คำนำ กรมชลประทานได้จัดทำและพิมพ์เผยแพร่อภิธานศัพท์เทคนิคด้านการ ชลประทานและการระบายน้ำ เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 เพ่ือใช้ประโยชน์ในการ ใช้อ้างอิงให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน หนังสือดังกล่าวได้เป็นเอกสารอ้างอิงประกอบ การทำงานของบุคลากรของกรมชลประทานมาโดยตลอด ในปี 2551 กรมชลประทานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หนังสือดังกล่าวได้ผ่าน การใช้งานมาเป็นระยะเวลาพอสมควร อาจมีเน้ือหาไม่ครอบคลุมกับวิทยาการความ ก้าวหน้าในปัจจุบัน และยังมีข้อบกพร่องท่ีพึงแก้ไขในบางกรณี เห็นควรให้มีการแก้ไข ปรับปรุง และเพิ่มเติมศัพท์เทคนิค และ/หรือศัพท์วิชาการใหม่ๆ ให้ทันสมัยย่ิงข้ึน กรมจึงแต่งต้ัง “คณะทำงานปรับปรุงอภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทานและ การระบายน้ำ” มีหน้าที่พิจารณาแก้ไขและปรับปรุง “อภิธานศัพท์เทคนิคด้านการ ชลประทานและการระบายน้ำ” ให้มีความทันสมัยและครอบคลุมคำศัพท์ทางวิชาการ ท่ีมีการเปลีย่ นแปลงเพ่ิมเติม ดงั รายช่ือคณะผู้จัดทำทแี่ นบทา้ ย โดยท่ีคณะทำงานฯ มีความเห็นตรงกันว่า ควรดำเนินการให้ได้ผลงาน เป็นอภิธานศัพท์ฯ ฉบับปรับปรุงท่ีมีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากที่สุด มีเนื้อหาท ่ี ถูกต้องชัดเจนตรงตามหลักวิชาการ และมีคำศัพท์บัญญัติและคำอธิบายท่ีเข้าใจได้ สำหรับทั้งบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในกรม และสำหรับบุคคลภายนอกท่ีต้องการ หาความรู้เก่ียวกับงานชลประทาน จึงได้นำอภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทาน และการระบายน้ำ ฉบับ พ.ศ. 2534 เป็นพ้ืนฐานในการดำเนินงาน รวมทั้งเอกสาร วิชาการ ตำรา พจนานุกรมฯ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศมาใช้เปรียบเทียบ อา้ งองิ แม้ว่าคณะทำงานฯ ทุกท่านจะร่วมกันจัดทำอภิธานศัพท์เทคนิคด้านการ ชลประทานและการระบายน้ำ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2553 ฉบับน้ีด้วยความ ทุ่มเท ต้ังใจดำเนินการพิจารณาและหารือกันอย่างพิถีพิถันแล้วก็ตาม กรมตระหนัก ดวี า่ ศพั ท์บัญญัตแิ ละคำอธิบายท่จี ดั ทำข้ึนนี้ อาจยังมขี อ้ พงึ แกไ้ ขปรบั ปรงุ อยูอ่ กี ไมม่ าก I
ก็น้อย หากท่านพบข้อบกพร่องประการใด หรือท่านมีข้อเสนอแนะใดๆ ท่ีจะเป็น ประโยชน์ต่อการแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป โปรดส่งข้อคิดเห็นถึงคณะผู้จัดทำได้ท่ี e-mail address : [email protected] ความรว่ มมือของทา่ นจะช่วยให้อภิธานศพั ท์ เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำฉบับต่อๆ ไปมีประโยชน์ต่อบุคคลใน วงกวา้ งย่งิ ข้นึ ขอขอบคุณที่ปรึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานทุกท่าน ที่เสียสละเวลา และร่วมแรงร่วมใจกันปรับปรงุ อภิธานศพั ทฯ์ ฉบับนจ้ี นแล้วเสรจ็ (นายชลติ ดำรงศักด)์ิ อธิบดีกรมชลประทาน กนั ยายน 2553 II
คำชแ้ี จง หลกั การปรบั ปรงุ อภธิ านศัพทเ์ ทคนคิ ด้านการชลประทานและการระบายน้ำ ในการปรับปรุงอภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ ในคร้ังนี้ คณะทำงานฯ ได้วางหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานเพ่ือถือเป็นหลักปฏิบัติ มสี าระสำคญั สรปุ ไดด้ ังน้ีคอื 1. การกำหนดเป้าหมาย เป้าหมายการทำงานในคร้ังนี้ นอกจากการพิจารณาแก้ไขและปรับปรุง อภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ ฉบับปี 2534 ให้มีความ ทันสมัย และครอบคลุมศัพท์ทางวิชาการที่มีการเปล่ียนแปลงเพิ่มเติม ตามที่ระบุใน คำสัง่ แต่งต้ังคณะทำงานฯ แล้ว ยังคำนึงถึงผู้ใช้ที่เป็นบคุ คลภายนอกวงงานชลประทาน มากข้นึ 2. การกำหนดแผนงาน เพื่อให้การปรับปรุงได้ผลตามเป้าหมาย คณะทำงานฯ ได้มอบหมายให้ ผู้เกี่ยวขอ้ งในแตล่ ะสาขา พจิ ารณาคดั เลอื กคำศัพท์จากแหล่งต่างๆ ดงั นี ้ 2.1 อภิธานศัพท์เทคนิคการชลประทานและระบายน้ำ. -- กรุงเทพฯ : กรมชลประทาน, 2534. 2.2 Multilingual Technical Dictionary on Irrigation and Drainage. Revised ed. New Delhi : International Commission on Irrigation and Drainage, 1996. ซึ่งมีคำศพั ท์ 10,273 คำ 2.3 คำศัพท์ภาษาอังกฤษและศัพท์บัญญัติท่ีใช้กันแพร่หลายในสาขา การทำงานของตน III
ผู้เก่ียวข้องในแต่ละสาขา และคณะทำงานย่อย เป็นผู้รับผิดชอบในการ คดั เลือกคำศัพทภ์ าษาองั กฤษต่างๆ โดยพจิ ารณาคำศัพทเ์ ดมิ และเสนอคำศัพท์ใหมๆ่ เพิ่มเติม พิจารณาการคงไว้หรือปรับปรุงศัพท์บัญญัติและคำอธิบายที่มีอยู่เดิม หรือ เสริมคำอธิบายเพ่ิมเติม แล้วนำไปพิจารณากลั่นกรองร่วมกันในคณะทำงานฯ ย่อย และคณะทำงานฯ ใหญ่ ในลำดับถัดไป 3. การบญั ญัตศิ พั ทภ์ าษาไทยและคำอธิบาย การจัดทำอภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ ฉบับปรับปรุงใหม่นี้ ได้พยายามบัญญัติศัพท์ภาษาไทยให้สอดคล้องกับท่ีมีใช้อยู่ใน ปัจจุบัน และเรียบเรียงคำอธิบายให้มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายสำหรับบุคคลที่ไม่มี พ้ืนฐานทางด้านชลประทาน และเพ่ือให้ได้อภิธานศัพท์ท่ีมีมาตรฐานตรงตามหลัก วิชาการและหลักภาษามากท่ีสุด คณะทำงานฯ จึงนำเอกสารอ้างอิง และรูปประกอบ ทน่ี ่าเชื่อถอื และแพรห่ ลายมาใชป้ ระกอบการพิจารณาจัดทำด้วยหลายฉบบั ดงั น้ ี 1. Multilingual Technical Dictionary on Irrigation and Drainage. Revised ed. New Delhi : International Commission on Irrigation and Drainage, 1996. 2. Oxford Advanced Learner’s Dictionary of Current English. 5th ed. Oxford : Oxford University Press, 1997. 3. The Wiley Dictionary of Civil Engineering and Construction/Len Webster. -- New York : John Wiley & Sons, Inc., 1997. 4. อภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ. -- กรุงเทพฯ : กรมชลประทาน, 2534. 5. พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. -- กรุงเทพฯ : ราชบณั ฑิตยสถาน, 2544. IV
6. พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. -- พิมพค์ รัง้ ท่ี 4 -- กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2549. 7. ศพั ท์วทิ ยาการวิศวกรรมโยธา. -- กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ วชิ าการวศิ วกรรมโยธา, 2544. 8. คลังคำ. -- กรงุ เทพฯ : อมรนิ ทร์, 2544. 9. หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษา เยอรมัน ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษา ญป่ี นุ่ ภาษาอาหรบั ภาษามลายู ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. -- กรงุ เทพฯ : ราชบัณฑติ ยสถาน, 2535. 10. หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมาย อน่ื ๆ หลกั เกณฑก์ ารเวน้ วรรค หลกั เกณฑก์ ารเขยี นคำยอ่ ฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน. -- พิมพ์ครัง้ ท่ี 7 (แกไ้ ขเพ่ิมเติม) -- กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2551. 11. ศพั ทบ์ ญั ญตั ิ องั กฤษ-ไทย ไทย-องั กฤษ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน รุน่ 1.1 ในรปู แบบซีดีรอม 12. พจนานกุ รมอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2542 3.1 วธิ ีการบัญญตั ิศัพท ์ การบัญญัตศิ ัพท์ พจิ ารณาจากศัพทบ์ ญั ญตั ใิ นอภธิ านศพั ทฯ์ ฉบบั ปี 2534 และท่ีกรมชลประทานเคยใช้มาเป็นพ้ืนฐานเบื้องต้น แล้วทำการเพ่ิมเติม หรือปรับปรุงรายละเอียดในส่วนท่ีเห็นว่าจำเป็น ในบางโอกาสที่จำเป็นต้องใช้วิธ ี ทับศัพท์ ใชห้ ลกั การทบั ศพั ท์ตามเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบณั ฑิตยสถาน V
3.2 วิธีการอธบิ ายความหมาย โดยท่ีการปรับปรุงครั้งน้ี มุ่งเน้นให้มีเน้ือหาเป็นท่ีเข้าใจของ ท้ังบุคคลท้ังภายในและภายนอกกรมชลประทาน จึงได้ปรับปรุงการอธิบายด้วยการใช้ ภาษาที่เข้าใจง่าย และมีเน้ือหารายละเอียดเท่าที่จำเป็น ทั้งน้ีจะพยายามหลีกเลี่ยง การใช้ศพั ทภ์ าษาอังกฤษควบคู่ ยกเว้นในกรณที จี่ ำเปน็ เทา่ นน้ั 4. วิธีการใช้งาน 4.1 การค้นหาศัพท์บัญญัติและคำอธิบายภาษาไทยจากคำศัพท์ ภาษาองั กฤษ อภิธานศัพท์ฯ ฉบับปรับปรุงปี 2553 ส่วนแรกเป็นคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ จัดเรียงตามลำดับอักษรจาก A-Z แต่ละคำจะมีศัพท์บัญญัติและ คำอธบิ ายเป็นภาษาไทย โดยมีรปู แบบการแสดงรายละเอยี ดดังน ้ี <คำศัพทภ์ าษาอังกฤษ> <ศัพท์บญั ญัตภิ าษาไทย> ; <คำอธบิ าย> ตัวอย่าง approach channel ร่องชักน้ำ : ร่องรับน้ำเข้าสู่คลอง หรืออาคารส่งน้ำหรือท้ิงน้ำ เรยี กอกี อยา่ งวา่ intake channel หากหยิบยกคำอธิบายมาจากเอกสารอ่ืน จะมีการระบุในวงเล็บ ขา้ งท้าย ดังน ้ี ตวั อย่าง arable land พื้นดินเพาะปลูกได้ : พื้นดินที่ใช้ปลูกพืชได้โดยไม่ต้องอาศัย การดัดแปลงทำนุบำรุงอะไรมากนัก (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร ์ ฉบับราชบณั ฑิตยสถาน ปี 2549) VI
4.2 การหาคำศพั ทภ์ าษาองั กฤษจากศพั ท์ภาษาไทย มีการจัดทำคำเทียบไทย-อังกฤษ ไว้ด้านท้ายเล่ม โดยจัดเรียง ตามตัวอักษร ก-ฮ ซ่ึงในส่วนนี้จะมีเฉพาะศัพท์บัญญัติและคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยไม่มีคำอธิบายกำกับแต่ประการใด ผู้ใช้ที่ต้องการทราบคำอธิบายด้วย จะต้องนำ คำศัพท์ไทยไปเทียบเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษเสียก่อน แล้วนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไปหาคำอธบิ ายเพม่ิ เติมในส่วนองั กฤษ-ไทย อนึ่ง หลังจากที่ได้มีการดำเนินการปรับปรุงอภิธานศัพท์ฯ ในครั้งน้ี สำเร็จลงแล้ว คณะผู้จัดทำพบว่า ศัพท์เทคนิคหลายๆ คำ หาแหล่งระบุวิธีการ ออกเสียงได้ยาก น่าจะมีการกำกับคำอ่านไว้ด้วย แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเวลา จึงไมส่ ามารถดำเนินการในคร้ังนไี้ ด้ จงึ ขอยกแนวคิดน้ไี ว้ดำเนนิ การในโอกาสต่อไป VII
A absolute humidity absolute humidity ความช้ืนสัมบูรณ์ : มวลของไอน้ำในอากาศท่ีมีอยู่จริงในหน่ึงหน่วยปริมาตร ของบรรยากาศ เช่น มลิ ลิกรัมต่อลิตร absorption การดูดซึม : การท่ีสารอย่างหน่ึงดูดสารอย่างอ่ืนๆ เข้าไว้ในสภาพแวดล้อม ทีเ่ หมาะสม abutment ตอม่อริม (สะพาน) หรือฐานยัน (เขื่อน) : ตอม่อที่อยู่ริมตลิ่งท้ังสองข้าง เพื่อรับนำ้ หนักสว่ นปลายของสะพาน หรอื ฐานยนั สองฝง่ั ของเข่อื น accumulated rainfall ปริมาณฝนสะสม : ปริมาณน้ำฝนรวมสะสมตามระยะเวลาท่เี พิม่ ขนึ้ accuracy ความถูกต้อง : ระดับความใกล้เคียงของค่าที่วัดได้หรือคำนวณได้เทียบกับ ค่าจริง acid soil ดินกรด, ดินเปร้ียว : ดินซ่ึงมีปฏิกิริยาเป็นกรดหรือดินท่ีมีค่า pH ของดิน ที่ผสมน้ำอิ่มตัวได้ต่ำกว่า 7.0 ดินท่ีแสดงค่า pH 6-7 เป็นกรดอ่อน คา่ pH 5-6 เป็นกรดปานกลาง และคา่ pH 4-5 เปน็ กรดจดั acoustic bedload measure วิธีการวัดตะกอนท้องน้ำด้วยคลื่นเสียง : การวัดตะกอนท้องน้ำโดยใช้ เคร่อื งมือแบบคล่ืนเสียง acoustic doppler velocimeter เครื่องวัดความเร็วกระแสน้ำแบบคลื่นเสียง : เครื่องท่ีใช้วัดความเร็วของ กระแสน้ำในทางน้ำเปิดท่ีใช้อ่านค่าความเปลี่ยนแปลงของความถ่ีคลื่นเสียง ท่อี อกไปจากเคร่อื งวัด โดยมีความสมั พันธ์กับความเร็วของกระแสน้ำ
A advance phase active storage ความจุใช้การ : ความจุของอ่างเก็บน้ำส่วนท่ีอยู่เหนือระดับน้ำต่ำสุดถึงระดับ กกั เกบ็ ซงึ่ นำ้ ในส่วนน้ีสามารถสง่ ไปใช้ประโยชน์ได ้ actual evapotranspiration ปริมาณการคายระเหยจริง : ปริมาณน้ำที่พืชใช้จริงในการเจริญเติบโต ซง่ึ เปน็ ปรมิ าณนำ้ ที่พืชคายออกและปริมาณนำ้ ท่รี ะเหยออกด้วย adhesive force แรงดึงดดู ของโมเลกุลตา่ งชนิดกนั : แรงดงึ ดูดระหว่างโมเลกุลทแ่ี ตกต่างกนั ของสาร เชน่ โมเลกุลของนำ้ กบั โมเลกุลของดิน admixtures สารผสมเพิ่ม : สารใดๆ ซึ่งเติมลงในส่วนผสมคอนกรีตเพ่ือเพิ่มคุณสมบัต ิ บางประการ เชน่ ความทบึ นำ้ ความงา่ ยต่อการเท เปน็ ต้น adsorption การดูดซับ : การท่ีสารชนิดหน่ึงดูดยึดโมเลกุลของสารอีกชนิดหน่ึงไว้ที่ผิวของ อนภุ าคสารนน้ั advance curve กราฟน้ำคืบหน้า : กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลานับจากเร่ิมต้นให้น้ำ กับระยะทางที่น้ำไหลไปถึงจุดต่างๆ โดยเริ่มนบั จากหวั แปลงไปยังทา้ ยแปลง advance phase ช่วงน้ำคืบหน้า : ช่วงระยะเวลาต้ังแต่เริ่มให้น้ำจนกระท่ังน้ำเคล่ือนตัวไปถึง ทา้ ยแปลง
A aeration aeration การเตมิ อากาศ : 1. การทำใหเ้ กดิ การผสมผสานระหวา่ งอากาศกบั ของเหลว (นำ้ ) โดยวธิ หี นง่ึ วธิ ใี ด ดังน้ี ก. การฉดี หรือพ่นน้ำขนึ้ ส่อู ากาศ ข. การทำใหเ้ กดิ ฟองอากาศผา่ นเข้าไปในน้ำ ค. การกวนนำ้ เพื่อให้นำ้ ดูดซมึ อากาศไดม้ าก 2. การเติมอากาศเข้าไปในช่องว่างใต้ผิวน้ำด้านล่างในขณะเม่ือน้ำไหลผ่าน สันฝายเพ่ือปรับสภาพความกดอากาศต่ำที่กระทำต่อผิวอาคาร 3. วิธีการลดผลกระทบเน่ืองจากการกะเทาะของผิวอาคาร โดยการเติมอากาศ เขา้ ไปในสว่ นที่จะทำให้เกดิ การเสียหายนนั้ aeration zone เขตอ่ิมอากาศ : เขตหรือส่วนช้ันใต้ดินท่ีมีน้ำบรรจุอยู่ แรงดันของน้ำในเขตน ี้ จะน้อยกว่าแรงดันของบรรยากาศเพราะน้ำในส่วนของช้ันใต้ดินบรรจุอยู่ใน ช่องว่างเล็กๆ ซ่ึงมีอากาศหรือก๊าซอยู่ด้วยภายใต้ความกดอากาศ เขตอ่ิมอากาศ จะอยู่ระหว่างเขตอิ่มนำ้ กับผวิ ดนิ ตอนบน aerial photograph ภาพถ่ายทางอากาศ : ภาพถ่ายของพ้ืนผิวโลกซึ่งถ่ายด้วยกล้องท่ีนำไปใน อากาศยาน ได้แก่ บอลลนู เครอ่ื งบิน ยานอวกาศ afflux ระดับน้ำท้น : ความสูงของระดับน้ำที่ท้นขึ้นจากระดับน้ำปกติเน่ืองจากมีสิ่ง กีดขวางในลำน้ำ เช่น ฝาย หรอื สะพาน หรอื คือความลึกของนำ้ เหนือสนั ฝาย
A air-bubble method aggregate มวลรวม : วัสดุ เชน่ ทราย กรวด หรอื หินยอ่ ยตง้ั แต่ 2 ชนดิ ขนึ้ ไป ทีน่ ำมาผสม กันในสัดส่วนที่ต้องการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างโดยอาจใช้ผสมกับซีเมนต์หรือวัสดุ เชื่อมประสานอ่ืนๆ agricultural development การพัฒนาเกษตรกรรม : กิจกรรมที่มุ่งหวังในการเพ่ิมผลผลิตและผล ตอบแทนจากการเกษตร agricultural drainage การระบายน้ำเพื่อการเกษตร : การระบายน้ำท่ีมีมากเกินความต้องการ ออกจากพนื้ ท่กี ารเกษตร agricultural performance indicator ดชั นแี สดงผลทางการเกษตร : วิธกี ารประเมินประสิทธผิ ลทางการเกษตร agriculture เกษตรกรรม : กิจกรรมที่เก่ียวกับการเพาะปลูกพืช เล้ียงสัตว์ ประมง และ การป่าไม ้ agronomy พืชศาสตร์ : สาขาหน่ึงของวิทยาศาสตร์ ซ่ึงศึกษาในภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบตั เิ กย่ี วกับพืชไร่ นา รวมถงึ การใชด้ นิ air-blown mortar ปูนพน่ : ปนู ทรายทเ่ี ปน็ ส่วนผสมของปูนซเี มนต์ ทราย และน้ำ ท่ีใช้ฉดี พ่นทบั ผวิ หน้าดินหรือหนิ ด้วยเคร่ืองอัดอากาศ เรยี กอกี อยา่ งว่า gunite หรือ shotcrete air-bubble method วิธีการวัดระดับน้ำโดยใช้ฟองอากาศ : วิธีการวัดระดับน้ำในทางน้ำเปิด โดยแปลงจากค่าความดนั อากาศเปน็ ค่าความสูงของระดับนำ้
A air chamber air chamber ห้องอากาศ : อุปกรณ์ช่วยลดแรงกระแทก ที่เกิดจากน้ำภายในท่อ มีลักษณะเป็น ตัวถังบรรจุอากาศต่อเข้ากับหลังท่อส่งน้ำ ทำหน้าที่ลดความรุนแรงเม่ือความดัน เพมิ่ ขึน้ อย่างฉบั พลัน air-lift pump เคร่ืองสูบน้ำแบบลมดัน : เคร่ืองสูบน้ำท่ีใช้ลมดันสำหรับพัฒนาหรือสูบน้ำ จากบ่อบาดาล alignment; alinement การวางแนว, การปรับแนว : 1. (แผนที่) ทิศทาง ลักษณะ และตำแหน่งท่ีถูกต้องของแนวหรือรายละเอียด ภมู ิประเทศทส่ี ำคัญกับแนวหรือรายละเอียดภมู ปิ ระเทศอน่ื ๆ 2. (การสำรวจทั่วไป) การวางหรือการกำหนดตำแหน่งของจุดต่างๆ ให้อยู่ใน แนวเดียวกัน 3. การกำหนดจดุ ลงบนพนื้ ดิน ให้เป็นแนวทถี่ กู ต้องเพอื่ วางแนวถนน ทางรถไฟ กำแพง สายสง่ กระแสไฟฟา้ คลอง ฯลฯ 4. แนวทางบนพืน้ ดนิ ซง่ึ แสดงไวใ้ นแผนผัง (มิใชแ่ ผนทีร่ ะดบั หรอื รปู ตดั ซึ่งแสดง ระดับและค่าระดบั ทอี่ งคป์ ระกอบทางแนวตัง้ ) 5. แนวศูนย์กลางของทางซึ่งแสดงไว้ในแผนผัง และจะก่อสร้างบนพ้ืนดินไปตาม แนวนี้ alidade บรรทดั เลง็ : บรรทดั สำหรบั ใช้เลง็ แนวประกอบการสำรวจแผนท่ีด้วยโต๊ะสำรวจ alkaline soil ดนิ ด่าง : ดินท่มี ีปฏกิ ิริยาเป็นด่าง โดยค่า pH ของดินท่ีผสมนำ้ อิม่ ตวั มากกวา่ 7
A alluvial terrace alkaline water น้ำด่าง : น้ำท่ีมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มากกว่า 7 เป็นน้ำท่ีมีเปอร์เซ็นต์ ของโซเดยี มสงู แตม่ ีปริมาณเกลือแรล่ ะลายอยคู่ ่อนข้างตำ่ allowable soil moisture depletion ความชื้นในดินท่ียอมให้ลดลงได้ : ปริมาณความชื้นในดินท่ียอมให้ลดลง จากความช้ืนชลประทาน จนกระทั่งถึงค่าท่ีต้องให้น้ำเพ่ิมเติมมิฉะน้ันพืชจะเกิด การขาดน้ำและเห่ียวเฉา ท้ังน้ีขึ้นกับชนิดของดินและพืชท่ีปลูก เรียกอีกอย่างว่า allowable soil moisture alluvial plain ที่ราบตะกอนน้ำพา : ท่ีราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่สองฝ่ังแม่น้ำ ในฤด ู นำ้ หลาก น้ำจะไหลล้นสองฝง่ั แม่น้ำ ท่วมบริเวณดังกล่าว และนำตะกอนมาสะสม alluvial soil ดินตะกอนน้ำพา : ดินน้ำไหลทรายมูล ดินที่เกิดจากน้ำพาตะกอนไปทับถม ยังแหล่งต่างๆ เม่ือไม่นานมานี้ ลักษณะสำคัญท่ีแสดงให้เห็นคือยังไม่ค่อยมีการ พัฒนาชั้นดินหรือมีการเปล่ียนแปลงของตะกอนท่ีทับถม ส่วนใหญ่ดินมีความ อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติในระดับค่อนข้างสูง (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบบั ราชบัณฑิตยสถาน ปี 2549) alluvial terrace ตะพักลุ่มน้ำ : ท่ีราบเป็นขั้นๆ ข้างตลิ่ง เกิดจากทางน้ำท่ีตะกอนตกจมทับถม จนกลายเป็นที่ราบลุ่มน้ำ แล้วต่อมากระแสน้ำไหลแรงและสามารถกัดเซาะ ที่ราบลุ่มน้ำจมต่ำลง จึงทำให้ราบลุ่มน้ำส่วนท่ีเหลืออยู่สูงกว่าท้องน้ำใหม่ ย่ิงนานๆ เข้าท้องน้ำก็จะย่ิงกว้างออกไป และอาจเกิดที่ราบลุ่มน้ำตรงท้องน้ำ ที่กว้างออกไปข้ึนอีก วนเวียนกันไปเร่ือยๆ จนเกิดท่ีราบเป็นขั้นๆ ข้างตลิ่ง ในบริเวณนั้น
A alternate furrow irrigation alternate furrow irrigation ชลประทานแบบร่องสลับร่อง : การให้น้ำแก่พืชแบบร่องคูที่จัดทำไว้แล้ว ในลกั ษณะรอ่ งเวน้ ร่องในพื้นท่กี ว้าง เปน็ การประหยัดเวลาในการใหน้ ้ำ สามารถ ลดการสูญเสียน้ำที่เกิดจากการร่ัวซึมลงไปในดินเลยเขตรากพืช ไม่เหมาะกับ พื้นทที่ ม่ี คี วามลาดชันสูงและดินที่มอี ตั ราการรว่ั ซึมในแนวดิ่งสงู anabranch ลำน้ำแขนง : ลำน้ำที่แยกจากลำน้ำใหญ่ แลว้ ไหลมาบรรจบกับลำนำ้ เดิมอีก anamolistic cycle วัฏจักรน้ำขึ้นลง : วงรอบของน้ำข้ึนลง มีความสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของ ระยะทางระหวา่ งดวงจนั ทรก์ ับโลกโดยปกตจิ ะใชเ้ วลาประมาณ 27.5 วัน anemogram กราฟวัดลม : เส้นกราฟวัดทิศและความเร็วลมท่ีได้จากเคร่ืองวัดลมแบบกราฟ (พจนานุกรมศัพทภ์ มู ศิ าสตร์ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน ปี 2549) anemograph เครื่องวัดลมแบบกราฟ : เครื่องวัดลมท่ีบันทึกทิศและความเร็วลมเป็น เส้นกราฟ (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน ปี 2549) anemometer เคร่อื งวัดกระแสลม : เครอื่ งมือทใี่ ชว้ ดั ความเรว็ ของกระแสลม aneroid barometer เคร่ืองวดั ความกดอากาศแบบตลบั : เครอ่ื งวดั ความกดอากาศโดยวดั คา่ เป็น ความดันสัมบูรณ์
A annual flood angle of repose มุมทรงตัว : มุมท่ีมีความชันมากที่สุด ซึ่งยังคงทำให้กองหิน ดิน ทราย หรือ ผิวเอียงของตล่ิงทรงตัวอยู่ได้โดยไม่เล่ือนไถลลงมา โดยปกติมุมเอียงจะอยู่ ระหว่าง 33-37 องศา กับแนวนอน angular distance ระยะเชงิ มุม : 1. ขนาดของมุมท่ีจุดสังเกตการณ์ท่ีเกิดข้ึนจากเส้นสองเส้นท่ีต่อออกไปยังจุด สองจุดท่ีกำหนด 2. ส่วนโคง้ ของวงใหญ่ ทเ่ี ช่อื มจุดสองจดุ แสดงคา่ เปน็ องศาเชิงมุม angular velocity ความเรว็ เชิงมุม : 1. ความเร็วในการหมุนของวัตถุรอบแกนมีหน่วยเป็นรอบต่อเวลา องศาหรือ เรเดียนต่อเวลา 2. (อุตุนิยมวิทยา) ความเร็วเชิงมุมของอากาศในแนวระดับรอบบริเวณ ความกดอากาศ ซง่ึ เส้นความกดอากาศเทา่ มลี กั ษณะเป็นวงปิด annular drainage pattern แบบรูปทางนำ้ วงแหวน : แบบรปู ทางนำ้ ท่ีมีรปู ร่างคลา้ ยวงแหวนขนาดตา่ งๆ ซ้อนกัน เกิดจากกระแสน้ำในแควและลำธารกัดเซาะหินชั้นท่ีมีเน้ืออ่อนกว่า ซงึ่ แทรกสลบั อย่กู ับหินช้ันทีม่ ีเน้ือแขง็ กว่าในบริเวณทมี่ ีโครงสรา้ งรปู โดม (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบณั ฑิตยสถาน ปี 2549) annual flow การไหลของนำ้ รายปี : ปริมาตรของน้ำทไี่ หลระหวา่ งปี ณ จดุ ท่พี ิจารณา annual flood ปริมาณน้ำหลากรายปี : ปริมาณนำ้ สูงสดุ ในระยะเวลาของปีน้ำ
A annual runoff annual runoff ปริมาณน้ำท่ารายปี : ปรมิ าณนำ้ ท่าทั้งปขี องแมน่ ำ้ สายใดสายหน่งึ antecedent precipitation index ดัชนีความชุ่มชื้นของดิน : ความสามารถในการกักเก็บน้ำและความช้ืนท่ีมี อยูใ่ นดินจากฝนทต่ี กมาก่อนหนา้ นี้ โดยกำหนดเปน็ ค่าสัมประสทิ ธใ์ิ นแตล่ ะพ้นื ท่ี ลุ่มน้ำ ซึ่งจะนำไปใช้ในการประเมินวิเคราะห์การเกิดน้ำท่วมฉับพลันและ แผน่ ดนิ ถลม่ antecedent rainfall ปริมาณน้ำฝนท่ีตกมาก่อนแล้ว : ปริมาณน้ำฝนที่ตกมาก่อน ณ จุดที่ พิจารณา และนำมาใช้ในการคำนวณหาความสัมพันธ์ของน้ำฝนและน้ำท่า ในระยะข้างหน้า anti-cyclone แอนตี้ไซโคลน : ช่ือท่ีเรียกลมท่ีพัดหมุนเวียนออกจากเขตความกดอากาศสูง เคลื่อนท่ีในบริเวณแคบๆ หรือลมท่ีเกิดจากบริเวณท่ีมีความกดอากาศสูงพัดไปสู่ บริเวณท่มี คี วามกดอากาศตำ่ apparent specific gravity ความถ่วงจำเพาะปรากฏ : อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของดินแห้งต่อน้ำหนัก ของนำ้ ทม่ี ปี ริมาตรเท่าดินท้งั กอ้ น ซ่ึงรวมถงึ ช่องว่างระหวา่ งเมด็ ดินดว้ ย application efficiency ประสิทธิภาพการให้น้ำ : ร้อยละของอัตราส่วนระหว่างปริมาณน้ำที่พืชใช้รวม ท้ังนำ้ ที่ซึมลงดนิ ตอ่ ปริมาณนำ้ ชลประทานทง้ั หมดท่ตี อ้ งส่งให้ appurtenant structures อาคารประกอบ : อาคารที่สร้างประกอบกับฝายหรือเขื่อนทดน้ำ เช่น ประตู ระบายทราย รอ่ งระบายทราย กำแพงแบ่งน้ำ บันไดปลา ฯลฯ 10
A aquiclude approach channel ร่องชักน้ำ : ร่องรับน้ำเข้าสู่คลอง หรืออาคารส่งน้ำหรือท้ิงน้ำ เรียกอีกอย่างว่า intake channel arable land พื้นดินเพาะปลูกได้ : พื้นดินที่ใช้ปลูกพืชได้โดยไม่ต้องอาศัยการดัดแปลง ทำนุบำรุงอะไรมากนัก (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2549) apron พ้ืนอาคารชลประทานด้านเหนือน้ำหรือท้ายน้ำ : แผ่นหรือพ้ืนทึบน้ำเพ่ือ ป้องกันการกัดเซาะ การรั่วซึมหรือแรงยกใต้ฐาน ด้านเหนือน้ำหรือท้ายน้ำของ อาคารชลประทาน aquatic weed วัชพืชนำ้ : วชั พชื ทอ่ี ยู่ในแหล่งน้ำท่วั ไป เชน่ ผกั ตบชวา สาหรา่ ย ฯลฯ aqueduct อาคารลำเลียงนำ้ : อาคารทนี่ ำนำ้ ไป มที ั้งลักษณะอาคารปิดและเปดิ เช่น ท่อ คลอง หรือรางน้ำ เป็นตน้ aquiclude ช้ันหินซับน้ำ : ช้ันหินท่ีมีคุณสมบัติดูดซับน้ำเข้าไปได้อย่างช้าๆ เนื่องจาก มีช่องว่างระหว่างเม็ดแร่ท่ีมีขนาดเล็กมาก ทำให้เกิดมีแรงตึงผิวสูงจนน้ำ ไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ง่าย ดังนั้นในบริเวณท่ีมีหินซับน้ำจึงไม่เหมาะสำหรับ เจาะบอ่ บาดาล เช่น ชั้นหนิ ดินดาน เป็นต้น 11
A aquifer aquifer ช้ันหินอุ้มน้ำ : ชั้นหินท่ีมีคุณสมบัติยอมให้น้ำซึมได้โดยง่ายเน่ืองจากมีช่องว่าง ระหว่างเม็ดแร่ขนาดใหญ่ หรือมีโพรงหรือรอยแตกต่อเนื่องกัน จึงทำให้เก็บน้ำ ไว้ได้เป็นปริมาณมากจนกลายเป็นแหล่งน้ำบาดาล ชั้นหินน้ีอยู่ในเขตอ่ิมน้ำ ไดแ้ ก่ หนิ ทราย หินปนู เปน็ ตน้ aquifuge ชั้นหินก้ันน้ำ : ช้ันหินหรือชั้นตะกอนที่มีคุณสมบัติไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ archเนอื่ dงaจาmกไ ม่มชี อ่ งวา่ งที่ตอ่ เนื่องกัน ไดแ้ ก่ หินแกรนติ เข่ือนโค้ง : เขื่อนคอนกรตี ที่สันเข่ือนเป็นรปู โค้งออกทางด้านเหนือนำ้ เม่ือมอง จากความสูงเหนือพื้นดิน โดยแรงดันน้ำจะถ่ายไปที่ฐานยันซึ่งส่วนใหญ่เป็น areaไห-ลcเ่ ขaาpทั้งaสcอiงtขy้างcเuชน่ rvเขeือ่ น ภูมพิ ล โคง้ พ้นื ทค่ี วามจุ : เส้นโค้งแสดงความสัมพันธ์ระหวา่ งพืน้ ทีผ่ ิวน้ำ และปริมาตร as-bขอuงนilำ้ tท่ีรdะrดaับwต่าiงnๆg แบบก่อสร้างจริง : แบบท่ีมีลักษณะตรงตามที่ก่อสร้างจริง เป็นแบบแสดง รายละเอียดของอาคารภายหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว ซ่ึงบางส่วนอาจดัดแปลงแก้ไข จากแบบก่อสรา้ ง ใหเ้ หมาะสมตามสภาพความเป็นจรงิ 12
A automatic gate artesian basin แอ่งน้ำบาดาลมีแรงดัน : แอ่งที่ราบระหว่างเขา ที่มีช้ันหินอุ้มน้ำมีแรงดัน รองรับอยู่ อาจมีช้ันเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ประกอบด้วยชั้นทรายหรือชั้น หินทราย อันเป็นทางให้น้ำฝนไหลซึมลงไปเก็บกักอยู่ เม่ือเจาะบ่อบาดาลจนถึง ช้ันหินอุ้มน้ำในแอ่งนำ้ นี้ น้ำในบอ่ จะพ่งุ ขึน้ ถงึ ระดบั แรงดนั นำ้ ซึ่งระดบั น้ำอาจจะ arteอsยiภู่ aาnยในwบeอ่ lเlห นือชน้ั หนิ อุ้มน้ำหรอื พุ่งขึ้นมาเหนอื ปากบอ่ กไ็ ด้ บ่อน้ำบาดาลมีแรงดัน : บ่อท่ีเจาะลงไปถึงช้ันหินอุ้มน้ำและเป็นช่องทางให ้ น้ำบาดาลทะลักตัวสูงขึ้นมาในบ่อ โดยมีระดับน้ำสูงกว่าชั้นน้ำบาดาลแต่ไม่ จำเป็นต้องสูงจนน้ำบาดาลไหลออกจากปากบ่อที่ผิวดินก็ได้ ถ้ามีแรงดันสูง asphจนaทlำtใiหcน้ cำ้ oไหnลcอrอeกจteากป ากทอ่ เรียกวา่ บอ่ น้ำพ ุ แอสฟัลต์คอนกรีต : วัสดุผสมระหว่างมวลรวมกับยางแอสฟัลต์โดยนำมา atmคoลsกุ pเคhลe้าใrหi้เcปน็ pเrนe้อื เsดsียuวrกนัe ก่อนทีจ่ ะนำไปใชง้ าน เช่น ใชท้ ำผวิ จราจร ความดันบรรยากาศ : แรงดันของอากาศที่กดลงบนพื้นท่ีหน้าตัด 1 ตาราง หน่วย หรือน้ำหนักของลำบรรยากาศจากยอดสูงสุดท่ีกดลงบนพื้นท่ี 1 ตาราง หน่วย ถ้าพ้ืนท่ีหน้าตัดเป็น 1 ตารางเซนติเมตรท่ีพื้นผิวโลก น้ำหนักของ Atteลrำบbรeรrยgาก’าsศจliะmปรiะtมsา ณ 1.033 กโิ ลกรมั หรือ 1 ตารางนว้ิ จะเป็น 14.7 ปอนด์ จุดแบ่งสถานภาพของดนิ : จุดแบง่ ตามสถานภาพของดนิ โดยคดิ เป็นปรมิ าณ ร้อยละของน้ำในดินในการจำแนกประเภทของดินได้แก่ ขีดจำกัดเหลว ขีดจำกัด augพeลrา สตกิ และขีดจำกัดการหดตวั autoสmว่านaเtจiาcะดgนิat:eอ ปุ กรณ์เจาะสำรวจดิน บานบังคับน้ำอัตโนมัติ : บานบังคับน้ำแบบที่เคลื่อนไหวโดยไม่ต้องใช้คน ควบคุม 13
A automatic hydrological observing station automatic hydrological observing station สถานอี ุทกวทิ ยาแบบอัตโนมัติ : สถานีอุทกวิทยาทใี่ ชอ้ ปุ กรณใ์ นการตรวจวดั และบนั ทึกขอ้ มลู โดยไมต่ ้องใช้คนควบคุม auxiliary spillway อาคารทางระบายน้ำล้นเสริม : อาคารระบายน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอาคาร ระบายนำ้ ลน้ ปกติในการระบายน้ำออกจากเข่อื นกักเกบ็ นำ้ available soil moisture ความชนื้ ที่พืชนำไปใชไ้ ด้ : คา่ ความช้ืนในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ซงึ่ มคี า่ อยูร่ ะหว่างคา่ ความชน้ื ชลประทานกบั คา่ ความช้ืนท่ีจุดเหย่ี วเฉาถาวร average annual flood ปรมิ าณนำ้ หลากรายปเี ฉลย่ี : คา่ เฉลย่ี ของปรมิ าณนำ้ ทว่ มจากขอ้ มลู หลายๆ ป ี average mean monthly discharge ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำรายเดือนเฉลี่ย : ปริมาณน้ำรายเดือนเฉลี่ยของเดือนใด เดือนหนง่ึ โดยได้มาจากคา่ เฉลี่ยของปที ่ีต่อเนอ่ื งกนั หลายๆ ป ี axial flow pump เครื่องสูบน้ำชนิดน้ำไหลตามแนวแกน : เคร่ืองสูบน้ำชนิดท่ีมีทิศทาง การไหลของนำ้ เข้าสแู่ ละออกจากใบพัดขนานกับแกนของเพลา azimuth ภาคของทิศ : การระบุทิศทาง โดยอ้างอิงจากทิศเหนือเป็นมุมราบท่ีเวียน ตามเข็มนาฬิกา จนถงึ แนวทตี่ ้องการระบุถงึ เรียกอีกอย่างวา่ อะซิมทุ 14
B backfill backfill ถมกลบั : 1. ดินหรือวสั ดอุ ื่นๆ ทใ่ี ช้ถมบดอัดแน่นรอบๆ หรือปิดทับอาคารท่ีกอ่ สรา้ งไว ้ 2. การถมแทนทีว่ ัสดทุ ่ถี ูกขุดขึ้นมา backhoe รถแบ๊คโฮ : รถขุดท่ีมีแขนขุดอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง เวลาทำงานจะขุด หรอื ควักเขา้ หาตัวรถ backwater น้ำเท้อ : น้ำที่ยกตัวสูงขึ้นกว่าระดับผิวน้ำปกติย้อนขึ้นไปทางด้านเหนือน้ำ เนอ่ื งจากมีสิ่งกดี ขวางลำนำ้ เช่น เข่อื น ฝาย ทอ่ ลอด หรอื ดา้ นทา้ ยนำ้ มรี ะดับนำ้ สูงกว่าความลึกปกติของลำน้ำเน่ืองจากต่อเชื่อมกับลำน้ำอ่ืนหรือจากการหนุน ของนำ้ ทะเล backwater curve โคง้ น้ำเท้อ : เส้นแสดงความลาดเทของผวิ นำ้ เท้อ backwater effect ผลกระทบจากนำ้ เทอ้ : ผลที่เกดิ ขน้ึ จากการทีน่ ้ำในลำนำ้ สงู ข้นึ กว่าระดบั ผวิ นำ้ ปกติ baffle แผงปะทะน้ำ : สว่ นประกอบของอาคารสลายพลังนำ้ แบบหน่งึ ทำหนา้ ทีป่ ะทะ น้ำ เพอ่ื ลดความเร็วของกระแสน้ำ และพลงั งานนำ้ 16
B bank sluice baffle pier ฟันตะเข้ : ส่วนประกอบของอาคารสลายพลังน้ำมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายซ่ีฟัน ทำหนา้ ทสี่ ลายพลังงานนำ้ ball valve บอลล์วาล์ว : อุปกรณ์ที่ทำหน้าท่ีปิดเปิดน้ำในระบบท่อส่งน้ำ มีแกนหมุนอยู่ กึ่งกลางในแนวดิ่ง ตัวบานมีลักษณะเป็นทรงกลม เจาะรูตรงกลางในแนวเดียว กบั ท่อ เมื่อหมุนใหร้ ตู ้งั ฉากกับทิศทางการไหล นำ้ จะไหลผ่านไมไ่ ด้ bank ตล่ิง : พ้ืนที่ติดกับแม่น้ำ คลอง หรือลำธาร โดยจะเรียกเป็น ตล่ิงซ้าย หรือ ตลง่ิ ขวาตามทิศทางการไหลของนำ้ bank protection การป้องกันตล่ิง : การป้องกันพ้ืนที่ติดกับแม่น้ำ คลอง หรือลำธารเพื่อลด ความเสียหายเน่ืองจากการกัดเซาะที่เกิดจากการไหลของน้ำ คล่ืน น้ำฝน สามารถทำไดห้ ลายวธิ ี เชน่ การเรยี งหนิ บรเิ วณลาดตลงิ่ ของลำนำ้ การกอ่ สรา้ งรอ เปน็ ตน้ bankfull stage สภาพน้ำเต็มตลิ่ง : ภาวะการไหลของน้ำในลำน้ำ ที่ปริมาณน้ำเต็มลำน้ำถึง ขอบสูงสุดของตล่ิงฝั่งใดฝั่งหน่ึง ในสภาพเช่นน้ีลำน้ำไม่สามารถรับน้ำได้อีก มิฉะน้ันจะเกิดภาวะนำ้ ไหลล้นตล่งิ bank overspill น้ำล้นข้ามตล่ิง : ปริมาณน้ำท่ีมีปริมาณมากเกินกว่าขอบเขตสูงสุดของตล่ิง ฝงั่ ใดฝัง่ หน่ึงจนไหลลน้ ขา้ มตลง่ิ bank sluice ช่องระบายน้ำ : ช่องระบายน้ำบริเวณคันก้ันน้ำที่ควบคุมด้วยบานประตู หรือ ชอ่ งเปดิ ปดิ โดยจะเปิดบานประตูในขณะทีเ่ กิดนำ้ ท่วมสงู 17
B bar bar บาร์ : 1. (อุตุนิยมวิทยา) ใช้เป็นหน่วยวัดความกดอากาศ 1 บาร์มีค่าเท่ากับ 10 ล้านดายน์ (dyne) ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร หรือเท่ากับ 1,000 มิลลิบาร ์ ซึง่ เท่ากบั 750.076 มลิ ลิเมตรปรอท (29.53 นิ้ว) ท่ีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และละตจิ ูด 45 องศา 2. (ภูมิศาสตร์) สันดอน : เนนิ ที่เกิดจากกระแสนำ้ 3. (วศิ วกรรม) เหล็กแท่ง หรอื แทง่ เหล็ก barometer เคร่ืองวัดความกดอากาศ : เครื่องวัดความกดอากาศในทางอุตุนิยมวิทยา มีใช้กันโดยทั่วไป 2 ชนิด คือ เครื่องวัดความกดอากาศแบบปรอทกับเคร่ืองวัด ความกดอากาศแบบตลบั barrage เข่ือนทดน้ำ : อาคารท่ีสร้างขึ้นขวางลำน้ำ มีบานควบคุมสำหรับยกระดับน้ำ ด้านเหนือน้ำให้สูงข้ึน เพ่ือผันน้ำเข้าคลองส่งน้ำ หรือเพ่ือควบคุมน้ำให้อยู่ใน ระดับทตี่ อ้ งการ base flow น้ำฐาน : ปรมิ าณน้ำเดมิ ที่ไหลอยู่ในลำน้ำก่อนเกดิ นำ้ ท่า base level of erosion ระดับฐานการกัดเซาะ : ระดับท้องน้ำต่ำสุดที่เกิดการกัดเซาะตามธรรมชาติ (กดั เซาะตัวเอง) base line เส้นฐาน : เส้นสำรวจท่ีกำหนดข้ึนเพอ่ื ใช้เปน็ หลักอ้างอิง และสอบเทยี บในงาน สำรวจตา่ งๆ 18
B bed level basic intake rate อัตราการดูดซึมพ้ืนฐาน : อัตราการดูดซึมน้ำของดินท่ีมีอัตราคงท่ี หรือไม่มี การเปล่ียนแปลงไปตามระยะเวลาการให้น้ำ มักจะเกิดขึ้นหลังจากมีการให้น้ำ แบบผิวดินในลักษณะท่วมขังจนกระทั่งถึงจุดหน่ึงท่ีดินไม่สามารถดูดซึมน้ำ ต่อไปได้ ถึงแม้จะยังไม่สน้ิ สดุ เวลาการใหน้ ำ้ basin พื้นที่รับน้ำ : พ้ืนที่ทั้งหมดซึ่งน้ำท่าผิวดินท่ีเกิดจากฝนที่ตกลงบนพ้ืนที่นี้ไหลสู่ ทางออกลมุ่ น้ำ basin irrigation ชลประทานแบบปรับระดับดินและท่วมขัง : วิธีการให้น้ำชลประทาน ท่ีพื้นท่ีรับน้ำได้รับการปรับระดับจนเรียบมีคันกั้นโดยรอบ โดยการปล่อยน้ำ เข้าไปขังในพื้นที่แล้วให้น้ำค่อยๆ ซึมลงในดิน เรียกอีกอย่างว่า level border irrigation basin recharge น้ำฝนที่ถูกดูดซับไว้ในลุ่มน้ำ : น้ำฝนซึ่งถูกดักซับ ดูดซับไว้ในดิน และ ขังอยู่ตามแอง่ ต่างๆ ในลมุ่ นำ้ และสว่ นเกนิ จากนจ้ี ะปรากฏเป็นน้ำทา่ bathymetric contour เส้นช้ันความลึกของนำ้ : เสน้ ชน้ั แสดงความลกึ ของทอ้ งทะเล หรือมหาสมทุ ร bearing มุมแบริง : มุมแนวระดับ ณ ท่ีใดท่ีหน่ึง ที่เบนจากแนวทิศเหนือหรือทิศใต ้ ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก การเรียกมุมแบริงของแนวใดๆ ต้องระบุ ทิศท่เี บนออกและเข้าหาเสมอ เรยี กอกี อยา่ งว่า ภาคของทิศ bed level ระดับท้องคลอง : ระดบั ของทอ้ งคลองทก่ี ำหนดไปตามแนวศูนยก์ ลางคลอง 19
B bed load bed load ตะกอนท้องน้ำ : ตะกอนท่ีน้ำพัดพาไปโดยมีแนวการเคลื่อนที่อยู่ใกล้ท้องน้ำ หรือติดกับท้องน้ำ โดยการกลิ้ง กระโดด กระแทก หรือเล่ือนไถลไป เกิดจาก การมขี นาดใหญ่และความหนาแนน่ สูง เช่น กรวด หรือเศษหิน bed slope ลาดทอ้ งคลอง : ความลาดเทของทอ้ งคลองตามแนวศนู ยก์ ลางคลอง โดยท่วั ไป นิยามเปน็ สดั ส่วนของแนวตง้ั ตอ่ แนวนอน bed width ความกวา้ งท้องคลอง : ระยะหา่ งระหว่างจดุ ของขอบท้งั สองฝัง่ ของท้องคลอง bed load feeder เครื่องป้อนตะกอนท้องน้ำ : เคร่ืองป้อนตะกอนทรายเข้าสู่แบบจำลอง ชลศาสตร์ของทางน้ำเปดิ โดยสามารถปรบั อัตราการป้อนทรายไดต้ ามตอ้ งการ bed material sampler เคร่ืองเก็บตะกอนท้องน้ำ : เคร่ืองสำหรับเก็บตะกอนท้องน้ำ ซ่ึงมีท้ังแบบ อยู่กบั ท่ีและแบบเคลอื่ นท ี่ bedding ช้ันรองพ้ืน : วัสดุกรอง ที่ทำหน้าที่เป็นช้ันค่ันกลางระหว่างวัสดุสองชนิด ซ่งึ วัสดุกรองจะเป็นวัสดจุ ำพวก ทราย ทรายผสมกรวด ทรายผสมหินยอ่ ย รวมทั้ง แผ่นใยสังเคราะห์ เช่น ช้ันรองพ้ืนใต้หินเรียง หินท้ิง หรืออาคารคอนกรีต เสรมิ เหล็ก เปน็ ต้น bench flume รางริน : รางน้ำชนิดวางบนดิน ซ่ึงผ่านพื้นท่ีที่ไม่เหมาะสมที่จะ สรา้ งคลองลำเลยี งนำ้ 20
B black box simulation model benchmark หมุดหลกั ฐาน : 1. หมดุ เครอ่ื งหมายแสดงจดุ ทท่ี ราบความสงู หรอื ตำ่ จากระดบั มูลฐาน ซึง่ ปรากฏ อยู่บนวัตถุถาวรที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือที่สร้างขึ้น หรือการใช้พ้ืนท ่ี หรอื สภาพแวดลอ้ ม ณ ชว่ งเวลาใดเวลาหนง่ึ เปน็ สงิ่ อา้ งองิ เพอื่ การเปรยี บเทยี บ การเปลย่ี นแปลงสภาพแวดล้อมนัน้ 2. หมุดที่ใช้อ้างอิง เพื่อการสำรวจเข้าบรรจบวงรอบ มีค่าพิกัดทางราบและ ทางระดับ bend structure อาคารจุดหักโค้ง : อาคารที่สร้าง ณ จุดหักโค้งทางราบท่ีอยู่ในคูส่งน้ำท่ีมี ความลาดชัน bending strength ความตา้ นแรงดัด : ความสามารถของวัสดุทท่ี นตอ่ การแตกหักเม่ือถูกดัดโคง้ bentonite grouting การอดั ฉดี ดว้ ยเบนทอไนต์ : การฉดี สารผสมเบนทอไนต์ เพอื่ ปรบั ปรงุ ฐานราก berm ชานพัก : ระยะราบจากขอบปลายลาดด้านหนึ่งไปยังต้นลาดอีกด้านหน่ึง เช่น ชานถนน ชานคลอง ชานคนั กัน้ นำ้ bit หวั เจาะ : สว่ นประกอบท่ีอยูป่ ลายก้านเจาะ ทำหน้าทีเ่ จาะดนิ หรอื หนิ black box simulation model แบบจำลองกล่องดำ : แบบจำลองซึ่งไม่ใช้วิธีจำลองรูปแบบทางกายภาพ แต่ ใชว้ ิธกี ารทางคณิตศาสตรห์ รอื อาศยั ความสมั พนั ธ์ของปจั จยั ตา่ งๆ ทเ่ี คยเกิดข้ึน 21
B blanket drain blanket drain ผืนกรองระบายน้ำ : ส่วนของระบบระบายน้ำแนวราบในตัวเขื่อน มีลักษณะ เป็นผืนกว้างวางอยู่บนฐานรากด้านท้ายของเข่ือนดิน มีวัตถุประสงค์เพ่ือกรอง เอาเฉพาะน้ำส่วนที่ซึมมาจากตัวเขื่อนและฐานรากลำเลียงออกไปนอกตัวเขื่อน blowเรยีoกfอfกี อยา่ งว่า horizontal blanket drain อาคารระบายตะกอน : อาคารท่ีติดตั้งไว้ ณ ตำแหน่งท่อที่มีระดับต่ำ หรือ blowจดุ oตfำ่ fสดุ vขaอlงvทอ่eส ่วนท่โี คง้ ลง เพื่อใชส้ ำหรบั ระบายตะกอนจากท่อทง้ิ ออกไป borปdรeะrตูรirะrบiาgยaตtะiกoอnน : ประตูน้ำชนิดลน้ิ ยกซง่ึ ติดตงั้ ไวใ้ นอาคารระบายตะกอน ชลประทานแบบทว่ มขัง : วธิ กี ารใหน้ ้ำชลประทานท่ปี ล่อยใหน้ ้ำไหลออกจาก คสู ง่ น้ำ ไหลบา่ เข้าไปขังในพนื้ ทที่ ข่ี นาบด้วยคันดนิ หากพื้นทีร่ บั น้ำดงั กล่าวได้รบั borกeาhรoปlรeบั ระดบั จนราบเรยี บ เรยี กว่า level border irrigation หลุมเจาะ : หลุมท่ีเกิดข้ึนจากการเจาะด้วยเครื่องเจาะ มีลักษณะเป็นรูปทรง กระบอก ขนาดและความลึกของหลุมเจาะมีขนาดต่างกันข้ึนอยู่กับวัตถุประสงค์ borเiชn่นgห ลุมเจาะน้ำมัน หลุมเจาะน้ำบาดาล หรือหลมุ เจาะสำรวจฐานรากอาคาร borกinารgเจlาoะg: การเจาะดนิ หรือหินให้เกิดเป็นหลุมเจาะ ด้วยเครื่องเจาะแบบตา่ งๆ ตารางบนั ทกึ ขอ้ มลู การเจาะ : ตารางซงึ่ บนั ทกึ ขอ้ มลู ตา่ งๆ ของการเจาะสำรวจ ดินและหิน ซ่ึงจะประกอบด้วยชนิด ความหนา ความแน่น และการเรียงตัวของ borชrัน้oดwนิ หaรอืrหeนิa บ่อยืมดิน : พ้ืนท่ีท่ีเป็นแหล่งดินท่ีมีคุณสมบัติเหมาะสมท่ีนำไปใช้ในงาน ก่อสร้างต่างๆ เชน่ เข่ือนดนิ ถนน คลอง 22
B bubble gauge transducer bottle silt sampler bouขnวdดaเกr็บyตะliกnอeนแ ขวนลอย : เครื่องมอื เกบ็ ตะกอนแขวนลอยในลำน้ำ เส้นขอบเขต : เส้นที่กำหนดขึ้นเป็นขอบเขตของหน่วยการปกครองหรือพื้นท ่ี braซcงึ่iมnลี gัก ษณะคลา้ ยคลึงกนั อยา่ งใดอย่างหนงึ่ braแckกงiแshนงw, คaำ้ tยeันr: สว่ นทใ่ี ช้ในการคำ้ ยนั อาคารหรือยึดโครงสรา้ งให้แข็งแรง นำ้ กรอ่ ย : นำ้ ท่ีมคี วามเค็มนอ้ ย มีปริมาณเกลอื น้อยกวา่ นำ้ ทะเลตามธรรมชาติ braโnดcยhมเี กcลaอื nละaลlา ยอยู่ในชว่ ง 0.5-30 ppt breaคcลhองiแnยgกd:iคkลeอ งท่แี ยกออกจากคลองสายใหญ่เพื่อรับน้ำไปสพู่ นื้ ท่ชี ลประทาน คันดินท่ียอมให้พัง : คันดินที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันอุทกภัยโดยที่ยอมให้พังได้ broเaมdอ่ื ร-ะcดrับeนsำ้ tวeกิ ฤdติ weir ฝายสันกว้าง : ฝายที่มีสันแบนราบและมีความกว้างของสัน (วัดตามทิศทาง broกkาeรnไห-ลbขอaงcกkระแtสrนa้ำn) sยiาtวiกoวn่าค วามลึกของนำ้ ทีไ่ หลขา้ มฝาย ส่วนเช่ือมต่อแบบเปล่ียนรูป ตัด : ส่วนเช่ือมต่อระหว่างทาง น้ำเปิดที่เปลี่ยนรูปร่างส่ีเหลี่ยม คางหมูเป็นส่ีเหล่ียมผืนผ้า หรือ ในทางกลับกัน bubble gauge transducer อุปกรณ์แปลงสัญญาณเครื่องวัดระดับน้ำฟองอากาศ : อุปกรณ์ประกอบ ของเครื่องวัดระดับน้ำแบบฟองอากาศ ทำหน้าท่ีเปล่ียนค่าระดับน้ำเป็นสัญญาณ ทางไฟฟา้ 23
B bulkhead gate bulkhead gate บานกั้นน้ำชั่วคราว : บานที่ใช้ปิดกั้นน้ำชั่วคราว ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลผ่าน ขณะซอ่ มแซมบานทีอ่ ยูถ่ ดั ไป bulldozer รถดนั ดิน : รถแทรกเตอรท์ ีม่ ีใบมดี สำหรับดนั ดนิ อยู่ด้านหน้ารถ buoyant unit weight น้ำหนักจำเพาะลอยตัว : ส่วนต่างระหว่างน้ำหนักอ่ิมตัวจำเพาะของดินกับ นำ้ หนักจำเพาะของนำ้ เรยี กอีกอย่างว่า submerged unit weight bund คันดนิ : คนั ดนิ เตย้ี ๆ ท่สี รา้ งข้นึ เพ่ือปอ้ งกันพน้ื ท่ีให้ปลอดภัยจากการถูกนำ้ ทว่ ม หรือเพือ่ เก็บกกั นำ้ ไว ้ butterfly valve ประตูน้ำแบบปีกผีเสื้อ : อุปกรณ์ปิดเปิดที่มีแกนหมุนอยู่ที่แกนกลางแผ่น บานกลม มีลักษณะคล้ายปีกผีเส้ือใช้กับท่อ มีทั้งแบบหมุนรอบแกนในแนวด่ิง และแนวราบ buttress dam เขื่อนค้ำยัน : เขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดมีค้ำยันด้านท้ายน้ำมีลักษณะ ดา้ นหนา้ เปน็ แผน่ คอนกรตี สำหรบั รบั แรงดนั นำ้ และดา้ นทา้ ยนำ้ เปน็ แทง่ คอนกรตี วางเรยี งกนั เพ่ือทำหนา้ ทคี่ ำ้ ยนั bypass channel ทางเบี่ยงน้ำ : ทางเบี่ยงน้ำที่สร้างขึ้นเพ่ือผันน้ำจากลำน้ำหลักลงสู่ด้านท้ายน้ำ ระหวา่ งก่อสร้าง bypass floodway ทางเบยี่ งนำ้ หลาก : ทางนำ้ ธรรมชาตหิ รอื ทางเบ่ยี งน้ำทสี่ ร้างขึ้นเพอ่ื ระบายน้ำ เม่อื เกิดนำ้ ทว่ มโดยให้นำ้ ผ่านไปทางนำ้ น้นั 24
C cadastral map cadastral map แผนทีโ่ ฉนด : แผนทแี่ สดงขอบเขตกรรมสทิ ธ์ิทดี่ นิ cadastral survey การรงั วัด : การสำรวจกำหนดขอบเขตกรรมสิทธ์ิท่ดี นิ calibration การสอบเทยี บ : การปรบั มาตรตา่ งๆ เช่น การเปรยี บเทียบเครอ่ื งมือ ชั่ง ตวง วัด หรือการหาค่าสัมประสิทธ์ิของอาคารชลประทาน หรือแบบจำลองทาง คณติ ศาสตร์ canal คลอง : ทางน้ำท่ีสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในการส่งน้ำ ระบายน้ำ และ คมนาคม capacity curve โคง้ ความจุ : โคง้ แสดงความสัมพันธ์ระหวา่ งความจุของอา่ งเกบ็ นำ้ กบั ระดบั น้ำ capillary fringe เขตอ่ิมตัวเหนือระดับน้ำใต้ดิน : ช้ันท่ีอยู่ใต้เขตท่ีมีการระบายอากาศ ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำใต้ดินและมีความดันน้อยกว่าบรรยากาศ มวลดินที่อยู่ใน เขตน้ีจะอยู่ในสภาวะอิ่มตัวหรือเกือบอ่ิมตัว เนื่องจากแรงตึงผิวน้ำในรูหรือ ชอ่ งขนาดเลก็ เรียกอกี อย่างว่า capillary rise capillary water น้ำตึงผิว : น้ำในดินที่ถูกจับยึดไว้ด้วยแรงตึงผิวของช่องว่างขนาดเล็กระหว่าง เมด็ ดิน เปน็ น้ำสว่ นทพ่ี ชื สามารถนำไปใชไ้ ด้ capillary zone เขตน้ำตึงผิว : บริเวณท่ีน้ำในดินเป็นน้ำตึงผิว ซ่ึงมีความดันน้อยกว่าความดัน บรรยากาศ 26
C catchment area cascade spillway อาคารทางระบายน้ำล้นขั้นบันได : อาคารทางระบายน้ำล้นที่มีด้านท้าย อาคารมีระดับลดลงเป็นช้ันๆ คล้ายขั้นบันได เรียกอีกอย่างว่า stepped cascsapidllweayw eir ฝายข้ันบันได : ฝายแบบหน่ึงท่ีมีท้ายฝายลดลงเป็นช้ันๆ คล้ายข้ันบันได casiเnรียgก อีกอยา่ งว่า step weir ท่อกรุ : ท่อท่ีใช้ใส่ลงไปในหลุมเจาะหรือบ่อเจาะในระหว่างการเจาะหรือหลัง cataกsาtรrเจoาpะ hทำiหcนfา้ lทoี่ปoอ้ dงก นั ผนงั ข้างหลมุ หรอื บอ่ ไมใ่ หพ้ ังทลาย มหนั ตอทุ กภัย : 1. น้ำท่วมที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศผิดปกติ ที่มีโอกาสเกิดข้ึนน้อยมาก และ จากฝนทตี่ กอยา่ งตอ่ เนือ่ งยาวนานผดิ ปกตกิ ว่าทเี่ คยเกดิ ข้ึนในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ หรือ ฝนตกหนกั เกนิ กวา่ 100 มม. ต่อชวั่ โมง 2. ความวิบัติท่ีเกิดข้ึนจากน้ำท่วมท่ีรุนแรงโดยเฉพาะอย่างย่ิงหลังจากการ catc hmพงั ทeลnาtย ของทำนบดนิ หรอื เขอื่ น บริเวณลุ่มน้ำ : บริเวณพ้ืนที่ท่ีล้อมรอบด้วยสันปันน้ำ เป็นพ้ืนที่รองรับน้ำหรือ หยาดนำ้ ฟ้าท่ตี กลงมาและไหลสรู่ ะบบการระบายน้ำหรือกกั เกบ็ นำ้ (พจนานกุ รม ศพั ท์ภมู ศิ าสตร์ ฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน ปี 2549) เรียกอกี อย่างว่า catchment catcahrema,ednratinaagreeaar ea หรือ drainage basin บริเวณลุ่มน้ำ : บริเวณพ้ืนท่ีที่ล้อมรอบด้วยสันปันน้ำ เป็นพื้นที่รองรับน้ำหรือ หยาดนำ้ ฟา้ ทต่ี กลงมาและไหลสรู่ ะบบการระบายนำ้ หรอื กกั เกบ็ น้ำ (พจนานุกรม ศพั ท์ภมู ิศาสตร์ ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน ปี 2549) เรียกอกี อยา่ งว่า catchment, drainage area หรือ drainage basin 27
C catchment management catchment management การบริหารจดั การลุม่ นำ้ : การบริหารจัดการพ้นื ที่รบั น้ำเพอื่ ปรับปรุงคุณภาพ ของน้ำท่า และการจัดการพ้ืนที่เสี่ยงภัยด้านต้นน้ำเพื่อลดการเกิดน้ำท่วม เช่น การปลูกป่าและการสรา้ งบ่อเกบ็ นำ้ ขนาดเลก็ ดา้ นต้นนำ้ รวมถึงมาตรการปอ้ งกนั cathไฟoปd่าicกาpรปrอ้ oงtกeันcกtาiรoกnัดเ ซาะ และการดแู ลรักษาพชื คลุมดนิ การป้องกนั การกัดกรอ่ น : การปอ้ งกันการเกดิ สนมิ ในเหล็กโครงสรา้ ง โดยใช้ กระแสอิเล็กตรอนจากแหล่งภายนอกผ่านเข้าไปในเหล็กโครงสร้าง เพื่อยับยั้ง cattกlาeรเrกaิดปmฏpกิ ิร ยิ าการเกิดสนิมเหลก็ caveท างสัตวข์ า้ ม : ทางลาดเอียงทก่ี ำหนดให้สัตว์เดินขา้ มคลองส่งน้ำ ถ้ำ : ช่องท่ีเป็นโพรงลึกเข้าไปในพ้ืนดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอท่ีมนุษย์ สามารถเข้าไปได้ เกิดข้ึนตามธรรมชาติ โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดิน cemไeหnลผtา่ นpaกsดั tเซeา ะ พบตามภูเขาหินปนู หรอื ตามชายฝั่งทะเล centปrูนaซlีเมmนeตr์เหidลiวa:nป ูนซีเมนตท์ ผ่ี สมกบั น้ำ เสน้ เมรเิ ดียนกลาง : (แผนท่ี) เส้นเมริเดยี นทใ่ี ชเ้ ปน็ เส้นแกนตั้งของระบบพิกัด ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยท่ัวไปจะกำหนดเส้นเมริเดียนท่ีผ่านใกล้ย่านกลาง centบrรiิเวfณuนgน้ัaเlป็นpเuส้นmเมpร เิ ดียนกลาง เครื่องสูบน้ำแบบหอยโขง่ : เคร่อื งสบู น้ำชนิดที่สูบน้ำโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนี chaศkนู ยก์ ลางใบพดั แฉกสง่ นำ้ : พืน้ ท่ที ่ีรับนำ้ จากทอ่ ส่งนำ้ เขา้ นาเดยี วกนั 28
check C chamfer chaลnบnมeุมl : การลบมุมของอาคารคอนกรตี เพอ่ื ปอ้ งกนั การแตกหกั หรอื บ่นิ รอ่ งน้ำ : 1. ทางน้ำที่สรา้ งขน้ึ หรือเกดิ ขน้ึ ตามธรรมชาติซ่งึ มีนำ้ ไหลอย่างตอ่ เนอ่ื ง หรอื เป็น ชว่ งๆ cha2n. nสeว่ นl ลcกึ aขpองaแcมi่นt้ำy ท างนำ้ ซึง่ กระแสน้ำหลกั ไหลผ่าน ความจรุ ่องน้ำ : อตั ราการไหลสูงสุดของทางน้ำใดๆ ท่สี ามารถนำนำ้ ไหลไปได้ chaโnดnยนeำ้lไมe่ไnหcลrลoน้ aขา้cมhตmลิ่ง ent การบุกรุกทางน้ำ : การรุกล้ำทางน้ำหรือพ้ืนที่ท่ีน้ำท่วมถึง อันเกิดจากการ chaกnรnะทeำlขอimงมpนษุrยo ์ vement การปรับปรุงทางน้ำ : การเปล่ียนแปลงรูปลักษณะทางน้ำเดิมให้มีศักยภาพ ดีกว่าเดิม รูปแบบของการปรับปรุงทางน้ำ เช่น การเปล่ียนแปลงรูปตัดขวาง ทางน้ำโดยการเพ่ิมความลึกและขยายความกว้าง การกำจัดโค้งทางน้ำท่ีม ี ความคดเคี้ยวด้วยการขุดช่องลัด การดาดทางน้ำด้วยวัสดุทนการกัดเซาะ และ chaกnาnรกeำlจดัstวoัชพrชืaแgลeะส ง่ิ กดี ขวางทางน้ำ checปkริม าณนำ้ กักเก็บในลำนำ้ : ปรมิ าณนำ้ กกั เก็บในลำนำ้ โดยไมล่ น้ ตล่ิง อาคารทดน้ำ : อาคารท่ีสร้างขึ้นในคลองส่งน้ำเพื่อยกระดับน้ำ และ/หรือ ควบคมุ ปรมิ าณนำ้ 29
C check dam check dam ฝายชะลอน้ำ : สิ่งก่อสร้างขนาดเล็กที่ก่อสร้างขวางลำน้ำขนาดเล็ก (ส่วนใหญ่ ในบริเวณพ้ืนท่ตี ้นน้ำ) เพอื่ ชะลอนำ้ ลดการกัดเซาะท้องน้ำ ลดการพดั พาตะกอน checไปkกบั dนr้ำoแpล ะใหค้ วามชุ่มชืน้ กบั พ้ืนทบี่ ริเวณที่กอ่ สรา้ ง อาคารน้ำตกทดน้ำ : อาคารที่สร้างขึ้นในคลองส่งน้ำเพื่อยกระดับน้ำ และ/ หรือควบคุมปริมาณน้ำและปล่อยให้น้ำตกลงไปสู่คลองด้านท้ายน้ำที่มีระดับ checตk่ำกวg่าa te บานทดน้ำ : บานซ่ึงเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาคารทดน้ำ ทำหน้าท่ีในการ chimยกnระeดyบั นdำ้ rหaรือinควบ คุมปริมาณนำ้ ในคลองส่งนำ้ หรือคสู ่งนำ้ ทางระบายน้ำซึมแนวต้ัง : ทางระบายน้ำที่ทำจากวัสดุกรองซึ่งก่อสร้างใน แนวต้ังหรือแนวเอียงอยู่ในตัวเข่ือนดิน เพ่ือระบายน้ำท่ีไหลซึมผ่านตัวเข่ือนให้ chuอtอeก ไปทางดา้ นทา้ ยนำ้ โดยผา่ นทางระบายน้ำซมึ แนวราบ chuรtาeงเbทlo: cราkงsนำ้ ทส่ี รา้ งขน้ึ เพือ่ นำนำ้ จากระดับสูงไหลตามลาดเทไปสูร่ ะดับตำ่ แท่งสลายพลังงานน้ำปลายรางเท : แท่งคอนกรีตที่ติดกับพ้ืนตรงปลายสุด ของรางเทในอาคารสลายพลงั งานนำ้ 30
C clear overflow weir chute spillway อาคารทางระบายน้ำลน้ แบบรางเท : อาคารทางระบายนำ้ ลน้ ซ่งึ มสี นั อาคาร ตงั้ ฉากกับรางเท ระบายนำ้ ลงไปส่ลู ำนำ้ เดิม cipolletti weir ฝายวัดน้ำรูปส่ีเหล่ียมคางหมู : ฝายสันคมซ่ึงมีช่องให้น้ำผ่านท่ีสันฝายเป็น รูปสเี่ หลี่ยมคางหมูทำหนา้ ทีว่ ัดน้ำ ถ้ามลี าดด้านข้าง 4:1 จะเรียกว่า trapezoidal weir city map แผนที่เมือง : แผนท่ีมาตราส่วนใหญ่ที่แสดงรายละเอียดภายในตัวเมือง เช่น ถนน อาคารใหญ่ และสงิ่ ตา่ งๆ ทีม่ คี วามสำคัญตอ่ เมอื งนั้นๆ class A pan ถาดวดั การระเหย : ถาดทำดว้ ยเหล็กอาบสังกะสหี รือโลหะท่ีทนตอ่ การผกุ ร่อน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ฟุต ลึก 10 นิ้ว และใส่น้ำในถาดลึกประมาณ 8 น้ิว ใชส้ ำหรบั วดั การระเหยของนำ้ clay blanket ผืนปูดินเหนียว : การปูดาดด้วยดินเหนียวซึ่งเป็นวัสดุทึบน้ำ เพ่ือเพ่ิมระยะ ทางการไหลซึมของนำ้ clay loam ดินร่วนเหนียว : ดินที่ประกอบด้วยเน้ือดินเหนียวปริมาณ 27-40% ทราย 20-45% และสว่ นท่เี หลือเปน็ เนื้อดนิ clear overflow weir ฝายแบบการไหลอิสระ : ฝายทมี่ ีระดับน้ำด้านท้ายตำ่ กว่าสันฝายและระดับนำ้ ท้ายน้ำไม่มีผลต่อการไหล เรียกอีกอย่างว่า free weir, free fall weir หรือ free overfall weir 31
C closure dam closure dam ทำนบดินปิดก้ันลำน้ำเดิม : ทำนบดินท่ีสร้างปิดกั้นทางน้ำเดิมเพื่อเปลี่ยน coasทtาaงเlดินeขrอoงsนiำ้ oใnหไ้ ห ลผ่านอาคารชลประทานทส่ี รา้ งขึน้ ใหม่ การกัดเซาะชายฝั่ง : การกระทำของคล่ืนในทะเลที่ทำให้ชายฝั่งร่นถอยแนว เข้าไปในพ้ืนแผ่นดินโดยอาศัยกระบวนการ 4 อย่างประกอบกัน ได้แก่ การกระทำของพลังน้ำ การครูดถู การสึกกร่อน และการละลาย อัตราการ กัดเซาะทำลายและการเปล่ียนแปลงขอบฝั่ง ขึ้นอยู่กับความแข็งของหิน รูปแบบ coasรอtaยแlยpกขlaองiหnิน และสภาพทางธรณขี องบริเวณน้นั ท่ีราบชายฝ่ัง : ที่ราบอยู่ติดฝั่งทะเล นับจากแนวน้ำลงต่ำสุดข้ึนไปจนถึง แผ่นดินสูงท่ีอยู่ใกล้ที่สุด ซ่ึงเกิดจากน้ำทะเล และคลื่นได้พัดพาให้ชายฝ่ัง ผุกร่อนไป ต่อมาบริเวณน้ันจะยกตัวสูงข้ึน เน่ืองจากการเคลื่อนไหวของ เปลือกโลกจนทำให้กลายเป็นท่ีราบ หรืออาจเป็นที่ราบซ่ึงเกิดข้ึนโดยกระแสน้ำ coasพtัดaพlาเwอาeตtะlกaอnนdมาsท ับถมไวใ้ นบรเิ วณใกล้ๆ ปากแมน่ ้ำก็ได้ พ้ืนที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง : พื้นที่ชายฝั่งทะเล ซึ่งตามปกติมีน้ำท่วมขังหรือเป็นพื้นท่ี coasชtมุ่ lนin้ำ eท ง้ั น้ีรวมถึงทะเลสาบนำ้ เคม็ และป่าชายเลน แนวชายฝ่ัง : 1. คำทั่วไปที่อธิบายถึงลักษณะ หรือรูปลักษณ์ของแผ่นดินตามชายฝั่ง เมื่อมอง จากทะเลเข้ามายงั แผน่ ดนิ รวมถงึ อ่าว coef2f. iเcสi้นeทnีแ่ tบง่oขfอบpเขeตrรmะหeวaา่ งbแผil่นitดyิน กบั ท ะเลหรอื มหาสมุทร สัมประสิทธิ์การซึมผ่าน : อัตราการไหลซึมของของเหลวผ่านหนึ่งหน่วยพ้ืนที่ หน้าตัดของมวลสารท่ีมีรูพรุน ภายใต้ลาดชลศาสตร์ (hydraulic gradient) หน่งึ หนว่ ย ทอ่ี ุณหภมู ทิ กี่ ำหนด เรียกอกี อย่างวา่ coefficient of transmission, hydraulic conductivity, transmission constant หรอื unit of permeability 32
C concrete lining coffer dam cohทesำนivบeชว่ัfคoรrาcวe : อาคารท่ปี ดิ กั้นทางน้ำช่ัวคราวระหว่างการก่อสรา้ ง collแeรcงtเoชrือ่ มdแrนaน่ in: แรงดึงดูดของโมเลกุลชนดิ เดียวกัน ทางระบายนำ้ รวม : ทางระบายนำ้ ทีร่ บั นำ้ จากทางระบายน้ำยอ่ ยหลายๆ สาย comแpล้วoรsะiบtาeยนu้ำnไปiสtทู่ hางyรdะบrาoยgนr้ำทa่ใีpหhญ ก่ ว่า กราฟหน่ึงหน่วยน้ำท่ารวม : กราฟหนึ่งหน่วยน้ำท่าของลุ่มน้ำขนาดใหญ่ซ่ึง เกิดจากการรวมกราฟหน่ึงหน่วยน้ำท่าของลุ่มน้ำย่อยๆ โดยพิจารณาระยะเวลา การเดินทางให้เหลื่อมกัน ตามช่วงเวลาการเดินทางจากจุดออกของลุ่มน้ำย่อย comมpาถrงึeจhดุ อeอnกsขiอvงeลุ่มsนt้ำuรวdมy การศึกษาพัฒนาลุ่มน้ำ : การศึกษาพัฒนาลุ่มน้ำเต็มรูปแบบอย่างบูรณาการ เพ่ือตอบสนองการพัฒนาด้านต่างๆ ของพ้ืนที่ โดยใช้ข้อมูลความต้องการน้ำท่ี ชัดเจนทั้งในเชิงปริมาณ สถานท่ี และเวลา ผลของการศึกษานำไปสู่การศึกษา ความเหมาะสมของโครงการ หรือนำไปสู่การปรับปรุงแผนพัฒนาของหน่วยงาน comอp่ืนrๆeทsเ่ีsกiย่ี vวeข้อsงตtr่อeไปn gth conกcำrลeังtอeดั c:uคrวiาnมgสา มารถของวัสดทุ ่ที นตอ่ การแตกหกั เมอื่ รับแรงกด การบ่มคอนกรีต : การรักษาความช้ืนและอุณหภูมิให้เหมาะสมในช่วงแรก conขcอrงeกtาeรหdล่อaคmอน กรีตเพ่อื ให้ได้คุณสมบัตติ ามตอ้ งการ conเcขr่อื eนtคeอlนiกnรiีตng: เข่อื นท่ีกอ่ สร้างด้วยคอนกรตี การดาดคอนกรีต : การปูลาดผิวด้วยคอนกรีต อาจจะเสริมเหล็กหรือไม่เสริม เหล็กก็ได้ 33
C confined aquifer confined aquifer ช้ันน้ำมีแรงดัน : ช้ันน้ำบาดาลที่อยู่ภายใต้ความดันอุทกสถิต (hydrostatic conpsrteasnsutreh) eทa่ีจะdดนั oนrำ้ iใfหiส้cูงeขนึ้ tมuาrเหnนoอื uชtั้นห ินอุ้มนำ้ นน้ั ๆ อาคารจ่ายน้ำแบบความต่างระดับน้ำคงท่ี : อาคารท่ีใช้ทั้งควบคุมและ วัดปริมาณน้ำจากคลองส่งน้ำสายหลักไปยังคลองส่งน้ำสายซอย หรือคูส่งน้ำ ประกอบด้วยบาน 2 ชุด โดยชุดแรก (เหนือน้ำ) ทำหน้าท่ีปรับขนาดพื้นท่ ี ช่องเปิด (orifice) ใหไ้ ด้ปรมิ าณนำ้ ตามทตี่ อ้ งการ และบานชดุ ท่ี 2 (อยถู่ ดั จากชดุ แรกไปทางท้ายน้ำ) ทำหน้าท่ีควบคุมให้ความต่างของระดับน้ำด้านเหนือน้ำกับ ท้ายน้ำมีค่าคงท่ีตามที่กำหนด (ประเทศไทยมักจะเป็น 8 หรือ 10 เซนติเมตร) conนstยิ rมuเรcียtกiยo่อnๆ วd่าrCa.wH.iOntgu rnout แบบก่อสร้าง : แบบแสดงรายละเอียดต่างๆ ของงานก่อสร้างท่ีได้จาก การคำนวณและออกแบบขั้นรายละเอียด ซึ่งมีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ conเsพtียrงuพcอtทiจี่oะnนำjไปoใiชn้คtดิ ปรมิ าณงาน รวมทงั้ นำไปใช้ทำการก่อสร้างได ้ รอยต่อก่อสร้าง : รอยต่อท่ีกำหนดไว้ในงานเทคอนกรีต ใช้กับอาคารขนาด ใหญ่ ซึ่งต้องเทคอนกรีตจำนวนมากติดต่อกัน และระยะเวลาที่ใช้ในการเท คอนกรีตน้ันเกินกวา่ ระยะเวลาการแข็งตัวของคอนกรตี 34
C contraction joint consumptive use ปริมาณการใชน้ ้ำของพืช : ปรมิ าณน้ำท่พี ชื ต้องการใช้ ประกอบด้วยสว่ นทใ่ี ช้ เพื่อการเจริญเติบโต การคายน้ำของพืช และการระเหยในแปลงเพาะปลูก conเtรiยีnกeอnกี อtaย่าlงวsา่ eacr op water requirement ทะเลภายใน : ทะเลที่อยู่เข้ามาภายในพ้ืนแผ่นดิน และเกือบไม่มีทางติดต่อ กับทะเลหรือมหาสมุทรภายนอก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบแคสเปียน ทะเล conเtมinดิเuตอoรuเ์ รsเนfยี lนowเรียiกrอrกี iอgยa่างtวiา่oninl and sea การส่งน้ำแบบตลอดเวลา : การส่งน้ำในคลองหรือคูส่งน้ำแบบต่อเน่ือง conตtoลอuดrเวลinา terval ช่วงต่างเส้นช้ันความสูง : ความแตกต่างระหว่างเส้นแสดงระดับช้ันความสูง conใtนoแuผrนทmภี่ มูaปิ pร ะเทศ conแtrผaนcทtเ่ี สdน้ rชaน้ั wควinามgสูง : แผนท่ีแสดงเส้นระดับชั้นความสูงของภูมิประเทศ แบบประกอบสัญญา : แบบท่ีระบุในรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะว่าเป็น แบบประกอบสญั ญา มที ง้ั ทีเ่ ปน็ แบบเคา้ โครงเบอื้ งต้น (tender drawing) ทีต่ อ้ ง ออกแบบเพ่ิมเติมให้สมบูรณ์ หรือเป็นแบบที่ได้ออกแบบรายละเอียดที่ถูกต้อง conคtrรบaถcว้ tนioสมnบรูjณoi์ สnาtม ารถนำไปก่อสรา้ งได ้ รอยต่อเผื่อการหดตัว : รอยต่อในงานคอนกรีตท่ีสร้างเผ่ือไว้สำหรับรับการ แตกร้าวท่ีอาจจะเกิดขึ้น เม่ือคอนกรีตแข็งตัวหรือหดตัว เนื่องจากการ เปล่ียนแปลงอุณหภูมิ เพ่ือ ป้องกันไม่ให้เกิดการแตกร้าว ไปท่ัวท้ังโครงสร้าง โดยจะยอม ให้เกิดการแตกท่ีรอยต่อเผ่ือการ หดตวั น้แี ทน 35
C control section control section รูปตัดควบคุม : รูปตัดของการไหลของน้ำ ท้ังในทางน้ำธรรมชาติหรือที่สร้าง ขึ้นซ่ึงมีลักษณะคงท่ี เช่น จุดท่ีเกิดความลึกวิกฤติซ่ึงจะมีความลึกท่ีแน่นอน เมอ่ื กำหนดอตั ราการไหลใช้ในการตรวจวดั ปรมิ าณนำ้ ไหลผา่ น convectional rain ฝนท่เี กดิ จากการพาความร้อน : ฝนท่เี กิดจากเมฆที่กอ่ ตัวขึ้นจากการท่ีกระแส อากาศลอยข้ึนสู่เบ้ืองบน เช่น เมฆจำพวกคิวมูลัส และคิวมูโลนิมบัส ฝนซู่ก็เป็น ฝนที่เกิดจากการพาความร้อนเช่นเดียวกัน (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ปี 2549) controlled spillway อาคารทางระบายน้ำล้นแบบมีบาน : อาคารทางระบายน้ำล้นซ่ึงสามารถ ควบคุมการระบายนำ้ ออกจากอ่างเกบ็ น้ำ โดยมปี ระตูปดิ -เปดิ เพือ่ ควบคุมระดับ น้ำในอ่างฯ เรยี กอกี อย่างว่า gated spillway convexity ความโค้งชัน : ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลาดเขา ซง่ึ ความชนั จะเพิ่มขนึ้ จาก ยอดลงมาขา้ งล่าง ทำใหเ้ กดิ ลกั ษณะโค้งชัน conveyance efficiency ประสิทธิภาพการส่งน้ำ : อัตราส่วนระหว่างปริมาณน้ำ ณ จุดที่รับน้ำต่อ ปรมิ าณน้ำท่ีส่งมาจากต้นน้ำ คิดเปน็ ร้อยละ conveyance losses การสูญเสียจากการส่งน้ำ : การสูญเสียน้ำโดยการรั่วซึมและระเหยระหว่าง ทางการลำเลียงน้ำ จากแหล่งน้ำไปยังจุดหมาย เรียกอีกอย่างว่า transmission losses conveyance structure อาคารลำเลยี งนำ้ : อาคารในระบบสง่ นำ้ ซงึ่ นำนำ้ ไปแจกจา่ ยใหพ้ นื้ ทเ่ี พาะปลกู 36
C course of river coordinate systems on maps ระบบพิกัดในแผนท่ี : ระบบที่ใช้ในการบอกตำแหน่งที่อยู่ของจุดในแผนที่ โดยอาศัยค่าพิกัดท่ีได้จากความสัมพันธ์ทางระยะหรือทางมุมระหว่างจุดน้ันๆ กบั แกนทกี่ ำหนดขน้ึ เปน็ หลกั coordinates พิกัด : ค่าของระยะหรือมุมที่กำหนดตำแหน่งของจุด ซ่ึงอยู่ในกรอบหรือระบบ ท่อี า้ งถงึ เชน่ ระบบพิกัดฉากบนพนื้ ราบหรือระบบพกิ ดั บนทรงกลม core zone แกนเขื่อน : แกนเข่ือนซ่ึงทำด้วยวัสดุทึบน้ำหรือก่ึงทึบน้ำ เช่น ดินเหนียว อัดแน่น คอนกรีต ยางแอสฟัลต์ เพื่อลดการไหลซมึ ของน้ำผา่ นตัวเขอื่ น corrective maintenance การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข : การบำรุงรักษาเนื่องจากความบกพร่องในการทำ หน้าที่ของระบบระหว่างการปฏิบัติงาน โดยเป็นการระบุตำแหน่งท่ีเสียหายและ แก้ไขใหท้ ำงานได้โดยการซอ่ มแซมใหเ้ หมือนเดิมหรือปรบั ปรุงก็ได้ และตามดว้ ย การทดสอบใหท้ ำงานอย่างเหมาะสม corrugation irrigation ชลประทานลูกฟูก : การให้น้ำแบบผิวดินไปตามร่องคเู ลก็ ๆ ลักษณะคล้ายรอ่ ง สงั กะสมี ุงหลงั คาไปยงั แปลงเพาะปลกู course of river ลำนำ้ : ทางเดินของแม่นำ้ ท่ีไหลจากตน้ นำ้ สู่ปากน้ำ 37
C creep length creep length ระยะไหลซมึ : 1. ระยะทางที่วัดตามแนวเส้นสัมผัสระหว่างฐานของอาคารชลศาสตร์ (รวมถึง กำแพงลา่ งด้วย) กบั ดินฐานราก 2. ระยะทางท่ีน้ำไหลซึมผ่านสัมผัสใต้ฐานอาคารชลประทาน ตั้งแต่จุดเร่ิมต้น อาคารด้านเหนือนำ้ จนถึงจุดส้ินสุดอาคารด้านทา้ ยนำ้ creep line แนวไหลซึม : แนวเส้นสัมผัสระหว่างฐานของอาคารชลศาสตร์ที่รวมถึง กำแพงลา่ งกบั ดนิ ฐานราก crest สัน, ยอด : ส่วนสูงที่สุดของลักษณะภูมิประเทศหรือสิ่งต่างๆ เช่น สันเขา ยอดคล่ืน ยอดของสันทราย สนั เขือ่ น สนั ฝาย เป็นตน้ crest length ความยาวสัน : ระยะทางท่ีวัดตามแนวศูนย์กลางของสันเข่ือนหรือฝายจาก ด้านหนงึ่ ไปยังอีกดา้ นหน่ึง critical density ความแน่นวิกฤติ : น้ำหนักต่อหน่วยน้ำหนักของสารอ่ิมตัว ณ อุณหภูมิวิกฤติ และภายใต้ความดันวิกฤติ สารท่ีมีความแน่นต่ำกว่าความแน่นวิกฤติจะสูญเสีย ความแกร่ง ส่วนสารท่ีมีความแน่นสูงกว่าความแน่นวิกฤติจะมีความแกร่งเพิ่มข้ึน crit(iพcจaนlานdกุeรpมtศhพั ทภ์ ูมศิ าสตร์ ฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน ปี 2549) ความลึกวิกฤติ : ความลึกของน้ำในทางน้ำเปิดท่ีมีพลังงานน้อยท่ีสุดในการ ไหลผ่านไปในอตั ราทกี่ ำหนด critical distance ระยะวิกฤติ : ระยะทางระหว่างจุดต้นกำเนิดของคลื่นสั่นสะเทือนกับจุดท่ี คล่ืนตรงและคลืน่ หกั เหใชเ้ วลาเดนิ ทางเทา่ กนั 38
C crop diversification critical flow การไหลแบบวิกฤติ : การไหลของน้ำที่มีพลงั งานต่ำสดุ critical moisture level ระดับความช้ืนวิกฤติ : ระดับความช้ืนต่ำสุดในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ซ่ึงถ้าหากลดลงต่ำกว่าน้ีแล้ว จะเกิดความเสียหายแก่ผลผลิต หรือการเจริญ critเiตcบิ aโlตขtอeงmพืชp erature อุณหภมู ิวิกฤติ : อุณหภูมิท่มี คี วามสำคญั โดยเฉพาะเกีย่ วกบั พืช เช่น อณุ หภูมิ จุดเยอื กแข็ง (0 องศาเซลเซยี ส) อณุ หภูมขิ นาดนีเ้ มอ่ื มีนำ้ คา้ งแข็งเกดิ ขนึ้ จะทำให้ พืชหลายชนิดถูกทำลายเสียหาย ดอกไม้ท่ีกำลังบานก็จะเหี่ยวเฉาไป อุณหภูม ิ อกี จดุ หนึ่งก็คืออุณหภูมิ 6 องศาเซลเซยี ส พืชท่กี ำลังงอกงามจะหยดุ เจรญิ เตบิ โต critเiมc่ือaอlุณvหeภlูมoิตc่ำiกtวyา่ จุดนี้ ความเร็ววิกฤติ : การไหลของของเหลวภายในท่อหรือในลำน้ำ ณ จุดที่ม ี ความลึกวิกฤติ หรือเม่ือเปลี่ยนจากการไหลแบบราบเรียบไปเป็นการไหลแบบ ป่ันปว่ น crop coefficient, Kc สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช : ค่าคงท่ีของพืชที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณการใช้น้ำของพืช (ET) ที่ทำการทดลองและตรวจวัดได้จากถังวัดการใช้ น้ำของพืช (Lysimeter) กับผลการคำนวณหาปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETo) ค่าสัมประสิทธิ์พืชจะมีค่าที่แตกต่างกัน ทั้งน้ีขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และ ช่วงการเจริญเตบิ โตของพืช และสูตรทใี่ ชใ้ นการคำนวณหาค่า ETo โดยท่ี Kc = ET/ETo crop diversification การกระจายการผลิตพืช : การกระจายการผลิตพืชให้เกิดความหลากหลาย ท้ังชนิดและผลผลติ เพอ่ื ลดความเส่ียงตอ่ การผนั แปรของราคา หรือดินฟา้ อากาศ เรยี กอกี อย่างว่า diversified cropping 39
C crop water requirement crop water requirement ความต้องการใช้น้ำของพืช : ปริมาณน้ำท่ีพืชต้องการใช้ท่ีรวมการระเหยใน แปลงเพาะปลกู และการคายนำ้ ของพชื ไวด้ ว้ ยแล้ว เรียกอกี อย่างว่า consumptive use crop rotation การปลกู พืชหมุนเวียน : การเลอื กปลกู พชื ชนดิ ตา่ งๆ หมุนเวียนกนั ในปีหนึง่ ๆ หรือสองสามปี เพื่อช่วยอนุรักษ์พื้นดินให้สมบูรณ์ หรือเพื่อเป็นการปลูกพืช หลายชนิดตามความต้องการของตลาด เช่น ปีท่ี 1 ปลูกข้าวเจ้า ปีที่ 2 ปลูก ขา้ วโพด ปที ่ี 3 ปลูกพืชตระกลู ถว่ั cropped land ท่ีดินปลูกพืช : พ้ืนท่ีดินที่ใช้ทำการเพาะปลูกพืชของเกษตรกรจริงในปีท่ี รายงาน cropping calendar ปฏิทินการปลูกพืช : การแสดงกำหนดเวลาของกิจกรรมการเพาะปลูก ซง่ึ ทำใหท้ ราบวา่ เดอื นไหน ทำอะไร ปลูกอะไร ตลอดจนจะเกบ็ เก่ียวเมื่อใด cropping intensity ความหนาแน่นของการปลูกพืช : การใช้ประโยชน์พ้ืนที่ในการเพาะปลูกพืช ในรอบระยะเวลาหนึ่งปี โดยคิดเป็นร้อยละเม่ือเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นท่ี เพาะปลกู ทก่ี ำหนด cropping pattern แผนการปลกู พืช : แผนการปลกู พืชในรอบแตล่ ะปีในพืน้ ท่ีทกี่ ำหนด cross drainage อาคารระบายน้ำข้าม : อาคารที่สร้างข้ามหรือลอด คลอง ถนน ทางรถไฟ เพอ่ื การระบายนำ้ 40
C cutoff trench cross section รูปตัดตามขวาง : รูปแสดงหน้าตัดขวางในระนาบดิ่งที่ตั้งฉากกับแนว ศูนย์กลางของส่ิงท่ีพิจารณา และรายละเอียดอื่นๆ เช่น รูปตัดตามขวาง คลองส่งนำ้ คลองธรรมชาติ เป็นต้น culvert ท่อลอด : อาคารลำเลียงน้ำซึ่งสร้างลอดถนนหรือทางรถไฟ หรือคลองส่งน้ำ เปน็ ทอ่ กลมหรอื สเ่ี หลี่ยมกไ็ ด้ cumulative runoff ปรมิ าณน้ำท่าทับทวี : ผลรวมของปริมาณน้ำท่าในชว่ งเวลาท่ีกำหนด current meter เครื่องวดั กระแสนำ้ : เครื่องมอื สำหรบั วดั ความเรว็ ของกระแสนำ้ cusec ควิ เซก : คำยอ่ ของ cubic foot per second (ลูกบาศกฟ์ ุตต่อวินาที) ในระบบ อังกฤษ และ cubic meter per second (ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในระบบ เมตรกิ ซง่ึ เปน็ หนว่ ยวดั อตั ราการไหลของนำ้ ทไี่ หลผา่ นทางนำ้ ตรงจดุ ทตี่ อ้ งการวดั 1 ลกู บาศกฟ์ ตุ ตอ่ วนิ าที = 538,000 แกลลอนต่อวนั 1 ลกู บาศกเ์ มตรตอ่ วนิ าที = 86,400 ลกู บาศกเ์ มตรต่อวนั cut and fill ดินตดั ดนิ ถม : การปรบั ระดบั พ้ืนทโี่ ดยการขุดบางส่วนออกและการถมบางส่วน เพื่อให้ได้ระดับและขนาดตามท่ีต้องการ เช่น ในการสร้างถนน หรือคลองส่งน้ำ เป็นตน้ cutoff trench ร่องแกนทึบน้ำ : ร่องแกนใต้ฐานเข่ือนหรืออาคารต่างๆ ที่ขุดข้ึนแล้วใส่วัสดุ ทบึ น้ำแทน เพือ่ ลดการซึมผ่านของนำ้ ใต้ฐานเขือ่ นหรอื อาคารนน้ั ๆ 41
C cutoff wall cutoff wall กำแพงล่าง : กำแพงท่ีต่อจากพ้ืนอาคารชลศาสตร์ลึกลงไปในแนวด่ิงเพื่อ ต้านทานการเคล่ือนตัวของอาคาร และยืดระยะทางการไหลของน้ำที่สัมผัสผิว ใต้อาคาร หรือต้านทานการไหลของนำ้ ลอดใตอ้ าคารนน้ั cutoff 1. คลองลัด, ลำน้ำลัด : ทางน้ำท่ีเกิดขึ้นเองโดยการกัดเซาะของน้ำ หรือท่ีขุด เช่ือมระหว่างคุ้งด้านในของลำน้ำ ช่วงที่เป็นโค้งตวัด เพื่อให้เป็นทางน้ำตรง มีระยะทางสนั้ ข้นึ 2. ช่องลัด : ทางน้ำที่ขุดเชื่อมระหว่างคุ้งด้านในของลำน้ำช่วงโค้ง เพื่อผัน กระแสน้ำในลำน้ำเดิมให้มาผ่านทางน้ำท่ีขุดขึ้นใหม่แต่ทางเดียว โดย ส่วนมากมีการปิดกั้นลำน้ำเดิมในตอนโค้ง ไม่ให้น้ำไหลผ่านไปได้อีก เช่น ช่องลัดของเขื่อนเจ้าพระยา ช่องลัดของเข่ือนแม่กลอง หรือช่องลัดประต ู ลัดโพธ ์ิ 42
C cyclonic rain cut-throat flume รางนำ้ ไรค้ อ : เครอื่ งมอื วดั นำ้ ทท่ี ำหนา้ ทว่ี ดั ปรมิ าณนำ้ ไหลผา่ นรางนำ้ ทด่ี ดั แปลง มาจากรางน้ำแบบพารแ์ ชลโดยการตดั ในสว่ นที่เปน็ ช่วงคอออก ดรู างนำ้ พารแ์ ชล (Parshall flume) ประกอบ cyclone พายุหมุน, ไซโคลน : พายุหมุนท่ีมีความเร็วบริเวณรอบศูนย์กลางต้ังแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าเกิดในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล เรียกกันว่า พายุไซโคลน ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเรียกว่าไต้ฝุ่น และใน เขตร้อนอื่นๆ เรยี กวา่ เฮอร์ริเคน cyclonic rain ฝนเกิดจากพายุหมุน : ฝนซึ่งเกิดจากพายุหมุนท่ีก่อตัวในทะเลจีนใต้ หรือ ในมหาสมุทรแปซิฟิก อาจมีกำลังแรงเป็นไต้ฝุ่น แต่เม่ือเข้าสู่แผ่นดินจะลดกำลัง ลงเป็นเพยี งดเี ปรสชน่ั ทำใหฝ้ นตกในแผ่นดนิ นอ้ ยกว่าในทะเล 43
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310