Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการใช้กรอบหลักสูตรฯ-ชช.1-211164

คู่มือการใช้กรอบหลักสูตรฯ-ชช.1-211164

Published by elibraryraja33, 2021-11-22 05:03:40

Description: คู่มือการใช้กรอบหลักสูตรฯ-ชช.1-211164

Search

Read the Text Version

(รา่ ง) คูม่ ือการใช้กรอบหลักสตู รการศกึ ษา ขั้นพ้ืนฐาน พทุ ธศักราช .... สำหรบั ช่วงชนั้ ที่ 1 สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน อยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช... ซึ่งมีลักษณะเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based Curriculum) ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ครั้งนี้ เปิดโอกาสให้สถานศึกษานำร่องทุกสังกัดในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ให้เหมาะสมกับบริบทของตนได้ โดย มกี ารทดลองใชห้ ลักสูตรสถานศกึ ษาและเก็บรวบรวมข้อมลู เพอ่ื จะนำผลไปใช้ในการปรบั ปรุง (ร่าง) กรอบหลักสูตร การศึกษาขั้นพนื้ ฐาน พุทธศกั ราช .... ความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าของการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว ส่งผลให้สถานศึกษาทั่วประเทศ เกิดความตื่นตัว สนใจที่จะเรียนรู้และปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาของตนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น จึงต้องการความรู้และแนวทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถะ เพื่อให้สอดคล้อง กบั ทศิ ทางการศกึ ษาของประเทศ เพื่อช่วยให้สถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาทั่วไปที่สนใจ สามารถ ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถะได้อย่างเหมาะสม คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริม การบริหารวิชาการ ในคณะกรรมการนโยบายพื้นทีน่ วตั กรรมการศึกษา สำนกั บริหารพื้นท่ีนวัตกรรมการศึกษา และคณะวิจัยโครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถะของโรงเรียนนำร่อง ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จึงได้ร่วมกันจัดทำเอกสารคู่มือการใช้กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช... สำหรับช่วงชั้นที่ 1 ตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ให้เป็นบริการวิชาการ เพ่ือหนุนเสรมิ การเรยี นร้แู ละการดำเนนิ งานของสถานศกึ ษาทุกสังกดั หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้ จะช่วยให้การพัฒนาและการใช้หลักสตู รสถานศึกษาฐานสมรรถนะ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพผู้เรียน ขอขอบคุณคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการ ในคณะกรรมการนโยบายพืน้ ท่ีนวัตกรรมการศกึ ษา คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่มีส่วนทำให้เอกสาร นีส้ ำเร็จลุล่วงดว้ ยดี เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน

สารบญั หนา้ 1 1. บทนำ 5 2. แนวคดิ พื้นฐานของการจดั การศึกษาฐานสมรรถนะ 10 3. เปา้ หมายของการพัฒนาผเู้ รียน 13 4. การจัดการเรียนรชู้ ่วงช้นั ที่ 1 (ป.1 - 3) 15 5. ความสัมพันธข์ องสมรรถนะหลักกบั สาระการเรียนรู้ 21 6. แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะใน 7 สาระการเรียนรู้ 22 40 • ภาษาไทย 62 • คณติ ศาสตร์ 76 • ภาษาองั กฤษ 97 • ศิลปะ • สุขศึกษาและพลศึกษา 107 • สงั คมศึกษา ประวตั ิศาสตร์ หนา้ ทพ่ี ลเมือง และศีลธรรม 118 • วทิ ยาศาสตร์ และระบบธรรมชาติ 146 7. การบริหารจัดการหลักสูตร 163 8. การประเมนิ การเรียนรู้ 165 ภาคผนวก : ระดับสมรรถนะ ๑๐ ระดบั ของสมรรถนะหลัก ๖ ดา้ น

1 1. บทนำ ๑.๑ เหตุผลความจำเปน็ ของการปรบั หลักสตู ร ความเจรญิ กา้ วหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆ ของโลกในปจั จุบนั โดยเฉพาะการเปล่ียนแปลงความรู้และ เทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ที่นำไปสู่การเป็นสังคมดิจิทัลอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์สำคัญของโลก เช่น ภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างรุนแรงทั่วโลก ส่งผลให้ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่กระทบวิถีชีวิตของผู้คนอย่างไม่หยุดยั้ง เกิดปัญหา ความเหล่ือมลำ้ ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจนขึ้นเร่ือย ๆ นอกจากนน้ั ผลสมั ฤทธิ์ทางการศึกษายังไม่สะท้อน ถึงศักยภาพของผู้เรียนที่สามารถออกไปสู่สังคมและโลกของการทำงานในอนาคตได้อย่างชัดเจน จึงเป็น ความสำคัญจำเป็นท่ีจะตอ้ งปรับปรงุ หลกั สูตรการศึกษาของชาติ ซึ่งเป็นพมิ พ์เขยี วและกลไกสำคัญในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของประเทศ ให้สอดคล้องรับกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน เพื่อสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความสามารถและศักยภาพในการดำรงชีวิต ปรับตนให้พร้อม รบั การเปล่ียนแปลง พรอ้ มทีจ่ ะแข่งขนั และรว่ มมอื อยา่ งสร้างสรรคใ์ นเวทโี ลก หลักสูตรการศึกษาของชาติที่ใช้ในปัจจุบัน คือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรยี นรู้เป็นผลลัพธ์ท่ีต้องการให้เกิดกับผู้เรยี น และมีตัวชีว้ ัดชั้นปีไว้ ช่วยให้ผู้สอนรู้ว่าจะสอนให้ผู้เรียนรู้อะไรและทำอะไรได้ รวมทั้งเพื่อการตรวจสอบความรู้ความสามารถของ ผู้เรียนเป็นระยะจนจบการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ หลักสูตรฉบับนี้พัฒนามาจากหลักสู ตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งคงหลักการและกรอบโครงสร้างหลักสูตรไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สงั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กล่าวได้ว่า หลักสูตรที่กำหนด มาตรฐานการเรียนร้เู ป็นผลลัพธก์ ารพัฒนาน้ีมกี ารใช้มาแล้วถึง 20 ปี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร รวมทั้งศึกษา ผลงานวิจัยของหน่วยงาน องค์กร และบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเน่ือง พบว่า หลักสูตรฉบับปัจจุบัน แม้จะเปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และความพร้อม ของสถานศึกษา ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา แต่ได้พบประเด็นสำคัญยิ่ง คือ หลักสูตรไม่เอ้ือ ใหส้ ังคมไทยเกดิ การพฒั นาและปรับตวั ได้ทนั ต่อสภาวการณ์และการเปลยี่ นแปลงทีเ่ กิดขนึ้ ในขณะน้ี เน่ืองจาก 1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดมีจำนวนมาก ซ้ำซ้อน และอิงเนื้อหาค่อนข้างมาก ส่งผลให้การจัด การเรยี นรไู้ ม่หลากหลาย เน้นการจำเนื้อหาไปใช้เพื่อการสอบ มากกว่าการสร้างทักษะสำคัญจำเปน็ เชน่ ทักษะ การแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการ และทักษะการคิดใหก้ ับผู้เรียน 2. การเรยี นร้ใู นช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 - 3 ซงึ่ เปน็ ชว่ งวยั ท่ีเช่ือมต่อมาจากระดับปฐมวัย และเป็นช่วงเริ่มต้น ของการวางพื้นฐานการเรียนรู้ หลักสูตรจัดให้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่นเดียวกับระดับชั้นอื่น แทนที่จะเน้น ไปทกี่ ารอ่าน การเขยี น และการคิดคำนวณ เพื่อเป็นเครื่องมอื การเรยี นรสู้ าระอื่น ๆ ตอ่ ไป 3. การนำหลักสูตรไปใช้ โดยเฉพาะการพฒั นาเนื้อหาสาระ สอ่ื และการจดั กระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและเทคโนโลยี ยังไม่เพียงพอ หรือทันการที่จะช่วยให้ผู้เรียน มีสมรรถนะที่เพียงพอในการใช้ความรู้หรือนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือช่วยสร้างพื้นฐานให้คนไทย สามารถเผชิญปัญหาสังคมและเศรษฐกจิ ทเ่ี ปลีย่ นแปลงอย่างรวดเรว็ ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ

2 4. ผลการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment) ที่ดำเนินการโดย OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) พบว่า นักเรียนไทยมีค่าเฉลี่ยคะแนน ทุกด้านอยู่ในกลุ่มต่ำ สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนโดยเฉลี่ยมีความรู้และความสามารถในการใช้ความรู้ต่ำกว่ า เกณฑ์มาตรฐานนานาชาติ นอกจากนี้ กฎหมายและยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการพัฒนา ทรพั ยากรมนุษย์ของประเทศที่เกดิ ขนึ้ ในช่วงต่อมา ได้กำหนดจุดหมายการพัฒนาคน แนวการจัดการศึกษาของ ประเทศที่มีการปรับเปล่ยี นใหส้ อดคลอ้ งกบั กระแสการเปลย่ี นแปลงของโลกและสภาวะของประเทศ ดังน้ี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการ ให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจดั ให้มกี ารรว่ มมอื กันระหวา่ งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล และมาตรา 71 กำหนดให้รัฐพึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและ ความสามารถสูงข้ึน แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดกรอบและแนวทาง การพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับพลเมืองทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต โดยจุดมุ่งหมาย ที่สำคัญของแผนคือ ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของทุนมนุษย์ ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประเทศสามารถก้าวข้ามกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน ภายใต้พลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ประชากรทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษาและการเรียนรู้ จากระบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย และตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียนเพื่อยกระดับชนชั้นของสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ท่ีเอื้อต่อการสร้างสังคมแห่งปัญญา และการสร้างสภาพแวดลอ้ มทีเ่ อ้อื ต่อการเรยี นรู้ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561 ในรูปแบบของผลลัพธ์ ที่พึงประสงค์ (Desired Outcomes of Education: DOE) สำหรับผู้เรยี น คือ การเป็นผู้เรียนรู้ การเป็นผู้ร่วม สรา้ งสรรค์นวัตกรรม และการเป็นพลเมอื งที่เข้มแข็ง โดยมคี ่านยิ มร่วมคอื ความเพียรอันบรสิ ทุ ธ์ ความพอเพียง วถิ ีประชาธปิ ไตย ความเทา่ เทียมเสมอภาค และให้มลี กั ษณะนิสัยและคุณธรรมพนื้ ฐานทด่ี ีงาม เชน่ ความมีวินัย ความขยัน ความซอื่ สัตย์ ความรบั ผดิ ชอบ เป็นตน้ นอกจากนั้น แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา พ.ศ. 2564 (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อ ยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มุ่งความเป็นเลิศและสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้กำหนดให้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ ฐานสมรรถนะเป็นหนึ่งในกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชน อย่างมนี ยั สำคัญ (Big Rocks) เพ่อื ให้ประชาชนและผู้เรียนทุกกลุ่มวยั ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสากล มีทักษะ ทีจ่ ำเปน็ ของโลกอนาคต สามารถแก้ปญั หา ปรับตวั สือ่ สารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อยา่ งมีประสทิ ธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบและ มีจติ สาธารณะ เป็นกำลังของประเทศในการขบั เคล่อื นประเทศให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตรช์ าติ จากแผนแมบ่ ทและนโยบายแหง่ รฐั ที่แสดงให้เหน็ ถงึ ความเชอื่ มัน่ วา่ การศกึ ษาเปน็ เคร่ืองมือสำคญั ในการพัฒนา ทรัพยากรทุนมนุษย์เพื่อให้รากฐานของชาติมีความมั่นคง ดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข ก้าวไปสู่การแข่งขัน ในภูมิภาคและโลกได้อย่างสง่างามและภาคภูมิ และความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศกึ ษา

3 ของชาติ ให้เป็นหลักสูตรที่สามารถสร้างและพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นของผู้เรียน กระทรวงศึกษาธิการ จึงอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 กำหนดให้ ปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช.... ในลักษณะหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-based Curriculum) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่ง ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อ การดำรงชีวติ อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษท่ี 21 ทั้งนี้ ทั้งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และ (ร่าง) กรอบหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…. ที่ปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์ การเรียนรู้เหมือนกัน ต่างกันตรงที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตร อิงมาตรฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณภาพอย่างน้อยตามที่มาตรฐานกำหนด ส่วน (ร่าง) กรอบหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…. นั้น มีลักษณะเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มี สมรรถนะหลักที่สำคัญจำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้บ่มเพาะ พัฒนา และต่อยอด สมรรถนะหลกั และสมรรถนะอ่ืนไดเ้ ต็มตามศกั ยภาพของแต่ละบุคคล กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฐานสมรรถนะ จะกำหนดชุดของผลลัพธ์การเรียนรู้ตามสมรรถนะหลัก ที่สำคัญจำเป็น (Minimum Requirements) เพื่อการพัฒนาผู้เรียนจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรอบหลักสูตร ทีย่ ดื หยุน่ จะเอือ้ ใหส้ ถานศึกษาท่ีมีศักยภาพแตกตา่ งกัน สามารถออกแบบหลักสูตรท่เี หมาะสมกบั ความต้องการ และบริบทของตนได้ โดยยึดสมรรถนะกลางเป็นเกณฑ์เทียบเคียง ส่งเสริมให้เกิดรูปแบบหลักสูตรสถานศึกษา ที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย มีความเฉพาะเจาะจงในการพัฒนาผู้เรียนตามบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และ ความตอ้ งการท่แี ตกตา่ งกันของผู้เรยี น นอกจากนั้น หลักสูตรจะช่วยให้ผู้สอนปรับแนวคิดและมุมมองในการออกแบบและจัดการเรียนรู้จาก การเน้นที่เนื้อหาสาระมาเน้นสมรรถนะ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล อย่างเป็นองค์รวม ลดที่จะมุ่งการสอนเนื้อหาความรู้จำนวนมาก ลดภาระและเวลาในการสอบตามตัวชี้วัด จำนวนมาก ทำให้สถานศึกษามีพื้นที่ในการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญจำเป็นของบริบทได้มากขึ้น ในการออกแบบ หลกั สตู รฐานสมรรถนะไดย้ ึดหลักความเป็นเอกภาพของชาติในประชาคมโลก บนความแตกต่างบริบทเชิงพื้นท่ี เน้นการพัฒนาผู้เรียนเฉพาะบุคคลอย่างเป็นองค์รวมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปล งและสามารถฟื้นคืน สภาวะสมดลุ ได้ ดว้ ยหลักการสำคญั ของหลักสตู รฐานสมรรถนะ ดังตอ่ ไปน้ี 1. เป็นหลักสูตรที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนที่เหมาะสมตามช่วงวัย เน้นการพัฒนา ผู้เรียนรายบุคคล (Personalization) อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Development) เพื่อการเป็นเจ้าของ การเรยี นรูแ้ ละพฒั นาตนเองอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง (Life-Long Learning) 2. เปน็ หลักสูตรทเ่ี ช่ือมโยงระหว่างสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) เพ่อื การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชวี ติ และการทำงาน 3. เป็นหลักสูตรที่จัดสภาพแวดล้อมและเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Pathway) ที่หลากหลาย และ ระบบสนบั สนุนการเรยี นรู้ท่สี อดคล้องกับพหปุ ญั ญาและธรรมชาติของผูเ้ รยี น 4. เป็นหลักสูตรที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การใช้สื่อและสถานการณ์ การเรียนรู้ร่วมสมัย มีความหลากหลาย และยืดหยุ่น ตามความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน (Differentiated Instruction) บริบท จุดเน้นของสถานศกึ ษา และชุมชนแวดล้อม

4 5. เป็นหลักสูตรที่มุ่งใช้การประเมินเพื่อการพัฒนาและสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียนตามเกณฑ์ การปฏิบัติ (Performance) ที่เป็นธรรม เชื่อถือได้ เอื้อต่อการถ่ายโยงการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น ตามระดับความสามารถ คณะอนุกรรมการจดั ทำและพฒั นา (ร่าง) กรอบหลกั สตู รการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน พุทธศกั ราช …. ได้พัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรฯ ที่มีสาระสำคัญเพียงพอจะให้โรงเรียนแกนนำในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่สมัครใจ จำนวน 265 โรงเรียน ใน 8 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ศรีสะเกษ สตูล เชียงใหม่ กาญจนบุรี ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นำไปใช้ ผลที่ได้จากการใช้จะนำมาพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…. ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้ และ การวัดผลและประเมิน จะเป็นตัวอย่างให้กับสถานศึกษาทั่วไปนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับความหลากหลาย และความแตกตา่ งของบริบทพ้ืนท่ีได้ 1.2 วัตถปุ ระสงค์ของการจัดทำคมู่ อื การจดั ทำคู่มือเลม่ น้ี คาดหวังให้ผเู้ กยี่ วข้องมคี วามเข้าใจแนวคิดและหลักการสำคัญของการจดั การศึกษา ฐานสมรรถนะ และ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…. เพื่อนำไปสู่การจัดทำหลักสูตร สถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน โดยมีวตั ถปุ ระสงคด์ งั น้ี 1) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำไปใช้ในการจัดทำและ ทดลองใชห้ ลักสตู รสถานศึกษาฐานสมรรถนะ 2) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา และคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม การศกึ ษา ใช้เป็นแนวทางในการพจิ ารณาให้ความเห็นชอบและส่งเสริมสนับสนนุ การใช้หลกั สตู รฐานสมรรถนะ ของสถานศกึ ษา 3) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ อาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา นักการศึกษา นักวิชาการ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ และครูในการทำหน้าที่เป็นโค้ช หรือ พี่เลี้ยงทางวิชาการให้แก่ สถานศึกษาโดยเฉพาะทางด้านการพัฒนาหลักสูตร การจดั การเรยี นรู้ และการวดั และประเมนิ ผลฐานสมรรถนะ รวมทงั้ การบรหิ ารจัดการหลกั สูตรและการพัฒนาบคุ ลากร

5 2. แนวคิดพนื้ ฐานของการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ โลกยุคศตวรรษที่ 21 มีความเปลี่ยนแปลงและผันแปรอย่างรวดเรว็ ในทุกด้าน ทุกประเทศย่อมต้องการ ทรัพยากรมนษุ ย์ทีม่ คี ุณภาพ มคี วามรู้ ความสามารถในการปฏบิ ัตงิ านอย่างมีประสิทธภิ าพเพื่อนำพาประเทศให้ เจรญิ กา้ วหน้า การมีความร้เู พียงอย่างเดยี วไม่เพียงพอ แต่ตอ้ งสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ การทำงาน และการดำรงชีวิตได้ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ จึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ การพัฒนาคนให้มีลักษณะดังกล่าว หรือเรียกได้ว่า มี “สมรรถนะ” นั่นเอง การศึกษา ทำความเข้าใจเรื่อง สมรรถนะและการนำสมรรถนะไปใช้ในการจัดการศึกษา จึงเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาคนให้มี สมรรถนะตามความมุ่งหวัง ๒.๑ สมรรถนะ คือ อะไร โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ (Potential) ภายใน ซึ่งเป็นความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล แต่ละคนจะมีศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านแฝงอยู่ในตัว แต่อาจยังไม่ได้แสดงออกให้เห็น จนกว่า จะได้รับการกระตุ้นหรือได้รับการศึกษาหรือเรียนรู้ที่เหมาะสมกับภาวะแฝงนั้น และเมื่อศักยภาพนั้นปรากฏ ออกมา หากได้รับการส่งเสริมต่อไปก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในด้านนั้นสูงขึ้น ดังนั้น การได้เรียนรู้ สาระความรู้ และได้รับการฝึกทักษะต่าง ๆ รวมทั้งได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์เหล่าน้ัน สามารถ ชว่ ยพฒั นาบคุ คลใหม้ ีความสามารถเพม่ิ สงู ขึ้นได้ อย่างไรก็ตามความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะต่าง ๆ ที่บุคคลได้เรียนรู้อาจไม่ช่วยให้บุคคล ประสบความสำเร็จในการทำงาน หากบุคคลนั้นขาดความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ตนมีในการปฏิบัติงาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การขาดความสามารถเชิงสมรรถนะ ดังนัน้ ความรู้ ทกั ษะ เจตคติและคณุ ลกั ษณะต่าง ๆ ท่บี คุ คลไดเ้ รียนรู้นนั้ จะยังไม่ใช่สมรรถนะ จนกว่าบุคคลนั้น จะได้แสดงพฤติกรรม แสดงออกถึงความสามารถในการนำความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่มี ในการทำงานหรอื การแก้ปญั หาในสถานการณต์ า่ ง ๆ จนประสบความสำเรจ็ ในระดบั ใดระดบั หนึ่ง ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model) ของ เดวิด ซี แมคเค็ลแลนด์ (David C. McClelland) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องสมรรถนะไว้ว่า พฤติกรรมการทำงานของบุคคลขึ้นกับความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skills) ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำ รวมทั้งคุณลักษณะ ส่วนลึกภายในต่าง ๆ ของบุคคล เช่น เจตคติ แรงจูงใจ อุปนิสัย และภาพลักษณ์ภายใน ซึ่งเปรียบเหมือนส่วนฐาน ของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำและสังเกตได้ยาก การมีเพียงความรู้และทักษะนั้น ยังไม่ถือว่ าเป็นสมรรถนะ จนกว่าบุคคลนั้นจะสามารถนำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้กับงาน ทำงาน ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างชัดเจน ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ จึงจะถือว่าบุคคลนั้นมีสมรรถนะ จากการศึกษาวิจัย พบว่า ฐานส่วนที่อยู่ใต้น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนบุคคลสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ คุณลักษณะ ส่วนลึกภายในต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้บุคคลสามารถใช้ความรู้ ทักษะ และ ในการปฏิบัติงานได้สำเร็จ และเปน็ องค์ประกอบท่ีสำคัญมากในการพัฒนา “สมรรถนะ” “สมรรถนะ” นำมาใช้อย่างกว้างขวางในการกำหนดความสามารถของบุคคลที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติงาน และการประกอบอาชีพ โดยไดม้ กี ารใหค้ ำจำกัดความ “สมรรถนะ” ตามวตั ถุประสงคแ์ ละบรบิ ทของงาน หน่วยงาน และองค์กร อย่างไรก็ตาม ในดา้ นการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนอายุระหว่าง 7 - 18 ปีที่มีความแตกต่าง กนั ตามหลกั ของจติ วทิ ยาการเรยี นรู้ ไดใ้ ห้ความหมายของ “สมรรถนะ” ดังนี้

6 สมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความสามารถที่แสดงออกทางพฤติกรรมและการกระทำในการใช้ชีวิต การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงาน ให้ประสบความสำเร็จ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) เจตคติ (Attitudes) และค่านิยม (Values) ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรม ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ๒.๒ สมรรถนะ เกิดขึ้นไดอ้ ย่างไร องค์กรเพื่อความรว่ มมือทางเศรษฐกจิ และการพฒั นา (Organisation for Economic Co-operation and Development) หรอื OECD ได้อธิบายการเกิดสมรรถนะด้วยรปู ภาพ ดงั นี้ ท่ีมา: OECD, 2016 จากความหมายของสมรรถนะ และจากแผนภาพของ OECD องค์ประกอบสำคัญของสมรรถนะ ประกอบดว้ ย ความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งที่บุคคลรู้ ในด้านความรู้เฉพาะศาสตร์เฉพาะวิชา (Disciplinary knowledge) ความรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary knowledge) และความรู้ด้านการปฏิบัติในการนำ ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ (Practical knowledge) ทักษะ (Skills) เป็นการทำบางสิ่งให้ดี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคนิคที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม ทั้งที่เป็นทักษะทางปัญญาและอภิปัญญา (Cognitive and meta-cognitive skills) ทักษะทางดา้ นอารมณแ์ ละสังคม (Social and emotional skills) และทกั ษะทางร่างกายและการปฏบิ ตั ิ เจตคติ (Attitudes) เจตคติเป็นสิ่งที่เกิดจากความเชื่อและค่านิยม ที่สะท้อนให้เห็นถึงนิสัย ชอบที่จะ ตอบสนองต่อบางส่ิงหรือบางคนในเชงิ บวกหรือเชิงลบ และเจตคติอาจแตกต่างกนั ไปตามสถานการณ์บริบทเฉพาะ ค่านิยม (Values) เป็นหลกั ชี้นำทส่ี นบั สนุนสิ่งท่ีผ้คู นเชื่อว่ามีความสำคัญในการตัดสินใจในทุกด้านของ ชีวิตส่วนตวั และในทสี่ าธารณะ ซึง่ เปน็ ตัวกำหนดส่งิ ทีบ่ ุคคลให้ความสำคัญในการตัดสิน และสิง่ ท่ีบุคคลแสวงหา ในการปรับปรุงใหด้ ีข้นึ แผนภาพ ของ OECD สามารถอธิบายการเกดิ สมรรถนะ ได้วา่ “สมรรถนะ” เกิดจากการทผ่ี ู้เรียนไดป้ ระมวล ผสมผสานความรู้ ทกั ษะ เจตคติและคา่ นิยมในการลงมือ ปฏบิ ัติ (Action) ในงานหรอื สถานการณ์ ทเ่ี รยี กว่า “การประยุกต์ใช”้ ซึ่งผู้เรียนจะแสดง “สมรรถนะ” ออกมา เป็นพฤติกรรมและการกระทำที่สามารถสังเกตได้ จุดที่เป็นคานงัดสำคัญ คือ การประยุกต์ใช้ เป็นการให้ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่หลากหลายและแตกต่างจากการเรียนรู้และฝึกฝน

7 ในห้องเรียนด้วยตนเอง มักจะเชื่อมโยงกับการดำรงชีวติ จริงและสังคม ที่เป็นทั้งสถานการณ์จริง หรือใกล้เคียง ความจรงิ การพัฒนาสมรรถนะ เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง จำเป็นต้องฝึกฝนและทำซ้ำ ๆ จนเกิดความสามารถ และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น และเป็นเส้นทางการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน (Personal learning pathways) ซึ่งอาจแตกต่างกันไป กระบวนการ “ไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection)” เพื่อการวิเคราะห์และประเมินตนเอง สำหรับวางแผนการเรยี นรู้ด้วยตนเอง จะเป็นทักษะสำคญั ของการเรยี นรูต้ ลอดชวี ิต (Lifelong learning) สมรรถนะเปน็ สงิ่ ทตี่ ิดตัวผูเ้ รียน สามารถถา่ ยโอนไปปรับหรือประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและจัดการกับ สิ่งต่าง ๆ ได้ และด้วยการไต่ตรองและสะท้อนคิดจนเป็นนิสัย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และต่อยอดสมรรถนะ เฉพาะด้านตา่ ง ๆ สำหรบั การใชช้ ีวติ และการทำงานของตนในอนาคต Sarah Beckette (2020) ผ้เู ชีย่ วชาญดา้ นสมรรถนะได้อธิบาย ทักษะและสมรรถนะ ดงั น้ี ความเข้าใจท่ีชัดเจน: ทักษะ และสมรรถนะ • ทักษะและสมรรถนะ แตกต่างกัน ในมโนทัศน์ (Concept) ที่ใช้ในการทำงาน ทักษะเป็นการระบุ แต่เพียงว่า ในการทำงานชิ้นหนึ่งต้องใช้ความสามารถอะไรบ้าง แต่บอกไม่ได้ว่าถ้าจะทำให้ ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร ทั้งนี้ ทักษะเป็นองค์ประกอบของสมรรถนะ แต่สมรรถนะไม่ใช่ องคป์ ระกอบของทักษะ • ทักษะและสมรรถนะ มีความคล้ายคลึงกันได้ กล่าวคือ สมรรถนะในระดับเบื้องต้น จะให้คำจำกัด ความที่คลา้ ยกันกบั ทักษะ คอื เปน็ ความสามารถที่ได้จากประสบการณแ์ ละการฝึกฝน ๒.๓ แนวคดิ และลักษณะของการศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency - Based Education) การศึกษาฐานสมรรถนะ เป็นระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลเป็นสำคัญ ดำเนินการจัดการศึกษาโดยนำสมรรถนะของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ทั้งทางด้านหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัด และประเมินผล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัด และก้าวหน้าไปตามความสามารถของตน โดยเน้นการเชื่อมโยงกับบริบทชีวิตจริงและการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้จริง และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เพื่อการส่งเสริมและบ่มเพาะสมรรถนะผู้เรียนทุกคนเต็มศักยภาพ การศึกษาฐานสมรรถนะที่มีคุณค่าและ ประสบความสำเรจ็ นน้ั ต้องการความไว้วางใจ (Trust) และความรว่ มมอื ของสงั คม ชมุ ชน โรงเรียน ผ้เู รียน และ ครอบครวั ๒.๓.๑ แนวคดิ และหลกั การของหลักสตู รฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum: CBC) หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่มีพันธะต่อการความเจริญงอกงามและความสำเร็จของ ผู้เรียนทุกคน โดยใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้นที่ 1เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนผ่าน มวลประสบการณท์ างการเรยี นรู้ท่ีบรู ณาการอยา่ งมีความหมาย เพ่ือการประยกุ ต์ใช้ไดจ้ รงิ สำหรับการดำรงชีวิต ในสงั คม และตอบสนองตอ่ การพฒั นาผูเ้ รียนจำเพาะบุคคล จึงเปน็ หลักสูตรท่ียดึ ผเู้ รียนเปน็ ศนู ย์กลาง (Learner Centric) โดยคำนึงถึงความสนใจ ความถนัด ความพร้อม ความสามารถ ปัญหา และความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งความเหมาะสมกับบริบท วิถีชีวิต ภูมิสังคม ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ของผูเ้ รียน ครู และการเปลย่ี นแปลงของสงั คมและโลก หลักสตู รฐานสมรรถนะ มีหลักการสำคัญ ดังน้ี

8 1. เป็นหลักสูตรที่มีสมรรถนะเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน เป็นหลักสูตรฐานปฏิบัติ (Action Oriented) ที่มุ่งสู่การทำได้ (Able to Do) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่สำคัญและจำเป็นให้แก่ผู้เรียน ตามชว่ งวัย โดยมีการวัดและประเมินผลเพือ่ การพัฒนาอยา่ งต่อเนื่อง 2. เป็นหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Centric) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัด และก้าวหน้าไปตามความสามารถ รวมทั้งพัฒนาตนเองสู่ความเชี่ยวชาญ ได้ เปน็ หลกั สตู รทม่ี ุง่ พัฒนาผ้เู รียนเปน็ รายบคุ คล (Personalization) 3. เป็นหลักสูตรที่มีความเชื่อมโยงกับชีวิตจริง (Related to Real Life) ของผู้เรียน มีความหมายตอ่ ผูเ้ รยี น เพราะสามารถนำไปใชใ้ นชีวิตไดจ้ ริง 4. เปน็ หลักสูตรท่ใี ห้ความสำคัญกบั บริบทแวดล้อม (Contextualized) ทแ่ี ตกต่างกันของ ผู้เรียน ซง่ึ สง่ ผลตอ่ พฤตกิ รรมและการเรยี นรู้ของผู้เรียน 5. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ (Multidisciplinary) ช่วยให้ ผเู้ รยี นสามารถใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์ไดม้ ากขึ้น 6. เป็นหลักสูตรที่ยืดหยุ่น (Adaptive) สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของ ผเู้ รยี น ครู สงั คม และโลก 2.3.2 แนวคิดและหลักการของการจดั การเรยี นรฐู้ านสมรรถนะ (Competency-Based Instruction: CBI) การจัดการเรียนรฐู้ านสมรรถนะ เป็นกระบวนการพฒั นาผเู้ รียนเพอ่ื ใหเ้ กดิ การสั่งสมความสามารถ และเกดิ สมรรถนะตามที่กำหนด เปน็ การจดั ประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมทีส่ ร้างความสัมพันธ์ของ ผู้เรียนกับโลกรอบตัว โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนรู้ กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ เรียนรู้ด้วยตนเองและกับเพื่อน ๆ รวมถึงวิเคราะห์และจัดการการเรียนของตนเอง ในสภาวะแวดล้อมเชิงบวก ทีส่ ่งเสริมคุณคา่ ในการเรยี นรแู้ ละการดำรงชวี ติ ในสังคม การจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะจึงจัดการเรยี นร้โู ดยใช้ผลลัพธ์การเรยี นรู้เป็นเปา้ หมาย มุ่งเน้นผล ที่จะเกิดกับผู้เรียน ซึ่งก็คือ ความสามารถของผู้เรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ อยา่ งเปน็ องค์รวมในการปฏิบตั งิ าน การแกป้ ญั หา และการใช้ชีวิต เปน็ การเรียนการสอนที่เช่อื มโยงกับชีวิตจริง เรียนรู้เพื่อให้สามารถใช้การได้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตจริง เป็นการเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การเรียน เพ่ือรู้เทา่ น้นั การจดั การเรียนร้ฐู านสมรรถนะ มหี ลักการและแนวทาง ดังน้ี 1. มีการกำหนดสมรรถนะและผลลัพธ์การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเป็นเป้าหมาย นั่นคือมุ่งเน้น การพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยม อย่างเป็นองค์รวมในการปฏิบัติงาน การแกป้ ัญหา และการใชช้ ีวติ 2. เป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความแตกต่าง ของผู้เรียน เน้น “การปฏิบัติ (Action)” โดยมีชุดของเนื้อหาความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยม ที่จำเป็นต่อ การนำไปสู่สมรรถนะที่ต้องการ เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น และมีโอกาสได้ฝึกฝนการใช้ความรู้ในสถานการณ์ ปญั หา และอปุ สรรคทท่ี ้าทาย ทีจ่ ะชว่ ยใหเ้ กิดสมรรถนะตามเปา้ หมาย 3. มกี ารเรียนรู้ท่ีเช่ือมโยงกับชีวิตจริง เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต จรงิ โดยสง่ เสรมิ การใชค้ วามรขู้ ้ามศาสตร์ (Multidisciplinary) อยา่ งบูรณาการ (Integration) 4. มีการเสริมสร้างคุณลักษณะต่าง ๆ (Attitude/ Attribute) สร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ กระตนุ้ ความสนใจใฝร่ ู้ ท่สี รา้ งความรูส้ ึกเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เพือ่ ให้ผู้เรียนสามารถนำตนเองและกำกับการเรียนรู้

9 ของตนเองได้ (Self-directed Learning) โดยสามารถการเรียนรู้/ทำงานตามความถนัดและความสามารถของตน และสามารถก้าวหน้าไปเรว็ ช้าแตกต่างกันได้ (self-pacing) 5. มีการใหผ้ เู้ รยี นไดป้ ระเมนิ การเรียนรู้ของตนเองระหว่างเรียน (Assessment as Learning) เพื่อการปรับปรงุ วิธกี ารเรียนรู้ และผลการเรยี นรูข้ องตน 6. ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนเพื่อการปรับปรุงพัฒนาและให้ความช่วยเหลือ ตามความต้องการของผ้เู รยี น เปน็ ปจั จัยสำคญั ที่ช่วยให้เกดิ การเรยี นรู้ ฐานสมรรถนะประสบความสำเร็จ 2.3.3 แนวคิดและหลักการของการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ (Competency-Based Assessment: CBA) การวัดและประเมินฐานสมรรถนะ เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดสมรรถนะ หรือมีความก้าวหน้า ในสมรรถนะนั้น ๆ โดยพิจารณาจากการแสดงออกทางพฤติกรรมหรือการกระทำในการใช้ชีวิต การแก้ปัญหา และการปฏิบัติงาน เน้นใช้การประเมินเพื่อพัฒนาที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียน ก้าวหน้าในการเรียนรู้เป็นรายบุคคล และใช้หลักฐานที่แสดงความเชี่ยวชาญตามสมรรถนะที่กำหนดสำหรับ การประเมินเพ่ือสรุปผล การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะจะตอ้ งดำเนนิ การใหส้ อดคล้องกับหลกั สตู ร การวดั และประเมนิ ผลฐานสมรรถนะ มีหลกั การและแนวทาง ดงั นี้ 1. ให้ความสำคัญกับการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) โดยถือว่าการประเมิน เป็นกิจกรรมในกระบวนการเรียนการสอนตามปกติ ผู้เรียนมีการประเมินตนเองระหว่างเรียน (Assessment as Learning) เพ่อื นำผลการประเมินมาใช้ในการปรบั ปรุงวธิ ีการเรยี นรขู้ องตนให้ดีย่งิ ขน้ึ ก้าวหนา้ ข้ึน ครสู ังเกตและเก็บข้อมูล การเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอนของตน และพัฒนาการเรียนรู้ของ ผ้เู รียนใหด้ ขี ้นึ (Assessment for Learning) 2. การประเมินเพื่อพัฒนาใช้วิธีการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) จากสิ่งที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เช่น การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การประเมินจากชิ้นงาน จากการปฏิบตั งิ าน รวมไปถงึ การประเมินตนเองและการประเมินโดยเพ่ือน 3. การประเมนิ ตดั สินผล (Summative Assessment) จะม่งุ วดั สมรรถนะองค์รวม ที่แสดงถึง ความสามารถในการประยุกต์ใช้ K (Knowledge) S (Skill) A (Attitude and Values) ในการปฏิบัติงาน ในสถานการณต์ ่าง ๆ 4. การประเมินเพื่อตัดสินผล เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning) โดยใช้วิธีการวัดจากพฤติกรรม การกระทำ การปฏิบัติของผู้เรียนในสถานการณ์ต่าง ๆ (Performance Test) ที่แสดงออกถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้ K S A ตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance Criteria) และ หลักฐานการเรยี นรอู้ ืน่ ๆ (Evidence) เปน็ การประเมนิ แบบองิ เกณฑไ์ ม่ใช่อิงกลุม่ 5. การประเมินฐานสมรรถนะ มีการใช้สถานการณ์เป็นฐาน เพื่อให้บริบทการประเมินเป็นสภาพ จริง หรอื ใกลเ้ คียงสภาพจริงมากทส่ี ดุ 6. ผู้เรียนจะได้รับการประเมินเมื่อพร้อม หากไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนจะต้องได้รับการสอนซ่อมเสริมหรือได้รับความช่วยเหลือด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับปัญหาและ ความต้องการของผเู้ รียน จนสามารถผา่ นไดต้ ามเกณฑ์ จงึ จะกา้ วไปสกู่ ารเรยี นรใู้ นข้ันหรือระดบั ท่ีสงู ข้ึน 7. การรายงานผล เป็นการให้ข้อมูลพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้และการพัฒนาการของผู้เรียน ตามความเป็นจริงอย่างรอบด้าน ซง่ึ แตล่ ะสถานศกึ ษาสามารถพฒั นาขน้ึ ตามความเหมาะสมกับหลักสตู รสถานศึกษา

10 3. เป้าหมายของการพัฒนาผู้เรยี น การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... กำหนดเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตามช่วงวัยของผู้เรียน โดยกำหนดเป็น 4 ช่วงชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ช่วงชั้นที่ 2 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ช่วงชั้นท่ี 3 สำหรับนกั เรยี นช้ันมัธยมศึกษาปที ี่ 1 – 3 และช่วงช้นั ที่ 4 สำหรับนักเรยี นช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 4 – 6 โดยแต่ละช่วงวัยกำหนดให้ “ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น” เป็นเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน ที่เป็นความสามารถพื้นฐานท่ีสำคัญจำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคนที่สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ให้เกิดกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะที่ประกอบด้วยพฤติกรรมที่แสดงออกถึง ความสามารถตามสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะ สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย และใช้ระยะเวลา ในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายโดยประมาณ 3 ปี ทั้งนี้ ในการพัฒนาผู้เรียนครูผู้สอนต้องวิเคราะห์ ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น เพื่อกำหนดเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ตามชั้นปีตามลำดับพัฒนาการของผู้เรียน และลกั ษณะหรอื ธรรมชาตขิ องสาระการเรยี นรู้ ดงั น้ัน ในการจดั การเรียนรเู้ พอื่ พฒั นาผเู้ รยี นตาม (รา่ ง) กรอบหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ครูผู้สอนจำเป็นต้องรู้และและเข้าใจสาระสำคัญของส่วนประกอบที่ใช้ ในการนำเสนอสาระการเรียนรู้ ดังนี้ สมรรถนะหลัก (Core Competencies) ตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... หมายถึง สมรรถนะที่กำหนดให้เป็นพื้นฐานท่ีนักเรียนทุกคนต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นความสามารถติดตัว เมื่อจบการศึกษา มีลักษณะเป็นสมรรถนะข้ามสาระการเรียนรู้หรือคร่อมวิชา สามารถพัฒนาให้เกิดข้ึน แก่ผเู้ รียนไดใ้ นสาระการเรียนร้ตู า่ ง ๆ ทหี่ ลากหลาย หรือสามารถนำไปประยกุ ต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรยี นให้เรียนรู้ สาระต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เป็นสมรรถนะที่มีลักษณะ “content – free” คือ ไม่ขึ้นกับเนื้อหาสาระของศาสตร์ใด ๆ อย่างไรก็ตามสมรรถนะหลักโดยตัวมันเองไม่ได้ปราศจากความรู้ แต่ความรู้ท่ีเป็นองค์ประกอบของสมรรถนะหลัก จะเป็นองค์ความรู้เชิงกระบวนการ (Procedural Knowledge) ซึ่งเป็นชุดของขั้นตอนหรือการปฏิบัติเพื่อดำเนินการ ให้บรรลุเป้าหมายของสมรรถนะนั้น ๆ เป็นได้ทั้งกระบวนการที่ใช้เฉพาะศาสตร์หรือบูรณาการข้ามศาสตร์ เช่น ความรู้ที่เป็นองค์ประกอบของสมรรถนะการคิดขั้นสูงเป็นเป็นชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ประเภทตา่ ง ๆ เชน่ การคดิ วเิ คราะห์ การคดิ เชงิ วพิ ากษ์ และการคิดสร้างสรรค์ (รา่ ง) กรอบหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศกั ราช .... กำหนดสมรรถะนหลักที่จำเปน็ ต้องพัฒนาให้กับ นักเรียนระดบั การศึกษาข้ันพื้นฐาน 6 ด้าน ดังนี้ สมรรถนะหลกั นยิ ามสมรรถนะ 1. การจดั การตนเอง การรู้จัก รัก เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การพัฒนาปัญญาภายใน ตั้งเป้าหมายในชีวิตและกำกับตนเองในการเรยี นรู้และใช้ชวี ิต การจัดการ อารมณ์และความเครียด รวมถึงการจัดการปัญหาและภาวะวิกฤต สามารถฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุล (Resilience) เพื่อไปสู่ความสำเร็จของ เป้าหมายในชีวิต มสี ุขภาวะทดี่ แี ละมีสัมพันธภาพกบั ผู้อนื่ ไดด้ ี

11 สมรรถนะหลัก นิยามสมรรถนะ 2. การคิดขนั้ สูง สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสินใจอย่างมีวิจารญาณบนหลัก 3. การสื่อสาร เหตุผลอย่างรอบด้าน โดยใช้คุณธรรมกำกับการตัดสินใจได้อย่าง 4. การรวมพลังทำงานเป็นทมี มีวิจารณญาณ มีความสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยความเข้าใจ ถึงความเชื่อมโยงของสรรพส่ิงที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ใช้จินตนาการ 5. การเป็นพลเมืองท่ีเข้มแข็ง และความรู้สรา้ งทางเลอื กใหม่ เพื่อแกป้ ัญหาทีซ่ บั ซอ้ นไดอ้ ยา่ งมเี ปา้ หมาย 6. การอยู่รว่ มกับธรรมชาติ และ มีความสามารถรับรู้ รับฟัง ตีความ และส่งสารด้วยภาษาต่าง ๆ ทั้ง วิทยาการอย่างย่ังยืน วัจนภาษาและอวัจนภาษา โดยใช้กระบวนการคิด ซ่ึงจะนำไปสกู่ ารเรียนรู้ ความเข้าใจ ในระบบคุณค่า การแก้ปัญหาร่วมกันผ่านกลวิธีการสื่อสาร อย่างฉลาดรู้ สร้างสรรค์ มพี ลงั โดยคำนึงถึงความรบั ผิดชอบต่อสงั คม สามารถจัดระบบและกระบวนการทำงาน กิจการ และการประกอบการใด ๆ ทั้งของตนเอง และร่วมกับผู้อื่น โดยใช้การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีแผน ขั้นตอน ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย มีภาวะผู้นำ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการประสานความคิดเห็นที่แตกต่างสู่การตัดสินใจและ แก้ปัญหาเป็นทีมอย่างรับผิดชอบร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและ จัดการความขดั แยง้ ภายใต้สถานการณท์ ่ียงุ่ ยาก การปฏิบัตติ นอยา่ งรับผิดชอบ มคี ุณธรรม จริยธรรม ในฐานะพลเมืองไทย และพลโลก รู้เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เคารพในกฎกติกา และกฎหมาย มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ร่วมกับผู้อื่น ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย เห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รู้คุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ในประเทศและโลก มีบทบาทในการตัดสินใจและสร้างการเปลี่ยนแปลง ในชุมชน สังคม และประชาคมโลก โดยยึดมั่นความเป็นไทย ความเท่าเทียม และเปน็ ธรรม ค่านิยมประชาธปิ ไตย และสันตวิ ิธี มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและเอกภพ และ ความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต เห็นคุณค่า สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เพื่อ การดำรงชีวติ และอยู่รว่ มกับธรรมชาตอิ ย่างยง่ั ยนื สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competencies) เป็นสมรรถนะเฉพาะสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) เจตคติ (Attitudes) และค่านิยม (Values) ของแต่ละสาระการเรียนรู้ ทกี่ ำหนดสำหรับนักเรียนในแตล่ ะชว่ งชั้น ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น (Learning Outcome) เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ เมอื่ จบชว่ งช้ัน ผลลพั ธก์ ารเรียนรปู้ ระกอบด้วย พฤตกิ รรมทีส่ ะท้อนสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะ ทคี่ รผู สู้ อน ต้องนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียน ผลลัพธก์ ารเรยี นรเู้ ม่ือจบชว่ งชั้นเปน็ ภาพรวมความสามารถของนักเรียนตามสาระการเรียนรู้

12 ความรู้และสมรรถนะที่เชื่อมโยงกัน เป็นความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมของแต่ละสาระการเรียนรู้ ทต่ี ้องนำไปใชใ้ นการออกแบบหรือกำหนดสถานการณ์การเรียนรเู้ พื่อการพัฒนาผู้เรยี นให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ กำหนด ทั้งน้ี สถานศึกษาสามารถวิเคราะห์เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมที่สอดคล้องกับบริบท และจุดเน้นของสถานศึกษาได้ตามความเหมาะสม ตัวอย่างสถานการณ์ และกิจกรรม เป็นการนำความรู้และสมรรถนะที่เชื่อมโยงกันมากำหนดสถานการณ์ ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนหรือแสดงพฤติกรรมตามกระบวนการหรือขั้นตอนการเรียนรู้ที่กำหนด เพื่อให้เกิดสมรรถนะ ตามผลลพั ธก์ ารเรยี นรู้ สำหรับเอกสารคู่มือการใช้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... สำหรับช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3) นี้ กำหนดผลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้นที่ 1 ตามสาระการเรียนรู้ที่สำคัญจำเป็น สำหรบั นักเรียน 7 สาระการเรยี นรู้ ดังนี้ 1. สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย 2. สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3. สาระการเรยี นรู้ภาษาองั กฤษ 4. สาระการเรียรูศ้ ิลปะ 5. สาระการเรียนรสู้ ขุ ศึกษาและพลศึกษา 6. สาระการเรียนรู้สงั คมศึกษา ประวตั ศิ าสตร์ หนา้ ที่พลเมอื ง และศีลธรรม 7. สาระกาเรยี นรวู้ ทิ ยาศาสตร์ และระบบธรรมชาติ

13 4. การจดั การเรยี นรู้ชว่ งช้ันท่ี 1 (ป.1-3) ช่วงชั้นที่ 1 เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 หรือช่วงวัยของนักเรียนที่มีอายุ 7 – 9 ปี เป็นช่วงแรกของการศึกษาภาคบังคับ จัดการเรียนรู้เพื่อสร้างฐาน เครื่องมือการเรียนรู้และสุขภาวะของผู้เรียน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตามช่วงวัยและความต่อเนื่องของ การพัฒนา โดยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 2 จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างพัฒนาการของ นักเรียนทเ่ี ช่ือมโยงกับการจัดการศึกษาในระดบั ปฐมวยั ในขณะทชี่ ั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 3 จัดการเรยี นรเู้ พอื่ เสริม ความเขม้ แขง็ ในสาระการเรียนร้ทู ่จี ำเป็นตอ้ งใช้เปน็ เครื่องมือในการเรยี นรใู้ นชว่ งช้นั ท่ีสงู ข้นึ มงุ่ เน้นการพฒั นาผู้เรยี นในชว่ งชั้นท่ี 1 ให้มีสมรรถนะทเ่ี หมาะสมกบั วัย 6 ด้าน ได้แก่ การจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืน มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่สำคัญและจำเป็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ ในการเรียนรูแ้ ละการดำเนินชีวติ ประจำวนั พัฒนาและเสรมิ สร้างพืน้ ฐานความเป็นมนษุ ย์ ท้งั ดา้ นรา่ งกาย จติ ใจ อารมณ์ สังคม เรียนรู้และเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน เพ่ือการเปน็ พลเมืองทเี่ ข้มแข็ง และเรยี นรเู้ กี่ยวกบั ระบบธรรมชาติ และวทิ ยาการทางเทคโนโลยีอยา่ งรู้เทา่ ทนั การจัดการเรียนรู้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะหลักผ่านการพัฒนาสมรรถนะเฉพาะของ สาระการเรียนรู้ โดย • การพัฒนาสมรรถนะหลักผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนจะได้รับการพัฒนาและฝึกทักษะด้าน การฟัง ดู พูด อ่าน และเขียน และฝึกทกั ษะการใช้ภาษาไทยเพอ่ื การเรียนร้แู ละการทำงานอย่างเขา้ ใจธรรมชาติ ของภาษา สถานการณ์และกิจกรรมท่ีนำมาใช้พัฒนาความสามารถทางภาษาจะส่งเสริมให้นักเรียนเกิด สมรรถนะหลักทัง้ 6 ดา้ น • การพัฒนาผ่านสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนจะได้รับการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ ด้านการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร อย่างเป็นองค์รวม คู่กับการพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะหลักทัง้ 6 ด้าน • การพัฒนาสมรรถนะหลักผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ นักเรียนจะได้รับการพัฒนาและฝึกทกั ษะ การฟงั พดู อ่าน และเขยี นภาษาองั กฤษเพ่อื การส่ือสารดว้ ยคำและประโยคงา่ ย ๆ ส้นั ๆ เพ่ือแสดงความคดิ เห็น และสะท้อนความรสู้ กึ กบั บคุ คลที่อยใู่ กลต้ วั รวมถงึ การใช้ภาษาเพ่ือการเรียนรู้ และทำงานร่วมกบั ผอู้ ่ืน กิจกรรม การเรียนรู้ส่งเสรมิ ให้นกั เรียนเกิดสมรรถนะหลกั ทั้ง 6 ด้าน • การพัฒนาผ่านสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นักเรียนต้องได้รับการส่งเสริมให้เจริญเติบโต และมีพัฒนาการตามวัยผ่านการเล่นกิจกรรม กีฬาอย่างสนุกสนานและปลอดภัย รู้จักใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อ สร้างเสริมสุขภาพและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น สามารถใช้ทักษะเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดสมรรถนะด้านการจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสารการรวม พลังทำงานเป็นทีม การเปน็ พลเมอื งท่ีเข้มแข็ง และการอยรู่ ว่ มกบั ธรรมชาติ และวิทยาการอยา่ งยั่งยนื • การพัฒนาผ่านสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนจะได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก และส่งเสริมให้แสดงออกเพื่อสื่อสารสิ่งที่ได้รับรู้ด้วยผลงานทางศิลปะ การร้อง เล่น เต้น และเคลื่อนไหวตาม เสียงดนตรีอย่างมีจินตนาการ แสดงออกถึงความซาบซึ้งด้วยการวิเคราะห์ วิพากษ์ และเชื่อมโยงผลงานศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) กับวัฒนธรรม ในชีวิตประจำวันและในท้องถิ่น กิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้ นักเรียนเกิดสมรรถนะด้านการจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมอื งทเี่ ขม้ แขง็ และการอยูร่ ่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยงั่ ยืน

14 • การพัฒนาผ่านสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม นักเรียน จะได้รับการพัฒนาให้เข้าใจในประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมของครอบครัว โรงเรียนและชุมชน รู้เคารพสิทธิ ของผู้อื่น และรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ใช้ชีวิตประจำวันอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม กำกับตนเองในการใช้จา่ ยของครอบครัว โรงเรียนและชุมชน และใฝท่ ำความดี และไมเ่ บียดเบียนผอู้ ื่น กจิ กรรม การเรยี นรู้ส่งเสรมิ ให้นกั เรียนเกิดสมรรถนะด้านการจดั การตนเอง การคดิ ขนั้ สงู การสือ่ สาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และการอยรู่ ่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยัง่ ยืน • การพัฒนาผ่านสาระการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ และระบบธรรมชาตินักเรียนจะได้รับ การพัฒนาให้เข้าใจระบบธรรมชาติ ด้วยการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวที่สนใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น เน้นให้ผู้เรียนสืบเสาะและแก้ปัญหา โดยใช้ความรู้และ กระบวนการทางวทิ ยาศาสตรเ์ ปน็ พื้นฐาน ใช้เทคโนโลยีเพือ่ เขา้ ถงึ แหลง่ ข้อมูลอย่างปลอดภยั สร้างเจตคติทด่ี ตี ่อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปรับตัวและอยู่ร่วมกับธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร กิจกรรมการสืบเสาะและแก้ปัญหาทางวทิ ยาศาสตร์จะส่งเสริมให้นักเรียนเกดิ สมรรถนะด้าน การจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสาร การรวมพลังทำงานเป็นทีม การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวทิ ยาการอยา่ งยัง่ ยนื

15 5. ความสัมพันธ์ของสมรรถนะหลกั กบั สาระการเรยี นรู้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... กำหนดสมรรถนะหลัก 6 ด้าน และสมรรถนะเฉพาะ ตามสาระการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาสมรรถนะหลักทั้ง 6 ต้องอาศัย การออกแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านการพัฒนาสมรรถนะตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่สอดคล้องและสัมพันธ์กัน ในช่วงชั้นที่ 1 กำหนดสมรรถนะเฉพาะเพื่อเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้และพัฒนาสมรรถนะหลัก ผ่าน 7 สาระ การเรียนรู้ ซง่ึ แตล่ ะสมรรถนะหลักสามารถพัฒนาผา่ นแตล่ ะสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 5.1 สมรรถนะด้านการจดั การตนเอง การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการตนเองในช่วงชั้นที่ 1 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้การรู้จัก รัก เห็นคุณค่า ในตนเองและผู้อื่น การพัฒนาปัญญาภายใน ตั้งเป้าหมายในชีวิตและกำกับตนเองในการเรียนรู้และใช้ชีวิต การจัดการอารมณ์และความเครียด รวมถึงการจัดการปัญหาและภาวะวิกฤต สามารถฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุล (Resilience) เพื่อไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายในชีวิตมีสุขภาวะที่ดีและมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ผ่าน 7 สาระ การเรยี นรู้ ดงั น้ี • การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการตนเองผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ต้องการพัฒนาให้นักเรียน รู้จัก รัก เห็นคุณค่าในตนเองผ่านการปฏิบัติกิจกรรมด้านภาษาทั้งการฟัง ดู อ่าน พร้อมทั้งพูดและเขียน เพื่อสื่อสารกับผู้อื่นด้วยความเข้าใจ และใช้ความสามารถด้านภาษาสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นเพื่อการทำงาน ใหป้ ระสบความสำเรจ็ อย่างมเี ปา้ หมาย • การพัฒนาสมรรถนะดา้ นการจดั การตนเองผ่านสาระการเรียนรูค้ ณติ ศาสตร์ ต้องการพัฒนาใหน้ กั เรียน มีความสามารถในการวิเคราะห์ความสามารถของตนเองเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่มี ความยากลำบาก รู้จักจุดเด่นที่ทำให้ตนเองสามารถแก้ปัญหาได้ รู้จักจุดด้อยที่เป็นปัญหาของตนเอง รู้จักความยาก ของปญั หาและจัดการกบั ความยากนั้นด้วยตนเองอย่างสมเหตสุ มผล • การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการตนเองผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ต้องการพัฒนา ให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้และทำงานรว่ มกับผู้อื่นอย่างรูเ้ ป้าหมาย และนำตนเองไปสู่เป้าหมายดว้ ยความภาคภูมใิ จ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการตนเองผ่านสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และศิลปะ มุ่งให้นักเรียนมีการเจริญเติบโต และได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แสดงความรู้สึก และสื่ออารมณ์ ตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ก่อเกิดการพัฒนาทางจิตใจให้สามารถเผชิญและจัดการปัญหาอย่างมีสติ และนำตนเองไปสู่การแกป้ ญั หาได้ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการตนเองผ่านสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่มีต่อตนเองและสังคมจะเป็น สงิ่ ยึดโยงให้นกั เรยี นแสดงพฤตกิ รรมต่อสงั คมอย่างถูกต้องเหมาะสม และไมท่ ำให้ผู้อ่นื เดอื นร้อน • การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการตนเองด้านการจัดการตนเองผ่านสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ ระบบธรรมชาติ จะทำให้นักเรียนได้รู้จักและซึมซับความรู้เกี่ยวกับระบบธรรมชาติรอบตัวด้วยการสังเกต ตั้งคำถาม และเก็บเกี่ยวความรู้จากปรากฎการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง จะส่งเสริมเจตคติและคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์ รับรู้ความสนใจและความชอบต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียน นำไปสู่การตั้งเป้าหมายในชีวิตและกำกับตนเอง ในการเรียนรู้และใช้ชีวติ

16 5.2 สมรรถนะด้านการคดิ ข้ันสงู การพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูง ในช่วงชั้นที่ 1 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสินใจอย่างมีวิจารญาณบนหลักเหตุผลอย่างรอบด้าน โดยใช้คุณธรรมกำกับการตัดสินใจได้ อย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของสรรพส่ิง ที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ใช้จินตนาการและความรู้สร้างทางเลือกใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมี เปา้ หมาย ผา่ น 7 สาระการเรยี นรู้ ดงั นี้ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูงผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนจะได้รับการพัฒนา ทักษะการคิดวิเคราะห์สารสนเทศจากการฟัง ดู และอ่าน ฝึกทักษะการสังเคราะห์และตัดสินใจ อย่างมีวิจารณญาณ สื่อสารความเขา้ ใจผ่านการพดู และเขยี นตามธรรมชาตแิ ละหลกั การใช้ภาษาไทย • การพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูงผ่านสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มุ่งพัฒนาให้ความสามารถ ด้านการคิดของนักเรียนผ่านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน นักเรียนต้องใช้ความสามารถ ในการคิดเชื่อมโยงระหว่างความเป็นธรรมชาติกับคณิตศาสตร์ ต้องใช้กระบวนการให้เหตุผลเพื่อสร้างข้อสรุป ในการสร้างทางเลือกเพอื่ แกป้ ญั หา สง่ เสริมให้นักเรยี นเกดิ ความคิดสรา้ งสรรค์ในการเรียนรู้ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูงผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เป็นการส่งเสริมให้นักเรียน เกิดความสามารถด้านการคิดด้วยการรับสารผ่านการฟัง การอ่าน และการดู จากสื่อที่นำเสนอเรื่องราว ในรูปแบบต่าง ๆ วิเคราะห์ตัดสินใจอย่างมีเหตผล และสื่อสารความรู้ความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจความรู้ ด้วยการเขยี นหรือการพูดอยา่ งเปน็ ธรรมชาติ • การพฒั นาสมรรถนะด้านการคดิ ขั้นสงู ผา่ นสาระการเรยี นรู้ศิลปะ ม่งุ ใหน้ กั เรยี นรับรคู้ วามเชือ่ มโยงของ สรรพสิ่งที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ด้วยการสังเกต ทดลอง และใช้จินตนาการเพื่อการแสดงถึงสิ่งที่ได้รับรู้ ผ่านเสยี ง ท่าทา่ ง และภาษาอยา่ งสรา้ งสรรค์ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูงผ่านสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มุ่งส่งเสริมให้ นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสินใจข้อมูลสารสนเทศอย่างมีวิจารญาณบนหลักเหตุผล อย่างรอบด้าน ความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ทางกายและจิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโต อยา่ งมีสุขภาพ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสงู ผ่านสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมอื ง และศีลธรรมมุ่งพัฒนาความสามารถด้านการคิดผ่านการเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างอดีต ปัจจุบัน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสนิ ใจอยา่ งมีวิจารญาณบนหลักเหตุผล ใช้คุณธรรมตามหลกั การของศาสนาที่นับถือเป็นหลัก ในการตัดสินใจเพ่ือตนเองและสงั คม • การพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดข้ันสูงผ่านสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และระบบธรรมชาติ ม่งุ พัฒนาความสามารถดา้ นการคิดของนักเรียนผ่านกระบวนการสบื เสาะหาความร้ดู ้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการคิดขั้นสูงผ่านประเมินและออกแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพอ่ื การทำความเข้าใจ และแก้ปัญหาในชวี ิตประจำวัน รวมถงึ ใช้เป็นเครือ่ งมือในการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม ทเ่ี หมาะสม

17 5.๓ สมรรถนะดา้ นการสอื่ สาร การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสาร ในช่วงชั้นที่ 1 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถรับรู้ รับฟัง ตีความ และส่งสารด้วยภาษาต่าง ๆ ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา โดยใช้กระบวนการคิด ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ ความเข้าใจในระบบคุณค่า การแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านกลวิธีการสื่อสารอย่างฉลาดรู้ สร้างสรรค์ มีพลัง โดยคำนึงถึงความรบั ผดิ ชอบต่อสงั คม ผ่าน 7 สาระการเรียนรู้ ดังนี้ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มุ่งพัฒนาความสามารถของ นักเรียนในการรับข้อมูลสารสนเทศด้วยการฟัง ดู และอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กระบวนการคิดเพื่อให้เกิด การเรยี นรู้ พร้อมทงั้ สอ่ื สารด้วยความเข้าใจดว้ ยการพูด เขยี น ทา่ ทาง หรอื อน่ื ๆ เพ่ือให้ผอู้ ื่นเขา้ ใจ • การพฒั นาสมรรถนะด้านการสื่อสารผา่ นสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คณติ ศาสตรเ์ ป็นสาระการเรียนรู้ ที่มีสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารหรือสื่อความหมาย การสื่อสารผ่านสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จึงมุ่งเน้นให้นักเรียน สามารถรับสารที่มีการนำเสนอด้วยภาษาคณิตศาสตร์อย่างมีเหตุผล และสามารถสื่อสารแนวคิด วิธีการ แก้ปญั หาดว้ ยภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ พร้อมทัง้ ใช้ความสามารถในการสอื่ สารดา้ นคณิตศาสตร์ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ นักเรียนจะได้รับการพัฒนา ความสามารถในการสื่อสาระด้วยภาษาอังกฤษ ทั้งการฟังและการพูดกับบุคคลที่อยู่ใกล้ตัว ฝึกทักษะการใช้ ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ด้วยการอ่านและเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นและสะท้อนความรู้สึก รวมถงึ การใช้ภาษาเพอื่ แก้ปญั หาในการทำงานรว่ มกับผู้อ่นื อยา่ งฉลาดรู้ สร้างสรรค์ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารผ่านสาระการเรียนรู้ศิลปะ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนสื่อสารอย่างมี สุนทรีย ความสามารถรับรู้ รับฟัง ตีความ และส่งสารด้วยภาษาต่าง ๆ ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ด้วยการสัมผัส ซึมซับสุนทรียภาพและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนง ร้อง เล่น เต้น และเคลื่อนไหว ตามเสียงดนตรี สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ อย่างอิสระ รวมทั้งการพูดให้ความเห็นกับผลงาน ศลิ ปะ วฒั นธรรม ในชีวิตประจำวนั และในทอ้ งถิ่น • การพัฒนาสมรรถนะด้านการสือ่ สารผ่านสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มี เจริญเติบโตด้วยสุขภาพกายและจิตที่ดี ใช้ความสามารถในการสื่อสารเพื่อการดำเนินชีวิตและสร้างสัมพันธภาพที่ดี กับผู้อื่นอย่างมีความสุข ร่วมกิจกรรมทางกายด้วยความเข้าใจในกฎ กติกา รับรู้ รับฟัง ตีความ และกระบวนการคิด เกี่ยวกับสารสนเทศต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างฉลาดรู้ สรา้ งสรรค์ มพี ลงั และความรับผิดชอบต่อสงั คม • การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารผ่านสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมทำกิจกรรม ในชีวิตประจำวันที่แสดงถึงความตระหนักและเห็นคุณค่าในประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมของครอบครัว โรงเรียนและชุมชน ใช้กระบวนการคิดไปสู่การเรียนรู้ ความเข้าใจในระบบคุณค่า และการแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านกลวธิ ีการสื่อสารอยา่ งฉลาดรู้ สร้างสรรค์ มพี ลงั • การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารผ่านสาระการเรียนรู้วทิ ยาศาสตร์ และระบบธรรมชาติ มุ่งพัฒนา ความสามารถของนักเรียนในการรับรู้ รับฟัง และใช้กระบวนการคิด เพื่อการเรียนรู้และเข้าใจ สื่อสารความรู้ ความเข้าใจด้วยการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และใช้ใจภาษาเชิงวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แกป้ ัญหา และอยรู่ ่วมกนั อยา่ งฉลาดรู้ สรา้ งสรรค์ และมีพลงั

18 5.4 สมรรถนะด้านการรวมพลงั ทำงานเป็นทมี การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีม ในช่วงชั้นที่ 1 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถจัดระบบ และกระบวนการทำงาน กิจการ และการประกอบการใด ๆ ทั้งของตนเอง และร่วมกับผู้อื่น โดยใช้การรวมพลัง ทำงานเป็นทีม มีแผน ขั้นตอน ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย มีภาวะผู้นำ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการประสานความคิดเห็นที่แตกต่างสู่การตัดสินใจและแก้ปัญหาเป็นทีมอย่างรับผิดชอบร่วมกัน สร้างความสัมพันธท์ ดี่ ีและจัดการความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์ทย่ี ุ่งยาก ผา่ น 7 สาระการเรียนรู้ ดังนี้ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มุ่งพัฒนา การจัดระบบและกระบวนการทำงานของตนเองร่วมกับผู้อื่น ผ่านการสื่อสารด้วยภาษาไทย ทั้งการฟัง ดู อ่าน พูด และเขียนด้วยความเข้าใจธรรมชาติของการใช้ภาษา ใช้ภาษาเพื่อแก้ปัญหาเป็นทีมอย่างรับผิดชอบร่วมกัน สรา้ งความสัมพันธท์ ีด่ ี และจดั การความขัดแย้ง • การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผล ผ่านการสื่อสารที่ชัดเจน สามารถใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ทำให้การทำงานมีแนวคิดที่สอดคล้องกันและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทำให้นำไปสู่การตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างมี ประสทิ ธภิ าพ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การฟัง พูด อ่าน เขียน และการใช้ภาษาอย่างมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้เกิดการสื่อสาร อย่างเป็นขั้นตอน เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ได้อย่างสนั ติ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านสาระการเรียนรู้ศิลปะ การร้อง เล่น เต้น เป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่การหาทางออกจากการแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน รวมทั้ง การร่วมมือกันทำกิจกรรมจะทำให้เกิดความเข้าใจลักษณะของเพื่อนร่วมทีม และศักยภาพของทีมซึ่งนำไปสู่ การวางแผนการดำเนนิ การต่าง ๆ อย่างมีประสทิ ธิภาพ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา การใช้ทักษะในการดำเนินชีวิตและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทำให้สามารถจัดการความสัมพันธ์และ ความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้เกิดความคล่องแคล่วในการแก้ปัญหา ท่ีต้องใช้การปฏิบัติได้ดยี ิ่งขึน้ • การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม การรวมพลังทำงานเป็นทีมจำเป็นที่จะต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น และรับผิดชอบ ต่อบทบาทหน้าทีข่ องตนเองไปพร้อมกัน โดยสามารถฝึกฝนและเรยี นรู้ผ่านการใช้ชีวิตประจำวันและการกำกับตนเอง ซงึ่ จะสง่ ผลใหเ้ กิดภาวะผูน้ ำ และทำความเขา้ ใจสภาพสงั คมรอบตัวตามความเป็นจริง • การพัฒนาสมรรถนะด้านการรวมพลังทำงานเป็นทีมผ่านสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และระบบ ธรรมชาติ การประเมินการและออกแบบการสืบเสาะเชิงวิทยาศาสตร์ ทำให้สามารถแก้ปัญหาและปรับปรุง กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อนำผลการแก้ปัญหาหรือหลักฐานมาตีความหมายข้อมูล อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ จะสามารถทำความเข้าใจผลของการแก้ปัญหาด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามบทบาทและความรับผิดชอบของตนเองในฐานะสมาชิกของทีม จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกัน ใหม้ ีประสิทธิภาพมากข้ึน

19 5.5 สมรรถนะดา้ นการเป็นพลเมอื งทเี่ ข้มแข็ง การพัฒนาสมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ในช่วงชั้นที่ 1 มุ่งพัฒนาผู้เรียนในการปฏิบัติตน อย่างรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ในฐานะพลเมืองไทย และพลโลก รู้เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและ ผู้อื่น เคารพในกฎกติกาและกฎหมาย มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลาง ความแตกต่างหลากหลายเห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รู้คุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในประเทศและโลก มีบทบาทในการตัดสินใจและสร้างการเปลี่ยนแปลง ในชุมชน สังคม และประชาคมโลก โดยยึดมั่นความเป็นไทย ความเท่าเทียมและเป็นธรรม ค่านิยม ประชาธปิ ไตย และสนั ติวิธี ผ่าน 7 สาระการเรียนรู้ ดังนี้ • การพฒั นาสมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองท่ีเข้มแข็งผ่านสาระการเรียนรู้ทางภาษา การฟงั พดู อ่าน เขียน และสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ รับฟังและเปิดรับความคิดเห็นของผู้อื่นโดยลดอคติของตนเอง ใช้เหตุผล และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันโดยสันติวิธี บนพื้นฐานความเป็นไทย และการใช้ภาษา เพอ่ื การเรียนรู้และการทำงานรว่ มกันอย่างสร้างสรรค์ตามเสรภี าพของตนเอง เคารพสิทธิของผู้อน่ื และกฎระเบียบ ทีต่ ้งั ขน้ึ รว่ มแสดงความคิดเห็นอยา่ งมีเหตุผลและแก้ปญั หาโดยสนั ตวิ ิธี • การพัฒนาสมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งผ่านสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหา สื่อสารและนำเสนอข้อมูลตามหลักคณิตศาสตร์อย่างเป็นกลาง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และสร้างการเปล่ียนแปลงในชุมชน สงั คม และประชาคมโลก • การพัฒนาสมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งผ่านสาระการเรียนรู้ศิลปะ การสื่อสารควา มคิด ผ่านจินตนาการเพื่อแสดงออกถึงการปฏิบัติตนในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก อยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลาง ความแตกต่างหลากหลาย เห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รู้คุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในประเทศและโลก บนพื้นฐานความเป็นไทย ความเท่าเทียมและเป็นธรรม ค่านิยมประชาธปิ ไตย และสนั ตวิ ธิ ี • การพัฒนาสมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งผ่านสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา การเจริญเติบโตอย่างมีสุขภาวะ ดำเนินชีวิตอย่างมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น อยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลาง ความแตกต่างหลากหลาย เห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างปลอดภัย เพ่อื แสดงออกถงึ หนา้ ท่ีความเป็นพลเมอื งอย่างเหมาะสม • การพัฒนาสมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งผ่านสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม การปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ในฐานะพลเมืองไทยและ พลโลก รู้เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เคารพในกฎกติกาและกฎหมาย มีส่วนร่วมทางสังคม อยา่ งมวี ิจารณญาณ อย่รู ว่ มกบั ผ้อู ่ืนทา่ มกลางความแตกต่างหลากหลาย เหน็ คณุ คา่ ของศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์ รู้คุณค่าของประวัติศาสตร์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในประเทศและโลก มีบทบาท ในการตัดสินใจและสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชน สังคม และประชาคมโลก โดยยึดมั่นความเป็นไทย ความเทา่ เทยี มและเป็นธรรม คา่ นิยมประชาธิปไตย และสันตวิ ธิ ี • การพัฒนาสมรรถนะด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งผ่านสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และระบบธรรมชาติ ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ และหาคำตอบด้วยความคิดเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจ การเปล่ียนแปลงของสถานการณใ์ นประเทศและโลก

20 5.6 สมรรถนะด้านการอย่รู ่วมกบั ธรรมชาติ และวิทยาการอย่างย่ังยนื การพัฒนาสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืน ในช่วงชั้นที่ 1 มุ่งพัฒนา ผู้เรียนให้มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและเอกภพ และความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต เห็นคุณค่า สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เพื่อการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างย่ังยนื ผา่ น 7 สาระการเรยี นรู้ ดงั น้ี • การพัฒนาสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืนผ่านสาระการเรียนรู้ ทางภาษา ด้วยใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ปรากฏของโลกและจักรวาล และเพื่อทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ประสิทธิภาพ ทำให้เข้าถึงและรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี ตามความความอยากรู้อยากเห็น และช่างสังเกต ซ่งึ เปน็ พ้นื ฐานของการดำรงชวี ติ และอยรู่ ่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน • การพัฒนาสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืนผ่านสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสารและนำเสนอ เพื่อสร้างข้อสรุปทั่วไป เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและจักรวาล รวมถึงเห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ธรรมชาตใิ นชีวติ ประจำวนั นำไปสกู่ ารสร้างสรรคน์ วตั กรรม • การพัฒนาสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืนผ่านสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา การใช้ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพเพือ่ ส่งเสริมการการดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ และ อยรู่ ่วมกบั ธรรมชาตอิ ยา่ งยั่งยนื • การพฒั นาสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยง่ั ยืนผ่านสาระการเรียนรู้ศิลปะ การใช้จินตนาการในการคิด การแก้ปัญหา รวมถึงการทำความเข้าใจ เข้าถึง และเห็นคุณค่าของปรากฏการณ์ ของโลกและจกั รวาล • การพัฒนาสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืนผ่านสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม การดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีความ รบั ผดิ ชอบต่อส่ิงแวดล้อม • การพัฒนาสมรรถนะด้านการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืนผ่านสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ ด้วยการอธิบายปรากฏการณ์ของโลกและจักรวาลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ใช้การประเมินและการออกแบบการสืบเสาะเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรมสำหรับ การดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ และสื่อสารด้ายภาษา เชิงวทิ ยาศาสตร์ที่เหมาะสม

21 6. แนวทางการจดั การเรียนร้ฐู านสมรรถนะใน 7 สาระการเรยี นรู้ การพัฒนาสมรรถนะหลัก 6 ด้าน ตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ต้องอาศัยการพัฒนาผู้เรียนผ่านสมรรถนะฉพาะของสาระการเรียนรู้ 7 สาระที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ศิลปะ สุขศึกษาและพลศึกษา สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หนา้ ทพี่ ลเมือง และศีลธรรม และวิทยาศาสตร์ และระบบธรรมชาติ รายละเอยี ดดงั นี้

22 สาระการเรยี นร้ภู าษาไทย  สาระสำคัญของสาระการเรียนรู้ ความสำคัญของสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย การใช้ภาษาไทยเป็นสมรรถนะที่ต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อให้สามารถสื่อสารในบริบทต่าง ๆ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามกาลเทศะ และมมี ารยาท รวมท้งั สามารถใชเ้ รียนร้ไู ดท้ ัง้ ในและนอกโรงเรยี น สาระการเรียนรู้นี้ มีสมรรถนะเฉพาะ 4 สมรรถนะ ได้แก่ 1) ฟัง ดู และพูดด้วยความเข้าใจ 2) อ่าน ด้วยความเขา้ ใจ 3) เขียนแสดงความเข้าใจ และ 4) เข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทย สมรรถนะเฉพาะทั้ง 4 สมรรถนะดังกล่าว มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสมรรถนะหลักทั้ง 6 สมรรถนะ และบรู ณาการกันเปน็ ผลลัพธ์การเรียนร้ชู ่วงชนั้ 10 ขอ้ ซ่งึ เป็นเปา้ หมายของชว่ งชั้นน้ี ผลลัพธก์ ารเรียนรชู้ ่วงชั้นท่ี 1 ทง้ั 10 ข้อ นำไปกำหนดเป็นผลลัพธ์การเรยี นรชู้ ั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 โดยต้องคำนึงถึงการบูรณาการสมรรถนะหลักและสมรรถนะเฉพาะด้วย เพื่อให้เมื่อผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์ การเรยี นร้ชู ั้นปีแลว้ จะนำไปสู่การบรรลผุ ลลัพธ์การเรียนรชู้ ว่ งชั้นตามที่หลกั สูตรกำหนดไว้ ลกั ษณะเฉพาะ/ ธรรมชาติของสาระการเรยี นรู้ การเรียนรู้ภาษาไทยในช่วงชั้นที่ 1 เป็นการเรียนรู้การใช้ภาษาที่เริ่มต้นจากสถานการณ์ หรือบริบท ใกลต้ ัวของนกั เรยี นท้งั ในและนอกโรงเรยี น นักเรียนจะได้รับการพัฒนาสมรรถนะการฟังจากการฟังสิ่งต่าง ๆ และการดูภาพ เพื่อเรียนรู้คำศัพท์ และสร้างความเข้าใจเรื่องราว ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาสมรรถนะการพูดสนทนา และการเล่าเรื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ แสดงความคิดเห็นและความรู้สึก รวมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ของตนเองอย่างมี ประสิทธิภาพ ถกู กาลเทศะ บุคคล และมีมารยาท ในขณะเดียวกัน นักเรียนก็ต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะการอ่านจากการอ่านบทอ่านประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สามารถอ่านออกและเข้าใจเนื้อหาสาระของบทอ่านไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาสมรรถนะการเขียน เพื่อให้สามารถเขียนสะกดคำได้ถูกต้องตามโครงสร้างภาษา และเขียนข้อความแสดงความรู้ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก โดยใช้คำและประโยคได้อย่างถูกหลักการใช้ภาษาในการสื่อความหมาย เพื่อสื่อสาร และเรียนรู้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ และมมี ารยาทในการอา่ นและการเขียน ทั้งน้ี วิธีการสอนอา่ นเขียนแบบแจกลูก สะกดคำ และอ่านตามครู ยังคงเป็นวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ สำหรับจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน สามารถอา่ นออกและเขียนได้ จุดเน้นการพัฒนา การสอนภาษาไทยในช่วงชั้นที่ 1 เป็นการพัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษาของนักเรียน ผ่านการเรียนรู้ หลักภาษาไทยและโครงสร้างภาษาไทยพื้นฐานจากสื่อต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดสมรรถนะการใช้ภาษา เพ่อื ส่อื สารในบริบทต่าง ๆ และเกดิ สมรรถนะการใช้ภาษาในฐานะเครือ่ งมือการเรยี นรู้ การจัดการเรียนรู้ในช่วงชั้นที่ 1 เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยคำนึงพัฒนาการการเรียนรู้ ภาษาของนักเรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่เพิ่งก้าวออกมาจากระดับปฐมวัย หรือครอบครัว นักเรียนจึงมี ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งด้านการใช้ภาษา การเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน และการใช้ชีวิตกับผู้อื่นที่ไม่ใช่ คนในครอบครัว ในเบื้องต้นครูควรจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถในการรับรู้และการเรียนรู้ ของนักเรียน ปรับพื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน โดยออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนฐาน ของ สถานการณ์ หรือบริบทใกล้ตัวของนักเรียนทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น การใช้ภาษาพูดเพื่อสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เช่น ห้องเรียน ห้องสมุด โรงอาหาร รวมทั้งออกแบบกิจกรรมการอ่านและการเขียนโดยใช้วิธีการสอน

23 ที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนอ่านออกและเขียนได้ เข้าใจโครงสร้างและความหมายของคำ ประโยค และ ข้อความ โดยใช้บทอ่านในหนังสือเรียนภาษาไทยและหนังสือเรียนวิชาต่าง ๆ รวมทั้งบทอ่านอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เชน่ ปา้ ยโฆษณา ประกาศ นทิ าน หรือกวนี ิพนธ์ เป็นตน้ การนำไปใช้ในชวี ติ จริง การเข้าใจธรรมชาติของภาษาและการใช้ภาษาไทยในช่วงชั้นนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้นักเรียน ได้ฝึกการฟัง การดู การพูด การอ่าน และการเขียน ผ่านการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาและโครงสร้างภาษาไทย พื้นฐานจากส่ือต่าง ๆ เพื่อให้นกั เรียนเกิดสมรรถนะการใช้ภาษาเพือ่ ส่ือสารในบริบทต่าง ๆ และเกิดสมรรถนะ การใช้ภาษาในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้ ทั้งนี้ การสอนอ่านเขียนในเบือ้ งต้นเพื่อให้นกั เรียนสามารถอ่านเขียน ไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง ชดั เจน ยังคงเน้นการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำเปน็ หลัก จากน้นั จะเป็นการเรียนรู้ เกี่ยวกับการเข้าใจความหมายของคำ การนำไปใช้การแต่งประโยคง่าย ๆ ในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทง้ั การใช้ภาษาไทยได้อย่างเหมาะสมกบั กาลเทศะ การใช้ภาษาไทยเพื่อให้สามารถสื่อสารในบริบทต่าง ๆ ทั้งการเรียนในชั้นเรียนและทุกเวลาที่ ต้องมี การปฏิสัมพันธส์ ่ือสารกับผู้อืน่ นักเรียนจำเป็นต้องได้รบั การพัฒนาหรือฝกึ ฝนอย่างตอ่ เนื่อง เพื่อให้การสื่อสาร เป็นไปอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ การบรู ณาการกบั สาระการเรียนรตู้ า่ ง ๆ การเรยี นรภู้ าษาไทยในช่วงชนั้ ท่ี 1 น้ี นกั เรยี นจะได้เรยี นร้ผู ่านการรับสารต่าง ๆ ท้ังจากการฟัง ดู และ การอ่าน เพื่อให้สามารถส่งสาร คือ การเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล ด้วยเหตุน้ี การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกจากจำเป็นต้องเชื่อมโยงบนฐานของสถานการณ์ หรือบริบท ใกล้ตวั แลว้ ยงั ต้องมกี ารบูรณาการร่วมกับวิชาอน่ื ๆ เช่น คณิตศาสตร์ อา่ นและเขยี นแผนภาพแผนภูมิ แผนผงั ฟงั ดู และอ่านโจทย์คณติ ศาสตร์ ตคี วาม แกป้ ญั หา พูดนำเสนอ แสดงวิธีคดิ เขียนคำทีส่ ่อื ความหมายถึงการบวก การลบ การคณู การหาร แสดงความสมั พันธข์ องจำนวน ทีเ่ ปน็ รูปธรรม รับฟงั และอธบิ ายให้เหตุผลความสัมพนั ธข์ องจำนวน ภาษาองั กฤษ เรียนรู้ ฟงั ดู และพดู คำศพั ท์ ท้งั ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ศิลปะ วาดภาพประกอบคำ ประโยค เร่ืองราวเก่ยี วกับตนเอง ครอบครวั และชมุ ชน ดภู าพจิตรกรรม ฝาผนังแล้วบอกได้ว่าเป็นตอนใด เชื่อมโยงกับนิทานชาดกที่เคยอ่าน เขียนภาพลายไทย แล้วเขียนเรื่องราว เก่ยี วกับภาพที่ตนวาดขึ้นมา ร้องเพลง สุขศึกษาและพลศึกษา พูดนำเสนอเป้าหมายการเรียนรู้ ฟัง ดู และสรุปความรู้ที่ได้เรียนรู้จากคลิป สถานการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น อาหารขยะ โรคภัย ฟัง ดู และอ่านวิธีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ฉลาก ต่าง ๆ การปฏบิ ตั ติ นเก่ียวกบั สุขอนามยั อ่านสญั ลักษณ์ หรอื ปา้ ยเตอื นในโรงเรียน และชมุ ชน สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม อ่านแผนผังโรงเรียน แผนผงั หมู่บ้าน ชุมชน ที่ตนเองอยู่ อ่าน และเขียนบันทึกรายรับ – รายจ่ายในครัวเรือน เรียนรู้เรื่องราวจากบทอ่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ วันสำคัญประเพณีและวัฒนธรรม ชุมชน ท้องถิ่น สภาพแวดล้อม ศาสนา พิธีกรรม ประวัติของท้องถิ่น นิทาน ในท้องถิ่น เพลงพื้นบ้าน อ่านข้อมูลจากโบรชัวร์สินค้า หรือแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น สภาพอากาศ แผนท่ี การเดินทาง วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ สืบค้น หาแหล่งข้อมูลที่ต้องการศึกษาได้สอดคล้องกับ ความต้องการ หรือได้ตรงตามสถานการณ์ หรือข้อความที่กำหนดให้ สังเกต พูด เขียน หรือวาดภาพเกี่ยวกับ พืชและสัตว์ทีม่ ีในท้องถ่ินสรุปความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้จากปรากฏการณ์ ธรรมชาติ สถานการณ์ ในรูปแบบ ตา่ ง ๆ ตามความสนใจ เชน่ จดบันทกึ แผนทีค่ วามคิดอนิ โฟกราฟิกส์

24  ความสมั พันธ์ระหวา่ งสมรรถนะหลกั และสมรรถนะเฉพาะ สมรรถนะเฉพาะ สมรรถนะหลกั 1. ฟงั ดู และพูดด้วยความเข้าใจ 1.1 ฟงั และดูเพ่ือทำความเข้าใจข้อความ หรือเรื่องทไ่ี ด้ฟงั และดู 2. การคดิ ข้ันสูง หรอื มีผู้อา่ นใหฟ้ งั 3. การสอ่ื สาร 5. การเป็นพลเมืองท่เี ข้มแข็ง 1.2 พูดสือ่ สารใหผ้ ู้ฟังไดย้ ินและเข้าใจ 1.๓ สว่ นรว่ มในการสนทนาแลกเปลีย่ นความรู้ ความคดิ เห็น และ ประสบการณ์กับผอู้ น่ื ในสถานการณต์ า่ ง ๆ ด้วยความเข้าใจ และเคารพในความแตกตา่ ง 1.๔ สะทอ้ นการพูดของตนเองตามความเปน็ จรงิ อย่างเหมาะสม 2. อา่ นดว้ ยความเข้าใจ 2.1 อ่านออกเสยี งคำ คำคล้องจอง ขอ้ ความ เรื่องสั้น ๆ และบทร้อยกรอง 2. การคิดข้ันสงู งา่ ย ๆ อย่างคล่องแคลว่ 3. การสื่อสาร 2.2 เข้าใจความหมายของคำและขอ้ ความทอี่ ่าน 5. การเป็นพลเมอื งทเ่ี ข้มแข็ง 2.3 ฝกึ ฝนการอ่านจากส่อื ต่าง ๆ 2.4 ตั้งคำถามและตอบคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน 2.5 สรุปความรแู้ ละข้อคิดจากการอา่ น 3. เขียนแสดงความเข้าใจ 3.1 คดั ลายมอื ตามรูปแบบ และคัดลอกคำ หรือข้อความอยา่ งถูกต้อง 2. การคดิ ขน้ั สูง 3.2 เขียนสอ่ื สารดว้ ยคำและประโยคง่าย ๆ 3. การส่อื สาร 5. การเปน็ พลเมืองทเ่ี ข้มแข็ง 3.3 เขียนเรอื่ งจากประสบการณ์ หรือจนิ ตนาการและปรบั ปรุงแกไ้ ข ใหส้ มบูรณ์ 4. เขา้ ใจธรรมชาติของภาษาและการใชภ้ าษาไทย 4.1 เข้าใจและใช้ภาษาพูดและภาษาเขยี นเหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ 2. การคดิ ขั้นสูง 4.2 สะกดคำ เข้าใจความหมาย และนำไปใช้ในบริบทต่าง ๆ 3. การสื่อสาร 4.3 ระบชุ นิดและหนา้ ทีข่ องคำในประโยค และนำคำไปแต่งประโยคงา่ ย ๆ 5. การเปน็ พลเมอื งท่ีเข้มแข็ง ในบริบทและสถานการณ์ตา่ ง ๆ 4.4 เลือกใชภ้ าษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นไดเ้ หมาะสมกบั กาลเทศะ  ผลลัพธ์การเรยี นรเู้ มอื่ จบชว่ งชนั้ ที่ 1 1. ต้งั ใจฟงั และดเู พื่อทำความเขา้ ใจต้ังแต่ตน้ จนจบ และกลา้ แสดงออกถึงความเข้าใจ หรอื ไม่เข้าใจ อยา่ งเหมาะสม 2. พดู ส่อื สารในชวี ิตประจำวันอย่างเหมาะสมกบั บุคคลและกาลเทศะ 3. สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเหน็ และประสบการณ์ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ อย่างเหมาะสม

25 4. ต้งั ใจอา่ น และอา่ นออกเสยี งด้วยความม่นั ใจอย่างถูกต้อง ชดั เจน คล่องแคลว่ 5. เข้าใจความหมายของคำและขอ้ ความท่ีอ่าน และสรุปความรู้และขอ้ คิดที่ได้จากการอ่านส่ือตา่ ง ๆ 6. อ่านเร่ืองตามความสนใจ และมีนิสยั รักการอ่าน 7. เขียนคำ ประโยค และเรื่องราวส้นั ๆ ท่แี สดงออกถึงความสนใจ ความคดิ ความรูส้ ึก อย่างอสิ ระ และมีจนิ ตนาการ 8. เขยี นสอ่ื สารในชวี ิตประจำวันไดช้ ดั เจน ตรงตามวตั ถุประสงค์ เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ 9. ใช้ภาษาไทยในการพดู และการเขยี นได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ 10. มีเจตคติท่ีดีตอ่ การใช้ภาษาไทยอยา่ งถูกต้อง  แนวทางการจัดการเรยี นร้ฐู านสมรรถนะ 1. ฟัง ดู และพดู ด้วยความเขา้ ใจ ผลลพั ธก์ ารเรียนรเู้ มือ่ จบช่วงชั้น 1. ต้ังใจฟังและดูเพ่ือทำความเขา้ ใจตงั้ แต่ต้นจนจบ และกลา้ แสดงออกถึงความเข้าใจ หรือไม่เข้าใจอย่างเหมาะสม 2. พดู สือ่ สารในชีวิตประจำวนั อย่างเหมาะสมกับบคุ คลและกาลเทศะ 3. สนทนาแลกเปล่ยี นความรู้ ความคดิ เหน็ และประสบการณ์ในสถานการณต์ า่ ง ๆ อยา่ งเหมาะสม ความรแู้ ละสมรรถนะทีเ่ ชื่อมโยงกนั ตัวอยา่ งสถานการณ์ กจิ กรรม และเครอ่ื งมอื ทใ่ี ชส้ ำหรับนกั เรียน 1.1 ฟัง และดูเพอ่ื ทำความเขา้ ใจข้อความ หรือเรอื่ งทไี่ ด้ฟงั และดู หรือมีผอู้ ่านใหฟ้ ัง - มีสมาธจิ ดจ่อกับการฟัง จับสาระ - ฟงั เร่ืองราวอย่างหลากหลายท้ังจากนทิ านพน้ื บา้ น นิทานชาดก ของเรื่องราวได้ บทกวี บทเพลง ฯลฯ ที่เรยี บเรียงภาษาได้อยา่ งไพเราะ - จดจำข้อมูลและคำสำคญั เพ่ือนำไป มีภาพประกอบท่ีกระตุ้นให้เกิดจนิ ตนาการได้อยา่ งหลากหลาย ใช้ประโยชน์อยา่ งต่อเน่อื ง มรี ปู แบบทางศิลปะทีแ่ ตกตา่ ง - สร้างคลังคำศัพท์ และเข้าใจ - ทำกิจกรรมแลกเปล่ียนเรยี นรู้คลังคำศัพทจ์ ากนทิ านพ้ืนบา้ น ความหมายของคำศัพท์ได้ถูกต้อง นิทานชาดก บทกวี บทเพลง ฯลฯ ทำสมุดบนั ทึกคำศัพท์ - ออกเสียงคำ วลี ขอ้ ความ ประโยค - ครอู ่านวรรณกรรม นิทาน ขา่ ว เรอื่ งเล่า สารคดี วรรณคดี หรือ ไดถ้ ูกต้อง บทความให้นักเรียนฟัง หรือนักเรียนสลบั กนั อ่าน นักเรยี นอ่าน - อธบิ ายความหมายโดยนยั และใช้ ให้เพือ่ นฟัง เป็นตน้ เพื่อขยายขอบเขต คลงั คำศัพท์ และ ภาษาในการส่ือสารความหมายได้ การออกเสยี งให้ถูกตอ้ ง - ฟงั อยา่ งตั้งใจ และฟงั อยา่ งไมต่ ดั สิน - ครชู วนสนทนาเหตกุ ารณ์จาการฟงั หรอื การดู เช่น ความคิด - สรา้ งสรรค์ผลงานจากการฟัง และ ความรสู้ กึ จากการฟงั คำศัพท์ยาก คำศพั ทใ์ หม่ท่นี ักเรียนไมเ่ ขา้ ใจ นำสงิ่ ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ มตี วั ละครอะไรบ้าง เกดิ เหตกุ ารณ์อะไรขน้ึ เกิดขนึ้ ที่ไหน ใหม่ ทำไมตวั ละครนน้ั จงึ แสดงออกแบบนน้ั เพราะเหตุใด ถา้ นักเรียน เป็นตัวละครนั้นจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด - แบ่งกล่มุ นักเรียน 4 – 5 คน อภปิ รายแลกเปลี่ยนกันในหวั ข้อ ทีก่ ำหนด และสรุปความเข้าใจของตนเองในรูปแบบอสิ ระ

26 - ฟังโจทยค์ ณิตศาสตร์จากครู จากเพ่ือน เพื่อเข้าใจโจทย์ ตีความจาก โจทย์ในการคิดแกป้ ญั หาฟัง และดูเพ่ือนท่ีนำเสนอ หรือแสดงวธิ ีคิด บนกระดาน และร่วมกันอภปิ รายเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปญั หา - นักเรยี นรว่ มกนั สังเกตสิง่ ของท่ีครูนำมา เพือ่ นนำมา หรือชิ้นงาน ท่ที ำเสร็จ และรับฟังส่งิ ทเ่ี พอื่ นนำเสนอแลกเปล่ยี นกนั - ฟงั และดูเรื่องราวจากคลิปสถานการณท์ ่ีครใู ห้ ฟังเร่ืองเล่า ฟงั โจทย์ เงื่อนไข สถานการณ์การเรียนรแู้ ละรว่ มกันแลกเปลย่ี นนำเสนอ ความเขา้ ใจต่อสง่ิ ท่ีได้ดรู ว่ มกัน - นำคลงั คำท่บี นั ทกึ ไว้ไปสร้างนิทานเร่ืองใหม่ของตนเอง แล้วนำมา บอกเลา่ ใหเ้ พ่ือนได้ฟัง วาดภาพประกอบ เพอ่ื ถ่ายทอดความเขา้ ใจ จากคำไปสู่ภาพ 1.2 พดู ส่ือสารใหผ้ ู้ฟังได้ยินและเข้าใจ - พูดสือ่ สารแสดงออกถงึ ความต้องการ - เจา้ ของผลงานนำเสนอผลงานการพากย์เสียงประกอบนิทาน สื่อสาร และความรูส้ ึกของตนเองใหผ้ ู้อน่ื น้ำเสยี งของตวั ละครออกมาให้ผอู้ า่ นได้รบั รู้อารมณ์ ความรู้สึกของ รับรูแ้ ละเขา้ ใจ ตวั ละครแตล่ ะตวั - ใช้ภาษาพูดในการส่ือสารได้ถูกต้อง - ครนู ำเสนอเหตุการณ์ท่ีอาจเกิด หรอื ไม่เกิดในเรื่อง แตส่ ามารถ เหมาะสม ตคี วามได้จากบรบิ ทในเรอื่ ง เพ่อื ให้นักเรยี นตคี วามและพูดอภปิ ราย - ใช้ภาษากายที่เหมาะสม และ ค้นหาส่งิ อ้างอิงจากเรือ่ ง โดยใช้คำถาม ใคร ทำอะไร ทีไ่ หน เม่ือไร สอดคลอ้ งกับประเดน็ ท่ีพูดสอ่ื สาร อยา่ งไร ทำไม นักเรยี นคิดใคร่ครวญและเขียนลงในสมุด - แบ่งกลุ่มให้นักเรียนพูดสื่อสารใหผ้ ู้อนื่ เข้าใจความคิดของตนเอง ในกลุ่มย่อย โดยใหน้ ักเรียนเลือกหวั ข้อในการพดู ส่ือสารใหเ้ พื่อน เข้าใจ คนละไม่เกิน 3 นาที จากวรรณกรรมท่อี ่านวางแผน ฝึกซ้อม และนำเสนอครูและเพ่ือน สะท้อนให้ข้อแนะนำเพื่อ ปรับใช้ในคร้ังต่อไป - พดู อภิปรายเพ่ือหาทางเลือกในการแกป้ ัญหาจากโจทย์คณติ ศาสตร์ พูดความร้สู กึ ความคดิ จากโจทยแ์ ละส่งิ ที่ได้เรียนรู้และนำเสนอวิธกี าร คิดแกป้ ญั หาของตนเอง ระบคุ วามเหมอื นและความตา่ งในวธิ คี ดิ ของ ตนเองกบั ของเพือ่ น - พูดนำเสนอความเข้าใจจากโจทย์ หรอื กิจกรรมท่ีไดท้ ำ ส่งิ ที่ได้ เรยี นรู้ปัญหาท่พี บ แนวทางแก้ไขของตนเอง ในส่ิงท่ีแก้ได้ และไม่ได้ - พดู แสดงความคดิ เห็น ตอบคำถาม และนำเสนอชิ้นงานให้ครู และเพ่ือน เสนอแนะให้ขอ้ มูลป้อนกลับ เพื่อปรบั ใหส้ มบูรณ์ย่ิงข้นึ

27 1.3 มีสว่ นร่วมในการสนทนาแลกเปลย่ี นความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณก์ บั ผ้อู ื่น ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ดว้ ยความเข้าใจและเคารพในความแตกต่าง - ร่วมสนทนา ให้ข้อเสนอแนะ - ครจู ดั กิจกรรมบอกอารมณ์ ให้ผูเ้ รียนเลอื กภาพที่ตรงกับอารมณ์ และสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก ความรู้สกึ ของแตล่ ะคนในวันนี้ เพื่อใหผ้ ู้เรียนไดม้ โี อกาสส่ือสาร ของตน และรบั รู้อารมณ์ ความรู้สกึ อารมณ์และเรื่องราวของตนให้ผู้อนื่ ไดร้ ับรู้ ผ่านการอปุ มาโดยใช้ ของผทู้ ่ีกำลงั ร่วมสนทนาได้ ภาพต่าง ๆ เพื่อให้เพอ่ื นและครไู ด้มีโอกาสรบั รู้ความรูส้ ึก และ - วิเคราะห์ สนทนา สรปุ ความเขา้ ใจ ช่วยเหลอื ให้คล่ีคลาย ใหก้ ำลังใจ แลกเปลย่ี นวิธีการของเพ่ือน เก่ียวกับเนอ้ื หาของเรื่องท่ีอ่าน ในการทำใหอ้ ปุ สรรคผา่ นพ้นไปได้ บริบทของตัวละคร และนำมา - ครูยกตัวอย่างคำ หรือประโยคในเร่ืองเพ่ือชวนสนทนา แล้วต้งั คำถาม ปรบั ใชช้ ีวติ เพอ่ื เทยี บเคียงกับตนเอง เช่น - แสดงความคิดเหน็ และรับฟัง o สะทอ้ นสังคมอย่างไร ท้ังความเชือ่ ค่านิยม ประเพณี วฒั นธรรม ความคดิ เห็นของผู้อน่ื โดยไม่ตัดสิน o สะท้อนวถิ ีชวี ิตของคนในช่วงเวลานน้ั อย่างไร นักเรียนคิดใคร่ครวญคนเดยี วและเขยี นลงในสมุด หลังจากนัน้ เข้ากลมุ่ ยอ่ ย 4 - 5 คน เพ่ือพูดคยุ และแลกเปลี่ยนกัน นักเรียน แตล่ ะกลุ่มนำเสนอผลการพูดคยุ และแลกเปลีย่ นในประเด็นทีน่ ่าสนใจ ของกล่มุ ให้เพื่อนกลุ่มอนื่ ฟงั - แบ่งกลมุ่ นกั เรยี นรว่ มกนั วเิ คราะห์ สนทนา สรปุ ความเขา้ ใจเกยี่ วกับ เน้อื หาของเร่อื งที่อ่าน บริบทของตวั ละคร และระบุสงิ่ ท่ีจะนำมา ปรบั ใช้ชวี ติ ของตนเอง - นกั เรียนร่วมกนั พดู อภิปรายเพ่อื หาทางเลอื กในการแกป้ ญั หา จากโจทย์ใหม่ สถานการณใ์ หม่ และนำเสนอวิธกี ารคิดแก้ปญั หา ของตนเอง สง่ิ ท่ีจะนำไปปรบั ใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั ของตนเอง - วิเคราะหแ์ ละร่วมสนทนาแลกเปลยี่ นจากโจทย์จากสถานการณ์ เพ่อื เชื่อมโยงกบั การใช้ชีวิตของตนเองและผูอ้ ่นื และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ทเ่ี หมือน หรอื คลา้ ยกบั โจทยท์ ีค่ รใู ห้

28 1.4 สะท้อนความคดิ เหน็ ของตนเองและยอมรับฟังความคดิ เห็นของผู้อ่ืนต่อการพูด และการแสดงออกของตนเอง ตามความเปน็ จริง อย่างเหมาะสม - แก้ไขปรับปรุงการพดู ของตนเอง - จัดใหม้ ีกิจกรรมการพูดนำเสนอผลงานเจ้าของผลงาน และ เมอื่ ไดร้ ับผลสะทอ้ นจากเพื่อน ต้ังเป้าหมายในการปรบั ปรงุ การพูดให้มีคณุ ภาพมากยิ่งขึ้น และ และครู ฝกึ ซ้อมให้การนำเสนอมีความนา่ สนใจ - พดู สื่อสารตามความเปน็ จริง และสะท้อนผลการปฏบิ ตั ิ - ทำการประเมนิ ผลหลงั จากทีไ่ ดท้ ำกจิ กรรมเสรจ็ สิน้ ลงด้วยเครื่องมือ เพือ่ การพฒั นาตนเอง AAR (After Action Review) - เสนอแนะ แสดงความคิดเห็น - ครูเปดิ คลปิ วดี โี อตวั อย่างการพดู ทนี่ า่ สนใจ ใหน้ ักเรียนวเิ คราะห์ และรบั ฟงั ความคิดเหน็ ของผู้อ่นื จุดเด่น จดุ ทีค่ วรปรับร่วมกัน เชน่ น้ำเสยี ง ท่าที การใช้ภาษา โดยไมต่ ัดสิน ความมัน่ ใจ เน้ือหาหรอื หัวข้อ ดว้ ยการแลกเปลยี่ นในกลุ่มย่อย - เลอื กหัวขอ้ ในการพดู สอ่ื สารให้เพอ่ื นฟงั คนละไมเ่ กนิ 3 นาที จากวรรณกรรมท่ีอา่ น วางแผน ฝึกซอ้ ม และนำเสนอ (ครูอาจจะ ขออนุญาตบนั ทึกวีดีโอไวใ้ หน้ กั เรยี นไดด้ ูเพ่ือสะท้อนตนเอง) - เขียนสะท้อนตนเองจากการพดู ในมติ ิของจุดเด่น สิง่ ทท่ี ำได้ ตามเปา้ หมาย และส่ิงท่จี ะพัฒนา ครแู ละเพอ่ื นสะท้อนให้คำแนะนำ เพ่ือปรับใช้ในครั้งต่อไป โดยพูด หรือเขียนสะทอ้ นตนเองในกลุ่มยอ่ ย และกลุ่มใหญ่ หลงั จากทำกจิ กรรม หรอื สถานการณ์ทคี่ รูกำหนดให้ เช่น ไดท้ ำอะไร รู้สึกอยา่ งไร เจอปญั หาอะไร หรือแกไ้ ขอยา่ งไร เกดิ ความเขา้ ใจอะไรใหม่ จะนำไปปรบั ใช้ จะดีกวา่ น้ี ถา้ ... หรือการแก้ปญั หาจากโจทย์ ทง้ั สง่ิ ทีท่ ำไดด้ แี ล้ว สิ่งท่ีควรพัฒนา - พูดระบุปัญหาในการนำเสนอชิน้ งาน ขน้ั ตอนการทำงาน วธิ ีคิด แก้โจทยต์ า่ ง ๆ เชน่ การพูดเร็ว ช้า การพูดติดขัด พดู วกวนไปมา - พดู นำเสนอเป้าหมายการเรียนรคู้ อื อะไร บอกได้ว่าตอนนี้อยู่ตรงไหน จะมีวธิ ีไปสูเ่ ป้าหมายได้อย่างไร 2. อ่านด้วยความเข้าใจ ผลลพั ธ์การเรียนรูเ้ มอ่ื จบชว่ งชน้ั 4. ตัง้ ใจอา่ น และอ่านออกเสียงด้วยความมน่ั ใจอย่างถูกต้อง ชดั เจน คล่องแคลว่ 5. เข้าใจความหมายของคำและขอ้ ความที่อ่าน ตั้งคำถามและตอบคำถามสรปุ ความร้แู ละข้อคิด ชน่ื ชม แสดงความคิดเหน็ จากการอา่ นส่ือต่าง ๆ ทัง้ หนังสือ สื่อส่ิงพิมพส์ ่ือดจิ ิทัล และสบื คน้ ความรู้จากแหล่งความรู้ ทีห่ ลากหลาย 6. อา่ นเรื่อง วรรณคดีและวรรณกรรมสำหรบั เด็ก เพลงพืน้ บา้ น และเพลงกล่อมเดก็ ในท้องถนิ่ ตามความสนใจ และมนี ิสยั รักการอา่ น

29 ความรแู้ ละสมรรถนะท่เี ชื่อมโยงกัน ตัวอย่างสถานการณ์ กิจกรรม และเครอื่ งมือที่ใชส้ ำหรับนักเรียน 2.1 อ่านออกเสียงคำ คำคลอ้ งจอง ข้อความ เรื่องสั้น ๆ และบทร้อยกรองง่าย ๆ อยา่ งคลอ่ งแคลว่ - อ่านออกเสยี งชดั เจนและเข้าใจ - ทำกจิ กรรมเคลอื่ นไหวร่างกาย (อา่ นภาษากาย) แสดงท่าทาง ความหมายของเรอื่ งที่อา่ น ตามคำที่ครเู ลอื กมา แล้วพูดสนทนาเก่ยี วข้องกับเรื่องทจ่ี ะอ่าน - อา่ นออกเสยี งคำ คำคล้องจอง ตอ่ ไป ขอ้ ความ เร่ืองสั้น ๆ และ บทร้อยกรองง่าย ๆ ถูกต้อง - อา่ นภาษาท่าทางของเพื่อน วา่ เหมือน หรอื แตกต่างจากท่าทาง และคล่องแคลว่ ของตนเองอย่างไร และพูดคยุ กนั วา่ เหตใุ ดแต่ละคนจงึ เลือก ทำท่าทางเชน่ น้นั - อ่านภาษากายท่ีเพอ่ื นเลือกมานำเสนอ โดยใช้ภาพท่คี รเู ตรียมไวใ้ ห้ - คาดเดาจากภาพหนา้ ปกว่า เรือ่ งทจี่ ะได้อ่าน น่าจะเก่ียวข้องกับ เรอ่ื งใด

30 2.2 เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อา่ น - อธบิ ายความหมายของคำ หรอื - จดั ให้ผเู้ รยี นมปี ระสบการณ์ในการอา่ นนิทานร้อยแก้ว อา่ นนิทาน ขอ้ ความท่ีไม่รจู้ ักด้วยการคาดเดา คำกลอน อา่ นทำนองเสนาะ อา่ นบทกวี ฯลฯ เพ่อื ซึมซับความงาม จากความรูเ้ ดมิ ของตน การ ทางภาษา อย่างละเมยี ดละไม ในสภาพแวดล้อมทีส่ งบ สวยงาม สอบถาม เมอ่ื อา่ นจบชว่ งหนึง่ แลว้ จัดให้มกี ารสนทนา ตีความเรื่องทไ่ี ด้อา่ น จากผ้อู ืน่ และการค้นควา้ จาก เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของนกั เรยี น แหลง่ อ้างอิงทีน่ า่ เช่ือถือ - สนทนาถึงความหมายของคำทน่ี า่ สนใจ สถานการณท์ ่มี ีความกำกวม - เข้าใจความหมายโดยนยั ของคำ หรือ เปรียบเทยี บกับคำที่มีความชัดเจน ที่พบจากเร่ืองท่ีอ่าน และค้นหา ประโยค ข้อความที่อ่าน ความหมายเพม่ิ เติมจากพจนานุกรม - ตีความความหมายของคำ และ - ครนู ำเสนอเหตุการณท์ ี่อาจเกดิ หรือไมเ่ กดิ ในเร่ืองจากเรื่องที่อ่าน ขอ้ ความของเรื่องท่ีอ่าน และอธิบาย แตส่ ามารถตีความไดจ้ ากบรบิ ทในเรือ่ ง นักเรียนคิดใครค่ รวญ ไดส้ อดคล้องกบั ประสบการณ์ ตคี วาม และหาส่ิงอา้ งองิ จากเรอ่ื งแลกเปลีย่ นกนั (อาจเปน็ กลุ่มใหญ่ และบริบทของตนเอง หรือกลมุ่ ย่อย) และสรปุ ความเข้าใจในรูปแบบอสิ ระ - อ่านและวิเคราะห์โจทย์ได้ว่า เห็นอะไร โจทยบ์ อกอะไร โจทยไ์ ม่ได้ บอกอะไร โจทย์ต้องการหาอะไร จะหาคำตอบได้อย่างไร และ แลกเปล่ียนกบั เพ่ือน - อ่านตีความจากบทความ ข่าว หรือสถานการณต์ า่ ง ๆ ท่ีครูกำหนดให้ - สืบค้น หาแหล่งข้อมลู ที่ต้องการศกึ ษาไดส้ อดคล้องกับความตอ้ งการ หรอื ไดต้ รงตามสถานการณ์ หรอื ขอ้ ความท่ีกำหนดให้ 2.3 ฝึกฝนการอ่านจากสื่อต่าง ๆ ทั้งหนงั สือ ส่ือสงิ่ พมิ พ์ สอื่ ดจิ ทิ ลั และสบื ค้นความรู้ จากแหลง่ ความรู้ที่หลากหลาย - อ่านข้อความ อ่านภาพ และ - ดูภาพแลว้ เล่าเร่ืองประกอบภาพ (อ่านภาษาภาพ) เลา่ ถงึ ความหมาย เชื่อมโยงเข้ากับประสบการณไ์ ด้อย่าง ทภี่ าพกำลงั นำเสนอออกมาได้ หลากหลาย - ดภู าพจิตรกรรมฝาผนงั แลว้ บอกไดว้ า่ เปน็ ตอนใด เชื่อมโยงกบั - อ่านจับใจความเร่ืองที่อา่ น และ นิทานชาดกท่ีเคยอ่าน ตอบคำถาม ใคร ทำอะไร ท่ีไหน - เชอ่ื มโยงประโยชนท์ ่ีได้รับจากเร่อื งท่ีอ่าน เข้ากับประสบการณ์ อยา่ งไร เม่ือไร ทำไม และสามารถนำไปใชใ้ นชีวติ จรงิ ไดอ้ ย่างหลากหลาย - เรียบเรยี งเรือ่ งราวและลำดับ - อ่านเร่อื ง บทความ แผน่ พบั ปา้ ยโฆษณา หรือสื่อออนไลน์อน่ื ๆ เหตกุ ารณจ์ ากเร่ืองท่ีอา่ น จับประเด็นเร่ืองท่ีอา่ นและตอบคำถาม ใคร ทำอะไร ท่ีไหน อยา่ งไร - อา่ นหนังสือ ส่อื ส่งิ พมิ พ์ สือ่ ดจิ ทิ ลั เมอ่ื ไร ทำไม และสืบคน้ ความรู้ จากแหล่งความรู้ - ครชู วนสนทนาจากส่ิงทอ่ี ่าน เช่น คำศพั ท์ใหม่ คำศพั ท์ยาก อย่างสมำ่ เสมอ ประเดน็ ทส่ี ารน้ันต้องการสือ่ ความคืออะไร มีคำศัพทอ์ ่ืนอีกหรอื ไม่ ท่สี ามารถใช้แทน หรือมีความหมายโดยนยั เหมือนกัน นกั เรียน แลกเปล่ยี นกนั ในกลมุ่ ย่อย และนำเสนอในกล่มุ ใหญ่ - อา่ นขอ้ มลู จากโบรชัวรส์ ินคา้ หรือแพลตฟอร์มดจิ ทิ ัล เชน่ สภาพ อากาศ แผนที่การเดินทาง และพูดแลกเปลี่ยนเร่ืองราวจากส่ิงที่ได้

31 อา่ น เหน็ ความสัมพันธข์ องข้อมลู ว่าเกีย่ วข้องกับสิ่งใดบ้าง เชอื่ มโยง ส่กู ารใชช้ ีวิตประจำวัน - อา่ นแผนผังโรงเรยี น แผนผังหมู่บา้ น ชมุ ชน ทตี่ นเองอยู่ เพ่ือเขา้ ใจ ตำแหน่ง ที่ตั้ง ทต่ี ้ัง ระยะทาง และทศิ ทางของสง่ิ ตา่ ง ๆ - อา่ น และใช้ Google Earth คน้ หาตำแหน่งทบี่ า้ น เห็นสภาพภมู ิศาสตร์ ของหมบู่ ้าน จงั หวัด ประเทศ และสิง่ แวดลอ้ ม 2.4 ตั้งคำถามและตอบคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน - เข้าใจเร่ืองที่อ่าน และสรุปความ - ครูชวนสนทนา อา่ นจบเร่อื งแลว้ รู้สกึ อย่างไร มีความคิดอะไรเกิดข้ึน ย่อความ หรอื ขยายความเรื่องท่อี ่าน นักเรยี นตอบคำถามต่อความเขา้ ใจเร่ือง ใคร ทำอะไร ท่ีไหน อย่างไร - ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล ทำไมจงึ ทำอยา่ งนัน้ เก่ียวกับเรือ่ งท่ีอ่าน - อา่ นเร่อื งราวข่าวสาร ขอ้ มูลหลากชนิด แลว้ สรุปความ ยอ่ ความ - จบั ใจความ สรปุ ขอ้ คิดจากเร่ือง หรือขยายความ พร้อมท้งั จัดทำผังความคิด จัดทำภาพประกอบ ที่อา่ น และนำไปปรับใช้ในชีวิต เพอ่ื สรุป หรอื ขยายความเขา้ ใจให้ชดั เจนข้ึน - วิเคราะห์เร่อื งที่อา่ นได้หลากหลาย - ตอบคำถามสู่ความเขา้ ใจเรื่อง เช่น ครูตงั้ คำถามให้นักเรียนแตล่ ะคน มุมมอง และสมเหตสุ มผล คิด แสดงความคดิ และรับฟังเพื่อรบั รู้แงม่ ุมทตี่ า่ ง ๆ เกย่ี วกับ เรื่องทอ่ี ่าน - แลกเปล่ียน และตอบคำถาม คำตอบคอื อะไร มีวิธคี ิดอย่างไร เพือ่ นคิดอย่างไรกับวิธนี ี้ อยากปรับแก้ หรือเพิ่มเติมในวิธคี ิดของ เพือ่ นอย่างไร วิธีคิดของตนเองแตกต่างจากเพอ่ื นตรงไหน และ มวี ธิ ีไหนทำงา่ ยทสี่ ดุ จะรู้ได้อย่างไรว่า คำตอบนน้ั เป็นคำตอบ ท่ีถูกต้อง - อา่ นบทความ ตัง้ คำถาม ตอบคำถาม จัดกระทำข้อมูล และรว่ มกัน วิเคราะหจ์ ากบทความท่ีอา่ น ค้นหาความรหู้ ลัก - แบ่งกลุม่ นักเรียนค้นคว้าข้อมลู เพม่ิ เติมเพื่อตอบคำถาม ข้อสงสยั และสรา้ งความเขา้ ใจร่วมกัน เพอื่ ให้ได้ชดุ ข้อมลู ท่ีถูกต้อง 2.5 สรปุ ความรู้และข้อคดิ ชน่ื ชม และแสดงความคดิ เห็นเกี่ยวกบั วรรณคดแี ละวรรณกรรมสำหรับเดก็ เพลงพนื้ บ้านและเพลงกล่อมเดก็ ในทอ้ งถ่ิน และนำไปใชใ้ นชวี ติ ประจำวนั - แก้ไขปรับปรุงการอ่านของตนเอง - จดั ช่วงเวลาใหไ้ ด้ฟังการอา่ นของนักอา่ นมืออาชีพ หรือฟงั จากเสยี ง เม่อื ได้รับผลสะทอ้ นจากเพื่อน ของครูที่ฝกึ ซ้อมการอ่านในเรื่องนน้ั มาอย่างดี เพื่อรับรู้แบบแผน และครู การอ่านทถ่ี ูกต้อง - สรุปความรู้และข้อคิดจากเร่ืองที่ อ่าน - จัดชว่ งเวลาใหผ้ ู้เรียนทุกคนได้อ่านออกเสียง อ่านในใจ ทัง้ อ่าน แสดงความคิดเหน็ เกย่ี วกบั ดว้ ยกันและอ่านเด่ยี ว จดั มุมหนงั สือให้เลอื กอา่ นในช่วงเวลาอสิ ระ ข้อคิดที่ไดเ้ รียนรู้จากเร่อื งท่ีอ่าน อยา่ งหลากหลาย ตามความสนใจ หนังสอื ควรมสี ภาพสมบูรณ์ และนำไปใช้ในชวี ิต สะอาด และทำการหมุนเวยี นรายการหนงั สอื อยูเ่ สมอ - ผ้เู รียนตัง้ เปา้ หมายในการปรับปรุงการอ่านให้มีคณุ ภาพมากยง่ิ ข้นึ จากการได้รบั ฟังวธิ อี า่ นของนักอา่ นมอื อาชพี และการนำ ข้อสะท้อนคดิ ที่ไดร้ บั จากเพื่อนและครูไปพัฒนาการอ่านของตน

32 - ครูนำเสนอเหตกุ ารณท์ ี่อาจเกิด หรือไมเ่ กิดในเรอื่ ง แต่สามารถ ตคี วามไดจ้ ากบริบทในเร่อื ง นักเรียนคิดใครค่ รวญ ตคี วาม ค้นหา สิ่งอา้ งอิงจากเรื่อง และแลกเปลย่ี นกบั เพื่อน - เขียนสรุปความเขา้ ใจสิ่งที่ผูเ้ ขยี นตอ้ งการส่ือสาร และข้อคิดทไ่ี ด้ เรียนรู้จากวรรณกรรม - จับคู่ พดู คุยกนั และจดบันทึกสรุปสง่ิ ทีไ่ ด้เรยี นรู้ครั้งน้ีคืออะไร อะไร คอื ความเข้าใจใหม่ สิง่ น้ันมวี ิธกี าร หลักการอยา่ งไร - พูดคยุ แลกเปลีย่ นสิง่ ท่ีไดเ้ รียนรู้ ความเขา้ ใจใหม่ ร่วมกันท้ังหอ้ ง - สรุปความเข้าใจในสิง่ ที่ไดเ้ รียนรจู้ ากสถานการณ์ และโจทย์ ทีก่ ำหนดใหผ้ ่านชดุ คำถาม ได้ทำอะไร และรสู้ ึกอย่างไร เจอปัญหา อะไร หรือแก้ไขอยา่ งไร เกิดความเข้าใจอะไรใหม่ จะนำไปปรบั ใช้ จะดีกวา่ น้ี ถา้ ... ในรปู แบบตา่ ง ๆ ตามความสนใจ เชน่ จดบนั ทึก แผนท่คี วามคิด การ์ตูนช่อง อินโฟกราฟิกส์

33 ๓. เขียนแสดงความเขา้ ใจ ผลลพั ธ์การเรยี นรเู้ มอ่ื จบช่วงช้นั 7. เขยี นคำ ประโยค และเร่ืองราวสน้ั ๆ ที่แสดงออกถงึ ความสนใจ ความคดิ ความรูส้ ึก อยา่ งอิสระ และมจี ินตนาการ 8. เขยี นสื่อสารในชวี ิตประจำวนั ไดช้ ดั เจน ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ เหมาะสมกับบคุ คลและกาลเทศะ ความรูแ้ ละสมรรถนะทเี่ ชื่อมโยงกนั ตวั อย่างสถานการณ์ กิจกรรม และเคร่อื งมอื ทใ่ี ชส้ ำหรับนกั เรียน 3.1 คัดลายมอื ตามแบบ และคดั ลอกคำ หรือขอ้ ความ อยา่ งถกู ตอ้ ง - คดั ลอกคำ หรือข้อความถูกตอ้ ง - ทำกิจกรรมเขยี นคำจากภาพ เขยี นภาพวรรณรูป ด้วยลายมอื ตามรปู แบบการเขียน - นำลายมอื แบบต่าง ๆ มาใหผ้ ้เู รียนเลอื กไปเขียนข้อความตามหวั ขอ้ ตัวอักษรไทย สวยงาม และอา่ น ประจำวนั ทคี่ รูจัดมาให้เรียนรู้ หากคำใดสะกดไม่ได้ใหค้ น้ ควา้ จาก เขา้ ใจงา่ ย พจนานุกรม เขียนคดั ลอกขอ้ มูลท่คี ้นควา้ และศกึ ษาได้อยา่ งถูกต้อง - เข้าใจความหมายของคำศพั ท์ และ อ่านเข้าใจง่าย และคัดลายมือลงในสมุด ขยายคลังคำศัพท์ จากการค้นควา้ จากพจนานุกรม หรือแหลง่ การเรียนรู้ทีน่ ่าเชอื่ ถือ - ครูใหเ้ รยี นอ่านหรอื ดู นิทาน วรรณกรรม ข่าว เร่ืองเล่า สารคดี หรอื บทความให้นักเรยี นฟัง เชน่ ครอู ่านให้ฟัง นกั เรียนสลบั กันอา่ น นกั เรียนอา่ นเอง เป็นต้น - เลือกคำประทับใจ คำยาก หรอื คำที่ไม่คนุ้ เคย แล้วนำคำทีเ่ ลือก มาหาความหมาย แต่งประโยค แตง่ เรอ่ื ง เพ่ือสรา้ งคลังคำศัพท์ - เขยี นโจทย์ปญั หาตามที่ครกู ำหนดใหไ้ ดถ้ ูกต้อง ชัดเจน และแลกเปล่ยี น โจทยก์ ับเพอื่ นไดถ้ กู ต้อง อ่านเข้าใจงา่ ย - เขียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบตา่ ง ๆ ตามความสนใจ อา่ นเข้าใจง่าย ตรงประเดน็ เช่น จดบันทกึ แผนท่ีความคิด อินโฟกราฟิกส์ ๓.๒ เขียนสอื่ สารดว้ ยคำและประโยคง่าย ๆ - เขยี นคำที่พบบอ่ ยถกู ต้องดว้ ยตนเอง - จดั แสดงชิ้นงานท่ีเขียนขึ้นมาดว้ ยลายมอื ทีส่ วยงาม สะอาด และเขียนคำที่ต้องการเขียนถูกต้อง เรียบร้อยสะกดคำถูกต้อง เรยี บเรยี งภาษาได้ดี มาแบ่งปันให้เพื่อน ดว้ ยการคน้ ควา้ จากพจนานุกรม ได้ร่วมเรยี นรู้ อยา่ งเขา้ ใจความหมาย - ครแู นะนำให้แตล่ ะคนแกไ้ ขช้ินงานให้สมบรู ณ์ จากนนั้ นำไปจดั แสดง เพิ่มเติม โดยแสดงตัง้ แต่ช้นิ แรกจนกระทั่งถงึ ชิ้นล่าสดุ เพ่ือแสดง

34 - เขยี นคำ หรอื ข้อความถูกต้อง และ ใหเ้ ห็นว่าทกุ คนสามารถพฒั นาตัวเองใหด้ ีขึ้นได้ ถ้ามีความเพียร ตรงตามความหมายท่ีต้องการส่ือ พยายาม เปน็ การให้คุณคา่ กับผูม้ ีความเพียรในการฝึกหัดพัฒนา - เลอื กใชค้ ำไดห้ ลากหลาย ส่ือสาร ตนเอง ถกู ต้อง ตรงประเด็น - จดั ให้ผเู้ รยี นได้มปี ระสบการณ์ในการเขยี นเรื่องเลา่ นิทาน - จัดลำดับความคดิ และเขยี น คำคล้องจอง คำกลอน บทกวี ฯลฯ เพ่ือซมึ ซับความงามทางภาษา เรียบเรยี งคำไดถ้ ูกต้องตามหลกั ภาษา อยา่ งละเมียดละไม ในสภาพแวดลอ้ มท่ีสงบ สวยงาม และส่ือความชัดเจน - เลอื กฉาก หรือตอนทปี่ ระทับใจจากกการอ่าน และให้เหตุผลอา้ งองิ - วิเคราะห์ และตคี วาม เพ่ือเขา้ ใจ - ครูใหโ้ จทยน์ กั เรยี นเขยี น หรอื วาดภาพส่ือสารขอ้ ความ หรือประโยค คำ หรือประโยค ข้อความของเร่ือง ฉาก หรอื ตอนทีป่ ระทับใจ นักเรยี นนำเสนอแลกเปลีย่ นกับเพื่อน ทไ่ี ม่ไดบ้ อกโดยตรง และครู - เขยี นบันทกึ รายรบั - รายจ่ายในครัวเรือน - เขียนแผนภูมิ แผนผงั แผนภาพ เพื่ออธิบายความเข้าใจ การแก้ปัญหาจากโจทย์ - เขยี นสรปุ กระบวนการเรยี นรู้ และกจิ กรรมทที่ ำ เชน่ การเขยี นวิธีการ ออกแบบและเลีย้ งสตั ว์ไดอ้ ยา่ งเป็นขัน้ เป็นตอน การทำน้ำยา ทำความสะอาดบ้านท่ปี ลอดภยั ออกแบบอาหารใหส้ ตั ว์เลย้ี งกนิ แล้ว ปลอดภัย ออกแบบการจดั สภาพแวดลอ้ มใหส้ ัตวเ์ ล้ียงอยูไ่ ด้อย่าง ถกู สุขลกั ษณะ ๓.๓ เขยี นเรอ่ื งจากประสบการณ์ หรือจินตนาการและปรับปรุงแกไ้ ขใหส้ มบูรณ์ - เขา้ ใจเรอ่ื งทเี่ ขยี น สรุปความ - นำเร่ืองราวขา่ วสาร ข้อมลู หลากชนดิ มาเขียนสรุปความ ย่อความ ยอ่ ความ หรือขยายความเร่ืองทีต่ น หรือขยายความ พร้อมทั้งเขียนผงั ความคดิ เพือ่ สรปุ ความเขา้ ใจ เขยี นได้ ให้ชัดเจนขึ้น - พัฒนาการเขียนของตนเอง เม่อื ไดร้ ับ - เรียนรู้วิธีการเขยี นงานในรปู แบบตา่ ง ๆ ใหม้ ีคุณภาพ จาก แรงบนั ดาลใจ และได้รบั ผลสะท้อน บทสัมภาษณ์ จากเพ่ือนและครู - นกั เขยี นที่อยู่ในสอ่ื ต่าง ๆ ทง้ั ท่อี ย่ใู นรปู แบบของสิ่งตีพิมพ์ หรอื - จัดลำดับความคิด ลำดับเหตุการณ์ สื่ออ่ืน ๆ และเขียนส่ือเร่ืองราวได้อยา่ งชัดเจน เหมาะสมและนา่ สนใจ - เลอื กใชถ้ อ้ ยคำให้เกิดความไพเราะ ทง้ั ดา้ นเสียงและความหมาย เพื่อให้ผูอ้ ่านเกิดจินตนาการ ซาบซงึ้ และประทับใจ - เขียนขอ้ ความ ภาพ ผังมโนทศั น์ และเชอื่ มโยงกบั ความเขา้ ใจ ของตนได้อย่างหลากหลาย

35

36 - ตง้ั เป้าหมายในการปรบั ปรุงการเขยี นให้มคี ุณภาพมากย่ิงข้นึ จากการไดร้ บั ฟังวธิ กี ารเขียนของนักเขยี นมืออาชพี หรอื ครู และ นำขอ้ สะท้อนคิดจากเพอื่ นและครูไปพัฒนาการเขียนของตน - ทำการประเมนิ ผลหลังจากที่ไดท้ ำกิจกรรมเสรจ็ ส้นิ ลงดว้ ยเครอ่ื งมือ AAR (After Action Review) - ครชู วนสนทนาจากวรรณกรรมทอี่ า่ น เพอื่ เช่ือมโยงประสบการณ์ เดมิ ของนกั เรียน นักเรียนแลกเปลยี่ นกับคณุ ครูและเพ่ือน คิดใคร่ครวญ เขียนเรื่องจากประสบการณ์ หรือจนิ ตนาการ และ รา่ งเค้าโครงเร่ืองท่ีจะนำเสนอครใู หข้ ้อเสนอแนะเพื่อปรับแก้ไข ต่อเตมิ เคา้ โครงเรื่องใหด้ ียงิ่ ขึ้น นักเรียนลงมือเขียนเรอื่ งจาก ประสบการณ์ หรือจนิ ตนาการ ตามท่ีวางแผนไว้ นำเสนอใหค้ รู และเพื่อนสะท้อน Reflection - เขียนการต์ ูนช่องเกี่ยวกับคณติ ศาสตร์ในชีวิตประจำวนั หรอื ความเข้าใจ จากเร่อื งที่ไดเ้ รยี นรู้ นำเสนอชนิ้ งานให้ครูและให้เพือ่ นเสนอแนะ ให้ขอ้ มูลป้อนกลับ เพื่อให้สมบูรณย์ งิ่ ข้ึน - เขยี นบอกเลา่ เรอ่ื งราว ประสบการณ์การเรยี นรู้ หรอื แนวทางแก้ปญั หา จากโจทย์ หรอื สถานการณ์ต่างๆ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น นิทาน การ์ตูนชอ่ ง บทเพลง - ดูภาพแลว้ เขยี นคำอธบิ ายประกอบภาพ เขยี นเรื่องราวแล้วเขียน ภาพ และผงั มโนทศั น์ ประกอบ - เขียนภาพลายไทย แลว้ เขียนเร่อื งราวเก่ียวกับภาพทตี่ นวาดข้ึน รูจ้ กั ความงดงามในแบบของศลิ ปะไทย และช่นื ชมความงาม ของลายไทย - ดูภาพจิตรกรรมฝาผนังแลว้ เขียนอธบิ ายได้ว่าเปน็ ตอนใด เชื่อมโยง กับนทิ านชาดกท่เี คยอ่าน

37 ๔. เขา้ ใจธรรมชาตขิ องภาษาและการใชภ้ าษาไทย ผลลัพธ์การเรียนรู้เม่อื จบช่วงชน้ั 9. เข้าใจธรรมชาตขิ องภาษาและหลกั การใชภ้ าษา ภมู ปิ ญั ญาทางภาษา และใชภ้ าษาไทยในการพูดและการเขียน ได้ถูกต้อง เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ 10. มเี จตคติทีด่ ตี อ่ การใชภ้ าษาไทยอยา่ งถูกต้อง เหมาะสม ความรู้และสมรรถนะท่ีเชื่อมโยงกนั ตัวอยา่ งสถานการณ์ กิจกรรม และเคร่อื งมอื ที่ใช้สำหรับนักเรยี น ๔.๑ เข้าใจและใช้ภาษาพดู และภาษาเขียนเหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ - พดู และเขียนสะกดคำถูกต้อง - ครูนำนักเรยี นอ่านออกเสยี งเพื่อเรียนร้จู ังหวะการหายใจ วรรคตอน ตรงตามความหมาย และ และการเปลง่ เสยี งคำท่ถี ูก นักเรยี นอา่ นตามเพื่อน ต่อจากเร่ืองท่คี รู วัตถุประสงคข์ องการส่ือสาร นำอ่าน นักเรยี นอ่านออกเสียงพร้อมกัน - เลือกใช้คำ ประโยค และข้อความ - ครชู วนสนทนาเกยี่ วกบั เรอื่ งท่อี ่าน เชน่ เมอ่ื อา่ นจบแลว้ มีความรสู้ ึก ในการพดู และการเขยี นไดถ้ ูกต้อง อย่างไร มคี วามคดิ อะไรเกิดขนึ้ นักเรยี นตอบคำถามต่อความเข้าใจ เหมาะกับบุคคลและกาลเทศะ เรอื่ งทอี่ า่ น ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไมจึงทำอยา่ งน้นั - เลอื กรูปแบบงานเขยี นท่เี หมาะสม - เล่า สนทนา แลกเปล่ยี นความเขา้ ใจเก่ยี วกบั เร่ืองที่ฟังและอา่ น กับวัตถปุ ระสงค์ (อาจเปน็ กลมุ่ ใหญ่ หรือกล่มุ ย่อย) - จดั ลำดบั ความคดิ และเขียน - เลอื กคำ ประโยค และข้อความ เพ่ือนำไปฝึกการพูด และการเขยี น เรียบเรยี งคำได้ถูกต้องตามหลกั เกณฑ์ เรื่องราวตามสถานการณ์ที่ครกู ำหนด ทางภาษา และส่ือความไดช้ ัดเจน - สรปุ จดั ลำดบั ความคิด และนำเสนอในรูปแบบตา่ ง ๆ เชน่ นทิ าน การ์ตนู ช่อง ละคร เพลง เรอ่ื งสั้น ๆ แผนภาพโมเดล พาวเวอรพ์ อยต์ - รว่ มกันจัดนทิ รรศการ และพดู นำเสนอ เพอ่ื ถ่ายทอดให้ผอู้ ่นื เขา้ ใจ ๔.๒ สะกดคำ เขา้ ใจความหมาย และนำไปใช้ในบรบิ ทต่าง ๆ - พูดและเขยี นสะกดคำถูกต้อง ตรงตามความหมาย และนำไปใช้ ในส่อื สารในบรบิ ทต่าง ๆ - อ่านและเขียนคำศัพท์ใหม่ คำศัพท์ยาก ถูกต้องตามความหมาย และนำไปใช้ในการพูดและการเขยี น ตามวัตถุประสงค์ - ครูนำนักเรยี นอา่ นและเลอื กคำนาม คำกริยา แล้วแลกเปล่ียน สอื่ ความหมาย และฝึกอา่ นแบบแจกลกู สะกดคำ - ระดมความคิดหาความหมายของคำศัพทแ์ ละการส่ือความหมายของ คำท่ีเลือก และแลกเปลยี่ นความเข้าใจผ่านเคร่ืองมือ Blackboard Share - เขยี นสร้างคำใหม่ วลใี หม่ ประโยคใหมจ่ ากคำที่เลอื กลงในสมุด แล้วแลกเปล่ยี นกับเพ่ือน

38 - นำคำศัพทไ์ ปแตง่ ประโยค บทสนทนา ใช้ในบรบิ ทต่าง ๆ - อา่ นในใจ จับใจความ นักเรียนคดิ ใคร่ครวญเม่ืออา่ นเร่ืองจบแลว้ รสู้ ึก อย่างไร และตอบคำถามสคู่ วามเข้าใจเรื่อง เช่น ครูตัง้ คำถามเพ่อื ให้ เด็กแตล่ ะคนได้คดิ แสดงความคิด รับฟงั เพ่ือรับรู้แง่มมุ ที่ตกต่างเก่ยี วกับ เร่อื งทีอ่ า่ น เช่น ตวั ละครมีใครบา้ ง เรียงลำดบั เหตุการณ์ของเร่ือง สรุปเร่ือง หรอื ขอ้ คดิ ท่ีได้ วเิ คราะห์ หรอื สังเคราะห์ เหตุการณ์ ลกั ษณะนสิ ยั ของตวั ละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนัน้ สรุปเหตุการณ์ เทยี บเคยี งกับชวี ิตจรงิ การกระทำของตวั ละครเหมาะสมหรอื ไม่ อย่างไร เหตกุ ารณ์ตอ่ ไปจะเปน็ อยา่ งไร แตง่ เร่อื งใหม่ แต่งตอนจบใหม่ วาดภาพ ประกอบ ออกแบบฉาก การต์ ูนช่อง - ครูใหโ้ จทย์กบั นกั เรยี น เขียนคำทส่ี ื่อความหมายถงึ การบวก การลบ การคูณ การหาร เช่น ได้มา เพ่มิ ขน้ึ คร้งั ละเท่า ๆ กนั หายไป แบ่งครงั้ ละเท่า ๆ กัน ขาด กลบั มา ลดลง ใชไ้ มห่ มด นอ้ ยกวา่ มากกวา่ - แบง่ กลุม่ นักเรยี นในการแกโ้ จทยป์ ญั หา เพ่ือเห็นความสมั พนั ธข์ องจำนวน ที่เปน็ รปู ธรรม นกั เรียนแกโ้ จทย์ และอธิบายให้เหตผุ ลความสมั พนั ธข์ อง จำนวน - ครูใหจ้ ำนวนตวั เลขทีแ่ ทนกลมุ่ สมาชกิ หรือผลรวม แลว้ ใหน้ กั เรยี น สรา้ งโจทย์ปญั หาทีเ่ ป็นขอ้ ความทเี่ หน็ ความสอดคล้องของจำนวนตวั เลข ทกี่ ำหนดให้ - วิเคราะหโ์ จทย์ สถานการณ์ บทความ คำสำคัญทีค่ รูกำหนดให้ วเิ คราะห์ความสมั พนั ธ์เชื่อมโยงว่าเกี่ยวขอ้ งกับอะไรบ้าง - เลอื กคำสำคัญจากบทความ ตีความ เข้าใจความหมายของคำ และนำ มาเขยี นเล่าเรื่องราวให้สอดคลอ้ งกับประสบการณ์ และบริบทของตนเอง ๔.๓ แตง่ ประโยคงา่ ย ๆ ตามชนดิ และหน้าที่ของคำ ในบริบทและสถานการณต์ า่ ง ๆ - ใช้คำตามชนดิ และหน้าท่ีของคำ - นำคำพอ้ งรปู และคำพ้องเสียง มาสนทนากัน และนำคำไปเขียนเร่ืองราว แตง่ ประโยคงา่ ย ๆ สอ่ื สารในบรบิ ท ทีแ่ ตกตา่ งกัน โดยใช้คำหลักคำเดยี วกัน เพ่ือศึกษาวิธกี ารใช้คำในบริบท และสถานการณต์ ่าง ๆ อย่างถูกต้อง ทแ่ี ตกต่างกนั จากมมุ มองของเพ่ือนแตล่ ะคนที่มีความสามารถ - ใช้คำและประโยคเขยี นเรื่อง ในการอ่านและการเขียนใกล้เคยี งกนั ตามจินตนาการ - ครูนำนกั เรยี นอ่านออกเสียงคำนาม คำกรยิ าทีเ่ ลือกในนิทาน ต้ังคำถาม “ในนทิ านมีคำใดอกี บ้างท่นี ักเรยี นคิดวา่ เปน็ คำยาก หรอื คำท่สี นใจ ทีเ่ หมือนกับคำทเี่ ลือก” นักเรียนแลกเปลยี่ นคำที่คน้ หาและเลือกเพ่ิมเติม และนำคำนาม คำกรยิ าที่ค้นเพิ่มเตมิ ไปใช้แต่งประโยคที่มคี วามหมาย - ครนู ำนักเรยี นเขียน เลน่ เกมทายคำศัพท์ แสดงท่าทาง ผา่ นคำนาม คำกริยา นักเรียนค้นหาและเขยี นคำนาม คำกรยิ าจากคำที่นักเรียน ร้จู ักให้ได้มากทส่ี ดุ ลงในสมุด แลกเปลยี่ นคำนาม คำกริยากับเพื่อน แลกเปลย่ี นการส่อื ความหมายและการนำไปใช้

39 - นำคำศัพทท์ ี่คน้ หาท้งั คำนามและคำกริยา จากนิทาน ไปแตง่ เป็นเรอื่ งราว ในบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ และวาดภาพประกอบ - ครนู ำเสนอสิ่งของ เช่น ดนิ สอ ไม้บรรทดั ปากกา สมุด ธนบตั ร ยางลบ กาว หนังยาง เกา้ อ้ี ทีวี พดั ลม ฯลฯ ใหน้ ักเรียนรว่ มแสดงความคิดเหน็ เกีย่ วกบั การใชล้ กั ษณะนามแทนส่งิ ของแตล่ ะอยา่ ง เชน่ ดนิ สอ 1 แท่ง ยางลบ 1 กอ้ น ฯลฯ นักเรียนสรา้ งโจทย์ปญั หาเกยี่ วกบั จำนวน การบวก การลบ การคณู การหาร ใหเ้ หน็ ความสอดคล้องของลกั ษณะนามของสง่ิ ของ ทีต่ นเองเลอื ก จับคู่ รว่ มกนั คดิ สรา้ งโจทย์ปัญหา และนำโจทยป์ ญั หาน้นั แลกเปลยี่ นแสดงวธิ ีคิดแกโ้ จทยป์ ญั หากับเพอ่ื น - นำเสนอความเขา้ ใจ สง่ิ ท่ีจะนำไปปรับใช้ในชวี ิตเกี่ยวกบั เรื่องที่เรียนรู้ ผ่านงานเขียนการ์ตูนชอ่ ง นทิ าน - ดแู ละสรุปสิ่งทไ่ี ดเ้ รียนรจู้ ากคลิปสถานการณ์ต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วกบั ชวี ติ ประจำวนั เชน่ อาหารขยะ ครใู หโ้ จทยใ์ หมห่ ลงั จากดคู ลปิ “ทำอยา่ งไรจะลดอาหารขยะ ในครอบครวั เราลงได้ จะจัดการอยา่ งไรเพอื่ ไมใ่ ห้มีอาหารขยะในครอบครัว” นักเรยี นคดิ ใครค่ รวญกบั โจทยท์ ค่ี รูให้ ออกแบบวธิ กี ารจดั การอาหารขยะ ในรปู แบบของตนเอง และนำเสนอช้นิ งาน ครแู ละเพือ่ นเสนอแนะ ใหข้ ้อมูล ป้อนกลบั เพ่อื ปรบั ใหส้ มบรู ณย์ ิ่งข้นึ ๔.๔ เลือกใชภ้ าษาไทยมาตรฐานและภาษาถ่นิ ไดเ้ หมาะสมกบั กาลเทศะ - เลือกใชภ้ าษาไทยมาตรฐาน และ - ครูนำสนทนาเก่ยี วกับความสำคัญและการใชภ้ าษาไทยมาตรฐาน ภาษาถิ่นในการสื่อสารเหมาะสมกบั ทถี่ กู ต้องในชีวิตประจำวัน การติดตอ่ ราชการ บุคคล และกาลเทศะ - นำเสนอองค์ความรู้ผ่านรูปแบบท่ีหลากหลาย เชน่ การจัดนทิ รรศการ ละคร บทเพลง ดว้ ยการใช้ภาษาทเี่ หมาะสมกบั บคุ คลและบริบท - ครยู กตัวอย่างคำในภาษาถน่ิ จากวรรณกรรม และชวนนักเรยี นสนทนา เก่ียวกบั ความหมายที่มา รากเหง้าของคำเหลา่ นน้ั - ครูเปดิ เพลงทใ่ี ชภ้ าษาถิ่น ชวนนักเรียนฟงั อยา่ งตั้งใจ วิเคราะห์ ความหมายทเี่ น้ือเพลงต้องการสื่อสารนกั เรยี นเลอื กใชค้ ำภาษาถ่ิน ในการแต่งคำคลอ้ งจองหรือบทเพลงส้ันๆ และนำเสนอแลกเปล่ียนกัน เพอ่ื ใหเ้ ห็นความถูกตอ้ งของการใช้ภาษาถิน่ - อ่านโจทย์ ตีความ พูดนำเสนอความเข้าใจโจทย์ แสดงวิธคี ดิ แก้ปัญหา อธิบายดว้ ยการใช้ภาษาทเ่ี หมาะสมกับบุคคล ทงั้ ภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาถน่ิ - เลอื กใช้ภาษาไทยมาตรฐาน หรือภาษาถน่ิ ในการพดู นำเสนอ บอกเล่า ความรู้สกึ ความคดิ จากการเรียนรู้ ความเขา้ ใจใหม่ สิง่ ท่ีนำมาปรับใช้

40 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สาระสำคัญของสาระการเรยี นรู้ ความสำคัญของสาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์ คณติ ศาสตรม์ ีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของนักเรียนในช่วงช้นั ท่ี 1 ทำใหส้ ามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสินใจอยา่ งมเี หตุผล การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ใหก้ ับนักเรียนจะส่งผลให้ นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล สื่อสารนำเสนอ คิดสร้างสรรค์ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือ ในการนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือ ในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใกล้ตวั อยรู่ ่วมกบั ธรรมชาตแิ ละผู้อ่นื ในสงั คมได้อยา่ งมคี วามสุข ลกั ษณะเฉพาะ/ ธรรมชาตขิ องสาระการเรยี นรู้ คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ การคิด และการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 จะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์การ เรยี นรมู้ ากอ่ น ไดแ้ ก่ จำนวน การดำเนนิ การของจำนวน การวัด รูปเรขาคณติ แบบรูปและความสมั พันธ์ และสถิติ ท่ีเปน็ ความรู้เบอื้ งตน้ โดยใช้การให้เหตผุ ลทส่ี มเหตุสมผลสร้างองคค์ วามรูต้ ่าง ๆ ข้นึ และนำไปใชอ้ ยา่ งเปน็ ระบบ คณิตศาสตร์มีความถูกต้องเที่ยงตรง คงเส้นคงวา มีระเบียบแบบแผน เป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้ได้ข้อสรุป และนำไปใช้ประโยชน์ คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นภาษาสากลที่ทุกคนเข้าใจตรงกันในการสื่อสาร สื่อความหมาย และถ่ายทอดความร้รู ะหว่างศาสตรต์ า่ ง ๆ จดุ เน้นการพัฒนา ในสาระการเรยี นรู้นี้ สำหรบั นกั เรยี นในช่วงชั้นที่ 1 มีจุดเนน้ ในการพัฒนา ดงั นี้ จำนวนและการดำเนินการเป็นการเริ่มต้นพัฒนากระบวนการคิดโดยให้นักเรียนใช้จำนวนนับ และ การดำเนินของจำนวนนับไม่เกิน 100,000 และ 0 บูรณาการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ผ่านกิจกรรมแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จนเกิดความคล่องแคล่วและนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ คณติ ศาสตร์เนอื้ หาอ่ืน หรือวิชาอน่ื ได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ แบบรูปของจำนวนและแบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ของสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะแบบรูปผ่านกิจกรรมบูรณาการกับธรรมชาติและชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนใช้การค้นหา ความสัมพันธ์ สือ่ สารและนำเสนอขอ้ สรุปและขยายแนวคดิ นำไปสู่การสร้างสรรคผ์ ลงานตามจนิ ตนาการ เศษส่วนเป็นความรู้ที่ขยายแนวคิดมาจากจำนวนที่ไม่ใช่จำนวนนับ สำหรับช่วงวัยนี้จะเรียนรู้เกี่ยวกับ เศษส่วนที่ตัวเศษน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวส่วนโดยการบูรณาการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ผ่านกิจกรรมแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เนื้อหาอื่น หรือวิชาอ่ืน ได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ การวัดความยาว น้ำหนักและปริมาตร เน้นทักษะเกี่ยวกับการวัดโดยการลงมือปฏิบัติ ให้นักเรียนสังเกต เครื่องวัดและใช้เครื่องวัดให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด สื่อสารและเชื่อมโยงการวัดกับความรู้เรื่องจำนวน และการดำเนินการบูรณาการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันผ่านกิจกรรมแก้ปัญหาคณิตศาสตร์จนเกิด ความคล่องแคลว่ และใช้เปน็ ทักษะพ้นื ฐานในการสบื เสาะหาความรู้ในศาสตรแ์ ขนงอ่นื

41 เงินและการวางแผนเกี่ยวกับเงิน เน้นการสื่อสาร นำเสนอ และเชื่อมโยงความรู้เรื่องเงินกับความรู้ เรื่องจำนวนและการดำเนินการบูรณาการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันผ่านกิจกรรมแก้ปัญหา คณิตศาสตร์จนเกิดความคล่องแคล่ว นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและใช้เป็นทักษะพื้นฐานในวางแผนการเงิน เพอื่ นำไปส่กู ารจัดการเรื่องเงนิ อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ เวลาและระยะเวลาเป็นการบูรณาการให้นักเรียนใช้การสื่อสารเรื่องเวลาแล ะระยะเวลาผ่านการทำ กิจกรรมตา่ ง ๆ ในครอบครัว เพ่อื นและผูเ้ ก่ียวข้อง ชมุ ชนและสงั คม แก้ปัญหาเก่ยี วกบั เวลาและระยะ เพ่ือนำไปสู่ การจัดการเก่ยี วกบั เวลาของตนเองได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพผา่ นการบันทึกกิจกรรมท่ีระบเุ วลา ข้อมลู และการนำเสนอข้อมลู เปน็ การบรู ณาการใหน้ ักเรียนใช้การต้ังคำถามในส่ิงทส่ี นใจในชีวิตประจำวัน เก็บรวบรวมขอ้ มูลและนำเสนอข้อมูลผ่านกิจกรรมแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ และสามารถวิเคราะห์ แปลความหมาย จากแผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง ตาราง และนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อนำไปสู่กระบวนการ แก้ปัญหาทางสถติ ิ การนำไปใช้ในชวี ิตจรงิ เมื่อนักเรยี นไดฝ้ กึ ฝนและเรยี นรคู้ ณติ ศาสตรใ์ นชว่ งชัน้ ท่ี 1 จะทำใหน้ กั เรียนมองเห็นปัญหา และวเิ คราะห์ ปัญหาด้วยมุมมองของตนเองอย่างมีเหตุผลและมีแนวคิดที่หลากหลายและยืดหยุ่น ต่อยอดแนวคิดในการ แก้ปัญหาเพื่อสร้างแนวคิดใหม่หรือแก้ปัญหาในสถานการณ์อื่นซึ่งนักเรียนนำไปใช้ทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวนั แก้ปัญหาด้วยความมุ่งมัน่ ค้นหาข้อมูล หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจและอยากหาคำตอบ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ สำหรับตนเอง นอกจากนี้นักเรียนสามารถสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอแนวคิด ต่าง ๆ ของตนเองเพ่ือสนับสนุนแนวคิดของตนเอง หรือโต้แย้งแนวคิดของผู้อื่นอย่างสมเหตุสมผลซึ่งนำไปใช้ ในการอยูร่ ว่ มกนั ในสงั คมอย่างมีความสขุ การบรู ณาการกบั สาระการเรียนรตู้ า่ ง ๆ ภาษาไทย/ภาษาต่างประเทศ สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ หรือ เรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น อ่านและเขียนแสดงจำนวนสิ่งต่าง ๆ หรือจำนวนเงิน บอกเวลา บนั ทึกกิจกรรมท่รี ะบุเวลา รวมทงั้ ควรส่งเสริมการอ่าน การเขยี นและการใชภ้ าษาเพื่อนำเสนอเรื่องราว ในการเรียนร้คู ณิตศาสตร์ ศิลปะ สามารถใช้แบบรูปของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะตามจินตนาการ และสอ่ื สาร สือ่ ความหมายและนำเสนอแนวคิดของตนเองหรือเรื่องราวผ่านงานศลิ ปะ สุขศึกษาและพลศึกษา สามารถนำความรู้เกี่ยวกับจำนวน แบบรูป การอ่านข้อมูลจากตาราง และเวลา ไปใชใ้ นการกำหนดจำนวนครั้งและทา่ กายบริหาร กำหนดตารางการแขง่ ขัน เวลาและระยะเวลาในการแข่งขัน สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเงิน เพื่อวางแผน การใชจ้ ่ายเงินและทรัพยากรให้คุ้มคา่ และการอ่านปฏิทิน การคำนวณเวลาเพือ่ เชื่อมโยงการมสี ่วนร่วมในกิจกรรม ทางวฒั นธรรมประเพณีในรอบปีและการทำความเขา้ ใจประวัตคิ วามเป็นมาของครอบครวั โรงเรียนและชุมชน วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ สามารถนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการ สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ใช้การวัดและเลือกเครื่องวัดที่เหมาะสมเพื่อเก็บรวบรวม ขอ้ มูล ใชก้ ารนับจำนวนข้อมลู ใช้แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมแิ ทง่ และตารางในการนำเสนอข้อมูล

42  ความสัมพันธร์ ะหว่างสมรรถนะหลกั และสมรรถนะเฉพาะ สมรรถนะเฉพาะ สมรรถนะหลกั 1. การแก้ปัญหา 1.1 มคี วามอยากรู้อยากเหน็ สามารถมองเห็นปญั หาทางคณิตศาสตร์ 1. การจดั การตวั เอง ในชวี ิตจริงด้วยมุมมองของตนเอง (Thinking mathematically) 2. การคิดขั้นสงู 1.2 แก้ปัญหาในชีวติ จริงผ่านการลงมือแกป้ ญั หาในสถานการณ์ต่าง ๆ และ 3. การสอื่ สาร เรียนร้คู ณิตศาสตร์ผา่ นการสะทอ้ นความคดิ (reflect) จากประสบการณ์ 4. การรวมพลังทำงานเปน็ ทีม 1.3 มคี วามมมุ านะในการทำความเขา้ ใจและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 5. การเปน็ พลเมืองท่เี ข้มแข็ง 6. การอยรู่ ว่ มกับธรรมชาติ และวทิ ยาการอยา่ งยง่ั ยืน 2. การส่ือสาร และนำเสนอ 2.1 สื่อสารแนวคดิ ทางคณิตศาสตรข์ องตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย 1. การจัดการตวั เอง โดยใชส้ ื่อของจริง รูปภาพ แผนภาพ ภาษา หรือสัญลักษณ์ 3. การส่ือสาร 4. การรวมพลงั ทำงานเปน็ ทมี 2.2 รับฟัง เข้าใจความหมาย และเห็นคณุ ค่าแนวคิดของผู้อืน่ 5. การเปน็ พลเมืองท่เี ขม้ แขง็ 2.3 นำเสนอข้อมลู ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม 6. การอยรู่ ่วมกบั ธรรมชาติ และวิทยาการอยา่ งยั่งยืน 3. การให้เหตุผล 3.1 ใหเ้ หตุผลสนบั สนุนแนวคดิ ของตนเองได้อย่างสมเหตสุ มผล 2. การคิดขน้ั สูง โดยมีข้อเทจ็ จรงิ ทางคณติ ศาสตรร์ องรบั 3. การส่ือสาร 4. การรวมพลงั ทำงานเปน็ ทมี 3.2 รับฟัง พจิ ารณาแนวคิดของผู้อ่ืนหรอื ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ 6. การอยู่รว่ มกับธรรมชาติ ประกอบการตัดสินใจเพื่อสนับสนุนหรือโตแ้ ย้งอย่างเหมาะสม และวิทยาการอย่างย่ังยืน 3.3 ตระหนักถึงความจำเปน็ และความสำคัญในการให้เหตุผล 4. การสร้างข้อสรปุ ทั่วไป และขยายแนวคดิ (Generalization & Extension) 4.1 สร้างข้อสรปุ ทวั่ ไป (generalization) โดยสังเกต คน้ หาลักษณะร่วม 2. การคิดขั้นสูง ทีเ่ กิดขึ้นซ้ำ ๆ (pattern) จากมุมมองทางคณิตศาสตร์ ทั้งด้านความรู้ 6. การอยู่รว่ มกับธรรมชาติ และวิธีการเรยี นรู้ (how to learn) และวิทยาการอย่างยง่ั ยืน 4.2 ขยายแนวคิด (extension) จากข้อสรุปทวั่ ไป โดยนำไปใช้แก้ปัญหา 2. การคิดขั้นสูง ในสถานการณต์ ่าง ๆ 6. การอย่รู ว่ มกบั ธรรมชาติ 5. การคิดสร้างสรรค์ และวิทยาการอยา่ งยงั่ ยืน 5.1 คิดได้อยา่ งหลากหลาย แตกต่างจากเดิม คิดริเร่มิ 5.2 ประยกุ ต์ และนำไปใช้ได้อยา่ งคล่องแคล่ว ยืดหยนุ่ ในการแก้ปัญหา 5.3 ต่อยอดแนวคิดหรือแนวทางแก้ปญั หา เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ หรือ แกป้ ัญหาในสถานการณ์อื่น

43 สมรรถนะเฉพาะ สมรรถนะหลัก 6. การใช้เครือ่ งมือในการเรียนรู้ (Use aids and tools) 6.1 ใชส้ ือ่ การเรียนรู้ต่าง ๆ (manipulatives) เพ่ือสร้างความเข้าใจ 3. การสื่อสาร และแนวคิดของตนเอง 4. การรวมพลงั ทำงานเป็นทีม 6.2 สืบค้น ตรวจสอบแหล่งที่มา (origin) ของข้อมลู จากแหล่งเรียนรตู้ ่าง ๆ 6. การอยูร่ ว่ มกบั ธรรมชาติ และเลือกใช้ประกอบการเรียนร้แู ละแก้ปญั หาได้อยา่ งถูกต้อง เหมาะสม และวิทยาการอยา่ งยง่ั ยืน กับสถานการณ์  ผลลพั ธก์ ารเรยี นรู้เม่ือจบช่วงชัน้ ที่ 1 1. สื่อสาร สื่อความหมายเกี่ยวกับจำนวนนับ และเศษส่วนอย่างง่ายได้อย่างถูกต้อง และนำไปใช้ ในสถานการณต์ ่าง ๆ 2. อธิบายความสัมพันธ์ของจำนวนโดยใช้การรวม (compose) หรือการแยก (decompose) ของจำนวน เปรียบเทียบและเรยี งลำดับจำนวน 3. อธิบายความสัมพันธ์ของแบบรูปซ้ำของจำนวน รูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ และแบบรูปของจำนวนนับ ที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงทีละเท่า ๆ กัน สร้างข้อสรุป และขยายแนวคิดเพื่อสร้างแบบรูปและแก้ปัญหา ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ 4. เข้าใจสถานการณ์ในชีวิตจริงที่จะนำการบวก การลบ การคูณ และการหาร มาใช้ได้อย่างเหมาะสม คำนวณและเลือกใช้เครื่องมือในการบวก การลบ การคูณ และการหาร โดยเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ และสมบัติต่าง ๆ ของการดำเนินการได้อย่างคล่องแคล่ว และแปลความหมายภาษาและสัญลักษณ์ ทางคณติ ศาสตร์เป็นสถานการณ์ในชีวติ จริง 5. แกป้ ัญหาเกย่ี วกับจำนวนนับและเศษสว่ นในสถานการณ์ตา่ ง ๆ 6. เข้าใจสถานการณ์ในชีวิตจริงที่จะเปรียบเทียบขนาด ปริมาณและปริมาตร เข้าใจความหมายของ หน่วยการวัด เลอื กใช้หนว่ ยการวัดและเครื่องวัดเพื่อวดั และบอกความยาว นำ้ หนัก และปริมาตรได้อย่าง เหมาะสม 7. สื่อสารเก่ยี วกับเวลา ระยะเวลา ไดถ้ ูกตอ้ ง โดยเช่อื มโยงกบั สถานการณใ์ นชวี ิตจรงิ 8. สอ่ื สารเกีย่ วกบั เงนิ เปรียบเทยี บจำนวนเงิน แลกเงิน และนำไปใช้ในสถานการณต์ ่าง ๆ ได้ถกู ตอ้ ง 9. แก้ปัญหาเกีย่ วกบั ความยาว น้ำหนัก และปรมิ าตร เวลา เงิน ในสถานการณต์ า่ ง ๆ 10. รับรู้รูปร่าง ลักษณะของรูปร่างต่าง ๆ จากสิ่งของ สิ่งแวดล้อมรอบตัว สถานการณ์ในชีวิตจริ ง ผา่ นการสงั เกต และการสรา้ งรปู ร่าง เช่ือมโยงสลู่ กั ษณะของรูปเรขาคณติ สองมติ ิ รูปเรขาคณติ สามมิติ 11. ให้เหตุผลในการจำแนกและบอกลักษณะของรูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปที่มี แกนสมมาตร และนำไปใชใ้ นสถานการณ์ต่าง ๆ 12. จัดการข้อมูล และนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง หรือตารางทางเดียว สื่อสาร แปลความหมายของข้อมูล และใช้ข้อมลู เพื่ออธิบายเหตุการณ์ ตัดสินใจ หรอื แก้ปัญหาในสถานการณต์ ่าง ๆ 13. แกป้ ญั หาทางสถิติในสถานการณใ์ กล้ตวั

44  แนวทางการจดั การเรยี นรู้ฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 1 เน้นการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหา (problem solving approach)และการเรียนรู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง (active learning) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะเฉพาะและสมรรถนะหลัก ผ่านขอบข่ายเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ จำนวนและพีชคณิต การวัด (ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา เงิน) รปู เรขาคณิตและสถติ ิ 1. จำนวนและพชี คณติ การมคี วามร้แู ละความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนและการดำเนินการโดยการบวก การลบ การคณู และการหาร เป็นเรื่องสำคัญของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องอื่น ๆ ต่อไป ในช่วงชั้นนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้ ฝึกทักษะและแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนและพีชคณิตในบริบทต่าง ๆ ผ่านกิจกรรม และการลงมือปฏิบัติ ดงั นี้ จำนวนนับไม่เกิน 100,000 และ 0 : เรียนรู้จำนวนเชิงปริมาณและจำนวนเชิงอันดับท่ี นับและบอก จำนวนจากการจำแนกและการจัดหมวดหมูข่ องสิ่งต่าง ๆ ไปพร้อมกับกิจกรรมพัฒนาความรู้สกึ เชิงจำนวนเก่ียวกบั ปริมาณหรือขนาดของจำนวน แสดงจำนวนด้วยสิ่งต่าง ๆ หรือสัญลักษณ์แสดงจำนวน เช่น ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย ตัวหนังสือ แสดงความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวมจากกิจกรรมการรวม (compose) การแยก (decompose) เรียนรู้หลักและค่าของเลขโดดในแต่ละหลักผ่านการแสดงจำนวนด้วยแผ่นตารางร้อย ตารางสิบ และตารางหน่วย และเขียนแสดงจำนวนในรูปกระจายตามค่าของเลขโดดในแต่ละหลัก เปรียบเทียบ และเรียงลำดับจำนวนในเชิงของความหมายและเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เปรียบเทียบ จำนวนในเชิงสัญลักษณ์ไปพร้อมกบั กิจกรรมพฒั นาความรูส้ ึกเชิงจำนวนทเี่ กีย่ วกับการเปรียบเทยี บ การดำเนินการของจำนวน : เรียนรู้ความหมายของการบวกและการลบ การคูณและการหาร โดย เชื่อมโยงคำพูดหรือคำศัพท์ที่ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แสดงการบวก การลบ การคูณ การหาร โดยใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ คำนวณหาผลบวก ผลลบ ผลคูณ ผลหาร อย่างคล่องแคล่วและหลากหลายวิธี สงั เกตเห็นความสมั พนั ธ์ของการบวกและการลบ การคณู และการหาร และสมบัติต่าง ๆ ของจำนวน หาผลลัพธข์ อง การบวก ลบ คณู หารระคน แก้ปัญหาเก่ียวกับการบวก การลบ การคูณ การหาร และการบวก ลบ คูณ หารระคน ผา่ นการแกป้ ญั หาในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ทเี่ ก่ียวกบั การวัด (ความยาว ปรมิ าตร น้ำหนกั เวลา เงนิ ) และสถิติ แบบรูปของจำนวนและแบบรูปซ้ำ : เรียนรู้เกี่ยวกับแบบรูปโดยการสังเกตและค้นหาความสัมพันธ์ของ แบบรูปสื่อสารและนำเสนอข้อสรุปที่ได้จากความสัมพันธ์ของแบบรูปที่เป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่า ๆ กัน การซ้ำกนั ของรูปเรขาคณิตหรือรปู อืน่ ๆ ในลกั ษณะสี รูปรา่ ง หรอื ขนาด หาจำนวนหรอื รูปท่ีหายไปในแบบรูป และ สร้างสรรค์ผลงานจากความรู้เร่ืองแบบรปู ผา่ นสถานการณ์ต่าง ๆ ในชวี ติ ประจำวัน เศษส่วน: เรียนรู้เกี่ยวกับเศษส่วนโดยใช้สถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเชื่อมโยงกับความหมายของ เศษส่วน อ่านและเขียนเศษส่วน เศษส่วนที่มีตัวเศษเป็น 1 และเศษส่วนที่มีตัวเศษน้อยกว่า หรือเท่ากับตัวส่วน เปรยี บเทียบเศษส่วนและแกป้ ัญหาเกี่ยวกับเศษสว่ นในสถานการณต์ า่ ง ๆ

45 ผลลพั ธ์การเรียนรเู้ มอื่ จบชว่ งช้ัน 1. สื่อสาร สื่อความหมายเก่ียวกับจำนวนนับ และเศษส่วนอย่างง่ายได้อยา่ งถูกต้อง และนำไปใชใ้ นสถานการณต์ ่าง ๆ 2. อธบิ ายความสมั พนั ธ์ของจำนวนโดยใช้การรวม (compose) หรอื การแยก (decompose) ของจำนวน เปรียบเทียบและเรยี งลำดับจำนวน 3. อธิบายความสมั พันธ์ของแบบรูปซำ้ ของจำนวน รปู เรขาคณติ และรปู อืน่ ๆ และแบบรูปของจำนวนนบั ที่เพ่มิ ขึน้ หรือลดลงทลี ะเทา่ ๆ กนั สรา้ งขอ้ สรุป และขยายแนวคิดเพื่อสร้างแบบรปู และแกป้ ัญหาในสถานการณ์ตา่ ง ๆ 4. เขา้ ใจสถานการณ์ในชวี ติ จรงิ ท่จี ะนำการบวก การลบ การคูณ และการหาร มาใช้ได้อย่างเหมาะสม คำนวณ และ เลือกใช้เครื่องมือในการบวก การลบ การคูณ และการหาร โดยเช่อื มโยงกับความสัมพันธแ์ ละสมบตั ิต่าง ๆ ของการ ดำเนินการได้อยา่ งคล่องแคลว่ และแปลความหมายภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตรเ์ ป็นสถานการณ์ในชีวติ จริง 5. แก้ปญั หาเก่ยี วกบั จำนวนนับและเศษส่วนในสถานการณ์ต่าง ๆ ความรแู้ ละสมรรถนะท่ีเชื่อมโยงกนั ตัวอยา่ งสถานการณ์ กิจกรรม และเคร่อื งมือท่ใี ชส้ ำหรับนักเรียน ๑. สื่อสาร ส่ือความหมายเกี่ยวกับจำนวนนับ และเศษส่วนอย่างงา่ ยไดอ้ ย่างถูกต้อง และนำไปใช้ในสถานการณต์ ่าง ๆ 1. อธบิ ายสถานการณ์ในบริบทตา่ ง ๆ - ใชส้ ถานการณ์ในชวี ติ จริงท่ีเกี่ยวกับจำนวนและสือ่ การเรยี นรู้เพอ่ื ให้ ในชวี ติ ประจำวันท่ีเก่ยี วกับ ผู้เรยี นได้สังเกต จำแนก จดั กลุ่มสิง่ ต่าง ๆ และใช้การจับคู่หน่ึงต่อหนึ่ง จำนวนนบั ไมเ่ กนิ 100,000 ระหว่างสิ่งของทีต่ ้องการนับกับตัวนบั เพ่อื ใหเ้ ขา้ ใจจำนวนในเชงิ และ 0 โดยนบั และบอกจำนวน ปริมาณ และใชค้ ำศัพท์พื้นฐานอธบิ ายเชิงเปรยี บเทียบ เช่น เทา่ กัน ของสิ่งต่าง ๆ ในเชิงปรมิ าณ หรอื ไม่เทา่ กนั มากกวา่ น้อยกวา่ เยอะกว่า ไม่พอดี เชิงอันดบั ทแี่ ละแสดงส่ิงตา่ ง ๆ - ใช้ของจรงิ หรือสือ่ จำลอง ตวั นบั กรอบห้า กรอบสบิ เพื่อใชใ้ นการนบั ตามจำนวนท่ีกำหนด หรอื แสดงแทนส่ิงทตี่ ้องการนับ นับและบอกจำนวนของสงิ่ นัน้ 2. อา่ นและเขียนตวั เลขฮินดูอารบิก ในเชงิ ปรมิ าณหรือบอกอันดับท่ีของสงิ่ ต่าง ๆ โดยใชก้ ารนับ ตวั เลขไทย และตัวหนังสอื แสดง ทห่ี ลากหลาย เช่น การนบั ทีละ 1 ทีละ 2 ทลี ะ 5 หรอื ทลี ะ 10 จำนวนอย่างมีความหมาย ดว้ ยภาษาของตนเอง และแสดงสง่ิ ตา่ ง ๆ ตามจำนวนที่กำหนด หรือ 3. มคี วามเข้าใจเกี่ยวกับเศษสว่ น ตามอันดบั ทที่ ี่กำหนด ทตี่ วั เศษน้อยกวา่ หรือเทา่ กับ - ใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงท่ีเก่ียวกับจำนวนทมี่ ากกวา่ 10 มากกว่า ตัวส่วนโดยบอก อ่านและเขยี น 100 มากกวา่ 1,000 เพอ่ื นับและบอกจำนวนเช่ือมโยงกับคา่ ของ เศษส่วนแสดงปรมิ าณของสิง่ ต่าง ๆ เลขโดดในหลักตา่ ง ๆ โดยใช้แผ่นตารางหน่วย แผน่ ตารางสิบ และแสดงสง่ิ ตา่ ง ๆ ตามเศษส่วน แผน่ ตารางร้อย ที่กำหนดและนำไปใช้ในบรบิ ท - ยกตัวอยา่ งสถานการณใ์ นชวี ิตประจำวนั ท่ีนำเร่ืองจำนวนไปใช้ ทั้งท่ี ตา่ ง ๆ ในชีวติ ประจำวัน เปน็ จำนวนเชิงปริมาณและจำนวนเชงิ อันดับท่ี เช่น ทบี่ า้ นเลยี้ งไก่ 5 ตัว ฉันเกดิ วนั ท่ี 1 เดือนสงิ หาคม - ส่ือสารโดยการเล่าเรื่อง อา่ น เขยี นตัวเลขฮนิ ดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เชน่ บนั ทึก

46 จำนวนนักเรียนท่ีมาเรยี น และขาดเรยี นในแต่ละวนั บันทึกจำนวน ตน้ กลา้ ท่ีงอกในแตล่ ะกระถาง อา่ นจำนวนในข่าวหรอื บทความ ท่ีสนใจ อ่านราคาสนิ คา้ จากแผ่นโฆษณา - ยกตัวอยา่ งสถานการณใ์ นชีวิตประจำวันท่ีใช้เศษส่วน และบอก ปรมิ าณของสิ่งตา่ ง ๆ ดว้ ยเศษส่วนและแสดงสงิ่ ตา่ ง ๆ ตามเศษส่วน ทีก่ ำหนด โดยใชว้ ธิ ีหรือเครอ่ื งมือท่หี ลากหลาย เชน่ วาดรูป แถบกระดาษ ๒. อธิบายความสมั พนั ธ์ของจำนวนโดยใชก้ ารรวม (compose) หรอื การแยก (decompose) ของจำนวนเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวน ๑. เข้าใจเกยี่ วกับความสมั พันธ์ - จดั กิจกรรมการรวม (compose) หรือการแยก (decompose) จำนวน แบบส่วนย่อย - ส่วนรวมของ โดยแยกสิ่งของเป็นกลุม่ ย่อยเพอื่ เขยี นความสมั พนั ธแ์ บบสว่ นยอ่ ย - จำนวนโดยใช้การรวม สว่ นรวมของจำนวน ซึ่งจะเห็นวา่ จำนวนหน่ึง ๆ สามารถเขียน (compose) หรือการแยก ความสมั พนั ธแ์ บบส่วนยอ่ ย – สว่ นรวมของจำนวนไดห้ ลายแบบ (decompose) ของจำนวน และ ใช้หลกั ค่าของเลขโดดในแต่ละ - ใชส้ ื่อแผ่นตารางสิบ แผน่ ตารางหนว่ ย เพือ่ เรยี นรู้และบอกค่าของ หลกั เพื่อเช่อื มโยงความรู้ เลขโดดในแตล่ ะหลกั พร้อมท้ังเขียนแสดงจำนวนในรูปกระจาย เร่ืองจำนวนและการดำเนนิ การ - เปรยี บเทยี บจำนวนในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้การจับคู่ ๒. เปรียบเทียบและเรยี งลำดับ แบบหนงึ่ ตอ่ หน่ึงหรือใชค้ วามรเู้ ก่ียวกบั ค่าของเลขโดดในแตล่ ะหลัก และ จำนวนในสถานการณต์ ่าง ๆ แสดงการเปรียบเทียบโดยใชภ้ าษาหรือสญั ลกั ษณ์ และนำไปใชใ้ นการ โดยใชส้ ญั ลักษณท์ างคณิตศาสตร์ เรียงลำดบั จำนวน แสดงการเปรยี บเทยี บ - เปรียบเทียบและเรยี งลำดบั เศษส่วนโดยใชส้ ถานการณ์ท่เี กดิ ข้นึ 3. เปรียบเทียบและเรยี งลำดับ ในชีวิตประจำวนั และอธิบายเหตุผลในการเปรยี บเทยี บ เช่น 1 เศษส่วนในสถานการณต์ ่าง ๆ และให้เหตุผลในการเปรยี บเทียบ 2 มากกว่า 1 อาจใหเ้ หตุผลวา่ เม่ือพับกระดาษท่ีมีขนาดเท่ากนั 2 แผ่น 4 แสดง 1 และ 1 จะเห็นวา่ กระดาษทแี่ บ่งเปน็ 2 ส่วนเท่า ๆ กนั 24 แต่ละส่วนจะมีขนาดใหญ่กวา่ กระดาษทแ่ี บ่งเปน็ 4 ส่วนเท่า ๆ กนั

47 ๓. อธบิ ายความสมั พันธข์ องแบบรปู ซำ้ ของจำนวน รปู เรขาคณติ และรูปอนื่ ๆ และแบบรปู ของจำนวนนบั ท่ีเพ่มิ ขนึ้ หรือลดลงทีละเท่า ๆ กัน สร้างข้อสรปุ และขยายแนวคิดเพอ่ื สร้างแบบรูปและแกป้ ัญหา ในสถานการณต์ า่ ง ๆ ๑. อธิบายความสมั พนั ธข์ อง - สำรวจแบบรูปหรือสถานการณต์ ่าง ๆ ทีเ่ กิดข้ึนในชวี ิตประจำวัน เชน่ แบบรปู ของจำนวนท่เี พิ่มขน้ึ การรอ้ ยลกู ปัด ทางม้าลาย งานศลิ ปะ สถาปตั ยกรรมในท้องถ่ิน หรอื ลดลงทลี ะเท่า ๆ กัน หรือ จำนวนเงนิ ท่อี อมแตล่ ะวนั สังเกต ค้นหาและบอกความสัมพนั ธ์ แบบรูปซำ้ ของจำนวน ในแบบรูป พร้อมอธิบายใหเ้ หตุผลโตแ้ ย้งหรอื สนบั สนุนความคิด รูปเรขาคณิต และรูปอนื่ ๆ และ เกยี่ วกับความสัมพนั ธใ์ นแบบรปู ใหเ้ หตุผลโตแ้ ยง้ หรอื สนับสนุน - สงั เกตความสมั พนั ธข์ องแบบรปู จนสามารถสรา้ งข้อคาดการณ์ ความคิดเก่ียวกับความสัมพันธ์ หรอื ขอ้ สรปุ และนำไปใช้ในการแกป้ ญั หาในลักษณะเดียวกัน ๒. สร้างขอ้ สรุปและขยายแนวคิด หรอื ประยุกตใ์ ช้แกป้ ัญหาในลักษณะอน่ื เชน่ ออกแบบลวดลาย เพ่อื สร้างแบบรูปและแกป้ ญั หา การปกู ระเบอ้ื ง ลายผา้ ธงราว โมบายปลาตะเพียน ในสถานการณต์ า่ ง ๆ ๔. เข้าใจสถานการณใ์ นชวี ิตจริงที่จะนำการบวก การลบ การคณู และการหารมาใช้ได้อยา่ งเหมาะสม คำนวณและเลอื กใชเ้ ครอื่ งมือในการบวก การลบ การคณู และการหาร โดยเชื่อมโยงกับความสมั พันธ์ และสมบัตติ ่าง ๆ ของการดำเนนิ การได้อยา่ งคล่องแคลว่ และแปลความหมายภาษาและสญั ลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์เป็นสถานการณ์ในชวี ติ จริง ๑. เข้าใจสถานการณ์ในชีวิตจรงิ - ใชส้ ถานการณ์ในชวี ติ ประจำวันเช่อื มโยงไปสู่ความหมายของการบวก ท่ีจะนำการบวก การลบ การลบ การคูณ และการหาร เช่น การซ้ือของมาเพิ่มอีก การขายไป การคณู และการหารมาใช้ หาจำนวนนกั เรียนทัง้ หมดท่ีเข้าแถวแถวละเทา่ ๆ กัน การแบ่งขนม ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม ให้คนละเท่า ๆ กัน ค้นหาวิธหี าผลบวก หาผลลบดว้ ยตนเองโดยใช้วิธีการทหี่ ลากหลาย ๒. หาผลบวก ผลลบ ได้อยา่ ง - ผ่านสถานการณ์ในชีวติ จรงิ และใช้วิธีของตนเองได้อย่างคล่องแคลว่ คล่องแคล่วโดยเลือกใชว้ ิธตี ่าง ๆ ตรวจสอบคำตอบและหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลกั ษณ์ โดยเชื่อมโยงความสมั พันธ์ แสดงการบวกและประโยคสัญลกั ษณ์แสดงการลบโดยใชค้ วามสมั พันธ์ และสมบตั ิต่าง ๆ เก่ียวกบั ของการบวกและการลบและเลือกใช้เคร่ืองมือชว่ ยในการคำนวณ การบวกและการลบของจำนวน ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม เชน่ เสน้ จำนวน กรอบสบิ คน้ หาวิธีหาผลคณู หาผลหารดว้ ยตนเองโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ๓. หาผลคูณ ผลหาร ได้อยา่ ง ผา่ นสถานการณ์ในชีวิตจรงิ และใช้วธิ ขี องตนเองไดอ้ ย่างคล่องแคล่ว คลอ่ งแคล่วโดยเลือกใช้วธิ ีต่าง ๆ - ตรวจสอบคำตอบและหาคา่ ของตวั ไม่ทราบคา่ ในประโยคสัญลักษณ์ โดยเช่อื มโยงความสัมพันธ์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook