Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือ ๑๐๐ปีชาตกาล พระศรีสุทธิวงศ์ (วัดบวรมงคล)

หนังสือ ๑๐๐ปีชาตกาล พระศรีสุทธิวงศ์ (วัดบวรมงคล)

Description: หนังสือ ๑๐๐ ปีชาตกาล พระศรีสุทธิวงศ์ (วัดบวรมงคล)

Search

Read the Text Version

พมิ พเ์ ปน็ อนสุ รณ์เน่อื งในงานบ�ำเพญ็ กุศลทักษิณานปุ ระทาน ในวาระครบ ๑๐๐ ปีชาตกาล พระศรีวิสุทธวิ งศ์ (สาย ตลุ โย ป.ธ. ๙) อดตี เลขาธกิ ารคณะธรรมยตุ รูปท่ี ๔ อดีตผู้ชว่ ยเจา้ อาวาสวัดบวรมงคลราชวรวหิ าร และผกู้ ่อตัง้ โรงเรยี นวดั บวรมงคล วันที่ ๒๓-๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

พิมพเ์ ป็นอนสุ รณเ์ นือ่ งในงานบำ� เพญ็ กุศลทักษณิ านปุ ระทาน ในวาระครบ ๑๐๐ ปชี าตกาล พระศรวี สิ ทุ ธวิ งศ์ (สาย ตลุ โย ป.ธ. ๙) ประธานที่ปรกึ ษา พระราชวราจารย์ (วิวัฒน์ จณิ ณธมฺโม) เจา้ อาวาสวัดบวรมงคลราชวรวหิ าร ที่ปรกึ ษา พระครอู รรคปัญญาภรณ์ (นาค อคฺคปญฺโ) พระญาณเวที (มนสั คมภฺ รี ปญโฺ ) พระครูปลดั สมเดช ชุตนิ ฺธโร พระครูวฒุ ธิ รรมโกศล (วรี ะ ธมฺมญฺญ)ู พระครูปลดั ประดษิ ฐ์ อติพโล พระมหาชดั คณเชฏโฺ  กองบรรณาธกิ าร พระมหา ดร.ธีรชยั ปุ ชีโว พระมหาพงษ์พสิ ิฏฐ์ านวโร พระมหาส�ำรวย จิตตฺ สวํ โร พระมหาพิรัฐ ภรู ิปญโฺ  พระมหาทวสี ขุ อภิสโุ ข พระมหาบุญเรอื ง โสมปุ โ พระวเิ ชียร กิตฺติวณฺโณ พระมหาไพทนู ตสิ ฺสวโํ ส พระนาคเสน นาคเสโน พระบอย จติ ฺตสทุ โฺ ธ พระครูสมุหธ์ นนิ ธร อภิ าโณ พระจกั กฤษณ์ ชาคโร ข้อมลู พระมหาสมศักด์ิ ธมฺมวฑฒฺ โน ภาพ พระครปู ลดั เกษมศกั ด์ิ สิริธมฺโม จดั พิมพโ์ ดย วัดบวรมงคลราชวรวหิ าร พิมพค์ รงั้ ท่ี ๑ เดอื นมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จ�ำนวนพมิ พ์ ๓,๐๐๐ เลม่ พิมพท์ ่ี สาละพมิ พการ ๙/๖๐๙ ตำ� บลกระท่มุ ลม้ อำ� เภอสามพราน จงั หวัดนครปฐม โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๙-๒๔๕๒, ๐๖๑-๒๓๒-๕๙๒๘ email: [email protected]



ค�ำน�ำ วันที่ ๒๓-๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นวันครบ ๑๐๐ ปีชาตกาล พระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย ตุลโย ป.ธ. ๙) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล ผู้ก่อต้ังโรงเรียนวัดบวรมงคลราชวรวิหาร และอดีตเลขาธิการคณะธรรมยุต คณะสงฆ์วัดบวรมงคลราชวรวิหาร คณะศิษยานุศิษย์ มีพระราชวราจารย์ (วิวัฒน์ จิณฺณธมฺโม) เจ้าอาวาส เป็นประธาน ได้มาปรารภถึงภารกิจท่ี พระศรีวิสุทธิวงศ์ ได้กระท�ำบ�ำเพ็ญด้วยความเสียสละ ท้ังในฐานะผู้ช่วย เจ้าอาวาส และเลขาธิการคณะธรรมยุต ซ่ึงในอดีตท่ีผ่านมาท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างเต็มก�ำลังความสามารถ ทั้งในฐานะเป็นครูบาอาจารย์ ท้ังในฐานะเป็น หลักให้ได้เกาะอิงพิงอาศัย เป็นหลักกายหลักใจที่มั่นคง ทั้งในฐานะเป็น พระผู้ใหญ่ที่มีทั้งพระเดชพระคุณ แผ่พระเดชให้เกิดความอบอุ่น แผ่พระคุณ ให้เกดิ ความผาสกุ รม่ เยน็ เปน็ นกั บริหาร เป็นนกั การศึกษาท่ฝี ากลายถ่ายรอยไว้ เปน็ แนวทาง เพ่ือใหอ้ นชุ นรุ่นหลงั ไดก้ ้าวยา่ ง อ้างองิ และดำ� เนนิ ตามตลอดมา อาศัยเหตุน้ี คณะสงฆ์วัดบวรมงคลราชวรวิหาร โดยมีพระราชวราจารย์ เจ้าอาวาส เป็นประธาน และคณะศิษยานุศิษย์ผู้มีความเคารพนอบนบนับถือ บูชาในพระศรีวสิ ทุ ธวิ งศ์ (สาย ตุลโย ป.ธ. ๙) ได้พจิ ารณาเห็นวา่ เปน็ กาลพเิ ศษ ควรท่ีจะจัดงานบ�ำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานอุทิศถวายเป็นการสนองคุณ และ ประกาศเกียรตคิ ณุ ให้แผก่ วา้ งไกลไพศาลยิง่ ขึ้น ในโอกาสนที้ างวดั จึงได้รวบรวม บทความ บทกวี ข้อคดิ คำ� สอน และธรรมเทศนาต่าง ๆ อนั เปน็ ผลงานของท่าน มาพิมพ์รวมเล่ม โดยใช้ช่ือว่าสายอนุสรณ์ ๑๐๐ ปีชาตกาล พระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย ตุลโย ป.ธ. ๙) เพ่ือเปน็ อนุสรณ์ร�ำลกึ ถึงทา่ น

ความดีงามใด ๆ อันเกิดจากการท่ีทางวัดได้รวบรวมข้อคิด คติธรรม หลักค�ำสอนของพระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย ตุลโย) มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือ สายอนุสรณ์ ๑๐๐ ปชี าตกาล พระศรีวสิ ทุ ธวิ งศ์ (สาย ตุลโย ป.ธ. ๙) ในคร้ังนี้ เป็นประหน่ึงมวลบุปผชาติอันแสนสวยแสนหอม ท่ีตั้งใจเลือกสรร แล้ว น�ำมารวมเป็นช่อใส่แจกันส�ำหรับบูชาคุณงามความดีของพระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย ตลุ โย) ในวาระการบ�ำเพ็ญกุศลทกั ษิณานปุ ระทานครบ ๑๐๐ ปีแหง่ ชาตกาล ของท่าน ในวันที่ ๒๓-๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ด้วยความเคารพอย่าง หาท่ีสุดมไิ ด้ ในท้ายที่สุดนี้ ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านท่ีมีส่วนท�ำให้หนังสือนี้ส�ำเร็จ ขึน้ มาได้ ต้งั แตก่ ารช่วยเอ้อื เฟ้ือขอ้ มูล และการใหค้ ำ� แนะน�ำทเ่ี ป็นประโยชน์ หวังว่าการจัดพิมพ์หนังสือ ๑๐๐ ปีแห่งชาตกาล เพื่อเป็นธรรมบรรณาการ เน่ืองในวาระครบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของพระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย ตุลโย ป.ธ. ๙) ครั้งนี้จะอ�ำนวยประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่านได้รับบ้างตามสมควร ถ้าหากจะมี ข้อบกพร่อง หรือข้อผิดพลาดที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือจากอื่นใด ก็ตาม ทางวัดก็ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ขอน้อมรับข้อผิดพลาด และยินดี รับฟังค�ำชี้แนะที่เป็นประโยชน์จากท่านผู้รู้ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีข้ึน ในโอกาสตอ่ ไป วัดบวรมงคลราชวรวิหาร

สารบญั ประวัติ พระศรวี ิสทุ ธวิ งศ์ (สาย ตลุ โย ป.ธ. ๙) ๙ นพิ นธธ์ รรม ของพระศรวี สิ ทุ ธวิ งศ์ (สาย ตุลโย ป.ธ. ๙) • เคร่ืองยดึ เหนยี่ วใจ ๒๗ • อิติปโิ ส รตนมาลา แปล • จตรุ ารักขกถา ๓๕ • บันทกึ การบรรยายธรรม ๕๗ • พระพุทธเจา้ ทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา • ปาฐกถาของดีในพระไตรปิฎก ๖๗ ๗๗ ๙๑ ๑. เรอ่ื งความเกิดความตาย ๙๗ ๒. เรอ่ื งความอศั จรรยแ์ หง่ บุญ ๑๐๓ ๓. เรอื่ งแกป้ ริศนาธรรม ๑๐๗ • ดับไฟประลยั กัลป ์ • คุณประโยชน์ของการบวช ๑๒๓ • ธรรมะบ�ำบดั โรคใจ • ความฝันในคัมภรี พ์ ระพุทธศาสนา ๑๕๓ ๑๖๕ • การฆา่ ความโกรธ ๒๐๓ • พระพุทธศาสนาห้าพนั ปี ๒๒๗ ๒๓๕ ศรีสายประพันธ ์ ๒๔๗ ประวัติวัดบวรมงคลราชวรวหิ าร โดยสังเขป ๒๗๕

พระ สงฆ์คือหน่อเน้ือ นาบุญ ศรี ศักดิธรรมคุณ เทิดเกล้า วิ นัยนอบมโนสุน- ทรนิตย์ สุท ธิวงศ์ บวรเจ้า สืบไว้หวังเกษม ส าย เหมนฤมิต ไมตรี เพ่ือนเอย ตุ ริยางค์รองจีว พรอดพร้ิง ล หานย่านนที เย็นเท่า ศีลฤา โย นิโส ผิวท้ิง บห่อนพ้นมารไธย ฯ

ประวตั ิ พระศรีวสิ ทุ ธิวงศ์ (สาย ตลุ โย ป.ธ. ๙) อดีตเลขาธิการคณะธรรมยตุ รูปท่ี ๔ อดีตผชู้ ่วยเจ้าอาวาสวัดบวรมงคลราชวรวหิ าร และผ้กู ่อต้งั โรงเรียนวัดบวรมงคล





พระศรีวิสุทธิวงศ์ นามฉายา ตลุ โย นามเดมิ สาย นามสกลุ ปลีหะจินดา เกิดเม่ือวันเสาร์ เดือน ๔ ปีมะแม ตรงกับวันท่ี ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่ีบ้านต�ำบลตรอกด่านบางเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โยมบิดาชื่อ นายสุด ปลีหะจินดา โยมมารดาชื่อนางจีบ เป็นบุตรที่ ๓ แต่เป็นคนแรก ในฝา่ ยชาย เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้เล่าเรียนหนังสือไทยสอบได้ตามหลักสูตรเบ้ืองต้น น้าชายซึง่ บวชอย่เู ห็นว่าพระศรวี สิ ทุ ธิวงศ์ (สาย) มคี วามขยันหมนั่ เพยี รดี อยาก เล่าเรียนศึกษาให้มีวิชาความรู้ย่ิงขึ้น จึงได้น�ำตัวไปฝากเป็นศิษย์ในอุปถัมภ์ของ ท่านเจา้ คณุ พระสมุ งคลมนุ ี (ผิว) ครั้งยงั เปน็ เปรียญอย่วู ดั บรมนวิ าส เด็กชายสาย ได้เล่าเรยี นวชิ าภาษาไทยเพมิ่ เติมบา้ ง บาลไี วยากรณบ์ า้ ง ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ อายุ ได้ ๑๕ ปี กข็ อบรรพชาเป็นสามเณรอยู่วดั บรมนิวาสน้นั เมอ่ื วนั ที่ ๒ กรกฎาคม พระญาณรักขิต (ปิยธโร หรั่ง) เป็นพระอุปัชฌายะ สามเณรสายหรือพระศรี- วิสุทธิวงศ์ ได้ศึกษาวิชาทางพระพุทธศาสนาตามอุปนิสัยปัจจัยไม่ท้อถอย ท่าน เล่าสู่กันฟังอยู่บ่อย ๆ ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก (ทองค�ำ) วัดบรมนิวาส ครั้งเป็นเปรียญ เคยเป็นครูสอนบาลี แสดงให้เห็นว่า พระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย)

12 หนักในความกตญั ญกู ตเวทิตาธรรม น่าสรรเสริญ แท้ แล้วในปลายปีน้ันเอง เข้าสอบวิชาไวยากรณ์ ช้ันสูงสุดได้คะแนนเอก ทางส�ำนักเรียนวัด บรมนิวาสได้ให้ประกาศนียบัตรชมเชยเป็นส�ำคัญ เมื่อวนั ท่ี ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ปีเดยี วกนั เม่ือทางคณะธรรมยุตย้ายพระสุมงคลมุนี คร้ังยังเป็นเปรียญ ไปด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบวรมงคล (ลิงขบ) จังหวัดธนบุรี ตั้งแต่วันท่ี ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ สามเณรสาย ปลีหะจินดา ได้ติดตามมาอยู่เล่าเรียนด้วย และ ในปีน้ันเอง สามเณรสายสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๓ ประโยค ต่อจากนั้นก็พยายามเล่าเรียน พระปริยัติธรรมติดต่อกันมาจนได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค นักธรรมเอก แต่ยังเป็นสามเณร ท�ำใหว้ ัดบวรมงคลมเี ปรียญสอบได้ถึง ๗ ประโยค ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อน สามเณรสายสามารถ เล่าเรียนสอบได้เป็นรูปแรก นับเป็นประวัติการณ์ ของวดั ของส�ำนกั เรยี น ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ท่านได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ท่ีวัดบวรมงคล นน่ั เอง โดยทา่ นเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถร) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านพระสุมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อนึ่งในการอุปสมบท พระมหาสาย ตุลโย ป.ธ.๗ น.ธ.เอก ครั้งน้ี

13 ม.จ.หญิงศรีทะศาลัย เทวกุล ได้ทรงรับเป็นอุปัฏฐากเรื่อยมาตลอดท่ีมี พระชนม์อยู่ และเมื่อส้ินชีพิตักษัยแล้ว ม.ร.ว.มารุต เทวกุล ซ่ึงเป็นหลานได้ จดั ถวายนติ ยภัตตลอดมา เม่ือรัฐบาลได้สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ ที่อ�ำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร เสร็จแล้ว วันท่ี ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ อันเป็นวันชาติ ทางราชการ อาราธนาพระเถรานุเถระ ๒๔ รูปไปจ�ำพรรษาเป็นปฐมพรรษา ได้อาราธนา ขอพระมหาสาย ตุลโย ป.ธ.๗ ไปจ�ำพรรษาด้วยรูปหนึ่ง และเป็นการไป จำ� พรรษาท�ำวตั รปฏบิ ัติสนองพระเดชพระคุณ สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ (ตสิ สฺ เถร) สังฆนายก พระอุปัชฌายะ ซ่ึงได้ไปด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสครั้งนั้นด้วย ใน ระหว่างที่อยู่วัดพระศรีมหาธาตุ ก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ จนสอบได้ เปรียญธรรม ๘ ประโยค แล้วได้กลับมาจ�ำพรรษาอยู่ท่ีวัดบวรมงคลตามเดิม เมอื่ พ.ศ. ๒๔๘๙ และในปีน้ีเองเขา้ สอบประโยค ป.ธ.๙ ได้ ในคราวน้ี พระมหาสาย ตุลโย ถึงแม้ว่าจะมีภาระอยู่หลายด้านแล้วก็ตาม แต่ถึงกระน้ันยังพยายาม ปลีกเวลาช่วยท่านเจ้าอาวาสกระท�ำภารกิจอ่ืน ๆ ภายในวัดโดยทั่วไปด้วย เฉพาะอย่างย่ิงท�ำหน้าที่ครูอาจารย์ ท่านได้ช่วยให้พระเณรได้เล่าเรียนมีความรู้ สอบไล่ได้เป็นเปรียญและนักธรรมมากข้ึนนอกจากน้ี ทราบว่าท่านเป็นครูพิเศษ สอนภาษาบาลีที่ส�ำนักเรียนวัดนรนารถสุนทริการามบ้าง วัดบวรนิเวศวิหารบ้าง และเป็นกรรมการเจ้าหน้าท่ีแผนกต�ำราของมหามกุฏราชวิทยาลัย การงาน ในคณะธรรมยุต ท่านก็เอาใจใส่รับภารธุระเป็นอย่างดี จนได้รับแต่งตั้งเป็น เลขาธกิ ารคณะธรรมยุต ระหวา่ งปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๘ ด้วยเหตุท่ีพระมหาสาย ตุลโย ป.ธ.๙ มีความรู้ความสามารถในวิชาและ หน้าท่ี ท้ังฉลาดในการเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ต่อมา จึง ได้รับพระราชทานสมณศักด์ิต�ำแหน่งพระราชาคณะที่พระศรีวิสุทธิวงศ์ นับว่า ท่านเป็นผู้มีวาสนาดี เพราะแต่ก่อนน้ีต�ำแหน่งพระอมรโมลีกับต�ำแหน่ง พระศรีวิสุทธิวงศ์ เป็นต�ำแหน่งท่ีทรงเลือกพระราชทาน ตลอดระยะนี้ ท่านได้

14 พระศรีวิสุทธวิ งศ์ (สาย ตลุ โย) วดั บวรมงคล ถ่ายรูปหม่รู ว่ มกบั พระภกิ ษุพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั (ภูมิพโล ภกิ ฺข)ุ และพระมหาเถรานุเถระ ณ พระตำ� หนกั เพช็ ร วดั บวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๙๙ ช่วยเจ้าอาวาสด�ำเนินกิจการของวัดมากข้ึน โดยมีพระมหาเปล่ียน าณโิ ต เป็นคู่คิดร่วมด�ำเนินการต่าง ๆ ด้วย ผลส�ำเร็จที่ได้รับจากการปฏิบัติงานของ พระศรีวิสุทธิวงศ์ดังกล่าวน้ีคือ มีพระเณรมาอยู่เล่าเรียนสอบได้เป็นเปรียญ และนักธรรมมากกว่าแต่ก่อน ทั้งมีผู้เล่ือมใสบริจาคทุนทรัพย์บ�ำรุงเสนาสนะ ท�ำอาหารบิณฑบาต ช่วยให้เกิดความผาสุกสบายแก่พระเณรผู้เล่าเรียนศึกษา ธรรมวินัย เป็นทเ่ี กดิ ศรัทธาปสาทะแกพ่ ุทธบริษทั ย่ิงขึน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พระศรีวสิ ทุ ธวิ งศ์ ตุลโย ไดเ้ ป็นผชู้ ่วยเจา้ อาวาส และ พ.ศ. ๒๔๙๗ เจ้าอาวาสอาพาธจ�ำต้องพักรักษาตัว ทางคณะจึงแต่งต้ังให้ท�ำงาน แทนเจ้าอาวาส ได้เริ่มด�ำเนินการปรับปรุงวัดตามที่เห็นสมควร เน่ืองจากวัดน้ี เป็นวัดโบราณ และเสนาสนะก็ทรุดโทรมมาก การศึกษาพระปริยัติธรรมก็เกือบ

15 จะไม่มีนักเรียนสอบ เพราะพระเณรมีน้อย ในตอนต้น ท่านได้เริ่มจัดด้าน การศึกษาก่อน โดยเปิดรับพระภิกษุสามเณรผู้ใคร่ต่อการศึกษาจากต่างจังหวัด แล้วเปิดท�ำการสอนทั้งแผนกนักธรรมและบาลีข้ึน ปรากฏว่าในระยะสองสามปี มีนักเรียนเข้าสอบแผนกนักธรรมและบาลีได้เป็นจ�ำนวนไม่น้อย และในปัจจุบัน (ขณะนนั้ ) มีนักเรียนเข้าสอบ ป.ธ. ๗-๘ ก็มี ทง้ั นี้นบั วา่ เปน็ ผลทีท่ ่านไดพ้ ยายาม เสียสละท้ังก�ำลังกายก�ำลังทรัพย์ เพื่อกอบกู้ฐานะของวัดแต่ต้นน่ันเอง เมื่อรับ พระเณรไว้มากเช่นน้ีก็ท�ำให้เป็นห่วงใยในความเป็นอยู่ของพระเณรมากข้ึนด้วย ท่านจึงได้ร่วมมือกับคุณพระช�ำนาญอนุศาสน์ อดีตอธิบดีกรมการศาสนา บอกบุญชักชวนท่านผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์ต้ังนิธิ หาดอกผลบ�ำรุงพระเณร มิให้ได้รับความล�ำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ได้มีผู้บริจาคตั้งแต่ต้นจนถึง ขณะนั้น รวมเป็นเงินประมาณ ๖๙,๓๐๐ บาท ซ่ึงไวยาวัจกรได้น�ำฝากมูลนิธิ มหามกุฏราชวิทยาลัยจัดผลประโยชน์ และได้ผู้มีศรัทธาจัดอาหารมาแจก เป็นประจ�ำวันบ้าง ส�ำหรับท่านเองก็ได้สละจ่ายแจกสบงจีวรและบริขารอ่ืน ๆ อนุเคราะห์แก่พระเณรที่ขาดแคลนอยู่เสมอ เป็นเหตุให้พระเณรได้รับความสุข สบายเพราะท่านมิใช่น้อย นอกจากน้ีแล้ว ทา่ นยงั พจิ ารณาเหน็ ว่า วัดทีจ่ ะเจรญิ ได้ ก็ต้องอาศัยการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ประกอบกับท่านเห็นเด็ก จ�ำนวนมากในย่านวัดบวรมงคล ไม่ค่อยได้รับการศึกษาถึงชั้นสูง จึงอยากจะ ช่วยให้เด็กเหล่าน้ีมีท่ีเรียนช้ันสูงใกล้ ๆ บ้านของตนเอง เม่ือตกลงใจเช่นนี้แล้ว จึงได้ติดต่อกับกระทรวงศึกษาธิการ เพ่ือขอร้องให้มาสร้างโรงเรียนมัธยมสามัญ ศึกษาขน้ึ ทวี่ ัดบวรมงคล โดยทางวดั จะให้อาศยั ที่ธรณสี งฆ์ ๑๐ ไร่ โดยจะไมค่ ิด ค่าเช่าแต่ประการใด ทางกระทรวงศึกษาธิการเห็นชอบด้วย จึงได้อนุมัติเงิน ใหจ้ ำ� นวน ๔๕๐,๐๐๐ บาท สรา้ งเปน็ อาคารไม้ และเปดิ ท�ำการสอนช้ันมัธยม ๑ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยให้ช่ือว่า โรงเรียนมัธยมวัดบวรมงคล ทั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์แก่กุลบุตรเยาวชนของชาติ ด้วยความดี ความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าท่ีต่าง ๆ ดังกล่าว ในกาลต่อมา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านจึง ได้รบั พระราชทานเลื่อนสมณศักดเ์ิ ปน็ พระราชาคณะชัน้ ราชในนามเดมิ

16 นอกจากจัดการศึกษาแล้ว พระศรีวิสุทธิวงศ์ยังมุ่งท่ีจะจัดวัดให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยสมเป็นพระอารามหลวง จึงท�ำการล้างป่าช้า เม่ือวันท่ี ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้เงินเหลือจาการนี้ ๗,๐๐๐ บาท ได้น�ำเข้าสมทบทุน พระอุโบสถ และได้ติดต่อกับท่านจอมพลผิน ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรสมัยน้ัน ขอให้ส่งเรือชุดชลประทานมาช่วยขุดดินในล�ำน�้ำหน้าวัด ถมสระใหญ่หน้าพระอุโบสถ เม่ือเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และได้ปรับปรุง ท่าเรือจ้างข้ามแม่น�้ำหน้าวัด ต้ังกรรมการจัดการเปิดประมูลข้ึน และได้มีผู้เช่า อย่างสงู เดือนละ ๑,๔๖๕ บาท ซึง่ เดมิ มรี ายได้เดอื นละ ๑๐๐ บาท อนึ่งในปีนั้น ท่านยังได้ติดต่อกับกระทรวงวัฒนธรรม ขอเงินงบประมาณเพื่อปฏิสังขรณ์ พระอโุ บสถซ่ึงชำ� รดุ ทรดุ โทรมมาก รัฐบาลไดอ้ นุมัตเิ งินงบประมาณให้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท และในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้ ๑๐,๐๐๐ บาท ฝากอยู่ท่ีกรมการศาสนา และ

17 ทางวัดได้เบิกมาท�ำการซอ่ มพระอุโบสถ ส่วนการปฏสิ ังขรณ์อื่น ๆ ท่านได้บอกบุญ ผู้มีศรัทธาท�ำปฏิสังขรณ์พระระเบียง ๑๐๘ รอบวิหารคต รอบพระอุโบสถ ซึ่ง ช�ำรุดทรุดโทรม และเทพน้ื ปนู ซเี มนตร์ อบวหิ ารคต ไดม้ ีผ้ศู รัทธาบริจาคทนุ ทรพั ย์ ช่วยเหลือในการน้ีประมาณ ๒๓,๙๘๕ บาท และถนนซีเมนต์หน้าพระอุโบสถ และข้างพระอุโบสถก็ได้รับการซ่อมในคราวนี้รวมสามสาย โดยทุนซ่ึงมีผู้ศรัทธา บริจาคในการปฏิสังขรณ์อีกประมาณ ๓,๕๗๕ บาท และได้ซ่อมแซมเสนาสนะ ท่ีช�ำรุดทรุดโทรม เพื่อให้พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัยศึกษาเล่าเรียนและบ�ำเพ็ญ ศาสนกิจ รวม ๑๐ หลัง คิดเป็นเงินค่าซ่อมแซมประมาณ ๕,๐๐๐ บาทเศษ อน่ึง ด้วยอัธยาศัยฝักใฝ่ในการบุญการกุศล แม้ท่านจะอยู่ในสมณเพศมีหน้าที่ เป็นผู้รับ แต่ในเม่ือแสดงธรรมอบรมสั่งสอนพุทธบริษัท ได้ปัจจัยไทยธรรมมา ก็สละท�ำประโยชนแ์ กว่ ดั เสมอ มไิ ดส้ ะสม

18 พระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย ตุลโย) ได้เข้ามาสู่วงการพระศาสนาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี จนถึงวันมรณภาพ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนส�ำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยคอันเป็นชั้นสูงสุด ในสมัยท่ีเป็นนักเรียนเป็นที่กล่าวกันท่ัว ๆ ไปว่า ท่านมีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ขยันท่องจ�ำเป็นที่หน่ึง ซึ่งหาผู้จับได้ยาก เม่ือส�ำเร็จการศึกษาชั้นสูงแล้วมิได้อยู่เฉย ๆ ได้ช่วยการงานของวัดในด้านเป็น ครูบ้าง ในทางคณะบา้ ง ส่วนงานพเิ ศษกเ็ ปน็ ทปี่ รึกษาคณะกรรมการอบรม สว่ น งานพิเศษก็เป็นท่ีปรึกษาคณะกรรมการอบรมศีลธรรมข้าราชการและประชาชน (ก.อ.ช.) ซ่ึงเลิกไปแล้ว และเป็นกรรมการหัวหน้ากองเผยแผ่ของ ก.ศ.ม. ด้วย นอกจากน้ันยังได้ค้นคว้าต�ำรับต�ำราพระไตรปิฎก จนเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาทาง พระพุทธศาสนา สามารถแสดงพระธรรมเทศนาและปาฐกถาธรรม เป็นที่นิยม ของสาธุชนทั่วไป โดยปกติท่านเป็นผู้ไม่ถือตัว มีสีลาจารวัตรเป็นอันดี เข้าไหน เข้าได้ เป็นคนตรงไปตรงมา มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีเมตตาอารีต่อ เพ่ือนสหธรรมิกและบุคคลท่ัวไป ทั้งเป็นผู้ไม่ถือโกรธต่อใคร ๆ จะเห็นได้เม่ือ ท�ำงานแทนเจ้าอาวาส ในขณะที่ท่านเจ้าอาวาสอาพาธ ต้องพักรักษาตัว ท่าน ตกลงใจที่จะปรับปรุงวัดท�ำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม มีอาณาบริเวณ สมกับเป็นพระอารามหลวง แต่การจัดท�ำน้ันไปขัดประโยชน์ของบุคคลบางคนเข้า จึงเกิดเป็นศัตรูขึ้นท้ังทางตรงและทางอ้อม แต่ท่านก็มิได้โกรธตอบแต่ประการใด

19 ท่านมีปกติย้ิมรับเสมอและมีขันติธรรมเป็นท่ีต้ังอย่างดี ครั้งหน่ึงมีเด็กนักเรียน มธั ยมวัดบวรมงคลมาเลา่ ใหท้ ่านฟงั ดว้ ยความหวงั ดวี ่า เพื่อนเดก็ นักเรียนมธั ยม พดู วา่ ”แม่เขาบอกวา่ ไหวเ้ จ้าคณุ ศรวี ิสทุ ธิวงศ์ ไหวห้ มาเสยี ดกี วา่ „ ทา่ นยิม้ น้อย ๆ กับเด็กน้อยคนนั้นแล้วบอกว่า ”ก็ดีแล้วที่เขามีพระไว้ให้ไหว้ กลับไปไหว้หมา ก็ช่วยไม่ได้„ ท่ีพระศรีวิสุทธิวงศ์ถูกมนุษย์ใจบาปยิงด้วยอาวุธปืนถึง อกาลมรณภาพเมือ่ วันท่ี ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ (เวลาประมาณ ๑๙.๕๕ นาที) นั้น ก็เพราะได้ท�ำงานให้แก่วัด แก่หมู่คณะ และพระศาสนานั่นเอง การสูญเสีย พระศรีวิสุทธิวงศ์คร้ังนั้น เป็นเหตุให้พระภิกษุสามเณรแห่งวัดบวรมงคล และ ญาติโยมผู้เลื่อมใสเคารพนับถือในท่าน ต้องเศร้าโศกอย่างสุดซึ้ง ชีวิตของ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (สาย ตุลโย) ซึ่งเป็นศรีศักด์ิแห่งพระศาสนา ได้มาสะดุด หยุดลงเม่ืออายุได้เพียง ๓๘ ปีกับ ๒๔ วัน พรรษาที่ ๑๘ นับว่าน่าเสียดาย เปน็ ทส่ี ุด

หนงั สือธรรมะเพียงบางส่วน ของพระศรวี สิ ทุ ธิวงศ์



ผ้กู อ่ ตั้งโรงเรยี นวดั บวรมงคล





สายอนุสรณ์ ๑๐๐ ปีชาตกาล ของ พระศรวี สิ ทุ ธิวงศ์ (สาย ตุลโย ป.ธ. ๙)

26

27 เครื่องยึดเหนย่ี วใจ โลกคือชุมนุมชน ที่รวมกันอยู่เป็นปึกแผ่นนี้ ประกอบด้วยมนุษย์ หลายชาตหิ ลายชั้น หลายเพศ หลายวัย หลายหมูค่ ณะ ซ่ึงล้วนแต่มีอธั ยาศยั จิตใจแตกต่างกันออกไป ตามพ้ืนเพเดมิ และการอบรมของตน ๆ คนทีเ่ กดิ มา ในโลกจะอยู่โดดเด่ียวตามล�ำพังมิได้เลย จำ� ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือกัน ดว้ ยเหตนุ ี้ การคุมกนั ไว้ไดเ้ ปน็ ปกึ แผ่นกลมเกลยี วกนั ไม่แตกแยกกนั จึงเป็น สิ่งทีจ่ ำ� ต้องปรารถนาทกุ กาล สมัย เพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือกัน ดงั กลา่ วแล้ว การที่จะคุมกันไว้โดยเป็นปึกแผ่นถาวรตลอดไปนั้น จะต้องมีเคร่ือง ยึดเหน่ียวใจของชาวโลกน้ัน ๆ ให้สมัครสมานสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ช่วยกัน ท�ำหน้าที่ของตนให้เกิดผลดี เป็นความสุขความเจริญทั้งแก่ตน ท้ังแก่ส่วนรวม คือหมู่คณะและประเทศชาติ ตลอดถึงเพื่อนร่วมโลกด้วย บ้านเรือนท่ีสร้าง ข้นึ แล้ว จะคุมกนั อยไู่ ดต้ ลอดกาลนาน มีความทนทาน สามารถรับน�้ำหนัก และ เปน็ ที่พกั อาศยั ได้ กเ็ พราะมเี คร่ืองทัพพสัมภาระ เช่น เขม็ เสา รอด ข่อื แป จว่ั กระดาน และตะปู เป็นต้นยึดเหน่ียวกันไว้ จึงไม่ทรุดเอนเอียง หรือโค่นพังลง คงมีสภาพแข็งแรงฉันใด โลกท่ีอาศัยอยู่นี้ ก็ฉันนั้น จะคุมกันไว้ได้เป็นปึกแผ่น ไม่แตกแยกกัน มีสันติสุขราบร่ืน ก็เพราะมีเคร่ืองยึดเหน่ียวใจกันให้สมัครสมาน สามัคคีกลมเกลยี ว ช่วยเหลือกัน อนงึ่ เสาคอนกรตี จะม่ันคงแข็งแรงรับนำ้� หนัก

28 ได้ ก็เพราะมีวัตถุต่าง ๆ เช่นเหล็กหินปูนกรวดและทรายผสมกันถูกส่วน ยึดกันไว้ได้ฉันใด แม้โลกที่อยู่ร่วมกันน้ี จะม่ันคงถาวรเป็นปกติสุขตลอดไป ก็เพราะมเี ครือ่ งยดึ เหนยี่ วใจ ให้สมัครสมานสามคั คีกลมเกลียวกนั ฉะนนั้ เคร่ืองยดึ เหน่ยี วใจน้นั พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ๔ อย่าง คือ ๑. ทานํ การเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่กัน ๒. เปยฺยวชฺชํ การกล่าวถ้อยค�ำอ่อนหวานไพเราะจับใจ ๓. อตฺถจริยา การประพฤติเป็นประโยชน์แก่กัน ๔. สมานตฺตตา ความเป็นผู้ มตี นเสมอประพฤติสมฐานะ ไม่ถอื ตวั ๑. ทานํ การเอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่แก่กันน้ัน เป็นส่ิงส�ำคัญ จ�ำต้องปรารถนา เพราะเป็นเครื่องยึดเหน่ียวใจไว้ มิให้แตกแยกเหินห่างกัน คนในโลกน้ี ล้วน ต้องการความสุขสบายด้วยกันทั้งน้ัน และความสุขสบายนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วย ความเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารีต่อกัน ด้วยการอุดหนุนจุนเจือกันตามฐานะ อันควร เช่นมารดาบิดา ก็เอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่แก่บุตรธิดา ด้วยการเล้ียงดูและให้ การศึกษา บุตรธิดาก็เอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่แก่มารดาบิดา ด้วยการเชื่อฟังตั้งอยู่ ในโอวาท และเลี้ยงดูท่านเม่ือคราวชรา ครูอาจารย์ก็เอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่แก่ศิษย์ ด้วยการอบรมสั่งสอนศิลปวิทยาให้ และด้วยการประพฤติดีเป็นตัวอย่างแก่ ศิษย์ ศิษย์ก็เอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่แก่ครูอาจารย์ ด้วยการอุปัฏฐาก ด้วยความเคารพ เช่ือฟังค�ำสั่งสอน และประพฤติตนให้เป็นคนดี มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ผู้มีทรัพย์ก็เอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ขัดสน หรือแก่สาธารณชน ด้วยการบริจาคทรัพย์ สร้างถนนหนทางส�ำหรับได้อาศัยไปมาบ้าง สร้างโรงเรียนส�ำหรับกุลบุตรกุลธิดา ได้อาศัยศึกษา เป็นการให้แสงสว่างแก่ชีวิตของเยาวชน ผู้ซ่ึงจะเป็นก�ำลังของ ประเทศชาติในอนาคตบ้าง สร้างโรงพยาบาลส�ำหรับบ�ำบัดโรคแก่คนเจ็บไข้บ้าง สร้างบ่อน้�ำส�ำหรับเป็นที่อาศัยอาบและดื่มกินบ้าง ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาแก่ผู้สัญจร ไปมาและแก่ฝูงนกกาได้เกาะอาศัยบ้าง เมื่อมีการเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่กันเช่นน้ี ชีวิต ของเพ่ือนมนุษย์ทั้งหลาย จึงจะเป็นไปด้วยความราบร่ืน มีความสุข เป็นเหตุให้ ผูกไมตรี ยึดเหน่ียวใจให้รักใคร่สนิทสนมกลมเกลียว สามัคคีปรองดองเป็น

29 น�้ำหน่ึงใจเดียวกัน และเป็นเหตุให้ระลึกถึงตน ด้วยความซาบซ้ึงในอุปการะคุณ การเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่กันมีคุณเช่นน้ี จึงเป็นท่ีนิยมของปวงชน ผู้ใหญ่ก็เอ้ือเฟื้อ เผื่อแผ่แก่ผู้น้อย เช่นให้ของหรือรางวัลแก่ผู้น้อยตามกาลสมัย ผู้น้อยก็เอื้อเฟื้อ เผ่ือแผ่แก่ผู้ใหญ่ตามโอกาสเช่นได้ส่ิงของที่สมควรหรือแปลกประหลาด แล้ว น�ำมาให้ผู้ใหญ่เป็นการสนองคุณหรือบูชาคุณ ธรรมดาเคร่ืองยนต์กลไก จะเดิน ได้คล่องดี ต้องมีน�้ำมันหยอดฉันใด การใช้คน ต้องมีสินน�้ำใจ เป็นเคร่ือง บ�ำเหน็จความชอบฉันน้ัน โดยนัยตรงกันข้าม ผู้มีความตระหนี่เป็นนิสัย มัก มีใจแคบเห่ียวแห้ง เหมือนฝนแล้งในฤดูคิมหันต์ ยากท่ีจะผูกพันควบคุมบริษัท บริวารไว้ได้ ฝ่ายคนที่มีปัญญาเห็นกาลไกล ย่อมไม่นิยมความตระหน่ี เพราะ เหตุน้ีจึงควรเอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่เจือจานกันตามสมควร คนท่ีถึงพร้อมด้วยการ เอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่ มีใจเมตตาอารี ย่อมเป็นที่นิยมนับถือของคนท่ัวไป ทั้งสามารถ ยึดเหน่ียวน�้ำใจบริษัทบริวารไว้ได้ ช่ือว่าท�ำตนและคนอื่นให้ได้รับความสุขใน ปัจจุบันทันตาเห็น เพราะฉะนั้น การเอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่แก่กัน จึงเป็นเคร่ือง ยดึ เหนี่ยวใจประการหนึง่ ๒. เปยฺยวชฺชํ การกล่าวถ้อยค�ำอ่อนหวานไพเราะจับใจ ก็เป็นส่ิงส�ำคัญ จ�ำต้องปรารถนาเพราะเป็นเครื่องยึดเหน่ียวใจไว้ มิให้แตกแยกเหินห่างกัน ถ้อยค�ำท่ีไพเราะอ่อนหวานนั้น เม่ือได้ฟังแล้ว ก็ซาบซ้ึงจับจิต ชวนให้ติดใจ ไม่แสลงหู เหมือนผู้ดื่มน�้ำผ้ึงแล้ว ย่อมซาบซ้ึงช่ืนใจ ด้วยเหตุนี้ ทุกคนจึงชอบ ถ้อยค�ำอ่อนหวานไพเราะจับใจ ไม่ชอบค�ำผรุสวาทหยาบคายเสียดสี เหมือนคน ไม่ชอบกินของเป็นพิษข่ืนขมเบื่อเมา การพูดย่อมมีทั้งคุณและโทษ คือถ้าพูดดี จับใจ ก็ได้ประโยชน์ ท�ำให้ผู้ฟังเกิดความนิยมนับถือผู้พูด เช่นโทณพราหมณ์ พดู หวา่ นลอ้ มโน้มนอ้ มใจใหก้ ษัตริยแ์ ละเจ้านครนน้ั ๆ สงบระงับสงครามปรองดอง กัน แบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าโดยสันติวิธี ถ้าพูดช่ัวแนมเหน็บ ให้เขาเจ็บใจก็ไร้ประโยชน์ กลับมีโทษมหันต์ เหมือนมีดสองคม ถ้ารู้จักใช้ก็ ได้ประโยชน์ ถ้าไม่รู้จักใช้ก็ให้โทษคือบาดมือ ค�ำพูดน้ัน แม้จะเป็นเพียงลม ๆ ก็จริงแล แต่สามารถบังคับสิ่งต่าง ๆ ให้เคล่ือนไหวได้ ท้ังยังจะเสกสรรปั้นให้ดี

30 ให้ร้ายก็ได้ การส่ังสอนตักเตือนผู้อ่ืน การถามข่าวคราวเรื่องราวต่าง ๆ การ ขอร้องให้เขาช่วยท�ำธุระให้ หรือการขอสิ่งของตลอดถึงพูดเรื่องอ่ืนใดกะใคร ๆ เหล่าน้ี ถ้าพูดดีไพเราะเหมาะแก่เหตุการณ์ ก็บันดาลให้ส�ำเร็จประโยชน์ สมความมุ่งหมาย ถา้ พูดหยาบคาย กอ็ าจกลายเป็นโทษไม่สำ� เร็จประโยชน์ หรือ แม้ส�ำเร็จ ก็ส�ำเร็จโดยไม่ดี คนท่ีพูดจาหยาบคาย ย่อมได้รับความเดือดร้อน ด้วยตนเอง เหมอื นสนิมทเี่ กดิ แตเ่ หลก็ ยอ่ มกดั เหล็กนั้นเอง การพูดดีออ่ นหวาน จับใจ เหมือนดอกไม้มีกล่ินหอม ธรรมดากลิ่นหอมของดอกไม้ ย่อมเชิดชู ดอกและล�ำต้นให้มีค่า และสามารถดึงดูดใจคนและหมู่ภมรให้มานิยมชมช่ืน ไม่ขาดสาย คนพูดดีอ่อนหวานไพเราะจับใจ ย่อมดึงดูดให้คนนิยมนับถือ เป็น ที่รักใคร่ชอบใจของคนทั่วไปตลอดกาลนาน ”อันอ้อยตาลหวานล้ินแล้วส้ินซาก แต่ลมปากหวานหมู ิรูห้ าย„ และความเสยี หายทีจ่ ะเกดิ จากค�ำพดู นั้น เปน็ อันไม่มี เพราะเหตุน้ี การกล่าวถ้อยค�ำอ่อนหวานไพเราะจับใจ จึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ ประการหน่งึ ๓. อตฺถจริยา การประพฤติเป็นประโยชน์ต่อกัน ก็เป็นสิ่งส�ำคัญจ�ำต้อง ปรารถนา เพราะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจมิให้เหินห่างแตกแยกกัน คนท่ีเกิดมา ย่อมมีกรณียสัมพันธ์เก่ียวเนื่องถึงกัน ต้ังต้นแต่ภายในครอบครัว ตลอดถึง ประเทศชาติ ดุจสายโซ่ เม่ือมีสุขทุกข์เกิดขึ้น ก็กระทบกระเทือนท่ัวถึงกันหมด จะปลีกตัว สุขคนเดียว ทุกข์คนเดียวหาได้ไม่ อาศัยเหตุนี้ จึงต้องประพฤติ เป็นประโยชน์ต่อกัน เช่น เห็นไฟจะไหม้บ้านผู้อื่น ช่วยดับเสียเห็นของผู้อ่ืนตก หรือลืมไว้ ก็ช่วยเก็บไว้ให้ ทราบว่าของหายก็ขวนขวายหา ทราบว่าเพื่อนบ้าน เรือนเคียง หรือคนใกล้ชิดรู้จักกันเจ็บไข้ ก็ช่วยรักษาพยาบาล หรือตามหมอมา หายาให้ หรือไปเยี่ยม การแนะวิชาความรู้ให้ การแนะทางหาทรัพย์ ให้การ อนุเคราะห์แนะน�ำในสิ่งท่ีเขาต้องการจะทราบ การช่วยระงับค�ำติฉินนินทา การ ช่วยระงับข่าวอกุศลของบ้านเมือง การช่วยขนย้ายส่ิงของ ๆ ผู้ประสบอัคคีภัย ให้พ้นไฟ และไม่ฉวยโอกาสหรือยักยอกเอาไปเสีย การช่วยตักเตือนพูดปลอบ ให้หายเศร้าในคราวโศก การพูดให้เบาใจในคราวหนักใจ เหล่านี้จัดเป็น

31 อตฺถจริยา ประพฤติเป็นประโยชน์ต่อกันทั้งสิ้น คนท่ีอยู่ร่วมกัน ประพฤติเป็น ประโยชน์ต่อกันได้มากเพียงไร บ้านเมืองและประชาชน พลโลก ก็จะมีสันติสุข มากเพียงน้ัน และจะเป็นเหตุให้ผูกไมตรียึดเหนี่ยวใจให้รักใคร่สนิทสนม กลมเกลียวสามัคคีปรองดองเป็นน้�ำหนึ่งใจเดียวกัน แต่ถ้าต่างคนไม่ประพฤติ เป็นประโยชน์ต่อกัน คอยเอารัดเอาเปรียบกัน ในท่ีสุดก็ต้องล�ำบากด้วยกัน เพราะฉะน้ัน การประพฤติเป็นประโยชน์ต่อกัน จึงเป็นเครื่องยึดเหน่ียวใจ ประการหนึง่ ๔. สมานตฺตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอ ประพฤติสมฐานะ ไม่ถือตัวน้ัน ก็เป็นส่ิงส�ำคัญจ�ำต้องปรารถนา เพราะเป็นเคร่ืองยึดเหน่ียวใจ มิให้แตกแยก เหินห่างกัน คนที่เกิดมาทุกคน ล้วนมีต�ำแหน่งติดตัวมาด้วยกันท้ังน้ันคือเป็น บุตรธดิ า เป็นสามีภรรยา เป็นมารดาบดิ า เปน็ พน่ี ้องร่วมทอ้ งตามเครือญาตนิ นั้ ๆ ต่างโดยเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อยและมีต�ำแหน่งหน้าที่การงานน้ัน ๆ อีกด้วย บุคคลผู้มี ต�ำแหน่งดังกล่าวแล้วน้ี ถ้าประพฤติสมฐานะ สมต�ำแหน่งที่เป็นอยู่ จึงจะดูงาม เชน่ ผใู้ หญ่ก็ประพฤตอิ ย่างผู้ใหญ่ ผนู้ อ้ ยกป็ ระพฤตอิ ยา่ งผนู้ ้อย แตถ่ ้าประพฤติ ไม่เหมาะสมฐานะ ไมส่ มต�ำแหน่งท่เี ป็นอยู่ ย่อมไมง่ ามเลย เชน่ ผใู้ หญ่ประพฤติ อย่างเด็ก เป็นเด็กแต่วางท่าเป็นผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่ในต�ำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ถ้า ประพฤติตนไม่สมชั้นสมภูมิ ก็ไม่มีผู้ย�ำเกรงเคารพนับถือ และกลับถูกติเตียน อีกเหมือนเครื่องบูชาที่ต้ังไม่ถูกท่ี และเครื่องแต่งตัวที่แต่งผิดที่ เช่น เส้ือสวมไว้ ข้างล่าง กางเกงใส่ไว้ข้างบน ก็สับสนไม่น่าดู ไม่น่าชมเลย การประพฤติตน ต่�ำกว่าคนอ่ืน เช่นคนอื่นมีศีลธรรม มีระเบียบวินัยดีกันหมด ตนคนเดียว ปลอ่ ยใหต้ ่ำ� ต้อยไรศ้ ีลธรรม ประพฤติตนตำ่� อย่างนี้ ก็ไม่งามเชน่ เดยี วกัน อนง่ึ การวางตนเสมอ ไมถ่ อื ตวั ไม่ลมื ตัวนน้ั คือ แมต้ นจะมีวิชาความรู้ สูงหรือมากเพียงไร หรือมียศศักด์ิมีทรัพย์สมบัติมากเพียงไร ก็ไม่เห่อเหิมว่า เป็นผู้สูงศักด์ิจนเกินไป แล้วถือเป็นเหตุดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น การวางตน เสมอ ไม่ถือตัว ไม่ลืมตัว เป็นเครื่องลดละการเหยียดหยามดูถูกเพื่อนมนุษย์

ด้วยกัน คนที่สุภาพ ไม่ถือตัวจัด ย่อมเป็นที่เคารพรักใคร่นับถือของคนท่ัวไป เป็นเหตุให้ผูกไมตรี มีความสนิทสนมกลมเกลียว สามัคคี ปรองดองเป็น น้ำ� หน่งึ ใจเดยี วกนั แตถ่ า้ ทกุ คนขาด สมานตตฺ ตา ความวางตนเสมอ ไม่ถือตวั นี้ แล้ว ก็จะดูหมิ่นเหยียดหยามกัน อันเป็นเหตุให้แตกสามัคคี มองดูหน้ากัน ไม่สนิท เพราะฉะน้ัน การวางตนเสมอ ไม่ถือตัว ไม่ลืมตัวนี้ จึงเป็นเคร่ือง ยดึ เหนย่ี วใจประการหน่งึ การเออื้ เฟ้ือเผื่อแผ่แก่กนั ๑ การกลา่ วถ้อยค�ำอ่อนหวานไพเราะจบั ใจ ๑ การประพฤติเปน็ ประโยชน์แก่กนั ๑ ความเป็นผู้มีตนเสมอ ไม่ถือตวั ไมล่ มื ตัว ๑ มีอยใู่ นบุคคลใด บคุ คลน้ันกเ็ ปน็ ท่ีนิยมรักใครน่ ับถอื ของคนท่วั ไป ยดึ เหนย่ี วใจ ผู้อื่นไว้ได้ มีอยู่ในหมู่คณะและประเทศชาติใด หมู่คณะและประเทศชาติน้ัน ก็เจริญรุ่งเรืองมีความสงบสุขราบร่ืนร่มเย็น เป็นทางให้สามัคคี สนิทสนม กลมเกลียวเป็นน้�ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะวิวาทแตกสามัคคีกัน ยึดเหน่ียว หมู่คณะประเทศชาตใิ หเ้ ปน็ ปกึ แผ่นแน่นหนา ถาวรม่ันคงตลอดกาลนาน



34

35 พระอติ ปิ ิโส รตนมาลา แปล คุณฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เขียนเร่ืองสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และ น�ำอติ ิปโิ ส รตนมาลา ลงเผยแพรใ่ นหนังสอื พิมพต์ �ำรวจ ไดอ้ าราธนาให้ชว่ ยแปล เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ไม่รู้ภาษาบาลีจักได้รู้ความ และเพิ่มสัทธาปสาทะของ ผู้อ่านยิ่งข้ึน ในฐานะที่ท่านผู้น้ี เป็นที่คุ้นเคยชอบพออัธยาศัย จึงได้รับอาราธนา และแปลสนองความประสงค์. พระอิติปิโส รตนมาลา ท่านผู้ประพันธ์ แต่งเป็นภาษามคธ เป็นคาถา ปัฐยาวัตฉันท์ ยกบทพระพุทธคุณ ๙ บท มาแยกออกเป็นอักษรแต่ละอักษร แล้วเลือกหาอักษรเช่นนั้นเป็นต้นบท พรรณนาสรรเสริญพระพุทธคุณ ได้ ใจความถูกต้องตามความจริง อยา่ งบท อิ กพ็ ยายามเลอื กหาอกั ษรทข่ี ้ึนตน้ ดว้ ย อิ เช่น อิฏฺโ สพฺพญฺญุตญฺาณํ อิจฺฉนฺโต อาสวกฺขยํ อิฏฺํ ธมฺมํ อนุปฺปตฺโต อิทฺธิมนฺตํ นมามิหํ ดังน้ีเป็นต้น อักษรละคาถา จนจบพระพุทธคุณ รวม ๕๖ คาถา นับว่าท่านผู้ประพันธ์ ๆ ได้จับใจ ไพเราะซาบซึ้ง พร้อมท้ังอรรถะและ พยญั ชนะ แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง ท่านผู้ประพันธ์ มิได้ประกาศนามไว้ให้อนุชน รุ่นหลังทราบ แต่ถ้าจะสันนิษฐานแล้ว ก็สันนิษฐานว่า เรื่องน้ี ถ้าเกิดข้ึนในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์แล้ว เข้าใจว่าคงเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ

36 พระจอมเกล้าฯ เพราะพระองคท์ รงเช่ียวชาญในทางน้ี และได้ทรงพระราชนิพนธ์ คาถาภาษามคธไว้มาก หลักฐานท่ีพอจะยกมาเทียบเคียง ก็มี เช่น นโมการ- อัฏฐกคาถา (เรียกย่อว่า นโมแปดบท มีค�ำ นโม ขึ้นต้นบท ทุกบท ใจความ ไพเราะดมี าก) ในหนงั สือสวดมนต์ฉบับหลวง แต่ค�ำสันนิษฐานนี้ อาจไมถ่ ูกกไ็ ด้ เพราะในสมัยก่อนกว่าน้ีข้ึนไป ท่านที่เช่ียวชาญในทางประพันธ์ภาษามคธแต่งได้ ไพเราะก็มีไม่น้อย จะอย่างไรก็ตาม ผู้แปลขอประกาศชมเชยความอุตสาหะ พยายามและความสามารถของท่านผู้ประพันธ์คาถา พระอิติปิโส รตนมาลานี้ ไว้ ณ ทน่ี ด้ี ้วย การแปล กจ็ ะยกข้ึน ๑ คาถา แล้วแปลสลับกันไป จนกวา่ จะจบ ๕๖ คาถา ดังนี้ คาถาท่ี ๑ (อิ) อฏิ โฺ  สพพฺ ญฺญุตาณํ อิจฺฉนฺโต อาสวกฺขยํ อิฏฺ ํ ธมฺมํ อนุปปฺ ตโฺ ต อทิ ฺธมิ นฺตํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงปรารถนาแล้ว ซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมเป็นที่ส้ินไปแห่งอาสวะ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซ่ึงพระพุทธเจ้า ผมู้ ฤี ทธ์ิพระองคน์ ้ัน.

37 คาถาท่ี ๒ (ติ) ตณิ โฺ ณ โย วฎฺฎทุกฺขมหฺ า ตณิ ณฺ ํ โลกานมุตตฺ โม ติสฺโส ภูมึ อติกฺกนโฺ ต ตณิ ฺณํ โอฆํ นมามิหํ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏสงสารแล้ว ทรงสูงสุด กว่าโลกทง้ั สาม (คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก) ทรงก้าวลว่ งเสียซึง่ ภูมิ ๓ (คือ กามาวจรภูมิ ช้ันแห่งจิตของสัตว์ผู้ท่องเท่ียวอยู่ในกาม ๑ รูปาวจรภูมิ ชั้นแห่งจิตของสัตว์ผู้ท่องเท่ียวอยู่ในรูปฌาน ๑ อรูปาวจรภูมิ ช้ันแห่งจิตของ สัตว์ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปฌาน ๑ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ข้าม โอฆะได้แลว้ พระองค์นัน้ . คาถาที่ ๓ (ป)ิ ปิโย เทวมนสุ สฺ านํ ปิโย พรฺ หฺมานมตุ ฺตโม ปโิ ย นาคสุปณณฺ านํ ปณิ นิ ทฺ ฺรยิ ํ นมามหิ ํ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ท้ังหลาย ทรงสูงสุดเป็นท่ีรักของพรหมท้ังหลาย ทรงเป็นท่ีรักของนาคและครุฑท้ังหลาย ขา้ พเจ้านอบนอ้ มซง่ึ พระพุทธเจา้ ผูม้ พี ระอนิ ทรียอ์ ิ่มเอบิ พระองค์นน้ั . คาถาท่ี ๔ (โส) โสกา วริ ตจติ ฺโต โย โสภมาโน สเทวเก โสกปฺปตฺเต ปโมเทนโฺ ต โสภวนณฺ ํ นมามิหํ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงมีพระทัยปราศจากความโศก ทรงงาม ในโลก พร้อมท้ังเทวโลก ทรงยังบรรดาสัตว์ผู้ถึงความโศกให้บันเทิงได้ ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมซึง่ พระพุทธเจ้า ผมู้ ีพระฉวีวรรณอันงามพระองคน์ ้นั

38 คาถาท่ี ๕ (ภ) ภชชฺ ติ า เยน สทฺธมมฺ า ภคคฺ ปาเปน ตาทินา ภเย สตเฺ ต ปหาเสนโฺ ต ภยสนตฺ ํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงก�ำจัดบาปเสียแล้ว ผู้คงท่ี ทรงแจก พระสัทธรรมท้ังหลาย พระองค์ใด ทรงปลอบสัตว์ท้ังหลายผู้กลัว ให้รื่นเริงอยู่ ข้าพเจ้านอบนอ้ มพระพุทธเจ้า ผูม้ ภี ยั อนั สงบแลว้ พระองคน์ ัน้ ฯ คาถาท่ี ๖ (ค) คมิโต เยน สทฺธมโฺ ม คมาปโิ ต สเทวกํ คจฺฉมาโน สิวํ รมฺม ํ คยฺยธมฺมํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงถึงพระสัทธรรมแล้ว ทรงยังสัตว์โลก พร้อมทั้งเทวดาให้ถึงแล้ว ทรงบรรลุพระนิพพาน เป็นที่เกษมน่ายินดี ข้าพเจ้า ขอนอบนอ้ มพระพทุ ธเจา้ ผ้ตู รสั รธู้ รรม พระองค์นัน้ . คาถาท่ี ๗ (วา) วานา นกิ ขฺ มิ โย ตณฺหา วาจํ ภาสติ อุตตฺ มํ วานนพิ ฺพานปนตถฺ าย วายมนฺตํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงออกไปแล้วจากตัณหาเคร่ืองร้อยรัด ตรัสพระวาจาอันอุดม เพื่อประโยชน์แก่อันดับตัณหาเคร่ืองร้อยรัด ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระพทุ ธเจา้ ผเู้ พยี รอยู่ พระองคน์ ั้น

39 คาถาท่ี ๘ (อ) อนสสฺ าสกสตฺตาน ํ อสฺสาสํ เทติ โย ชิโน อนนฺตคุณสมฺปนโฺ น อนตฺ คามึ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าผู้ทรงชนะมาร พระองค์ใด ประทานความโปร่งใจให้แก่ สัตว์ท้ังหลายผู้ไม่โปร่งใจ ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณไม่มีที่สิ้นสุด ข้าพเจ้า นอบนอ้ มพระพทุ ธเจ้าผถู้ งึ ทสี่ ดุ แห่งธรรมพระองค์นนั้ คาถาท่ี ๙ (ร) รโต นพิ ฺพานสมฺปตฺเต รโต โส สตฺตโมจเน รมมฺ าเปตธี สตเฺ ต โย รณจาคํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยินดีแล้ว ในอันถึงพร้อมซ่ึงพระนิพพาน ทรงยินดีแล้วในอันปลดเปล้ืองสัตว์ให้พ้นทุกข์ ทรงยังสัตว์ท้ังหลายให้ยินดี ในพระนิพพานนี้ ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจา้ ผทู้ รงกำ� จัดข้าศกึ พระองคน์ ั้น. คาถาท่ี ๑๐ (ห)ํ หญฺ เต ปาปเก ธมเฺ ม หํสาเปติ ปรํ ชนํ หสํ มานํ มหาวรี ํ หนฺตปาปํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงก�ำจัดบาปธรรมทั้งหลาย ทรงยังชนอ่ืน ให้ร่ืนเริง (ในอันก�ำจัดบาปธรรม) ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้รื่นเริง เป็น พระมหาวีระ (กล้าใหญ)่ กำ� จัดบาปธรรมได้แล้ว พระองค์นัน้ .

40 คาถาท่ี ๑๑ (สม)ฺ สขํ ตาสขํ เต ธมฺเม สมมฺ า เทเสสิ ปาณินํ สสํ ารํ สํวิฆาเฏต ิ สสมพฺ ทุ ฺธ๑ํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงแล้วโดยชอบ ซึ่งธรรมทั้งหลาย ทั้งที่ เป็นสังขตะ (อันถูกปัจจัยปรุงแต่ง) และอสังขตะ (อันมิได้ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) แก่สัตว์ทั้งหลาย ทรงขจัดเสียซ่ึงทุกข์ในสงสาร ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผตู้ รัสรู้ชอบเองพระองคน์ ้ัน คาถาท่ี ๑๒ (มา) มาตาว ปาลิโต สตฺเต มานถทฺเธ ปมททฺ ิโน มานโิ ต เทวสงฺเฆห ิ มานฆาฏํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงเป็นดุจมารดาเล้ียงสัตว์ทั้งหลาย ทรง ย่�ำยีบุคคลผู้กระด้างด้วยมานะ อันหมู่แห่งเทวดานับถือแล้ว ข้าพเจ้านอบน้อม พระพุทธเจา้ ผู้ทรงขจัดมานะไดพ้ ระองค์น้ัน. คาถาท่ี ๑๓ (สมฺ) สญจฺ ยํ ปารมึ สมฺมา สญจฺ ติ ฺวา สขุ มตฺตโน สงฺขารานํ ขยํ กตฺวา สนตฺ คามึ นมามิหํ ฯ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรงสร้างพระบารมีโดยชอบ ส่ังสม ความสุขเพื่อพระองค์ กระท�ำซ่ึงธรรมอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งสังขาร ถึงพระนิพพาน อนั สงบระงับ. ๑ นา่ จะเป็น สมฺพุทฺธํ ตํ ฯ

41 คาถาที่ ๑๔ (พุทฺ) พชุ ฌฺ ิตวฺ า จตสุ จจฺ านิ พุชฌฺ าเปติ มหาชนํ พุชฌฺ าเปนตฺ ํ สิวํ มคฺค ํ พุทธฺ เสฏฺ ํ นมามหิ ํ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ แล้ว ยังมหาชนให้รู้อยู่ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด ทรงยังเวไนยชนให้รู้ทางอัน เกษมพระองคน์ น้ั คาถาท่ี ๑๕ (โธ) โธติ ราเค จ โทเส จ โธติ โมเห จ ปาณนิ ํ โธตาสวํ มหาวีรํ๒ โธตเกลฺ สํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงขจัดราคะ โทสะ และโมหะแห่งสัตว์ ทั้งหลาย ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้เป็นมหาวีระ ขจัดอาสวะ ขจัดกิเลส ไดแ้ ลว้ พระองค์น้นั . คาถาท่ี ๑๖ (วชิ )ฺ ววิ ิจฺเจว อสทฺธมฺมา วิจติ ฺวา ธมมฺ เทสนํ วิเวเก ติ จติ โฺ ต โย วทิ ิตนฺตํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด มีพระทัยตั้งอยู่แล้วในวิเวก สงัดแล้วจาก อสัทธรรม ร้อยกรองซึ่งพระธรรมเทศนา ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรง รแู้ ลว้ พระองค์นั้น. ๒ เปน็ มหาปุณฺณํ กม็ ี

42 คาถาที่ ๑๗ (ชา) ชาติธมฺโม ชราธมโฺ ม ชาติอนฺโต ปกาสิโต ชาตเิ สฏฺเน พทุ เฺ ธน ชาตโิ มกขฺ ํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้า ผู้มีพระชาติอันประเสริฐสุด พระองค์ใด ทรงประกาศ ชาติธรรม (ความเกิด) ชราธรรม (ความแก่) และที่สุดแห่งความเกิด (มรณะ) ข้าพเจา้ ขอนอบนอ้ มพระพทุ ธเจา้ ผู้ทรงพ้นแลว้ จากความเกิดพระองคน์ ัน้ . คาถาที่ ๑๘ (จ) จยเต ปุญญฺ สมฺภาเร จเยติ สุขสมปฺ ทํ จชนฺตํ ปาปกมฺมาน ิ จชาเปนตฺ ํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงสั่งสมอยู่ ซ่ึงบุญญสัมภาระ (เหตุอันเป็น บุญ) ทรงก่อสร้างความถึงพร้อมแห่งสุข ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรง สละบาปกรรมดว้ ยพระองค์เอง และสอนใหล้ ะบาปกรรมด้วยพระองคน์ น้ั . คาถาท่ี ๑๙ (ร) รมติ ํ เยน นพิ ฺพานํ รกฺขติ ํ โลกสมปฺ ทํ รชโทสาทิเกฺลเสห ิ รหติ ํ ตํ นมามิหํ ฯ พระพทุ ธเจา้ พระองคใ์ ด ทรงยินดีพระนิพพาน ทรงรักษาความถงึ พร้อม ในโลก ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเว้นแล้วจากกิเลสมีราคะและโทสะ เป็นต้นพระองค์น้ัน.

43 คาถาที่ ๒๐ (ณ) นมโิ ตเยว พรฺ หฺเมหิ นรเทเวหิ สพพฺ ทา นทนฺโต สหี นาทํ โย นทนตฺ ํ ตํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันมนษุ ย์ เทวดาและพรหมทง้ั หลาย นอบน้อม แล้วในกาลทุกเมือ่ บันลือสหี นาทอยู่ ขา้ พเจา้ นอบน้อมพระพทุ ธเจ้า ผทู้ รงบนั ลอื อยู่พระองค์นน้ั . คาถาที่ ๒๑ (สม)ฺ สงขฺ าเร ติวเิ ธ โลเก สญชฺ านาติ อนจิ ฺจโต สมมฺ านิพฺพานสมปฺ ตโฺ ต สมปฺ สสฺ นตฺ ํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงรู้ดี ซ่ึงสังขาร ๓ อย่าง โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ทรงบรรลุนิพพานโดยชอบแล้ว ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรง เห็นอยู่ดว้ ยดีพระองคน์ นั้ . คาถาท่ี ๒๒ (ปนฺ) ปกเต โพธสิ มฺภาเร ปสฏโฺ  โส สเทวเก ปญฺาย อสโม โหติ ปสนฺนํ ตํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้อันเขาสรรเสริญแล้วในโลก กับเทวโลก ในเพราะพระโพธิสมภารท่ีทรงบ�ำเพ็ญแล้ว ไม่มีผู้เทียมเท่า ด้วยพระปัญญา ขา้ พเจา้ นอบน้อมพระพทุ ธเจา้ ผ้ทู รงผ่องแผ้วแล้วพระองค์นนั้ .

44 คาถาที่ ๒๓ (โน) โน เทติ นริ ยํ คนตฺ ํ โย จ ปาปํ อการยิ โน สโม อตถฺ ิ ปญฺาย โนนธมมฺ ํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด (ทรงสอน) ไม่ให้สัตว์ไปนรก และทรงสอน ไม่ให้กระท�ำบาป ไม่มีผู้เทียมเท่าด้วยพระปัญญา ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผทู้ รงมธี รรมอันยิ่งพระองค์น้นั . คาถาท่ี ๒๔ (สุ) สุนทฺ โร วรรเู ปน สุสสฺ โร ธมมฺ ภาสเน สทุ ทุ ฺทสํ ทิสาเปติ สุคตนฺตํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจา้ พระองคใ์ ด ทรงงามดว้ ยรปู อนั ประเสรฐิ มีพระกระแสเสยี ง อันไพเราะ ในอันตรสั ธรรม ทรงสอนเวไนยใหเ้ ห็นธรรมทเ่ี ห็นได้ยากนัก ข้าพเจ้า นอบน้อม พระพทุ ธเจ้า ผูเ้ สด็จไปดีแลว้ พระองค์น้ัน. คาถา ๒๕ (ค) คจฉฺ นฺโต โลกยิ ํ ธมฺม ํ คจฺฉนโฺ ต อมตํ ปทํ คโต โส สตตฺ โมเจต ุํ คตญฺ าณํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงถึงอยู่ซ่ึงธรรมอันเป็นโลกิยะ ถึงอยู่ซ่ึงทาง อันไม่ตาย พระองค์เสด็จไปแล้วเพื่อปลดเปล้ืองสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ ข้าพเจ้า นอบน้อมพระพทุ ธเจา้ ผมู้ ีญาณอนั บรรลแุ ล้วพระองคน์ ้นั .

45 คาถา ๒๖ (โต) โตเสนโฺ ต วรธมฺเมน โตสฏฺ าเน สเิ ว วเร โตสํ อกาสิ ชนฺตูนํ โตลจิตฺตํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยังสัตว์ให้ยินดีอยู่ด้วยพระธรรมอันประเสริฐ ได้ทรงท�ำแล้วซ่ึงความยินดี ในที่ควรยินดี อันเกษม ประสริฐ แก่สัตว์ทั้งหลาย ขา้ พเจา้ นอบนอ้ มพระพุทธเจา้ ผู้มพี ระทยั เทย่ี งตรงดุจตราชง่ั พระองคน์ ้นั . คาถา ๒๗ (โล) โลเก ชหติ สมฺพทุ โฺ ธ โลกเสฏโฺ  คุณากโร โลเก สตเฺ ต ชหาเปต ิ โลภสนฺตํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ตรัสรู้เองแล้ว ทรงละความโลภท้ังหลาย ทรงเป็นผู้ประเสริฐในโลก เป็นบ่อเกิดแห่งคุณ ทรงสอนสัตว์ท้ังหลายให้ละ ความโลภทั้งหลาย ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรงระงับความโลภได้แล้ว พระองค์นัน้ คาถา ๒๘ (ก) กนฺโต โย สพพฺ สตตฺ านํ กตวฺ า ทุกฺขกขฺ ยํ ชิโน กเถนฺโต มธรุ ํ ธมฺม ํ กถาสณฺหํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงชนะมาร ล่วงกันดารไปแล้ว ทรงกระท�ำ ความสิ้นไปแห่งทุกข์ เพ่ือสัตว์ทั้งปวง ตรัสพระธรรมอันไพเราะ ข้าพเจ้า นอบน้อมพระพทุ ธเจ้า ผูม้ พี ระวาจาอนั ไพเราะพระองค์นนั้ .

46 คาถาท่ี ๒๙ (วิ) วินยํ โย ปกาเสต ิ วทิ ฺธํเสตฺวา ตโย ภเว วเิ สสญฺาณสมปฺ นโฺ น วิปฺปสนฺนํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงถงึ พรอ้ มดว้ ยพระญาณอนั วเิ ศษ ทรงก�ำจัด ภพท้งั ๓ (คอื กามภพ รปู ภพ อรปู ภพ) ทรงประกาศอุบายอนั จะนำ� ออก ข้าพเจา้ นอบน้อมพระพทุ ธเจ้า ผู้ทรงผ่องแผ้วแล้วพระองค์น้ัน. คาถาที่ ๓๐ (ทุ) ทูเส สตเฺ ต ปหาเสนฺโต ทูรฏฺ านํ ปกาเสติ ทรู ํ นพิ พฺ านมาคมฺม ทูสหานํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจา้ พระองคใ์ ด ทรงยังสตั ว์ผปู้ ระทษุ รา้ ยใหร้ ่นื เริงอยู่ ทรงอาศัย พระนิพพานอันไกล ทรงประกาศพระนิพพานอันอยู่ในท่ีไกล ข้าพเจ้านอบน้อม พระพทุ ธเจา้ ผู้ทรงละความประทุษร้ายพระองคน์ ้ัน. คาถาท่ี ๓๑ (อ) อนฺตํ ชาติชราทนี ํ อกาสิ ทปี ทุตตฺ โม อเนกุสฺสาหจติ เฺ ตน อสฺสาเสนฺตํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า ทรงท�ำท่ีสุด แห่งทุกข์ท้ังหลาย มีชาติและชราเป็นต้น ด้วยพระทัยอันเปี่ยมด้วยพระอุตสาหะ มาก ข้าพเจา้ นอบน้อมพระพุทธเจา้ ผทู้ รงยงั สรรพสตั วใ์ หโ้ ปร่งใจพระองค์น้นั .

47 คาถาท่ี ๓๒ (นตุ ฺ) นเุ ทติ ราคจติ ฺตานิ นุทาเปติ ปรํ ชนํ นุนอตถฺ ํ มนุสฺสานํ นุสาสนฺตํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงบรรเทาราคจิต ด้วยพระองค์ และทรง สั่งสอนให้ผู้อ่ืนถ่ายถอนด้วย ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรงตามสอน อรรถะอันย่ิง แกม่ นุษยท์ ัง้ หลายพระองค์นนั้ . คาถาที่ ๓๓ (ต) ตโนติ กุสลํ ธมมฺ ํ ตโนติ ธมมฺ เทสนํ ตณฺหาย วจิ รนตฺ าน ํ ตณฺหาฆาฏํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงแผ่ธรรมะอันเป็นกุศล ทรงแผ่พระธรรม- เทศนาเพื่อสัตว์ท้ังหลาย ผู้ท่องเที่ยวด้วยอ�ำนาจตัณหา ข้าพเจ้านอบน้อม พระพทุ ธเจา้ ผ้ทู รงกำ� จัดตัณหาพระองค์นน้ั . คาถาท่ี ๓๔ (โร) โรเสนฺเต เนว โกเปต ิ โรเส เหว น กุชฺฌติ โรคานํ ราคอาทีนํ โรคสนฺตํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่ทรงกร้ิวเลย ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้โกรธอยู่ ไม่ทรงเคืองเลย ซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้ มีเคืองอยู่ ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผทู้ รงระงบั โรคใจ มีโรคราคะเปน็ ต้นไดแ้ ล้วพระองค์นั้น.

48 คาถาท่ี ๓๕ (ป)ุ ปุณนฺตํ อตฺตโน ปาป ํ ปุเรนฺตํ ทสปารมึ ปุญฺสสฺ ราชสสฺ ปตุ ตฺ ภตู ํ นมามหิ ํ ฯ ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรงช�ำระอยู่ซ่ึงบาปของพระองค์ บ�ำเพ็ญ พระบารมี ๑๐ ทศั ใหบ้ ริบูรณ์ ทรงเปน็ โอรสของพระราชาผู้มีบญุ พระองคน์ น้ั . คาถาที่ ๓๖ (ริ) ริปุราคาทภิ ูตํ ว- ริทฺธยิ า ปฏิหญฺติ รติ ตฺ ํ กมมฺ ํ น กาเรตา- รยิ วํสํ นมามิหํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงก�ำจัดข้าศึกคือกิเลสมีราคะเป็นต้น ด้วย พระฤทธิ์ ไม่ทรงสอนให้ท�ำกรรมเหลวไหล ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ทรง เปน็ อรยิ วงศพ์ ระองคน์ น้ั . คาถาท่ี ๓๗ (ส) สมปฺ นโฺ น วรสีเลน สมาธิปวโร ชิโน สยมฺภูาณสมฺปนฺโน สณหฺ วาจํ นมามหิ ํ ฯ พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงชนะมาร ถึงพร้อมด้วยศีลอันประเสริฐ มีสมาธิอันบวร ถึงพร้อมด้วยพระสยัมภูญาณ ข้าพเจ้านอบน้อมพระพุทธเจ้า ผมู้ ีพระดำ� รสั ไพเราะพระองคน์ ้ัน.