Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือ ๑๐๐ปีชาตกาล พระศรีสุทธิวงศ์ (วัดบวรมงคล)

หนังสือ ๑๐๐ปีชาตกาล พระศรีสุทธิวงศ์ (วัดบวรมงคล)

Description: หนังสือ ๑๐๐ ปีชาตกาล พระศรีสุทธิวงศ์ (วัดบวรมงคล)

Search

Read the Text Version

99 น้ัน เช่น วชิ ชา ๓ คอื ๑ บุพเพนวิ าสานุสสติญาณ รรู้ ะลึกชาติได้ ๒ จตุ ูปปาตญาณ รู้จุติและอุปบัติเกิดของตนและของคนอ่ืนได้ ๓ อาสวักขยญาณ รู้ท�ำอาสวะ ใหส้ น้ิ ได้ ท่านผูไ้ ด้บรรลวุ ชิ ชา ๓ นี้แลว้ เมอ่ื มคี นตายแล้วไปเกดิ ในท่ไี หน ๆ จะ เป็นนรกหรือสวรรค์ก็รู้ได้ หรือเม่ือคนตายแล้วกลับมาบอกสถานท่ีเกิด ก็จดจ�ำ เอาไว้ได้ และจ�ำได้แน่นอนว่า คนที่ตายแล้วไปเกิดในที่น้ัน ๆ ข้อนี้มีพระบาลี ในเทวฺธาวิตักกสูตร พระไตรปิฎก เล่ม ๑ เล่ม ๒ ใจความในพระสูตรนั้นว่า พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุท้ังหลาย โดยความว่า เม่ือจิตตั้งมั่น บริสุทธ์ิ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากเคร่ืองเศร้าหมอง ไม่หวั่นไหว เราน้อมจิตไปเพ่ือ รู้ถึงที่เกิดของสัตว์ท้ังหลาย เราตถาคตมีจักษุทิพย์ เห็นเหล่าสัตว์ท่ีเลวก็มี ดีก็มี มีผิวพรรณงามก็มี มีผิวพรรณเลวทรามก็มี ได้ดีก็มี ตกยากก็มี รู้ชัดซ่ึง เหล่าสัตว์เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ท้ังหลายประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่เห็นผิด ยึดมั่นในความเห็นไม่ผิด สัตว์เหล่านั้นเม่ือตายแล้วก็ไป เกิดในสุคติ เราตถาคตมีจักษุทิพย์ เห็นเหล่าสัตว์ก�ำลังตายก็มี ก�ำลังเกิดก็มี เลวกม็ ี ดกี ็มี มีวรรณะงามก็มี มวี รรณะทรามก็มี ไดด้ ีกม็ ี ตกยากก็มี เรารชู้ ดั วา่ เหล่าสัตว์เปน็ ไปตามกรรม ดว้ ยประการฉะน้ี เมื่อได้ฟังพระสูตรที่ยกมาอ้างน้ีแล้ว อาจโต้แย้งว่า เท่าท่ีข้าพเจ้ายกเรื่อง พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งได้สวรรคตมากราบทูลคติที่ไปของพระองค์ อันเป็นเรื่อง ท่ีมีในคัมภีร์ ซ่ึงยืนยันว่าพระพุทธเจ้าตรัส ไม่ยกเหตุผลมาพิสูจน์และ เปรียบเทียบให้ฟัง ก็ยังเชื่อไม่ได้ว่าตายแล้วเกิด เพราะฉะนั้น จะน�ำอุปมา ท่ีแสดงให้เห็นว่า คนตายแล้วไปเกิดในสวรรค์บ้าง ในนรกบ้าง ตามสมควรแก่ กรรมท่ีทำ� ไว้ ซ่งึ มีในพระไตรปฎิ กเหมอื นกนั ท�ำไมคนทต่ี ายไปแล้วจึงกลับมาบอกท่ี ๆ เกดิ ของตนแกค่ นอ่ืนไมไ่ ด้ วา่ ตนตายไปแล้ว เกิดในนรกหรือในสวรรค์เพราะบุญหรือบาปอย่างนั้น ๆ ใน ปายาสิราชัญญสตู ร ทีฆนกิ าย มหาวรรค พระไตรปฎิ ก เล่ม ๑๐ ใหเ้ หตผุ ลและ เปรียบเทียบให้เห็นว่า คนที่ตายไปแล้ว (ถ้ายังมีกิเลสอยู่) ย่อมมีคติเป็น

100 ๒ ประการ คือ ไม่ไปสุคติก็ต้องไปทุคติ ถ้าเมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกน้ีได้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ คือไม่เบียดเบียนล้างผลาญตนและคนอื่น ไม่ลักของใคร ไม่ ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดค�ำหยาบ ไม่พูดส�ำราก เพ้อเจ้อ ไม่โลภเพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อ่ืน ไม่พยาบาทปองร้ายใคร ไมเ่ หน็ ผิดจากทำ� นองคลองธรรม ทั้ง ๑๐ ประการนี้ เรยี กว่ากุศลกรรมบถ ทาง แห่งกรรมอันเป็นกุศลหรือทางสวรรค์ ผู้ประพฤติตามในกุศลกรรมบถเหล่านี้ จะเป็นใครก็ตาม ตายไปแลว้ ก็ไปเกิดในสคุ ติโลกสวรรค์ ก็เมื่อคนประพฤติตามในกุศลกรรบถ ตายไปแล้วได้เกิดในสวรรค์ ก็น่า จะกลับมาบอกญาติมิตรมารดาบิดาของตนบ้าง เพราะว่าในสวรรค์น้ันท่านว่า เพยี บพร้อมไปดว้ ยความสขุ สมบูรณ์ดว้ ยสมบตั ิลว้ นแต่เป็นทิพยท์ งั้ น้ัน โภชนาหาร ก็เป็นทิพย์ เคร่ืองนุ่งห่มก็ทิพย์ กามก็ทิพย์ ตามธรรมดาคนท่ีไม่เคยมีความ สขุ สบาย เมอื่ มาได้มคี วามสขุ สบายแลว้ ยอ่ มเพลิดเพลนิ เคลิบเคลมิ้ ท�ำให้หลงลืม ได้ ไม่นึกถึงคนที่ควรนึกถึงเป็นต้น ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนคนที่เคยอยู่ใน สถานที่คบั แคบขาดแคลนไม่รืน่ รมย์ ปราศจากความเจริญ เช่นในชนบทเปน็ ตน้ เม่ือผู้นั้นได้เข้ามาอยู่ในเมืองหลวงอันร่ืนรมย์น่าอยู่ เช่นได้อยู่ในปราสาทราชวัง หรือในเคหาสน์โอ่โถง มียศ มีอ�ำนาจ มีคนนับหน้าถือตา บ�ำรุงบ�ำเรอให้ได้รับ ความสุขเพลิดเพลิน ผู้นั้นย่อมเคลิบเคล้ิมเพลิดเพลินในความสุข เป็นเหตุให้ลืม ญาติมิตรบิดามารดาของตน และมีใครบ้างเมื่อได้รับความสุขความเพลิดเพลิน เช่นนี้แล้ว ปรารถนาจะกลับไปในสถานที่ ๆ ตนเคยอยู่มาก่อนซึ่งปราศจาก ความสุขเพลิดเพลิน ไม่มีเลย ข้อน้ีฉันใด คนท่ีตายจากมนุษย์โลกอันเปรียบ ดว้ ยสถานท่ีคบั แคบขาดแคลนไมร่ น่ื รมย์ ปราศจากความสขุ เพลดิ เพลิน แลว้ ไป เกิดในสวรรค์อันเพียบพร้อมด้วยความสุขน่าเพลิดเพลินเจริญใจนานาประการ ย่อมไม่ปรารถนาท่ีจะมาสถานท่ี ๆ เดิมซ่ึงตนรู้ว่าไม่น่าอยู่ ไม่น่าร่ืนรมย์เลย ฉันน้ัน ด้วยเหตุน้ีเอง คนท่ีตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ย่อมไม่ปรารถนาจะมาสู่ มนุษย์โลก ท่ีตนเคยอยู่และรู้รสชาติมาแล้ว อีกประการหนึ่ง ระยะเวลาใน สวรรค์กับระยะเวลาในมนุษย์ต่างกันมาก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอุโบสถสูตร

101 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ ว่า ๑๐๐ ปีของมนุษย์ จึงเป็นวันหน่ึงคืนหนึ่งของ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังนี้ สมมติว่าผู้ตายได้ไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพียง ๒ คืน ๒ วัน แต่เวลาในมนุษย์ก็ล่วงเลยไปถึง ๒๐๐ ปีเสียแล้ว เม่ือเป็นเช่นน้ี แม้ผู้ตายได้ไปเกิดในสวรรค์จะมาบอกญาติมิตรบิดามารดาของตน ก็คงไม่พบ เพราะญาติมิตรบิดามารดาเหล่าน้ัน ตายไปเสียก่อนแล้ว และไม่อาจทราบได้ว่า ไปเกิดในทไี่ หนอีก เพราะฉะน้ัน คนทตี่ ายแลว้ ไปเกิดในสวรรคจ์ ึงมาบอกใคร ๆ ไม่ได้ และด้วยเหตุท่ีโลกมนุษย์น้ีไม่เป็นท่ีเจริญใจของเทวดาท้ังหลาย ด้วย เหมน็ สาบกลน่ิ มนุษย์ เพราะมนษุ ย์มีกายหยาบ มีอาหารหยาบ ทา่ นวา่ เมื่อเทวดา มาใกล้มนุษย์โลกในรัศมี ๑๐๐ โยชน์ ก็เหม็นสาบสะอิดสะเอียนทนไม่ไหว จึง ไม่ปรารถนาจะมามนุษย์โลกเลย นี่เป็นอุปมาที่แสดงให้เห็นว่า คนตายแล้วไป เกดิ ในสวรรค์ไมก่ ลบั มาบอกใคร ๆ ไดต้ ามประสงค์ของเรา ส่วนท่ีว่าคนตายแล้วไปเกิดในนรก ไม่อาจกลับมาบอกแก่ญาติมิตรบิดา มารดาของตนได้ ท่านก็ให้เหตุผลเปรียบเทียบให้เห็นด้วยอุปมาว่า คนบางคนท่ี ออกจากบ้านเรือนท่ีอยู่ของตนแล้ว ไปท�ำผิดกฎหมายบ้านเมืองอย่างร้ายแรง ถูกเจ้าหน้าท่ีจับตัวไปลงโทษ ตัดสินจ�ำคุกกักขังหรือประหารชีวิต เม่ือถูกกักขัง ลงโทษหรือประหารชีวิตแล้ว ย่อมไม่อาจมาบอกญาติมิตรบิดามารดาของตน ที่บ้านด้วยตนเองได้ ฉันใด คนท่ีประพฤติอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มี ท�ำลายชีวติ สัตว์ให้ตกล่วงไปเปน็ ต้น ทำ� ชัว่ เสียหายต่าง ๆ ในเวลาท่ียงั เป็นมนุษย์ อยู่จนชิน ไม่มีหิริ โอตตัปปะ ละอายใจ ก็ฉันน้ัน เม่ือตายไปแล้วต้องถูก นายนิรยบาลลงโทษตามสมควรแก่ความผิด เม่ือถูกนายนิรยบาลลงโทษแล้ว ย่อมไม่สามารถมาบอกแก่ญาติมิตรของตนได้ว่าตนต้องหมกไหม้อยู่ในนรก เสวยทกุ ขเวทนาแสนสาหัส เพราะเมอ่ื เปน็ มนษุ ย์ไดท้ ำ� ความผิดความชั่ว ประพฤติ อกุศลกรรมบถอย่างน้ัน ๆ ขอท่านท้ังหลายจงจ�ำกันไว้ อย่าได้ประมาทหลงลืม รีบเร่งท�ำบุญสร้างกุศลไว้เถิด ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นน้ี คนท่ีถูกลงโทษในนรกย่อม ไม่มีโอกาสที่จะมาบอกข่าวกันได้ เพราะฉะน้ัน เราจึงไม่ได้ข่าวว่า ผู้นั้นตายแล้ว ไปตกนรกขมุ น้ัน ขุมนี้ ได้รับทุกขเวทนาอยา่ งน้ี ๆ ขอ้ นเ้ี องเปน็ เหตใุ หค้ นเขา้ ใจผิด

102 ว่าตายแล้วสูญ บุญบาปท่ีท�ำไว้ไม่มีผล ชาติหน้าไม่มี ซึ่งเป็นเร่ืองที่น่ากรุณา สงสารไม่นอ้ ย และไมม่ ที างทีจ่ ะช่วยได้ นอกจากตนเองจะกลบั ความเข้าใจใหถ้ ูก ว่า เม่ือกิเลสยังมีอยู่ตายแล้วต้องเกิด ผลแห่งบุญและบาปมี ชาติหน้ามี ดังน้ี แล้วทำ� ดีประพฤติดี ก็มีหวังวา่ อนาคตจกั แจ่มใสข้ึนบ้าง เรื่องตายแล้วเกิดนี้ เป็นเรื่องที่ส�ำคัญมาก อาจน�ำความสงบสุขหรือ ความเดือดร้อนวุ่นวายมาให้ตนและคนอ่ืนได้ คือ ถ้าเช่ือว่าชาติหน้าไม่มี ตาย แล้วสูญหมด ท�ำดีไว้ไม่ได้ดี ท�ำช่ัวไม่ได้ชั่ว ก็จะพากันประพฤติช่ัวเสียหาย ต่าง ๆ เบียดเบียนตนและคนอ่ืนให้เดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด ความเดือดร้อน ยุ่งยากท่ีเกิดมีแทบไม่เว้นแต่ละวันน้ี คนท่ีเช่ือว่าตายแล้วสูญก่อข้ึนทั้งน้ัน เพราะไม่เชื่อว่าตายแล้วเกิดนี่เอง จึงเป็นเหตุให้เกิดทุจริตทั่วทุกหัวระแหง ไม่เช่ือว่าผลแห่งความชั่วที่ตัวท�ำไว้ จะสนองผลอันเผ็ดร้อนให้ตลอดกาลนาน แต่ถ้าเชื่อว่าตายแล้วเกิด และรู้ชัดว่า ต้องได้รับผลแห่งความช่ัวที่ท�ำไว้นั้น ๆ ก็คงจักไม่มใี ครโงด่ ือ้ ทำ� ความช่วั อันเป็นเหตุให้ตนไดร้ ับทุกขท์ รมานเลย นี่เป็นของดีข้อท่ี ๑ ซึ่งเก่ียวกับเรื่องความเกิดความตาย ซ่ึงข้าพเจ้า ได้น�ำเหตุผลและอุปมาในพระไตรปิฎกมาแสดง เพ่ือประดับปัญญาความรู้ให้ กว้างขวาง

103 ๒. เรือ่ งความอัศจรรยแ์ ห่งบุญ ความอัศจรรย์แห่งบุญน้ี ก็จัดเป็น ของดีในพระไตรปิฎกประการหนึ่ง เม่ือ พูดถึงเร่ืองบุญ ท่านผู้ฟังคงนึกย้ิมว่า ข้าพเจ้ามาโฆษณาชวนเช่ือให้ท่านท้ังหลาย ท�ำบุญอีกแล้ว และก็เป็นความจริงเสีย ด้วย ข้าพเจ้าจะเล่าความอัศจรรย์แห่งบุญ ต า ม ข ้ อ ค ว า ม ท่ี มี ห ลั ก ฐ า น ป ร า ก ฏ ใ น พระคัมภรี ใ์ หฟ้ งั ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๒ เล่าถึงความอัศจรรย์แห่งบุญว่า คร้ังหนึ่งเจ้าหญิง สุมนาราชกุมารี พระราชธิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีรถ ๕๐๐ คัน และ เจา้ หญิง ๕๐๐ องคเ์ ป็นบริวาร เสด็จไปเฝ้าพระผู้มพี ระภาคเจา้ ถวายอภวิ าทแลว้ ประทับน่ัง ณ ท่ีสมควรส่วนข้างหน่ึง กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตา่ งวา่ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจา้ ๒ องค์ มศี รทั ธา ศีล ปัญญาเสมอกนั แต่ องคห์ นึง่ เป็นทายก อกี องค์หนึ่งไม่เปน็ ทายก ท่านทัง้ ๒ น้ันกายแตกไปกไ็ ปเกดิ ในสุคติโลกสวรรค์ ขา้ พระองคข์ อกราบทลู ถามว่า ท่านทัง้ ๒ นนั้ เมื่อเปน็ เทวดา แล้ว จะมขี อ้ วิเศษแตกตา่ งกนั หรอื ไม่ ตรัสตอบว่า ”มีสุมนา ผู้ท่ีเป็นทายก เม่ือเป็นเทวดาย่อมล�้ำผู้ที่ไม่เป็น ทายกโดยสถาน ๕ คือ โดยอายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทพิ ย์ ยศทพิ ย์ อธปิ ไตยทิพย์ ผทู้ ่ีเป็นทายกเมื่อเป็นเทวดาย่อมล้�ำผู้ไม่เป็นทายกโดยสถาน ๕ นแ้ี ล„ ”พระพทุ ธเจ้าข้า กถ็ า้ ทา่ นทัง้ ๒ น้ัน จุติจากโลกนน้ั มาบังเกดิ เปน็ มนษุ ย์ อย่างน้ี เมื่อเปน็ มนษุ ยแ์ ล้วจะพึงมีขอ้ วเิ ศษแตกต่างกันหรือไม„่

104 ”มีสุมนา ผู้ท่ีเป็นทายก เม่ือเกิดเป็นมนุษย์ ก็ย่อมล�้ำผู้ท่ีไม่เป็นทายก โดยสถาน ๕ คือ โดยอายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยของมนุษย์ เมื่อเกิด เปน็ มนุษย์ ผู้ทีเ่ ป็นทายกยอ่ มล�้ำผู้ท่ีไม่เป็นทายก โดยสถาน ๕ นแี้ ล„ ”พระพุทธเจ้าข้า ก็ถ้าท่านทั้ง ๒ น้ันออกบวช เม่ือบวชแล้วจะมีข้อวิเศษ แตกต่างกันหรือไม่„ ”มีสุมนา เม่ือบวชแล้ว ผู้ท่ีเป็นทายกย่อมล้�ำผู้ท่ีไม่เป็นทายกโดยสถาน ๕ คอื (๑) บรรพชิตผู้เป็นทายก บริโภคจีวรโดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่ บริโภคโดยไมม่ ใี ครวิงวอนมนี อ้ ย (๒) บรรพชิตผ้เู ป็นทายก บรโิ ภคบณิ ฑบาตโดยมากมผี วู้ งิ วอน (ให้บรโิ ภค) ท่ีบริโภคโดยไม่มใี ครวงิ วอนมีนอ้ ย (๓) บรรพชิตผู้เป็นทายก บริโภคเสนาสนะโดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บรโิ ภคโดยไม่มีใครวงิ วอนมีน้อย (๔) บรรพชติ ผเู้ ปน็ ทายก บรโิ ภคคลิ านปจั จยั โดยมากมผี วู้ งิ วอน (ใหบ้ รโิ ภค) ที่บรโิ ภคโดยไมม่ ีใครวิงวอนมีนอ้ ย (๕) บรรพชิตผู้เป็นทายกน้ัน อยู่กับเพ่ือนพรหมจารีเหล่าใด เพื่อน พรหมจารีเหล่านั้น ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมท่ี น่าเจริญใจเป็นส่วนมาก ท่ีไม่น่าเจริญใจเป็นส่วนน้อย เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ย่อมแสดงความยกย่องนับถืออย่างน่าเจริญใจทั้งน้ัน ที่ท�ำอย่างไม่น่าเจริญใจ เปน็ ส่วนนอ้ ย สมุ นา เมอื่ บวชแลว้ ผเู้ ป็นทายกย่อมล้�ำผู้ไม่เป็นทายกโดยสถาน ๕ นี้แล„ ”พระพุทธเจ้าข้า ก็ถ้าท่านท้ัง ๒ น้ันได้บรรลุพระอรหันต์ เมื่อบรรลุ พระอรหันตแ์ ลว้ มีขอ้ วิเศษแตกต่างกันหรือไม„่

105 ”สุมนา ในข้อน้ี ตถาคตไม่กล่าวความแตกต่างกันอย่างไรเลย คือไม่ กล่าววา่ วมิ ุตติ (ของผ้นู ี้) ตา่ งกับวิมตุ ติ (ของผนู้ ้ัน)„ น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า กระน้ีเทียวจึงควรแท้ที่จะให้ทาน ควร แล้วทจ่ี ะท�ำบญุ ดเู ถิด บุญทงั้ หลายเป็นอปุ การะแม้แก่ผเู้ ป็นเทวดา แม้แก่ผูเ้ ป็น มนุษย์ แม้แกผ่ ู้บวชแลว้ „ อย่างน้ัน สุมนา ถูกแล้ว ควรแท้ที่จริงจะให้ทานท�ำบุญ เพราะว่าบุญ ท้ังหลายเป็นอุปการะ แม้แก่ผู้เป็นเทวดา แม้แก่ผู้เป็นมนุษย์ แม้แก่ผู้บวชแล้ว„ พระผมู้ พี ระภาคเจา้ ตรัสสรุปในท่สี ุดว่า พระจันทรอ์ นั ปราศจากมลทนิ ไป ในอากาศ ย่อมสว่างล่วงเสียซึ่งหมู่ดาวท้ังปวงในโลกด้วยรัศมีฉันใด บุรุษบุคคล ผู้มีศรัทธาถึงพร้อมด้วยศีล ก็ย่อมรุ่งเรืองล่วงเสียซึ่งคนตระหน่ีท้ังปวงในโลก ด้วยการบริจาคฉะนั้น เมฆอันทรงมาลาคือสายฟ้า มียอดนับร้อย ส่งเสียง กระห่ึมหล่ังลงรดพื้นแผ่นดิน ยังท่ีดอนและที่ลุ่มให้เต็มแม้ฉันใด สาวกของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็นเป็นบัณฑิต ย่อมล้�ำคนตระหนี่ โดยสถาน ๕ คือ โดยอายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย ผู้นั้นพร่ังพร้อม ไปด้วยโภคทรัพย์ ละโลกน้ีแล้ว ยอ่ มไปบันเทิงอยูใ่ นสวรรค์ ในอรรถกถาขยายความเร่ืองนีว้ า่ พระนางสุมนา ซึง่ เป็นพระราชธิดาของ พระเจ้าปเสนทิโกศล ผ้คู รองกรงุ สาวตั ถี วันหนงึ่ มเี ดก็ ๒ คนมาเกดิ ในพระราชวัง คนหนึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศลประสูติภายใต้เศวตฉัตร อีกคนหน่ึงเป็นลูกของอุปัฏฐาก (มหาดเล็ก) ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เกิด นอกเศวตฉัตร เมื่อเกิดมาได้ไม่นาน ก็ท�ำพิธีขนานพระนามและตั้งชื่อตาม พระราชประเพณีและประเพณี ในขณะท่ีท�ำพิธีอยู่นั้น เด็กทั้ง ๒ คนก็ลืมตาข้ึน คนท่ีอยู่ภายใต้เศวตฉัตรเห็นเศวตฉัตรและท่ีน่ังท่ีนอนอันประณีตวิจิตร แล้วก็ นึกแต่ในใจว่า เรามาอย่างไรไปอย่างไรกัน จึงได้มาเกิดในท่ีน้ี ก็ระลึกชาติ ในหนหลังได้ว่า ชาติก่อนตนเคยบวชเป็นพระภิกษุในศาสนาพระกัสสปสัมมา- สมั พทุ ธเจ้า และมีภกิ ษุทเี่ ป็นสหายกันองคห์ น่งึ แลว้ มองดูเด็กอกี คนหนงึ่ เกดิ มา พร้อมกัน และนอนอยู่บนที่นอนไม่ไกลกันนัก แต่นอกเศวตฉัตร เด็กท่ีอยู่

106 ภายใต้เศวตฉัตรก็พูดขึ้นว่า นั่นปะไร ท่านไม่เชื่อเรา ท่านจึงต้องมาเกิดในที่ ต่ำ� กวา่ เรา ถามวา่ ท�ำไมเดก็ จึงพูดดงั น้นั ตอบวา่ เพราะในชาตกิ ่อนเด็กท้ัง ๒ คนน้ี ได้บวชเป็นภิกษุในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ใน ๒ องค์น้ัน องค์หน่ึงบ�ำเพ็ญสาราณิยธรรม ได้ลาภส่ิงของอันใดมา ก็เฉล่ียแบ่งปันให้ภิกษุ และคนอื่น ๆ เป็นนิตย์เป็นการบ�ำเพ็ญทาน และแนะน�ำให้อีกองค์หนึ่งปฏิบัติตาม ด้วย ส่วนอีกองค์หน่ึงไม่ท�ำอย่างน้ัน เพราะเห็นว่าส่ิงของท่ีเขาถวายมาให้ใช้ กลับเอาไปให้คนอ่ืนเป็นการท�ำให้ศรัทธาไทยของผู้ถวายตกไป เป็นอาบัติ จึง ๒ องค์ต่างก็เชื่อและปฏิบัติไปตามความเห็นของตน ๆ ไม่ช้าไม่นานนัก ทั้ง ๒ องค์นั้นก็ถึงมรณภาพ ด้วยบุญกุศลท่ีได้บวชเรียน ท้ัง ๒ องค์ได้ไปเกิด ในสวรรค์ด้วยกัน แต่องค์ท่ีบ�ำเพ็ญทาน รุ่งเรืองเด่นกว่าองค์ที่ไม่ได้บ�ำเพ็ญทาน โดยอายทุ ิพย์ วรรณะทพิ ย์ สขุ ทิพย์ ยศทิพย์ และอธปิ ไตยทิพย์ เม่ือทงั้ ๒ องค์ จุติจากเทวโลกแล้ว ก็มาเกิดเป็นมนุษย์ด้วยกัน องค์ท่ีบ�ำเพ็ญทานก็เด่นกว่า องค์ที่ไม่ได้บ�ำเพ็ญทาน จุติจากนั้นแล้วไปเกิดในเทวโลกอีก ท่องเที่ยวตายแล้ว เกิด เกิดแล้วตายอยู่อย่างนี้ตลอดพุทธันดรหนึ่ง จนถึงได้มาเกิดในกรุงสาวัตถี ด้วยกัน เมอื่ พระนางสุมนาไดย้ ินเด็กทัง้ ๒ พูดดังนี้ กม็ ีความสงสัยแปลกพระทัย รีบน�ำความน้ีไปทูลถามพระพุทธเจ้า ซ่ึงพระองค์ได้วิสัชนาให้ทรงเข้าพระทัย ดงั เนอื้ ความในพระสูตรทยี่ กมาเลา่ ให้ฟังเมือ่ กน้ี ้ี ใจความในพระสูตรน้ี แสดงให้เห็นชัดว่าความอัศจรรย์ของบุญมีมาก สุดประมาณและสามารถบันดาลสิ่งท่ีไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้เป็นไปได้ บุญเป็น อุปการะแม้แก่ผู้เป็นเทวดา แม้แก่ผู้เป็นมนุษย์ แม้แก่คฤหัสถ์และแม้แก่ บรรพชิต ควรแล้วที่จะท�ำบุญ ควรแล้วท่ีจะท�ำทาน แม้พระพุทธเจ้าเม่ือเสวย พระชาติเป็นพระเวสสันดร พระบรมโพธิสัตว์ ก็ได้ทรงบ�ำเพ็ญทานอย่างที่ คนธรรมดาสามัญไม่สามารถจะท�ำได้ น่ีก็แสดงว่าพระองค์ทรงเห็นชัดในอานิสงส์ แห่งบุญแล้ว ได้ทรงบ�ำเพ็ญมาเป็นตัวอย่างและแนะน�ำให้ท�ำสืบ ๆ ต่อกันมา ควรแล้วทีพ่ ุทธบริษทั จะด�ำเนินตามปฏิปทาของพระองค์ตามความสามารถ น่ีเป็นของดี ข้อที่ ๒ ซ่ึงเก่ียวกับเร่ืองความอัศจรรย์แห่งบุญ ข้าพเจ้า ไดน้ ำ� มาจากพระไตรปฎิ ก เพ่อื พยงุ ความอิ่มใจของสาธชุ น

107 ๓. เร่ืองแก้ปริศนาธรรม เรื่องแก้ปริศนาธรรมน้ี มีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายสูตร ซึ่งน่าสนใจ และรไู้ ว้ เพราะเปน็ เรอ่ื งที่ลึกลับ จะน�ำมาแสดงสกั สตู รหน่ึงก่อน มีพระสตู รหนึง่ ชื่อวัมมิกสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย เล่ม ๑๒ เล่าถึงเร่ืองพระพุทธเจ้าทรง แก้ปริศนาธรรม ซึ่งเทวดาลงมาจากพรหมโลก ฝากปริศนา ๑๕ ข้อ ให้ พระกุมารกัสสปะไปทูลถามพระพุทธเจ้า ในสตู รนั้น มีใจความวา่ ดงั นี้ ครึ่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ใกล้ กรุงสาวตั ถี ในสมยั นั้น พระกุมารกัสสปะ อาศยั ปา่ อนั ธวนั (ป่าตาบอด) บ�ำเพ็ญ เพียรอยู่ ราตรีวันหน่งึ ความอัศจรรยไ์ ดเ้ กดิ ขน้ึ โดยเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีร่งุ เรอื ง ส่องสว่างเข้ามาในป่าอันธวันนั้นดุจกลางวัน แล้วกล่าวปริศนาธรรม ๑๕ ข้อ แก่พระกมุ ารกัสสปะว่า

108 ดกู อ่ นภกิ ษุ น่จี อมปลวก กลางคืนเปน็ ควัน กลางวันเป็นเปลว พราหมณ์ จึงกล่าวกับศิษย์ของตน ซึ่งมีนามว่าสุเมธว่า สุเมธเธอจงเอาจอบเป็นเคร่ืองขุด ขดุ ลงไป เมื่อสุเมธขุดลงไปก็พบลกู สลกั ก็บอกว่าลูกสลักครบั พราหมณ์บอกวา่ จงยกลูกสลักขึ้นมาแล้วขุดลงไป สุเมธขุดลงไปอีกก็พบอ่ึงอ่าง จึงบอกว่าอ่ึงอ่าง ครับ พราหมณ์บอกว่าจงจับอ่ึงอ่างข้ึนมาแล้วขุดลงไป สุเมธขุดลงไปอีกก็พบ ทาง ๒ แพร่ง จึงบอกว่าทางสองแพร่ง พราหมณ์จึงบอกว่าจงยกทาง ๒ แพร่ง ขึ้นมาแลว้ ขดุ ลงไป เมือ่ สุเมธเอาทาง ๒ แพร่งขน้ึ มาแล้วขดุ ลงไป กพ็ บกระบอก กรองน้�ำ พราหมณ์บอกว่าจงยกเอากระบอกกรองน้�ำขึ้นมาแล้วขุดลงไปอีก สุเมธขุดลงไปพบเต่า พราหมณ์บอกว่าจงยกเต่าข้ึนมาแล้วขุดต่อลงไปอีก สุเมธ ยกเตา่ ข้ึนมาแล้วขดุ ต่อลงไปอีก พบเขยี ง จงึ บอกพราหมณว์ า่ เขียง พราหมณ์ว่า จงยกเขียงข้ึนมาแล้วขุดต่อลงไปอีก สุเมธยกเขียงข้ึนมาแล้วขุดต่อลงไปอีก พบช้ินเนื้อ จึงบอกพราหมณ์ว่าช้ินเนื้อ พราหมณ์บอกว่าจงยกช้ินเนื้อขึ้นมาแล้ว ขุดต่อลงไปอีก สุเมธขุดต่อลงไปพบนาค จึงบอกพราหมณ์ว่านาค พราหมณ์ บอกว่าดีแล้ว เธออย่าฆ่านาค จงนอบน้อมให้จงดี ดังน้ี เทวดาได้บอกปริศนา ๑๕ ข้อน้ีแก่พระกุมารกัสสปะแล้วก�ำชับว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงจ�ำปริศนาทั้ง ๑๕ ข้อน้ีไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า เม่ือทรงแก้อย่างไร ก็ให้จ�ำไว้อย่างนั้น ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในมนุษยโลก เทวโลกและพรหมโลก ท่ีจะสามารถแก้ปริศนา เหล่าน้ีได้ เว้นไว้แต่พระตถาคตเจ้าหรือสาวกของท่าน หรือผู้ท่ีได้สดับจาก ข้าพเจ้าเท่านั้น คร้ันเทวดาสั่งก�ำชับแล้ว ก็อันตรธานหายไปในป่าอันธวันนั้นเอง คร้ันรุ่งเช้า พระกุมารกัสสปะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย นมัสการแล้ว น่ัง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูลเร่ืองที่เทวดามาถามปริศนา ๑๕ ข้อ ณ ป่าอันธวันให้ทรงทราบโดยตลอดแล้ว จึงทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ค�ำว่าจอมปลวกได้แก่อะไร ค�ำว่ากลางคืนเป็นควันได้แก่อะไร ค�ำว่า กลางวันเป็นเปลวได้แก่อะไร ค�ำว่าพราหมณ์ได้แก่อะไร ค�ำว่าสุเมธได้แก่อะไร ค�ำว่าจอบได้แก่อะไร ค�ำว่าเครื่องขุดได้แก่อะไร ค�ำว่าลูกสลักได้แก่อะไร ค�ำว่า อ่ึงอ่างได้แก่อะไร ค�ำว่าทางสองแพร่งได้แก่อะไร ค�ำว่าช้ินเนื้อได้แก่อะไร ค�ำว่า

109 นาคได้แก่อะไรดังนี้ พระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์ปริศนาธรรมท้ัง ๑๕ ข้อน้ัน โดยลำ� ดบั ดงั นีค้ ือ ๑. ค�ำวา่ จอมปลวกนนั้ ไดแ้ ก่ รา่ งกาย อันเปน็ ทป่ี ระชมุ แหง่ มหาภตู รปู คือธาตุ ๔ ดิน น�้ำ ไฟ ลม มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและ ขนมสด มคี วามแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ๒. ค�ำว่ากลางคืนเป็นควันน้ัน ได้แก่ ความตรึกตรองถึงสิ่งท่ีได้ท�ำ มาแล้วแตก่ ลางวนั และจะทำ� ต่อไป ๓. ค่าว่ากลางวันเป็นเปลวน้ัน ได้แก่ การประกอบการงานตามที่ตนได้ ตรกึ ตรองไวแ้ ตต่ อนกลางคนื ๔. คำ� วา่ พราหมณน์ ัน้ ไดแ้ ก่ พระตถาคตอรหนั ตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๕. ค�ำว่าสุเมธนั้น ได้แก่ พระเสขะซึ่งเป็นสาวกของพระตถาคตอรหันต- สมั มาสัมพุทธเจ้า ๖. ค�ำวา่ จอบนน้ั ได้แก่ อริยปญั ญา ๗. คำ� ว่าเครื่องขุดนั้น ได้แก่ ความเพียร ๘. ค�ำว่าลกู สลักนน้ั ได้แก่ อวชิ ชา ๙. ค�ำว่าอึ่งอ่างน้นั ไดแ้ ก่ ความโกรธ ๑๐. ค�ำว่าทาง ๒ แพร่งน้นั ได้แก่ ความลงั เลใจ ๑๑. ค�ำวา่ กระบอกกรองนำ้� น้นั ได้แก่นวิ รณ์ ๕ ๑๒. ค�ำว่าเต่าน้ัน ได้แก่ อปุ าทานขนั ธ์ ๕ ๑๓. คำ� วา่ เขียงนั้น ไดแ้ ก่ กามคณุ ๕ ๑๔. คำ� วา่ ชนิ้ เนอื้ นัน้ ไดแ้ ก่ ความรัก ๑๕. ค�ำว่านาคน้ัน ไดแ้ ก่ พระขณี าสพ พระพุทธเจ้าได้ตรัสพยากรณ์ปริศนาท้ัง ๑๕ ข้อนั้นแก่พระกุมารกัสสปะ ด้วยประการฉะนี้ เท่าท่ีกล่าวมาน้ี ผู้ฟังบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น จะอธิบายอรรถในปริศนา ๑๕ ข้อ ที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์แก่พระกุมาร กสั สปะตามสมควรตอ่ ไป

110 ปริศนาขอ้ ท่ี ๑ ซ่งึ วา่ จอมปลวกน้นั ได้แก่อะไรแล้ว พระองค์ทรงพยากรณ์ ว่าได้แก่ร่างกายซ่ึงประกอบด้วยธาตุ ๔ โดยอธิบายว่า จอมปลวกมีลักษณะ ๔ ประการคอื (๑) คายสัตวต์ า่ ง ๆ ออก เมอ่ื ยังไม่เป็นจอมปลวก สตั ว์ต่าง ๆ อาศยั อยู่ได้ (๒) คายดินออกจากปาก คือคาบดินออกมาแล้วคายออกก่อเป็น จอมปลวก (๓) คายน้�ำลายออกละลายดินให้ดินเหนียว (๔) คายยางเหนียว ออกมาเม่ือถูกบีบด้วยมือคน เป็นของแปลกกว่าดินธรรมดา ร่างกายของคนเรา ก็เหมือนกันกับจอมปลวก คือร่างกายน้ีคายสิ่งท่ีโสโครกมีขี้หู ขี้ตาเป็นต้น และ บางทกี ม็ สี ัตวต์ า่ ง ๆ ออกมาจากทวารท้ัง ๙ ทวารใดทวารหนง่ึ สงิ่ โสโครกต่าง ๆ ย่อมไหลออกมาจากทวารทัง้ ๙ น้ีเสมอ อนึ่งร่างกายนี้เป็นที่คายความรักใคร่ ความยินดี เหมือนจอมปลวกเป็น ท่ีคายดินออกจากปาก ฉะนั้น พระอริยเจ้าทั้งหลายจึงไม่ใยดีร่างกายนี้เลย ท้ิง ร่างกายอันแสนจะโสโครก เขา้ สสู่ วิ โมกข์ อมตมหานพิ าน หากมีผู้สงสัยต้ังปัญหาถามว่า ธรรมดาจอมปลวกย่อมเป็นท่ีคายน�้ำลาย ของตัวปลวก ตัวปลวกคายน้�ำลายละลายดินให้เหนียว ร่างกายเราน้ีคายอะไร ออก ขอตอบว่าร่างกายเป็นท่ีคายส่ิงท่ีล่อล่วง คือ ส่ิงที่ล่อลวงสัตว์ท้ังหลายให้ ลุ่มหลงในกเฬวระ มีประมาณยาววาหนาหนึ่งคืบนี้ ประกอบด้วยกระดูก ประมาณ ๓๐๐ ท่อน หุ้มด้วยหนังรัดรึงด้วยเอ็นน้อยใหญ่ นอกจากน้ันยังมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เปน็ ต้น สง่ิ เหลา่ น้ีล้วนเปน็ เครื่องลอ่ ลวงใหส้ ัตว์ทง้ั หลาย หลงรักใคร่ เกลยี ดชัง บางคร้ังรกั ส่งิ น้ี ชอบคนนี้ บางคราวเกลยี ดส่งิ นี้ ชังคนนัน้ บางคราวรักทั้งหมด หรือเกลียดท้ังหมดในส่วนที่อยู่ในร่างกาย พระอริยเจ้า ทั้งหลายย่อมคายเสีย ถอนเสีย ละเสีย ซ่ึงส่ิงล่อลวงเหล่าน้ัน เหมือนดัง จอมปลวกเป็นท่ีตวั ปลวกคายน�ำ้ ลายออกฉะนน้ั ข้อที่ว่าจอมปลวกคายยางเหนียวเม่ือถูกบีบด้วยมือคนนั้น มีลักษณะ เหมือนร่างกาย คือร่างกายนี้เป็นที่ ๆ พระอริยเจ้าท้ังหลายคายยางเหนียวคือ

111 ตัณหาออกเสีย ตัณหานั้นเปรียบเหมือนยางเหนียว พระอริยเจ้าย่อมสละเสีย คายเสีย ปริศนาข้อท่ี ๒ ซึ่งว่ากลางคืนเป็นควันนั้นได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรง พยากรณ์ว่า ได้แก่ความตรึกตรองถึงส่ิงที่ได้ท�ำมาแล้วแต่กลางวันและจะท�ำ ต่อไปนั้น โดยอธิบายว่า ตามธรรมดาคนโดยมากย่อมตรึกตรองถึงการงานท่ี ตนท�ำมาเม่ือกลางวันว่าเป็นอย่างไร จะดีร้ายได้ผลหรือเสียผลอย่างไร และ ตรึกตรองต่อไปว่า พรุ่งน้ีเราจะท�ำอะไร จะแสวงหาสิ่งน้ันได้ที่ไหน เม่ือคน ตรึกตรองทบทวนไปมาอยู่อย่างนี้ จติ หรอื ความคิดน้ันก็มอี าการดงั ควันไฟ และ คนโดยมากมักตรึกตรองในเวลาจะเข้านอน ซง่ึ ต่างกต็ รึกตรองไปตามหน้าทแี่ ละ การงานของตน ๆ เพ่ือให้หน้าที่และการงานนั้น ๆ ส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี เหตุนี้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าจงึ ตรัสว่า กลางคืนเป็นควันน้ันได้แกค่ วามตรกึ ตรอง ปริศนาข้อที่ ๓ ซึ่งว่ากลางวันเป็นเปลวน้ันได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรง พยากรณ์ว่า ได้แก่การประกอบการงานน้อยใหญ่ในเวลากลางวัน โดยอธิบายว่า จอมปลวกคือร่างกายนี้ ในเวลากลางวันย่อมร้อนเพราะต้องท�ำการงานอยู่เสมอ จะเห็นได้ง่าย ๆ เช่น ชาวนาต้องตากแดดกร�ำฝนในเวลาท�ำงาน คือ ไถ คราด หว่าน ดำ� เกีย่ ว เกบ็ เป็นต้น ชาวสวนตอ้ งล�ำบากในเรอื่ งท�ำสวน คือ ดายหญา้ รดน�้ำ พรวนดิน พ่อค้าก็ต้องว่ิงเต้นซ้ือหาของมาขาย ข้าราชการต้องวุ่นวาย ไปตามหนา้ ท่ขี องตน ๆ เปน็ อนั วา่ ในเวลากลางวนั รา่ งกายไม่ไดพ้ กั ผอ่ นอยู่เปน็ สุข เหมอื นกลางคืน ตอ้ งวุน่ วายเพราะทำ� การงานอยู่เสมอ เหมือนไฟซึ่งลุกเปน็ เปลว อยูฉ่ ะน้ัน ปริศนาข้อท่ี ๔ ที่ว่าพราหมณน์ นั้ ได้แก่อะไร แลว้ พระองค์ทรงพยากรณ์ว่า ได้แก่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอธิบายว่า พราหมณ์นั้นตาม ศัพท์แปลว่าลอยหรือละ คือลอยความชั่วหรือละความช่ัว การลอยบาปเป็น ประเพณีของพราหมณ์ ซึ่งพวกพราหมณ์นิยมท�ำเป็นประจ�ำทุกปี คล้ายงาน

112 ภูเขาทองของเรา เมื่อถึงปี พวกพราหมณ์ก็ไปยังแม่น้�ำคงคาท�ำพิธีลอยบาป แต่พราหมณ์ดังว่าน้ี เป็นพราหมณ์โดยชาติ ไม่ใช่พราหมณ์โดยคุณธรรม ส่วน พราหมณ์โดยคุณธรรมนั้น เช่น พระพุทธเจา้ ทรงลอยบาปคือราคะ โทสะ โมหะ ได้หมด ละกิเลส ตัณหา อวิชชาเหล่าน้ีได้โดยเด็ดขาดสิ้นเชิง เหตุนี้ พระผู้มี- พระภาคเจ้าจึงตรสั วา่ พราหมณน์ นั้ ได้แก่ พระตถาคตอรหันตสมั มาสัมพทุ ธเจา้ ปริศนาข้อที่ ๕ ชื่อว่าสุเมธน้ันได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า ได้แก่ศิษย์ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอธิบายว่า ภิกษุผู้ศึกษา ปฏิบัติในไตรสิกขา รวมท้ังเสขบุคคล ๗ จ�ำพวก ชื่อว่าศิษย์ของพระตถาคต- อรหันตสัมมาสัมพทุ ธเจา้ ปริศนาข้อท่ี ๖ ชื่อว่าจอบนั้นได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า ไดแ้ กอ่ ริยปญั ญา ปัญญาอยา่ งสงู อย่างประเสรฐิ โดยอธิบายวา่ อรยิ ปัญญาเปน็ เครื่องขุดความโง่ที่เรียกว่าอวิชชาท้ิงเสีย ความโง่จะอยู่ลึกเท่าไร ๆ อริยปัญญา กข็ ดุ ตามลงไปตัดรากเหงา้ ได้หมด ปริศนาข้อท่ี ๗ ซ่ึงว่าเคร่ืองขุดน้ัน ได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรง พยากรณ์ว่าได้แก่ความเพียร โดยอธิบายว่า ความเพียรเป็นเหตุให้ใช้จอบคือ อริยปัญญา ขุดจอมปลวกคือร่างกายได้ ถ้ามีแต่ความเพียร ไม่มีอริยปัญญา หรือมีแต่อริยปัญญาไม่มีความเพียร ก็ไม่สามารถจะขุดให้ถึงรากเหง้าได้ ความ เพียรที่มีอริยปัญญาประกอบ ย่อมสามารถขุดจอมปลวกคือร่างกาย เร่ิมต้นแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นอาทิ ขุดลงไปๆ จนถึงกระดูก เยื่อในกระดูก และ สมองจนทะลายออกเป็นส่วน ๆ ให้รู้ว่านี่คือดิน นี่คือน้�ำ นี่คือไฟ นี่คือลม ท�ำอาการให้เหมือนดงั ขดุ จอมปลวกให้กระจดั กระจายฉะนัน้ ปรศิ นาข้อที่ ๘ ซงึ่ วา่ ลกู สลักน้ันได้แก่อะไร แลว้ พระองคท์ รงพยากรณ์ว่า ได้แก่อวิชชา โดยอธิบายว่า อวิชชาเป็นเคร่ืองก้ันเคร่ืองบังวิชชา เหมือนลูกสลัก ส�ำหรับใส่ประตูบ้านเรือนหรือประตูเมือง เมื่อลงลูกสลักประตูแล้ว ย่อมกั้น คนภายในมใิ ห้ออก กัน้ คนภายนอกมิให้เขา้ ขอ้ นฉี้ นั ใด เมอื่ ลงลกู สลกั บานประตู

113 ภายในแล้ว ย่อมบังวิชชาท่ีมีอยู่มิให้เข้าออกได้ ท�ำให้มืดมิดเป็นอวิชชา เหตุน้ี พระพุทธเจา้ จึงตรสั วา่ ลูกสลกั นั้นได้แกอ่ วิชชา ปริศนาข้อท่ี ๙ ซ่ึงว่าอึ่งอ่างได้แก่อะไรนั้น แล้วพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า ได้แก่ความโกรธ โดยอธิบายว่า ความโกรธมีลักษณะให้พองขึ้นเหมือนอึ่งอ่าง ซ่ึงพองตัวอยู่เสมอ และส่งเสียงร้องอวดเสียงของมัน เม่ือมีใครมาพบเข้าก็ จับเอาไปกินเป็นอาหารเสีย อ่ึงอ่างน้ันก็คือความตาย ด้วยความพองและเสียง ของตน ฉันใด ความโกรธก็ฉันน้ัน ย่อมท�ำให้ผู้โกรธพองขึ้นและท�ำช่ัวเสียหาย ตายจากความงามความดีที่จะพึงมีพึงได้ ตามธรรมดาคนเรา เม่ือโกรธข้ึนมา กท็ ำ� ให้ใจฮกึ เหิม ถา้ ห้ามไว้ไมอ่ ยู่ ก็รวั่ ไหลแสดงออกมาทางหน้าตา ปาก มอื เทา้ คือ หน้าสยิวค้ิวขมวด ตาขุ่นเขียว ปากพูดแต่ค�ำที่หยาบคาย ซ่ึงอาจเป็นเหตุให้ ผู้โกรธต้องเสียชีวิต เหมือนกับขับรถเร็วเกินไป ห้ามล้อไม่อยู่ อาจชนผู้คน สิ่งของเสียหายและเสียชีวิตได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อึ่งอ่างน้ัน ไดแ้ ก่ ความโกรธ ปริศนาข้อที่ ๑๐ ซ่ึงว่าทาง ๒ แพร่งนั้นได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรง พยากรณ์ว่า ได้แก่ความลังเลใจ โดยอธิบายว่า ความลังเลใจเปรียบเหมือนทาง ๒ แพร่ง คนท่ีมีความลังเลใจเป็นเจ้าเรือน ย่อมไม่สามารถท�ำกิจการงานที่ ประสงค์ให้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ เหมือนคนเดินทาง เม่ือเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง มัวลังเลใจ จะไปทางไหนก็ไม่ไป ทางขวาก็ไม่ไป ทางซา้ ยก็ไมเ่ ดิน ลงั เลอยเู่ ช่นน้ี โจรทซ่ี ุ่มอย่ยู ่อมไดช้ ่องเขา้ ท�ำรา้ ย แยง่ ชิงเอาทรัพย์สมบตั ไิ ปฉะนน้ั ความลงั เลใจ ย่อมเป็นเหตุให้ท�ำอะไรไม่ส�ำเร็จสมประสงค์ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสวา่ ทาง ๒ แพรง่ นนั้ ได้แกค่ วามลงั เลใจ ปรศิ นาข้อท่ี ๑๑ ซึง่ วา่ กระบอกกรองน�ำ้ น้นั ได้แกอ่ ะไร แล้วพระองค์ทรง พยากรณ์ว่า ได้แก่นิวรณ์ ๕ โดยอธิบายว่า กุศลธรรมย่อมไม่ตั้งมั่นอยู่ใน สันดานของคนที่มีนิวรณ์ ๕ เป็นเจ้าเรือน แม้ขวนขวายอย่างไรก็ไม่ส�ำเร็จได้ เหมือนกระบอกกรองน�ำ้ เราจะเทน�ำ้ ลงไปเท่าไร ๆ ก็ไมเ่ หลอื คา้ งอยู่ ไหลออกมา

114 หมด ตัวอย่างเช่น เราเกิดถีนมิทธนิวรณ์ (คือง่วงนอน) แล้ว แม้น่ังฟังปาฐกถา ฟังเทศน์อยู่ก็จ�ำไม่ได้ เสียงท่ีข้าพเจ้าแสดงปาฐกถาแม้ว่าจะเข้าไปในหูของท่าน แล้ว ก็ไม่ค้างหู ไม่ติดอยู่ที่ใจ ลืมทิ้งไว้ที่ ๆ นั่งฟังน้ันเอง หรือจะจ�ำได้บ้าง กอ็ ยา่ งลมื เลอื น เมือ่ ลกุ จากที่น่งั แล้วกลบั ทีอ่ ย่ขู องตน ๆ มีใครมาขอใหเ้ ล่าให้ฟงั ก็จ�ำไม่ได้ ลืมหมด เหมือนกระบอกกรองน�้ำ แม้เทน้�ำลงไปเท่าไร ๆ ก็ไม่เหลือ อยูเ่ ลย ปริศนาข้อท่ี ๑๒ ซึ่งว่าเต่าน้ันได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า ไดแ้ ก่อปุ าทานขนั ธ์ (ความยึดมั่นในขันธ์ ๕) โดยอธิบายว่า อปุ าทานขนั ธ์มอี งค์ ๕ คือ อุปาทานในรูป ๑ อุปาทานในเวทนา ๑ อุปาทานในสัญญา ๑ อุปาทานใน สงั ขาร ๑ อปุ าทานในวญิ ญาณ ๑ เหมอื นเต่ามอี งค์ ๕ คอื เทา้ ๔ ศีรษะ ๑ และ ท่ีว่าใหย้ กเตา่ ขึ้นนั้น คือ ให้ยกฉันทราคะ ความพอใจรักใครเ่ สยี ให้ยกอปุ าทาน ถือมั่นในขันธ์ ๕ เสีย คงเหลือแต่ขันธ์ ๕ เปล่า ๆ ส่วนอุปาทานอย่าให้เหลือ ยกขน้ึ ทิ้งให้หมด และอยา่ ให้มีสัญญาวิปัลลาส ๔ ประการ คือ (๑) ความหมายมั่นสำ� คัญผิดวา่ ขันธ์ ๕ เปน็ ของสวย เปน็ ของงาม (๒) ความหมายม่นั สำ� คัญผดิ ว่าขันธ์ ๕ เปน็ ของเท่ยี ง (๓) ความหมายม่ันสำ� คญั ผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นสุข (๔) ความหมายม่นั ส�ำคัญผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นสตั ว์ บคุ คล ตัวตนเรา เขา การท่ีจะท�ำจิตมิให้มีความหมายมั่นส�ำคัญผิดท้ัง ๔ ประการน้ี เป็นของ ท�ำได้ยากอย่างยิ่ง เหมือนกลิ้งครกขึ้นภูเขา แต่ก็ไม่เหลือวิสัยของผู้เพียร พยายาม ค่อยท�ำคราวละเล็กคราวละน้อย อย่าให้หมายมั่นส�ำคัญผิดมากนัก จนถึงต้องท�ำความช่ัวเสียหายเพราะขันธ์ ๕ เลย ขันธ์ ๕ นั้น เม่ือว่าไปตาม สภาพความจรงิ แลว้ ย่อมเปน็ ของที่ไมน่ ่าจะยินดรี ักใคร่เลย เพราะในขันธ์ ๕ นัน้ ย่อมมีแต่สิง่ ซ่งึ ลว้ นแตโ่ สโครกนา่ สะอิดสะเอียนท้งั นั้น และเปน็ ของไม่เท่ียงถาวร เลย อาศัยความพร้อมเพรียงแห่งเหตุเกิดขึ้น เม่ือส้ินเหตุก็แตกสลายดับไป จึง ไม่น่าจะยินดีเพลิดเพลินเลย แต่เพราะคนโดยมากมักมีสัญญาวิปัลลาส จึงได้

115 เข้าใจโดยตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ขันธ์ ๕ นี้ท่านเปรียบเหมือนแผลที่ถูก พันไว้ด้วยผา้ เมือ่ แก้ผา้ ทพ่ี นั ออกแล้ว กจ็ ะแลเหน็ แผลทเ่ี น่าเฟอะ มนี ้�ำเหลืองไหล นา่ เกลียดชังยิ่งนัก ไมน่ ่าดู ไมน่ ่าเข้าใกล้เลย วิธีที่จะแก้มิให้เกิดสัญญาวิปัลลาสนั้น ท่านสอนให้หมั่นพิจารณาโดย ตรงกันข้ามกับความเข้าใจของเรา (ดูมุมกลับ) เช่นเม่ือเราเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็น ของสวยงาม ท่านก็สอนให้พิจารณาโดยตรงกันข้ามคือไม่สวยไม่งาม เม่ือเข้าใจ ว่าขันธ์ ๕ เป็นสุข ท่านก็สอนให้พิจารณาโดยตรงกันข้ามว่า ในขันธ์ ๕ น้ี ไม่มี สิ่งใดเป็นสุขเลย มีแต่เร่ืองทุกข์ทั้งนั้น เพราะเป็นของไม่เที่ยงแท้ถาวร เม่ือยืน เดิน นง่ั นอน กิน ดื่ม ไม่เปน็ ไปโดยสมำ�่ เสมอก็เกิดทกุ ข์ อะไร ๆ ก็ทุกขท์ งั้ นั้น เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา เป็นต้น ท่านก็สอนให้ พิจารณาโดยตรงกันข้ามว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขาเลย เป็นแต่ธาตุ ๔ ดิน น�้ำ ไฟ ลม ประชุมกันแล้ว ในท่ีสุดก็แตกสลายไป เพื่อ ความสะดวกแกก่ ารจ�ำ จะพจิ ารณาตามค�ำกลอนน้กี ไ็ ด้ว่า อนจิ จารา่ งกายของชายหญงิ ม แี ต่สิง่ ปฏิกลู อาดรู หลาย เติมดว้ ยมตู รคูถเหมน็ ไมเ่ วน้ วาย น่าเบอื่ หน่าย ร�ำคาญ ทุกกาลไป รา่ งกายน้ีมีหนงั หมุ้ บงั ทว่ั โดยรอบตวั มชี อ่ ง เป็นปล่องไข ส่งิ โสโครก มากมาย จากภายในใ ห้หลงั่ ไหล ซึมออก มานอกกาย กายนี้เป็น แผลใหญ่ จ�ำไว้เถิดเ ป็นทเ่ี กิด ทกุ ขย์ าก ล�ำบากหลาย แตค่ นเขลา เฝ้าชม หลงงมงายว า่ เฉิดฉาย โสภา เท่ยี งถาวร อะยงั โข กาโย โอก้ ายนี้ เปน็ ถนิ่ ที่ เกดิ อยู่ แห่งหม่หู นอน มีโรคา สารพดั คอยตัดรอน ให้เดือดรอ้ น ประจ�ำ ทุกขย์ �ำ่ ยี กายนี้ไม่ นานนัก ก็จักแปร ถงึ ความแก่ คร่ำ� คร่า สิ้นราศี จักสน้ิ ลม ลม้ ตาย วายชีวี กลายเปน็ ผี เนา่ พงั เหม็นจังเลย

116 ปริศนาข้อที่ ๑๓ ซงึ่ ว่าเขียงน้นั ไดแ้ กอ่ ะไร แลว้ พระองคท์ รงพยากรณ์วา่ ไดแ้ ก่กามคุณ ๕ โดยอธิบายวา่ คนทั้งหลายวางชน้ิ เนอ้ื ลงเขียง แลว้ เชือดสบั ห่นั ด้วยมดี เปน็ ตน้ ฉนั ใด กามคณุ ๕ กฉ็ ันน้ัน เป็นท่ี ๆ กิเลสวางสตั วท์ ั้งหลายไว้ ในกามคุณ ๕ แลว้ สับฟันห่ันเชอื ดให้เหลวแหลกไม่เลือกว่าใครฉะนน้ั กเิ ลสเปน็ เหมือนผู้เชือด กามคุณ ๕ เป็นดุจเขียงท่ีเชือดและสับสัตว์ สัตว์ท้ังหลายถูก กิเลสจับวางไว้บนเขียงคือกามคุณแล้วถูกสับให้แหลกลาญ ให้ตายจากคุณงาม ความดี ทา่ นสอนให้ยกเขียงคอื กามคณุ ๕ ออกเสยี จากใจ แลว้ พจิ ารณาให้เหน็ โทษของกามคุณเหล่านัน้ เช่นว่า กามคุณ ๕ คอื รูป เสียง กล่นิ รส โผฏฐพั พะ ที่น่ารักใคร่ น่าปรารถนาน้ี ล้วนเป็นทางมาแห่งความเดือดร้อนยุ่งยากไม่ส้ินสุด ความเดือดร้อนบรรดาที่เราท่านท้ังหลายได้รับอยู่ในปัจจุบันน้ี มีมูลมาจาก กามคุณ ๕ ท้ังนนั้ โทษของกามคุณ ๕ น้ัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงเปรียบเทียบไว้ใน โปตลิยสูตร มชั ฌิมนิกาย พระไตรปฎิ ก เลม่ ๑๓ วา่ มี ๗ ขอ้ และในทีอ่ น่ื อีก ๓ ขอ้ รวมเป็น ๑๐ ขอ้ โดยใจความย่อดังนี้ ๑. กามท้ังหลายเปรียบเหมือนกระดูกสัตว์ท่ีคนเชือดเนื้อออกแล้ว แต่ ยังเปื้อนโลหิตอยู่บ้าง แม้สุนัขจะแทะกัดกระดูกนั้นก็ไม่บรรเทาความอยากและ ทำ� ให้อิม่ ได้ หลงกลืนกินน้ำ� ลายของตวั เอง ถ้าเค้ยี วพลาด กระดกู แขง็ กแ็ ทงปาก เปน็ แผลโลหิตไหลเจบ็ ปวดฉะนนั้ ๒. กามท้ังหลายเปรียบเหมือนชิ้นเน้ือ เป็นที่ชอบใจของแร้ง กา เหย่ียว สุนัข เป็นต้น แย่งชิงกัน จิกกัน กัดกัน ไม่อิ่มหน�ำส�ำราญ มีแต่ก่อการให้ เจ็บปวดเกิดทุกขเวทนาแรงกลา้ สาหสั ฉะนัน้ ๓. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้าท่ีก�ำลังไฟไหม้ลุกโพลงอยู่ คนถือเดินทวนลมไป ถ้าไม่ทิ้งเสียเร็ว ควันก็จะรมหน้าเข้าตาเข้าจมูกร้อนจัด หายใจไม่ได้ และไฟก็จะลนลวกเผาไหม้อวัยวะน้อยใหญ่ ท�ำให้คนถือได้รับ ทกุ ขเวทนาเจบ็ ปวด แสบร้อนแสนสาหสั จนถงึ ตายฉะนน้ั

117 ๔. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ก�ำลังลุกแดงปราศจาก เปลวและควัน บุรุษผู้ปรารถนาสุขรักใคร่อาลัยชีวิต รู้ว่าตกลงไปจะได้รับทุกข์ แทบตายหรือถึงตาย ถ้าคนมีก�ำลัง ๒ คนมาจับแขนบุรุษน้ันคนละข้าง แล้ว ฉุดลากเข้าไปใกล้หลุมนั้น บุรุษน้ันคงเอี้ยวตัวสะบัดหนีไปเร็วจนสุดก�ำลังแรง ฉะน้ัน ๕. กามท้ังหลายมีความยินดีนิดเดียวครู่เดียว ล่วงไปแล้วก็ไม่มีอะไร ความสุขสบายหายไปหมดไม่มีเหลือ เปรียบเหมือนฝันว่าได้ชมส่ิงน่ารื่นเริง บันเทิงใจ มีสวนไม้ดอกไม้ผล ได้แก้วแหวนเงินทองเป็นต้น ครั้นตื่นแล้ว กห็ ายหมด ไมม่ ีอะไร ไมไ่ ด้ส่งิ ไรเลยแมแ้ ตน่ ิดเดียวฉะนน้ั ๖. กามท้ังหลายเปรียบเหมือนเคร่ืองประดับร่างกายและสิ่งของที่ยืม เขามาใช้ช่ัวคราว ส่ิงของเหล่าน้ันก็เห็นมีอยู่ในร่างกายและในบ้านเรือนของตน คร้ันเสร็จธุระแล้ว ก็ต้องส่งคืนเจ้าของเขากลับไปหมด ส่ิงของเหล่านั้นแม้แต่ สิง่ เดยี วกไ็ ม่มปี รากฏในบ้านเรือนของตนฉะนน้ั ๗. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้ เป็นที่ปรารถนาของคนต้องการผล ทั้งคนขึ้นได้และคนข้ึนไม่ได้ คนท่ีข้ึนได้ก็ขึ้นต้นไม้น้ันด้วยหวังจะบริโภคผล ให้อ่ิมหน�ำส�ำราญ และจะเก็บห่อเอาไปให้เต็มตามความต้องการของตน ก�ำลัง ขึ้นอยู่บนต้นก่อนแล้ว ส่วนคนต้องการผลแต่ขึ้นไม่ได้ มาภายหลังก็จะเอาขวาน ตัดโค่นต้นไม้น้ัน ถ้าคนก่อนไม่รีบลงเสียเร็ว ศีรษะหรือคอ หรือมือ หรือเท้า ก็จะแตกหักพกิ าร เกดิ ทุกขเวทนาปวดเจ็บแรงกล้าสาหัสอาจถึงตายได้ฉะนัน้ ๘. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงส�ำหรับสับห่ันเชือดชิ้นเนื้อ เพราะ เหตุกามเป็นเคร่ืองรองรับทุกข์ใจทุกข์กายมากมายมีประการต่าง ๆ ท่ีสับห่ัน เชือดเฉือนหัวใจจนนับหนนับคร้ังไม่ถ้วน เหมือนเขียงถูกสับห่ันเนื้อมาก ๆ จนนบั รอยนับแผลไม่ถว้ นฉะนน้ั

118 ๙. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกและหลาว เสียบแทงร่างกายมนุษย์ และสัตว์แล้ว จะชักถอนออกได้ยาก เพราะกิเลสความก�ำหนัดยินดีรักใคร่อาลัย ท่ีพัวพันยึดมั่นแนบแน่นในกามารมณ์ ซึ่งจะบรรเทาถ่ายออกเสียได้แสนยาก ฉะน้นั ๑๐. กามท้ังหลายเปรียบเหมือนหัวงูเห่า ท่ีจะขบกัดให้เกิดทุกขเวทนา เจ็บปวดรวดร้าวแล่นเข้าหัวใจ แสนสาหัสร้ายกาจ สามารถท�ำลายชีวิตเสียได้ ฉะน้ัน ปริศนาข้อท่ี ๑๔ ซ่ึงว่าชิ้นเน้ือนั้นได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรงพยากรณ์ ว่า ได้แก่ความรักใคร่เพลิดเพลิน โดยอธิบายว่า สัตว์ท้ังหลายท่ีถูกอวิชชา ครอบงำ� ย่อมต้องการความรัก ความเพลิดเพลิน เหมือนคนท้ังหลายท่ีต้องการ ช้ินเน้ือฉะน้ัน แม้จะตกทุกข์ได้ยาก เพราะความรักใคร่สักเท่าไร ก็ยังติด เพลิดเพลิน ไม่อยากเลิกละ เห็นว่าเป็นของดีเลิศ แท้จริงความรักใคร่ความ เพลิดเพลินนั้น เป็นทางมาแห่งความทุกข์นานาประการ ความเดือดร้อนยุ่งยาก ทั้งหลาย ที่เราท่านทั้งหลายได้รับอยู่ทุกวันน้ี ล้วนมีสมุฏฐานมาจากความรัก ทั้งนั้น มีเร่ืองรักร้อยอย่างก็มีทุกข์ร้อยอย่าง มีเร่ืองรักพันหนึ่งก็มีเร่ืองทุกข์ พันหนึ่ง ฉะนนั้ พระพทุ ธเจา้ จงึ ตรัสวา่ ปยิ โต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยํ เปมโต วปิ ปฺ มตุ ตฺ สฺส นตฺถิ โสโก กโุ ต ภยํ แปลวา่ ความโศกก็ดี ภัยกด็ ี ย่อมเกดิ แต่ความรัก ผพู้ น้ จากความรัก แลว้ ย่อมไมโ่ ศก ไม่มีภัย ดงั น้ี. ปริศนาข้อที่ ๑๕ ซึ่งว่านาคน้ันได้แก่อะไร แล้วพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า ได้แก่พระขีณาสพ โดยอธิบายว่า ”นาค„ ค�ำนี้แปลว่าผู้ไม่ท�ำชั่ว พระอรหันต- ขีณาสพเป็นผู้ไม่ท�ำความช่ัวด้วยกาย วาจา ใจ ท้ังในท่ีลับท้ังในท่ีแจ้ง ฉะนั้น พระผมู้ พี ระภาคจึงตรสั ว่า ค�ำวา่ นาคเป็นชอื่ ของพระอหันตขีณาสพ ดังน้ี

119 ที่ว่าให้นอบนอ้ มนาคนนั้ ทำ� อยา่ งไร คือทำ� ความนอบน้อม เคารพนับถอื ด้วยกาย วาจา ใจ และปฏิบัติตามค�ำสอนของท่าน ด�ำรงม่ันอยู่ในสุจริตธรรม ทกุ เมอื่ ใจความในปริศนา ๑๕ ข้อ ที่พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์แก่พระกุมาร กัสสปะมีเพียงเท่านี้ ที่ข้าพเจ้ายกมาแสดงนี้ก็เพื่อจะช้ีให้เห็นพระปรีชาของ พระองค์ ซ่ึงสามารถในการแก้ปริศนาได้แยบคายเพียงไร ปริศนาทั้ง ๑๕ ข้อนี้ ไม่ใช่ปริศนาของมนุษย์ เป็นปริศนาของพรหมมาจากพรหมโลก และพระองค์ ได้ทรงพยากรณ์ใหเ้ ป็นที่เข้าใจและแจ่มแจง้ จบั ใจย่งิ นัก ก่อนจะจบปาฐกถา ข้าพเจ้าจะเล่าประวัติของป่าอันธวัน (ซึ่งแปลว่า ป่าตาบอด) สักหน่อย เพราะมีเกล็ดท่ีน่ารู้ ท�ำไมป่าน้ันจึงได้ช่ือว่าป่าอันธวัน (ป่าตาบอด) มีขอ้ ความตามที่ท่านพรรณนาไวใ้ นอรรถกถาวา่ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่ีมีพระชนมายุน้อย ก็เสด็จดับขันธ- ปรนิ ิพพานเรว็ และเมอ่ื เสด็จปรินิพพานแล้วพระบรมสารีริกธาตุมไิ ด้รวมอยใู่ นที่ แห่งเดียวกัน ได้แยกย้ายกระจัดกระจายไปในทิศานุทิศ ด้วยก�ำลังอธิษฐานของ พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นประโยชน์เก้ือกูลแก่ประชุมชนในต่างถ่ินจะได้สักการะ บูชากัน พระพุทธเจ้าจึงทรงด�ำริว่า ตถาคตจะมีชนมายุไม่ยืนนาน หมู่สัตว์ซ่ึง เกิดไม่ทันได้เห็นน้ันมีมาก หากได้อัฐิธาตุของตถาคตไว้สักการะบูชาแล้ว จะได้ บุญกุศลเป็นอันมาก เมื่อทรงด�ำริเช่นน้ีแล้ว เม่ือเวลาจะเสด็จปรินิพพานได้ทรง อธิษฐานว่า ขอให้อัฐธิ าตขุ องตถาคตจงกระจายไปในทศิ านทุ ศิ ส่วนพระพทุ ธเจา้ ที่มีพระชนมายุยืนนาน พระบรมธาตุของพระองค์ไม่กระจัดกระจายไป รวมอยู่ ด้วยกันเป็นแท่งทอง เช่น พระบรมธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรง มีพระชนมายุยืนนาน รวมกันเป็นแท่งทองดุจทองแท่งชมพูนุช บริสุทธ์ิปราศจาก มลทินสิ้นราคี ประชาชนในภายหลังไม่สามารถแบ่งปันกันได้ จึงปรึกษาตกลง กันว่าควรสร้างเจดีย์บรรจุไว้ในท่ีแห่งเดียวกัน เจดีย์นั้นท�ำด้วยเงินและทองและ ฝีมืออันประณีตวิจิตร แบ่งออกเป็น ๔ มุข พระมหากษัตริย์ทรงรับด้านหน่ึง

พระราชกุมารทรงรับด้านหนึ่ง อัครมหาเสนาบดีรับด้านหน่ึง มหาเศรษฐีรับ ด้านหน่ึง ในด้านของพระมหากษัตริย์ พระราชกุมาร และอัครมหาเสนาบดีได้ จัดสร้างเสร็จแล้ว แต่ด้านของมหาเศรษฐียังค้างอยู่ เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ ครง้ั นั้น มอี ุบาสกคนหนึง่ นามว่า ยโสธร เป็นพระอนาคามี เห็นวา่ ถ้าปล่อยท้งิ ไว้ พระเจดีย์จักไม่ส�ำเร็จ จึงได้จัดเกวียน ๕๐๐ เล่ม เท่ียวออกเรี่ยไรไปในชนบท ต่าง ๆ ได้ทรัพย์มากบ้างน้อยบ้าง ส่งเข้ามาให้มหาเศรษฐีท�ำการก่อสร้างต่อ ส่วนตนก็ท่องเทยี่ วบอกบุญเรยี่ ไรไปในบ้านน้อยเมอื งใหญ่ตามแต่จะได้ จนเจดีย์ ส�ำเร็จเรียบร้อยแล้ว เม่ือยโสธรอุบาสกทราบว่าเจดีย์ส�ำเร็จแล้วจึงได้เดินทางกลับ ในเวลาเดินทางกลับนั้น ได้พบพวกโจร ๕๐๐ ในดงแห่งหนึ่ง พวกโจรพากันขู่ จะเอาทรัพย์ท่ีเร่ียไรมาได้ ยโสธรอุบาสกก็บอกว่าทรัพย์ท่ีเรี่ยไรมาได้นั้น ตนได้ ส่งเข้าไปในพระนครหมดสิ้นแล้ว เพื่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เมื่อพวกโจรได้ทราบดังน้ันแล้ว ฝ่ายหน่ึงก็เห็นว่าควรฆ่า ยโสธรอุบาสกเสีย เพราะปลอ่ ยไว้จะเป็นภัยแก่ตน ดว้ ยกลวั อุบาสกจะไปแจ้งแก่ ทางบ้านเมือง แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ควรฆ่า ควรปล่อยไป ในที่สุดเมื่อ ลงคะแนนโหวตกันแล้ว ที่เห็นว่าควรฆ่ามีจ�ำนวนมากกว่า จึงฆ่าอุบาสกนั้น เมื่อ ฆ่าอุบาสกนั้นแล้ว ด้วยบาปกรรมท่ีท�ำต่อพระอนาคามีอริยเจ้าผู้มีคุณแรงกล้า ตาของโจร ๕๐๐ นั้นก็บอดลงในทันที มีอาการดังดวงประทีปดับไปฉะนั้น พวกโจรเหล่าน้ันก็ได้แต่ร้องไห้คร่�ำครวญอยู่ ณ ที่น้ันเอง ผู้ที่มีญาติมิตร รู้เรื่องเข้าก็มารับเอาไป ใครไม่มีก็ตกค้างอยู่ท่ีน้ัน เม่ือคนเดินผ่านไปทางน้ัน มีผู้ถามว่ามาจากไหนก็ตอบว่ามาจากป่าตาบอด ป่าน้ีจึงมีช่ือว่าป่าอันธวันตั้งแต่ นั้นมา ประวัติเร่ืองป่าอันธวันนี้ แม้เป็นเร่ืองนอกประเด็น แต่เห็นว่าเป็นเร่ืองท่ี น่ารแู้ ละอาจเปน็ ประโยชน์แก่ทา่ นผ้ฟู งั บา้ ง จงึ ไดน้ �ำมาเล่า น้ีเป็นของดีในพระไตรปิฎกข้อท่ี ๓ ซ่ึงเกี่ยวกับปริศนาธรรมของ พระพทุ ธเจ้า ซ่ึงนา่ ร้แู ละสนใจไม่นอ้ ย

ข้าพเจ้าได้พาท่านมาชมของดีในพระไตรปิฎกส้ินเวลาถึงหน่ึงชั่วโมงครึ่ง แล้ว เห็นว่าพอสมควรแก่เวลาแล้วจึงขอยุติเพียงเท่าน้ี ฉะนั้น ขอท่านผู้ได้ฟัง เรื่องของดีในพระไตรปิฎกนี้แล้ว ได้โปรดพิจารณาใคร่ครวญให้ถ้วนถ่ี เห็นว่า สิ่งใดจะเป็นประโยชน์แก่ท่านในทางปฏิบัติ ก็น�ำไปประพฤติปฏิบัติ หรือน�ำไป เล่าแจกญาตมิ ิตร บดิ ามารดา บตุ รธิดาด้วยกย็ งิ่ ดี สดุ ท้ายนี้ ขออ�ำนาจคณุ แหง่ พระไตรปิฎก ซง่ึ ท่านอ้างว่าออกจากพระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า จงดลบันดาลให้ท่านผู้ฟังทั้งหลายจงประสพความสุขความ เจริญ ปลอดเวรภัย มีจักษุคือญาณแจ่มใสในธรรมของพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ เทอญ ฯ

122

123 พจนาธบิ าย เรอื่ งดบั ไฟประลยั กัลป์ ค�ำว่า กัป หรือ กัลป์ นั้น ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา สูจิ หน้า ๓๓๓ ท่านแสดงความหมายไว้ถึง ๑๘ อย่าง แต่ในที่นี้ หมายถึง ระยะกาลอันยืดยาว มากเพียงอย่างเดียว ค�ำนี้มีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกหลายแห่ง เช่น ใน มหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ หน้า ๑๑๙ ว่า พระพุทธเจ้าทรง แสดงอานุภาพแห่งอิทธิบาท ๔ ประการ แก่พระอานนท์ ณ ปาวาลเจดีย์ เมือง เวสาลี ถงึ ๓ ครัง้ โดยความว่า ”ดูก่อนอานนท์ อิทธบิ าท ๔ อนั ผู้ใดผหู้ นึ่ง เจรญิ แลว้ ท�ำใหม้ าก ให้เป็น ยาน ให้เป็นท่ีตั้ง คล่องแคล่วแล้ว ส่ังสมแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว ผู้น้ันหวังอยู่ พึงดำ� รงอยไู่ ดต้ ลอดกัป หรอื เกินกว่ากปั „ คำ� วา่ กัป หรือ กัลป์ น้ี มบี างท่านเข้าใจวา่ ชวั่ อายหุ น่งึ คือเพยี งชวั่ ระยะ อายุของคนหน่ึง ไม่ใช่ยืนยาวอะไร ถ้าเป็นจริงตามความเข้าใจดังกล่าวน้ี อิทธิบาท ๔ ประการ ที่พระพุทธเจ้าได้แสดงแก่พระอานนท์ ณ ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี เมื่อคราวก่อนหน้าเสด็จปรินิพพานน้ัน ก็ไม่มีความส�ำคัญพิเศษ อย่างไร และเม่ือไม่มีความส�ำคัญพิเศษแล้ว พระพุทธเจ้าจะตรัสแก่พระอานนท์ เพือ่ ประโยชนอ์ นั ใดเล่า แตค่ วามจริงแล้ว อทิ ธบิ าท ๔ นนั้ ยอ่ มมคี วามสำ� คัญแนแ่ ท้

124 ที่พระพทุ ธเจ้าทรงแสดงอทิ ธบิ าท ๔ ก็ด้วยมพี ระประสงค์จะใหพ้ ระอานนท์ ทราบว่า การเจริญอิทธิบาท ๔ ท�ำให้อายุยืนยาวออกไปได้ พระองค์สามารถ ยดื พระชนมายใุ ห้ดำ� รงยนื ยาวตอ่ ไปได้อีก เปน็ เวลากัปหน่ึง หรอื ยงิ่ กวา่ กัป ดว้ ย อานุภาพแห่งอิทธิบาท ๔ แต่ก็เป็นความผิดของพระอานนท์ เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงกระท�ำนิมิต และโอภาสอันชัดเจน (หรือประทานนัย หรือบอกใบ้) ที่ ปวาลเจดีย์ ถึง ๓ ครั้ง แห่ง ๑ และท่ีอ่ืน ๆ อีก ๑๕ แห่ง รวมเป็น ๑๖ แห่ง พระอานนท์ไม่ได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ขอให้ด�ำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพ่ือประโยชน์ เพ่ือความสุขแก่ชนหมู่มาก เพ่ือทรงอนุเคราะห์สัตว์โลก เพราะ รไู้ ม่เท่าทนั ทท่ี า่ นวา่ ถูกมารเข้าดลใจ เมอ่ื พระอานนทไ์ ม่ทูลอาราธนา พระพทุ ธเจ้า ก็ทรงปลงพระชนมายุสังขารว่า จักปรินิพพาน เม่ือทรงปลงพระชนมายุสังขาร แล้ว พระอานนท์จึงได้ทูลอาราธนาให้ทรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป ด้วยอิทธิบาท ภาวนา แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ ล่าช้าไป ทรงปฏิเสธว่า โอสฺสฏฺโฐ อายุสงฺขาโร เอกํเสน วาจา ภาสิตา แปลว่า ตถาคตปลงอายสุ งั ขารแลว้ ตถาคตกล่าวแลว้ ไม่คนื คำ� ค�ำว่า กัป น้ี มีหลักฐานในคัมภีร์ท่ีมาหลายแห่ง แสดงไว้ชัดเจนว่า หมายถึงระยะกาลอันยาวนานสุดที่จะก�ำหนดนับได้ง่าย เช่น ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๖ หนา้ ๒๑๕ ว่า มีภิกษุรูปหน่ึง เข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ”ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ค�ำว่ากัป ยาวเท่าไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ”ทีโฆ โข ภิกฺขุ กปฺโป โส น สุกโร สงฺขาตํ เอตฺตกานิ วสฺสานิ อิติ วา เอตฺตกานิ วสฺสสตานิ อิติ วา เอตตฺ กานิ วสสฺ สหสฺสานิ อติ ิ วา เอตฺตกานิ วสสฺ สตสหสฺสานิ อิติ วา แปลว่า ดูก่อนภิกษุ ค�ำว่า กัป ยาวนัก กัปน้ัน บุคคลจะก�ำหนดนับว่า เทา่ น้ันปี เทา่ น้ันรอ้ ยปี เท่านน้ั พนั ปี เท่าน้ันแสนปีดงั นี้ ไมอ่ าจท�ำไดง้ ่ายเลย„ ภิกษุนั้นจึงทูลถามต่อไปว่า ”พระองค์จะทรงอาจ อุปมาได้หรือไม่„ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ”ได้„ แล้วทรงอุปมาความยืนยาวของกัปหนึ่งดังน้ีว่า ”ดกู อ่ นภิกษุ มีภูเขาใหญ่ เป็นศิลาล้วน แทง่ ทึบ ไม่มีชอ่ ง ไมม่ ีโพรง กว้าง ๑ โยชน์

125 ยาว ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ถึง ๑๐๐ ปี มีบุรุษเอาผ้ากาสีไปกวาดภูเขาน้ัน คร้ังหน่ึง (๑๐๐ปี ต่อครัง้ ) โดยความพยายามอยา่ งน้ี ภูเขาใหญน่ นั้ พึงถึงความ ส้ินไป (ราบเสมอพื้นดิน) เร็วกว่า แต่ยังไม่ถึงกัป ไม่สิ้นกัลป์ ดูก่อนภิกษุ กัปหน่ึง ยาวอย่างนี้แล ตามหลักฐานที่ยกมาอ้างน้ี ก็เป็นเคร่ืองยืนยันได้ว่า กปั หนงึ่ นน้ั เปน็ ระยะเวลายาวนานนกั ในพระไตรปฎิ ก เลม่ ๑๓ หนา้ ๔๖๐ พระพทุ ธเจา้ ยนื ยันว่า พระองค์ได้ บรรลุวิชชา ๓ คือ (๑) ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือรู้ระลึกชาติได้ และทรงระลึกถอยหลังไปได้ไกลมากถึงหมื่นชาติ แสนชาติ จนถึงสังวัฏฏกัป วิวัฏฏกัป โดยล�ำดับ ฯลฯ วิชชา ๓ น้ีเป็นวิชาสูงสุดในพระพุทธศาสนา ผู้ได้ บรรลุวิชานี้ ย่อมประจักษช์ ดั ดว้ ยตนเอง และวชิ ชา ๓ นี้ ย่อมไม่เหลอื วิสยั ของ ผู้พากเพียรพยายามปฏิบัติ และหลักฐานที่ยกมาอ้างน้ี ก็เป็นเคร่ืองยืนยันว่า กัปนั้น เปน็ เวลายาวนานนกั เลยหมืน่ ชาติ แสนชาตขิ ึ้นไป ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๒๕๐ ท่านแสดงการระลึกชาติได้ อันเป็นผลของปุพเพนิวาสานุสสสติญาณไว้ และไม่จ�ำกัดเฉพาะบุคคลใน พระพุทธศาสนาเท่าน้ัน แม้เดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนาก็สามารถระลึกชาติ ได้เหมือนกัน ดงั น้ี ๑. พวกเดยี รถยี ร์ ะลกึ ชาติได้ ๔๐ กปั ไม่เกนิ กว่าน้ี เพราะมีปญั ญาอ่อน เหตุที่เดียรถีย์มีปัญญาอ่อน เพราะเว้นจากการก�ำหนดนามรูป การระลึกชาติ ของพวกเดียรถีย์ ย่อมปรากฏเช่นเดียวกับแสงสว่างท่ีห่ิงห้อย การระลึกชาติ ของพวกเดียรถยี ์ เป็นดุจการไปดว้ ยปลายไม้เท้าของคนตาบอด ๒. บรรดาพระสาวกชั้นปรกติ ระลึกชาติได้ ๑๐๐ กัป ๑,๐๐๐ กัป ก็มี เพราะมีก�ำลังปัญญาแรงกล้า การระลึกชาติของบรรดาพระสาวกชั้นปรกติ ย่อม ปรากฏเป็นเช่นเดียวกันกับแสงประทีป การระลึกชาติของบรรดาพระสาวกช้ัน ปรกติ เปน็ ดุจการไปตามสะพานไมล้ �ำเดยี ว

126 ๓. พระอสีติมหาสาวก คือ พระสาวกช้ันผู้ใหญ่ ๘๐ รูป ระลึกชาติได้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป การระลึกชาติของพระอสีติมหาสาวก ย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียว กับแสดงคบเพลิง การระลึกชาติของพระอสีติมหาสาวก เป็นดุจการไปตามทาง ส�ำหรบั เดินเทา้ ๔. พระอัครสาวก ซา้ ยขวา ๒ รูป ระลกึ ชาติได้ ๑ อสงไขย ๑ แสนกปั การระลึกชาติของพระอัครสาวกย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงสว่างแห่ง ดาวประจ�ำรงุ่ การระลกึ ชาติของพระอัครสาวก เป็นดจุ การไปตามทางเกวียน ๕. พระปจั เจกพทุ ธเจา้ ระลกึ ชาตไิ ด้ ๒ อสงไขย ๑ แสนกัป การระลกึ ชาติ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับแสงสว่างแห่งพระจันทร์ การระลกึ ชาติของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปน็ ดุจการไปตามทางเดนิ เทา้ ใหญ่ ๖. พระพุทธเจ้าท้ังหลาย ทรงระลึกชาติได้ไม่มีก�ำหนด การระลึกชาติ ของพระพุทธเจ้าท้ังหลาย ย่อมปรากฏเป็นเช่นเดียวกับพระอาทิตย์พันดวงใน ฤดูร้อน อันประดับแล้วด้วยรัศมีตั้งพัน การระลึกชาติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นดุจการไปตามทางเกวียนใหญ่ การท่ีท่านแสดงถึงอ�ำนาจของปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ว่าเป็นเหตุให้ ผู้บรรลุสามารถรู้ระลึกชาติได้ ถึงเท่าน้ันกัป เท่านี้กัป ก็เป็นหลักฐานรับรองและ ยนื ยันวา่ กัปหนงึ่ หรอื กัลป์หน่งึ น้ัน เป็นระยะทย่ี นื ยาวและนานมาก เพ่ือแสดงให้เห็นว่า ค�ำว่า กัป หรือ กัลป์ น้ัน เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จึงขอนำ� เรอื่ ง ”ต้ังอย่ตู ลอดกปั „ มาอ้างเปน็ หลกั ฐานตอ่ ไปนี้ รวม ๓ เรื่อง คือ

127 ๑. เรอ่ื งเวรตัง้ อยตู่ ลอดกปั มเี รือ่ งเล่าในอรรถกถาธรรมบท และในอรรถกถาชาดก ภาค ๔ หน้า ๘๙ ว่า ”พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสอนหญิงสองคนซ่ึงทะเลาะวิวาท จองล้าง จองผลาญกันมาหลายคร้ังหลายหน ให้เลิกจองล้างจองผลาญ ด้วยตรัสว่า ถ้า เธอทั้งสองไม่เลิกจอล้างจองผลญกัน เวรของเธอท้ังสองจักต้ังอยู่ตลอดกัป เหมือนเวรของกากับนกเค้าซ่ึงตั้งอยู่ตลอดกัป และพระองค์ได้ตรัสเล่าถึงสาเหตุ ทีก่ ากบั นกเค้าจะจองเวรกนั นนั้ โดยยอ่ วา่ เมื่อแรกตั้งปฐมกัป บรรดาสัตว์ปักษีชาติปรึกษากันว่า หมู่มนุษย์บัดนี้ ก็มีพระราชาเป็นผู้ปกครองแล้ว สัตว์จตุบาทก็มีพญาราชสีห์เป็นผู้ปกครอง แล้ว สัตว์น�้ำในทะเลก็มีปลาอานนท์เป็นผู้ปกครองแล้ว ส่วนพวกเรายังมิได้มี ผ้ปู กครอง พวกเราควรคัดเลือกกันขน้ึ เป็นหัวหน้าปกครองกัน เพอ่ื ความร่มเยน็ เป็นสุข นกทั้งหลายต่างพากันเห็นชอบ และอนุโมทนาสาธุการ จึงได้ด�ำเนินการ การเลือกด้วยการเสนอชื่อขึ้น ๓ ครั้ง ถ้าไม่มีผู้ใดคัดค้าน ผู้ที่ถูกเสนอช่ือน้ัน ก็เป็นอันได้รับสมมติให้เป็นผู้ปกครอง บรรดานกท่ีมาประชุมโดยส่วนมาก เสนอชอื่ ใหน้ กเคา้ เป็นหัวหน้า ในวาระท่ี ๑ ในวาระที่ ๒ ไม่มผี ูค้ ัดค้าน ในวาระท่ี ๓ กาคดั คา้ นในทันทที เี ดียวว่า การทีท่ า่ นท้งั หลายจะตัง้ ใหน้ กเคา้ เปน็ หัวหนา้ นั้น ข้าพเจา้ ไมเ่ หน็ ด้วย เพราะเหตวุ า่ นกเคา้ นนั้ หนา้ ตานา่ กลวั แม้ไม่โกรธกด็ ูเหมอื น โกรธ ถ้าได้เป็นหัวหน้าแล้ว เวลาโกรธขึ้นมาก็จักถลึงตาดูพกเรา ท�ำให้ต่ืนเต้น วุ่นวาย เหมือนก้อนเกลือที่โยนลงบนกระเบ้ืองร้อน การที่จะต้ังนกเค้าแมวให้ เป็นหวั หน้าน้ัน ข้าพเจา้ ไม่เห็นชอบด้วย เม่ือกาคัดคา้ นขน้ึ ดังนีแ้ ลว้ นกทัง้ หลาย กพ็ ากันชมว่า กานเี้ ฉลยี วฉลาด สามารถ สมควรยกย่องเป็นหวั หนา้ ของพวกเรา ได้ จึงเปลย่ี นความเหน็ เสนอขอให้กาเปน็ หัวหน้า ฝ่ายนกเค้า ก็คัดค้านขึ้นบ้างว่า การที่ยกย่องตั้งกาให้เป็นหัวหน้านั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นชอบด้วย จริงอยู่กาเป็นสัตว์ท่ีตื่นเช้า ขยันขันแข็งในการอาชีพ เป็นตัวอย่างอันดีอยู่ สมควรเป็นหัวหน้าได้ แต่อย่าลืมว่ากามีนิสัยชอบเที่ยวกิน

128 ไข่นกและลูกนกต่าง ๆ อยู่เสมอ เป็นที่เดือดร้อนแก่พวกเราอยู่แล้วถ้าขืนตั้งกา ให้เป็นหัวหน้าขึ้น พวกเราจะต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้น จะต้องถูกกาบังคับให้หา ไข่นกและลูกนกส่งส่วยกา ขอให้ท่านท้ังหลายจงพินิจพิเคราะห์ตรึกตรองดูให้ดี ด้วยเหตุนี้ การที่จะตั้งใหกาเป็นหัวหน้าพวกเรา ข้าพเจ้าจึงไม่เห็นชอบด้วย นก ทั้งหลายก็เห็นจริงตามที่นกเค้าคัดค้าน ขณะน้ัน กากับนกเค้าต่างไม่พอใจใน กันและกันอยู่แล้ว ต่างก็พากันบินข้ึนไปบนอากาศ ตรงไล่จิกตีกันล้มตายเป็น จ�ำนวนมาก และต้ังต้นผูกอาฆาตจองเวรกันตั้งแต่นั้นมาจนถึงทุกวันน้ี กากับ นกเค้าเห็นกันเข้าไม่ได้ เป็นต้องจิกตีกัน และจักเป็นเช่นน้ันไปตลอดกัป ฝ่าย นกทัง้ หลาย จึงตั้งใหห้ งสท์ องเปน็ หัวหนา้ เรยี กว่า ”พระยาหงสท์ อง„ ด้วยเหตุนี้ เวรของกากับนกเค้าน้ีจึงช่ือว่า ต้ังอยู่ตลอดกัป„ แม้น้ี ก็เป็นหลักฐานยืนยันว่า กัปหนึง่ น้นั เปน็ ระยะกาลท่ยี าวนานอยู่ ๒. เรื่องพระปริตรมปี าฏหิ ารยต์ ัง้ อยตู่ ลอดกปั มีเร่อื งเล่าในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ หนา้ ๔๗๗ และในคมั ภีรป์ ปัญจสทู นี อรรถกถามัชฌิมนิกาย ภาค ๓ หน้า ๓๑๔ ว่า ”ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวนาราม กรงุ สาวัตถี มีโจรชอื่ ว่าองคลุ มิ าล เทย่ี วปลน้ ฆา่ มนุษย์ท่ัวไป ในเขตต่าง ๆ แห่งแคว้นโกศล โจรผู้น้ีมีฝ่ามือชุ่มด้วยโลหิต เป็น คนใจร้ายไม่ปราณีผู้ใด เข้ารุกรานหมู่บ้านใด หมู่บ้านนั้นก็ร้าง เขาฆ่ามนุษย์ได้ เท่าไร ก็ตัดน้ิวมือไว้เท่าจ�ำนวนน้ัน ท�ำเป็นพวกมาลัยคล้องร่าง ฉะน้ันจึงช่ือว่า องคุลิมาล ครั้งน้ัน เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือบาตรครองจีวร เข้าสู่ หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต กลับมาเสวยเสร็จแล้ว ทรงด�ำเนินด้วยพระบาทไปยังทิศ ที่องคุลิมาลก�ำลงั เดนิ มา ตลอดทางทผ่ี ่าน ทรงพบคนเลยี้ งโค คนเลยี้ งแกะ และ ชาวนา เข้ามากราบทูลถึง ๓ ครั้ง ว่าท่านสมณะท่านอย่าเพิ่งไป โจรองคุลิมาล มันอยู่ทางน้ัน มันเป็นคนดุร้าย มีมือชุ่มด้วยโลหิต มันฆ่าฟันคนแล้วตัดน้ิว ร้อยเป็นพวง ใครเดินผ่านทางมัน เป็นถูกฆ่าตายสิ้น จงหลีกไปเสียทางอื่นเถิด

129 พระผ้มู พี ระภาคเจ้าทรงนิง่ และทรงเสดจ็ ไปข้างหน้าตามปรกติ จนกระทงั่ องคุลมิ าล ซึ่งอยู่ริมทาง แลเห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล จึงเดินสะกดรอยตามไปข้างหลัง คร้ันเห็นจะไม่ทันจึงวิ่ง ก็ไม่สามารถตามให้ทันพระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จด�ำเนิน ไปตามปรกติ องคุลิมาลรู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างย่ิง ว่ิงพลาง คิดไปพลางว่า แปลกจริง แต่ก่อนมา เราเคยมีฝีเท้าเร็วยิ่งนัก สามารถวิ่งขับช้างม้า หรือรถ ให้ทันได้ดังประสงค์ พระรูปน้ีก็เดินเรื่อยไปตามปรกติ ท�ำไมเราถึงกับว่ิงขับแล้ว ก็ยังไม่ทัน ถ้าเราเรียกให้หยุดแล้วถามดู บางทีจะทราบเร่ืองอะไรได้บ้าง แล้ว องคุลิมาลก็หยุดวิ่ง ตะโกนไปว่า หยุดก่อนพระ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราน่ะหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากยังไม่หยุด องคุลิมาลคิดในใจว่า พวก สมณะศากยบุตรเหล่าน้ีเป็นคนพูดจริง ปฏิญญาจริง แต่ท�ำไมเดินไปเร่ือย ๆ จึงกล่าวว่า เราน่ะหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหาก ยังไม่หยุด ท่านจงหยุดซิ เราจะต้องถามความข้อนี้ดู แล้วจึงกล่าวถามข้ึนว่า พระ ท่านเดินไปอยู่ แต่ กล่าวว่า เราหยุดแล้ว และกล่าวถึงข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่า ไม่หยุด เม่ือเป็นเช่นนี้ การที่ท่านว่า ท่านหยุด และว่าข้าพเจ้าไม่หยุดนั้น จะหมายความว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนองคุลิมาล เราเลิกเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายแล้ว และวางศัตราวุธแล้วตลอดไป ส่วนท่านสิ ไม่ส�ำรวมในสัตว์ เท่ียวเบียดเบียน ล้างผลาญชีวิตผู้อ่ืน ไม่วางมือ เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว และท่านช่ือว่ายังไม่หยุด เมอ่ื พระผ้มู ีพระภาคตรัสเชน่ นี้ องคุลิมาลได้สติ กโ็ ยนอาวธุ ทิง้ นั่งลงถวายบงั คม ที่พระบาทแห่งพระตถาคตเจ้า ทูลว่า ข้าพระองค์ได้สดับธรรมภาษิตของ พระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งแต่บัดน้ีเป็นต้นไป องคุลิมาลจึงทูลขอ บรรพชาในพระพทุ ธศาสนา เมอื่ พระผูม้ ีพระภาคเจ้าประทานเอหภิ ิกขอุ ปุ สมั ปทา แก่พระองคุลิมาลแล้ว เสด็จจาริกต่อไปโดยล�ำดับ เม่ือถึงเมืองสาวัตถี พระ องคุลิมาลก็ตามเสด็จไปด้วย เช้าวันหนึ่ง พระองคุลิมาลไปบิณฑบาตในเมือง สาวัตถี พบสตรีมีครรภ์แก่จวนคลอด เดินด้วยความล�ำบาก ก็เกิดควากรุณา ร�ำพึงว่า สัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ล�ำบากยิ่งหนอ ครั้นกลับมาฉันแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค กราบทลู ความเรอ่ื งนน้ั ให้ทรงทราบ พระองคต์ รัสวา่ องคุลิมาล

130 เธอจงไปที่สตรีนั้นและกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง เพราะเหตุท่ีเรามิได้แกล้งฆ่า สัตว์ตัดชีวิตท้ังท่ีรู้อยู่ ด้วยสัจจะนั้น ขอความสวัสดี จงมีแก่ตัวเธอ และบุตรใน ครรภ์ของเธอ พระองคุลิมาลทูลว่า จะไม่เป็นมุสาวาทไปหรือพระเจ้าข้า เพราะ เท่าที่ขา้ พระองค์ฆา่ สตั ว์ตดั ชวี ติ มาแลว้ นั้น ล้วนมีเจตนาและรูอ้ ยูท่ ั้งสิ้น พระผมู้ -ี พระภาคตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงเพ่ิมค�ำบางค�ำให้ชัดขึ้นเถิด องคุลิมาลเธอจง กล่าววา่ “ยโตหํ ภคนิ ิ อรยิ าย ชาตยิ า ชาโต นาภชิ านามิ สญฺจจิ ฺจ ปาณํ ชีวติ า โวโรเปตา เตน สจฺเจน โสตถฺ ิ เต โหตุ โสตถฺ ิคพภฺ สฺส” แปลว่า ”ดูก่อนน้องหญิง เพราะเหตุที่เราผู้เกิดแล้วโดยอริยชาติ มิได้ แกล้งฆ่าสัตวม์ ชี ีวติ ทง้ั ทรี่ ู้อยู่ ด้วยสจั จะนัน้ ขอความสวัสดี จงมแี ก่ตัวเธอ และ บุตรในครรภ์ของเธอ ดังนี้ รุ่งข้ึน พระองคุลิมาลไปที่หญิงนั้น ก็กล่าวสัจจวาจา ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงสอนไว้ทุกประการ หญิงน้ันก็คลอดบุตรโดยสะดวก และความสวัสดี ทง้ั มารดาและทารก„ พระปรติ รนี้ มีชอ่ื วา่ องคลุ มิ าลปริตร มีเดชมาก มีปาฏิหารยิ ค์ ือศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ตลอดกัป พระโบราณาจารย์จึงนิยม เจริญพระองคุลิมาลปริตรนี้ ในพิธี ที่กระท�ำขึ้นโดยทั่วไป เพ่ือเป็นน�้ำมนต์คลอดบุตรสะดวก เป็นสวัสดิมงคลมา จนถงึ ทุกวนั นี้ แมน้ ี้ก็เป็นหลักฐานยนื ยนั วา่ กัปหนึ่ง เปน็ ระยะเวลาที่นานนัก ๓. เร่อื งสถานที่มปี าฏิหารยิ ์ตง้ั อยตู่ ลอดกัป มีเร่ืองเล่าในอรรถกถาชาดก ภาค ๑ หน้า ๓๑๖ ว่า ”คร้ังหนึ่ง พระผู้มี พระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ เสด็จไปบิณฑบาต ณ บ้านแห่งหน่ึง คร้ัน เสดจ็ กับจากบิณฑบาตแล้ว มภี กิ ษแุ วดล้อม เสด็จไปตามทาง ขณะนัน้ ไฟปา่ ใหญ่ ได้ลุกลามขึ้น เปลวเป็นอันเดียวโดยรอบ ภิกษุท้ังหลายท่ียังเป็นปุถุชนก็ตกใจ กลัว ว่ิงไปล้อมพระผู้มีพระภาค ขอพระองค์เป็นท่ีพ่ึง พระองค์จึงเสด็จไป

131 ประทับยืน ณ ท่ีแห่งหน่ึง ไฟป่าได้ไหม้ลามมาอย่างรวดเร็ว คร้ันลามมาถึงท่ี ประมาณ ๑๖ กรสี (กรสี หนึ่ง ประมาณ ๖๒ เมตร) โดยรอบแห่งหน่งึ ทีพ่ ระผ้มู ี- พระภาคประทบั ยนื อยแู่ ลว้ ก็ดับไป ดจุ คบเพลิงซึง่ จุม่ ลงในน�้ำ ไฟป่าไม่สามารถ ลุกลามเน้ือท่ีประมาณ ๓๒ กรีสโดยรอบ ภิกษุท้ังหลายก็โล่งใจ พากันกล่าว สรรเสริญคุณแห่งพระพุทธเจ้าเป็นอันมากว่า โอ! อัศจรรย์จริง ไฟน้ีแม้ไม่มี เจตนา (ใจ) ก็ไม่สามารถลามไหม้ถึงท่ีที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ย่อมดับไป เหมือนคบเพลิงดับไปด้วยน�้ำ อานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า เห็นปานนี้ พระพุทธเจ้า ไดท้ รงสดบั แล้ว ตรสั วา่ ”ดูกอ่ นภิกษทุ ง้ั หลาย ขอ้ ทีไ่ ฟป่าลามมาถึงทน่ี ีแ้ ล้วดบั ไปน้ี มิใช่ก�ำลังหรืออานุภาพของเราในบัดนี้ แต่เป็นก�ำลัง เป็นอานุภาพแห่งสัจจะอัน เก่าแก่ของเรา ภิกษุท้ังหลาย ไฟจักไม่ไหม้ท่ีท้ังหมดในบริเวณนี้ตลอดกัป สถานท่ีนี้มีปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป„ แล้วพระพุทธเจ้าตรัสว่า ”ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในอดีตกาลนานมาแล้ว ตถาคตเสวยชาติเป็นลูกนกคุ่มโพธิสัตว์อยู่ใน บริเวณนี้ ในขณะทล่ี ูกนกคุม่ น้นั เกดิ ใหม่ ยงั บินไปไหนไมไ่ ด้ มารดาบดิ าให้นอน อยู่ในรัง แล้วออกไปหากิน เวลากลับก็เอาจะงอยปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงลูกทุกวัน ก็บริเวณท่ี ๆ ลูกนกคุ่มอยู่นั้น โดยปรกติจะต้องถูกไฟป่าลามมาไหม้ทุก ๆ ปี วนั หนึ่งไฟป่าได้ลุกลามมาโดยรอบบริเวณสถานทนี่ ้นั ฝงู นกทงั้ หลายกต็ กใจกลวั ร้องลั่น พากนั ออกจากรังบนิ หนีไป มารดาบดิ าของนกคมุ่ โพธสิ ตั วน์ นั้ กลวั ต่อภัย คือความตาย พากันทิ้งลูกนกคุ่มบินหนีไปเพ่ือเอาตัวรอด ลูกนกคุ่มนอนอยู่ ในรัง ชูคอข้ึน เห็นไฟป่าซึ่งก�ำลังไหม้ลามมาอยู่ คิดว่า ถ้าเรามีก�ำลังท่ีจะกางปีก บินไปในอากาศได้ เราก็จะบินไปในที่อ่ืน ถ้าเรามีก�ำลังที่ยกเท้าทั้งสองข้ึนได้แล้ว เดนิ ไปบนพนื้ ดิน เรากจ็ ะยกเทา้ เดนิ ไปในทีอ่ นื่ พอ่ แมท่ ้ังสองของเราก็กลวั ต่อภยั คือความตาย หนีเอาตัวรอด ทิ้งเราไว้ผู้เดียว บัดนี้ที่พึ่งอ่ืนของเราไม่มี เราจะ ทำ� อย่างไรดี ลูกนกคุ่มจึงดำ� ริต่อไปว่า คุณแห่งศีล คุณแห่งสัจจะ มีอยู่ในโลกนี้ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต ที่ได้ทรงบ�ำเพ็ญพระบารมี ได้ตรัสรู้แล้ว ทรงถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ทรง ประกอบด้วยพระคุณคือสัจจะ ความเอ็นดู ความกรุณา และความอดทน ทรง

132 แผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์มีอยู่ คุณแห่งพระธรรม ที่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า เหล่านั้น ได้ทรงรู้แจ้งแทงตลอดแล้วมีอยู่ แม้ในตัวเราก็มีสัจจะอยู่ข้อหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราควรร�ำพึงถึงพระสัพพัญญูพุทธเจ้าท้ังหลายในอดีต และ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ทรงรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว ถือเอาสัจจะท่ีมี อยู่ในตัวเรา ท�ำสัจจกิริยาห้ามไฟให้หยุด (ดับ) แล้วท�ำความสวัสดี (ปลอดภัย) ให้แก่ตัวเอง และแก่บรรดานกทั้งหลายอ่ืน ๆ ครั้งนั้น นกคุ่มโพธิสัตว์จึงร�ำพึง ถึงคุณแห่งพระพุธเจ้าทั้งหลายท่ีปรินิพพานแล้วในอดีต ปรารภสัจจะท่ีมีอยู่ ในตน ทำ� สจั จกริ ยิ า กล่าวคาถาวา่ ดงั น้ี สนฺติ ปกฺขา อปตนา สนฺติ ปาทา อวญฺจนา มาตาปิตา จ นกิ ขฺ นฺทา ชาตเวท ปฏกิ กฺ ม แปลว่า ปีกทงั้ หลายของขา้ มีอยแู่ ตบ่ นิ ไมไ่ ด้ เทา้ ท้ังหลายของขา้ มีอย่แู ต่ เดินไม่ได้ มารดาและบิดาของข้าบินออกไปแล้ว ดูก่อนเปลวไฟ ขอท่านจงหลีกไป ดังนี้ เมื่อนกคุ่มโพธิสัตว์ได้ท�ำสัจจกิริยา ไฟอันรุ่งเรืองใหญ่หลีกไปแล้วในที่ ประมาณ ๑๖ กรสี แตเ่ ม่อื ไฟหลกี ไป กไ็ หมส้ ิ่งอน่ื ๆ ในป่า และก็ดับไปในทีน่ ั้นเอง เหมือนคบไฟท่ีจุ่มลงในน�้ำ ก็สถานท่ีนั้นมีปาฏิหาริย์ต้ังอยู่ตลอดกัป คือไม่ถูก ไฟไหมใ้ นกปั นที้ ้ังสิ้น คาถาน้เี รียกวา่ คาถานกคุ่ม พระโบราณาจารยน์ บั ถอื กันว่า ศกั ดิส์ ทิ ธ์ิ นิยมเชิญลงยันต์ในแผ่นผ้า เพอื่ คมุ้ กนั ไฟไหมบ้ ้านเรอื น พระพทุ ธเจ้า ตรัสต่อไปอีกว่า ”ภิกษุท้ังหลาย ข้อท่ีไฟไม่ไหม้สถานที่นี้ มิใช่เป็นก�ำลังแห่ง ตถาคตในบัดนี้ แต่เป็นก�ำลัง เป็นอานุภาพแห่งสัจจะอันเก่าแก่ของเรา ในกาลที่ ตถาคตเกิดเป็นลูกนกคุ่ม„ แม้นี้ก็เป็นหลักฐานยืนยันว่า กัปหน่ึง เป็นระยะกาล ท่ีนานอยู่ อน่ึง คาถานกคุ่มน้ี มีปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ หน้า ๕๘๙ พระพุทธเจ้าตรัสเล่าด้วยพระองค์เอง เป็นพระบาลี ๑๑ คาถาก่ึง ว่าได้ทรง บำ� เพ็ญสัจจบารมี ในชาตทิ บ่ี ังเกดิ เป็นลูกนกคุ่มนน้ั ดว้ ย

133 ไฟประลยั กลั ป์ ในพระไตรปิฎกเล่มท่ี ๒๑ หน้า ๒๑ พระพุทธเจ้าตรัสเร่ืองอสงไขย แห่งกัป ไว้ดังน้ีว่า ”จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว กปฺปสฺส อสงฺเขยฺยานิ เป็นต้น แปลว่า ดกู อ่ นภกิ ษทุ ้งั หลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ เหล่านี้คือ ๑. สงั วฏั ฏะ อสงไขย ๒. สงั วัฏฏฐายี อสงไขย ๓. ววิ ัฏฏะ อสงไขย ๔. วิวฏั ฏฐาย ี อสงไขย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัปทั้ง ๔ นี้ ยากท่ีจะก�ำหนดนับได้ว่า เท่านัน้ ปี เท่าน้ันร้อยปี เทา่ นนั้ พนั ปี เทา่ น้นั หมน่ื ปี เท่าน้ันแสนปี พระพุทธโฆสะ อาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ มีปฏิภาณแตกฉานในพระไตรปิฎก อันเป็นคมั ภีร์สำ� คญั ย่ิงในพระพุทธศาสนา ได้รจนาคมั ภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก ท้ังพระวินัย ท้ังพระสูตร ทั้งพระอภิธรรม คัมภีร์ใหญ่ ๆ รวมได้ไม่น้อยกว่า ๑๗ คัมภีร์ ได้พรรณนาเร่ืองกัปไว้ในคัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ภาค ๒ หน้า ๔๓๙ และในคมั ภรี ว์ ิสทุ ธมิ รรค ภาค ๒ หน้า ๒๕๕ ไว้ดงั นวี้ า่ ”ในสมัยใด กัปพินาศด้วยไฟ มหาเมฆยังกัปให้พินาศต้ังขึ้นแต่ต้นเทียว ยังฝนใหญ่ให้ตกครั้งหน่ึง ท่ัวแสนโกฏิจักรวาล พวกมนุษย์ดีใจร่าเริง น�ำพืช ทุกชนิดออกหว่าน คร้ันเมื่อข้าวกล้างอกพอโคกินได้ มหาเมฆร้องเหมือนลา ฝนไม่ตกจนหยาดเดียว ในเวลานั้นฝนขาดสูญ สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรสั ไว้ (ในพระไตรปฎิ ก เลม่ ๒๓ หน้า ๑๐๒) ”โหติ โส ภกิ ขฺ เว สมโย ยํ พหูนิ วสฺสานิ พหูนิ วสฺสสหสฺสานิ พหูนิ วสฺสสตสหสฺสานิ„ แปลว่า ”ดูก่อนภิกษุ ทงั้ หลาย สมยั ซงึ่ ฝนไม่ตก ตลอดหลายปี หลายรอ้ ยปี หลายพนั ปี หลายแสนปี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยฝนเลี้ยงชีพ ก็ตายไปเกิดในพรหมโลกและเทวดา

134 ผู้อาศัยดอกไม้ผลไม้เล้ียงชีพ จุติแล้วไปเกิดในพรหมโลก เม่ือกาลนานล่วง ไปแล้วอยา่ งนี้ น�้ำในทนี่ ้นั ๆ ย่อมถึงความส้ินไป ตอ่ จากนน้ั ปลาและเต่าก็ตาย„ ”ในกาลนั้น กัปจักท�ำลายโดยล่วงไปอีกแสนปี มีพวกเทวดาชั้นกามาพจร ช่ือโลกพยูหะ สยายเศียรเกล้าผมประบ่า มีหน้าร้องไห้ เอามือเช็ดน�้ำตา นุ่ง ผ้าแดง ทรงเพศแปลกประหลาดยิ่งนัก เท่ียวไปในถิ่นมนุษย์ บอกอย่างน้ีว่า ”ชาวเราเอย ๆ จากนี้ล่วงไปอีกแสนปี กัปจักประลัย โลกน้ีจักฉิบหาย แม้ ทะเลใหญ่ก็จักแห้ง และแผ่นดินใหญ่นี้ ท้ังขุนเขาสิเนรุ จักทรุดโทรม ย่อยยับ ความฉิบหายจกั มตี ราบเทา่ พรหมโลก ท่านท้ังหลายจงเจริญเมตตากรุณา มุทติ า อเุ บกขา จงบำ� รุงมารดาบิดา จงเปน็ ผูอ้ ่อนน้อมต่อผ้ใู หญใ่ นสกลุ เถิด„ ”พวกมนุษย์ และภุมมเทวดาโดยมาก ได้ยินค�ำของเทวดาเหล่านั้น เกิด ความสลดใจ มีจิตเอ็นดูต่อกันและกัน ท�ำบุญมีเจริญเมตตาเป็นต้นแล้วเกิดใน เทวโลก บรโิ ภคสุธาโภชนเ์ ปน็ ทพิ ย์ในเทวโลกนัน้ แลว้ ท�ำการบรกิ รรมในวาโยกสิณ ยอ่ มได้ฌาน„ ”ตัง้ แตฝ่ นขาดสูญ (ฝนแลง้ ) โดยลว่ งไปแหง่ กาลยดื ยาวนาน พระอาทิตย์ ดวงท่ี ๒ ย่อมปรากฏ ก็เม่ือพระอาทิตย์ดวงท่ี ๒ ปรากฏแล้ว การก�ำหนดว่า กลางคืนหรือกลางวัน ไม่ปรากฏเลย พระอาทิตย์ดวงหนึ่งขึ้น ดวงหนึ่งตก โลก มิได้ขาดด้วยแสงแผดเผาแห่งดวงอาทิตย์ ก็ในดวงอาทิตย์ที่ยังกัปให้พินาศ ไม่มีสุริยเทพบุตร เหมือนในดวงอาทิตย์ปรกติ เม่ือพระอาทิตย์ปรกตินั้นโคจร อยู่ เมฆหมอกหรือเปลวควันยังมีในอากาศ เม่ือดวงอาทิตย์ยังกัปให้พินาศ ปรากฏขึน้ มา ทอ้ งฟา้ ปราศจากเมฆและหมอก ไมม่ วั เลย ดจุ มณฑลแหง่ กระจก น�้ำในแม่น้�ำที่เหลือ มีแม่น้�ำน้อยเป็นต้น เว้นมหานที ๕ แห่ง (คือแม่น้�ำคงคา แม่น้ำ� ยมุนา แมน่ �้ำอจิรวดี แมน่ ำ้� สรภู แมน่ ำ้� มห)ี ย่อมเหือดแห้งไป„ ”ต่อจากน้ัน โดยล่วงไปแห่งกาลนานยืดยาว พระอาทิตย์ดวงท่ี ๓ ย่อม ปรากฏ น้ำ� ในมหานทที ง้ั ๕ ก็เหือดแห้ง ตอ่ จากนั้น โดยกาลล่วงไปแหง่ กาลนาน ยืดยาว พระอาทิตย์ดวงท่ี ๔ ย่อมปรากฏ สระใหญ่ ๗ สระเหล่าน้ี คือ

135 สีหปาตนะสระ ๑ หังสปาตนะสระ ๑ กัณณมุณฑสระ ๑ รถการะสระ ๑ อโนตัตตะสระ ๑ ฉัททันตสระ ๑ กุณาละสระ ๑ ซึ่งเป็นแดนเกิดแห่งมหานที ในป่าหมิ พานต์ ย่อมเหอื ดแหง้ ไป ”ต่อจากนั้น โดยล่วงไปแห่งกาลนานยืดยาว พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ย่อมปรากฏ น้�ำในมหาสมุทรย่อมไม่เหลือเพียงเปียกแม้ข้อนิ้วมือ โดยล�ำดับ ต่อจากนั้น โดยล่วงไปแห่งกาลนานยืดยาว พระอาทิตย์ดวงท่ี ๖ ย่อมปรากฏ จักรวาลทั้งสิ้น จึงเป็นควันบดไปหมด หมดยางแล้วเพราะเปลวไฟ เป็นอย่างนี้ เหมอื นกนั ทั้งหมดทง้ั แสนจกั รวาล„ ”ต่อจากนั้น โดยกาลล่วงไปแห่งกาลนานยืดยาว พระอาทิตย์ดวงท่ี ๗ ย่อมปรากฏ จักรวาลท้ังสิ้น พร้อมท้ังจักรวาลแสนโกฏิ ลุกโพลงเป็นอันเดียวกัน แม้ยอดเขาสิเนรุ ซ่ึงมีหลายยอด มียอดสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์เป็นต้น ก็พัง อันตรธานไปในอากาศนั่นเอง เปลวไฟน่ันก็ลุกขึ้นไหม้เหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราช เปลวไฟไหม้วิมานทอง วิมานแก้ว วิมานแก้วมณี ในช้ันจาตุมมหาราชแล้ว ก็ ไหม้สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยนัยนี้ ไหม้ตลอดถึงพรหมโลก ลามขึ้นไปจดช้ัน อาภัสสรพรหม เปลวไฟน้ัน มีเชื้ออยู่แม้ประมาณเท่าอณูหน่ึงเพียงใด ก็ไม่ดับ ไปเพียงน้ัน เพราะหมดเช้ือทุกอย่าง ไฟจึงดบั ไมม่ เี หลอื แมแ้ ต่เถ้า เหมือนเปลวไฟ ไหม้เนยใสและน้�ำมัน อากาศเบ้ืองบนพร้อมกับอากาศเบื้องล่างมืดมิดเป็นอัน เดยี วกนั „ ”ต่อมาโดยล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน มหาเมฆต้ังขึ้น ตกเป็นฝน ละเอียดอ่อน หลั่งด้วยท่อธาร มีประมาณเท่าก้านบัว เท่าไม้เท้า เท่าสาก เท่า ล�ำตาล โดยล�ำดับ เต็มท่ีซึ่งไฟไหม้ทั้งหมดในแสนโกฏิจักรวาลแล้วหายไป ลม ต้ังข้ึนเบ้ืองต่�ำและส่วนขวาง พัดน�้ำน้ันงวดเป็นแท่ง น�้ำนั้นกลม เช่นกับหยาดน�้ำ ในใบบวั ถา้ จะถามว่า ลมจะทำ� กองน้ำ� ซ่ึงใหญป่ านนั้น ให้งวดเปน็ แทง่ ได้อยา่ งไร ก็จะตอบว่า เพราะน้�ำให้ช่อง คือน้�ำน้ันย่อมให้ช่องแก่ลมในที่น้ัน ๆ น�้ำน้ันถูก ลมพัดวนอยู่อย่างน้ีท�ำให้งวด แห้งเข้า ๆ ย่อมงวดลงมาในเบื้องต�่ำโดยล�ำดับ

136 เม่ือน้�ำงวดลงมา ๆ พรหมโลกก็ปรกฏในที่พรหมโลก และเทวโลกก็ปรากฏท่ี เทวโลก กามาพจร ๔ ช้ันเบ้ืองบน ก็เมื่อน�้ำลดลงถึงพ้ืนแผ่นดินทีแรก ลมมี ก�ำลังเกิดขึ้น ลมเหล่าน้ันย่อมปิดน�้ำท�ำมิให้บ่าออกได้ ดุจน�้ำท่ีอยู่ในธมกรก (กระบอกกรองนำ้� ) ที่อดุ ช่องไว้ นำ้� มรี สอรอ่ ย ถงึ ความส้ินไป ยงั แผน่ ดินมรี ส ให้ ตั้งข้ึนในเบ้ืองบน แผ่นดินซึ่งมีรสนั้น ถึงพร้อมด้วยสีกล่ินและรส เช่นเดียวกับ พ้นื บนแหง่ ข้าวปายาส มนี �ำ้ สะเดด็ (ไม่มนี �้ำ)„ ในกาลนั้น สัตว์ท้ังหลายที่บังเกิดก่อนในพรหมโลกชั้นอาภัสสรพรหม เคล่ือนจากพรหมโลกน้ัน เพราะสิ้นอายุหรือส้ินบุญ ย่อมเกิดผุดขึ้นในโลกน้ี สัตว์เหล่าน้ัน มีรัศมีในตัวเองเกิดขึ้น เหินไปได้ในกลางหาว สัตว์เหล่าน้ัน ล้ิมแผ่นดินมีรสนั้น (ตามนัยะที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในอัคคัญญสูตร พระไตรปิฎก เลม่ ท่ี ๑๑ หน้า ๘๗) อันตณั หาครอบงำ� แลว้ พยายามเพอ่ื บรโิ ภค ท�ำเป็นค�ำ ๆ ครั้นต่อมา รัศมีในตัวของสัตว์เหล่านั้น ก็สูญหายเกิดมืดมิด สัตว์เหล่านน้ั เหน็ ความมืดกก็ ลัว„ ”แต่นั้นก็ปรากฏดวงอาทิตย์ ประมาณ ๕๐ โยชน์ ยังความเป็นผู้กล้า ให้เกิด สัตว์เหล่านั้นเห็นดวงอาทิตย์นั้นแล้ว ยินดีร่าเริงว่า เราได้แสงสว่าง จึง ปรึกษากันว่า ดวงวิเศษน้ี ยังความกลัวของเราทั้งหลาย ผู้กลัวแล้วให้หายไป ยังความกล้าให้เกิดข้ึน เพราะเหตุน้ัน ดวงวิเศษนี้ จึงเป็น สูริโย ”บันดาลให้ กลา้ „ จึงขนานนามวา่ ”พระสรู ิยะ„ ครั้นต่อมา เม่ือดวงอาทิตย์ ท�ำแสงสว่างในกลางวันหายไปแล้ว สัตว์ ทัง้ หลายกลวั อกี ว่า พวกเราไดแ้ สงสว่างแล้ว แต่แสงสว่างนนั้ แหง่ พวกเราหายไป แล้ว สัตว์เหล่านั้น จึงร�ำพึงอย่างนี้ว่า ถ้าเราจะได้แสงสว่างอย่างอื่นอีกก็จักเป็น การดี ดวงจันทรป์ ระมาณ ๔๙ โยชน์ ปรากฏขน้ึ ดจุ รู้ใจของสตั ว์เหล่าน้ัน สัตว์ เหล่านั้นเห็นดวงจันทร์น้ันแล้ว ก็ยินดีร่าเริงย่ิงนัก ปรึกษากันว่า ดวงวิเศษนี้ เกิดข้ึนดุจทราบความพอใจของพวกเรา เหตุน้ัน ดวงวิเศษน้ี จึงเป็น จนฺโทร (ดวงพอใจ) จึงขนานนามดวงวิเศษนน้ั ว่า ”พระจันทร์„

137 ”เม่ือพระจันทร์ และพระอาทิตย์ปรากฏดั่งน้ีแล้ว ดาวนักษัตร จึง ปรากฏขึ้น จ�ำเดิมแต่นั้น กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เดือน กึ่งเดือน ฤดู และปี ก็ปรากฏข้ึนโดยล�ำดับ ก็ในวันท่ีพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏแล้ว เขาสิเนรุและเขาหิมพานต์ ย่อมปรากฏข้ึนพร้อมกัน ในวันเพ็ญเดือน ๔ เหมือนอย่างข้าวฟ่างอันพ่อครัวต้มอยู่ ฟองย่อมต้ังข้ึนคราวเดียวพร้อมกัน แต่ บางประเทศเป็นท่ีสูง บางประเทศเป็นท่ีต่�ำ บางประเทศเป็นท่ีราบ ฉันใด ในที่ สูง ๆ ก็เป็นภูเขา ในท่ีตำ่� ๆ กเ็ ปน็ ทะเล ในท่รี าบ ๆ ก็เป็นทวปี „ ”ครั้นต่อมา เมื่อสัตว์เหล่านั้นบริโภคแผ่นดินมีรสอยู่ บางพวกมี ผิวพรรณงาม บางพวกมีผิวพรรณไม่งามโดยล�ำดับ ในสองพวกน้ัน พวกมี ผิวพรรณงาม ย่อมดูหมิ่นพวกมีผิวพรรณไม่งาม เพราะการดูหมิ่นของพวกมี ผิวพรรณงามเหล่านั้นเป็นเหตุ แผ่นดินซ่ึงมีรสแม้น้ันก็อันตรธานไป ภาคพื้น กป็ รากฏ กลายเปน็ สะเก็ด ตอ่ มาแม้สะเกด็ นั้นกส็ ญู หาย ต่อมาขา้ วสาลี เกิดในท่ี ไมต่ อ้ งไถ ไมม่ รี ำ� (ไมล่ ีบ) ไม่มีแกลบ (บรสิ ุทธิ)์ กลิน่ หอม มีผลเปน็ ข้าวสารทีเดียว ต่อจากน้ัน ภาชนะส�ำหรับใส่ ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่าน้ัน ๆ ใส่ข้าวสาลีใน ภาชนะแล้วตั้งไว้บนหลังหิน เปลวไฟเกิดขึ้นเอง หุงข้าวน้ันสุก ข้าวสุกนั้นเป็น เช่นกับดอกมะลิทีเดียว ข้าวสุกนั้น ไม่ต้องผสมด้วยแกง หรือกับข้าว สัตว์ เหล่านน้ั ต้องการบริโภครสใด ๆ ก็เป็นรสนั้น ๆ„ ”เม่ือสัตว์เหล่าน้ัน กลืนกินอาหารหยาบน้ันอยู่ มูตร (ปัสสาวะ) กรีส (อุจจาระ) ย่อมเกิดขึ้นจ�ำเดิมแต่นั้น ครั้นคราวน้ี ปากแผลแตกออกเพ่ือให้มูตร และกรีสนั้นออก ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น ความเป็นชายก็ปรากฏแก่ชาย ความ เป็นหญิงก็ปรากฏแก่หญิง ได้ยินว่า ในเวลาน้ัน หญิงก็เพ่งเล็งชายเกินเวลา อันควร แม้ชายเล่าก็เพ่งเล็งหญิงเกินเวลาอันควร เพราะการเพ่งเล็งกันเกินเวลา อันสมควรของชายและของหญิงเหล่านั้นเป็นเหตุ ความกระวนกระวายเร่าร้อน เรื่องกามจึงเกิดข้ึน แต่นั้นจึงเสพเมถุนธรรม ชนเหล่านั้นถูกผู้รู้ติเตียน ขัดขวาง อยู่ เพราะการเสพเมถนุ ธรรมเป็นเหตุ จงึ ไดท้ �ำเรอื นเพอื่ ให้มิดชดิ „

138 ”ชนเหล่าน้ันครองเรือนอยู่ ต่อมาจึงเอาอย่างสัตว์ซ่ึงมีสันดานเกียจคร้าน ท�ำการส่ังสมต่าง ๆ จ�ำเดิมแต่น้ันมา แม้ข้าวลีบ ข้าวมีแกลบ ข้าวสารก็เกิด ประดังขึ้น แม้ที่ ๆ เกี่ยวแล้วก็ไม่งอก ชนเหล่านั้นจึงประชุมกัน ทอดถอนใจ ปรึกษากันว่า พวกเราเอย ธรรมอันลามกเกิดข้ึนแล้วในสัตว์ท้ังหลาย เมื่อก่อน เราท้ังหลาย เป็นผู้ส�ำเร็จได้ดังใจ ต่อมาจึงได้กั้นเขตแดนกัน กาลล่วงมานาน มผี ู้ใดผหู้ นึง่ ขโมยของผูอ้ นื่ คนท้งั หลายจึงด่าวา่ ผู้ท่ีลกั ขโมยนนั้ ๒ คร้งั ครง้ั ท่ี ๓ จงึ ประหารด้วยฝ่ามอื หรือทอ่ นไมเ้ ปน็ ตน้ „ ”เม่ือการลักขโมย การพูดเท็จ การติเตียน การลงโทษเกิดขึ้นอย่างนี้ ชนเหล่านั้น จึงประชุมกันคิดว่า ถ้าเราท้ังหลายจะพึงสมมติท่านผู้หน่ึง ซึ่งเป็น ผู้สามารถท�ำหน้าที่ลงโทษผู้ควรลงโทษ ต�ำหนิผู้ท่ีควรต�ำหนิ ขับไล่ผู้ท่ีควรขับไล่ โดยชอบ ใหแ้ ก่พวกเรา เราจะแบง่ ส่วนข้าวสาลีให้เขา„ ”เม่ือคนท้ังหลายท�ำความตกลงกันอย่างน้ี พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้แล เป็นพระโพธิสัตว์ในกัปนี้ก่อน เป็นผู้มีรูปร่างงามสง่า น่าดู มีศักด์ิใหญ่ยิ่ง ถงึ พร้อมด้วยความรู้ สามารถท�ำการปราบปรามและยกยอ่ งได้ เด่นอย่ใู นหมคู่ น ทั้งหลาย ในเวลานั้น คนทั้งหลาย จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์น้ัน อ้อนวอนสมมติ แล้ว พระโพธสิ ัตว์นั้น ปรากฏโดยพระนาม ๓ พระนาม คอื ๑. ทรงพระนามวา่ มหาสมมติ เพราะเป็นผู้อันมหาชนนั้นสมมติแล้ว ๒. ทรงพระนามว่า กษัตริย์ เพราะเป็นใหญ่แห่งนาท้ังหลาย ๓. ทรงพระนามว่า ราชา เพราะปกครองผู้อื่น โดยธรรมสม�่ำเสมอ ก็ต�ำแหน่งอัศจรรย์ใดในโลก พระโพธิสัตว์เป็นคนต้น ในต�ำแหน่งนั้น เมื่อวงศ์แห่งกษัตริย์ มีพระโพธิสัตว์เป็นต้นตั้งขึ้นแล้วอย่างน้ี วรรณะทั้งหลาย มีวรรณะพราหมณเ์ ป็นตน้ กต็ ้ังข้นึ „ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๒๒ พระพุทธโฆสะ ได้จัดล�ำดับ อสงไขยแห่งกัปไว้ ดง่ั นว้ี ่า ”ในอสงไขย ทั้ง ๔ น้ัน ตง้ั ต้นแต่มหาเมฆใหญย่ งั กัปให้พนิ าศ จนกระท่ัง เปลวไฟดับสูญ นเ้ี ป็นอสงไขยหนง่ึ เรียกว่า สังวฏั ฏะ อสงไขย„

139 ”ตั้งแต่เปลวเพลิงยังกัปให้พินาศสูญส้ินมา จนถึงมหาเมฆตกเต็มท่ีท่วม แสนโกฏจิ กั รวาล นเ่ี ป็นอสงไขยที่ ๒ เรียกว่า สงั วัฏฏฐายี อสงไขย„ ”ตั้งแต่มหาเมฆตกเต็มท่ีมา จนถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏ นี้เป็นอสงไขยท่ี ๓ เรยี กวา่ วิวฏั ฏะ อสงไขย„ ”ตั้งแต่พระจันทร์ และพระอาทิตย์ปรากฏมา จนถึงมหาเมฆยังกัปให้ พินาศใหม่อีก น้ีเป็นอสงไขยท่ี ๔ เรียกว่า วิวัฏฏฐายี อสงไขย ๔ อสงไขย เหล่านี้ จัดเปน็ มหากัป ๑„ ไฟท่ีเผาผลาญล้างโลกให้ย่อยยับไป จึงได้ช่ือว่า ไฟประลัยกัลป์ ด้วย ประการฉะนี้ โลกพินาศด้วยเหตุตา่ ง ๆ กนั ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๒๖๕ พระพุทธโฆสะได้พรรณนาไว้ โดยความว่า โลกพินาศด้วยเหตุต่าง ๆ กัน คือ พินาศด้วยไฟ เรียกว่า ไฟ ประลัยกัลป์ (ไฟล้างโลก) ก็มี พินาศด้วยลม เรียกว่า ลมประลัยกัลป์ (ลมล้าง โลก) ก็มี พินาศด้วยน้�ำ เรียกว่า น้�ำประลัยกัลป์ (น้�ำล้างโลกก็มี) โลกพินาศ ด้วยเหตตุ ่าง ๆ กันดังนี้ เป็นเพราะเหตอุ ะไร เพราะอกศุ ลมลู เปน็ เหตุ ก็โลกนั้น เมื่อสัตว์มีราคะหนาแน่น ย่อมพินาศด้วยไฟ เม่ือสัตว์โลกมีโทสะหนาแน่น ย่อมพินาศด้วยน�้ำ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พินาศด้วยน้�ำ เพราะสัตว์โลกมี ราคะจัด พินาศด้วยไฟ เพราะสัตว์โลกมีโทสะจัด เมื่อสัตว์โลกมีโมหะหนาแน่น โลกย่อมพินาศด้วยลม ไฟประลยั กลั ป์ (ไฟล้างโลก) นัน้ นาน ๆ จึงจกั ปรากฏขึ้นในโลกสักครั้ง คนเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดอีกนานนักจึงจักพบ ส่วนไฟประลัยกัลป์ภายใน เกิดข้ึนเผาผลาญใจ ท�ำให้คนย่อยยับเส่ือมจากคุณความดี สุดท่ีจะคณนานับ

140 และมักจะถูกไฟประลัยกัลป์ประเภทน้ีเผาอยู่เนือง ๆ จึงเป็นเร่ืองท่ีควรรู้ และ ควรสนใจดว้ ย ไฟประลัยกลั ปภ์ ายใน ๗ อยา่ ง ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ หนา้ ๔๒ พระพทุ ธเจ้าทรงแสดงไฟ ๗ อย่าง แก่ภกิ ษทุ ัง้ หลาย ดงั นี้ว่า ”ดูก่อนภกิ ษทุ งั้ หลาย ไฟมี ๗ อยา่ ง คอื ๑. ราคัคคิ ไฟคือราคะ ๒. โทสัคคิ ไฟคือโทสะ ๓. โมหคั คิ ไฟคือโมหะ ๔. อาหเุ นยยัคคิ ไฟคอื มารดาบิดา ๕. คหปตัคคิ ไฟคือสามี ๖. ทกั ขิเณยยคั คิ ไฟคือสมณะพราหมณ์ ผ้มู ศี ลี ธรรม ควรรบั ทักษณิ า ๗. กัฏฐัคคิ ไฟธรรมดา (ไฟเกดิ แต่ไม)้ ในพระไตรปิฎกเล่มเดียวกันนี้ หน้า ๔๕ พระพุทธเจ้าตรัสสอนพราหมณ์ ช่ืออุคคตสรรี ะวา่ ”ดกู ่อนพราหมณ์ ไฟคอื ราคะ ไฟคอื โทสะ ไฟคอื โมหะ ไฟทั้ง ๓ กองนี้ ควรละควรเว้นเสยี ไม่ควรเสพ ”ดูก่อนพราหมณ์ ไฟคือมารดาบิดา ไฟคือสามี ไฟคือสมณะพราหมณ์ ผู้มีศีลธรรม ควรรับทักษิณา ไฟทั้ง ๓ กองนี้ควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา บำ� เรอให้ดี„ ”ดูก่อนพราหมณ์ ไฟธรรมดานี้ ควรจุดตามกาล ควรเพ่ง (ระมัดระวัง) ตามกาล ควรดับตามกาล ควรเกบ็ ตามกาล„

141 (๑) ราคคั คิ ไฟคอื ราคะ ราคะคือความรัก อันประกอบด้วยความก�ำหนัด อันความรักนั้นมี ๒ อย่าง คือ ๑. รักประกอบด้วยเมตตาไม่เจือด้วยกิเลส เช่น มารดาบิดารักบุตร หรือบุตรรักมารดาบิดา ๒. รักประกอบด้วยความก�ำหนัดเจือด้วยกิเลส เช่น ชายหนุ่มรักหญิงสาว หรือสามีรักภรรยา พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ราคะนั้น มีโทษมาก ร้อนเหมือนไฟ บุคคลผู้ตกอยู่ในอ�ำนาจของราคะ ถูกราคะครอบง�ำ จิตแล้ว ย่อมประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ครั้นประพฤติช่ัวด้วยกายวาจาใจแล้ว เบือ้ งหน้าแต่ทำ� ลายกายตายไป ยอ่ มเขา้ ถงึ อบายทคุ ติ วินบิ าต นรก เพราะฉะน้นั ไฟคอื ราคะน้ี จงึ ควรเวน้ เสีย ไม่ควรเสพ ในขอ้ ทวี่ า่ บุคคลผู้ถูกราคะครอบง�ำแลว้ ย่อมประพฤตชิ ่ัวดว้ ยกาย วาจา ใจนนั้ พึงเห็นเชน่ บคุ คลผทู้ �ำลายล้างผลาญกันเพราะราคะเป็นเหตุ และราคะนนั้ คลายช้า ดังอุทาหรณ์ที่ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตร- นกิ าย ภาค ๒ หน้า ๒๕๐ วา่ ”ดงั ไดย้ นิ มาวา่ ชายคนหน่ึงถูกราคะครอบง�ำจติ ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นชู้กับภริยาของพี่ชาย ชาย (ชู้) น้ัน เป็นท่ีรักของหญิง แม้หญิงนั้นก็รักชายชู้ ยิ่งกว่าสามีของตน หญิงนั้นบอกแก่ชายชู้ว่า ”เมื่อเรื่องของเราเปิดเผยข้ึนแล้ว เราจักถูกครหาอย่างใหญ่หลวง หรืออาจจะเป็นอันตรายก็ได้ ขอคุณจงจัดการ ฆ่าพ่ีชายของคุณเสีย หญิงน้ันรบเร้าชายชู้อยู่ถึง ๓ ครั้ง น้องชายจึงฆ่าพ่ีชาย ของตนเสียเพราะราคะเป็นเหตุ„ ”ฝ่ายพ่ีชายครั้นถูกฆ่าตายแล้ว ไม่อาจสละความรักความเย่ือใย จึงเกิด เป็นงูใหญ่ในเรือนน้ันเอง งูใหญ่นั้น เมื่อหญิงภริยาเก่ายืน หรือน่ัง ก็เลื้อยไป ตกบนร่างของนาง ต่อมา หญิงนั้นคิดว่า สามีที่ตายไปนั้น คงจะเกิดเป็นงูนี้ แนแ่ ท้ ดังนี้แลว้ จงึ ใหเ้ ขาฆ่างนู น้ั เสีย„

142 ”งูน้ันก็เกิดเป็นลูกสุนัขในเรือนน้ันเอง เพราะความรักเยื่อใยในหญิงภริยา น้ัน ลูกสุนัขนั้น จ�ำเดิมแต่กาลที่ตนเดินได้ ย่อมเที่ยวตามไปข้างหลัง ๆ ของ หญิงน้ัน ไปป่า ก็ไปด้วยกันทีเดียว พวกมนุษย์เห็นดังน้ันแล้ว จึงพากันเย้ยหยัน ว่า พรานสนุ ัขออกแลว้ จักไปท่ไี หนกนั นางละอายใจจงึ ให้ฆ่าสุนขั น้นั เสยี อีก„ ”แม้สุนัขนั้น ก็เกิดเป็นลูกโคในเรือนนั้นอีก ย่อมเที่ยวตามหลังหญิงนั้น ไปอย่างน้ันเหมือนกัน พวกมนุษย์เห็นนางแล้ว พากันเย้ยหยันว่า นายโคบาล ออกแล้ว แม่โคทงั้ หลายจักเทย่ี วไป ณ ทไ่ี หน นางจงึ ให้ฆ่าโคนัน้ แมใ้ นท่นี ั้นอีก„ ”โคนั้น ครั้นตายแล้ว ได้ไปเกิดเป็นลูกหญิงนั้น เพราะความเย่ือใยใน หญิงนั้น เด็กนั้นระลึกชาติได้ เห็นความท่ีตนถูกหญิงนั้นฆ่ามาแล้ว ๔ ชาติ ติดต่อกัน จึงคิดว่า เราเกิดในท้องของหญิงผู้เป็นข้าศึกเห็นปานนน้ี ดังน้ีแล้ว จ�ำเดิมแต่น้ันมา ไม่ยอมให้มารดาถูกต้องตนด้วยมือ ถ้ามารดาถูกต้องเด็กน้ัน เด็กนั้นก็คร�่ำครวญร้องไห้ ต่อมาย่าคนเดียวประคับประคองเขา เม่ือเด็กนั้น เจริญวัยขึ้น ปู่จึงถามเขาว่า หลานเอ๋ย เพราะเหตุใด เจ้าจึงไม่ยอมให้มารดา จับต้องตวั ด้วยมอื เดก็ ตอบวา่ นนั่ ไมใ่ ชม่ ารดาของผม นนั่ เป็นศัตรขู องผม ดังน้ี แล้ว เล่าพฤติการณ์ท้ังส้ินให้ปู่ฟัง ปู่กอดเขาแล้วร้องไห้ พลางกล่าวว่า มาเถิด หลานเอย๋ จะอยู่ไปทำ� ไมในบา้ นน้นั ดงั นีแ้ ล้ว พาเขาออกไปแลว้ ได้ไปส่วู ัดแหง่ หนึ่ง ทงั้ ๒ บวชอยใู่ นวัดนัน้ ภายหลงั ไดบ้ รรลพุ ระอรหตั ผล„ ”ไฟคือราคะย่อมเผาผลาญบุคคลผู้ลุอ�ำนาจ ให้ถึงความเสื่อม ย่อยยับ จากคุณความดีที่จะพึงไดพ้ งึ ถึง คนผูล้ ุอำ� นาจราคะ ประพฤติในกามคอื เปน็ ชกู้ ับ เมียเขา ต้องทนทุกข์ในมหานรก หรือเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานดังพระพุทธภาษิต ในพระไตรปิฎก เลม่ ที่ ๒๓ หน้า ๒๕๒ วา่ ”กาเมสมุ จิ ฺฉาจาโร ภกิ ฺขเว อาเสวิโต ภาวิโต พหุลีกโต นิรยสํวตฺตนิโก ติรจฺฉานโยนิสํวตฺตนิโก ปิตฺติวิสยสํวตฺตนิโก เปน็ ตน้ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทัง้ หลาย การประพฤติผิดในกาม (เปน็ ชู้กับเมียเขา) อันบุคคลเสพจนคุ้นแล้ว เจริญแล้ว ท�ำให้มากแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก

143 เป็นเหตุให้เกิดในก�ำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เป็นเหตุให้เกิดในวิสัยแห่งเปรต เศษวิบาก ของกาเมสมุ จิ ฉาจาร บนั ดาลให้ผปู้ ระพฤตเิ กดิ เปน็ มนษุ ย์มีศัตรมู าก อน่ึงผู้ประพฤติผิดในกาม ต้องข้ึนต้นงิ้วเหล็กหนามยาว ๑๖ องคุลี อกี ดว้ ย ดังพระบาลใี นพระไตรปฎิ ก เล่มท่ี ๒๘ หน้า ๔๔ ว่า อโยมยา สิมพฺ ลโิ ย โสฬสงฺคลุ กิ ณฏฺ กา อภุ โต อภิลมฺพนตฺ ิ ทุคฺคํ เวตตฺ รณึ นทึ แปลวา่ ยงั มตี ้นงิ้วแล้วไปดว้ ยเหล็ก มีหนามยาว ๑๖ องคลุ ี กิง่ ทงั้ หลาย ของต้นง้วิ เหลา่ นนั้ หอ้ ยคลมุ แม่น�้ำเวตตรณนี รก ซ่ึงไปยากทงั้ สองฟาก เต อจฺจมิ นฺโต ติฏฺ นตฺ ิ อคคฺ กิ ฺขนธฺ า ว อารกา อาทติ ตฺ า ชาตเวเทน อทุ ฺธํ โยชนมุคคฺ ตา ฝูงสัตว์นรกมีกายสูงโยชน์หนึ่ง ลุกโพลงเร่าร้อนด้วยไฟ แล้วยืนอยู่ ประหนึ่งกองไฟ ต้งั อยู่แตท่ ่ไี กล เอเต ปชฺชนฺติ นริ เย ตตฺเต ติขณิ ํ กณฏฺ เก นาริโย จ อตจิ ารณิ ิโย นรา จ ปรทารคู หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามี หรือชายที่เป็นชู้กับภริยาผู้อื่นเหล่าน้ี ต้อง ตกนรกขุมนี้ คือขึน้ ตน้ ง้วิ เหลก็ อันเร่าร้อน มหี นามคมแขง็ เต ปตนตฺ ิ อโธกฺขนธฺ า วิวตตฺ า วิหตา ปถุ ุ สยนฺติ วนิ ิวทิ ฺธงฺคา ทฆี ํ ชคฺคนตฺ ิ สพพฺ ทา สัตว์นรกเหล่านั้น ถูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธ ก็กล้ิงเอาศีรษะ กลับตกลงมาเป็นอันมาก มีกายถูกทิ่มแทง ก็ลงนอนตื่นอยู่ ตลอดคืนเน่ินนาน

144 ตโต รตยฺ า ววิ เสน มหตึ ปพพฺ ตปู มํ โลหกมุ ฺภึ ปวชฺชนฺติ ตตตฺ ํ อคฺคสิ มูทกํ คร้ันกาลล่วงแต่น้ันมา นายนิรยบาลให้สัตว์นรกน้ันเข้าไปสู่โลหกุมภี (หม้อเหล็ก) อันใหญ่เปรยี บดว้ ยภูเขา มนี �้ำเสมอดว้ ยไฟอนั ร้อน เอวํ ทิวา จ รตโฺ ต จ ทสุ ฺสีลา โมหปารุตา อนุโภนฺติ สกํ กมฺม ํ ปพุ เฺ พ ทุกกฺ ฏมตตฺ มโน คนทุศีล (คือผิดศีลข้อที่ ๓) ถูกความหลงปกปิด ย่อมเสวยผลกรรม ของตนทตี่ นท�ำไวแ้ ตป่ างก่อน ตลอดวันตลอดคืนอย่างนี้... ตามพระบาลีน้ี ความคิดของบุคคลบางคน ที่จะพยายามโค่นต้นงิ้วใน นรกด้วยขวานน้ัน เป็นอันล้มไป เพราะต้นงิ้วในนรกน้ันเป็นงิ้วเหล็ก มิใช่งิ้วไม้ ดงั ทเ่ี ข้าใจกนั จงึ ไมม่ ีวันทจ่ี ะโค่นไดเ้ ลย (๒) โทสัคคิ ไฟคอื โทสะ โทสะ คือความประทุษร้ายโกรธเคืองอยู่ภายใน เป็นเหตุให้ท�ำลาย ล้างผลาญผู้อ่ืน พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า โทสะนั้นมีโทษมาก ร้อนเหมือนไฟ บุคคลผู้ตกอยู่ในอ�ำนาจของโทสะ ถูกโทสะครอบง�ำจิตแล้ว ย่อมเร่าร้อนใจ ประพฤติช่วั ดว้ ยกายวาจาใจ ครน้ั ประพฤตชิ ่ัวดว้ ยกายวาจาใจแล้ว เบื้องหน้าแต่ ทำ� ลายกายตายไปแล้ว ยอ่ มเข้าถงึ อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะฉะนนั้ ไฟคอื โทสะ จึงควรละเว้นเสีย ไม่ควรเสพ ในข้อท่ีว่า บุคคลผู้ถูกโทสะครอบง�ำแล้ว ย่อมประพฤติชั่วด้วยกายวาจา ใจนั้น พึงเห็นเช่นบุคคลผู้ท�ำลายล้างผลาญกันเพราะโทสะเป็นเหตุ ดังอุทาหรณ์ ที่ท่านแสดงไวใ้ นคัมภีรอ์ รรถกถาชาดก ภาค ๓ หน้า ๒๕๘ วา่

145 ”ในอดตี กาล ในกรงุ พาราณสี ยังมีพระราชพระนามว่า กติ วาสะ พระองค์ มีพระราชโอรส พระนามว่า ทุฏฐุกุมาร เป็นอุปราช แต่ในเวลาที่พระราชโอรส ประสูติ พวกโหรผ้ทู ำ� นายลักษณะ ทำ� นายไว้วา่ ขอเดชะ พระราชโอรสน้ี ไม่ไดน้ �ำ้ ควรด่ืม จักสิ้นพระชนม์ ฝ่ายพระราชารับส่ังให้สร้างสระโบกขรณี ไว้ที่ประตู พระนครทัง้ ๔ แห่ง และในทีต่ ่าง ๆ ภายในพระนคร เพราะทรงกลัวพระราชโอรส น้ันไม่ได้น�้ำควรด่ืมแล้วจะส้ินพระชนม์ รับส่ังให้ท�ำปะร�ำในท่ีท้ังหลาย มีทาง ส่แี พรง่ เป็นตน้ ให้ต้งั ภาชนะน้�ำควรดมื่ ไว้ทกุ แห่ง„ ”ภายหลังวันหน่ึง อุปราช เสด็จไปสู่พระราชอุทยานแต่เช้าตรู่ ทรงเห็น พระปัจเจกพุทธะในระหว่างทาง ฝ่ายมหาชนเห็นพระปัจเจกพุทธะแล้วก็นมัสการ สรรเสริญพระปัจเจกพุทธะน้ัน และประคองอัญชลีแด่พระปัจเจกพุทธะนั้น อุปราชนั้นกร้ิวว่า คนเหล่าน้ีไปกับเรา พากันไหว้ สรรเสริญ ประคองอัญชลีแก่ พระสมณะโลน้ น้ี ดังนแ้ี ล้ว เสดจ็ ลงจากชา้ งรับบาตรจากมอื พระปจั เจกพุทธะแลว้ ทิง้ ลงบนพ้นื ดนิ เอาพระบาทย่ำ� เสยี พรอ้ มทิ้งภัตตาหาร ”พระปัจเจกพุทธะ แลดูพระพักตร์ของอุปราชนั้น ด้วยด�ำริว่า สัตว์น้ี ฉิบหายแล้วหนอ ล�ำดบั น้ัน อุปราชนัน้ ดำ� รัสว่า สมณะ ข้าพเจา้ เปน็ พระราชโอรส ของพระเจ้ากิตวาสะ โดยช่ือว่า ทุฏฐกุ ุมาร ทา่ นโกรธเรา ลมื ตาดูอยู่ จกั ท�ำอะไร แก่เราได้ พระปัจเจกพุทธะเป็นผู้ขาดภัตตาหาร ไปสู่เง้ือมช่ือนันทมูลกะ โดย ทางอากาศ„ ขณะน้ันเอง บาปกรรมปรากฏแก่อุปราชแล้ว ท้าวเธอมีความเร่าร้อนใน สรีระเกิดข้ึน ด้วยทรงรู้สึกว่า ”ร้อน„ ล้มลง ณ ท่ีนั้นเอง น้�ำควรด่ืมมีประมาณ เท่าใด น�้ำน้ันท้ังหมดขาดแล้ว แม้เหมืองก็แห้งแล้ว ท้าวเธอไม่ได้น�้ำควรดื่ม ส้ินพระชนม์ในทันทีน้ันทีเดียว แล้วไปเกิดในอเวจีมหานรก อุปราชน้ันเป็นพาล อันโทสะประทุษร้ายแล้ว โกรธในบุคคลไม่ควรโกรธย่อมประสบทุกข์อย่างใหญ่ เช่นน้„ี

146 บุคคลผู้ลุอ�ำนาจแก่โทสะอาจฆ่ามารดาบิดาของตนได้ ซึ่งเป็นอนันตริย- กรรมบาปหนักที่สุด อาจเบียดเบียน หรือฆ่าบรรพชิตผู้ส�ำรวมได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ เดือดร้อนในปัจจุบันและไหม้อยู่ในนรกตลอดกาลนาน ดังที่มีพระบาลีแสดงไว้ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ หน้า ๔๐ ว่า ”ชนเหล่าใด กล่าวล่วงเกินบรรพชิต ผู้ประพฤติชอบผู้ส�ำรวมมีตปธรรม ด้วยวาจาหยาบคาย ชนเหล่าน้ัน ไม่มี ความเจริญ ไหม้อยู่ในนรก สัตว์เหล่าน้ัน คร้ันตัวถูกไฟไหม้ท้ังข้างนอกข้างใน เป็นนิตย์ หาประตูออกจากนรก ว่ิงไปข้างประตูด้านหน้า กลับมาประตูด้านหลัง วิง่ ไปประตดู า้ นซา้ ย กลับมาประตดู า้ นขวา ไปถงึ ประตูใด ๆ ประตูน้ัน ๆ กป็ ิดเสยี สัตว์นรกนั้นก็ยกแขนคร่�ำครวญร้องไห้ ทนทุกข์ไม่ใช่น้อย นับด้วยพันปีเป็น อันมาก„ (๓) โมหคั คิ ไฟคือโมหะ โมหะ คือ ความหลง ได้แก่ความที่ใจมืดมิด ไม่เห็นผิดชอบช่ัวดี หรือ เห็นผดิ ตรงกันขา้ มจากความจรงิ เชน่ เหน็ ชวั่ เป็นดี เห็นดเี ปน็ ช่วั เห็นทกุ ขเ์ ป็นสขุ เห็นบญุ เป็นของนา่ กลัว เหน็ บาปเป็นของน่ารัก อย่างทว่ี ่า เห็นกงจกั รเปน็ ดอกบัว โมหะนั้น มีโทษมาก ร้อนเหมือนไฟ บุคคลผู้ตกอยู่ในอ�ำนาจ ถูกโมหะครอบง�ำ จิตแล้ว ย่อมประพฤติช่ัวด้วยกายวาจาใจ คร้ันประพฤติช่ัวด้วยกายวาจาใจ เบื้องหน้าแต่ท�ำลายกายตายไปย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้ถูก โมหะครอบง�ำแล้วท�ำชั่วน้ัน พึงเห็นเช่นผู้ฆ่าเด็กในครรภ์เป็นต้น เพราะโมหะ ซง่ึ จะตอ้ งเสวยผลบาป ทนทุกข์ในนรก ดงั ท่ที ่านแสดงไวใ้ นพระไตรปิฎก เลม่ ท่ี ๒๘ หน้า ๔๔ วา่ ขุรธารมนุกฺกมฺม ติกฺขํ ทูรภสิ มฺภวํ ปตนฺติ คพภฺ ปาตินโิ ย ทคุ ฺคํ เวตฺตรณึ นทึ แปลว่า พวกหญิงที่ท�ำครรภ์ให้ตกไป (คือฆ่าเด็กในครรภ์ ไม่ว่าโดย วิธีใด ๆ) ย่อมก้าวข้ึนสู่ที่คมแข็ง เหมือนคมมีดโกน ถูกนายนิรยบาลเอา

147 มีดโกนใหญ่ อันคม เชือดเฉือนเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว ตกลงไปยัง เวตตรณีนทีนรก ดังนี้ ผู้ที่ท�ำลายเด็กในครรภ์ จะต้องพากันไปลงนรกขุมนี้ ฉะนั้น ผู้ท่ีนิยมฆ่าเด็กในครรภ์ โดยความสมัครใจท�ำ หรือโดยความจ�ำเป็น บังคบั จะพึงระงับยับย้งั สงั วรไวบ้ ้าง พระพทุ ธเจ้าทรงเลา่ ว่าเคยตกนรกมาแลว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ หน้า ๔๗๒ วา่ พระพุทธเจา้ ตรัสเล่าบพุ พกรรม ของพระองค์ แก่ภิกษุท้ังหลายว่า ”คร้ังหน่ึง ในอดีตชาติ เราเคยเกิดเป็นนักเลง ชือ่ ปนุ าลิ ได้กล่าวรา้ ย ใสค่ วามพระปจั เจกพุทธะพระนามวา่ สุรภี ผู้มไิ ดป้ ระทษุ ร้าย ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราต้องท่องเท่ียวไปในนรกตลอดกาลนาน เสวย ทุกขเวทนาหลายพันปี ในชาติสุดท้ายน้ี ถูกนางสุนทรีปริพาชิกาใส่ความ ด้วย เรอ่ื งท่ไี มเ่ ปน็ จริง เพราะเศษแหง่ กรรมน้ัน„ พระพทุ ธเจ้าทรงยืนยนั ว่านรกมจี ริง พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ หน้า ๑๙๗ ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะ ของนรก ยืนยันแก่ภิกษุท้ังหลายว่า นรกมีจริง ไว้ดังน้ีว่า ”โส โข ปน ภิกฺขเว มหานิรโย จตกุ ณโฺ ณ จตุทฺทวาโร วภิ ตฺโต ภาคโส มโิ ต อโยปาการปรยิ นโฺ ต อยสา ปฏกิ ุชชฺ โิ ต ตสสฺ อโยมยา ภมู ิ ชลิตา เตชสา ยุตา สมนตฺ า โยชนสต ํ ผริตวฺ า ติฏฺติ สพฺพทา เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นรกใหญ่นั้นแล มี ๔ มุม มี ๔ ประตู แบ่งเป็นประตู มีทางเข้าออกเป็นส่วน มีก�ำแพงเหล็กก้ันรอบ อันเหล็ก ปกปิดฟากพ้ืนของนรกใหญ่นั้น แล้วไปด้วยเหล็กโพลงด้วยไฟประกอบไปด้วย ความร้อน เปลวไฟแผ่ไปทั่วที่ ๑๐๐ โยชน์ ต้ังอยู่ทุกเมื่อ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ ท้ังหลาย เราไม่ได้ฟังเล่าเร่ืองนรกใหญ่น้ันจากสมณะหรือพราหมณ์ผู้อ่ืนมา จึง

148 กล่าวอย่างน้ี แต่เราได้ทราบเอง ได้เห็นเอง ได้รู้แจ้งนรกใหญ่น้ันมาด้วยตนเอง จงึ กลา่ วอย่างน้ี„ เพราะฉะน้ัน ไฟคอื โมหะ จงึ ควรละ ควรเว้นเสยี ไม่ควรเสพ ไฟคอื ราคะ ไฟคอื โทสะ ไฟคือโมหะ ทั้ง ๓ กองน้ี เผาผลาญคณุ ความดี ท�ำให้บุคคลพินาศย่อยยับส้ินดี มีนรกเป็นที่ไปในภายหน้า ดังพรรณนามา จึง จัดวา่ เป็นไฟประลยั กัลปภ์ ายใน จงึ ควรดบั เสยี ดว้ ยธรรมะ ไฟคือราคะ ดับด้วยอสุภสัญญา พิจารณาร่างกายตนและคนอื่นให้เห็น เป็นของไม่สวยงาม ตามความเป็นจริง บรรเทาความมัวเมาด้วยอ�ำนาจราคะให้ หมดส้ินไป ไฟคือโทสะ ดับด้วยเมตตา ความปรารถนาดี หวังดี มองผู้อื่นใน แง่ดี บรรเทาความโกรธ ประทุษร้ายต่อผู้อ่ืน ด้วยอ�ำนาจโทสะ ไฟคือโมหะ ดับด้วยปัญญา ความรอบรู้ตามความเป็นจริง เป็นเคร่ืองบรรเทาความมืดด้วย อำ� นาจโมหะใหห้ มดส้ินไป (๔) อาหเุ นยยคั คิ ไฟคือมารดาบดิ า มารดาบิดา เป็นผู้ให้ก�ำเนิด ให้ชีวิต ให้เลือดเนื้อ ให้ความสุข ให้การ ศึกษา ให้ค�ำแนะน�ำส่ังสอน ให้ทรัพย์แก่บุตรธิดา จึงช่ือว่า มีอุปการะคุณแก่ บุตรธิดามาก สุดที่จะสรรหาค�ำใด ๆ มาพรรณนาให้สิ้นได้ พระพุทธเจ้าจึงทรง ยกยอ่ งมารดาบดิ าว่า ก. เป็นพระพรหมของบตุ ร ข. เป็นเทวดาคนแรกของบตุ ร ค. เป็นอาจารย์คนแรกของบุตร ง. เปน็ ผู้ควรรับเครอ่ื งสกั การะของบุตร มหาสมุทร ท้ังลึก ทั้งกว้าง ทั้งใหญ่ ก็ยังไม่เท่าพระคุณของมารดาบิดา มารดาบิดามีอุปการะคุณแก่บุตรธิดามากเห็นปานน้ี จึงชื่อว่าเป็นไฟ ควรท่ีบุตร ธิดาจะพึงสักการะเคารพ นับถือบูชา บ�ำเรอให้ดี ถ้านับถือบูชาดี ก็มีคุณอนันต์