Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เนื้อในนักธรรมชั้นตรี_1-334 หน้า

เนื้อในนักธรรมชั้นตรี_1-334 หน้า

Published by อาจูหนานภิกขุ, 2019-12-25 16:20:50

Description: เนื้อในนักธรรมชั้นตรี_1-334 หน้า

Search

Read the Text Version

 1๑5๔1๙ วชิ า พทุ ธประวัติ เดนิ สวนทางมา ครัน้ อปุ กาชีวกเหน็ พระฉววี รรณของพระองคผ ุดผอง นึกประหลาดใจ จึงถามวา ใคร เปนศาสดาของทาน พระองคจึงตรัสตอบวาพระองคเปนสยัมภู ผูตรัสรูเอง ไมมีใครเปนครู อาจารย อปุ กาชีวกไมเช่ือสั่นศีรษะแลวหลีกหนีไป พระองคเสด็จไปโดยลําดับจนถึงปาอิสิปตน- มฤคทายวนั ฝายปญจวัคคีย เม่ือเห็นพระศาสดาเสด็จมาแตไกล จึงปรึกษากันวา พระสมณโคดม คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความมักมากเสียแลว พวกเราไมพึงลุกขึ้นยืนรับบาตรจีวร แตวา จะพึงปอู าสนะไวเทาน้ัน ถาเธอปรารถนาก็น่ัง คร้ันพระองคเขามาถึงแลว ก็พูดกับพระองคดวย โวหารที่ไมเคารพ คือพูดออกพระนามและใชคําวาอาวุโส พระองคทรงหามเสีย โดยตรัสวา “เราไดบรรลุอมตธรรมแลว ทานท้ังหลายจงฟงเถิด เราจักสั่งสอน ไมชาเทาไรทานก็จัก บรรลุอมตธรรมเปน แท” ปญ จวคั คยี ไมเ ช่อื กลาวคัดคาน พระองคทรงเตือน พวกเธอก็คัดคาน อยูน่ันเอง ถึง ๓ คร้ัง พระองคจึงตรัสเตือนใหระลึกถึงความหลังวา “ทานทั้งหลายจําไดอยู หรือ วาจาเชนน้ีเราเคยพูดกับทานบางหรือ” ปญจวัคคียนึกขึ้นไดวา พระวาจาเชนนี้ ไมเคยไดยนิ เลย จึงยอมฟง ธรรมอันจะแสดงตอ ไป ทรงแสดงปฐมเทศนา คร้ันรุงขึ้นแหงวันอาสาฬหปุณณมี วันเพ็ญเดือน ๘ พระองคทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร โปรดปญจวัคคีย มีใจความโดยยอวา “ภิกษุท้ังหลายท่ีสุด ๒ อยาง อันบรรพชิตไมค วรเสพ คอื ๑. การประกอบตนใหพัวพันอยูในกามสุขอันเปนธรรมอันเลว เปนเหตุให ตั้งบานเรือนของคนมีกิเลสหนา ไมใชของพระอริยบุคคล ผูบริสุทธิ์ ไมประกอบดวย ประโยชน เรยี กวา กามสขุ ลั ลิกานโุ ยค ๒. การประกอบตนใหลําบากเปนทุกข ไมทําใหเปนอริยบุคคล ไมประกอบดวย ประโยชน เรียกวา อัตตกิลมถานุโยค จากน้ัน ทรงยกขอปฏิบัติอันเปนทางสายกลาง ซ่ึงเรียกวา มัชฌิมาปฏิปทา ไดแก มรรค ๘ คอื ๑. สมั มาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒. สัมมาสังกปั ปะ ดาํ รชิ อบ ๓ สมั มาวาจา เจรจาชอบ ๔. สมั มากมั มนั ตะ การงานชอบ เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 151

1๑๕5๐2 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี ๕. สมั มาอาชีวะ เลย้ี งชพี ชอบ ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗. สมั มาสติ ระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ต้ังใจชอบ ซึ่งพระองคไดตรัสรูแลวเปนไปเพ่ือความรูย่ิง เพื่อความรูดี เพ่ือพระนิพพาน แลวทรงแสดง อริยสจั ๔ ไดแ ก ๑. ทกุ ข คือ ความไมส บายกาย ความไมสบายใจ ๒. สมุทัย คือ เหตุใหเกิดทุกข ไดแก กามตัณหา ความอยากในอารมณอันนาใคร ภวตณั หา ความอยากในความมคี วามเปน วิภวตณั หา ความอยากในความไมม ีไมเปน ๓. นิโรธ คือ ความดบั ทุกข ไดแ ก ความดับตัณหาท้งั ๓ น้นั เสีย ๔. มรรค คอื ขอ ปฏบิ ตั ิใหถึงความดบั ทุกข ไดแ กอริยมรรคมอี งค ๘ ปฐมสาวก เมอื่ พระสัมมาสัมพุทธเจาทรงแสดงพระธรรมเทศนานั้นอยู ธรรมจักษุคือดวงตาเห็น ธรรมอนั ปราศจากมลทิน ไดเกดิ แกทานโกณฑัญญะวา “สิง่ ใดสิ่งหน่ึงมีความเกิดขึ้นเปนธรรมดา สิ่งนั้นท้ังหมดมีความดับเปนธรรมดา” พระพุทธองคทรงทราบวาทานโกณฑัญญะไดเห็นธรรมแลว จึงทรงเปลงอุทานวา “อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ, อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ โกณฑัญญะไดรูแลวหนอ โกณฑัญญะไดรูแลวหนอ” คําวา อัญญา จึงเปนคํานําหนาช่ือของ ทา นโกณฑญั ญะวา อญั ญาโกณฑัญญะ ตงั้ แตบ ดั นน้ั เปนตน มา เม่ือทานโกณฑัญญะไดดวงตาเห็นธรรมส้ินความสงสัยแลว จึงทูลขออุปสม บท เปนพระภิกษุ พระองคก็ทรงประทานอุปสมบทใหทานโกณฑัญญะ เปนภิกษุในพระธรรมวินัย ดวยพระวาจาวา “เธอจงเปนภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากลาวดีแลว เธอจงประพฤติ พรหมจรรย เพอื่ ทาํ ที่สดุ แหงทุกขโดยชอบเถดิ ” ดว ยพระวาจาเพียงเทานี้ ทานโกณฑัญญะก็ ไดส าํ เรจ็ เปนพระภกิ ษใุ นพระพุทธศาสนา การอุปสมบทดวยวิธีน้ีเรียกวา เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ การอุปสมบทดวย ทรงอนุญาตใหเ ปน ภกิ ษุดว ยพระองคเอง พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเปนพระสงฆรูปแรก เปน พระสาวกรูปแรกในพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ ไดเกดิ ขนึ้ บรบิ ูรณใ นโลกนบั แตน ั้นมา ในปนั้น พระองคก็ทรงจําพรรษาที่ปาอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงส่ังสอนบรรพชิตท่ีเหลือ เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 152

 1๑5๕3๑ วชิ า พุทธประวัติ นน้ั ดว ยปกิณณกเทศนาตามสมควรแกอธั ยาศัย ตอมา ทานวปั ปะกบั ทา นภัททิยะไดดวงตาเห็น ธรรม ก็ทูลขออุปสมบท พระองคก็ทรงประทานอุปสมบทเชนเดียวกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตอมา ทานมหานามะกับทา นอสั สชิก็ไดดวงตาเหน็ ธรรม และทูลขออปุ สมบท พระองคกท็ รงบวช ใหดวยวิธีเอหภิ กิ ขอุ ุปสมั ปทา ทรงแสดงอนตั ตลกั ขณสูตร เม่ือพระปญจวัคคียมีอินทรียแกกลา สมควรจะสดับพระธรรมเทศนาเพ่ือวิมุตติ เบ้ืองสูงขึ้นไปแลว คร้ันถึงวันแรม ๕ คํ่า เดือนอาสาฬหะ พระองคจึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา ช่ือ อนัตตลักขณสูตร มีใจความวา “ภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไมเท่ียง เปนทุกข เปนอนัตตา ไมใชตัว ไมใชตน ไมเปนไปตามปรารถนา เปนไปเพื่อ ความปวยไข ไมควรจะยึดมั่นถือม่ัน” เมื่อพระปญจวัคคียสดับพระธรรมเทศนาพิจารณา ตามภูมิธรรมเทศนานั้นแลว จิตก็พนจากอาสวะ ไมถือม่ันดวยอุปาทาน ก็ไดบรรลุพระอรหัต สําเร็จเปน พระอรหนั ต คร้ังน้ัน พระอรหันตเกิดข้ึนแลวในโลก ๖ รูป คือ พระศาสดาสัมมาพุทธเจาและ พระปญ จวคั คยี  เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 153

เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 154 154

 1๑5๕5๓ วชิ า พุทธประวัติ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ ท้ัง ๓ รัตนะเปนท่ีพ่ึง นับวาทานเศรษฐีไดเปนอุบาสกเปน คนแรกผถู ึงพระรัตนตรยั ในพระพทุ ธศาสนา ซึง่ เรียกวา เตวาจกิ อบุ าสก ยสกลุ บตุ รสาํ เรจ็ เปนพระอรหนั ต ขณะที่พระบรมศาสดาแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ โปรดทานเศรษฐีอยูนั้น ยสกุลบตุ รไดส ดับซํา้ เปนครั้งทีส่ อง พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพน จากอาสวะ ไมถือมั่นดวยอุปาทาน สําเร็จเปนพระอรหันต ณ ท่ีนั้น นับเปนพระอรหันตรูปแรก ที่อยูใ นเพศคฤหัสถ ฝา ยเศรษฐผี ูเปนบิดา ไมท ราบวา ยสกลุ บุตรส้นิ อาสวะแลว จึงกลาววา “พอยสะ” มารดา ของเจาเศราโศกรําพันถึงเจาย่ิงนัก เจาจงใหชีวิตแกมารดาของเจาเถิด” ฝายทานยสะมองดู พระบรมศาสดา โดยพระพุทธองคไดตรัสแกเศรษฐีวา “บัดน้ี ยสะไดบรรลุพระอรหัตตเปนพระ อรหันตแลว ไมใ ชผูจ ะกลับไปครองเรือนอีก” เศรษฐไี ดทราบดังนน้ั จงึ สรรเสริญวา เปนลาภ อันประเสริฐของยสะ แลวจึงทูลอาราธนาพระบรมศาสดากับพระยสะพรอมท้ังภิกษุสงฆไปรับ บิณฑบาตท่ีเรือนของตนในวันรุงขึ้น ครั้นทราบวาพระบรมศาสดาทรงรับโดยดุษณีภาพแลว จึงถวายอภิวาท ทําประทักษิณ แลวกลับไปสูเรือน แจงขาวแกภรรยาและสั่งใหจัดแจงขาทนียะ โภชนียาหาร (ของเคย้ี วของฉัน) อันประณีต เมือ่ ทา นเศรษฐกี ลบั ไปแลว ยสกุลบุตรก็ทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให เปนภิกษุดวยพระวาจาวา “เธอจงเปนภิกษุมาเถิด ธรรมเรากลาวดีแลว เธอจงประพฤติ พรหมจรรยเถิด” โดยตัดคําวา “เพื่อทําท่ีสุดแหงทุกขโดยชอบ” เสีย เพราะพระยสะไดถึง ทส่ี ุดแหง ทุกขค ือบรรลุพระอรหัตตผลเปน พระอรหันตแ ลว รวมมีพระอรหันตเกดิ ขนึ้ ในโลก ๗ รูป ท้ังพระยสะ อบุ าสิกาคูแรก รุงเชา พระบรมศาสดาเสด็จไปพรอมดวยภิกษุสงฆไปยังเรือนของเศรษฐีตาม คําอาราธนา ประทับน่ังบนอาสนะ มารดาและภรรยาเกาของพระยสะเขาไปเฝา พระพุทธองค ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ทั้งสองไดดวงตาเห็นธรรม และแสดงตนเปนอุบาสิกาผูถึง เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 155

1๑๕5๔6 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 พระรัตนตรัยเปนสรณะที่พ่ึงตลอดชีวิต มารดาและภรรยาเกาของพระยสะจึงไดช่ือวาเปน อบุ าสิกาคแู รกในพระพทุ ธศาสนา เรียกวา เตวาจิกอบุ าสิกา สหายพระยสะ กุลบุตรผูเปนสหายของพระยสะชาวเมืองพาราณสี ๔ คน คือ วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ และควัมปติ ไดทราบขาววาพระยสะออกบวช เกิดความสนใจ คิดวา ธรรมวินัยที่พระยสะ ประพฤติคงไมเปนของเลวทราม จึงพรอ มใจกันไปพบพระยสะถึงทีอ่ ยู พระยสะไดพาสหายทั้ง ๔ เขาไปเฝาสมเด็จพระศาสดา พระองคทรงแสดงธรรมโปรดใหบุตรเศรษฐีทั้ง ๔ ไดดวงตา เห็นธรรม และประทานใหอุปสมบทเปนภิกษุ ทรงสั่งสอนใหบรรลุอรหัตตผลในกาลตอมา จงึ มีพระอรหนั ตเกดิ ขนึ้ แลวในโลกรวม ๑๑ รูป ตอมา มีสหายของพระยสะ เปนชาวชนบท ๕๐ คน ไดทราบขาววาพระยสะออกบวช จึงพากันไปหาพระยสะที่ปาอิสิปตนมฤคทายวัน ไดสดับพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา มีความเล่ือมใส และไดรับอุปสมบทจากพระบรมศาสดา โดยท้ังหมดบรรลุพระอรหัตตผล จึงมี พระอรหันตเ กดิ ขน้ึ ในโลก ๖๑ รูป รวมทัง้ พระบรมศาสดา เมือ่ พระสาวกมีมากพอทจ่ี ะสงไปประกาศพระศาสนาใหเ ปนประโยชนแกมหาชนไดแลว จึงทรงดําเนินการเผยแผพระศาสนา โดยสงพระสาวกทั้ง ๖๐ รูปนั้น ออกไปประกาศพระศาสนา ตามชนบทตาง ๆ สวนพระองคเ องก็เสดจ็ ไปยังตําบลอรุ ุเวลาเสนานิคม ประทานอปุ สมบทไตรสรณคมน เม่ือพระสาวกเหลาน้ันออกไปประกาศพระพุทธศาสนาทําใหประชาชน เกิด ความเล่ือมใสแลว บางคนอยากจะบวชในพระพุทธศาสนา พระสาวกก็ตองพามาเฝาพระบรมศาสดา เพ่ือทรงอุปสมบทให พระพุทธองคทรงดําริเห็นถึงความลําบากของพระสาวกและกุลบุตร ผูจ ะอุปสมบท จึงทรงอนุญาตใหพระสาวกบวชใหกุลบุตรเหลานั้นได เรียกการอุปสมบทอยางนี้ วา “ติสรณคมนูปสัมปทา” แปลวา การอุปสมบทดวยการถึงสรณะ ๓ มีวิธีดังน้ี ช้ันตน ใหกุลบตุ รผูจะอปุ สมบทปลงผมและหนวด นงุ หมผายอ มดว ยนาํ้ ฝาด แลวนั่งกระโหยงประนมมือ 156

 1๑5๕7๕ วชิ า พทุ ธประวัติ ไหวเทาภิกษุท้ังหลาย แลวสอนใหวาตามไปวา “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺป ฯลฯ ตติยมฺป ฯลฯ แปลวาขาพเจาขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ เปนสรณะ แมในคร้งั ที่ ๒ แมใ นครั้งที่ ๓” ตั้งแตนั้นมา การอุปสมบทก็มี ๒ วิธี คือ (๑) เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระบรมศาสดา ทรงอุปสมบทใหเอง (๒) ติสรณคมนูปสัมปทา ทรงอนุญาตใหพระสาวกใหการอุปสมบทแก กุลบตุ ร โปรดภทั ทวัคคีย พระบรมศาสดาเม่ือประทับอยูเมืองพาราณสีพอสมควรแกเวลาแลว ก็เสด็จออกจาก เมืองพาราณสี เสดจ็ ดาํ เนนิ ไปยงั ตาํ บลอรุ ุเวลาเสนานิคม ทรงแวะพักในไรฝา ย ประทบั อยูภายใต รม ไมต นหนง่ึ คราวนั้น มานพ ๓๐ คน เรยี กวา ภัททวัคคีย แปลวา พวกเจริญ ผูเปนสหายกัน พรอมดวยภรรยามาเลนอยู ณ ที่น้ัน อีกคนหนึ่งไมมีภรรยา สหายเหลาน้ันจึงหาหญิงโสเภณี คนหน่ึงมาใหเปนเพื่อนรวมความสําราญ เม่ือสหายเหลานั้นเผลอไป หญิงโสเภณีคนน้ันก็ลัก เครื่องแตงกายและส่ิงของมีคาหนีไป สหายเหลาน้ันก็ออกติดตาม จึงมาพบพระบรมศาสดาที่ ไรฝา ยน้นั เขา ทูลถามวา ไดเห็นหญิงคนนั้นมาทางน้ีบางหรือไม พรอมกับเลาพฤติกรรมของหญิงน้ัน ใหท ราบ พระบรมศาสดาตรัสถามวา “ทานทั้งหลายจะแสวงหาหญิงคนน้ันหรือแสวงหาตนของ ตนด”ี สหายเหลานั้นทูลวา “แสวงหาตนดีกวา พระเจาขา จะตองการอะไรดวยสตรีเลา” พระพุทธองค จึงตรัสวา “การที่พวกทานแสวงหาตนน้ันแหละดีแลว” ครั้นแลวทรงแสดงอนุปุพพิกถาและ อรยิ สัจ ๔ ใหสหาย ๓๐ คน เกิดดวงตาเห็นธรรมแลว จึงประทานการอุปสมบทให ทรงส่ังสอน ใหบรรลุอริยผลแลวสงไปประกาศพระศาสนา พระอริยสงฆคณะนี้ไดกราบลาเดินทางไปยัง เมืองปาวาซง่ึ อยูทางใตแหงแควนโกศล โปรดชฎิลสามพี่นอ ง พระบรมศาสดาเสด็จออกจากไรฝายนั้นแลว ก็เสด็จดําเนินไปถึงตําบลอุรุเวลาเสนา นคิ ม ซ่งึ เปนท่ีอยอู าศัยของชฎลิ ๓ คนพนี่ อง กบั ทั้งหมูศษิ ยเปนอันมาก ณ รมิ ฝง แมน ํ้าเนรญั ชรา ชฎิลผูพ่ีชายใหญชื่ออุรุเวลกัสสปะ มีบริวาร ๕๐๐ คน ตั้งอาศรมอยูตนนํ้า นองชายคนกลาง เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 157

๑1๕5๖8 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 ช่ือนทีกัสสปะ มีบริวาร ๓๐๐ คน ต้ังอาศรมอยูตอนกลาง นองชายคนเล็กชื่อ คยากัสสปะ มี บริวาร ๒๐๐ คน ต้ังอาศรมอยูที่คุงคยาสีสะตอนใตของแมน้ําเนรัญชรา พระบรมศาสดาเสด็จถึง ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม แลวทรงทรมานอุรุเวลกัสสปะดวยปาฏิหาริยตาง ๆ จนอุรุเวลกัสสปะ หายจากความถือม่ันในลัทธิของตน พรอมดวยบริวาร ๕๐๐ คน พากันลอยผมที่เกลาเปนชฎา และเคร่ืองบริขารบูชาเพลิงในแมน้ํา แลวทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงประทานอนุญาต ใหเปน ภกิ ษุทงั้ สิ้น ฝายนทีกัสสปะ นองชายคนกลาง ซ่ึงตั้งอาศรมอยูตอนกลาง ไดเห็นชฎาและ เครื่องบริขารของพ่ีชายลอยมาตามกระแสน้ําเชนนั้น คิดวาเกิดอันตรายแกพ่ีชาย จึงพาบริวาร ๓๐๐ คน มาสูสํานักของพี่ชาย ไดเห็นพ่ีชายถือเพศเปนภิกษุ แลว เมื่อไดทราบวา เปนพรหมจรรยอันประเสริฐ จึงพรอมท้ังบริวารพากันลอยชฎาและบริขารของตนท้ิงเสีย ในแมนํา้ และไดทูลขออปุ สมบท พระพุทธองคประทานอุปสมบทใหท ัง้ หมด ฝา ยคยากัสสปะ นองชายคนเล็ก ตั้งอาศรมอยูภายใตถัดไป เห็นชฎาและเคร่ืองบริขาร ของพ่ีชายลอยไปตามกระแสนํ้า คิดวาเกิดอันตรายแกพี่ชายท้ัง ๒ จึงพาบริวาร ๒๐๐ คน ไปสูสํานักของพ่ีชาย ไดเห็นพี่ชายทั้ง ๒ ถือเพศเปนภิกษุแลว ทราบวาพรหมจรรยน้ีประเสริฐ จึงพากนั ลอยชฎาและบรขิ าร และเขาเฝาพระบรมศาสดาพรอมกบั ทูลขออปุ สมบท พระพุทธองค ก็ประทานอปุ สมบทใหทง้ั หมด พระบรมศาสดาประทับอยูในตําบลอุรุเวลาเสนานิคม พอสมควรแกพระอัธยาศัย จึงทรงพาภิกษุเหลานนั้ ไปสูคยาสีสะใกลแ มน าํ้ คยา ประทับอยู ณ ที่นั้น โดยทรงแสดง อาทิตตปริยายสูตร แกภิกษุท้ังหลาย มีใจความวา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เปนของรอน รอนเพราะไฟ คือ ความ กาํ หนดั ความโกรธ ความหลง รอนเพราะความเกิด แก เจ็บ ตาย ความโศกรํ่าไร รําพัน เสียใจ คบั ใจ ไฟกิเลส ไฟทุกขเหลา น้มี าเผาใหร อน เปนตน เมือ่ พระพุทธองคทรงแสดงพระธรรมเทศนา น้ีอยู จิตของภิกษุเหลานั้นก็หลุดพนจากอาสวะท้ังหลาย ไมถือมั่นดวยอุปาทาน สําเร็จเปน พระอรหนั ต 158

 1๑5๕9๗ วชิ า พทุ ธประวัติ บทท่ี ๘ เสดจ็ กรุงราชคฤห แควนมคธ กรุงราชคฤห แควนมคธ ต้ังอยูทางตอนใตทิศบูรพาของชมพูทวีป เปนแวนแควนใหญเปน เมืองที่มีอํานาจและบริบูรณดวยสมบัติ คับค่ังดวยประชาชน ท้ังรวมเอาอังคชนบทเขาดวย มีอาณาเขตตดิ ตอ กับแควน โกศล กาสี และวชั ชี มกี รงุ ราชคฤหเปนนครหลวง พระเจาพิมพิสาร ปกครองโดยสิทธิขาด ทรงยศเปนมหาราช แตในบาลีไมใชคําวา “มหาราช” จึงเรียกวา “ราชามาคโธ” และเปนเมืองที่มากดวยครูเจาลัทธิตาง ๆ พระบรมศาสดาจึงทรงเลือกเอาแควนนี้ เปน ทตี่ ง้ั แหงพระศาสนาเปนปฐม โปรดพระเจา พิมพสิ าร คร้ันพระผูมีพระภาคเจาประทับอยู ณ คยาสีสะ พอสมควรแกเวลาแลว จึงพรอมดวย ภิกษุสงฆเสด็จไปยังกรุงราชคฤห ประทับอยู ณ ลัฎฐิวัน สวนตาลหนุม คร้ังนั้น กิตติศัพท ของพระพุทธองคก็ขจรไปในท่ีตาง ๆ คร้ันทราบถึงพระเจาพิมพิสารผูเปนเจาแผนดินมคธ พระองคก็เสด็จพรอมดวยราชบริพารออกไปเฝาพระบรมศาสดาถึงท่ีประทับ ถวายนมัสการแลว ประทับอยู ณ สวนขางหนึ่ง ฝายราชบริพารของพระเจาพิมพิสารนั้น ก็แสดงอาการตาง ๆ กัน บางพวกถวายบังคม บางพวกเพียงแตกลาววาจาปราศรัย บางพวกเพยี งแตประนมมอื บางพวก รองประกาศช่ือและโคตรของตน บางพวกก็นิ่งอยู ท้ัง ๕ พวกนี้ตางก็มีความสงสัยวา ระหวาง พระสมณโคดมกับพระอรุ ุเวลกสั สปะ ใครเปนศิษยเปนอาจารยกันแน พระศาสดาทอดพระเนตร เหน็ อาการของขาราชบริพารเหลานั้นแตกตางกัน มีพระประสงคจะใหพระอุรุเวลกัสสปะซึ่งเปน ที่นับถือของชนเหลาน้ันประกาศใหทราบถึงความที่ลัทธิเดิมของตนไมมีแกนสาร เพ่ือจะไดส้ิน ความเคลือบแคลงสงสัยแลวต้ังใจคอยฟงพระธรรมเทศนา จึงตรัสถามอุรุเวลกัสสปะถึงลัทธิที่เคย ประพฤติมา พระอุรุเวลกัสสปะจึงกราบทูลวา ลัทธิที่เคยประพฤติมานั้นหาสาระมิไดแลวลุกขึ้น นาํ ผาหม เฉวยี งบากม กราบที่พระบาทของพระพุทธเจา ทูลประกาศวา “พระองคเปนศาสดาของ ขาพเจา ขาพเจาเปนสาวกผูฟงคําสอนของพระองค” คร้ันแลวแสดงปาฏิหาริยเหาะข้ึนไปใน เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 159

๑1๕6๘0 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 อากาศสูง ๗ ชั่วลําตาล ลงมากราบแทบพระบาท ประกาศตนเปนสาวกของพระพุทธเจาทําอยู อยางนี้ถึง ๗ คร้งั คลายความสงสัยของขาราชบรพิ ารของพระเจา พมิ พิสารใหห มดส้นิ ไป ขาราชบรพิ ารไดเ ห็นและไดฟ ง ดงั น้ัน จึงนอมใจรับฟง ธรรมโดยเคารพ พระบรมศาสดา ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ โปรดพระเจาพิมพิสารและขาราชบริพาร ใหตั้งอยูใน โสดาปตติผล ๑๑ นหุต (๑ นหุต เทากับ ๑ หม่ืน ๑๑ นหุต เทากับ ๑ แสน ๑ หมื่น) และให ตง้ั อยูใ นไตรสรณคมน อกี ๑ นหตุ รวมเปน ๑๒ นหุต ความปรารถนาของพระเจา พิมพสิ าร ต้ังแตเมื่อพระเจาพิมพิสารเปนขัตติยกุมาร ยังไมไดอภิเษกน้ัน พระองคไดต้ัง ความปรารถนาไว ๕ อยาง คือ ๑. ขอใหข าพเจา ไดร ับอภเิ ษกเปนพระเจาแผนดินในมคธนี้ ๒. ขอทานผูเปนอรหันตผูรูเองเห็นเองโดยชอบ พึงมาสูแวนแควนของขาพเจา ผไู ดอภิเษกแลว ๓. ขอใหข าพเจา ไดน ัง่ ใกลพระอรหันต ๔. ขอพระอรหนั ตน ้ัน พึงแสดงธรรมแกข าพเจา ๕. ขอขาพเจา จงรูท ั่วถึงธรรมของพระอรหันตนน้ั เม่ือพระเจาพิมพิสารทรงเห็นวา ความปรารถนาของพระองคถึงพรอมทั้ง ๕ ขอน้ีแลว จงึ กราบทูลแกพ ระผูมพี ระภาคเจา เม่ือทูลถวายความสําเร็จพระราชประสงคดังน้ีแลว จึงสรรเสริญพระธรรมเทศนา ของพระพทุ ธองค แสดงพระองคเ ปน อบุ าสก ทลู อาราธนาใหพระศาสดาพรอมท้ังภิกษุสงฆเสด็จ ไปเสวยในพระราชนิเวศนในวันรุงข้ึน กอนจะเสด็จกลับ คร้ันรุงเชา พระพุทธองคพรอมทั้งภิกษุ สาวกกเ็ สดจ็ ไปสพู ระราชนิเวศน ทรงประทับบนอาสนะ พระเจาพิมพิสารทรงอังคาสดวยอาหาร อันประณีตดวยพระหัตถของพระองคเอง แลวประทับที่ขางหนึ่ง ทรงดําริหาท่ีจะประทับอยู ของพระศาสดา ทรงเห็นวาพระอทุ ยานเวฬุวนั สวนไมไ ผเ ปน ทสี่ มควรจะประทับอยขู องพระพทุ ธ องค จงึ ทรงถวายเวฬวุ นั นั้น พระศาสดาทรงรบั แลวแสดงธรรมใหพระเจาพิมพิสารร่ืนเริงในทาน แลว ก็เสดจ็ ไปประทบั ณ เวฬุวนั น้นั ตัง้ แตใ นกาลนนั้ มา ก็ทรงอนญุ าตใหภิกษุรับอารามท่ีทายก ถวายไดต ามปรารถนา จึงนบั ไดวา เวฬุวนารามเปน อารามแหง แรกในพระพุทธศาสนา 160

 1๑๕6๙1 วชิ า พุทธประวตั ิ พระอคั รสาวกออกบวช มาณพสกุลพราหมณในกรุงราชคฤหเปนสหายกัน ๒ คน ช่ือวา อุปติสสะ หรือ สารีบุตร เพราะเปน บุตรของนางสารี และ โกลติ ะ หรอื โมคคลั ลานะ เพราะเปนบุตรนางโมคคัลลี ไดพา บริวาร ๒๕๐ คน ออกจากสกุลไปบวชอยูในสํานักสัญชัยปริพพาชก นับแตนั้นมาสํานักนั้นก็ เจริญข้ึนโดยลําดับ เปน ทน่ี ิยมของคนเปนอันมาก เมื่อท้ังสองศึกษาลัทธิในสํานักอาจารยสัญชัยปริพพาชก ไมนานก็ส้ินความรูของอาจารย อาจารยจึงตั้งใหเปนอาจารยสอนศิษยในสํานัก มีศักด์ิเสมอดวยตน สหายทั้ง ๒ คน จึงปรึกษากันวา การบวชอยูในสํานักนี้ไมมีประโยชน ลัทธินี้ไมใชทางเขาถึง โมกขธรรม เราควรจะพยายามแสวงหาอาจารยผูมีความสามารถตอไป จึงไดทําสัญญากันไววา “ผูใดไดบรรลุธรรมพเิ ศษกอ น ผูนั้นจงบอกแกกนั ” วันหนึ่ง อุปติสสมาณพเดินไปพบพระอัสสชิซ่ึงเปนหน่ึงในพระปญจวัคคียกําลัง บณิ ฑบาตในเมืองราชคฤห เห็นพระอัสสชิมีอาการนาเล่ือมใส จะกาวไปถอยกลับ คูแขนเหยียดแขน แลเหลียวเรียบรอยทุกอิริยาบถ ทอดจักษุแตพอประมาณ จึงกลาวถามดวยความเคารพวา “อินทรียของทานผองใสยิ่งนัก ผิวพรรณของทานหมดจดผองใส ทานบวชจําเพาะใคร ใครเปน ศาสดาของทาน ทานชอบใจธรรมของใคร” พระอัสสชิจึงกลาววา “ผูมีอายุ เราบวชจําเพาะ พระมหาสมณศากยบุตร เราเปนผูบวชใหม มาสูธรรมวินัยนี้ไมนาน ไมสามารถแสดงธรรมแก ทานไดโดยพิสดาร เราจักกลาวแกทานโดยยอพอรูความ ดังน้ี ธรรมใดเกิดแตเหตุ พระตถาคต ทรงแสดงเหตุแหง ธรรมน้ัน และความดบั แหงธรรมเหลา น้นั พระมหาสมณะตรัสสอนอยา งน้ี” ดวยการสดับเพียงหัวขอธรรมเพียงเทาน้ี อุปติสสปริพพาชกไดดวงตาเห็นธรรมวา “ส่ิงใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดข้ึนเปนธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเปนธรรมดา” แลวจึงถามวา พระศาสดาประทับอยูท่ีไหน พระอัสสชิบอกวา อยูท่ีเวฬุวัน อุปติสสะก็กลับไปบอกแกโกลิตะ แสดงธรรมนั้นใหฟง โกลิตะกไ็ ดด วงตาเหน็ ธรรมเหมอื นกบั อปุ ตสิ สะ สองสหายไดชวนกันไปเฝา พระศาสดา และพากันไปหาสัญชัยผูเปนอาจารยบอกใหทราบ และชักชวนใหไปเฝาพระศาสดา ดวยกัน แมจะออนวอนชักชวนเพียงไร ก็ไมสามารถจะโนมนาวจิตใจใหสัญชัยปริพพาชกไปเฝา พระพุทธเจาได จึงไดชวนปริพพาชกผูเปนบริวารของตน ๒๕๐ คน ออกจากสํานักไปเฝา พระบรมศาสดา ณ เวฬุวันวิหาร ฝายสัญชัยปริพพาชกเห็นปริพพาชกออกกันมากมาย เห็น สํานักวา งเปลา เกดิ ความเสยี ใจอยางแรง และถงึ กาลกิริยาในเวลาตอมา อุปติสสะและโกลิตะพรอมดวยบริวาร ๒๕๐ คน พากันไปเฝาพระบรมศาสดาไดสดับ เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 161

๑1๖6๐2 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 พระธรรมเทศนาแลว ทูลขออุปสมบท พระองคทรงอนุญาตใหเปนภิกษุทั้งสิ้น ภิกษุบริวาร เหลา น้นั บําเพญ็ เพียรก็ไดส ําเร็จพระอรหนั ตกอ น สวนพระโมคคัลลานะอุปสมบทแลวได ๗ วัน ไปทําความเพียรอยูท่ีบานกัลลวาลมุตตคาม กรุงราชคฤห ออนใจนั่งโงกงวงอยู พระศาสดาจึงตรัสส่ังสอนใหละความงวงนั้น ดวย อุบายแกง ว ง ๘ ประการ คอื ๑. โมคคัลลานะ เมื่อมีสญั ญาอยา งไร ใหใ สใจนกึ ถึงสัญญาอยา งนน้ั ใหม าก ๒. ถาไมหาย ใหพ ิจารณาธรรมทไ่ี ดฟ งและไดเรียนแลว ๓. ถา ไมหาย ใหท องธรรมทีไ่ ดฟ งแลวเรยี นแลวอยางพิสดาร ๔. ถา ไมห าย ใหย อนหู ๒ ขา งและเอามือลบู ตัว ๕. ถา ไมห าย ใหย นื ข้นึ เอาน้าํ ลูบตัว เหลยี วดทู ิศท้งั หลาย แหงนดูดาว ๖. ถา ไมหาย ใหใสใ จถึงแสงสวา งอยา งกลางวัน ๗. ถา ไมห าย ใหเดนิ ไปเดินมา (เดนิ จงกรม) สาํ รวมอินทรีย มจี ติ ไมค ิดไปภายนอก ๘. ถาไมหาย ใหสําเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงขางขวาซอนเทาเหล่ือมเทา มสี ติสัมปชญั ญะหมายจะลกุ ข้ึนไวใ นใจ ครั้นต่ืนแลว รีบลุกขน้ึ ดวยตงั้ ใจวา เราจะไมหาความสขุ ในการนอน นอกจากวธิ นี ีแ้ ลว ยังไดทรงสง่ั สอนใหสาํ เหนยี กตอ ไปอกี คอื ๑. จักไมชูงวง คอื ถอื ตัวไปสูตระกูล ๒. จักไมพดู คาํ อนั เปน เหตุเถยี งกัน อนั เปนเหตใุ หพ ดู มาก ๓. จะหลีกเรน อยูต ามวสิ ยั ของสมณะ ๔. ทอ งธรรมทไ่ี ดฟ ง แลวเรยี นแลว อยางพสิ ดาร พระโมคคัลลานะปฏบิ ัตติ ามโอวาทท่ที รงสงั่ สอน ก็ไดสาํ เร็จพระอรหันตในวันน้นั สวนพระสารีบุตรอุปสมบทแลวไดก่ึงเดือน ตามพระบรมศาสดาไปอยูท่ีถ้ําสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ใกลกรุงราชคฤห ไดสดับพระธรรมเทศนา ชื่อ เวทนาปริคคหสูตร ซ่ึงพระศาสดา ทรงแสดงแกปริพาชกชื่อทีฆนขอัคคิเวสนโคตร ผูเปนหลานของพระสารีบุตร ท่ีเขาไปเฝากลาว ปราศรัยแลวทูลทิฏฐิ (ความเห็น) ของตนวา “พระโคตมะ ขาพเจามีความเห็นวา ส่ิงทั้งปวง ไมควรแกขาพเจา ขาพเจาไมชอบใจหมด” พระศาสดาจึงตรัสตอบทิฏฐิของพวกพราหมณ ๓ จําพวก พวกที่ ๑ มที ฏิ ฐิวา สงิ่ ท้ังปวงควรแกเ รา เราชอบใจหมด 162

163 163 เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1

๑1๖6๒4 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี มชั ฌมิ โพธิกาล บทที่ ๙ ทรงบําเพญ็ พุทธกจิ ในมคธชนบท มคธชนบทอยูในเขตมัธยมประเทศแหงชมพูทวีปตอนใต มีกรุงราชคฤหเปนนครหลวง มีพระมหากษัตริยมีราชอิสสริยยศเปนมหาราชหรือราชาธิราชเปนผูทรงอํานาจสิทธ์ิขาดในการ ปกครอง ในสมัยที่พระบรมศาสดาเสด็จมาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ กรุงราชคฤหนั้น พระเจาพิมพิสารมหาราชทรงปกครองมคธชนบทน้ี มคธชนบท มีอาณาเขตโดยอนมุ าน ดงั น้ี ทิศเหนอื จรดกาสชี นบทและโกศลชนบท ทศิ ตะวันออก จรดวัชชีชนบท มแี มน้าํ คงคาเปนอาณาเขต ทิศใต จรดมหาสมุทรและกลงิ คชนบท ทิศตะวันตก ยังไมพ บหลักฐานทางอนุมาน กรุงราชคฤห ต้ังอยูในลุมนํ้าตะโปทา หางจากแมน้ําคงคาประมาณ ๕ โยชน เปนเมือง ทีร่ ุงเรืองมากในสมัยน้นั ประทานอปุ สมบทแกพระมหากัสสปะ คราวหน่ึง พระศาสดาเสด็จจาริกโปรดประชาชนในมคธชนบท ประทับอยูที่รมไทร มีชื่อวา พหุปตุ ตกนิโครธ ระหวางกรุงราชคฤหกับเมืองนาลนั ทาตอ กัน คร้ังน้ัน ปปผลิมาณพ กัสสปโคตร มีความเบื่อหนายในการครองเรือนละฆราวาส ถือเพศเปนบรรพชิตออกบวชอุทิศพระอรหันตในโลก เห็นพระศาสดาประทับนั่งอยูที่ใตรมไทร นั้นมีความเลือ่ มใสจึงเขา ไปเฝา รบั เอาพระองคเปนพระศาสดาของตน พระพุทธองคทรงรับเปน ภิกษุในพระธรรมวนิ ยั ดว ยประทานโอวาท ๓ ขอวา ๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาวา เราจักเขาไปตั้งความละอายและความยําเกรงไวใน ภกิ ษทุ ้งั ที่เปนผูเ ฒา ทงั้ ท่เี ปน ผใู หญ ท้ังทเ่ี ปน ปานกลาง เปน อยา งแรงกลา เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 164

 1๑6๖๓5 วชิ า พุทธประวัติ ๒. เราฟงธรรมอยางใดอยางหน่ึง ซึ่งประกอบดวยกุศล เราจะเงี่ยหูลงฟงธรรม นนั้ พจิ ารณาเน้ือความแหง ธรรมนั้น ๓. เราจกั ไมละสติทไี่ ปในกาย คอื พจิ ารณารา งกายเปนอารมณ การอุปสมบทของพระมหากัสสปะดวยรับโอวาท ๓ ขอนี้ เรียกวา โอวาทปฏิคคหณูป- สมั ปทา จดั เปน เอหิภกิ ขุอุปสมั ปทา นบั ต้งั แตวนั อุปสมบทมา ๘ วนั พระมหากสั สปะก็ไดสําเร็จ พระอรหนั ต ในโอวาทนี้ พระศาสดาตรสั เรียกปป ผลวิ า กัสสปะตามโคตรของทาน ทานปปผลิรูป น้ีเมื่อเขามาอยูในพระธรรมวินัยน้ีแลว ภิกษุสหธรรมิกนิยมเรียกทานวา พระมหากัสสปะ เพือ่ ใหแตกตา งไปจากพระกสั สปะอ่ืน ๆ เชน พระกมุ ารกัสสปะ เปน ตน มหาจาตุรงคสันนิบาต คร้ันพระศาสดาเสด็จประทับอยู ณ เวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห ไดมีการประชุมใหญ แหงพระสาวกคราวหนึ่ง เรียกการประชุมคราวนั้นวา จาตุรงคสันนิบาต แปลวา การประชุม ท่ปี ระกอบดว ยองค ๔ คือ ๑. พระอรหนั ตขีณาสพ อยูจบพรหมจรรย ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกัน ๒. พระสาวกเหลานั้น ลวนเปนเอหิภิกขุ คือผูไดรับอุปสมบทที่พระศาสดาประทาน ดว ยพระองคเอง ๓. พระสาวกเหลาน้ัน ตา งมากนั เองโดยมไิ ดน ัดหมายกันมากอน ๔. วันนั้นเปนวันเพ็ญพระจันทรเต็มดวง พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาติโมกข ในทา มกลางพระสาวกเหลานนั้ ใจความในโอวาทปาติโมกข (โอวาทปาฏิโมกข กใ็ ช) พระคาถาท่ี ๑ แสดงวา ขันติ ความอดทน เปนตบะอยางยอด ทานผูรูกลาวนิพพาน วาเปน ยอด บรรพชิตผูเบยี ดเบยี นสตั วอน่ื ไมชื่อวา เปน สมณะ พระคาถาที่ ๒ แสดงวา การละบาปทั้งปวง การทํากุศลใหบริบูรณ การทําจิตใจของตน ใหผ องใส เปนศาสนธรรมคาํ สอนของทานผรู ูทัง้ หลาย พระคาถาที่ ๓ กับอีกกง่ึ ทรงแสดงวา ความไมพูดวารายกัน ความไมประหัต ประหารกัน ความสํารวมในปาติโมกข ความรูจักประมาณในอาหาร ความเสพท่ีนอนที่นั่งอันสงัด เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 165

๑1๖6๔6 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี ความประกอบในทางจิตอยางสงู เปน คําสอนของทา นผูร ทู ้งั หลาย มหาสันนิบาตน้ีไดมีข้ึนในวันมาฆปุรณมีดิถีเพ็ญเดือนมาฆมาส เวลาบาย ซ่ึงตรง กับวันทําพิธีศิวาราตรีของพวกพราหมณ นับเปนการประชุมใหญในพระศาสนานี้ไดเกิดมีข้ึน เพียงครั้งเดียว นับเปนพระเกียรติของพระบรมศาสดา เพราะเปนเหตุการณที่เกิดข้ึนอยาง นาอศั จรรยอ ยางยิง่ ทรงอนญุ าตเสนาสนะ เมื่อครัง้ พระเจาพมิ พิสารทรงถวายเวฬวุ นารามเปนท่ปี ระทบั ของพระศาสดา พรอมดวย ภิกษุสงฆในขณะเสด็จกรุงราชคฤหคร้ังแรก วันหนึ่ง ราชคหกเศรษฐี (เศรษฐีประจํากรุงราชคฤห) ไดเ หน็ กิริยาอาการของภิกษุสงฆ เกิดความเล่ือมใส จึงถามภิกษุสงฆเหลาน้ันวา ถาจะทําวิหาร คือกุฏิขึ้น ภิกษุเหลาน้ันจะพึงอยูในวิหารของเขาหรือเปลา ภิกษุเหลานั้นตอบวา พระ ศาสดายังมิไดทรงอนุญาตเสนาสนะ เศรษฐีจึงขอใหภิกษุเหลาน้ัน ทูลถามพระศาสดา พระภิกษุ เหลา น้นั รับคาํ ของเศรษฐแี ลวเขาไปเฝา พระศาสดาทูลถามเร่ืองน้ี เพราะเรอื่ งนเี้ ปนเหตุ พระศาสดาจงึ ตรสั ธรรมกี ถาอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ ๑. วิหาร เปน กุฏิมีหลงั คา มปี ก สองขา งอยางปกติ ๒. อัฑฒโยค ไดแ กโ รงหรอื รานท่มี งุ แตเ พียงซีกเดยี ว ๓. ปราสาท คอื เรือนช้นั เรอื นทนี่ าํ มาซึง่ ความสุขจติ อนั มคี วามงดงาม ๔. หัมมยิ ะ ไดแกเรอื นมหี ลงั คาท่มี ลี านพระจนั ทรสองถึง คอื เรอื นหลงั คาตดั ๕. คูหา ไดแ กถ ้าํ แหงภูเขา เมื่อเศรษฐีไดทราบจากภิกษุเหลาน้ันวา พระศาสดาทรงอนุญาตเสนาสนะ จึงไดปลูก วหิ ารข้ึน ๖๐ หลัง พระศาสดาทรงแนะใหอทุ ศิ ไวเพือ่ ภิกษุผูมาแตทิศทั้ง ๔ แลวจึงทรงอนุโมทนา วหิ ารทานนั้น โดยใจความวา “วิหารน้ันยอมกําจัดเย็นรอน กันสัตวราย สัตว เลื้อยคลาน ยุง คุมฝน ลมและแดด การถวายวิหารแกสงฆเพ่ือเปนที่เรน เพื่อความสําราญ เพื่อบําเพ็ญสมถวิปสสนา พระพทุ ธเจาท้ังหลายสรรเสริญวาเลิศ เหตุน้ัน บัณฑิตแลเห็นประโยชนตนพึงทําวิหารใหนาสําราญ แลวเชิญทานผูพหูสูตใหอยู และพึงใหขาว น้ํา ผานุงหม เสนาสนะ คือ ท่ีนอน ที่นั่งแกทาน ดวยใจ เลอื่ มใสในทานวาเปนผูตรง ทานพหูสูตเหลานั้นยอมแสดงธรรมอันเปนเครื่องบําบัดทุกขแกเขา เขาผูรูธรรมแลว จักเปนผูหาอาสวะมิได ปรินิพพานในโลก” พระศาสดาทรงอนุโมทนาวิหารทาน ของราชคหกเศรษฐแี ลว จงึ เสด็จกลบั เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 166

 1๑6๖7๕ วชิ า พทุ ธประวตั ิ ทรงแสดงวิธีทําปพุ พเปตพลี พวกพราหมณมีธรรมเนียมเซนและทําทักษิณาอุทิศบุรพบิดาของเขา เรียกวา “ศราทธะ” เน่ืองในการเผาศพบาง ในวันครบรอบวันตายของบุรพบิดาบาง บุรพบิดาของเขา มี ๓ ชั้น คือ บิดา ปู ทวด ผูอันจะพึงเซนดวยกอนขาวเรียกวา “สปณฑ” แปลวา ผูรวมกอน ขาว (ขาวบิณฑ) บุรพบิดาทีพ่ น จากทวดขึ้นไปก็ดี ญาติผูไมไดสืบสายตรงก็ดี เปนผูจะพึงไดรับ นํา้ ท่กี รวดเรียก “สมาโนทก” แปลวา ผรู ว มนาํ้ การกรวดนํ้านั้น เขาลงไปในแมน้ํา เอามือกอบ นํ้าข้ึนปลอยใหคอย ๆ รั่วลง นึกอุทิศถึงผูตายไปพลางวา ขอใหนํ้าระงับความกระหายของทาน เหลานั้น ขาวบิณฑของพราหมณน้ัน เม่ือเขาทําพิธีเซนแลว จะโยนใหทานสัตว เชน กาบาง สัตวเลย้ี งบาง นกกาเขาถือวาเปนนกผี เมื่อใหอาหารกินแลวจะไมรังควานบุรพบิดาของเขา การทํา ทักษิณาที่เรยี กวาศราทธะน้ัน จะมีพิธีเชิญพราหมณมาเล้ียงเสร็จแลวแจกไทยธรรมท่ีเปนผานุง ผาหม เพราะพวกพราหมณเขาถอื วา เพอื่ ไมใ หบุรพบิดาของเขาหวิ กระหายและเปลอื ยกาย ธรรมเนยี มนี้เนื่องมาถงึ คนไทย การทําขา วบิณฑคอื เอาขาวกรอกในกรวยใบตองควํ่าลง บนภาชนะมีพานเปนตน มีกับขาวของกิน ๒ – ๓ อยาง ประดับดวยดอกไมสดหรือดวยเครื่อง สักการะซึ่งจะทํากันในวันเทศกาล คือ ในวันสารท ในวันตรุษ ในวันสงกรานต การกรวดนํ้า ก็ยงั คงทํากันอยูในเวลาพระสงฆอนุโมทนา โดยใชภาชนะ เชน แกวนํ้า ใสนํ้าแลว เอาไปเทลงที่ดิน หรอื กรวดลงดนิ ขณะกรวดกน็ กึ อทุ ศิ สวนบุญสว นกศุ ลไปใหญ าติตามคตทิ างพระพุทธศาสนา พระเจาพิมพิสาร ภายหลังแตทรงนับถือพระพุทธศาสนาแลวก็ทรงอนุโลมตามธรรมเนียม พราหมณ คอื เลย้ี งพระและถวายไทยธรรมแกพ ระภิกษสุ งฆแทนทาํ แกพ ราหมณ (เดมิ เคยทําแก พราหมณ) พระศาสดาทรงอนุโมทนาในการทําทักษิณา แตขยายใหกวางขวางจากบุรพบิดา ๓ ชั้น โดยที่สุดเปนเพียงมิตรสหายก็ควรทําอุทิศไปให ทักษิณาอุทิศคนตายท่ัวไปอยางนี้เรียกวา ทักษิณานุปทาน แปลวา การตามเพิ่มใหทักษิณาบาง เรียกวา มตกทาน แปลวา การอุทิศ ผตู ายบา ง สว นทกั ษณิ าอทุ ิศเฉพาะบรุ พบดิ า เรยี กวา ปพุ พเปตพลี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 167

1๑๖6๖8 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 ทรงมอบใหสงฆเ ปนใหญในการใหอ ุปสมบท วันหน่ึง พระศาสดาทรงดําเนินอยูในพระวิหาร ทอดพระเนตรเห็นราธพราหมณ มีรางกายผายผอม มีผิวพรรณเศราหมองไมผองใส จึงตรัสถามไดความวาเธอประสงคจะบวช แตไ มม ใี ครจัดการบวชให เพราะเหน็ เปนคนชราอนาถาหาที่พึ่งมิได พระองคจึงเรียกประชุมสงฆ หาผูที่จะบวชให พระสารีบุตรเถระจึงอาสาท่ีจะบวชให เพราะระลึกถึงคุณท่ีราธพราหมณ ไดถวายอาหารบิณฑบาตทัพพีหนึ่ง พระศาสดาตรัสส่ังพระสารีบุตรใหบวชราธพราหมณ แลวตรัสใหเลิกอุปสมบทดวยวิธีไตรสรณคมณที่ทรงอนุญาตไวแตเดิม ตั้งแตวันนั้นเปนตนมา ทรงอนญุ าตใหสงฆอ ุปสมบทกลุ บุตรดวย วิธญี ัตติจตตุ ถกรรมอุปสมั ปทา หรือ การอุปสมบท ดวยญัตติจตุตถกรรมวาจา คือ การอุปสมบทดวยการท่ีสงฆสวดญัตติ ๑ คร้ัง และ ประกาศรับรอง ๓ ครั้ง โดยมีวธิ กี ารดังนี้ ในมธั ยมชนบท (ถนิ่ เจริญ) ใหป ระชมุ ภิกษุต้งั แต ๑๐ รปู ขึน้ ไป ในปจจันตชนบท (ถิ่นกันดาร) ท่ีหาภิกษุยาก ใหประชุมภิกษุอยางนอย ๕ รูป ใหภิกษุ รูปหน่ึงสวดญัตติใหสงฆทราบคร้ังหน่ึงกอน แลวประกาศรับรองการอุปสมบทของผูนั้น ๓ ครั้ง ถาไมมีภิกษุใดคัดคานผูนั้นชื่อวาเปนภิกษุ ถาถูกคัดคานแมแตเสียงเดียว การอุปสมบท กไ็ มส มบูรณ ผูอปุ สมบทตอ งมีภกิ ษุเปนผรู ับรอง เรียกวา อุปชฌายะ ขอท่ีทรงอนุญาตใหสงฆอุปสมบทกุลบุตรนี้ ยอมแสดงใหเห็นวาทรงยกใหสงฆเปน ใหญในกิจท่ีสําคัญ แมแตพระองคเองตั้งแตทรงมอบอํานาจใหแกสงฆแลว ก็ไมทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทาแกภิกษุใดเลย และในสังฆกรรมอ่ืน ๆ ก็ทรงมอบอํานาจใหสงฆเหมือนกัน โดยแยกเปนกรรม ๔ ประเภท (ตามจํานวนสงฆท ปี่ ระชมุ กัน) ดังน้ี ๑. จตวุ รรค คือ สังฆกรรมที่มีภิกษุเขาประชุมเปนสงฆ ๔ รูป ใชสําหรับสังฆกรรมท่ัวไป เวนไวแตส งั ฆกรรมบางอยาง ๒. ปญจวรรค คือ สังฆกรรมที่มีภิกษุเขาประชุมเปนสงฆ ๕ รูป ใชสําหรับให อปุ สมบทในปจ จนั ตชนบท และปวารณา ๓. ทสวรรค คอื สงั ฆกรรมทมี่ ภี กิ ษเุ ขาประชุมเปน สงฆ ๑๐ รูป ใชสําหรบั ใหอ ุปสมบท ในมัชฌมิ ชนบท ๔. วสี ตวิ รรค คอื สังฆกรรมทีม่ ีภกิ ษุเขาประชุมเปนสงฆ ๒๐ รูป ใชสําหรับสวดระงับ อาบัตสิ งั ฆาทเิ สส เรียกวา สวดอพั ภาณ 168

 1๑6๖9๗ วชิ า พุทธประวตั ิ โปรดสิงคาลมาณพ เชาวันหน่ึง พระศาสดาเสด็จเขาสูนครราชคฤหเพื่อทรงรับบิณฑบาตไดทอดพระเนตรเห็น มาณพผหู นึง่ ชื่อวา สิงคาลมาณพ มีผาหมเปยกชุมดวยนํ้า มีผมเปยก ยกมือไหว ทิศทั้งหลายอยู จึงตรัสถามไดความวา สิงคาลมาณพไหวทิศท้ัง ๖ ตามคําสอนของพระบิดา พระพุทธองค จงึ ทรงแสดงวธิ ไี หวทศิ ทัง้ ๖ ตามหลกั ในพระพุทธศาสนา ดงั นี้ ปรุ ตั ถมิ ทศิ คือ ทิศเบ้อื งหนา ไดแ ก บิดามารดา ทกั ขิณทศิ คือ ทิศเบอื้ งขวา ไดแก ครู อาจารย ปจฉมิ ทศิ คอื ทศิ เบ้อื งหลงั ไดแก บตุ ร ภรรยา อุตตรทิศ คอื ทิศเบื้องซาย ไดแก มติ ร สหาย เหฏฐมิ ทศิ คือ ทศิ เบอ้ื งลาง ไดแ ก บาว และลูกจา ง อปุ ริมทศิ คอื ทศิ เบือ้ งบน ไดแ ก สมณพราหมณ ตอ จากนัน้ ทรงแสดงกิจที่ควรทําในเบ้ืองตนของการไหวทิศ คือ ผูไหวทิศ ควรเวนจาก กรรมกิเลส ๔ จากอคติ ๔ และอบายมขุ ๖ ดงั มีรายละเอยี ดดังนี้ กรรมกิเลส การงานอนั เศราหมอง ๔ อยาง คอื ๑. การลางผลาญชีวิต ๒. การลกั ขโมย ๓. การประพฤตผิ ดิ ในกาม ๔. การพูดปด อคติ ความลําเอียง ๔ อยา ง คือ ๑. ลําเอยี งเพราะรกั ๒. ลําเอยี งเพราะชงั ๓. ลําเอยี งเพราะกลัว ๔. ลําเอียงเพราะเขลา อบายมุข ทางแหงความฉิบหาย ๖ อยาง คือ ๑. ดื่มสรุ าเมรยั ๒. เที่ยวกลางคนื ๓. เพลดิ เพลินในการดูการละเลน ๔. เลน การพนัน ๕. เกียจครา นไมทาํ การงาน ๖. คบคนชัว่ เปน มติ ร ตอจากน้ัน จึงทรงแสดงการไหวทิศ ๖ อยางถูกวิธี คือ การปฏิบัติหนาท่ีใหถูกตอง เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 169

1๑๖7๘0 คูม อื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 เหมาะสมกบั ฐานะของตน พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาแกสิงคาลมาณพ โดยทรงเปลี่ยนการไหวทิศจาก ลัทธเิ ดิม ซึ่งสิงคาลมาณพไดฟงพระธรรมเทศนาน้ีแลวเกิดความเลื่อมใส สรรเสริญ พระธรรมเทศนา น้ันแลว แสดงตนเปน อุบาสก ถงึ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆเ ปนสรณะ ตลอดชีวติ ตั้งแตน้นั มา มลู เหตุทาํ เทวตาพลี การสงั เวยเทวดาเปนธรรมเนียมอยางหนึง่ ของพวกอริยกะ การสังเวยเทวดามี ๒ อยาง คือ สังเวยเทวดาที่ดี เพื่อใหเอ็นดูยิ่งขึ้น และสังเวยเทวดาที่ราย เพ่ือมิใหคิดราย สวนเคร่ืองสังเวย อนุโลมตามเทวดาผูรับ คือ ถาเทวดาใจดี ก็สังเวยดวยขนม นม เนย และผลไม เทวดาใจรายก็ สังเวยดวยมังสะและโลหิตสัตว เทวดาที่สังเวยมีพระธรณี พระคงคา พระเพลิง พระอินทร พระ ยม และเทวดาอื่น ๆ ผทู าํ การสังเวยยอ มทําตามวรรณะของตน ผทู ไ่ี มทาํ ปาณาตบิ าตยอมงดเวน การสังเวยดวยมังสะและโลหิตสัตว สวนผูท่ีไมเวนปาณาติบาตยอมสังเวยดวยของตาง ๆ ไมเลือกชนดิ ครั้งหน่ึง พระศาสดาเสด็จไปบานปาฏลีคาม ในแควนมคธ ทรงรับนิมนตของสุนีธพราหมณ และวัสสการพราหมณเพื่อรับภัตตาหารพรอมภิกษุสงฆ คร้ันแลวพระองคทรงอนุโมทนาดวย คาถาวา “ยสฺมึ ปเทเส กปฺเปติ วาสํ ปณฺฑิตชาติโย” เปนตน ความวา “กุลบุตรผูมีชาติ แหงบัณฑิตสําเร็จการอยูในประเทศท่ีใด พึงนิมนตพรหมจารี ผูมีศีลสํารวมดีใหฉัน ณ ท่ีนั้น แลวอุทิศทักษิณาเพ่ือเทวดาผูสิงสถิตย ณ ท่ีนั้น เทวดาทั้งหลายนั้น อันกุลบุตร บูชาแลวยอมบูชาตอบ อันกุลนั้นนับถือแลว ยอมนับถือตอบ แตน้ันยอมอนุเคราะห กุลบุตรนั้นดวยเมตตา ดุจมารดาอนุเคราะหบุตร กุลบุตรน้ันอันเทวดาอนุเคราะหแลว ยอมเห็นผลเจริญ ทกุ เม่อื ” ดวยคาถานี้ แสดงวาพระองคทรงแนะนําวิธีทําเทวตาพลี ดวยบริจาคทานแลวอุทิศ สวนกุศลไปถงึ ไมทรงสนบั สนนุ การสงั เวยดว ยการแสดงวิธีเทวตาพลีอยางนี้ พึงเห็นวาไมไดทรง เปลี่ยนความเห็นการสังเวยเทวดาอยางเดิม เพียงแตทรงเปลี่ยนวิธีทําใหสําเร็จประโยชนดีขึ้น กวา ทรงแสดงวธิ ีทาํ เทวตาพลี ทรงผอนผันอนโุ ลมตามกาลเทศะ 170

171 171 เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1

1๑๗7๐2 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 เมอ่ื เดินทางไปถึงแลว ก็ไดฟ งธรรมบรรลุมรรคผล และไดทูลขออุปสมบทเปนภิกษุทั้งส้ิน มิไดมี โอกาสกราบทูลอาราธนาเชนกัน พระเจาสุทโธทนะเห็นเงียบหายไปก็ทรงสงอํามาตยคณะใหม ไปอีก ทรงทําอยางน้ีถึง ๙ ครั้ง ครั้งสุดทาย คือ ครั้งท่ี ๑๐ ทรงนอยพระทัยมากจึงรับส่ังเรื่องน้ี แกกาฬุทายีอํามาตย ซ่ึงเปนพระสหายท่ีสนิทสนมและเปนสหชาติกับพระศาสดามาแตกอน กาฬทุ ายอี าํ มาตยพรอ มดว ยบริวารถวายบังคมลาพระเจาสุทโธทนะ เดินทางมาถึงนครราชคฤห แลว ก็เขาเฝาพระผูมีพระภาคเจา ณ เวฬุวันมหาวิหาร ไดสดับพระธรรมเทศนาแลวไดบรรลุ พระอรหัตตผล ทูลขออุปสมบทเปนภิกษุท้ังสิ้น คร้ันพระกาฬุทายีเถระบวชแลวได ๘ วัน ก็สิ้น ฤดูเหมันต จะอยางขึ้นฤดูคิมหันต ทานกราบทูลอาราธนาเสด็จกรุงกบิลพัสดุ เพ่ือทําให พระประสงคของพระพุทธบิดาสําเร็จ พระพุทธองคทรงรับอาราธนาแลว พรอมดวยภิกษุสงฆ เสด็จออกจากกรุงราชคฤห ทรงดําเนินวันละ ๑ โยชน มีกําหนด ๒ เดือน จึงจะถึง พวกศากยะ ทราบขาวลวงหนา ไดรวมแรงรวมใจกันสรางนิโครธารามขึ้นเปนมหาวิหาร พรอมดวยเสนาสนะ และพระคันธกฎุ ี เพือ่ เปนสถานทป่ี ระทบั ของพระพุทธองคแ ละพระสงฆส าวกพุทธบรษิ ัท ทรงแสดงพุทธปาฏหิ ารยิ  คร้ังน้ัน บรรดาพระประยูรญาติทั้งหลายมีทิฐิมานะมาก ไมยอมนอบนอมประนมหัตถ ถวายนมัสการพระศาสดา ดวยมีความถือตัวอยูในใจวา พระสิทธัตถะกุมารน้ีมีอายุยังออนกวา ตน ไมค วรแกการประนมมอื ไหว จึงไดจดั ใหพระประยรู ญาติราชกุมารที่มีอายุนอยคราวนอง และ บุตรหลานออกไปนั่งรับอยูขางหนาเพ่ือจะไดถวายบังคมพระบรมศาสดา สวนพระประยูรญาติ ผูใหญพากันไปประทับนั่งอยูเบ้ืองหลัง ไมแสดงคารวะแตประการใด ดวยมีมานะอยูในใจวาตน แกกวา ไมค วรจะไหวพ ระสทิ ธตั ถกุมาร เม่ือพระศาสดาไดสังเกตเหน็ ทรงประสงคจะใหเกิดสังเวชสลดจิตแกมวลญาติ จึงแสดง ปาฏิหาริยเหาะข้ึนไปลอยอยูในอากาศใหปรากฏประการหนึ่งวาละอองธุลีพระบาทไดหลนลง ตรงเศียรเกลาเหลาประยูรญาติเหลานั้น ดวยพุทธานุภาพเปนมหัศจรรย พระเจาสุทโธทนะ พระพุทธบดิ า และพระประยูรญาตไิ ดเห็นปาฏิหาริยก็พากันยกมืออภิวาทดวยคารวะเปนอยางดี จากนั้น พระพุทธองคก็เสด็จลงจากอากาศประทับน่ังบนพุทธอาสน ขณะน้ัน ฝนโบกขรพรรษ สีแดง ไดตกลงในทามกลางพระประยูรญาติ ครั้นแลวจึงไดทรงแสดงพระธรรมเทศนาเร่ือง มหาเวสสันดรชาดก ยกยองเร่ืองทานบารมี เม่ือจบพระธรรมเทศนาลง พระประยูรญาติ ตางองคตางทูลลากลับไปสูเคหาราชนิเวศน ไมมีใครเฉลียวจิตคิดถึงวันพรุงน้ีวา พระศาสดา และพระสงฆสาวกจะเสวยบิณฑบาตทใ่ี ด จงึ ไมม ีใครอาราธนาแมแ ตค นเดียว 172

173 173 เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1

1๑๗7๒4 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 พระพุทธองคไดสดับดังน้ีแลวจึงตรัสวา “พระนางพิมพาเทวีจะไดมีจิตปฏิพัทธดวย ความจงรักภกั ดีในตถาคต เฉพาะแตในชาตินี้เทาน้ันก็หาไม แมในอดีตชาติปางกอนก็มี พระทยั แนน อนไมแปรผนั ในสวามี เมือ่ ครง้ั เสวยชาติเปนนางกินนรีก็มีพระทัยจงรักภักดี มิเสื่อมคลาย” คร้ันแลวก็ทรงแสดงจันทรกินนรีชาดกโดยพิสดาร บําบัดความเศราโศกของ พระนางพิมพาใหบรรเทาเบาบาง จนพระนางมีกําลังพระทัยท่ีจะสดับรสพระธรรมเทศนาที่ พระศาสดาประทาน เม่ือแสดงพระธรรมเทศนาจบ พระนางพิมพาเทวีก็ไดบรรลุพระโสดา- ปตตผิ ล ราหุลกุมารบรรพชา ครน้ั เมอ่ื พกั อยู ณ นิโครธารามมหาวิหาร กรงุ กบิลพัสดุ ถงึ วันที่ ๗ พระศาสดา ไดเสด็จ ไปสูราชนิเวศนของพระนางพิมพาอีกคร้ัง วันน้ันพระนางพิมพาประดับองคราหุลกุมารดวย อาภรณอันวิจิตร แลวตรัสสั่งใหราหุลกุมารไปกราบทูลขอพระราชสมบัติ ในฐานะเปนทายาทสืบ สันตติวงศกับพระศาสดา ราหุลกุมารรับพระเสาวนียดวยความยินดี เขาไปเฝาสมเด็จพระผูมี พระภาคเจา กราบทูลขอพระราชสมบตั ิ พระศาสดาไดสดับดังนั้น จึงทรงดําริวา สมบัติใด ๆ ในโลกน้ี จะมีสาระนิดหนึ่ง ก็หา มไิ ด นอกจากอรยิ ทรัพยอันประเสริฐ เราควรใหทรัพยอันประเสริฐน้ีแกราหุลกุมาร คร้ัน ทรงดําริอยางนี้แลว ทรงจับพระหัตถพระราหุลกุมารเสด็จกลับนิโครธาราม แลวโปรดให พระสารีบุตรบรรพชาใหราหุลกุมารเปนสามเณร ราหุลสามเณรจึงเปนสามเณรรูปแรก ในพระพทุ ธศาสนา พระเจาสุทโธทนะทรงทราบ ทรงโทมนัสเสียพระทัยเปนอยางมาก ดวยทรงต้ังพระทัย ไวแ ตเดิมวา เม่ือพระมหาบุรุษสิทธตั ถะออกผนวชแลว ก็หวังจะใหพระนันทกุมารผเู ปนพระโอรส สืบราชสมบัติตอ คร้ันพระศาสดาพานันทกุมารออกไปผนวช แมจะเสียพระทัยไปอีกคร้ังก็ทรง หวังใหราหุลกุมารไดสืบราชสมบัติตอไป เม่ือพระศาสดาพาพระราหุลกุมารไปบวชอีก ทรงโทมนัสมาก จึงรีบเสด็จไปเฝาพระผูมีพระภาคเจาถึงนิโครธารามมหาวิหาร แลวทูลขอ ประทานพระพุทธานุญาตวา กุลบุตรผูใดแมประสงคจะบรรพชา หากมารดาบิดาไม อนญุ าตอยา ไดรบี ใหบรรพชาอปุ สมบทแกกลุ บตุ รผนู ั้น สามเณรราหลุ ไดต ามเสดจ็ พระบรมศาสดาและพระอุปชฌายของตนไปสูกรุงราชคฤห เมื่อมี อายุครบ ๒๐ ป บริบูรณ ก็ไดอุปสมบทเปนพระภิกษุ และหลังจากไดรับสดับพระธรรมเทศนา ในราหุโลวาทสูตร ก็ไดบรรลุพระอรหัตตผล เปนพระอริยบุคคลในพระศาสนา ไดรับยกยองจาก พระบรมศาสดาวา เปนผเู ลิศกวา ภกิ ษุท้ังหลายในทางใครตอการศึกษา 174

175 175 เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1

1๑๗7๔6 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 ปจ ฉิมโพธกิ าล บทที่ ๑๒ ทรงปลงอายุสังขาร นับแตพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจาตรัสรูแลว ไดเสด็จเท่ียวจาริกไปในชนบท นอยใหญ ส่ังสอนมหาชนใหเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ใหไดบรรลุธรรมาภิสมัยตามอุปนิสัย ของตน ๆ แลว ทรงเห็นวาพระศาสนาของพระองคประดิษฐานอยูสมควรปรารถนาไวเดิมแลว นับแต พระองคไ ดต รสั รูม าได ๔๔ พรรษา คร้ันพรรษาท่ี ๔๕ พระองคเสด็จออกจากอัมพปาลีวัน ไปสูบานเวฬุวคาม แขวงเมือง ไพสาลี (หรือ เวสาลี) คร้ันจวนจะเขาพรรษาแลว พระองคจึงทรงอนุญาตใหภิกษุไดจําพรรษา ในแขวงเมืองไพสาลีนน้ั ตามอธั ยาศัยของตน ๆ สว นพระองคเองจําพรรษาอยูท่ีบานเวฬุวคามน้นั ภายในพรรษานั้น พระองคก็ทรงประชวรชราพาธอันกลาเกิดทุกขเวทนา อยางแรงกลา แตพระองคทรงดํารงพระสติสัมปชัญญะ ไมใหชราพาธน้ันเบียดเบียนพระองคได ทรงอดกล้ัน ทุกขเวทนานั้นดวยอธิวาสนขันติ แลวพระองคก็ทรงขับไลอาพาธนั้นเสียดวยอิทธิบาท ภาวนา ครั้นดํารงพระกายเปนปกติแลว วันหนึ่ง พระองคทรงประทับนั่งเหนือพุทธอาสน ซ่ึงปลู าด ณ ท่รี มเงาแหง วหิ าร พระอานนทเขาไปเฝาถวายอภิวาทแลวกราบทูลวา “ขาพระองค ไดเห็นความผาสุกแหงพระผูมีพระภาคเจาแลว ความทนทานอดกล้ันแหงพระผูมีพระภาคเจา ขาพระองคไดเห็นแลว เมื่อไดเห็นพระองคประชวรกาย ขาพระองคประหนึ่งวาจะงอมระงม ไปดวย แมทิศานุทิศก็มืดมนไมไดปรากฏแกขาพระองค แมธรรมทั้งหลายก็ไมสวางแจมแจง แกจิต เพราะมาวิตกรําพึงถึงความประชวรของพระองคนั้น แตยังดีใจอยูหนอยหนึ่งวา พระผูมี พระภาคเจายงั ไมป รารภภกิ ษสุ งฆ แลวตรัสพุทธวจนะ อยางใดอยางหนึ่งเพียงใดแลว พระองคก็ ยังจักไมเ สดจ็ ปรินิพพานกอน ขาพระองคยังมีความดีใจหนอยหน่ึง” พระองคตรัสตอบวา “ดูกอน อานนท ภกิ ษสุ งฆยงั จะมาหวงั อะไรในเราเลา ธรรมท่เี ราแสดงแลว ท้ังเราแสดงโดยเปดเผย ไมมีภายในภายนอก ไมมีปกปดความสําคัญใด ๆ เลย บัดนี้ อายุของเราถึง ๘๐ ปแลว รางกายของเรากเ็ ปรียบเหมอื นเกวียนอันชาํ รุด และซอมแซมดวยไมไผ พออาศัยใชงาน ไดบาง ทานท้งั หลายจงมธี รรมเปนเกาะเปน ทพี่ ึ่งอยทู ุกอิริยาบถเถดิ ” 176

 17๑๗7๕ วชิ า พทุ ธประวตั ิ พอพระองคประทับอยูบานเวฬุวคามน้ัน ครั้นวันมาฆปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๓ ก็เสด็จ ไปสูปาวาลเจดีย ตรัสส่ังพระอานนทใหปูผานิสีทนะสําหรับรองน่ัง ประทับนั่งใตรมไม พระองค มีพุทธประสงคจะใหพระอานนททูลอาราธนา เพื่อใหดํารงพระชนมอยูกัปหนึ่งหรือเกินกวาน้ัน จึงทรงทํานิมิตอันจักแสดงอานุภาพแหงอิทธิบาทภาวนาวา สามารถจะใหทานผูไดเจริญ อิทธิบาทภาวนานั้นอยูไดกัปปหนึ่งหรือเกินกวานั้น ตรัสโอภาสปริยายนิมิตอันแจงชัด ดังนถี้ ึง ๓ คร้งั พระอานนทก็ไมส ามารถจะรูความตามพุทธประสงค เหตุเพราะมารดลใจ ทําใหไมร ทู นั พระองคจึงใหพ ระอานนทออกไปเสยี ขางนอก คร้ันพระอานนทออกไปแลวไมน าน นัก พญาวสวัตดีมารก็เขาไปทูลอาราธนาใหเสด็จเขาสูปรินิพพาน พระองคก็ทรงรับแลว ทรงกําหนด (เรียกวา ทรงปลงอายุสังขาร) วา กาลตอจากน้ีไปอีก ๓ เดือนจึงจะปรินิพพาน ครั้นพระองคตรสั ดงั นีแ้ ลว กเ็ กดิ อศั จรรยต า ง ๆ มแี ผนดนิ ไหวเปน ตน เหตุแผน ดินไหว ๘ ประการ เมื่อพระอานนทเห็นแผนดินไหวอันเปนเหตุอัศจรรยดังน้ัน ก็มีความสงสัย จึงเขาเฝา แลว ทูลถามถึงมูลเหตุที่เกิดอัศจรรยแผนดินไหวนั้น พระองคจึงตรัสถึงเหตุ ๘ ประการ ที่ใหเกิด แผน ดนิ ไหว คอื ๑. ลมกาํ เริบ ๒. ผูม ฤี ทธบิ์ นั ดาล ๓. พระโพธสิ ตั วจุติจากดสุ ิตลงสูพระครรถ ๔. พระโพธสิ ัตวประสูติ ๕. พระตถาคตตรัสรูอนุตตรสมั มาสมั โพธญิ าณ ๖. พระตถาคตแสดงธัมมจักกปั ปวตั ตนสูตร ๗. พระตถาคตปลงอายสุ งั ขาร ๘. พระตถาคตเสด็จปรินพิ พานดว ยอนปุ าทเิ สสนนพิ พาน สถานทีท่ รงกระทาํ นมิ ติ โอภาส ๑๖ ตําบล พระอานนทไ ดท ราบวา พระพทุ ธองคท รงปลงพระชนมายุสังขารเสยี แลว จงึ ทลู อาราธนา เพ่ือจะใหพระองคดํารงพระชนมายุอยูสั่งสอนสัตวโลกตลอดกัลปหนึ่งถึง ๓ ครั้ง พระองคก็ตรัส เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 177

1๑๗7๖8 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 หามเสีย แลวตรัสวาตถาคตทํานิมิตโอภาสอันชัด และพระอานนทไมสามารถจะรู ไมไดวิงวอน ตถาคตในครั้งกอน ๆ ก็เปนความผิดของพระอานนทผูเดียว แลวพระองคไดตรัสสถานที่ ท่ีทรงทาํ นิมติ โอภาสใหพ ระอานนทท ูลอาราธนาถงึ ๑๖ สถาน อยเู มอื งราชคฤห ๑๐ สถาน คือ ๑. ภูเขาคิชฌกูฏ ๒. โคตมนโิ ครธ ๓. เหวท่ที ิ้งโจร ๔. ถํา้ สัตตบรรณคูหา ขางภเู ขาเวภารบรรพต ๕. กาฬสลิ าขางภเู ขาอิสคิ ลิ บิ รรพต ๖. เงื้อมช่ือวาสัปปโ สณฑกิ าณ ปาสตี ะวนั ๗. ตโปทาราม ๘. เวฬวุ นั ๙. ชวี กัมพวนั ๑๐. มัททกุจฉมิ คิ ทายวัน และอยเู มืองเวสาลีอกี ๖ สถาน คือ ๑. อเุ ทนเจดีย ๒. โคตมเจดีย ๓. สัตตัมพเจดยี  ๔. พหปุ ุตตเจดยี  ๕. สารันทเจดยี  ๖. ปาวาลเจดยี  รวมกัน ๑๖ สถานดว ยกันดงั น้ี ประทานโอวาทแกพระภิกษสุ งฆ ครั้นพระศาสดาตรัสแกพระอานนทดังนั้นแลว ก็เสด็จไปสูกูฎาคารศาลาปามหาวัน ตรัสใหประชุมภิกษุท้ังหลาย บรรดาที่อยูในเมืองไพสาลีนั้นแลว พระองคทรงแสดงอภิญญา เทสิตธรรม คือ โพธิปกขิธรรม และทรงแสดงสังเวคกถา และอัปปมาทธรรมวา “ภิกษุท้ังหลาย บัดน้ี เราเตือนทานทั้งหลายใหรูวา สังขารมีความเส่ือมไปเปนธรรมดา ทานท้ังหลายจงยัง 178

 1๑7๗9๗ วชิ า พทุ ธประวตั ิ ประโยชนตนและผูอื่นใหบริบูรณ ดวยความไมประมาทเถิด แตนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคต จักนิพพาน” คร้ันรุงเชา พระองคก็เสด็จเขาไปในเมืองไพสาลีเพื่อเสด็จบิณฑบาต คร้ังปจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแลว ไดทอดพระเนตรเมอื งไพสาลีเปนนาคาวโลก (อาการที่ทรงเหลียวดู อยางชาง) แลวตรัสแกพระอานนทวา คถาคตเห็นเมืองไพสาลีครั้งน้ีเปนปจฉิมทัศนะ (การเห็นคร้ัง สุดทา ย) แลวเสด็จพรอ มดว ยภกิ ษสุ งฆไ ปสบู า นภณั ฑคุ าม ตรสั อริยมรรค คอื ศลี สมาธิ ปญญา วิมุตติ เปน อรยิ ธรรม ๔ ประการ แลวแสดงไตรสิกขาสั่งสอนภิกษุ คร้ันพระองคเสด็จทําสัตตูปการกิจ ประทับ ณ บานหัตถีคาม อัมพคาม และชัมพุคาม ลวงไป ๆ ตามลําดับ เสด็จจากบานชัมพุคาม ไปยังโภคนคร ประทับอยู ณ อานันทเจดียแขวง โภคนครนนั้ ทรงแสดงมหาปเทส ๔ (หลักอางอิงใหญ ๔) ฝายพระสูตร ส่ังสอนภิกษุและไดตรัส ไตรสิกขาโดยพยัญชนะแลว พระองคพรอมดวยภิกษุสงฆพุทธบริวารเสด็จสูเมืองปาวานคร ประทับอยู ณ อัมพวัน ปามะมวงของนายจุนทะผูเปนบุตรแหงนายชางทอง ครั้นนายจุนทะ ทราบขาวจึงเขา ไปเฝา พระพทุ ธองคก ็ทรงแสดงธรรมมีกถาใหเลอ่ื มใสแลว นายจุนทกัมมารบุตร จงึ ทูลอาราธนาพระองคพรอ มท้งั ภิกษสุ งฆไ ปฉนั ภตั ตาหารในวันรุง ขนึ้ ครั้นรุงขึ้นเปนวันมหามงคลสมัย วิสาขปุรณมีดิถีเพ็ญพระจันทรเสวยวิสาขนักษัตร เปนวันที่จะปรินิพพานของสมเด็จพระศาสดาจารย ตอนเชาพระพุทธองคพรอมดวยภิกษุสงฆ เสด็จไปสูเ รอื นนายจุนทะประทับนั่งบนพุทธอาสน แลวตรัสสั่งนายจุนทกัมมารบุตรวา “ทานจง องั คาสเราดว ยมงั สะสุกรออน (สูกรมัททวะ) ท่ีทานตกแตงไวน้ันแตผูเดียวสวนขาทนียะ และโภชนียะนอกนนั้ ทานจงองั คาสภกิ ษทุ งั้ หลายเถดิ ” นายจนุ ทะก็ทําตามพทุ ธบัญชา สวนมังสะสุกรทีเ่ หลอื น้นั พระองคยังทรงรับสั่งใหเอาไป ฝง เสีย เพราะเหตุผอู น่ื นอกจากพระองคแลวไมควรบริโภค แลวก็แสดงธรรมมีกถาใหนายจุนทะ ชน่ื ชมในกศุ ลบญุ กิรยิ า แลว เสด็จไปพรอมกบั ภกิ ษุสงฆ ทรงพระประชวร เม่ือพระผูมีพระภาคเจาทรงบริโภคภัตตาหารของนายจุนทะแลวก็เกิดอาพาธกลา ทรงพระประชวรลงพระโลหิต แตพระองคทรงกลั้นซ่ึงทุกขเวทนานั้นดวยอธิวาสนขันติ ครั้นแลว พระองคจึงตรสั บอกพระอานนทวา “เรามาพรอมกันไปเมืองกุสินารา” พระอานนทก็บอกแกภิกษุ เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 179

เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 180 180

 1๑8๗1๙ วชิ า พุทธประวตั ิ ๑. บิณฑบาตทพี่ ระตถาคตเจาบริโภคแลว ตรสั รพู ระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๒. บณิ ฑบาตท่ีพระตถาคตเจา บริโภคแลวปรนิ พิ พานดว ยอนุปาทิเสสนพิ พานธาตุ เสด็จกรงุ กุสนิ ารา คร้ันแลว พระผูมีพระภาคเจาเสด็จไปพรอมดวยภิกษุสงฆ ขามแมนํ้าหิรัญวดี ถึงเมือง กุสินาราแลวบรรลุถึงสาลวันทรงตรัสใหพระอานนทแตงต้ั งปูลาดซ่ึงเตียงใหมีพระเศียรทาง ทิศอุดร พระอานนทก็ทําตามพุทธาณัติ แตงต้ังปูลาดเตียงพระแทนปรินิพพาน ในระหวาง สาลพฤกษท งั้ คูผันพระเศยี ร ณ ทิศอุดร พระศาสดาทรงสําเร็จสีหไสยาโดยขางขวา ต้ังพระบาท เหลื่อมดวยพระบาท มพี ระสติสัมปชัญญะแตมิไดอ ุฎฐานสัญญามนสิการ เพราะเปน ไสยาวสาน เรยี กวา อนฏุ ฐานไสยา การเสด็จบรรทมโดยจะไมเ สด็จลุกขึ้นอกี ทรงปรารภสกั การบชู า ครั้งนั้นตนรังทั้งคูก็ผลิดอก ออกผล โดยมิใชฤดูกาล ต้ังแตมูลรากเบ้ืองต่ําตลอดถึง ยอดดอกพฤกษาเหลานั้นก็ตกลงมายังพุทธสรีระเพ่ือจะบูชาพระตถาคต อีกท้ังดอกมณฑารพ (ดอกไมทพิ ยห รอื ดอกไมสวรรค) และจุรณแหงจันทนสุคนธชาติ อันเปนของทิพยก็ตกลงมาจาก อากาศ เพื่อจะบูชาพระตถาคตเจา ท้ังดนตรีสังคีตอันเทพเจาบรรเลงก็บันลือล่ันในอากาศเปน มหานฤนาทโกลาหลเพ่ือจะบูชาพระทศพลในอวสานกาล ครั้นแลวพระองคจึงตรัสแก พระอานนทวา “บุคคลผูบูชาพระตถาคตดวยอามิสบูชาถึงเพียงน้ีไมนับวาเปนอันบูชา บคุ คลผทู ีป่ ฏิบัติตามธรรมอนั ตถาคตตรสั แลว ผนู นั้ ชื่อวาบูชาตถาคตดวยการบชู าอยา งย่งิ ” สมัยนัน้ ทานพระอปุ วาณเถระยืนถวายงานพัดอยทู ีเ่ ฉพาะพระพักตร พระองคก็ทรงขับ ทานพระอุปวาณะน้ันใหออกไปเสีย พระอานนทมีความสงสัยจึงทูลถาม พระองคจึงตรัสวา “เทวดาในหมน่ื โลกธาตุมาประชุมเพือ่ จะเห็นพระตถาคตเตม็ ไปในที่มี ๑๒ โยชน เปนประมาณ จะหาท่ีวางจรดลงปลายขนทรายเสนหนึ่งก็มิได มีอุปวาณะมายืนบังเสีย เทวดาเหลาน้ันก็ มไิ ดเห็นตถาคตแลว” พระอานนทจึงทูลถามอีกวาเทวดาเหลาน้ัน ทําจิตเปนไฉน พระองคจึง ตรัสวา “เทวดามีความสําคัญผิดวิปลาสในอากาศวาเปนแผนดิน บางเหลาผูเปนชาวภุม สถานสําคัญในแผนดินวาอากาศดังน้ี ตางองคสยายผมยกแขนกลิ้งเกลือกโศกเศรา โศกาไปตา ง ๆ บางองคป ราศจากราคะแลว ก็พจิ ารณาไปตามสังขารวาไมเทีย่ ง” เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 181

๑1๘8๐2 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 สงั เวชนียสถาน ๔ ตําบล ครั้นแลวพระอานนทก็กราบทูลวา ภิกษุทั้งหลายท่ีจําพรรษาอยูในทิศตาง ๆ ครั้นส้ิน ไตรมาสแลว ก็พากันมาเฝาพระตถาคตโดยอาจิณวัตร พวกขาพระองคท้ังหลายก็ไดพบปะกัน คร้ันพระองคเจาปรินิพพานแลว ขาพระองคท้ังหลายจักไมเห็นกัน จักไมไดสากัจฉากันเหมือน ในกาลกอน ๆ พระองคจึงตรัสสังเวชนียสถาน ๔ ตําบลวา เปนท่ีควรจะดู ควรจะเห็น ควรจะใหเ กิดสังเวชแกก ุลบุตรผูม ีศรทั ธา คอื ๑. สถานท่ีพระตถาคตเจาประสูติจากครรภ ๒. สถานท่พี ระตถาคตเจาตรสั รอู นุตตรสัมมาสมั โพธิญาณ ๓. สถานท่พี ระตถาคตเจา ใหอ นตุ ตรธรรมจักรเปนไป (แสดงธรรมครง้ั แรก) ๔. สถานทพ่ี ระตถาคตเจาเสด็จเขาสปู รนิ พิ พานดวยอนปุ าทิเสสนพิ พานธาตุ ท้ัง ๔ สถานน้ี กุลบตุ รผมู ศี รทั ธาความเลอ่ื มใสมาถงึ เขา แลวยอ มถึงความสังเวชสลดใจ อาการทภี่ ิกษุจะพึงปฏิบตั ิในสตรี ลําดับนั้น พระอานนทจึงทูลถามขอที่จะพึงปฏิบัติในสตรี พระองคไดตรัสวา “ดูกอน อานนท ทา นทัง้ หลายพงึ ปฏิบตั ใิ นสตรีอยา งนี้ คอื ๑. อยาเห็นอยาดูเสยี เลยเปน การดี ๒. ถาจําเปนตองเห็น กไ็ มควรเจรจาดวย ๓. ถาหากวาจําเปนตองเจรจาดวย ทานทั้งหลายพึงต้ังสติไว อยาใหแปรปรวน หวั่นไหวได” วธิ ปี ฏิบตั ิในพระพุทธสรรี ะ ลําดับนั้น พระอานนทจึงทูลถามวิธีจะปฏิบัติในพระพุทธสรีระวา “ขาพระองคท้ังหลาย จะพึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตเจาเปนไฉน” พระองคจึงตรัสวา “ทานทั้งหลาย เหลาสหธรรมิกบริษัทจงอยาขวนขวายเพื่อจะบูชาสรีระแหงตถาคตเลย ถาหากวา บัณฑิตมีกษัตริยเปนตนจะพึงทํา ก็พึงทําอยางที่ทําแกพระเจาจักรพรรดิราชฉะนั้นเถิด คือพันซึ่งสรีระดวยผาใหมแลวซับดวยสําลี พันดวยผาใหมโดยอุบายอยางนี้ จนถึง 182

 1๑8๘3๑ วชิ า พุทธประวตั ิ อยางละ ๕๐๐ ชั้น แลวยกลงประดิษฐาน ณ รางเหล็กอันเต็มไปดวยนํ้ามันแลวปดดวย รางเหลก็ อน่ื ทําจิตกาธานดวยไมหอม เมอ่ื ถวายพระเพลงิ เสร็จแลว พงึ ทาํ พระสถูปไว ณ ถนนใหญ ๔ แพรง เพื่อเปนท่ีนมัสการสักการบูชาของมหาชนผูสัญจรไปมาแตทิศานุทิศ พงึ ปฏิบตั อิ ยางนีเ้ ถดิ ” ถูปารหบุคคล ๔ ครัน้ แลว พระองคจึงตรัสถึงถูปารหบุคคล คือ บุคคลผูที่ควรประดิษฐานไวในสถูป เพ่ือ บชู า ๔ ประเภท คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสมั มาสัมพทุ ธเจา ๒. พระปจ เจกพุทธเจา ๓. พระสาวกอรหนั ต ๔. พระเจาจักรพรรดิราช ทง้ั ๔ นี้ ควรแกสถูปบรรจพุ ระธาตุไวเปน ท่ีไหวนมัสการสกั การบูชา สามารถเปนปจจัย นําใหเ กดิ ในสคุ ติโลกสวรรค ดว ยประการฉะน้ี ประทานโอวาทแกพระอานนท คร้ังนั้น พระอานนทไปยืนเหน่ียวกปสีสะ (ทัพพสัมภาระคลายศีรษะวานร) คําโบราณ เรียกวา สลกั เพชรรอ งไหอยู พระศาสดาทรงทราบ ตรสั ใหเขาไปเฝา แลวตรัสวา “ดูกอนอานนท เธออยาไดโศกเศรารําพันไป เราไดบอกเธอแลวมิใชหรือวา จะตองพลัดพรากจากของ ท่ีรักท่ีชอบใจทั้งส้ิน สิ่งใดเปนของเกิดขึ้น มีขึ้น อันปจจัยแตงข้ึน สิ่งนั้นตองมีความ ฉิบหายไปเปนธรรมดา ดูกอนอานนท เธอไดอุปฐากเราดวยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มาสิ้นกาลชานาน เธอเปนบุคคลที่มีบุญ จงพากเพียรเรงเขาเถิด จักส้ิน อาสวะโดยพลนั ” เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 183

1๑๘8๒4 คูม อื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 ตรสั สรรเสรญิ พระอานนท ลําดับน้ัน พระตถาคตเจาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแลวตรัสสรรเสริญพระอานนท ในทามกลางท่ีประชุมนั้นวา “แมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจาทั้งหลายใดท่ีมีมาแลวใน อดตี และจกั มีมาในอนาคต จักมีอุปฐากก็ไมยิ่งไปกวาอานนทผูอุปฏฐากตถาคตในกาล น้ี ดกู อน ภิกษุท้ังหลาย อานนทเ ปนบัณฑติ ดําเนนิ กิจดวยปญ ญา ยอมรจู กั กาลที่เขาเฝา ของบริษัทและพวกเดียรถีย แตตถาคต ถวนถี่ทุกประการ” แลวทรงแสดงขออัศจรรยของ พระอานนท ๔ ประการ โดยพสิ ดารวา“เมือ่ ใดบริษัทเขา ใกลเ พื่อจะเห็นพระอานนท แมเห็น เธอแลว กม็ ีจิตยนิ ดี ถา อานนทแสดงธรรม บริษทั นน้ั ก็มจี ติ ชื่นชม ไมอิ่มไมเบ่ือดวยธรรมีกถา น้ันเลย คร้ันอานนทหยุดแสดง บริษัทไดสดับน้ันก็มีจิตยินดีไมอิ่มไมเบ่ือ เหมือนพระเจา จักรพรรดิราช อันใหเกิดความชื่นชมยินดีและไมอิ่มดวยภาษิตแกกษัตริย พราหมณ คฤหบดี สมณบริษทั ฉะน้นั ” ตรัสเรื่องเมืองกสุ ินารา ครั้นแลว พระอานนทจึงทูลใหพระองคเสด็จไปปรินิพพานในเมืองอื่นที่เปนเมืองใหญ พระองคทรงหามเสียและตรัสวา “อานนท เธออยาไดกลาวอยางน้ันเลย เมืองกุสินารานั้น แตกอนชื่อกุสาวดี เปนนครท่ีใหญโตได ๑๒ โยชน กวางได ๗ โยชน สมบูรณไปดวย เสียง ๑๐ ประการ คือ เสียงชาง เสียงมา เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับรอง เสียงกังสดาล เสียงสังข และเสียงคนเรียกบริโภคอาหาร เสียงท้ัง ๑๐ น้ี มไิ ดส งบทงั้ กลางวันและกลางคนื ตรสั ใหแจง ขาวการปรินพิ พานแกม ลั ลกษตั ริย คร้ันพระองคทรงแสดงวาเมืองกุสินาราเปนเมืองใหญเชนนั้นแลว จึงรับส่ังให พระอานนทเขาไปแจงขาวปรินิพพานของพระองควาจะมีในยามท่ีสุดแหงราตรีนั้น พระอานนท ก็กระทําตามรับสั่งนั้น คร้ันมัลลกษัตริยท้ังหลายทราบขาวแลวก็โศกเศราโศการําพันไปตาง ๆ แลวจึงพรอมกันมาเฝาสมเด็จพระบรมศาสดา พระอานนทก็จัดใหเฝาตามลําดับสกุลเสร็จแตใน เบ้ืองตน แหงราตรี 184

 1๑8๘5๓ วชิ า พุทธประวตั ิ โปรดสภุ ทั ทปรพิ าชก สมัยน้ัน ปริพพาชกผูหนึ่งช่ือสุภัททะ อยูในเมืองกุสินารา ไดยินขาวพระตถาคตเจาจัก ปรินิพพานในราตรีวันน้ี คิดวาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจามีขึ้นในบางครั้งบางคราว ใครจะถาม ปญหาท่ีตนสงสัยน้ันจึงไดไปสูสํานักพระอานนท เลาความตามท่ีจะเขาเฝาใหฟง พระอานนทคิดวา จะเปนการลําบากแกพระตถาคต จึงหามเสียถึง ๒ – ๓ คร้ัง คร้ันพระศาสดาไดทรงสดับเขา จึงตรัส ใหพระอานนทอ นุญาตใหสุภัททะเขาเฝาตามประสงค สุภัททะ คร้ันเขาเฝาแลวจึงถามลัทธิของ คณาจารยท้ัง ๖ คนน้ันวา ไดตรัสรูตามปฏิญาณของตนจริง ๆ หรืออยางไร พระองคจึงทรงยก ขอถามนั้นเสยี แลว ตรสั แสดงมรรคคือขอปฏบิ ัตมิ ีองค ๘ วา เปนอริยะเปนมรรคาอนั ประเสริฐ และ ทําบุคคลใหเปนสมณะได สุภัททะก็เกิดความเล่ือมใสและแสดงตนเปนอุบาสกแลวทูลขอ อุปสมบท พระศาสดาตรัสใหพระอานนทอุปสมบทให ครั้นอุปสมบทแลวก็สําเร็จพระอรหันต ในราตรีนน่ั เอง จงึ เปน ปจ ฉมิ สาวกองคสดุ ทา ยท่ไี ดเ หน็ พระศาสดา ประทานโอวาทแกภิกษุสงฆ ครั้งนนั้ พระองคจ งึ ตรัสเรียกพระอานนทใหเปนผูรับเทศนา ในการที่พระองคทรงโปรด ประทานโอวาทแกภิกษุสงฆวา “ธรรมวินัยที่เราแสดงไวแลวบัญญัติไวแลว จักเปนศาสดา ของทา นทง้ั หลายโดยกาลลว งไปแหงเรา” ครั้นแลว จึงทรงแสดงจารีตในอนาคตวา “การเรียกกันดวยคําวา อาวุโส ในบัดน้ีนั้น เปนการเสมอกันไป ท้ังแกและออน ตอแตน้ีไป ผูแกพึงเรียกผูออนกวาตนโดยชื่อโดยโคตร หรือ ใชคําวา อาวุโส แทนเสียก็ได แตภิกษุผูออนกวา พึงเรียกผูแกกวาตนดวยคําวา ภันเต หรือ อายัสมา ผอ นผนั พอสมควรแกคราวและโวหารก็ได และภิกษุมีความปรารถนาจะถอนสิกขาบท เล็กนอยเสยี ในกาลทเ่ี ราลว งไป ก็จงถอนเถิด และเมื่อเราลวงไปแลว สงฆพึงลงพรหมฑัณฑ แกพ ระฉนั นะเถดิ ” พระอานนทถามถึงการลงพรหมทัณฑ ทรงแสดงวา “ฉันนะภิกษุน้ันจะพึงปรารถนา เจรจาคําใด ก็พึงเจรจาคํานั้น ภิกษุไมพึงกลาวสั่งสอนเลย อันน้ีแหละเ รียกวา พรหมทัณฑ” ครั้นแลวพระองคจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแลวตรัสวา “หากพวกเธอ ท้ังหลายมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงในพระรัตนตรัย หรือในมรรคปฏิปทา ก็จงถาม เสีย จะมิไดเดือดรอนในภายหลัง\" พระองคตรัสเชนนั้น ถึง ๒ – ๓ ครั้ง ภิกษุทั้งหลายไดน่ิง เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 185

1๑8๘๔6 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 เสียทุกครั้ง แตภิกษุผูประชุมอยูในครั้งนั้น ๕๐๐ รูป ลวนแตเปนพระอริยบุคคลทั้งน้ัน จึงสิ้น ความสงสัย ลําดับนั้น พระผูมีพระภาคเจาจึงตรัสเรียกภิกษุท้ังหลายมาประทานพระโอวาท เปนปจฉิมวาจาคร้ังสุดทายวา “ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนทานทั้งหลายวา สังขาร ทั้งหลายมีความเส่ือมและฉิบหายไปเปนธรรมดา ทานท้ังหลายจงยังประโยชนตนและ ผูอื่นใหบริบูรณดวยความไมประมาทเถิด” ทรงรวบรวมพระโอวาทท่ีประทานแลว ๔๕ พรรษาน้นั ลงในความไมประมาทอยางเดยี ว และประทานเปนครัง้ อวสานสิ้นแตเทานี้ ปรนิ ิพพาน นับแตนั้นไปพระองคมิไดต รัสอะไรอกี เลย ทรงทําปรินิพพานบริกรรมดว ยอนุปพุ พวิหาร สมาบัติท้ัง ๔ ตามท่ีพระสังคาหกเถระเจาทั้งหลายแสดงไววา พระผูมีพระภาคเจา ทรงเขา ปฐมฌาณ แลวออกจากปฐมฌาน เขาทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน รูปาวจรสมาบัติ ทั้ง ๔ เปนลําดับไป ออกจากรูปสมาบัติท่ี ๔ เขาอรูปสมาบัติ ๔ คือ อากาสานัญจายตนะ วญิ ญาณญั จายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เม่อื ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ แลวเขาสัญญาเวทยิตนิโรธดับจิตสังขารคือสัญญาเวทนาแลว พระอานนทถามพระอนุรุทธวา พระผูม ีภาคเจานิพพานแลวหรือ พระอนุรุทธแสดงวา ยังไมนิพพาน พระองคยังเขาสัญญาเวทยิตนิโรธ อยู คร้ันแลวพระองคเสด็จออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแลวเขาสูเนวสัญญานาสัญญายตนะ ปรินิพพาน ณ ปจฉิมยามแหงราตรี วันวิสาขปุรณมีดิถีเพ็ญ ครั้นแลวก็เกิดมหัศจรรย แผน ดินไหวใหญ และความชูชันแหง โลมชาติ เปน ตน ผูแสดงสงั เวคกถา เม่ือสมัยพรอมกับปรินิพพานแหงพระผูมีพระภาคเจานั้น มีทานผูแสดงคาถาสังเวช ดงั ตอ ไปน้ี ๑. ทาวสหัมบดีพรหมกลาววา บรรดาสัตวทั้งปวงถวนหนาไมมีเหลือในโลก ลวนจะตอ งท้งิ ซึ่งรางกายไวถ มปฐพี แตอ งคศ าสดาทรงพระคณุ อันใหญห าผูเสมอมไิ ด ดบั ขันธปรินิพพาน เสยี แลว ควรจะสงั เวชยิง่ นัก ๒. ทาวโกสยี เทวราชกลา วคาถาวา สังขารทั้งหลายไมเท่ียงหนอ มีอันเกิดขึ้นแลวและ 186

 1๑8๘7๕ วชิ า พทุ ธประวัติ เสื่อมไปเปนธรรมดาเพราะอาศัย ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เขาครอบงาํ ๓. พระอนุรุทธเถระเจาไดกลาววา พระพุทธเจามีจิตไมหวั่นไหวดวยโลกธรรม หาลมหายใจเขาออกมิไดแลว พระองคปรินิพพานดวยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ประหน่ึงวา ประทปี อนั ไพโรจนดับไป ๔. พระอานนทกลาววา เม่ือพระสัมมาสัมพุทธเจาปรินิพพานแลว มหัศจรรยอัน สยดสยองมีโลมาชูชนั เปนตน ไดปรากฏแลวแกเ ทวดาและมนุษยท ้งั หลาย เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 187

1๑๘8๖8 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 อปรกาล บทท่ี ๑๓ ถวายพระเพลงิ พระพทุ ธสรีระ คร้ันพระผมู พี ระภาคเจา เสด็จปรินิพพานแลว บรรดาพุทธบริษัทท้ังหลายที่ประชุมกันอยูใน อุทยานสาลวัน ตางเศราโศกพิไรรําพันปริเทวนาการเปนท่ีนาสลดใจยิ่งนัก พระอนุรุทธเถระและ พระอานนทก ็ไดแสดงธรรมกี ถาปลอบขวญั มหาชนใหสรา งจากความเศรา โศกตามสมควรแกกาล และบริษัท คร้ันสวางแลวพระอนุรุทธเถระไดใหพระอานนทรีบเขาไปในเมืองกุสินารา แจงขาว ปรินิพพานแกมัลลกษัตริยทั้งหลาย ซึ่งขณะนั้น มัลลกษัตริยท้ังหลายก็ไดมาประชุมพรอมกัน ณ สัณฐาคาร เพ่ือรอฟงขาว เมื่อไดสดับขาวเชนน้ัน ตางก็โศกเศราอาลัยในสมเด็จพระผูมีพระภาคเจา เปน กาํ ลัง แลวประกาศขาวใหชาวเมืองกุสินาราทราบโดยทั่วกัน พรอมกันเสด็จมายังอุทยานสาลวัน ตกแตงโรงงานอันประดับดวยสรรพเคร่ืองประดับอันวิจิตร กระทําสักการบูชาพระพุทธสรีระเปน มโหฬารจนส้นิ ๖ วนั ครัน้ รงุ ขน้ึ วนั ท่ี ๗ มลั ลกษัตริยท้ังหลายไดปรึกษาพรอมใจกันใหอัญเชิญพระพุทธสรีระ แหงพระผูมีพระภาคเจาไปโดยทักษิณแหงนคร เพ่ือถวายพระเพลิงภายนอกแหงนคร คร้ังน้ัน มัลลปาโมกข ๘ พระองค ซ่ึงมีกําลังมาก สระทรงพระกายบริสุทธิ์ แลวทรงผาใหม พรอมกัน เขาไปอัญเชิญพระพุทธสรีระ แตแมใชกําลังสักเพียงใด ก็ไมสามารถจะใหพระพุทธสรีระของ พระผูมีพระภาคเจาเคล่ือนจากท่ีไดแมแตนอยหน่ึง มัลลกษัตริยพากันตกตะลึกในเหตุการณ อันอัศจรรยน้ัน จึงไปถามพระอนุรุทธเถระ พระอนุรุทธเถระตอบวา เทวดาทุกองคมีประสงค จะใหอัญเชิญพระพุทธสรีระเขาสูพระนครกอน โดยเขาทางประตูทิศอุดร เชิญไปทามกลาง พระนครแลวออกจากพระนครโดยทางประตทู ศิ บูรพา แลวอญั เชญิ ไปประดษิ ฐานถวายพระเพลงิ ที่มกุฏพันธนเจดีย ทางทิศตะวันออกแหงพระนครกุสินารา มัลลกษัตริยไดฟงดังน้ัน ก็จัดไป ตามประสงคของเทวดา ครั้นอัญเชิญพระพุทธสรีระไปประดิษฐาน ณ มกุฏพันธนเจดีย แลวก็เตรียมจะถวายพระเพลงิ ครนั้ แลวมลั ลปาโมกข ๔ องค ซ่ึงเปนตัวแทนของกษัตริยท้ังปวง ไดนําเอาเพลิงเขาไปจุดทั้ง ๔ ทิศ เพ่ือถวายพระเพลิง แตก็ไมสามารถจะจุดใหเพลิงติดข้ึนได ตามประสงค แมจ ะพยายามจุดเพียงไรก็ไมส ําเร็จ มัลลกษตั รยิ ทั้งหลายพากันอัศจรรยใ จ มีความ 188

 1๑8๘9๗ วชิ า พทุ ธประวตั ิ สงสัยย่ิงนัก จึงไดเรียนถามพระอนุรุทธเถระ ก็ไดความวาเทวดามีความประสงคจะรอคอย พระมหากัสสปเถระซึ่งเปนพระเถระผูใหญ ไดถวายบังคมเสียกอน มัลลกษัตริยทั้งหลายจึงตอง ปฏิบตั ิตามความประสงคของเทวดา สมยั น้นั พระมหากัสสปเถระพรอ มดว ยบริวารจํานวน ๕๐๐ รูป เดินทางจากเมืองปาวา เพื่อจะไปเฝา พระผูม พี ระภาคเจา ณ เมืองกุสินารา และพักใตรมไมริมทางตนหน่ึง ไดเห็นอาชีวก ผูหน่ึง ถือดอกมณฑาทิพยกั้นศีรษะเดินทางมาจากเมืองกุสินารา พระเถระเจาจึงถามถึง พระผมู พี ระภาคเจา จงึ ไดทราบวาพระพุทธองคเสดจ็ ปรินิพพานได ๗ วนั ณ วันน้ีแลว ลาํ ดับนัน้ ภิกษุสงฆท้ังหลายท่ีปราศจากราคะก็เกิดธรรมสังเวช ท่ียังเปนปุถุชน มีราคะ ยังไมหมดกโ็ ศกเศรา พากันรองไหพิไรราํ พันถงึ พระบรมศาสดา ในทันใดนั้น โดยไมมีใครนึกฝน ปรากฏมีภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งบวชเม่ือตอนแก ช่ือ สุภัททะ เปนสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ นั่นเอง มิไดมีจิตกลัวเกรงอุปชฌายอาจารย มีจิตดื้อดานสันดานหยาบ ลุกขึ้นกลาวจวงจาบ พระธรรมวินัย หามปรามพระภิกษุนอยใหญท้ังหลายวา “หยุดเทาน้ันเถิด อยาไดโศกเศรา ถึงสมณะนั้นเลย เราทั้งหลายไดพนจากพระสมณะน้ันแลว ทานสั่งสอนวาสิ่งนี้ควรส่ิงน้ี ไมควร เราเกรงกต็ องทาํ ตามเปน ความลําบากนัก ก็บัดนี้ พระองคปรินิพพานแลวเราจะ ทําสิ่งใดก็ทําไดตามใจชอบ” ฝายพระมหากัสสปเถระไดฟงคําของสุภัททะกลาวจวงจาบ เชนนั้นรูสึกสลดใจ เปนอยางย่ิง จึงคิดจะหาโอกาสทําสังคายนายกพระธรรมวินัยข้ึนไวแทนที่ พระบรมศาสดาใหจงได จึงไดกลาวธรรมีกถาโนมนาวจิตใจพระสงฆทั้งปวงใหระงับดับ ความเศราโศก แลวพาพระสงฆบริวารรีบออกเดินทางมุงตรงไปยังพระนครกุสินารา บายหนาไปยัง มกุฎพันธเจดียท่ีประดิษฐานพระพุทธสรีระ ดําเนินเขาไปใกลจิตกาธาน ทําผาอุตตราสงคเฉวียงบา ขา งหน่ึงแลวก็ถวายบังคมพระบาทยุคลแหงพระผูมีพระภาคเจาดวยเศียรเกลาของตน แมภิกษุ ท้ัง ๕๐๐ รูป ก็กระทําเหมือนอยางนั้น เม่ือพระมหากัสสปเถระและภิกษุสงฆ ๕๐๐ รูป ได ถวายบังคมแลว จิตกาธานก็รุง โรจนขึ้นโดยลําพังตนเอง พระอรรถกถาจารยพรรณนาไววา พระสรีระบางสวนก็ไหมหาเถาและถานมิได แตบางสวน คอื พระอฐั ิ พระเกสา พระโลมา พระนขา พระทันตา กับผาคูหนึ่งเหลืออยูเปนปกติ มัลลกษัตริยท้ังหลายจึงอัญเชิญพระพุทธสารีริกธาตุไปประดิษฐาน ณ สัณฐาคารศาลา ภายใน นครกุสินารา กระทําการปองกันกวดขันเพ่ือปองกันมิใหกษัตริยนครอ่ืนมาชิงเอาไป แลว ทรงกระทาํ การสมโภชพระพุทธสารรี ิกธาตตุ ลอด ๗ วนั เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 189

๑1๘9๘0 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชนั้ ตรี แบง พระบรมสารีรกิ ธาตุ ฝายกษตั ริยแ ละพราหมณ รวม ๗ พระนคร คอื ๑. พระเจาอชาตศตั รู ผูค รองนครราชคฤห ๒. พระเจา ลจิ ฉวี แหง นครไพสาลี ๓. พระเจา มหานามะ แหงกรงุ กบลิ พัสดุ ๔. พระเจา ถูลิยราช แหงอัลลกัปปนคร ๕. พระเจา โกลยิ ราช แหงรามคามนคร ๖. พระเจา มลั ลราช แหงปาวานคร ๗. มหาพราหมณ ผูค รองเมืองเวฏฐทปี กนคร ไดทราบขาว ตางก็สงราชทูตมาถึงมัลลกษัตริย พรอมยกกองทัพติดตามมา เพื่อขอสวนแบง พระบรมสารรี ิกธาตุ เพื่อนําไปสกั การบชู า ณ เมอื งของตน ฝายโฑณพราหมณ ซึ่งเปนอาจารยของกษัตริยท้ังหลายเหลาน้ัน ดําริเห็นวา จะเกิดสงครามกันแน จึงกลาวมธุรกถาอันออนหวาน แนะนําในทางสามัคคีใหเหลากษัตริย เหลาน้ันเห็นพองกันแลว จึงไดรับฉันทานุมัติจากกษัตริยท้ังปวงใหเปนผูแบง พระบรมสารีริกธาตุ ขณะที่กษัตริยทั้งปวงกําลังเศราโศกอยูน้ัน โทณพราหมณเห็นเปนโอกาส จึงไดหยิบเอา พระทักษิณทาฐธาตุ คือ พระเขี้ยวแกวขางขวาเบ้ืองบน ขึ้นซอนไวในมวยผม แลวจัดการแบงสวนพระบรมสารีริกธาตุดวยทะนานทองได ๘ สวนเทา ๆ กัน ถวายแก กษัตริยและพราหมณ ทง้ั ๘ พระนคร ขณะท่ีโทณพราหมณกําลังตักตวงพระบรมสารีริกธาตุอยูนั้น ทาวสักกะอมรินทร เทวาธิราช ทราบวาโทณพราหมณคิดไมชอบลอบหยิบเอาพระทักษิณทาฐธาตุซอนไว ในมวยผม จึงแฝงกายลงมาหยิบเอาพระทักษิณทาฐธาตุอัญเชิญลงในพระโกศทอง ยกขึ้นเหนือ เศียรเกลาอัญเชิญไปบรรจุไว ณ พระจุฬามณีเจดียสถานในเทวโลก ฝายโทณพราหมณ ครั้นแบง พระบรมสารีรกิ ธาตเุ สร็จเรียบรอ ยแลว ก็ยกมอื ข้นึ เสยมวยผม เพือ่ คนหาพระทักษณิ ทาฐธาตุ เม่ือไมพบก็เสียใจเปนอันมาก จึงไดขอทะนานสําหรับตวง (ตุมพะ) พระบรมสารีริกธาตุ เพ่ืออัญเชิญไปบรรจุไวในพระสถูปเจดีย ฝายโมริยกษัตริยในเมืองปปผลิวันไดรับทราบขาว ปรินิพพาน ก็สงทูตานุทูตมาขอสวนแบงบาง แตพระบรมสารีริกธาตุ ไดจัดแบงเปนสวน ๆ ไปหมดแลว มลั ลกษัตรยิ จ ึงมอบพระองั คารใหไป เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 190

 1๑9๘๙1 วชิ า พทุ ธประวตั ิ ประเภทแหง พระสถปู เจดยี  พระสถปู ทัง้ หลายทส่ี รา งเพ่ือบรรจพุ ระบรมสารรี ิกธาตุ และพระบรขิ ารของใชประจาํ องค พระบรมศาสดานั้น จดั เปน สัมมาสัมพทุ ธเจดยี  ซ่งึ แบงเปนประเภทได ๔ ประเภท คอื ๑. ธาตุเจดีย ไดแก เจดียที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา ซึ่งกษัตรยิ แ ละพราหมณท ั้ง ๘ นคร นําไปประดษิ ฐานยงั เมืองของตนๆ ๒. บริโภคเจดีย ไดแก ตุมพสถูป อังคารสถูป สังเวชนียสถาน ๔ ตําบล บาตร จีวร และพระบริขารพิเศษมี ธมกรก เสนาสนะ เตียง ตั่ง กุฎี วิหาร ส่ิงเหลานี้พระพุทธองค ทรงบรโิ ภคใชส อย จดั เขา ในประเภทบรโิ ภคเจดียท ั้งสน้ิ ๓. ธรรมเจดีย ไดแก เจดียท ี่บรรจพุ ระธรรมคําสอน ซง่ึ เปน พุทธภาษติ แทท่จี ารึกลงบน แผนทองแผน ศิลาและใบลาน เปน ตน ประดษิ ฐานไวเ ปน ปชู นยี วตั ถุเคร่อื งเตอื นจิต ๔. อุทเทสิกเจดีย ไดแก พระพุทธรูป ประติมากรรมตาง ๆ ท่ีสรางดวยวัตถุมีคา มากบางนอยบาง เชน ทําดวยเงิน ทอง แกวมณี ศิลา โลหะ ดิน ปูน และไม เปนตน มากมาย หลายประการ ประดิษฐานไวเปนปูชนียวัตถุ สําหรับสกั การบชู าและเตอื นจติ พทุ ธศาสนกิ ชน การทําสังคายนา เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจาปรินิพพานแลว พระสงฆสาวกท้ังหลายไดนําเอา พระธรรมวนิ ยั มาทาํ การสงั คายนารอยกรองใหเปนหมวดหมู ปฏิบัติทรงจํากันมาเปนลําดับ ๆ ซึ่งนับ การทําสังคายนาคร้ังใหญ ๆ จาํ นวน ๕ ครง้ั คือ คร้ังท่ี ๑ หลังจากพระพุทธองคปรินิพพานแลวได ๓ เดือน พระมหากัสสปเถระ เปนประธาน พรอมดวยภิกษุสงฆ ๕๐๐ รูป ปรารภถึงคําของสุภัททะภิกษุกลาว จว งจาบในคราวเดนิ ทางมาแตเ มอื งปาวา มีพระเจาอชาตศัตรูเปนศาสนูปถัมภก ทาํ ทีถ่ ํา้ สัตตบรรณคูหา ขา งภูเขาเวภารบรรพต ทาํ อยู ๗ เดือน จงึ สําเรจ็ คร้งั ท่ี ๒ หลังจากพระพุทธองคปรินิพพานแลวได ๑๐๐ ป พระยสกากัณฑกบุตร เปนประธาน พรอมดวยภิกษุสงฆ ๗๐๐ รูป ปรารภวัตถุ ๑๐ ประการ มีพระเจากาลาโศกราช เปนศาสนูปถมั ภก ทําที่วาลกุ าราม เมอื งเวสาลี ทาํ อยู ๘ เดือน จึงสาํ เร็จ คร้ังที่ ๓ หลังจากพระพุทธองคปรินิพพานแลวได ๒๑๘ ป พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 191

1๑๙9๐2 คูมอื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี คร้ังที่ ๔ เปนประธาน พรอมดวยภิกษุสงฆ ๑,๐๐๐ รูป ปรารภพวกเดียรถียปลอมบวช คร้งั ที่ ๕ มีพระเจาอโศกมหาราชเปนศาสนูปถัมภก ทําท่ีวัดอโศการาม เมืองปาตลีบุตร ทาํ อยู ๙ เดอื น จึงสาํ เร็จ หลังจากพระพุทธองคปรินิพพานแลวได ๒๓๖ ป พระมหินทเถระเปนประธาน พรอมดวยภิกษุสงฆ ๖,๘๐๐ รูป ปรารภเหตุที่จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาใน ลังกาทวีป มีพระเจาเทวานัมปยติสสะเปนศาสนูปถัมภก ทําอยู ๑๐ เดือน จงึ สาํ เร็จ หลังจากพระพุทธองคปรินิพพานแลวได ๔๕๐ ป พระพุทธทัตตเถระ เปนประธาน พรอมดวยภิกษุสงฆ ๑,๐๐๐ รูป ปรารภเหตุจะไมมีผูทรงจําดวย มุขปาฐะได จึงจารึกตัวอักษร มีพระเจาวัฏฏคามินีอภัยเปนศาสนูปถัมภก ทาํ ทอ่ี าโลกเลณสถานในลงั กาทวปี ทาํ อยู ๑ ป จึงสาํ เรจ็ ขอ ควรจาํ ๑. เสด็จลงถอื ปฏสิ นธิ วันพฤหัสบดี ข้ึน ๑๕ ค่ํา เดือน ๘ ประกา กอนพุทธศก ๘๑ ป ๒. ประสตู จิ ากพระครรภ วันศกุ ร ข้นึ ๑๕ ค่ํา เดอื น ๖ ปจ อ กอนพุทธศก ๘๐ ป ๓. เสวยราชสมบตั ิ วันเสาร ข้ึน ๑๕ คํา่ เดือน ๑๒ ปฉ ลู กอ นพทุ ธศก ๖๔ ป ๔. ออกบรรพชาอปุ สมบท วันอาทติ ย ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดอื น ๘ ปเ ถาะ กอ นพุทธศก ๕๑ ป ๕. อปุ สมบท วนั จนั ทร แรม ๑ คํ่า เดอื น ๓ ปเ ถาะ กอ นพทุ ธศก ๔๓ ป ๖. มารผจญ วันพธุ ขึน้ ๑๕ คาํ่ เดือน ๖ ปว อก กอ นพทุ ธศก ๔๖ ป ๗. ตรสั รู วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่าํ เดอื น ๖ ปร ะกา กอ นพทุ ธศก ๔๕ ป ๘. แสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันเสาร ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๘ ประกา กอนพุทธศก ๔๕ ป ๙. ปลงอายุสังขาร วันอาทติ ย ขึน้ ๑๕ คํ่า เดือน ๓ ปม ะเส็ง กอ นพทุ ธศก ๒ ป ๑๐. เสด็จดบั ขันธปรนิ พิ พาน วนั องั คาร ขึน้ ๑๕ คํา่ เดอื น ๖ ปม ะเสง็ กอนพุทธศก ๑ ป ๑๑. ถวายพระเพลิง วนั พธุ แรม ๘ ค่าํ เดอื น ๖ ปมะเสง็ พทุ ธศกลว งได ๗ วัน ๑๒. แจกพระบรมสารีริกธาตุ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ คํ่า เดือน ๗ ปมะเส็ง พุทธศักราช ลว งได ๑๖ วัน เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 192

 1๑9๙3๑ วชิ า พทุ ธประวตั ิ แบงพระชนมายขุ องพระพทุ ธเจา ๑. อยใู นครรภ ๑๐ เดอื นบริบูรณ ๒. ดาํ รงฆราวาสกอ นมพี ระชายา ๑๖ พรรษา ๓. เสวยราชสมบัติอยู ๑๓ พรรษา ๔. ทรงทําทุกกรกริ ยิ าอยู ๖ พรรษา ๕. ทําบาํ เพญ็ พุทธกิจอยู ๔๕ พรรษา เหตกุ ารณใ นระหวา งพระชนมายุ ๑. ขนานพระนามเม่ือพระชนมายไุ ด ๕ วนั ๒. พระมารดาทวิ งคตเมอ่ื พระชนมายไุ ด ๗ วนั ๓. อภิเษกสมรสเมื่อพระชนมายไุ ด ๑๖ พรรษา ๔. เสดจ็ ออกบรรพชาเมื่อพระชนมายไุ ด ๒๙ พรรษา ๕. ตรสั รูเ มือ่ พระชนมายไุ ด ๓๕ พรรษา ๖. ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได ๘๐ พรรษา เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 193

๑1๙9๒4 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี วชิ าพทุ ธ : ศาสนพิธี ความรูเ บอ้ื งตน คําวา ศาสนพิธี แยกเปน ๒ คาํ คอื คําวา ศาสนา กบั คําวา พธิ ี คาํ วา ศาสนา หมายถึง คาํ สอน คาํ วา พิธี หมายถงึ ระเบยี บแบบแผน หรือ แบบอยางท่พี ึงปฏบิ ตั ิ คําวา ศาสนพิธี จึงหมายถึง ระเบียบ แบบแผน หรือแบบอยางที่พึงปฏิบัติในศาสนา เมื่อนํามาใชในพระพุทธศาสนา จึงหมายถึง ระเบียบแบบแผนหรือแบบอยางท่ีพึงปฏิบัติใน พระพทุ ธศาสนา ศาสนพิธีเปนส่ิงที่เกิดขึ้นภายหลังศาสนา คือ มีศาสนาเกิดข้ึนกอนแลว จึงมีพิธีตาง ๆ เกิดตามมา และเปนส่ิงที่มีอยูในทุกศาสนาโดยจัดเปนองคประกอบหนึ่งของศาสนา ซึ่งแตกตาง กันไปตามลักษณะความเช่ือของศาสนานั้น ๆ โดยเปรียบศาสนพิธีเสมือนหน่ึงเปลือกไมท่ีคอย หอ หมุ แกนของตนไมคือเน้ือแทข องศาสนาไดแ กพ ระสทั ธรรมไว เหตุเกดิ พทุ ธศาสนพธิ ี หลังจากที่พระพุทธเจาไดทรงเเสดงหลักคําสอนอันเปนหลักการ ที่เรียกวา “หัวใจ สําคัญของพระพุทธศาสนา” หรือ “โอวาทปาติโมกข” อันเปนการสรุปคําสอนทั้งหมด ๓ ประการ คอื ๑. สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไมท ําบาปท้ังปวง ๒. กุสลสสฺ ูปสมปฺ ทา การทาํ ความดใี หถงึ พรอม ๓. สจติ ฺตปรโิ ยทปนํ การทาํ จิตใหบ รสิ ทุ ธิผ์ อ งใส โดยหลักการทั้ง ๓ น้ี พุทธบริษัทตองพยายามลด ละ เลิกความประพฤติช่ัวทุกอยาง และ พยายามบําเพญ็ กศุ ลคือคุณงามความดีสําหรับตนใหถึงพรอม พรอมทั้งตองพยายามฝกจิตชําระ ใจของตนใหผองใสบริสุทธ์ิอยูเสมอ การพยายามทําตามหลักคําสอนในหลักการน้ี เปนการ พยายามทําความดี คือ การทําบุญ ซึ่งพระพุทธเจาไดทรงแสดงหลักการทําบุญหรือ เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 194

 1๑9๙๓5 วชิ า พุทธประวัติ วธิ กี ารบําเพ็ญบญุ เรยี กวา บุญกิริยาวตั ถุ ๓ ประการ คือ ๑. ทานมยั บญุ สําเร็จโดยการบรจิ าคทาน ๒. สีลมยั บุญสาํ เร็จโดยการรักษาศีล ๓. ภาวนามยั บุญสําเรจ็ โดยการเจรญิ ภาวนา หลักการทําบุญท้ัง ๓ น้ี จึงทําใหเกิดพิธีกรรมหรือศาสนพิธี เพ่ือจะไดเปนแบบแผน หรอื แนวทางปฏบิ ัติในการบําเพ็ญบญุ ประเภทของศาสนพธิ ี ศาสนพิธีในพระพุทธศาสนา แบง ออกเปน ๔ หมวด คอื ๑. กศุ ลพิธี วาดว ยพิธีบําเพ็ญกศุ ล ๒. บญุ พธิ ี วาดวยพธิ ที ําบุญ ๓. ทานพธิ ี วาดว ยพิธีถวายทาน ๔. ปกณิ ณกพธิ ี วา ดว ยพิธีเบด็ เตล็ด หมวดท่ี ๑ กศุ ลพธิ ี กุศลพิธี คือ พิธีบําเพ็ญกุศล หมายถึง พิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องดวยการกระทํา ความดที างพระพุทธศาสนา เปนพิธีทีพ่ ุทธศาสนิกชนทุกคนพึงทราบเพ่อื ปฏิบัติไดโดยถูกตอง ตามระเบยี บพิธี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 195

เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 196 196

 19๑๙7๕ วชิ า พุทธประวตั ิ ๓. เมื่อจะปลูกฝงนิสัยเด็กและเยาวชนใหมั่นคงในพระพุทธศาสนา สถานศึกษาท่ีเห็น ความสําคัญของพระพุทธศาสนา มักนิยมประกอบพิธีใหนักเรียนที่เขาศึกษาใหมไดแสดงตน เปน พทุ ธมามกะ ๔. เมื่อมีบุคคลตางศาสนาเกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตองการจะประกาศเปน ชาวพทุ ธ ระเบยี บพธิ ีในการแสดงตนเปน พทุ ธมามกะ ๑. มอบตัว ผูที่จะแสดงตนเปนพุทธมามกะ ตองไปมอบตัวกับพระอาจารย หรือ พระเถระทต่ี นเคารพนบั ถือ และแจง ความประสงคตนใหทา นทราบ ๒. เตรียมการ ตองมีการเตรียมการใหพรอม ทั้งฝายสงฆ และฝายผูแสดงตน โดยเฉพาะฝายผูแสดงตน ตองเตรียมเครื่องแตงกายใหเรียบรอย (ผานุงและผาหมควรเปน สีขาว) และตองเตรียมเครื่องสักการะสําหรับถวายพระอาจารยในพิธีเฉพาะตน ๆ ดวย คือ ดอกไม ธปู เทยี น ๓. พิธีการ ผูแสดงตนเขาไปน่ังคุกเขาหนาโตะหมูบูชา จุดธูปเทียนและวางดอกไม บูชาพระนอมใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย พรอมกับเปลงวาจากลาวคําบูชาพระรัตนตรัยและ คํานอบนอ มพระพทุ ธเจา คอื ต้ังนโม ๓ จบ แลวกลา วคาํ ปฏญิ าณตนพรอ มคําแปล คอื เอสาหํ ภนเฺ ต สจุ ริ ปรนิ พิ พฺ ตุ มปฺ  ตํ ภควนตฺ ํ สรณํ คจฉฺ ามิ ธมมฺ จฺ สงฆฺ จฺ พุทธฺ มามโกติ มํ สงโฺ ฆ ธาเรตุ. คําแปล ขาแตพระสงฆผูเจริญ ขาพเจาถึ งพระผูมีพระภาคเจาพระองคนั้น แมปรินิพพานนานแลว ทั้งพระธรรม และพระสงฆ เปนที่พึ่ง ท่ีระลึก ที่นับถือของขาพเจา ขอพระสงฆจงจําขาพเจาไววา เปนพุทธมามกะ ผูรับเอาพระพุทธเจาเปนที่พึ่งของตน คือ ผูยอมรบั นบั ถอื พระพุทธเจา หมายเหตุ : คําท่ีขีดเสนใต ถาวาพรอมกันหลายคน ใหเปล่ียนดังน้ี :- เอสาหํ ชายว่า เอเต มย,ํ หญงิ ว่า เอตา มย,ํ คจฉฺ ามิ เปน คจฉฺ าม, พทุ ธฺ มามโกติ เป็น พุทฺธมามกาต,ิ มํ เป็น โน และเปลยี นคาํ แปลว่า ขา พเจา เป็น ขาพเจาทั้งหลาย เมอื กล่าวคาํ ปฏญิ าณเสรจ็ แลว้ พระสงฆป์ ระนมมอื รบั ว่า สาธุ พรอ้ มกนั และใหโ้ อวาท เสรจ็ แลว้ ผแู้ สดงตนพงึ กล่าวคาํ อาราธนาศลี ๕ คาํ ขอถงึ พระรตั นตรยั (พทุ ฺธํ สรณํ คจฉฺ ามิ ฯลฯ) และคาํ สมาทานศลี ถา้ มเี ครอื งไทยธรรมพงึ นํามาประเคน ในลาํ ดบั นี เมอื พระอาจารยว์ ่า ยถา... พงึ กรวดนํา และประนมมอื รบั พร เมอื จบแลว้ พงึ คกุ เขา่ กราบ ๓ ครงั เป็นอนั เสรจ็ พธิ ี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 197

1๑๙9๖8 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 ๒. พิธีรกั ษาอโุ บสถศีล คําวา อุโบสถ แปลวา การเขาจํา หมายถึง การตั้งใจสมาทานรักษาศีล ๘ อยางเครงครัด ซ่ึงเปนอุบายขัดเกลากิเลสอยางหยาบใหเบาบาง และเปนทางแหงความสงบระงับ ดังน้ัน พุทธบริษัทฝายคฤหัสถคือ อุบาสก อุบาสิกาจึงควรประพฤติปฏิบัติดวยการสมาทานศีล ตามโอกาสอนั สมควร อโุ บสถของคฤหัสถม ี ๒ อยาง ๑. ปกติอุโบสถ อุโบสถตามปกติ หมายถึง อุโบสถท่ีรับรักษากันตามปกติเฉพาะ วันหนึ่งคืนหนึ่ง ดังที่อุบาสกอุบาสิการักษากันอยูในวันอุโบสถ คือ วันธรรมสวนะหรือวันพระ (๘ ค่าํ ๑๕ คา่ํ หรือ แรม ๑๔ คํา่ ) ในปจจบุ นั ๒. ปฏิชาครอุโบสถ อุโบสถที่กําหนดเฉพาะ หมายถึง อุโบสถท่ีรับรักษาเปนพิเศษ คอื รักษาคราวละ ๓ วัน โดยกําหนดใหมีวันรับ วันรักษา และวันสง เชน จะรักษาอุโบสถในวัน ขึ้น ๘ ค่ํา ตองรับและรักษามาแตวันข้ึน ๗ ค่ํา ไปจนสิ้นสุดวันขึ้น ๙ คํ่า คือไดอรุณใหมของวัน ขึน้ ๑๐ คาํ่ จงึ หยดุ รักษา การรักษาอโุ บสถโดยเนอ้ื แทก ค็ ือการสมาทานศลี ๘ อยา งเครง ครดั นั่นเอง จัดเปน เอกัชฌสมาทาน คือ สมาทานรักษาไมใหขาดขอใดขอหนึ่ง มีความม่ันคงอยูดวยความผูกใจ ตลอดกาล ในอุโบสถท่ีกําหนดสมาทานนั้น ซึ่งเปนเหตุใหเกิดประโยชนอยางสําคัญ โดยมี ระเบยี บพิธีการรักษาท่ีปฏบิ ตั ิสืบตอกนั มา ดงั น้ี ในวนั ทจี ะรกั ษาอโุ บสถ พงึ ตนื แต่เชา้ ก่อนรุ่งอรุณ ชาํ ระร่างกายใหส้ ะอาดแลว้ บชู าพระ เปล่งวาจาอธษิ ฐานอุโบสถดว้ ยตนเองก่อนว่า อิมํ อฏฐงฺคสมนฺนาคตํ พุทฺธปฺ ตฺตํ อุโปสถํ อิมฺจ รตฺตึ อิมฺจ ทิวสํ สมฺมเทว อภิรกฺขิต฿ สมาทิยามิ : ขาพเจาขอสมาทานอุโบสถ พุทธบัญญัติประกอบดวยองคแปดประการน้ี เพื่อจะรักษาไวใหดี มิใหขาด มิใหทําลาย ตลอดคืนหนง่ึ และวันหนง่ึ ในเวลาน้ี ในวันอุโบสถซงึ ส่วนใหญ่จะเป็นวนั ธรรมสวนะ (วนั พระ) ภายในวดั พระสงฆ์จะลง ประชุมกนั ในพระอุโบสถเป็นตน้ บางแห่งมกี ารทาํ บุญตกั บาตรทวี ดั ประจํา พระภกิ ษุสามเณร ลงฉันอาหารบิณฑบาตพร้อมกนั ทงั วดั เสรจ็ ภตั ตาหารแลว้ กลบั กุฏิ ทาํ สรรี กจิ พอสมควรแล้ว ลงประชุมพร้อมกนั อกี ครงั หนึงตอนสาย พอพระภิกษุสามเณรทําวตั รเชา้ เสร็จแล้ว อุบาสก 198

199 199 เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1

2๑๙0๘0 คมู อื การศกึ ษานกั ธรรมชน้ั ตรี เน้อื ใน นกั ธรรม ช้นั ตรี เลม 1 คําสมาทานอโุ บสถศลี ปาณาตปิ าตา เวรมณี สกิ ขฺ าปทํ สมาทยิ ามิ. อทนิ ฺนาทานา เวรมณี สิกขฺ าปทํ สมาทยิ าม.ิ อพฺรหมฺ จรยิ า เวรมณี สิกขฺ าปทํ สมาทยิ าม.ิ มสุ าวาทา เวรมณี สกิ ฺขาปทํ สมาทยิ าม.ิ สุราเมรยมชฺชปมาทฏ านา เวรมณี สกิ ขฺ าปทํ สมาทิยามิ. วกิ าลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทยิ ามิ. นจฺจคตี วาทติ วสิ กู ทสฺสนมาลาคนธฺ วเิ ลปนธารณมณฑฺ นวิภสู นฏ านา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ. อจุ จฺ าสยนมหาสยนา เวรมณี สกิ ฺขาปทํ สมาทยิ ามิ. ๓. พิธีเวียนเทยี นในวันสาํ คญั ทางพระพุทธศาสนา การเวียนเทยี น หมายถงึ การท่ีพุทธบริษัทถือเคร่ืองบูชา มีดอกไม ธูป เทียน เปนตน ประนมมือทําประทักษิณ คอื เดินเวียนขวารอบพระอุโบสถหรือปูชนียวตั ถุในวัด เพือแสดง ความเคารพ และสาํ รวมใจน้อมระลกึ ถงึ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสงั ฆคุณ โดยในระหว่าง เดนิ เวยี นรอบทหี นึง พงึ ตงั ใจระลกึ ถงึ พระพุทธคุณโดยนัยบทว่า อิติป โส ภควา ...รอบทสี อง พงึ ตงั ใจระลกึ ถงึ พระธรรมคณุ โดยนยั บทวา่ สวฺ ากขฺ าโต ภควตา ธมโฺ ม... และรอบทสี าม พงึ ตงั ใจระลกึ ถงึ พระสงั ฆคณุ โดยนยั บทวา่ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงโฺ ฆ.... วนั สาํ คญั ทางพระพทุ ธศาสนาทพี ทุ ธศาสนิกชนนิยมประกอบพธิ เี วยี นเทยี น มี ๔ วนั คอื ๑. วันวิสาขบูชา ตรงกบั วนั เพ็ญเดือน ๖ แต่ในปีทมี อี ธิกมาส (คอื มีเดือน ๘ สองหน) ก็เลือนไปเป็นวนั เพญ็ เดือน ๗ เป็นวนั คล้ายวันประสูติ ตรสั รู้ และเสด็จดบั ขนั ธปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า หรอื เรยี กว่า “วันพระพุทธเจา” องค์การสหประชาชาติได้มมี ติรบั รองให้ วนั วสิ าขบชู าเป็น “วันสาํ คญั สากลของโลก” เม่ือวนั ท่ี ๑๓ ธนั วาคม ๒๕๔๘ ๒. วันอัฏฐมีบูชา ตรงกบั วนั แรม ๘ คาํ เดอื น ๖ (เดอื น ๗ ในปีทมี อี ธกิ มาส) นับถดั จาก วันวิสาขบูชาไป ๘ วัน เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า ณ 200


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook