Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ครูประณีต คิดนอกกรอบ

ครูประณีต คิดนอกกรอบ

Published by ห้องสมุดประชาชน, 2020-05-31 14:11:14

Description: ครูประณีต คิดนอกกรอบ

Search

Read the Text Version

การศึกษาเรื่องที่สามให้รายละเอียดงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับนักเรียนมากกว่า แสงกับ... 8,000 คน ตัง้ แตเ่ กรด 3 ถงึ 6 ในหอ้ งเรียน 500 หอ้ ง ใน 36 โรงเรยี นของเมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย ระหว่างการศึกษาคร้ังน้ี พวกนักวิจัยได้ไปท่ีโรงเรียนเพื่อวัดแสงใน ห้องเรยี นทกุ ห้อง และพบว่า แสงสะท้อนมผี ลกระทบเชิงลบตอ่ การเรียนรขู้ องนกั เรียน โดยเฉพาะในวิชาคณติ ศาสตรท์ ม่ี กั สอนด้วยภาพ เมอ่ื ครูควบคุมหนา้ ต่างกับการจัดแสง ไม่ได้ จงึ เกดิ ผลกระทบเชงิ ลบต่อสมรรถภาพของนักเรยี น คณุ ลกั ษณะทางกายภาพของ ห้องเรียนที่เด่นชัดที่สุดคือหน้าต่าง ซึ่งส�ำคัญเท่ากับหรือมากกว่าคุณลักษณะของครู จ�ำนวนเครอื่ งคอมพวิ เตอร์ หรอื อตั ราการเขา้ เรยี น ในการท�ำนายสมรรถภาพของนกั เรยี น ห้องทีม่ ีววิ ดีท�ำ ให้นักเรียนไดค้ ะแนนสงู ขึ้น มีการศึกษาอีกอันหน่ึงที่น่าสนใจ ซี. เคนเนธ แทนเนอร์ หัวหน้าของส�ำนักวิชาการ ออกแบบและวางแผนหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารแหง่ มหาวทิ ยาลยั จอรเ์ จยี ซง่ึ เปน็ หวั หนา้ ทมี วจิ ยั คร้งั น้ี ไดว้ เิ คราะห์ผลกระทบของคณุ ลกั ษณะภายนอกหอ้ งเรยี นตอ่ คะแนนของเด็กๆ ในหอ้ งนน้ั โดยศกึ ษานกั เรยี นเกรด 5 มากกวา่ 10,000 คน ในโรงเรยี นประถม 71 แหง่ ของรฐั จอรเ์ จยี แทนเนอรแ์ ละคณะพบวา่ นกั เรยี นในหอ้ งเรยี น ทม่ี องออกนอกหนา้ ตา่ ง ไปไดไ้ กลอยา่ งไมจ่ �ำกดั เชน่ มองเหน็ สวน เทอื กเขา และววิ ตามธรรมชาตอิ นื่ ๆ ทไี่ กล ออกไปอยา่ งนอ้ ยทสี่ ดุ 50 ฟตุ จะไดค้ ะแนนสอบวชิ าภาษา วทิ ยาศาสตร์ และคณติ ศาสตร์ สงู กวา่ นกั เรยี นในหอ้ งทม่ี องออกไปเหน็ แคท่ จี่ อดรถกบั ถนน รายงานเรอื่ ง “ผลกระทบ ของการออกแบบโรงเรยี นตอ่ ผลการเรยี นของนกั เรยี น” ตพี มิ พเ์ มอ่ื ปี 2009 ในวารสาร ชอื่ Journal of Educational Administration และดบู ทคดั ยอ่ ไดท้ ี่ http://assets. emeraldinsight.com/10.1108/09578230910955809 301

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ในเวบ็ ไซตข์ อง National Clearinghouse for Educational Facilities ซง่ึ เปน็ โปรแกรมของสถาบันวิทยาศาสตร์การก่อสร้างแห่งชาติ ให้ดูท่ีลิงก์ “Resource List- Impact of Facilities on Learning-Academic Research Studies (บัญชีรายช่ือ ทรัพยากร – ผลกระทบของส่ิงอ�ำนวยความสะดวกตอ่ การเรยี นรู้ – การศกึ ษาวิจัยทาง วิชาการ” ส�ำหรับผลการศึกษาและหนังสือมากมายเก่ียวกับความสัมพันธ์ระหว่างผล สมั ฤทธข์ิ องนกั เรยี นกบั สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพของอาคารเรยี น (www.edfacilities. org/rl/impact_research_studies.cfm) 302

ประเด็นส�ำ หรบั การอภิปราย แสงกับ... 1. แบ่งปันประสบการณ์ท่ีคุณเคยใช้แผ่นใสเพ่ือช่วยให้นักเรียน อ่านหนังสอื 2. ทดลองใช้แผ่นใสสีต่างๆ วางบนหน้าหนังสือตอนอ่านต�ำรา แลว้ เลา่ ผลการทดลองให้คนอื่นฟงั 3. ถา้ หอ้ งเรยี นมแี ตห่ ลอดนอี อน หรอื ไมม่ หี นา้ ตา่ ง ครจู ะท�ำอะไร ได้บ้างเพือ่ ปรบั ปรงุ สภาพการอา่ น 4. มีปัจจัยอะไรบ้างนอกเหนือจากการจัดแสง ซ่ึงมีผลกระทบ ส�ำคญั ตอ่ ผลสัมฤทธิ์ของนกั เรียนและคะแนนการทดสอบ 303

9 อาหารสมอง เราต่างรู้ดีว่าชาวอเมริกันอ้วนเกินไป และปัญหาโรคอ้วนใน วยั เดก็ กบั โรคเบาหวานก�ำลงั รนุ แรงอยใู่ นโรงเรยี น เชน่ เดยี วกบั โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ สมาธิส้ัน และปัญหาการเรียนรู้อ่ืนๆ การวิจยั ลา่ สดุ บอกวา่ ความอ้วนกบั ความลม้ เหลวในโรงเรยี น อาจจะเช่ือมโยงกัน ฉันอ่านเรื่องผลกระทบของโภชนาการ ต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมจากตรงนั้นนิดตรงน้ีหน่อย และ รสู้ กึ สนใจ แตห่ ลงั จากไปรว่ มประชมุ กบั สภาโรงเรยี นนานาชาติ แห่งยุโรปเม่ือปี 2003 ท่ีเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี ฉันเช่ือ

เลยวา่ โภชนาการกบั ประสาทวทิ ยาศาสตรก์ �ำลงั จะเปลย่ี นวธิ คี ดิ ของชาวอเมรกิ นั เก่ียวกับการกินและการเรียนรู้ นับแต่น้ันมา ฉันอ่านงานวิจัยใหม่ๆ มากมาย เก่ียวกับผลกระทบของโภชนาการต่อการท�ำงานของสมองและการเรียนรู้ ดเู หมอื นวา่ ในทส่ี ดุ พวกเราชาวอเมรกิ นั ทีต่ ยุ้ นุ้ยก็พอจะเขา้ ใจวา่ จะกินอาหาร มากแค่ไหนก็ไม่ส�ำคัญเท่ากับว่ากินอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราไม่กินอะไร มนั แตกตา่ งกันตรงน้ีแหละ ท่ฮี ัมบรู ก์ฉนั โชคดีที่ได้ฟงั ดร. แมเดอลีน พอร์ตวดู นักจติ วทิ ยาการศึกษาจาก อาหาร... สหราชอาณาจกั ร น�ำเสนอผลการวจิ ยั เบอ้ื งตน้ จากการการทดลองเดอรมั ซง่ึ เปน็ การวิจัยทดลองเก่ียวกับนักเรียนชั้นประถมท่ีมีพฤติกรรมดีข้ึนและผลสัมฤทธิ์ ทางวชิ าการสงู ขนึ้ เพราะไดบ้ รโิ ภคกรดไขมนั ทจี่ �ำเปน็ มากขน้ึ กอ่ น ดร. พอรต์ วดู เร่ิมพูด ฉันเสียใจนิดหน่อยที่ต้องอยู่ห่างจากครอบครัวในช่วงวันหยุดเทศกาล ขอบคณุ พระเจา้ แตพ่ อไดฟ้ งั ดร. พอรต์ วดู แลว้ ฉนั ดใี จทตี่ อ้ งหา่ งบา้ นนบั พนั ๆ ไมล์ มานงั่ บนเกา้ อพ้ี ลาสตกิ แขง็ ๆ ในหอ้ งประชมุ ทหี่ นาวเยน็ และอยากรบี กลบั บา้ น ไปกอดสมาชกิ ในครอบครวั และแบง่ ปนั บทเรยี นกบั เพอื่ นๆ นกั การศกึ ษา พอ่ แม่ และใครก็ตามที่อยากฟงั เร่อื งนี้ 305

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ก่อนอื่นขอประกาศว่า ฉันไม่รับผิดชอบกับข้อมูลต่อไปน้ี เพราะตัวเองไม่ใช่ นกั วทิ ยาศาสตร์ นกั เคมี หรอื นกั โภชนาการทผี่ า่ นการฝกึ อบรม ฉนั ไดอ้ า่ นเรอ่ื งราวเกยี่ วกบั อาหารและโภชนาการมามากมาย อยา่ งไรกต็ าม เนอ่ื งจากฉนั ไมม่ ภี มู หิ ลงั ดา้ นโภชนาการ หรือประสาทวิทยาศาสตร์อยา่ งเปน็ ทางการ ฉนั หวังวา่ พวกนกั วิทยาศาสตรก์ บั นกั เคมี ทก่ี �ำลงั อา่ นหนงั สอื เลม่ น้ี จะใหอ้ ภยั ทฉี่ นั พยายามอธบิ ายเรอื่ งสลบั ซบั ซอ้ นใหเ้ ขา้ ใจงา่ ยขนึ้ ส�ำหรบั คนทไี่ มไ่ ดค้ ดิ เรอื่ งโครงสรา้ งโมเลกลุ กบั คณุ สมบตั ทิ างประสาทสรรี วทิ ยาเปน็ ประจ�ำ ตอนฟัง ดร. พอร์ตวูด พูด ฉันจดประเด็นส�ำคัญๆ ไว้มากมาย และพยายามถอดความ ออกมาให้แม่นย�ำที่สุด ปญั หาใหญข่ องการเปน็ คนอ้วน “อว้ น” เปน็ ค�ำนา่ รงั เกยี จส�ำหรบั ชาวอเมรกิ นั สว่ นใหญ่ และเปน็ สาเหตสุ �ำคญั ของปญั หา เราตอ้ งการไขมนั บางประเภทเทา่ นนั้ กรดไขมนั ทจ่ี �ำเปน็ ซงึ่ ท�ำใหส้ มองท�ำงานถกู ตอ้ งและ ส่งเสริมสุขภาพ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมกา-6 กับ กลุ่มโอเมกา-3 ซ่ึงร่างกายต้องการ แตผ่ ลติ เองไมไ่ ด้ กลุม่ โอเมกา-3 นา่ จะเปน็ กรดไขมนั ทจี่ �ำเปน็ ซึง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ เพราะช่วย ระงับการอักเสบที่ท�ำให้เกิดการเส่ือมสภาพของร่างกายหลายอย่าง และต่อไปนี้เป็น ความแตกตา่ งโดยสรุป กลุ่มโอเมกา-3 (กรดแอลฟาไลโนเลอคิ หรือเอแอลเอ) มีในอาหารหลายอย่าง เช่น ปลาแซลมอนจากธรรมชาติ ปลาแมคเคอเรล วอลนัต เมล็ดแฟลกซ์ และ ผักใบเขยี ว การเผาผลาญภายในรา่ งกายจะเปลีย่ นกลุ่มโอเมกา-3 ให้กลายเปน็ กรดไขมันที่มปี ระโยชน์ 2 ชนดิ คือ กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (อีพีเอ) กับกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (ดีเอชเอ) คุณคงเห็นแล้วว่า บรรดาผู้จ�ำหน่ายพยายามดึงดูดผู้ซื้อโดยระบุในป้ายแสดง คณุ ค่าทางโภชนาการวา่ ผลติ ภัณฑอ์ าหารนั้นมี อพี ีเอ กับ ดเี อชเอ กลุ่มโอเมกา-6 (กรดไลโนเลอิค) มาจากพืช และพบมากในน้�ำมันปรุงอาหาร 306 ท่ัวๆ ไป เช่น น�้ำมันข้าวโพด น้�ำมันดอกทานตะวัน น้�ำมันดอกค�ำฝอย และ

นำ�้ มนั ถัว่ เหลือง (แตไ่ มม่ ีในนำ�้ มนั มะกอก) อาหารของชาวอเมริกันสว่ นใหญม่ ี กรดไขมันทจี่ �ำเปน็ กล่มุ โอเมกา-6 มากมาย บางครงั้ มกี รดไขมนั กลมุ่ โอเมกา-9 อยใู่ นสว่ นผสมดว้ ย แตไ่ มถ่ อื วา่ จ�ำเปน็ เพราะ รา่ งกายสรา้ งกลุม่ โอเมกา-9 ได้จากไขมนั ไม่อม่ิ ตวั แต่ไม่ว่าจะจดั อยกู่ ลุ่มไหน กลุ่มโอเมกา-9 ก็จ�ำเป็นต่อร่างกาย เพื่อให้สมองท�ำงานถูกต้องและส่งเสริม สุขภาพ กลุม่ โอเมกา-9 มใี นไขมนั สัตวก์ บั น้�ำมนั มะกอก และน้ำ� มันท่ีผลิตจาก ต่อมบนผิวมนุษย์ ซึ่งเป็นกรดไขมัน (กรดโอเลอิก) ตัวเดียวกับที่พบในน�้ำมัน มะกอก อตั ราส่วนของกลุม่ โอเมกา: ชิ้นส่วนสำ�คญั ทส่ี ุดของปรศิ นา ผลติ ภณั ฑอ์ าหารเสรมิ จ�ำนวนมากโออ้ วดวา่ มกี รดไขมนั กลมุ่ โอเมกา-3 หรอื 6 แตส่ ว่ นใหญ่ อาหาร... ไมเ่ ตือนผู้บรโิ ภควา่ อตั ราสว่ นของกรดไขมันทจ่ี �ำเปน็ กลุ่มโอเมกา-6 ต่อกลุ่มโอเมกา-3 เปน็ ปจั จยั ส�ำคญั ทส่ี ดุ ในปญั หาความอว้ น โดยอตั ราสว่ นทเี่ หมาะสม คอื 2:1 สมองสามารถ รบั อตั ราสว่ นทส่ี งู กวา่ นไี้ ด้ แตต่ อ้ งไมเ่ กนิ 20:1 ถา้ สงู กวา่ นน้ั โครงสรา้ งโมเลกลุ กบั พฤตกิ รรม ของกรดไขมนั ทจี่ �ำเปน็ จะท�ำใหเ้ กดิ ปญั หา เพราะกลมุ่ โอเมกา-6 จะไปอดุ ชอ่ งวา่ งระหวา่ ง โมเลกุลของกลุ่มโอเมกา-3 และไปขัดจังหวะ หรือยกเลิกการส่งสัญญาณคล่ืนไฟฟ้า ในสมอง ซ่งึ สมั พนั ธ์โดยตรงกบั ความสามารถทีจ่ ะคิด จะม่งุ ความสนใจ และจะมสี มาธิ หรือถ้าพูดแบบชาวบ้านๆ โดยไม่ใช้ศัพท์วิทยาศาสตร์ก็คือ การกินไขมันผิดประเภท มากเกนิ ไปท�ำใหโ้ งน่ น่ั เอง อาหารที่มอี ตั ราสว่ นของกลุ่มโอเมกา-6 ตอ่ กลุม่ โอเมกา-3 ต�่ำกว่า 20:1 ครีม เนย และน้�ำมันคาโนลา 2:1 เนยเทียมแบบนุม่ (ไม่ใชแ่ บบท่ไี ม่อิม่ ตัวเชิงซอ้ น) 4:1 โยเกริ ต์ 6:1 น้�ำมันถว่ั เหลือง 7:1 นำ�้ มันมะกอก 11:1 307

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด จนถงึ ตอนนท้ี กุ อยา่ งกย็ งั ดอี ยู่ อตั ราสว่ นทเี่ ราบรโิ ภคยงั ตำ่� กวา่ ขดี จ�ำกดั ที่ 20:1 แตอ่ าหาร อเมริกันแท้ๆ มีอัตราส่วนสูงกว่าค่าที่เหมาะสม 2:1 ซึ่งท�ำให้สมองท�ำงานได้ถูกต้อง มากมายนัก น้�ำมันข้าวโพด ซึ่งน่าจะเป็นน้�ำมันพืชท่ีใช้กันมากที่สุดในประเทศ และมี อัตราส่วนอยู่ท่ี 56:1 ซึ่งมากกว่าอัตราส่วนสูงสุดที่สมองจะรับได้โดยไม่ท�ำงานผิดปกติ ไปถึงสองเทา่ ทกุ อย่างแยล่ งเร่ือยๆ ดังจะเหน็ ได้จากรายการต่อไปนี้ อาหารทม่ี อี ัตราสว่ นของกลุม่ โอเมกา-6 ต่อ กลมุ่ โอเมกา-3 สูงกวา่ 20:1 น�้ำมันงา 144:1 เนยเทียมแบบไม่อ่มิ ตวั เชงิ ซอ้ น 370:1 อาหารท่ีใชท้ าขนมปงั (รอ้ ยละ70 เป็นแบบไมอ่ ิ่มตวั เชงิ ซอ้ น) 370:1 น้�ำมันดอกทานตะวนั หรอื ดอกค�ำฝอย 632:1 ระหวา่ งการน�ำเสนอผลการศึกษา ดร. พอรต์ วูด กลา่ ววา่ “ถ้าเอามันฝรง่ั ทอด ถงุ หนง่ึ ทท่ี อดในนำ้� มนั เมลด็ ทานตะวนั ใหเ้ ดก็ กนิ เปน็ อาหารกลางวนั เดก็ คนนนั้ จะเรยี นรู้ อะไรไมไ่ ดเ้ ลยในตอนบา่ ย” นา่ เศรา้ ทบ่ี รษิ ทั ผลติ อาหารจานดว่ นจ�ำนวนมากตอบสนอง ตอ่ ขอ้ เรยี กรอ้ งของผบู้ รโิ ภคทใี่ หห้ ยดุ การใชน้ ำ�้ มนั ขา้ วโพด โดยประกาศวา่ มแี ผนจะเปลย่ี น เปน็ นำ�้ มนั ดอกทานตะวนั หรอื ดอกค�ำฝอยแทน และมนั ฝรงั่ ทอดเกอื บทกุ ถงุ ในประเทศน้ี แมแ้ ตม่ ันฝรั่งทอดแบบอินทรยี บ์ นช้ันวางสินค้าในรา้ นขายอาหารสขุ ภาพก็ยงั ทอดด้วย น�้ำมันดอกทานตะวนั และ/หรอื ดอกค�ำฝอย ถ้ารักษาอาการติดอาหารจานดว่ นของคน ในชาตไิ ม่ได้ ก็ต้องโน้มน้าวใหผ้ ผู้ ลติ อาหารใชเ้ งินมากขึ้นอีกนิด และใช้นำ้� มันปรุงอาหาร ทม่ี ีปริมาณกลมุ่ โอเมกา-6 ต�ำ่ ลง ซึ่งเป็นการโอนภาระค่าใช้จ่ายจากวงการสาธารณสุข ไปสอู่ ตุ สาหกรรมอาหารแทน และอาจจะท�ำใหส้ ขุ ภาพของคนในชาตดิ ขี นึ้ แตเ่ หน็ ไดช้ ดั วา่ ฉันเป็นท้ังคนมองโลกในแง่ดีและนักฝัน ฉะนั้น เราควรกลับมาเจอความเป็นจริงกับ วทิ ยาศาสตร์กนั ดีกว่า 308

ชาวอเมริกันอยหู่ วั แถวของพวกมีปัญหาโภชนาการ อาหาร... ดร. พอรต์ วดู เลา่ วา่ ทมี วจิ ยั ของเธอสนใจอาหารอเมรกิ นั เปน็ พเิ ศษ เพราะสหรฐั อเมรกิ า มีแนวโน้มจะน�ำหน้าประเทศอื่นๆ ในโลกในด้านโรคภัยไข้เจ็บและปัญหาต่างๆ เช่น สมาธสิ น้ั และปญั หาการเรยี นรอู้ นื่ ๆ ผลการศกึ ษาชวี้ า่ ตอนนร้ี อ้ ยละ 50 ของเดก็ 3 ขวบ ในสหราชอาณาจกั ร สอ่ นัยวา่ จะมปี ัญหาพฤติกรรมและปัญหาการเรยี นรู้ เพราะอาการ สมาธิสั้นเพ่ิมขึ้นรุนแรงมากในสหรัฐอเมริกาและเดี๋ยวนี้ในสหราชอาณาจักรด้วย พวก นักวิจัยจึงไม่เช่ือว่า จะเกิดจากปัจจัยภายในตัวของเด็กๆ เมื่อโรคภัยไข้เจ็บมีแนวโน้ม เพม่ิ ขน้ึ อยา่ งรวดเรว็ แบบนี้ นกั วทิ ยาศาสตรจ์ งึ มองวา่ นา่ จะเกดิ จากสภาพแวดลอ้ มมากกวา่ และปจั จยั แวดลอ้ มส�ำคญั อนั หนง่ึ ทน่ี กั วทิ ยาศาสตรศ์ กึ ษาอยคู่ อื โภชนาการ ดร. พอรต์ วดู กล่าวว่า ร้อยละ 20-25 ของความผิดปกติทางประสาทชีวภาพขึ้นกับกระบวนการ เผาผลาญอาหาร ซงึ่ เกยี่ วกบั อาหารท่ีเรากิน และวิธีท่รี า่ งกายตอบสนองต่ออาหารนนั้ ดเู หมือนข้าวโพดจะเปน็ ผรู้ ้ายตัวฉกาจในสหรัฐอเมรกิ าไปเสียแล้ว เพราะมกี รด ไขมันท่ีจ�ำเป็นกลุ่มโอเมกา-6 อย่างเหลือล้นในน�้ำมันข้าวโพด และในอาหารมีน�้ำเช่ือม ขา้ วโพดทม่ี ฟี รคุ โตสสงู อยมู่ ากมาย ทกุ วนั นเี้ ปน็ เรอ่ื งยากทจี่ ะหาคกุ กี้ ขนมปงั กรอบ หรอื น�้ำผลไม้ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่มีน�้ำเชื่อมแบบนี้ (ฉันจะกล่าวถึงเรื่องนี้ให้ละเอียดขึ้น ตอ่ ไปในบทน้)ี 309

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ดร. พอร์ตวูด พูดถึงน้�ำเช่ือมข้าวโพดท่ีมีฟรุคโตสสูงเพียงส้ันๆ เพราะจุดเน้น ของการวิจัยและการน�ำเสนอคือกรดไขมันท่ีจ�ำเป็น แต่บอกว่า ร่างกายย่อยน�้ำเช่ือม แบบน้ีไม่ได้ และการบริโภคน�ำ้ เชือ่ มชนิดนีอ้ าจท�ำให้นำ้� หนักเพ่ิมแลว้ เกิดปญั หาสุขภาพ อนื่ ๆ ตามมา และทตี่ ลกแบบข�ำไมอ่ อกกค็ อื อาหารอเมรกิ นั จ�ำนวนมากใชน้ ำ�้ เชอ่ื มแบบน้ี แทนน�้ำตาล และชาวอเมริกันพยายามก�ำจัดไขมนั ออกจากอาหาร เพราะเช่ือวา่ ไขมนั กบั น้�ำตาลจะท�ำใหอ้ ว้ น ทงั้ ๆ ที่ส่ิงท่ีเอามาแทนไขมนั กบั น�ำ้ ตาลตา่ งหากท่เี ป็นอนั ตราย! จะกินนมแม่ หรอื นมดัดแปลงส�ำ หรบั ทารก ดร. พอรต์ วดู เรม่ิ น�ำเสนอการทดลองเดอรมั โดยสรปุ ผลการศกึ ษากอ่ นหนา้ น้ี ทท่ี �ำไป เพอ่ื ประเมนิ ผลกระทบของนมดดั แปลงหลายๆ แบบตอ่ กจิ กรรมในสมองและระดบั สติ ปญั ญา (ไอควิ ) ของทารก ไมใ่ ชว่ า่ นกั วทิ ยาศาสตรใ์ จรา้ ยเอาทารกมาเปน็ เหยอื่ หาก ทารกเหล่าน้ีเป็นทารกท่ีคลอดก่อนก�ำหนด ซ่ึงต้องกินนมดัดแปลงเพ่ือให้รอดชีวิต การศึกษาแรกๆ ได้เปรียบเทียบนมดัดแปลงส�ำหรับทารก 2 ชนิด ที่ต่างกัน โดย ชนดิ หน่งึ มีคณุ คา่ ทางโภชนาการสูงกวา่ อีกชนิดหนึง่ ท�ำใหเ้ กดิ ผลตา่ งกันในกจิ กรรม ทางสมองของทารกอย่างมีนัยส�ำคัญ พวกนักวิทยาศาสตร์จึงเอานมดัดแปลงท่ี เหนอื กวา่ นนั้ มาเปรยี บกบั นมแม่ และเชอื่ มน่ั วา่ นมดดั แปลงนนั้ จะชนะนมแมแ่ นน่ อน แต่นอกจากจะคดิ ผดิ ทารกที่กนิ นมแม่ (จากแมต่ วั เอง หรือนมแมจ่ ากผู้บริจาค) ก็มี กิจกรรมในสมองมากกว่าและไอคิวสูงกว่าทารกที่กินนมดัดแปลงอย่างมีนัยส�ำคัญ ผลการศึกษาเหลา่ นที้ �ำให้มกี ารศกึ ษาอน่ื ๆ ตามมาเพือ่ ดวู ่า อะไรในนมแมท่ �ำให้เกดิ ความแตกต่างอย่างมากมาย ค�ำตอบก็คือ นมแม่มีกรดไขมันกลุ่มโอเมกา-3 อยู่ 2 ประเภท คือ กรดอะราคิโดนิก (เอเอ) กับ กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (ดีเอชเอ) ดีเอชเอเป็นกรดไขมันท่ีเป็นโครงสร้างส�ำคัญในเนื้อสีเทาของสมองและจอตา และ ส�ำคญั ต่อการสง่ สญั ญาณในสมอง ดวงตา และระบบประสาท ระดับของดเี อชเอต่ำ� สมั พนั ธก์ บั อาการหดหู่ การสญู เสยี ความทรงจ�ำ และปญั หาการมองเหน็ นมดดั แปลง ส�ำหรบั ทารกมีกรดไลโนเลอคิ กับกรดแอลฟาไลโนเลอิคมากกวา่ ดีเอชเอกบั เอเอ 310

ในชว่ งเวลาเฉพาะ (7, 14 และ 28 วนั ) มดี เี อชเอ (กลุ่มโอเมกา-3) เพิม่ สงู มาก อาหาร... ในนมแม่ท่ีให้ลูกกิน ซึ่งสอดคล้องโดยตรงกับกิจกรรมทางศักย์ ที่เป็นกิจกรรมในสมอง ส่วนนอกของทารก การวจิ ยั ถัดมาเปิดเผยวา่ ปริมาณของดีเอชเอในนมแม่ข้นึ กบั อาหาร ทแ่ี มก่ นิ และระยะเวลาทท่ี ารกคลอดกอ่ นก�ำหนด ทารกทเี่ กดิ ตอนอายุ 6 เดอื น มดี เี อชเอ ร้อยละ 50 ของทารกท่เี กดิ ตามก�ำหนด ทารกทเี่ กดิ ตอนอายุ 8 เดอื น มีดีเอชเอ รอ้ ยละ 80 ซึ่งชี้ว่า ถ้าอาหารของแม่ขาดดีเอชเอ ทารกจะไม่มีระดับของดีเอชเอที่เหมาะสม ตอนคลอดออกมา ถา้ ระดบั ของดเี อชเอตกลงมาตำ�่ กวา่ รอ้ ยละ 50 กระบวนการเผาผลาญ อาหารของเด็กๆ จะย่อยกรดไขมันท่ีจ�ำเป็นกลุ่มโอเมกา-3 ได้ยาก และเด็กๆ ที่ขาด กลุ่มโอเมกา-3 จะแสดงอาการต่างๆ ออกมา เช่น ผิวแห้ง หรือคัน โรคผิวหนังอักเสบ หอบหดื แพน้ ำ�้ ตาลแลคโตส มปี ญั หาการนอน ผวิ ขรขุ ระทหี่ ลงั แขน เลบ็ ออ่ นและหกั งา่ ย ปัสสาวะบ่อย กระหายน�้ำผิดปกติ ผมแห้งกร้าน และเป็นโรคภูมิแพ้ นอกจากอาการ ทางกายแล้ว การขาดกลมุ่ โอเมกา-3 ยงั มผี ลกระทบส�ำคัญต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ ของเด็ก ตามผลการวจิ ยั ในทมี ของ ดร. พอร์ตวูด และพวกนักวิทยาศาสตร์อ่นื ๆ พวกนกั วจิ ยั สรปุ เหมอื นกนั วา่ กรดไขมนั ทจี่ �ำเปน็ กลมุ่ โอเมกา-3 ท�ำใหส้ ญั ญาณ กระโดดข้ามช่องวา่ งระหว่างเซลล์สมองงา่ ยขนึ้ ชว่ ยใหค้ วามจ�ำดขี ึน้ และมสี มาธิมากขึน้ ถ้ามีกลุ่มโอเมกา-3 น้อยเกินไปในอาหาร สมองจะมีปัญหา และกิจกรรมทางศักย์จะ ช้าลงหรือหยุดน่ิง ทีมของ ดร. พอร์ตวูด ออกแบบการทดลองเดอรัมมาทดสอบผลกระทบของ กรดไขมันท่ีจ�ำเป็นต่อพฤติกรรมของเด็ก 200 คน ซ่ึงเกือบทุกคนมีปัญหาการท�ำงาน ทางกายไมป่ ระสานกนั การวินิจฉัยทางคลินิกพบว่าเดก็ 82 คน มปี ญั หาสมาธิสน้ั และ 40 คน มีปัญหาการอ่าน เช่น เป็นดิสเล็กเซีย แทนท่ีจะตรวจเลือด ซึ่งต้องใช้เข็มและ ท�ำใหเ้ ดก็ ๆ กลวั นกั วทิ ยาศาสตรจ์ งึ คดิ หาวธิ ที ดสอบอนื่ ทใ่ี ชล้ มหายใจมาเฝา้ สงั เกตเดก็ ๆ โดยใหแ้ ตล่ ะคนกินอาหารเสรมิ ท่ีเป็นแคปซลู วันละ 6 เมด็ ซง่ึ มีอัตราส่วนของกรดไขมัน ทีจ่ �ำเป็นกลุ่มโอเมกา-6 ร้อยละ 20 และกรดไขมันทจ่ี �ำเปน็ กลมุ่ โอเมกา-3 รอ้ ยละ 80 โดยไมเ่ ปลย่ี นแปลงอาหารทเี่ ด็กๆ กนิ เปน็ ประจ�ำ เน่อื งจากเป็นการศกึ ษาแบบควบคมุ เพอ่ื ไม่ให้เกดิ อคติ เจ้าหนา้ ทข่ี องโรงเรยี นจึงเปน็ ผ้คู วบคมุ การกนิ อาหารเสริมในวนั ทเ่ี ดก็ 311

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด มาโรงเรียน ไม่มีใครรวมทั้งนักวิจัยรู้ว่า เด็กคนไหนได้รับอาหารเสริมจริง และใครได้รับ อาหารเสรมิ หลอกทีภ่ ายในไมม่ สี ารอาหารอะไรเลย หลังจากศกึ ษาไปได้ 2 เดือน ผลที่ ออกมาเร่ิมท�ำให้พ่อแม่ประทบั ใจ และในทส่ี ดุ ก็ท�ำให้นกั วทิ ยาศาสตรป์ ระทับใจเช่นกนั โดยพบวา่ นกั เรยี นท่กี นิ อาหารเสริมซึ่งมกี รดไขมันท่จี �ำเป็นมอี าการตืน่ เต้นนอ้ ยลงและ สมาธิดขี ึน้ อยา่ งเหน็ ไดช้ ดั พอกลับจากการประชมุ ท่ฮี มั บูร์ก ฉนั เขา้ ไปดเู วบ็ ไซตท์ แ่ี ลกเปล่ยี นความคิดเห็น เกย่ี วกบั การวจิ ยั ของทมี ของ ดร. พอรต์ วดู (www.durhamtrial.org) และคน้ ควา้ เพม่ิ เตมิ ในอินเตอร์เน็ตกับห้องสมุด เพ่ือเรียนรู้เรื่องกรดไขมันท่ีจ�ำเป็นให้มากข้ึน หลังจากอ่าน ผลการศึกษาและบทความในนิตยสารมามากมาย ฉันเช่อื ว่า ปัญหาสุขภาพหลายอยา่ ง ที่ระบาดอย่างรุนแรงในหมู่ชาวอเมริกัน เช่น สมาธิส้ัน โรคอ้วน หดหู่ และ อัลไซเมอร์ สมั พันธโ์ ดยตรงกับการกนิ ไขมันบางอยา่ งมากเกนิ ไป และการขาดไขมันบางประเภท ค�ำ ส่งั ของแพทย์ ถา้ อยากอา่ นเรอ่ื งกรดไขมนั ทจ่ี �ำเปน็ ใหเ้ รมิ่ ทเี่ วบ็ ไซตข์ อง ดร. ทอมสั กรนี นกั จดั กระดกู ชาวเทกซสั ซึ่งให้ข้อมูลเบอ้ื งต้นทดี่ เี กีย่ วกับวติ ามนิ เกลือแร่ และกรดไขมนั ทจ่ี �ำเป็น พรอ้ มกับขอ้ มูลทางโภชนาการอนื่ ๆ (www.dcnutrition.com/home.cfm) ถา้ หาส�ำเนาของบทความชอื่ “Captain of the Happier Meal” ของ Rachael Moeller Gorman (ในนติ ยสารออนไลนช์ อ่ื Eating Well ฉบบั ประจ�ำเดอื นพฤษภาคม- มถิ นุ ายน ปี 2010 ท่ี www.eatingwell.com) ไดล้ ะก็ ฉนั ขอแนะน�ำใหอ้ า่ นเปน็ อยา่ งยง่ิ นายแพทย์ โจ ฮเิ บลิน เปน็ ร้อยเอกในหน่วยบริการสาธารณสุขแหง่ สหรัฐอเมริกา และ รักษาการหัวหน้าแผนกประสาทวิทยาศาสตร์ทางโภชนาการ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน โรคจติ และทเี่ ขาสนใจมากทส่ี ดุ คอื ความเชอื่ มโยงระหวา่ งระดบั กรดไขมนั กลมุ่ โอเมกา-3 ทต่ี ำ�่ และระดบั กรดไขมนั กลมุ่ โอเมกา-6 ทส่ี งู กบั สขุ ภาพทางจติ เชน่ โรคอารมณส์ องขว้ั โรคจติ เภท โรคซมึ เศร้า ฯลฯ 312

บนั ทกึ การวจิ ยั ของ ดร. ฮเิ บลนิ ครอบคลมุ เนอ้ื หาหลากหลายไดอ้ ยา่ งนา่ ประทบั ใจ อาหาร... และนา่ สนใจมาก ในปี 1995 ดร. ฮเิ บลนิ และคณะไดต้ พี มิ พร์ ายงานในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition (ฉบับท่ี 62) ซ่ึงเสนอทฤษฎีที่ว่า โรคจิตอาจเป็นผล มาจากการขาดกลมุ่ โอเมกา-3 รายงานนชี้ ว้ี า่ อาหารอเมรกิ นั ขาดความสมดลุ ทางโภชนาการ เป็นอย่างยิ่ง เราบริโภคกรดไขมันกลุ่มโอเมกา-6 มากกว่ากลุ่มโอเมกา-3 ประมาณ 10-15 เทา่ เพราะในอาหารมีน�ำ้ มนั ถวั่ เหลือง ดอกค�ำฝอย และข้าวโพดมากมาย ซง่ึ ไม่ สมดุล และอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตมากมายที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศ ภารกิจปจั จบุ ันของ ดร. ฮิเบลิน คือ การเปลยี่ นอาหารในกองทพั อเมรกิ นั ทกุ หน่วยใหม้ ี กรดไขมันกลมุ่ โอเมกา-3 มากข้ึน และกลมุ่ โอเมกา-6 นอ้ ยลง เพราะเชือ่ วา่ จะช่วยลด ความผิดปกตทิ เ่ี กดิ ขนึ้ หลงั ทหารผา่ นศกึ ต้องเผชิญความเครียดท่ีสะเทอื นใจและเป็นโรค ซมึ เศร้า ซึ่งปัจจุบันมีผลกระทบต่อร้อยละ 20 ของทหารท่ีออกไปรบ เราควรใส่ใจกับ งานวจิ ัยของนกั วิทยาศาสตร์อยา่ งนเี้ ปน็ อยา่ งยงิ่ วายรา้ ยทางโภชนาการตวั อ่ืนๆ ตั้งแตป่ ลายทศวรรษ 1980 หลังจากตระหนกั ถึงผลกระทบที่รุนแรงของอาหารและ ส่ิงท่ีไม่ใช่อาหารต่อสมองกับพฤติกรรมของนักเรียน ฉันจึงทดลอง วิจัย และอ่าน เรื่องของโภชนาการกับสมองต่อไปเร่ือยๆ และในช่วง 30 ปี มานี้ วายร้าย 2 กลุ่ม คือ น�ำ้ ตาลเทียม กับน้ำ� เชื่อมขา้ วโพดทม่ี ีฟรคุ โตสสงู จะโผลม่ าเป็นประจ�ำเวลาอา่ น บทความในนิตยสาร หรืองานศึกษาวจิ ัยทางวทิ ยาศาสตร์ท่ีส�ำคัญๆ เกยี่ วกบั เร่อื งนี้ แอสปาร์แตม แอสปาร์แตมกบั ฉนั มีเรอื่ งขดั แยง้ กนั เปน็ การส่วนตวั หลงั จากฉนั เร่มิ ออกเดตกบั หนมุ่ โคบาลที่ติดน�้ำอัดลมไม่มีน�้ำตาล (แอสปาร์แตมเป็นส่วนผสมหลักในน�้ำตาลเทียม หลายยหี่ อ้ เชน่ NutraSweet, Equal Measure และ Equal) กอ่ นหนา้ นน้ั ฉนั ไมเ่ คย 313

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ดมื่ นำ�้ อดั ลม แตพ่ อออกเดตแลว้ กเ็ รม่ิ ดมื่ นำ้� อดั ลมไมม่ นี ำ้� ตาลบา้ งเปน็ ครงั้ คราว ตอ่ มา ไม่นานก็ติดหนึบเหมือนเพื่อนที่เป็นโคบาล ตอนฉันอยู่ทางใต้ของรัฐนิวเม็กซิโกท่ี อากาศร้อนมากเกอื บตลอดเวลา และน�้ำอดั ลมเย็นเฉียบตามค�ำที่เพอ่ื นเรยี กก็อรอ่ ย ชนื่ ใจเปน็ พเิ ศษ ไมน่ านฉนั เปลย่ี นจากการดม่ื นำ้� อดั ลมขนาดบรรจุ 12 ออนซ์ มาเปน็ แบบทใี่ ครๆ ก็ดืม่ กัน คือ 40 ออนซ์ ซง่ึ มีแตส่ ารเคมี สารกนั บูด วตั ถปุ รงุ แต่งกลน่ิ รส และน้�ำตาลเทียม ซึ่งเป็นส่วนผสมของน�้ำอัดลมส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ในปัจจุบัน และ ภายในไมก่ เ่ี ดอื น ฉนั เรมิ่ สงั เกตเหน็ ความเปลย่ี นแปลงทางกายบางอยา่ ง เชน่ เลบ็ เปราะ ผมรว่ งผดิ ปกตแิ ละหลน่ เกลอ่ื นอยตู่ ามชนั้ วางของในหอ้ งนำ�้ พงุ ยนื่ และตน้ ขาอวบขน้ึ ฉันไม่นึกเลยว่าความเปลี่ยนแปลงพวกน้ันจะเก่ียวกับน�้ำอัดลมไม่มีน�้ำตาล จนเริ่ม มีปัญหาร้ายแรงกับกระเพาะปัสสาวะ และต้องเข้าห้องน้�ำบ่อยข้ึนเพราะอ้ันไม่อยู่ รู้แตว่ ่าต้องไป ตอ้ งไปเดย๋ี วนี้ ถ้าไม่ไป จะปวดกระเพาะปัสสาวะ ก็เลยเรม่ิ ตั้งค�ำถาม และคุยกับคนที่มีปัญหาคล้ายๆ กัน มีแพทย์คนหนึ่งแนะน�ำให้เลิกด่ืมน�้ำอัดลม ซึ่ง เป็นเรอ่ื งยาก เพราะการเลกิ ดมื่ น�้ำอัดลมไม่มีนำ�้ ตาลยากกวา่ เลิกสูบบุหร่ีซงึ่ ฉนั เลิกได้ หลายปแี ลว้ ดว้ ยซำ�้ แตใ่ นทสี่ ดุ ฉนั กเ็ ลกิ ดมื่ นำ้� อดั ลมไมม่ นี ำ�้ ตาลจนได้ และสขุ ภาพดขี น้ึ ภายในไม่กีว่ นั ฉนั กนิ อาหารมากขน้ึ แตน่ ำ�้ หนักลดลง จงึ ตระหนกั ว่ามีสิ่งไม่ดอี ยใู่ น น้�ำอดั ลม และการคน้ คว้าน�ำฉนั ไปพบวายร้ายชอื่ แอสปาร์แตม นี่เป็นอีกครั้งที่ฉันท่ึงกับการวิจัยและข้อมูลมากมายที่ไม่มีใครใส่ใจ หรือถูก กลบฝังไว้เพราะการขอใหร้ ฐั บาลอนมุ ตั ิการใช้สารในอาหารกบั วัตถปุ รงุ แต่งสีและกลนิ่ เป็นเรอื่ งยาก เม่อื ปี 2010 เราพบแอสปารแ์ ตมในอาหารและเคร่ืองด่มื อเมริกนั มากกวา่ 5,000 ชนิด แม้จะมีเอกสารและค�ำยืนยันมากมายจนเหลือล้นจากบรรดาแพทย์และ นักวิทยาศาสตร์ท่ีเตือนรัฐบาลถึงอันตรายของน�้ำตาลเทียมโดยท่ัวไป และโดยเฉพาะ แอสปาร์แตม ตามท่ีเคยพูดไว้ว่า ฉันไม่ใช่นักโภชนาการที่ผ่านการฝึกอบรม ไม่ใช่นัก ชวี วิทยาหรอื นกั เคมี แต่เป็นผใู้ หญท่ ่ฉี ลาดพอควร และมีการศึกษามากพอจะรูว้ า่ อะไร เป็นเร่อื งไรส้ าระ การทบ่ี รษิ ทั น้ำ� อดั ลมอ้างว่า ส่วนผสมในเคร่ืองดืม่ ของตัวเองปลอดภยั เตม็ รอ้ ยและไม่มีอนั ตรายเปน็ เรือ่ งไรส้ าระ ดังเหตุผลต่อไปนี้ 314

มีหนังสือนับสิบๆ เล่ม ท่ีแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เขียนข้ึนเพื่อต่อต้าน อาหาร... การบริโภคแอสปาร์แตม และให้ข้อเท็จจริงพื้นฐานอันเดียวกัน น่ันคือ แอสปาร์แตม ประกอบด้วยกรดแอสปาร์ติก (ร้อยละ 40) ฟีนิลอลานีน (ร้อยละ 50) และเมทานอล หรือแอลกอฮอล์ไม้ (รอ้ ยละ 10) ซึง่ ไมม่ ีอะไรดีตอ่ ร่างกายมนุษยเ์ ลย โดยทวั่ ไปเหน็ พอ้ งตอ้ งกนั วา่ นำ�้ ตาลเทยี มเปน็ ตวั แทรกแซงความสมดลุ ทเี่ ปราะบาง และส�ำคัญอย่างวิกฤตของอินซูลินในร่างกาย หนังสือดีที่สุดเล่มหนึ่งท่ีฉันเคยอ่าน คือ Ultrametabolism ซึ่งบันทึกเป็นเอกสารได้ดีและครบถ้วน โดย ดร. มาร์ก ไฮแมน ซ่ึงเขียนเก่ียวกับน�้ำตาลเทียมไว้ว่า “ผลข้างเคียงอันหน่ึงท่ีเรารู้คือ น�้ำตาลเทียมพวกนี้ กระตุ้นความหิวผ่านการตอบสนองในสมองต่ออินซูลิน น�้ำตาลเทียมไม่เหมือนน้�ำตาล และไมท่ �ำใหอ้ ินซลู นิ สมดุล ร่างกายจงึ มีอนิ ซลู นิ มากเกินไป และต้องกนิ อาหารมากขนึ้ เพอื่ จดั การปญั หานี้ แบบแผนทัง้ หมดนี้จะกอ่ กวนระบบควบคมุ ความอยากอาหารอยา่ ง รนุ แรง แต่ทแี่ ยก่ ว่านั้นคือ น�ำไปสกู่ ารตอ่ ตา้ นอินซูลนิ ” การคน้ หาทางอนิ เทอร์เนต็ เร่ือง “ความปลอดภยั ของแอสปาร์แตม” ให้รายช่อื เวบ็ ไซตอ์ อกมาเปน็ พนั ๆ ชอ่ื ทยี่ ำ�้ ขอ้ มลู เดมิ จากทงั้ ฝา่ ยสนบั สนนุ และฝา่ ยตอ่ ตา้ น บรษิ ทั อาหาร ผผู้ ลติ แอสปารแ์ ตม กบั กระทรวงสาธารณสขุ ของสหรฐั อเมรกิ าซงึ่ ตอ้ งรบั ประกนั ความปลอดภยั ของวตั ถุปรุงแต่งสี กลิ่น และรสของอาหาร ต่างยืนยนั วา่ แอสปาร์แตม ปลอดภยั แตพ่ วกแพทย์ นกั ประสาทวทิ ยา นกั วทิ ยาศาสตร์ นกั วจิ ยั นกั โภชนาการ และ ผู้บริโภคชาวอเมริกันกว่า 10,000 คน ที่ยื่นค�ำร้องทุกข์เกี่ยวกับผลข้างเคียงหลังจาก บรโิ ภคผลติ ภณั ฑท์ มี่ แี อสปารแ์ ตม ตา่ งยนื ยนั วา่ แอสปารแ์ ตมเปน็ อนั ตรายและอาจท�ำให้ ถงึ ตายได้ แนน่ อนวา่ การศึกษาที่ได้ทนุ สนับสนุนจากอตุ สาหกรรมอาหารตอ้ งแสดงผลว่า แอสปารแ์ ตมกบั นำ�้ ตาลเทยี มอน่ื ๆ ไมม่ อี นั ตราย แตก่ ารศกึ ษาสว่ นใหญท่ ไ่ี ดท้ นุ สนบั สนนุ อิสระกลบั แสดงผลตรงกันข้าม ดร. ไฮแมน มีหลกั ฐานอา้ งอิงวา่ “ในบรรดาการศึกษา เกย่ี วกบั ความปลอดภยั ของแอสปาร์แตมท้ัง 166 เรอ่ื ง มี 74 เรือ่ ง ไดท้ ุนสนับสนุนส่วน หนงึ่ จากอตุ สาหกรรมอาหาร และ 92 เรอ่ื ง ไดร้ บั ทนุ สนบั สนนุ อสิ ระ ขณะทรี่ อ้ ยละ 100 ของการศึกษาท่ีได้ทุนสนับสนุนจากอุตสาหกรรมอาหารพากันสรุป ว่า แอสปาร์แตม 315

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ปลอดภยั รอ้ ยละ 92 ของการวิจยั ที่ไดท้ ุนสนับสนุนอิสระกลบั ระบุว่า มคี วามเป็นไปได้ ท่ีแอสปาร์แตมจะก่อใหเ้ กิดผลกระทบเชิงลบ” เวบ็ ไซตข์ องแพทยน์ บั สบิ ๆ คน รวมทง้ั ดร. โจเซฟ เมอรโ์ คลา (www.mercola.com) ได้รวบรวมข้อเทจ็ จริงและบทความต่างๆ ไว้ เพื่อเตือนให้ผคู้ นหลกี เลีย่ งแอสปาร์แตม รายงานของคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยวา่ ผูบ้ รโิ ภคกว่า 10,000 คน บ่นเรื่องปฏิกิริยาเชิงลบต่อแอสปาร์แตม (รวมทั้งอาการชักและการเสียชีวิต) ปี 1995 ทอมสั วลิ คอกซ์ หวั หนา้ ฝา่ ยวทิ ยาการระบาดของคณะกรรมการอาหารและยา ยนื ยนั วา่ มากกวา่ รอ้ ยละ 75 ของค�ำรอ้ งทกุ ขข์ องผบู้ รโิ ภคทงั้ หมดตง้ั แตป่ ี 1981 ถงึ 1995 เปน็ เรอื่ ง ของแอสปาร์แตม (Food Chemical News 12 มิถุนายน 1995 หน้า 27) ปี 1994 กระทรวงการบริการสุขภาพและมนุษย์ของสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์รายการของอาการ 92 แบบ รวมทง้ั การปวดหวั เวยี นศรี ษะ ชกั คลนื่ ไส้ นำ�้ หนกั ขนึ้ หวั ใจเตน้ ผดิ ปกติ ซมึ เศรา้ เหนอ่ื ยออ่ น หงดุ หงดิ งา่ ย มปี ญั หาการมองเหน็ ปวดขอ้ ตอ่ และสญู เสยี ความทรงจ�ำ ซง่ึ เปน็ ปฏิกริ ยิ าเชงิ ลบทส่ี ัมพนั ธ์กับการบริโภคแอสปาร์แตม ปี 2007 ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา 12 คน ขอให้คณะกรรมการอาหารและยาทบทวนความเส่ียงทางสุขภาพท่ีเป็นไปได้ ของแอสปาร์แตม เพราะมีผลการศึกษาล่าสุดท่ีแสดงความเชื่อมโยงระหว่างโรคมะเร็ง กบั แอสปารแ์ ตม ใหอ้ า่ นส�ำเนาจดหมายไดท้ ี่ http://cspinet.org/new/pdf/aspartame _lettecto_fda.pdf ส่วนตัวฉนั คดิ ว่า ขอ้ เทจ็ จรงิ อนั เป็นทีย่ ุตใิ นประเดน็ นี้ คอื ค�ำยืนยันตอ่ รฐั สภา ของบรรดาแพทยแ์ ละนกั วทิ ยาศาสตรท์ ย่ี น่ื ค�ำรอ้ งตอ่ รฐั บาลสหรฐั อเมรกิ า เพอ่ื ไมใ่ หอ้ นมุ ตั ิ การใช้แอสปารแ์ ตม เพราะมกี ารบันทึกผลขา้ งเคยี งไว้เปน็ เอกสารก่อนหนา้ นี้แลว้ พวก ผู้เช่ียวชาญด้านสุขภาพสามารถขัดขวางการอนุมัติให้แอสปาร์แตมเป็นสารปรุงแต่ง ในอาหารจนได้ จนกระทั่งมีการแต่งต้ัง อาเธอร์ ฮัล เฮส์ เป็นสมาชิกคณะกรรมการ อาหารและยา ในสมยั ประธานาธบิ ดเี รแกน หลงั จากนน้ั ไมน่ านแอสปารแ์ ตมกไ็ ดร้ บั อนมุ ตั ิ และเฮส์ลาออกจากคณะกรรมการอาหารและยา ไปท�ำงานกบั บริษัทเบอรส์ นั และมาร์ สเตลเลอร์ ซ่ึงเป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ของ NutraSweet และเฮส์ปฏิเสธไม่ยอมให้ 316 สัมภาษณใ์ ดๆ หลงั จากน้ัน

หนงั สือที่มีชือ่ เสียงทสี่ ดุ เล่มหนึง่ เกย่ี วกับอันตรายของแอสปารแ์ ตมคือ Sweet อาหาร... Poison: How the World’s Most Popular Artificial Sweetener Is Killing Us—My Story ของ เจเน็ต ฮัล ปี 1991 แพทย์วินิจฉัยว่าเธอเป็นโรคคอพอกตาโปน ท่ีไมม่ ีทางรักษา เจเน็ตอา้ งว่า พษิ ของแอสปาร์แตมท�ำใหเ้ ธอเกือบตาย แตฟ่ ื้นฟรู า่ งกาย กลบั มาไดโ้ ดยท�ำดที อ็ กซแ์ อสปารแ์ ตม นอกจากนนั้ ในหนงั สอื ยงั มปี ระวตั ขิ องแอสปารแ์ ตม ทบี่ นั ทกึ เปน็ เอกสาร รายงานของรฐั บาล และการไตส่ วนของวฒุ สิ ภาเรอ่ื งความปลอดภยั ของแอสปาร์แตม ประวัตกิ รณตี ่างๆ และบญั ชรี ายชื่อของผลติ ภัณฑ์ทีม่ ีแอสปารแ์ ตม อ่านประวัติของการอนุมัติแอสปาร์แตม และดูแผนผังโครงสร้างทางเคมีของ แอสปารแ์ ตมได้ท่ี www.associatepublisher.com/e/a/as/aspartame.htm น�้ำเชอื่ มข้าวโพดทม่ี ฟี รุคโตสสูง คณุ รู้เลยวา่ ต้องมอี ะไรผดิ ปกตแิ น่ๆ เวลาพวกผู้ผลติ อาหารใชเ้ งินนบั ลา้ นๆ ดอลลาร์ มาท�ำแคมเปญโฆษณาและออกโฆษณาทางโทรทัศน์ เพื่ออวดอ้างความปลอดภัย ของผลติ ภณั ฑ์ ใจความส�ำคญั พนื้ ฐานของโฆษณาแบบนค้ี อื มคี นทหี่ นง่ึ ออกมาเตอื น คนทส่ี องวา่ อยา่ กนิ นำ�้ เชอื่ มขา้ วโพดทมี่ ฟี รคุ โตสสงู แลว้ คนทส่ี องกถ็ ามวา่ “ท�ำไมละ่ ” แต่คนที่หนึ่งไม่มีค�ำตอบ คนที่สองจึงมองอย่างย่ามใจแล้วถามว่า “เพราะถ้ากินใน ปรมิ าณทเ่ี หมาะสม กป็ ลอดภยั เตม็ รอ้ ยใชไ่ หม” หรอื ค�ำถามอะไรท�ำนองน้ี แตข่ อ้ คดิ เหน็ ที่นา่ จะเป็นมขี อ้ เทจ็ จรงิ มากกวา่ จากคนท่สี องนา่ จะเปน็ ว่า “เพราะมนั ไมฆ่ า่ คุณหรอื ท�ำให้คุณปว่ ยทนั ทใี ชไ่ หม” น�้ำเชอ่ื มขา้ วโพดท่มี ีฟรุคโตสสูงเป็นสารปรุงแต่งอาหารอยา่ งหนึง่ (ฉนั ลงั เลใจท่ี จะบอกว่านำ้� เชือ่ มแบบนเ้ี ป็นอาหาร) ที่เป็นเรื่องหลกั ในประเด็นทย่ี ังไมม่ ขี อ้ ยตุ มิ าหลาย ปีแล้ว และเป็นอีกครั้งหน่ึงท่ีรัฐบาลอนุมัติเรื่องท่ีบรรดาผู้เช่ียวชาญการแพทย์และผู้ บรโิ ภคคดั คา้ น ซ่ึงอ้างว่า แม้การบรโิ ภคในปรมิ าณน้อยอาจไมท่ �ำให้ถึงตาย แต่กไ็ ม่ควร บรโิ ภคเปน็ ประจ�ำ เพราะไปแทรกแซงกระบวนการเผาผลาญอาหาร และท�ำให้เปน็ โรค เบาหวานได้ 317

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด นเี่ ปน็ อกี ครงั้ ทฉี่ นั มปี ระสบการณส์ ว่ นตวั มาชว่ ยใหเ้ รอ่ื งนหี้ นกั แนน่ นา่ เชอ่ื ถอื ยง่ิ ขน้ึ หลายปกี อ่ นฉนั คยุ กบั เพอื่ นวา่ รสู้ กึ หดหแู่ ละสมองเลอะเลอื นโดยไมร่ สู้ าเหตุ ทงั้ ๆ ทชี่ วี ติ ไมไ่ ดล้ �ำบากนกั และกนิ อาหารอนิ ทรยี ถ์ งึ รอ้ ยละ 90 ซง่ึ สว่ นใหญเ่ ปน็ ผกั ผลไม้ และโปรตนี คุณภาพสูง เพ่ือนบอกว่า “คงเป็นเพราะน�้ำเชื่อมข้าวโพดท่ีมีฟรุคโตสสูง” ฉันตอบว่า “ฉันไม่รู้จักน�้ำเช่ือมแบบน้ัน แต่คิดว่าไม่ได้กินนะ” เขาบอกว่า “กินสิ” ฉันยืนกรานว่า “ไม่ ฉนั ไมไ่ ดก้ นิ ” เหมอื นเดก็ สองคนทะเลาะกนั เพอ่ื นกเ็ ลยพนนั 100 ดอลลารว์ า่ ถา้ ไป อา่ นปา้ ยบนถงุ อาหารและเครอ่ื งดมื่ ในบา้ น รบั รองวา่ ตอ้ งเจอค�ำวา่ ‘นำ�้ เชอ่ื มขา้ วโพดทมี่ ี ฟรคุ โตสสงู ’ ฉนั มนั่ ใจวา่ ตวั เองจะชนะ กเ็ ลยไปดปู า้ ยทต่ี ดิ ไว้ และพบค�ำนน้ั บนขวดชาเยน็ ทฉี่ ันชอบมาก ส่วนผสมอันดบั แรกคือน�้ำ อนั ท่ีสองคือนำ้� เช่อื มข้าวโพดทม่ี ีฟรคุ โตสสงู ข้ันต่อไปที่ฉันท�ำเสมอ คือ ศึกษาเร่ืองโภชนาการด้วยตัวเอง แต่ไม่ใช่ในเชิง วทิ ยาศาสตร์ ฉนั หยดุ ดมื่ ชาเยน็ ทซ่ี อื้ มาทนั ที แลว้ ชงชาเยน็ ดม่ื เอง โดยใชใ้ บชาและท�ำให้ หวานดว้ ยน�ำ้ หวานของตน้ อกาเว่ หรอื น้�ำตาลจากผลอินทผลัม แนน่ อน ฉันเลิกซมึ เศรา้ และสมองไม่เลอะเลือน ซ่ึงทดสอบด้วยการลงชื่อเข้าไปในอินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นเกม ตอ่ ค�ำศพั ทอ์ อนไลนก์ บั คนทช่ี อบเกมนที้ ว่ั โลก ซงึ่ ลว้ นแตเ่ ปน็ คนเกง่ และถา้ สมองไมเ่ ฉยี บคม จรงิ ๆ กแ็ พ้แนน่ อน ถา้ เข้าไปเล่นเกมหลงั จากดมื่ ชาเยน็ ที่ซ้ือมา ฉันจะไมม่ สี มาธแิ ละท�ำ คะแนนได้น้อย แต่พอทดลองชงชาด่ืมเองเป็นคร้ังคราวอยู่ 2 สัปดาห์ ก็ได้ผลเช่นเดิม ทกุ ครงั้ แต่ถา้ ด่ืมชาเย็นท่ีมนี ำ�้ เชื่อมขา้ วโพดทมี่ ฟี รคุ โตสสงู ไปแลว้ ฉนั จะคิดไมค่ ่อยออก และมีอารมณแ์ ปรปรวน ขั้นต่อไปคือ เร่ิมค้นคว้าและสอบถามทุกคนที่รู้จักว่า เคยมีประสบการณ์กับ น้�ำเช่ือมแบบนี้หรือเปล่า พวกท่ีอยู่ในร้านอาหารสุขภาพกับโรงยิมพากันหัวเราะพลาง พดู วา่ “อา้ ว เธอยงั ไมร่ เู้ รอ่ื งนอี้ กี เหรอ” การคน้ หาทางอนิ เทอรเ์ นต็ กใ็ หค้ �ำเตอื นทกุ รปู แบบ และคนจ�ำนวนมากอา้ งว่า นำ้� เชื่อมแบบน้เี ปน็ สาเหตขุ องโรคภยั ทุกอยา่ ง ตงั้ แตส่ มาธสิ ้นั ไปจนถึงโรคเบาหวาน และไขมันในตับ และเป็นอีกคร้ังที่ฉันอ่านเจอค�ำอธิบายเดิมๆ ซ�้ำแล้วซ้�ำเล่า ในบทความหลายชิ้นและหนังสือหลายเล่ม ต่อไปนี้เป็นความเข้าใจของ ฉันเองทพี่ ดู แบบชาวบา้ นๆ 318

พอกนิ อาหารเขา้ ไป รา่ งกายจะสรา้ งอนิ ซลู นิ เพอ่ื เอานำ้� ตาล (ซโู ครส และกลโู คส) อาหาร... จากอาหารใหเ้ ซลลน์ �ำไปใช้ และสมองหลงั่ สารเคมชี อื่ เลพตนิ ทบี่ อกใหร้ วู้ า่ อมิ่ แลว้ จะได้ หยุดกิน น�้ำตาลทรายท่ีเรากินตามปกติคือ ซูโครส ท่ีเกิดจากกลูโคสรวมกับฟรุคโตส ร่างกายใช้กลูโคสเป็นพลังงาน และในกระบวนการเผาผลาญอาหาร กลูโคสเป็นองค์ ประกอบหลกั ของคารโ์ บไฮเดรตทกุ ชนดิ ถา้ เปน็ คารโ์ บไฮเดรตเชงิ ซอ้ น รา่ งกายจะดดู ซมึ กลูโคสอย่างช้าๆ อย่างท่ีควรจะเป็น เรามักจะพบฟรุคโตสในผลไม้บ่อยที่สุด และจะ ดที สี่ ดุ ถา้ กนิ ฟรคุ โตสในผลไมท้ มี่ เี สน้ ใย แทนการกนิ ในรปู นำ้� ผลไม้ เพราะรา่ งกายจะดดู ซมึ ชา้ กว่าและได้สารอาหารกบั เส้นใยมากขึ้น ยงิ่ ดูดซึมน�้ำตาลชา้ ยิง่ ดี ฟรุคโตสไม่กระตุน้ ให้รา่ งกายสรา้ งอนิ ซูลิน และไมก่ ระตนุ้ ให้สมองหลัง่ เลพตนิ พอฟรุคโตสกลายเป็นน้�ำเช่ือมข้าวโพดที่มีฟรุคโตสสูง ร่างกายจะดูดซึมเร็วกว่าน�้ำตาล แบบอื่นมากๆ และละเลยอินซูลินท่ีร่างกายสร้างข้ึนมาเวลาเรากินอาหาร ซึ่งต่างจาก กลูโคสท่ีต้องการอินซูลินเพ่ือให้เซลล์ดูดซึมได้ น้�ำเชื่อมข้าวโพดท่ีมีฟรุคโตสสูงจะข้าม อินซูลนิ เข้าไปในเซลล์โดยตรง และเริม่ เกดิ ความเสียหายท่ีตรงน้ัน เพราะน้ำ� เชอื่ มแบบนี้ ทอ่ี ยภู่ ายในเซลลจ์ ะกลายเปน็ คารบ์ อน แลว้ ตอ่ มากเ็ ปน็ คอเลสเตอรอล กบั ไตรกลเี ซอรไ์ รด์ ท�ำให้ระดับคอเลสเตอรอลพุ่งสูง และแทรกแซงการท�ำหน้าท่ีของตับ ตามท่ี ดร. มาร์ก ไฮแมน ผู้เขียนหนังสือเร่ือง Ultrametabolism กล่าวไว้ว่า อันที่จริง “น่ีอาจจะเป็น เหตุผลส�ำคัญที่สุดที่ท�ำให้ระดับคอเลสเตอรอลในสังคมของเราเพ่ิมข้ึนตลอด 20 ปี ท่ีผ่านมา” ต่อไปนี้เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ท่ีน่าสนใจที่ฉันอ่านเจอ เช่น เวลาอยากให้หนู ทดลองเปน็ โรคเบาหวาน พวกนกั วจิ ยั จะใหห้ นกู นิ นำ้� เชอื่ มขา้ วโพดทมี่ ฟี รคุ โตสสงู ซงึ่ ไดผ้ ล ทกุ ครั้ง วันที่ 22 มนี าคม 2010 หนงั สอื พมิ พ์ ScienceDaily ฉบับออนไลนร์ ายงานว่า นกั วจิ ยั ของมหาวทิ ยาลยั พรนิ ซต์ นั ยนื ยนั วา่ หนทู ก่ี นิ นำ้� เชอื่ มแบบนมี้ นี ำ�้ หนกั เพม่ิ กวา่ หนู ทกี่ ินน้�ำตาลธรรมดา แม้ท้ังสองกลมุ่ จะกนิ ในปรมิ าณทม่ี แี คลอรโี ดยรวมเทา่ กนั แต่เห็น ไดช้ ัดวา่ ไมใ่ ช่วา่ แคลอรที ้ังหมดจะถูกสรา้ งมาเทา่ กนั นอกจากน้�ำหนกั เพ่มิ แลว้ หนูกลมุ่ ที่กินน�้ำเชื่อมแบบน้ีมีพุงใหญ่กว่า และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ (ไขมันในเลือด) สูงกว่า 319

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด หนูทดลองตัวผู้กินมากกว่าหนูตวั เมยี หนตู ัวผู้ท่กี นิ นำ�้ เช่อื มแบบน้ีหนกั กวา่ หนตู วั ผ้ทู ่ีกนิ อาหารปกติ รอ้ ยละ 48 และนำ�้ หนกั สว่ นใหญไ่ ปอยทู่ พี่ งุ บทความทางออนไลนไ์ ดอ้ า้ งองิ ค�ำพูดของ บาร์ต โฮเบล ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ท่ีเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ ผเู้ ช่ียวชาญด้านความอยากอาหาร นำ้� หนกั และการเสพติดน�ำ้ ตาล ไว้ดงั นี้ “แมห้ นจู ะกนิ นำ้� เชอื่ มขา้ วโพดทมี่ ฟี รคุ โตสสงู ในปรมิ าณตำ่� กวา่ ทอ่ี ยใู่ นนำ�้ อดั ลมมาก ก็ยังเป็นโรคอ้วนได้ทุกตัว แต่หนูท่ีกินอาหารไขมันสูง จะไม่เป็นแบบนี้ ไม่ใช่ว่าทุกตัว จะอว้ นขน้ึ ” อา่ นรายละเอยี ดของการวจิ ยั และหาลงิ กเ์ ชอ่ื มไปดผู ลการศกึ ษาอนื่ ๆ ทนี่ า่ สนใจ เก่ียวกบั น้ำ� เชอื่ มขา้ วโพดที่มีฟรุคโตสสงู ทางออนไลน์ได้ที่ www.sciencedaily.com/ releases/2010103/100322121115.htm และเพอ่ื ความยุติธรรม ให้อ่านถ้อยแถลง ของสมาคมโรงกล่ันน�้ำมันข้าวโพดด้วย ใน www.com.org/princeton-hfcs-study- errors.html ซึ่งอ้างว่า นักวิจัยของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันบ้าไปแล้ว ฉันมีแนวโน้มจะ เข้าข้างพวกนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เพราะบรรดาโรงกล่ันน�้ำมันข้าวโพด มเี ดมิ พนั ทางการเงนิ มหาศาลในผลการศกึ ษาดงั กลา่ ว และความอว้ นของหนู แตค่ ณุ ตอ้ ง ตัดสนิ ใจเองว่าจะเชือ่ ใคร ตอนน้ีเวลาเห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ และคนที่สองในโฆษณาถามว่า ท�ำไมจึง ไมค่ วรกนิ นำ้� เชอ่ื มขา้ วโพดทมี่ ฟี รคุ โตสสงู คณุ จะท�ำใหเ้ พอ่ื นๆ และครอบครวั ประทบั ใจได้ โดยตอบว่า เพราะมกี ารวจิ ัยชีว้ า่ น้�ำเชอ่ื มแบบนที้ �ำให้อยากกินอาหารมากขึน้ เป็นโรค อ้วนเพ่มิ ขึ้น มีคอเลสเตอรอลและความดันเลอื ดสูงขึ้น ฮอรโ์ มนเร่งการเจรญิ เติบโตจากวัว สามญั ส�ำนกึ ดจู ะเปน็ ปจั จยั ส�ำคญั ของเรอ่ื งน้ี เราใชฮ้ อรโ์ มนเรง่ การเจรญิ เตบิ โตจากววั เพื่อให้ลูกวัวเติบโต และวัวที่เติบโตอยู่แล้วโตเร็วข้ึน แต่มนุษย์ไม่ใช่วัว ฮอร์โมนจึง เป็นเร่อื งละเอยี ดอ่อน มนษุ ยม์ ีฮอร์โมนของตัวเองซ่งึ ควบคมุ ระบบท่ีซบั ซ้อน การน�ำ ฮอรโ์ มนแบบน้มี าใชจ้ ึงอาจจะเก่ยี วหรอื ไมเ่ กีย่ วกับการเตบิ โตของหน้าอกและการมี 320 ประจ�ำเดอื นของเดก็ หญงิ ในชว่ งแรก แตเ่ พราะฮอรโ์ มนชนดิ นไ้ี มม่ คี ณุ คา่ ทางโภชนาการ

ทม่ี นุษย์ต้องการเลยสกั นิด และยังมขี อ้ ขัดแย้งมากมายเก่ียวกบั ผลกระทบตอ่ มนุษย์ อาหาร... ในระยะยาว ฉนั จึงคดิ วา่ ถ้าหลีกเล่ยี งได้ ก็ไมม่ เี หตผุ ลอะไรเลยท่ีจะต้องกนิ อาหารที่มี ฮอรโ์ มนพวกน้ี ฉนั ตัดสนิ ไม่ได้ว่า นกั วิทยาศาสตร์ท่ีศึกษาเรื่องน้ีไดท้ นุ สนบั สนุนมา หรอื ลังเลใจเพราะบริษัทอาหารหรอื ไม่ หรือพวกนกั โภชนาการเป็น “พวกบา้ อาหาร สุขภาพ” แต่ฉันพิจารณาวัวอย่างถี่ถ้วนแล้วก็เห็นว่า ร่างกายของมนุษย์กับวัว ถกู สรา้ งมาแตกตา่ งกนั มาก ถา้ คณุ ไม่คอ่ ยจะชอบใจนกั เวลาขบั รถผา่ นทีเ่ ล้ยี งสัตว์ กลน่ิ ฉนุ กกึ ในรฐั เทกซสั หรอื นวิ เมก็ ซโิ กตอนหนา้ รอ้ น ซงึ่ มวี วั นบั รอ้ ยๆ ตวั ยนื จมขว้ี วั ถึงข้อเท้าโดยไม่เห็นหญ้าเลย ก็คงเร่ิมสงสัยว่า มนุษย์ฉลาดหรือโง่กันแน่เรื่องดูแล เลีย้ งดูและใหอ้ าหารววั พวกเราตอ้ ง “ใชส้ มองของตวั เอง” ฉนั ไดอ้ ่านผลการศึกษาทางวทิ ยาศาสตรท์ บ่ี อกวา่ การเปล่ียนแปลงทางโภชนาการ และอาหารเสรมิ ชว่ ยลดพฤติกรรมรุนแรงและกา้ วร้าวอยา่ งชดั เจน อาการสมาธิส้ัน กับโรคภมู แิ พ้ก็ลดลงอยา่ งน่าท่งึ ซ่งึ ฉันเชือ่ จนหมดใจ ถา้ เราใชเ้ วลาและเงินมากข้นึ ไปกับโภชนาการ แทนการกินยาแรงๆ ตามใบสัง่ แพทยท์ ี่อาจมผี ลขา้ งเคยี งรนุ แรง เราจะมีเด็กๆ ท่ีสุขภาพดีขึ้นอย่างมากมาย รวมทั้งจะเรียนรู้และประพฤติตัวดีข้ึน ในโรงเรียน ค�ำถามท่ีแท้จริงเพียงข้อเดียวที่ยังเหลืออยู่ก็คือ พวกเราให้คุณค่ากับ สุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ มากกว่ามิตรไมตรีของบริษัทประกันชีวิต ผู้ผลิตยา และผู้สร้างการทดสอบท่ีโกยก�ำไรนับพันๆ ล้านเหรียญจากพ่อแม่และครู ท่สี ้นิ หวงั ของเด็กๆ ทีไ่ มอ่ าจนง่ั นงิ่ ๆ มสี มาธิ และเรยี นร้หู รือไม่ ฉนั คดิ วา่ ผใู้ หญม่ สี ทิ ธจิ์ ะขม่ เหงรา่ งกายของตวั เองแบบไหนกไ็ ดต้ ามความเหมาะสม แต่เด็กๆ สมควรมีโอกาสเติบโต สุขภาพดีและแข็งแรงที่สุดเท่าท่ีจะเป็นไปได้ ไม่ใช่แค่ เพราะเราจะได้พึ่งพิงพวกเขาในยามที่เราแก่ชรา แต่เพราะมันเป็นเรื่องท่ีถูกต้อง และ ฉันคิดว่าเป็นความผิดอันใหญ่หลวงที่มัวกังวลกับอาหารทุกๆ ค�ำท่ีกินเข้าไป เพราะ ความเครียดเป็นฆาตกรตัวจริง ฉันจึงย้อนกลับไปท่ีความคิดเดิมอีกครั้ง น่ันคือ มาใช้ สามญั ส�ำนกึ กนั เถอะ พยายามหลกี เลย่ี งนำ้� ตาลเทยี ม สารเคมี สารแตง่ สี และสารกนั บดู 321

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ให้มากท่ีสุดเท่าที่เป็นได้ ก�ำจัดอาหารหรือสารปรุงแต่งอาหารทีละอย่าง แล้วสังเกต การเปลย่ี นแปลงดา้ นความชดั เจนทางจติ อารมณ์ นำ้� หนกั การนอน และพลงั งาน เราท�ำ ได้โดยไมต่ อ้ งกินนำ�้ ตาลเพิ่ม ตอนแรกอาจจะรูส้ ึกวา่ อาหารจืดชดื แตส่ ุดทา้ ยนำ้� ตาลจาก ธรรมชาตจิ ะใหค้ วามหวานเพยี งพอ หรอื เราอาจใชน้ ำ้� ตาลจากผลอนิ ทผลมั นำ้� หวานจาก ตน้ อกาเว่ หญา้ หวาน ไซลทิ อลทเ่ี ปน็ นำ้� ตาลแอลกอฮอลใ์ นผกั ผลไม้ หรอื นำ�้ ผง้ึ ในทอ้ งถนิ่ (ไมค่ วรใหท้ ารกหรอื เดก็ เลก็ ๆ กนิ นำ้� ผงึ้ ดบิ ) เราจะเลอื กดม่ื นำ�้ หรอื ชาสมนุ ไพรแทนนำ้� อดั ลม กไ็ ด้ แม้แต่พวกคอกาแฟท่ีไมช่ อบรสชาตขิ องชาด�ำธรรมดาๆ ก็คงชอบด่ืมทชี โิ น ซ่ึงเป็น กาแฟสมนุ ไพรปลอดคาเฟอนี ทม่ี าจากการผสม แครอบชคิ อรกี บั เครอื่ งเทศ แลว้ เอาไปตม้ เหมอื นตม้ กาแฟ ชาโปรดของฉนั คอื ชาเขยี วทมี่ คี าเฟอนี นอ้ ยกวา่ ชาด�ำ และชาสมนุ ไพร ใสเ่ ครอื่ งเทศ (บรษิ ทั โยคที ผี ลติ ชาผสมเครอ่ื งเทศแบบอนิ เดยี ทค่ี ลาสสกิ ) ทปี่ ลอดคาเฟอนี แตม่ รี สจัดและกลนิ่ แรงของสว่ นผสมท่ีเป็นรอยบอส์ ขงิ อบเชย กบั ลกู กระวาน สง่ิ ส�ำคญั ทส่ี ดุ คอื เราใสใ่ จสง่ิ ทรี่ า่ งกายบอกเราได้ ถา้ อาหารทก่ี นิ เขา้ ไปท�ำใหป้ ว่ ย เราก็โง่ถา้ ยงั กนิ ตอ่ ไป ยิง่ คา่ ใช้จา่ ยในการดูแลสุขภาพพงุ่ สูง จงึ มเี หตุสมควรทางการเงนิ ทเี่ ราจะเปน็ ฝา่ ยรกุ ในสขุ ภาพของตวั เองกบั ของเดก็ ๆ เราจะไวใ้ จใหแ้ พทยก์ บั ผเู้ ชย่ี วชาญ การดูแลสุขภาพมาป้อนข้อมูลทุกอย่างให้เราไม่ได้ เราเรียนรู้พื้นฐานการท�ำงานของ กระบวนการเผาผลาญอาหารและแหล่งธรรมชาติท่ีดีท่ีสุดของวิตามินกับเกลือแร่ได้ เราตอ้ งรบั ผดิ ชอบตอ่ สขุ ภาพของตวั เอง และฝกึ ตมุ่ รบั รสของตวั เองใหม่ คนอเมรกิ นั มกั จะ เรมิ่ ท�ำอะไรๆ กอ่ น แลว้ คนอนื่ ๆ ในโลกจะท�ำตาม เราไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งท�ำตามบรษิ ทั อาหาร และนักโฆษณาท่ีไร้จริยธรรม แล้วท�ำให้ตัวเองเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และมีความ ผิดปกติในการเรียนรู้ ในประเทศน้ียังมีผู้ผลิตอาหารและเคร่ืองดื่มที่มีจริยธรรม และ กองทพั ของคนรกั สขุ ภาพ ทไี่ ปอา่ นงานวจิ ยั แลว้ กลนั่ กรองสถติ กิ บั การศกึ ษาทางวทิ ยาศาสตร์ เพื่อให้เราเข้าใจง่าย เราก�ำหนดเส้นทางไปสู่ทางเลือกท่ีท�ำให้สุขภาพดีข้ึนได้ ดูแลเด็กๆ ให้มีความสุขมากขึ้น สุขภาพดีข้ึน ฉลาดข้ึน ในฐานะครูท่ีเป็นคนเฝ้าประตูข้อมูลและ ตน้ แบบที่ทรงอทิ ธิพลส�ำหรบั เด็กๆ ในประเทศ พวกเราควรไปยืนตรงหัวแถวของคนที่มี ภาวะโภชนาการดี 322

ประเด็นสำ�หรบั การอภปิ ราย อาหาร... 1. คณุ มปี ระสบการณอ์ ะไรบา้ งเกยี่ วกบั ผลกระทบของโภชนาการ ตอ่ พฤติกรรมและการเรียนร้ขู องนักเรียน 2. เราจะช่วยเหลือเด็กๆ อยา่ งไร ถ้าพ่อแม่และปูย่ า่ ตายายของ พวกเขากินอาหารทีม่ คี ุณค่าทางอาหารต่ำ� 3. แวะไปที่ร้านขายของช�ำในท้องถ่ิน แล้วดูว่า มีผลิตภัณฑ์ อาหารวา่ งกบั เครือ่ งด่มื ทดี่ ตี อ่ สขุ ภาพสกั ก่อี ย่าง (ทีไ่ มม่ ีนำ้� เชื่อม ข้าวโพด น�้ำตาลเทียม หรือสีผสมอาหารที่ไม่ใช่สีธรรมชาติ) ลองเขยี นรายการผลติ ภณั ฑเ์ หลา่ นน้ั ใหน้ กั เรยี น หรอื ก�ำหนดเปน็ โครงงานของชั้นเรียนก็ได้ เพ่ือให้นักเรียนน�ำกลับบ้านไปเป็น รายการซ้ือของในครอบครวั 4. นอกจากวชิ าพลศกึ ษาแลว้ เราจะท�ำใหน้ กั เรยี นออกก�ำลงั กาย ไดอ้ ยา่ งไร 323

สุดยอด 12 กลยทุ ธ์ 10 สร้างแรงจงู ใจ บางคร้ังแม้คุณจะกระตือรือร้นมากและสอนแบบนักเรียน เป็นศูนย์กลาง เด็กๆ ก็ยังน่ังฟุบและหาวนอน คุณอุตส่าห์ใช้ เวลาตั้งหลายช่ัวโมงสร้างบทเรียนท่ีน่าสนใจ แต่นักเรียนกลับ ไมส่ นใจ คณุ มคี วามรแู้ ละทมุ่ เทใหก้ บั วชิ าของตวั เอง แตน่ กั เรยี น ไมแ่ ครเ์ ลยสกั นดิ เอาแตถ่ อนหายใจ ดนู าฬกิ า ฝนั กลางวนั ไมฟ่ งั คุณพูด กลอกตาให้กัน และส่ายหน้ากับความเขลาไม่เข้าใจ อะไรเลยของคุณ นักเรียนพยายามโน้มน้าวเต็มที่ให้คุณเห็นว่า

พวกเขาเกลียดการเรียนรู้ ไม่แคร์โรงเรียน และเท่เกินกว่าจะยอมให้ใครมา ุสดยอด... รบกวนได้ แต่ฉันขอยืนยันว่า พวกเขาแคร์จริงๆ สมองของมนุษย์ถูกสร้างมา ใหเ้ รียนรู้ แต่บางครง้ั เด็กๆ สนใจกบั การไดค้ ะแนนดีๆ มากเกนิ ไป (หรือตอ่ ตา้ น ความพยายามของครูที่จะสอนเร่ืองที่ถ้าเลือกเองได้ นักเรียนจะไม่เรียนแน่) จนสญู เสยี ความคดิ สรา้ งสรรค์ จนิ ตนาการ และความรสู้ กึ อยากเลน่ สนกุ คณุ พา นกั เรยี นกลบั ไปเรยี นรอู้ ยา่ งเบกิ บานใจไดอ้ กี ครงั้ คณุ ท�ำได้ อยา่ งทค่ี รแู อลแบลก็ ท่ีปรกึ ษาของฉัน บอกไว้ว่า “คุณแคต่ อ้ งกระตุ้นใหน้ กั เรียนสนใจให้ได”้ ต่อไปนเี้ ป็นขอ้ แนะน�ำ 12 ประการ ทอี่ าจช่วยใหน้ กั เรยี นสนใจคุณได้ ซึ่งไมใ่ ช่ ความคิดใหม่ เพราะการสอนไม่มีอะไรใหม่จริงๆ หรอก ถ้าพยายามหาอะไรใหม่ และ ยอ้ นกลบั ไปไดไ้ กลพอ คณุ จะพบวา่ เพลโต, ดวิ อี หรอื มอนเตสซอรี เคยใชเ้ ทคนคิ ทคี่ ณุ คิดว่า “ใหม่” สอนนักเรียนมาหมดแล้ว แต่บางอย่างอาจเป็นความคิดใหม่ส�ำหรับคุณ และบางอย่างอาจเตือนให้คุณคิดถึงเทคนิคท่ีเคยใช้แต่ลืมไปแล้ว เพราะมัวไปยุ่งกับ การจดั การจนลืมเลอื นว่า ตัวเองมคี วามสุขทไี่ ดส้ อน 325

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด คุณจะสังเกตว่า ฉันไม่ได้พูดถึงการเสนอผลตอบแทนอื่นใดให้นักเรียนเลย นอกจากว่า ถ้าเรียนจะพึงพอใจที่ได้เรียนรู้แล้ว และได้บรรลุเป้าหมายที่ยากล�ำบาก เพราะฉากในภาพยนตรเ์ รื่อง Dangerous Minds ท�ำให้ผู้คนจ�ำนวนมากเข้าใจผดิ ๆ ว่า ฉันเอาขนมหวานมาล่อให้นักเรียนเรียนหนังสือ นักเขียนบทกุฉากน้ันข้ึนมาเอง เพราะ ตคี วามเรื่องเลา่ เรือ่ งหน่ึงในหนังสอื My Posse Don’t Do Homework ของฉันผิดไป ซ่ึงเป็นตอนท่ีฉันพยายามจูงใจนักเรียนท่ีมีปัญหาการอ่านให้มาอ่านงานของเชกสเปียร์ นกั เรยี นถกู ท�ำใหเ้ ชอ่ื วา่ ตวั เอง “โงเ่ กนิ กวา่ ” จะอา่ นเรอ่ื ง The Taming of the Shrew ใหเ้ ขา้ ใจได้ แต่ฉนั ยืนยันว่า พวกเขาฉลาดมาก แมท้ กั ษะการอา่ นจะแย่ และยนื กรานให้ ลองเส่ยี งตีความ 2-3 บรรทัดแรกของบทละคร แมไ้ ม่มีใครยอมอาสา แต่ฉนั ไมย่ อมแพ้ ฉนั ยนื คอยอยนู่ านมากจนนกั เรยี นขอ้ี ายมากคนหนง่ึ ยกมอื และแสดงความเหน็ แตก่ พ็ ดู ผดิ ผดิ มากๆ เลย ตอนนนั้ ฉนั ก�ำลงั ลว้ งกระเปา๋ อยู่ และเจอธนบตั รหนงึ่ เหรยี ญหลงอยใู่ นนน้ั ฉนั ไมไ่ ดว้ างแผนมากอ่ นเลย แตจ่ ๆู่ กเ็ กดิ ความคดิ ขนึ้ มา จงึ ดงึ ธนบตั รใบนน้ั ออกมา และ ส่งใหเ้ ด็กชายทีอ่ าสาคดิ เขาถามวา่ “ผมพดู ถกู หรอื เปลา่ ” ฉนั ตอบวา่ “ไมถ่ กู แตค่ รใู หเ้ งนิ เธอเหรยี ญหนงึ่ เปน็ คา่ คดิ เพราะนกั เรยี นจะไมม่ วี นั ตอบถกู ถา้ กลวั ตอบผดิ ” ทนั ใดนน้ั เองคนอนื่ ๆ กอ็ าสา จะคดิ และเรยี กรอ้ งเงนิ 1 เหรยี ญบา้ ง พอฉนั ปฏเิ สธ พวกเขากย็ นื กรานวา่ ควรไดร้ างวลั ทอ่ี ตุ สา่ หค์ ดิ ตอนนนั้ ฉนั มขี นมหวานทตี่ งั้ ใจจะใหเ้ ปน็ รางวลั ส�ำหรบั การสะกดค�ำอยพู่ อดี (ตอนเทอมแรกทสี่ อน ฉันเร่มิ ตระหนกั วา่ ขนมหวานไม่ใชร่ างวัลดที ่ีสดุ หรอื ดตี อ่ สขุ ภาพ ทสี่ ดุ จงึ หยดุ ใหข้ นมหวานเปน็ รางวลั ) กเ็ ลยเอาขนมหวานใหน้ กั เรยี นคนถดั ไปทพี่ ยายามคดิ ภายใน 30 นาที กแ็ จกรางวลั ไปมากมาย ทงั้ อาหารกลางวนั ของตวั เอง คลปิ หนบี กระดาษ ปากกา ดนิ สอ และอนื่ ๆ ทกุ อยา่ งทพี่ อจะหาได้ นกั เรยี นตน่ื เตน้ ทไี่ ดข้ องขวญั จากการคดิ เก่ียวกับเชกสเปียร์ จนวันต่อมาพอขออาสาสมัครปุ๊บ นักเรียนพากันโบกมือว่อน และ ท�ำอย่างน้ันจนจบปีการศึกษา แม้ฉันจะพูดอย่างชัดเจนมากว่า จะไม่มีรางวัลท่ีเป็น รปู ธรรมอีก มแี คก่ ารยอมรบั และตบมือให้เปน็ ครั้งคราวส�ำหรับการคิดท่กี ล้าหาญจริงๆ แมจ้ ะพดู แบบนน้ั แตบ่ างครง้ั ฉนั กเ็ สนอรางวลั ใหจ้ รงิ ๆ เชน่ บตั รการบา้ นชงิ โชค 326 (นักเรียนท่ีท�ำการบ้านเสร็จมีสิทธ์ิหย่อนบัตรลงกล่องเพ่ือชิงรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เช่น

ตอนปลายสัปดาห์) หรอื ติดสตกิ๊ เกอร์ชมเชยใหบ้ นรายงาน หรอื ใบประกาศนียบตั รเพอ่ื ุสดยอด... จงู ใจนกั เรยี นทไ่ี มอ่ ยากอา่ นหนงั สอื และนกั เรยี น (รวมทงั้ นกั ศกึ ษาผใู้ หญ)่ ทไี่ มม่ แี รงจงู ใจ จะอ่าน แต่พอพวกเขาพยายามอย่างจริงจังและตระหนักว่า ตัวเองรู้สึกดีแค่ไหนท่ีได้ เรยี นร้แู ละเอาชนะความท้าทายได้ ก็ไมจ่ �ำเปน็ ต้องมตี ัวกระต้นุ จากภายนอกอกี ต่อไป มบี ทความมากมายเรอ่ื งการเรยี นรโู้ ดยใชส้ มองเปน็ หลกั ทช่ี ว้ี า่ รางวลั จากภายนอก อาจไมก่ อ่ ใหเ้ กดิ ประโยชนอ์ นั แทจ้ รงิ ฉนั จงึ ไมใ่ ชร้ างวลั เปน็ เวลานาน ขอ้ โตแ้ ยง้ ทค่ี ดั คา้ น การให้รางวัลฟังน่าเชื่อ และฉันเชื่อพวกนักวิทยาศาสตร์ท่ีบอกว่า สมองถูกสร้างมาให้ เรียนรู้ และสร้างเอ็นดอร์ฟิน (สารเคมีท่ีหล่ังออกเวลา “มีความสุข”) ขณะที่เราเรียนรู้ ส่ิงใหม่ๆ ฉันเชื่อว่า นี่คงเป็นเหตุที่นักเรียนบางคนชอบโรงเรียนทันที และชอบต่อไป เรอื่ ยๆ สมองเข้าใจและท�ำใหน้ กั เรียนคนนั้นมีความสขุ ทไ่ี ด้เรียนรู้ แต่กม็ ีนักเรยี นบางคน ไมเ่ คยมปี ระสบการณเ์ ชงิ บวกแบบนนั้ ดว้ ยเหตผุ ลสารพดั พวกนจ้ี งึ อาจตอ้ งการตวั กระตนุ้ จากภายนอก ส�ำหรับบางคน ให้รางวัลเพียงครั้งเดียวก็อาจช่วยกระตุ้นให้เริ่มรักที่จะเรียน แต่บางคนต้องมีประสบการณ์เชิงบวกหลายๆ ครั้ง หรือต้องได้รู้สึกดีๆ กับการเรียน สัก 2-3 ปกี ่อน จึงจะรักการเรียนรู้ แต่พอแรงจูงใจภายในเรมิ่ ท�ำงานแลว้ เครือ่ งจะเดิน ตอ่ ไปเรือ่ ยๆ 1. ช่วยให้นกั เรียนเช่อื ว่า ความส�ำเร็จเป็นไปได้ สมองก็เหมอื นเครื่องจักรท่ีท�ำงานอยา่ งมปี ระสิทธิภาพสูงสุดไมไ่ ด้ ถ้ามเี ชอื้ เพลิงน้อย หรืออดุ ตันเพราะมนี ้�ำมันสกปรก หรือช้ินส่วนเล็กๆ ที่ส�ำคัญมากหายไป ถา้ นกั เรยี น กนิ อม่ิ พอ่ แมด่ แู ลเพยี งพอ ปรบั อารมณไ์ ดด้ ี และมคี วามรกู้ อ่ นมาเรยี นกบั คณุ คณุ กค็ ง ไม่เจอปัญหามากมายนักเวลาพยายามจงู ใจใหพ้ วกเขาเรยี นรู้ แต่มีครูไมก่ ่ีคนท่โี ชคดี แบบนนั้ ทเี่ ปน็ ไปไดม้ ากกวา่ คอื นกั เรยี นบางคนมาโรงเรยี นพรอ้ มกบั ความหวิ เหนอื่ ยออ่ น กงั วลใจ และสงสยั เรอ่ื งการศกึ ษา แตอ่ ยา่ เพง่ิ สน้ิ หวงั สงิ่ ทค่ี ณุ น�ำมาใหน้ กั เรยี นส�ำคญั พอๆ กับสง่ิ ท่พี วกเขาเอาตดิ ตวั เขา้ มาในห้องเรียน 327

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด เราทุกคนเคยเห็นสถิติ และเรียนรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวว่า เจตคติของครู ต่อนักเรียนเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อความส�ำเร็จของนักเรียน ถ้าครูเชื่อว่านักเรียนประสบ ความส�ำเร็จได้ พวกเขาจะท�ำได้จริงๆ แต่ความเชื่อของครูช่วยแก้ปัญหานักเรียนที่มี สมรรถภาพต่�ำได้เพียงครึ่งเดียว เพราะแค่เช่ืออย่างเดียวยังไม่พอ ครูต้องโน้มน้าวให้ นักเรียนเชื่อด้วยว่า ความส�ำเร็จเป็นไปได้ถ้านักเรียนไม่เช่ือว่าตัวเองเรียนรู้ได้ นักเรียน จะฉลาดแค่ไหนก็ไม่ส�ำคัญ หรือไม่วา่ ครจู ะท�ำใหเ้ นอื้ หาง่ายแค่ไหน นักเรียนกจ็ ะไม่มีวัน ท�ำได้ส�ำเรจ็ การเชอื่ อย่างแท้จริงวา่ ความส�ำเร็จเปน็ ไปไดจ้ ะเปน็ กญุ แจไปสู่การเรียนรู้ คณุ จะโนม้ นา้ วอยา่ งไรใหน้ กั เรยี นเชอื่ วา่ ความส�ำเรจ็ เปน็ ไปได้ บางคนแนะน�ำวา่ ตอ้ งใหแ้ บบฝกึ หดั หรอื กจิ กรรมงา่ ยๆ ทร่ี บั ประกนั วา่ นกั เรยี นทกุ คนจะท�ำไดส้ �ำเรจ็ แตฉ่ นั ไมเ่ หน็ ดว้ ย เพราะความส�ำเรจ็ แบบนนั้ งา่ ยเกนิ ไป จงึ ไมบ่ รรลวุ ตั ถปุ ระสงคท์ ต่ี ง้ั ไว้ แทนท่ี จะกลอ่ มใหน้ กั เรยี นเชอ่ื วา่ ตวั เองท�ำได้ การบา้ นงา่ ยๆ กบั พวกกจิ กรรมสง่ เสรมิ ความนบั ถอื ตัวเองอาจจะท�ำให้นักเรียนคิดว่า ตัวเองไม่มีทางรับมือปัญหาท่ียากจริงๆ ได้ อย่างท่ี นักเรียนเก่าคนหนึ่งพูดว่า “ครูให้พวกเราท�ำงานง่ายๆ เพราะคิดว่าเราโง่เกินกว่าจะท�ำ เรอื่ งยากๆ ได”้ ฉะนนั้ แทนทจี่ ะใหง้ านงา่ ย กค็ วรใหง้ านยากจรงิ ๆ แลว้ ชว่ ยใหน้ กั เรยี นท�ำส�ำเรจ็ ไดจ้ ะดกี ว่า เวลาส่งั งานกต็ ้องอธิบายวา่ งานนย้ี ากนะ และครไู ม่คาดหวงั วา่ ใครๆ รวมทงั้ ตวั ครูเอง จะท�ำงานนีไ้ ดส้ มบรู ณแ์ บบ ทีค่ รูอยากให้ท�ำโครงงานนี้ เพราะเช่อื วา่ นกั เรียน ฉลาดและเรยี นรไู้ ด้ มหี ลกั ฐานวา่ นกั เรยี นไดเ้ รยี นรสู้ งิ่ ตา่ งๆ มากมายมาแลว้ เชน่ เรยี นรู้ ท่ีจะอ่านหนังสือออก และแต่งตัวเองได้ รู้ที่อยู่กับเบอร์โทรศัพท์ของตัวเอง เล่นเครื่อง ดนตรแี ละเกมเปน็ รอ้ ยเกมทตี่ า่ งกนั ได้ รเู้ นอ้ื เพลงมากมาย ท�ำอาหารเปน็ รวู้ ธิ ใี ชเ้ ครอื่ งจกั ร ตา่ งๆ เคร่อื งครวั คอมพิวเตอร์ และเครือ่ งเล่นวดี ีโอ แล้วครูจะไปหางานท่ีท้าทายได้จากไหน สถานที่ดีๆ ที่หน่ึงก็คือโรงเรียนของ ตัวเอง เช่น ถ้าคุณสอนนักเรียนเกรด 2 ก็ขอตัวอย่างบทเรียนค�ำศัพท์จากครูเกรด 4 แลว้ บอกนกั เรยี นเกรด 2 วา่ จะท�ำงานทีน่ ักเรียนเกรด 4 ก�ำลังท�ำอยู่ จะไดร้ ู้ว่าพวกนั้น ก�ำลังเรียนอะไร ถ้านักเรียนท�ำได้ดี จะได้คะแนนเพิ่ม ถ้าคุณสอนนักเรียนชั้นมัธยมต้น หรือมัธยมปลาย ก็เอาต�ำราจากมหาวิทยาลัยที่มีเรียงความน่าสนใจ บอกนักเรียนว่า 328

ก�ำลงั จะอา่ นสง่ิ ทนี่ กั ศกึ ษาในมหาวทิ ยาลยั อา่ น แลว้ เอาต�ำราใหด้ ดู ว้ ย นกั เรยี นจะไดร้ วู้ า่ คุณพูดจริง และอธิบายว่า สมองของนักเรียนก็ท�ำงานได้เหมือนสมองของนักศึกษา มหาวิทยาลัย แต่จะไม่ท้าทายสมองเท่านักศึกษา ครูรับประกันว่า ถ้าไม่รู้จักค�ำไหน ในเรียงความ ครูจะช่วยเพราะเป็นหน้าท่ีของครู จากน้ันให้อ่านออกเสียง แลกเปล่ียน ความคดิ เหน็ เกย่ี วกบั เรยี งความนนั้ และใหน้ กั เรยี นเขยี นวา่ ตวั เองคดิ อะไร พอท�ำเสรจ็ แลว้ กเ็ ปน็ ไปไดม้ ากทเี ดยี วทน่ี กั เรยี นบางคนจะพดู วา่ “กไ็ มย่ ากเทา่ ไหร”่ และตอนนเ้ี องทคี่ ณุ ต้องตอบว่า “ใช่แล้ว ไม่ยากเลย เพราะทุกคนในห้องน้ีรู้วิธีคิด และการคิดเป็นกุญแจ ของการเรียนรู้ เรามสี มองฉลาดอย่แู ล้ว จงึ ตอ้ งใชใ้ ห้เป็นประโยชน์” 2. ปรบั เจตคติ มุมมองของนักเรยี น คุณอาจถามนักเรยี นว่าร้สู กึ อยา่ งไร บางคนจะตอบคณุ อย่างกระตือรือรน้ โดยเฉพาะ พวกเดก็ เลก็ ๆ แต่นักเรยี นทโ่ี ตขึ้นมามักจะเลอื กเป็นผสู้ งั เกตการณ์ แทนที่จะเขา้ ร่วม การอภปิ ราย พวกนไี้ มอ่ ยากคยุ เรอื่ งโรงเรยี น ไมอ่ ยากเขยี นเรยี งความ หรอื เขยี นอะไร เกยี่ วกับโรงเรยี น แตถ่ า้ คุณยืนกรานให้ท�ำ ส่วนใหญ่จะยินดีออกความเห็นนิดหน่อย ซึ่งคุณต้องขอให้ท�ำ เพราะอยากได้ความเห็นในหัวข้อนี้จากนักเรียนให้มากที่สุด แจกบัตรดัชนีและขอให้นักเรียนเขียนว่า คิดอะไรเก่ียวกับโรงเรียนโดยทั่วไป และ โดยเฉพาะวิชาของคุณ ถ้าคุณเขียนค�ำถามไว้บนบอร์ด คนที่เรียนรู้ได้ดีเมื่อเห็น จะตอบสนองดขี ึ้น บอกนักเรียนว่าจะได้คะแนนความร่วมมือ และทุกคนที่กรอกข้อความในบัตร ุสดยอด... จะได้คะแนนสงู สุด ยืนยันกบั นกั เรียนว่าไมจ่ �ำเปน็ ต้องลงชือ่ จงึ แสดงความเหน็ ได้อยา่ ง อสิ ระ โดยไมต่ อ้ งกลวั วา่ จะท�ำใหค้ รไู มพ่ อใจ หรอื รสู้ กึ วา่ ตวั เองออ่ นแอ (ใหเ้ ดนิ ไปตามแถว และเกบ็ บตั รตามล�ำดับ โดยเอาบัตรของคนท่มี ากอ่ นอยู่ลา่ งสุด แต่อย่ามองบตั ร เพราะ ถึงอย่างไรคุณก็รู้อยู่ดีว่า นักเรียนคนไหนพูดอะไร ที่ท�ำอย่างนี้ก็เพราะคุณอาจจะเจอ ข้อคิดเหน็ แรงๆ ทจ่ี �ำเป็นต้องใสใ่ จ) 329

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด นกั เรยี นบางกลมุ่ จะท�ำเรอื่ งนอ้ี ยา่ งจรงิ จงั และกระตอื รอื รน้ แตบ่ างกลมุ่ ตอ้ งการ แรงกระตุ้นเล็กน้อย คุณอาจจะเขียนค�ำถามบนบอร์ด แล้วต่อด้วยค�ำตอบของตัวเอง เปน็ ตัวอยา่ ง ค�ำถาม: ชอบอะไรมากทสี่ ดุ เกี่ยวกบั โรงเรยี น ค�ำตอบ: ชอบเรียนรู้เร่อื งใหมๆ่ ค�ำถาม: ชอบวิชาอะไร ค�ำตอบ: ชอบภาษาองั กฤษกบั พลศกึ ษา เพราะชอบอ่านและวง่ิ ชอบฝึกสมอง และออกก�ำลังกาย ค�ำถาม: ชอบวชิ าอะไรน้อยทส่ี ุด ค�ำตอบ: ไมช่ อบคณติ ศาสตร์ เพราะยากจรงิ ๆ และไมเ่ คยตอบไดถ้ กู หมดทกุ ขอ้ เลย แมน้ กั เรียนจะสนใจอ่านค�ำตอบของครมู ากกวา่ เขยี นค�ำตอบของตัวเอง แต่คณุ อาจจะดงึ พวกเขาเขา้ มาพดู คยุ เรอ่ื งโรงเรยี นได้ ซง่ึ เปน็ เปา้ หมายของคณุ ตง้ั แตแ่ รกอยแู่ ลว้ ข้ันต่อไปนี้แล้วแต่นักเรียน ถ้าประพฤติตัวดีและใส่ใจพอสมควร หลังจากคุณ เกบ็ บตั รมามากพอทจี่ ะนกั เรยี นจะบอกไมไ่ ดว้ า่ ใครเขยี นแลว้ คณุ อาจจะลองอา่ นขอ้ คดิ เหน็ บางรายการทอี่ ยใู่ นบตั รใหท้ กุ คนฟงั ใหอ้ า่ นขอ้ คดิ เหน็ ทค่ี ดิ วา่ อาจจะดงึ การตอบสนอง จากนกั เรยี นคนอน่ื ไดด้ ว้ ย เชน่ “ฉนั เกลยี ดการเขยี นเพราะไมร่ จู้ ะพดู อะไรอกี แลว้ ” ซงึ่ อาจ กระตุ้นให้นักเรียนคุยกันเร่ืองนี้ และเตือนคุณว่า จ�ำเป็นต้องมีบทเรียนก่อนการเขียน และช่วยนักเรียนหาความคิดดีๆ กอ่ นลงมอื เขียน คุณจะชวนนักเรียนคุยเร่ืองความเห็นต่างๆ ในบัตรหรือไม่คุยก็ได้ แต่อย่าลืม ขอบใจนกั เรยี นที่อุตสา่ หแ์ สดงความเห็น แล้วเอาบัตรกลับไปอา่ นทีบ่ ้านอย่างรอบคอบ ดกู ารสะกดค�ำ โครงสรา้ งประโยค ค�ำศพั ท์ และลายมอื เพราะจะชว่ ยใหค้ ณุ เหน็ บคุ ลกิ ภาพ กบั ปญั หาของนกั เรยี นได้ พยายามคน้ หาทง้ั ปญั หาทว่ั ไปและปญั หาเฉพาะทจี่ ะจดั การได้ ในอนาคต 330

มมุ มองของครู ุสดยอด... หลงั จากปรับเจตคตขิ องนักเรียนแล้ว ตอนน้ีกถ็ ึงเวลาปรบั เจตคตขิ องครู คุณอาจจะ คิดว่าเจตคติของตัวเองดีอยู่แล้ว แต่ถ้าก�ำลังมีปัญหากับวินัย แรงจูงใจ หรือการ มีส่วนร่วมของนักเรียน แสดงว่า คุณอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา บางทีคุณอาจ เตรียมตัวไม่พร้อมตอนเร่ิมสอน นักเรียนก็เลยท�ำตามตัวอย่างอันไร้ระเบียบของครู หรือคุณอาจจะเช่ือว่า ตัวเองให้เกียรตินักเรียนแล้ว แต่จริงๆ กลับมีวาระซ่อนเร้น ที่อยากช่วยนักเรียนจากตัวของพวกเขาเอง และนักเรียนจับได้ว่า ครูคิดว่าตัวเอง เหนอื กวา่ นกั เรยี น ฉะนน้ั แทนทจี่ ะมงุ่ หาวธิ แี กไ้ ขนกั เรยี น คณุ ตอ้ งหาวธิ แี กไ้ ขตวั เองกอ่ น เช่น ถา้ นักเรยี นชอบตะโกนตอบค�ำถามโดยไมย่ กมอื กอ่ น ก็ตอ้ งดูวา่ ตัวเองเคยสอน ข้ันตอนที่อยากให้นักเรียนท�ำแล้วหรือยัง เคยแสดงปฏิกริยากับพวกท่ีชอบตะโกน หรอื เปล่า เพราะบางทีคุณอาจเปน็ คนสรา้ งปัญหา หรอื มีสว่ นท�ำให้เกดิ ปัญหากไ็ ด้ คุณต้ังใจฟังนักเรียนแค่ไหน ตอบสนองต่อข้อคิดเห็นของนักเรียนอย่างไรบ้าง ชอบเป็นคนตัดสินใจตอนจบเสมอใช่ไหม หรือนักเรียนก�ำลังคุยกันสนุกๆ ก็ขัดจังหวะ โดยแก้ไวยากรณ์ท่ีพูดผิดไปหรือเปล่า คุณท�ำทีบอกเป็นนัยว่า ค่านิยม มาตรฐาน และ รูปแบบการใชช้ วี ิตของคณุ เหนือกวา่ ของนกั เรยี นใชไ่ หม ดถู ูกความคดิ ของนกั เรยี น หรอื บอกปัดว่าความวิตกของพวกเขาไม่ส�ำคัญหรือเปล่า ใช้น�้ำเสียงแสดงความเบ่ือหน่าย หรอื ร�ำคาญใจไหม ถา้ คดิ วา่ ตวั เองสภุ าพและเคารพคนอน่ื เสมอ ใหล้ องตง้ั เครอื่ งบนั ทกึ เสยี ง ไวใ้ กลโ้ ตะ๊ ครู เพอ่ื บนั ทกึ การสอนสกั 30 นาที แลว้ จะแปลกใจเวลาไดย้ นิ นำ้� เสยี งของตวั เอง หรอื วธิ ที ค่ี ณุ พดู กบั นกั เรยี นแตล่ ะคนไมเ่ หมอื นกนั (ฉนั ทดลองดว้ ยตวั เองแลว้ และแปลกใจ แบบไมน่ ่าพอใจเลย) ครูจ�ำนวนมากกระตุ้นให้นักเรียนคุยกับครูไม่ได้ ทั้งท่ีนักเรียนกลุ่มเดียวกันน้ี จะคยุ ไมห่ ยดุ กบั คนอนื่ แตพ่ อคณุ ขอใหค้ ยุ ดว้ ย กลบั เงยี บกรบิ หรอื ในชนั้ ทกุ ครงั้ อาจจะ มเี พยี ง 1-2 คน ทจ่ี ะพดู อยเู่ สมอ ถา้ ตอ้ งการดงึ ทกุ คนเขา้ มารว่ มการสนทนา ฉนั ขอแนะน�ำ ให้ลองเรม่ิ ต้นแตล่ ะคาบเรยี นโดยถามวา่ “ใครมคี �ำถามบา้ ง นักเรียนถามครไู ดท้ กุ เรื่อง ถา้ ไม่รูค้ �ำตอบ ครูจะไปค้นดวู ่า เราจะหาข้อมลู ได้ทไี่ หน” 331

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด นักเรียนจะไม่ตอบสนองต่อวิธีนี้โดยอัตโนมัติ คุณอาจจะต้องใช้เวลาหลายวัน หรอื หลายสัปดาหต์ ง้ั ค�ำถามแบบนีไ้ ปเร่ือยๆ จนกว่าจะมบี างคนตอบสนองในท่สี ดุ ทันที ทค่ี นหนึ่งท�ำ คนอืน่ ๆ จะท�ำตาม แต่อาจจะต้องกระต้นุ หลายคร้งั กว่าจะมคี นตอบสนอง เป็นคนแรก คุณอาจจะพบว่า ถ้าถามเองตอบเอง นักเรียนอาจจะตอบสนองก็ได้ เช่น อาจจะพูดว่า “ครูคิดถึงเรียลลิตีโชว์เม่ือคืนนี้ และสงสัยว่า จะเรียกว่าเรียลลิตี (ความ เปน็ จริง) ไดจ้ รงิ ๆ หรอื เพราะคนรูว้ ่าก�ำลงั ถา่ ยท�ำอยู่ ฉะนัน้ จึงไมไ่ ดท้ �ำตวั เป็นธรรมชาติ บางคนอาจจะแกล้งทะเลาะกัน เพราะรู้ว่าจะมีคนสนใจ และมีคนดูมากขึ้น” แต่ถ้ายัง ไม่มใี ครพดู อะไร กพ็ ดู แคว่ ่า “เออ ครูคิดแบบนัน้ นะ” แล้วเรม่ิ สอน วันถัดไปคุณอาจจะพูดว่า “ใครมีค�ำถามบ้าง ใครก็ได้ เราคอยสักหนึ่งนาทีนะ เผ่ือจะมีใครถาม” และคอยไปพร้อมกับดูนาฬิกาจนครบหนึ่งนาทีจริงๆ แต่ถ้าไม่มีใคร ถามอะไร ก็พูดว่า “เออ ครูสงสัยว่าอะไรท�ำให้สังคมเปล่ียนไปอย่างรุนแรง สมัยก่อน มแี ตพ่ วกสงิ หม์ อเตอรไ์ ซค์ อดตี นกั โทษ และพวกทตี่ อ้ งการประกาศจดุ ยนื บางอยา่ งเทา่ นนั้ ที่มรี อยสัก แต่ทกุ วันน้รี อยสกั เปน็ เหมอื นเครอ่ื งประดับไปแลว้ ครสู งสัยว่า อะไรท�ำให้ เกดิ การเปลยี่ นแปลงแบบนน้ั ” จากนนั้ กค็ อยสกั ครู่ เผอ่ื จะมใี ครตอบสนอง เลอื กนกั เรยี น ท่ีดทู า่ วา่ จะสนใจเรื่องท่คี ณุ พดู แลว้ ถามว่ามีข้อคิดเหน็ อะไรหรอื ไม่ ถ้าไม่มี ก็เรม่ิ สอน ถา้ มีเรอ่ื งทย่ี ังพอแสดงความเหน็ ได้ ใหท้ �ำแบบน้ีไปทกุ วันสัก 2-3 สัปดาห์ หรือ 1 เดอื น ถา้ ไม่มีใครตอบสนอง กล็ องวธิ อี น่ื แตอ่ ยา่ ยอมแพง้ ่ายๆ และอย่าคดิ ว่านกั เรียน ไมส่ นใจ พวกเขาจะฟัง แมจ้ ะเสแสร้งวา่ ไมใ่ ส่ใจแมเ้ ทคนคิ นีจ้ ะไดผ้ ลดสี �ำหรับฉนั แตฉ่ นั ไม่ได้เป็นคนคิดวิธีน้ี เม่ือสองสามปีก่อน ฉันไปร่วมพิธีรับรางวัลของนักเรียนที่ชนะการ ประกวดเขยี นเรยี งความ ซง่ึ เขยี นถงึ ครขู องตวั เองวา่ “ครเู ขา้ มาทกุ เชา้ และถามวา่ ‘นกั เรยี น อยากรอู้ ะไร’ ไมเ่ คยมีใครตอบ แต่ครูกถ็ ามทุกวัน จนในที่สุดหลังจากผ่านไปนานมากๆ ผมกต็ งั้ ค�ำถาม และวนั ถดั ไปกถ็ ามอกี หนง่ึ ค�ำถาม ไมช่ า้ เดก็ คนอน่ื ๆ กต็ งั้ ค�ำถามดว้ ย และ เราเรมิ่ คยุ กนั ทกุ เรอื่ ง ไมน่ านพวกเรากก็ ลบั มาชอบโรงเรยี นอกี ครงั้ ครทู �ำใหเ้ หน็ วา่ พวกเรา ลืมวิธฝี นั และครูเอามาคืนให้” 332

หลงั จากพบกบั นกั เรยี นคนนนั้ ฉนั กล็ องท�ำตามวธิ ขี องครขู องเขา และไดผ้ ลดมี าก ุสดยอด... จนท�ำตอ่ ไปกบั ทกุ ๆ ชน้ั โดยไมส่ นใจอายหุ รอื ภมู หิ ลงั ดา้ นวชิ าการของนกั เรยี น เมอื่ เรว็ ๆ น้ี มนี กั เรยี นชายคนหนง่ึ ทเี่ คยเรยี นกบั ฉนั เมอื่ ปี 1993 สง่ อเี มลตอบค�ำขอของฉนั ทอี่ ยากได้ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับครูที่อยากจะเช่ือมโยงกบั นกั เรยี น อเลก็ ซเ์ ขียนมาว่า ผมชอบตอนท่ีครใู ช้เวลาคยุ กับพวกเรา 2-3 นาที ก่อนเร่ิมบทเรียน บางคร้งั ครู มงุ่ ไปทน่ี กั เรยี นคนหนง่ึ และคนอนื่ ๆ ตอ้ งระวงั ตวั เพราะตอ่ ไปอาจจะถงึ ควิ ของ ตวั เอง แตผ่ มไมร่ สู้ กึ ถกู กดดนั เวลาครถู าม เพราะไมว่ า่ เราจะตอบอะไร ครทู �ำใหเ้ รา รู้สึกดีเสมอ เพราะครูตั้งใจฟัง และหลังจากการต้อนรับท่ีอบอุ่นอย่างน้ันก่อน เรมิ่ เรยี นแลว้ ก็ไมส่ �ำคญั วา่ ครูจะใหท้ �ำงานยากแค่ไหน พวกเราจะพยายามท�ำ ให้ดที ส่ี ดุ ถดั มาคณุ อาจจะต้องปรบั เปลี่ยนเจตคตอิ ีกอยา่ งหนง่ึ ของตวั เอง น่นั คอื ถ้าคณุ เปน็ คนทเ่ี รยี นไดค้ ะแนนดๆี เสมอ หรอื ถา้ ไมไ่ ดเ้ รยี นอะไรมาระยะหนง่ึ แลว้ ใหล้ องไปเรยี น วชิ ายากๆ ทตี่ อ้ งพยายามอยา่ งหนกั เพอื่ สอบใหผ้ า่ น เชน่ ถา้ เปน็ คนมคี วามคดิ สรา้ งสรรค์ ใหเ้ รยี นวชิ าสถติ ิ หรอื คณติ ศาสตรช์ นั้ สงู ถา้ ชอบเรยี นวทิ ยาศาสตร์ ใหล้ องเรยี นวชิ าศลิ ปะ อย่าต้ังเป้าว่าจะต้องได้เกรดเอ แต่เพ่ือจะได้รู้จักว่า (หรือค้นพบเป็นคร้ังแรก) ว่ารู้สึก อยา่ งไรทเ่ี ปน็ คนฉลาด แตไ่ มอ่ าจเขา้ ใจแนวคดิ ใหมๆ่ ไดง้ า่ ยๆ ครบู างคนพบวา่ การปรบั ตวั ด้านวชิ าการท�ำใหเ้ ขา้ ใจความรู้สกึ ของนกั เรยี นดขี ึ้น 3. เปล่ยี นการรบั รู้ตวั เองของนกั เรียน หลงั จากปรบั เจตคตใิ นหอ้ งเรยี นแลว้ นกั เรยี นอาจจะยอมเปลย่ี นการรบั รดู้ ว้ ย เราบงั คบั ใหน้ กั เรยี นอยากมคี วามรไู้ มไ่ ด้ แตถ่ า้ โนม้ นา้ วใหน้ กั เรยี นใสใ่ จตวั เองได้ พวกเขาจะเรมิ่ ใส่ใจโรงเรยี น ส่วนท่ียากคอื ต้องคิดใหอ้ อกว่าจะเปลยี่ นการรับรตู้ วั เองของนักเรียน ไดอ้ ยา่ งไร คงจะดีถา้ เราพูดว่า “ครูคิดว่านักเรียนฉลาดและมคี วามสามารถ” แลว้ มี นักเรียนตอบว่า “ครพู ดู ถกู แลว้ หน/ู ผม ฉลาด เพราะฉะนัน้ หน/ู ผมคดิ ว่า ต่อไปนี้ จะเริม่ เอาจรงิ กับการเรยี นและวางแผนอนาคตสกั ที” อะฮ้า! แตช่ วี ิตไม่ง่ายขนาดน้ัน เราแสดงออกนอกหนา้ แบบนนั้ ไม่ได้ และตอ้ งอดทนมากขึ้นจริงๆ 333

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด แต่การท�ำทีบอกเป็นนัยๆ กับความอดทนไม่ใช่นิสัยของฉัน ฉันต้องพยายาม อยา่ งหนกั เพอ่ื จะเปน็ แบบนนั้ ตอนเรม่ิ สอนครง้ั แรก ฉนั คดิ วา่ จะบงั คบั ใหน้ กั เรยี นยอมรบั ความคดิ เหน็ ของฉนั ได้ ระหวา่ งคยุ กนั เลน่ ๆ ครงั้ หนงึ่ ฉนั ถามนกั เรยี นเกรด 11 วา่ วางแผน จะท�ำอะไรหลังเรยี นจบ ฮูลิโอตอบว่า “ผมคงเขา้ คกุ ” ฉนั แปลกใจ จงึ ถามวา่ เธอท�ำผดิ กฎหมายหรอื เปลา่ เขาบอกว่า “เปลา่ ” “แล้วท�ำไมจะไปเข้าคุกล่ะ” “เพราะผู้ชายทุกคนในครอบครัวของผมเข้าคกุ ” “เธอไม่จ�ำเปน็ ตอ้ งไปเข้าคุกหรอก เธอเรยี นใกล้จบ และมงี านรออยแู่ ล้ว” ฮลู โิ อบอกวา่ “ครไู มเ่ ขา้ ใจ ผชู้ ายในครอบครวั ของผมจบลงดว้ ยการเขา้ คกุ ทงั้ นนั้ ” ฉันพูดวา่ “เธอนั่นแหละทไ่ี มเ่ ข้าใจ เธอไม่จ�ำเป็นต้องไปเข้าคกุ ” พวกเราท้ังคูต่ ่างไมเ่ ข้าใจ แนน่ อนฉันหงุดหงดิ กับการสนทนาครงั้ นี้ และมงุ่ ม่ัน จะเปล่ียนใจฮูลิโอ แต่ท�ำไม่ได้ ในที่สุดเขาก็เข้าคุกหลังเรียนจบจริงๆ แต่สองปีต่อมา เพอื่ นของฮลู โิ อคนหนงึ่ โทรมาหาและพดู วา่ “ฮลู โิ อออกจากคกุ แลว้ เขาไดท้ ณั ฑบ์ น ไดง้ านดี และอยากให้ครูรู้วา่ เขาสบายดี” การสนทนาทางโทรศัพท์คร้ังน้ันท�ำให้ฉันตระหนักได้ว่า ฮูลิโอได้ยินที่ฉันพูด และเขาพดู ถกู แตฉ่ นั ตา่ งหากทไี่ มไ่ ดย้ นิ ฉนั ฟงั แตไ่ มไ่ ดย้ นิ ฮลู โิ อก�ำลงั บอกฉนั วา่ เขาสนิ้ หวงั ทีจ่ ะเปลยี่ นสิ่งทต่ี วั เองเชอ่ื วา่ เป็นพรหมลิขติ ฉันต้องเปล่ยี นวิธี แทนท่ีจะพยายามบงั คับ ใหน้ กั เรยี นยอมรบั วา่ ครรู บั รพู้ รสวรรคแ์ ละศกั ยภาพของนกั เรยี น ฉนั ตอ้ งหาวธิ ชี ว่ ยเปลยี่ น การรบั รขู้ องตวั นกั เรยี นเอง ใหเ้ ลกิ เหน็ ตวั เองเปน็ คนขแี้ พท้ สี่ น้ิ หวงั หรอื คนถกู เอาเปรยี บ ทไ่ี ร้อ�ำนาจ ซึง่ แตกตา่ งกนั อยา่ งลึกซึ้งและอย่างมาก อันดับแรก ฉันต้องคิดให้ออกว่า นักเรียนรับรู้ตัวเองอย่างไร จึงเริ่มด้วยการ ตง้ั ค�ำถามทั่วๆ ไป เม่ือรู้สึกว่านกั เรยี นก�ำลงั สบายใจและมอี ารมณ์อยากคยุ 334

“มีใครบา้ งทว่ี างแผนจะเรยี นตอ่ มหาวิทยาลยั ” (บางคนยกมอื ) ุสดยอด... “มีใครบา้ งท่ีอยากเรียน แตค่ ิดว่าตัวเองท�ำไมไ่ ด้” (หลายคนยกมอื ) “มีใครบ้างท่ีคิดว่า สักวันหนึ่งตัวเองต้องลงเอยด้วยการอาศัยเงินสงเคราะห์ จากรฐั บาล” “มใี ครบ้างทค่ี ดิ ว่าจะเดนิ ทางรอบโลก” “มใี ครบา้ งท่วี าดภาพวา่ ตัวเองจะไดง้ านดีๆ” “มีใครบา้ งทค่ี ิดว่าคงจะเข้าคกุ ” “มีใครบ้างทค่ี ดิ ว่าจะแต่งงานและมคี รอบครวั ภายในสิบป”ี “มใี ครบ้างทค่ี ดิ วา่ คงตายกอ่ นอายุ 30 ป”ี ระหวา่ งการส�ำรวจนกั เรยี นดว้ ยค�ำถามพวกนอี้ ยา่ งรวดเรว็ ฉนั จะไมต่ อบสนอง ตัวต่อตัวกบั นกั เรยี น แตจ่ ะบนั ทกึ ว่า คนไหนยกมอื ตอบรบั ค�ำถามเชิงลบ แลว้ ตอนช่วง กลางวนั ทเี่ ดก็ มาเรยี น ฉนั จะหาโอกาสบอกนกั เรยี นวา่ ฉนั เองคดิ อยา่ งไรกบั พวกเขา และ ความเปน็ ไปไดใ้ นอนาคตของพวกเขา เชน่ ฉนั อาจจะพดู วา่ “รไู้ หมวา่ นกั เรยี นมพี รสวรรค์ ดา้ นศลิ ปะมากแคไ่ หน ครนู กึ ภาพออกเลยวา่ สกั วนั หนงึ่ เธอจะไดเ้ ปน็ สถาปนกิ หรอื ศลิ ปนิ กราฟฟกิ ” สว่ นเดก็ ๆ ทส่ี นใจคอมพวิ เตอรเ์ ปน็ พเิ ศษ ฉนั อาจจะพดู วา่ “นกั เรยี นมจี นิ ตนาการ ดีมาก ครูมั่นใจว่า เธอจะเป็นนักออกแบบเกมวิดีโอที่ยอดเย่ียม และนึกภาพออกว่า เธออาจจะท�ำงานเป็นนกั วเิ คราะห์ระบบ เพอื่ ชว่ ยใหผ้ ู้คนรู้วา่ ควรใช้ระบบคอมพวิ เตอร์ แบบไหนในธรุ กจิ ของตวั เอง” ฉันยืนยันว่า ทุกคร้ังท่ีมีโอกาสจะต้องบอกนักเรียนว่าฉันคิดอย่างไร และวิธีนี้ ใชไ้ ดผ้ ล ในท่ีสดุ นกั เรยี นเรมิ่ เหน็ ตัวเองเปน็ คนมีพรสวรรค์และทกั ษะ บางครั้งฉันขอให้ นกั เรยี นเอาใจครหู นอ่ ย โดยหลบั ตาและจนิ ตนาการวา่ ตวั เองตน่ื ขนึ้ มาในตอนเชา้ แตง่ ตวั คว้ากระเป๋าเอกสารกับถ้วยกาแฟ และขับรถคนั งามไปท�ำงาน พอไปถงึ ก็เดนิ ไปท่ีแผนก ต้อนรับของบริษัทใหญ่ๆ ทักทายพนักงานต้อนรับ แล้วเดินไปห้องท�ำงานของตัวเอง เปดิ คอมพิวเตอร์ และเช็คอีเมล ฉนั ถามว่า “นักเรยี นเห็นภาพนั้นหรือเปล่า” สว่ นใหญ่ ตอบว่าไมเ่ ห็น แตม่ ี 1-2 คน ท่ีพอจะจินตนาการได้ ถดั มาอกี วนั ฉนั อาจจะขอใหน้ กั เรยี นจนิ ตนาการวา่ ตวั เองตน่ื แตเ่ ชา้ กนิ อาหาร เชา้ จนอม่ิ แลว้ ควา้ กลอ่ งเครอื่ งมอื กระโดดขนึ้ รถปก๊ิ อพั ขบั ไปบรเิ วณทก่ี อ่ สรา้ ง เพอ่ื ตดิ ตง้ั ตใู้ นหอ้ งครวั ตามบา้ นในหมบู่ า้ นจดั สรรแหง่ ใหม่ และมคี นจนิ ตนาการไดเ้ พม่ิ อกี 2-3 คน 335

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ฉันคิดว่า การจินตนาการสถานการณ์แบบนี้มีประโยชน์มาก เพราะนักเรียน ส่วนใหญ่ไม่รู้เลยว่า จริงๆ แล้วแต่ละอาชีพต้องท�ำอะไรบ้าง นอกจากอาชีพท่ีพวกเขา คุ้นเคยท่ีสุด เช่น แพทย์ ทนายความ หรือครู นักเรียนอาจจะเคยได้ยินเร่ืองงานอื่นๆ จากครูทปี่ รกึ ษา และเห็นตัวอย่างในภาพยนตร์ แตไ่ มร่ ูว้ า่ จริงๆ แล้วอาชีพพวกนี้ต้องท�ำ อะไรบา้ ง ฉนั พยายามใหร้ ายละเอยี ดกบั นกั เรยี นเพอ่ื จะไดจ้ นิ ตนาการออกวา่ ชวี ติ จะเปน็ อยา่ งไร ถ้าท�ำงานเปน็ เจ้าหน้าท่ีเทคนคิ ฉายรงั สี ผจู้ ดั การโรงแรม บารเ์ ทนเดอร์ เจ้าของ ภตั ตาคาร หวั หนา้ งานควบคมุ การกอ่ สรา้ ง วศิ วกร ผชู้ ว่ ยทนั ตแพทย์ สตั วแพทย์ โปรโมเตอร์ กฬี า ช่างตัดเสื้อผชู้ าย ช่างท�ำรองเทา้ หรือพนักงานรักษาความปลอดภัย ฉันกระตุ้นให้ นักเรียนคิดถึงตัวเองในสถานการณ์ที่หลากหลาย จนกว่าจะเจองานท่ีรู้สึกว่าเหมาะกับ ตวั เอง วิธีน้ีอาจดูเหมือนการเล่นกลยุคใหม่อย่างท่ีพ่อของฉันชอบพูด แต่ไม่ใช่หรอก เวลาคณุ บอกนกั เรยี นวา่ “ครเู หน็ เธอเปน็ คนฉลาดและมพี รสวรรค”์ นกั เรยี นคนนนั้ จะเลกิ คดิ ว่า ตัวเองเป็นแค่คนโง่ หรอื ไรค้ วามสามารถ แม้ตอนนน้ี กั เรียนจะไม่ยอมรับความคดิ ของคณุ แตจ่ นิ ตนาการทคี่ ณุ วาดไวก้ เ็ ขา้ ไปอยใู่ นความคดิ ของเขาแลว้ นกั เรยี นจะเปลยี่ น การรบั ร้ตู วั เองไมไ่ ดใ้ นทนั ที แตเ่ ราร้ดู ีว่า ทนั ทีที่แนะน�ำความคดิ ใหม่ๆ ให้สมองรู้จกั แลว้ สมองจะยอ้ นกลบั ไปกอ่ นหนา้ นนั้ ไมไ่ ด้ เมลด็ พนั ธข์ุ องความคดิ ใหมจ่ ะงอกงามเตบิ โตตอ่ ไป 336 แม้ไม่มีน้�ำรด

อกี วิธหี น่งึ ทีฉ่ นั พยายามใช้ในการเปลี่ยนการรบั ร้ตู ัวเองของนกั เรยี น คอื ขอให้ ุสดยอด... ผู้ใหญ่คนอื่นมาบอกนักเรียนแทน ฉันเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านลายมือมาวิเคราะห์ลายมือ ของนักเรียน และเน้นท่ีคุณสมบัติเชิงบวก (วิธีนี้เป็นท่ีนิยมมากและสร้างแรงจูงใจ อันย่ิงใหญ่ให้นักเรียนเขียนอะไรๆ ไว้มากมาย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญมีตัวอย่างมากพอที่จะ วิเคราะห์ได้) นักธุรกิจท้องถิ่นเต็มใจมาเยี่ยมห้องเรียน และจ�ำลองการสัมภาษณ์งาน กับนักเรียน พร้อมให้ค�ำติชมเชิงบวกและค�ำวิจารณ์เกี่ยวกับทักษะการสัมภาษณ์ ซึ่ง ผเู้ ขา้ สัมภาษณน์ �ำไปปรับปรงุ แกไ้ ขได้ นักเรยี นของฉันจะไมเ่ ขา้ ร่วมงานแนะแนวอาชพี ทโ่ี รงเรยี น เพราะรสู้ กึ ไมม่ นั่ ใจทจี่ ะเสนอตวั เองออกมา พวกเขาตนื่ เตน้ มากทม่ี งี านแนะแนว อาชพี ของตวั เองในหอ้ งเรยี นทพ่ี วกเขารสู้ กึ ปลอดภยั พอ่ แมก่ บั ญาตขิ องนกั เรยี นพากนั มา ที่ห้อง เพื่อเล่าประสบการณ์ส่วนตัวเก่ียวกับงานท่ีสร้างสรรค์และธุรกิจที่หลากหลาย แขกทมี่ าเยย่ี มหอ้ งเรยี นมหี ลายแบบ เชน่ ชา่ งภาพสมคั รเลน่ ประตมิ ากร หวั หนา้ ส�ำนกั งาน และผู้จัดการศูนย์บริบาลเด็ก พวกเขาจะเชิญชวนให้นักเรียนคิดถึงอนาคตของตัวเอง และนกั เรียนส่วนใหญ่ยนิ ดีท�ำตาม 4. ต้องมองใหเ้ หน็ เวลาเดก็ ท�ำตวั ดี เด็กๆ ปรารถนาความใส่ใจ ถ้าท�ำตัวดแี ลว้ เราไมใ่ ส่ใจ พวกเขาจะประพฤตติ ัวไม่ดี เพราะรู้ว่าถ้าท�ำผิด เราจะไม่เมินเฉย พวกครูก็รู้ว่าควรสนใจเร่ืองดีๆ แต่พอเอาเข้า จริงๆ กลับมีแนวโน้มจะใสใ่ จแตเ่ รื่องไม่ดใี นโรงเรียน พวกผใู้ หญด่ ูจะเหมอื นจะเปน็ แบบนน้ั โดยปริยาย เราพากันเสียเวลาเสยี แรงไปพยายามหยดุ พฤติกรรมไมด่ ี แทนที่ จะมุง่ ให้รางวัลพฤตกิ รรมดๆี เราจ�ำไดว้ า่ ต้องบอกใหน้ ักเรียนนัง่ ลงหรอื อยูเ่ งยี บๆ แตล่ มื ไปว่า มีก่ีครง้ั ท่นี กั เรยี นคนเดยี วกนั นนั้ เข้ารว่ มกิจกรรม ใหค้ วามรว่ มมือ และ ท�ำตัวเป็นคนดี ถ้าคอยฝึกและให้ความสนใจเวลาเด็กท�ำดีไปเร่ือยๆ เราจะเปลี่ยน พฤติกรรมของนกั เรียนทชี่ อบสนใจเรือ่ งไมด่ ีไปใส่ใจเรื่องดีๆ ได้ เราต้องเรยี นร้ทู จ่ี ะ สังเกตเห็นเวลาเด็กๆ ท�ำตัวดี เพราะมีโอกาสจะเห็นตอนเด็กท�ำตัวดีมากกว่าตอน ท�ำตวั ไม่ดี ถ้าอยากให้เด็กๆ เป็นคนใจดี มนี �้ำใจ เหน็ อกเห็นใจในความทุกขย์ ากของ 337

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด คนอน่ื ใจกวา้ ง และมเี กยี รติ กต็ อ้ งสงั เกตใหเ้ หน็ และขอบใจเวลานกั เรยี นท�ำตวั แบบนนั้ ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งลอ่ ดว้ ยขนมหวานหรอื ใหค้ ะแนน แตต่ อ้ งแสดงอาการรบั รเู้ วลานกั เรยี น รว่ มมือ และชมเชยเวลาท�ำตัวดเี ยย่ี ม ถา้ อยากไดข้ อ้ แนะน�ำส�ำหรบั วธิ เี รม่ิ สงั เกตใหเ้ หน็ เวลานกั เรยี นท�ำตวั ดี ใหเ้ ขา้ ไปดู เว็บไซต์ท่ีปรึกษาด้านพฤติกรรมของ ดร. แมค ท่ี www.behavioradvisor.com/ CatchGood.html แลว้ จะพบค�ำอธบิ าย 15 อยา่ งทค่ี รูทีท่ �ำงานกับนักเรยี นจริงๆ และ เฝา้ สงั เกตพฤตกิ รรมดีๆ เขียนไว้ วธิ หี นงึ่ ทฉ่ี นั เตอื นตวั เองใหส้ งั เกตเหน็ นกั เรยี นตอนท�ำตวั นา่ ทง่ึ คอื เอาบตั รดชั นี เปล่า 3 ใบ ทเี่ ขียนช่ือนักเรียนไวไ้ ปทีช่ ัน้ เรียนทกุ วัน และบงั คบั ตวั เองใหค้ อยสงั เกตเวลา นกั เรียนท่ีมีชือ่ บนบัตรท�ำเร่อื งดีๆ หรือน่าชน่ื ชม เชน่ ใหเ้ พือ่ นยืมปากกา อาสาช่วยครู เก็บรวบรวมรายงาน เก็บขยะข้นึ จากพ้นื แลว้ เอาไปทงิ้ ในถังขยะ ชว่ ยลบกระดานโดยครู ไมต่ อ้ งขอ ชว่ ยเหลอื เพอ่ื นท�ำงานจนเสรจ็ ซงึ่ ไมต่ อ้ งเปน็ การกระท�ำเฉพาะอยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ ขอเพยี งแคท่ �ำอยา่ งจรงิ ใจในตอนนนั้ โดยไมไ่ ดว้ างแผนมากอ่ น ฉนั จะใชเ้ วลาเขยี นประเดน็ ส�ำคญั ๆ ไมน่ านนกั แลว้ สง่ ใหน้ กั เรยี นตอนเลกิ ชนั้ ซงึ่ เปน็ ค�ำพดู สนั้ ๆ เชน่ “ขอบใจทวี่ นั นี้ ช่วยท�ำให้ห้องเรียนสะอาด ครูช่ืนชมเธอนะ” แค่นี้ก็พอแล้ว อย่าแปลกใจ ถ้านักเรียน มาสารภาพว่า น่เี ป็นขอ้ ความดๆี คร้ังแรกที่เคยไดร้ ับจากครู ซ่งึ เพียงพอแล้วทีจ่ ะท�ำให้ ผ้หู ญิงท่ีเปน็ ผ้ใู หญแ่ ล้วอย่างฉนั รอ้ งไห้ได้ 5. เข้าไปหาพอ่ แมแ่ ละผ้ปู กครอง พอ่ แมแ่ ละผปู้ กครองคนุ้ กบั การทเ่ี จา้ หนา้ ทขี่ องโรงเรยี นและครโู ทรมาบน่ เรอ่ื งนกั เรยี น ขาดเรียนโดยไมแ่ จง้ ให้ทราบ เฉื่อยชา ไม่สง่ การบ้าน มีเจตคติไม่ดี และดหู ม่ินคนอื่น พอ่ แมก่ บั ผปู้ กครองมกั ปกปอ้ งตวั เอง เพราะคดิ วา่ ครกู �ำลงั ต�ำหนิ (ซงึ่ บางครงั้ พวกเรา ก็ท�ำแบบน้ันจริงๆ) ที่ลูกๆ ท�ำตัวไม่ดี แต่พวกเขาก็มีส่วนเท่ากันเวลาลูกๆ ท�ำตัวดี น่าเคารพ และเหมาะสม เราจึงต้องโทรไปชื่นชมความพยายามของพวกเขาด้วย เวลานักเรียนท�ำตัวดีเป็นพิเศษ ให้โทรหาพ่อแม่หรือผู้ปกครองและพูดว่า “ครูแค่ อยากขอบคุณที่เล้ียงลูกชาย/ลูกสาว ได้ดีอย่างน้ี เด็กๆ ไม่ได้ประพฤติตัวดีโดย 338 บังเอิญ แต่เป็นเพราะพ่อแม่สอนมา ครูอยากให้นักเรียนทุกคนท�ำตัวดีเหมือนลูก

ของคณุ ขอบคณุ ทที่ �ำใหง้ านของครงู า่ ยขน้ึ ” และจะยงิ่ ดกี วา่ นน้ั ถา้ เขยี นจดหมายสน้ั ๆ ุสดยอด... ส่งไปแทนการโทรศพั ท์ พอ่ แมม่ กั จะเอาจดหมายดีๆ จากครไู ปตดิ ไว้บนประตตู ู้เย็น เพอ่ื แสดงความภมู ใิ จ และอาจชว่ ยใหน้ กั เรยี นไดส้ ทิ ธพิ เิ ศษทบ่ี า้ น ซงึ่ จะท�ำใหร้ ว่ มมอื มากขึ้น และจงรักภักดีต่อครูไปจนวันตาย นอกจากการสร้างความสัมพันธ์ท่ีดีกับ พอ่ แม่ และปรบั ปรงุ สมรรถภาพของนกั เรยี นแลว้ ขา่ วดๆี กบั โทรศพั ทย์ งั ท�ำใหน้ กั เรยี น รู้ว่า ครูกับพ่อแม่อยู่ข้างเดียวกัน บางคร้ังเด็กๆ พยายามปั่นหัวให้ครูกับพ่อแม่ ต่อต้านกัน แต่ถ้าคุณท�ำให้การติดต่อคร้ังแรกเป็นประสบการณ์ที่ดี จะไม่มีใคร ตกหลมุ พรางทะเลาะกัน และถา้ ตอ้ งโทรหาพ่อแมห่ รอื ผปู้ กครองคนเดมิ เพราะลูกๆ มปี ญั หาพฤตกิ รรม คณุ จะพบวา่ พวกเขายนิ ดรี บั ฟงั มากขนึ้ ถา้ มคี วามสมั พนั ธท์ ด่ี ตี อ่ กนั ฉนั พบวา่ การโทรศพั ทเ์ ปน็ ประโยชน์มากจนท�ำแบบนั้นทุกคร้ังเวลามีนกั เรยี น กลุม่ ใหม่ โดยเอาใบรายช่ือนกั เรียนกลับบา้ น และโทรหาพอ่ แมส่ กั 4-5 คู่ ในแต่ละคืน และส่งโน้ตถึงคนท่ีติดต่อไม่ได้ ฉันแนะน�ำตัวเอง ให้เบอร์โทรศัพท์และท่ีอยู่อีเมล แล้ว บอกว่า ถา้ ต้องการความช่วยเหลืออะไรกต็ ามระหว่างปกี ารศกึ ษา ใหต้ ิดต่อฉนั ได้เสมอ ฉนั พยายามหาเรอ่ื งดๆี ของลกู ๆ มาเลา่ ใหพ้ อ่ แมฟ่ งั แมจ้ ะตอ้ งพยายามอยา่ งหนกั เพอื่ หา ขอ้ ดใี หเ้ จอ แคพ่ อ่ แมข่ องเดก็ 1-2 คน ตอบสนองเชงิ บวกตอ่ การเปดิ ตวั ของฉนั กเ็ ปน็ ไป ได้มากทีเดยี ววา่ ลูกๆ ของพวกเขาจะตอบสนองเชงิ บวกตอ่ ฉนั ด้วย และแค่มีนักเรยี น ไมก่ ่ีคนท�ำตัวดๆี ในหอ้ ง กถ็ อื เป็นการเริ่มตน้ พฤติกรรมดๆี แลว้ อีกวิธีหน่ึงท่ีใช้ได้ผลคือ เขียนจดหมายส้ันๆ ส่งให้พ่อแม่กับผู้ปกครองท่ีลูกๆ มีพฤติกรรมแย่ที่สุด ใช่แล้ว พวกตัวแสบทั้งหลายท่ีท�ำให้คุณอยากเลิกเป็นครูน่ันเอง นักเรียนพวกน้ีกับพ่อแม่คาดหวังจะได้รับข่าวร้าย ดังนั้น ถ้าเขียนข้อความดีๆ (ซึ่งต้อง เป็นเร่ืองจริงด้วย คุณจึงต้องพยายามสังเกตให้เห็นเวลาพวกเขาท�ำเร่ืองดีๆ) คุณจะได้ ความใส่ใจจากทกุ คน แม่คนหนง่ึ โทรหาฉนั ทั้งนำ้� ตาพลางพดู วา่ “ฉันมีลกู 2 คน เรยี นท่ี โรงเรียนของครูมา 10 ปีแล้ว และยังไมเ่ คยไดย้ ินเร่อื งดีๆ ของท้งั สองคนเลย” ฉันสอน ลูกของเธอทั้งคู่ท่ีเป็นฝาแฝด และเห็นได้ชัดว่าท�ำไมไม่เคยมีใครชมเชย เพราะพวกเขา ชอบเอะอะโวยวาย และแสดงกิริยามารยาทยอดแย่ แต่ฉันไม่ได้เล่าเรื่องน้ันให้เธอฟัง ฉนั พดู วา่ “เออ่ พวกเขาคงมพี ลงั เหลอื เฟอื ไปหนอ่ ย แตโ่ ดยพนื้ ฐานแลว้ ทงั้ คกู่ เ็ ปน็ เดก็ ด”ี ซงึ่ เปน็ เรอ่ื งจรงิ เพราะพวกเขาไมใ่ ชฆ่ าตกร หรอื พวกลว่ งละเมดิ ทางเพศเดก็ หรอื ผคู้ า้ ยา 339

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด หรอื อนั ธพาล กแ็ คว่ ยั รนุ่ ธรรมดาๆ ทท่ี �ำตวั นา่ รงั เกยี จเทา่ นนั้ เอง แตข่ อ้ ความดๆี พวกนน้ั ท�ำใหท้ ง้ั คเู่ ปลย่ี นพฤตกิ รรมไปมากมาย คแู่ ฝดสดุ แสบไมไ่ ดก้ ลายเปน็ นกั วชิ าการในชวั่ ขา้ มคนื แตก่ เ็ พลาๆ พฤตกิ รรมแยๆ่ ในชน้ั เรยี นลงไป เพราะอยากไดร้ างวลั และความรกั จากทบี่ า้ น เวลาครเู ล่าความกา้ วหน้าเชงิ บวกของทงั้ คูใ่ ห้พ่อแมฟ่ งั 6. เป็นหนทู ดลองของตัวเอง วธิ ที ไ่ี ดผ้ ลทสี่ ดุ อยา่ งหนงึ่ ทฉ่ี นั เคยใชจ้ งู ใจนกั เรยี น รวมทงั้ นกั ศกึ ษาผใู้ หญใ่ นมหาวทิ ยาลยั คือ ใช้ช้ันเรียนของเราเป็นหนูทดลองเพื่อทดสอบทฤษฎีหรือการวิจัยหลากหลาย ท่ีพวกเราอ่านมา เชน่ ลา่ สดุ ชน้ั เรยี นของนักศึกษาทกี่ �ำลังจะเป็นครขู องฉนั ช้นั หนง่ึ อภิปรายบทความจากนติ ยสารจติ วิทยาร่วมสมัย ทส่ี รปุ ผลการวจิ ัยล่าสุดถงึ คุณค่า ของการผิดพลาดว่า ถ้าผิดพลาดขณะเรียนรู้ คนเราจะเก็บรักษาข้อมูลได้ดีขึ้น พวกเราจงึ ตดั สินใจสร้างวิธที ดสอบทฤษฎนี ้นั ซ่งึ เป็นวิธธี รรมดาๆ มาก และไม่เป็น ไปตามมาตรฐานทางวทิ ยาศาสตร์ แตน่ น่ั ไมใ่ ชว่ ตั ถปุ ระสงคข์ องแบบฝกึ หดั นี้ เปา้ หมาย ของฉันคือ ท�ำให้นักเรียนพิจารณาอย่างจริงจังถึงคุณค่าของการท�ำผิดพลาด และ คดิ หาวธิ ีท�ำผิดพลาดในหอ้ งเรียน ช้นั เรยี นทีท่ �ำการทดลองเปน็ ช้ันท่ีดี นกั เรยี นมาตรงเวลา ให้งานอะไรไปกอ็ ่าน และเต็มใจเข้าร่วมการอภิปราย แต่บางคร้ังฉันสังเกตเห็นบางคนดูนาฬิกา หรือมอง ออกไปนอกหน้าตา่ ง และไมเ่ ข้าร่วมกิจกรรมที่ก�ำลังท�ำอยู่ อย่างไรกต็ าม ทุกคนเข้าร่วม กิจกรรมฝึกท�ำความผิดทั้งหมดอย่างเต็มท่ีและกระตือรือร้นมากจนท่วมท้น ท้ังๆ ท่ี ไม่ใช่กิจกรรม “สนุกๆ” ฉันเอาค�ำศัพท์ยากๆ 2 รายการให้นักเรียน (เช่น jacamar - นกปากคอยาวชนดิ หนง่ึ baggala - เรอื สนิ คา้ แบบมเี สากระโดง 2 อนั inchoate - ซง่ึ เพงิ่ เรม่ิ ตน้ และ icteric - เกยี่ วขอ้ งกบั โรคดซี า่ น) แลว้ ใหเ้ ขยี นความหมายของแตล่ ะค�ำลงใน รายการแรก แต่ถ้าไม่รู้ ให้แต่งข้ึนเอง จากนั้นฉันเอาความหมายที่ถูกต้องให้นักเรียน เปรยี บเทยี บกบั ของตวั เอง สว่ นในรายการทส่ี องฉนั เอาความหมายของทกุ ค�ำใหน้ กั เรยี น ลอกไปเลย แล้ววางรายการท้ังสองไว้จนถึงตอนหมดคาบ ซ่ึงเป็นเวลาเกือบ 3 ช่ัวโมง 340 จากนนั้ ฉันเอารายการค�ำศัพทท์ งั้ 2 รายการ ให้นกั เรียนเขียนความหมายของค�ำทุกค�ำ

ที่จ�ำได้ ผลการทดลองของเราสอดคลอ้ งกับผลการวิจัย นัน่ คอื ทกุ คนจ�ำค�ำจากรายการ ุสดยอด... ท่ี 1 ไดม้ ากกว่า เพราะได้แก้ไขสง่ิ ท่ีตวั เองท�ำผิด วนั นนั้ ไม่มใี ครอยากออกจากห้อง ทุกคนอยากคุยเรือ่ งวิธสี อนนกั เรียนให้ท�ำผิด และเรียนร้จู ากบทเรยี นนัน้ นกั เรยี นชน้ั มธั ยมของฉนั กย็ อมเปน็ หนทู ดลองอยา่ งดเี ชน่ กนั คณุ คงพอเดาออกวา่ การทดสอบการสะกดค�ำไม่เป็นที่นิยมในช้ันเรียนที่มีปัญหาการอ่าน แต่พอฉันแนะน�ำ ให้ลองท�ำหลายๆ วิธี เพื่อทดสอบประสิทธิผลของตัวเอง ทุกคนก็เร่ิมสนใจ อันดับแรก พวกเราสมมตติ วั เองเป็นเดก็ อนบุ าล แล้วทอ่ งค�ำศัพท์ด้วยกนั อยา่ งช้าๆ ตง้ั แต่วนั จนั ทร์ ถงึ วนั พฤหสั บดี และทดสอบในวนั ศกุ ร์ แลว้ บนั ทกึ ผลไว้ สปั ดาหถ์ ดั ไปเราลองใชน้ ว้ิ เขยี น ค�ำศพั ท์ในอากาศเพือ่ เรียนรูค้ �ำศพั ท์ และฝึก 4 วนั เหมอื นเดิม แลว้ ทดสอบ เราทดสอบ ทั้งหมด 6 วิธี รวมทั้งการดูบัตรค�ำแบบเร็วๆ การใช้รายการค�ำศัพท์ และการทดสอบ กอ่ นเรยี น เดือนนน้ั ไม่มีใครบน่ ท่ีต้องเรยี นการสะกดค�ำ ทกุ คนพากนั สนใจมากวา่ วธิ ีไหน จะไดผ้ ลดที ่สี ดุ จนลืมไปว่าตัวเองเกลยี ดการสะกดค�ำ ในช้ันเดียวกันน้ี เราใช้ตัวเองเป็นตัวทดสอบการอ่านด้วย โดยให้ทุกคนอ่าน เรอื่ งเดยี วกนั นาน 1 นาที เพอื่ ดวู า่ อา่ นไดก้ คี่ �ำ แลว้ ท�ำเครอ่ื งหมายไว้ กอ่ นเอาไปวางทง้ิ ไว้ 1 สปั ดาห์ และอา่ นอกี หลายๆ บทความ เพอ่ื ฝกึ ฝนทกั ษะ พอสปั ดาหถ์ ดั มากอ็ า่ นเรอื่ งที่ คลา้ ยๆ กนั เพอ่ื ดวู า่ อ่านเร็วขน้ึ ไหม ซ่ึงนกั เรียนสว่ นใหญ่อ่านเรว็ ขน้ึ เราใช้วธิ ีน้ี 1 เดอื น และลองวธิ อี ่ืนด้วย ตวั ของกิจกรรมเองนน้ั ไมส่ �ำคญั สง่ิ ส�ำคญั คือ เราก�ำลังทดสอบสมอง ของตัวเอง เพื่อดูว่าอะไรท�ำให้สมองท�ำงานดีที่สุด จุดเน้นของเราเปล่ียนไป แทนที่จะ เหน็ การท�ำสงิ่ ตา่ งๆ เปน็ งาน เราเรม่ิ มองวา่ มนั เปน็ เครอื่ งมอื การเรยี นรู้ ชา่ งเปน็ ความคดิ ใหม่ ที่ดีจริงๆ! 7. ขอค�ำตชิ มบอ่ ยๆ เปน็ ไปไดม้ ากทเี ดยี วทน่ี กั เรยี นจะใหค้ วามรว่ มมอื ถา้ มโี อกาสใหค้ �ำตชิ มครใู นเรอื่ งตา่ งๆ เชน่ ความยากงา่ ยของงานทค่ี รใู หท้ �ำ ขอ้ ก�ำหนดบางอยา่ งทเ่ี จาะจง หรอื ทใ่ี หเ้ ลอื กได้ ระยะเวลาท่ีครูให้ท�ำงานจนเสร็จเพียงพอหรือไม่ แน่นอน การเตือนนักเรียนว่า คุณ เปน็ ครู คณุ มอี �ำนาจตดั สนิ ใจวา่ จะสอนอะไรและอยา่ งไร เปน็ เรอ่ื งส�ำคญั กจ็ รงิ แตค่ ณุ 341

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด กช็ น่ื ชมความเหน็ ของนกั เรยี น และจะไมแ่ กแ้ คน้ ถา้ ใหค้ �ำวจิ ารณท์ จ่ี รงิ ใจและสรา้ งสรรค์ คณุ อาจจ�ำเปน็ ตอ้ งเตอื นนกั เรยี นบางคนวา่ การวจิ ารณอ์ ยา่ งสรา้ งสรรคเ์ ปน็ การเสนอ ขอ้ แนะน�ำที่ไตรต่ รองมาดแี ล้ว เพอ่ื ใหเ้ กิดการปรับปรงุ (ถา้ ได้ค�ำแนะน�ำทีน่ ่าขนั หรอื นา่ รงั เกยี จ อยา่ ตอบสนอง เพราะจะเปน็ การใหร้ างวลั คนเขยี น ใหโ้ ยนค�ำตชิ มทไ่ี รค้ า่ นน้ั ลงถงั ขยะตอนอยคู่ นเดยี ว) ขอบใจนกั เรยี นทใ่ี หค้ �ำตชิ มอยา่ งจรงิ ใจ และบอกวา่ ครจู ะ พจิ ารณาข้อคิดเหน็ เหล่าน้นั เวลาวางแผนการบ้านในอนาคต คณุ อาจจะอนุญาตให้ เขียนค�ำตชิ มโดยไม่ตอ้ งลงชอ่ื กไ็ ด้ ข้นึ กบั อายุ วุฒิภาวะ และบคุ ลกิ ภาพของนกั เรยี น ตามปกตฉิ นั จะใหเ้ ดก็ เลอื กเองวา่ จะลงชอ่ื หรอื ไม่ (และนกั เรยี นสว่ นใหญล่ งชอ่ื เพราะ อยากให้ครูรูว้ ่า พวกเขาไตร่ตรองมาดแี ล้วกอ่ นให้ความคิดเห็น) ค�ำติชมประจ�ำเดือนใช้ได้ผลส�ำหรับครูบางคน แต่บางคนชอบคอยไปจนกว่า จะเรยี นจบหนว่ ยนนั้ หรอื จบเทอม หรอื จนกวา่ จะใหค้ ะแนนเสรจ็ ฉนั ชอบการไดค้ �ำตชิ ม บอ่ ยๆ มากกวา่ เพราะประสบการณส์ ว่ นตวั ชวี้ า่ ขวญั ก�ำลงั ใจของนกั เรยี นจะดขี น้ึ เมอื่ รวู้ า่ ครูใสใ่ จความรสู้ กึ ของพวกเขา คณุ จะอนญุ าตใหน้ กั เรยี นวจิ ารณร์ ปู แบบหรอื วธิ กี ารสอนหรอื ไม่ กข็ น้ึ กบั ตวั คณุ เอง ครูบางคนชอบใช้ค�ำถามตามเน้ือหากับรูปแบบของบทเรียน กิจกรรมและโครงการ การสอบย่อยและสอบใหญ่ ถ้าตัง้ ค�ำถามแบบปลายเปดิ คณุ ตอ้ งแน่ใจวา่ ได้เผอื่ ทีว่ ่างไว้ มากพอส�ำหรบั ค�ำตอบ เพราะถา้ มที วี่ า่ งเพยี งเลก็ นอ้ ย นกั เรยี นมแี นวโนม้ จะเขยี นค�ำตอบ สน้ั มากๆ ส�ำหรับเดก็ เลก็ ฉันจะแจกแบบฟอร์มใหท้ �ำเครื่องหมายหน้าขอ้ ความทต่ี ัวเอง เห็นด้วย ส�ำหรับกิจกรรมหรือการบ้านแต่ละอย่าง เช่น “ให้ท�ำมากขึ้น” “ใช้ได้” หรือ “ไมต่ อ้ งท�ำ ลืมไปไดเ้ ลย” 8. ท�ำแผนผงั ความกา้ วหน้าของนกั เรยี น ช่างน่าขันที่นักเรียนซึ่งบอกว่าไม่แคร์โรงเรียนมากท่ีสุด กลับเป็นคนบ่นมากที่สุด เวลาได้คะแนนไมด่ ี ตอนปแี รกของการสอนฉันมนี ักเรยี นเรียนเรว็ หน่ึงชัน้ กับอีกช้ัน เปน็ นกั เรยี นทมี่ ปี ญั หาการอา่ นภาษาองั กฤษพวกกลมุ่ เรยี นเรว็ ทก่ี �ำลงั จะเขา้ มหาวทิ ยาลยั 342 ยอมรับคะแนนในเทอมแรกด้วยเสียงถอนหายใจและบ่นพึมพ�ำนิดหน่อย แต่กลุ่ม

ทอ่ี า้ งวา่ ตวั เองดเี กนิ ไปส�ำหรบั โรงเรยี นและมปี ญั หาการอา่ น กลบั ใชเ้ วลาทง้ั คาบโตแ้ ยง้ เร่อื งคะแนนทต่ี ัวเองได้ บางคนอ้อนวอน บางคนเรียกร้องขอตรวจสอบสมุดคะแนน หรือตัง้ ค�ำถามว่า ครูยงั สติดีอยู่หรอื เปล่าท่ีใหค้ ะแนนแบบนั้น พอเสยี งบน่ ทท่ี ว่ มทะลกั มาลดลง ฉนั ลองคยุ กบั นกั เรยี นตวั ตอ่ ตวั เพอ่ื แจง้ ใหท้ ราบ ความกา้ วหนา้ ถดั ไปฉนั ลองเอารายงานความกา้ วหนา้ ทเี่ ปน็ ลายลกั ษณอ์ กั ษรใหน้ กั เรยี น เปน็ ระยะๆ 2 ครัง้ ต่อเดือน ขณะท่นี ักเรียนก�ำลังยุ่งกบั งาน ฉนั จะเดนิ ไปรอบหอ้ ง และ ส่งกระดาษรายงานผลคะแนนปัจจุบันให้แต่ละคน ฉันจะหยุดที่โต๊ะของนักเรียน และ วางกระดาษคว่�ำไว้ ฉันเขียนว่า “ท�ำงานได้ดี” หรือ “นักเรียนท�ำงานได้ดีขึ้น รักษาคะแนนไว้นะ” ส�ำหรบั นกั เรยี นทสี่ อบตก ฉนั เขยี นวา่ “ตอนนน้ี กั เรยี นยงั สอบไมผ่ า่ น ถา้ อยากใหค้ รชู ว่ ย ก็บอกนะ ครูดีใจท่ีได้สอนเธอ” ไม่ว่าใครจะได้คะแนนเท่าไหร่ ฉันจะจับมือเด็กทุกคน แต่บางคนไม่ชอบใหท้ �ำอย่างนั้น เพราะไม่อยากให้ใครคดิ ว่าตัวเองแครโ์ รงเรียน ฉนั จะ ยกนวิ้ โปง้ ใหเ้ งยี บๆ อยา่ งรวดเรว็ พอไดร้ บั บตั รรายงานผลการเรยี นประจ�ำภาค เสยี งบน่ พมึ พ�ำหรอื ครำ่� ครวญกล็ ดลงประมาณครงึ่ หนงึ่ แตเ่ หน็ ไดช้ ดั วา่ นกั เรยี นอกี ครง่ึ หนง่ึ เชอ่ื วา่ ฉันปลน้ คะแนนทีพ่ วกเขาน่าจะได้ไป วนั แรกของเทอมทส่ี อง ฉนั เสนอวา่ ทกุ คนทม่ี าเรยี นทกุ วนั (หรอื ขาดเรยี น แตแ่ จง้ ใหค้ รทู ราบ) จะไดเ้ กรดซเี ปน็ อยา่ งตำ�่ ส�ำหรบั งานทกุ ชนิ้ ทที่ �ำในหอ้ งเรยี นและทบ่ี า้ นโดยไม่ ลอกใคร ร่วมมือกับครู เข้าร่วมกิจกรรมของทุกๆ บทเรียน และได้เกรดซีข้ึนไปในการ สอบย่อยทกุ ครง้ั จะถือว่าสอบผา่ น แมจ้ ะสอบไลป่ ลายภาคตกกต็ าม ุสดยอด... เด็กชายคนหนึ่งถามว่า “ครพู ยายามจะท�ำอะไร ท�ำให้เราเป็นบา้ เหรอ” ไรอัน เปน็ เดก็ ฉลาดทส่ี ดุ แต่มแี รงจูงใจนอ้ ยทสี่ ดุ คนหนึ่งเท่าท่ีฉันเคยมโี อกาสยนิ ดีท่ีไดส้ อนมา เขาไดเ้ กรดเอส�ำหรับงานทุกชน้ิ ท่ที �ำ แตเ่ นื่องจากเขาท�ำงานแคค่ ร่งึ เดียว จงึ ไดค้ ะแนน เพยี ง 50 เปอรเ์ ซน็ ต์ และไดเ้ กรดเอฟในบตั รรายงาน ไรอนั ไมใ่ ชค่ นเดยี วในหอ้ งทที่ �ำอะไร ต�่ำกว่าความสามารถของตัวเอง เร่ืองการสอบตก ไม่มีคะแนน หนีเรียน มีเจตคติไม่ดี มีมากกว่าเจตคติดีๆ และเรอ่ื งทจ่ี ะไดค้ ะแนนดๆี 343

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด “ใช่แลว้ ” ฉนั บอกไรอัน “ครูพยายามท�ำให้นกั เรียนเปน็ บ้า เพราะไมเ่ ชื่อว่าจะ เปน็ ไปได้ ทจ่ี ะมาเรยี นทกุ วนั ตง้ั ใจเรยี น ท�ำงานทกุ อยา่ งเสรจ็ เองขนาดไดค้ ะแนนสอบผา่ น แลว้ ยงั ไมเ่ รยี นรสู้ งิ่ ทค่ี รสู อนไปเลย ใครกต็ ามทที่ �ำทง้ั หมดแบบนน้ั และมสี มองทย่ี งั ใชก้ ารได้ จะสอบผา่ นแนน่ อน ครยู นื่ ขอ้ เสนอนใี้ ห้ เพราะทกุ คนมสี มองทยี่ งั ใชก้ ารได้ ท�ำไมไมล่ องดู ซักต้ังละ่ นกั เรียนไม่มีอะไรจะเสยี หายนี่ เธออาจจะพบวา่ ตัวเองฉลาดกวา่ ท่เี คยคดิ นะ” ไรอนั ยอมรบั ขอ้ เสนอและเรม่ิ ท�ำงานทกุ ชน้ิ เขาไดค้ ะแนนสงู สดุ ในหอ้ ง แตไ่ มเ่ ชอ่ื วา่ ตวั เองจะสอบผา่ น ทกุ วนั เขาจะขอดสู มดุ คะแนน และฉนั บอกทกุ วนั วา่ เขาจะสอบผา่ น แตเ่ ขาไม่เช่อื จนกว่าจะเห็นคะแนนท่เี ขียนไว้ในหนา้ นน้ั ด้วยตาของตัวเอง ไมช่ ้านกั เรียน คนอ่ืนๆ ก็เร่ิมท�ำเหมือนกัน และเรียกร้องจะดูเกรด เพ่ือเป็นการป้องกันตัวเอง ฉันจึง ตดิ แผนผงั บนผนงั หอ้ งส�ำหรบั ชน้ั เรยี นทไี่ รอนั เรยี นอยู่ ซงึ่ กลายเปน็ ตวั กระตนุ้ ทย่ี อดเยย่ี ม แม้กบั นักเรยี นทไี่ มม่ แี รงจงู ใจเลยสักนดิ ฉันติดโปสเตอร์แผ่นใหญ่ไว้บนบอร์ด (ฉันน่าจะใช้หน้าว่างจากสมุดคะแนน แตต่ อนนน้ั ไมไ่ ดค้ ดิ วา่ ควรจะท�ำส�ำเนาจากสมดุ ไวก้ อ่ นกรอกคะแนน) และเขยี นชอื่ นกั เรยี น ในชนั้ ของไรอนั ลงไปบนฝง่ั ซา้ ยของโปสเตอร์ แลว้ แบง่ สว่ นทเ่ี หลอื เปน็ สเ่ี หลย่ี มจตรุ สั เลก็ ๆ ให้มากพอจะใส่รายการของงานทุกช้ินท่ีให้นักเรียนท�ำ รวมท้ังการบ้าน การสอบย่อย การสอบใหญ่ และโครงงานพเิ ศษ แลว้ เขยี นชอ่ื งานแตล่ ะชนิ้ เหนอื ชอ่ งสเี่ หลย่ี มดว้ ยตวั ยอ่ เชน่ บ/ง ส�ำหรับใบงาน (w/s = worksheet) ท ส�ำหรบั การทดสอบ (T = test) เชน่ สก ท-1 ส�ำหรบั การทดสอบสะกดค�ำครง้ั ท่ี 1 (Sp T-1 = spelling test No.1) ถา้ นกั เรยี น ท�ำงานเสรจ็ และไดค้ ะแนนสอบผา่ น จะไดเ้ ครอ่ื งหมายกากบาทในชอ่ งสเี่ หลยี่ มของงานนน้ั ฉนั วาดกลอ่ งสเี ขยี วรอบชอ่ งสเี่ หลย่ี มส�ำหรบั นกั เรยี นทส่ี อบตกหรอื ขาดเรยี น พอนกั เรยี น ท�ำงานชดเชยเสรจ็ กอ่ นก�ำหนดสง่ (ซง่ึ เขยี นไวใ้ ตช้ อ่ื งาน นกั เรยี นจงึ ไมต่ อ้ งถามวา่ จะสง่ งาน เมื่อไหร่) ฉันเขียนกากบาทไว้ในกล่องเพ่ือแสดงว่า นักเรียนท�ำงานเสร็จและได้คะแนน สอบผ่าน เขยี นเลขศนู ยส์ ีแดงตวั ใหญใ่ นกลอ่ งส�ำหรบั งานท่ที �ำไม่เสรจ็ หรือสอบตก และ นักเรียนคนน้ันไม่พยายามท�ำคะแนนให้ดีขึ้นเพื่อจะสอบผ่านเลย ภาพที่ 10.1 แสดง 344 ตัวอยา่ งแผนผงั ความกา้ วหน้าบนผนังหอ้ ง

10.1 แผนผงั ความก้าวหนา้ บนผนงั ห้อง ุสดยอด... done เรยี บรอ้ ย สอบผ่าน missing ขาดเรียน/ขาดสง่ งาน late ส่งงานชา้ no credit ไมม่ คี ะแนน 345 Deadline กำ� หนดส่งงาน Name ชอื่ Journal บันทึกประจำ� วนั Spelling การสะกดคำ� Reading การอ่าน Vocab ค�ำศัพท์ Spelling Quiz การทดสอบสะกดคำ� Essay เรียงความ Project โครงงาน Group Report รายงานกลุ่ม ชาเวซ, ด ี โคเฮน, พี เดก็ ซเ์ ตอร์, แอล ฟารล์ ีย์, เอม็ แฮกก์, เค ฮอง, เอส โจนส์, เจ แลงลยี ์, เอ มารต์ นิ , เอฟ มาร์ตเิ นซ,อาร์ พอร์เตอร,์ แอล ควนิ ทานา, เค รอส, พ ี สแตนโก, เจ ทาโน, เอฟ ไวลดฮ์ อร์ส, เอ ยงั , ที

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด ในแผนผังไม่ได้เขียนเกรดไว้ เพราะคิดว่าไม่น่าจะท�ำให้นักเรียนอับอาย หรือ กระตนุ้ ใหแ้ ขง่ กนั เพอื่ เอาเกรดดๆี นกั เรยี นบางคนนนั้ ยงั ไงๆ กส็ ะกดค�ำไมค่ อ่ ยจะถกู แมว้ า่ การสะกดค�ำไมใ่ ช่ตัวชีว้ ัดระดับความฉลาด แต่คนทีส่ ะกดค�ำไมเ่ กง่ ท่ีถกู เปรียบเทยี บกบั คนอ่ืนๆ เสมอจะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ฉันอยากให้นักเรียนแข่งกับตัวเองเพ่ือจะได้ เครือ่ งหมายกากบาทในกล่องทุกอนั มากกวา่ ฉนั รบั ประกนั วา่ “นกั เรยี นทไี่ ดก้ ากบาทในทกุ ชอ่ งจะสอบผา่ นวชิ าของครแู นน่ อน คณุ ภาพของงานจะตดั สนิ วา่ นกั เรยี นจะไดเ้ กรดเอ หรอื เกรดดี และคนทที่ �ำงานจะสอบผา่ น วิชาน้ีแนๆ่ ” แมแ้ ตน่ กั เรยี นทขี่ าดแรงจงู ใจและไมใ่ สใ่ จเลย กไ็ มอ่ าจเพกิ เฉยกบั เลขศนู ยส์ แี ดง ที่เขียนอยู่ข้างช่ือตัวเอง พวกเขาไม่ได้รีบเข้าห้อง แล้วว่ิงไปเช็คแผนผังเหมือนนักเรียน ส่วนใหญ่ แต่ท�ำเป็นเดินลากเท้า หาว และเอนตัวไปเช็คแผนผัง ขณะเดียวกันก็แสร้ง ช�ำเลืองข้ามไหล่ไปดอู ะไรบางอย่างทน่ี า่ สนใจกวา่ เมอื่ ตดิ แผนผังรายงานความก้าวหน้า ชว่ งแรก นกั เรยี นในกลมุ่ ทม่ี ผี ลสมั ฤทธติ์ ำ่� สดุ บน่ วา่ ไมย่ ตุ ธิ รรมเลยทที่ �ำงานชดเชยการบา้ น ทข่ี าดสง่ ไมไ่ ด้ ฉนั จงึ ยน่ื ขอ้ เสนอแบบใหแ้ คค่ รงั้ เดยี วทเี่ หลอื เชอื่ และพเิ ศษสดุ ๆ โดยใหเ้ วลา นักเรียน 3 สัปดาห์ ท�ำงานชดเชยส�ำหรับงานท่ีขาดส่งหรือที่สอบตกทุกชิ้น แต่ถ้าเลย เส้นตายไปแลว้ จะห้ามตอ่ รองอย่างเด็ดขาด วิธีนี้ใช้ได้ผล พอบัตรรายงานครั้งถัดไปออกมา เหลือเลขศูนย์สีแดงแค่ไม่ก่ีตัว บนแผนผงั แต่นักเรียนทุกคนสอบผ่านวิชาของฉัน พอช้ันอื่นๆ ท่ีฉันสอนเห็นแผนผังความก้าวหน้าในช้ันของไรอัน ก็เรียกร้องขอ แผนผังคล้ายๆ กัน ไปติดในห้องของตัวเองบ้าง แม้แต่นักเรียนเก่งๆ ที่เอาบัตรรายงาน มแี ตเ่ กรดเอกบั บกี ลบั บา้ นเปน็ ประจ�ำ กย็ งั อยากไดข้ อ้ พสิ จู นท์ เี่ ปน็ รปู ธรรมทแี่ สดงความ กา้ วหนา้ ของตวั เอง และมปี ระจักษพ์ ยานว่าครูสัง่ ใหน้ ักเรียนท�ำอะไรบา้ ง ตอนนน้ั เองทฉี่ นั ตระหนกั วา่ นกั เรยี นทล่ี ม้ เหลวแลว้ ยอมแพ้ เพราะมองไมเ่ หน็ ภาพ ทตี่ วั เองกา้ วหนา้ อยา่ งแทจ้ รงิ ไปสตู่ อนปลายภาค พวกเขาเหน็ วา่ โรงเรยี นเปน็ การเดนิ ทาง อันไม่ส้นิ สดุ และยากล�ำบากขนึ้ เรอ่ื ยๆ เพราะมงี านเอกสารกองทว่ มหัว แต่พอเห็นภาพ ทพี่ สิ จู นไ์ ดว้ า่ ตวั เองก�ำลงั ประสบความส�ำเรจ็ นกั เรยี นจะหยดุ เสแสรง้ วา่ ไมแ่ คร์ พวกเขา 346 อาจจะไมไ่ ดเ้ ปน็ นกั วชิ าการ แตจ่ ะเรม่ิ เชอ่ื วา่ ตวั เองอาจจะไปรอดและเรยี นจบไดใ้ นทส่ี ดุ

9. สมองซีกขวาสู้ สู้ ุสดยอด... ความเชื่อว่ามีสมองซกี หนึ่งเด่นกว่านั้นบางทีก็เปน็ ทน่ี ยิ ม บางทกี ไ็ มเ่ ป็น แล้วแตผ่ ล การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดจะว่าอย่างไร (และอาจขึ้นกับแหล่งทุนสนับสนุน การวิจัย) แต่ตามท่ีฉันอ่านมาและท่ีมีประสบการณ์ส่วนตัวในฐานะครู ฉันเช่ือว่า แนวคดิ พ้ืนฐานของเร่ืองน้ีนา่ จะมีเหตผุ ลอยู่ ความคดิ นเ้ี รมิ่ เปน็ ทน่ี ยิ มในปลายทศวรรษ 1950 เมอื่ แพทยไ์ ดเ้ รยี นรวู้ า่ จะชว่ ย ปอ้ งกนั อาการชักอยา่ งรุนแรงในผู้ปว่ ยโรคลมชักได้ หากแยกตดั ความเชอ่ื มโยงระหว่าง สมองทั้ง 2 ซีกออกจากกัน ซึ่งน�ำไปสู่การวิจัยอื่นๆ เพราะมันแสดงว่าสมองทั้ง 2 ซีก ประมวลข้อมูลแตกตา่ งกนั อย่างชัดเจน สมองซีกซ้ายควบคุมการพูด เข้าใจการตีความถ้อยค�ำตามตัวอักษร จดจ�ำค�ำ กับตัวเลข ท�ำหน้าที่เชิงวิเคราะห์ กับการค�ำนวณทางคณิตศาสตร์ และเชี่ยวชาญการ กระต้นุ ให้สมองรบั มือกับสง่ิ เรา้ จากภายนอก สมองซกี ขวารวบรวมขอ้ มลู จากภาพมากกวา่ ค�ำ มองหาแบบแผน ตคี วามภาษา ผา่ นบรบิ ททเ่ี ปน็ ภาษากาย อารมณ์ และนำ�้ เสยี ง มากกวา่ ตามตวั อกั ษร เชย่ี วชาญในการ รับรู้เกี่ยวกับทวี่ ่าง การจดจ�ำสถานท่ี ใบหนา้ วตั ถุ การท�ำงานเชงิ เหตผุ ลกับคณิตศาสตร์ เช่น วิชาเรขาคณติ และตรโี กณมติ ิ ผู้คนมแี นวโนม้ ท่จี ะมสี มองซกี ขวาหรือซ้ายเดน่ กว่ากัน เหมอื นทถ่ี นดั ใชม้ ือขวา หรือมือซ้าย แต่การใช้เหตุผลไม่จ�ำกัดอยู่แค่ในสมองซีกซ้าย เช่นเดียวกับที่ความคิด สรา้ งสรรค์ไมจ่ �ำกัดอยู่แค่ในสมองซีกขวา เพราะท้งั 2 ซกี ไม่ไดท้ �ำหน้าที่อย่างเป็นอสิ ระ ตอ่ กนั เปน็ ไปไมไ่ ดท้ เี่ ราจะใหก้ ารศกึ ษาแกส่ มองเพยี งซกี เดยี ว แตเ่ ปน็ ไปไดท้ จ่ี ะออกแบบ กจิ กรรมเพอ่ื กระตนุ้ กจิ กรรมในสมองซกี ขวาหรอื ซา้ ย เชน่ การวางภาพวาดกลบั หวั กลบั หาง แลว้ พยายามวาดเลียนแบบ เปน็ กิจกรรมท่ีเกี่ยวกับสมองซีกขวามากกว่าซีกซา้ ย เป็นไปไดม้ ากทสี่ ดุ ว่า การวิจยั เรื่องสมองซีกที่เดน่ จะเปน็ แรงบันดาลใจให้มกี าร สรา้ งแบบฝึกหดั เพ่อื ฝกึ สมอง และช่วยใหเ้ ดก็ กอ่ นวยั เรยี นอา่ นหนังสอื ออกตัง้ แต่เลก็ ๆ เด็กๆ ที่คลานไมเ่ ปน็ หรือทต่ี ากบั มอื ท�ำงานประสานกนั ไมด่ มี กั มีปญั หาการเรยี นรเู้ วลา 347

ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด หัดอ่านหนงั สอื การฝึกพวกนที้ �ำไมย่ าก โดยขยบั แขนขาใหพ้ าดขา้ มสว่ นกลางของล�ำตวั นักกายภาพบ�ำบัดก็ใช้การฝึกท�ำนองนี้บ่อยๆ เช่นกัน (เอามือซ้ายเคาะเข่าขวา แล้วท�ำ สลบั ขา้ ง) พอตากบั มอื ท�ำงานประสานกนั ดขี น้ึ จะเกดิ การเปลยี่ นแปลงเชงิ บวกอนื่ ๆ ตามมา ย่ิงเดก็ คลานถนดั จะยิ่งหดั อา่ นหนงั สอื งา่ ย แม้การสรุปเรื่องน้ีให้เป็นหลักเกณฑ์โดยท่ัวไปอาจเป็นอันตราย แต่ฉันเช่ือว่า ครสู ว่ นใหญเ่ ปน็ พวกนกั คดิ ทสี่ มองซกี ซา้ ยเดน่ (ชอบเนน้ รายละเอยี ด) พวกนชี้ อบโรงเรยี น เพราะมคี วามชอบตามธรรมชาตทิ ส่ี อดคลอ้ งกบั กระบวนทศั นแ์ บบสมองซกี ซา้ ยในระบบ โรงเรยี นแบบดงั้ เดมิ สว่ นใหญ่ นา่ เสยี ดายทน่ี กั เรยี นสว่ นใหญอ่ าจไมใ่ ชพ่ วกสมองซกี ซา้ ยเดน่ เพือ่ แสดงข้อโตแ้ ย้ง ขอใหเ้ รามาต้ังสมมติฐานกนั วา่ นกั เรยี นครง่ึ หน่ึงในชั้นเรยี นช้นั หนึ่ง เปน็ พวกนกั คดิ ทสี่ มองซกี ขวาเดน่ (เนน้ ภาพใหญ)่ จงึ คดิ ตา่ งจากครทู มี่ สี มองซกี ซา้ ยเดน่ นกั เรยี นมกั ทอ้ แทห้ รอื ไมส่ นใจโรงเรยี น เพราะถกู บงั คบั ใหร้ สู้ กึ วา่ ตวั เองโง่ ตามวธิ ที �ำงาน ของสมองตัวเอง ถ้าคณุ ไมค่ นุ้ กบั เรอ่ื งสมองซีกไหนเดน่ ใหไ้ ปอา่ นบทน�ำทย่ี อดเยย่ี มจากหนังสอื ของ เดวิด ซซู า ช่อื How the Brain Learns (ส�ำนักพิมพค์ อร์วนิ , ปี 2006) ในบทท่ี 5 ตรงหัวขอ้ “ความช�ำนาญพิเศษและการเรียนรู้ของสมอง” มีบทสรุปเร่ืองความเดน่ ของ ซีกสมอง พร้อมประเด็นส�ำคัญๆ เกี่ยวกับการวิจัยที่น่าสนใจด้านเพศภาวะ การเรียนรู้ ภาษา และการเรยี นรกู้ ารอา่ น นอกจากนยี้ งั มหี นงั สอื ขายดขี อง ดาเนยี ล เอช พงิ ก์ เรอื่ ง A Whole New Mind: “Why Right-Brainers Will Rule the Future” (ส�ำนกั พิมพ์ รเิ วอรเ์ ฮด, ปี 2006) ซงึ่ น�ำเสนอกรณที น่ี า่ สนใจเกย่ี วกบั ความส�ำคญั ของการพฒั นาสมอง ซกี ซา้ ยทงั้ ภายในและภายนอกห้องเรียน การทดสอบวา่ สมองซีกไหนเด่น ครเู ขา้ ไปทดสอบวา่ สมองซกี ไหนเดน่ ได้ ที่ www2.scholastic.com/browse/article. jsp?id=3629 ในเวบ็ ไซต์น้ีมีเคล็ดลับส�ำหรับการสอนด้วย นกั เรียนก็ทดสอบได้เช่นกัน โดยไปท่ี homeworktips.about.com/.../brain- 348 quiz/bl_leftrightbrain_quiz.htm ซง่ึ มแี บบทดสอบทอี่ อกแบบมาเปน็ พเิ ศษส�ำหรบั นกั เรยี น

เพ่ิมกจิ กรรมของสมองซีกขวา คุณจะเปลี่ยนพลวัตในห้องเรียนได้ โดยเพิ่มกิจกรรมของสมองซีกขวาและเกมเพ่ือ การศกึ ษา ถา้ เขา้ ไปคน้ หาทางอนิ เทอรเ์ นต็ โดยพมิ พค์ �ำวา่ “wacky wordies (ค�ำพลิ กึ )” กบั “เกมส�ำหรับสมองซีกขวา (right-brain games)” คุณจะพบเนือ้ หากจิ กรรมที่ เกี่ยวข้องมากมาย ตอ่ ไปนเี้ ปน็ ตวั อยา่ งสนั้ ๆ 2 แบบ ทจ่ี ะชว่ ยใหค้ ณุ เรมิ่ ตน้ ได้ อยใู่ นเอกสารประกอบที่ 10.1 และ 10.2 ซง่ึ มปี รศิ นาค�ำทฉ่ี นั ชอบใชเ้ พอื่ หาตวั นกั เรยี นทสี่ มองซกี ขวาเดน่ อยา่ เพงิ่ อา่ นค�ำตอบทนั ที ใหอ้ า่ นค�ำสงั่ แลว้ พยายามแกป้ รศิ นาไปทลี ะอนั ถา้ คณุ มสี มองซกี ซา้ ยเดน่ การทดสอบแบบน้จี ะท�ำให้หงดุ หงิดมาก เอกสารประกอบท่ี 10.1 ค�ำพลิ กึ ค�ำส่งั : ค�ำในแตล่ ะกล่องเป็นวลียอดนยิ ม โดยต�ำแหน่ง ขนาด และรูปร่างของตัวอกั ษร ภายในกล่องจะเป็นค�ำบอกใบ้ เช่น ค�ำว่า “หมู (pigs)” เมื่อพิมพ์ค�ำนี้ 3 ครั้ง ด้วยตัว อกั ษรขนาดเล็กภายในกล่องจะหมายถงึ วลี “หมูนอ้ ย 3 ตวั (3 little pigs)” เป็นต้น five fceoef SHOT eeeevvvveeeerrrr ุสดยอด... เฉลย high five (เขยี นค�ำว่า five ไว้ตรงที่สูง - high) coffee break (เขยี นค�ำว่า cof แยก - break จากค�ำวา่ fee) big shot (เขียนค�ำว่า shot ด้วยตัวอกั ษรขนาดใหญ่ - big) forever (เขียนค�ำว่า ever 4 ครงั้ ค�ำว่า for ออกเสยี งเหมอื น four - เลข 4) © ลแู อนน์ จอห์นสัน ปี 2011 349

เอกสารประกอบท่ี 10.2 ค�ำปริศนาส�ำหรบั สมองซีกขวา ค�ำสง่ั : ค�ำแตล่ ะกลมุ่ มคี ณุ สมบตั ทิ ว่ั ไปเหมอื นกนั (แตค่ วามหมายตา่ งกนั ) มเี พยี งค�ำตอบเดยี ว ท่มี คี ุณสมบัติเดียวกนั ใหห้ าวา่ คณุ สมบตั ิทว่ั ไปนน้ั คอื อะไร และเลือกค�ำตอบทถ่ี กู ตอ้ ง 1 2 3 4 5 sexes golden tea modem youth level tallow eye willow usher redder clamp sea domed item a. dined a. trace a. wee a. clash a. water b. mom b. crawl b. ate b. winter b. there c. start c. oven c. you c. tablet c. hero ครูประณีตคิดนอกกรอบ: ่ยัวใ ้หนึก ฝึกให้ ิคด เฉลย 1. mom ค�ำนส้ี ะกดเหมอื นกันจากหนา้ ไปหลงั และหลงั มาหน้า m-o-m 2. trace เอาตัวอักษรตัวแรกออกเพอ่ื สร้างค�ำใหม่ 3. you ออกเสียงคลา้ ยพยญั ชนะ (ตัวย)ู (tea – ตัวที, eye – ตวั ไอ) 4. tablet ตัวอักษรแรกและสดุ ท้ายเปน็ ตวั เดียวกนั 5. hero ค�ำน้ีเริม่ ตน้ ดว้ ยค�ำสรรพนาม (he = เขา) © ลแู อนน์ จอหน์ สัน ปี 2011 ถ้าท�ำแบบฝึกหัดนี้พร้อมกับนักเรียน คุณอาจจะพบว่า นักเรียนที่สนุกที่สุด ไมใ่ ชก่ ลมุ่ ทไ่ี ดค้ ะแนนสงู สดุ ในชนั้ บางครง้ั พวกนกั วชิ าการทส่ี มองซกี ซา้ ยเดน่ จะหงดุ หงดิ มาก 350 เพราะเคยเป็นคนฉลาดกว่าและเร็วกว่าเพื่อนร่วมชั้น แต่นักเรียนที่สมองซีกขวาเด่น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook