Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พระวินัยบัญญัติ

พระวินัยบัญญัติ

Description: พระวินัยบัญญัติ

Search

Read the Text Version

เจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอ่ื ปอ้ งกนั มใิ หภ้ กิ ษมุ คี วามคดิ คดั คา้ น พระวินัย ด้วยเห็นว่ากอ่ ความร�ำคาญ ทำ� ใหล้ �ำบาก ทำ� ใหย้ ุ่งยาก ไม่เปน็ อิสระ ในการดำ� รงชวี ติ แลว้ ทำ� อะไรตามใจชอบ ไมส่ นใจวา่ จะละเมดิ สกิ ขาบทขอ้ ไหน หรือไม่ โดยเฉพาะสกิ ขาบทเลก็ นอ้ ย อนาปัตติวาร ในสิกขาบทนี้ ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะกล่าวโทษ พูดตามเหตุผลว่า นิมนต์ท่านเรียนพระ สูตร พระคาถา หรือพระอภิธรรมไปก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยเรียนพระวินัย (๒) ภิกษุผู้วิกลจริต (๓) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรือภิกษุอาทิกัมมิกะ ได้แก่ พวกภกิ ษุฉัพพคั คีย์ สหธัมมิกวรรค สกิ ขาบทท่ี ๓ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ปน็ พทุ ธบญั ญัติ “อน่ึง ภิกษุใด เม่ือพระวินัยธรสวดพระปาติโมกข์อยู่ ทุกกึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า กระผมเพิ่งรู้เด๋ียวนี้เองว่า แม้ธรรมนี้ก็มาในพระสูตร เน่ืองในพระสูตรมาสู่อุทเทส ทุกก่ึงเดือน ถ้าภิกษุทั้งหลายอื่นจ�ำภิกษุนั้นได้ว่า เม่ือ พระวินัยธรสวดพระปาติโมกข์อยู่ ภิกษุนี้เคยน่ังมา 332 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

๒-๓ คราวแล้ว จะกล่าวถึงมากคร้ังไปท�ำไมอีกอัน ความพ้นด้วยอาการอันไม่รู้หามีแก่ภิกษุนั้นไม่ เธอต้อง อาบัติใดในเพราะความประพฤติอนาจารน้ัน พึงปรับ อาบัติน้ันแก่เธอตามธรรม และพึงยกความหลงลืมข้ึน แก่เธอเพิ่มอีกว่า แน่ะเธอ ไม่ใช่ลาภของเธอ เธอได้ ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่าเมื่อพระวินัยธรสวดพระปาติโมกข์ อยู่ เธอมิได้ต้องการใส่ใจด้วยดี นี้เป็นปาจิตตีย์ใน เพราะเป็นผู้แสร้งหลงลมื นนั้ ” เนือ้ ความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภิกษุต้องอาบัติแล้วแกล้งพูดว่า ข้าพเจ้าเพิ่งรู้เด๋ียวน้ี เองว่าข้อน้ีมาในพระปาติโมกข์ ถ้าภิกษุอ่ืนรู้ว่า เธอเคย รู้มาก่อนแล้วแต่แกล้งพูดกันเขาว่า พึงสวดประกาศความ ข้อน้ัน เม่ือสวดประกาศแล้ว แกล้งท�ำไม่รู้อีก ต้อง ปาจิตตยี ์” อธิบายความโดยย่อ สิกขาบทน้ีหมายถึง การที่ภิกษุท�ำผิดพระวินัยแล้วแสร้งหลงลืมว่า เพงิ่ รเู้ ดยี๋ วนเ้ี องวา่ ขอ้ นม้ี าในพระปาตโิ มกข์ เพอ่ื จะไดไ้ มต่ อ้ งถกู ลงโทษ เปน็ การ อ้างเพ่ือเอาตัวรอด แต่ภิกษุทั้งหลายก็รู้ว่าภิกษุน้ันรู้มาก่อนแล้วว่าข้อนั้นมา ในพระปาตโิ มกข์ ภิกษนุ ้ันย่อมไมพ่ ้นผดิ ไปได้ เธอตอ้ งอาบัตใิ ดในการประพฤติ ผดิ พึงปรบั อาบัตนิ น้ั แก่เธอตามความผิด และเธอตอ้ งปาจติ ตีย์ ในเพราะเป็น ผู้แสร้งหลงลืมน้ัน พระวินัยบัญญัติ 333 www.kalyanamitra.org

เจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพ่ือมิให้ภิกษุท�ำผิดแล้วหาทางเอาตัวรอด โดยแสรง้ ทำ� เปน็ วา่ ตนไมร่ ไู้ มท่ ราบวา่ ผดิ สกิ ขาบท หรอื แสรง้ หลงลมื ไป เปน็ การ แสดงใหเ้ หน็ ว่าขาดความรบั ผิดชอบ อนั ท�ำใหเ้ สยี หายตามมาได้มาก อนาปัตติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุยงั ไม่ไดฟ้ งั โดยพิสดาร (๒) ภกิ ษฟุ งั โดยพิสดารต�่ำกวา่ ๒-๓ คราว (๓) ภิกษุผู้ไมต่ ้องแสร้งท�ำหลงลมื (๔) ภิกษผุ ู้วกิ ลจริต (๕) ภกิ ษุผู้เป็นต้นบญั ญัติ หรือภิกษอุ าทิกมั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภกิ ษุฉัพพัคคยี ์ สหธมั มิกวรรค สกิ ขาบทที่ ๔ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ป็นพทุ ธบัญญตั ิ “อนง่ึ ภกิ ษใุ ดโกรธ ไมพ่ อใจ ตบตภี กิ ษุ เปน็ ปาจติ ตยี ”์ เนื้อความยอ่ ในหนงั สอื นวโกวาท “ภกิ ษุโกรธ ให้ประหารแกภ่ ิกษอุ ื่น ตอ้ งปาจิตตีย”์ อธิบายความและเจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี ค�ำว่า ตบตี คือ การท�ำร้ายให้ได้รับความเจ็บกายหรือความเจ็บใจ ดว้ ยความโกรธ ด้วยความไม่พอใจ การทำ� รา้ ยนน้ั จะทำ� ด้วยกายเช่นตดี ้วยมือ 334 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายเช่นไม้หรือแส้ก็ดี ด้วยของที่ขว้างไปก็ดี โดยท่ีสุด แมข้ วา้ งด้วยกลบี บัว จัดเป็นการตบตตี ามสิกขาบทนี้ท้ังส้ิน ตามสกิ ขาบทนี้ ทา่ นแสดงไวว้ า่ ถา้ ภกิ ษทุ ำ� รา้ ยตบตภี กิ ษุ เปน็ ปาจติ ตยี ์ ทำ� ร้ายตบตีอนุปสัมบันคือสามเณร หรือคฤหัสถ์ เป็นทุกกฏ ท�ำร้ายตบตีสัตว์ ดริ จั ฉาน เปน็ ทุกกฏ และแมจ้ ะใชใ้ ห้ผ้อู น่ื ท�ำรา้ ยตบตี กต็ อ้ งอาบัตเิ ชน่ เดยี วกัน สกิ ขาบทนที้ รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอื่ ปอ้ งกนั มใิ หภ้ กิ ษลุ แุ กอ่ ำ� นาจความโกรธ เมอ่ื ไมช่ อบใจ ไมพ่ อใจภกิ ษใุ ด กเ็ ขา้ ไปทำ� รา้ ยตบตี เปน็ การแสดงถงึ จติ ใจทข่ี าด ความรักความเมตตาต่อกัน อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษถุ ูกคนบางคนเบยี ดเบยี น ประสงค์จะใหพ้ น้ จงึ ตบตี (๒) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจริต (๓) ภิกษุผเู้ ป็นตน้ บัญญัติ หรือภิกษอุ าทิกมั มิกะ ได้แก่ พวกภกิ ษุฉพั พัคคีย์ สหธมั มกิ วรรค สิกขาบทที่ ๕ ค�ำแปลพระบาลีท่ีเป็นพทุ ธบญั ญัติ “อน่ึง ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ เงื้อหอกคือฝ่ามือให้ ภกิ ษุ เปน็ ปาจิตตยี ”์ พระวินัยบัญญัติ 335 www.kalyanamitra.org

เนือ้ ความยอ่ ในหนงั สือนวโกวาท “ภกิ ษโุ กรธ เงอ้ื มอื ดจุ ใหป้ ระหารแกภ่ กิ ษอุ น่ื ตอ้ งปาจติ ตยี ”์ อธิบายความและเจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี คำ� วา่ เงอื้ หอกคอื ฝา่ มอื คอื ยงั ไมไ่ ดท้ ำ� รา้ ย ยงั ไมไ่ ดต้ บตี แตเ่ งอ้ื มอื ขน้ึ หรือยกไมย้ กแสข้ ึน้ โดยทสี่ ดุ แม้ยกกลบี บัวขึน้ แสดงให้รู้ว่าจะฟาด เปน็ อาบัติ สกิ ขาบทนที้ รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอ่ื ปอ้ งกนั มใิ หภ้ กิ ษลุ อุ ำ� นาจแกค่ วามโกรธ ดงั สกิ ขาบทกอ่ น อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุถูกคนบางคนเบียดเบียน ประสงค์จะให้พ้น จึงเง้ือหอกคือฝ่ามือ (๒) ภกิ ษุผ้วู กิ ลจรติ (๓) ภกิ ษุผเู้ ปน็ ตน้ บญั ญัติ หรอื ภิกษุอาทกิ ัมมกิ ะ ได้แก่ พวก ภกิ ษฉุ ัพพัคคีย์ สหธมั มกิ วรรค สกิ ขาบทท่ี ๖ ค�ำแปลพระบาลีท่ีเป็นพุทธบัญญัติ “อนึ่ง ภิกษุใดใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสส อันหามลู มไิ ด้ เปน็ ปาจิตตีย์” 336 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

เนือ้ ความย่อในหนงั สอื นวโกวาท “ภิกษุโจทก์ฟ้องภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ต้องปาจติ ตยี ”์ อธิบายความโดยยอ่ ค�ำว่า ใสค่ วาม คือ กล่าวหาหรือโจทเองกต็ าม ให้คนอนื่ ทำ� ก็ตาม คำ� วา่ อนั หามลู มไิ ด้ คอื อนั ตนหรอื ผอู้ นื่ ไมไ่ ดเ้ หน็ ไมไ่ ดย้ นิ ไมไ่ ดส้ งสยั เจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพื่อมิให้ภิกษุผู้อยู่ไม่เป็นสุข ชอบหา เร่อื งภิกษุอืน่ เที่ยวใสค่ วามฟอ้ งร้องภกิ ษุอื่น ทำ� ใหเ้ กิดความวุน่ วายเดอื ดรอ้ น ไปทวั่ ท้งั ท่อี าบตั ิที่ฟ้องนั้นไม่มีมลู ความจรงิ อะไร เป็นเหตุใหไ้ ม่มคี วามสงบใน การอย่ดู ว้ ยกนั อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทนี้ ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุส�ำคัญว่ามีมูล โจทเองก็ดี สั่งให้โจทก็ดี (๒) ภิกษุผู้วิกลจริต (๓) ภิกษผุ ู้เปน็ ต้นบัญญัติ หรือภกิ ษอุ าทิกมั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภิกษุฉพั พัคคีย์ พระวินัยบัญญัติ 337 www.kalyanamitra.org

สหธมั มกิ วรรค สกิ ขาบทท่ี ๗ ค�ำแปลพระบาลที ีเ่ ปน็ พุทธบญั ญตั ิ “อนึ่ง ภิกษุใดแกล้งก่อความร�ำคาญให้แก่ภิกษุด้วย หมายใจว่า ด้วยวิธีน้ีความไม่ผาสุกจักมีแก่เธอไป ครู่หนึ่ง ท�ำความหมายใจอย่างนี้เท่าน้ันให้เป็นเหตุไม่มี อะไรอ่ืน เปน็ ปาจติ ตยี ์” เนอื้ ความยอ่ ในหนงั สือนวโกวาท “ภิกษุแกล้งก่อความร�ำคาญให้เกิดแก่ภิกษุอ่ืน  ต้อง ปาจิตตยี ์” อธบิ ายความและเจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ ค�ำว่า ก่อความร�ำคาญ คือ ท�ำให้เกิดความระคายเคือง เกิดความ เบ่อื หน่าย เกิดความหงุดหงดิ ไมส่ บายใจ เมอื่ ไดฟ้ งั สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพ่ือป้องกันมิให้ภิกษุขาดสติ ขาดความ รับผิดชอบ มุ่งแต่ความสนุกหรือความสะใจ เท่ียวพูดไปโดยไม่รับผิดชอบ ด้วยความต้ังใจจะให้ภิกษุอ่ืนเกิดความร�ำคาญ อยู่ไม่เป็นสุข อันเป็นการขาด มารยาททีด่ ี ไมค่ ำ� นงึ ถงึ ทกุ ข์ของผอู้ น่ื 338 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษไุ มม่ งุ่ จะกอ่ ความรำ� คาญให้ พดู แนะนำ� วา่ ชะรอยทา่ นจะมอี ายตุ ำ่� กวา่ ๒๐ ปอี ปุ สมบท ชะรอยทา่ นจะบรโิ ภคอาหารในเวลาวกิ าล ชะรอยทา่ นจะดมื่ นำ้� เมา ชะรอยทา่ นจะนง่ั ในทล่ี บั กบั มาตคุ าม ทา่ นจงรไู้ วเ้ ถดิ ความรำ� คาญใจในภายหลงั อยา่ ได้มีแกท่ า่ นเลย (๒) ภิกษุผวู้ ิกลจรติ (๓) ภกิ ษุผ้เู ป็นต้นบัญญตั ิ หรือภิกษุ อาทกิ มั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภิกษฉุ ัพพัคคีย์ สหธัมมิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ คำ� แปลพระบาลที เ่ี ปน็ พทุ ธบญั ญตั ิ “อนง่ึ ภกิ ษใุ ด เมอ่ื ภกิ ษทุ งั้ หลายเกดิ ความบาดหมางกนั เกิดการทะเลาะกันถึงการวิวาทกัน ยืนแอบฟังด้วย หมายใจวา่ จกั ไดฟ้ งั คำ� ทพ่ี วกเธอพดู กนั ทำ� ความหมายใจ อยา่ งน้ีให้เป็นเหตุ ไมม่ อี ยา่ งอ่นื เปน็ ปาจิตตยี ์” เนอื้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “เมื่อภิกษุวิวาทกันอยู่ ภิกษุไปแอบฟังความ เพื่อจะได้ รูว้ า่ เขาวา่ อะไรตนหรอื พวกของตน ตอ้ งปาจติ ตีย์” พระวินัยบัญญัติ 339 www.kalyanamitra.org

อธบิ ายความโดยยอ่ คำ� วา่ แอบฟงั คือ กริ ยิ าทต่ี ง้ั ใจไปสอดร้สู อดเห็นโดยไมป่ รากฏตัวให้ เหน็ เพื่อจะฟงั ความวา่ เขาพดู อะไรกนั เปน็ การแอบฟังความเพ่อื ใหร้ ู้ว่าเขาวา่ อะไรตนบ้าง จดั เปน็ กิริยาท่ีไมเ่ หมาะสมส�ำหรบั ภกิ ษุ เปน็ เคร่ืองบอกว่าเปน็ ผทู้ ่ี ไว้ใจไมไ่ ด้ ไม่ควรให้ความไวว้ างใจ เจตนารมณ์ของสิกขาบทน้ี สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพ่ือป้องกันมิให้ภิกษุแสดงกิริยาแอบฟัง ความ อันเป็นกริ ยิ าท่ีเลวทราม แม้ชาวโลกเขาก็ไม่ท�ำกัน ถอื วา่ เปน็ กริ ิยาท่ีไม่ ดีไม่สมควรทำ� ดว้ ยประการทง้ั ปวง อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษเุ ดนิ ไปดว้ ยตงั้ ใจวา่ ไดย้ นิ คำ� ของภกิ ษเุ หลา่ นนั้ แลว้ จกั งด จกั เวน้ จกั ระงบั จักเปลือ้ งตน (๒) ภกิ ษุผวู้ ิกลจริต (๓) ภิกษุผู้เป็นตน้ บญั ญัติ หรือภกิ ษอุ าท-ิ กมั มิกะ ได้แก่ พวกภิกษฉุ ัพพัคคยี ์ สหธัมมกิ วรรค สิกขาบทท่ี ๙ ค�ำแปลพระบาลีท่เี ปน็ พุทธบัญญตั ิ “อน่ึง ภิกษุใดให้ฉันทะเพื่อกรรมอันเป็นธรรมไปแล้ว กลบั ตเิ ตยี นในภายหลังเป็นปาจติ ตีย”์ 340 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

เนื้อความยอ่ ในหนังสือนวโกวาท “ภิกษุให้ฉันทะ คือความยอมให้ท�ำสังฆกรรมที่เป็น ธรรมแล้ว ภายหลังกลับติเตียนสงฆ์ผู้ท�ำกรรมนั้น ต้อง ปาจิตตยี ”์ อธิบายความโดยยอ่ ค�ำว่า ใหฉ้ นั ทะ คือ ยอมใหส้ งฆท์ �ำสงั ฆกรรมไดโ้ ดยชอบธรรม คำ� วา่ กรรมอนั เปน็ ธรรม คอื สงั ฆกรรมทสี่ งฆท์ ำ� แลว้ ตามหลกั ธรรม ตามหลกั วินัย ตามหลกั สตั ถุศาสน์ ไดแ้ ก่ - อปโลกนกรรม กรรมคือการบอกกล่าวประกาศแจ้งให้ทราบ ไม่ ตอ้ งตัง้ ญัตติ ไมต่ อ้ งสวดอนสุ าวนา - ญตั ตกิ รรม กรรมคอื การตง้ั ญตั ตอิ ยา่ งเดยี ว ไมต่ อ้ งสวดอนสุ าวนา - ญัตติทุติยกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่สอง คือท�ำอปโลกนกรรม ตั้งญตั ติ แลว้ สวดอนสุ าวนา เช่นในการท�ำปวารณา การทำ� อโุ บสถกรรม - ญัตติจตุตถกรรม กรรมมีญัตติเป็นท่ีสี่ คือต้ังญัตติแล้วสวด อนสุ าวนาอกี ๓ คร้งั เช่นในการท�ำอุปสมบทกรรม ภิกษุให้ฉันทะแก่สงฆ์แล้ว เป็นสิทธิของสงฆ์ท่ีจะท�ำสังฆกรรม เมื่อ สงฆ์ท�ำเสร็จแล้ว ผู้ให้ฉันทะน้ันกลับไม่พอใจหรือเห็นว่าสงฆ์ท�ำไม่ถูกใจตน จึงบ่นว่าหรือติเตียนสงฆ์ ถ้าสงฆ์ท�ำกรรมน้ันโดยชอบธรรมแล้วติเตียน เป็น อาบัติ ถ้าสงฆ์ท�ำไม่ชอบธรรม ท�ำด้วยอาการแตกกัน หรือลงโทษภิกษุผิดตัว ตเิ ตยี น ไม่เปน็ อาบัติ พระวินัยบัญญัติ 341 www.kalyanamitra.org

เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อมิให้ภิกษุท่ีมอบฉันทะให้แก่สงฆ์แล้ว กลบั มาติเตียนสงฆ์ อนั เปน็ การไมไ่ วว้ างใจสงฆ์ หรือเห็นสงฆไ์ มม่ ีความหมาย ไม่มีความรู้ความสามารถในการท�ำสังฆกรรมน้ัน จึงบ่นว่าจึงติเตียน แสดง อาการอนั ไมส่ มควรออกมา อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษรุ อู้ ยวู่ า่ สงฆท์ ำ� กรรมโดยไมถ่ กู ธรรม โดยแตกกนั เปน็ พวก หรอื ทำ� แกภ่ กิ ษุ ทมี่ ใิ ชผ่ คู้ วรแกก่ รรม จงึ ตเิ ตยี น (๒) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๓) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภิกษุอาทกิ มั มิกะ ได้แก่ พวกภิกษุฉัพพคั คยี ์ สหธมั มกิ วรรค สกิ ขาบทที่ ๑๐ ค�ำแปลพระบาลที ่ีเป็นพุทธบัญญัติ “อน่ึง ภิกษุใด เมื่อเรื่องอันจะพึงวินิจฉัยยังด�ำเนิน อยู่ในสงฆ์ ไม่ให้ฉันทะลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย เป็น ปาจิตตีย์” เน้ือความยอ่ ในหนงั สอื นวโกวาท “เมื่อสงฆ์ก�ำลังประชุมกันตัดสินข้อความข้อหน่ึง ภิกษุ ใดอยู่ในท่ีประชุมน้ันจะหลีกไปในขณะที่ตัดสินข้อน้ัน ยงั ไม่เสร็จ ไมใ่ หฉ้ นั ทะกอ่ นลุกไปเสีย ตอ้ งปาจติ ตยี ”์ 342 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

อธิบายความโดยย่อ ค�ำวา่ เร่อื งอนั จะพงึ วินิจฉัยในสงฆ์ คือ เรอื่ งท่ีโจทก์และจำ� เลยแจ้ง ไวแ้ ลว้ แตย่ งั มไิ ดว้ นิ จิ ฉยั กต็ าม ตง้ั ญตั ตแิ ลว้ กต็ าม กรรมวาจายงั สวดอยกู่ ต็ าม จัดวา่ เป็นเรื่องที่จะพงึ วนิ จิ ฉัยในสงฆ์ ค�ำว่า ไม่ใหฉ้ นั ทะลกุ จากอาสนะหลกี ไปเสีย คือ ต้ังใจวา่ ถึงอย่างไร กรรมนี้กต็ ้องเสีย ต้องเป็นวรรคคอื แตกกนั เป็นหมูเ่ ปน็ พวก ตอ้ งท�ำไมไ่ ด้ ดงั นี้ แล้วลุกเดนิ ไป เมือ่ พน้ จากหัตถบาสไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ การท่ีสงฆ์ก�ำลังวินิจฉัยเร่ืองอยู่ ยังไม่ได้ตัดสิน ตัวเองอยู่ในท่ีนั้น ด้วย แต่คิดว่าอย่างไรเสียกรรมก็ต้องเสีย ตัดสินไม่ได้ หรือตัดสินเพราะเห็น แกห่ นา้ จงึ ลุกขึ้นออกไปจากทปี่ ระชุม โดยไม่ใหฉ้ ันทะคอื ขออนุญาตที่ประชมุ และท่ีประชุมยังไม่อนุญาต เดินออกไปโดยพลการ เท่ากับเป็นการข้ามหน้า ผู้เขา้ ประชมุ ไมเ่ หน็ ความส�ำคัญของที่ประชุม เร่ืองการประชุมนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า เม่ือประชุมก็ให้ พร้อมเพรียงกันประชุม เม่ือเลิกประชุมก็ให้พร้อมเพรียงกันเลิก คือให้ อยู่ในที่ประชุมอย่างพร้อมเพรียงจนกว่าจะเลิกประชุม ท�ำได้อย่างน้ีจึงจะ พร้อมเพรียงกันเลกิ ประชมุ ได้ เจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพ่ือให้ภิกษุเห็นเร่ืองการประชุมเป็นเรื่อง ส�ำคัญ ผู้อยู่ในที่ประชุมต่างมีความส�ำคัญ โดยเฉพาะประธานที่ประชุม ต้อง ให้ความเคารพท่ีประชุม ก่อนจะลุกออกไปจากที่ประชุมต้องขออนุญาตหรือ ให้ฉันทะก่อน มิใช่ลุกออกไปโดยอิสระ เป็นการไม่เห็นความส�ำคัญของการ ประชมุ และทป่ี ระชมุ พระวินัยบัญญัติ 343 www.kalyanamitra.org

อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุคิดว่า ความบาดหมาง การทะเลาะ การแก่งแย่ง หรือการวิวาทจักเกิด แก่สงฆ์ ดังนี้ จึงไปเสีย (๒) ภิกษุคิดว่า จักเป็นสังฆเภทหรือสังฆราชี ดังนี้ จึงไปเสีย (๓) ภิกษุคิดว่า สงฆ์จักท�ำกรรมโดยไม่เป็นธรรม โดยแตกกันเป็น พวก หรือจักท�ำแก่ภิกษุท่ีมิใช่ผู้ควรแก่กรรม ดังนี้ จึงไปเสีย (๔) ภิกษุเกิด อาพาธ จึงไปเสีย (๕) ภิกษุไปด้วยกิจที่พึงท�ำแก่ภิกษุอาพาธ (๖) ภิกษุปวด อุจจาระปัสสาวะ จึงไปเสีย (๗) ภิกษุไม่มุ่งจะท�ำกรรมให้เสีย ไปด้วยคิดว่า จะกลับมาอกี (๘) ภิกษุผวู้ กิ ลจริต (๙) ภิกษผุ ู้เปน็ ต้นบัญญตั ิ หรือภิกษอุ าท-ิ กมั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภกิ ษฉุ ัพพัคคยี ์ สหธมั มกิ วรรค สกิ ขาบทท่ี ๑๑ ค�ำแปลพระบาลที เี่ ป็นพุทธบญั ญัติ “อนึ่ง ภิกษุใดร่วมกับสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้จีวร แล้วกลับติเตียนในภายหลังว่า ภิกษุท้ังหลายน้อมลาภ ของสงฆ์ไปตามชอบใจ เปน็ ปาจติ ตีย”์ เนอื้ ความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภิกษุพร้อมกับสงฆ์ให้จีวรเป็นบ�ำเหน็จแก่ภิกษุรูปใด รูปหน่ึงแล้ว ภายหลังกลับติเตียนภิกษุอื่นว่า ให้เพราะ เห็นแก่หน้ากนั ต้องปาจิตตยี ์” 344 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

อธบิ ายความโดยย่อ ค�ำว่า น้อมลาภของสงฆ์ไปตามชอบใจ คือ ให้ปัจจัย ๔ คือจีวร บณิ ฑบาต เสนาสนะ คลิ านเภสชั และสิง่ ของอ่ืนแมเ้ ป็นของเล็กน้อย เช่นกอ้ น ผงเจิม ไม้ช�ำระฟัน ด้ายเย็บผ้า ไปตามท่ีต้องการ เพราะความเป็นเพ่ือนกัน เพราะความทเี่ คยเหน็ กนั เพราะความทเ่ี คยคบกนั เพราะความทรี่ ว่ มอปุ ชั ฌาย์ กัน เพราะความท่ีรว่ มอาจารย์กัน เปน็ ต้น เจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้ สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพ่ือให้ภิกษุมีใจกว้าง ยอมรับได้ ไม่โลเล เหลวไหล เมอ่ื ร่วมกับสงฆ์ให้สิง่ ใดไปแลว้ กใ็ ห้ตัดขาด ไม่ตดิ ใจตอ่ ไปว่าสงฆจ์ ะ ให้ส่ิงน้ันแก่ผู้ใด จะเป็นมิตรหรือศัตรูกับตน จะเป็นผู้ที่ตนรู้จักหรือไม่รู้จัก ก็ ยอมรับได้ เปน็ การแสดงความเปน็ คนใจกว้าง ไมใ่ จแคบ อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษตุ เิ ตยี นสงฆผ์ ทู้ ำ� เพราะฉนั ทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ (ลำ� เอยี งเพราะ ชอบ เพราะชงั เพราะหลง เพราะกลวั ) โดยปกติวา่ จะประโยชน์อะไรดว้ ยจีวร ท่ีให้แล้วแก่ภิกษุน้ัน แม้เธอได้ไปแล้วก็จักท้ิงเสีย จักไม่ใช้สอยโดยชอบธรรม (๒) ภิกษุผู้วิกลจริต (๓) ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ หรือภิกษุอาทิกัมมิกะ ได้แก่ พวกภกิ ษฉุ ัพพัคคีย์ พระวินัยบัญญัติ 345 www.kalyanamitra.org

สหธมั มิกวรรค สิกขาบทท่ี ๑๒ ค�ำแปลพระบาลีทีเ่ ปน็ พุทธบญั ญตั ิ “ภิกษุใดรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไว้เป็นของจะถวาย สงฆ์มาเพื่อตน เป็นปาจิตตยี ์” เน้อื ความยอ่ ในหนังสือนวโกวาท “ภกิ ษรุ อู้ ยู่ นอ้ มลาภทท่ี ายกเขาตง้ั ใจจะถวายสงฆม์ าเพอ่ื บุคคล ต้องปาจิตตีย์” อธบิ ายความและเจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนี้หมายถึงการท่ีภิกษุไปพูดโลมเล้าให้ทายกที่จัดของถวาย ไวส้ ำ� หรบั ภกิ ษทุ วั่ ไปไดถ้ วายแกพ่ วกตนแทน ทำ� ใหท้ ายกจำ� ตอ้ งถวาย และเปน็ เหตุให้ภิกษุอ่ืนไม่ได้ลาภตามที่ควรได้ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ปรามไว้ เพ่ือ ป้องกนั มิให้ภกิ ษุเหน็ แกต่ ัว เห็นแกไ่ ด้ และเห็นแกล่ าภเพอื่ ตัว จนเกนิ กวา่ เหตุ โดยไม่ค�ำนงึ ถงึ ภกิ ษุอื่น อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุผู้ถูกทายกถามว่าจะถวายท่ีไหน ตอบว่าไทยธรรมของพวกท่านพึงได้รับ การใช้สอย พึงได้รับการปรับปรุง หรือพึงตั้งอยู่ได้นานในท่ีใด ก็หรือจิตของ พวกทา่ นเลื่อมใสในผใู้ ด กจ็ งถวายในผูน้ ้ันเถดิ (๒) ภกิ ษผุ ู้วกิ ลจริต (๓) ภิกษุ ผูเ้ ป็นตน้ บัญญัติ หรอื ภิกษอุ าทิกมั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภิกษุฉัพพัคคยี ์ 346 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

วรรคที่ ๙ รตนวรรค วา่ ดว้ ยรัตนะ รตนวรรค สกิ ขาบทที่ ๑ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ป็นพุทธบัญญตั ิ “อน่งึ ภกิ ษุใดไมไ่ ด้รับแจ้งให้รู้กอ่ น กา้ วล่วงธรณีเขา้ ไปในห้องพระบรรทมของพระราชามหากษัตริย์ผู้ทรง ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ท่ีพระราชายังมิได้เสด็จออก ที่ รัตนนารยี ังมิไดเ้ สดจ็ ออก เป็นปาจิตตยี ”์ เนอ้ื ความย่อในหนงั สือนวโกวาท “ภิกษุไม่ได้รับอนุญาตก่อน เข้าไปในห้องที่พระเจ้า แผ่นดินเสดจ็ อยู่กับพระมเหสี ตอ้ งปาจิตตยี ”์ อธิบายความโดยยอ่ ค�ำว่า มิได้รบั แจ้งใหร้ ้กู อ่ น คอื ไมม่ ใี ครนิมนต์ไว้ลว่ งหน้า ค�ำว่า ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว คือ ทรงได้รับบรมราชาภิเษก สถาปนาขน้ึ ครองราชยโ์ ดยผา่ นพิธถี ูกตอ้ งตามกฎหมายแล้ว ค�ำว่า รัตนนารี หมายถงึ พระมเหสขี องพระราชา ผทู้ รงเปน็ นางแกว้ คู่ควรแก่พระราชา สิกขาบทนี้หมายถึง ภิกษุผู้ยังมิได้รับนิมนต์หรือมิได้รับอนุญาต ล่วงหน้า ห้ามเข้าไปในห้องพระบรรทมหรือในห้องท่ีปิดบังด้วยม่าน ท่ีพระ พระวินัยบัญญัติ 347 www.kalyanamitra.org

มหากษตั รยิ แ์ ละพระมเหสปี ระทบั อยู่ เมอื่ ผา่ นธรณปี ระตเู ขา้ ไป เปน็ อาบตั ิ ทงั้ นี้ เพราะเปน็ พระราชฐานสว่ นพระองค์ ไม่ควรลว่ งเกนิ เวน้ ไวแ้ ตไ่ ดร้ ับนิมนตแ์ ละ ได้รบั อนุญาตลว่ งหนา้ ในกรณพี เิ ศษ เชน่ เขา้ ไปเย่ยี มเม่ือทรงพระประชวร พระพทุ ธองคท์ รงแสดงโทษในการเขา้ ไปยงั พระราชฐานชนั้ ในไว้ ๑๐ ประการ เช่น เม่ือเข้าไป พระมเหสีทรงยิ้มพรายให้ พระราชาอาจทรงระแวง ได้ หรือหากมีรัตนะบางอย่างในเขตพระราชฐานชั้นในนั้นหายไป พระราชา อาจทรงระแวงภิกษุได้ว่า ไม่มีคนนอกที่ไหนเข้าไปได้ นอกจากภิกษุที่ไว้วาง พระราชหฤทัย เปน็ ต้น เจตนารมณข์ องสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพ่ือให้ภิกษุส�ำรวมระวัง มีสติรู้สึกตัวอยู่ เสมอ ไม่ประมาท เมือ่ เข้าไปในเขตพระราชฐาน เปน็ การป้องกันมิให้เกดิ ความ หวาดระแวงจากพระราชาและจากบุคคลอื่นได้ และเป็นการป้องกันอันตราย รอบดา้ นแกภ่ กิ ษุ เพราะในเขตพระราชวัง มกั พลุกพล่านไปด้วยผคู้ น ดว้ ยช้าง มา้ รถ และมีอารมณ์อันเปน็ ท่ตี งั้ แหง่ ความก�ำหนัดยินดีมากมาย ซ่งึ ไม่สมควร แก่ภกิ ษุ อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) เม่ือภิกษุได้รับแจ้งให้รู้แล้ว (๒) ไม่ใช่กษัตริย์ (๓) ไม่ได้รับอภิเษกโดยการ อภิเษกเป็นกษัตริย์ (๔) พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกจากห้องพระบรรทมแล้ว (๕) พระมเหสีเสด็จออกจากห้องพระบรรทมแล้ว (๕) ท้ังสองพระองค์เสด็จ ออกจากหอ้ งพระบรรทม (๖) ไมใ่ ชห่ ้องพระบรรทม (๖) ภิกษุผ้วู ิกลจรติ (๗) ภิกษผุ เู้ ปน็ ต้นบญั ญตั ิ หรอื ภกิ ษอุ าทกิ มั มกิ ะ ได้แก่ พระอานนท์ 348 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

รตนวรรค สกิ ขาบทที่ ๒ คำ� แปลพระบาลีท่ีเป็นพทุ ธบัญญัติ “อน่ึง ภิกษุใดเก็บก็ดี ให้เก็บก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ของที่ สมมติว่าเป็นรัตนะก็ดี เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ในวัด ที่อยู่หรือในที่พัก และภิกษุเก็บเองก็ดี ให้เก็บก็ดี ซ่ึง รัตนะก็ดี ของท่ีสมมติ ว่าเป็นรัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่หรือ ในที่พักได้แล้ว พึงเก็บไว้ด้วยหมายใจว่า เป็นของผู้ใด ผู้นนั้ จะได้นำ� ไป นเี้ ป็นการปฏิบตั ชิ อบในเร่ืองนัน้ ” เน้ือความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภิกษุเห็นเคร่ืองบริโภคของคฤหัสถ์ตกอยู่ ถือเอาเป็น ของเก็บได้เองก็ดี ให้ผู้อ่ืนถือเอาก็ดี ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้ แต่ของน้ันตกอยู่ในวัดหรือในท่ีอาศัย ต้องเก็บไว้ให้แก่ เจ้าของ ถ้าไมเ่ ก็บ ต้องทกุ กฏ” อธิบายความโดยย่อ ค�ำว่า รัตนะ หมายถงึ นพรัตน์ หรอื นวรตั น์ หรือ แกว้ ๙ ประการ คือ เพชร ทับทิม มรกต บษุ ราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑรู ย์ ค�ำว่า ของที่สมมติว่าเป็นรัตนะ หมายถึงเคร่ืองอุปโภคบริโภคของ มวลมนุษย์ทุกอย่าง และเครื่องประดับท่ีตกแต่งดัดแปลงเป็นรูปแบบต่างๆ แลว้ ใชเ้ ปน็ อาภรณ์ รวมไปถงึ ของเทยี มทที่ ำ� เลยี นแบบชนดิ ตา่ งๆ กน็ บั เขา้ เปน็ รัตนะตามสิกขาบทน้ี พระวินัยบัญญัติ 349 www.kalyanamitra.org

สิกขาบทนีม้ ่งุ ถึงว่า เมอื่ ภิกษุไปพบเห็นรัตนะและของทส่ี มมตวิ า่ เปน็ รัตนะซึ่งเขาทำ� ตกหลน่ ไว้ จึงเกบ็ เอามาดว้ ยคดิ วา่ เปน็ ของหาเจา้ ของมไิ ด้ หรอื ให้คนอ่ืนเกบ็ ไปกด็ ี เป็นอาบตั ิ แต่ถา้ ของเช่นนน้ั เขาทำ� ตกหรือลมื ไว้ในวดั หรือ ในทอี่ ยขู่ องตน ทา่ นใหเ้ กบ็ ไว้ เพอื่ รอเจา้ ของเขามารบั คนื ไป ถา้ ไมเ่ กบ็ ทา่ นปรบั ทกุ กฏ เพราะถ้าไมเ่ ก็บไว้ ของเกิดหายไป เจา้ ของอาจสงสัยวา่ ภกิ ษเุ อาไปกไ็ ด้ จงึ ใหเ้ กบ็ ไวค้ ืนเจ้าของ เพ่อื แสดงว่าเปน็ ผู้ไม่น่ิงดดู าย ร้จู กั รกั ษาของใหค้ นอ่ืน ซง่ึ เปน็ ผ้มู าที่วัดหรือมายังทพี่ กั ของตน เจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้ภิกษุได้เก็บของมีค่าอันเป็นสมบัติ ของชาวบ้านที่ลืมหรือท�ำตกหล่นไว้ในวัดหรือในท่ีอยู่อาศัย เพ่ือให้เจ้าของมา รับคนื ปอ้ งกันมใิ ห้ของนน้ั สูญหายไป และปอ้ งกนั มใิ ห้ภิกษุถูกต�ำหนไิ ดว้ า่ เป็น ผ้นู ง่ิ ดดู าย ไม่มนี �้ำใจแมจ้ ะเก็บรกั ษาส่งิ ของอันมีราคาไว้คนื ใหแ้ ก่เจา้ ของ อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษเุ กบ็ กด็ ี ใหเ้ กบ็ กด็ ี ซง่ึ รตั นะกด็ ี ของทส่ี มมตวิ า่ เปน็ รตั นะกด็ ี ในวดั ทอี่ ยหู่ รอื ที่พกั อาศัยไดแ้ ลว้ พงึ เกบ็ ไว้ด้วยหมายใจวา่ เป็นของผู้ใด ผ้นู ้ันจะได้นำ� ไป (๒) ภิกษุถือวิสาสะของท่สี มมตวิ ่าเปน็ รตั นะ (๓) ภิกษถุ อื เปน็ ของขอยมื (๔) ภิกษุ สำ� คัญวา่ เปน็ ของบงั สกุ ลุ (๕) ภิกษผุ ู้วกิ ลจรติ (๖) ภกิ ษุผเู้ ปน็ ตน้ บญั ญัติ หรือ ภิกษุอาทกิ ัมมกิ ะ ไดแ้ ก่ ภกิ ษุรปู หนึ่ง 350 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

รตนวรรค สิกขาบทท่ี ๓ ค�ำแปลพระบาลที ี่เป็นพุทธบญั ญตั ิ “อนึ่ง ภิกษุใดไม่บอกลาภิกษุท่ีมีอยู่แล้วเข้าหมู่บ้าน ในเวลาวกิ าล เปน็ ปาจติ ตยี ์ เวน้ ไวแ้ ตม่ เี หตจุ ำ� เปน็ รบี ดว่ น เห็นปานน้นั ” เนอื้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภิกษุไม่บอกลาภิกษุอ่ืนท่ีมีอยู่ในวัดก่อน เข้าไปบ้าน ในเวลาวิกาล ต้องปาจิตตยี ์ เว้นไวแ้ ต่กาลดว่ น” อธิบายความโดยยอ่ คำ� วา่ เวลาวกิ าล หมายถงึ เวลาตงั้ แตเ่ ทย่ี งวนั แลว้ ไปจนถงึ อรณุ ขน้ึ เหมือนเวลาการขบฉนั อาหาร ค�ำว่า เหตุจ�ำเป็นเร่งด่วน หมายถึง เม่ือมีความจ�ำเป็นต้องรีบไป เชน่ ภิกษุถกู งูกดั ภิกษอุ าพาธ จ�ำต้องรบี ไปหาหมอ หรือเกดิ ไฟไหม้ หรอื เหตุ จ�ำเป็นอื่นๆ สิกขาบทนี้หมายถึง การท่ีภิกษุจะออกจากวัดไปโดยท่ีไม่มีผู้ใดรู้ว่า ไปไหน ไปเม่ือไร จะกลับเม่ือไร ท�ำให้ไม่รู้เหนือรู้ใต้ได้ มีเหตุจ�ำเป็นก็ไม่อาจ ตามตวั ได้ และผูอ้ อกจากวัดไปเช่นนัน้ เหมือนกับอยู่ตามล�ำพังในวัด ไมม่ ีพวก ไม่มเี พ่อื น ทง้ั ทมี่ อี ยู่ พระวินัยบัญญัติ 351 www.kalyanamitra.org

การออกจากวัดโดยไม่ต้องบอกลานั้นสามารถท�ำได้ในกรณีที่มีเหตุ จ�ำเป็นเรง่ ด่วนหรอื อยูร่ ปู เดยี ว ไม่มีภกิ ษอุ ่ืนท่จี ะบอกลา หรอื เดินผ่านหม่บู ้าน ไปเฉยๆ ไมไ่ ด้แวะ หรือไปยงั วดั อ่ืน เช่นน้สี ามารถไปโดยไมต่ อ้ งบอกลาได้ เจตนารมณข์ องสิกขาบทนี้ สิกขาบทน้ีทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้ภิกษุได้บอกลาก่อนท่ีจะไป ท�ำให้ มีพยานรู้เห็นว่าไปไหน กลับเม่ือไร เมื่อจ�ำเป็นก็สามารถตามตัวได้ เป็นการ ปอ้ งกันมใิ ห้ภิกษทุ อ่ งเที่ยวไปตามใจชอบแมใ้ นเวลาวิกาลตอนทีเ่ ป็นค�่ำคนื อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) เขา้ หมบู่ า้ นเพราะมเี หตจุ ำ� เปน็ รบี ดว่ นเหน็ ปานนน้ั (๒) บอกลาภกิ ษทุ ม่ี อี ยแู่ ลว้ เข้าไป (๓) ภกิ ษไุ ม่มี จึงไมบ่ อกลาเข้าไป (๔) ไปยงั อารามอน่ื (๕) ภกิ ษไุ ปยังท่ี พ�ำนักภกิ ษุณี (๖) ภิกษไุ ปยังส�ำนกั เดียรถีย์ (๗) ไปยังโรงฉัน (๘) เดินไปตาม ทางที่ผ่านหมู่บ้าน (๙) ไปเม่ือมอี ันตราย (๑๐) ภกิ ษผุ ู้วกิ ลจริต (๑๑) ภิกษุ ผเู้ ปน็ ตน้ บัญญตั ิ หรือภกิ ษอุ าทิกมั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภิกษฉุ พั พคั คยี ์ รตนวรรค สิกขาบทที่ ๔ ค�ำแปลพระบาลที ่ีเปน็ พุทธบญั ญัติ “อนึ่ง ภิกษุใดให้ท�ำกล่องเข็มด้วยกระดูกก็ดี ด้วยงา ก็ดี ด้วยเขาก็ดี เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ท�ำลายเสียเป็น วินัยกรรม” 352 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

เนื้อความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภกิ ษทุ ำ� กล่องเขม็ ด้วยกระดูกกด็ ี ด้วยงากด็ ี ดว้ ยเขา ก็ดี ต้องปาจิตตีย์ ต้องต่อยกล่องน้ันเสียก่อน จึงแสดง อาบตั ติ ก” อธิบายความและเจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี สิกขาบทน้ี เป็นการห้ามภิกษุมิให้ใช้ของหรูหราเกินงาม ซึ่งการท�ำ หรือให้ช่างท�ำก็เป็นความเดือดร้อนเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ฝีมือและต้องใช้ เวลาท�ำ ภิกษุท�ำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นท�ำก็ดี ซึ่งกล่องเข็มเช่นนั้น เพื่อประโยชน์แก่ ผอู้ ่นื เปน็ ทุกกฏ ภกิ ษไุ ดก้ ลอ่ งเขม็ เชน่ นนั้ ทคี่ นอนื่ ทำ� ไวส้ ำ� เรจ็ แลว้ มาใชส้ อย เปน็ ทกุ กฏ สกิ ขาบทนเ้ี รยี กวา่ เภทนกปาจติ ตยี ์ มอี นั ใหท้ ำ� ลายเสยี เปน็ วนิ ยั กรรม เป็นไปตามข้อบัญญัติ อนาปัตติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ท�ำลกู ดมุ (๒) ท�ำตะบนั ไฟ (กระบอกสำ� หรบั ตดิ เชอื้ ไฟ) (๓) ท�ำลูกถวิน (ห่วง รอ้ ยสายรัดประคด) (๔) ท�ำกลกั ยาตา (๕) ท�ำไมป้ า้ ยยาตา (๖) ทำ� ฝักมีด (๗) ท�ำธมกรก (เคร่อื งกรองน้ำ� ) (๘) ภิกษผุ ู้วกิ ลจรติ (๙) ภกิ ษุผู้เป็นต้นบญั ญตั ิ หรอื ภกิ ษุอาทิกัมมกิ ะ ได้แก่ ภกิ ษหุ ลายรูป พระวินัยบัญญัติ 353 www.kalyanamitra.org

รตนวรรค สกิ ขาบทที่ ๕ ค�ำแปลพระบาลีท่ีเป็นพุทธบญั ญตั ิ “อน่ึง ภิกษุผู้ให้ท�ำเตียงหรือต่ังใหม่ พึงให้ท�ำมีเท้า สูงเพียง ๘ น้ิว โดยน้ิวสุคตนอกจากแม่แคร่ด้านล่าง เธอท�ำให้เกินประมาณน้ันไป เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัด เสยี เป็นวินยั กรรม” เนอ้ื ความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภกิ ษทุ ำ� เตยี งหรอื ตงั่ พงึ ทำ� ใหม้ เี ทา้ เพยี ง ๘ นว้ิ พระสคุ ต เว้นไว้แต่แม่แคร่ ถ้าท�ำให้เกินก�ำหนดน้ี ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสยี ก่อน จงึ แสดงอาบัตติ ก” อธิบายความและเจตนารมณข์ องสกิ ขาบทน้ี คำ� วา่ เตยี ง หมายถงึ ทส่ี �ำหรบั นอน ทม่ี ีความยาวพอนอนได้ มี ๔ ขา รูปสเี่ หล่ียมผนื ผา้ ค�ำว่า ตั่ง หมายถงึ ที่ส�ำหรับน่ัง ไมม่ ีพนัก อาจมีขาหรอื ไม่มีขาก็ได้ ทรงอนญุ าตใหภ้ ิกษใุ ช้เตียงและตงั่ มีเท้าสงู เพียง ๘ นิ้ว โดยนว้ิ สคุ ต ยกเว้นแม่แครด่ ้านลา่ ง 354 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอ่ื ปอ้ งกนั อนั ตรายในกรณที นี่ อนบนเตยี ง หรือนั่งบนต่ังท่ีสูงเกินประมาณ ซ่ึงอาจพลัดตกลงมาได้ และการนอนการนั่ง บนเตยี งต่งั ทสี่ งู เกินประมาณ ดูไม่งามส�ำหรบั ภิกษุ สิกขาบทน้ีเรียกว่า เฉทนกปาจิตตีย์ ต้องตัดเท้าเตียงหรือต่ังให้ได้ ประมาณเสยี ก่อน จงึ จะแสดงอาบตั ิตก อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษทุ ำ� เตยี งตงั่ ไดป้ ระมาณ (๒) ภกิ ษทุ ำ� เตยี งตง่ั ตำ�่ กวา่ ประมาณ (๓) ภกิ ษไุ ด้ เตยี งตง่ั ทผ่ี อู้ น่ื ทำ� เกนิ ประมาณมาตดั แลว้ ใชส้ อย (๕) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๖) ภกิ ษุ ผูเ้ ป็นตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภกิ ษุอาทกิ ัมมิกะ ไดแ้ ก่ พระอุปนันทศากยบุตร รตนวรรค สกิ ขาบทที่ ๖ ค�ำแปลพระบาลที ีเ่ ปน็ พทุ ธบญั ญตั ิ “อน่ึง ภิกษุใดให้ท�ำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี หุ้มด้วยนุ่น เป็น ปาจิตตยี ์มอี นั ให้ร้อื เสยี เปน็ วนิ ยั กรรม” เน้ือความย่อในหนงั สอื นวโกวาท “ภิกษุท�ำเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่น ต้องปาจิตตีย์ ต้องร้ือ เสียกอ่ น จงึ แสดงอาบตั ติ ก” พระวินัยบัญญัติ 355 www.kalyanamitra.org

อธบิ ายความและเจตนารมณข์ องสกิ ขาบทน้ี สิกขาบทน้ีมุ่งมิให้ภิกษุใช้เตียงหรือตั่งท่ีหรูหรา นอนหรือนั่งได้สุข สบายเพราะมคี วามน่ิม เหมอื นอย่างพวกคฤหสั ถผ์ คู้ รองเรือนเขามกี นั สิกขาบทนี้เรียกว่า อุททาลนปาจิตตีย์ ต้องร้ือนุ่นออกก่อนจึงจะ แสดงอาบัติตก อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษทุ ำ� สายรดั เขา่ (๒) ท�ำประคดเอว (๓) ท�ำสายโยกบาตร (๔) ท�ำถุงบาตร (๕) ท�ำผา้ กรองน้�ำ (๖) ทำ� หมอน (๗) ได้เตียงตง่ั ที่คนอนื่ ทำ� ไว้แลว้ มาร้อี แลว้ ใชส้ อย (๘) ภกิ ษุผู้วกิ ลจริต (๙) ภิกษผุ ้เู ปน็ ต้นบัญญัติ หรอื ภิกษอุ าทิกมั มกิ ะ ได้แก่ พวกภกิ ษุฉัพพคั คยี ์ รตนวรรค สกิ ขาบทที่ ๗ ค�ำแปลพระบาลที เ่ี ป็นพุทธบญั ญตั ิ “อนึ่ง ภิกษุให้ท�ำผ้านิสีทนะส�ำหรับรองน่ัง พึงให้ท�ำ ใหไ้ ดข้ นาด ขนาดผา้ นน้ั ดงั นค้ี อื โดยยาว ๒ คบื โดยกวา้ ง คบื ครงึ่ ชายคบื หนง่ึ โดยคบื สคุ ต เธอทำ� ใหเ้ กนิ ขนาดนน้ั ไป เปน็ ปาจิตตีย์ มีอันใหต้ ดั เสียเป็นวนิ ัยกรรม” 356 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

เนอื้ ความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภิกษทุ ำ� ผ้าปูนง่ั พึงทำ� ใหไ้ ดป้ ระมาณ ประมาณน้นั ยาว ๒ คืบพระสุคต กว้างคืบครึ่ง ชายคืบหน่ึง ถ้าท�ำให้เกิน ก�ำหนดน้ี ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบัตติ ก” อธิบายความและเจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี ค�ำว่า นิสีทนะ คอื ผ้าปนู ่งั หรือผา้ สำ� หรบั รองนัง่ ท่มี ีชาย ผ้านิสีทนะนี้ ทรงอนุญาตเป็นบริขารพิเศษ เพื่อประโยชน์เป็นผ้า รักษากาย รกั ษาจวี ร และรักษาเสนาสนะ เป็นผ้าที่ต้องอธิษฐาน ทรงอนญุ าต ให้ภิกษุมีใช้ได้เพียงผืนเดียว เม่ือท�ำ ก็ต้องท�ำให้ได้ประมาณคือ ยาว ๒ คืบ สุคต กว้างคืบครึ่ง ที่ทรงอนุญาตขนาดไว้เช่นนี้ เป็นการป้องกันมิให้ภิกษุท�ำ ผ้านิสีทนะผืนใหญ่เกินขนาด ซึ่งเมื่อปูบนเตียงหรือตั่งแล้วผ้าจะได้ไม่ห้อยลง ขา้ งหนา้ บ้าง ขา้ งหลงั บ้าง ทำ� ให้ดรู ุงรงั ไมง่ ามตา สกิ ขาบทนีเ้ รยี กว่า เฉทนกปาจติ ตีย์ ต้องตดั ใหไ้ ดป้ ระมาณเสียกอ่ น จงึ จะแสดงอาบัติตก อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุท�ำผ้านิสีทนะได้ประมาณ (๒) ภิกษุท�ำผ้านิสีทนะต�่ำกว่าประมาณ (๓) ภิกษุได้ผ้านิสีทนะท่ีผู้อ่ืนท�ำเกินประมาณมาตัดเสียแล้วใช้สอย (๔) ท�ำเป็นผ้า เพดานกด็ ี ท�ำเป็นผา้ ปูพ้นื กด็ ี ท�ำเปน็ ผ้าม่านกด็ ี ทำ� เปน็ เปลือกฟกู กด็ ี ท�ำเปน็ พระวินัยบัญญัติ 357 www.kalyanamitra.org

ปลอกหมอนกด็ ี (๕) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๖) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภกิ ษอุ าท-ิ กมั มิกะ ไดแ้ ก่ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ รตนวรรค สิกขาบทที่ ๘ ค�ำแปลพระบาลีท่ีเปน็ พทุ ธบญั ญัติ “อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ท�ำผ้าปิดฝี พึงท�ำให้ได้ขนาด ขนาด ในผ้านั้นดังน้ีคือโดยยาว ๔ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบ โดย คืบสคุ ต เธอทำ� ให้เกินขนาดน้นั ไป เปน็ ปาจติ ตีย์ มีอนั ให้ ตัดเสยี เป็นวนิ ัยกรรม” เน้ือความยอ่ ในหนงั สือนวโกวาท “ภิกษุท�ำผ้าปิดแผล พึงท�ำให้ได้ประมาณ ประมาณนั้น ยาว ๔ คืบพระสุคต กวา้ ง ๒ คืบ ถา้ ทำ� ให้เกินก�ำหนดน้ี ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดง อาบัติตก” อธบิ ายความและเจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้ ค�ำว่า ผ้าปิดฝี ได้แก่ ผ้าท่ีทรงอนุญาตแก่ภิกษุอาพาธเป็นฝี เป็น อสี กุ อใี ส เปน็ โรคมนี ำ�้ เลอื ดนำ้� เหลอื งไหล เปรอะเปอ้ื น หรอื เปน็ ฝดี าษทใ่ี ตส้ ะดอื ลงไป เหนอื หวั เขา่ ขน้ึ มา เพอื่ จะไดใ้ ชป้ ดิ อาพาธน้ัน 358 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

สิกขาบทนเี้ รยี กวา่ เฉทนกปาจติ ตยี ์ ต้องตดั ใหไ้ ดป้ ระมาณเสียกอ่ น จงึ จะแสดงอาบตั ติ ก สกิ ขาบทนท้ี รงบญั ญตั ิไว้ เพ่ือใหภ้ ิกษใุ ช้ผา้ ปิดฝที ไ่ี ดข้ นาด เม่ือใช้ผา้ ท่ีไม่ได้ขนาดเช่นใหญ่เกินไป ก็ท�ำให้เล้ือยไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ท�ำให้ ดรู งุ รัง ไม่งามตา อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษุทำ� ผ้าปิดฝไี ดข้ นาด (๒) ท�ำผ้าปิดฝใี ห้ตำ�่ กวา่ ขนาด (๓) ไดผ้ ้าปิดฝีทผ่ี อู้ น่ื ทำ� ไวเ้ กนิ ขนาดมาตดั แลว้ ใชส้ อย (๔) ทำ� เปน็ ผา้ เพดานกด็ ี ทำ� เปน็ ผา้ ปพู น้ื กด็ ี ทำ� เปน็ ผา้ มา่ นกด็ ี ทำ� เปน็ เปลอื กฟกู กด็ ี ทำ� เปน็ ปลอกหมอนกด็ ี (๕) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๖) ภกิ ษผุ ู้เป็นตน้ บัญญัติ  หรอื ภกิ ษอุ าทิกัมมิกะ  ไดแ้ ก่ พวกภกิ ษุฉพั พัคคีย์ รตนวรรค สกิ ขาบทท่ี ๙ ค�ำแปลพระบาลที ี่เป็นพุทธบัญญตั ิ “อน่ึง ภิกษุผู้ให้ท�ำผ้าอาบน้�ำฝน พึงให้ท�ำให้ได้ ขนาด ขนาดในผ้าน้ันดังนี้คือโดยยาว ๖ คืบ โดยกว้าง ๒ คืบคร่ึง โดยคืบสุคต เธอให้ท�ำเกินขนาดน้ันไป เป็น ปาจติ ตีย์ มอี นั ใหต้ ัดเสียเป็นวนิ ัยกรรม” พระวินัยบัญญัติ 359 www.kalyanamitra.org

เนอ้ื ความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภิกษุท�ำผ้าอาบน้�ำฝน พึงท�ำให้ได้ประมาณ ประมาณ นั้นยาว ๖ คืบพระสุคต กว้าง ๒ คืบครึ่ง ถ้าท�ำให้เกิน ก�ำหนดนี้ ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จึงแสดงอาบตั ติ ก” อธิบายความและเจตนารมณ์ของสิกขาบทนี้ คำ� วา่ ผา้ อาบนำ้� ฝน คอื ผา้ ทใ่ี ชน้ งุ่ ในเวลาสรงนำ�้ หรอื ในเวลาอาบนำ้� ตอนฝนตก เรยี กว่า ผา้ วัสสกิ สาฎก ในสิกขาบทน้ีแสดงเรื่องผ้าอาบน�้ำฝนเพิ่มเติมจากสิกขาบทที่ ๔ แหง่ ปัตตวรรค นสิ สคั คิยปาจติ ตยี ์ โดยในสกิ ขาบทนัน้ แสดงถงึ การทำ� และการ แสวงหาผา้ อาบนำ้� ฝน แต่ในสกิ ขาบทนแี้ สดงถึงขนาดของผ้าอาบน�้ำฝน ภกิ ษุ ต้องใหท้ ำ� ผ้าอาบน้�ำฝนใหไ้ ด้ขนาดที่ก�ำหนด คอื ยาว ๖ คบื สุคต กว้าง ๒ คืบ ครง่ึ หากเกินกว่านน้ั ตอ้ งตัดทิง้ จึงจะแสดงอาบตั ติ ก สกิ ขาบทนี้จึงเรียกวา่ เฉทนกปาจิตตยี ์ อนาปัตติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษทุ ำ� ผา้ อาบฝนไดข้ นาด (๒) ทำ� ผา้ อาบนำ�้ ฝนตำ�่ กวา่ ขนาด (๓) ไดผ้ า้ อาบนำ�้ ฝนท่ีผู้อ่ืนท�ำเกินขนาดมาตัดแล้วใช้สอย (๔) ท�ำเป็นผ้าเพดานก็ดี ท�ำเป็นผ้า ปูพืน้ กด็ ี ทำ� เป็นผ้ามา่ นก็ดี ทำ� เปน็ เปลอื กฟูกก็ดี ท�ำเป็นปลอกหมอนก็ดี (๕) ภกิ ษุผวู้ กิ ลจรติ (๖) ภิกษผุ ู้เป็นต้นบัญญัติ หรือภกิ ษอุ าทิกมั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวก ภิกษฉุ พั พคั คีย์ 360 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

รตนวรรค สิกขาบทท่ี ๑๐ คำ� แปลพระบาลที ี่เปน็ พุทธบัญญตั ิ “อน่ึง ภิกษุใดให้ท�ำจีวรมีขนาดเท่าสุคตจีวรหรือ ย่ิงกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเป็นวินัยกรรม ขนาด แห่งสุคตจีวรของสุคตในค�ำน้ันดังนี้คือ โดยยาว ๙ คืบ โดยกวา้ ง ๖ คืบ โดยคืบสุคต นี้เปน็ ขนาดแหง่ สุคตจวี ร ของสุคต” เน้อื ความยอ่ ในหนงั สือนวโกวาท “ภกิ ษทุ ทำจวี รใหเ้ ทา่ จวี รของพระสคุ ตกด็ ี เกนิ กวา่ นนั้ กด็ ี ต้องปาจิตตีย์ ประมาณจีวรพระสุคตน้ัน ยาว ๙ คืบ พระสุคต กว้าง ๖ คืบ ต้องตัดให้ได้ประมาณเสียก่อน จงึ แสดงอาบตั ติ ก” อธบิ ายความและเจตนารมณข์ องสกิ ขาบทนี้ สิกขาบทนี้ทรงบัญญัติไว้ เพ่ือป้องกันมิให้ภิกษุใช้สอยจีวรขนาดเท่า พระพทุ ธองค์ ซึ่งเทา่ กับเปน็ การตเี สมอ และปอ้ งกันมใิ หผ้ ไู้ มเ่ คยเหน็ พระพทุ ธ- องค์เข้าใจผิดว่าภิกษุท่ีตนเห็นซ่ึงนุ่งห่มผ้าท่ีมีขนาดใหญ่เป็นพระพุทธองค์ ดัง มูลเหตุท่ีทรงบัญญัติสิกขาบทข้อน้ี เนื่องจากพระนันทะผู้มีรูปร่างงดงามและ มรี ่างกายต่�ำกว่าพระพุทธเจา้ เพียง ๔ นว้ิ แตน่ งุ่ หม่ ผ้าขนาดเทา่ พระพุทธเจา้ ท�ำให้พระเถระท้ังหลายเข้าใจผิด เมื่อพระนันทะเดินมา จึงพากันลุกข้ึนยืนรับ โดยเข้าใจวา่ พระพุทธองคก์ �ำลงั เสด็จมา พระวินัยบัญญัติ 361 www.kalyanamitra.org

สิกขาบทนเ้ี รียกวา่ เฉทนกปาจิตตยี ์ ตอ้ งตัดใหไ้ ด้ขนาดเสยี ก่อน จึง จะแสดงอาบตั ิตก อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุท�ำจีวรต�่ำกว่าขนาด (๒) ภิกษุได้จีวรท่ีผู้อื่นท�ำเสร็จแล้วมาตัดเสียแล้ว ใช้สอย (๓) ภิกษุท�ำเป็นผ้าเพดานก็ดี ท�ำเป็นผ้าปูพ้ืนก็ดี ท�ำเป็นผ้าม่านก็ดี ท�ำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ท�ำเป็นปลอกหมอนก็ดี (๔) ภิกษุผู้วิกลจริต (๕) ภิกษุ ผเู้ ป็นตน้ บญั ญัติ หรือภิกษอุ าทิกมั มกิ ะ ได้แก่ พระนนั ทะ มนุเมว ภาเสยยฺ นามนุ ํ กุทาจนํ ฯ ควรพูดแตค่ �ำทีจ่ ับใจเท่านัน้ ไมค่ วรพดู ค�ำท่ีไมจ่ บั ใจ ไม่วา่ เวลาไหน. ทีม่ า : นันทวิ สิ าลชาดก ข.ุ ชา. ๒๗/๒๘ 362 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ปาฏเิ ทสนยี ะ ๔ ปาฏเิ ทสนียะ เป็นช่อื ของอาบัติ จดั เปน็ ลหุกาบัติ คอื อาบัตทิ เ่ี บากวา่ อาบตั ปิ าจิตตีย์ เป็นอาบัตกิ องท่ี ๕ ในบรรดาอาบตั ิ ๗ กอง ปาฏเิ ทสนยี ะ แปลวา่ พงึ แสดงคนื หมายถงึ เมอื่ ภกิ ษลุ ว่ งละเมดิ แลว้ พงึ แสดงคืนตามทป่ี รากฏในสิกขาบท ปาฏิเทสนียะ มี ๔ สิกขาบท คือ ปาฏเิ ทสนยี ะ สิกขาบทที่ ๑ คำ� แปลพระบาลที ีเ่ ปน็ พุทธบัญญัติ “อน่ึง ภิกษุใดรับของเค้ียวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือ ของตน จากมือของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติผู้เข้าไปสู่ละแวก บ้าน แล้วเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ภิกษุน้ันพึงแสดงคืนว่า แน่ะ อาวุโส ขา้ พเจา้ ต้องธรรมที่นา่ ต�ำหนิ ไมเ่ ป็นท่ีสบาย ควร จะแสดงคืน ข้าพเจา้ ขอแสดงคืนธรรมน้ัน” เนือ้ ความยอ่ ในหนงั สือนวโกวาท “ภกิ ษรุ บั ของเคยี้ วของฉนั แตม่ อื นางภกิ ษณุ ที ไ่ี มใ่ ชญ่ าติ ด้วยมือของตนมาบริโภค ตอ้ งปาฏิเทสนยี ะ” พระวินัยบัญญัติ 363 www.kalyanamitra.org

อธบิ ายความและเจตนารมณ์ของสกิ ขาบทน้ี คำ� ว่า ละแวกบา้ น ได้แก่ ถนน ซอยตัน ทางสามแยก เรอื น สิกขาบทน้ีเกิดขึ้นจากการท่ีภิกษุณีรูปหน่ึงได้บิณฑบาตมาแล้วได้ ถวายบณิ ฑบาตนนั้ แกภ่ กิ ษรุ ปู หนง่ึ จนหมด แตเ่ พราะหมดเวลาทจ่ี ะไปบณิ ฑบาต ใหมจ่ งึ อดอาหารในวนั นนั้ แมใ้ นวนั รงุ่ ขน้ึ และวนั ตอ่ มานางกท็ ำ� เชน่ นน้ั อกี นาง อดอาหารมา ๓ วัน ในวันท่ี ๔ นางเดนิ ซวนเซไปตามถนน รถของเศรษฐบี ตุ ร คนหน่ึงผ่านมา เขาบอกให้นางหลีกทางให้รถ นางจึงเดินหลีกแต่ก็ซวนเซล้ม ลง เศรษฐีบุตรลงมาขอโทษท่ีท�ำให้นางล้ม ภกิ ษุณีบอกวา่ นางล้มเอง เศรษฐี บุตรจึงน�ำนางไปฉันท่ีบ้าน แล้วต�ำหนิว่าเหตุไฉนภิกษุจึงรับอามิสจากมือของ ภกิ ษุณซี ่งึ เป็นผหู้ ญงิ เพราะผู้หญิงทัว่ ไปหาลาภได้ยากอยแู่ ล้ว พระพทุ ธองคท์ รงทราบแล้วจงึ ทรงบญั ญตั สิ กิ ขาบทน้ีไว้ เพอ่ื ป้องกัน มิให้ภิกษุเบยี ดเบียนภกิ ษณุ ีผ้มู ลี าภน้อย อนาปัตติวาร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภกิ ษณุ ผี เู้ ปน็ ญาติ (๒) ภกิ ษณุ ผี มู้ ใิ ชญ่ าตสิ ง่ั ใหถ้ วาย มไิ ดถ้ วายเอง (๓) วางไว้ ถวาย (๔) ถวายในอาราม (๕) ในทอี่ ยอู่ าศยั ภกิ ษณุ ี (๖) ในสำ� นกั เดยี รถยี ์ (๗) ในโรงฉัน (๘) นำ� ออกจากบา้ นแลว้ ถวายในเวลากลบั (๙) ถวายยามกาลกิ สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ด้วยค�ำว่า เม่ือมีเหตุที่จ�ำเป็น ก็นิมนต์ฉันได้ (๑๐) สิกขมานาถวาย (๑๑) สามเณรีถวาย (๑๒) ภิกษุผู้วิกลจริต (๑๓) ภิกษุ ผู้เป็นตน้ บญั ญัติ หรือภิกษอุ าทิกมั มิกะ ไดแ้ ก่ ภิกษรุ ูปหนงึ่ 364 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

ปาฏเิ ทสนียะ สกิ ขาบทท่ี ๒ ค�ำแปลพระบาลที เ่ี ป็นพุทธบัญญตั ิ “อน่ึง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันอยู่ในตระกูล ถ้า ภกิ ษณุ มี ายนื สงั่ การอยใู่ นทน่ี นั้ วา่ จงถวายแกงทที่ า่ นรปู น้ี จงถวายข้าวท่ีท่านรูปน้ี ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นพึงไล่ ภิกษุณีนั้นว่าน้องหญิง เธอจงหลีกไปเสียตลอดเวลาที่ ภิกษุยังฉันอยู่ ถ้าภิกษุแม้รูปหน่ึงไม่กล่าวออกไปเพื่อจะ รุกรานภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสียตลอด เวลาที่ภิกษุยังฉันอยู่ ภิกษุเหล่าน้ันพึงแสดงคืนว่า แน่ะ อาวุโส พวกขา้ พเจ้าต้องธรรมท่ีนา่ ต�ำหนิ ไมเ่ ปน็ ที่สบาย ควรจะแสดงคนื พวกข้าพเจา้ ขอแสดงคืนธรรมนั้น” เนือ้ ความยอ่ ในหนังสอื นวโกวาท “ภิกษุฉันอยู่ในท่ีนิมนต์ ถ้ามีนางภิกษุณีมาส่ังทายกให้ เอาส่ิงนั้นสิ่งนี้ถวาย เธอพึงไล่นางภิกษุณีนั้นให้ถอย ไปเสีย ถ้าไม่ไล่ ต้องปาฏเทสนียะ” อธิบายความและเจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี มูลเหตุของสิกขาบทน้ี เกิดจากการท่ีภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันใน ตระกูลแห่งหนึ่ง พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ซึ่งคุ้นเคยกับพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตาม ไปด้วยแลว้ เทยี่ วจุ้นจา้ นสั่งการใหเ้ จ้าภาพถวายอาหารท่ีมีรสชาตดิ ๆี แกพ่ วก พระวินัยบัญญัติ 365 www.kalyanamitra.org

ภิกษุฉัพพัคคีย์ ภิกษุเหล่านั้นจึงอิ่มหมีพีมัน ส่วนภิกษุที่เหลือไม่ได้ฉันตามใจ ประสงค์ จงึ ไปกราบทลู พระพทุ ธองค์ พระพทุ ธองคจ์ งึ ทรงบญั ญตั สิ กิ ขาบทนข้ี น้ึ สกิ ขาบทนที้ รงบญั ญตั ไิ ว้ เพอ่ื ปอ้ งกนั มใิ หภ้ กิ ษตุ ามใจภกิ ษณุ ผี เู้ ปน็ เจา้ กเี้ จา้ การในการสงั่ ใหเ้ จา้ ภาพถวายของอยา่ งนนั้ อยา่ งนแ้ี กต่ น หากยอมตามก็ เหมือนกบั ยอมรับความคุ้นเคยสนทิ สนมกันดุจชายหน่มุ กบั หญงิ สาว อนาปัตตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษุณสี ่ังให้ถวายภัตตาหารของตน มไิ ด้ถวายเอง (๒) ถวายภัตตาหาร ของผู้อ่ืน มิได้ส่ังให้ถวาย (๓) ส่ังให้ถวายภัตตาหารท่ีเขายังไม่ได้ถวาย (๔) ส่งั ให้ถวายในภกิ ษทุ เ่ี ขายงั ไม่ได้ถวาย (๕) สง่ั ใหถ้ วายเทา่ ๆ กันแกภ่ ิกษุทุกรปู (๖) สิกขมานาส่ังการ (๗) สามเณรีสัง่ การ (๘) ไมต่ ้องอาบัติในเพราะอาหาร ทุกชนดิ เวน้ โภชนะ ๕ (๙) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจริต (๑๐) ภกิ ษผุ ู้เป็นต้นบัญญตั ิ หรือ ภิกษุอาทกิ มั มกิ ะ ไดแ้ ก่ พวกภกิ ษฉุ ัพพคั คยี ์ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทท่ี ๓ ค�ำแปลพระบาลีทีเ่ ปน็ พทุ ธบัญญตั ิ “อนึ่ง ภิกษุใดไม่ได้รับนิมนต์ไว้ก่อน มิใช่ผู้อาพาธ รับของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดีในตระกูลทั้งหลายท่ีสงฆ์ สมมติว่าเป็นตระกูลเสกขะเห็นปานนั้นด้วยมือของตน 366 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

แลว้ เค้ียวกด็ ี ฉันกด็ ี ภิกษุน้นั พึงแสดงคนื วา่ แน่ะอาวุโส ข้าพเจ้าต้องธรรมที่น่าต�ำหนิไม่เป็นที่สบาย ควรจะ แสดงคืน ข้าพเจา้ ขอแสดงคืนธรรมน้นั ” เนอื้ ความย่อในหนังสือนวโกวาท “ภกิ ษไุ มเ่ ปน็ ไข้ เขาไมไ่ ดน้ มิ นต์ รบั ของเคยี้ วของฉนั ใน ตระกลู ทสี่ งฆส์ มมตวิ า่ เปน็ เสขะมาบรโิ ภค ตอ้ งปาฏเิ ทสนยี ะ” อธิบายความและเจตนารมณส์ ิกขาบทน้ี ค�ำว่า เสกขะ หรือ เสขะ หมายถึง บุคคลท่ีได้บรรลุมรรคผลต้ังแต่ โสดาปัตตมิ รรคจนถึงอรหตั มรรค คอื เป็นอรยิ บคุ คลระดับโสดาบัน สกทิ าคามี และอนาคามี คำ� นแี้ ปลวา่ บคุ คลทย่ี งั ตอ้ งศกึ ษา คอื ยงั ตอ้ งปฏบิ ตั ธิ รรมเพอื่ ใหบ้ รรลุ อรหตั ผลต่อไป ค�ำว่า ทสี่ งฆ์สมมติว่าเป็นตระกูลเสกขะ คอื ตระกลู นน้ั เป็นตระกลู ที่ มศี รทั ธา คนในตระกลู เปน็ เสกขะหรือเสขบคุ คล แตม่ ฐี านะยากจน ขาดแคลน โภคสมบัติ ทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดประกาศว่าตระกูลน้ันเป็นตระกูลเสกขะ ห้ามมิใหภ้ กิ ษเุ ข้าไปรับปัจจัย ๔ ในตระกูลเช่นนั้น เพื่อป้องกันมิใหต้ ระกลู นน้ั เดือดร้อน ที่ต้องเจือจานปัจจัยที่มีน้อยถวายภิกษุ หรือท�ำให้ปัจจัยบางอย่าง ของเขาขาดแคลนหรือหมดไป พระวินัยบัญญัติ 367 www.kalyanamitra.org

อนาปตั ตวิ าร ในสิกขาบทน้ี ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) ภิกษไุ ด้รบั นมิ นต์ไว้ (๒) ภิกษุอาพาธ (๓) ภกิ ษฉุ นั ของเปน็ เดนของภกิ ษผุ ไู้ ด้ รับนิมนต์ไว้หรือผู้อาพาธ (๓) ภิกษุฉันภัตตาหารท่ีเขาจัดไว้ในท่ีน้ันเพ่ือภิกษุ อ่ืนๆ (๔) ภิกษุฉันภัตตาหารที่เขาน�ำออกจากเรือนไปถวาย (๕) ภิกษุฉัน นจิ ภตั (อาหารทถ่ี วายประจำ� ) (๖) ภกิ ษฉุ นั สลากภตั (อาหารทถ่ี วายตามสลาก) (๗) ภกิ ษฉุ นั ปกั ขกิ ภตั (อาหารทถ่ี วาย ๑๕ วนั ตอ่ ครงั้ ) (๘) ภกิ ษฉุ นั อโุ ปสถกิ ภตั (อาหารที่ถวายในวนั พระ) (๙) ภกิ ษฉุ นั ปาฏปิ ทกิ ภตั (อาหารท่ีถวายในวันขนึ้ หรอื แรม ๑ คำ�่ ) (๑๐) ภกิ ษฉุ นั ยามกาลกิ สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ท่ีเขาถวาย บอกวา่ เมอื่ มเี หตจุ ำ� เปน็ กน็ มิ นตฉ์ นั (๑๑) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๑๒) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บัญญัติ หรือภิกษอุ าทกิ มั มิกะ ไดแ้ ก่ ภกิ ษหุ ลายรูป ปาฏิเทสนยี ะ สกิ ขาบทที่ ๔ ค�ำแปลพระบาลีทเ่ี ป็นพทุ ธบญั ญตั ิ “อน่ึง ภิกษุใดอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าเป็นท่ีน่า ระแวง มภี ยั เฉพาะหนา้ มใิ ชผ่ อู้ าพาธ รบั ของเคย้ี วกด็ ี ของ ฉันก็ดี ท่ีเขาไม่ได้แจ้งให้รู้ก่อนด้วยมือของตนภายในวัด ท่ีอยู่ เคย้ี วก็ดี ฉันก็ดี ภิกษนุ นั้ พึงแสดงคนื วา่ แน่ะอาวุโส ขา้ พเจา้ ตอ้ งธรรมทนี่ า่ ตำ� หนิ ไมเ่ ปน็ ทส่ี บาย ควรจะแสดง คืน ข้าพเจ้าขอแสดงคืนธรรมน้นั ” 368 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

เนื้อความยอ่ ในหนงั สือนวโกวาท “ภิกษุอยู่ในเสนาสนะป่าเปน็ ทีเ่ ปล่ยี ว ไม่เป็นไข้ รับของ เคี้ยวของฉันที่ทายกมิได้แจ้งความให้ทราบก่อน ด้วยมือ ของตนมาบริโภค ตอ้ งปาฏิเทสนยี ะ” อธบิ ายความและเจตนารมณข์ องสิกขาบทน้ี ค�ำวา่ เสนาสนะป่า ไดแ้ ก่ เสนาสนะท่ีห่างไกลจากบา้ นไป ๕๐๐ ชั่ว ธนูเป็นอยา่ งน้อย จดั เปน็ เสนาสนะปา่ หรอื วัดปา่ คำ� วา่ เปน็ ทนี่ า่ ระแวง คอื ในวดั หรอื บรเิ วณรอบวดั มรี อ่ งรอยทพี่ วก โจรซ่องสุม บริโภค ยืน นัง่ นอนปรากฏอยู่ ค�ำว่า มีภยั เฉพาะหน้า คอื ในวัดหรอื บรเิ วณรอบวัด มพี วกชาวบา้ น ทถ่ี ูกพวกโจรฆา่ ปล้น ทุบตปี รากฏอยู่ ค�ำว่า แจ้งใหร้ ู้ คือ ผใู้ ดผ้หู น่งึ จะเป็นสตรกี ็ตาม เปน็ บรุ ุษก็ตามมายงั วัดหรอื หรือบรเิ วณวดั แล้วบอกว่า ท่านเจ้าขา้ สตรีหรือบรุ ษุ ช่ือโน้นจักน�ำของ เคี้ยวหรอื ของฉันมาถวายภกิ ษุช่ือน้ี นีช่ อื่ วา่ แจง้ ใหร้ ู้ ค�ำว่า มิใชผ่ ู้อาพาธ หมายถึงภกิ ษทุ ี่ยงั อาจเทย่ี วไปบณิ ฑบาตได้ ค�ำว่า ผ้อู าพาธ หมายถงึ ภกิ ษุผไู้ ม่อาจเท่ยี วไปบณิ ฑบาตได้ สกิ ขาบทนม้ี งุ่ ใหภ้ กิ ษไุ ดบ้ อกชาวบา้ นทมี่ าแจง้ วา่ จะนำ� อาหารมาถวาย ใหร้ ตู้ วั ลว่ งหนา้ วา่ ทว่ี ดั หรอื สถานทน่ี เี้ ปน็ ทน่ี า่ ระแวงหรอื เปน็ ทม่ี ภี ยั เฉพาะหนา้ ชาวบา้ นจะไดร้ ะวงั และปอ้ งกนั ใหพ้ น้ ภยั ไวล้ ว่ งหนา้ หากเขาไมไ่ ดแ้ จง้ ลว่ งหนา้ พระวินัยบัญญัติ 369 www.kalyanamitra.org

และภิกษุไม่ได้เตือนล่วงหน้า หากเขาน�ำอาหารมาแล้วถูกโจรหรือผู้ร้ายปล้น หรือท�ำร้าย ก็จะโทษว่าภิกษุไม่บอกว่าในวัดมีพวกโจร หรือภิกษุรู้เห็นเป็นใจ กับพวกโจรด้วย อนาปตั ติวาร ในสิกขาบทนี้ ท่านแสดงภิกษุผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องอาบัติไว้ คือ (๑) เขาแจ้งให้รู้แลว้ (๒) ภกิ ษอุ าพาธ (๓) ภกิ ษฉุ นั ของเป็นเดนในของทเี่ ขา แจ้งให้รู้แล้วหรือของภิกษุผู้อาพาธ (๔) ภิกษุรับนอกวัดแล้วมาฉันในวัด (๕) ภิกษุฉันรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ซึ่งเกิดขึ้นในวัดนั้น (๖) ภกิ ษฉุ นั ของทเ่ี ปน็ ยามกาลกิ สตั ตาหกาลกิ ยาวชวี กิ ในเมอื่ มเี หตทุ จ่ี ำ� เปน็ (๗) ภกิ ษผุ วู้ กิ ลจรติ (๑๓) ภกิ ษผุ เู้ ปน็ ตน้ บญั ญตั ิ หรอื ภกิ ษอุ าทกิ มั มกิ ะ ไดแ้ ก่ ภกิ ษุ ทง้ั หลาย อทฏุ ฺจติ ฺโต ภาเสยยฺ คริ ํ สจฺจปู สห ติ ํ ฯ คนเราไม่ควรคิดมุ่งรา้ ยกัน ควรพูดแตค่ �ำท่ีประกอบด้วยความจรงิ . ทีม่ า : กรุ ุราชชาดก ข.ุ ชา. ๒๗/๒๗๖ 370 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

เสขิยวัตร ๗๕ เสขิยวตั ร แปลว่า ธรรมเนยี มหรือขอ้ ปฏบิ ตั ทิ ่ีควรศกึ ษา คำ� วา่ เสขิยะ เป็นชอ่ื ของสกิ ขาบทท่เี ป็นธรรมเนียมปฏิบตั ิ เป็นแบบ อยา่ งเกย่ี วกบั มารยาททภี่ กิ ษพุ งึ ศกึ ษาและพงึ ปฏบิ ตั ิ จดั เปน็ พทุ ธบญั ญตั ทิ เี่ นน้ เร่ืองกิริยามารยาททางกายและวาจาท่ีดูงดงามเหมาะสมส�ำหรับภิกษุ คล้าย เปน็ หลกั ปฏบิ ตั ิเรือ่ ง “สมบัติผู้ด”ี ของทางโลก ค�ำว่าเสขิยะนี้ มิได้เป็นช่ือของอาบัติ เป็นเพียงช่ือ แต่เมื่อล่วง ละเมดิ หรือไมป่ ฏิบตั ติ าม ท่านปรบั อาบัตทิ ุกกฏในทุกสิกขาบท เสขยิ วตั ร มี ๗๕ สกิ ขาบท แบง่ เปน็ ๔ หมวดตามสาระสำ� คญั คอื (๑) หมวดสารูป วา่ ดว้ ยธรรมเนียมความประพฤติในเวลาเขา้ ไปในบ้าน มี ๒๖ สิกขาบท (๒) หมวดโภชนปฏิสังยตุ วา่ ดว้ ยธรรมเนยี มรบั บณิ ฑบาตและฉันอาหาร มี ๓๐ สกิ ขาบท (๓) หมวดธมั มเทสนาปฏิสังยุต วา่ ดว้ ยการแสดงธรรม มี ๑๖ สกิ ขาบท (๔) หมวดปกิณณกะ วา่ ดว้ ยธรรมเนยี มในการขบั ถา่ ย มี ๓ สิกขาบท พระวินัยบัญญัติ 371 www.kalyanamitra.org

หมวดสารปู ๒๖ สิกขาบท ค�ำแปลพระบาลีท่ีเปน็ พุทธบญั ญตั ิ และ อธบิ ายความโดยย่อ ค่ทู ่ี ๑ ๑. ภิกษุพงึ ท�ำความศึกษาวา่ เราจกั นงุ่ เปน็ ปรมิ ณฑล ๒. ภกิ ษุพึงท�ำความศึกษาวา่ เราจักห่มเปน็ ปริมณฑล ค�ำว่า นุ่งเป็นปริมณฑล คือ นุ่งผ้าปิดสะดือ ปิดเข่า ไม่หย่อนยาน เลื้อยหน้าเล้ีอยหลัง ให้ชายผ้าอยู่ระหว่างเข่ากับตาตุ่ม ท่านว่า ให้ผ้านุ่งห้อย ลงใต้เข่าไปประมาณ ๘ นิ้ว น่ีเรียกว่านุ่งเป็นปริมณฑล ถ้าภิกษุปราศจาก ความเอ้ือเฟื้อพระวินัย นุ่งผ้าเล้ือยหน้าเล้ือยหลัง ชื่อว่านุ่งไม่เป็นปริมณฑล เป็นอาบตั ิทุกกฏ ค�ำว่า ห่มเป็นปรมิ ณฑล คือ ห่มผา้ ท�ำมมุ ทง้ั สองให้เสมอกัน ไมห่ ่ม เลอ้ื ยหนา้ เลอื้ ยหลงั ใหช้ ายผา้ หม่ ปดิ ชายผา้ นงุ่ พอดี นเี่ รยี กวา่ หม่ เปน็ ปรมิ ณฑล ในอรรถกถาทา่ นกลา่ วไวว้ า่ บรรดาจวี ร (ผา้ นงุ่ ) ชน้ั เดยี วและสองชนั้ นนั้ จีวรชัน้ เดยี วแม้ท่ีภกิ ษุนุง่ แล้วอยา่ งน้ี ย่อมไม่ตั้งอย่ใู นทีไ่ ด้ แต่จีวรสองช้นั จงึ จะตัง้ อยไู่ ด้ ภิกษผุ ไู้ มแ่ กลง้ ไม่จงใจ มีความตงั้ ใจว่าจะนุ่งให้เปน็ ปรมิ ณฑล แต่น่งุ ผดิ ไป ไมเ่ ปน็ ปรมิ ณฑล ไมเ่ ปน็ อาบตั ิ หรอื ภกิ ษผุ มู้ แี ขง้ ลบี มปี น้ั เนอ้ื ปลแี ขง้ ใหญ่ ก็ดี จะน่งุ ให้เลอ้ื ยลงจากหวั เขา่ เกิน  ๘ นวิ้   เพื่อตอ้ งการใหเ้ หมาะสม ก็ควร เรอ่ื งการนงุ่ นี้ มใิ ชม่ โี ทษตามสกิ ขาบทนเ้ี ทา่ นนั้ หากยงั มกี ารนงุ่ อยา่ ง อ่ืนที่มโี ทษ อยา่ งเชน่ ที่ตรัสไวใ้ นขันธกะวา่ 372 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

“ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ นุ่งผ้ามี ชายดุจงวงช้าง นุ่งผ้าดุจหางปลา นุ่งผ้าไว้ ๔ มุมแฉก นุ่งผ้าดุจร้ัวตาล นุ่ง ผ้ามีกลีบตั้งร้อย” ดังน้ี ในประเทศไทย มธี รรมเนยี มการหม่ ผา้ หลายแบบ เชน่ หม่ คลมุ หม่ ดอง ห่มแหวก และการม้วนลกู บวบก็มีหลายแบบ แล้วแตธ่ รรมเนยี มของแต่ละวัด แตล่ ะถิน่ พึงศกึ ษาเลยี นแบบให้เหมอื นกันในกล่มุ เดยี วกัน ย่อมเหมาะสมและ งดงาม คู่ท่ี ๒ ๓. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายให้ดีเดินไปใน ละแวกบ้าน ๔. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักปกปิดกายให้ดีน่ังในละแวก บา้ น สิกขาบทคู่นี้ มุ่งให้ภิกษุส�ำรวมระวังในการเดินและในการนั่งในบ้าน พึงนุ่งห่มให้เรียบร้อย ปกปิดอวัยวะที่ควรปกปิด มีให้เดินหรือน่ังจีวรหลุดลุ่ย มใิ หเ้ วกิ ผา้ หม่ ขนี้ มาพาดไหลห่ รอื พาดศรี ษะในขณะเดนิ ผา่ นหมบู่ า้ น มใิ หห้ ม่ ลด ไหลเ่ วลาอยใู่ นบ้านเหมอื นอย่ทู วี่ ดั เปน็ ตน้ เป็นการรักษาศรัทธาของชาวบา้ น และเป็นการฝึกนิสยั รักความเป็นระเบยี บ ไมร่ ุ่มร่ามตามสบาย ค่ทู ี่ ๓ ๕. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั สำ� รวมดว้ ยดเี ดนิ ไปในละแวก บ้าน ๖. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั สำ� รวมดว้ ยดนี งั่ ในละแวกบา้ น พระวินัยบัญญัติ 373 www.kalyanamitra.org

สิกขาบทคนู่ ี้ มงุ่ ใหภ้ กิ ษมุ ีความส�ำรวมระวัง ไม่คะนองมือคะนองเท้า ไมค่ ะนองปากคำ� ในขณะเดนิ ผา่ นหมู่บ้านหรือขณะน่ังอยูใ่ นบา้ น ไมว่ า่ จะเดนิ หรอื นง่ั รปู เดยี ว ยง่ิ ไปเปน็ หมคู่ ณะยง่ิ ตอ้ งสำ� รวมระวงั มากยงิ่ ขน้ึ แมจ้ ะเดนิ ทาง ในท่ีเปล่ียวไม่มผี ู้คนเห็น กส็ ำ� รวมระวงั เสมอ นบั เป็นกิริยาทงี่ ดงามติดตวั ค่ทู ่ี ๔ ๗. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักทอดสายตาลง เดินไปใน ละแวกบ้าน ๘. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั ทอดสายตาลง นงั่ ในละแวก บ้าน สิกขาบทคู่นี้ มุ่งให้ภิกษุไม่แสดงอาการล่อกแล่ก มองซ้ายมองขวา เดินหรือนั่งแหงนหน้า เดินหรือน่ังก้มหน้า แต่ให้มองชั่วแอก คือทอดสายตา ลงตรงจุดจากตัวประมาณ ๔ ศอก ไม่เดินมองโน่นมองนี่ซ้ายขวา หรือมอง บ้านเรือน มองสง่ิ รอบข้างไปพลาง ท้งั นเ้ี พือ่ ความปลอดภยั มใิ ห้เดนิ ตกหลมุ หรือสะดุดสิ่งเกะกะ และเพอื่ รักษากิริยาอาการใหเ้ ปน็ ปกติ ไม่เสยี กริ ิยาอันน�ำ มาซง่ึ ความเส่อื มศรัทธาและความดหู มิน่ ว่าไม่ส�ำรวม คู่ท่ี ๕ ๙. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั ไมเ่ ดนิ เวกิ ผา้ ในละแวกบา้ น ๑๐. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั ไมน่ งั่ เวกิ ผา้ ในละแวกบา้ น สิกขาบทคู่น้ี มุ่งให้ภิกษุส�ำรวมระวังในการเดินในการน่ัง ไม่ถกจีวร ขึ้นพาดไหลซ่ ง่ึ ทำ� ใหเ้ หน็ สขี ้างไดช้ ดั เจน ตอ่ หนา้ ชาวบา้ นทพ่ี ดู คยุ หรอื ท�ำพธิ อี ยู่ 374 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

คูท่ ี่ ๖ ๑๑. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินหัวเราะเสียงดังใน ละแวกบา้ น ๑๒. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่น่ังหัวเราะเสียงดังใน ละแวกบา้ น สิกขาบทคนู่ ี้ มุ่งให้ภิกษุส�ำรวมระวงั ในการแสดงกริ ยิ านา่ ขัน เม่อื พูด คุยก็ไม่พูดคุยเพลิดเพลินสนุกสนานจนชอบใจหัวเราะเสียงดังข้ึนมาในขณะ เดินตามถนนหรือขณะนั่งคุยกับชาวบ้านอยู่ในบ้าน แม้ในวัดก็ควรจะส�ำรวม ระวังไม่แสดงอาการอันเสียกิริยาเช่นนั้นออกมา แต่การยิ้มแย้ม ไม่นับเข้าใน สิกขาบทน้ี คูท่ ่ี ๗ ๑๓. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั มเี สยี งเบาเดนิ ไปในละแวก บ้าน ๑๔. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั มเี สยี งเบานงั่ ในละแวกบา้ น สิกขาบทคู่น้ี มุ่งให้ภิกษุส�ำรวมระวังในการพูดคุย ไม่คุยเสียงดังจน เกินไปเหมือนคนหูตึง หรือพูดตะโกนโหวกเหวกเหมือนเกิดเร่ืองร้ายแรง ให้ พดู คยุ ได้ด้วยเสยี งเบาๆ พอไดย้ ินตามปกติ คู่ที่ ๘ ๑๕. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั ไมเ่ ดนิ โยกกายไปในละแวก บา้ น พระวินัยบัญญัติ 375 www.kalyanamitra.org

๑๖. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกายในละแวก บ้าน สิกขาบทคนู่ ้ี มงุ่ ให้ภิกษสุ ำ� รวมระวงั ประคองกายใหต้ รงในขณะเดิน และนงั่ ในละแวกบ้าน โดยเดินตัวตรง นง่ั ตวั ตรง มอี ริ ยิ าบถคงท่ี ดูน่ิง องอาจ และผ่ึงผาย ไม่เดินไม่นั่งโยกไปโยกมา เหมือนนักเลงเดินตามถนนเพื่ออวด ศักดา คทู่ ี่ ๙ ๑๗. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินแกว่งแขนไปใน ละแวกบา้ น ๑ ๘. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่น่ังแกว่งแขนในละแวก บ้าน สกิ ขาบทคนู่ ้ี มุ่งให้ภิกษุสำ� รวมระวัง ให้เดินประคองแขนไว้ ใหน้ ่งั ไม่ กระดิกแขน ไม่เดินหรือนั่งไกวแขนไปมาเหมือนออกก�ำลัง หรือออกลีลาแบบ ปลอ่ ยตามสบาย อันมิใช่ทา่ เดนิ ท่านงั่ ปกติธรรมดา คู่ท่ี ๑๐ ๑๙. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโคลงศีรษะไปใน ละแวกบ้าน ๒๐. ภิกษพุ ึงท�ำความศกึ ษาว่า เราจักไม่นัง่ โคลงศรี ษะในละแวก บ้าน 376 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

สกิ ขาบทคนู่ ี้ มงุ่ ใหภ้ กิ ษสุ ำ� รวมระวงั เดนิ หรอื นงั่ ประคองศรี ษะใหต้ รง มที ่าทางองอาจผง่ึ ผาย เป็นสง่า ไม่เดินหรอื นง่ั โคลงศรี ษะไปมา ไม่เดินหรอื นั่ง คอตก ไม่เดินหรือนั่งคอพับคออ่อน เหมือนคนไม่มีก�ำลังแม้จะประคองศีรษะ ให้ตรงได้ คู่ท่ี ๑๑ ๒๑. ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั ไมเ่ ดนิ เทา้ แขนไปในละแวก บา้ น ๒๒. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งเท้าแขนในละแวก บา้ น สิกขาบทคู่นี้ มุ่งให้ภิกษุส�ำรวมระวัง วางแขนให้ตรงตามปกติใน ขณะเดินในขณะนั่ง ไม่เดินเท้าสะเอวหรือนั่งเท้าสะเอวด้วยแขนข้างหนึ่งหรือ ท้ังสองขา้ ง คูท่ ่ี ๑๒ ๒๓. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินคลุมศีรษะไปใน ละแวกบา้ น ๒๔. ภกิ ษพุ ึงท�ำความศึกษาวา่ เราจักไมน่ ัง่ คลุมศรี ษะในละแวก บ้าน สิกขาบทค่นู ี้ มงุ่ ใหภ้ ิกษสุ �ำรวมระวงั ในการเดินในหมูบ่ ้านและนั่งอยู่ ในบา้ น ใหน้ งุ่ หม่ ใหเ้ รยี บรอ้ ย ไมเ่ ดนิ คลมุ โปงไปตามถนน ไมน่ งั่ คลมุ โปงในบา้ น แม้จะถูกแดดถูกฝน ก็ไม่ควรจะลืมตัว ท�ำกิริยาท่ีเสียธรรมเนียมเสียระเบียบ ปฏิบตั ิของภกิ ษุไป พระวินัยบัญญัติ 377 www.kalyanamitra.org

คู่ที่ ๑๓ ๒๕. ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินกระหย่งเท้าไปใน ละแวกบ้าน ๒๖. ภกิ ษุพงึ ทำ� ความศกึ ษาว่า เราจกั ไม่นัง่ รัดเข่าในละแวกบ้าน สิกขาบทคู่นี้ มุ่งให้ภิกษุส�ำรวมระวัง ไม่เดินกระหย่งเท้าเหมือนคน เท้าเจบ็ หรอื เปน็ โรค ท�ำใหเ้ หยยี บพ้ืนไมเ่ ตม็ เท้า และขณะนัง่ ก็นง่ั อย่างสง่าตวั ตรง ไมน่ ั่งรัดเข่าเหมอื นคนมที กุ ข์หรือมีความหนาวรมุ เรา้ เปน็ กิรยิ าที่ไม่งาม สรุปหมวดสารูป สิกขาบท ๒๖ สิกขาบทน้ี ท่านมิได้ปรับเป็นอาบัติไว้โดยตรงในข้อ บัญญัติ เปน็ แตใ่ ห้ภิกษทุ �ำความศกึ ษา ให้เรยี นรู้ไว้ แตใ่ นคัมภีรว์ ภิ งั ค์ที่อธิบาย ความตอ่ มาแสดงไวว้ า่ เมอื่ ลว่ งละเมดิ เปน็ อาบตั ทิ กุ กฏ เพราะไมเ่ ออ้ื เฟอ้ื ปฏบิ ตั ิ และไม่เอ้ือเฟ้ือที่จะศึกษาทำ� ความเข้าใจ หมวดโภชนปฏิสังยตุ ๓๐ สิกขาบท ค�ำแปลพระบาลที ่ีเป็นพุทธบัญญตั ิ และ อธบิ ายความโดยย่อ สกิ ขาบทที่ ๑ ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั รบั บณิ ฑบาตโดยเคารพ คำ� วา่ เคารพ หมายถงึ มคี วามเออื้ เฟอ้ื ในผตู้ กั บาตรหรอื ถวายอาหาร รบั ดว้ ยความเตม็ ใจ ไม่แสดงรังเกยี จหรือดหู มิน่ 378 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

สกิ ขาบทท่ี ๒ ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั แลดใู นบาตรรบั บณิ ฑบาต อธบิ ายวา่ ในขณะทรี่ บั บณิ ฑบาต ใหม้ องดแู ตใ่ นบาตรและของทก่ี ำ� ลงั จะตกไปในบาตร ไมใ่ ห้มองหน้าคนใส่บาตร และไมใ่ หเ้ หลียวมองของทวี่ างอยู่ ข้างๆ หรือมองไปที่อืน่ สกิ ขาบทท่ี ๓ ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมีแกงพอ สมควรแกข่ ้าวสุก อธบิ ายวา่ ในการรบั บณิ ฑบาต พงึ รจู้ กั ประมาณในการรบั โดยรบั แกง หรอื กบั ขา้ วทพ่ี อดกี บั ขา้ วสกุ ทา่ นวา่ กบั ขา้ วปรมิ าณหนงึ่ ในสส่ี ว่ นของขา้ วสกุ ถือว่าพอสมควรแก่ข้าวสุก ไม่พึงรับเฉพาะแกงอย่างเดียวมากไป หรือไม่ ยอมรับบิณฑบาตเฉพาะที่มแี ต่ขา้ วเปล่า หรือท่ีมกี ับขา้ วน้อย สกิ ขาบทท่ี ๔ ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั รบั บณิ ฑบาตแตพ่ อเสมอ ขอบปากบาตร อธบิ ายว่า พึงรู้ประมาณในการรับบิณฑบาต ไมแ่ สดงความโลภเหน็ แก่ได้ออกมา พึงรับบิณฑบาตแต่พอเหมาะแก่ปากท้อง รับพอเสมอขอบปาก บาตร สามารถปดิ ฝาบาตรไดพ้ อดี ไมพ่ งึ รบั ใหล้ น้ ปากบาตรออกมาจนปดิ บาตร ไม่ลง หรอื เมือ่ รบั ล้นบาตร อาหารอาจหกใหลออกมาเปรอะเปอ้ื น ในกรณมี พี ธิ ตี ักบาตร เม่อื ลน้ ปากบาตร พงึ ถา่ ยออกไปโดยทันที ใน กรณีเชน่ น้รี บั มากด้วยเมตตาธรรม ไมน่ ่าต�ำหนิ ในกรณีที่เขาวางพวกดอกไม้ ธูปเทียน พวงผลไม้ หรือวางถาดวางใบไม้ไว้บนข้าวสวยที่เต็มบาตรอยู่แล้ว ท่านว่าไม่ชื่อว่ารับล้นบาตร ควรอยู่ เพราะไม่เลอะใหลและเป็นส่วนแยกจาก บาตร พระวินัยบัญญัติ 379 www.kalyanamitra.org

ในอรรถกถาทา่ นแสดงวา่ โภชนะทท่ี �ำใหเ้ ป็นยอดดจุ สถูป (รบั ลน้ บาตรแลว้ พนู ขึ้น) ไม่ควรแม้แกภ่ กิ ษุอาพาธ จะรับประเคนพร่�ำเพรื่อในภาชนะ ทวั่ ไปกไ็ มค่ วร แตโ่ ภชนะทร่ี บั ประเคนไวแ้ ลว้ จะรบั ประเคนใหมใ่ หเ้ รยี บรอ้ ยกอ่ น แลว้ จึงฉนั ควรอยู่ สิกขาบทท่ี ๕ ภิกษพุ ึงทำ� ความศกึ ษาว่า เราจักฉันบณิ ฑบาตโดยเคารพ อธิบายว่า ในการขบฉันอาหารน้ันพึงฉันอย่างส�ำรวม ระมัดระวังมิ ให้มูมมาม มิให้แสดงออกเหมือนไม่อยากจะฉัน แสดงว่าอาหารไม่อร่อย ไม่ ถูกปาก หรือมิให้ฉันด้วยอาการดูหม่ินว่าเป็นอาหารระดับต่�ำ ขาดรสชาติท่ีดี ไม่มีฝมี ือในการปรงุ เป็นต้น สิกขาบทที่ ๖ ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั แลดใู นบาตรฉนั บณิ ฑบาต อธบิ ายวา่ ในขณะฉนั อาหาร พงึ ดเู ฉพาะในบาตรหรอื ในจานขา้ วของ ตวั เอง ไม่ให้มองลอ่ กแลก่ ไปฉนั ไป เป็นอาการไม่สำ� รวม หากมองดรู ูปอ่นื ทน่ี งั่ ขา้ งๆ เพ่อื ดูวา่ ขาดเหลืออะไรจะได้เจือจานสง่ ให้ ย่อมท�ำได้ สกิ ขาบทท่ี ๗ ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั ฉนั บณิ ฑบาตไปตามลำ� ดบั อธบิ ายวา่ ในการฉนั พงึ ฉนั อาหารใหข้ า้ วมหี นา้ เสมอกนั ไปตามลำ� ดบั ไม่ฉันเจาะลงไปเป็นชอ่ งเปน็ โพรง โดยใช้ช้อนตักหรอื ใชม้ ือหยิบขา้ วหรอื กบั ใน ทเี ดยี วจนแหว่งลงไปเปน็ ชอ่ งลกึ ดไู มง่ าม สกิ ขาบทท่ี ๘ ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมีกับพอ สมควรแก่ข้าวสุก อธบิ ายว่า ไม่ฉันแตก่ ับอย่างเดยี ว หรือฉันกบั มากกวา่ ข้าวสุก ท�ำให้ กบั ข้าวไมเ่ พียงพอแก่ผู้อ่ืน 380 พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี) www.kalyanamitra.org

สกิ ขาบทที่ ๙ ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ ยอดลงไป อธบิ ายวา่ ใหฉ้ นั ตามธรรมเนยี มของภกิ ษุ คอื ฉนั ตกั ขา้ วเกลยี่ ขา้ วให้ มหี น้าเสมอลงไปตามลำ� ดับ ไมข่ ยุ้มตกั หรือหยบิ เฉพาะยอดขา้ วสกุ สกิ ขาบทที่ ๑๐ ภิกษุพึงท�ำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี กับข้าว กด็ ี ด้วยข้าวสกุ เพราะอยากจะได้มาก สกิ ขาบทที่ ๑๑ ภิกษพุ งึ ท�ำความศึกษาวา่ เรามใิ ชผ่ อู้ าพาธ จักไม่ขอแกง ก็ดี ขา้ วสกุ กด็ ี เพอ่ื ประโยชนแ์ กต่ นมาฉัน อธบิ ายว่า ในกรณีเช่นนี้ หากขอตอ่ ญาติ ต่อคนปวารณา ได้อยู่ หรือ เม่ือเปน็ ไข้ ก็ให้ขอได้ หรือขอเพอื่ ประโยชนแ์ กภ่ ิกษุอาพาธ กข็ อได้ สกิ ขาบทที่ ๑๒ ภกิ ษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาวา่ เราจกั ไมค่ ดิ ทจ่ี ะตำ� หนแิ ลดบู าตร ของภกิ ษุอ่ืน อธบิ ายว่า ในขณะกำ� ลังฉนั ไมพ่ งึ แลดูบาตรของภิกษุอ่ืน ด้วยคดิ จะ ต�ำหนิหรือต่อว่าเม่ือเห็นว่าท�ำผิดหรือบกพร่องอะไร หรือตั้งใจจะค่อนขอดว่า ฉนั มมู มาม ไมส่ �ำรวม เปน็ ต้น สิกขาบทท่ี ๑๓ ภิกษพุ งึ ทำ� ความศกึ ษาว่า เราจักไม่ทำ� ค�ำขา้ วให้ใหญน่ กั อธบิ ายวา่ ในอรรถกถาทา่ นวา่ คำ� ขา้ วมปี ระมาณขนาดกลางระหวา่ ง ไขน่ กยูงกบั ไข่ไก่ ชื่อว่าค�ำข้าวไมใ่ หญ่นัก พระวินัยบัญญัติ 381 www.kalyanamitra.org


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook