๑๐๐ ปี รอ้ ยเรอื่ ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่ปรกึ ษา สมเด็จพระวันรัต (จนุ ท์ พรหมฺ คตุ ฺโต) พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธ์ิ (อนิลมาน ธมมฺ สากิโย) พลอากาศตรี หมอ่ มหลวงประกิตติ เกษมสนั ต์ คณะท�ำงาน อาทติ ย์ ชรี วณิชย์กุล ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ดนัย พลอยพลาย ปองรกั เกษมสันต์ ประสานงาน พจมาลย์ เกยี รตธิ ร ลีนวตั ร ธรี ะพงษร์ ามกลุ นารา ผุดมาก ศลิ ปกรรม วรมันต์ โสภณปฏมิ า พิสูจน์อกั ษร ชนิ ภัทร หนสู งค์ ขอ้ มลู ทางบรรณานกุ รม อาทิตย์ ชรี วณชิ ยก์ ุล และคณะ 100 ปี ร้อยเรอ่ื ง สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส.— กรุงเทพฯ: มูลนิธมิ หามกฏุ ราชวทิ ยาลัยในพระบรมราชูปถมั ภ,์ 2564. 242 หน้า. 1. ประวตั ิศาสตร์ 2. วรรณกรรม 3. พทุ ธศาสนา 4. ภาษา I. ชอ่ื เรื่อง. 922.943 ISBN 978-616-7682-56-3 จัดพมิ พ์โดย มลู นิธิมหามกุฏราชวทิ ยาลัยในพระบรมราชูปถมั ภ์ พมิ พค์ ร้งั แรก ธันวาคม ๒๕๖๔ จ�ำนวนพมิ พ์ ๑,๐๐๐ เล่ม พมิ พท์ ่ี โรงพิมพ์มหามกุฏราชวทิ ยาลัย
ค�ำปรารภ เนื่องในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหา สมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ครบ ๑๐๐ วัสสา วนั ท่ี ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แหง่ สหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศสดุดีพระเกียรติคุณ และร่วมกับ รัฐบาลไทยและคณะสงฆ์ไทยจัดการเฉลมิ พระเกียรติในวาระสำ� คญั ดงั กลา่ ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ท่ี ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงบ�ำเพ็ญพระกรณียกิจใหญ่น้อยอันเป็นคุณูปการแก่พระศาสนาและ พระราชอาณาจักรเป็นอเนกปริยาย ทรงรับสนองพระบรมราโชบายของ สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทั้งในกิจการของคณะสงฆ์ การศึกษา พระปริยัติธรรม ตลอดจนการศึกษาของคฤหัสถ์ตามแบบแผนสมัยใหม่ เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ด้วยพระปรีชาสามารถและ พระวิริยภาพอุตสาหะอันย่ิง พ้นท่ีจะพรรณนาได้ กอปรให้เกิดประโยชน์ เกอื้ กลู มน่ั คงมาจนถงึ ปจั จบุ ันนี้ (๔)
การท่ีราชสกุลเกษมสันต์ อันสืบสาขาแต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานรุ กั ษ์ (พระองคเ์ จา้ เกษมสนั ตโ์ สภาคย)์ พระเชษฐารว่ ม เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ ๔ ได้ประสานงานในการจัดท�ำหนังสือ “๑๐๐ ปี รอ้ ยเรอื่ ง สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส” ขน้ึ เพอื่ ร่วมเฉลิมพระเกยี รตแิ ละแสดงกตัญญูกตเวทิตาในโอกาสพิเศษน้ี จึงเปน็ กจิ อนั พงึ โสมนสั อนโุ มทนายง่ิ ดว้ ยสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ พระองค์ นั้นทรงพระปรีชาญาณกว้างขวางและสุขุมลุ่มลึก สมควรที่อนุชนและ เยาวชนทั้งหลายจักได้ศึกษาพระประวัติ พระนิพนธ์ และพระกรณียกิจ ต่างๆ และนอ้ มนำ� เป็นแบบอย่างแกต่ นสืบไป ในนามของคณะสงฆ์ อาตมภาพขออนโุ มทนาแกร่ าชสกุลเกษมสนั ต์ นกั วชิ าการผเู้ ขยี นบทความ ตลอดจนคณะทำ� งานทกุ ทา่ นทกุ คนทม่ี สี ว่ นรว่ ม ในการจัดท�ำหนังสือน้ี ด้วยเดชานุภาพแห่งพระรัตนตรัย ขอท่านทั้งหลาย จงมีความสุขความเจริญสวสั ดโี ดยทว่ั กัน (สมเดจ็ พระวนั รัต) กรรมการมหาเถรสมาคม ผูป้ ฏิบตั หิ น้าทเ่ี จ้าคณะใหญ่คณะธรรมยตุ เจา้ อาวาสวดั บวรนเิ วศวหิ าร ผอู้ �ำนวยการมูลนิธมิ หามกฏุ ราชวทิ ยาลัย ในพระบรมราชูปถมั ภ์ (๕)
ค�ำน�ำ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงบ�ำเพ็ญกิจอันอ�ำนวยประโยชน์เกื้อกูลแก่พระศาสนาและบ้านเมือง เป็นอันมาก ทรงวางแบบแผนการบริหารคณะสงฆ์ ทรงวางหลักสูตร การศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนทรงพระนิพนธ์ต�ำราส�ำหรับศึกษา พระปรยิ ตั ธิ รรมซงึ่ ยงั คงใชอ้ ยจู่ นปจั จบุ นั น้ี ประการสำ� คญั ทรงเปน็ ผอู้ ำ� นวย การจัดการศกึ ษาในหวั เมอื งตลอดพระราชอาณาจักร ด้วยพระกรณียกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่มหาชนเป็นอเนก ประการ ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี การส้ินพระชนม์ของสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้มีมติประกาศสดุดีพระเกียรติคุณ และร่วมกับรัฐบาลไทย ตลอดจนคณะสงฆ์ไทย ในการเฉลิมพระเกียรติในวาระส�ำคัญดังกล่าว โดยร่วมกันจัดกิจกรรม “พระมหาสมณานุสรณ์” อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การสน้ิ พระชนมข์ องสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสขน้ึ การนี้ ราชสกุลเกษมสันต์ ซึ่งสืบสาขาแต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์) พระเชษฐา รว่ มเจา้ จอมมารดาแพ ในรชั กาลที่ ๔ จงึ ไดป้ ระสานงานในการจดั ทำ� หนงั สอื “๑๐๐ ปี รอ้ ยเรอื่ ง สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส” ขนึ้ เพ่ือรว่ มเฉลมิ พระเกียรตใิ นโอกาสพเิ ศษน้ี ประกอบด้วยบทความ วชิ าการของนกั วิชาการรุ่นใหมจ่ ากสถาบนั การศึกษาและหนว่ ยงานต่าง ๆ จ�ำนวน ๒๐ บทความ ซึ่งศึกษาพระประวัติ พระจริยวัตร พระ กรณียกิจ และพระนพิ นธข์ องสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ วโรรส ตลอดจนความสัมพันธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น กับบุคคลส�ำคัญต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังศึกษาความรับรู้เกี่ยวกับสมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ ในปริบทปจั จบุ ันดว้ ย (๖)
หนังสือนี้เป็นส่วนหน่ึงของโครงการ “๑๐๐ ปี ร้อยเร่ือง สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส” ซ่ึงราชสกุลเกษมสันต์ ร่วมกับวัดบวรนิเวศวิหารจัดท�ำข้ึน เพ่ือแสดงความกตัญญูกตเวที สนอง พระเดชพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์น้ัน ประกอบด้วยการ จัดพิมพ์หนังสือและการจัดท�ำส่ือออนไลน์ เพ่ือเผยแพร่ความรู้เก่ียวแก่ พระประวัติ พระนิพนธ์ และพระกรณียกิจต่าง ๆ แก่สาธารณชนในวงกว้าง ทั้งพระภิกษุสงฆ์ บุคคลท่ัวไป และโดยเฉพาะอย่างย่ิงเยาวชน โดยอาศัย มุมมองการศึกษาวิเคราะห์วิจารณ์ของนักวิชาการรุ่นใหม่จากสถาบัน การศึกษาต่าง ๆ รวมท้ังนักวิชาการอิสระ อันเป็นการเทิดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระผู้ทรงเปน็ ปราชญ์ แหง่ แผ่นดินอยา่ งย่งั ยืน ในนามของราชสกุลเกษมสันต์ ขอกราบนมัสการขอบพระเดช พระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ท่ีได้ให้ความเมตตาแก่ ราชสกุลเกษมสันต์ได้มีส่วนร่วมในการจัดท�ำโครงการฯ ขอขอบคุณ นักวิชาการผู้เขียนบทความ ตลอดจนคณะท�ำงานทุกท่านที่มีส่วนร่วม ในการจัดท�ำหนงั สือน้ี หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสอื นจ้ี ะเป็นประโยชน์แกผ่ ูส้ นใจ และเป็น เครื่องบูชาพระคุณอันไพศาลแห่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส สมดังกุศลเจตนาทุกประการ พลอากาศตรี หมอ่ มหลวงประกติ ติ เกษมสนั ต์ ในนามราชสกุลเกษมสนั ต์ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (๗)
สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : ผู้เปน็ บุคคลสำ� คัญของโลก ประจ�ำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ สัมโมทนยี กถาโดย สมเดจ็ พระวนั รัต (จนุ ท์ พฺรหฺมคุตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ปฏบิ ตั หิ น้าที่แทนเจ้าคณะใหญค่ ณะธรรมยตุ เจา้ อาวาสวดั บวรนเิ วศวหิ าร ในการประชุมทางวิชาการสภาการศึกษาเสวนา คร้งั ที่ ๓/๒๕๖๔ เรอ่ื ง พระมหาสมณานุสรณ์ : พระเกียรตคิ ุณ ในสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กบั การศกึ ษาไทย จัดโดยส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา ณ หอวชิราวธุ านุสรณ์ หอสมดุ แห่งชาติ ทา่ วาสกุ รี วันพฤหัสบดที ี่ ๘ เมษายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๔๕ น.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : ผู้เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก ประจ�ำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ สมเดจ็ พระวนั รตั (จนุ ท์ พรฺ หมฺ คตุ ฺโต) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็น พระราชโอรสในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั และเจา้ จอมมารดาแพ พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๐๓ ทรงผนวชเปน็ พระภกิ ษเุ มอื่ วนั ท่ี ๒๗ มถิ นุ ายน พทุ ธศกั ราช ๒๔๒๒ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ สิริพระชนมายุได้ ๖๑ ปี ๓ เดือน ๒๐ วัน หรือเรียกว่า ๖๒ โดยปี ทรงอยู่ในพรหมจรรย์ ๔๒ ปี ๑ เดอื น ๖ วนั ทรงครองวดั บวรนเิ วศวิหาร ๒๘ ปี ๑๐ เดือน ๔ วัน ทรงรับมหาสมณตุ มาภเิ ษกได้ ๑๐ ปี ๗ เดอื น ๘ วัน วาระส้ินพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น ได้มา บรรจบครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒ สงิ หาคม พทุ ธศักราช ๒๕๖๔ นี้ อันเป็น เหตุให้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้น�ำเสนอพระนามของพระองค์ ต่อองค์การยูเนสโก ทรงเป็นบุคคลส�ำคัญพระองค์หน่ึงของชาติไทย โดยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯพระองค์นั้น ทรงมีพระคุณูปการทั้งด้าน การศาสนา การบริหารการจัดการคณะสงฆ์ ทรงเป็นผู้ก่อต้ังมหาวิทยาลัย มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ทรงพฒั นาหลกั สตู รนกั ธรรม ทง้ั ยงั ทรงมพี ระนพิ นธ์ ด้านวิชาการท้ังภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ปรากฏทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ และที่ส�ำคัญย่ิงทรงเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาของประเทศ ชาติสมัยใหม่ ซึ่งได้ค่อย ๆ พัฒนามาเป็นการศึกษาในระบบท่ีเป็นอยู่ใน ปัจจุบนั น้ี ด้วยพระมหากรณุ าธกิ ารของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ องคก์ าร ศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ในท่ีประชุมสมัยสามัญ คร้ังที่ ๔๐ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีมติ รับรองบัญชีรายช่ือการร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบท่ีส�ำคัญทาง ประวัติศาสตร์ท่ีเช่ือมโยงกับงานขององค์การยูเนสโก ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (๙)
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการสิ้นพระชนม์ เป็นบุคคลส�ำคัญ ของโลก และมตคิ ณะรฐั มนตรใี นคราวประชมุ เมอ่ื วนั องั คารท่ี ๙ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๖๔ เหน็ ชอบและรบั ทราบการจดั กจิ กรรมพระมหาสมณานสุ รณ์ รฐั บาล ไทยและองค์การยูเนสโกร่วมฉลอง ๑๐๐ ปีแห่งการสิ้นพระชนม์ สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส พุทธศกั ราช ๒๕๖๔ รวมทงั้ ในที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ ได้มีมติท่ี ๑๕/๒๕๖๓ รับทราบการท่ีองค์การยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นบุคคลส�ำคัญของโลก ดังเป็นท่ี ทราบกันโดยทัว่ กัน สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นนั้ เม่อื ทรงผนวชได้ ๓ พรรษา คือ มีพระชนมายุ ๒๓ ปี ก็ทรงได้รับพระราชทานเล่ือนพระอิสริยยศเป็น กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส นับว่าทรงเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมขณะทรงมี พระชนมายุยังน้อย และเร่ิมทรงรับภาระทางพระศาสนามาแต่บัดน้ัน โดย ในระยะแรก ๆ กท็ รงรบั ภาระดแู ลสงั่ สอนภกิ ษสุ ามเณรบวชใหมใ่ นพระอาราม เปน็ การแบง่ เบาภาระของเสดจ็ พระอุปชั ฌาย์ คอื สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ กระทั่งเมื่อทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ วิหาร สืบต่อจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เม่ือพ.ศ. ๒๔๓๕ ขณะมีพระชนมายุ ๓๓ ปี จึงได้ทรงมีบทบาททางการ คณะสงฆอ์ ยา่ งเตม็ ท่ี รวมไปถงึ บทบาทหนา้ ทบี่ างประการเกยี่ วกบั บา้ นเมอื ง ซึ่งเพ่ิมทวีคูณขน้ึ เปน็ ล�ำดับ จนตลอดพระชนมชพี ของพระองค์ ตลอดเวลา ๔๒ ปีแห่งพระชนมชีพในชีวิตพรหมจรรย์ของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้น พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระภารกิจต่าง ๆ ทง้ั ทางการคณะสงฆแ์ ละทางการบา้ นเมอื งมากมาย ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากผลงาน ในด้านต่าง ๆ ของพระองค์ที่ปรากฏเป็นประจักษ์พยานอยู่แม้ในเวลาน้ี ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานของพระองค์ ท่ีปรากฏในรูปของต�ำรา หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ จ�ำนวนนับร้อย ซึ่งเป็นหลักฐานที่สะท้อนหรือแสดงให้เห็นว่า พระองค์ได้ทรงท�ำอะไรให้แก่ พระศาสนาและบา้ นเมอื งบ้าง แต่ในที่นี้ จะขอน�ำพระกรณียะและผลงานบางเรื่องบางประการของ พระองคม์ าเลา่ สกู่ นั ฟงั เฉพาะในเรอื่ งทเ่ี กยี่ วกบั งานน้ี ตามทอ่ี งคก์ ารยเู นสโก ประกาศรับรองและร่วมเฉลิมฉลองดังกล่าวแล้ว คือพระเกียรติคุณในด้าน การศึกษา วัฒนธรรม และสังคมศาสตร์มนษุ ยศาสตร์ (๑๐)
พระเกียรตคิ ณุ ทางดา้ นการศึกษา พระกรณียะส�ำคัญประการแรกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์น้ันก็คือ เรื่องการศึกษา เพื่อความกะทัดรัดในการเล่า และเพ่ือ ความเขา้ ใจงา่ ยของทา่ นผฟู้ งั จะขอสรปุ ประเดน็ หรอื หวั ขอ้ สำ� คญั ในพระกรณี ยะดา้ นการศึกษาของพระองคเ์ ปน็ ๕ ประเดน็ คอื ๑. ทรงรเิ ริม่ การศึกษาพระพุทธศาสนาแนวใหม่ ๒. ทรงต้งั หลกั สูตรการศึกษาพ้นื ฐานแก่คณะสงฆ์ ๓. ทรงปรับปรงุ การศกึ ษาข้ันสูงของคณะสงฆใ์ หไ้ ดม้ าตรฐาน ๔. ทรงพระด�ำริพัฒนาการศึกษาของภิกษุสามเณรให้กว้างขวางทัน โลก ๕. ทรงวางรากฐานการศกึ ษาขั้นประถมของชาติ ๑. ทรงรเิ รม่ิ การศึกษาพระพุทธศาสนาแนวใหม่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นทรงเห็นว่า การศึกษา พระพุทธศาสนาของชาวพุทธยุคโบราณท่ีผ่านมานั้น จ�ำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ ภิกษุสามเณรท่ีเรียกกันว่า การศึกษาพระปริยัติธรรม ซ่ึงเป็นการศึกษา พระพุทธศาสนาในภาษาบาลี และในหมู่ภิกษุสามเณรเอง ก็ยังจ�ำกัดอยู่ เฉพาะในผทู้ ร่ี ภู้ าษาบาลเี ทา่ นนั้ ผทู้ ไ่ี มร่ ภู้ าษาบาลกี แ็ ทบจะไมไ่ ดศ้ กึ ษาเรยี นรู้ เรื่องพระพทุ ธศาสนาเลย กร็ เู้ ท่าทีบ่ อกเลา่ กันสืบ ๆ มาเทา่ นนั้ เม่ือทรงมีหน้าที่ทางคณะสงฆ์ คือ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ วิหารข้ึนแล้ว จึงทรงริเร่ิมปรับปรุงการศึกษาของภิกษุสามเณรให้ได้ศึกษา พระพุทธศาสนาให้มากขึ้น โดยทรงริเร่ิมวางหลักสูตรส�ำหรับภิกษุสามเณร บวชใหม่ในวดั บวรนเิ วศวหิ ารใหไ้ ด้ศึกษาธรรมวนิ ยั เปน็ ภาษาไทย คอื ให้ได้ เรียนพุทธประวัติ ธรรมะ และวินัยบัญญัติเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ทรง สอนเอง พร้อมท้ังได้ทรงแต่งต�ำราเกี่ยวกับพุทธประวัติ ธรรมะ และวินัย บัญญัติ อย่างย่นย่อ ส�ำหรับให้ภิกษุสามเณรบวชใหม่สามารถเรียนจบได้ ภายใน ๑ พรรษา ๓ เดือน ปรากฏว่าได้ผลดี เป็นที่สนใจของผู้บวชใหม่ และท�ำใหภ้ กิ ษสุ ามเณรบวชใหม่ไดร้ จู้ กั พระพุทธศาสนาดขี น้ึ ตอ่ มา ทรงขยายการเรยี นพระพทุ ธศาสนาแนวใหมน่ ใี้ หข้ ยายไปถงึ ภิกษุสามเณรท่ีบวชอยู่ประจ�ำด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นท่ีนิยมสนใจเรียนของ ภิกษุสามเณรท่ัวไป แม้วัดอ่ืนก็นิยมน�ำเอาไปส่ังสอนภิกษุสามเณรในวัด ของตน เป็นเหตุให้การศึกษาพระพุทธศาสนาในภาษาไทยแบบที่ทรงด�ำริ (๑๑)
ขึน้ น้ีเป็นท่นี ยิ มแพรห่ ลายไปในวัดธรรมยุตทว่ั ไปในครง้ั นั้น ในขั้นแรก ทรงจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาแนวนี้ เฉพาะใน วัดบวรนิเวศวิหาร และแพร่หลายอยู่เฉพาะในวัดธรรมยุตเท่านั้น เพราะ ขณะน้ัน พระองค์ทรงเป็นเพียงเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และทรงเป็น เพยี งเจา้ คณะใหญค่ ณะธรรมยตุ เทา่ นนั้ ยงั ไมไ่ ดท้ รงปกครองคณะสงฆท์ ่วั ไป ๒. ทรงตง้ั หลักสตู รการศึกษาขนั้ พนื้ ฐานแกค่ ณะสงฆ์ เมื่อทรงได้รับถวายมหาสมณุตมาภิเษก เป็นสมเด็จพระมหาสังฆ ปรณิ ายก คอื ไดร้ บั สถาปนาเปน็ สมเดจ็ พระสงั ฆราช ทรงปกครองคณะสงฆ์ ทั่วพระราชอาณาจักร นับแต่ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นต้นมา สมเด็จพระมหา สมณเจา้ ฯ พระองค์นั้นทรงเห็นผลดีของการศึกษาพระพุทธศาสนาในภาษา ไทยที่ทรงพระด�ำริข้ึน และนิยมแพร่หลายอยู่ในคณะธรรมยุตดังกล่าวแล้ว จึงได้ทรงน�ำหลักสูตรการศึกษาพระพุทธศาสนาในภาษาไทยดังกล่าวแล้ว มาตั้งเป็นหลักสูตรส�ำหรับเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะสงฆ์ท่ัว พระราชอาณาจกั ร เรยี กวา่ หลกั สตู รนกั ธรรม เรม่ิ แตพ่ ทุ ธศกั ราช ๒๔๕๖ โดยทรงกำ� หนดไว้เปน็ ๓ ชัน้ ตามลกั ษณะการจดั ภิกษุในพระพุทธศาสนา เปน็ ๓ ชั้น คือ ช้ันนวกะ คือผู้บวชใหม่ มีอายุพรรษาไม่เกิน ๕ ชนั้ มัชฌมิ ะ คอื ผู้ปานกลาง มีอายพุ รรษา ๕ ข้ึนไป แตไ่ ม่เกิน ๑๐ ชั้นเถระ คอื ผใู้ หญ่ มีอายุพรรษา ๑๐ ขึ้นไป นกั ธรรมชั้นตรี สำ� หรับนวกภูมิ คือ ผู้บวชใหม่ นักธรรมช้นั โท สำ� หรบั มชั ฌมิ ภมู ิ คอื พระผู้บวชปานกลาง นักธรรมชนั้ เอก ส�ำหรับเถรภูมิ คือ พระผู้ใหญ่ พร้อมกับการสร้างหลักสูตรนักธรรม สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์น้ัน ก็ได้ทรงพระนิพนธ์ต�ำราส�ำหรับใช้เป็นหลักสูตรนักธรรมทั้ง ๓ ช้ันไว้อย่างครบถ้วน นับเป็นคร้ังแรกท่ีคณะสงฆ์ได้มีหลักสูตรการศึกษา พระธรรมวินัย หรือหลักสูตรการศึกษาพระพุทธศาสนาขั้นพ้ืนฐาน และได้ ด�ำเนนิ การสบื มาจนทุกวนั นน้ี การศกึ ษาพระพทุ ธศาสนาในภาษาไทยทเ่ี รยี กวา่ หลกั สตู รนกั ธรรม นนั้ มไิ ดม้ ปี ระโยชนเ์ ฉพาะแกภ่ กิ ษสุ ามเณรเทา่ นน้ั แตย่ งั ไดเ้ ผอื่ แผไ่ ปถงึ ประชาชนทั่วไปด้วย คือ ในเวลาตอ่ มา ทางคณะสงฆ์ก็ไดอ้ นญุ าตให้ ประชาชนผสู้ นใจที่จะศึกษาเรียนรู้เรื่องพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาตาม หลักสูตรนักธรรมด้วย โดยเรียกว่า ธรรมศึกษา ซึ่งคณะสงฆ์ได้เปิดให้ ประชาชนท่ัวไปเข้าสอบธรรมศึกษาชั้นตรี เป็นครั้งแรกเม่ือพุทธศักราช ๒๔๗๒ เป็นต้นมา และเวลาตอ่ มากไ็ ดเ้ ปดิ ใหส้ อบธรรมศกึ ษาชน้ั โทและชน้ั (๑๒)
เอกมาเปน็ ลำ� ดบั กระทง่ั เป็นท่ีรู้จักและแพร่หลายไปทั่วประเทศ หลักสูตรธรรมศึกษา จึงเป็น การส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนไทยได้ศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนามากขึ้น และกวา้ งขวางข้ึนเป็นครัง้ แรก ปัจจุบัน การศึกษานักธรรมได้แพร่หลายไปยังประเทศใกล้เคียงที่ นับถือพระพุทธศาสนา ตลอดไปถึงในประเทศทางยุโรปและอเมริกา ที่พระธรรมทูตไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย นอกจากน้ี หนังสือ พระนิพนธ์ท่ีเป็นหลักสูตรนักธรรมทุกช้ันก็ได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ครบทกุ เรอื่ ง รวมถงึ แปลเปน็ ภาษาอน่ื ๆ อกี หลายภาษา เพอ่ื นำ� ไปใชศ้ กึ ษา ในประเทศนั้น ๆ ดว้ ย ๓. ทรงปรบั ปรงุ การศึกษาพระปรยิ ัติธรรมของคณะสงฆ์ พระปริยัติธรรม คือ หลักสูตรการศึกษาพระพุทธศาสนาของ คณะสงฆ์ไทย ที่มีมาแต่โบราณ เป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาในภาษา บาลี โดยใชค้ มั ภีรพ์ ระไตรปฎิ กเปน็ หลักสตู ร แบ่งเปน็ ๓ ช้นั คือ แปลคัมภีร์พระสูตรได้ จดั เป็นชนั้ ตรี เรยี กว่า บาเรยี นตรี แปลคัมภีร์พระสูตรและคัมภีร์พระวินัยได้ จัดเป็นชั้นโท เรียกว่า บาเรียนโท แปลคัมภีร์พระสูตร คัมภีร์พระวินัยและคัมภีร์พระอภิธรรมได้ จัด เปน็ ชน้ั เอก เรยี กวา่ บาเรยี นเอก มาถงึ ยุคกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ในรัชกาลที่ ๒ ไดป้ รบั ปรุงโดยขยายเป็น ๙ ช้ัน เรียกว่า ๙ ประโยค โดยใช้คัมภีร์อรรถกถาบ้าง คัมภีร์ฎีกาบ้าง เป็นหลกั สูตร ผ้สู อบได้ต้งั แต่ ๓ ประโยคขน้ึ ไปจงึ เรยี กวา่ เปน็ เปรียญ โดย เรยี กตามลำ� ดบั ประโยควา่ เปรยี ญ ๓ ประโยค เปรยี ญ ๔ ประโยค จนถงึ เปรียญ ๙ ประโยค เมอื่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ พระองคน์ นั้ ทรงดำ� รงตำ� แหนง่ สมเดจ็ พระมหาสังฆปริณายก หรือสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มปรับปรุง การศึกษาพระปริยัติธรรมให้ทันสมัย และกว้างขวางขึ้นเป็นล�ำดับมา กล่าวคือ ทรงเริ่มทดลองปรับปรุงการสอบด้วยวิธีเขียนแทนวิธีแปลปาก (เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๕๔) โดยทรงทดลองสอบประโยค ๑ ประโยค ๒ กอ่ น จนถงึ ประโยค ๕ เมื่อทรงเห็นว่าเป็นวิธีที่ให้ผลดี จึงทรงน�ำมาใช้กับการสอบทุก ประโยค คือเลิกการสอบด้วยวิธีแปลปาก เป็นการสอบด้วยวิธีเขียน เม่ือ (๑๓)
พ.ศ. ๒๔๕๘ พร้อมท้ังทรงก�ำหนดวิธีการตรวจและตัดสินได้-ตก ให้เป็น มาตรฐานเดียวกัน ต่อมา ทรงพิจารณาเห็นว่า การศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็น การศึกษาพระพุทธศาสนาในภาษาบาลีนั้นเน้นหนักไปในทางศึกษาภาษา บาลี ไม่ได้เน้นในเรื่องความรู้ความเข้าใจอรรถ คือเน้ือความของพระธรรม ค�ำสอน ฉะนั้น จึงทรงจัดหลักสูตรนักธรรมกับหลักสูตรพระปริยัติธรรม หรือหลักสูตรบาลีโยงเข้าหากัน เพื่อให้ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมสอบได้เป็น เปรยี ญมคี วามรใู้ นพระธรรมค�ำสอนแตกฉานยิง่ ขึ้น โดยทรงกำ� หนดให้ ผู้จะสอบเป็นเปรียญ ๓ ประโยคต้องสอบได้นักธรรมชั้นตรีด้วย ผ้สู อบไดเ้ รยี กวา่ เปรียญธรรม ๓ ประโยค ผจู้ ะสอบเปน็ เปรยี ญ ๔-๕-๖ ประโยคตอ้ งสอบไดน้ กั ธรรมชน้ั โทด้วย ผสู้ อบไดเ้ รียกว่า เปรยี ญธรรม ๔-๕-๖ ประโยค ผู้จะสอบเป็นเปรียญ ๗-๘-๙ ประโยค ต้องสอบได้นักธรรมช้ันเอก ด้วย ผู้สอบได้เรียกว่า เปรียญธรรม ๗-๘-๙ ประโยค จากพระด�ำริปรับปรุงการศึกษาของภิกษุสามเณรดังกล่าว จึงท�ำให้ การศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทยลงตัวเป็นมาตรฐานดังท่ีเป็น อยปู่ จั จบุ นั คอื เรยี กรวมวา่ การศกึ ษาพระปรยิ ตั ธิ รรม โดยแบง่ เปน็ ๒ แผนก คอื พระปรยิ ัติธรรม แผนกธรรม กบั พระปริยตั ิธรรม แผนกบาลี ซึง่ จะตอ้ ง ศึกษาควบคู่กันไป โดยถือว่าการศึกษาแผนกธรรม เป็นขั้นต้น การศึกษา แผนกบาลีเป็นขั้นสูง การศึกษาแผนกธรรมเป็นภาคบังคับ การศึกษา แผนกบาลีเปน็ ไปตามความสมคั รใจ การศึกษาแผนกธรรม เป็นความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาข้ันพื้นฐาน การศกึ ษาแผนกบาลี เปน็ ความรเู้ รอ่ื งพระพทุ ธศาสนาทล่ี กึ ซงึ้ ขนึ้ ไปอกี ขนั้ หนง่ึ นอกจากการโยงหลกั สตู รนักธรรมกบั หลักสูตรปรยิ ตั ิธรรมหรือ หลักสูตรบาลีเข้าหากันแล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ยังได้ทรงปรับปรุง ต�ำราและเน้ือหาของหลักสูตรพระปริยัติธรรมด้วย คือ คัมภีร์บางคัมภีร์ ท่ีใช้เป็นหลักสูตรมาแต่เดิม ทรงพิจารณาเห็นว่า มีภาษาและเนื้อหาไม่ เหมาะสม จึงทรงเปลีย่ นเสียใหม่ให้เหมาะสมย่ิงข้ึน กลา่ วคือ การสอบพระปริยัติธรรมแต่เดิมมามีแต่การแปลภาษาบาลีเป็น ภาษาไทย ทรงพจิ ารณาเหน็ วา่ เพียงเทา่ น้ี ไม่ทำ� ให้ผู้ศกึ ษามคี วามช�ำนาญ ในภาษาบาลีพอเพียงแกก่ ารใช้ประโยชน์ จึงทรงเพิ่มวิชาการแปลภาษาไทย กลบั เปน็ ภาษาบาลี ในประโยคทส่ี งู ขนึ้ นบั แตป่ ระโยค ๔ ขนึ้ ไปถงึ ประโยค ๙ โดยเนอ้ื หาของวชิ าการแปลภาษาไทยเปน็ ภาษาบาลจี ะมคี วามงา่ ยความยาก มากขึ้นไปตามลำ� ดับ จากพระด�ำริเริ่มและพระด�ำริปรับปรุงแก้ไขการศึกษาของภิกษุ (๑๔)
สามเณรเป็นล�ำดับมาดังกล่าวน้ีเอง จึงท�ำให้หลักสูตรการศึกษาของ คณะสงฆ์ไทยลงตวั เป็นมาตรฐานดังทีป่ รากฏอยใู่ นทุกวนั นี้ ๔. ทรงพระดำ� ริพฒั นาการศกึ ษาของภกิ ษุสามเณรใหก้ วา้ งขวางทันโลก เมื่อทรงด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๖ ในขวบปแี รกทท่ี รงดำ� รงตำ� แหนง่ เจา้ คณะใหญค่ ณะธรรมยตุ นน้ั เอง ได้ทรงจัดต้ังมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) โดยทรงวางวตั ถปุ ระสงคไ์ ว้ ๓ ประการคอื ๑. เพ่ือเป็นสถานที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ธรรมยุติก นกิ าย ๒. เพ่ือเป็นสถานท่ีศึกษาวิทยาซ่ึงเป็นของชาติภูมิ และต่างประเทศ แหง่ กลุ บตุ ร ๓. เพอ่ื เปน็ สถานที่จัดการสัง่ สอนพระพทุ ธศาสนา ในการต้ังมหามกุฏราชวิทยาลัยน้ัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรง ด�ำเนินการทัง้ ๓ ด้านไปพรอ้ ม ๆ กนั คอื ๔.๑ การจัดการศึกษาของภิกษุสามเณร ทรงต้ังหลักสูตร พระปริยัติธรรมแบบใหม่ข้ึน เรียกว่า หลักสูตรพระปริยัติธรรมของ มหามกุฏราชวิทยาลัย ซ่ึงทรงพระด�ำริขึ้นใหม่ท้ังหลักสูตร วิธีการเรียน การสอน การสอบ ตลอดถึงวิธีการตรวจข้อสอบ วิธีการคิดคะแนนได้-ตก เชน่ เนอ้ื หาหลกั สตู รมที งั้ เรยี นภาษาบาลี ภาษาตา่ งประเทศ วชิ าการสมยั ใหม่ บางวิชา การเรียนมีการจัดเป็นชั้นการสอน มีครูประจ�ำการสอบ สอบด้วย วิธีเขียน สอบปีละ ๒ ครั้ง การตรวจข้อสอบ คิดเป็นคะแนนได้-ตก ส่ิงท่ี ทรงพระด�ำรขิ น้ึ นน้ั ล้วนเปน็ ส่งิ ใหม่ที่ไม่เคยมีใครท�ำมากอ่ น รวมทง้ั ทรงจา้ ง ชาวต่างประเทศมาสอนภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤตดว้ ย แต่หลักสูตรพระปริยัติธรรมของมหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ทรง ด�ำเนินการอยู่เพียง ๘ ปี ก็ต้องหยุดไป เพราะทรงมีพระภารกิจอื่นทาง คณะสงฆ์มากจนไม่มีเวลาบริหารการศึกษาของมหามกุฏราชวิทยาลัย ในขณะน้นั ๔.๒ การจัดการศึกษาของกุลบุตร ก็คือทรงตั้งโรงเรียนขึ้นในวัด เรยี กวา่ โรงเรยี นหนงั สอื ไทย ของมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั เรมิ่ ตน้ ๕ โรงเรยี น ด้วยกนั คอื ๑. โรงเรียนวดั บวรนิเวศ ๒. โรงเรยี นวดั มกุฏกษัตรยิ ์ (๑๕)
๓. โรงเรียนวดั เทพศิรนิ ทร์ ๔. โรงเรียนวดั พิชยั ญาติ ๕. โรงเรียนวดั นิเวศธรรมประวัติ พร้อมท้ังทรงต้ังหลักสูตรข้ึนใหม่ แตกต่างจากหลักสูตรของ กรมศึกษาธิการในขณะนั้น ทรงใช้วัดเป็นโรงเรียน ใช้ภิกษุสามเณรเป็น ครูสอน ผู้สอบได้รับประกาศนยี บตั รของมหามกุฏราชวิทยาลยั ทรงอธิบาย เหตผุ ลในการตงั้ โรงเรยี นสำ� หรบั กลุ บตุ รวา่ “เพอ่ื เปน็ แบบอยา่ งและ เป็นการชว่ ยรฐั บาล” เมอ่ื เลกิ หลกั สตู รปรยิ ตั ธิ รรมของมหามกฏุ ฯ โรงเรยี น หนงั สอื ไทยของมหามกฏุ ฯ กพ็ ลอยเลกิ ไปดว้ ย โดยมอบใหก้ ระทรวง ธรรมการรบั ไปด�ำเนินการต่อไป ข้อน่าสังเกตก็คือ โรงเรียนวัดต่าง ๆ ดังกล่าวมานั้น ท้ังเด็กวัดและเด็กบ้านไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ต่อมาจึง เสียค่าเล่าเรียนเฉพาะเด็กบา้ น เด็กวดั ไมต่ ้องเสยี จนกระทง่ั โอนให้ กระทรวงธรรมการไป ๔.๓ การจดั การส่ังสอน หรือเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพอ่ื การเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาและองคค์ วามรตู้ า่ ง ๆ ไปสสู่ าธารณะ ใหก้ ว้างออกไป ทรงจัดการออกนิตยสารธรรมจักษุ เป็นนติ ยสารรายเดือน เพ่ือการเผยแผ่ค�ำสอนของพระพุทธศาสนาและเผยแพร่กิจการของ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั พรอ้ มทง้ั ทรงตง้ั โรงพมิ พม์ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ขน้ึ ดว้ ย เพื่อพมิ พ์คัมภีรแ์ ละตำ� ราหนงั สอื ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งพิมพ์นติ ยสาร ธรรมจกั ษดุ ้วย นติ ยสารธรรมจกั ษุ เปน็ นติ ยสารทางพระพทุ ธศาสนาเลม่ แรกของไทย โดยออกตพี มิ พค์ รง้ั แรกสดุ เมอื่ เดอื นตลุ าคม พ.ศ. ๒๔๓๗ โดยการบกุ เบกิ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ได้ทรง พยายามแปลพระสตู รตา่ ง ๆ ในพระไตรปฎิ กทีย่ ังไมเ่ คยมผี ูใ้ ดแปลมากอ่ น มาเป็นภาษาไทย แล้วทยอยน�ำลงในนิตยสารธรรมจักษุ ในเวลาเดียวกัน กม็ กี ารอธบิ ายธรรมใหส้ อดคลอ้ งกบั ยคุ สมยั ทเ่ี ปลย่ี นไปดว้ ย ทำ� ใหน้ ติ ยสาร ธรรมจักษุกลายเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรก ที่ไม่เพียงแต่ จะน�ำเสนอเน้ือหาสาระทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ซ่ึงเดิมน้ัน มีอยู่ในใบลานเป็นภาษาบาลีเท่านั้น ยังเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนา เล่มแรกท่ีกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์หลักพุทธธรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แกส่ งั คมร่วมสมัยอย่างกวา้ งขวางดว้ ย โดยภาพรวม การต้ังมหามกุฏราชวิทยาลัยข้ึนนั้น ความมุ่งหมาย ของพระองค์ก็คือ ทรงทดลองหาทางท่ีจะพัฒนาการศึกษาของพระสงฆ์ รวมท้ังการศึกษาของกุลบุตรตลอดถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาของ (๑๖)
ชาวพทุ ธใหเ้ จรญิ กา้ วหนา้ ทนั สมยั ทนั โลก โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ทรงมเี ปา้ หมาย ส�ำคัญอยู่ในพระทัย คือ การก่อต้ังมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ดังท่ีท่าน เจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) ผู้เป็นศิษย์อยู่ในส�ำนักของสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ ฯ พระองคน์ น้ั รปู หนงึ่ ไดเ้ ลา่ ไวว้ า่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ พระองคน์ นั้ ไดท้ รงปรารภกบั ภกิ ษสุ ามเณรในวดั บวรนเิ วศวหิ ารอยบู่ อ่ ยครงั้ วา่ ทรงพระด�ำริจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยข้ึนในบริเวณพ้ืนท่ีตลาดบางล�ำพูในคร้ัง นนั้ โดยได้ทรงเร่ิมจ้างฝรั่งเป็นครูสอนในมหามกุฏราชวิทยาลัยในบาง วิชา เพอ่ื เปน็ การเตรยี มการ แตพ่ ระองคส์ นิ้ พระชนมเ์ สยี กอ่ น จงึ ไมไ่ ด้ ดำ� เนนิ การในยคุ ของพระองค์ แต่จากพระด�ำริริเร่ิมของพระองค์ดังกล่าวนี้เอง ที่ได้เป็นรากฐานให้ มีการพัฒนาจนได้มีการต้ังมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาข้ึนในเวลาอีก ๒๔ ปี ตอ่ มาหลงั การสน้ิ พระชนมข์ องพระองค์ นน้ั คอื การตง้ั สภาการศกึ ษา ของมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั พระพทุ ธศาสนาแหง่ ประเทศไทย ซง่ึ ประกาศต้งั เม่ือวนั ท่ี ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ปจั จบุ นั เรยี กว่า มหาวิทยาลยั มหามกฏุ ราชวิทยาลยั แมโ้ รงเรยี นหนงั สอื ไทยของมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ทว่ี ดั บวรนเิ วศวหิ าร ก่อนท่ีจะมอบให้กระทรวงธรรมการรับไปด�ำเนินการต่อไปน้ัน สมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์น้ันทรงพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นโรงเรียน ประจำ� หรอื โรงเรยี นกนิ นอนแบบตะวนั ตก (boarding school) โดยไดท้ รง วางโครงการที่จะพัฒนาโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหารเป็นโรงเรียนเชลยศักดิ์ ประเภทประจำ� โดยไดท้ รงวางหลกั สตู ร กำ� หนดสถานทภ่ี ายในวดั บวรนเิ วศ คือ ซีกคณะรังษีหรือวัดรังษีสุทธาวาสเก่า เป็นอาคารเรียน อาคาร วิทยาศาสตร์ หอสมุด โรงพลศึกษา และสโมสรนักเรียนไว้อย่างครบถ้วน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยทรงอธิบายว่า “เพ่ือเป็นแบบอย่างและเป็นการช่วย รัฐบาล” และสุดท้ายทรงอธิบายว่า “ท�ำไม่ส�ำเร็จ เพราะไม่มีงบประมาณ จ้างครู” กล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ กล่าวถึงเรื่องมหาวิทยาลัย และเป็นคนไทยคนแรกท่ีคิดเรื่องการตั้ง มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา รวมท้ังทรงเป็นคนไทยคนแรก ๆ เช่นกัน ท่ีคิดก่อตง้ั โรงเรียนประจ�ำแบบตะวันตก ๕. ทรงวางรากฐานการศึกษาข้นั ประถมของชาติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราโชบายท่ี จะเร่งรัดพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัยเช่นกับนานาอารยประเทศ และทรง พระราชดำ� รเิ หน็ วา่ เครอื่ งมอื สำ� คญั ในการพฒั นาประเทศ คอื การพฒั นาคน (๑๗)
โดยการพัฒนาการศึกษาของพลเมือง ฉะนั้น จึงทรงพระราชด�ำริที่จะ จัดการศึกษาของพลเมืองให้ท่ัวถึงตลอดพระราชอาณาจักร โดยทรง พระกรุณาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงส�ำหรับราษฎรข้ึนเป็นแห่งแรกท่ีวัด มหรรณพาราม เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๒๗ (ร.ศ. ๑๐๓) แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้ ขยายออกไปให้ทั่วท้ังในกรุงเทพฯ และในหัวเมือง แต่ปรากฏว่า ในช่วง เวลา ๑๑ ปี โรงเรียนหลวงส�ำหรับราษฏรขยายออกไปได้เพียง ๓๐ แห่ง ใน ๙ จังหวัด ถึง พ.ศ. ๒๔๓๘ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชกระแสแก่กระทรวงธรรมการให้ด�ำเนินการจัดการศึกษาในหัวเมือง แต่เวลาล่วงเลยไป ๓ ปี ทางกระทรวงก็ยังไม่ได้ด�ำเนินการแต่อย่างใด ดังความปรากฏในพระราชหัตถเลขาฉบับหน่ึงว่า “กระทรวงได้รับค�ำส่ัง อันเราไดส้ งั่ แตแ่ รกคดิ ตอ้ งการขน้ึ ๓ ปลี ว่ งมาแลว้ ยงั ไมไ่ ดค้ ดิ อนั ใดขน้ึ เลย แตส่ กั อยา่ งเดยี ว” (ถึง พระยาวสิ ุทธสรุ ยิ ศักดิ์ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๑๗) ฉะนนั้ ใน ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว จึงทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส ขณะทรงด�ำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหม่ืนวชิรญาณวโรรส ให้ทรง รับภาระอ�ำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมือง ดังปรากฏความในพระราช หัตถเลขาฉบับเดียวกันว่า “ในปีน้ีได้คิดจัดการข้ึน.... คือได้จัดกับพระ เอากรมหมนื่ วชริ ญาณเปน็ ประธานจดั วดั เปน็ โรงเรยี นทว่ั พระราชอาณาเขต.... หวงั ใจวา่ จะเปน็ การสำ� เรจ็ ได้ โดยอาศัยประเพณโี บราณและความนิยมของ ไทย โรงเรียนคงจะเกิดขึ้นได้ปีละหลาย ๆ ร้อยโดยไม่สู้ต้องเสียอะไรมาก” ในทำ� นองเดียวกนั ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ (ร.ศ. ๑๒๗) ไดม้ ีพระราชหตั ถเลขาว่า “ได้รับลายพระหัตถ์อธิบายเร่ืองการศึกษาที่จะสร้างในท่ีวัด หม่อมฉันเห็น ว่าเปนความคิดที่ดี แลทรงตริตรองเปนอันมาก จะได้ส่งไปยังกรมศึกษา ส�ำหรับประกอบแกก่ ารเล่าเรียนสืบไป” ตามความในพระราชหัตถเลขาดังกล่าวน้ี แสดงให้เห็นว่า ทรงมั่น พระราชหฤทยั ในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์ นั้นว่าจะท�ำให้พระราชประสงค์ดังกล่าวนี้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ เพราะได้ทรง ประจักษถ์ งึ ความสำ� เรจ็ ในการจัดการศึกษาของมหามกุฏราชวิทยาลยั ทไี่ ด้ เคยเสดจ็ ทอดพระเนตรมาแล้ว ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงประกาศพระราชด�ำริในการจัดการศึกษาใน หัวเมอื ง ทวั่ พระราชอาณาจกั ร โดยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า (๑๘)
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงด�ำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหม่ืน วชิรญาณวโรรส เป็นผู้บัญชาการจัดการศึกษาในหัวเมือง และมีสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ขณะทรงด�ำรงพระ อสิ ริยยศเปน็ กรมหมนื่ ดำ� รงราชานุภาพ เปน็ ผสู้ นับสนนุ ฝ่ายฆราวาส หลังจากมีประกาศพระราชด�ำริในการจัดการศึกษาในหัวเมืองได้ ๒ เดือน สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น ก็ทรงด�ำเนินการในการ จัดการศึกษาในหัวเมืองทันที โดยทรงเลือกพระเถระผู้มีความสามารถ ๑๔ รปู เพอื่ ทรงพระกรณุ าโปรดแตง่ ตงั้ เปน็ ผอู้ ำ� นวยการศกึ ษามณฑลตา่ ง ๆ ๑๔ มณฑลท่ัวพระราชอาณาจักร ซึ่งพระเถระส่วนใหญ่ดังกล่าวก็คือ กรรมการมหามกฏุ ราชวทิ ยาลัยนัน้ เอง ครั้นเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๔๑ (ขณะน้ันยังนับเดือนเมษายน เป็นต้นปี มกราคมจึงเปน็ ปลายปี) สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ พระองคน์ ัน้ ก็ทรงน�ำพระเถระผ้อู ำ� นวยการศกึ ษามณฑลตา่ ง ๆ เขา้ เฝา้ ถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเดินทางไปจัดการศึกษาใน หัวเมืองมณฑลตา่ ง ๆ ในการจัดการศึกษาในหัวเมืองคร้ังน้ี ทรงใช้มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นท่วี ่าการจัดการศึกษาหัวเมือง ทรงใช้หลักสตู รของโรงเรยี นหนังสือไทย ของมหามกุฏราชวทิ ยาลยั เปน็ หลกั สูตรส�ำหรับโรงเรียนในหัวเมือง ทรงใช้ โรงเรยี นของมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั เปน็ สถานทฝี่ กึ หดั ครสู ำ� หรบั ออกไปสอน ตามโรงเรียนในหัวเมือง แม้ใบประกาศนียบัตรส�ำหรับนักเรียนในโรงเรียน หัวเมือง ก็ทรงใช้ตามแบบประกาศนียบัตรของมหามกุฏราชวิทยาลัย ทรงใช้วัดเปน็ โรงเรียน ทรงให้ภิกษุสามเณรเปน็ ครสู อน ใน ๒ ปีแรกของการจัดการศึกษาในหัวเมือง สามารถต้ังโรงเรียน ตามวดั ตา่ ง ๆ ได้ ๓๙๔ แหง่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ พระองคน์ นั้ ทรง จัดการศึกษาในหัวเมืองอยู่ ๕ ปี ก็สามารถตั้งโรงเรียนตามวัดต่าง ๆ ได้ ท่ัวพระราชอาณาจักร จากน้ัน ก็ทรงมอบเร่ืองโรงเรียนในหัวเมืองให้ กระทรวงธรรมการรับไปด�ำเนินการต่อไป เม่ือวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ อน่ึง ประเด็นร่วมสมัยทางการศึกษาที่สาธารณชนให้ความส�ำคัญ มาโดยตลอด คือ โอกาสและการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมและ เปน็ ธรรม โดยจดุ เปลย่ี นสำ� คญั ทกี่ ลายเปน็ จดุ เรมิ่ ตน้ ใหเ้ ดก็ ไทยทกุ คน สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม คือ การเกิดข้ึนของพระราช บัญญัติการศกึ ษาภาคบงั คบั ซง่ึ สาระสำ� คญั ของพระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษา ภาคบงั คบั คือ การก�ำหนดให้เด็กทุกคนต้องเข้ารับการศึกษาในระดับ การศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน ตง้ั แตร่ ะดบั ขน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี ๑ ถงึ ระดบั ขนั้ (๑๙)
มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๓ จ�ำนวน ๙ ปี หรือเรียกว่าการศึกษาภาคบังคับ ซึ่ง ประเทศไทยได้เริ่มตราพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับคร้ังแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ นับถึงปัจจุบัน การศึกษาภาคบังคับของประเทศไทยเกิด ข้ึนมาแล้วเป็นเวลา ๑๐๐ ปี และเมอ่ื พจิ ารณาปชู นยี บคุ คลทม่ี คี ณุ ปู การ ในการวางรากฐานการศกึ ษาใหม้ คี วามมน่ั คงและกระจายไปทวั่ ทกุ พน้ื ทขี่ อง ประเทศไทย หนง่ึ ในนน้ั คอื สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณ วโรรส สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ทรงพระอจั ฉรยิ ะ ในวิทยาการต่าง ๆ หลากหลาย สาขา อาทิ พระพุทธศาสนา ภาษาต่าง ๆ (บาลี สันสกฤต อังกฤษ ฝรงั่ เศส และภาษาโบราณ) การศกึ ษา การปกครอง และวิทยาการสมัยใหม่ต่าง ๆ อีกมาก พระองค์ได้ทรงร่วมสร้างสรรค์ ความเจริญก้าวหนา้ ให้แกป่ ระเทศชาติ ในสมยั ทป่ี ระเทศชาตกิ ำ� ลังปรบั ปรุง เปลยี่ นแปลงเพอ่ื ความเจริญก้าวหนา้ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ ในด้านการศกึ ษา ทรงวางรากฐานการประถมศึกษาและระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย อันมีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐาน เป็นผมู้ สี ่วนสำ� คัญพระองคห์ นง่ึ ในการ สนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาการศึกษาประชาบาลท่ีมีโรงเรียนเป็นฐาน โดยจัดวัดเป็น โรงเรียน ทรงรับพระธุระอ�ำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมืองสอดคล้องกับ พระราชปณธิ านในลน้ เกลา้ รชั กาลท่ี ๕ ในการวางระบบการศกึ ษา ตามแผน การศึกษาสยาม พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาของคนไทย ทุกเพศทุกวัยให้ครอบคลุมท่ัวท้ังพระราฃอาณาจักร ตามวัตถุประสงค์ของ การศกึ ษาของพระองคว์ า่ “สอนใหเ้ ดก็ วดั และเดก็ บา้ นเปน็ ผเู้ ปน็ คน” และ เป็นรากฐานของตราพระราชบญั ญตั ิประถมศกึ ษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่กี �ำหนด หน้าท่ีของผู้ปกครองในการส่งบุตรธิดาเข้ารับการศึกษาภาคบังคับตามท่ี รัฐก�ำหนด ซึ่งถือเป็นกระบวนการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาท่ีท่ัวถึง และเทา่ เทยี มประเทศแรก ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ ไดพ้ ัฒนาการศึกษาของประเทศให้สำ� เรจ็ ลุล่วงไปด้วยดี ในการนี้พระองค์ ต้องทรงทุ่มเทก�ำลังพระปรีชาสามารถ และพระวิริยะอุตสาหะอย่างมากมาย เพราะต้องทรงด�ำริจัดหาและสร้าง หลักสูตรส�ำหรับการเล่าเรียนของกุลบุตรในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร ทรงแนะน�ำชักชวนกุลบุตรท้ังหลายให้นิยมยินดีในการศึกษา ทรงชักน�ำ ประชาชนใหเ้ หน็ ประโยชนข์ องการศกึ ษา และชว่ ยกนั สรา้ งโรงเรยี น เพอ่ื เปน็ ท่ีเล่าเรียนของบุตรหลานของพวกเขาเอง ทรงจัดฝึกอบรมพระสงฆ์ผู้มี ความรู้ความสามารถให้เข้าใจในการศึกษา และต้ังให้เป็นผู้อ�ำนวยการ จัดการศึกษาในหัวเมืองประจ�ำมณฑลต่าง ๆ และทรงเป็นผู้ที่ต้องคอย (๒๐)
ชว่ ยเหลอื แกไ้ ขปญั หาขดั ขอ้ งตา่ ง ๆ ใหล้ ลุ ว่ งไป ดว้ ยพระปรชี าสามารถอนั สขุ มุ คมั ภรี ภาพ เนอื่ งมาจากพระดำ� รแิ ละการจดั การของพระองคเ์ ปน็ การเรม่ิ แรกน้เี อง จึงได้มีโรงเรยี นประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษาเกิดขึน้ ดังที่ ปรากฏอยใู่ นปัจจุบันน้ี ดังน้ัน จึงกล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นบุคคลส�ำคัญพระองค์หน่ึงของชาติ ไทย ในด้านการวางรากฐานการศึกษาสมัยใหม่ ซ่ึงได้ค่อย ๆ พัฒนามา เป็นการศึกษาในระบบท่เี ปน็ อย่ใู นปจั จบุ นั น้ี พระเกียรติคุณทางด้านวัฒนธรรม ค�ำว่า วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมวิถีชีวิตของมนุษย์ใน ทุกดา้ น นบั แตก่ ารกนิ การอยู่ การแตง่ กาย ทอี่ ยอู่ าศยั การพดู การทำ� ภาษา การศึกษา สตปิ ัญญา ตลอดถึง ลัทธิศาสนาความเชอื่ ของคนน้ัน ส่ิงส�ำคัญ ท่ีจะท�ำให้วัฒนธรรมรวมเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันได้ เช่น เป็นวัฒนธรรม ของชาตกิ ค็ ือ ภาษา และวัฒนธรรมของชาติจะเจรญิ งอกงามได้ ก็ดว้ ยการ ศึกษาอบรม และที่ส�ำคัญ ส่ิงที่เป็นหัวใจของวัฒนธรรมไม่ว่าของชาติใด ๆ ก็คือ จิตใจของคนในชาตินั้น ๆ ฉะน้ัน เม่ือพูดถึงวัฒนธรรม จึงมีส่ิงท่ีมา เกยี่ วขอ้ งสมั พนั ธก์ นั เปน็ องคป์ ระกอบทส่ี ำ� คญั ของวฒั นธรรม คอื การศกึ ษา อบรม ภาษา และจติ ใจ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น ทรงมีบทบาทสำ� คัญในดา้ น วัฒนธรรมของไทยไม่น้อย โดย เฉพาะอย่างย่ิงองค์ประกอบส�ำคัญทาง วฒั นธรรมทก่ี ล่าวมาข้างต้น คอื การศกึ ษาอบรม ภาษา และจติ ใจ เรื่องการศึกษา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น สมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ พระองค์นั้นได้ทรงมีพระมหากรุณาธิการ และคุณูปการเป็น อันมากทัง้ ทางการศกึ ษาฝ่ายคณะสงฆแ์ ละการศกึ ษาฝา่ ยบ้านเมือง เรื่องการอบรม ก็คือ การสั่งสอนอบรมจิตใจของประชาชนให้มี ศีลธรรมคุณธรรม ซึ่งกต็ ้องอาศัยกระบวนการของการศกึ ษาน่นั เองเปน็ ส่ือ หรือเป็นเครื่องมือท่ีส�ำคัญ จะเห็นได้ว่าพระด�ำริอันเป็นหลักทางการศึกษา ที่ทรงพระด�ำริขึ้นส�ำหรับโรงเรียนของมหามกุฏราชวิทยาลัย ท่ีสมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ พระองคน์ น้ั ทรงพระด�ำรติ ง้ั ข้นึ น้ัน ประกอบด้วยเนอื้ หา ๔ ส่วน คอื ๑. วชิ าความรู้ ท่ีควรรู้ในชน้ั นัน้ ๆ (๒๑)
๒. การประกอบการหรอื การประกอบอาชีพท่เี หมาะสมแกผ่ ูเ้ รยี นใน ชั้นน้นั ๆ ๓. การฝึกหดั กริ ิยามารยาททางสังคม ๔. การอบรมธรรมจริยา คอื ศีลธรรม คณุ ธรรม และเพ่ือผลดีในการอบรมธรรมจริยาตามหลักสูตรท่ีทรงต้ังขึ้นนี้เอง สมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ พระองคน์ ้ัน จึงได้ทรงพระนิพนธเ์ รื่อง “เบญจศีล เบญจธรรม” ขึ้นซึ่งได้ใช้เป็นต�ำราสอน “วิชาธรรมจริยา” ในโรงเรียนมาแต่ ครั้งนั้น และหลักสูตรส�ำหรับโรงเรียนของมหามกุฏราชวิทยาลัย ซ่ึงมี เน้ือหาดังกล่าวน้ีเองที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์น้ัน ทรงใช้ใน การจัดการศึกษาในหัวเมืองท่ัวพระราชอาณาจักรดังกล่าวมาแล้วข้างต้น น้ีคือการสรา้ งสรรคใ์ นทางวฒั นธรรม ในด้านภาษา สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์น้ันก็ได้ทรงวาง แนวในการศกึ ษาภาษาไว้อย่างนา่ สนใจย่งิ ได้ทรงอธบิ ายไวว้ ่า ภาษาที่ควร ศึกษา คอื ๑. ภาษาของตนเอง ควรศึกษาให้รู้ดี ถ้ารู้ภาษาของตนเองไม่ดี เรยี นภาษาอืน่ กร็ ู้ได้ยาก จะแปลภาษาของตนเปน็ ภาษาอืน่ กท็ ำ� ไดย้ าก ๒. ภาษาโบราณ ควรศึกษาเพ่ือจะได้รู้เร่ืองราว ขนบธรรมเนียม อธั ยาศยั ใจคอ ความคดิ ความเชอื่ ของคนโบราณทเ่ี ราเกดิ ไมท่ นั โดยเฉพาะ อย่างย่ิง ภาษาโบราณที่เกยี่ วขอ้ งกับภาษาของตน ๓. ควรศึกษาภาษาต่างประเทศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจะได้รู้ ความเป็นไปของชาวตา่ งประเทศ เปน็ เครอ่ื งบ�ำรุงหรือพฒั นาความคิดของ เรา โดยเฉพาะอย่างยงิ่ คือ ควรเรยี น ภาษาทีแ่ สดงวชิ าความรไู้ ว้มาก และ คนในโลกใชก้ ันมา ในส่วนพระองค์เอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นก็ทรง รอบรู้ภาษาหลายภาษา คือ บาลี สันสกฤต องั กฤษ ฝร่งั เศส ทรงอาศยั ความรทู้ างภาษาดงั กลา่ วนแ้ี สวงหาวชิ าความรพู้ ฒั นาพระองคเ์ อง พรอ้ มท้งั ทรงใช้พระปรีชาสามารถทางภาษาสร้างวรรณกรรมอันทรงคุณค่าทาง การศึกษา ทั้งทางธรรมและทางโลกไว้มากมาย ไม่น้อยกว่า ๔๐๐ เร่ือง หลายเร่ืองเป็นพระนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง เชน่ พระนพิ นธเ์ รอื่ ง “นวโกวาท” เปน็ หนงั สอื ทางพระพทุ ธศาสนาทแี่ พรห่ ลาย มากท่ีสุด ฉบับ “แบบเรียนเร็ว” พระนิพนธ์เร่ือง “พุทธประวัติ” นับเป็น หนังสือที่ให้ข้อมูลเก่ียวกับพุทธประวัติเชิงวิชาการสมัยใหม่ มีการอ้างอิง ทางโบราณคดี พระนพิ นธเ์ รอื่ ง “วนิ ยั มขุ ” ทรงพระวนิ จิ ฉยั ขอ้ พระวนิ ยั ตา่ ง ๆ (๒๒)
ส่วนข้อไหนท่ีมีความไม่ชัดเจน พระองค์ก็ฝากไว้ให้ “บัณฑิตผู้รู้” รุ่นหลัง ชว่ ยวิเคราะหต์ อ่ อยา่ งที่พระองค์นพิ นธ์ไวใ้ นค�ำน�ำของหนังสือวินยั มขุ พ.ศ. ๒๔๕๖ ไว้วา่ “นิสยั ของขา้ พเจ้าไม่เชือ่ ค�ำท่กี ล่าวไวใ้ นปกรณท์ ั้งหลาย เลือก เชื่อแต่ค�ำท่ีสมเหตุสมผล... ตั้งหลักแห่งการรจนาไว้ว่า ข้อท่ีพิจารณาได้ สมเหตุสมผล จงึ จะถือเอาเปน็ ประมาณ ขอ้ ทพ่ี ิรธุ กต็ ้องคา้ งตงิ ไว้ ไม่ว่ามา ในบาลีหรือในอรรถกถา และแสดงมติของข้าพเจ้าไว้บ้าง เพ่ือเป็นทางด�ำริ ของนักวนิ ัย ข้าพเจา้ มุง่ ความเจรญิ แหง่ ความรูเ้ ป็นท่ตี ัง้ ถา้ น้อมใจเช่ือเปน็ ญาณวิปปยุตแล้ว ความรู้ย่อมไม่เจริญเลย” เป็นการแสดงความเป็นต้น แบบของความเปน็ “นกั วิชาการ” สมัยใหมข่ องพระองค์ คอื เปดิ โอกาสให้ วิพากษ์ได้อย่างเสรี แม้ในการนิพนธ์ “พระประวัติตรัสเล่า” พระองค์เคยมี พระประสงค์ไม่ให้กรมพระด�ำรงราชานุภาพแต่งพระประวัติของท่านต่อ ด้วยเกรงวา่ “...จะยกแตค่ วามชอบความดมี าสรรเสริญ ทา่ นประสงคจ์ ะให้ มที งั้ ตแิ ลสรรเสรญิ ทงั้ ๒ อยา่ ง...” หรอื ความอกี ตอนหนง่ึ วา่ “...พระประวตั ิ ของทา่ นน้ัน ถ้าใครแต่งไมต่ อ้ งการจะใหส้ รรเสริญอยา่ งเดยี ว ข้อใดทีค่ วรติ ให้ติ จึงจะพอพระหฤทัยดังนี้...” เป็นการแสดงคุณสมบัติของ ผู้ทรง เปน็ ต้นแบบของนักวิชาการ ทอ่ี นชุ นควรน�ำมาเปน็ แบบอยา่ งท่ดี ียิง่ ผลงานทางวรรณกรรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์น้ัน ได้ก่อให้เกิดผลทางวัฒนธรรมของสังคมไทยท้ังสังคมสงฆ์และสังคม ชาวเมืองไม่น้อย โดยเฉพาะวัฒนธรรมของความเป็นนักวิชาการเสรีที่ พระองคป์ ฏิบตั ทิ �ำให้ดูเปน็ ตวั อย่าง พระเกียรตคิ ุณทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ กล่าวได้ว่า สมเด็จพระมหา สมณเจา้ ฯ พระองคน์ นั้ เปน็ บคุ คลแรกทพี่ ยายามแสดงใหเ้ หน็ วา่ พระศาสนา กับบ้านเมือง หรือคณะสงฆ์กับชาวบ้าน มิได้แยกออกจากกัน แต่ต่าง เอ้ือเฟื้อเกื้อกูลซ่ึงกันและกัน โดยชาติบ้านเมือง หรือชาวบ้าน เอ้ือเฟื้อ เกอ้ื กลู ตอ่ พระศาสนาหรอื คณะสงฆ์ ดว้ ยการถวายการอปุ ถมั ภบ์ ำ� รงุ พระสงฆ์ ให้ได้รับความสะดวกสบาย เพื่อจักได้ปฏิบัติสมณกิจ สมณวัตรได้อย่าง สะดวกเต็มที่ ฝา่ ยพระสงฆก์ เ็ ออ้ื เฟอื้ เก้ือกูลชาวบา้ นด้วยการแนะน�ำสง่ั สอน ศลี ธรรมอนั จะชว่ ยหนนุ นำ� ชวี ิตใหเ้ ป็นสขุ ตามสมควรแก่สถานภาพ ข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ เราจะเห็นได้จากลักษณะข้ันพ้ืนฐานของ คณะสงฆ์ ท่ีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์น้ัน ทรงแสดงให้เห็นว่า “ภิกษุสงฆ์มีกฎอันจะพึงฟังอยู่ ๓ ประเภท คือ กฎหมายแผ่นดิน ๑ (๒๓)
พระวินัย ๑ จารีต ๑” อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า คณะสงฆ์น้ันมิได้แยก ตัดขาดจากบา้ นเมอื งหรอื สังคมในขัน้ พ้นื ฐาน ในการส่ังสอนพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นก็ทรงแสดงให้เห็นว่า ควรจะสั่งสอนในเร่ืองที่เหมาะสมแก่คน หรือชุมชนน้ัน ๆ คือ สอนเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อเขาหรือพวกเขาสามารถ น�ำไปปฏิบัตเิ ป็นประโยชนต์ ่อการดำ� เนินชวี ติ ไดจ้ รงิ เร่ืองใดทีพ่ วกเขายังไม่ สามารถท�ำได้ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่พวกเขา ก็ยังไม่ควรเอาไปส่ังสอน พวกเขา เพราะการสั่งสอนพระพทุ ธศาสนาหรือพระธรรมนน้ั เพื่อประโยชน์ และความสขุ ของพหชู น ไมใ่ ชส่ กั แตว่ า่ สอนเทา่ นน้ั จงึ ตอ้ งรจู้ กั เลอื กใหเ้ หมาะ แก่คนและเหมาะแก่กาลเวลาด้วย ดังท่ีพระพุทธองค์ตรัสว่า “รู้จักเลือก เวลาสอน” กล่าวไดว้ า่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ พระองคน์ น้ั ได้เป็นผ้รู ิเริ่มให้ แนวการสอน หรอื แนวการอธบิ ายพระพทุ ธศาสนาแบบประยกุ ตข์ น้ึ เปน็ ครงั้ แรก ดงั ทีเ่ ราจะเหน็ ได้ในพระโอวาทและพระธรรมเทศนาของพระองคโ์ ดย ทวั่ ไป ในการเสดจ็ ตรวจการคณะสงฆก์ เ็ ชน่ เดยี วกนั สมเดจ็ พระมหาสมณ เจา้ ฯ พระองคน์ นั้ กม็ ไิ ดต้ รวจ หรอื ดเู ฉพาะเรอ่ื งคณะสงฆ์ หรอื ภกิ ษสุ ามเณร เทา่ นนั้ แต่ได้ทอดพระเนตรความเป็นไปของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย เพ่ือจะไดร้ เู้ หน็ วถิ ชี วี ติ ของชมุ ชนนนั้ ๆ เพอื่ จะไดแ้ นะนำ� สงั่ สอนในเรอื่ ง ทเี่ หมาะสมกบั วถิ ชี วี ติ ของเขา หรอื ชแี้ นะในเรอ่ื งการอาชพี ทพ่ี อจะแนะนำ� เขา ได้ และการทเี่ ขา้ ถึงและเขา้ ใจในวิถีชีวติ ของชมุ ชนนี้แหละ คือ เรอื่ งของ มนุษยศาสตร์ เพราะฉะนั้น รายงานเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ พระองค์น้ัน จึงเป็นเร่ืองราวท่ีให้ความรู้ในด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ไดเ้ ปน็ อย่างดเี รอ่ื งหนึง่ ดว้ ยพระมหากรณุ าธกิ ารของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ องคก์ าร ศกึ ษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) มีมติรับรองบัญชี รายช่ือการร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ท่ีส�ำคัญทางประวตั ศิ าสตรท์ เ่ี ชอ่ื มโยงกบั งานขององคก์ ารยเู นสโก ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ให้ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส เป็นบคุ คลส�ำคญั ของโลก ประจ�ำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ ท้ังน้ีพระ เกียรติคุณทางด้านการศกึ ษา วฒั นธรรม และสงั คมศาสตรม์ นษุ ยศาสตร์ (๒๔)
หนังสอื ๑๐๐ ปี รอ้ ยเร่อื ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ค�ำปรารภ (๔) คำ� นำ� (๖) สัมโมทนยี กถาของสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (๘) ภาค ๑ พระมหาสมณนพิ นธ์ ๒ ๒๘ ๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสในฐานะ ๓๖ “มหาบัณฑติ ยอ์ ันประเสริฐ” แห่งสยามและโลก ดนัย พลอยพลาย ๔๔ ๒ ศาสนสุภาษิต: หนังสือเฉลมิ พระเกยี รตอิ นั เป็นนริ นั ดร ์ ๕๔ ชัชวาลย์ จนั ทรอ์ ดิศรชยั ๖๖ ๓ นวโกวาท พระนิพนธส์ มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส: การศกึ ษาในฐานะ ๗๖ “แบบเรยี นเรว็ ” ทางพระพุทธศาสนา ๘๔ สายปา่ น ปุริวรรณชนะ ๔ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส กับพุทธประวัติแนวใหม่ ภูรทิ ตั หงษ์ววิ ัฒน์ ๕ พระนพิ นธ์ “พุทธประวัต”ิ กบั ความรู้ใหมจ่ ากโลกโบราณคดี เดชดนยั ศภุ ศลิ ปเลิศ ๖ ต�ำราไวยากรณบ์ าลฉี บบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส: ลกั ษณะเดน่ และอิทธิพล ตอ่ การศกึ ษาภาษาบาลีในประเทศไทย บณุ ฑริกา บญุ โญ ๗ บาลไี วยากรณแ์ ละแวน่ องั กฤษ สริ มี าศ มาศพงศ์ ๘ พระนิพนธ์ “แวน่ อังกฤษ” กับการอา่ นออกเสียงภาษาองั กฤษ ณัฏฐนนั ท์ จันทร์เจา้ ฉาย
๙ พระมงคลวิเสสกถา: พระธรรมเทศนาถวายพระราชา ๙๘ เพือ่ ความผาสกุ แห่งพระราชอาณาจักร ๑๐๘ อสั นี พูลรักษ์ ๑๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ๑๒๒ ในฐานะอธิบดสี งฆ์ ภาพสะทอ้ นการทรงงานจากบนั ทกึ ๑๓๘ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๖๐ ๑๕๒ วรรณววิ ัฒน์ รัตนลัมภ์ ๑๖๔ ๑๗๔ ภาค ๒ พระมหาสมณปกณิ ณกคดี ๑๘๖ ๒๐๒ ๑ วชริ ญาณวโรรส - มหามกฎุ กษัตรราชวรางกูร ๒๑๔ ดนยั พลอยพลาย ๒๒๖ ๒ พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ทรงมไี ปมากบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ๒๓๖ อาทติ ย์ ชีรวณชิ ยก์ ลุ ๓ พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยู่หวั กบั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส จฑุ าคภสั ติ์ รัตนพนั ธ์ ๔ โภคาภเิ ษก – ปัญจราชาภเิ ษก ยุทธนาวรากร แสงอรา่ ม ๕ หมอเคาวัน: พระอาจารยภ์ าษาอังกฤษของสมเด็จพระมหาสมณะ ศรณั ย์ มะกรดู อินทร์ ๖ การปรบั ปรงุ อักษรและอักขรวธิ ไี ทยส�ำหรับเขียนภาษาบาล ี พรี ะ พนารัตน์ ๗ เล่นเปน็ พระ ศรัณย์ มะกรูดอนิ ทร์ ๘ การซ่อมแปลงรปู แบบพระพทุ ธรปู นาคปรกทีเ่ มืองลพบุร ี กวิฏ ตงั้ จรัสวงศ์ ๙ ความรบั รเู้ กย่ี วกบั สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสในแบบเรียนกลมุ่ สาระการเรียนรู้ สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวฒั นธรรม ระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ณฐั พงศ์ ลาภบุญทรพั ย์ ๑๐ คณะสงฆส์ รา้ งชาติ ปฐม ตาคะนานันท์
๑ พระมหาสมณนิพนธ์
“...ไม่เฉภาะแต่ในสยามราชอาณาเขตร ถึงแมช้ นในไพรชั ประเทศ ก็สรรเสรญิ ยกย่องพระองค์ ว่าเปนมหาบัณฑิตยอ์ ันประเสรฐิ ผู้ท่ีเลื่อมใส ในพระพทุ ธสาสนาทวั่ ไป ได้นิยมยอมยกพระองค์ เปนมหาสาสนนายก แต่ถึงแมผ้ ้ทู ี่มใี จนับถือสาสนาอื่น ๆ ก็มคี วามนับถือพระองค์เปนปราชญ์ อันหาที่เปรยี บได้โดยยาก...” จาก ประกาศมหาสมณุตมาภิเษก พ.ศ. ๒๔๕๓ ภาพ: พระบรมรปู บนเหรียญท่รี ะลกึ ในโอกาสทที่ รงมพี ระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา พ.ศ. ๒๔๖๒ (ท่ีมา: กรมธนารักษ์)
พระมหาสมณนิพนธ์: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในฐานะ “มหาบัณฑิตย์อันประเสริฐ” แห่งสยามและโลก ดนัย พลอยพลาย๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนมาต้ังแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเป็นที่เคารพยกย่องและไว้วาง พระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงพระอุตสาหะแสวงหาความรู้ทั้ง ทางคดีโลกและคดีธรรมอย่างเปิดกว้างท้ังภายในและภายนอกประเทศ ทรงพระปรชี าสามารถในทางอกั ษรศาสตรเ์ ปน็ อยา่ งยง่ิ และทรงมพี ระญาณ ทัศนะ (vision) อันสุขุมในการปกครองคณะสงฆ์และการจัดการศึกษาทั่ว พระราชอาณาจกั ร พระกรณยี กจิ และพระนพิ นธใ์ นสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ล้วนแล้วมีคุณูปการต่อประเทศไทยนานัปการอันอาจแบ่งได้เป็น ๓ ด้าน ได้แก่ การศกึ ษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวัฒนธรรม๒ ด้วยเหตุนี้ จึงทรงเป็นท่ีเคารพยกย่องของบรรดาปราชญ์ คณะสงฆ์ และประชาชนไทย ตลอดจนเป็นที่ยอมรับนับถือของบรรดาปราชญ์นานา ประเทศ พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงสรรเสรญิ พระเกยี รตคิ ณุ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ว่าทรงเป็น “มหาบัณฑิตย์อันประเสริฐ” ของ “ผู้ท่ีเลื่อมใสในพระพุทธสาสนาทั่วไป ได้นิยมยอมยกพระองค์เปน มหาสาสนนายก แตถ่ งึ แมผ้ ทู้ มี่ ใี จนบั ถอื สาสนาอน่ื ๆ กม็ คี วามนบั ถอื พระ องคเ์ ปนปราชญอ์ นั หาทเี่ ปรยี บไดโ้ ดยยาก ผมู้ ชี อ่ื เสยี งสำ� คญั อนั เปนชาวตา่ ง ประเทศ แม้มาเย่ยี มกรงุ สยามกค็ งตง้ั ใจพยายามไปนอ้ มคำ� นบั ดว้ ยความนยิ ม นบั ถอื ดว้ ยไดย้ นิ พระเกยี รตคิ ณุ บรรฦๅไปจนถงึ ประเทศนนั้ ๆ” (ราชกจิ จานุ เบกษา, ๒๔๕๓, หนา้ ๒๕๘๒) ๑ อาจารย์พิเศษ ศูนยภ์ าษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศ คณะอักษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. ๒ ดรู ายละเอยี ดใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กับการพัฒนาสยามประเทศ. (๒๕๖๔). 3
กลา่ วเฉพาะงานพระนพิ นธข์ องพระองคน์ นั้ มอี ยมู่ ากมาย อาจจำ� แนก ออกเป็น ๒ แผนกหลัก คือ พระนิพนธ์แผนกภาษาไทยและพระนิพนธ์ แผนกภาษาบาลี พระนิพนธ์แผนกภาษาไทยมีหลายหลากประเภท ได้แก่ แบบเรียน พระธรรมเทศนา พระโอวาทและธรรมกถา ธรรมคดีและ เบด็ เตลด็ งานเกยี่ วกบั การศกึ ษา งานเกย่ี วกบั พระมหากษตั รยิ ์ งานเกยี่ วกับ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานเกี่ยวกับอักษรศาสตร์ และงานเก่ียวกับ การคณะสงฆ์ ส่วนพระนิพนธ์แผนกภาษาบาลีแบ่งเป็นงานทรงพระนิพนธ์ งานทรงช�ำระ งานทรงแปล และงานทรงวรรณนา (พระประวัติสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบับรวมเล่ม), ๒๕๖๔, หนา้ ๒๕๓-๒๘๐) งานพระนพิ นธท์ งั้ นน้ั ลว้ นแตม่ คี ณุ คา่ นา่ ศกึ ษาทง้ั ในทาง วชิ าการ ประวัตศิ าสตร์ และพระพุทธศาสนาเปน็ อยา่ งย่ิง การศึกษาทบทวนและพินิจพิเคราะห์พระนิพนธ์ในมิติต่าง ๆ น่าจะ ชว่ ยท�ำใหเ้ ห็นถึงบทบาทและความสำ� คญั ของสมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ ใน ฐานะที่ทรงเป็น “มหาบัณฑิตย์อันประเสริฐ” ของสยามและโลกได้ชัดเจน ย่ิงข้นึ นเ้ี ปน็ ที่มาของหนังสือ ๑๐๐ ปี รอ้ ยเร่ือง สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติคุณสมเด็จ พระมหาสมณเจา้ ฯ พระองค์นน้ั เนื่องในวาระ ๑๐๐ ปี แหง่ การสนิ้ พระชนม์ พ.ศ. ๒๕๖๔ กมุ ารนจี้ งมีนามวา่ “มนุษยนาคมานพ” สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสเปน็ พระราชโอรส ลำ� ดบั ท่ี ๔๗ ในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ประสตู แิ ตเ่ จา้ จอม มารดาแพ พระสนมเอก ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรม ชนกนาถวา่ “มนษุ ยนาคมานพ” ตามทร่ี ะบไุ วใ้ นตอนตน้ แหง่ คาถาพระราชทาน พระนามว่า “เอวํนาโม อยํ โหตุ มนุสฺสนาคมานโว อิจฺเจว วิสฺสุโต โหตุ อสมฺ ึ ราชกเุ ล วโร” แปลวา่ “กมุ ารนจ้ี งมนี ามวา่ ‘มนษุ ยนาคมานพ’ ดงั นเ้ี ถดิ ขอกมุ ารผปู้ รากฏโดยนามอยา่ งน้ี จงเปน็ ผปู้ ระเสรฐิ ในราชตระกลู น”ี้ พระนาม “มนุษยนาคมานพ” น้ีมีความหมายว่า “คนผู้เป็นมนุษยนาค” หรือ “คนผู้ เปน็ นาคในมนษุ ย”์ ประหนง่ึ ทรงทำ� นายพระชาตาของพระราชโอรสพระองค์ นนั้ วา่ ตอ่ ไปจะไดท้ รงเปน็ ผหู้ ลกั ผใู้ หญใ่ นหมคู่ น และจกั ทรงเปน็ “บรุ ษรตั น” หรอื “มหาบุรษุ ” แหง่ พระอาณาจักรในกาลตอ่ มา 4
เมอื่ เจา้ จอมมารดาถงึ แกก่ รรม พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงวรเสรฐ สุดาทรงรับพระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพไปอุปการะระยะหน่ึงด้วยทรงเป็น พระญาติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์น้ันนับเป็นปัญญาชนสตรีของสยาม พระองค์ส�ำคัญซ่ึงมีบทบาทในการอบรมสั่งสอนวิชาการแก่พระราชวงศ์และ การประพันธ์ต่าง ๆ ต่อมาพระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพทรงเรียนวิชาข้ัน ประถม ไดแ้ ก่ หนงั สือไทยกบั คุณนก พนกั งานหนงั สอื ขอม และภาษามคธ กับพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงเรียนวิชาปริยัติกับพระปริยัติ ธรรมธาดา (ชัง) ในคราวติดตามพระเชษฐา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ผนวชเป็นสามเณร นอกจากนั้น ยังทรงได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมชนกนาถอยู่มิขาด ท้ังการสนอง งานเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามพระก�ำลัง และการตามเสด็จไปยังท่ีต่าง ๆ ท้ัง ในพระนครและหัวเมือง ดังปรากฏในประวัติตรัสเล่าว่า “ท่านทรงกับพวก เราโดยฉนั พอ่ กบั ลกู ไมท่ รงทำ� พระยศพระอยา่ งโดยฐานเปน็ พระเจา้ แผน่ ดนิ ” (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบับ รวมเลม่ ), ๒๕๖๔, หน้า ๑๔) พระชาตกิ ำ� เนดิ อนั สงู ของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ เปน็ ปจั จยั สำ� คญั ข้อหน่ึงท่ีเอ้ือให้ทรงได้รับการศึกษาอย่างต่อเน่ืองและกว้างขวาง เริ่มต้น จากการรู้หนังสือทั้งไทยและขอมเพ่ือใช้เป็นเครื่องมือส�ำหรับศึกษาวิชาใน ข้ันสูงขึ้นมีภาษาบาลีและพระปริยัติเป็นต้น ดังนั้น เมื่อทรงรับพระราชภาร ธุระจัดการศึกษาของพระสงฆ์และการศึกษาหัวเมืองในรัชสมัยพระบาท สมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ จงึ ทรงเนน้ ให้ ราษฎรและพระสงฆ์รู้หนังสือเป็นอย่างแรก ทรงก�ำหนดให้นักเรียนศึกษา อกั ขรสมยั คอื หนงั สอื ไทยเพอ่ื การอา่ นออกเขยี นไดเ้ ปน็ สำ� คญั และทรง ก�ำหนดให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาภาษาบาลีส�ำหรับเป็นพ้ืนฐานในการศึกษา พระปริยตั ิธรรมต่อไป น้ีเป็นเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ทรงนิพนธ์หนังสือบาลี ไวยากรณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นแบบเรียนภาษาบาลีแก่พระสงฆ์และ พุทธศาสนิกชน พระนิพนธ์ดงั กล่าวยงั คงใช้แพรห่ ลายกลายเปน็ ตำ� รา ภาษาบาลเี ล่มส�ำคญั ของไทยมากระทั่งปัจจุบัน สมเด็จพระมหาสมณ เจ้าฯ ยังทรงนิพนธ์หนังสือแวน่ องั กฤษ เพอื่ ใชเ้ ปน็ คมู่ อื เรยี นภาษา องั กฤษของพระสงฆอ์ กี ดว้ ย แสดงใหเ้ หน็ ถงึ พระปรชี าสามารถและพระ ญาณทศั นะของพระองคใ์ นการจัดการศกึ ษาไดเ้ ปน็ อยา่ งดี กลา่ วคอื ทรง เตรียมบคุ ลากรทางการศกึ ษาให้มคี วามรู้พร้อมก่อนที่จะถ่ายทอดส่งต่อให้ 5
พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงพรหมวรานรุ กั ษ์ (พระองคเ์ จา้ เกษมสนั ต์โสภาคย)์ พระเชษฐา ในสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปน็ บรรณาธกิ ารหนังสอื ดรุโณวาท ตวั อยา่ งหนงั สอื ดรโุ ณวาท ฉบบั ปฐมฤกษ์ ระบขุ ้อความวา่ “เปนหนังสือจดหมายเหตุ รวบรวมขา่ วในกรุงแลตา่ งประเทศ แลหนงั สอื วิชาการชา่ งตา่ ง ๆ ภอเปน ที่ประดบั ปญั ญาคนหนุ่ม” ตัวอย่างข่าวจากหนังสอื COURT ข่าวราชการ ซ่ึงพระเจ้านอ้ งยาเธอ พระองค์เจ้ามนษุ ยนาคมานพทรงนิพนธ์ 6
แกน่ กั เรยี นตอ่ ไป ความรทู้ ท่ี รงวางรากฐานไว้นั้นให้ส�ำคัญแก่ภาษาไทยใน ฐานะภาษาราชการของสยาม ภาษาบาลีในฐานะภาษากลาง (lingua franca) ของพระพทุ ธศาสนา และภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลางของโลก สมัยใหมซ่ ่ึงทวีความส�ำคญั ข้นึ อยา่ งมากในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ บทความเรอื่ งบาลไี วยากรณแ์ ละแวน่ องั กฤษ ของสริ มี าศ มาศพงศ์ ได้ชว่ ยท�ำให้เห็นถงึ พระด�ำรเิ กีย่ วแก่การเรียนภาษาของปราชญ์โดยทรงการ เรียนภาษาเป็น ๓ อย่าง ได้แก่ ภาษาของตัวอันหมายถึงภาษาไทย ภาษา โบราณอันหมายถึงภาษาบาลี และภาษาต่างประเทศที่ใช้พูดอยู่ในปัจจุบัน อนั หมายถงึ ภาษาองั กฤษ พระนพิ นธท์ ง้ั สองเรอื่ งเปน็ แบบเรยี นฝกึ ภาษา บาลีและภาษาอังกฤษท่ีช่วยให้นักเรียนเข้าใจและใช้ภาษาได้คล่องแคล่ว มากขึน้ ขณะที่บทความเรอ่ื งต�ำราไวยากรณ์บาลีฉบับสมเดจ็ พระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส: ลักษณะเด่นและอิทธิพลต่อ การศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทย ของบณุ ฑริกา บุญโญ แสดงให้เหน็ ว่าพระนิพนธ์เร่ืองดังกล่าวอธิบายภาษาบาลีด้วยการสรุปและอธิบายเป็น ภาษาไทยทีเ่ ข้าใจง่าย ช่วยย่นระยะเวลาเรียนได้มาก นับเป็นจุดเปล่ียน และเป็นการปฏริ ปู การศกึ ษาภาษาบาลี แมใ้ นปจั จบุ นั บาลไี วยากรณก์ ย็ งั คงเปน็ ตน้ แบบของต�ำราไวยากรณ์เล่มอื่น ๆ ต่อมา ส่วนบทความ เรื่องพระนิพนธ์ “แวน่ องั กฤษ” กบั การสอนการอา่ นออกเสยี งภาษา องั กฤษ ของณฏั ฐนนั ท์ จันทร์เจ้าฉาย ได้น�ำมุมมองทางภาษาศาสตร์มา วิเคราะห์เพ่ือท�ำให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในถ่ายถอดเสียงภาษาอังกฤษ ค่อนข้างครบถว้ นสมบรู ณ์ นบั เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนภาษา องั กฤษแก่พระภกิ ษสุ ามเณรทีม่ รี ปู แบบและเนื้อหาอันเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ การทท่ี รงไดต้ ดิ ตามสนองพระเดชพระคณุ สมเดจ็ พระบรม ชนกนาถอย่างใกล้ชิดน้ัน น่าจะช่วยปลูกฝังให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงสนพระทัยชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรและความเปล่ียนแปลงของ สังคม ดงั ปรากฏพระกรณยี กจิ ตรวจการพระศาสนาในรชั กาลท่ี ๕ และเม่อื ทรงรบั มหาสมณตุ มาภเิ ษกและเปน็ ประธานาธบิ ดสี งฆใ์ นรชั กาลท่ี ๖ พระองค์ ไดเ้ สดจ็ ตรวจการคณะสงฆต์ ามหวั เมอื งตา่ ง ๆ พรอ้ มกนั นน้ั ยงั ทรงพระ นพิ นธบ์ ันทึกเสด็จตรวจการแถลงการณ์คณะสงฆ์ข้ึนในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๔๕๔–๒๔๖๐ ท�ำให้ไดเ้ ห็นพระกรณียกิจของพระองค์ในฐานะ สกลมหาสังฆปริณายก และวัตรปฏบิ ตั ิอนั งดงามในฐานะพระภิกษุ 7
เตรยี มตนเพ่ือเปน็ “ดจุ ภาชนะท่ีควรรองรบั ราชการ” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับพระราชสมบัติ สืบตอ่ จากพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ขณะท่ี พระชนมพรรษาเพยี ง ๑๕ พรรษา นับเปน็ ชว่ งเวลาทเ่ี ปราะบางอย่างยง่ิ ดงั ท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๔๙๓, หน้า ๑๑) ทรง เปรยี บไวว้ า่ ทรงเปน็ “เหมอื นตะเกยี งหรบิ หรจ่ี วนจะดบั ” หรอื “เปรยี บเหมอื น คนทศ่ี รี ษะขาดแลว้ จบั เอาแตร่ า่ งกายขนึ้ ตงั้ ไวใ้ นทสี่ มมตกิ ษตั รยิ ์ เหลอื ทจ่ี ะ พรรณนาถงึ ความทกุ ขอ์ นั ตอ้ งเปน็ กำ� พรา้ ในอายเุ พยี งเทา่ นนั้ และความหนกั ของมงกุฎอันเหลือที่คอจะทานไว้ได้ ท้ังมีศัตรูซ่ึงมุ่งหมายอยู่โดยเปิดเผย รอบข้าง ทั้งภายในภายนอก หมายเอาท้ังในกรุงเองและต่างประเทศ ท้ังโรคภัยในกายเบยี ดเบยี นแสนสาหสั ” (เร่อื งเดียวกนั , หนา้ ๑๓) การต่อสู้เผชิญหน้ากับความทุกข์อันตรายและอุปสรรคนานัปการใน รัชสมัยของพระองค์ล้วนต้องอาศัย “...การสามัคคีภายในเป็นข้อส�ำคัญ ย่ิงใหญ่ ซงึ่ จะไดต้ อ่ ตา้ นดว้ ยศตั รภู ายนอกอนั มกี ำ� ลงั กลา้ กวา่ แตก่ อ่ น ถา้ หาก การสามคั คภี ายในไมม่ อี ยไู่ ดแ้ ลว้ ไหนเลยการตอ่ ตา้ นภายนอกจะรบั รองอยไู่ ด”้ (เร่ืองเดียวกัน, หน้า ๒) ดังนั้น พระราชภราดาทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว จึงนับเป็นส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งใน การสร้าง “การสามัคคีภายใน” ให้บังเกิดมีขึ้นเพ่ือความม่ันคงของพระราช บลั ลังกแ์ ละความผาสกุ ของอาณาประชาราษฎร บรรดาพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบ่ง เปน็ ช้นั ตา่ งกันตามพระชนมายุ ไดแ้ ก่ พระราชโอรสช้ันใหญ่ ประสตู ิระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๓๙๙ พระราชโอรสชั้นกลาง ประสูติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๐๓ และพระราชโอรสชั้นเล็ก ประสูติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๑๑ (ดำ� รงราชานภุ าพ, ๒๔๘๙, หน้า ๑๔) พระราชโอรส ชน้ั ใหญม่ พี ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเจา้ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์) เป็นต้น ส่วน สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ นบั เปน็ พระราชโอรสชน้ั กลางรว่ มรนุ่ กนั กบั สมเดจ็ พระราชปติ ลุ าบรมพงศาภมิ ขุ เจา้ ฟา้ ภาณรุ งั ษสี วา่ งวงศ์ กรมพระยาภาณพุ นั ธุ วงศ์วรเดช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (พระองคเ์ จา้ เทวญั อไุ ทยวงศ)์ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระสมมตอมรพนั ธ์ุ 8
(พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ) เป็นอาทิ ส�ำหรับพระราชโอรสชั้นเล็กมีสมเด็จ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ (พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ (พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ) เปน็ ตน้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงสนับสนุนให้บรรดา พระราชภราดาของพระองคศ์ กึ ษาเรยี นรสู้ รรพวทิ ยาการตา่ ง ๆ ใหก้ วา้ งขวาง และลกึ ซงึ้ เพอ่ื ทจ่ี ะไดเ้ ปน็ กำ� ลงั สำ� คญั ในการสนองพระบรมราชประสงคต์ อ่ ไป ดงั ท่สี มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงบนั ทกึ ไว้ว่า สมัยท่ีพวกเรามาถึงเข้าบัดน้ัน ชั่งเป็นคราวท่ีพวก เจ้านายตกต่�ำนี่กระไร แต่พวกเรายังเล็กนักก็ไม่รู้สึกลึกซึ้งก่ี มากนอ้ ย แตพ่ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทที่ รง พระเจรญิ กวา่ คงจะทรงรสู้ กึ ฝงั ในพระราชหฤทยั เปน็ หนกั หนา จงึ ทรงท�ำนุบำ� รุงพวกเรามาต้งั แตย่ ังเยาว์ ให้ได้รบั การศึกษา และฝกึ หดั ในทางทส่ี มควรแกส่ มยั และทรงชบุ เลย้ี งเมอื่ เตบิ ขนึ้ ให้มีช่องได้รับราชการหน้าที่ใหญ่ขึ้นโดยล�ำดับ จนได้เป็น เสนาบดีเจ้ากระทรวงก็หลายพระองค์ มีพระเดชพระคุณอยู่ แกพ่ วกเราเปน็ ลน้ พน้ อาศยั เหตสุ องประการ คอื พวกเราทำ� ตนให้เป็นดุจภาชนะท่ีควรรองรับราชการและพระมหากรุณา แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชุบเล้ียง พวกเราจึงกลับมีผู้นับถือย�ำเกรงขน้ึ อีก (พระประวตั สิ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส (ฉบบั รวมเลม่ ), ๒๕๖๔, หนา้ ๑๗-๑๘) สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ขณะมีพระชันษา ๑๒ ปี ทรงได้รับ พระมหากรุณาธิคุณให้ทรงศึกษาในโรงเรียนภาษาอังกฤษท่ีตึกแถวริม ประตูพิมานชัยศรี มีนายฟรานสิส ยอช แปตเตอร์สัน (Mr. Francis George Patterson) เปน็ ครูผสู้ อน ทรงเรยี นวิชาภาษาองั กฤษ คณติ ศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ ความรู้เหล่าน้ีใช้แนวทางการศึกษาอย่าง ตะวันตกเป็นหลัก ด้วยพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาต้ังแต่ยังทรงพระเยาว์ กอปรทรงตระหนกั วา่ จะต้อง “ท�ำตนให้เป็นดุจภาชนะท่ีควรรองรับราชการ” 9
สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ไมว่ า่ จะในฐานะของ พระราชอนุชา ข้าทูลละอองธุลีพระบาท หรอื กลุ่ม สยามหนุ่ม ได้ทรงงานอยา่ งแขง็ ขนั และเอาพระทยั ใส่ อย่างยิ่ง จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัว ของสมเด็จพระบรมเชษฐา จึงได้ท�ำให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรง พระอุตสาหะแสวงหาครูสอนวิชาต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง เพ่ือให้ทรงมี ความรลู้ ึกซง้ึ และกว้างขวางยิง่ ขึน้ อาทิ โหราศาสตร์ ธรรมะ และภาษามคธ ตลอดจนหาโอกาสสนทนาแลกเปล่ียนความรู้ความคิดกับชาวต่างชาติคน อ่ืน ๆ โดยเฉพาะหมอปิเตอร์ เคาวัน (Dr.Peter Cowan) แพทย์หลวง ประจำ� พระองคพ์ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั นอกจากน้ี ยงั ทรง บรรพชาเป็นสามเณรเม่ือปี พ.ศ. ๒๔๐๖ โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเปน็ พระอปุ ัชฌาย์ ประสบการณ์ข้างต้นเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยให้ทรงเข้าใจและ สามารถเปรียบเทียบการศึกษาตามแบบแผนจารีตประเพณีและการศึกษา ตามแนวตะวันตกได้อย่างชัดเจน ส่งผลต่อการวางแนวทางการศึกษาของ สยามใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพและเหมาะกาลสมยั ไดม้ ากขน้ึ รวมไปถงึ งานพระ นพิ นธต์ า่ ง ๆ ทม่ี ลี กั ษณะประสานความรดู้ ง้ั เดมิ ของสยามกบั ความรขู้ อง ตะวนั ตก ตัวอย่างพระนิพนธ์พุทธประวัติ ซึ่งทรงอธิบายศึกษาค้นคว้า หนังสือของปราชญ์ตะวันตก ท�ำให้ความรับรู้ใหม่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าใน ฐานะบุคคลทางประวัติศาสตร์ และได้เกิดมีการตีความหมายสัญลักษณ์ ต่าง ๆ ของพทุ ธประวัตมิ ากข้นึ 10
บทความเรอ่ื งสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณว โรรส กับพุทธประวัติแนวใหม่ ของภูริทัต หงษ์วิวัฒน์ ได้ชี้เห็นถึงคุณค่า ของพระนิพนธ์ในฐานะวรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทยที่บุกเบิกการตีความ พุทธประวัติแนวใหม่ โดยใช้ความรู้และหลักวิชาการอย่างตะวันตก ประกอบการนิพนธ์ พระนิพนธ์น้ียังมีอิทธิพลต่อปัญญาชนคนส�ำคัญอย่าง พระพุทธทาสภิกขุด้วย บทความเรื่องพระนิพนธ์พุทธประวัติกับความรู้ ใหม่จากโลกโบราณคดี ของเดชดนัย ศภุ ศิลปเลิศ กไ็ ดช้ ว่ ยขยายมุมมอง ทางประวัติศาสตร์ในขณะที่ทรงพระนิพนธ์ ท�ำให้ทราบว่าช่วงเวลานั้น นกั วชิ าการตะวนั ตกใหค้ วามสนใจศกึ ษาโบราณคดใี นอนิ เดยี จนเกดิ หลกั ฐาน และขอ้ ความรใู้ หม่ ๆ เกยี่ วแกพ่ ระพทุ ธเจา้ และสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ก็ ทรงได้น�ำความรู้เหล่านั้นมาเสนอแก่วงวิชาการสยามตลอดจนศาสนิกช นทั่วไป “สยามหน่มุ ” ผรู้ ู้ “จบจิตตแ์ จ้งเจนจดั ” เม่ือทรงมีความรู้ในทางทฤษฎีพอสมควรแล้ว สมเด็จพระมหา สมณเจ้าฯ ทรงเร่มิ ฝึกฝนพระองค์ในทางปฏบิ ัตมิ ากขึ้น พิจารณาจากการมี ส่วนร่วมในหนังสือส�ำคัญ ๒ เร่ือง ได้แก่ ดรุโณวาท และ COURT ขา่ วราชการ ซงึ่ เปน็ หนงั สอื พมิ พท์ บ่ี รรดาพระราชอนชุ าของพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชว่ ยกันแต่งในช่วงปลายทศวรรษที่ ๒๔๑๐ หนงั สือดรุโณวาท พมิ พข์ ึน้ ฉบับแรกเมือ่ พ.ศ. ๒๔๑๗ “เปนหนังสอื จดหมายเหตุรวบรวมขา่ วในกรุงแลต่างประเทศ แลหนังสือวิชาการต่าง ๆ ภอเปนทปี่ ระดบั ปญั ญาคนหนมุ่ ” (ดรโุ ณวาท, ๒๕๑๒) เจา้ ของบรรณาธกิ าร และผู้พิมพ์โฆษณา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ พระเชษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ โดย ทรงตง้ั โรงพมิ พไ์ วภ้ ายในวงั ของพระองค์ ซงึ่ ขณะนน้ั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงย้ายไปประทับดว้ ยแล้ว ขจร สขุ พานชิ ได้แสดงความเห็นตอ่ ดรุโณวาท วา่ เปน็ “กระจกฉายใหเ้ หน็ โฉมความคดิ เหน็ ของกลมุ่ กา้ วหนา้ ” (ดรโุ ณวาท, ๒๕๑๒, หนา้ (๑๐)) “กลมุ่ กา้ วหนา้ ” ทขี่ จรกลา่ วถงึ นนั้ กค็ อื “กลมุ่ สยามหนมุ่ ” หรือ “Young Siam Society” ซึ่งก�ำเนิดเกิดขึ้นในปลายปี พ.ศ. ๒๔๑๗ 11
พระเจ้านอ้ งยาเธอ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ ด�ำรงราชานภุ าพ (ภาพขณะดำ� รงพระยศ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ พระองคเ์ จา้ ดศิ วรกมุ าร) ทรงเปน็ กำ� ลงั แรงสำ� คญั ในการจดั การ ศกึ ษาหวั เมอื ง รว่ มกบั สมเด็จพระมหาสมณ เจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระบรมฉายาลกั ษณพ์ ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อยู่หวั และขอ้ ความ อารมั ภกถา คราวตพี มิ พ์พระไตรปฎิ กบาฬีอักษรสยามฉบบั พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั หรือ “พระไตรปฎิ กฉบบั หลวง” 12
สมเด็จพระราชปติ ลุ าบรมพงศาภมิ ุข สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา เจ้าฟา้ ภาณรุ ังษสี ว่างวงศ์ กรมพระยา วชริ ญาณวโรรส ผทู้ รงเปน็ “มหาบณั ฑติ ย์ ภาณุพันธวุ งศว์ รเดช (ภาพขณะด�ำรงพระ อนั ประเสรฐิ ” แห่งสยามและโลก ยศ สมเดจ็ พระเจา้ น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณรุ ังษสี วา่ งวงศ์) ทรงเป็น กรรมสัมปาทิกสภาฝ่ายคฤหัสถ์ในการ จดั พมิ พ์ “พระไตรปฏิ กฉบับหลวง” สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ไดท้ รงเปน็ สมาชิกของกลุ่มสยามหนมุ่ น้ดี ว้ ย หนังสอื COURT ข่าวราชการเปน็ หนงั สือพิมพบ์ อกข่าวราชการซง่ึ พระราชอนุชาในรัชกาลที่ ๕ ทรงผลัดเวรกันทรงแต่งองค์ละวัน มีสมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงเป็นเจ้าของและผู้จัดการ สมเดจ็ เจา้ ฟา้ ฯ พระองคน์ นั้ ทรงอธบิ ายไวว้ า่ หนงั สอื COURT ขา่ วราชการ น้ี เป็นพยาน “ว่าในสมัยนั้นมีเจ้าพ่ีเจ้าน้องหลายพระองค์ด้วยกันได้ต้ังอยู่ใน ฐานะแห่งสามคั คธี รรมเปนอันด”ี (หนงั สือ COURT ขา่ วราชการ, ๒๔๖๖, หน้า (๓)) การทรงหนังสือเล่มน้ีของบรรดาพระราชอนุชาแสดงให้เห็นถึง บรรยากาศความสนพระทัยในกิจการหนังสือพิมพ์และการพิมพ์ได้เป็น อย่างดี แม้พระชันษาจะยังเยาว์นัก เป็น “หนังสือส�ำนวนนักเรียนแต่ง” (เรื่องเดียวกัน, หน้า (๑๕)) แต่ก็ท�ำให้เห็นว่าเจ้านายทรงพยายามฝึกหัด 13
ดว้ ยความเพยี รและความอตุ สาหะอย่างยง่ิ (เรอ่ื งเดยี วกนั , หน้าเดยี วกัน) บทบาทของ “กลมุ่ สยามหนมุ่ ” หรอื บรรดาพระราชอนชุ าในรชั กาลท่ี ๕ และขนุ นางหวั สมยั ใหมใ่ นชว่ งเวลาปลายทศวรรษท่ี ๒๔๑๐ จนถงึ ทศวรรษ ท่ี ๒๔๒๐ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ความพยายามสรา้ งเครอื ขา่ ยความรว่ มมอื ใหม่ ของชนช้ันน�ำท่ีต้องการสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มสยามหนุ่มได้ร่วมมือกันท�ำงานทางด้านความคิดอย่างหนักผ่านงาน หนังสือพิมพ์ เพ่ือน�ำเสนอแนวทางพัฒนาประเทศแบบใหม่ ๆ ซ่ึงจะมีผล ไปสกู่ ารปฏิรูปประเทศในชว่ งทศวรรษท่ี ๒๔๓๐ ความคิดของกลุ่มสยาม หนุ่มขัดแย้งกับความคิดของกลุ่มชนช้ันน�ำกลุ่มอ่ืนอีก ๒ กลุ่มในช่วงต้น รชั กาลท่ี ๕ กล่มุ แรก คือ กลมุ่ สยามเก่าซ่งึ มกี รมพระราชวังบวรวไิ ชยชาญ เป็นแกนน�ำ และมีกลุ่มขุนนางที่ได้ประโยชน์จากระบบไพร่-ทาสแบบเดิม เป็นฐานสนับสนุน อีกกลุ่มหน่ึง คือ กลุ่มสยามอนุรักษ์นิยมซ่ึงมีสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแกนน�ำ และมีกลุ่ม ขุนนางท่ีได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจแบบใหม่หลังการท�ำสนธิสัญญา บาวรงิ่ เปน็ ฐานสนับสนนุ ๓ นอกจากจะทรงงานในกิจการหนังสือพิมพ์ร่วมกับเจ้าพี่เจ้าน้องแล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ยังทรงรับราชการในกรมราชเลขาในหน้าท่ี พนักงานสารบบฎีกา ท�ำให้ทรงมีโอกาสท�ำงานรับใกล้ชิดพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัว สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ไม่ว่าจะในฐานะของพระราชอนชุ า ข้าทูล ละอองธุลีพระบาท หรือกลุ่มสยามหนุ่ม ได้ทรงงานอย่างแข็งขันและเอา พระทัยใส่อย่างยิ่ง จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โดยเฉพาะในเรอื่ งอกั ษรศาสตร์ ดงั ความขา้ งทา้ ย พระราชนิพนธ์ลิลิตนทิ ราชาคริตทีท่ รงช่ืนชมคณะท�ำงานไวว้ า่ พดู เพมิ่ ทา้ ยแถลงการณ์ ปางเรยี กสารพมิ พกจิ คดิ แบง่ กนั ปนั งาน ใหส้ อบทานทลี ะแทน่ เพอ่ื เหมาะแมน่ อกั ษร กลอน สมั ผสั สเ์ อกโท โดยโบราณตำ� รบั ขอ้ บงั คบั ทง้ั หลาย บใหค้ ลาย คลาคลาด พระเจา้ ราชวรวงศ์ พระองคเ์ จา้ บตุ รี ปรชี าเชงิ ลลิ ติ ๓ ดรู ายละเอยี ดใน เดวดิ เค. วยั อาจ. (๒๕๕๖) และ Kullada Kesboonchoo Mead. 14
กรมหมน่ื พชิ ติ เชยี่ วชาญ การโคลงกาพยก์ ลอนฉนั ท์ อกี เทวญั อุทัยวงศ์ คงแก่เรียนรู้มาก มนุษยนาคมานพ จบจิตต์แจ้ง เจนจดั สวสั ดปิ ระวตั ไิ ววอ่ ง ถอ่ งวทิ ยายง่ิ กวี พระศรสี นุ ทรโวหาร อาจารยผ์ รู้ หู้ ลกั นกั งานตอู กี ตน รวมเจด็ คนคน้ คดิ ... (พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั , ๒๔๙๑, หนา้ ๑๘๑-๑๘๒) พระปรีชาสามารถทางอักษรศาสตร์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ท่ีว่าทรง “จบจิตต์แจ้งเจนจัด” เป็นประจักษ์ชัดแจ้งย่ิงข้ึน เมื่อพระบาท สมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงอาราธนาใหส้ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ทรงพระนิพนธ์งานต่าง ๆ อีกเป็นจ�ำนวนมากท้ังร้อยแก้วร้อยกรอง เช่น โคลงภาพพระราชพงศาวดาร (โคลงประกอบรูปที่ ๙๑ ภาพทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสามเณร) โคลงยอพระเกียรติ สมเด็จพระเจา้ บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำ� ราบปรปกั ษ์ (หัวข้อ พุทธสาสตร) หนังสือเบญจศีล เบญจธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ ยังทรงเป็นทป่ี รกึ ษาพระองคส์ �ำคัญของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเร่ืองต่าง ๆ ตลอดรัชกาล ดังปรากฏ หลักฐานในหนังสือพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยูห่ ัว ทรงมีไปมากับสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส อาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงส�ำคัญมากมายที่จะเกิดมีข้ึนใน รัชกาลที่ ๕ ล้วนมจี ดุ เริม่ ตน้ มาจากบทบาทและอิทธิพลของกลุม่ สยามหนมุ่ ท่ีพยายามน�ำเสนอความคิดต่าง ๆ ให้ปรากฏในพ้ืนที่ทางสังคมและมี ลักษณะก้าวหน้ามาก ธรรมเนียมประเพณีที่ล้าหลังถูกยกเลิกไป พลเมือง ไทยกลายเป็นอิสระ การศึกษาโดยรัฐก�ำเนิดข้ึนและแผ่ขยายไปทั่วประเทศ โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพและสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นแกนหลัก ต่อมารัฐบาล ไดจ้ า้ งทปี่ รกึ ษาตา่ งชาตแิ ละสง่ นกั เรยี นไปเรยี นตา่ งประเทศ ปจั จยั ทง้ั หลาย เหล่านี้เป็นผลให้อัตราการรู้หนังสือของราษฎรเพิ่มสูงขึ้น และรัฐบาลก็ได้ คนท่มี กี ารศกึ ษาเขา้ มาท�ำงานมากขึ้น (Surangsri Tonsiengsom, 1990, p. 204) 15
พระมหาเถระผ้เู ป็น “ทางเชือ่ มใหส้ นิทระหวา่ งรัฐบาลกับราษฎร” สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ กราบถวายบังคมทูลลาอุปสมบทในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ จากน้ันทรงแปลพระปริยัติได้เปรียญ ๕ ประโยคเสมอด้วย สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เห็นวา่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ “พระสติปัญญาวิชาคุณก็วอ่ งไวในราชกจิ นอ้ ยใหญ่ และทราบภาษาอังกฤษมาก ถ้าเสด็จอยู่เปน็ คฤหสั ถ์ก็คงจะได้รับ ราชการฉลองพระเดชพระคณุ มตี ำ� แหนง่ เปน็ ทไี่ วว้ างพระราชหฤหยั ไดเ้ ปน็ แท้ ซงึ่ ทรงบากบน่ั ไปฝ่ายข้างบรรพชิต ดงั น้ี กค็ วรเหน็ ชดั ว่าทรงศรัทธาเชื่อถือ พระรัตนตรัยเป็นแท้ แลเห็นความสุขในสมณเพศปฏิบัติซ่ึงเป็นความสุข อันละเอียดอย่างย่ิง เป็นมหัศจรรย์” (พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ฉบับรวมเล่ม), ๒๕๖๔, หน้า ๑๑๐) จึงทรง สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส” นับเป็นมหามงคลนามอัน แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงสืบเช้ือสายพระโลหิตและ ทรงสืบเช้ือสายทางธรรมมาแต่ “พระวชิรญาณมหาเถระ” อันหมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากน้ัน ยังทรงพระกรุณา โปรดเกลา้ ฯ สถาปนาใหม้ สี มณศกั ดเ์ิ ปน็ เจา้ คณะรองในธรรมยตุ กิ นกิ ายดว้ ย นับเป็นจุดเริ่มต้นในการทรงท�ำงานเกี่ยวแก่กิจการคณะสงฆ์ของพระองค์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงครองวัดบวรนิเวศสืบต่อจากสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และการปกครองวัดบวรนิเวศใน สมัยของพระองค์จะเป็นต้นธารการศึกษาสมัยใหม่ของบรรดาคณะสงฆ์ และราษฎรสยาม ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ประกาศสังคายนาพระไตรปิฎก เนื่องในโอกาสที่จะทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๒๕ ปใี นปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ดว้ ยทรงพระราชดำ� รวิ า่ “การพระพทุ ธสาสนา ยังเจริญม่ันคงถาวรอยู่แต่ในประเทศสยามนี้ ประเทศเดียว จึงเปนเวลา สมควรทีจ่ ะสอบสอนพระไตรปฎิ กให้ถกู ตอ้ งบริบรู ณ์ แล้วสร้างขนึ้ ไวใ้ หม้ าก ฉบับแพร่หลาย จะได้เป็นหลักฐานเชื้อสายของสาสนธรรมค�ำส่ังสอน แห่งพระพุทธเจ้าสืบไปภายน่า” (ราชกิจจานุเบกษา, ๒๔๓๑, หน้า ๔๑๒) จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ แต่งต้ังคณะกรรมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกข้ึน 16
เรยี กวา่ กรรมสมั ปาทกิ สภา ฝา่ ยคฤหสั ถม์ สี มเดจ็ เจา้ ฟา้ ฯ กรมพระยาภาณุ พนั ธวุ งศ์วรเดชทรงทำ� หนา้ ทส่ี ภานายก ฝ่ายสงฆ์มีสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเปน็ ประธานตรวจพระไตรปิฎก สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นรองอธิบดีจัดการ กิจการทั้งปวงร่วมกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา ปุสสเทวมหาเถร- พระอิสริยยศในขณะนั้น) รวมทั้งทรงเป็นแม่กองตรวจพระธรรมวินัยด้วย (ปฐม ตาคะนานันท์, ๒๕๔๙, หน้า ๘๑) “พระไตรปิฎกฉบับหลวง” น้ีมี ความส�ำคัญ ๓ ประการ คือ เป็นพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์เป็นหนังสือชุด ครั้งแรกของโลก เป็นมรดกทางนวัตกรรมการพิมพ์พระไตรปิฎกของไทย และเป็นส่วนส�ำคัญในการรักษาม่ันคงของพระราชอาณาจักร การธ�ำรง พระพุทธศาสนา และการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ด้วย พระราชทานพระไตรปิฎกชดุ นีแ้ กว่ ัดต่าง ๆ ในประเทศ รวมทง้ั สถาบันการ ศึกษาและห้องสมุดส�ำคัญในต่างประเทศรวม ๒๘๓ แห่ง (แม่ชีวิมุตติยา, ๒๕๕๗) บทบาทของสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ในการสงั คายนาพระไตรปฎิ กน้ี น�ำไปสู่แนวพระด�ำริในการคิดแบบอักษรไทยส�ำหรับภาษาบาลี ซึ่งต่อมา จะใชแ้ บบอกั ษรชดุ นใ้ี นการจดั พมิ พพ์ ระไตรปฎิ กฉบบั สยามรฐั ในรชั กาลที่ ๗ และได้กลายมาเป็นแบบอักษรมาตรฐานในเขียนภาษาบาลีจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการวางแผนการเรียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทยด้วย ขณะเดียวกัน บทบาทดังกล่าวก็น่าจะมีส่วนช่วยให้ทรงเข้าใจและคิดหาวิธี การสอ่ื สาร อธบิ าย และเผยแพรพ่ ระศาสนธรรมแกพ่ ระภกิ ษสุ งฆแ์ ละราษฎร จนเกิดมีเป็นพระนิพนธ์จ�ำนวนมากมายในเวลาต่อมา หากพิจารณาในแง่ ประวตั ศิ าสตรก์ ารเมอื งและประวตั ศิ าสตรภ์ มู ปิ ญั ญาแลว้ จะเหน็ วา่ ชนชน้ั นำ� สยามได้ท�ำให้พระราชวงศ์จักรี พระพุทธศาสนา และภาษาไทยภาคกลาง เปน็ วฒั นธรรมของชาติ สง่ ผลใหพ้ ระพทุ ธศาสนากลายเปน็ อตั ลกั ษณส์ ำ� คญั ของรัฐชาติสมัยใหม่ และยังคงมีผลมาจนถึงทุกวันน้ี (Keyes, 1987) ซ่ึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเป็นบุคคลส�ำคัญในการขับเคลื่อนความ เปลยี่ นแปลงดังกล่าว ส่วนพระกรณียกิจในฐานะเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จ พระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงต้ังคณะกรรมการสงฆ์ส�ำหรับปกครองวัดโดย เปน็ แบง่ แผนกตา่ ง ๆ มพี ระดำ� รใิ หร้ วบรวมพระไตรปฎิ กมาไวท้ พ่ี ระตำ� หนกั ลา่ ง ทรงรเิ รมิ่ การสอนพระธรรมวนิ ยั แกพ่ ระบวชใหมด่ ว้ ยภาษาไทย ทรง 17
ปรบั ปรงุ การสวดมนต์ และทรงร้ือฟื้นกิจการโรงพิมพ์ขึ้นภายในวัดตาม แบบสมเด็จพระบรมชนกนาถ (นันทนา วัฒนสุข, ๒๕๑๖) นอกจากน้ี ยังทรงใช้วัดบวรนิเวศวิหารเป็นเสมือนโรงเรียนสาธิตส�ำหรับการเรียน การสอนพระศาสนาตามแนวทางท่ีทรงพระด�ำริไว้ ต่อมาได้รับพระบรมรา ชานุญาตจากพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ใหจ้ ดั ตงั้ “มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ” ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็น “ปฐมบูรพาจารย์แห่ง พระสงฆ์ธรรมยุต” กิจการของราชวิทยาลัยแห่งน้ีด�ำเนินไปตาม วัตถุประสงค์ ๓ ประการ ประการแรก เป็นท่ีเล่าเรียนพระธรรมวินัย ด้วยแบบแผนที่แน่นอนและทันสมัย จัดการหลักสูตรนักธรรมและเปรียญ จัดการเรียนภาษาบาลีด้วยพระนิพนธ์บาลีไวยากรณ์ แทนมูลปกรณ์ และ จัดการสอบไล่แบบใหม่ด้วยวิธีเขียนหนังสือ ประการที่สอง เป็นที่ อบรมสั่งสอนและเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่ราษฎร ก�ำหนดให้มี การเทศนาธรรมในวันพระ และพิมพ์หนังสือเทศนาและค�ำสอน ประการ สุดท้าย เป็นท่ีเล่าเรียนของเด็ก โดยจัดให้มีการสอนหนังสือภาษาไทย เลข และการอบรมกิริยามารยาท (นนั ทนา วฒั นสขุ , ๒๕๑๖; สิทธ์ิ บุตร อินทร์ ปรีชา บุญศรีตนั และสุพัฒน์ โตวิจกั ษณช์ ัยกลุ , ๒๕๔๖) เพ่ือให้การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนาลึกซ้ึงกว้างขวางยิ่งข้ึน สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ ฯ ยงั ทรงพระดำ� รใิ หม้ วี ารสารสำ� หรบั พระพทุ ธศาสนา ขนึ้ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ไดแ้ ก่ ธรรมจักษุ วารสารดงั กล่าวเกดิ ขน้ึ ท่ามกลาง บรรยากาศของการแสวงหาความรู้ของชนชั้นน�ำในสมัยรัชกาลที่ ๕ นับ ตงั้ แตก่ ารกอ่ ตงั้ หอพระสมดุ วชริ ญาณขน้ึ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ซงึ่ นำ� ไปสกู่ าร ผลิตหนังสือวชิรญาณและวชิรญาณวิเศษ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ และแลกเปลยี่ นความคดิ เหน็ เรอ่ื งตา่ ง ๆ ของชนชน้ั สยาม (ธนพงศ์ จติ ตส์ งา่ , ๒๕๕๒) สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และ พระทัศนะในหนังสือดังกล่าว โดยทรงใช้พระนามว่า “ว.ว.” นอกจากนี้ ยังมีวารสารของหน่วยข้าราชการต่าง ๆ เช่น ยุทธโกษ ของกระทรวง กลาโหม เทศาภิบาล ของกระทรวงมหาดไทย ธรรมสาสตรสมัย ของ กระทรวงยุตธิ รรม หากพิจารณาในปริบทโลกจะพบว่า เมื่ออังกฤษเข้ามาเป็นเจ้า อาณานิคมมีอิทธิพลเหนืออินเดีย ได้ท�ำให้อารยธรรมอินเดียเผยแพร่สู่โลก ตะวนั ตก เกดิ มกี ารศกึ ษาดา้ นโบราณคดี ภาษาสนั สกฤต วรรณกรรม และ 18
ปรัชญาของอินเดีย จนเกดิ เปน็ วิชา “ภารตวิทยา” (Indology) ขึ้น และได้ ก่อตั้ง Asiatic Society ขึ้นในเบงกอล (สาวิตรี เจริญพงศ์, ๒๕๔๔, หน้า ๒๒๕-๒๓๐) นอกจากนี้ ยังมกี ารกอ่ ต้งั สมาคมบาลปี กรณ์ (the Pali Text Society) ขนึ้ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ขณะทป่ี ราชญช์ าวอนิ เดยี เองก็ได้มี การก่อต้ังสมาคมมหาโพธิ (the Mahabodhi Society) โดยอนาคาริก ธรรมปาละในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหม่ืนวิวิธวรรณ ปรชี าทรงเปน็ ตวั แทนรฐั บาลสยามเขา้ รว่ มดว้ ย (พชรวรี ์ ทองประยรู , ๒๕๖๓, หน้า ๖๕) จากการส�ำรวจลายพระหัตถ์และพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหา สมณเจา้ ฯ ทำ� ใหท้ ราบวา่ ทรงตดิ ตามความรขู้ องตะวนั ตกอยอู่ ยา่ งสมำ่� เสมอ อกี ยงั้ ทรงมคี วามสมั พนั ธส์ นทิ กบั สมาคมตา่ ง ๆ ดงั กลา่ วขา้ งตน้ โดยเฉพาะ the Royal Asiatic Society of Great Britain ซ่ึงทรงเป็นสมาชิก กติ ตมิ ศกั ดิ์ (Britannica, 2021) ความสนใจแสวงหาความรู้ท้ังภายในและภายนอกประเทศน�ำไปสู่ งานพระนพิ นธเ์ กยี่ วแกพ่ ทุ ธประวตั แิ ละประวตั ศิ าสตรเ์ รอื่ งตา่ ง ๆ ทแ่ี ตก ตา่ งไปจากความคดิ ความเชอ่ื เดมิ ของสยาม ตวั อยา่ ง พระนพิ นธพ์ งศาวดาร สยาม ซง่ึ เปน็ หนงั สอื ทน่ี ำ� ไปใชส้ อนในโรงเรยี นสามญั ชน้ั สงู ทรงแสดงองค์ ประกอบทางสงั คมทส่ี ำ� คญั ของรฐั ๖ ประการ ไดแ้ ก่ กำ� หนดเขตแดน ชาติ ภมู ลิ ำ� เนา อ�ำนาจแห่งการปกครอง ศาสนา และพงศาวดาร ลักษณะการ ก�ำหนด “ขอบเขต” และ “พรมแดน” เป็นไปตามระบบภูมิศาสตร์ สมัยใหม่ (ราม วัชรประดิษฐ์, ๒๕๓๙; ปฐม ตาคะนานันท์, ๒๕๔๙) พระปรีชาญาณอันรอบรู้ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ น้ี พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกย่องไว้ในประกาศสถาปนาให้ ทรงเปน็ เจ้าคณะใหญ่ ดังนี้ พระเจ้านอ้ งยาเธอ กรมหม่นื วชิรญาณวโรรส ประกอบ ด้วยญาณปรีชาสามารถ ทรงรอบรู้ในพระปริยัตติไตรปิฎก ธรรมแตกฉาน พร้อมไปด้วยวิจารณญาณ สอบสวนค้นคว้า เทียบเคียง ด้วยอักษรสมัยพจนประเภทในภาษาต่าง ๆ ท้ัง ประกอบดว้ ยพระอสุ าหะทรงสง่ั สอน พทุ ธสาสนกิ นกิ รใหเ้ จรญิ ดว้ ยความรอบรใู้ นพระธรรมวนิ ยั แลไดท้ รงแตง่ ตำ� รา สำ� หรบั ศึกษาพระปริยัติธรรมขึ้น ให้พระสงฆ์สามเณรแลคฤหัสถ์ ผู้ใคร่จะศึกษา ได้ศึกษารู้พระปริยัติธรรมได้รวดเร็วมาก แลทง้ั ไดท้ รงจดั การตง้ั วทิ ยาลยั ขน้ึ สำ� หรบั เปนทศ่ี กึ ษาเลา่ 19
เรียนแห่งกุลบุตรสืบอายุพระพุทธศาสนา แลได้ทรงเปนพ ระธุระขวนขวาย ในการช�ำระพระปริยัติธรรมไตรปิฎก ที่ ท ร ง พระราชศรัทธาให้ตีพิมพ์ขึ้นในครั้งน้ี โดยก�ำลังพระวิริยแล พระปรชี าญาญอนั แรงกลา้ มไิ ดค้ รนั่ ครา้ มตอ่ ความยากลำ� บาก พระกาย แลพระหฤไทย แลทรงพระด�ำริห์จัดการบ�ำรุง พระพุทธสาสนาใหด้ �ำเนนิ ไปในทางเจริญ ต้องตามกาลสมยั ทกุ วันนี.้ .. (ราชกจิ จานเุ บกษา, ๒๔๓๖, หนา้ ๓๙๐-๓๙๑) พระด�ำริด้านการศึกษาและการศาสนาท่ีทรงวางแนวทางในวัดบวร นิเวศวิหารและมหามกุฏราชวิทยาลัยได้แผ่ขยายไปสู่การจัดการศึกษาของ ราษฎรทงั้ พระราชอาณาจกั ร เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว ทรงประกาศจดั การศกึ ษาหวั เมือง พ.ศ. ๒๔๔๑ ขนึ้ ทรงอาราธนาสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ ให้ทรงรับภาระอ�ำนวยการเล่าเรียนในหัวเมือง และมี สมเด็จพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพทรงเปน็ ผอู้ ุดหนุน (สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส, ๒๕๖๔, หน้า ๒๙๙) การแผ่ขยายการศึกษาน้ีได้วางแนวทางการใช้วัดเป็นโรงเรียนและพระสงฆ์ เป็นครู พระสงฆ์ส่วนใหญ่จบจากมหามกุฎราชวิทยาลัยซึ่งจะได้รับการ อบรมท้ังการศาสนาและการศึกษา ต้องเรียนภาษาไทย บาลี สันสกฤต อังกฤษ เลขพน้ื ฐาน พระธรรมวนิ ัย ทรงพระนิพนธเ์ บญจศีล เบญจธรรม ออกแบบหลักสูตรให้นักเรียนเรียนพงศาวดาร นอกเหนือจากระบบ การศกึ ษาแลว้ ทรงมพี ระธรรมเทศนาและพระนพิ นธท์ คี่ ดั เลอื กหวั ขอ้ งา่ ย ๆ ใช้ภาษาง่าย ๆ และส�ำนวนความเปรียบในชีวิตประจ�ำวันในการส่งผ่าน ความคิดของพระองค์ไปสู่ราษฎร (Tonsiengsom, 1990) รวมไปจนถึง หนงั สือศาสนสภุ าษติ ซ่งึ ทรงรวบรวมและทรงผกู ขนึ้ ใหมด่ ้วย บทความเรื่อง ศาสนสุภาษิต: หนังสือเฉลิมพระเกียรติอันเป็น นริ นั ดร์ ของชชั วาลย์ จนั ทรอ์ ดศิ รชยั ไดท้ ำ� ใหเ้ หน็ วา่ พระนพิ นธเ์ รอื่ งดงั กลา่ ว เป็นหนังสือรวบรวม จัดหมวดหมู่ และเรียบเรียงค�ำแปลเล่มแรกของไทย สะท้อนค่านิยมของปราชญ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ศาสนสุภาษิตที่ปรากฏน้ียัง ได้น�ำมาใช้ส�ำหรับการเรียงความแก้ปัญหากระทู้ธรรมของหลักสูตรนัก ธรรมจนกระทงั่ ปจั จบุ นั นอกจากทชี่ ชั วาลยไ์ ดเ้ สนอไวแ้ ลว้ นน้ั ศาสนสภุ าษติ ท่ี 20
ทรงรวบรวมไว้น้ัน น่าจะมีส่วนให้เกิดค่านิยมการตั้งคติพจน์หรือภาษิต ประจำ� สถาบนั การศกึ ษาต่าง ๆ ดว้ ย ศาสนสุภาษติ ทที่ รงนิพนธก์ ็ยงั คงเปน็ อมตธรรมมาจนถงึ ตอนนี้ ตวั อยา่ งทสี่ ำ� คญั ไดแ้ ก่ “โลโกปตถฺ มภฺ กิ า เมตตฺ า- เมตตาธรรมค�้ำจุนโลก” ศาสนสุภาษิตน้ีคงเป็นที่ประทับใจแก่ราษฎรมาก แมน้ ายปรดี ี พนมยงค์ รฐั บรุ ษุ อาวโุ ส กย็ งั ไดข้ อใหค้ นไทยชว่ ยกนั รกั ษาและ ปฏิบัติตามธรรมะนี้ทั้งในเรื่องส่วนตัวและในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และขอใหร้ กั ษาระบอบรฐั ธรรมนญู ไวอ้ ยา่ งมนั่ คง (สมจติ ต์ อนิ สงิ ห,์ ๒๕๖๓) สรุ างคศ์ รี ตนั เสียงสมเสนอว่า สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเป็น บุคคลส�ำคัญท่ีสุดในการน�ำเสนอมโนทัศน์เร่ืองความเป็นชาติสั่งสอน ราษฎรผา่ นพระธรรมเทศนาและตำ� ราเรยี น สอ่ื ทง้ั หลายเหลา่ นสี้ อนเกย่ี วกบั ความเป็นพระมหากษัตริย์ การเป็นพลเมืองท่ีดีและหน้าท่ีต่อประเทศชาติ (Tonsiengsom, 1990, pp. 136-137) เบญจศีลและเบญจธรรมนี้เองได้ กลายเป็นคุณธรรมข้ันต�่ำที่ราษฎรพึงมีพึงปฏิบัติเพื่อรักษาระเบียบในสังคม มาจนกระทง่ั ปจั จบุ นั การจดั การศกึ ษาของราษฎรทสี่ มเดจ็ พระมหาสมณ เจา้ ฯ ทรงกำ� หนดนี้ เนน้ การถา่ ยทอดเนอ้ื หาใหเ้ หมาะสมแกร่ ะดบั และความ จำ� เปน็ ของบคุ คล แมใ้ นการศกึ ษาของคณะสงฆก์ ท็ รงพจิ ารณาตามความ เหมาะสม หากเป็นพระบวชใหม่ทรงพระนิพนธ์หนังสือ นวโกวาท เพื่อ อธิบายธรรมพน้ื ฐาน และหากพระภกิ ษุสงฆใ์ ดต้องการศกึ ษาพระศาสน ธรรมตอ่ ไปกท็ รงมีพระนิพนธ์ในระดับทส่ี งู ขึ้นเป็นล�ำดับ ลกั ษณะงานพระ นิพนธเ์ ชน่ น้ีสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นนักการศึกษาของพระองค์ สมดัง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องไว้ในประกาศ สถาปนาเป็นกรมหลวงความวา่ ...ทรงพระสติปัญญาสามารถอาจรู้ในอรรถธรรมอัน ลึกแล้ว และนำ� มาเผยแผอ่ อกใหป้ รากฏแจม่ แจง้ แกบ่ รษิ ทั ทวั่ ทุกหมู่เหล่า สมควรแก่ปัญญาและบุคคลของบริษัทน้ัน ๆ มี พระหฤทยั เผอื่ แผไ่ ปในหมคู่ ณะทง้ั ปวงมไิ ดเ้ ลอื กหนา้ ดว้ ย ความมุ่งหมายจะให้เปนคุณแก่พระพุทธศาสนาแลสาสนิกชน ทงั้ ใหเ้ ปนผลอนั ดตี อ่ พระราชอาณาจกั รดว้ ย ไดท้ รงแตง่ ตำ� ราการ ศกึ ษาและธรรมโดยพระปรชี าสามารถทจี่ ะจำ� แนกแจกออกให้ ควรแกว่ จิ ารณปญั ญาของผซู้ งึ่ แสวงผล มเี บญจศลี เบญจธรรม เปนตน้ ซงึ่ เปนทสี่ รรเสรญิ ของบณั ฑติ ยชนทง้ั ปวงทว่ั หนา้ ... 21
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272