Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือธรรมศึกษาชั้นเอกปี2561

คู่มือธรรมศึกษาชั้นเอกปี2561

Published by suttasilo, 2021-06-27 08:58:06

Description: คู่มือธรรมศึกษาชั้นเอกปี2561

Keywords: คู่มือธรรมศึกษา,ธรรมศึกษาชั้นเอก,2561

Search

Read the Text Version

22 ¤Á‹Ù Í× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªéѹàÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ปญหาวชิ ากระทธู รรม ธรรมศึกษาช้นั เอก สอบในสนามหลวง วันพุธท่ี ๑๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๕๗ ววิ าทํ ภยโต ทิสฺวา อววิ าทฺจเขมโต สมคคฺ า สขิลา โหถ เอสา พุทธฺ านุสาสนี. ทานท้ังหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเปนภัย และความไมวิวาท โดยความปลอดภัยแลว เปนผพู รอ มเพียง มีความประนีประนอมกนั เถดิ นเี้ ปน พระพทุ ธานศุ าสนี. (พุทธ) ข.ุ จริยา. -------------------- แตง อธบิ ายใหส มเหตสุ มผล อางสภุ าษิตอืน่ มาประกอบดว ย ๓ ขอ และ บอกชื่อคัมภีรท่ีมาแหงสุภาษิตน้ันดวย สุภาษิตที่อางมานั้น ตองเรียงเช่ือมความ ใหติดตอ สมเรือ่ งกับกระทตู งั้ ชน้ั นี้ กาํ หนดใหเขียนลงในใบตอบตัง้ แต ๔ หนา (เวน บรรทัด) ขน้ึ ไป -------------------- ใหเ วลา ๓ ชวั่ โมง 22

ÇªÔ Ò àÃÂÕ §¤ÇÒÁá¡Œ¡Ãзٌ¸ÃÃÁ 23 ปญหาวชิ ากระทธู รรม ธรรมศกึ ษาชน้ั เอก สอบในสนามหลวง วันองั คารท่ี ๑ ธนั วาคม ๒๕๕๘ โอวเทยฺยานสุ าเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย สตํ หิ โส ปโ ย โหติ อสตํ โหติ อปปฺ โ ย. บคุ คลควรเตอื นกนั ควรสอนกนั และควรปอ งกนั จากคนไมด ี เพราะเขา ยอมเปนทร่ี กั ของคนดี แตไ มเปน ทร่ี ักของคนไมด ี. (พทุ ธ) ข.ุ ธ. -------------------- แตง อธิบายใหส มเหตสุ มผล อา งสุภาษติ อืน่ มาประกอบดว ย ๓ ขอ และ บอกชื่อคัมภีรท่มี า แหงสุภาษติ นั้นดว ย สุภาษิตทอี่ า งมาน้นั ตองเรยี งเชอื่ มความ ใหต ิดตอสมเรอื่ งกบั กระทตู ้ัง ชน้ั นี้ กาํ หนดใหเขียนลงในใบตอบตงั้ แต ๔ หนา (เวน บรรทดั ) ขึน้ ไป -------------------- ใหเวลา ๓ ช่ัวโมง คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 23

24 ¤ÁÙ‹ Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉҪѹé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก 24

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 25 ÇÔªÒ ¸ÃÃÁ ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒªéѹàÍ¡ (©ºÑº»ÃѺ»Ã§Ø ¾.È. òõõù) คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 25

26 ¤‹ÁÙ Í× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒª¹éÑ àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ÇÔªÒ¸ÃÃÁ ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒª¹éÑ àÍ¡ ความรเู บอ้ื งตน ธรรมวิจารณ เปนช่ือหนังสือพระนิพนธของสมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส พระองคทรงประสทิ ธปิ ระสาทความเจริญแหง วิชาการทาง พระพทุ ธศาสนาของคณะสงฆไทยอยางใหญห ลวง กลาวคอื ทรงนพิ นธหนังสอื ที่ใชเปน หลกั สตู รและแบบเรยี นการศกึ ษาพระปรยิ ตั ธิ รรม แผนกธรรมไวห ลายเลม อาทิ หนงั สอื นวโกวาท พทุ ธประวตั ิ พทุ ธศาสนสภุ าษติ และวนิ ยั มขุ กลา วเฉพาะหนงั สอื ธรรมวจิ ารณน ้ี พระองคท รงนพิ นธข นึ้ เปน คกู บั หนงั สอื วนิ ยั มขุ ทรงมงุ เปน เครอ่ื งประดบั สตปิ ญ ญาของ ผสู นใจใฝศ กึ ษาธรรมะ ทรงหวงั จะใหเ ปน เหตผุ ลสนบั สนนุ ในการสนทนาธรรม โดยทรง ใหค วามหมายไววา “ธรรมวิจารณ” คือการเลือกเฟนธรรม การสอดสองพิจารณาธรรม โดยใชโยนิโสมนสิการพิจารณาสอดสองใหถองแทวา ธรรมประเภทไหนเปนสัทธรรม แท ประเภทไหนเปน สทั ธรรมเทยี ม (สทั ธรรมปฏริ ปู ) โดยหาหลกั ฐานมาประกอบอา งองิ ผูปฏิบัติจําตองอาศัยการวิจารณสอดสองธรรมเปนสําคัญกอนจะลงมือปฏิบัติ เพอ่ื ใหร ปู ระโยชนท ม่ี งุ หมายหรอื อธบิ ายทถ่ี กู ตอ งตามพทุ ธประสงคแ ลว ปฏบิ ตั ไิ ดถ กู ทาง สมดังพระบาลีที่วา “อตฺถมฺาย ธมฺมมฺาย ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ : รอู รรถทว่ั ถงึ แลว รธู รรมทว่ั ถงึ แลว ยอ มเปน ผปู ฏบิ ตั สิ มควรแกธ รรม ดงั นน้ั การพจิ ารณา ธรรมสอดสอ งธรรมจึงเปน กจิ จําเปน ” สนามหลวงแผนกธรรม ไดกําหนดเปนหลักสูตรวิชาธรรมชั้นเอก สําหรับ พระภกิ ษสุ ามเณรศกึ ษา เรยี กวา นกั ธรรม และสาํ หรบั คฤหสั ถศ กึ ษา เรยี กวา ธรรมศกึ ษา แบงเนอื้ หาเปนสองสว น คือ สว นปรมตั ถปฏปิ ทา กบั สว นสังสารวฏั สว นปรมตั ถปฏปิ ทา วา ดว ยขอ ปฏบิ ตั มิ ปี ระโยชนอ ยา งยง่ิ หมายถงึ ขอ ปฏบิ ตั ิ ใหถึงประโยชนสูงสดุ ในพระพุทธศาสนา คือการบรรลพุ ระนิพพาน แบง เปน ๖ หวั ขอ ดงั น้ี 26

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 27 ๑. นพิ พิทา ความหนาย วาดวยขอปฏิบัติเพื่อใหเกิดความเบ่ือหนาย ในสงั ขารตามหลักไตรลกั ษณ ๒. วิราคะ ความสนิ้ กาํ หนัด วา ดวยไวพจนค อื คาํ ใชแทนวริ าคะ ๓. วิมตุ ติ ความหลดุ พน วาดวยลกั ษณะของความหลุดพน ๔. วิสุทธิ ความหมดจด วาดว ยหลกั ความหมดจด ตามหลักพระพทุ ธ ศาสนา ๕. สันติ ความสงบ วา ดว ยทางแหง สันติ ๖. นิพพาน ความดบั ทุกข วา ดว ยจุดหมายสูงสุดในพระพทุ ธศาสนา สวนสังสารวัฏ วาดวยการเวียนตายเกิด หมายถึง การเวียนวายตายเกิด อยูในภพกาํ เนดิ ตางๆ โดยแสดงเปน บุคลาธิษฐานดว ยหัวขอเดียว คือ คติ ภพภูมทิ ไ่ี ป เกิดของเหลาสตั วท้งั ฝายทคุ ติและฝา ยสคุ ติ พระองคทรงวางโครงในการวิจารณธรรมแตละหัวขอ ยกพระบาลีจาก พระสูตรตางๆ มาต้ังเปนกระทูธรรม ซ่ึงเรียกวา อุทเทส แปลวา การยกข้ึนแสดง แลวทรงตีความหมาย ตั้งเกณฑอธิบาย ขยายความใหแจมแจงชัดเจน ซ่ึงเรียกวา นิทเทส แปลวา การอธบิ ายขยายความ โดยทรงใชค ําวา พรรณนาความ เมือ่ พรรณนา ความสอดคลองรับลงสมกันกับขอความในพระบาลีไตรปฎกหรือคัมภีรอรรถกถาใดๆ กท็ รงยกมารบั รองพรอ มทง้ั บอกทม่ี าแหง ขอ ความพระบาลไี ตรปฎ กหรอื อรรถกถานน้ั ๆ กํากับไวดวย และทรงสรุปความเพื่อเนนสาระสําคัญจากหัวขอธรรมนั้นๆ ซึ่งเรียกวา ปฏินทิ เทส แปลวา การสรุปความ วิชาธรรม สําหรับธรรมศึกษาช้ันเอกน้ี นอกจากกําหนดใหศึกษาหลักธรรม ตามหนังสือธรรมวิจารณท้ังสวนปรมัตถปฏิปทาและสวนสังสารวัฏ อันเปนแบบเรียน สําคัญแลว ยังกําหนดใหศึกษากรรม ๑๒ หัวใจสมถกัมมัฏฐาน สมถกัมมัฏฐาน พทุ ธคุณกถา และ วปิ สสนากมั มฏั ฐาน อกี ดวย คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 27

28 ¤Ù‹ÁÍ× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒªÑé¹àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ¸ÃÃÁÇ¨Ô Òó ÊÇ‹ ¹»ÃÁÑ춻¯Ô»·Ò ๑. นพิ พทิ า ความหนาย อุทเทส ๑. เอถ ปสฺสถมิ ํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ ยตถฺ พาลา วิสที นตฺ ิ นตฺถิ สงโฺ ค วิชานต.ํ สูท้งั หลายจงมาดูโลกน้เี ถิด อันตระการดจุ ราชรถ ท่ีพวกคนเขลาท้ังหลายหมกอยู แตพวกผูร ูหาของอยไู ม โลกวรรค : ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒. เย จิตฺตํ สฺเมสสฺ นฺติ โมกขฺ นตฺ ิ พารพนฺธนา. ผูใดจกั ระวังจิต ผนู น้ั จักพนจากบวงแหงมาร จติ ตวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท อธิบายความ นพิ พทิ า ความหนา ย หมายถงึ ความเบอ่ื หนา ยทเี่ กดิ จากการใชป ญ ญาพจิ ารณา เหน็ ความจรงิ ไดแ ก ความเบอ่ื หนา ยในกองทกุ ข ความเบอื่ หนา ยในขนั ธท งั้ ๕ ซงึ่ เกดิ จาก ปญ ญาทพี่ จิ ารณาเหน็ วา สงั ขาร ทงั้ ปวงไมเ ทยี่ ง สงั ขารทงั้ ปวงเปน ทกุ ข ธรรมทงั้ ปวงเปน อนตั ตา เม่อื พจิ ารณาไดด งั นี้ ยอมเกดิ ความเบื่อหนา ยในทุกขขันธ (กองทกุ ข) ไมมัวเมา เพลดิ เพลนิ ยดึ มน่ั ในสงั ขารอนั ยวั่ ยวนชวนเสนห า เปน ความเบอื่ หนา ยทเี่ กดิ จากปญ ญา พิจารณาเขาใจสภาพความเปนจริงของสังขาร ไมใชความเบื่อหนายเพราะแรงผลักดัน แหงกามตัณหา เชน กรณีที่หญิงกับชายรักกันจนถึงขั้นอยูกินเปนสามีภรรยากันแลว เบ่ือหนายจนเลิกรางกันไป เชนน้ีไมจัดเปนนิพพิทา คําวา โลก ในทนี่ ี้จาํ แนกความหมายเปน ๒ อยา ง คอื ๑. โลกโดยตรง ไดแ ก แผน ดินเปน ท่ีอาศยั ๒. โลกโดยออม ไดแ ก หมสู ตั วผ อู าศยั 28

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 29 โลกท้งั โดยตรงและโดยออ มน้ี มีลกั ษณะ ๓ อยา ง คอื ๑. สงิ่ อนั ใหโทษโดยสวนเดียว เปรยี บดว ยยาพิษ ๒. สิง่ อันใหโ ทษในเม่ือเกนิ พอดี เปรยี บดว ยของมึนเมา ๓. สงิ่ อนั เปน อปุ การะเปรยี บดว ยอาหารและเภสชั (ยารกั ษาโรค) ทใ่ี หค วามสบาย คําวา ผูหมกอยูในโลก หมายถึง คนเขลาไรปญญาพิจารณาจึงไมสามารถ หยั่งรูเห็นโลกไดโ ดยถอ งแท ตามความเปนจริงได อาการทีห่ มกอยใู นโลก มี ๓ อยาง คือ ๑. เพลดิ เพลินในส่ิงท่ีเปนโทษ ๒. ระเรงิ หลงเกนิ พอดีในสิ่งอนั อาจใหโทษ ๓. ติดอยใู นสงิ่ ทเี่ ปนอปุ การะลอใจ เมื่อเปนเชนนี้ ยอมไดรับสุขบาง ทุกขบาง คละเคลากันไปตามแตส่ิงนั้นๆ จะอาํ นวยให แมสุขทไ่ี ดรับนน้ั กเ็ ปน อามสิ สขุ สขุ องิ อามสิ คือสขุ ทค่ี ลา ยเหย่อื ลอ ให ลุมหลงติดของไมใชความสุขท่ีแทจริง ซึ่งมีอาการดุจเหยื่อที่เบ็ดเกี่ยวไว อาจถูกชักจูง ไปไดต ามปรารถนา ผไู มข อ งอยูในโลก หมายถงึ ทา นผรู ู มีปญญาฉลาด สามารถพจิ ารณาเห็น ความเปน จรงิ ของสง่ิ สมมตเิ ปน โลกนนั้ ๆ วา จะตอ งเปลย่ี นแปลงไปตามเหตปุ จ จยั อยา ง แนน อนแลว ไมต ดิ ขอ งพวั พนั ในสงิ่ อนั เปน อปุ การะลอ ใจ โดยทไ่ี มม ผี ใู ดหรอื สง่ิ ใดยว่ั ให ตดิ อยูได ยอมเปนอิสระดว ยตนเอง เมือ่ เปนเชน นี้ ยอ มไดร ับ นริ ามสิ สขุ สขุ ปราศจาก อามิส คือความสขุ ทห่ี าเหย่ือลอ มไิ ด อนั เปน ความสุขท่ีแทจ รงิ พุทธประสงคในการตรัสใหดโู ลก พระพุทธองคตรัสชักชวนเหลาพุทธบริษัทมาดูโลกอันวิจิตรตระการตา เปรียบดวยราชรถคร้ังโบราณที่ประดับดวยเคร่ืองอลังการอยางงดงาม มิใชเพ่ือให หลงเพลิดเพลนิ ดุจดหู นงั ดลู ะครท่ีมุง ความบันเทงิ แตอ ยา งใดไม แตท รงประสงคให ใชป ญญาพจิ ารณาเหน็ คณุ โทษ ประโยชน และมิใชป ระโยชนของสิง่ นัน้ ๆ ทรี่ วมกัน เขาเปนโลก คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 29

30 ¤ÙÁ‹ Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒª¹éÑ àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก อาการสาํ รวมจติ ผูสํารวมจิต ไมปลอยจิตใหเพลิดเพลินระเริงหลงในโลกอันมีส่ิงลอใจตางๆ ช่ือวา พน จากบว งแหง มาร ดว ยอาการสาํ รวมจติ ๓ อยาง คอื ๑. สาํ รวมอินทรยี  (อนิ ทรยี สังวร) หมายถงึ ความสาํ รวมระวังตา หู จมกู ล้นิ กาย ใจ มใิ หอ าํ นาจความกาํ หนดั ยนิ ดคี รอบงาํ ไดใ นเมอ่ื ตาไดเ หน็ รปู หไู ดฟ ง เสยี ง จมกู ได ดมกลน่ิ ลน้ิ ไดล ม้ิ รส กายถกู ตอ งโผฏฐพั พะ (สมั ผสั ทางกาย) อนั นา ปรารถนา ชกั ใหใ คร พาใจใหกําหนัด ๒. มนสิการกัมมัฏฐาน (สมถกัมมัฏฐาน) หมายถึง ความใฝใจในอุบาย ฝก อบรมจติ เพ่ือลดละบรรเทากามฉนั ทะ ความพอใจรักใครใ นกาม ไดแก ความใฝใจ ในอสภุ กกมั มฏั ฐาน คอื กมั มฏั ฐานทพ่ี จิ ารณาดคู วามไมง ามของรา งกายตอนเปน ซากศพ แปรสภาพเปอยเนาไปตามลําดับ ความใฝใจในกายคตาสติกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐาน ที่ใชสติกําหนดพิจารณากายใหเห็นเปนของไมงามเปนอารมณ หรือ ความใฝใจใน มรณสั สตกิ ัมมฏั ฐาน คอื กัมมฏั ฐานท่รี ะลึกพจิ ารณาถงึ ความตายเนือง ๆ เปน อารมณ ๓. เจรญิ วปิ ส สนา (วิปสสนากัมมัฏฐาน) หมายถงึ ความหมั่นฝก จิตใหเกดิ ปญญาพิจารณาสังขารโดยแยกออกเปนขันธ ๕ หรือนามรูปใหเห็นไตรลักษณคือเปน สภาพไมเที่ยง เปนทุกข เปน อนัตตา ทัง้ ๓ อยา งนีเ้ ปนอาการสาํ รวจจติ เพ่ือใหห ลดุ พน จากบวงแหงมาร คอื ไมต ก ไปตามกระแสกิเลส จติ จะหลุดพนจากบว งแหงมาร ตอ งดาํ เนินการควบคุมตามอาการ ครบทั้ง ๓ อยางน้ี โดยเฉพาะการเจรญิ วปิ ส สนา นบั วาสําคญั ทสี่ ดุ เพราะบว งแหง มาร นั้นมีฤทธานุภาพสามารถคลองสรรพสัตวไดอยางแนนหนา เหนือกําลังจะตานทาน เหลอื วสิ ยั ทจ่ี ะปลดเปลอื้ งใหห ลดุ พน ไดโ ดยงา ย ดงั นน้ั ตอ งใชก ารเจรญิ วปิ ส สนาเทา นน้ั จงึ จะสามารถเอาชนะมารและบว งแหง มารไดเ ดด็ ขาด ดังจะกลาวตอ ไป มารและบวงแหง มาร มาร แปลวา ผูฆ า ผทู ําลาย ในที่นหี้ มายถึง โทษลา งผลาญคุณความดแี ละ ทาํ ใหเ สยี คน โดยเปน สง่ิ ทฆี่ า บคุ คลใหต ายจากคณุ ความดี และจดั เปน ตวั การทกี่ าํ จดั หรอื ขดั ขวางจิตคนเราไมใ หบ รรลุคณุ ธรรม ความดี ไดแ ก กเิ ลสกาม กิเลสเปนเหตใุ คร คอื 30

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 31 กเิ ลสทมี่ อี ยูภายในจติ ใจของคนเรา โดยคอยรมุ เราจิต ใหค ิดโลภ โกรธ หลง มชี ่อื เรียก ตา งๆ เชน ตณั หา ความทะยานอยาก ราคะ ความกาํ หนดั อรติ ความขง้ึ เคยี ด อิสสา ความริษยา หรือหึงหวง เปนตน กิเลสเหลานี้เม่ือมีในจิตสันดานของบุคคลใด ยอม ทําใหจ ติ ของบคุ คลน้ันมคี วามยินดี รกั ใคร ปรารถนา ไขวควาเพื่อใหไ ดม าซ่ึงสิ่งตา งๆ และเศราหมองเปนไปตามอํานาจ ของกิเลสนั้น ๆ เพราะฉะนั้น ทานจึงเรียกวา กเิ ลสเปน เหตใุ คร บวงแหงมาร หมายถึง อารมณเคร่ืองผูกจิตใจใหติดแหงมาร เหมือนเน้ือ เหย่ือลอท่ีถูกเบ็ดเกี่ยวไว ไดแก วัตถุกาม วัตถุอันนาใคร คือสิ่งอันเปนที่ตั้งแหง ความใคร ซ่ึงเรียกวา กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัส) อนั เปนอิฏฐารมณ (อารมณท ่ีนา ปรารถนา) บวงแหงมารน้ีไมอ าจคลองบคุ คล ผูไมตดิ ขอ งอยใู นโลกดงั กลา วได สรุปความ โลก คือ แผนดินเปนท่ีอาศัยและหมูสัตวผูอาศัย เปนศูนยรวมไวทั้งส่ิง ทม่ี โี ทษ สงิ่ ทอ่ี าจใหโ ทษในเมอื่ ลมุ หลงเกนิ พอดี และสงิ่ ทเ่ี ปน อปุ การะลอ ใจ พวกคนเขลา ไรปญญาไมสามารถพิจารณาเห็นโลกไดตามสภาพเปนจริง ยอมเพลิดเพลินในสิ่งท่ี เปนโทษ ระเริงหลงเกินพอดีในส่ิงอันอาจใหโทษ และติดอยูในส่ิงที่เปนอุปการะลอใจ ชอ่ื วา หมกอยใู นโลก จงึ ไมไ ดร บั ความสขุ ทแ่ี ทจ รงิ ตรงกนั ขา มกบั ทา นผรู คู อื บณั ฑติ ผไู ม ขอ งอยใู นโลก ยอ มพจิ ารณาเหน็ ความเปน จรงิ ในสง่ิ สมมตวิ า โลกนนั้ มคี วามเปลย่ี นแปลง ไปตามเหตปุ จ จยั แลว ไมพ วั พนั ในสงิ่ อนั เปน อปุ การะลอ ใจ ยอ มไดร บั ความสขุ ทแ่ี ทจ รงิ พระพุทธองคตรัสชักชวนพุทธบริษัทมาดูโลกอันตระการตาดุจราชรถนี้ มิใชให เพลิดเพลินเหมือนดูละครท่ีมุงการบันเทิง แตทรงมีพระประสงคใหพิจารณาหยั่งซึ้ง ถึงสภาพความเปนจริงของสรรพส่ิงในโลกเพื่อสามารถควบคุมจิตใหพนจากมาร คือ กเิ ลสกาม และจากบวงแหง มาร คอื วัตถกุ าม ซงึ่ เรียกวา กามคณุ ๕ โดยทรงแนะนาํ วธิ ี การสาํ รวมจิต ๓ วธิ ี คือ (๑) การควบคมุ อนิ ทรยี  ๖ มิใหยนิ ดีในอารมณทนี่ าปรารถนา (๒) การเจรญิ สมถกมั มฏั ฐาน คือการพจิ ารณาดคู วามไมงามของรางกายเปน ตน และ (๓) การเจรญิ วปิ ส สนากมั มฏั ฐาน คอื การฝก จติ ใหเ กดิ ปญ ญา พจิ ารณาโลกคอื เบญจขนั ธ โดยความเปนไตรลักษณ ซ่ึงนับเปน วิธีที่ดที ี่สุด ฉะนแ้ี ล คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 31

32 ¤‹ÙÁÍ× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªéѹàÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ปฏิปทาแหง นพิ พิทา อุทเทส สพฺเพ สงฺขารา อนจิ ฺจาติ ...... ...... ....... สพฺเพ สงขฺ ารา ทุกขฺ าติ ...... ...... ....... สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปฺ าย ปสสฺ ติ อถ นิพฺพนิ ฺทติ ทกุ เฺ ข เอส มคฺโค วิสทุ ฺธิยา. เมอ่ื ใด เห็นดวยปญญาวา สังขารทัง้ หลายทง้ั ปวงไมเ ทย่ี ง ... สงั ขารท้ังหลายท้ังปวงเปน ทุกข ... ธรรมทงั้ หลายทง้ั ปวงเปน อนตั ตา เมอ่ื นั้น ยอมหนายในทุกข น่นั ทางแหง วสิ ุทธ.์ิ มัคควรรค : ขุททกนกิ าย ธรรมบท อธบิ ายความ คําวา ปฏปิ ทาแหง นิพพิทา หมายถงึ ขอปฏิบัติใหเกิดความเบื่อหนายคลาย ความยึดตดิ ในโลก โดยใชป ญ ญาพจิ ารณาเห็นสามัญลักษณะหรือไตรลักษณในสงั ขาร เม่ือพิจารณาเห็นเชนน้ี ยอมเบ่ือหนายในทุกข และเปนเหตุใหเขาถึงวิสุทธิ คือภาวะท่ี จติ บรสิ ทุ ธห์ิ มดจดจากกเิ ลส ความหมายของสังขาร สังขาร แปลวา สภาพปรงุ แตง หรอื สิ่งทป่ี จ จัยปรงุ แตง มี ๒ ประเภท คอื ๑) อปุ าทินนกสังขาร สงั ขารทีม่ จี ิตใจครอง เชน มนษุ ยแ ละสัตว เปนตน ๒) อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไมมีจิตใจครอง เชน แผนดิน ภูเขา โตะ เกาอ้ี เปน ตน ในอทุ เทสแสดงไวว า สงั ขารทงั้ หลายทง้ั ปวงไมเ ทย่ี ง เปน ทกุ ข ไดแ ก ขนั ธ ๕ คอื ๑) รูป คือ รางกายอันประกอบดวยธาตุ ๔ คือ ดนิ น้ํา ไฟ ลม ๒) เวทนา คือ ความรูสึกเปน สุข เปน ทกุ ข หรอื ไมส ขุ ไมท ุกข ๓) สัญญา คอื ความจาํ ไดหมายรู ๔) สังขาร คือ อารมณท ่เี กดิ กบั จติ หรือเจตนาความคิดอานตา งๆ ๕) วญิ ญาณ คือ ความรแู จงอารมณท างทวาร ๖ คือ ตา หู จมกู ลิ้น กาย ใจ 32

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 33 สามญั ญลกั ษณะของสงั ขาร สังขารทง้ั ปวง มลี กั ษณะเสมอกัน ๓ ประการ เรยี กวา ไตรลักษณ คือ ๑) อนจิ จตา ความไมเ ทย่ี ง ๒) ทุกขตา ความเปน ทุกข ๓) อนตั ตตา ความเปน อนัตตา ๑. อนจิ จตา ความไมเ ที่ยงแหง สงั ขาร กาํ หนดรูไดใน ๓ ทาง คือ ๑) ในทางที่เห็นไดงาย สังขารน้ันมีความเกิดขึ้นในเบ้ืองตนและ ความสิน้ ไปในเบ้อื งปลาย เปน ธรรมดา ดงั พระบาลใี นทฆี นิกาย มหาวรรค วา อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมมฺ โิ น อุปปฺ ชชฺ ิตวฺ า นริ ุชฺฌนตฺ ิ เตสํ วปู สโม สโุ ข. สงั ขารทง้ั หลายไมเ ท่ียงหนอ มคี วามเกิดข้นึ และเสอ่ื มไปเปนธรรมดา (ไมเลือกวาเปนสังขารชนิดไร ประณีตก็ตาม ทรามก็ตาม) เกิดข้ึนแลว ยอมดับไป. สงั ขารทงั้ หลาย จงึ เกดิ ดบั อยตู ลอดเวลา เกดิ ขนึ้ ในกาลใดกด็ บั ในกาลนนั้ ระยะกาลระหวางเกิดและดบั แหงสังขารมนษุ ยน้ัน ทา นกาํ หนดวา ๑๐๐ ป หรอื เกินกวา ๑๐๐ ป ไปบางก็มี แตมจี ํานวนนอ ย ๒) ในทางที่ละเอียดกวาน้ัน สังขารทั้งปวงนั้นมีความแปรเปลี่ยนไป ในระหวางการเกิดและดบั ดงั พระบาลใี นสังยุตตนิกาย สคาถวรรค วา อจเฺ จนตฺ ิ กาลา ตรยนตฺ ิ รตฺติโย วโยคุณา อนุปพุ ฺพํ ชหนฺต.ิ กาลยอมลวงไป ราตรียอมผานไป ชัน้ แหงวยั ยอมละไปตามลาํ ดับ ระยะกาลระหวางการเกิดและการดับแหงสังขารของคนเรานั้น ทานกําหนด เปน ๓ วัย คอื (๑) ปฐมวยั วัยตน อยูในระยะเวลาไมเ กนิ ๒๕ ป (๒) มชั ฌิมวัย วัยกลาง ตัง้ แต ๒๕ ปขึน้ ไปจนถงึ ๕๐ ป (๓) ปจ ฉิมวยั วัยทาย ตงั้ แต ๕๐ ปข นึ้ ไปจนถึงสิ้นอายุ คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 33

34 ¤Á‹Ù ×͸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒª¹Ñé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ในคัมภรี วิสุทธิมรรค ทา นกําหนดวยั โดยใชอ ายุ ๑๐๐ ปเ ปนเกณฑไว ดังน้ี (๑) ปฐมวัย วยั แรก กําหนดอายุ ๑-๓๓ ป (๒) มชั ฌมิ วัย วยั กลาง กาํ หนดอายุตง้ั แต ๓๔-๖๗ ป (๓) ปจ ฉมิ วัย วัยทาย กําหนดอายุตั้งแต ๖๘-๑๐๐ ป ความแปรเปล่ยี นในระหวา งแหง สงั ขารผานวัยท้ัง ๓ ดังกลาวน้ี ทานเปรยี บ ไวก ับการเดนิ ทางขา มสะพานที่สูงขึน้ ๆ แลว ราบ แลวตาํ่ ลงๆ ซ่งึ การท่ีคนเราจะผานไป ไดตลอดใหครบทั้ง ๓ วัยนั้นเปนเรื่องยาก เหตุท่ีเปนเชนนั้น เพราะอายุของคนเรา แตล ะคนนั้นมวี ิบากกรรมไมเทากนั ๓) ในทางท่ีละเอียดท่ีสุด สังขารทั้งปวงน้ันมีความแปรเปล่ียนไปช่ัวขณะ หนึ่งๆ คือไมคงที่อยูนาน เพียงระยะกาลนิดเดียวก็แปรปรวนเปล่ียนแปลงไปแลว ดังทีท่ านกลาวในคมั ภีรว ิสทุ ธมิ รรค วา ชวี ติ ํ อตตฺ ภาโว จ สขุ ทุกขฺ า จ เกวลา เอกจิตตฺ สมา ยุตตฺ า ลหุโส วตฺตเต ขโณ. ชีวิต อัตภาพ และสุขทุกข ท้ังมวล ลวนประกอบกันเปนธรรมเสมอดวย จติ ดวงเดยี วขณะยอมเปนไปพลัน. อนจิ จลักขณะ ประการที่ ๓ น้ี ตองใชป ญญาพิจารณาจงึ จะกําหนดเหน็ ชดั ใน นามกาย เชน จิตบางขณะกข็ ุนมัว บางขณะกเ็ บกิ บาน หรือบางขณะรับอารมณนีแ้ ลว ก็ พลันเปล่ียนไปรับอารมณอ ื่น เปนตน แมในรปู กายก็เหมือนกัน เชน เซลลผ ิวหนงั เกา หลดุ รว งไปเซลลใ หมเ กดิ ขน้ึ แทนที่ เปน ตน คนเราไมร คู วามแปรเปลย่ี นแหง สงั ขารเชน น้ี เพราะมีภาวะสืบตอที่เรียกวา สันตติ (ความสืบตอ หรือความตอเนื่องกัน) ซึ่งเปนไป อยางตอเน่ืองรวดเร็วจนไมสามารถกําหนดได เม่ือจิตดวงแรกดับไป จิตดวงใหมก็ เกิดสืบตอมา เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยูอ ยางนี้ สภาวะที่เรียกวา สันตติ นจี้ ะคอยบดบงั มิ ใหคนเรารับรูอนิจจ-ลักษณะในขั้นที่ละเอียด เมื่อสันตติขาดลง ความดับส้ินแหงชีวิต นทรียห รอื ความตายยอ มปรากฏ ความเกิดแลวดับและความแปรเปลี่ยนในระหวางแหงสังขารดังกลาวมาน้ี ทา นสรปุ เขา ในบาลีทวี่ า “อปุ ฺปชชฺ ติ เจว เวติ จ อฺถา จ ภวติ. : ยอ มเกดิ ข้ึนดวยเทยี ว ยอมเส่ือมสิ้นดวย ยอมเปนอยางอื่นดวย” นี้เปนอนิจจลักษณะ คือเคร่ืองกําหนดวา ไมเ ทย่ี งแหง สังขาร 34

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 35 ความไมเที่ยงแหงสังขารที่กําหนดรูไดใน ๓ ทางดังกลาวมานี้ ยอมปรากฏ ท้ังใน อุปาทินนกสังขาร สังขารท่ีมีใจครอง และ อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไมมี จติ ใจครอง ๒. ทกุ ขฺ ตา ความเปน ทกุ ขแ หง สงั ขาร กาํ หนดเหน็ ไดด ว ยทกุ ข ๑๐ อยา ง คอื ๑) สภาวทุกข ทกุ ขตามสภาพ ไดแก ทกุ ขประจําสงั ขาร คอื ชาติ ความเกดิ ชรา ความแก มรณะ ความตาย อนั เปน คตธิ รรมดาประจาํ สงั ขาร ขณะทคี่ ลอดจากครรภ มารดา ทารกยอมไดรบั ความลําบาก ความเจบ็ ปวดจากอนั ตรายตา งๆ จดั เปนชาติทกุ ข ทกุ ขเ พราะการเกดิ , ความทรดุ โทรมเสอ่ื มลงแหง สงั ขารทาํ ความเปน ไปแหง ชวี ติ ใหล าํ บาก จดั เปน ชราทุกข ทกุ ขเพราะความแก, ความสิ้นชวี ติ ไดรับทกุ ขเวทนาแรงกลา เปนภยั ท่ี นากลัว จดั เปนมรณทุกข ทุกขเพราะความตาย ๒) ปกิณณกทุกข ทุกขเบ็ดเตล็ด ไดแก ทุกขท่ีจรมาในชีวิต คือ โสกะ ความเศรา โศก ปริเทวะ ความร่าํ ไรรําพัน ทุกขะ ความทกุ ขก าย โทมนัส ความทุกขใจ อุปายาสะ ความคับแคนใจ รวมถึง อัปป-เยหิสัมปโยคทุกข ทุกขท่ีเกิดจากประสพ พบสัตว บุคคล ส่ิงที่ไมรักไมชอบใจ และ ปเยหิวิปปโยคทุกข ทุกขท่ีเกิดจาก ความพลดั พรากจากสัตว บคุ คล สิง่ ของท่ีรกั ท่ีชอบ ๓) นพิ ทั ธทกุ ข ทุกขเ นืองนิตย หรือทุกขประจาํ ไดแก ทกุ ขทเ่ี ปน เจา เรือน เชน ทกุ ขเพราะความหนาว รอน หวิ กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปสสาวะ ทุกขใ นขอนี้ คนเรามักจะไมคํานึงถึงนกั ถือเปนเรื่องธรรมดาท่ีจะสามารถระงับบรรเทาไดงาย ๔) พยาธทิ กุ ข ทกุ ขเ จบ็ ปวด ทกุ ขเ พราะความเจบ็ ไขไ ดป ว ย ไดแ ก ทกุ ขเวทนา ตาง ๆ ท่ีสรางความเจ็บปวดทรมานใหแกคนเรา ที่มีสมุฏฐานเกิดจากโรคภัยไขเจ็บ เขามารุมเรารางกายอันเปนดุจรังแหงโรค เชน ปวดศีรษะ ปวดทอง ปวดฟน หรือ ปวดเมื่อยทัว่ รางกาย เปน ตน ทุกขประการที่ ๓ และท่ี ๔ นี้ พระพุทธองคทรงแสดงไวในคิรมิ านนทสตู ร ตอนอาทนี วสัญญา โดยความเปนโทษแหงรา งกาย ๕) สันตาปทุกข ทุกขคือความรอนรุม หรือทุกขรอน ไดแก ความกระวน กระวายใจเพราะถกู ไฟกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ หรอื รัก โลภ โกรธ หลง แผดเผา ดจุ ความแสบรอ นทเ่ี กดิ จากไปลวก ทกุ ขป ระการนต้ี รงกบั ทต่ี รสั ไวใ นอาทติ ตปรยิ ายสตู ร คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 35

36 ¤‹ÙÁ×͸ÃÃÁÈ¡Ö ÉҪѹé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ๖) วปิ ากทกุ ข ทุกขท เี่ ปน ผลของกรรมชัว่ ไดแ ก การเกิดความเดอื ดรอนใจ การถูกลงอาญา ไดรับความทุกขเดือดรอนทางกายและใจตางๆ การตกทุกขไดยาก หรือการตายไปเกิดในอบายภมู ิ ทกุ ขประการน้ปี รากฏในพระบาลไี ตรปฎกหลายแหง ๗) สหคตทกุ ข ทกุ ขไปดวยกัน คอื ทุกขกาํ กับกัน ไดแ ก ทกุ ขท ่ีมาพรอมกับ โลกธรรมฝา ยอฏิ ฐารมณ (สงิ่ ทน่ี า ปรารถนานา ชอบใจ) คือ มลี าภ มยี ศ ไดร บั สรรเสริญ มีความสุข ซึ่งลวนเจือปานดวยทุกขที่จรมาเสมอ เชน เมื่อมีทรัพยสมบัติแลว ก็ตอง คอยเฝารักษาไมใหสูญหาย บางคร้ังถึงกับกินไมไดนอนไมหลับ บางคนตองเสียชีวิต ในการปองกันรักษาทรัพยก็มี เม่ือไดรับยศถาบรรดาศักดิ์แลว ตองทําตัวใหดีกวาคน ทว่ั ไป มีภารกิจรบั ผิดชอบมาก เปนที่หวงั พ่ึงพาของบรวิ าร ตองพลอยรว มทกุ ขรวมสุข ไปกบั คนอ่ืน ดงั นั้น จึงตอ งขวนขวายหาทรพั ยไ วใ หม ากเพ่ือเปนกาํ ลงั จบั จา ยใหสะดวก ทําใหเกิดทุกขตามมา เม่ือไดรับสรรเสริญ ก็ทําใหเพลิดเพลินหลงเคลิ้มไปวาตนเปน คนเกง คนดกี วา คนอนื่ หากปราศจากสตริ ทู ัน กจ็ ะหลงมวั เมาประมาท ทําใหเ กิดทุกข เมอื่ ไดร บั สขุ กป็ รารถนาอยากจะไดส ขุ ยงิ่ ๆ ขน้ึ ไป ไมร จู กั อม่ิ จงึ ไมไ ดร บั ความสขุ ทแี่ ทจ รงิ ดังนั้น โลกธรรมฝายอฏิ ฐารมณจึงมกั มีทุกขก าํ กบั ซอ นอยูดว ยเสมอ ๘) อาหารปริเยฏฐิทุกข ทุกขเพราะการแสวงหาอาหาร ไดแก อาชีวทุกข ทุกขในการหาเลี้ยงชีพ โดยเหตุที่สรรพสัตวดํารงชีพอยูไดเพราะอาหาร จึงตองดิ้นรน แสวงหาอาหารมาประทงั ชีวิต เมื่อประกอบอาชีพการงาน ก็ยอ มเกดิ การแขงขนั ชว งชิง ผลประโยชนจนถึงขน้ั ทํารา ยรา งกายลา งผลาญชวี ติ กนั จงึ อยไู มเปนสุข ดงั น้ัน คนเรา ไมว าจะประกอบอาชพี ใดๆ เพอื่ ใหไ ดอ าหารมาเลย้ี งชีวติ ยอ มเปนทุกขด วยกันทงั้ นั้น ๙) ววิ าทมูลทกุ ข ทุกขม ีวิวาทเปนมลู หรอื ทุกขเ พราะการทะเลาะกนั เปนเหตุ ไดแก ความไมปลอด โปรงใจ ความไมสบายใจ ความกลัวแพ หรือความหวาดหว่ัน อนั มีสาเหตมุ าจากการทะเลาะแกงแยง กนั การสคู ดีกนั การทาํ สงครามสรู บกนั เปน ตน ซึง่ ลว นแตเปนเหตใุ หเกดิ ทกุ ข กอเวรภยั แกกันอยา งไมรูจบ ๑๐) ทุกขขันธ ทุกขรวบยอด หรือศนู ยร วมความทุกข ไดแก อุปาทานขนั ธ ๕ ที่บุคคลเขาไปยึดมั่นถือมั่นวาเปนตัวเราของเรา จัดเปนตัวทุกข ซึ่งตรงกับพระบาลี ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่วา “สงฺขิตฺเตน ปฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา : โดยยอ อุปาทานขันธ ๕ เปนทุกข” และตรงกับพระบาลีแสดงหลักปฏิจจสมุปบาทท่ีวา 36

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 37 “เอวเมตสสฺ เกวลสสฺ ทกุ ขฺ กขฺ นธฺ สสฺ สมทุ โย โหติ : ความเกดิ ขน้ึ แหง กองทกุ ขท งั้ มวลนนั่ จงึ มดี ว ยประการดังกลาวมาน”ี้ การพิจารณาเห็นสังขารท้ังปวงวาเปนทุกขเต็มท่ี โดยใชญาณปญญากําหนด เหน็ ทกุ ขท ช่ี าวโลกเหน็ เปน สขุ มสี หคตทกุ ขเ ปน ตน ดงั กลา วมานอี้ ยา งละเอยี ดประจกั ษช ดั ตรงกับพระบาลใี นสงั ยุตตนิกาย สคาถวรรค วา ทุกขฺ เมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏ ติ เวติ จ นาฺ ตฺร ทกุ ขฺ า สมโฺ ภติ นาฺตรฺ ทุกฺขา นิรชุ ฌฺ ต.ิ ก็ ทุกขน ั่นแล ยอ มเกดิ ขึ้น ทกุ ขย อ มตัง้ อยู ยอ มเส่ือมไปดวย นอกจากทกุ ข หาอะไรเกิดมไิ ด นอกจากทกุ ข หาอะไรดบั มไิ ด. ทุกขลักขณะดังกลาวมาน้ี ยอมเกิดเฉพาะอุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีใจ ครองเทา นนั้ แตอ าจารยบ างทา นวนิ จิ ฉยั วา แมอ นปุ าทนิ นกสงั ขาร สงั ขารทไี่ มม ใี จครอง ทบี่ คุ คลเขา ไปยดึ ถอื มนั่ ดว ยอปุ าทาน กส็ ามารถมที กุ ขลกั ขณะนไี้ ดเ ชน กนั หรอื บางทา น เหน็ ความเฉาความซดี แหง ตน ไมใ บหญา วา เปน การเสวยทกุ ขข องมนั ทง้ั สองประเดน็ น้ี สมเด็จพระมหาสมณเจาฯ ทรงเห็นวาไมสมเหตุสมผล อุปาทินนกสังขารเทานั้นเปน ทุกขและทุกขเปนเจตสิกธรรม (ส่ิงที่เกิด-ดับพรอมกับจิต) การท่ีคนเราไมเห็นสังขาร คือเบญจขันธวาเปนทุกข ก็เพราะมีการผลัดเปล่ียนเคลื่อนไหวอิริยาบถอยูเสมอ ดังนนั้ อริ ยิ าบถ จึงช่ือวา ปดบังทกุ ขลักขณะไว ๓. อนัตตตา ความเปนอนตั ตาแหง สงั ขาร กาํ หนดรูไดด ว ยอาการ ๕ คือ ๑) ดวยไมอยูในอํานาจ หรือดวยฝนปรารถนา หมายความวา สังขารคือ เบญจขันธ สังขารน้ีไมเปนไปตามความปรารถนา ไมขึ้นตอการบังคับบัญชาของใครๆ ไมมีใครสามารถบังคับสังขารใหเปนไปตามท่ีใจตองการได เพราะสังขารไมใชอัตตา ดังขอความในอนัตตลักขณสูตรวา “ถาเบญจขันธจักเปนอัตตาแลวไซร เบญจขันธ ไมพึงเปนไปเพ่ืออาพาธ และจะพึงไดในเบญจขันธตามปรารถนาวา “ขอเชิญขันธของ เราเปนอยางนี้เถิด อยาไดเปนอยางน้ันเลย” แตเพราะเหตุที่เบญจขันธเปนอนัตตา จึงเปน ไปเพือ่ อาพาธ และไมไ ดเปน เบญจขนั ธต ามปรารถนาอยางน้ัน” ๒) ดวยแยงตออตั ตา หมายความวา โดยสภาวะของสงั ขารเองคานตออตั ตา คือตรงกนั ขามกบั ความเปน อัตตาอยางประจกั ษช ัด ดังขอความในอนตั ตลกั ขณสตู รวา คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 37

38 ¤‹ÁÙ Í× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªéѹàÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก “สงิ่ ใดไมเ ทยี่ ง เปน ทกุ ข มคี วามแปรปรวนเปน ธรรมดา ควรหรอื ไมท จี่ ะตามเหน็ สง่ิ นน้ั วา น่ันของเรา น่ันเปนเรา นั่นตัวของเรา” และท่ีตรัสไวในยทนิจจสูตร สังยุตตนิกาย ขนั ธวารวรรค วา “ยทนิจฺจํ, ตํ ทกุ ขฺ ํ . ยํ ทกุ ขฺ ํ ตทนตตฺ า : สิง่ ใดไมเท่ียง สิ่งนน้ั เปน ทกุ ข สง่ิ ใดเปน ทุกข สิ่งนัน้ เปนอนตั ตา” ๓) ดวยความเปนสภาพหาเจาของมิได หมายความวา สังขารนี้ไมเปน ของใครไดจริง ไมมีใครเปนเจาของครอบครองได ดังขอความในสูตรทั้งหลายมี อนตั ตลกั ขณสตู รเปน ตน วา “เนตํ มม, เนโสหมสมฺ ิ, น เมโส อตฺตา : นั่นมใิ ชข องเรา น่ันมิใชเรา น่นั มใิ ชตัวของเรา” ๔) ดวยความเปนสภาพสูญ คือวางหรือหายไป หมายความวา สังขารน้ี เปนเพียงการประชุมรวมกันเขาขององคประกอบท่ีเปนสวนยอยๆ โดยวางเปลาจาก ความเปนสัตว บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเปนตางๆ ดังที่พระพุทธดํารัส ตรัสแกปญหาของโมฆราชมาณพ ในปารายนวรรค ขุททกนิกาย สุตตนิบาต วา “โมฆราช เธอจงมีสติทกุ เม่ือ เลง็ เห็นโลกโดยความเปน สภาพสญู ถอนอัตตานทุ ิฏฐิ คอื ความคดิ เห็นเปนอตั ตาเสีย เชนน้ี เธอจะพงึ เปนผขู ามพันพญามจั จรุ าชได. ..” คนเราไมสามารถเห็นสังขารโดยความเปนสภาพวา ง กเ็ พราะมี ฆนสญั ญา ความสําคัญวาเปนกลุมกอน คือการกําหนดวา เปนเรา เปนเขา คอยปดบังไว ทําให เห็นแตองครวม เหมือนอยางการท่ีเราจะเรียกวารถได ก็เพราะมีช้ินสวนอะไหลตางๆ ประกอบกนั ฉนั ใดกฉ็ นั นนั้ เมอ่ื ขนั ธ ๕ คอื รปู เวทนา สญั ญา สงั ขาร วญิ ญาณ มารวมกนั ยอ มมีการสมมตบิ ญั ญัตเิ รียกวา เปนสตั ว เปน บคุ คลขน้ึ มา ดังท่ีวชริ าภกิ ษณุ กี ลา วไว ในสงั ยุตตนิกาย สคาถวรรค วา “ข้ึนช่อื วา สตั วยอ มหาไมไดในกองแหงสังขารลว นๆ น้ี เปรยี บใหเ หน็ วา เพราะคมุ สว นทงั้ หลายไวด ว ยกนั เสยี งเรยี กวา รถยอ มมี ฉนั ใด เมอื่ ขนั ธ ท้ังหลายยังมีอยู การสมมติวาสัตวก็ยอมมี ฉันนั้น” เมื่อกําหนดพิจารณาเห็นสังขาร โดยกระจายเปนสว นยอยตา งๆ ไดแลว กจ็ ะสามารถถอนฆนสญั ญาในสังขารน้นั ได สวนอนัตตลักขณะท่ีวา สังขารเปนสภาพหายไป น้ัน พึงกําหนดรูไดดวย ความเสื่อมสิ้นไปแหงสังขารน้ัน ๆ ทานเปรียบเหมือนกับการที่คนเรานอนหลับฝน แลวตื่นข้ึนมาก็ไมพบกับความฝนนั้นเสียแลว ดังขอความในชราสูตร ขุททกนิกาย สุตตนบิ าตวา “คนผูต ่ืนข้นึ แลว ยอมไมเห็นอารมณอ ันประจวบดว ยความฝน (สง่ิ ที่ฝน ) ฉนั ใด คนผมู ชี วี ติ อยู กย็ อมไมเ หน็ คนท่ีตนรักตายจากไป ฉนั นนั้ ” 38

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 39 ๕) ดวยความเปนสภาวธรรมเปนไปตามเหตุปจจัย หมายความวา สังขาร เปนภาวะท่ีข้ึนอยูกับเหตุปจจัย ไมมีอยูโดยลําพังแตเปนไปโดยอิงอาศัยกับสิ่งอ่ืนๆ ขอ นเ้ี ปนลกั ษณะรวบยอดแหงอาการทั้ง ๔ ท่กี ลาวมา ดงั ขอ ความในคัมภีรข ุททกนิกาย อุทาน วา “ในกาลใดแล ธรรมท้ังหลาย ยอมปรากฏแกพราหมณผูมีความเพียรเพง พจิ ารณาอยู ในกาลนน้ั ความสงสยั ทง้ั ปวงของพราหมณน น้ั ยอ มสน้ิ ไป เพราะมารธู รรม เปน ไปกับเหต.ุ .. และเพราะมารคู วามส้นิ ไปแหง ปจ จยั ” ความเปนอนตั ตาแหงสังขารนแ้ี มจะเกดิ มปี ระจําสาํ หรับชาวโลก แตเ ปนเร่อื ง ที่เขา ใจยาก เห็นไดย าก เพราะมี ฆนสัญญา คอื ความสาํ คญั เหน็ เปนกลมุ กอนปดบังไว ตองอาศัย ภาวนามยปญญา คือการฝกสติปญญาใหมีกําลังแรงกลาจึงจะสามารถ พจิ ารณาเหน็ ไดโ ดยประจกั ษ เพราะไตรลกั ษณข อ อนตั ตานี้ นอกจากพระพทุ ธศาสนาแลว ไมม สี อนในลัทธิศาสนาอื่น มติลัทธศิ าสนาอนื่ : ยอมรบั การมอี ัตตา ความเปนอนัตตาแหงสังขารและสภาวธรรมท้ังหลายน้ัน เมื่อพิจารณา ตามพยัญชนะคือตัวหนังสือดูเหมือนเปนมติท่ีขัดแยงคัดคานความเปนอัตตาของ ลัทธิพราหมณหรือศาสนาฮินดู และลัทธิท่ีเช่ือเก่ียวกับการเวียนวายตายเกิด ซ่ึงถือวา ในรปู กายน้ีมอี ตั ตาสิงอยู เปน ผูคดิ เปน ผูเ สวยเวทนา และสาํ เร็จอาการอยางอืน่ ๆ อกี เมื่อคราวมรณะคือความตาย อตั ตากจ็ ุติ (เคลื่อนหรือตาย) จากสรีระรางเดิมไปสงิ ใน สรีระรา งอ่นื ซ่ึงจะเปน สรีระรา งดีหรอื ไมดนี ั่นยอ มสดุ แลว แตกรรมท่ไี ดทาํ ไว สว นสรรี ะ รา งเดมิ ยอ มแตกสลายไป เปรยี บเหมอื นบา นเรอื นทอ่ี ยอู าศยั เมอื่ คนผอู ยอู าศยั ไมช อบใจ กย็ า ยไปอยูบา นเรือนหลังใหม สวนบานเรือนหลังเดิมก็ยอมผพุ ังสลายไปตามกาลเวลา ฉะน้นั อตั ตาดังกลา วมานใี้ นหนังสือ หนังสือมลิ นิ ทปญ หา เรียกวา ชโี ว ผูเปน หรือ เรยี กตามความนยิ มของคนไทยวา เจตภตู ผนู ึก มตทิ างพระพุทธศาสนา : ปฏิเสธอัตตา มติทางพระพุทธศาสนากลาวแยงวา ความจริง ไมมีอัตตาอยางน้ัน เปนแต สภาวธรรมเกิดข้ึนเพราะเหตุ ดับหรือสิ้นไปก็เพราะเหตุ ดังท่ีทานพระอัสสชิเถระ แสดงแกอุปติสสปริพาชก (พระสารีบตุ รเถระ) ในพระวนิ ัยปฎ ก มหาวรรค ปฐมภาค วา คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 39

40 ¤ÙÁ‹ Í× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªÑé¹àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก เย ธมมฺ า เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต (อาห) เตสฺจ โย นโิ รโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ. ธรรมเหลา ใดมเี หตเุ ปนแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตแุ หง ธรรมเหลานัน้ และตรสั ความดบั แหง ธรรมเหลานั้น พระมหาสมณะมีปกตติ รสั อยา งนี้. ในหลกั พระพทุ ธศาสนา มกี ารแสดงความเกดิ แหง สภาวธรรมทเ่ี นอื่ งสมั พนั ธ กันเปนสายๆ ดังที่แสดงความเกิดแหงวิถีจิตวา “อาศัยอายตนะภายในมีจักษุเปนตน อายตนะภายนอกมีรูปเปนตนประจวบกันเขา เกิดวิญญาณ มีจักขุวิญญาณเปนตน จากนัน้ จงึ เกิดผัสสะ เวทนา สัญญา สญั เจตนา ตัณหา วิตก วจิ าร โดยลาํ ดับ” หรอื ดงั ที่ตรัสไวในธัมมจักกัปปวตั ตนสตู รวา “ยงกฺ ิฺจิ สมุทยธมมฺ ํ สพพฺ นตฺ ํ นิโรธธมฺมํ : สิ่งใดมีความเกิดข้ึนเปนธรรมดา ส่ิงน้ันลวนมีความดับไปเปนธรรมดา” ความคิดอาน จนิ ตนาการตางๆ ความเสวยเวทนารสู ึกสขุ รสู ึกทกุ ขใดๆ และอาการทางจิตอยา งอื่นๆ เปน หนาท่ีของจติ และเจตสกิ ไมม อี ัตตาสิง่ ท่เี ปน ตวั ตนใดๆ มาทาํ หนาที่ดังกลาวนัน้ อนึ่ง หลักพระพุทธศาสนายอมรับวามี จุติจิต คือจิตที่ทําหนาท่ีเคล่ือน จากภพหน่ึงไปอีกภพหน่ึง หรือจิตขณะสุดทายกอนตาย ดังท่ีตรัสไวในมัชฌิมนิกาย มลู ปณณาสก วา “จิตฺเต สงกฺ ิลิฏเ  ทคุ ฺคติ ปาฏิกงฺขา : เม่อื จติ เศราหมองแลว ทุคติ เปน อันหวงั ได (ตายไปเกิดในทุคตภิ มู )ิ ” จิตเฺ ต อสงกฺ ลิ ิฏเ  สุคติ ปาฏกิ งขฺ า : เม่อื จิตไม เศราหมอง สุคตเิ ปนอนั หวังได (ตายไปเกิดในสคุ ติภมู )ิ คําวา จิต ในพระพทุ ธพจนน ี้ หมายถึง จติ ขณะสุดทายกอ นตาย หรอื จตุ ิจติ น่นั เอง นอกจากน้ี หลักพระพุทธศาสนายงั รับรอง ปฏสิ นธิจิต คอื จติ ที่ทําหนาท่เี กดิ หรือจิตดวงแรกขณะเกิด ดงั แสดงไวในปฏจิ จสมปุ บาทวา “วิฺาณปจจฺ ยา นามรูป : เพราะวญิ ญาณเปน ปจ จยั จงึ มนี ามรปู ” ทง้ั ยงั รบั รอง สงั สารวฏั คอื การเวยี นวา ยตายเกดิ ในภพภูมติ า งๆ แตไ มบ ัญญตั ิหรอื รับรองเร่อื งพระเจาท่บี นั ดาลชวี ติ เหมอื นลทั ธิศาสนา อนื่ ๆ โดยรบั รองหลกั การเกยี่ วกบั การเวยี นวา ยตายเกดิ หรอื ความดาํ รงอยแู ละเสอ่ื มสนิ้ แหง สภาวธรรมทง้ั หลายบนพนื้ ฐานแหง หลกั อทิ ปั ปจ จยตา คอื ความเปน เหตผุ ลของกนั และกันวา เพราะสงิ่ นีม้ ี จึงมสี งิ่ น้ี หรอื หลกั ปฏจิ จสมุปบาท คือความองิ อาศัยกนั เกดิ - ดับแหงสภาวธรรมท้ังหลายวา “เพราะอวิชชาเปนปจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร เปนปจจัย จึงมีวิญญาณ...ความเกิดข้ึนแหงกองทุกขท้ังมวล จึงมีดวยประการดังน้ี เพราะอวิชชาดับ สงั ขารจึงดับ...ความดบั แหงกองทุกขท ัง้ มวลน้ี จงึ มีดวยประการดงั นี้” 40

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 41 อธิบายพระบาลอี ุทเทสวา “ธรรมท้งั หลายทั้งปวงเปนอนตั ตา” อนิจจลักขณะและทุกขลักขณะ ยอมมีไดเฉพาะในสังขาร ดังนั้น พระบาลี อุทเทสจึงแสดง ๒ ลักษณะนั้นวา “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไมเที่ยง สังขารท้ังหลาย ท้ังปวงเปนทุกข” สวนอนัตตลักขณะ ยอมมีไดท้ังในสังขาร ท้ังในวิสังขาร คือธรรม อนั มใิ ชสงั ขาร (นิพพาน) ดงั นั้น พระบาลอี ุทเทสจึงแสดงลกั ษณะนี้วา “ธรรมท้งั หลาย ทั้งปวงเปนอนัตตา” เพ่ือประมวลสภาวธรรมเหลาน้ันมาแสดง เพราะบทวา “ธรรม” หมายเอาสงั ขารก็ได วสิ ังขารกไ็ ด การพิจารณาอนัตตลกั ขณะจาํ เปนตองมโี ยนิโสมนสิการ การพิจารณาเห็นสังขารเปนอนัตตาน้ัน จําเปนตองมี โยนิโสมนสิการ คือ การพจิ ารณาโดยอบุ ายอนั แยบคาย มฉิ ะนนั้ อาจทาํ ใหเ หน็ ผดิ วา ผลบญุ หรอื ผลบาปไมม ี มารดาบดิ าไมม บี ญุ คณุ จรงิ เปน แตเ รอ่ื งสมมตทิ ง้ั นนั้ เมอื่ เกดิ ความเหน็ ผดิ เชน น้ี กย็ อ ม ไมไ ดร บั ประโยชนใ ดๆ ในทางธรรม มแี ตจ ะไดร บั ทกุ ขแ ละโทษนานปั การ ดงั นนั้ จาํ ตอ ง มีโยนโิ สมนสกิ ารกํากบั เพื่อจะไดก ําหนดรู สัจจะ ๒ ประการ คอื ๑) สมมติสจั จะ จริงโดยสมมติ หมายถึง ความจริงทมี่ นุษยใ นโลกนีห้ มายรู รว มกัน หรอื ส่อื สารระหวางกนั เปนเพียงคาํ บัญญัตสิ มมติเรียกกนั ตางๆ เชน สมมติ เรยี กชายผูใ หก ําเนิดวา บดิ า หญงิ ใหก าํ เนดิ วา มารดา หรือสมมติเรียกวา ครูอาจารย สามีภรรยา ชา ง มา ววั ควาย รถ เรือน เปน ตน ๒) ปรมัตถสัจจะ จรงิ โดยปรมตั ถ หมายถงึ ความจริงโดยความหมายสงู สุด ความจริงท่มี อี ยูจรงิ โดยสภาวะ เชน ขันธ ธาตุ อายตนะ สสาร พลงั งานตางๆ หรอื กลาว ตามหลักพระอภิธรรม ไดแ ก จติ เจตสกิ รปู นิพพาน เมื่อโยนิโสมนสิการกําหนดรูสัจจะ ๒ ระดับน้ีแลว ก็จะไดไมไขวเขวนํามา คัดคานกัน เพราะการท่ีจะเขาถึงความจริงโดยปรมัตถได จําตองยอมรับความจริง โดยสมมตเิ สียกอน การกาํ หนดรูความจริง ขัน้ สมมตเิ ปน ความรขู นั้ พืน้ ฐาน สว นการใช ปญญากําหนดรูความจริงขั้นปรมัตถเปนความรูข้ันละเอียด ดุจการรูจักสวนประกอบ แตล ะช้นิ ของรถหรอื เรอื น ฉะน้ัน เมอ่ื กาํ หนดรคู วามจรงิ ถงึ ขน้ั ปรมตั ถ ยอ มเหน็ วา สงั ขารทง้ั หลายเปน ไปตา งๆ กนั ดบี า ง เลวบา ง เปน ไปตามกฎแหง กรรมทอี่ าํ นวยผลใหเ ปน เชน นนั้ เมอื่ กาํ หนดรไู ดอ ยา งนี้ คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 41

42 ¤ÁÙ‹ ×͸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒª¹Ñé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก กจ็ ะเขา ใจเรอ่ื งอนตั ตาไดป ระจกั ษแ จง สามารถละทฏิ ฐมิ านะ คอื ความเหน็ ผดิ และความ ถือตวั รวมทั้งกเิ ลสอนื่ ๆ อนั เนอื่ งมาจากการถอื เราถอื เขา ถอื พรรคถือพวก การกาํ หนด รอู นตั ตาโดยอาศยั โยนโิ สมนสกิ ารเชน น้ี จงึ จะสาํ เรจ็ ประโยชนไ ด ดงั นน้ั ทา นจงึ กลา ววา “อนตั ตลักขณะยอมปรากฏแกผูพจิ ารณาเห็นโดยแยบคาย หรือยอ มเหน็ ดวยปญญา” สรปุ ความวา อนิจจลักขณะ ยอมปรากฏไดทั้งใน อุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีใจครอง และอนุปาทินนกสังขาร สังขารท่ีไมมีใจครอง ทุกขลักขณะ ยอมปรากฏไดเฉพาะ อปุ าทนิ นกสงั ขารสงั ขารทมี่ ใี จครองอยา งเดยี วเพราะเปน เจตสกิ ธรรมสว นอนตั ตลกั ขณะ ยอมปรากฏไดท ง้ั ในสงั ขารทง้ั สอง และวิสังขาร คอื สภาวธรรมอันมิใชส ังขาร (นิพพาน) ผูพิจารณาเหน็ ดวยปญ ญาวา “สังขารท้ังปวงไมเที่ยง สงั ขารท้ังปวงเปนทกุ ข ธรรมท้ังปวงเปนอนัตตา” ยอมเบื่อหนายในทุกขขันธ ไมเพลิดเพลินหมกมุนในสังขาร สงิ่ ปรงุ แตง อนั ยวั่ ยวนชวนใหเ สนห า ทน่ี า รกั ใคร พาใจใหก าํ หนดั ยอ มเบอื่ หนา ยในสงั ขาร ทั้งหลายได ดังขอความในอนัตตลักขณสูตรวา “อริยสาวกผูสดับแลว เห็นอยูอยางน้ี ยอมหนายแมในรูป ยอมหนายแมในเวทนา ยอมหนายแมในสัญญา ยอมหนายแม ในสังขารท้งั หลาย ยอมหนายแมในวิญญาณ” ความเบือ่ หนา ยเชนน้ี เรยี กวา นิพพทิ า ที่เกิดขึ้นดวยปญญาจัดเปน นิพพิทาญาณ เปนปฏิปทาใหถึงวิสุทธิคือความบริสุทธ์ิ หมดจดจากกเิ ลสได 42

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 43 ๓. วริ าคะ ความสน้ิ กําหนัด อุทเทส ๑. นิพฺพนิ ทฺ ํ วริ ชชฺ ต.ิ เมอ่ื เบ่ือหนาย ยอ มสนิ้ กําหนัด อนัตตลักขณสูตร ในวนิ ัยปฎ ก มหาวรรค ๒. วริ าโค เสฏโ  ธมมฺ านํ วริ าคะ เปน ประเสริฐ แหง ธรรมทั้งหลาย มัคควรรค ในขุททกนิกาย ธรรมบท ๓. สุขา วริ าคตา โลเก กามานํ สมติกกฺ โม. วิราคะ คอื ความกา วลว งดวยดี ซึ่งกามทั้งหลาย เปนสขุ ในโลก พุทธอุทาน ในวนิ ัยปฎก มหาวรรค อธิบาย วิราคะ ความสิ้นกําหนัด หมายถึง ภาวะท่ีจิตปราศจากความกําหนัดยินดี ในกาม ความสํารอกจิตจากกิเลสกาม หรือสภาวธรรมใดๆ ท่ีเปนไปเพ่ือความส้ิน กําหนัด หายรัก หายอยากในกามสุขท้ังปวง ไวพจนแหงวิราคะ ๘ อยาง ในอัคคัปปสาทสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระพุทธองคทรงแสดง วริ าคะวา เปน ยอดแหงธรรมทงั้ ปวง ทง้ั เปน สังขตธรรมและอสังขตธรรม แลวทรงแจก ไวพจนและวริ าคะ คํากําหนดใชเ รียกแทนวิราคะ เปน ๘ อยาง คือ ๑. มทนิมมฺ ทโน ธรรมยงั ความเมาใหส รา ง ๒. ปป าสวินโย ธรรมนําเสยี ซึง่ ความระหาย ๓. อาลยสมคุ ฆฺ าโต ความถอนข้นึ ดว ยดซี ึง่ อาลยั ๔. วฏฏ ป จเฺ ฉโท ความเขา ไปตดั เสยี ซึง่ วฏั ฏะ ๕. ตณฺหกฺขโย ความสน้ิ ตัณหา ๖. วริ าโค ความสิ้นกําหนัด ๗. นิโรโธ ความดับ ๘. นพิ ฺพานํ ธรรมชาตหิ าเครือ่ งเสยี บแทงมไิ ด คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 43

44 ¤‹ÁÙ Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒª¹Ñé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ๑. มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาใหสราง คําวา ความเมา หมายถึง ความเมาในอารมณอ ันยวั่ ยวนใหเ กดิ ความเมา เชน ความเมาในชาติกําเนิดสงู อาํ นาจ บริวาร ลาภ ยศ ตําแหนง หนาท่ีการงาน ความสุข สรรเสริญ วัย ความไมมีโรค ชวี ติ เปน ตน ธรรมทีท่ าํ ใหจิตสรางคือคลายจากความเมาดงั กลาว จดั เปนวริ าคะ ๒. ปป าสวนิ โย ธรรมนาํ เสยี ซงึ่ ความระหาย คาํ วา ความระหาย หรอื กระหาย หมายถึง ความกระวนกระวายใจอันมีสาเหตุมาจากตัณหาคือความทะยานอยาก ซึ่งเปรียบเหมือนอาการกระหายน้ํา ธรรมท่ีนําออกคือระงับความกระวนกระวายใจ จดั เปนวิราคะ ๓. อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นดวยดีซึ่งอาลัย คําวา อาลัย หมายถึง ความตดิ พนั ความหว งใยในกามคณุ ๕ คอื รปู เสยี ง กลนิ่ รส โผฏฐพั พะ อนั เปน อารมณ ทน่ี า ปรารถนา นา พอใจ ธรรมทถ่ี อนอาลยั คอื พรากจติ ออกจากกามคณุ ๕ จดั เปน วริ าคะ ๔. วฏฏป จฺเฉโท ความเขาไปตัดเสียซ่ึงวัฏฏะ คําวา วัฏฏะ หมายถึง ความเวียนตายเวียนเกิดในภูมิท้ัง ๓ คือ กามวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ อยา งไมร จู กั จบสนิ้ ดวยอาํ นาจกิเลส กรรม วิบาก ทีเ่ รียกวา วัฏฏะ ๓ กเิ ลส กรรม และวิบากทง้ั ๓ น้ี จดั เปนวงจรแหง ทุกข กลาวถอื เมือ่ เกิดกิเลสก็เปนเหตุใหท าํ กรรม เม่ือทํากรรมก็ไดรับวิบากคือผลของกรรมนั้น เม่ือไดรับวิบากก็เปนเหตุเกิดกิเลส แลวทํากรรมไดรับวิบากหมุนเวียนตอไปเชนน้ีไมรูจักจบส้ิน ธรรมที่ตัดวัฏฏะใหขาด จดั เปนวิราคะ ๕. ตณฺหกขฺ โย ความส้ินตณั หา คาํ วา ตัณหา หมายถงึ ความทะยานอยาก ความดนิ้ รนอยากได มี ๓ อยาง คอื (๑) กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ไดแก อาการที่จติ แสหาอยากไดกามคุณ ๕ (๒) ภวตณั หา ความทะยานอยากในภพ ไดแ ก อาการท่ีจิตดิ้นรนอยากเปนน่ัน เปนนี่ หรืออยากเกิด อยากมีอยูคงอยูตลอดไป (๓) วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ ไดแก อาการที่จิตขัดของคับแคน ยากพนไป จากภาวะที่ตนไมปรารถนา อยากตายไปเสีย อยากขาดสูญ ธรรมท่ีขจัดตัณหาให สน้ิ ไป จดั เปน วิราคะ ๖. วริ าโค ความสน้ิ กาํ หนดั หมายถงึ ภาวะทจ่ี ติ ปราศจากความกาํ หนดั รกั ใคร หรือภาวะท่ีฟอกจิตจากน้ํายอมคือกิเลสกามไดอยางเด็ดขาด ธรรมที่ทําใหส้ินกําหนัด จดั เปน วริ าคะ 44

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 45 ๗. นโิ รโธ ความดบั หมายถงึ ความดับตณั หา หรือความดับทุกข ธรรมท่ีดับ ตณั หา จัดเปน วิราคะ ๘. นพิ พฺ านํ ธรรมชาติหาเครอื่ งเสียบแทงไมได หมายถึง ภาวะจติ ทด่ี บั กเิ ลส และกองทุกขไดส้ินเชิง อันเปนจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ในที่นี้เพียงแตนํา คํามาเปน ไวพจนของวริ าคะเทา นัน้ รายละเอียดจะกลาวในหัวขอ วา ดวยนิพพาน สรปุ ความวา วิราคะ ท่ีมาในลําดับแหงนิพพิทา ตามอุทเทสวา นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ เมื่อเบ่ือหนาย ยอมส้ินกําหนัด จัดเปนอริยมรรค คือญาณอันใหสําเร็จความเปน พระอรยิ ะมี๔อยา งคอื โสดาปต ตมิ รรคสกทาคามมิ รรคอนาคามมิ รรคและอรหตั ตมรรค วริ าคะในอุทเทสวา วริ าโค เสฏโ ธมฺมานํ วริ าคะ เปน ประเสรฐิ แหง ธรรม ทง้ั หลาย เปน ไวพจนข องนพิ พาน สว นวริ าคะ ทแี่ ปลวา สน้ิ กาํ หนดั ในอทุ เทสแหง วมิ ตุ ติ ทีว่ า วิราคา วิมจุ จฺ ติ เพราะส้นิ กาํ หนัด ยอ มหลุดพน เปนชอื่ ของอริยมรรค วิราคะ เปนไดท้ังอริยมรรคและอริยผล คือ ถามาหรือปรากฏในลําดับ แหง นพิ พทิ า หรือมาคกู บั วมิ ุตติ จดั เปน อรยิ มรรค ถา มาตามลําพัง จดั เปนอริยผล คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 45

46 ¤Ù‹Á×͸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒª¹éÑ àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ๔. วมิ ุตติ ความหลุดพน อทุ เทส ๑. วิราคา วมิ ุจฺจติ. เพราะสน้ิ กาํ หนดั ยอ มหลดุ พน. อนัตตลักขณสตู ร ในวนิ ัยปฎก มหาวรรค ๒. กามาสวาป จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ, ภวาสวาป จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ, อวิชฺชาสวาป จติ ตฺ ํ วมิ จุ จฺ ิตถฺ . จติ หลดุ พนแลว แมจ ากอาสวะเน่ืองดว ยกาม จิตหลุดพน แลว แมจากอาสวะ เนื่องดวยภพ จิตหลุดพนแลว แมจากอาสวะเนอ่ื งดวยอวิชชา เวรัญชภณั ฑ ในวินัยปฎ ก มหาวภิ ังค ๓. วิมุตฺตสมฺ ึ วิมุตตฺ มิติ าณํ โหต.ิ เม่ือหลุดพนแลว ญาณวา หลุดพนแลว ยอ มมี อนตั ตลักขณสูตร ในวนิ ยั ปฎก มหาวรรค อธิบาย วิมตุ ติ ความหลดุ พน หมายถึง ความท่จี ติ หลดุ พนจากอาสวะท้ังหลาย อาสวะ แปลวา สภาวะอันหมกั ดอง เปนชือ่ ของเมรยั กม็ ี เชน คาํ วา ผลาสโว (ผลาสวะ) นํ้าดองผลไม เปนชือ่ ของกิเลสก็มี เชน คาํ วา กามาสโว (กามาสวะ) กิเลส เปน เหตใุ คร หรอื กเิ ลสเนอื่ งดว ยกาม ในทนี่ ี้ เปน ชอื่ ของกเิ ลส หมายถงึ กเิ ลสทห่ี มกั ดอง นอนเน่ืองอยใู นจติ สันดาน มี ๓ อยา ง คือ (๑) กามาสวะ ไดแ ก กเิ ลสทีห่ มักดองอยู ในจติ สันดาน อันเนือ่ งดวยกามคณุ ๕ ตรงกบั กามตณั หา (๒) ภวาสวะ ไดแ ก กิเลสที่ หมักดองอยใู นจิตสันดานดว ยอาํ นาจความพอใจติดใจอยใู นภพ ตรงกับภวตณั หา (๓) อวชิ ชาสวะ ไดแ ก กเิ ลสทห่ี มกั ดองอยใู นจติ สนั ดานอนั เนอื่ งมาจากอวชิ ชา ความไมร แู จง ในอรยิ สจั ๔ ตรงกบั โมหะ วิมุตติ ในอุทเทสท่ี ๑ ไดแก อริยผล เพราะสืบเนื่องมาจากวิราคะ วิมุตติ ในอุทเทสที่ ๒ ไดแก อริยมรรค เพราะไดแสดงไวในลําดับแหงการรูแจงอริยสัจ ๔ 46

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 47 วิมตุ ติ ในอุทเทสที่ ๓ ไดแก อริยผล เพราะแสดงญาณท่สี บื เน่ืองมาจากวมิ ตุ ติ ซ่งึ เรียก อกี อยางวา วิมุตตญิ าณทัสสนะ วิมุตติ ในพระไตรปฎกไมไดกําหนดชัดวา หลุดพนในขณะแหงมรรคหรือ ในขณะแหงผล แตจําแนกไวเปน ๒ คําโดยชัดเจน คือคําวา วิมุตติ กับคําวา วิมุตติญาณทัสสนะ เชนที่ปรากฏในพระบาลีแสดงอเสขธรรมขันธ ๕ คือ สีลขันธ สมาธิขันธ ปญญาขนั ธ วิมตุ ตขิ ันธ และ วมิ ตุ ติญาณทสั สนขนั ธ สีลขันธ สมาธิขันธ ปญญาขันธ หมายถึง กองหรือหมวดหมูธรรมคือ ศีล สมาธิ และปญญา ทั้งท่ีเปน โลกิยะและโลกุตตระ วิมตุ ตขิ นั ธ หมายถึง กองหรอื หมวดหมูธรรมคือวิมุตติ เปนโลกุตตระอยางเดียว สวน วิมุตติญาณทัสสนขันธ หมายถึงกองหรือหมวดหมูธรรม คือ ปจจเวกขณญาณ เปนญาณที่พิจารณาทบทวน มรรค ผล และนิพพาน ซ่ึงเกิดข้ึนแกพระอรหันตเทานั้น จัดเปนโลกิยะอยางเดียว เพราะไมไดทําหนาท่ีละกิเลส เพียงแตตรวจดูกิเลสที่ละไดหรือยังละไมได (กลาวตาม นัยอรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวรรค) ในทนี่ ี้ วมิ ุตติ ไดตรงกบั อทุ เทสท่ี ๑ วา วริ าคา วิมุจฺจติ เพราะสิน้ กําหนัด ยอมหลุดพน เปนกิจของจิตอันเปนสวนเบื้องตน สวน วิมุตติญาณทัสสนะ ตรงกับ อุทเทสท่ี ๓ วา วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณํ โหติ เม่ือหลุดพนแลว ญาณวา หลดุ พนแลว ยอ มมี เปน กจิ แหง ปญ ญา วิมุตติ ๒ ตามนัยพระบาลี ๑) เจโตวิมุตติ ความหลุดพนดวยอํานาจแหงใจ หมายถึง ความหลุดพน จากกิเลสาสวะเคร่ืองรอยรัดผูกพันทั้งปวงดวยการฝกจิต เปนปฏิปทาขอปฏิบัติของ ผูบําเพญ็ เพียรทเี่ จรญิ สมถะและวปิ ส สนามาโดยลําดบั จนสําเรจ็ เปน พระอรหนั ต ๒) ปญ ญาวมิ ตุ ติ ความหลดุ พน ดว ยอาํ นาจแหง ปญ ญา หมายถงึ ความหลดุ พน ดว ยอํานาจปญญาท่รี เู หน็ ตามเปนจรงิ หรือภาวะทีจ่ ติ ใชปญ ญาพจิ ารณาอนั เปน เหตใุ ห หลุดพนจากเครอ่ื งรอยรดั ผกู พันคือกเิ ลสอวชิ ชาไดอ ยางเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เปนปฏปิ ทา ขอ ปฏบิ ตั ขิ องผบู าํ เพญ็ เพยี รทม่ี งุ มน่ั เจรญิ วปิ ส สนาอยา งเดยี วจนสาํ เรจ็ เปน พระอรหนั ต วิมุตติทั้ง ๒ อยางน้ีเปนเครื่องแสดงปฏิปทาที่ใหสําเร็จความหลุดพนของ พระอรหนั ต ในพระบาลจี ะมีคําวา อนาสวํ อันหาอาสวะมไิ ด กํากับเปนคุณบทใหรูว า คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 47

48 ¤‹ÁÙ Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒª¹éÑ àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก เปนโลกตุ ตรธรรม เชน พระบาลวี า อาสวานํ ขยา อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปญฺ าวิมุตตฺ .ึ .. กระทําใหแจง ซ่ึงเจโตวมิ ุตติ ปญ ญาวิมตุ ติอันหาอาสวะมไิ ดเพราะอาสวะท้ังหลายสิน้ ไป ไวเสมอ จึงเปนเหตุใหวินิจฉัยวา วิมุตติท่ีเปนสาสวะหรืออาสวะหรือเปนโลกิยะก็มี เม่ือกําหนดความในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่วา อกุปฺปา เม วิมุตฺติ วิมุตติของเรา ไมกําเริบ ก็เปน เหตใุ หวินิจฉยั วา วิมุตติมที ง้ั เปน อกปุ ปธรรม ธรรมที่กาํ เริบไมไ ด คอื เปน โลกตุ ตระ และเปน กปุ ปธรรม ธรรมทกี่ าํ เรบิ ได คอื เปน โลกยิ ะ ดว ยเหตนุ ี้ ในคมั ภรี  อรรถกถา ทา นจงึ แบงวมิ ตุ ติเปน ๕ อยาง วมิ ตุ ติ ๕ ตามนัยอรรถกถา ๑) ตทังควิมุตติ ความหลุดพนดวยองคน้ันๆ หมายถึง ภาวะจิตที่จิตพน จากกิเลสดวยอาศัยธรรมตรงกันขามที่เปนคูปรับกัน เชน เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกําหนัด เปนตน เปนการหลุดพนช่ัวคราวโดยระงับอกุศลเจตสิกได เปน คราวๆ จดั เปนโลกยิ วิมุตติ ๒) วกิ ขมั ภนวมิ ตุ ติ ความหลดุ พน ดว ยขม ไว หมายถงึ ความหลดุ พน จากกเิ ลส กามและอกุศลธรรมทั้งหลายไดดวยกําลังฌาน อาจสะกดไวไดนานกวาตทังควิมุตติ แตเ มอ่ื ฌานเสอื่ มแลว กเิ ลสอาจเกิดขนึ้ อีก จดั เปน โลกยิ วิมุตติ ๓) สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพนดวยตัดขาด หมายถึง ความหลุดพน จากกิเลสดวยอริยมรรค โดยที่กิเลสไมสามารถเกิดข้ึนในจิตสันดานไดอีก จัดเปน โลกุตตรวมิ ุตติ ๔) ปฏิปสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพนดวยสงบราบ หมายถึง ความหลุดพน จากกิเลสดวยอรยิ ผล จดั เปน โลกุตตรวมิ ตุ ติ ๕) นสิ สรณวมิ ตุ ติ ความหลดุ พน ดว ยสลดั ออกได หมายถงึ ภาวะทจ่ี ติ หลดุ พน จากกเิ ลสเสรจ็ สนิ้ แลวดํารงอยใู นภาวะทีห่ ลดุ พน จากกิเลสนนั้ ตลอดไป ไดแก นพิ พาน จดั เปนโลกุตตรวมิ ตุ ติ การบัญญัติตทังควิมุตติ เปนเกณฑกําหนดวา วิมุตติท่ีเปนของปุถุชนก็มี การบญั ญัติวิกขัมภนวิมตุ ติ เปน เกณฑก าํ หนดวา เจโตวิมุตตทิ เ่ี ปน สาสวะ คอื มีอาสวะ ก็มี การบญั ญตั สิ มจุ เฉทวิมุตติและปฏิปส สัทธิวมิ ตุ ติ เปน เกณฑกาํ หนดวา วมิ ตุ ตเิ ปน 48

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 49 ไดทัง้ อริยมรรคอรยิ ผล การบัญญัตนิ ิสสรณวิมตุ ติ เปนเกณฑกําหนดวา วิมตุ ตทิ ่ีเปน ปรมตั ถสจั จะนนั้ ไดแก พระนพิ พาน หรอื เปน เกณฑก ําหนดใหครบ โลกุตตรธรรม ๙ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) สรุปความ วมิ ุตติ หมายถึง ความท่ีจติ หลดุ พน จากอาสวะท้งั หลาย ในพระบาลีจาํ แนก เปน ๒ คือ เจโตวิมุตติ และ ปญญาวิมุตติ สวนในอรรถกถาจําแนกเปน ๕ คือ ตทงั ควมิ ุตติ วกิ ขัมภนวมิ ุตติ สมุจเฉทวิมตุ ติ ปฏิปส สทั ธิวิมุตติ โดย ๒ ขอแรกจดั เปน โลกยิ ะ สว น ๓ ขอหลงั จดั เปนโลกตุ ตระ วิมุตติของพระอรหันต มีไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปญญาที่สมบูรณ สว นผแู รกปฏิบตั ิธรรม การหดั ทําจิตใหป ลอดจากกิเลสกามและอกศุ ลวิตกอยางอื่นได กน็ ับวา ไดร บั ประโยชนจากการศกึ ษาเร่อื งวมิ ตุ ติ ในเบอื้ งตน แลว คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 49

50 ¤Ù‹ÁÍ× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªÑé¹àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ๔. วิสทุ ธิ ความหมดจด อทุ เทส ๑. ปฺาย ปรสิ ุชฺฌต.ิ ยอมหมดจดดวยปญญา. ยกั ขสังยตุ ในสังยตุ ตนกิ าย สคาถวรรค ๒. เอส มคโฺ ค วิสทุ ฺธิยา. นั่น (คือนพิ พทิ า) เปนทางแหง วสิ ุทธิ. มคั ควรรค ในขทุ ทกนิกาย สคาถวรรค อธิบาย วสิ ทุ ธิ ความหมดจด หมายถงึ ความบรสิ ทุ ธ์ิ คอื การชาํ ระจติ ของตนใหห มดจด บริสุทธผ์ิ องแผวจากกเิ ลสาสวะทงั้ ปวง ความหมดจดนยี้ อมเกดิ ไดดวยปญญา หลกั ความหมดจดในลทั ธศิ าสนาอนื่ : ลทั ธศิ าสนาพราหมณถ อื วา ความหมดจด จะมีไดดวยการชําระบาป โดยทําพิธีลอยบาปทิ้งเสียในแมน้ําคงคา ลัทธิศาสนาอ่ืนๆ เชน คริสตศาสนา ถือวา ความหมดจดจะมีไดดวยการสวดมนตออนวอนพระผูเปน เจาเพอ่ื ทรงยกโทษให หลักความหมดจดในพระพทุ ธศาสนา : พระพทุ ธศาสนาถือวา ความหมดจด จะมีไดด วยปญญาเทานั้น หมายความวาบุญบาปจะมีไดเ พราะตนเองเปน ผูกระทําไมมี ใครมาทําใหบริสุทธ์หิ รือไมบ ริสทุ ธไ์ิ ด ดงั ปรากฎในขทุ ทกนิกายธรรมบท มีความวา “ทาํ บาปเอง ยอ มเศรา หมองเอง ไมท าํ บาปเอง ยอ มหมดจดเอง ความหมดจด และความเศรา หมอง เปน ของเฉพาะตน คนอน่ื ทาํ คนอ่ืนใหบริสุทธ์ิหาไดไ ม” อธบิ ายความวา : บุคคลที่ทําบาปอกศุ ลหรือความชั่วใดๆ ยอ มไดชื่อวาเปน คนช่ัว บาปอกุศลท่ีเขาทําก็อํานวยผลกรรมใหเศราหมอง เปรียบเหมือนเขมาหรือของ โสโครกทบ่ี คุ คลจบั ตอ งกพ็ ลอยเปอ นไปดว ย สว นผไู มก ระทาํ บาปอกศุ ล ทาํ แตบ ญุ กศุ ล ยอ มบรสิ ทุ ธห์ิ มดจด เปรยี บเหมอื นผา ขาวทส่ี ะอาดฉะนนั้ เพราะในโลกนไี้ มม ใี ครสามารถ ทําใหผูอ่ืนบริสุทธิ์หมดจดหรือเศราหมองได ขอนี้พึงเห็นไดในบท พระธรรมคุณวา “ปจฺจตตฺ ํ เวทติ พโฺ พ วิ ฺหู ิ พระธรรมอนั วิญูชนท้ังหลายพงึ รูไดเฉพาะตน จึงสรปุ ความไดว า ความเศราหมองเกิดจากการทําบาป ความหมดจดเกิดจากการไมทําบาป 50

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 51 ความบรสิ ทุ ธภ์ิ ายในยอ มมดี ว ยปญ ญา กลา วคอื ความหมดจดจากกเิ ลสาสวะ อันนอนเนื่องอยูภายในขันธสันดาน จะตองอาศัยปญญาพิจารณาตามความเปนจริง เรียกวา วปิ สสนาญาณ ๙ ซ่ึงจัดเปนข้นั ๆ สูงขน้ึ ไปตามลําดับ ๙ ขนั้ ดงั นี้ ๑. อทุ ยพั พยญาณ หรอื อทุ ยพั พยานปุ ส สนาญาณ ญาณหยงั่ เหน็ ความเกดิ และความดับ คือ ปญญาพิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแหงสังขารหรือ เบญจขนั ธ จนเหน็ ประจกั ษว าสงั ขารท้งั หลายท้ังปวงเกดิ ขึ้นแลวกต็ องดบั ไป ๒. ภงั คญาณ หรอื ภงั คานปุ ส สนาญาณ ญาณหยง่ั เหน็ ความเสอ่ื มสลาย คอื ปญญาพิจารณาเห็นวา สงั ขารทั้งหลายท้งั ปวงมกี ารแตกสลายยอยยบั ไป ๓. อาทนี วญาณ หรอื อาทนี วานปุ ส สนาญาณ ญาณหยง่ั เหน็ โทษ คอื ปญ ญา พจิ ารณาเห็นสังขารทั้งหลายท้งั ปวงวาเปนโทษ มีความบกพรอ ง เจอื ปนดว ยทกุ ข ๔. ภยตูปฏฐานญาณ ญาณหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยเปนของนากลัว คือ ปญญาพิจารณาเห็นสังขารท้ังหลายท้ังปวง ทั้งที่เปนไปในอดีต ปจจุบัน และอนาคต ลวนปรากฏเปนของนาสะพรึงกลัว ๕. นพิ พทิ าญาณ หรอื นพิ พิทานปุ ส สนาญาณ ญาณหยงั่ เหน็ ความหนา ย คอื ปญ ญาพจิ ารณาเหน็ สงั ขารวา เปน โทษนา กลวั เชน นน้ั แลว จงึ เกดิ ความหนา ยในสงั ขาร ๖. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งเห็นดวยใครจะพนไปเสีย คือปญญา พิจารณาจนเกิดความหนายสังขารท้ังหลายแลวเกิดความปรารถนาที่จะพนไปเสียจาก สังขารเหลาน้นั ๗. ปฏิสังขาญาณ ญาณพิจารณาหาทาง คือปญญาพจิ ารณาสงั ขารทัง้ หลาย โดยยกขนึ้ สูไตรลักษณ เพื่อหาอบุ ายทีจ่ ะปลดเปลอื้ งจติ ออกไปจากความหนายนน้ั ๘. สงั ขารเุ ปกขาญาณ ญาณวางเฉยในสงั ขาร คอื ปญ ญาพจิ ารณารเู หน็ สงั ขาร ตามความเปน จรงิ วา มคี วามเปน อยู เปน ไปอยา งนนั้ เปน ธรรมดา จงึ วางจติ เปน กลางใน สงั ขารทัง้ หลาย จากนน้ั จึงละความเกย่ี วเกาะในสงั ขารเสียได ๙. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเปนไปโดยอนุโลมแก การหยั่งรูอริยสัจ คือเม่ือเกิดสังขารุเปกขาญาณ จิตก็เปนกลางตอสังขารท้ังหลาย และญาณนั้นมุงตรงตอนิพพาน จึงเกิดปญญาที่สูงขึ้นอีกข้ันหนึ่ง เปนขั้นสุดทายของ วิปสสนาญาณ คือญาณอันคลอยตอการตรัสรูอริยสัจ ยอมเกิดข้ึนเปนลําดับถัดมา จากนนั้ กจ็ ะเกดิ โคตรภญู าณ ญาณครอบโคตร คอื ปญ ญาทอี่ ยใู นลาํ ดบั กอ นถงึ อรยิ มรรค ซง่ึ ขา มพน ความเปน ปถุ ชุ นสคู วามเปน อรยิ บคุ คล แลว เกดิ มรรคญาณใหส าํ เรจ็ ความเปน พระอรยิ บคุ คลตอไป คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 51

52 ¤‹ÙÁ×͸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªéѹàÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก วสิ ทุ ธิ ความหมดจด (อีกบรรยายหนึง่ ) อทุ เทส ๓. มคฺคานฏงฺคโิ ก เสฏโ  ................ เอเสว มคฺโค นตฺถโฺ  ทสฺสนสฺส วสิ ุทฺธยิ า. ทางมอี งค ๘ เปน ประเสริฐสดุ แหงทางท้ังหลาย.... ทางน้นั แลไมม ที างอน่ื เพี่อความหมดจดแหง ทสั สนะ มัคควรรค ในขทุ ทกนิกาย ธรรมบท อธบิ าย ทางมีองค ๘ เรียกวา อริยมรรค แปลวา ทางอันประเสริฐ หมายถึง ทางอันทําบุคคลใหเปนอริยะ ทางอันทําใหผูปฏิบัติ หางไกลจากกิเลสได เรียกเต็มวา อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลวา ทางประกอบดวยองค ๘ อันประเสริฐ หมายความวา ทางน้ีมีสวนประกอบ ๘ อยางโดยเปนขอสุดทายของอริยสัจ ๔ เรียกวา ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจคือขอปฏิบัติใหถึงความดับทุกข หรือ มัคคสัจ เรยี กอกี อยา งวา มชั ฌมิ าปฏปิ ทา แปลวา ขอ ปฏบิ ตั อิ นั มใี นทางกลาง หรอื ทางสายกลาง หมายถงึ ขอ ปฏบิ ตั ิ วธิ กี าร หรอื ทางดาํ เนนิ ชวี ติ ทเี่ ปน กลาง ๆ สอดคลอ งกบั กฎธรรมชาติ ไมเอียงเขาไปหาทางสุดโตงทั้งสองทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให หมกมุนอยูในกามสุข และ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนใหลําบากเดือดรอน โดยคดิ วา เปนหนทางพน ทกุ ข ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธองคทรงแสดงอริยมรรคมีองค ๘ ไว มอี ธิบาย ดงั นี้ ๑) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ หมายถงึ ความเหน็ ถกู ตองใน ๒ ระดบั คือ (๑) ความเหน็ ชอบระดบั โลกยิ ะ ไดแ ก ความเหน็ ถกู ตอ งตามคลองธรรม คือเห็นวาบุญบาปมีจริง ผลแหงทานที่ใหแลวมีจริง มารดาบิดามีบุญคุณจริง เปนตน ความเห็นชอบในระดับนี้เปนการเตรียมจิตใหพรอมท่ีจะพัฒนาตนเขาสูการฝกอบรม ตามหลกั ศีลธรรม และ (๒) ความเห็นชอบระดับโลกุตตระ ไดแก ความเห็นถูกตองตามความ เปนจรงิ ตามสภาวะ ตามเหตปุ จจยั คือ ปญญาอันเห็นชอบในอรยิ สจั ๔ คือ เหน็ ทกุ ข 52

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 53 สมทุ ยั นโิ รธ มรรค เหน็ ไตรลกั ษณ หรอื เหน็ ปฏจิ จสมปุ บาท คอื เหน็ วา สภาวธรรมทง้ั ปวง อาศยั กนั และกนั เกดิ ขน้ึ สรรพสง่ิ เปน เหตเุ ปน ผลกนั เกดิ ขนึ้ ตงั้ อยู และดบั ไป เมอ่ื มสี งิ่ น้ี เปน เหตุ จึงมีสิ่งนเี้ ปน ผลตามมา ดงั น้ีเปน ตน ๒) สมั มาสงั กปั ปะ ความดาํ รชิ อบ หมายถงึ ความนกึ ตรกึ ตรองในทางทถ่ี กู ตอ ง เปน กุศล ประกอบดว ยมโนสจุ ริต หรอื ความคดิ นกึ ท่ีเปนไปใน กุศลวิตก ๓ อยา ง คอื (๑) ความคดิ นกึ ทปี่ ลอดจากกาม หรอื ความคดิ ในทางเสยี สละ (๒) ความคดิ นกึ ทป่ี ลอด จากพยาบาท หรือความคิดท่ีประกอบดวยเมตตา (๓) ความคิดนึกที่ปลอดจากการ เบียดเบยี น หรือความคดิ ท่ีประกอบดวยกรณุ า ๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ หมายถึง การใชวาจาติดตอส่ือสารเก่ียวกับ ผอู น่ื อยา งถกู ตอ ง หรอื การใชค าํ พดู ตามหลกั วจสี จุ รติ ๔ คอื (๑) ละเวน จากการพดู เทจ็ (๒) ละเวนจากการพูดสอเสียด (๓) ละเวนจากการพูดคําหยาบ (๔) ละเวนจากการ พดู เพอเจอ ๔) สมั มากัมมนั ตะ การงานชอบ หมายถงึ การมีพฤตกิ รรมท่แี สดงออกทาง กายอยางถูกตอ ง หรอื การปฏบิ ัติตามหลัก กายสจุ รติ ๓ คอื (๑) ละเวนจากการผลาญ ชวี ติ สตั ว (๒) ละเวน จากการลักทรัพย (๓) ละเวนจากการประพฤตผิ ดิ ในกาม ๕) สัมมาอาชีวะ เล้ียงชีวิตชอบ หมายถึง การประกอบอาชีพสุจริต โดย เวนวิธีเลี้ยงชีพท่ีผิด เชน การหลอกลวง การใชเลหเหล่ียม การใชกลโกง การขูดรีด การฉอ ฉล หรอื การคากําไรเกินควร เปน ตน รวมถึงการเวน จากการคาขายท่ผี ิดธรรม กอ ใหเกดิ โทษ ๕ อยา ง ไดแก การคา เคร่อื งประหาร การคา มนษุ ย การคา สัตวมีชีวิต การคา ส่ิงเสพติดมึนเมาใหโ ทษ และการคา ยาพษิ ๖) สมั มาวายามะ พยายามชอบ หมายถงึ การมคี วามเพยี รพยายามทถี่ กู ตอ ง โดยเพยี รละความชวั่ สรา งและรกั ษาความดี ตามหลกั การสรา งความเพยี รชอบทเ่ี รยี กวา สมั มปั ปธาน ๔ คือ (๑) เพียรระวงั ไมใหค วามชั่วเกดิ ขึ้น (๒) เพียรละกาํ จัดความช่ัวท่ี เกิดขึ้นแลว (๓) เพียรบาํ เพญ็ กศุ ลทย่ี งั ไมเ กิดใหเ กดิ มขี น้ึ (๔) เพียรรักษากศุ ลที่เกิดข้ึน แลว ไมใ หเสอื่ มและใหเจริญยงิ่ ขึน้ ไป ๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ หมายถงึ การตง้ั สตกิ าํ หนดพิจารณาสง่ิ ทงั้ หลายใหร ู เหน็ ตามความเปน จรงิ ซงึ่ เรยี กวา การเจรญิ สตปิ ฏ ฐาน ๔ คอื การตงั้ สตกิ าํ หนดพจิ ารณา คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 53

54 ¤‹ÁÙ Í× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªÑé¹àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ในเรื่องภายในตวั ของเราทส่ี ําคัญ ๔ เรอื่ ง อนั ไดแก กาย เวทนา จิต ธรรม วา เปนแต เพียงกาย เวทนา จติ ธรรม ไมใ ชส ัตว บุคคล ตวั ตน เรา เขา ๘) สัมมาสมาธิ ตง้ั จติ มนั่ ชอบ หมายถงึ การทําจติ ใหแนวแนอ ยูในอารมณ เดียวที่แสดงออกมาในทางกุศลโดยสวนเดียวและสามารถขมระงับกิเลสเครื่องกั้นจิต มิใหบรรลุคุณธรรมความดีไวได ดวยหลักการฝกจิตใหเปนสมาธิที่จัดลําดับเปนขั้นๆ ตงั้ แตข นั้ หยาบไปจนถงึ ขนั้ ละเอยี ด ทเี่ รยี กวา ฌาน ๔ คอื ปฐมฌาน ทตุ ยิ ฌาน ตตยิ ฌาน จตตุ ถฌาน อริยมรรคเปนยอดทางปฏบิ ัติ ในอัคคัปปสาทสูตร อังคตุ ตรนิกาย จตกุ กนิบาต พระพุทธองคต รสั ยกยอง มรรคมีองค ๘ วา เปนยอดแหงสงั ขตธรรม คือธรรมทเ่ี ปนปจ จัยปรุงแตงหรอื เกดิ จาก เหตปุ จ จยั เชน เดยี วกบั ทต่ี รสั ยกยอ งวา เปน ทางประเสรฐิ สดุ แหง ทางทง้ั หลายตามอทุ เทส ท่ียกมาแสดงนั้น ทั้งน้ีเพราะองคธรรมทั้ง ๘ แหงอริยมรรคนั้นนับเปนสัทธรรมอันดี จดั เปนกุศลธรรมเม่อื รวมกนั เขาทั้ง ๘ ประการ ยอมเปน องคธ รรมทีด่ ีเยยี่ ม อริยมรรคมอี งค ๘ สัมพันธกบั วสิ ทุ ธิ ๗ อรยิ มรรคมอี งค ๘ เปน เหตุใหถ ึงความหมดจดแหง ทัสสนะคอื ปญ ญา โดยมี ความสัมพนั ธก บั วสิ ทุ ธิ คอื ทางแหง ความหมดจดดวยปญญาทอี่ ุดหนนุ สงเสริมกนั ให สูงขึ้นไปเปน ข้ัน ๆ ตามลาํ ดบั ๗ ขน้ั ดังน้ี ๑) สีลวิสทุ ธิ ความหมดจดแหง ศลี หมายถงึ การรกั ษาศีลตามภูมชิ นั้ ของตน ใหบ รสิ ทุ ธิ์ และใหเ ปน ไปเพอื่ สมาธิ สมั มาวาจา สมั มากมั มนั ตะ สมั มาอาชวี ะ สงเคราะห เขา ในขอน้ี ๒) จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแหงจิต หมายถึง ความหมดจดแหงจิตท่ีเกิด จากการบําเพ็ญสมาธิจนไดบรรลุฌานสมาบัติ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สงเคราะหเขา ในขอ นี้ ๓) ทฏิ ฐิวิสุทธิ ความหมดจดแหงทิฏฐิ หมายถงึ ความหมดจดแหงความคิด เห็นทีเ่ กดิ จากความรูความเขา ใจ สามารถมองเหน็ นามรปู หรอื เบญจขนั ธต ามทเี่ ปน จริง 54

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 55 ๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแหงญาณเปนเหตุขามพนความสงสัย หมายถงึ ความหมดจดแหง ปญ ญาทพ่ี จิ ารณาเหน็ ความเปน ไปแหง สงั ขารอนั เนอ่ื งมาจาก เหตุปจจยั ปรงุ แตง ดงั พระพทุ ธพจนในพระไตรปฎกวา “พชื อยา งใดอยางหนงึ่ ทีบ่ คุ คล หวา นในนายอ มงอกขึน้ ได เพราะอาศยั เหตุ ๒ อยาง คือ รสในแผนดนิ และยางในพชื ฉันใด ขนั ธ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหลาน้ี กเ็ กิดข้ึนเพราะอาศยั เหตปุ จจยั ดบั ไปกเ็ พราะ เหตุปจ จยั ดับ ฉันน้นั ” แลว กําจดั ความสงสยั ท้ังปวงในนามรปู เสียได ๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแหงญาณท่ีรูเห็นวาเปนทาง หรือมิใชทาง หมายถึง ความหมดจดดวยการเริ่มเจริญวิปสสนาพิจารณาสิ่งที่รวมกัน อยูเปนกลุมกอน จนเห็นความเกิดข้ึนและความเสื่อมไปแหงสังขารทั้งหลาย แลวเกิด วิปสสนูปกิเลส (สิ่งท่ีเปนอุปสรรคขัดขวางมิใหการเจริญวิปสสนารุดหนาไป) ๑๐ อยา ง คอื โอภาส แสงสวาง, ญาณ ความร,ู ปติ ความอิ่มใจ, ปสสทั ธิ ความสงบ, สุข ความสบาย, อธิโมกข ความนอมใจเช่ือ, ปคคาหะ ความเพียรประคองจิต, อุปฏฐาน ความปรากฏชัดแหงสติ, อุเบกขา ความวางจิตเปนกลาง, และนิกันติ ความพอใจในวิปสสนา เมื่อวิปสสนูปกิเลส ๑๐ อยางนี้เกิดขึ้น ก็ใชโยนิโสมนสิการ กําหนดไดวามิใชทาง สวนวิปสสนาที่เร่ิมดําเนินเขาสูวิถีนั่นแหละเปนทางถูกตอง แลว เตรียมท่จี ะประคองจติ ไวใ นวปิ สสนาญาณนนั้ ตอ ไป ๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแหงญาณอันรูเห็นทางดําเนิน หมายถึง ความหมดจดแหงความรูเห็นชัดในขอปฏิบัติดวยการประกอบความเพียรใน วิปสสนาญาณ ๙ ดงั กลา ว โดยเริ่มต้ังแต อทุ ยัพพยานุปส สนาญาณ ที่พน จากอุปกิเลส ดาํ เนนิ เขา สวู ถิ ที างนน้ั เปน ตน ไปจนถงึ สจั จานโุ ลมกิ ญาณ อนั เปน ทส่ี ดุ แหง วปิ ส สนา ตอ จากนนั้ กจ็ ะเกดิ โคตรภญู าณ คน่ั ระหวา งวสิ ทุ ธขิ อ นก้ี บั ขอ สดุ ทา ย เปน รอยตอ แหง ความ เปนปุถุชนกบั ความเปน อริยบคุ คล ๗) ญาณทสั สนวสิ ทุ ธิ ความหมดจดแหง ญาณทสั สนะ หมายถงึ ความหมดจด ทเ่ี กิดจากความรเู ห็นดว ยปญญาในอรยิ มรรค ๔ มโี สดาปต ตมิ รรคเปน ตน อนั เกดิ ถัด จากโคตรภญู าณเปนตน ไป เมอ่ื มรรคจิตเกิดขึ้นแลว ผลจิตยอมเกดิ ขึ้น เปน อันบรรลุ จุดหมายสูงสดุ ในพระพุทธศาสนา คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 55

56 ¤ÙÁ‹ Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒª¹Ñé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สงเคราะหเขาในวิสุทธิ ท้ัง ๕ ขอดังกลาวมานี้ คือขอ ๓ ถึง ขอ ๗ โดยสัมมาสังกัปปะทํากิจพิจารณา สัมมาทิฏฐิทํากิจสันนิษฐาน คือความตกลงใจ สรุปความ สมัยท่ีพระพุทธเจาทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปญจวัคคีย ทรงยกทาง สดุ โตง สองทาง คอื กามสขุ ลั ลกิ านโุ ยคและอตั ตกลิ มถานโุ ยค ขน้ึ แสดงกอ นวา เปน ทาง ทบี่ รรพชติ ไมค วรประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ เพราะไมท าํ ใหถ งึ ความดบั ทกุ ข ทางมอี งค ๘ นเี้ ทา นน้ั เปนทางประเสริฐ เปนทางสายกลางท่ีจะนําผูปฏิบัติไปสูความดับทุกขไดอยางแทจริง ดังน้ัน มรรคมีองค ๘ จึงเปนยอดทางปฏบิ ัตใิ นพระพุทธศาสนา สงผลใหมกี ารดําเนิน ชีวิตท่ีพอเหมาะพอดี โดยสรางเสริมหลักไตรสิกขาคือศีล สมาธิ ปญญา ท่ีสามารถ ทําใหผูปฏิบัติเขาถึงความบริสุทธิ์หมดจดและบรรลุนิพพานอันเปนจุดหมายสูงสุดของ พระพทุ ธศาสนา วิสุทธิ ๗ เปนหลักความบริสุทธ์ิหมดจดที่สูงขึ้นไปตามลําดับ สงเสริม ไตรสกิ ขาใหบ รบิ รู ณเ ปน ขน้ั ๆ ไปจนบรรลจุ ดุ หมายสงู สดุ คอื พระนพิ พาน เปรยี บเหมอื น รถเจ็ดคนั ผลดั สง ตอ กันใหบุคคลถึงทหี่ มายปลายทางฉะน้ัน อรยิ มรรคมีองค ๘ และวสิ ทุ ธิ ๗ เปน หมวดธรรมท่ีรวบรวมหลักการศกึ ษา ปฏบิ ตั ใิ นพระพทุ ธศาสนาทเี่ รยี กวา ไตรสกิ ขา ไวอ ยา งครบถว น กลา วไดว า หมวดธรรม ทั้งสองหมวดนม้ี คี ุณลกั ษณะคลา ยกนั ดังนน้ั จงึ สามารถสงเคราะหเขา กนั ได อนง่ึ ในวสิ ทุ ธิ ๗ นี้ มวี สิ ทุ ธิทจี่ ดั เปน โลกตุ ตระ เพราะภาวะท่ีเปนอรยิ มรรค และอริยผลอยู ๒ ขอ คอื ปฏิปทาญาณทัสสนวิสทุ ธิ และญาณทสั สนวิสุทธิ 56

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 57 ๕. สนั ติ ความสงบ อุทเทส ๑. สนฺติมคคฺ เมว พรฺ ูหย. สจู งพนู ทางแหงความสงบน้ัน มัคควรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒. นตฺถิ สนฺตปิ รํ สุข.ํ สขุ (อื่น) ยิ่งกวา ความสงบ ยอ มไมมี สขุ วรรค ขทุ ทกนกิ าย ธรรมบท ๓. โลกามสิ ํ ปชเห สนตฺ ิเปกฺโข. ผูเพง ความสงบ พึงละอามสิ ในโลกเสีย. สังยุตตนกิ าย สคาถวรรค อธบิ าย สันติ ความสงบ หมายถงึ ความสงบกาย วาจา และใจ ในทน่ี ้ี จําแนกเปน ๒ คือ ความสงบภายนอก ไดแ ก สงบกาย วาจา และความสงบภายใน ไดแก สงบใจ ในอทุ เทสที่ ๑ พระพทุ ธองคท รงสอนใหพ อกพนู ทางแหง สนั ติ อนั เปน ไปทาง ไตรทวาร คอื กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ท่ีเปน ไปโดยสุจริต คือเวนจากพฤติกรรม ท่เี บยี ดเบียนตนและผูอน่ื ใหเดือดรอน โดยการไมป ระทุษรา ย การไมก ลาวรา ย และ การไมค ดิ รา ย เปน ตน ดังทไ่ี ดตรัสไวใ น สหัสสวรรค ขทุ ทกนกิ าย ธรรมบทวา “ผหู ลุด พน แลว เพราะรูช อบ รสู งบระงับแลว ผูค งท่นี นั้ มใี จสงบแลว วาจาและการกระทาํ ก็ สงบแลว” จติ ทปี่ ระกอบดว ยมโนสจุ รติ ๓ คอื ไมค ดิ โลภอยากได ไมค ดิ พยาบาทปองรา ย มคี วามเหน็ ชอบตามคลองธรรม จดั เปน ความสงบภายใน การประกอบดว ยกายสจุ รติ ๓ วจีสจุ ริต ๔ จัดเปนความสงบภายนอก คําวา พูน ในอุทเทสที่ ๑ หมายถึงทําใหมากขนึ้ ทําใหเ จริญขึ้น ในทีน่ ีม้ ุงถงึ พนู ทางทที่ าํ ใหถ งึ ความดบั ทกุ ข อนั เปน ทางแหง สนั ตทิ แี่ ทจ รงิ ไดแ ก อรยิ มรรคมอี งค ๘ คาํ วา ความสงบ ในอทุ เทสท่ี ๒ ไดแ ก พระนพิ พาน มอี ธบิ ายวา ความสขุ อยา งอนื่ แมจะเปน ความสขุ เหมือนกนั แตกไ็ มใ ชความสขุ ทแี่ ทจริง สวนความสขุ ทีเ่ กิดจากการ ละกิเลสได จดั เปนความสขุ ทแ่ี ทจริง คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 57

58 ¤ÁÙ‹ Í× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒª¹éÑ àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก คาํ วา อามสิ ในอุทเทสท่ี ๓ คอื รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพั พะ ทนี่ าปรารถนา นารกั ใคร นา พอใจ การทําจิตมิใหติดอยูในกามคุณ ๕ จัดเปนปฏิปทาของผูรู ผูสงบดีแลว ดังทต่ี รสั ไวในชราสูตร ขุททกนิกาย สตุ ตนบิ าต วา “หยาดแหง น้ํายอมไมตดิ ในใบบวั แมฉันใด วารี ยอมไมกําซาบในดอกบัว ฉันใด มุนียอมไมเขาไปติดในอารมณ อันเห็นแลว ก็ดี อันฟงแลวก็ดี อนั ทราบแลวก็ดี ฉนั น้นั ” ดังน้นั ผูมงุ สนั ตอิ นั เปน สขุ อยา งแทจ ริง พึงละโลกามิสเสยี สรุปความ สนั ติ ความสงบ เปนไดทั้งโลกยิ ะและโลกตุ ตระ ทีเ่ ปน โลกิยะ ตรงกบั พระบาลีวา น หิ รณุ ฺเณน โสเกน สนตฺ ึ ปปฺโปติ เจตโส. บคุ คลยอ มถึงความสงบแหง จติ ดว ยรองไห ดวยเศรา โศก ก็หาไม. ท่ีเปนโลกุตตระ ตรงกับพระบาลวี า โลกามิสํ ปชเห สนฺตเิ ปกฺโข. ผเู พง สันติ พึงละโลกามิสเสีย. พระพุทธองคตรัสสอนใหพูนทางแหงสันติ คือการปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค ๘ และวิสุทธิ ๗ เมื่อปฏิบัติไดเชนน้ี ยอมเปนการพอกพูนทางแหงสันติ อยางถกู ตอง ทําใหบ รรลุถงึ ความสงบสุขอยางแทจรงิ 58

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 59 ๖. นิพพาน ความดับทกุ ข อทุ เทส ๑. นิพฺพานํ ปรมํ วทนตฺ ิ พทุ ธฺ า. พระพุทธเจาท้ังหลาย ยอ มกลา วนพิ พานวา ยวดย่งิ มหาปรนิ ิพพานสตู ร ทีฆนิกาย มหาวรรค ๒. นิพฺพานคมนํ มคคฺ ขํ ปิ ปฺ เมว วโิ สธเย. พงึ เรง รัดชาํ ระทางไปนิพพาน มัคควรรค ขทุ ทกนกิ าย ธรรมบท ๓. นพิ ฺพานํ ปรมํ สุขํ. นพิ พานเปนสุขอยางยง่ิ . สุขวรรค ขุททกนกิ าย ธรรมบท อธิบาย นิพพาน มคี วามหมาย ๒ นยั นยั ที่ ๑ นพิ พาน แปลวา ธรรมหาเครอ่ื งเสยี บแทงมไิ ด หมายถงึ ภาวะทจ่ี ติ ปราศ จากตณั หาเครอ่ื งเสยี บแทง นพิ พานตามความหมายนี้ ตรงกบั คาํ วา สอปุ าทเิ สสนพิ พาน คือภาวะท่ีจิตดับกิเลสตัณหาได แตยังมีเบญจขันธอยู หรือภาวะจิตของบุคคลท่ีส้ิน กิเลสแลวแตย งั มีชวี ิตอยู นยั ท่ี ๒ นพิ พาน แปลวา ความดบั หมายถงึ ภาวะทดี่ บั กเิ ลส คอื ราคะ โทสะ และโมหะไดอ ยา งเดด็ ขาด หรอื สภาพทด่ี บั กองทกุ ขใ นวฏั ฏะทงั้ มวลอนั มี ชาติ ความเกดิ ชรา ความแก มรณะ ความตาย เปนตนไดอยางส้ินเชิง นิพพานตามความหมายน้ี ตรงกับคําวา อนปุ าทเิ สสนพิ พาน คือภาวะทดี่ ับกิเลสไมม ีเบญจขันธเ หลอื หรอื ภาวะท่ี สิ้นทง้ั กเิ ลสส้นิ ทงั้ ชวี ติ ดจุ ประทปี สิ้นเชอ้ื ดบั ไปฉะนั้น จุดประสงคข องการแสดงอุทเทสแหง นพิ พาน สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาวิชรญาณวโรส ทรงประมวลพระพุทธ ภาษติ เปนอุทเทสแหงนิพพานไว ดวยพระประสงค ๓ ประการ คือ คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 59

60 ¤Á‹Ù ×͸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒªé¹Ñ àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ๑) เพื่อทรงแสดงอุดมการณ หรือจุดหมายสูงสุดแหงพระพุทธศาสนาคือ นิพพาน ๒) เพอ่ื ทรงแสดงเหตโุ ดยชักชวนพุทธบรษิ ัทใหแผว ถางทางไปนพิ พาน ๓) เพือ่ ทรงพรรณนาผลวา นิพพานเปนสุขอยางยิง่ หลกั การสนิ้ สดุ การเวยี นวายตายเกิดในศาสนาตา งๆ สมเด็จพระมหาสมณเจาฯ ทรงประมวลมตเิ ก่ียวกบั หลักการสิ้นสุดแหงการ เวียนวายตายเกิดอนั เปนจุดหมายสงู สดุ ของศาสนาพราหมณและศาสนาคริสต ไวดังน้ี ๑) ศาสนาพราหมณ หรอื ฮนิ ดู ถือวา มีตน เดมิ อยางหน่งึ เรียกวา ปรมาตมัน แบงภาคออกไปเขาสิงรูปกายท่ีเรียกวา อาตมัน ซ่ึงตกอยูในคติแหงกรรม ถาทําบาป หนกั ยอ มตกนรกไมมกี ําหนด ถา ทําบาปไมห นกั ยอมตกนรกชว่ั คราวบาง เกดิ เปน สัตว เดรัจฉานบา ง ปศ าจ ยกั ษ และมนุษยช นั้ เลวบาง สว นทีท่ ําดพี อประมาณ ยอ มเกิดใน สวรรคชน้ั ต่ํา หรอื เกดิ ในมนษุ ยโลกเปนคนช้นั ดี ทําดีมากขน้ึ คติยอ มดีมากขึน้ ความดี ยอ มผลดั เปลยี่ นคตใิ หดีข้ึน เม่ือทองเทีย่ วไปอยางน้แี ลว ในท่สี ุดยอ มถึงความบริสทุ ธ์ิ จากบาปทั้งปวง ไดช่ือวา มหาตมัน มหาตมันน้ันจุติจากรางท่ีสุดแลว ยอมกลับเขาสู ปรมาตมนั ตามเดมิ แลวเปนอยคู งที่ ไมจ ุตอิ กี ตามทีก่ ลา วมานเ้ี ปนท่สี ดุ แหง สงั สารวฏั หรอื การเวยี นวา ยตายเกิดของศาสนาพราหมณ เรยี กวา นิรวาณมฺ ๒) ศาสนาคริสต มีการบัญญัติที่สุดการเวียนวายตายเกิดเชนเดียวกันกับ ศาสนาพราหมณ แตเ นน บคุ ลาธษิ ฐาน กลา วคอื นกั บญุ หลงั จากตายยอ มขน้ึ สวรรคไ ปอยู กบั พระเจา เปน นริ นั ดร ปฏเิ สธการกลบั มาเกดิ เปน มนษุ ยแ ละเปน สตั วเ ดรจั ฉานสลบั กนั ในหนงั สือศาสนาเปรียบเทยี บ ทานอาจารยสุชีพ ปุญญานภุ าพ ไดประมวล หลกั จุดหมายปลายทางแหงสงั สารวฏั ของศาสนาเดนๆ ของโลกไว โดยสรุปความดังน้ี ๑) ศาสนาพราหมณ มจี ดุ หมายปลายทาง คอื ความเปน พรหม โดยกลมกลนื เปน อนั หนง่ึ เดยี วกบั พระพรหม (ปรมาตมนั ) มวี ธิ ปี ฏบิ ตั โิ ดยบาํ เพญ็ โยคะ ปลกู ฝง ใหเ กดิ ความรูเ ก่ยี วกับพระพรหม ถอื วา ชีวิตในโลกน้มี ีหลายครัง้ มีการเวียนวา ยตายเกดิ ๒) ศาสนาคริสต มีจุดหมายปลายทาง คือสวรรค โดยคนเราเมื่อตายแลว ไดไ ปอยกู บั พระเจา ในสวรรค มวี ธิ ปี ฏบิ ตั โิ ดยทาํ ตามบญั ญตั ขิ องพระเจา และถอื วา ชวี ติ ในโลกนมี้ ีเพียงครง้ั เดยี ว 60

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 61 ๓) ศาสนาอิสลาม มีจุดหมายปลายทาง คือสวรรค แตไมไปอยูกับพระเจา มวี ธิ ปี ฏบิ ตั ิ คอื (๑) มคี วามเชอ่ื ในพระอลั เลาะหแ ละทตู ของพระองค คอื พระนะบมี ฮู มั หมดั (๒) ทําละหมาด คอื สวดมนตห นั หนาไปทางเมอื งเมกกะ ประเทศซาอดุ อิ าระเบีย (๓) ใหท าน (๔) อดอาหารกลางวนั ในเดือนรอมฎอน กลางคืนไมห า ม ๔) พระพุทธศาสนา มีจุดหมายปลายทาง คือพระนิพพาน โดยดับกิเลส ทเี่ ปน ตน เหตแุ หง ทกุ ขค วามเดอื ดรอ นไดส นิ้ เชงิ มวี ธิ ปี ฏบิ ตั เิ พอื่ ดบั กเิ ลส คอื ดาํ เนนิ ตาม หลักมัชฌิมาปฏิปทา อันไดแก อริยมรรคมีองค ๘ ถือวาชีวิตในโลกน้ีมีหลายครั้ง มกี ารเวยี นวา ยตายเกดิ จนกวาจะสิ้นกิเลส นพิ พาน : จดุ หมายสงู สุดในพระพุทธศาสนา พระพทุ ธศาสนาถอื เหตปุ จ จยั อนั ปรงุ แตง สงั ขารคอื อวชิ ชาเปน ตน สาย นพิ พาน เปน ปลายสาย และปฏิเสธอัตตา แตย อมรับความเช่อื มถงึ กนั แหงจตุ ิจิตกับปฏสิ นธิจิต ในภพหนา ยอมรับการเวยี นวายตายเกิดในภพภูมติ างๆ เชน ตกนรก เปน เปรต เปน อสูรกาย เปนสัตวเดรจั ฉาน เกิดเปน มนษุ ย เปน เทวดาในสวรรคช นั้ ตางๆ ดวยอํานาจ กรรม แตการตกนรกนั้นมีระยะเวลาส้ินสุด เมื่อชดใชกรรมจนหมด พระพุทธศาสนา ปฏิเสธความบริสุทธ์ิแหงจิตดวยการรอคอยโชคชะตาวาสนา หรือเกิดจากส่ิงอ่ืน ดลบนั ดาล แตร บั รองความบรสิ ทุ ธแิ์ หง จติ ดว ยการบาํ เพญ็ วปิ ส สนากมั มฏั ฐานจนบรรลุ พระอรหัตตผล พระพทุ ธศาสนายกยอ งนพิ พานวา เปน อมตธรรม คอื ธรรมทไ่ี มต าย ดงั บาลวี า อปปฺ มาโท อมตํ ปท.ํ ความไมประมาท เปน ทางไมต าย และวา เปน สถานทีอ่ นั ไมมีจตุ ิ ไมมีความเศรา โศก ดงั พระบาลวี า เต ยนตฺ ิ อจุ จฺ ุตํ ฐานํ ยตฺถ คนฺตฺวา นโสจเร. มนุ ีเหลา น้ี ยอ มไปสสู ถานไมจตุ ิ ที่ไปแลวไมเ ศราโศก โดยนัยน้ี นิพพานอนั เปนปลายสาย จัดเปน วสิ งั ขาร คือภาวะท่ีตรงขา มกบั สังขารเปน อสังขตะ คือส่ิงท่ีปจจัยมิไดปรุงแตง เพราะพนจากความเปนสังขาร และ อนั ปจจยั มไิ ดป รุงแตง ใหเกดิ อีก คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 61

62 ¤ÙÁ‹ Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒªÑé¹àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก นพิ พานธาตุ ๒ ในขทุ ทกนิกาย อติ ิวตุ ตกะ พระพุทธองคตรสั นพิ พานธาตไุ ว ๒ ประเภท คือ ๑) สอปุ าทเิ สสนิพพานธาตุ นิพพานธาตยุ ังมอี ุปาทเิ หลอื ไดแก ภาวะท่ีดบั กเิ ลสมเี บญจขันธเหลอื คอื สิ้นกิเลสแตยังมชี วี ิตอยู เรยี กวา กเิ ลสปรินพิ พาน ๒) อนปุ าทาทเิ สสนพิ พานธาตุ นพิ พานธาตุไมม อี ปุ าทิเหลอื ไดแ ก ภาวะท่ี ดบั กเิ ลสไมมเี บญจขันธเ หลือ คือส้นิ ทั้งกเิ ลสและชวี ติ เรียกวา ขนั ธปรนิ ิพพาน คาํ วา อุปาทิ ในนิพพานธาตุทัง้ สองน้ัน ไดแ ก เบญจขนั ธ คือ รปู เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ทถ่ี กู กรรมกิเลสเขา ถือมนั่ หรอื ยดึ ครองไวน ้นั บาลีแสดงปฏิปทาแหง นพิ พาน พระพุทธพจนทีแ่ สดงปฏปิ ทาแหง นพิ พาน มนี ยั ดังน้ี ภิกษยุ นิ ดีในความไมป ระมาทแลว หรอื เห็นภัยในความประมาทโดยปกติ ยอ มเปนผไู มค วรเพ่อื เส่อื มรอบ ยอ มปฏบิ ัตใิ กลน พิ พานแลว . อปั ปมาทวรรค ขทุ ทกนกิ าย ธรรมบท ความไมประมาท ในท่ีน้ี คือการอยูไมปราศจากสติ เจริญสติปฏฐาน ๔ อยูเ สมอซง่ึ เปน หลกั ธรรมสําคัญท่ีทําผูปฏบิ ัตใิ หบ รรลุนิพพานได ภกิ ษหุ นกั ในพระศาสดา หนกั ในพระธรรม มีความเคารพกลา ในพระสงฆ มีความเพียร หนักในสมาธิ มีความเคารพกลา ในสกิ ขา หนักในความไมป ระมาท และเคารพในปฏสิ นั ถาร ยอ มเปน ผไู มควร เพอื่ เสื่อมรอบ ยอมปฏบิ ตั ใิ กลนพิ พานเทยี ว คารวสุตร อังคุตตรนิกาย สัตตนบิ าต ความเคารพ ในทนี่ ี้ คอื ความเออื้ เฟอ ตระหนกั ในพระรตั นตรยั ในการบาํ เพญ็ สมาธใิ นการปฏบิ ตั ติ ามหลกั ไตรสกิ ขา ในความไมป ระมาทตอ การเจรญิ สตปิ ฏ ฐาน ๔ และ ในธรรมปฏิสันถาร เม่อื ผูใดมีความเคารพดังกลาวมานี้ ช่ือวาปฏิบัตติ นเพื่อความเจรญิ มงุ ตรงตอการบรรลนุ ิพพานอยา งแนแ ท ฌานและปญ ญามีในผูใด ผนู ั้นปฏิบตั ใิ กลนพิ พาน. ภิกขุวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท 62

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 63 ฌานและปญญา ในท่ีนี้ คือ ฌาน ไดแก จิตท่ีเปนสมาธิแนวแน สงบจาก นวิ รณธ รรมในภาคปฏบิ ตั ิ ไดแ ก การเจรญิ สมถกมั มฏั ฐาน สว นปญ ญา ไดแ ก จติ ทร่ี เู ทา ทนั ความเปน ไปของสรรพสง่ิ ตามเปน จรงิ ในภาคปฏบิ ตั ิ ไดแ ก การเจรญิ วปิ ส สนากมั มฏั ฐาน ภิกษุ เธอจงวดิ เรอื นี้ เรืออันเธอวดิ แลว จักพลันถงึ เธอตัดราคะและโทสะแลว แตน ้นั จกั ถงึ นพิ พาน ภกิ ขวุ รรค ขุททกนิกาย ธรรมบท คาํ วา เรอื หมายถงึ อตั ภาพรา งกายของคนเรา อนั ลอยอยใู นแมน าํ้ คอื สงั สารวฏั เรอื อนั เธอวดิ แลว หมายถงึ การบรรเทากเิ ลสและบาปใหเ บาบางลงจนตดั ไดเ ดด็ ขาด เมอื่ ตัดกเิ ลสและบาปไดแลว เรอื คอื อัตภาพน้กี จ็ ักแลนไปถงึ ทาคือพระนิพพานไดในที่สดุ บาลแี สดงอปุ าทิเสสนพิ พาน พระพุทธพจนน ีแ้ สดงสอุปาทเิ สสนพิ พาน มีดังนี้ เพราะละตณั หาเสีย ทานกลา ววา นพิ พาน. อุทยมาณวกปญ หา ปารายวรรค ขุททกนิกาย สตุ ตนบิ าต ความดับดว ยสํารอกโดยไมเหลอื เพราะส้นิ แหง ตณั หาท้ังหลาย ดว ยประการทัง้ ปวง เปนนิพพาน. นันทวรรค ขุททกนิกาย อทุ าน ธาตอุ นั หนงึ่ แลเปน ไปในธรรมอนั แลเหน็ แลว ในโลกนี้ เปน นพิ พานธาตุ มีอปุ าทยิ ังเหลือ เพราะสิ้นธรรมชาติผนู ําไปสภู พ (คือตัณหา). ขทุ ทกนิกาย อิตวิ ุตตกะ ไวพจนแ หงวิราคะมคี าํ วา “มทนิมฺมทโน ธรรมยงั ความเมาใหสรา ง” เปน ตน ดังท่กี ลาวแลวในหัวขอ แหง วริ าคะ พึงทราบวา หมายถึงสอุปาทเิ สสนิพพาน บาลแี สดงอนุปาทิเสสนพิ พาน พระพุทธพจนท แ่ี สดงอนุปาทิเสสนพิ พาน มดี ังนี้ เรากลา วทวีปนั่นมใิ ชอน่ื หาหวงมิได หาเคร่ืองยึดมิได เปนท่สี น้ิ รอบแหง ชราและมัจจุวา นพิ พาน. กัปปมาณวกปญ หา ปรารายนวรรค ขทุ ทกนิกาย สุตตนิบาต คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 63

64 ¤Á‹Ù Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒªé¹Ñ àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก สว นธาตุเปน ไปในธรรมอันจะพึงถึงขางหนา ท่ภี พท้ังปวงดบั ดวยประการทัง้ ปวง เปน นพิ พานธาตุหาอปุ าทเิ หลือมิได. ขุททกนกิ าย อิตวิ ตุ ตกะ ความเขาไปสงบแหงสังขารเหลา นน้ั ยอ มเปน สุข. สังยตุ ตนิกาย นทิ านวรรค ภิกษุท้ังหลาย อายตนะนั่น (นิพพาน) มีอยู ท่ีดิน น้ํา ไฟ ลมไมมีเลย อากาสานญั จายตนะ วญิ ญานญั จายตนะ อากญิ จญั ญายตนะ เนวสญั ญานาสญั ญายตนะ กม็ ใิ ช โลกนกี้ ม็ ใิ ช โลกอนื่ กม็ ใิ ช ดวงจนั ทร ดวงอาทติ ยท ง้ั สองกม็ ใิ ช อนงึ่ ภกิ ษทุ ง้ั หลาย เราไมก ลา วเลยซงึ่ อายตนะนน้ั วา เปน การมาเปน การไปเปน การยนื เปน การจตุ ิเปน การเกดิ อายตนะนน้ั หาทีต่ ้ังอาศัยมิได มไิ ดเ ปน ไป หาอารมณม ิได นัน่ แลที่สดุ แหง ทกุ ข. ปาฏลคิ ามิวรรค ขทุ ทกนิกาย อทุ าน ในพระสูตรนี้ พระพุทธองคตรัสเรียกนิพพานวา อายตนะ ซ่ึงสมเด็จ- พระมหาสมณเจาฯ ทรงตั้งขอสังเกตวา นาจะไดแกธัมมายตนะ และทรงอาศัยใจ ความแหง พระสตู รนสี้ รปุ ลกั ษณะของนพิ พานไว ๖ ประเดน็ (๑) การทต่ี รสั วา ดนิ นา้ํ ไฟ ลมไมม ใี นอายตนะนนั้ แสดงวา นพิ พานมใิ ชร ปู ขนั ธ (๒) การทต่ี รสั วา อากาสานญั จายตนะ เปนตนไมใชอายตนะน้ันแสดงวานิพพานมิใชนามขันธ (๓) การที่ตรัสวาโลกน้ีก็มิใช โลกอื่นก็มิใชเปนตน แสดงวานิพพานมิใชโลกอยางใดอยางหน่ึงในทางโหราศาสตร (๔) การที่ไมตรัสวาอายตนะน้ันเปนการมาเปนการไป เปนตน แสดงวานิพพานไมมี การติดตอสัมพันธกับโลกอื่น (๕) การที่ตรัสวาอายตนะน้ันหาท่ีตั้งอาศัยมิไดเปนตน แสดงวา นพิ พานมใิ ชเ ปน โลกเองพรอ มทง้ั สตั วโ ลก (๖) การทตี่ รสั วา นน้ั แลทสี่ ดุ แหง ทกุ ข แสดงวา นิพพานเปนปลายแหงกองทกุ ขท ่ีสนิ้ สุดลง ภกิ ษทุ ง้ั หลาย อายตนะอนั ไมเ กดิ แลว ไมเ ปน แลว อันปจจัยไมก ระทําแลว ไมแ ตงแลว มอี ยู. ปาฏลคิ ามิวรรค ขทุ ทกนิกาย อทุ าน บาลแี สดงนิพพานธาตุท้ัง ๒ พระพทุ ธพจนท่แี สดงนพิ พานธาตทุ ง้ั ๒ มีดงั นี้ 64

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 65 ธรรมชาตนิ นั่ สงบแลว ธรรมชาตนิ น่ั ประณตี ธรรมชาตไิ รเลา เปน ทส่ี งบแหง สังขารทง้ั ปวง เปน ที่สละคืนอปุ ธทิ ัง้ ปวง เปน ท่ีสน้ิ แหง ตัณหา เปน ท่สี ้ินกําหนดั เปน ที่ ดบั คือนพิ พาน. องั คุตตรนิกาย นวกนิบาต คําวา อุปธิ เปนช่ือของกิเลสก็มี โดยมีความหมายวาเขาไปทรงคือเขาครอง ตรงกับคําวา อุปธิวิเวโก เปนช่ือของปญจขันธก็มี โดยมีความหมายวา เขาไปทรงคือ หอบไวซ ่งึ ทุกข ตรงกบั ขอ ความวา “ยัญท้งั หลายยอมกลา วยกยอ งรูป เสยี ง รส กาม และสตรีทงั้ หลาย ขา พเจารวู า น่ันมลทินในอุปธทิ ้งั หลายแลว เหตุนั้น จึงไมยนิ ดแี ลว ในการเซน ไมยินดีแลวในการบวงสรวง” อุปธิ ในท่นี ี้ ไดแ ก ปญจขันธหรือขนั ธ ๕ คําวา เปนทสี่ งบแหงสงั ขารทง้ั ปวง และคาํ วา เปน ท่ีสละคนื อุปธทิ ง้ั ปวง หมายถึง อนปุ าทิเสสนิพพาน สวน ๓ คําหลังมี คาํ วา เปน ทส่ี ิ้นตัณหา เปน ตน หมายถึงสอุปาทิเสสนพิ พาน สรุปความ พระพุทธองคตรัสสอนใหรีบเรงชําระทางไปพระนิพพาน เพราะทางไป พระนพิ พานนน้ั ยอ มเปนไปเพ่อื ความเขาไปสงบ เพอื่ ความรูยิ่ง เพอื่ นิพพาน ทต่ี รสั วา นพิ พานเปน สขุ อยา งยวดยงิ่ เพราะนพิ พานเปน ความสงบสขุ เยน็ เชน นา้ํ ระงบั ดบั กระหาย ผูปฏิบัติดวยฝกอบรมจิตไปตามทางแหงนิพพาน ยอมดําเนินใกลนิพพานไปทุกขณะ ดงั ในพระบาลีวา นพิ พฺ านสฺเสว สนฺตเิ ก ยอ มปฏบิ ัตใิ กลน ิพพานเทียว จิตอันเคยกําหนัดในอารมณอันชวนใหกําหนัด มัวเมาในอารมณอันชวน ใหมัวเมา ภายหลังมาหนายโดยโยนิโสมนสิการแลว ยอมส้ินกําหนัด ยอมหลุดพน ยอ มถงึ ความหมดจดผอ งใส ยอ มสงบ ยอ มเปน จรมิ กจติ (จติ สดุ ทา ย) ดบั สนทิ ในอวสาน นพิ พิทา วิราคะ วมิ ุตติ วสิ ุทธิ สนั ติ และนิพพาน เปนธรรมเนอ่ื งกนั ดวยประการฉะนี้ จบ ธรรมวจิ ารณ สวนปรมตั ถปฏปิ ทา คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 65

66 ¤ÁÙ‹ Í× ¸ÃÃÁÈÖ¡ÉÒª¹Ñé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ธรรมวจิ ารณ สวนสงั สารวัฏ โดยบุคลาธษิ ฐาน คติ อทุ เทส ๑. จิตฺเต สงกฺ ลิ ิฏเ  ทคุ คฺ ติ ปาฏิกงขฺ า. เม่อื จติ เศราหมองแลว ทุคตเิ ปนอันหวังได. ๒. จติ เฺ ต อสงฺกิลิฏเ สคุ ติ ปาฏิกงฺขา. เมอื่ จติ ไมเ ศรา หมองแลว สคุ ตเิ ปนอันหวังได. วตั ถูปมสตู ร มชั ฌิมนกิ าย มลู ปณ ณาสก อธบิ าย สังสารวฏั หมายถึง การเวยี นวา ยตายเกิด ไดแ ก ลาํ ดบั การสืบตอ ทเ่ี ปน ไป ไมขาดสายแหงขันธ ธาตุ และอายตนะทั้งหลาย หรือการเวียนวายตายเกิดอยู ในภพภูมกิ าํ เนดิ ตางๆ คติ คอื ภมู เิ ปน ท่ีไป หรือเปนทถี่ ึงเบื้องหนา แตตาย มี ๒ อยา ง คอื (๑) ทุคติ ภมู ิเปนท่ไี ปขา งชว่ั ไดแก สถานท่ีไปเกดิ ทมี่ ีแตค วามทุกขร อน (๒) สุคติ ภูมเิ ปน ทีไ่ ป ขางหนา ดี ไดแ ก สถานที่ไปเกดิ ทีม่ คี วามสุขสบาย คติท้งั ๒ นนั้ มที ่ีมาในพระสูตรตางๆ แหงพระไตรปฎกดงั นี้ ๑. ทุคติ ทคุ ติ ในบางพระสตู รแจกเปน ๒ คอื (๑) นริ ยะ นรก คอื โลกอนั หาความเจรญิ มิได (๒) ติรัจฉานโยนิ กําเนิดสัตวเดรัจฉาน (สัตวเจริญโดยขวางหรือไปตามยาว) บางพระสูตรเพ่ิม ปตติวิสยะ แดนแหงเปรต เขาไปเปน ๓ ดวยกัน อีกอยางหน่ึงวา 66

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 67 อบาย โลกอันปราศจากความเจรญิ ทคุ ติ ภูมเิ ปน ท่ีไปขา งช่ัว วนิ บิ าต โลกทีท่ าํ ใหสัตว ผูต กอยไู รอํานาจ ในพระสูตรโดยมากเพมิ่ นิรยะ ไวตอนทาย จงึ รวมเปน ๔ ในคัมภีรอรรถกถาพระวินัยปฎกและพระสุตตันตปฎก ไดใหคําจํากัด ความทคุ ติไว ๔ อยา ง ดงั น้ี อบาย หมายถงึ ภมู อิ นั ปราศจากความสขุ ไรค วามเจรญิ หรอื สถานทปี่ ราศจาก บุญทีเ่ ปนสาเหตใุ หไ ดส มบัติ ๓ คือ มนษุ ย สวรรค นพิ พาน ทคุ ติ หมายถงึ ภมู ิอันมแี ตความทกุ ข หรอื สถานท่สี ัตวไ ปเกดิ เพราะผลกรรม ชวั่ อนั เน่ืองมาจากความเปน คนเจา โทสะ วินิตบาต หมายถึง ภูมิเปนท่ีตกแหงสัตวผูไรอํานาจ หรือตกไปมีแตความ พินาศมีอวัยวะแตกกระจดั กระจาย นิรยะ หรือ นรก หมายถึง ภูมิอันไมมีความเจริญ มีแตความเรารอน กระวนกระวาย ในคัมภีรสุมังคลวิลาสินี คําวา วินิบาต หมายถึง สัตวจําพวกที่ไมนับ เขาในสัตวผ ูบ งั เกิดในอบายภูมิ ๔ ไดแ ก พวกเวมานิกเปรต คือเปรตท่แี มจ ะมวี ิมานอยู แตไมรุงเรืองเหมือนเทพอื่นๆ ไดเสวยสุขเพียงช่ัวครูแลวเสวยทุกขทรมานตางๆ เปน ชวงๆ สลับกนั ไป ๑) นริ ยะ นรก นรกในลัทธิศาสนาอ่ืนตามพระมติสมเด็จพระมหาสมณเจาฯ ทรงประทาน ความรูเชิงวิเคราะหวิจารณ เก่ียวกับนรกในลัทธิศาสนาอื่นไววา “นรกนั้นมิใชมีเฉพาะ ของเรา ลัทธิศาสนาอ่ืนท่ียอมรับการเวียนวายตายเกิด ก็มีนรกดวยกันท้ังน้ัน เชน ของศาสนาพราหมณซึ่งคลายกับนรกในพระพุทธศาสนาของเรา นิรยะน้ันเปนศัพท ภาษาบาลี พวกพราหมณเขาเรียกวา นรกะ ตามศพั ทสันสกฤต ในภาษาของเราเรยี กวา นรก ตามอยางเขา อีกอยางเขาเรียกวา ปาตาละ เราเรียกตามเขาวา บาดาล แตเราเขาใจไปวา นาคภพ นรกของเขานั้นเปนที่ลงโทษอาตมัน ผูทําบาปในเมื่อยัง อยูในโลกน้ี แบงเปนสวนใหญ ๗ สวน ในหนังสือท่ีอานไมไดระบุใครควรตกนรก ขุมอะไรตามบาปท่ีทําทูตของพระยมคอยตรวจดูอยูตลอดโลก พอมีคนตายลงก็นํา คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 67

68 ¤‹ÁÙ ×͸ÃÃÁÈ¡Ö ÉÒªÑé¹àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก ตัวไปแสดงแกพระยม ทูตเหลาน้ีไมมีคําเรียกในภาษาสันสกฤต แตของเราเรียกวา นิรยบาล ทางไปนรกนั้นตองผานแมเพลิงจึงมีธรรมเนียมวา เมื่อคนเจ็บหนักจวนตาย ทายาทยอ มจดั ทาํ โคทาน คอื ใหโ คแกพ ราหมณต วั หนงึ่ เพอื่ จะไดใ ชเ ปน พาหนะขา มแมน า้ํ เพลงิ น้นั เม่ือไปถงึ แลว ไมป รากฏวา พระยมไดซ กั ถามเอาคาํ ใหการของผนู นั้ มรี ายงาน ไวเสร็จแลววา ผนู น้ั เม่ือยังอยู ณ โลกน้ี ไดท าํ กรรมอยางไรไวบ า ง เปน แตเ ปด รายงาน นั้นสอบดูแลวพิพากษาทีเดียว ถาเปนผูไมไดทําบาปหรือทําบาง แตไดทําบุญไว อาจ กลบลบกนั ยอ มถกู ปลอ ยตวั สงไปข้นึ สวรรคหรือไปเกดิ ใหมในมนุษยโ ลก ถาเปน ผูได ทาํ บาปไวม ากหรอื ทาํ บาปหนกั ยอ มลงโทษสมแกค วามผดิ การลงโทษทผ่ี นู น้ั จะไดร บั ใน คราวตกนรก คอื ถกู ขงั ในทม่ี ดื ตอื้ หรอื จมอยใู นบอ เตม็ ดว ยปส สาวะของสนุ ขั และนาํ้ มกู ของคน ถูกลงโทษดวยไฟ เหล็กแดง ใหสตั วมพี ษิ กัด ใหน กและสัตวร ายท่กี นิ เนื้อเปน อาหารจกิ บา งกดั บา ง ถกู สนตะพายทจี่ มกู ลากไปบนมดี อนั คมกรบิ ถกู บงั คบั ใหล อดรเู ขม็ ถูกใหแรงควักลูกตา ถูกภูเขาสองขางกระแทกกันบด แมอยางนั้นก็ยังไมตายทนไป ไดก วาจะสน้ิ กรรม คร้ันสน้ิ กรรมแลวยอมพน ไมตองติดเสมอไปเหมือนสัตวน รกบาง ลทั ธิ แตน ัน้ ยอมไปเกิดในกาํ เนดิ สัตวเ ดรจั ฉานเลวๆ กวาจะพบชองทาํ ความดี จึงจะได คติที่ดี เรอื่ งทเ่ี ลา มาน้ีผแู ตง อา งวาปกรณช อ่ื ปท มปรุ าณะ ชะรอยนรกน้ีจกั ชื่อปท มนรก ตรงกบั ของเราวา ปทมุ นริ ยะ” นรกในคัมภรี พ ระไตรปฎ ก ในเทวทูตสูตร (พระไตรปฎก เลม ๑๔) พระพุทธองคทรงแสดงไววา มนุษยผูทําบาปไวในโลกน้ี เม่ือตายไปเกิดในนรก จะถูกพวกนายนิรยบาล คือผูคุม กฎนรกหรือผูท าํ หนาทล่ี งโทษสตั วนรก จับนาํ ไปพบพญายามราช ผูทาํ หนา ท่พี ิพากษา ตดั สนิ โทษสตั วน รก โดยพญายมราชจะถามสตั วน รกนน้ั วา เมอ่ื อยใู นโลกมนษุ ยเ คยเหน็ เทวทูตทง้ั ๕ นห้ี รอื ไม เมอื่ เห็นแลวทําไมถึงยงั ประมาทอยู เปนตน คําวา เทวทูต หมายถึง ทูตของพญายมราชที่สงสัญญาณตักเตือนมนุษย ในโลกใหรูธรรมดาของชีวิต เพื่อมิใหประมาทมัวเมาในชีวิต มี ๕ อยาง คือ (๑) เด็กแรกเกิด (๒) คนแก (๓) คนเจ็บ (๔) คนถูกลงราชทัณฑ (๕) คนตาย มีอธบิ ายดังนี้ 68

ÇÔªÒ¸ÃÃÁ 69 นายนิรยบาลจะจับสัตวนรกน้ันท่ีแขนทั้งสองขางแสดงแกพญายมราชวา คนผนู ไี้ มป รนนบิ ตั บิ ดิ ามารดา ไมบ าํ รงุ สมณพราหมณ ไมอ อ นนอ มตอ ผใู หญใ นตระกลู ขอจงลงอาญาแกผ นู เี้ ถดิ กอ นจะลงอาญาโทษ พญายมราชกจ็ ะสอบสวนซกั ไซรไ ตถ ามถงึ เทวทูตตาง ๆ วา เจา ไมเคยเหน็ เด็กแดงๆ ที่ยงั ออนนอนหงาย เปอ นมตู รคูถของตนเอง อยใู นแดนมนุษยบา งหรอื ....ไมเ คยเห็นหญิงหรือชายทม่ี อี ายุ ๘๐ ป ๙๐ ป หรือ ๑๐๐ ป ผูแกหงอม มีซี่โครงคด หลังงอ ถือไมเทา เดินงกๆ เง่ินๆ โซเซ ฟนหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวยน ตัวตกกะ ศีรษะลาน ในแดนมนุษยบางหรือ....ไมเคยเห็นหญิงหรือ ชายผูปว ยเปน ไขห นักทกุ ขท รมาน นอนเปอ นมูตร(นํา้ ปส สาวะ) คถู (อุจจาระ) ของตน ตองมีคนอื่นพยุงเดิน ในแดนมนุษยบางหรือ....ไมเคยเห็นพระราชาท้ังหลายในแดน มนุษยจับโจรผูประพฤติผิดมาแลว ส่ังลงราชทัณฑดวยวิธีตางๆ เปนตนวาลงโทษ แบบโบยดว ยแส โบยดวยหวาย ตีดว ยตะบองสั้น ตัดมอื ตดั เทา ตดั ท้งั มือทงั้ เทาบาง หรอื ...ไมเ คยเหน็ หญงิ หรอื ชายทตี่ ายแลว หนง่ึ วนั สองวนั หรอื สามวนั ขนึ้ พองอดึ เขยี วชาํ้ มนี ํ้าเหลืองไหลเย้ิม ในแดนมนุษยบา งหรือ เมอื่ สตั วน รกนน้ั ตอบวา เคยเหน็ พญายมราชจงึ สาํ ทบั วา เมอื่ เจอรเู ดยี งสาเปน ผูใหญข้ึน มิไดมีความคิดบางหรือวา แมเราเองก็มีความเกิดเปนธรรมดา ไมลวงพน ความเกิดไปได...แมเราเองก็มีความแกเปนธรรมดา ไมลวงพนความแกไปได....แม เราเองก็มีความเจ็บปวยเปนธรรมดา ไมลวงพนความเจ็บปวยไปได สัตวทั้งหลาย ท่ีทําบาปกรรมไวน้ันๆ ยอมถูกลงโทษดวยวิธีตางๆ ในปจจุบัน จะปวยกลาวไปไยถึง ชาติหนา เลา ...แมเ ราเองก็มีความตายเปนธรรมดา ไมลวงพนความตายไปได ควรทีจ่ ะ ทําความดที างกาย ทางวาจา และทางใจไว สัตวน รกนนั้ ตอบกลับวา ขา พเจา ไมอ าจคิดเชน นัน้ ไดเพราะมวั ประมาท พญายมราชจึงตัดสินลงโทษโดยกลาววา “เจาไมไดทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจไวเพราะมัวประมาทเสีย ดงั น้นั นายนิรยบาลจกั ลงโทษเจา ในฐาน เปน ผปู ระมาท บาปกรรมนไี้ มใ ชม ารดาบดิ า ไมใ ชพ นี่ อ งหรอื พนี่ อ งหญงิ ไมใ ชม ติ รสหาย ไมใ ชญ าตสิ ายโลหติ ไมใ ชส มณะและพราหมณ ไมใ ชเ ทวดาทาํ ใหเ จา ตวั เจา เองนนั่ แหละ ทําเขาไว เจาเทานนั้ จักเสวยวบิ ากกรรมนี้ คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 69

70 ¤Ù‹ÁÍ× ¸ÃÃÁÈ¡Ö ÉҪѹé àÍ¡ คมู ือธรรมศึกษา=ชน้ั เอก วิธกี ารลงโทษในนรก โดยนายนิรยบาลจะลงโทษสัตวนรกดวยเคร่ืองพันธนาการ ๕ แหง (ปญจพธิ พนั ธนะ) คือ ตรงึ ตะปเู หล็กแดงทม่ี ือ ๒ ขาง ที่เทา ๒ ขา ง และทีก่ ลางอก ถากดวยผึ่งจับตัวเอาหัวหอยเทาช้ีฟา ถากดวยพรา จับตัวเทียมรถแลวใหว่ิงกลับไป กลบั มาบนพน้ื อนั รอ นโชน บงั คบั ใหป น ขน้ึ ลงภเู ขาถา นเพลงิ ใหญท ร่ี อ นโชน ผลกั พงุ ลงไป ในหมอทองแดงที่รอนโชน เขาถูกเคี่ยวจนเดือดผุดเปนฟอง บางคร้ังผุดขึ้นขางบน บางครั้งจมลงขา งลาง บางคร้งั แลนขวาง สตั วน รกนั้นยอ มเสวยทุกขเวทนาอนั แรงกลา แตก ็ไมต าย แลวนายนริ ยบาลนาํ สตั วนรกไปขงั ไวในมหานรก ลกั ษณะมหานรกและนรกขมุ ตางๆ มหานรกนั้นมีสัณฐานเปนส่ีเหล่ียม มีประตูดานละหนึ่ง (สี่มุมส่ีประตู) มกี ําแพงเหลก็ ลอม มแี ผนเหลก็ ครอบไวข า งบน พนื้ แหง นรกน้ันเปน เหลก็ รอ นโชนเปน เปลวแผไ ปตลอด ๑๐๐ โยชนโดยรอบ ตัง้ อยูทุกเม่ือ บางคราว ประตแู ตล ะดา นของ มหานรกเปด ออก เขาจะวงิ่ ไปทปี่ ระตโู ดยเรว็ ถกู ไฟไหมผ วิ หนงั เนอ้ื เอน็ หรอื แมก ระดกู กม็ อดไหมเ ปน ควนั ตลบ แตอ วยั วะทถ่ี กู ไหมไ ปแลว จะกลบั เปน รปู เดมิ และในขณะทเี่ ขา ใกลจ ะถงึ ประตู ประตนู นั้ กจ็ ะพลนั ปด สนทิ สตั วน รกนนั้ ยอ มเสวยทกุ ขเวทนาอยา งแสน สาหสั อยใู นมหานรกน้นั และไมต าย ตราบเทา กับท่ีบาปกรรมยังไมสิ้นสุด ในทา ยพระสตู ร แมพ ญายมราชกม็ คี วามรสู กึ วา สตั วท ที่ าํ บาปกรรมไวใ นโลก ยอ มถกู นายนริ ยบาลลงโทษแบบตา ง ๆ เหน็ ปานน้ี โอหนอ ขอเราพงึ ไดค วามเปน มนษุ ย ขอพระสมั มาสมั พทุ ธเจา พงึ เสดจ็ อบุ ตั ขิ นึ้ ในโลก ขอเราพงึ ไดน งั่ ใกลพ ระองค ขอพระองค พงึ ทรงแสดงธรรมแกเรา และขอเราพงึ รทู ่วั ถงึ ธรรมของพระองคน้ันเถิด เรื่องนรกนี้ พระพุทธองคมิไดทรงสดับมาจากสมณะหรือพราหมณอื่นๆ แตเ ปนเร่อื งจริงที่ทรงรเู ห็นประจกั ษต ามกรรมของสัตวท ่ปี รากฏเองทั้งนน้ั ในเทวทูตสูตรนี้ พระพทุ ธองคท รงระบุช่อื นรกรอบๆ มหานรกไว ๕ ช่ือ คือ (๑) คถู นรก นรกทเ่ี ตม็ ดว ยคถู (๒) กกุ กลุ นรก นรกทเี่ ตม็ ดว ยเถา รงึ (๓) สมิ พลวี นั นรก นรกปา งว้ิ (๔) อสปิ ต ตวนั นรก นรกปา ไมใ บเปน ดาบ (๕) ขาโรทกนทนี รก นรกแมน าํ้ ดา ง ชื่อนรกในพระไตรปฎกเลมอื่นๆ ในสังกิจจชาดก ขุททกนิกาย ชาดก สัฏฐินิบาต (พระไตรปฎก เลมท่ี ๒๘) ไดระบุถึงช่ือของมหานรก นรกขนาดใหญไว ๘ ขมุ คอื 70

ÇªÔ Ò¸ÃÃÁ 71 ๑) สญั ชีวนรก ๒) กาฬสตุ ตนรก ๓) สงั ฆาฏนรก ๔) โรรวุ นรก ๕) มหาโรรวุ นรก ๖) อเวจมี หานรก ๗) ตาปนนรก ๘) มหาตาปนนรก พระอรรถกถาจารยก ลา ววา มหานรกทงั้ ๘ ขมุ นลี้ ว นพน ไดย าก แออดั ไปดว ย สัตวน รกผทู าํ กรรมหยาบชา แตล ะขุมมี อสุ สทนรก ซ่ึงเปนนรกเลก็ ๆ ต้ังอยมู มุ ประตู ทง้ั สี่ดาน ดา นละสี่ขมุ ดงั นัน้ มหานรก ๘ ขมุ จึงมอี สุ สทนรกเปนบรวิ าร ๑๖ ขมุ และ เม่ือนับจํานวนทงั้ หมด จงึ มอี สุ สทนรก ๘ x ๑๖ = ๑๒๘ ขมุ เมอ่ื รวมเขากับมหานรก ๘ ขมุ จึงไดจ าํ นวนนรกทั้งหมด ๑๓๖ ขมุ ๒) ตริ จั ฉานโยนิ กําเนิดสตั วเดรัจฉาน ตริ จั ฉานโยนิ กาํ เนดิ สตั วเ ดรจั ฉาน หมายถงึ ภพภมู ทิ ไี่ ปเกดิ ของเหลา สตั วท ม่ี ี การเคลอ่ื นไหวอริ ยิ าบถในลกั ษณะขวางหรอื กระเสอื กกระสนคลานไป ดงั ทพี่ ระพทุ ธองค ทรงแสดงผลกรรมของผูตายจากโลกมนุษยแลวไปเกิดในกําเนิดสัตวเดรัจฉานไวใน สังสัปปตปิ ริยายสูตร องั คตุ ตรนิกาย ทสกนบิ าต (พระไตรปฎก เลมท่ี ๒๔) วา “บางคนในโลกน้ีมักฆาสัตว คือ เปนคนหยาบชา มีฝามือเปอนเลือด ชอบทุบตีและฆาผูอื่น ไมมีความกรุณาในสัตวทั้งหลาย เขากระเสือกระสนเพื่อทําช่ัว ดว ยกาย วาจา ใจ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของเขายอมคด คติของเขากค็ ด เรากลาวคติของเขาวา มี ๒ อยาง คือ นรกซ่ึงมีทุกขโดยสวนเดียว และกําเนิดสัตว เดรจั ฉานซง่ึ มปี กตกิ ระเสอื กกระสน เชน งู แมงปอ ง ตะขาบ พงั พอน แมว หนู นกเคา แมว หรอื สตั วเดรัจฉานประเภทเลือ้ ยคลานไว ๗ ชนดิ คือ (๑) งู (๒) แมงปอ ง (๓) ตะขาบ (๔) พงั พอน (๕) แมว (๖) หนู (๗) นกเคาแมว ในพาลปณฑติ สูตร มชั ฌิมนิกาย อปุ ริปณณาสก (พระไตรปฎ ก เลม ท่ี ๑๔) แสดงสัตวเ ดรัจฉานไว ๕ ประเภท ดังนี้ ๑) จาํ พวกกนิ หญา เปน อาหาร (ตณิ ภกั ขา) ไดแ ก มา โค กระบอื ลา แพะ มฤค หรือแมจ าํ พวกสัตวอ ื่นๆ ทม่ี หี ญาเปนอาหาร ๒) จําพวกมคี ูถเปนภักษา (คูถภกั ขา) ไดแก สุกร สนุ ขั บาน สนุ ขั ปา หรือแม จาํ พวกสตั วอ่นื ๆ ทีม่ ีคถู เปน ภกั ษา คมู ือธรรมศึกษา=ชั้นเอก 71


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook