นอนพักที่ศาลาซ่ึงปกติเป็นท่ีพักของพระนวกะผู้บวชใหม่ ตอนกลางคืนพวก ภิกษุนอนหลับกัน ลืมสติไม่รู้สึกตัว บ้างก็นอนกรน บ้างก็นอนผ้าหลุดลุ่ย เปลือยกาย ท�ำให้พวกอุบาสกที่เห็นต�ำหนิและโพนทะนา จึงทรงบัญญัติห้าม ตอ่ มาสามเณรราหลุ ไปพกั คา้ งคนื รว่ มกบั พระพทุ ธองคแ์ ละพระสงฆท์ ง้ั หลายท่ี ต่างเมือง เธอไม่อาจนอนร่วมพระกุฎีและในกุฏิเดียวกับพระสงฆ์ได้ จึงไป นอนที่วัจกุฎี (ถาน) ของพระพุทธองค์ พระพุทธองคท์ รงทราบจงึ ทรงบัญญตั ิ สิกขาบทเพ่ิมขน้ึ ว่าใหน้ อนได้ แตไ่ มเ่ กิน ๓ คนื เจตนารมณข์ องสกิ ขาบทน้ี สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอื่ ปอ้ งกนั มใิ หภ้ กิ ษเุ ปน็ ทเี่ สอ่ื มศรทั ธาของ ชาวบา้ นในเรอื่ งการนอนทไ่ี มเ่ รยี บรอ้ ย เชน่ นอนอยา่ งลมื สติ นอนกรน นอนดนิ้ หรือนอนผ้าหลุดลุ่ย เป็นต้น และเพ่ือป้องกันมิให้ชาวบ้านเห็นกิริยานอนของ ภกิ ษทุ ี่ไม่เรียบรอ้ ยเชน่ นั้น ซงึ่ แมจ้ ะเป็นปกตขิ องคนทั่วไป แต่ชาวบา้ นมคี วาม เคารพศรทั ธาตอ่ ภิกษุเป็นทุนเดิม จึงไม่อาจยอมรับอาการนอนเช่นน้นั ได้ และ ทีท่ รงผอ่ นผันให้นอนได้ไมเ่ กนิ ๓ คนื เปน็ การอนุเคราะห์อนุปสมั บันมใิ หไ้ ด้รบั ความล�ำบากในการนอน ซึง่ หากไม่ผอ่ นผนั ภกิ ษยุ ่อมได้รับต�ำหนไิ ดว้ า่ ใจแคบ อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุอยู่ ๒-๓ คนื (๒) ภกิ ษุอยูต่ �่ำกว่า ๒-๓ คืน (๓) ภิกษุอยู่ ๒ คืนแลว้ ในคืนท่ี ๓ ออกไปขา้ งนอกก่อนอรณุ ขนึ้ แล้วมาอยู่ใหม่ (๔) อยู่ในสถานท่มี ุง 232 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
ท้ังหมด แต่ไม่บังท้ังหมด (๕) อยู่ในสถานท่ีบังทั้งหมด แต่ไม่มุงท้ังหมด (๖) อย่ใู นสถานทีไ่ ม่มุงโดยมาก ไม่บงั โดยมาก (๗) อนุปสัมบันนอน ภกิ ษนุ ่ัง (๘) ภิกษุนอน อนุปสมั บันนงั่ (๙) นัง่ ท้งั สอง (๑๐) ภิกษุผวู้ กิ ลจริต (๑๑) ภกิ ษุ ผู้เป็นต้นบัญญัติ หรือภิกษุอาทิกัมมิกะ ได้แก่ พระนวกะ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี มสุ าวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖ คำ� แปลพระบาลที ่เี ป็นพุทธบญั ญัติ “อนึ่ง ภกิ ษใุ ดนอนร่วมกบั มาตคุ าม เปน็ ปาจติ ตยี ”์ เนื้อความยอ่ ในหนังสือนวโกวาท “ภิกษุนอนในที่มุงที่บังอันเดียวกันกับผู้หญิง แม้ใน คืนแรก ตอ้ งปาจติ ตยี ”์ อธิบายความโดยยอ่ ค�ำว่า มาตุคาม ไดแ้ ก่ สตรีหรอื ผ้หู ญงิ แม้ทเี่ กิดในวนั นนั้ ค�ำว่า นอนร่วม คือ นอนในท่ีเดียวกัน มีที่มุงท่ีบังเดียวกัน แต่มิได้ แตะต้องกัน ได้แต่ต่างฝ่ายต่างนอน หากแตะต้องหรือท�ำเกินเลยไปกว่านั้น ไมเ่ ขา้ ข่ายในสิกขาบทนี้ แต่เขา้ ข่ายในสกิ ขาบทอื่น พระวินัยบัญญัติ 233 www.kalyanamitra.org
เจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญัติไว้ เพ่ือป้องกนั มใิ หภ้ ิกษุลืมสติ ไปกระทำ� การ อยา่ งอน่ื เชน่ แตะตอ้ งกาย อนั เปน็ การลว่ งละเมดิ สกิ ขาบททมี่ โี ทษหนกั กวา่ นอน ร่วมได้ และเพื่อป้องกันชื่อเสียงของภิกษุ มิให้ถูกต�ำหนิติเตียนหรือโพนทะนา วา่ รา้ ยจากชาวบ้านวา่ นอนร่วมกับผู้หญิง อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ท่ีนอนเป็นทมี่ งุ ทง้ั หมด แต่ไมบ่ งั ทัง้ หมด (๒) ที่นอนเปน็ ทีบ่ งั ท้ังหมด แต่ไม่มุง ทง้ั หมด (๓) ทน่ี อนเปน็ ทไ่ี มม่ งุ โดยมาก ไมบ่ งั โดยมาก (๔) มาตคุ ามนอน ภกิ ษุ นงั่ (๕) ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง (๖) นัง่ ทง้ั สองฝา่ ย (๗) ภิกษผุ วู้ ิกลจริต (๘) ภกิ ษุผู้เปน็ ต้นบญั ญัติ หรอื ภกิ ษอุ าทกิ มั มิกะ ได้แก่ พระอนรุ ทุ ธะ มสุ าวาทวรรค สกิ ขาบทท่ี ๗ ค�ำแปลพระบาลที ีเ่ ปน็ พทุ ธบญั ญัติ “อน่ึง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ ค�ำ เปน็ ปาจิตตยี ์ เวน้ ไว้แตม่ ชี ายผู้รเู้ ดียงสาอยูด่ ้วย” เนอ้ื ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภกิ ษุแสดงธรรมแก่ผ้หู ญงิ เกนิ กว่า ๖ ค�ำขนึ้ ไป ตอ้ ง ปาจติ ตยี ์ (เว้นไวแ้ ตม่ ีบุรุษผู้รูเ้ ดียงสาอย่ดู ว้ ย)” 234 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
อธบิ ายความโดยยอ่ ค�ำว่า มาตุคาม ได้แก่ หญงิ มนษุ ยผ์ ูร้ ้เู ดียงสาแล้ว คำ� ว่า ธรรม ไดแ้ ก่ บาลที เ่ี ป็นพทุ ธภาษิต สาวกภาษติ อสิ ิภาษติ เทวตาภาษิต ซ่ึงประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม ในสิกขาบทน้ีทรงห้ามไว้ เพื่อให้ภิกษุแสดงธรรมอย่างเปิดเผย ไม่ กระซิบสอนหรือแสดงธรรมขณะอยู่กันสองต่อสองกับผู้หญิง เม่ือจ�ำเป็นที่จะ ต้องพูดต้องแสดง ก็พูดหรือแสดงได้ไม่เกิน ๕-๖ ค�ำ อันเป็นการทักทายกัน ตามปกติ เว้นแต่มชี ายผู้รูเ้ ดียงสานั่งฟงั อยู่ดว้ ย ซ่งึ สามารถเปน็ สักขพี ยานแก่ ภิกษุได้ว่าได้พดู หรอื แสดงอะไรออกไป เจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพ่ือป้องกันมิให้ภิกษุถูกกล่าวหาหรือถูก สงสยั ว่าพดู เก้ยี วหญิง ในกรณพี ดู กับผหู้ ญิงสองต่อสอง อนาปัตติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) มีผู้ชายรู้เดียงสาอยู่ด้วย (๒) ภิกษุแสดงธรรมเพียง ๕-๖ ค�ำ (๓) ภิกษุ แสดงธรรมหย่อนกวา่ ๕-๖ คำ� (๔) ภิกษลุ กุ ข้ึนแล้วนัง่ แสดงธรรมต่อไป (๕) มาตคุ ามลกุ ข้ึนแลว้ นั่งลงอีก ภกิ ษุแสดงธรรมแกม่ าตุคามนั้น (๖) ภกิ ษแุ สดง ธรรมแกม่ าตุคามอนื่ (๗) ภิกษถุ ามปัญหา (๘) ภิกษุถามปญั หาแลว้ กล่าวแก้ (๙) ภกิ ษแุ สดงธรรมเพอื่ ประโยชนแ์ กค่ นอนื่ อยู่ มาตคุ ามฟงั อยดู่ ว้ ย (๑๐) ภกิ ษุ ผวู้ กิ ลจรติ (๑๑) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภกิ ษอุ าทกิ มั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พระอทุ ายี พระวินัยบัญญัติ 235 www.kalyanamitra.org
มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘ ค�ำแปลพระบาลที เี่ ปน็ พทุ ธบญั ญัติ “อน่ึง ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมแก่อนุปสัมบัน เปน็ ปาจติ ตีย์ เพราะมีจริง” เนือ้ ความยอ่ ในหนงั สอื นวโกวาท “ภกิ ษบุ อกอตุ ตรมิ นสุ สธรรมทม่ี จี รงิ แกอ่ นปุ สมั บนั ตอ้ ง ปาจิตตยี ์” อธิบายความโดยยอ่ ค�ำวา่ อตุ ตริมนุสสธรรม หมายถึงธรรมทขี่ ้ามพน้ พวกมนษุ ย,์ ธรรม ที่ล่วงเลยพวกมนุษย์แล้วทำ� ให้ลุถึงความเป็นพรหม หรือภาวะนิพพาน (พึงดู รายละเอียดใน ปาราชิก สกิ ขาบทที่ ๔) คำ� วา่ อนุปสมั บัน คอื ผทู้ ย่ี งั มิได้อุปสมบทเปน็ ภิกษหุ รือเปน็ ภกิ ษุณี ได้แก่ สามเณร สามเณรี นางสกิ ขมานา นักบวชลทั ธอิ ืน่ และคฤหัสถท์ กุ คน ท้งั ชายและหญิง การบอกอตุ ตรมิ นสุ สธรรมตามสกิ ขาบทนี้ ทเี่ ปน็ มลู เหตใุ หท้ รงบญั ญตั ิ สกิ ขาบทกโ็ ดยเหตทุ มี่ ภี กิ ษตุ อ้ งการปจั จยั ๔ มาเลยี้ งชพี เพราะถน่ิ นนั้ อดอยาก แร้นแค้นขึ้นมา ภิกษุท้ังหลายจึงโกหกชาวบ้านว่าท่านรูปน้ันได้บรรลุธรรมชั้น นี้ ท่านรูปน้ีได้บรรลุธรรมช้ันน้ัน ท�ำให้ชาวบ้านเช่ือและศรัทธาเล่ือมใส ถวาย ปัจจัย ๔ เลี้ยงดภู ิกษเุ หลา่ นนั้ 236 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพ่ือป้องกันมิให้ภิกษุพูดโอ้อวด แสดงตน เป็นผู้วิเศษ แม้สิ่งที่พูดจะมีจริงเป็นจริงในตน เพราะเป้าหมายของการบวช ก็คือการบรรลุธรรมถึงความบริสุทธิ์เฉพาะตน มิใช่เพ่ือเมื่อบรรลุแล้วโอ้อวด และการพูดเช่นน้นั แสดงว่ามีวตั ถปุ ระสงค์คือเพ่อื ใหไ้ ดป้ จั จัย ๔ เพื่อเกียรตยิ ศ ชื่อเสียง และเพ่อื ให้ชาวบา้ นศรทั ธาเล่อื มใส อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษบุ อกอตุ ตรมิ นสุ สธรรมทมี่ จี รงิ แกอ่ ปุ สมั บนั (๒) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภิกษุอาทกิ มั มิกะ ไดแ้ ก่ ภิกษฝุ ่ังแมน่ ้�ำวัคคมุ ทุ า มุสาวาทวรรค สิกขาบทท่ี ๙ ค�ำแปลพระบาลีทเี่ ปน็ พทุ ธบญั ญตั ิ “อน่ึง ภิกษุใดบอกอาบัติช่ัวหยาบของภิกษุแก่ อนุปสมั บัน เป็นปาจิตตยี ์เว้นไว้แตภ่ กิ ษุไดร้ บั สมมติ” เนอื้ ความยอ่ ในหนังสือนวโกวาท “ภิกษุบอกอาบัติช่ัวหยาบของภิกษุอ่ืนต่ออนุปสัมบัน ต้องปาจติ ตีย์ (เว้นไว้แต่ไดส้ มมต)ิ ” พระวินัยบัญญัติ 237 www.kalyanamitra.org
อธบิ ายความโดยยอ่ ค�ำว่า บอก คือ แจ้งให้รู้ บอกให้ทราบ แก่พวกคฤหัสถ์ หรือพวก บรรพชิตตา่ งลัทธิ ค�ำวา่ อาบัตชิ ัว่ หยาบ ได้แก่ อาบัติปาราชกิ และอาบัติสังฆาทเิ สส การบอกอาบัติช่ัวหยาบของภิกษุอื่นเป็นการประจานความเสียหาย ของเพอ่ื นสหธรรมกิ ดว้ ยกนั เปน็ การทำ� ลายชอ่ื เสยี งของหมคู่ ณะโดยภาพรวม ท�ำให้หมูค่ ณะเสียหาย และทำ� ให้ชาวบา้ นเสอ่ื มศรทั ธา เพราะสว่ นใหญ่จะเช่อื ในเร่ืองท่ีภิกษุพูด ทั้งท่ีความจริงส่วนใหญ่เป็นเร่ืองไม่จริง ใส่ร้าย อันภิกษุ ผู้บาดหมางกัน ไม่ถูกไม่ลงรอยกัน ต้องการใส่ร้ายหรือต้องการประจานฝ่าย ตรงข้ามให้เสียหาย ใหเ้ สียชือ่ เสียง เจตนารมณข์ องสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนท้ี รงบัญญตั ิไว้ เพอื่ ปอ้ งกนั มิใหภ้ ิกษุหาเรอ่ื งภิกษุอ่นื ห้าม มใิ หน้ ำ� ความเสยี หายของกนั และกนั ไปประจาน เพราะเปน็ ความเสยี หายทง้ั แก่ ผู้น�ำไปบอกและแก่ส่วนรวม อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุบอกเร่ืองราว ไม่บอกอาบัติ (๒) ภิกษุบอกอาบัติ ไม่บอกเรื่องราว (๓) ภิกษุได้รับสมมติ (๔) ภิกษุผู้วิกลจริต (๕) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรือภิกษุ อาทิกัมมกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภิกษฉุ ัพพคั คีย์ 238 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
มสุ าวาทวรรค สิกขาบทท่ี ๑๐ คำ� แปลพระบาลที ีเ่ ปน็ พุทธบญั ญัติ “อน่ึง ภิกษุใดขุดเองก็ดี ให้ขุดก็ดี ซ่ึงแผ่นดิน เป็น ปาจติ ตยี ์” เนื้อความยอ่ ในหนงั สอื นวโกวาท “ภิกษุขุดเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ซ่ึงแผ่นดิน ต้อง ปาจติ ตีย์” อธบิ ายความโดยย่อ ค�ำว่า แผ่นดิน ท่านอธิบายความหมายไว้ว่า ได้แก่ แผ่นดิน ๒ ประเภท คอื - ชาตปฐพี คือ แผ่นดินแท้ ได้แก่ แผ่นดินที่มีดินร่วนล้วน มีดิน เหนยี วล้วน มหี ิน มกี รวด มกี ระเบอ้ื ง มีแร่ มที ราย ปนอยู่นอ้ ย มดี นิ มาก แม้ ดนิ ทย่ี งั มไิ ดเ้ ผาไฟกเ็ รยี กวา่ แผน่ ดนิ แท้ แมก้ องดนิ รว่ นกด็ ี กองดนิ เหนยี วกด็ ี ที่ มีฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้ว ก็เรียกวา่ แผ่นดินแท้ - อชาตปฐพี คอื แผ่นดินไม่แท้ ไดแ้ ก่ แผ่นดินท่ีเป็นหนิ ล้วน เป็น กรวด เป็นกระเบ้ือง เป็นแร่ เป็นทรายล้วน มดี นิ ร่วนน้อย มดี นิ เหนยี วนอ้ ย มี หินมาก มีกรวด มีกระเบ้ือง มีแร่ มีทรายมาก แม้ดินท่ีเผาไฟแล้ว ก็เรียกว่า แผน่ ดนิ ไมแ่ ท้ แมก้ องดนิ รว่ นกด็ ี กองดนิ เหนยี วกด็ ี ทฝี่ นตกรดตำ�่ กวา่ ๔ เดอื น กเ็ รียกวา่ แผน่ ดนิ ไม่แท้ พระวินัยบัญญัติ 239 www.kalyanamitra.org
เจตนารมณข์ องสกิ ขาบทนี้ สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ โดยทรงมีความมุ่งหมายท่ีส�ำคัญคือมิให้ ภกิ ษไุ ปทำ� ลายชวี ติ สตั ว์ทม่ี ีอยใู่ นดินตามปกติ เชน่ ไสเ้ ดอื น และสัตวอ์ ื่นๆ เม่ือ ภกิ ษุไปขุดแผ่นดนิ ยอ่ มท�ำให้สัตว์ตายไป เป็นการทำ� ลายชวี ติ สัตวไ์ ป อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้ดินน้ี ท่านจงให้ดินน้ี ท่านจงน�ำดินน้ีมา เรามีความ ตอ้ งการดว้ ยดนิ นี้ ทา่ นจงท�ำดนิ น้ใี ห้เป็นกปั ปยิ ะ (๒) ภกิ ษุไม่แกลง้ (๓) ภิกษุ ท�ำเพราะไม่มีสติ (๔) ภิกษุผู้ไม่รู้ (๕) ภิกษุผู้วิกลจริต หรือภิกษุอาทิกัมมิกะ ไดแ้ ก่ พวกภกิ ษชุ าวเมอื งอาฬวี วรรคท่ี ๒ ภูตคามวรรค วา่ ดว้ ยภูตคาม ภตู คามวรรค สกิ ขาบทท่ี ๑ ค�ำแปลพระบาลที เ่ี ปน็ พทุ ธบัญญตั ิ “เปน็ ปาจติ ตีย์ ในเพราะพรากภตู คาม” 240 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เนอ้ื ความย่อในหนงั สอื นวโกวาท “ภกิ ษุพรากของเขยี วซึง่ เกิดอยกู่ ับที่ ให้หลดุ จากท่ี ตอ้ ง ปาจิตตยี ์” อธบิ ายความโดยย่อ ค�ำวา่ ภูตคาม ไดแ้ ก่ พืช ๕ ชนิด คือ พชื เกิดจากเหง้า พืชเกดิ จาก ตน้ พชื เกิดจากข้อ พืชเกดิ จากยอด และพืชเกิดจากเมลด็ ค�ำน้ีตามรูปศัพท์แปลว่า บ้านผี คือท่ีสถิตของเทวดาประเภทหนึ่งที่ เรยี กวา่ รกุ ขเทวดา แมต้ น้ บญั ญตั แิ หง่ สกิ ขาบทนก้ี เ็ กดิ ขนึ้ จากการทภี่ กิ ษไุ ปตดั ต้นไม้ที่มีรุกขเทวดาสิงอยู่ เทวดาเดือดร้อนแต่ไม่กล้าท�ำร้ายภิกษุเพราะกลัว บาป จึงไปกราบทูลพระพุทธองค์ พระองค์ทรงประทานสาธุการว่าดีแล้วท่ีไม่ ฆา่ ภกิ ษุรปู ที่ตดั ตน้ ไม้นัน้ แล้วทรงบญั ญตั สิ ิกขาบทนข้ี ้ึน ในทท่ี วั่ ไปแปล ภตู คาม วา่ ของเขยี ว ไดแ้ ก่ ตน้ ไม้ ตน้ หญา้ เถาวลั ย์ เป็นต้น ค�ำว่า พราก หมายถึงการตัด การถอน การท�ำใหห้ ลุดจากที่ การต้ม ด้วยตนเอง หรือด้วยการใชใ้ ห้ผู้อ่นื ท�ำ อนั เปน็ เหตใุ หภ้ ตู คามตาย ซง่ึ ชาวบ้าน ยุคนั้นถือวา่ เบียดเบยี นอินทรยี อ์ ยา่ งหนงึ่ ซ่ึงมีชวี ะ ท่านก�ำหนดว่า เม่ือพรากภูตคามคือของเขียว เป็นปาจิตตีย์ ส่วน พืชพันธุ์ท่ีถูกพรากจากท่ีแล้ว แต่ยังเป็นได้อีกเรียกว่า พีชคาม เมื่อพรากพีช คาม เปน็ ทุกกฏ พระวินัยบัญญัติ 241 www.kalyanamitra.org
เจตนารมณ์ของสิกขาบทน้ี สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อป้องกันมิให้ภิกษุพรากของเขียวอันมี ชวี ะ และมใิ หต้ ดั ตน้ ไมอ้ นั เปน็ ภตู คาม เปน็ การรกั ษาตน้ ไมเ้ ขา้ ไว้ มใิ หถ้ กู ตดั โคน่ ซงึ่ หมายถงึ เปน็ การรกั ษาปา่ และรกั ษาสงิ่ แวดลอ้ มอนั สำ� คญั ของมนษุ ยน์ น่ั เอง อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุกล่าวว่า ท่านจงรู้พืชนี้ ท่านจงให้พืชน้ี ท่านจงน�ำพืชน้ีมา เรามีความ ต้องการด้วยพืชนี้ ท่านจงท�ำพืชน้ีให้เป็นกัปปิยะ (๒) ภิกษุไม่แกล้งพราก (๓) ภิกษทุ ำ� เพราะไมม่ ีสติ (๕) ภกิ ษไุ ม่รู้ (๖) ภิกษุผู้วิกลจริต (๗) ภิกษผุ ูเ้ ปน็ ตน้ บัญญตั ิ หรือภิกษอุ าทิกมั มกิ ะ ไดแ้ ก่ ภิกษชุ าวเมอื งอาฬวี ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๒ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ปน็ พทุ ธบัญญตั ิ “เปน็ ปาจติ ตยี ์ ในเพราะเปน็ ผกู้ ลา่ วคำ� อนื่ ในเพราะเปน็ ผทู้ ำ� สงฆ์ใหล้ ำ� บาก” เนอ้ื ความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภกิ ษปุ ระพฤตอิ นาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกลง้ พูด กลบเกล่ือนก็ดี น่ิงเสียไม่พูดก็ดี ถ้าสงฆ์สวดประกาศ ข้อความนน้ั จบ ตอ้ งปาจิตตีย”์ 242 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
อธบิ ายความโดยยอ่ ค�ำว่า ประพฤติอนาจาร คือ ประพฤติไม่งาม ไม่เหมาะสมกับภาวะ เช่นเล่นแบบเด็กๆ เลน่ คะนอง เลน่ หมากรุก เลน่ หมากแยก เป็นต้น ค�ำว่า เป็นผู้กลา่ วคำ� อ่นื คอื ภิกษุเมอ่ื ถกู สอบสวนในเรื่องหรืออาบตั ิ ในทา่ มกลางสงฆอ์ ยู่ ไมป่ ระสงคจ์ ะบอกเรอ่ื งนนั้ ไมป่ ระสงคจ์ ะเปดิ เผยเรอื่ งนนั้ จงึ เอาเรอื่ งอน่ื มาพดู กลบเกลอื่ นวา่ ใครตอ้ ง ตอ้ งอะไร ตอ้ งเพราะเรอื่ งอะไร ตอ้ ง อยา่ งไร ทา่ นทง้ั หลายพดู ถงึ ใคร พดู ถงึ เรอื่ งอะไร ดงั นี้ นชี่ อ่ื วา่ เปน็ ผกู้ ลา่ วคำ� อนื่ ค�ำวา่ เป็นผทู้ �ำใหส้ งฆ์ลำ� บาก คอื ภิกษเุ ม่อื ถกู สอบสวนอยู่อยา่ งนนั้ ไมป่ ระสงคจ์ ะบอกเรอื่ งนนั้ ไมป่ ระสงคจ์ ะเปดิ เผยเรอื่ งนน้ั จงึ นงิ่ เสยี ทำ� ใหส้ งฆ์ ล�ำบาก นีช่ อื่ วา่ เป็ผผทู้ �ำใหส้ งฆ์ล�ำบาก ภิกษุผู้ประพฤติอนาจารเช่นนั้น ทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดประกาศ ข้อความนน้ั เมอื่ สงฆ์สวดจบ ตอ้ งปาจติ ตีย์ เจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้ สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอ่ื ปอ้ งกนั มใิ หภ้ กิ ษปุ ระพฤตอิ นาจาร ไมด่ ี งาม อนั เป็นทต่ี �ำหนติ ติ งิ ของชาวบ้าน และเปน็ ทเ่ี สือ่ มศรัทธาของผู้มศี รัทธาได้ อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุไม่เข้าใจค�ำถาม (๒) ภิกษุอาพาธให้การไม่ได้ (๓) ภิกษุไม่ให้การด้วย คดิ ว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรอื ความววิ าทจกั มีแก่ พระวินัยบัญญัติ 243 www.kalyanamitra.org
สงฆ์ (๔) ภิกษุไม่ให้การด้วยคิดว่า สงฆ์จักแตกกันหรือสงฆ์จักร้าวฉาน (๕) ภิกษุไมใ่ หก้ ารดว้ ยคิดว่า สงฆ์จกั ท�ำกรรมโดยไมช่ อบธรรม โดยเป็นพวก หรอื จักไม่ท�ำกรรมแก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม (๖) ภิกษุผู้วิกลจริต (๗) ภิกษุผู้เป็น ตน้ บัญญัติ หรอื ภิกษอุ าทกิ ัมมกิ ะ ได้แก่ พระฉนั นะ ภตู คามวรรค สิกขาบทท่ี ๓ ค�ำแปลพระบาลที เ่ี ป็นพทุ ธบัญญัติ “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะเป็นผู้กล่าวโทษ ในเพราะ เป็นผตู้ ิเตยี น” เนื้อความย่อในหนงั สือนวโกวาท “ภิกษุติเตียนภิกษุอ่ืนท่ีสงฆ์สมมติให้เป็นผู้ท�ำการสงฆ์ ถา้ เธอทำ� ชอบตเิ ตยี นเปลา่ ๆ ต้องปาจติ ตยี ์” อธิบายความโดยยอ่ ค�ำว่า เป็นผู้กล่าวโทษ คือ ภิกษุผู้มุ่งกล่าวติเตียน มุ่งท�ำให้อัปยศ ม่งุ ท�ำใหเ้ ก้อเขิน ซึ่งอุปสมั บันผู้อนั สงฆส์ มมตใิ ห้เป็นผู้จดั เสนาสนะ เปน็ ผู้แจก อาหาร แจกยาคู แจกผลไม้ แจกของเคยี้ ว หรอื แจกของเล็กน้อย ภิกษุกล่าวโทษก็ดี ติเตียนก็ดี ซึ่งอุปสัมบันลักษณะน้ี ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ 244 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี สกิ ขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพื่อป้องกันมใิ หภ้ ิกษคุ ิดหยมุ หยมิ หาเร่อื ง กล่าวโทษหรอื ตเิ ตยี นภิกษผุ ทู้ ำ� หนา้ ทโ่ี ดยชอบธรรม โดยที่ตนไดร้ บั การจัดและ การแจกทไ่ี ม่ดี ไม่ถกู ใจ จึงกลา่ วโทษหรือติเตยี นเล่อื นลอย อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษกุ ลา่ วโทษหรอื ตเิ ตยี นภกิ ษผุ ทู้ ำ� เพราะฉนั ทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ โดยปกติ (๒) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๓) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภกิ ษอุ าทกิ มั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พระเมตติยะและพระภมุ มชกะ ในกลุ่มภกิ ษฉุ พั พัคคยี ์ ภูตคามวรรค สิกขาบทท่ี ๔ ค�ำแปลพระบาลที เ่ี ปน็ พทุ ธบัญญัติ “อนึง่ ภิกษวุ างก็ดี ให้วางก็ดี ซ่ึงเตยี งกด็ ี ตั่งกด็ ี ฟูก ก็ดี เก้าอี้ก็ดี อันเป็นของสงฆ์ไว้ในที่แจ้ง เม่ือจะจากไป ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซ่ึงเสนาสนะท่ีวางไว้นั้น หรอื ไมบ่ อกมอบหมาย ไปเสยี เป็นปาจติ ตยี ์” เนอื้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภกิ ษเุ อาเตยี ง ตง่ั ฟกู เกา้ อี้ ของสงฆไ์ ปตง้ั ในทแ่ี จง้ แลว้ เม่ือหลีกไปจากที่น้ัน ไม่เก็บเองก็ดี ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเก็บก็ดี ไม่มอบหมายแกผ่ ู้อื่นก็ดี ต้องปาจติ ตยี ์” พระวินัยบัญญัติ 245 www.kalyanamitra.org
อธิบายความโดยย่อ เสนาสนะ เช่น เตยี ง ตั่ง ฟกู เกา้ อี้ ทีเ่ ปน็ ของสงฆ์ ถือว่าเป็นของใช้ สว่ นกลาง ไมม่ เี จา้ ของโดยตรง สามารถใชร้ ว่ มกนั ได้ แตต่ อ้ งดแู ลรกั ษา เกบ็ งำ� ใหป้ ลอดภยั จากฝน จากลม หรอื จากอันตรายอย่างอ่นื เม่ือน�ำเสนาสนะเหล่าน้ันไปใช้ในที่แจ้งหรือที่กลางแจ้งแล้วต้อง เกบ็ งำ� ไวท้ ่ีเดิม หากไมเ่ ก็บ ไมใ่ ห้คนอนื่ เกบ็ หรอื ไมม่ อบหมายใหใ้ ครดแู ลแทน ของนั้นย่อมเสียหาย เพราะภิกษุไม่เก็บเสนาสนะเช่นนั้นหลังจากน�ำออกไป ใช้กลางแจง้ แล้ว ดว้ ยความเผอเรอ ด้วยความมกั งา่ ย หรือด้วยความเคยชนิ ท�ำใหข้ องเหล่าน้ันเสียหาย จีงทรงบัญญัติเป็นสิกขาบทไว้ ในกรณีท่ีตนใช้อยู่ก่อน ต่อมามีผู้อ่ืนมาใช้ต่อ ถือว่าเป็นธุระของเขา หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ตอ้ งรบี ไปโดยด่วน โดยไม่เก็บหรือไมบ่ อกใหผ้ อู้ ื่นเกบ็ ไม่ เป็นอาบตั ิ การน�ำเสนาสนะเหลา่ น้ันออกไปผ่ึงแดด ไม่นับเข้าในสกิ ขาบทน้ี เจตนารมณ์ของสิกขาบทน้ี สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอื่ สรา้ งนสิ ยั ในการเกบ็ รกั ษาของสงฆ์ แกภ่ กิ ษุ มใิ หม้ คี วามมกั งา่ ย สะเพรา่ เผอเรอ ขาดความเอาใจใสใ่ นสง่ิ ทตี่ อ้ งทำ� หรอื ใชข้ องสงฆแ์ บบเคยตวั ทง้ิ ขวา้ งจนชนิ และเพอื่ ใหร้ จู้ กั รกั ษารจู้ กั ถนอมของ อันเปน็ ของสงฆ์ 246 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุเก็บเองแล้วไป (๒) ภิกษุให้คนอื่นเก็บแล้วไป (๓) ภิกษุบอกมอบหมาย แล้วไป (๔) ภิกษุเอาออกผ่ึงแดดไว้แล้วไปด้วยต้ังใจว่าจะกลับมาเก็บ (๕) เสนาสนะมเี หตบุ างอย่างมารบกวน (๖) ภิกษมุ ีอันตราย (๗) ภิกษผุ ู้วิกลจริต (๘) ภิกษุผเู้ ปน็ ต้นบัญญัติ หรอื อาทกิ ัมมกิ ะ ได้แก่ ภิกษุมากรปู ในวัดเชตวนั ภตู คามวรรค สิกขาบทท่ี ๕ ค�ำแปลพระบาลีที่เป็นพทุ ธบญั ญตั ิ “อน่ึง ภิกษุใดปูก็ดี ให้ปูก็ดี ซึ่งที่นอนในวิหารอันเป็น ของสงฆ์ เมื่อจะจากไปไม่เก็บเองก็ดี ไม่ให้เก็บก็ดี ซึ่ง ท่ีนอนอันปูไว้นั้น หรือไม่บอกมอบหมาย ไปเสีย เป็น ปาจติ ตีย”์ เนื้อความย่อในหนงั สอื นวโกวาท “ภกิ ษเุ อาทนี่ อนของสงฆป์ นู อนในกฎุ สี งฆแ์ ลว้ เมอ่ื หลกี ไปจากทน่ี น้ั ไมเ่ กบ็ เองกด็ ี ไมใ่ ชใ้ หผ้ อู้ น่ื เกบ็ กด็ ี ไมม่ อบหมาย แกผ่ ู้อ่ืนกด็ ี ต้องปาจติ ตีย”์ พระวินัยบัญญัติ 247 www.kalyanamitra.org
อธิบายความเจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ อธิบายความและเจตนารมณ์ของสิกขาบทน้ีก็เหมือนกับสิกขาบท กอ่ น ตา่ งเพยี งสกิ ขาบทนเ้ี ป็นที่นอนเท่านนั้ อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุเก็บเองแล้วไป (๒) ภิกษุให้คนอื่นเก็บแล้วไป (๓) ภิกษุบอกมอบหมาย แลว้ ไป (๔) เสนาสนะมเี หตบุ างอยา่ งรบกวน (๕) ภกิ ษยุ งั เปน็ หว่ งไปยนื อยู่ ณ ที่น้ันบอกมอบหมาย (๖) ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวาง (๗) ภิกษุมีอันตราย (๘) ภิกษุผู้วกิ ลจรติ (๙) ภกิ ษุผเู้ ปน็ ต้นบัญญตั ิ หรือภกิ ษุอาทกิ ัมมกิ ะ ได้แก่ ภิกษุสตั ตรสวัคคีย์ (กลุม่ ๑๗ รูป ซงึ่ เปน็ เดก็ อายไุ ม่ถงึ ๒๐ ปี) ภตู คามวรรค สิกขาบทที่ ๖ ค�ำแปลพระบาลที ีเ่ ป็นพุทธบญั ญัติ “อนง่ึ ภกิ ษใุ ดรู้อยู่ เข้าไปนอนแทรกแซงภิกษุผเู้ ขา้ ไป กอ่ นในวหิ ารอนั เปน็ ของสงฆ์ ดว้ ยหมายใจวา่ ผใู้ ดมคี วาม คบั ใจ ผนู้ น้ั จกั หลกี ไปเอง ทำ� ความหมายใจอยา่ งนเี้ ทา่ นนั้ ใหเ้ ปน็ เหตุ ไมม่ ีอย่างอ่ืน เปน็ ปาจติ ตีย์” 248 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เน้อื ความยอ่ ในหนงั สอื นวโกวาท “ภกิ ษุร้อู ย่วู ่า กฎุ นี ้ีมีผอู้ ยูก่ ่อน แกล้งไปนอนเบียด ด้วย หวังจะให้ผู้อยู่ก่อนคับแคบใจเข้าก็จะหลีกไปเอง ต้อง ปาจิตตีย”์ อธบิ ายความโดยย่อ ค�ำว่า วหิ ารอนั เปน็ ของสงฆ์ หมายถึงกฎุ ี ท่อี ยอู่ าศัยอันพักนอนได้ ทเี่ ปน็ ส่วนกลางสำ� หรับภกิ ษุ ค�ำว่า เขา้ ไปนอนแทรกแซง คอื เข้าไปนอนเบียด ท�ำใหผ้ ู้ทน่ี อนอยู่ ก่อนมีความรู้สึกอึดอัด ทนไม่ได้ ย้ายไปนอนที่อื่น หรือย้ายออกไปเลย การ เขา้ ไปนอนเบยี ดด้วยมีเจตนาจะกนั ท่ีนน้ั ไวเ้ พื่อตนเอง ให้ภิกษอุ ืน่ ย้ายไปอยา่ ง น้ี เปน็ อาบัติ กรณีที่นอนเบียดโดยมีภิกษุอ่ืนมาขอนอนด้วยในที่อยู่ของตน หรือ นอนในวหิ ารของสงฆอ์ ันเป็นท่อี ยู่รวมกัน หรือในกรณีท่มี กี จิ จ�ำเป็นเช่น ภกิ ษุ ถูกความร้อนความหนาวเบียดเบียนจึงเข้าไปอาศัยเพ่ือหลบร้อนหลบหนาว ช่ัวคราว ไมเ่ ปน็ อาบตั ิ เจตนารมณ์ของสิกขาบทน้ี สิกขาบทนท้ี รงบัญญัติไว้ เพอ่ื ปอ้ งกนั มิใหภ้ กิ ษเุ ปน็ ผูเ้ หน็ แกต่ วั เห็น แก่ประโยชน์ส่วนตัว เอารัดเอาเปรียบภิกษุอื่น กีดกันภิกษุอื่นมิให้มีท่ีนอนดี เหมือนตน ทำ� ใหภ้ กิ ษอุ น่ื เดอื ดรอ้ น ท�ำให้ภิกษุอย่รู ่วมกนั อย่างสนั ตไิ ม่ได้ พระวินัยบัญญัติ 249 www.kalyanamitra.org
อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษอุ าพาธเขา้ ไป (๒) ภกิ ษถุ กู ความหนาวหรอื ความรอ้ นเบยี ดเบยี นแลว้ เขา้ ไป (๓) ภกิ ษมุ ีอนั ตราย (๔) ภกิ ษผุ ้วู กิ ลจริต (๕) ภิกษุผเู้ ป็นต้นบญั ญตั ิ หรือภกิ ษุ อาทกิ ัมมกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภกิ ษุฉัพพัคคยี ์ ภตู คามวรรค สกิ ขาบทที่ ๗ ค�ำแปลพระบาลีทีเ่ ปน็ พุทธบัญญัติ “อนง่ึ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ ฉดุ คร่าก็ดี ให้ฉดุ ครา่ กด็ ี ซง่ึ ภกิ ษอุ อกจากวิหารอันเปน็ ของสงฆ์ เปน็ ปาจิตตีย์” เนอื้ ความย่อในหนังสอื นวโกวาท “ภกิ ษโุ กรธเคอื งภกิ ษอุ น่ื ฉดุ ครา่ ไลอ่ อกจากกฏุ สี งฆ์ ตอ้ ง ปาจิตตยี ”์ อธบิ ายความโดยย่อ ค�ำว่า ฉุดคร่า หมายถึงขับไล่ บอกให้ออกไป มิให้อยู่ในที่นั้นต่อไป หรอื สงั่ ใหค้ นอ่ืนท�ำอย่างนน้ั 250 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
สิกขาบทนี้หมายถึง การท่ีภิกษุผู้มีอ�ำนาจหรือมีอาวุโสแสดงความ โกรธ ความไม่พอใจออกมา ฉุดคร่าหรือให้ฉุดคร่าภิกษุออกไปจากวิหารหรือ กุฎีสงฆ์ ด้วยสาเหตุที่ไม่ชอบธรรม ท�ำให้ผู้ถูกฉุดคร่าออกไปเดือดร้อนและไม่ เป็นธรรม แต่ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ขับสัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิกผู้ ประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่ตั้งอยู่ในโอวาท ให้ออกจากส�ำนักตน หรือเจ้าอาวาส ใชอ้ �ำนาจอนั ชอบธรรมให้ภกิ ษผุ ูป้ ระพฤติมชิ อบ ทำ� ผิดกฎกตกิ าของวัดออกไป เสยี จากวัด ไมต่ อ้ งอาบัติ เจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ สกิ ขาบทนท้ี รงบัญญตั ิไว้ เพ่ือมิใหภ้ ิกษุถูกกล่นั แกล้ง ถูกรังแก หรอื ได้รับการเบียดเบียน จากภิกษุอ่ืนที่มีอ�ำนาจมีอาวุโสกว่า โดยไม่ถูกต้องไม่ ชอบธรรม อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซ่ึงภิกษุอลัชชี (ผู้ไม่ละอาย) (๒) ภิกษุขนก็ดี ใหข้ นก็ดี ซึ่งบรขิ ารของภกิ ษุอลชั ชนี ั้น (๓) ภกิ ษุฉดุ ครา่ ก็ดี ใหฉ้ ดุ ครา่ ก็ดี ซง่ึ ภกิ ษผุ วู้ ิกลจริต (๔) ภิกษขุ นก็ดี ให้ขนก็ดี ซ่ึงบริขารของภิกษผุ วู้ ิกจรติ นัน้ (๕) ภกิ ษฉุ ุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุผูก้ อ่ การบาดหมางก็ดี กอ่ การทะเลาะก็ ดี กอ่ การววิ าทก็ดี ก่อความอือ้ ฉาวก็ดี ก่ออธกิ รณใ์ นสงฆก์ ด็ ี (๖) ภกิ ษขุ นกด็ ี ใหข้ นกด็ ี ซง่ึ บรขิ ารของภกิ ษผุ กู้ อ่ การบาดหมางเปน็ ตน้ นน้ั (๗) ภกิ ษฉุ ดุ ครา่ กด็ ี พระวินัยบัญญัติ 251 www.kalyanamitra.org
ให้ฉุดคร่าก็ดี ซ่ึงอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ (๘) ภิกษุขน กด็ ี ใหข้ นกด็ ี ซงึ่ บรขิ ารของอนั เตวาสกิ หรอื สทั ธวิ หิ ารกิ นนั้ (๙) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๑๐) ภิกษผุ เู้ ป็นต้นบัญญตั ิ หรอื ภิกษอุ าทกิ ัมมิกะ ได้แก่ พวกภกิ ษุฉัพพคั คยี ์ ภตู คามวรรค สิกขาบทท่ี ๘ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ป็นพุทธบัญญตั ิ “อนึ่ง ภิกษุใดน่ังทับก็ดี นอนทับก็ดี ซ่ึงเตียงก็ดี ต่ัง ก็ดี อันมีขาเสียบไว้บนกุฎีมีชั้นลอยในวิหารอันเป็น ของสงฆ์ เปน็ ปาจติ ตยี ์” เนอื้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภิกษุนง่ั ทบั ก็ดี นอนทบั กด็ ี บนเตียงก็ดี บนตั่งกด็ ี อนั มี เท้าไม่ได้ตรึงให้แน่นซ่ึงเขาวางไว้บนร่างร้านที่เขาเก็บของ ในกุฎี ตอ้ งปาจติ ตยี ”์ อธบิ ายความโดยยอ่ คำ� ว่า เตยี งมขี าเสยี บไว้ ได้แก่ เตยี งที่เขาท�ำเอาขาเตยี งเสยี บเข้าไว้ ในตัวเตียงเฉยๆ ไม่ไดต้ รงึ ดว้ ยสลกั ใหแ้ น่น เรียกว่า อาหัจจปาทกะ ต่ังท่มี ขี า เสยี บก็ท�ำแบบเดยี วกัน คำ� วา่ กฎุ มี ชี น้ั ลอย หมายถงึ รา่ งรา้ นทย่ี กขนึ้ อกี ชนั้ หนง่ึ ในวหิ ารทอ่ี ยู่ คือช้ันลา่ งเปน็ ที่นอนหรือท่ีน่ังอยู่แลว้ แต่ตอ้ งการพ้ืนทนี่ อนอกี ชนั้ หนงึ่ จงึ ทำ� 252 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
ตอม่อสูงประมาณท่วมหัวขึ้นแล้ววางรอดหรือคานบนตอม่อนั้น แต่มิได้ปูพ้ืน ตามปกติ ยกเตียงชนิดท่ีมีขาเสียบไว้นั้นพาดบนรอดน้ัน โดยให้พ้ืนเตียงพาด อยู่บนรอดนั้น ส่วนขาเตียงจะห้อยลง ท�ำนองเป็นเตียงซ้อนเตียง ใช้นอนได้ ทงั้ ขา้ งลา่ งขา้ งบน เตยี งซ้อนเตยี งนน่ั แหละเรียกวา่ กุฎมี ชี น้ั ลอย กุฎีมีช้ันลอยแบบนี้ ผู้อยู่ข้างล่างต้องระวังศีรษะจะโดนขาเตียงยาม เขา้ ออกหรอื ลกุ ขน้ึ ยนื หรอื เมอื่ มกี ารนอนหรอื นง่ั ทบั ขา้ งบน ขาเตยี งอาจหยอ่ น ตวั ลงมาเสยี บศีรษะได้ ภิกษนุ อนหรือนัง่ บนกุฎมี ีชนั้ ลอยเชน่ น้ี ในวหิ ารหรอื ทอี่ ยู่อนั เปน็ ของ สงฆ์ เป็นปาจติ ตีย์ ถา้ เปน็ วหิ ารหรอื ทอ่ี ยขู่ องบคุ คล ภกิ ษสุ งสยั วา่ เปน็ ของบคุ คลหรอื ของ สงฆ์ นอนหรือน่ังไป เปน็ ทุกกฏ ถ้าเป็นวหิ ารของตน ไม่ต้องอาบัติ เจตนารมณข์ องสกิ ขาบทนี้ สิกขาบทน้ที รงบัญญัติไว้ เพอ่ื ปอ้ งกันอันตรายอันจะเกิดขนึ้ จากการ นอนหรือนั่งบนเตียงหรือต่ังลักษณะน้ัน เพราะไม่แข็งแรง ไม่ปลอดภัย แบบ ทำ� ขน้ึ ชว่ั คราว อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ไม่ใชก่ ฎุ ีมชี ัน้ ลอย (๒) ชั้นลอยสูงพอกระทบศรี ษะ (๓) ขา้ งล่างไม่ได้ใชเ้ ปน็ ที่ พระวินัยบัญญัติ 253 www.kalyanamitra.org
อยู่ (๔) ข้างบนปพู ้ืนไว้ (๕) ขาเตียงขาตั่งไดต้ รึงสลักไว้ (๖) ภกิ ษยุ นื บนเตียง หรือต่ังนั้นหยิบจีวรหรือพาดจีวรได้ (๗) ภิกษุผู้วิกลจริต (๘) ภิกษุผู้เป็น ต้นบญั ญัติ หรือภิกษุอาทิกัมมิกะ ได้แก่ ภกิ ษุวดั เชตวัน ๒ รูป ภตู คามวรรค สิกขาบทที่ ๙ ค�ำแปลพระบาลที เ่ี ป็นพุทธบัญญัติ “อน่ึง ภิกษุผู้ให้สร้างวิหารใหญ่ จะตั้งบานประตู ตลอดถึงกรอบประตูจะตบแต่งบานหน้าต่าง พึงยืนใน ท่ีที่ปราศจากของเขียวสด จัดการมุงได้ ๒-๓ ชั้น ถ้าเธอจัดการย่ิงกว่านั้น แม้ยืนในท่ีที่ปราศจากของ เขียวสด เป็นปาจติ ตยี ์” เน้อื ความยอ่ ในหนงั สอื นวโกวาท “ภกิ ษจุ ะเอาดนิ หรอื ปนู โบกหลงั คากฎุ ี พงึ โบกไดแ้ ตเ่ พยี ง ๓ ช้ัน ถา้ โบกเกินกวา่ นัน้ ต้องปาจติ ตยี ์” อธิบายความโดยย่อ ค�ำว่า วิหาร ได้แก่ ท่ีอยู่ซ่ึงโบกฉาบปูนไว้เฉพาะภายใน เฉพาะ ภายนอก หรือท้งั สองด้านก็ตาม ในเร่ืองการสร้างวิหารหรือท่ีอยู่ตามสิกขาบทน้ี ภิกษุพึงยืนในท่ี ท่ีปราศจากของเขียวสด คือไม่ยืนบนหญ้าหรือต้นไม้เล็กๆ ติดต้ังประตูให้มี 254 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
ความคงทน ไม่กระเทือนในเวลาเปิดปิด ตบแต่งหน้าต่างด้วยการทาสี เช่น สขี าว สีดำ� สยี างไม้ เป็นตน้ สว่ นหลังคา พึงมุงดว้ ยอฐิ ด้วยแผ่นศลิ า ด้วย หญ้า ด้วยใบไม้ หรอื พอกดว้ ยปนู ขาว ได้ ๒-๓ ชั้น เพ่ือมใิ ห้หนาเกินไป จะ รบั นำ�้ หนกั ไม่ไหว พังทลายลงมา ถ้ามุงหรอื ฉาบเกินกว่านั้น เป็นปาจติ ตีย์ ท่านแนะน�ำว่า เม่ือให้มุงตามแถว พงึ จดั การเอง ๒ แถว แถวที่ ๓ พงึ สงั่ ให้คนอน่ื ท�ำแล้วหลกี ไป เมอื่ ให้มงุ เป็นชัน้ พงึ จัดการเอง ๒ ชัน้ ชนั้ ที่ ๓ พงึ สั่งให้คนอน่ื ท�ำแล้วหลีกไป เพอื่ ความปลอดภัย เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอ่ื ปอ้ งกนั อนั ตรายแกภ่ กิ ษุ เพราะการวาง รากฐานในการกอ่ สรา้ งอาคารสมยั นนั้ ยงั ไมด่ พี อ เมอ่ื เพมิ่ นำ�้ หนกั ดว้ ยโบกฉาบ หรอื ดว้ ยการมงุ หลงั คาหลายชนั้ เขา้ โครงสรา้ งอาจรบั นำ�้ หนกั ไมไ่ หว พงั ทลาย ลงมา ทำ� ใหเ้ สยี ของ และอาจทำ� ใหเ้ กดิ อนั ตรายแกผ่ ทู้ ำ� หรอื ผสู้ งั่ การทอ่ี ยใู่ กลๆ้ ได้ ดงั เช่นเรอ่ื งในตน้ บัญญตั สิ ิกขาบทน้ี อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุพอก ๒-๓ ช้ัน (๒) ภิกษุมุงหย่อนกว่า ๒-๓ ชั้น (๓) ภิกษุสร้างถ�้ำ (๔) ภกิ ษสุ รา้ งดว้ ยทรพั ยข์ องตน (๕) เวน้ อาคารอนั เปน็ ทอ่ี ยเู่ สยี ภกิ ษสุ รา้ งได้ ทุกอย่าง ไมเ่ ป็นอาบัติ (๖) ภกิ ษุผูว้ ิกลจรติ (๗) ภิกษผุ เู้ ป็นต้นบัญญตั ิ หรอื ภิกษุอาทิกัมมกิ ะ ไดแ้ ก่ พระฉนั นะ พระวินัยบัญญัติ 255 www.kalyanamitra.org
ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ ค�ำแปลพระบาลีทเี่ ปน็ พุทธบัญญตั ิ “อน่ึง ภิกษใุ ดรู้อยูว่ ่าน้�ำมีตวั สตั ว์ รดก็ดี ให้รดกด็ ี ซง่ึ หญา้ กด็ ี ซง่ึ ดินกด็ เี ปน็ ปาจติ ตีย”์ เนอื้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภิกษุรู้อยู่ว่า น�้ำมีตัวสัตว์ เอารดหญ้าหรือดิน ต้อง ปาจิตตีย์” อธิบายและเจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนีม้ ีความชดั เจน ซึ่งทรงบัญญตั ิไวเ้ พอ่ื มใิ หภ้ ิกษุท�ำลายชีวติ สัตวเ์ ชน่ ลูกน�้ำ ซ่งึ อาจมอี ยู่ในน้�ำตามปกติ ให้มีความรอบคอบในการใช้น�้ำ ใน การรดหญา้ หรือรดดนิ อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษไุ มแ่ กลง้ (๒) ภกิ ษไุ มม่ สี ติ (๓) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๔) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บญั ญตั ิ หรือภกิ ษอุ าทกิ มั มกิ ะ ได้แก่ พวกภิกษชุ าวเมอื งอาฬวี 256 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
วรรคที่ ๓ โอวาทวรรค ว่าด้วยโอวาทแกภ่ กิ ษณุ ี โอวาทวรรค สกิ ขาบทที่ ๑-๑๐ คำ� แปลพระบาลที เ่ี ปน็ พทุ ธบัญญัติ สกิ ขาบทท่ี ๑ “อนง่ึ ภิกษใุ ดไม่ได้รับสมมติ สัง่ สอนภิกษุณที ัง้ หลาย เป็นปาจิตตีย์” สกิ ขาบทที่ ๒ “ถา้ ภกิ ษแุ มไ้ ดร้ บั สมมตแิ ลว้ เมอื่ ดวงอาทติ ยต์ กแลว้ ยงั สง่ั สอนภกิ ษณุ ี ทง้ั หลายเปน็ ปาจติ ตยี ์” สกิ ขาบทท่ี ๓ “อน่ึง ภิกษุใดเข้าไปยังท่ีพ�ำนักภิกษุณี แล้วสั่งสอนภิกษุณีท้ังหลาย เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย สมัยในเร่ืองน้ันดังนี้ คือภิกษุอาพาธ น้ีเป็นสมัยในเรื่องนน้ั ” สิกขาบทที่ ๔ “อนึง่ ภกิ ษใุ ดกลา่ วอย่างนี้วา่ พวกภกิ ษสุ อนภกิ ษุณที ั้งหลายเพราะ เห็นแก่อามิสเป็นปาจติ ตีย”์ สกิ ขาบทท่ี ๕ “อน่ึง ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ แลกเปลี่ยนกัน” พระวินัยบัญญัติ 257 www.kalyanamitra.org
สกิ ขาบทที่ ๖ “อน่ึง ภิกษุใดเย็บก็ดี ให้เย็บก็ดี ซึ่งจีวร ให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เป็น ปาจติ ตยี ์” สกิ ขาบทท่ี ๗ “อนงึ่ ภกิ ษใุ ดชกั ชวนกนั แลว้ เดนิ ทางไกลดว้ ยกนั กบั ภกิ ษณุ ี โดยทส่ี ดุ แมส้ นิ้ ระหวา่ งหมบู่ า้ นหนงึ่ เปน็ ปาจติ ตยี ์ เวน้ ไวแ้ ตส่ มยั สมยั ในเรอ่ื งนนั้ ดังน้ี คือหนทางเป็นที่จะต้องไปด้วยกองเกวียนซ่ึงรู้กันอยู่ว่าเป็นที่ นา่ ระแวง มีภัยเฉพาะหนา้ นีเ้ ป็นสมยั ในเรือ่ งนั้น” สิกขาบทท่ี ๘ “อนง่ึ ภกิ ษใุ ดชกั ชวนกนั แลว้ โดยสารเรอื ลำ� เดยี วกบั ภกิ ษณุ ี ขนึ้ นำ้� ไป กด็ ี ลอ่ งนำ้� ไปกด็ ี เป็นปาจิตตยี ์ เว้นไว้แตข่ า้ มฟาก” สิกขาบทท่ี ๙ “อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตท่ีภิกษุณีแนะน�ำให้ถวาย เป็น ปาจติ ตยี ์ เวน้ ไว้แตค่ ฤหสั ถป์ รารภก่อน” สกิ ขาบทที่ ๑๐ “อนง่ึ ภกิ ษใุ ดน่งั ในที่ลบั กับภิกษุณีสองตอ่ สอง เป็นปาจติ ตีย์” อธิบายความและเจตนารมณข์ องสกิ ขาบทเหลา่ นี้ สิกขาบทในโอวาทวรรคท้ัง ๑๐ สิกขาบทเหล่านี้ เป็นสิกขาบทท่ี เกี่ยวกับภกิ ษณุ ีทั้งหมด และมีประเด็นความคอ่ นขา้ งชัดเจนแลว้ จงึ ขอเวน้ ไว้ ไม่ขยายความเพ่ิม เพราะภิกษุณีในปัจจุบันไม่มีแล้ว และในอนาคตก็ไม่อาจ มีได้ด้วย แต่จักอธิบายเฉพาะประเด็นอื่นที่น่ารู้เกี่ยวกับเรื่องภิกษุณีบางเร่ือง เพอื่ ประดบั ปญั ญา 258 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
ภิกษุณี คือ นักบวชหญิงในพระพุทธศาสนา จัดเป็นอุปสัมบัน มี ศกั ดเิ์ ท่ากบั ภิกษุ ภิกษณุ ีทา่ นแรกคอื พระนางมหาปชาบดโี คตมี ซงึ่ เปน็ พระนา้ นางของเจา้ ชายสทิ ธตั ถะ เมืองกบิลพัสดุ์ ได้เสดจ็ ออกตดิ ตามพระพุทธองค์มา จนถงึ เมอื งไพสาลี ทูลขอบวชในพระพทุ ธศาสนา พระอานนท์กราบทลู ถามว่า มาตุคามเมอ่ื บวชแล้วจะสามารถบรรลธุ รรมพิเศษไดห้ รอื ไม่ พระพทุ ธองคต์ รสั รบั รองวา่ อาจไดอ้ ยู่ พระอานนทจ์ งึ กราบทลู ขอประทานอนญุ าตบวชใหพ้ ระนาง ทรงรับให้ผู้หญงิ บวชได้ โดยตอ้ งประพฤตคิ รุธรรมจนตลอดชวี ติ ซ่งึ พระนางก็ ทรงยนิ ยอม ภิกษุณีจึงเกิดขนึ้ เป็นคร้ังแรก ครุธรรม แปลว่า ธรรมอันหนัก หรือ ธรรมท่ีพึงตระหนัก ซึ่งเป็น หลกั ทภี่ กิ ษณุ พี งึ ยดึ เปน็ ขอ้ ปฏบิ ตั อิ ยา่ งเครง่ ครดั ดว้ ยความเคารพ ไมล่ ว่ งละเมดิ ตลอดชวี ิต มี ๘ ประการ คือ (๑) ภิกษณุ แี ม้บวชแลว้ ๑๐๐ พรรษา กต็ ้องเคารพ กราบไหว้ ทำ� สามจี ิกรรมต่อภิกษุผู้แม้อปุ สมบทในวนั น้ัน (๒) ภกิ ษุณีต้องไม่เข้าจำ� พรรษาในอาวาสทีไ่ ม่มีภิกษุอยู่ (๓) ภกิ ษณุ ตี ้องหวงั ธรรม ๒ ประการจากภกิ ษุสงฆ์ทุกก่งึ เดอื น คอื ภิกษผุ ูถ้ ามถึงการท�ำอโุ บสถ กบั การเข้าไปรับโอวาท (๔) ภิกษุณีผูจ้ ำ� พรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์สองฝา่ ย คอื ใน ภิกษุณีสงฆ์ และภกิ ษสุ งฆ์ (๕) ภิกษุณีผู้ล่วงละเมิดครุธรรม (อาบัติสังฆาทิเสส) แล้วต้อง ประพฤติปักขมานัต (การอยกู่ รรม) ในสงฆส์ องฝ่าย พระวินัยบัญญัติ 259 www.kalyanamitra.org
(๖) ภิกษุณีต้องแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์สองฝ่ายเพ่ือเป็น สกิ ขมานาผศู้ ึกษาสกิ ขาในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแลว้ (๗) ภิกษุณีตอ้ งไม่ด่า ไมบ่ ริภาษภิกษุ ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ (๘) ตั้งแต่วนั นเี้ ปน็ ตน้ ไป ปดิ ทางไม่ให้ภกิ ษุณีสอนภิกษุ เปดิ ทาง ให้ภิกษทุ ้งั หลายสอนภิกษณุ ไี ด้ ครธุ รรม ๘ ประการน้ี ถา้ คดิ เปน็ ปจั จบุ นั ในทกุ วนั นยี้ อ่ มทำ� ใหเ้ ขา้ ใจวา่ พระพทุ ธองคท์ รงกดี กนั สตรี ไมใ่ หอ้ สิ ระเสรภี าพ กดไวด้ ว้ ยกฎทห่ี นกั ทำ� ตามได้ ยาก แต่โดยข้อเท็จจริงครุธรรมน้ี ทรงก�ำหนดข้ึนเพื่อให้สตรีมีความปลอดภัย อยปู่ ฏบิ ตั ธิ รรมไดอ้ ยา่ งสนั ตสิ งบ ไมต่ อ้ งหวาดระแวงภยั เปน็ ผอู้ อ่ นนอ้ มถอ่ มตน ไมด่ น้ิ รนขวนขวายเรอื่ งการปกครอง เรอื่ งการเปน็ ผนู้ ำ� เปน็ ตน้ เพราะสมยั นน้ั สตรีมีความเป็นอยู่อย่างไม่มีอิสระ ด้วยไม่อาจพึ่งตัวเองได้ อย่างเช่นภิกษุณี ทา่ นหน่งึ ถูกชายทีห่ มายปองกอ่ นบวชเขา้ ไปประทุษรา้ ยข่มขนื ในป่า ท�ำให้ทรง บญั ญตั สิ ิกขาบทเพ่มิ เพ่อื ความปลอดภยั แกภ่ ิกษุณี ภิกษุณีในปัจจุบันไม่มี เพราะขาดสูญไปนานแล้ว และไม่อาจเกิด ขึ้นไหมไ่ ด้อีก ดว้ ยเหตุผลหลายประการ เช่น - การบวชเป็นภิกษุณี ครง้ั แรกบวชดว้ ยรับประพฤติครธุ รรม ตอ่ มา ทรงอนญุ าตใหส้ งฆบ์ วชได้ แตต่ อ้ งบวชในสงฆส์ องฝา่ ย คอื ภกิ ษณุ สี งฆแ์ ละภกิ ษุ สงฆ์ ซง่ึ วธิ เี ชน่ นท้ี �ำใหก้ ารบวชยงุ่ ยากมากข้นึ ต้องคัดเลอื กมากขึน้ - อุปัชฌาย์ของภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี ซึ่งภิกษุณีไม่อาจเป็นได้ ทกุ ทา่ น ตอ้ งมคี ณุ สมบตั ติ ามพระวนิ ยั และปวตั ตนิ นี น้ั ไมอ่ าจอปุ สมบทใหผ้ หู้ ญงิ ไดม้ าก พระวนิ ยั กำ� หนดไวว้ า่ ใหบ้ วชไดค้ รง้ั ละ ๑ รปู ปลี ะ ๑ คน บวชไดป้ เี วน้ ปี ทำ� ให้ภิกษุณีเกิดขึ้นได้ยากมาก 260 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
- ก่อนบวช ผู้หญิงต้องประพฤติตนเป็น สิกขามานา (สามเณรี) ปฏบิ ัติตามสิกขาบท ๖ ประการเคร่งครัดครบถว้ น เป็นเวลา ๒ ปจี ึงบวชได้ เมื่อบวชเป็นภกิ ษณุ แี ล้ว เรียกอกี อย่างหน่งึ ว่า สหชีวินี - ข้อยุ่งยากในเร่ืองนี้เป็นไปตามพระพุทธวินิจฉัย ทรงบัญญัติไว้ เปน็ สกิ ขาบทสำ� หรบั ปฏบิ ตั ิ ซง่ึ ไมอ่ าจวจิ ารณไ์ ดว้ า่ เหมาะหรอื ไมเ่ หมาะ ควรหรอื ไมค่ วร ข้อบัญญัติเหล่าน้ัน อย่างเช่นสิกขาบทเหล่าน้ี เป็นส่วนหน่ึงของ สิกขาบท ๓๑๑ ขอ้ ของภกิ ษณุ ี - อน่ึง ภิกษุณใี ดบวชให้หญิงผ้เู ปน็ กมุ ารีมอี ายุครบ ๒๐ ปีแลว้ แต่ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ (เป็นสิกขมานา) เปน็ เวลา ๒ ปี เปน็ ปาจิตตยี ์ - อน่งึ ภกิ ษณุ ีใดบวชใหส้ กิ ขมานาทกุ ปี เป็นปาจติ ตยี ์ - อน่งึ ภกิ ษณุ ใี ดบวชใหส้ ิกขมานาปลี ะสองรปู เปน็ ปาจติ ตีย์ - อนงึ่ ภกิ ษณุ ีใดบวชใหส้ หชวี ินีแล้ว ไมอ่ นุเคราะห์เอง ทั้งไม่ให้ ผอู้ ืน่ อนเุ คราะห์ ตลอดเวลา ๒ ปี เปน็ ปาจติ ตีย์ - อน่ึง ภิกษุณีใดไม่ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตนเป็นเวลา ๒ ปี เป็นปาจติ ตยี ์ ด้วยเหตุน้จี ึงท�ำให้ภิกษุณีลดจำ� นวนลงเรือ่ ยๆ และหมดลงเป็นพันปี มาแล้ว การเกิดของภิกษุณีใหม่จ�ำต้องหาปวัตตินี (อุปัชฌาย์) ที่ถูกต้องตาม พระวินัยใหไ้ ดเ้ สยี กอ่ น สว่ นการหาสกิ ขมานานัน้ ไมย่ ากนกั การสมมตปิ วัตตินี พระวินัยบัญญัติ 261 www.kalyanamitra.org
เอง บวชเอง แล้วเรียกว่าเป็นภิกษุณีเอง เป็นเร่ืองท่ีเกิดขึ้นมาในวงการ พระศาสนานานมาแล้ว ยังถกเถยี งกนั อยูจ่ นถึงทกุ วันนี้ โดยฝ่ายหน่ึงยดึ หลัก พระวินยั ฝ่ายหน่งึ ยดึ หลักความยุติธรรมในปัจจุบัน จะจบลงอย่างไรอยู่ทผ่ี ู้ใด ยึดหลกั ไหน ถูกต้องหรอื ไม่ถกู ต้อง ถูกใจหรอื ไมถ่ ูกใจเปน็ สำ� คญั วรรคท่ี ๔ โภชนวรรค ว่าด้วยโภชนะ โภชนวรรค สกิ ขาบทท่ี ๑ ค�ำแปลพระบาลีทเี่ ป็นพทุ ธบญั ญัติ “ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงฉันอาหารในโรงพักแรมได้ ครง้ั หนงึ่ ถา้ ฉนั เกนิ กว่านั้นเป็นปาจติ ตีย์” เนอื้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “อาหารในโรงทานทท่ี ำ� ทวั่ ไปไมน่ ยิ มบคุ คล ภกิ ษไุ มเ่ จบ็ ไข้ ฉันได้แต่เฉพาะวันเดียว ต้องหยุดเสียในระหว่าง ต่อไปจึง ฉนั ไดอ้ กี ถา้ ฉนั ตดิ ๆ กนั ตง้ั แตส่ องวนั ขนึ้ ไป ตอ้ งปาจติ ตยี ”์ 262 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
อธบิ ายความโดยยอ่ ค�ำว่า โรงพักแรม คือโรงทานที่เขาจัดอาหาร คือข้าวสุก ขนมสด ของแห้ง ปลา เนือ้ ไว้เพื่อแจกคนทว่ั ไปไม่เจาะจง เช่นนกั บวชหรือคนเดินทาง อาหารในโรงทานเชน่ นี้ ภกิ ษจุ ะเขา้ ไปฉนั ไดเ้ พยี งวนั เดยี ว หา้ มเขา้ ไป ฉันสองวันติดต่อกัน หรือปักหลักฉันทุกวันไม่ไปท่ีอ่ืน เพื่อเฉลี่ยอาหารให้ถึง ผู้อื่นท่ีผา่ นมา ยกเว้นเขา้ ไปฉันวันเวน้ วนั ภิกษุอาพาธ และภิกษุทไ่ี ด้รบั นิมนต์ จากเจ้าของโรงทาน เข้าไปฉนั ไดต้ ามอาการและตามทีน่ มิ นต์ เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สกิ ขาบทน้ที รงบญั ญัติไว้ เพอ่ื มิให้ภิกษผุ ู้ไม่อาพาธเห็นแกต่ ัว เขา้ ไป ฉนั ในโรงทานตามชอบใจดว้ ยเหน็ วา่ มอี าหารพรอ้ ม ไมต่ อ้ งบณิ ฑบาต และเพอ่ื เฉลยี่ อาหารในโรงทานให้ทว่ั ถึงตามเจตนารมณข์ องผตู้ ้ังโรงทาน อนาปัตติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุอาพาธ (๒) ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธฉันคร้ังเดียว (๓) ภิกษุเดินทางไปและ เดนิ ทางกลบั มาแวะฉัน (๔) เจา้ ของนมิ นตใ์ หฉ้ นั (๕) เป็นอาหารทเี่ ขาจดั ตง้ั ไว้จ�ำเพาะ (๖) เป็นอาหารทเี่ ขามิไดจ้ ัดตงั้ ไวพ้ อแก่ความตอ้ งการ (๗) ไม่ตอ้ ง อาบัติในเพราะอาหารทุกชนิดในโภชนะห้า (๘) ภิกษุผู้วิกลจริต (๙) ภิกษุ ผเู้ ปน็ ต้นบญั ญัติ หรือภกิ ษอุ าทกิ มั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภกิ ษุฉพั พัคคยี ์ พระวินัยบัญญัติ 263 www.kalyanamitra.org
โภชนวรรค สกิ ขาบทที่ ๒ ค�ำแปลพระบาลีท่ีเปน็ พทุ ธบัญญัติ “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่ เว้นไว้แต่สมัย สมัยในเรื่องน้ันดังน้ี คือคราวอาพาธคราวท่ีเป็นฤดู ถวายจีวร คราวท่ีท�ำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่ โดยสารเรือไป คราวภัตของสมณะ นี้เป็นสมัยใน เรอื่ งนัน้ ” เนือ้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ถ้าทายกเขามานิมนต์ ออกช่ือโภชนะท้ังห้าอย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เน้ือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปรับของน้ันมาหรือฉันของน้ันพร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูป ข้ึนไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือ เป็นไข้อย่าง ๑ ไปทางเรืออย่าง ๑ อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉัน อยา่ ง ๑ โภชนะเปน็ ของสมณะอย่าง ๑” อธิบายความโดยยอ่ คำ� ว่า ฉนั เปน็ หมู่ คือ ภกิ ษุ ๔ รูปข้นึ ไปไดร้ ับนมิ นต์ด้วยการออกช่ือ อาหาร ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เน้ือ แล้วฉันด้วยกัน ดว้ ยการนงั่ ลอ้ มวงฉนั หรอื นั่งเรียงเปน็ แถวแบบพราหมณฉ์ ัน 264 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
สิกขาบทน้ีมุ่งไปที่ออกชื่ออาหาร ๕ อย่างและฉันเป็นหมู่ จึงจะ เป็นอาบัติ การฉนั เปน็ หมนู่ ท้ี รงอนญุ าตไวเ้ ปน็ กรณพี เิ ศษ คอื ในคราวอาพาธ ใน คราวเป็นฤดูถวายจีวร (คือถ้ามิได้กรานกฐิน มีระยะเวลา ๑ เดือนหลังออก พรรษา ถา้ ไดก้ รานกฐนิ มรี ะยะเวลาถงึ กลางเดอื น ๔) ในคราวทำ� จวี ร ในคราว เดนิ ทางไกล ในคราวโดยสารเรอื ไป ในคราวประชมุ ใหญ่ และในคราวภัตของ สมณะ (คอื คราวทผี่ ใู้ ดผหู้ นง่ึ ซงึ่ นบั เนอื่ งวา่ เปน็ นกั บวชทำ� ภตั ตาหารถวาย ภกิ ษุ คดิ วา่ เป็นคราวภตั ของสมณะ กพ็ งึ ฉันได)้ และมีข้อยกเว้นให้ฉันเป็นหมู่ได้ ตามที่ท่านแสดงไว้ในอนาปัตติวาร แห่งสกิ ขาบทนี้ เจตนารมณ์ของสิกขาบทน้ี สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอ่ื มใิ หภ้ กิ ษลุ ะวางสตใิ นขณะขบฉนั เพราะ การฉนั เปน็ หมู่นนั้ มักจะมกี ารพดู คยุ กัน มักจะเผลอฉนั อย่างไม่ส�ำรวม และไม่ ระวังกิริยาอาการ ทำ� ให้ผพู้ บเห็นเส่ือมศรัทธาได้ เปน็ การปอ้ งกนั มใิ ห้ภกิ ษุฉัน แบบอดอยากหวิ โหย ดังเรื่องที่เป็นมลู เหตใุ ห้ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุฉันในสมัย (๒) ภิกษุ ๒-๓ รูปฉันรวมกัน (๓) ภิกษุหลายรูป เทยี่ วบณิ ฑบาตแล้วประชมุ ฉนั รว่ มกัน (๔) ภตั ตาหารท่ีเขาถวายเป็นนิจ (๕) ภัตตาหารที่เขาถวายตามสลาก (๖) ภัตตาหารที่เขาถวายในปักษ์ (คือทุกก่ึง พระวินัยบัญญัติ 265 www.kalyanamitra.org
เดอื น) (๗) ภตั ตาหารทเ่ี ขาถวายในวนั อโุ บสถ (๘) ภตั ตาหารทเี่ ขาถวายในวนั ปาฏิบท (คอื วันขึ้น ๑ ค่ำ� และวันแรม ๑ คำ่� ) (๙) ไม่ต้องอาบตั ิในเพราะอาหาร ทุกชนิด เว้นโภชนะ ๕ (๑๐) ภิกษุผู้วิกลจริต (๑๑) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรอื ภิกษอุ าทิกัมมกิ ะ ไดแ้ ก่ พระเทวทัตกับภิกษบุ ริวาร โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๓ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ปน็ พทุ ธบญั ญัติ “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโภชนะทีหลัง เว้นไว้แต่สมัย สมัยในเร่ืองนั้นดังนี้ คือคราวอาพาธ คราวท่ีเป็นฤดู ถวายจวี ร คราวท่ีทำ� จีวร น่เี ป็นสมัยในเรื่องนั้น” เนือ้ ความยอ่ ในหนงั สือนวโกวาท “ภกิ ษรุ บั นมิ นตแ์ หง่ หนงึ่ ดว้ ยโภชนะทงั้ หา้ อยา่ งใดอยา่ ง หนึ่งแล้ว ไม่ไปฉันในที่นิมนต์นั้น ไปฉันเสียท่ีอ่ืน ต้อง ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ยกส่วนท่ีรับนิมนต์ไว้ก่อนน้ันให้แก่ ภิกษอุ น่ื เสยี หรือหนา้ จีวรกาลและเวลาท�ำจีวร” อธิบายความโดยย่อ สกิ ขาบทนมี้ มี ลู เหตวุ า่ พระพทุ ธองคท์ รงรบั นมิ นตพ์ รอ้ มภกิ ษสุ งฆฉ์ นั ภัตตาหารท่ีบ้านกรรมกรคนหน่ึง ภิกษุสงฆ์คิดว่าจะมีแต่อาหารท่ีมีพุทราผสม อยู่มาก จึงไปบิณฑบาตมาฉันก่อน เมื่อถึงเวลาไปฉันท่ีบ้านกรรมกรน้ัน จึง 266 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
ฉันไดน้ อ้ ย อาหารเหลือมาก ซง่ึ ล้วนเป็นอาหารดที ี่ชาวบ้านเขาท�ำมาช่วย จึง ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ไว้ เพ่ือมิให้ภิกษุฉันก่อนไปฉันท่ีอ่ืนต่อ หรือรับนิมนต์ แล้วไม่ไป กลบั ไปฉนั ท่ีอ่นื ยกเวน้ คราวอาพาธ คราวถวายจีวร คราวท�ำจวี ร ในกรณีท่ีเจ้าภาพนิมนต์เจาะจง รับนิมนต์แล้วแต่ไม่อาจไปได้ จึง ให้ภิกษุอื่นไปแทน ไม่ควร เพราะเป็นการท�ำให้เสียความรู้สึกเสียศรัทธาได้ นอกจากจำ� เป็นเชน่ อาพาธเปน็ ต้น เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สกิ ขาบทนที้ รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอื่ ปอ้ งกนั มใิ หภ้ กิ ษเุ หน็ แกก่ ารขบฉนั หรอื เห็นแก่ลาภท่ีจะพึงได้ โดยยอมเสียสัจจะไม่ไปตามที่รับนิมนต์ แต่ไปท่ีอื่นซึ่ง คดิ ว่าจะดีกวา่ อันจัดเป็นการท�ำศรัทธาให้ตกไปได้ อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษฉุ ันในสมัย (๒) ภิกษุฉนั บณิ ฑบาตท่รี ับนิมนตไ์ ว้ ๒-๓ แหง่ รวมกัน (๓) ภกิ ษฉุ นั ตามลำ� ดบั ทร่ี บั นมิ นต์ (๔) ภกิ ษรุ บั นมิ นตช์ าวบา้ นทงั้ ปวงแลว้ ฉนั ณ ที่ แหง่ ใดแห่งหนง่ึ ในหมบู่ ้านนัน้ (๕) ภิกษุรบั นิมนตช์ าวบ้านทุกกลมุ่ แลว้ ฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในกลุ่มชาวบ้านน้ัน (๖) ภิกษุได้รับนิมนต์ แต่บอกว่าจักรับ ภิกษา (๗) ภตั ตาหารท่ีเขาถวายเป็นนจิ (๘) ภตั ตาหารท่เี ขาถวายตามสลาก (๙) ภัตตาหารท่ีเขาถวายในปักษ์ (๑๐) ภัตตาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ (๑๑) ภัตตาหารท่เี ขาถวายในวันปาฏิบท (๑๒) ไมต่ อ้ งอาบัติในเพราะอาหาร ทุกชนิด เว้นโภชนะ ๕ (๑๓) ภิกษุผู้วิกลจริต (๑๔) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรอื ภิกษุอาทิกัมมิกะ ได้แก่ พวกภิกษุชาวเมืองเวสาลี พระวินัยบัญญัติ 267 www.kalyanamitra.org
โภชนวรรค สกิ ขาบทที่ ๔ ค�ำแปลพระบาลที ่เี ป็นพุทธบญั ญตั ิ “อนึ่ง เขานำ� ขนมกด็ ี สัตตุผงก็ดี มาปวารณาเฉพาะ ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล ภิกษุต้องการ ก็พึงรับได้เต็ม ๒-๓ บาตร ถา้ รับยิง่ กว่านนั้ เป็นปาจติ ตีย์ คร้ันรบั เต็ม ๒-๓ บาตรแล้ว พึงน�ำออกจากที่นั้นแล้วแบ่งปันกับ ภิกษุท้ังหลาย น้เี ปน็ การปฏิบต้ ิชอบในเร่ืองนัน้ ” เน้อื ความยอ่ ในหนังสือนวโกวาท “ภกิ ษเุ ขา้ ไปบณิ ฑบาตในบา้ น ทายกเขาเอาขนมมาถวาย เป็นอันมาก จะรับได้เป็นอย่างมากเพียง ๓ บาตรเท่านั้น ถ้ารับให้เกินกว่านั้น ต้องปาจิตตีย์ ของที่รับมามาก เช่นนั้น ตอ้ งแบ่งใหภ้ ิกษอุ น่ื ” อธิบายความโดยยอ่ ค�ำวา่ ขนม ไดแ้ ก่ ของกนิ ชนดิ ใดชนิดหน่ึงทเี่ ขาจดั เตรยี มไวเ้ พอ่ื เปน็ ของกำ� นลั คำ� วา่ สตั ตผุ ง ได้แก่ ของกินอยา่ งใดอย่างหนึ่งทีเ่ ขาจัดเตรยี มไวเ้ พ่ือ เปน็ เสบยี ง ค�ำว่า เขาน�ำมาปวารณา คือ เขาปวารณาว่า ท่านต้องการเท่าใด ก็จงรับไปเท่านน้ั เถิด 268 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
ในกรณีเช่นน้ี ภิกษุที่ต้องการพึงรับได้เต็ม ๒ หรือ ๓ บาตร เพ่ือ รักษาศรัทธาผู้ปวารณา หากรับเกินไปกว่านั้นเป็นอาบัติ และเม่ือรับไปแล้ว ทรงแนะน�ำวา่ ให้นำ� ไปยงั โรงฉนั แลว้ แบ่งปันใหภ้ กิ ษุอ่นื ด้วย เจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้ สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้ภิกษุไม่แสดงตนเป็นผู้มักมาก แม้ จะได้รับปวารณาไว้ ให้รู้จักประมาณรู้จักความพอดี เพราะแม้จะปวารณาไว้ บางคร้ังอาจขาดแคลนหรือของไมพ่ อ ทำ� ใหผ้ ้ถู วายเดอื ดรอ้ นในการจดั หาเพมิ่ ได้ และเพื่อให้แสดงน�้ำใจต่อเพ่ือนภิกษุด้วยกัน โดยเมื่อรับมาแล้วแบ่งปันกัน ขบฉัน เพราะผเู้ ดยี วไมอ่ าจขบฉนั ไดห้ มดและไม่อาจเกบ็ ไวไ้ ด้ อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุรับเตม็ ๒-๓ บาตร (๒) ภิกษรุ บั หย่อนกวา่ ๒-๓ บาตร (๓) เขาถวาย ของทม่ี ไิ ดเ้ ตรยี มไวเ้ พอื่ เปน็ ของกำ� นลั (๔) เขาถวายของทม่ี ไิ ดเ้ ตรยี มไวเ้ พอื่ เปน็ เสบยี ง (๕) เขาถวายของทเ่ี หลอื จากทเี่ ขาเตรยี มไวเ้ พอ่ื เปน็ ของกำ� นลั หรอื เพอ่ื เปน็ เสบยี ง (๖) เขาถวายเมื่อระงบั การไปแลว้ (๗) รับของพวกญาติ (๘) รบั ของคนปวารณา (๙) รบั เพอ่ื ภกิ ษอุ น่ื (๑๐) ภกิ ษรุ บั ของทเี่ ขาซอื้ มาดว้ ยทรพั ย์ ของตน (๑๑) ภิกษุผู้วิกลจริต (๑๒) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรือภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ไดแ้ ก่ ภิกษุชาวเมอื งราชคฤห์ พระวินัยบัญญัติ 269 www.kalyanamitra.org
โภชนวรรค สกิ ขาบทท่ี ๕ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ปน็ พทุ ธบัญญัติ “อน่ึง ภิกษุใดฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเค้ียวก็ดีของฉันก็ดี ที่ไม่เป็นเดน เป็น ปาจิตตีย์” เนือ้ ความยอ่ ในหนังสือนวโกวาท “ภกิ ษฉุ ันคา้ งอยู่ มีผเู้ อาโภชนะทั้งหา้ อยา่ งใดอย่างหนง่ึ เข้ามาประเคน ห้ามเสียแล้ว ลุกจากที่นั่งน้ันแล้ว ฉัน ของเค้ียวของฉันซ่ึงไม่เป็นเดนภิกษุไข้ หรือไม่ได้ท�ำวินัย กรรม ตอ้ งปาจิตตีย”์ อธบิ ายความโดยยอ่ คำ� วา่ หา้ มภตั แลว้ คอื ขณะกำ� ลงั ฉนั อยู่ มผี นู้ ำ� อาหารมาถวาย บอก หา้ มเขาไปวา่ พอแล้ว อิ่มแล้ว แล้วไมร่ บั ถวาย ค�ำว่า ไม่เป็นเดน ได้แก่ ของเหล่าน้ี คือ ของท่ียังมิได้ท�ำให้เป็น กัปปิยะ คือให้เป็นของสมควรที่จะฉันได้ ๑ ของที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน ๑ ของท่ีภิกษยุ งั มิได้ยกขน้ึ ส่งให้ ๑ ของทีท่ �ำนอกหัตถบาส ๑ ของท่ีภกิ ษยุ ังมไิ ด้ ฉัน ๑ ของท่ีภกิ ษุผ้ฉู ันเสรจ็ แลว้ ห้ามภัตแลว้ ลุกจากอาสนะแล้วทำ� ๑ ของ ทภี่ ิกษุยังมไิ ดพ้ ูดว่า ท้ังหมดน่ันพอแล้ว ๑ ของนน้ั ไม่เป็นเดนภกิ ษอุ าพาธ ๑ นีช้ อ่ื ว่า ของไม่เปน็ เดน 270 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
ภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว ห้ามฉันของเค้ียวของฉันที่ไม่เป็น เดนอีก ถา้ ฉัน ต้องปาจิตตยี ์ เจตนารมณข์ องสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพ่ือมิให้ภิกษุขบฉันไม่เลิก ฉันจุบฉันจิบ ทำ� นองเหน็ แกก่ ารขบฉนั ซงึ่ เปน็ อาการอนั ไมเ่ หมาะสมแกส่ มณภาวะ และเพอื่ มใิ หท้ ายกผถู้ วายเสยี ใจวา่ ตนจดั ทำ� อาหารถวายไมเ่ พยี งพอ ภกิ ษฉุ นั ไมอ่ ม่ิ จงึ ไปขบฉนั ท่อี ่ืนต่อ อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษใุ ห้ท�ำให้เปน็ เดนแลว้ ฉัน (๒) ภิกษรุ ับประเคนไวด้ ้วยต้ังใจวา่ จกั ใหท้ ำ� เป็น เดนแล้วจึงฉัน (๓) ภิกษุรับไปเพ่ือภิกษุอ่ืน (๔) ภิกษุฉันอาหารท่ีเหลือของ ภิกษุอาพาธ (๕) ภิกษุฉันของท่ีเป็นยามกาลิก (ของท่ีเก็บไว้ฉันได้ช่ัวคราว) สตั ตาหกาลกิ (ของทีเ่ ก็บไวฉ้ ันได้ ๗ วนั ) ยาวชีวกิ (ของท่เี ก็บไวฉ้ นั ไดต้ ลอด เวลา) ในเมื่อมีเหตอุ ันสมควร (๖) ภิกษผุ ู้วกิ ลจรติ (๗) ภกิ ษผุ ู้เปน็ ตน้ บญั ญัติ หรือภกิ ษุอาทิกัมมิกะ ไดแ้ ก่ ภิกษหุ ลายรปู ในวัดเชตวัน โภชนวรรค สกิ ขาบทท่ี ๖ ค�ำแปลพระบาลที ่เี ป็นพุทธบัญญัติ “อน่งึ ภิกษุใดรูอ้ ยู่ มุ่งจะโจมตี น�ำของเคย้ี วก็ดี ของ ฉันก็ดี อันไม่เป็นเดน ไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว พระวินัยบัญญัติ 271 www.kalyanamitra.org
ห้ามภัตแล้ว ด้วยบอกว่า นิมนต์เค้ียวหรือฉันเถิด ภิกษุ ดังน้ี เมอ่ื เธอฉันแลว้ เปน็ ปาจติ ตีย”์ เนื้อความย่อในหนังสอื นวโกวาท “ภกิ ษรุ อู้ ยวู่ า่ ภกิ ษอุ นื่ หา้ มขา้ วแลว้ (ตามสกิ ขาบทหลงั ) คิดจะยกโทษเธอ แกล้งเอาของเคี้ยวของฉันอันไม่เป็น เดนภกิ ษไุ ข้ไปล่อใหเ้ ธอฉนั ถ้าเธอฉันแล้ว ตอ้ งปาจติ ตีย์” อธิบายความโดยย่อ สิกขาบทนี้เกิดจากการที่ภิกษุรูปหน่ึงผูกใจเจ็บต่อเพื่อนกันจึงคิดหา เรื่อง น�ำเอาอาหารไปคะย้ันคะยอให้เธอฉัน ท้ังท่ีรู้ว่าเธอฉันเสร็จแล้ว ห้าม ภตั แล้ว และไดโ้ จมตีเธอวา่ ท�ำผดิ พระวนิ ัย โดยฉนั เสรจ็ แลว้ หา้ มภตั แลว้ ยงั ฉนั โภชนะไม่เป็นเดนอกี พระพทุ ธองค์จึงทรงบัญญตั ิสกิ ขาบทนไี้ ว้ เจตนารมณ์ของสิกขาบทน้ี สิกขาบทน้ีทรงบัญญตั ไิ ว้ เพื่อป้องกันมิให้ภิกษุโจมตใี สร่ า้ ยภกิ ษุด้วย กันด้วยความเจ็บใจส่วนตัว อันเป็นเหตุให้บานปลาย เกิดการโต้แย้งทุ่มเถียง เปน็ เรื่องราวลามต่อไปได้ อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุให้ท�ำเป็นเดนแล้วให้ (๒) ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงให้ท�ำเป็นเดนแล้วฉัน 272 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เถดิ (๓) ภกิ ษใุ หด้ ว้ ยบอกวา่ จงน�ำไปเพ่ือภิกษอุ ื่น (๔) ภกิ ษุให้อาหารทีเ่ หลือ ของภิกษุอาพาธ (๕) ภิกษุให้ของท่ีเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ดว้ ยบอกวา่ ในเมื่อมเี หตุสมควร ก็จงฉนั (๖) ภกิ ษุผูว้ ิกลจรติ (๗) ภิกษผุ ู้เป็น ตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภิกษอุ าทิกัมมกิ ะ ไดแ้ ก่ ภกิ ษผุ ูเ้ ดนิ ทางไปวดั เชตวนั รูปหน่ึง โภชนวรรค สกิ ขาบทที่ ๗ ค�ำแปลพระบาลที เี่ ปน็ พทุ ธบัญญัติ “อน่ึง ภิกษุใดเคย้ี วกด็ ี ฉันก็ดี ซงึ่ ของเค้ยี วก็ดี ของ ฉันก็ดี ในเวลาวิกาลเป็นปาจิตตีย์” เนื้อความย่อในหนงั สอื นวโกวาท “ภกิ ษฉุ นั ของเคยี้ วของฉนั ทเี่ ปน็ อาหารในเวลาวกิ าล คอื ตงั้ แต่เท่ียงแลว้ ไปจนถงึ วนั ใหม่ ต้องปาจิตตยี ”์ อธบิ ายความโดยยอ่ ค�ำวา่ เวลาวกิ าล คือ เวลาตัง้ แตเ่ ทยี่ งวันไปจนถงึ อรณุ ขนึ้ ค�ำว่า ของเคี้ยว ได้แก่ เว้นโภชนะ ๕ มีข้าวสุกเป็นต้นอันเป็นของ ฉนั นอกนน้ั เป็นของคี้ยว ค�ำวา่ ของฉนั ไดแ้ ก่ โภชนะ ๕ คอื ขา้ วสกุ ขนมสด ขนมแหง้ ปลา เนอ้ื พระวินัยบัญญัติ 273 www.kalyanamitra.org
เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สกิ ขาบทนี้ทรงบญั ญตั ิไว้ เพอ่ื ให้ภิกษุรจู้ ักประมาณในการบรโิ ภค ไม่ เหน็ แกก่ ารบรโิ ภค ใหม้ คี วามอดทนอดกลน้ั ตอ่ ความหวิ และเพอื่ มใิ หไ้ ปรบกวน ชาวบา้ นซงึ่ ตอ้ งวนุ่ วายอยกู่ บั การหาเลยี้ งชพี ทงั้ เปน็ การชว่ ยรกั ษาสขุ ภาพของ ภกิ ษดุ ว้ ย เพราะการบริโภคมาก ไมร่ จู้ กั ประมาณ นอกจากท�ำใหม้ ักงว่ ง ตอ้ ง นอนมาก อนั เปน็ อนั ตรายตอ่ สขุ ภาพรา่ งกายและทำ� ใหเ้ สยี เวลาในการบำ� เพญ็ กจิ แล้ว ยังเปน็ ต้นเหตใุ ห้เกดิ โรคต่างๆ ได้ง่าย เช่นโรคอว้ น โรคหัวใจ โรคเบา หวาน โรคไต อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษทุ ฉี่ ันของยามกาลกิ สัตตาหกาลกิ ยาวชวี กิ ในเมอ่ื มเี หตุอนั สมควร (๒) ภกิ ษผุ ูว้ ิกลจรติ (๓) ภกิ ษุผู้เปน็ ต้นบัญญตั ิ หรอื ภกิ ษอุ าทกิ ัมมิกะ ได้แก่ พวก ภกิ ษุสัตตรสวคั คีย์ โภชนวรรค สกิ ขาบทที่ ๘ ค�ำแปลพระบาลที ี่เปน็ พทุ ธบัญญตั ิ “อนึ่ง ภิกษุใดเค้ียวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ของ ฉนั ก็ดี ทเี่ ก็บสะสมไว้เป็นปาจิตตยี ์” 274 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เนื้อความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภกิ ษฉุ นั ของเคยี้ วของฉนั ทเ่ี ปน็ อาหารซงึ่ รบั ประเคนไว้ ค้างคืน ต้องปาจิตตยี ”์ อธิบายความและเจตนารมณข์ องสกิ ขาบทนี้ ค�ำว่า เกบ็ สะสมไว้ คือ เปน็ ของรับประเคนในวันน้ี แลว้ เกบ็ ไวข้ บฉัน ในวนั อื่น สกิ ขาบทนที้ รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอื่ มใิ หภ้ กิ ษสุ ะสมของขบฉนั ไว้ โดยทสี่ ดุ แม้ เปน็ ขา้ วสกุ ทต่ี ากแหง้ เกบ็ ไว้ อนั จะเปน็ ภาระในการเกบ็ ในการดแู ล เมอ่ื เกบ็ ดแู ล ไมด่ ี กเ็ ปน็ ชอ่ งทางให้มหี นู มด ปลวก เขา้ มารบกวน และทำ� ให้ของบางอยา่ ง เสียบูดเนา่ เสยี ประโยชนไ์ ปโดยไม่สมควร อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุเก็บของที่เป็นยาวกาลิกไว้แล้วฉันช่ัวกาล (ชั่วระยะเวลาเท่ียงวัน) (๒) ภิกษุเก็บของที่เป็นยามกาลิกไว้แล้วฉันชั่วยาม (ช่ัวระยะเวลาปัจฉิมยามแห่ง ราตรี) (๓) ภิกษุเก็บของท่ีเป็นสัตตาหกาลิกไว้แล้วฉันชั่วสัปดาห์ (๔) ภิกษุ ฉนั ของทเ่ี ปน็ ยาวชวี กิ ในเมอื่ มเี หตสุ มควร (๕) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๖) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บัญญัติ หรอื ภิกษุอาทิกมั มกิ ะ ได้แก่ พระเวฬัฏฐสีสเถระ พระวินัยบัญญัติ 275 www.kalyanamitra.org
โภชนวรรค สกิ ขาบทท่ี ๙ ค�ำแปลพระบาลีท่เี ปน็ พุทธบัญญัติ “อน่ึง ภิกษุใดมิใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอันประณีต เห็นปานนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้�ำมัน น้�ำผ้ึง น้�ำอ้อย ปลา เน้ือ นมสด นมส้ม (นมเปร้ียว) เพ่ือประโยชน์แก่ ตนมาฉนั เปน็ ปาจติ ตยี ์” เน้อื ความยอ่ ในหนังสือนวโกวาท “ภกิ ษขุ อโภชนะอนั ประณตี คอื ขา้ วสกุ ระคนดว้ ยเนยใส เนยข้น น�้ำมัน น�้ำผึ้ง น้�ำอ้อย ปลา เน้ือ นมสด นมส้ม ต่อคฤหัสถ์ท่ีไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา เอามาฉัน ต้อง ปาจิตตยี ”์ อธิบายความโดยยอ่ สิกขาบทน้ีหมายถึงการท่ีภิกษุขอโภชนะเหล่าน้ีมาเพื่อขบฉันด้วย ตนเอง เพราะเป็นโภชนะท่ีดี มีประโยชน์ เป็นท่ีชอบใจ ชาวบ้านรู้เข้าก็ติติง โพนทะนาว่าภิกษุเห็นแก่บริโภค เท่ียวรบกวนชาวบ้านด้วยการขอโภชนะอัน ประณีตมาบำ� รงุ บำ� เรอตน 276 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพ่ือป้องกันมิให้ภิกษุเห็นแก่บริโภคเพ่ือ บ�ำรุงตน โดยไปรบกวนขอโภชนะอันประณีตจากชาวบ้านมาขบฉัน อันท�ำให้ ถูกตำ� หนโิ พนทะนา อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุอาพาธ (๒) ภิกษุเป็นผู้อาพาธขอมา หายอาพาธแล้วจึงฉัน (๓) ภิกษุ ฉันโภชนะท่ีเหลือของภิกษุอาพาธ (๔) ภิกษุขอต่อญาติ (๕) ภิกษุขอต่อคน ปวารณา (๖) ภิกษุขอเพ่ือภิกษุอ่ืน (๗) ภิกษุซ้ือมาด้วยทรัพย์ของตน (๘) ภิกษผุ ้วู ิกลจรติ (๙) ภกิ ษุผเู้ ป็นตน้ บัญญตั ิ หรอื ภกิ ษุอาทกิ ัมมกิ ะ ได้แก่ พวก ภกิ ษุฉพั พัคคยี ์ โภชนวรรค สิกขาบทท่ี ๑๐ คำ� แปลพระบาลีท่เี ปน็ พทุ ธบัญญตั ิ “อนึ่ง ภิกษุใดน�ำอาหารที่เขายังไม่ได้ถวายมาฉัน ล่วงช่องปาก เว้นไวแ้ ต่นำ�้ และไมช้ �ำระฟัน เปน็ ปาจิตตีย์” พระวินัยบัญญัติ 277 www.kalyanamitra.org
เน้ือความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภิกษุกลืนกินอาหารที่ไม่มีผู้ให้ คือยังไม่ได้รับประเคน ให้ล่วงทวารปากเข้าไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่น�้ำและ ไมส้ ฟี นั ” อธิบายความโดยยอ่ ค�ำว่า อาหาร ได้แก่ ของที่กลืนกินได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ยกเว้นน�้ำ และไมช้ ำ� ระฟนั น้ชี ่ือว่าอาหาร ค�ำวา่ ทเ่ี ขายังไม่ได้ถวาย หมายถึงอาหารทยี่ งั ไมไ่ ดร้ ับประเคน ค�ำวา่ เขาถวาย ไดแ้ ก่ เม่อื เขาถวายด้วยกาย ด้วยของทีเ่ น่ืองด้วย กาย หรอื โยนให้ ๑ เขาอยู่ในหัตถบาส ๑ ภกิ ษุรับประเคนดว้ ยกาย หรอื ด้วย ของเน่ืองด้วยกาย ๑ นช้ี ื่อว่าเขาถวาย องคแ์ หง่ การประเคน ๕ การประเคนท่ีถูกต้อง จ�ำต้องให้ได้ลักษณะองค์แห่งการประเคน ๕ อย่าง คือ (๑) ของทปี่ ระเคนตอ้ งไมใ่ หญ่และหนักเกินไป พอคนปานกลางคน เดียวยกขึ้นได้ (๒) ผู้ประเคนอยู่ในหัตถบาส คืออยู่ห่างจากผู้รับประเคนประมาณ ๑ ศอก 278 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
(๓) ผู้ประเคนนอ้ มเข้ามาถวาย (๔) กิริยาที่น้อมเข้ามาถวายน้ัน ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วย กายก็ได้ ด้วยโยนให้กไ็ ด้ (๕) ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ รับด้วยของเน่ืองด้วยกายก็ได้ คือ ถ้า ผูช้ ายถวายก็รับด้วยมอื ไดเ้ ลย ถา้ ผู้หญิงถวาย กร็ บั ดว้ ยของเนอื่ งด้วยกาย ปัจจุบันนิยมใช้ผ้ารับประเคนรับถวาย แต่ไม่นิยมใช้ผ้าเช็ดหน้ารับ ประเคน เพราะถือว่าเป็นผ้าข้ีร้ิวที่เปื้อนเหงื่อหรือเป็นผ้าเช็ดมือ เป็นการไม่ เคารพทาน การประเคนที่ผิดแปลกไปและไม่ถูกต้องก็คือ การประเคนท่ีไม่ได้ องค์แห่งการประเคน เช่นเสือกส่งให้ ไม่ยกให้พ้นจากพื้น หรือยกประเคน อาหารทง้ั โตะ๊ รวมกนั หรือเพียงแตแ่ ตะๆ โตะ๊ ที่วางอาหารไวข้ ้างบน การประเคนท่ีผิดไปอีกแบบหน่ึงคือ ภิกษุหยิบสิ่งท่ีจะประเคนให้แก่ ผู้ประเคน ผู้ประเคนรับของจากภิกษุแล้วประเคนแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ซ่ึงภิกษุ รูปแรกนั้นไปหยิบยกของท่ยี ังมไิ ด้ประเคน เปน็ อาบัตแิ ต่เร่ิมแลว้ สิกขาบทนเ้ี กิดขึ้นจากมูลเหตทุ ่ีภิกษุรูปหนงึ่ พ�ำนักอยใู่ นปา่ ชา้ ถือขอ้ ปฏบิ ัตวิ ่าของทกุ อยา่ งเป็นของบังสกุ ลุ ไม่ปรารถนารับอาหารท่ีชาวบ้านถวาย เที่ยวหาเครื่องเซ่นไหว้ตาม ป่าช้าบ้าง ตามโคนไม้บ้าง ตามธรณีประตูบ้านบ้างมาขบฉัน จึงเป็นเหตุให้ ชาวบ้านตติ งิ โพนทะนา พระพทุ ธองค์จึงทรงบญั ญัตสิ กิ ขาบทข้อนี้ไว้ พระวินัยบัญญัติ 279 www.kalyanamitra.org
เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพ่ือมิให้ภิกษุเที่ยวเสาะหาอาหารตามที่ ต่างๆ โดยไม่เหมาะสมกับภาวะ เหมอื นคนเรร่ ่อนขอทานทั่วไป ต้องได้อาหาร จากศรัทธาของชาวบา้ นท่เี ขาเลอ่ื มใสแลว้ นอ้ มเขา้ มาถวายหรอื ประเคนให้ จึง จะเหมาะควรดว้ ยประการท้งั ปวง อนาปัตติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษดุ มื่ นำ�้ และใชไ้ มช้ ำ� ระฟนั (๒) ภกิ ษหุ ยบิ ยามหาวกิ ฏั ๔ (คอื ยาทม่ี สี รรพคณุ ก�ำจัดพิษงูอยา่ งแรง ๔ อยา่ งคือ คถู มูตร เถ้า ดนิ ) มาฉันเอง ในเมอ่ื มเี หตุ สมควร (เช่นถูกงูกัด) เม่ือกัปปิยการกไม่มี (๓) ภิกษุผู้วิกลจริต (๔) ภิกษุ ผเู้ ป็นต้นบญั ญตั ิ หรือภิกษุอาทิกัมมกิ ะ ได้แก่ ภกิ ษชุ าวเมืองเวสาลรี ปู หน่ึง วรรคที่ ๕ อเจลกวรรค ว่าดว้ ยนกั บวชเปลอื ย อเจลกวรรค สิกขาบทท่ี ๑ ค�ำแปลพระบาลีทีเ่ ปน็ พทุ ธบญั ญตั ิ “อนงึ่ ภกิ ษใุ ดใหข้ องเคย้ี วกด็ ี ของกนิ กด็ ี แกอ่ เจลก ก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือของตน เปน็ ปาจิตตีย”์ 280 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org
เนื้อความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภกิ ษใุ หข้ องเคยี้ วของฉนั แกน่ กั บวชนอกศาสนาดว้ ยมอื ตน ตอ้ ง ปาจิตตยี ”์ อธบิ ายความโดยย่อ ค�ำวา่ อเจลก คือ นกั บวชท่ไี มน่ ุ่งผา้ หรอื ชเี ปลือย ค�ำว่า ปริพาชก ปริพาชิกา คือ นักบวชนอกศาสนาที่เป็นชายและ เป็นหญิง การให้ของเค้ียวของกินแก่นักบวชนอกศาสนาอย่างน้ันด้วยมือ จัด เป็นอาบัติ แต่สั่งให้ผู้อ่ืนให้ วางไว้ให้ หรือให้ของอย่างอื่นนอกจากของเค้ียว ของกนิ ไมเ่ ป็นอาบตั ิ เจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อรักษาศักด์ิศรีความเป็นอุปสัมบันของ ภิกษุ มิให้นักบวชนอกศาสนาหมิ่นหรือตีเสมอได้เมื่อให้ด้วยมือของตน ชื่อว่า ลดตัวลงเสมอกับนักบวชเหล่าน้ัน ท�ำให้นักบวชเหล่าน้ันคิดว่าตนก็เสมอกับ ภิกษุจึงยอมรับพวกเขายกย่องเขา เหมือนกับทายกถวายของภิกษุ เพราะ เคารพนบั ถือภิกษฉุ ะน้ัน อีกประการหน่ึง การแจกของแก่นักบวชนอกศาสนาท่ีเป็นผู้หญิง หากได้ไม่เท่ากันหรือไม่หมือนกัน ย่อมเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่ามีอคติ ล�ำเอยี ง รกั ไมเ่ ท่ากนั เปน็ ต้น ซ่งึ ท�ำใหเ้ สียถงึ ผู้ให้ได้โดยไมจ่ �ำเปน็ พระวินัยบัญญัติ 281 www.kalyanamitra.org
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441