Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรํฐศาสตร์ (รภ อุดร)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรํฐศาสตร์ (รภ อุดร)

Published by ronmvsk90, 2021-05-15 04:10:26

Description: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรํฐศาสตร์ (รภ อุดร)

Search

Read the Text Version

229 เพื่อช่วยพัฒนาเสนอแนะ ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในด้านน้ันๆ แต่ละหน่วยงานจะมีสมาชิก งบประมาณ และสานักงานใหญ่ของตนเอง เช่น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาต(ิ United Nation Educational, Scie- ntific and Cultural Organization: UNESCO) เป็นตน้ 9.11.2.1.7 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) คือ ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ มีหน้าทีต่ ีความสนธิสัญญาท่ีมีความขัดแยง้ กัน หรือเม่ือมีคดี พิพาทระหว่างชาติ (มิใช่ระดับบคุ คล) แต่การทศ่ี าลยุติธรรมระหวา่ งประเทศจะเข้าไปพิพากษาในกรณี พิพาทระหว่างประเทศได้ก็ต่อเม่ือประเทศคู่พิพาทนั้นยินยอมรับอานาจของศาล และสัญญาว่าจะ ปฏิบัติตามคาตัดสิน ผู้พิพากษาของศาลยุตธิ รรมระหว่างประเทศนี้มีอยู่ 15 คน โดยทางสมัชชาใหญ่ และคณะมนตรีความมนั่ คงเลอื กตงั้ มา 9.11.2.2 องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (The North Atlantic Treaty Organization: NATO) เป็นองค์การระหว่างประเทศซ่ึงเน้นหนักไปทางทหารที่สาคัญท่ีสุดของ บรรดากลุ่มประเทศตะวนั ตก องค์การนาโต้น้ีมจี ุดประสงค์ใหญ่เดิมคือ การรวมกลมุ่ ประเทศยุโรปตะวันตก เพอ่ื ตอ่ ต้านการรุกรานของอดตี สหภาพโซเวยี ต ถอื กาเนิดขึ้นเมอ่ื ปี พ.ศ. 2492 ประเทศสมาชิกประกอบดว้ ย สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเย่ียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก อิตาลี ไอซ์แลนด์ ลกั เซมเบอร์ก นอร์เวย์ โปรตุเกส ต่อมา กรซี และตุรกี (ปี 2495) เยอรมัน (2498) สเปน (2525) ก็ขอเขา้ รว่ ม องค์การนาโต้ด้วย เดิมเป็นองค์การท่ีเน้นหนักทางการป้องกันยุโรปตะวันตกจากสหภาพโซเวียต กาลัง กองทพั ขององค์การจงึ มปี ระสทิ ธิภาพสงู ในการใช้ระบบการป้องกนั ร่วมกนั นนั้ รฐั สมาชิกแตล่ ะรฐั ตอ้ ง ถือว่าเม่ือรัฐใดในองค์การน้ีถูกรุกรานให้ถือว่ารัฐทุกรัฐในองค์การนาโต้ถูกรุกรานด้วยรัฐสมาชิกต้ อง ร่วมมือกันตอ่ ตา้ นศตั รู ปัจจุบันเมื่อสงครามเย็นจบส้ินลง บทบาทในการเป็นองค์การเพ่ือป้องกัน ตนเองจากฝ่ายตรงข้ามของนาโต้จึงเปล่ียนแปลงเป็นองค์การเพ่ือความม่ันคงภายในภูมิภาค รักษา สันติภาพและจัดการกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ในสังคมร่วมกับรัฐสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศ ทั้งหลาย เช่น ในบอสเนีย อัลบาเนีย โคโซโว เป็นต้น ปี พ.ศ. 2542 นาโต้มีสมาชิกใหม่เพ่ิมขึ้นอีก 3 ประเทศ คือ โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเชค รวมเปน็ 19 ประเทศ ขณะนจ้ี งึ เป็นชว่ งเวลาทน่ี าโต้ กาลังปรับตัว ปรับกองทัพให้มีประสิทธิภาพเพ่ิมมากข้ึน ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับภาวะ ความสัมพันธร์ ะหวา่ งประเทศท่ีเน้นด้านเศรษฐกิจ พยายามชกั ชวนรัสเซียเข้ารว่ มสร้างความมั่นคงใน ภูมิภาค และให้สอดคล้องกบั สหภาพยโุ รปท่ีมีบทบาทสาคญั เพมิ่ มากขึน้ ด้วย 9.11.2.3 สหภาพยุโรป (European Union) สหภาพยุโรปเป็นสหภาพเพื่อความ ร่วมมือของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเมืองให้เป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก เยอรมัน กรีซ สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์

230 อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส ฟินแลนด์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร และอีกกว่า 10 ประเทศที่กาลังพัฒนาศักยภาพตนเองขึ้นให้ทัดเทียมในการเข้าเป็นสมาชิกในอนาคต ได้แก่ บัลแกเรีย สาธารณรัฐเชค เอสโทเนีย แลตเวีย ลิทัวเนีย ฮังการี โปแลนด์ โรมาเนีย สโลเวเนีย สโลวาเกีย ตุรกี มอลตา และไซปรัส ซง่ึ เปน็ ประเทศในยุโรปตะวันออกและอดตี สหภาพโซเวียต สหภาพยโุ รปพฒั นามาจากความรว่ มมอื ทางเศรษฐกิจในอดีต คือ ประชาคมถา่ น หินและเหล็กกล้ายุโรป (The European Coal and Steel Community: ECSC) ในปี พ.ศ. 2493 โดยนาย โรเบิร์ต ชมู าน (Robert Schuman) รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ร่วมกับเยอรมนีก่อตัง้ เป็นองคก์ ารท่ีเป็น อสิ ระจากรัฐ รวมผลผลติ ถ่านหนิ และเหล็กเพ่อื ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมือง มีสมาชิก 6 ประเทศ (กลมุ่ ประเทศเบเนลักซ์: เบลเย่ียม เนเธอแลนด์ ลักเซมเบอร์ก เยอรมนั ฝรั่งเศส และอิตาลี) อีก 7 ปี ต่อมา ท้ัง 6 ประเทศก็ได้ร่วมกอ่ ตั้ง องค์การประชาคมเศรษฐกจิ ยโุ รป (The European Economic Community: EEC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความม่ันคงทางการเมืองร่วมกันในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างย่ิงการพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดตลาดร่วม (Common Market) ซ่ึงเป็นเขตการค้าเสรี (Free trade Area) ด้านแรงงาน เงินทุนและการประกอบการ 11 ปีต่อมา EEC ประสบผลสาเร็จ เศรษฐกิจเจริญ เติบโตและมีสหภาพศุลกากร (Customs Union คือ การกาจัดอุปสรรคทางการค้า ภาษี โควต้าต่าง ๆ) สาเร็จก่อนกาหนดถึง 18 เดือน สมาชิกทั้ง 6 ชาติจึงได้หารือร่วมกันสร้าง สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic and Monetary Union) ตอ่ ไป ทั้งน้ี ข้ันตอนการรวมกลุ่มสหภาพทางเศรษฐกิจ เริ่มจาก เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ไปสู่ สหภาพศุลกากร (Costoms Union) พัฒนาไปเป็น ตลาดร่วม (Common Market) และ สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) ตามลาดับแล้วจึงจะพัฒนาไปเป็นสหภาพเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ (Total Economic Union) ในที่สุด ปี 2534 ประเทศสมาชิกสมาคมเศรษฐกิจยุโรป ร่วมกันลงนามใน สนธสิ ัญญามาสทริสท์ (Maastricht treaty) เพื่อก่อต้งั สหภาพยโุ รป (European Union) อันมีจดุ มุ่งหมายอยู่ท่ี การมีสกลุ เงินและระบบเศรษฐกิจเดียว เพ่ือความมั่นคงทางเศรษฐกิจและขยายความรว่ มมือทางด้านการเมือง ประชาธิปไตย ความม่ันคงในภูมิภาค นาไปสู่การรวมกันเป็นสหรัฐยุโรปต่อไป ในข้ันตอนการรวมระบบเศรษฐ กิจให้เป็นหน่ึงเดียวนั้น ประเทศสมาชิกจะต้องควบคุมอัตราการเจริญเติบโต ภาวะเงินเฟ้อและหนี้สินของ ประเทศใหอ้ ยใู่ นระดับใกล้เคียงกนั เพอ่ื ใชเ้ งินสกลุ เดยี วกัน คือ เงนิ ยูโร (EURO) ในระบบเศรษฐกจิ ต้ังแต่วนั ที่ 1 มกราคม 2542 ยกเว้น 4 ประเทศ คือ กรีซ เดนมาร์ก สวีเดน สหราชอาณาจักร ซึ่งอยู่ในระหว่างตัดสินใจและ รอประชามติจากประชาชนก่อนและในกลางปี 2545 ประเทศสมาชิกก็ใช้เงินยูโรท้ังในระบบเศรษฐกิจและ การตลาด (ธนบัตรและเงินเหรยี ญ) เหมือนกนั ทงั้ หมด ทดแทนเงินสกลุ เดมิ ของแตล่ ะประเทศ 9.11.2.4 สมาคมแห่งประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nation: ASEAN) อาเซียน ก่อตั้งข้ึนเม่ือวันท่ี 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยสมาชิก 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และอินโดนีเซีย สมาคมอาเซียนน้ีเป็นผลสืบเน่ืองมาจากองค์การสมาคมเอเชีย

231 ตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asis: ASA) ซึ่งตั้งข้ึนเม่ือ พ.ศ. 2504 โดยมี ไทย มาเลเซีย และ ฟิลิปปนิ ส์ เป็นสมาชิก แต่ใน พ.ศ. 2507 มาเลเซียและฟิลิปปินส์มีกรณีพิพาทกนั เกี่ยวกับรัฐซาบาห์ซึ่งทั้งสอง ฝ่ายอ้างว่าเป็นดินแดนของตน ทาให้สมาคมอาสาแทบจะสลายตัวไป จนกระท่ัง พ.ศ. 2509 ปัญหาระหว่าง มาเลเซียและฟิลิปปินส์ก็เบาบางลงด้วยการไกล่เกลี่ยของประเทศไทย จึงมีการร้ือฟื้นกิจกรรมของสมาคม อาสาข้ึนอีก จนเมอ่ื มีการก่อตง้ั องค์การอาเซียนขึ้น โดยมีจุดประสงคท์ ี่คล้ายคลึงกับสมาคมอาสา คือ ชว่ ยกัน เร่งรัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความช่วยเหลือกันและกันในบรรดา ประเทศสมาชิก สมาคมอาสาจึงถูกล้มเลิกไปใน พ.ศ. 2510 สมาคมอาเซียนเม่ือก่อต้ังแล้วก็ยังไม่มีบทบาท ดาเนินการที่สาคัญเท่าไรนัก เพราะไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจงั เท่าไรจากรฐั บาลของประเทศสมาชิก จวบ จนกระทั่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการรับรองเข้าเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2518 อังกฤษ ได้ถอนกาลังออกจากภูมิภาคน้ี สงครามเวียดนามได้สิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาได้ลดความผูกพันช่วยเหลือใน ภูมิภาคน้ีลงเช่นกัน ทาให้บรรดาประเทศสมาชิกของสมาคมอาเซียนตระหนกั ถึงความล่อแหลมในสถานการณ์ ของตน เน่ืองจากกาลังของประเทศสมาชิกน้ันท้ังด้านเศรษฐกิจ สังคม และการทหารยังไม่เพียงพอจะ ต้านทานการรุกรานจากมหาอานาจภายนอกได้โดยลาพัง ดังน้ัน ความประสงค์ที่จะเข้าร่วมสามัคคีกัน ระหว่างสมาชิกประเทศของสมาคมอาเซียนจึงมีมากข้ึน ในปัจจุบัน สมาคมอาเซียนได้รับการยอมรับจาก รัฐบาลของบรรดาประเทศสมาชิกอย่างจริงจังแล้วว่า เป็นองค์การร่วมมือระหว่างประเทศที่สาคัญยิ่งใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เป็นสมาชิกลาดับที่ 6 ของอาเซียน, พ.ศ. 2538 ประเทศเวียดนามเป็นสมาชิกลาดับท่ี 7 ตามมาด้วยลาวและพม่า ในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาในปี 2542 ครบ 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความ เสมอภาค สันติภาพ และความมั่นคงร่วมกันในภูมิภาค ไปจนกระท่ังเป็นความหวังท่ีจะรวมกันเป็น สหภาพเชน่ เดยี วกบั ตวั อย่างสหภาพยโุ รป สรุป องค์การระหว่างประเทศ คือ องค์การท่ีรัฐจานวนต้ังแต่ 2 รัฐขึ้นไป มาร่วม กันดาเนินการเพอื่ วัตถุประสงคใ์ ดวัตถปุ ระสงค์หน่ึง ท้ังในการปอ้ งกันตนเองและอานวยประโยชน์ใหก้ ับนานา ประเทศ องค์การระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ องค์การระหว่างประเทศของเอกชน เช่น สโมสรไลออนส์ โรตาร่ี กับองค์การระหว่างประเทศของรัฐบาล ซึ่งมีอยู่เป็นจานวนมาก ท่ีสาคัญคือ องค์การ สหประชาชาติ ซ่ึงองค์การสหประชาชาติมีจุดประสงค์คือ การรักษาสันติภาพของโลก สหภาพยุโรป เป็นการ รวมเป็นหน่ึงเดียวทางเศรษฐกิจของยุโรป องค์การสนธิสญั ญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO) เป็นองค์การ ท่ีเน้นหนักไปทางทหารท่ีสาคัญของยุโรปตะวันตกและสมาคมแห่งประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซ่งึ เปน็ ความรว่ มมอื ทส่ี าคัญท่ีได้รับการยอมรบั จากประเทศสมาชิกในภูมภิ าคเอเชียตะวนั ออกเฉียงใต้

232 9.12 บทบาทขององค์การระหวา่ งประเทศทางด้านการเมือง ธารทอง ทองสวัสด์ิ (2535: 636-640) ได้อธิบายบทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้าน การเมอื งวา่ มี 5 ประการ ดงั น้ี 9.12.1 การยุตขิ ้อพพิ าทด้วยสนั ตวิ ธิ ี วิธีการยุติข้อขัดแย้งโดยสันติวิธีมีมาตั้งแต่ดั้งเดิมมีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น วิธี ทางการทูต การไกลเ่ กล่ีย การจัดเจรจา การประนีประนอม เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้องค์การระหว่างประเทศ ได้นามาใช้เพื่อยุติข้อพิพาทท้ังสิ้น นอกจากน้ันองค์การระหว่าประเทศอย่างเช่น องค์การสหประชาชาติ ก็ได้ นาเอาวิธีการอื่น ๆ อีกมากมายมาใช้เพ่ือยุติข้อพิพาทโดยสันติวิธี โดยเม่ือมีกรณีพิพาทเกิดข้ึน หรือเกิดมี สถานการณ์ท่ีอาจจะเป็นอันตรายต่อสันติภาพข้ึนในประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ หรืออาจจะไม่ใช่ ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ อาจจะนากรณีท่ีเกิดขึ้นเสนอต่อคณะมนตรีความม่ันคงหรือสมัชชาใหญ่ ซ่ึงโดยทั่วไปเมื่อองค์การสหประชาชาติได้รับเร่ืองราวที่เสนอเข้ามาแล้ว คณะมนตรีความมั่นคงหรือสมัชชา ใหญ่ก็จะขอร้องให้คู่กรณีงดกระทาการใดๆ อันจะทาให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม ทั้งน้ีเพ่ือให้ข้อ ขดั แย้งไมล่ ุกลามไปกว่าเดมิ แต่ถ้าหากเกิดมีการปะทะหรือใชก้ าลังเกดิ ขนึ้ แล้ว สหประชาชาติก็อาจจะส่ังให้มี การหยุดยิงได้ แม้จะไม่มีการกาหนดไว้อย่างชัดแจ้งในกฎบัตรของสหประชาชาติว่าคณะมนตรีความมั่นคง สามารถเรียกร้องให้หยุดยิงได้ แต่เท่าที่ผ่านมาคณะมนตรีความมั่นคงก็ประสบความสาเร็จในการสั่งหยุดยิง องค์การสหประชาชาติยังทาหน้าที่เป็นเวทีสาคัญท่ีคู่กรณีสามารถมาช้ีแจงหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอัน อาจจะนาไปสู่การยุตขิ ้อขัดแย้งโดยสันตไิ ด้ การอภิปรายในเวทีองค์การระหวา่ งประเทศทาให้มหาชนได้ทราบ ถึงปัญหาที่เกดิ ขึ้น และอาจจะเกิดเป็นมตมิ หาชนในอนั ที่จะช่วยยุตขิ ้อขัดแย้งด้วยก็ได้ นอกจากน้ัน องค์การระหว่างประเทศยังอาจให้คาปรึกษาหารือ (Consultation) แก่ คู่กรณีเพ่ือเปน็ การช่วยค่กู รณีหาทางออก และอาจจะมีการดาเนนิ การทางการทูตท่ีเรียกว่า การทูตแบบ เงียบ (Quiet Diplomacy) เพื่อหาข้อสรุปให้แก่คู่กรณีด้วย นอกจากน้ียังอาจมีการใช้การทูตเพ่ือการ ปอ้ งกันวกิ ฤตการณ์ (Preventive Diplomacy) เพ่ือป้องกนั มิให้คกู่ รณีเข้าไปมบี ทบาทในบริเวณท่ีมกี รณี พิพาท รวมทั้งอาจจะมีการยุติข้อพิพาทโดยวิธีการทางกฎหมาย เช่น นาข้ึนฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม ระหวา่ งประเทศ เป็นต้น ในระดบั ภูมิภาค องค์การระหวา่ งประเทศก็มีบทบาทสาคญั ในการยตุ ิข้อพิพาท ด้วยสันติวิธีเช่นกัน โดยข้อ 33 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้ระบุไว้ว่า คู่กรณีควรจะหาทางยุติข้อพพิ าท โดยวิธีการที่มีมาแต่ด้ังเดิม เช่น วิธีทางการทูต การไกล่เกล่ียประนีประนอม เป็นต้น หรือ โดยผ่าน องค์การระหว่างประเทศระดบั ภมู ิภาค ดงั นน้ั องคก์ ารระหว่างประเทศระดับภูมิภาค จงึ มักกาหนดวิธียุติ ขอ้ พิพาทในระหวา่ งสมาชกิ ด้วยกันไว้ เช่น ตลาดรว่ มยุโรป (Common Market) และสมาคมการค้าเสรี แห่งยุโรป (European Free Trade Association) ตา่ งกก็ าหนดวิธยี ุตขิ ้อพิพาทในทางเศรษฐกิจระหวา่ ง ประเทศสมาชิกไว้ องค์การนานารัฐอเมริกันก็ได้ระบุไว้ในสนธิสัญญาที่ก่อตั้งองค์การว่าให้องค์การมี อานาจทจี่ ะยตุ ขิ ้อพพิ าทระหว่างรัฐสมาชกิ ได้โดยสนั ตวิ ิธี

233 9.12.2 การรักษาสันตภิ าพและความม่ันคงโดยวิธีการรักษาความมั่นคงร่วมกัน การรักษาความม่ันคงร่วมกันนี้อาจจะกระทาได้ท้ังโดยการใช้กาลังและไม่ใช้กาลัง การไม่ใช้ กาลัง ได้แก่ โดยทางการทูต การลงโทษทางเศรษฐกิจ การตัดการติดต่อทางบก เรือ อากาศ ไปรษณีย์ วิทยุ ฯลฯ (ข้อ 41) หรืออาจจะโดยการประณามก็ได้ ส่วนการใช้กาลังน้ัน กฎบัตรขององค์การสหประชาชาติยอม ให้มีการใช้กาลังโดยลาพังหรือร่วมกัน เพื่อการป้องกันตนเองได้ (ข้อ 51) หรืออาจจะโดยการตัดสินใจ ปฏิบัติการร่วมกันของประเทศมหาอานาจทั้งห้าก็ได้ (ข้อ 43) หากจะมีการใช้กาลังด้วยกรณีอ่ืนใด ก็จะต้อง ได้รับอนุญาตจากคณะมนตรีความม่ันคงก่อน แต่การรักษาความม่ันคงร่วมกันโดยอาศัยคณะมนตรีความ ม่ันคงเป็นผู้ตัดสินส่ังการในบางคร้ังก็ไม่ได้ผลเพราะมหาอานาจใช้อานาจยับยั้ง จึงได้มีการนาหลักการท่ี ปรากฏอยู่ในข้อมติรวมกันเพ่ือสันติภาพ (Uniting for peace resolution) มาใช้ นั่นคือ การให้สมัชชาใหญ่ สหประชาชาติเข้ามาชว่ ยแกไ้ ขปัญหาความรุนแรงที่เกิดข้ึน หากคณะมนตรีความมน่ั คงไม่อาจปฏบิ ัติหน้าท่ไี ด้ นอกจากน้ียังมีการใชก้ าลังอีกชนดิ หนึ่งทเ่ี รียกวา่ กองกาลังรกั ษาสันตภิ าพ (Peace keeping force) คอื ให้กองทพั ของสหประชาชาติเขา้ ไปทาหน้าท่ใี นบริเวณทมี่ ขี ้อพิพาท เพอื่ แยกคู่พพิ าทออกจากกัน และให้บริเวณน้ันเกิดความสงบและความม่ันคง เพ่ือว่าคู่กรณีจะได้หันหน้ามาเจรจาตกลงกันได้ ตัวอย่าง ของการปฏิบัติดังกล่าว ได้แก่ กองกาลังฉุกเฉินแห่งสหประชาชาติ (The United Emergency Force: UNEF) ที่ปฏิบัติการในอียิปต์และฉนวนกาซา และกองกาลังสหประชาชาติท่ีปฏิบัติการในคองโก (United Nations Operation in the Congo: ONUC) เป็นต้น ส่วนองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคก็มี บทบาทสาคญั ย่งิ ในการรกั ษาความมัน่ คงร่วมกันเช่นกนั โดยประเทศท่ีอยู่ในภมู ิภาคเดยี วกันมีแนวโนม้ ทจ่ี ะ เข้าร่วมกันเพื่อรักษาความมั่นคงของตน เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต องค์การ กติกาสัญญาวอร์ซอหรือสันนิบาตอาหรับ เป็นต้นโดยองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคท่ีจัดต้ังขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงร่วมกนั น้ี มักจะทาความตกลงกนั ไว้ล่วงหน้า เชน่ หากมีการโจมตีโดยการใช้กาลังต่อ ประเทศสมาชกิ ประเทศใดประเทศหนึ่ง ประเทศสมาชิกจะรว่ มกันปรกึ ษาหารอื ซงึ่ อาจจะนาไปสูก่ ารลงโทษ ประเทศที่รุกรานร่วมกันได้ บางองค์การก็ถึงกับตกลงกันวา่ จะให้มกี ารโต้ตอบด้วยกาลังโดยประเทศสมาชิก ทัง้ หมด หากประเทศสมาชกิ ประเทศใดประเทศหนึง่ ถูกโจมตี แตท่ ั้งนก้ี ารใช้กาลังจะต้องไดร้ ับความเหน็ ชอบ จากรัฐท่จี ะเข้าร่วมด้วย 9.12.3 การสรา้ งความม่นั คงโดยการควบคุมอาวธุ และลดกาลังอาวธุ ได้มีการเรียกร้องให้มีการควบคุมอาวุธ ลดอาวุธ หรือยกเลิกการมีอาวุธไว้ในครอบครอง เพ่ือท่ีจะได้เกิดสันติภาพตลอดกาลขึ้นในสงครามโลก แต่เท่าที่ผ่านมาก็พบว่ามีอุปสรรคมากมายหลาย ประการเพราะขาดความร่วมมือจากบรรดารัฐต่างๆ ได้มีการเรียกร้องให้ยกเลิกการมีอาวุธอย่างเด็ดขาดมา เป็นเวลานานก่อนท่ีจะมีองค์การระหว่างประเทศแล้ว แต่ได้เร่ิมมีการปฏิบัติอย่างจริงจังในคริสต์ศตวรรษท่ี 19 โดยมีการให้ทะเลสาบ Great Lakes เป็นเขตปลอดทหาร ในปัจจุบันสหประชาชาติมีบทบาทสาคัญยิ่งใน การรณรงค์ให้มีการวางกฎเกณฑ์เก่ียวกับการใช้อาวุธ การลดอาวุธ การควบคุมการใช้อาวุธ อาวุธท่ี

234 สหประชาชาติให้ความสนใจอย่างยิง่ ก็คือ อาวุธปรมาณู เพราะโลกเพ่ิงจะเผชิญกับมหันตภัยอันเกิดจากอาวุธ ปรมาณูเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองกาลังจะสิ้นสุดลงนเ้ี อง จึงไดม้ ีการเรียกร้องให้ใช้ปรมาณูเพ่ือสันติเท่านั้น ให้ ยกเลิกการใช้อาวุธปรมาณู หรืออาวุธอ่ืนใดที่จะสร้างความหายนะแก่มวลชน แต่เท่าที่องค์การสหประชาชาติ ประสบผลสาเร็จบ้าง ก็เช่น การให้มหาสมุทรแอนตาร์กติกเป็นเขตปลอดทหาร ให้มีการลงนามสนธิสัญญา ห้ามทดลองอาวุธปรมาณู (Nuclear Test Ban Treaty) ปี ค.ศ. 1963 ให้มีปฏิญญาว่าด้วยหลักการทาง กฎหมายเพ่ือควบคุมกิจการของรัฐในการสารวจและใช้อวกาศ (Declaration of Legal Principles Governing the Activites of States in the Exploration and Use of Outer Space) 9.12.4 การส่งเสริมหลักการกาหนดด้วยตนเอง (Principle of Selfdetermination) องค์การสหประชาชาติโดยคณะมนตรีภาวะทรัสตี ได้มีบทบาทสาคัญย่ิงในการบริหาร ดินแดนท่ีอยู่ภายใต้อาณัติของสันนิบาตชาติมาก่อน และดินแดนอาณานิคมท่ีเป็นของประเทศที่แพ้สงคราม เพ่ือเตรียมดินแดนเหล่าน้ีให้พร้อมท่ีจะปกครองตนเองตนเองและประชาชนสามารถแสดงเจตจานงของตนเอง ได้อย่างอิสระ พร้อมกันนั้นสหประชาชาติก็มีส่วนสาคัญอย่างย่ิงในการปลดปล่อยอาณานิคม องค์การ สหประชาชาติได้เป็นเวทีสาคัญให้ประเทศที่ต้องการล้มเลิกระบบอาณานิคมกับเจ้าอาณานิคมเก่าได้มา อภิปรายถกเถียงหาข้อยุติเก่ียวกับดินแดนอาณานิคม ทาให้ปัญหาอาณานิคมได้รับความสนใจโดยทั่วไป อทิ ธิพลหรือแรงกดดันจากสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมีส่วนสาคัญในการผลักดันให้ประเทศเจ้าอาณา นิคมต้องปลดปล่อยอาณานิคมของตน ดังจะเห็นได้ว่า ได้มีประเทศเอกราชเพิ่มข้ึนอย่างมากมายภายหลัง สงครามโลกครัง้ ที่สอง อย่างไรก็ดี อิทธิพลของสหประชาชาติในการปลดปล่อยอาณานิคมน้ีก็มีแตกต่างกันไปในแต่ ละกรณี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อิทธิพลของประเทศเจ้าของอาณานิคม ความสามารถของ ดินแดนอาณานิคมในการขอการสนับสนุนจากกลุ่มอ่ืนๆ ในสหประชาชาติ หรือความสามารถในการใช้ความ รุนแรงในการเรียกร้องสิทธิในการกาหนดตนเอง เป็นต้น ในบางกรณีสหประชาชาติอาจจะไม่กระทาการใดๆ เลย หรืออาจจะผ่านข้อมติให้ประเทศท่ีปกครองอาณานิคมหาข้อยุติกับดินแดนอาณานิคมของตน หรือ อาจจะผ่านข้อมติให้ประเทศท่ีปกครองอาณานิคมหาข้อยุติกับดินแดนอาณานิคมของตน หรอื อาจจะส่งคณะ ผูแ้ ทนไปช่วยคู่กรณีหาขอ้ ยุติก็ได้ และภายหลังจากอาณานิคมได้รบั เอกราชแล้ว ในบางกรณีสหประชาชาติ ก็ได้เข้าไปใหค้ วามชว่ ยเหลอื ในดา้ นต่างๆ เพ่ือสร้างประเทศใหม่แตบ่ ทบาทของสหประชาชาติในดา้ นน้ี ยังอยู่ในขอบเขตจากดั เพราะปญั หาทางด้านการเงนิ ของสหประชาชาติเอง 9.12.5 การกอ่ ใหเ้ กิดการบรู ณาการทางการเมอื ง (Political Integration) การก่อให้เกิดการบูรณาการทางการเมืองข้ึนในสังคมโลกแม้องค์การระหว่างประเทศไม่ สามารถดาเนนิ การได้อยา่ งรวดเร็วเพอ่ื นาไปสู่การมีประชาคมทางการเมือง (Political Community) อยา่ งทีม่ ีผู้ ตอ้ งการ แตก่ ารบูรณาการทางการเมอื งก็ได้เกดิ ขึน้ ในระดับหน่ึงเฉพาะองค์การระหว่างประเทศถูกจัดต้ังขึน้ มา เพ่ือส่งเสรมิ ใหม้ กี ารติดต่อสัมพนั ธ์กนั ระหว่างนานาชาติ อันนบั เปน็ กา้ วหนึ่งของการนาไปส่กู ารบูรณาการทาง

235 การเมือง และในทุกองค์การจะมีกลไกท่ีช่วยประสานแนวความคิดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น องค์การ สหประชาชาติ มสี มัชชาใหญอ่ ันเป็นทที่ ่สี มาชกิ มาแสดงความคดิ เหน็ ของตนและขอการสนบั สนนุ จากรัฐสมาชิก อื่นๆ หากมีความขัดแย้งกันในความคิดก็จะมีการอภิปรายเนื้อหา ข้อสรุป และกลายมาเป็นนโยบายหลักใน ท่ีสดุ ดงั น้ัน จงึ นับวา่ องคก์ ารระหวา่ งประเทศช่วยใหม้ กี ารตัดสินใจเกดิ ขึ้นในส่วนกลาง และขณะเดยี วกนั ก็เป็น ที่คาดหวังของรัฐสมาชกิ ว่า หากมีข้อพิพาทขัดแย้งใด ๆ เกิดข้ึน องคก์ ารกจ็ ะสามารถช่วยให้มีการหาขอ้ ยตุ ิได้ โดยไม่ตอ้ งใชค้ วามรุนแรง ดงั นั้น จึงอาจสรุปไดว้ า่ องคก์ ารระหว่างประเทศมีบทบาทในการกอ่ ใหเ้ กิดการบูรณา การทางการเมืองข้นึ ในสงั คมโลกด้วย สรุป บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านการเมือง ได้แก่ หนึ่ง การยุติข้อพิพาท ด้วยสันติวิธี เช่น ส่ังให้หยุดยิง หรือวิธีดั้งเดิม คือ จัดเจรจา สอง การรักษาสันติภาพและความมั่นคงโดย วิธีการรักษาความม่ันคงร่วมกัน การรักษาความมั่นคงร่วมกันทาได้โดยการใช้กาลังและไม่ใช้กาลัง การไม่ใช้ กาลังสามารถทาโดยการลงโทษทางเศรษฐกิจ การตัดการติดต่อทางบก เรือ อากาศ หรือ การประณาม ส่วน การใช้กาลังสามารถใช้โดยลาพังหรือร่วมกันและใช้กองกาลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเข้าไปทา หน้าที่ในบริเวณท่ีมีข้อพิพาท สาม การสร้างความม่ันคงโดยการควบคุมอาวุธและลดกาลังอาวุธ อาวุธในที่น้ี คือ อาวุธปรมาณู สี่ การส่งเสริมหลักการกาหนดด้วยตนเอง เป็นเรื่องของการปลดปล่อยอาณานิคมให้เป็น ประเทศเอกราช และห้า บทบาทในการก่อให้เกิดการบูรณาการทางการเมือง องค์การระหว่างประเทศนับเป็น อีกก้าวหนึ่งของการมีประชาคมทางการเมืองในสังคมโลก อน่ึง ในเวทีระหว่างประเทศ นอกจากจะมีองค์การ ระหว่างประเทศทั้งท่ีเป็นองค์การระหว่างประเทศของเอกชนและองค์การระหว่างประเทศของรัฐบาลแล้ว ยัง มีบรรษัทข้ามชาตเิ ป็นอกี ตัวแสดงท่ีเข้ามามบี ทบาทสาคญั ในความสัมพนั ธ์ระหว่างประเทศปัจจบุ ัน 9.13 บรรษทั ข้ามชาติ (Multi National Corporations – MNCs) ณัชชาภัทร อุ่นตรงจติ ร (2548: 245-248) ไดอ้ ธบิ ายถงึ บรรษัทข้ามชาติ (MNCs) วา่ เราไม่สามารถ เข้าใจความสัมพันธร์ ะหว่างประเทศได้ หากเราหลีกเลีย่ งการให้ความสาคัญกับ MNCs ซ่ึงเป็นตัวแสดงหลัก อกี ตวั หนึ่งในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บทบาททีเ่ ดน่ ชัดของ MNCs คือ การสร้างความกา้ วหน้า ทางเศรษฐกิจและการสร้างงานให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแห่งน้ี นอกจากน้ียังทาให้เกิดวิธีการท่ีมี เหตผุ ลในการผลติ เทคโนโลยแี ละทาให้สินค้าและบริการมีราคาถูกลง ทง้ั นี้หลายๆ คนอาจจะมองว่า MNCs เป็นตัวแทนจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ซ่ึงจะนาไปสู่การควบคุมทางการเมือง โดยละทิ้งประเด็นทาง สิทธมิ นุษยชนและประเด็นดา้ นส่ิงแวดล้อม การขยายตัวของ MNCs มีข้ึนอย่างทวคี ณู จาก 430 องค์การ ในปี 1978 ได้ขยายตัวเป็น 792 องค์การยักษใ์ นอีก 10 ปีต่อมา ซง่ึ มีมูลคา่ การผลติ ในแต่ละปีมากกว่า รายได้ของแต่ละรฐั เล็กๆ 47 รัฐ ในปี 1988 หรอื อีก 10 ปีต่อมา แต่ความสาคัญของ MNCs ไม่ไดอ้ ยู่ ที่ขนาดหรืออัตราส่วนของมูลคา่ ของสินคา้ และบรกิ ารเทา่ น้ัน แต่ยังหมายความรวมถึงวธิ กี ารที่ MNCs แตล่ ะตัวแทรกแซงเขา้ ไปในทุกองคก์ ารของแต่ละประเทศ

236 9.13.1 ความหมายของบรรษัทข้ามชาติ (MNCs) MNCs คือ บริษัทท่ีมีบริษัทแม่หรือศูนย์กลางในประเทศใดประเทศหนึ่ง และมีทรัพย์สิน และการบริหารงานในบริษัท หรอื หน่วยงานอื่นในประเทศอนื่ MNCs จงึ เป็นองคก์ ารท่ีดาเนนิ การทางธุรกิจ ในรูปแบบของหลายๆ สภาพแวดล้อมในหลายๆ ชาติ MNCs มีวิธีการหลายประการในการควบคุมการค้า ของเขา เช่น การสร้างกลยุทธ์ทางการค้า สาหรับประเทศต่างๆ ที่ดาเนินงานทางเศรษฐกิจอยู่ การควบคุม ทางการตลาด และการควบคุมการใช้ทรัพยากรจากสว่ นต่างๆ ของโลก เราเห็น MNCs ในสินค้าและบริการ ต้ังแต่ลืมตาข้ึนจนกระท่ังเข้านอน ไม่ว่าจะเป็น เนสท์เล่ ฮอนด้า ซึ่งเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค ไอบีเอ็ม ไมโครซอฟต์ เป็นสนิ ค้าเทคโนโลยี จนกระทัง่ ถงึ บรษิ ัท เช่น Anaconda และ Royal Dutch ซึ่งเปน็ บริษทั ที่ เกยี่ วกับการนาเขา้ วัตถดุ บิ 9.13.2 ความสาคัญของบรรษัทข้ามชาติ (MNCs) ประมาณกนั วา่ MNCs ทว่ั โลกนีม้ ีอยปู่ ระมาณ 10,000 หน่วยงาน และ 90,000 หน่วยงาน ยอ่ ย ซง่ึ ท้งั หมดนเี้ ปน็ หนว่ ยงานเอกชนอสิ ระจริงๆ ไม่นับรวมหน่วยงานซึ่งมีความเก่ยี วขอ้ งกับรัฐ ซึง่ กลา่ วได้ วา่ สินค้าและบริการทั้งหมดของ MNCs ในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 2 ใน 3 ของมูลค่าสินค้าและบริการท่ี ผลิตได้ในโลก ด้วยขนาดท่ีใหญ่โตและมูลค่าของสินค้าของมัน ทาให้ MNCs มีส่วนสาคัญในการเมือง ระหว่างประเทศ โดยบริษัท MNCs ขนาดใหญ่บริษัทหน่ึง อาจจะสามารถทาลายเศรษฐกจิ ของรัฐเล็กๆ รัฐ หน่ึงได้ เพียงการดึงเงินช่วยเหลือ งาน และเทคโนโลยีออกจากประเทศนั้นๆ ขนาดท่ีใหญ่โตของ MNCs ทา ให้ MNCs กลายเป็นองค์การท่ีมีบทบาททางการเมืองไปโดยปริยาย ซ่ึงบทบาทนี้เป็นบทบาทท่ี MNCs ไม่ สามารถปฏิเสธได้ เพราะบางคร้ังมีผลกระทบต่อการทากาไรซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการคงอยู่ MNCs หน่ึงๆ เลย เหตุการณ์ในปี 1986 นี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าบทบาทของ MNCs มีมากเพียงใดในการเมือง ระหว่างประเทศ คือ ในปีน้ันสหรัฐอเมริกาประกาศ boycott ประเทศลิเบีย โดยไม่ให้มีการติดต่อทางการ ทูต รวมทง้ั ทางเศรษฐกจิ กับลเิ บยี แตท่ ้งั นท้ี ั้งนั้นบรษิ ัทนา้ มนั ท่อี ยู่ในประเทศลิเบียกลับไดร้ บั การยกเวน้ บทบาทท่ีโดดเด่นของ MNCs อาจจะทาให้เป็นภัยคุกคามต่อรัฐชาติ เพราะ MNCs สยายปีก คลุมเศรษฐกจิ ไว้ทว่ั โลก โดยเฉพาะอย่างย่ิงได้ถอื เส้นเลือดใหญ่ของการเติบโตเศรษฐกจิ ของรฐั ๆ หนึง่ MNCs สามารถปฏิบตั กิ ารธุรกจิ ได้เพ่ือผลกาไรโดยไม่คานึงถงึ เชื้อชาติ ศาสนาหรืออะไรท้ังส้ิน เช่น บรษิ ัท Ford ได้ ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตรถยนต์จากเมืองดีทร้อยส์ไปยังเม็กซิโกซิต้ีนั้นประชาชนชาวเมืองดีทร้อยส์ สหรฐั อเมริกาไดร้ บั ความยากลาบากมากในช่วงการเปลย่ี นงาน แตเ่ พอ่ื ผลกาไร MNCs ก็สามารถทาอะไรกไ็ ด้ แม้จะกระทบประเทศแม่ของตัวเอง ดังนั้นจึงกล่าวไว้ว่า MNCs ทาให้รัฐชาติสูญเสียความเป็นตวั ของตัวเอง ในการควบคุมอานาจทางเศรษฐกิจบางส่วน อย่างไรก็ตามรฐั บาลอาจจะตั้งกฎหมายเพ่ือมาควบคุม MNCs ไดบ้ ้าง เชน่ การออกกฎหมายไมใ่ ห้ MNCs เข้ามาควบคุมธรุ กิจ หรือกาหนดอัตราส่วนระหว่างคนในประเทศ กับ MNCs ว่าจะครอบครองธุรกจิ หน่ึงๆ ได้เท่าใดหรือจากัดไมใ่ ห้ขนกาไรท่ไี ดจ้ ากการประกอบธุรกจิ ออกไป นอกประเทศภายในระยะเวลา 2 ปี หรือต้องหักเงินบางส่วนเพ่ือพัฒนาประเทศ ประเทศท่ีมีนโยบายเช่นน้ี

237 ได้แก่ อาร์เจนตินา โคลัมเบีย และบราซิล เป็นต้น นอกจากน้ีรัฐบาลอาหรับบางประเทศยงั ไม่ติดต่อค้าขาย น้ามันใหก้ ับ MNCs ทคี่ า้ ขายกับประเทศอิสราเอล เพ่ือเป็นการกดดนั ทางการเมืองแกอ่ ิสราเอล เปน็ ต้น 9.13.3 ขอ้ ถกเถียงในเร่ืองบทบาทของบรรษทั ข้ามชาติ (MNCs) เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการดาเนินงานของ MNCs เตม็ ไปด้วยความเช่ียวชาญเฉพาะด้าน เทคโนโลยีท่ีทนั สมัยและทรัพยากรบางอยา่ ง ท่ีจะสร้างโลกแห่งการผลติ ท่ีเต็มไปดว้ ยประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ขนาด การจัดการองค์กร และการผลิตในระดับระหว่างประเทศของ MNCs นาไปสู่ความเป็นจริงจากหลักการ ทางทฤษฎี การได้เปรียบในการผลิตโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage) อย่างแท้จริง การได้เปรียบ ในการผลิตโดยเปรียบเทียบ คือ การให้ชาติที่มีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งผลิตสินค้าชนิดนั้น เพื่อที่จะ สร้างความเช่ียวชาญและให้เกิดการได้เปรียบทางการผลิต ที่เรียกว่า economy of scale นาสินค้าน้ันไป แลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ผลิตโดยความเช่ยี วชาญจากประเทศอื่น MNCs บางแห่งได้ช่วยประเทศด้อยพัฒนาใน การให้เทคโนโลยีมาตรฐานการดารงชีวิต และสร้างงาน สร้างอาชีพ ทาให้ประโยชน์จากประเทศอุตสาหกรรม กระจายไปสู่คนในโลกท่ีสาม ไม่ใช่เฉพาะประเทศอุตสาหกรรมพัฒนาแล้วเท่าน้ัน MNCs ช่วยสร้างสันติภาพ ให้เกิดข้ึนในโลกโดยการเชื่อมโยงธุรกิจของโลกเข้าด้วยกัน ด้วยเหตุน้ีการทาสงครามจึงมีข้อแม้มากข้ึน คือ การทาสงครามจะทาให้เศรษฐกิจของโลกป่ันป่วน เศรษฐกิจของคนประกาศสงครามก็เช่นเดียวกันไม่สามารถ หลีกเล่ียงได้ เพราะความเกี่ยวพันทางเศรษฐกิจมันโยงใยไปท่ัวโลก ด้วยเหตุน้ีหากพิจารณาด้วยเหตุผลทาง เศรษฐกจิ จงึ ไม่มีประเทศใดปรารถนาสงคราม อย่างไรก็ตาม กระแสหนึ่งท่ีมอง MNCs ไม่ได้มองว่า MNCs จะสวยงามดังท่ีได้กล่าวมา เพราะส่วนใหญ่ MNCs มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศอุตสาหกรรม MNCs จึงถูกมองว่าเป็นเคร่ืองมือของ จักรวรรดินิยมและตะวันตก ในการเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองในประเทศกาลังพัฒนา นอกจากนี้ความ เช่ียวชาญในเทคโนโลยีต่างๆ ของบริษัท MNCs นั้น ไม่เคยถูกถ่ายทอดให้ประเทศโลกท่ีสามอย่างเต็มรูปแบบ แต่นาเทคโนโลยีนั้นๆ มาหาประโยชน์จากแรงงานราคาถูกในโลกที่สาม เพื่อให้สินค้ามีราคาถูกลง เพื่อสรรหา กาไรไม่สิ้นสุด นอกจากน้ีมันทาให้ธุรกิจที่เคยอยู่ได้ในโลกท่าสามต้องปิดตัวลง เพราะสู้วิธีการจัดการและ เทคโนโลยีของ MNCs เหลา่ น้ไี มไ่ ด้ MNCs ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้เข้ามาทาลายวัฒนธรรม และสร้างวัฒนธรรมบริโภคนิยม ตะวันตกภายในประเทศกาลังพัฒนา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและน่าหดหู่มากคือ บริษัทเนสท์เล่ ในปี 1980 ได้พยายามยกประเด็นการโฆษณาว่าให้ลูกกินนมเนสท์เล่ ซ่ึงจะมีคุณค่าอาหารเทียบเท่านมแม่ และทาให้ ใช้ชีวิตในแนวทันสมัย แม่ๆ ท้ังหลายที่อยากทันสมัยและเช่ือโฆษณาจึงชงนมผงให้ลูกกิน แต่สภาพภูมิอา กาสในโลกท่ีมีความร้อนชื้น ทาให้เป็นที่ฟักตัวของเชื้อโรคนานาชนิด ด้วยเหตุนี้นอกจากแม่จะเสียเงินซ้ือ นมราคาแพงมาให้ลูกท้ังๆ ที่ไม่จาเป็นแล้ว หลายๆ คร้ังที่ลูกต้องกินนมบูดโดยแม่ไม่รู้ตัว และทาให้เด็ก ทารกต้องเป็นโรคท้องเสีย หรือบางรายอาจจะถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้วัฒนธรรมบริโภคนิยมตะวันตกยัง

238 มาทาลายสิ่งแวดล้อม ทาให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ และความยากจนอย่างไม่เคยปรากฏใน โลกแถบนีม้ าก่อน สรุป บรรษัทข้ามชาติ (MNCs) คือ บริษัทท่ีมีบริษัทแม่หรือศูนย์กลางในประเทศใดประเทศ หนึ่ง มีทรัพย์สินและการบริหารงานในบริษัทหรือหน่วยงานในประเทศอื่น ความสาคัญของบรรษัทข้ามชาติ คือ สินค้าและบริการของ MNCs ท้ังหมดในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 2 ใน 3 ของมูลค่าสินค้าและบริการที่ ผลิตไดใ้ นโลก ดังนั้น จึงทาใหก้ ารเคลื่อนไหวของ MNCs โดยเฉพาะการโยกย้ายเปลีย่ นแหล่งการผลิตก็จะมีผล ต่อเศรษฐกิจของประเทศน้ันๆ MNCs จึงเร่ิมเข้ามามีบทบาทเข้าไปในเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงวิถีในการ ดารงชีวิตประจาวันของผู้คนในสังคมต่างๆ ท่ัวโลก การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงไม่สามารถ ละเลยบทบาทของ MNCs ได้ 9.14 บทสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง กิจกรรมของมนุษย์ที่เก่ียวพันระหว่างบุคคลต่างๆ ในชาติ ต่างๆ มากกว่าหน่ึงชาติ การติดต่อสัมพันธ์กันนี้เปรียบเทียบได้กับรัฐต่างๆ กาลังแสดงบทบาทบนเวทีที่ พฤติกรรมและการกระทาของรัฐสามารถแสดงออกได้โดยไร้การควบคุม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเป็นเรื่องที่กว้างขวางจนแทบหาข้อยุติไม่ได้ ขอบเขตของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึง ได้กาหนดวิชาหลัก คือ ประวัติศาสตร์ทางการทูต การเมืองระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และภูมิภาคศึกษาจุดมุ่งหมายในการศึกษาความสัมพันธ์ ระหวา่ งประเทศกบั ไม่นาไปเป็นวิชาชพี แต่เรียนเพอ่ื รถู้ ึงวิธกี ารวิเคราะห์ปัญหา รู้จกั ใช้ความคิดใหถ้ ูกต้องตาม หลักเกณฑ์ ความสาคัญของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ มีความสาคัญต่อการสร้างสันติภาพ การร่วมมือติดต่อระหว่างประเทศต่างๆ ท้ังนี้ นาไปสู่ความอยู่รอดของรัฐแต่ละรัฐ เคร่ืองมือในการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้แก่ ประวัติศาสตร์การทูต แนวการวิเคราะห์ภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์ วิธีการทางเศรษฐศาสตร์สังคม แนวความคิดอุดมคตินิยม แนวความคิดสัจนิยม และหลักการทางสถิติ คณิตศาสตร์ เคร่ืองมือเหล่านี้เป็นความเช่ือในแต่ละยุคสมัย ดังน้ัน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมีข้อพึงระวัง คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีส่ิงท่ีอะไรก็เกิดขึ้นได้ เคร่ืองมือศึกษามี หลากหลาย และจะใช้เครือ่ งมือใดใหไ้ ด้ผลวเิ คราะห์ท่แี ม่นยาขนึ้ อยู่กับลักษณะของปญั หาที่ศึกษา ตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สาคัญ คือ รัฐชาติกับผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ ของชาติทุกชาติได้แก่ ความม่ันคงทางทหาร อานาจ เศรษฐกิจ อุดมการณ์และศีลธรรมและหลักกฎหมาย ปัจจัยกาหนดผลประโยชน์ของชาติได้แก่ ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ การกาหนดผลประโยชน์ของ ชาติแต่ละชาติไม่จาเป็นต้องเหมือนกับชาติอื่น แต่เป็นการเล็งเห็นความสาคัญที่เร่ืองใดเร่ืองหนึ่งเป็นกรณี พิเศษ เช่น ถ้ากาหนดผลประโยชน์ของประเทศ คือ การสร้างความมั่งค่ังทางเศรษฐกิจ จะทาได้สาเร็จ

239 หรือไม่ข้ึนอยู่กับความสามารถของชาตินั้นๆ ความสามารถของชาติจึงได้แก่ สถานที่ตั้งของประเทศทาง ภมู ิศาสตรก์ บั ทางดา้ นยุทธศาสตร์ ทรพั ยากรธรรมชาติ และกาลังคน ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดุลแห่งอานาจ เป็นคาที่สาคัญท่ีสุดคาหนึ่ง สามารถ พิจารณาได้ว่า อานาจคือ อิทธิพลและการควบคุมท่ีชาติหนึ่งแสดงออกมาตอ่ อีกชาติหนึ่ง ดุลแห่งอานาจเป็น ความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน ซ่ึงได้มาโดยการเป็นพันธมิตรและเข้าฝ่ายท่ีมีผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้รัฐมี ความเข้มแข็งมากขึ้นอีกด้วย ในอดีตโลกแบ่งเป็นสองข้ัวอานาจ คือ ขั้วสหรัฐอเมริกากับขั้วสหภาพโซเวียต เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ข้ัวอานาจก็เปล่ียนเป็นหลายขั้ว นอกจากเรื่องดุลแห่งอานาจแล้ว ปัจจุบันยังมี องค์การระหว่างประเทศท่ีมีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศท้ังในระดับเอกชนและระดับ รฐั บาล องค์การระหว่างประเทศ คือ องค์การท่ีรัฐจานวนต้ังแต่ 2 รัฐข้ึนไปมาร่วมกันดาเนินงานเพ่ือ วตั ถุประสงค์ในการป้องกันตนเองและอานวยประโยชน์แก่นานาประเทศ องค์การระหว่างประเทศท่ีสาคัญ คือ องค์การสหประชาชาติ ก่อต้ังหลังสงครามโลกคร้ังที่สอง มีวัตถุประสงค์เพื่อธารงรักษาสันติภาพของโลก มี หน่วยงานสาคัญ 7 หน่วยงาน ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะรัฐมนตรีความม่ันคง สานักเลขาธิการ คณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี องค์การชานาญพิเศษ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกเหนือจากองค์การสหประชาชาติแล้วองค์การระหว่างประเทศท่ีสาคัญได้แก่ สหภาพยุโรป องค์การ สนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติคเหนือ (นาโต) และสมาคมแห่งประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทดา้ นการเมืองท่ีสาคัญ คอื การยุตขิ ้อพิพาทด้วยสันติวิธี การรักษาสันติภาพ และความมั่นคงโดยวิธีการรักษาความม่ันคงร่วมกัน การควบคุมและลดกาลังอาวุธ (ปรมาณู) การส่งเสริม หลักการกาหนดด้วยตนเอง (ปลดปล่อยอาณานิคมให้ได้รับเอกราช) และการก่อให้เกิดการบูรณาการทาง การเมอื ง อย่างไรก็ตาม การจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันจะต้องทาความรู้จักกับบรรษัท ข้ามชาติ ซ่ึงมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซ่ึงส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่ต้องขยายมุมมองให้กว้างขวางยิ่งข้ึน จึงจะเข้าใจปัญหาต่างๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน ปัจจบุ ัน

240 คาถามท้ายบท 1. จงอธบิ ายความหมายของความสมั พันธ์ระหวา่ งประเทศ 2. การศกึ ษาความสัมพันธ์ระหวา่ งประเทศมีความสาคญั อย่างไร 3. ตวั แสดงในความสมั พันธร์ ะหว่างประเทศคอื อะไรบ้าง 4. ผลประโยชน์ของชาติได้แก่อะไรบา้ ง 5. จงอธิบายปัจจยั ท่กี าหนดผลประโยชน์ของชาติ 6. จงอธบิ ายถึงปัจจยั ท่ีกาหนดความสามารถของชาติ 7. ดุลแห่งอานาจ คืออะไร 8. องค์การระหวา่ งประเทศคืออะไร 9. จงอธบิ ายบทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านการเมือง 10. บรรษทั ขา้ มชาตคิ ืออะไร

241 เอกสารอ้างอิง โกวทิ วงศ์สุรวัฒน.์ (ม.ป.ป.). หลักรฐั ศาสตร.์ กรงุ เทพมหานคร: มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร.์ . (2548). หลกั รฐั ศาสตร์. กรงุ เทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์ . (2543). พ้ืนฐานรัฐศาสตร์กบั การเมอื งในศตวรรษท่ี 21. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์. ณชั ชาภทั ร อนุ่ ตรงจติ ร. (2548). รฐั ศาสตร์. พมิ พค์ ร้ังท่ี 2. กรงุ เทพมหานคร: จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย. ดารหิ ์ บรู ณะนนท์.(2548). ความรู้เบอื้ งตน้ ทางรัฐศาสตร์และกฎหมายมหาชน. กรงุ เทพมหานคร: วี. เจ.พริ้นตง้ิ . ทองใบ ธีรานนั ทางกูร (หงสเ์ วียงจนั ทร์). (ม.ป.ป.). พจนานกุ รม ศพั ท์ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งประเทศ องั กฤษ-ไทย. กรงุ เทพมหานคร: สหธรรมิก. ธารทอง ทองสวสั ด์.ิ (2535). “แนวคิดท่ัวไปว่าด้วยองคก์ ารระหว่างประเทศ” ในสาขาวิชารฐั ศาสตร์ มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การ ระหวา่ งประเทศ. พมิ พค์ รง้ั ที่ 4. นนทบรุ ี: มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช. . (2542). “รฐั กับการเมืองระหวา่ งประเทศ” ในสาขาวชิ าวทิ ยาการจดั การ มหาวทิ ยาลัย สโุ ขทัยธรรมาธริ าช. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักรัฐศาสตร์และการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุร:ี มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช. ศโิ รตม์ ภาคสวุ รรณ. (2521). ความสมั พนั ธร์ ะหว่างประเทศ: ทฤษฎีและพฤตกิ รรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง. สุรพล ราชภณั ฑารกั ษา และบวร ประพฤตดิ ี. (2523). รฐั ศาสตรท์ ว่ั ไป. พมิ พ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง. อานนท์ อาภาภิรม. (2545). รฐั ศาสตร์เบ้อื งต้น. พมิ พค์ รั้งที่ 2. กรงุ เทพมหานคร: โอเดยี นสโตร์. Deutsch, Karl W. (1968). The Analysis of International Relations. Engle Wood Cliffs. N.J.: Prentice-Hall. Kennan, George F. (1953). “Training For Statesmanship” The Princeton Alumini Weekly. March, 6.



243 บรรณานุกรม ภาษาไทย กระมล ทองธรรมชาติ. (2516). การเมืองระหวา่ งประเทศ. พมิ พค์ รั้งที่ 2. กรงุ เทพมหานคร: ไทยวฒั นาพานิช. กมล สมวเิ ชียร. (2520). ประชาธปิ ไตยกบั สงั คมไทย. พมิ พค์ ร้ังที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานชิ . เกษม อุทยานนิ . (2516). รฐั ศาสตร.์ พมิ พค์ รงั้ ท่ี 2. กรงุ เทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. โกวทิ วงศส์ รุ วัฒน์. (ม.ป.ป.). หลักรัฐศาสตร์. กรงุ เทพมหานคร: มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร.์ โกวทิ วงศ์สุรวัฒน์. (2548). หลกั รัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2543). พื้นฐานรัฐศาสตร์กับการเมืองในศตวรรษท่ี 21. กรุงเทพมหานคร:คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จรญู สุภาพ. (2527). หลกั รัฐศาสตร.์ พมิ พค์ ร้งั ที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. จรญู สุภาพ. (2518). สารานุกรมรฐั ศาสตร์. กรงุ เทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานชิ . จรูญ สุภาพ. (2519). ระบบการเมืองเปรียบเทียบ (ประชาธิปไตย: เผด็จการ) และหลักวิเคราะห์การเมือง แผนใหม.่ กรงุ เทพมหานคร: ไทยวฒั นาพานิช. จริ โชค (บรรพต) วรี ะสัยและคณะ. (2546). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคาแหง. จมุ พล หนิมพานชิ . (2542). เอกสารการสอนชุดวชิ าหลักรฐั ศาสตรแ์ ละการบริหาร. พิมพ์คร้ังที่ 6. นนทบรุ ี: มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. จมุ พล หนิมพานิช. (2545). กลุ่มผลประโยชน์กับการเมืองไทย. นนทบรุ ีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อา้ งถึงใน สยามดา ปรดี า. (2547). สงั คมกับการปกครอง. ปทมุ ธาน:ี โรงพมิ พไ์ ทยรายวัน. จักษ์ พนั ธ์ชูเพชร. (2557). รฐั ศาสตร์. พมิ พค์ รัง้ ท่ี 9 กรุงเทพมหานคร: บริษัท เคลด็ ไทย จากัด. ชยั อนนั ต์ สมุทวณิช. (2539). รัฐ. พมิ พ์คร้ังที่ 4 กรงุ เทพฯ : สานักพิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . เชาว์ ไพรพิรุณโรจน์. (2528). เอกสารงานวิจัยลัทธแิ ละอุดมการณ์ทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. อ้างถึงใน สยาม ดาปรีดา. (2547). สังคมกับการปกครอง. ปทุมธานี: โรงพมิ พไ์ ทยรายวัน. ณชั ชาภัทร อุ่นตรงจติ ร. (2548). รฐั ศาสตร.์ พิมพค์ ร้ังที่ 2. กรงุ เทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ดารหิ ์ บรู ณะนนท.์ (2548). ความรูเ้ บือ้ งตน้ ทางรัฐศาสตรแ์ ละกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: วี.เจ.พริ้นตงิ้ . เดชชาติ วงศโ์ กมลเชษฐ์. (2516). หลักรฐั ศาสตร์. พมิ พ์คร้ังท่ี 9. กรงุ เทพมหานคร: อักษรเจรญิ ทศั น์. ทองใบ ธีรานันทางกูร (หงส์เวียงจันทร)์ . (ม.ป.ป.). พจนานุกรมศัพท์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอังกฤษ- ไทย. กรงุ เทพมหานคร: สหธรรมกิ . ทนิ พนั ธ์ุ นาคะตะ. (2525). รฐั ศาสตร.์ กรุงเทพฯ: พูนสวัสดิก์ ารพมิ พ.์ ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ. (2553). คลังบทความเปน็ ไท www. Google.com ปานทิพย์ ประเสริฐสุข. (2538). ปรัชญาเบือ้ งตน้ . กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง. ประยรู กาญจนดุล. (2538). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั . อา้ งใน ดาริห์ บรุ ณะนนท์. (2548). ความรู้เบือ้ งตน้ ทางรัฐศาสตรแ์ ละกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: วเี จ. พรนิ้ ติ้ง. ปรีชา หงส์ไกรเลศิ . (2524). พรรคการเมืองและปญั หาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: ไทยวฒั นาพานชิ .

244 ธงชยั วงศช์ ัยสวุ รรณ. (2552). เอกสารการสอนชดุ วชิ า หลกั พน้ื ฐานทางรัฐศาสตร.์ พมิ พค์ รั้งท่ี 7. กรุงเทพฯ : สานกั พมิ พ์สุโขทัยธรรมมาธริ าช ธารทอง ทองสวัสดิ์. (2535). เอกสารการสอนชดุ วชิ ากฎหมายระหวา่ งประเทศและองค์การระหวา่ งประเทศ. พมิ พ์ครัง้ ที่ 4. นนทบรุ :ี มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช. ธารทอง ทองสวสั ด์ิ. (2542) .เอกสารการสอนชุดวชิ าหลักรัฐศาสตร์และการบรหิ าร.พิมพ์คร้งั ที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช. บรรพต วีระสยั . (2542). เอกสารการสอนชุดวชิ าหลักรัฐศาสตร์และการบรหิ าร. พิมพ์คร้ังที่ 6. นนทบรุ :ี โรง พมิ พม์ หาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช. บรรพต วีระสัย, สุรพล ราชภัณฑารักษา, บวร ประพฤติดี. (2523). รัฐศาสตร์ท่ัวไป. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคาแหง. พงเพ็ญ ศกุนตาภยั . (2547). ทฤษฎกี ารเมอื ง. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พอ์ กั ษรนติ .ิ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2526). รัฐศาสตร์: ขอบข่าย สถานภาพ และการศึกษาวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เจา้ พระยาการพมิ พ.์ พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. (2540). ระบบการเมือง: ความรู้เบ้ืองต้น. พิมพ์ครั้งท่ี 7. กรุงเทพมหานคร: จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. บีทแธม, ดี. และบอยล์, เค. (2541). ไขข้อสงสัยประชาธิปไตย. (แปลจาก Democracy: Questions and Answers โดย ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล) กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . บูฆอรี ยีหมะ. (2554). ความรู้เบ้อื งต้นทางรัฐศาสตร์. พิมพ์คร้ังท่ี 3. กรงุ เทพฯ : สานักพิมพ์แหง่ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย. ไพโรจน์ ชัยนาม. (2515). สถาบันการเมืองและรัฐธรรมนูญของต่างประเทศกับระบอบการปกครองของ ไทย. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพม์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มิลเลอร์, เจ.ดี.บี. (2513). ลักษณะการเมือง. (แปลจาก The Natures of Politics โดย สุเทพ อัตถากร). กรงุ เทพมหานคร: ไทยวฒั นาพานิช. ราชบณั ฑติ ยสถาน. (2542). พจนานกุ รมนกั เรียน. กรุงเทพฯ : สานกั พมิ พ์พฒั นาศึกษา. รัฐธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทยพทุ ธศักราช 2540. (2541). กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพก์ ารศาสนา. วิทยากร เชยี งกลู . (2548). ปรชั ญาการเมือง เศรษฐกิจ สงั คม. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์เดอื นตลุ าจากัด. วิสุทธ์ิ โพธิ์แท่น. (2524). ประชาธิปไตย: แนวความคิดและตัวแบบประเทศประชาธิปไตยในอุดมคติ. กรงุ เทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร.์ ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2521). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: ทฤษฎีและพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลยั รามคาแหง. สยาม ดาปรีดา. (2547). สงั คมกับการปกครอง. ปทุมธาน:ี โรงพมิ พ์ไทยรายวนั . สนธิ เตชานนั ท์. (2543). พนื้ ฐานรัฐศาสตร.์ พมิ พค์ ร้ังที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวทิ ยาลัย-เกษตรศาสตร.์ สมพงศ์ เกษมสนิ และจรญู สุภาพ. (2520). ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ. กรงุ เทพมหานคร: ไทย วัฒนาพานชิ . สุขุม นวลสกุลและวิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ. การเมืองและการปกครองไทย. (2542).พิมพ์ครั้งที่ 13. กรงุ เทพมหานคร: มหาวิทยาลยั รามคาแหง. อ้างถงึ ใน

245 สยามดา ปรดี า. (2547). สงั คมกบั การปกครอง. ปทุมธาน:ี โรงพิมพ์ไทยรายวนั . สุรพงษ์ โสธนะเสถยี ร. (2545). การส่อื สารกบั การเมือง. พิมพ์คร้งั ท่ี 6. กรงุ เทพมหานคร: ประสิทธภ์ิ ณั ฑ์ แอนด์ พริ้นต้ิง. สุรพล ราชภัณฑารักษา และบวร ประพฤติดี. (2523). รัฐศาสตร์ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง. เสถยี ร เชยประทับ. (2540). การส่ือสารกบั การเมอื งเน้นสังคมประชาธปิ ไตย. กรงุ เทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั . แสวง รตั นมงคลมาศ. (2542). “กลมุ่ ผลประโยชน์และกลุ่มกดดนั ” เอกสารการสอนชดุ วิชาสถาบนั และกระบวนการทางการเมืองไทย. นนทบุร:ี โรงพิมพม์ หาวทิ ยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธริ าช. อา้ งถึงใน สยามดา ปรีดา. (2547). สงั คมกับการปกครอง. ปทมุ ธานี: โรงพิมพ์ไทยรายวัน. หยดุ แสงอทุ ัย. (2502). รัฐธรรมนูญเกา่ ใหม่และความรเู้ บ้ืองต้นเก่ยี วกับประชาธปิ ไตย. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพ์มบ่ ้านแม่เรอื น. หยดุ แสงอุทัย. (2503). รฐั ธรรมนญู เก่าใหมแ่ ละความรเู้ บ้อื งตน้ เก่ยี วกับประชาธปิ ไตย. พระนคร: โรงพมิ พ์แมบ่ ้านแมเ่ รอื น. อา้ งถึงใน อานนท์ อาภาภิรม. (2545). รฐั ศาสตรเ์ บอ้ื งตน้ .พิมพ์ ครง้ั ที่ 2. กรงุ เทพมหานคร: โอเดียนสโตร.์ อานนท์ อาภาภริ ม. (2545). รฐั ศาสตร์เบอ้ื งต้น. พมิ พ์ครง้ั ที่ 2. กรงุ เทพมหานคร: โอเดยี นสโตร.์ อุไรวรรณ ธนสถิตย.์ (2543). รฐั ศาสตร์กบั การเมืองไทย. กรงุ เทพมหานคร: เปเปอรเ์ ฮาส์. ภาษาองั กฤษ Almond, G.A. & Powell, G.Bingham. (1966). Comparative Politics : A developmental Approach. Boston and Toronto: Little, Brow and Company. Deutsch, Karl W. (1968). The Analysis of International Relations. Engle Wood Cliffs. N.J.: Prentice-Hall. Goodman, W. (1975). The Two Party System in the United States. New York: D. Van Nostrand. Kennan, George F. (1953). “Training For Statesmanship” The Princeton Alumini Weekly. March , 6. Levine, Herbert M. (1990). Political Issues Debated : An Introduction to Politics. New Jersey: Prectice-Hall. Lindsay, A.D. (1929). The Essentials of Democracy. Philadelphia: University of Pennsylvania. Strong, C.F. (1960). Modem Political Constitutions. London: Sidgwick & Jackson Limited. Stevenson, T.H. (1973). Politics and Government. New Jersey: Little Field Adam.



ประวตั ิผ้สู อน

1. ชือ่ -สกลุ (ภาษาไทย) ประวัตผิ ู้สอน ชอื่ -สกลุ (ภาษาองั กฤษ) นางสาวชลาทพิ ย์ ชยั โคตร 2. ตาํ แหน่งปัจจุบัน Miss Chalathip Chaiyakot 3. หนว่ ยงานท่ีอยู่ อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมสาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อดุ รธานี 4. ประวตั ิการศกึ ษา ศูนยก์ ารศึกษาบึงกาฬ 285 หมู่ 2 บ้านดอนอดุ ม ตําบลโนนสมบรู ณ์ อําเภอเมืองบึงกาฬ จังหวดั บงึ กาฬ โทรศัพท์ 097-3190934 โทรสาร 5. สาขาวชิ าท่ีมคี วามชํานาญพิเศษ E-mail : [email protected] ศศ.ม. (รัฐศาสตร)์ ศศ.บ.(สื่อสารมวลชน) PA 51020 การปกครองท้องถน่ิ ไทย PA 51201 การบรหิ ารราชการไทย PA 51105 ความร้เู บอ้ื งตน้ เกย่ี วกบั รัฐศาสตร์ PA 51104 การเมืองและการปกครองไทย PA 57403 การฝกึ ประสบการณว์ ิชาชพี รฐั ประศาสนศาสตร์ PA 51302 ระเบียบวธิ ีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook