Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore edcation

edcation

Description: edcation

Search

Read the Text Version

หนังสือเรยี นสาระการพฒั นาสังคม รายวชิ าสังคมศึกษา (สค31001) ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พทุ ธศักราช 2551 หา มจําหนา ย หนงั สือเรยี นเลมนี้ จัดพมิ พดว ยเงนิ งบประมาณแผน ดินเพ่ือการศึกษาตลอดชวี ิตสําหรบั ประชาชน ลขิ สิทธ์เิ ปนของ สํานักงาน กศน. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานกั งานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั สาํ นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

หนงั สือเรยี นสาระการพฒั นาสังคม รายวชิ าสงั คมศกึ ษา (สค31001) ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย เอกสารทางวิชาการหมายเลข 33/2554

คํานํา สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไดดําเนินการ จัดทําหนังสือเรียนชุดใหมนี้ขึ้น เพื่อสําหรับใชในการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษา นอกระบบ ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 ที่มีวัตถุประสงคในการพัฒนา ผเู รยี นใหม คี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม มสี ตปิ ญ ญาและศกั ยภาพในการประกอบอาชพี การศกึ ษาตอ และสามารถดํารงชีวิตอยูในครอบครัว ชุมชน สังคมไดอยางมีความสุขโดยผูเรียนสามารถ นาํ หนงั สอื เรยี นไปใชด ว ยวธิ กี ารศกึ ษาคน ควา ดว ยตนเอง ปฏบิ ตั กิ จิ กรรม รวมทงั้ แบบฝก หดั เพอ่ื ทดสอบความรคู วามเขา ใจในสาระเนอื้ หา โดยเมอื่ ศกึ ษาแลว ยงั ไมเ ขา ใจ สามารถกลบั ไป ศกึ ษาใหมไ ด ผเู รยี นอาจจะสามารถเพม่ิ พนู ความรหู ลงั จากศกึ ษาหนงั สอื เรยี นน้ี โดยนาํ ความรู ไปแลกเปลย่ี นกบั เพอื่ นในชน้ั เรยี น ศกึ ษาจากภมู ปิ ญ ญาทอ งถนิ่ จากแหลง เรยี นรแู ละจากสอื่ อื่นๆ ในการดําเนินการจัดทําหนังสือเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการ ศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ไดร บั ความรว มมอื ทดี่ จี ากผทู รงคณุ วฒุ แิ ละผเู กยี่ วขอ ง หลายทานท่ีคนควาและเรียบเรียงเน้ือหาสาระจากส่ือตางๆ เพ่ือใหไดสื่อท่ีสอดคลองกับ หลกั สตู รและเปน ประโยชนต อ ผเู รยี นทอ่ี ยนู อกระบบอยา งแทจ รงิ สาํ นกั งานสง เสรมิ การศกึ ษา นอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั ขอขอบคณุ คณะท่ปี รึกษาคณะผูเ รยี บเรียง ตลอดจน คณะผจู ดั ทาํ ทกุ ทานท่ีไดใหความรวมมอื ดวยดี ไว ณ โอกาสน้ี สาํ นกั งานสง เสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั หวงั วา หนงั สอื เรยี น ชดุ นีจ้ ะเปนประโยชนในการจัดการเรียนการสอนตามสมควร หากมีขอ เสนอแนะประการใด สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอนอมรับไวดวยความ ขอบคณุ ยงิ่ สํานกั งาน กศน.



สารบัญ หนา คาํ นํา สารบัญ คําแนะนาํ ในการใชหนงั สือเรียน โครงสรางรายวชิ าสงั คมศึกษา (สค31001) บทท่ี 1 ภูมศิ าสตรก ายภาพ...........................................................................1 เร่อื งท่ี 1 สภาพภมู ิศาสตรกายภาพ ........................................................... 2 เร่ืองที่ 2 ลักษณะการเกิดปรากฏการณท างธรรมชาติท่สี ําคัญ และการปองกนั อนั ตราย...........................................................35 เร่อื งที่ 3 วธิ ีใชเ ครอื่ งมอื ทางภูมิศาสตร....................................................46 เรอ่ื งท่ี 4 ปญ หาการทาํ ลายทรพั ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ ม ผลการจัดลําดบั ความสําคัญของปญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอ ม .......................................................................55 เร่อื งท่ี 5 แนวทางปอ งกันแกไขปญ หาการทาํ ลายทรัพยากรธรรมชาติ และส่ิงแวดลอม โดยประชาชน ชุมชน องคกร ภาครัฐ ภาคเอกชน .............................................................................77 บทที่ 2 ประวัติศาสตร ................................................................................81 เรอ่ื งที่ 1 การแบงชวงเวลาและยุคสมยั ทางประวัตศิ าสตร..........................82 เร่ืองท่ี 2 แหลง อารยธรรมของโลก..........................................................87 เร่อื งที่ 3 ประวัตศิ าสตรช าติไทย.............................................................94 เรอ่ื งที่ 4 บุคคลสําคญั ของไทยและของโลกในดา นประวตั ศิ าสตร............111 เร่ืองที่ 5 เหตุการณส าํ คญั ของโลกท่มี ีผลตอ ปจจบุ นั ..............................131 บทท่ี 3 เศรษฐศาสตร...............................................................................136 เรอ่ื งที่ 1 ความรเู บอ้ื งตน เกยี่ วกับเศรษฐศาสตร .....................................137 เรอ่ื งท่ี 2 ระบบเศรษฐกิจ......................................................................143 เรื่องท่ี 3 กระบวนการทางเศรษฐกจิ ......................................................154 เร่ืองที่ 4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมแหง ชาติ..................................173 เรือ่ งท่ี 5 สถาบนั การเงนิ และการเงินการคลงั .........................................185 เรอ่ื งท่ี 6 ความสมั พนั ธแ ละผลกระทบเศรษฐกจิ ระหวา งประเทศ กับภูมิภาคตางๆ ของโลก......................................................203 เรอื่ งที่ 7 การรวมกลุมทางเศรษฐกจิ .....................................................210

บทที่ 4 การเมอื งการปกครอง ...................................................................217 เร่อื งที่ 1 การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย ..........................................218 เรอื่ งที่ 2 การปกครองระบบเผดจ็ การ ...................................................223 เร่ืองท่ี 3 พัฒนาการของระบอบประชาธปิ ไตย ของประเทศตางๆ ในโลก ......................................................228 เร่อื งท่ี 4 เหตุการณสาํ คญั ทางการเมืองการปกครองของประเทศไทย......235 เร่ืองที่ 5 เหตกุ ารณสําคัญทางการเมืองการปกครองของโลก ทส่ี ง ผลกระทบตอประเทศไทย................................................241 เรื่องท่ี 6 หลกั ธรรมมาภบิ าล.................................................................246 แนวเฉลยกิจกรรม ............................................................................................252 บรรณานุกรม ............................................................................................256 คณะผจู ดั ทาํ ............................................................................................257

คาํ แนะนาํ ในการใชห นังสือเรยี น หนังสือเรียนสาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสังคมศึกษา รหัส สค31001 ระดับ มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย เปน หนงั สอื เรยี นทจี่ ดั ทาํ ขน้ึ สาํ หรบั ผเู รยี นทเ่ี ปน นกั ศกึ ษาการศกึ ษา นอกระบบ ในการศึกษาหนังสือเรียนสาระการพัฒนาสังคม รายวิชาสังคมศึกษา ผูเรียนควร ปฏบิ ตั ดิ ังนี้ 1. ศึกษาโครงสรางรายวิชาใหเขาใจในหัวขอสาระสําคัญ ผลการเรียนรูท่ีคาดหวัง และขอบขายเนอ้ื หา 2. ศกึ ษารายละเอยี ดเนอ้ื หาของแตล ะบทอยา งละเอยี ด และทาํ กจิ กรรมตามทก่ี าํ หนด แลวตรวจสอบกับแนวเฉลยกิจกรรมท่ีกําหนด ถาผูเรียนตอบผิดควรกลับไปศึกษาและ ทําความเขา ใจในเน้อื หานั้นใหม ใหเขา ใจกอ นทีจ่ ะศกึ ษาเรื่องตอ ไป 3. ปฏิบัติกิจกรรมทายบทของแตละบท เพ่ือเปนการสรุปความรู ความเขาใจของ เนื้อหาในเร่อื งน้ันๆ อกี ครง้ั 4. หนงั สือเรียนเลม นมี้ ี 4 บท คอื บทท่ี 1 ภมู ศิ าสตรกายภาพ บทที่ 2 ประวัตศิ าสตร บทที่ 3 เศรษฐศาสตร บทที่ 4 การเมืองการปกครอง

โครงสรา งรายวชิ าสงั คมศึกษา (สค31001) สาระสําคัญ ประชาชนทุกคนมีหนาที่สําคัญในฐานะพลเมืองดีของชาติ การเคารพและปฏิบัติ ตามกฎหมายภายใตการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีความรูในเร่ืองลักษณะ ทางกายภาพ การปฏิสัมพันธระหวางมนุษยกับส่ิงแวดลอมและสามารถบริหารจัดการ ทรพั ยากรธรรมชาตใิ หเ ออื้ ประโยชนต อ คนในชาติ การศกึ ษาความเปน มาและประวตั ศิ าสตร ของชนชาตไิ ทยทาํ ใหเ กิดความรูความเขา ใจและภาคภูมิใจในความเปน ไทย ผลการเรียนรทู ีค่ าดหวัง 1. อธิบายขอมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร ประวัติศาสตร เศรษฐศาสตร การเมือง การปกครองทีเ่ กยี่ วขอ งกบั ประเทศตา งๆ ในโลก 2. วิเคราะห เปรียบเทียบสภาพภูมิศาสตร ประวัติศาสตร เศรษฐศาสตร การเมอื งการปกครองของประเทศตางๆ ในโลก 3. ตระหนกั และคาดคะเนสถานการณร ะหวา งประเทศทางดา นภมู ศิ าสตร ประวตั ศิ าสตร เศรษฐศาสตร การเมอื ง การปกครองที่มผี ลกระทบตอ ประเทศไทยและโลกในอนาคต 4. เสนอแนะแนวทางในการแกป ญ หา การปอ งกนั และการพฒั นาทางดา นการเมอื ง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมตามสภาพปญหาท่ีเกดิ ข้ึนเพ่อื ความมั่นคงของชาติ สาระการเรยี นรู บทที่ 1 ภมู ิศาสตรกายภาพ บทท่ี 2 ประวัตศิ าสตร บทที่ 3 เศรษฐศาสตร บทท่ี 4 การเมอื งการปกครอง

รายวิชาสงั คมศกึ ษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย>> 1 1ภูมิศาสตรก ายภบาทพที่ สาระสาํ คัญ ลักษณะทางกายภาพและสรรพสิ่งในโลก มีความสัมพันธซึ่งกันและกัน และมี ผลกระทบตอ ระบบนเิ วศธรรมชาติ การนาํ แผนทแี่ ละเครอื่ งมอื ภมู ศิ าสตรม าใชใ นการคน หา ขอมูลจะชวยใหมีขอมูลที่ชัดเจนและนําไปสูการใชการจัดการไดอยางมีประสิทธิภาพ การ ปฏิสัมพันธระหวางมนุษยกับสภาพแวดลอมทางกายภาพ ทาํ ใหเกดิ สรางสรรคว ฒั นธรรม และจติ สาํ นกึ รว มกนั ในการอนรุ กั ษท รพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ มเพอื่ การพฒั นาทย่ี ง่ั ยนื ตัวชว้ี ดั 1. มีความรูความเขาใจเก่ียวกับสภาพทางภูมิศาสตรกายภาพของประเทศไทยกับ ทวปี ตา งๆ 2. เปรยี บเทยี บสภาพภมู ศิ าสตรกายภาพของประเทศไทยกบั ทวปี ตางๆ 3. มคี วามรูค วามเขาใจในปรากฏการณทางธรรมชาติทีเ่ กิดขึ้นในโลก 4. มที ักษะการใชเครอื่ งมือทางภูมิศาสตรทสี่ าํ คัญๆ 5. รวู ธิ ปี องกันตนเองใหปลอดภัยเม่อื เกิดภัยจากปรากฏการณธรรมชาติ 6. สามารถวเิ คราะหแ นวโนม และวกิ ฤตสง่ิ แวดลอ มทเี่ กดิ จากการกระทาํ ของมนษุ ย 7. มคี วามรคู วามเขา ใจในการใชน วตั กรรมและเทคโนโลยดี า นสงิ่ แวดลอ มเพอื่ พฒั นา ทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอ มทยี่ ่งั ยนื ขอบขายเน้ือหา เร่อื งที่ 1 สภาพภูมศิ าสตรกายภาพ เรือ่ งที่ 2 ลักษณะการเกดิ ปรากฏการณท างธรรมชาติ และการปอ งกนั อนั ตราย เรอื่ งที่ 3 วธิ ใี ชเครือ่ งมือทางภูมิศาสตร เร่ืองที่ 4 ปญหาการทาํ ลายทรัพยากรธรรมชาติและส่งิ แวดลอม การจดั ลาํ ดบั ความสําคญั ของปญหาทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอม เรอ่ื งท่ี 5 แนวทางปอ งกนั แกไ ขปญ หาการทาํ ลายทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ ม โดยประชาชน ชมุ ชน องคก ร ภาครฐั ภาคเอกชน

2 หนังสอื เรยี นสาระการพฒั นาสังคม เร่ืองท่ี 1 สภาพภูมศิ าสตรกายภาพ ภมู ศิ าสตรกายภาพประเทศไทย ทาํ เลท่ตี งั้ ประเทศไทยต้ังอยูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งประกอบดวยสวนที่เปน แผนดินใหญหรือเรียกวาคาบสมุทรอินโดจีนหรือแหลมทอง และสวนท่ีเปนหมูเกาะใหญ นอ ยหลายพนั เกาะ ตงั้ อยใู นแหลมทองระหวา งละตจิ ดู 5 องศา 37 ลปิ ดาเหนอื กบั 20 องศา 22 ลปิ ดาเหนอื และลองจิจดู 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กบั 105 องศา 37 ลิปดา ตะวันออก ขนาด 1บทที่ ประเทศไทยมเี นอ้ื ท่ี 513,115 ตารางกโิ ลเมตร ถา เปรยี บเทยี บขนาดของประเทศไทย กบั ประเทศในภมู ภิ าค เอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตด วั ยกันแลว จะมพี นื้ ทขี่ นาดใหญเ ปน อนั ดบั ภมู ศิ าสตรก ายภาพ ท่สี าม รองจากอนิ โดนเี ซยี และพมา ความยาวของประเทศวัดจาก เหนือสดุ ท่อี ําเภอแมส าย จงั หวดั เชยี งรายไปจดใตส ดุ ทอี่ าํ เภอเบตง จงั หวดั ยะลา ประมาณ 1,260 กโิ ลเมตร สว นความ กวา งมากทส่ี ดุ วดั จากดา นพระเจดยี ส ามองคอ าํ เภอสงั ขละบรุ ี จงั หวดั กาญจนบรุ ไี ปจดตะวนั ออกสุด ที่อาํ เภอสริ ินธร จงั หวดั อุบลราชธานี ยาวประมาณ 780 กิโลเมตร สาํ หรบั สวนที่ แคบทสี่ ดุ ของประเทศไทยอยใู นเขตจงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ วดั จากพรมแดนพมา ถงึ ฝง ทะเล อาวไทยเปน ระยะทางประมาณ 10.5 กโิ ลเมตร อาณาเขตตดิ ตอ ประเทศไทยมอี าณาเขตติดตอ กบั ประเทศเพอ่ื นบา นโดยรอบ 4 ประเทศคอื พมา ลาว กมั พูชา และมาเลเซียรวมความยาวของพรมแดนทางบก ประมาณ 5,300 กิโลเมตร และมอี าณาเขตติดตอ กับชายฝง ทะเลยาว 2,705 กิโลเมตร คือ แนวฝงทะเลดานอา วไทย ยาว 1,840 กโิ ลเมตร และแนวชายฝง ดานทะเลอนั ดามนั ยาว 865 กิโลเมตรดังนี้ แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย

รายวิชาสงั คมศกึ ษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย>> 3 1. เขตแดนทต่ี ดิ ตอ กบั พมา เรมิ่ ตน ทอ่ี าํ เภอแมส ายจงั หวดั เชยี งรายไปทางตะวนั ตก 1บทที่ ผา นที่จังหวัดแมฮ องสอน ไปสิ้นสุดทจ่ี ังหวดั ระนอง จังหวดั ชายแดนดา นนี้มี 10 จังหวัดคือ เชยี งราย เชยี งใหม แมฮอ งสอน ตาก กาญจนบรุ ี ราชบรุ ี เพชรบุรี ประจวบครี ขี ันธ ชมุ พร ูภ ิมศาสต รกายภาพ และ ระนอง มที วิ เขา 3 แนว เปน เสนกน้ั พรมแดน ไดแก ทิวเขาแดนลาว ทวิ เขาถนนธงชัย และทวิ เขาตะนาวศรี นอกจากนนั้ ยังมแี มนํ้าสายส้ันๆ เปนแนวกน้ั พรมแดนอยอู ีกคือแมน ํ้า เมย จงั หวัดตากและแมน า้ํ กระบรุ ี จังหวดั ระนอง 2. เขตแดนทตี่ ดิ ตอ กบั ลาว เขตแดนดา นน้ี เรมิ่ ตน ทใ่ี นอาํ เภอเชยี งแสน ไปทางตะวนั ออกผา นทอี่ าํ เภอเชยี งของ จงั หวดั เชยี งรายเขา สจู งั หวดั พะเยา ไปสน้ิ สดุ ทจี่ งั หวดั อบุ ลราชธานี ดนิ แดนทต่ี ดิ ตอกบั ลาวมี 11 จังหวัดคือ เชียงราย พะเยา นาน อตุ รดติ ถ พษิ ณโุ ลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อํานาจเจริญ และอุบลราชธานี มีแมนํ้าโขงเปนเสนกั้น พรมแดนทางนาํ้ ทส่ี าํ คญั สว นพรมแดนทางบกมที วิ เขาหลวงพระบางกน้ั ทางตอนบนและทวิ เขาพนมดงรกั บางสว นกั้นเขตแดนตอนลาง เขตแดนท่ีติดตอกบั กัมพชู า เริ่มตน ทีพ่ ื้นทบี่ าง สว นของภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื ตอนลา ง 3. จากอาํ เภอนา้ํ ยนื จงั หวดั อบุ ลราชธานี มาทางทศิ ตะวนั ตก แลว วกลงใตท จ่ี งั หวดั บุรีรัมย ไปสิ้นสุดท่ีจังหวัดตราด จังหวัดชายแดนที่ติดตอกับกัมพูชา มี 7 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรนิ ทร บุรีรัมย สระแกว จนั ทบรุ ี และ ตราด มีทิวเขาพนม ดงรกั และทวิ เขาบรรทดั เปนเสนก้นั พรมแดน 4. เขตแดนทีต่ ิดตอกบั มาเลเซยี ไดแก เขตแดนทางใตส ดุ ของประเทศ ในพื้นท่ี 4 จังหวัด คือ สตลู สงขลา ยะลา และนราธิวาส มแี นวเทอื กเขาสนั กาลาครี ี และแมน ้าํ โก-ลก จงั หวัดนราธิวาสเปนเสนกน้ั พรมแดน ภาคเหนือ ภาคเหนอื ประกอบดว ยพ้นื ทีข่ อง 9 จังหวดั ไดแ ก 1. เชียงราย 2. แมฮ อ งสอน 3. พะเยา 4. เชยี งใหม 5. นา น 6. ลาํ พนู 7. ลาํ ปาง 8. แพร 9. อุตรดติ ถ ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศทว่ั ไป เปน เทอื กเขาสงู ทอดยาวขนานกนั ในแนวเหนอื -ใต และ ระหวางเทือกเขาเหลาน้ีมีท่ีราบและมี หบุ เขาสลบั อยทู ว่ั ไปเทอื กเขาทส่ี าํ คญั คอื เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขา แดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือก เขาผีปนนํ้า เทือกเขาขุนตาลและ เทอื กเขาเพชรบรู ณ ยอดเขาทสี่ งู ทสี่ ดุ ในภาคน้ี ไดแก ยอดอนิ ทนนท อยูใน จังหวดั เชยี งใหม มีความสูงประมาณ 2,595 เมตร เทือกเขาในภาคเหนือ

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ4 หนงั สือเรยี นสาระการพฒั นาสังคม เปน แหลง กาํ เนดิ ของแมน าํ้ สายยาว 4 สาย ไดแ ก แมนาํ้ ปง วงั ยม และนาน แมน ้ําดงั กลาว นไี้ หลผา นเขตทร่ี าบหบุ เขา พนื้ ทท่ี ง้ั สองฝง ลาํ นาํ้ จงึ มดี นิ อดุ มสมบรู ณเ หมาะแกก ารเพาะปลกู ทาํ ใหม ผี คู นอพยพไปตง้ั หลกั แหลง ในบรเิ วณดงั กลา วหนาแนน นอกจากนภ้ี าคเหนอื ยงั มแี มน าํ้ สายส้ันๆ อีกหลายสาย ไดแกแมน้ํากก และแมน้ําอิง ไหลลงสู แมน้ําโขง สวนแมนํ้าปาย แมน ้าํ เมย และแมน า้ํ ยม ไหลลงสแู มน ้ําสาละวิน ภาคกลาง ภาคกลางประกอบดวยพ้ืนท่ีของ 22 จังหวัด ไดแก 1.สุโขทัย 2.พิษณุโลก 3.กําแพงเพชร 4.พิจิตร 5.เพชรบูรณ(ภาคกลางตอนบน) 6.นครสวรรค 7.อุทัยธานี 8.ชัยนาท 9.ลพบุรี 10.สิงหบุรี 11.อางทอง 12.สระบุรี 13.สุพรรณบุรี 1บทท่ี 14.พระนครศรีอยุธยา 15.นครนายก 16.ปทุมธานี 17.นนทบุรี 18.นครปฐม 19. กรงุ เทพมหานคร 20. สมทุ รปราการ 21. สมทุ รสาคร 22. สมทุ รสงคราม ลักษณะภูมิประเทศท่ัวไป เปนที่ราบดินตะกอนท่ีลําน้ําพัดมาทับถม ในบริเวณ ทร่ี าบนมี้ ภี เู ขาโดดๆ ซงึ่ สว นใหญเ ปน ภเู ขาหนิ ปนู กระจาย อยทู วั่ ไป ภมู ปิ ระเทศตอนบนของ ภาคกลางเปน ทรี่ าบลกู ฟกู คอื เปน ทสี่ งู ๆตาํ่ ๆ และมภี เู ขาทม่ี แี นวตอ เนอ่ื งจากภาคเหนอื เขา มาถึงพ้ืนท่ีบางสวนของจังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ สวนพื้นที่ตอนลางของภาคกลาง นนั้ เปน ดนิ ดอนสามเหลย่ี มปากแมน าํ้ เจา พระยา ซง่ึ เกดิ จากการรวมตวั ของแมน าํ้ ปง วงั ยม นา น นอกจากแมน าํ้ เจาพระยา แลวตอนลา งของภาคกลางยังมแี มนํา้ ไหลผา นอกี หลายสาย ไดแก แมนาํ้ แมกลอง แมน ้าํ ทา จีน แมน ้าํ ปา สกั และแมนาํ้ นครนายก เขตน้เี ปน ทรี่ าบกวาง ขวางซง่ึ เกดิ จากดนิ ตะกอน หรอื ดนิ เหนยี วทแ่ี มน าํ้ พดั พามาทบั ถมเปน เวลานาน จงึ เปน พนื้ ที่ ทอ่ี ดุ มสมบรู ณเ หมาะแกก ารเพาะปลกู มาก และเปน เขตทมี่ ปี ระชากรมากทส่ี ดุ ในประเทศไทย ฉะน้ันภาคกลางจงึ ไดช ื่อวาเปนอูขาว อูนาํ้ ของไทย แมน ้าํ เจาพระยา

รายวิชาสังคมศกึ ษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย>> 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1บทที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบดวยพื้นท่ีของ 19 จังหวัด ไดแก 1.เลย ูภ ิมศาสต รกายภาพ 2.หนองคาย 3.อุดรธานี 4.สกลนคร 5.นครพนม 6.ขอนแกน 7.กาฬสินธุ 8.มุกดาหาร 9.ชยั ภมู ิ 10.มหาสารคาม 11.รอ ยเอด็ 12.ยโสธร 13.นครราชสมี า 14.บรุ รี มั ย 15. สรุ นิ ทร 16.ศรีสะเกษ 17.อบุ ลราชธานี 18.อํานาจเจริญ 19.หนองบวั ลําภู ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศทวั่ ไป มลี กั ษณะเปน แอง คลา ยจาน ลาดเอยี งไปทางตะวนั ออก เฉียงใตมีขอบเปนภูเขาสูงทางตะวันตกและทางใตขอบทางตะวันตก ไดแก เทือกเขา เพชรบรู ณ และเทอื กเขาดงพญาเยน็ สว นทางใต ไดแ ก เทอื กเขาสนั กาํ แพง และเทอื กเขาพนม ดงรัก พื้นที่ดานตะวันตกเปนท่ีราบสูง เรียกวา ที่ราบสูงโคราช ภูเขาบริเวณนี้เปนภูเขา หินทราย ท่รี จู ักกนั ดเี พราะเปนแหลงทองเทย่ี ว คือ ภูกระดึง ภูหลวง ในจงั หวดั เลย แมน ้าํ ที่ สาํ คัญของภาคนี้ไดแ ก แมนาํ้ ชี และแมนา้ํ มลู ซ่ึงมีแหลงกาํ เนิดจากเทอื กเขาทางทิศตะวัน ตก และทางใตแ ลว ไหลลงสแู มน าํ้ โขง ทาํ ใหส องฝง แมน าํ้ เกดิ เปน ทรี่ าบนา้ํ ทว มถงึ เปน ตอนๆ พนื้ ทร่ี าบในภาคะวนั ออกเฉยี งเหนอื มกั มที ะเลสาบรปู แอง เปน จาํ นวนมาก แตท ะเลสาบเหลา นจ้ี ะมนี า้ํ เฉพาะฤดฝู นเทา นนั้ เมอื่ ถงึ ฤดรู อ นนา้ํ กจ็ ะเหอื ดแหง ไปหมด เพราะดนิ สว นใหญเ ปน ดนิ ทรายไมอ มุ นา้ํ นา้ํ จงึ ซมึ ผา นได เร็ว ภาคนี้จึงมีปญหาเรื่องการ ขาดแคลนนํ้า และดินขาดความ อดุ มสมบรู ณ ทาํ ใหพ นื้ ทบ่ี างแหง ไม สามารถใชประโยชนในการเกษตร ไดอยางเต็มที่ เชน ทุงกุลารองไห ซ่ึงมีเนื้อท่ีถึงประมาณ 2 ลานไร ครอบคลุมพื้นท่ี 5 จังหวัด ไดแก รอยเอ็ด สุรินทร มหาสารคาม ยโสธร และศรีสะเกษ ซ่ึงปจจุบันรัฐบาลไดพยายามปรับปรุงพ้ืนที่ใหดีขึ้น โดยใชระบบ ชลประทานสมยั ใหม ทาํ ใหสามารถเพาะปลูกไดจ นกลายเปน แหลงเพาะปลกู ขาวหอมมะลทิ ี่ ดที ีส่ ดุ แหง หนง่ึ ของประเทศไทย แตก ็ปลกู ไดเ ฉพาะหนา ฝนเทาน้นั หนา แลงสามารถทาํ การ เพาะปลูกไดเ ฉพาะบางสว นเทาน้ัน ยงั ไมค รอบคลมุ บรเิ วณทัง้ หมด ภาคตะวนั ตก ภาคตะวันตก ประกอบดวยพ้ืนท่ีของ 5 จังหวัด ไดแก 1.ตาก 2.กาญจนบุรี 3.ราชบุรี 4.เพชรบรุ ี 5.ประจวบครี ีขันธ ลกั ษณะภูมิประเทศทัว่ ไป สว นใหญเปนเทอื กเขาสูง ไดแก เทอื กเขาถนนธงชัย และเทือกเขาตะนาวศรีเปนแนวภูเขาท่ีซับซอนมที ่รี าบแคบๆ ในเขตหุบเขาเปน แหง ๆ และ มที ร่ี าบเชงิ เขาตอ เนอ่ื งกบั ทร่ี าบภาคกลางเทอื กเขาเหลา นเ้ี ปน แหลง กาํ เนดิ ของ แมน าํ้ แควนอ ย (แมนํ้าไทรโยค) และแมน้ําแควใหญ (ศรีสวัสด์ิ) ซ่ึงไหลมาบรรจบกัน เปนแมน้ําแมกลอง

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ6 หนังสอื เรยี นสาระการพฒั นาสงั คม อา วมะนาว จงั หวัดประจวบคีรีขันธ 1บทท่ี ระหวางแนวเขามีชองทางติดตอกับพมาได ที่สําคัญคือ ดานแมละเมาในจังหวัดตาก และ ดานพระเจดยี สามองค ในจงั หวดั กาญจนบรุ ี ภาคตะวันออก ภาคตะวนั ออก ประกอบดว ยพน้ื ทขี่ อง 7 จงั หวดั ไดแ ก 1.ปราจนี บรุ ี 2.ฉะเชงิ เทรา 3.ชลบรุ ี 4.ระยอง 5.จันทบรุ ี 6.ตราด 7.สระแกว ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศทว่ั ไป คอื เปน ทร่ี าบใหญอ ยทู างตอนเหนอื ของภาค มเี ทอื กเขา จนั ทบรุ อี ยทู างตอนกลางของภาคมเี ทอื กเขาบรรทดั อยทู างตะวนั ออกเปน พรมแดนธรรมชาติ ระหวางประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา และมีที่ราบชายฝงทะเลซ่ึงอยูระหวางเทือกเขา จนั ทบรุ ีกบั อาวไทย ถงึ แมจะเปน ทร่ี าบแคบๆ แตก็เปน พ้ืนดินท่อี ุดมสมบรู ณเ หมาะสําหรบั การปลูกไมผล ในภาคนี้มจี ังหวดั ปราจนี บุรแี ละจังหวัดสระแกว เปนจงั หวัดที่ไมมีอาณาเขต จดทะเล นอกน้นั ทกุ จังหวัดลว นมีทางออกทะเลท้ังสิ้น ชายฝง ทะเลของภาคเรมิ่ จากแมนํา้ บางปะกง จงั หวดั ฉะเชงิ เทราไปถงึ แหลมสารพดั พษิ จงั หวดั ตราด ยาวประมาณ 505 กโิ ลเมตร เขตพนื้ ทช่ี ายฝง ของภาคมแี หลมและอา วอยเู ปน จาํ นวนมากและมเี กาะใหญน อ ยเรยี งรายอยู ไมห า งจากฝงนัก เชน เกาะชา ง เกาะกูด เกาะสีชัง เกาะลาน เปน ตน เกาะสีชัง

รายวชิ าสังคมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย>> 7 ภาคใต 1บทที่ ภาคใตประกอบดวยพ้ืนที่ของ 14 จังหวัดไดแก 1.ชุมพร 2.สุราษฎรธานี ูภ ิมศาสต รกายภาพ 3.นครศรีธรรมราช 4.พัทลงุ 5.สงขลา 6.ปตตานี 7.ยะลา 8.นราธิวาส 9.ระนอง 10.พังงา 11.กระบี่ 12.ภูเก็ต 13.ตรัง 14.สตูล ลักษณะภูมิประเทศท่ัวไป เปนคาบสมุทรยื่นไปในทะเล ทางตะวันตกของ คาบสมทุ รมเี ทอื กเขาภเู กต็ ทอดตวั เลยี บชายฝง ไปจนถงึ เกาะภเู กต็ ตอนกลางของภาคมเี ทอื ก เขานครศรีธรรมราช สวนทางตอนใตสุดของภาคใตมีเทือกเขาสันกาลาคีรี วางตัวในแนว ตะวนั ออก-ตะวนั ตก และเปน พรมแดนธรรมชาตกิ ัน้ ระหวา งไทยกับมาเลเซียดวยพ้ืนทีท่ าง ชายฝง ตะวนั ออกมที ร่ี าบมากกวา ชายฝง ตะวนั ตก ไดแ ก ทร่ี าบในเขตจงั หวดั นครศรธี รรมราช พทั ลงุ สงขลา ปต ตานี และนราธวิ าส ชายฝง ทะเลดา นตะวนั ออกของภาคใตม ชี ายหาดเหมาะ สาํ หรบั เปน ทต่ี ากอากาศหลายแหง เชน หาดสมหิ ลา จงั หวดั สงขลาและหาดนราทศั น จงั หวดั นราธวิ าส เปนตน เกาะทีส่ าํ คัญทางดา นน้ี ไดแ ก เกาะสมุยและเกาะพงนั สว นชายฝงทะเล ดานมหาสมุทรอินเดีย มีเกาะที่สําคัญคือ เกาะภูเก็ต เกาะตรุเตา เกาะยาวและเกาะลันตา นอกจากน้ี ในเขตจงั หวดั สงขลาและพทั ลงุ ยงั มที ะเลสาบเปด (lagoon) ทใ่ี หญท สี่ ดุ แหง หนงึ่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต คือ ทะเลสาบสงขลา มีความยาวจากเหนือจดใตประมาณ 80 กิโลเมตร สวนที่กวางท่ีสุด ประมาณ 20 กิโลเมตร คิดเปนเน้ือที่ประมาณ 974 ตาราง กโิ ลเมตร สว นเหนือสดุ ของทะเลสาบเปน แหลง นํ้าจืดเรียกวา ทะเลนอ ย แตทางสว นลางน้ํา ของทะเลสาบจะเค็ม เพราะมีนานนํ้าติดกับอาวไทย นํ้าทะเลจึงไหลเขามาได ในทะเลสาบ สงขลามีเกาะอยูห ลายเกาะ บางเกาะเปนท่ีทาํ รงั ของนกนางแอน บางเกาะเปนที่อยูข องเตา ทะเล นอกจากน้ีในทะเลสาบยงั มี ปลา และกุงชกุ ชุมอีกดว ย สวนชายฝง ทะเลดา นตะวนั ตกของภาคใตมีลักษณะเวาแหวงมากกวาดานตะวันออก ทําใหมีทิวทัศนท่ีสวยงามหลาย แหง เชน หาดนพรตั นธารา จงั หวัดกระบ่ี หมูเกาะซิมลิ ัน จงั หวัดพงั งา ชายฝง ตะวันตกของ ภาคใตจ งึ เปนสถานท่ีทองเทยี่ วทส่ี าํ คัญแหง หนงึ่ ของประเทศ แมน ํ้าในภาคใต สวนใหญเปน แมนํ้าสายสัน้ ๆ ไหลจากเทอื กเขาลงสูทะเล ทส่ี ําคญั ไดแก แมนาํ้ โก-ลกซ่ึงกน้ั พรมแดนไทย กบั มาเลเซยี ในจงั หวดั นราธวิ าส แมน าํ้ กระบรุ ซี งึ่ กน้ั พรมแดนไทยกบั พมา ในเขตจงั หวดั ระนอง แมนํ้าตาปใ นจังหวัดสรุ าษฏรธานี และแมน ้าํ ปตตานีในจงั หวดั ยะลาและปต ตานี ทวีปเอเชีย 1. ขนาดทีต่ ้ังและอาณาเขตติดตอ ทวปี เอเชยี เปน ทวปี ทมี่ ขี นาดใหญท สี่ ดุ มพี น้ื ทปี่ ระมาณ 44 ลา นตารางกโิ ลเมตร เปน ทวีปที่มีพ้ืนท่ีกวางท่ีสุดในโลกตั้งอยูทางทิศตะวันออกของโลก ทวีปเอเชียตั้งอยูระหวาง ละตจิ ดู 1 องศา 15 ลิปดาเหนือถงึ 77 องศา 41 ลิปดาเหนอื และลองตจิ ดู 24 องศา 4 ลปิ ดา ตะวนั ออกถงึ 169 องศา 40 ลปิ ดาตะวันตก

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ8 หนังสอื เรยี นสาระการพัฒนาสังคม อาณาเขตติดตอ ทศิ เหนอื ติดกบั มหาสมทุ รอารก ตกิ ทิศใต ตดิ กบั มหาสมุทรอนิ เดยี ทศิ ตะวนั ออก ติดกบั มหาสมทุ รแปซิฟก ทิศตะวนั ตก ตดิ กบั เทอื กเขาอรู าล ทวปี ยุโรป 2. ลักษณะภมู ิประเทศของทวปี เอเชีย ทวีปเอเชียมีลักษณะเดนคือ มภี มู ิประเทศท่ีเปนภูเขาสงู อยูเกอื บใจกลางทวปี ภูเขา ดังกลาวทําหนาท่ีเหมือนหลังคาโลกเพราะเปนจุดรวมของเทือกเขาสําคัญๆ ในทวีปเอเชีย จดุ รวมสาํ คญั ไดแ ก ปามรี น อต ยนู นานนอต และอามเี นยี นนอต เทอื กเขาสงู ๆ ของทวปี เอเชยี วางแนวแยกยายไปทุกทิศทุกทางจากหลังคาโลกเชน เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาคุนลุน 1บทท่ี เทอื กเขาเทยี นชาน เทอื กเขาอลั ตนิ ตกั เทอื กเขาฮนิ ดกู ซู เทอื กเขาสไุ ลมาน ยอดเขาเอเวอรเ รสต มรี ะดับสูง 8,850 เมตร (29,028 ฟตุ ) เปนยอดเขาสงู ท่ีสุดในโลกต้ังอยูบ นเทอื กเขาหิมาลัย ระหวางเทอื กเขาเหลาน้ีมีพ้ืนทค่ี อนขา งราบแทรกสลบั อยู ทาํ ใหเ กิดเปนแอง แผน ดินท่ีอยูใ น ที่สูง เชน ท่รี าบสงู ทิเบต ทีร่ าบสงู ตากลามากัน ทรี่ าบสูงมองโกเลยี ทรี่ าบสงู ยูนาน ลกั ษณะ ภูมิประเทศดังกลาวขางตนทําใหบริเวณใจกลางทวีปเอเชียกลายเปนแหลงตนกําเนิดของ แมน าํ้ สายสาํ คญั ทมี่ รี ปู แบบการไหลออกไปทกุ ทศิ โดยรอบหลงั คาโลก เชน ไหลไปทางเหนอื มีแมนํ้า อ็อบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแมนํ้าอามูร ทางตะวันออกมีแมนํ้า ฮวงโห (หวงเหอ แยงซีเกียง (ฉางเจียง) ซเี กยี ง (ซเี จียง) ทางตะวนั ออกเฉยี งใตมแี มนาํ้ แดง โขง เจา พระยา สาละวนิ อิระวดี ทางใตม ีแมน้ําพรหมบุตร คงคา สินธุ ทางตะวันตกมแี มน าํ้ อามู ดารย า จากทส่ี งู อามเี นยี นนอต มแี มน าํ้ ไทกรสี ยเู ฟรตสี บทบาทของลมุ นาํ้ เหลา น้ี คือ พัดพาเอาตะกอนมาทับถมทร่ี าบอนั กวางใหญไ พศาล กลายเปนแหลง เกษตรกรรมและทอ่ี ยู อาศัยสําคัญๆ ของชาวเอเชยี โดยเฉพาะท่ีราบดินดอนสามเหลยี่ มปากแมน ํา้ จงึ กลายเปน แหลงท่มี ีประชากรอาศยั อยหู นาแนน ท่สี ดุ 3. ลกั ษณะภมู ิอากาศของทวีปเอเชีย ทวีปเอเชียโดยสวนรวมประมาณคร่ึงทวีปอยูภายใตอิทธิพลของลมมรสุมต้ังแต ปากสี ถานถงึ คาบสมทุ รเกาหลี เปน ผล ทาํ ใหม ฝี นตกชกุ ในฤดมู รสมุ ตะวนั ตก เฉยี งใต และมอี ากาศหนาวในฤดมู รสมุ ตะวันออกเฉียงเหนือในเขตละติจูด กลางหรอื เขตอบอนุ แถบจนี และญป่ี นุ จะไดร บั อทิ ธพิ ลจากแนวปะทะอากาศ บอยครั้ง ทางชายฝงตะวันออกของ ทวีปต้ังแตญ ่ปี ุน อินโดนีเซีย จะไดรับ

รายวิชาสงั คมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย>> 9 อทิ ธพิ ลของลมไตฝ นุ และดเี ปรสชนั่ ทาํ ใหด นิ แดนชายฝง ตะวนั ออกของหมเู กาะไดร บั ความ 1บทท่ี เสียหายจากลมและฝนเสมอ ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใตและเอเชียใต ซ่ึงอยูใกลศูนยสูตร จะมปี รากฏการณข องหยอ มความกดอากาศตา่ํ ทาํ ใหม อี ากาศลอยตวั กอ เปน พายฟุ า คะนอง ูภ ิมศาสต รกายภาพ เกดิ ขนึ้ เปน ประจาํ ในเวลาบายๆ หรอื ใกลคํ่า แถบท่ีอยลู ึกเขาไปในทวปี หางไกลจากทะเลจะ มภี มู ิอากาศแหง แลงเปนทะเลทราย 4. สภาพทางสังคม วฒั นธรรม ภาษา ศาสนา เชื้อชาติเผาพนั ธุ ประชากร 2 ใน 3 ของประชากรทัง้ หมด เปนพวกมองโกลอยด มพี วกคอเคซอยดอ ยบู า ง เชน ชาวรสั เซยี อพยพมาจากยโุ รปตะวนั ออก ประชากรของเอเชยี มีความหลากหลาย ดานประกอบอาชีพ เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียข้ึนอยูกับภาค เกษตรกรรม ประชากรสวนใหญ ประกอบอาชีพดานการเกษตร คือ การเพาะปลูก ขาว ขา วโพด และมีการเล้ยี งสัตว ทัง้ เล้ยี งไวเปน อาหาร และทาํ งาน นอกจากนย้ี ังมีการคา ขาย การประมง การทาํ เหมอื งแร ลักษณะทางเศรษฐกิจ 1. การเพาะปลูกทําในที่ราบลุมของแมนํ้าตางๆ ไดแก ขาว ยางพารา ปาลม ปอ ฝาย ชา กาแฟ ขา วโพด 2. การเลี้ยงสัตว ในเขตอากาศแหงแลงจะเลี้ยงแบบเรรอนซึ่งเลี้ยงไวใชเนื้อและนม เปน อาหารไดแ ก อฐู แพะ แกะ โค มา และจามรี 3. การทาํ ปา ไม ปา ไมใ นเขตเมอื งรอ นจะเปน ไมเ นอื้ แขง็ ผลผลติ ทไี่ ดส ว นใหญน าํ ไป กอ สราง 4. การประมง ทาํ ในบริเวณแมน ้าํ ลาํ คลอง หนอง บงึ และชายฝง ทะเล 5. การทาํ เหมอื งแร ทวีปเอเชยี อุดมไปดว ยแรธาตนุ านาชนิด 6. อุตสาหกรรม การทําอุตสาหกรรมหลายประเทศในเอเชีย เร่ิมจากอุตสาหกรรม ในครวั เรอื นแลวพัฒนาขึ้นเปนโรงงานขนาดเลก็ ขนาดกลาง ขนาดใหญ  ประชากร ทวปี เอเชยี มปี ระชากรมากทส่ี ุดในโลกประมาณ 3,155 ลา นคน ประชากรสวนใหญ มาจากพนั ธมุ องโกลอยดป ระชากรอาศยั อยหู นาแนน บรเิ วณชายฝง ทะเลและทรี่ าบลมุ แมน าํ้ ตางๆ เชน ลุมแมน้ําเจาพระยา ลุมแมนํ้าแยงซีเกียง ลุมแมนํ้าแดงและลุมแมนํ้าคงคาสวน บริเวณท่ีมีประชากรเบาบาง จะเปนบริเวณที่แหงแลงกันดารหนาวเย็นและในบริเวณท่ีเปน ภเู ขาซบั ซอน ซึ่งสวนใหญจะเปนบริเวณกลางทวีป  ภาษา 1. ภาษาจนี ภาษาทใี่ ชก นั มากในทวปี เอเชยี โดยใชก นั ในประเทศจนี ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ10 หนงั สอื เรยี นสาระการพัฒนาสงั คม เชน สงิ คโปร ประมาณวา ประชากรเอเชยี 1,000 ลานคน พดู ภาษาจีน แตเปนภาษาทีแ่ ตก ตางกันไป เชน ภาษาแตจ ๋ิว ไหหลํา จนี กลาง หรือที่เรียกวาภาษาแมนดาริน 2. ภาษาอินเดยี เปนภาษาที่ใชกันแพรหลายรองลงมาอันดับ 2 โดยสวนใหญใชกันในประเทศ อินเดยี และปากีสถาน 3. ภาษาอาหรับ เปน ภาษาทใ่ี ชก นั แพรห ลายมากอนั ดบั 3 โดยใชก นั ในแถบเอเซยี ตะวนั ตกเฉยี งใต 4. ภาษารสั เซีย เปน ภาษาทใ่ี ชกนั มากอันดับ 4 โดยใชกันในรัสเซยี และเครือจักรภพ  ศาสนา 1บทท่ี ทวปี เอเชยี เปน แหลง กาํ เนดิ ศาสนาทส่ี าํ คญั ของโลก เชน ศาสนาครสิ ต ศาสนาอสิ ลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และยูดาห ในเอเชียตะวันตกเฉียงใตประชากรสวนใหญนับถือ ศาสนาฮนิ ดกู วา 500 ลา นคนในอนิ เดยี รองลงมาคอื ศาสนาอสิ ลามมผี นู บั ถอื ประมาณ 450 ลา นคน นอกจากนี้ยงั มลี ัทธิเตา ลัทธิขงจ๋อื ท่ีแพรหลายในจนี ลทั ธชิ นิ โตในญ่ปี นุ ทวีปยุโรป 1. ขนาดท่ีต้งั และอาณาเขตตดิ ตอ ทวีปยุโรปเปนทวีปที่มีลักษณะทางกายภาพท่ีเหมาะสมในการตั้งถ่ินฐานทั้งในดาน ลักษณะภมู ิประเทศทมี่ ีทร่ี าบลุม เทือกเขาท่ไี มตั้งกนั้ ทางลม มีแมน้ําหลายสาย ลกั ษณะภมู ิ อากาศที่อบอุน ชุม ช่นื มีทรพั ยากรธรรมชาติ คือ เหลก็ และถานหนิ ซ่ึงเปน สวนสาํ คัญอยา ง ยง่ิ ตอการพฒั นาอุตสาหกรรมขนาดใหญ จงึ สงผลใหท วปี ยุโรปมีประชากรตง้ั ถน่ิ ฐานหนา แนนที่สดุ ในโลก อกี ท้งั เปน ทวปี ที่มีอารยธรรมที่เกา แก คอื อารยธรรมกรกี และโรมัน

รายวิชาสังคมศกึ ษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย>> 11 ทวีปยุโรป เปนทวปี ทีต่ ั้งอยรู ะหวา งละตจิ ดู 36 องศา 1 ลปิ ดาเหนอื ถึง 71 องศา 1บทที่ 10 ลปิ ดาเหนือและระหวางลองตจิ ูด 9 องศาตะวันตก ถงึ 66 องศาตะวนั ออก จากพกิ ัด ภูมิศาสตรจะสังเกตไดวา ทวีปยุโรปมีพื้นท่ีท้ังหมดอยูในซีกโลกเหนือและอยูเหนือเสนทรอ ูภ ิมศาสต รกายภาพ ปคออฟแคนเซอร มเี สนสาํ คญั ท่ีลากผา นคือ เสน อารกติกเซอรเ คลิ และเสน ลองตจิ ดู ท่ี 0 องศา มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 9.9 ลา นตารางกิโลเมตร จึงเปนทวีปทม่ี ขี นาดเล็ก โดยมขี นาดเลก็ รองจากทวปี ออสเตรเลีย อาณาเขตติดตอ ทศิ เหนอื ตดิ กบั มหาสมทุ รอารก ตกิ และขว้ั โลกเหนอื จดุ เหนอื สดุ อยทู แ่ี หลมนอรท (North Cape) ในประเทศนอรเวย ทศิ ใต ตดิ กับทะเลเมดิเตอรเ รเนียน จุดใตส ดุ อยูทีเ่ กาะครีต ประเทศกรีช ทศิ ตะวนั ออก ตดิ ตอ กับทวปี เอเชีย โดยมเี ทอื กเขาอูราล เทอื กเขาคอเคซสั และ ทะเลแคสเปย นเปนเสนกน้ั พรมแดน ทศิ ตะวนั ตก ตดิ ตอ กบั มหาสมทุ รแอตแลนตกิ จดุ ตะวนั ตกสดุ ของทวปี อยทู แ่ี หลม โรคาประเทศโปรตุเกส 2. ลกั ษณะภมู ิประเทศ ลกั ษณะภูมิประเทศแบง ออกเปน 4 เขต ไดแก 1. เขตเทอื กเขาตอนเหนอื ไดแ ก บรเิ วณคาบสมทุ รสแกนดเิ นเวยี ภมู ปิ ระเทศสว น มากประกอบดว ยเทอื กเขาสงู และทรี่ าบชายฝง ทะเล เทอื กเขาทสี่ าํ คญั ในบรเิ วณนไี้ ดแ ก เทอื ก เขาเซอรอนและเทือกเขาแกรมเปยน เน่ืองจากทวีปยุโรปเคยถูกปกคลุมดวยนํ้าแข็งมากอน บริเวณชายฝงทะเลถูกธารน้ําแข็งกัดเซาะและทับถม ทําใหเกิดชายฝงเวาแหวงและอาวนํ้า ลึกทเ่ี รียกวา ฟยอรด พบมากในประเทศนอรเ วยแ ละแควน สกอตแลนด 2. เขตที่ราบสูงตอนกลาง ประกอบดวยท่ีราบสูงสําคัญ ไดแก ท่ีราบสูง แบล็กฟอเรสตตอนใตของเยอรมันนี ท่ีราบสูงโบฮีเมีย เขตติดตอระหวางเยอรมันนีและ สาธารณรัฐเช็คท่ีราบเมเซตา ภาคกลางของคาบสมุทรไซบีเรีย ในเขตประเทศสเปนและ โปรตเุ กส ที่ราบสูงมสั ชพี ซองตรลั ตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส 3. เขตท่ีราบตอนกลาง ครอบคลุมพ้ืนท่ีตั้งแตชายฝงมหาสมุทรแอตแลนติกไป จนถงึ เทอื กเขาอูราลในรัสเซยี ตะวันตกของฝร่งั เศส ตอนใตของสหราชอาณาจักรเบลเยีย่ ม เนเธอรแ ลนด เดนมารก ภาคเหนอื ของเยอรมนั นโี ปแลนดแ ละบางสว นของรสั เซยี เปน บรเิ วณ ทม่ี ปี ระชากรอาศยั อยหู นาแนน ทส่ี ดุ และมคี วามสาํ คญั ทางเศรษฐกจิ อยา งมาก เนอื่ งจากเปน พนื้ ทเ่ี กษตรกรรมทส่ี าํ คญั ของทวปี ในบรเิ วณนม้ี แี มน าํ้ ทส่ี าํ คญั ไดแ ก แมน าํ้ ไรน แมน า้ํ เชน แม นํา้ ลัวร และแมน ้ําเอลเบ 4. เขตเทือกเขาตอนใต ประกอบดวยเทือกเขาสูง เทือกเขาท่ีสําคัญในบริเวณน้ี ไดแก เทือกเขาแอลป ซึ่งเปนเทือกเขาท่ีมีขนาดใหญที่สุดในทวีปยุโรป ทอดตัวยาวต้ังแต ตะวนั ออกเฉยี งใตข องฝรงั่ เศส ผา นสวติ เซอรแ ลนด เยอรมนั นี ออสเตรยี เซอรเ บยี ไปจนถงึ

12 หนังสอื เรยี นสาระการพฒั นาสงั คม ทางเหนอื ของอติ าลี บรเิ วณยอดเขามธี ารนาํ้ แขง็ ปกคลมุ เกอื บตลอดทง้ั ป บางชว งเปน หบุ เขา ลึก ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป คือ มองตบลังก สูง 4,807 เมตร นอกจากนี้ยัง ประกอบดวยยอดเขาคอเคซสั ทางตอนใตของรัสเซียมียอดเขาเอลบรูส สูง 5,642 เมตร ซง่ึ เปน ยอดเขาทสี่ งู ทส่ี ุดในยุโรป  แมน้ํา แมน ้ําท่สี ําคัญในทวีปยโุ รป มีดังนี้ แมนํ้าโวลกา เปนแมน้ําสายยาวท่ีสุดในทวีป มีตนน้ําอยูบริเวณตอนกลางของ สหพนั ธร สั เซยี ไหลลงสูท ะเลแคสเปยน แมน าํ้ ดานูบ มตี นกําเนิดจากเทือกเขาทางภาคใตข องเยอรมัน ไหลผา นประเทศ ออสเตรีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย พรมแดนระหวางประเทศบัลแกเรยี กบั ประเทศโรมาเนีย แลว ไหลลงสูทะเลดํา แมน้ําดานูบเปนแมน้ําท่ีไหลผานหลายประเทศ ดังน้ันจึงถือวาเปนแมนํ้า 1บทท่ี นานาชาติแตในดานความสําคัญของการขนสงสินคาอุตสาหกรรมน้ันมีไมมากเทากับแมน้ํา ไรน เนอ่ื งจากแมน ํา้ ดานูบไหลออกสูทะเลดาํ ซึง่ เปน ทะเลภายใน ภมู ศิ าสตรก ายภาพ แมน าํ้ ไรน มตี น กาํ เนดิ จากเทอื กเขาแอลปท างตอนใตข องสวสิ เซอรแ ลนด ไหลขนึ้ ไปทางเหนอื ระหวา งพรมแดนฝรงั่ เศสและเยอรมนั ไปยงั เนเธอรแ ลนด แลว ไหลลงทะเลเหนอื แมน าํ้ ไรนเ ปน แมนาํ้ ท่มี คี วามสาํ คญั มาก มีปรมิ าณนํา้ ไหลสมา่ํ เสมอ ไหลผา นที่ราบและไหล ผา นหลายประเทศจงึ ถือวา เปนแมน ้ํานานาชาติ และยงั เปน เสน ทางขนสง วตั ถดุ บิ และสินคา ทีส่ ําคัญ คอื ถา นหนิ แรเ หลก็ และแปงสาลี โดยเฉพาะการขนสงถานหนิ ซ่งึ มีปรมิ าณมากใน ยานอุตสาหกรรมถานหนิ ของเยอรมัน แมน้าํ สายน้จี ึงไดรับสมญานามวา “แมน าํ้ ถา นหิน” การขนสง สนิ คา ผา นทางแมน าํ้ ไรนน ี้ จะออกสบู รเิ วณปากแมน า้ํ ซงึ่ เปน ทตี่ ง้ั ของเมอื งทา รอต เตอรดมั (เนเธอรแลนด) ซ่งึ เปน เมอื งทาทส่ี าํ คัญที่สดุ ของทวปี 3. ลักษณะภูมอิ ากาศ เขตอากาศ ปจ จัยท่มี อี ทิ ธิพลตอ ภูมภิ าคอากาศของทวปี ยโุ รป 1. ละติจดู ทวปี ยุโรปมที ่ตี งั้ อยรู ะหวางละติจูด 36 องศา 1 ลิปดาเหนอื ถงึ 71 องศา 10 ลปิ ดาเหนือ พื้นทีส่ ว นใหญอยูใ นเขตอบอนุ มีเพียงตอนบนของทวีปทีอ่ ยูใ นเขต อากาศหนาวเยน็ และ ไมม สี วนใดของทวีปท่อี ยูในเขตอากาศรอ น 2. ลมประจํา ลมประจําท่ีพัดผานทวีปยุโรป คือ ลมตะวันตก ซ่ึงพัดมาจาก มหาสมุทรแอตแลนติกเขาสูทวีปทางดานตะวันตก มีผลทําใหบริเวณฝงตะวันตกของทวีป มีปรมิ าณฝนคอนขา งมาก อุณหภูมิระหวา งฤดูรอ นกบั ฤดหู นาวไมคอ ยแตกตางกนั มากนกั แตถ า ลกึ เขา มาภายในทางดา นตะวนั ออกของทวปี ซงึ่ ตดิ กบั ทวปี เอเชยี นน้ั ปรมิ าณฝนจะลด ลงและจะมีความแตกตา งของอณุ หภมู ิระหวา งฤดรู อ นกบั ฤดฝู นมากข้นึ ดวย 3. ความใกลไกลทะเล ทวีปยุโรปมีชายฝงทะเลยาวและเวาแหวง ประกอบกับมี พื้นทต่ี ดิ ทะเลถึง 3 ดา น ทําใหไดร บั อิทธิพลจากทะเลและมหาสมทุ รอยางทัว่ ถงึ โดยเฉพาะ บริเวณทอ่ี ยูใกลชายฝง ดังนั้นจึงไมมพี น้ื ท่ใี ดในทวปี ยุโรปทมี่ ภี มู ิอากาศแหง แลง

รายวิชาสังคมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย>> 13 4. ทิศทางของเทือกเขา เทอื กเขาสว นใหญใ นทวปี วางตัวในแนวทิศตะวันออก 1บทท่ี ตะวนั ตก ทาํ ใหไมกัน้ ขวางทางลมตะวันตกท่พี ัดเขา สูท วีป ูภ ิมศาสต รกายภาพ 5. กระแสน้ําในมหาสมุทร บริเวณชายฝงมีกระแสน้ําอุนแอตแลนติกเหนือ ไหลผา นทางตะวนั ตกและตะวนั ตกเฉยี ง เหนอื ของทวปี ทาํ ใหน า นนา้ํ บรเิ วณเกาะ บริเวนใหญและประเทศนอรเวยไมเปน นํ้าแข็งในฤดูหนาว จึงแตกตางจาก บริเวณทะเลบอลติกท่ีนํ้ากลายเปน นา้ํ แขง็ ทาํ ใหป ระเทศสวเี ดน ตอ งเปลย่ี น เสนทางการขนสงสินคาจากทางเรือไป เปนการขนสงโดยใชเสนทางรถไฟจาก สวีเดนไปยังนอรเวยแลวจึงนําสินคา ลงเรือที่เมืองทาประเทศนอรเวย เขตภมู อิ ากาศแบง ออกไดเปน 7 เขต ดงั นี้ 1. ภมู อิ ากาศแบบทะเลเมดเิ ตอรเ รเนย่ี น ไดแ ก บรเิ วณชายฝง ทะเลเมดเิ ตอรเ รเนยี น ในเขตประเทศอติ าลี ฝร่ังเศส ภาคใตของสเปน แอลเบเนีย กรซี บัลแกเรีย และเซอรเ บีย ฤดูรอนมีอากาศรอน อุณหภูมิเฉลี่ย 23 องศาเซสเซียส ในฤดูหนาวมีอากาศอบอุนและมี ฝนตกอณุ หภมู เิ ฉล่ยี 8 องศาเซลเซยี ส ปรมิ าณฝนตกเฉลี่ย 500-1,000 มิลลเิ มตรตอป 2. ภูมิอากาศแบบทุงหญา กงึ่ ทะเลทราย ไดแ ก บรเิ วณภาคกลาง ของคาบสมทุ รไซบเี รยี ตอนเหนอื ของ ทะเลดําและทะเลแคสเปยน ในเขต ประเทศฮังการี ยเู ครน โรมาเนยี และ ตอนใตข องรัสเซยี มฝี นตกนอยมาก เฉลีย่ ปละ 250-500 มลิ ลิเมตรตอ ป 3. ภมู อิ ากาศแบบพนื้ สมทุ ร ไดแ ก สหราชอาณาจกั ร เนเธอรแ ลนด ฝรง่ั เศส เดนมารก เบลเย่ยี ม และ ตอนเหนือของเยอรมนี มีฝนตกชุก ตลอดทั้งปเฉล่ีย 750-1,500 มิลลิเมตรตอป ฤดูหนาวอากาศไมหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 1-7 องศาเซลเซียส เนอ่ื งจากไดร ับอทิ ธพิ ลจากกระแสน้ําอุน แอตแลนติกเหนือ 4. ภมู อิ ากาศแบบอบอนุ ชนื้ ไดแ ก บรเิ วณทรี่ าบลมุ แมน าํ้ ดานบู ในฮงั การตี อนเหนอื ของเซอรเ บยี และโรมาเนยี มอี ากาศอบอนุ ฝนตกตลอดทง้ั ปเ ฉลย่ี 500-1,000 มลิ ลเิ มตรตอ ป เนอื่ งจากไดร ับอิทธพิ ลความชืน้ จากทะเล

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ14 หนังสือเรียนสาระการพฒั นาสังคม 5. ภมู อิ ากาศแบบอบอนุ ชนื้ ภาคพ้ืนทวีป ไดแ ก ยโุ รปตะวนั ออก และยโุ รปกลาง รสั เซีย สาธารณรฐั เซ็ก สาธารณรฐั สโลวกั และโปแลนด ฤดูหนาวมีอากาศหนาวและแหง แลง ฤดูรอนมีอากาศอบอุนและมีฝนตก อุณหภูมิเฉลี่ย 19-20 องศาเซลเซียส ปริมาณฝน 500-750 มลิ ลเิ มตรตอป 6. ภูมอิ ากาศแบบไทกา ไดแก ตอนเหนอื ของฟน แลนด สวเี ดน และนอรเวย ฤดู หนาวมอี ากาศหนาวเยน็ และยาวนาน อณุ หภมู เิ ฉลยี่ 6 องศาเซลเซยี ส ฤดรู อ นอากาศอบอนุ อุณหภูมิเฉล่ีย 17 องศาเซลเซียส มีปริมาณฝนตกนอยและสวนมากเปนหิมะเฉลี่ย 600 มลิ ลิเมตรตอป 7. ภูมิอากาศแบบข้วั โลกหรือภูมิอากาศแบบทุนดรา ไดแ ก ทางเหนอื ของทวีป ที่มีชายฝงติดกับมหาสมุทรอารกติก ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัดและยาวนานปละ 10-11 1บทที่ เดอื น ฤดูรอนมอี ากาศอบอนุ และสั้นเพยี ง 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทัง้ ปประมาณ 10 องศาเซลเซยี ส ปริมาณฝนตกนอ ยมากและสวนมากเปน หมิ ะ 4. ลักษณะเศรษฐกจิ และ สภาพแวดลอ มทางสังคมวฒั นธรรม ลักษณะเศรษฐกิจ ทวีปยุโรปมีความเจริญทั้งในดานเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยมีเขต เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ดังนี้ การทาํ เกษตรกรรม 1. เขตปลกู ขา วสาลี ไดแ ก บรเิ วณทร่ี าบภาคกลาง โดยเฉพาะบรเิ วณประเทศฮงั การี โรมาเนยี ยเู ครน ซ่ึงเปน แหลงผลิตขาวสาลีแหลงใหญ 2. เขตทําไรปศุสัตว สวนใหญจะพบในบริเวณเขตอากาศแหงแลง ไมคอยเหมาะ กับการเพาะปลูกแตมีหญาที่สามารถเลี้ยงสัตวได เชน บริเวณชายฝงทะเลแคสเปยน และ ทีร่ าบสูงของทวีป สตั วท เ่ี ลีย้ งไดแก โคเนอื้ แกะ แพะ สว นการเลี้ยงโคนม จะพบบริเวณเขต อากาศชื้นภาคพื้นสมทุ ร เนือ่ งจากมีทุงหญา อุดมสมบรู ณมากกวา 3. เขตเกษตรกรรมแบบผสม ไดแก เขตที่มีการเลี้ยงสัตวควบคูกับการปลูกพืช เชน การปลกู ขาวสาลี ขา วบาเลย การเล้ยี งสัตว เชน โคเน้ือ โคนม ซงึ่ พบมากบริเวณภาค ตะวนั ตก และภาคกลางของทวีป 4. เขตเกษตรแบบเมดิเตอรเ รเนยี น พบบริเวณเขตชายฝง ทะเลเมดเิ ตอรเรเนยี น เชน อติ าลี กรซี พชื สําคญั ไดแ ก สม องนุ มะกอก 5. เขตเลยี้ งสตั วแ บบเรร อ น มีการเล้ยี งสัตวแบบทม่ี กี ารยายถิ่นทอี่ ยเู พอ่ื หาแหลง อาหารแหลง ใหมท อ่ี ดุ มสมบรู ณก วา บรเิ วณทมี่ กี ารเลยี้ งสตั วแ บบเรร อ น คอื บรเิ วณทม่ี อี ากาศ หนาวเยน็ เชน ชายฝงมหาสมทุ รอารกตกิ หรือเขตอากาศแบบทุนดรา

รายวชิ าสังคมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย>> 15 การปาไม 1บทท่ี แหลง ปา ไมท ส่ี าํ คญั ของทวปี คอื เขตภมู อิ ากาศแบบไทกา บรเิ วณคาบสมทุ ร สแกน ดเิ นเวยี ซง่ึ จะมปี าสนเปนบริเวณกวา ง ูภ ิมศาสต รกายภาพ การประมง จากลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรปที่มีชายฝงทะเลยาวและเวาแหวง ติดทะเล ท้ัง 3 ดาน ประกอบกับการมีกระแสนํ้าอุนแอตแลนติกเหนือไหลผานทําใหในฤดูหนาว นา้ํ ไมเ ปนนา้ํ แข็ง จงึ กลายเปนแหลงประมงท่สี าํ คัญของทวปี มชี ือ่ วา “ดอกเกอรแ บงก (Dogger Bank) การเหมอื งแร ทวีปยุโรปมที รพั ยากรที่มีความสาํ คญั มากตอการทาํ อุตสาหกรรม ไดแ ก เหลก็ และ ถา นหนิ แรถานหิน ใชเปนเช้ือเพลิงในการถลุงเหล็ก โดยมีแหลงถานหินท่ีสําคัญ เชน ภาคเหนอื ของฝรัง่ เศสและภาคกลางของเบลเยย่ี ม เยอรมัน เปนตน แรเ หล็ก เมื่อผา นการถลงุ แลวจะนาํ ไปใชในอตุ สาหกรรมเหลก็ และเหล็กกลา โดยมี แหลง แรเ หลก็ ท่ีสําคญั เชน ประเทศสวเี ดน ฝร่ังเศส นํา้ มันปโ ตรเลยี มมี 2 แหลง ทสี่ ําคัญ คือ ทะเลเหนือ และทะเลดํา การอตุ สาหกรรม ทวปี ยโุ รปเปน ศนู ยก ลางอตุ สาหกรรมทสี่ าํ คญั แหง หนง่ึ ของโลก ประเทศทม่ี ชี อื่ เสยี ง มาก คือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยีย่ ม สวเี ดน โดยบรเิ วณนจี้ ะมแี รเหล็กและถา นหนิ ซง่ึ เปน สวนสําคญั ในการทําอุตสาหกรรม สภาพแวดลอ มทางสังคมและวฒั นธรรม ลกั ษณะประชากร 1. มปี ระชากรมากเปนอันดบั 4 ของโลก และหนาแนน มากเปนอนั ดบั 2 ของโลก 2. มีการกระจายประชากรทั่วท้ังทวีป เนื่องจากความเหมาะสมในดานสภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรพั ยากร 3. บริเวณทม่ี ีประชากรหนาแนน คือ บรเิ วณที่ราบภาคตะวนั ตกและภาคกลางของ ทวีป สวนบริเวณที่มีประชากรเบาบาง คือ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และเขตยุโรป ตะวันออก ประวตั ศิ าสตร แบง ได 3 สมยั คือ 1. สมัยโบราณ หรือ อารยธรรมสมัยคลาสสิค มกี รีกและโรมนั เปนศูนยก ลางความ เจรญิ โดยตัง้ ม่นั อยูทางตอนใตข องทวปี ยุโรปในแถบทะเลเมดเิ ตอรเรเนียน

16 หนังสอื เรียนสาระการพฒั นาสงั คม กรีก ชนชาติกรกี ไดถ า ยทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไวหลายประการ ไดแ ก 1. การปกครอง ชาวกรีกไดใหสิทธิราษฎรในการลงคะแนนเสียงเลือกเจาหนาที่ ฝายปกครอง 2. ศิลปวัฒนธรรม ชาวกรีกมีความสามารถในดานวรรณคดี การละคร และ สถาปต ยกรรม สถาปตยกรรมที่มชี ่อื เสียง คือ วหิ ารพาเธนอน นอกจากน้ยี งั มีการแขง ขนั กีฬาท่ีเปน ท่รี ูจ ักกันดี คอื กฬี าโอลมิ ปก 3. ปรชั ญาความคิด นักปรัชญากรีกท่ีมีชือ่ เสียง คือ อรสิ โตเติล และเพลโต โรมนั ชนชาตโิ รมนั ไดรบั ความเจรญิ ตา งๆ จากกรกี สิ่งที่ชาวโรมนั ไดถ ายทอดให กบั ชนรนุ หลงั คอื ประมวลกฎหมาย และภาษาละตนิ 1บทที่ 1. สมัยกลาง ในชว งนยี้ ุโรปมศี กึ สงครามเกอื บตลอดเวลา จนทาํ ใหการพัฒนาดาน ตา งๆ ตอ งหยดุ ชะงกั ยคุ นจ้ี งึ ไดช อ่ื วา เปน “ยคุ มดื ” หลงั จากผา นพน ชว งสงครามจงึ เปน ชว ง ของการฟน ฟศู ลิ ปะวทิ ยาการเรม่ิ ใหค วามสาํ คญั กบั มนษุ ยม ากขน้ึ เรยี กยคุ นว้ี า ยคุ เรอเนสซองซ ภมู ศิ าสตรก ายภาพ (Renaissance) 2. สมยั ใหม ยคุ นเี้ ปน ยคุ แหง การแสวงหาอาณานคิ ม ทาํ ใหศ ลิ ปวฒั นธรรมของชาติ ตะวันตกแผขยายไปยังดินแดนตางๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุการณสําคัญ คือ การปฏิวัติ วิทยาศาสตรและการปฏวิ ตั ิอตุ สาหกรรม ทวปี อเมริกาใต 1. ขนาดทตี่ ง้ั และอาณาเขตติดตอ ทวีปอเมริกาใตเปนทวีปท่ีใหญเปนอันดับ 4 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ทวปี แอฟรกิ า และทวปี อเมรกิ าเหนอื มพี น้ื ทป่ี ระมาณ 17.8 ลา นตารางกโิ ลเมตร มปี ระชากร ประมาณ 299 ลานคน รูปรางของทวีปอเมริกาใตคลายคลึงกับทวีปอเมริกาเหนือ คือ มีลักษณะคลายรูปสามเหล่ียมหัวกลับ มฐี านกวางอยูทางทิศเหนือ สว นยอดสามเหลีย่ มอยู ทางทศิ ใต ต้ังอยใู นแถบซีกโลกใต ระหวางละตจิ ูด 12 องศา 25 ลปิ ดาเหนอื ถึง 56 องศาใต และลองติจูด 34 องศา 47 ลปิ ดาตะวนั ตก ถงึ 81 องศา 20 ลิปดาตะวันตก อาณาเขตของ ทวีปอเมริกาใตม ีดงั นี้ อาณาเขตติดตอ ทศิ เหนอื ตดิ กบั ทวีปอเมรกิ าเหนอื โดยมคี ลองปานามาเปน เสน ก้นั เขตแดนและ ติดตอกับทะเลแคริบเบียน ในมหาสมุทรแอตแลนติก จุดเหนือสุดอยูที่แหลมกายีนาส ในประเทศโคลอมเบีย ทศิ ใต ตดิ กบั ทวปี แอนตารก ตกิ า มชี อ งแคบเดรกเปน เสน กนั้ เขตแดน จดุ ใตส ดุ อยู ท่แี หลมโฟรว ารด ในคาบสมุทรบรนั สวกิ ประเทศชลิ ี

รายวิชาสังคมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย>> 17 ทศิ ตะวนั ออก ตดิ กบั มหาสมทุ รแอตแลนตกิ จดุ ตะวนั ออกสดุ อยทู แี่ หลมโคเคอรสู 1บทท่ี ในประเทศบราซลิ ูภ ิมศาสต รกายภาพ ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแปซิฟก จุดตะวันตกสุดอยูที่แหลมปารีนเยสใน ประเทศเปรู 2. ลกั ษณะภูมปิ ระเทศ ลักษณะภูมปิ ระเทศของทวีปอเมริกาใตส ามารถแบง ออกได 3 ลักษณะไดแ ก 1. เขตเทอื กเขาตะวนั ตก ไดแ ก บรเิ วณเทอื กเขาแอนดสี ซง่ึ ทอดตวั ยาวขนานไป กบั ชายฝง มหาสมทุ รแอตแลนตกิ ตง้ั แตท างเหนอื บรเิ วณทะเลแครบิ เบยี นไปจนถงึ แหลมฮอรน ทางตอนใต มีความยาวประมาณ 7,200 กิโลเมตร เปนแนวเทือกเขาท่ียาวที่สุดในโลก ยอดเขาสงู ทสี่ ดุ ในบรเิ วณน้ี คอื ยอดเขาอะคองคากวั สงู ประมาณ 6,924 เมตร บรเิ วณตอน กลางของเทือกเขามที ่รี าบสงู ที่สําคัญคือ ที่ราบสงู โบลิเวีย มคี วามสูงถึง 4,500 เมตร และ มขี นาดกวา งใหญเ ปน อนั ดบั 2 ของโลก รองจากทร่ี าบสงู ทเิ บต บนทรี่ าบสงู แหง นมี้ ที ะเลสาบ ซึ่งเปน ทะเลสาบทสี่ งู ทสี่ ดุ ในโลก ไดแก ทะเลสาบติติกากา ในประเทศเอกวาดอร 2. เขตที่ราบสูงตะวนั ออก ประกอบดว ยท่รี าบสงู สําคญั 3 แหง ไดแ ก ที่ราบสูงกิอานา ตั้งอยูทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศเวเนซูเอลา กายอานาซรู ินาเม เฟรนซเกยี นา และภาคเหนอื ของบราซลิ มลี ักษณะทเี่ ปน ที่ราบสงู สลบั กบั เทอื กเขาสลับซบั ซอน ทรี่ าบสงู บราซลิ ต้งั อยตู อนกลางของทวปี บรเิ วณตะวนั ออกของประเทศบราซลิ ตง้ั อยรู ะหวา งทรี่ าบลมุ แมน า้ํ แอมะซอน ทรี่ าบลมุ แมน า้ํ ปารานา และทร่ี าบลมุ แมน า้ํ ปารากวยั ทางตะวันออกมคี วามสงู ชนั จากนน้ั คอ ยๆ ลาดตา่ํ ลงไปทางตะวันตก ท่ีราบสูงปาตาโกเนีย ต้งั อยูทางตอนใตข องทวปี ในเขตประเทศอารเจนตนิ าทาง ตะวนั ออกคอ นขางราบเรยี บและคอ ยๆ สงู ข้นึ ไปเรื่อยๆ ทางตะวันตก 3. เขตทรี่ าบลมุ แมน าํ้ อยบู รเิ วณตอนกลางของทวปี เปน ทร่ี าบดนิ ตะกอนทม่ี คี วาม อดุ มสมบรู ณแ ละกวา ง ตง้ั อยรู ะหวา งเทอื กเขาแอนดสี และทรี่ าบสงู ทางตะวนั ออก เขตทร่ี าบ ลุมแมน ํ้าท่ีสาํ คัญของทวีปอเมรกิ าใตมี 2 บรเิ วณไดแก ทร่ี าบลมุ แมน ํา้ แอมะซอนหรืออเมซอน เปน ทรี่ าบลุมแมนาํ้ ท่ีใหญท ส่ี ดุ ในโลก มี พนื้ ที่ประมาณ 7 ลานตารางกิโลเมตร มแี มนา้ํ หลายสายไหลผาน สวนมากมีตน กําเนิดจาก เทือกเขาแอนดสี และไหลสมู หาสมุทรแอตแลนตกิ แมนา้ํ ทีส่ าํ คัญท่สี ดุ ในบรเิ วณนี้คือ แมนา้ํ แอมะซอน ท่ีราบลุมแมน้ําโอริโนโค อยูทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศโคลอมเบีย และเวเนซุเอลา บริเวณนเี้ ปนเขตเลี้ยงสตั วท ่สี าํ คัญของทวปี อเมริกาใต แมนา้ํ ท่ีสาํ คัญในทวีปอเมริกาใต ไดแ ก แมนํ้าแอมะซอน มีความยาว 6,440 กิโลเมตร เปนแมนํ้าท่ีมีความยาวเปน อนั ดบั 2 ของโลก รองจากแมนา้ํ ไนล มีตน กาํ เนิดจากเทือกเขาแอนดีส ไหลผานประเทศ บราซลิ ไหลลงสมู หาสมุทรแอตแลนตกิ

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ18 หนังสือเรียนสาระการพัฒนาสงั คม แมน ้าํ ปารานา มคี วามยาว 2,800 กิโลเมตรมตี น กาํ เนดิ จากท่สี ูงทางตะวนั ออก ของทวปี ไหลผา นประเทศบราซลิ ปารากวยั อารเ จนตนิ า ลงสมู หาสมทุ รแอตแลนตกิ บรเิ วณ อาวรโิ อเดอลาพลาตา แมน าํ้ ปารากวยั มคี วามยาว 2,550 กิโลเมตร มตี น กําเนดิ จากทีส่ งู ในประเทศ บราซลิ ไหลผา นประเทศบราซลิ ปารากวยั ไปรวมกบั แมน าํ้ ปารานาในเขตประเทศอารเ จนตนิ า 3. ลกั ษณะภูมอิ ากาศ ปจจัยทีม่ ีอทิ ธพิ ลตอ ภมู อิ ากาศของทวีปอเมรกิ าใต 1. ละตจิ ดู พื้นทส่ี วนใหญของทวีปครอบคลมุ เขตอากาศรอ น และประมาณ 1 ใน 3 ของพนื้ ทที่ วปี เปน อากาศแบบอบอนุ ภมู ภิ าคทางเหนอื ของทวปี จะมฤี ดกู าลทตี่ รงขา มกบั ภูมิภาคทางใต 1บทท่ี 2. ลมประจาํ ไดแก 2.1 ลมสนิ คาตะวันออกเฉยี งเหนือ พดั ผา นมหาสมุทรแอตแลนตกิ จึงนาํ ความ ชมุ ชนื้ เขา สูทวีปบริเวณชายฝงตะวันออกเฉยี งเหนือ 2.2 ลมสนิ คา ตะวนั ออกเฉยี งใต พดั ผา นมหาสมทุ รแอตแลนตกิ จงึ นาํ ความชมุ ชน้ื เขา สทู วีปบริเวณชายฝง ตะวันออกเฉยี งใต 2.3 ลมตะวนั ตกเฉยี งเหนอื พัดผานมหาสมทุ รแปซฟิ กจึงนาํ ความชุม ชนื้ เขา สู ทวปี บรเิ วณชายฝงตะวันตกของทวีป ต้งั แตประมาณละติจูด 40 องศาใตลงไป 3. ทิศทางของเทือกเขา ทวีปอเมริกาใตมีเทือกเขาสูงอยูทางตะวันตกของทวีป ดังนั้นจึงเปนส่ิงที่กั้นขวางอิทธิพลจากทะเลและมหาสมุทร ทําใหบริเวณท่ีใกลเทือกเขา คอนขางแหงแลง แตในทางตรงกันขาม ชายฝงดานตะวันออกจะไดรับอิทธิพลจากทะเล อยางเตม็ ที่ 4. กระแสนาํ้ มี 3 สายทส่ี าํ คญั คอื 4.1 กระแสนํา้ อนุ บราซิล ไหลเลียบชายฝงของประเทศบราซลิ 4.2 กระแสนํ้าเยน็ ฟอลก แลนด ไหลเลียบชายฝง ประเทศอารเ จนตินา 4.3 กระแสนํ้าเย็นเปรู (ฮมั โบลด) ไหลเลียบชายฝง ประเทศเปรแู ละชิลี เขตภมู อิ ากาศแบงออกไดเปน 8 เขต ดังนี้ 1. ภมู อิ ากาศแบบปา ดิบชืน้ ไดแก บรเิ วณที่ราบลมุ แมน าํ้ แอมะซอน เปน บริเวณท่ี มอี ากาศเยน็ ปา ดบิ ชนื้ ทก่ี วา งใหญท ส่ี ดุ ในโลกสว นใหญม พี นื้ ทอ่ี ยปู ระเทศบราซลิ มอี ณุ หภมู ิ สงู เฉลีย่ 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชกุ เกอื บตลอดทง้ั ปประมาณ 2,000 มิลลเิ มตรตอ ป 2. ภมู อิ ากาศแบบทงุ หญา เขตรอ น ไดแก บรเิ วณตอนเหนอื และใตของลุมแมนาํ้ แอมะซอน มีอากาศรอนและแหงแลง ฤดูรอนมีฝนตกแตไมชุกเหมือนในเขตปาดิบชื้น อณุ หภูมสิ ูงเฉลีย่ 27 องศาเซลเซยี ส มีลกั ษณะอากาศคลายกับภาคกลางและภาคตะวนั ออก เฉยี งเหนอื ของประเทศไทย

รายวชิ าสังคมศกึ ษา (สค31001) <<ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย>> 19 3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ไดแก ภาคใตของเปรูและภาคเหนือของชิลี เปน 1บทท่ี บรเิ วณทร่ี อ นและแหง แลง มาก มปี รมิ าณฝนตกเฉลย่ี ตาํ่ กวา 250 มลิ ลเิ มตรตอ ป และบางครง้ั ฝนไมตกยาวนานติดตอกันหลายเดือน ทะเลทรายที่สําคัญในบริเวณนี้ไดแก ทะเลทราย ูภ ิมศาสต รกายภาพ อะตากามาในประเทศชลิ ี ในบรเิ วณนมี้ ฝี นตกนอ ยกวา 50 มลิ ลเิ มตรตอ ป บางครงั้ ฝนไมต ก ตดิ ตอกันเปน เวลานานหลายป จดั เปนทะเลทรายทแี่ หงแลงมากทีส่ ดุ แหงหนง่ึ ของโลก 4. ภูมิอากาศแบบทุงหญากึ่งทะเลทราย ไดแก ทางตะวันออกของประเทศ อารเ จนตนิ าจนถงึ ทร่ี าบสงู ปาตาโกเนีย อณุ หภูมไิ มส งู นักเฉล่ีย 18 องศาเซลเซยี ส ฤดหู นาว มอี ากาศหนาวเยน็ ฤดรู อนมอี ากาศรอน ปริมาณฝนนอ ยประมาณ 500 มลิ ลเิ มตรตอ ป 5. ภมู อิ ากาศแบบเมดเิ ตอรเ รเนยี น ไดแ ก บรเิ วณชายฝง มหาสมทุ รแปซฟิ ก ตอน กลางของประเทศชิลี ในฤดรู อนมอี ากาศรอ นและแหง แลง ฤดหู นาวมฝี นตก 6. ภูมอิ ากาศแบบอบอุนชนื้ ไดแก บรเิ วณตะวนั ตกเฉียงใตของทวปี ต้ังแตต อน ใตของบราซิล ปารากวัย อุรุกกวัย และตะวันออกเฉียงเหนือของอารเจนตินา อากาศใน บรเิ วณนไ้ี มแ ตกตา งกนั มากนกั ฤดหู นาวมอี ากาศอบอนุ ฤดรู อ นมฝี นตกเฉลยี่ 750 – 1,500 มิลลเิ มตรตอ ป 7. ภมู อิ ากาศแบบภาคฟน สมุทร ไดแก บรเิ วณชายฝงทะเลอากาศหนาวจดั มีฝน ตกเกือบตลอดท้งั ปโดยเฉพาะในฤดหู นาวและฤดูใบไมรวงเฉลีย่ 5,000 มิลลิเมตรตอ ป 8. ภูมิอากาศแบบท่ีสูง ไดแก บริเวณเทือกเขาแอนดีส เปนบริเวณที่มีความแตก ตางกันมาก ขน้ึ อยกู บั ระดบั ความสูงของพ้นื ที่ คอื บรเิ วณทรี่ าบมีอุณหภมู ิสงู และฝนตกชกุ เมื่อสูงขึ้นอุณหภูมิและปริมาณน้ําฝนจะลดลงไปเร่ือยๆ ย่ิงสูงกวาระดับน้ําทะเลประมาณ 3,000 เมตร มีอณุ หภูมเิ ฉล่ยี ตลอดทั้งปป ระมาณ 15 องศาเซลเซียส ปรมิ าณฝนตกเฉลี่ย 1,000 มลิ ลิเมตรตอ ป ในขณะทป่ี ระเทศอ่นื ท่อี ยูบ ริเวณเสนศนู ยส ูตร แตต้งั อยูบนท่ีราบ เชน มาเลเซีย มีอุณหภูมิเฉล่ีย 27 องศาเซียส และมีฝนตกชุกตลอดทั้งปสูงกวา 2,500 มลิ ลเิ มตรตอป 4. ลักษณะเศรษฐกิจและ สภาพแวดลอ มทางสงั คม วฒั นธรรม ลกั ษณะเศรษฐกิจ การทําเกษตรกรรม 1. จากลักษณะอากาศของทวปี เหมาะกบั การปลกู พชื เมืองรอ น เชน กาแฟ กลวย โกโก ออย ยาสูบ โดยเฉพาะกาแฟมผี ูผลิตรายใหญ คอื บราซลิ และโคลมั เบยี 2. บรเิ วณท่รี าบลุมแมนํ้าปารานา – ปารากวยั – อรุ กุ วยั มคี วามเหมาะสมในการ ปลูกขาวสาลี เนื่องจากอยูในเขตอบอุนและเปนท่ีราบลุมแมน้ําท่ีมีความอุดมสมบูรณ โดยเฉพาะในเขตประเทศอารเจนตนิ า 3. การเพาะปลกู ในทวปี มที ง้ั การเพาะปลกู เปน ไรก ารคา ขนาดใหญ ทเ่ี รยี กวา เอสตนั เซยี และมีการเพาะปลูกแบบยงั ชีพ

20 หนังสอื เรยี นสาระการพัฒนาสงั คม การเลย้ี งสัตว การเลย้ี งสตั วในทวปี อเมริกาใตก ระทาํ อยางกวา งขวาง ดงั นี้ 1. ทุงหญาปามปส เปน เขตปศุสัตวขนาดใหญ มีการเลย้ี งโคเนอ้ื โคนม แกะ 2. ทงุ หญา ยาโนส และทงุ หญา แกมโปส เปน เขตเล้ยี งโคเน้อื 3. ทุงหญา กงึ่ ทะเลทราย บริเวณทร่ี าบสงู ปาตาโกเนีย มกี ารเลี้ยงแกะพันธุขน ประเทศที่สงเนื้อสัตวเปนสนิ คา ออกจํานวนมาก คอื ประเทศอารเ จนตนิ า อรุ กุ วัย บราซิล การประมง แหลง ประมงทส่ี ําคญั ของทวปี คอื บริเวณชายฝงประเทศเปรูและชลิ ี ซึ่งมีกระแสนํ้า เย็นเปรู (ฮมั โบลด) ไหลผาน มีปลาแอนโชวีเปน จาํ นวนมาก นอกจากนยี้ ังมกี ารจับปลาตาม 1บทที่ ลมุ แมนํ้าตา ง ๆ โดยชาวพืน้ เมอื งอกี ดวย แตเปน การจบั ปลาเพือ่ ยังชีพ ภมู ศิ าสตรก ายภาพ การปาไม การทําปาไมในทวีปมีไมมากนักเน่ืองจากความไมสะดวกในการคมนาคมและ การขนสง เขตทม่ี ีความสําคัญในการทําปาไม คือ ภาคตะวนั ออกเฉยี งใตของบราซลิ การทําเหมืองแร ทวปี อเมรกิ าใตเ ปน แหลง ผลติ พชื เมอื งรอ นและสนิ แร การทาํ เหมอื งแรม คี วามสาํ คญั รองจากการทําเกษตรกรรม โดยมีแหลง แรท่สี าํ คญั ดงั น้ี อตุ สาหกรรม การอตุ สาหกรรมในทวีปยงั ไมค อ ยมคี วามเจรญิ มากนกั เนอ่ื งจากขาดเงนิ ทุน และ ยังตองอาศัยความรวมมือและการรวมลงทุนจากตางชาติ ประเทศท่ีมีความเจริญทางดาน อตุ สาหกรรม คือ อารเจนตนิ า บราซิล ชลิ ี เวเนซุเอลา ทวีปอเมรกิ าเหนอื 1. ขนาดทตี่ ้งั และอาณาเขตตดิ ตอ ทวปี อเมรกิ าเหนอื เปน ทวปี ทมี่ ขี นาดกวา งใหญโ ดยมขี นาดใหญเ ปน อนั ดบั ที่ 3 ของ โลกรองจากทวปี เอเชยี และทวปี แอฟรกิ ามพี นื้ ทป่ี ระมาณ 24 ลา นตารางกโิ ลเมตร รปู รา งของ ทวีปอเมริกาเหนือมีลักษณะคลายสามเหลี่ยมหัวกลับมีฐานกวางอยูทางทิศเหนือสวนยอด สามเหล่ียมอยูทางทิศใต ดวยความกวางใหญของทวีปจึงมีความหลากหลายทั้งในดาน ลักษณะทางกายภาพทรัพยากรธรรมชาติและเปนท่ีรวมของชนชาติหลายเช้ือชาติจนกลาย เปน เบา หลอมทางวฒั นธรรม อกี ทงั้ มคี วามเจรญิ กา วหนา ในดา นเทคโนโลยแี ละเปน ศนู ยร วม ของวัฒนธรรมตา ง ๆ ตัง้ อยใู นแถบซกี โลกเหนือระหวางละติจดู 7 องศา 15 ลปิ ดาเหนือ

รายวิชาสังคมศกึ ษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย>> 21 ถงึ 83 องศา 38 ลิปดาเหนอื และลองจจิ ูด 55 องศา 42 ลปิ ดาตะวันตก 172 องศา 30 1บทท่ี ลปิ ดาตะวันออก อาณาเขตตดิ ตอ ทศิ เหนอื ตดิ กบั ทะเลโบฟอรต ในมหาสมทุ รอารก ตกิ และขว้ั โลกเหนอื จดุ เหนอื สดุ อยูทีแ่ หลมมอริสเจซุป เกาะกรนี แลนดแ ละประเทศแคนาดา ทิศใต ตดิ กับทวปี อเมริกาใต (มคี ลองปานามาเปน เสน แบง ทวีป) ทะลแคริบเบียน ในมหาสมทุ รแปซิฟกและอาวเมก็ ซิโกในมหาสมทุ รแอตแลนติก ทิศตะวันออก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันออกสุดของทวีปอยูท่ี คาบสมุทรลาบราดอร ประเทศแคนาดา ทิศตะวนั ตก ติดกับมหาสมทุ รแปซฟิ ก จุดตะวนั ตกสดุ ของทวปี อยูท่แี หลมปรินซ ออฟเวลรัฐอะลาสกา ประเทศสหรฐั อเมรกิ า ูภ ิมศาสต รกายภาพ

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ22 หนงั สือเรียนสาระการพัฒนาสังคม 2. ลกั ษณะภมู ิประเทศ ลกั ษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ สามารถแบง ออกได 3 ลกั ษณะ ไดแ ก 1. เขตเทอื กเขาภาคตะวนั ออก เรม่ิ ตง้ั แตเ กาะนวิ ฟน ดแ ลนดท างตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของแคนาดา จนถงึ ตะวนั ออกเฉยี งใตข องสหรฐั อเมรกิ า ประกอบดว ยเทอื กเขาและทร่ี าบสงู แตไ มส ูงนกั ยอดเขาที่สงู ท่สี ดุ คือ ยอดเขามติ เชล มีความสูง 2,037 เมตร เทอื กเขาทีส่ าํ คญั คือ เทอื กเขาแอปปาเลเซยี น นอกจากนย้ี งั มที ร่ี าบแคบๆ ขนานไปกับชายฝง ทะเล บางสวน ลาดลงทะเลกลายเปนไหลทวปี 2.เขตเทือกเขาสูงภาคตะวันตก ไดแก พ้ืนที่ชายฝงตะวันตกดานมหาสมุทร แปซิฟก ต้ังแตเทือกเขาตอนเหนือสุดบริเวณชองแคบแบริง ทอดตัวยาวทางใตของทวีป 1บทท่ี ประกอบดว ยเทอื กเขาสงู สลบั ซบั ซอ นจาํ นวนมาก ยอดเขาทส่ี งู ทสี่ ดุ คอื ยอดเขาแมกคนิ เลย สงู 6,096 เมตร ในเทอื กเขาอะลาสกา นอกจากนย้ี งั มเี ทอื กเขารอ็ กกแี ละเทอื กเขาแมกเคนซี ระหวา งเทอื กเขาสูงมที ีร่ าบสงู จํานวนมาก ทสี่ าํ คญั ไดแก ทร่ี าบสงู อะลาสกา ท่รี าบโคโรราโด ทรี่ าบสงู เมก็ ซโิ ก และทร่ี าบสงู บรติ ชิ โคลมั เบยี เขตเทอื กเขาสงู บรเิ วณนม้ี ภี มู ปิ ระเทศทส่ี วยงาม ทมี่ ที งั้ เทอื กเขาสงู สลบั กบั ทรี่ าบสงู หบุ เขาลกึ ชนั เกดิ เปน โตรกเขาทเี่ กดิ จากการกดั เซาะของ แมน ้ํา โตรกเขาทม่ี ชี ือ่ เสยี งท่ีสุด คอื แกรนดแคนยอน (grand canyon) ที่เกดิ จากการ กัดเซาะของแมนาํ้ โคโรราโด รัฐแอรโิ ซนาประเทศสหรัฐอเมรกิ า 3. เขตทีร่ าบภาคกลาง เปนที่ราบขนาดกวา งใหญ อยูระหวางเทือกเขาตะวันออก และตะวันตก เริ่มต้ังแตชายฝงมหาสมุทรอารติกจนถึงชายฝงอาวเม็กซิโก มีลักษณะเปน ท่ีราบลูกคล่ืนอันเกิดจากการกระทําของธารนํ้าแข็งและการทับถมของตะกอนจากแมน้ํา ท่ีราบที่สําคัญ ไดแก ที่ราบลุมทะเลสาบทั้งหา ที่ราบลุมแมนํ้าแมกแคนซี ท่ีราบลุมแมนํ้า มสิ ซิสซปิ ป-มิสซรู ่ี ทรี่ าบแพรแี ละทร่ี าบชายฝง อาวเม็กซิโก แมน าํ้ แมน ้ําท่ีสาํ คัญในทวปี อเมรกิ าเหนือ มดี ังน้ี แมน ํ้ามิสซสิ ซิปป เกดิ จากเทือกเขาสูงทางตะวนั ตกของทวปี เปน แมน้ําสายทยี่ าว ทสี่ ดุ ในทวปี ไหลผา นทร่ี าบกวา งลงสอู า วเมก็ ซโิ ก เปน เขตทรี่ าบทมี่ ตี ะกอนทบั ถมเปน บรเิ วณ กวา ง จึงเหมาะแกการเพาะปลกู และเปน เขตประชากรหนาแนน แมนํ้าเซนตลอวเรนซ ไหลจากทะเลสาบเกรตเลคออกสูมหาสมุทรแอตแลนติก แมนํ้าสายน้ีใชในการขนสงสินคาหรือวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม (เนื่องจากบริเวณรอบๆ เกรตเลคเปน เขตอุตสาหกรรม) แตป ญหาสําคญั ของแมนํ้าสายน้ี คอื จะมีระยะทเ่ี ดินเรอื ไม ไดในฤดหู นาว ลกั ษณะพิเศษของแมนาํ้ เซนตลอวเ รนซ คอื มีการขุดรองนา้ํ และสรางประตู กั้นน้ําเปนระยะๆ เนื่องมาจากบริเวณแมนํ้ามีแกงนํ้าตกขวางหลายแหง เสนทางการขนสง สินคา และเดินเรอื น้ี เรียกวา “เซนตล อวเรนซซ ีเวย” (St. Lawrence Seaway) แมน ้าํ ริโอแกรนด กั้นพรมแดนระหวา งประเทศสหรัฐอเมรกิ ากบั ประเทศเม็กซิโก

รายวิชาสงั คมศกึ ษา (สค31001) <<ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย>> 23 3. ลกั ษณะภูมอิ ากาศ 1บทท่ี ปจ จัยที่มีอทิ ธิพลตอ ภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนอื ูภ ิมศาสต รกายภาพ 1. ละตจิ ดู ทวปี อเมรกิ าเหนือตั้งอยูระหวา งละติจดู 7 องศา 15 ลิปดาเหนอื ถึง 83 องศา 38 ลปิ ดาเหนอื ใกลข วั้ โลกเหนอื จงึ ทาํ ใหม เี ขตภมู อิ ากาศทกุ ประเภทตงั้ แตอ ากาศ รอ นไปจนถงึ อากาศหนาวเย็นแบบขว้ั โลก 2. ลมประจํา ลมประจําที่พัดผา นทวปี อเมรกิ าเหนือ มีความแตกตา งกันตามชว ง ละติจดู มีลมประจําท่ีสาํ คญั ดงั น้ี 1) ลมดา นตะวันออกเฉียงเหนือ พดั ตั้งแตละติจูด 40 องศาเหนือลงไปทางใต พดั ผา นมหาสมทุ รแอตแลนตกิ เขา สทู วปี จงึ นาํ ความชมุ ชน้ื มาใหช ายฝง ตะวนั ออกของทวปี ตลอดทง้ั ป ตงั้ แตต อนใตของสหรัฐอเมรกิ า อเมรกิ ากลางและหมเู กาะอินดิสตะวันตก 2) ลมตะวันตกเฉยี งใต พัดตั้งแตล ะติจดู 40 องศาเหนือถึง 60 องศาเหนอื พัด จากมหาสมุทรแปซิฟกเขาสูตอนกลางถึงตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาและตอนใตของ แคนาดา 3) ลมขว้ั โลก พดั อยบู รเิ วณขว้ั โลกนาํ ความหนาวเยน็ มาใหพ น้ื ทท่ี างตอนบนของทวปี 3. ความใกลไ กลทะเล จากลกั ษณะรูปรา งของทวีปอเมรกิ าเหนือ ซึ่งตอนบนจะ กวา งใหญ และคอยๆ เรยี วแคบลงมาทางตอนใต ทําใหต อนบนของทวปี ไดรบั อทิ ธพิ ลจาก มหาสมุทรนอย จงึ ทําใหพื้นที่ตอนบนมีภมู ิอากาศคอนขางแหงแลง 4. ทศิ ทางของเทอื กเขา ทศิ ทางการวางตวั ของเทือกเขาในทวปี อเมรกิ าเหนือเปน สว นสาํ คญั ในการทาํ ใหพ นื้ ทที่ างตอนในของทวปี มอี ากาศคอ นขา งแหง แลง โดยเฉพาะเทอื ก เขาทางตะวนั ตกของทวปี ซง่ึ เปน เทอื กเขายุคใหมท ี่สูงมาก จึงขวางกนั้ ความชืน้ ที่มากบั ลม ประจํา 5. กระแสนาํ้ ทวีปอเมรกิ าเหนอื มีกระแสนาํ้ 4 สาย ซึง่ มีอิทธพิ ลตอ อากาศบรเิ วณ ชายฝงโดยกระแสน้ําอุน ทําใหอากาศบริเวณชายฝงอบอุนชุมชื้น สวนกระแสน้ําเย็นทําให อากาศบริเวณชายฝงเยน็ และแหงแลง 1) กระแสน้ําอุนกัลฟสตรีม ไหลเลียบชายฝงตะวันออกของเม็กซิโก และ สหรฐั อเมรกิ าทางใตข ึน้ ไปทางตะวนั ออกเฉียงเหนอื ของเกาะนวิ ฟนดแ ลนดข องแคนาดา 2) กระแสนาํ้ เยน็ แลบราดอร ไหลเลยี บชายฝง ตะวนั ตกของเกาะกรนี แลนดล งมา จนถึงชายฝงตะวันออกของแคนาดา พบกับกระแสนํ้าอุนกัลฟสตรีม บริเวณเกาะ นิวฟนดแ ลนดจ งึ ทาํ ใหบริเวณนีเ้ ปนแหลง ปลาชุม เนอ่ื งจากมีอาหารปลาจํานวนมาก กลาย เปนเขตทาํ ประมงทส่ี าํ คัญ เรยี กบริเวณนว้ี า “แกรนดแบงค” (Grand Bank) 3) กระแสนํ้าอุนอลาสกา ไหลเลียบชายฝงตะวันตกของรัฐอลาสกาข้ึนไปทาง เหนอื จนถึงชอ งแคบเบริง ทาํ ใหชายฝง อบอนุ นา้ํ ไมเ ปนนา้ํ แข็งสามารถจอดเรือไดต ลอดป 4) กระแสนาํ้ เยน็ แคลฟิ อรเ นยี ไหลเลยี บชายฝง ตะวนั ตกของสหรฐั อเมรกิ าลงมา ทางใตจนถงึ ชายฝง คาบสมทุ รแคลฟิ อรเ นยี ทาํ ใหช ายฝงมีอากาศเยน็ และแหง

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ24 หนังสือเรยี นสาระการพฒั นาสงั คม พายุ พายทุ ีม่ อี ิทธพิ ลตอ ลมฟาอากาศของทวปี อเมริกาเหนอื เปน อยางมากคือ 1. พายุเฮอริเคน เปนพายุหมุนเขตรอน เชนเดียวกับใตฝุน พายุน้ีเกิดในทะเล แครเิ บยี น และอา วเมก็ ซโิ ก เปน พายทุ ท่ี าํ ใหฝ นตกหนกั คลน่ื ลมแรงเคลอ่ื นตวั จากทะเลเขา สู ชายฝงของสหรฐั อเมริกา เมก็ ซิโก และหมูเ กาะในทะเลแครเิ บยี น 2. พายทุ อรนาโด เนอ่ื งจากบริเวณภาคกลางของสหรัฐอเมริกาเปน พนื้ ทโ่ี ลง กวาง ทําใหม วลอากาศปะทะกนั ไดง ายเกดิ เปน พายหุ มนุ ทอรนาโด มีกาํ ลังแรงมาก กอใหเกิด ความเสียหายกับบานเรือนในรอบ 1 ปเกิดพายุนี้ไดบอยครั้ง จนไดรับสมญานามวา “พายปุ ระจําถนิ่ ” ของสหรัฐอเมริกา เขตภมู ิอากาศแบงออกไดเ ปน 12 เขต ไดแ ก 1. ภมู ิอากาศแบบรอนชน้ื ไดแ ก บริเวณชายฝง ตะวันออกของอเมรกิ ากลาง และ 1บทท่ี บางสว นของหมเู กาะอนิ ดสี ตะวนั ตก มอี ากาศรอ นเกอื บตลอดทงั้ ป อณุ หภมู เิ ฉลยี่ 18 องศา เซลเซียสและมฝี นตกชกุ เฉลย่ี 1,700 มลิ ลิเมตรตอ ป ในเขตนไ้ี มม ีฤดหู นาว 2. ภมู อิ ากาศแบบทะเลทราย ไดแ ก บรเิ วณภาคตะวนั ตกเฉยี งใตข องสหรฐั อเมรกิ า และภาคเหนอื ของเมก็ ซโิ ก มอี ากาศรอ นจดั และมฝี นตกนอ ยมาก เฉลย่ี 250 มลิ ลเิ มตรตอ ป 3. ภมู อิ ากาศแบบทงุ หญา เขตรอ น ไดแ ก ชายฝง ตะวนั ตกของอเมรกิ ากลาง พน้ื ที่ สว นใหญข องเมก็ ซโิ ก บางสว นของหมเู กาะอนิ ดสี ตะวนั ตก และทางตอนใตส ดุ ของคาบสมทุ ร ฟลอรดิ า มอี ณุ หภมู แิ ตกตา งกนั มากระหวา งฤดรู อ นและฤดหู นาว คอื ฤดหู นาวอากาศหนาวจดั ฤดรู อนมีอากาศรอนจัดและมฝี นตก 4. ภมู อิ ากาศแบบทงุ หญา กง่ึ ทะเลทราย ไดแ ก บรเิ วณชายขอบของเขตทะเลทราย เรม่ิ ต้ังแตบ างสวนของประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใตข อง สหรัฐอเมริกา มลี กั ษณะภูมอิ ากาศก่ึงแหงแลง ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ฤดูรอนมีอากาศ รอนและแหง แลง ปริมาณฝนไมม ากนัก แตม ากกวา ในเขตทะเลทราย 5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอรเรเนียน ไดแก บริเวณชายฝงมหาสมุทรแปซิฟก ในเขตรฐั แคลฟิ อรเ นยี ของสหรฐั อเมรกิ า ในฤดรู อ นมอี ากาศไมร อ นจดั ในฤดหู นาวมอี ากาศ อบอนุ แหงแลงและมฝี นตก 6. ภมู อิ ากาศแบบอบอนุ ชน้ื ไดแ ก บรเิ วณทรี่ าบชายฝง มหาสมทุ รแอตแลนตกิ และ ทรี่ าบตอนกลางของทวปี อณุ หภมู เิ ฉลย่ี ตลอดทง้ั ปม คี วามใกลเ คยี งกนั มฝี นตกเกอื บตลอด ท้งั ปเฉลยี่ 750 มิลลเิ มตรตอ ป 7. ภมู อิ ากาศแบบภาคพน้ื สมทุ รชายฝง ตะวนั ตก ไดแ ก ชายฝง มหาสมทุ รแปซฟิ ก ในเขตสหรฐั อเมริกาและแคนาดา มีฝนตกชกุ เกอื บตลอดท้งั ปเ ฉลย่ี 2,000 มิลลเิ มตรตอ ป ฤดูรอนมอี ากาศรอ นชื้นและ ฤดหู นาวมีอากาศเย็นสบาย 8. ภูมิอากาศแบบช้ืนภาคพ้ืนทวีป ไดแก ตอนใตของประเทศแคนาดารอบๆ ทะเลสาบท้ัง 5 และภาคเหนอื ของสหรัฐอเมรกิ า ในฤดูหนาวมอี ากาศหนาวเยน็ ในฤดรู อ น มอี ากาศอบอุนและมฝี นตก

รายวชิ าสงั คมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย>> 25 9. ภมู อิ ากาศแบบไทกา ไดแ ก ภาคเหนอื ของประเทศแคนาดา และตอนใตข องรฐั 1บทท่ี อะลาสกา สหรัฐอเมริกา เปนบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด มีหิมะตกติดตอกันหลายเดือน ฤดรู อ นมีอากาศเยน็ มีปริมาณฝนตกนอยและระยะสั้นๆ ูภ ิมศาสต รกายภาพ 10. ภูมิอากาศแบบทุนดรา ไดแก ชายฝงมหาสมุทรอารกติก ภาคเหนือของ แคนาดา รฐั อะลาสกาของสหรฐั อเมรกิ า และชายฝง เกาะกรีนแลนด มอี ากาศหนาวจดั เกือบ ตลอดทั้งป ฤดูรอนมชี วงส้ันและอณุ หภมู ิตาํ่ เฉลี่ยตลอดทงั้ ป 10 องศาเซลเซียส 11. ภูมิอากาศแบบขั้วโลก ไดแก ตอนกลางของเกาะกรนี แลนด มอี ากาศหนาว จัดมีนํ้าแข็งปกคลุมเกือบตลอดท้ังป บริเวณตอนกลางของเกาะมีน้ําแข็งปกคลุมหนาถึง 3,000 เมตร 12. ภมู อิ ากาศแบบบรเิ วณภเู ขาสงู ไดแ ก เทอื กเขาสงู ในภาคตะวนั ตก เปน บรเิ วณ ท่ีมีอุณหภูมิแตกตางกันมาก ข้นึ อยกู บั ความสงู ของพนื้ ท่ี เชน ในฤดรู อ นดานทร่ี บั แสงแดด อากาศรอ นจดั ในดา นตรงกนั ขา มจะมอี ากาศหนาวเยน็ ในแถบหบุ เขาจะมอี ากาศหนาวเยน็ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน อุณหภูมิจะตํ่าลงเม่ือความสูงเพิ่มขึ้น บริเวณยอดเขามีน้ําแข็ง ปกคลุมอยู ในบรเิ วณนี้มฝี นตกนอย 4. สภาพเศรษฐกิจ และสภาพแวดลอมทางสงั คมวัฒนธรรม ลกั ษณะเศรษฐกจิ ลกั ษณะเศรษฐกจิ ของทวปี อเมรกิ าเหนอื จะมคี วามแตกตา งกนั คอื ในสหรฐั อเมรกิ า แคนาดา จะเปน เขตเศรษฐกจิ ทม่ี คี วามเจรญิ สงู สว นในเขตของเมก็ ซโิ ก อเมริกากลางและหมเู กาะอนิ ดีสตะวนั ตกจะมที ง้ั เขตเศรษฐกจิ ที่เจรญิ แลว และเขตท่ียังตอง ไดรับการพฒั นา การทาํ เกษตรกรรม 1. เขตปลูกขาวสาลี บริเวณท่ีมกี ารปลกู ขา วสาลี ซง่ึ ถอื เปน แหลงสําคัญของโลก คือ บริเวณภาคกลางของแคนาดาและสหรัฐอเมรกิ า 2. เขตทําไรป ศสุ ัตว พบในบริเวณทีภ่ ูมอิ ากาศคอนขางแหงแลง เชน ภาคตะวนั ตกของแคนาดา สหรัฐอเมรกิ า และเม็กซิโก สัตวที่เล้ียง คือ โคเนอื้ 3. เขตเกษตรกรรมแบบผสม ไดแก เขตที่มีการเลี้ยงสัตวควบคูกับการปลูกพืช เชน ขา วสาลี ขา วโพด สวนสัตวเ ล้ยี งคือ โคเนอ้ื โคนม การเกษตรลกั ษณะนพ้ี บบริเวณทาง ตะวันออกของสหรัฐอเมรกิ าและแคนาดา 4. เขตปลูกฝาย ไดแก บริเวณทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ซ่ึงเปนเขตท่ีมี อากาศคอ นขา งรอ นและแหงแลง 5. เขตปลูกผัก ผลไมและไรยาสูบ ไดแก บริเวณท่ีราบชายฝงมหาสมุทร แอตแลนติก 6. เขตปลูกพืชเมอื งรอ น พชื เมอื งรอนที่นยิ มปลกู คือ กลว ย โกโก ออ ย กาแฟ ซ่ึง มมี ากบรเิ วณอเมริกากลางและหมเู กาะอินดสี ตะวนั ตก

26 หนงั สือเรียนสาระการพฒั นาสงั คม การประมง บรเิ วณท่มี ีการทาํ ประมงกนั อยา งหนาแนน คือ แกรนดแ บงค และบรเิ วณชายฝง มหาสมทุ รแปซิฟกโดยเฉพาะบริเวณทมี่ กี ระแสนํ้าเยน็ แคลิฟอรเนียไหลผาน การทาํ เหมอื งแร ถานหนิ สหรัฐอเมรกิ าและแคนาดา สามารถผลติ ถานหินไดเ ปนจาํ นวนมาก โดย มแี หลง ผลติ ทสี่ าํ คญั คอื บรเิ วณเทอื กเขาแอปปาเลเซยี น ในสหรฐั อเมรกิ า และมณฑลควเิ บก ของแคนาดา เหล็ก แหลงสําคัญ คือ ทะเลสาบเกรตแลค นํา้ มนั และกาซธรรมชาติ พบบริเวณเทือกเขาแอปปาเลเซียนลมุ แมน ํา้ มิสซิสซิปป อา วเมก็ ซิโก แคลฟิ อรเ นีย อลาสกา 1บทท่ี การทําอุตสาหกรรม สหรัฐอเมริกาเปนประเทศผูนําในการทําอุตสาหกรรมระดับ โลก สวนใหญเปนอุตสาหกรรมขนาดใหญใชเงินทุนเปนจํานวนมาก สวนประเทศเม็กซิโก ภมู ศิ าสตรก ายภาพ และอเมริกากลาง รวมถึงประเทศในหมูเกาะอินดีสตะวันตก อุตสาหกรรมสวนใหญเปน อตุ สาหกรรมเกษตรการแปรรปู ผลผลิตตางๆ ซึง่ ตองอาศัยการพฒั นาตอไป สภาพแวดลอ มทางสังคมและวัฒนธรรม ประชากร 1. บรเิ วณทม่ี ปี ระชากรหนาแนน ไดแ ก ชายฝง ตะวนั ตกของสหรฐั อเมรกิ า ลมุ แมน าํ้ มิสซิสซปิ ป ลุมแมน าํ้ เซนตลอรวเ รนซ ทร่ี าบสงู ในเมก็ ซิโก หมเู กาะอนิ ดีสตะวันตก 2. มผี ูค นหลากหลายเชอื้ ชาติ เชน อินเดยี นแดง เอสกโิ ม ยุโรป แอฟริกัน เอเชยี และกลมุ เลือดผสม เขตวัฒนธรรม 1. แองโกอเมริกา หมายถึง สหรฐั อเมรกิ าและแคนาดา 2. ลาตินอเมริกา หมายถึง กลุมคนในเมกซิโก อเมริกากลาง และหมูเกาะอินดีส ตะวันตก (ซึง่ ไดร บั อทิ ธพิ ลจากสเปนและโปรตเุ กส) ทวีปแอฟริกา 1. ขนาดทีต่ ั้งและอาณาเขตติดตอ ทวีปแอฟริกามขี นาดใหญเ ปนอนั ดับ 2 รองจากทวีปเอเชีย มพี ื้นทป่ี ระมาณ 30.3 ลา นตารางกโิ ลเมตร มปี ระชากร 600 ลา นคน อยูระหวางละติจดู ที่ 37 องศา 21 ลปิ ดา เหนอื ถงึ 34 องศา 50 ลปิ ดาใต ลองตจิ ูดที่ 51 องศา 24 ลิปดาตะวันออกถงึ 17 องศา 32 ลิปดา

รายวิชาสงั คมศกึ ษา (สค31001) <<ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย>> 27 อาณาเขตติดตอ 1บทท่ี ทศิ เหนอื ตดิ กบั ทะเลเมดเิ ตอรเ รเนยี น ในมหาสมทุ รแอตแลนตกิ ชอ งแคบยบิ รอลตาร จุดเหนือสดุ ของทวปี อยูท่แี หลมบอน ประเทศตนู ิเซยี ูภ ิมศาสต รกายภาพ ทศิ ใต ตดิ กบั มหาสมุทรแอตแลนตกิ และมหาสมทุ รอนิ เดีย จดุ ใตสุดของทวีป อยูที่แหลมอะกอลฮัส (Agulhas) ในประเทศแอฟรกิ าใต ทศิ ตะวันออก ตดิ กับทะเลแดง ในมหาสมุทรอินเดยี จดุ ตะวนั ออกสุดของทวีปอยู ทแี่ หลมฮาฟูน ประเทศโซมาเลยี ทิศตะวนั ตก ติดกบั มหาสมุทรแอตแลนตกิ จุดตะวนั ตกสุดของทวปี อยทู ่ีแหลม เวิรดประเทศเซเนกัล 2. ลักษณะภมู ิประเทศ ลกั ษณะภูมปิ ระเทศทวปี แอฟรกิ าสามารถแบงออกไดเ ปน 3 ลักษณะดังนี้ 1. เขตทร่ี าบสูง พ้ืนท่เี กือบท้ังหมดของทวีปเปนที่ราบสูง จนไดร บั สมญาวา เปน ทวปี แหง ท่รี าบสูง โดยทางซกี ตะวนั ออกจะสงู กวา ซกี ตะวนั ตก ลกั ษณะเดน ของบรเิ วณทร่ี าบสงู ทางภาคตะวนั ออกของทวปี คอื เปน พน้ื ทท่ี ม่ี ภี เู ขาสงู และภเู ขาไฟ ภเู ขาไฟทม่ี ชี อ่ื เสยี ง คอื ภเู ขาคลิ มิ นั จาโร (แทนซาเนยี ) และมที ะเลสาบหลายแหง เชน ทะเลสาบวคิ ตอเรีย (ทะเลสาบนา้ํ จืดใหญเปน อันดบั 2 ของโลก) ทะเลสาบแทนแกนยกิ าและทะเลสาบไนอะซา แผนที่ทวปี แอฟรกิ า

28 หนงั สือเรยี นสาระการพัฒนาสงั คม 2. เขตท่รี าบ ทวีปแอฟริกามที ร่ี าบแคบๆ บริเวณชายฝง ทะเล 3. เขตเทอื กเขา เขตเทอื กเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนอื คือ เทือกเขาแอตลาส วางตัวขนานกับ ชายฝงทะเลเมดเิ ตอรเ รเนียน เปน เทือกเขายุคใหม เทอื กเขาทางทศิ ใต คอื เทอื กเขาดราเคนสเบริ ก วางตวั ขนานกบั ชายฝง มหาสมทุ ร อินเดีย เปน เทือกเขายุคเกา แมน าํ้ แมน าํ้ ในทวปี แอฟรกิ าสว นใหญเ กดิ จากทร่ี าบสงู ตอนกลาง และทางตะวนั ออก ของทวีป ซ่ึงมีฝนตกชุก เน่ืองจากพ้ืนที่ตางระดับ แมน้ําจึงกัดเซาะพ้ืนที่ใหเกิดเปน แกงนํ้าตกขวางลําน้ํา จึงเปนอุปสรรคตอการคมนาคม แตสามารถใชประโยชนในการผลิต กระแสไฟฟาไดแ มน้ําทส่ี ําคญั ไดแก แมน าํ้ ไนล เปน แมน าํ้ สายทยี่ าวทสี่ ดุ ในโลก ไหลลงสทู ะเลเมดเิ ตอรเ รเนยี น ประกอบ 1บทท่ี ดว ยแควสําคัญ คือ ไวทไ นว บลไู นลแ ละอัตบารา ปากแมน า้ํ เปน เดลตา แมน าํ้ ซาอรี  (คองโก) เปน แมน าํ้ สายยาวอนั ดบั 2 ของทวปี และเปน ทรี่ าบลมุ แมน าํ้ ภมู ศิ าสตรก ายภาพ ทีก่ วา งขวาง น้าํ ในแมน้าํ ไหลลงสูมหาสมุทรแอตแลนตกิ แมน ้ําไนเจอร ไหลลงสูอา วกนิ ี แมน ้าํ แซมเบซี ไหลลงสูม หาสมุทรอนิ เดีย ไหลผา นท่ีราบสงู และไหลเช่ียวมาก 3. ลักษณะภมู ิอากาศ เขตอากาศ ปจจยั ทีม่ ีอทิ ธิพลตอ ภูมิอากาศของทวีปแอฟรกิ า 1. ละตจิ ดู ทวปี แอฟรกิ ามเี สน ศนู ยส ตู รผา นเกอื บกงึ่ กลางทวปี และตง้ั อยรู ะหวา ง เสน ทรอปค ออฟแคนเซอร กบั เสน ทรอปค ออฟแคปรคิ อรน ทาํ ใหม เี ขตอากาศรอ นเปน บรเิ วณ กวา ง มีเฉพาะสว นเหนอื สดุ และใตส ดุ ทีอ่ ยใู นเขตอบอุน 2. ลมประจํา มี 2 ชนิดคอื ลมสนิ คา ตะวนั ออกเฉยี งใต พดั จากมหาสมทุ รอนิ เดยี และมหาสมทุ รแอตแลนตกิ ทาํ ใหฝ นชกุ บริเวณชายฝงแอฟรกิ าตะวันออกและตะวนั ออกเฉยี งใตกับชายฝง อา วกนิ ี ลมสินคาตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากตอนในของทวีปมาสูชายฝง จึงนําความ แหงแลง มาสชู ายฝง ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของทวีป 3. กระแสนํา้ ไดแ ก กระแสนาํ้ อนุ กนิ ี ไหลผา นชายฝง ตะวนั ตกจากมหาสมทุ รแอตแลนตกิ ไปยงั อา วกนิ ี กระแสนาํ้ เยน็ คานารี ไหลเลียบชายฝงตะวันตกเฉียงเหนอื ของทวปี กระแสน้ําเย็นเบงเก-ลา ไหลเลยี บชายฝง ตะวนั ตกเฉียงใตข องทวปี กระแสน้ําอุนโมซัมบิก ไหลผานบริเวณชองแคบโมซมั บกิ 4. ระยะหางจากทะเล ดว ยความกวา งใหญของทวปี การมีท่ีสงู อยโู ดยรอบทวปี ทาํ ใหอ ทิ ธพิ ลของมหาสมทุ รเขา ไปไมถ งึ ประกอบกบั ไดร บั อทิ ธพิ ลจากทะเลทรายของทวปี เอเชียทางดานตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป ทําใหทวีปแอฟริกามีเขตภูมิอากาศแหงแลง เปน บริเวณกวาง

รายวชิ าสังคมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย>> 29 ทวปี แอฟริกาสามรถแบงเขตอากาศไดเ ปน 8 เขตดังนี้ 1บทที่ 1. ภมู อิ ากาศแบบทะเลทราย ไดแ ก บรเิ วณทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลเิ บยี ทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศไนเจอร ชาด ลเิ บยี มาลี บุรก นิ าฟาโซ มอริเตเนีย ูภ ิมศาสต รกายภาพ คดิ เปน พ้นื ที่รอยละ 30 ของพื้นทใี่ นทวปี แอฟรกิ า และถือเปน เขตทะเลทรายทม่ี ีขนาดใหญ ทีส่ ดุ ในโลก ทะเลทรายท่ีสาํ คัญอีกแหงหน่งึ คือ ทะเลทรายกาลาฮารี ทางตอนใตของทวปี ในเขตประเทศบอตสวานาและนามิเบีย มีลักษณะอากาศรอนและแหงแลงเฉล่ียสูงกวา 35 องศาเซลเซียส อณุ หภมู ริ ะหวางกลางวันและกลางคืนแตกตา งกนั มาก มฝี นตกนอย เฉลี่ย ต่าํ กวา 250 มลิ ลเิ มตรตอ ป 2. ภูมิอากาศแบบทุงหญาก่งึ ทะเลทราย ไดแ ก บรเิ วณทีร่ าบสงู ตอนในของทวปี ชายฝง ตะวนั ตกและตอนใตข องเสน ศูนยสูตร ในฤดูรอนมอี ากาศรอ นจัดและมฝี นตกแตไม มากนกั ประมาณ 600 มลิ ลเิ มตรตอ ป ฤดหู นาวมอี ากาศหนาวจดั บางครงั้ อาจถงึ จดุ เยอื กแขง็ 3. ภูมิอากาศแบบปาดิบช้ืน ไดแ ก บรเิ วณลมุ แมนาํ้ คองโก ทร่ี าบสูงในแอฟริกา ตะวนั ออก ฝง ตะวนั ออกของเกาะมาดากสั การ และชายฝง รอบอา วกนิ ี มอี ากาศรอ นอณุ หภมู ิ เฉล่ีย 27 องศาเซลเซยี ส และฝนตกชกุ ตลอดท้ังปมากถึง 2,000 มลิ ลเิ มตรตอ ป 4. ภมู อิ ากาศแบบทุง หญา สะวันนา ไดแ ก บริเวณเหนือและใตแนวเสนศนู ยสูตร ในเขตประเทศเอธิโอเปย ซูดาน เคนยา คองโก สาธารณรฐั คองโก แทนซาเนีย และดา น ปลายลมของเกาะมาดากสั การ มอี ุณหภูมริ อ นเกือบตลอดทั้งป ในฤดูรอ นมอี ากาศรอ นและ มฝี นตกปริมาณ 1,500 – 2,000 มลิ ลเิ มตรตอ ป ฤดหู นาวมอี ากาศหนาวและแหงแลง 5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอรเ รเนยี น ไดแ ก บริเวณชายฝงของประเทศตูนิเซยี แอลจีเรีย โมร็อกโก และตอนใตของประเทศแอฟริกาใต มีอุณหภูมิไมแตกตางกันมากนัก ในฤดูรอนมอี ากาศรอนและแหงแลง ในฤดหู นาวมอี ากาศอบอุนและมีฝนตก 6. ภูมิอากาศแบบมรสุม ไดแ ก ประเทศไลบเี รยี และโกตดิววั ร เนอ่ื งจากไดรับ อิทธิพลจากลมประจําตะวันตกและกระแสนํ้าอุนกินี สงผลใหมีฝนตกชุกประมาณ 2,500 มลิ ลิเมตรตอ ปและมอี ากาศรอ นชนื้ อุณหภมู เิ ฉล่ีย 20 องศาเซลเซียส 7. ภูมิอากาศแบบอบอุนชื้น ไดแก บริเวณตะวันออกเฉียงใตของทวีป ในเขต ประเทศแทนซาเนยี แซมเบยี โมซมั บกิ ซมิ บบั เว มาลาวี สวาซแิ ลนด เลโซโท และแอฟรกิ าใต ไดรับอิทธิพลจากกระแสนํ้าอุนโมซัมบิก และลมคาตะวันออกเฉียงเหนือ ทําใหฤดูหนาวมี อากาศอบอุน ในฤดูรอนมีฝนตก 8. ภมู ิอากาศแบบภเู ขา ไดแก ที่ราบสูงเอธิโอเปย และท่รี าบสงู เคนยา ทางตะวนั ออกของทวีป ลกั ษณะอากาศชื้นอยกู ับความสงู ของพน้ื ท่ี ยง่ิ สงู ขึ้นอากาศจะเยน็ ลง และมี ปรมิ าณฝนตกนอ ยลง

30 หนงั สอื เรยี นสาระการพัฒนาสังคม 4. ลักษณะเศรษฐกิจ และสภาพแวดลอ มทางสงั คมวฒั นธรรม ลกั ษณะเศรษฐกจิ การเกษตรกรรม 1. การเพาะปลูกแบบยังชีพ เปน การปลูกพชื เพือ่ บริโภคภายในครอบครวั 2. การทาํ ไรข นาดใหญ เปน การเพาะปลกู เพอ่ื การคา พชื ทปี่ ลกู เชน ยางพารา ปาลม นา้ํ มัน 3. การเกษตรแบบผสม คือ การเพาะปลูกแบบเลี้ยงสัตวควบคกู นั ไป พชื ทีป่ ลูกคอื ขา วโพดขาวสาลี สตั วท เี่ ลีย้ ง คอื โคเน้ือ โคนม แกะ 4. การเกษตรแบบเมดิเตอรเรเนียน คือปลูกองุน มะกอก บริเวณชายฝงทะเล เมดเิ ตอรเ รเนยี นและตอนใตของทวปี 1บทที่ 5. การทําไรปศุสัตว สวนใหญจะเปนการเลี้ยงแบบปลอยคือ การปลอยใหสัตว หากินในทุงหญาตามธรรมชาติ ภมู ศิ าสตรก ายภาพ 6. การเล้ยี งสัตวแ บบเรร อ น เปนการเล้ยี งสตั วใ นพืน้ ที่ที่เปน ทะเลทราย การปา ไม พ้ืนที่ท่ีมีความสําคัญในการทําปาไม คือ แอฟริกาตะวันตก แอฟริกากลาง ปาไม สวนใหญส ูญเสยี ไปเนอ่ื งจากการทําไรเ ลื่อนลอยและการขาดการบาํ รงุ การลาสตั วและการประมง ชนพื้นเมืองจะดํารงชีพดวยการลาสัตว สวนการประมงมีความสําคัญไมมาก การ ประมงนาํ้ จืดจะทําตามลมุ แมน ํ้าสายใหญ และทะเลสาบวิคตอเรีย สว นประมงนํา้ เคม็ มกั จะ ทําบรเิ วณทม่ี ีกระแสนํ้าเย็นเบงเก-ลา ไหลผาน การทาํ เหมอื งแร เปน ทวปี ทมี่ สี นิ แรอ ยเู ปน จาํ นวนมาก ทสี่ าํ คญั คอื เพชร ทองคาํ นา้ํ มนั กา ซธรรมชาติ การอุตสาหกรรม การทาํ อุตสาหกรรมสวนใหญในทวีปแอฟริกา เปนอตุ สาหกรรมทีเ่ กยี่ วของกบั การ แปรรปู ผลติ ผลการเกษตร การอตุ สาหกรรมสว นใหญย งั ไมค อ ยเจรญิ มากนกั เนอื่ งจากยงั ขาด เงนิ ทนุ และผูเ ชีย่ วชาญดานการพฒั นาอุตสาหกรรม ประชากร มีประชากรมากเปนอนั ดับ 2 รองจากทวปี เอเชยี ประชากรหนาแนนบรเิ วณลมุ แมน ้ํา และบริเวณชายฝง ทะเล ประกอบดวยเช้ือชาตนิ กิ รอยดและคอเคซอยด

รายวชิ าสงั คมศกึ ษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย>> 31 ทวีปออสเตรเลยี และโอเซยี เนยี 1บทท่ี 1. ขนาดที่ตั้งและอาณาเขตติดตอ ูภ ิมศาสต รกายภาพ ทวปี ออสเตรเลยี และโอเซยี เนยี เปน ทตี่ ง้ั ของประเทศออสเตรเลยี ประเทศนวิ ซแี ลนด ทวปี ออสเตรเลยี ไดร บั สมญานามวา ทวปี เกาะ สว นหมเู กาะแปซฟิ ก ซงึ่ เปน ทต่ี ง้ั ของประเทศ อนื่ ๆ ตอเน่อื งไปถงึ ทวปี แอนตารก ติก เรยี กวา โอเชยี เนีย หมายถงึ เกาะ และหมเู กาะ ในภาคกลางและภาคใตของมหาสมุทรแปซิฟก รวมท้ังหมูเกาะไมโครนีเซีย เมลานีเซีย โปลีนเี ซยี ออสเตรเลยี นิวซีแลนด และหมเู กาะมลายู ทวีปออสเตรเลียเปนทวีปท่ีมีขนาดเล็กท่ีสุดในโลก มีพื้นที่ 7.6 ลาน ตร.กม. มีประชากร 17.5 ลา นคน ทตี่ ้ังของทวปี ออสเตรเลียอยูในซีกโลกใตท ้งั หมด ตั้งแตล ะตจิ ดู ที่ 10 องศา 41 ลปิ ดาใต ถึง 43 องศา 39 ลปิ ดาใต และลองจิจูด 113 องศา 9 ลิปดา ตะวนั ออก ถงึ 153 องศา 39 ลปิ ดาตะวันออก อาณาเขตตดิ ตอ ทศิ เหนอื ติดตอกบั ทะเลเมดเิ ตอรเรเนียนในมหาสมุทรแปซิฟก จดุ เหนือสดุ ของ ทวีปอยทู ่แี หลมยอรกมชี อ งแคบทอรเรสก้ันจากเกาะนวิ กนิ ี ทิศตะวันออก ติดกับทะเลคอรัลและทะเลแทสมันในมหาสมุทรแปซิฟก จุดดาน ตะวันออกสดุ อยทู แ่ี หลมไบรอน ทศิ ใต ตดิ กบั มหาสมุทรอินเดยี จดุ ใตสดุ อยูท ่แี หลมวิลสนั มีชอ งแคบบาสสกั้นจาก เกาะแทสมาเนีย ทศิ ตะวนั ตก ตดิ กบั มหาสมทุ รอินเดยี จดุ ตะวันตกสุดอยทู ีแ่ หลมสตฟี ภมู ภิ าคและประเทศตา งๆ ของทวปี ออสเตรเลยี 1. ออสเตรเลยี ไดแ ก ออสเตรเลยี และนิวซีแลนด 2. หมเู กาะในมหาสมทุ รแปซฟิ ก ไดแ ก ปาปว นวิ กนิ ี หมเู กาะเซโลมอน ฟจ ิ วานอู าตู คริ บิ าส ซามวั ตะวนั ตก ตองกา ตูวาลู นาอรู ู ไมโครนีเซีย 2. ลักษณะภูมิประเทศของทวปี ออสเตรเลยี และโอเซยี เนีย มเี ขตทส่ี งู ทางดา นตะวนั ออก มีฝนตกชุกท่ีสดุ ของทวีป มเี ทอื กเขาเกรตดไิ วดิงอยู ทางดานตะวันออก มีลักษณะเปนสันปนนํ้าท่ีแบงฝนท่ีตกลงใหไหลสูลําธาร เขตท่ีราบต่ํา ตอนกลาง พ้ืนท่ีราบเรียบ มีลํานํ้าหลายสายไหลมาอยูบริเวณนี้ และเขตที่ราบสูงทางดาน ตะวนั ตกตอนกลางของเขตนเี้ ปน ทะเลบรเิ วณทางใตแ ละทางตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ใชเ ปน เขต ปศุสัตวแ ละเพาะปลูก 3. ลกั ษณะภมู ิอากาศของทวีปออสเตรเลยี และโอเซยี เนยี ปจจยั สาํ คัญท่ที าํ ใหทวีปออสเตรเลียมภี มู อิ ากาศตา งๆ กนั คอื ตัง้ อยูในโซนรอนใต และอบอนุ ใต มลี มประจําพดั ผา น ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศและมกี ระแสน้าํ อนุ และกระแสน้าํ เย็น ไหลผาน

32 หนงั สอื เรียนสาระการพฒั นาสงั คม ลักษณะภูมิอากาศของทวีปออสเตรเลียและโอเซียเนียแบงเขตภูมิอากาศเปน 6 ประเภทคือ 1. ภมู ิอากาศทงุ หญา เขตรอน 2. ภมู อิ ากาศทุงหญา กึ่งทะเลทราย 3. ภมู ิอากาศทะเลทราย 4. ภมู ิอากาศเมดเิ ตอรเ รเนยี น 5. ภมู อิ ากาศอบอนุ ช้นื 6. ภมู ิอากาศภาคพ้ืนสมุทรชายฝง ตะวันตก 4. สภาพทางสงั คม เชอ้ื ชาติ เศรษฐกจิ ศาสนาและวัฒนธรรม 1บทที่ ประชากร เช้ือชาติเผาพันธุของออสเตรเลีย ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเปนพวกผิวดําเรียกวา อะบอรจิ นิ สเ ปน พวกทอี่ พยพมาจากหมเู กาะในมหาสมทุ รแปซฟิ ก สว นใหญอ ยทู างภาคเหนอื ภมู ศิ าสตรก ายภาพ และภาคตะวันตกปจจุบันมี ชาวผิวขาว ซ่ึงสวนใหญเปนชาวอังกฤษอาศัยอยูจํานวนมาก รฐั บาลไดจ ดั ทอี่ ยใู นเขตนอรท เทริ น เทรทิ อร่ี รฐั ควนี สแลนด และรฐั ออสเตรเลยี ตะวนั ตก พวก ผิวเหลอื งเปน พวกท่ีอพยพมาภายหลงั สงครามโลกคร้งั ท่ี 2 ไดแ ก ชาวจนี ญปี่ นุ พวกผวิ ขาว สวนใหญเปนพวกท่ีอพยพมาจากประเทศอังกฤษ มีการประกอบอาชีพทางดาน การเกษตรคือปลูกพืชและเล้ียงสตั ว การประมง และอุตสาหกรรม การกระจายประชากร รฐั บาลออสเตรเลยี มนี โยบายสงวนพนื้ ทไ่ี วส าํ หรบั ชาวผวิ ขาว คอื นโยบายออสเตรเลยี ขาวกีดกันผิวโดยจํากัดจํานวนคนสีผิวอ่ืนท่ีไมใชผิวขาวเขาไปต้ังถิ่นฐานในออสเตรเลีย บริเวณที่ประชากรอาศัยอยูหนาแนน ไดแก ภาคตะวันออกเฉียงใต บริเวณที่มีประชากร เบาบาง ไดแ ก ตอนกลางของทวีป ภาคเหนือ และภาคตะวันตก ศาสนา ชาวออสเตรเลยี นบั ถอื ศาสนาครสิ ตห ลายนกิ าย ไดแ ก แองกลกิ นั โรมนั คาทอลกิ โปรแตสแตนส ภาษาทใี่ ชมากคือภาษาอังกฤษ การปกครอง การแบง แยกทางการเมอื ง ออสเตรเลยี มรี ะบบการปกครองแบบสหพนั ธรฐั ประกอบ ดว ยรัฐตางๆ รวม 6 รัฐและดินแดนอสิ ระทีไ่ มข ึ้นกบั รัฐใดๆ อีก 2 แหง คอื 1. รฐั นวิ เซาทเ วล เมอื งหลวง ซิดนยี  2. รฐั วิกตอเรีย เมอื งหลวง เมลเบริ น 3. รฐั ควนี สแลนด เมอื งหลวง บรสิ เบรน 4. รฐั ออสเตรเลียใต เมืองหลวง แอเดเลด 5. รฐั ออสเตรเลียตะวนั ตก เมืองหลวงเพิรธ 6. รฐั แทนสเมเนยี เมืองหลวง โอบารต

รายวิชาสังคมศกึ ษา (สค31001) <<ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย>> 33 ดินแดนอสิ ระ 2 บรเิ วณ ไดแก นอรท เทริ น แทริทอรี เมืองหลวง ดารว นิ ออสเตรเลีย แคปตอลเทริทอรี เมืองหลวงแคนเบอรรา ออสเตรเลียเปนประเทศ เอกราชในเครือจักรภพอังกฤษ มีพระนางเจาอลิซาเบธที่ 2 เปนพระราชินีและเปนประมุข ของประเทศ มขี าหลวงใหญเ ปน ผูสาํ เรจ็ ราชการแทนพระองค จัดการปกครองระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบ สหพันธรัฐการปกครองของ ออสเตรเลยี เปน แบบรัฐบาลรวม คอื มีรฐั บาล 2 ระดบั ไดแ ก รัฐบาลกลาง รฐั บาลของรฐั กิจกรรมที่ 1.1 สภาพภมู ิศาสตรก ายภาพ 1บทท่ี 1. ใหบ อกลกั ษณะภมู ปิ ระเทศและลกั ษณะเศรษฐกจิ ของประเทศไทยและทวปี ยโุ รป ูภ ิมศาสต รกายภาพ ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ ลกั ษณะเศรษฐกจิ ประเทศไทย ทวปี ยโุ รป

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ34 หนงั สือเรยี นสาระการพฒั นาสงั คม กจิ กรรมท่ี 1.1 สภาพภมู ศิ าสตรก ายภาพ 2. ปจ จยั ทีม่ อี ทิ ธพิ ลตอภูมิอากาศของทวปี อเมรกิ าใต คือ ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... 1บทที่ ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... 3. ปจ จยั สําคญั ทที่ ําใหทวปี ออสเตรเลยี มีสภาพภูมิอากาศที่แตกตา งกนั ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... ..................................................................................................................................... .........................................................................................................................

รายวชิ าสงั คมศกึ ษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย>> 35 เร่ืองท่ี 2 ลกั ษณะปรากฏการณทางธรรมชาติท่สี าํ คญั และ 1บทท่ี การปอ งกันอันตราย ูภ ิมศาสต รกายภาพ ปรากฏการณธรรมชาติ คือ การเปล่ียนแปลงของธรรมชาติ ท้ังในระยะยาวและ ระยะสนั้ สภาพแวดลอ มของโลกเปลย่ี นแปลงไปตามเวลา ทง้ั เปน ระบบและไมเ ปน ระบบ เปน สง่ิ ทอี่ ยูรอบตัวเรา มกั สงผลกระทบตอ เรา ในธรรมชาติ การเปลย่ี นแปลงบางอยา งมผี ลกระ ทบตอ เรารนุ แรงมาก สาเหตขุ องการเปลยี่ นแปลงมที ง้ั เกดิ ขนึ้ เองตามธรรมชาตแิ ละเปน สงิ่ ที่ มนุษยทําใหเกิดขึ้น ในเรื่องน้ีจะกลาวถึงสาเหตุและลักษณะปรากฏการณทางธรรมชาติที่ สาํ คญั ดังนี้ 1) พายุ พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่เคล่ือนตัวดวยความเร็วมีผลกระทบตอพื้นผิวโลก โดยบางครั้งอาจมีความเร็วที่ศูนยกลางถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง อาณาบริเวณท่ีจะไดรับ ความเสียหายจากพายุวาครอบคลุมเทาใดข้ึนอยูกับความเร็วของการเคล่ือนตัวของพายุ ขนาด ความกวา ง เสนผา ศูนยกลางของตัวพายุ หนวยวดั ความเรว็ ของพายคุ อื หนวยริก เตอรเ หมือนการวดั ความรนุ แรงแผนดนิ ไหว พายแุ บงเปนประเภทใหญๆ ได 3 ประเภท คือ 2.1 พายฝุ นฟา คะนอง มลี ักษณะเปนลมพดั ยอนไปมา หรือพัดเคล่อื นตวั ไปใน ทศิ ทางเดยี วกนั อาจเกดิ จากพายทุ อ่ี อ นตวั และลดความรนุ แรงของลมลง หรอื เกดิ จากหยอ ม ความกดอากาศต่ํา รองความกดอากาศต่ํา อาจไมมีทิศทางที่แนนอน หากสภาพการณ แวดลอ มตางๆ ของการเกดิ ฝนเหมาะสม ก็จะเกดิ ฝนตก มีลมพดั 2.2 พายหุ มนุ เขตรอ น (Tropical cyclone) ไดแ ก เฮอรร เิ คน ไตฝ นุ และไซโคลน ซ่ึงลว นเปนพายหุ มนุ ขนาดใหญเ ชน เดียวกนั และจะเกิดข้นึ หรือเรม่ิ ตนกอ ตวั ในทะเล หาก เกิดเหนือเสนศูนยสูตร จะมีทิศทางการหมุนเวียนทวนเข็มนาิกา และหากเกิดใต เสนศนู ยส ูตรจะหมนุ ตามเข็มนากิ า โดยมีชอ่ื ตา งกันตามสถานที่เกดิ คือ 2.1.1 พายเุ ฮอรรแิ คน (hurricane) เปนชือ่ เรยี กพายหุ มุนทเ่ี กดิ บรเิ วณทศิ ตะวนั ตกของมหาสมทุ รแอตแลนตกิ เชน บริเวณฟลอรดิ า สหรฐั อเมริกา อาวเม็กซิโก ทะเล แคริบเบยี น เปน ตน รวมทัง้ มหาสมทุ รแปซฟิ ก บรเิ วณชายฝง ประเทศเมก็ ซิโก 2.1.2 พายุไตฝุน (typhoon) เปนช่ือพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของ มหาสมุทรแปซิฟก เหนอื เชน บริเวณทะเลจีนใต อา วไทย อาวตังเกยี๋ ประเทศญป่ี นุ แตถา เกิดในหมเู กาะฟลปิ ปน ส เรียกวา บาเกียว (Baguio) 2.1.3 พายุไซโคลน (cyclone) เปนชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เชน บรเิ วณอาวเบงกอล ทะเลอาหรบั เปน ตน แตถาพายนุ ้ีเกดิ บริเวณทะเลตมิ อรและ ทศิ ตะวนั ออกเฉียงเหนือ ของประเทศออสเตรเลยี จะเรียกวา พายวุ ิลลี-วลิ ลี (willy-willy)

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ36 หนงั สือเรยี นสาระการพัฒนาสงั คม 2.1.4 พายุโซนรอ น (tropical storm) เกดิ ข้นึ เมอื่ พายเุ ขตรอ นขนาดใหญ ออ นกาํ ลงั ลง ขณะเคลอ่ื นตวั ในทะเล และความเรว็ ทจี่ ดุ ศนู ยก ลางลดลงเมอ่ื เคลอ่ื นเขา หาฝง 2.1.5 พายดุ เี ปรสชนั (depression) เกดิ ขน้ึ เมอ่ื ความเรว็ ลดลงจากพายโุ ซน รอ น ซึ่งกอใหเกิดพายุฝนฟา คะนองธรรมดาหรอื ฝนตกหนกั 2.1.6 พายทุ อรน าโด (tornado) เปน ชอื่ เรยี กพายหุ มนุ ทเี่ กดิ ในทวปี อเมรกิ า มีขนาดเน้ือท่ีเล็กหรือเสนผาศูนยกลางนอย แตหมุนดวยความเร็วสูง หรือความเร็วท่ี จุดศูนยกลางสูงมากกวาพายุหมุนอื่นๆ กอความเสียหายไดรุนแรงในบริเวณที่พัดผาน เกิดไดท้ังบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกวา นาคเลนนํ้า (water spout) บางคร้ังอาจเกิดจากกลุมเมฆบนทอ งฟา แตห มุนตวั ยื่นลงมาจากทองฟาไมถึงพืน้ ดนิ มีรปู รางเหมือนงวงชา ง จึงเรยี กกนั วา ลมงวง 1บทที่ อนั ตรายของพายุ 1. ความรนุ แรงและอนั ตรายอนั เกดิ จากพายไุ ตฝุน เมอื่ พายทุ ม่ี กี าํ ลงั ขนาดไตฝ นุ พดั ผา นทใี่ ดยอ มทาํ ใหเ กดิ ความเสยี หายรา ยแรงทวั่ ไป เชน บนบกตนไมจะลม ถอนราก ถอนโคน บานเรือนพังทับผูคนในบานและที่ใกลเคียง บาดเจ็บหรอื ตาย สวน ไรนาเสยี หายหนักมาก เสาไฟฟา ลม สายไฟฟาขาด ไฟฟา ช็อต เกิด เพลิงไหมแ ละผูคนอาจเสียชวี ติ จากไฟฟา ดูดได ผูคนท่มี ีอาคารพกั อาศัยอยูริมทะเลอาจถูก นาํ้ พดั พาลงทะเลจมนา้ํ ตายได ดงั เชน ปรากฎการณท แ่ี หลมตะลมุ พกุ จงั หวดั นครศรธี รรมราช ในทะเลลมแรงจดั มากคลื่นใหญ เรือขนาดใหญ ขนาดหมน่ื ตนั อาจจะถกู พัดพาไป เกยฝง ลม จมได บรรดาเรอื เลก็ จะเกดิ อนั ตรายเรอื ลม ไมส ามารถจะตา นความรนุ แรงของพายุ ได คล่ืนใหญซัดขึ้นริมฝงจะทําใหระดับนํ้าขึ้นสูงมากจนทวมอาคารบานชองริมทะเลได บรรดาโปะ จบั ปลาในทะเลจะถกู ทาํ ลายลงโดยคลืน่ และลม 2. ความรุนแรงและอนั ตรายจากพายุโซนรอน พายโุ ซนรอ นมคี วามรนุ แรงนอ ยกวา พายไุ ตฝ นุ ฉะนนั้ อนั ตรายจะเกดิ จากการทพ่ี ายุ

รายวิชาสงั คมศกึ ษา (สค31001) <<ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย>> 37 ูภ ิมศาสต รกายภาพ นพี้ ดั มาปะทะลดลงในระดบั รองลงมาจากพายไุ ตฝ นุ แตค วามรนุ แรงทจ่ี ะทาํ ใหค วามเสยี หาย ก็ยังมมี ากเหมือนกัน ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถทาํ ใหเ รือขนาดใหญๆ จมได ตนไม ถอนรากถอนโคน ดังพายโุ ซนรอนทีป่ ะทะฝง แหลมตะลุมพกุ จังหวัดนครศรธี รรมราช ถา การเตรยี มการรบั สถานการณไ มเ พยี งพอ ไมม กี ารประชาสมั พนั ธใ หป ระชาชนได ทราบเพ่ือหลีกเล่ียงภัยอันตรายอยางท่ัวถึง ไมมีวิธีการดําเนินการท่ีเขมแข็งในการอพยพ การชวยเหลอื ผปู ระสบภัยตา งๆ ในระหวา งเกดิ พายุ การสญู เสียก็ยอมมีการเสยี ท้งั ชีวติ และ ทรพั ยส มบัติของประชาชน 1บทท่ี 3. ความรุนแรงและอันตรายจากพายดุ ีเปรสชนั่ พายดุ เี ปรสชน่ั เปน พายทุ ม่ี กี าํ ลงั ออ น ไมม อี นั ตรายรนุ แรงแตท าํ ใหม ฝี นตกปานกลาง ทว่ั ไป ตลอดทางทพ่ี ายดุ เี ปรสชนั่ พดั ผา น และมฝี นตกหนกั เปน แหง ๆ พรอ มดว ยลมกรรโชก แรงเปนครั้งคราว ซ่ึงบางคราวจะรุนแรงจนทําใหเกิดความเสียหายได ในทะเลคอนขางแรง และคลืน่ จดั บรรดาเรอื ประมงเล็กขนาดตํ่ากวา 50 ตนั ควรงดเวน ออกทะเลเพราะอาจจะ ลมลงได และพายุดีเปรสชั่นนี้เม่ืออยูในทะเลไดรับไอนํ้าหลอเลี้ยงตลอดเวลา และไมมี ส่ิงกีดขวางทางลมอาจจะทวีกําลังขึ้นได โดยฉับพลัน ฉะน้ัน เม่ือไดรับทราบขาววามีพายุ ดีเปรสชั่นข้ึนในทะเลก็อยาวางใจวาจะมีกําลังออนเสมอไปอาจจะมีอันตรายไดเหมือนกัน สาํ หรบั พายุพดั จดั จะลดนอ ยลงเปน ลาํ ดับ มีแตฝ นตกทั่วไปเปนระยะนานๆ และตกไดมาก ถึง 100 มิลลเิ มตร ภายใน 12 ช่ัวโมง ซง่ึ ตอไปก็จะทาํ ใหเ กิดนาํ้ ปา ไหลบา จากภเู ขาและปา ใกลเ คยี งลงมาทว มบานเรือนไดในระยะเวลาสนั้ ๆ หลังจากพายไุ ดผานไปแลว 4. ความรนุ แรงและอนั ตรายจากพายฤุ ดรู อน พายฤุ ดรู อ นเปน พายทุ เี่ กดิ ขน้ึ โดยเหตแุ ละวธิ กี ารตา งกบั พายดุ เี ปรสชน่ั และเกดิ บน ผืนแผนดินท่ีรอนอบอาวในฤดูรอนแตเปนพายุท่ีมีบริเวณยอมๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แตอาจมลี มแรงมากถงึ 47 น็อต หรอื 87 กโิ ลเมตรตอ ชัว่ โมง พายุนีม้ กี ําลัง แรงที่จะทําใหเกิดความเสียหายไดมาก แตเปนชวงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2-3 ช่ัวโมง

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ38 หนังสอื เรียนสาระการพฒั นาสังคม อนั ตรายทเี่ กดิ ขน้ึ คอื ตน ไมห กั ลม ทบั บา นเรอื นผคู น ฝนตกหนกั และอาจมลี กู เหบ็ ตกได ใน กรณีทีพ่ ายมุ ีกําลังแรง การเตรยี มการปองกนั อนั ตรายจากพายุ 1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟง คาํ เตอื นจากกรมอตุ ุนิยมวิทยาสมาํ่ เสมอ 2. สอบถาม แจง สภาวะอากาศรอนแกก รมอตุ นุ ยิ มวทิ ยา 3. ปลกู สรา ง ซอ มแซม อาคารใหแ ข็งแรง เตรียมปอ งกันภัยใหส ัตวเ ลย้ี งและพืชผล การเกษตร 4. ฝก ซอ มการปองกนั ภัยพบิ ตั ิ เตรยี มพรอ มรับมือ และวางแผนอพยพหากจาํ เปน 5. เตรยี มเครอ่ื งอปุ โภค บรโิ ภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วทิ ยกุ ระเปา หว้ิ เพอื่ ตดิ ตามขา วสาร 6. เตรียมพรอมอพยพเมอ่ื ไดรับแจง ใหอพยพ 1บทที่ 2) นํา้ ทว ม สาเหตสุ าํ คญั ขนึ้ อยกู บั สภาพทอ งท่ี และความวปิ รติ ผนั แปรของธรรมชาตแิ ตใ นบาง ทอ งท่ี การกระทาํ ของมนุษยก ็มีสว นสําคญั และ เกดิ จากมนี ้ําเปนสาเหตุ อาจจะเปน นํา้ ทว ม นา้ํ ปา หรอื อนื่ ๆ โดยปกติ อทุ กภยั เกดิ จากฝนตกหนกั ตอ เนอื่ งกนั เปน เวลานาน บางครงั้ ทาํ ให เกดิ แผน ดนิ ถลม อาจมสี าเหตจุ ากพายหุ มนุ เขตรอ น ลมมรสมุ มกี าํ ลงั แรง รอ งความกดอากาศ ตา่ํ มกี ําลังแรงอากาศแปรปรวน น้ําทะเลหนนุ แผน ดินไหว เข่ือนพงั ซ่งึ ทําใหเกดิ อุทกภัยได สาเหตกุ ารเกดิ อุทกภยั แบงไดเปน 2 ชนดิ ดงั นี้ 2.1 จากนา้ํ ปา ไหลหลากและนาํ้ ทว มฉบั พลนั เกดิ จากฝนตกหนกั ตดิ ตอ กนั หลาย ชั่วโมง ดินดูดซับไมทัน น้ําฝนไหลลงพ้ืนราบอยางรวดเร็ว ความแรงของนํ้าทําลายตนไม อาคาร ถนน สะพาน ชีวติ ทรัพยสิน 2.2 จากนํา้ ทวมขังและนา้ํ เออ นอง เกิดจากนา้ํ ในแมน า้ํ ลําธารลนตล่งิ มีระดับสูง จากปกติ ทว มและแชข งั ทาํ ใหก ารคมนาคมชะงกั เกดิ โรคระบาด ทาํ ลายสาธารณปู โภค และ พชื ผลการเกษตร การปอ งกนั น้าํ ทว มปฏบิ ัตไิ ดด งั นี้ 1. ตดิ ตามสภาวะอากาศ ฟง คาํ เตือนจากกรมอตุ นุ ยิ มวิทยา 2. ฝก ซอมการปอ งกันภัยพบิ ัติ เตรยี มพรอมรับมือ และวางแผนอพยพหากจําเปน 3. เตรียมน้ําด่ืม เคร่ืองอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอร่ี วิทยุกระเปาหิ้วเพื่อ ตดิ ตามขาวสาร 4. ซอมแซมอาคารใหแขง็ แรง เตรยี มปองกันภัยใหส ัตวเล้ยี งและพืชผลการเกษตร 5. เตรียมพรอมเสมอเม่ือไดรับแจงใหอพยพไปที่สูง เม่ืออยูในพ้ืนที่เสี่ยงภัย และ ฝนตกหนักตอเนือ่ ง 6. ไมลงเลนน้าํ ไมข บั รถผานน้าํ หลากแมอ ยบู นถนน ถา อยูใกลนาํ้ เตรยี มเรือเพื่อ การคมนาคม

รายวิชาสังคมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย>> 39 7. หากอยใู นพน้ื ทน่ี า้ํ ทว มขงั ปอ งกนั โรคระบาด ระวงั เรอื่ งนาํ้ และอาหารตอ งสกุ และ 1บทที่ สะอาดกอ นบริโภค ูภ ิมศาสต รกายภาพ 3) แผน ดนิ ไหว เปนปรากฏการณ การสั่นสะเทือนหรอื เขยา ของพ้นื ผวิ โลก สาเหตุของการเกดิ แผน ดนิ ไหวนนั้ สว นใหญเ กดิ จากธรรมชาติ โดยแผน ดนิ ไหวบางลกั ษณะสามารถเกดิ จากการกระ ทาํ ของมนษุ ยไ ดเ ชน การทดลองระเบดิ ปรมาณู การปรบั สมดลุ เนอื่ งจากนาํ้ หนกั ของนา้ํ ทกี่ กั เก็บในเขือ่ นและแรงระเบดิ การทําเหมอื งแรเ ปนตน การปฏบิ ัตปิ อ งกันตัวเองจากการเกดิ แผน ดินไหว กอ นเกดิ แผนดนิ ไหว 1. ควรมไี ฟฉายพรอ มถา นไฟฉาย และกระเปา ยาเตรยี มไวใ นบา น และใหท กุ คนทราบ วาอยทู ่ีไหน 2. ศกึ ษาการปฐมพยาบาลเบอื้ งตน 3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไวในบา น เชน เครอ่ื งดับเพลงิ ถุงทราย เปนตน 4. ควรทราบตาํ แหนง ของวาลว ปด นาํ้ วาลว ปด กา ซ สะพานไฟฟา สาํ หรบั ตดั กระแส ไฟฟา 5. อยาวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือห้ิงสูงๆ เมื่อแผนดินไหวอาจตกลงมากเปน อนั ตรายได 6. ผกู เครอ่ื งใชห นกั ๆ ใหแนน กับพ้นื ผนังบาน 7. ควรมกี ารวางแผนเรอื่ งจดุ นดั หมาย ในกรณที ต่ี อ งพลดั พรากจากกนั เพอ่ื มารวม กนั อีกคร้ใั นภายหลัง ระหวางเกิดแผนดินไหว 1. อยา ตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยูอยา งสงบ 2. ถา อยใู นบา นใหย นื หรอื หมอบอยใู นสว นของบา นทม่ี โี ครงสรา งแขง็ แรงทสี่ ามารถ รบั น้ําหนกั ไดมาก และใหอ ยหู างจากประตู ระเบยี ง และหนาตาง 3. หากอยใู นอาคารสูง ควรตัง้ สติ และรีบออกจากอาคารโดยเรว็ หนีใหห า งจากสิง่ ที่ จะลม ทับได 4. ถาอยูในท่ีโลงแจง ใหอยูหางจากเสาไฟฟา และสิ่งหอยแขวนตางๆ ท่ีปลอดภัย ภายนอกคอื ท่ี โลง แจง 5. อยา ใช เทยี น ไมข ดี ไฟ หรอื ส่ิงทีท่ ําใหเกดิ เปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแกส ร่วั อยบู รเิ วณนนั้ 6. ถา กําลังขับรถใหหยดุ รถและอยูภายในรถ จนกระทง่ั การสน่ั สะเทือนจะหยดุ 7. หา มใชลิฟทโดยเด็ดขาดขณะเกดิ แผนดินไหว 8. หากอยชู ายหาดใหอ ยหู า งจากชายฝง เพราะอาจเกดิ คลน่ื ขนาดใหญซ ดั เขา หาฝง

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ40 หนงั สอื เรียนสาระการพฒั นาสังคม หลงั เกิดแผน ดนิ ไหว 1. ควรตรวจตวั เองและคนขา งเคยี งวา ไดร บั บาดเจบ็ หรอื ไม ใหท าํ การปฐมพยาบาล ข้นั ตนกอ น 2. ควรรบี ออกจากอาคารทเี่ สยี หายทนั ที เพราะหากเกดิ แผน ดนิ ไหวตามมา อาคาร อาจพงั ทลายได 3. ใสรองเทา หุมสนเสมอ เพราะอาจมเี ศษแกว หรือวสั ดแุ หลมคมอืน่ ๆ และสิง่ หกั พังทมิ่ แทงได 4. ตรวจสายไฟ ทอนํา้ ทอแกส ถา แกส รว่ั ใหปด วาลว ถงั แกส ยกสะพานไฟ อยา จุดไมขดี ไฟ หรือกอ ไฟจนกวาจะแนใจวา ไมมีแกส รว่ั 5. ตรวจสอบวา แกส รว่ั ดว ยการดมกลิน่ เทานัน้ ถา ไดก ลิ่นใหเ ปดประตูหนาตา ง 1บทที่ ทกุ บาน 6. ใหออกจากบริเวณทส่ี ายไฟขาด และวสั ดสุ ายไฟพาดถึง 7. เปดวทิ ยุฟง คําแนะนําฉกุ เฉิน อยาใชโทรศัพท นอกจากจาํ เปนจรงิ ๆ 8. สํารวจดคู วามเสยี หายของทอ สวม และทอนํา้ ทิ้งกอนใช 9. อยาเขาไปในเขตท่มี คี วามเสยี หายสงู หรอื อาคารพงั 4) ปรากฏการณเ รอื นกระจก คําวา เรือนกระจก (greenhouse) หมายถึง อาณาบริเวณท่ีปดลอมดวยกระจก หรือวัสดุอื่นซึ่งมีผลในการเก็บกักความรอนไวภายใน ในประเทศเขตหนาวนิยมใชเรือน กระจกในการเพาะปลกู ตน ไมเ พราะพลงั งานแสงอาทติ ยส ามารถผา นเขา ไปภายในไดแ ตค วาม รอ นทอี่ ยภู ายในจะถกู กกั เกบ็ โดยกระจกไมใ หส ะทอ นหรอื แผอ อกสภู ายนอกไดท าํ ใหอ ณุ หภมู ิ ของอากาศภายในอบอุน และเหมาะสมตอการเจริญเติบโตของพืชแตกตางจากภายนอกท่ี ยังหนาวเย็น นักวิทยาศาสตรจึงเปรียบเทียบปรากฏการณที่ความรอนภายในโลกถูกกับดัก ความรอ นหรอื กา ซเรือนกระจก (Greenhouse gases) เกบ็ กกั เอาไวไมใหส ะทอนหรอื แผ ออกสูภ ายนอกโลกวาปรากฏการณเ รอื นกระจก โลกของเราตามปกติมีกลไกควบคุมภูมิอากาศโดยธรรมชาติอยูแลว กระจกตาม ธรรมชาติของโลก คือ กาซคารบอนไดออกไซดและไอนํ้าซึ่งจะคอยควบคุมใหอุณหภูมิ ของโลกโดยเฉลี่ยมีคา ประมาณ 15 °C และถา หากในบรรยากาศไมมกี ระจกตามธรรมชาติ อณุ หภมู ขิ องโลกจะลดลงเหลอื เพยี ง -20°C มนษุ ยแ ละพชื กจ็ ะลม ตายและโลกกจ็ ะเขา สยู คุ นาํ้ แขง็ อกี คร้งั หนึง่ สาเหตสุ าํ คญั ของการเกดิ ปรากฎการณเ รอื นกระจกมาจากการเพมิ่ ขนึ้ ของกา ซเรอื น ก(CรHะจ4ก)ไปนรตะเรภัสทอตอากงๆไซไดด แ(กN ค2Oา)รบแอลนะคไดลอออโรกฟไซลูดออ (โCรOค2า)รไบออนนาํ้ (H(C2OF)Csโ)อโใซนนสว(นOข3)อมงกเี ทานซ

รายวชิ าสังคมศึกษา (สค31001) <<ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย>> 41 คารบอนไดออกไซดจะเกิดการหมุนเวียนและรักษาสมดุลตามธรรมชาติ ปญหาในเร่ือง 1บทที่ ปรากฏการณเ รอื นกระจกจะไมส ง ผลกระทบทรี่ นุ แรงตอมนษุ ยชาติโดยเดด็ ขาด ูภ ิมศาสต รกายภาพ แตป ญ หาทโี่ ลกของสงิ่ มชี วี ติ กาํ ลงั ประสบอยใู นปจ จบุ นั กค็ อื ปรมิ าณกา ซเรอื นกระจก ที่อยูในบรรยากาศเกิดการสูญเสียสมดุลข้ึน ปริมาณความเขมของกาซเรือนกระจกบางตัว เชน คารบ อนไดออกไซด มเี ทน ไนตรสั ออกไซดแ ละคลอโรฟลอู อโรคารบ อนกลบั เพม่ิ ปรมิ าณ มากขึ้น นับต้ังแตเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) หรือประมาณป พ.ศ. 2493 เปน ตนมา กจิ กรรมตา งๆ ทที่ าํ ใหเ กดิ การเพมิ่ ขน้ึ ของกา ซเรอื นกระจกมดี งั นค้ี อื 57% เกดิ จาก การเผาไหมของเช้ือเพลิงฟอสซิล (น้ํามันเชื้อเพลิง ถานหินและกาซธรรมชาติ) 17% เกดิ จากการใชส ารคลอโรฟลอู อโรคารบ อน 15% เกดิ จากการผลติ ในภาคเกษตรกรรม 8% เกิดจากการตดั ไมท ําลายปา สว นอกี 3% เกดิ จากการเปลีย่ นแปลงตามธรรมชาติ นกั วทิ ยาศาสตรท วั่ โลกไดต ดิ ตามการเพม่ิ ขน้ึ ของปรมิ าณกา ซเรอื นกระจก โดยการ ใชวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีอันทันสมัย เชน การใชดาวเทียมสํารวจอากาศและสามารถ สรุปไดวาในแตละปสัดสวนของกาซเรือนกระจกท่ีถูกปลอยออกจากโลก โมเลกุลของ คารบ อนไดออกไซดจ ะมผี ลตอ การตอบสนองในการเกบ็ กกั ความรอ นนอ ยมาก แตเ นอ่ื งจาก ปรมิ าณของคารบ อนไดออกไซดท เี่ กดิ จากกจิ กรรมตา งๆ ของมนษุ ยม มี ากทส่ี ดุ ดงั นน้ั หวั ใจ สําคัญของการแกปญหาจึงตองมุงประเด็นตรงไปที่การลดปริมาณคารบอนไดออกไซด ซึ่งเกิดจากการเผาไหมข องเชื้อเพลิง ฟอสซลิ กอ นเปน อนั ดบั แรก ตอ จากนนั้ จึงคอยลดและ เลกิ การใชค ลอโรฟลอู อโรคารบ อนรวมถงึ การควบคมุ ปรมิ าณของมเี ทนและไนตรสั ออกไซด ท่ีจะปลอยขึน้ สูบรรยากาศ ผลกระทบตอมนุษยชาติจากการเกดิ ปรากฎการณเรอื นกระจก จากการคาดการณข องนกั วิทยาศาสตร อุณหภมู โิ ดยเฉล่ยี ของโลกสงู ขนึ้ ถึงแมก าร เพม่ิ สงู ขนึ้ จะแสดงออกมาเปน ตวั เลขเพยี งเลก็ นอ ย แตอ าจสง ผลกระทบทร่ี นุ แรงตอ โลกของ ส่ิงมีชีวิต เพราะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกดังที่เกิดข้ึนในปจจุบันทําใหความ แตกตางระหวางอุณหภูมิบริเวณเสนศูนยสูตรกับบริเวณข้ัวโลกลดนอยลงทําใหเกิดความ ผนั ผวนขน้ึ ในอณุ หภมู อิ ากาศของโลก เชน แนวปะทะระหวา งอากาศรอ นกบั อากาศเยน็ ของ ลมเปลยี่ นไปอยา งมากเกดิ สภาวะความกดอากาศตา่ํ มากขน้ึ ทาํ ใหม ลี มมรสมุ พดั แรง เกดิ ลม พายุชนิดตางๆ เชน พายโุ ซนรอน ใตฝ นุ ดเี ปรสชัน่ และทอรนาโดขน้ึ บอยๆ หรืออาจเกดิ ฝนตกหนักผิดพื้นท่ี สมดุลทางธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปทําใหเกิดภัยธรรมชาติ เชน ดินถูกนํา้ เซาะพังทลายหรือเกดิ อุทกภัยเฉียบพลนั เปนตน นอกจากน้ีนักวิทยาศาสตรยังมีความเชื่อวาหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงมาก จะทําใหนํ้าแข็งบริเวณข้ัวโลกละลาย น้ําในทะเลและมหาสมุทรจะเพ่ิมปริมาณและทวมทน ทําใหเกาะบางแหงจมหายไป เมืองที่อยูใกลชายทะเลหรือมีระดับพื้นที่ต่ําเชน กรุงเทพฯ จะเกดิ ปญ หานา้ํ ทว มขน้ึ และถา นา้ํ แขง็ บรเิ วณขว้ั โลกละลายอยา งตอ เนอื่ ง กจ็ ะสง ผลใหร ะดบั

ภมู ศิ าสตรก ายภาพ42 หนังสอื เรยี นสาระการพฒั นาสงั คม นํ้าทะเลทั่วโลกเพ่ิมสูงข้ึนอีกสามเมตรหรือมากกวาน้ัน ซ่ึงหมายถึงอุทกภัยครั้งใหญจะเกิด ขนึ้ ในโลกอยางแนน อน จากเอกสารของโครงการสิ่งแวดลอ มขององคการสหประชาชาตไิ ด ประมาณการณวาอุณหภมู เิ ฉลีย่ ของโลกอาจสูงขน้ึ 2 ถงึ 4°C และระดับนํา้ ทะเลอาจสงู ขน้ึ 20-50 เซนตเิ มตร ในระยะเวลาอกี 10 – 50 ปนับจากปจ จบุ นั มาตรการปอ งกนั ผลกระทบจากการเกดิ ปรากฎการณเรอื นกระจก หลกั จากทเี่ ราไดท ราบมลู เหตแุ หง การเกดิ ปรากฎการณเ รอื นกระจกแลว ขอ สรปุ ทด่ี ี ท่สี ดุ ในการแกไ ขปญหา คือ การลดปรมิ าณกา ซเรอื นกระจกทจ่ี ะถูกปลอ ยออกสูบรรยากาศ ใหอยูในสัดสวน และปริมาณท่ีนอยที่สุดเทาท่ีจะกระทําได การรักษาระดับความหนาแนน ของกาซเรือนกระจกในบรรยากาศท่ีทั่วโลกกํากลังปฏิบัติมีหลายวิธี ยกตัวอยางเชน มาตรการของ IPCC (Intergovermental Panel on Climate Change) ซ่งึ ประมาณ 1บทท่ี การณเ อาไวว า การรกั ษาระดบั ความหนาแนน ของกา ซเรอื นกระจกในบรรยากาศใหอ ยใู นระดบั เดยี วกบั ปจ จบุ นั จะตอ งลดการปลดปลอ ยกา ซเรอื นกระจกจากการกระทาํ ของมนษุ ยใ หต า่ํ ลง จากเดมิ 6% และไดเสนอมาตรการตางๆ ดงั น้ี 1. สงเสริมการสงวนและการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพสูงสุดดังจะยกตัวอยาง ในบานเมืองของเราก็เชน การใชเ ครื่องไฟฟาท่มี ีสลากประหยัดไฟ หรือการเลอื กใชห ลอด ฟลูออเรสเซนต ชนดิ หลอดผอมเปน ตน 2. หามาตรการในการลดปรมิ าณคารบอนไดออกไซด เชน กาํ หนดนโยบายผทู ําให เกดิ มลพษิ ตอ งเปน ผรู บั ผดิ ชอบคา ใชจ า ยในการบาํ บดั ในบางประเทศมกี ารกาํ หนดใหม กี าร เก็บภาษีผูท่ีทําใหเกิดกาซคารบอนไดออกไซดใหมากข้ึน ท้ังน้ีจะสงผลตอการประหยัด พลังงานของประเทศทางออ มดว ย 3. เลิกการผลติ และการใชคลอโรฟลอู อโรคารบอน (CFCs) รวมท้งั คน หาสารอนื่ มา ทดแทนคลอโรฟลอู อโรคารบ อน ในบางประเทศกาํ หนดใหใ ชไ ฮโดรฟลอู อโรคารบ อน(HFCs) แทน สาํ หรับประเทศไทยของเรามกี ารสงเสรมิ การสรางคานิยมในการใชส เปรย และอุปกรณ ท่อี ยใู นประเภทท่ปี ราศจากคลอโรฟลอู อโรคารบ อน (Non-CFCs) เปนตน 4. หนั มาใชเ ชอื้ เพลงิ ทก่ี อ ใหเ กดิ คารบ อนไดออกไซดใ นปรมิ าณทนี่ อ ยกวา เมอ่ื เทยี บ กบั คา พลังงานที่ได เชน การกอสรางโครงการรถไฟฟาของกรงุ เทพมหานครจะชวยลดการ ใชน ้าํ มันเช้ือเพลิงจากการขนสง มวลชนในแตล ะวนั ไดอ ยางดแี ละประสิทธภิ าพท่ีสุด 5. สนบั สนุนการวจิ ัยเก่ยี วกบั แหลง พลงั งานทดแทนอน่ื ๆ เชน พลงั งานแสงอาทิตย และพลงั งานนวิ เคลยี รใ หเ กดิ เปน รปู ธรรมและไดร บั ความเชอ่ื มน่ั จากประชาชนวา จะไมก อ ให เกิดมหนั ตภยั มวลมนุษยชาติดังท่เี กดิ ขึ้นในเชอรโ นบิวล 6. หยดุ ยงั้ การทาํ ลายปา ไมแ ละสนบั สนนุ การปลกู ปา ทดแทน สาํ หรบั ในประเทศไทย การรณรงคในเรอ่ื งการปลกู ปาเฉลิมพระเกียรตินบั เปน โครงการทนี่ าสนับสนนุ อยางมาก


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook