้ ญตั ต ิ เรยี กวา่ ญตั ติ ทตุ ิยกรรม แมใ้ นการบญั ญตั สิ กิ ขาบท (พระวนิ ยั ) พระพทุ ธเจา้ ตอ้ งประชมุ สงฆ์ ทรงบัญญัติสิกขาบทโดยความเห็นชอบของสงฆ์ แล้วประกาศ ใหท้ ราบทว่ั กนั เมอื่ ทรงบญั ญตั แิ ลว้ ถา้ มเี หตจุ ำ� เปน็ ทจี่ ะตอ้ งผอ่ นผนั ไป อยา่ งไรกท็ รงผอ่ นผนั ให ้ เมอื่ จำ� เปน็ จรงิ ๆ อาจยกเลกิ ไปเลยกไ็ ด ้ เมอ่ื หมดความจ�ำเป็นแล้วกท็ รงบัญญัตใิ หม่
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 279 เม่ือจวนจะปรินิพพานก็มีพระพุทธด�ำรัสว่า สิกขาบทเล็กน้อย เมอื่ สงฆป์ ระชุมกนั พจิ ารณาเหน็ ว่าควรจะยกเลิก กใ็ หย้ กเลิกได้ ตามที่ยกตัวอย่างมาเพียงเล็กน้อยนี้ พอให้มองเห็นว่า การ ปกครองคณะสงฆข์ องพระพทุ ธเจ้าเป็นประชาธิปไตยเพียงใด ผมถามพ่อว่า ในพิธีอุปสมบทภิกษุใหม่ เจ้าภาพจัดปัจจัยไทย ธรรมไปถวายพระหตั ถบาส (พระทมี่ าประชมุ รว่ มในการอปุ สมบท) ดว้ ย จะเป็นการเอาลาภสักการะไปซื้อคะแนนเสียงมิให้ภิกษุรูปใดรูปหน่ึง คัดคา้ นการอปุ สมบทไปหรือไม่ ? คล้ายๆ ไปซื้อเสียงท่ีประชมุ อยา่ งท่ี พวกรฐั สภาบางกลมุ่ บางคนเขาทำ� กนั พอ่ ยิม้ มองผมอยูค่ ร่หู น่งึ แลว้ วา่ “ไม่มีใครเขาคิดมากอย่างแกหรอก กตัญญู” แล้วพ่อหัวเราะ “เขาจัดไปเพียงเพ่ือต้องการท�ำบุญเท่านั้น คงไม่มีใครเคยนึกว่าจะม ี พระบางรูปคัดค้าน ต้องเตรียมของไปถวายเสียหน่อย และของน้ัน เขากถ็ วายเม่ือบวชพระเสร็จแล้ว ไม่ได้ถวายก่อน” “สนิ บนใหก้ อ่ นหรอื ทหี ลงั มนั กเ็ หมอื นกนั แหละพอ่ คนไทยนยิ ม ใหส้ นิ บนก่อน คนจีนให้ทีหลังเม่ือกิจเสร็จแลว้ ” “ทำ� ไมแกเหน็ ของท�ำบญุ เปน็ สนิ บนไปได ้ ของท�ำบญุ เขาใหเ้ พอ่ื บูชาคุณ สินบนเขาให้เป็นสินจ้าง แกก็รู้อยู่แล้วว่าการให้อะไรใครน้ัน เพ่อื สงเคราะหบ์ า้ ง และเพ่อื บชู าคุณบ้าง” “แตเ่ วลาน ี้ ผมวา่ เขาใหก้ นั เพอื่ วตั ถปุ ระสงคอ์ ยา่ งอนื่ นอกจากน้ี กม็ มี าก สำ� หรบั พระเองนน้ั ผมเคยไดย้ นิ คนบางกลมุ่ เขาพดู กนั วา่ พระ ไปรับจ้าง เช่น รับจ้างสวดศพ รับจ้างสวดมนต์ฉันเพล รับจ้างสอน หนงั สอื เพราะไมว่ า่ ทา่ นไปทำ� อะไรเขา้ เปน็ ตอ้ งไดล้ าภสกั การะ อนั เปน็ วัตถตุ อบแทนมาเสมอ” “ก็สุดแล้วแต่เขาจะคิดไป แต่พ่อไม่เคยเห็นนายจ้างคนไหน
ต อ น ีท่ ๓ ๓ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 280 เคารพนบนอบ กราบไหว้บูชาลูกจ้าง เหมือนอย่างที่ชาวบ้านถวาย ของพระ พ่อคิดว่าท่านเพียงแต่ทำ� หน้าที่ของท่าน เมื่อเขาเห็นความดี ของท่าน เขากต็ อ้ งตอบแทนดว้ ยวัตถบุ า้ ง นำ้� ใจบา้ ง” “ผมว่าถ้าพระไปท�ำอย่างน้ันแล้วไม่ได้รับอะไรมาเลย จะเป็น คุณค่า และสร้างความนิยมได้มาก” “รา่ งกายทา่ นยงั เปน็ วตั ถอุ ย ู่ แกเอย๊ กต็ อ้ งอาศยั ปจั จยั ๔ เปน็ อย ู่ ทา่ นไดม้ าโดยชอบธรรมกด็ แี ลว้ ไมไ่ ดส้ รา้ งความเดอื ดรอ้ นใหใ้ คร ทา่ นไมเ่ คยตงั้ ราคาวา่ เทา่ นนั้ เทา่ นจ้ี งึ จะสวดศพ สวดมนตฉ์ นั เพล ทา่ น ไปท�ำให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ แล้วเขาก็ถวายจตุปัจจัยท่านมา เพียงเพ่ือ ยงั ชีพ เพอื่ ทา่ นได้ศกึ ษาเล่าเรียน ปฏบิ ัติหน้าทขี่ องสงฆ์ตอ่ ไป” “ผมเห็นด้วยกับพ่อในข้อว่า ท่านท�ำด้วยจิตอนุเคราะห์ เราก็ บูชาคุณท่าน แต่ถ้าท่านท�ำไปด้วยจิตท่ีมุ่งลาภสักการะเล่าครับ จะ มกิ ลายเปน็ ลูกจ้างไปหรือ ?” คณุ พอ่ นิ่ง “ก็เหมือนครู ครูอาจเป็นลูกจ้างเด็ก หรือเป็นปูชนียบุคคล ของเดก็ กไ็ ด”้ พ่อเปรยขึน้ เมอ่ื น่งิ อยู่ครู่หน่งึ แล้ว “คืออยา่ งไรครับ ?” ผมถาม “ครทู สี่ อนเดก็ ดว้ ยมงุ่ ลาภสกั การะ เงนิ ทอง มงุ่ อยแู่ ตเ่ รอื่ งอยา่ ง นั้นก็เป็นลูกจ้างเด็ก ลูกจ้างรัฐบาล แต่ครูที่สอนด้วยใจมุ่งอนุเคราะห ์ เดก็ เปน็ ทตี่ ง้ั มเี มตตาธรรม มคี วามหวงั ด ี กเ็ ปน็ ปชู นยี บคุ คลของเดก็ เจตนาเบื้องหลังการกระท�ำจึงส�ำคัญไม่น้อย พระพุทธเจ้าท่านจึงว่า ‘เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม (การ กระทำ� )’ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรง นิพนธ์ไว้ว่า ‘การงานท้ังปวงจะเป็นกิจที่ควรสรรเสริญ ก็เพราะเกิด จากน้�ำใจที่ควรสรรเสริญ เป็นกิจท่ีควรติดเตียนก็เพราะเกิดจากน้�ำใจ
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 281 ท่คี วรติเตยี น ไม่ใช่เพราะชนิดของการงาน’ ดงั นี”้ “แล้วถ้าเป็นโจร คือ ชนิดของการงาน เป็นชนิดโจรกรรมล่ะ ครับ ?” “ทรงหมายเอาการงานที่ชอบธรรม” พ่อว่า “แต่ถึงกระนั้น กเ็ ถอะ งานโจรกรรมมใิ ชจ่ ะชว่ั รา้ ยเลวทรามเสยี ทกุ อยา่ งไป สมมตวิ า่ ผกค. (ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์) มีแผนประทุษกรรมประเทศไทย ลูกรู้เข้า ลูกไปโจรกรรมแผนน้ันเสีย โจรกรรมเคร่ืองอุปกรณ์แห่ง ประทุษกรรมนั้นเสียด้วย คนไทยผู้รักชาติจะเห็นว่าการโจรกรรม ของลูกเป็นเรื่องเลวร้ายหรือ ?” มีแต่จะได้รับเสียงสรรเสริญในความ ฉลาดและกลา้ หาญ อกี ตวั อยา่ งหนึ่ง ทหารทอ่ี อกรบเพอื่ ประเทศชาติ ของตน หรือปราบปรามผู้เป็นเสี้ยนหนามแห่งชาติ ต้องฆ่าคนที่ ควรฆ่า กรรมน้ันเป็นกรรมท่ีเลวทรามหรือ ? ทุกคนและทุกชาติลง ความเหน็ ว่าเป็นกรรมที่ควรสรรเสรญิ ” “อนง่ึ พระนพิ นธข์ องสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ พระองคน์ นั้ ทรง มุ่งไปท�ำนองว่า ผู้มีหน้าท่ีอย่างใด เมื่อได้เอาใจใส่ท�ำหน้าที่อย่างนั้น ของตนดีท่ีสุดแล้วก็ควรได้รับการสรรเสริญ ส่วนชนิดของการงาน เช่น จะเป็นเสมียนหรืออธิบดีน้ันไม่ส�ำคัญ ส�ำคัญที่เขาได้ท�ำงานใน หน้าที่ดีที่สุด เป็นผู้ไม่บกพร่องในหน้าท่ี เม่ือเป็นอย่างใดก็เป็นดีที่สุด ของอย่างนนั้ ท�ำนองว่าเป็นครทู ี่ด ี ดกี วา่ เป็นรัฐมนตรที ่ีเลว เปน็ ต้น” “ครูบางคนก็ท�ำงานสักแต่เพียงว่าเป็นอาชีพอย่างหน่ึง เหมือน พ่อค้าขายวิชา” ผมว่า “เพื่อรับเงินเดือนไปเดือนหนึ่งๆ ครูท่ีสอน เป็นรายช่ัวโมงก็สอนสักแต่ว่าให้ได้ค่าช่ัวโมง ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่เตรียมการสอน เอาเปรียบโรงเรียน เอาเปรียบนักเรียน ถ้าเป็น พ่อค้าก็เป็นพ่อค้าท่ีขายของแพง คุณภาพเลว ด้วยการบังคับขาย ผู้ซ้ือไม่มีทางเลือก ไม่มีทางเล่ียง จะไปฟ้องร้องผู้ใหญ่ระดับบริหาร
ต อ น ีท่ ๓ ๓ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 282 โรงเรยี น ท่านกเ็ ปน็ พวกเดยี วกับพ่อคา้ วชิ าพวกนัน้ เสียอกี ” “การทำ� งานเพยี งเพอื่ อาชพี นน้ั เปน็ ของสามญั ” พอ่ รบั ตอ่ “ไม ่ ประเสริฐอะไร สัตว์โลกทุกชนิดท�ำได้ แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า ‘เป็นการเลว’ คงทรงหมายว่า เป็นอย่างต่�ำ คือ ไมป่ ระเสรฐิ สูงส่งอะไร ไม่ว่าหน้าท่ีน้ันจะมีต�ำแหน่งสูงเพียงใด ถ้าท�ำ เพอ่ื อาชพี เลย้ี งปากเลยี้ งทอ้ งกเ็ ปน็ ของสามญั พระองคท์ า่ นทรงนพิ นธ์ ไว้ดังนี้ “ควรใส่ใจไว้ว่า ความส�ำเร็จแห่งการหาเลี้ยงชีพนั้น นับว่าเป็น การเลว ไมเ่ ปน็ ทส่ี ดุ อยเู่ พยี งนน้ั ...ธรรมดามไิ ดแ้ ตง่ เราใหเ้ กดิ มาสำ� หรบั หาเงนิ ถา่ ยเดยี ว...นกั ปราชญท์ ง้ั หลายไดพ้ จิ ารณาเหน็ โดยถอ่ งแทแ้ ลว้ วา่ ความมลี าภอยา่ งใหญท่ ส่ี ดุ ทำ� คนใหส้ ขุ โดยถา่ ยเดยี วไมไ่ ด ้ และความ หาลาภมไิ ด ้ จะทำ� คนผรู้ จู้ กั ผดิ รจู้ กั ชอบและมใี จอนั ซอื่ สตั ย ์ ใหเ้ ปน็ ทกุ ข์ ดว้ ยประการทั้งปวงก็ไมไ่ ด้” “ถ้าทา่ นถามว่า ในชวี ติ ของทา่ นๆ จะมุ่งหมายอะไรด ี ขา้ พเจา้ ขอตอบว่า ท่านจงมุ่งเพื่อปฏิบัติงานของท่านให้ชอบ เพราะช่ือเสียง มอี ยใู่ นนน้ั ทกุ คนเกดิ มาในโลกน ้ี สำ� หรบั จะทำ� การดว้ ยปญั ญาทเ่ี หมาะ แกเ่ ขา มสี ำ� หรบั การนนั้ มาแตแ่ รก เมอ่ื เขาพบสงิ่ ไรวา่ เปน็ หนา้ ทขี่ องเขา เขาต้องทุ่มเทก�ำลังความคิดของเขาท้ังหมดลงในส่ิงนั้น แสวงหา ความส�ำเรจ็ ของสง่ิ นนั้ อยา่ แสวงหาสง่าราศีของตัว” “ลูกจะเห็นว่าสมเด็จฯ ทรงนิพนธ์ไว้น่าคิด น่าตรึกตรอง และ นา่ ปฏบิ ตั ติ ามเพยี งไร คนเราทกุ คนเกดิ มาเพอื่ จะท�ำงานอะไรอยา่ งหนง่ึ หรือสองอย่าง เม่ือค้นหาความสามารถอย่างน้ันในตนพบแล้วก็ควร ทมุ่ เทกำ� ลงั ทง้ั หมดลงในการงานนนั้ การงานนน้ั แหละคอื ยศ เกยี รต ิ ความสุข และเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของบุคคลผู้นั้น ไม่ควรคิดฟุ้งซ่าน ไปในส่ิงอันมิใช่วิสัยของตน เพราะถ้าไม่ใช่วิสัยแล้ว ถึงจะไปท�ำงาน
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 283 อยา่ งนนั้ เขา้ กท็ ำ� ไดไ้ มด่ ี เสยี เวลาเปลา่ อาจพาใหเ้ สยี คนไปดว้ ยกไ็ ด ้ มี ตัวอยา่ งใหด้ ูมากแลว้ ” “บางคน มีความสามารถและความเหมาะเพียงแค่ครูใหญ่ใน โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง แต่ไพล่ไปเป็นนายกรัฐมนตรีเข้า ความ สามารถอย่างนั้นไม่มี ก็พาให้เสียคนได้ง่ายและก็พาให้เสียมาหลาย คนแลว้ ” สมเดจ็ ทา่ นวา่ ‘อยา่ แสวงหาสงา่ ราศขี องตวั ’ นถ่ี กู ใจพอ่ นกั คน บางคนจับท�ำงานอะไรเข้าเพียงเล็กน้อยก็คิดแต่ช่ือเสียง ความมีหน้า มตี า ความเดน่ อนั รวมลงในสงา่ ราศขี องตวั คนทคี่ ดิ อยอู่ ยา่ งนมี้ กั ไมไ่ ด ้ ช่ือเสียง แต่จะได้ช่ือเสีย (ไม่มีตัว ง) เพราะแล่นเกินไป ภาษาพระ ท่านเรียก อติธาวนฺโต ท�ำอะไรผิดพลาดได้ง่าย คนที่มีช่ือเสียงอัน โด่งดังข้ึนมาน้ัน เพราะเขาท�ำหน้าที่ของเขาดีที่สุด ช่ือเสียงเป็นเรื่อง บังเอิญหรือเป็นผลพลอยได้ (By product) แต่นั่นแหละบางคน ทีแรกก็ไม่ได้หวังชื่อเสียง แต่พอมีช่ือเสียงข้ึนมาโดย by product ดังกล่าวมา เกิดมัวเมาในช่ือเสียง หลงตัวเอง มองคนอ่ืนต�่ำไปหมด การทำ� การพดู และการคดิ ของใครอน่ื ไมถ่ กู ตอ้ งเสยี สนิ้ ตอ้ งของเขาจงึ จะใชไ้ ดห้ รอื ด ี อยา่ งนเี้ สยี อกี พอตกลงมากเ็ จบ็ มาก เพราะตกจากทส่ี งู บางคน เมอ่ื ยงั ไมม่ ยี ศศกั ดก์ิ ด็ ๆี อย ู่ พอไดย้ ศศกั ดสิ์ งู ขนึ้ มากเ็ มายศอกี นกึ วา่ ตวั มอี ำ� นาจวาสนามามากแลว้ ไมม่ ใี ครทำ� อะไรได ้ จงึ เทย่ี วแสดง ความพาลสนั ดานหยาบใหป้ รากฏอยทู่ ว่ั ไป นานเขา้ อกศุ ลกรรมหนาขน้ึ จนกศุ ลทเี่ คยทำ� มาบา้ งทรงไวไ้ มอ่ ย ู่ พงั ครนื ลงมา มตี วั อยา่ งใหด้ ถู มไป แบบช้างใหญ่เท่ียวเกเรสัตว์เล็กสัตว์น้อยในป่านั่นแหละ เห็นกบก ็ เหยียบกบ เหน็ รังมดแดงอยูบ่ นกิ่งไม ้ หกั กง่ิ มากระทืบเสยี เหน็ นกไข่ ไวต้ ามพื้นดินก็เหยียบเสีย” ใครจะทำ� ไม ข้าใหญท่ ่ีสดุ ในปา่ นี้ “สัตว์เล็กสัตว์น้อยทนเจ็บใจไม่ไหว วันหนึ่งจึงนัดหมายกันเป็น
ต อ น ีท่ ๓ ๓ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 284 ทแี่ นน่ อน วางแผนเปน็ ขนั้ ๆ เรยี บรอ้ ยแลว้ นกไปจกิ ตาจนชา้ งตาบอด มดแดงชว่ ยกนั กดั ตา ชา้ งบอดแสบตาเทยี่ วเดนิ โซเซอย ู่ กระหายนำ�้ เปน็ กำ� ลงั กบรดู้ งั นน้ั จงึ พากนั ไปรอ้ งเซง็ แซอ่ ยปู่ ากเหว ชา้ งเขา้ ใจวา่ ตรงท ่ี กบรอ้ งเปน็ หนองน�้ำ จึงเดินไปตามเสียงน้ัน ตกเหวตาย” “นิทานเร่ืองน้ีสอนว่า ผู้เป็นใหญ่ไม่ควรทะนงตน รังแกผู้น้อย เมอ่ื ผนู้ อ้ ยรวมกำ� ลงั กนั เขา้ ยอ่ มกอ่ ความวอดวายใหผ้ ใู้ หญไ่ ดเ้ หมอื นกนั เพราะฉะน้ันท่านจึงเตือนไว้ว่า ยโส ลทฺธาน มชฺเชยฺย ได้ยศแล้ว ไม่พงึ เมา” “พ่อพูดเร่ืองนี้ ผมนึกถึงทรราช ค�ำน้ีเขียนอย่างไรถูกแน่ครับ พ่อ ทรราช หรอื ทรราชย ์ หรอื ทุรราช ?” “ความเหน็ ของพอ่ วา่ เขยี น ‘ทรราช‘ (ไมม่ ี ย. การนั ต)์ นา่ จะถกู กว่า ค�ำนี้หมายถึงผู้ได้อ�ำนาจมาโดยไม่ชอบธรรมและเม่ือได้มาแล้ว ก็ใช้อ�ำนาจนั้นกดข่ีข่มเหงประชาชน ส่วนที่มี ย. การันต์นั้นมีนัยไป ทาง การหรือความเป็นใหญ่ ไม่หมายถึงบุคคล ตัวอย่างเช่น “การ ครองราชย”์ เปน็ ต้น “กรมหม่ืนนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปราชญ์ทางอักษรศาสตร์และ นริ กุ ตศิ าสตรข์ องไทย ทรงมพี ระมตวิ า่ ‘ทรราช’๑ หมายถงึ ผทู้ ช่ี ว่ งชงิ อ�ำนาจโดยที่ตนไม่มีสิทธิ์ ส่วนราชาที่ทารุณแต่หากมีสิทธิโดยชอบ ธรรมแล้วก็ไม่เป็น Tyrant (ทรราช) “ตามพระมตินี้ ราชาหรือผู้มีอ�ำนาจแม้จะทารุณ แต่ถ้าได ้ อำ� นาจมาโดยชอบธรรม โดยสทิ ธ์ิแห่งตน ไม่ช่ือว่าทรราช ตวั อยา่ งที่ ทรงใชเ้ ชน่ ปชิ สิ ตระตสั ทรราช (Pisistratus) บคุ คลผนู้ เี้ ปน็ หลานของ ๑ ชมุ นมุ พระนพิ นธ,์ พระเจา้ วรวงศเ์ ธอพระองคเ์ จา้ วรรณไวทยากรวรวรรณ ส�ำนกั งาน ธรรมเสว,ี ๒๔๙๔
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 285 โซลอน (Solon) ผูเ้ รม่ิ ประชาธิปไตยไว้ในกรีซ ปซิ สิ ตระตัสสนับสนุน ประชาชนเขา้ ยดึ อำ� นาจและปกครองอยา่ งสทิ ธขิ์ าด แตเ่ มอ่ื ไดอ้ ำ� นาจมา แลว้ กป็ กครองอยา่ งละมนุ ละมอ่ ม ยตุ ธิ รรมด ี นำ� ความสมบรู ณร์ งุ่ เรอื ง มาใหก้ รุงเอเธนส์เปน็ อนั มาก” “แลว้ ราชาหรอื ผมู้ อี �ำนาจทไ่ี ดอ้ �ำนาจมาโดยชอบ แตท่ ารณุ โหด รา้ ยเหลอื เกิน เราควรจะเรียกอย่างไร ?” ผมถามพ่อ “ก็นา่ เรียก ‘ทารณุ ราช‘ ตรงตัว” พ่อตอบ “อยา่ งไรกต็ าม” พอ่ พดู ตอ่ “ในความเขา้ ใจของคนทวั่ ไป ทรราช คอื ผปู้ กครองทท่ี ารณุ โหดเหย้ี ม ใชอ้ �ำนาจกดขขี่ ม่ เหงราษฎร ปกครอง เพื่อประโยชน์ของตนและพวกตน ยิ่งตนและพวกตนร่�ำรวยมากขึ้น เพียงใด ประชาชนทั่วไปก็จนลงมาเพียงน้ัน เป็นการเดินท่ีหันหลังให้ กนั ทำ� ใหม้ ชี อ่ งวา่ งระหวา่ งผมู้ อี ำ� นาจและประชาชนมากเกนิ ไป จนอกี ฝา่ ยหนงึ่ เป็นเทวดา อกี ฝา่ ยหนึ่งเป็นสตั วน์ รก”
๓๔ต อ น ท่ี ผมยงั ไมเ่ บอื่ ทจี่ ะคยุ กบั พอ่ เรอื่ งการเมอื ง การปกครอง ทงั้ ฝา่ ยอาณาจกั ร และศาสนจกั ร ผมเหน็ เปน็ ความรคู้ วามเพลดิ เพลนิ ผมไมต่ อ้ งพดู อะไร มาก เพยี งคอยปอ้ นปญั หาใหพ้ อ่ บา้ ง และตง้ั ใจฟงั เทา่ นนั้ เรากม็ เี รอ่ื ง คุยกันได้เสมอ ผมได้ทราบมาจากพ่อว่าการยกย่องชมเชยและให ้ เกยี รตคิ นน้ันมีอยหู่ ลายวธิ ี วธิ ีหน่ึงคอื การต้งั ใจฟังเขาพูดในวงสนทนา คนท่ีฟังเป็น ได้รับความนิยมชมชอบมากกว่าคนพูดมาก โดยเฉพาะ พูดเสียคนเดียว ขณะท่ีฟังนั้น คอยจับประเด็นและถามปัญหาบ้าง
ต อ น ีท่ ๓ ๔ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 288 ในจุดที่เราคิดว่าเขาถนัดและพอใจตอบ เพียงเท่าน้ีเราก็เป็นเพ่ือน สนทนาท่ีดีของผู้รู้ได้ ศิลปะแห่งการฟังนี้ เห็นเรียกในหนังสืออังกฤษ บางเลม่ วา่ ๑ A Fine Art of Listening ”ศลิ ปะ” ไมเ่ หมอื นกบั ”วทิ ยา” วทิ ยามสี ตู ร มที างใหเ้ ดนิ มบี ทเรยี นจากหนงั สอื ใหเ้ รยี น แตศ่ ลิ ปะเรา ต้องเรียนด้วยตนเอง เรียนจากความสังเกต และด้วยการลองปฏิบัต ิ ทีละน้อย เม่ือได้ผลเป็นอย่างไรแล้ว ก็มิใช่ว่าจะสรุปผลได้โดยง่าย เหมอื นวทิ ยา ศลิ ปะจะตอ้ งใชใ้ หเ้ หมาะกบั บคุ คลเปน็ สำ� คญั กวา่ อยา่ งอนื่ วิธีการอันเดียวกันซึ่งใช้ได้ผลกับคนหนึ่ง เม่ือเอาไปใช้กับอีกคนหนึ่ง อาจไม่ได้ผลเลย ถึงกระนั้นก็ตาม เพ่ือนของพ่อผมคนหน่ึงอุตส่าห์ เขยี นศลิ ปะแหง่ การเกยี้ วสาวออกมาจนได ้ ผมเคยเหน็ เขาใหพ้ อ่ มาอา่ น พ่ออ่านไปหัวเราะไป และพึมพ�ำว่า “เข้าที เข้าที” แต่เรามันแก่ เสยี แล้ว เห็นจะเอาของเขามาใชไ้ ม่ได”้ จนบดั น้ผี มทราบวา่ เพ่ือนของ พ่อผมคนนั้นยังไม่แต่งงาน แต่การไม่แต่งงานอาจเป็นศิลปะอย่าง หน่งึ ของการเกีย้ วสาวกไ็ ด้ ผมน�ำท่านออกไปนอกทางเสียหน่อยหนึ่ง ท่านคงไม่ร�ำคาญ ผมเกรงท่านจะเบื่อ เพราะมีเรื่องค่อนข้างจะไม่ค่อยสนุกและมากไป ด้วยวิชาการ ตอนน้ันผมเป็นผู้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ทั้งด้านอายุและการ ศกึ ษา รวมทง้ั ประสบการณด์ ว้ ย จงึ คยุ กบั พอ่ ในเรอื่ งทค่ี อ่ นขา้ งจะหนกั สักหน่อย แต่ผมหวังว่าคงไม่หนักเกินไปส�ำหรับท่านที่คิดว่าน่ังคุยกับ ผมและพ่อผมเล่นๆ แล้วได้ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ติดพกติดห่อกลับไป บา้ นบ้าง ๑ หนังสือ Strategy in Handling People โดย Ewing T. Webb และ John Morgan, หลวงวิจิตรวาทการ เก็บความแปลเป็นไทยแล้วให้ชื่อว่า “กุศโลบาย” เสรมิ วทิ ยบ์ รรณาคาร ๒๕๑๗
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 289 ผมบอกไว้แล้ว เราก�ำลังเพลินในการคุยกันเร่ืองการเมืองและ การปกครอง วนั นั้นผมถามพ่อว่า “การปกครองคณะสงฆ์ เวลานเ้ี ป็นอยา่ งไรครบั พอ่ ?” พ่อยมิ้ ดว้ ยความพอใจก่อนตอบ “กแ็ บบ มหาเถรสมาคม (The Council of the Elders)” พอ่ ตอ่ ด้วยภาษาอังกฤษ แปลตามตัวว่า “สภาผู้เฒ่า” และก็มีความหมาย ตรงตามตวั อกั ษรเวลาน ี้ กรรมการมหาเถรสมาคมมแี ตพ่ ระเถระผเู้ ฒา่ ทงั้ นน้ั ความจรงิ ระบอบการปกครอบแบบน ี้ เขาเคยทำ� กนั มาในประเทศ กรซี เมอื่ ๘๐๐ ป ี กอ่ น ค.ศ. คดิ ถงึ เวลาน ้ี กป็ ระมาณ ๒,๗๐๐ ปมี า แลว้ ตงั้ แตส่ มยั ลเิ คอรกสั (Lycurgus) จดั ท�ำประมวลกฎหมาย หรอื นิติบัญญัติข้ึนในสปาร์ตา (นครหน่ึงของกรีซ เป็นเมืองคู่แข่งของ เอเธนส์) สมัยนั้นแม้จะมีกษัตริย์แต่ก็มีอ�ำนาจน้อย อ�ำนาจส่วนใหญ ่ ไปอยู่กับสภาผู้เฒ่า ต้ังแต่อายุ ๖๐ ขึ้นไป มี ๒๘ คน เป็นสมาชิก ตลอดชีพ “สมาชกิ หรอื กรรมการมหาเถรสมาคมของเรา ดเู หมอื นไมไ่ ด ้ จ�ำกัดอายุว่าต้อง ๖๐ แล้ว แต่ก�ำหนดสมณศักด์ิ คือต้องเป็น พระราชาคณะช้ันธรรมข้ึนไป แต่ส่วนมากพระราชาคณะช้ันธรรม โดยเฉพาะธรรมพเิ ศษน้ัน มักมอี ายุเลย ๖๐ ไปแลว้ แทบทัง้ สิน้ ” “เวลานพี้ ระราชาคณะชนั้ ธรรมพเิ ศษเพม่ิ ขนึ้ อกี ใชไ่ หมครบั พอ่ ? คราวกอ่ นพ่อบอกผมวา่ ม ี ๗ รปู ” “เพิม่ ข้นึ อกี ๕ รปู รวมเป็น ๑๒“ “ช่อื อะไรบ้างครบั ท่เี พ่ิมขน้ึ ?” “เม่ือก่อนนี้มี ๕ คือ พระศาสนโสภน, พระพิมลธรรม, พระ ธรรมวโรดม, พระพรหมมุนี, พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ต่อมาเพิ่มขึ้น ๒ คือ พระธรรมปัญญาจารย์ และวิสุทธิวงศาจารย์ เอาพระธรรม
พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 290 ปัญญาบดีมาแทนต�ำแหน่งพระพิมลธรรมซึ่งถูกยกเลิกไป เวลาน้ีชื่อ พมิ ลธรรมก็ยังไมม่ ี ตอ่ มาเพ่มิ อกี ๕ รปู เม่อื เร็วๆ นีเ้ อง คอื พระวิสุทธาธบิ ดี พระพุทธพจนวราภรณ์ พระพุทธิวงศมนุ ี พระญาณวโรดม พระพรหมคณุ าภรณ”์ ๒ สมณศกั ดช์ิ นั้ สมเดจ็ กเ็ พม่ิ ขนึ้ อกี ๒ รวมกบั สมณศกั ดเิ์ กา่ ๔ รปู เวลาน้มี ีสมเด็จพระราชาคณะ ๖ รปู ไมน่ บั สมเดจ็ พระสงั ฆราช คอื ๑. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ต อ น ีท่ ๓ ๔ ๒. สมเดจ็ พระพุฒาจารย์ ๓. สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ ๔. สมเดจ็ พระญาณสงั วร ๕. สมเด็จพระวันรัต ๖. สมเด็จพระธีรญาณมุนี “ที่เพ่ิมขึ้น ๒ คือ สมเด็จพระญาณสังวรและสมเด็จพระธีร- ญาณมนุ ี๓ ตอ่ ไปอาจจะเพม่ิ อกี หากมที า่ นทเ่ี หมาะสมเพม่ิ ขนึ้ เวลาน ี้ มี พระสมณศักดิ์ ตงั้ แต่ชั้นพระราชาคณะสามญั ข้ึนไป ๔๗๙ รปู ๔” คอื สมเดจ็ พระสังฆราช ๑ สมเด็จพระราชาคณะ ๖ รองสมเด็จฯ ๑๒ ๒ ท�ำเนียบสมณศักด์ิ พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยนายสนติ์ แสวงบุญ กองศาสนูปถัมภ์ กรม การศาสนา ๓ เพ่ิมเมื่อ ธันวาคม ๒๕๑๕ ๔ ท�ำเนียบสมณศักด์ิ ๒๕๑๖ รวบรวมโดยนายสนต ์ิ แสวงบุญ
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 291 พระราชาคณะชั้นธรรม ๒๐ พระราชาคณะชนั้ เทพ ๔๕ พระราชาคณะช้นั ราช ๑๐๘ พระราชาคณะชัน้ สามญั ๒๘๗ “การปกครองคณะสงฆ์ในรูปมหาเถรสมาคม ก็อยู่ในความ รับผิดชอบของพระเถระชั้นสมเด็จ และรองสมเด็จเพียงไม่ก่ีรูป คือ คณะกรรมการมหาเถรสมาคม” “เมอื่ ก่อนเคยมีการปกครองแบบสังฆสภา” “ใช ่ เพง่ิ มาเปลี่ยนเปน็ มหาเถรสมาคม เมือ่ สมยั จอมพลสฤษด์ิ ธนะรชั ต ์ เปน็ หวั หนา้ คณะรฐั บาล ความจรงิ เคยมรี ะบอบมหาเถรสมาคม มาแล้วในสมัยราชาธิปไตย ต่อมาเมื่อเปล่ียนแปลงการปกครองคณะ สงฆเ์ ปน็ แบบสงั ฆสภา มสี งั ฆนายก สงั ฆมนตร ี สมาชกิ สงั ฆสภา โดย การแต่งตั้ง ไม่ใช่เลือกตั้ง ไม่มีการเลือกตั้งผู้แทนพระอย่างเลือกตั้ง ผู้แทนราษฎร สภาผแู้ ทนพระจงึ ไมม่ ี” “สมาชิกสงั ฆสภา เลอื กจากพระช้นั ไหนครบั ?” “ตามระเบยี บกเ็ ลอื กจากพระ ๓ ระดบั ชนั้ คอื พระราชาคณะ ชนั้ ธรรมขน้ึ ไป พระคณาจารยเ์ อก พระเปรยี บเอกเฉพาะ ๙ ประโยค รวมทั้งหมดจ�ำนวน ๔๕ รูป พระเปรียญเอกนั้น ท่านนับตั้งแต่ ๗ ประโยคขึ้นไป แต่ที่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นสมาชิกสังฆสภา เฉพาะ เปรยี ญ ๙ ประโยคเทา่ นน้ั ” ในระบอบการปกครองแบบสังฆสภาน้ี สมเด็จฯ พระสังฆราช อยใู่ นฐานะเดยี วกบั พระมหากษตั รยิ ใ์ นระบอบประชาธปิ ไตย คอื ไมท่ รง บรหิ ารเอง อำ� นาจบรหิ ารอยู่ท่ีคณะสังฆมนตรซี ง่ึ มีสงั ฆนายกเป็นผนู้ �ำ “สงั ฆมนตรีมเี ท่าไรครับพอ่ ?” “ดเู หมอื นมสี งั ฆมนตรวี า่ การ และสงั ฆมนตรลี อย คลา้ ยระบอบ
ต อ น ีท่ ๓ ๔ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 292 การบริหารของรัฐเหมือนกัน แต่จ�ำนวนน้อยกว่า สังฆมนตรีว่าการ มีเพียง ๔ รูปเท่าน้ัน มีสังฆมนตรีช่วยว่าการอีก ๔ นอกน้ันเป็น สังฆมนตรีลอย ตามความเหมาะสมหรือแล้วแต่จะเห็นใครสมควรก ็ แตง่ ตั้งเป็นสังฆมนตรีลอยอกี หนึ่งรูป” “ระบอบการบริหารแบ่งเป็นองค์การ เทียบเท่ากระทรวงมี ๔ องค์การ คือ องคก์ ารศกึ ษา รับผดิ ชอบเกยี่ วกับการศึกษาของคณะสงฆ์ องคก์ ารปกครอง เกย่ี วกับการปกครอง องค์การเผยแผ ่ เกยี่ วกับการเผยแพรพ่ ทุ ธศาสนา องค์การสาธารณปู การ เกี่ยวกบั การกอ่ สร้าง” “แตล่ ะองคก์ ารมสี งั ฆมนตรวี า่ การ ๑ รปู และสงั ฆมนตรชี ว่ ยอกี ๑ รปู ถา้ สงั ฆมนตรเี ปน็ มหานกิ าย สงั ฆมนตรชี ว่ ยกเ็ ปน็ ธรรมยตุ ถา้ สังฆมนตรีเป็นธรรมยุต สังฆมนตรีช่วยก็เป็นมหานิกาย นิยมทำ� กัน อยา่ งน้ัน” “ในการปกครองสองแบบน ้ี ตามความเหน็ ผม ผมวา่ แบบสงั ฆ- สภา มีสงั ฆมนตรีจะดกี ว่า ดจู ะ active กว่า พอ่ วา่ อยา่ งไร ?” “ไดย้ นิ เสยี งเขาพดู กนั อยา่ งนนั้ ” พอ่ ตอบ “เขาวา่ กนั วา่ ระบอบ มหาเถรสมาคมอืดอาดเช่ืองช้า งานคณะสงฆ์ไม่เดินเท่าท่ีควร ขาด ผู้รับผิดชอบในงานด้านต่างๆ เช่นด้านเผยแผ่ ปกครองเป็นต้น ไม่มี สงั ฆมนตรีรบั ผดิ ชอบเป็นสว่ นเฉพาะ” “แล้วพ่อเหน็ อยา่ งไร ?” ผมถาม “พ่อยังไม่เห็นอย่างไร แต่เคยเรียนถามพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เคย รว่ มบรหิ ารมาทงั้ สองระบอบ วา่ ระบอบบรหิ ารแบบสงั ฆสภากบั ระบอบ มหาเถรสมาคม อยา่ งไหนมผี ลดกี วา่ ทา่ นตอบวา่ แบบมหาเถรสมาคม ดีกวา่ พ่อเรียนถามท่านวา่ ดอี ย่างไร ?” ทา่ นบอกว่า
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 293 “ในระบอบบริหารแบบสังฆสภานั้น มีพระเปรียญหนุ่มๆ หรือ เป็นเพียงพระผู้น้อยมักเถียงพระเถระผู้ใหญ่ในกรณีต่างๆ อันตนเห็น วา่ ดกี วา่ ทำ� ใหด้ เู หมอื นเสยี คารวะหรอื ขาดความเคารพไป อกี ประการ หน่ึงงานในระบอบสังฆสภาน้ันล่าช้ามากกว่างานในระบอบมหาเถร สมาคม รวมความว่า ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ขนบธรรมเนียมทาง ศาสนา หรอื ความกา้ วหนา้ ของการงาน เหน็ วา่ ระบอบมหาเถรสมาคม ดีกวา่ ระบอบสงั ฆสภา” “ผมคดิ ว่า ระบอบสังฆสภาจะดกี ว่าเสยี อกี ” ผมพูด “คนส่วนมากอาจคิดอย่างนั้น แต่เราต้องเช่ือท่านท่ีเคยร่วม บริหารมาทั้งสองระบอบ ท่านย่อมเทียบเคียงได้ดีกว่า ชาวบ้านหรือ พระที่ไม่คลกุ ในวงในจะรูไ้ ดอ้ ยา่ งไร วา่ อย่างไหนด ี อยา่ งไหนไม่ดี” “พ่อบอกว่า การปกครองระบอบมหาเถรสมาคมน้ีคล้ายกับ การปกครองแบบสภาผู้เฒ่า (Council of Elders) สมัยกรีก เม่ือ ประมาณ ๒,๗๐๐ ปมี าแลว้ ซงึ่ สมาชกิ ๒๘ คนตลอดชพี สมาชกิ หรอื คณะกรรมการมหาเถรสมาคมมีจ�ำนวนเท่าไรครับ ?” “ตามระเบยี บนนั้ สมเดจ็ ฯ พระสงั ฆราชทรงเปน็ ประธาน มหา เถรสมาคม สมเดจ็ พระราชาคณะ (เวลานม้ี อี ย ู่ ๖ รปู ) เปน็ กรรมการ โดยต�ำแหน่ง นอกจากน้ัน ทรงแต่งตั้งพระเถระตั้งแต่ชั้นธรรมข้ึนไป อย่างน้อย ๔ รูป อย่างมากไม่เกนิ ๘ รูป” “ทีว่ ่าทรงแตง่ ตงั้ นัน้ ใครเป็นผู้แตง่ ตัง้ ?” “สมเด็จพระสังฆราช” พ่อตอบ “กท็ รงมอี ำ� นาจเหมอื นพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงมพี ระ ราชอ�ำนาจเลือกองคมนตรไี ดต้ ามพระราชอธั ยาศยั ” ผมวา่ “อย่างน้ัน” พอ่ ตอบ “พ่อลองเล่าถึงลักษณะระดับการปกครองคณะสงฆ์ ต้ังแต่สูง
ต อ น ีท่ ๓ ๔ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 294 ลงไปหาระดบั ต�่ำสักหน่อยไดไ้ หมครบั ?” “ได”้ พอ่ ตอบอยา่ งยินดี “องค์การสูงสุดคือ มหาเถรสมาคม แล้วก็เจ้าคณะภาค เจ้า คณะจงั หวัด เจา้ คณะอ�ำเภอ เจ้าคณะตำ� บล เจ้าอาวาส ก็มีเทา่ น้”ี “ผมเห็นเป็นเร่ืองน่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในการปกครอง สงฆน์ น้ั ไมต่ อ้ งเสยี งบประมาณแผน่ ดนิ ในการปราบปรามผทู้ ำ� ความผดิ เลย ซง่ึ ในการนท้ี างบา้ นเมอื งกระทรวงมหาดไทยตอ้ งเสยี งบประมาณ แผ่นดินในการปราบปรามผรู้ ้ายปหี น่งึ ๆ จำ� นวนไม่นอ้ ยเลย” “นี่กเ็ ปน็ สังฆคุณอยา่ งหนง่ึ ท่ีนอ้ มมาระลกึ ได้” พ่อวา่ “พดู ถงึ เรอื่ งการศกึ ษาอกี ” ผมวา่ ตอ่ “รฐั เสยี งบประมาณเพยี ง เลก็ นอ้ ยในการศกึ ษาของพระทวั่ ประเทศ ซง่ึ มแี มก่ องบาล ี และแมก่ อง ธรรมเป็นผู้ดำ� เนินการ แต่ผลของการศึกษาตกแก่ชาติสุดประมาณได ้ ผมคดิ วา่ งบประมาณทรี่ ฐั ใหแ้ กค่ ณะสงฆท์ งั้ แผนกธรรม แผนกบาล ี ทว่ั ประเทศปหี นงึ่ ๆ คงไม่เท่าทใี่ หแ้ ก่มหาวิทยาลัยของรัฐเพียงแหง่ เดยี ว” “นกี่ เ็ ปน็ สังฆคณุ อีกอย่างหนึ่ง” พอ่ ว่า
๓๕ต อ น ที่ เมอ่ื พดู ถงึ การศกึ ษาของพระสงฆแ์ ลว้ ผมและพอ่ กค็ ยุ กนั ตอ่ ไปถงึ การ ศกึ ษาในระดบั มหาวทิ ยาลยั สงฆท์ มี่ อี ย ู่ ๒ แหง่ เวลานคี้ อื มหามกฏุ ราช วิทยาลัย และมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย มหามกฏุ ราชวิทยาลยั ตง้ั อยู่ในวดั บวรนิเวศวิหาร บางลำ� พู มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั ตงั้ อยใู่ นวดั มหาธาตฯุ ทา่ พระจนั ทร์ มหาวิทยาลัยสงฆ์ท้ังสองแห่งนี้ ได้ผลิตบัณฑิตทางศาสนา ออกไปมากมายแล้ว ท่ีบวชอยู่ไม่ได้ สึกออกไปก็ไปประกอบอาชีพ มากมายหลายอาชพี มแี ทบทกุ อาชพี ทส่ี จุ รติ ทไ่ี ปศกึ ษาตอ่ ตา่ งประเทศ ท้ังในเอเชยี ยโุ รป อเมรกิ า ไดป้ รญิ ญาโท ปรญิ ญาเอก กลบั มาแลว้ ก็หลายท่าน เข้ารับราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยแทบทุกแห่งในเมือง
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 297 ไทย แต่รัฐบาลไทยยังไม่รับรองปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงฆ ์ ทงั้ สองแหง่ น ี้ อยา่ งไรกต็ าม ศษิ ยข์ องสองสถาบนั นไ้ี ดเ้ อาปรญิ ญาตรี ของเขาไปต่อในต่างประเทศได ้ แปลว่าตา่ งประเทศรบั รอง ขณะทผี่ มคยุ เรอ่ื งนกี้ บั พอ่ อย ู่ นา้ ชยั เพอ่ื นของพอ่ คนหนง่ึ กม็ าหา เมอ่ื รวู้ า่ เรากำ� ลงั คยุ กนั เรอื่ งอะไรแลว้ นา้ ชยั กร็ ว่ มสนทนาดว้ ย ผมกลาย เป็นผนู้ ั่งฟัง นานๆ จึงจะถามอะไรสกั ครง้ั หนึ่ง “ทำ� ไมจะตอ้ งมมี หาวทิ ยาลยั สงฆด์ ว้ ย ผมไมเ่ หน็ จำ� เปน็ ” นา้ ชยั เริ่มอภิปราย “นักธรรมบาลีที่ท่านมีให้เรียนอยู่แล้ว ก็เรียนไปเถอะ เป็นวิชาของพระโดยตรง ไปเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เลยเลิกเรียน นกั ธรรมบาลี” พ่อเอามือลูบหน้า ถูไปมาอยู่ท่ีหน้าผากหลายคร้ัง พร้อมกับ หลบั ตาแล้วเลอ่ื นมือลงมาคลำ� คาง ตายังคงปิดอย่ ู พอลมื ตากพ็ ดู วา่ “ผมวา่ มหาวทิ ยาลยั สงฆน์ นั่ แหละ ทำ� ใหพ้ ระตอ้ งเรยี นนกั ธรรม บาลี” “เป็นง้นั ไป” น้าชัยอุทาน “ทำ� ไมเป็นงั้น ?” “ก็ท่านมีระเบียบว่า ผู้ที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้จะ ต้องได้นักธรรมชั้นโท หรือชั้นเอก เปรียญ ๔ หรือ ๕ ประโยคเป็น อยา่ งนอ้ ยเสยี กอ่ น เหมอื นกบั มหาวทิ ยาลยั ของรฐั บงั คบั ใหน้ กั เรยี นตอ้ ง ได้ ม.ศ. ๕ หรืออาชวี ศึกษาช้นั สงู หรอื ป.กศ. สงู เสยี ก่อนฉะน้ัน” “กค็ งไดอ้ ยเู่ ทา่ นนั้ เอง เพราะมวั เอาเวลามาทมุ่ เสยี กบั การเรยี น ในมหาวทิ ยาลยั การเรยี นบาลนี กั ธรรมเลยหยดุ ชะงกั ” นา้ ชยั วา่ ตอ่ ไป “ไมจ่ รงิ ” พอ่ คดั คา้ นและอธบิ ายตอ่ ไปวา่ “มพี ระนกั ศกึ ษาจ�ำนวน ไม่น้อยที่มาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์เม่ือได้เปรียญ ๔ หรือ ๕ ประโยค และจบหลักสูตรการศึกษาปริญญาตรีพร้อมกับเปรียญ ๙ หรือได้เปรียญ ๙ ก่อนจบปริญญาตรี บางท่านได้เปรียญ ๘ และ
ต อ น ีท่ ๓ ๕ พ่ อ ผ ม เ ป็ น ม ห า 298 ปริญญาตรี แล้วไปศึกษาต่อปริญญาโทในอินเดีย จบแล้วมาสอบ เปรยี ญ ๙ กนั หมดเมอ่ื ไร คา้ งอยูแ่ ต ่ ๓-๔-๕ กถ็ มเถไป” “พดู กพ็ ดู เถอะ” พอ่ อธบิ ายตอ่ ไป “เปรยี ญ ๙ นกั ธรรมเอกนน้ั ๖๐ ปกี อ่ นกจ็ ดั วา่ เพยี งพอ แตม่ าถงึ บดั นผ้ี มวา่ ไมพ่ อ เมอ่ื ๖๐ ป ี กอ่ น การศกึ ษาของชาตยิ งั อยใู่ นระดบั ต่�ำ มหาวทิ ยาลยั แหง่ แรกของรฐั คอื จฬุ าลงกรณ ์ เพง่ิ มอี ายไุ ด ้ ๕๗ ปเี ทา่ นนั้ เอง คนทต่ี อ้ งการศกึ ษาระดบั สงู ในสมัยน้ันต้องไปเรียนต่างประเทศ พระสงฆ์เป็นกลุ่มผู้น�ำกลุ่มหนึ่ง ของสังคมไทยท่านควรรอบรู้วิทยาการสมัยใหม่บ้างเพ่ือประโยชน ์ แก่ตัวท่านเองและสังคม การที่ท่านรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรมน้ัน เป็นประโยชนท์ ั้งแก่ทางโลกและทางธรรม” “เขาวา่ กนั วา่ หลกั สตู รการศกึ ษาในมหาวทิ ยาลยั สงฆห์ นกั ไปทาง โลกมาก เชน่ เรยี นวทิ ยาศาสตร,์ สงั คมวทิ ยา, จติ วทิ ยา, การศกึ ษา ภาษาองั กฤษ ภาษาฝรง่ั เศส เปน็ ตน้ ชวี วทิ ยาเรอื่ งการสบื พนั ธข์ุ องพชื ของสตั วก์ เ็ รยี น ควรแกพ่ ระหรือ ?” น้าชัยรุก “วิชาการตา่ งๆ มันเก่ยี วขอ้ งกนั ” พอ่ ยงั คงอธบิ ายอย่างใจเยน็ “ช่วยเหลือกันคลี่คลายปัญหา โดยเฉพาะปัญหาทางพระพุทธ ศาสนา ซ่ึงเป็นนามธรรมอันลึกซ้ึงบางประการ ถ้าได้อาศัยวิทยาการ สมัยใหมช่ ว่ ยบา้ ง ก็อาจช่วยใหแ้ จม่ แจ้งข้ึน” “ตัวอยา่ ง ?” นา้ ชัยถาม พอ่ ตอบวา่ “เชน่ ปญั หาเรอื่ งคนเกดิ มาอยา่ งไร เรอื่ งเกดิ เรอ่ื งตาย มคี นสนใจมาก พระพทุ ธเจา้ ทา่ นเคยตอบวา่ ‘ปมํ กลลํ โหติ ๑ เบอ้ื ง แรกเปน็ กลละ’ ถามวา่ กลละ คอื อะไร ? ถา้ ผตู้ อบไมไ่ ดเ้ รยี นวชิ าการ สมยั ใหม ่ กอ็ าจบอกวา่ กลละ คอื วตั ถสุ งิ่ หนง่ึ ใสแจว๋ เลก็ นดิ เดยี ว มอง ๑ อนิ ทกสูตร ยักขสังยุตต ์ สังยตุ ตนิกาย สคาถวรรค ๑๕/๓๐๑ ข้อ ๘๐๓
อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 299 ไมเ่ หน็ ดว้ ยตาเปลา่ ถามวา่ เลก็ ขนาดไหน ? ตอบวา่ เอาผมของเราเสน้ หนง่ึ ผา่ ออกเปน็ ๑๖ สว่ น สว่ นทผ่ี า่ แลว้ นนั้ ผา่ ออกอกี ๑๖ สว่ น แลว้ เอาจุ่มลงไปในน�้ำมัน แล้วสลัด ๑๖ ครั้ง น้�ำมันที่ติดอยู่ที่ปลายผม นนั่ แหละเทา่ กบั กลละหนง่ึ เลก็ มาก แตถ่ า้ ผทู้ ไ่ี ดเ้ รยี นวชิ าการสมยั ใหม ่ บา้ ง อาจตอบวา่ กลละ กค็ อื เซล (cell) สตั วเ์ ซลเดยี วทเี่ ปน็ ปฐมชวี ติ น ้ี นา่ จะได้แก ่ โปรโตซัว (Protozoa) เปน็ ภาษากรกี แปลวา่ ปฐมชวี ิต ก็ตรงกับของพระพุทธเจ้าท่ีว่า ปมํ กลลํ โหติ ส่วนว่า cell จะ เจริญเติบโตยั่งยืนต่อไปอย่างไรน้ัน ก็แล้วแต่เหตุต่อเนื่อง ที่เรียกว่า ปัจจยาการ หรือ ปฏิจจสมุปบาท ท่ีเรียกอีกภาษาหนึ่งว่า Causa- tional law หรือ Dependent origination “สัตว์เซลเดียวท่ีมีชีวิตอยู่อย่างง่ายที่รู้จักกันมากก็เห็นจะได้แก่ ตวั อมบี า (ameoba) มแี ตห่ นงั บางๆ หมุ้ นำ้� ทเ่ี รยี กวา่ โปรโตพลาสมั (Protoplasm)” “ใช่” นา้ ชัยรับ “แล้วไงต่อไป” “เร่ืองตายแล้วเกิด เร่ืองสังสารวัฏ เราอาจเอาหลักวิทยา- ศาสตร์มาช่วยอธิบายได้ คนท่ีรู้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานอยู่แล้วก็อาจ เข้าใจหลกั ธรรมทางศาสนาไดง้ ่ายข้นึ ” “เร่อื งนิพพานละ่ เอาหลกั วิทยาศาสตร์ชว่ ยอธิบายไดไ้ หม ?” น้าชยั ถาม พ่อน่ิงอยู่ครู่หนึ่ง เอามือลูบหน้า และลูบหน้าผากอยู่ไปมา ขอ้ ศอกเทา้ อยบู่ นแขนเกา้ อ ้ี นา้ ชยั หนั มายม้ิ กบั ผม เปน็ เชงิ วา่ พอ่ แกคง จะแย่คราวนี้ “ก็พอได้บ้าง” พอ่ ลืมตา เงยหนา้ ขึ้นตอบ “ว่าไป เราจะฟัง” น้าชัยพดู “คุณพ่อของคุณชัยเป็นเจ้าของสวนทุเรียน ตัวคุณชัยเองเป็น
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442
- 443
- 444
- 445
- 446
- 447
- 448
- 449
- 450
- 451
- 452
- 453
- 454
- 455
- 456
- 457
- 458
- 1 - 50
- 51 - 100
- 101 - 150
- 151 - 200
- 201 - 250
- 251 - 300
- 301 - 350
- 351 - 400
- 401 - 450
- 451 - 458
Pages: