เรอ่ื งดๆี ท่บี ้านเรา รวมผลงานเรยี งความ จากการประกวดเรียงความ หัวข้อ “เร่อื งดี ๆ ทีบ่ า้ นเรา” ภายใต้โครงการประกวดเรียงความ “คิดถึงเร่ืองดๆี ทีน่ ่าจดจำ� ” สำ� นกั งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวฒั นธรรม
2 เรือ่ งดีๆ ที่บ้านเรา เร่ืองดีๆ ที่บา้ นเรา ISBN 978-616-543-174-3 ท่ปี รกึ ษา ผูอ้ �ำนวยการส�ำนกั งานศลิ ปวฒั นธรรมร่วมสมัย นายชาย นครชัย รองผู้อำ� นวยการส�ำนกั งานศลิ ปวฒั นธรรมร่วมสมยั นายด�ำรงค์ ทองสม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะดา้ นส่งเสริมงานวิจิตรศิลป์ นางสาววมิ ลลกั ษณ์ ชชู าต ิ (ทัศนศลิ ป)์ ผูอ้ �ำนวยการศนู ย์เครือขา่ ยสัมพันธแ์ ละแหลง่ ทุน นางสาวนาถนิศา สุขจิตต ์ กองบรรณาธิการ นางสาวณัฏฐิกา ณ ระนอง นางสาวแสงทิวา นราพชิ ญ ์ นายนพดล ถริ ะมนสั นางสาวธันยช์ นก ยาวิลาศ นางสาววจั ณยี ์ สขุ สันทดั นางสาวรววี รรณ เปลย่ี นพมุ่ นายวัฒนา มะสงั หลง ขอขอบคุณ นายเจะอบั ดลุ เลาะ เจะ๊ สอเหาะ เอ้ือเฟ้ือภาพวาดประกอบ Jehabdulloh.multiply.com จัดทำ� โดย ส�ำนกั งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ๖๖๖ ช้ัน ๑๗ อาคารธนาลงกรณ์ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำ� หรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๒๗ โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๓๑ www.ocac.go.th พิมพ์ครงั้ ที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๕ จำ� นวนพิมพ ์ ๑,๐๐๐ เลม่ พิมพท์ ่ี ส�ำนักงานกิจการโรงพมิ พ์องค์การสงเคราะหท์ หารผา่ นศกึ ๒/๙ ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี ๓๑ เขตบางซอ่ื กรุงเทพ ๑๐๘๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๑๐ ๗๐๐๑ โทรสาร ๐ ๒๕๘๕ ๖๔๖๖
เร่อื งดีๆ ทบี่ า้ นเรา 3 ค�ำนำ� ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมได้ริเร่ิม ดำ� เนินโครงการประกวดเรียงความ หวั ข้อ “เร่ืองดๆี ทบ่ี ้านเรา” ในปี ๒๕๕๕ นี้ เปน็ ปแี รก โดยมเี ปา้ หมายเพอ่ื ใหผ้ ทู้ อ่ี ยใู่ นพน้ื ท่ี ๕ จงั หวดั ชายแดนภาคใต้ ตงั้ แต่ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้มีโอกาสถ่ายทอดเร่ืองราวดีๆ ในรปู แบบวรรณกรรม นอกจากนย้ี งั ใหค้ วามสำ� คญั กบั การถา่ ยทอด เลา่ เรอ่ื งราว จากผู้อาวุโสของครอบครัวหรือของหมู่บ้าน เล่าขานถึงต�ำนานหรือวิถีชีวิต ท่ีมีความสุขให้เด็กและเยาวชนเกิดความประทับใจและภาคภูมิใจในเรื่องราว ท่ีผ่านมา เป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่จะเชื่อมโยงอดีตสู่ปัจจุบัน และร่วมกัน หาแนวทางที่จะสร้างสรรค์สังคมให้สงบสุข และส่งต่อความดีเพ่ือส่วนรวม ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานด้านวรรณศิลป์แก่เด็ก เยาวชนและประชาชน ทั้งนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดรวม ๑,๐๔๓ ผลงาน แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา จ�ำนวน ๑๓๗ ผลงาน ระดับมัธยมศึกษา จำ� นวน ๗๗๘ ผลงาน ระดบั อดุ มศกึ ษาและประชาชนทวั่ ไป จำ� นวน ๑๒๘ ผลงาน โดยคณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกผลงานท่ีมีคุณค่า ทั้งในด้านเน้ือหา การใช้ภาษา และความคิดสร้างสรรค์ จนได้ผู้ท่ีมีผลงานโดดเด่นเพื่อรับรางวัล ปรากฏอยใู่ นหนังสือเล่มนี้ ส�ำหรับผู้ท่ีได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประถมศึกษา ได้แก่ เด็กหญิง อภิญญา พุทธสุภะ คณะกรรมการมีความเห็นท่ีสอดคล้องกันว่า ผู้เขียน ไดบ้ รรยายถงึ ความสมั พนั ธท์ เี่ ปน็ มติ รกนั ระหวา่ งชาวไทยพทุ ธและชาวไทยมสุ ลมิ ทอ่ี ยรู่ ว่ มกันในสังคมได้อยา่ งสงบสุข เลา่ เรอ่ื งราวเกยี่ วกับภมู ิปญั ญาชาวบ้านซ่งึ ได้รับฟังมาจากคุณตาได้อย่างแนบเนียน ตลอดจนสามารถน�ำเอาความเชื่อ และประวตั ิศาสตร์มารองรบั อนาคตไดอ้ ย่างนา่ ชนื่ ชม
4 เรือ่ งดีๆ ทบ่ี ้านเรา ผทู้ ไ่ี ดร้ บั รางวลั ชนะเลศิ ระดบั มธั ยมศกึ ษา ไดแ้ ก่ นายนสั รลู เลาะห์ อาแว คณะกรรมการมีความเห็นว่า ผู้เขียนได้บรรยายถึงความหลากหลายและ ความแตกตา่ งกนั ของสังคม แตใ่ นความแตกต่าง พวกเขาก็ไมแ่ ตกแยก มีความ เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่เว้นแม้แต่คนต่างศาสนา อีกท้ังยังมี ความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ชุมชนของตนเองอีกด้วยซึ่งท้ังหมดสอดคล้องกับ หัวข้อเรียงความเป็นอยา่ งยงิ่ ผู้ท่ีได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอุดมศึกษาและประชาชนท่ัวไป ได้แก่ นางสาวอมุ มสี าลาม อมุ าร คณะกรรมการมคี วามเหน็ วา่ ผเู้ ขยี นมคี วามสามารถ ในการใช้ภาษาท่ีดี มีชั้นเชิงในการเขียนที่โดดเด่น มีความคิดเชิงบวกมาก โดยแสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความเขม้ แขง็ และความเปน็ ตวั ตนของชมุ ชน โดยมเี รอื่ งยอ่ ย สอดแทรกซ้อนอยู่ในตัวเร่ืองหลักมากมาย นอกจากน้ี ยังมีจุดเด่นที่การน�ำกวี นิพนธ์มาใชใ้ นช่วงเปดิ เรอ่ื ง ซึ่งทำ� ใหม้ ีความน่าสนใจมากขึน้ อีกดว้ ย ผลงานเรียงความท้ังหมดนี้ นอกจากจะสะท้อนภาพวถิ ีชวี ติ ความเช่ือ และรากเหง้าของวัฒนธรรมในพ้ืนท่ีภาคใต้แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความคิด เห็นของพวกเขาที่มีต่อถ่นิ เกิดของตนเองอกี ดว้ ย ขอขอบคุณส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะกรรมการ ทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการดำ� เนินงานเป็นอย่างดี หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานท้ังหมดนี้จะท�ำให้เกิดการต่อยอดความคิดไปสู่การสร้างสรรค์เรื่องดีๆ เร่อื งต่อๆ ไป ให้เกิดขึน้ ท่ีน่.ี ..ที่บา้ นเรา (นายชาย นครชัย) ผอู้ �ำนวยการสำ� นกั งานศิลปวฒั นธรรมรว่ มสมัย
เรือ่ งดๆี ท่บี า้ นเรา 5 ภาพตกกระทบจาก “คดิ ถงึ เรอื่ งดๆี ทบ่ี า้ นเรา..” ปัญหาหนักหนาสากรรจ์ท่ีส่ังสมมาอย่างยาวนานของสังคมไทย ประการหน่ึงก็คือ รัฐไทยสมัยใหม่มักพัฒนาสังคมไปสู่ความทันสมัย (modernization) โดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ต้ังแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ (และสงั คม) แห่งชาตแิ ผนแรก รฐั ไม่ค่อยสนใจหรือใหค้ วามส�ำคัญกับขอ้ มลู เก่ียวกับ “ความรู้สึก” “พ้ืนฐาน” ของคนในชุมชนต่างๆ อย่างแท้จริง ว่าแต่ละแหล่งท่ีมีความหลากหลาย มีความจำ� เพาะอย่างไร รัฐมักไม่สนใจ ที่จะฟงั “เสยี งสะทอ้ น” ในเร่อื งทุกขส์ ขุ ความจริง ความดี และความงามที่ เปน็ อตั ลกั ษณจ์ ำ� เพาะของแตล่ ะทอ้ งถน่ิ แต่ละพ้นื ที่ อยา่ งทคี่ วรจะเป็น ฯลฯ จากแผนแม่บทแหง่ การพัฒนาแบบ “top down” เช่นนเ้ี อง ทกี่ ่อผล สร้างปัญหาหลากประการให้เกิดขึ้น ย่ิงสั่งสมยาวนาน ก็ย่ิงยุ่งยากซับซ้อน ในการแก้ไข ยิ่งท�ำให้ต้องสูญเสียทั้งก�ำลังงบประมาณและก�ำลังคนมากมาย โดยไม่จำ� เปน็ เร่อื งราวท่ีเกี่ยวกบั พืน้ ทีจ่ ังหวัดชายแดนภาคใต้ ๕ จงั หวัด อันได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ในห้วงเวลาหลายทศวรรษ โดยเฉพาะในห้วงทศวรรษที่ก�ำลังด�ำรง ย่อมเป็นภาพประจักษ์ชัดใน สมมุตฐิ านดงั กลา่ ว
6 เร่อื งดๆี ทบ่ี า้ นเรา ภาพสะทอ้ นท่เี ปน็ “ผลติ ภาพ”ในรปู แบบของงานเขียนทีเ่ ป็นเรอื่ งเลา่ ของ “ตัวจริงเสียงจริงในพ้ืนที่” จากโครงการประกวดเรียงความ “คิดถึง เร่ืองดีๆ ที่น่าจดจ�ำ” ท่ีจัดโดย ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้การผลักดันอย่างเอาการเอางานของท่าน ปลัดกระทรวงฯ-ท่านสมชาย เสียงหลาย นับว่าเป็น “ภาพสะท้อน” และ “คำ� ตอบ” เกย่ี วกบั พนื้ ที่ ๕ จังหวดั ชายแดนภาคใตท้ ีน่ า่ สนใจยงิ่ จากการท่ีมีผู้ส่งงานเข้าประกวดในทุกระดับรวมแล้วมากกว่า ๑,๐๐๐ ส�ำนวน ก็เป็นภาพสะท้อนเชิงปริมาณที่น่าสนใจเป็นเบ้ืองต้นอยู่แล้ว และยิง่ พบว่า เกนิ ก่งึ หนงึ่ ในนน้ั มาจากผทู้ ีใ่ ชภ้ าษาไทยเปน็ “ภาษาที่ ๒”ในชวี ิต ประจ�ำวัน ก็ทำ� ใหย้ งิ่ น่าสนใจมากขึ้นไปอีก เฉพาะข้อมูลนีก้ ส็ ะทอ้ นชี้ใหเ้ หน็ ถึง “ความกระตือรือร้น”ที่จะมีส่วนร่วมในฐานะของ “คนใน” (in group) ของ มวลชนในพนื้ ที่อย่างไร การเล่าเร่ืองผ่านกระบวนการ “ความเรียง” ในประเด็น “เร่ืองดีๆ ที่บ้านเรา” นับเป็นมุมมองของ “คนใน” แง่มุมการน�ำเสนอเช่นนี้ เป็นส่ิงที่ นักวชิ าการทางสงั คมศาสตรเ์ รยี กว่า “มุมมองของคนใน”(native view) เปน็ มติ ขิ องขอ้ มลู ทห่ี ากไดร้ บั การประมวลและจดั ระบบจ�ำแนกดๆี จะสามารถท�ำให้ “หยั่งเหน็ ” ปรากฏการณ์ทางสังคม และ “ญาณทัศนะ” เกี่ยวกับความขัดแย้ง ความสัมพันธ์และการเคลื่อนเปล่ียนเกี่ยวกับชุมชนวิถีในเรื่อง “โครงสร้างช้ัน บน” (super structure) ของพ้ืนทอี่ ย่างลกึ ซึ้งและชดั เจนเปน็ รูปธรรม จากการอ่านเรื่องซึ่งผ่านการคัดสรรโดยคณะกรรมการรอบคัดเลือก ท่จี ัดสง่ มาเหลอื เพยี ง ๙๐ เร่ือง(ระดับละ ๓๐ เร่ือง คอื ระดบั ประถม ๓๐ เร่อื ง ระดับมัธยม ๓๐ เรอื่ ง และระดบั อดุ มศึกษากบั ประชาชนทัว่ ไปอีก ๓๐ เรื่อง) พบว่า ในส่วนของเนือ้ หาที่ผ้เู ขยี นเลือกน�ำมาเลา่ มกั เกีย่ วข้องกบั เรอื่ งราวของ พ้ืนท่ีจริง มักเป็นเรื่องราวเก่ียวกับทุนทางสังคมของท้องถิ่นท่ีพวกเขามีชีวิตอยู่
เรือ่ งดีๆ ท่ีบา้ นเรา 7 หลายคนย้อนหลังไปถึงยุคเก่าก่อนโดยการสอบถามข้อมูลจากผู้อาวุโส ทีส่ ว่ นใหญ่มักเปน็ เครอื ญาตผิ ูใ้ หญ่ เช่นผมู้ ีศกั ดิ์เป็นคุณปู่ คณุ ยา่ คุณตาคณุ ยาย หรือไม่ก็สอบถามจากผ้อู าวโุ สประจ�ำหมบู่ ้าน เปน็ ตน้ นอกจากเนอื้ หาจะสะทอ้ นเรอ่ื งความภมู ใิ จและผกู พนั กบั ทอ้ งถนิ่ ตน อยา่ งสงู แลว้ หลายเรอื่ งในนน้ั ยงั สะทอ้ นสงิ่ ทเี่ รยี กวา่ “มนษุ ยภาพ”ของสงั คม พหวุ ฒั นธรรมไดอ้ ยา่ งลกึ ซง้ึ มนี ้�ำมเี นอ้ื ยง่ิ นกั ในกรณนี จ้ี งึ นา่ สนใจวา่ ในอดตี สงั คมแถบถน่ิ นมี้ ปี จั จยั ทางสงั คมใดทชี่ ว่ ย “หลอมรวม”ความรสู้ กึ ใหค้ นตา่ ง ศาสนาต่างความเชื่อเกิดความรู้สึก “สมานฉันท์” จนกลายเป็น “พวก เดยี วกนั ” (In group) ได้ นบั เปน็ เรื่องท้าทายนักวชิ าการให้ท�ำการศึกษา วิจยั ยิง่ นัก กล่าวในดา้ นการใชภ้ าษา เรือ่ งทไ่ี ด้รับการคดั เลือกเขา้ มาทั้ง ๙๐ เรอื่ ง ตอบค�ำถามว่า บัดน้ีผู้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ ๒ (ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำ� วัน) ในพื้นท่ี ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ที่ได้รับคัดเลือกเข้ารอบมาไม่น้อย กวา่ กง่ึ หนง่ึ ) ไดพ้ ฒั นาการใชภ้ าษาไทยมาไกลมากแลว้ สามารถใชภ้ าษาเขยี นได้ ในระดับดีที่นา่ พอใจยิ่ง ซง่ึ เปน็ ภาพสะทอ้ นวา่ ในด้านหลักแลว้ มวลชนในพน้ื ท่ี ไม่ได้ปฏิเสธภาษาไทย ถ้าเขารู้ข้อเท็จจริงว่า จุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้ ลูกหลานของพวกเขาเรียนภาษาไทย เป็นไปเพ่ือยังประโยชน์ในการศึกษา เลา่ เรียนเพ่อื สร้างโอกาสก้าวหนา้ ทางสงั คมใหก้ ับลูกหลานของพวกเขาเอง ส�ำหรับวิธีเล่าเร่ืองหรือศิลปะในการประพันธ์ ต้องถือว่า ผลจากการ จัดประกวดในครง้ั น้ี นอกจากจะชว่ ยกระตุ้นใหก้ ารวรรณศิลป์ของชาติในพน้ื ท่ี ส่วนนีไ้ ด้คึกคักเข้มแขง็ ขึน้ แล้ว นับเป็นช่องทางในการสร้างพ้นื ทใี่ ห้กับนกั เขียน นอ้ ยใหม่ๆ ไดเ้ ปน็ อย่างดีอีกด้วย เราพบวา่ มี “นักเขียน”ไดเ้ กิดจากโครงการน้ี อกี ไมน่ อ้ ย เพราะพบวา่ ศลิ ปะการประพนั ธข์ องผสู้ ง่ งานเขา้ ประกวดจำ� นวนมาก อยูใ่ นระดับดีน่าพอใจ
8 เรือ่ งดีๆ ทีบ่ ้านเรา คงต้องขอบคุณส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวง วัฒนธรรม ท่ีจัดท�ำโครงการท่ีสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติท้ังโดยตรง และโดยอ้อมเช่นนี้ ทั้งใคร่หวังว่า โครงการเช่นน้ีจะได้รับการสืบสาน และขยายพนื้ ทีใ่ หก้ ว้างขวางยิ่งข้นึ ในอนาคต สถาพร ศรสี ัจจงั ศิลปนิ แห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประธานกรรมการตดั สินผลงานเรียงความ
เรือ่ งดๆี ที่บ้านเรา 9 บางความคิดความเห็น จากกรรมการรอบคัดสรร “เร่ืองดีๆ ทีบ่ า้ นเรา” ศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะวรรณกรรมเป็นกิจกรรมและผลงาน สร้างสรรค์ของมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก นึก คิดของมนุษย์มาทุกยุคทุก สมัย แต่ส�ำหรับประเทศด้อยพัฒนาอย่างประเทศไทยไม่ค่อยมีใครจะใส่ใจ น�ำเอาวัฒนธรรมของการอ่านและวัฒนธรรมของการเขียนมาสร้างสรรค์ แกป้ ญั หาและเยยี วยาสงั คม เพราะสงั คมไทยเปน็ สงั คมอำ� นาจนยิ ม สงั คมทส่ี อน ให้จ�ำและยำ้� ใหเ้ ชือ่ มากกวา่ จะปลกู ฝงั ให้คดิ ขออนุโมทนาสาธุท่ีส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวง วัฒนธรรมได้จัดประกวดเรียงความหวั ขอ้ “เร่อื งดีๆ ท่ีบ้านเรา”เพอื่ เปดิ โอกาส ให้เยาวชนและประชาชนท่ีมีภูมิล�ำเนาอยู่ในพื้นท่ีที่มีปัญหาความรุนแรงของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีพื้นท่ีในการหยิบยก “เรื่องดีๆ” ที่บ้านของตนเอง บอกเล่าสู่กันเพ่ือเป็นขวญั ก�ำลังใจให้กนั และกัน โดยปรมิ าณจำ� นวนเรยี งความทส่ี ง่ เขา้ ประกวดมมี ากมายในแตล่ ะระดบั โดยเฉพาะระดบั มธั ยมศกึ ษา แตด่ า้ นคณุ ภาพอาจจะตอ้ งอาศยั เวลาในการฝกึ ฝน แต่ส่วนใหญ่ผู้ท่ีประสบความส�ำเร็จในการประกวดครั้งนี้ ส่วนหน่ึงก็ไม่ได้เป็น “มือใหม”่ เสียทีเดียว โดยเฉพาะระดบั นักศกึ ษาและประชาชน หลายคนเคยได้
10 เรื่องดีๆ ท่ีบา้ นเรา รบั รางวลั ระดบั ชาตแิ ละระดบั ทอ้ งถน่ิ มาแลว้ จงึ เปน็ เรอื่ งนา่ ยนิ ดที คี่ นหลายกลมุ่ หลายระดบั ไดม้ าทำ� งานสรา้ งสรรคป์ ระกวดประชนั กนั เพอ่ื สรา้ งสงั คมดที น่ี า่ อยู่ ไว้ใหต้ นเองและลกุ หลานตอ่ ไป ในนามของคณะกรรมการคัดเลือกผลงานแต่ละระดับให้เหลือจ�ำนวน เพยี งระดับละ ๓๐ ชิน้ เพือ่ สง่ ให้คณะกรรมการพจิ ารณาตัดสนิ ตอ่ ไป ขอแสดง ความช่ืนชมในความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เจ้าของโครงการดีๆ และขอแสดงความยินดีต่อผู้ที่ได้รับรางวัลและได้รับการ คัดเลือกให้เข้ารอบไปสู่การตัดสิน และหวังว่าโครงการดีๆเช่นนี้น่าจะได้รับ การสนับสนุนให้มีความพร้อมและสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นในโอกาสต่อไป เราเชื่อมั่น ใน “อำ� นาจแหง่ วรรณกรรม”วา่ จะสามารถลดทอนความรนุ แรงและความเกลยี ด ชังได้มากกว่ายุทธศาสตร์และยุทธวิธีใดๆ ที่ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าจนแทบ นับศพมนุษย์และค�ำนวณความสูญเสียกันไม่รู้สิ้นสุดยุติอย่างท่ีเป็นมา เป็นอยู่ และเป็นไปจนถงึ วนั น้ีและวันขา้ งหนา้ … ขอสนั ตสิ ขุ จงกลับคืนมา จรูญ หยทู อง-แสงอุทัย ประธานคณะกรรมการคดั สรรผลงานเรียงความ
เรอื่ งดีๆ ทบ่ี า้ นเรา 11 สารบญั หน้า ค�ำนำ� ๑๕ ภาพตกกระทบจาก “คิดถึงเร่ืองดๆี ทบี่ า้ นเรา..” ๒๐ บางความคิดความเห็นจากกรรมการรอบคดั สรร “เร่ืองดีๆทีบ่ า้ นเรา” ๒๕ ระดับประถมศกึ ษา ๒๙ รางวัลชนะเลศิ ๓๒ เร่ืองดี ๆ ทบี่ ้านเรา เด็กหญิงอภญิ ญา พทุ ธสภุ ะ ๓๔ รางวัลรองชนะเลศิ อันดับ ๑ ๓๘ เรอ่ื งดที ีบ่ า้ นเรา เดก็ ชายธรี ภทั ร์ ไชยมณี ๔๐ รางวลั รองชนะเลศิ อนั ดบั ๒ ๔๕ เรื่องดี ๆ ท่บี ้านเรา เด็กหญิงนูรูนนะญาห์ บิลรา่ หมาน ๕๐ รางวลั ชมเชย ๕๔ เรอ่ื งดี ๆ ทบ่ี า้ นเรา เด็กชายกิตตศิ กั ด์ิ ม่นั วงศ ์ ๕๘ เรือ่ งดี ๆ ทบ่ี ้านเรา เด็กหญงิ กุลจริ า หยงั สู ๖๓ เรื่องดีดที บ่ี า้ นเรา เดก็ หญงิ กลุ ภรณ์ เซง่ ฮวด เร่อื งดี ๆ ที่บา้ นเรา เดก็ หญิงคอซีอะห์ สะมานิ วิถีชวี ติ ชาวนาส่เู สน้ ทางแหง่ เมล็ดขา้ ว เดก็ หญิงชลัดสดา ชขู จร เรื่องดีดที บี่ ้านเรา เดก็ ชายธีระ รชดามาเฉลิม เร่ืองดี ๆ ทบี่ ้านเรา เดก็ หญงิ เฟาซยี ะห์ ยตี าเห เร่อื งดี ๆ ทบ่ี า้ นเรา เด็กหญิงมูณเี ราะห์ ดีสะเอะ เรื่องดี ๆ ทบ่ี า้ นเรา เด็กหญิงสุทธิดา ศิรวิ ัฒน์ เรือ่ งดี ๆ ทบี่ ้านเรา เด็กหญิงอาอสี ะห์ กอตอ
12 เรื่องดๆี ท่ีบา้ นเรา ระดับมัธยมศกึ ษา หนา้ รางวลั ชนะเลิศ เรื่องดี ๆ ท่บี า้ นเรา นายนัสรูลเลาะห์ อาแว ๖๗ รางวัลรองชนะเลศิ อนั ดบั ๑ ๗๓ เรอ่ื งดี ๆ ทบ่ี ้านเรา เดก็ ชายรวีวฒั น์ ส�ำเภานิล ๘๐ รางวัลรองชนะเลศิ อันดบั ๒ ๘๙ เรือ่ งดี ๆ ทบ่ี า้ นเรา นายอษั ฎาวธุ ไชยวรรณ ๙๕ รางวัลชมเชย ๑๐๓ เร่อื งดี ๆ ที่บ้านเรา นางสาวกวินทิพย์ วรรณพงศ ์ ๑๑๒ เรอ่ื งดี ๆ ทบ่ี ้านเรา นายซอรีฟ อาแวกอื จิ ๑๑๘ เรอ่ื งดี ๆ ทีบ่ า้ นเรา เด็กหญิงซารีนา สาแล ๑๒๕ เรอ่ื งดี ๆ ท่ีบ้านเรา เด็กหญงิ ซลู ฟา ยอแม็ง ๑๓๒ เรอ่ื งดี ๆ ท่บี ้านเรา นางสาวณชั ชา สุราตะโก ๑๓๖ เรื่องดี ๆ ที่บา้ นเรา นายปญุ ญพัฒน์ แก้วทอง ๑๔๔ เรือ่ งดี ๆ ที่บา้ นเรา นายโภคนิ จันทรท์ ิตย ์ ๑๕๑ เรื่องดี ๆ ที่บา้ นเรา นางสาวยาดูวลั หะยีแวมงิ เรื่องดี ๆ ที่บ้านเรา นายอิทธิกร ทองแกมแกว้ ๑๕๖ ท่ีน่กี ป็ ระเทศไทย นางสาวอหิ ์ซาน นิป ิ ๑๖๙ ระดบั อดุ มศกึ ษาและประชาชนทวั่ ไป รางวัลชนะเลศิ เรอื่ งเล่าจากหมู่บา้ นริมทะเล นางสาวอมุ มสี าลาม อมุ าร รางวัลรองชนะเลิศอันดบั ๑ ควนลงั งา สองศาสนา หลงั คาเดยี วกนั นายไพศาล รตั นะ
เรือ่ งดีๆ ท่บี ้านเรา 13 หนา้ รางวลั รองชนะเลศิ อันดับ ๒ ๑๗๗ นิยายหนังก้นั จากความทรงจ�ำของแม ่นายประภาศ ปานเจ้ยี ง รางวลั ชมเชย เรอ่ื งดี ๆ ทบี่ า้ นเรา นางสาวณัชชา แจวิจารณ ์ ๑๙๕ ความสุขท่ามกลางการผสมผสานวฒั นธรรม นางทิพยวรรณ นิลทยา ๒๐๕ เรือ่ งดี ๆ ทบี่ ้านเรา นายยะยา โล๊ะนโิ ย ๒๒๐ เรอ่ื งดี ๆ ทบี่ ้านเรา นายรสุ ตานมัยดิน สา ๒๓๔ อดตี ประเพณี วิถชี น และกลมุ่ คนรักษ์สายนำ�้ นายวนิ ยั เพชรอุไร ๒๔๘ ความสขุ นายวิหาร ขวญั ดี ๒๕๙ คดิ ถึงคณุ ตา นายฉัตรปกรณ์ ก�ำเหนดิ ผล ๒๘๐ เรอ่ื งดี ๆ ท่บี ้านเรา นายสะอูดี ดือเร๊ะ ๒๘๘ เรือ่ งดี ๆ ทบ่ี ้านเรา นายอาดลี ัน สมาแอ ๒๙๖ เด็กชายอาราฟัตกบั กระออมของโตะ๊ นางสาวอ�ำภา ด่อล๊ะ ๓๑๔ รายชือ่ คณะกรรมการโครงการประกวดเรียงความ “คดิ ถงึ เรื่องดๆี ท่นี ่าจดจำ� ” ๓๓๐
เรือ่ งดๆี ทบี่ า้ นเรา 15 เร่อื งดๆี ที่บ้านเรา เดก็ หญงิ อภิญญา พทุ ธสภุ ะ รางวลั ชนะเลศิ ระดบั ประถมศึกษา จงั หวดั แตล่ ะจงั หวัดมสี ถานที่ ตำ� นาน เลา่ ขานแตกตา่ งกัน แต่ชาวถ่ิน มคี วามภาคภมู ิใจในสถานทเ่ี กดิ ไม่นอ้ ยกวา่ กัน ปัจจบุ นั คนรุ่นใหมห่ ลายคนรจู้ ัก ไกเ่ คเอฟซี พซิ ซา่ ซชู ิ ซปุ เปอรส์ ตารเ์ กาหลี แตก่ ลบั ไมร่ จู้ กั วฒั นธรรม บรรพบรุ ษุ ของตนเอง ดฉิ ันเกดิ ในอำ� เภอเมอื ง บา้ นอย่ใู นตัวเมืองสงขลา ร้ตู �ำนานเกาะหนู เกาะแมว ตำ� นานหัวนายแรง ดฉิ นั เชือ่ ว่าหลายคนคงรู้จกั และได้อา่ นหนงั สอื มา พอสมควร แต่ดิฉันจะเขียนเรียงความ เรื่องดีๆ ท่ีบ้านพ่อเฒ่าท่ีหลายคน คงไม่รู้จัก บ้านพ่อเฒ่าอยู่ในต�ำบลท่าหิน อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นหมู่บ้านเลียบทะเลสาบสงขลา มีต�ำนานเล่าขานท่ีน่าสนใจ ดิฉันจึงอยาก จะเขียน อยากจะถ่ายทอดความรู้สึก ความประทับใจ ความภาคภูมิใจใน สถานทข่ี องบรรพบรุ ษุ เปน็ เรอื่ งราวใหท้ กุ คนไดศ้ กึ ษา รจู้ กั ตำ� นานทา่ หนิ มากขนึ้ เม่ือดิฉันไปบ้านของพ่อเฒ่าหรือหลายคนเรียกว่าคุณตา แต่แม่สอน ให้ดิฉันเรียกว่า พ่อเฒ่า แม่บอกว่าคนสมัยน้ีใช้ค�ำเรียกว่าคุณตา เพราะลืม วัฒนธรรมเกา่ ๆ ท่กี �ำลงั จะสญู หายไป ถึงบ้านพอ่ เฒา่ เมอ่ื ไหร่กร็ ู้สกึ ถงึ ความเป็น ชนบท ไปชว่ งตน้ ข้าวเขียวขจี ฝงู ววั กินหญา้ นกเอยี้ งเกาะบนหลงั วัว นำ�้ ใสเห็น ปลาว่ายกันขวักไขว่ ปูนาคลานไปเร่ือยๆ ไม่รู้จะหยุดตรงไหน ดิฉันแอบลุ้น ต้นตาลโตนดสูงเห็นลูกตาลสุกบ้างอ่อนบ้าง คุณลุงคุณป้าแบกจอบ หิ้วปิ่นโต คงจะเดนิ ไปทงุ่ นาของตนเอง ดิฉันคิดวา่ อยา่ งนั้น
16 เรอ่ื งดๆี ที่บ้านเรา ญาตๆิ เข้ามาทกั ทายถามทกุ ข์สขุ แมต่ อบไม่ขาดคำ� พ่อเฒา่ พาดฉิ ันไป เย่ียมญาติจะเดินผ่านศาลามีลักษณะประดับด้วยเครื่องบูชาเป็นมุสลิม พ่อเฒ่าบอกให้ดิฉันไหว้ และบอกว่านี้คือศาลาเจ้าบ้าน ดิฉันงงใหญ่ท�ำไม ต้องเปน็ ศาลามสุ ลมิ ดิฉันคิดในใจ พ่อเฒ่าบอกวา่ จะเลา่ ให้ดฉิ ันฟังหลงั ทานขา้ ว เย็นเสร็จ เป็นความเคยชินของครอบครัวที่ทุกคนกินข้าวเสร็จจะนั่งคุยกัน หลงั จากนน้ั ดฉิ นั พๆ่ี รบี อาบนำ้� เพอ่ื ฟงั ตำ� นานของตำ� บลทา่ หนิ บา้ นเกดิ ของแม่ พ่อเฒ่าขนหนังสือโบราณเป็นภาษาขอมเกี่ยวกับต�ำรายาสมุนไพร ท่านอ่าน ภาษาขอมได้ เอาพระของโบราณมาอวดให้พวกเราได้ดูกัน แต่ในใจดิฉัน อยากจะฟงั ต�ำนานศาลาเจ้าบ้านมากกว่า ท่านเลา่ ว่าประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ ปี กลุ่มสลัดอนิ โดนเี ซยี ขยายอำ� นาจ ยดึ พ้นื ท่ปี ระเทศมาเลเซียตัง้ ตนเป็นสุลตา่ นรุกรานเร่อื ยมา สู้รบกับหวั เมืองไทย เข้าตีเมืองสงขลา เมอื งจะทงิ้ พระ จนเมอื งแตก จึงต้องหนอี พยพไปตง้ั เมอื งใหม่ ในพัทลุง หลักฐานอ้างอิงในพื้นท่ีจังหวัดพัทลุงมีให้พบเห็นทั่วไป แม้แต่ วัดบางแก้วในอ�ำเภอเขาชัยสน เกิดเรื่องเล่าสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน เช่น นางเลือดขาว นางมโนรา แม้แต่นางวิไล สนมเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งมีรูปสวย หาหญงิ ใดเปรยี บมไิ ดจ้ นทหารเจา้ เมอื งหลงรกั ลงส�ำเภาพาหนกี นั มาซอ่ นตวั จน เรือจมปิดคลองมิไร กลายเป็นเรือทวดคลองมิไรมีความศักดิ์สิทธ์ิเป็นที่นับถือ ของชาวต�ำบลท่าหิน ปัจจุบันศาลทวดมิไรต้ังอยู่ท่ี หมู่ ๗ ต�ำบลท่าหิน อ�ำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา พ่อเฒ่าเล่าต่อว่า กลุ่มมุสลิมของอินโด-มาเล ไหลเข้ามาในประเทศไทยกระจัดกระจายกันอยู่ หาพื้นที่ต้ังบ้านเรือนและ ท่ที ำ� มาหากนิ ตอ่ มาพระเจา้ ตากสนิ ลงมาปราบหวั เมืองทางใต้ ขยายอาณาเขต ไปแหลมมลายู ทรงแต่งต้ังไทยมุสลิมที่จงรักภักดีเป็นเจ้าเมืองสงขลา พ่ีน้อง ชาวไทยมสุ ลมิ ต้งั ถิน่ ฐานอยทู่ ี่เกาะนางค�ำ จงั หวดั พทั ลงุ ความสัมพนั ธ์ระหว่าง
เร่ืองดๆี ทบ่ี า้ นเรา 17 หมบู่ า้ นทงั้ สองกลมุ่ น้ี พ่งึ พาไปมาหาสู่กนั เหมอื นญาติ ขา้ มฝง่ั ไปท�ำมาหากนิ กนั ตามถนดั ของอาชพี ชาวไทยพทุ ธมาฝง่ั ทา่ หนิ มาถางปา่ ปลกู ขา้ ว ชาวไทยมสุ ลมิ ลงเรือหาปลาริมทะเลสาบฝ่ังตะวันตกของเกาะนางคำ� การแลกเปล่ยี นพนื้ ที่ทำ� มาหากินแบบธรรมชาติ ระหว่างเพ่ือนฝูง หมู่ญาติ ชาวไทยพทุ ธ ทยอยกนั มา ปลูกข้าว ชาวไทยมุสลิมลงเรือหาปลา จนถึงปัจจุบันน้ีท้ังสองหมู่บ้านยังไปมา หาสู่ มีงานแต่งงาน งานบวช งานศพ กจ็ ะช่วยเหลือเก้ือกลู ซงึ่ กนั และกนั ญาตๆิ พ่ีน้องของพอ่ เฒ่ายงั มที ่ีดินท่เี กาะนางค�ำจนถงึ บดั น้ี หัวหน้าหมบู่ า้ น ดาโต๊ะหลี ท่านเสียชีวิตก่อนการย้ายหมู่บ้าน ด้วยเหตุผลท่ีท่านเป็นผู้นำ� ท่ีดี มีบุญบารมี เกาะกมุ ชาวไทยพุทธสืบมาน่เี อง จึงเกิดศาลเจ้าบ้านขึ้นในต�ำบลทา่ หนิ จนบัดน้ี มที ด่ี ินเปน็ ศาลาทตี่ งั้ ของท่านเอง ไม่มีใครกลา้ บุกรุกศาลาเจ้าบา้ น เป็นจดุ ร่วม ศรัทธาเคารพบูชาของชาวไทยพุทธในต�ำบลท่าหิน แต่ถ้าจะท�ำพิธีแก้บน ก็จะเชิญโต๊ะหลีฝั่งเกาะนางค�ำ หรือบ้านระฆังมาสวดขอพรต่อพระอัลลอฮ์ ตามประเพณไี ทยมสุ ลมิ อยา่ งเครง่ ครดั แก้บนกับเสยี งประทดั ไก่ปากทอง เมอ่ื สงครามโลกครงั้ ท่ี ๒ ทหารญป่ี นุ่ มาเมอื งสงขลา ในทะเลสาบสงขลาเรอื รบญป่ี นุ่ เข้ามาจอดถึงหน้าคลองต่างๆ ของต�ำบลท่าหิน ชาวบ้านผู้ชายจัดเวรยามลาด ตระเวนกันทกุ หมบู่ า้ น เมื่อได้ยินเสยี งเครอ่ื งบินมากลางวัน พ่อแม่นำ� ลกู หลาน บุกโคลนไปซ่อนตัวในป่าริมทะเลสาบ ครูน�ำนักเรียนไปอยู่ในพระอุโบสถหน้า พระประธาน ๓ องค์ สภาพจิตใจของชาวท่าหินในขณะน้ันฝากไว้กับเจ้าบ้าน และพระประธาน ๓ องคใ์ นวดั ตอนน้ันพอ่ เฒ่ายงั เดก็ ๆอยู่ ทวดเลา่ ให้พอ่ เฒ่า ฟังว่าท่านเป็นผู้ใหญ่บ้าน ลาดตระเวนตอนกลางคืนเห็นเจ้าบ้านปรากฏกาย ผิวด�ำล่�ำใหญ่ใส่หมวกแขกถือไม้เท้ายืนโบกมือในอากาศให้เคร่ืองบินญ่ีปุ่นบิน ผ่านต�ำบลท่าหินไปทุกล�ำ ชาวต�ำบลท่าหินและเกาะนางค�ำ จึงรอดปลอดภัย ในสงครามโลกคร้งั นน้ั มอี ยชู่ ว่ งหนง่ึ มีโรคระบาดคนตายกันมาก ทา่ นเจ้าบ้าน
18 เรือ่ งดๆี ท่บี า้ นเรา จึงปรากฏกายถือไม้เท้า ปัดกวาดโรคระบาดออกจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเพ่ิม ความรกั ความศรทั ธาตอ่ เจา้ บา้ นมากยง่ิ ขนึ้ ในฤดกู าลคดั เลอื กทหาร ใครไมอ่ ยาก ให้ลูกติดทหารจะมาบนกันท่ัวไป แต่ท่านดาโต๊ะหลีไม่บอกหวยเบอร์เด็ดขาด พอ่ เฒา่ เลา่ จนเหนอื่ ยพรอ้ มกนั ยกขนั นำ้� รอ้ นใบใหญข่ นึ้ ดมื่ ทา่ นเลา่ ตอ่ พรอ้ มกบั ถอนหายใจเล็กนอ้ ย วัดทา่ หินเปน็ วดั เกา่ แก่มีพระประธาน ๓ องค์ มีหอระฆงั โรงสวดมนต์ท�ำด้วยไม้ ทวดเล่าให้พ่อเฒ่าฟังว่าเมื่อก่อนเป็นวัดล้างมีต้นไม้ ปกคลมุ บงั เอญิ พระพอ่ แกส่ อี อ่ น แสวงบญุ มาพบเขา้ จงึ นำ� ชาวบา้ นมาพฒั นาวดั ข้ึนใหม่ ประจวบเหมาะกับที่ท่าเรือมีต้นโพธิ์และแผ่นหินใหญ่ผุดลอยเหนือน้�ำ อยู่จงึ ต้ังช่อื วา่ วดั ทา่ หนิ พอ่ เฒ่าเล่าจบแล้ว ดูทา่ นจะเหนื่อยมาก พ่ๆี และดฉิ นั เลยเตรยี มทน่ี อนใหท้ า่ น พๆ่ี ผชู้ ายกน็ อนใกลท้ า่ นดว้ ย ดฉิ นั บอกวา่ นอนหลบั ฝนั ดนี ะคะพอ่ เฒา่ สว่ นดฉิ นั ไปนอนกบั แม่ คนื นนั้ นอนไมค่ อ่ ยหลบั เลย นกึ ถงึ ตำ� นาน ต�ำบลทา่ หินท่ีพอ่ เฒ่าเลา่ ใหฟ้ ังแต่กม็ ีความสขุ มากๆด้วย แปลกไหมล่ะค่ะ ต�ำบลท่าหินกับเกาะนางค�ำ แลกเปล่ียนพื้นท่ี ทำ� มาหากนิ กนั ระหวา่ งชาวไทยพทุ ธกบั ชาวไทยมสุ ลมิ ตำ� บลทา่ หนิ ของชาวไทย พุทธกลับมีศาลาเจ้าบ้านมุสลิม เกาะนางค�ำจังหวัดพัทลุงกลับมีวัด ดิฉัน แอบปลมื้ จริงๆ กบั ต�ำนานต�ำบลทา่ หิน ไม่ตอ้ งรบไม่ต้องทำ� สงคราม ไม่รุกราน ใคร ชุมชนสองกล่มุ นย้ี งั อย่ดู ้วยกันได้ ไมว่ า่ จะอยู่ศาสนาใดกต็ าม ถ้าทกุ คนรกั ประเทศไทยมคี วามสงบนงิ่ ของหวั ใจ ไมแ่ บง่ ชนชน้ั วรรณะ แบง่ ปนั ใหค้ นอนื่ อยา่ ง ไม่หวังผลตอบแทน รู้จักใช้จ่ายประหยัดพอเพียง มอบความรักความผูกพัน เสมอื นญาตเิ ทา่ นน้ั ก็จะรอดปลอดภยั เสยี งเล่าขานตำ� นาน จรงิ ไหมไม่อาจรไู้ ด้ แต่หลักฐานส�ำคัญตกทอดถึงลูกหลานได้เห็นน้ันเป็นความจริง อดีตท่ีน่าจดจ�ำ และบางครงั้ ไมน่ า่ จดจ�ำ เชน่ สงครามโลกครงั้ ที่ ๒ ทกุ ครงั้ ตอ้ งหลบภยั วงิ่ หนเี อา ตวั รอด ประเทศมหาอำ� นาจตอ้ งการความเปน็ ใหญไ่ มร่ จู้ กั คำ� วา่ พอ มแี ลว้ กอ็ ยาก มีอีก ประเทศไทยตำ� บลทา่ หินของเราก็รอดพ้นภัยสงครามโลกครงั้ นมี้ ีข้อมูลให้
เรอ่ื งดๆี ทีบ่ า้ นเรา 19 คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า อาจเป็นความศักด์ิสิทธ์ิของพระประธาน ๓ องค์ และ ศาลาเจ้าบ้านก็ได้ ขอขอบคุณพระพุทธศาสนาช่วยขัดเกลาหัวใจให้เป็น คนดี ขอบคุณบรรพบุรุษต�าบลท่าหินท่ีให้คนรุ่นหลังอย่างดิฉันมีวันน้ี และ ขอบคณุ พอ่ เฒ่า ท่เี ลา่ เร่อื งราวดีๆ ให้ดิฉันฟงั
20 เรอื่ งดๆี ท่บี า้ นเรา เรือ่ งดีที่บ้านเรา เดก็ ชายธรี ภัทร์ ไชยมณี รางวัลรองชนะเลิศอนั ดับ ๑ ระดบั ประถมศึกษา ความรักของพ่อแม่ผู้เป็นบุพการีน�ำพาฉันมาที่น่ี หมู่บ้านเล็กๆ ห่าง จากตลาดปาดังเบซาร์เมืองชายแดนติดประเทศมาเลเซีย วัดระยะทางลึก เข้ามาส่ีกิโลเมตร หม่บู า้ นเลก็ ๆ ไม่ถึงหนง่ึ ร้อยหลงั คาเรอื นซ่ึงสว่ นใหญ่ซกุ ตัวอยู่ ในสวนยางพารา ฉนั สามารถเหน็ ตน้ ไมข้ นาดหลายคนโอบเรยี งรายสองขา้ งถนน ใหร้ ม่ เงาบง่ บอกเชงิ สญั ลกั ษณว์ า่ ผคู้ นทน่ี ร่ี กั และหวงแหนธรรมชาติ ทอดสายตา ลึกถัดเข้าไปเป็นสวนยางพารา พืชเศรษฐกิจส�ำคัญท่ีหล่อเล้ียงชีวิตของคนที่นี่ และรวมถึงคนพื้นถ่นิ ปกั ษ์ใต้ของประเทศนี้ ลำ� ตน้ เปน็ แถวแนวเรียงชดิ ติดเรยี ง ราย ใบสเี ขยี วสดขจขี องมนั แนน่ หนาเบยี ดเสยี ดเปน็ รม่ เงาบอกความหมายของ ค�ำว่า อดุ มสมบรู ณ์ ลกึ สุดเขา้ ไปอีกเปน็ ทวิ เขา “เขารปู ช้าง” ตระหงา่ นสงู เทียม เมฆลดหลัน่ ทับซ้อนเปน็ ฉากหลัง แดดสายสาดแสงแรงร้อน ส่องกระทบกระเบื้องหลังคาบ้านเรือนของ คนในหมู่บ้านริมสองข้างทางเป็นประกายเรืองรอง ฉันเห็นรอยยิ้มของเจ้าของ บ้านพรอ้ มเสยี งตะโกนถามตามหลงั ดว้ ยภาษาพนื้ ถิ่นใต้ “ไปโรงเรยี นเหอ--?” “ครบั --” ฉนั ขานตอบลากเสยี งยาวใหผ้ ถู้ ามไดย้ นิ โดยไมห่ นั กลบั ไปมอง ฉนั คลอ้ ยหลงั จากตรงนนั้ มาแลว้ ฉนั กำ� ลงั ขรี่ ถมอเตอรไ์ ซค์ ฉนั ตอ้ งรบี ไปโรงเรยี น กลางสายลมเย็นพัดผ่าน ฉันน่ังมองช่อดอกราชพฤกษ์ ท่ีออกดอก เป็นช่อพวงระยา้ เหลืองสดอรา่ มเต็มต้น ดอกของมนั เหลอื งพราวทั่วทุกก้านก่ิง
เรอ่ื งดๆี ทบ่ี า้ นเรา 21 นา่ เสยี ดายทด่ี อกของมนั ไรซ้ งึ่ กลนิ่ หอม มนั มแี ตเ่ พยี งสสี นั หากมนั มกี ลน่ิ อากาศ เย็นช้ืนเช่นยามสายวันนี้คงช่วยให้ความหอมย่ิงทวีหอมเย็นช่ืนไปทั่วท้ังป่า ไมใ่ ชส่ ิ ! ตอ้ งบอกว่ากลิน่ คงหอมตลบอบอวลไปท่ัวบริเวณโรงเรียน ทำ� ไมฉนั ตอ้ งบอกวา่ หากดอกราชพฤกษม์ กี ลนิ่ หอม คงหอมอวลอายไป ทั่วทั้งผืนป่า? เพราะเหตุว่าโรงเรียนประถมศึกษาที่ฉันเรียนอยู่ในขณะนี้ คือ สถาบันการศึกษาเพียงแห่งเดียวของหมู่บ้านที่นี่ มันมีสภาพคลับคล้ายผืนป่า เพราะเตม็ ไปดว้ ยตน้ ไมใ้ หญม่ ากมายชนดิ ทงั้ ไทร-สกั -กระถนิ -เทพา-ราชพฤกษ-์ ศรีตรัง-หางนกยูง-กระโดน-เคียน-ยางนา-มะฮอกกานี-มะขาม –ตะแบก- พะยอม-รวมทง้ั ไมป้ า่ อกี หลายสานพนั ธ์ มากมายกระจดั กระจายทวั่ อาณาบรเิ วณ เกือบสิบเจ็ดไร่ บางต้นบางชนิดอายุเกินกว่าครึ่งศตวรรษ,อาคารเรียน อาคาร ประกอบท่ีมีก็ซุกกายเงียบงันอย่างสุขสงบภายใต้เร่าเงาของไม้ใหญ่เหล่านี้ ฉนั ถงึ ได้มักพลั้งเผลอคดิ วา่ ที่ตรงน้คี อื ผนื ป่าอยเู่ สมอๆ นกตวั เล็กๆ หลายตัวสง่ เสียงรอ้ งเจ๊ยี วจา๊ วไลจ่ กิ ไลต่ กี นั อย่บู นคาคบไม้ ปุยเมฆล่องไหลไปในผืนฟ้ากว้างดูนุ่มนวล แดดสายลอดช่องฟ้าลงมา สมั ผสั ยอดไมส้ งู มองเหน็ เขยี วสดสวา่ งเปน็ หยอ่ ม ๆ ใบไมส้ ว่ นทแ่ี สงแดดสอดลอด เขา้ มาไมถ่ งึ เหน็ เปน็ สเี ขยี วครม้ึ บา้ งกป็ รากฏสเี ทาทมึ ทบึ สสี นั แหง่ ธรรมชาตยิ าก ทีจ่ ะคาดเดาและท�ำความเขา้ ใจ แตฉ่ ันก็มีความสุข ความสุขท่คี ณุ ครูเคยพดู กบั นกั เรยี น ครบู อกวา่ เราตอ้ งชว่ ยกนั รกั ษาตน้ ไมแ้ ละผนื ปา่ ตามธรรมชาตทิ งั้ ทบี่ า้ น และในโรงเรยี น หากเรายงั คงมสี งิ่ เหลา้ นเ้ี รากจ็ ะมคี วามสขุ ความสขุ เปน็ สงิ่ งา่ ยๆ ไมจ่ �ำเป็นตอ้ งปรุงแต่ง นกร้อง ใบไม้ไหว สายลมพัด แดดสวยๆ มันกค็ อื ความ สขุ ทมี่ าพรอ้ มกบั ความสงบ คณุ ครเู คยยกตวั อยา่ งใหฟ้ งั วา่ เหมอื นเดก็ เลก็ ๆ เหน็ อะไรนิดอะไรหน่อยก็ยิ้มก็หัวเราะเอาใบไม้แห้งมาโปรยก็แย้มย้ิม เอาทรายมา เล่นก็ส่งเสียงเอ้ิกอ้ากหัวเราะชอบใจ สิ่งเหล่าน้ีคือความสุข เด็กมีความสุขโดย
22 เรื่องดีๆ ท่บี า้ นเรา ไมต่ ้องใชส้ อื่ ประกอบหรอื อุปกรณอ์ ะไรมาก ความสุขคอื ธรรมชาติ มธี รรมชาติ กม็ ีความสุข คงจริงอยา่ งคุณครูบอก ความสุขของคนในหมูบ่ ้านฉนั อกี อย่างคือวถิ ชี ีวิต วัฒนธรรมท่แี อบองิ ผกู พนั อยู่กบั ศาสนา อย่างแนบแนน่ ฉันอยากเลา่ ใหฟ้ ัง ! หมู่บ้านของฉันเป็นหมู่บ้านไทยพุทธที่ไม่มีวัดต้ังอยู่ในพ้ืนที่ วิถีชีวิต ของผคู้ นผกู พนั แนบแนน่ อยกู่ บั ศาสนา ทฉี่ นั ภาคภมู ใิ จคอื วนั ครบรอบการกอ่ ตง้ั หมบู่ ้านในวนั ที่ ๑๔ ธนั วาคม ทุกปใี นวันน้ี ผหู้ ลกั ผใู้ หญ่ในหมูบ่ า้ นอันประกอบ ดว้ ยผใู้ หญบ่ า้ น ผชู้ ว่ ยผใู้ หญบ่ า้ น ผนู้ ำ� ชมุ ชนดา้ นตา่ งๆ สมาชกิ อบต.ของหมบู่ า้ น สถานอี นามยั และรวมถงึ โรงเรยี นประถมศกึ ษาทฉ่ี นั กำ� ลงั เรยี นอยู่ จะรว่ มกนั จดั กิจกรรมท�ำบุญประจ�ำปีของหมู่บ้าน โดยนิมนต์พระสงฆ์มาท�ำบุญตักบาตร ฉันมาร่วมทุกปีต้ังแต่เรียนอนุบาลจนถึงบัดน้ีไม่เคยขาด นักเรียนทุกคน ในโรงเรยี นล้วนเต็มใจมาร่วม ฉันเห็นผู้คนหิ้วปน่ิ โต ขนมหวาน ผลหมากรากไม้ มากมาย ท้ังคนแก่ หน่มุ สาว เด็กเลก็ เด็กโต ในหมู่บ้านทุกคน วนั นั้นจะมผี ู้คน มาร่วมคับค่ังมากมายแน่นศาลาประจ�ำหมู่บ้าน ล้นออกมาจนต้องต้ังเต็นท์ รองรับถึงสองหลัง บางคนฉันไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้จักหน้าค่าตามาก่อน ไม่รู้ ดว้ ยซำ้� วา่ เปน็ คนท่อี ยรู่ ่วมอาศยั ในหมู่บ้านเดยี วกนั แต่ในวนั ส�ำคญั เชน่ นี้ ฉันได้ เหน็ และได้รับรู้ ทกุ คนมีสหี นา้ อ่มิ เอิบ ยมิ้ แยม้ แจม่ ใส โอภาปราศรยั ทกั ทาย เสยี งจอแจ เดก็ ๆ วงิ่ เลน่ ไลจ่ บั กนั อกึ ทกึ สง่ เสยี งเอะอะมะเทงิ่ มเี สยี งตวาดกำ� ราบ ความซกุ ซนจากผใู้ หญด่ ังเปน็ ระยะๆ น้องอนุบาลในโรงเรียนนั่งพนมมืออยู่บนตักแม่ ส่งเสียงถามดังๆ ขณะทผ่ี ู้ใหญ่บ้านซงึ่ เปน็ ประธานจดุ ธูปเทยี นบูชาพระรัตนตรยั หนา้ โตะ๊ หมูบ่ ชู า “แม่ เขาจดุ เทยี นท�ำไม?” แม่ของน้องอนุบาลไม่ตอบ ส่งเสียงจุ๊ปากเบาๆ เชิงห้ามปราม น้อง อนุบาลถามซ้�ำเม่ือไม่ได้รับค�ำตอบ แม่ต้องตีแขนน้องเม่ือทนรบเร้าด้วยค�ำถาม ซำ้� หลายๆ ครงั้ ไมไ่ หว
เร่อื งดๆี ทบี่ ้านเรา 23 พระสงฆ์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดที่ต้ังอยู่ในตลาดปาดังเบซาร์ ท่านเป็น พระผู้ใหญ่ใจดี ก่อนเข้าสู่พิธีของสงฆ์ท่านอธิบายตอบค�ำถามของน้องอนุบาล ทฉี่ นั เองกไ็ มร่ คู้ วามหมาย เพยี งเคยเหน็ เขาจดุ ธปู เทยี นทกุ ครง้ั กอ่ นทพ่ี ระจะสวด และฉันก็ไม่เคยสงสัยว่าเขาจุดธูปเทียนเพ่ือความหมายอันใด ฉันเดาเอาว่า ไมเ่ ฉพาะฉนั หลายคนไม่รู้และไมเ่ คยคดิ สงสัย เพยี งเห็นเขาปฏิบัติเชน่ น้ีสบื ต่อ กันมา ก็ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่วันน้ัน เพราะค�ำถามของน้องอนุบาล และความใจดีของพระสงฆ์ท�ำให้ฉันรับรู้ความหมาย และเกิดความประทับใจ ในการเอื้ออาทรของคนท่อี ยู่รว่ มกนั ในสงั คม ท่านอธิบายว่า “ชาวพุทธจุดธูปเทียนเพื่อสักการะพระพุทธเจ้าผู้เป็น ศาสดาของศาสนาพุทธ เทียนเล่มขวา-ซ้ายมือของผู้จุดคือการจุดเพื่อบูชา พระธรรม เทยี นเลม่ ซา้ ย-ขวามอื ผจู้ ดุ จดุ เพอื่ บชู าพระวนิ ยั สว่ นธปู สามดอกหมาย ถึงการสกั การะพระพุทธเจ้า ดอก ๑ บชู าพระปญั ญาของพระพทุ ธเจ้า ดอก ๑ บูชาความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า ดอก ๑ บูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า” ค�ำอธิบายของพระท�ำให้ฉันรู้ในส่ิงท่ีฉันไม่เคยสงสัย หลายคนก็คงไม่ต่าง ไปจากฉันมากนกั หรอก ท่วงท�ำนองของสายลมอึงอลต่อเนื่องยาวนาน ฉันร�ำลึกถึงเร่ืองดีๆ ทบี่ า้ นฉนั หาใช่มงุ่ หมายรางวัลใดๆ ฉันเพียงตอ้ งการส่ือสารผ่านตัวอกั ษรแทน ถ้อยค�ำ ให้ผู้คนภายนอกได้รับรู้ว่าที่ “บ้านไร่” โรงเรียนประถมศึกษา และ หมูบ่ า้ นเล็กๆ ของฉันเป็นอีกที่ ท่หี น่งึ ทม่ี วี ถิ ชี ีวติ วฒั นธรรมผกู พันกบั ธรรมชาติ และศาสนาอย่างแนบแน่น ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่ ยิ้มแยม้ แจม่ ใส ท่ามกลางธรรมชาติ อันอุดมสมบรู ณท์ ่ที ุกคนร่วมกันดูแลรักษา ด้วยหัวใจ เป็นเร่ืองราวดีๆ ท่ามกลางเรื่องร้ายๆ รายรอบในความมืดอึมครึม ของสถานการณส์ ามจงั หวดั ชายแดนใต้ ซง่ึ รวมเขา้ กบั สอี่ ำ� เภอของจงั หวดั สงขลา และท่ีบ้านฉันคือส่วนหนึ่งของอ�ำเภอสะเดา รวมอยู่ในสี่อ�ำเภอดังกล่าวของ
24 เรอ่ื งดๆี ที่บ้านเรา จงั หวดั สงขลา ทเี่ ตม็ ไปดว้ ยความวนุ่ วายโกลาหล ความทกุ ขท์ ร่ี มุ เรา้ ผคู้ นจนแทบ สิน้ ไร้ทางออก แง่มุมในเร่อื งเล่าของฉนั ฉนั อยากบอกวา่ วิถชี ีวิตและวฒั นธรรม อันดีงามของคนในสังคม และการตอบค�าถามต่อทุกค�าถามแม้ค�าถามของคน เล็ก ๆ ทดี่ ูเหมือนไรส้ าระ ก็เป็นส่งิ จา� เป็นที่ควรค่าให้ความสา� คัญ เพื่อท�าความ เข้าใจ แสดงถึงความปรารถนาดีที่มนุษย์ทุกคน ทุกเพศทุกวัย พึงมีต่อกัน เพื่อความสมานฉันท์ สันตภิ าพ และสนั ติสขุ กลบั คนื สู่สังคมเราอีกคร้ัง
เรื่องดๆี ทีบ่ า้ นเรา 25 เรือ่ งดๆี ทบ่ี า้ นเรา เด็กหญงิ นูรนู นะญาห์ บิลรา่ หมาน รางวลั รองชนะเลศิ อันดบั ๒ ระดบั ประถมศกึ ษา จังหวัดปัตตานี เป็น ๑ ใน ๓ จังหวดั ชายแดนภาคใต้ ทร่ี ู้จักในสายตา ของคนทั่วไปว่าเป็นจังหวัดที่น่ากลัวเพราะมากมายด้วยอันตราย ไม่มีความ ปลอดภยั ในชวี ิต มกี ารระเบดิ ฆ่ากนั เปน็ รายวนั ฯลฯ วนั นฉี้ นั อยากเล่าสู่กนั ฟงั ในอกี มุมมองหนง่ึ ทีเ่ ปน็ เร่อื งดีๆ ทีม่ ใี นบา้ นเรา “ปัตตาน”ี “บดู สู ะอาด หาดทรายสวย รวยน้�ำตก นกเขาดี ลกู หยอี รอ่ ย หอยแครง สด” เสียงท่องค�ำขวัญจังหวัดปัตตานีดังเซ็งแซ่ในชั่วโมงเรียนสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ครูนัฏจวา ซ่ึงสอนในช่ัวโมงน้ีให้การบ้านโดยให้นักเรียนกลับไป สมั ภาษณผ์ ู้ท่มี ีความรู้ทบ่ี ้านในหวั ขอ้ “เร่ืองดๆี ที่บ้านเรา” ปัตตานี ฉนั เลยตอ้ ง กลบั มาพดู คยุ กบั คณุ พอ่ ใหช้ ว่ ยสอนการบา้ นในหวั ขอ้ นห้ี นอ่ ย ฉนั ถามคณุ พอ่ วา่ “คุณพ่อคะ คุณพ่อเป็นคนหาดใหญ่ ท�ำไมคุณพ่อถึงมาอยู่และมาท�ำงานท่ี จงั หวดั ปตั ตานลี ะ่ คะ? จงั หวดั ปตั ตานมี อี ะไรดๆี หรอื คะ”? คณุ พอ่ เลา่ วา่ ครงั้ แรก ทค่ี ณุ พอ่ ตดั สนิ ใจทจ่ี ะมาท�ำงานและมาอาศยั อยทู่ จ่ี งั หวดั ปตั ตานี บรรดาญาตพิ ่ี น้องของคณุ พ่อต่างก็ไม่มใี ครเหน็ ด้วย ทุกคนต่างลงความเหน็ ว่า “ปตั ตานหี า่ ง ไกลความเจรญิ อนั ตรายไมม่ คี วามปลอดภยั ในชวี ติ ไมน่ า่ อยเู่ หมอื นทหี่ าดใหญ”่ คุณพ่อพยายามอธิบายให้ฟังว่าจังหวัดปัตตานีถึงแม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แตก่ ลบั มีเรอื่ งดๆี ใหช้ วนศกึ ษาเรยี นร้มู ากมาย ได้แก่
26 เรอื่ งดีๆ ทบ่ี ้านเรา เรอ่ื งดๆี อนั ดบั แรก คอื จงั หวดั ปตั ตานไี ดช้ อ่ื วา่ เปน็ ทต่ี ง้ั ของอาณาจกั ร โบราณ “ลังกาสุกา” เป็นชุมชนแห่งประวัติศาสตร์ มีร่องรอยความเจริญ ให้ได้ศึกษามากมายเช่นเมืองโบราณยะรัง มัสยิดกรือเซะ มัสยิดดาโต๊ะ มัสยิด บูกติ บาโงยลางา และพลบั พลาทป่ี ระทับพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู ัวรัชกาล ที่ ๗ คณุ พ่อเล่าวา่ คุณพ่อไดศ้ กึ ษาประวัตขิ องโบราณสถานต่างๆ หลายๆ แห่ง ทมี่ ใี นจงั หวดั ปตั ตานี ลว้ นแลว้ แตม่ คี ณุ คา่ ตอ่ การศกึ ษาเรยี นรทู้ �ำใหเ้ ราไดร้ บั รถู้ งึ ความยิ่งใหญ่ของชุมชนในอดีต ท�ำให้เกิดความรู้สึกรักและหวงแหนในดินแดน แห่งน้ี คุณพ่อมักจะพาเพ่ือนๆ ท้ังที่เป็นคนไทยจากต่างจังหวัดและเพื่อนๆ จากต่างประเทศมาเย่ยี มชมโบราณสถานตา่ งๆ เหล่านี้ เรื่องดีๆ อนั ดบั ที่สอง การมีวิถชี ีวิตชาวบา้ นทอี่ ย่อู ยา่ งพอเพยี งขยนั ทำ� มาหากินเล้ียงครอบครัวด้วยอาชีพที่สุจริต โดยอาชีพหลักๆ ของชาวปัตตานี ไดแ้ ก่ การทำ� ประมง การทำ� นา ทำ� สวนยางพารา และสวนผลไม้ สง่ ผลใหจ้ งั หวดั ปัตตานีมีสินค้าและผลิตภัณฑ์ท่ีน่าสนใจมากมาย เช่น น้�ำบูดู ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา ลูกหยี โดยผลิตภัณฑ์เหล่าน้ีกลายเป็นสินค้าส่งออกออก ทำ� รายได้ให้จังหวัดเปน็ จ�ำนวนมาก เร่ืองดีๆ อันดับท่ีสาม การมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการละเล่น พ้ืนบ้านท่ีโด่ดเด่นสวยงามสมควรแก่การอนุรักษ์ เช่น การเต้นร็องเง็ง การเล่นลิเกฮูลู ซ่ึงมักจะน�ำเล่นแสดงในงานพิธีต่างๆ เช่น งานมาแกปูโละ งานเมาลดิ งานเขา้ สนุ ดั ศิลปะป้องกนั ตัวสลิ ะเปน็ ตน้ เร่ืองดีๆ อันดับท่ีส่ี การมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติท่ีสวยงาม นา่ ท่องเที่ยวเชน่ ทะเล หรอื ชายหาดตะโละ๊ กาโปร์ หาดวาสุกรี หาดแฆแฆ ฯลฯ หรือจะเป็นการเที่ยวน้�ำตกเช่นน�้ำตกทรายขาว หรือจะเป็นการท่องเที่ยวเชิง นิเวศน์ป่าชายเลนยะหริ่งซึ่งถือว่าเป็นอุโมงค์ธรรมชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย เปน็ ปา่ ชายเลนทอ่ี ยูใ่ กล้ชุมชน และมคี วามสมบูรณต์ ามธรรมชาตมิ าก
เร่อื งดๆี ที่บา้ นเรา 27 คณุ พอ่ บอกวา่ “จงั หวัดปตั ตานีของเรายังมเี รือ่ งดๆี อีกมากมายให้เรา ได้ศึกษา เรียนรู้โดยเฉพาะการมีวิถีชีวิตของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และศาสนา ผู้คนที่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ จีน และคริสต์ ใช้ชีวิตกัน อยา่ งพ่นี ้อง เอ้อื อาทรตอ่ กนั อยกู่ ันอยา่ งสันตสิ ุขรกั ใครส่ มานฉนั ท์” ส่ิงเหลา่ นี้ ล้วนเป็นส่ิงดีๆ ทสี่ รา้ งความประทับใจใหก้ บั พ่อและชาวปัตตานคี นอ่ืนๆ จังหวัดปัตตานีถึงแม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่เป็นจังหวัดท่ีมีเร่ืองดีๆ มากมายหลังจากที่ได้คุยกับคุณพ่อแล้ว ฉันเองก็ประทับใจในจังหวัดปัตตานี ของฉันไม่แพ้พ่อ ฉนั แอบต้ังความหวังว่าฉันจะตงั้ ใจเรียน เรยี นหนังสือใหเ้ ก่งๆ เติบโตเป็นคนดีและสร้างสง่ิ ดีๆ ให้เกดิ ขนึ้ ที่ปตั ตาน.ี ..บา้ นของเรา
เรอื่ งดีๆ ทบ่ี า้ นเรา 29 เรือ่ งดีดีท่บี า้ นเรา เดก็ ชายกิตตศิ ักด์ิ มัน่ วงศ์ บ้านของผมก็มีหลายอย่างครับ เพราะต�ำบลของผม เป็นต�ำบลท่ีมี ความสุขและรอยยิ้ม และเป็นต�ำบลแห่งโครงการพระราชด�ำริ บ้านของผม ตำ� บลภเู ขาทองครบั ทชี่ อ่ื วา่ ภเู ขาทอง พอ่ บอกวา่ ตอนชาวบา้ นอพยพมาอยใู่ หมๆ่ พวกชาวบ้านเขาเจอทองค�ำเขาเลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่าภูเขาทอง และยังเอามาตั้ง เปน็ ชอื่ ตำ� บลดว้ ย พอ่ ยังเคยเล่าให้ผมฟังอกี ว่า ก่อนท่คี นต�ำบลภเู ขาทองจะเขา้ มาอยู่พ้ืนท่ี บริเวณน้ีเคยเป็นกิ่งอ�ำเภอมาก่อน ชื่อกิ่งอ�ำเภอโต๊ะโม๊ะ ทุกวันนี้ โต๊ะโม๊ะเป็นแค่ช่ือหมู่บ้านท่ีอยู่ในตำ� บลภูเขาทองพ่อยังเล่าอีกว่าเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ นั้น ถูกอันเชิญมาจากประเทศญ่ีปุ่น ไม่ใช่ประเทศจีน คนจีนที่ได้รับสัมปทาน ท�ำเหมืองแร่ทองค�ำคนแรกเป็นคนไปอัญเชิญมามีกระถางธูปและภาพองค์เจ้า ปัจจุบันเหลือแค่กระถางธูปเขาก็เอาไปไว้ที่อ�ำเภอสุไหงโก-ลกครับ ต�ำบล ภูเขาทองยังมีศาลเจ้าอีก ๒ แห่งครับ ศาลเจ้าแม่ไทรทองที่บ้านไอปาโจ และ ศาลตาปูท่ ่บี า้ นภูเขาทอง และยงั มีวดั อกี ๘ แหง่ มีวัดที่ในหลวงและพระราชนี ี สรา้ งดว้ ย ชอ่ื วดั โตะ๊ โมะ๊ ยงั มวี ดั อกี แหง่ หนงึ่ ชอื่ วดั บา้ นตน้ ทเุ รยี น มหี ลวงปทู่ วด องคใ์ หญเ่ ป็นที่ยึดเหนย่ี วจิตใจของชาวบา้ น มงี านสมโภชทุกปี ทุกครงั้ ที่จัดงาน ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ช่วยงานวัดด้วยความสามัคคี วันงานจะมีการ ปฏิบัติธรรม ๕ วันกลางคืนก็มีการสอยดาวและวงดนตรีผู้สูงอายุมาแสดงด้วย ครอบครวั ผมมี ๓ คนครบั มีพอ่ มีแมแ่ ละผม พ่อยงั เลี้ยงหมาอีก ๒ ตวั แมวอีก ๔ ตัว พ่อยังขุดบ่อเล้ียงปลาไว้หลังบ้านด้วยครับ ผมยังเห็นแม่ช่วยพ่อ
30 เรือ่ งดๆี ทบ่ี ้านเรา ปลูกผกั ด้วย แม่ปลกู หัวข่าหัวตะไคร้ ปลูกผักหวานปลกู พรกิ ไทย ปลกู มะละกอ และยงั มผี กั อกี หลายอยา่ งทแ่ี มป่ ลกู ผมยงั เหน็ ผกั ของแมต่ น้ มนั แปลกแปลก ผม ถามแมว่ า่ ผกั อะไรแมบ่ อกวา่ ตน้ เหงอื กปลาหมอเปน็ ยาสมนุ ไพร และยงั มตี น้ วา่ น ชกั มดลกู ตน้ รางจดื ดว้ ย ตอนเชา้ พอ่ จะตนื่ ไปกรดี ยางแตเ่ ชา้ สว่ นแมก่ จ็ ะหงุ ขา้ ว ทำ� กบั ข้าว และไปสง่ ผมท่ีโรงเรยี น กบั ข้าวของแม่ส่วนใหญก่ ็ไขท่ อด ปลาทอด ไกท่ อด บางครง้ั แมก่ ย็ ำ� ปลากระปอ๋ ง ปลาทแ่ี มท่ อดกเ็ ปน็ ปลาทพ่ี อ่ ไปหามาจาก คลองน้�ำหน้าบ้าน พ่อไปมุดน�้ำแล้วเอาเหล็กแหลมยิงเอา บางครั้งพ่อได้มา เยอะมาก แม่ก็เอาหมักเกลือกับข้าวสุกท�ำเป็นปลาส้ม แต่บางคร้ังแม่ก็เอาไป แบ่งให้ยายกับย่ากินด้วย วันไหนพ่อไม่หาปลาพ่อก็ไปส่องกบ ตอนกลางคืน ครอบครวั ของผมจะกินขา้ วพรอ้ มกนั กต็ อนเยน็ ครับ บางวนั ตอนเยน็ พ่อกจ็ ะไป เล่นฟุตบอล แม่ก็ไปเต้นแอโรบิค ส่วนผมก็ไปเล่นที่สนามเด็กเล่นในหมู่บ้าน พอวนั เสารอ์ าทติ ยบ์ างครงั้ พ่อกบั แมก่ ไ็ ปรอ่ นทอง พาผมไปดว้ ยครับ แม่บอกวา่ บ้านเราเป็นบ้านต้นน้�ำ อย่าท้ิงขยะลงคลองเพราะคนท่ีอยู่ปลายน้�ำ เขาใช้ น�้ำคลองน้ีเหมอื นกัน เดี๋ยวคลองนำ้� มนั จะสกปรก พ่อผมไม่กินเหล้าครบั แต่แม่ ซอ้ื หวย วนั พระ แม่กจ็ ะไปวดั พอตอนเย็นแม่ก็เกบ็ ดอกไมม้ าบชู าพระพทุ ธรปู บนห้ิงพระและไหวศ้ าลพระภมู ิ พอถงึ เดือนเมษายน โรงเรียนปดิ เทอม พวกรุน่ พ่ีก็บวชเณร ภาคฤดูร้อน ผมไม่ได้บวชครับ แม่บอกว่ายังเด็กอยู่ พอถึงวัน สงกรานต์ แม่ก็จะพาผมไปรดน�้ำขอพรจากยายและย่า พอถึงงานบุญบ้ังไฟ ผมชอบมากครบั เพราะมันสนกุ คนเยอะมาก พวกเขาจะพากันไปดูขบวนแห่ บง้ั ไฟเอ้ และดูการแข่งขนั จุดบ้งั ไฟ จดั เวลาพอถึงเดอื นกันยายน ก็เป็นช่วงฤดู ผลไมค้ รับ ต�ำบลภเู ขาทอง ผลไม้เยอะมาก มีทั้งทุเรยี น เงาะ ลองกอง มังคุด ละไม และยงั มีผลไม้ป่าอีกดว้ ย มีลงั แข ระก�ำ ลูกกอ ลูกกะ เปน็ ตน้ พอปีใหม่ แม่ก็จะพาผมไปแลกของขวัญท่ีศาลาหมู่บ้าน บางปีก็จะมีดนตรีของคนแก่มา
เรื่องดีๆ ทบี่ า้ นเรา 31 เล่นให้ดู เป็นดนตรีอีสานวงพิณพาเพลิน ต�าบลของผมมีธรรมชาติท่ีสวยงามมี ภเู ขา ปา่ ไม้ ทะเลหมอก มนี า�้ ตก และมีต้นกะพงยักษ์ พระราชินีกับเจ้าฟา้ ชาย ยังเคยเสด็จทอดพระเนตรและยังมีโครงการพระราชด�าริที่มีประโยชน์ กับชาวบ้านอีกหลายโครงการ เช่น โครงการฝายทดน�้า หรือประปาหมู่บ้าน ของในหลวง ชาวบ้านยังคงใช้น้�ากิน น�้าอาบ ใช้น�้าเลี้ยงปลา ใช้น�้ารดน้�าผัก โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน�้าไอกาเปาะ ชาวบ้านยังคงใช้ไฟฟ้าเป็นแสงสว่าง ยามคา�่ คืน ใชไ้ ฟฟ้าหงุ ขา้ ว ดูทวี ี และระบบเสยี งตามสายของหมบู่ ้านโครงการ ฟารม์ ตัวอย่างของพระราชินี ชาวบ้านได้ทา� งานรับจา้ งในโครงการ ชาวบ้านได้ ซอื้ ไขไ่ ก่ ซือ้ ปลาและผักในราคาถกู โครงการสวนป่าสริ ิกติ ์ิ ยังคงเปน็ ปา่ ทอี่ ดุ ม สมบูรณ์เป็นป่าต้นน้�า ของแม่น้�าสายบุรีและแม่น�้าโก-ลก เป็นป่าท่ีให้อากาศ บริสุทธ์ิให้คนภูเขาทองได้หายใจและยังคงเป็นป่าท่ีคนไทยได้ศึกษา ท่องเท่ียว และพกั ผ่อน น่ีแหละครบั เรอ่ื งเลา่ ดีดที ี่บ้านผมยงั มีอกี มากครบั ที่ผมไม่ได้เขียน รวมท้งั โครงการพระราชดา� รอิ ีกหลายอยา่ งท่ไี ม่ไดเ้ ล่าครบั
32 เร่อื งดีๆ ทบ่ี ้านเรา เรอ่ื งดีๆ ท่บี า้ นเรา เด็กหญิงกลุ จริ า หยังสู ผู้อาวุโสในหมู่บ้านท่าชะมวงของฉันคือคุณตาของฉัน ท่านได้เล่า เกี่ยวกับวิถีชีวิตตลอดจนถึงอาหารคาวหวาน ซ่ึงมีกันมาอย่างช้านานแล้ว ฉันรู้สึกสนใจประทับใจในขนมประจ�ำถิ่นในหมู่บ้านท่าชะมวงของฉันจนท�ำให้ ฉันได้น�ำมาใชใ้ นชีวิตประจ�ำวันและใชใ้ นการเรียนในโรงเรียนของฉันไดอ้ กี ด้วย คณุ ตาของฉนั ชอื่ นายหยาด รา่ เหม ทา่ นอายุ ๗๐ ปแี ล้ว แตท่ ่านได้ เสยี ชีวติ ลงแลว้ แต่ท่านกไ็ ดฝ้ ากสิง่ ดีๆ ไวใ้ ห้กับฉันมากมาย เชน่ วิธีการท�ำขนม ในทอ้ งถนิ่ คณุ ตาของฉนั ทา่ นเปน็ คนทท่ี ำ� ขนมเกง่ มาก ทา่ นยงั สอนใหฉ้ นั ทำ� ขนม อีกด้วย และขนมท่ที า่ นสอนให้ฉนั ท�ำคอื ขนมโกยบูดะ ซงึ่ เป็นชื่อเรียกในภาษา ถ่นิ แตภ่ าษากลางเรียกว่า ขนมบหุ งาบูดะ สามารถใชใ้ นงานเทศกาลงานมงคล ทง้ั ชาวพทุ ธและชาวอสิ ลามและขนมบหุ งาบดู ะยงั เปน็ สนิ คา้ OTOP ของจงั หวดั สตูล ระดับ ๔ ดาวในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ตอนน้ีฉันคดิ ว่านา่ จะเพิ่มเปน็ ๕ ดาวแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เพราะเป็นที่นิยมของบุคคลท่ัวไป เป็นของฝากอันดับ ๑ ของจังหวัดสตูล แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชอบในรสชาติ ความหอมอร่อย เปน็ ความแปลกใหมข่ องขนม คนทจี่ ะท�ำขนมบหุ งาบดู ะตอ้ งมคี วามมงุ่ มนั่ ตง้ั ใจ และก็ตอ้ งใจเยน็ เวลาทำ� กต็ ้องใสใ่ จด้วย ในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมาทางโรงเรียนของฉันได้ให้นักเรียนท�ำขนม เพื่อจะน�ำไปละศีลอดที่มัสยิด ฉันรวมกลุ่มกับเพ่ือนในห้องท�ำขนมบุหงาบูดะ เพ่ือนๆ ทุกคนก็ต่างท�ำไม่เป็น แต่ฉันท�ำเป็นเพราะคุณตาของฉันท�ำให้ฉันกิน
เรือ่ งดีๆ ทบี่ ้านเรา 33 ตั้งแต่เล็กๆ อยู่ จนฉนั จา� รสชาติและกล่ินได้แม่นแล้ว ฉนั กเ็ ลยเป็นผู้นา� ในการ ท�าขนมในครั้งน้ัน คุณครูรู้สึกชอบใจท่ีนักเรียนท�าได้โดยท่ีครูไม่ต้องแนะน�า เมื่อท�าเสรจ็ ฉนั แบ่งส่งครู อีกส่วนนา� ไปละศลี อดท่ีมสั ยดิ ส่วนทฉ่ี นั นา� ไปสง่ ครู ฉันได้ ๑๐๐ คะแนนเต็ม และเมื่อฉันน�าขนมไปละศีลอดที่มัสยิดทุกคนก็ต่าง ชมกลุ่มของฉัน ฉันรู้สึกภาคภูมิใจมากท่ีฉันมีคุณตาซ่ึงเป็นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เปน็ ผู้สอนให้ฉนั ทา� ขนมเปน็ เก่งและอรอ่ ยด้วย จากการทฉี่ ันทา� ขนมบหุ งาบูดะ จนทา� ให้ฉันเป็นทย่ี อมรบั จากเพ่ือน คุณครู และชมุ ชนในหมบู่ า้ นของฉนั ทา� ให้ เกิดแรงบันดาลใจท่ีจะพัฒนาการท�าขนมบุหงาบูดะให้ดียิ่งข้ึนเป็นท่ียอมรับ ของคนท้ังประเทศ เม่ือฉันเรียนจบไม่ว่าจะจบสาขาไหนก็ตามแต่ฉันจะไม่ลืม การทา� ขนมบหุ งาบูดะ ซ่ึงเปน็ สงิ่ ดๆี ที่บ้านเรา
34 เรื่องดๆี ทบ่ี า้ นเรา เร่อื งดีดีท่บี ้านเรา เด็กหญงิ กลุ ภรณ์ เซง่ ฮวด น้องแป้งหอม ด.ญ.กุลภรณ์ เซง่ ฮวด อายุ ๑๒ ขวบ นกั เรยี นชน้ั ป.๖/๑ โรงเรยี นอนบุ าลสงขลา จงั หวดั สงขลา อาสามาเลา่ เรอ่ื งดี ๆ ทบี่ า้ นเรา (แปง้ หอม) ครอบครวั “แปง้ หอม” เป็นครอบครัวเลก็ ๆ ในต�ำบลบ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ครอบครัวเล็กๆ แต่มีความสุขมากๆ คุณพ่อ-คุณแม่ เป็นคนรักครอบครัว รักลูกมาก คุณพ่อมีอาชีพเป็นเซลล์แมน เป็นคนดี ไม่เล่นการพนัน ไม่เท่ียว กลางคนื ไมเ่ จา้ ชู้ ไมด่ ม่ื เหลา้ ไมส่ บู บหุ ร่ี ไมเ่ คยพดู คำ� หยาบกบั ลกู กบั คณุ แม่ สว่ น คุณแม่เป็นแม่บ้านและท�ำกิจการซัก-รีด คุณแม่เป็นคนชอบความสะอาดขยัน และมคี วามกตญั ญตู ่อคณุ ตาคณุ ยายมาก และทส่ี ำ� คญั คอื ทำ� กบั ข้าวอรอ่ ยจรงิ ๆ นะคะ ใครไดร้ บั ประทานฝีมอื คณุ แมจ่ ะต้องตดิ ใจ พ่ชี ายของแป้งหอมมี ๑ คน ร้องเพลงเพราะมากและใจดี ชอบร้องเพลงให้แป้งหอมฟังบ่อยๆ และสอน การบา้ นหรอื ท�ำการบา้ นให้เวลาแป้งหอมท�ำไม่ได้ น้องชายแป้งหอมอีก ๑ คน เป็นเด็กเรียนหนังสือเก่ง เป็นคนประหยัด กลับจากโรงเรียนจะต้องเหลือเงิน มาเก็บทุกวัน บางคร้ังถ้าน้องอารมณ์ดีๆ ก็จะน�ำเงินที่เก็บไว้นั้นมาเลี้ยงขนม แปง้ หอมเปน็ ประจำ� เวลาผา่ นไปต้งั ๑๒ ปี ทน่ี ี่ จ.สงขลาบา้ นเกิดของแปง้ หอม นา่ เสยี ดาย และนา่ จดจำ� ไปตลอดชวี ิตเพราะอีกไมก่ ี่วัน แปง้ หอมกจ็ ะยา้ ยไปอยู่ จ.อุบลราชธานบี า้ นเกิดของคุณแมไ่ ปเรยี นตอ่ มัธยม ๑ ทนี่ ่ันคะ่ จงึ ขอถ่ายทอด ความรกั ความผูกพัน ทีม่ ตี ่อบ้านเกดิ มาเป็นเน้อื เร่อื งดงั ตอ่ ไปน้ี อ.เมอื ง จ.สงขลา เปน็ เมอื งสงบเรยี บงา่ ยบรรยากาศในเมอื งนคี้ ลาสสกิ สุดๆ สถานท่ีต้ังติดทะเล อ่าวไทย ชายหาดสวยสะอาด ผู้คนไม่พลุกพล่าน
เรือ่ งดๆี ที่บ้านเรา 35 ถ้าวันไหนไปชายหาดแหลมสมิหลา หรือ หาดชลาทัศน์ก็ไม่ต่างกับอยู่ในบ้าน หมายถึงความอบอุ่นใจ ความปลอดภัย พระอาทิตย์ข้ึนท่ีไหนก็ไม่สวยเท่าท่ี แหลมสมิหลาและชายหาดสวนสน สวนสองทะเลเป็นแหลมท่ีย่ืนออกไป ในทะเลที่ก้ันระหว่างอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา เป็นสถานที่อีกท่ีหน่ึงท่ี สวยงามและทรงคณุ คา่ กบั วถิ ชี ีวิตของชาว จ.สงขลา มสี ่ิงศกั ดส์ิ ิทธ์ิให้กราบไหว้ บชู าทีน่ น้ั “กรมหลวงชมุ พรเขตอุดมศกั ด”ิ์ “เสด็จเตี่ย” ยืนตระหง่านหนั หน้าสู่ ทะเลทั้งสอง บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นก�ำลังใจให้ชาวเรือในการ ออกไปท�ำมาหากิน บวกกับพญานาคพ่นน้�ำและหลวงปู่ทวดเขาแดงอยู่ติด ทะเลสาบ อีกฟากฝั่ง พวกเราชาวสงขลาไปท่ีน่ันก็ต้องยกมือไหว้อธิษฐานจิต ขอพรจากท่านทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ท่ีสุดในประเทศไทย เป็นทะเลสาบท่ีหล่อเล้ียงชีวิตคนมานานแสนนานและตลอดไป คุณค่าของ ทะเลสาบสงขลา เหนือคำ� บรรยายใดๆ ท้ังปวง การเดินทางข้ามทะเลสาบมแี พ ขนานยนตข์ ้ามไปมาสะดวกใช้เวลาเพียง ๑๐-๑๕ นาที ปลอดภัยประหยัดเวลา และน้�ำมันรถ และอีกทางหนึง่ คอื สะพานท่ยี าวทส่ี ุดในประเทศไทย “สะพาน ติณสูลานนท์” มี ๒ ช่วงเป็นสะพานที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวสงขลา เปน็ ทส่ี ดุ สวยงามกวา่ ทไ่ี หน ยงิ่ ในเวลากลางคนื แสงไฟบนสะพานมองแลว้ ภมู ใิ จ จับใจเป็นที่สุด สะพานของโลกประเทศไหนๆ ก็สู้ไม่ได้ พระอาทิตย์ขึ้นทาง อ่าวไทยในตอนเช้า ส่องแสงสาดใส่แม่นางเงือกทองหน้าไปชมท่านเป็น ความบงั เอญิ หรอื เทวดาจงใจใหแ้ สงประกายทแี่ มน่ างเงอื กทองไปตกทท่ี ะเลสาบ ในตอนเย็น เวลาพระอาทิตย์ตกตอนเย็นเหมือนภาพวาดยังไงอย่างง้ัน มีน้�ำ ภเู ขา ดวงอาทติ ยต์ กบวกกบั เรอื ลำ� เลก็ ๆ ๒-๓ ลำ� ทท่ี อแสงกบั พระอาทติ ยจ์ งึ เปน็ ท่ีมาของภาพแสงสุดท้ายที่เกาะยอ สวยบาดตาบาดใจ อ.เมือง จ.สงขลา พร้อมไปด้วยสถานท่ีราชการส�ำคัญๆ โรงเรียน มหาวิทยาลัย โบราณสถาน โบราณวตั ถุ พูดงา่ ยๆสามารถเปน็ แบบเมืองจำ� ลองทท่ี กุ ๆ เมืองควรจะเอาเปน็ ตัวอย่าง มีบ้าน ชุมชนใกล้โรงเรียน ใกล้วัด ใกล้ตลาด ใกล้สถานที่ราชการ
36 เรื่องดีๆ ทบ่ี ้านเรา ใกล้โรงพยาบาล ใกลส้ ถานท่ีท่องเท่ียว พกั ผอ่ นหยอ่ นใจ ทำ� ใหด้ ำ� เนนิ ชวี ิตงา่ ยๆ สบายๆ ประเพณีและวัฒนธรรมหลายอย่างเช่นงานท�ำบุญเดือนสิบเป็นการ ท�ำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับ อีกประเพณี คืองาน ตกั บาตรเทโวในวดั เทศกาลออกพรรษาและประเพณลี ากพระมกี ารประกวดเรอื พระ คุณพอ่ จะพาไปชมเรือพระของทกุ วัดกอ่ นการประกวดขึน้ ในวันรุ่งข้นึ แล้ว ก็ให้ทายกันว่าวัดไหนจะได้รางวัลที่หนึ่ง เรือพระของแต่ละวัดสวยงามมากๆ กิจกรรมงานเทศกาลอาหารสวนสองทะเลมีจัดขึ้นทุกๆ ปี เป็นงานรวม อาหารอร่อยๆ มาจ�ำหน่ายเช่นปลาทะเลสารพัดหมกด้วยเกลือ ปลาซาบะเผา มกี ารแสดงของศลิ ปนิ ทกุ คนื ใหไ้ ดช้ มกนั ฟรๆี และมกี ารประกวดนางสาวสมหิ ลา สวยกันทุกคน งานน้ีแป้งหอมไม่พลาด อีกกิจกรรมท่ีต้องขยาย ถนนคนเดิน “สงขลาแต่แรก” ทุกเย็นวันศุกร์-เสาร์จัดข้ึนที่ริมก�ำแพงเมืองเก่าสงขลา มกี ารออกบทู ของพอ่ คา้ แมค่ ้ามากมายมขี องกินหรอยๆ ของกนิ แนวแตแ่ รกเช่น ข้าวหอ่ ใบบัว ขนมจาก ขนมดู การแสดงของเยาวชนของแต่ละโรงเรียนมาเล่น แบบอิสระ บางกลุ่มมาเล่นดนตรี บางกลุ่มมาเล่นโชว์ บางกลุ่มมาแสดง สิ่งท่ีตัวถนัด ท่ีเด็ดที่สุดคือมีการเปิดบ้านเกิดของป๋าเปรมหรือท่ีเรียกอย่างเป็น ทางการวา่ “พิพธิ ภัณฑ์ธ�ำมะรงค”์ ให้เขา้ ชม ล่าสดุ มรี ถรางชมเมือง “Singora Tram Tour” โครงการเท่ียวทง้ั เมือง “นงั่ รถชมเมืองเลา่ เร่อื งสงขลา” เรือ่ งเลา่ ตำ� นานเก่าแก่ เกาะหนู เกาะแมว หาดทรายแก้ว และเขาตงั กวนมที มี่ าส้ันๆ วา่ พ่อค้าชาวจีนมาค้าขายที่สงขลาเห็นหมากับแมวหน้าตาน่าเอ็นดู จึงขอซื้อ พาลงเรือไปด้วย หมากับแมวคิดจะหนีเพราะคิดถึงบ้าน จ.สงขลาโดยให้หนู ขโมยดวงแกว้ วเิ ศษ ซงึ่ ท�ำใหล้ อยน�ำ้ ได้ หนกู เ็ ขา้ ไปลกั ดวงแกว้ วเิ ศษอมไวใ้ นปาก แลว้ ทง้ั สามหนลี งจากเรอื วา่ ยนำ�้ จะไปขน้ึ ฝง่ั ทห่ี นา้ เมอื งสงขลา ขณะทวี่ า่ ยนำ้� มา ด้วยกันทั้งสามก็คิดโลภอยากจะได้ดวงแก้ววิเศษมาครอบครอง ใกล้กับฝั่งจึงมี การแย่งดวงแก้ววิเศษกันจนดวงแก้ววิเศษตกลงจมหายไปในทะเลทั้งหนูและ
เร่อื งดีๆ ที่บ้านเรา 37 แมว ไม่อาจว่ายน้า� ตอ่ ไปไดจ้ ึงจมกลายเปน็ “เกาะหนู เกาะแมว” สว่ นหมาก็ ตะเกียกตะกายว่ายน้�าไปจนถึงฝั่ง แต่ด้วยความเหน็ดเหน่ือยจึงขาดใจตาย กลายเป็นหนิ เรียกว่า “เขาตงั กวน” ดวงแก้ววเิ ศษแตกแหลกละเอยี ด เป็นหาด ทรายเรยี กสถานทนี่ ว้ี า่ “หาดทรายแกว้ ” นทิ านเรอื่ งนใ้ี หแ้ นวคดิ วา่ อยา่ โลภมาก ให้มีความสามัคคีและแบ่งปันเอื้อเฟื้อต่อกัน หลังจากฟังเร่ืองราวถ้าหิวกัน ขอแนะน�าเมนูเด็ดของ อ.เมือง จ.สงขลา กันเลยค่ะ ข้าวเหนียวบอก โจ๊กเกาะไทย สตรู า้ นเกียดฟงั ไอติมโอ่ง ร้านยวิ ไอศกรมี ใสไ่ ข่ ตง้ั อยู่ ถ.นางงาม ทงั้ หมด ๑๒ ปี ที่นที้ บ่ี า้ นแปง้ หอมจะอยูใ่ นความทรงจ�าเพือ่ ได้ถ่ายทอดเมอื งท่ี ดีมีคุณภาพด้านชีวิตการเป็นอยู่ คุณภาพทางสังคมความไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินไป ความพอเพียงและเพียงพออนาคตของแป้งหอมอีกยาวไกล โตขึ้นแป้งหอม อาจจะเป็นนักพัฒนาสังคมคล้ายๆคุณปวีณา เป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นก�านันหรือ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด หรืออาจเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนท่ีเท่าไหร่ของ ประเทศไทยกไ็ ด้ จะไดน้ า� สง่ิ ดๆี ทเี่ กดิ ขนึ้ กบั ชวี ติ แปง้ ไปพฒั นาบา้ นเมอื งของเรา ให้ดีเหมือนที่น่ีได้เพราะคิดว่าที่นี่ จ.สงขลา ดีท่ีสุดแล้ว รักครอบครัวและรัก เมืองสงขลามากๆ แลว้ เจอกันค่ะแปง้ หอม (จ�าช่อื ไว้นะคะ) “ยนิ ดตี ้อนรบั สู่หาดสมหิ ลา”
38 เรือ่ งดๆี ท่บี า้ นเรา เรอ่ื งดๆี ทบี่ า้ นเรา เด็กหญงิ คอซอี ะห์ สะมานิ “ทักษิณราชต�ำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน” น่ีเป็นคำ� ขวัญประจ�ำจังหวัดนราธิวาส ซงึ บง่ บอกว่า บ้านของเรามแี ตส่ ่ิงทีด่ ๆี เปน็ สถานทีท่ ่นี ่าอยู่ หมบู่ า้ นของหนกู เ็ ชน่ กนั เปน็ หมบู่ า้ นเลก็ ๆ ชอื่ วา่ บา้ นตามงุ ซง่ึ ตงั้ อยใู่ น หมทู่ ี่สอง ต�ำบลเชิงคีรี อ�ำเภอศรสี าคร จังหวดั นราธวิ าส เปน็ หมู่บ้านทีน่ ่าอยู่ คุณยายเคยเล่าว่าเม่ือก่อนหมู่บ้านแห่งน้ีเป็นป่าเชิงเขา มีสัตว์ร้าย มากมายอาศัยอยู่โดยเฉพาะเสือ ผู้คนเริ่มเข้ามาสร้างบ้านและท่ีอยู่กัน ทำ� การ เพาะปลูกและเล้ียงสัตว์ได้ผลดีเพราะมีแหล่งน้�ำที่อุดมสมบูรณ์มีคลองอยู่ สองสาย คอื คลองไอวเ่ี ลก็ และคลองไอวใ่ี หญ่ อกี ทงั้ ยงั มนี ำ�้ ตกทส่ี วยงามอกี ดว้ ย ยายบอกวา่ เมอ่ื กอ่ นนบี้ างครง้ั จะมเี สอื รา้ ยมาคอยกดั กนิ สตั วเ์ ลย้ี งทชี่ าวบา้ นเลย้ี ง อยู่บ่อยๆ ส่วนช้างป่าก็จะมากินและท�ำลายพืชผักที่ชาวบ้านปลูกไว้เหมือนกัน แต่เมื่อมีคนมาอาศัยกันมากขึ้น สัตว์ป่าท่ีดุร้ายก็ค่อยๆ หายไปเข้าไปอยู่ใน ปา่ ลกึ แตว่ า่ ปจั จบุ นั นกี้ ย็ งั มชี า้ งปา่ บกุ รกุ เขา้ มาท�ำลายพชื ผลการเกษตรของชาว บา้ นอยบู่ อ่ ยๆ คงเปน็ เพราะในป่าไมม่ ีอาหารกนิ แนเ่ ลย สวนยาง สวนลองกอง และตน้ กลว้ ยของคณุ ตาของหนกู โ็ ดนชา้ งปา่ ทำ� ลายเหมอื นกนั คณุ ตากบั คณุ ยาย ตา่ งก็เสยี ใจและเสียดายมาก เพราะวา่ กว่าต้นไม้ทปี่ ลกู จะโตและเกอื บจะได้กิน ไดก้ รดี ยางกต็ อ้ งถกู ชา้ งมาหกั มาทำ� ลายเหลอื เพยี งไมก่ ตี่ น้ เทา่ นนั้ คณุ ตาบอกวา่ ไม่เป็นไรเดี๋ยวเราค่อยท�ำรั้วให้แข็งแรงกว่าเดิมแล้วค่อยปลูกใหม่ก็ได้ ช้างคงไม่ ใจรา้ ยกบั เราทกุ ครั้งไปหรอกนะ
เรอื่ งดๆี ทบี่ า้ นเรา 39 ในหมู่บ้านของหนูยังมีสถานท่ีส�าคัญอีกแห่งหนึ่งก็คือ สนามฟุตบอล ตอนเย็นๆ พวกเด็กๆ ก็จะไปเล่นกันที่สนามแห่งน้ีเป็นประจ�าทุกวัน ทุกคนมี ความสุขมากทไ่ี ดม้ าร่วมกันเลน่ ที่สนามแหง่ น้ี ยายเล่าว่า เม่ือก่อนสนามแห่งน้ี ไมไ่ ดเ้ ปน็ สนามอยา่ งนี้ เพราะวา่ มนั เปน็ บงึ นา�้ ขนาดใหญแ่ ละมคี วามลกึ มาก หนู กไ็ ม่ทราบวา่ ทา� ไมปัจจุบันนจี้ ึงกลายมาเป็นสนามใหพ้ วกเราเด็กๆ ไดว้ ่ิงเลน่ กนั และตรงขา้ มกบั สนามกจ็ ะเปน็ มสั ยดิ ประจา� หมบู่ า้ น คณุ พอ่ และคณุ ตา ของหนู กจ็ ะไปทา� การละหมาดท่ีมสั ยดิ ทุกวนั วันละ ๕ เวลา ส�าหรับหนูและพวกผู้หญิง ส่วนใหญ่จะท�าการละหมาดท่ีบ้าน ถ้าจะไปที่มัสยิดก็จะเป็นช่วงที่มีกิจกรรม ส�าคัญเท่านั้น ซึ่งมัสยิดน้ันจะเป็นสถานที่ท่ีทุกคนให้ความส�าคัญ และสถานท่ี ทีจ่ ัดกิจกรรมตา่ งๆ ของหมบู่ ้าน คือ กจิ กรรมฮารีรายอ ซ่งึ จะมปี ีละ ๒ คร้งั คือ วันรายอปอซอ หรือ ตรุษอิดิลฟิตรี และวันรายอฮายี หรือ ตรุษอิดิลอัฎฮา พวกเราก็จะไปท�าการละหมาดขอพรกันท่ีมัสยิด หลังจากน้ันเราก็จะไปเยี่ยม ญาตกิ ัน ในวนั ส�าคญั อืน่ ๆ กจ็ ะมกี จิ กรรมเมาลดิ กจิ กรรมกวนอาซูรอ ชาวบา้ น ทุกคนก็จะร่วมกันท�าอาหารที่มัสยิดและร่วมกันรับประทานอาหารกันอย่างมี ความสุข นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายท่ีจะสร้างความสัมพันธ์ อนั ดรี ะหวา่ งชาวบา้ นดว้ ยกนั เชน่ กจิ กรรมแขง่ ขนั ฟตุ บอลประจา� ปขี ององคก์ าร บริหารส่วนตา� บล เปน็ ตน้ ชาวบ้านในหมู่บ้านของหนูอยู่กันอย่างมีความสุขเพราะทุกคนมี ความรัก มีความสามัคคีกัน ให้ความช่วยเหลือกัน ทุกคนไม่เห็นแก่ตัวกัน และทุกคนก็เป็นคนดี ถ้าทุกคนในประเทศไทยเป็นคนดี มีความสามัคคีกัน ประเทศของเราก็จะอยูก่ นั อยา่ งมคี วามสุข
40 เรือ่ งดีๆ ที่บา้ นเรา วิถชี ีวติ ชาวนา สเู่ สน้ ทางแหง่ เมล็ดขา้ ว เดก็ หญงิ ชลัดสดา ชขู จร จากขา้ วคำ� แรกทแ่ี มใ่ หม้ าตงั้ แตฉ่ นั ยงั อยใู่ นทอ้ ง จนกระทง่ั นำ�้ นมทก่ี ลน่ั จากค�ำขา้ วใหฉ้ นั ดมื่ กนิ แมป่ อ้ นขา้ วเลย้ี งดฉู นั จนเตบิ ใหญด่ ว้ ยเมลด็ ขา้ วทไี่ ดม้ า จากหยาดเหงื่อแรงงานของพ่อ แม่ จากผืนนาท่ีตกทอดมาแต่ปู่ ย่า ตา ยาย ฉันมีพ่ีน้องทั้งหมด ๓ คน ผู้ชาย ๒ คน ผู้หญิง ๑ คนคือฉัน ชีวิตที่ทั้งพ่อ และแม่ไม่เคยให้อดข้าวแม้เพียงม้ือเดียว พ่อและแม่จะไม่ยอมขายข้าวในลอม จนกว่าจะเหน็ รวงขา้ วจากฤดูกาลใหม่ ท้องทุ่งที่ครอบครวั ของเราใช้ทำ� นาปลูก ขา้ วนนั้ อยู่ในท�ำเลทีเ่ หมาะสม มีเนอ้ื ดินอุดมด้วยแรธ่ าตทุ ตี่ ้นข้าวตอ้ งการ การปลูกข้าวหรือการทำ� นามีหลายประเภทข้ึนอยู่กับสภาพพื้นที่และ ฤดูกาล ข้าวเป็นพืชตระกูลเดียวกับหญา้ ต้นขา้ วไมม่ รี ากแกว้ แต่มรี ากฝอยแผ่ ยึดกับดิน ล�ำต้นเป็นปล้องตรง และมีโพรงข้างใน ใบเรียวยาว มีสีเขียวเข้ม ตน้ ขา้ วอาจจะถกู รบกวนดว้ ยวชั พชื และเชอ้ื โรคหลายชนดิ ทท่ี �ำใหเ้ กดิ โรคระบาด สัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู นก หอยและปู ก็เป็นศัตรูพืชตัวร้ายท่ีท�ำลายต้นข้าว ต้ังแต่ต้นอ่อนจนถึงออกรวงจากเมล็ดพันธุ์ ข้าวถูกเพาะจนมีรากงอกและ แตกยอดเป็นต้นกล้า ต้นกล้าใช้ชีวิตเติบโตประมาณสี่สิบวัน จึงจะแตกหน่อ ออกมาจากโคนต้นแต่ละต้นมีห้าถึงสิบห้าหน่อ ข้าวแต่ละหน่อออกช่อดอก เป็นรวงข้าวหนงึ่ รวง รวงข้าวแต่ละรวงมดี อกประมาณหนงึ่ ร้อยถึงสองร้อยดอก ดอกข้าวแต่ละดอกจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศเพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย
เร่อื งดๆี ทบี่ ้านเรา 41 อยู่ในดอกเดียวกัน ดอกข้าวบานจากปลายรวงสู่โคนรวงภายในหน่ึงสัปดาห์ ดอกทบ่ี านแลว้ จะมกี ารผสมเกสรในเวลาเชา้ โดยละอองเกสรตวั ผจู้ ะตกลงไปผสม กบั ไขท่ อี่ ยดู่ า้ นในของเกสรตวั เมยี หลงั จากการผสมเกสรแลว้ จะเกดิ เปน็ ผลของ ข้าวหรือที่เรียกกันว่าเมล็ดข้าว ภายในเมล็ดประกอบด้วยส่วนที่เป็นแป้งหรือ เนอื้ ขา้ วหรอื สว่ นทใ่ี ชข้ ยายพนั ธต์ุ อ่ ไป เมลด็ ขา้ วใชเ้ วลาประมาณหนงึ่ เดอื นจงึ จะ เสร็จเต็มท่ี ทั้งล�ำต้นและรวงจะเริ่มแห้งและกลายเป็นสีเหลืองทอง ชาวนา เกย่ี วขา้ วทง้ั รวงแลว้ น�ำไปนวดเพอื่ แยกเมลด็ จนสดุ ทา้ ยเหลอื เพยี งฟางขา้ วแหง้ เมล็ดข้าวมีคุณค่าทางอาหารและขนมนานาชนิด นอกจากน้ีส่วนต่างๆ ของขา้ ว รำ� ข้าวและแกลบก็ยงั สามารถน�ำมาใช้ทำ� ประโยชน์ไดม้ ากมาย เม่ือย่างเข้าสฤู่ ดูทำ� นา ฝนจะตกชาวนาจะหว่านขา้ ว เม่อื เมลด็ ขา้ วงอก และต้นข้าวโตพอทจ่ี ะด�ำได้ ชาวนาจะไปท�ำนาแต่เช้าตรู่ สว่ นมากจะน�ำอาหาร ไปรับประทานตอนเที่ยงด้วย ชาวนาจะต้องแต่งกายให้มิดชิด จะต้องสวมเส้ือ แขนยาว สวมหมวกหรืองอบเพ่ือกันแดด ในฤดูท�ำนาจะมีแดดจัดและฝนตก เมื่อฝนตกชาวนาจะต้องมีที่กันฝนเพราะจะต้องอยู่ท่ีกลางแจ้งตลอดเวลา ส่วนมากจะท�ำเสื้อกันฝนจากถุงพลาสติกที่ได้มาจากกระสอบปุ๋ยซึ่งเป็นการ ประหยัด ไม่ต้องซอื้ เสื้อกันฝน ในฤดทู ำ� นาทท่ี งุ่ นาจะมบี รรยากาศทค่ี รกึ ครน้ื ชาวนาบางคนทำ� นาพลาง ร้องเพลงไปพลาง และพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ชาวนาบางคนก�ำลังไถนา เพอื่ เตรยี มดนิ ไวด้ �ำนา บางคนก�ำลงั ดำ� นา บางคนก�ำลงั ถอนตน้ กลา้ เพอ่ื ไปปลกู อีกที่หน่ึงท่ีเตรียมไว้แล้ว และชาวนาบางคนก�ำลังตกแต่งต้นข้าวที่มีอยู่แล้วให้ สวยงามเช่น ถอนวัชพืชท้ิง และสร้างความสมดุลให้กับต้นข้าวโดยไม่ให้ลำ� ต้น ของตน้ ขา้ วหา่ งหรือชิดกันมากเกินไป และจะมตี ้นขา้ วที่ไมต่ ้องการ เราเรียกว่า “ข้าวผี” เราจะดูว่าข้าวต้นไหนเป็นข้าวผีหรือข้าวดีให้ดูท่ีลักษณะของล�ำต้น และสะดอื ของขา้ ว บางคนอาจจะไมร่ จู้ กั สะดือข้าว สะดือข้าวจะเป็นขนเล็กๆ
42 เร่ืองดๆี ทีบ่ า้ นเรา อยู่รอบๆ ล�ำต้นของข้าว ถ้าเป็นข้าวผี สะดือข้าวจะมีสีด�ำ ล�ำต้นของข้าวผี จะแตกต่างจากล�ำต้นของข้าวดีคือล�ำต้นของข้าวผีจะแตกกอเตี้ยๆ ออกข้างๆ ไมส่ งู ใบเรยี ว ซง่ึ เปน็ ขอ้ มูลท่ีพ่อแมป่ ่ยู ่าตายายของฉันไดบ้ อกกลา่ วมา ชาวนา ตอ้ งถอนขา้ วผที ง้ิ เพราะถา้ ไมถ่ อนทงิ้ เมอื่ ออกรวงจะมหี างออกมาจากเมลด็ ขา้ ว ทำ� ให้ไมส่ ะดวกในการเกบ็ เกีย่ ว การด�ำนาจะต้องมีเทคนิคในการด�ำเพราะถ้าเอารากของต้นข้าวฝังไว้ ในดนิ ไมถ่ กู วธิ กี จ็ ะทำ� ใหต้ น้ ขา้ วไมเ่ จรญิ เตบิ โต เรยี กวา่ “ การหกั หวั กลา้ ” ท�ำให้ รากข้าวเน่าและตายในท่ีสุด เวลาด�ำนาจะต้องเดินถอยหลังจัดช่องไฟระหว่าง ตน้ ขา้ วแตล่ ะกอใหเ้ ทา่ ๆ กนั ขา้ วแตล่ ะกอจะตอ้ งใชต้ น้ กลา้ สามถงึ สต่ี น้ รวมกนั แล้วด�ำลงไปในดินแต่ละคร้ัง จะต้องใช้ความรวดเร็วและความเป็นระเบียบ เมื่อถึงตอนเที่ยงชาวนาจะรับประทานอาหารเที่ยงกันตามคันนาซึ่งดูแล้ว สนกุ สนาน พอ่ แมบ่ อกฉนั วา่ เวลารบั ประทานอาหารเทยี่ งทที่ งุ่ นาอรอ่ ยมากกวา่ อยู่ท่ีบ้าน เพราะจะได้รับรู้รสชาติของข้าวท่ีแท้จริง ในบางคร้ังชาวนาจะไปหา ผักทีท่ งุ่ นามารับประทานกบั ขา้ ว เช่น ใบบัวบก ลูกมะแว้ง ยอดเลียบ ฯลฯ ซง่ึ ลว้ นแตเ่ ปน็ สมนุ ไพรทเ่ี กดิ ขน้ึ เองตามธรรมชาตไิ มม่ ยี าฆา่ แมลง เมอ่ื หมดฤดกู าล ท�ำนาท้องทุ่งนาจะเขียวขจี ต้นข้าวจะเจริญเติบโตเต็มท่ีพร้อมท่ีจะออกรวง ชาวนาจะตอ้ งดแู ลเปน็ อยา่ งดีโดยการใสป่ ยุ๋ และดูแลต้นขา้ วไม่ให้ศัตรูพืชมากัด กนิ ตน้ ขา้ ว ในบางครงั้ ชาวนาจะตอ้ งวางยาเบอ่ื หนหู รอื ปู ซงึ่ ลว้ นจะมมี ากขน้ึ ทกุ วนั จนปจั จบุ นั ทน่ี าบางทไ่ี มส่ ามารถปลกู ขา้ วไดเ้ พราะจะมศี ตั รพู ชื มากจนชาวนา ต้องยอมแพ้ ไม่คุ้มกับการลงทุน เม่ือข้าวออกรวงก็จะมีกล่ินหอมของรวงข้าว ทำ� ใหท้ อ้ งทงุ่ นาดสู ะพรง่ั ไปดว้ ยรวงขา้ ว รวงขา้ วทดี่ มี นี ้�ำหนกั จะโคง้ โนม้ ลงมาดู สวยงาม ส่วนรวงข้าวที่ไม่มีข้าวสารจะชูช่อช้ีตรงไม่โค้งไปตามแรงโน้มถ่วง ของโลก ซง่ึ สามารถเปรยี บไดก้ บั คนทด่ี มี คี า่ และคนทไี่ มด่ ไี มม่ คี า่ เมอื่ รวงขา้ วสกุ เต็มที่ท่ัวท้องทุ่งนาจะมีสีเหลืองอร่ามไปด้วยรวงข้าว ชาวนาเตรียมตัวเก็บ
เรอื่ งดีๆ ท่ีบา้ นเรา 43 เกี่ยวข้าวมาใสย่ งุ้ ฉาง บางคนจะจา้ งรถเกี่ยวขา้ ว แตบ่ างคนยังใชอ้ ุปกรณใ์ นการ เกี่ยวข้าวในสมัยโบราณอยู่ เชน่ เคยี วและแกะ เดก็ สมยั ปัจจบุ นั อาจจะไมร่ จู้ ัก “แกะ” เป็นอุปกรณ์เกี่ยวข้าวชนิดหน่ึงที่ใช้กันมานมนานแล้ว ซึ่งมีท่ีจับ และท่ีวางมือเป็นไม้กระดาน มีเหล็กคมอยู่ตรงกลางเพื่อตัดก้านของรวงข้าว เราจะตอ้ งจบั แกะใหถ้ กู วธิ เี พราะถา้ จบั ไมถ่ กู วธิ ี อาจจะทำ� ใหแ้ กะบาดมอื ได้ การ เก็บข้าวด้วยแกะเราจะต้องเก็บข้าวทีละรวงมารวมกันให้ได้หนึ่งก�ำมือและมัด รวมกันให้แน่นเรียกว่า “เรียง” การมัดเรียงข้าวเราจะใช้ต้นข้าวท่ีเก็บรวงข้าว แล้วมัด ซึ่งเรียกว่า “ซังข้าว” เราจะต้องมัดและหักก้านของรวงข้าวให้แน่น เพราะรวงข้าวอาจหลุดจากเรียงข้าวได้ เม่ือรวงข้าวเหี่ยว การทำ� นาจะมีการ ลงแขกช่วยเหลอื กัน หรือผลดั กนั ทำ� นาเรยี กวา่ “การซอมอื ” เช่นวนั ทห่ี นึ่งนาย ก มาทำ� นาใหน้ าย ข และวันทส่ี องนาย ข ก็มาท�ำนาใหน้ าย ก เพ่อื ให้งานเสร็จ เรว็ และไดป้ รมิ าณมาก ในการทำ� นาแตล่ ะปี ชาวนาจะตอ้ งดฤู กษด์ ยู ามดเี พอื่ ทำ� พิธีบชู าแมโ่ พสพเรียกวา่ “ การท�ำขวญั ข้าว ” ฉนั คดิ วา่ เมอ่ื ฉนั โตขนึ้ ฉนั จะตอ้ งท�ำนาและจะชกั ชวนพน่ี อ้ งชาวไทยมา ช่วยกันท�ำนา แม้ฉันจะมีอาชีพอ่ืน แต่ฉันจะไม่ท้ิงการท�ำนา เพราะการท�ำนา เปน็ อาชพี ทบี่ รรพบรุ ษุ ของเราท�ำมานานแลว้ เราควรอนรุ กั ษเ์ อาไวเ้ พอ่ื ลกู หลาน ของเรา เราไม่ควรซื้อข้าวของชาติอื่นมารับประทาน ข้าวของประเทศไทย เปน็ ขา้ วทมี่ คี ณุ ภาพดที สี่ ดุ ซงึ่ ฉนั เคยอา่ นการวจิ ยั มา ประเทศไทยมเี นอ้ื ทใี่ นการ ทำ� นามากมาย แมป้ ัจจบุ ันจะเกดิ ภาวะท่ีไมอ่ ำ� นวยตอ่ การปลูกข้าวแต่ขอให้คน ไทยทกุ คนพยายามปลกู ขา้ วรบั ประทานเอง โดยน�ำแนวทางตามพระราชด�ำรมิ า ปฏิบัติ เม่ือเราช่วยกันปลูกข้าวกันทุกพื้นท่ี คนไทยจะได้มีข้าวกินตลอดปี และสง่ ขายต่างประเทศ ข้าวไทยจะได้มีชือ่ เสยี งไปทั่วโลก น่ีคือวิถีชีวิตท่ีฉันได้ซึมซับมาเม่ือคร้ังเยาว์วัย เม่ือได้มีโอกาสบอกเล่า เร่อื งราวเส้นทางแหง่ เมลด็ ข้าว ฉนั หวังวา่ เรยี งความที่ฉนั บันทึกไว้คงมีส่วนชว่ ย
44 เร่ืองดๆี ท่บี ้านเรา ให้ทุกท่านรักเคารพและหวงแหนเมล็ดข้าว ด้วยความหวังร่วมกันว่า อัญมณี แห่งท้องทุ่งจะได้หล่อเล้ียงลูกหลานของเราให้อ่ิมเอมเกษมสุขในอ้อมกอดของ ผืนแผ่นดินอันเป็นท่ีรัก และยังมีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธี ซึ่งจัดขึ้นทุกปีเพ่ือให้ก�าลังใจชาวนาและเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองของเรายั่งยืน ตลอดไป เราอนุชนรุ่นหลังควรที่จะเรียนรู้และอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวนาเอาไว้ เพราะชาวนาเป็นกระดกู สนั หลงั ของชาติ และอาหารหลักของคนไทย คือขา้ ว ดังนน้ั ข้าวจา� เป็นตอ้ งอยู่คูค่ นไทยและชาตไิ ทยไปอีกนานแสนนาน
เร่อื งดีๆ ท่ีบา้ นเรา 45 เรื่องดีดที ่ีบา้ นเรา เดก็ ชายธรี ะ รชดามาเฉลมิ สวัสดีครับ คณุ น้อง เพ่อื นๆ คณุ พ่ี คุณอา คุณนา้ คุณลุง คุณป้า คณุ ตา คุณยาย และทุกๆคนที่ก�ำลังอ่านเร่ืองราวท่ีนัทอยากถ่ายทอดให้ทราบถึง ความสขุ กายสบายใจ ความภาคภูมใิ จท่ผี ม ด.ช.ธีระ รชดามาเฉลิม นกั เรียนช้นั ป.๓/๕ ร.ร.วเิ ชยี รชม จงั หวดั สงขลา อายุ ๙ ขวบเกดิ มาเปน็ คนไทย เชอ้ื ชาตไิ ทย สญั ชาตไิ ทย เปน็ คนไทยในภาคใต้ บา้ นของนทั นทั ขอคำ� ใชแ้ ทนตวั เองวา่ “นทั ” นะครบั เปน็ ชอื่ เลน่ ทคี่ ณุ ปา้ ตง้ั ให้ ตอนแรกเกดิ นทั มเี รอื่ งราวดดี ที เี่ กดิ ขนึ้ ในอดตี การด�ำเนินชีวิตในแต่ละวัน และความใฝ่ฝันในอนาคตที่จะท�ำให้บ้านของนัท หมายถึงจ.สงขลา รวมถึงความสงบสุข ความสวยงามอีก ๔ จังหวัด เป็น ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และทรพั ยากรทีไ่ มเ่ ปน็ ธรรมชาติ ขอน�ำเสนอเลยครับ ทุกๆ เช้า จันทร์-ศุกร์ นัทจะต้องต่ืนเช้าเพื่อไปใส่บาตร พระท่ีเดิน บิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน วันละ ๑-๒รูป ถ้าวันไหนตื่นไม่ทัน ก็จะไปตักบาตร ท่ีหน้า “วัดแจ้ง” ที่นั่นมีร้านขายอาหารไว้สำ� หรับใส่บาตรเป็นชุด ชุดละ ๒๐ บาท มีข้าว น�้ำ ขนมหวานมีพระเดินบิณฑบาตหลายรูปมากเพราะวัด ในตำ� บล บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา มีเกอื บ ๑๕ กวา่ วดั บ้านของนัทอยู่ใกล้กับ “วัดไทรงาม” “วัดแหลมทราย” คุณย่าเคยเล่าให้ฟังว่าสมัยสงครามโลก
46 เรื่องดีๆ ท่ีบา้ นเรา ครงั้ ท่ี ๒ สมยั คณุ ยา่ ยงั เปน็ เดก็ เครอ่ื งบนิ ทงิ้ ระเบดิ ลงมาตกใส่ “วดั แหลมทราย” แต่ระเบิดด้านไม่ท�ำงานซ่ึงคนสมัยนั้นถ้าได้ยินเสียงหวอ ก็จะว่ิงเข้าไปหลบใน “วดั แหลมทราย” กันหมด ทุกคนกป็ ลอดภัย พดู ถึงเร่อื งวดั นทั ได้มโี อกาสไป กราบไหวห้ ลายวดั เพราะคณุ พอ่ จะพาไปกข็ อแนะนำ� วดั ทปี่ ระทบั ใจ เมอื่ หลบั ตา น่ังสมาธิทีไรก็จะนึกถึง “พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล” “วัดเขากงมงคลมิ่งมิตร ปฎฐิ าราม” จ.นราธวิ าส อยากใหท้ กุ คนไปกราบไหวม้ ากมาก งดงามทสี่ ดุ ประทบั กลางแจง้ ขนาดใหญเ่ ป็นองคป์ ระธานในพ้ืนที่พุทธอทุ ยาน “วดั เขากงมงคลมง่ิ มิตรปฏิฐาราม” เป็นท่ีเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน อีก ๑ วัดท่ีต้องไป กราบไหว้ คอื หลวงปทู่ วด “วดั ชา้ งให”้ (วดั ราษฎรบ์ รู ณะ) อ.โคกโพธิ์ จ.ปตั ตานี เปน็ วดั ทเ่ี กา่ แกส่ รา้ งมาแลว้ กวา่ ๓๐๐ ปี เปน็ วดั ทม่ี ปี ระวตั ศิ าสตรเ์ กยี่ วกบั หลวง ปู่ทวดเหยียบน้�ำทะเลจืด ท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมา ระหวา่ งเมอื ง “ไทรบรุ ”ี กับ “วัดช้างให้” และไดส้ ั่งลกู ศิษย์ไว้วา่ ถา้ ทา่ นเดนิ ธุดงค์ไปมาระหว่างน้ันท่านได้มรณภาพให้น�ำศพไปท�ำการฌาปนกิจ ณ “วดั ช้างให”้ ต่อมาได้สรา้ งสถปู บรรจอุ ัฐิ ของทา่ นไวท้ ี่วัดชา้ งให้ ใหพ้ วกเราไป กราบไหว้ขอพรการเดินทางปลอดภัย มีทหาร คอยดูแลรักษาความปลอดภัย หลายจดุ และอกี ๑ วดั ทไี่ มอ่ ยากใหท้ กุ คนพลาด คอื “วดั คหู าภมิ ขุ ” หรอื วดั หนา้ ถำ�้ อ.เมอื ง จ.ยะลา ภายในวดั มถี ้�ำใหญป่ ระดษิ ฐานพระพทุ ธไสยาสนข์ นาดใหญ่ ภายในถำ�้ ยงั มหี นิ งอกหนิ ยอ้ ยและนำ้� ใสสะอาดไหลรนิ จากโขดหนิ สวยงามจรงิ ๆ ครบั กลบั เข้ามาชีวิตประจ�ำวัน จากน้นั นัทอาบน�้ำแตง่ ตัวเพอื่ จะไปโรงเรียนทุก เชา้ นทั จะตอ้ งรบั ประทานอาหารเชา้ กอ่ น อาหารโปรดตอนเชา้ ทกุ คนตอ้ งเชอื่ ถา้ ได้รับประทานคอื แกงสม้ ปลาข้ีตัง ฝีมือคณุ แมแ่ ล้วไดไ้ ข่เจยี วสักจานอร่อยท่ีสุด แต่เม่ือพูดถึงอาหารเช้าของบ้านเรามีอาหารหลายชนิดที่อยากน�ำเสนอขอจัด อนั ดับแค่ท็อป ๓ ไม่รวม แกงสม้ ปลาขตี้ งั ของคุณแมน่ ะครับอนั ดบั ๓ มขี า้ วย�ำ
เรอื่ งดีๆ ทบ่ี ้านเรา 47 ใบพันสมอหรือเรียกกันว่าข้าวย�ำนราธิวาสเป็นอาหารท่ีไม่แพ้ชาติใดในโลก แน่นอน แค่เห็นรายการเคร่ืองปรงุ กช็ นะแล้ว ประกอบดว้ ย น�้ำบดู ูสด มะพร้าว ค่ัว ปลาย่างฉีกฝอย พริกไทยปน่ มะมว่ งหรอื มะขาม ผักต่างๆ เช่นตะไคร้ ดอก ดาหลา ถว่ั ฝกั ยาว ถวั่ งอก ยอดตาเปด็ ลกู ไดเบา(กระถนิ ) ยอดหมกั แพ ยอดแหร (มะมว่ งหิมพานต)์ ยอดรวม ผักทุกชนิด....หั่นฝอย น�ำ้ บดู มู ี ๒ ชนิด คือบูดูเค็ม และบดู หู วาน เรียกว่าน�้ำเคยไปหารับประทานกนั ไดท้ ่ี จ.นราธวิ าส อนั ดบั ท่ี ๒ ได้แก่ “นาซิดาแฆ” เป็นภาษามลายูความหมายคือข้าวส�ำหรับคนอนาถา ชาวปตั ตานี เรยี กวา่ “ขา้ วมนั แกงไก”่ จะนยิ มรบั ประทานในตอนเชา้ นานๆ นทั จะได้รับประทานของแท้สักคร้ังอร่อยสุดยอดไปเลย(ไม่ได้ให้ไป จ.เลยนะครับ) ต้องไปหารบั ประทานที่ จ.ปตั ตานีของแท้แน่นอน มาถงึ อันดบั ท่ี ๑ เมนสู ดุ ยอด อาหารเช้าต้องที่นที่ ีเ่ ดียว จ.สตูลไปรับประทานชาชกั โรตี ขนั้ ตอนอร่อยสุดคอื การชกั แล้ว ก็ชัก ชกั ชกั ย่งิ ชักยาวเทา่ ไหร่ กย็ ่งิ อร่อยมากข้นึ เพราะจะทำ� ใหเ้ กิด ฟองทีห่ วานกลมกลอ่ มและต้องรบั ประทานกับโรตี จิม้ นม ถา้ ไปแลว้ ยงั ไม่อ่มิ ก็ เพม่ิ มะตะบะ รบั รองจะไมล่ มื จ.สตลู ไปชว่ั ชวี ติ รบั ประทานอาหารเชา้ เสรจ็ แลว้ กส็ วสั ดคี ณุ แมไ่ ปโรงเรยี นโดยคณุ พอ่ ขรี่ ถจกั รยานยนตไ์ ปสง่ ใชเ้ วลาเดนิ ทางจาก บา้ นถึงโรงเรียนไมเ่ กนิ ๕ นาที อากาศในตอนเช้าท่ีบ้านของนทั ดมี ากๆ อยูใ่ กล้ ทะเลสดชื่นที่สุดสูดหายใจให้ออกซิเจนเข้าไปเต็มปอด สมองปลอดโปร่ง เรียนหนังสือด้วยความตั้งใจ ให้เข้าใจและมีสมาธิกับการเรียนอย่างเต็มที่ ท�ำให้นัทมีผลการเรียนที่ดีเป็นอันดับต้นต้นของห้องและได้รับต�ำแหน่งเด็กดี ศรีวิเชียรชม ๒ ปีติดต่อกันแล้วนะครับ พอเลิกเรียนคุณพ่อก็มารับกลับบ้าน ผปู้ กครองของเพอื่ นๆ กม็ ารบั ลกู หลานของตวั เองบา้ นทกุ คนดเู หมอื นมคี วามสขุ กบั ชีวติ ท่เี รียบง่าย ไมว่ นุ่ วายไม่แกง่ แย่ง รถไมต่ ดิ ไมม่ ีควันพษิ มารบั เรว็ ก็ถงึ บ้าน เรว็ งา่ ยๆสบายสบายกันทุกคน สงขลาบ้านของนทั เปน็ เมืองทสี่ งบ นา่ อยู่จรงิ ๆ
48 เรือ่ งดๆี ทบ่ี ้านเรา กลับมาถงึ บ้านนัทจะตอ้ งไปออกก�ำลงั กายกบั คุณพอ่ ทำ� การบ้าน และทำ� แบบ ฝกึ หดั ทกุ วนั วนั ละ ๕๐ ขอ้ เพอื่ ตอ่ ไปจะไดช้ นิ กบั ขอ้ สอบ ทกุ เยน็ จะรบั ประทาน อาหารพรอ้ มกัน ๕ คน เวลา ๑ ทุ่มแลว้ กข็ ้นึ นอน อากาศช่วงน้ีคอ่ นขา้ งรอ้ น เพราะภาคใตข้ องเรามี ๒ ฤดู คอื ฤดฝู นกบั ฤดูรอ้ น ยงิ่ เวลาน้ีภาวะโลกรอ้ นขึ้น เรือ่ ยๆ เพราะฝมี อื ของพวกเราชาวมนุษย์ แตโ่ ชคดที ีแ่ ผน่ ดนิ ไทยโดยเฉพาะทาง ภาคใต้ของเรามีส่ิงศักด์ิคุ้มครอง ก่อนนอนต้องสวดมนต์ไว้พระให้คุ้มครอง และให้เรียนหนังสือเก่งๆ สอบได้ที่ ๑ และในช่วงปิดเทอมคุณพ่อ-คุณแม่ก็จะ พาไปเที่ยวต่างจังหวัดโดยจะเน้นเป็นจังหวัดภาคใต้ของเรา ขับรถไปสะดวกดี และสถานทสี่ วยงามเปน็ อนั ดบั ตน้ ๆ ของโลก “คุณพ่อบอกน่ะครับ” นทั ขอจดั อันดบั ความสวยงามความประทบั ใจ ความภูมิใจ ความต่ืนเต้น ความสวยงาม ที่สดุ เกาะหลเ่ี ปะ๊ และเกาะอาดงั เกาะราวี เกาะหนิ งาม เกาะจาบงั ของ จ.สตลู จอดรถทท่ี า่ เรือปากบาราและนงั่ เรือเรว็ ไปตง้ั ๓ ชวั่ โมง ตอนน่ังเรอื ต่นื เตน้ มาก สนุกที่สุดไปถึงเกาะหลีเป๊ะบริเวณหน้าเกาะเป็นโขดหินหาดขาวสะอาด มีจุด ชมพระอาทติ ยต์ กทส่ี วยงามทส่ี ดุ ของบรรดาเกาะทงั้ หลายในประเทศไทยทกุ คน ทอ่ี า่ นเรอ่ื งของนทั ตอ้ งไปกนั ใหไ้ ดน้ ะครบั ความตนื่ เตน้ อกี สถานทท่ี ่ี จ.สตลู เชน่ เดยี วกนั กค็ อื ถำ�้ เจด็ คต ตำ� บลนำ้� ผดุ อ.ละงู ภายในถำ�้ แบง่ เปน็ ๗ ชว่ งมบี รรยากาศ แตกตา่ งกนั บรรยากาศในถำ้� เงยี บสงดั แทรกดว้ ยเสยี งนำ้� ไหลสลบั กบั เสยี งลยุ นำ�้ และเสียงสนทนาจากผู้คนที่มาเท่ียวและส่ิงท่ีตื่นตาตื่นใจก็คือดวงตาวาววับกับ แสงไฟทส่ี อ่ งไปกระทบของกลมุ่ คา้ งคาวทเี่ กาะอยบู่ นเพดานถำ้� ดรู าวกบั กลมุ่ ดาว เคราะหบ์ นฟากฟา้ เมอ่ื เดนิ ทางถงึ คดสดุ ทา้ ยหรอื คดทเ่ี จด็ มลี ำ� แสงสอ่ งจากปาก ถ้�ำเหมือนแสงแห่งชัยชนะ อันดับที่ ๑ ความภาคภูมิใจสงบสบายปลอดภัยก็ ชายหาดแหลมสมิหลาบ้านนัทเอง ถ้ามีเวลาว่างครอบครัวของนัทไปบ่อยมาก ทตี่ รงนน้ั แหละศาลาไทยทม่ี แี มน่ างเงอื กทองแสนสวยทส่ี ดุ ในโลก ทกุ คนเชญิ มา
เร่อื งดีๆ ที่บ้านเรา 49 สมั ผสั กบั บรรยากาศทแี่ สนสบายกบั แหลมสมหิ ลาทน่ี ไี่ ดท้ กุ วนั ทกุ เวลาเดนิ ทาง มาสะดวก ถา้ เจอนทั กอ็ ยา่ ลืมทกั ทายกนั บา้ งนะครบั เป็นยังไงครับ ของดีดีที่บ้านนัทพอจะท�าให้ทุกๆท่านมีความสุขกับ เรื่องราวท่เี กิดขน้ึ ในชว่ งชีวิต ๙ ขวบของนัทกันได้บ้างหรอื เปลา่ ครบั ยงั มเี รื่อง ราวของสถานที่และวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมอีกมากมายที่นัทอยากจะ ถ่ายทอดให้กับทุกท่านที่ไม่มีโอกาสได้มาสัมผัสกับ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของนัท (ด้ามขวานทองค�า) และนัทก็หวังเป็นอย่างย่ิงว่าดินแดนท่ีสวยงาม แห่งนี้ อาจท�าใหช้ วี ติ อีกหลายๆ ชีวิตมคี วามสุขเหมอื นกับนทั
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334