Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน

สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน

Published by ห้องสมุดประชาชน, 2020-06-09 01:14:35

Description: สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน

Search

Read the Text Version

สอนเข้ม เพ่อื ศษิ ยข์ าดแคลน

สอนเขม้ เพือ่ ศษิ ยข์ าดแคลน ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของส�ำนกั หอสมุดแห่งชาติ วจิ ารณ์ พานชิ . สอนเขม้ เพ่ือศษิ ยข์ าดแคลน.-- กรงุ เทพฯ : มูลนธิ สิ ยามกัมมาจล, 2562. 304 หน้า. 1. การสอน. I. วิมลศรี ศษุ ลิ วรณ์, ผู้แต่งรว่ ม. II. ชอ่ื เร่อื ง. 371.102 ISBN 978-616-8000-31-1 ผูแ้ ต่ง วจิ ารณ์ พานิช, วมิ ลศรี ศุษลิ วรณ์ ภาพดอกเขม็ เดก็ หญิงฐณนัน กิจทวีสิน ภาพปกหนา้ เดก็ หญงิ ชนนั ธร ทพิ ยรกลุ เดก็ หญงิ ชนกชนม์ ปยิ ะวฒั นกลุ เด็กชายชลวชิ ช์ ม่วงนลิ ภาพปกหลัง เด็กหญงิ พราว บุญวิภาส เดก็ ชายพีรเมธ สุทธเิ รืองวงศ์ ภาพหน้าเปดิ ภาค เดก็ ชายเจษฎาพทั ธ์ เผือ่ นด้วง เด็กหญงิ ปวริศา มรุ ธาทิพย์ เด็กหญิงนภัสสรณ์ ทองตัน บรรณาธกิ ารศิลปกรรม วิมลศรี ศษุ ิลวรณ์ พสิ ูจนอ์ ักษร วมิ ลศรี ศุษิลวรณ์ พมิ พ์คร้งั แรก พฤศจิกายน ๒๕๖๒ จำ� นวนพมิ พ ์ ๕,๕๐๐ เลม่ ออกแบบและพมิ พ์ บริษัท ภาพพิมพ์ จ�ำกัด จดั พมิ พ์และเผยแพร่ มูลนธิ ิสยามกัมมาจล ส�ำนกั งานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ� กดั (มหาชน) อาคารพลาซา่ อีสต์ ๑๙ ถนนรชั ดาภเิ ษก แขวงจตุจกั ร เขตจตจุ กั ร กรงุ เทพฯ ๑๐๙๐๐ www.scbf.or.th ร่วมกบั กองทนุ เพ่ือความเสมอภาคทางการศกึ ษา ๓๘๘ อาคารเอส.พี. ชนั้ ๑๓ ถนนพหลโยธนิ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ www.eef.or.th และ กองทุนจติ ตปญั ญาเพอ่ื ครเู พลนิ พฒั นา ๓๓/๓๙-๔๐ ถ.สวนผกั แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ www.plearnpattana.ac.th

เร่อื งจากปก ในชว่ั โมงศลิ ปะนกั เรยี นชนั้ ๕ วาดภาพตามจนิ ตนาการขึน้ มาจากสสี ันของดอกไม้ ใบไม้ และผลไม้นานา ด้วยปลายนิว้ และฝ่ามอื ของต้นนำ้� ออม และแอนฟลิ ด์ ท่รี ว่ มท�ำงานศลิ ปะชิน้ เดยี วกัน จงั หวะของหัวใจและความคิดทหี่ ลอมรวมกันเป็นหนึง่ ถ่ายทอดออกมาเปน็ ความงามของเสน้ และสีท่สี วยเดน่ ผลงานช้นิ นจ้ี งึ มีเสน่ห์ดงึ ดูดตา ชอื่ ผลงาน “จนั ทรผ์ ู้บดบังอาทิตย์” เม่ือฟังดอู ยา่ งผวิ เผนิ ช่ือนแี้ สดงถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไมเ่ กิดขึน้ บอ่ ยคร้ังนัก แต่เม่อื ลองคดิ ค�ำนงึ ให้ลกึ ซง้ึ แล้ว ทง้ั ผลงานการวาดภาพและผลงานการตงั้ ช่ือ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ จติ ใจท่ีมีความกลา้ ฝัน



ร้กู ารรอคอยจังหวะเวลา ในการทำ� สงิ่ ที่เกดิ ขนึ้ ได้ยากใหบ้ รรลุผลสำ� เรจ็ แม้วา่ จะมีโอกาสอยเู่ พียงน้อยนิด ภาพนจ้ี งึ มพี ลงั ของความฮกึ เหิมและหา้ วหาญซ่ึงสะท้อนออกมา ดว้ ยความฉบั พลันทันทขี องเสน้ สแี ละลลี าทปี่ รากฏ เม่ือน�ำเอา “จันทรผ์ ้บู ดบังอาทติ ย”์ เคลอ่ื นไหวไปในทศิ ทางใหม่ กรอบกระจกท่ใี หค้ วามเรืองรองของปัญญาจึงเกดิ ข้ึนมา ดว้ ยอ�ำนาจของการให้ผลสะทอ้ น ........................

ค�ำนำ� มูลนธิ สิ ยามกัมมาจล หนังสือ สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นการตีความจากหนังสือ Poor Students, Rich Teaching : Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty (Revised Edition, 2019) เขียนโดย Eric Jensen เม่ือดิฉนั ได้อ่านหนังสอื เลม่ น้จี บลงแลว้ ร้สู ึกวา่ หนังสือเล่มนี้เป็นภาคต่อของหนังสือ การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร ซ่ึง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้เขียน บนั ทกึ ไวเ้ ช่นกัน และมูลนธิ สิ ยามกัมมาจล ได้จดั พมิ พค์ รัง้ ท่ี ๑ เมอ่ื ปี ๒๕๕๖ พิมพ์คร้งั ที่ ๒ เมือ่ ปี ๒๕๕๗ และอยรู่ ะหวา่ งจดั พมิ พใ์ นครง้ั ท่ี ๓ ในขณะนี้ ซง่ึ แสดงใหเ้ หน็ วา่ หนงั สอื เลม่ นไี้ ดร้ บั การตอบรบั จากผู้อ่านเป็นจ�ำนวนมาก เน่ืองจากหนังสือได้สรุปประเด็นส�ำคัญให้ครูผู้สอนเข้าใจการเรียนรู้ของ ผู้เรียนเกิดข้ึนได้ด้วยเง่ือนไข ๗ ประการ ประการแรกคือ พื้นความรู้เดิมของนักเรียนมีผลต่อ การเรยี นรู้ ๒. วธิ ที น่ี กั เรยี นจดั ระเบยี บโครงสรา้ งความรขู้ องตนมผี ลตอ่ การเรยี นรู้ ๓. การเรยี นรตู้ อ้ ง มีปัจจัยการจูงใจ (motivation) ๔. นักเรียนสามารถพัฒนาจนถึงขั้นรู้จริง (อย่างลึกซึ้งได้) ด้วย การลงมอื ทำ� ประยกุ ตใ์ ชท้ กั ษะและความรู้ ๕. การลงมอื ทำ� และการปอ้ นกลบั (feedback) สง่ เสรมิ ให้ เกดิ การเรยี นรทู้ ท่ี ำ� ใหม้ คี ณุ ภาพ ๖. การพฒั นานกั เรยี นและบรรยากาศในชน้ั เรยี นมผี ลตอ่ การเรยี นรู้ และประการสุดท้าย นักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองได้ ทั้ง ๗ ประการข้างต้น เป็น ปจั จยั สำ� คญั ใน “การสรา้ งการเรยี นรใู้ หเ้ กดิ ขนึ้ ” และเมอื่ ไดอ้ า่ นหนงั สอื สอนเขม้ เพอ่ื ศษิ ยข์ าดแคลน จึงเกิดความรูส้ กึ วา่ ได้อ่านภาคตอ่ ของหนงั สอื การเรยี นรเู้ กิดขน้ึ อยา่ งไร นน่ั เอง หนังสือ สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน เล่มน้ี ได้เสนอแนวทางการท�ำงานของครูท่ีมีพ้ืนฐาน จากความเข้าใจว่าการเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นได้อย่างไร มาช่วยให้ผู้เรียนทุกคนไปสู่ความส�ำเร็จ ของการเรียนรู้ได้ทุกคน หนังสือเล่มน้ี ได้ช้ีให้เห็นบทบาทของครูผู้สอน วิธีการ และได้เสนอแนะ เคร่ืองมือต่างๆ ให้คุณครู ได้มีโอกาสไปทดลองใช้แต่จะส�ำเร็จหรือไม่ข้ึนอยู่กับคุณครู อาจารย์หมอ วจิ ารณ์ พานชิ ไดเ้ กรนิ่ ไวใ้ นตอนตน้ ของหนงั สอื เลม่ นแี้ ลว้ วา่ เปน็ แนวทางการทำ� งานของ “ครเู พอื่ ศษิ ย”์ หมายความว่าวิธีการหรือแนวทางท่ีได้เสนอไว้ในหนังสือเล่มนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเม่ือครูมีใจ มีความ ปรารถนาอยา่ งแรงกลา้ ทจี่ ะใชบ้ ทบาทหนา้ ทข่ี องตนในการสง่ เสรมิ ใหศ้ ษิ ยบ์ รรลเุ ปา้ หมายในการเรยี นรู้ คือเป็นผู้รู้จริง และมีทักษะน�ำความรู้น้ันไปใช้สร้างความส�ำเร็จได้ ปัจจัยในเรื่องของตัวครูในเร่ืองน้ี ดิฉันเห็นว่าเป็นความส�ำคัญที่ครูต้องมีก่อน จึงจะไปสู่ปัจจัยอื่นๆ ที่หนังสือเล่มน้ี ได้เสนอแนวทาง ซึง่ ดฉิ นั ของสรุปว่า มสี ามเร่ืองสำ� คญั นำ� ไปสู่ความสำ� เรจ็ ของครู เร่ืองแรกคือ ครูเปล่ียนวิธีคิด เปลี่ยนมุมมองว่าเด็กทุกคนพัฒนาได้ สอง เปลี่ยนวิธีมองเด็ก เพื่อเปลี่ยนระบบความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กให้เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อมนุษย์ และสาม เปลี่ยนให้ห้องเรียนมีสภาพบรรยากาศที่เกิดจากวัฒนธรรมเพ่ือการเรียนรู้แบบใหม่ ท้ังสามส่วน คือหัวใจเดินเร่อื งทง้ั ๗ ภาค ท่มี อี ยู่ในหนงั สือเลม่ น้ี

ดฉิ นั ไดย้ อ้ นคดิ ไปถงึ คณุ ครคู นหนง่ึ คอื คณุ ครศู ริ ลิ กั ษณ์ ชมภคู ำ� แหง่ โรงเรยี นบา้ นหนิ ลาด จงั หวดั มหาสารคาม ท่ีมูลนิธิสยามกัมมาจลได้เคยตามไปดูวิธีการสอนให้เด็กท่ีอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เมอ่ื หลายปที แี่ ลว้ ดว้ ยวธิ กี ารทหี่ นงั สอื เลม่ นไ้ี ดแ้ นะนำ� ไวค้ อื “ใหเ้ ดก็ สอนเดก็ ” ครตู อ้ งสอนเดก็ ทเ่ี ขา้ ใจ เร็วและให้เด็กที่เข้าใจเร็ว ไปสอนเด็กที่อ่อน ซึ่งคุณครูศิริลักษณ์ ได้ใช้เวลาช่วงพักเที่ยงในการที่จะ สอนเด็กเก่งให้เป็น “ผู้ช่วยสอนภาษาไทย” เพื่อช่วยครูสอนเพ่ือนท่ีเรียนอ่อนแก้ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ในวิชาภาษาไทย ผลลัพธ์ท่ีเกิดขึ้นเป็นไปตามที่ข้อสังเกตของหนังสือเล่มนี้คือ เด็กจะมีภาษาที่ใช้ส่ือสารกันเองที่ดี กวา่ ครู มวี ธิ กี ารทส่ี อนเพอื่ นไดด้ กี วา่ ครู และทสี่ ำ� คญั ทไ่ี ดม้ ากกวา่ ภาษาไทยคอื เดก็ ไดม้ คี วามสมั พนั ธ์ ที่ดีต่อกัน ความสัมพันธ์ที่ดีที่เริ่มจากวิชาภาษาไทยที่ช่วยท�ำให้เด็กเก่งท่ีเก่งทุกวิชาได้ใช้ความเก่งใน วชิ าอน่ื ๆ อาทิ วชิ าคณติ ศาสตร์ วชิ าภาษาองั กฤษในการสอนเพอ่ื นไดเ้ ชน่ เดยี วกบั วชิ าภาษาไทย ตกลง วา่ คนู่ ไี้ ดก้ ลายเปน็ คบู่ ดั ดก้ี นั และพากนั เรยี นทกุ วชิ า พากนั ดงึ ผลการเรยี นขนึ้ มาใหด้ ขี นึ้ กวา่ เดมิ ตรงนี้ ถอื เปน็ ความส�ำเรจ็ ของคณุ ครศู ิรลิ กั ษณ์ ซึง่ ดิฉันอยากเพิม่ เติมใหเ้ หน็ ภาพว่า ครเู พอ่ื ศิษยท์ ่ีท�ำส�ำเร็จ เม่ือนำ� แนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ไปจับก็จะทำ� ให้เข้าใจมากขึ้นว่าท่านทั้งหลายสร้างความสำ� เร็จได้จาก ปัจจยั อะไร และเราจะนำ� ไปปรบั ใชไ้ ดอ้ ย่างไร ตอ้ งขอขอบคณุ คณุ ครใู หม่ (ครวู มิ ลศรี ศษุ ลิ วรณ)์ โรงเรยี นเพลนิ พฒั นา ทนี่ ำ� ตวั อยา่ งการทำ� งาน ของครูหลายท่านมาเขียนเพ่ิมเติมให้เห็นรูปธรรม การที่คุณครูใหม่น�ำตัวอย่างของครูผู้ปฏิบัติท่ีมี หลากหลายเร่ืองสอดคล้องกับเน้ือหาในหนังสือในหลายๆ บท ช่วยท�ำให้ผู้อ่านมีความกระจ่างและ สามารถคิดตอ่ ไปได้อกี มากเลยทเี ดยี ว นอกจากครเู พอ่ื ศษิ ยจ์ ะไดแ้ นวทางไปใชใ้ นการจดั สภาวะการเรยี นการสอนใหม้ คี ณุ ภาพมากขนึ้ แลว้ ในฐานะ “หัวหน้างาน” ท่ตี ้องมีบทบาทในการเป็นโค้ชให้กบั ทมี งานของมูลนธิ ิ ดฉิ ันเหน็ วา่ แนวทางที่ ครใู ชใ้ นการยกระดบั การเรยี นรจู้ ากศษิ ย์ สามารถใชไ้ ดใ้ นทท่ี ำ� งาน โดยเฉพาะบทบาทของโคช้ ในการ ยกระดบั การเรยี นรขู้ องทมี งานในองคก์ รทแ่ี สวงหาคณุ ภาพ ดว้ ยความเชอื่ แบบ learning organization วิธี empower และสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภายในห้องเรียนของครูเพ่ือศิษย์ในหนังสือเล่มน้ี ยงั สามารถเปน็ แนวทางใหโ้ คช้ นำ� ไปใชเ้ พอ่ื สรา้ งบรรยากาศในการสนบั สนนุ การเรยี นรขู้ องคนในองคก์ ร เพือ่ ยกระดับคณุ ภาพคนและงานไปดว้ ยกันไดเ้ ชน่ เดยี วกนั ดิฉันคิดว่าผู้ท่ีท�ำงานและมีบทบาทเป็นโค้ชอยู่ในทุกองค์กรอ่านแล้วจะสามารถท่ีจะน�ำแนวคิด แนวทางไปปรับใช้ในงานของตนเองได้ หนังสือเล่มน้ี จึงไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะในวงการศึกษา แต่ยัง สามารถนำ� ไปใช้ในทกุ วงการเพ่อื ที่จะสรา้ งโคช้ ใหเ้ กดิ ขึ้นในทท่ี �ำงานทุกแห่งเพ่อื ใหพ้ นกั งานในองคก์ ร ทกุ ภาคส่วนพฒั นาสมรรถนะด้วยการมีความสามารถใน“การเรยี นรตู้ ลอดชวี ิต”ได้ มลู นธิ สิ ยามกมั มาจลมคี วามภมู ใิ จทไี่ ดร้ ว่ มมอื กบั กองทนุ เพอ่ื ความเสมอภาคทางการศกึ ษา(กสศ.) ในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ดิฉันเชื่อว่าจะเป็นหนังสืออีกเล่มที่ไม่ใช่แค่วงการศึกษาจะกล่าวขวัญถึง แต่เป็นหนังสือท่ีผู้แสวงหาการเรียนรู้ท้ังหลายจะกล่าวถึงว่าเป็นเสมือนแผนท่ีน�ำทางของครูเพื่อศิษย์ และโค้ชทงั้ หลาย



ค�ำน�ำกองทนุ เพอ่ื ความเสมอภาค ทางการศึกษา ประเทศไทยเรามปี ระชากรวยั เรยี นทม่ี ฐี านะยากจนราว ๒ ลา้ นคน การศกึ ษาทมี่ คี ณุ ภาพจดั เปน็ ทางออกของประเทศในการลดช่องว่างความเหล่ือมล�้ำที่กลายเป็นปัญหาส�ำคัญล�ำดับต้นของชาติ ในปจั จบุ นั และก�ำลังมีแนวโน้มจะทวคี วามรนุ แรงยิ่งขึ้น ฐานะทางเศรษฐกจิ ของครอบครัวมีผลลบตอ่ การเรียนรขู้ องเดก็ เยาวชน สง่ ผลใหค้ รูจดั การเรยี นการสอนด้วยความยากลำ� บากยงิ่ ข้นึ กว่าการสอน นักเรียนท่ัวไป หนังสือ สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน (Poor Students, Rich Teaching) ได้ให้ ความม่ันใจแก่ครูว่าครูสามารถท่ีจะบรรเทา ลบล้างผลลบจากปัจจัยความยากจนของนักเรียน หรือ แม้แตใ่ ชป้ ระสบการณค์ วามยากล�ำบากทน่ี กั เรียนประสบมาเป็นประโยชน์ตอ่ การเรียนรู้ หนังสือให้แนวทางปฏิบัติในรายละเอียดไว้ส�ำหรับหลายๆ กรณี แต่ล้วนเร่ิมต้นได้ก็ต่อเมื่อครู ปรบั เปลย่ี นกระบวนทศั น์ (ชดุ ความคดิ ) รวมถงึ ถา่ ยทอดกระบวนทศั นใ์ หมไ่ ปสนู่ กั เรยี นและชน้ั เรยี น เนอ้ื หาหนงั สอื สว่ นใหญถ่ า่ ยทอดผา่ นกรอบความคดิ ทตี่ งั้ อยบู่ นกระบวนทศั น์ ๗ ประการ ซง่ึ ตง้ั อยบู่ น ความเชื่อม่ันศรัทธาว่าแม้ต้องเผชิญกับอุปสรรคความยากจนแต่นักเรียนก็สามารถเรียนรู้ด้วยการ ไมย่ อมจำ� นน ขบั ดนั ดว้ ยความกระหายใครร่ ู้ และมอี นาคตชวี ติ ทป่ี ระสบความสำ� เรจ็ หนงั สอื ไดแ้ สดง ถึงวิธีปฏิบัติที่ครูสามารถน�ำมาใช้ได้กับช้ันเรียน โดยเฉพาะปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนกลุ่มขาดแคลน แตล่ ะบทมคี วามยาวไมม่ ากชว่ ยใหอ้ า่ นงา่ ยและเพลดิ เพลนิ นอกจากครแู ลว้ ผบู้ รหิ ารโรงเรยี นสามารถ ใชใ้ นการจดั ระบบสง่ เสรมิ ตลอดจนสรา้ งวฒั นธรรมของโรงเรยี นและชนั้ เรยี นอกี ดว้ ย (ทราบวา่ มบี าง โรงเรยี นในตา่ งประเทศทผี่ บู้ รหิ ารซอื้ หนงั สอื แจกใหค้ รทู งั้ โรงเรยี นอา่ นเพอ่ื รว่ มกนั พฒั นาทงั้ โรงเรยี น) หนังสือเล่มน้ีส่วนหนึ่งแปลมาจากหนังสือขายดี ผู้เขียนคือ ดร.อีริค เจนเซน ครูและนักวิจัย ท่ีเรียกได้ว่าผู้เช่ียวชาญด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์สมอง ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ในบริบทของ ชั้นเรียนไทย คือ คุณครูวิมลศรี ศุษิลวรณ์ ซ่ึงเป็นครูรุ่นใหม่ท่ีมีผลงานพัฒนาการเรียนการสอนท่ี โรงเรียนเพลินพัฒนาและโครงการวิจัยพัฒนาต่างๆ หนังสือฉบับภาษาไทยน้ียังมีบทสังเคราะห์ของ นกั การศกึ ษาไทยคอื ศ.วจิ ารณ์ พานชิ ทเ่ี ปน็ ทา่ นหนง่ึ ซงึ่ ทมุ่ เทอา่ นตคี วามและใหค้ ำ� แนะในการใชป้ ระโยชน์ รวมถงึ ได้มกี ารทดลองปฏิบตั ิในโรงเรียนไทยจนเห็นผลดแี ล้วอกี ดว้ ย



ค�ำนำ� ของผ้เู ขยี น ยง่ิ อา่ นตน้ ฉบบั และเขยี นตคี วามหนงั สอื Poor Students, Rich Teaching : Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty (2019) เขยี นโดย Eric Jensen ผมกย็ งิ่ ตระหนกั วา่ หนงั สอื เล่มน้ี สื่อเร่ืองราวในห้องเรียน ในโรงเรียน และส่ือชุดความคิดของคนในวงการศึกษาที่ผิดพลาด มานานในวงการศกึ ษาไทย อยา่ งนอ้ ยก็ ๗๐ ปี ตงั้ แตต่ อนทผี่ มเปน็ เดก็ หนงั สอื เลม่ นจี้ งึ นา่ จะจดั เปน็ เครอ่ื งมอื เปลย่ี นชดุ ความคดิ หรอื เปลย่ี นกระบวนทศั นท์ างการศกึ ษาในลกั ษณะของการเปลย่ี นระดบั รากฐานที่เรยี กวา่ transformation โดยอาจเรียกวา่ educational practice transformation สาระในหนังสือ สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน เล่มนี้ไม่ใช่แค่มีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา แกน่ กั เรยี นจากครอบครวั ยากจนขาดแคลนเทา่ นนั้ ชดุ ความคดิ และวธิ กี ารในหนงั สอื เลม่ นี้ นา่ จะตอ้ งนำ� มาใชใ้ นโรงเรยี นทกุ โรงเรยี นแกน่ กั เรยี นทกุ คน และใชใ้ นการบรหิ ารระบบการศกึ ษาของประเทศดว้ ย โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในการจดั การปฏริ ูปการศกึ ษา หนังสือเล่มน้ีจึงน่าจะเป็นต�ำรามาตรฐานส�ำหรับใช้ในการผลิตครูและการพัฒนาครูประจ�ำการ เพ่ือสร้างชุดความคิดท่ีถูกต้องและทรงคุณค่าในการธ�ำรงศักดิ์ศรีครู รวมท้ังเพ่ือสร้างทักษะที่ลุ่มลึก (แต่ปฏิบัติได้ง่าย) ในการท�ำหน้าท่ีครูอย่างมีความสุข มีความท้าทายและมีความส�ำเร็จในชีวิตการ เปน็ ครู ครทู ฝี่ กึ ปฏบิ ตั ติ ามหนงั สอื เลม่ นจี้ ะเปน็ “ครนู กั เรยี นร”ู้ ทเ่ี ยยี่ มยอด ผมทำ� นายวา่ หากครทู า่ นใด ปฏบิ ตั อิ ยา่ งมงุ่ มนั่ ตอ่ เนอ่ื งไปสกั สองสามปี ทา่ นจะไดส้ มั ผสั การเรยี นรสู้ กู่ ารเปลย่ี นแปลง (transformative learning) ดว้ ยตวั ทา่ นเอง เกดิ การเปลยี่ นแปลงทที่ รงคณุ คา่ ในตนเอง ทง้ั ทเี่ ปน็ คณุ คา่ ตอ่ ชวี ติ สว่ นตวั และต่อชวี ติ ความเป็นครู ท่านจะเปน็ คนท่มี ีจติ ใจละเมียดละไม มที ักษะหลากหลายดา้ นท่เี ป็นทักษะ แหง่ ชวี ติ ทด่ี ี เปน็ ครทู ม่ี ผี ลงานดเี ดน่ และทส่ี ำ� คญั ยง่ิ มผี ลงานเดน่ โดยทท่ี ำ� งานไดง้ า่ ยขน้ึ ใชเ้ วลานอ้ ยลง ชุดความคิดและวิธีการที่เสนอในหนังสือเล่มนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการประยุกต์วิธีปลุกสมองให้ พรอ้ มเรยี น ควบคไู่ ปกบั การเรยี นซง่ึ นกั เรยี นทกุ คนจะไดร้ บั การปลกุ ไมว่ า่ จะเปน็ นกั เรยี นทขี่ าดแคลน หรอื ไมก่ ต็ าม ผมจงึ เชอ่ื วา่ นกั เรยี นทกุ คนจะไดร้ บั ประโยชนจ์ ากครทู ด่ี ำ� เนนิ การตามทแี่ นะนำ� ในหนงั สอื เลม่ นี้ หากได้ฝกึ วธิ ตี ั้งค�ำถามสำ� คัญๆ ในการทำ� หนา้ ที่ครู และจัดระบบเกบ็ ขอ้ มูลเพอ่ื ตอบค�ำถามอยา่ ง เปน็ ระบบ นำ� มาวเิ คราะหเ์ พอื่ ตอบคำ� ถามอยา่ งเปน็ วชิ าการ ครจู ะมผี ลงานวจิ ยั หอ้ งเรยี น (classroom research) หรือท่ีเรยี กวา่ ผลงาน R2R (Routine to Research) ของครอู ย่างน้อยปีละชิน้ หรอื อาจ

ปีละหลายชิ้น เช่ือมโยงสู่ชุดความคิดท่ี ๘ (ผมคิดข้ึนเอง) คือชุดความคิดว่าด้วยครูเป็นนักสร้าง ความรใู้ นการทำ� หนา้ ทคี่ รู (Knowledge Creation Mindset) ยง่ิ จะเปน็ การสรา้ งศกั ดศ์ิ รขี องวชิ าชพี ครู และเปน็ การสร้างมิติใหม่ของวงการศกึ ษาไทย ผมมีความเชื่อว่า คนในทุกวิชาชีพท่ีมีคุณค่าสูง มีศักดิ์ศรีสูง ต้องมีกระบวนทัศน์ท่ีถูกต้องใน การทำ� งาน และกระบวนทศั นท์ ส่ี งู สง่ และมคี ณุ คา่ ทสี่ ดุ คอื การทำ� เพอ่ื ประโยชนข์ องผอู้ นื่ และประโยชน์ สว่ นรวมดงั ระบใุ นหนงั สอื เลม่ นี้ ทปี่ ระโยชนต์ อ่ สว่ นรวมหรอื สงั คมไทยคอื ชว่ ยสรา้ งพลเมอื งคณุ ภาพสงู ใหแ้ กบ่ า้ นเมอื งซงึ่ หากมองมมุ กลบั ในขณะนี้ การศกึ ษาไทยกำ� ลงั สรา้ งพลเมอื งคณุ ภาพตาํ่ จำ� นวนมาก เพราะครูขาดชุดความคิดและเครื่องมือในการเปลี่ยนสภาพ ศิษย์ขาดแคลน ให้เป็น ศิษย์ท่ีมีสมอง พรอ้ มเรยี น และประสบความส�ำเรจ็ ในการเรียนสกู่ ารมีอาชพี หรอื สกู่ ารเรียนตอ่ สำ� หรบั นกั วชิ าการดา้ นการศกึ ษา หนงั สอื เลม่ นเี้ ปน็ โจทยอ์ ยา่ งดสี ำ� หรบั การทำ� งานวจิ ยั ปฏบิ ตั กิ าร ในบรบิ ทของการศกึ ษาไทย วา่ เราจะชว่ ยกนั เปลย่ี นสมองของนกั เรยี นขาดแคลนใหเ้ ปน็ “สมองทพี่ รอ้ ม เรียน” ได้อย่างไรบ้าง ผมเชื่อว่า นักเรียนขาดแคลนจ�ำนวนไม่น้อยมีอัจฉริยภาพบางด้านแฝงอยู่ หากได้รับความเอาใจใส่และส่งเสริม สังคมไทยจะมีพลเมืองที่มีความสามารถพิเศษบางด้านเพ่ิมข้ึน จากท่ีครูมีฉันทะและทักษะในการด�ำเนินการให้นักเรียนขาดแคลนบางคน กลายเป็นนักเรียนท่ีมี ความสามารถพเิ ศษ และทสี่ ำ� คญั กวา่ นนั้ คอื สง่ ผลใหน้ กั เรยี นขาดแคลนทกุ คนไดย้ กระดบั ผลลพั ธก์ าร เรยี นรู้ สกู่ ารเติบโตเป็นพลเมอื งคุณภาพสงู โดยสรุปหนังสอื สอนเข้ม เพือ่ ศษิ ยข์ าดแคลน เลม่ น้ี เสนอวิธพี ลกิ “ความขาดแคลนของศษิ ย”์ ให้เป็น “ขุมทรัพย์ของครู” ด้วยกระบวนทัศน์หรือชุดความคิดท่ีส�ำคัญ ๗ ประการ ที่จะเป็นต้นทาง สู่การจัดการเรียนรู้ท่ีดี คือ (๑) ชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์กับศิษย์ (relational mindset) (๒) ชดุ ความคดิ วา่ ดว้ ยความสำ� เรจ็ ของศษิ ย์ (achievement mindset) (๓) ชดุ ความคดิ บวก (positivity mindset) (๔) ชุดความคิดห้องเรียนที่มีบรรยากาศเรียนเข้ม (rich classroom climate mindset) (๕) ชดุ ความคดิ หนนุ ศกั ยภาพของนกั เรยี น (enrichment mindset) (๖) ชดุ ความคดิ วา่ ดว้ ยการสรา้ ง ความเอาใจใสข่ องนกั เรยี น (engagement mindset) และ (๗) ชดุ ความคดิ มีเปา้ หมายเพื่อใหศ้ ษิ ย์ เรยี นจบ (graduation mindset) ไม่วา่ ศิษยจ์ ะขาดแคลนเพยี งใด ครตู อ้ งมงุ่ ม่นั ด�ำเนนิ การใหศ้ ิษย์ได้ รบั ผลตามเปา้ หมายหลกั ทง้ั ๗ ตามดว้ ยชดุ ความคดิ ท่ี ๘ ครเู ปน็ นกั สรา้ งความรจู้ ากการทำ� หนา้ ทคี่ รู (knowledge creation mindset) ทผ่ี มเสนอเพ่มิ ไม่มีในหนงั สอื Poor Students, Rich Teaching สาระในหนงั สอื เลม่ นมี้ ี ๒ สว่ น คอื สว่ นทผี่ มตคี วามจากหนงั สอื Poor Students, Rich Teaching กบั สว่ นเร่อื งเลา่ จากหอ้ งเรียน ท่ีได้จากครูโรงเรยี นเพลินพัฒนาและโรงเรียนบา้ นไรส่ ามคั คี นำ� สาระ ในต้นฉบับไปตีความทดลองใช้ในห้องเรียนท่ีตนสอน แล้วสะท้อนคิดเล่าเรื่องส่งให้ครูใหม่ (วิมลศรี ศุษิลวรณ์) แหง่ โรงเรียนเพลนิ พัฒนาจัดการปรบั ปรงุ เป็นเรือ่ งเลา่ จากห้องเรียน

เชน่ เดยี วกบั หนงั สอื เลม่ อน่ื ๆ กอ่ นหนา้ นี้ สาระในหนงั สอื สอนเขม้ เพอื่ ศษิ ยข์ าดแคลน ไมไ่ ดแ้ ปล มาโดยตรง และไมไ่ ดต้ คี วามอยา่ งเครง่ ครดั มกี ารเพม่ิ เตมิ ขอ้ คดิ เหน็ และขอ้ ถกเถยี งของผมเขา้ ไปดว้ ย ท่านผอู้ ่านจงึ พงึ อา่ นโดยใชว้ ิจารณญาณ ผมขอขอบคณุ คณุ ครทู กุ ทา่ นทไี่ ดม้ สี ว่ นรว่ มดว้ ยชว่ ยกนั จดั ทำ� หนงั สอื ทม่ี คี ณุ คา่ ยงิ่ ตอ่ วงการศกึ ษา ไทยเล่มน้ี ขอบคุณครูใหม่ ที่ด�ำเนินการน�ำต้นฉบับไปให้ครูโรงเรียนเพลินพัฒนาทดลองใช้ และท�ำ หนา้ ทจ่ี ดั การสว่ นเรอื่ งเลา่ จากหอ้ งเรยี น และปรบั ปรงุ รปู เลม่ ใหอ้ า่ นงา่ ยสวยงาม ขอบคณุ ดร. ศภุ โชค ปยิ ะสนั ต์ ผอู้ ำ� นวยการโรงเรยี นบา้ นไรส่ ามคั คี ทด่ี ำ� เนนิ การนำ� ตน้ ฉบบั ไปใหค้ รโู รงเรยี นบา้ นไรส่ ามคั คี ทดลองใช้ ขอบคณุ คณุ ปยิ าภรณ์ มณั ฑะจติ ร ผจู้ ดั การมลู นธิ สิ ยามกมั มาจลทด่ี ำ� รใิ หจ้ ดั พมิ พเ์ ผยแพร่ หนังสือเล่มน้ี ขอบคุณคุณธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ แห่งส�ำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทาง การศกึ ษา (กสศ.) และนายแพทยส์ ภุ กร บวั สาย ผจู้ ดั การ กสศ. ทด่ี ำ� เนนิ การให้ กสศ. รว่ มจดั พมิ พ์ เผยแพรห่ นงั สอื เลม่ นี้ ผมเชอ่ื วา่ หากครไู ทยนำ� กระบวนทศั นแ์ ละวธิ กี ารในหนงั สอื สอนเขม้ เพอ่ื ศษิ ย์ ขาดแคลน เลม่ น้ีไปใช้ จะมีผลลดความเหล่ือมล�้ำทางการศึกษาไดอ้ ย่างแน่นอน วจิ ารณ์ พานชิ ๒๒ กนั ยายน ๒๕๖๒ ลอนดอน



ค�ำน�ำของผู้เขียนรว่ ม เน้ือหาของเร่ืองเล่าจากห้องเรียนที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ สอนเข้ม เพ่ือศิษย์ขาดแคลน เล่มน้ี เกิดจากการนำ� ความรูภ้ าคทฤษฎีท่ี ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ สกัดแก่นสาระไว้ไปปฏบิ ัติทดลอง รว่ มกับ การนำ� เอาความรชู้ ดุ นไี้ ปตคี วามผลลพั ธท์ เ่ี กดิ ขนึ้ จากการจดั ประสบการณก์ ารเรยี นการสอนของครใู ห้ กลายเปน็ ความรแู้ จง้ ชดั ซงึ่ ถอื ไดว้ า่ เปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของกระบวนการตดิ ตงั้ “ชดุ ความคดิ วา่ ดว้ ยครเู ปน็ นกั สรา้ งความรู้ในการท�ำหน้าทีค่ รู” (Knowledge Creation Mindset) ใหก้ บั คณุ ครกู ลุ่มหน่ึงที่อาสา นำ� เอาวธิ กี ารทเ่ี สนอแนะไวใ้ นบนั ทกึ ตน้ ฉบบั ของทา่ นอาจารยไ์ ปตคี วามปรบั ใชใ้ นการจดั กจิ กรรมการ เรยี นรใู้ หแ้ กศ่ ษิ ยข์ องตน และสง่ ตอ่ บนั ทกึ เหลา่ นน้ั มาจนกระทง่ั ถงึ มอื ทกุ ทา่ นทหี่ ยบิ หนงั สอื ขน้ึ มาอา่ น อยา่ งใคร่ครวญอยู่ในขณะนี้ นา่ สนใจวา่ ทมี่ าของเรอื่ งเลา่ จากหอ้ งเรยี นของโรงเรยี นเพลนิ พฒั นา ทมี่ อี ยดู่ ว้ ยกนั ทงั้ หมด ๘ เรอ่ื งนน้ั ประสบการณก์ ารจดั การเรยี นรจู้ ำ� นวน ๔ เรอ่ื ง ทป่ี รากฏอยใู่ นบทท่ี ๔ บทที่ ๗ บทที่ ๑๑ และบทท่ี ๑๖ ของหนังสือ ต้ังต้นมาจากการน�ำเอาวิธีการที่น�ำเสนอไว้ไปทดลองปฏิบัติ ซ่ึงเป็นเคร่ืองยืนยันว่า หากครทู ม่ี คี วามมงุ่ มน่ั ในการพฒั นางาน สามารถเขา้ ถงึ ความรทู้ ม่ี ขี นึ้ เพอ่ื ประโยชนข์ องการทำ� งานเชงิ ชนั้ เรยี นอยา่ งแทจ้ รงิ แลว้ ครจู ะสามารถยกระดบั คณุ ภาพงานของตนขน้ึ มาไดถ้ งึ รอ้ ยเปอรเ์ ซน็ ตท์ เี ดยี ว ส่วนเรอื่ งเลา่ จากหอ้ งเรียนท่ีปรากฏอยใู่ นบทที่ ๑๐ บทท่ี ๑๒ บทที่ ๑๙ และบทที่ ๒๔ นั้น เกิดการ ปฏบิ ตั ขิ นึ้ กอ่ นแลว้ จงึ นำ� เอาภาคทฤษฎยี อ้ นกลบั ไปมองดปู ฏบิ ตั กิ ารทเี่ กดิ ขน้ึ วา่ มแี นวคดิ วธิ กี ารอะไรที่ เปน็ เหตใุ หเ้ กดิ ความสำ� เรจ็ นนั้ นบั เปน็ การชว่ ยใหค้ รเู กดิ การยกระดบั ความรคู้ วามเขา้ ใจของตน และ เกดิ ความสามารถในการสร้างความรู้จากหน้างานการทำ� หนา้ ท่คี รขู ้ึนมาได้อีกทางหน่ึง โรงเรยี นเพลนิ พฒั นาคน้ พบจากประสบการณท์ มี่ าจากการปฏบิ ตั วิ า่ เสาหลกั ของการจดั การความรู้ ในภาคการศึกษา ต้องเริ่มต้นข้ึนมาจากการที่สถานศึกษาแต่ละแห่งสร้างไตรยางค์การศึกษาของ ตนข้ึนมาจากวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษา ท่ีมีการระบุถึงเป้าหมายของการสร้างผู้เรียนเอาไว้ อยา่ งชดั เจน แลว้ จงึ อาศยั การจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรทู้ มี่ กี ารรอ้ ยเรยี งอยา่ งเปน็ ลำ� ดบั ขน้ั รว่ มกบั กระบวนการในการประเมนิ ผลเพอื่ ตรวจสอบเปา้ หมายอยตู่ ลอดเวลา มาเปน็ เครอ่ื งมอื ในการหลอ่ หลอม ให้เกิดคุณลักษณะของผู้เรียนท่ีพึงประสงค์ขึ้น ซึ่งหากท�ำได้ดังน้ีความรู้ในการท�ำหน้าท่ีครูจะเป็น ความรู้ท่ีเกิดข้ึนจากประสบการณ์ในการปฏิบัติโดยมีโครงสร้างของไตรยางค์การศึกษาของแต่ละ โรงเรียนเป็นเครื่องก�ำกับทิศ และมีแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษาที่มีความสอดคล้องเหมาะสมกับ เป้าหมายเป็นเคร่ืองเสริมความแข็งแรงควบคู่ไปกับการสร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ด้วยการสร้างครูให้เป็นนักสร้างความรู้ในการท�ำหน้าที่ครู สร้างศิษย์ให้เป็นผู้ท่ีสามารถเรียนรู้ได้ ด้วยตนเอง สร้างชั้นเรียนให้เป็นพ้ืนที่ของการกระจายอ�ำนาจการเรียนรู้ ที่มีท้ังการเรียนรู้และการ สะทอ้ นการเรียนรรู้ ะหว่างกันเกดิ ขนึ้ อยตู่ ลอดเวลา

หนงั สอื สอนเขม้ เพอื่ ศษิ ยข์ าดแคลน เปน็ หนงั สอื ทพ่ี ดู ถงึ เรอื่ งราวทอี่ ยภู่ ายในกน้ บงึ้ ของหวั ใจครู ซึ่งเป็นขุมพลังของการขับเคลื่อนการกระท�ำท้ังหมดของครู ท่ีมากไปกว่าการท�ำหน้าท่ีเป็นเพียง ชุดความคิดที่มีไว้เพ่ือประดับสติปัญญา หากแต่เป็นการหยิบย่ืนอาวุธทางปัญญาท่ีช่วยให้ครูมีวิธี ทำ� ความรจู้ กั กบั ความขาดแคลน และสามารถใชค้ วามขาดแคลนนน้ั เปน็ โอกาสในการสรา้ งการเตบิ โต ใหก้ ับทงั้ ศิษย์และครอู ยา่ งเต็มความสามารถ หนังสือท่ีอยู่ในมือของทุกท่านในขณะนี้จะเกิดข้ึนไม่ได้เลย หากขาด ดร.อีริค เจนเซน ผู้น�ำเอา ความขาดแคลนและอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนมาเปล่ียนแปลงให้เป็นพลังปัญญา และ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ท่ีได้เพียรสร้างต้นร่างของหนังสือเล่มน้ีในภาคภาษาไทยข้ึนมาจากจิตใจ ที่เตม็ เปย่ี มไปด้วยการุณยธรรม บนั ทกึ การตคี วามความรู้ของทา่ นทง้ั ๒๖ บนั ทกึ จึงหลัง่ ไหลออกมา จากพลงั ของกรุณาและฉนั ทะทที่ า่ นมตี อ่ ครเู พอื่ ศษิ ยท์ ั้งหลาย ต่อจากน้ันการนำ� ไปปฏิบัติทดลองในหอ้ งเรยี นจงึ ไดเ้ กดิ ขน้ึ ตามมาดว้ ยความต้ังใจและความวิริยะ อุตสาหะของคุณครูที่มุ่งมั่นอยากจะเห็นการเรียนรู้ที่ดีเกิดขึ้นกับศิษย์ของตน ในการน�ำแนวคิดและ วิธีการท่ีปรากฏอยู่ในบันทึกต้นฉบับภาษาไทยไปทดลองใช้ที่โรงเรียนบ้านไร่สามัคคีซ่ึงเป็นโรงเรียน ทต่ี ง้ั อยใู่ นพน้ื ทห่ี า่ งไกล แสดงใหเ้ หน็ ประจกั ษว์ า่ วธิ กี ารจดั การเรยี นการสอนทแ่ี นะนำ� ไวใ้ นหนงั สอื เลม่ น้ี ส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้�ำทางการศึกษาได้จริง ในขณะที่การทดลองใช้ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ต้ังอยู่ในเมืองหลวงน้ัน ได้แสดงให้เห็นว่าวิธีการจัดการเรียนการสอนท่ีแนะน�ำไว้ ในหนังสือส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ อย่างกว้างขวาง เนื่องจากท้ังกระบวนทัศน์และวิธีการที่เสนอแนะไว้ในหนังสือ สอนเข้ม เพ่ือศิษย์ ขาดแคลน เล่มนี้มุ่งประเด็นส�ำคัญไปที่การปรับเปล่ียนวิธีคิดและวิธีท�ำ โดยน�ำเอาสัมมาทิฏฐิและ อิทธิบาท ๔ มาเป็นเครือ่ งกำ� กับ ดังน้ันจึงเช่ือมั่นได้ว่า การสนับสนุนการจัดพิมพ์ของมูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับกองทุนเพื่อ ความเสมอภาคทางการศกึ ษาในครงั้ นจี้ ะไมส่ ญู เปลา่ ซงึ่ หากปราศทกุ ทา่ นทมี่ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ งกบั หนงั สอื เลม่ นตี้ ามลำ� ดบั เวลาตา่ งๆ แลว้ เหตปุ จั จยั ทงั้ หลายยอ่ มไมอ่ าจสำ� เรจ็ ลลุ ว่ งลงได้ ดฉิ นั ในฐานะผเู้ ขยี น ร่วมและผูจ้ ัดท�ำจงึ ขอนอ้ มคารวะทุกท่านมา ณ ท่ีน้ี วิมลศรี ศุษลิ วรณ์ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๒



สารบัญ ๒ ๓๖บทท่ี หน้า ๑ ๑ ๓๒บทท่ี หน้า ๓บทท่ี relational mindset ๔ ๕๑บทที่ หน้า ๔๒หน้า ชดุ ความคดิ วา่ ด้วยความสมั พนั ธก์ ับศษิ ย์ บทท่ี ๑ บทนำ� บทท่ี ๒ สร้างความสมั พนั ธ์กับศิษย์ เป็นรายคน บทที่ ๓ เช่อื มโยงศิษย์ทุกคนสู่ความสำ� เร็จ บทท่ี ๔ แสดงใหศ้ ษิ ยร์ วู้ า่ ครเู ขา้ ใจ ความรสู้ กึ ของเขา ๕ ๖๖บทท่ี หนา้ ๒ achievement mindset ชุดความคิดว่าด้วยความส�ำเรจ็ ของศษิ ย์ ๗ ๖บทที่ บทที่ ๗๙หน้า ๗๓หน้า บทท่ี ๕ ตงั้ เป้าหมายสงู ลิว่ บทที่ ๖ ใหค้ �ำแนะน�ำปอ้ นกลบั ทท่ี รงพลัง บทท่ี ๗ ธ�ำรงอทิ ธิบาท ๔

๓ positivity mindset ๙ ๑๐๘บทท่ี หน้า ชุดความคดิ วา่ ดว้ ยความคดิ เชิงบวก ๘ ๑๐๒บทท่ี หนา้ ๑๐บทที่ บทท่ี ๘ วทิ ยาการเรียนรบู้ อกขา่ วดี ๑ห๑น้า๕ จากบรรยากาศเชิงบวก บทที่ ๙ กระตนุ้ ความหวงั และ การมองโลกในแงด่ ี ๑๑บทที่ บทท่ี ๑๐ สรา้ งเจตคตเิ ชงิ บวก ๑ห๒น้า๙ บทท่ี ๑๑ เปลย่ี นพน้ื ฐานทางอารมณ์ ๑๓บทท่ี ๑๒ ๑๔๒บทท่ี หน้า ๔ ๑ห๖นา้ ๘ ๑๔ ๑๗๕บทท่ี หน้า rich classroom climate mindset ชุดความคิดว่าด้วยหอ้ งเรยี น ท่มี บี รรยากาศเรียนเขม้ บทท่ี ๑๒ ให้ความส�ำคัญตอ่ วิสยั ทัศน์ และการแสดงออกของนักเรียน บทท่ี ๑๓ กำ� หนดความปลอดภัยเปน็ สภาพปกติของห้องเรียน บทที่ ๑๔ สร้างความเชื่อมน่ั ว่า ตนเรียนส�ำเรจ็ ได้

๕ enrichment mindset ๑๖บทท่ี ๑๕ ๑๘๒บทที่ หน้า ชุดความคิดว่าดว้ ยการหนุน ๑ห๘นา้ ๘ ๑๘ ๒๑๐บทที่ หน้า ๑๗บทท่ี ศกั ยภาพของนักเรียน ๒ห๐น้า๓ บทท่ี ๑๕ ทำ� ความเข้าใจสมองของ นกั เรียนขาดแคลน บทท่ี ๑๖ จดั การตัวถ่วงการเรียนรู้ บทที่ ๑๗ สรา้ งทักษะการคดิ บทท่ี ๑๘ เพิม่ ทกั ษะการเรียนรู้และคลงั คำ� ๑๙ ๒๒๐บทที่ หนา้ ๒๐บทที่ ๖ ๒ห๔น้า๕ engagement mindset ๒๒บทที่ ๒๑ ๒๕๒บทท่ี หนา้ ชดุ ความคดิ ว่าด้วยการสร้าง ๒ห๖นา้ ๐ ความเอาใจใสข่ องนกั เรียน บทท่ี ๑๙ พลงั ของชดุ ความคิดว่าด้วย การสร้างความเอาใจใส่ของ นักเรยี น บทที่ ๒๐ สรา้ งสภาพกายและจติ ทพ่ี ร้อมเรียน บทท่ี ๒๑ สรา้ งการเรียนอย่างเห็นคุณค่า บทที่ ๒๒ สรา้ งความเป็นพวกพ้อง

๒๔ ๒๗๑บทท่ี หนา้ ๒๖บทท่ี ๗ ๒ห๙น้า๑ graduation mindset ๒๓บทที่ ๒๕บทท่ี ชดุ ความคิดเพื่อความสำ� เรจ็ ของนักเรียน ๒ห๖นา้ ๘ ๒ห๘นา้ ๕ บทที่ ๒๓ เพ่อื ศิษย์เรยี นจบ บทที่ ๒๔ หนุนด้วยศิลปศกึ ษา และพลศึกษา บทที่ ๒๕ เตรยี มเข้ามหาวิทยาลยั หรือเขา้ ส่อู าชพี บทท่ี ๒๖ บทสง่ ทา้ ย ๒ภ๙าค๘ผ-๓น๐วก๐ ภาคผนวก ๓๐๒ด-ชั ๓น๐ี ๓ หลกั คดิ และแนวทางการศกึ ษาทสี่ รา้ งเสรมิ ทั้งในส่วนของลักษณะนิสัย และวิชาการ ท่บี ูรณาการไปด้วยกัน ดชั นี ดัชนีขนาดของผล คัดสรรจากงานวิจัย เพอ่ื การ “สอนเข้ม เพื่อศษิ ยข์ าดแคลน”

สารบัญ คลปิ วดี ิทศั น์ผา่ น QR CODE ๑ relational mindset ชุดความคดิ วา่ ดว้ ยความสัมพนั ธก์ บั ศษิ ย์ หนา้ ๕๐ เรื่องเล่าจากหอ้ งเรยี นเชยี งราย ๒ achievement mindset ชุดความคิดวา่ ด้วยความส�ำเรจ็ ของศิษย์ หน้า ๘๖ หมีไต่เขา

ภาคผนวก หนา้ ๒๙๘ หน้า ๒๙๘ หนา้ ๒๙๙ หน้า ๒๙๙ หนา้ ๒๙๙ หนา้ ๓๐๐ หน้า ๓๐๐ หนา้ ๓๐๐



๕ ค�ำถามแรก ...เพอ่ื การส�ำรวจตนเอง... ๑. เม่ือคุณเป็นนักเรียน ครูไหนบ้างที่ท�ำให้คุณท�ำงานหนัก ครูคนไหนบ้างท่ีสร้างแรงจูง ให้คุณตัง้ ใจเรยี น ทำ� งานหนัก และท�ำการบ้านครบ ครูเหล่าน้มี ีคุณสมบัตทิ ด่ี อี ะไรบา้ ง ...คุณจะท�ำในท�ำนองเดยี วกันได้อย่างไร ๒. เมื่อคุณได้รับรู้เรื่องราวของครูท่ีมีผลงานเด่น คุณรู้สึกอย่างไร คุณรู้สึกทึ่งและมี แรงบนั ดาลใจ ...หรอื รสู้ ึกวา่ ถูกคุกคาม และไมส่ นใจความความส�ำเรจ็ น้นั ๓. เมื่อคดิ ถึงวิชาชีพครู คุณรสู้ กึ วา่ ตนเองต้องลุกขน้ึ ทำ� อะไรบางอยา่ งใหส้ �ำเรจ็ คณุ รูส้ ึกว่าครตู ้องรว่ มกันสรา้ งการเปลี่ยนแปลงในการทำ� หนา้ ทค่ี รตู ั้งแตบ่ ัดน้ี ...ใช่หรอื ไม่ ๔. เม่ือเห็นผลคะแนนสอบของศิษย์ คณุ คดิ ว่าเปน็ คะแนนสงู สุดทนี่ กั เรียนจะทำ� ได้หรือไม่ คณุ คดิ หรอื ไมว่ า่ ครสู ามารถชว่ ยยกระดบั ศกั ยภาพในการเรยี นรขู้ องศษิ ยใ์ หส้ งู ขนึ้ ได้ เพอ่ื ให้ คะแนนสอบสงู ขน้ึ ไปอกี ...คุณพรอ้ มจะทำ� งานนี้ไหม ๕. เมอื่ คณุ พบวา่ ศษิ ยจ์ ำ� นวนหนงึ่ มที า่ ทเี ฉอื่ ยชา ไมส่ นใจเรยี น คณุ จะพดู กบั นกั เรยี นกลมุ่ น้ี ว่าอย่างไร ...คณุ เชอ่ื ไหมวา่ ... ความมานะพยายามเปน็ สง่ิ ทสี่ อนได.้ .. พฒั นาได.้ .. และครชู ว่ ยได้

ความเปลี่ยนแปลงของดอกเขม็ หมายเลข ๓ เจา้ ของผลงาน : เดก็ หญงิ ฐณนนั กิจทวสี นิ

ถา้ คุณ (ครู) สนกุ กับการตอบคำ� ถามเหลา่ น้ี ..... หนังสอื เล่มนค้ี อื เพอื่ นทคี่ ณุ ก�ำลังแสวงหา วธิ กี ารทนี่ ำ� เสนอในบันทกึ ชดุ นี้ มคี ณุ ประโยชน์ตอ่ นกั เรียนทั่วไปทไ่ี มไ่ ด้ขาดแคลนดว้ ย เพราะเป็นวธิ ีปลกุ ศักยภาพในตวั เดก็ ใหเ้ รยี นรูไ้ ดค้ รบดา้ น อยา่ งลุ่มลึกและเช่อื มโยงกว้างขวาง (mastery learning)

ความเปลี่ยนแปลงของดอกเขม็ หมายเลข ๑ เจา้ ของผลงาน : เดก็ หญงิ ฐณนนั กิจทวสี นิ

ครทู กุ คนสามารถทำ� ได้ ถา้ มีต้นทุน และตน้ ทางสู่การจัดการเรยี นรูท้ ด่ี ี คอื ๑) ชุดความคิดวา่ ดว้ ยความสัมพันธ์กบั ศษิ ย์ (relational mindset) ๒) ชดุ ความคิดว่าดว้ ยความส�ำเรจ็ ของศิษย์ (achievement mindset) ๓) ชดุ ความคดิ วา่ ดว้ ยความคิดบวก (positivity mindset) ๔) ชดุ ความคดิ ว่าด้วยหอ้ งเรียนท่มี ีบรรยากาศเรียนเขม้ (rich classroom climate mindset) ๕) ชดุ ความคดิ วา่ ด้วยการหนนุ ศกั ยภาพของนกั เรียน (enrichment mindset) ๖) ชดุ ความคิดวา่ ดว้ ยการสร้างความเอาใจใสข่ องนักเรียน (engagement mindset) ๗) ชดุ ความคดิ เพอ่ื ความสำ� เรจ็ ของนักเรียน (graduation mindset) และ...ไมว่ า่ ศษิ ยจ์ ะขาดแคลนเพยี งใด ครูตอ้ งมุ่งมน่ั ดำ� เนินการใหศ้ ิษยไ์ ดร้ ับผลตามเป้าหมายหลักทงั้ ๗ ประการน้ี



๑ภาค ชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์กับศิษย์ (relational mindset) บทท่ี ๑ บทน�ำ บทท่ี ๒ สร้างความสัมพันธ์กับศิษย์เป็นรายคน บทท่ี ๓ เชื่อมโยงศิษย์ทุกคนสู่ความส�ำเร็จ บทที่ ๔ แสดงให้ศิษย์รู้ว่าครูเข้าใจความรู้สึกของเขา

๑ บทนำ� บันทึกชุด สอนเข้ม เพ่ือศิษย์ขาดแคลน นี้ ตีความจากหนังสือ Poor Students, Rich Teaching : Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty (Revised Edition, 2019) เขียนโดย Eric Jensen ผู้ที่ในวัยเด็กมีประสบการณ์การเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรงและมีปัญหา การเรียน ผูเ้ ขยี นเคยเปน็ ครมู าก่อน เวลานเ้ี ป็นวิทยากรพฒั นาครู ผมคิดว่าสาระในหนังสือเล่มนี้เป็นชุดความรู้ท่ีเหมาะสมต่อ “ครูเพ่ือศิษย์” ที่สอนนักเรียนท่ีมีพ้ืนฐานขาดแคลน ผมเข้าใจว่าในประเทศไทยนักเรียนกลุ่มนี้ เป็นนักเรียนส่วนใหญ่ของประเทศ นักเรียนในระดับประถมและมัธยมของไทย ประมาณ ๖ ลา้ นคน กวา่ ครงึ่ หนง่ึ ตกอยใู่ นสภาพทรี่ ะบใุ นหนงั สอื นแี้ ละทน่ี า่ แปลกใจ คอื ในสหรฐั อเมริกา ร้อยละ ๕๒ ของนักเรยี นมาจากครอบครัวยากจน การด�ำเนินการตามอุดมการณ์ และวิธีการท่ีระบุในหนังสือเล่มนี้ท่ีผมตีความ โยงเขา้ สสู่ ภาพไทย หากดำ� เนนิ การไดผ้ ลจรงิ จงั ในระบบการศกึ ษาของเรา นา่ จะชว่ ย ใหค้ รง่ึ หนงึ่ ของพลเมอื งไทยในอนาคตไดร้ บั การยกระดบั คณุ ภาพอยา่ งมากมาย หรอื กล่าวในมุมกลับ ระบบการศึกษาตามแบบที่เราด�ำเนินการอยู่ในปัจจุบันได้ท�ำลาย ศกั ยภาพกว่าคร่งึ หนึง่ ของพลเมืองไทยในอนาคตลงไปมาก • 32 •

ทกี่ ลา่ วในยอ่ หนา้ บนอาจจะคลาดเคลอื่ น เพราะจรงิ ๆ แลว้ วธิ กี ารตามทจี่ ะเสนอ ในบันทึกชุด สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน นี้จะมีคุณประโยชน์ต่อนักเรียนทั่วไป ท่ีไม่ได้ขาดแคลนด้วย เพราะเป็นวิธีปลุกศักยภาพในตัวเด็กให้เรียนรู้ได้ครบด้าน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงกว้างขวางย่ิงข้ึน (mastery learning) มีคุณประโยชน์ ทัง้ ต่อเดก็ ท่ีขาดแคลนและเดก็ ท่ไี ม่ขาดแคลน หวั ใจของบนั ทกึ ชดุ นอี้ ยทู่ ช่ี อื่ รองของหนงั สอื “Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty” โดยทค่ี ำ� วา่ mindset ในทนี่ ้ี หมายถงึ ชดุ ความคดิ (กระบวนทัศน์) ของครู บันทึกชุดน้ีจะค่อยๆ ชี้ให้เห็นว่าชุดความคิดที่ถูกต้อง ของครแู ตล่ ะข้อนำ� ไปสู่การจัดการเรยี นรทู้ ีถ่ กู ต้องอยา่ งไร บันทึกชุดนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ “ชุดความคิด” แต่จะโยงชุดความคิดไปสู่ “ชุดการกระท�ำ” ของครูท่ีเป็น “การจัดกระบวนการเรียนรู้ท่ีสูงคุณค่า” ต่อศิษย์ ข้อสรุปในภาพรวมคือ ครูเพ่ือศิษย์ขาดแคลน ต้องเลือกชุดความคิดท่ีเป็น สองขั้ว ใน ๗ ประเดน็ ต่อไปน้ี จะสมาทานชุดความคิด... “เขาจ้างฉันมาเป็นครูเพราะฉันมีความรู้วิชาการ ฉนั ไมม่ เี วลาพอทจ่ี ะเอาใจใสท่ กั ษะดา้ นสงั คม นนั่ มนั เรอ่ื งของพอ่ แม”่ หรอื “นกั เรยี น และครูต่างก็มีชีวิตที่เชื่อมโยงกัน เป้าหมายแรกของการเชื่อมโยงระหว่างฉันกับ ศิษย์คือ ความสัมพันธ์ในฐานะเป็นเพื่อนมนุษย์ ความสัมพันธ์ในฐานะครูกับศิษย์ เป็นเปา้ หมายรอง” จะสมาทานชุดความคิด... “เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ท่ีจะสร้างแรงบันดาลใจ ใหล้ ูกไมใ่ ช่หนา้ ทขี่ องครู” หรือ “ฉนั จะกระต้นุ ความพยายาม แรงจงู ใจ และเจตคติ ส่คู วามส�ำเรจ็ ของศษิ ย์ ทักษะเหลา่ น้ฝี ึกได”้ จะสมาทานชุดความคิด... “ฉันได้พยายามมองโลกแง่บวกแล้วแต่ในความ เปน็ จรงิ มสี ารพดั อปุ สรรค มองโลกแงบ่ วกเปน็ เรอ่ื งหลอกๆ แตฉ่ นั จรงิ ใจตอ่ นกั เรยี น ฉนั บอกความจรงิ ตามท่เี ปน็ ” หรอื “ฉันเป็นพันธมติ รที่มองโลกแงบ่ วกต่อเด็ก และ จะช่วยให้ศิษยส์ รา้ งความฝันสอู่ นาคต” • 33 •

จะสมาทานชดุ ความคดิ ... “ฉนั มหี นา้ ทส่ี อนเนอ้ื หาวชิ าความรู้ หากคณุ ตอ้ งการ ใหน้ ักเรยี นเรียนไดด้ ี จงบอกใหเ้ ขาตน่ื และตงั้ ใจเรยี น หอ้ งเรยี นไม่ใช่สถานบนั เทงิ ” หรอื “ฉนั โฟกสั ทผี่ ลลพั ธก์ ารเรยี นรขู้ องนกั เรยี นและเชอ่ื มโยงสกู่ ระบวนการเรยี นรู้ และปฏสิ ัมพนั ธ์ทางสังคมของทกุ วัน” จะสมาทานชดุ ความคดิ ... “เดก็ บางคนไดเ้ รยี นรู้ แตบ่ างคนกไ็ มไ่ ด้ ถา้ เดก็ พรอ้ ม เขาจะเรียนรู้ เขาต้องรู้วิธีเรียนรู้ มิฉะนั้นก็จะเรียนตามไม่ทัน” หรือ “ฉันเช่ือว่า สมองมีศักยภาพในการเปล่ียนแปลง ฉนั สามารถสร้างการเติบโตและเปลีย่ นแปลง ให้แก่ตนเอง แลว้ จงึ ช่วยสร้างทกั ษะการเรยี นร้ใู ห้แก่ศษิ ย”์ จะสมาทานชดุ ความคดิ ... “ฉนั มเี รอื่ งตอ้ งสอนมากและฉนั รวู้ า่ วธิ สี อนทดี่ ที สี่ ดุ คอื การบรรยาย เรอื่ ง student engagement เปน็ เรอื่ งเหลวไหล” หรอื “ฉนั จะ engage กบั เป้าหมายท่ที รงคุณคา่ กบั ศษิ ยท์ กุ คน ทุกวัน ทุก ๙ นาทหี รอื ส้นั กวา่ นนั้ ” จะสมาทานชดุ ความคดิ ... “ฉนั ไดพ้ ยายามคดิ บวกแลว้ แตเ่ ดก็ เหลา่ นมี้ าจาก สภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ฉันไม่คิดว่าเขาจะประสบความส�ำเร็จในชีวิต” หรือ “ฉนั เอาใจใสเ่ ร่อื งส�ำคัญทจ่ี ะช่วยให้ศษิ ย์เขา้ มหาวทิ ยาลัยได้ หรอื พร้อมท�ำงาน” เขยี นสองขว้ั ตรงขา้ ม เปน็ คๆู่ ของชดุ ความคดิ ทง้ั ๗ นแี้ ลว้ ผมสรปุ กบั ตนเองวา่ ชุดความคิดท่ีเอ่ยถึงเป็นอันแรกของแต่ละคู่ เป็นชุดความคิดของ “ครูเพื่อกู” ในขณะท่ีชุดความคดิ ทเ่ี อย่ ถึงทีหลงั ในแตล่ ะคู่ เป็นชดุ ความรขู้ อง “ครูเพ่ือศษิ ย์” ประเด็นส�ำคัญคือ ศิษย์ย่ิงมาจากครอบครัวยากจน มีปัญหา หรือขาดแคลน ครูต้องย่ิงเอาใจใส่ ความเอาใจใส่นี้จะช่วยให้ครูได้เรียนรู้มากและบรรลุผลส�ำเร็จ ในวชิ าชพี ครู หรอื อาจกลา่ วไดว้ า่ ศษิ ยท์ ยี่ ากลำ� บากเหลา่ นคี้ อื พรทสี่ วรรคป์ ระทานมา เป็นเส้นทางแห่งความส�ำเร็จในชีวิตความเป็นครู ท่ีฝรั่งเรียกว่าเป็น blessing in disguise ดงั นน้ั “ครเู พอ่ื ศษิ ย”์ จะไดร้ บั รางวลั ชวี ติ สงู กวา่ “ครเู พอื่ ก”ู อยา่ งเทยี บกนั ไม่ไดเ้ ลย • 34 •

การจะพลกิ “ความขาดแคลนของศิษย์” ให้เป็น “ขุมทรพั ย์ของคร”ู ได้ ครูตอ้ ง สมาทานกระบวนทัศน์หรือชุดความคิดท่ีส�ำคัญ ๗ ประการ ท่ีจะเป็นต้นทางสู่ การจดั การเรยี นรทู้ ด่ี ี คอื (๑) ชดุ ความคดิ วา่ ดว้ ยความสมั พนั ธก์ บั ศษิ ย์ (relational mindset) (๒) ชดุ ความคดิ ว่าดว้ ยความส�ำเรจ็ ของศษิ ย์ (achievement mindset) (๓) ชดุ ความคดิ วา่ ดว้ ยความคดิ บวก (positivity mindset) (๔) ชดุ ความคดิ วา่ ดว้ ย หอ้ งเรยี นทม่ี บี รรยากาศเรยี นเขม้ (rich classroom climate mindset)(๕) ชดุ ความคดิ ว่าด้วยการหนุนศักยภาพของนักเรียน (enrichment mindset) (๖) ชุดความคิด วา่ ดว้ ยการสรา้ งความเอาใจใสข่ องนกั เรยี น (engagement mindset) และ (๗) ชดุ ความคดิ เพอื่ ความสำ� เรจ็ ของนกั เรยี น (graduation mindset) ไมว่ า่ ศษิ ยจ์ ะขาดแคลน เพยี งใด ครตู อ้ งมงุ่ มนั่ ดำ� เนนิ การใหศ้ ษิ ยไ์ ดร้ บั ผลตามเปา้ หมายหลกั ทง้ั ๗ ประการน้ี วิจารณ์ พานิช ๑๒ เม.ย. ๖๒ • 35 •

๒ สรา้ งความสมั พนั ธ์ กับศิษยเ์ ป็นรายคน บันทึกน้ีเป็นบันทึกแรกใน ๓ บันทึก ภายใต้ชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ กบั ศษิ ย์ (relational mindset) ตีความจากบทน�ำของ Part One : Why Relational Mindset ? และ Chapter 1 : Personalize the Learning ในสภาพท่ีนักเรียนรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ รับฟัง เห็นอกเห็นใจ จากครู นกั เรยี นจะร้สู ึกอบอ่นุ และมีกำ� ลังใจทจี่ ะเรยี น ยง่ิ กวา่ นั้นในหลักการของ relational mindset ครมู คี วามเชอื่ วา่ ชวี ติ ของคนเรามคี วามเชอื่ มโยงถงึ กนั ครจู ะมปี ฏสิ มั พนั ธ์ กบั ศษิ ยใ์ นฐานะเพอื่ นมนษุ ยด์ ว้ ยกนั เปน็ ปฐม สว่ นความสมั พนั ธใ์ นฐานะครกู บั ศษิ ย์ เปน็ ทส่ี อง สรุปอย่างส้ันท่ีสุดของบันทึกน้ีคือ ครูต้องเอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของศิษย์ ในทุกด้านท้ังที่บ้านและที่โรงเรียน เอาใจใส่ศิษย์เป็นรายคน แสดงความรักความ เอาใจใสใ่ หศ้ ษิ ยร์ สู้ กึ • 36 •

ขอ้ มลู หลกั ฐานทบี่ อกวา่ ปฏิสัมพนั ธท์ ี่ดี ช่วยการเรยี นรู้ของศษิ ย์ หนงั สอื เลม่ นที้ บทวนผลงานวจิ ยั จากหลายแหลง่ และสรปุ วา่ เปน็ ธรรมชาตขิ อง มนษุ ยท์ ต่ี อ้ งการปฏสิ มั พนั ธก์ บั ผอู้ นื่ โดยสามารถมปี ฏสิ มั พนั ธห์ า่ งออกไปจากตวั ได้ ถึง ๖ ช้ัน นักเรียนมีความต้องการใกล้ชิดสนิทสนมกับครูเพ่ือให้ช่วยการตีความ ประสบการณส์ ว่ นตวั ของนกั เรยี นเขา้ กบั บทเรยี น และเพอื่ นำ� มาอภปิ รายแลกเปลยี่ น รวมทงั้ ร่วมกิจกรรมการท�ำงานเป็นทมี ความสมั พนั ธท์ ดี่ กี บั ครู ชว่ ยการเรยี นรขู้ องนกั เรยี น ผลงานวจิ ยั ชชี้ ดั วา่ นกั เรยี น จากครอบครัวยากจนขาดแคลนหรือไม่ม่ันคง ต้องการความสัมพันธ์น้ีมากกว่า นกั เรยี นจากครอบครวั ฐานะและสภาพสงั คมดี โดยที่ effect size* ของปฏสิ มั พนั ธ์ ที่ดีของครูต่อนักเรียน ท่ีมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เท่ากับ ๐.๗๒ ส�ำหรับ นักเรียนทั้งหมด ตัวเลขนี้ของนักเรียนช้ันมัธยมสูงถึง ๐.๘๗ และมีหลักฐานจาก งานวจิ ยั ว่า เม่อื ครูสรา้ งปฏิสมั พันธท์ ด่ี ีอย่างได้ผล นักเรยี นจากครอบครวั รายไดต้ ่�ำ มีผลการเรียนรูเ้ ทา่ เทยี มกันกับนักเรียนกล่มุ รายไดส้ ูง ผลงานวิจัยบอกว่าปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน ช่วยเพ่ิมความเอาใจใส่การเรียน ของนักเรียนจากหลายกลไก ได้แก่ (๑) ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่าง ศิษย์กับครู (๒) ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกนี้ช่วยให้นักเรียนรู้สึกปลอดภัยในชั้นเรียน ซ่ึงจะเพ่ิมการแสดงบทบาทในชั้นเรียน (๓) ช่วยให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น ผา่ นปฏสิ มั พนั ธท์ ดี่ กี บั เพอ่ื นๆ และครู มผี ลการวจิ ยั บง่ ชวี้ า่ ระดบั ปฏสิ มั พนั ธเ์ ชงิ บวก หรือลบในช้ันเรียนน้ีสามารถใช้ท�ำนายว่านักเรียนแต่ละคนมีโอกาสสูงต่�ำแค่ไหน ในการออกจากการเรยี นกลางคนั มคี วามแมน่ ยำ� พอๆ กนั กบั ระดบั ไอควิ และพอๆ กนั กับระดับผลการเรยี น *ขนาดของผล (effect size) หมายถึง ขนาดของผลท่ีเกิดขึ้นจากตัวแปรต้นต่อตัวแปรตาม ที่ได้มาจาก การศกึ ษาเชงิ เปรยี บเทียบ หรือเชงิ ความสมั พันธ์ ใช้ศกึ ษาเปรยี บเทยี บผลของการสอนรูปแบบใหม่ หรือวิธกี ารใหม่ หรือตามแนวคิดใหม่ว่าได้ผลดีกว่าวิธีการเดิม หรือแนวคิดเดิมหรือไม่ โดยการทดสอบความมีนัยส�ำคัญทางสถิติ เมอื่ เทยี บโดยใช้ Cohen’s standard พบวา่ คา่ ทใี่ หผ้ ลมาก คอื มากกวา่ ๐.๕ ขนึ้ ไป (สพุ ฒั น์ สกุ มลสนั ต.์ (๒๕๕๓). ขนาดของผล : ความมีนัยส�ำคัญทางปฏิบัติในการวิจัย. ภาษาปริทัศน์ สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕, ๒๖-๓๘) • 37 •

จ�ำชื่อศษิ ย์และเรียกชือ่ ความสมั พนั ธท์ ด่ี รี ะหวา่ งคนเรมิ่ จากการรจู้ กั ชอื่ ครตู อ้ งจำ� ชอื่ ศษิ ยแ์ ละรจู้ กั ศษิ ย์ เปน็ รายคน เมอ่ื ครเู รยี กชอ่ื ศษิ ยต์ อ้ งยมิ้ ให้ และมองตา วธิ ชี ว่ ยใหจ้ ำ� หนา้ และชอ่ื ศษิ ย์ ไดม้ ีหลากหลายวธิ ี เช่น แนะนำ� ตวั ในชว่ งตน้ ของปกี ารศกึ ษา ใหน้ กั เรยี นแนะนำ� ชอ่ื ของตนเองทกุ ครง้ั ทพ่ี ดู หากมนี กั เรยี นในชน้ั ๓๐ คน การแนะนำ� ตวั นท้ี ำ� ใน ๓๐ วนั แรกของชน้ั เรยี น หากมีนักเรียน ๒๐ คน กใ็ ห้แนะนำ� ตวั ใน ๒๐ วันแรก ป้ายชื่อประจ�ำโต๊ะ ให้นักเรียนท�ำป้ายช่ือตนเองวางบนโต๊ะ โดยท�ำจาก กระดาษดัชนี (index card) พับสองตามยาว มีกล่องใส่ป้ายช่ือให้นักเรียนไป หยิบมาตั้งท่ีโต๊ะทุกเช้า และเก็บในตอนเย็น หลัง ๒ สัปดาห์ครูซ้อมเอาป้ายช่ือ ไปวางท่ีโต๊ะนกั เรียนเอง ทดสอบตนเอง เมอ่ื นกั เรยี นเขา้ มาในหอ้ ง ขานชอื่ นกั เรยี น บอกนกั เรยี นวา่ นักเรียนแต่ละคนจะเข้าห้องได้เม่ือครูขานชื่ออย่างถูกต้องแล้วเท่าน้ัน การขานชื่อ ต้องทำ� พรอ้ มกบั ยิ้มและสบตา “สมชาย ครดู ีใจท่พี บเธอวนั นี้” ขานชอื่ เมอื่ คนื กระดาษคำ� ตอบ “สมศรี หนเู ขยี นตวั สะกดการนั ตถ์ กู ทงั้ หมด” สัมภาษณ์ จับคู่นักเรียน ให้ใช้เวลา ๒ - ๓ นาที สัมภาษณ์ซ่ึงกันและกัน เพ่ือค้นหาสิ่งท่ีไม่คาดคิด แล้วให้แนะน�ำเพ่ือนต่อชั้นเรียน โดยใช้เวลาแนะน�ำคู่ละ ๑ นาที ปฏิสัมพันธ์ที่ดีในช้ันเรียนช่วยยกระดับการเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์นี้มีท้ังระหว่าง นักเรียนกับครู และระหว่างเพ่ือนนักเรียนด้วยกัน ครูต้องมีวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์ เชิงบวก เพื่อสร้างความคุ้นเคย ความเคารพนับถือ และความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน และกัน แนะน�ำให้นักเรียนเรียกชื่อเพื่อน แนะน�ำต่อนักเรียนว่า เมื่อมีกิจกรรม จบั คใู่ นชน้ั เรยี น ใหแ้ นะนำ� ชอื่ ตนเองโดยสบตาเพอ่ื น แลว้ กลา่ วคำ� ทกั ทาย และจบั มอื • 38 •

สร้าง “กระเปา๋ ตัวฉัน” นค่ี อื เครอื่ งมอื ใหน้ กั เรยี นรจู้ กั ครู ในหลากหลายแงม่ มุ ของชวี ติ และนำ� ไปสะทอ้ น คิดเชื่อมโยงกับชีวิตของตนเอง ท�ำโดยครูหาสิ่งของพ้ืนๆ เช่น กากตั๋ว ภาพถ่าย ใบเสร็จ กุญแจ บันทึก ฯลฯ ที่บอกเร่ืองราวของตัวครู ใส่ในถุงผ้าหรือถุงกระดาษ เอามาใช้เวลา ๗ - ๑๐ นาที เล่าเร่ืองของตนเอง นักเรียนท่ีมีชีวิตยากล�ำบาก เมื่อได้ฟังประสบการณ์ความยากล�ำบากของคนอ่ืน ก็จะใจช้ืนว่าตนไม่ใช่คนเดียว ท่ตี ้องเผชญิ ความยากล�ำบาก การแชร์เร่ืองราวชีวิตส่วนตัวช่วยทะลายก�ำแพงก้ันระหว่างบุคคล ส่ิงท่ีครูแชร์ ต้องเป็นเรือ่ งจรงิ นกั เรียนตอ้ งการครทู ี่ซ่อื สตั ย์ และจรงิ ใจ แลกเปล่ยี นปญั หาประจ�ำวัน นี่คือกระบวนการไปสู่การท�ำหน้าท่ีแบบอย่าง (role model) ให้แก่นักเรียน เดก็ ๆ ตอ้ งการคนทตี่ นนบั ถือและเช่ือถอื นำ� มาเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวติ ครคู วรแชรป์ ระสบการณช์ วี ติ ของตนสน้ั ๆ ราวๆ ๓ นาที สปั ดาหล์ ะครงั้ ตามดว้ ย การให้นักเรียนสะท้อนคิดว่ามันสะท้อนภาพชีวิตของผู้ใหญ่อย่างไร หากเป็นตัว นักเรียนเองจะเผชิญสภาพเช่นนั้นอย่างไร หากเป็นเร่ืองที่เช่ือมโยงสู่บทเรียนของ ช้นั เรียนไดย้ ิ่งดี กจิ กรรมนจี้ ะนำ� ไปสกู่ ารเรยี นรทู้ ยี่ งิ่ ใหญ่ ๓ ประการ สำ� หรบั นกั เรยี น (๑) ชวี ติ ของคนเราย่อมต้องมีปัญหา เล็กบ้างใหญ่บ้าง (๒) ไม่ว่าปัญหาใหญ่แค่ไหน ย่อมแก้ไขได้เสมอขึ้นอยู่กับวิธีการแก้ปัญหา (๓) ในกระบวนการเล่าวิธีแก้ปัญหา ของครู ครไู ดแ้ ชรค์ า่ นยิ ม เจตคติ และวิธกี ารบรรลุความส�ำเรจ็ • 39 •

แลกเปลยี่ นเปา้ หมายและความกา้ วหนา้ การแลกเปลย่ี นเปา้ หมายชีวติ เปน็ เครอ่ื งมอื สรา้ งความสัมพนั ธ์สว่ นตวั ระหวา่ ง ครูกับศิษย์ ครูจ�ำนวนมากพยายามแยกความสัมพันธ์กับศิษย์ ในฐานะครู - ศิษย์ ออกจากความสมั พนั ธแ์ บบมนษุ ย์ - มนษุ ย์ แตน่ กั เรยี นโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ นกั เรยี น จากครอบครวั ทข่ี าดแคลนชอบเรอ่ื งราวของเปา้ หมาย การทค่ี รแู ชรเ์ ปา้ หมายชวี ติ ของตน จึงเป็นวิธีการท่ีทรงพลังมากในการพัฒนาชุดความคิดเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน (relational mindset) ทั้งของครแู ละของศษิ ย์ แนะนำ� ใหค้ รเู ขยี นเปา้ หมายชวี ติ สว่ นตวั ของตนและตดิ ประกาศไวใ้ นชน้ั เรยี น โดยท่ี นกั เรยี นทกุ คนกท็ ำ� เชน่ เดยี วกนั ครแู ชรค์ วามกา้ วหนา้ สเู่ ปา้ หมายนนั้ อยา่ งสมำ่� เสมอ ทงั้ ปี หรอื ทงั้ เทอม และในขณะเดยี วกนั ครกู ต็ ดิ ประกาศเปา้ หมายของชนั้ เรยี นดว้ ย ตวั อย่างของเป้าหมาย ได้แก่ เข้ารว่ มโครงการของชมุ ชน เร่มิ กนิ อาหารถูกสุขลกั ษณะ และออกกำ� ลงั กายเพื่อสขุ ภาพ ด�ำเนินการใหค้ รบตามรายการพฒั นาการสอน วิ่งออกกำ� ลังใหไ้ ด้ ๕ กิโลเมตร ใหค้ ำ� แนะน�ำ (mentoring) แก่ ... ทำ� สวน ฝกึ เลน่ กฬี า ... ชว่ ยเปล่ยี นแปลงวัฒนธรรมของโรงเรยี น • 40 •

เมอ่ื เวลาผา่ นไป ครแู ชรเ์ รอ่ื งราวความสำ� เรจ็ ตามเปา้ หมายรายทาง เฉลมิ ฉลอง ความส�ำเร็จและแชร์วิธีด�ำเนินการสู่ความส�ำเร็จน้ัน เพ่ือให้นักเรียนได้ตระหนักว่า ไมว่ า่ จะทำ� อะไรยอ่ มมีปญั หาหรืออุปสรรคเสมอ คนเราตอ้ งมุ่งมน่ั เผชิญปัญหาและ หาทางเอาชนะเพอื่ บรรลคุ วามสำ� เรจ็ ตามเปา้ หมายทต่ี ง้ั ไว้ กจิ กรรมนจี้ ะเปน็ ตวั อยา่ ง ใหน้ กั เรียนเหน็ ว่า ครูกก็ �ำลังเรยี นรู้และเติบโตเช่นเดียวกันกับนกั เรยี น • 41 •

๓ เช่อื มโยงศษิ ยท์ ุกคน สคู่ วามสำ� เร็จ บนั ทกึ นเ้ี ปน็ บนั ทกึ ทสี่ องใน ๓ บนั ทกึ ภายใตช้ ดุ ความคดิ วา่ ดว้ ยความสมั พนั ธ์ กับศิษย์ (relational mindset) ตีความจาก Chapter 2 Connect Everyone for Success ความเป็นจรงิ ที่ส�ำคัญยง่ิ คอื การมกี ัลยาณมติ รท�ำใหค้ นมีความสุขยง่ิ กวา่ มเี งิน กฎห้าสบิ -ห้าสบิ ปัจจัยทางสังคม ๒ ประการ มีอิทธิพลสูงยิ่งต่อความส�ำเร็จในการเรียน ได้แก่ (๑) ความรสู้ กึ วา่ ตนเปน็ สว่ นหนง่ึ ของชน้ั เรยี น (๒) การเรยี นแบบรว่ มมอื กนั ดงั นน้ั จงึ มผี เู้ สนอวา่ เพอื่ ความสำ� เรจ็ ในการเรยี น ควรแบง่ เวลาในชนั้ เรยี นออกเปน็ ๒ สว่ น เทา่ ๆ กนั เปน็ เวลาสำ� หรบั สงั คมหรอื มปี ฏสิ มั พนั ธก์ บั เพอื่ นครง่ึ หนงึ่ และอยกู่ บั ตนเอง คร่ึงหน่งึ นีค่ ือกฎห้าสบิ - หา้ สิบ ในบางวนั การแบ่งเวลาอาจเปน็ ๙๐ - ๑๐ หรือ ๘๐ - ๒๐ แต่ในภาพรวมของ แตล่ ะสัปดาหค์ วรเปน็ ๕๐ - ๕๐ มผี ลงานวจิ ยั ยนื ยนั คณุ คา่ ของการมเี พอ่ื นคอยชว่ ยเหลอื กนั ในการเรยี น นกั เรยี น ท่ีมีผลการเรียนดี เป็นคนท่ีมีและให้คุณค่ากับการมีเครือข่ายของเพ่ือนคอย ช่วยเหลือกัน ในขณะที่นักเรียนท่ีเรียนอ่อนมักไม่มีเครือข่ายเพ่ือน ผลงานวิจัยวัด effect size เทยี บระหวา่ งผลการเรยี นของนกั เรยี นทถ่ี นดั เรยี นแบบรว่ มมอื กบั เพอ่ื น กบั นกั เรียนทเี่ รียนคนเดยี ว เท่ากบั ๐.๕๙ (ตวั เลขทม่ี ีนำ้� หนักนา่ เชื่อถือคือ ๐.๔๐ ข้ึนไป) • 42 •

ตัวอย่างกิจกรรมในช่วงเรียนร่วมกับเพ่ือนกับเรียนคนเดียว แสดงอยู่ในตาราง ขา้ งลา่ ง เวลาเรยี นรว่ มกบั เพื่อน เวลาเรยี นคนเดียว กล่มุ หรือทีมรว่ มมือ เวลาเขยี นหรือท�ำ mindmap คนเดยี ว คหู่ ูเรยี นรู้ ผลัดกัน quiz ฝกึ ทดสอบตนเอง ห้นุ ส่วนชัว่ คราว ช่วยกนั สรปุ สถานเี รียนรู้ เพอื่ เก็บขอ้ มลู จากเพอ่ื นๆ ก�ำหนดเป้าหมาย และทดสอบตนเอง โครงงานกลุม่ เพื่อระดมความคดิ และอภิปราย อา่ น สะทอ้ นคดิ และเขียน นงั่ ทำ� งานเพ่อื แก้ปญั หา ยุทธศาสตร์ความร่วมมอื ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์มีอิทธิพลท้ังจากพันธุกรรมและสภาพสังคมแวดล้อม ปฏสิ มั พนั ธพ์ ฒั นาขน้ึ ตามอายุ ตั้งแต่แรกเกิด ดังน้ี อายุ ๐ - ๓ ปี ความสมั พันธ์อย่ทู ่คี นรอบตวั (แม่ พอ่ พี่เลยี้ ง) อายุ ๔ - ๙ ขวบ ตอนอายุ ๔ ขวบ ความสนใจของเด็กอยู่ท่ีพ่อแม่ ไมส่ นใจเพอ่ื น แตเ่ มอื่ โตขนึ้ พนั ธกุ รรมกำ� หนดใหม้ คี วามตอ้ งการเพอ่ื น ตอ้ งการเปน็ สว่ นหน่งึ ของแวดวงเพื่อนๆ อายุ ๑๐ - ๑๗ ปี ตอนเรียนช้ัน ม.ต้น เด็กไม่เพียงต้องการเป็นส่วนหนึ่ง ของสงั คม แตย่ งั ตอ้ งการแสดงเอกลกั ษณห์ รอื ตวั ตนของตนดว้ ย ถงึ ตอนนน้ี กั เรยี น ควรไดเ้ รยี นรคู้ วามสำ� คญั ของการชว่ ยเหลอื พง่ึ พาซง่ึ กนั และกนั (interdependency) จากเวลาเรียนแบบร่วมมือกนั กับเพือ่ น ครูต้องรู้วิธีให้ท�ำกิจกรรมท่ีส่งเสริมให้นักเรียนสร้างทักษะการช่วยเหลือพึ่งพา ซึ่งกันและกันขึ้นในตน รวมทั้งเห็นคุณค่าของการพึ่งพาช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน ผลงานวิจัยบอกวา่ effect size ของการเรียนแบบทมี ๔ คน มีค่าเท่ากบั ๐.๖๙ • 43 •

วิธีจัดการเรียนรู้เพ่ือพัฒนาคุณลักษณะช่วยเหลือพึ่งพาซ่ึงกันและกัน (interdependency) มีดงั ตอ่ ไปนี้ กลุ่มและทีมร่วมงาน การจัดกลุ่มและทีมร่วมกันท�ำงาน ท่ีจะเกิดผลพัฒนาสปิริตของการท�ำงาน เป็นทีม เกิดการเสริมแรงซึ่งกันและกัน (synergy) และเกิดมิตรภาพ ต้องมี หลกั การและวธิ กี าร ดังตอ่ ไปน้ี มีการต้ังช่ือทีม ค�ำขวัญประจ�ำทีม โลโก้ กองเชียร์ และการเฉลิมฉลอง ความส�ำเรจ็ เพื่อสร้างสถานะทางสงั คม และความเปน็ ทมี มอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนของทีมมีบทบาทเฉพาะและมีความหมาย ซง่ึ จะชว่ ยใหเ้ กดิ สภาพชว่ ยเหลอื พง่ึ พาซงึ่ กนั และกนั ตวั อยา่ งของบทบาท เชน่ ผสู้ รปุ ผนู้ �ำ ผู้ฝกึ ผนู้ ำ� การเคลอ่ื นไหวร่างกาย ผเู้ ติมพลัง ผ้เู ลา่ เรอ่ื งขบขนั ผ้เู ดินสาร ก�ำหนดกติกาส�ำหรับพฤติกรรมในกลุ่ม เพ่ือให้นักเรียนมีพฤติกรรมกลุ่ม ท่ีเหมาะสม มีความรับผิดชอบ โดยก�ำหนดกติกาส�ำคัญ ๓ ประการ ที่ทุกทีม ตอ้ งปฏบิ ตั ิ เชน่ (๑) ใหค้ วามรว่ มมอื ตอ่ ชนั้ เรยี น (๒) ตรงตอ่ เวลา (๓) ชว่ ยเหลอื ซงึ่ กนั และกัน ให้ทีมท�ำงานร่วมกันทุกวัน มีก�ำหนดการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกวัน ใหม้ สี ว่ นรว่ มเท่าๆ กัน หมนุ เวยี นหนา้ ท่ีกัน เพอ่ื ใหก้ ลมุ่ และทมี รว่ มงานมปี ระสทิ ธผิ ลสงู ครคู วรโคช้ ผนู้ ำ� ทมี แลว้ ใหผ้ นู้ ำ� ทมี ไปโคช้ เพอ่ื นอกี ตอ่ หนง่ึ ผลงานวจิ ยั บอกวา่ การทนี่ กั เรยี นไปสอนเพอื่ นมี effect size ๐.๗๔ • 44 •

เกลอร่วมเรยี น ในตอนต้นปีการศึกษาหรือต้นเทอม จับคู่ให้นักเรียนเป็นเกลอร่วมเรียน ช่วยเหลือกัน มีการแลกเบอร์โทรศัพท์และอีเมลกัน โดยครูบอกว่าทั้งคู่ต้อง ช่วยเหลอื กนั ใหท้ งั้ ตนเองและเพ่ือนประสบความสำ� เร็จในการเรยี นดว้ ยกัน วธิ กี ารจบั คู่ ตอ้ งใหไ้ ดค้ ทู่ เ่ี ปน็ คน “คอเดยี วกนั ” มคี วามสนใจหรอื เปา้ หมายชวี ติ คลา้ ยๆ กนั โดยครใู หเ้ ขยี นเรยี งความสนั้ ๆ บอกความสนใจ ความคลงั่ ไคล้ แลว้ ครู น�ำมาแยกกลมุ่ เพอื่ จดั ใหน้ ักเรียนไดเ้ กลอทมี่ จี รติ คลา้ ยกัน ไปกนั ได้ ในกรณีที่คู่เกลอมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ เขาไม่แนะน�ำให้เปล่ียนคู่ แต่ให้ใช้ วธิ ีการเยียวยา หรอื แกค้ วามขัดแยง้ ๕ ขัน้ ตอน ดงั ต่อไปน้ี ๑. “ฉันรู้สึก” บอกความรู้สึกของแต่ละฝ่าย เช่น “ฉันรู้สึกท้อและขาดเพื่อน เมื่อเธอไมพ่ ูดในชว่ งเวลาสำ� หรับเกลอรว่ มเรียนปรึกษากนั ” ๒. “เมอื่ เกดิ สง่ิ นนั้ ขนึ้ ” บอกเหตกุ ารณท์ ส่ี ะทอ้ นปญั หา เชน่ “เมอ่ื เกดิ เหตกุ ารณ์ ส�ำคัญ เราไม่ได้แก้ปัญหาหรือเรียนสิ่งที่ต้องเรียน เม่ือวานน้ีฉันต้องการความ ชว่ ยเหลือในชน้ั เรยี น” ๓. “ฉันต้องการ” บอกความต้องการ เช่น “ฉันอยากรู้ว่าเราสามารถท�ำงาน ร่วมกนั ได้ ใชไ่ หม” ๔. “ฟัง” ถงึ ตอนน้ี ฝ่ายพดู ก่อน (ตาม ๓ ข้อข้างบน) ฟังอกี ฝ่ายหนงึ่ พูดบา้ ง ตาม ๓ ขอ้ ขา้ งบน ๕. “ทบทวนและแก้ไข” ร่วมกันเสนอแนวทางท�ำงานร่วมกัน ต่างจากเดิม เช่น “เพื่อให้เราท�ำงานร่วมกันได้ เราเปลี่ยนวิธีท�ำงานเร่ือง... ให้ต่างไปจากเดิม ในแตล่ ะครั้งทที่ ำ� งานรว่ มกัน แลว้ ดูว่าไดผ้ ลอย่างไร” • 45 •

เขาแนะนำ� ใหเ้ กลอรว่ มเรยี นนง่ั ตดิ กนั ในหอ้ งเรยี นแชรส์ าระเรยี นรซู้ งึ่ กนั และกนั ท�ำหน้าท่ีเชียร์หรือให้ก�ำลังใจซ่ึงกันและกัน และคอยเอาใจใส่ความก้าวหน้าใน การเรียนของอีกฝ่ายหน่ึง โดยอาจน�ำไปหารือกับครูหรือพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย หลังจากมีผลการทดสอบออกมาควรใหเ้ วลาเกลอร่วมเรยี นได้ปรกึ ษากนั นกั เรยี นพ่เี ลีย้ ง เปน็ การใหค้ ำ� แนะแนว กำ� ลงั ใจ และภาวะผนู้ ำ� แกน่ กั เรยี น โดยนกั เรยี นชนั้ โตกวา่ หรอื โดยนกั ศกึ ษาในมหาวทิ ยาลยั ไดป้ ระโยชนท์ ง้ั ตวั mentor (ผใู้ หค้ ำ� ปรกึ ษา) และ mentee (ผรู้ บั คำ� ปรึกษา) การใหค้ ำ� ปรกึ ษามกั เนน้ เรอ่ื งวธิ กี ารเรยี น เรอ่ื งทางสงั คมกบั เพอ่ื นๆ ในโรงเรยี น เร่ืองปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว และในชุมชน อาจรวมไปถึงติวเตอร์ในเร่ืองวิชา ความรู้ มงี านวจิ ยั บอกวา่ การมกี จิ กรรมพเ่ี ลยี้ งโดยนกั เรยี นดว้ ยกนั เอง ชว่ ยใหพ้ ฒั นาการ ของนกั เรยี นดขี นึ้ ทง้ั ดา้ นการเหน็ ความสำ� คญั ของตนเอง (self-esteem) ความตง้ั ใจ เรยี น ความประพฤติ และปฏสิ มั พนั ธท์ างสังคม (กบั พ่อแม่ พีเ่ ล้ียง และเพอ่ื นๆ) หุน้ สว่ นชัว่ คราว อาจเรียกว่าหุ้นส่วน ๖๐ วินาที ท�ำโดยบอกให้นักเรียนยืนข้ึน บอกให้เร่ิมเดิน เมอ่ื เพลงดงั ขนึ้ เดนิ ไปแตะเกา้ ออี้ ยา่ งนอ้ ย ๔ ตวั เมอ่ื เพลงหยดุ กห็ ยดุ เดนิ และชไ้ี ป ที่คนท่ีอยู่ใกล้ท่ีสุดว่านี่คือหุ้นส่วนช่ัวคราวและเร่ิมคุยกันเรื่องท่ีก�ำลังเรียน ก�ำลัง ท�ำกิจกรรมกลุ่ม หรือก�ำลังอภิปรายกัน คู่ไหนคุยกันเสร็จก็ให้ยกมือขึ้น เม่ือเสร็จ ทง้ั ช้นั ใหก้ ลา่ วขอบคณุ หนุ้ ส่วนโดยเรยี กชอ่ื แลว้ จึงกลบั ไปนง่ั ที่เดิม เป็นกิจกรรมท่ีช่วยเปล่ียนบรรยากาศ ลดความเครียดหรือความขัดแย้งในกลุ่ม หรือทมี ร่วมงาน • 46 •

เรือ่ งเลา่ จากหอ้ งเรยี น คณุ ครอู รนภา พทุ ธวรรณ ครโู รงเรยี นบา้ นหว้ ยไรส่ ามคั คี ต.แมฟ่ า้ หลวง อ.แมฟ่ า้ หลวง จ.เชียงราย เขียนเล่าถึงประสบการณ์การน�ำเอาวิธีการเรียนรู้แบบเพ่ือนช่วยเพื่อนไปใช้ ในช้ันเรียนวชิ าภาษาองั กฤษ ระดบั ชั้น ป.๑ เอาไวว้ า่ “เพ่ือนช่วยเพ่ือน” ไม่มีครูท่านใดไม่รู้จักเทคนิคน้ี การให้นักเรียนมีส่วนช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน บ่อยครั้งที่ท�ำให้ช้ินงานหรือภาระงานของนักเรียนส�ำเร็จลุล่วงได้ดีกว่า ครอู ธบิ ายใหฟ้ งั อาจเพราะดว้ ยคำ� ทคี่ รใู ชเ้ ขา้ ใจยากไป หรอื ครไู มเ่ ขา้ ใจวา่ นกั เรยี นไมเ่ ขา้ ใจ ตรงไหน และส�ำคญั ท่สี ดุ นกั เรยี นไม่กลา้ ถามครู การสอนแบบนี้ถูกน�ำมาใช้บ่อยครั้งในรายวิชาของฉัน รายวิชาภาษาอังกฤษ การท่ี ให้เพื่อนช่วยเพื่อนไม่ได้เป็นการให้เพ่ือนลอกงานกันมาส่ง แต่เป็นการให้เพ่ือนที่เข้าใจ ภาระงานแบบชัดแจ้งได้มีโอกาสช่วยเพื่อนในการอธิบายแนวทางการท�ำงานแบบง่ายๆ แบบภาษาเดียวกนั ของนกั เรยี น ตอนแรกที่เห็นนักเรียนคนหนึ่งคอยแต่ถามเพ่ือนว่าครูให้ท�ำอะไร ยอมรับรู้สึก ไม่ชอบใจอยู่นิดๆ จนสังเกตได้สักระยะ จึงพอจะเข้าใจว่าสิ่งท่ีนักเรียนคนนั้นถามไม่ได้ เกิดจากค�ำว่าไม่เข้าใจ แต่บางครั้งเกิดจากความไม่แน่ใจว่าตนเองเข้าใจถูกไหม หรือ อาจจะเกิดจากเราเองท่ีใช้ค�ำยากไปรึเปล่า เพราะท�ำไมเวลาเพ่ือนอธิบาย เขาถึงเข้าใจ และทำ� ภาระงานออกมาไดด้ ีทเี ดียว วนั หนึ่งได้มโี อกาสนง่ั พดู คยุ กันกบั นกั เรียนกล่มุ หน่งึ เลยแอบยงิ คำ� ถามเชงิ เลน่ ๆ วา่ “สมมตุ นิ ะถา้ วนั นค้ี รสู อนแลว้ หนไู มเ่ ขา้ ใจสง่ิ ทค่ี รสู อนเลย พวกหนกู ลา้ ยกมอื ถามครไู หมลกู ” เดก็ ๆ ตอบ “ไมค่ ะ่ คร”ู “ทำ� ไมหละ” ครยู งั คงไมเ่ ขา้ ใจ เด็กๆ ย้ิมเล็กน้อยแล้วพูดออกมาแบบภาษาเด็กๆ “ไม่กล้าค่ะครู กลัวครูดุ กลัวครูว่า พวกหนไู มต่ ง้ั ใจฟงั ” ครผู สู้ งสยั เลยพดู ออกไป “แลว้ แบบนพี้ วกหนจู ะทำ� ยงั ไงหละ” เดก็ หญงิ คนหนึ่งตอบแบบไม่ได้คิด “ไปถามเพ่ือนท่ีเข้าใจค่ะ บางทีก็รวมตัวกันมาถามครูเหมือน ทกุ ทีคะ่ ” • 47 •

จากการพูดคุยในครั้งน้ัน ทุกคร้ังท่ีมีการสอนเนื้อหาที่อาจเข้าใจได้ยาก ฉันมักจะย้�ำ กบั นกั เรยี นเสมอวา่ “ใครไมเ่ ขา้ ใจลกุ มาหาครไู ดเ้ ลยนะลกู เดยี๋ วครอู ธบิ ายใหฟ้ งั อกี รอบ” เพราะอยา่ งนอ้ ยมนั อาจจะทำ� ใหเ้ ดก็ ๆ ไดเ้ ขา้ ใจวา่ หากพวกเขาลกุ มาถามมนั ไมใ่ ชเ่ รอ่ื งผดิ และฉนั จะไมด่ พุ วกเขาแนน่ อน !! และนอกจากนนั้ คำ� วา่ “ใครเขา้ ใจกช็ ว่ ยอธบิ ายใหเ้ พอื่ น ฟงั ได้นะคะ” กย็ ังเป็นค�ำท่ตี ดิ ปากทกุ ครงั้ เช่นกนั จนเด๋ียวนี้ห้องเรียนเด็ก ป.๑ เวลามีนักเรียนคนใดคนหน่ึงท�ำภาระงานเสร็จก็มักจะ มีค�ำถามว่า “ครูจะให้ผมไปช่วยสอนเพื่อนคนไหนครับ / ค่ะ” ครูแบบฉันก็จะมีหน้าท่ี คอยสังเกตว่านักเรียนคนไหนที่ยังต้องการความช่วยเหลือจากเพ่ือนของเขา และสะกิด ให้เพ่อื นทีท่ ำ� งานเสร็จแลว้ ให้ไปหาอยู่เสมอ ไมม่ หี อ้ งเรยี นใดทม่ี คี รทู ำ� หนา้ ทเี่ พยี งคนเดยี วได้ หอ้ งเรยี นควรเปน็ หอ้ งเรยี นทมี่ ผี สู้ อน ผู้สังเกต ผู้ช่วยเหลือ และผู้เรียนรู้ ซึ่งแน่นอนทุกคนในห้องเรียนมีสิทธิ์ท่ีจะเป็นได้ ในทกุ ๆ ตำ� แหนง่ บางวนั ฉนั อาจจะตอ้ งเปน็ ผเู้ รยี นทเ่ี รยี นรเู้ รอ่ื งราวใหมๆ่ จากเดก็ ๆ ในหอ้ ง เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อแลกเปล่ียนความคิด เพ่ือปรับปรุงการสอนเล็กๆ น้อยๆ ใหม้ นั ได้ผลท่ีย่ิงใหญต่ อ่ ไป คณุ ครลู ดั ดาวลั ย์ ไสยวรรณ์ ครโู รงเรยี นบา้ นหว้ ยไรส่ ามคั คอี กี ทา่ นหนง่ึ ทไี่ ดน้ ำ� เอาวธิ ี การเรียนรู้แบบเพ่ือนช่วยเพ่ือนไปใช้ในช้ันเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับช้ัน ป.๔ - ป.๖ บนั ทกึ ประสบการณเ์ อาไวว้ า่ จากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ซ่ึงเป็นวิชาท่ีต้องค�ำนวณ นักเรียนจะรู้สึกเบ่ือหน่ายได้ง่าย ข้าพเจ้าได้สังเกตการเรียนการสอน พบว่า จากการที่ ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนในชั้น หลังจากการสอนครูได้ประเมินผล โดยการมอบหมายใหท้ ำ� แบบฝกึ หดั ใบกจิ กรรม และแบบทดสอบ พบวา่ นกั เรยี นบางคน ไม่สามารถท�ำแบบฝึกหัด ท�ำใบกิจกรรม และท�ำข้อสอบให้ผ่านเกณฑ์ที่ก�ำหนดได้ ซ่ึง ปญั หาดงั กลา่ วนนั้ เกดิ จากการทนี่ กั เรยี นบางคนเรยี นรไู้ ดช้ า้ และมคี วามสามารถในการ เรียนรู้ไม่เท่ากัน ข้าพเจ้าจึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจ และกระตุ้น ใหน้ กั เรยี นมคี วามกระตอื รอื รน้ มากขน้ึ กจิ กรรมการเรยี นการสอนแบบเพอ่ื นชว่ ยเพอ่ื นนน้ั เป็นอีกวิธีการหน่ึงท่ีจะช่วยสนับสนุนวิธีการดังกล่าวได้ โดยให้เพื่อนได้มีบทบาทส�ำคัญ ในการเรียน เพื่อนและกลุ่มมีอิทธิพลในการสร้างความสนใจ จูงใจ และการยอมรับของ เพ่ือนด้วยกนั ซึ่งการเรยี นการสอนแบบเพื่อนช่วยเพอ่ื น การท�ำกจิ กรรมกลมุ่ การเรียน เป็นกลมุ่ ย่อย หรือการเรยี นรว่ มกนั มปี ระโยชน์ ดังนี้ • 48 •

๑. นกั เรยี นไดร้ บั ประโยชนจ์ ากเพอ่ื นและมโี อกาสไดร้ บั ประสบการณใ์ นการแกป้ ญั หา หลายวธิ ี ๒. นักเรียนท่ีเรียนเก่งมีโอกาสขยายความรู้ให้เพื่อนฟังได้ และช่วยเหลือเพ่ือนท่ี เรียนอ่อนได้ ๓. ท�ำให้นักเรียนรู้จักท�ำงานร่วมกับผู้อื่น ปรับตัวเข้ากับสังคมและมีความสุขกับ การเรยี นมากขึน้ ๔. นักเรียนเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อื่นมากยิ่งข้ึน มีความสัมพันธ์กันเป็นอันดี แม้จะ มพี นื้ ฐานทแ่ี ตกตา่ งกนั ไดช้ ว่ ยกนั แกป้ ญั หาซงึ่ สง่ิ เหลา่ นชี้ ว่ ยพฒั นาทกั ษะทางชวี ติ ทส่ี ำ� คญั ๕. ทำ� ให้บรรยากาศในการเรียนมีความสนุกสนานนา่ เรียน ๖. ท�ำให้นักเรียนกล้าพูด กล้าซักถาม และกล้าแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเพ่ือน ในชน้ั ๗. นกั เรยี นรจู้ ักบทบาทหนา้ ที่ มกี ารการแบ่งการท�ำงานได้อย่างชดั เจน ๘. นกั เรยี นทกุ คนมโี อกาสทจี่ ะนำ� เสนองาน / ความคดิ ของตนเอง ไดอ้ ยา่ งไมเ่ กอ้ เขนิ ๙. ชว่ ยครูในการสอนและควบคุมชนั้ เรยี นไดเ้ ป็นอย่างดี วธิ กี ารเรยี นการสอนแบบเพื่อนช่วยเพ่อื น - แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะมีนักเรียนที่เก่ง อ่อน ปานกลาง คละกัน นักเรยี นทมี่ คี วามรบั ผดิ ชอบ มีลกั ษณะเป็นผู้นำ� มอบหมายใหเ้ ป็นหวั หนา้ กลมุ่ - ครูผู้สอนช้ีแจงการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพ่ือน โดยหลังจากครูสอน ในแตล่ ะครงั้ กจ็ ะมอบหมายใหน้ กั เรยี นทำ� แบบฝกึ หดั ใบงาน โดยนกั เรยี นนง่ั ทำ� แบบฝกึ หดั ระดมสมอง ชว่ ยกนั คดิ หากหวั ขอ้ ใดสมาชกิ ในกลมุ่ ไมเ่ ขา้ ใจ ผทู้ เ่ี ขา้ ใจกจ็ ะชว่ ยกนั อธบิ าย จนเพอื่ นเขา้ ใจ หากสมาชกิ ในกล่มุ ยงั ไม่เขา้ ใจก็จะมาปรึกษาครูผู้สอน - ครูสังเกตการท�ำกิจกรรมของกลุ่ม การช่วยกันแก้ปัญหา ความสนใจ และ ความตงั้ ใจของสมาชิกในกล่มุ - สังเกตผลการทำ� แบบฝึกหัด ใบงานวา่ ดขี ึน้ หรือไม่ - สังเกตการประเมินตามสภาพจริงในแตล่ ะคร้งั • 49 •

ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบเพ่ือนช่วยเพื่อนมาใช้ในการเรียนการสอนวิชา คณิตศาสตร์ ปรากฏว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ท่ีก�ำหนดทุกคน และกจิ กรรมกลมุ่ ทำ� ใหเ้ กดิ บรรยากาศทด่ี ี ชว่ ยใหน้ กั เรยี นมคี วามกระตอื รอื รน้ สนใจ ตงั้ ใจ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น อีกท้ังยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นอยู่ ตลอดเวลา ช่วยสร้างความสามัคคี รู้จักแก้ปัญหาร่วมกัน ท�ำให้การเรียนคณิตศาสตร์ ไม่น่าเบ่ืออีกตอ่ ไป อ่านเร่ืองเล่าจากห้องเรียนของโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี เพ่ิมเติมได้ที่น่ี • 50 •


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook