Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 1.Forensic handbook(exin)

1.Forensic handbook(exin)

Published by podpod.t, 2019-07-31 00:23:15

Description: 1.Forensic handbook(exin)

Keywords: Forensic

Search

Read the Text Version

74

บทท่ี 8 การจดั การศพท่ีตายเป็นจ�ำนวนมาก และกรณภี ัยพบิ ตั ิ วิจารณ์ วชริ วงศากร นิติกร โปริสวาณชิ ย์

หลักการและวัตถุประสงค์ เม่ือเกิดเหตุภัยพิบัติที่ทำ�ให้มีผู้เสียชีวิตจำ�นวนมาก เช่น เคร่ืองบินตก แผ่นดินไหว ถือว่าเป็นการเสียชีวิต โดยผิดธรรมชาติ ซงึ่ ตอ้ งมกี ารชนั สูตรพลกิ ศพตามกฎหมาย เป้าหมายหลกั ในกระบวนการดงั กลา่ ว คอื การตรวจพสิ จู น์ เพื่อให้ทราบว่าผู้ตายคือใคร ซึ่งบางครั้งสภาพศพที่พบ อาจมกี ารเปลย่ี นแปลงหลงั ตายอยา่ งมาก หรอื ถกู ท�ำ ลายจนไม่ สามารถใช้วิธีจดจำ�ลักษณะรูปร่างได้ นอกจากนี้ยังอาจจะมี ความจำ�เป็นต้องตรวจศพเพ่ือให้ได้ข้อมูลที่สำ�คัญ หรือเก็บ สิง่ ส่งตรวจบางประการ เช่น กรณวี างระเบิดกอ่ วนิ าศกรรม หรอื เคร่อื งบนิ โดยสารตก เปน็ ต้น ขนั้ ตอนการจดั การโดยสงั เขป แพทย์ทั่วไปอาจมีส่วนช่วยจัดการเบ้ืองต้น หรือช่วย ประสานงานในภาพรวมได้ โดยควรมีความเข้าใจหลักการ สำ�หรับการจัดการ ซ่ึงจำ�เป็นต้องมีการแบ่งหน้าท่ีและการ รบั ผดิ ชอบเปน็ ทมี การท�ำ งานตามหลกั สากลตอ้ งมกี ารจดั ตง้ั ทมี การประชุมวางแผน และการประสานงาน 76 บทท่ี 8 การจัดการศพทีต่ ายเป็นจ�ำนวนมาก และกรณีภยั พิบตั ิ

1. กรณที มี่ ศี พจ�ำนวนมาก เปน็ หนา้ ทขี่ องสาธารณสขุ จังหวัดท่ีต้องเข้ามามีบทบาทน�ำในการจัดการศพเบื้องต้น ซึ่งกฎหมายชันสูตรพลิกศพเปิดทางไว้ นอกจากน้ียังต้อง ประสานกบั ส�ำนกั งานต�ำรวจแหง่ ชาติ และสถาบนั นติ เิ วชวทิ ยา โรงพยาบาลต�ำรวจ เพอ่ื ใหเ้ ขา้ มาอ�ำนวยการตามระเบยี บต�ำรวจ 2. การจัดการสถานท่ีเกิดเหตุภัยพิบัติ ใช้หลักการ เดยี วกบั การตรวจสถานทเี่ กดิ เหตใุ นกรณตี ายผดิ ธรรมชาตทิ ว่ั ไป โดยเนน้ การรวบรวมพยานหลกั ฐานทใ่ี ชใ้ นการพสิ จู นเ์ อกลกั ษณ์ บคุ คล และการด�ำเนนิ การตอ้ งท�ำก่อนการเคลือ่ นยา้ ยพยาน หลักฐานต่าง ๆ เช่น ศพ ทรัพย์สิน อาจแบ่งพื้นที่ออกเป็น บริเวณย่อย ๆ (grid area) เพ่ือท�ำการระบุต�ำแหน่งและ ให้หมายเลขก�ำกับให้เป็นรหัสที่มีความหมาย เมื่อพบพยาน หลักฐานหรอื ศพ ท�ำให้สามารถน�ำขอ้ มลู ท่พี บมาใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพในภายหลัง จากนนั้ จงึ ท�ำการเคล่ือนยา้ ยพยาน หลกั ฐานออกมาจากสถานท่ีเกดิ เหตุ 3. การติดต่อและติดตามข้อมูล ของผู้ประสบเหตุ จากญาติ เพอ่ื ท�ำเปน็ ขอ้ มลู กอ่ นเสยี ชวี ติ (antemortem form) บทที่ 8 การจดั การศพทต่ี ายเป็นจ�ำนวนมาก และกรณภี ัยพิบัติ 77

4. ข้ันตอนการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล โดย การเปรยี บเทียบระหว่างขอ้ มูลทีไ่ ด้จากพยานหลกั ฐานต่าง ๆ (postmortem form) ไปท�ำการเปรียบเทียบกับข้อมูลก่อน เสยี ชีวติ (antemortem form) บทบาทหน้าท่ีของแพทย์เวชปฏิบัติท่ัวไปในพื้นท่ี ประสบภยั 1. หน้าท่ีที่ส�ำคัญที่สุดของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป คอื การชว่ ยชวี ิตผู้บาดเจ็บในพน้ื ท่ี โดยท�ำการรกั ษาในสว่ น ที่สามารถท�ำได้ในภาวะน้ัน ๆ ร่วมกับการประสานงานไป ยังโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยเรว็ ทสี่ ดุ แตต่ อ้ งค�ำนงึ วา่ ผบู้ าดเจบ็ สว่ นหนง่ึ ทย่ี งั ไมท่ ราบชอื่ อาจจะเสียชีวิตในภายหลังเป็นศพนิรนามได้ 2. ก่อนเข้าช่วยเหลือในพ้ืนท่ี ควรประสานกับ เจ้าหน้าท่ีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการศพจ�ำนวนมาก เสียกอ่ น เพอื่ วางแผนและให้รหสั ได้ครบถ้วนถูกตอ้ ง 3. ประเด็นในเร่ืองการจัดการกับศพหรือชิ้นส่วน ของศพผู้เสียชีวิตนั้น แพทย์ผู้อยู่ในพื้นท่ีอาจมีส่วนร่วม ในการตรวจเบ้ืองต้นในทีเ่ กดิ เหตุว่าผ้ตู ายเสียชีวติ จริงหรือไม่ หรือช่วยในการเก็บข้อมูลศพก่อนเคล่ือนย้ายออกจากพื้นท่ี และท�ำการประสานงานไปยงั ทมี ทที่ �ำการตรวจสถานทเ่ี กดิ เหตุ 78 บทที่ 8 การจัดการศพทต่ี ายเปน็ จ�ำนวนมาก และกรณีภัยพิบัติ

เพอ่ื เขา้ มาเกบ็ รายละเอยี ดในทเ่ี กดิ เหตตุ อ่ ไป ทง้ั นี้ กอ่ นทที่ มี จะเขา้ มายงั สถานทเ่ี กดิ เหตุ แพทยค์ วรแนะน�ำเจา้ หนา้ ท่ี ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง มิให้เข้ารบกวนหรือเคล่ือนย้ายพยานหลักฐานในท่ีเกิดเหตุ เพราะอาจมผี ลท�ำใหเ้ กดิ ความยากล�ำบากในการพสิ จู นบ์ คุ คล ในภายหลงั ได้ บทที่ 8 การจัดการศพท่ีตายเปน็ จ�ำนวนมาก และกรณภี ยั พิบตั ิ 79

80

บทท่ี 9 การประมาณเวลาตาย ศักดา สถริ เรอื งชัย กันต์ ทองแถม ณ อยธุ ยา

ลักษณะของปัญหา การประมาณเวลาตายเป็นข้อมูลส�ำคัญที่พนักงาน สอบสวนผู้ท�ำการชันสูตรพลิกศพต้องการจากแพทย์ที่ร่วม ท�ำการชนั สตู รพลกิ ศพ เพอื่ น�ำขอ้ มลู ทไี่ ดไ้ ปใชใ้ นการสอบสวน หาขอ้ เทจ็ จรงิ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การกระท�ำความผดิ อาญา ทท่ี �ำให้ เกดิ การตายผดิ ธรรมชาติ เช่น การหาตวั ผู้ตอ้ งสงสยั หรอื การหาพยานบุคคลที่อยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ นอกจากนี้ข้อมูล เวลาตาย ยงั อาจถกู น�ำไปใชใ้ นการสรปุ ส�ำนวนชนั สตู รพลกิ ศพ ในกรณีความตายมิได้เป็นผลจากการกระท�ำความผิดอาญา อีกดว้ ย โดยท่ัวไปแพทย์สามารถท�ำการประเมนิ เวลาตายได้ โดยการตรวจการเปลี่ยนแปลงภายหลังตาย (postmortem changes) ที่เกิดกับศพเป็นหลัก ร่วมกับการตรวจสถานท่ี เกดิ เหตุ เพอื่ เปน็ การสนบั สนุนผลการตรวจศพ หลกั ท่วั ไปในการประมาณเวลาตาย การตรวจการเปลย่ี นแปลงภายหลังตาย 1. rigor mortis หรือการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ ภายหลงั ตาย ซงึ่ จะเรม่ิ ตรวจพบการแขง็ ตวั ทกี่ ลา้ มเนอื้ มดั เลก็ ก่อน rigor mortis จะเร่มิ เกิดทเี่ วลา 2 ช่วั โมงหลงั ตาย และ เกิดเต็มที่ท่ีเวลา 6 – 12 ช่ัวโมงหลังตาย เม่ือศพเร่ิมเน่า โปรตนี ในกลา้ มเนื้อจะเส่ือมสลาย ท�ำใหต้ รวจ rigor mortis ไมพ่ บในศพเนา่ 82 บทที่ 9 การประมาณเวลาตาย

2. livor mortis หรือการตกสู่เบื้องต่�ำของเลือด หลังตาย เนื่องจากระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกาย หยุดท�ำงาน ท�ำให้เม็ดเลือดตกสู่เบื้องต�่ำตามแรงโน้มถ่วง จะพบ livor mortis ไดท้ บ่ี รเิ วณของรา่ งกายทอี่ ยตู่ ำ่� กวา่ สว่ นอน่ื ขึ้นอยู่กับท่าทางของศพ สีของ livor mortis โดยทั่วไปมี สมี ว่ งแดง อาจพบสีของ livor mortis ทผ่ี ิดปกตใิ นการตาย จากสารพษิ บางประเภท เช่น สี cherry pink ในการตายจาก carbon monoxide หรอื cyanide poisoning ระยะเวลาทเ่ี กดิ livor mortis จะเรมิ่ เกดิ ที่เวลา 30 นาที ถงึ 2 ช่ัวโมงหลงั ตาย และจะเกดิ เตม็ ทแ่ี ละกดไมจ่ างทเี่ วลา 6 – 12 ชวั่ โมงหลงั ตาย 3. decomposition หรือการเน่า ประกอบด้วย สองกระบวนการ คือ autolysis ซึง่ เปน็ การยอ่ ยสลายตัวเอง ของเนือ้ เยือ่ และ putrefaction เป็นการย่อยสลายโดยจุลชีพ ศพจะเริ่มเข้าสกู่ ารเน่าเมือ่ ตายมาแลว้ ประมาณ 24 ชัว่ โมง โดยเรมิ่ จากผวิ หนงั บรเิ วณหนา้ ทอ้ งเปลย่ี นสี และผวิ หนงั บรเิ วณอน่ื เปลยี่ นสตี ามมา อาจพบการเนา่ ของหลอดเลอื ดคลา้ ยลายหนิ ออ่ น (skin marbling) หรอื ผิวหนงั หลุดลอก (skin slippage) เมอ่ื เวลาผา่ นไปมากกวา่ 24 ชว่ั โมงหลงั ตาย ศพจะเนา่ ใหเ้ หน็ ชดั เจน และเรม่ิ พบการบวมของศพ โดยศพจะบวมเตม็ ทท่ี รี่ ะยะ เวลา 48 – 72 ช่วั โมงหลังตาย หลังจากนน้ั ศพจะเริ่มยบุ ตวั บทที่ 9 การประมาณเวลาตาย 83

4. mummification เป็นการเน่ากรณีท่ีศพอยู่ใน สภาพแวดลอ้ มทแ่ี หง้ ท�ำใหน้ ำ้� ระเหยออกจากศพอยา่ งรวดเรว็ ศพจะมีลักษณะแหง้ ผวิ หนงั ศพคลา้ ยหนังสตั ว์ เมื่อศพอยู่ใน สภาพ mummification ศพจะคงอยู่ในสภาพเดิมอีกหลายปี 5. adipocere เป็นการเน่าที่พบได้น้อย และ ศพตอ้ งอยใู่ นสภาพแวดลอ้ มทช่ี น้ื และมอี ากาศเยน็ ไขมนั ของ ศพจะกลายเป็นสารประกอบกลุ่ม ester ลักษณะคล้ายสบู่ หรือไข (adipocere = waxy fat) เม่อื ศพเกดิ ภาวะ adipocere ศพจะคงอยใู่ นสภาพเดมิ อกี หลายปี เชน่ เดยี วกบั mummified body การตรวจสถานท่เี กดิ เหตุ 1. ประเมนิ สภาพแวดลอ้ ม ทอ่ี าจมผี ลตอ่ การเปลยี่ นแปลง ภายหลงั ตาย เชน่ อณุ หภูมสิ ิ่งแวดลอ้ มทส่ี งู จะท�ำใหศ้ พเน่า เรว็ ขน้ึ หนอนแมลงวนั จะท�ำใหศ้ พกลายเปน็ โครงกระดกู เรว็ ขน้ึ 2. ถ้าพบศพภายในที่พักอาศัย ควรตรวจ scene marker ทใี่ ชอ้ า้ งองิ ระยะเวลาได้ เชน่ ซองจดหมายในตไู้ ปรษณยี ์ ซองยาที่ระบุวันจา่ ยยา ประวัติการโทรในโทรศัพท์ของผู้ตาย หนังสือพิมพ์ ปฏทิ นิ ฯลฯ 3. สอบถามญาติ เพอ่ื นบา้ น หรอื ผพู้ บเหน็ เหตกุ ารณ์ ว่าพบเห็นผตู้ ายคร้ังสดุ ท้ายเมอื่ ใด 84 บทที่ 9 การประมาณเวลาตาย

ขนั้ ตอนการตรวจและการบันทึกการตรวจ 1. บันทึกท่าทางของศพขณะท่ีตรวจ สอบถาม ผู้พบเห็นศพคนแรกว่า ศพอยใู่ นสภาพใดตอนท่ไี ปพบ 2. ตรวจ rigor mortis โดยการขยบั ขอ้ ตอ่ ตา่ ง ๆ ของร่างกาย ตัง้ แต่ขากรรไกร ล�ำคอ ขอ้ มือ ข้อศอก หัวไหล่ ขอ้ เทา้ หวั เขา่ และสะโพก โดยเปรียบเทียบกันทงั้ ซา้ ยและ ขวา แล้วให้บันทึกว่า 2.1 rigor mortis พบการแข็งตัวของศพ ทีข่ อ้ ตอ่ ใดบา้ ง 2.2 ข้อท่ียังแข็งตัวไม่เต็มที่น้ัน แข็งไปเพียงใด เชน่ เรม่ิ แข็งตัว แขง็ ตัวปานกลาง (ยังขยบั ได้คร่งึ หน่ึง) หรือ แขง็ ตัวเกอื บเต็มท่ี (ขยับได้เล็กนอ้ ย) 2.3 ศพอยูใ่ นทา่ ทางใด 3. ตรวจ livor mortis โดยการสงั เกตหาผวิ หนัง บริเวณทม่ี ีสเี ปลย่ี นแปลง และใชน้ วิ้ หัวแมม่ อื กดโดยแรงนาน พอประมาณที่บริเวณดังกลา่ ว วา่ สามารถกดจางหรือไม่ แล้ว บนั ทึก livor morits โดย 3.1 ระบตุ �ำแหนง่ ของรา่ งกายทพ่ี บ livor mortis เช่น หลัง หน้าอก หรือ ใบหนา้ 3.2 สีของ livor mortis ซึ่งสีปกติของ livor mortis ควรเป็นสแี ดงคลำ้� บทท่ี 9 การประมาณเวลาตาย 85

3.3 ระดบั ของการเกดิ livor mortis วา่ กดจางหรอื กดไมจ่ าง หากกดแลว้ ไมจ่ างใหก้ ดแรงและนานขน้ึ จนถงึ 1 นาที แลว้ สงั เกตดู หากยงั จางอยบู่ า้ งปนกบั สว่ นทไี่ มจ่ าง หมายถงึ วา่ เกิดขึ้นเกือบเต็มที่ แต่ถ้าไม่มีรอยจางเลย แสดงว่าเกิดขึ้น อยา่ งเต็มท่ีแลว้ 3.4 นอกเหนอื จากนี้ อาจบนั ทึกรปู ร่างของวัตถุ ทกี่ ดทับบนตวั ศพจนท�ำใหเ้ กดิ รอยประทับ (imprint) ที่ livor mortis เชน่ ลายเสื้อผา้ , ลายเส่ือทศี่ พนอนทับ 4. ในกรณีของศพเน่า การตรวจศพควรเน้นที่ การบันทึกลกั ษณะของการเนา่ ไดแ้ ก่ 4.1 การเปลี่ยนสีของผิวหนังเป็นสีเขียวหรือด�ำ (skin discoloration) การหลดุ ลอกของผวิ หนงั (skin slippage) เส้นเลือดด�ำท่ีเกิดการเน่า (marbling) ว่าพบที่บริเวณไหน ของรา่ งกายบ้าง 4.2 การบวมพองจากการเน่า โดยทั่วไปศพ มกั เรม่ิ บวมทบ่ี รเิ วณหนา้ ทอ้ งกอ่ น แลว้ จงึ ตามมาดว้ ยเนอื้ เยอ่ื ออ่ นทไี่ มห่ นาแนน่ เชน่ ผวิ หนงั บรเิ วณอณั ฑะ ใบหนา้ ถา้ ศพเนา่ เตม็ ทจี่ ะพบลกั ษณะของ eye bulging และ tongue protrusion รวมท้ังแขนขากางเหยียดออก 4.3 ถา้ ศพเสียชวี ิตนานเกิน 3-5 วัน ศพจะเร่มิ ยบุ ตวั และการประมาณเวลาตายจะเรมิ่ ท�ำไดย้ าก แพทยค์ วร บนั ทกึ ลกั ษณะของศพเทา่ ทไี่ ด้ และหลกี เลยี่ งการใหค้ วามเหน็ ที่เป็นเวลาแน่นอน การบันทึกควรบันทึกเน้ือเยื่ออ่อนท่ียัง 86 บทที่ 9 การประมาณเวลาตาย

ตดิ อยกู่ บั รา่ งกาย ถา้ เรม่ิ พบกระดกู ควรบนั ทกึ ต�ำแหนง่ ทกี่ ลาย เป็นกระดกู หรอื เนื้อเยื่อออ่ นสลายไปหมดแลว้ อยา่ งไรกต็ าม การประมาณเวลาตายน้นั ถึงแม้วา่ จะ มีข้อมูลในต�ำราอยู่มาก โดยเฉพาะในต�ำราต่างประเทศและ เปน็ ทเี่ ชอื่ ถอื ได้ แตป่ จั จยั ดา้ นภมู อิ ากาศในประเทศไทย ท�ำให้ ระยะเวลาดงั กลา่ วคลาดเคลอื่ นจนใชไ้ มไ่ ด้ และขณะนกี้ ย็ งั ไมม่ ี การรวบรวมขอ้ มลู ตพี มิ พอ์ อกมาอยา่ งชดั เจน ดงั นนั้ จงึ อาศยั ขอ้ มลู และประสบการณส์ ว่ นตวั รวมถงึ ขอ้ มลู ทม่ี กี ารรวบรวม แต่ยังไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ น�ำมาสรุปเป็นตารางแสดง แนวทางการแปลผลเบอ้ื งต้น บทที่ 9 การประมาณเวลาตาย 87

ตาราง 9.1 สรุปแนวทางส�ำหรบั แปลผลการตรวจประมาณ เวลาตายจากการเปลยี่ นแปลงภายหลงั ตายเบอื้ งตน้ การตรวจ ผลการตรวจ การแปลผล หมายเหตุ ภาวะเลือด เริ่มมองเหน็ ได้ ปศพระอมยาใู่ ณนทา่ >ท1า/ง2ดงัชกว่ั ลโมา่ วง ตกสทู่ ่ีตำ�่ กกดระจจาางยท่ัวบริเวณและยัง ศปพระอมยาใู่ นณทา่4ท-6างดชงั่วั กโมลงา่ ว (livor กดจางไดย้ าก ปศพระอมยาใู่ นณทา่6ท-1า2งดชงั ว่ักโลมา่ งว mortis) กดไม่จาง ศปรพะอมยาณู่ในท> ่า1ด2ังชกั่วลโม่างว ภmหก(rลดาiogว้าเroกะมtirรเsน็ง)้อื กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น เสียชวี ิตมาประมาณ > การจัดท่าทาง ขากรรไกร และคอเรม่ิ แขง็ 1 ชวั่ โมง ของศพใหม่ ขขอา้ กมรือรไแกขรง็ คอ และ 2เส-4ียชชีวัว่ ิโตมมงาประมาณ การขยบั ร่างกาย ขแ้อขง็เทท้างั้ แหขรนอื แหลัวะเขเร่ามิ่ แขง็ ท่ี 4เส-6ียชชีววั่ ิโตมมงาประมาณ ของศพ การดงึ กลา้ มเนอื้ ขอ้ สะโพกยงั แขง็ เสียชีวิตมาประมาณ กลา้ มเนือ้ ให้ยืด ไม่เตม็ ที่ 6-8 ชัว่ โมง ออกหรือฉีกขาด ไศมพอ่ แ่อขน็งตตัวัวเต็มที่ และยัง เ8ส-1ีย2ชชีวัว่ิตโมมงาประมาณ หรอื กรณีกระดูก แขนขาหกั หรอื กรณที ่ีมขี ้อยึด ติดอยู่เดมิ หรอื มี ปจั จยั อื่น ๆ เชน่ อุณหภมู ิ การออก กำ�ลัง อาจท�ำ ให้ การประมาณ ดังกล่าว คลาดเคล่อื นได้ 88 บทที่ 9 การประมาณเวลาตาย

การตรวจ ผลการตรวจ การแปลผล หมายเหตุ การเน่า ศพอ่อนตัว เ1ส4ีย-1ช6วี ิตชม่ัวโามปงระมาณ > ระยะเวลาในการ เน่าของศพอาจ เ1ส6ี-ย18ชีวชิตว่ั มโมางประมาณ เปลยี่ นแปลงไป หนา้ ทอ้ งเร่ิมมีสเี ขยี ว เ1ส8ียชช่วัีวโิตมมงาประมาณ > ขึน้ อยกู่ ับอณุ หภูมิ ลขผาอิวยงหสเนลเี ขอืังยีด(วใmทนเี่aหกrลดิbอจlinาดกgเลก)อืารดเดน�ำา่ เสยี ชีวิตมาประมาณ > และสง่ิ แวดลอ้ ม ผวิ หนงั เรมิ่ มสี คี ลำ�้ มกั จะเรม่ิ 24 ชวั่ โมง แตใ่ นประเทศไทย ทหี่ นา้ ทอ้ ง และใบหนา้ กอ่ น ไม่พบวา่ ศพจมน�ำ้ ศตาพถเนลน่าเตล็ม้ินทจ่ี กุ ตปัวาบกวมสอผี ืดิว และศพทฝ่ี งั อยู่ ในดิน จะมอี ัตรา การเนา่ ช้ากว่าศพ ที่อยู่บนดินเหมอื น เสียชีวิตมาประมาณ ในตา่ งประเทศ เปล่ียนท้ังตัว มีตุ่มพองท่ี 3-5 วัน ผวิ หนงั และผวิ หนงั หลดุ ลอก บศรพเิ วเนณ่ามยอื ุบแบละวเมทา้ ลผอิวกหอนอกัง เ5ส-7ียชวันีวิตมาประมาณ มบผาือิวงหตแน�ำ ลแังะหแเนทล่ง้าะหเกชลลนุ่ด้าอใมอบกเหนจนื้นอ้า มเหอื ็นแกละะโเทห้าลกหรือกระดูก 1เส-2ียสชัปีวดิตามหา์ ประมาณ ผหอมวอิเีนสหกา้ น้นอเงัเกหอแแน็ลน็ ละเกปกะลลลน็ ้าา้�ำโมมตคเเรวันนงเอื้อ้ืรกบม่ิตรรหดิะเิ วดลอณกูดุยู่ เสสปั ยี ดชาวี หติ ์มาประมาณ 2-3 โครงกระดูก มีเอ็นยึด เสียชีวิตมาประมาณ กระดูกตดิ บางสว่ น 1-2 เดอื น เหลอื แตโ่ ครงกระดกู เปลา่ 2เส-3ียชเดีวอื ิตนมาประมาณ บทท่ี 9 การประมาณเวลาตาย 89

90

บทท่ี 10 การชันสตู รบาดแผล ทางนิติเวชศาสตร์ วจิ ารณ์ วชิรวงศากร ศักดส์ิ ิทธ์ิ บญุ ลกั ษณ์

ความส�ำคัญและประเดน็ ท่นี �ำไปใช้ 1. ตามหลักกฎหมายไทย การพิจารณาความผิด และโทษจากการท�ำรา้ ยรา่ งกาย ขน้ึ กบั ความรุนแรงที่เปน็ ผล จากการท�ำร้าย วา่ มากนอ้ ยเพียงใด เป็นส�ำคญั แพทย์ทัว่ ไป สามารถให้ความเห็นในประเด็นดงั กลา่ วได้ 2. นอกจากน้ีการตรวจชันสูตรยังมีประเด็นทาง นิติเวชศาสตร์โดยแท้ คือ ใช้ค้นหาความจริง เพ่ือให้ ความเห็นว่าการบาดเจ็บหรือบาดแผลที่ตรวจพบนั้นเกิดจาก แรงหรอื วัตถุชนดิ ใดมากระท�ำ และเกิดไดอ้ ยา่ งไร สง่ิ เหลา่ นี้ คือ กลไกของการบาดเจบ็ ในข้อน้ีแพทยท์ ั่วไปจะมขี ้อจ�ำกดั ในการให้ความเห็น ดังน้ันจึงมีหลักการบันทึกข้อมูล เพื่อ สง่ ต่อให้ผ้เู ชย่ี วชาญอื่นให้ความเห็นเปน็ การเฉพาะได้ ประเด็นท่สี �ำคัญในการบันทึกข้อมูลบาดแผล 1. ชนิดของบาดแผล เราสามารถบอกได้ถึงกลไก การบาดเจ็บจากวัตถุท่ีมากระท�ำได้ โดยสามารถแบ่งออก เป็น 4 กลมุ่ คอื 1.1 บาดแผลถูกกระแทกด้วยของแข็งไม่มีคม (blunt force injuries) ได้แก่ บาดแผลถลอก (abrasion) บาดแผลฟกช้�ำหรือรอยช�้ำ (contusion) บาดแผลฉีกขาด ขอบไมเ่ รียบ (laceration) 92 บทท่ี 10 การชนั สตู รบาดแผลทางนติ ิเวชศาสตร์

1.2 บาดแผลถกู กระแทกดว้ ยของแขง็ มคี มหรือ ปลายแหลม (sharp force injuries) ไดแ้ ก่ บาดแผลฉกี ขาด ขอบเรยี บ (cut wound) บาดแผลถูกแทง (stab wound) บาดแผลถูกสบั (chop wound) 1.3 บาดแผลกระสุนปืนและระเบิด (กระสุน ลกู โดด-gunshot wound, กระสนุ ลกู ซองและลกู ปราย-shotgun wound และวัตถรุ ะเบดิ -blast injury) 1.4 miscellaneous injury เกิดจาก physical และ chemical agent ข้อผิดพลาดท่ีพบบ่อยท่ีสุดในเวชปฏิบัติคือ การระบุ ชนิดของบาดแผลผิดพลาด มีผลทำ�ให้เกิดปัญหาในการให้ ความเห็นอยา่ งมาก 2. ขนาดของบาดแผล ควรท�ำการบันทึก ในหน่วยวดั มาตรฐาน เชน่ เซนตเิ มตร 3. ลกั ษณะรปู รา่ งของบาดแผล (shape) ใหบ้ รรยาย เป็นลักษณะกว้าง ๆ เช่น เป็นแนวยาว เป็นรูปสามเหลี่ยม เปน็ ต้น 4. ลักษณะพิเศษ (specific characteristics) มี 2 แบบ ไดแ้ ก่ รอยประทบั (imprint) รอยรัด (ligature mark) หรือองค์ประกอบท่ีเกิดจากอาวุธ เช่น อาวุธปืน ท�ำให้บาดแผลมีรูปร่างเฉพาะ มีเขม่าดินปืน (soot) หรือ รอยสักดินปนื (gun powder tattooing)ได้ ควรบนั ทึกและ ถ่ายภาพร่วมด้วย (ดูบทที่ 4) บทท่ี 10 การชันสูตรบาดแผลทางนิติเวชศาสตร์ 93

5. ต�ำแหนง่ ของบาดแผล ใชใ้ นการบอกพฤตกิ ารณ์ ทท่ี �ำใหเ้ กดิ บาดแผลบางเรอื่ ง เชน่ defense wound, hesitation mark และยังบอกทศิ ทางของบาดแผล (wound trajectory) บางชนิด เชน่ gunshot wound การระบตุ �ำแหนง่ ในกรณี ทศิ ทางนี้ จะตอ้ งวดั โดยมตี �ำแหนง่ อา้ งองิ เปน็ พกิ ดั เชน่ บาดแผล ทางเข้าของกระสุนปืนท่ีหน้าอกด้านขวาอยู่ต่�ำกว่าระดับไหล่ 10 ซม. และหา่ งจากแนวกลางล�ำตวั ไปทางขวา 8 ซม. โดยถา้ มี ทางออกคกู่ นั กว็ ัดในท�ำนองเดยี วกัน 6. อายุของบาดแผล โดยบันทึกลักษณะการหาย ของบาดแผลลงไปดว้ ย (ถ้ามี) 7. สงิ่ แปลกปลอมทพ่ี บภายในบาดแผล ใหบ้ รรยาย ต�ำแหน่งทีพ่ บและลกั ษณะของสิง่ นนั้ คร่าว ๆ การบนั ทกึ ข้อมูล นอกจากบันทึกข้อมูลบาดแผลลงในเวชระเบียนแล้ว ยงั ควรบันทึกภาพถา่ ยไว้ด้วย (ดบู ทที่ 4 และ 11) เนอ่ื งจาก บาดแผลหลายกรณี มีรูปแบบและลักษณะพิเศษท่ีซับซ้อน เช่น บาดแผลทีม่ ีรอยประทบั บาดแผลถูกแทง หรอื บาดแผล ถูกยิง เป็นต้น รวมถึงบางบาดแผลอาจเปลี่ยนแปลงไป ภายหลงั การรักษา 94 บทท่ี 10 การชนั สูตรบาดแผลทางนติ เิ วชศาสตร์

บทท่ี 11 Blunt Force Injury ธญั ญศักด์ิ เอกเวชวทิ ทศนยั พพิ ฒั น์โชติธรรม

ลกั ษณะของปัญหาท่ีพบ ชนิดบาดแผลท่เี กดิ จากของไมม่ คี มมดี ังต่อไปนี้ 1. บาดแผลถลอก (abrasion) คอื การบาดเจบ็ ทจี่ �ำกดั อยูแ่ คช่ น้ั ผิวหนัง เชน่ บาดแผลถลอกครดู (brush abrasion) จากผิวหนังลากผ่านพื้นผิววัตถุ หรือบาดแผลถลอก จากการกระแทก (impact abrasion) จากถูกแรงกระท�ำ ในแนวเกือบตัง้ ฉากกับผวิ หนังบริเวณที่มีกระดกู รองรบั เชน่ หนา้ ผาก ซง่ึ บางครง้ั เกดิ เปน็ บาดแผลรอยประทบั (patterned abrasion หรอื contusion) ตามรูปร่างของวัตถุทม่ี ากระทบ เชน่ รอยดอกยาง รอยพื้นรองเท้า ดังภาพที่ 11.1 ภาพท่ี 11.1 แสดง patterned injury 96 บทท่ี 11 Blunt Force Injury

2. รอยฟกชำ้� (contusion) คอื บรเิ วณทมี่ เี ลอื ดออก ใตช้ นั้ ผวิ หนงั จากการกระแทกท�ำใหห้ ลอดเลอื ดบรเิ วณใตผ้ วิ หนงั ฉกี ขาด บางครง้ั อาจเกดิ เปน็ บาดแผลรอยประทบั (patterned contusion) ได้เช่นกนั เช่น tramline contusion จากการ ถูกวตั ถุท่คี ลา้ ยกระบองตี ดังภาพที่ 11. 2 ภาพท่ี 11.2 แสดง tramline contusion 3. บาดแผลฉีกขาดขอบไมเ่ รยี บ (laceration) คือ การทผี่ วิ หนงั และเนอ้ื เยอื่ ใตผ้ วิ หนงั ฉกี ขาดจากการถกู กระแทก มักพบบริเวณผิวหนังที่มีกระดูกรองรับ ลักษณะส�ำคัญคือ จะพบรอยถลอกและฟกช้�ำบริเวณผิวหนังรอบแผล และพบ เนอื้ เยอ่ื ทีไ่ มข่ าดออกจากกัน (bridging tissue)ในบาดแผล เชน่ เสน้ ประสาทและหลอดเลอื ดจากการทท่ี นตอ่ แรงฉกี ขาด บทที่ 11 Blunt Force Injury 97

ไดม้ ากกวา่ เนอ้ื เยอื่ ใตผ้ วิ หนงั ซงึ่ จะไมพ่ บลกั ษณะนใ้ี นบาดแผล ฉกี ขาดขอบเรียบจากวตั ถขุ องแข็งมคี ม 4. บาดแผลฉีกขาดหนังถลก (avulsion wound) คอื บาดแผลฉกี ขาดจากผวิ หนงั และเนอ้ื เยอื่ ใตผ้ วิ หนงั ถกู แรง กระท�ำในแนวเฉียงหรือเกือบขนานกับผวิ หนังจนผวิ หนงั และ เนื้อเยื่อถลกออก เช่น ถกู ลอ้ รถบดทับ 5. บาดแผลท่ิมทะลุที่เกิดจากวัตถุปลายแหลม แตไ่ มม่ สี ว่ นมคี ม (blunt penetrating wound) เช่น ไขควง แท่งเหล็กแหลม ลักษณะบาดแผลคล้าย laceration คือ มี abrasion และ contusion ที่รอบขอบบาดแผลได้ ดังภาพ ที่ 11.3 ภาพท่ี 11.3 แสดง blunt penetrating wound 98 บทท่ี 11 Blunt Force Injury

การเตรยี มตวั เพ่มิ เตมิ กอ่ นลงมอื ตรวจและเกบ็ ขอ้ มูล 1. จ�ำนวนและต�ำแหน่งบาดแผล ควรอ้างอิงตาม anatomical landmark เช่น หัวนม แนวกลางไหปลาร้า ช่องระหว่างซี่โครงซ่ีท่ี ต�ำแหน่งของบาดแผลอาจบ่งบอก ถึงพฤติการณ์ขณะเกิดบาดแผลได้ เช่น บาดแผลจากการ ปอ้ งกนั ตวั (defense wound) บรเิ วณหลงั แขน หรอื บาดแผล เล็บขว่ นจากการตอ่ ส้ขู ดั ขืน 2. ขนาดบาดแผล ควรบันทึกทั้งความกว้าง ยาว และลึก ควรบนั ทึกภาพบาดแผล โดยมสี เกลวัดขนาดถกู ตอ้ ง และใชห้ นว่ ยระบบเมตริก เช่น เซนติเมตร และควรถ่ายภาพ อย่างนอ้ ย 2 รูป (ดบู ทที่ 4) คอื 2.1 ภาพมุมกว้างของบาดแผลเพ่ือให้เห็นว่า บาดแผลอยใู่ นต�ำแหนง่ ใดของรา่ งกาย หากมบี าดแผลจ�ำนวนมาก กอ็ าจจะติดหมายเลขลงไปด้วย 2.2 ถ่ายภาพระยะใกล้เพ่ือให้เห็นรายละเอียด ของบาดแผลชัดเจน 3. บนั ทกึ การบาดเจบ็ รว่ มของบาดแผล เชน่ บาดแผล ฉีกขาดบริเวณหน้าผากร่วมกับกะโหลกศรี ษะแตก บทท่ี 11 Blunt Force Injury 99

ประเด็นส�ำคญั ในกรณีพบบาดแผลประเภทนใี้ นศพ คือ บาดแผลเกดิ ขึ้นก่อนตายหรอื หลังตาย 1. บาดแผลถลอกกอ่ นตาย (antemortem abrasion) มสี แี ดงนำ้� ตาลและมกี ารอกั เสบรอบปากแผล ในขณะทบ่ี าดแผล ถลอกหลงั ตาย (postmortem abrasion) มีสเี หลืองใสจาก serum และลกั ษณะแข็งคลา้ ยหนังสัตว์ 2. บาดแผลฟกชำ�้ กอ่ นตาย (antemortem contusion) มีสีได้ต้ังแต่ม่วง เขียว เหลืองน�้ำตาล ข้ึนอยู่กับระยะเวลา โดยสีเหลืองน้�ำตาล แสดงว่าบาดแผลเกิดนานแล้วกว่า 12-18 ชว่ั โมง ในขณะทบ่ี าดแผลฟกชำ�้ หลงั ตาย (postmortem contusion) มกั จะมเี ลอื ดออกนอ้ ยกวา่ โดยเลอื ดออกมกั อยตู่ น้ื ใต้ชน้ั ผวิ หนงั บรเิ วณทมี่ กี ระดกู รองรับ 100 บทท่ี 11 Blunt Force Injury

บทท่ี 12 Sharp Force Injury สธุ ิดา บชู ิตรตั นคณุ ศกั ดา สถริ เรืองชัย

ลกั ษณะของปัญหาท่ีพบ ชนิดของบาดแผล เน่ืองจากบาดแผลในประเภทนี้ มี 2 ชนดิ คือ 1. บาดแผลฉกี ขาดจากของมคี ม (cut wound) คอื บาดแผลทมี่ คี วามยาวปากแผลมากกวา่ ความลกึ เกดิ จากวตั ถุ มคี ม ไมส่ ามารถบอกรายละเอียดอน่ื ใดของวตั ถไุ ด้ นอกจาก จะพบชิ้นสว่ นของวตั ถุท่ที �ำให้เกิดบาดแผลติดอยูภ่ ายใน cut wound แยกจาก laceration โดย 1.1 โดยท่ัวไปขอบของ cut wound จะเรียบ แต่อาจจะพบขอบไม่เรียบได้ ในกรณีท่ีผิวหนังย่นขณะถูก วตั ถมุ ากระท�ำ หรอื วตั ถทุ มี่ ากระท�ำมคี วามทอ่ื หรอื บน่ิ ดงั นนั้ ใหส้ งั เกตวา่ ทข่ี อบบาดแผลมรี อยฟกชำ้� หรอื รอยถลอกหรอื ไม่ ถา้ มแี สดงว่าเปน็ laceration มากกวา่ 1.2 cut wound เนอ้ื เยอ่ื ตา่ ง ๆ ใตต้ อ่ แผลจะถกู ตดั ขาดไป ไมพ่ บ tissue bridging และไมพ่ บโพรงในบาดแผล ท่เี รยี กว่า tissue undermining ดภู าพที่ 12.1 และ 12.2 102 บทที่ 12 sharp Force Injury

ภาพที่ 12.1 แสดง tissue bridging ภาพที่ 12.2 แสดง cut wound 2. บาดแผลแทง (stab wound) คือ บาดแผล เกิดจากวตั ถุปลายแหลมทีม่ กั จะมคี วามคมท่ิมเขา้ หาร่างกาย โดยมากจะมคี วามลกึ มากกวา่ ความยาว ดภู าพท่ี 12.3 • บาดแผลมีมุมหน่ึงมุมใดมรี อยฟกชำ้� หรือ ถลอก หรือมีลักษณะป้าน แสดงว่าวัตถุที่มากระท�ำน้ัน มีคมดา้ นเดียว บทท่ี 12 sharp Force Injury 103

• บาดแผลมีมุมแหลมท้ังสองมุม และไม่มี บาดแผลฟกช้�ำหรือบาดแผลถลอกเลย แสดงว่าวัตถุที่มา กระท�ำน้นั อาจมีสองคมหรอื คมเดยี วก็ได้ ภาพท่ี 12.3 แสดง stab wound 3. บาดแผลถูกสบั (chop wound) คือ บาดแผล ทเ่ี กดิ จากวตั ถทุ ม่ี คี วามคมและมนี ำ้� หนกั มาก เชน่ ขวาน มดี อโี ต้ ลกั ษณะบาดแผลขอบเรยี บ แตอ่ าจจะมี fine abrasion และ bone fracture ข้างใตบ้ าดแผลได้ 104 บทท่ี 12 sharp Force Injury

การเตรยี มตวั เพ่มิ เตมิ กอ่ นลงมอื ตรวจและเกบ็ ขอ้ มูล 1. การบันทกึ บาดแผล 1.1 การวดั ขนาดบาดแผล sharp force injury จะต้องน�ำขอบแผลมาชิดกัน กอ่ นดรู ายละเอยี ดของบาดแผล และวัดความยาวของบาดแผล ส่วนความลึกของบาดแผล ในกรณเี ปน็ penetrating injury จะวัดจากการผ่าศพ เพอื่ ดู วา่ อวยั วะอะไรบา้ งทไี่ ดร้ บั บาดเจบ็ และลกึ เทา่ ไหร่ เพอ่ื สามารถ ประเมินว่าอาวุธน้ันมีรูปร่างอย่างไร เข้ากับบาดแผลที่พบ หรอื ไม่ ดงั ภาพท่ี 12.4 และ 12.5 ภาพที่ 12.4 แสดงการวดั บาดแผล บทที่ 12 sharp Force Injury 105

ภาพที่ 12.5 แสดงการวัดบาดแผลเมื่อขอบบาดแผลอยูช่ ิดกนั (approximated wound) 1.2 การถา่ ยภาพ ควรถา่ ยภาพบาดแผลในสภาพ เบ้ืองต้น และถ่ายอีกคร้ังหลังจากน�ำขอบแผลมาชิดกันแล้ว โดยเทียบกับไม้บรรทัดทุกครั้ง และควรถ่ายภาพอย่างน้อย 2 รูป (ดบู ทที่ 4) ประเด็นส�ำคัญในกรณนี ้ี 1. ผู้ตรวจบาดแผลคนแรก จะเป็นคนที่บอกได้ดี ที่สุดว่าเป็นบาดแผลชนิดใด เพราะหลังจากท่ีผ่านการรักษา มาแล้ว รายละเอยี ดของบาดแผลอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป 2. บาดแผลฉกี ขาดหนงั เปดิ (flap wound) สามารถ เปน็ ไดท้ ง้ั laceration และ cut wound ดงั นนั้ ผตู้ รวจบาดแผล คนแรกควรระบวุ ่าเปน็ บาดแผลชนิดใด 106 บทที่ 12 sharp Force Injury

3. การตรวจ penetrating wound ในศพ ไมค่ วรเอา วัตถุใด ๆ ใส่หรือแยงเข้าไปในบาดแผลท้ังสิ้น ไม่ว่าจะเพื่อดู ทศิ ทาง หรือความลกึ เพราะนอกจากจะไม่สามารถบอกส่งิ ที่ ต้องการทราบได้แลว้ ยงั ท�ำใหเ้ กิดความเสียหายตอ่ บาดแผล หรือเกิดแนวแผลใหม่ท�ำให้ยากต่อการชันสูตรในภายหลัง ประเด็นท่คี วรส่งตรวจเพ่มิ เตมิ 1. ควรตรวจภาพถา่ ยทางรังสี เพอ่ื ดูว่ามสี ง่ิ ตกค้าง อยใู่ นบาดแผลหรอื ไม่ เพราะบางครงั้ วตั ถทุ ที่ �ำใหเ้ กดิ บาดแผล อาจหักและตกค้างในบาดแผลได้ โดยควรถ่าย 2 ด้าน ทง้ั หนา้ ตรง และด้านข้าง (AP, lateral view) 2. ในการต่อสู้ท่ีประชิดตัว มีโอกาสท่ีจะตรวจพบ วตั ถุพยานต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 2.1 เลอื ดในที่เกดิ เหตุของ sharp force injury มักมีเลือดอยู่เสมอ ดังน้ัน ก่อนจะตรวจศพ จะต้องตรวจ bloodstain pattern รอยประทบั ต่าง ๆ ไมว่ ่าจะเป็นรอยเทา้ รอยอาวธุ หรอื อน่ื ๆ ทอ่ี าจจะปรากฏในบรเิ วณทเ่ี ปอ้ื นเลอื ดได้ 2.2 ผู้ท�ำร้ายจะท้ิงหลักฐานเอาไว้ในท่ีเกิดเหตุ หรอื บนรา่ งกายของผเู้ สยี หายหรอื ศพ ไมว่ า่ จะเปน็ ผม เสน้ ใย ตา่ ง ๆ หรอื บางครง้ั ผทู้ �ำรา้ ยอาจไดร้ บั บาดเจบ็ และมเี ลอื ดออกได้ 2.3 เน้ือเย่ือใต้เล็บของผู้ได้รับบาดเจ็บหรือศพ ในกรณศี พควรห่อมือดว้ ยถุงกระดาษกอ่ นเคลอ่ื นยา้ ยศพ 2.4 รอยฉีกขาดบนเสื้อผ้าอาจจะสามารถบอก รอ่ งรอยของอาวุธได้ บทท่ี 12 sharp Force Injury 107

108 บทที่ 12 sharp Force Injury

บทท่ี 13 Traffic Injury and Fall วรทั พร สทิ ธจิ รญู ภาณวุ ฒั น์ ชตุ วิ งศ์

ลักษณะของปัญหาท่ีพบ การเสียชีวิตจากการจราจร ปัญหาในการชันสูตร พลกิ ศพคอื แพทยผ์ ตู้ รวจไมส่ ามารถอธบิ ายความสมั พนั ธข์ อง ลกั ษณะการบาดเจบ็ ทต่ี รวจพบกบั กลไกการเกดิ อบุ ตั เิ หตจุ ราจร แต่ละประเภทได้ และการบาดเจ็บที่ตรวจพบน้ันเป็นสาเหตุ การเสยี ชวี ติ จรงิ หรอื ไม่ หรอื เสยี ชวี ติ จากการถกู ฆาตกรรมอนื่ มากอ่ นแลว้ อ�ำพรางคดนี �ำศพมาไวท้ ท่ี พ่ี บศพ โดยเฉพาะกรณี การเสียชีวิตในรถยนต์ที่ลุกไหม้ การตรวจชันสูตรพลิกศพ มักถูกจ�ำกัดด้วยเวลาที่ต้องเร่งกระบวนการชันสูตรพลิกศพ ให้เสร็จอย่างรวดเร็ว เพ่ือไม่ให้กดี ขวางทางจราจร การตกจากทส่ี งู มคี วามยากในการประเมนิ ระยะเวลา การเสยี ชวี ติ โดยเฉพาะศพทม่ี กี ารหกั ของรา่ งกายหลายทอ่ น เนอื่ งจากจะไมส่ ามารถประเมนิ การแขง็ ตวั ของกลา้ มเนอื้ หลงั ตาย ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ ง รวมทง้ั ตอ้ งพจิ ารณาวา่ สภาพการบาดเจบ็ ใด ที่เปน็ เหตุให้เสยี ชวี ติ ประเด็นส�ำคญั ในกรณนี ี้ 1. ตอ้ งตระหนกั ไวเ้ สมอวา่ ผตู้ ายเสยี ชวี ติ ขณะเกดิ เหตุ หรอื ถกู ฆาตกรรมแลว้ น�ำมาอ�ำพราง 2. การตรวจหาความสมั พนั ธข์ องลกั ษณะการบาดเจบ็ กบั กลไกการเกดิ การบาดเจบ็ ของอบุ ตั เิ หตจุ ราจรแตล่ ะประเภท 110 บทที่ 13 Traffic Injury and Fall

3. หากตรวจหาระยะเวลาการตาย หรือลักษณะ การบาดเจ็บที่ไม่เข้ากันกับประวัติที่ได้ หรือพบสภาพ ท่ีแปลกออกไป ควรคดิ ถงึ สาเหตุการตายอ่ืนด้วยเสมอ 4. กรณีอุบัติเหตุแล้วเกิดไฟไหม้ในรถ ต้องระบุ บคุ คล และตรวจหาลกั ษณะของการส�ำลกั ควนั ไฟในหลอดลม ของผ้ตู าย (ดูบทท่ี 17) 5. ผลการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด อาจมี ผลต่อรปู คดี 6. ในหลาย ๆ กรณี อาจจะเกิดโรคตามธรรมชาติ ทท่ี �ำใหต้ ายรว่ มในอบุ ตั เิ หตุจราจร เชน่ โรคหวั ใจก�ำเริบขณะ ขบั รถ ท�ำใหห้ มดสตแิ ละเกดิ อบุ ตั เิ หตุ หรอื อาจจะเกดิ อบุ ตั เิ หตุ ไมร่ นุ แรงแตเ่ ปน็ ตวั กระตนุ้ ใหโ้ รคหวั ใจก�ำเรบิ ขนึ้ มาจนเสยี ชวี ติ ในประเด็นนี้ ถือเป็นเรื่องส�ำคัญท่ีต้องพิสูจน์หากว่ามีการ เรียกรอ้ งคา่ สินไหมทดแทน การบาดเจ็บจากการจราจร (traffic injury) แบง่ เป็น 3 ประเภทตามลกั ษณะของผบู้ าดเจ็บ ไดแ้ ก่ 1. การบาดเจบ็ ทเี่ กดิ กบั ผขู้ บั ขแี่ ละผโู้ ดยสารรถยนต์ (driver and passenger injuries) 1.1 ศรี ษะกระแทกกบั กระจกหนา้ รถหรอื หลงั คารถ (windshield injury) เกิดบาดแผลถลอก บาดแผลฉกี ขาด กะโหลกศีรษะแตก จนถงึ การบาดเจ็บของสมอง บทท่ี 13 Traffic Injury and Fall 111

1.2 ศีรษะกระแทกกับกระจกด้านข้าง (tempered-glass injury) เกิดบาดแผลเชน่ เดียวกับขอ้ 1.1 1.3 การบาดเจ็บบริเวณล�ำคอ ซง่ึ เป็นอันตราย ต่อกระดกู และไขสันหลังสว่ นคอ (whiplash injury) ซึง่ อาจ จะไมพ่ บบาดแผลภายนอก 1.4 การบาดเจบ็ บรเิ วณทรวงอกและทอ้ งกระแทก กบั พวงมาลัย (steering wheel injury) กระดกู อก กระดกู ซโ่ี ครงหกั มกี ารบาดเจบ็ ของอวยั วะภายในชอ่ งอกและชอ่ งทอ้ ง ซึ่งบางรายอาจตรวจไม่พบบาดแผลภายนอกหรือมีเพียง เล็กน้อย แต่มีการบาดเจ็บภายในอย่างรุนแรงการตรวจโดย การดูลักษณะผิดรูป และกดบริเวณดงั กล่าวอาจมกี ารยบุ ตวั 1.5 การบาดเจบ็ ของขา โดยเฉพาะหวั เขา่ กระแทก กับแผงหนา้ ปัดรถยนต์ (dashboard injury) กระดูกต้นขา เข่า หรอื กระดูกขอ้ เทา้ หกั ขอ้ สะโพกหลุด 1.6 การบาดเจ็บจากเข็มขัดนิรภัย (seatbelt injury) บาดแผลฟกชำ�้ บรเิ วณบา่ หรอื ทรวงอก หากตรวจพบ อาจช่วยบอกต�ำแหนง่ ในขณะท่อี ยูใ่ นรถยนตไ์ ด้ 2. การบาดเจบ็ ทเ่ี กดิ กบั คนเดนิ ถนน (pedestrian injury) 2.1 primary injury เกดิ จากสว่ นของกันชนรถ กระแทกกบั ขาทอ่ นลา่ งของผถู้ กู ชนโดยตรง (primary impact) เกดิ การกระเดน็ ไปขา้ งหนา้ ตามทศิ ทางของแรงหรอื ลอยขนึ้ บน 112 บทท่ี 13 Traffic Injury and Fall

มกั พบบาดแผลฉกี ขาดหรอื กระดกู ขาหกั รว่ มดว้ ย (bumper injury) วดั ความสงู จากสน้ เทา้ ถงึ บาดแผล ซงึ่ มคี วามส�ำคญั ในการระบุ รถทช่ี น 2.2 secondary injury เกดิ จากรา่ งกายทลี่ อยขนึ้ แล้วตกลงมากระแทกกับสว่ นของรถ เชน่ กระโปรง กระจก หลังคารถ ท�ำให้เกิดการบาดเจ็บท่ีศีรษะ กระดูกซี่โครงหัก กระดูกแขนขาหัก 2.3 tertiary injury เกิดจากร่างกายกระทบ กระแทกกบั พน้ื ถนน หรอื ถกู รถทบั ซำ�้ โดยรถคนั ทช่ี นหรอื รถ ทตี่ ามมา ตรวจพบบาดแผลฉกี ขาด บาดแผลฟกชำ้� บาดแผล ถลอกครดู และหากถกู ทบั อาจมรี อยดอกยางรถยนต์ ผวิ หนงั ปริเปน็ ลายจากผิวหนังถูกยดื ออก 3. การบาดเจบ็ ทเ่ี กดิ กบั ผขู้ บั ขแี่ ละซอ้ นรถจกั รยานยนต์ (motorcycle rider injury) การบาดเจ็บท่ีพบข้ึนกับ การสวมใสเ่ สอ้ื ผา้ หรอื เคร่ืองป้องกนั ขนาดของรถ และ โดยเฉพาะความเรว็ ในการขบั ข่ี 3.1 สว่ นใหญม่ กั พบการบาดเจบ็ ทศ่ี รี ษะ บรเิ วณ ทพี่ บไดบ้ ่อยคือ tempero-parietal area เปน็ บาดแผลฉีกขาด ฟกชำ้� หรอื ถลอก, กะโหลกศรี ษะหรอื ฐานกะโหลกศรี ษะแตก, subdural hemorrhage, สมองฟกชำ้� หรอื ฉกี ขาด โดยมกั จะพบ coup-contrecoup lesion หรือ diffused traumatic brain injury, กระดูกคอหกั บทท่ี 13 Traffic Injury and Fall 113

3.2 การบาดเจบ็ ของอวยั วะภายในชอ่ งอกชอ่ งทอ้ ง และอวัยวะเพศ ตรวจพบบาดแผลฉีกขาด บาดแผลถลอก ครูด การฉกี ขาดของอวัยวะภายใน บาดแผลบริเวณอัณฑะ การบาดเจ็บ ของกระเพาะปัสสาวะ กระดูกเชิงกรานและ กระดกู ขาหกั 3.3 ในกรณที ร่ี ถจกั รยานยนตช์ นทา้ ยรถบรรทกุ ขนาดใหญ่ ศีรษะของผู้ขับข่ีอาจจะหลุดออกจากตัวกระเด็น ออกไป การตกจากท่สี งู (Fall from height) การบาดเจบ็ จากการตกจากทส่ี งู ขน้ึ กบั สว่ นของรา่ งกาย ทสี่ มั ผสั กบั พนื้ และลกั ษณะของพน้ื ทส่ี มั ผสั การตกสพู่ นื้ ทแี่ ขง็ เช่น พ้ืนปูน ย่อมเกิดการบาดเจ็บและอันตรายได้มากกว่า พนื้ หญ้า หรือพมุ่ ไม้ ลกั ษณะท่ีอาจจะตรวจพบหรอื ตอ้ งสงั เกตในกรณนี ้ี 1. ในผใู้ หญ่ มกั เกดิ การบาดเจบ็ อยา่ งรนุ แรงตอ่ ศรี ษะ อวัยวะภายใน และการหักของกระดกู รยางค์ ดงั นี้ 1.1 การบาดเจ็บของศีรษะ อาจพบเลือดออก จากหแู ละจมกู เกดิ จากฐานกะโหลกแตก เลอื ดออกใตเ้ ยอ่ื หมุ้ สมอง สมองฉีกขาด ไหลมาตามรอยแตก เลือดจากฐานสมอง ไหลลงสู่ทางเดินหายใจ 114 บทท่ี 13 Traffic Injury and Fall

1.2 การบาดเจ็บบริเวณล�ำตัวและแขนขา อาจเกดิ จากสง่ิ กีดขวางท่ีมีอยู่ ในขณะทรี่ ่างกายตกลงมาจาก ทส่ี ูงจนถงึ พ้นื 1.3 การบาดเจบ็ บรเิ วณอวยั วะเพศ เชน่ อณั ฑะ ฉกี ขาด ท่อปสั สาวะฉกี ขาด 1.4 การหกั ของกระดกู หลายสว่ น เชน่ ชว่ งตอ่ ของ กะโหลกศรี ษะกบั กระดกู สนั หลงั สว่ นคอ กระดกู สนั หลงั สว่ นอก สว่ นเอว กระดกู เชงิ กราน กระดกู แขนทอ่ นปลาย กระดกู สน้ เทา้ และกระดูกฝ่าเทา้ 2. ในทารกอาจไม่พบการหักของกระดูกในระยะ ที่ความสูงไม่เกิน 10 ฟุต ส่วนในเด็กเล็กอาจมีการฉีกขาด ของปอด ท�ำให้เกิดเลือดลมค่ังในช่องอกโดยไม่พบการหัก ของกระดูกซี่โครง รวมท้ังอาจมีการบาดเจ็บของสมองโดยท่ี ไม่มีการแตกของกะโหลกศีรษะ และอาจมีการบาดเจ็บของ อวยั วะภายในทเ่ี ป็นจุดแขวน เช่น ปอด ตบั ม้าม ไตและ เยื่อยดึ ล�ำไสฉ้ ีกขาด ประเด็นท่คี วรสง่ ตรวจเพ่มิ เตมิ 1. ตรวจภาพถ่ายรงั สเี พือ่ ประเมนิ การบาดเจ็บ วตั ถุ แปลกปลอมในรา่ งกาย 2. ตรวจหาสารพิษ สารเสพติด จากเลือด ปสั สาวะ บทที่ 13 Traffic Injury and Fall 115

3. ตรวจหาเขม่าในหลอดลม หรือคาร์บอกซ่ี ฮีโมโกลบนิ ในเลอื ด (CoHb) กรณพี บศพในรถทไ่ี หมไ้ ฟ 4. ในกรณที ีว่ นิ จิ ฉัยสาเหตกุ ารตายไมไ่ ดแ้ นช่ ดั เช่น อาจเกดิ จากโรคตามธรรมชาตทิ ท่ี �ำใหต้ ายหรอื เปน็ สาเหตรุ ว่ ม ในอุบัติเหตจุ ราจร 116 บทท่ี 13 Traffic Injury and Fall

บทท่ี 14 บาดแผลกระสนุ ปืนและวัตถรุ ะเบดิ ภาณวุ ัฒน์ ชุตวิ งศ์

การบาดเจบ็ หรอื การตายทม่ี สี าเหตจุ ากกระสนุ ปนื หรอื วตั ถรุ ะเบดิ ในปจั จบุ นั พบไดบ้ อ่ ยขนึ้ จากปญั หาอาชญากรรม ที่มีจ�ำนวนเพ่ิมข้ึน ท�ำให้มีความส�ำคัญกับแพทย์ผู้ตรวจ ในทางตรงและทางอ้อม เนอ่ื งจากคดีตา่ ง ๆ ทีม่ ีอาวธุ เหล่าน้ี เข้ามาเกีย่ วขอ้ ง มักจะเป็นเรื่องรา้ ยแรงในทางกฎหมาย และ แพทย์มแี นวโน้มสูงท่ีต้องไปเป็นพยานมากกวา่ ในคดอี ่ืน ๆ ประเด็นทางนติ ิเวชศาสตร์ท่ตี ้องพิจารณา กรณีท่ีสงสยั การบาดเจบ็ จากบาดแผลกระสุนปืน 1. บาดแผลนน้ั เปน็ บาดแผลทเี่ กดิ จากกระสนุ ปนื หรอื ไม่ 2. กรณบี าดแผลกระสนุ ปนื บาดแผลนน้ั เปน็ ทางเขา้ หรอื ทางออก 3. ชนดิ ของปนื และขนาดของกระสนุ ปืน 4. ระยะยงิ (ระยะจากปากกระบอกปนื ถงึ บาดแผล) เป็น ระยะประชิด ระยะใกล้ หรอื ระยะไกล 5. ทิศทางของกระสุนปนื ท่เี ข้าสรู่ า่ งกาย 6. สาเหตแุ ละพฤติการณ์การตาย 118 บทที่ 14 บาดแผลกระสนุ ปืนและวตั ถรุ ะเบดิ

ชนิดของปืน ในทางนิติเวชศาสตร์ แบ่งเปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. ปืนท่ีมีเกลียวภายในล�ำกล้อง ซ่ึงเป็นกลุ่มปืน ทเี่ ราพบวา่ มกี ารใชใ้ นการประกอบอาชญากรรมเปน็ สว่ นมาก หรือแม้แต่ใช้เป็นอาวุธในการฆ่าตัวตาย กระสุนปืนชนิดนี้ จะเปน็ ลกู เด่ยี ว ๆ มกั ท�ำจากตะก่วั จงึ มกั ถกู เรียกวา่ ลูกโดด กระสุนปืนอาจมีเปลือกทองแดงหุ้มเพื่อเสริมความแข็งแรง สามารถแบง่ ออกไดเ้ ปน็ 2 กล่มุ ใหญ่ ๆ ได้แก่ • ปนื พกหรือปนื ส้นั มาตรฐานหรอื ปืนลกู โดด เชน่ ปนื ลกู โม่ หรอื ปนื พกกง่ึ อตั โนมตั ิ เปน็ กลมุ่ ทพี่ บไดม้ ากทสี่ ดุ • ปืนความเรว็ สูงหรือปนื ทใ่ี ชใ้ นสงคราม เช่น ปนื เอม็ - 16 (M16) ปืนอาก้า (AK-47) เปน็ ตน้ ชนิดน้ี มีรายละเอียดเฉพาะตัวซึ่งเกินกว่าระดับการวินิจฉัยและให้ ความเห็นของแพทย์ท่วั ไป 2. ปืนที่ไม่มีเกลียวในล�ำกล้อง ในทางคดีจะพบ นอ้ ยกวา่ กลมุ่ ปนื ชนดิ แรก กระสนุ ปนื ชนดิ น้ี ปลอกกระสนุ มกั ท�ำจาก พลาสติกและภายในบรรจุเม็ดลูกปรายไว้เป็นจ�ำนวนมาก ปนื ประเภทนี้ ไดแ้ ก่ ปืนลูกซองซ่งึ มีท้ังชนิดยาวและสน้ั หรอื ปนื ชนดิ พเิ ศษอนื่ ๆ เชน่ ไทยประดษิ ฐ์ ปนื ปากกา หรอื ปนื แกป็ บทท่ี 14 บาดแผลกระสุนปนื และวตั ถรุ ะเบิด 119

การวนิ จิ ฉัยบาดแผลกระสนุ ปืนชนดิ ตา่ ง ๆ แบ่งตามระยะยิงและพฤตกิ ารณ์ท่ีเป็นไปไดต้ ามตาราง ตาราง 14.1 วนิ จิ ฉยั บาดแผลกระสนุ ปนื ชนดิ ต่าง ๆ ปนื ลูกโดด (gunshot Wound : GSW) ระยะยิง สงิ่ ตรวจพบ พฤตกิ ารณท์ เี่ ป็น บาดแผลทางเขา้ ไปได้ บาดแผล ทางออก ระยะประชดิ • รปู รา่ งกลมหรอื รี หรอื ผวิ หนงั • ไมม่ ี • ฆา่ ตวั ตาย (พบบอ่ ย (contact GSW) : อาจฉีกขาดออกเป็นรูปแฉก ลกั ษณะ ที่สุด)ตำ�แหน่งมัก หรอื รปู ดาว กรณยี งิ ในต�ำ แหนง่ เฉพาะ พบท่ีขมบั ภายใน เปน็ ระยะท่ี ทม่ี แี ผ่นกระดกู รองรบั เชน่ คล้ายบาดแผล ปาก กลางหนา้ ผาก ปากกระบอกปืน ศีรษะ หรอื กลางหนา้ อก ฉกี ขาดทว่ั ไปได้ ใตค้ าง หรอื หนา้ อก ตดิ ผิวหนงั บริเวณ • พบรอยถลอกรอบบาดแผล ซา้ ย บาดแผลทางเขา้ (marginal abrasion) • ฆาตกรรม แต่หากปากกระบอกปนื • พบคราบเขม่าดำ�หรือเขม่า ไมต่ ิดผิวหนังจะเรยี ก ดินปืน ติดอยู่ที่ขอบแผล ว่าระยะเกอื บประชดิ เล็กน้อย และภายในโพรง (near-contact) บาดแผลเป็นจำ�นวนมาก เว้นแต่ในระยะเกือบประชิด จะพบเขม่าอยู่รอบบาดแผล มากโดยแทบจะไม่พบใน โพรงบาดแผล • พบรอยปากกระบอกปืน ประทบั ท่แี ผล ร(cะlยoะsใeกdล-r้ ange) • รูปร่างกลมหรือรี • ไมม่ ลี ักษณะ • เป็นไปได้ทงั้ • พบรอยถลอกรอบบาดแผล เฉพาะ ฆ่าตวั ตาย เป็นระยะยงิ ที่ (marginal abrasion) ดคู ล้าย ฆาตกรรม หรอื ปากกระบอกห่าง • พบคราบเขม่าปืน (soot) บาดแผล อุบัติเหตุ ออกมาจาก จาง ๆ ได้ หรือพบรอยสกั ฉกี ขาด (พบนอ้ ยท่สี ุด) บาดแผลทางเขา้ ดนิ ปนื (gunpowder stippling) ทวั่ ๆ ไป โดยส่วนมากอยู่ใน ลกั ษณะเปน็ จดุ แดง ๆ ฝงั อยู่ ระยะไมเ่ กนิ รอบ ๆ บาดแผล 30-60 ซม. (รdะiยsะtaไกntล-range) • รปู ร่างกลมหรอื รี • ไม่มี • ฆาตกรรม เปน็ ระยะที่ • พบรอยถลอกรอบบาดแผล ลักษณะ (พบบอ่ ยที่สดุ ) ปากกระบอกปนื (marginal abrasion) เฉพาะ • อุบตั ิเหตุ ยิงหา่ งเกินกว่าที่ คลา้ ย • ฆา่ ตวั ตาย สว่ นประกอบจาก บาดแผล (พบนอ้ ยท่ีสุด) การยิงปืนจะไปถงึ ฉีกขาด 120 บทท่ี 14 บาดแผลกระสุนปืนและวตั ถุระเบดิ

ปนื ลกู ซอง (Shotgun Wound : SGW) ระยะยิง สง่ิ ตรวจพบ พฤติการณ์ทเี่ ปน็ บาดแผลทางเขา้ ไปได้ บาดแผล ทางออก ระยะประชดิ • รปู รา่ งกลมหรอื คอ่ นขา้ งกลม • ก ร ะ สุ น ลู ก • ฆ่าตัวตาย กรณี (contact GSW) : และใหญ่ใกล้เคียงกับขนาด ปรายมกั ผงั อยู่ ปื น ลู ก ซ อ ง สั้ น เป็นระยะท่ี กระสนุ ปนื ภายในรา่ งกาย ตำ�แหน่งมักพบท่ี ปากกระบอกปนื • ผวิ หนงั อาจฉกี ขาดอยา่ งมาก • มักพบหมอน ขมับ ภายในปาก ติดผวิ หนงั บรเิ วณ หรอื กะโหลกศรี ษะแตกอยา่ ง รองกระสุน ก ล า ง ห น้ า ผ า ก บาดแผลทางเข้า รนุ แรงหากทางเขา้ ที่ศีรษะ คา้ งอยภู่ ายใน ใตค้ าง หรอื หนา้ อก • พบคราบเขม่าดำ�หรือเขม่า บาดแผล ซ้าย หากเป็น ดนิ ปนื ตดิ อยทู่ ข่ี อบแผล และ • อาจพบ ปืนยาว ตำ�แหน่ง ภายในโพรงบาดแผล บาดแผล ทพ่ี บมกั เกดิ เฉพาะ ทางออกได้ ภายในปากหรือ บางคร้งั ใตค้ าง • ฆาตกรรม ร(cะlยoะsใeกdล-r้ ange) • พบบาดแผลทางเข้าขนาด • ก ร ะ สุ น ลู ก • ฆาตกรรม ใหญ่ 1 รใู กล้เคียงกบั ขนาด ปรายมกั ฝงั อยู่ (พบบอ่ ยทส่ี ุด) เป็นระยะยงิ ที่ กระสนุ ปนื ภายในรา่ งกาย • อุบตั เิ หตุ ปากกระบอก • พบรทู างเขา้ ของเมด็ ลกู ปราย • ส่วนมากไม่ หา่ งออกมาจาก เรมิ่ กระจายรอบ ๆ บาดแผล พบบาดแผล บาดแผลทางเข้า ทางเขา้ ใหญ่ (satellite lesion) ทางออก • พ บ ค ร า บ เ ข ม่ า ดิ น ปื น (gunpowder stippling) ลั ก ษ ณ ะ เ ป็ น จุ ด แ ด ง  ๆ ตดิ อยู่รอบ ๆ บาดแผล • อาจพบรอยถลอกจากหมอน รองกระสนุ กระแทกผวิ หนงั (รdะiยsะtaไกntล-range) • พบเป็นรูทางเข้าของเม็ด • กระสุน • ฆาตกรรม เปน็ ระยะท่ี ลกู ปรายจ�ำ นวนมาก กระจาย ลกู ปรายฝงั • อบุ ัตเิ หตุ ปากกระบอกปืน อย่ตู ามผวิ หนงั อย่ภู ายใน ยิงห่างเกนิ กวา่ ที่ • ไม่พบรูบาดแผลทางเข้า รา่ งกาย ส่วนประกอบจาก ขนาดใหญ่ • ไมพ่ บ การยงิ ปนื จะไปถึง • ไม่พบรอยถลอกจากหมอน บาดแผล รองกระสนุ ปนื ทางออก บทที่ 14 บาดแผลกระสนุ ปนื และวัตถุระเบิด 121

ความพเิ ศษของบาดแผลกระสนุ ปืนท่ีตอ้ งระมดั ระวงั 1. มีบาดแผลท่ีเป็น variation ของบาดแผลทั่วไป ทอ่ี าจจะเรยี กวา่ atypical GSW ท�ำให้มคี วามยงุ่ ยากซบั ซอ้ น ในการให้ความเห็น 2. บาดแผลทเี่ ปน็ typical GSW อาจจะมคี ราบเลอื ด หรือส่ิงต่าง ๆ บดบัง ท�ำให้วินิจฉัยได้ล�ำบาก หรืออาจเกิด ความผดิ พลาดได้งา่ ย 3. การขาดประสบการณแ์ ละความช�ำนาญของแพทย์ ผู้ตรวจ บาดแผลจากวตั ถุระเบิด 1. หากได้รับบาดเจ็บในต�ำแหน่งใกล้กับวัตถุระเบิด บาดแผลจะมีลักษณะฉีกขาดขนาดใหญ่ มีลักษณะของ การไหม้บริเวณรอบบาดแผล 2. หากได้รับในต�ำแหน่งท่ีห่างออกมาจากวัตถุ ระเบิด มักพบบาดแผลฉีกขาดเป็นจุด ๆ เล็ก ๆ กระจายอยู่ ท่ัวไป (peppering) จากสะเกด็ ระเบิด หรอื ส่งิ รอบข้างวตั ถุ ระเบิด อาจพบบาดแผลถลอกฟกช�้ำรอบ ๆ ต�ำแหน่งที่ถูก สะเกด็ ระเบิดร่วมดว้ ย 3. สาเหตุการตายจากวัตถุระเบิด อาจเกิดจาก แรงระเบดิ เอง จากสะเกด็ ระเบดิ หรอื สงิ่ รอบขา้ ง ความรอ้ นจาก 122 บทท่ี 14 บาดแผลกระสุนปนื และวตั ถรุ ะเบดิ

การระเบดิ และการไดร้ บั บาดเจบ็ เกยี่ วเนอ่ื งมาจากเหตรุ ะเบดิ เชน่ ตกจากท่สี ูง ท�ำอยา่ งไรเม่อื พบบาดแผลกระสนุ ปืนหรอื วตั ถรุ ะเบดิ 1. ประเมินชนิดของอาวุธปืนที่ใช้ จ�ำนวน ทางเขา้ - ทางออก ระยะยงิ ทศิ ทางกระสนุ และสาเหตกุ ารตาย (สาเหตุ การตายสว่ นมาก ไดแ้ ก่ การบาดเจบ็ ของอวยั วะส�ำคญั เช่น สมอง หัวใจ ปอด หรือเกดิ จากการเสยี เลือดปริมาณมาก) 2. ควรส่งศพเพ่ือตรวจชันสูตรพลิกศพ ตามพ้ืนที่ เขตรับผิดชอบในทุกกรณี หากเป็นผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ นติ เิ วชเสมอ ในกรณีทที่ �ำไม่ได้ กต็ ้องถา่ ยภาพไว้ใหล้ ะเอยี ด (ดูบทที่ 4) 3. หากมีการเคลื่อนย้ายศพมาที่โรงพยาบาล ควร ถ่ายภาพเอ็กซเรยไ์ ว้ 4. กรณมี คี วามจ�ำเปน็ ทจี่ ะตอ้ งเอากระสนุ ปนื ออกจาก บาดแผลหรอื ศพ หา้ มใช้ forceps หรอื อปุ กรณค์ บี ทเ่ี ปน็ โลหะ ในการจบั เนอื่ งจากจะท�ำใหร้ อ่ งรอยบนกระสนุ ปนื เปลย่ี นแปลง มผี ลตอ่ การน�ำไปพสิ จู นท์ างนติ วิ ทิ ยาศาสตรต์ อ่ สว่ นเศษโลหะ หรือหัวกระสุนปืนท่ีน�ำออกมา ควรท�ำความสะอาดและ เชด็ ใหแ้ หง้ กอ่ นบรรจหุ บี หอ่ เพอ่ื สง่ ใหพ้ นกั งานสอบสวนตอ่ ไป บทที่ 14 บาดแผลกระสุนปนื และวัตถุระเบิด 123


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook