Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-Book_SADET_09

E-Book_SADET_09

Published by LibrarySpt, 2021-09-13 06:18:01

Description: E-Book_SADET_09

Search

Read the Text Version

พระเมรุมาศและราชรถอัญเชิญพระโกศของสมเด็จ ขบวนอัญเชิญพระศพสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระเจา้ ศรสี วา่ งวงศ์ เมอื่ พ.ศ. ๒๕๐๓ (Source: Life เมอ่ื พ.ศ.๒๕๐๓ (Source: Life Magazine) Magazine) การอญั เชญิ พระศพไปยงั พระเมรุ การอญั เชญิ พระศพของกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งไปยงั พระเมรทุ ส่ี รา้ งขน้ึ เพอ่ื ถวายพระเพลงิ พระศพ พบว่าจะมีการ “ชักศพ” หรือการจัดกระบวนอัญเชิญพระศพจากสถานที่ประดิษฐานพระศพ เพื่อบ�ำเพ็ญกุศลในพระราชวังไปยังพระเมรุ ดังเห็นได้จากในกรณีงานพระศพของสมเด็จพระเจ้า ศรีสว่างวงศ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ ท่ีข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระศพในพระโกศประดิษฐานยังราชรถ ซง่ึ ราชรถน้ที �ำเป็นรปู พญานาค กึ่งกลางมบี ษุ บกส�ำหรบั ตัง้ พระโกศ จากนน้ั เจา้ พนกั งาน ทหาร และ ข้าราชบริพารจะท�ำการชักลากราชรถเคลื่อนไปยังพระเมรุมาศ ท้ายจะมีกระบวนทหารต่างถือ “ตุง” (ธง) และข้าราชบริพารแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มสีขาวเดินตาม ตลอดสองข้างทางที่ราชรถ เคลอื่ นผา่ นมกี ารตง้ั แถวของนกั เรยี น ขา้ ราชการ และประชาชนเพอื่ นอ้ มสง่ เสดจ็ อยา่ งสมพระเกยี รติ ยอ้ นกลบั ไปกอ่ นหนา้ นน้ั มขี อ้ มลู การ “ชกั ศพ” เพอ่ื ไปยงั พระเมรมุ าศอยบู่ า้ ง ดงั ตวั อยา่ งกรณี งานถวายพระเพลิงพระศพเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรตามท่ีปรากฏในต�ำนานเมืองนครจ�ำปาศักดิ์ ความว่า “...พระเจ้าองค์หลวงจึงสั่งให้ท้าวพระยาเกณฑ์ไพร่ท�ำเมรุข้ึนที่ข้างวัง ครั้นการท�ำเมรุ เสร็จแล้วจึงได้ชักศพเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูรเข้าสู่เมรุ...” (ต�ำนานเมืองนครจ�ำปาศักด์ิ ๒๕๑๒: ๑๘๗-๑๘๘) แต่การอัญเชญิ พระศพจะมอี งคป์ ระกอบใดบา้ งนนั้ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชดั ดังน้ัน จึงสันนิษฐานได้ว่าในสมัยนั้นกระบวนอัญเชิญพระศพของกษัตริย์ล้านช้างไปยัง พระเมรุน้ันน่าจะมีความคล้ายคลึงกันกับงานพระบรมศพของกษัตริย์หรืองานพระศพของเจ้านาย ในราชส�ำนกั กรุงศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานคร ท่ีมกี ารใชร้ าชรถในการอญั เชญิ พระศพ พรอ้ มดว้ ย กระบวนเกยี รตยิ ศ ราชวัตร ฉตั ร ธง และกระบวนทหาร 350 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ในวรรณกรรมเรอ่ื งทา้ วฮงุ่ ทา้ วเจอื ง มกี ารกลา่ วถงึ กระบวนทหารกองเกยี รตยิ ศในกระบวน ๗๑ อัญเชิญพระศพเช่นกัน ในงานพระศพของขุนจอมธรรม พระบิดาของท้าวฮุ่ง โดยมีทหารและ ขา้ ราชบรพิ ารเดินถือหอกเดนิ แห่เป็นทิวแถวความว่า “ทกุ ที่พ้อม หอกแห่ เป็นถัน...” (ดวงเดอื น บนุ ยาวง และ โอทอง ค�ำอินซู, ๒๕๔๐ : ๒๐๙) เช่นเดยี วกับการอัญเชิญพระศพของทา้ วฮ่งุ ไปยัง พระเมรุ ซึ่งได้เตรียมกองฟืนไว้สูงและมีความงดงามอย่างย่ิง ดังปรากฏรายละเอียดไว้ความว่า “แต่น้ัน สาวัตถหี า้ งเกวยี นค�ำ ฮับอาชญ.์ ..” (ดวงเดือน บนุ ยาวง และ โอทอง ค�ำอนิ ซู ๒๕๔๐: ๒๑๐) แสดงว่าเดิมราชรถน้ันมีช่ือเรียกในค�ำไทยว่า “ห้างเกวียนค�ำ” ซึ่งจากรูปทรงแล้วก็จะเห็นได้ว่า ราชรถนั้น มีรูปร่างคล้ายกับเกวียน เพียงแต่มาประดับประดาด้วยลวดลาย สัตว์หิมพานต์ และ พญานาคท่เี ป็นความเชอ่ื ท้องถ่ินเขา้ ไป เพือ่ ให้สอดรับกบั คติความเชือ่ จากอินเดยี นา่ สงั เกตดว้ ยว่า องคร์ าชรถของราชส�ำนักลา้ นชา้ งมีความโดดเดน่ อยตู่ รงทมี่ ีการประดับ ตกแต่งราชรถเป็นรูปพญานาคเลื้อยและมีหีบพระศพประดิษฐานใต้บุษบกไว้ด้านบนราชรถ ราชรถเดียวทยี่ ังคงเหลอื หลกั ฐานทสี่ มบูรณใ์ หเ้ ห็นกันนั้นคอื ราชรถทใี่ ชอ้ ญั เชิญพระบรมศพสมเดจ็ พระเจา้ มหาชีวิตศรสี วา่ งวงศ์ ซง่ึ เกบ็ รกั ษาอยทู่ ่ีหอราชโกศภายในวัดเชยี งทอง เมอื งหลวงพระบาง ในปจั จบุ ัน ทงั้ นเี้ นอ่ื งจากวา่ “นาค” ถอื เปน็ สตั วศ์ กั ดสิ์ ทิ ธข์ิ องราชอาณาจกั รลา้ นชา้ งและรวมถงึ ผคู้ น ในลมุ่ นำ�้ โขง ดังปรากฏการเรียกขานนามเมืองว่า “ศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานี” ซ่ึงเป็นนามของ นาคตนส�ำคัญ ซง่ึ เป็นนาคผขู้ ดุ สร้างแมน่ ำ�้ โขง นอกจากน้ีแล้ว เมอื่ มีการรบั พระพทุ ธศาสนาเขา้ มา นาคยงั ถกู อธบิ ายดว้ ยวา่ มคี วามเกยี่ วพนั อยา่ งลกึ ซงึ้ กบั พระพทุ ธเจา้ เมอื่ ครง้ั เสดจ็ เลยี บโลกมายงั ดนิ แดนลมุ่ แมน่ �้ำโขงตามท่ปี รากฏในตำ� นานพ้นื เมืองอกี ดว้ ย (ศภุ ชัย สงิ ห์ยะบุศย์, ๒๕๕๓: ๓๗-๓๘) นอกจากนแ้ี ลว้ ในการอญั เชญิ พระศพของขนุ จอมธรรมไปยงั พระเมรยุ งั มกี ระบวนนกั แสดง เลน่ กล (ไตเ่ ชอื กหนงั ) มผี คู้ นจำ� นวนมากตา่ งชาตติ า่ งภาษา มเี ครอ่ื งดนตรนี านาชนดิ และมนี กั แสดง ฟอ้ นรำ� วาดแขนอยา่ งออ่ นชอ้ ยรว่ มฉลองคบงนั หรอื เสพงนั เพอื่ ใหเ้ กดิ ความรน่ื เรงิ ในงานถวายพระเพลงิ พระศพ ในวรรณกรรมเร่อื งท้าวฮุง่ ท้าวเจอื ง ได้นำ� เสนอไวว้ า่ “...ทกุ ท่พี อ้ ม หอกแห ่ เป็นถนั ละเม็งไกวเกาะไตห่ นงั ล�ำฟ้อน นาๆ พอ้ ม ภาษา เสยี งเสพ กะสิงฮ่ายฟ้อน ไควค้อม แกว่งแพน...” (ดวงเดอื น บนุ ยาวง และ โอทอง คำ� อินซู ๒๕๔๐: ๒๐๙) จะสังเกตได้ว่า แนวคิดเรื่องการส่งพระศพของอาณาจักรล้านช้างมีความสอดคล้องกับ ความเชื่อเร่ืองความตายของผู้คนในอุษาคเนย์คือมองว่าการตายคือการเดินทางที่น่ายินดี ดังน้ัน ในขบวนพระศพจงึ มนี ักแสดงเล่นกล นกั แสดงฟ้อนร�ำ และการเลน่ เครอื่ งดนตรีประโคม นอกจากจะมีกระบวนเกียรติยศและกระบวนฟ้อนเสพร่วมในขบวนอัญเชิญพระศพแล้ว เป็นไปได้ว่านับแต่สมัยโบราณอาจจะมีกระบวนพระสงฆ์และสามเณรเดินน�ำหน้าราชรถอัญเชิญ พระศพดว้ ยกเ็ ปน็ ได้ เนอื่ งจากในงานถวายพระเพลงิ พระศพทา้ วฮงุ่ ในวรรณกรรมเรอื่ งทา้ วฮงุ่ ทา้ วเจอื ง 351เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ได้มีราษฎรกวา่ ๓,๐๐๐ คน ไดโ้ กนผมท�ำพธิ ีบรรพชาเป็นสามเณรเพือ่ อุทศิ ถวายเป็นพระกศุ ลด้วย (ดวงเดือน บุนยาวง ๒๕๔๙ : ๔๔๔-๔๔๕) ซ่ึงการบรรพชาเป็นสามเณรในลักษณะดังกล่าวนี้ ยงั ปรากฏเรอื่ ยมาจนถงึ ปจั จบุ นั ในสงั คมวฒั นธรรมลาว-ไทยสองฝง่ั แมน่ ำ�้ โขง ซงึ่ เปน็ การบวชหนา้ ไฟ ทเี่ รยี กวา่ “บวชจงู ” เพอื่ อทุ ศิ สว่ นกศุ ลใหก้ บั ญาตผิ ใู้ หญห่ รอื บคุ คลทผ่ี บู้ รรพชาเคารพนบั ถอื อยา่ งไร ก็ตาม การใช้วรรณกรรมเร่ืองท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ในฐานะของหลักฐานทางประวัติศาสตร์นี้ก็จ�ำเป็น ต้องตระหนักด้วยว่าวรรณกรรมอาจมีการแต่งเติมในสมัยหลังท�ำให้เจือความคุ้นเคยในยุคสมัยท่ีมี การประพนั ธว์ รรณกรรมเรื่องนขี้ ึน้ มา การถวายพระเพลงิ พระศพ ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการถวายพระเพลิงพระศพ กษัตริย์ล้านช้างไว้มากนัก ในวรรณกรรมเร่ืองท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ได้อธิบายถึงพิธีถวายพระเพลิง พระศพขุนจอมธรรมไว้ว่า หลังจากอัญเชิญพระศพมาถึงพระเมรุแล้วได้อัญเชิญหีบพระศพ ขึ้นประดิษฐานบนแท่นจิตกาธานในพระเมรุ ส่วนพระจอมนางผู้เป็นมเหสีต่างก็โศกเศร้าอาดูรกัน ตามประสา จากนั้นทุกคนก็จะน�ำฟืนท่ีพันด้วยผ้าสีทอง หยิบเทียนสีเหลืองมาวางบนจิตกาธาน ท�ำพิธเี ผาหรอื ถวายพระเพลงิ ควันจากการเผาพระศพเป็นเหมอื น “หมอก” คละคลงุ้ ไม่นานนักไฟ กไ็ หม้พระศพเป็นเถา้ ถ่าน ดังปรากฏความในค�ำประพนั ธว์ ่า “...เม่อื นั้น ทุกทพ่ี อ้ ม ยอหบี โลงคำ� เขาก็ อยายอยงั ทงุ ออกไป เปน็ ถ้อง นางจอมเจ้าทนทวง กน้ั สวาสด์ิ กะสนั ตโ์ ศกฮอ้ นหวิ ไห้ ฮ่�ำไฮ สว่า! สวา่ ! กอ้ งเถงิ ท่ี ปะนมหลวง เขาก็เอาพระยาจอมใสป่ ะนม หอแกว้ ปุนดาเม้ียนปะนมหลวง หลิงล�ำ่ เสด็จถ่ถี ว้ นแถวตงั้ หีบงาม ทุกท่ีพ้อม ฟืนพอก แพคำ� ยนๆ ยอเทียนทองใส่ปะนม เผาไหม้ แปวผันขึน้ พายบน กว้ั หมอก แม้งหนึง่ ค้อม คาวนอย มนุ่ กะจวน...” (ดวงเดอื น บนุ ยาวง และ โอทอง ค�ำอนิ ซู ๒๕๔๐: ๒๐๙) จากเน้ือหาค�ำประพันธ์ในวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง น่าจะเป็นข้อมูลที่สะท้อน ใหเ้ หน็ ภาพพิธีถวายเพลงิ พระศพกษตั ริยใ์ นราชสำ� นกั ลา้ นช้างท่ีเกดิ ข้นึ เม่อื ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ไดใ้ นระดบั หนง่ึ นา่ สงั เกตดว้ ยวา่ งานพระราชพธิ ศี พนคี้ งเปน็ การทำ� กนั เฉพาะในกลมุ่ คนในราชสำ� นกั จึงไมไ่ ด้มีการกลา่ วถึงราษฎรทัว่ ไปไว้ 352 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๗๑ ขา้ ราชการและประชาชนทว่ั ไปก�ำลงั เขา้ ถวายสกั การะพระศพสมเดจ็ พระเจ้าศรีสวา่ งวงศ์ (Source: Life Magazine) ในขณะท่ีในกรณีของสมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ เม่ืออัญเชิญพระโกศบรรจุพระศพมา ประดษิ ฐานยงั พระเมรุมาศแล้ว ภายหลังจากให้พระบรมวงศานวุ งศ์ ขา้ ราชบรพิ าร และข้าราชการ วางเข้าท�ำการถวายบังคมยังพระโกศแล้ว ได้มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาส ทำ� การสกั การะพระศพเชน่ กนั ซงึ่ สะทอ้ นความสมั พนั ธข์ องเจา้ มหาชวี ติ ทมี่ คี วามสมั พนั ธก์ บั ราษฎร เป็นอย่างมาก นอกจากน้ีแล้ว เส้ือผ้าที่สวมใส่ของราษฎรไม่ได้เป็นสีด�ำสนิททั้งตัว แต่มีทั้งที่ นุ่งห่มขาวทั้งตัว เสื้อสีขาวกางเกงหรือผ้าซ่ินสีด�ำ หรือเส้ือสีด�ำสลับขาวเป็นลวดลาย แตกต่าง จากธรรมเนียมของไทยสมยั หลงั ทเ่ี ปน็ สีด�ำลว้ น การจัดการพระอัฐหิ ลังการถวายพระเพลิง หลังจากถวายพระเพลิงพระศพอดีตกษัตริย์แล้ว กษัตริย์พระองค์ใหม่ พระราชวงศ์และ ขนุ นางในราชสำ� นกั ล้านช้างจะทำ� หนา้ ท่ใี นการจัดการกับพระอัฐิหลงั การถวายพระเพลิงพระศพ ซง่ึ จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่าส่วนใหญ่จะมีการจัดเก็บพระอัฐในโกศขนาดเล็ก แล้วจึงน�ำไปบรรจุใน พระเจดีย์ ซง่ึ ทางลาวเรียกว่า “ธาตุ” ทสี่ ร้างขึ้นถวายเปน็ การเฉพาะแด่กษตั รยิ ์แตล่ ะพระองค์ ในวรรณกรรมเร่ืองท้าวฮุ่ง ท้าวเจืองได้ให้ภาพสะท้อนการจัดการพระอัฐิหลังการถวาย พระเพลงิ พระศพกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งทช่ี ดั เจน ดงั ปรากฏความในคำ� ประพนั ธเ์ กย่ี วกบั การจดั การพระอฐั ิ ขุนจอมธรรมหลงั การถวายพระเพลิงวา่ “...ทุกแหง่ พ้อม แลว้ เลิก ลาหนี เถงิ เมือ่ วนั ลนุ เจอื งป่าวเขา ชมุ ข้า เราจกั เกบ็ ดูกเจ้าพระยาจอม ตนพ่อ ฝงู เผา่ เช้อื มวลเค้า คั่งโฮม 353เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ยาบๆ พอ้ ม เกบ็ ดกู โฮมเอา เจอื งก็ ควา้ มือจบั แม่นตา สองก�ำ้ เตนิ เขาให้ ขดุ ขุม ฝังดกู แลว้ เลา่ ปนุ ก่อสร้าง เจดียไ์ ว้ พอกค�ำ ปะทายลบู ไล้เลี้ยงใส่ คำ� เหลือง มณใี สสุด ยอดคำ� เหลอื งเหล้อื ม ทำ� เปอื งพอ้ ม เสด็จการ ทกุ เยือ่ ง เทยี นธูปต้งั ตามไต้ ซ่วู นั ...” (ดวงเดอื น บนุ ยาวง และ โอทอง คำ� อนิ ซู ๒๕๔๐: ๒๐๙-๒๑๐) จากเนอ้ื หาคำ� ประพนั ธใ์ นวรรณกรรมเรอ่ื งทา้ วฮงุ่ ทา้ วเจอื ง อธบิ ายวา่ เมอ่ื ถงึ วนั รงุ่ ขน้ึ ขนุ เจอื ง ได้เก็บกระดูกขุนจอมธรรม (เจ้าพระยาจอม) ผู้เป็นพ่อ เมื่อเก็บเสร็จแล้วก็ได้ท�ำการขุดหลุมเพ่ือ “ฝงั ดกู ” จากนนั้ กไ็ ด้ “กอ่ สรา้ งเจดยี ”์ พรอ้ มหมุ้ ทองคำ� ดว้ ย เพอื่ ใชเ้ ปน็ พระเจดยี ส์ ำ� หรบั บรรจพุ ระอฐั ิ เมื่อแลว้ เสร็จจงึ ไดม้ ีการสกั การะกราบไหวด้ ้วย “เทียนธปู ” คตกิ ารกอ่ สรา้ งพระเจดยี บ์ รรจพุ ระอฐั นิ สี้ บื ทอดมาในสมยั หลงั ดว้ ย ดงั เหน็ ไดจ้ ากในแผน่ ดนิ พระสวุ รรณบลั ลงั ก์ (ทา้ วแทน่ คำ� ) ภายหลงั การถวายพระเพลงิ พระศพพระเจา้ ไชยจกั รพรรดแิ ผน่ แผว้ แลว้ พระองคไ์ ดท้ รงกอ่ พระเจดยี บ์ รรจพุ ระอฐั พิ ระราชบดิ า ดงั ปรากฏในพงศาวดารเมอื งหลวงพระบาง ความวา่ “...ทา้ วแท่งค�ำทรงศรทั ธาสร้างพระเจดียอ์ งคห์ นึ่ง พระวหิ ารหลงั หนึง่ กบั รูปพระปฏิมากร เสรจ็ แลว้ กเ็ อาพระอฐั ขิ องพระราชบดิ าเขา้ ฐาปนาประดษิ ฐานไวใ้ นพระเจดยี ์ จงึ เรยี กวดั ศพเชยี งคาน ตราบเท่าบัดนี้...” (พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ๒๕๐๗: ๑๗๔) เช่นเดียวกันกับหลังจากถวาย พระเพลงิ พระศพเจา้ สรอ้ ยศรสี มทุ รพทุ ธางกรู พระเจา้ องคห์ ลวงไดท้ รงมบี ญั ชาใหก้ อ่ พระเจดยี บ์ รรจุ พระอัฐพิ ระราชบดิ าขึ้นในบรเิ วณที่ถวายพระเพลิงพระศพ ดังปรากฏในต�ำนานเมอื งนครจ�ำปาศกั ด์ิ ความว่า “...พระเจ้าองค์หลวงจึงให้เกณฑ์ไพร่พลก่อพระเจดีย์ขึ้นท่ีต�ำบลท�ำเมรุ บรรจุอัฐิเจ้าสร้อย ศรสี มทุ พทุ ธางกรู ไวใ้ นทพี่ ระเจดยี น์ น้ั ยงั ปรากฏมาจนทกุ วนั น.ี้ ..” (ตำ� นานเมอื งนครจำ� ปาศกั ด์ิ ๒๕๑๒: ๑๘๘) นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อมูลที่น่าสนใจด้วยว่ามีการสร้างวัดทับหรือ “คร่อม” บริเวณ ทที่ ำ� การถวายพระเพลงิ พระศพกษตั รยิ ์ ทง้ั นเี้ พราะถอื กนั วา่ พนื้ ทบี่ รเิ วณดงั กลา่ วเปน็ พน้ื ทศี่ กั ดส์ิ ทิ ธิ์ และไม่สมควรท่ีราษฎรจะมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย ดังตัวอย่างเช่น พระเจ้าล้านค�ำแดงทรง สร้างวัดสวนแถนคร่อมพระอัฐิของพระเจ้าสามแสนไท และเมื่อพระเจ้าล้านค�ำแดงส้ินพระชนม์ หลังท�ำการถวายพระเพลิงพระศพแล้วพวกอ�ำมาตย์ราชมนตรีก็สร้างวัดมโนรมย์คร่อมพระอัฐิของ พระองค์ไว้เช่นกัน (สิลา วีระวงส์ ๒๕๔๙: ๖๕) หรืออีกกรณีหน่ึงคือ พระเจ้าวิชุลราชได้ทรงสร้าง วัดปุพพารามขึ้นเพ่ือคร่อมพระอัฐิของพระเจ้าหล้าแสนไท (สิลา วีระวงส์ ๒๕๔๙: ๗๔) เป็นต้น ธรรมเนยี มเดยี วกันน้พี บร่องรอยในกรุงศรอี ยุธยาเช่นกัน 354 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ส่วนที่ราชส�ำนักล้านช้างเมืองจ�ำปาศักดิ์ยังพบหลักฐานว่า หลังจากการถวายพระเพลิง ๗๑ พระศพกษัตริย์และพระราชวงศ์แล้วจะมีการอัญเชิญพระอัฐิไปบรรจุที่พระเจดีย์ซ่ึงสร้างข้ึน เปน็ การเฉพาะพระองคภ์ ายในบรเิ วณวดั ทงุ่ ทำ� ใหว้ ดั ทงุ่ แหง่ นม้ี สี ถานะเปน็ สสุ านหลวงของราชสำ� นกั ลา้ นช้างเมอื งจำ� ปาศักดิต์ ามไปด้วย (วลัยลกั ษณ์ ทรงศริ ิ ๒๕๖๐) บทสง่ ท้าย ราชอาณาจักรล้านช้างแม้ว่าในช่วงหลังจะมีการแยกการปกครองออกเป็น ๓ ราชส�ำนัก แตร่ ปู แบบทางสงั คมวฒั นธรรมและขนบธรรมเนยี มในราชสำ� นกั กย็ งั คงมคี วามคลา้ ยคลงึ หรอื เปน็ รปู แบบเดียวกนั งานพระศพของกษตั รยิ ์ล้านชา้ งก็นา่ จะมีวิธีการเชน่ เดียวกัน แต่ปญั หาของการศึกษา ข้อมูลเก่ียวกับงานพระศพของกษัตริย์ล้านช้างก่อนถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม อยา่ งชดั เจนในปี พ.ศ.๒๓๗๑ กค็ อื การขาดแคลนหลกั ฐานประวตั ศิ าสตรด์ งั ทผ่ี เู้ ขยี นไดก้ ลา่ วมาแลว้ ก่อนหน้านี้ จึงท�ำได้เพียงการรวบรวมข้อมูลเท่าท่ีมีอยู่มาศึกษาวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐานข้างเคียง ท่ีมีความเก่ียวข้องและเกี่ยวเน่ืองกัน เพ่ือที่จะท�ำให้ผู้อ่านเข้าใจและมองเห็นภาพงานพระศพของ กษัตรยิ ์ล้านช้างโดยสงั เขป งานพระศพของกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งจากหลกั ฐานเทา่ ทม่ี แี สดงใหเ้ หน็ ถงึ ความสำ� คญั ของกษตั รยิ ์ ในฐานะเจ้ามหาชีวิตผู้มีอ�ำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร เม่ือส้ินพระชนม์ไปแล้วจึงจ�ำเป็นต้องมี การจัดงานถวายพระเพลิงพระศพอย่างยิ่งใหญ่ พระเมรุท่ีใช้ในการถวายพระเพลิงพระศพจึงต้องมี ความงดงามและประดบั ตกแตง่ อยา่ งวจิ ติ รใหส้ มพระเกยี รติ แมแ้ ตพ่ ระอฐั หิ ลงั ถวายพระเพลงิ พระศพ เสรจ็ แลว้ กม็ กี ารสรา้ งพระเจดยี ข์ น้ึ มาบรรจไุ วเ้ ปน็ การเฉพาะพระองคเ์ พอื่ ใหเ้ ปน็ ทส่ี กั การะของราษฎร หรือไม่ก็มีการสรา้ งวดั คร่อมบรเิ วณท่ีสร้างพระเมรุถวายพระเพลงิ พระศพ นอกจากนี้ งานพระศพของกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งยงั ไดส้ ะทอ้ นใหเ้ หน็ อตั ลกั ษณเ์ ฉพาะทางสงั คม วฒั นธรรมของราชส�ำนักล้านชา้ ง เช่น การสร้างราชรถท่ีเปน็ นาคต่างหบี พระศพ ซง่ึ นาคถือเป็นส่ิง ศกั ดิ์สทิ ธ์ิที่ชาวล้านช้างให้ความเคารพนบั ถือมาโดยตลอด เปน็ ตน้ ท่นี า่ สนใจดว้ ยคือ ในปจั จบุ นั ก็มี ความพยายามทจ่ี ะฟน้ื ฟรู ปู แบบงานพระศพของกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งขน้ึ มาในการจดั งานศพของพระสงฆ์ และบคุ คลสำ� คญั ในลาวและอสี าน โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ การสรา้ งปราสาทนกหสั ดลี งิ คต์ า่ งศพ ทงั้ นเี้ พอ่ื ท่จี ะรกั ษาและสรา้ งอตั ลกั ษณ์ทางสังคมวฒั นธรรมใหค้ งอย่สู บื ไป 355เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

รายการอา้ งอิง กรมศิลปากร. ๒๕๒๙. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อกั ษรขอม อกั ษรธรรม และอักษรไทยพทุ ธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔. กรุงเทพฯ: หอสมดุ แหง่ ชาติ กรมศิลปากร. กรมศิลปากร. ๒๕๕๐. มรดกโลกบา้ นเชียง. กรงุ เทพฯ : ส�ำนักพพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. กรมศิลปากร. ๒๕๕๙. ค�ำศัพท์ท่ีเกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดช. พิมพค์ ร้งั ที่ ๒. กรุงเทพฯ: กรมศลิ ปากร กระทรวงวฒั นธรรม. ดวงเดอื น บนุ ยาวง. ๒๕๔๙. ปราโมทย์ ในจิต, แปล. ทา้ วฮุง่ ทา้ วเจือง ฉบบั รอ้ ยแกว้ . กรงุ เทพฯ: มติชน. ดวงเดือน บุนยาวง และโอทอง คำ� อินซ.ู ๒๕๔๐. ชาย โพธิสติ า และสมชาย นิลอาธิ, แปล. แนวคดิ และฮีต คองทา้ วฮ่งุ ท้าวเจอื ง. กรุงเทพฯ: มติชน. เตมิ วภิ าคยพ์ จนกจิ . ๒๕๔๐. ประวตั ศิ าสตรล์ าว. พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒. กรงุ เทพฯ : มลู นธิ โิ ครงการตำ� ราสงั คมศาสตร์ และมนษุ ยศาสตร์. เตมิ วภิ าคยพ์ จนกจิ . ๒๕๔๒. ประวตั ศิ าสตรอ์ สี าน. พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๓. กรงุ เทพฯ: มลู นธิ โิ ครงการตำ� ราสงั คมศาสตร์ และมนษุ ยศาสตร.์ “ตำ� นานเมอื งนครจำ� ปาศกั ด”์ิ . ๒๕๑๒. ใน กรมศลิ ปากร. ประชมุ พงศาวดารเลม่ ๔๓ (ประชมุ พงศาวดารภาคที่ ๖๙-๗๐). พระนคร: องคก์ ารคา้ ของครุ สุ ภา. “นิทานเรื่องขุนบรมราชา พงศาวดารเมืองลานช้าง”. ๒๕๔๕. ใน กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดารฉบับ กาญจนาภเิ ษก เล่ม ๙. กรงุ เทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. บนุ มี เทบสีเมอื ง. ๒๕๕๓. ไผท ภธู า, แปล. ความเป็นมาของชนชาติลาว เลม่ ๑ การต้ังถน่ิ ฐานและการ สถาปนาอาณาจกั ร. พิมพค์ รง้ั ที่ ๒. กรงุ เทพฯ: สุขภาพใจ. ประภสั สร์ ชวู ิเชียร. ๒๕๕๗. ศิลปะลาว. กรงุ เทพฯ: มตชิ น. “พงศาวดารเมอื งหลวงพระบาง”. ๒๕๐๗. ใน กรมศลิ ปากร. ประชมุ พงศาวดาร เลม่ ๑๐ (ประชมุ พงศาวดาร ภาคท่ี ๑๐ ตอนปลาย ภาคที่ ๑๑-๑๒). พระนคร: องคก์ ารคา้ ของครุ สุ ภา. “พงศาวดารลา้ นชา้ ง ตามถอ้ ยค�ำในฉบับเดมิ ”. ๒๕๔๕. ใน กรมศลิ ปากร. ประชุมพงศาวดารฉบบั กาญจนา ภเิ ษก เล่ม ๙. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศลิ ปากร. ภเู ดช แสนสา. ๒๕๕๖. โลกหนา้ ล้านนา: พัฒนาการการสรา้ งปราสาทศพต่างสตั ว์หมิ พานตแ์ ละการกอ่ ก.ู่ เชียงใหม่ : สถาบนั ภาษา ศลิ ปะและวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชยี งใหม.่ โยซิยูกิ มาซูฮารา. ๒๕๔๖. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง สมัยคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๔-๑๗ จาก “รัฐการค้าภายในภาคพน้ื ทวปี ” ไปสู่ “รฐั กึง่ เมืองทา่ ”. กรุงเทพฯ: มตชิ น. ลูเนต์ เดอ ลาจงกแิ ยร์. ๒๕๖๐. เสาวนติ รังสยิ านนท,์ แปลสรปุ ความ. “Vieng-Chan = เวยี งจนั ทน์”. ใน หนงั สอื เกา่ ชาวสยาม. Available at: http://www.sar.or.th/databases/siamrarebooks/main/ index.php/history/-befeo/94-vieng-chan. [สบื คน้ เมอ่ื : ๒๗ ก.พ. ๒๕๖๐.] วรลัญจก์ บณุ ยสรุ ตั น.์ ๒๕๕๕. ช่ืนชมสถาปัตยว์ ดั ในหลวงพระบาง. พิมพค์ ร้ังที่ ๓. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. วลยั ลกั ษณ์ ทรงศริ .ิ ๒๕๖๐. “วดั ทงุ่ สสุ านหลวงนครจำ� ปาสกั ”. ใน มลู นธิ เิ ลก็ -ประไพ วริ ยิ ะพนั ธ.์ุ Available at: http://m.facebook.com/Vlekprapaifoundation/photos/pcb.1151027228303099/115 105474969941/?type=3. [สบื คน้ เม่อื : ๒๗ ก.พ. ๒๕๖๐.] 356 เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ศรศี ักร วัลลโิ ภดม. ๒๕๔๖. แอง่ อารยธรรมอสี าน. พิมพ์ครงั้ ท่ี ๔. กรงุ เทพฯ: มติชน. ๗๑ ศุภชัย สิงห์ยะบศุ ย.์ ๒๕๕๓. หลวงพระบางเมืองมรดกโลก ราชธานแี หง่ ความทรงจ�ำและพน้ื ทีพ่ ธิ ีกรรมใน กระแสโลกาภวิ ัตน.์ กรงุ เทพฯ: สายธาร. สิลา วรี ะวงส์. ๒๕๔๙. สมหมาย เปรมจิตต์, แปล. ประวตั ิศาสตร์ลาว. พิมพ์ครงั้ ท่ี ๒. กรุงเทพฯ : มตชิ น. สกุ ญั ญา เบาเนดิ และชนิ ณวฒุ ิ วลิ ยาลยั . ๒๕๕๓. โบราณคดหี ลากสาระในดนิ แดนอสี าน-ลา้ นนา. อบุ ลราชธาน:ี สำ� นกั ศลิ ปากรท่ี ๑๑ อบุ ลราชธาน.ี สุจติ ต์ วงษ์เทศ. ๒๕๔๙. “พลังลาว” ชาวอสี านมาจากไหน?. กรงุ เทพฯ : มตชิ น. สุรพล นาถะพินธุ. ๒๕๕๐. รากเหง้า บรรพชนคนไทย : พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มตชิ น. สรุ ศกั ด์ิ ศรสี ำ� อาง. ๒๕๔๕. ลำ� ดบั กษตั รยิ ล์ าว. พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒. กรงุ เทพฯ : สำ� นกั โบราณคดแี ละพพิ ธิ ภณั ฑสถาน แห่งชาติ กรมศิลปากร. อพสิ ิทธิ์ ธรี ะจารวุ รรณ. ๒๕๔๙. รูปเขยี นดึกด�ำบรรพ์ “สุวรรณภมู ”ิ ๓,๐๐๐ ปมี าแลว้ ต้นแบบงานชา่ งเขยี น ปจั จบุ นั . กรุงเทพฯ: มติชน. 357เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๒ ๔ ๓ ๕๖ ภาพที่ ๑ พระเมรมุ าศพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั , ภาพท่ี ๒ พระเมรมุ าศพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอย่หู วั , ภาพที่ ๓ พระเมรุสมเด็จพระเจา้ พยี่ าเธอ เจ้าฟ้ามหดิ ลอดลุ ยเดช กรมหลวงสงขลานครนิ ทร์, ภาพที่ ๔ พระเมรมุ าศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานนั ทมหิดล พระอฐั มรามาธิบดินทร, ภาพท่ี ๕ พระเมรมุ าศสมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนภี าพท่ี 6 พระเมรมุ าศสมเดจ็ พระเจา้ พนี่ างเธอ เจา้ ฟา้ กลั ยาณวิ ฒั นา กรมหลวงนราธวิ าส ราชนครนิ ทร์ (ทมี่ า: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, Xiengyod) 358 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

พระราชพธิ ีพระบรมศพ ๑๘ พระมหากษัตรยิ ก์ มั พูชา ซรี อ็ ง เลง นกั ศกึ ษากมั พูชา หลักสตู รศิลปศาสตรมหาบณั ฑิตสาขาวิชาประวตั ิศาสตร์ศิลปะ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร อาจารย์ ณัฐพล จนั ทรง์ าม ภาควชิ าภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร ประเทศกมั พชู าเปน็ เพอ่ื นบา้ นของประเทศไทยทถี่ งึ แมว้ า่ จะมคี วามแตกตา่ งกนั ดา้ นภาษา ท่ีใชส้ ือ่ สารระหวา่ งกนั แตท่ ว่ากลบั ความสมั พนั ธแ์ ละความคล้ายคลึงกนั ทางดา้ นความเช่ือ ศาสนา ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี โดยเฉพาะในระดับราชส�ำนัก ซึ่งหน่ึงในน้ันคือ ธรรมเนียม เก่ียวกับพระราชพิธพี ระบรมศพ บทความนมี้ จี ดุ ประสงคเ์ พอ่ื นำ� เสนอขอ้ มลู เกยี่ วกบั พระราชพธิ พี ระบรมศพพระมหากษตั รยิ ์ กมั พชู า โดยเนน้ ตงั้ แตง่ านพระราชพธิ พี ระบรมศพของพระมหากษตั รยิ ใ์ นชว่ งสมยั ทก่ี มั พชู าตกเปน็ อาณานิคมของฝรั่งเศส จนถึงงานพระราชพิธีพระบรมศพครั้งล่าสุดคือพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระเจ้านโรดมสีหนุ นอกจากนี้ ยังได้น�ำเสนอข้อมูลคร่าวๆ ในเร่ืองขนบธรรมเนียม ประเพณีอันเน่ืองด้วยความเช่ือเกี่ยวกับการสวรรคตของพระมหากษัตริย์กัมพูชาในสมัยโบราณอีก ดว้ ย เพอื่ ใหเ้ หน็ ถงึ ธรรมเนยี มปฏบิ ตั ใิ นพระราชพธิ พี ระบรมศพของพระมหากษตั รยิ ก์ มั พชู าทส่ี บื ทอด กนั มาแตโ่ บราณ ภาพรวมของพระราชพธิ พี ระบรมศพของกษัตรยิ ์กมั พูชาในสมยั โบราณและสมยั กลาง ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเรื่องราวเก่ียวกับพระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ กัมพูชาในสมัยโบราณ (สมัยก่อนเมืองพระนครถึงสมัยเมืองพระนคร) จนถึงสมัยกลาง (สมัยหลัง เมืองพระนครถึง ค.ศ.๑๘๖๓) อย่างจริงจัง เน่ืองจากยังขาดข้อมูลท่ีชัดเจน และเหตุผลส�ำคัญอีก ประการหนึ่งคือ นับต้ังแต่ช่วงท้ายของยุคสมัยเมืองพระนคร ราชอาณาจักรกัมพูชาประสบกับภัย สงครามอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้เอกสารส�ำคัญทางประวัติศาสตร์และบันทึกเร่ืองราวต่างๆ ถกู ทำ� ลายไปเป็นจำ� นวนมาก ถึงอย่างไรกต็ าม กอ็ าจจะพอทราบข้อมูลส�ำคัญทางประวตั ศิ าสตรไ์ ด้ จากเนอื้ หาข้อความในศิลาจารกึ จ�ำนวนหลายหลัก รวมถึงจากจดหมายเหตขุ องราชทตู ตา่ งชาติ 359เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นดินแดนท่ีได้รับการถ่ายทอดมรดกทางอารยธรรมจากอินเดีย โบราณต้ังแต่แรกเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ พระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพของพระมหากษตั รยิ ์ พระอคั รมเหสี ตลอดจนพระศพของพระบรมวงศานวุ งศอ์ นั สบื เนอ่ื ง มาแต่ครั้งโบราณกาลก็มีแบบแผนท่ีได้รับอิทธิพลทางศาสนาซึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากอารยธรรม อินเดียโบราณ ผสมผสานกับธรรมเนียมปฏิบัติในท้องถิ่นท�ำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวสืบเนื่องมา จนถงึ ปัจจุบนั (ព្រាប ចានម់ រា៉ ៉ា, ជី រដឋា្ និងគង់ វិរៈ ២០១៣: ១) ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๘ จดหมายเหตุของราชทูตจีนท่ีเดินทางมายังดินแดนกัมพูชา สมยั กอ่ นเมืองพระนครได้บนั ทึกไวว้ ่า พระบรมศพของพระมหากษัตริย์จะได้รบั การถวายพระเพลงิ หลงั จากเสดจ็ สวรรคต จากนนั้ จะเชญิ พระบรมอฐั บิ รรจลุ งในพระโกศทองแลว้ จงึ นำ� ไปถว่ งนำ�้ ในแมน่ ำ�้ (ត្ឹងរ ងា ២០០៣: ៥៧) ส�ำหรับการใช้โกศบรรจุอัฐิน้ันก็จะมีการแบ่งตามล�ำดับชนชั้นด้วยเช่นกัน โดยหากเปน็ อัฐิของขุนนางหรอื ขา้ ราชการกจ็ ะใชโ้ กศทีท่ ำ� ด้วยเงิน และถ้าเปน็ อฐั ขิ องสามัญชนกจ็ ะ ถกู บรรจลุ งในโกศท่ที �ำจากดนิ นอกจากนี้ยังพบข้อมูลท่ีน่าสนใจจากการศึกษาศิลาจารึกสมัยก่อนเมืองพระนครเก่ียวกับ ธรรมเนียมการเฉลิมพระนามถวายแด่พระมหากษัตริย์ภายหลังจากเสด็จสวรรคต (Posthumous name) ซ่งึ ได้รับการบญั ญตั ิศพั ท์เรยี กในภาษาเขมรปจั จุบนั วา่ “ព្ះរ បរមបចចាម្ រណនាម”หรือ “พระบรม ปัจฉามรณนาม” เท่าที่ทราบข้อมูลจากจารึกในสมัยก่อนเมืองพระนครพบการใช้พระบรมปัจฉา มรณนามส�ำหรับพระมหากษัตริย์บางพระองค์ เช่น พระเจ้าภววรมันท่ี ๒ ทรงมีพระนามหลัง จากเสดจ็ สวรรคตวา่ “กุรงุ ฺ ภวปรุ ” แปลว่า เทวสถานหรอื สรวงสวรรคอ์ ันเปน็ ท่ปี ระทับของพระองค์ หลังจากเสด็จสวรรคต อีกตัวอย่างหน่ึงที่พบอย่างแพร่หลาย คือ พระบรมปัจฉามรณนามของ พระเจ้าชัยวรมนั ท่ี ๑ ซง่ึ ในศิลาจารกึ ออกพระนามวา่ “วรฺ ะ กมรฺ ตางฺ อญฺ ต เทา ศิวปุร” ‘พระกมร ตางอญั ผู้ไป[ยงั ]ศิวปรุ ะ’ และในศลิ าจารึกบางหลักใชว้ า่ “วฺระ กมรฺ ตางฺ อญฺ ต เทา สวฺ รคฺ ฺค ศิวปุร” คำ� วา่ ‘กมรตางอญั ’ หรอื ‘กมรเตงอญั ’ แปลตามรปู ศพั ทเ์ ปน็ ภาษาไทยไดว้ า่ ‘เจา้ ก’ู ดงั นนั้ ‘พระกมร ตางอัญผไู้ ป[ยงั ]สวรรคศ์ ิวปุระ’ จงึ ส่ือความถงึ ‘เจา้ กู’ (พระเจา้ แผน่ ดนิ ) ผู้เสด็จไปยงั สวรรคอ์ ันเป็น เมืองแห่งพระศวิ ะ(វង់ សធុ ារ៉ា ២០១២: ២) เม่ือเข้าสู่สมัยเมืองพระนคร ธรรมเนียมการเฉลิมพระบรมปัจฉามรณนามแด่พระมหา กษัตริย์ภายหลังจากเสด็จสวรรคตได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนมากย่ิงข้ึนจากข้อความในศิลาจารึก พระบรมปัจฉามรณนามของพระมหากษัตริย์กัมพูชาในสมัยเมืองพระนครมีปรากฏสืบเน่ืองต่อกัน มาไมน่ อ้ ยกวา่ ๒๐ พระองค์ โดยพบในขอ้ ความในศลิ าจารกึ ทจ่ี ารขน้ึ ภายหลงั จากทรี่ ชั กาลของกษตั รยิ ์ แตล่ ะพระองคส์ นิ้ สดุ ลง อยา่ งไรกด็ ี พบวา่ มกี ษตั รยิ บ์ างพระองคท์ ไี่ มป่ รากฏพระบรมปจั ฉามรณนาม ในกรณนี ้ี วง สเุ ธยี รา นกั วชิ าการกมั พชู า ไดอ้ ธบิ ายวา่ เปน็ เพราะกษตั รยิ พ์ ระองคน์ น้ั ไดห้ ายสาบสญู ไปหรืออาจถกู แย่งชิงราชสมบัติกเ็ ปน็ ได้ (ត្រងឹ ងា ២០០៣: ៣) พระบรมปจั ฉามรณนามของพระมหากษตั รยิ ก์ มั พชู าในสมยั พระนครปรากฏอยมู่ ากมายใน ศิลาจารึก ซึ่งมกั จะปรากฏหลังข้อความวา่ “ta stac dau” (ต สตฺ จฺ เทา) แปลวา่ “ผูเ้ สด็จไป[ยัง]” 360 เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

แต่ละพระนามจึงมิได้แสดงถึงฐานันดรศักดิ์ของพระมหากษัตริย์ หากแต่เป็นการส่ือถึงสถานท่ี ๑๘ อนั เปน็ ท่ปี ระทับของพระองคห์ ลงั จากเสด็จสวรรคตแล้ว โดยพระบรมปจั ฉามรณนามมีความหมาย เกี่ยวข้องกับสิ่งศักด์ิสิทธ์ิซ่ึงเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์เม่ือคร้ังที่ยัง ทรงดำ� รงพระชนมช์ ีพอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพระศิวะ พระวษิ ณุ หรอื ในบางรชั กาลอาจสือ่ ถงึ พระพุทธเจ้า ตามคตพิ ทุ ธศาสนามหายาน ในทนี่ จี้ ะนำ� เสนอรายพระนามหลงั สวรรคต (พระบรมปจั ฉามรณนาม) ของพระมหากษัตริย์ในสมัยเมืองพระนครบางพระองค์ที่มีช่ือเสียง โดยใช้การสะกดค�ำศัพท์ภาษา เขมรเทยี บเปน็ รปู คำ� ทใี่ ชเ้ ปน็ ปรกตอิ ยใู่ นภาษาไทย ตวั อยา่ งเชน่ พระเจา้ ชยั วรมนั ที่ ๒ = ธลุ พี ระบาท ธุลเี ชงิ พระกมรเตงอัญผู้เสด็จไปปรเมศวร, พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ = พระกมรเตงอญั ผู้เสดจ็ ไปมหา บรมเสาคตบท, พระเจา้ ยโศวรมันท่ี ๑ = พระกมรเตง[กำ� ตวน]อัญผูเ้ สด็จไปบรมศวิ โลก, พระบาท บรมศวิ โลก, พระเจ้าสรู ยวรมนั ที่ ๒ = พระบาทกมรเตงอัญบรมวิษณุโลก, และพระเจ้าอีศานวรมัน ท่ี ๒ = พระบาทศรีศานวรรมเทวะผู้เสด็จไปบรมรุทรโลก, พระกมรเตงอัญผู้เสด็จไปบรมรุทรโลก เปน็ ต้น จากหลกั ฐานศลิ าจารกึ ทชี่ าวกมั พชู าโบราณบนั ทกึ ไวไ้ มป่ รากฏรายละเอยี ดของการจดั การ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ในสมัยพระนครอย่างแน่ชัดเจน แต่ นักประวัติศาสตร์พอจะทราบเรื่องราวดังกล่าวได้จากจดหมายเหตุของ “โจวต้ากวาน” ราชทูตจีน ทเี่ ดนิ ทางเข้ามาในราชอาณาจกั รกัมพชู าในสมัยเมอื งพระนคร เมอ่ื พ.ศ.๑๘๓๙ โดยมีการกลา่ วไว้ อยา่ งยอ่ ๆ วา่ พระบรมศพพระมหากษตั รยิ ไ์ ดร้ บั การประดษิ ฐานไวใ้ นปราสาท(លី ធាមតងេ ១៩៧៣: ៤៥) ในช่วงหลังสมัยเมืองพระนคร หลักฐานที่กล่าวถึงเร่ืองราวบางตอนของการพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศใ์ นราชส�ำนกั กัมพชู าปรากฏอยู่ ในพงศาวดารทมี่ ชี ่อื วา่ “เอกสารมหาบุรษุ เขมร” (ឯកសារមហាបុរសសខ្ខ រែម្ ) ซ่ึงเรียบเรยี งโดย “เอง สตุ ” (អេង សតុ ) นักประวัติศาสตร์ชาวกัมพูชา โดยมีการกล่าวถึงการต้ังประดิษฐานพระบรมศพใน พระโกศและมกี ารสรา้ งพระเมรสุ ำ� หรบั จดั การพระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพพระมหากษตั รยิ ์ และพระบรมวงศานวุ งศใ์ นแตล่ ะรชั สมยั แตก่ ม็ ไิ ดใ้ หร้ ายละเอยี ดของการจดั การพระราชพธิ แี ตอ่ ยา่ งใด ตัวอย่างท่ีชัดเจนซ่ึงปรากฏใน “เอกสารมหาบุรุษเขมร” จากการบันทึกเหตุการณ์ในช่วงรัชกาล “พระบาทศรสี คุ นธบท” (พทุ ธศตวรรษที่ ๒๑) ไดใ้ หข้ อ้ มลู เกย่ี วกบั พระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพ ของพระมหากษตั ริย์ไว้วา่ “...พระองคไ์ ดแ้ ต่งพระเมรุถวายพระเพลงิ พระบรมศพสมเด็จพระวรบิดา เสรจ็ เสดจ็ ประทบั อยู่ ณ จตมุ ุข เมืองพนมเปญ...” (អងេ សុត ២០០៩: ៧៧) ส�ำหรบั ในยุคกลางคือ ชว่ งระหวา่ งพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๙ ถงึ ๒๔ (สมยั กรงุ จตมุ ขุ กรุงละแวก และกรุงอุดงค์) เป็นยุคสมัยท่ีเกิดความเปล่ียนแปลงอย่างต่อเนื่องในประวัติศาสตร์กัมพูชาส่งผล กระทบตอ่ เสถยี รภาพของสถาบนั พระมหากษตั รยิ ใ์ นชว่ งเวลาดงั กลา่ ว ทำ� ใหเ้ อกสารหลกั ฐานตา่ งๆ ท่ีเก่ียวข้องกับพระราชพิธีในราชส�ำนักหลงเหลือตกทอดลงมาถึงยุคปัจจุบันน้อยมาก เร่ืองราว พระราชพิธถี วายพระเพลงิ พระบรมศพของพระมหากษตั รยิ ใ์ นช่วงสมยั ดงั กล่าวกม็ ิได้ปรากฏข้อมูล รายละเอยี ดท่ชี ดั เจน 361เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

พระราชพธิ ีพระบรมศพในสมัยอาณานคิ มฝรั่งเศสจนถึงหลังได้รบั เอกราช เม่ือเข้าสู่ช่วงของการเป็นรัฐในอารักขาของฝร่ังเศสและตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในเวลาต่อมาจนกระทงั่ ได้รบั เอกราชในปี พ.ศ.๒๔๙๗ เรือ่ งราวเกย่ี วกบั พระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพของพระมหากษัตริย์กัมพูชาได้รับการบันทึกไว้ค่อนข้างดีเพียงพอส�ำหรับการน�ำเสนอ ให้เหน็ ถึงรายละเอียดได้อย่างชดั เจน เน้ือหาส่วนที่ ๒ ของบทความน้ีจะกล่าวถึงรายละเอียดของการจัดการพระราชพิธีถวาย พระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ในช่วงสมัยที่กัมพูชาอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝร่ังเศส จนกระท่ังได้รับเอกราช โดยจะเป็นการน�ำเสนอภาพรวมรายละเอียดการจัดการพระราชพิธีถวาย พระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์กัมพูชาในช่วงปลายสมัยกรุงอุดงค์ต่อเน่ืองสู่สมัย กรงุ พนมเปญ จ�ำนวน ๕ รชั กาล ได้แก่ - พระบาทสมเด็จพระหริรักษ์รามาอิศราธิบดี (พระบาทองค์ด้วง) ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ.๒๓๙๐–๒๔๐๓ ทรงมีพระนามหลังสวรรคตว่า “พระบรมโกฏฐ”์ - พระบาทสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตาร (พระองค์ราชาวดี) ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๐๓–๒๔๔๗ ทรงมีพระนามหลงั สวรรคตว่า “พระสุวรรณโกฏฐ”์ - พระบาทสมเดจ็ พระสีสวุ ัตถจิ์ อมจกั รพงศ์ (พระเจา้ ศรสี วสั ดิ)์ ครองราชย์ระหวา่ ง พ.ศ.๒๔๔๗–๒๔๗๐ ทรงมพี ระนามหลงั สวรรคตว่า “พระบรมราชานุโกฏฐ์” - พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถ์ิมุนีวงศ์ (พระเจ้ามณีวงศ์) ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๐–๒๔๘๔ ทรงมีพระนามหลงั สวรรคตว่า “พระบรมขัตตยิ โกฏฐ”์ - พระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสุรามฤต ครองราชยร์ ะหว่าง พ.ศ.๒๔๙๘–๒๕๐๓ ทรงมพี ระนามหลงั สวรรคตว่า “พระมหากญั จนโกฏฐ”์ โดยเน้ือหาในสว่ นที่ ๒ น้ี ผู้เขยี นได้สรปุ ข้อมูลจากหนังสอื “พระราชพธิ ถี วายพระเพลิง” ( ពះរ្ រាជ ពធិ ថី យា្វ ពះរ្ ភងើ្ល ) เรยี บเรยี งโดย เปรยี บ จนั มารา (ព្រាប ចាន់មរា៉ ៉ា) จี รฏั ฐา (ជី រដ្ា)ឋ และ กวง วรี ะ (គង់ វរី ៈ) จดั พมิ พเ์ ผยแพรโ่ ดยกระทรวงวฒั นธรรมและวจิ ติ รศลิ ปแ์ หง่ ราชอาณาจกั รกมั พชู าเมอ่ื พ.ศ.๒๕๕๖ เนอ่ื งในการพระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพพระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นุ พระมหา วรี กษตั รยิ ์ โดยขนั้ ตอนและรายละเอยี ดตา่ งๆ ของการจดั การพระราชพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรมศพ ในแต่ละรชั กาลนน้ั ยดึ ธรรมเนยี มปฏบิ ตั ใิ นภาพรวมท่เี หมือนกันตามลำ� ดับดงั ต่อไปนี้ ๑. พิธกี รรมหลงั จากทีพ่ ระมหากษัตรยิ ส์ วรรคตและการประดิษฐานพระบรมศพ ทนั ทที พ่ี ระมหากษตั รยิ เ์ สดจ็ สวรรคต (ภาษาเขมรใชค้ ำ� วา่ “เสวยพระทวิ งคต”) จะมกี ารประชมุ พระบรมวงศานวุ งศ์ สมเด็จพระสงั ฆราช ขนุ นาง เสนาบดี และขา้ ราชการชนั้ สงู (ปจั จุบนั เรียกว่า “กลุ่มปรึกษาราชบลั ลงั ก”์ [ក ម្ុរ បក្ឹរ ្សារាជបល័ង្ល ្]ក ) จะประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณารับรององค์รัชทายาท จากสมาชิกราชวงศ์เพื่อสืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ และเพื่อรับต�ำแหน่งเป็น องคป์ ระธานในการจัดพระราชพิธพี ระบรมศพ ในขณะเดียวกันพราหมณ์ราชครูแห่งราชส�ำนัก (បារគូ) ถวายซองทองบรรจุหมาก พระสุพรรณบัฏ และจุดเทียนถวายแดพ่ ระบรมศพ พระสงฆ์สวดพระพทุ ธมนต-์ สดับปกรณ์ ถวาย 362 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

เปน็ พระราชกศุ ลแดพ่ ระบรมศพ ชาวพนกั งานภษู ามาลาถวายพระภษู าตาดคลมุ พระบรมศพ ในคนื แรก ๑๘ ทพี่ ระมหากษตั รยิ เ์ สดจ็ สวรรคต พระบรมวงศานวุ งศจ์ ะเคลอ่ื นพระบรมศพไปประทบั เหนอื พระแทน่ สรง เพอื่ ถวายสรงพระบรมศพดว้ ยพระสคุ นธวารี ระหวา่ งนน้ั บรรดาสนม กรมวงั ราชองครกั ษ์ ทหาร รักษาพระองค์ ข้าราชการชั้นสูง อยู่เฝ้าพระบรมศพตลอดทั้งคืน ในการน้ีจัดให้มี “การขับล�ำน�ำ ครำ่� ครวญถวายความอาลยั ” ซงึ่ ภาษาเขมรเรยี กวา่ “การสวดบททำ� นวญ” (ការសូត្របទទំនួញ) โดยมาก มักใช้สตรีในการขับบทล�ำน�ำดังกล่าว และบางคร้ังระหว่างบทขับล�ำน�ำอาจเกิดความรู้สึกโศกเศร้า จนมกี ารคร�ำ่ ครวญรอ้ งไห้ จงึ อาจเรียกว่า “สตรรี ้องไห้เฝา้ พระบรมศพ” (សយីរ្ត យំ ាមពរះ្ បរមសព) ในวันรุ่งขึ้น ชาวพนักงานภูษามาลาถวายแต่งเครื่องทรงเต็มพระยศแด่พระบรมศพ สว่ นตา่ งๆ ไดแ้ ก่ พระสนบั เพลาชน้ั ในเปน็ พระภษู าพน้ื ขาว สว่ นพระสนบั เพลาชน้ั นอกเปน็ พระภษู า ปกั ทอง ทรงฉลองพระองคพ์ ระภษู าเยยี รบบั ทรงพระมหาสงั วาลมาศ พระมหาสงั วาลเพชร พระพาหรุ ตั น์ กรองพระหตั ถ์ (กำ� ไลขอ้ พระกร) กรองพระบาท (กำ� ไลขอ้ พระบาท) ทรงพระภษู าชายไหวชายแครง ตาบทบิ คาดพระปน้ั เหนง่ ทรงพระธำ� มรงค์ ทรงแผน่ ทองคำ� บรสิ ทุ ธปิ์ ดิ พระพกั ตร์ ทรงฉลองพระองค์ ครยุ ทรงสวมถงุ พระหตั ถ์ ถงุ พระบาท และฉลองพระบาท หลงั จากชาวพนกั งานถวายแตง่ เครอ่ื งทรง แด่พระบรมศพแลว้ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงประกอบพิธีขอขมาพระบรมศพ ท้ังน้ีสังเกตได้ว่าการถวายแต่งฉลองพระองค์ทรงเคร่ืองบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์รวมถึง การถวายแผน่ ทองคำ� ปดิ พระพกั ตร์ มลี กั ษณะคลา้ ยกบั การทรงเครอ่ื งแตง่ กายทรงเครอ่ื งของตวั ละคร เทวดาซ่ึงนอกจากจะเป็นการถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตแล้ว ยังสื่อถึง การเปลี่ยนแปลงพระราชสถานะอีกด้วย โดยเป็นการเปล่ียนจากสถานะท่ีทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปกครองไพรฟ่ ้าอยบู่ นโลกมนุษยไ์ ปสสู่ ภาวะอันเปน็ “ทพิ ย์” สถิต ณ ดนิ แดนสุคตภิ พ ถดั จากนนั้ ชาวพนกั งานจงึ เตรยี มการถวาย “ทรงเครอ่ื งพระมหาสกุ ำ� ” (ទ្រង់គឿរ្ ងពរ្ះមហាសុកាំ) ก่อนจะอัญเชิญพระบรมศพบรรจุในพระบรมโกศ โดยอันดับแรกจะถวายซองทองบรรจุหมากและ เทยี นปิดทอง ๑ ค่แู ดพ่ ระบรมศพ พราหมณ์ราชส�ำนัก ถวายเหรียญทองใส่ในพระโอษฐพ์ ระบรมศพ จัดท่าทางให้พระบรมศพอยู่ใน “พระอิริยาบถประณม” คือการประทับนั่งชันพระชานุ (เข่า) และ ประนมพระหตั ถบ์ นแปน้ กระดานตง้ั ไมง้ า่ มสำ� หรบั คำ้� พระหนุ (คาง) จากนนั้ ชาวพนกั งานนำ� พระภษู า เทศ ๒ ผนื แต่ละผืนยาว ๑๐ ศอก วางไขวก้ นั เพอ่ื หอ่ พระบรมศพ ซ่ึงลักษณะการถวายเครือ่ งพระ สุก�ำพระบรมศพของพระมหากษัตริย์กัมพูชานี้มีรายละเอียดของขั้นตอนพิธีกรรมท่ีคล้ายคลึงกับ ธรรมเนยี มปฏบิ ตั ใิ นราชสำ� นกั ไทยเปน็ อยา่ งมาก โดยกอ่ นทจี่ ะบรรจลุ งสพู่ ระโกศ พระบรมศพจะถกู บรรจุในพระโกศโลหะชั้นในซ่ึงเรยี กวา่ “ลอด” (ឡត) แล้วจึงบรรจุลงในพระบรมโกศอกี ทีหน่งึ จากนนั้ พระบรมโกศจะถกู อญั เชญิ ประดษิ ฐานเหนอื แทน่ “พระมหาปญั จา” ภายใตเ้ ศวตฉตั ร ในพระที่น่ังมหามนเทียร เพื่อจัดการพระราชพิธีบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพเป็นประจ�ำ ทุกวัน โดยในแต่ละวันจะมีการทรงบาตร ประเคนภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ สวดพระพุทธมนต์ สวดพระอภธิ รรม สดับปกรณ์ ตลอดจนพธิ กี รรมต่างๆ ก่อนทจี่ ะถงึ กำ� หนดการบ�ำเพญ็ พระราชกุศล ออกถวายพระเพลงิ พระบรมศพ ซึ่งการทีม่ ธี รรมเนยี มการประดษิ ฐานพระบรมศพไวก้ อ่ นการถวาย พระเพลงิ นกี้ เ็ พอื่ ทจี่ ะไดม้ เี วลาสำ� หรบั การสรา้ งพระเมรใุ หแ้ ลว้ เสรจ็ ซง่ึ ตอ้ งใชร้ ะยะเวลาคอ่ นขา้ งนาน 363เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

พราหมณร์ าชส�ำนกั จัดเตรียม “ลอด” (พระโกศโลหะชน้ั ใน) และพระบรมโกศสำ� หรับทรงพระบรมศพ พระกรุณาพระบาทสมเดจ็ พระสสี ุวตั ถ์จิ อมจักรพงศ์ พระบรมราชานุโกฏฐ์ พ.ศ.๒๔๗๐ (ทม่ี า: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พนมเปญ) ๒. ธรรมเนียมการประดิษฐานพระบรมศพในพระบรมราชวงั หลังจากประดิษฐานพระบรมโกศเหนือแท่นพระมหาปัญจาภายในพระที่นั่งมนเทียรแล้ว พระราชพิธีบ�ำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายแด่พระมหากษัตริย์ในพระบรมโกศก็ถูกจัดข้ึนอย่างยิ่ง ใหญ่สมพระเกียรติเป็นประจ�ำทุกวัน โดยมีองค์ประธานในพิธีคือพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่หรือ ผู้แทนพระองค์ตามแต่จะทรงโปรดเกล้าฯ ซึ่งพิธีการในล�ำดับต่างๆ ของการจัดพระราชพิธีบ�ำเพ็ญ พระราชกุศลอทุ ศิ ถวายแด่พระบรมศพ มีดงั ตอ่ ไปน้ี • ช่วงเชา้ เวลาเช้ามืด จัดใหม้ ี “สตรขี บั ลำ� น�ำเฝา้ พระบรมศพ” (ស្តយីរ យំ ាមព រ្ះបរម សព) ซง่ึ จำ� นวนของผหู้ ญงิ ทเ่ี ขา้ รว่ มในพธิ จี ะกำ� หนดตามพระชนมพรรษาของพระมหากษตั รยิ ์ ในพระบรมโกศ เวลาตอ่ มาจงึ นมิ นตพ์ ระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนตถ์ วายเปน็ พระราชกศุ ล ทรงบาตร ประเคนภัตตาหาร พระบรมวงศานวุ งศ์ตัง้ เคร่ืองสงั เวยซ่ึงบรรจใุ นภาชนะ ทองถวายแดพ่ ระบรู พมหากษตั ริยาธริ าชเจา้ • ช่วงบ่าย นิมนต์พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาและสวดพระอภิธรรมถวายเป็น พระราชกศุ ล • ช่วงเย็น ตลอดช่วงเวลาเย็นจนถึงเวลาเท่ียงคืน นิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ สดบั ปกรณ์ ถวายเป็นพระราชกศุ ล และจดั ให้มี “สตรขี บั ลำ� นำ� เฝ้าพระบรมศพ” ๓. “พระบรมเมร”ุ ส�ำหรับพระราชพิธถี วายพระเพลงิ เอกสารจดหมายเหตงุ านพระราชพธิ พี ระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมบรมรามเทวาวตาร “พระสุวรรณโกฏฐ์” ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนเร่ือง “พระบรมเมรุ” หรือ “พระเมรุมาศ” (ពះរ្ បរមមេរ)ុ ส�ำหรบั ถวายพระเพลงิ พระบรมศพพระมหากษตั รยิ ว์ ่ามคี ติความเชอื่ มาจากเร่ือง “เขาพระสเุ มรเุ ปน็ ศูนย์กลางจักรวาล” ซึ่งหลักฐานเรื่องการสร้างพระบรมเมรุส�ำหรับถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์ ในประวตั ศิ าสตรก์ มั พชู าไดม้ ปี รากฏมาตง้ั แตส่ มยั เมอื งพระนครดงั เหน็ ไดจ้ ากภาพสลกั ทผ่ี นงั ระเบยี ง คดปราสาทบายน ศนู ย์กลางแห่งเมอื งนครธม โดยมรี ูปรา่ งลักษณะคลา้ ยคลึงกบั พระบรมเมรุ 364 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๑๘ ภาพสลักพระบรมโกศประดิษฐานบนแท่นพระมหา ภาพแสดงที่ตั้งของ “ท่งุ พระเมร”ุ ( )វាលព្រះមេរុ ซึ่งอยู่ทาง ปญั จา ทรี่ ะเบยี งคดดา้ นทศิ ตะวนั ออกของปราสาทบายน ทิศเหนือของพระบรมราชวังกรุงพนมเปญ (ดัดแปลง (เปรยี บ จนั มารา ព្រាប )ចាន់ម៉ារា៉ จาก Google Earth) ตำ� แหนง่ ทต่ี ง้ั ของการสรา้ งพระบรมเมรคุ อื ทบ่ี รเิ วณ “ทงุ่ พระเมร”ุ (វាលព្រះមេរ)ុ ซง่ึ ตง้ั อยทู่ าง ทิศเหนือของพระบรมราชวัง กรุงพนมเปญ ตามความเช่ือซ่ึงได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มักจะให้ความส�ำคัญกับทิศตะวันออก เพราะถือว่าเป็นทิศแห่งความเป็นสิริมงคลท่ีสุดในบรรดาทิศ หลักทงั้ ๔ ทิศ ซึ่งหากยึดทศิ ตะวันออกเปน็ ทิศเบื้องหนา้ แล้ว ทศิ เหนอื ก็จะตรงกับทศิ เบอ้ื งซ้ายซึ่ง สอื่ ถงึ ความอปั มงคล นอกจากนยี้ งั สอดคลอ้ งกบั ความเชอื่ ของชาวกมั พชู าทส่ี ะทอ้ นผา่ นทางคำ� ศพั ท์ ภาษาเขมรซงึ่ เรียกทศิ เหนอื ว่า “ทศิ ขา้ งเชิง” ( ទ ិសខាងជងើ ) ส่ือความหมายว่าเป็นทิศด้านปลายเท้า โดยในขณะนอนชาวกัมพูชามักจะหันปลายเท้าไปทางทิศเหนือและหันด้านศีรษะไปทางทิศใต้ ซ่ึง เปน็ ทิศเบอ้ื งขวาสื่อถึงความเป็นสริ ิมงคล โดยผู้ที่มีส่วนเก่ียวข้องจะปรึกษาหารือกันในรายละเอียดของการก่อสร้างและการตกแต่ง ประดบั ประดาพระบรมเมรใุ ห้สอดคลอ้ งกบั ธรรมเนียมปฏิบัติ คตคิ วามเช่อื และการใชง้ าน โดยกอ่ น ท่ีจะลงมอื สรา้ งพระบรมเมรจุ ะตอ้ งเรมิ่ ตน้ ดว้ ยการประกอบ “พธิ บี วงสรวงกรงุ พาล”ี (ពធិ ីសែនកុ្ងរ ពាលី) ซง่ึ พระเจา้ กรงุ พาลนี เี้ ทยี บไดก้ บั พระภมู เิ จา้ ที่ โดยชาวกมั พชู าถอื เปน็ ธรรมเนยี มปฏบิ ตั วิ า่ กอ่ นทจี่ ะ สร้างส่ิงปลูกสร้างใดๆ ก็ตาม จ�ำเป็นต้องบวงสรวงกรุงพาลีเพื่อความเป็นสิริมงคลให้การก่อสร้าง ส�ำเร็จลลุ ่วงไปได้ด้วยดี และเพอื่ ขอใชพ้ ้ืนทใี่ นการก่อสรา้ ง ลกั ษณะทว่ั ไปของพระบรมเมรสุ ำ� หรบั ถวายพระเพลงิ พระบรมศพพระมหากษตั รยิ จ์ ะยกพนื้ สงู มที างเขา้ ๔ ดา้ น แบบแผนผงั อาคารทรงจตั รุ มขุ แตท่ างเขา้ หลกั ทางดา้ นทศิ ตะวนั ออกจะทำ� เปน็ หลังคาซ้อน ๒ ชัน้ หรอื ๓ ช้ัน ตกแต่งด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เครอ่ื งบนของพระบรมเมรจุ ะ ทำ� เปน็ หลงั คาทรงบษุ บกมยี อด ประดบั ดว้ ยหนา้ พรหมพกั ตรแ์ ละฉตั รทบี่ นยอดสงู สดุ ภายในใจกลาง ของพระบรมเมรปุ ระดษิ ฐานแทน่ พระมหาปญั จาสำ� หรบั ตงั้ พระบรมโกศ ทเ่ี พดานเหนอื แทน่ พระมหา ปัญจากางกนั้ ดว้ ยพระมหาเศวตฉัตรถวายพระเกียรติ ท่ีส่วนมมุ ของพระบรมเมรุทัง้ ๔ ทิศ มีสงิ่ ปลกู สร้างขนาดไม่ใหญน่ ัก เรียกวา่ “สมสาน” (សមសាន) ใช้เปน็ ทีส่ �ำหรับพระสงฆน์ ง่ั สวดพระพุทธมนต์ 365เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

พระบรมเมรุในการพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระมหาปญั จาประดษิ ฐานพระบรมโกศพระกรณุ า พระบรมศพพระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระสีสวุ ตั ถ์ิ พระบาทสมเดจ็ พระสสี วุ ตั ถจิ์ อมจกั รพงศ์ พระบรม จอมจักรพงศ์ พระบรมราชานุโกฏฐ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ราชานุโกฏฐ์ พ.ศ.๒๔๗๑ (เปรียบ จนั มารา ព្រាប (ทม่ี า: Henri Marchal https://goo.gl/cbZj2W) ចានម់ ៉រា ៉ា) ซง่ึ ในภาษาไทยเรยี กสงิ่ ปลูกสร้างส่วนนว้ี า่ “ซ่าง” หรอื “สำ� สรา้ ง” โดยรอบ “สมสาน” ท้ัง ๔ ดา้ น ซ่ึงเปรียบเสมือนอาคารบริวารของพระบรมเมรุมีการสร้างเป็นร้ัวเต้ียๆ ล้อมเป็นผังรูป ๔ เหล่ียม เรียกว่า “ราชวติ” (រាជវត)ិ เช่นเดียวกับ “ราชวัติ” ซ่ึงเป็นร้ัวก�ำหนดขอบเขตมณฑลพิธีของ พระเมรุมาศหรือพระเมรขุ องไทย นอกจากน้ี ที่บรเิ วณดา้ นข้างของบนั ไดทางข้นึ ทุกดา้ นของ “พระบรมเมร”ุ มกี ารประดบั รูปปั้นทวารบาลซึ่งมักท�ำเป็นรูปเทวดาหรือยักษ์ พร้อมท้ังประดับด้วยฉัตร ๙ ชั้น ที่ด้านข้างของ รูปปั้นทวารบาลน้ัน และมีการประดับเสาธงรูปจระเข้พ้ืนขาวอยู่ตรงมุมทั้ง ๔ มุมของรั้วราชวัติ ตรงดา้ นทศิ ใตข้ องพระบรมเมรมุ กี ารสรา้ งพลบั พลาใชเ้ ปน็ ทปี่ ระทบั ของพระมหากษตั รยิ พ์ ระองคใ์ หม่ พระบรมวงศานวุ งศ์ พระประยรู ญาติ และเปน็ ทน่ี ง่ั ของผทู้ ไ่ี ดร้ บั เชญิ เขา้ รว่ มพระราชพธิ ี เชน่ ทตู านทุ ตู จากต่างประเทศ ข้าราชการ ฯลฯ ซึ่งในสมยั ต่อๆ มามกี ารขยายต่อเติมเป็นลักษณะอาคารมีหลงั คา เปน็ แถวยาวเปน็ ผงั รปู ๔ เหลย่ี มลอ้ มรอบชน้ั นอกบรเิ วณมณฑลพธิ พี ระบรมเมรุ โดยเวน้ ชอ่ งสำ� หรบั เป็นทางเขา้ ไว้ทท่ี ัง้ ๔ ทิศ อน่ึง การท่ีทิศใต้ถูกก�ำหนดให้เป็นท่ีต้ังของพลับพลาที่ประทับของพระมหากษัตริย์และ พระบรมวงศานวุ งศม์ ขี อ้ สนั นษิ ฐานวา่ เกย่ี วขอ้ งกบั ความเชอื่ เรอ่ื งทตี่ ง้ั ของชมพทู วปี ซงึ่ ตง้ั อยทู่ างทศิ ใตข้ องเขาพระสเุ มรุ ในการนจี้ งึ เปรยี บไดก้ บั การทพ่ี ระมหากษตั รยิ ใ์ นพระบรมโกศเสดจ็ สสู่ วรรคาลยั (เขาพระสเุ มร)ุ โดยมพี ระบรมวงศานวุ งศแ์ ละพระประยรู ญาตอิ ทุ ศิ พระราชกศุ ลถวายอยู่ ณ โลกมนษุ ย์ (ชมพทู วปี ) 366 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

๔. กระบวนแหอ่ ัญเชิญพระบรมศพไปยงั พระบรมเมรุ ๑๘ หลังจากการสร้างพระบรมเมรุแล้วเสร็จ จะมีการจัดกระบวนแห่อัญเชิญพระบรมศพ ตั้งประดิษฐานไว้ ณ พระบรมเมรุเพื่อเตรียมการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พิธีเคลื่อนกระบวน อัญเชิญพระบรมศพพระมหากษัตริย์มักจะเริ่มในช่วงเช้าตรู่ โดยพระบรมโกศจะถูกอัญเชิญลงจาก แท่นพระมหาปัญจาภายในพระท่ีน่ังมนเทียรเข้าสู่พระท่ีนั่งเทวาวินิจฉัยและอัญเชิญออกทางประตู ด้านทิศตะวันออก ที่ด้านหน้าพระท่ีนั่งเทวาวินิจฉัยจะเทียบพระที่น่ังราชรถส�ำหรับประดิษฐาน พระบรมโกศเพอ่ื เคล่อื นออกจากพระบรมราชวังทางประตู “ทวารชัย” (ទរវ្ា ជ័យ) พระที่นั่งราชรถอัญเชิญพระบรมโกศพระ กรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดมสุรามฤต พระมหากัญจนโกฏฐ์เคลื่อนออกทางประตู ชัยเพ่ือเชิญข้ึนประดิษฐานบนพระราชรถ บุษบก พ.ศ.๒๕๐๓ (ท่มี า: https://goo.gl/ omvEis) การอญั เชญิ พระบรมโกศพระกรณุ าพระบาท สมเดจ็ พระนโรดมสรุ ามฤต พระมหากญั จน โกฏฐ์ จากพระทน่ี งั่ ราชรถขนึ้ ประดษิ ฐานยงั พระราชรถบุษบก พ.ศ.๒๕๐๓ (ที่มา: https://goo.gl/n๓๙uxu) จากน้ันจึงเคลื่อนพระบรมโกศสู่พระราชรถบุษบกซึ่งจอดเทียบอยู่หน้าพระบรมราชวัง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่และพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงพระด�ำเนินร่วมในกระบวนอัญเชิญ พระบรมโกศออกจากพระบรมราชวงั ดว้ ย โดยระหวา่ งการเคลอ่ื นพระบรมโกศจากพระราชยานหนงึ่ ไปยงั อกี พระราชยานหนง่ึ จะมกี ารใชอ้ ปุ กรณท์ เี่ รยี กวา่ “ราเฉนเลอเชงิ ไร” (រឆា៉ នេ លជើ ើងរៃ) หรอื “ราเฉน” (រាឆ៉ េន) เชน่ เดยี วกบั การใชเ้ กรนิ บนั ไดนาคในรว้ิ กระบวนแหอ่ ญั เชญิ พระบรมโกศของพระมหากษตั รยิ ไ์ ทย เม่ือประดิษฐานพระบรมโกศบนพระราชรถบุษบกแล้วพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่และพระบรม วงศานวุ งศจ์ งึ เสด็จกลับเขา้ สพู่ ระบรมราชวัง 367เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

กระบวนอญั เชญิ พระบรมโกศดว้ ยพระราชรถบษุ บกจะเคลอ่ื นออกจากบรเิ วณหนา้ พระบรม ราชวัง โดยจะอัญเชิญแห่ไปรอบบริเวณกรุงพนมเปญผ่านสถานที่ส�ำคัญในระยะทางท่ีเหมาะสม แลว้ จงึ เคลอื่ นกระบวนกลบั มายงั หนา้ พระบรมราชวงั จากนน้ั จะแหอ่ ญั เชญิ พระบรมโกศสมู่ ณฑลพธิ ี พระบรมเมรุ ซง่ึ กระบวนอญั เชญิ พระบรมโกศในแตล่ ะตอนจะประกอบดว้ ยรว้ิ กระบวนแถวตา่ งๆ ตาม ล�ำดับดังตอ่ ไปนี้ แถวริ้วกระบวนนำ� หน้าพระราชรถบษุ บก แถวรว้ิ กระบวนตอนหนา้ สดุ ในกระบวนแหอ่ ญั เชญิ พระบรมโกศจะเปน็ รว้ิ กระบวนผเู้ ชญิ ธง อนั ประกอบไปด้วยธงชาติ ธงศาสนา และธงพระมหากษตั ริย์ ลำ� ดับถัดมาเปน็ รวิ้ กระบวนกองทหาร เหล่าทพั ตา่ งๆ ไดแ้ ก่ กองทพั บก กองทัพเรอื กองทพั อากาศ กององครกั ษ์รกั ษาพระองค์ กองทหาร ม้าและกองช้าง ลำ� ดบั ถัดมาเป็นริว้ กระบวนเครอ่ื งประโคมไดแ้ ก่ วงพิณพาทย์ วงกลองชนะ วงเพลงเขมร (វងង់ភ្់ភ ងលេង្ ខ្ខ រមែ្ ) วงเพลงไชย�ำำ� ((ភភ្លេង្លងេ ឆឆៃៃយយ)៉ាំ)ាំ៉ ตลอดจนวงดนตรขี องกลมุ่ ชาตพิ นั ธต์ุ า่ งๆ เชน่ จาม พโนง จนี ญวน เปน็ ตน้ รว้ิ กระบวนในลำ� ดบั ถดั มาเปน็ กระบวนพราหมณร์ าชสำ� นกั ทำ� หนา้ ทไี่ กวบณั เฑาะว์ ชาวพนกั งาน ๒ คน ประโคมมโหระทกึ ๒ ใบ กองทหารช้างน�ำร้ิวกระบวนอัญเชิญพระบรม โกศพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดมสุรา มฤต พระมหากัญจนโกฏฐ์ พ.ศ.๒๕๐๓ (ทีม่ า: https://goo.gl/Ci1PTm) วงพณิ พาทยใ์ นรว้ิ กระบวนอญั เชญิ พระบรม โกศพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต พระมหากัญจนโกฏฐ์ พ.ศ.๒๕๐๓ (ทีม่ า: https://goo.gl/2fW14c) 368 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ต่อจากกระบวนเคร่ืองประโคมเป็นกระบวนแห่รูปสัตว์หิมพานต์เพื่อใช้เป็นพาหนะเชิญ ๑๘ ผ้าไตรจีวรและเครอ่ื งบรขิ าร โดยจะมกี ารท�ำเป็นรปู จ�ำลองสัตวน์ านาชนดิ เขา้ ร่วมในกระบวน ได้แก่ กวาง เลยี งผา แรด ชา้ ง กิเลน สิงห์ สงิ โต ราชสีห์ คชสหี ์ กินนร ฯลฯ ซงึ่ รูปสตั วท์ ่ีส�ำคัญทส่ี ุดในร้ิว กระบวนคอื แรด เพราะใชเ้ ปน็ สตั วพ์ าหนะสำ� หรบั เชญิ พระเพลงิ ทจี่ ะใชใ้ นพธิ ถี วายพระเพลงิ พระบรม ศพ เนอื่ งจากคตใิ นศาสนาพราหมณเ์ ชอื่ วา่ แรดเปน็ พาหนะของพระอคั นี โดยกอ่ นการจดั รว้ิ กระบวน อญั เชญิ พระบรมโกศออกสพู่ ระบรมเมรุ พราหมณ์ราชส�ำนกั จะท�ำพิธขี อพระเพลิงเตรียมไวล้ ่วงหนา้ โดยใชแ้ วน่ ขยายจดุ พระเพลงิ จากแสงอาทติ ยโ์ ดยมหี ญา้ คาเปน็ เชอื้ เพลงิ ซง่ึ พระเพลงิ นจ้ี ะถกู เรยี กวา่ “เพลิงไกลาส” (ភ្ើលងកលៃ ាស) ภาพวาดลายเสน้ รปู แรดในรวิ้ กระบวนอญั เชญิ พระศพ สมเดจ็ พระมาตจุ ฉาในพระกรณุ าพระบาทนโรดมบรม รามเทวาวตาร พ.ศ.๒๔๒๖ (ทม่ี า: หอสมดุ Alençon) ภาพวาดลายเส้นรูปสัตว์หิมพานต์ในริ้วกระบวน อัญเชิญพระศพสมเด็จพระมาตุจฉาในพระกรุณา พระบาทนโรดมบรมรามเทวาวตาร พ.ศ.๒๔๒๖ (ทมี่ า: หอสมุด Alençon) ขบวนแห่รูปสัตว์หิมพานต์ในร้ิวกระบวนอัญเชิญ พระบรมโกศพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ จอมจักรพงศ์ พระบรมราชานุโกฏฐ์ พ.ศ. ๒๔๗๑ (ทมี่ า: EFEO) 369เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ถัดจากร้ิวกระบวนรปู สัตว์หิมพานต์ คือ ล�ำดับของกระบวนเสล่ียงซ่ึงประกอบด้วยเสล่ียง ส�ำหรับพระภิกษุนั่งสวดพระอภิธรรม เสล่ียงพระบรมวงศานุวงศ์ประทับโปรยข้าวตอก และเสลี่ยง เชิญพระภูษาโยง (សពំ តទ់ ូលផាយោង) แถวริว้ กระบวนพระราชรถบุษบก ส�ำหรับพระราชรถบุษบกแห่อัญเชิญพระบรมโกศโดยท่ัวไปมักตกแต่งเป็นรูปพญานาค นาคราชหลายเศยี ร หรอื รปู หงส์ ซง่ึ นอกจากจะเปน็ สตั วห์ มิ พานตแ์ ลว้ ยงั เปน็ สตั วพ์ าหนะของเทพเจา้ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดูอีกด้วย ท่ีเบ้ืองหน้าพระราชรถบุษบกมีกองทหารหลวงชักลากพระราชรถ บุษบก บนพระราชรถบุษบกมีผู้ประคองพระบรมโกศ ๒ ท่าน (โดยมากมักเป็นบุคคลในพระราช วงศานุวงศ)์ ประคองพระบรมโกศที่ดา้ นหน้าและหลัง ดา้ นขวาและดา้ นซา้ ยมชี าวพนักงานกางกน้ั พระกลด นอกจากน้ี บนพระราชรถบุษบกยังมี “กลุ่มเทพนิกร” ซ่ึงเป็นบุคคลแต่งกายทรงเครื่อง ละครนัง่ รายล้อมพระบรมโกศจ�ำนวน ๘ คน เสมอื นเปน็ หม่เู ทวดาเชญิ เสด็จสสู่ วรรคาลยั และเทวดา รักษาพระมหาเศวตฉัตร และทางด้านข้าง ๒ ดา้ นทั้งซ้ายและขวาของพระราชรถบุษบกคอ่ นไปทาง ด้านทา้ ย มชี าวพนกั งานเชญิ เครอ่ื งสงู ประกอบพระราชอสิ รยิ ยศเดนิ ขนาบพระราชรถบษุ บกอยา่ งละคู่ เสลี่ยงเชิญพระภูษาโยงน�ำหน้าพระราชรถ บุษบกอัญเชิญพระบรมโกศพระกรุณา พระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสรุ ามฤต พระมหา กัญจนโกฏฐ์ พ.ศ.๒๕๐๓ (ที่มา: http:// arrow.monash.edu.au/hdl/1959.1/ 484531) ภาพวาดลายเส้นราชรถอัญเชิญพระศพสมเด็จพระ มาตจุ ฉาในพระกรณุ าพระบาทนโรดมบรมรามเทวาวตาร พ.ศ.๒๔๒๖ มีการระบุพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ ๒ พระองค์ผู้ประคองพระโกศ ได้แก่ พระองค์เจ้ายุคนธร และพระองค์เจ้าอิสราวงศ์ (ท่มี า: หอสมดุ Alençon) 370 เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ไดแ้ ก่ บงั แสง ((បបាាំងំងសសែងែង)) จามร (ចាមរ) ใบมน (បៃមន)់ แสนตะวนั (សែនត្នវ័ ) ภตู าน (ភតូ ាន) วชิ นี (វជិ ន)ី ๑๘ พุ่มดอกไมเ้ งิน-ทอง (សប្ ង់ផ្កាមាសផ្កាប្រាក)់ และอภริ มยข์ าวขลบิ ทองและเงนิ (អភិរម្យពណស៌ ចមំ ាសនងិ ប្ារក)់ จะเห็นได้ว่าริ้วกระบวนพระราชรถบุษบกจะมีการเชิญเคร่ืองสูงประกอบพระราชอิสริยยศ ลักษณะเดียวกับกระบวนแห่อัญเชิญพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ไทย อันประกอบด้วยอภิรุม ชมุ สาย บังแทรก จามร บังสรู ย์ พัดโบก ดอกไมเ้ งนิ -ทอง สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ธรรมเนียมการถวาย พระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ที่ทั้งไทยและกัมพูชามีธรรมเนียมปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมา อยา่ งยาวนาน แถวรวิ้ กระบวนตามหลังพระราชรถบษุ บก ถัดจากร้ิวกระบวนของพระราชรถบุษบกต่อด้วยแถวของพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้น�ำทาง ศาสนา ไดแ้ ก่ สมเดจ็ พระสงั ฆราชทง้ั ฝา่ ยมหานกิ ายและฝา่ ยธรรมยตุ กิ นกิ าย รวมทงั้ ผนู้ ำ� ศาสนกิ ชน ในศาสนาอื่นๆ ในราชอาณาจักร เช่น ชาวจีน ชาวจาม ชาวเวียดนาม เป็นต้น ถัดมาเป็นแถว ของขนุ นาง ขา้ ราชการ และประชาชนผูม้ าร่วมพระราชพธิ ี นอกจากนี้ ท้งั ด้านซ้ายและขวาของริ้ว กระบวนอญั เชิญพระบรมโกศจะมีชาวพนักงานถือเชือกสแี ดง พร้อมทง้ั ถอื ธงจระเข้ ธงเขมร ธงมกร และธงตะขาบ เดินขนาบด้านข้างร้ิวกระบวนไปตลอดทาง ระหว่างเคลื่อนร้ิวกระบวนแห่อัญเชิญพระบรมโกศจะต้องมีการหยุดแต่ละจุดไม่น้อยกว่า ๓ ครง้ั เพอ่ื ใหพ้ ระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนต์ สดบั ปกรณถ์ วายเปน็ พระราชกศุ ล ระหวา่ งทกี่ ระบวนเคลอ่ื น กลบั มาใกลถ้ งึ หนา้ พระบรมราชวงั พระมหากษตั รยิ พ์ ระองคใ์ หมจ่ ะเสดจ็ ออกรบั กระบวนและจะทรง พระด�ำเนินร่วมในกระบวนไปจนถึงพระบรมเมรุ หลังจากท่ีพระราชรถบุษบกเคลื่อนถึงหน้าประตู ทางเขา้ พระบรมเมรแุ ลว้ ชาวพนกั งานจะเคลอ่ื นพระบรมโกศลงจากพระราชรถบษุ บกสพู่ ระทน่ี ง่ั ราช รถ แลว้ จึงเคล่ือนทำ� อตุ ราวรรต (เวยี นซา้ ย) รอบพระบรมเมรุ ๓ รอบ จากน้ันจึงอญั เชิญพระบรม โกศเข้าประดษิ ฐานยงั แทน่ พระมหาปญั จา ๙ ชั้นภายในพระบรมเมรุ กางกน้ั เบอื้ งบนด้วยพระมหา เศวตฉัตร ๕. พระราชพธิ ใี นแต่ละวนั ณ พระบรมเมรุ พระบรมโกศจะตงั้ ประดษิ ฐานอยบู่ นแทน่ พระมหาปญั จา ๙ ชนั้ ภายในพระบรมเมรเุ ปน็ เวลา ๕ ถึง ๗ วัน หรอื อาจจะนานกว่าน้ตี ามแต่หมายกำ� หนดการของสำ� นกั พระราชวัง ระหวา่ งทีพ่ ระบรม โกศประดิษฐานอยู่ภายในพระบรมเมรุน้ีจะมีการจัดบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายตามโบราณราช ประเพณี ดงั นี้ • ชว่ งเชา้ ในเวลาเชา้ มดื จัดใหม้ ี “สตรีขับล�ำน�ำเฝ้าพระบรมศพ” ซงึ่ จำ� นวนของผูท้ ี่เขา้ ร่วมในพิธีจะก�ำหนดตามพระชนมพรรษาของพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกศ เวลา ต่อมาจึงถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ที่สวดพระพุทธมนต์ต้ังแต่เมื่อตอนช่วงเย็น ของวันกอ่ น พระบรมวงศานุวงศต์ ้งั เครื่องสงั เวยถวายแด่พระบูรพมหากษตั รยิ าธิราช เจา้ ระหวา่ งนมี้ ี “สตรขี บั ลำ� นำ� เฝา้ พระบรมศพ” คณะพราหมณร์ าชสำ� นกั ประโคมสงั ข์ วงกลองชนะประโคมถวาย 371เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

• ช่วงบ่าย มีการอนุญาตให้ประชาชนท่ัวไปเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพอย่าง ต่อเน่ืองจนถึงเวลาที่ก�ำหนด ต่อมานิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ถวายเป็น พระราชกุศลเวียนต่อเนื่องกันท่ี “สมสาน” ท้ัง ๔ ทิศ นอกจากน้ียังมีการแสดง พระธรรมเทศนาและสวดพระอภิธรรมด้วย • ช่วงเย็น มกี ารสวดสดับปกรณ์ถวายเป็นพระราชกศุ ลแด่พระมหากษตั รยิ ใ์ นพระบรม โกศและบรรดาบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า มีการแสดงพระธรรมเทศนา นอกจากนี้ มกี ารจดุ ดอกไมไ้ ฟในบรเิ วณมณฑลพธิ พี ระบรมเมรุ และมี “สตรขี บั ลำ� นำ� เฝา้ พระบรม ศพ” ตลอดทั้งคนื ๖. พระราชพิธีถวายพระเพลงิ พระบรมศพ เมอ่ื ถงึ กำ� หนดวนั ถวายพระเพลงิ พระบรมศพ ชว่ งเชา้ ชาวพนกั งานอญั เชญิ พระบรมโกศลง จากแทน่ พระมหาปญั จาเขา้ สพู่ ลบั พลาซงึ่ ตงั้ อยทู่ างดา้ นทศิ ตะวนั ตก ชาวพนกั งานปรบั พน้ื ทภี่ ายใน พระบรมเมรุโดยย้ายแท่นพระมหาปัญจาออก แล้วจึงแต่งพระจิตกาธานทรงบุษบกซ่ึงตกแต่งด้วย กาบกล้วยแกะสลักลวดลายแทงหยวกเพ่ือเตรียมการถวายพระเพลิง พระบรมศพท่ีบรรจุอยู่ใน พระบรมโกศทองจะถกู อัญเชญิ บรรจุลงใน “พระโกศแกน่ จันทน”์ (ព្រះកោដខឋ្ ្លឹមចន័ ទ្ន)៍ ซ่ึงสร้างจากไม้ เปดิ ทองตกแต่งลวดลายวจิ ิตรบรรจง อน่งึ พระโกศแก่นจันทนน์ ีจ้ ะไมม่ สี ่วนของฝาครอบทดี่ ้านบน แตจ่ ะใชผ้ ้ายกทองคลุมปิดไว้เท่านนั้ ช่วงบ่าย ชาวพนักงานอัญเชิญพระโกศแก่นจันทน์ทรงพระบรมศพออกจากพลับพลา ทางทิศตะวันตกของพระบรมเมรุข้ึนประดิษฐานยังพระจิตกาธานบุษบกภายในพระบรมเมรุเพื่อรอ การถวายพระเพลิงในช่วงเย็น เมื่อได้เวลา พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เสด็จเข้าสู่พระบรมเมรุ เพ่ือถวายบังคมและถวายดอกไม้จันทน์ซ่ึงท�ำจากใบตาลและไม้หอมแด่พระบรมศพ ล�ำดับต่อมา พระบรมวงศานวุ งศ์ ขนุ นาง ขา้ ราชการ ทตู านทุ ตู คณะผแู้ ทนหนว่ ยงานตา่ งๆ เขา้ กราบถวายบงั คม พระบรมศพและถวายดอกไมจ้ ันทน์ตามลำ� ดบั หลงั จากถวายดอกไมจ้ นั ทนแ์ ลว้ พระมหากษตั รยิ พ์ ระองคใ์ หม่ พระบรมวงศานวุ งศ์ ขนุ นาง ขา้ ราชการ เขา้ ถวายพระเพลงิ พระบรมศพตามลำ� ดบั โดยใช้ “เพลงิ ไกลาส” ตอ่ จากนน้ั ชาวพนกั งาน จะปิดพ้ืนท่ีบริเวณพระจิตกาธานภายในพระบรมเมรุด้วยฉากบังพระเพลิงซ่ึงประดับด้วยลวดลาย เทวดา เพอ่ื มใิ หม้ องเหน็ จากภายนอกและเปน็ การควบคลมุ เพลงิ ใหอ้ ยใู่ นขอบเขตทจี่ ำ� กดั ขณะกำ� ลงั ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในเวลาเดียวกันนี้ พระสงฆ์ซ่ึงน่ังอยู่ที่ “สมสาน” (ซ่าง) เริ่มสวด สดับปกรณ์เพื่อท�ำพิธีบวชนาคให้กับผู้ที่สมัครใจบวชหน้าพระเพลิงถวายพระราชกุศล มีการแสดง ธรรมเทศนาอุทิศถวายพระราชกุศล มกี ารประโคมดนตรตี ลอดจนมกี ารย�ำ่ ฆอ้ งกลองตามวดั อาราม ทัว่ ทกุ แหง่ โดยพรอ้ มเพรียงกนั หลงั จากการถวายพระเพลงิ แลว้ เสรจ็ พระมหากษตั รยิ พ์ ระองคใ์ หมแ่ ละพระบรมวงศานวุ งศ์ เสด็จกลับ อัครเสนาบดี ขนุ นาง ขา้ ราชการ คณะทูตานทุ ูต ต่างออกจากมณฑลพิธี โดยในตอนเชา้ วนั รุ่งขึ้นจึงจะมีพิธเี กบ็ พระบรมอฐั ิ 372 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๘ พระโกศแก่นจันทน์ทรงพระบรมศพพระกรุณา พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุเชิญ พระบาทสมเด็จพระนโรดมสุรามฤต พระมหา พระบรมอัฐิพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดม กญั จนโกฏฐ์ พ.ศ.๒๕๐๓ (ทม่ี า: https://goo. สรุ ามฤต พระมหากญั จนโกฏฐ์ เพื่อไปประดษิ ฐาน gl/4vivV3) ยังพลับพลาด้านทิศใต้ของพระบรมเมรุ พ.ศ. ๒๕๐๓ (ทม่ี า: https://goo.gl/2VJKhn) ๗. พระราชพธิ ีเก็บพระบรมอฐั ิและอญั เชญิ พระบรมอัฐิบรรจุลงพระโกศเพชร เช้าวันรุ่งข้นึ หลงั จากการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้วเสร็จ พระมหากษตั รยิ ์ พระบรม วงศานุวงศ์ ขนุ นาง ขา้ ราชการ นมิ นต์พระสงฆถ์ วายพระพรน�้ำ (ថ្វយា ព្រះពរទឹក) พราหมณร์ าชส�ำนัก ประโคมสังข์ ถัดจากนั้นพระสงฆถ์ วายการแปรรูปพระบรมอัฐิขณะเดยี วกนั มกี ารสวดพระพุทธมนต์ จากนน้ั พราหมณร์ าชสำ� นกั ประกอบพธิ เี วยี นแวน่ เทยี นโดยอตุ ราวรรต (เวยี นซา้ ย) ถวายแดพ่ ระบรม อฐั จิ ำ� นวน ๒๑ รอบ ตอ่ มาพระมหากษตั รยิ ์ พระบรมวงศานวุ งศ์ ขนุ นาง ขา้ ราชการ เสนาบดี รว่ มกนั เกบ็ พระบรมอฐั ใิ สไ่ วใ้ นกระจาดทอง (កកញញ្ច្្ចែរងមាស) และถวายนำ้� สรงพระบรมอฐั จิ ากคนโท จากนน้ั ชาว พนักงานเชิญกระจาดทองบรรจุพระบรมอัฐิประดิษฐานบนพานแล้วน�ำขึ้นประดิษฐานยังพลับพลา ดา้ นทศิ ใตข้ องพระบรมเมรุ สว่ นพระราชสรรี างคารนน้ั พราหมณพ์ ระราชสำ� นกั จะอญั เชญิ บรรจลุ งใน ถุงผา้ สีเงนิ ๓ ถงุ เพื่อเตรยี มเข้ากระบวนแห่อญั เชญิ ไปลอยพระราชสรีรางคาร ณ กลางแม่น�ำ้ จตมุ ขุ หน้าพระบรมราชวงั ในตอนบ่ายพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมี ขนุ นาง ขา้ ราชการตามเสดจ็ ฯ ในพธิ บี รรจพุ ระบรมอฐั ลิ งในพระโกศเพชร โดนหลงั จากบรรจพุ ระบรม อฐั แิ ลว้ พราหมณร์ าชสำ� นกั อญั เชญิ พระโกศเพชรตงั้ ประดษิ ฐานบนพานแวน่ ฟา้ และผกู ดา้ ยขาวเพอื่ ยึดพระโกศเพชรไว้ตัวพาน จากน้ันจึงจัดกระบวนอัญเชิญพระโกศเพชรซึ่งบรรจุพระบรมอัฐิจาก พลับพลาทปี่ ระทับกลับเขา้ สพู่ ระบรมเมรซุ ง่ึ ชาวพนักงานได้แต่งแท่นพระมหาปญั จารอไว้ หลงั จาก 373เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ประดษิ ฐานพระโกศเพชรเหนอื แทน่ พระมหาปญั จา พราหมณป์ ระโคมสงั ข์ พระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนต์ สดบั ปกรณ์ แสดงพระธรรมเทศนา และจดั พธิ พี ทุ ธาภเิ ษกพระพทุ ธรปู ภายในคำ่� คนื วนั เดยี วกนั นน้ั เอง นอกจากพระราชพธิ ที างศาสนาแลว้ ในตลอดทง้ั คนื ยงั มกี ารแสดงละคร ระบำ� มหรสพ หนงั ใหญ่ ละครโขน และการจุดพลดุ อกไม้ไฟ เน่ืองในงานพระราชพิธีพระบรมศพตอ่ เนื่องจนถงึ ร่งุ เชา้ อกี ดว้ ย ๘. กระบวนแหพ่ ระบรมอฐั ิเขา้ ส่พู ระบรมราชวงั หลงั จากประดษิ ฐานพระโกศเพชรบรรจพุ ระบรมอฐั บิ นแทน่ พระมหาปญั จาภายในพระบรมเมรุ ตามระยะเวลาทก่ี ำ� หนดแลว้ กจ็ ะมกี ารอญั เชญิ พระบรมอฐั เิ ขา้ สพู่ ระบรมราชวงั มกี ารนมิ นตพ์ ระสงฆ์ สวดพระพทุ ธมนต์ สดบั ปกรณ์ ถวายเปน็ พระราชกศุ ลกอ่ นทจ่ี ะอญั เชญิ พระโกศเพชรบรรจพุ ระบรมอฐั ิ ลงจากแท่นพระมหาปัญจา ชาวพนักงานอัญเชิญพระโกศเพชรประดิษฐานบนพระเสลี่ยงแล้ว จัดร้ิวกระบวนอัญเชิญเข้าสู่พระบรมราชวัง โดยลักษณะการจัดร้ิวกระบวนมีความคล้ายคลึงกับ กระบวนอญั เชญิ พระบรมศพ แตม่ จี ำ� นวนคนผเู้ ขา้ รว่ มในรวิ้ กระบวนนอ้ ยกวา่ ซงึ่ รวิ้ กระบวนแหอ่ ญั เชญิ พระบรมอัฐินี้จะเริ่มด้วยกระบวนเชิญธงชาติ กองทหารจากเหล่าทัพต่างๆ กระบวนวงกลองชนะ วงพณิ พาทยค์ ณะพราหมณ์ราชส�ำนกั ไกวบัณเฑาะว์ ช่วงตอนกลางของร้ิวกระบวนเป็นพระเสล่ียงประดิษฐานพระโกศเพชรบรรจุพระบรมอัฐิ แวดล้อมด้วยชาวพนักงานกางก้ันพระกลดถวาย ประกอบด้วยกระบวนเชิญเครื่องสูงประกอบ พระราชอิสริยยศ เช่น บังแสง (បាងំងសសែែង) บังตะวนั (បាំងតវ័ន្ ) จามร (ចាមរ) ใบมน (មៃមន)់ ภตู าน (ភូតាន) อภิรมย์ (អភិរម្យ) ฯลฯ ริ้วกระบวนช่วงท้ายเบ้ืองหลังพระเสล่ียงเป็นกระบวนเสด็จพระราชด�ำเนิน ของพระมหากษตั รยิ แ์ ละพระราชวงศานุวงศต์ ามเสด็จฯ โดยเหล่าขนุ นางและขา้ ราชการ หลังจากร้ิวกระบวนเข้าสู่พระบรมราชวัง พระโกศเพชรบรรจุพระบรมอัฐิจะถูกอัญเชิญ ประดษิ ฐานเหนอื แทน่ พระมหาปญั จาภายในพระทน่ี ง่ั ปราสาทเทวาวนิ จิ ฉยั พระสงฆส์ วดพระพทุ ธมนต์ สดบั ปกรณ์ ถวายเปน็ พระราชกศุ ล พราหมณป์ ระโคมสงั ข์ จากนนั้ พระมหากษตั รยิ พ์ รอ้ มดว้ ยพระบรม วงศานวุ งศจ์ ะอญั เชญิ พระบรมอฐั ไิ ปประดษิ ฐานยงั หอพระอฐั ิ เพอ่ื รอการกอ่ สรา้ งพระเจดยี แ์ ลว้ เสรจ็ และจะได้ประดิษฐานพระบรมอัฐิภายในพระเจดีย์ในล�ำดับถัดไป ซ่ึงถือเป็นการสิ้นสุดพระราชพิธี บ�ำเพญ็ พระราชกุศลและถวายพระเพลิงพระบรมศพโดยบรบิ ูรณ์ พระราชพิธพี ระบรมศพพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ “พระบรมรตั นโกฏฐ”์ ภายหลังปี พ.ศ.๒๕๑๓ สภาพการณ์ทางการเมืองของประเทศกมั พชู ามีความผนั ผวนเปน็ อยา่ งมาก เมอื่ นายพล ลอน นอล ทำ� รฐั ประหารยดึ อำ� นาจจากสมเดจ็ พระนโรดมสหี นซุ ง่ึ ขณะนนั้ ทรง ด�ำรงต�ำแหน่งประมุขรัฐในฐานะนายกรัฐมนตรี นายพล ลอน นอล ได้เปล่ียนแปลงการปกครอง ประเทศเปน็ ระบอบสาธารณรฐั ทำ� ใหป้ ระเทศกมั พชู าวา่ งเวน้ จากการมพี ระมหากษตั รยิ ใ์ นฐานะองค์ พระประมุขของประเทศตลอดระยะเวลากว่า ๒ ทศวรรษ ผา่ นระบอบการปกครอง ๕ สมัย ไดแ้ ก่ สมยั สาธารณรฐั เขมร, สมยั กมั พชู าประชาธปิ ไตย, สมยั สาธารณรฐั ประชาชนกมั พชู า, สมยั รฐั กมั พชู า และสมัยของการปฏิรปู ประเทศโดยองคก์ รบรหิ ารช่ัวคราวแหง่ สหประชาชาติในกมั พูชา 374 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๘ ขบวนแห่อัญเชิญพระบรมอัฐิพระกรุณา พระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสรุ ามฤต พระมหา กัญจนโกฏฐ์ จากพระบรมเมรเุ ข้าสูพ่ ระบรม ราชวัง พ.ศ.๒๕๐๓ (ที่มา: https://goo.gl/ lfngYa) การอญั เชญิ หีบพระบรมศพ หรือ “พระบรม มฌสู า” (ព្រះបរមមឈសូ ា) บรรจพุ ระบรมศพ พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ พระบรมรัตนโกฏฐ์ จากพระท่ีนั่งราชรถขึ้น ประดิษฐานบนราชรถบุษบก (ทมี่ า: http:// www.nicolasaxelrod.com/kings-funer- al-day-1/) จนกระท่งั ปี พ.ศ.๒๕๓๖ กัมพูชาได้กลบั คนื สรู่ ะบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอนั มี พระมหากษัตริย์ทรงเปน็ องค์พระประมุขอกี ครัง้ โดยพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุทรง ขน้ึ ครองราชยเ์ ปน็ รชั สมยั ที่ ๒ ในชว่ งเวลากวา่ ๒๐ ปที ว่ี า่ งเวน้ จากการปกครองโดยมพี ระมหากษตั รยิ ์ เปน็ พระประมขุ ประเพณใี นราชสำ� นักกมั พชู าสว่ นหน่ึงได้ถกู ยกเลกิ ไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในสมยั กมั พชู าประชาธปิ ไตย (เขมรแดง) มีการทำ� ลายตำ� รา บันทกึ และเอกสารสำ� คญั หลายชนิ้ รวมไปถงึ นกั ปราชญ์ บณั ฑติ นกั วชิ าการ ผมู้ คี วามรู้ กถ็ กู สงั หารไปเปน็ จำ� นวนมาก จงึ สง่ ผลกระทบตอ่ ประเพณี ราชส�ำนักในยคุ ตอ่ ๆ มา กระทง่ั ในเดือนตลุ าคม พ.ศ.๒๕๔๗ พระกรุณาพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสีหนุขณะทรงมี พระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา ได้ทรงตดั สินพระราชหฤทัยสละราชสมบตั ิในรัชสมยั ที่ ๒ ของพระองค์ อนั เนอื่ งจากปญั หาทางพระพลานามยั โดยทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหอ้ งคร์ ชั ทายาทคอื พระบาท สมเดจ็ พระบรมนาถนโรดม สีหมนุ ี ขนึ้ ครองราชยส์ บื ราชสนั ตตวิ งศต์ ่อจากพระองค์ ขณะท่พี ระองค์ ทรงดำ� รงพระราชอสิ ริยยศเป็น “พระมหาวีรกษตั รยิ ์ พระวรราชบิดาเอกราช บูรณภาพดินแดน และ เอกภาพแหง่ ชาตเิ ขมร” และไดเ้ สดจ็ ไปประทบั รกั ษาพระวรกาย ณ กรงุ ปกั กง่ิ สาธารณรฐั ประชาชน จีนอย่างต่อเน่ืองเป็นระยะๆ จนกระทั่งในวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ได้เสด็จสวรรคตด้วย พระอาการพระหทยั วาย ขณะมพี ระชนมพรรษา ๘๙ พรรษา ยงั ความเศรา้ โศกเสยี ใจอยา่ งยง่ิ แกช่ าว 375เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

กัมพูชาทัง้ ประเทศ โดยภายหลงั จากที่เสดจ็ สวรรคตแลว้ พระองค์ทรงไดร้ ับการขานพระปรมาภไิ ธย ตามดว้ ยพระบรมปจั ฉามรณนามวา่ “พระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นุ พระมหาวรี กษตั รยิ ์ พระบรมรัตนโกฏฐ์” ซึ่งการที่พระองค์ได้รับการถวายพระบรมปัจฉามรณนามเช่นเดียวกับสมเด็จ พระบูรพมหากษัตริย์ในราชวงศ์แสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อท่ีสืบต่อกันมาแต่ยุคสมัยก่อนเมือง พระนครและสมัยพระนครท่ีจะมีการขานพระปรมาภิไธยตามด้วยพระบรมปัจฉามรณนาม แต่แตกต่างกันตรงทีค่ ตคิ วามเช่อื ในสมัยโบราณเป็นการแสดงถงึ การทพ่ี ระมหากษัตริย์ทรงกลับคนื สสู่ ภาวะท่ีเป็นอันหน่ึงอนั เดยี วกบั พระผเู้ ปน็ เจา้ แตส่ ำ� หรับธรรมเนียมการปฏิบตั ใิ นการพระราชพธิ ี พระบรมศพ “พระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นุ พระมหาวีรกษัตริย์ พระบรมรัตนโกฏฐ์” และบูรพมหากษัตริย์ในราชวงศ์ของพระองค์ จะมีค�ำลงท้ายพระบรมปัจฉามรณนามว่า “โกฏฐ์” ซ่ึงหมายถึงท่ีประทับของพระองค์ในวาระสุดท้าย คล้ายกับธรรมเนียมของไทยที่มักเรียกขาน พระมหากษตั รยิ ์ทเ่ี พงิ่ จะเสด็จสวรรคตวา่ “พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ” นั่นเอง พระบรมเมรใุ นการพระราชพธิ ีถวายพระเพลงิ พระบรมศพพระกรุณา พระบาทสมเด็จ พระนโรดมสหี นุพระบรมรัตนโกฏฐ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ (ทม่ี า: https://goo.gl/yXknpb) การพระราชพธิ พี ระบรมศพพระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นฯุ พระบรมรตั นโกฏฐ์ จัดข้ึนอย่างย่ิงใหญ่สมพระเกียรติ ซ่ึงในภาพรวมก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับการพระราชพิธีพระบรม ศพในรชั กาลกอ่ นหนา้ นนั้ แตอ่ ยา่ งไรกต็ าม อนั เนอื่ งจากราชสำ� นกั กมั พชู าไดว้ า่ งเวน้ การจดั พระราช พธิ พี ระบรมศพพระมหากษตั รยิ เ์ ปน็ ระยะเวลานาน จงึ สงั เกตไดว้ า่ มกี ารปรบั เปลย่ี นรายละเอยี ดบาง สว่ นใหเ้ หมาะสมกบั ความเจรญิ ของยคุ สมยั ดงั นนั้ เนอ้ื หาของบทความในสว่ นนจี้ งึ จะกลา่ วถงึ เฉพาะ จุดซ่ึงเป็นรายละเอียดที่แตกต่างกันระหว่างพระราชพิธีพระบรมศพในครั้งล่าสุดนี้กับพระราชพิธี พระบรมศพในรัชกาลกอ่ น 376 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑. พิธกี รรมหลังจากเสด็จสวรรคต ๑๘ เนอื่ งจากพระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นเุ สดจ็ สวรรคต ณ กรงุ ปกั กงิ่ สาธารณรฐั ประชาชนจนี จงึ ทำ� ใหร้ ายละเอยี ดขนั้ ตอนตา่ งๆ ของพธิ กี รรมอนั เกยี่ วเนอ่ื งกบั การจดั การพระบรมศพ ภายหลังจากเสด็จสวรรคตมีความแตกต่างจากพิธีกรรมในรัชกาลก่อนๆ ซึ่งสวรรคตภายใน ราชอาณาจกั รกมั พชู า โดยตามโบราณราชประเพณจี ะตอ้ งมกี ารสถาปนาพระมหากษตั รยิ พ์ ระองคใ์ หม่ เป็นอันดับแรกเพื่อทรงเป็นองค์ประธานในการจัดพระราชพิธีพระบรมศพ แต่ในการนี้พระกรุณา พระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นทุ รงสละราชสมบตั พิ ระราชทานแดอ่ งคร์ ชั ทายาทคอื พระบาทสมเดจ็ พระบรมนาถนโรดม สหี มนุ ี ใหข้ น้ึ ครองราชยส์ บื ราชสนั ตตวิ งศต์ อ่ จากพระองคแ์ ลว้ จงึ ไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ ง มพี ธิ ีสถาปนาพระมหากษตั รยิ พ์ ระองค์ใหม่ ส�ำหรับในส่วนของการถวายพระภูษาทรงพระบรมศพ ตามโบราณราชประเพณีน้ัน หลังจากสรงพระบรมศพแล้วจะต้องถวายฉลองพระองค์ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ตาม พระราชอสิ รยิ ยศ แตใ่ นกรณพี ระบรมศพพระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นนุ ้ี ทรงพระกรณุ า โปรดเกล้าฯ ให้ทรงฉลองพระองค์สทู ตามแบบสากลนิยม ๒. การตง้ั ประดิษฐานพระบรมศพ ดังที่กล่าวแล้วว่าพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุเสด็จสวรรคตในต่างประเทศจึงท�ำให้ การประดษิ ฐานพระบรมศพจำ� เปน็ ตอ้ งมกี ารปรบั เปลยี่ นใหเ้ หมาะสมกบั สถานการณ์ กลา่ วคอื การทมี่ ไิ ด้ มีการถวายพระมหาสุกำ� และบรรจพุ ระบรมศพในพระบรมโกศเหมือนเชน่ ในรัชกาลก่อน แตเ่ ปล่ียน เปน็ การบรรจพุ ระบรมศพในหบี พระบรมศพหรอื “พระบรมมฌสู า” (ព្រះបរមមឈូសា) ทอ่ี ญั เชญิ ไปจาก กมั พชู าเพอื่ บรรจพุ ระบรมศพแลว้ จงึ อญั เชญิ พระบรมศพกลบั ประเทศกมั พชู าโดยเครอื่ งบนิ พระทน่ี งั่ ท้ังนี้จากการสัมภาษณ์ “ฌัวร์ สุปัญญา” (ឈួរ សបុ ញាញ្) ผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับส�ำนัก พระราชวังกรุงพนมเปญ ท�ำให้ทราบข้อมูลส่วนหนึ่งว่าเป็นพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ของ พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุเอง ท่ีทรงโปรดให้จัดการพระบรมศพของพระองค์ใน ลักษณะดังกลา่ ว (สมั ภาษณ์ ฌัวร์ สปุ ญั ญา (ឈរួ សុបញញា)្ ๑๗ ธนั วาคม ๒๕๕๙) ๓. กระบวนอญั เชิญพระบรมศพ ในส่วนของการจัดริ้วกระบวนอัญเชิญพระบรมศพพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุในพระราชพิธีออกพระบรมเมรุนั้นได้มีการเพิ่มการจัดริ้วกระบวนตอนต่างๆ มากข้ึนกว่า ในสมัยก่อน และมีการเพิ่มจ�ำนวนคนผู้เข้าร่วมในริ้วกระบวนมากขึ้น ท้ังน้ีเพื่อแสดงออกซ่ึง ความสำ� นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระองค์ ผทู้ รงปฏบิ ตั พิ ระราชกรณยี กจิ สำ� คญั ตอ่ ประเทศชาติ ไวน้ านปั การ โดยเฉพาะพระราชปชู นียกิจอนั เป็นท่ปี ระจกั ษแ์ จ้งในสำ� นึกของประชาชนชาวกมั พชู า ทั่วทั้งประเทศตลอดจนชาวต่างชาติ คือการท่ีทรงเรียกร้องเอกราชจากการเป็นอาณานิคมฝร่ังเศส ได้สำ� เร็จในปี พ.ศ.๒๔๙๖ นอกจากนพี้ ระองคย์ งั ทรงเปน็ ผทู้ เ่ี ปย่ี มลน้ ดว้ ยพระบารมใี นการประสานประโยชนแ์ ละสรา้ ง ความสมานฉนั ทป์ รองดองของกลมุ่ การเมอื งตา่ งๆ ภายในประเทศกมั พชู า ทรงนำ� พาประเทศผา่ นพ้น 377เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

หีบพระบรมศพบรรจุพระบรมศพพระกรุณา พระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสหี นุ พระบรมรตั น โกฏฐ์ ประดิษฐานภายในพระที่น่ังมนเทียร พระบรมราชวงั กรงุ พนมเปญ (ทมี่ า: https:// goo.gl/txwc๐G) ร้ิวกระบวนอัญเชิญพระบรมศพพระกรุณา พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุ พระบรม รัตนโกฏฐ์ (ท่มี า: https://goo.gl/bFCTkT) วิกฤติการณ์ที่เลวร้ายและเป็นการเปิดศักราชใหม่ของประวัติศาสตร์กัมพูชาท่ีมีเสถียรภาพทาง การเมืองการปกครองของกัมพูชาเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น จึงท�ำให้ประชาชนชาวกัมพูชาทุก ภาคสว่ นตา่ งตอ้ งการทจ่ี ะมสี ว่ นรว่ มในการถวายพระเกยี รตแิ ด่ “พระมหาวรี กษตั รยิ ์ พระวรราชบดิ า เอกราช บูรณภาพดินแดน และเอกภาพแห่งชาติเขมร” ผู้ทรงเป็นท่ีเคารพสักการะสูงสุดของ พวกเขาเปน็ วาระสุดทา้ ย ดงั นั้น จะเหน็ ได้ชัดว่าแนวคิดที่ประชาชนมตี ่อพระมหากษัตรยิ ์ของกมั พูชาในรฐั สมัยใหม่ นั้นมีความแตกต่างไปจากในรัฐสมัยโบราณ คือ มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากข้ึน ท้ังนี้เพราะ กษตั รยิ ไ์ ดก้ ลายเปน็ สว่ นหนงึ่ ของชาติ และเปน็ เหตผุ ลทท่ี ำ� ใหป้ ระชาชนโดยทว่ั ไปสามารถทจ่ี ะถวาย สักการะตอ่ พระมหากษัตรยิ ์ไดอ้ ยา่ งใกลช้ ดิ สำ� หรบั รายละเอยี ดในรวิ้ กระบวนอญั เชญิ พระบรมศพพระกรณุ าพระบาทสมเดจ็ พระนโรดม สีหนุเป็นอีกจุดหน่ึงที่มีความแตกต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติตามโบราณ กล่าวคือ เดิมทีการเชิญ ผ้าไตรจีวรและเคร่ืองบริขารต่างๆ โดยใช้รูปสัตว์จ�ำลอง ก็ได้ถูกปรับประยุกต์เป็นการประดิษฐาน สงิ่ ของต่างๆ ทีใ่ ช้ในพระราชพธิ ีบนราชรถบุษบกแทน รวมทงั้ ในส่วนของการท่ีเคยใชช้ าวพนกั งาน หามพระเสลย่ี งสำ� หรบั พระสงฆส์ วดพระอภธิ รรม พระเสลยี่ งสำ� หรบั พระบรมวงศานวุ งศป์ ระทบั โปรย ขา้ วตอก พระเสลยี่ งเชญิ พระภษู าโยง ตา่ งกถ็ กู แทนทดี่ ว้ ยราชรถบษุ บกตกแตง่ ดว้ ยรปู สตั วห์ มิ พานต์ 378 เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ประดับประดาลวดลายต่างๆ อยา่ งวิจติ รบรรจง อย่างไรก็ตาม ยงั คงมีการประดษิ ฐานพระเสลย่ี งบน ๑๘ ราชรถบษุ บกเพอื่ ใหพ้ ระสงฆน์ ง่ั สวดพระอภธิ รรม และมกี ารทอดพระเกา้ อบ้ี นราชรถบษุ บกเพอื่ เปน็ ทป่ี ระทบั ของพระบรมวงศานวุ งศท์ รงโปรยขา้ วตอกและเชญิ พระภษู าโยงธรรมเนยี มปฏบิ ตั แิ ตโ่ บราณ มา เหตุผลส�ำคัญของการปรับประยุกต์จากการใช้พระเสลี่ยงมาเป็นราชรถบุษบกน้ีคือเพ่ือให้เกิด ความสะดวกมากย่ิงขึ้น และท�ำให้สามารถเคล่ือนร้ิวกระบวนอัญเชิญพระบรมศพในพระราชพิธี ออกพระบรมเมรุได้เป็นระยะทางทย่ี าวมากขน้ึ กว่าเดมิ อกี ด้วย แม้รายละเอียดบางส่วนของการจัดพระราชพิธีพระบรมศพพระกรุณาพระบาทสมเด็จ พระนโรดมสีหนุ พระมหาวรี กษตั รยิ ์ พระบรมรัตนโกฏฐ์ จะมกี ารปรบั ประยุกตร์ ายละเอยี ดบางส่วน ทต่ี า่ งไปจากพระราชพธิ พี ระบรมศพของบรู พมหากษตั รยิ แ์ หง่ ราชอาณาจกั รกมั พชู ากต็ าม แตก่ เ็ ปน็ ไปตามความเหมาะสมกบั ยคุ สมยั และคำ� นงึ ถงึ ความเรยี บงา่ ยเปน็ หลกั และในขณะเดยี วกนั กย็ งั ตอ้ ง คงไวซ้ ง่ึ นยั ยะสำ� คญั ตามทโี่ บราณราชประเพณกี ำ� หนดไวเ้ พอื่ เปน็ การถวายพระเกยี รตสิ งู สดุ และอทุ ศิ พระราชกศุ ลแด่ดวงพระวิญญาณแหง่ พระมหากษตั ริยผ์ เู้ สดจ็ สู่สวรรคาลัยสุคตภิ พ บทสรปุ การจดั พระราชพธิ พี ระบรมศพของพระมหากษตั รยิ ก์ มั พชู านบั ตง้ั แตค่ รงั้ โบราณกาลเรอื่ ยมา จนกระทงั่ ถงึ ปจั จบุ นั ไดผ้ า่ นชว่ งระยะเวลาทยี่ าวนาน ปจั จยั ตา่ งๆ ทงั้ ทางสงั คมวฒั นธรรม การเมอื ง ความเชอ่ื ตลอดจนประเพณี ฯลฯ ได้มีสว่ นทำ� ใหร้ ายละเอียด ขนั้ ตอน องค์ประกอบตา่ งๆ รวมถงึ สิ่งของเคร่ืองใชใ้ นการจดั พระราชพธิ ีพระบรมศพของพระมหากษตั รยิ ก์ มั พูชามกี ารเปลยี่ นแปลงไป ตามกาลเวลา แตส่ ง่ิ ที่ยังคงเดมิ มิได้เปลี่ยนแปลงไปตามยคุ สมยั นน้ั ได้แก่ ความหมายและนัยยะ ส�ำคัญของการถวายพระเกียรติยศแด่พระมหากษัตริย์ผู้สวรรคตในฐานะท่ีพระองค์ทรงเป็นสมมติ เทพผซู้ ึ่งไดเ้ สดจ็ กลบั คืนสูส่ วรรคาลยั แลว้ นนั่ เอง 379เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

รายการอา้ งอิง តងឹរ្ ងា. ២០០៣. បវរ្ តិត្សាស្បរត ្រទសេ កម្ុជាព . ភំន្ពញេ : គះ្រឹ សថ្ានបោះពមុ ្ពនងិ ចែកផស្ ាយ។ (ตรงึ เงยี . ๒๐๐๓. ประวตั ศิ าสตร์ ประเทศกัมพูชา. พนมเปญ: หนว่ ยจัดพิมพแ์ ละเผยแพร่.) ពបរា្ ចាន់មរ៉ា ៉ា, ជី រដា្ឋ នងិ គង់ វិរៈ. ២០១៣. ព្រះរាជពធិ ថី វាយ្ ព្ះរ ភងើល្ . ភពំន្ េញ : ក្រសងួ វបប្ ធម៌និងវចិ តិ សរ្ លិ ្បៈ។ (เปรียบ จนั มารา, จี รัฏฐา และกวง วีระ. ๒๐๑๓. พระราชพธิ ถี วายพระเพลิง. พนมเปญ: กระทรวงวฒั นธรรมและ วิจติ รศิลป.์ ) ពបារ្ ចានម់ រា៉ .ា៉ មខុ . (เปรยี บ จนั มารา. หนา้ กาก.). Available at: http://yosothor.org/publications/khmere naissance/content-header/chapter-two/chapter-two-copy/muk.html [สบื คน้ เมือ่ ๒๖ ก.พ. ๒๕๖๐]. ពះរ្ រាជកណំ តប់ ណុ យ្ ពះ្រ បរមសពពះរ្ ករណុ ាកងុ្ន ពះ្រ សវុ ណោកណ្ ដឋ្ គឺ ពះ្រ បាទសមចេដ្ ព្រះនរោតមត្ បរមរាមទាវេ វតាណ៍ ពះរ្ ចៅកងុរ្ កមាជុ្ព ធបិ ត។ី (จดหมายเหตงุ านพระบรมศพพระกรณุ าในพระสวุ รรณโกฏฐ์ พระบาทสมเดจ็ พระนโรดมบรมราม เทวาวตาร พระเจา้ กรุงกมั พูชาธบิ ดี.) ព្រះរាជកំណត់បុណ្យព្រះមេរុថ្វាយព្រះភ្លើងព្រះសពសម្ដេចព្រះវររាជិនីនាថជាតិវរោត្តមព្រះបរមអច្ឆារាអក្សរបរមបពិត្រ (ព្រះនាងពៅ) ឆនរោំ្ា ង ៤៩ ឆំាន្ ជាពះ្រ វររាជមាតាថលៃន្ ពៃ ្រះបាទសម្ដចេ ព្ះរ សី៊សវុ តត្ចិ មចករ្ពង្ស ពរ្ះចៅក្ុរងកមព្ុាជ , ១៩០៦។ (จดหมายเหตพุ ระราชพธิ อี อกพระเมรแุ ละถวายพระเพลงิ พระศพสมเดจ็ พระวรราชนิ นี าถ ชาตวิ โรดมพระบรมอจั ฉราอกั ษรบรมบพติ ร(พระนางเพา)ปมี ะโรง๔๙พระชนั ษาพระวรราชมารดา ในพระบาทสมเด็จพระศรสี ุวตั ถิ์จอมจกั รพงศ์ พระเจ้ากรุงกมั พูชา, ๑๙๐๖.) លី ធាមតងេ . ១៩៧៣. កណំ តហ់ តេ រុ បស់ ជវី តាកា្វ ន់ អពំ បី ពរ្ ណៃ នី អៃ ក្ន សកុរ្ ចេនឡា. បោះពមុ ល្ព កើ ទី ៣. ភពំន្ ញេ : គនា្ម បញកាជ្ ក់ នងែល្ បោះពមុ ។ព្ (ลี เธยี มเตง. ๑๙๗๓. จดหมายเหตโุ จวตา้ กวาน ประเพณแี หง่ ชาวนครเจนละ, พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๓. พนมเปญ: มปท.) វង់ សុធារ.៉ា ២០១២. សលិ ាចារឹកនបៃ ទ្រ េសកមាជុព្ សម័យអង្រគ . ភពំន្ ញេ : ដេប៉ាតឺម៉ង់បរវ្ តតិវ្ ិទយ្ ា។ (วง สเุ ธยี รา. ๒๐๑๒. ศิลาจารกึ ในประเทศกมั พชู าสมัยพระนคร. พนมเปญ: ภาควิชาประวัตศิ าสตร์.) សៀវភៅកប្ នួ ដងពែ្ហ ះរ្ បរមសព សមចេដ្ ពះរ្ អយយ្ កិ ា សមចេ្ដ ពះរ្ មាតចុ នា្ឆ ពៃ ះរ្ ករណុ ាពះរ្ បាទនរោតម្ត បរមរាមទាេវ វតាណ៍ ពះ្រ ចៅកងុរ្ កមាជុព្ ធបិ ត។ី (หนงั สอื ขบวนอญั เชญิ พระศพสมเดจ็ พระอยั ยกิ าสมเดจ็ พระมาตจุ ฉาในพระกรณุ าพระบาทนโรดม บรมรามเทวาวตารพระเจา้ กรงุ กมั พชู าธบิ ด.ี ) អងេ សុត. ២០០៩. ឯកសារមហាបរុ សខែរ្ម . ភ្ំនពញេ : គឹរ្ះសនា្ថ បោះពុមព្និងចែកផ្សាយ។ (เอง สตุ . ๒๐๐๙. เอกสารมหา บุรษุ เขมร. พนมเปญ: หน่วยจัดพมิ พ์และเผยแพร.่ ) ฌัวร์ สปุ ญั ญา (ឈរួ សបុ ញ្ញា). อธบิ ดีกรมสวสั ดกิ ารสงั คม กระทรวงกจิ การสงั คม ทหารผา่ นศึก และการฟนื้ ฟู เยาวชน. สมั ภาษณ,์ ๑๗ ธนั วาคม ๒๕๕๙. นนทพร อยู่มัง่ ม.ี ๒๕๕๙. ธรรมเนยี มพระบรมศพและพระศพเจา้ นาย. พมิ พค์ ร้ังที่ ๒ (ฉบบั ปรบั ปรงุ ). กรุงเทพฯ: มตชิ น. 380 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ตีงโจห่ ์ดอ่ : ๑๙ งานพระบรมศพของกษตั รยิ ์เมียนม่ามีงตยาจี สิทธพิ ร เนตรนิยม นกั ปฏบิ ัตกิ ารวิจยั ประจำ�สถาบนั วิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชยี มหาวิทยาลัยมหิดล “ตงี โจห่ ด์ อ่ ” หรอื “ตะโจห่ ด์ อ่ ” คอื พธิ อี ญั เชญิ พระบรมศพ/พระศพของกษตั รยิ ์ พระราชวงศ์ หรือขุนนางไปถวายพระเพลิง และบรรจุยังสุสานที่ก�ำหนดไว้ (Myanma Abidan 2008) คำ� วา่ “ตงี โจห่ ”์ หรอื “ตะโจห่ ”์ แผลงมาจากภาษาบาล-ี สนั สกฤตวา่ “สคํ รฺ ห” โดยนยั ทแี่ ปลวา่ ความเออ้ื เฟอ้ื หรอื การสงเคราะห์ สว่ นคำ� วา่ “ดอ่ ” เปน็ ปจั จยั ตอ่ ทา้ ยแสดงความยกยอ่ ง ดงั นน้ั คำ� วา่ “ตงี โจห่ ด์ อ่ ” หรอื “ตะโจห่ ด์ ่อ” จึงเป็นเร่ืองของพระราชพิธีท่เี กย่ี วกบั ความตายในราชส�ำนกั ซึง่ กษัตริยท์ รงรบั ไว้ ในพระราชานเุ คราะห์ ดงั นน้ั การจัดงานศพในวฒั นธรรมพมา่ จึงมีนยั ของการช่วยเหลือเกอื้ กูล และ สงเคราะห์กันในระหว่างสังคมเครือญาติ มิตร กับผู้วายชนม์ ไม่ว่าไพร่เจ้าบ่าวนายท่ีต่างต้องการ ความช่วยเหลือและก�ำลังใจในการปลอบประโลม ส่วนค�ำวา่ “มีงตยาจ”ี มีความหมายว่า “มหาธรรมราชา” คำ� นเ้ี ปน็ สรอ้ ยต่อท้ายพระนาม ของกษัตริย์พม่าทุกพระองค์ซ่ึงทรงมีบทบาทน�ำท้ังในทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมมาตั้งแต่ ช่วงกลางพทุ ธศตวรรษที่ ๕ ซ่ึงระบบนไ้ี ดเ้ ลิกลม้ ไป เม่ือ พ.ศ.๒๔๒๘ เพราะอาณานิคมองั กฤษ และ ด้วยเหตุทส่ี ถาบนั กษตั ริยไ์ ด้ขาดหายไปจากสงั คมพมา่ เปน็ เวลากวา่ รอ้ ยปี ความรูเ้ ร่ืองงานพระราช พธิ แี ละการพระบรมศพจงึ มเี หลอื ไวแ้ ตใ่ นบนั ทกึ หรอื หลกั ฐานอนื่ ๆ เชน่ จติ กรรมฝาผนงั และพธิ ศี พ พระสงฆ์ท่ีพอเทียบเคยี งใหเ้ ห็นภาพไดบ้ า้ งเทา่ น้นั บทความนีผ้ เู้ ขียนได้ใช้คมั ภรี ์โลกะพยูหะ (อ่ิงโหยง่ ส่าดาน) (Thiri U Zana, Won Kyi, In Yon Ywasa 2001) สมัยตน้ ราชวงศ์คองบอง (อลองพญา) ทเี่ ขียนข้นึ โดยกลา่ วว่าธรรมเนยี ม การพระบรมศพมตี น้ แบบสบื ทอดกนั มาแตส่ มยั ราชวงศต์ องอยู คุ ปลาย นอกจากนยี้ งั ใชเ้ อกสารภาษา พม่าอื่นๆ ประเภทพระราชพงศาวดาร ต�ำราธรรมเนียมและประเพณีในราชส�ำนัก เช่น เมียนม่า มีงกลามีงข่านดอ (U Ya Kjo 1968) ชเวโบงนทิ าน (Zei ya Thin kha ja 2009) ชเวนานโตงวอ หาระอภธิ าน (U Moung Moung Tin 1975) โกงบา่ วงแ์ ซะกม์ หายาซาวงี ดอจี (U Moung Moung Tin 1989) หม่านนานมหายาซาวีงดอจี (Hman Nan Maha Yazawin Daw Kyi 1993) ฯลฯ 381เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสัมพันธภาพทางวัฒนธรรมผ่านพระราชพิธีพระบรมและพระเมรุระหว่าง ราชสำ� นกั พมา่ และไทยทมี่ ที ้งั ความคลา้ ยคลงึ และความแตกตา่ งกนั พทุ ธศาสนากบั วาระสดุ ท้ายของพระเจ้ามนิ ดงศาสนทายกา “ต่าตะน่า-ดายะก่า” (သာသနဒါယကာ) หรือ “ศาสนทายก” เป็นสร้อยพระนามของ กษัตริย์พม่าที่ต้องการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับศาสนา แต่โบราณมากษัตริย์พม่า ได้คัดสรรค�ำสอนในพุทธศาสนามาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการอ้างอิงตนเองเพ่ือให้เข้าถึงอุดมคติ ทั้งในทางโลกและทางธรรม ดังเห็นได้จากเหตุการณ์สวรรคตของพระเจ้ามินดงท่ีสะท้อนให้เห็น แนวคิดทางศาสนาท่ีส่งอิทธิพลต่อการก�ำหนดกรอบคิดและวิธีการเตรียมพระองค์ก่อนเข้าสู่วาระ สุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ ด้วยฐานะการเป็นศาสนทายกาผู้บ�ำเพ็ญบารมีมาดีแล้วเชื่อว่าจะน�ำพาให้ พระองค์กลับไปสู่สวรรค์บรมสุข ดังปรากฏอยู่ในโกงบ่องแซะก์มหายาซาวีงดอจี เล่ม ๓ (1989: 439-440) ความวา่ “...ในปีนัน้ [พ.ศ.๒๔๐๙] เดอื นกันยายน พระเจา้ ช้างเผอื กมหาธรรมราชา มพี ระโรคเวทนามไิ ดถ้ อยทเุ ลา พระมเหสแี มเ่ จา้ ชา้ งเผอื ก กบั วงั หนา้ พระมหาอปุ ราชา มหาเสนาบดี ขุนวัง กบั ทง้ั ผู้มตี �ำแหน่งในราชการท้งั หลายต่างจัดขา้ ว นำ้� ดอกไม้ พร้อมประทีปท้ังหลายไปถวายบูชาแด่พระมหาเจดีย์ ต้นพระศรีมหาโพธ์ิ และ พระพุทธรูปท้ังหลายท่ัวในพระนครมิได้ขาด ท้ังปล่อยปลดลดโทษคนผู้ละเมิด ราชวตั รเสยี จากคกุ และพนั ธนาการทงั้ หลายไมเ่ อาชวี ติ ... แตค่ รนั้ พระอาการไมท่ เุ ลา พระมหากษตั รยิ เ์ จา้ ก็ทรงวางพระทยั ใหเ้ หน็ เปน็ ธรรมดาไมท่ รงนกึ ถงึ ปี ๑๒๔๐ [พ.ศ.๒๔๒๑] เดอื นตุลาคม ขา้ งขน้ึ วนั องั คารท่ี ๖ เวลาเช้า ๒ แชะกต์ ี ราว ๖ โมง ทรงหน่ายมนุษยโลกเสดจ็ ประทบั สำ� ราญยังสวรรค์ ในเวลากอ่ น สวรรคต ทรงสะกดกลั้นพระเวทนาไว้ให้ถอยทุเลาด้วยไตรลักษณ์ อนุสติสิบ อสุภ กรรมฐาน ก�ำหนดไว้ในพระทัยเสมอ ครั้นพระราชทานโอวาทแก่บรรดาผู้ถวาย การดแู ล... แลว้ ก็เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการสงบ...” พระบรมรปู ของพระเจา้ มนิ ดงทห่ี นา้ วดั กโุ สดอ เมอื งมณั ฑะเลย์ (Yarzaryeni 2017) 382 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

จะเห็นไดว้ ่า แทจ้ ริงกษัตริย์เป็นผทู้ ีล่ งมาจุตเิ พ่ือปกครองโลกมนษุ ย์ชว่ั คราวเท่าน้นั ดงั นน้ั ๑๙ เมื่อหมดภารกิจ (หน่ายมนุษยโลก) พระองค์ก็จะเสด็จกลับไป “ประทับส�ำราญยังสวรรค์” ดังนั้น ความตายจงึ ไมใ่ ชส่ ง่ิ ทนี่ ่ากลวั ในทัศนะของกษัตรยิ ์แตอ่ ย่างใด นิมติ ลาง กับภาวะโกลาหลของสังคมหลงั การสวรรคตของกษตั ริย์ ในเอกสารของพมา่ มกั กลา่ วถงึ เหตกุ ารณค์ วามผดิ ปกติ แปรปรวนของธรรมชาติ ตลอดจน วิถชี ีวิต หรอื กฏระเบียบของสงั คม ทั้งช่วงกอ่ นหนา้ ระหว่าง หรือหลังจากการสวรรคตของกษัตริย์ โดยสามารถเรียกไดว้ ่าเปน็ “นิมิต” หรือ “ลางบอกเหต”ุ (ราชบัณฑิตสถาน ๒๕๖๐) ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อท้องถิ่นที่ผสานเข้ากับแนวคิดทาง ศาสนาพทุ ธ (พระสตุ นั ตปฎิ ก ๒๕๖๐) และพราหมณจ์ นเกดิ เปน็ กระบวนการตคี วามจากปรากฏการณ์ ท่ีเกิดขึ้น ซึ่งกรณีน้ีมีแกนเร่ืองอยู่ท่ีการสวรรคตของกษัตริย์ซึ่งมีฐานะเป็นผู้น�ำทางสังคมท้ังในทาง การเมืองและวัฒนธรรม การสวรรคตของกษตั รยิ น์ นั้ ยอ่ มนำ� มาซงึ่ ความโกลาหลในโลก คอื เหลา่ อาณาประชาราษฎร์ เน่ืองจากกษัตริย์มีฐานะเป็น “สมมติเทพ” หรืออวตารของ “พระโพธิสัตว์” ที่จุติลงมาเพ่ือรักษา ความสงบสขุ และความเป็นระเบยี บแห่งโลก การเสด็จจากไปของพระองคย์ อ่ มน�ำมาซึ่งความทุกข์ และความสั่นคลอนของบ้านเมืองที่ไม่ใช่เฉพาะแต่ระเบียบการปกครองของอาณาจักร แต่ยังน�ำมา ซ่ึงความวิปริตแปรปรวนของธรรมชาติ และวิถีชีวิตแห่งสรรพสัตว์ที่อยู่ใต้พระบารมีของพระองค์ อีกด้วย ดังนั้น การตีความเชิงสัญลักษณ์จากปรากฏการณ์ที่ผิดปกติ ย่อมเป็นเคร่ืองยืนยันได้ถึง การใหค้ วามส�ำคญั ของพระมหากษตั ริย์ในฐานะของผู้รักษาระเบียบแห่งโลกและสวรรค์ ในหนังสือ เมียนม่ามหามงี กลามงี ขา่ นดอ (๑๙๖๘: ๒๑๑) ได้กลา่ วถงึ “นิมิต” หรอื “ลาง บอกเหต”ุ การสวรรคตของพระเจา้ อลองพญา ปฐมกัตรยิ แ์ ห่งราชวงศค์ องบองไว้วา่ “...เมอ่ื พระเจา้ อลองพญาสวรรคตนั้น ในพระนครมสี ายฟ้าฟาด ๑๓ ครัง้ ในคราวเดยี ว โพธ์ิออกดอก บนท้องฟ้า แสดงสญั ลกั ษณเ์ สาตะคนู ดาวเคราะหอ์ งั คารเปน็ หมอก ดาวกฤตกิ าอยใู่ กลด้ วงจนั ทร์ มตี ะบองคำ� รอ้ ง เล่นจากเด็กๆ ว่า ทรงยกทัพไปยังอยุธยาใกล้เวลาเช็ดน้ำ� ตา ถอยกลบั หลงั ไปจึงควร...” ในโกงบอ่ งแซะกม์ หายาซาวงี ดอจี เล่ม ๓ (๑๙๖๘: ๔๔๑) กไ็ ดก้ ลา่ วถงึ นมิ ติ ทเ่ี กิดข้ึนใน ช่วงทพี่ ระเจ้ามนิ ดง กษัตริยร์ ชั กาลที่ ๑๐ แหง่ ราชวงศ์คองบองสวรรคต ความว่า “...คร้ันเมื่อสวรรคต นกแร้งลงจับยังพระที่น่ังด้านซ้ายในพระบรมมหาราช วงั อาคารกองมหาดเลก็ มนี กแรง้ ลงจบั ผ้งึ ท�ำรงั ด้านขวาพระมหาปราสาท แนวเขอื่ น ประตพู ระนคร กบั ก�ำแพงทรุด พระมหาหยนั่ มหาโลกมารชินวดั กุโสดอมีเหง่ือออก นอกพระนครดา้ นทศิ ตะวนั ออกมเี สอื เขา้ มาในวดั ธมั มกิ าราม ตลอดเวลาหนงึ่ เดอื นเกดิ เหตุเพลงิ ไหมท้ ้งั ภายนอกและภายในพระนครหลายยา่ นหลายต�ำบล ไมเ่ ว้นแตล่ ะวัน พระเจดีย์ท่ีเมืองสะไกง์และอมรปุระเปล่งแสง ดาวพฤหัสเป็นสีแดง มีไอ หมอกปกคลมุ ทวั่ ไป ดาวพฤหสั และดาวศกุ รเ์ ขา้ ประชดิ ดวงจนั ทร์ แสงอาทติ ยพ์ งุ่ เปน็ ลำ� ดง่ั เหลก็ แหลม เมฆตง้ั สงู ดงั่ เสาธง มอี กุ กาบาตใหญป่ ระมาณบาตรตกจากทศิ ตะวนั ออกเฉียงใต้ไปสู่ทิศตะวนั ตกเฉียงเหนือของพระนคร ฟ้าครมึ้ คำ� ราม 383เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

คนวกิ ลจรติ เขา้ ไปในตำ� หนกั ไมจ้ นั ทอ์ นั เปน็ ทปี่ ระทบั ใตถ้ นุ พระตำ� หนกั ทอง มีแม่สนุ ขั มาคลอดลกู เวลาคำ�่ ยาม ๒ ไดย้ นิ เสยี งเทวดรุ ิยางคจ์ ากฟ้าบนพระต�ำหนกั ทองท่ปี ระทบั ไดย้ ินเสียงเทวดารอ้ งไห้บนคอสองของพระวิมานหอแก้ว บนพระราช บัลลังกใ์ นพระวมิ านหอแกว้ มีเทวธดิ าคว�่ำหนา้ รอ้ งไห.้ ..” จากตัวอย่างท้ังหมดท่ีกล่าวมา เราอาจตีความสัญลักษณ์ที่แฝงอยู่ในนิมิตที่เกี่ยวเน่ือง กับการสวรรคตของกษตั รยิ ์ได้ ๓ ประเดน็ ได้แก่ ๑) ความผดิ ปกติแปรปรวนทเ่ี กดิ ขนึ้ บนพ้ืนโลก อย่างน้อยก็หมายถึงราชธานี หรือพระบรมมหาราชวัง มีสัญลักษณ์คือ การทรุดพังของประตูและ กำ� แพง เกดิ เพลงิ ไหม้ในเมือง พระพทุ ธรูปสำ� คญั มเี หงื่อออก นกแรง้ ซ่ึงเป็นนกอปั มงคลอย่างเดยี ว กับนกแสกลงจับในเขตพระราชมณเฑียร เสือบุกเข้าวัดซ่ึงสะท้อนความเป็นป่าบุกเข้ามาในเมือง (อรนชุ วริ ชั นยิ มธรรม ๒๕๕๑: ๑๓๖) ๒) ความผดิ ปกตแิ ปรปรวนทเี่ กดิ ขนึ้ บนทอ้ งฟา้ ซง่ึ เปน็ สญั ลกั ษณ์ ของสวรรค์ มสี ญั ลกั ษณค์ อื เมฆทรงแปลก หมอกปกคลุ ม อกุ กาบาตตก สายฟา้ ฟาดผดิ ปกติ ดวงดาว มีแสงและสีผิดปกติ มีเสียงดนตรีอันเป็นทิพย์ในวังดังขึ้นมา และ ๓) การเตือนภัยที่จะเกิดข้ึนกับ กษตั รยิ ์ มสี ญั ลกั ษณเ์ ปน็ ”ตะบอง” คอื คำ� รอ้ งเลน่ ของเดก็ ๆ ซงึ่ ทง้ั หมดนสี้ ะทอ้ นใหเ้ หน็ ความสำ� คญั ของกษัตริย์ และความเช่ือท่ีว่าพระองค์คือผู้ควบคุมระเบียบแห่งโลกและสวรรค์ การด�ำรงอยู่หรือ การสวรรคตของพระองคม์ ผี ลโดยตรงตอ่ ผนื ฟา้ และแผน่ ดนิ หรอื อยา่ งนอ้ ยกใ็ นราชธานขี องพระองค์ เมอ่ื ยอ้ นกลบั มาดใู นกรณขี องสงั คมไทยเรอื่ งของ “นมิ ติ ” และ “ลางบอกเหต”ุ การสวรรคต ของพระเจ้าแผ่นดินก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ดังข้อความที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลทรงกล่าวไว้ ในคราวท่ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตว่า “...อากาศมืดคุ้มมีหมอกขาวลงจัด เกือบถึงหัวคนเดินท่ัวไป ผู้ใหญ่เขาบอกว่านี่แหละหมอกธุมเกตุ ที่ในต�ำราเขากล่าวถึง ว่ามักจะมี ในเวลาท่ีมเี หตใุ หญ่ๆ เกิดข้ึน...” (พนู พศิ มยั ดศิ กลุ ๒๕๕๐: ๒๓) หอแกว้ อันเป็นพระวมิ านที่บรรทมของพระเจา้ แผน่ ดนิ มกี ระท่อมยงิ นกบนหลังคาเพื่อปอ้ งกัน นกอัปมงคล จะบินข้ามหรือเกาะพระราชหลงั คามณเฑยี ร (ท่มี า: https://goo.gl/cEX25a) 384 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ปัจจุบันความเช่ือน้ีก็ยังคงถูกกล่าวถึง และปรากฏให้เห็นอยู่ในสังคมไทยเม่ือคราวที่ ๑๙ พระบาทสมเดจ็ เจา้ อยหู่ วั ภมู พิ ลอดลุ ยเดชฯ สวรรคตในวนั ท่ี ๑๓ ตลุ าคม ๒๕๕๙ ปรากฏการณห์ มอก ธุมเกตุก็ม อี ยดู่ ้วยเช่นกัน พระเจา้ จักรพรรดิราชแนวคิดหลกั ในการจัดการพระบรมศพ กษัตริยใ์ นอุษาคเนยแ์ ต่โบราณตา่ งถอื คติว่าพระองคท์ รงเปน็ อวตารของเทพเจา้ ในศาสนา พราหมณบ์ ้าง เป็นพระโพธิสัตวห์ รอื พระเจ้าจกั รพรรดิราชตามคตใิ นศาสนาพุทธบา้ งตามแตโ่ อกาส ทจ่ี ะทรงใช้ เมื่อการณเ์ ป็นเชน่ น้กี ็จ�ำเปน็ ต้องมีการจดั การพระบรมศพอย่างยง่ิ ใหญใ่ ห้สมพระเกียรติ แนวคิดเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิราชเป็นแนวคิดที่กษัตริย์ไทยและพม่าต่างทรงยึดถือเช่น เดียวกัน โดยแพรห่ ลายมาพร้อมกับอารยธรรมอนิ เดีย โดยเฉพาะคมั ภรี พ์ ุทธศาสนานิกายเถรวาท ในมหาปรนิ พิ านสตู รไดก้ ลา่ วถงึ พระอานนทว์ า่ “…ดกู รวาสฏิ ฐะทง้ั หลาย พวกทา่ นพงึ ปฏบิ ตั ใิ นพระ สรีระพระตถาคตเหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิฉะน้ัน...” (พระสุตตันตปิฎก ๒๕๖๐) เมือ่ เปน็ เชน่ นั้น ในการจัดการพระบรมศพของกษัตริยพ์ ม่าจึงถือว่าเปน็ การจัดงานพระบรม ศพของพระเจา้ จักรพรรดิราช ซึง่ ในภาษาพมา่ เรียกวา่ “แซะกจ์ ๊ะวะเตมีง” หรือ “มัณด๊ตั ” (Minstry of Education 1998: 356) ดงั ปรากฏในหนงั สอื หมา่ นนานมหายาซะวีงดอจี เล่ม ๓ (๑๙๙๓: ๖๑) กล่าวว่า “...เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบการสวรรคตของพระมหาอุปราชาพระราชโอรส และน�ำ พระบรมศพกลบั พระเจ้าอยูห่ วั และพระมเหสีพร้อมไพร่พลทัง้ นั้นกเ็ สด็จออกไปรบั จัดการพระบรม ศพอย่างพระเจา้ แซะก์จะ๊ วะเตมีง...” ดว้ ยความเชอ่ื น้ีเองท่ีทำ� ใหก้ ารจดั งานพระบรมศพเตม็ ไปด้วย ความยิ่งใหญ่อลังการเพื่อส่งเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชผู้ทรงคุณอันประเสริฐกลับคืนสู่สรวงสวรรค์ ส�ำหรับมิติในทางการเมืองเราอาจมองได้ด้วยว่างานพระบรมก็คือการประกาศบารมีท้ังของกษัตริย์ ทเ่ี สดจ็ จากไป และกษตั รยิ พ์ ระองคใ์ หมท่ ยี่ งั ทรงพระชนมอ์ ยใู่ หเ้ ปน็ ทป่ี ระจกั ษเ์ หน็ แกเ่ หลา่ พสกนกิ ร ท้งั มวลไปดว้ ยพร้อมกัน โดยปกตเิ มอื่ พระมหากษตั รยิ ส์ วรรคตลง พระราชโอรสกด็ ี พระอนชุ ากด็ ที ท่ี รงดำ� รงตำ� แหนง่ มหาอุปราช จะเสด็จขึ้นครองราชย์ทันทีหลังทรงทราบข่าวการสวรรคตอย่างเป็นทางการ จะมีบ้าง ในบางกรณีที่อาจใช้เวลามากกว่าน้ัน เช่นกรณีการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญาที่ต้องใช้เวลาถึง ๒๘ วนั ดว้ ยการอญั เชญิ พระบรมศพมาพรอ้ มกบั กระบวนทพั จากแขวงเมอื งเมาะตะมะ ในวนั อาทติ ย์ ที่ ๑๒ วนั เพญ็ เดอื นกะโสง่ พ.ศ.๒๓๐๓ ลอ่ งตามลำ� นำ�้ ขนึ้ ไปจนถงึ ราชธานรี ตั นสงิ ฆะ พระมหาอปุ ราช จึงไดเ้ สวยราชย์ (โกงบ่าวง์ ๑๙๘๙: ๓๑๒) กรณีนอ้ี าจมองไดว้ า่ เหตุทพ่ี ระมหาอุปราชต้องทรงรอให้ พระบรมศพถูกอัญเชิญมายังราชธานีเสียก่อนก็เพ่ือความชัดเจน และชอบธรรมในให้การสืบราช สมบัติ ซ่ึงสัมพันธ์กับคติท่ีว่าด้วยเรื่องกษัตริย์และพระมหาปราสาทคือพื้นที่แกนกลางของจักรวาล (สทิ ธพิ ร เนตรนิยม ๒๕๔๖: ๑๔๐-๑๖๖) การจัดการพระบรมศพกษัตริย์เมียนมา่ มงี ตยาจีทมี่ ีในคมั ภรี โ์ ลกหยหุ ะ เมอ่ื กษตั รยิ ส์ วรรคต พระเจา้ แผน่ ดนิ พระองคใ์ หมก่ จ็ ะทรงรบั เปน็ พระราชธรุ ะในการจดั การ พระบรมศพ และถวายพระเพลิงจนเสร็จสิ้น ส�ำหรับหลักฐานเรื่องการจัดงานพระบรมศพของพม่า ไดถ้ ูกบนั ทึกไว้ใน คัมภีร์โลกหยหุ ะ อยา่ งเปน็ ลำ� ดับขัน้ ตอนรวม ๑๗ ข้ันตอน ดังนี้ 385เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑.การจัดการพระบรมศพ มีการถวายน�้ำสรงพระบรมศพ ถวายเคร่ืองทรง และพระสุก�ำ ๒.พระแทน่ ประดษิ ฐานพระบรมศพในพระวมิ าน พรอ้ มเครอ่ื งประกอบ ๓.เครอื่ งราชปู โภคทเ่ี ชญิ ออก ต้ังข้างพระแท่นพระบรมศพและเชิญออกในกระบวนพระบรมศพ ๔.การจัดเตรียมหีบพระบรมศพ ๕.การจัดเตรียมพระราชยานคานหามและผ้าคลุมท่ีใช้อัญเชิญพระบรมศพไปถวายพระเพลิง ๖.พระจิตกาธาน ๗.พระเมรุ ๘.ราชวัตรกั้นรอบพระเมรุ ๙.ทหารประจ�ำการรอบราชวตั ร (ซึ่งท้ังสอง ข้อจะขอเขียนรวมกัน) ๑๐.โกศพระบรมอัฐิ ๑๑.ผู้อัญเชิญพระบรมอัฐิ (ซ่ึงทั้งสองข้อจะขอเขียน รวมกัน) ๑๒.เคร่อื งไทยทานถวายพระราชกศุ ล ๑๓.การจัดร้วิ ขบวนพระบรมศพ ๑๔.การจดั สถานที่ ถวายพระเพลิง ๑๕.ล�ำดับการพระเจ้าอยู่หัวเสด็จส่งพระบรมศพ ๑๖.พระบรมราชโองการถวาย พระเพลงิ พระบรมศพ ๑๗.การเกบ็ และสงเคราะหพ์ ระบรมอัฐิ ซ่ึงจะขยายความตามลำ� ดบั ตอ่ ไปน้ี ๑. การจัดการพระบรมศพ เมอ่ื พระมหากษตั รยิ ส์ วรรคต “อะลาวง-์ ดอ่ ” คอื พระบรมศพ จะถกู อญั เชญิ ไปถวายนำ�้ สรง แลว้ ถวายผงไมจ้ นั ทเ์ จอื ไขชะมด ถวายพระสนบั เพลากบั ผา้ ฝา้ ยยอ้ มขผ้ี งึ้ ปดิ ทองคำ� เปลวทง้ั สองดา้ นสำ� หรบั ทรงพระบรมศพ ในหนงั สอื เมยี นมา่ มหามงิ กะลามงี คานดอ่ (๑๙๖๘: ๑๘๔) กลา่ วถงึ การพระบรมศพ ของพระเจ้าตะลูนมิง (พ.ศ.๒๑๗๒-๒๑๙๑) ว่าใช้ “ข้ีผ้ึงทองหุ้มพระบรมศพ” ซ่ึงหมายความว่า พระบรมศพจะถูกทาด้วยขี้ผึ้งแล้วปิดทับด้วยทองค�ำเปลวถวาย การปฏิบัติต่อศพในลักษณะ เดียวกันนี้ยังคงเห็นได้ในการจัดการศพของพระสงฆ์พม่าในปัจจุบัน ท้ังน้ีการปิดทองนอกจากจะ เป็นการปิดบังความไม่งามที่ปรากฏบนเน้ือหนังของศพแล้ว ในมิติหนึ่งยังหมายถึงการยกสถานะ รา่ งของผตู้ ายให้กลายไปเป็นสงิ่ ศกั ด์ิสทิ ธิ์เหนอื ปถุ ชุ นท่วั ไป คอื มีกายผดุ ผอ่ งอย่างเทพเจา้ นอกจากน้ี ในโกงบ่องแซะกม์ หายาซาวงี ดอจี เลม่ ๓ (๑๙๖๘: ๔๒๖)ไดก้ ลา่ วถงึ การจดั การ พระบรมศพของพระอัครมเหสีของพระเจ้ามินดงว่าทรง “เครอ่ื งปิดพระพักตร์” ท่ีเรียกว่า “มแยะก์ หน่า-ด่อ-โพง” ดว้ ย ซง่ึ มตี รงกับการพระบรมศพของไทย วธิ กี ารจดั การศพเมีย๊ ะตา่ วง์สยาดอ วดั ชเวจาวง์ดว้ ยการปิดทองค�ำเปลว (ตะมายวีงโปงเย่ยมยา ๑๙๙๖) 386 เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

จากนนั้ จงึ ทำ� การถวายพระสกุ ำ� (มดั ตราสงั ) ทพี่ ระองั คลุ บี าท (นว้ิ หวั แมเ่ ทา้ ) กบั พระองั คฐุ ๑๙ (นว้ิ หวั แมม่ อื ) ดว้ ยสายสรอ้ ยมขุ แหง่ ละสามรอบ แลว้ อญั เชญิ พระบรมศพขน้ึ ประดษิ ฐานบนพระแทน่ ทำ� การกนั้ พระเศวตฉตั ร ตง้ั พระบนั ได ตงั้ พระกระยาหาร ตกี ลองหลวงประโคม วงกลองประโคมนนั้ ใหป้ ระจำ� ทพ่ี ระมหาปราสาทฝง่ั ซา้ ยตรงประตมู ารภงิ ดา้ นนอก ทง้ั ๕ ประการทก่ี ลา่ วมานใ้ี หจ้ ดั เตรยี มขน้ึ พรอ้ มกนั ๒. พระแทน่ ประดิษฐานพระบรมศพ ธรรมเนียมในราชส�ำนักพม่าเมื่อสรงน�้ำ ทรงเคร่ือง และถวายพระสุก�ำท่ีนิ้วพระหัตถ์และ นิ้วพระบาทแล้ว พระบรมศพจะถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือแท่นพระบรมศพที่เรียกว่า “อะลาวงด์ อ่ สงิ่ ” ซง่ึ จดั ทำ� ขนึ้ จาก “บณั ไฏ” (พจนานกุ รมเมยี นมา ๒๐๐๘: ๑๓๗) คอื พระแทน่ บรรทม มพี นกั กนั้ เบอื้ งพระเศยี ร ยกเสาหมุ้ ผา้ กำ� มะหยป่ี ระดบั ทองขอ้ ออ้ ย ๖ ตน้ รบั พดิ านผ้าฝา้ ย รมิ ฉลรุ ะบาย ทรงกลบี บวั สองชั้นแขวนใบมะม่วงทอง และใบโพธิ์ทอง ในหนงั สอื เมยี นมา่ มงี กลามงี ขา่ นดอ (๑๙๖๘: ๑๘๔) ไดใ้ หล้ ายละเอยี ดงานพระบรมศพของ พระเจา้ ตาลนู มงิ ในกรณเี ดยี วกนั นวี้ า่ “...บนพระแทน่ ใหป้ เู สอื่ กระจดู กอ่ น แลว้ ปพู ระยภ่ี ทู่ บั พระบรมศพ นน้ั ถวายผา้ ทรง ๖ ชนั้ บนผา้ ทรงนนั้ คลมุ ถวายดว้ ยผา้ เงนิ และผา้ ทองไว.้ ..พระบรมศพประดษิ ฐานไวใ้ ต้ พดิ านฉลกั ลายกลบี บวั แขวนใบโพธท์ิ อง ๔๔ ใบ ใบมะมว่ งทอง ๘ ใบ...กางพระเศวตฉตั รสององค.์ ..” จิตรกรรมพม่าอายุราวคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๙ แสดง ลักษณะของพระแท่นประดิษฐานพระบรมศพ พระพุทธเจ้า ซึ่งคงคล้ายคลึงกันกับพระแท่น ประดิษฐานพระบรมศพของกษตั รยิ ์พมา่ (Source: British Library 2017) จากน้ันใหจ้ ดั เตรียม “บิโตง” (พจนานกุ รมเมยี นมา ๒๐๐๘: ๒๕๖) คือ ทอ่ นไม้ส�ำหรบั ทับ ถวายเหนือพระบรมศพในขณะถวายพระเพลิง ๕ ท่อน ท่อนไม้น้ันเมื่อเหลาเกล้ียงดีแล้วให้ปิด ทองเปลวท่ีหัวและท้าย แล้วหุ้มกลางด้วยผ้าก�ำมะหย่ีแดง แท่นวางพระกระยาหารและของบริวาร ทั้งหลายให้หมุ้ ด้วยผา้ ก�ำมะหยแ่ี ดง ในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าธรรมเนียมพระบรมศพของไทยและพม่ามีความแตกต่างกันอย่าง ชัดเจน ในขณะท่ีไทยจะอัญเชิญพระบรมศพลงพระบรมโกศหรือพระหีบทันทีหลังจากถวายน้�ำสรง 387เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

และพระสกุ ำ� แลว้ แต่พมา่ จะอัญเชญิ พระบรมศพขนึ้ ประดษิ ฐานบนแทน่ โดยไม่ถวายภาชนะมุงบงั ใดๆ นอกจากผา้ คลมุ พระบรมศพ สว่ นพระบรมศพจะประดษิ ฐานไวก้ วี่ นั นนั้ กส็ ดุ แตพ่ ระราชอธั ยาศยั ของพระเจา้ แผน่ ดนิ บางกรณกี ป็ ระดษิ ฐานไวห้ นงึ่ วนั บา้ ง หรอื สามวนั บา้ งเปน็ อยา่ งนอ้ ยกอ่ นอญั เชญิ ไปถวายพระเพลงิ อย่างไรก็ดีมีบางกรณีท่ีพระบรมศพต้องถูกประดิษฐานไว้นานกว่า ๓ วันขึ้นไป เพื่อจัด เตรียมสถานทบ่ี รรจุพระบรมศพใหเ้ รียบร้อย เช่น กรณีงานพระบรมศพของพระเจ้ามินดง ทตี่ อ้ งรอ การกอ่ สรา้ งคูหาบรรจุพระบรมศพนานกว่า ๑๐ วนั ดังน้ันพระบรมศพจึงถกู อญั เชิญลงประดิษฐาน ในหีบไวเ้ พอื่ รอเวลา ๓. เครือ่ งราชปู โภค เคร่ืองราชูปโภคที่อัญเชิญข้ึนตั้งรายรอบพระแท่นประดิษฐานพระบรมศพนั้นมี ๑.สั่นดา (เชือก)๑ ๒.พัดด้ามยาว ๓.พระเต้าทองค�ำ ๔.พระเต้าเงิน ๕.พระคณโฑทองค�ำ ๖.พระคณโฑเงิน ๗.กล่องทองสาน ๘.กลอ่ งเงนิ สาน สำ� หรับพดั ด้ามยาวนั้นใบพดั หุ้มด้วยผ้าก�ำมะหยีแ่ ดง ดา้ มหุม้ ผ้า ก�ำมะหยแี่ ดงประดับทองขอ้ อ้อย ส่วนสัน่ ดา (เชอื ก) นัน้ ผูกฟ่อนหญ้าคาไว้ท่ปี ลาย ในหนงั สือเมยี นมา่ มงี กลามงี ขา่ นดอ (๑๙๖๘: ๑๘๔) ได้ให้รายละเอียดงานพระบรมศพของ พระเจา้ ตาลนู มงิ ในกรณเี ดยี วกนั นว้ี า่ “...จดั วางพระเขนย ถาดลา้ งพระบาท พระสพุ รรณศรี นำ�้ เสวย หมอ้ นำ้� พระสธุ ารสชา พระมาลาเสา้ สงู พานพระศรี พระแสงหอก กลอ้ งพระโอสถ พระวชิ นี เครอ่ื งตน้ ให้จัดโดยรอบ...” เครื่องราชูปโภคเหล่านี้มีข้ึนก็เพื่อประกอบพระราชอิสริยายศ และบ้างก็เป็น เครื่องราชปู โภคทีท่ รงใชป้ ระจ�ำในระหวา่ งทรงพระชนม์อยู่ หากมองในมิติด้านความเชื่อส่ิงของเหล่านี้ก็คือเครื่องอุทิศให้กับผู้ตายอันเป็นคติท่ีสืบมา ตั้งแต่สมัยบรรพกาล มีการฝังเครอ่ื งใช้ลงไปในหลุมศพเพอ่ื ผู้ตายจะนำ� ไปใช้ในปรโลก แม้ยคุ ตอ่ มา เครื่องราชูปโภคอันมีค่าส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกฝังอย่างสมัยบรรพกาล แต่เคร่ืองราชูปโภคบางอย่าง กย็ งั ถกู อทุ ศิ ไปกบั พระบรมศพ หรอื อทุ ศิ ไวใ้ นพระศาสนาดว้ ยรปู แบบตา่ งๆ เชน่ การเผาฉลองพระองค์ แล้วนำ� ขเี้ ถา้ ไปท�ำเป็นพระพุทธรูป หรอื ถวายพระทน่ี ่ังเปน็ บัลลงั คป์ ระดิษฐานพระพุทธรูป เป็นตน้ ๔. หีบพระบรมศพ พมา่ มีคำ� ศัพทส์ �ำหรบั เรยี กหีบศพอยู่อยา่ งนอ้ ย ๓ ค�ำทใ่ี ช้กันโดยมากไดแ้ ก่คำ� ว่า “ปญ่ิง” ทแ่ี ปลวา่ “ไมก้ ระดาน” หรอื “ตะลา-ปญง่ิ ” ซงึ่ แปลวา่ “กลอ่ งไมก้ ระดาน” และคำ� วา่ “กาวง-์ ตะลา” แปลวา่ “กลอ่ งศพ” สำ� หรบั ราชสำ� นกั พมา่ กำ� หนดใหท้ ำ� ฝาหบี พระบรมศพเปน็ ทรงมณฑปประดบั ลาย ซ่งึ พมา่ เรยี กว่า “อะโพง-เหย่กั่น” สว่ นตัวหบี ทำ� ด้วยไม้กระดานปดิ ทองคำ� เปลวทง้ั ด้านนอกดา้ นใน แล้วตกแต่งด้วยผ้าก�ำมะหย่ีสีแดง ท่ีขอบหีบพระบรมศพจะประดับด้วยทองเปลือกกุ้งเป็นเส้นลวด และลายหนา้ กระดานรปู ดอกจอก มมุ เสน้ ลวดประดบั ลายใบโพธท์ิ ำ� ดว้ ยทองภายในประดบั ดว้ ยทบั ทมิ ตัวหีบประดับลายคา้ งคาวทำ� ด้วยทองเปลือกกุง้ ประดับทับทิม ๑ ในเอกสาร เชน่ คมั ภรี โ์ ลกพยหุ ะและเมยี นมา่ มหามงิ กลามงี ขา่ นดอ เรยี กวา่ “สน่ั ดา” ซงึ่ อวู งี หมา่ วง์ (ตมั ปาวด)ี นกั วชิ าการดา้ นโบราณคดแี ละประวตั ศิ าสตรศ์ ลิ ปไ์ ดก้ ลา่ ววา่ หมายถงึ เชอื กสำ� หรบั คลอ้ งลากรถบรรทกุ ศพ ปลายเชอื ก ผูกฟ่อนหญ้าคา (สัมภาษณ์ U Win Maung วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๕ น.) 388 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

อยา่ งไรกต็ าม อาจกลา่ วไดว้ า่ ธรรมเนยี มการใชห้ บี พระศพนค้ี อื ขอ้ แตกตา่ งอยา่ งสำ� คญั ของ ๑๙ พธิ พี ระบรมศพระหวา่ งพมา่ กบั ไทย ซง่ึ ของไทยใชพ้ ระโกศเปน็ สำ� คญั อนั สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ความตา่ ง ทางวัฒนธรรมของทั้งสองอาณาจักร ผู้เขียนคิดว่าธรรมเนียมการจัดการพระบรมศพของพม่าโดย เฉพาะเร่อื งการใชโ้ ลงมีความสอดรับกับคติทม่ี าจากคมั ภรี ม์ หาปรนิ ิพพานสตู รท่ีว่า “...ห่อพระสรีระ พระผ้มู ีพระภาคดว้ ยผ้า ๕๐๐ คู่ แลว้ เชญิ ลงในรางเหล็กอันเตม็ ด้วยน้�ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอน่ื แลว้ กระทำ� จติ กาธารดว้ ยไมห้ อมลว้ น แลว้ จงึ เชญิ พระสรรี ะพระผมู้ พี ระภาคขน้ึ สจู่ ติ กาธาร...” ในขณะ ท่ีไทยใช้โกศใส่ศพซึ่งเป็นธรรมเนียมของอุษาคเนย์ที่ดูจะสอดรับกับคติทางศาสนาพราหมณ์ผ่าน กัมพูชาเข้ามา ๕. พระราชยานคานหามและผา้ คลุมพระบรมศพ “ตะหญง่ิ ” คอื พระราชยานคานหามประเภทเปล ทใ่ี ชส้ ำ� หรบั อญั เชญิ พระบรมศพไปในริ้ว ขบวนเพือ่ ถวายพระเพลงิ (พจนานุกรมเมียนมา ๒๐๐๘: ๓๘๗) ในคมั ภรี ์โลกพยหุ ะ (๒๐๐๑) หนา้ ๓๖๘ ไดใ้ หร้ ายละเอยี ดไวว้ า่ “...ผา้ รองพระบรมศพนนั้ เมอื่ เยบ็ ตดิ กบั เชอื กบงั เหยี นมา้ แลว้ ใหต้ กแตง่ ดว้ ยผา้ แดงทง้ั ดา้ นนอกดา้ นในจากนนั้ ใหป้ ระกบดว้ ยผา้ กำ� มะหยสี่ แี ดง ตดิ ประดบั ขอบดว้ ยทองเปลอื ก กุ้งกว้างประมาณหนึ่งน้ิว กับลายดอกจอก ผ้าคลุมคานหามเหนือพระบรมศพท�ำด้วยผ้าสีแดง เยบ็ ประกบดว้ ยผา้ กำ� มะหยแ่ี ดงขลบิ ทองเปลอื กกงุ้ ขนาดกวา้ งหนง่ึ นว้ิ กบั ลายดอกจอก รมิ ผา้ ทงั้ สอง ดา้ นผกู ชมุ สายเสน้ ไหมประดบั ทองเปลอื กกงุ้ รปู ดอกไม้ คานหามปดิ ทองประดบั กำ� มะหยแี่ ดงรดั ทอง ขอ้ อ้อย…” จากทอี่ ธิบายมาขา้ งต้นอาจเป็นคานหามทมี่ ีลกั ษณะเหมือนเปลญวน แตอ่ ยา่ งไรกต็ ามธรรมเนยี มการอญั เชญิ พระบรมศพลงในคานหามแบบเปลญวนนอ้ี าจเปน็ ธรรมเนียมใช้กับพระบรมศพที่เก็บไว้ไม่กี่วัน แต่หากเป็นพระบรมศพที่เก็บไว้เกินเจ็ดวันข้ึนไป การอญั เชญิ พระบรมศพลงเปลญวนอาจจะไมส่ ะดวกอยา่ งยง่ิ ดงั นนั้ จงึ พบวา่ มธี รรมเนยี มการอญั เชญิ หีบพระบรมศพในวฒั นธรรมพมา่ คานหามเปลอญั เชญิ พระบรมศพไปถวายพระเพลงิ (Source: The Life of The Buddha 2012) (Source: The Life of The Buddha 2012) 389เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ภาพขบวนแหศ่ พชาวบา้ นในพมา่ ชว่ ง ค.ศ.๑๘๙๗ โดยใชค้ านหามเปล (Source: Oxford Digital Library 2017) พระบรมศพใส่โลงก่อนแล้วจงึ อัญเชิญขึ้นคานหามดว้ ย ดังมีกลา่ วไวใ้ น โกงบ่องแซะก์มหายาซาวงี ดอจี เล่ม ๓ (๑๙๖๘: ๔๒๘) ความว่า “...บรรดาเจา้ ชายแบกเอาพระหบี ใส่ลงในคานหาม แลว้ ให้ บรรดาเจ้าชาย...แบกคานหามนั้น...” จากตัวอย่างที่กล่าวมาอาจเป็นไปได้ว่าลักษณะคานหามใน กรณนี ี้อาจเปน็ เปลทอ้ งไม้กระดานรองรับ ซึง่ ไมใ่ ชแ่ บบเปลญวน ๖. พระจิตกาธาน “ลาวง-์ ไดง”์ ในภาษาพมา่ ปจั จบุ นั หมายถงึ เมรลุ อยขนาดใหญส่ รา้ งไวส้ ำ� หรบั การฌาปนกจิ ศพพระภิกษุ แตใ่ นอดตี หมายเพยี งแค่ “เชงิ ตะกอน” หรอื “กองฟอน” ที่ใช้ส�ำหรับตงั้ ศพเพ่ือการ เผาซงึ่ ราชสำ� นักไทยเรียกว่า”พระจิตกาธาน” เท่าน้นั ในคมั ภรี ์โลกะพยหุ ะ (๒๐๐๑: ๓๖๙) อธบิ ายถงึ ลักษณะของพระจิตกาธานไวว้ า่ “...ก�ำหนด บรเิ วณดา้ นทศิ ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของศาลาลกู ขนุ เปน็ ทถี่ วายพระเพลงิ กอ่ กำ� แพงอฐิ สองฝง่ั ดา้ นบน วางตะแกรงเหลก็ ปดิ ทอง เสาไมก้ ลงึ ๖ ตน้ ยอดสลกั รปู ดอกบวั ตมู ปกั ไวร้ มิ ผนงั พระจติ กาธานทง้ั สองดา้ น ตรงกลางใส่ฟนื ซ้อนกัน ๕ ชั้น วางหมอ้ ปดิ ทอง ๖ ใบไว้ท่ีด้านหวั ดา้ นเท้า ด้านซ้าย และดา้ นขวา ของพระจิตกาธาน...” ในหนงั สอื เมยี นม่ามงี กลามีงขา่ นดอ (๑๙๖๘: ๑๘๔) ได้ใหร้ ายละเอยี ดงานพระบรมศพของ พระเจ้าตาลนู มิง ในกรณีเดียวกนั นี้วา่ “...ไมต้ าราง ๖ ท่อนยอดติดทอง ตะแกรงเหลก็ ยาว ๕ ศอก กว้าง ๒ ศอก ๖ น้ิว ฟนื ไม้สีเสยี ดยาว ๕ ศอกเรยี งกัน ๙ ล�ำ สัน้ ๓ ศอกเรยี งกนั ๙ ล�ำ เสาปักรอบ พระจิตกาธาน (ซ่ะเมียนงไ์ ดง์ ) ๖ ตน้ กลงึ ดว้ ยไม้หอมวางบนตะแกรงเหล็ก ๖ ท่อน พระจติ กาธาน ปดิ ทองทบึ นัน้ กั้นไวด้ ว้ ยผ้ารมต่ี...” (Ji Ji 1974; Myanmar-English Dictionary 1998:389) จากภาพประกอบและตัวอย่างค�ำบรรยายท่ีกล่าวมาจะเห็นว่าพระจิตกาธานของพม่า มีองค์ประกอบหลักๆ ท่ีเหมือนกันกับพระจิตกาธานของไทย กล่าวคือมีฐานพระจิตกาธานรับ ตะแกรงเหล็กปิดทองเพื่อรองหีบพระบรมศพ หรือพระบรมโกศ กับการใช้ไม้หอมเป็นเชื้อเพลิง ประกอบการถวายพระเพลิง แต่เนื่องจากพระจิตกาธานของพม่าใช้วางหีบพระบรมศพจึงต้องมี เสาไม้ใหญ่ ๖ ตน้ ปกั ไวป้ อ้ งกนั หบี พระบรมศพซง่ึ ทำ� ดว้ ยไมจ้ ะลม้ ลงมาเมอ่ื ถกู เพลงิ โหม ในขณะท่ี พระจติ กาธานของไทยไมต่ อ้ งมเี สาไมก้ นั พระโกศลม้ เนอื่ งจากพระลองในเปน็ โลหะจงึ มคี วามทนทาน เมอ่ื เพลิงโหม 390 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

๑๙ เสาหกตน้ ปกั รมิ พระจติ กาธานในจติ รกรรมพมา่ ภาพขวาเปน็ ตะแกรงพาดเหนอื พระจิตกาธานของไทย (Source: Simon Htoo Thant 2017; Navarat. C 2017) พระเมรุคุลมพระจิตกาธาน และผ้าพิดาน ภาพเมรขุ องพระสงฆ์พม่า ค.ศ.๑๘๘๐ ขงึ เหนอื พระจิตกาธาน (วาดโดย U Win (Source: Alinari Archives 2017) Maung 2017) ๗. พระเมรุ พมา่ เรยี กอาคารคลมุ พระจติ กาธานวา่ “แงะก-์ เช-กาน-ตะซาวง”์ แปลวา่ “อาคารรบั มลู นก” (Myanmar-English Dictionary 1998: 99) เน่อื งจากธรรมเนียมการเผาศพบุคคลชัน้ สูงของพม่า เช่น กษตั ริย์ พระราชวงศ์ ขนุ นาง และพระสงฆ์ ก�ำหนดให้มผี า้ “พดิ าน” (Myanmar-English Dictionary 1998: 256) ขงึ อย่เู หนอื จิตกาธาน และแท่นตั้งศพ นอกจากยังใช้เพ่อื ชี้บอกตำ� แหน่ง และตกแต่งปริมณฑลที่ศพตั้งอยู่แล้ว ก็ยังใช้เพื่อป้องกันสิ่งปฏิกูลโดยเฉพาะมูลนกมิให้ตกลงมา ต้องศพดว้ ย ชาวพม่าจึงเรียกผา้ พดิ านทีข่ ึงเหนือจติ กาธานและแทน่ วางศพน้ันว่า “แงะก-์ เช-กาน” แปลวา่ “รับมลู นก” สืบต่อมา 391เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ธรรมเนียมราชส�ำนักพม่าก�ำหนดให้สร้างอาคารดังกล่าวด้วยการยกเสาไม้ไผ่ ๔ ต้น ผกู โครงหลงั คาซอ้ นกนั สองหรอื สามชนั้ (เมยี นมา่ มงี กลามขี า่ นดอ ๑๙๖๘: ๑๘๕-๑๘๘) มแี ผงคอสอง ปดิ จ่วั มุงหลังคาดว้ ยเส่ือไมไ้ ผ่สาน ประดบั ชอ่ ฟา้ หางหงษ์ กระจังมุม ทาสแี ดงทั้งอาคาร ด้านบน ภายในอาคารกัน้ ผา้ พดิ านขอบระบายกลบี บวั สองช้ัน ผูกเชือกแดงแขวนไว้กับเสาไม้ไผ่ ในหนังสือเมียนมา่ มีงกลามงี ข่านดอ (๑๙๖๘: ๑๘๔) ไดใ้ หร้ ายละเอียดงานพระบรมศพของ พระเจ้าตาลูนมิง ในกรณีเดียวกันนี้ว่า “...อาคาร ๓ ช้ัน ผ้าพิดานขอบระบายลายกลีบบัวแขวน ใบโพธ์ิทอง ๔๔ ใบ เสาทาสีแดง...” ๘. ราชวัตร และเครอื่ งประกอบ ในคัมภีร์โลกะพยหุ ะ (๒๐๐๑: ๓๖๙) ได้กล่าวถึงราชวตั ร เครอื่ งประกอบและเจ้าพนักงาน ประจำ� ราชวตั รวา่ “อาคารคลมุ พระจติ กาธานนน้ั ใหก้ นั้ ผา้ โดยรอบ ถดั จากนน้ั ใหก้ น้ั ราชวตั รทำ� ประตู สด่ี า้ น ดา้ นนอกมมุ ราชวตั รทงั้ สดี่ า้ น ใหม้ หี อกทองประจำ� ไวด้ า้ นละ ๑ เลม่ ประตสู ด่ี า้ น ใหม้ โี ลส่ เี่ หลย่ี ม ๑ โล่กลม ๑ ประจ�ำขา้ งละฝง่ั แผงราชวตั รระหวา่ งประตใู หม้ ี ธนู ๑ โล่สามชาย ๑ ประจำ� ไว้ ทงั้ หมด ปิดทองคำ� เปลว แล้วให้เจา้ พนกั งาน ๒๐ นายใส่ชุดทหารถือประจ�ำอย่”ู การปฏบิ ตั ดิ งั กลา่ วคงมนี ยั ของการแสดงความภกั ดี และถวายพระเกยี รตยิ ศผา่ นการถวาย ความปลอดภยั แด่พระบรมศพเสมอื นหนึ่งพระองคย์ ังทรงพระชนมอ์ ยู่ ๙. พระบรมโกศ และผูอ้ ัญเชญิ พระบรมอฐั ิ คมั ภรี โ์ ลกะพยหุ ะ (๒๐๐๑: ๓๗๐) ไดอ้ ธบิ ายถงึ โกศพระบรมอฐั ิ (ภาษาพมา่ ออกเสยี ง อะโยโอ แปลตามศัพทค์ อื “หม้อกระดูก”) ว่า “...ทำ� ด้วยไม้กลึงปดิ ทองค�ำเปลว ประดษิ ฐานเหนือพานทอง ซ่ึงหุ้มผ้ากำ� มะหย่แี ดง ห้อยใบโพธิ์ทอง ๗ ใบ” สำ� หรบั การเกบ็ พระบรมอฐั ขิ องพมา่ นน้ั มธี รรมเนยี มแตกตา่ งจากไทย ตรงทใ่ี หค้ วามสำ� คญั กบั ผอู้ ญั เชญิ พระบรมอฐั มิ ากเปน็ พเิ ศษ ผอู้ ญั เชญิ พระบรมอฐั จิ ะถกู คดั เลอื กจากบรรดา “ตะเปา้ ก-์ ฮมฺ ”ู คอื “หวั หนา้ ผคู้ มุ ทาส” ซงึ่ เปน็ เจา้ พนักงานช้ันผู้น้อย สงั กัดงานพระราชส�ำนกั ฝ่ายตะวนั ตกขน้ึ มา ทำ� หนา้ ที่ เมื่อคัดเลือกผู้เก็บพระบรมอัฐิได้แล้วก็จัดให้มีพิธีตั้งราชทินนาม ซ่ึงคัมภีร์โลกะพยุหะ (๒๐๐๑: ๓๗๐) กลา่ ววา่ “...ตง้ั โรงพธิ ี ณ ฝง่ั เหนอื ของพระมหาปราสาท แลว้ ตงั้ นามวา่ “ตะหวนุ่ และกย์ า” “ตะหวนุ่ และกแ์ ว” หรอื “ตะเหยป่ ญุ ะ” นามใดนามหนงึ่ จากนนั้ กป็ ระกาศยกหมบู่ า้ นใหห้ นงึ่ หมบู่ า้ น โดยไม่ต้องมหี มายเป็นลายลกั ษณ์อักษร จากนั้นก็ใหท้ องคำ� หนกั ๑ จตั๊ หม้อนำ้� ชา ๑ คนโฑน�ำ้ ๑ หมวกทรงแหลม ๑ พรอ้ มบริวารรบั ใช้ ๕ คน แล้วใหแ้ ตง่ ชดุ เก็บพระบรมอฐั ิ...” สาเหตุที่ต้องยกให้หัวหน้าทาสเป็นผู้เก็บพระบรมอัฐิ เน่ืองจากระบบช่วงช้ันทางสังคม ในยคุ จารีตของพม่าได้กำ� หนดใหก้ ลมุ่ ประชากรมีสถานะภาพสูงต�ำ่ ไปตามวชิ าชพี ทต่ี นสงั กัด ในทน่ี ้ี พวก “สุจาน” คือกลุ่มประชากรที่ท�ำงานในหน้าท่ีซ่ึงคนส่วนใหญ่ท�ำกันได้เป็นปกติวิสัย เช่น พวกไพรท่ ำ� นา ไพรพ่ ายเรือ ฯลฯ และกล่มุ คนทำ� งานทีส่ ังคมรังเกยี จ เชน่ งานสัปเหรอ่ เพชรฆาต ผคู้ ุมเรือนจ�ำ ซึ่งสว่ นใหญ่มักเป็นคนตอ้ งโทษ หรอื พวกทาส (สิทธิพร เนตรนิยม ๒๕๔๖: ๒๓-๒๘) 392 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ดงั นนั้ งานเกบ็ กระดกู ซงึ่ เปน็ งานของพวกสปั เหรอ่ จงึ เปน็ หนา้ ทขี่ องพวกทาส แตเ่ พราะเปน็ พระบรม ๑๙ อฐั จิ ึงเป็นหน้าทีข่ องหัวหน้าทาสซ่ึงมบี รรดาศักดจิ์ งึ จะสมพระเกยี รติ ๑๐. เครอ่ื งไทยทานถวายพระราชกุศล เราพบวา่ ในการถวายพระราชกศุ ลนน้ั ราชสำ� นกั พมา่ ไดก้ ารบรจิ าคเสอ้ื ผา้ และเครอ่ื งนงุ่ หม่ เป็นจ�ำนวนมากซ่ึงผ้าบางชนดิ กแ็ สดงถงึ ความสมั พนั ธก์ บั อนิ เดียและตะวนั ออกกลาง เชน่ ผ้าคดั ดา ผ้าสาลู เปน็ ตน้ ในคัมภรี ์โลกะพยุหะ (๒๐๐๑: ๓๗๐) ไดก้ ลา่ วถึงเคร่ืองไทยทานในงานพระบรมศพ ไว้วา่ “...ผา้ กาดา๒ ๒๘๐ พบั ผา้ สาลบู าง ๓๐๐ พบั ผ้าสาลู ๔๐๐ผ้าฝา้ ยหยาบ ๕๐๐ ผ้าโสร่งขาว ๕๐๐ ชาแท่ง ๑,๐๐๐ ของเหลา่ นใี้ หเ้ บกิ กับเจ้าพนักงานผู้ดแู ลบัญชี แลว้ น�ำไปวางไว้ไมใ่ กล้ไมไ่ กล จากพระจิตกาธานเมื่อพระบรมศพเสด็จถึงพระจิตกาธาน รับพระไตรสรณะคมน์แล้ว...ให้น�ำเครื่อง ไทยทานนั้นถวายพระสงฆ์...” จากตวั อยา่ งทกี่ ลา่ วมาชใ้ี หเ้ หน็ วา่ ในอดตี ผา้ ถอื เปน็ ของมรี าคาและหายาก การถวายผา้ กบั พระสงฆจ์ งึ เปน็ บญุ กริ ยิ าทม่ี ผี ลมากตอ่ ทง้ั ผใู้ หแ้ ละผวู้ ายชนม์ นอกจากนนั้ ยงั มถี วายแทง่ ชาซง่ึ นา่ จะ หมายถงึ ใบชาแหง้ นำ� มาอดั เปน็ แทง่ สำ� หรบั ชงกบั นำ�้ รอ้ น ซงึ่ เปน็ เครอ่ื งดมื่ ทน่ี ยิ มกนั ในสงั คมพมา่ มา ถงึ ปัจจุบัน ๑๑. การจดั ริว้ กระบวนส่งพระบรมศพ “มะตา่ ดอ่ -โปะ” หรอื “มะตา่ ดอ่ -ชะ” แปลว่า “ส่งพระบรมศพ” หรือ “ปลงพระบรมศพ” ซึง่ ในคัมภีร์โลกะพยหุ ะ (๒๐๐๑: ๓๗๐) กล่าวถงึ ล�ำดับข้ันตอนไวด้ ังนี้ “...เม่อื อญั เชญิ พระบรมศพลง พระราชยานคานหาม (เปล) แลว้ ให้พวกทาสหลวงหามหม้อเพลิงปดิ ทองคำ� เปลวอยู่หน้ากระบวน ถัดมาใหพ้ วกกรมมา้ รวม ๕ นายใส่ชดุ ขาว แบกท่อนฟนื ส�ำหรับถวายทบั ถวายพระบรมศพ ๕ ท่อน ปดิ ทองคำ� เปลวหวั ทา้ ย ตรงกลางประดบั ผา้ กำ� มะหยแ่ี ดง ถดั มาใหพ้ วกกรมมา้ รวม ๘ นายใสช่ ดุ ขาว ถอื เชอื กปลายผกู ดว้ ยหญา้ คา ๑ พดั ดา้ มยาวใบหมุ้ ผา้ กำ� มะหยแี่ ดง ดา้ มหมุ้ กำ� มะหยแี่ ดงพนั ประดบั ด้วยทองข้ออ้อย ๑ พระเต้าทอง ๑ พระเต้าเงิน ๑ คนโฑทอง ๑ คนโฑเงิน ๑ กล่องทองสาน ๑ กลอ่ งเงินสาน ๑” จากนน้ั ใหพ้ วกพนกั งานตามไฟ ฝา่ ยงานตะวนั ตก ๑๐ นาย ถอื หมอ้ ดบั เพลงิ หมุ้ ผา้ กำ� มะหยี่ ริมขลบิ ปกั ทอง ๑๐ ใบ จากน้ันพวกพนกั งานตามไฟ ๓ นายถือกลอ่ งหมาก ๓ กลอ่ ง ถดั จากน้นั พวก พนกั งานกรมมา้ ๘ นาย ถอื ทอ่ นไมห้ อม ๘ ท่อน ทัง้ หมดใสช่ ดุ ขาว ถัดจากน้ันพวกพนักงานกรมมา้ ท้ังหลายใส่ชุดขาว ถือพานบรรจุน�้ำกุหลาบ ๓ ขวด ถัดจากนั้นมหาดเล็กใส่ชุดขาวถือถาด พระกระยาหาร ล�ำดับถัดมา ช้างของผู้อัญเชิญพระบรมอัฐิ ๑ ช้างพังใส่เครื่องสัปคับปาวง์หวุ่นดอ ๑ ช้างพังอัญเชิญพระย่ีภู่และพระเขนย ๑ ช้างพลายอัญเชิญเคร่ืองทรงมีพระมงกุฎ ๑ ให้อ�ำมาตย์ท่ี ประจำ� ในราชสำ� นักสวมลอมพอกขาวใสช่ ุดขาวอุ้มอญั เชิญพระมงกุฎนงั่ ชา้ งในขบวน ๒ ผา้ ฝา้ ยทอมือชนิดหนงึ่ มาจากภาษาอาหรับว่า Khaddar ผา้ ฝา้ ยทอมือจากอินเดยี เรยี กวา่ Khadi 393เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ถัดจากน้ันพวกผู้คุมต�ำรวจหน้า กับพวกต�ำรวจสวม ลอมพอกขาวใสช่ ดุ ขาวตกี ลองหลวงตามกระบวน ถดั จากนนั้ พวก พนกั งานถอื ไจง์ (สปั ทนขนาดเล็กทำ� ดว้ ยไม)้ รวม ๘ นายใส่ชุด ขาวถอื ไจง์ ๘ คัน ถดั จากน้นั พวกพนกั งานหามวอ ใส่ชุดขาวหาม วอ ตอ่ จากนน้ั พานพระศรเี สวย ๑ นำ�้ เสวย ๑ หม้อพระสุธารสชา ๑ พระวชิ นี ๑ กลอ้ งพระโอสถ ๑ ฉลองพระบาท ๑ ใหพ้ วกพนกั งาน ประจ�ำอญั เชิญไป ถัดจากน้ัน ให้พวกอ�ำมาตย์หนุ่มยกอัญเชิญพระหีบ เดินตาม ถัดจากนั้นนายกองม้า ๘ นายถอื เชือกก้ันเดินตาม ถดั จากน้ันพระราชยานคานหามพระบรมศพอันเหล่าอ�ำมาตย์หาม น้ันเดินตาม หน้าพระราชยานคานหามให้พวกกรมม้าใส่ชุดขาว เชญิ เศวตฉตั ร ๒ คนั หลงั พระราชยานคานหามเชญิ เศวตฉัตร ๒ สปั คบั ปาวงห์ วนุ่ ดอ (Source: Victoria คนั ให้เหลา่ เจา้ ชาย นายกองมา้ หน้าพระทน่ี ัง่ เจา้ กรมม้า แมก่ อง and Albert Museum 2017) ปลดั จเร ราชองครักษ์ แต่งชุดขาวแวดลอ้ มเดนิ ตามขบวน...” รปู แบบกระบวนขา้ งตน้ กค็ อื กระบวนแหพ่ ระบรมศพเพอื่ ใชใ้ นการสง่ ดวงพระวญิ ญาณไปสู่ โลกหน้า ซ่งึ จะวา่ ไปก็มคี วามคล้ายคลงึ กนั อย่บู ้างกับของราชส�ำนักไทย ๑๒. การจัดสถานท่ีถวายพระเพลิง พระบรมศพจะถกู อญั เชญิ ออกจากพระบรมมหาราชวงั ทางประตมู ารภงี ทศิ เหนอื ดา้ นซา้ ย ของพระมหาปราสาท แล้วอัญเชิญออกทางประตูแดงด้านเหนือข้างศาลาลูกขุน เมื่อพระบรมศพ ถึงยังพระเมรุแล้ว ให้น�ำหม้อเพลิง กล่องหมาก กล่องไม้จันท์ และเคร่ืองกระยาหารเหล่านั้น ไปจดั วางไวใ้ นเขตราชวตั ร ส่วนเชือก พดั ดา้ มยาว พระเตา้ ทอง พระเตา้ เงิน คนโฑทอง คนโฑเงิน กล่องทองสาน กล่องเงนิ สาน ให้จดั พิงไว้รอบๆ ราชวตั ร เศวตฉัตร ๔ คัน ปักไวท้ างหวั ราชวัตร ๒ คนั ทางทา้ ยราชวตั ร ๒ คนั ช้างของผู้อัญเชิญพระบรมอัฐิ ๑ ช้างใส่เคร่ืองพระสัปคับ ๑ ช้างอัญเชิญพระย่ีภู่และ พระเขนย ๑ ช้างอญั เชญิ พระมงกุฏ ๑ เหลา่ น้ี ๔ ช้างใหย้ ืนอยนู่ อกราชวัตร วงกลองหลวงประโคม ประจ�ำอยู่ด้านตะวนั ออกนอกราชวัตร พระราชยานวอ และไจง์ อยู่ด้านนอกราชวัตรฝั่งเหนอื จากน้ันอัญเชิญพระหีบข้ึนต้ังบนกองฟืนท่ีพระจิตกาธานแล้ว ให้อัญเชิญพระราชยาน คานหามพระบรมศพขึ้นเทียบ แล้วอัญเชิญพระบรมศพลงพระหีบ ส่วนพระราชยานคานหามน้ัน อัญเชิญไว้ในราชวัตร เคร่ืองราชูปโภคท้ังหลายและผู้อัญเชิญให้อยู่ในราชวัตร ให้บรรดาเจ้าชาย พระเจ้าหลานเธอ เจ้ากรม อ�ำมาตย์ทง้ั หลายใหอ้ ยรู่ ายรอบราชวตั ร ๑๓. ล�ำดับการพระเจ้าอยูห่ วั เสดจ็ สง่ พระบรมศพ เมอื่ พร้อมแลว้ พระเจา้ อังวะเสดจ็ ขนึ้ วอจากพแยไตก์ เสดจ็ ออกยังศาลาลกู ขุน โดยมลี ำ� ดบั กระบวนเสดจ็ ดงั น้ี ขา้ งหนา้ เจา้ พนกั งานถอื ไจง์ กบั เหลา่ ขา้ ราชบรพิ ารแตง่ ชดุ ทหาร ธงนายตำ� รวจหลวง 394 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ

ถัดจากนั้นเหล่าข้าราชบริพารหน้าพระท่ีนั่ง เจ้าชายหน้าพระที่นั่ง ถัดจากน้ันพนักงาน ๑๙ ถือไจง์ ๘ คัน เดินแทรกด้วยพวกข้าราชบรพิ ารเหล่าเลแซดอ งาแซดอเดนิ ตาม ถัดจากน้ันพวกวอ พระทน่ี ่ัง พวกยกวอแตง่ ชุดปกติ ถดั จากนนั้ พวกถือพานพระศรี เครือ่ งเสวยนำ้� เสวย ให้พวกส�ำนัก พระราชวังถือตาม ถัดจากนั้นพวกพลปืนถือปืนแต่งชุดทหารเดินตามหลังวอพระที่น่ัง ถัดจากน้ัน พวกพลอาวธุ แต่งชดุ ทหารเดินตามวอพระท่ีนง่ั เมอื่ ถงึ หนา้ ศาลาลกู ขนุ แลว้ ใหเ้ จา้ พนกั งานอญั เชญิ พระราชยานวอหยดุ หา่ งจากหนา้ บนั ได ศาลาลกู ขนุ ประมาณ ๒ ตา่ ๓ ให้พวกถอื ไจง์ และเหลา่ ขา้ ราชบรพิ ารหน้าร้ิวกระบวนวอพระท่ีนั่งกอ็ ยู่ ข้างหน้าตามลำ� ดบั พวกข้าราชบรพิ ารตามหลังวอพระทน่ี งั่ ก็อยหู่ ลงั วอพระท่นี ่ังตามล�ำดบั ให้พวก พลปนื อยู่ซา้ ย ขวาวอพระท่นี ั่ง เมอ่ื วอพระท่นี ่ังหยดุ แล้ว หัวหน้าชาวที่กราบถวายบังคมลุกขึ้นแลว้ พวกถือไจง์ ข้างหนา้ กับขา้ ราชบริพารแวดลอ้ มหน้าวอพระที่นงั่ คุกเข่าอยกู่ บั ท่ี ภาพศาลาลูกขนุ หนั หน้าไปสู่ทศิ เหนืออันเป็นสถานทถี่ วายพระเพลิง และแผนผังท่ตี ั้งหอแกว้ ศาลาลกู ขนุ และสถานท่ีปลงพระบรมศพในพระราชวังมณั ฑเลย์ (ดัดแปลงจาก ธิดา สาระยา ๒๕๓๘) ๑๔. พระบรมราชโองการถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อพระเจ้าอังวะมีพระราชโองการให้ถวายพระเพลิงพระบรมศพ๔ มหาดเล็กรับพระบรม ราชโองการมาประกาศยังหัวหน้าชาวที่ หัวหน้าชาวท่ีรับพระบรมราชโอการไปประกาศยังหัวหน้า เจ้าพนักงานถวายพระเพลิงที่พระเมรุ หัวหน้าพนักงานถวายพระเพลิงรับพระบรมราชโองการแล้ว กป็ ระกาศท�ำการถวายพระเพลงิ ใช้เตา ๖ ลูกสบู เพลิงถวายพระบรมศพ เม่ือพระเจา้ องั วะทรงเห็น ควัน และเพลงิ โหมพระบรมขึน้ แล้วก็เสด็จกลับยงั พระราชฐาน ๑๕. การเกบ็ และสงเคราะห์พระบรมอัฐิ ขน้ั ตอนนถ้ี อื เปน็ ขน้ั ตอนสดุ ทา้ ยในกระบวนการจดั การพระบรมศพของราชสำ� นกั พมา่ โดย ธรรมเนียมของราชส�ำนักพม่าจะอัญเชิญพระบรมอัฐิไปจ�ำเริญกลางแม่น้�ำ จากนั้นจะมีการสร้าง ๓ တာ หนึ่งตา่ เท่ากบั ๑๐.๕ ฟุต (พจนานุกรมเมียนมา-อังกฤษ, ๑๙๙๘: i ) ๔ ส�ำนวนพมา่ ใชค้ �ำว่า “ม-ี ปู่ส่อ” แปลว่า “บชู าดว้ ยไฟ” 395เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

พระสถูปบรรจุพระอัฐิไว้เป็นพระอนุสรณ์และปราสาทปูนหรือไม้อยู่บ้างก็ในบริเวณท่ีท�ำการถวาย พระเพลิงเท่านนั้ ไมน่ ิยมอัญเชญิ พระบรมอัฐิเขา้ ประดษิ ฐานไวใ้ นพระบรมมหาราชวัง ในหนังสือมหามิงกลามีงข่านด่อ (๑๙๖๘: ๑๘๕) ได้ให้รายละเอียดของพระราชพิธีเก็บ พระบรมอฐั นิ ว้ี า่ “...เมอื่ ถวายพระเพลงิ แลว้ พระบรมอฐั ปิ ระดษิ ฐานอยใู่ นพระตลบั เหนอื พานทองซง่ึ เจาะรไู วห้ น่งึ พนั ปูด้วยใบโพธ์ทิ อง ๗ ใบ จากนั้นใหต้ ะเหยป่ ุญญะอญั เชิญเก็บพระบรมอัฐิ ๗ คร้งั สรงพระบรมอัฐิด้วยนำ�้ สะอาด ๗ ครั้ง สรงด้วยนำ้� ขมนิ้ สม้ ป่อย ๗ ครงั้ สรงด้วยน้�ำมะพร้าว ๗ ครั้ง สรงดว้ ยน�้ำมันจนั ทเ์ จือชะมดเชด็ ๗ ครั้ง จากนั้นอัญเชญิ พระบรมอฐั ลิ งพระบรมโกศ กนั้ เศวตฉตั ร แล้วให้ตะเหยป่ ุญญะอัญเชญิ พระบรมอฐั ิสะพายไป ลงเรอื ทองล่องไปกลางแม่น�ำ้ จากนน้ั ใหต้ ะเหย่ ปญุ ญะอญั เชญิ โกศพระบรมอัฐลิ งจมุ่ ไปในนำ้� ๗ ครั้ง แล้วจำ� เริญโกศพระบรมอัฐิลงในนำ�้ ...” ตามความเชอ่ื โดยทว่ั ไป นำ�้ ถอื วา่ เปน็ ของบรสิ ทุ ธ์ิ เพราะเปน็ สงิ่ สำ� คญั ในการชำ� ระลา้ งมลทนิ ท้ังหลาย อีกท้ังเส้นทางของน�้ำยังเช่ือมไปสู่โลกหน้า ดังน้ันพระบรมอัฐิจึงต้องผ่านการสรงน้�ำ ที่นอกจากจะเพ่ือการบูชาในฐานะธาตุของบุคคลศักด์ิสิทธิ์ ก็ยังเป็นไปเพ่ือช�ำระมลทินให้เกิด ความบริสุทธิ์ก่อนจะน�ำไปจ�ำเริญคือลอยท้ิงในแม่น้�ำซึ่งเป็นเสมือนเส้นทางที่ไหลไปเช่ือมกับแม่น้�ำ คงคา ท่จี ะนำ� พาดวงวญิ ญาณและอัฐิธาตุให้ลอยไปสู่สวรรค์อันศักด์สิ ิทธต์ิ ามคติอนิ เดียโบราณ แตอ่ ยา่ งไรกด็ นี อกจากการลอยพระบรมอฐั ลิ งในแมน่ ำ้� แลว้ กย็ งั มธี รรมเนยี มการฝงั พระบรม อัฐิหรือพระอัฐิธาตุไว้ในพระสถูปก็มีด้วย เช่น คูหาบรรจุพระบรมอัฐิของพระนางเจ้าส่ิงพยูมะฉิ่ง ในพระบรมมหาราชวงั เมืองมณั ฑเลย์ เปน็ ต้น (Ministry of Culture 2001) สรงนำ�้ พระบรมอฐั กิ อ่ นนำ� ไปจำ� เรญิ กลางแมน่ ำ�้ (Source: The Life of The Buddha 2012) การจดั การพระบรมศพในกรณพี เิ ศษ จากการศกึ ษาธรรมเนยี มพระบรมศพของราชสำ� นกั พมา่ ทำ� ใหพ้ บวา่ ในบางกรณมี ขี นั้ ตอน การจดั การพระบรมศพทต่ี า่ งออกไปจากขน้ั ตอนมาตรฐาน กลา่ วคอื เปน็ พระราชพธิ ที เ่ี กดิ ขนึ้ ภายใต้ เงอ่ื นไขพเิ ศษ เชน่ กรณที พี่ ระมหากษตั รยิ ท์ รงถกู ถอดออกจากราชสมบตั ิ ทรงถกู ลอบปลงพระชนม์ หรอื ใหจ้ ดั ตามพระราชอธั ยาศยั เหลา่ นม้ี ผี ลทำ� ใหร้ ปู แบบและขน้ั ตอนของพระราชพธิ มี คี วามตา่ งออก ไปจากภาวะปกติ ตัวอย่างเช่น กรณีของพระเจ้าตะปิ่งชเวที ถูกราชองค์รักษ์บั่นพระเศียรตกลงใต้พระแท่น บรรทม ณ พลับพลาทป่ี ระทับกลางป่า จนรงุ่ เชา้ พระบรมศพจึงถกู อญั เชญิ ไปยังวดั โดยพระอธกิ าร 396 เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

รปู หนงึ่ แลว้ ทำ� การถวายพระเพลงิ “...เมอ่ื ถวายพระเพลงิ แลว้ อญั เชญิ พระบรมอฐั ใิ สห่ มอ้ ทองลงฝงั ๑๙ ยังท่ีอันหมดจด...” (หม่านนาน ๑๙๙๓: ๒๕๘) อีกกรณีคือพระบรมศพของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนองก็เป็นอีกตัวอย่างหน่ึงของการจัดการพระบรมศพในฐานะกษัตริย์ ไรบ้ ัลลงั ก์ แล้วถกู ลอบปลงพระชนมใ์ นภายหลงั ความว่า “...งานพระบรมศพพระเจา้ นันทบุเรง ปี ๙๖๒ ขา้ มเขา้ วนั เพญ็ เดือนตะซาวง์ โมง เม่ือนัตชินหน่าวง์ได้ลอบปลงพระชนม์พระเจ้านันทบุเรงแล้ว พระเจ้าตองอูทรง ทราบวา่ พระเชษฐาถูกปลงพระชนม์ กท็ รงไมส่ บายพระทยั คิดจะท�ำการพระบรมศพ พระเชษฐาให้สมพระเกียรติ แล้วทรงปรึกษากับราชบัณฑิต ราชบัณฑิตทูลว่า การสวรรคตอย่างปัจจุบันทันด่วนน้ันไม่มีธรรมเนียมการจัดถวายพระเพลิงพระบรม ศพให้เอิกเกริก ควรฝังพระบรมศพ ณ ท่ีถูกปลงพระชนม์นั้นจึงควร แล้วจึงอัญเชิญ พระบรมศพมาไล้ทาด้วยน�้ำมันจันท์ แล้วห่อพระบรมศพด้วยผ้าฝ้ายหลายชั้นแล้ว อัญเชิญลงฝัง่ อยา่ งดกี ับหบี พระบรมศพ ใตพ้ ้นื ดินทที่ รงสวรรคต เมอ่ื ถงึ ครบสตั มวาร ก็นิมนต์พระสงฆ์มาฉันในที่น้ัน แล้วถวายบริขารมีผ้าจีวรอุทิศพระราชกุศลเป็น อนั มาก...” (หม่านนาน ๑๙๙๓: ๑๐๙) จากตวั อยา่ งในสองกรณขี า้ งตน้ จะเหน็ วา่ ราชสำ� นกั พมา่ มธี รรมเนยี มการจดั การพระบรมศพ ในภาวะที่ไม่ปกติ ทั้งสองกรณีเป็นการสวรรคตแบบผิดธรรมชาติที่เรียกในภาษาชาวบ้านว่า “ตายโหง” ซึ่งในหนงั สือเมียนมา่ มหามีงกลามงี ข่านดอ (๑๙๖๘: ๑๘๑) ได้อ้างถึงคัมภีร์โลกสังเกต ซง่ึ เปน็ เอกสารทกี่ ลา่ วถงึ แบบแผน และธรรมเนยี มการจดั การศพทส่ี งั คมพมา่ ยดึ ถอื วา่ “...ผตู้ ายโหงนน้ั , มใิ หอ้ าบน�ำ้ , ไม่ให้จดั งานศพ, ตายทไี่ หนให้จัดการท่นี ั่น, มใิ หน้ ำ� มาจากทตี่ ายย้ายเข้าบา้ นเขา้ เมอื ง, มิให้ไว้บนบ้าน, ให้แจ้งแล้วเผาในที่ตายนั้น...” ดังนั้น พระบรมศพของกษัตริย์ผู้เคราะห์ร้าย ในสองกรณจี งึ ตอ้ งถกู จดั การไปตามธรรมเนยี มทส่ี งั คมยดึ ถอื ดว้ ย มฉิ ะนน้ั จะเกดิ ภยั พบิ ตั ิ หรอื โรคภยั มาสชู่ มุ ชน กรณขี องพระอคั รมเหสแี ละพระเจา้ มนิ ดง เปน็ ตวั อยา่ งในการจดั การพระบรมศพทแ่ี ตกตา่ ง ไปจากธรรมเนียมเดิมที่เคยมี ด้วยการเก็บพระบรมศพไว้เป็นอนุสรณ์และที่บูชาในพระสถูป ทรงปราสาท เรมิ่ จากพระอคั รมเหสซี ะ่ จาเทวซี งึ่ เปน็ ทสี่ นทิ เสนห่ าของพระเจา้ มนิ ดงยงิ่ ถงึ แกส่ วรรคต พระองคจ์ งึ ทรงสรา้ งพระสถปู ทรงปราสาทไวใ้ นพระราชอทุ ยานดา้ นทศิ เหนอื ของพระบรมมหาราชวงั แล้วอัญเชิญพระบรมศพเข้าประดิษฐานเข้าไว้เป็นอนุสรณ์ ในหนังสือ โกงบ่องแซะมหายาซาวีง เลม่ ๓ (๑๙๖๘: ๔๒๖-๔๒๗) กล่าวถึงการจัดการพระบรมศพของพระอคั รมเหสวี า่ “ถวายสายไขม่ กุ ทนี่ ว้ิ พระหตั ถแ์ ละนวิ้ พระบาทแลว้ ถวายสวมพระพกั ต์ ถวายพระธำ� มรงค์ และพระกำ� ไลขอ้ พระบาท... เชญิ เคร่ืองประดบั มหาลดั ดาใสถ่ วายมิใหล้ มพดั เขา้ ต้องพระวรกายได้แล้ว กอ็ ญั เชญิ พระบรมศพเข้า ประดิษฐานบนพระแท่นอันประดับตกแต่งท้ังซ้ายขวาด้วยเคร่ืองราชูปโภคทั้งหลาย[วันรุ่งข้ึน:ผู้ แปล]...อญั เชญิ พระบรมศพลงหบี แลว้ ปดิ คลุ มดว้ ยผา้ ไหมปกั ดน้ิ เงนิ ดนิ้ ทองเหนอื หบี พระบรมศพ...” จากนน้ั กก็ ลา่ วถงึ การบรรจพุ ระบรมศพในพระสถปู วา่ “บรรดาเจา้ ชายอญั เชญิ หบี พระบรมศพ ซึ่งอยู่ในคานหามเปลเข้ามาในพระสถูปทางประตูด้านทิศตะวันตกแล้วก็อัญเชิญไว้บนพระแท่น 397เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

ทองค�ำประดับนวรัตนเรียบร้อยแล้ว...กรมวังไปยังพระบรมมหาราชวังทูลเชิญพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ยังพระสถูปในพระราชอุทยานด้านทิศเหนือ...เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรการกาง พระเศวตฉตั รในหอ้ งพระสถปู แลว้ ...ทำ� รว้ั ไมก้ น้ั ไวโ้ ดยรอบ...ใหเ้ หลา่ มหาดเลก็ ดแู ลรกั ษาพระสถปู นน้ั โดยรอบทกุ วนั อยา่ งใกล้ชดิ ...” จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการพระบรมศพของพระอัครมเหสีซ่ะจาเทวี เกิดข้ึน เป็นกรณีแรกจากพระราชอัธยาศัยของพระสวามีท่ีจะเก็บรักษาความทรงจ�ำระหว่างพระองค์กับ พระอัครมเหสีไว้ให้ยืนนานผ่านอนุสรณ์สถานท่ีใช้เพ่ือการเก็บพระบรมศพ ซึ่งในเอกสารกล่าวว่า พระเจา้ มงิ ดงยงั คงเสดจ็ ไปเพือ่ เย่ยี มพระสถูปของพระอคั รมเหสีทุกวนั มาจนตลอดรัชกาล ในกรณีของพระเจ้ามินดง ก็มีหลักฐานบันทึกถึงการจัดการพระบรมศพเช่นเดียวกับ พระอคั รมเหสี แตเ่ สริมด้วยเหตุที่พระองค์ทรงมีบญุ สมภารมาก ด้วยเปน็ กษตั รยิ ์ทผี่ ่านการพระราช พธิ รี าชาภเิ ษก และมทุ ธาภเิ ษกอยา่ งครบถว้ น ทง้ั ยงั มคี วามสำ� เรจ็ ในพระราชกจิ แผไ่ พศาลทงั้ การเมอื ง และพระศาสนา มีการสังคายนาพระไตรปฏิ ก และสงเคราะห์สมณชพี ราหมณ์เป็นตน้ พระเจ้าธีบอ จึงทรงด�ำริว่า “...ด้วยเหตนุ เ้ี ปน็ หลักฐาน เพอ่ื ใหเ้ หลา่ ชนท้งั หลายได้บชู าอยเู่ ปน็ นิจ ซงึ่ พระบรมศพ แห่งพระราชบิดาผู้ทรงธรรม จึงทรงมีพระราชด�ำริให้ประดิษฐานไว้ในปราสาทอิฐอันสร้างไว้ ในทิศเหนือของศาลาลกู ขุน แล้วใหห้ วุ่นเดา้ ก์ เจา้ เมอื งหยัน่ อา่ วง์มยงิ ทม่ี งี จีมหามงี ละมีงข่องยาซา กบั เหลา่ เจา้ กรมอฐิ ทงั้ หลายรบั สนองพระราชโองการคมุ งานกอ่ สรา้ งตามลำ� ดบั ชนั้ ...” (โกงบองแซะก์ ๑๙๘๙: ๔๖๖) ในเอกสารฉบับเดียวกันได้กล่าวว่าช่วง ๗ วันก่อนอัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐานใน พระสถปู นน้ั พระบรมศพจะถกู อญั เชญิ ไปยงั ทอ้ งพระโรงหอแกว้ อนั เปน็ พระวมิ านทปี่ ระทบั สว่ นหนา้ แลว้ ประดิษฐานลงบนพระแท่นซงึ่ ปดู ว้ ยพระย่ภี ู่กำ� มะหยีส่ ีแดง พระบรมศพถูกปิดถวายดว้ ยทองค�ำ เปลว ทรงเครอ่ื งไหมขาวลว้ น แลว้ อญั เชญิ ลงพระหบี ซงึ่ ทำ� ด้วยดีบุกปดิ ทองทัง้ ข้างนอกข้างใน แลว้ อัญเชิญลงใส่ในหีบไม้ปิดทองทั้งข้างนอกข้างในอีกชั้นหนึ่งริมพระแท่นซ้ายขวาอัญเชิญเคร่ืองทรง อยา่ งพระพรหมเขา้ ตกแตง่ ใหส้ วยงาม ทกุ วนั พระเจา้ อยหู่ วั องคใ์ หมจ่ ะเสดจ็ ออกยงั พระวมิ านหอแกว้ เพอ่ื ทรงบชู าพระบรมศพดว้ ยขา้ วตอกดอกไม้ พระสงฆท์ รงสมณศกั ดจิ์ ะถกู นมิ นตผ์ ลดั กนั เขา้ มาสวด พระปริตยงั อาสนส์ งฆซ์ ่ึงถกู จัดเตรียมไวท้ างเบื้องพระเศียรด้านซ้ายและขวาทุกวัน เมอื่ ครบ ๗ วัน แล้วก็อัญเชิญหีบพระบรมศพลงบนคานหามเปลจากพระวิมานหอแก้วไปสู่พระสถูปทรงปราสาท ทจี่ ะประดษิ ฐานพระบรมศพ ซง่ึ ตง้ั อยทู่ างดา้ นทศิ ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของศาลาลกู ขนุ พรอ้ มกระบวน ส่งเสด็จ อันประกอบด้วยพระราชวงศ์ชั้นสูงและข้าราชบริพารอัญเชิญเคร่ืองราชูปโภคตามล�ำดับ เมอื่ กระบวนพระบรมศพถงึ ทพ่ี ระสถปู แลว้ กรมวงั กท็ ลู เชญิ เสดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั จากพระบรมหาราชวงั โดยกระบวนเสด็จมายังมณฑลพิธี จากน้ันเหล่าเจ้าชายและพระประยูรญาติก็อัญเชิญหีบ พระบรมศพเขา้ ประดษิ ฐานไวบ้ นพระแทน่ ในพระสถปู จากนน้ั พระเจา้ อยหู่ วั กม็ พี ระบรมราชโองการ ประกาศให้ข้าราชส�ำนักท้ังหลายถวายการบูชา เม่ือเหล่าพระราชวงศ์และบรรดาข้าราชบริพาร ท้ังหลายถวายการบชู าแลว้ พระเจา้ อยหู่ ัวก็เสดจ็ กลบั เข้าสพู่ ระบรมมหาราชวัง 398 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ

สรปุ ๑๙ งานพระบรมศพของกษัตริย์พม่าแสดงให้เห็นถึงความเคารพรักของพระประยูรญาติ ขา้ ราชสำ� นกั และพสกนกิ รทม่ี ตี อ่ กษตั รยิ ซ์ ง่ึ เปน็ ผนู้ ำ� ทางการเมอื ง และวฒั นธรรมของเขา ความชว่ ย เหลือเก้ือกูลของผู้คนได้ถูกส่งผ่านกันข้ึนมาเป็นทอดๆภายใต้ระบบการจัดแบ่งช่วงชั้นทางสังคม ในยุคจารีต โดยมีกษัตริย์เป็นจุดศูนย์กลางแห่งความสัมพันธ์นั้น แต่อย่างไรก็ดีความช่วยเหลือ เกื้อกูลท่ีเรียกว่าความภักดีน้ีย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ หากพระราชาและเหล่าข้าราชบริพารท้ังหลายจะใช้ แตเ่ พยี งอำ� นาจเขา้ จดั การ ความภกั ดเี หลา่ นน้ั ยอ่ มอยไู่ ดไ้ มน่ าน กษตั รยิ จ์ ะถกู ตอ่ ตา้ นและลม่ สลายไป ดังน้ันงานพระบรมศพของพม่าจึงมีความหมายท่ีไม่ใช่เพียงแค่การแสดงความหรูหรา ของกษตั รยิ ์ แตเ่ ปน็ พธิ กี รรมของการแสดงความภกั ดที ม่ี รี ากฐานมาจากความศรทั ธาในแนวคดิ และ จริยธรรมทางศาสนาที่สถาบันกษัตริย์ได้คัดสรรและปรับปรุงมาใช้ในการวางระเบียบให้กับตนเอง และสังคม ล�ำพังแค่ผู้เป็นนายจะอ้างแต่ความเมตตาว่าตนเหมือนพระโพธิสัตว์ หรือองค์อวตาร ย่อมเกดิ ขน้ึ ไมไ่ ด้ ถา้ นายไมพ่ ยายามแสดงตนดว้ ยการลงมอื ทำ� ใหส้ งั คมไดป้ ระจกั ษเ์ หน็ การพยายาม สร้างความเป็นนายท่ีอาศัยอ�ำนาจทางจริยธรรมย่อมน�ำมาซ่ึงความศรัทธาและความชอบธรรม ในการปกครองทีย่ งั่ ยนื กวา่ นายท่ีใชแ้ ต่อ�ำนาจ การสืบอำ� นาจโดยเชื้อสาย การสบื อำ� นาจโดยพิธีกรรม และการสืบอ�ำนาจจากการกระท�ำ ทอ่ี งิ อาศยั จรยิ ธรรม เปน็ กลวธิ ที กี่ ษตั รยิ ท์ ง้ั หลายในยคุ จารตี ทรงกระทำ� เพอ่ื ครองขวญั ของชมุ ชนและ อ�ำนาจของตนไว้ให้ด�ำเนินต่อไปอย่างไม่ขาดสาย ดังนั้นการสวรรคต หรือจากโลกน้ีไป ของกษัตริย์จึงมิใช่ภาวะสุดท้าย แต่เป็นการจากไปเพ่ือท่ีจะกลับมาสร้างความสมบูรณ์แก่โลกใหม่ ใ นอนาคต กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ U Win Maung (Tampawati) ทีก่ รุณาใหค้ �ำอธิบายศัพทแ์ ละภาพเขยี นประกอบ พระอธิการ อาสภะมหาเถร อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายมูล (พม่า) ผู้ให้ความรู้เรื่องภาษาและวัฒนธรรมพม่า และ Miss.Thu Zar Aung เพื่อนผู้ใหค้ วามชว่ ยเหลอื ด้านภาษาพมา่ อยา่ งใกล้ชิดตลอดเวลา 399เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook