Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา-100

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา-100

Published by Tam.wittawat101, 2020-06-11 00:02:05

Description: หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Search

Read the Text Version

๑ หลกั สูตรการศึกษาข้นั พ้ ืนฐานสาหรบั ผูเ้ รียนทีม่ คี วามบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ (ฉบบั ปรบั ปรุง) พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พ้ ืนฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ ความนา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกาหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย และกรอบทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตท่ีดีและมีขีดความสามารถ ในการแข่งขันในเวทีโลก (กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๕๑) สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เป็นหน่วยงาน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ในการจัดการศึกษา สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางการมองเห็น ผู้เรียน ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ และผู้ด้อยโอกาส ได้ตระหนักถึงความต้องการจาเป็นของผู้เรียนที่มีความแตกต่างจากผู้เรียนโดยท่ัวไป จากการศึกษา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๔๕ หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สาหรับทุกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพ่ือให้ สถานศึกษาและผเู้ กี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความเข้าใจทช่ี ัดเจนตรงกันเก่ยี วกบั การจัดการศกึ ษาของกลมุ่ เป้าหมาย เฉพาะรูปแบบต่างๆ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง สามารถนาข้อกาหนดและแนวทาง ที่นาเสนอไปพิจารณาในการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐานทั้งในส่วนของเป้าหมาย โครงสร้างหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตลอดจนการเทียบโอนผลการ เรียนได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ตามเจตนารมณข์ องหลกั สูตร (สานกั วชิ าการและมาตรฐานการศกึ ษา, ๒๕๕๕) การจัดการศึกษาสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญาที่ผ่านมาได้พยายามนาหลักสูตร แกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑ มาใช้จัดทาหลกั สูตรสถานศึกษา แต่พบว่ามขี ้อจากัด หลายด้านโดยเฉพาะด้านผู้เรียน ซึ่งมีข้อจากัดในด้านการรับรู้ การเรียนรู้ อันเนื่องจากความบกพร่อง ทางสติปัญญาที่ต่ากว่าผู้เรียนทั่วไป อีกท้ังมีปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์และการปรับตัวในสังคม ประกอบกับการนิยามความหมายของ บุคคลท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ บุคคลท่ีมีความจากัด อย่างชัดเจนในการปฏิบัติตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถ ทางสติปัญญาต่ากว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสาคัญร่วมกับความจากัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย ๒ ทักษะจาก ๑๐ ทักษะ ได้แก่ การส่ือความหมาย การดูแลตนเอง การดารงชีวิตภายในบ้าน ทักษะทางสังคม

๒ /การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืน การรู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การนาความรู้มาใช้ ในชีวิตประจาวัน การทางาน การใช้เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ทั้งน้ี ได้แสดง อาการดังกล่าวก่อนอายุ ๑๘ ปี (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกาหนดประเภทและหลักเกณฑ์ ของคนพิการทางการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๕๒) ด้วยข้อจากัดต่างๆที่กล่าวมา ทาให้การนาหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานลงสู่การปฏิบัติทาให้ ผู้เรียนไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของสาระการเรียนรู้ท้ัง ๘ สาระ สานักบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จึงได้ระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากร ผู้จัดการศึกษาสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกันจัดทาหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานสาหรับ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบบั ปรบั ปรุง พุทธศกั ราช ๒๕๕๘) ขึ้น โดยเปลี่ยนแปลงจากกลมุ่ สาระการเรียนรูเ้ ป็นกลุ่มทกั ษะการเรยี นรู้ ๖ กลุ่ม ทักษะ ประกอบด้วย กลุ่มทักษะเคลื่อนไหว กลุ่มทักษะภาษาและการส่ือสาร กลุ่มทักษะช่วยเหลือตนเอง และสุขอนามัย กลุ่มทักษะสังคมและการดารงชีวิต กลุ่มทักษะวชิ าการ และกลุ่มทักษะอาชีพ และได้นาไป ทดลองใช้ในสถานศึกษาเฉพาะความพิการ ๑๙ แห่ง พบว่า หลักสูตรดังกล่าวยังมีข้อจากัดด้านการจัด ขอบขา่ ยเน้อื หาสาระ ความต่อเน่ืองและการจัดลาดับความสาคัญตามความต้องการจาเป็นพิเศษของผู้เรียน ดังนั้น สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษจึงได้ปรับปรุงหลักสูตรดังกล่าวข้ึนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เพ่ือให้ สถานศึกษาได้นาไปจดั การศึกษาโดยการมีส่วนรว่ มของหนว่ ยงานตา่ ง ๆ ท้ังภาครฐั เอกชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และ สถาบันทางสังคมต่างๆ ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาตรงกับความต้องการจาเป็น มีโอกาสและทางเลือก สาหรบั การพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ มากย่งิ ข้นึ

๓  วิสยั ทศั น์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม สามารถพึ่งพาตนเอง อยู่รว่ มกบั ครอบครวั และสังคมไดอ้ ยา่ งมีความสขุ อย่างย่ังยืน  หลักการ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มหี ลกั การท่สี าคัญ ดังน้ี ๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียน มโี อกาสได้รบั การศกึ ษาอย่างเสมอภาค และเนน้ การพัฒนาผู้เรียนเปน็ รายบุคคล ๒. เป็นหลักสตู รท่มี งุ่ พัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ของผู้เรยี นที่มคี วามบกพร่องทางสตปิ ัญญา ๓. เปน็ หลักสตู รการศึกษาทมี่ โี ครงสร้างยืดหยนุ่ ทางด้านทักษะการเรียนรู้ เวลา และการจดั การเรียนรู้ ๔. เป็นหลกั สูตรการศกึ ษาสาหรับการศกึ ษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศยั ครอบคลุม ทกุ กลมุ่ เป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรยี นร้แู ละประสบการณ์ ๕. เป็นหลักสูตรการศึกษาท่ีสนองการกระจายอานาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกบั สภาพและความต้องการของท้องถน่ิ  จุดหมายของหลกั สูตร หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการช่วยเหลือตนเอง ทักษะการทางานและสามารถประกอบอาชีพ พ่ึงพา ตนเองอยู่กับครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข จึงกาหนดเป็นจุดหมาย เพ่ือให้เกิดกับผู้เรียนเม่ือจบ การศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน ดงั นี้ ๑. มีความรู้และทักษะเคล่ือนไหว ทักษะภาษาและการส่ือสาร ทักษะช่วยเหลือตนเองและ สขุ อนามัย ทักษะสังคมและการดารงชีวิต ทักษะวชิ าการ และทักษะอาชพี ๒. มสี ุขภาพกายและสุขภาพจิตทด่ี ี มสี ุขนิสัยและรกั การออกกาลงั กายตามศักยภาพของแตล่ ะบุคคล ๓. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมท่ีพึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรอื ศาสนาที่ตนนบั ถอื ยึดหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ๔. มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก ยึดม่ันในวิถีชีวิตและการ ปกครองตามระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษตั รยิ ท์ รงเป็นประมุข ๕. มีจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาส่ิงแวดล้อม มีจิตสาธารณะท่ีมุ่งทาประโยชน์ สร้างสงิ่ ท่ีดงี ามในสังคม และอยรู่ ่วมกันในสังคมอยา่ งมีความสุข

๔  สมรรถนะสาคญั ของผู้เรียน หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผเู้ รียนใหม้ ีคุณภาพตามมาตรฐานการเรยี นรู้ของการพัฒนาศักยภาพ ซึ่งการพฒั นาผู้เรียนใหบ้ รรลุ มาตรฐานการเรยี นรู้ทกี่ าหนดน้ัน จะชว่ ยใหผ้ ้เู รยี นเกดิ สมรรถนะสาคญั ๕ ประการ ดังนี้ ๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเขา้ ใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพ่ือแลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ ๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์และถ่ายทอดความคิดด้วย กระบวนการในการสื่อความหมาย เพอ่ื การตดั สนิ ใจเกย่ี วกบั ตนเองและสังคมได้อยา่ งเหมาะสม ๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ทเ่ี ผชญิ ได้อย่างถกู ต้องเหมาะสม ๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนากระบวนการต่างๆ ไปใช้ ในการดาเนินชีวิตประจาวัน การประกอบอาชีพ รู้จักหลีกเล่ียงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ท่ีส่งผลกระทบ ต่อตนเองและผอู้ น่ื ดารงชีวติ อยู่ร่วมกบั ครอบครวั สังคมไดอ้ ย่างมคี วามสขุ และยงั่ ยืน ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทางาน การแก้ปัญหา ถูกต้องเหมาะสมและ มคี ณุ ธรรม  คุณลักษณะอันพงึ ประสงค์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมได้ อย่างมคี วามสขุ ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังน้ี ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซือ่ สัตย์ สจุ รติ ๓. มวี นิ ยั ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยูอ่ ย่างพอเพียง ๖. มงุ่ มนั่ ในการทางาน ๗. รกั ความเป็นไทย ๘. มีจติ สาธารณะ นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกาหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้สอดคล้องตามบริบท และจุดเน้นของแต่ละสถานศกึ ษาได้

๕  การอา่ น คดิ วเิ คราะห์และเขียน หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานสาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กาหนดให้การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นเงื่อนไขหน่ึงท่ีผู้เรียนทุกคนจะต้องได้รับ การประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด จึงจะได้รับการพิจารณาให้ผ่านทุกระดับช้ันและจบการศึกษา ซ่ึงการประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินทักษะการคิดและการถ่ายทอดความคิดด้วยกระบวนการในการ สอื่ ความหมายท่ีเกิดจากการอา่ น คิดวเิ คราะหแ์ ละเขียน ใหบ้ ุคคลอื่นสามารถเขา้ ใจได้  มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรยี นรู้เปน็ เปา้ หมายทต่ี อ้ งการพฒั นาคณุ ภาพของผูเ้ รยี นให้บรรลุผลการเรียนร้ตู ามกลุม่ ทักษะ การเรียนรู้ท่ีกาหนดไว้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประกอบดว้ ย ๖ กลมุ่ ทักษะ ดงั นี้ ๑. กล่มุ ทักษะเคล่ือนไหว ๒. กลุม่ ทกั ษะภาษาและการสื่อสาร ๓. กลุ่มทักษะช่วยเหลือตนเองและสุขอนามัย ๔. กลมุ่ ทักษะสังคมและการดารงชีวิต ๕. กลมุ่ ทกั ษะวิชาการ ๖. กล่มุ ทกั ษะอาชพี  ตัวชว้ี ดั ตัวชี้วัด ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมท้ังคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับช้ัน ซ่ึงสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรมนาไปใช้ในการกาหนด เนื้อหา จัดทาหน่วย การเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน เป็นเกณฑ์สาคัญสาหรับการวัดและประเมินผล การเรียนเพ่ือตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตัวช้ีวัดช้ันปีเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับ การศึกษาตัง้ แต่ช้นั ประถมศึกษาปที ่ี ๑ - ช้นั มธั ยมศึกษาปที ี่ ๖

๖ หลักสูตรได้มีการกาหนดรหัสกากับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชีว้ ัด เพื่อความเขา้ ใจและให้ส่ือสาร ตรงกัน ดงั นี้ ทว ๑.๑ ป.๑/๒ ทว กลุ่มทกั ษะวชิ าการ ๑.๑ สาระท่ี ๑ มาตรฐานขอ้ ที่ ๑ ป.๑/๒ ตวั ชว้ี ัดช้นั ประถมศึกษาปีท่ี ๑ ข้อที่ ๒  กลุ่มทกั ษะการเรียนรู้ กลุ่มทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ซ่ึงกาหนดให้ผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญาทุกคนจาเป็นต้องเรียนรู้ตามหลักสูตร การศึกษาข้ันพื้นฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ท้ังนี้ สถานศึกษา สามารถปรบั เน้ือหาให้สอดคล้องกบั ผูเ้ รยี นไดโ้ ดยแบ่งเปน็ ๖ กลุ่มทักษะ ดงั นี้ กลุ่มทักษะอาชพี : กลุ่มทกั ษะเคลือ่ นไหว : กลมุ่ ทักษะภาษาและ มลี กั ษณะนสิ ยั ที่ดี การเคลือ่ นไหวรา่ งกายไดอ้ ย่าง การส่อื สาร : การสอื่ สารดว้ ย ในการทางาน สามารถ อิสระ คลอ่ งแคล่ว พัฒนา การฟัง พูด อา่ น เขยี น และ ประกอบอาชพี ไดต้ าม บุคลกิ ภาพ พัฒนาศกั ยภาพ การดู ในสถานการณต์ า่ ง ๆ ศกั ยภาพ พัฒนาจติ ใจและอารมณ์ ในการ ไปใช้ในการดารงชีวิตในสงั คม ทางานและปฏบิ ตั กิ จิ กรรมต่าง ๆ อย่างมคี วามสุข การสร้างสรรคแ์ ละจนิ ตนาการ กลุม่ ทกั ษะวิชาการ : องคค์ วามรู้ ทกั ษะสาคัญ กลมุ่ ทกั ษะช่วยเหลือ การนาความรทู้ างภาษาไทย และคณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ ตนเองและสขุ อนามยั : คณติ ศาสตร์ และวทิ ยาศาสตร์ สามารถชว่ ยเหลือตนเอง หรือความรหู้ รอื ทกั ษะอน่ื ของผเู้ รียน และรกั ษาสขุ ภาพอนามยั ท่จี าเป็นในชีวติ ประจาวันได้ ของตนเองได้ กลมุ่ ทักษะสังคมและการดารงชีวติ : อย่างเหมาะสม การอย่รู ว่ มกนั ในสังคม ปฏบิ ัตติ นเป็นพลเมืองดี มีทักษะในการดารงชวี ิตสามารถพงึ่ พาตนเอง ไม่เป็นภาระกับผู้อื่น

๗ ความสมั พันธ์ของการพฒั นาคณุ ภาพผู้เรยี นตามหลกั สูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานสาหรบั ผู้เรียน ที่มคี วามบกพร่องทางสตปิ ัญญา พทุ ธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พทุ ธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พื้นฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑ วสิ ยั ทศั น์ หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบบั ปรับปรุง) พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มงุ่ พัฒนาผเู้ รียน ให้เป็นมนุษย์ท่ีมีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม สามารถพึ่งพาตนเอง อยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมได้ อยา่ งมคี วามสุขอยา่ งย่ังยนื จุดหมายของหลักสตู ร ๑. มีความรู้และทักษะเคล่ือนไหว ทักษะภาษาและการสื่อสาร ทักษะช่วยเหลือตนเองและสุขอนามัย ทักษะสังคมและการดารงชวี ิต ทักษะวชิ าการและทกั ษะอาชีพ ๒. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตท่ีดี มีสุขนิสัยและรักการออกกาลังกายตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ๓. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมท่ีพึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพทุ ธศาสนา หรอื ศาสนาที่ตนนับถอื ยดึ หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ๔. มีความรักชาติ มีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก ยึดม่ันในวิถีชีวิตและการปกครอง ตามระบอบประชาธปิ ไตยอันมพี ระมหากษตั รยิ ์ทรงเปน็ ประมุข ๕. มีจิตสานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุ รักษ์และพัฒนาส่ิงแวดล้อม มจี ติ สาธารณะที่ม่งุ ทาประโยชนส์ รา้ งสง่ิ ท่ดี งี ามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสงั คมอยา่ งมคี วามสุข สมรรถนะสาคญั ของผู้เรยี น คุณลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์ ๕. อยูอ่ ย่างพอเพียง ๑. ความสามารถในการส่ือสาร ๖. มุ่งมน่ั ในการทางาน ๒. ความสามารถในการคดิ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษตั ริย์ ๓. ความสามารถในการแกป้ ญั หา ๒. ซ่อื สตั ย์สจุ รติ ๗. รักความเปน็ ไทย ๔. ความสามารถในการใชท้ กั ษะชวี ติ ๓. มวี นิ ัย ๔. ใฝ่เรยี นรู้ ๘. มีจิตสาธารณะ ๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตวั ชี้วดั ๖ กลมุ่ ทกั ษะ กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น ๑. กลมุ่ ทักษะเคลอ่ื นไหว ๒. กลมุ่ ทักษะภาษาและการสือ่ สาร ๑. กจิ กรรมนกั เรียน ๓. กลมุ่ ทกั ษะช่วยเหลือตนเองและสุขอนามยั ๒. กิจกรรมแนะแนว ๔. กลมุ่ ทักษะสงั คมและการดารงชวี ติ ๓. กจิ กรรมเพ่อื สงั คมและสาธารณประโยชน์ ๕. กลมุ่ ทักษะวชิ าการ ๖. กลุ่มทักษะอาชพี คณุ ภาพผู้เรียน

๘  สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้ หลักสูตรการศึกษาขัน้ พนื้ ฐานสาหรับผูเ้ รยี นทมี่ คี วามบกพร่องทางสตปิ ัญญา พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ กาหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน ๖ กลมุ่ ทักษะ จานวน ๓๒ มาตรฐาน ดังนี้  กลุม่ ทกั ษะเคลอื่ นไหว สาระที่ ๑ กล้ามเนอ้ื มัดใหญ่ การเคล่อื นไหว การออกกาลงั กายการเลน่ เกมและกีฬาตามกฎกติกา มาตรฐาน ทค ๑.๑ เขา้ ใจ ใช้กล้ามเนอ้ื มัดใหญใ่ นการเคล่ือนไหว การออกกาลังกาย การเล่นเกมและกีฬาตามกฎกติกา สาระท่ี ๒ กล้ามเนอื้ มดั ใหญ่ การแสดงออกทางดนตรี และนาฏศลิ ป์ มาตรฐาน ทค ๒.๑ เข้าใจ ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญใ่ นการแสดงออกทางดนตรี และนาฎศลิ ป์ สาระที่ ๓ กล้ามเน้อื มดั เลก็ ปฏบิ ตั ิกจิ กรรมประสานสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมือกับตา สรา้ งสรรค์งานทศั นศลิ ป์ มาตรฐาน ทค ๓.๑ เข้าใจ มที ักษะในการใช้กลา้ มเนอื้ มัดเลก็ ปฏิบัติกจิ กรรมประสาน สัมพันธร์ ะหวา่ งมอื กับตา สร้างสรรคง์ านทัศนศลิ ป์ตามจนิ ตนาการ ประยกุ ตใ์ ช้ ในชวี ิตประจาวัน  กลุม่ ทกั ษะภาษาและการส่อื สาร สาระท่ี ๑ เสียง และท่าทาง มาตรฐาน ทภ ๑.๑ บอกความหมายของเสียง ท่าทาง และแหล่งกาเนิดเสียง สาระที่ ๒ การฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน มาตรฐาน ทภ ๒.๑ สามารถฟัง ดู พูด อ่านและเขียนเพื่อสื่อสารในชีวิตประจาวัน สาระที่ ๓ สญั ลกั ษณ์ ท่ใี ชใ้ นชวี ิตประจาวัน มาตรฐาน ทภ ๓ .๑ เข้าใจความหมายของข้อความห รือสัญ ลักษณ์ที่พ บเห็น ในชีวิตประจาวันและปฏิบัติตามได้ สาระท่ี ๔ ข้อมูลท่ใี ช้ในการสือ่ สาร มาตรฐาน ทภ ๔.๑ สามารถรับรู้ข้อมูล และนาข้อมูลไปใช้ในการสื่อสาร  กลมุ่ ทกั ษะชว่ ยเหลอื ตนเองและสขุ อนามัย สาระท่ี ๑ การสร้างเสรมิ สขุ ภาพสขุ อนามยั การปอ้ งกันโรคและความปลอดภยั ในชวี ติ มาตรฐาน ทช ๑.๑ มที กั ษะในการดูแลสุขภาพ สขุ อนามยั และความปลอดภัยในชีวิต สาระที่ ๒ อาหารและการดารงชวี ิต มาตรฐาน ทช ๒.๑ มที กั ษะในการเลอื กรบั ประทานอาหารอยา่ งถูกสุขลกั ษณะ สาระท่ี ๓ การแต่งกายและดูแลรกั ษาเคร่อื งแตง่ กาย มาตรฐาน ทช ๓.๑ มีทกั ษะในการแต่งกายและดแู ลรกั ษาเครื่องแตง่ กาย

๙  กลุ่มทักษะสังคมและการดารงชีวติ สาระท่ี ๑ หนา้ ท่พี ลเมอื ง วัฒนธรรม และการดาเนนิ ชวี ติ ในสังคม มาตรฐาน ทส ๑.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว สังคมและมีทักษะ ในการดารงชีวติ มาตรฐาน ทส ๑.๒ เข้าใจและปฏบิ ัติตนตามหน้าท่ขี องการเปน็ พลเมืองดี มาตรฐาน ทส ๑.๓ เขา้ ใจและปฏบิ ตั ติ นในการธารงความเปน็ ไทย รักษาประเพณี วฒั นธรรม ภูมิปัญญาไทยและดารงชวี ติ อยรู่ ่วมกนั ในสังคมได้อยา่ งสันตสิ ขุ สาระที่ ๒ ประวตั ิศาสตร์ มาตรฐาน ทส ๒.๑ ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทยและ ความสัมพันธ์กบั ประเทศเพื่อนบ้าน สาระที่ ๓ ศาสนา ศลี ธรรมและจริยธรรม มาตรฐาน ทส ๓.๑ รแู้ ละเขา้ ใจ ประวตั คิ วามสาคัญของศาสดา ปฏิบตั ติ นตามหลกั ธรรม เป็น ศาสนิกชนที่ดี และธารงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาทตี่ นนบั ถือ  กลุ่มทกั ษะวชิ าการ สาระท่ี ๑ การฟงั ดู พดู อา่ นและเขยี น เกย่ี วกับเรอ่ื งต่าง ๆ ในชีวติ ประจาวนั มาตรฐาน ทว ๑.๑ สามารถเลอื กฟงั และดูสามารถตีความ พดู แสดงความรู้ ความคดิ และความร้สู ึกในโอกาสตา่ ง ๆ อยา่ งสร้างสรรค์ สาระท่ี ๒ การอ่าน และการเขียน เพ่อื ใช้ในชีวติ ประจาวัน มาตรฐาน ทว ๒.๑ ใช้กระบวนการอ่าน และการเขยี น ในการสร้างความรู้ และความคิด เพือ่ ใช้ในชวี ติ ประจาวัน สาระที่ ๓ หลกั ภาษาไทย และวรรณคดไี ทย มาตรฐาน ทว ๓.๑ เขา้ ใจหลกั ภาษาไทย แสดงความคิดเห็น และวิจารณ์วรรณคดี อยา่ งเห็น คุณค่าและนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง สาระที่ ๔ ความหลากหลาย เก่ียวกับจานวน ตัวเลข การบวกและลบทเี่ ช่อื มโยงความสัมพนั ธ์ กับสง่ิ ต่าง ๆ ในชีวติ ประจาวัน มาตรฐาน ทว ๔.๑ เข้าใจความหลากหลายของจานวน ตัวเลข การบวก ลบ และ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของส่ิงต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน สาระท่ี ๕ พื้นฐานเกี่ยวกับการวัด การคาดคะเน จาแนกหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและ ความสมั พนั ธ์ของสิง่ ต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน มาตรฐาน ทว ๕.๑ เข้าใจพ้ืนฐานเก่ียวกับการวัด การคาดคะเน จาแนกหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน สาระที่ ๖ ความรู้พ้ืนฐานทางเรขาคณิ ต และเช่ือมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในชวี ติ ประจาวัน มาตรฐาน ทว ๖.๑ เข้าใจรูปร่างพื้นฐานทางเรขาคณิต และเช่ือมโยงความสัมพันธ์ ของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน สาระที่ ๗ การคิดคานวณในชวี ิตประจาวนั มาตรฐาน ทว ๗.๑ ใช้การคิดคานวณในชีวิตประจาวัน

๑๐ สาระที่ ๘ สง่ิ มีชวี ติ กับการดารงชีวติ มาตรฐาน ทว ๘.๑ เข้าใจหน่วยพ้ืนฐานของส่ิงมีชีวิต ความสัมพนั ธ์ของส่ิงมีชีวิตท่ีทางาน สมั พันธ์กัน มกี ระบวนการสืบเสาะหาความรแู้ ละจติ วทิ ยาศาสตร์ สอื่ สารส่งิ ท่ีเรียนรู้ และ นาความรไู้ ปใช้ในการดารงชวี ติ ของตนเอง มาตรฐาน ทว ๘.๒ เขา้ ใจกระบวนการและความสาคญั ของลักษณะ ความหลากหลาย ของส่ิงมีชีวิต การใช้เทคโนโลยีชีวภาพท่ีมีผลกระทบต่อมนุษย์และส่ิงแวดล้อม มกี ระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สอื่ สารสิง่ ทีเ่ รียนรู้ และนาความรไู้ ปใช้ประโยชน์ สาระที่ ๙ ส่ิงมีชีวติ กบั สง่ิ แวดล้อม มาตรฐาน ทว ๙.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ การใชท้ รพั ยากรและการอนุรกั ษส์ ง่ิ แวดล้อมในทอ้ งถน่ิ สาระที่ ๑๐ สารในชีวิตประจาวนั มาตรฐาน ทว ๑๐.๑ ลักษณะ คุณสมบัติ ความสัมพันธก์ ารเปลยี่ นแปลงของสารต่างๆ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งท่ีเรียนรู้และนาไปใช้ ในชวี ิตประจาวัน สาระท่ี ๑๑ แรงและพลงั งาน มาตรฐาน ทว ๑๑.๑ เขา้ ใจลกั ษณะความสัมพันธ์ การเปลี่ยนรูป การปฏิสมั พันธ์ ผลการ ใช้แรง การเคล่ือนที่ พลังงานกับการดารงชีวิต มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสาร สง่ิ ทเ่ี รียนรูแ้ ละนาความร้ไู ปใชป้ ระโยชน์ สาระท่ี ๑๒ โลกและการเปล่ียนแปลง มาตรฐาน ทว ๑๒.๑ เข้าใจกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก ความสัมพันธ์ของ กระบวนการต่างๆ ท่ีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ มีกระบวนการ สบื เสาะ หาความรู้ และจติ วทิ ยาศาสตร์ สอื่ สารสงิ่ ที่เรยี นร้แู ละนาความรู้ไปใชป้ ระโยชน์ สาระท่ี ๑๓ ระบบสรุ ยิ ะ มาตรฐาน ทว ๑๓.๑ เข้าใจลักษณะ ความสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารส่ิงท่ีเรียนรู้และ นาความรู้ไปใชป้ ระโยชน์  กล่มุ ทกั ษะอาชีพ สาระท่ี ๑ การทางานและนิสัยการทางาน มาตรฐาน ทอ ๑.๑ เข้าใจการทางานและการใช้เครือ่ งมอื วสั ดุอุปกรณ์ เทคโนโลยใี น การทางานอาชีพและมเี จตคตทิ ดี่ ีตอ่ อาชีพ สาระท่ี ๒ อาชีพและการประกอบอาชพี มาตรฐาน ทอ ๒.๑ การแสวงหาอาชีพท่เี หมาะสมกบั ตนเองและความตอ้ งการของท้องถิ่น มาตรฐาน ทอ ๒.๒ มปี ระสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ และคณุ ลักษณะทด่ี ตี ่ออาชีพ

๑๑  การกาหนดรหัสกลมุ่ ทกั ษะ หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ไดม้ ีการกาหนดรหสั กากบั กลุ่มทกั ษะเพ่ือความเข้าใจและส่อื สารตรงกัน จึงกาหนดรหสั กลุ่มทกั ษะ ดังน้ี หลักที่ ๑ หมายถึง รหสั ตวั อกั ษรกลมุ่ ทกั ษะประกอบด้วย ทค หมายถงึ กลุม่ ทกั ษะเคล่อื นไหว ทภ หมายถึง กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร ทช หมายถึง กลมุ่ ทักษะชว่ ยเหลอื ตนเองและสุขอนามยั ทส หมายถงึ กลมุ่ ทักษะสงั คมและการดารงชวี ติ ทว หมายถึง กลุ่มทักษะวชิ าการ ทอ หมายถงึ กลุ่มทักษะอาชีพ หลักที่ ๒ หมายถึง รหสั ตัวเลขแสดงระดบั การศึกษา (๑ ระดบั ประถมศกึ ษา, ๒ ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ , ๓ ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย) หลักที่ ๓ หมายถึง รหัสตวั เลขแสดงระดับช้นั ที่เรียนของรายกลมุ่ ทักษะ (ระดบั ประถมศึกษา (๑ –๖), ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น (๑-๓) , ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย (๑-๓), กรณีไม่ระบุระดบั ชน้ั ใช้ตวั เลข ๐) หลักท่ี ๔ หมายถึง รหัสตัวเลขแสดงประเภทของกล่มุ ทักษะ (กลุ่มทักษะพ้ืนฐาน / รายทักษะเพม่ิ เติม) ประกอบดว้ ย ๑ หมายถงึ กลมุ่ ทักษะพ้ืนฐาน ๒ หมายถงึ รายทักษะเพิ่มเติม หลักที่ ๕-๖ หมายถงึ รหัสตัวเลขแสดงลาดบั ของรายทกั ษะ

๑๒ รหัสกลมุ่ ทกั ษะ หลักที่ ๑ หลักที่ ๒ หลักที่ ๓ หลักท่ี ๔ หลักท่ี ๕ หลักที่ ๖ กลมุ่ ทักษะ ระดบั การศกึ ษา ลาดบั รายทักษะ ปใี นระดบั ประเภทของ ทค ๑ ประถม ๐๑ – ๙๙ ทภ ๒ มัธยมตน้ การศกึ ษา กลมุ่ ทกั ษะ ทช ๓ มัธยมปลาย ทส ๐ ๑ พืน้ ฐาน ทว ทอ ๑ ๒ เพม่ิ เตมิ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ตัวอย่างที่ ๑ กลุ่มทักษะเคลื่อนไหว ทค ๑๒๑๐๑ ทค กลมุ่ ทกั ษะเคลื่อนไหว ๑ ระดับประถมศึกษา ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๑ กลุ่มทกั ษะพื้นฐาน ๐๑ รายทักษะที่ ๑ ใน กลุ่มทกั ษะเคลื่อนไหว ตัวอย่างที่ ๒ กลุ่มทักษะอาชีพ ทอ ๒๐๒๔๕ ทอ กลุ่มทักษะอาชพี ๒ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ ๐ ไมก่ าหนดระดบั ช้ัน (เรยี นระดบั ชั้นใดก็ได้) ๒ รายทกั ษะเพ่มิ เติม ๔๕ รายทักษะเพมิ่ เติมกลมุ่ อาชีพคหกรรมและบริการ รายทกั ษะ......

๑๓  กิจกรรมพฒั นาผ้เู รียน แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ครอบคลุม ๓ ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยเสนอไว้เป็นระบบ เพ่อื ให้ผ้เู กยี่ วข้องเหน็ ภาพกจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน และสามารถนาไปประยุกตใ์ ช้ได้ตามความเหมาะสม ดงั น้ี ๑. กิจกรรมนกั เรียน กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามความถนัด และความสนใจ โดยเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย การไม่เห็นแก่ตัว ความเป็นผู้นา ผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทางานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปัน และความเอื้ออาทรสมานฉันท์ เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดกิจกรรม นักเรียนควรดาเนนิ การ ดังนี้ ๑. จัดใหส้ อดคล้องกับความสามารถและความสนใจของผเู้ รียน ๒. เนน้ ใหผ้ ู้เรียนไดป้ ฏบิ ัตดิ ้วยตนเองในทุกข้ันตอน ๓. เน้นการทางานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับวุฒิภาวะ ของผูเ้ รียนตลอดจนบริบทของสถานศึกษา และท้องถ่ิน กิจกรรมนักเรยี นประกอบด้วย ๑. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมตาม ความจาเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลได้แก่ การฝึกและแก้ไขการพูด กายภาพบาบัด กิจกรรมบาบัด ดนตรี บาบัด ศิลปะบาบัด กีฬาบาบัด การใช้เทคโนโลยี โดยสถานศึกษาจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับศักยภาพ ของผเู้ รยี น ๒. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บาเพ็ญประโยชน์ สถานศึกษาให้ผู้เรียนเลือก กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา และครบตามหลกั สูตรของแต่ละกิจกรรม ๓. กจิ กรรมชุมนุม ชมรม สถานศึกษาส่งเสริมให้ผเู้ รยี นจัดกจิ กรรมอยา่ งหลากหลายและ เข้ารว่ มกจิ กรรมตามความถนัดและความสนใจ

๑๔ ๒. กจิ กรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนว ต้องส่งเสริมและสนับสนุนเพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ อันจะนาไปสูส่ มรรถนะสาคัญ ๕ ประการ และคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ โดยนาไปบูรณาการ ในการจัดกิจกรรมตามลักษณะของกิจกรรมแนะแนวที่ระบุไว้ใน หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ อีกท้ังยังต้องส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะชีวิต โดยมุ่งจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ ความสนใจธรรมชาติ ของผู้เรียน และวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่ตอบสนองจุดมุ่งหมายหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ รวมท้ังด้านส่วนตัวและสังคม เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ โดยผู้เรียนมีอิสระในการคิดและตัดสินใจ ด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดทักษะชีวิต ตลอดจนครูทุกคนต้องมีส่วนร่วม ในการจดั กจิ กรรม โดยมคี รูแนะแนวเปน็ พ่ีเล้ียงและประสานงาน การจดั กิจกรรมแนะแนวมอี งคป์ ระกอบ ๓ ดา้ นดงั นี้ ๑. ด้านส่วนตัวและสังคม ให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รักและเห็นคุณค่าของตนเอง และผ้อู ่นื รกั ษส์ ่ิงแวดลอ้ ม มวี ุฒภิ าวะทางอารมณ์ มเี จตคตทิ ีด่ ีต่อการมีชวี ติ ท่ดี ี มคี ณุ ภาพ มีทกั ษะชวี ติ และสามารถปรับตัวดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ๒. ดา้ นการศึกษา ให้ผเู้ รียนไดพ้ ฒั นาตนเองในดา้ นการเรยี นอยา่ งเต็มศักยภาพ รจู้ ักแสวงหา และใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนการเรียน หรือการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มวี ิธีการเรยี นรู้ และสามารถวางแผนการเรยี นหรอื การศึกษาตอ่ ได้อย่างเหมาะสม ๓. ด้านอาชีพ ให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองในทุกด้าน รู้และเข้าใจโลกของงานอาชีพ อย่างหลากหลาย มีเจตคติท่ีดีต่ออาชีพสุจริต มีการเตรียมตัวสู่อาชีพ สามารถวางแผนเพ่ือประกอบ อาชพี ตามทีต่ นเองมคี วามถนัดและสนใจ ๓. กจิ กรรมเพื่อสงั คมและสาธารณประโยชน์ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตนเองตามธรรมชาติและเตม็ ศกั ยภาพ โดยคานงึ ถงึ ความแตกตา่ งระหว่างบุคคล และพฒั นาการทางสมอง เน้นให้ความสาคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม จริยธรรม จัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ ออกแบบ กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างหลากหลายรปู แบบ เพ่ือแสดงถึงความรับผดิ ชอบต่อสงั คมในลกั ษณะ จติ อาสา

๑๕  ระดบั การจดั การศึกษา หลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดการศกึ ษาเป็น ๓ ระดบั ดงั นี้ ๑. ระดับประถมศกึ ษา (ชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี ๑ - ๖) การศึกษาระดับน้ีเป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะพ้ืนฐาน ในแต่ละทกั ษะ การพฒั นาคุณภาพชีวิตอย่างสมบรู ณแ์ ละสมดุลทงั้ ในดา้ นร่างกาย สตปิ ญั ญา อารมณ์ สังคม และวฒั นธรรม โดยเน้นการพฒั นาทักษะแบบบูรณาการและเตรียมพนื้ ฐานอาชีพของผู้เรียน ๒. ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น (ชั้นมธั ยมศึกษาปที ี่ ๑ - ๓) การศึกษาระดับนี้เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะต่าง ๆ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์ และสมดุลในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากข้ึน โดยเน้นการพัฒนาทักษะ แบบบูรณาการ และฝกึ ปฏบิ ตั ทิ ักษะการประกอบอาชีพ เพือ่ การดารงชีวิตอยูไ่ ดด้ ้วยตนเอง ๓. ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ ๔ – ๖) การศึกษาระดับนี้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะท่ีเพ่ิมพูนความรู้ทักษะสังคม ทักษะอาชีพ เพอื่ การดารงชีวติ และประกอบอาชพี ตามศักยภาพ เป็นพลเมอื งทด่ี ขี องสังคมและประเทศชาติ  การจดั เวลาเรียน หลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ไดก้ าหนดกรอบโครงสรา้ งเวลาเรียนสาหรับกลุม่ ทกั ษะการเรียนรู้ ๖ กลุม่ ทักษะ และกิจกรรมพัฒนาผเู้ รียน ซ่ึงสถานศึกษาสามารถจัดเวลาเรียนให้สอดคล้องกับบริบทและจุดเน้นของสถานศึกษาและศักยภาพ ของผู้เรียน ได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่น้อยกว่าเวลาเรียนตามท่ีกาหนด ในโครงสร้างของหลักสูตร ดงั นี้ ๑. ระดับประถมศึกษา (ช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๑ – ๖) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลา เรียน วนั ละไมน่ ้อยกว่า ๕ ชว่ั โมง ๒. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๑ – ๓) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลา เรียน วันละไม่น้อยกว่า ๖ ช่ัวโมง คิดน้าหนักของรายวิชาท่ีเรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ ๑ ชั่วโมง มีค่า น้าหนกั วิชาเท่ากบั ๑ หนว่ ยกติ ๓. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า ๖ ช่ัวโมง คิดน้าหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ ๑ ช่ัวโมง มคี า่ น้าหนักวิชาเท่ากับ ๑ หนว่ ยกติ

๑๖  โครงสรา้ งเวลาเรยี น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กาหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้ เวลาเรียน (ช่ัวโมงตอ่ สัปดาห์/ ชว่ั โมงต่อปี) กลมุ่ ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย /กิจกรรม ป.๑ ป.๒ ป.๓ ป.๔ ป.๕ ป.๖ ม.๑ ม.๒ ม.๓ ม.๔-๖ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ทักษะการเคล่อื นไหว ๔/๑๖๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๒/๘๐ ๓/๑๒๐ (๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.) (๒ นก.) ทกั ษะภาษา ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๒/๘๐ และการสื่อสาร (๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.) (๒ นก.) ทักษะการช่วยเหลอื ๕/๒๐๐ ๕/๒๐๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๒/๘๐ ตนเองและสุขอนามัย ๕/๒๐๐ (๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.) (๒ นก.) ทักษะสงั คม ๕/๒๐๐ ๕/๒๐๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๒/๘๐ และการดารงชีวิต ๕/๒๐๐ (๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.) (๒ นก.) ทกั ษะวชิ าการ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๔/๑๖๐ ๒/๘๐ ทักษะอาชพี ๒/๘๐ ๒/๘๐ ๒/๘๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ ๓/๑๒๐ (๔ นก.) (๔ นก.) (๔ นก.) (๒ นก.) ๔/๑๖๐ รายทักษะเพิ่มเตมิ - - -- - - ๒/๘๐ ๒/๘๐ ๒/๘๐ (๔ นก.) ๒๒/๘๘๐ ๒๒/๘๘๐ ๒๒/๘๘๐ ๒๒/๘๘๐ ๒๒/๘๘๐ (๒ นก.) (๒ นก.) (๒ นก.) ไมน่ ้อยกวา่ รวมเวลาเรยี น ๒๒/๘๘๐ ๑๒/๔๘๐ ๑๒๐ ชม./ปี ไม่นอ้ ยกวา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ ไม่น้อยกว่า (๑๒ นก.) กจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี น ๘/๓๒๐ ๘/๓๒๐ ๘/๓๒๐ ๒๖/๑,๐๔๐ - กจิ กรรมนกั เรยี น (๘ นก.) (๘ นก.) (๘ นก.) (๒๖ นก.) - กจิ กรรมแนะแนว - กิจกรรมเพ่ือสังคม ๒๖/๑,๐๔๐ ๒๖/๑,๐๔๐ ๒๖/๑,๐๔๐ ๑๖๐ ชม./ปี และ (๒๖ นก.) (๒๖ นก.) (๒๖ นก.) สาธารณประโยชน์ ๑๖๐ ชม./ปี รวมเวลาเรยี น ไมน่ ้อยกวา่ ไม่น้อยกวา่ ไมน่ ้อยกวา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ ไม่น้อยกวา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ ไมน่ อ้ ยกวา่ ไม่น้อยกวา่ ไมน่ ้อยกว่า ไม่น้อยกว่า ทง้ั หมด ๒๕/๑,๐๐๐ ๒๕/๑,๐๐๐ ๒๕/๑,๐๐๐ ๒๕/๑,๐๐๐ ๒๕/๑,๐๐๐ ๒๕/๑,๐๐๐ ๓๐/๑,๒๐๐ ๓๐/๑,๒๐๐ ๓๐/๑,๒๐๐ ๓๐/๑,๒๐๐ การกาหนดโครงสร้างเวลาเรียนทกั ษะพนื้ ฐานและทักษะเพิ่มเตมิ สถานศึกษาสามารถดาเนนิ การ ดังน้ี เวลาเรียนของทักษะเพิ่มเติมสามารถจัดให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับระดับชั้นหรือศักยภาพ ของผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี นใหจ้ ัด ๑) กิจกรรมนักเรียน ๒) กิจกรรมแนะแนว และ ๓) กจิ กรรม เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยกิจกรรมเพ่ือสังคมและสาธารณประโยชน์ สามารถบูรณาการ ในกจิ กรรมทกี่ ลา่ วมาขา้ งต้นได้ เวลาในการปฏบิ ัตกิ ิจกรรม สามารถปรับให้เหมาะสมแตล่ ะกิจกรรม สาหรับเวลาเรียนรายทักษะเพ่ิมเติมในระดับมัธยมศึกษา ให้โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จดุ เน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลกั สูตรเฉพาะระดับชัน้ มธั ยมศึกษา

๑๗ การกาหนดโครงสร้างเวลาเรียนของสถานศึกษา สาหรับทักษะเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถ ดาเนินการปรับเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มทักษะได้ตามความเหมาะสม ท้ังน้ีต้องมีเวลาเรียนรวมตลอดทั้งปี ตามที่กาหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียน ผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรแู้ ละตัวช้ีวัดท่ีกาหนด และต้องสอดคลอ้ งกับเกณฑ์การจบหลักสูตร  การจัดการเรยี นรู้ การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสาคัญในการนาหลักสูตรสู่การปฏิบัติ หลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน สาหรบั ผู้เรยี นท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นหลักสูตรท่ีมมี าตรฐานการเรยี นรู้ สมรรถนะสาคญั ของผู้เรียนและ คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงคเ์ ปน็ เป้าหมายสาคัญในการพฒั นาเด็กและเยาวชน ผู้สอนต้องวิเคราะห์ผู้เรียน ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ท้ัง ๖ กลุ่มทักษะ รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พฒั นาทักษะต่างๆ อันเปน็ สมรรถนะสาคญั ท่ตี อ้ งการใหเ้ กดิ แกผ่ เู้ รยี น ๑) หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพ่ือให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะ สาคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามท่ีกาหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับผู้เรียนที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยยึดหลักวา่ ผู้เรียนมีความสาคัญท่ีสุด เชื่อว่าทุกคน มีความสามารถเรียนรแู้ ละพฒั นาตนเองได้ ยึดประโยชนท์ ่ีเกดิ ขน้ึ กับผู้เรียน กระบวนการเรยี นรู้ตอ้ งสง่ เสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คานึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความต้องการจาเป็น และพฒั นาการทางสมอง เนน้ ให้ความสาคญั ทง้ั ความรู้และคณุ ธรรม ๒) กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ครูผู้สอนจะต้องอาศัยกระบวนการ เรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนาพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย กระบวนการเรียนรู้ที่จาเป็นสาหรับ ผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการ ทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทาจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และกระบวนการพฒั นาลักษณะนสิ ัย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ให้ยึดผู้เรียน เป็นสาคัญ โดยใช้กระบวนการจัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individualized Implementation Plan : IIP) มาเป็น เคร่ืองมือในการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน เพื่อนาไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร ให้มี การวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวช้ีวัด และประเมินความต้องการของผู้เรียน เพ่ือนาข้อมูลมาวางแผนการจัดการ เรียนรู้ วางแผนพัฒนาผู้เรียนโดยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบองค์รวม และใช้รูปแบบวิธีการ ท่ีหลากหลาย บูรณาการการเรียนรู้ เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง ให้ผู้เรียนได้ศึกษา

๑๘ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน รวมท้ังนากระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาเป็นสว่ นหน่ึงของการจัดการเรียนการสอน และการพฒั นาผเู้ รียนให้เตม็ ศกั ยภาพ ๓) การออกแบบการจัดการเรยี นรู้ ผ้สู อนตอ้ งศึกษาหลกั สตู รสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตวั ชี้วดั สมรรถนะสาคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน แล้วจึงทาการออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิธกี ารเรียนรู้ ความต้องการจาเป็นในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) โดยเลือกใชว้ ธิ ีสอนและเทคนคิ การสอน เทคโนโลยีสิง่ อานวยความสะดวก สื่อ บรกิ ารและการช่วยเหลืออื่น ใดทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพและบรรลุ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งเปน็ เปา้ หมายที่กาหนด ๔) บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพ่ือให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑ ทงั้ ผ้สู อนและผ้เู รียนควรมีบทบาท ดังน้ี ๔.๑ บทบาทของผู้สอน ๑) ศึกษาวิเคราะหห์ ลกั สตู รสถานศึกษา ให้เข้าใจสามารถนาไปใช้ในการปฏบิ ัติได้ ๒) ศึกษาวเิ คราะห์ผู้เรยี นเป็นรายบุคคล ประเมนิ ความสามารถพ้นื ฐาน แล้วนา ขอ้ มลู มาใช้ในการจดั ทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) ใหต้ รงกับความตอ้ งการจาเป็น เหมาะสม สอดคลอ้ งกบั ศักยภาพของผ้เู รียนเปน็ สาคัญ ๓) กาหนดเป้าหมายที่ตอ้ งการให้เกิดกับผเู้ รียน ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการท่จี าเปน็ ความคิดรวบยอด หลกั การและความสมั พนั ธ์ รวมทัง้ คุณลกั ษณะอันพึงประสงค์ ๔) ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ท่ีตอบสนองความแตกต่างระหว่าง บคุ คลและพัฒนาการทางสมอง ระดบั ความสามารถเพ่ือนาผเู้ รยี นไปส่เู ป้าหมาย ๕) จดั บรรยากาศทเ่ี อื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลอื ผเู้ รยี นให้เกดิ การเรียนรู้ ๖) จัดเตรียมและเลือกใช้ส่ือให้เหมาะสมกับกิจกรรม ระดับความสามารถ ลักษณะ บุคลิกภาพ นาภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ เทคโนโลยที ่เี หมาะสมมาประยุกตใ์ ช้ในการจัดการเรยี นการสอน ๗) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสตปิ ัญญาด้วยวิธกี าร ที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของทักษะและระดับพัฒนาการของผู้เรียน ซ่ึงอาจมีการปรับปรุง แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบคุ คล (Individualized Education Program : IEP) ให้เหมาะสมกับผ้เู รยี นแต่ละคน ๘) จัดหาส่ิงอานวยความสะดวก ส่ือ บริการ และความ ช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษา สาหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจาเป็นตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP)

๑๙ ๙) ประสานความรว่ มมือกับผ้เู กี่ยวข้องในการพัฒนาผูเ้ รียนเป็นองคร์ วมในการ วางแผนการจดั การศกึ ษาเฉพาะบคุ คล (Individualized Education Program : IEP) เพ่ือนาผูเ้ รียนไปสู่ เปา้ หมายทีก่ าหนด ๑๐) วิเคราะห์ผลการประเมนิ มาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผเู้ รยี น รวมท้ัง การปรบั ปรงุ การจดั การเรยี นการสอนของตนเองให้สอดคล้องกับแผนการจดั การศกึ ษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) ๔.๒ บทบาทของผู้เรียน ๑) ใหค้ วามร่วมมือ มปี ฏิสมั พันธ์ เขา้ รว่ มกิจกรรม ทางานร่วมกับกล่มุ และผ้สู อน ๒) เสาะแสวงหาความรู้ ศึกษาความร้จู ากแหลง่ เรียนรู้ ส่ือ เทคโนโลยที ่ี หลากหลายดว้ ยวธิ ีการตา่ งๆโดยผู้แนะนาหรอื ด้วยตนเอง ๓) ลงมอื ฝกึ ปฏบิ ัติจริงและนาไปใช้ในชีวติ ประจาวันตามสถานการณ์ตา่ งๆ ๔) ควบคุมตนเอง แสดงพฤติกรรมและอารมณใ์ หเ้ หมาะสมกบั สถานการณ์ ๕) มสี ่วนร่วมในการประเมินและพัฒนากระบวนการเรยี นรู้ของตนเอง ๕) ส่อื การเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพส่ือ การเรียนรู้มีหลากหลายประเภท ท้ังส่ือธรรมชาติ ส่ือของจริง สื่อส่ิงพิมพ์ ส่ือเทคโนโลยี และเครือข่ายการ เรียนรู้ต่างๆที่มีในท้องถ่ิน การเลือกใช้สื่อควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและลีลาการเรียนรู้ ทห่ี ลากหลายของผู้เรยี นทมี่ ีความบกพร่องทางสติปัญญาแต่ละระดบั การจัดหาส่ือการเรียนรู้ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทาและพัฒนาขึ้นเอง หรือปรับปรุงเลือกใช้ อย่างมีคุณภาพจากสื่อต่างๆที่มีอยู่รอบตัว เพื่อนามาใช้ประกอบในการจัดการเรียนรทู้ ี่สามารถส่งเสริมและ สอื่ สารให้ผู้เรยี นเกดิ การเรียนรู้ โดยสถานศึกษาควรจัดใหม้ ีอยา่ งเพยี งพอเพื่อพัฒนาให้ผเู้ รยี นเกดิ การเรียนรู้ อย่างแทจ้ รงิ และสถานศึกษาควรดาเนนิ การ ดงั น้ี ๑) จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ท้ังภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างหลากหลาย จัดศูนย์ส่ือการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมา พฒั นาการเรยี นรู้ เพือ่ การศกึ ษาค้นคว้าและแลกเปลีย่ นประสบการณ์การเรียนรู้ ๒) จัดทา จัดหา ส่ือการเรียนรู้สาหรับการศึกษาค้นคว้าสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่อง ทางสติปญั ญา เสรมิ ความรู้ให้ผ้สู อน รวมท้ังจัดหาสงิ่ ท่ีมอี ยูใ่ นท้องถิน่ มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรยี นรู้ ๓) เลือกและใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มีความเหมาะสม มีความหลากหลาย สอดคล้องกับ วธิ ีการเรยี นรู้ ธรรมชาตขิ องกลุม่ ทกั ษะการเรียนรู้ และความแตกต่างระหว่างบคุ คลของผู้เรียน ๔) ศกึ ษา ค้นควา้ วิจยั เพอื่ พัฒนาสอ่ื การเรียนรใู้ ห้สอดคล้องกับกระบวนการเรยี นรขู้ องผเู้ รยี น ๕) จัดให้มีการกากับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้ส่ือการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ

๒๐ ในการจัดทา การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพสอื่ การเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษาควรคานึงถึง หลักการสาคัญของส่ือการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน เนื้อหา ทันสมัย ไม่ขัดต่อศีลธรรม มีการใช้ภาษาท่ีถูกต้อง รปู แบบการนาเสนอทเ่ี ข้าใจงา่ ย นา่ สนใจ มีความถูกต้อง  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ต้องอยู่บน หลักการพื้นฐานสองประการคือ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนา คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา ให้ประสบผลสาเร็จน้ัน ผู้เรียนที่มีความ บกพร่องทางสติปัญญาจะต้องไดร้ ับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดและใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (Individualized Education Program : IEP) เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลผู้เรียน เพื่อให้บรรลุ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสาคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนท่ีมีความ บกพร่องทางสติปัญญา ซ่ึงเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทุกระดับไม่ว่าจะเป็น ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใชผ้ ลการประเมินเป็นข้อมลู และสารสนเทศท่ีแสดงพฒั นาการ ความกา้ วหน้า และความสาเร็จทางการ เรียนของผู้เรยี นตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็ม ศกั ยภาพ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบ่งเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับช้ันเรียนและระดับสถานศึกษา มรี ายละเอียด ดงั น้ี  การประเมนิ ระดับชั้นเรียน เป็นการวัดและประเมินผลท่ีอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดาเนินการเพ่ือพัฒนาผู้เรียน และตัดสินผลการเรียนในกลุ่มทักษะ/กิจกรรมที่ตนสอน ในการประเมินเพื่อพัฒนา ผู้สอนประเมินผลการ เรียนรู้ตามตัวช้ีวัดท่ีกาหนดเป็นเป้าหมายในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การซักถาม การสังเกต การตรวจการบ้าน การแสดงออกในการปฏิบัติผลงาน การแสดงกิริยาอาการตา่ งๆ ของผเู้ รียน ตลอดเวลาทจ่ี ัดกจิ กรรม เพ่ือดวู า่ บรรลุตวั ชี้วดั หรือมแี นวโนม้ วา่ จะบรรลตุ ัวช้วี ดั เพียงใด แล้วแก้ขอ้ บกพรอ่ ง เปน็ ระยะๆ อยา่ งตอ่ เนือ่ ง การประเมินเพ่ือตัดสินเป็นการตรวจสอบ ณ จุดท่ีกาหนด แล้วตัดสินว่าผู้เรียนมีผลอันเกิดจาก การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ทั้งน้ี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บคะแนน ของหน่วยการเรียนรู้ หรือการประเมินผลกลางปี หรือปลายปีตามรูปแบบการประเมินท่ีสถานศึกษา กาหนด ผลการประเมินนอกจากจะให้เป็นคะแนนหรือระดบั ผลการเรยี นแก่ผู้เรียนแลว้ ต้องนามาเป็นข้อมูล ใช้ปรับปรงุ การเรยี นการสอนตอ่ ไปอกี ด้วย

๒๑  การประเมนิ ระดับสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การอนุมัติผลการเรียน การตัดสินการเลื่อน ช้ันเรียน และเป็นการประเมินเพ่ือให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาว่าส่งผลต่อการ เรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้เรียนมีส่ิงท่ีต้องได้รับการพัฒนาในด้านใด ผลการประเมินระดับ สถานศึกษาจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศเพ่ือการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการ เรียนการสอนตลอดเพื่อการจัดทาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการประกัน คุณภาพการศึกษา และการรายงานผลการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน ผ้ปู กครอง และชมุ ชน  การประเมนิ ระดบั ชาติ เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สถานศกึ ษาตอ้ งจัด ให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๓ ช้ันประถมศึกษาปีที่ ๖ ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และช้ัน มัธยมศกึ ษาปีที่ ๖ เขา้ รบั การประเมนิ ผลจากการประเมินใชเ้ ป็นข้อมูลในการเทียบเคยี งคุณภาพการศึกษา ในระดับต่างๆ เพื่อนาไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการ ตัดสินใจในระดับนโยบาย ของประเทศ ข้อมูลการประเมินในระดับต่างๆ ข้างตน้ เป็นประโยชนต์ ่อสถานศึกษาในการตรวจสอบ ทบทวน พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษาท่ีจะต้องจัดระบบดูแลช่วยเหลือ ปรับปรุง แก้ไข ส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพบนพ้ืนฐานความแตกต่างระหว่าง บุคคลที่จาแนกตามสภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ กลุ่มผู้เรียนทั่วไป กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถ พิเศษ กลุ่มผู้เรียน ท่ีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่า กลุ่มผู้เรียนท่ีมีปัญหาด้านวินัยและพฤติกรรม กลุ่มผู้เรียนที่ปฏิเสธโรงเรียน กลุ่มผู้เรียนท่ีมีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มผู้เรียนท่ีพิการ ทางร่างกายและสติปัญญา เป็นต้น ข้อมูลจากการประเมินจึงเป็นหัวใจของสถานศึกษาในการดาเนินการ ช่วยเหลือผเู้ รียนไดท้ ันทว่ งที อนั เปน็ โอกาสให้ผู้เรยี นได้รับการพัฒนาและประสบความสาเรจ็ ในการเรยี น  แนวทางการวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรู้ สถานศึกษาต้องดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีแนวทาง การดาเนินการ ดงั นี้ ๑. สถานศึกษาต้องดาเนินการวัดและประเมินผลให้ครบองค์ประกอบท้ัง ๔ ด้าน ตามแนวทาง และวิธีการของการวัดและประเมินผลแต่ละองค์ประกอบ และกาหนดเอกสารบันทึกผลการประเมิน ให้สอดคล้อง กับแนวทางการวัดและประเมนิ ผล ๒. ให้ครูผู้สอนนาผลการประเมินแต่ละองค์ประกอบบันทึกลงในเอกสารบันทึกผลการประเมิน ตามทีส่ ถานศกึ ษากาหนดและนาเสนอผูบ้ รหิ ารสถานศึกษา ๓. ผู้บริหารสถานศกึ ษาเป็นผอู้ นุมตั ิผลการประเมิน

๒๒ ๔. ให้มีการรายงานความก้าวหน้าผลการพัฒนาองค์ประกอบทั้ง ๔ ด้าน ให้ผู้ปกครองทราบ เปน็ ระยะๆ และรายงานสรปุ ผลการเรยี นปลายปี ๕. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องกาหนดวิธีการและมอบหมายผู้รับผิดชอบ ปรับปรุง พัฒนาผู้เรียน ท่ีได้ผลการเรียนซา้ รายกลมุ่ ทกั ษะ หรอื ซา้ ชน้ั ๖. สถานศกึ ษากาหนดแนวทางในการกากบั ติดตามการบันทึกผลการประเมินในเอกสารหลักฐาน การศึกษา ทัง้ แบบทกี่ ระทรวงศกึ ษาธกิ ารกาหนด และแบบท่ีสถานศึกษากาหนด แนวทางการวัดและประเมินผลองค์ประกอบท้ัง ๔ ดา้ น มีรายละเอียดดงั น้ี การประเมินผลการเรยี นรูต้ ามกล่มุ ทักษะ การประเมินผลการเรยี นร้ตู ามกลมุ่ ทักษะ ท้งั ๖ กลุม่ ทักษะ เป็นการประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ทักษะการคิดที่กาหนดอยู่ในตัวชี้วัดในหลักสูตร ซึ่งจะนาไปสู่การสรุปผลการเรียนรู้ ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ต่อไป ภารกิจของสถานศึกษาในการดาเนินการประเมินผลการเรียนรู้ ตามกลมุ่ ทักษะ มรี ายละเอยี ดดงั นี้ ๑. กาหนดสดั ส่วนคะแนนระหว่างกับคะแนนปลายปี โดยให้ความสาคญั ของคะแนนระหว่างเรียน มากกวา่ คะแนนปลายปี เชน่ ๗๐:๓๐ ๘๐:๒๐ ๙๐:๑๐ เปน็ ต้น ๒. กาหนดเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน โดยพิจารณาความเหมาะสมตามระดับช้ันเรียน เช่น ระดับประถมศึกษาอาจกาหนดเป็นระดับผลการเรียน หรือระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรยี น เป็นระบบ ด้านตัวเลขระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ หรือระบบที่ใช้คาสาคัญสะท้อนมาตรฐาน สาหรับระดับ มัธยมศึกษากาหนดเป็นระดับผลการเรียน ๘ ระดับ และกาหนดเงื่อนไขต่างๆ ของผลการเรียน เช่น การประเมนิ ท่ียงั ไม่สมบรู ณ์ (ร) การไมม่ ีสิทธิเขา้ รับการสอบปลายปี (มส) เป็นตอ้ น นอกจากนี้ สถานศกึ ษา อาจกาหนดคุณลกั ษณะของความสาเรจ็ ตามมาตรฐานการศกึ ษาแต่ละชนั้ ปเี ป็นระดบั คณุ ภาพเพิ่มอีกก็ได้ ๓. กาหนดแนวปฏิบัติในการสอนซ่อมเสริมระหว่างเรียน กรณีผู้เรียนมีผลการประเมินตัวชี้วัด /มาตรฐานการเรียนร้ไู มผ่ า่ นตามเกณฑ์ท่สี ถานศึกษากาหนด ๔. กาหนดแนวปฏิบัติในการสอนซ่อมเสริม การสอบแก้ตัว กรณีผู้เรียนมีระดับผลการเรียน “๐” หรอื มรี ะดบั คณุ ภาพต่ากว่าเกณฑ์ และแนวดาเนนิ การกรณผี ู้เรยี นมีผลการเรยี นทีม่ ีเงือ่ นไข คือ “ร” หรอื “มส” ๕. กาหนดแนวปฏบิ ัติในการอนุมัตผิ ลการเรียน ๖. กาหนดแนวทางในการรายงานผลการประเมนิ ตอ่ ผ้เู กีย่ วขอ้ ง การประเมินการอา่ น คดิ วเิ คราะห์ และเขียน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนถือเป็นความสามารถหลักที่สาคัญซ่ึงจาเป็นต้อง ปลูกฝังและพัฒนาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนด้วยกระบวนการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในทุกกลุ่มทักษะ ขณะเดียวกันก็จาเป็นต้องตรวจสอบว่า ความสามารถดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วหรือยัง เน่ืองจาก การพัฒนา ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาตามลาดับ อย่างต่อเนื่อง ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มทักษะ หรือกิจกรรมต่างๆ กระบวนการตรวจสอบความก้าวหน้าท่ี เกิดขน้ึ ทง้ั ความรู้ ความเขา้ ใจในการปฏิบตั ิ จะดาเนนิ การไปด้วยกนั ในกระบวนการ • หลักการประเมินการอา่ น คดิ วิเคราะห์ และเขยี น ๑. เป็นการประเมินเพ่ือการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนและประเมินเพ่ือการตัดการเลื่อนช้ันและ จบการศึกษาระดับตา่ งๆ

๒๓ ๒. ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงออกซ่ึงความสามารถดังกล่าว อย่างเต็มตามศกั ยภาพและทาใหผ้ ลการประเมนิ ที่ได้มีความเช่อื มน่ั ๓. การกาหนดภาระงานให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ควรสอดคล้องกับขอบเขตและประเด็นการประเมิน ท่กี าหนด ๔. ใช้รูปแบบ วิธีการประเมินและเกณฑ์การประเมินท่ีได้จากการมีส่วนร่วมของผู้เก่ียวข้อง ๕. การสรุปผลการประเมินเพื่อรายงาน เน้นการรายงานคุณภาพของความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็น ๔ ระดับ คอื ดีเยย่ี ม ดี ผ่าน และไมผ่ า่ น • แนวดาเนนิ การพฒั นาและประเมินการอ่าน คิดวเิ คราะห์ และเขยี น สถานศึกษาควรดาเนินการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นกระบวนการอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบการดาเนินงานได้ การพัฒนาและประเมินความสามารถ ในการอา่ น คิดวเิ คราะห์ และเขียน สถานศกึ ษาอาจดาเนนิ ตามกระบวนการต่อไปน้ี ๑. แต่งตงั้ คณะกรรมการการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอา่ น คิดวเิ คราะห์ และเขียน สถานศึกษา ซ่ึงอาจประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนครูผู้สอน ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน และผู้แทนนักเรียน เพื่อกาหนดแนวทางในการพัฒนา ประเมิน ปรับปรุงแก้ไข และตัดสิน ผลการประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนรายปีและจบการศึกษาแต่ละ ระดับ ๒. ศึกษานิยามหรือความหมายของความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กาหนด ขอบเขต และตัวชี้วัดท่ีแสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ให้สอดคล้องกับบริบท และจุดเนน้ ของสถานศกึ ษาในแตล่ ะระดับการศึกษา ๓. ผู้มีส่วนเก่ียวข้องร่วมกันศึกษาหลักการประเมิน และพิจารณากาหนดรูปแบบวิธีการพัฒนา และประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวเิ คราะห์ และเขยี น ของสถานศกึ ษา ๔. กาหนดแนวทางการพัฒนาและประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ให้สอดคลอ้ งกับขอบเขตและตัวชี้วดั ท่ีกาหนดในขอ้ ๒ และกาหนดระดับคุณภาพหรือเกณฑ์ในการประเมิน เป็น ๔ ระดับ คอื ดีเยย่ี ม ดี ผ่าน และไม่ผา่ น เพื่อใช้ในการตดั สนิ ผลรายปี และจบการศึกษาแต่ละระดับ ๕. ดาเนินการพัฒนา ประเมิน และปรับปรุงแก้ไขความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียนตามรปู แบบและวิธีการท่กี าหนดอยา่ งต่อเนื่อง ๖. สรุปและตัดสินผลการประเมิน บันทึกและรายงานผลการประเมินความสามารถในการอ่าน คดิ วเิ คราะห์ และเขียน ต่อผเู้ กี่ยวขอ้ ง  เกณฑก์ ารวัดและประเมนิ ผลการเรียน การตดั สินการให้ระดับและการรายงานผลการเรยี น ๑.๑ การตัดสินผลการเรียนของกลุ่มทักษะ การอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนน้ัน ผู้สอนต้องคานึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก จะต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่าสม่าเสมอและต่อเน่ืองในแต่ละภาคเรียน รวมสอนซ่อมเสริมให้ ผ้เู รียนพัฒนาได้จนเต็มตามศกั ยภาพ

๒๔ ระดับประถมศึกษา  ผู้เรียนตอ้ งมีเวลาเรยี นไมน่ ้อยกวา่ รอ้ ยละ ๘๐ ของเวลาเรยี นทั้งหมด  ผเู้ รียนไดร้ ับการประเมินทุกตวั ชีว้ ัดและผ่านตามเกณฑท์ ่สี ถานศกึ ษากาหนด  ผ้เู รียนต้องไดร้ ับการตดั สินผลการเรยี นทุกรายทักษะ  ผเู้ รยี นต้องไดร้ บั การประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ทีส่ ถานศึกษากาหนด ในการอ่าน คิดวเิ คราะหแ์ ละเขียน คุณลักษณะอนั พึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน ระดบั มธั ยมศกึ ษา  ตัดสินผลการเรียนเป็นรายทักษะ ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนท้ังหมดในรายวชิ านน้ั ๆ  ผู้เรยี นไดร้ ับการประเมนิ ทุกตวั ชีว้ ัดและผ่านตามเกณฑ์ทส่ี ถานศึกษากาหนด  ผู้เรียนตอ้ งได้รบั การตัดสนิ ผลการเรยี นทกุ รายทักษะ  ผเู้ รยี นต้องไดร้ บั การประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑท์ ี่สถานศึกษากาหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คณุ ลักษณะอันพึงประสงคแ์ ละกจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน การพิจารณาเลื่อนช้ัน ท้ังระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียง เล็กน้อยและสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าสามารถพัฒนาซ่อมเสริมได้ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะ ผ่อนผันให้เลื่อนช้ันได้ แต่หากผู้เรียนไม่ผ่านรายทักษะจานวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการ เรียนในระดับท่ีสูงขึ้น สถานศึกษาน้ันอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้าชั้นได้ ท้ังนี้ต้องคานึงถึงวุฒิ ภาวะ อายุ ความพร้อม และระดับความสามารถของผเู้ รยี นเป็นสาคัญ  การให้ระดับผลการเรยี น ระดับประถมศกึ ษา ในการตัดสินเพ่ือให้ระดับผลการเรียนรายทักษะ สถานศึกษาสามารถให้ระดับผลการเรียนหรือระดับ คุณภาพการปฏิบัตขิ องผู้เรียนเป็นระบบตวั เลข ระบบตัวอักษร ระบบรอ้ ยละ หรือระบบอืน่ ๆที่สะทอ้ นมาตรฐาน การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอังพึงประสงค์น้ันให้มีระดับผลการ ประเมินดีเยีย่ ม ดี ผ่านและไมผ่ ่าน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะต้องพิจารณาท้ังเวลา การเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติ กิจกรรมและผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นผ่าน ไมผ่ า่ น ระดับมัธยมศกึ ษา ในการตัดสินเพ่ือให้ระดับผลการเรียนรายทักษะ ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียน เป็น ๘ ระดบั

๒๕ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นให้มีระดับ ผลการประเมินเปน็ ดเี ยย่ี ม ดี ผา่ นและไม่ผ่าน การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลา การเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติ กิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์สถานศึกษากาหนดและให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นผ่าน ไมผ่ า่ น ๑.๒ การรายงานผลการเรียนเป็นการส่ือสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนรับทราบความก้าวหน้า ในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทาเอกสารรายงานให้ผู้ปกครอง ทราบเป็นระยะๆหรอื อยา่ งน้อยภาคเรียนละ ๑ คร้งั การรายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียนท่ีสะท้อน มาตรฐานการเรยี นรู้ กลุ่มทกั ษะการเรยี นรู้

๒๖ เกณฑก์ ารจบหลกั สูตรการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐานสาหรบั ผ้เู รียนท่มี ีความบกพร่องทางสตปิ ญั ญา พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรบั ปรุง) พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑ หลักสูตรขั้นพื้นฐานสาหรับผู้เรียนท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา กาหนดเกณฑ์กลางสาหรับ การจบการศึกษาเป็น ๓ ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย  เกณฑก์ ารจบระดบั ประถมศึกษา ๑. ผู้เรียนต้องเรียนกลุ่มทักษะการเรียนรู้พ้ืนฐานทั้ง ๖ กลุ่มทักษะ ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อย กว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนท้ังหมด และต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนท้ัง ๖ ทักษะผ่านเกณฑ์ การประเมนิ ตามที่สถานศกึ ษากาหนด ๒. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนตามเกณฑ์ท่ีสถานศึกษา กาหนด ๓. ผเู้ รียนตอ้ งผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ ตามเกณฑท์ ีส่ ถานศกึ ษากาหนด ๔. ผู้เรียนต้องเขา้ รว่ มกิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี นและมีผลการประเมนิ ผา่ นเกณฑ์ทส่ี ถานศึกษากาหนด  เกณฑ์การจบระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้ ๑. ผู้เรียนต้องเรียนท้ังกลุ่มทักษะการเรียนรู้พ้ืนฐาน ๖ กลุ่มทักษะ และรายทักษะเพ่ิมเติมต้องได้ หน่วยกิต ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๕ หน่วยกิต และมีการตัดสินผลการเรียนทั้ง ๖ กลุ่มทักษะผ่าน เกณฑ์การประเมินตามที่สถานศกึ ษากาหนด ๒. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนตามเกณฑ์ท่ีสถานศึกษา กาหนด ๓. ผเู้ รยี นตอ้ งผา่ นเกณฑ์การประเมินคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด ๔. ผ้เู รยี นต้องเข้ารว่ มกจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี นและมผี ลการประเมนิ ผ่านเกณฑ์ท่สี ถานศึกษากาหนด  เกณฑ์การจบระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย ๑. ผเู้ รยี นต้องเรยี นทัง้ กลุ่มทักษะการเรียนรู้พนื้ ฐาน ๖ กลุ่มทกั ษะ และรายทักษะเพ่ิมเตมิ ต้องได้ หน่วยกิตตลอดหลักสตู รไม่น้อยกว่า ๗๕ หน่วยกิต และมีการตัดสินผลการเรียนทั้ง ๖ กลมุ่ ทกั ษะผา่ นเกณฑ์ การประเมินตามทส่ี ถานศึกษากาหนด ๒. ผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนตามเกณฑ์ท่ีสถานศึกษา กาหนด ๓. ผู้เรยี นตอ้ งผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด ๔. ผู้เรียนต้องเขา้ ร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด

๒๗ เอกสารหลักฐานการศึกษา ตามหลกั สตู รการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน สาหรับผูเ้ รียนทีม่ คี วามบกพร่องทางสตปิ ัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบบั ปรบั ปรงุ ) พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เอกสารหลักฐานการศึกษาถือเป็นเอกสารสาคัญท่ีสถานศึกษาต้องจัดทาเพ่ือใช้ในการดาเนินงาน ดา้ นตา่ งๆ ของการจัดการศกึ ษา ดังนี้ ๑. บันทึกข้อมูลในการดาเนินการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการเรียน ได้แก่ แบบบนั ทึกผลการพฒั นาคุณภาพผ้เู รียน ๒. ติดต่อสื่อสาร รายงานข้อมูล และผลการเรียนของผู้เรียน ได้แก่ แบบรายงาน ประจาตัวนักเรยี น ๓. จัดทาและออกหลักฐานแสดงวุฒิและ/หรือรับรองผลการเรียนของผู้เรียน ได้แก่ ระเบียนแสดงผลการเรียน ประกาศนียบัตร แบบรายงานผู้เรียนสาเร็จการศึกษา และใบรับรองผล การเรยี น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาหรบั ผู้เรียนทม่ี ีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กาหนดเอกสารหลักฐานการศกึ ษาทส่ี ถานศึกษาจะต้องดาเนินการเปน็ ๒ ประเภท ได้แก่ ๑. เอกสารหลักฐานการศึกษาทก่ี ระทรวงศึกษาธกิ ารกาหนด ๒. เอกสารหลักฐานการศกึ ษาท่สี ถานศึกษากาหนด เอกสารแตล่ ะประเภทมีวัตถุประสงคแ์ ละรายละเอียดในการดาเนนิ การ ดังนี้  เอกสารหลกั ฐานการศกึ ษาทก่ี ระทรวงศกึ ษาธิการกาหนด เป็นเอกสารท่ีกระทรวงศึกษาธิการควบคุมและบังคับแบบ เพ่ือใช้เป็นหลักฐานสาหรับ การตรวจสอบ ยืน ยัน และรับ รองผลการเรียน ของผู้เรียน สถานศึกษ าต้องใช้แบ บ พิ มพ์ ของกระทรวงศึกษาธิการและดาเนินการจัดทาตามท่ีกระทรวงศึกษาธิการกาหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไดแ้ ก่ ระเบียนแสดงผลการเรยี น ประกาศนยี บัตร และแบบรายงานผูส้ าเรจ็ การศึกษา ๑. ระเบียนแสดงผลการเรยี น (ปพ.๑) เป็นเอกสารสาหรับบันทึกข้อมูลผลการเรียนของผู้เรียนตามหลักสูต รการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน สาหรับผู้เรียนท่ีมีความ บกพร่อง ทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรบั ปรงุ ) พุทธศกั ราช ๒๕๖๐ ตามหลกั สูตรแกนกลาง การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้แก่ ผลการเรียนตามกลุ่มทักษะ ผลการประเมินการ อ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และผลการประเมินกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องจัดทาเอกสารนี้ให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เม่ือผู้เรียนจบการศึกษาแต่ละ ระดับหรือเม่ือผู้เรียนออกจากสถานศึกษาในทุกกรณี เพื่อใช้แสดงผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

๒๘ ๒. ประกาศนียบตั ร (ปพ.๒) เป็นเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาท่ีมอบให้แก่ผู้จบการศึกษาภาคบังคับและผู้สาเร็จการศึกษา ขั้นพ้ืนฐาน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพ่ือรบั รองศกั ดิ์และสทิ ธ์ิของผสู้ าเรจ็ การศกึ ษาตามวฒุ แิ หง่ ประกาศนียบตั รนน้ั ๓. แบบรายงานผสู้ าเรจ็ การศึกษา (ปพ.๓) เป็นเอกสารสาหรับอนุมัติจบการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาหรับผู้เรียน ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง) พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ของผู้เรียนในแต่ละรุ่นการศึกษา โดยบันทึกรายชื่อ และข้อมูลทางการศึกษาของผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ช้ันประถมศึกษาปีที่ ๖) ผู้จบการศึกษา ภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓) และผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๖) ใช้เป็นเอกสาร สาหรับตัดสินและอนุมัติผลการเรียนให้ผู้เรียนเป็นผู้สาเร็จการศึกษา และใช้ในการตรวจสอบยืนยัน และรบั รองความสาเร็จการศึกษาแตล่ ะคนตลอดไป  การบริหารจดั การหลกั สูตร ในระบบการศึกษาที่มีการกระจายอานาจให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตร นั้น หน่วยงานต่างๆ ท่ีเก่ียวข้องในแต่ละระดับ ต้ังแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับสถานศึกษา มีบทบาทหน้าท่ี และความรับผิดชอบในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริม การใช้และพัฒนาหลักสูตรให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดาเนินการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของ สถานศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด อันจะส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ ทก่ี าหนดไวใ้ นระดบั ชาติ ระดบั ท้องถนิ่ ได้แก่ สานกั บริหารงานการศึกษาพเิ ศษ เป็นหน่วยงานท่ีมีบทบาทในการขับเคล่ือน คุณภาพการจัดการศึกษาเป็นตัวกลางท่ีจะเชื่อมโยงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานที่กาหนดใน ระดับชาติให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น เพื่อนาไปสู่การจัดทาหลักสูตรของ สถานศึกษา ส่งเสริมการใช้และพัฒนากลักสูตรในระดับสถานศึกษาให้ประสบความสาเร็จ โดยมีภารกิจ สาคัญ คือ กาหนดเป้าหมายและจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับท้องถิ่น โดยพัฒนาให้สอดคล้อง กับสิ่งที่เป็นความต้องการในระดับชาติ พัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถ่ิน ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับ ท้องถิ่น รวมท้ังเพิ่มพูนคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากร สนับสนุน สง่ เสรมิ ตดิ ตามผล ประเมินผล วเิ คราะห์ และรายงานผลคุณภาพผเู้ รยี น สถานศึกษามีหน้าที่สาคัญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวางแผนและดาเนินการ ใช้หลักสูตร การเพิ่มพูนคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและพัฒนา การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร จัดทาระเบียบการวัดผลและประเมินผล ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน และรายละเอียดที่สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้จัดทา เพ่ิมเติม รวมทั้งสถานศึกษาสามารถเพ่ิมเติมในส่วนท่ีเก่ียวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญา ทอ้ งถ่นิ และความตอ้ งการของผู้เรียน โดยทุกภาคสว่ นเขา้ มามสี ว่ นรว่ มในการพัฒนาหลักสูตรสถานศกึ ษา

๒๙  ทกั ษะเคลอ่ื นไหว

๓๐ กลุ่มทกั ษะเคลื่อนไหว ทาไมต้องเรียนทกั ษะเคลือ่ นไหว ตามหลักสรีระวิทยาร่างกายคน ต้ังแต่แรกเกิดมาจนกระทั่งตายล้วนต้องการการออกกาลังกาย เป็นประจาและสม่าเสมอ ซึ่งจะช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับการกระตุ้นเป็นผลให้ร่างกาย แข็งแรงทนทาน และเมื่อกิจกรรมเสร็จสิ้นร่างกายก็สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติเร็วข้ึน นอกจากนี้ การออกกาลงั กายจะช่วยกระต้นุ ให้อวยั วะตา่ ง ๆ ไดเ้ ติบโตเตม็ ท่แี ละชว่ ยสง่ เสรมิ สมรรถภาพของรา่ งกาย ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อคือ การท่ีร่างกายสามารถจะเคลื่อนไหวได้จังหวะ กลมกลืนสง่างาม รวมถึงการเคลื่อนไหวเก่ียวกับการทางาน การเล่นกีฬา การเดิน การกระโดด การขว้างปาและอื่นๆอีกด้วยซ่ึงการเคลื่อนไหวในกิจกรรมเหล่านี้จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับการทางานสัมพันธ์ เปน็ อนั หนง่ึ อันเดียวกนั ระหว่างประสาทและกล้ามเนอื้ กิจกรรมการเคล่ือนไหว การออกกาลังกาย กิจกรรมทางศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ สามารถ สง่ เสริมพัฒนาการสังคม หากจัดกจิ กรรมอย่างบรู ณาการ ซง่ึ จะพัฒนาสง่ เสรมิ ให้ผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมสามารถ ปรับตัวเอง ให้เข้ากับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม และมีความเข้าใจในสังคมท่ีตัวเองมีชีวิตอยู่ได้เป็น อย่างดี เช่น จะส่งเสริมให้เป็นผู้ทีม่ ีความกล้า ความเชื่อมนั่ ในตนเอง ความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ ความอดทน การรู้จัก ยับยง้ั ช่ังใจ การมศี ีลธรรมจรรยา สาหรับคุณลกั ษณะการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ได้แก่ การเห็นอก เห็นใจซ่ึงกันและกัน การให้ความร่วมมือ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นผู้มีน้าใจนักกีฬา การเคารพสิทธิ ของผู้อื่น การรู้จักเคารพต่อกติกาการเล่น การเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพ่ือประโยชน์ส่วนรวม การเป็นผู้นาและผู้ตามท่ีดี คุณลักษณะเหล่านี้สามารถที่จะถ่ายทอดไปใช้ในสถานการณ์ของการมีชีวิต อยู่ในสงั คม เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเป็นเด็กท่ีมีภาวะพัฒนาการล่าช้า หรือเจริญไม่เต็มท่ี ซึ่งแสดง ลักษณะเฉพาะคือ มีระดับสติปัญญาต่า มี่ความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้า ไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจากัดในการปรับตัวต่อส่ิงแวดล้อม การเคล่ือนไหวเป็นทักษะพื้นฐาน ท่ีจะพฒั นาการใช้กล้ามเนอ้ื มดั ใหญ่ กล้ามเนอ้ื มัดเลก็ ให้เคล่ือนไหวได้อย่างอิสระคล่องแคลว่ เพ่ือให้ผ้เู รียน ได้พัฒนาศักยภาพ บุคลิกภาพ พัฒนาจิตใจ และอารมณ์ ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตลอดจน การสร้างสรรค์และจินตนาการ เพ่ือให้ผู้เรียนมีโอกาสในการรับการศึกษาท่ีเสมอภาค อีกทั้งยังส่งเสริม ให้ผเู้ รยี นสามารถพัฒนาตนเองในการเรยี นรทู้ กั ษะอน่ื ๆ ต่อไป

๓๑  เรียนรู้อะไรในกลมุ่ ทกั ษะเคล่ือนไหว ทกั ษะเคลอื่ นไหวแบ่งออกไดเ้ ป็น ๒ ลักษณะตามการเคล่ือนไหว ดงั นี้ ๑. ทกั ษะการใช้กลา้ มเนื้อมดั ใหญ่ การเคลือ่ นไหวรา่ งกาย ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะการทรงตัว การควบคุมการเคล่ือนไหวของร่างกายและแขนขา เช่น การน่ัง การยืน การเดิน การกระโดด การปีนป่าย การป่ันจักรยาน และกิจกรรมทางกาย ที่ถูกวิธี เพ่ือพัฒนาไปสู่การเคล่ือนไหวและการทรงตัวในระดับสูงต่อไป อีกทั้งเป็นการพัฒนาโดยรวมทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมท้ังสมรรถภาพเพ่ือสุขภาพและกีฬาตามศักยภาพและ นาไปปรบั ใช้กบั การดารงชวี ิตประจาวัน การเลน่ เกมและกฬี า เพ่ือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยการเล่นเกม เช่น การละเล่นพื้นบ้าน การเล่นของชุมชนท้องถ่ิน การเล่นเครื่องเล่น การเล่นประกอบเพลง หรือกีฬา เช่น กีฬาไทยและกีฬา สากล การออกกาลังกาย ในรูปแบบท่ีหลากหลาย รวมท้ังกติกาการเล่นเกมกีฬา มารยาทในการเล่น และชมกฬี า ดนตรี นาฏศิลป์ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวเข้าจังหวะในรูปแบบต่างๆ การแสดงออกทางดนตรีทั้งการดีด สี ตี เป่า เคาะ โดยการถ่ายทอดความรู้สึกทางอารมณ์แสดงการเต้น ฟ้อน รา อย่างมีแบบแผนและ อย่างสร้างสรรค์ เหน็ คณุ ค่า และอนรุ ักษ์สืบทอดวัฒนธรรมการแสดงภูมิปญั ญาทอ้ งถ่ิน ๒. ทักษะการใชก้ ล้ามเน้อื มดั เล็ก การปฏิบัติกิจกรรมที่ใช้การประสานสมั พันธร์ ะหวา่ งมือกบั ตาในชีวิตประจาวนั เป็นความสามารถในการใช้กล้ามเน้ือชิ้นที่เด็กใช้ในการหยิบจับ (Manipulation Abilities) เคลื่อนย้ายวัตถุท่ีมีรูปทรง ขนาด น้าหนักต่าง ๆ เช่น การติดกระดุม การผูกเชือกรองเท้า การจับสีเทียน การจับดนิ สอ การใช้กรรไกรตดั กระดาษ การร้อยลูกปัด การรับส่งสิ่งของ เป็นต้น ความสามารถในการใช้ กล้ามเน้ือมัดเล็กของเด็กจะเก่ียวข้องกับอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น กล้ามเน้ือบริเวณมือ ข้อมือ น้ิวมือ การทางานของกล้ามเน้ือส่วนต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีการประสานสัมพันธ์กัน เช่น การประสานสัมพันธ์ ระหว่างกล้ามเนื้อมือ ตา ข้อมอื นว้ิ มือ เป็นต้น การสรา้ งสรรค์งานทศั นศลิ ป์โดยใชท้ กั ษะการประสานสมั พนั ธ์ระหว่างมอื กับตา เปน็ ความสามารถในการใชก้ ลา้ มเนื้อมัดเลก็ ในการสร้างสรรคช์ ้ินงานจากจินตนาการ โดยสามารถ ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมท้ังเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ช้ินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นคุณค่า งานศิลปะท่ีเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถ่ิน ช่ืนชมและประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจาวัน โดยวธิ ีการ การปั้น มีทักษะพ้ืนฐาน สร้างสรรค์งานจาการป้ัน เช่น การปั้นดินสี ดินน้ามันตาม จนิ ตนาการ การปั้นดินสี ดนิ น้ามนั เปน็ รูปรา่ งตา่ งๆ และการหล่อปนู พลาสเตอร์เปน็ รปู ร่างต่างๆ การวาด มีทักษะพ้ืนฐานสร้างสรรค์งาน วาดภาพและระบายสี เช่น เขียนเส้นต่าง ๆ การวาดภาพตามจินตนาการ การระบายสีตามจินตนาการ การวาดภาพตามแบบที่กาหนด การระบายสี

๓๒ ตามรูปแบบที่กาหนด การวาดรูปบ้านแบบง่าย ๆ ซ่ึงประกอบด้วยเส้นต่าง ๆ เขียนรูปภาพที่มี สว่ นประกอบหยาบท่พี อเขา้ ใจการวาดรปู คน การฉีก / ตัด /ปะ ฉีกกระดาษตามอิสระ ฉีกกระดาษเป็นรูปต่างๆ ตัดด้วยมีด เช่น การตัดตามอิสระ การตัดรูปแบบต่าง ๆ ตามแบบท่ีกาหนด ตัดด้วยกรรไกร เชน่ การตัดกระดาษตามอิสระ ตดั กระดาษเป็นรปู ต่าง ๆ การตัดผา้ ด้วยกรรไกร  คุณภาพผเู้ รียน จบชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ ๖ นักเรยี นมคี วามสามารถในการเคลือ่ นไหวโดยใช้กลา้ มเนือ้ มัดใหญต่ า่ งๆ ดังตอ่ ไปน้ี ๑. มีทักษะการเคลื่อนไหวพ้ืนฐานเพ่ือการทรงตัวและการควบคุมตนเอง ในการเคล่ือนไหว ร่างกายได้ อย่างถกู วธิ แี ละปลอดภัย ๒. เคลอ่ื นไหวร่างกาย และสามารถเลอื กเข้าร่วมกจิ กรรมทางกาย เกม การละเลน่ พนื้ เมือง กฬี าไทย กีฬาสากลได้อยา่ งปลอดภัย และสนกุ สนาน มีนา้ ใจนักกฬี า โดยปฏิบัติตามข้อตกลง กฎ กติกา ๓. ปฏิบัติกิจกรรมทางกาย กจิ กรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพไดต้ ามความเหมาะสม ๔. เคลื่อนไหวร่างกาย แสดงท่าทางประกอบจังหวะ หรือเพลง อย่างอิสระ สร้างสรรค์ และสอดคลอ้ งกับเนื้อหาของเพลง ด้วยความช่นื ชมและสนกุ สนาน นักเรยี นมีความสามารถในการเคลื่อนไหวโดยใช้กลา้ มเน้ือมดั เล็กตา่ งๆ ดังตอ่ ไปนี้ ๑. รแู้ ละเข้าใจ เสน้ รปู ร่าง รปู ทรง พน้ื ผวิ สี แสงเงา มที กั ษะพ้ืนฐานในการใชว้ ัสดุ อุปกรณ์ สร้างสรรคง์ านปัน้ งานถักร้อย หรอื ปะตัด อยา่ งถกู ต้อง ๒. มีทักษะพ้ืนฐานในการวาดภาพ ระบายสี และมีทักษะพื้นฐานในการฉีก การตัด ฉีก ปะ กระดาษและการป้นั รู้จักการใชว้ สั ดุ อุปกรณ์ตา่ ง ๆ ในการสร้างสรรคง์ านศลิ ปะ ๓. สรา้ งสรรคง์ านศิลปะจากการวาดภาพ ระบายสี การฉีก การตดั ฉกี ปะกระดาษ และการปัน้ ตลอดจนร้แู ละเข้าใจคณุ ค่าของงานทัศนศิลป์ จบชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๓ นักเรียนมีความสามารถในการเคลอื่ นไหวโดยใชก้ ลา้ มเนอื้ มดั ใหญต่ า่ งๆ ดงั ต่อไปนี้ ๑. มที กั ษะการเคลื่อนไหวเพอ่ื การทรงตัวและการควบคุมตนเอง ในการเคลอื่ นไหวร่างกาย ได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย ออกกาลังกายและเล่นกีฬาอย่างสนุกสนาน มีน้าใจนักกีฬา โดยปฏิบัติ ตามกฎ กตกิ า และเหน็ คณุ คา่ ของการเล่นเกม กีฬา ๒. รู้หลกั การเคลือ่ นไหวและสามารถเลือกเขา้ ร่วมกิจกรรมทางกาย กิจกรรมสรา้ งเสริมสมรรถภาพ ทางกายได้ตามความเหมาะสม ปลอดภยั และสนุกสนาน ๓. รอ้ งเพลง ฟอ้ น รา แสดงทา่ ทางประกอบจังหวะดนตรี อย่างอสิ ระและสร้างสรรค์ ดว้ ยความ ชน่ื ชมและสนกุ สนาน

๓๓ นกั เรยี นมีความสามารถในการเคลื่อนไหวโดยใชก้ ล้ามเน้ือมดั เลก็ ตา่ งๆ ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. รแู้ ละเข้าใจ รปู ร่าง รปู ทรง พืน้ ผวิ สี แสงเงา มีทักษะพน้ื ฐานในการใชว้ สั ดุ อปุ กรณ์ สร้างสรรค์งานปั้น งานพิมพ์ภาพหรอื ปะติดอย่างถูกต้อง การหล่อปูนพลาสเตอร์ สร้างสรรค์งานจากการ ป้ันทุบ การกดพิมพ์ภาพ การใช้ลูกกลิ้งพิมพ์ภาพ การปะติดรูปภาพตามแบบท่ีกาหนด ตลอดจนรู้และ เข้าใจคุณค่าของงานทัศนศิลปท์ ีส่ ะท้อนวฒั นธรรมท้องถ่ิน ๒. มีทักษะในการวาดภาพและระบายสี โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การเขียนเส้นต่าง ๆ การใช้แสง เงา น้าหนัก และวรรณะสี ในการสร้างสรรค์งาน รู้จักการใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะ ๓. ถ่ายทอดความรู้สึกและจนิ ตนาการเปน็ ผลงานด้วยวสั ดุต่าง ๆ อยา่ งสรา้ งสรรค์ จบชน้ั มัธยมศกึ ษาปีท่ี ๖ นกั เรยี นมคี วามสามารถในการเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนอื้ มดั ใหญต่ ่างๆ ดงั ต่อไปนี้ ๑. ออกกาลงั กาย เลน่ กฬี า เข้าร่วมกจิ กรรมนนั ทนาการ กจิ กรรมสรา้ งเสริมสมรรถภาพโดยนา หลกั การมาใช้ได้อยา่ งถกู ต้องด้วยความสนุกสนาน ๒. รกู้ ฎกตกิ าการเลน่ ของเกมและกีฬาในแต่ละประเภทอย่างถกู ต้อง แสดงออกถงึ การมมี ารยาท ในการดู การเล่นและการแข่งขนั ดว้ ยความมีนา้ ใจนกั กฬี า เหน็ คุณคา่ ของการเล่นเกมและกีฬา ๓. รอ้ งเพลง ฟอ้ น รา แสดงทา่ ทางประกอบจงั หวะดนตรี อยา่ งอสิ ระและสร้างสรรค์ ด้วยความ ชนื่ ชมและสนกุ สนาน นักเรียนมีความสามารถในการเคลือ่ นไหวโดยใช้กล้ามเน้อื มดั เล็กตา่ งๆ ดังตอ่ ไปนี้ ๑. รแู้ ละเข้าใจ รูปร่าง รูปทรง พนื้ ผวิ สี แสงเงา มีทักษะพ้ืนฐานในการใชว้ ัสดุ อปุ กรณ์ สร้างสรรค์งานศลิ ปะอยา่ งถูกต้อง ตลอดจนรแู้ ละเข้าใจคุณคา่ ของงานทศั นศิลปท์ ี่สะทอ้ นวฒั นธรรมท้องถน่ิ ๒. สรา้ งสรรค์งานทัศนศลิ ป์ สื่อความหมายเป็นเร่อื งราวตามจนิ ตนาการ โดยใช้ทักษะใน การวาดภาพและระบายสี การป้ัน การพิมพ์ภาพ โดยใช้วสั ดุและเทคนคิ ตา่ ง ๆ อยา่ งสร้างสรรค์ ๓. ถา่ ยทอดความรสู้ กึ และจนิ ตนาการเป็นผลงานดว้ ยวัสดตุ า่ ง ๆ และเทคโนโลยอี ยา่ งสรา้ งสรรค์

กล่มุ ทกั ษะเคล่ือนไหว สาระท่ี ๑ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเคลอื่ นไหว การออกกาลังกาย การเลม่ เกม และกฬี าตามกฎ ก มาตรฐาน ทค ๑.๑ เข้าใจและใชก้ ล้ามเนอื้ มดั ใหญใ่ นการเคลอ่ื นไหว การออกกาลงั กาย การเ ป.๑ ป.๒ ตัวช้วี ดั ๑. ใช้อวยั วะส่วนตา่ ง ๆ ๑. ใชอ้ วยั วะสว่ นตา่ ง ๆ ป.๓ ในการเคลอ่ื นไหวร่างกาย ขณะ ในการเคล่ือนไหวรา่ งกาย ขณะ อยูก่ บั ทแ่ี ละเคลือ่ นที่ อยู่กบั ทีแ่ ละเคลื่อนที่โดยใช้ ๑. ใชอ้ วัยวะส่วนตา่ ง ๆ อยา่ งงา่ ย ๆ โดยใชอ้ ุปกรณ์ อปุ กรณป์ ระกอบอย่างอสิ ระ ในการเคล่อื นไหวรา่ งกาย ขณะ ประกอบอย่างอิสระ อย่กู ับทแ่ี ละเคล่อื นทโี่ ดยใช้ อปุ กรณป์ ระกอบอย่างมีทศิ ทาง ๒. ออกกาลังกาย ๒. ออกกาลงั กาย ๒. ออกกาลงั กาย โดยการเลน่ เกมเบด็ เตล็ด โดยการเล่นเกมเบด็ เตลด็ โดยการเล่นเกมเบด็ เตลด็ เขา้ รว่ มกิจกรรมทางกาย เขา้ รว่ มกิจกรรมทางกาย เขา้ ร่วมกจิ กรรมทางกาย ทใ่ี ช้การเคลือ่ นไหว ทใี่ ช้การเคลอ่ื นไหว ท่ีใช้การเคลื่อนไหว ตามธรรมชาติ ตามข้ันตอนและ ตามธรรมชาติ ตามขน้ั ตอน ตามธรรมชาติ ตามขัน้ ตอน ปฏบิ ตั ิตามข้อตกลง ตามความสนใจและ และปฏบิ ตั ติ ามข้อตกลง ปฏิบัติตามข้อตกลง ๓. ออกกาลังกาย ๓. ออกกาลงั กาย ๓. ออกกาลงั กาย เคลื่อนไหวร่างกาย เคลื่อนไหวร่างกาย เคลื่อนไหวรา่ งกาย ขณะอยู่กบั ทแ่ี ละเคล่อื นที่ด้วย ขณะอยู่กบั ท่แี ละเคลือ่ นท่ดี ว้ ย ขณะอยกู่ บั ทแี่ ละเคลอ่ื นท่ดี ้วย ความสนุกสนาน ความสนุกสนาน ความสนุกสนาน

34 กติกา เล่นเกมและกีฬาตามกฎ กตกิ า ดช้ันปี ป.๕ ป.๖ ๑. ใช้อวัยวะสว่ นตา่ งๆ ป.๔ ๑. ใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในการเคล่อื นไหวรา่ งกายแบบ ในการเคล่ือนไหวรา่ งกาย ผสมผสานขณะอย่กู ับทแ่ี ละ ๑. ใช้อวัยวะส่วนตา่ ง ๆ แบบผสมผสาน ขณะอยู่กบั ท่ี เคลื่อนที่ โดยใชอ้ ปุ กรณอ์ ย่าง ในการเคล่ือนไหวรา่ งกาย และเคลื่อนที่ โดยใช้อุปกรณ์ อสิ ระ หรือตามรปู แบบ แบบผสมผสาน ขณะอยู่กับที่ ตามรปู แบบทก่ี าหนด ท่กี าหนด และเคล่ือนท่ี โดยใชอ้ ปุ กรณ์ ๒. ออกกาลังกาย โดยการ ประกอบ อยา่ งอิสระ เลน่ เกม เขา้ ร่วมกิจกรรม ทางกาย ท่ีใชก้ ารเคล่อื นไหว ๒. ออกกาลงั กายโดยการเล่น ๒. ออกกาลังกาย ร่างกายแบบบังคบั ทิศทาง ตามขน้ั ตอน และ ปฏิบตั ติ าม เกม เข้ารว่ มกิจกรรมทางกาย โดยการเลน่ เกม เข้ารว่ ม กฎ กตกิ า เข้ารว่ มกจิ กรรม ท่ใี ช้การเคลือ่ นไหวร่างกายแบบ กิจกรรมทางกายท่ใี ช้ ๓. การออกกาลังกาย เคลื่อนไหวรา่ งกาย บังคับทิศทางตามขน้ั ตอนและ การเคลือ่ นไหวรา่ งกายแบบ และเขา้ ร่วมกจิ กรรมทางกาย ดว้ ยความสนกุ สนานและ ปฏบิ ัตติ ามกฎ กตกิ า บังคบั ทิศทาง ตามขัน้ ตอน มีนา้ ใจเปน็ นกั กฬี า เข้ารว่ มกจิ กรรม และปฏบิ ตั ติ ามกฎ กตกิ า เขา้ รว่ มกิจกรรม ๓. การออกกาลังกาย ๓. การออกกาลังกาย เคล่อื นไหวรา่ งกาย และ เคล่ือนไหวรา่ งกาย และ เขา้ ร่วมกิจกรรมทางกาย เขา้ ร่วมกจิ กรรมทางกาย ด้วย ดว้ ยความสนกุ สนานและ ความสนกุ สนานและ มนี ้าใจเป็นนักกีฬา มีน้าใจเป็นนักกีฬา

กลุ่มทกั ษะเคล่อื นไหว สาระท่ี ๑ กลา้ มเน้ือมดั ใหญ่ การเคลอ่ื นไหว การออกกาลงั กาย การเล่มเกม และกฬี าตามกฎ ก มาตรฐาน ทค ๑.๑ เขา้ ใจและใชก้ ลา้ มเน้ือมดั ใหญ่ในการเคลอ่ื นไหว การออกกาลงั กาย การเ ม. ๑ ม.๒ ตัว ๑. เคลอื่ นไหวรา่ งกาย ๑. เคลอื่ นไหวรา่ งกาย ม.๓ แบบผสมผสาน ปฏบิ ตั ิตาม แบบผสมผสาน ปฏิบตั ิตาม รปู แบบท่ีกาหนดในการเลน่ รปู แบบทกี่ าหนดในการเล่น ๑. เคลอื่ นไหวรา่ งกาย กีฬา กีฬา แบบผสมผสาน ปฏิบตั ิตาม รปู แบบที่กาหนด ในการเล่นกีฬา ๒. ออกกาลงั กาย โดยการ ๒. ออกกาลังกาย โดยการเลน่ ๒. ออกกาลังกาย โดยการ เล่นกีฬาไทย กฬี าสากล กฬี าไทย กฬี าสากล เลน่ กฬี าไทย กฬี าสากล การละเลน่ ของท้องถนิ่ การละเล่นของท้องถิน่ การละเล่นของทอ้ งถน่ิ ตามคาแนะนา และปฏบิ ตั ิ ตามคาแนะนา และปฏิบตั ิ ตามคาแนะนา และปฏิบัติ ตามกฎกตกิ า ตามกฎ กตกิ า ตามกฎกตกิ า ๓. เข้าร่วมกิจกรรม ๓. เขา้ ร่วมกิจกรรม ๓. เขา้ รว่ มกิจกรรม การออกกาลังกาย เล่นกฬี า การออกกาลังกาย เล่นกีฬา การออกกาลังกาย เลน่ กีฬา ทีต่ นเองช่นื ชอบอยา่ ง ที่ตนเองช่ืนชอบ ที่ตนเองช่ืนชอบ สนุกสนาน และมีน้าใจ อยา่ งสนกุ สนาน และ อย่างสนกุ สนาน และ เป็นนักกีฬา มีน้าใจเปน็ นกั กีฬา มีน้าใจเป็นนกั กฬี า

35 กติกา เลน่ เกมและกีฬาตามกฎ กตกิ า วชวี้ ัดชั้นปี ม.๕ ม.๖ ม.๔ ๑. เคล่อื นไหวรา่ งกาย ๑. เคลือ่ นไหวรา่ งกาย ๑. เคลื่อนไหวรา่ งกาย แบบผสมผสาน มที ักษะ แบบผสมผสาน มีทกั ษะ แบบผสมผสาน มีทักษะพ้ืนฐาน พ้ืนฐานในการเล่นกฬี า พืน้ ฐานในการเล่นกฬี า ในการเล่นกีฬา ตามความสนใจ ตามความสนใจ และ ตามความสนใจและ และความสามารถของแต่ละบคุ คล ความสามารถของแตล่ ะบุคคล ความสามารถของแต่ละบคุ คล ๒. ออกกาลงั กาย โดยการ ๒. ออกกาลงั กาย โดยการ ๒. ออกกาลงั กาย โดยการ เล่นกฬี าไทย กฬี าสากล เลน่ กีฬาไทย กีฬาสากล เลน่ กีฬาไทย กีฬาสากล ประเภท ประเภทบุคคล ประเภททีม ประเภทบุคคล ประเภททีม บุคคล ประเภททีม ตามความถนดั ความสนใจ ตามความถนดั ความสนใจ ตามความถนดั ความสนใจ นาไปใชส้ รา้ งเสรมิ สุขภาพ นาไปใชส้ ร้างเสรมิ สขุ ภาพ นาไปใช้สร้างเสรมิ สุขภาพอย่าง อยา่ งตอ่ เนือ่ งและปฏบิ ตั ิตาม อย่างต่อเนอ่ื งและปฏิบตั ิตามกฎ ต่อเนอ่ื งและปฏบิ ัติตามกฎ กติกา กฎ กตกิ า กตกิ า ๓. เขา้ รว่ มกจิ กรรม ๓. เขา้ ร่วมกจิ กรรม ๓. เข้ารว่ มกจิ กรรม การออกออกกาลงั กาย และ การออกกาลงั กาย และเลอื กเข้า การออกกาลงั กาย และ เลือกเข้า เลอื กเข้าร่วมเล่นกฬี า ตาม รว่ มเลน่ กีฬา ตามความถนัด รว่ มเล่นกฬี า ตามความถนดั ความ ความถนัด ความสนใจ อยา่ ง ความสนใจ อยา่ งสนุกสนานและ สนใจอย่างสนุกสนาน และมีน้าใจ สนกุ สนานและมนี า้ ใจเปน็ มนี ้าใจเปน็ นักกีฬา เป็นนักกีฬา นกั กฬี า

กลุม่ ทักษะเคลอ่ื นไหว สาระที่ ๒ กล้ามเนอ้ื มัดใหญ่ การแสดงออกทางดนตรี และนาฏศลิ ป์ มาตรฐาน ทค ๒.๑ เข้าใจและใช้กล้ามเน้อื มัดใหญ่ในการแสดงออกทางดนตรี และนาฏศิลป์ ป.๑ ป.๒ ตัวช้ีวัด ๑. ร้วู ิธกี ารเคลื่อนไหว ๑. รวู้ ิธกี ารเคลือ่ นไหวรา่ งกาย ป.๓ ร่างกาย และเคลื่อนไหว และเคลอ่ื นไหวร่างกายประกอบ ร่างกายประกอบจังหวะ จงั หวะ หรือเพลงทช่ี อบตาม ๑. รวู้ ธิ กี ารเคลือ่ นไหวรา่ งกาย หรือเพลงทช่ี อบอยา่ งอสิ ระ รูปแบบท่กี าหนด ประกอบจงั หวะ หรอื เพลง ท่ีชอบตามรปู แบบทกี่ าหนด หรอื อยา่ งอิสระ ๒. เคล่อื นไหวรา่ งกาย ๒. เคลอื่ นไหวรา่ งกายเลยี นแบบ ๒. แสดงท่าทางงา่ ย ๆ เพือ่ ส่ือ เลยี นแบบ ธรรมชาติ คน ธรรมชาติ คน สตั ว์ และส่งิ ของ ความหมายแทนคาพูดอยา่ ง สัตว์ และสง่ิ ของอยา่ งอสิ ระ ตามกาหนด อสิ ระ ๓. มสี ว่ นร่วมในกิจกรรม ๓. มสี ว่ นรว่ มในกิจกรรมดนตรี ๓. มสี ่วนรว่ มในกิจกรรมดนตรี ดนตรี นาฏศิลป์ อย่าง นาฏศลิ ป์ อยา่ งสนุกสนาน นาฏศลิ ป์ อย่างสนกุ สนาน สนุกสนาน

36 ดช้ันปี ป.๕ ป.๖ ป.๔ ๑. เคลือ่ นไหวรา่ งกาย ๑. เคล่อื นไหวรา่ งกาย ใหส้ อดคลอ้ งกับจงั หวะ หรือ ใหส้ อดคล้องกบั จังหวะหรือ ๑. เคล่ือนไหวรา่ งกาย เพลงทีช่ อบตามรปู แบบ เพลงทช่ี อบอย่างอสิ ระ หรือ ใหส้ อดคล้องกับจงั หวะ หรือ ท่ีกาหนด ตามรปู แบบทก่ี าหนด เพลงทช่ี อบอย่างอิสระ ๒. แสดงท่าทาง ๒. แสดงทา่ ทาง ๒. แสดงท่าทาง การเคลื่อนไหวท่ีสะท้อน การเคลื่อนไหวทส่ี ะทอ้ น การเคลอื่ นไหวท่สี ะท้อน อารมณข์ องตนเอง อารมณข์ องตนเอง อารมณ์ของตนเอง อย่างอิสระ ตามรูปแบบท่กี าหนด อยา่ งอสิ ระ หรอื ตามรปู แบบ ที่กาหนด ๓. มีสว่ นร่วมในกจิ กรรม ๓. มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรี ๓. มสี ่วนร่วมในกจิ กรรม ดนตรี นาฏศลิ ป์ อยา่ ง นาฏศลิ ป์ อยา่ งสนกุ สนาน ดนตรี นาฏศิลป์ สนกุ สนาน อย่างสนกุ สนาน

กลมุ่ ทกั ษะเคลอื่ นไหว สาระที่ ๒ กล้ามเนอ้ื มดั ใหญ่ การแสดงออกทางดนตรี และนาฏศลิ ป์ มาตรฐานการเรียนรทู้ ่ี ทค ๒.๑ เขา้ ใจและใชก้ ล้ามเนือ้ มดั ใหญใ่ นการแสดงออกทางดนตรี และ ม. ๑ ม.๒ ตวั ช้วี ๑. เคลื่อนไหวรา่ งกาย ๑.เคล่อื นไหวรา่ งกาย ม.๓ ให้สอดคลอ้ งกบั ความช้า ให้สอดคลอ้ งกบั ความช้า ความเร็วของจังหวะดนตรี ความเร็วของจังหวะดนตรี ๑.เคลอื่ นไหวร่างกาย โดยใช้เครอ่ื งดนตรีประกอบ โดยใชเ้ ครอ่ื งดนตรปี ระกอบ ใหส้ อดคล้องกับความช้า แบบง่าย ๆ ความเรว็ ของจังหวะดนตรี โดยใช้เคร่อื งดนตรีประกอบ ๒. แสดงภาษาท่าทาง ๒. แสดงภาษาทา่ ทาง ๒. แสดงภาษาท่าทาง ประกอบเพลงหรือ เรอ่ื งราว ประกอบเพลงหรอื เร่อื งราว ประกอบเพลงหรือ เรื่องราว ตามคดิ ของตนเองอยา่ งงา่ ย ๆ ตามรูปแบบนาฏศลิ ป์ ตามรูปแบบนาฏศลิ ป์ ตามที่ อย่างง่าย ๆ กาหนด ๓. ร่วมกิจกรรมดนตรี ๓. รว่ มกจิ กรรมดนตรี ๓. ร่วมกิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์ ด้วยความช่ืนชม นาฏศิลป์ ดว้ ยความชื่นชม นาฏศลิ ป์ ดว้ ยความชน่ื ชม และสนกุ สนาน และสนุกสนาน และสนุกสนาน

37 ะนาฏศลิ ป์ วัดชนั้ ปี ม.๕ ม.๖ ม.๔ ๑. เคล่ือนไหวรา่ งกาย ๑. เคล่ือนไหวรา่ งกาย ประกอบจงั หวะเพลง และ ประกอบจังหวะเพลง ๑.เคลือ่ นไหวร่างกาย เครือ่ งดนตรีทต่ี นเองชืน่ ชอบ และเครอ่ื งดนตรี ทีต่ นเอง ประกอบจงั หวะเพลงและใช้ ชน่ื ชอบอยา่ งเหมาะสม เครื่องดนตรีประกอบจงั หวะ อย่างง่ายๆ ๒. รจู้ กั ภาษาทา่ และ ๒.แสดงนาฏศลิ ป์ โดยเน้นการ ๒. แสดงนาฏศิลป์และละคร นาฏยศพั ย์ หรอื ศัพทท์ างการ ใช้ภาษาทา่ และนาฏศพั ทใ์ น ง่าย ๆ ในท้องถ่นิ ของตนเอง ละครงา่ ย ๆ ในการถา่ ยทอด สือ่ ความหมายและการ ตามความสนใจ เรื่องราว แสดงออก ๓. รว่ มกิจกรรมดนตรี ๓. ร่วมกจิ กรรมดนตรี ๓. รว่ มกจิ กรรมดนตรี นาฏศลิ ป์ ด้วยความช่ืนชม นาฏศลิ ป์ ดว้ ยความชน่ื ชม นาฏศลิ ป์ ด้วยความชื่นชม และสนุกสนาน และสนกุ สนาน และสนุกสนาน

กล่มุ ทักษะเคลื่อนไหว สาระท่ี ๓ กลา้ มเนือ้ มัดเลก็ ปฏบิ ตั ิกิจกรรมประสานสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมอื กับตา สรา้ งสรรคง์ านทศั มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ทค ๓.๑ เข้าใจ มที กั ษะในการใชก้ ลา้ มเนื้อมัดเล็ก ปฏิบัติกจิ กรรมประสา ประยุกตใ์ ชใ้ นชีวิตประจาวัน ป. ๑ ป.๒ ตวั ชว้ี ๑. ปฏิบัติกจิ กรรมตา่ ง ๆ ๑. ปฏิบตั กิ จิ กรรมต่าง ๆ ป.๓ โดยใช้การทางานทป่ี ระสาน โดยใชก้ ารทางานที่ประสาน สัมพันธร์ ะหว่างมือกับตา สัมพันธ์ระหว่างมอื กับตา ๑. ปฏบิ ตั ิกจิ กรรมตา่ ง ๆ ในการหยิบ จบั และ ในการหยิบ จับ และ โดยใช้การทางานทปี่ ระสาน เคล่ือนย้ายวตั ถุ ท่มี รี ปู ทรง เคล่ือนยา้ ยวตั ถุ ทม่ี ีรปู ทรง สมั พนั ธ์ระหว่างมอื กับตา ขนาด นา้ หนักต่าง ๆ ตาม ขนาด น้าหนักต่าง ๆ ในการหยิบ จบั และ คาแนะนา นาไปใชใ้ น ตามกาหนดนาไปใชใ้ น เคลอ่ื นยา้ ยวตั ถุ ท่ีมรี ูปทรง ชวี ิตประจาวนั ชีวติ ประจาวนั ขนาด น้าหนักต่าง ๆ ตาม คาแนะนาและกาหนดนาไปใช้ ในชีวิตประจาวนั ๒. ประสานสมั พันธ์ ๒. ประสานสมั พนั ธ์ ๒. ประสานสัมพนั ธ์ ระหว่างมอื กับตา ในการ ระหว่างมือกับตา ระหว่างมอื กับตา ลากเส้น รูปรา่ ง รูปทรงที่มี ในการลากเสน้ รปู ร่าง รปู ทรง ในการลากเส้น รปู ร่าง รปู ทรง ขนาดต่าง ๆ และวาดภาพ ที่มีขนาดตา่ งๆ และวาดภาพ ท่ีมขี นาดตา่ งๆ และวาดภาพ ระบายสตี ามรปู แบบ ระบายสี ตามรูปแบบ ระบายสี ตามรูปแบบที่ ท่ีกาหนด ทก่ี าหนด กาหนด

38 ศนศลิ ป์ านสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมือกบั ตา สร้างสรรค์งานทัศนศิลปต์ ามจิตนาการอยา่ งอิสระ วดั ชนั้ ปี ป.๕ ป.๖ ป.๔ ๑. ปฏิบัตกิ จิ กรรมต่าง ๆ ๑. ปฏบิ ัตกิ จิ กรรมต่าง ๆ โดยใช้การทางานประสาน โดยใช้การทางานประสาน ๑. ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมตา่ ง ๆ สมั พันธ์ระหวา่ งมอื กับตา สัมพนั ธ์ระหวา่ งมอื กับตา โดยใชก้ ารทางานที่ประสาน ในการหยิบ จับ และเคลื่อนย้าย ในการหยิบ จบั และ สมั พนั ธร์ ะหว่างมอื กับตา วตั ถุ ทม่ี รี ปู ทรง ขนาด น้าหนัก เคล่ือนยา้ ยวตั ถุ ท่มี รี ูปทรง ในการหยิบ จบั และ ต่าง ๆ ได้อยา่ งคล่องแคล่ว ขนาด นา้ หนกั ต่าง ๆ ได้ เคลอ่ื นย้ายวตั ถุ ท่ีมีรูปทรง นาไปใชใ้ นชวี ิตประจาวัน อย่างคล่องแคลว่ นาไปใช้ ขนาด นา้ หนกั ต่าง ๆ ในชวี ิตประจาวนั ได้อย่างคลอ่ งแคลว่ นาไปใช้ ในชวี ิตประจาวัน ๒. ประสานสัมพนั ธ์ ๒. ประสานสมั พนั ธ์ ๒. ประสานสมั พนั ธ์ ระหว่างมือกบั ตา ระหวา่ งมอื กบั ตา ในการ ระหว่างมือกับตา ในการลากเสน้ รปู ร่าง รปู ทรง ลากเส้น รูปรา่ ง รปู ทรง ทีม่ ี ในการลากเสน้ รปู ร่าง ทมี่ ขี นาดต่างๆวาดภาพระบาย ขนาดตา่ ง ๆวาดภาพระบายสี รูปทรง ทม่ี ขี นาดต่าง ๆ สี ตามรูปแบบทีก่ าหนดและ ตามรปู แบบทีก่ าหนดและตาม วาดภาพระบายสี ตาม ตามจนิ ตนาการ จินตนาการ รปู แบบท่ีกาหนดและตาม จนิ ตนาการ

กลมุ่ ทกั ษะเคล่อื นไหว สาระท่ี ๓ กล้ามเน้ือมดั เล็ก ปฏิบตั ิกิจกรรมประสานสัมพนั ธ์ระหว่างมอื กบั ตา สร้างสรรค์งานทัศ มาตรฐานการเรียนรู้ท่ี ทค ๓.๑ เข้าใจ มที ักษะในการใช้กล้ามเนอ้ื มดั เล็ก ปฏิบตั กิ จิ กรรมประส ประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจาวัน ป. ๑ ป.๒ ตัวช้วี ัดชั้น ๓. ปฏบิ ตั ิงานศลิ ปะ ดว้ ย ๓. ปฏิบตั ิงานศลิ ปะ ด้วยการ ป.๓ การพบั ตัด ฉีก ปะกระดาษ พับ ตัด ฉีก ปะกระดาษ และ และการปน้ั ดว้ ยวสั ดตุ า่ ง การปน้ั ดว้ ยวสั ดตุ า่ ง ๆ และ ๓. ปฏิบตั งิ านศลิ ปะดว้ ยการ ๆ และ สร้างช้นิ งานศิลปะ สร้างชิน้ งานศิลปะที่ชอบ พับ ตดั ฉกี ปะกระดาษ และ ท่ชี อบ ตามคาแนะนา ตามกาหนด การปน้ั ด้วยวสั ดตุ ่าง ๆ และ สรา้ งช้นิ งานศิลปะท่ชี อบ ตามกาหนดและจนิ ตนาการ ๔. รู้จักการใช้ และการ ๔. ร้จู กั การใช้ และการจดั เกบ็ ๔. รู้จักการใช้ และการจดั เก็บ จดั เก็บวสั ดุ อปุ กรณ์ ในการ วัสดุ อปุ กรณใ์ นการปฏิบตั ิงาน วสั ดุ อปุ กรณ์ ในกา ปฏบิ ัตงิ าน ศิลปะ ตามคาแนะนา ปฏิบตั งิ านศลิ ปะ ตาม ศลิ ปะตามคาแนะนา โดย โดยคานึงถึงความปลอดภยั คาแนะนา คานึงถึงความปลอดภยั โดยคานงึ ถึงความปลอดภยั

39 ศนศลิ ป์ สานสมั พนั ธ์ระหว่างมือกบั ตา สร้างสรรค์งานทศั นศลิ ปต์ ามจิตนาการอย่างอิสระ นปี ป.๕ ป.๖ ป.๔ ๓. ปฏิบัตงิ านศลิ ปะดว้ ย ๓. ปฏบิ ัติงานศลิ ปะ ด้วย การพับ ตดั ฉกี ปะ การพบั ตัด ฉกี ปะกระดาษ ๓. ปฏบิ ัตงิ านศลิ ปะ ด้วย กระดาษ และการปั้นด้วย และการปนั้ ด้วยวสั ดุตา่ ง การพับ ตัด ฉีก ปะกระดาษ วสั ดุต่าง ๆ และสรา้ ง ๆ และ และการป้ัน ดว้ ยวัสดตุ ่าง ๆ ชนิ้ งานศลิ ปะ สรา้ งชิน้ งานศิลปะ และสรา้ งชนิ้ งานศลิ ปะ ด้วยความประณีต ด้วยความประณตี สวยงาม ดว้ ยความประณีต สวยงาม สวยงาม ๔. รู้จกั การใช้ และการ ๔. ร้จู กั การใช้ และการ ๔. รจู้ ักการใช้ และการ จดั เก็บวัสดุ อุปกรณ์ ในการ จดั เกบ็ วัสดุ อุปกรณ์ ใน จดั เก็บวัสดุ อปุ กรณ์ ในการ ปฏบิ ตั ิงาน การปฏบิ ัตงิ านศลิ ปะ ปฏิบตั งิ านศิลปะ โดย ศลิ ปะ โดยคานึงถึงความ โดยคานงึ ถึงความ คานงึ ถึงความปลอดภยั และ ปลอดภยั และคมุ้ ค่า ปลอดภัย และคมุ้ ค่า ค้มุ คา่

กลมุ่ ทกั ษะเคลื่อนไหว สาระท่ี ๓ กล้ามเนอ้ื มัดเลก็ ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมประสานสัมพันธ์ระหวา่ งมอื กบั ตา สรา้ งสรรคง์ านทศั มาตรฐานการเรยี นรู้ท่ี ทค ๓.๑ เขา้ ใจ มที กั ษะในการใช้กลา้ มเนอื้ มดั เลก็ ปฏิบตั กิ จิ กรรมประส ประยุกต์ใชใ้ น ชีวิตประจาวัน ตวั ช ม. ๑ ม.๒ ม.๓ ๑. วาดภาพระบายสี ๑. วาดภาพระบายสี ๑. วาดภาพระบายสี ด้วยเทคนคิ ทีห่ ลากหลาย ด้วยเทคนิคที่หลากหลาย ดว้ ยเทคนิคทีห่ ลากหลาย ในการส่ือความหมาย และ ในการสื่อความหมาย ในการสอื่ ความหมายและ เรื่องราวต่าง ๆ ตาม และเรอื่ งราวตา่ งๆตาม เรอ่ื งราวต่าง ๆ ตาม คาแนะนา กาหนด จนิ ตนาการ ๒. สรา้ งงานศิลปะ ๒. สรา้ งงานศิลปะ ๒. สรา้ งงานศิลปะ จากแมพ่ มิ พแ์ ละการปัน้ จากแม่พมิ พแ์ ละการปน้ั จากแม่พมิ พ์และการป้นั ตามจนิ ตนาการโดยใช้วสั ดุ ตามจินตนาการและ จากประสบการณ์ โดยใชว้ ัสดุ ท่ีหลากหลาย ตามรูปแบบทกี่ าหนดโดยใช้ ท่ีหลากหลาย วัสดุทหี่ ลากหลาย ๓. สรา้ งผลงานศลิ ปะ ๓. สรา้ งผลงานศลิ ปะดว้ ย ๓. สรา้ งผลงานศลิ ปะ ดว้ ยวัสดตุ ่าง ๆ ถ่ายทอด วสั ดุตา่ ง ๆ ถา่ ยทอด ด้วยวัสดตุ า่ ง ๆ ถ่ายทอด ความรสู้ ึกและจินตนาการ ความรสู้ กึ และจนิ ตนาการ ความรสู้ กึ และจนิ ตนาการ อยา่ งอสิ ระ ตามรูปแบบ อยา่ งอิสระและตามรปู แบบ ที่กาหนด ทกี่ าหนด

40 ศนศิลป์ สานสัมพนั ธร์ ะหว่างมือกับตา สรา้ งสรรคง์ านทัศนศลิ ปต์ ามจติ นาการอยา่ งอสิ ระ ชีว้ ดั ชัน้ ปี ม.๕ ม.๖ ม.๔ ๑. วาดภาพระบายสี ๑. วาดภาพระบายสี โดยใชเ้ ทคนิคของ แสง เงา โดยใชเ้ ทคนคิ ของแสง เงา ๑. วาดภาพระบายสี นา้ หนกั และวรรณะสี ตาม น้าหนัก และวรรณะสี โดยใช้เทคนิคของ แสง เงา กาหนด ตามจนิ ตนาการ นา้ หนกั และวรรณะสี ตามคาแนะนา ๒. สรา้ งงานศิลปะ ๒. สรา้ งงานศิลปะ ๒. สรา้ งงานศิลปะ จากแม่พมิ พ์และการปั้น ตามจนิ ตนาการโดยใช้วัสดุ จากแมพ่ มิ พแ์ ละการป้ัน จากแม่พิมพ์และการปั้น และเทคนิคท่ีหลากหลาย ตามจินตนาการ และรูปแบบ จากประสบการณ์ โดยใชว้ สั ดุ ทก่ี าหนด โดยใช้วสั ดุและเทคนิค และเทคนิคทห่ี ลากหลาย ทีห่ ลากหลาย ๓. สรา้ งผลงานศลิ ปะ ๓. สรา้ งผลงานศลิ ปะ ๓. สรา้ งผลงานศลิ ปะ ดว้ ยวัสดตุ า่ ง ๆ หรอื ใช้ ด้วยวัสดตุ า่ ง ๆ หรอื ใช้ ด้วยวสั ดตุ า่ ง ๆ หรือใช้ เทคโนโลยี ถา่ ยทอดความรู้สกึ เทคโนโลยี ถ่ายทอดความรสู้ ึก เทคโนโลยี ถา่ ยทอดความรสู้ กึ และจนิ ตนาการ อย่างอสิ ระ และจนิ ตนาการอยา่ งอสิ ระ และจนิ ตนาการอยา่ งอสิ ระ และตามรปู แบบที่กาหนด และตามรูปแบบท่ีกาหนด และตามรปู แบบทีก่ าหนด

กลุ่มทกั ษะเคลื่อนไหว สาระที่ ๓ กล้ามเนอ้ื มัดเล็ก ปฏิบตั กิ ิจกรรมประสานสัมพนั ธร์ ะหวา่ งมอื กับตา สรา้ งสรรค์งานทัศ มาตรฐานการเรียนร้ทู ี่ ทค ๓.๑ เขา้ ใจ มที ักษะในการใช้กลา้ มเนอื้ มดั เลก็ ปฏิบตั ิกจิ กรรมประส ประยุกตใ์ ช้ในชีวิตประจาวนั ตัวชว้ี ัด ม. ๑ ม.๒ ม.๓ ๔. แสดงออกด้วยความ ๔. แสดงออกด้วยความ ๔. แสดงออกด้วยความ ๔. สนใจ และมีความ สนกุ สนาน สนใจ และมคี วามสนุกสนาน สนใจ และมีความสนกุ สนาน ศลิ ในการปฏิบตั ิกิจกรรม ในการปฏบิ ัติกิจกรรม ในการปฏิบัตกิ จิ กรรม ผล

41 ศนศิลป์ สานสมั พันธร์ ะหวา่ งมอื กบั ตา สรา้ งสรรค์งานทศั นศิลป์ตามจิตนาการอย่างอิสระ ดช้ันปี ม.๕ ม.๖ ม.๔ ๔. ร่วมกิจกรรมหรอื ๔. ร่วมกจิ กรรมหรอื ปฏบิ ัตงิ านศิลปะดว้ ยความ ปฏบิ ัตงิ านศิลปะด้วยความ รว่ มกิจกรรมหรอื ปฏิบตั ิงาน สนใจและชนื่ ชมผลงาน สนใจและช่ืนชมผลงาน ลปะด้วยความสนใจและชื่นชม ของตนเองและผู้อนื่ ของตนเองและผู้อ่นื ลงาน ของตนเองและผอู้ ืน่

42 คาอธบิ ายรายวชิ า รหสั วิชา ทค ๑๑๑๐๑ กลุ่มทกั ษะเคล่ือนไหว ระดบั ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๑ เวลา ๑๖๐ ช่ัวโมง ศึกษา อธิบายหลักการ และปฏิบัติในการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับท่ี และแบบเคลื่อนท่ี เคล่ือนไหว แบบใช้อุปกรณ์ประกอบ การทรงตัวโดยใช้อุปกรณ์ การรบั การสง่ สง่ิ ของในระยะ ระดบั ขนาดและนา้ หนัก ต่างๆ ตามที่กาหนด การออกกาลังกายโดยเล่นเกมเบ็ดเตล็ด เล่นเคร่ืองเล่นสนาม เคลื่อนไหวประกอบ จังหวะ และการละเล่นพ้ืนบ้าน การเลียนแบบท่าทาง เข้าร่วมออกกาลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่ กับท่ีและเคล่ือนท่ีอย่างสนุกสนาน ผู้เรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจินตนาการ มีการ แสดงท่าทางที่สะท้อนอารมณ์ การเลียนแบบเสียง เลียนแบบการเคล่ือนไหวของธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม ท่ีอย่รู อบตัว มีการใช้ภาษาท่าง่าย ๆ เพ่ือส่ือความหมายแทนคาพูด แสดงท่าทางประกอบจังหวะและเพลง การเคาะจังหวะด้วยเคร่ืองประกอบจังหวะอย่างอิสระ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้กล้ามเนื้อมัด ใหญ่ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และมีสนุ ทรียภาพด้านดนตรี นาฏศลิ ป์ ผู้เรียนสามารถหยบิ จับ และ เคลื่อนย้ายวัตถทุ ่ีมีลักษณะรูปทรง ขนาด น้าหนัก ด้วยรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้การประสานสัมพันธ์ ระหว่าง มือกับตาในการลากเส้น รูปร่าง รูปทรง ที่มีขนาดต่าง ๆ และวาดภาพระบายสีตามรูปแบบท่ีกาหนด หรือ ตามจินตนาการ สามารถพับ ตัด ฉีก ปะ กระดาษ และการปนั้ ด้วยวสั ดุต่าง ๆ เพ่ือสร้างสรรค์ชิน้ งานศิลปะ ด้วยความประณีต สวยงาม โดยใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างปลอดภัย และมสี นุ ทรยี ภาพด้านศิลปะ โดยใช้กระบวนการ การสอนแบบส่ังการ การสอนแบบมอบหมายงานให้ทา การสอนแบบแบ่งกลุ่ม ย่อยการสอนแบบรายบุคคล การสาธิต ปฏิบัติจริง การวิเคราะห์งาน สอนซ้า ย้า ทวน การสอนโดยใช้เกม การสอนแบบบรู ณาการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเน้ือมัดเล็กในการทากิจกรรมต่างๆ มีความ แข็งแรงของกลา้ มเนื้อ ความคลอ่ งแคล่ว สหสัมพันธ์ของร่างกาย ความอดทน มคี วามรับผิดชอบการปฏิบัติ กิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน คานึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ความมีน้าใจ ความมีระเบียบวินัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวันให้เกิด ประโยชน์ตอ่ ตนเองได้อย่างถกู ต้องและเหมาะสมตามศักยภาพ รหสั ตัวช้ีวัด ทค ๑.๑ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ทค ๒.๒ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ทค ๓.๓ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ป.๑/๔ รวม ๑๐ ตัวชี้วดั