Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-Book_SADET_09

E-Book_SADET_09

Published by LibrarySpt, 2021-09-13 06:18:01

Description: E-Book_SADET_09

Search

Read the Text Version

งานพระเมรใุ นสมัยอยุธยาจงึ เปน็ เครื่องมอื ทส่ี ำ� คญั ในฐานะของพระราชพิธีทแี่ สดงออกถงึ ทิพภาวะและความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์ได้เป็นอย่างดี ผ่านกระบวนการ พิธีกรรม และข้ันตอนอันสลับซับซ้อน ดังที่นิโกลาส์ แชรแวส ได้กล่าวว่า “ในศาสนาของชนชาวสยามน้ัน ไมม่ พี ธิ กี ารใดทจ่ี ะกระทำ� กนั อยา่ งมโหฬารและพธิ รี ตี องมากเทา่ กบั การทำ� ศพ…งานศพของพวกผดู้ ี มีเงินน้ันกระท�ำกันอย่างหรูหราและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก… โดยเฉพาะพระศพสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ การใช้จ่ายอย่างล้นเหลือฟุ่มเฟือย และความมโหฬารพันลึก ได้มีอยู่อย่างเหลือที่จะ พรรณนาไดห้ มดส้ิน… ไมเ่ คยมีผูก้ ล่าวขวญั ถึงความยิ่งใหญ่ของงานมหกรรมเท่ากับเม่ือครงั้ นนั้ มา แต่กอ่ นเลย…” (นโิ กลาส์ แชรแวส ๒๕๐๖: ๒๐๒-๒๐๘) การออกแบบสถาปัตยกรรมและศิลปะเก่ียวเน่ืองดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการตีความคติ สัญลกั ษณ์ และจกั รวาลทัศน์ตามแนวความคดิ ของลทั ธิเทวราชา ซง่ึ นอกจากจะมปี ระโยชนใ์ ชส้ อย ตามหนา้ ทแ่ี ลว้ สถาปตั ยกรรมเฉพาะกจิ นยี้ งั ทำ� หนา้ ทเี่ ปน็ “ความหมาย” ทซี่ บั ซอ้ นของคตสิ ญั ลกั ษณ์ จักรวาลทศั น์ และความหมายในแง่ของการสร้าง “สทิ ธิธรรม” รวมถึงการประกาศพระราชอ�ำนาจ อันหาขอบเขตมไิ ด้ในฐานะ “สมมตเิ ทพ” เปน็ คร้ังสดุ ทา้ ยกอ่ นจะเสดจ็ กลับสู่สรวงสวรรค์ ส�ำหรับบทความชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาต่อยอดการศึกษาท่ีผ่านมาในส่วนที่เก่ียวข้องกับ พัฒนาการของแบบแผนของพระเมรุในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ว่าผลลัพธ์ทางวัฒนธรรมท่ีเกิดข้ึน เป็นท่ีประจักษ์ในรูปของ “พระเมรุ” น้ันสะท้อนให้เห็นถึงความเปล่ียนแปลงทางสังคมอย่างไร โดยมองผ่านพระเมรุ และพระเมรุมาศในสมเด็จพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ช้ันสูง เท่าทพ่ี อจะมีหลกั ฐานประจกั ษ์ สังเขปรปู แบบทางสถาปัตยกรรมพระเมรุแบบแผนอยุธยาจากหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตร์ ส�ำหรับเป็นพื้นฐานในการท�ำความเข้าใจในประเด็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของแบบแผน พระเมรุเนื่องในพระมหากษัตริย์ และพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ช้ันสูงตามที่บทความนี้มุ่งอธิบาย เพือ่ แสดงใหเ้ หน็ ถึงพลวัตทางสังคมนน้ั ในที่น้ีขออธิบายรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระเมรุแบบแผนอยุธยาโดยสังเขป กลา่ วคอื จากการศกึ ษาเอกสารทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละหลกั ฐานเชงิ ประจกั ษอ์ น่ื ๆ พบวา่ ในสมยั อยธุ ยา ตอนปลายน้ัน แบบแผนงานพระเมรุได้มีระบบระเบียบท่ีซับซ้อนทว่าชัดเจนท่ีสามารถฉายให้เห็น ผ่านรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอันแสดงให้เห็นถึงระบบทางสังคมท่ีซับซ้อนของสมัยปลาย กรงุ ศรอี ยุธยาไดเ้ ป็นอยา่ งดี กล่าวคอื มกี ารจ�ำแนกฐานานุศกั ดข์ิ องพระเมรอุ อกเปน็ ๓ ประเภท คอื พระเมรุที่มฐี านานศุ กั ด์ิสงู ทีส่ ดุ คือ “พระเมรุเอก” มีลกั ษณะเป็นสถาปตั ยกรรมเฉพาะกจิ ซึ่งสร้างข้ึนช่ัวคราวในรูปแบบของอาคารทรงปราสาทยอดปรางค์ มีปรางค์หลักและปรางค์บริวาร ทเ่ี รยี กวา่ ปรางคท์ ศิ และปรางคแ์ ซกรวมเปน็ ปรางคเ์ กา้ ยอด และมหี นา้ พรหมพกั ตร์ ภายในพระเมรุ มีพระเมรุมาศที่ท�ำหน้าที่ประดิษฐานจิตกาธานในการถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่ภายใน พระเมรุมาศ พระเมรทุ ่มี ฐี านานศุ ักด์ิรองลงมา คอื “พระเมรุโท” มลี ักษณะเป็นสถาปตั ยกรรมเฉพาะกิจ ซ่ึงสร้างขึ้นชั่วคราวในรูปแบบของอาคารทรงปราสาทยอดปรางค์ มีปรางค์หลักและปรางค์บริวาร 300 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

รวมกันเป็นห้ายอด ภายในพระเมรุมีพระเมรุมาศที่ท�ำหน้าท่ีประดิษฐานจิตกาธานในการถวาย พระเพลิงพระบรมศพอยภู่ ายในพระเมรุมาศ ล�ำดับสุดท้าย คือ “พระเมรุตรี” มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจซึ่งสร้างข้ึน ช่ัวคราวในรูปแบบของอาคารทรงปราสาทยอดปรางค์ มีปรางค์หลักและปรางค์บริวารรวมกัน เป็นห้ายอด ภายในไมม่ พี ระเมรุมาศ ๕๑ ภาพที่ ๑ ภาพบน: ผงั บรเิ วณ และแบบสถาปตั ยกรรมสนั นษิ ฐาน “พระเมรเุ อก” แบบแผนอยธุ ยา เปน็ พระเมรทุ รงปราสาท ยอดปรางคเ์ ก้ายอด และมหี น้าพรหมพกั ตร์ ภายในมพี ระเมรุมาศ, ภาพกลาง: ผังบริเวณ และแบบสถาปัตยกรรมสันนิษฐาน “พระเมรุโท” แบบแผนอยุธยา เป็นพระเมรุทรง ปราสาทยอดปรางคห์ ้ายอด ภายในมีพระเมรุมาศ, ภาพล่าง: ผังบริเวณ และแบบสถาปัตยกรรมสันนิษฐาน “พระเมรุเอก” แบบแผนอยุธยา เป็นพระเมรุทรง ปราสาทยอดปรางคห์ า้ ยอด ภายในไม่มีพระเมรมุ าศ 301เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

งานพระเมรแุ บบแผนอยุธยาบนแผ่นดินรตั นโกสินทร์ จากเหตุท่ีบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรืองงดงามดุจดั่งสวรรค์ชะลอลงมาของราชธานีอยุธยาน้ัน ต้องยุติบทบาทลงไปด้วยไฟแห่งสงคราม หลังจากท่ีด�ำเนินลมหายใจมาเป็นเวลา ๔๑๗ ปี แม้ว่า รอยต่อหลังจากราชธานีอยุธยายุติบทบาทลงไปนั้นจะมีกรุงธนบุรีที่ท�ำหน้าที่เป็นเสมือนสะพาน เชอ่ื มตอ่ ความสมั พนั ธ์ ทวา่ กรงุ ธนบรุ นี น้ั กำ� เนดิ ขน้ึ บนชว่ งเวลาทบี่ า้ นเมอื งยงั ระสำ่� ระสายนกั ราชการ บ้านเมืองจึงมีแต่การรณรงค์สงคราม หากแตก่ ารเกดิ ขน้ึ ใหม่ของราชธานใี หมแ่ หง่ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ น้ันอยใู่ นภาวการณ์ที่เร่ิมฟืน้ ตวั จากสงคราม อนั มสี าเหตปุ ระการหนึง่ มาจากทร่ี ัฐคูส่ งครามมีปัญหา การเมอื งภายใน นับต้ังแต่ท่ีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ข้ึนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นศูนย์กลางราชธานี จงึ ท�ำให้แผ่นดินลมุ่ นำ�้ เจา้ พระยาเริม่ เขา้ สคู่ วามสงบ และเร่ิมตน้ ส่งั สมความรงุ่ เรอื งขึ้นอกี ครง้ั ภาพเมื่อคร้ัง “บ้านเมืองยังดี” ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก่อนท่ีจะมี สงครามรบพงุ่ กนั จนแผน่ ดนิ อยธุ ยาตอ้ งลม่ ลงนนั้ ไดถ้ กู กลา่ วขานและกลา่ วถงึ อยเู่ สมอในบรรดาผคู้ น ผเู้ ปน็ เรยี่ วแรงหลกั ในการสถาปนากรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ดว้ ยผคู้ นรนุ่ นไี้ ดม้ ชี วี ติ อยทู่ นั เมอ่ื ครง้ั บา้ นเมอื ง ยงั ดีทง้ั สิ้น ในการสรา้ งกรงุ เทพฯ ดว้ ยการขดุ คเู มืองลอ้ มรอบและใชแ้ ม่น�้ำเจา้ พระยาเปน็ ปราการทาง ธรรมชาติ ทำ� ใหก้ รงุ เทพฯมสี ภาพเปน็ เกาะเชน่ เดยี วกบั อยธุ ยา การสรา้ งปราสาทราชวงั วดั วาอาราม ล้วนแต่เป็นการน�ำเอาคติเก่ามาใช้ทั้งส้ิน นอกจากการปฏิสังขรณ์ (reconstruction) โครงสร้าง ทางกายภาพของเมืองแล้ว ยังมีการร้ือฟื้นขบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะพระราชพิธี ในราชส�ำนักขึ้นเป็นการใหญ่ ด้วยเหตุว่านับวันผู้คนที่รู้ธรรมเนียมเก่าจะร่วงโรยลง พระราชพิธี ทสี่ ำ� คญั พธิ หี นงึ่ ทไี่ ดร้ บั การฟน้ื ฟู คอื “พระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพ” หรอื ทเ่ี รยี กกนั สามญั วา่ “งานพระเมรุ” งานพระเมรุท่ีจัดขึ้นอย่างเต็มต�ำราองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระเมรุส�ำหรับ ถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระปฐมบรมราชชนก กล่าวคือ เม่ือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นผ่านพิภพปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมขัตติยราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐม บรมราชชนกมาถวาย พระองคจ์ งึ มพี ระราชดำ� รวิ า่ เหตกุ ารณบ์ า้ นเมอื งทว่ี นุ่ วายทำ� ใหม้ ไิ ดท้ รงกระทำ� การถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมชนกนาถ เพ่ือแสดงออกแห่งพระราชกตัญญุตา ตอ่ สมเดจ็ พระบรมชนกาธบิ ดจี งึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหจ้ ดั สรา้ งพระเมรใุ หญ่ ณ ทอ้ งสนามหลวง อย่างเต็มต�ำราตามอย่างการถวายพระเพลิงสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งกรุงศรีอยุธยา ซ่ึงเป็นการสร้างพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวงคร้ังแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากการสถาปนา พระนครแล้ว ๑๓ ปี จากการศกึ ษาของเกรยี งไกร เกิดศิริ ซงึ่ ใช้เอกสารทางประวัติศาสตร์ ๒ ชิ้น คือ ช้ินแรก เอกสารวา่ ด้วยโบราณราชประเพณี ในส่วนท่วี ่าด้วย กระบวนแห่พระบรมศพ และ แบบอยา่ งการ 302 เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

พระเมรเุ อก โท ตรี และชน้ิ ทส่ี อง โคลงถวายพระเพลงิ พระบรมอฐั พิ ระเจา้ หลวง เพอื่ ปฏสิ งั ขรณภ์ าพ ของพระเมรุในการพระราชพิธีครั้งนั้นเสนอว่ารูปแบบพระเมรุในพระราชพิธีมีรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมแบบพระเมรุเอก ซึ่งมีลักษณะเป็นพระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์เก้ายอด ภายใน ประดิษฐานพระเมรุมาศอีกชั้นหน่ึงตามแบบแผนด้ังเดิมในสมัยอยุธยา (พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรม หมื่นศรีสเุ รนทร์ ๒๕๕๒) ๕๑ ภาพท่ี ๒ แบบสถาปตั ยกรรมสันนษิ ฐานของ “พระเมรุเอก” แบบแผนอยุธยาจากเอกสาร ทางประวัติศาสตร์ที่เป็นมรดกความทรงจ�ำ ตกทอดมาจากอยุธยา และเอกสาร “โคลง ถวายพระเพลงิ พระบรมอฐั พิ ระพทุ ธเจา้ หลวง” ในพระบรมวงษ์เธอ กรมหมน่ื ศรสี ุเรนทร์ ทัง้ น้ี พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มพี ระราชดำ� รใิ นฤดหู นาว ปเี ถาะ ซ่ึงตรงกับปี พ.ศ.๒๓๓๗ (พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ๒๕๕๒: ๑๓๖) ให้จัด การพระราชพธิ นี ขี้ นึ้ ในการนน้ั ยงั โปรดเกลา้ ใหส้ รา้ งพระมหาพชิ ยั ราชรถ และราชรถนอ้ ยอกี ๓ องค์ เพื่อใช้ในพระราชพิธีด้วยรวมพระราชยานท่ีได้จัดสร้างท้ังหมดจ�ำนวน ๗ องค์ และโปรดเกล้า “ใหต้ ดั ไมท้ ำ� เสาพระเมรุ ตั้งทรง ประดับเครอ่ื งให้เสร็จแลว้ แตใ่ นปีเถาะ” แตม่ กี ารพระราชพธิ ถี วาย เพลิงพระบรมอฐั ิในปมี ะโรง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว ๒๕๔๖: ๒๖๕-๒๖๖) การพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมอัฐิจัดข้ึนอย่างยิ่งใหญ่ และแฝงนัยบางประการในการ สถาปนาสมมติเทวราชใหม่ เพื่อท�ำหน้าที่เป็นดั่ง “พระเทพบิดร” ประจ�ำกรุงรัตนโกสินทร์ ซงึ่ ขา้ ราชการจะตอ้ งถวายบงั คมพระบรมอฐั ฯิ กอ่ นเขา้ พธิ ถี อื นำ�้ เนอื่ งจาก “พระเชษฐบดิ ร” แหง่ กรงุ ศรีอยุธยาได้ถูกไฟแห่งสงครามท�ำลายลง อีกท้ังยังเป็นการฟื้นฟู และช�ำระธรรมเนียม การพระราชพิธีต่างๆ ตามแบบแผนเมื่อคร้ังกรุงเก่าขึ้นอีกคร้ัง แสดงให้เห็นถึงพระราชประสงค์ ใหก้ ารพระราชพธิ ดี งั กลา่ วเปน็ “แมแ่ บบ” ในการเตรยี มพระราชพธิ เี สดจ็ สสู่ วรรคาลยั ของพระองคด์ ว้ ย ซงึ่ แนวคดิ การเตรยี มการดงั กลา่ วยงั ปรากฏอยใู่ นพระราชดำ� รใิ นการจดั สรา้ งพระมหาพชิ ยั ราชรถ ๑ องค์ ราชรถนอ้ ย ๓ องค์ และพระราชยานอน่ื ๆ รวมเปน็ ๗ องค์ ดงั ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ 303เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

เจา้ อยหู่ วั มพี ระราชวิจารณ์ความวา่ “รถ ๗ รถ ก็คือรถที่ใชอ้ ยเู่ ดยี๋ วนี้ ต้ังพระราชหฤไทยจะจัดทำ� ขนึ้ ไว้ส�ำหรับแผ่นดนิ แต่เปนการจำ� เปนอย่เู องท่จี ะตอ้ งให้ใช้ก่อน ส�ำหรับทอดพระเนตร” อีกท้ังการสถาปนาพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมสัมพันธ์ กับพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์สมัยอยุธยาโดยสถาปนาขึ้นตรงต�ำแหน่งที่เคยเป็นต้ังของพระที่นั่ง อมรินทราภิเษกมหาปราสาทท่ีต้องอสุนีบาตและเกิดเพลิงไหม้ไป ก็อาจมีสาเหตุจากพระราชพิธี บรมราชาภเิ ษกตอ้ งตามโบราณราชประเพณใี นพระทนี่ งั่ อมรนิ ทราภเิ ษกมหาปราสาทไดด้ ำ� เนนิ การ ลุล่วงแล้วและเมื่อต้องสูญเสียพระท่ีนั่งองค์ดังกล่าวไป ในขณะที่บ้านเมืองยังไม่พร้อมท่ีจะมี การก่อสร้างพระที่น่ังขนาดใหญ่ในคราวเดียวกันหลายองค์ ด้วยขาดแคลนทรัพยากรด้านต่างๆ จึงอาจเป็นเหตุให้พระองค์เลือกสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นแทน เพ่ือท�ำหน้าท่ีประดิษฐาน พระบรมศพเช่นเดียวกับพระที่น่ังสุริยาสน์อมรินทร์เม่ือคร้ังกรุงเก่า รวมไปถึงยังมีการจัดสร้าง พระโกศทองใหญ่ และโปรดให้นำ� มาตงั้ ถวายทอดพระเนตรในพระทีน่ ั่งไพศาลทกั ษณิ ท�ำให้ฝา่ ยใน เกรงว่าเปน็ ลาง แต่พระองคไ์ มไ่ ดถ้ อื สาอะไร ดังมรี บั ส่ังต่อเจา้ คุณเสือความว่า “...กไู ม่ถอื ไม่เอามา ต้งั ดู ทำ� ไมกจู ะไดเ้ หน็ ” เหตกุ ารณต์ า่ งๆ เหลา่ นี้ ลว้ นสะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ทมี่ าทไี่ ปในพระราชดำ� รติ อ่ การ จดั งานพระเมรุครัง้ นเี้ ป็นอย่างดี นอกจากน้ียังโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้ึนประดิษฐานในเรือนธาตุ กลางอาคารเพื่อการสมโภช แล้วจึงอัญเชิญพระบรมอัฐิข้ึนประดิษฐานเพื่อประกอบพระราชพิธี ถวายเพลิงพระบรมอัฐิ จะเห็นว่าการสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจองค์นี้ มิได้ถูกเฉพาะเจาะจงให้มี หน้าท่ีรองรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังถือว่าเป็นอาคาร ฐานานุศักดิ์สูงสุดส�ำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงการปฏิบัติพระราชพิธีอื่นๆ ท่ี เกยี่ วเนอ่ื ง สะทอ้ นใหเ้ หน็ ทศั นะทมี่ ตี อ่ อาคารเฉพาะกจิ หลงั นวี้ า่ เปน็ อาคารฐานานศุ กั ดส์ิ งู ทใี่ ชป้ ระกอบ พิธีกรรมท่ีเป็นสิริมงคล ซ่ึงตรงกันข้ามกับค�ำอธิบายในปัจจุบันที่กล่าวว่า พระเมรุเป็นอาคาร ทไี่ มเ่ ปน็ มงคล รวมไปถงึ งานพระเมรเุ ปน็ เรอื่ งทโี่ ศกเศรา้ แตกตา่ งไปจากแนวความคดิ ตามจารตี เกา่ ซ่ึงเป็นแนวความคดิ ใหมใ่ นชัน้ หลังเมือ่ รบั จากแนวคิดแบบตะวันตก ในช่วงแรกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้นจะเห็นได้ว่า โลกทัศน์ความคิดท่ีส่งผลต่อการก่อรูป พระเมรแุ ละพธิ กี รรมเกย่ี วเนอื่ งนนั้ เปน็ มรดกตกทอดมาจากสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาผา่ นความทรงจำ� และ อาจมกี ารชำ� ระรวมทงั้ ประมวลความทรงจำ� ตา่ งๆ บนั ทกึ เปน็ ลายลกั ษณเ์ พอื่ ใชเ้ ปน็ ตำ� ราในการอา้ งองิ หลกั การและธรรมเนยี มดงั ปรากฏในชดุ เอกสารจากหอหลวงอยู่บา้ ง งานพระเมรุ และสถาปตั ยกรรมพระเมรบุ นเสน้ ทางของความเปลยี่ นแปลง เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ด�ำเนินลมหายใจอย่างมีพลวัตมาได้ระยะหน่ึง จนมีพัฒนาการสังคม วฒั นธรรมทีส่ ัมพันธก์ บั บริบทแวดลอ้ มตา่ งๆ ทเี่ ข้ามารายรอบ หาไดผ้ ูกตนตดิ อยูแ่ ต่เพียงโลกทศั น์ ที่รับสืบทอดมาจากอยุธยาเพียงอย่างเดียว ส�ำหรับกรณีของงานพระเมรุก็เช่นเดียวกัน ในท่ีน้ี สันนิษฐานว่าโลกทัศน์ความคิดท่ีสืบทอดลงมาจากสมัยอยุธยาท่ีมีบทบาทอย่างเคร่งครัดในช่วงต้น กรุงรัตนโกสินทร์ได้ค่อยๆ ผ่อนคลายลง เพราะผู้คนที่หอบสัมภาระทางความคิดจากสมัยอยุธยา ก็เฒ่าชราและวายชนม์ไปจนเกือบหมดสิ้น ท่ีกล่าวเช่นน้ีมีหลักฐานให้อนุมานจากงานพระเมรุใน 304 เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๔ กลา่ วคอื ในคราวงานออกพระเมรสุ มเดจ็ ๕๑ พระเทพศริ ินทราบรมราชินี ในปี พ.ศ.๒๔๐๕ มกี ารก่อสร้างพระเมรเุ ปน็ ปราสาทยอดมณฑป ทว่า ก่อนจะสร้างแล้วเสร็จนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีโอกาสมาทอดพระเนตรเห็น จงึ มพี ระราชดำ� รใิ หเ้ ปลย่ี นสว่ นยอดเปน็ ปรางค์ เหตกุ ารณน์ แี้ สดงใหเ้ หน็ วา่ ความรเู้ กย่ี วกบั ธรรมเนยี ม และฐานานุศักดข์ิ องพระเมรุสำ� หรับพระมหากษัตริย์และพระมเหสใี นหมูช่ า่ งนนั้ ได้ผ่อนลง ดังความท่ีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงกล่าวไว้ ในสาส์นสมเดจ็ วนั ที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๗๒ วา่ “รปู พระเมรทุ ่ีทรงคาดคเนว่าจะเป็นพระเมรุพระบาท สมเดจ็ พระปน่ิ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั นนั้ เหน็ จะไมใ่ ช่ คาดดว้ ยเกลา้ วา่ จะเปน็ พระเมรสุ มเดจ็ พระเทพศริ นิ ทรา บรมราชินี ทีค่ าดดังน้นั ดว้ ยหลกั ๒ ประการ คอื ได้ยนิ ผใู้ หญเ่ ล่าวา่ พระเมรสุ มเด็จพระเทพศริ ินทร์ นนั้ เดมิ ทที ำ� เปน็ ยอดมณฑป พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เสดจ็ ออกทอดพระเนตรไมโ่ ปรด ตรสั สง่ั ใหแ้ กเ้ ปน็ ยอดปรางค์ แตก่ ารแกต้ ลอดชนั้ ทำ� ไมท่ นั กำ� หนดงาน แกไ้ ดแ้ ตเ่ พยี งยอด กลายเปน็ มณฑปยอดปรางคซ์ ง่ึ ได้ลักษณะกับรปู ฉายน้”ี ภาพที่ ๓ ภาพซ้าย: พระเมรสุ มเดจ็ พระเทพศิรนิ ทราบรมราชนิ ี ซงึ่ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อย่หู วั ทอดพระเนตรเห็นการก่อสร้างเป็นทรงปราสาทยอดมณฑป จึงโปรดเกล้าฯให้แก้ส่วนยอดเป็นทรงปรางค์, ภาพขวา: แบบสถาปัตยกรรมสนั นิษฐานถึงรูปทรงของพระเมรแุ บบท่มี เี รอื นยอดทรงมณฑป นอกจากนี้ ในสมัยรชั กาลท่ี ๔ การกอ่ สร้างส่งิ สำ� คญั ท่ีเนือ่ งในพุทธจักรและอาณาจกั รได้ ถกู กำ� หนดใหม้ แี บบแผนทแี่ ตกตา่ งกนั ตวั อยา่ งเชน่ การกอ่ สรา้ งพระเจดยี ท์ พี่ ระองคท์ รงโปรดเกลา้ ฯ ให้บูรณะหรือสถาปนาขึ้นใหม่นั้นจะเป็นเจดีย์รูปทรงระฆังท่ีเช่ือมโยงรูปแบบเข้ากับเจดีย์แบบลังกา ท่เี ปน็ ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาเถรวาท อาทเิ ช่น การบรู ณปฏสิ ังขรณ์องค์พระปฐมเจดยี ์ การบรู ณ ปฏิสังขรณพ์ ระเจดยี ว์ ดั ขนุ แสน เป็นตน้ ในขณะทก่ี ารก่อสร้างอาคารทีเ่ ก่ียวเน่ืองกับอาณาจักรและ สถาบันกษัตริย์นั้น พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาในรูปแบบของอาคารทรงปราสาทท่ีมีเรือน ยอดทรงปรางค์ เช่น พระท่ีนงั่ เวชยันต์วิเชียรปราสาทที่พระราชฐานบนพระนครครี ี เป็นตน้ 305เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ภาพที่ ๔ พระเมรสุ มเด็จพระเจ้าลกู เธอ เจ้าฟ้า จนั ทรมณฑลโสภณภัคควดี เมือ่ ปี พ.ศ.๒๔๐๖ อยา่ งไรกต็ าม แมร้ ปู ทรงของปราสาทยอดปรางคจ์ ะมคี วามสมั พนั ธก์ บั สถาปตั ยกรรมเนอื่ งใน สถาบนั กษตั รยิ ์ ดงั ปรากฏการแกท้ รงของเรอื นยอดพระเมรใุ นสมเดจ็ พระเทพศริ นิ ทราบรมราชนิ ี และ การสร้างพระเมรุต่างๆ ทว่าก็มีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นในการสร้างพระเมรุเช่นกัน ดังหลักฐาน เชงิ ประจักษ์ในภาพถ่ายงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจา้ ฟา้ จันทรมณฑลโสภณภัคควดี เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ท่ีเร่มิ มีการตีความจักรวาลทศั น์ในการแสดงออกผ่านงานสถาปตั ยกรรมอย่างน่าสนใจ คือ การสร้างพระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์บนภูเขาจ�ำลองเพ่ือท�ำหน้าที่เป็นประธานมณฑลพิธี ซง่ึ ใชใ้ นการฉลองบรมอฐั ขิ องบรู พกษตั รยิ เ์ มอ่ื การแลว้ เสรจ็ กใ็ ชใ้ นการพระเมรใุ นสมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ จนั ทรมณฑลโสภณภคั ควดี ซง่ึ การออกแบบพระเมรใุ หป้ ระดษิ ฐานเหนอื ภเู ขาไดเ้ คยทำ� มาแลว้ ในงานพระเมรใุ นพระเทพศริ ริ นทราบรมราชนิ ี แตไ่ มไ่ ดอ้ อกเปน็ ภเู ขาทสี่ งู มากนกั เปน็ เพยี งการออกแบบ ใหภ้ เู ขาทเ่ี ลียนแบบธรรมชาตทิ ำ� หน้าท่ีแทนชุดฐานช้นั ล่างของอาคารเท่าน้นั นอกจากนี้ ยงั มพี ระเมรใุ นพระบาทสมเดจ็ พระปน่ิ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๐๘ เปน็ อาคาร ทรงปราสาทยอดทรงปรางค์ต้ังอยู่เหนือช้ันหลังคาแบบมณฑปซ้อน ๕ ชั้น ที่ยกช้ันเชิงกลอนสูง จนท�ำให้ช้ันหลังคาของมณฑปดูเตี้ย และท�ำให้ช้ันเชิงกลอนกลับดูโดดเด่นเป็นพระเมรุ ยอดปรางค์ยอดเดียวไม่มียอดบริวาร ซ่ึงตามธรรมเนียมที่ตกทอดมาจากอยุธยาน้ันต้องสร้าง เป็นพระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์เก้ายอด เน่ืองจากพระองค์ด�ำรงพระราชอิสริยายศเสมอเท่า องค์พระมหากษัตริย์ หรือหากจะพิจารณาว่ามีพระราชอิสริยายศไม่เสมอเท่าองค์สมเด็จพระมหา กษตั รยิ ์กค็ วรเปน็ แบบแผนของพระเมรทุ ่ีมยี อดปรางค์ ๕ ยอดเสียมากกว่า งานพระเมรุ และสถาปัตยกรรมพระเมรกุ ับความเปลี่ยนแปลง ในเนอื้ หาสว่ นนม้ี งุ่ อธบิ ายพระเมรทุ ส่ี รา้ งขนึ้ ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๕ ซง่ึ เปน็ ชว่ งเวลาทกี่ รงุ รตั นโกสนิ ทรด์ ำ� เนนิ ลมหายใจมาไดร้ าวรอ้ ยปี อกี ทงั้ อยภู่ าย ใต้บริบทแวดลอ้ มทีส่ ังคมโลกไดโ้ อบลอ้ มเขา้ มาอยา่ งใกลช้ ดิ อันน�ำพาไปสู่การตัง้ ค�ำถามในพระราช หฤทัยของพระองค์ต่อการด�ำเนินไปของงานพระเมรุ และรูปแบบพระเมรุที่เหมาะสมกับบริบทร่วม สมัยในรชั กาลของพระองค์ อยา่ งไรกด็ ี จากการศกึ ษาพบวา่ พระองคย์ งั มไิ ดด้ ำ� เนนิ การเปลย่ี นแปลงแบบแผนของงาน พระเมรุท่ีถวายเป็นพระเกียรติยศสูงสุดแด่สมเด็จพระราชบิดาของพระองค์ กล่าวคือ พระเมรุใน 306 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๔ ยงั คงรกั ษาลกั ษณะทางสถาปตั ยกรรมทกี่ อ่ สรา้ ง ๕๑ เป็นพระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์ และพระเมรุใหญ่อีกองค์ท่ีถูกก่อสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซ่ึงมีลักษณะ ทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกนั กบั พระเมรใุ นพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว ทวา่ แตกต่าง กันตรงที่พระเมรุในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีเรือนยอดบริวารทรงปรางค์อยู่บน สันหลงั คามุข ในขณะท่พี ระเมรุในสมเดจ็ พระนางเจ้าสนุ ันทากมุ ารรี ัตน์ไมม่ ยี อดปรางค์บรวิ าร หากพิจารณาธรรมเนียมท่ีรับถ่ายทอดมาจากอยุธยาดังปรากฏสืบเน่ืองมาเมื่อแรกสร้าง กรุงรัตนโกสินทร์ พระเมรุส�ำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์จะเป็นพระเมรุ ทรงปราสาทยอดปรางคเ์ กา้ ยอด จากประเดน็ ดงั กลา่ วทำ� ใหผ้ เู้ ขยี นมขี อ้ สนั นษิ ฐานวา่ ความรคู้ วามเขา้ ใจ ในการออกแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจช้ันสูงน้ันได้ด�ำเนินการในลักษณะการสืบทอด ภมู ปิ ญั ญา จงึ ทำ� ใหพ้ ระเมรเุ อกสำ� หรบั พระมหากษตั รยิ แ์ ละพระมเหสซี งึ่ ไมไ่ ดป้ ลกู สรา้ งกนั บอ่ ยครง้ั มคี วามรทู้ ข่ี าดชว่ งลงไป ทวา่ เมอ่ื พระเมรสุ ำ� หรบั พระมหากษตั รยิ ม์ ลี กั ษณะเปน็ พระเมรทุ รงปราสาท ยอดปรางคห์ า้ ยอด เพราะฉะนน้ั จงึ มกี ารกำ� หนดฐานานศุ กั ดข์ิ องพระเมรขุ องพระมเหสใี หล้ ดฐานานรุ ปู ลงเป็นเพียงพระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์ไม่มีเรือนยอดบรวิ ารน่ันเอง ภาพท่ี ๕ ภาพเกา่ พระเมรุในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ท�ำเป็นทรงปราสาทยอดปรางค์ห้ายอด จากการศกึ ษาพบวา่ ยงั มคี วามเปลย่ี นแปลงทเี่ กดิ ขนึ้ อยา่ งสำ� คญั ในรชั กาลที่ ๕ อกี ประการ คือ ความแพร่หลายของรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป ท้ังน้ีจาก การศึกษาภาพถ่ายเก่าเท่าที่ปรากฏจะเห็นได้ว่ามีการก่อสร้างพระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป อย่างนอ้ ย ๕ องค์ (ดภู าพท่ี ๗-๑๑) กลา่ วคอื จากภาพท่ี ๗ คอื พระเมรทุ รงปราสาทยอดมณฑป องคข์ นาดใหญ่ ทงั้ นจ้ี ากการศกึ ษาหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรใ์ นราชกจิ จานเุ บกษาฉบบั ที่ ๔ หนา้ ๔๐ ได้ใหข้ ้อมูลอนั น�ำไปสกู่ ารสนั นษิ ฐานว่าเป็นพระเมรใุ นสมเด็จพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำ� ราบปรปักษ์ ความวา่ “พระเมรุสูงขาดยอด ๓๐ วา ยอดปลีมีสรา้ ง (สำ� ซา่ ง) ไม่มียอด 307เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๔ ประตู” ซึ่งเปน็ พระเมรทุ ส่ี มเด็จพระเจา้ น้องยาเธอ เจา้ ฟา้ ภาณรุ งั สสี ว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุ วงศว์ รเดช เปน็ แมก่ อง ซง่ึ พระองคย์ งั ทรงเปน็ แมก่ องในการทำ� พระเมรใุ นสมยั รชั กาลที่ ๕ อกี หลายองค์ ซ่ึงลว้ นแต่เปน็ พระเมรทุ รงปราสาทยอดมณฑป หรอื ท่เี รยี กว่า “ยอดปล”ี และเปน็ ที่นา่ สนใจคือถอื เป็นคร้งั แรกเท่าทีม่ เี อกสารทางประวัตศิ าสตร์กลา่ วถงึ ภาพที่ ๖ พระเมรุสมเดจ็ พระนางเจ้าสนุ ันทากุมารีรัตน์ ยังก่อสร้างเป็นพระเมรใุ หญ่ทรงปราสาทยอดปรางค์ ภาพท่ี ๗ พระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป สนั นษิ ฐานวา่ เปน็ ของสมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำ� ราบปรปักษ์ ภาพท่ี ๘ ภาพถา่ ยเกา่ พระเมรทุ รงปราสาทยอด มณฑปในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า พาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราช กกุธภัณฑ์ ปี พ.ศ.๒๔๓๐ 308 เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

สำ� หรบั ภาพที่ ๘ คอื พระเมรใุ นสมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ หญงิ พาหรุ ดั มณมี ยั ประไพพรรณ ๕๑ พจิ ติ รนรศิ รราชกมุ ารี และสมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจา้ ฟา้ ศริ ริ าชกกธุ ภณั ฑ์ กลา่ วคอื เปน็ อาคารทรง ปราสาทจตั รุ มขุ ยอดมณฑปหา้ ยอดโดยมยี อดบรวิ ารทงั้ สตี่ งั้ เทนิ อยบู่ นมขุ ทงั้ สท่ี ศิ และมมี ณฑปบรวิ าร อีก ๔ องค์ รวมท�ำใหพ้ ระเมรอุ งคน์ มี้ ยี อดมณฑปเป็น ๙ ยอด ตัวอาคารตง้ั บนฐานที่ยกสงู แม้ไมไ่ ด้ ตกแต่งเป็นภูเขาเช่นเดิม แต่ยังสะท้อนนัยถึงคติเขาพระสุเมรุ ที่มุมของอาคารประธานมีมณฑป ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็นว่าเป็นพระเมรุเก้ายอด จากภาพจะเห็นว่า ตัวพระเมรุต้ังอยู่ ในผงั วงกลมซอ้ นอยใู่ นผงั บรเิ วณรปู สเ่ี หลยี่ ม ถดั ออกมาเปน็ พนื้ ทปี่ ดิ ลอ้ มดว้ ยรว้ั ราชวตั ิ สำ� หรบั อาคาร ประกอบผงั ไดล้ ดรูปลงมาก กลา่ วคอื “สามซ่าง” (สามสรา้ ง) และระเบียงล้อมพน้ื ทถ่ี กู ตดั ออกเหลือ เพยี งแตซ่ มุ้ ประตูและราชวัติ ความนา่ สนใจอกี ประการ คือ มกี ารกอ่ สร้างอาคารตา่ งๆ ท่ีเป็นเครอื่ ง ไม้เพื่อใชร้ องรับกจิ กรรมตา่ งๆ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมทกี่ ำ� ลังไดร้ บั ความนยิ มและเปน็ ทต่ี ื่นตาต่นื ใจของผคู้ นโดยเฉพาะเมอ่ื มกี ารกอ่ สรา้ งพระราชวงั ดสุ ติ ซงึ่ อาคารเหลา่ นเี้ มอ่ื รอ้ื แลว้ ไดน้ ำ� ไปกอ่ สรา้ ง โรงพยาบาลศิรริ าช ภาพท่ี ๙ ภาพถา่ ยเกา่ พระเมรทุ รงปราสาทยอดมณฑป ภาพท่ี ๑๐ ภาพถา่ ยเกา่ พระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป สันนิษฐานว่าเป็นพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นพระเมรุส�ำหรับเจ้าฟ้านภาจร เจ้านภางค์นิพทั ธพงศ์ ซึ่งกอ่ สรา้ งในวดั มหาธาตุ จ�ำรัสศรี และพระองคเ์ จา้ สมยั วุฒิโรดม สำ� หรบั ภาพท่ี ๙ คอื พระเมรทุ รงปราสาทยอดมณฑป สนั นษิ ฐานวา่ เปน็ พระเมรใุ นพระเจา้ ลูกยาเธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ พ.ศ.๒๔๑๙ ตามที่กล่าวในราชกิจจานุเบกษา พระเมรุ ต้ังอยู่ในวัดมหาธาตุ เปน็ ทรงปราสาทยอดมณฑปชน้ั เชงิ กลอน ๕ ช้นั มุขดา้ นเหนอื และใตช้ กั ยาว ออกมากกว่าดา้ นอืน่ ซ่ึงในชว่ งเวลาท่นี นั้ ยงั ไม่ได้กอ่ สรา้ งตึกสงั ฆิกเสนาศนร์ าชวิทยาลยั สำ� หรบั ภาพที่ ๑๐ คอื พระเมรทุ รงปราสาทยอดมณฑป ซงึ่ สนั นษิ ฐานวา่ เปน็ พระเมรสุ ำ� หรบั เจา้ ฟ้านภาจรจ�ำรัสศรี และพระองคเ์ จา้ สมยั วฒุ โิ รดม ในปี พ.ศ.๒๔๓๒ ซึง่ มีลกั ษณะเปน็ พระเมรุทรง ปราสาทยอดมณฑป โดยมพี ระทนี่ ง่ั ทรงธรรมอยทู่ างดา้ นทศิ ใตข้ องพระเมรสุ มั พนั ธก์ บั ทำ� เลทตี่ ง้ั ของ พระบรมมหาราชวงั ส�ำหรับภาพที่ ๑๑ คือ พระเมรุทรงปราสาทยอดมณฑป ยังไม่อาจระบุได้ว่าเป็นพระเมรุ ของเจ้านายพระองค์ใดแต่ต้องเกิดข้ึนหลังจากวังหน้าได้ลดบทบาทลงจนหมดสิ้นแล้ว และรูปทรง ของอาคารที่เป็นอาคารทรงปราสาทยอดมณฑปอันเป็นพระเมรุ ในพระราชนิยมของรัชกาลท่ี ๕ 309เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ชว่ ยใหส้ ามารถกำ� หนดอายขุ องงานครงั้ นไี้ ดอ้ ยา่ งกวา้ งๆ จากภาพจะเหน็ วา่ ตง้ั อยทู่ รงทศิ ตะวนั ออก ของพระอโุ บสถวัดบวรสถานสทุ ธาวาส และมคี ลองโรงไหมอยดู่ ้านขา้ ง แสดงว่า นอกจากงานพระ เมรมุ าศสำ� หรบั สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจา้ ฟ้ามหาวชริ ณุ หศิ สยามมกฎุ ราชกุมารแลว้ ยงั มงี าน พระเมรุอย่างน้อยอีกหน่ึงครั้งท่ีจัดตรงบริเวณน้ี อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของศาสตราจารย์ กิตติคุณ ม.ร.ว. แน่งน้อย ศกั ดิ์ศรี และคณะ (๒๕๕๕) ไดส้ นั นษิ ฐานว่า อาคารเฉพาะกจิ ในภาพท่ี ๑๑ คือ เมรุเจา้ คณุ จอมมารดาส�ำลี พ.ศ.๒๔๔๔ ซ่งึ เปน็ เมรผุ ้าขาว ภาพท่ี ๑๑ ภาพถา่ ยเกา่ พระเมรทุ รงปราสาทยอดมณฑป หลักฐานไม่เพียงพอต่อการสันนิษฐานว่าเป็นพระเมรุ ส�ำหรับเจ้านายพระองค์ใด ทว่าเกิดขึ้นภายหลังท่ี พระราชวงั บวรสถานมงคล หรือวงั หนา้ ไดล้ ดบทบาทลง แล้ว เนื่องจากพระเมรุองค์นี้สร้างอยู่ริมคลองโรงไหม ด้านหลังแลเห็นพระอุโบสถวดั บวรสถานสุทธาวาส จากพระเมรุใหญ่ สู่พระเมรุมาศ กระบวนทัศนใ์ หม่ภายใตส้ ภาวะแวดลอ้ มรว่ มสมัย ในสถานภาพความรู้ในปัจจุบันเป็นท่ีรับทราบกันอย่างกว้างขวางแล้วว่า พระเมรุใน พระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพรชั กาลท่ี ๕ ไดค้ งเหลอื การกอ่ สรา้ งเฉพาะองค์ “พระเมรมุ าศ” ซงึ่ แตเ่ ดมิ เปน็ อาคารทีต่ ง้ั อยู่ภายใน “พระเมรใุ หญ”่ ทวา่ ในความจริงพระเมรอุ งค์แรกๆ ทีไ่ ดย้ กเลกิ การก่อสร้างพระเมรุใหญ่คงเหลือเฉพาะพระเมรุมาศทรงมณฑปเท่าน้ัน คือ พระเมรุส�ำหรับ พระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่า การก่อสร้างพระเมรุมาศในคราวน้ีได้แสดงให้เห็นความเปล่ียนแปลงของชุด ความคดิ หลายประการซงึ่ น�ำไปสพู่ ระบรมราชวนิ ิจฉยั ในการสร้างพระเมรุมาศในรัชกาลที่ ๕ ใหค้ งมี เฉพาะการก่อสร้างพระเมรุมาศเปน็ อาคารทรงมณฑป โดยตดั การก่อสร้างพระเมรใุ หญ่ออกไปดว้ ย เหตผุ ลถึงบริบทรว่ มสมัยในช่วงเวลาดงั กล่าว รวมท้งั รัชกาลท่ี ๕ ยงั โปรดเกลา้ ฯ ใหก้ ่อสรา้ งอาคาร ท่มี ีความถาวร นอกจากน้ี หากพจิ ารณาในบริบทกอ่ นหน้านจี้ ะเหน็ ว่า ในการทวิ งคตของกรมพระราชวงั บวรวิไชยชาญ ในปี พ.ศ.๒๔๒๘ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดพระราชทานให้ก่อสร้างพระเมรุใหญ่ตาม ธรรมเนยี ม ดงั ปรากฏกลา่ วถงึ ในราชกจิ จานเุ บกษา เลม่ ที่ ๑ หนา้ ๕๓๓-๕๓๖ ซงึ่ ในทน่ี ้ี สนั นษิ ฐานวา่ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ตามแบบแผนท่ีปฏิบัติกันมายังไม่ได้ให้เปลี่ยนแปลง เนอ่ื งจากในสภาวการณค์ วามสัมพนั ธ์ระหวา่ งวงั หลวงและวังหนา้ นั้นไม่สู้ดีนัก หากโปรดเกลา้ ฯ ให้ เปล่ียนแปลงแบบแผนในการณค์ รง้ั น้ีกจ็ ะมีผูต้ ีความไปในทางลบได้ จนกระท่ังคราวงานพระเมรุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎ ราชกุมาร ซึ่งสวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๓๗ และจัดงานพระเมรุในปี พ.ศ.๒๔๔๓ รัชกาลท่ี ๕ จงึ โปรด เกล้าฯ ให้ก่อสร้างเฉพาะ “พระเมรุมาศ” ไม่ก่อสร้างพระเมรุใหญ่ โดยมีลักษณะเป็นอาคารทรง 310 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

มณฑปผงั สเ่ี หลยี่ มจตั รุ สั ซง่ึ มกี ารซอ้ นชนั้ เชงิ กลอนเจด็ ชน้ั และทำ� เลในการกอ่ สรา้ งอยดู่ า้ นตะวนั ออก ของพระอโุ บสถวดั บวรสถานสทุ ธาวาส จงึ อาจแสดงนยั ยะทแี่ สดงวา่ พระองคเ์ ปน็ สยามมกฎุ ราชกมุ าร ซง่ึ มีตำ� แหน่งเดียวกับกรมพระราชวงั บวรท่คี รองพระราชวังบวรสถานมงคลด้วยนั่นเอง ๕๑ ภาพที่ ๑๒ ภาพถา่ ยเกา่ พระเมรทุ รงมณฑปในสมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจา้ ฟา้ มหาวชริ ณุ หศิ สยามมงกฎุ ราชกมุ าร ทจ่ี ดั ขึน้ ตรงบริเวณด้านตะวนั ออกของพระอุโบสถวัดบวรสถานสทุ ธาวาส ซึ่งในการพระราชพิธีคราวน้ีได้กำ� หนดให้ พระอโุ บสถวัดบวรสถานสทุ ธาวาสเปน็ พระเมรพุ ิมานประดษิ ฐานพระศพก่อนการพระราชทานเพลงิ พระศพ ความเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมของพระเมรุส�ำหรับองค์พระมหากษัตริย์ได้ เปลย่ี นแปลงใหมอ่ ยา่ งสนิ้ เชงิ ในพระเมรมุ าศสำ� หรบั พระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ด้วยการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการ กอ่ สรา้ งพระเมรใุ หญท่ รงปราสาทยอดปรางคส์ ำ� หรบั งานพระเมรใุ นพระมหากษตั รยิ อ์ อกเสยี คงเหลอื เพยี งการกอ่ สรา้ งพระเมรมุ าศทรงบษุ บกไวเ้ ทา่ นน้ั ดงั พระราชกระแสรบั สง่ั ไวก้ อ่ นแลว้ วา่ “...แตเ่ มอ่ื ตัวฉนั แลว้ ....ขอให้ยกเลิกงานพระเมรใุ หญ่นัน้ เสีย ปลูกแตท่ ่ีเผาอนั พอสมควร ณ ท้องสนามหลวง แลว้ แตจ่ ะเหน็ สมควรกนั ตอ่ ไป...” (สมภพ ภริ มย์ ๒๕๒๘: ๑๘๐) ซงึ่ การออกแบบกอ่ สรา้ งพระเมรมุ าศ ในคร้ังน้ี รองศาสตราจารย์สมคิด จิระทัศนกุล มีข้อสังเกตถึงผู้ออกแบบว่า ตามปกติแล้วสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จะเปรียบได้เป็นนายช่างเอกคู่พระราชหฤทัยของรัชกาลที่ ๕ หากแตท่ วา่ พระเมรมุ าศองคน์ ก้ี ลบั ไดร้ บั การออกแบบโดยพระเจา้ บรมวงษเ์ ธอฯ กรมพระนเรศรว์ รฤทธ์ิ ซ่ึงอาจเป็นเพราะพระอาการประชวรด้วยโรคพระหฤทัยโตของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัดติวงศ์ (สมคิด จิระทัศนกุล ๒๕๕๖: ๗๗๒, ๗๗๖) หากเปรียบเทียบกับพระเมรุมาศในสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหศิ สยามมงกฎุ ราชกุมาร (ภาพท่ี ๑๒) ซง่ึ มีการซอ้ นชนั้ ของ เรือนยอด ๗ ช้ัน ในขณะท่ีพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีการซ้อนชั้น เรือนยอดนอ้ ยกวา่ คอื ๕ ช้นั นอกจากน้ี ยงั ได้ใช้วธิ ีการก่อสร้างแบบใหมด่ ว้ ยการวางโครงสรา้ งของ ตวั เรอื นโดยการใชไ้ มท้ มี่ ขี นาดเลก็ แตกตา่ งไปจากการกอ่ สรา้ งแบบเดมิ ดงั ใจความวา่ “...จงึ คดิ ดว้ ย เกลา้ ฯ วา่ จะท�ำดว้ ยไมเ้ ล็กๆ ใชต้ ดิ ต่อกนั ตามวชิ ชาช่างใหม่ๆ...” (หจช. ๒๔๕๔) 311เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

นอกจากการเปล่ียนแปลงของลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารพระเมรุมาศแล้ว จะเห็นว่าการผังพ้ืนท่ีและอาคารยังเปล่ียนแปลงไป กล่าวคือ ซุ้มประตูถูกตัดออกไป แทนที่ด้วย อาคารผังจัตุรมุขท่ีตั้งขนาบทางเข้าสู่มณฑลพิธี ซึ่งการออกแบบคร้ังน้ีได้ท�ำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ นา่ สนใจ คอื เกดิ เสน้ นำ� สายตาเขา้ ไปสอู่ าคารประธาน ทำ� ใหพ้ ระเมรมุ าศดยู ง่ิ ใหญ่ และสงา่ งาม แมว้ า่ ถูกลดขนาดลงหลายเท่าตัว อีกท้ังยังเกิดความเช่ือมต่อของมณฑลพิธีตอนในท่ีเป็นขอบเขตท่ี ศกั ดส์ิ ทิ ธท์ิ ผี่ ทู้ ไี่ มเ่ กย่ี วขอ้ งจะลว่ งเขา้ ไปได้ แตอ่ ยา่ งไรกต็ าม ทำ� ใหไ้ พรฟ่ า้ ทม่ี อี งคพ์ ระปยิ มหาราชสถติ อยู่ในดวงใจสามารถเป็นสว่ นหนึ่งของการส่งเสดจ็ กลบั ไปสสู่ รวงสวรรคไ์ ด้ผ่านมุมมองท่ีเปิดกวา้ งนี้ ภาพที่ ๑๓ แบบสถาปัตยกรรมเขียนว่า “แบบพระเมรุท้องสนามหลวง” ซึ่งเม่ือเปรียบเทียบกับรูปถ่ายเก่า (ภาพล่าง) พระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเหน็ ว่าเป็นพระเมรมุ าศองค์เดียวกัน 312 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

รูปแบบของพระเมรุมาศทรงมณฑปได้เป็นแบบแผนของพระเมรุมาศส�ำหรับพระราชพิธี ๕๑ ถวายพระเพลงิ พระบรมศพสมเดจ็ พระมหากษัตริย์สืบต่อมา กล่าวคอื พระเมรมุ าศพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจ้าอย่หู วั รชั กาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๖๘) ซึง่ สมเด็จฯ เจ้าฟา้ กรมพระยานรศิ รานุวัดติงศ์ เป็นผู้ “คิดอย่างและตรวจตรา” โดยมีหลวงสมิทธิเลขา (อู๋ ลาภานนท์) เป็น “ผู้เขียน” (สมคิด จริ ะทัศนกุล ๒๕๕๖: ๘๒๐) พระเมรมุ าศพระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานันทมหดิ ล พระอัฐม รามาธบิ ดนิ ทร ออกแบบโดยศาสตราจารยพ์ ระพรหมพจิ ติ ร (อู๋ ลาภานนท)์ และพระเมรมุ าศพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ออกแบบโดยคณะท�ำงานจากส�ำนักสถาปัตยกรรม กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม ตา่ งกใ็ ชแ้ บบแผนการกอ่ สรา้ งพระเมรมุ าศเปน็ ทรงบษุ บกเฉกเชน่ พระเมรมุ าศพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู ัวสืบตอ่ กนั มา พระเมรุมาศ-พระเมรุฝีพระหตั ถ์สมเดจ็ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานรศิ รานวุ ัดตวิ งศ์ สำ� หรบั พระเมรมุ าศ และพระเมรทุ เี่ ปน็ ฝพี ระหตั ถข์ องสมเดจ็ ฯ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ นั้นใช้ข้อมูลตามการศึกษาของรองศาสตราจารย์สมคิด จิระทัศนกุล ท่ีได้วิเคราะห์ในประเด็นเร่ือง การลงนามและการใชส้ ญั ลกั ษณป์ ระจำ� พระองคก์ ำ� กบั บนผลงานทท่ี รงออกแบบ (สมคดิ จริ ะทศั นกลุ ๒๕๕๖: ๗๘๑-๗๘๓) ดังมรี ายละเอยี ดต่อไปน้ี ในสมยั รชั กาลท่ี ๕ นน้ั สมเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศไ์ ดท้ รงมโี อกาสออกแบบ พระเมรุ ๑ องค์ คอื “พระเมรพุ ระเจา้ ลกู เธอ พระองคเ์ จา้ ศรวี ลิ ยั ลกั ษณ์ กรมขนุ สพุ รรณภาควด”ี ในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ซง่ึ แมว้ า่ จะไมม่ หี ลกั ฐานบง่ ชี้ ทวา่ จากทว่ งทใี นการการออกแบบแลว้ นนั้ รองศาสตราจารย์ สมคดิ จิระทัศนกลุ สนั นิษฐานวา่ พระเมรดุ ังกลา่ วตอ้ งเป็นผลงานของสมเด็จฯ เจ้าฟา้ กรมพระยา นริศรานวุ ัดตวิ งศอ์ ย่างแนน่ อน (สมคดิ จริ ะทศั นกลุ ๒๕๕๖: ๗๘๘-๗๘๙) ตอ่ มาในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๖ นน้ั รองศาสตราจารย์ สมคดิ จริ ะทศั นกลุ เสนอวา่ สมเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ ไดท้ รงออกแบบพระเมรมุ าศ และพระเมรุด้วยกัน ๓ องค์ คือ พระเมรุมาศสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พ.ศ.๒๔๖๓ พระเมรสุ มเดจ็ พระอนชุ าธริ าช เจา้ ฟา้ กรมหลวงพษิ ณโุ ลกประชานาถ พ.ศ.๒๔๖๓ และ พระเมรสุ มเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส พ.ศ.๒๔๖๔ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๗ น้ัน สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศไ์ ดท้ รงออกแบบพระเมรมุ าศ และพระเมรดุ ว้ ยกนั ๔ องค์ คอื พระเมรมุ าศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว พ.ศ.๒๔๖๘ พระเมรุสมเดจ็ พระปิตจุ ฉาเจา้ สุขุมาลมารศรี พระอคั รราชเทวี พ.ศ.๒๔๗๑ พระเมรสุ มเดจ็ พระราชปติ ลุ าบรมพงศาภมิ ขุ เจา้ ฟา้ ภาณรุ งั สสี วา่ งวงศ์ กรมพระยาภาณพุ นั ธว์ งศว์ รเดช พ.ศ. ๒๔๗๒ และพระเมรสุ มเดจ็ พระมหติ ลาธเิ บศร อดลุ ยเดชวกิ รม พระบรมราชชนก (สมเดจ็ พระเจ้าพ่ยี าเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร)์ พ.ศ.๒๔๗๒ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลท่ี ๘ นนั้ สมเด็จฯ เจ้าฟา้ กรมพระยานริศรานวุ ัดตวิ งศไ์ ดท้ รงออกแบบพระเมรุ ๑ องค์ คือ พระเมรุสมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระสวสั ดวิ ัดนวศิ ษิ ฏ์ พ.ศ.๒๔๗๘ 313เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ในชว่ งระหวา่ งต้นรชั กาลที่ ๖ เป็นตน้ มา จะเหน็ ได้วา่ การเปลี่ยนแปลงบรบิ ทแวดล้อมทาง สงั คม วฒั นธรรม เศรษฐกจิ และการเมอื งไดม้ พี ลวตั อิ ยา่ งสงู ยงิ่ ทงั้ ทเี่ ปน็ ปจั จยั จากภายนอกประเทศ และเป็นปัจจัยภายในประเทศ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งท่ี ๑ ภาวะข้าวยากหมากแพง ตลอดจน การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซ่ึงผลต่อการออกแบบและการจัดงานพระเมรุตลอดจนการปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ขององคาพยพ ตา่ งๆ ของสงั คม สำ� หรบั พระเมรมุ าศ และพระเมรทุ อี่ อกแบบโดยสมเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ นนั้ รองศาสตราจารย์ สมคดิ จริ ะทัศนกุล ไดศ้ ึกษาและจำ� แนกรปู แบบทางสถาปัตยกรรมออกเปน็ ๒ ประเภท ตามรปู แบบของเรอื นยอด คอื “เรอื นยอดทรงบษุ บก” และ “เรอื นยอดทรงปราสาทแบบ ต่างๆ” (สมคิด จิระทัศนกุล ๒๕๕๖: ๗๘๔) โดยเรือนยอดทรงบุษบกนั้นก�ำหนดให้เป็นเรือนยอด ท่ีสัมพันธ์กับฐานานุศักด์ิที่สูงสุดอันใช้ในพระเมรุมาศในรัชกาลท่ี ๖ ซึ่งเป็นเรือนยอดที่มีแบบแผน เครง่ ครดั ตามฉนั ทาลักษณแ์ บบจารีตทีร่ บั ถา่ ยทอดมาจากพระเมรใุ นรัชกาลท่ี ๕ ทว่าเรือนยอดทรง ปราสาทนน้ั ไดเ้ ปดิ โอกาสใหพ้ ระองคไ์ ดใ้ ชเ้ ชงิ ชน้ั ในการออกแบบไดอ้ ยา่ งกวา้ งขวางซง่ึ สอดคลอ้ งกบั คตนิ ิยมของพระองค์ด้วย ดงั จะเห็นไดว้ ่ามลู เหตใุ นการก่อรูปของพระเมรุมาศ และพระเมรใุ นช่วงน้ี ได้กลับตาลปัตรกับธรรมเนียมในการออกแบบพระเมรุแบบด้ังเดิมท่ีรับแบบแผนมาจากอยุธยาไป โดยส้นิ เชงิ ทงั้ นยี้ งั จะเหน็ ไดว้ า่ นอกจากพระเมรมุ าศ และพระเมรจุ ะลดขนาดของอาคารลงมาจากเดมิ มากแลว้ ยังจะเหน็ ไดว้ ่าในการสรา้ งพระเมรมุ าศ และพระเมรใุ นแตล่ ะคราวจะใช้ในการพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ท่ีมีการส้ินพระชนม์ในช่วงเวลา เดียวกันน้ัน ดังตัวอย่างของพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน กรมหลวง ศรรี ตั นโกสนิ ทร์ มีพระบรมวงศานวุ งศ์สิ้นพระชนม์หลายพระองค์ รัชกาลท่ี ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ใหใ้ ช้ พระเมรสุ มเดจ็ พระเจา้ พนี่ างเธอ เจา้ ฟา้ สทุ ธาทพิ ยรตั น์ กรมหลวงศรรี ตั นโกสนิ ทร ในการพระราชทาน เพลงิ พระบรมวงศานวุ งศช์ นั้ สงู อาทิ สมเดจ็ พระเจา้ นอ้ งยาเธอ เจา้ ฟา้ จฑุ าธชุ ธราดลิ ก กรมขนุ เพช็ รบรู ณ์ อนิ ทราชยั , สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาเทวะวงศว์ โรปการ, พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวง สรรพสิทธิประสงค์, พระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมขนุ มรุพงษศ์ ิริพฒั น,์ พระเจ้าพ่ียาเธอ กรมหลวงชมุ พร เขตอุดมศักด์ิ, และเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งก็ได้มีการปรับเปล่ียนองค์ประกอบตกแต่งทาง สถาปัตยกรรมเพ่ือใหส้ อดคล้องกับฐานานศุ ักด์ิของพระบรมวงศานวุ งศช์ ้นั ต่างๆ พลวตั ทางสงั คม วฒั นธรรม และเศรษฐกจิ ยงั แสดงออกผา่ นงานพระเมรมุ อี กี หลายประการ อาทเิ ชน่ การทร่ี ชั กาลที่ ๖ ไดท้ รงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ ใหป้ รบั แกร้ ูปแบบทางสถาปัตยกรรม เพ่ือ ใหก้ ารกอ่ สรา้ งพระเมรกุ ระชบั เวลาและกอ่ สรา้ งแลว้ เสรจ็ ทนั หมายกำ� หนดการและดเู ปน็ พระเมรอุ งคใ์ หม่ ทีม่ ฐี านานศุ กั ดิ์สอดคล้องกบั พระบรมวงศานุวงศผ์ ูว้ ายชนม์ เชน่ พระเมรุสมเด็จพระมหติ ลาธเิ บศร อดลุ ยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจา้ พ่ยี าเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครนิ ทร์) ซึง่ ปรบั แกร้ ปู แบบจากพระเมรสุ มเดจ็ พระราชปติ ลุ าบรมพงศาภมิ ขุ เจา้ ฟา้ ภาณรุ งั สสี วา่ งวงศ์ กรมพระยา ภาณุพันธว์ งศว์ รเดช 314 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๕๑ ภาพที่ ๑๔: ภาพซา้ ย พระเมรสุ มเดจ็ พระราชปติ ลุ าบรมพงศาภมิ ขุ เจา้ ฟา้ ภาณรุ งั สสี วา่ งวงศ์ กรมพระยาภาณพุ นั ธ์ วงศ์วรเดช และภาพขวา พระเมรุสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จะเห็นได้ว่ามี องคป์ ระกอบทางสถาปัตยกรรมสว่ นฐาน และส่วนหลงั คาและเรอื นยอดแตกตา่ งกนั รวมท้ัง ยังมีการก่อสร้างพระเมรุหลังคาดาดสีขึ้นที่วัดเทพศิรินทราวาส ในปี พ.ศ.๒๔๖๙ เพอ่ื ใชใ้ นการพระราชทานเพลงิ พระศพและศพพระบรมวงศานวุ งศท์ ส่ี น้ิ พระชนม์ และถงึ แกอ่ สญั กรรม ในชว่ งเวลาดงั กลา่ วหลายองค์ การกอ่ สรา้ งเมรทุ วี่ ดั เทพศริ นิ ทราวาสดงั กลา่ วนนั้ ไดส้ รา้ งแบบแผนใหม่ ของการพิธีพระราชทานเพลิงพระศพและศพท่ีแต่เดิมจัดอยู่ที่ท้องสนามหลวง และเป็นที่มาของ เมรหุ ลวงหนา้ พลบั พลาอศิ ริยาภรณด์ ้วย พระเมรุมาศ-พระเมรภุ ายใตก้ ารออกแบบของกรมศลิ ปากร แม้ว่ากรมศิลปากรได้มีจุดเร่ิมต้นต้ังแต่รัชกาลที่ ๖ ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ และถูกยกเลิกไปปี พ.ศ.๒๔๖๙ ในรชั กาลที่ ๗ ทวา่ ภายหลงั เปลย่ี นแปลงการปกครองจากระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์ มาเปน็ ระบอบประชาธปิ ไตยในปี พ.ศ.๒๔๗๕ นัน้ ตอ่ มาในปี พ.ศ.๒๔๗๖ มีพระราชบัญญตั จิ ดั ตั้ง กรมศลิ ปากรข้นึ อีกครั้ง จะเห็นได้ว่า กระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและทักษะเชิงช่างหลวงใน การกอ่ สรา้ งพระเมรมุ าศและพระเมรุแบบอยา่ งสมเดจ็ ฯ เจา้ ฟา้ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ไดถ้ ูก ถ่ายทอดต่อมายังพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ตั้งแต่เมื่อคราวด�ำรงต�ำแหน่งหลวงสมิทธิเลขา ต้ังแต่เมื่อคร้ังงานพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมท้ังยังปรากฏช่ือ ผอู้ อกแบบ และผมู้ สี ว่ นรว่ มในการการทำ� งานอกี หลายทา่ น อาทพิ ระเทวาภนิ มิ มติ ร (ฉาย เทยี มศลิ ปช์ ยั ) รวมทง้ั ผทู้ จ่ี บการศกึ ษาทางสถาปตั ยกรรมจากตะวนั ตก อาทหิ มอ่ มเจา้ อทิ ธเิ ทพสรรค์ กฤดากร และ พระสาโรชรตั นนมิ มานก์ (สาโรช สุขยางค)์ 315เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

จากการศึกษาพบว่า พระเมรุองค์แรกที่ด�ำเนินการโดยกรมศิลปากร คือ พระเมรุสมเด็จ พระราชปติ จุ ฉา เจา้ ฟา้ วไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพช็ รบ์ รุ รี าชสริ นิ ธร พ.ศ.๒๔๘๔ ซงึ่ แบบรา่ งแรกนน้ั มรี ปู แบบทพี่ ฒั นาตอ่ จากรปู แบบพระเมรสุ มเดจ็ เจา้ ฟา้ ฯ กรมหลวงสงขลานครนิ ทร์ ทวา่ กรมศลิ ปากร ได้เปลีย่ นแบบเนอ่ื งจากงบประมาณในการก่อสร้าง พระเมรุมาศองคต์ ่อมา คือ พระเมรุพระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึง่ พระองค์ไดเ้ สดจ็ สวรรคตในปี พ.ศ.๒๔๘๙ เดิมทมี กี �ำหนดการจดั การพระราชพิธใี นเดอื น มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๐ แต่ด้วยบ้านเมืองประสบภาวะขาดแคลนจึงได้เลื่อนออกไปปี พ.ศ.๒๔๙๑ เพื่อให้มีเวลาเตรียมการได้เหมาะสม ทว่าพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพก็ยังมิได้เกิดข้ึน จนกระทั่งรัฐบาลได้มีก�ำหนดใหม่ว่าจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๒ แต่แล้วพระบาทสมเด็จ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้ เลื่อนก�ำหนดจัดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๘ ไปเป็นวันท่ี ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ซึง่ พระเมรมุ าศมลี กั ษณะทางสถาปัตยกรรมเปน็ อาคารทรงมณฑปไมช่ ักมขุ เรือนยอด บุษบกมีชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น และมียอดพรหมพักตร์ ต่อมาได้มีการจัดสร้างพระเมรุมาศสมเด็จ พระศรสี วรนิ ทริ าบรมราชเทวี พระพนั วสั สาอยั ยกิ าเจา้ พ.ศ.๒๔๙๙ ซง่ึ กำ� หนดใหม้ รี ปู แบบเชน่ เดยี วกนั กับพระเมรุรชั กาลที่ ๘ เนอื่ งจากมเี วลาในการเตรยี มการในการออกแบบกอ่ สรา้ งในเวลาทจ่ี ำ� กดั จะเหน็ ไดว้ า่ การออกแบบก่อสร้างพระเมรุมาศในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองน้ัน มีข้อจ�ำกัดหลายประการทั้งในประเด็นเร่ืองสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งท�ำให้ ขาดแคลนสถาปนิกและช่างฝีมือจนไม่อาจจะท�ำการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจขนาดใหญ่ที่มี ระยะเวลาในการกอ่ สรา้ งจ�ำกดั ได้ ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำ� ไพพรรณี พระบรมราชินใี นรัชกาลท่ี ๗ เป็นพระเมรุมาศที่ออกแบบโดยอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ซึ่งนับว่าเป็นพระเมรุมาศองค์แรก ที่ออกแบบโดยสถาปนิกท่ีศึกษาเล่าเรียนด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมศาสตร์จากสถาบัน อุดมศึกษาภายในประเทศ รวมทั้งยังประกอบไปด้วยคณะท�ำงานท่ีเป็นสถาปนิกท่ีจบการศึกษา ด้านสถาปัตยกรรมจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อาทิ ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี พลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ รองศาสตราจารย์ภิญโญ สุวรรณครี ี ศาสตราจารย์กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยธุ ยา ส�ำหรบั ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีลกั ษณะ เป็นพระเมรุมาศทรงปราสาทจัตุรมุขมุขด้านเหนือ และใต้ชักยาวออกมากว่าด้วนอ่ืน เรือนยอด ทรงมณฑปมชี นั้ เชงิ กลอน ๕ ชั้น บนยอดมีพรหมพกั ตร์ ตอ่ มาปี พ.ศ.๒๕๓๙ คอื พระเมรมุ าศสมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ คือ พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ พระเมรุมาศสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งพระเมรุมาศทั้ง ๓ องค์น้ีออกแบบโดยนาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกล่ิน และคณะท�ำงานจาก กรมศลิ ปากร ดงั จะเหน็ ไดว้ า่ นบั จากการสมโภชกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ บา้ นเมอื ง มีเสถียรภาพที่ม่ันคง เศรษฐกิจเติบโตมากข้ึน ปัจจัยการเมืองจากภายนอกค่อยๆ ผ่อนลด ความตงึ เครยี ดลง การบรหิ ารกจิ การบา้ นเมอื งเปน็ ไปดว้ ยดี อนั ทำ� ใหว้ าระการฉลองกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ๒๐๐ ปี นัน้ เป็นโอกาสอยา่ งสำ� คญั ในการสรา้ งผู้เชย่ี วชาญ ตลอดจนชา่ งฝมี ือทเ่ี ก่ยี วเนอื่ งกับศลิ ปะ สถาปัตยกรรมไทยขึน้ เป็นจ�ำนวนมาก 316 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

นอกจากนี้ ในคราวงานพระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังเป็นโอกาส ๕๑ ส�ำคัญที่ภาครัฐได้เล็งเห็นความส�ำคัญในการผลักดันให้มีการสร้างสถาปนิกสถาปัตยกรรมไทยเพื่อ รองรับการออกแบบไทยประเพณี อันเกิดจากความวิตกกังวลเรื่องความขาดแคลนผู้ปฏิบัติวิชาชีพ สถาปัตยกรรมไทยท่ีมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง จึงมีโครงการให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ศึกษา ระดบั ปรญิ ญาบัณฑติ และปริญญามหาบัณฑติ สาขาวชิ าสถาปัตยกรรมไทย ผ่านสถาบันฝ่ายผลติ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร และคณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั โดยผจู้ บการศกึ ษานนั้ ไดเ้ ขา้ รบั ราชการในหนว่ ยงานราชการ รวมทง้ั ปฏบิ ตั หิ นา้ ทเ่ี ปน็ ผู้สอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งดอกผลอันงดงามของโครงการดังกล่าวได้สร้างความม่ันคงแก่ การปฏบิ ตั วิ ชิ าชพี ดา้ นสถาปตั ยกรรมไทยเปน็ อยา่ งมาก รวมทงั้ ไดร้ ว่ มถวายความอาลยั ในการทำ� งาน รว่ มกนั ในการออกแบบกอ่ สรา้ งพระเมรมุ าศพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช โดย การผสานความรว่ มมอื กนั ระหวา่ งกรมศลิ ปากร และคณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร และคณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ น้ีด้วย สรุป สถาปตั ยกรรมเฉพาะกจิ ทท่ี ำ� หนา้ ทใ่ี นพระราชพธิ สี ง่ เสดจ็ สมเดจ็ พระมหากษตั รยิ ์ พระมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงให้เสด็จสู่สวรรคาลัยตามคติความเชื่อดั้งเดิม แบบแผนพิธีกรรมและ การก่อสร้างดูจะมีความซับซ้อนมากย่ิงขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งดินแดนลุ่มแม่น�้ำ เจา้ พระยา โดยแบง่ พระเมรอุ อกเป็นพระเมรุเอก พระเมรโุ ท และพระเมรุตรี ซงึ่ เปน็ อาคารเฉพาะกิจ ทรงปราสาทยอดปรางค์ โดยพระเมรเุ อกมเี รอื นยอดปรางค์ ๙ ยอด ในขณะทพี่ ระเมรโุ ท และพระเมรตุ รมี ี เรอื นยอดทรงปราง ๕ ยอด ทั้งน้ี พระเมรุเอก และพระมเี มรโุ ทมีอาคารทเ่ี รียกวา่ “พระเมรมุ าศ” ซอ้ นอยดู่ า้ นในอกี ชน้ั จงึ เรยี กอาคารทรงปราสาทยอดปรางคท์ หี่ อ่ หมุ้ อยดู่ า้ นนอกวา่ “พระเมรใุ หญ”่ ทว่าการสืบทอดชุดความรู้จากเม่ือคร้ังท่ีเรียกว่า “คร้ังบ้านเมืองยังดี” ในกรุงศรีอยุธยา มาสูก่ รงุ ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ เป็นไปอยา่ งกระทอ่ นกระแทน่ ด้วยผู้รู้ และเอกสารตำ� ราต่างๆ ได้ กระจดั พลดั พรากไป ดงั จะเหน็ ไดว้ า่ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช ไดโ้ ปรดเกลา้ ฯ ให้ช�ำระเอกสารต�ำรา คัมภีร์ต่างๆ เพื่อเป็นหลักยึดมั่นในการปฏิบัติตามจารีตของแบบแผนต่างๆ ทรี่ ับสืบทอดมาจากสมยั อยธุ ยา ในท่นี ีจ้ ะเหน็ ได้ว่า ในชน้ั ต้นกรุงน้ันยงั คงสืบทอดแบบแผนทางสถาปตั ยกรรมแบบอยธุ ยา สืบตอ่ ลงมาได้ แต่กค็ อ่ ยเปลย่ี นแปลงไปใหส้ อดคล้องกบั บริบทแวดล้อมตา่ งๆ จนในท่ีสุดในรชั สมัย พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ อยหู่ วั รชั กาลที่ ๕ ไดม้ พี ระราชดำ� รใิ หว้ างแผนออกแบบพระเมรมุ าศ และพระเมรุให้ประหยัดทรัพยากรสอดคล้องกบั การเมือง เศรษฐกจิ และสงั คมในช่วงเวลาดังกล่าว ทำ� ใหร้ ปู แบบสถาปตั ยกรรมของพระเมรมุ าศเปลย่ี นแปลงไปอยา่ งพลกิ ฝา่ มอื โดยเฉพาะพระเมรมุ าศ และพระเมรุท่ีออกแบบโดยสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ท่ีได้พัฒนารูปแบบทาง สถาปตั ยกรรมของพระเมรมุ าศ และพระเมรไุ ปอยา่ วกา้ วกระโดด จนระยะเวลาตอ่ มาเมอ่ื เปลยี่ นแปลง การปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยหน้าที่การออกแบบ พระเมรมุ าศจึงได้ตกไปอยู่ท่ีกรมศลิ ปากรจนกระท่งั ทุกวนั น้ี 317เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

รายการอา้ งองิ นิโกลาส์ แชรแวส. ๒๕๐๖. ประวตั ศิ าสตรธ์ รรมชาตแิ ละการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม, แปลโดย สนั ต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร: สำ� นักพิมพก์ ้าวหน้า. แน่งนอ้ ย ศกั ดศ์ิ ร,ี ม.ร.ว. และคณะ. ๒๕๕๕. สถาปัตยกรรมพระเมรุในสยาม เล่มท่ี ๑. กรงุ เทพฯ: สมาคม สถาปนกิ สยาม ในพระบรมราชปู ถมั ภ์. พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหม่ืนศรีสุเรนทร์. ๒๕๕๒. “โคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้าหลวง,” ใน งานพระเมร:ุ ศิลปสถาปตั ยกรรมประวตั ิศาสตร์ และวฒั นธรรมเก่ยี วเนื่อง. กรุงเทพฯ: อษุ าคเนย์. พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั . ๒๕๔๖. พระราชวจิ ารณจ์ ดหมายความทรงจำ� ของพระเจา้ ไปยกิ าเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธ)์ิ . กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ. สมคิด จริ ะทัศนกุล. ๒๕๕๖. งานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยฝพี ระหตั ถ์สมเดจ็ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา นวุ ัดตวิ งศ์ ภาคปลาย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร. สมภพ ภิรมย.์ น.อ., ร.น. ๒๕๒๘. พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรสุ มยั กรงุ รตั นโกสินทร.์ กรุงเทพฯ: อมรินทร์. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (หจช.) มร. ๖ บ/๑ เร่ือง “พระเมรุและพระบรมศพ” ร่างหนังสือของพระเจ้า บรมวงศ์เธอฯ กรมพระนเรศร์วรฤทธก์ิ ราบบงั คมทลู เกลา้ ฯ ถวายพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้า เจ้าอยหู่ วั ลงวันที่ ๒๘ พฤศจกิ ายน ร.ศ.๑๒๙. 318 เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๖ ราชรถในงานพระบรมศพ สมยั กรุงรตั นโกสินทร์ ยุทธนาวรากร แสงอรา่ ม ภณั ฑารักษ์ชำ�นาญการ สำ�นกั พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร “ราชรถ” เป็นหน่ึงในเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และ พระบรมวงศานวุ งศ์ ซงึ่ แสดงใหเ้ หน็ ถงึ ฐานานศุ กั ดข์ิ องผใู้ ช้ ตามความหมายของคำ� วา่ “รถ” หมายถงึ “ยานทม่ี ลี อ้ สำ� หรบั เคลอ่ื นไป” (ราชบณั ฑติ ยสถาน ๒๕๕๖: ๙๖๘) นกั วชิ าการสว่ นใหญม่ กั จะกลา่ ววา่ ราชรถน้ันพฒั นารปู แบบมาจาก “เกวียน” ซึ่งปจั จุบัน “เกวยี น” มีความหมายถึง “ยานชนดิ หนึ่ง มลี อ้ ๒ ล้อ ใชค้ วายหรือวัวเทียม” (ราชบณั ฑิตยสถาน ๒๕๕๖: ๑๔๖) หากพิจารณาตวั อยา่ งราชรถในภาพสลักเลา่ เร่ืองหรอื จิตรกรรมจะพบว่า ราชรถทีม่ ี ๒ ล้อ ซ่ึงมพี ฒั นามาจากเกวียนน้นั คงไมส่ ามารถรองรบั นำ�้ หนักบษุ บกเครื่องไม้ขนาดใหญไ่ ด้ หากราชรถ ๒ ล้อ มีบุษบกก็จะเป็นบุษบกขนาดเล็ก ท้ังนี้เห็นได้จากจิตรกรรมกระบวนเชิญพระบรมศพ สมเด็จพระเพทราชา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๗ ซึ่งปัจจุบันภาพดังกล่าวได้เก็บรักษาท่ี Kupferstich -kabinett เมอื งเดรสเดน สหพนั ธ์สาธารณรฐั เยอรมนี สังเกตได้ว่าพระมหาพิชยั ราชรถ ทอ่ี ญั เชญิ พระโกศพระบรมศพเปน็ ราชรถบษุ บกทม่ี ลี อ้ ๔ ลอ้ ในขณะทรี่ าชรถนอ้ ย ๓ รถ เปน็ ราชรถบุษบกทม่ี ี ๒ ลอ้ (Terwiel 2016: 79-81) ในราชส�ำนักมีหลักฐานการใช้งานราชรถมาแต่ครั้งโบราณ โดยปรากฏหลักฐานชัดเจน ในสมัยกรงุ ศรีอยธุ ยา และเป็นราชประเพณสี บื ตอ่ มาจนถงึ สมยั รัตนโกสินทร์ ในสมัยกรงุ ศรีอยุธยา ราชรถมิได้ใช้เพียงงานพระบรมศพหรืองานพระศพ หากพระมหากษัตริย์ทรงราชรถเสด็จ พระราชด�ำเนินด้วย เช่น ทรงพระมหาพิชัยราชรถเสด็จพระราชทานพระกฐินในเดือน ๑๑ ด้วย กระบวนพยุหยาตราสถลมารค (กรมศิลปากร ๒๕๓๙: ๕๕)๑ และใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ เช่น ในสมยั สมเดจ็ พระนารายณ์ คราวอญั เชญิ พระราชสาสน์ ของพระเจา้ หลยุ สท์ ี่ ๑๔ แหง่ ประเทศฝรง่ั เศส ๑ ตามแบบแผนธรรมเนยี มในราชสำ� นักครัง้ กรุงศรีอยธุ ยา ปรากฏความตอนหน่งึ วา่ “ทรงพระมหาพิไชยราชรถและ เรือพระท่นี ัง่ ก่ิงไปพระราชทานพระกฐินทรงเคร่อื ง ๑๓ อยา่ ง...” (กรมศิลปากร ๒๕๓๙: ๕๕) 319เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

เข้ามายังราชส�ำนักไทย บาทหลวงเดอชัวซีย์บันทึกไว้ว่า “ท่านราชทูตได้เชิญพระราชสาส์นและ น�ำไปประดษิ ฐานบนราชรถชยั (char de triomphe) ซงึ่ มีความวจิ ติ รตระการตาเหนือเรอื บัลลงั ก์ไป เสยี อกี ” (เดอ ชวั ซยี ์ ๒๕๕๐: ๒๒๕) สำ� หรบั การถวายพระเกยี รตแิ กพ่ ระบรมศพตามโบราณราชประเพณซี ง่ึ สบื ทอดมา แตค่ รงั้ กรุงศรีอยุธยา การอัญเชิญพระบรมศพจากที่ประดิษฐานออกสู่พระเมรุมาศถือว่ามีความส�ำคัญ เปน็ พเิ ศษจงึ อญั เชญิ ดว้ ยกระบวนพระราชอสิ รยิ ยศกระบวนพยหุ ยาตราสส่ี าย(กรมศลิ ปากร ๒๕๓๙: ๗๖)๒ และต้องใช้พระมหาพิชัยราชรถสำ� หรบั อัญเชญิ พระบรมศพ ประวตั ิการสร้างพระมหาพิชยั ราชรถและเวชยนั ตราชรถ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการกล่าวถึงพระมหาพิชัยราชรถคร้ังแรก ในพระราชพิธีบรม ราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เม่ือ พ.ศ.๒๓๒๘ โดยเจ้าพระยา อรรคมหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหมได้กราบทูลในพระราชพิธีว่า “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกลา้ ปกกระหมอ่ ม ขา้ พระพทุ ธเจา้ ขอพระราชทานทลู เกลา้ ทลู กระหมอ่ มถวายพระมหาพชิ ยั ราชรถ เรอื พระทน่ี งั่ ศรสี มรรถไชย เรอื พระทน่ี ง่ั ไกรสรมขุ เรอื กระบวนใหญน่ อ้ ย และเครอ่ื งสรรพยทุ ธทงั้ ปวง เมอื งเอก โท ตรี จัตวา ทัง้ ไพรพ่ ลฝา่ ยทหาร แดพ่ ระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยหู่ ัว ขอเดชะ” (เจา้ พระยาทิพากรวงศ์ ๒๕๐๓: ๑๐๑) ตอ่ มาใน พ.ศ. ๒๓๓๘ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ รา้ ง ราชรถขึ้นใหม่ ๗ รถ เพ่ือใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก โดยปรากฏในเร่ือง จดหมายเหตคุ วามทรงจำ� ของกรมหลวงนรินทรเทวี ความว่า “...ปีเถาะสัปตศก พระโองการรบั สงั่ ใหช้ า่ งทำ� พชิ ยั ราชรถ จะทรงพระโกศพระอฐั ิ ๗ รถ ใหต้ ดั เสาพระเมรตุ ง้ั ทรง ประดบั เคร่ืองให้เสร็จแล้วแต่ในปีเถาะ...ลุศักราช ๑๑๕๘ ปีมะโรงอัฐศก เชิญพระอัฐิทรงพิชัยราชรถ รถพระ รถชกั (โยง) รถโปรยขา้ วตอก รถทนี่ ่ังรอง รถจันทร์ ๒...” (กรมศลิ ปากร ๒๕๐๑: ๒๔๔) ราชรถท้ัง ๗ รถนี้ ปัจจุบันนักวิชาการเข้าใจว่าหมายถึง พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันต ราชรถ (รถพระท่ีนง่ั รอง) ราชรถน้อย ๓ รถ (ไดแ้ ก่ รถพระ, รถชกั (โยง) และรถโปรยขา้ วตอก) และ ราชรถเชญิ เคร่ืองหอม (รถท่อนจันทน์) ๒ รถ อย่างไรก็ดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงเชิงอรรถไว้ใน พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลท่ี ๒ ตา่ งออกไปไวว้ า่ “ราชรถใหญส่ ำ� หรบั ทรงพระศพมี ๒ หลัง เรยี กว่า มหาพไิ ชยราชรถ หลัง ๑ เวชยนั ตราชรถ หลงั ๑ ขา้ พเจา้ เขา้ ใจหลัง ๑ สร้างขนึ้ เมื่องานถวายพระเพลิงพระอัฐิสมเด็จปฐมบรมวงษ์ เม่ือในรัชกาลท่ี ๑ อีกหลัง ๑ เห็นจะสร้างขึ้น ๒ กระบวนแหเ่ สด็จทางสถลมารค กระบวนแห่เสดจ็ ทางบก โดยกระบวนราบ หรอื กระบวนเดินเท้า สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ ทรงระบวุ า่ มกี ระบวนตา่ งกนั ๔ อยา่ ง คอื “พยหุ ยาตราใหญ”่ กระบวนเดนิ ๘ สาย ใช้เฉพาะเสดจ็ เลียบพระนครในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “พยหุ ยาตรา” (สามัญ) กระบวนเดิน ๔ สาย มีเครื่องสูงกลองชนะแตรสังข์แห่เสด็จในงานใหญ่ “พยุหยาตราน้อย” กระบวนเดิน ๒ สายเหมือนกระบวนราบ สามญั แตม่ ีเคร่อื งสูงกลองชนะแตรสงั ข์ แห่เสด็จในงานวสิ ามญั แตไ่ ม่เปน็ งานใหญอ่ ย่างแห่ และ “กระบวนราบ” กระบวนเดิน ๒ สาย แห่เสด็จโดยปกตสิ �ำหรบั เสดจ็ สามญั หรอื เตม็ ยศอยา่ งน้อย (กรมศลิ ปากร ๒๕๓๙: ๗๖) 320 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๑๖ เมอ่ื งานพระศพสมเดจ็ พระพน่ี าง ซง่ึ ทำ� เมอื่ ในรชั กาลท่ี ๑ พรอ้ มกนั ทง้ั ๒ องค์ ทวี่ า่ นเ้ี ปน็ การคาด คะเน ไม่มีจดหมายเหตบุ อกไวใ้ นท่ีอื่น” (สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพ ๒๕๐๕: ๑๓๕) ทง้ั นหี้ ากเปน็ ตามพระวนิ จิ ฉยั ของสมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ เวชยนั ตราชรถจะ สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๓๔๓ ส�ำหรับอัญเชิญพระโกศสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรี สุดารกั ษ์ ความหมายและคติความเช่อื ของราชรถ โดยส่วนใหญ่แล้วนักวิชาการมักจะอธิบายถึงคติความหมายของพระมหาพิชัยราชรถ เวชยนั ตราชรถ และราชรถน้อย ๓ รถ ซึ่งสรา้ งขึน้ ในรัชกาลที่ ๑ วา่ เปน็ การจำ� ลองคติเขาพระสุเมรุ (กรมศิลปากร ๒๕๕๕: ๑๙๐) แตผ่ ้เู ขียนเห็นตา่ งออกไป เพราะการประดบั ตกแตง่ ท้องไมข้ า้ งเกรนิ ราชรถลว้ นแตป่ ระดบั ไมจ้ ำ� หลกั รปู เทพนมปดิ ทองประดบั กระจก โดยไมม่ รี ปู อนื่ ประกอบ ซง่ึ แตกตา่ ง กบั พระราเชนทรยานหรอื พระยานมาศสามลำ� คานทจี่ ะมรี ปู ครฑุ ยดุ นาคประกอบทที่ อ้ งไมฐ้ านบลั ลงั ก์ ชนั้ ลา่ ง และท้องไม้ชั้นบนประดบั รปู เทพนม นอกจากน้ี เมอื่ พจิ ารณาถงึ การประดบั พระทนี่ งั่ บษุ บกเกรนิ ทท่ี อ้ งไมฐ้ านบลั ลงั กซ์ อ้ น ๓ ชน้ั ท้องไม้ช้ันล่างประดับรูปยักษ์ ท้องไม้ชั้นกลางประดับรูปครุฑ และท้องไม้ชั้นบนประดับรูปเทพนม ซ่ึงพระราเชนทรยาน พระยานมาศสามล�ำคาน หรือพระท่ีนั่งบุษบกเกริน ล้วนแต่แสดงนัยถึงคติ เรอื่ งไตรภูมิท่ีชัดเจนกวา่ ดงั นนั้ การประดบั ไมจ้ ำ� หลกั รปู เทพนมทท่ี อ้ งไมข้ า้ งเกรนิ พระมหาพชิ ยั ราชรถ เวชยนั ตราชรถ และราชรถนอ้ ย ๓ รถ จงึ นา่ จะมคี วามหมายเพียงวา่ เปน็ ราชรถทีม่ เี หล่าเทพยดาหอ้ มล้อมนำ� เสดจ็ กลับสวรรคาลัย หลักฐานอีกประการท่ีน่าจะช่วยยืนยันความคิดน้ีคือ นามของเวชยันตราชรถ ดังที่ ได้กล่าวแล้วว่าเป็นชื่อราชรถของพระอินทร์ ดังปรากฏในโคลงถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิพระเจ้า หลวง พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมน่ื ศรสี ุเรทร์ ซ่งึ มกี ารเปรยี บเทยี บพระมหาพิชยั ราชรถ กับราชรถของพระอนิ ทร์ ดงั นี้ ๏ ราชธาตใุ ส่โกษฐแ์ ก้ว สรทั กาญจน์ เถลิงรถราชยาน ย่งิ ไส้ ราวรถมัฆวานลาญ แลเลศิ ครบเครอื่ งสูงไสวให ้ แหห่ นา้ หลังสลอน (กรมศลิ ปากร ๒๕๑๒: ๑๙๐) ผเู้ ขยี นเคยไดร้ บั คำ� ถามวา่ เหตใุ ดทแ่ี ผงไมใ้ ตฐ้ านเกรนิ พระมหาพชิ ยั ราชรถและเวชยนั ตราชรถ ซงึ่ มหี ว่ งสำ� หรบั คลอ้ งเชอื กทใี่ ชฉ้ ดุ ชกั ราชรถตดิ อยนู่ น้ั จงึ ตอ้ งปดิ ทองลายฉลเุ ปน็ ลายดอกไมร้ ว่ ง ทงั้ นี้ หากเชื่อว่าพระมหาพิชัยราชรถและเวชยันตราชรถ คือราชรถของท้าวสักกเทวราช ซึ่งเหาะลงมา จากสวรรค์เพื่อรับดวงพระวิญญาณ ดอกไม้ร่วงย่อมแสดงถึงท้องฟ้าหรืออากาศท่ีมีดอกไม้สวรรค์ โปรยปรายลงมา 321เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ประเด็นข้างต้นน้ีก็จะสอดคล้องกับเร่ืองท่ีว่าเหตุใดพลฉุดชักลากจึงต้องแต่งกายด้วยชุด สีแดง ซึ่งมีผูร้ ู้เคยอธบิ ายไวว้ า่ “สแี ดง” เป็นสีของอากาศ เหตุเพราะทัง้ สพี ื้นของราชรถและชุดของ พลฉุดชักต่างมีสีแดงต่อเนื่องกันไปหมด จนดูราวกับว่าราชรถเคล่ือนที่อยู่ในอากาศ และการใช้ “สแี ดง” กบั “ทอ้ งฟา้ ” นนั้ กส็ ามารถพบไดเ้ สมอในจติ รกรรมไทยประเพณที น่ี ยิ มระบายทอ้ งฟา้ ดว้ ย สแี ดง หรอื เพดานอาคารทป่ี ระดบั ดาวจงกล (ดวงดาว) กท็ าสเี พดาน (ทอ้ งฟา้ ) ดว้ ยสแี ดงเชน่ กนั สำ� หรบั ในสว่ นของการประดบั พนมของเกรนิ แตล่ ะชน้ั เปน็ รปู นาค สจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ ไดเ้ สนอ ไวแ้ ลว้ วา่ “ในงานศพสมัยโบราณต้องมีเรือนาค เป็นเรือส�ำคัญเพื่อส่งวิญญาณกลับ สู่โลกเดมิ คือบาดาลหรอื นาคพิภพ เพราะผู้ท่จี ะพาวิญญาณกลบั ไปได้อยา่ งปลอดภัย ต้องเป็นนาคเท่านั้น ยังมีประเพณีนี้อยู่ในกลุ่มชนท่ีอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ ในภมู ิภาคอุษาคเนย์ ต่อมาเมื่อเกิดประเพณีออกพระเมรุมาศ ก็ไม่จ�ำเป็นต้องไปทางเรืออีก เพราะจัดทลี่ านสนามหน้าจักรวรรดิหน้ามหาราชวังหรือท่กี รงุ เทพฯ เรยี กสนามหลวง แแ ตตพ่ ท่ าา หงนหะวั ทแเ่ี ชลญิะหพารงะกบย็รมงั เศปพน็ หลรวอื พดลระาโยกสศญักย็ ลงั ักเปษน็ ณเรข์ อื อนงานคาแคมเจ้หะมปอื รนะดเดษิ มิ ฐ”เ์ ปน็ ราชรถ (สจุ ติ ต์ วงษ์เทศ ๒๕๕๑: ๒๘) พระมหาพชิ ยั ราชรถและเวชยันตราชรถกบั ล�ำดบั พระราชอิสริยยศ หากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น ผู้เขียนอยากจะให้สังเกตถึงฉัตรท่ีประดิษฐานบนยอดสุด ของพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ และฉัตรคันดาร ฉัตรที่มีคันฉัตรหักเป็นมุมฉาก ๒ ทบ ปักเหนือ ยานมาศและเกรินขณะเชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นสู่ราชรถหรือไปยังพระเมรุมาศว่าเป็นฉัตรขาว และมีกี่ชัน้ พระมหาพิชัยราชรถจะใช้อัญเชิญพระบรมศพพระมหากษัตริย์ดังสังเกตได้จากมี พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร เปน็ ฉัตรขาว ๙ ชั้น แต่ละช้นั มีระบายขลบิ ทองแผล่ วด ๓ ชนั้ ช้นั ลา่ ง สุดหอ้ ยอบุ ะจำ� ปาทอง สำ� หรับพระบรมศพสมเดจ็ พระบรมราชนิ ีนาถ สมเด็จพระบรมราชนิ ี สมเดจ็ พระบรมราชชนนี สมเดจ็ พระบรมราชเทวี สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ สมเดจ็ พระยพุ ราช สมเดจ็ พระบรม โอรสาธิราช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ซ่ึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็น พเิ ศษ จะใชพ้ ระสัปตปฎลเศวตฉตั ร เปน็ ฉัตรขาว ๗ ช้นั แต่ละชนั้ มีระบายขลบิ ทองแผล่ วด ๓ ช้ัน ชน้ั ลา่ งสุดห้อยอบุ ะจ�ำปาทอง (ส�ำนักงานเสริมสรา้ งเอกลักษณข์ องชาติ ๒๕๕๕: ๘๘, ๒๑๙-๒๒๐) ส�ำหรับพระศพท่ีเวชยันตราชรถอัญเชิญนั้นจะมีพระเบญจปฎลเศวตฉัตร เป็น ฉตั รขาว ๕ ช้ัน แตล่ ะช้นั มีระบายขลิบทองแผ่ลวด ๒ ชนั้ ชนั้ ล่างสุดหอ้ ยอุบะจ�ำปาทอง กางกั้นเหนือ พระโกศ ไดแ้ ก่ พระศพของพระราชวงศช์ น้ั สมเดจ็ เจา้ ฟา้ พระราชเทวี พระอคั รชายาเธอ และสมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า (สำ� นักงานเสรมิ สร้างเอกลกั ษณ์ของชาติ ๒๕๕๕: ๘๘, ๒๒๐) 322 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๑๖ ครน้ั ถงึ ในรชั กาลท่ี ๗ พระมหาพชิ ยั ราชรถสำ� หรบั ทรงพระบรมศพชำ� รดุ จงึ ใชเ้ วชยนั ตราชรถ เป็นราชรถอัญเชิญพระโกศพระบรมศพแทนโดยออกนามว่า “พระมหาพิชัยราชรถ” ตามพระราช อิสริยยศ ราชรถน้ีเม่ือ พ.ศ.๒๔๗๑ ใช้ในการอัญเชิญพระโกศสมเด็จพระปิตุฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอคั รราชเทวี ตอ่ มาเมอื่ พ.ศ.๒๔๙๓ ใชอ้ ญั เชญิ พระบรมโกศพระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหา อานนั ทมหดิ ล พระอฐั มรามาธบิ ดนิ ทร เมอ่ื พ.ศ.๒๔๙๙ ใชอ้ ญั เชญิ พระโกศสมเดจ็ พระศรสี วรนิ ทริ า บรมราชเทวี พระพนั วสั สาอยั ยกิ าเจา้ และครงั้ สดุ ทา้ ยทใ่ี ชเ้ วชยนั ตราชรถและออกนามวา่ “พระมหา พชิ ยั ราชรถ” คอื การอญั เชญิ พระโกศสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชนิ ี ในรัชกาลที่ ๗ เมอื่ วนั ท่ี ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ พระมหาพิชัยราชรถ พระมหาพชิ ยั ราชรถผา่ นการบรู ณะซอ่ มแซมหลายคราวปรากฏหลกั ฐาน เชน่ ในรชั กาลท่ี ๔ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาให้หม่อมเจ้า ศริ ิ ดารากร ซ่อมแซมพระมหาพชิ ัยราชรถ และรถอนื่ ๆ (ราชกิจจานเุ บกษา ๒๔๒๐: ๔๑๘) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มใหเ้ พม่ิ ลอ้ ทใ่ี ตต้ วั ราชรถขึ้นอีก ปรากฏตามพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ได้น�ำมาเผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเดจ็ พระมงกฏุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เลม่ ๙ เรอ่ื ง พระราชประเพณี (ตอน ๑) เมอ่ื พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๔ ดงั น้ี “เร่ืองราชรถทรงพระบรมศพนี้มีข้อความที่ควรก�ำหนดจดจ�ำไว้, จึ่งน�ำมา ลงไว้ในท่ีน้ี, เพราะข้อความไม่ได้มีปรากฏอยู่ในรายงานทางราชการ. เม่ือก่อนๆ น้ี การลากราชรถไปเปนการล�ำบากยากเย็นมาก, เพราะล้อมีเพียง ๔ ล้อ, ไม่พอแก่ น้�ำหนักรถ, (จึ่งลากรถไปได้โดยยาก. ท่านผู้ใหญ่เล่ากันว่า ราชรถนั้นลากๆ ไปได้ หนอ่ ยลอ้ กจ็ มดนิ เสยี , ตอ้ งคอยงดั กนั เอะอะอยแู่ ทบจะมไิ ดข้ าด, มหิ นำ� ซำ้� ถนนในสมยั โนน้ ก็เต็มที, เปนดินๆ เฉยๆ ฉน้ันพอมีงานแห่พระบรมศพกันทไี รก็ตอ้ งเกณฑ์นาย ดา้ นปนั กันโรยทรายตามถนน. ผูใ้ หญเ่ ล่ากันวา่ การโรยทรายเปนทางหาผลประโยชน์ กันได้เหมอื นกนั , คือพดู จากันเปนทต่ี กลงเสียว่า พอกระบวนเดริ ผา่ นตอนใดไปแลว้ , กข็ นทรายในตอนนนั้ ไปโรยในตอนหนา้ ตอ่ ไป, แตต่ า่ งคนตา่ งเบกิ เอาเงนิ เตม็ ทที่ กุ คน. ในคราวงานพระบรมศพพระเจา้ หลวงไดแ้ กไ้ ขมหาพชิ ยั ราชรถใหล้ ากไปงา่ ย ขน้ึ , โดยมีลอ้ เพมิ่ เตมิ เข้าใต้รถเพ่ือใหท้ านน้ำ� หนกั และใหร้ ถเคล่อื นไปได้จรงิ ๆ อยา่ ง สดวก, สว่ นม้าที่เคยมเี ทียมรถคู่ ๑ นน้ั อันทจ่ี ริงมิได้เคยลากรถไปไหว, ต้องใชแ้ รงคน ลาก,ฉนั้นในคราวนจ้ี ่ึงงดเทยี มม้าเสยี ทเี ดยี ว, ใชค้ น ๒๐๐ คนลาก. สว่ นสารถที ่เี คยถือ แส้ คราวนจี้ ดั ให้ถือแพน, ดเู ปนท่เี รียบรอ้ ยดี.” (จมื่นอมรดรุณารักษ์ ๒๕๑๔: ๑๒๒- ๑๒๓; ราม วชิราวุธ ๒๕๕๕: ๒๖๙-๒๗๐) 323เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

พระมหาพชิ ัยราชรถ ปัจจุบนั เก็บรักษาไว้ท่พี พิ ธิ ภณั ฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากน้ีจากรับส่ังของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพประทานหม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล เร่ืองเหตุท่ีวัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่างๆ กล่าวถึงล้อของราชรถ ตอนหนง่ึ ว่า “ราชรถทท่ี ำ� ทรงพระบรมศพแตแ่ รกลอ้ หน้าเลย้ี วไมไ่ ด้ เดนิ ได้แตถ่ นนตรง มาเล้ยี วได้ ในรชั กาลทห่ี กนเี้ อง มันเฟรดี้เป็นผูท้ �ำ แตก่ ็เลย้ี วไดค้ ันเดียว อกี คนั หน่งึ นน้ั เล้ยี วไม่ได้ ถ้าจะเลี้ยว กต็ อ้ งถงึ เอาไมพ้ ลองคดั กนั จงึ เลย้ี วได”้ (สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ และ สมุ นชาติ สวสั ดกิ ลุ ๒๕๕๐: ๘๐) ดังได้กล่าวแล้วว่าในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระมหาพิชัยราชรถช�ำรุดมาก และมิได้ออกใช้ใน ราชการ ต่อมากรมศิลปากรได้ด�ำเนินการบูรณะพระมหาพิชัยราชรถแล้วจนเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๓๐ (กรมศลิ ปากร กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ๒๕๓๙: ๑๘๘) และดำ� เนินการบรู ณะเสรมิ ความ มนั่ คงพระมหาพชิ ยั ราชรถอกี ครง้ั หนง่ึ เมอื่ พ.ศ.๒๕๓๙ เพอื่ เปน็ ราชรถอญั เชญิ พระโกศพระบรมศพ สมเด็จพระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี ส�ำหรับโครงสร้างและองค์ประกอบของพระมหาพิชัยราชรถในปัจจุบันนี้ เป็นราชรถทรง บษุ บกขนาดใหญ่ ท�ำด้วยไม้จ�ำหลกั ลายทาสแี ดงปิดทองประดบั กระจก มีขนาดกวา้ ง ๔.๘๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สูง ๑๑.๒๐ เมตร หนัก ๑๓.๗๐ ตนั หากต้องใชพ้ ลฉดุ ชกั ลากจะใช้จำ� นวน ๒๑๖ คน โครงเคร่ืองล่างซึ่งเป็นส่วนรับน�้ำหนักประกอบด้วยล้อเหล็กด้านหน้า (ล้อเล้ียว) ๒ ล้อ ลอ้ เหลก็ ดา้ นหลงั (ลอ้ หลกั ) ๔ ลอ้ ลอ้ นำ� บงั คบั เลย้ี ว ๑ ลอ้ มลี อ้ ประดบั ซา้ ยขวา ๔ ลอ้ เฉพาะลอ้ ประดบั ทำ� ดว้ ยไมจ้ ำ� หลกั ลายปดิ ทองประดบั กระจกมเี หลก็ รดั วงลอ้ ระหวา่ งลอ้ ประดบั ลอ้ หนา้ กบั ลอ้ หลงั ทงั้ สองดา้ นมแี ปรก (ไมย้ าวสำ� หรบั ประกบั หวั เพลาทงั้ ๒ ขา้ งของราชรถ กนั ไมใ่ หล้ กู ลอ้ เลอื่ นหลดุ ) ประกบั ส่วนหน้าสุดของราชรถประกอบด้วยงอนรถ ๓ งอน ท�ำด้วยไม้กลึงรูปรีทาสีแดงเรียบ ปลายเรยี วโคง้ งอนขนึ้ งอนรถดา้ นซา้ ยและขวาปลายจำ� หลกั เปน็ รปู เศยี รนาค สว่ นงอนรถงอนกลาง จำ� หลกั เปน็ รูปนาคสามเศียร ประดับธงสามชาย พน้ื แดงลายทองแผล่ วดประดบั พู่สขี าวทัง้ ๓ งอน 324 เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๑๖ กวา้ นใตอ้ งค์บุษบกพระมหาพชิ ัยราชรถ สำ� หรบั ไขพนื้ สง่ พระโกศใหส้ ูงพ้นพนกั องคร์ าชรถ พ้นื ทาสีแดง ประกอบดว้ ยชัน้ เกรนิ ลดหลนั่ กัน ๕ ชน้ั พนมของเกรนิ แตล่ ะช้ัน ดา้ นหนา้ ประดบั ไมจ้ ำ� หลกั เปน็ รปู ศรี ษะนาคประกอบลายกระหนกเปลว ทา้ ยเกรนิ ประดบั ไมจ้ ำ� หลกั รูปหางนาคประกอบกระหนกปดิ ทองประดับกระจก เกรนิ ชน้ั ท่ี ๑ หนา้ เกรนิ ตดิ ตง้ั แทน่ ทน่ี ง่ั ประดบั ลายกระหนกศรี ษะนาคสำ� หรบั เปน็ ทน่ี ง่ั สารถี ถอื แพนหางนกยงู ทา้ ยเกรนิ ตดิ ตง้ั แทน่ ทน่ี ง่ั ประดบั ลายกระหนกหางนาคสำ� หรบั เปน็ ทนี่ ง่ั ของผเู้ ชญิ พดั โบก ทีม่ ุมพนกั ตรงกับตำ� แหน่งล้อราชรถท้ังดา้ นหนา้ และดา้ นหลงั ปกั ฉตั ร ๕ ชั้น ด้านละ ๑ คู่ รวม ๔ คนั ใต้ฐานเกรินช้นั ท่ี ๑ มหี ่วงด้านละ ๔ ห่วง ส�ำหรบั คล้องเชือกทีใ่ ชฉ้ ดุ ชกั ราชรถทำ� ดว้ ย เชือกมนิลาห้มุ ผ้าแดง ด้านหน้า ๔ สาย พลชกั ลากสายละ ๕๔ นาย ด้านหลงั ๒ สาย พลฉุดสายละ ๒๒ นาย เหนือท้องไมข้ ้างเกรนิ ชน้ั ที่ ๒ ชน้ั ท่ี ๓ และชนั้ ท่ี ๔ ประดบั ไม้จำ� หลกั รปู เทพนมปดิ ทอง ประดบั กระจก ชน้ั ละ ๕๘ องค์ ชน้ั ที่ ๕ มี ๒๒ องค์ เหนอื ฐานเกรนิ ชน้ั ท่ี ๕ ประดษิ ฐานบษุ บก สว่ นกลาง ดา้ นขา้ งทง้ั สองดา้ นของชนั้ ฐานเกรนิ ๔ ชน้ั ลา่ ง ตอนกลางตดิ พนกั ลกู กรงปดิ ทองทบึ เวน้ ชอ่ งสำ� หรบั ขนึ้ ลงบุษบก เสาพนักลกู กรงเปน็ ไมก้ ลงึ รูปหัวเมด็ ปิดทองทบึ บษุ บกสำ� หรบั ประดษิ ฐานพระโกศพระบรมศพนน้ั ฐานบษุ บกประกอบหนา้ กระดานทอ้ งไม้ ปดิ ทองประดับกระจก ปากฐานรอบพนกั ประดบั ไม้แกะสลกั ลายกระจังปฏญิ าณ ฐานพนกั ดา้ นซ้าย ถอดประกอบได้ ใต้องค์บุษบกมีกว้านไขพื้นบุษบกส่งพระโกศขณะเข้าประดิษฐานอยู่ในบุษบกให้ สงู ขน้ึ พน้ พนกั เหน็ เดน่ ชดั สงา่ งาม เมอื่ เลอ่ื นพระโกศลงเกรนิ จะหมนุ กวา้ นลงเพอื่ ใหฐ้ านพระโกศเสมอ พ้นื บษุ บกเช่นเดิม เสาบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง โคนเสาบุษบกประดับกาบพรหมศร หัวเสามีคันทวยสลักรูป นาครับเชิงกลอนหลังคาช้ันล่าง เสาบุษบกแต่ละต้นผูกม่านพื้นแดงลายทองแผ่ลวด (เดิมเป็นตาด ทองซับในสีแดง) รวบกลางมา่ นทีป่ ระจ�ำยามรัดอกของเสา 325เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

หลังคาบษุ บกประดับชัน้ เชงิ กลอน ๕ ชนั้ ประดับบนั แถลง ชอ่ ฟา้ บราลี นาคปัก เชิงกลอน ชั้นล่างสุดห้อยเฟื่องระย้าเงินโดยรอบ ถัดช้ันเชิงกลอนข้ึนไปเป็นส่วนขององค์ระฆัง เหม ๓ ชั้น จ�ำหลกั ย่อมมุ ไมส้ บิ สอง บัวกลมุ่ ๕ ช้นั ปลีและปลยี อดปดิ ทองทึบ ลูกแกว้ จ�ำหลกั ลาย ยอดประกอบ ดว้ ยเม็ดน�้ำค้างและพมุ่ ขา้ วบิณฑ์ เพดานหลงั คาบุษบกประดับลายดาวจงกลและดอกจอก เวชยันตราชรถ ประเด็นเร่ือง “รถที่น่ังรอง” ตามที่ปรากฏในเร่ืองจดหมายความทรงจ�ำของกรมหลวง นรนิ ทรเทวี ซงึ่ ปจั จบุ นั นกั วชิ าการสว่ นใหญเ่ ขา้ ใจวา่ หมายถงึ “เวชยนั ตราชรถ” นน้ั นยิ ม กลนิ่ บบุ ผา นกั วชิ าการช่างศลิ ป์ทรงคุณวฒุ ิ ผู้เช่ยี วชาญเฉพาะดา้ นช่างศิลปกรรม (ช่างศลิ ป์ไทย) กรมศิลปากร ได้อธิบายเร่ือง “ราชรถรอง” ไวว้ ่า “คล้ายกับเรือพระท่ีน่ังกิ่งในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาที่มีท้ังเรือพระที่นั่ง กงิ่ เอกและเรอื พระทน่ี ง่ั กง่ิ รองแตม่ ขี นาดไมแ่ ตกตา่ งกนั มากนกั ...คราวใดจำ� เปน็ ตอ้ งใช้ เวชยนั ตราชรถอญั เชญิ พระบรมศพ กจ็ ะเรยี กขานราชรถองคน์ ว้ี า่ พระมหาพชิ ยั ราชรถ เช่นเดียวกัน ท�ำนองเดียวกับเรือพระท่ีน่ังก่ิงรอง หากพระมหากษัตริย์เสด็จ พระราชด�ำเนินไปประทับเป็นเรือประธานในริ้วขบวน ก็จะเรียกเรือพระที่น่ังล�ำนั้นว่า พระมหาพชิ ยั นาวา” (นิยม กลนิ่ บบุ ผา ๒๕๕๗: ๒๖) และจากค�ำให้การขุนหลวงหาวัด มีการกล่าวถึงร้ิวกระบวนพระราชอิสริยยศการอัญเชิญ พระบรมศพในปลายกรุงศรีอยุธยาว่าราชรถรองมีหน้าท่ีเชิญพระโกศจันทน์ ดังนี้ “...หลังพระมหา พิไชยราชรถนั้นมีเจ้าพนักงานเชิญเคร่ืองราโชปโภคส�ำหรับพระบรมราชอิสริยยศพระเจ้าแผ่นดิน ถดั มาถงึ รถพระโกศจนั ทนเ์ ปนพระทน่ี ง่ั รอง ถดั มาถงึ รถพานทองรบั ทอ่ นจนั ทน.์ ..” (มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๔๙: ๒๒๖) ในสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทรก์ ป็ รากฏหลกั ฐานเชน่ กนั วา่ ราชรถรองใชส้ ำ� หรบั เชญิ พระโกศจนั ทน์ โดยในบนั ทกึ ของหมอ่ มเจา้ จงจติ รถนอม ดศิ กลุ ทรงบนั ทกึ ความทรงจำ� ถงึ กระบวนแหพ่ ระบรมศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธริ าช เจ้าฟา้ มหาวชิรณุ หิศ สยามมกฎุ ราชกมุ าร เมอื่ พ.ศ.๒๔๔๓ ความตอน หนง่ึ วา่ “คนั ที่ ๔ พระมหาพชิ ยั ราชรถ ทรงพระบรมศพ คนั ท่ี ๕ เวชยนั ตร์ าชรถ รบั พระโกศจนั ทน์ ตามมาข้างหลงั มรี ถเลก็ อีก ๒ คนั เปน็ รถรับไมห้ อม...” (จงจติ รถนอม ดศิ กุล ๒๕๕๐: ๘๒) ดังนั้น “รถพระโกศจันทน์เปนพระที่นั่งรอง” นี้ก็คือเวชยันตราชรถน่ันเอง ถือเป็นคติท่ี สืบทอดมาแต่ครง้ั สมัยอยุธยา สำ� หรบั รายละเอยี ดของเวชยนั ตราชรถมดี งั นี้ นามของราชรถนห้ี มายถงึ รถของพระอนิ ทร์ โดยมลี กั ษณะเปน็ ราชรถทรงบษุ บกขนาดใหญ่ ทำ� ดว้ ยไมจ้ ำ� หลกั ลายทาสแี ดงปดิ ทองประดบั กระจก มีขนาดกว้าง ๔.๙๐ เมตร ยาว ๑๗.๕๐ เมตร สูง ๑๑.๗๐ เมตร หนัก ๑๒.๒๕ ตัน ใชจ้ �ำนวนพลฉดุ ชกั ลากจำ� นวน ๒๐๖ คน 326 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๑๖ เวชยนั ตราชรถ ปัจจบุ ันอย่ใู นโรงราชรถฝั่งทศิ เหนอื โครงเคร่ืองล่างซึ่งเป็นส่วนรับน�้ำหนักประกอบด้วยล้อเหล็กด้านหน้า (ล้อเล้ียว) ๒ ล้อ ล้อเหล็กดา้ นหลัง (ล้อหลัก) ๔ ล้อ ลอ้ นำ� บังคบั เลย้ี ว ๑ ลอ้ มีลอ้ ประดับซา้ ยขวา ๔ ลอ้ เฉพาะล้อ ประดับท�ำด้วยไม้จ�ำหลักลายปิดทองประดับกระจกมีเหล็กรัดวงล้อ ระหว่างล้อประดับล้อหน้ากับ ลอ้ หลงั ทง้ั สองดา้ นมแี ปรกประกบั สว่ นหนา้ สดุ ของราชรถประกอบดว้ ยงอนรถ ๓ งอน ทำ� ดว้ ยไมก้ ลงึ รูปรีทาแดงเรียบ ปลายงอนรถจำ� หลกั เป็นรูปเศยี รนาค ประดับธงสามชายพื้นแดงลายทองแผ่ลวด ประดบั พสู่ ีขาว องค์ราชรถ พืน้ ทาสีแดง ประกอบดว้ ยช้นั เกรนิ ลดหลั่นกนั ๕ ชน้ั พนมของเกรนิ แต่ละชน้ั ด้านหน้าประดับไม้จ�ำหลักเป็นรูปศีรษะนาคประกอบลายกระหนกหางไหล ท้ายเกรินประดับ ไมจ้ ำ� หลักรปู หางนาคประกอบกระหนกปดิ ทองประดบั กระจก เกรนิ ชน้ั ที่ ๑ หนา้ เกรนิ ตดิ ตง้ั แทน่ ทน่ี ง่ั ประดบั ลายกระหนกศรี ษะนาคสำ� หรบั เปน็ ทนี่ ง่ั สารถี ถอื แพนหางนกยงู ทา้ ยเกรนิ ตดิ ตง้ั แทน่ ทน่ี งั่ ประดบั ลายกระหนกหางไหลสำ� หรบั เปน็ ทน่ี งั่ ของผเู้ ชญิ พัดโบก ที่มมุ พนกั ตรงกับต�ำแหนง่ ลอ้ ราชรถทัง้ ด้านหน้าและด้านหลังปักฉตั ร ๕ ชัน้ ด้านละ ๑ คู่ รวม ๔ คนั ใตฐ้ านเกรนิ ชนั้ ท่ี ๑ มหี ว่ งดา้ นละ ๔ หว่ ง สำ� หรบั คลอ้ งเชอื กทใี่ ชฉ้ ดุ ชกั ราชรถทำ� ดว้ ยเชอื ก มนลิ าหมุ้ ผา้ แดง ดา้ นหนา้ ๔ สาย พลชกั ลากสายละ ๔๐ นาย ดา้ นหลงั ๒ สาย พลฉดุ สายละ ๒๓ นาย เหนอื ทอ้ งไม้ข้างเกรินชั้นที่ ๒ ชน้ั ท่ี ๓ และช้นั ท่ี ๔ ประดับไมจ้ �ำหลกั รปู เทพนมปดิ ทอง ประดบั กระจก ช้ันละ ๕๘ องค์ ชนั้ ท่ี ๕ มี ๒๐ องค์ เหนอื ฐานเกรินชัน้ ท่ี ๕ ประดษิ ฐานบษุ บก ส่วน กลางด้านขา้ งท้งั สองดา้ นของชน้ั ฐานเกริน ๔ ชนั้ ลา่ ง ตอนกลางตดิ พนกั ลกู กรงปดิ ทองทึบ เวน้ ช่อง สำ� หรบั ขน้ึ ลงบุษบก เสาพนกั ลกู กรงเป็นไมก้ ลึงรูปหวั เมด็ ปิดทองทึบ 327เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

บุษบกส�ำหรับประดิษฐานพระโกศพระบรมศพหรือพระศพนั้น ฐานบุษบกประกอบหน้า กระดานท้องไม้ปิดทองประดับกระจก ปากฐานรอบพนักประดับไม้แกะสลักลายกระจังปฏิญาณ ฐานพนกั ดา้ นซา้ ยถอดประกอบได้ ใตอ้ งคบ์ ษุ บกมกี วา้ นไขพน้ื บษุ บกสง่ พระโกศขณะเขา้ ประดษิ ฐาน อยใู่ นบษุ บกใหส้ งู ขนึ้ พน้ พนกั เมอ่ื เลอ่ื นพระโกศลงเกรนิ จะหมนุ กวา้ นลงเพอ่ื ใหฐ้ านพระโกศเสมอพน้ื บุษบกเช่นเดิม เสาบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง โคนเสาบุษบกประดับกาบพรหมศร หัวเสามีคันทวยสลักรูป นาคครับเชิงกลอนหลังคาช้ันล่าง เสาบุษบกแต่ละต้นผูกม่านพ้ืนเหลืองลายทองแผ่ลวด (เดิมเป็น ตาดทองซับในสแี ดง) รวบกลางม่านทีป่ ระจ�ำยามรัดอกของเสา หลงั คาบุษบกประดบั ชัน้ เชิงกลอน ๕ ช้นั ประดับบันแถลง ชอ่ ฟา้ บราลี นาคปกั เชิงกลอน ช้ันล่างสุดห้อยเฟื่องระย้าเงินโดยรอบ ถัดช้ันเชิงกลอนขึ้นไปเป็นส่วนขององค์ระฆัง เหม ๓ ชั้น จ�ำหลักย่อมมุ ไมส้ ิบสอง บวั กลุ่ม ๕ ชน้ั ปลีและปลยี อดปดิ ทองทึบ ลูกแกว้ จำ� หลักลาย ยอดประกอบ ด้วยเมด็ น้�ำคา้ งและพมุ่ ขา้ วบณิ ฑ์ เพดานหลังคาบุษบกประดบั ลายดาวจงกลและดอกจอก นามพระมหาพิชยั ราชรถและเวชยนั ตราชรถ จากหลกั ฐานพระราชพงศาวดาร ระบวุ า่ งานถวายพระเพลงิ พระบรมศพ สมเดจ็ พระนเรศวร มหาราช ออกนามราชรถที่ใช้อัญเชิญพระบรมศพว่า “มหากฤษฎาธาร” (กรมศิลปากร ๒๕๐๕: ๓๑๒-๓๑๓) หมายถงึ “ราชรถทที่ ำ� ขน้ึ สำ� หรบั พระเกยี รตยิ ศอนั ยงิ่ ใหญ”่ (ยม้ิ ปณั ฑยางกรู และคณะ ๒๕๒๘: ๔๑๗) และในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เรียกช่ือว่า “พระมหาพิชัยราชรถ กฤษฎาธาร” (กรมศิลปากร ๒๕๐๙: ๑๑) แต่ทั้งน้ีแลว้ สว่ นใหญ่ ออกนามว่า “พระมหาพชิ ยั ราชรถ” (ยิ้ม ปณั ฑยางกูร และคณะ ๒๕๒๘: ๖๒-๘๒) หม่อมราชวงศ์แสงสูรย์ ลดาวัลย์ ได้ต้ังข้อสังเกตเร่ืองค�ำว่า “พระมหาพิไชย” ซ่ึงใช้ใน สมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยาวา่ มคี วามหมายถงึ “ราชรถอนั ประเสรฐิ ยงิ่ ” และในสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทรใ์ ชค้ ำ� วา่ “พระมหาพิชัย” ซึ่งหมายถึงว่า “มหาราชรถแห่งผู้ชนะ” โดยสันนิษฐานว่า “คงเป็นด้วยคติเดิม ถือกันว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ป้องกันภัย ทรงเป็นชาตินักรบ...ในโอกาสสุดท้ายของการส่ง เสด็จสู่สวรรคาลัย จึงถวายราชรถท่ีใหญ่และงดงามวิจิตรให้ทรงและให้นามว่า “มหาพิชัยราชรถ” คือราชรถทรงแห่งพระผู้ชนะ” (ย้มิ ปณั ฑยางกูร และคณะ ๒๕๒๘: ๔๑๗) อนึ่ง ในพระไตรปิฎกมีการเปรียบเทียบอริยมรรคกับยานพาหนะ โดยพราหมณสูตร พระสตุ ตนั ตปฎิ ก สงั ยตุ ตนกิ าย มหาวารวรรค พระอานนทท์ ลู ถามพระพทุ ธเจา้ เรอื่ งยานอนั ประเสรฐิ ในธรรมวินยั พระผู้มีพระภาคเจา้ ตรัสวา่ อาจบญั ญัตไิ ด้ คอื “ยานอนั ประเสรฐิ เป็นช่อื ของอริยมรรค ประกอบดว้ ยองค์ ๘ นเ้ี อง เรยี กกันวา่ พรหมยานบา้ ง ธรรมยานบา้ ง รถพิชยั สงครามอนั ยอดเยย่ี ม บา้ ง” (มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ๒๕๒๕ข: ๑๓) และเหตทุ ว่ี า่ อรยิ มรรคเปน็ รถพชิ ยั สงครามอนั ยอดเยยี่ ม พระอรรถกถาจารยไ์ ดข้ ยายความวา่ “เพราะไมม่ สี ง่ิ อนั ยงิ่ กวา่ และเพราะชนะสงครามคอื กเิ ลสแลว้ ” (มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๒๕ข: ๑๗) แตท่ ้ังนใี้ นภาษาบาลีเรียก “รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยม” ว่า “อนตุ ฺตโร สงคฺ ามวิชโย” (มหามกฏุ ราชวิทยาลยั ๒๔๗๐: ๖) 328 เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๑๖ ส�ำหรับนามของเวชยันตราชรถน้ัน ดูจะไม่คอ่ ยเป็นปญั หาเน่อื งจากทราบกันโดยทั่วไปวา่ “เวชยันตราชรถ” นัน้ เปน็ นามราชรถของท้าวสักกเทวราช ในพระไตรปฎิ กมีอยู่หลายตอนท่ีระบุถึง นามราชรถของพระอินทรว์ า่ “เวชยันตราชรถ” เช่น เนมยิ ชาดก สมเดจ็ อมรินทราธริ าชตรัสใช้ให้ พระมาตลีเทพสารถี เทยี มเวชยนั ตราชรถลงมารับพระเจ้าเนมริ าชในวันเพญ็ อุโบสถศีล (มหามกุฏ ราชวทิ ยาลยั ๒๕๒๕ก: ๒๕๓) และในพระไตรปฎิ กก็ปรากฏดว้ ยเชน่ กันวา่ เวชยนั ตราชรถ เปน็ ราช รถทรงของพระมหากษัตริย์ (มหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย ๒๕๒๕ค: ๔๙๗; ๒๕๒๖: ๓๓๐)๓ ความแตกต่างระหวา่ งพระมหาพิชัยราชรถและเวชยนั ตราชรถ พระมหาพิชยั ราชรถ และเวชยนั ตราชรถ มรี ปู ทรง ขนาดความสูง ทีใ่ กล้เคียงกนั มาก และ หลายคราวท่มี ีการใช้เวชยนั ตราชรถเปน็ ราชรถทรงพระบรมศพแทนพระมหาพิชยั ราชรถ ซ่ึงช�ำรุด ไม่สามารถใช้ในราชการได้ การที่จะจ�ำแนกว่าเป็นราชรถใดนั้น ต้องสังเกตความแตกต่างของ รายละเอียดในการตกแตง่ ช้ันเกรนิ ๓ จดุ คอื กระหนกนาคหนา้ เกรนิ หนา้ กระดานช้ันเกริน และ กระจงั รวนประดบั ท้องเกริน ดงั นี้ พระมหาพชิ ยั ราชรถ เวชยนั ตราชรถ ภาพเปรยี บเทียบนาคหนา้ เกรนิ ของราชรถท้ังสอง ๑. กระหนกนาคหนา้ เกรนิ กระหนกนาคหนา้ เกรนิ พระมหาพชิ ยั ราชรถ เศยี รนาค จ�ำหลกั ยอดเปน็ ลายชอ่ เปลว (กระหนกเปลว) สำ� หรบั เวชยนั ตราชรถ เศียรนาคยอดเปน็ ลายเปลว หางไหล (กระหนกหางไหล) ประดับกระจกขาว ๒. หนา้ กระดานชนั้ เกรนิ หนา้ กระดานชนั้ เกรินพระมหาพชิ ยั ราชรถ จำ� หลักลาย ประจ�ำยามก้ามปูลูกฟัก ช่องลูกฟักประดับกระจกสีเขียว ส�ำหรับเวชยันตราชรถ หน้ากระดานช้ัน ๓ เช่น โคมยปณิ ฑสตู ร พระพทุ ธเจา้ เสวยพระชาตเิ ปน็ ขตั ตยิ ราชครองนครกสุ าวดี ระบวุ า่ “...บรรดาราชรถ ๘๔,๐๐๐ คนั เหลา่ นน้ั แล รถทเ่ี ราทั้งสมัยน้นั มีคนั เดียวเทา่ น้นั คือ เวชยนั ตราชรถ.” (มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ๒๕๒๖: ๓๓๐) หรอื ใน มหาสทุ สั สนสตู ร กลา่ วถงึ ราชรถของพระเจา้ มหาสทุ สั สนะ วา่ “...ขอเดชะ รถ ๘๔,๐๐๐ เหลา่ นข้ี องทลู กระหมอ่ ม หุ้มดว้ ยหนงั ราชสหี ์ หนังเสอื โคร่ง หนังเสอื เหลือง หมุ้ ดว้ ยผ้าขนสตั วส์ เี หลอื ง มีเครื่องแต่งท�ำด้วยทอง ปกั ธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มรี ถไพชยันต์เปน็ ประมุข...” (มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๒๕ค: ๔๙๗) 329เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

เกรินจำ� หลกั ประจ�ำยามก้ามปลู กู ฟกั เช่นกนั แตใ่ นช่องลูกฟักจ�ำหลักลายดอกไม้กลมไส้เกสรประดบั กระจกสเี ขียว ๓. กระจงั รวนประดบั ทอ้ งเกรนิ กระจงั รวน (ลายกระจงั ปลายบดั ) ประดบั ทอ้ งเกรนิ พระมหา พชิ ยั ราชรถ กระจงั จะเรม่ิ ตรงกง่ึ กลางดา้ นขา้ งราชรถแลว้ บดั ปลายกระจงั ใหป้ ลายแยกเปน็ สองทศิ ทาง เฉยี งออกด้านหน้าและทา้ ยราชรถ สำ� หรับเวชยันตราชรถ กระจังรวนประดบั ทอ้ งเกรินจะบัดปลาย ไปทางด้านหลังราชรถต้ังแต่ด้านหน้าสุดไปจนท้ายสุดเป็นทิศทางเดียวกัน คล้ายกับว่ากระจังรวน ล่ลู ม ความแตกต่างของพระมหาพิชัยราชรถและเวชยันตราชรถน้ี โดยเฉพาะลวดลายลูกฟัก ที่หน้ากระดาน นับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญท่ีใช้แก้ไขความผิดพลาดของข้อมูลที่เชื่อถือกันแต่เดิมว่า “องคท์ ี่ ๑ พระมหาพชิ ยั ราชรถน้ันช�ำรดุ ทรดุ โทรมมากจนเคลอื่ นไหวออกจากที่ไม่ไดแ้ ลว้ คงตัง้ อยู่ ในโรงราชรถในพิพิธภณั ฑสถานอยู่เฉยๆ นำ� ออกใช้ไม่ได้ องค์ที่ ๒ พระมหาเวชยันตราชรถพอจะ ใช้ได้ เมื่อครั้งรัชกาลท่ี ๖ ก็ใช้พระมหาเวชยันตราชรถนี้เป็นรถอัญเชิญพระบรมศพ โดยเรียกช่ือ อยา่ งองคท์ ่ี ๑ ว่าพระมหาพิชยั ราชรถ” (กฤษณ์ อนิ ทโกศัย ๒๔๙๕ก: ๙๗) แต่จากภาพถ่ายปรากฏชัดเจนว่าราชรถท่ีอัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระมงกฎุ เกล้าเจ้าอย่หู วั นั้นคอื พระมหาพิชยั ราชรถ มิใช่ เวชยันตราชรถตามทอี่ า้ งองิ กันมาแต่เดมิ (แนง่ น้อย ศกั ดศิ์ รี และคณะ ๒๕๕๕: ๑๘๑; พชั รนิ ทร์ ศขุ ประมลู ๒๕๕๙: ๑๔) อน่ึง ที่ตั้งของพระมหาพิชัยราชรถและเวชยันตราชรถในอธิบายว่าด้วยหอพระสมุด วชิรญาณ แลพิพิธภัณฑสถานส�ำหรับพระนคร ซึ่งราชบัณฑิตยสภาพิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณร ในเทศกาลเขา้ พรรษา เมอ่ื พทุ ธศกั ราช ๒๔๗๐ ระบตุ ำ� แหนง่ ทตี่ งั้ ราชรถ ดงั นี้ “๑.พระมหาพชิ ยั ราชรถ องค์ใหญ่ทางด้านใต้ ส�ำหรับทรงพระบรมศพพระราชาธิบดี ๒.เวชยันต์ราชรถพระท่ีนั่งองค์รอง องคใ์ หญท่ างดา้ นเหนือ ส�ำหรบั ทรงพระศพสมเดจ็ พระบรมวงศซ์ ึ่งทรงพระยศสงู ศักด”ิ์ (ราชบณั ฑติ ยสภา ๒๔๗๐: ๔๑) แตท่ งั้ นเ้ี มอ่ื มกี ารสรา้ งโรงราชรถใหมใ่ น พ.ศ.๒๔๗๒ และขณะนนั้ พระมหาพชิ ยั ราชรถชำ� รดุ ไม่สามารถใช้ในราชการได้แล้ว จึงเชิญให้พระมหาพิชัยราชรถอยู่ในโรงฝั่งทิศเหนือ ส�ำหรับ เวชยนั ตราชรถซง่ึ มสี ภาพดกี วา่ นน้ั อยใู่ นโรงฝง่ั ทศิ ใต้ (ราชบณั ฑติ ยสภา ๒๔๗๒: ๔๑) สาเหตกุ ารสลบั ทน่ี น้ั คงเนอื่ งดว้ ยโรงฝง่ั ทศิ ใตส้ ะดวกในการฉดุ ชกั ราชรถออกจากโรงมากกวา่ ฝง่ั ทศิ เหนอื เพราะฝง่ั ทศิ เหนอื มีพ้นื ทถ่ี นนจ�ำกัดราชรถตอ้ งเลย้ี วโค้งกอ่ นเขา้ โรง ในพิธีอัญเชิญพระมหาพิชัยราชรถ ราชยาน ออกประกอบงานพระราชทานเพลิงศพ สมเดจ็ พระเจา้ ภคนิ เี ธอ เจา้ ฟา้ เพชรรตั นราชสดุ า สริ โิ สภาพณั ณวดี เมอื่ วนั ที่ ๑๒ มนี าคม พ.ศ.๒๕๕๕ กรมศลิ ปากรจงึ ไดส้ ลบั ทโี่ ดยใหพ้ ระมหาพชิ ยั ราชรถอยใู่ นโรงฝง่ั ทศิ ใตแ้ ละเวชยนั ตราชรถกลบั ไปอยู่ ในโรงฝัง่ เหนือตามท่ีเคยเกบ็ รักษากันมากอ่ น พ.ศ.๒๔๗๒ ดังน้นั การทราบถึงความแตกตา่ งของรายละเอยี ดในการตกแต่งชัน้ เกรนิ ระหวา่ งพระมหา พิชัยราชรถและเวชยันตราชรถ ยังจะช่วยให้สามารถจ�ำแนกภาพถ่ายของพระมหาพิชัยราชรถและ เวชยนั ตราชรถที่เก็บรักษาในโรงราชรถไดว้ ่าคอื องคใ์ ดแน่ 330 เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๖ พระมหาพิชัยราชรถ ขณะอยูใ่ นโรงฝัง่ ทศิ เหนอื ก่อนการอัญเชิญออกประกอบงานพระราชทานเพลงิ ศพ สมเดจ็ พระเจา้ ภคินีเธอ เจา้ ฟ้าเพชรรัตนราชสดุ า สริ ิโสภาพณั ณวดี เมื่อวันท่ี ๑๒ มนี าคม พ.ศ.๒๕๕๕ โรงราชรถ จากหลกั ฐานวา่ ดว้ ยแผนทก่ี รงุ ศรอี ยธุ ยา กลา่ ววา่ เมอ่ื ครง้ั กรงุ ศรอี ยธุ ยานอกประตพู ระราชวงั ชน้ั กลาง “มีโรงใสพ่ ระพไิ ชยราชรถ อยู่รมิ กำ� แพงคั่นทอ้ งสนามหนา้ จักรวรรดิโรง ๑” กรมศิลปากร, ๒๕๐๘: ๑๕๓; มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช ๒๕๔๙: ๒๐๐)๔ ส่วนหนงั สือค�ำให้การชาวกรุงเกา่ กล่าววา่ มี “โรงรถพระทนี่ ง่ั ๒ หลัง” ทน่ี อกประตพู ระราชวงั ชั้นกลางเช่นกัน (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๔๖๘: ๒๐๗) สว่ นในสมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ เดมิ เกบ็ ราชรถไวใ้ นโรงเกบ็ ขา้ งตกึ ดนิ บรเิ วณทอ้ งสนามไชย ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๘๖ สมัยรชั กาลท่ี ๓ โปรดใหเ้ กณฑเ์ ลก มาชกั ลากพระมหาพชิ ยั ราชรถไปไวโ้ รงรถทส่ี รา้ งขนึ้ ใหม่ แตไ่ มป่ รากฏวา่ อยทู่ ใี่ ดชดั เจน (คณะกรรมการ ช�ำระประวัติศาสตร์และจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ๒๕๓๗: ๑๒๐) แต่จาก พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้า บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ มหามาลา กรมพระยาบำ� ราบปรปกั ษ์ เรอ่ื งการพระราชทานเพลงิ กรมพระราชวงั บวรวิชัยชาญ ทรงระบุถึงโรงราชรถว่า “รถก็อยู่ท่ีน่าวัดพระเชตุพน จะต้องลากถอยหลังขึ้นไปอยู่ ท้ายตะพานเส้ยี วทางทจี่ ะแหล่ งมากอ็ ยู่สกั ๘ เสน้ ๙ เส้น [๓๒๐ – ๓๖๐ เมตร-ผู้เขียน] เทา่ นนั้ ” ๔ ในค�ำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “มีโรงไว้พระพิชัยราชรถ อยู่ริมก�ำแพงค่ันท้องสนามหน้าจักรวรรดิ โรง ๑ มีช่อฟา้ หางหงส์ดว้ ย” (มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช ๒๕๔๙: ๒๐๐) 331เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

(ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, ๒๕๑๖: ๑๓๒) ซึ่งเข้าใจว่าโรงราชรถน้ีคงอยู่บริเวณสวนเจ้าเชตุ ริมถนน สนามไชย หน้าวัดพระเชตพุ น ภายหลงั จากทกี่ รมพระราชวงั บวรวชิ ยั ชาญทวิ งคต ใน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระราชวงั บวรสถาน มงคล (วงั หน้า) วา่ งลง พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว รชั กาลท่ี ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ พ้ืนท่วี งั หน้าเพ่ือประโยชนข์ องส่วนราชการตา่ งๆ รวมทงั้ โปรดใหย้ า้ ยโรงพระมหาพชิ ัยราชรถมาไว้ บรเิ วณสนามตอนเหนอื พระทนี่ งั่ พทุ ไธสวรรย์ ตง้ั เปน็ โรงเกบ็ ราชรถสำ� คญั ๒ โรง โดยใหอ้ ยใู่ นความ ดแู ลของกรมพระต�ำรวจ๕ (กรมศิลปากร ๒๕๓๙: ๔๖) ถึงสมัยรัชกาลท่ี ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชมณเฑียรสถาน ในวังหน้าทั้งหมด ให้เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานส�ำหรับพระนคร (ปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑสถาน แหง่ ชาติ พระนคร) อยใู่ นการกำ� กบั ดแู ลของราชบณั ฑติ ยสภา สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา ด�ำรงราชานภุ าพ นายกราชบณั ฑติ ยสภา จงึ ใหส้ รา้ งโรงราชรถขน้ึ ใหม่ ลกั ษณะเปน็ โรงหลงั คาทรงจวั่ ๒ หลงั เช่ือมต่อกนั ดว้ ย มุขขวาง ภายในเปดิ โลง่ ถงึ กนั โดยตลอด แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗ กรมศิลปากรได้ท�ำการบูรณปฏิสังขรณ์โรงราชรถ ขนึ้ ใหมโ่ ดยต่อเติมมขุ หน้า ปจั จุบนั โรงราชรถเปน็ สว่ นหน่ึงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส�ำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ใช้เป็นอาคารเก็บรักษาและ จัดแสดงราชรถ ราชยาน และเครือ่ งประกอบในการพระราชพิธีพระบรมศพและพระศพ ราชรถน้อย นอกจากพระมหาพิชยั ราชรถและเวชยันตราชรถแล้ว ยังมรี าชรถที่สำ� คัญอีก ๓ รถ รวม เรยี กวา่ “ราชรถน้อย” ซ่งึ เป็นราชรถทรงบษุ บกขนาดเลก็ สร้างขึ้นเมอ่ื พ.ศ. ๒๓๓๘ พร้อมกับพระ มหาพิชัยราชรถ ราชรถน้อยรถหนึ่งใช้เป็นราชรถพระส�ำหรับสมเด็จพระสังฆราชประทับ สวดพระอภิธรรมน�ำพระมหาพิชัยราชรถ ตามด้วยราชรถน้อยรถที่สอง เป็นราชรถโปรยส�ำหรับ พระบรมวงศป์ ระทบั เพอ่ื ทรงปรายขา้ วตอกดอกไมถ้ วายพระบรมศพตามเสน้ ทางสพู่ ระเมรุ ตามดว้ ย ราชรถโยงส�ำหรับรับภูษาโยงจากพระโกศท่ีพระมหาพิชัยราชรถ ต่อมารัชกาลท่ี ๖ โปรดเกล้าฯ ใหเ้ ลกิ ประเพณโี ยงและโปรยในกระบวนแหพ่ ระบรมศพและพระศพ จงึ คงเหลือแตร่ ถพระสงฆ์อ่าน พระอภิธรรมนำ� หนา้ ราชรถทรงพระโกศเท่านน้ั จนถึงปัจจบุ นั ราชรถน้อยท่ีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างข้ึนมี ๓ รถ ทัง้ ๓ รถ มลี ักษณะเปน็ ราชรถทรงบษุ บก ท�ำด้วยไมจ้ ำ� หลกั ลายทาสแี ดงปดิ ทอง ประดบั กระจก รถที่ ๑ (เลขทะเบยี นราชรถ ๙๗๘๔) ขนาดกว้าง ๓.๘๖ เมตร ยาว ๑๒.๙๕ เมตร สงู ๖.๘๔ เมตร น�้ำหนกั ๓.๖๕ ตัน เหนือท้องไม้ข้างเกรนิ ชัน้ ท่ี ๒ ประดับเทพนม ๓๔ องค์ เหนือทอ้ งไมฐ้ าน เกรนิ ช้นั ที่ ๓ ประดบั เทพนม ๓๐ องค์ และทอ้ งไม้ฐานสงิ หร์ องบลั ลงั ก์บษุ บกประดบั เทพนม ช้นั ลา่ ง ๒๐ องค์ ช้ันบน ๒๐ องค์ ๕ จากต�ำราหน้าท่ตี �ำรวจ ตามแบบแผนธรรมเนยี มในราชส�ำนกั ครั้งกรงุ ศรีอยธุ ยา ได้ระบุเชน่ กันว่า “มหาพไิ ชราชรถ และรถยางโลสง” ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นอยู่ในความดูแลของ “ต�ำรวจในรวมกับต�ำรวจผู้ใหญ่” (กรมศิลปากร ๒๕๓๙: ๔๖) 332 เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๖ ราชรถนอ้ ยรถที่ ๓ (เลขทะเบียนราชรถ ๙๗๘๓) รถท่ี ๒ (เลขทะเบียนราชรถ ๙๗๘๒) ขนาดกวา้ ง ๓.๖๔ เมตร ยาว ๑๒.๙๕ เมตร สูง ๖.๓๐ เมตร น�ำ้ หนัก ๓.๘๕ ตนั เหนอื ทอ้ งไม้ข้างเกรนิ ช้นั ท่ี ๒ ประดบั เทพนม ๓๔ องค์ และท้องไมฐ้ าน สงิ หร์ องบัลลังก์บุษบกประดับเทพนม ชนั้ ลา่ ง ๑๖ องค์ ชั้นบน ๒๐ องค์ รถท่ี ๓ (เลขทะเบียนราชรถ ๙๗๘๓) ขนาดกว้าง ๓.๖๖ เมตร ยาว ๑๒.๙๕ เมตร สูง ๖.๓๐ เมตร นำ้� หนกั ๓.๖๕ ตนั เหนอื ทอ้ งไมข้ า้ งเกรนิ ชนั้ ที่ ๒ ประดบั เทพนม ๒๘ องค์ และทอ้ งไมฐ้ านสงิ ห์ รองบัลลังก์บษุ บกประดบั เทพนม ช้ันล่าง ๑๘ องค์ ชนั้ บน ๒๔ องค์ ราชรถน้อยทง้ั ๓ รถ ใชจ้ ำ� นวนพลฉดุ ชกั ลากในแตล่ ะรถจ�ำนวน ๗๔ นาย โครงเครอ่ื งลา่ งซงึ่ เปน็ สว่ นรบั นำ้� หนกั ประกอบดว้ ย ลอ้ ไมด้ า้ นหนา้ (ลอ้ เลยี้ ว) ๒ ลอ้ ลอ้ เหลก็ ดา้ นหลัง (ล้อหลัก) ๒ ล้อ ล้อประดบั ซ้ายขวา มี ๔ ล้อ ล้อนำ� บงั คับเลีย้ ว ๑ ล้อ เฉพาะลอ้ ด้านหน้า และล้อประดับ ประกอบไม้จ�ำหลักลายปิดทองประดับกระจก มีเหล็กรัดวงล้อ ระหว่างล้อประดับ ลอ้ หนา้ กบั ลอ้ หลงั ทง้ั สองดา้ นมแี ปรกประกบั สว่ นหนา้ สดุ ของราชรถมงี อนรถ ๓ งอน ทำ� ดว้ ยไมก้ ลงึ รปู รที าสแี ดงเรยี บ ปลายงอนรถจำ� หลกั เปน็ รปู เศยี รนาค ประดบั ธงสามชายพนื้ แดงลายทองแผล่ วด ประดับพสู่ ีขาว ท้ัง ๓ งอน องคร์ าชรถ พื้นทาสีแดง ประกอบด้วยชั้นเกรนิ ลดหลน่ั กัน ๔ ชน้ั พนมของเกรนิ แตล่ ะชนั้ ด้านหน้าประดับไม้จ�ำหลักเป็นรูปศีรษะนาคประกอบลายกระหนก (เลขทะเบียนราชรถ ๙๗๘๔) จำ� หลักเป็นรูปศรี ษะนกประกอบลายกระหนก (เลขทะเบียนราชรถ ๙๗๘๒ และ ๙๗๘๓) พนมเกรนิ ดา้ นหลงั ประดบั ไมจ้ ำ� หลกั รปู หางนาคประกอบกระหนก เกรนิ ชน้ั ที่ ๑ หนา้ เกรนิ ตดิ ตง้ั แทน่ ขาสงิ หจ์ ำ� หลกั ลายปดิ ทองเปน็ ทนี่ ง่ั สำ� หรบั สารถถี อื แพน หางนกยูง ท้ายเกรินติดตั้งแท่นท่ีนั่งประดับลายกระหนกส�ำหรับเป็นที่น่ังของผู้เชิญพัดโบก ท่ีมุม พนกั ตรงกบั ตำ� แหนง่ ลอ้ ราชรถทงั้ ดา้ นหนา้ และดา้ นหลงั ปกั ฉตั ร ๕ ชน้ั ดา้ นละ ๑ คู่ รวม ๔ คนั ใตฐ้ าน เกรนิ ชน้ั ที่ ๑ มหี ว่ งสำ� หรบั คลอ้ งเชอื กทใ่ี ชฉ้ ดุ ชกั ราชรถทำ� ดว้ ยเชอื กมนลิ าหมุ้ ผา้ แดง ดา้ นหนา้ ๔ สาย พลชกั ลากสายละ ๑๔ นาย ดา้ นหลงั ๒ สาย พลฉดุ สายละ ๙ นาย เหนอื ทอ้ งไม้ฐานเกรินชนั้ ที่ ๔ 333เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ประดษิ ฐานบษุ บกหลงั คาเครอื่ งยอด สว่ นกลางดา้ นขา้ งทงั้ สองดา้ นของชน้ั ฐานเกรนิ ๓ ชนั้ ลา่ ง ตอน กลางตดิ พนกั ลกู กรงปิดทองทึบ เว้นชอ่ งสำ� หรบั ข้ึนลงบุษบก เสาพนกั ลกู กรงเป็นไม้กลึงรปู หัวเมด็ ปิดทองทบึ บุษบกส�ำหรับสมเด็จพระสังฆราชประทับหรือพระราชาคณะน่ังอ่านพระอภิธรรม หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ประทับทรงปรายหรือทรงภูษาโยง ฐานบุษบกประกอบหน้ากระดานท้องไม้ ปิดทองประดับกระจก ปากฐานรอบพนักประดับไมแ้ กะสลักลายกระจังปฏิญาณ เว้นพนกั ด้านหน้า สำ� หรบั เปน็ ชอ่ งประทบั เสาบษุ บกยอ่ มมุ ไมส้ บิ สอง โคนเสาบษุ บกประดบั กาบพรหมศร หวั เสา มคี นั ทวย สลกั ลายนาครบั เชงิ กลอนหลงั คาชนั้ ลา่ ง เสาบษุ บกแตล่ ะตน้ ผกู มา่ น (ตาดทองซบั ในสแี ดง หรอื ลายทอง แผล่ วด) รวบกลางม่านทป่ี ระจ�ำยามรดั อกของเสา ด้านหลงั บุษบกมพี นกั พงิ ส่วนเคร่ืองยอดหลังคา บษุ บกประดับชั้นเชงิ กลอน ๕ ช้นั แตล่ ะชน้ั ประดับบนั แถลง ช่อฟ้า บราลี นาคปกั ถัดขึน้ ไปเปน็ สว่ นขององค์ระฆงั เหม ๓ ชน้ั จ�ำหลักยอ่ มุมไมส้ บิ สอง บัวกลุ่ม ๕ ชั้น ปลีและปลยี อดปิดทองทึบ ล กู แกว้ จำ� หลกั ลาย ยอดประกอบดว้ ยเมด็ นำ้� คา้ งและพมุ่ ขา้ วบณิ ฑ์ เพดานบษุ บกประดบั ลายดอกจอก ราชรถปนื ใหญ่รางเกวยี น รถปืนใหญ่รางเกวียนเป็นราชรถที่เชิญพระโกศพระบรมศพ พระศพของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ ที่ดำ� รงพระยศในราชการทหารครั้งทรงพระชนม์ชีพ ส�ำหรับพระบรมศพใช้ราชรถ ปนื ใหญร่ างเกวยี นอตุ ราวฏั รอบพระเมรมุ าศ ๓ รอบ แทนพระยานมาศสามลำ� คานตามธรรมเนยี มเดมิ ในสว่ นของพระบรมวงศน์ น้ั ใชเ้ ชญิ พระศพจากวงั (หรอื จากหนา้ วดั พระเชตพุ น) ไปสพู่ ระเมรุ ซงึ่ เปน็ ธรรมเนยี มใหมเ่ กดิ ขน้ึ ในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระมงกฏุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ในการพระราชทาน เพลงิ พระศพจอมพล พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหลวงนครไชยศรสี รุ เดช เมอื่ พ.ศ. ๒๔๕๙ เปน็ ครงั้ แรก (ราชกิจจานเุ บกษา ๒๔๕๙: ๗๐๓) ส�ำหรับพระบรมศพพระมหากษัตริย์พระองค์แรกท่ีทรงราชรถปืนใหญ่รางเกวียนเวียน อตุ ราวฏั รอบพระเมรมุ าศ คอื พระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั โดยทรงมพี ระบรมราชโองการ แสดงพระราชประสงค์ “ในการแหพ่ ระบรมศพ ตง้ั แตพ่ ระทน่ี ง่ั ดสุ ติ มหาปราสาทไปถงึ วดั พระเชตพุ น ใหใ้ ชย้ านมาศตามประเพณี จากวดั พระเชตพุ นไปพระเมรุ ขอใหจ้ ดั แตง่ รถปนื ใหญเ่ ปน็ รถพระบรมศพ เพราะขา้ พเจา้ เปน็ ทหาร อยากใครเ่ ดนิ ทางสดุ ทา้ ยนอ้ี ยา่ งทหาร” (ยมิ้ ปณั ฑยางกรู และคณะ ๒๕๒๘: ๒๕๘) แตท่ ง้ั นใ้ี นพระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ จรงิ พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โปรดเกลา้ ฯ ให้เชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นพระมหาพิชัยราชรถไปสู่ท้องสนามหลวง เมื่อถึงพระเมรุมาศจึงให้ เชญิ พระโกศพระบรมศพเลือ่ นลงทางเกรินส่รู าชรถปนื ใหญ่รางเกวียน ส�ำหรับในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ปรากฏ หลกั ฐานวา่ กรมศลิ ปากรไดด้ ำ� เนนิ การ “ปรบั ปรงุ รถปนื ใหญข่ องทางราชการทหารเปน็ รถประดษิ ฐาน พระบรมโกศสำ� หรับเวียนรอบพระเมรุมาศ” และ “ได้จดั สร้างบษุ บกพรอ้ มรางเลอ่ื นไว้บนรางเกวียน ปนื ” (กฤษณ์ อินทโกศัย ๒๔๙๕ก: ๙๗; ๒๔๙๕ข: ๘๘-๘๙) 334 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๖ รถปืนใหญ่รางเกวยี น ซงึ่ กรมสรรพาวธุ ทหารบก มอบใหพ้ พิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เม่ือ ๑๔ มถิ ุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ในหมายกำ� หนดการพระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพ เรยี กราชรถนวี้ า่ “ราชรถปนื ใหญ่ รางเกวียน” ส่วนในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเรียกว่า “รถปืนใหญ่” “เกวียนรางปืน” “รถปนื ใหญร่ างเกวียน” “รางเกวียนปืนใหญ”่ (กลุ่มจารตี ประเพณี ๒๕๕๙: ๓๖) พระราเชนทรรถ ตามโบราณราชประเพณเี มอื่ ถวายพระเพลงิ พระบรมศพแลว้ วนั รงุ่ ขนึ้ จะเปน็ การพระราชกศุ ล เกบ็ พระบรมอฐั แิ ละเชญิ พระโกศพระบรมอฐั จิ ากพระเมรมุ าศเขา้ สพู่ ระบรมมหาราชวงั โดยกระบวน พยุหยาตราสี่สาย และใช้พระท่ีน่ังราเชนทรยาน พระราชยานรูปบุษบกมีคานส�ำหรับหาม ๔ คาน ใช้พลแบกหาม ๕๖ นาย ในการประดษิ ฐานพระบรมอัฐิ แตท่ งั้ นพี้ ระทนี่ ง่ั ราเชนทรยานเปน็ ของใหญแ่ ละมนี ำ้� หนกั มาก จงึ ไมไ่ ดใ้ ชเ้ สดจ็ พระราชดำ� เนนิ ทางไกลในงานนอกพระราชวัง การเสด็จโดยพระที่นั่งราเชนทรยานทางไกลเท่าที่ปรากฏหลักฐาน คือ คราวงานฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี เม่อื พ.ศ.๒๔๒๕ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่ หวั ทรงพระทนี่ งั่ องคน์ เี้ สดจ็ ออกจากพระบรมมหาราชวงั มายงั ดา้ นทศิ ตะวนั ออกของทอ้ งสนามหลวง (กองวฒั นธรรม ๒๕๐๔: ๑๔-๑๕) การรับพระบรมอัฐพิ ระบาทสมเดจ็ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั กลบั สูป่ ระเทศไทย เม่อื วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๒ ซ่ึงประกอบการพระราชพิธี “เต็มตามพระบรมราชอิสริยยศแห่งมุทธา ภสิ ติ มหากษตั รยิ าธริ าชทกุ ประการ” ทงั้ นเ้ี ขา้ ใจวา่ คงดว้ ยระยะกระบวนพยหุ ยาตราสสี่ ายคอ่ นขา้ งไกล คอื เดนิ อตุ ราวฏั พระบรมมหาราชวงั จงึ ปรบั จากการประดษิ ฐานบนพระราเชนทรยานมาเปน็ ราชรถ โดยเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา เมื่อเรือหลวงแม่กลองเทียบท่าราชวรดิฐ เชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้น 335เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

พระราเชนทรรถ อัญเชญิ พระโกศพระบรมอฐั ิพระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั เข้าสพู่ ระทน่ี ั่งจักรมี หาปราสาท ในพระบรมมหาราชวงั เมื่อวันท่ี ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๒ (ทม่ี า: สำ� นักหอจดหมายเหตแุ ห่งชาติ กรมศิลปากร) ประดิษฐานเหนือบุษบกพระราเชนทรรถ ต้ังกระบวนพยุหยาตราส่ีสาย เดินตามถนนมหาราช ถนนท้ายวัง ถนนสนามชัย และถนนหนา้ พระลาน เข้าสู่พระบรมมหาราชวังทางประตวู ิเศษไชยศรี กระบวนพระบรมราชอสิ รยิ ยศเขา้ สปู่ ระตพู มิ านไชยศรี หยดุ พระราเชนทรรถเทยี บเกยหนา้ พระทน่ี ง่ั จักรีมหาปราสาท (ราชกจิ จานุเบกษา ๒๔๙๒: ๒๒๖๒-๒๒๖๔) จากหลกั ฐานภาพถา่ ย พระราเชนทรรถ คอื ราชรถนอ้ ยซงึ่ ประดษิ ฐานบษุ บก โดยราชรถนอ้ ย รถนี้ปัจจุบันเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ท่ีระเบียงหมู่พระวิมานด้านทิศเหนือ ตามประวัติระบุว่าราชรถน้อยรถน้ีสร้างขึ้นส�ำหรับทรงพระโกศสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า มาลนิ นี พดารา สิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกญั ญา ออกพระเมรุเมือ่ พ.ศ.๒๔๖๘ ราชรถน้อย เป็นราชรถทรงโถง คือไม่มีหลังคาและเสา ท�ำด้วยไม้จ�ำหลักลายทาสีแดง ปดิ ทองประดบั กระจก มีขนาดกว้าง ๒๓๐ เซนติเมตร ยาว ๗๘๐ เซนติเมตร สูง ๒๓๐ เซนตเิ มตร เทียมม้า ๔ ม้า หรือใชจ้ �ำนวนพลฉดุ ชักลาก จำ� นวน ๔๐ คน โครงเครอ่ื งลา่ งซง่ึ เปน็ สว่ นรบั นำ�้ หนกั ประกอบดว้ ยลอ้ ซา้ ยขวา ๔ ลอ้ ทำ� ดว้ ยไมจ้ ำ� หลกั ลาย ปดิ ทองประดบั กระจก มเี หลก็ รดั วงลอ้ สว่ นหนา้ สดุ ของราชรถประกอบดว้ ยงอนรถ ๑ งอน ทำ� ดว้ ย ไมก้ ลงึ รปู รที าสแี ดงเรยี บ ปลายงอนรถจำ� หลกั เปน็ รปู เหราคายนาค ๑ เศยี ร ประดบั ธงสามชาย พนื้ แดง ลายทองแผ่ลวดประดบั พู่สีขาว องค์ราชรถ พ้ืนทาสีแดง แคร่ราบประดับรูปนาคจ�ำหลักท่ีขอบทั้งสองข้าง กึ่งกลางแคร่ มีแท่นทรงสี่เหลี่ยมส�ำหรับประดิษฐานพระโกศ เป็นแท่นเท้าสิงห์ย่อมุมไม้สิบสอง ท้องสิงห์ยกสูง 336 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๑๖ ประดับลายแผงราชวตั รดอกสีก่ ลีบฉลุโปร่ง กงึ่ กลางแท่นประดับลายหน้ากาล ๓ ดา้ น เว้นดา้ นหน้า เหนือแท่นเท้าสิงห์ประดับกระจังราย รองรับด้วยฐานบัวกลุ่มทรงสี่เหล่ียมส�ำหรับรองรับพระโกศ ด้านหนา้ และดา้ นหลงั แท่นเท้าสิงหป์ ระกอบด้วยเกรนิ ๑ ชน้ั ตกแต่งด้วยกระหนกสำ� หรับภูษามาลา ขนึ้ ประคองพระโกศ ดา้ นหนา้ ราชรถมแี ทน่ ขาสงิ หท์ รงสเี่ หลยี่ มขนาดเลก็ สองขา้ งประดบั ลายหนา้ กาล สำ� หรับพลขบั นงั่ หรอื ตงั้ เคร่ืองบูชา ส่ีมมุ ราชรถมีทส่ี �ำหรับปักฉตั ร ส่งท้าย พระมหาพชิ ยั ราชรถ ราชรถพาหนะอญั เชญิ พระบรมศพจากทป่ี ระดษิ ฐานออกสพู่ ระเมรมุ าศ เพอื่ ถวายพระเพลงิ ซงึ่ เปน็ การถวายพระเกยี รตแิ กพ่ ระมหากษตั รยิ แ์ ละพระบรมวงศานวุ งศ์ ซง่ึ เสดจ็ สวรรคตแลว้ ตามโบราณราชประเพณแี ตค่ รั้งกรุงศรีอยธุ ยา พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ และราชรถน้อย ปัจจุบันเก็บรักษา ณ โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สร้างข้ึนด้วยความวิจิตรประณีตแห่งภูมิปัญญางานศิลปกรรม ไม้จ�ำหลักชั้นสูง ก่อนการเชิญราชรถออกใช้แต่ละคราวจะมีพิธีกรรมการบวงสรวง และการบูรณะ เสริมความมั่นคง ลงรักปิดทองประดับกระจกเพื่อให้ราชรถอยู่ในสภาพท่ีสมบูรณ์ นับเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมราชประเพณีส�ำคัญของบรรพชนไทยท่ียังคงสืบทอดมาจวบจนปจั จุบนั 337เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

รายการอ้างอิง กรมศลิ ปากร กองวรรณกรรมและประวตั ศิ าสตร์. ๒๕๓๙. เคร่ืองประกอบพระราชอิสริยยศ ราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ. กรงุ เทพฯ: กรมศลิ ปากร กองวรรณกรรมและประวตั ศิ าสตร.์ กรมศิลปากร คณะกรรมการฝ่ายจัดท�ำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิง พระศพสมเดจ็ พระเจา้ ภคนิ เี ธอ เจา้ ฟา้ เพชรรตั นราชสดุ า สริ โิ สภาพณั ณวด.ี ๒๕๕๕. เครอ่ื งประกอบ พระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี. กรุงเทพฯ: สำ� นกั พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. กรมศิลปากร. ๒๕๐๑. จดหมายเหตุความทรงจ�ำ ของกรมหลวงนรินทรเทวี พิมพ์พร้อมกับฉบับเพิ่มเติม (พ.ศ.๒๓๑๐ – ๒๓๘๑) และพระราชวจิ ารณใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั . พระนคร: กรมศิลปากร. กรมศลิ ปากร. ๒๕๐๕. พระราชพงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยา ฉบบั สมเดจ็ พระพนรตั น์ วดั พระเชตพุ น. กรงุ เทพฯ: คลงั วิทยา. กรมศลิ ปากร. ๒๕๐๘. ประชมุ พงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรอ่ื งกรงุ เกา่ . พระนคร: แผนกการพมิ พ์ ห.จ.ก. เกษมสวุ รรณ. กรมศิลปากร. ๒๕๐๙. เรอื่ งสมเด็จพระบรมศพ. พมิ พค์ รั้งท่ี ๓. พระนคร: โรงพิมพพ์ ระจนั ทร์. กรมศลิ ปากร. ๒๕๑๒. โคลงถวายพระเพลงิ พระบรมอฐั พิ ระเจา้ หลวง พระนพิ นธพ์ ระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมหมน่ื ศรีสุเรนทร์ และต�ำหนักแพ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: กรมศลิ ปากร. กรมศิลปากร. ๒๕๓๙. ตำ� ราแบบธรรมเนียมในราชส�ำนักคร้ังกรุงศรีอยุธยา กับพระราชวจิ ารณ์ของสมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ. พมิ พ์คร้ังท่ี ๓. กรงุ เทพฯ: กรมศิลปากร กฤษณ์ อินทโกศัย. ๒๔๙๕ก. “การปลูกสร้างพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหดิ ล ในหนา้ ทก่ี รมศลิ ปากร,”,ศลิ ปากร. ปที ี่ ๖, เลม่ ๔, (ก.ย.), น. ๙๗ – ๑๐๑. กฤษณ์ อินทโกศัย. ๒๔๙๕ข. “การปลูกสร้างพระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหดิ ล ในหนา้ ทก่ี รมศลิ ปากร,” ศลิ ปากร. ปที ่ี ๖, เลม่ ๕, (ต.ค.), น. ๘๗ – ๙๑. กลมุ่ จารตี ประเพณี สำ� นกั วรรณกรรมและประวตั ศิ าสตร,์ ๒๕๕๙. คำ� ศพั ทท์ เ่ี กยี่ วกบั งานพระราชพธิ พี ระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. พิมพ์คร้ังท่ี ๒. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. กองวฒั นธรรม. ๒๕๐๔. เรอ่ื งราชปู โภคและพระราชฐาน. พระนคร: กองวฒั นธรรม. คณะกรรมการชำ� ระประวตั ศิ าสตรแ์ ละจดั พมิ พเ์ อกสารทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละโบราณคดี สำ� นกั งานเลขาธกิ าร นายกรฐั มนตร.ี ๒๕๓๗. ประชมุ หมายรบั สง่ั ภาค ๔ ตอนท่ี ๒ สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลพระบาท สมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั จ.ศ. ๑๒๐๓ – ๑๒๐๕. กรงุ เทพฯ: สำ� นกั งานเลขาธกิ ารนายกรฐั มนตร.ี จงจิตรถนอม ดศิ กุล, ม.จ. ๒๕๕๐. บนั ทึกความทรงจำ� . กรงุ เทพฯ: ศยาม. จมน่ื อมรดรณุ ารกั ษ์ (แจม่ สนุ ทรเวช). ๒๕๑๔. พระราชกรณยี กจิ ในพระบาทสมเดจ็ พระมงกฏุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เลม่ ๙ เรอ่ื ง พระราชประเพณี (ตอน ๑). พระนคร: องคก์ ารคา้ ของครุ สุ ภา. เจา้ พระยาทพิ ากรวงศ.์ ๒๕๐๓. พระราชพงศาวดารกรงุ รตั นโกสนิ ทร์ รชั กาลที่ ๑. พระนคร: องคก์ ารคา้ ของครุ สุ ภา. ณฐั วฒุ ิ สทุ ธสิ งคราม. ๒๕๑๖. สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ มหามาลา กรมพระยาบำ� ราบปรปกั ษ์ ภาคปลาย พระราชหตั ถเลขาและค�ำอธิบาย เล่ม ๑๑. กรงุ เทพฯ: องค์การคา้ คุรุสภา. 338 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๖ เดอ ชวั ซีย.์ ๒๕๕๐. จดหมายเหตุรายวนั การเดินทางไปสู่ประเทศสยามในปี ค.ศ. ๑๖๘๕ และ ๑๖๘๖ ฉบบั สมบูรณ์. กรงุ เทพฯ: ศรปี ัญญา. นยิ ม กลน่ิ บบุ ผา. ๒๕๕๗. “ฐานานศุ กั ดร์ิ าชรถ,” ใน ๑๐๓ ปี แหง่ การสถาปนากรมศลิ ปากร. กรงุ เทพฯ: กรมศลิ ปากร. แนง่ นอ้ ย ศกั ดศ์ิ ร,ี ม.ร.ว. และคณะ. ๒๕๕๕. สถาปตั ยกรรมพระเมรใุ นสยาม เลม่ ๒. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พก์ รงุ เทพฯ. พัชรนิ ทร์ ศขุ ประมูล, บรรณาธิการ. ๒๕๕๙. ราชรถ ราชยาน ในพิธถี วายพระเพลงิ พระบรมศพ. กรงุ เทพฯ: กรมศลิ ปากร สำ� นกั พพิ ธิ ภณั ฑสถานแห่งชาต.ิ มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั . ๒๔๗๐. สตุ ตฺ นตฺ ปฏิ เก สยํ ตุ ตฺ นกิ ายสสฺ มหาวารวคโฺ ค. พระนคร: โรงพมิ พพ์ าณชิ ศภุ พล. มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั . ๒๕๒๕ก. พระสตู รและอรรถกถาแปล ขทุ ทกนกิ าย ชาดก เลม่ ๔ ภาคท่ี ๒. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พ์มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั มหามกฏุ ราชวิทยาลยั . ๒๕๒๕ข. พระสูตรและอรรถกถาแปล สังยตุ ตนกิ าย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพม์ หามกุฏราชวทิ ยาลยั . มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั . ๒๕๒๕ค. พระสตู รและอรรถกถาแปล สตุ ตนั ตปฎิ ก ทฆี นกิ าย มหาวรรค เลม่ ๒ ภาคที่ ๑. กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พม์ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั . มหามกฏุ ราชวิทยาลัย. ๒๕๒๖. พระสูตรและอรรถกถาแปล สงั ยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เลม่ ๓ ภาคท่ี ๑. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์มหามกฏุ ราชวิทยาลยั . มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช โครงการเลอื กสรรหนงั สอื . ๒๕๔๙. คำ� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั . พมิ พค์ รง้ั ที่ ๒. นนทบรุ :ี มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช. ย้มิ ปัณฑยางกูร และคณะ. ๒๕๒๘. งานพระเมรุมาศสมยั กรุงรตั นโกสนิ ทร์. กรงุ เทพฯ: กองวรรณคดีและ ประวตั ศิ าสตร์ กรมศิลปากร ราชกจิ จานเุ บกษา. “กำ� หนดการรบั พระบรมอฏั ฐพิ ระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั และการพระราชกศุ ล ทกั ษณิ านปุ ทาน ๒๔๙๒.” เลม่ ๖๖, ตอน ๒๙ (๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๒): ๒๒๖๒ ๒๒๗๑. ราชกจิ จานเุ บกษา. ๒๔๒๐. “ขา่ วตาย.” เลม่ ๔, แผน่ ๕๒ (วนั อาทติ ย์ ขนึ้ ๗ คำ�่ เดอื น ๔ จ.ศ. ๑๒๓๙): ๔๑๘. ราชกจิ จานุเบกษา. ๒๔๕๙. “การพระเมรวุ ัดเบญจมบพติ รดุสิตวนาราม”. เลม่ ๓๓, ตอน ง (๒๕ มิถนุ ายน ๒๔๕๙): ๖๙๙ – ๗๑๙. ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๔๖๘. ค�ำให้การชาวกรุงเก่า แปลจากฉบบั หลวงท่ไี ดม้ าจากเมืองพม่า. พิมพ์ครง้ั ท่ี ๒. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพพิ รรฒธนากร. ราชบัณฑิตยสถาน. ๒๕๕๖. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบณั ฑติ ยสถาน. ราชบณั ฑติ ยสภา. ๒๔๗๐. อธบิ ายวา่ ดว้ ยหอพระสมดุ วชริ ญาณ แลพพิ ธิ ภณั ฑสถานสำ� หรบั พระนคร. พระนคร: โรงพมิ พโ์ สภณพพิ รรฒธนากร. ราชบณั ฑติ ยสภา. ๒๔๗๒. สมดุ มคั คเุ ทศนำ� เทยี่ วหอพระสมดุ วชริ ญาณและพพิ ธิ ภณั ฑสถานสำ� หรบั พระนคร. พระนคร: โรงพมิ พ์โสภณพพิ รรฒธนากร. ราม วชริ าวธุ . ๒๕๕๕. ประวตั ติ น้ รัชกาลที่ ๖. พิมพค์ รั้งที่ ๕. กรงุ เทพฯ: มติชน. สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ และ ม.ร.ว.สมุ นชาติ สวสั ดกิ ลุ . ๒๕๕๐. บนั ทกึ รบั สง่ั สมเดจ็ ฯ กรมพระยา ดำ� รงราชานภุ าพ ประทาน หมอ่ มราชวงศส์ มุ นชาติ สวสั ดกิ ลุ . พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๓. กรงุ เทพฯ: สมาคม ประวตั ศิ าสตรใ์ นพระราชปู ถมั ภส์ มเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ าร.ี 339เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ. ๒๕๐๕. พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสินทร์ รชั กาลท่ี ๒, เล่ม ๑. พระนคร: องคก์ ารค้าของครุ ุสภา. สำ� นกั งานเสรมิ สรา้ งเอกลกั ษณข์ องชาต.ิ ๒๕๕๕. ราชาศพั ท.์ พมิ พค์ รงั้ ท่ี ๔. กรงุ เทพฯ: สำ� นกั งานเสรมิ สรา้ ง เอกลกั ษณ์ของชาติ. สจุ ิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. ๒๕๕๑. พระเมรุท�ำไม ? มาจากไหน. พิมพค์ ร้ังท่ี ๒. กรงุ เทพฯ: กองทุน เผยแพร่ความรสู้ ่สู าธารณะ. Terwiel, Barend J. 2016. “Two Scrolls Depicting Phra Petrachas’s Funeral Procession in 1704 and the Riddle of their Creation,” Journal of the Siam Society (Vol.104), pp. 79-94. 340 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

งานพระศพกษตั รยิ ์ลา้ นช้าง ๗๑ ในสมยั รฐั จารตี ๑ อาจารย์ ธีระวัฒน์ แสนคำ� คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั เลย ทว่ี ดั เชยี งทอง เมอื งหลวงพระบางยงั คงจดั แสดงพระโกศของเจา้ ชวี ติ สสี ะหวา่ งวง (พระเจา้ ศรสี วา่ งวงศ)์ พระเชษฐา และพระราชมารดา โดยประดษิ ฐานใน “โรงเมยี้ นโกศ” หรอื โรงเกบ็ ราชรถ ซ่งึ สะท้อนวา่ อาณาจกั รลา้ นชา้ งหรอื “ลาว” มีสายสัมพันธ์ทางดา้ นความเชือ่ กับกรงุ รัตนโกสินทร์ และบา้ นเมืองตา่ งๆ ในอุษาคเนย์ ดงั น้ัน จึงเปน็ สิ่งทนี่ า่ สนใจตอ่ การทัศนคตคิ วามเชื่อดงั กลา่ วผ่าน เอกสารทางประวตั ิศาสตร์ อันดับแรก ต้องกล่าวด้วยว่าบทความน้ีจะเน้นการน�ำเสนอข้อมูลและเร่ืองราวที่เก่ียวข้อง กับงานพระศพของกษัตริย์ล้านช้างนับตั้งแต่ยุคสมัยต�ำนานจนถึงสมัยก่อนถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่ง ของราชอาณาจักรสยามในปี พ.ศ.๒๓๗๑ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะ พัฒนาการหรือ ความเปลี่ยนแปลงของงานพระศพของกษัตริย์ล้านช้างทั้งจากหลักฐานประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศลิ ปกรรม อยา่ งไรก็ดี การศึกษาครั้งนี้เปน็ การน�ำเสนอแบบสังเขปภาพรวมเทา่ น้ัน เพ่อื ใหเ้ กดิ ความกระชับ และเปน็ ข้อมูลพนื้ ฐานเปดิ ทางไปสู่การค้นควา้ ตอ่ ยอดตอ่ ไปของผ้อู า่ นทส่ี นใจ สังเขปประวตั ิศาสตรล์ ้านชา้ ง กอ่ นหนา้ การสถาปนาอาณาจกั รลา้ นชา้ งขน้ึ ในปี พ.ศ.๑๘๙๖ ขอ้ ความในนทิ านเรอื่ งขนุ บรม ราชา พงศาวดารลานชา้ ง ไดส้ ะทอ้ นใหเ้ หน็ วา่ ในบรเิ วณที่ราบลุ่มน้ำ� โขงและหบุ เขาลุม่ น�ำ้ สาขาได้มี บ้านเล็กเมืองน้อยเกิดขึ้นอยู่จ�ำนวนมาก และแต่ละเมืองต่างก็มีกษัตริย์ท่ีมีความสัมพันธ์กันทาง เครอื ญาตกิ ัน (พงศาวดารเมืองลานช้าง ๒๕๔๕: ๑๓๙-๑๕๓) เช่นเดียวกับวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่ง ทา้ วเจอื ง ซง่ึ กลา่ วถงึ ทา้ วฮงุ่ ทา้ วเจอื ง วา่ เปน็ กษตั รยิ ผ์ เู้ ปน็ ใหญใ่ นลมุ่ นำ�้ โขง (ดวงเดอื น บนุ ยาวง ๒๕๔๙) กอ่ นทจี่ ะคอ่ ยๆ เกดิ การทำ� สงครามแยง่ ชงิ ความเปน็ ใหญข่ องกษตั รยิ เ์ มอื งตา่ งๆ เพอ่ื รวบรวม บา้ นเลก็ เมอื งน้อยไว้ใต้การปกครองจนเกิดเป็นราชอาณาจักรข้นึ ในชว่ งพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๙ ๑ บทความน้ีเลอื กใช้ “พระศพ” แทนที่จะเป็น “พระบรมศพ” เนอื่ งจากใชต้ ามเอกสารช้ันตน้ เชน่ พงศาวดารเมือง หลวงพระบาง และอนื่ ๆ 341เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ราชรถรูปพญานาคและพระโกศเจ้ามหาชีวิต ของลาว เกบ็ รกั ษาไว้ ณ วดั เชยี งทอง (ภาพโดย พรสรร วเิ ชยี รประดิษฐ)์ ส�ำหรับราชอาณาจักรล้านช้างได้ปรากฏตัวขึ้นอย่างชัดเจนในราวช่วงปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ โดยพระเจา้ ฟ้างมุ้ ผู้ถอื เป็นปฐมกษตั รยิ ไ์ ดท้ �ำการรวบรวมบ้านเลก็ เมอื งน้อยในลุ่มนำ�้ โขงและ ลุ่มน้�ำสาขามีช่ือว่า “กรุงศรีสัตนาคนหุต” หรือ “ราชอาณาจักรล้านช้าง” โดยมีราชธานีอยู่ท่ี เมอื งหลวงพระบาง ตอ่ มาจงึ มกี ารยา้ ยราชสำ� นกั ลงมาทเ่ี มอื งเวยี งจนั ทนใ์ นรชั สมยั พระเจา้ ไชยเชษฐา ธิราชเมือ่ ต้นพุทธศตวรรษท่ี ๒๒ ทว่าสุดท้ายได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองภายในราชส�ำนักที่เมืองเวียงจันทน์จนท�ำให้ เกดิ การแยกการปกครองออกเปน็ ๓ ราชสำ� นกั คอื ราชสำ� นกั ทเี่ มอื งเวยี งจนั ทน์ เมอื งหลวงพระบาง และเมอื งจำ� ปาศกั ดใิ์ นชว่ งกลางพทุ ธศตวรรษท่ี ๒๓ ในแตล่ ะราชสำ� นกั กจ็ ะมเี ชอื้ พระวงศแ์ ละขนุ นาง ช่วยกษัตริย์ในการปกครอง โดยด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญ เช่น อุปราช ราชบุตร ราชวงศ์ เมืองแสน เมืองจัน เมอื งกลาง เมืองขวา เมืองซ้าย เปน็ ต้น (เตมิ วภิ าคยพ์ จนกจิ ๒๕๔๒ : ๒๘๙-๒๙๙) อยา่ งไร กต็ าม เพอื่ ใหอ้ า่ นเขา้ ใจไดไ้ มย่ ากนกั บทความนจี้ ะขออธบิ ายในภาพรวมโดยเรยี กวา่ “ราชอาณาจกั ร ลา้ นชา้ ง” ซึ่งเนน้ การสอ่ื ความหมายในเชงิ พ้นื ที่ทั้งในสมยั กอ่ นรฐั จารีตและรฐั สมัยใหม่ งานพระศพของกษตั ริยล์ ้านชา้ ง คติการจัดงานพระศพด้วยการต้ังพระเมรุมาศของทางล้านช้างน้ันมีมานานแล้ว อาจเก่า ก่อนรัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้มปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้าง และสืบทอดต่อเน่ืองกันมาจนถึง ในสมัยสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์เม่ือ พ.ศ.๒๕๐๓ ก่อนที่ประเทศจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบอบ การปกครองแบบคอมมวิ นิสต์ อยา่ งไรกต็ าม หลกั ฐานเกย่ี วกบั งานพระบรมศพของกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งสมยั โบราณนนั้ พบวา่ มี ข้อมูลคอ่ นข้างนอ้ ยมาก ส่วนมากจะบนั ทกึ เพยี งสั้นๆ ถึงขา่ วการส้ินพระชนมแ์ ละเหตกุ ารณ์ทีน่ �ำไป สู่การสวรรคตของกษตั ริย์แตล่ ะพระองคเ์ ป็นสำ� คญั เทา่ น้นั ในพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ระบุว่า 342 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ในปี พ.ศ.๑๘๙๖ ขุนยักษ์ฟ้าหรือขุนผีฟ้า พระราชบิดาของพระเจ้าฟ้างุ้มผู้ซ่ึงถือเป็นต้นวงศ์ ๗๑ ของอาณาจกั รลา้ นชา้ งไดส้ ิ้นพระชนมล์ ง ซ่งึ ในพงศาวดารไดบ้ ันทกึ ไวว้ ่า “...ขนุ ยกั ษ์ฟา้ เจบ็ วณั โรค ปว่ ยลงกถ็ งึ แกก่ รรมไป พระเจา้ กรงุ ศรสี ตั นาคนหตุ ฟา้ งมุ้ ทรงทราบวา่ ขนุ ยกั ษฟ์ า้ ผเู้ ปน็ พระราชบดิ า สิ้นพระชนม์ จงึ ทรงสั่งเสนาบดจี ัดการเมรุมาศให้สมควรแกอ่ สิ ริยยศ แล้วกป็ ลงศพพระราชบิดา...” (พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ๒๕๐๗: ๑๖๒-๑๖๓) จะเห็นได้ว่านับแต่สมัยพระเจ้าฟ้างุ้มเป็น อย่างช้าได้เกิดคติในการจัดการเมรุมาศให้กับกษัตริย์ล้านช้างแล้ว ซึ่งเป็นไปได้ว่าได้รับคติมาจาก อาณาจักรกัมพูชา เพราะพระองค์ทรงมีพระมเหสีเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์กรุงอินทปัตถ์คือ เมืองพระนครแห่งกัมพูชา คติความเช่ือเร่ืองการท�ำพระเมรุมาศนี้ปรากฏในนครรัฐของล้านช้างแห่งอ่ืนด้วย ดังเห็น ได้จากในปี พ.ศ.๒๒๘๐ เม่ือเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชสำ� นกั ลา้ นชา้ งเมอื งจำ� ปาศกั ดสิ์ นิ้ พระชนม์ พระเจา้ องคห์ ลวง (เจา้ ไชยกมุ าร) พระราชโอรสจงึ ได้ ขน้ึ ครองราชยส์ บื ตอ่ จากพระราชบดิ า และทำ� การถวายพระเพลงิ พระศพเจา้ สรอ้ ยศรสี มทุ รพทุ ธางกรู ดงั ปรากฏในตำ� นานเมอื งนครจำ� ปาศกั ดคิ์ วามวา่ “...พระเจา้ องคห์ ลวงจงึ สง่ั ใหท้ า้ วพระยาเกณฑไ์ พร่ ท�ำเมรุขึ้นที่ข้างวัง ครั้นการท�ำเมรุเสร็จแล้วจึงได้ชักศพเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเข้าสู่เมรุท�ำบุญ ให้ทาน พระเจ้าองค์หลวงและเจ้านายท้าวพระยาก็เผาศพเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร...” (ต�ำนาน เมืองนครจ�ำปาศักด์ิ ๒๕๑๒: ๑๘๗-๑๘๘) จะเหน็ ได้ว่าคติการทำ� พระเมรขุ องลาวนครจำ� ปาศักดิ์ คือ การสร้างเมรขุ น้ึ ใกลก้ บั วัง คลา้ ยคลงึ กันกบั ในกรุงรตั นโกสินทร์ โดยไพร่ถอื เป็นกลุม่ คนทมี่ ีบทบาท สำ� คญั ต่อการสรา้ งพระเมรุ มขี อ้ มลู ทนี่ า่ สนใจคอื ในปี พ.ศ.๒๐๒๓ พระสวุ รรณบลั ลงั กห์ รอื ทา้ วแทน่ คำ� (หรอื ทา้ วแทง่ คำ� ) ได้ท�ำการปลงพระศพพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว พระราชบิดาของพระองค์ท่ีเมืองเชียงคาน ดังปรากฏข้อมูลในพงศาวดารเมืองหลวงพระบางว่า “...ท้าวแท่งค�ำที่เป็นพระราชโอรส และเสนา พฤฒามาตยร์ าษฎรกรงุ ศรสี ตั นาคนหตุ และเมอื งเชยี งคานกพ็ รอ้ มกนั ปลงพระศพตามสมควรอนั เปน็ พระเจ้าแผ่นดินเอกเทศ...” (พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ๒๕๐๗: ๑๗๓-๑๗๔) การระบุถึง การปลงพระศพในฐานะของการเปน็ “พระเจา้ แผน่ ดนิ เอกเทศ” นยี้ อ่ มแสดงใหเ้ หน็ วา่ การสรา้ งพระ เมรุมาศเป็นส่วนหน่ึงของระบบการเมืองด้ังเดิมในอุษาคเนย์ เพราะการจะสร้างพระเมรุมาศขึ้นได้ นน้ั ยอ่ มตอ้ งเป็นกษตั รยิ ท์ ี่ไม่เป็นเมืองขนึ้ ของผู้ใด จากขอ้ มลู เบ้อื งต้นแสดงให้เหน็ ว่า นับแตส่ มยั ตง้ั ราชอาณาจักรล้านชา้ ง คตคิ วามเชื่อเรื่อง การทำ� พระเมรมุ าศเพอ่ื จำ� ลองเขาพระเมรตุ ามคตคิ วามเชอื่ ไตรภมู ไิ ดส้ ถาปนามน่ั คงแลว้ โดยอาจจะ รับอิทธิพลความคิดผ่านมาจากทางอาณาจักรกัมพูชาที่เมืองพระนคร และผสมผสานเข้ากับความ เช่ือทอ้ งถ่ินดงั จะเหน็ ได้จากในหวั ขอ้ ถดั ไป การจัดการร่างกายของพระศพ การจัดการต่อร่างกาย (body) ของพระศพถอื เป็นเรอ่ื งสำ� คญั เพราะเป็นการส่งผู้ตายให้ บรสิ ทุ ธแิ์ ละสะอาดเพอ่ื เดนิ ทางไปสโู่ ลกหนา้ แตใ่ นขณะเดยี วกนั กส็ ะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ รากทางวฒั นธรรม ดงั้ เดมิ ของผคู้ นในภมู ภิ าคนไ้ี ปพรอ้ มกนั ดว้ ย ในทนี่ ข้ี อนำ� เสนอการจดั การพระศพของกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ ง 343เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ในต�ำนานคือท้าวฮุ่ง และสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ซ่ึงเป็นกษัตริย์ลาวพระองค์สุดท้ายท่ีจัดงาน พระเมรุ หลังจากที่ท้าวฮุ่งสิ้นพระชนม์ในสนามรบระหว่างรบกับกองทัพพระยาฟ้าฮ่วน พระมเหสี ของท้าวฮุ่งได้จัดการพระศพโดยรับส่ังให้น�ำผ้าโกไสยพัสตร์คือผ้าที่ท�ำด้วยไหมมาห่มพระศพ พร้อมดว้ ยให้นำ� เคร่ืองหอมพระสคุ นธม์ าชโลมพระศพ (สิลา วีระวงส,์ ๒๕๔๙: ๔๔๒) เปน็ ไปได้วา่ เมื่อท้าวฮุ่งส้ินพระชนม์คงจะมีพิธีเลี้ยงผีประกอบด้วย ดังเห็นได้จากการจัดพระงานพระศพของ พระบิดาท้าวฮุง่ ในวรรณกรรมเรอื่ งทา้ วฮุง่ ท้าวเจือง ทีร่ ะบวุ ่าหลังจากทีข่ นุ จอมธรรม พระบดิ าของ ท้างฮุ่งสิ้นพระชนม์แล้ว ได้มีการตีฆ้อง ตีกลอง ตีฉาบให้ดังสนั่นไปท่ัวเมือง แล้วอัญเชิญพระศพ บรรจใุ นหบี พระศพซ่งึ ประดับตกแต่งดว้ ยทองค�ำ มกี ารฆ่าควายโดยน�ำตบั ปอดและไส้ไปต้มเล้ียงผี ส่วนท่ีเหลือก็น�ำมาประกอบอาหารกินเล้ียงกัน พร้อมทั้งแต่งตั้งกษัตริย์พระองค์ใหม่ คือ ท้าวฮุ่ง จากน้ันก็มอบหมายหน้าที่แต่ละฝ่ายรับผิดชอบ ฝ่ายเล้ียงผีก็ตีฆ้อง ตีกลอง ตีฉาบ โห่ร้องไป อกี สว่ นหนงึ่ ก็ไปหาฝนื เตรียมถวายพระเพลงิ (สลิ า วรี ะวงส์ ๒๕๔๙: ๙-๑๐) จากพิธีพระศพของท้าวฮุ่งและพระบิดาข้างต้นสะท้อนให้เห็นความเช่ือด้ังเดิมของลาว ที่สมั พนั ธก์ บั พธิ บี ูชาผีบรรพบรุ ษุ ท่ียงั คงปฏบิ ัตกิ ันในกลุม่ ชาติพันธบ์ุ างกลมุ่ ในลาวและอุษาคเนย์ ในขณะท่ีงานพระศพสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ถือเป็นหลักฐานส�ำคัญต่อ การท�ำความเข้าใจการจัดการพระศพของอาณาจักรล้านช้างได้เป็นอย่างดี พระองค์เสด็จสวรรคต เมื่อวันท่ี ๒๙ ตลุ าคม ๒๕๐๒ และงานพระศพไดจ้ ดั ข้นึ ในปีถดั มาอยา่ งสมพระเกียรติ อนึ่ง ต้องกล่าว ด้วยว่า สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์นั้นถือได้ว่าเป็นเจ้ามหาชีวิตก่อนองค์สุดท้ายของลาว ซ่ึงภายหลังเมื่อมีการเปล่ียนแปลงระบอบการปกครองจากประชาธิปไตยไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เม่ือวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ท�ำให้งานพระศพของกษัตรยิ ์ลาวไมม่ ีการปฏบิ ตั สิ ืบทอดต่อมาอีก ส�ำหรับงานพระศพของกษัตริย์ลาว กล่าวโดยสรุป ข้ันตอนการปฏิบัติต่อพระศพของ เจ้ามหาชีวิตประกอบด้วยถวายน้�ำสรงพระศพ การถวายเคร่ืองทรงพระศพ การมัดตราสังพระศพ การบรรจุพระศพลงในพระโกศหรือหีบพระศพและการอัญเชิญพระโกศประดิษฐานส�ำหรับบ�ำเพ็ญ พระกุศล ขั้นตอนข้างต้นนี้กระท�ำกันในพระบรมมหาราชวังที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อครบก�ำหนด จึงมกี ารอญั เชญิ พระโกศออกประดษิ ฐานบนราชรถลากเลียบพระนครเพื่อน�ำไปยังพระเมรุมาศ หบี และโกศบรรจพุ ระศพ เปน็ ไปไดว้ า่ ดง้ั เดมิ กษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งคงจะบรรจพุ ระศพลงในหบี ศพกอ่ นทจี่ ะใชพ้ ระโกศ ทง้ั นี้ เนอื่ งจากคำ� วา่ “โลง” และ “โกศ” สามารถใชแ้ ทนทกี่ นั ได้ ดงั เหน็ รอ่ งรอยไดจ้ ากคำ� วา่ “โกศลองใน” ซ่งึ คำ� ว่า “โลง” นี้ถ้าออกเสียงส�ำเนียงแบบทางลา้ นช้าง (ลาว) แลว้ จะออกเสียงวา่ “ลอง” ในงาน พระศพพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๙๙-๒๐๒๓) ซ่ึงพระสุวรรณบัลลังก์ (ท้าวแท่นค�ำ) ได้เป็นผู้ด�ำเนินการจัดบ�ำเพ็ญกุศลถวายพระราชบิดาของพระองค์ ดังปรากฏข้อมูล ในนิทานเร่ืองขุนบรมราชา พงศาวดารเมืองลานช้าง ความว่า “...พระยาไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว จิงตายทเี่ ชียงคานหั้น จิงแปงหบี เงนิ ใสไ่ ว้...” (พงศาวดารเมอื งลานช้าง ๒๕๔๕: ๑๗๐) 344 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๗๑ พระศพเจา้ มหาชีวิตศรสี ว่างวงศ์ (Source: Life Magazine) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างหีบพระศพด้วยเงินเพื่อใช้บรรจุพระศพ ของพระเจา้ ไชยจักรพรรดิแผน่ แผว้ แต่ในขณะเดียวกนั กพ็ บมีการใช้ “โลงไม้จันทน์” ควบค่กู นั ด้วย ดงั ความวา่ “...ปางนัน้ พระยาไปเปน็ เจ้าเมืองศรีโยทธิยาจงิ แตง่ โลงค�ำลกู หนึง่ โลงไมจ้ ันทนล์ กู หนึ่ง พนิ พนั แพหา้ ฮอ้ ยใหข้ นุ ศรรี าชโกษามาสง่ ซกาน พระยาไชยจกั รพรรดแิ ผน่ แผว้ ...” (พงศาวดารเมอื ง ลานช้าง ๒๕๔๕: ๑๗๐) สาเหตทุ ี่ทางอยุธยาต้องส่งโลงศพมาให้พระยาไชยจกั รพรรดแิ ผน่ แผ้วน้ัน เพราะเชือ้ สาย ทางพระราชมารดาของพระองคเ์ ปน็ เจา้ ทางอยธุ ยา พระโกศนจ้ี งึ เปน็ เครอื่ งยศอยา่ งหนงึ่ ในการบรรจุ พระบรมศพของกษตั ริยแ์ ละพระศพของพระราชวงศ์ (กรมศลิ ปากร ๒๕๕๙: ๑๔) ส�ำหรบั “โลงค�ำ” ท่ีระบุในพงศาวดารนี้เป็นไปได้ว่าคงเป็นพระโกศลองใน ส่วนโลงไม้จันทน์คือพระโกศที่ครอบอยู่ ภายนอก อยา่ งไรกต็ าม ถึงจะสรปุ ไดเ้ ชน่ นี้ ค�ำว่า “โลงคำ� ” และ “โลงไม้จนั ทน์” อาจหมายถงึ พระ โกศ แตใ่ นที่นีก้ ็ยากทจี่ ะระบไุ ด้ชดั วา่ เป็น “หีบ” พระศพ ทง้ั นีเ้ พราะเมอ่ื พระองค์สวรรคต “หบี เงิน” ไดใ้ ชส้ ำ� หรบั บรรจเุ ปน็ อนั ดบั ตน้ กอ่ นทท่ี างอยธุ ยาจะสง่ โลงคำ� และโลงไมจ้ นั ทนม์ าถวาย จงึ เปน็ ไปไดว้ า่ ธรรมเนียมดั้งเดิมอย่างหน่ึงของทางล้านช้างคือการบรรจุพระศพลงในหีบศพเป็นอันดับต้น ซึ่ง ลักษณะหีบพระศพท่ีใช้บรรจุพระศพกษัตริย์ล้านช้างน้ัน น่าจะมีลักษณะใกล้เคียงกับข้อมูลหีบพระ ศพทใี่ ชบ้ รรจพุ ระศพขนุ จอมธรรม พระบดิ าของทา้ วฮงุ่ ทปี่ รากฏในวรรณกรรมเรอ่ื งทา้ วฮงุ่ ทา้ วเจอื ง ซึ่งระบุลักษณะหีบพระศพไว้ว่า เป็นหีบพระศพที่ประดับด้วยทอง ปิดฝาให้สนิทโดยใช้ยางโบง อุดชันตรงทีเ่ ปน็ รูโหวใ่ หแ้ นบสนทิ ดงั เห็นไดจ้ ากโคลงต่อไปน้ี “...แตน่ ้นั เขากส็ วา่ ๆ ย้ายยอหีบ โลงค�ำ แผแผเสยี งควา่ งพาย โจมเจา้ ท้งั หลายพ้อมมามวล โฮมฮอด ยอแจ่มเจ้าแพงลา้ น ใส่โลง ฝาอัดไวท้ กุ ท่ี ฮิงดี 345เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ยางโบง ตดิ บอ่ งแปว ผันไล้ เม่ือนั้น โงงๆ ฆ้องกองนนั เนืองป่ี ปุนแต่งชาวไพร่น้อย เขาพ้อม พ่ำ� เขย...” (ดวงเดอื น บนุ ยาวง และ โอทอง คำ� อินซู ๒๕๔๐: ๒๐๘) ดังนั้น หีบพระศพที่ใช้ในการบรรจุพระศพกษัตริย์ล้านช้างย้อนกลับไปในอดีตนั้น มีความเป็นไปได้ว่าจะมีทั้งลักษณะที่เป็นหีบพระศพและโกศพระศพ ซ่ึงน่าจะมีพัฒนาการมาจาก สังคมวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ปรากฏอยู่ในท้องถิ่นลุ่มแม่น้�ำโขงและแม่น�้ำสาขาก็เป็นได้ กรณีการใช้หีบ ในการบรรจุพระศพนั้นอาจจะมีคติหรือวัฒนธรรมที่สืบเน่ืองจากการบรรจุศพในโลงไม้สมัยก่อน ประวตั ิศาสตร์ ดังตัวอยา่ งการพบโลงไมต้ ามถ้�ำในเขตจงั หวดั อบุ ลราชธานี (สกุ ัญญา เบาเนดิ และ ชินณวุฒิ วลิ ยาลยั ๒๕๕๓: ๓๓-๔๐) และอกี หลายกลุ่มชาตพิ นั ธทุ์ ี่ทางลาวเรยี กว่า “ลาวเทิง” คือ กลุ่มคนบนพื้นท่ีสูง ก่อนท่ีจะมีพัฒนาการมาเป็นการท�ำรูปร่างโลงศพให้เป็นหีบสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพ่ือบรรจศุ พในหบี ในลักษณะทา่ นอน ควบคู่กันไปกับการใช้โลงศพ ก็พบว่ามีการใช้โกศในการบรรจุศพเช่นกัน เรื่องนี้อาจมี คติหรือวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝังศพหรือฝังกระดูกไว้ในก้อนหินท่ีสกัดให้มีลักษณะคล้ายไหหรือท่ีเรียกว่า “ไหหิน” ซ่ึงมี การพบจำ� นวนมากในเขตท่สี ูงของแขวงเชยี งขวาง ประเทศลาว (บุนมี เทบสเี มอื ง ๒๕๕๓: ๕๗-๖๐) จากนั้นอาจค่อยๆ มีพัฒนาการมาสู่การใช้ไม้สร้างเลียนแบบไหหินและกลายมาเป็นโกศบรรจุศพ ในท่ีสุด และคงมีการแกะสลักลวดลาย ปิดทองและตกแต่งด้านนอกของพระโกศอย่างงดงาม สมพระเกียรติ ไหหินที่ทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว รากของประเพณี การเกบ็ กระดกู ในโกศ (Source: http://www.remotelands.com/ images/citys/1302110002.jpg) พระโกศของเจ้ามหาชีวิตบนราชรถ 346 เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

การจดั พิธีบ�ำเพญ็ กศุ ลถวายพระศพ ๗๑ การจดั พธิ บี ำ� เพญ็ กศุ ลถวายพระศพกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งนน้ั มกั จดั ในระยะเวลาทไี่ มย่ าวนานนกั ดังเห็นได้จากในวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ที่เม่ือขุนจอมธรรมส้ินพระชนม์ได้มีการจัดพิธี บ�ำเพ็ญกุศลพระศพก่อนถวายพระเพลิงไม่นานนัก โดยในงานพระศพขุนจอมธรรมได้มีการเร่ง งานปลงพระศพให้เสรจ็ เรว็ ๆ อยา่ ชกั ชา้ จะไดไ้ มเ่ สียเวลาท�ำมาหากนิ (สลิ า วรี ะวงส์ ๒๕๔๙: ๙-๑๐) เช่นเดียวกับงานพระศพท้าวฮุ่งที่ค่อนข้างมีระยะเวลาในการจัดพิธีบ�ำเพ็ญกุศลพระศพก่อนถวาย พระเพลิงไม่นาน แต่กรณงี านพระศพท้าวฮุ่งนนั้ เข้าใจวา่ บา้ นเมืองอยู่ในภาวะสงคราม งานพระศพ จึงอาจจะใช้เวลาไม่นาน (ดวงเดือน บุนยาวง ๒๕๔๙: ๙-๑๐) จากข้อมูลดังกล่าวนี้อาจสะท้อน ใหเ้ หน็ วา่ งานบำ� เพญ็ กศุ ลถวายพระศพนนั้ อาจจะใชร้ ะยะเวลาไมน่ าน เพยี งเพอื่ รอใหจ้ ดั สรา้ งพระเมรุ เสรจ็ กค็ งทำ� การถวายพระเพลิงพระศพทนั ที ในงานพระศพนอกจากจะมีเครื่องไทยทานที่ทางราชส�ำนักล้านช้างจัดบ�ำเพ็ญกุศลถวาย พระศพอดีตกษัตริยแ์ ลว้ ยังพบว่ามรี าชส�ำนกั ข้างเคียงไดส้ ่งคณะทตู น�ำเครื่องไทยทานมาร่วมงาน พระศพด้วย ดังจะเห็นได้จากกรณีงานพระศพพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วที่สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ กษตั รยิ แ์ หง่ ราชอาณาจกั รกรงุ ศรอี ยธุ ยาไดส้ ง่ คณะทตู นำ� หบี พระศพและเครอื่ งไทยทาน มารว่ มบำ� เพญ็ กศุ ล ดงั ปรากฏในนทิ านเรอ่ื งขนุ บรมราชา พงศาวดารเมอื งลานชา้ งความวา่ “...ปางนน้ั พระยาไปเป็นเจ้าเมอื งศรีโยทธยิ าจงิ แตง่ ... พินพนั แพหา้ ฮอ้ ยใหข้ นุ ศรรี าชโกษามาสง่ ซกาน พระยา ไชยจักรพรรดิแผน่ แผ้ว...” (พงศาวดารเมืองลานชา้ ง ๒๕๔๕: ๑๗๐) ส�ำหรบั “พินพนั แพห้าฮอ้ ย” นนั้ ไมส่ ามารถถอดความไดแ้ นช่ ดั แตเ่ ปน็ ไปไดท้ ่ี “แพหา้ ฮอ้ ย” ในทนี่ คี้ อื ผา้ จำ� นวน ๕๐๐ ผนื ซง่ึ ถอื เป็นสิ่งของจ�ำเป็นท่ีใชส้ �ำหรับในงานพระราชพิธีพระศพ หรือกรณงี านพระศพของพระเจ้ามังธาตุราช กษัตริยห์ ลวงพระบาง โดยเมอ่ื พ.ศ.๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีพระราชด�ำรัสแต่งให้ปลัดวังคุม เครอื่ งไทยทานขนึ้ ไปรว่ มงานพระศพพระเจา้ มงั ธาตรุ าช ซงึ่ ประกอบไปดว้ ยผา้ ไตร ๓๐ ไตร รม่ กระดาษ ๒๐๐ คัน พดั หางปลา ๒๐๐ เลม่ กระดาษฟาง ๒๐๐ มว้ น เครอื่ งเขยี นสตี ่างๆ ๑๐๐ ห่อ น�้ำตาลทราย หนกั ๒ หาบ เงนิ ๔๐๐ เฟ้ือง และทององั กฤษ ๒๐๐ มว้ น (พงศาวดารเมอื งหลวงพระบาง ๒๕๐๗: ๒๒๒) ซงึ่ นา่ จะเปน็ ภาพสะทอ้ นใหเ้ หน็ วา่ งานพระศพกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งกอ่ นหนา้ นกี้ น็ า่ จะตอ้ งมกี ษตั รยิ ์ จากราชอาณาจกั รขา้ งเคยี งสง่ คณะทตู และสิง่ ของมาร่วมงานพระศพดว้ ย การสรา้ งพระเมรถุ วายพระเพลิงพระศพ การท�ำเมรุถวายพระเพลิงพระศพอดีตกษัตริย์นั้น กษัตริย์องค์ต่อมาที่ขึ้นครองราชย์ จะเป็นองค์ด�ำเนินการสั่งให้พระราชวงศ์ ขุนนาง และราษฎรร่วมกันสร้างพระเมรุข้ึนมาเพ่ือท�ำ การถวายพระเพลิงพระศพอย่างสมพระเกียรติ เช่น พระเจ้าฟ้างุ้มสั่งให้สร้างพระเมรุถวายเพลิง พระศพขุนยักษ์ฟ้าพระราชบิดาของพระองค์ดังปรากฏความในพงศาวดารเมืองหลวงพระบางว่า “...จงึ ทรงสง่ั เสนาบดจี ดั การเมรมุ าศใหส้ มควรแกอ่ สิ รยิ ยศ...” (พงศาวดารเมอื งหลวงพระบาง ๒๕๐๗: ๑๖๒-๑๖๓) 347เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

สถานที่ท่ีใชใ้ นการสร้างพระเมรเุ พอ่ื ถวายพระเพลิงพระศพพบว่า สรา้ งพระเมรุขึน้ ในลาน หรือพ้ืนที่ว่างใกล้กับเขตพระราชวัง ดังตัวอย่างกรณีพระเจ้าองค์หลวง (เจ้าไชยกุมาร) ผู้ปกครอง นครจ�ำปาศักดิ์ ได้ส่ังให้สร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระศพเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรความว่า “...พระเจา้ องคห์ ลวงจงึ สง่ั ใหท้ า้ วพระยาเกณฑไ์ พรท่ ำ� เมรขุ น้ึ ทขี่ า้ งวงั ครนั้ การทำ� เมรเุ สรจ็ แลว้ จงึ ได้ ชักศพเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเข้าสู่เมรุท�ำบุญให้ทาน...” (ต�ำนานเมืองนครจ�ำปาศักด์ิ ๒๕๑๒: ๑๘๗) นอกจากน้ี มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการใช้พื้นท่ีลานวัดในการสร้างพระเมรุถวายพระเพลิง พระศพกษัตรยิ ล์ า้ นช้างบางพระองค์ดว้ ยกเ็ ป็นได้ ลักษณะพระเมรุทใ่ี ช้ถวายพระเพลงิ พระศพกษตั รยิ ล์ า้ นช้างนัน้ นา่ จะมคี วามใกลเ้ คียงกบั ข้อมูลพระเมรุที่ใช้ถวายพระเพลิงพระศพขุนจอมธรรม พระบิดาของท้างฮุ่งที่ปรากฏในวรรณกรรม เร่ืองทา้ วฮุ่ง ท้าวเจอื ง ซงึ่ ระบลุ ักษณะพระเมรไุ วว้ ่า เป็นพระเมรใุ หญ่ สูงลิบล่ิวและงดงาม ประดบั ด้วยทองคำ� และแก้วหลายชนิด ส่องประกายวาววับ ดงั ปรากฏในโคลง ความว่า “...อันว่า เฒ่าจา่ ซ้อน ฮบี แตง่ ทวนไฟ กบั ทง้ั เชงิ ชะกอนบ่กวา่ สู อาวแหลว้ แต่น้ันเขากะเดาดาห้าง พละเมรุหลวง ดูสะอาด สงู เผ่นข้ึนสดุ ลำ�้ ลูกตา ประกอบแกว้ คำ� พอก พันใส เมืองเมืองแสงหมู่จงั โกแก้ว แลว้ ให้ พากนั แผ้วหนทาง เส้นใหญ่ ใหฮ้ าบเก้ียง เพยี งแท้ สะอาดงาม...” (ดวงเดอื น บนุ ยาวง และ โอทอง ค�ำอนิ ซ,ู ๒๕๔๐ : ๒๐๘-๒๐๙) จากเนื้อความท่ีแสดงข้างต้นยังพบว่า นอกจากจะมีการประดับตกแต่งพระเมรุให้มี ความงดงามแลว้ ทา้ วฮงุ่ ยงั สง่ั ใหช้ ว่ ยกนั จดั แตง่ แผว้ ถางถนนหนทางใหก้ วา้ งขวาง มคี วามราบเรยี บ และสะอาดงามตาอีกด้วย ท้ังน้ีเป็นเพราะในงานพระเมรุของกษัตริย์ล้านช้างนั้นจะมีราษฎร มาร่วมงานเป็นจ�ำนวนมาก จึงต้องมีการสร้างเตรียมถนนให้กว้างขวางและราบเรียบ เพื่อรองรับ กระบวนอัญเชิญพระศพด้วย นอกจากนี้ ภูเดช แสนสา อาจารย์ประจำ� หลกั สตู รวัฒนธรรมศกึ ษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ ยังได้สันนิษฐานว่าราชส�ำนักล้านช้างยังอาจมีการสร้างพระเมรุแบบปราสาทศพต่างบน สตั วห์ มิ พานต์ โดยไดร้ บั อทิ ธพิ ลผา่ นทางราชอาณาจกั รลา้ นนาและพมา่ เนอ่ื งจากราชสำ� นกั ลา้ นชา้ ง และลา้ นนาในบางรชั กาลมคี วามสมั พนั ธเ์ ชงิ เครอื ญาตริ ะหวา่ งกนั และยงั เคยอยภู่ ายใตก้ ารปกครอง ของพม่าในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ อีกด้วย ดังปรากฏการสร้างพระเมรุแบบปราสาทศพต่าง นกหัสดีลิงค์ในวัฒนธรรมล้านช้าง โดยเฉพาะอย่างย่ิงท่ีเห็นได้ชัดในราชส�ำนักเมืองจ�ำปาศักด์ิและ เมืองอุบลราชธานี การสร้างพระเมรุแบบปราสาทศพต่างบนสัตว์หิมพานต์ เช่น ปราสาทศพต่าง ชา้ งเผอื กและนกการเวกเปน็ ทน่ี ยิ มในพมา่ ทวา่ การสรา้ งพระเมรแุ บบปราสาทศพตา่ งบนนกหสั ดลี ิงค์ 348 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ไม่เป็นท่ีนิยมนัก ภูเดชสันนิษฐานว่าล้านนาน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากพม่าก่อนท่ีจะพัฒนาจนเป็น ๗๑ เอกลักษณ์แบบล้านนา เม่ือล้านช้างได้รับอิทธิพลจากล้านนาจึงปรับปรุงจนเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่นกัน ดังตัวอย่างท่ีปรากฏในพิธีพระศพและงานศพในช้ันหลัง เช่น ในงานพระเมรุเจ้าเพชรราช พ.ศ.๒๕๐๒ มีการอัญเชิญพระโกศต่างนกหัสดีลิงค์สามหัวมายังพระเมรุ หรืองานปลงศพพระเถระ ผู้ใหญห่ ลายรปู ที่มีการปฏบิ ตั ิสบื ต่อมาจนถึงปจั จบุ ัน (ภูเดช แสนสา, ๒๕๕๖ : ๒๔-๓๔) อนึ่ง ร้อยเอกลูเนต์ เดอ ลาจงกิแยร์ (Par ie copitaine Lunet de Lajonquiere) นายทหารชาวฝรงั่ เศสซงึ่ เขา้ มาในตวั เมอื งเวยี งจนั ทนเ์ มอ่ื พ.ศ. ๒๔๔๔ ไดบ้ นั ทกึ ขอ้ มลู ไวว้ า่ ทบี่ รเิ วณ ใกล้กับวัดพระแก้วท่ีเมืองเวียงจันทน์มีอาคารท่ีมีลักษณะศิลปสถาปัตยกรรมคล้ายกับวัดพระแก้ว เรียกว่า “พระเมรุ” เน่ืองจากใช้เป็นที่เก็บพระศพของสมาชิกในราชวงศ์เพ่ือรอวันถวายพระเพลิง เป็นอาคารรปู สเี่ หลย่ี มจตั ุรสั ยาวด้านละ ๑๐ เมตร สว่ นหลังคาหายไป มีประตูใหญ่ ๔ ด้าน (ลูเนต์ เดอ ลาจงกิแยร์ ๒๕๖๐) แม้ว่าลาจงกิแยร์จะเรียกบริเวณน้ีว่าพระเมรุซ่ึงในความหมายของเขาคือ สถานที่เก็บพระศพก็ตาม แต่ก็น่าจะเป็นข้อมูลที่เขาได้รับรู้มาจากชาวลาวอีกทีหนึ่ง ซ่ึงก็อาจจะ มีทั้งความเป็นไปได้และความเป็นไม่ได้ว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ใช้เก็บพระศพของพระราชวงศ์ ในราชสำ� นกั ลา้ นชา้ งเมอื งเวยี งจนั ทนเ์ พอ่ื บำ� เพญ็ กศุ ลรอการถวายพระเพลงิ แตอ่ ยา่ งไรกต็ าม ขอ้ มลู ดงั กลา่ วกส็ ะทอ้ นใหเ้ หน็ วา่ ราชสำ� นกั ลา้ นชา้ งอาจมกี ารสรา้ งอาคารขน้ึ มาเฉพาะสำ� หรบั บำ� เพญ็ กศุ ล พระศพกษตั รยิ ์และพระราชวงศเ์ พอ่ื รอการถวายพระเพลิงพระศพ พระเมรมุ าศและราชรถอัญเชิญพระโกศของสมเดจ็ พระเจา้ ศรสี ว่างวงศ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ (Source: Life Magazine) 349เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook