Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือ Halal Haram A5

หนังสือ Halal Haram A5

Published by fakrutdeen tapohtoh, 2022-08-03 09:54:21

Description: หนังสือ Halal Haram A5

Search

Read the Text Version

คำนิยม ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรณุ าปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ “แทจ้ รงิ อลั ลอฮทฺ รงชอบบรรดาผ้สู ำนึกผดิ กลับเนอ้ื กลบั ตัว 1

และทรงชอบบรรดาผทู้ ี่ทำตนให้สะอาด” (อลั บากอเราะฮฺ : 222) มสุ ลมิ ในวนั น้ไี ด้แบกความทา้ ทายในการดำรงชวี ติ พวกเขาไม่เพียง เผชิญกับภัยคุกคามทางการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังถูกคุกคามทาง วัฒนธรรมด้านอื่นๆของสังคมรวมถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใน ชีวิตประจำวันอีกด้วย จริงๆแล้วสิ่งนี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแบบอิสลาม อย่างไม่รู้ตัว ปัญหาความบริสุทธิ์ของผลติ ภัณฑ์และบริการเป็นส่ิงที่อ่อนไหวต่อ มสุ ลมิ มสุ ลิมจะต้องให้ความสำคัญเกยี่ วกบั ปญั หาทางดา้ นฮาลาลและหะรอม อย่างจริงจัง เนื่องจากความเชื่อของมุสลิมนั้นถูกกำหนดโดยศาสนาอิสลาม จงึ ไมค่ วรมองส่งิ ใดอยา่ งฉาบฉวย ดงั น้นั ข้าพเจ้าเห็นว่าหนงั สือเล่มนีท้ ี่เป็นข้อสรปุ จากการศึกษาของ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภครัฐปีนัง (Consumer Association of Penang; CAP) ซึง่ เป็นความตอ้ งการของมสุ ลมิ ไมเ่ พียงในประเทศมาเลเซยี เท่านัน้ แต่ ยงั เป็นความต้องการของประชากรมุสลมิ ท่ัวโลกอกี ด้วย หนังสือเลม่ นี้มี 8 บท จำนวน 30 ตอน เป็นการเปิดโปงตลอดจนชี้แนะประเด็นปัญหาที่สำคัญบาง ประเดน็ ซึ่งเปน็ ปญั หาความขัดแยง้ ของสงั คมมายาวนาน ข้าพเจ้าแนะนำให้สมาชิกทุกคนในสังคมได้อ่านและศึกษาหนังสือ เล่มนี้ ซึ่งหนังสือจะสร้างความกระจ่าง ไม่ว่าประเด็นปัญหาใดก็ตามที่สร้าง ความเคลอื บแคลงสงสัยในจิตใจของมสุ ลมิ จะถกู อธิบายไวอ้ ย่างเปน็ ระบบ ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะไม่ได้ตอบทุกคำถามที่เป็นข้อสงสัยของ สังคม แตก่ ย็ งั มีความสำคญั ท่จี ะสรา้ งความเช่ือม่นั ต่อมสุ ลิมในประเด็นปัญหา ต่างๆเกีย่ วกับการบริโภค การสร้างนิสัยผู้บรโิ ภคท่ีดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม่อื เชื่อมโยงกับหลกั คำสอนของศาสนา ซึ่งเปน็ ส่ิงที่อิสลามไดใ้ ห้ความสำคัญเปน็ อย่างมาก การบังคับใช้กฎหมายชารีอะฮฺนั้นไม่เพียงแต่เนน้ ความบริสุทธิ์ของ ผลิตภณั ฑ์เท่านั้น แตย่ งั รวมวัฒนธรรมทางดา้ นอ่ืนๆของการดำรงชีวิตอีกด้วย เช่น การฟุ่มเฟือย การทำลายสิ่งแวดล้อม การไม่ยอมรับสิทธิของบุคคลอ่ืน และอิทธิพลอื่นที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สิ่งที่ชัดเจนนั่นก็คือ สิ่งใดก็ 2

ตามทีถ่ กู นำมาใชค้ วรได้รับการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนเสยี ก่อน เพื่อที่ส่ิงนั้นจะ ไมท่ ำให้มุสลมิ ไปละเมดิ หลักคำสอนของอัลลอฮฺ (ซบ.) ดาโตะ๊ เซอรี ดร.ฮารสุ สานี ซาการี มุฟตีแห่งรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย คำนำ นักลงทุนในยุคโลกาภิวัตน์ได้ชักนำไปสู่ระบบการค้าและการลงทนุ และการดำรงชวี ติ ของมนุษยร์ วมไปถงึ การปฏบิ ัตศิ าสนกจิ สำหรับมุสลิมแล้วเดือนรอมฏอนเป็นเดือนที่มีความประเสริฐ เนอ่ื งจากคัมภีร์อัลกรุ อานไดถ้ ูกประทานลงมาจากพระผอู้ ภิบาลมายังท่านนบี มุฮัมหมัด (ซ็อลล็อลลอฮุอาลัยฮิวาซ็อลลัม) ในเดือนนี้ ในช่วงเดือนรอมฎอน ได้กำหนดให้มุสลิมถือศีลอดในระหว่างวันและดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การ ใคร่ครวญและอ่าน อัลกุรอาน นี่คือเจตนารมณ์ที่ทำให้เกิดการพัฒนา ทางด้านจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล และทำให้ตัวของเขาเป็นผู้ใกล้ชิดกับ พระผเู้ ป็นเจา้ 3

ในประเพณที สี่ ืบทอดกนั มา มุสลมิ ได้ทำการละศลี อดในมัสยดิ ตา่ งๆ หรือกับสมาชิกในครอบครัวภายในบ้านของพวกเขาด้วยบรรยากาศแห่งจิต วญิ ญาณ ปจั จบุ นั เมอื งใหญๆ่ ไดท้ ำการละศีลอดในโรงแรมที่มีการเสนออาหาร กระจายไปกว่า 50 รายการ ซึ่งกลายเป็นแฟชั่นในหมู่มุสลิมชั้นสูง มันได้ กลายเป็นโอกาสสำหรับความบันเทิงแก่ข้าราชการ แขกผู้มาเยือนและการ ติดต่อเพื่อทำธุรกิจการค้า เช่นเดียวกับความปรารถนาในการกินและดื่มท่ี มากเกนิ ควร รอมฎอนเปรียบเสมือนกับเทศกาลคริสมาสต์ ที่ได้กลายเป็น สัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมการโฆษณาเพื่อกระตุ้นการบริโภคสินค้าและ บริการเกินความจำเป็น ด้วยเหตุน้ีเราได้พบเห็นเซ็คคิวลาร์ในอิสลามเติบโต อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเปรียบได้กับสิ่งที่เกิดกับคริสเตียนในประเทศ ตะวันตกเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ทรัพย์สมบัติได้ทำหน้าที่แทนพระเจ้าอย่าง รวดเร็วเสมือนเป็นวัตถุเพื่อการบูชา นอกจากนี้ผู้มีอำนาจไม่ได้คำนึงถึง พัฒนาการของสิ่งนี้ที่จะเป็นการบ่อนทำลายคุณค่าของแก่นแท้ในศาสนา อิสลาม ในธรรมเนยี มปฏิบัติโดยทั่วไป การบริโภคอาหารไมเ่ พียงสร้างความ พอใจทางด้านกายภาพเท่านั้นแต่ยังมีนัยสำคัญทางด้านจิตวิญญาณอีกด้วย อาหารบางอย่างนั้นเป็นอาหารที่อนุมัติในขณะที่อาหารอีกอย่างนั้นเป็นท่ี ต้องห้าม การบริโภคอาหารที่อนุมัติส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางด้านจิต วญิ ญาน อมี ่าม อบั ดุลลอฮ อิบนิ อาลาวี ซฟู ีผูม้ ชี ่อื เสยี งท่านหน่งึ ในหนังสือท่ี ชื่อว่า “หนังสือแห่งการช่วยเหลือ” ท่านเขียนว่า “สำหรับทุกๆการกระทำ ขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทาน เมื่ออาหารนั้นเป็นที่อนุมัติ ส่งผลให้จิตใจมี ความสวา่ งไสวและใหพ้ ลงั งานแก่ร่างกายเพ่อื การทำอิบาดัต” เม่ือไมน่ านมาน้ี เราบริโภคอาหารท่ผี ลิตขึน้ จากท่งุ นาขนาดเล็กที่ใช้ ระบบนิเวศสนับสนนุ การดำเนินงานด้านการเกษตรกรรม และปราศจากการ ใชส้ ารเคมี ระบบฟาร์มธรรมชาตนิ น้ั เปน็ ภมู ปิ ัญญาเกา่ แก่ทสี่ ืบทอดกันมากว่า 4

พันปี ซึ่งเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป จนกระทั่งได้ปรากฏอุตสาหกรรม ทางดา้ นการเกษตรขึน้ จากการรเิ ร่ิมทำนาแบบ “วทิ ยาศาสตร์” ทน่ี ำเขา้ มาโดยข้าราชการ ของพวกเราท่ีได้รับการฝึกฝนในระบบการศึกษาของตะวันตกและภายใต้แรง กดดันจากบริษทั ยักษใ์ หญ่ ชาวนาของเราจึงเริ่มเพิม่ ปริมาณการใช้ปุ๋ยอนนิ ท รีย์ ยาฆ่าแมลงที่อันตราย ยากำจัดวัชพืช และสารเคมีอืน่ ๆ แต่ทว่าในขณะน้ี เราเริ่มเข้าใจผลกระทบจากภัยอันตรายของการใช้สารเคมีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ การบริโภคอาหารที่ได้ผลิตขึ้นโดยการทำลายสิ่งแวดล้อม เป็น พิษต่อแหล่งน้ำและเป็นผลร้ายที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรา สิ่งน้ี สามารถมสี ว่ นทำใหเ้ กิด “สำนกึ ในจติ ใจของเรา” ไดห้ รอื ไม่? ในอดีต เราได้บริโภคอาหารสดใหม่ที่มีอยู่โดยทั่วไปซึ่งเป็นอาหาร จากธรรมชาติที่มีประโยชน์ แต่ด้วยการเข้ามาของเทคโนโลยีและ อุตสาหกรรมอาหาร ทำให้เรากินอาหารผ่านกระบวนการแปรรูปที่บรรจุ สารเคมี วัตถุเจอื ปนอาหาร วัตถกุ ันเสีย และวตั ถุเพิ่มรสชาตใิ หก้ ับอาหารเป็น จำนวนมาก เป็นผลให้ร่างกายของเราเต็มไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ มีภาพที่ปรากฏออกมาต่อสาธารณะชนถึงความร่วมมือกันของ ผู้ปฏิบัติงานและนักวิจัยด้านสุขภาพ ที่ได้เผยสารเคมีตัวไหนบ้างมีอยู่ใน อาหารทีเ่ ราบรโิ ภคหรือในอากาศทีเ่ ราหายใจ ไปจนถึงโรคเช่นเดยี วกับมะเรง็ นอกจากจะเสี่ยงต่อสุขภาพแล้ว ในหลายกรณีอาหารที่ผ่านการ แปรรูปบางประเภท ได้ละเมิดข้อปฏิบัติหรือข้อกำหนดด้านอาหาร สารเจือ ปนจำนวนมากมแี หล่งท่ีมาจากสตั ว์ ในบางครัง้ ได้มาจากวัวหรือสุกร ดว้ ยเหตุ นี้ ผู้รับประทานมังสวิรัติ ชาวฮินดูและมุสลิมไม่สามารถบริโภคอาหารที่มี สารเจือปนเหลา่ นไี้ ด้ เนือ่ งจากยงั ไม่มีกฎหมายทีเ่ หมาะสมในการระบุสารเจือ ปนเหล่านี้บนฉลาก ทำให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติหรือ กฎระเบยี บทางด้านอาหารของพวกเขา สารประกอบทเ่ี ปน็ ปัญหาดงั กล่าว ท่ี นำเข้าจากประเทศอืน่ น้ัน รายการอาหารไม่มีการตรวจสอบและการทดสอบ อยา่ งเหมาะสม 5

ปัญหาด้านฮาลาล/หะรอมเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับมุสลิม เนอ่ื งจากไปเก่ียวโยงกบั อีหมา่ นหรือความศรทั ธาของพวกเขา ดว้ ยเหตุนี้พวก เขาจงึ จำเป็นต้องระมัดระวังในการหลกี เลย่ี งจากสิ่งตอ้ งห้ามและสิง่ ต้องสงสัย ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “ใครก็ตามท่ีเฝ้าระวังตัวเขาต้านกบั สิ่งที่ ต้องสงสัย ดังนั้นเขาได้ปกป้องศาสนาของเขาและและเกียรติยศของเขา และใครกต็ ามที่ตกเขา้ ไปในสิง่ ท่ีตอ้ งสงสยั เขาได้ตกเขา้ ไปในสง่ิ ต้องห้าม” เมื่อมุสลิมบริโภคอาหารในภัตตาคารและโรงแรมหรือซื้ออาหาร จากซุปเปอร์มาเก็ตและไฮเปอร์มาเก็ตบ่อยครั้งที่พวกเขาไม่อาจมั่นใจได้ว่า อาหารเหล่านัน้ ทำตามข้อกำหนดทางด้านอาหารของศาสนาอสิ ลามหรือไม่? ไม่มีหลักฐานการรับรองที่ถูกต้องและประชาชนทั่วไปเข้าไม่ถึงข้อมูลเพ่ือ กำหนดความคิดเห็นได้ ประชาชนจึงยึดถือการรับรองฮาลาลที่ออกโดย สถาบันอิสลามที่จัดตั้งอย่างเป็นทางกา ร (The Official Islamic Institutions) ด้วยความขงั ขาอยู่บา้ งเนื่องจากสถาบนั ดังกล่าวขาดบุคคลากร ที่ชำนาญและเครื่องมืออุปกรณ์อย่างเหมาะสมในการตรวจสอบและทดสอบ อยา่ งเข้มงวดตอ่ อาหารท่วี างขายยงั ท่ีสาธารณะ กรมพัฒนาอิสลามมาเลเซียหรือ JAKIM (The Department of Islamic Development Malaysia; JAKIM) และกรมกิจการศาสนาอิสลาม (The State Islamic Affairs Department) ควรผลักดันให้มี พรบ.ของการ ผลิต การขนส่ง การจัดเก็บ การกระจายสินค้าและการขายอาหารและ ผลิตภัณฑ์ท่ฮี าลาล ใหป้ ระกาศใชเ้ ปน็ กฎหมายของรัฐบาลกลางและกฎหมาย ของรัฐและต้องให้ความเคร่งครัดในบทลงโทษสำหรับผู้ที่แทนอาหารหรือ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ฮาลาลเป็นอาหารฮาลาลและการหลอกลวงผู้บริโภคด้วย วิธีการดังกล่าวในการบริโภคหรือการขายสินค้าของพวกเขา องค์การอนามยั โลกได้ออกแนวทางเพื่อการผลิตอาหารฮาลาล ที่สามารถแก้ไขหัวข้อที่เรา เหน็ วา่ จำเป็นตอ้ งแกไ้ ขและประกาศใช้เป็นกฎหมายของประเทศ 6

มุฟตีและนักวิชาการอิสลามไม่ควรจำกัดการศึกษาและให้ ความเห็นเฉพาะเพียงเรื่องของสัตว์วา่ ควรเชือดอย่างไร เนื้อนั้นได้ขนส่งและ เก็บรักษาอย่างไร และอาหารเหล่านีถ้ กู เตรียมข้ึนไดอ้ ยา่ งไรเทา่ นัน้ สงั คมแห่ง เทคโนโลยีได้โยนปัญหาใหม่ๆที่ต้องการให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ตอบคำถามที่ เป็นรากของหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม และไม่ฟัตวาเพื่อพิสูจน์ความ ถูกต้องในสิ่งที่เรานำเข้ามาหรือคัดลอกจากชาติตะวันตกในชื่อของ “คุณค่า เสร”ี ทางดา้ นวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี เป็นที่อนุญาตหรือไม่ในการรับประทานอาหารที่บรรจดุ ้วยสารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และผลิตขึ้นด้วยการฆ่าสิ่งมีชีวิตอื่น การทำลาย สิ่งแวดล้อมและทำลายความสมดุลของระบบนิเวศที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้าง ขึ้น? ยังไม่หะรอมอีกหรือในการบริโภคเนื้อจากสัตว์ที่ถูกเลีย้ งภายใต้สภาพที่ โหดร้ายทารุณที่ฝ่าฝืนกฎหมายชารีอะฮฺ? เราจำเป็นจะต้องตอบต่อคำถาม เหลา่ นเ้ี พื่อสร้างความม่ันใจวา่ มุสลิมได้บริโภคอาหารที่ชอบด้วยกฎหมาย เราได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ส่วนหนึ่งในความพยามของเราก็เพื่อ ต่อต้านการทำให้วัฒนธรรม ค่านิยม รสนิยมและการดำเนินชีวิตให้เป็นไปใน แบบเดียวกัน ที่ถูกกระตุ้นโดยกระบวนการทางโลกาภิวัตน์ซึ่งนำโดยบริษัท ข้ามชาติ เราเชื่อในความหลากหลายและจะต่อสู้เพื่อดำรงไว้ซึ่งแนวทางการ ใช้ชีวิต วัฒนธรรม แบบแผน และค่านิยมของเรา ต่อต้านกับการจู่โจมของ นายทนุ แหง่ ยุคโลกาภิวัฒน์ ไม่ใช่มุสลิมเพียงเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้แต่คนท่ี รับประทานอาหารมังสวิรัต อาหารฮินดูยังได้รับประโยชน์จากข้อมูลใน หนังสือเลม่ น้ีเชน่ เดียวกัน ในอนาคตอนั ใกล้ เราจะนำเสนอหนงั สือท่คี ล้ายกัน สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัต เราหวังว่า ผู้อ่านจะค้นพบประโยชน์ จากหนังสือเพื่อช่วยให้พวกเขาหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบ และข้อกำหนดด้านอาหารของเรา หนังสือเล่มนี้เป็นความหวังอีกอย่างของ เราท่ีจะทำให้เกดิ ความสนิ หวงั ในการบริโภคอาหารทีผ่ า่ นกระบวนการแปรรปู 7

และภัยอันตรายที่อยู่บนอาหารและแทนที่อาหารเหล่านี้ด้วยอาหารทีไ่ ด้จาก ธรรมชาติ อาหารทบี่ ำรุงกำลังและเปน็ อาหารทีม่ ปี ระโยชนต์ ่อสขุ ภาพ S.M. Mohamed Idris ประธานสมาคมค้มุ ครองผู้บรโิ ภครฐั ปนี ัง ประเทศมาเลเซยี มุฮัรรอม ฮ.ศ. 1424 สารบญั คำนิยม คำนำ บทที่ 1 บทนำ 1. เพราะเหตุใดมสุ ลมิ ควรหลกี เล่ียงสง่ิ อันตรายและต้องสงสยั 8

2. สถานการณ์กลืนไมเ่ ข้าคายไมอ่ อกของมสุ ลิมในมาเลเซีย 3. ประวัติการมสี ว่ นร่วมของสมาคมคุ้มครองผ้บู รโิ ภครฐั ปนี งั (CAP) ใน ประเดน็ ฮาลาล/หะรอม บทที่ 2 ปัญหาที่เกย่ี วกบั ประเด็น ฮาลาล/หะรอม 4. ข้อสงสยั และความไมม่ ัน่ ใจทร่ี ายลอ้ มเครื่องหมายฮาลาล 5. ความไม่แน่นอนในสถานะฮาลาลของอาหารภัตตาคารและโรงแรม 6. ชารอี ะฮฺและสารเคมใี นอาหาร 7. สว่ นประกอบและวตั ถเุ จือปนอาหารทม่ี าจากสตั ว์ 8. วตั ถุเจอื ปนอาหาร (Food Additive) ฮาลาลหรือไม?่ บทที่ 3 จรยิ ธรรมด้านอาหารของมสุ ลมิ 9. ความสรุ ่ยุ สรุ า่ ยและฟ่มุ เฟือยในเดอื นรอมฎอน 10. เหตใุ ดเนอื้ สกุ รจึงเปน็ สง่ิ ต้องหา้ มในศาสนาอิสลาม บทที่ 4 เจลาตนิ 11. เจลาตนิ คอื อะไร? 12. สมาคมคุม้ ครองผบู้ รโิ ภครฐั ปนี งั (CAP) กับประวตั ิการศกึ ษาปญั หา เจลาติน 13. การใช้ประโยชน์จากเจลาตินในเภสัชกรรมและผลติ ภณั ฑท์ างการ แพทย์ 14. การใช้งานเจลาตินในการถ่ายภาพและการพมิ พภ์ าพ 15. เจลาตนิ ต้องสงสยั ถกู ตดิ ฉลากเปน็ ผลติ ภณั ฑฮ์ าลาล บทที่ 5 ชที และเวย์ 16. เนยแขง็ (Cheese) หะรอมหรือตอ้ งสงสัย? 17. นมผงดัดแปลงสำหรบั ทารกพบเวยแ์ ละไขมนั จากสุกร 18. การใช้เวย์ (Whey) ในอาหาร 9

บทท่ี 6 ไขมันสตั ว์ 19. เนยขาว (Shortening) ในอาหาร 20. ไขมนั สตั วใ์ นผลติ ภณั ฑ์ทใี่ ชใ้ นชวี ติ ประจำวัน 21. กลีเซอไรด/์ โมโนกลเี ซอไรดใ์ นอาหารและเคร่อื งสำอาง บทที่ 7 วัตถุดิบหะรอมและต้องสงสยั อ่นื ๆ 22. พลาสมาจากเลือดถูกนำมาใช้ในผลติ ภณั ฑอ์ าหาร 23. โมโนโซเดยี มกลตู าเมต (MSG) สารเพมิ่ รสชาติในอาหารทีต่ อ้ งสงสยั 24. อาหารดัดแปลงพนั ธุกรรม 25. เส้นผมของมนษุ ย์ในอาหาร 26. แอลกอฮอล์ในอาหารและเครื่องด่ืม บทที่ 8 การบริโภคผลิตภณั ฑ์และประเด็นปัญหาอ่นื ๆ 27. สว่ นประกอบทต่ี อ้ งสงสัยในเคร่อื งสำอาง 28. ผลิตภณั ฑท์ ำมาจากสตั ว์ 29. การสบู บหุ รเ่ี ป็นส่งิ หะรอมโดยสภาช้ขี าดทางศาสนา (ฟตั วา) ประเทศมาเลเซีย 30. อตุ สาหกรรมฟาร์มเลยี้ งสตั วฮ์ าลาลหรอื ไม่? บทสรปุ อ้างอิง 10

ตอนที่ 1 เพราะเหตุใดมสุ ลมิ ควรหลกี เล่ียงส่งิ อนั ตรายและต้องสงสัย ตลาดสินค้าในปัจจุบัน เต็มไปด้วยสินค้าอุปโภคและบริโภคนานา ชนิด สินค้าเหล่านี้บางชนิดเป็นสินค้าที่อันตรายต่อสุขภาพและบางชนิดเปน็ สินค้าตอ้ งห้ามภายใต้กฎหมายอสิ ลาม อยา่ งเชน่ อาหารแปรรปู จำนวนมาก นอกจากจะมรี ะดบั ของน้ำตาล และเกลือสูงแล้ว ยังมีวัตถุเจือปนอาหารชนิดต่างๆซึ่งไม่รู้สถานะฮาลาล (อนุญาตหรืออนุมัติในศาสนาอิสลาม) หรือหะรอม (ไม่อนุญาตหรือไม่อนมุ ัติ ในศาสนาอิสลาม) นอกเหนือจากนีว้ ัตถเุ จือปนดงั กลา่ วอาจจะมสี ารเคมที ี่เป็น อันตรายตอ่ สขุ ภาพอีกดว้ ย บทบาทของกฎหมายชารอี ะฮ ปัญหาการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่อาจก่อให้เกิดอันตรายตอ่ สุขภาพ ควรเป็นเรื่องที่มุสลิมต้องให้ความสนใจ เนื่องจากศาสนาอิสลาม ตอ้ งการใหผ้ ู้นับถอื ศาสนามีความรอบคอบสำหรับอาหารที่รับประทานเข้าไป ยังกระเพาะอาหาร ในประเด็นนี้ศาสตราจารย์ ดร.ยูสุฟ อัลเกาะเราะฎอวียฺ นักวิชาการอิสลามผู้มีชื่อเสียงได้ให้ความกระจ่างในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า 11

“ฮาลาลและหะรอมในอิสลาม” ตามที่ระบุไว้ในหนังสือ การบริโภคสิ่งที กอ่ ให้เกดิ อันตรายนั้นเป็นสิ่งตอ้ งหา้ ม “กฎชารีอะฮพ้นื ฐานในศาสนาอิสลาม [ประมวลของกฎหมายได้มา จาก อัลกุรอาน คำสอนและแบบอย่างของท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.)1 ] ถือเป็น สิ่งหะรอมสำหรับมุสลิมในการกินหรือดื่มสิ่งต่างๆที่อาจจะเป็นสาเหตุของ ความตาย ทั้งแบบเฉียบพลันหรือค่อยๆสะสม เช่น สารพิษหรือสารที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพหรืออันตรายต่อร่างกายของผู้บริโภค และยังเป็นส่ิง ต้องหา้ ม (หะรอม) สำหรบั การกนิ หรอื ด่มื สิง่ หน่งึ ในปรมิ าณมาก หากปริมาณ มากของมันก่อใหเ้ กดิ การเจ็บปว่ ย” จากหลักการข้างต้นจะเห็นว่า อาหารแปรรูปสมัยใหม่จำนวนมาก ซึ่งเป็นอันตรายตอ่ สุขภาพน่าจะเปน็ สง่ิ หะรอม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับปัจเจกชนมุสลิมทุกคนที่จะทำ การตรวจสอบ และกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากอันตรายของอาหารทุก ประเภทท่ีรับประทานเข้าไป และจะต้องระลึกใหไ้ ดด้ ้วยวา่ อาหารหลากหลาย ชนิดในท้องตลาดอาจจะส่งผลต่ออากีดะฮฺ (หลักศรัทธา) ของเรา เนื่องจาก อาหารเหล่านอ้ี าจจะมสี ่วนประกอบท่ีเปน็ อนั ตราย ใช้ผลติ ภณั ฑท์ ่ีสะอาดและบรสิ ุทธิ์ ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกี่ยวพันธ์กับความสะอาดทั้งทางด้าน ร่างกายและจิตวญิ ญาณ สิ่งที่หะรอมคือสิง่ สกปรก ในอัลกุรอาน อัลลอฮฺทรง ยกยอ่ งผทู้ ส่ี รา้ งความค้นุ เคยกับความสะอาด พระองค์ทรงตรสั ความวา่ 1 มาจากคำในภาษาอาหรับ ทว่ี า่ “ซอ็ ลลลั ลอฮุอะลยั ฮวิ ะซลั ลัม” หมายถึง “ขออัลลอฮโฺ ปรดประทานความจำเริญและคมุ้ ครองท่านจากความบกพรอ่ ง ทง้ั มวล (ผแู้ ปล) 12

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงชอบบรรดาผู้สำนึกผดิ กลับเนื้อกลับตวั และทรงชอบ บรรดาผทู้ ี่ทำตนให้สะอาด” (อลั บากอเราะฮ์ : 222) ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของความสะอาด ซึ่งสามารถเห็นได้ในบางคำพูดของท่าน เช่น “จงรักษาความสะอาดตวั ของ สูเจ้า, ศาสนาอิสลามนั้นสะอาดบริสุทธ์ิ” และ “ความสะอาดเชื้อเชิญ ความศรทั ธาและความศรทั ธานำไปสสู่ รวงสวรรค์” จากหะดิษ [คำพูดและการกระทำของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.)] ท่ี รายงานโดยมุสลิมและอัตติรมีซีย์ “ท่าน (ร่อซูล) ได้เล่าเรื่องชายคนหนึ่งที่ เดินทางเป็นระยะทางยาวไกลจน(ผม)ยุ่งเหยิงและฝุ่นตลบ เขาแบมอื ทงั้ สองส่ฟู ้า (พลางขอดุอาอฺว่า) ข้าแตพ่ ระผู้อภิบาล ! ขา้ แตพ่ ระ ผู้อภิบาล ! ขณะนั้น อาหารที่เขากินเป็นอาหารที่ต้องห้าม เครื่องดื่มของ เขาก็เป็นที่ต้องห้าม และเสื้อผ้าของเขาก็เป็นที่ต้องห้าม และบำรุงปาก ท้องของเขาด้วยสิ่งที่ต้องห้าม ดังนี้แล้วจะมีการตอบรับการขอของเขาได้ อย่างไร” จากหะดิษข้างต้น เราสามารถสรุปได้ว่า อัลลอฮฺ (ซ.บ.)2 ทรงตอบ รบั การวิงวอนของเรา หากเราบรโิ ภคหรอื กระทำสง่ิ ใดก็ตามทเ่ี ปน็ ส่ิงอนุมตั ใิ น อิสลาม ดุอาอฺเป็นสิ่งจำเป็นสำหรบั การอิบาดะฮของมนษุ ย์ตอ่ อัลลอฮ (ซ.บ.) ชะตากรรมของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้านั้นขึ้นอยู่กับการคุ้มครอง จากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องขอทางนำและการคุ้มครองจาก พระองค์ 2 มาจากคำในภาษาอาหรับ ที่ว่า “ซุบฮานะฮวู ะตะอาลา” เป็นคําสรรเสรญิ กลาวตอทาย ชื่อพระองค์อลั ลอฮมฺ คี วามหมายวา “มหาบรสิ ุทธแ์ิ ดพระองค์ผู ทรงไวซึง่ ความสงู สงย่งิ ” (ผ้แู ปล) 13

หากอาหารที่เรารับประทานเข้าเป็นนั้นได้มาจากแหล่งหะรอม ดังนั้นความสัมพันธ์ของเรากับ อัลลอฮ (ซ.บ.) ก็จะถูกตดั ขาด สภาวะเชน่ น้ี คงเปน็ เร่ืองยากสำหรับเราท่จี ะใหไ้ ด้มาซงึ่ ความจำเริญใดๆจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ครั้งหนึ่งท่านสะอัด บินอะบีวักกอศ ซึ่งเป็นซอฮาบะฮฺท่านนบี ได้ ถามท่านนบี (ซ.ล.) ว่ามันเป็นไปได้อย่างไรที่ดุอาอฺของเราจะถูกตอบรับ จากอลั ลอฮฺ ท่านนบีมหุ ัมมัด (ซ.ล.) ไดก้ ล่าวว่า “กินส่งิ ทีม่ ีประโยชน์ (ฮา ลาล) แล้วดอุ าอฺของเจ้าจะถกู ตอบรบั ” ดังนนั้ เปน็ ทช่ี ัดเจนแล้วว่า หากรา่ งกายของเราได้รบั อาหารท่ฮี าลาล อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ก็จะตอบรับการวิงวอนของเรา ไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่อง ยากลำบากสำหรับเราก็ตาม ในทางกลับกัน การดุอาอฺของเราจะสูญเปลา่ แม้ว่าเราจะละหมาด ถอื ศลี อด และปฏบิ ตั ิในข้อปฏิบตั อิ ่ืนๆ แต่กระเพาะของเราเต็มไปด้วยอาหาร หะรอม อีม่ามฆอซาลี ครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวเกี่ยวกับผลกระทบของอาหาร หะรอมที่มีต่อทายาทของเราไว้ว่า “หากเราต้องการให้ลูกของเรามีความ เคร่งครัดในศาสนา เฉลียวฉลาดและไม่ดื้อดึง ก็จงให้พวกเขาได้รับประทาน อาหารที่ฮาลาลตั้งแต่เกิด อาหารฮาลาลนอกจากจะทำให้ลูกของเราไม่ด้ือ แล้ว ยังทำให้มีปฏิภาณไวพริบที่ฉับไว ในทางกลับกัน ลูกจะเนรคุณต่อเรา หากเราใหพ้ วกเขารบั ประทานอาหารท่หี ะรอมและสกปรก” เลือดและเนื้อของเราเกิดจากอาหารและเครื่องดื่มที่เราบริโภค หากเรานำอาหารและเครื่องดื่มที่ หะรอมเข้าสู่ร่างกาย ก็หมายความว่า เลือดและเน้ือของเราถูกสร้างมาจากสว่ นประกอบที่หะรอม ซ่งึ จะสัมพันธ์กับ รฮู ฺ (จติ วญิ ญาณ) ของเราอกี ด้วย มมุ มองดา้ นจติ วญิ ญาณของอาหาร 14

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกี่ยวพันธ์กับกฎระเบียบและหลัก ปฏิบัติที่ครอบคลุมทุกๆ ด้านในการดำรงชีวิตของปัจเจกชนมุสลิม อย่างไรก็ ตามหลักเกณฑ์น้ีไม่ไดจ้ ำกดั การมองเพียงมารยาททางสงั คมเทา่ นนั้ แตใ่ นทาง ตรงกันข้าม มันไดม้ าจากจดุ ประสงค์ท่ีกวา้ งขวางของศาสนาและดว้ ยเหตุน้ีจึง สะทอ้ นให้เห็นถงึ แนวคดิ และคา่ นยิ มของตวั ศาสนาเอง ที่นี้เรามาตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่เราบริโภคกับ สุขภาพทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณของเรา มุสลิมคนหนึ่งรับประทาน อาหารเพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อที่จะดำรง ไว้ซึ่งการปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา (อิบาดะฮฺ) และยังถ่ายทอดความรู้และ ท่มุ เทแรงกายของเขาเพอ่ื สวัสดภิ าพของสงั คม ในบรบิ ทของศาสนาอสิ ลามจึง เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าของแนวคิด ฮาลาลและ หะรอม ซง่ึ อาหารและเครอ่ื งดม่ื ท่ฮี าลาลน้ันเป็นท่ีอนมุ ตั สิ ำหรับมสุ ลมิ อาหารหน่ึงจะฮาลาล ก็ตอ่ เม่อื : • อาหารนั้นไม่เป็นอันตรายหรือรบกวนการทำงานในภาวะปกติของ ร่างกายและจติ ใจ • อาหารนั้นปราศจากนญิส (สิ่งสกปรกตามหลักศาสนบัญญัติ อิสลาม) และผลิตภัณฑ์ทีไ่ ด้จากซากสัตว์หรือจากสตั ว์ทีต่ ายโดยไม่ ผ่านการเชือดหรือฆ่าอย่างถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม หรือจากสกุ รหรือสตั ว์หะรอมอ่นื ๆ • อาหารนัน้ เปน็ ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากอนุพันธ์ของสุกรหรอื สุนัขหรอื สตั วห์ ะรอมอ่นื ๆ ในทางกลับกนั อาหารหนึ่งจะเปน็ สงิ่ หะรอม กต็ อ่ เม่อื : • อาหารนั้นเป็นอันตรายหรือรบกวนการทำงานของร่างกายและ จติ ใจในเชิงลบ 15

• อาหารนั้นปนเปื้อนนญิสหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากซากสัตว์ หรือสัตว์ทีต่ ายโดยสาเหตุจากธรรมชาติ หรือจากสกุ ร หรือสัตว์หะ รอมอนื่ ๆ • อาหารนน้ั ได้มาจากสัตวท์ ี่อนุมัตแิ ตไ่ ม่ผ่านการเชอื ดตามหลักศาสน บัญญตั ิอิสลาม หรอื หากไมไ่ ด้เตรยี มการกอ่ นเชอื ดอยา่ งถกู ต้อง คำกล่าวที่ว่า “คุณเป็นในสิ่งที่คุณกิน” เป็นที่รู้จักกันดีในศาสนา อิสลาม อาหารทร่ี บั ประทานเข้าไปน้ันไมไ่ ดก้ ลายเป็นเพียงแคอ่ จุ จาระเท่านั้น แต่ยังดูดซึมและสลายสารอาหารเข้าสู่ระบบเลือดและไหลเวียนทั่วทุกส่วน ของร่างกายรวมทั้งสมองและหัวใจ ดังนั้นความบริสุทธิ์ของร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณอย่างแท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของอาหารที่เรา บรโิ ภค เช่นในอัลกุรอาน เมื่อคำว่า ฮาลาล ถูกพาดพิงไปยังอาหาร คำว่า ตอยยี บนั ก็ถูกนำมากล่าวดว้ ย มนุษย์เอย๋ จงกินสิง่ ทไ่ี ดร้ บั อนมุ ัติ (ฮาลาล) และท่ีดี (ตอยยบิ )จากท่ีมีอยใู่ น แผ่นดิน (อัลบากอเราะฮฺ :168 ) พวกเจ้าจงบริโภคในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ซ่ึง เป็นทีอ่ นมุ ตั ิทดี่ ี (อัลนะฮลฺ : 114) ดังนั้นก่อนตัดสินใจว่าอาหารประเภทไหนเหมาะแก่การบริโภค ควรพจิ ารณาให้มากกวา่ เพียงแค่อาหารนนั้ ฮาลาลหรือหะรอม คำวา่ ตอยยีบนั หมายถึงดี ซึ่งมีความหมายว่าอาหารต้องมีประโยชน์และมาจากแหล่งท่ี บรสิ ุทธิ์ จากลักษณะทางกายภาพ การกำหนดขอบเขตของอาหารเป็น สิ่งจำเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจว่า มุสลิมให้ความสำคัญการกนิ เฉพาะจากสิง่ ทีบ่ ริสุทธ์ิ เพ่อื หลีกเลี่ยงจากโรคท่ีเปน็ ผลมาจากการบรโิ ภคอาหารสกปรก 16

อาหารที่สะอาดบริสุทธิ์นำมาซ่ึงสขุ ภาพรา่ งกายทีแ่ ข็งแรงและจะทำ ให้มุสลิมสามารถเพิ่มอิบาดัตของเขาและปฏิบัติอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและสุขภาพสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไป ใน การสร้างร่างกายที่สะอาดเพื่อสุขภาพที่ดีสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน แท้จริงแล้วความ สะอาดจากภายนอกเป็นขั้นตอนแรกสู่ความบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณซ่ึง องค์ประกอบท้งั สองมกั ควบคไู่ ปด้วยกัน ดงั นัน้ ในศาสนาอิสลามความสะอาด เป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา จากมุมมองดา้ นจิตวิญญาณดังกล่าว ด้วยเหตุ น้ีมุสลิมคนหนงึ่ ได้รกั ษาความบริสทุ ธ์ิของตวั เองดว้ ยการบริโภคเฉพาะอาหาร ที่สะอาด เน่ืองจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) นั้นบริสุทธ์และรักผู้ที่ทำตัวเองให้บริสุทธิ์ จากอบูฮุร็อยเราะฮฺกล่าวว่า : ท่านร่อซูลกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นดีงาม ไม่ทรงรับสิง่ ใดนอกจากทด่ี ีงาม” อัลลอฮฺทรงสั่งบรรดาผู้ศรัทธาเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงสั่งกับ บรรดารอซูล พระองค์ทรงตรัสความวา่ “โอ้ บรรดารอซูลเอ๋ย ! พวกเจ้าจงบรโิ ภคสว่ นท่ีดี (ฮาลาล) และจงกระทำ ความดีเถดิ ” (อลั มอุ ฺมนิ : 51) และพระองคย์ งั ตรัสอีกความวา่ “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงกินสิ่งที่ดีและสะอาดที่เราได้ประทานใหแ้ ก่สูเจ้า” (อัลบากอเราะฮฺ : 172) วัฒนธรรมทางอาหารของเราในปจั จุบัน จากอายะฮฺในอัลกุรอานที่กล่าวมา เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ว่า มุสลมิ ควรคำนงึ ถึงอาหารที่พวกเขาบริโภค ซึ่งต่อมาอาหารเหลา่ นี้จะเป็น ส่วนหนงึ่ ของร่างกายและจติ วิญญาณ ในบริบทนี้ มุสลิมควรให้ความสนใจในความบริสุทธิ์ (ตอยยีบัน) ของอาหาร ยกตัวอย่าง ในกรณีของเนื้อ เราไม่ควรเหมารวมเพียงว่า ถ้าสัตว์ นั้นได้ผ่านการเชือดอย่างถูกต้องตามหลักศาสนบัญญตั อิ ิสลามจึงจะ ฮาลาล 17

แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่มุสลิมควรพิจารณานั่นคือ สัตว์ดังกล่าวเลี้ยงมา อยา่ งไรและถกู ขนสง่ ไปยังโรงฆา่ สัตว์อยา่ งไร ถ้าสตั วถ์ ูกเลีย้ งในสภาพท่ที ารุณ ดังนั้นอาหารจากสตั วท์ ไ่ี ดร้ บั การปฏิบัติเช่นนีถ้ ือว่าหะรอม อีกอย่างควรพจิ ารณาถึงความเป็นไปได้ท่ีว่าผลิตภัณฑ์ เช่น ไข่และ นม ยงั สามารถเป็นส่งิ หะรอมหากสตั ว์ทพ่ี วกเขาได้เลีย้ งขึน้ มาน้ันอยู่ในสภาพ ทไ่ี มถ่ ูกสขุ ลักษณะและสขุ อนามยั น่าเศร้าใจที่จะกล่าวว่านี่คือความจริงแท้แน่นอนของการเล้ียงสัตว์ สมยั ใหม่ ไกจ่ ำนวนมากถกู เลยี้ งในกรงขังและวตั ถปุ ระสงค์เพยี งอย่างเดียวใน การมีชีวิตอยู่ของพวกมันคือการออกไข่ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้เดิน เที่ยวเตร่อย่างอิสระ ซึ่งขัดกับธรรมชาติของพวกมันอย่างมาก โคนมที่เลี้ยง ด้วยฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่างๆ เพียงเพื่อเพิ่มผลผลิตนมให้มาก ขึ้น เป็นผลให้สัตว์เหล่านี้มีน้ำหนักเต้านมที่มากเกินไป เช่นนี้ทำให้พวกมัน เคลอ่ื นย้ายลำบากและยากตอ่ การดำรงชีวิตในโรงรีดนม สภาพอันน่าเศร้าและน่ากลัวในฟาร์มเลี้ยงสัตว์เหล่าน้ี ได้เลีย้ งสตั ว์ ขัดกบั หลกั คำสอนของศาสนาอสิ ลาม ตวั อย่างจากอลั กุรอาน อัลลอฮไฺ ด้กลา่ ว ว่า “และไมม่ สี ตั วใ์ ด ๆ ในแผ่นดิน และไมม่ สี ัตว์ปีกใด ๆ ท่บี ินดว้ ยสองปกี ของ มนั นอกจากประหนึง่ เป็นประชาชาติ เยีย่ งพวกเจ้าน้ันเอง…” (อัลอันอาม : 38) อีกประเด็นที่สำคัญในการปฏิบัติเรื่องอาหารของพวกเราคือ การ รับประทานในร้านแผงลอยและร้านอาหาร ถึงแม้ว่าอาหารที่บริการ ณ สถานที่แห่งนั้น ตัวอาหารเองอาจจะมาจากแหล่งที่ฮาลาล แต่การเตรียมถูก เตรียมในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่เราได้ยินผู้คนเจ็บป่วย จากอาหารเปน็ พิษหลงั จากรับประทานอาหารจากสถานท่เี หลา่ น้นั ยงิ่ ไปกว่า นน้ั สื่อยังไดต้ ีพมิ พ์ข่าวเร่ืองอาหารตามรา้ นแผงลอยและรา้ นอาหารอีกด้วย จึง เร่มิ มคี ำสงั่ ลงมาจากผูม้ ีอำนาจเพอื่ ปดิ กิจการร้านอาหารท่ดี ำเนินการในสภาพ 18

ที่สกปรก จากการตรวจสอบอาหารที่เตรียมพร้อมสำหรับรับประทานจาก สถานที่เหล่านั้น พบว่าอาหารมีเชื้อแบคทีเรียจำพวก อี.คอไล (E.coli) และ สเตปฟิโลคอกคัส (Staphylococcus) ในระดับสูง ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้ เป็นตัวบง่ ชีว้ า่ อาหารดังกลา่ วถกู เตรียมในสภาพท่ีไม่ถกู สขุ ลกั ษณะ ปจั จุบันแนวโน้มการรับประทานในรา้ นอาหารฟาสฟดู ส์และอาหาร บฟุ เฟ่ตก์ ำลงั เปน็ ทน่ี ิยมในสังคมสมยั ใหม่ของเรา อาหารทีใ่ หบ้ ริการในสถานท่ี เหล่านี้ไม่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีระดับไขมัน น้ำตาล เกลือและสารเจือปน อาหารในปริมาณมาก ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆตามมาเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง นอกจากนี้การกินอาหาร บุฟเฟต่ ย์ งั ส่งเสรมิ การกนิ และดืม่ ที่มากจนเกินไป เปน็ เร่อื งทศ่ี าสนาอิสลามไม่ พึงพอใจ อาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึงการมีอาหารที่สมดุล เพื่อที่จะยืนยัน ความสมดุลที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งและอ้างอิงการสร้าง ดงั กล่าวในอลั กุรอาน “และชั้นฟ้านั้นพระองค์ทรงยกมันไว้สูง และทรงวางความสมดุลไว้ เพื่อ พวกเจ้าจะได้ไม่ฝ่าฝนื ในเรื่องการชั่งตวงวัด และจงธำรงไว้ซึ่งการช่ังด้วย ความเท่ยี งธรรม และอยา่ ให้ขาดหรอื หย่อนตาชงั่ ” (อรั เราะฮฺมาน : 79) อาหารที่สมดุลควรสมดุลในเรื่องปริมาณ การรับประทานใน ปริมาณที่มากเกินไปนั้นขัดกับหลักคำสอนของศาสนาอิสลามอีกด้วย ใน คมั ภีรอ์ ัลกุรอานท่เี ราอ่าน ความวา่ “...และจงกนิ และจงด่ืม และจงอยา่ ฟ่มุ เฟอื ย... (อลั อะอฺรอฟ : 31) ท่านนบีมุหัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “มนุษย์ไม่เคยบรรจุในภาชนะอัน ใดที่เลวยิ่งกว่า(การบรรจุใน)ท้อง เพียงพอแล้วสำหรับลูกหลานอาดัมด้วย อาหารเพียงไม่กี่คำที่สามารถจะยกหลังเขาได้ (หมายถึงสามารถประทังชีวิต และสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย) หรือหากจำเป็นจริงๆ (จงเตรียมท้องไว้ 19

สามส่วน) สว่ นหนง่ึ สำหรับอาหาร สว่ นหนงึ่ สำหรับเคร่ืองดืม่ และอกี สว่ นหนงึ่ สำหรับลมหายใจ” (บันทึกโดย อลั ติรมีซีย)์ ในอีกหะดิษท่ีน่าเช่ือถือ ทา่ นนบีมุฮมั หมดั (ซ.ล.) กล่าววา่ “อาหาร ของคนคนหนึ่งจะเพียงพอสำหรบั คนสองคน และอาหารสำหรบั คนสองคนจะ เพยี งพอกบั คนส่คี นและอาหารสำหรบั คนส่ีคนจะเพียงพอสำหรบั คนแปดคน” (บันทึกโดยมสุ ลิม) อาหารเพื่อสุขภาพยังหมายถึงอาหารที่สมดุลในตัวของมันเอง หมายความว่าต้องมีส่วนประกอบของอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงประทานให้สำหรับสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง ในแง่ที่ว่าเป็นความต้องการ ทั้งหมดที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในรูปของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เกลือ แร่ และวิตามิน ซึ่งส่วนใหญ่เหล่านี้ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอาน ตัวอย่างเช่น อลั ลอฮทฺ รงตรัสความว่า “และปศสุ ตั วพ์ ระองค์ทรงสร้างมัน ในตวั มนั มคี วามอบอุ่นสำหรับพวกเจ้า และประโยชน์มากหลาย และในสว่ นหนึง่ จากมันน้ันพวกเจา้ เอามาบริโภค ได…้ ” (อัลนาฮลฺ : 5) พระองคย์ ังได้ตรสั อีกความว่า “และพระองคค์ ือผู้ทรงทำให้ทะเลเป็นประโยชน์ เพื่อพวกเจ้าจะได้กนิ เนือ้ นมุ่ สดจากมัน…” (อัลนาฮลฺ : 14) อา้ งถงึ อาหารมังสวิรตั ิ อลั ลอฮฺทรงตรสั ความวา่ “และพวกเจ้าอย่ากล่าวตามที่ลิ้นของพวกเจ้ากล่าวเท็จขึ้นว่า นี่เป็นท่ี อนุมัติและนี่เป็นที่ต้องห้าม เพื่อที่พวกเจ้าจะกล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺแท้จริง บรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺนั้น พวกเขาจะไม่ได้รับความสำเร็จ” (อัล นาฮลฺ : 116) นมและนำ้ ผงึ้ นนั้ ยงั ไดร้ ับการกลา่ วถงึ ความว่า 20

“และแท้จริงในปศุสัตว์ ย่อมมีบทเรียนอย่างแน่นอนแก่พวกเจ้า เราให้ พวกเจา้ ดืม่ จากสงิ่ ท่อี ยู่ในทอ้ งของมนั จากระหว่างมูลและเลือดเป็นน้ำนม บริสทุ ธิ์ เปน็ ทโ่ี อชาแก่ผูด้ ่มื ” (อัลนาฮฺล : 66) อัลลอฮยฺ ังไดต้ รัสอีกความวา่ “แล้วเจ้า (ผึ้ง) จงกินจากผลไม้ทั้งหลาย แล้งจงดำเนินตามทางของพระ เจ้าของเจ้า โดยสะดวกสบาย มีเครื่องดื่มที่มีสีสันต่างๆออกมาจากท้อง ของมัน ในนั้นมีสิง่ บำบัดแก่ปวงมนษุ ย์แท้จริงในการนั้น แน่นอนย่อมเป็น สัญญาณแก่กลุ่มชนผู้ตรกึ ตรอง” (อลั นาฮฺล : 69) ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญกับอาหารที่มีประโยชน์ ตัวอย่าง ความชอบของท่านนบีที่ท่านชอบขนมปัง อินทผลัม น้ำผึ้งและนม ท่านนบี (ความสันติสุขจงประสบแด่ทา่ น) เคยดม่ื นมและรับประทานอินทผลมั จากสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น มุสลิมควรทำตามคำบัญชา ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และคำแนะนำจากหะดิษของท่านนบี (ซ.ล.) ในนิสัยการ รับประทานอาหารของเราด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อว่าเราจะพบการกระทำ ของเราที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ เราจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ จากสขุ ภาพทด่ี สี ำหรบั ตัวของเราท้งั ทางร่างกายและจิตวิญญาณ แนวทางปฏิบัตสิ ำหรบั การบรโิ ภคอาหาร ในอัลกรุ อานมีคำสงั่ มากมายท่แี นะนำให้มุสลิมได้เลอื กส่งิ ท่ีดีและบริโภค อาหารที่มปี ระโยชน์ ในการเลอื กอาหารและเครือ่ งด่ืมนั้นมสุ ลิมต้องพิจารณา แนวทางปฏบิ ัติบางประการท่ีสำคญั อย่างยิ่ง น่นั คอื อาหารและเคร่อื งด่ืมชนิดไหนที่อลั ลอฮทฺ รงห้ามการบรโิ ภค ซึง่ เก่ยี วข้องกับ 21

• อาหารนัน้ เป็นอาหารที่ไดม้ าด้วยวิธีทฮ่ี าลาลหรอื หะรอม? และ • อาหารนน้ั เป็นอนั ตรายต่อสุขภาพหรือไม่ การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่หะรอมอาจจะส่งผลที่ไม่พึง ปรารถนาต่อสุขภาพและพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณ ของแตล่ ะบุคคล มีปัจจัยมากมายที่กำหนดสถานะฮาลาลและหะรอมของอาหาร โดยเฉพาะ รวมถึงลักษณะธรรมชาติของตัวอาหารเอง อาหารเหล่านี้ได้ผลิต แปรรปู และจำหนา่ ยอยา่ งไร และอาหารเหล่านี้ได้มาอย่างไร ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ใดๆที่มาจากสุกรนั้นถือว่า หะรอม เนื่องจาก วัตถุดิบตัวมันเองนั้นหะรอม เช่นเดียวกับเนื้อที่ไม่ได้ผ่านการเชือดอย่าง ถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติอิสลามนั้นถือว่าหะรอม อาหารที่ขโมยมาหรือ อาหารที่ได้มาขัดแย้งกับหลักคำสอนอิสลาม ก็ถือว่าเป็นสิ่งหะรอมอีกด้วย อาหารและเครื่องดื่มที่มีพิษและทำให้เกิดอาการมึนเมานั้นเป็นสิ่งหะรอม อย่างชัดเจน เนอื่ งจากอาหารและเคร่ืองด่ืมเหลา่ นี้เปน็ อันตรายตอ่ สุขภาพ ศาสนาอิสลามได้วางแนวทางปฏิบัติในการพิจารณาสถานะฮาลาล/หะ รอมของอาหารและวตั ถุดบิ อ่นื ๆ ดังน้ี • วัตถุดบิ และส่วนประกอบทั้งหมดจะตอ้ งฮาลาล • สัตว์ฮาลาล เช่น ไก่ โค แพะ ฯลฯ จะต้องได้รับการเชือดหรอื ฆ่าอย่างถูกต้องตามหลักศาสนบญั ญัติอิสลาม ซึ่งเป็นกรรมวิธี เฉพาะท่ีดำเนินการโดยมสุ ลิมทบี่ รรลุนิตภิ าวะมสี ตสิ มั ปชัญญะ สมบูรณ์ด้วยการตัดหลอดเลือด หลอดลมและหลอดอาหาร ของสัตว์โดยใช้อุปกรณ์ที่มีความคม เช่น มีด ซึ่งพระนาม ของอลั ลอฮจฺ ะตอ้ งถกู กลา่ วในขณะทที่ ำการเชอื ด โดยกล่าวว่า 22

“บิสมิลละฮฺ วาอัลลอฮุอักบัร (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ อลั ลอฮผู้ทรงยิง่ ใหญ่)” • ส่วนประกอบที่ฮาลาลจะต้องไม่ผสมหรือแม้แต่สัมผัสกับ วัตถุดิบหะรอม อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์จากสุกรหรือสุนัขใน ระหวา่ งการเกบ็ รกั ษา การขนสง่ การปรงุ และการใหบ้ ริการ ความหมายของคำวา่ ฮาลาลและหะรอม “และพวกเจ้าจงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดี ๆ จากสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงให้เป็น ปัจจัยชีพแก่พวกเจ้า และพึงยำเกรงอัลลอฮฺผู้ซึ่งพวกเจ้าศรัทธาต่อ พระองค์เถิด” (อัลมาอีดะฮฺ : 88) จากอายะฮฺอัลกุรอานข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า อัลลอฮฺได้เน้นย้ำถึง การบริโภคอาหารของมสุ ลมิ ซึ่งเป็นอาหารท่มี ีประโยชนแ์ ละฮาลาล นอกเหนือจากหน้าที่พื้นฐานที่ถูกกำหนดแก่มุสลิมแล้ว ยังมีการ กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ตรงกับชีวิตประจำวันของมุสลิม แนวทางปฏิบัติ เหลา่ นรี้ วมไปถงึ กฎหมายอาหารที่อย่บู นพืน้ ฐานของกรอบแนวคดิ ฮาลาล หะ รอม มัชบุฮฺ (เคลือบแคลงสงสัย) มักรูฮ (น่ารังเกียจหรือไม่เห็นด้วย) และ มบุ าหฺ (อนโุ ลม) 23

ฮาลาล คอื อะไร? ฮาลาล หมายถึง อนุญาตหรืออนุมัติสำหรับมุสลิมนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งได้ ระบุไว้ในอัลกุรอานที่ว่า อาหารที่ดีและสะอาดทั้งหมดนั้นฮาลาล เพราะฉะนั้นอาหารเกือบทั้งหมดจากทะเล พืช และสัตว์นั้นถือว่าฮาลาล ยกเวน้ ส่งิ ท่ไี ดก้ ำหนดหา้ มไวโ้ ดยเฉพาะ หะรอม คอื อะไร? หะรอม หมายถึง ไม่เป็นที่อนุญาตหรือต้องห้ามสำหรับการบริโภค ประเภท ของการห้ามไดถ้ กู กล่าวไว้ในอลั กรุ อานประกอบดว้ ยสิง่ ต่างๆ ดังต่อไปนี้ • ซากสตั วห์ รอื เน้อื ของสตั วท์ ต่ี ายเอง (โดยไมผ่ า่ นการเชอื ดหรอื ฆ่า) • เลือด • เนือ้ สุกร • สัตว์ที่เชือดพลีเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ยกตัวอย่างเช่น เพ่ือ เทวรปู ) • ส่ิงมนึ เมา รวมท้งั เครอ่ื งด่มื แอลกอฮอล์ นอกจากน้ียังมีสตั ว์กนิ เนื้อ นกล่าเหยอ่ื และสัตวบ์ กทไ่ี ม่มใี บหู เป็นที่ ต้องห้ามสำหรับมุสลิม ผลิตภัณฑ์ใดๆที่ปนเปื้อนกับสิ่งที่หะรอม ผลติ ภณั ฑ์ดังกล่าวกลายเปน็ สิ่งหะรอมอีกดว้ ย มศั บุฮฺ คืออะไร? มัศบุฮฺ หมายถึง เคลือบแคลง มีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ หากแหล่งที่มาของ อาหารบางชนดิ น้นั มีข้อสงสัย หรือมคี วามคลุมเครอื ว่าเปน็ สง่ิ ต้องห้ามภายใต้ กฎหมายอสิ ลามหรอื ไม่ ดงั นัน้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจงึ ถกู พจิ ารณาเปน็ มชั บุฮฺ 24

ความหลายหลายของผลติ ภัณฑ์ในท้องตลาดทุกวันนี้ ตกอยู่ภายใต้ กลุ่มนี้ซึ่งจัดอยู่ในพื้นที่ สีเทาระหว่างอะไรคือสิ่งที่อนุมัติและอะไรคือสิ่ง ตอ้ งห้าม มกั รูฮฺ คืออะไร มักรูฮฺ หมายถึง น่ารังเกียจหรือไม่ส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม จากอัลลอฮหฺ รอื รอซลู ของพระองค์น่ันคือ นบีมฮุ มั มดั (ซ.ล.) ท่เี ป็นผลิตภัณฑ์ ที่นา่ รงั เกียจของบุคคลหนึ่ง หรืออาจมอี นั ตรายบางอยา่ ง ตกภายใตก้ ลมุ่ นี้ มบุ าฮฺ คอื อะไร? มุบาฮฺ หมายถึง สิ่งที่อยู่กลางระหว่างไม่ใช่สิ่งต้องห้ามหรือสั่งใช้ให้ปฏิบัติ (ตามกฎหมายอิสลาม) อยา่ งไรกต็ ามเง่ือนไขบางอย่างอาจเปลีย่ นสถานะของ มุบาหฺ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารใดๆที่มีสถานะมุบาหฺกลับกลายเป็นสงิ่ หะรอม หากผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ อนั ตราย 25

ตอนที่ 2 สถานการณ์ท่ยี ากลำบากของผบู้ ริโภคมสุ ลิมในมาเลเซยี มาเลเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา และกลุ่มชาติพันธ์ ในมุมมองปัญหาฮาลาลและหะรอมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างยิ่ง เนื่องจากผู้มิใช่มุสลิมจำนวนมาก ไม่เข้าใจกฎระเบียบทางด้าน อาหารของศาสนาอิสลาม การพิจารณาสถานะฮาลาลของสินค้าไปไกลเกิน กว่าการสร้างความมั่นใจที่ว่าอาหารนั้นปราศจากเน้ือสุกรเท่านัน้ แต่สัตว์กิน เน้ือ สตั ว์ครง่ึ บกครึง่ น้ำ (กบและปนู า) และแมลงยกเว้นตั๊กแตน สง่ิ เหล่าน้ีถือ วา่ ไม่ฮาลาลอีกด้วย ประเทศของเรายังนำเข้าสนิ ค้าและบริโภคสินค้าจากประเทศที่มิใช่ มุสลิม ซึ่งสถานะของ ฮาลาลไม่อาจทราบได้ มุสลิมทัว่ โลกเผชิญกบั ปัญหา ที่คล้ายกัน เมื่อพวกเขาบริโภคหรือนำเข้าอาหารจากประเทศที่มิใช่มุสลิม อาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคเหล่านี้อาจจะมีส่วนประกอบที่หะรอม เพราะผู้นำเข้าหรือส่งออกไม่มีความเข้าใจข้อกำหนดของศาสนาอิสลามใน การนำเขา้ หรือสง่ ออกสนิ ค้า ท่ามกลางการพัฒนาเทคโนโลยีอาหาร กระบวนการแปรรูปอาหาร ได้กลายเป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคมีอาหาร แปรรูปให้เลือกหลากหลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย อาหารหลากหลายประเภทที่ นำเสนอแก่ผู้บริโภคในสถานการณ์เช่นนี้ อาจจะมีส่วนประกอบจากสารท่ี หะรอม สถานการณ์ดังกล่าวยิ่งแย่ลงไปอีก เมื่อสารหะรอมเหล่านี้บางครั้งไม่ สามารถตรวจพบได้ดว้ ยกระบวนการทางด้านวทิ ยาศาสตร์ ตัวอยา่ งเช่น กรณี 26

เจลาตินในอาหาร ถึงแม้มีโอกาสตรวจพบได้ว่ามาจากสัตว์ชนิดใด แต่แทบ เป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบได้ว่า สัตว์นั้นได้รับการเชือดอย่างถูกต้องตาม หลักศาสนบัญญตั อิ สิ ลาม ปญั หาบางประการตอ่ ไปนี้ สง่ ผลตอ่ ผ้บู ริโภคมุสลิม ในประเทศมาเลเซีย เคร่ืองหมายฮาลาล โดยทวั่ ไปผบู้ รโิ ภคเข้าใจว่า มเี พียงองคก์ รเดียวเท่าน้ันท่ีมีอำนาจใน การออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลนั่นคือ กรมพัฒนาอิสลามมาเลเซีย (JAKIM) แต่ในความเป็นจรงิ เครือ่ งหมายฮาลาลยงั ออกโดยกรมศาสนาของรฐั (JAIN) และคณะกรรมการทางศาสนาของรัฐ (MAIN) หน่วยงานจำนวนมาก เหล่านี้ไม่มคี วามพร้อมที่จะตรวจสอบอาหารและผลิตภัณฑอ์ ื่นๆเพือ่ ให้แน่ใจ ว่าอาหารเหล่านั้น ฮาลาล ผู้บริโภคยังสับสนว่าเครื่องหมายฮาลาลเหล่านี้ เครื่องหมายจากหน่วยงานไหนเป็นเครื่องหมายที่น่าเชื่อถือ เครื่องหมายฮา ลาลยงั ถูกออกโดยหน่วยงานและองค์กรจากต่างประเทศอีกด้วย ซงึ่ อาจจะไม่ มีความเป็นอิสระในการประเมนิ อยา่ งซ่ือสตั วแ์ ละน่าเชือ่ ถอื สารทจี่ ดั อย่ใู นประเภทมบุ ะหฺ สามารถใชเ้ ครื่องหมายฮาลาลได้หรือไม่ ? มีความเหน็ จำนวนมากต่อสถานะฮาลาลของเรนเนท (เอนไซม์ที่ถูก นำมาใช้ในการทำเนยแข็ง) เนื่องจากเรนเนทที่ถูกนำมาใช้ในการทำเนยแข็ง (cheese) สามารถมาจากสัตว์ พืช หรือจากจุลินทรีย์ก็ได้ JAKIM จึงได้จัด กลุม่ เนยแข็งเหลา่ น้ีให้อยู่ในกลุม่ มุบะหฺ อย่างไรก็ตามเราพบว่าในท้องตลาดมี เนยแขง็ และสินค้าทมี่ ีส่วนประกอบของเนยแข็งและเวย์ (ผลพลอยไดจ้ ากเนย แข็งซึ่งใช้เรนเนทในการตกตะกอน) พร้อมด้วยเครื่องหมายฮาลาลทั้งจาก JAKIM หรือจากองคก์ รศาสนาของประเทศท่สี ินค้าถกู ผลติ ขึ้น นอกจากนี้ยังมี เครื่องดื่มสุขภาพที่มีเวยเ์ ปน็ ส่วนประกอบกับเครื่องหมายฮาลาลจาก JAKIM อีกด้วย คำถามในที่นี้คอื อะไรคือกฎเกณฑท์ ี่จะประกาศว่าผลิตภัณฑ์อาหาร ดังกล่าวนั้นฮาลาลและให้เครื่องหมายฮาลาลแก่อาหารที่อยู่ในกลุ่มมุบะฮหฺ (ดูตอนที่ 16 ในเรื่องเนยแขง็ ) 27

เครือ่ งเชอื ดกล (Mechanical slaughtering) เม่อื ตน้ ปี 2003 ปญั หาของเครอื่ งเชือดกลสำหรับไก่ เป็นเรื่องท่ีโดด เดน่ ที่ไดร้ บั การนำเสนอจากสอื่ ตามรายงานข่าวระบุวา่ ไก่นนั้ ได้รับการเชือด โดยใช้ใบมีดจากเครื่องกลและถูกจุ่มลงในน้ำร้อนก่อนที่พวกมันจะตาย นอกจากนี้ระยะเวลายังไม่เพียงพอเพื่อให้เลือดขับออกจากตัวไก่อย่าง สมบูรณก์ ่อนทพี่ วกมันจะถกู นำไปแปรรปู ฮกิ มะฮฺ (วิทยปญั ญา) ของการเชอื ดตามหลกั ศาสนาบัญญัติอิสลาม คือการที่กล้ามเนื้อและหัวใจของสัตว์ขณะที่สัตว์ถูกเชือดก่อให้เกิดปฏิกิริยา สะท้อนกลับ ( reflex reaction) ซ่งึ จะปลดปลอ่ ยเลอื ดออกมาในปรมิ าณมาก กระบวนการนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า เนื้อจะไม่มีเลือดที่ก่อให้เกิดการติดเ ช้ือ แบคทเี รยี เนื่องจาก JAKIM ได้อนุญาตการเชือดด้วยเครื่องกลภายใต้เงื่อนไข บางประการ ซึ่งเงือนไขเหล่านี้ควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดและทำ ให้ม่นั ใจถึงความสมบรู ณข์ องเงือ่ นไขอยู่ตลอดเวลา 28

ซา้ ย : หนงั สอื พมิ พต์ ี ขวา : จดหมายจาก JAKIM ท่ีอนุญาตใหใ้ ชเ้ คร่ือง ขา่ วเกย่ี วกบั เชือดกลเพื่อเชือดไก่ ขอ้ ความบางตอนของจดหมาย หลักเกณฑก์ ารใช้ : ไดม้ ปี ระกาศจากคณะกรรมการชารีอะห์อนญุ าต เครอ่ื งเชอื ดกลเป็นท่ี การใชเ้ ครือ่ งเชอื ดกลเชอื ดไก่ โดยมีหลกั เกณฑก์ าร เคลือบแคลงสงสัยใน พจิ ารณาดงั น้ี หมู่สาธารณชน a) ต้องมีผู้ควบคมุ การเชือด b) อปุ กรณ์ทใ่ี ช้ในการเชือดเปน็ ไปตามเงอื น ไขที่กำหนด c) มีเนยี ต (เจตนา) สถานะฮาลาลของเน้ือนำเข้าจากต่างประเทศ 29

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีรายงานว่า เนื้อกระบือได้ถูกนำมาขาย เชน่ เดียวกับเนอื้ ววั ในประเทศน้ี จากมมุ มองด้านศาสนาถอื วา่ สง่ิ นไี้ ม่ใชป่ ญั หา เนื่องจากการบรโิ ภคเนอื้ กระบือเป็นทอ่ี นุมตั ิในศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ดีหาก เนอ้ื กระบือสามารถขายเชน่ เดยี วกบั เนอ้ื ววั แลว้ เราจะม่นั ใจได้อย่างไรว่าเน้ือ ท่หี ะรอมไมถ่ ูกนำมาขายเปน็ เน้ือที่ฮาลาล? นอกจากนี้ยังมีคำถามอีกว่า เนื้อสัตว์ที่นำเข้ามานั้นเนื้อชิ้นไหนมา จากสัตว์ที่ไดร้ บั การเชือดตามแบบวิธีของมสุ ลมิ ถึงแมจ้ ะมีการอ้างว่าเนือ้ สัตว์ ที่นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย มาจากศูนย์กลางของการเชือดสัตว์แบบ อิสลาม วิธีการใดที่ทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่าเนื้อทัง้ หมดมาจากศูนย์กลาง ของการเชือด เว้นแต่จะมีการตรวจสอบอย่างเหมาะสมที่ดำเนินการโดย เจา้ หน้าท่ผี ้มู อี ำนาจตรวจสอบ? มีหลายกรณีท่แี ม้แต่ช่ือของผนู้ ำเข้าไม่ถกู ระบุ ไว้บนฉลาก แตถ่ ึงกระนัน้ ผบู้ รโิ ภคในมาเลเซียพิจารณาว่าเนือ้ นน้ั ฮาลาล เพยี ง เพราะผ้ขู ายเนอื้ เปน็ มสุ ลิม สว่ นประกอบท่ีไดม้ าจากแหลง่ หะรอม โมโนโซเดยี มกลูตาเมต (MSG) ผงชูรส MSG คือสารประกอบที่มีผลึกสีขาว ซึ่งแต่เดิมได้มาจาก สาหร่ายทะเล ผงชูรส MSGไม่ได้เติมเข้าไปเพื่อเป็นรสหนึ่งของอาหาร เพียงแต่ไปปรับปรุงรสชาติในอาหารนั้นด้วยตัวอาหารเอง ผงชูรส MSG ใน เชิงพาณิชย์ทำมาจากสาหร่ายทะเลได้ไม่นาน ในปัจจุบันผงชูรสถูกผลิตผ่าน กระบวนการหมักที่ซับซ้อนโดยใช้แป้งเป็นวตั ถดุ ิบเร่มิ ต้น ในมาเลเซียแป้งมัน สำปะหลงั เปน็ แป้งท่ถี กู นำมาใชใ้ นการผลติ ในปี 2001 มุสลิมในประเทศอินโดนีเซียต่างตกตะลึงกับข่าวท่ี รายงานว่า มีการนำเอนไซม์จากสกุ รมาใชใ้ นการผลิตผงชูรส MSG (ดูเพ่มิ เติม ตอนท่ี 26) 30

สารท่ีเป็นตวั ปญั หาซงึ่ ทำใหเ้ กดิ ข้อกังขานัน่ คือ Bactosoytone ซึ่ง เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มจำนวนแบคทีเรียให้เป็นเชื้อหมัก เริ่มต้นในกระบวนการหมัก โดย Bactosoytone ถูกผลิตข้ึนด้วยการสลาย โปรตีนจากถ่ัวเหลืองโดยใชเ้ อนไซม์ท่สี กดั ได้จากตับออ่ นของสกุ ร การใช้ Bactosoytone ในการผลิตผงชรู สนั้นหะรอม เนื่องจากมนั ถูกผลิตจากแหล่งทีหะรอม เคร่ืองด่มื โคลา่ ในปี 1994 การศึกษาค้นคว้าของสมาคมคุ้มครองผู้บริโภครัฐปีนัง (CAP) ได้แสดงให้เหน็ วา่ เครื่องดืม่ โคคา-โคลา่ ซึ่งเป็นเครือ่ งดื่มที่ได้รับความ นิยมมากที่สุด อาจจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ สิ่งที่กล่าวมานี้เป็น ขอ้ มลู หลักฐานท่ไี ดจ้ ากหนงั สอื For God, Country and Coca-Cola เขียน โดยมาร์ค เพนเดอร์เกรส์ท (Mark Pendergrast) ในหนังสือได้บอกประวัติ ของบริษัท โคคา-โคล่า ซึ่งเพนเดอรเ์ กรส์ทได้เปดิ เผยสตู รลับของเคร่ืองดมื่ ทมี่ อี ายุมากกวา่ ร้อยปี ซ่งึ สตู รได้ระบถุ งึ การนำแอลกอฮอลม์ าใช้ จากทั้งสองกรณีที่ได้กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า การทดสอบอาจจะไม่ สามารถตรวจพบส่วนประกอบ หะรอมในผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้ การรับรู้ แหล่งที่มาของส่วนประกอบโดยเฉพาะ จะทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์ไหนฮาลาลหรือหะรอม เพราะฉะนั้นเป็นการดีกว่าหากหลีกเลี่ยง การบริโภคอาหารประเภทนี้ สว่ นประกอบทม่ี ีแหล่งทม่ี าท้ังจากสตั วแ์ ละพืช ส่วนประกอบมากมายที่ถูกนำมาใช้ในอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น กลีเซอรีน เลซิทินและกรดไขมัน ซึ่งตกอยู่ในประเภทนี้ โดยท่วั ไปสว่ นประกอบเหล่านถี้ ูกนำมาใชเ้ ป็นวัตถเุ จอื ปนอาหาร กฎหมายทเ่ี ก่ียวข้องกบั ฮาลาล/หะรอมในประเทศมาเลเซยี 31

ไม่มีกฎหมายในประเทศที่เกี่ยวกับปัญหาฮาลาล/หะรอม ยกเว้น กฎหมายอ้างการใช้สัญลักษณ์ “ฮาลาล” ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบข่ายรายละเอียด ของกฎหมายการค้าที่ 1972 กฎหมายได้อนุญาตการใช้คำว่า “ฮาลาล” หรอื “Makanan Orang Islam3” หรอื “Ditanggung Halal4” หรอื คำกลา่ ว อื่นๆที่บ่งบอกหรือทำให้เข้าใจว่ามุสลิมนั้นได้รับอนุญาตโดยศาสนาของเขา เพอื่ การบรโิ ภคสินค้าน้ันโดยเฉพาะ สญั ลกั ษณ์เหลา่ นี้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก็ สามารถใช้ได้ หากมีการใช้สัญลักษณ์นี้ในทางมิชอบ ดังนั้นจึงเป็นภาระของ เจ้าหน้าที่ในการฟ้องร้องเพื่อพิสูจน์ความจริงในศาลว่าผลิตภัณฑ์นั้นหะรอม การวางภาระหน้าที่ในการฟ้องร้องพิสูจน์ความจริงเพื่อให้เกิดการบังคับให้ เป็นไปตามกฎหมายมีค่าใช้จ่ายสูง ยุ่งยาก และกินเวลานาน ภาระหน้าที่นี้ ควรตกเป็นของบุคคลหรือบริษัทที่แสดงเครื่องหมายฮาลาล เพื่อพิสูจน์ว่า ผลติ ภัณฑ์ดังกลา่ วน้ันฮาลาล ตอนท่ี 3 ประวัตกิ ารมสี ว่ นรว่ มของสมาคมคมุ้ ครองผู้บรโิ ภครัฐปีนงั (CAP) ในประเด็นฮาลาล/หะรอม เมื่อต้นปี 1997 สมาคมคุ้มครองผู้บริโภครัฐปีนังหรือ CAP ได้พบ หลกั ฐานทแ่ี สดงวา่ ไส้กรอกเน้ือววั ออสเตรเลยี ทน่ี ำมาขายในประเทศแห่งนี้มี การเจอื ปนเน้อื สกุ ร การค้นพบดังกล่าวถูกนำมาเผยแพรอ่ ยา่ งแพร่หลาย สิ่งนี้ นำมาซึ่งความกังวลและไมพ่ อใจขอผู้บริโภคมุสลิม และหลายคนเรียกร้องให้ CAP ดำเนนิ การสำรวจผลิตภณั ฑ์อ่นื ๆทอ่ี าจจะมีสง่ิ หะรอมสำหรับมุสลมิ จากความกังวลเกีย่ วกับปัญหาทีเ่ กิดขึ้น ด้วยเหตนุ ้ี CAP อาสาทีจ่ ะ ดำเนินการศึกษาในปัญหาดังกล่าวด้วยตัวเอง จนเมื่อปลายปี 1977 จาก 3 หมายถงึ อาหารของผ้นู ับถือศาสนาอิสลาม (ผแู้ ปล) 4 หมายถงึ ไดร้ ับรองฮาลาล (ผแู้ ปล) 32

การศกึ ษาทำใหเ้ ราได้รู้ว่า เจลาตนิ ซงึ่ เป็นผงผลึกสขี าวเน้อื ละเอียดถกู นำมาใช้ ในผลิตภัณฑ์อาหารจำนวนมากนั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากสุกร เนื่องด้วย ผลติ ภณั ฑ์จำนวนมากที่มสุ ลิมบรโิ ภคพบสว่ นประกอบชนิดนมี้ อี ยใู่ นผลติ ภณั ฑ์ ซ่ึง CAP ไดม้ องเรื่องนี้เปน็ เร่อื งร้ายแรงเรือ่ งหน่งึ ดงั นัน้ ในเดือนธันวาคมปี 1977 CAP ได้ทำหนังสอื โดยจ่าหน้าซอง ด่วนที่สุด ร้องเรียนไปยังกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย เพื่อกำหนด ขน้ั ตอนการแก้ไขปัญหาโดยทันที ปัญหาดังกล่าวยังถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางเพื่อ เตือนให้มุสลิมได้ละเว้นจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเจ ลาตนิ เว้นแตพ่ วกเขาม่นั ใจว่าผลิตภณั ฑ์นน้ั ฮาลาล ในขณะเดียวกันทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ให้สัญญาที่จะเข้ามา ตรวจสอบในปัญหาดังกล่าว แต่กระนั้นหลังจากผ่านไป 5 ปี ก็ยังไม่มีความ คืบหน้าการดำเนินการใดๆ ทั้งๆที่มีข้อร้องเรียนจาก CAP ที่ต้องการคำตอบ จำนวนมาก เมอ่ื พิจารณาถงึ ความเฉ่อื ยชาของกระทรวงและการแพร่กระจาย ความสงสัยที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์อาหารที่น่ากังวลต่อสาธารณชน ด้วย เหตุน้ี CAP จึงไดต้ ดั สินใจรเิ ร่ิมสืบสวนเพ่ือคล่คี ลายในปัญหาเรอ่ื งน้ี โดยในปี 1982 มีรายงานที่เป็นหลักฐานจำนวนมากซึ่งทำให้ CAP ได้ยืนยันว่า เจลาตินแท้ที่จริงแล้วได้มาจากหนัง เอ็นและกระดูกที่เป็นเศษ เหลือท้ิงจากสกุ ร เจลาตนิ ยังสามารถทำมาจากหนังวัว หนงั แกะและสว่ นอื่นๆ ของสัตว์ (เช่น กระดูกอ่อน เป็นต้น) แต่เนื่องจากหนังวัวและหนังแกะเป็น หนงั สตั วท์ ีม่ มี ลู ค่า จงึ สามารถนำไปผลิตเปน็ สินคา้ อน่ื ๆ สว่ นหนงั สุกรซ่งึ ไม่ถือ ว่าเป็นหนงั สัตวท์ ี่มีมลู คา่ ด้วยเหตนุ ี้หนังสุกรจงึ ถูกนำมาใช้ในการผลิตเจลาตนิ เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นมา CAP ก็ได้ให้ความรู้และการศึกษาแก่สาธารณชน เกีย่ วกับอาหารและผลติ ภัณฑ์อ่นื ๆทหี่ ะรอมสำหรับมสุ ลมิ 33

ลำดบั เหตุการณ์ปญั หาฮาลาลและหะรอมทถี่ ูกเปิดเผยโดย CAP 1977 - พบไสก้ รอกเนอื้ วัวออสเตรเลียมีเน้อื สกุ รเจือปน 1981 - พบแอลกอฮอล์อย่ใู นยาบำรงุ ทารก 1982 - CAP ได้ยืนยนั วา่ เจลาตินไดม้ าจากสกุ ร การประชุมที่จัดขึ้นโดยสำนักนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่าเจ - ลาตนิ นนั้ หะรอมสำหรับมสุ ลมิ CAP ได้เปิดเผยว่ารกจากครรภ์ของมนุษย์ที่ได้จาก - โรงพยาบาลของรัฐถูกขายให้กับบริษัทเครื่องสำอางใน ตา่ งประเทศ 1984 - นมผงสำหรบั ทารกแรกเกดิ พบวา่ มีส่วนประกอบไขมนั สัตว์ - ผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลายชนิดได้รับการตรวจสอบและ พบว่ามีเจลาติน 1985 พบการเจอื ปนเจลาตินในผงวุ้น - เนยขาวซง่ึ ทำมาจากไขมันสัตว์ พบว่ามีอย่ใู นบิสกิต โมโนกลเี ซอไรด์ (วัตถเุ จือปนอาหารท่ีได้มาจากสตั ว์) พบว่ามี 1986 - อยู่ในผลติ ภณั ฑอ์ าหาร - กลีเซอไรด์ (สารทไ่ี ด้มาจากสตั ว)์ พบวา่ มอี ยู่ในเครอื่ งสำอาง พบสบู่ท่ีทำมาจากไขมนั สัตว์ - คน้ พบแปรง ท่ีทำมาจากขนของสุกร - ฟิลม์ ถ่ายรปู และภาพถา่ ย พบวา่ ไดเ้ คลือบดว้ ยเจลาติน - เนยแขง็ ทีท่ ำมาจากเอนไซม์ เรนเนท/เปบซิน ซงึ่ เป็นอนุพันธ์ - ทีไ่ ด้มาจากสตั ว์ - เจลาตินและกลีเซอไรด์ พบว่าถูกนำมาใช้ในยาและ ผลิตภัณฑท์ างการแพทย์ - ไขมันสกุ ร (Lard) ถกู นำมาใชใ้ นกระบวนการผลติ นำ้ หอม เครื่องปัน้ ดินเผา พบว่ามีกระดกู สตั วเ์ ป็นสว่ นประกอบ - - 34

1994 - หนังสือที่ชื่อ For God, Country and Coca-Cola โดย มาร์ค เพนเดอร์เกรส์ท ได้เปิดเผยสูตรลับของโคคา-โคลา ว่า มีการใช้แอลกอฮอล์ - เวย์ (Whey) ถูกพบในนมผงสำหรับทารกแรกเกิด และ 1995 อาหารแปรรปู อ่ืนๆ 1996 - อาหารแปรรปู และผงวนุ้ ได้ถกู ทดสอบและพบวา่ มีเจลาตนิ - พลาสมาจากเลือด (Blood plasma) ถูกค้นพบว่าได้ 1998 นำมาใชใ้ นอาหาร 2000 - คอลลาเจน (สารซ่ึงเปน็ อนุพันธ์ของเจลาตินท่ีไดม้ าจากสัตว์หรือ ตัวออ่ นในครรภ์) ถกู นำมาใชใ้ นเครื่องสำอาง 2005 - วัตถุแตง่ กล่ินอาหารพบว่ามสี ว่ นประกอบของแอลกอฮอล์ - แอล-ซสิ เทอีน (L-cysteine) สารทไี่ ดม้ าจากเสน้ ผมของมนษุ ย์ พบว่า ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในวงการอาหาร เช่น ขนมปัง พซิ ซา่ และผงปรงุ รสอาหาร เน่อื งจากเปน็ วัตถุเจอื ปนอาหาร ตอนที่ 4 35

ข้อสงสยั และความไม่มน่ั ใจท่ีรายล้อมเคร่อื งหมายฮาลาล เมื่อเร็วๆนี้ ผู้บริโภคมุสลิมต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าที่มี คำวา่ “ฮาลาล”ในรปู แบบต่างๆ ไมว่ า่ จะเปน็ พยญั ชนะภาษาอาหรับหรือโรมัน ที่แสดงบนผลิตภัณฑ์หรือสถานที่เพื่อเป็นสิ่งจูงใจสำหรับผู้บริโภคมุสลิม สัญลักษณ์ฮาลาลดังกล่าวดียิ่งกว่าการใช้สัญลักษณ์อื่นๆ แต่กระนั้นมี ผู้ประกอบการค้าปลีกบางรายเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการติด เครื่องหมายฮาลาลในร้านของพวกเขา แม้รายการสินค้าที่ขายจะไม่ฮาลาลก็ ตาม เนือ่ งมาจากมูลคา่ การคา้ ทพี่ วกเขาได้รับจากสัญลกั ษณเ์ หล่าน้ี ทำให้เกิด การขยายธุรกิจออกไปอย่างมายมายไม่ว่าจะเป็นภัตตาคารสุดหรูหรือ ร้านอาหารริมทาง สาเหตุจากการออกกฎหมายที่ขาดความเหมาะสมต่อ ปัญหาฮาลาล/หะรอมและการบังคับใช้กฎหมายการคา้ ที่ไมด่ ีพอ จึงทำให้นัก ธรุ กิจไรย้ างอายใชเ้ คร่อื งหมายฮาลาลในทางที่ผิดเพ่อื กระตุ้นธุรกจิ ของตน ในเดือนพฤษภาคม ปี 2004 สอื่ ท้องถน่ิ ได้รายงานการใช้เครื่องหมายฮา ลาลปลอมอย่างแพร่หลาย โดยเครื่องหมายฮาลาลดังกล่าวไม่ได้ถูกรับรอง จาก JAKIM ในหมกู่ ลยุทธ์ทีร่ า้ นอาหารนำมาใชไ้ ด้แก่ การแสดงหนงั สอื รับรอง ฮาลาลจากองค์กรศาสนาบางองค์กรที่แสดงว่า ไก่ได้รับการเชือดโดยผู้เชือด มุสลิม แต่ขาดการรับประกันว่าอุปกรณ์ ถ้วยจาม เครื่องครัวต่างๆที่พวกเขา นำมาใช้นั้นไม่มีการปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ที่หะรอม ด้วยเหตุนี้สถานะฮาลา ลของอาหารทถ่ี ูกผลิตขึน้ โดยร้านอาหารเหลา่ น้ยี งั คงเปน็ ท่ีน่าสงสัย ร้านอาหารตะวันตกชื่อดังแห่งหนึ่งเปิดเผยว่า มีการทำให้ผู้บริโภคเกิด ความเขา้ ใจผิดด้วยการแสดงเคร่ืองหมายฮาลาลปลอมทห่ี ลอกลวงวา่ ออกโดย JAKIM รา้ นอาหารดังกลา่ วยังบรกิ ารสรุ าซงึ่ เปน็ สิง่ ต้องหา้ มทางศาสนาอสิ ลาม ยังมีร้านอาหารที่ใช้คำว่า “บิสมิลละฮฺ” เพื่อบ่งบอกว่าอาหารนั้นฮาลาลอีก ด้วย 36

นอกจากนี้ยังมีห้างสรรพสินค้าจำนวนมากติดเครื่องหมายฮาลาลตรง แผนกขายไก่และเนื้อ ซึ่งไม่มีข้อสงสัยแต่ประการใดเกี่ยวกับเครื่องหมายที่ เป็นใบรับรองจากหน่วยงานให้การรับรอง แต่กระนั้นพวกเขาอาจจะยังขาย เนื้อที่ไม่ฮาลาล ถึงแม้ว่าเนื้อที่ไม่ฮาลาลนั้นจะอยู่ในแผนกอื่น ที่อาจจะไม่มี รถเข็นเฉพาะสำหรับนำมาใช้ลำเลียงอาหารที่ไม่ฮาลาล อีกอย่างที่สามารถ จินตนาการในสถานการณ์นี้คือ รถเข็นที่ถูกนำมาใช้ก่อนหน้านั้นอาจจะ ลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ฮาลาลและต่อมามุสลิมนำมาใช้เพื่อลำเลียงเนื้อที่ฮา ลาล นอกจากนี้ยงั มีอีกประเด็นทีเ่ ป็นไปได้นัน่ ก็คือ ไม่มีการแยกห้องเย็นและ สถานทีจ่ ดั เกบ็ สำหรบั ผลิตภณั ฑ์ท่ไี ม่ฮาลาล ตัวอย่างเคร่อื งหมายรบั รองฮาลาลท่ปี รากฏในทอ้ งตลาด มเี ครือ่ งหมายไหนบ้างทเี่ ป็นเครื่องหมายฮาลาลแท้ ? ในปี 2003 ได้มีรายงานว่า โรงแรมระดับสี่ดาวในรัฐปีนังพบมีหมูย่าง บริการ ถึงแม้ว่าทางโรงแรมจะไดร้ ับหนงั สอื รบั รองฮาลาลจากกรมศาสนาของ รัฐก็ตาม โดยกอ่ นหน้านี้มีกรณกี ารขายสุราในร้านอาหารทีแ่ สดงเครือ่ งหมาย ฮาลาล (ดูตอนที่ 5 “ความไม่แน่นอนในสถานะฮาลาลของอาหารภัตตาคาร และโรงแรม”) 37

กรณีการละเมดิ เครื่องหมายฮาลาล วันที่ 24 ธนั วาคม 1997 เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค ได้เข้าทำการยึด น้ำมันปรุงอาหารจำนวน 24.3 ตัน ซึ่งมีมูลค่า 45,000 ริงกิต (ประมาณ 450,000 บาท....ผู้แปล) ใน Batu Berendam รัฐ มะละกา น้ำมันปรุง อาหารที่ยึดได้ มาจากโรงงานที่เจ้าของไม่มีใบอนุญาตการใช้เครื่องหมายฮา ลาล อยา่ งถกู ต้อง วนั ที่ 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2004 เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค ได้เข้าตรวจค้น โรงงานบรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใน Taman Sri Bahtera, Cheras, กรุง กัวลาลัมเปอร์ เนื่องจากไม่มีหนังสือรบั รองฮาลาลของแทจ้ าก JAKIM ในการ ตรวจค้นครั้งนี้มบี ะหมีก่ ึ่งสำเร็จรูปหลากหลายรสชาติและยี่ห้อตา่ งๆมากกว่า 1,000 กล่อง มมี ลู คา่ สงู กว่า 370,000 บาทท่ียึดได้ วนั ท่ี 13 พฤษภาคม 2004 ร้านอาหารชื่อดังใน USJ 9, Subang Jaya, รัฐสลังงอร์ พบมีการหลอกลวง ผู้บริโภคมุสลิมโดยแสดงเครื่องหมายฮาลาลปลอมที่ถูกสมมุติว่าออกโดย JAKIM นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 6 ปี ร้านอาหารแห่งน้ี ให้บริการอาหารตะวันตกอีกทั้งยังจำหน่ายสุราชนิดต่างๆ แต่ได้รับการ อุดหนุนจากมุสลิมเนื่องจากมีเครื่องหมายฮาลาลปรากฎอยู่ทำให้เกิดการ เขา้ ใจผดิ วันท่ี 22 มถิ นุ ายน 2004 กองบังคับคดีของสำนักงานจากกระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค สาขา Kajang ได้เข้าตรวจค้นสถานที่ของบริษัทนำเข้านมจากประเทศ 38

ออสเตรเลีย ในขณะที่ตรวจค้นพบว่ามีการใช้เครื่องหมายฮาลาลปลอม หลอกลวงผบู้ ริโภค วันที่ 8 กรกฎาคม 2004 JAKIM ได้ทำการยึดหมากฝรั่งยี่ห้อชื่อดังจำนวนสองคอนเทนเนอร์จาก คลงั สนิ คา้ ที่ Hicom Glenmarie ใน Subang, รฐั สลังงอร์ ซึ่งมีมูลคา่ กวา่ 23 ล้านบาท เชื่อวา่ มีการใช้เครื่องหมายฮาลาล ปลอม วันที่ 12 กรกฎาคม 2004 ได้เข้าทำการยึดเครื่องด่ืมตุงกัตอาลีมากกว่า 255,000 กระป๋อง ซึ่งมีมูลค่า ประมาณ 5,000,000 บาท ที่จัดจำหน่ายโดยบริษัทรายหนึ่งใน Taman Perindustrain Selesa ใน Serdang รัฐสลังงอร์ เนื่องจากบริษัทใช้ เครื่องหมายฮาลาลปลอม บริษัทแห่งนี้เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเครื่องดื่ม สมุนไพรรายใหญ่ของประเทศ พบว่าได้ทำการพิมพ์สัญลักษณ์ฮาลาลปลอม บนกระป๋อง 39

เจา้ หนา้ ท่ี JAKIM เข้าทำการยดึ ผลติ ภณั ฑ์ ทใ่ี ชเ้ คร่อื งหมายฮาลาลโดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต (Harian Metro, พฤษภาคม 2004) วันท่ี 1 ตุลาคม 2004 บริษัทแห่งหนึ่งได้ผลิตขนมไหว้พระจันทร์โดยได้ใช้เครื่องหมายฮาลาลจาก JAKIM ติดบนขนมไหว้พระจันทรท์ ่มี ีหมูหยองและไขมนั หมูผสมอยู่ สิ่งน้ไี ดท้ ำ ใหผ้ บู้ ริโภคมสุ ลิมเกดิ ความไมพ่ อใจ จากเหตุการณท์ ี่เกดิ ขน้ึ นท้ี ำให้ JAKIM ได้ ยกเลกิ ใบรับรองฮาลาลที่ไดใ้ ห้แก่ บริษัท Kam Lun Tai Cake House จำกดั ทีม่ สี ถานประกอบการใน Kajan, รัฐสลังงอร์ วนั ที่ 20 ธนั วาคม 2004 โรงงานจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่ Taman Pinggiran Putra, Seri Kembangan พบว่ามีการนำเข้าเครื่องดื่มที่แสดงเครื่องหมายฮาลาลจาก JAKIM ซึ่งฉลากสินค้าได้รับการพิมพ์ในประเทศจีนโดยโรงงานไดท้ ำการผลติ เครอื่ งด่มื กอ่ นทส่ี นิ คา้ เหลา่ นีจ้ ะถกู สง่ ออกมายงั ประเทศมาเลเซีย วนั ท่ี 2 กุมภาพันธ์ 2005 เจ้าของคลังสินค้าขายส่งพบห้องเก็บผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเครื่องหมายฮา ลาลควบคู่ไปกับเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรบรรจุกระป๋องจำนวน 100 กระป๋อง ในจำพวกผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ได้รับการปนเปื้อนประกอบด้วย น้ำมันงาบรรจุขวด ถั่ว ซอสพริก บิสกิต ปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง และ ผลิตภัณฑ์อืน่ ๆซึ่งก่อนหนา้ นี้ได้รบั การรบั รองฮาลาลจาก JAKIM วนั ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2005 บริษัทแปรรูปอาหารแห่งหนึ่งได้ติดเครื่องหมายฮาลาลบนกระป๋องที่บรรจุ หอยทากดิบ (หอยทากที่กินได้) ซึ่งเป็นสิ่งหะรอมสำหรับมุสลิม หอยทาก ดังกล่าวเชื่อว่าได้รับการนำเข้าจากประเทศใกล้เคียงและได้บรรจุกระป๋องท่ี 40

โรงงานแหง่ หนง่ึ ในเขตอตุ สาหกรรม Batu Caves พบวา่ เจ้าของโรงงานได้ทำ สำเนาและพิมพ์เครื่องหมาย ฮาลาลจาก JAKIM บนผลิตภัณฑ์ห้าชนิดท่ี ปราศจากการได้รบั อนุญาต วนั ท่ี 14 กุมภาพันธ์ 2004 ชายมุสลิมคนหนึ่งเกือบรับประทานเนื้อสุกรรมควันที่บรรจุร่วมกันกับเนื้อไก่ โดยผู้ผลติ ได้บรรจใุ นถุงพลาสติกทีม่ เี ครอ่ื งหมายฮาลาลจาก JAKIM ซ่ึงบริษัท ไดท้ ำการยา่ งเนื้อสกุ รและไก่ในหลมุ่ ยา่ งเดียวกัน ปญั หาเครอ่ื งหมายฮาลาลกับการจดั การของรัฐบาล ในปี 1994 เครื่องหมายฮาลาลที่ได้มาตรฐานนั้นได้ถูกเสนอโดย กรมการพัฒนาอิสลามในสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่รู้จักกันดใี นขณะนี้คอื JAKIM การอนุมัติเครื่องหมายและหนังสือรับรองนั้นกระทำภายใต้การ ควบคุมอย่างเคร่งครัดของ JAKIM กับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดความม่ันใจว่าอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอาง และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ใช้เครื่องหมายฮาลาล สอดคล้องกบั ขอ้ กำหนดของกฎหมาย อสิ ลาม วิธีดำเนินการรวมทั้งการได้มาซึ่งใบรับรองและเครื่องหมายจาก JAKIM เป็นเรื่องค่อนข้างยากและใช้เวลานาน บางครั้งนานถึงสองปีเลย ทีเดียว เพราะเหตุนี้จึงมีบางรายได้อาศัยการใช้เครื่องหมายฮาลาลปลอม เม่อื พจิ ารณาถงึ การใช้เครื่องหมายฮาลาลปลอมหรอื เครอ่ื งหมายฮา ลาลที่ไม่มีการรับรองได้ลุกลามจนควบคุมไม่ได้ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2004 JAKIM ได้ประกาศการใช้เครอ่ื งหมายใหม่ทค่ี าดหวังวา่ จะมีผลบังคับใชเ้ ร็วๆน้ี โดยประกาศว่าทว่ั ประเทศจะมกี ารใช้เครือ่ งหมายฮาลาลร่วมกับรหัสของรัฐท่ี 41

เหมือนกันที่ควบคุมโดยกรมทะเบียนเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในการใช้ เคร่ืองหมาย อยา่ งไรกต็ ามกระท่งั บดั นี้โครงการดงั กลา่ วก็ยังไมไ่ ด้ดำเนนิ การ การละเมิดเครื่องหมายฮาลาลยิ่งถูกซ้ำเติมมากขึ้นดว้ ยความหย่อน ยานในการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น บุคคลใดใช้ เครื่องหมายฮาลาลในทางที่ผิดสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีภายใต้มาตราท่ี 3(1)(b) ของกฎหมายการค้าปี 1994 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 2,500,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทัง้ ปรับ อย่างไรก็ตามการบังคับใช้กฎหมาย นีม้ ีข้อจำกัดและไมเ่ พียงพอในการยับย้ังการละเมดิ ปัญหาอาหารฮาลาลที่พบในขณะนี้จากระเบียบวาระการประชุม แห่งชาติของเรา โดยผู้มีอำนาจได้วิจารณ์ความล้มเหลวของพวกเขาอย่าง หนักในการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมายและดำเนินการกับการนำ เคร่อื งหมายฮาลาลไปใชก้ ับอาหารและผลติ ภณั ฑท์ ีเ่ กย่ี วขอ้ งในหนทางทผี่ ดิ ไม่ สอดคลอ้ งกบั กฎหมายชารอี ะฮฺ ผลจากการใช้เครื่องหมายฮาลาลปลอมอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุน้ี กระทรวงการค้าภายในและกิจการผู้บริโภค Datuk Mohd Shafie Apdal ได้ประกาศเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2005 ว่า เครื่องหมายฮาลาลใหม่นั้นได้ ออกแบบมาให้มีคุณลักษณะความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพ่ือ ป้องกันร้านค้าปลีกหลอกลวงผู้บริโภค ในระหว่างนั้นรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี Datuk Dr. Abdullah Md zin ได้ประกาศว่า การใช้ เครื่องหมายฮาลาลใหม่นี้จะเริ่มดำเนินการในเดือนกรกฎาคมปี 2005 (Berita Hawan, 16 และ 30 มนี าคม 2005) แตเ่ ม่อื ถึงเดอื นธันวาคม 2005 สิ่งนกี้ ็ยงั ไม่เกิดขึน้ องค์การมาตรฐานแห่งชาติ SIRIM ได้ออกมาพร้อมกับ มาตรฐาน อาหารฮาลาล : แนวทางทัว่ ไปสำหรับการผลิต การเตรียมและการเกบ็ รักษา (MS 1500: 2004) มาตรฐานนี้จะครอบคลุมกระบวนการผลิต การควบคุม และการเก็บรักษาอาหารฮาลาล ซึ่งได้รับการจัดทำบนพื้นฐานกฎหมาย อิสลาม (ชารีอะห์) ถ้าเช่นนั้น JAKIM และกรมศาสนาแห่งรัฐ ควรจะยึด มาตรฐานนี้ในการออกเครื่องหมายฮาลาล ซึ่งมาตรฐานนี้จำเป็นต้องใช้ 42

ร่วมกันอีกสองมาตรฐานนั่นคือ MS 1480 : การวิเคราะห์อันตรายและ ควบคุมจุดวิกฤติ (HACCP) และ MS 1514: หลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับ สุขลกั ษณะท่ดี ี ตอนท่ี 5 ความไมแ่ น่นอนในสถานะฮาลาลของอาหารภตั ตาคารและโรงแรม 43

อะไรคือหลักเกณฑ์ที่คุณพิจารณาเมื่อต้องการบริโภคอาหาร? การ มีพนักงานมุสลิม ความสะอาดของสถานที่ เครื่องหมายฮาลาล การประดับ ประดาด้วยอายะฮฺอัลกุรอานหรือการใช้วลี เช่น “ไม่มีหมู” ใช่หรือไม่ คุณ ทราบหรือไม่ว่าส่ิงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่หลักประกันว่าอาหารในสถานท่ี ดังกล่าวนั้นฮาลาล? จากการสำรวจของสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆนี้พบว่า เจ้าของ ร้านอาหารกว่า 30 ร้านในกลังวัลลีย์ (Klang Valley ในกรุงกัวลาลัมเปอร์) ได้ประดับประดาด้วยอายะฮฺอัลกุรอานเพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคที่เป็นมุสลมิ เข้า ร้านของพวกเขา ในบรรดาอายะอัลกุรอานเหล่านั้นประกอบด้วย กาลิมะฮฺ อัลลอฮและมุฮัมมัด อายัตพันดินาร์ (อัฏ-เฏาะลาก : 2-3) อายะฮฺกุรซีย์ และอัลฟาติหะฮฺ ภาพของกะบะฮฺก็ยังถูกนำมาแสดงในบางครั้ง แต่ใน ขณะเดียวกันเจ้าของร้านยงั คงมีพื้นที่สวดมนต์ของเขาในสถานที่เดียวกันอกี ด้วย แม้ว่าปัญหานี้จะถกู รายงานไปยังหนว่ ยงานที่เกีย่ วข้อง แต่ก็ไม่สามารถ กระทำการใดๆได้ เน่ืองจากไม่มีกฎหมายรองรบั เกย่ี วกบั ปญั หาดงั กล่าว การหลอกลวงจากเจ้าของร้านอาหารด้วยการขายอาหารฮาลา ลเพยี งเพือ่ อาศัยเปน็ เคร่ืองมอื ในการเพ่ิมยอดขายอาหารด้วยรูปแบบท่ีคดโกง นักธุรกิจบางรายสนใจเพียงแค่การทำกำไรเท่านั้น แต่พวกเขาไม่ได้กังวลถึง ความรู้สกึ ของมุสลิมภายในประเทศ ผคู้ นจำนวนมากไมเ่ ขา้ ใจว่าอาหารใดๆก็ ตามจะต้องมีองค์ประกอบที่เป็นไปตามกฎหมายด้านอาหารของมุสลิม พวก เขาทราบแต่เพยี งวา่ เน้อื สกุ รเปน็ สงิ่ ต้องห้ามในศาสนาอิสลามเทา่ น้ัน แต่พวก เขาไม่เข้าใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ปรุงอาหารและสถานที่จัดเก็บในห้องครัวไม่ควร นำมาใช้สำหรับเตรียมอาหารที่ไม่ฮาลาลด้วยเช่นเดียวกัน หากอุปกรณ์ ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อเตรียมอาหารสำหรับมุสลิม การใช้ เครอ่ื งปรุงท่ีมแี อลกอฮอลก์ ็เป็นสิ่งต้องห้ามอีกดว้ ย สำหรบั นกั ธุรกจิ บางรายมี เพียงส่งิ เดยี วทีส่ ำคัญนัน่ กค็ ือการมีเครอื่ งหมายฮาลาลในสถานท่ีของเขา เพ่ือ ทีว่ า่ ผู้บริโภคมสุ ลมิ จะอดุ หนนุ ร้านคา้ ของเขา ในรัฐปีนัง คณะกรรมการอิสลามรัฐปีนัง (MAIPP) ได้ถอดถอน ใบรับรองฮาลาลที่ได้ให้ไว้แก่โรงแรมระดับสี่ดาว เนื่องจากพบว่ามีการใช้ช้ัน 44

ใต้ดินของโรงแรมเป็นสถานที่ทำหมูย่าง โรงแรมได้เริ่มกิจกรรมนี้เมื่อมีการ ปรบั ปรุงชัน้ ใตด้ ินทด่ี ำเนนิ การโดยผรู้ บั เหมาเอกชน เหตุการณ์น้ไี ดถ้ กู รายงาน ไปยงั สอ่ื ทอ้ งถิ่น เมื่อการตรวจคน้ ไดด้ ำเนนิ การ เจา้ หนา้ ท่ี MAIPP ตา่ งตกตลงึ กับสิ่งที่พวกเขาได้เห็น เนื่องจากพวกเขาไม่เคยเห็นกรณีที่รุนแรงเช่นนี้มา ก่อน หลักฐานจากบันทึกของ MAIPP รายงานว่า โรงแรมได้ครอบครอง ใบรับรองฮาลาลอย่างถูกต้อง นับตั้งแต่โรงแรมได้เริ่มดำเนินการมาเป็น ระยะเวลา 5 ปี และไดท้ ำการต่อสัญญาทกุ ๆปโี ดยปราศจากปัญหาใดๆ เป็นที่ทราบกันดีว่า โรงแรมแห่งนี้มีสาขาอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งบ่อยครั้งได้ให้บริการหน่วยงานราชการจำนวนมาก เพื่อจัดสัมมนา จัด ประชุม จดั ฝกึ อบรมของพนักงานและเจา้ หนา้ ที่ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพนั ธ์ ได้แจ้งแก่สื่อมวลชนว่า โรงแรมแหง่ นี้ ได้ทำตามข้อกำหนดที่วางโดย MAIPP ตลอดเวลา เขากล่าวว่าอาหารท่ี บริการ ณ งานจัดเลี้ยง และบ้านกาแฟนั้นฮาลาล และมีการรับรองจาก MAIPP อย่างไรก็ตามมีพื้นที่ว่างบางแห่งในโรงแรมที่ให้ผู้ทำสัญญาจาก ภายนอกเช่า เพื่อทำเป็นร้านอาหาร โดยปราศจากการรับรองฮาลาล 45

จนกระทั่งตอนนี้กย็ งั ไม่มคี ำรอ้ งเรยี นใดๆจากทาง MAIPP เก่ียวกับการรับรอง ฮาลาล เนอ่ื งจากพวกเขาไดป้ ฏบิ ัติตามข้อกำหนดทว่ี างไว้ ข่าวตีพิมพ์สถานะฮาลาล ที่ไม่แน่นอนของอาหาร ในภัตตาคารและโรงแรม ผจู้ ัดการดา้ นอาหารและเครอ่ื งด่ืมกล่าววา่ ไมม่ ผี ู้ใดแจ้งใหเ้ ขาทราบ ว่าหนงั สอื รับรองฮาลาลของโรงแรมถูกยกเลิกไปแล้ว โรงแรมแห่งน้ีคอื หน่ึงใน 13 โรงแรมของรฐั ปนี งั รวมทง้ั โรงแรมต่างประเทศบางแห่งทีไ่ ดร้ บั การรับรอง ฮาลาลจาก MAIPP กรณีข้างต้นทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนสติให้ผู้บริโภคมุสลิม ระมัดระวังเมอ่ื เลือกรบั ประทานอาหารในร้านอาหารและโรงแรม รายงานจากส่ือยังไดร้ ะบุอกี ว่า ในรัฐปนี ัง MAIPP ไดอ้ อกใบรับรอง ฮาลาลในสถานประกอบการอาหารทั้งหมด 116 แห่ง ใน 13 ประเภท ประกอบด้วย โรงฆ่าสัตว์ (10), โรงแรม(15), ร้านข้าวแกงสไตมาเลย์ (nasi 46

kandar) (6), ส่วนประกอบอาหาร(1), ร้านกาแฟและบริการจัดอาหารงาน เลี้ยง (21) MAIPP ยังได้ออกใบรับรองฮาลาลแก่โรงงานผลิตเครื่องดื่มปรุง แต่งกลิ่นรส(11), ซอสถั่วเหลือง, เต้าเจี้ยวและน้ำปลาหวาน(6), ขนมปัง เค้ก และบิสกิต(8), น้ำมันปรุงอาหาร(6), หอมทอด(2), เครื่องเทศ(7), ขนมขบ เค้ยี ว(1) และผลิตภัณฑ์อาหาร(22) มุสลิมไม่ควรพิจารณาเพียงสถานะฮาลาลของอาหารต่างๆ ขึ้นอยู่กับกระบวนการฆ่าสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น พวกเขาจะต้อง ตระหนักถึงความจริงที่ว่า เครื่องครัว ถ้วยจาม และอุปกรณ์สำหรับปรุง อาหารต้องปราศจากสิ่งหะรอมอีกด้วย ก่อนอาหารที่บริการดังกล่าวจะ ได้รบั การพิจารณาว่าฮาลาล เม่ือเรว็ ๆน้ีได้มกี ารอภิปรายในรัฐสภาต่อประเด็นการรับรองฮาลาล ผู้อภิปรายได้ยกปัญหาของภัตตาคารแห่งหนึ่งซึ่งบริการอาหารฮาลาลแต่มี สุราบนเมนู ควรได้รับการรับรองฮาลาลหรือไม่? ดาโต๊ะ ดร.อับดุล เลาะห์ มุฮัมมัด ซิน (Datuk Dr. Abdullah Md Zin) รัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรฐั มนตรี ได้ใหค้ ำตอบต่อการตง้ั กระทถู้ ามโดยกล่าววา่ หากมีการปะปน รายการที่ฮาลาลและไม่ฮาลาล ภัตตาคารดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการรับรองฮา ลาล ผู้อภิปรายยังชี้ให้เห็นว่า สุรายังถูกบริการบนสายการบินมาเลเซีย ต่อคำถามน้ี ดาโต๊ะ ดร.อับดลุ เลาะห์ กลา่ ววา่ หากมีการร้องเรยี นเกิดข้นึ ทาง กรมศาสนาสามารถเข้าทำการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ตามที่ระบุในจดหมายมายัง CAP ลงวันที่ 12 กันยายน 2005 สายการบินมาเลเซียได้กล่าวว่า อาหารที่ให้บริการบน เที่ยวบินจากกรุงกัวลาลัมเปอร์และรัฐปีนังทั้งหมดนั้นฮาลาล และมีการ รับรองฮาลาลจาก JAKIM ถึงแม้ว่าสุราจะไม่ถกู บริการบนสายการบินภายในประเทศ แต่สุรา ได้ถูกบริการในระหว่างมื้ออาหารบนสายการบินระหว่างประเทศ รัฐมนตรี 47

ประจำสำนกั นายกรัฐมนตรกี ล่าววา่ ถา้ มรี ายการฮาลาลและไมฮ่ าลาล ปะปน กนั ก็จะไม่ได้รบั การรบั รอง แล้วเหตุใด JAKIM จงึ รับรองวา่ อาหารทใี่ ห้บริการ บนสายการบนิ มาเลเซยี น้นั ฮาลาล? \"ตะลงึ กบั งานเล้ียงในสโมสรสมาชิกเฉพาะ\" เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้เขา้ รว่ มงานเลี้ยงท่ีจัดขึ้น ณ สโมสรที่สร้างขึ้นเป็น อยา่ งดใี นรฐั ปนี งั สำหรับผู้เชย่ี วชาญทางด้านกฎหมาย สมาชิกของชมรมนี้ประกอบด้วยผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา ผู้มีตำแหน่งสูงในหน้าที่การงานโดยเฉพาะครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และสมาชิกจำนวนมากขององค์กรเจ้าภาพที่เข้าร่วมในการจัดงานก็เป็น มุสลมิ อีกดว้ ย ก่อนอาหารค่ำที่จัดแบบบุฟเฟ่ต์จะเริ่มขึ้น มีการกล่าวสุนทรพจน์ และในระหวา่ งการกลา่ วคำสุนทรพจน์ พวกเราบางคนได้สังเกตเหน็ ที่ \"สถานี 48

ย่าง\" ของสายบฟุ เฟ่ต์ พ่อครัวกำลงั ทาเน้ือแกะยา่ งด้วยบรัน่ ดี Hennessy ซ่ึง ขวดของมันวางอยู่ทางดา้ นขวาของเนือ้ แกะยา่ ง ทำให้เข้าใจว่าอาหารบางอย่างที่ให้บรกิ ารอาจจะไม่ฮาลาล และใน ฐานะที่เป็นมุสลิม พวกเราคนหนึ่งได้สอบถามเกี่ยวกับรายการอาหารอื่นๆที่ บริการในระหว่างอาหารมื้อค่ำนี้ ทีมงานของเราแจ้งว่าหนึ่งในขนมหวานท่ี ใหบ้ ริการมีแอลกอฮอล์บรรจุอยู่ด้วย พวกเราหลายคนได้รับรู้และหลีกเลี่ยงจากรายการอาหารที่มี แอลกอฮอล์ และเรายงั พยายามเตือนมุสลมิ รายอืน่ ๆอีกบางส่วนที่ร่วมอาหาร มื้อค่ำให้หลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ แต่ถึงกระนั้นเราได้สังเกตเห็นว่ายังมีมุสลมิ อีกบางส่วนท่ีร่วมรบั ประทานอาหารมื้อค่ำ ไม่ทราบเลยว่าอาหารทีใ่ หบ้ ริการ เหลา่ นม้ี อี าหารท่ไี ม่ฮาลาล ผมได้เขียนจดหมายแจ้งไปยังผู้จัดงานต่อสิ่งที่พวกเราพบเห็นและ ได้แนะนำให้พวกเขาติดป้ายกำกับอาหารที่ไม่ฮาลาลที่ได้บริการร่วมอยู่ด้วย ในการจัดงานคร้ังตอ่ ไป วธิ ีปฏิบัติเช่นน้ยี ังเกดิ ข้นึ ในโรงแรมและสถานทอ่ี ่นื ๆ อกี ด้วย ซึง่ อาจ ไม่บริการเนื้อสุกรแต่ให้บริการอาหารที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ และ ถือเป็นการละเมดิ ขอ้ กำหนดด้านอาหารของมุสลมิ -- ทนายความมสุ ลิมจาก รัฐปนี ัง 49

ตอนท่ี 6 ชารีอะหแ์ ละสารเคมใี นอาหาร ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหนึ่งที่มีความห่วงใยเกี่ยวกับอาหารและ ผลิตภณั ฑ์ต่างๆท่ีเปน็ อนั ตรายต่อผนู้ บั ถอื คณะกรรมการชารอี ะหข์ องรัฐเปรกั (Perak) ไดป้ ระชุมเมือ่ วันที่ 22 ตุลาคม 2002 ไดใ้ ห้ความเหน็ ดังตอ่ ไปน้ี “การประชุมคณะกรรมการชารีอะห์ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 เดือน ชะอฺบาน ฮ.ศ. 1428 ซงึ่ ตรงกบั วันท่ี 22 ตลุ าคม 2002 ได้มมี ติวา่ ไม่มีการฟัต วา (รูปแบบการตัดสินทางศาสนาอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นทัศนะทางกฎหมาย) ออกมาสำหรับสารเคมที ี่ใช้ในอาหารโดยเฉพาะ อยา่ งไรกต็ ามเม่อื เราม่ันใจว่า สารเคมีท่ีเกี่ยวข้องนี้เปน็ อันตรายต่อสุขภาพ เมื่อนั้นสารเคมีดังกล่าวถือเป็น สิ่งหะรอม อาศัยหลักฐานจากซูเราะฮฺอัลบากอเราะฮฺ อายะที่ 195 ความว่า “และจงอยา่ โยนตัวของพวกเจา้ สู่ความพินาศ” (อลั บากอเราะฮฺ : 195) ในมุมมองนี้มุสลิมควรให้ความสนใจในข้อมูลข่าว สารที่เกี่ยวกับ อาหารและผลิตภัณฑท์ มี่ สี ารเคมเี ปน็ สว่ นประกอบซ่งึ เปน็ อันตรายต่อสขุ ภาพ นับตั้งแต่ CAP ได้จัดตัง้ ข้ึนในปี 1969 เราได้รับการเปิดเผยทุกการ กระทำที่ไม่ถูกต้องในท้องตลาด การกระทำที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ ไม่เพียงการ ปฏิบัติท่ีขดั หลักจริยธรรมของนักธุรกจิ เท่าน้ัน แต่ยังรวมถึงการใช้สารเคมใี น อาหารและผลติ ภัณฑ์ท่ีเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนษุ ยอ์ กี ดว้ ย 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook