เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ จัดท�ำโดย สำ� นกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ และ มิวเซยี มสยาม
เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ ISBN: 978-616-395-872-3 จัดทำ� โดย ส�ำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ และ มวิ เซียมสยาม บรรณาธิการ พิพฒั น์ กระแจะจนั ทร์ คณะผู้เขยี น พสั วสี ริ ิ เปรมกลุ นันท์ ธนโชติ เกยี รติณภทั ร ธนกฤต ลออสวุ รรณ สจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ สายปา่ น ปรุ วิ รรณชนะ รงุ่ โรจน์ ภิรมยอ์ นกุ ลู วสนิ ทับวงษ์ อภลิ กั ษณ์ เกษมผลกูล สุรสิทธิ์ อมรวณชิ ศกั ดิ์ เชษฐ์ ติงสัญชล ี ชานปว์ ิชช์ ทัดแก้ว ร่งุ โรจน์ ธรรมรุง่ เรือง ประภัสสร์ ชูวเิ ชียร เกรยี งไกร เกดิ ศิริ วรินทร์ รวมสำ� ราญ ภัทร ราหุล วษิ ณุ หอมนาน กลุ พชั ร์ เสนวี งศ์ ณ อยธุ ยา แสงจนั ทร์ ผู้อยู่สขุ พชิ ญา สมุ่ จินดา ยทุ ธนาวรากร แสงอร่าม ซรี อ็ ง เลง ณัฐพล จันทร์งาม ธรี ะวฒั น์ แสนค�ำ สิทธพิ ร เนตรนยิ ม คณะกรรมการและทีป่ รกึ ษาการจดั ท�ำหนังสือ การุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน บุญรกั ษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน สุกญั ญา งามบรรจง ผูอ้ �ำนวยการสำ� นกั วิชาการและมาตรฐานการศกึ ษา เฉลมิ ชัย พันธเ์ ลศิ ผอู้ �ำนวยการสถาบนั สงั คมศกึ ษา ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร ผอู้ �ำนวยการฝา่ ยวชิ าการ มิวเซียมสยาม กฤษฏ์ิ เลกะกุล ผเู้ ชย่ี วชาญด้านดนตรี ณัฐพล จนั ทรง์ าม คณะโบราณคดี มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร ภาสพงศ์ ศรีพิจารณ์ รองคณบดฝี ่ายวิชาการ คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ คงสัจจา สวุ รรณเพช็ ร นักวชิ าการอิสระ ประสานงาน ชัชพร อุตสาหพงษ์ ออกแบบ และรปู เล่ม ธรรมรตั น์ บญุ แพทย์ ลิขสิทธเ์ ป็นของสำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร พิมพค์ ร้งั แรก กันยายน ๒๕๖๐ จำ� นวนพิมพ์ ๒๐,๐๐๐ เล่ม พมิ พ์ที่ : ศูนยส์ ื่อและส่ิงพมิ พแ์ กว้ เจ้าจอม มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เลขที่ ๑ ถนนอูท่ องนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ คำ� อธบิ ายปก: สีปกเลอื กสีน้ำ� เงนิ เขม้ กรมท่าสอื่ ถงึ ฟ้ายามคำ่� คืน สฟี า้ -น�้ำเงนิ หมายถึงท้องฟ้าและทะเล ภาพปกหนา้ : ภาพพระเมรมุ าศไดร้ บั ความอนเุ คราะห์จากสำ� นกั สถาปัตยกรรม กรมศิลปากร, วงแหวนด้าน ล่างของพระเมรุมาศคือเขาสัตตบริภัณฑ์ท่ีล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ท่ีก่ึงกลางเป็นปลาอานนท์, ภาพด้านล่างเปน็ ฉากปา่ หิมพานต์ ภายในพระอโุ บสถวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ได้รบั ความอนุเคราะห์ภาพจากคุณสิปปวชิ ญ์ บุณยพรภวิษย์ ภาพปกหลงั : เป็นลายหน้ากลองมโหระทึก กลองศักดิ์สิทธิ์ใช้ในพิธีกรรมความตายและความอุดมสมบูรณ์ ของผูค้ นในอุษาคเนย์
ค�ำน�ำ การุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน ห้วงเวลาแห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สร้าง ความโศกเศรา้ อาดรู แกพ่ สกนกิ รชาวไทยอยา่ งยง่ิ แมต้ า่ งกร็ บั รวู้ า่ การพรากจากเปน็ ธรรมดาของโลก ตามนยั แห่งศาสนาที่เชื่อมรอ้ ยอยู่กับวถิ ชี วี ิตของประชาชนชาวไทย ดว้ ยสำ� นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ทที่ รงมใี นทกุ ดา้ น เฉพาะดา้ นการศกึ ษา ไดท้ รงประกอบ พระราชกรณยี กิจนานัปการ ก่อประโยชน์สขุ ตอ่ พสกนกิ รผา่ นโครงการน้อยใหญห่ ลายพนั โครงการ เพ่ือให้ประชาชนได้เรยี นรู้ น�ำไปสกู่ ารพฒั นาคุณภาพชวี ติ และความผาสกุ ซ่ึงในวันที่ ๕ ธนั วาคม ๒๕๕๔ กระทรวงศึกษาธิการไดท้ ูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมญั ญา “ผู้ทรงเปน็ ครแู ห่งแผ่นดิน” เพ่อื เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ด้วยทรงตระหนักถึง ความสำ� คญั ของการศกึ ษาอยา่ งหาทสี่ ดุ มไิ ด้ ทงั้ ทรงมพี ระปรชี าสามารถในสรรพวทิ ยาการดา้ นตา่ งๆ จนเป็นท่ีประจักษ์แจ้งทง้ั ต่อ พสกนกิ รชาวไทยและในนานาอารยประเทศ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาของ นกั เรยี นในระดบั การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานกวา่ ๖ ลา้ นคน มคี รผู สู้ อนทกี่ ระจายอยทู่ วั่ ประเทศเพอื่ ดำ� เนนิ การ พฒั นาคณุ ภาพผเู้ รยี นกวา่ ๔ แสนคน ไดต้ ระหนกั ในบทบาทในฐานะทใี่ ชท้ กุ ทที่ กุ เวลาเพอื่ การเรยี นรู้ ซึ่งในห้วงเวลาอันโทมนัสนี้ ก็ได้พิจารณาเห็นว่าข่าวและเหตุการณ์อันเนื่องด้วยพระบรมศพและ พระเมรุมาศ ที่นักเรียนและครูได้ติดตามจากแหล่งข่าวต่างๆ อย่างต่อเน่ืองแล้วนั้น ยังมีความคิด ความเชอ่ื ขนบธรรมเนียม ประเพณีทีเ่ กี่ยวขอ้ งอยมู่ าก ท่พี ึงเรยี นรเู้ พอื่ ความเข้าใจทล่ี ุ่มลกึ มากขน้ึ จงึ ไดป้ ระสานกบั คณาจารย์ ผเู้ ชยี่ วชาญ ดา้ นประวตั ศิ าสตร์ วฒั นธรรม มานษุ ยวทิ ยา เพอ่ื เขยี นเรยี บเรยี ง ข้อมูลและรวบรวมเอกสารหลักฐานท่ีเก่ียวเน่ืองกับงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ ด้วยมุ่งหมาย ใหเ้ ปน็ เอกสารอา้ งอิงส�ำหรับครูผสู้ อน ในการด�ำเนินการทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประสานผู้เขียน บทความ ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ส�ำคัญมาก ด้วยเหตุท่ีผู้เขียนแต่ละท่านได้เขียนจากข้อความรู้และ ประสบการณ์ที่ต่างได้ศึกษาและสั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง ภาพประกอบหลายภาพก็ถือเป็นหลักฐาน 3เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
สำ� คญั ทไ่ี มอ่ าจพบเหน็ ไดง้ า่ ยตามสอื่ ทวั่ ไป จงึ นบั ไดว้ า่ จะเปน็ ประโยชนก์ บั การขยายพรมแดนความรู้ ออกไปอยา่ งกวา้ งขวาง ในอนาคตยงั จะสามารถพฒั นาไปเปน็ สอื่ และเอกสารสำ� หรบั ใชใ้ นการจดั การเรยี น การสอนไดอ้ ีกมาก เอกสารเลม่ นแี้ มว้ า่ จะมคี วามหนากวา่ ๔๐๐ หนา้ ประกอบดว้ ยบทความและบทบรรณาธกิ าร รวมแล้วถงึ ๒๐ บทความ แต่ดว้ ยท่มี กี ารแบ่งเปน็ บทเป็นตอนใหม้ คี วามอสิ ระตอ่ กนั บทละประมาณ ๑๕ – ๒๐ หนา้ ผู้อ่านสามารถเลอื กศึกษาบทความต่างๆ ไดต้ ามความสนใจ โดยไม่จำ� เป็นต้องอ่าน เรียงล�ำดับบทความ ประกอบกับแต่ละบทมีภาพประกอบที่จะช่วยท�ำให้เข้าใจเรื่องราวได้มากข้ึน รวมท้ังครูผู้สอนก็สามารถเลือกข้อความหรือภาพไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่าง หลากหลาย จงึ อาจกลา่ วไดว้ า่ หนงั สอื เลม่ นจ้ี ะมปี ระโยชนอ์ ยา่ งยง่ิ ตอ่ การเรยี นรปู้ ระวตั ศิ าสตรส์ งั คม ของไทย นอกจากน้ีแล้ว หากพิจารณาเอกสารอย่างลึกซ้ึงจะเห็นสาระส�ำคัญที่ร่วมกันอยู่ คือ คติ ประเพณี และความเชอื่ วา่ ดว้ ยความตาย ทน่ี ำ� เสนอในพน้ื ทที่ ก่ี วา้ งขวางมากขน้ึ ไมจ่ ำ� เพาะแตบ่ รบิ ทไทย หากแต่ได้แสดงเนอ้ื หาท้งั ในแผ่นดินล้านชา้ ง กัมพชู า เมยี นมา และอนิ เดีย ไปจนถงึ วฒั นธรรมของ ชาวตะวนั ตกทมี่ อี ทิ ธพิ ลตอ่ ความคดิ ความเชอื่ ของไทย ซงึ่ เปน็ ขอ้ มลู ทชี่ ว่ ยใหเ้ ขา้ ใจบรบิ ท ความคดิ ความเชอื่ ของพนื้ ทอ่ี น่ื ๆ ทเ่ี ชอื่ มโยงสมั พนั ธก์ นั อยู่ ชว่ ยใหเ้ หน็ การเลอ่ื นไหลของความรแู้ ละประสบการณ์ รว่ มกนั ของผคู้ นในภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ เอเชยี และพนื้ ทอ่ี นื่ ๆ ในโลก อนั เปน็ หวั ใจสำ� คญั ของความเปน็ พลเมืองโลก ขอขอบคณุ คณะผเู้ ขยี น ทกุ ทา่ นทแ่ี บง่ ปนั ความรทู้ เี่ กดิ จากการศกึ ษา การคดิ และเชอื่ มโยง ความรตู้ ่างๆ ซึ่งจะเป็นตน้ ทนุ ทางปัญญาทจ่ี ะน�ำไปส่กู ารจดั การเรยี นการสอนได้ ขอขอบคุณทุกคน ทกุ องคก์ ร ทม่ี ีส่วนร่วมในการดำ� เนินการจดั ทำ� เอกสารนสี้ ำ� เรจ็ ออกมา เป็นรูปเล่ม ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สังคมและ วัฒนธรรมต่อไป ขอขอบคุณคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ ท่ีทุ่มเทเวลาในการรวบรวมบทความต่างๆ เขียนบทน�ำบรรณาธิการ และ ประสานงานต่างๆ ให้เอกสารนม้ี ีความสมบูรณ์มากยิ่งขนึ้ ขอขอบคุณกรมศิลปากรท่ีอนุญาตน�ำภาพลายเส้นและภาพสามมิติพระเมรุมาศ มาใช้ ประกอบในการจดั ท�ำหนังสือ ปวงขา้ พระพทุ ธเจา้ สำ� นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน น้อมส�ำนกึ ในพระมหา กรุณาธิคุณ “พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย” และขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรับสนองพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช ตลอดไป (นายการณุ สกลุ ประดษิ ฐ์) เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน 4 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
สารบัญ ค�ำน�ำ ๓ ก ารณุ ส กลุ ประด ิษฐ์ บทบรรณาธิการ ๗ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พพิ ัฒน์ กระแจะจันทร์ ๑. คนตายเพราะขวัญหาย ตอ้ งทำ� พิธีเรยี กขวัญนานหลายวัน ๒๙ : งานศพปัจจบุ ันสืบทอดพธิ ีกรรมหลายพนั ปีมาแลว้ สจุ ิตต์ วงษ์เทศ ๒. พระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์ในสมยั รัตนโกสินทร์โดยสังเขป ๕๙ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.พัสวีสิริ เปรมกลุ นนั ท์ ๓. การสรงน�ำ้ และประดษิ ฐานพระบรมศพ ๗๙ อาจารย์ ธนโชติ เกียรตณิ ภทั ร ๔. ศลิ ปะและคติความเชอ่ื ในเครอื่ งประกอบพระราชพธิ พี ระบรมศพ ๑๐๕ อาจารย์ ธนกฤต ลออสวุ รรณ ๕. ดนตรใี นพระราชพธิ ีพระบรมศพ ๑๓๓ อาจารย์ ดร.สายปา่ น ปุริวรรณชนะ ๖. พฒั นาการธรรมเนยี มไว้ทุกข์ จากระเบยี บรฐั สูม่ ารยาททางสงั คม ๑๔๓ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รุง่ โรจน์ ภิรมยอ์ นกุ ูล ๗. ธรรมเนยี มตะวันตกในพระราชพิธีพระบรมศพกษัตรยิ ส์ ยาม ๑๖๕ อาจารย์ วสนิ ทบั วงษ์ ๘. พืน้ ทขี่ องพระ ผี ฤๅษี และบาทหลวง ๑๘๓ ในพธิ กี รรมความตายในสังคมไทยจากฉากงานพระศพ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.อภลิ กั ษณ์ เกษมผลกลู ๙. พธิ ีกงเตก๊ ในราชสำ� นักไทย ๑๙๙ รองศาสตราจารย์ ดร.สรุ สิทธิ์ อมรวณิชศักด์ิ 5เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
สารบัญ ๑๐. เมรุในศิลปะอนิ เดีย ๒๑๕ รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ตงิ สญั ชลี ๑๑. สุเมรุบรรพตในจักรวาลวิทยาอินเดยี และสยาม ๒๒๓ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วชิ ช์ ทดั แก้ว ๑๒. สบื ยอ้ นความสมั พนั ธข์ องปราสาทเขมร พระปรางคไ์ ทย และพระเมรยุ อดปรางค ์ ๒๓๓ รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรอื ง ๑๓. ข้อวนิ จิ ฉัยเก่ียวกับภาพงานพระเมรสุ มเด็จพระเพทราชาท่คี ้นพบใหม ่ ๒๕๑ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พชิ ญา สุ่มจินดา ๑๔. ธรรมเนียมสรา้ งวดั บนทีถ่ วายพระเพลงิ พระบรมศพในสมยั อยธุ ยา ๒๘๓ เรื่องจริงหรือเรือ่ งแต่ง? ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภสั สร์ ชูวิเชยี ร ๑๕. กระบวนทัศน์ท่แี ปรเปลยี่ นในการออกแบบพระเมรใุ นสมัยรตั นโกสินทร ์ ๒๙๙ อาจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ ๑๖. ราชรถในงานพระบรมศพสมัยกรุงรัตนโกสินทร ์ ๓๑๙ ยุทธนาวรากร แสงอรา่ ม ๑๗. งานพระศพกษตั ริย์ล้านชา้ งในสมยั รฐั จารีต ๓๔๑ อาจารย์ ธรี ะวฒั น์ แสนคำ� ๑๘. พระราชพธิ พี ระบรมศพพระมหากษตั ริย์กัมพชู า ๓๕๙ ซีรอ็ ง เลง และ อาจารย์ ณฐั พล จนั ทร์งาม ๑๙. ตีงโจห่ ด์ อ่ : งานพระบรมศพของกษตั รยิ เ์ มยี นม่ามีงตยาจี ๓๘๑ สทิ ธิพร เนตรนิยม 6 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
บทบรรณาธกิ าร ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ พพิ ฒั น์ กระแจะจนั ทร์ สาขาวชิ าประวัตศิ าสตร์ คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ หากมองอยา่ งมนุษยป์ ุถุชน ความตายคอื ความสญู เสยี อย่างใหญห่ ลวงท่ีไม่มีผูใ้ ดอยากให้ เกิดขน้ึ หากเมอื่ พิจารณาในแง่มุมของความรู้แลว้ ในพนื้ ท่ีของความตายนั้นกลบั สะท้อนใหเ้ ห็นถึง แงม่ มุ ตา่ งๆ ในสงั คมของมนษุ ยม์ ากมายนบั ตง้ั แตร่ ะบบความเชอ่ื ประเพณวี ฒั นธรรม ประวตั ศิ าสตร์ ศลิ ปะสถาปตั ยกรรมทเ่ี กย่ี วเนอื่ งกบั ความตาย ชนชนั้ ทางสงั คม เพศสภาวะ และอำ� นาจทางการเมอื ง ดว้ ยเหตนุ ้ี การศกึ ษาเรอ่ื งความตายจงึ ได้พฒั นาขึน้ เป็นศาสตร์เฉพาะ เช่น ประวัตศิ าสตรค์ วามตาย โบราณคดคี วามตาย มานุษยวทิ ยาความตาย ซ่งึ ยงั ไม่ค่อยแพรห่ ลายในประเทศไทยมากนัก ดว้ ยเหตนุ ี้ ภายหลงั การเสดจ็ สวรรคตของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช เม่ือวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ทางคณะผู้จัดท�ำหนังสือเล่มน้ีมีความเห็นว่า ดว้ ยสำ� นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระองคท์ า่ นทที่ รงใหค้ วามสำ� คญั กบั การศกึ ษาของปวงชนชาว ไทยตลอดพระชนม์ชีพ ดงั น้นั การจัดทำ� หนงั สอื วชิ าการวา่ ดว้ ยพระราชพธิ พี ระบรมศพและพระเมรุ ในแง่มุมของประวัติศาสตร์ ศิลปะโบราณคดี และคติความเชื่อ จึงน่าจะเป็นการตอบแทน พระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระองคท์ ม่ี ตี อ่ พสกนกิ รไดด้ ที ส่ี ดุ ทางหนง่ึ ในฐานะของนกั วชิ าการ โดยหวงั ใหห้ นงั สอื เลม่ นีเ้ ปน็ คลังความรเู้ ชิงวิเคราะห์ให้กบั ครู นักเรยี น และประชาชนท่ัวไปในอนาคต นกั วชิ าการจำ� นวน ๑๙ ทา่ นทเ่ี ขยี นบทความในหนงั สอื เลม่ นตี้ า่ งมคี วามตงั้ ใจกนั เปน็ อยา่ งยงิ่ จึงท�ำให้หนังสือเล่มน้ีมีความหนาค่อนข้างมาก แต่ด้วยกลุ่มผู้อ่านที่มีอยู่อย่างหลากหลาย และ ต้องการให้ความรู้กระจายไปในวงกว้าง ทางคณะผู้จัดท�ำจึงได้จัดแบ่งหนังสือออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ รปู แบบแรก ออกแบบรูปเล่มโดยสำ� นักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน (สพฐ.) โดย พยายามควบคุมจ�ำนวนหน้าให้อยู่ที่ประมาณสี่ร้อยหน้า เพ่ือจะท่ีจะสามารถพิมพ์แจกและถึงมือครู นักเรียนได้ในจ�ำนวนมากท่ีสุดตามงบประมาณที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด รูปแบบท่ีสอง ออกแบบรูปเล่ม โดยสถาบันพิพธิ ภัณฑ์การเรียนรแู้ หง่ ชาติหรอื ทร่ี จู้ กั กนั ในนาม “มิวเซียมสยาม” 7เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ส�ำหรับค�ำน�ำบรรณาธิการท่ีคล้ายกับบทน�ำของหนังสือนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนหลักคือ ส่วนแรกมีชื่อว่าจากจุดจบสู่จุดเร่ิมต้น เป็นการบรรยายภาพรวมพร้อมการวิเคราะห์พระราชพิธี พระบรมศพและพระเมรนุ บั ตง้ั แตเ่ รมิ่ ตน้ พธิ จี นจบ สว่ นทสี่ องมชี อ่ื วา่ ๑๙ ทศั นะตอ่ งานพระบรมศพ และพระเมรุ เปน็ การท�ำการสรปุ และชี้ให้เหน็ ประเด็นสำ� คัญทแี่ ฝงอย่ใู นบทความท้งั ๑๙ เรอื่ ง ดงั นี้ จากจดุ จบสจู่ ุดเร่ิมตน้ พธิ ศี พสามญั ชนกบั เจา้ ตา่ งกนั ทคี่ ตคิ วามเชอื่ ทางศาสนาและฐานนั ดรของผวู้ ายชนมท์ กี่ ำ� กบั ท�ำให้พิธีการและพิธีกรรมมีความแตกต่างกัน ถ้าถอดส่ิงท่ีเราอาจเรียกว่าเป็นอาภรณ์อันห่อหุ้ม พิธีศพออกทั้งหมดแล้ว พิธีศพทั้งสามัญชนและเจ้าต่างมีจุดร่วมกันคือ ความปรารถนาท่ีจะส่ง ดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่ภพภูมิที่ดีคือสรวงสวรรค์ ทว่าด้วยคติความเช่ือในศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธที่เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นดังอวตารภาคหน่ึงของเทพเจ้าหรือเป็นพระโพธิสัตว์ ในร่างของมนุษย์ ผสมผสานกับความเชื่อในเรื่องความตายด้ังเดิมของคนในภูมิภาคน้ีท�ำให้งาน พระบรมศพและพระศพของเจ้ามีการสร้างพระเมรุ เพื่อให้พระองค์กลับคืนสู่สวรรค์พิภพ ต่างจาก สามัญชนท่ียังคงต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารต่อไป ด้วยเหตุน้ีเอง ท�ำให้พระราชพิธีและ ธรรมเนยี มปฏิบตั ิของพระมหากษัตริย์เต็มไปดว้ ยรายละเอยี ดและขั้นตอนมากมาย เพ่ือให้เข้าใจเก่ียวกับพระราชพิธีพระบรมศพและงานพระเมรุได้โดยสะดวก ข้าพเจ้าจัก ขอบรรยายสรุปในภาพรวมของพระราชพิธีต้ังแต่เร่ิมต้นจนปลายทางสุดพร้อมการวิเคราะห์ไปด้วย โดยไมเ่ ฉพาะเจาะจงไปทพ่ี ระบรมศพของพระองคใ์ ดพระองคห์ นง่ึ โดยไดข้ อ้ มลู หลกั จากหนงั สอื เรอื่ ง ธรรมเนยี มพระบรมศพและพระศพเจา้ นาย โดยนนทพร อยูม่ ่งั มี (๒๕๕๙), สถาปัตยกรรมพระเมรุ ในสยาม โดย ม.ร.ว.แนง่ น้อย ศกั ดศ์ิ รี และคณะ (๒๕๕๕) และบทความเรือ่ งคนตาย เพราะขวญั หาย ตอ้ งท�ำพิธีเรียกขวัญนานหลายวนั : งานศพปจั จุบัน สืบทอดพธิ ีกรรมหลายพันปมี าแล้ว โดยสุจติ ต์ วงษเ์ ทศ (๒๕๖๐) รวมถงึ งานวชิ าการอน่ื ๆ โดยแนวคดิ หลกั ในการวเิ คราะหจ์ ะใชว้ ธิ กี ารทางประวตั ศิ าสตร์ โบราณคดี และมานษุ ยวทิ ยาวัฒนธรรมผสมผสานกัน ท้ังน้ีเพอ่ื ช้ใี หเ้ ห็นวา่ พระราชพิธพี ระบรมศพ สะทอ้ นรากเหงา้ ของวฒั นธรรมความตายดงั้ เดมิ ทไ่ี มค่ วรอธบิ ายภายใตก้ รอบคดิ ทางพระพทุ ธศาสนา และพราหมณ์เพียงอยา่ งเดยี ว ถ้าหากพิจารณาในภาพรวมแล้วสามารถแบ่งพระราชพิธีพระบรมศพออกได้เป็น ๔ ส่วน หลักคือ ส่วนแรก เป็นการจัดการเก่ียวกับพระบรมศพนับจากการสรงน�้ำจนถึงบรรจุลงในพระโกศ ส่วนทสี่ อง เป็นพธิ กี รรมตา่ งๆ ในระหว่างการตงั้ พระบรมศพ และการปฏบิ ตั ิตนของผูท้ มี่ ชี วี ิต สว่ น ทสี่ าม เปน็ เรอ่ื งของกระบวนแหพ่ ระบรมศพและงานพระเมรุ สดุ ทา้ ย สว่ นทส่ี ่ี เปน็ การถวายพระเพลงิ และพิธีกรรมท่เี กดิ ขึน้ ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแล้ว ดงั น้ี ส่วนแรก การจัดการเก่ียวกบั พระบรมศพนบั จากการสรงน�ำ้ จนถงึ บรรจุลงในพระโกศ การช�ำระร่างกายให้บริสุทธ์ิเพื่อเดินทางไปสู่ภพหน้าถือเป็นข้ันตอนแรกในการปฏิบัติ ต่อศพในหลายวฒั นธรรม ในกรณีของไทย การสรงน้ำ� พระบรมศพ (อาบนำ�้ ศพ) จะปฏิบตั ภิ ายหลัง เมอื่ กษตั รยิ พ์ ระองคน์ น้ั เสดจ็ สสู่ วรรคาลยั บา้ งเชอื่ วา่ การอาบนำ�้ ศพเปน็ การชำ� ระพระวรกายใหส้ ะอาด 8 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ก่อนเดินไปยังภพหน้าหรือเตรียมตัวส�ำหรับไปไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ การอาบน�้ำศพจะใช้น้�ำร้อน ก่อนแล้วตามด้วยน�้ำเย็น และใช้ขมิ้นชันสดกับผิวมะกรูดขัดสีให้ทั่วร่างกายอีกที จากน้ันจึงถวาย พระสุคนธ์ (เคร่ืองหอม) แล้วพระมหากษัตริย์น�ำพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารสรงน้�ำลง บนพระบาท หลังจากนั้นจึงท�ำการถวายสางพระเกศา (ผม) โดยใช้พระสางไม้ เมื่อหวีเสร็จแล้ว จงึ หกั พระสางนน้ั นยั วา่ เปน็ ปรศิ นาธรรมวา่ ไมต่ อ้ งการความสวยงามอกี แลว้ (เปน็ ไปไดว้ า่ ธรรมเนยี ม การหกั หวนี ้คี งมาจากจีน เพ่ือเปน็ การตดั สายสมั พันธ์ระหว่างคนเป็นกบั คนตาย) สำ� หรับในปัจจุบัน สถานท่ีสรงน้�ำพระบรมศพใช้พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเช่ือมต่อกับมุขกระสันพระที่น่ังดุสิต มหาปราสาท จากนน้ั จึงเป็นการถวายสกุ �ำพระบรมศพคอื การใสเ่ คร่อื งแตง่ กาย และมัดตราสงั สำ� หรับ เครอื่ งพระมหาสกุ ำ� ของพระมหากษตั รยิ ต์ ามโบราณราชประเพณจี ะประกอบดว้ ยพระภษู าหลายชน้ั เครอ่ื งประดบั จำ� นวนมาก แผน่ ทองจำ� หลกั ลายปดิ ทพี่ ระพกั ตร์ และพระมาลาสกุ ำ� ซง่ึ เปน็ พระมหามงกฎุ เม่ือถวายสุก�ำเสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระบรมศพลงสู่พระโกศเพื่อประดิษฐานบนพระแท่นสุวรรณ เบญจดลในพระท่ีน่ังดุสิตมหาปราสาท เหนือพระโกศมีพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรกางกั้น ท่าทาง ของพระบรมศพในพระโกศจะถกู จดั วางในทา่ นง่ั ประนมกร โดยมี “ไมก้ าจบั หลกั ” หมุ้ ทองคำ�้ พระหนุ (คาง) เพือ่ ค้�ำพระเศียร แล้วเอาซองพระศรี (หมาก) และเคร่ืองบูชาใสใ่ นพระหัตถ์ (มือ) เพอ่ื เป็น เครื่องสักการะพระจุฬามณี จากน้ันจึงพันธิการด้วยผ้าขาวเน้ือดีห่อเป็นอันมาก เสร็จแล้วจึงเชิญ พระบรมศพลงในพระโกศหนุนด้วยหมอนโดยรอบเพอื่ กนั เอยี งเปน็ อนั เรียบรอ้ ย อนึ่ง แผ่นทองจ�ำหลักลายปิดที่พระพักตร์มีชื่ออีกอย่างว่า พระสุพรรณจําหลักปริมณฑล ฉลองพระพกั ตร์ มหี นา้ ทปี่ ดิ ใบหนา้ ของศพเพอื่ ปอ้ งกนั มใิ หเ้ หน็ สง่ิ มบิ งั ควร (เชน่ เพอื่ ไมใ่ หเ้ หน็ ใบหนา้ ของศพท่ีอาจเริ่มเส่ือมสภาพ) เป็นไปได้ว่า ธรรมเนียมการปิดหน้าศพด้วยหน้ากากทองค�ำน้ี พบทง้ั ในอารยธรรมจนี เชน่ ในสมยั ราชวงศ์เหลียว และยงั ปรากฏวัฒนธรรมนี้ในอาณาจักรจามปา และชวาเช่นกัน ธรรมเนียมการบรรจุพระบรมศพลงในพระโกศของเจ้านายชั้นสูงนี้ได้เปลี่ยนมาเป็น การบรรจลุ งหบี ศพในงานพระบรมศพสมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี เมอ่ื พ.ศ. ๒๕๓๘ สง่ ผล ท�ำให้ข้ันตอนการสุก�ำแบบดั้งเดิมลดทอนความซับซ้อนลงไป แต่ยังคงไว้ซึ่งธรรมเนียมอ่ืนได้แก่ การถวายซองพระศรี การถวายแผ่นทองจ�ำหลักปิดที่พระพักตร์ ในขณะที่พระชฎาได้เปลี่ยนมา วางไว้ท่ีข้างพระเศียรแทนการสวม ส�ำหรับพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ได้เป็นที่ประดิษฐานอยู่เบื้องหลังพระแท่นสุวรรณเบญจดลในหีบพระบรมศพโดยตั้งอยู่ บนพระแทน่ แว่นฟา้ ขนาดย่อม ส�ำหรับพระโกศแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑) พระโกศส�ำหรับทรงพระบรมศพ และ ๒) พระโกศพระบรมอัฐิ ส�ำหรับพระโกศพระบรมศพมี ๒ ช้นั ช้นั นอกเรยี กวา่ “พระลอง” (มาจาก ค�ำว่า โลง) ท�ำจากไม้ห้มุ ทองปดิ ทอง และชั้นในเรียกว่า “พระโกศ” (คำ� ว่าโกศแปลว่าเครื่องหอ่ หุ้ม หรอื ครอบ) ท�ำด้วยโลหะปิดทอง ต่อมานยิ มเรยี กพระลองเป็นพระโกศทำ� ให้เรยี กพระลองทองใหญ่ วา่ พระโกศทองใหญ่ พระโกศนมี้ กั จดั ทำ� ในชว่ งปลายรชั กาล ไมใ่ ชต่ น้ รชั กาล เพราะถอื วา่ ไมเ่ ปน็ มงคล และจะสร้างกต็ อ่ เมือ่ มคี วามจ�ำเป็นเทา่ นน้ั 9เสด็จสแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ประเพณีการบรรจุศพลงในโกศน้ี เดิมทีเช่ือว่ารับอิทธิพลมาจากอินเดีย แต่นักวิชาการ หลายคนในปัจจุบันให้ความเห็นสอดคล้องไปในทางเดียวกันว่ามีรากมาจากประเพณีการฝังศพ ในภาชนะทรงไหหรอื หมอ้ ซงึ่ เปน็ การฝงั ศพครงั้ ทส่ี อง (secondary burial) ทพ่ี บเปน็ วฒั นธรรมรว่ ม ในอุษาคเนย์เช่นท่พี บในเขตทุ่งไหหนิ ในลาว หรือในท่งุ กลุ าร้องไห้ เป็นตน้ รอ่ งรอยของการฝงั ศพ ครง้ั ทสี่ องน้ี เหน็ ไดจ้ ากในกรณพี ระศพของพระเจา้ นอ้ งนางเธอ พระองคเ์ จา้ หญงิ เจรญิ กมลสขุ สวสั ดิ์ พระราชธิดาในรัชกาลท่ี ๔ ที่สิ้นพระชนม์ขณะทรงมีพระชนมมายุเพียง ๗ พรรษา เมื่อถึงคราว พระราชทานเพลงิ พระศพ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้เจ้าพนักงานขุดพระศพในหีบท่ีฝังไว้ท่ีวัดสระเกศ ขึ้นมาใส่พระโกศมณฑปก่อนอัญเชิญไปพระเมรุ ทว่าต้นแบบของการบรรจุพระบรมศพ/พระศพ ลงในพระโกศของสยามน้ี ควรไดร้ ับมาจากวัฒนธรรมเขมรทเี่ มอื งพระนคร ดงั ปรากฏภาพสลกั ของ พระโกศทรี่ ะเบยี งคดปราสาทบายน เหตทุ โี่ กศตอ้ งตงั้ อยบู่ นฐานสงู อนั ไดแ้ กฐ่ านพระแทน่ แวน่ ฟา้ ทอง และสวุ รรณเบญจดลนน้ั นอกจากจะทำ� ใหพ้ ระโกศตง้ั อยใู่ นทสี่ งู โดดเดน่ แลว้ ฐานทย่ี กสงู พรอ้ มประดบั ประดารปู สตั วห์ ิมพานตแ์ ละอืน่ ๆ ยอ่ มบง่ บอกวา่ เปน็ สญั ลักษณแ์ ทนเขาพระสเุ มรุ ส่วนท่ีสอง พธิ กี รรมตา่ งๆ ในระหว่างการตัง้ พระบรมศพ และการปฏิบัติตนของผู้ท่มี ีชวี ิต ในระหวา่ งงานพระบรมศพ พระบรมวงศานวุ งศ์ ขา้ ราชบรพิ าร และราษฎรจะตอ้ งทำ� การไวท้ กุ ข์ ในอดีต ชุดไว้ทุกข์จะเป็นชุดสีขาว ต่อมาเม่ือรับอิทธิพลจากตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษในสมัย รชั กาลท่ี ๕ จึงเริม่ จัดระเบยี บใหม่ดว้ ยโดยสดี ำ� ใชส้ �ำหรับผู้ใหญ่ สีขาวใช้สำ� หรบั ผเู้ ยาว์ และสมี ่วงแก่ หรือสีน้�ำเงินส�ำหรับผู้ที่มิได้เป็นญาติกับผู้ตาย อย่างไรก็ดี แบบแผนที่ยุ่งยากในการแต่งกาย ไว้ทกุ ข์ไดเ้ ปลย่ี นมาใช้สีด�ำเปน็ หลักในสมยั จอมพล ป.พิบลู สงคราม สว่ นการโกนผมไวท้ ุกข์ถอื เปน็ ธรรมเนียมเก่าของคนในอุษาคเนย์อาจเริ่มต้ังแต่ในสมัยฟูนัน (ในเขตกัมพูชา-เวียดนาม) เม่ือราว พุทธศตวรรษท่ี ๑๑ และมายกเลิกในสมัยรัชกาลท่ี ๕ นี้เอง ทั้งน้ีเพราะมองว่าเป็นธรรมเนียมท่ี พน้ สมยั ไปแลว้ ดงั นน้ั ถา้ อธบิ ายในอกี ลกั ษณะหนง่ึ การไวท้ กุ ขไ์ มว่ า่ จะเปน็ เรอ่ื งสขี องชดุ ไวท้ กุ ขแ์ ละ การโกนผมไม่ใช่เป็นเรื่องของวัฒนธรรมและแบบแผนทางสังคมเท่าน้ัน หากยังสัมพันธ์กับอ�ำนาจ ของรฐั ในการสัง่ ให้แต่งหรือสัง่ ใหเ้ ลิกไปพรอ้ มกันดว้ ย ภายใต้อิทธิพลของพระพุทธศาสนา ระหว่างการตั้งพระบรมศพจะมีพิธีสงฆ์ด้วยการสวด สดับปกรณ์ หรือสวดอภิธรรมท�ำนองหลวง ๗ คัมภีร์ เพื่อเป็นการบ�ำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย แดด่ วงพระวิญญาณ การสดับปกรณ์นี้เปน็ คนละอย่างกบั สวดบังสุกลุ ดังสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรง ราชานภุ าพทรงอธบิ ายไวว้ า่ สดบั ปกรณม์ มี ลู เหตมุ าจากพระพทุ ธเจา้ เสดจ็ ขนึ้ ไปโปรดพระพทุ ธมารดา บนสวรรคแ์ ลว้ ประทานเทศนาจากพระธรรม ๗ คมั ภรี ์ เพอื่ แสดงถงึ ความกตญั ญตู อ่ ผลู้ ว่ งลบั ในขณะท่ี บังสุกุลเป็นผ้าท่ีถวายให้กับพระภิกษุสงฆ์ในงานศพ ถึงกระนั้นก็นิยมเรียกพิธีทั้งการทอดผ้าและ การสวดพระอภธิ รรมโดยรวมวา่ สดบั ปกรณ์ สำ� หรบั พระสงฆผ์ ทู้ ำ� หนา้ ทส่ี วดพระอภธิ รรมทำ� นองหลวงนี้ มีสมณศักดิ์เฉพาะเรียกว่าพระพิธีธรรม ท่วงท�ำนองการสวดนี้ว่ากันว่าสืบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ซ่งึ ปัจจบุ นั มีเพยี งบางพระบางวดั โดยมอี ยู่ ๙ วัดที่สวดทำ� นองน้ไี ด้ 10 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
นอกจากพระสงฆแ์ ล้ว ยังมธี รรมเนยี มการร้องไหใ้ นงานศพเรียกว่า นางร้องไห้ หรอื มอญ รอ้ งไห้ ปรากฏหลกั ฐานนต้ี ง้ั แตส่ มยั อยธุ ยาดงั เชน่ ในคำ� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั ทพี่ บวา่ ในงานพระราช พธิ พี ระบรมศพของพระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศมกี ารเกณฑน์ างสนมกำ� นลั มาเปน็ นางรอ้ งไห้ ซงึ่ การรอ้ งไห้ นไ้ี มใ่ ชก่ ารรอ้ งไหอ้ ยา่ งปกตหิ ากแตม่ ที ว่ งทำ� นองดว้ ยการขบั รำ� ทำ� เพลงพรอ้ มไปกบั การประโคมฆอ้ ง กลองแตรสงั ข์และมโหรีป่พี าทย์ ในขณะที่รชั กาลท่ี ๕ ทรงอธบิ ายวา่ ผวู้ ายชนมท์ ่จี ะมนี างร้องไหไ้ ด้ จะตอ้ งเปน็ เจ้านายในลำ� ดบั ชน้ั เจา้ ฟา้ ปกติแล้ววิธีการรอ้ งต้องใชต้ ้นเสียง ๔ คน โดยมีคำ� ร้องเฉพาะ และมคี รู่ อ้ งรบั ประมาณ ๘๐-๑๐๐ คน ซงึ่ ลว้ นเปน็ นางพระสนมและนางกำ� นลั ครงั้ สดุ ทา้ ยทมี่ นี างรอ้ งไห้ ตามราชประเพณีคืองานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยไม่ต้อง พระราชหฤทัยรชั กาลที่ ๖ ดว้ ยทรงเหน็ วา่ “ใหร้ สู้ กึ รกหเู สยี จริงๆ” เปน็ ไปได้วา่ สาเหตทุ ่ีรัชกาลที่ ๖ มิทรงโปรดอาจเป็นเพราะนิยมถือปฏิบัติตามธรรมเนียมงานศพแบบตะวันตกที่เน้นความเงียบ ซ่ึง เปน็ สญั ลักษณ์ของความโศกเศรา้ ด้วยราชวงศ์จักรีมีเช้ือสายจีน ท�ำให้มีพิธีกงเต๊กหลวงเพ่ือเป็นการบ�ำเพ็ญพระราชกุศล ด้วย พิธีกงเต๊กหลวงปรากฏคร้ังแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวเม่ือทรงจัดงาน พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระน่งั เกลา้ เจ้าอยู่หวั เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ในพธิ กี งเตก๊ หลวงน้ี พระภิกษุ ชาวเวยี ดนาม (ญวน) ในนิกายมหายานทต่ี ่อมาเรยี กอนัมนกิ าย เปน็ ผู้ท่ีประกอบพธิ กี รรมเปน็ หลกั โดยแรกเร่ิมมีองฮึงเจ้าอาวาสแห่งวัดญวณตลาดน้อย (วัดอุภัยราชบ�ำรุง) ซึ่งเป็นผู้ถวายความรู้ เรอ่ื งลทั ธมิ หายานแตค่ รง้ั เมอ่ื รชั กาลที่ ๔ ทรงผนวชอยู่ เปน็ ผปู้ ระกอบพธิ กี งเตก๊ หลวงนี้ ในระยะหลงั ได้มีการเปล่ียนแปลงด้วยผู้ประกอบพิธีจะใช้พระสงฆ์คณะจีนนิกายมากข้ึน ท้ังนี้เพราะในสมัย รชั กาลท่ี ๕ พระภกิ ษสุ กเหง็ มวี ตั รปฏบิ ตั เิ ปน็ ทเี่ คารพของชาวจนี ในกรงุ เทพ แถบสำ� เพง็ และเยาวราช อย่างมาก พิธีกงเตก๊ น้ไี ดร้ ับความนยิ มในหม่เู จ้านายอยา่ งสูงถึงขนาดที่รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงระบุลงไป ในพินัยกรรมว่าต้องจัดให้พระองค์หลงั สวรรคต ตลอดพระราชพธิ พี ระบรมศพ จะมกี ารใชด้ นตรใี นงานพระบรมศพทสี่ ำ� คญั คอื การประโคม ยำ�่ ยาม และวงปพ่ี าทยน์ างหงส์ สำ� หรบั การประโคมยำ่� ยามเลน่ โดยวงสงั ขแ์ ตรและวงปไ่ี ฉนกลองชนะ ซึง่ จะประโคมสลบั ต่อเนอื่ งกนั การประโคมน้ีจะกระท�ำทุก ๓ ชว่ั โมงเริม่ จาก ๖ นาฬิกาไปจบท่ี ๒๔ นาฬกิ า เครอื่ งดนตรสี ำ� คัญทีใ่ นแง่ของพธิ กี รรมคอื กลองมโหระทึก ๒ ใบ ใช้เฉพาะงานพระบรมศพ เท่านั้น แสดงว่าเป็นของสำ� คญั ย่ิงสำ� หรบั ผู้น�ำ ในทางโบราณคดี กลองมโหระทกึ ถอื เปน็ เครอื่ งดนตรสี ำ� คญั ดงั ทก่ี ลา่ วไปบา้ งแลว้ เรม่ิ ผลติ เม่ือราว ๒,๕๐๐ ปีมาแลว้ ค้นพบครงั้ แรกท่ีหมูบ่ า้ นดองเซิน (ดองซอน) ประเทศเวียดนาม และพบ แพรก่ ระจายท่วั ไปในเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ ปกตใิ ช้เลน่ หลายวัตถุประสงค์เชน่ การขอฝน ท�ำให้ บนหน้ากลองมีประติมากรรมขนาดเล็กเป็นรูปกบหรือคางคกประดับอยู่จึงมักเรียกชื่อว่ากลองกบ ตเี ฉลมิ ฉลองเมอื่ ไดผ้ ลผลติ พชื พนั ธธ์ุ ญั ญาหารอดุ มสมบรู ณ์ หรอื ใชต้ ใี นพธิ กี รรมเชน่ งานแตง่ งานและ งานศพ ทำ� ใหล้ วดลายทตี่ กแตง่ จงึ เตม็ ไปดว้ ยรปู ศกั ดสิ์ ทิ ธเิ์ ชน่ เรอื สง่ วญิ ญาณ (ขวญั ผ)ี นก คนเลน่ ดนตรี และลายคล้ายพระอาทติ ยท์ ีบ่ า้ งตีความวา่ ขวัญ นอกจากน้ี กลองมโหระทกึ ยังใช้เปน็ เครอ่ื งประกอบ พิธีศพท่ฝี งั ลงไปกบั ผ้นู �ำเผา่ เพราะถือเป็นสัญลกั ษณ์ของอ�ำนาจ (พพิ ฒั น์ กระแจะจนั ทร์ ๒๕๕๘) 11เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
วงปพ่ี าทยน์ างหงสเ์ ปน็ วงประโคมลำ� ดบั ท่ี ๒ เหตทุ ชี่ อื่ วา่ วงปพ่ี าทยน์ างหงสเ์ พราะเลน่ เพลง เรอื่ งนางหงส์ ซงึ่ เริม่ ตน้ ด้วยเพลงพราหมณ์เกบ็ หัวแหวน และตามด้วยเพลงอื่นๆ อกี (กรมศลิ ปากร ๒๕๖๐) เครื่องดนตรใี นวงประกอบดว้ ยปีช่ วา ระนาดเอก ระนาดท้มุ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเลก็ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง มักอธิบายว่าวงปี่พาทย์นางหงส์เป็นวงท่ีบรรเลงในงานศพของสามัญชนมาก่อน ตอ่ มาสมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ได้โปรดเกล้าให้มีการรื้อฟื้นนำ� วงปี่พาทย์ นางหงสม์ าบรรเลงรว่ มการประโคมยำ�่ ยามอกี ครง้ั นบั ตง้ั แตง่ านพระบรมศพสมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทรา บรมราชชนนี อยา่ งไรก็ดี สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพทรงอธิบายวา่ เครื่องประโคมที่ใช้ เฉพาะงานพระราชพิธีเห็นมีอย่างเดียวแต่ปี่พาทย์นางหงส์ อันมีผู้คิดกลองคู่บัวลอยเข้าประสมวง กับปี่พาทย์ การใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลงในงานพระบรมศพในงานหลวงเร่ิมมีครั้งแรกเมื่องาน พระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเท่านั้น ท�ำให้คนภายนอกคิดไปว่าถ้าจะจัดงานศพ อยา่ งผดู้ ตี อ้ งมีป่พี าทย์มอญ (สุจิตต์ วงษ์เทศ ๒๕๕๖: ๒๓-๒๔) ถา้ เปน็ เชน่ นนั้ แสดงวา่ เพลงเรอ่ื งนางหงสท์ บ่ี รรเลงดว้ ยวงปพ่ี าทยน์ างหงสเ์ ปน็ ดนตรงี านศพ แตด่ ัง้ เดมิ ในบทความของหนังสือเล่มนี้ สุจิตต์ วงษ์เทศ ให้ความเหน็ ว่า นางหงสเ์ ปน็ ท้ังสัญลกั ษณ์ ของผู้หญิงและสัญลักษณ์ของนกบนฟ้าจึงสัมพันธ์กับพิธีศพ ถ้าคิดต่อไปด้วยจะเห็นได้ว่าเพลงที่ เรมิ่ เลน่ คอื เพลงพราหมณเ์ กบ็ หวั แหวน ซง่ึ พราหมณน์ อ้ี าจเปน็ รอ่ งรอยของโกณฑณิ ยะ ปฐมกษตั รยิ ์ ของรฐั ฟนู ัน สว่ นท่สี าม กระบวนแหพ่ ระบรมศพและงานพระเมรุ เมอื่ ตงั้ พระโกศครบตามกำ� หนดและพระเมรสุ รา้ งเสรจ็ จะมกี ารอญั เชญิ พระบรมศพสพู่ ระเมรุ กอ่ นหนา้ การพระราชทานเพลงิ พระบรมศพนม้ี พี ระราชพธิ ที ปี่ ฏบิ ตั เิ ปน็ การภายใน คอื การเผาพระบพุ โพ หรอื การเผานำ้� เหลอื ง กลา่ วคอื ในสมยั เมอ่ื ยงั ใชพ้ ระโกศ จะมกี ารเจาะชอ่ งใตฐ้ านพระโกศใหพ้ ระบพุ โพ (นำ�้ เหลอื ง) ไหลลงมาตามทอ่ ลงสถู่ ำ้� พระบพุ โพ (ตมุ่ ดนิ เผา) ทว่ี างไวท้ พ่ี นื้ พระมหาปราสาท (หลบอยู่ ในพระแท่นต้ังพระโกศ) เมื่อถึงเวลาเคล่ือนย้ายพระบรมศพสู่พระเมรุ จะมีการพระราชทานเพลิง พระบพุ โพก่อน โดยจะมกี ระบวนอญั เชญิ เช่นเดยี วกบั พระบรมศพ การเผาพระบุพโพน้จี ะกระทำ� ใน พระเมรุเฉพาะเรียกว่า เมรุพระบุพโพ โดยส�ำหรับพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ช้ันสูง จะกระทำ� ทว่ี ดั มหาธาตุ โดยทพี่ ระบพุ โพจะนำ� ใสก่ ระทะปนกบั นำ้� มนั เผาไปพรอ้ มกนั จากนนั้ เมอ่ื เผาเสรจ็ จะน�ำพระบุพโพไปลอยพระอังคาร ยกเว้นกรณีพระบุพโพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวท่ีฝังพระอังคารใต้ฐานพระพุทธชินราช ซ่ึงภายหลังท้ังธรรมเนียมการลอยพระอังคารและ ฝังพระบุพโพนี้ได้ยกเลิกไป เรม่ิ แรกกอ่ นหนา้ วนั งานจะมกี ารอญั เชญิ พระบรมสารรี กิ ธาตหุ รอื พระบรมธาตแุ หม่ าสมโภช ทพี่ ระเมรุ ในวนั รงุ่ ขนึ้ จะเปน็ การเชญิ พระบรมอฐั ขิ องพระราชวงศอ์ อกมาสมโภชทพี่ ระเมรุ หลงั จากนี้ จึงเปน็ การอญั เชญิ พระบรมศพจากพระบรมมหาราชวงั ตามเส้นทางทกี่ �ำหนด สำ� หรบั ขน้ั ตอนการเคลอ่ื นพระบรมศพจะมกี ารจดั รวิ้ กระบวนแหอ่ ยา่ งสมพระเกยี รติ สำ� หรบั การตั้งริ้วกระบวนปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์น้ี ซงึ่ ก็มกี ารปรบั เปลีย่ นแตกตา่ งไปจากสมยั อยธุ ยาพอควร เมื่อพิจารณาจากหลกั ฐานที่เป็นภาพวาด 12 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
ริ้วกระบวนแห่และพระเมรุเก่าสุดเป็นงานพระบรมศพของสมเด็จพระเพทราชา (ค้นพบภาพโดย Barend J. Terwiel ปี ค.ศ.๒๐๑๖) ประกอบกับคำ� ให้การขุนหลวงหาวดั และหลักฐานอืน่ ๆ พอจะ ล�ำดับได้ดังนี้ กระบวนแห่พระบรมศพมีม้าน�ำรวิ้ พร้อมธงและเครื่องผ้าย่ามทำ� บุญ ถัดมาเป็นรูปสัตว์ เทยี มลอ้ ได้แก่ นกอนิ ทรี/นกหสั ดลี ิงค์ แรด/ระมาด ชา้ ง เสือ สิงห์ กเิ ลน สิงโต ราชสหี ์ คชสีห์ และ กนิ นร ตามด้วยราชรถนอ้ ยใหญ่จำ� นวน ๗ คนั ได้แก่ พระพชิ ยั ราชรถอา่ นหนังสือ (รถพระสงั ฆราช) พระพชิ ยั ราชรถโปรยขา้ วตอก (รถปรายขา้ วตอกดอกไม)้ พระพชิ ยั ราชรถโยง (รถโยงพระภษู า) และ พระมหาพชิ ยั ราชรถกฤษฎาธาร (รถพระบรมศพ) ซงึ่ ประดษิ ฐานพระโกศภายในบษุ บก ในคำ� ใหก้ าร ขุนหลวงหาวัดอธิบายด้วยว่า หน้ารถพระบรมศพมีมหาดเล็กเชิญพระแสงน�ำหน้ารถ และขุนนาง คู่เคียงเคร่ืองสูง เจ้าพนักงานเล่นแตรสังข์ ปี่กลองชนะ และกลองมโหระทึก หลังรถพระบรมศพ มีเจ้าพนักงานเชิญเครื่องราชูปโภคส�ำหรับพระบรมราชอิสริยยศพระเจ้าแผ่นดิน ถัดมาเป็นราชรถ พระโกศจันทน์เป็นพระท่ีน่ังรอง ตามด้วยราชรถพานทองรับท่อนจันทน์ ซ่ึงราชรถท้ังสองคันน้ี มีคู่เคยี งและเครื่องสูงเหมอื นรถพระบรมศพ ถัดมาเปน็ รถพระประเทยี บ ๑๒ รถ ซง่ึ ภายในมีเจา้ จอม และพระสนมนุ่งขาวนั่งมาดว้ ย จากน้นั ตามด้วยแถวของพระก�ำนัลนางใน และพระบรมวงศานวุ งศ์ เมอื่ ถงึ พระเมรุ เจา้ พนกั งานจะเชญิ พระโกศประดษิ ฐานบนเสลีย่ งเวยี นรอบพระเมรุ ๓ รอบ แลว้ จึง เชญิ พระโกศประดิษฐานเหนอื พระเบญจา ในสว่ นของกระบวนรปู สตั วน์ น้ั มเี รอื่ งหนงึ่ ทน่ี า่ สนใจคอื ในภาพวาดกระบวนแหพ่ ระบรมศพ ของสมเดจ็ พระเพทราชานน้ั ปรากฏวา่ ใชน้ กอนิ ทรนี ำ� แทนทจ่ี ะเปน็ การใชแ้ รดหรอื ระมาดนำ� ดงั เชน่ ที่ ปรากฏในคำ� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั ทบี่ รรยายกระบวนพระบรมศพพระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ หรอื กระทง่ั ในสมยั รตั นโกสนิ ทรก์ ใ็ ชแ้ รดนำ� เชน่ กนั ถา้ ยดึ ตามอายขุ องหลกั ฐาน เปน็ ไปไดว้ า่ ในสมยั ของพระเพทราชา หรือก่อนหน้าน้ัน นกอินทรีคงเป็นสัตว์น�ำกระบวน แต่ในสมุดภาพกระบวนแห่พระบรมศพสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นกอนิ ทรีน้รี ะบุว่าเป็นนกหสั ดีลงิ ค์ เชือ่ กนั วา่ นกหสั ดีลงิ คเ์ ป็นนก มีพละก�ำลังมากสามารถน�ำดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์ ในทางอุบลราชธานีมีต�ำนาน เลา่ วา่ ระหวา่ งการแหพ่ ระบรมศพกษตั รยิ น์ ครเชยี งรงุ้ ไดม้ นี กหสั ดลิ งิ คจ์ ากปา่ หมิ พานตบ์ นิ มาคาบเอา พระบรมศพไป ทำ� ใหต้ อ้ งหาผกู้ ลา้ ไปตามเอาศพกลบั มา จนกระทงั่ เจา้ นางสดี าไดใ้ ชศ้ รยงิ นกหสั ดลี งิ ค์ ตกลงมาตาย พระมเหสีจงึ ให้ประกอบพิธีถวายพระเพลงิ พระบรมศพของกษตั รยิ พ์ รอ้ มนกหัสดีลิงค์ (บ�ำเพ็ญ ณ อุบล และคณะ ๒๕๓๕) ดว้ ยตำ� นานและความเชื่อดงั กลา่ วเป็นมูลเหตุให้ทางลา้ นช้าง และลา้ นนายังคงมปี ระเพณีการปลงศพพระเถระผู้ใหญด่ ว้ ยปราสาทนกหัสดลี งิ ค์ ซึ่งดจู ะเปน็ ทน่ี ิยม ของกลุ่มคนไท ในขณะที่ทางพม่ามีการใช้ปราสาทนกการเวก (มักเข้าใจว่าเป็นหงส์) ส�ำหรับศพ พระเถระเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นนกอินทรีหรือนกหัสดิลิงค์หรือการเวกน้ีต่างสะท้อน ประเพณกี ารปลงศพดว้ ยนก ซงึ่ อาจสบื มาจากประเพณขี องอนิ เดยี หรอื เปน็ ประเพณดี ง้ั เดมิ ของคน ในภมู ภิ าคนเ้ี องทมี่ กี ารนบั ถอื นกศกั ดส์ิ ทิ ธอิ์ ยแู่ ลว้ ดงั ปรากฏอยบู่ นหนา้ กลองมโหระทกึ ในวฒั นธรรม ดองซอน เหตทุ ีน่ ับถอื นก เพราะนกเปน็ สัญลักษณข์ องทอ้ งฟา้ ซึง่ หมายถึงสวรรค์น่ันเอง นอกจากน้ีแล้ว มีอีกเร่ืองหนึ่งที่น่าสนใจด้วยคือ จะเห็นได้ว่าราชรถเชิญพระบรมศพที่มี การประดับรูปพญานาคแกะสลักปิดทองอย่างสวยงามน้ันอาจมีรากมาจากความเช่ือเร่ืองเรือ 13เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ส่งวิญญาณเพ่ือน�ำไปสู่เมืองฟ้า เพราะนาคเป็นสัญลักษณ์ของความตายและยังเป็นสะพานสายรุ้ง เพอื่ ขน้ึ ไปสสู่ วรรค์ เทา่ ทม่ี หี ลกั ฐานพบวา่ พระบรมศพสมเดจ็ พระไชยราชาธริ าชเมอื่ ถวายพระเพลงิ แลว้ ไดอ้ ญั เชิญไปทางน�ำ้ ด้วยเรือรูปหัวสัตว์ (นันทา วรเนตวิ งศ์ และคณะ ๒๕๓๘) ดังน้ัน จะพบไดว้ ่าทั้ง ในกัมพชู า ลาว และพมา่ ซงึ่ ตา่ งก็นับถือพญานาค จงึ มีการทำ� ราชรถพญานาคอญั เชิญพระบรมศพ ซ่ึงคงเป็นคติความเชื่ออย่างเดียวกัน ราชรถจึงเป็นร่องรอยของการใช้เรือส่งวิญญาณที่ช่างโบราณ หลงเหลอื ไวเ้ ป็นระบบเชิงสญั ลักษณ์ วธิ กี ารและแนวคดิ เกย่ี วกบั กระบวนแหพ่ ระบรมศพของไทยทอ่ี าจหมายรวมถงึ ทง้ั อษุ าคเนยน์ ้ี แตกต่างไปจากของอินเดยี โดยจะเห็นไดว้ า่ ในคติของศาสนาพราหมณด์ ้ังเดมิ นัน้ เม่ือกษัตริย์หรือ สามญั ชนตาย กระบวนศพกลบั เปน็ ไปอยา่ งเรยี บงา่ ย อกี ทง้ั คนในกระบวนมกั มเี พยี งผชู้ ายและญาติ เปน็ สว่ นใหญ่ นอกจากน้ี กษตั รยิ แ์ บบอนิ เดยี ยงั ถอื วา่ เปน็ ผทู้ ม่ี อี าตมนั บรสิ ทุ ธอ์ิ ยแู่ ลว้ จงึ ถอื วา่ พระองค์ เปน็ เทวดาดว้ ยตวั เอง ในขณะที่ ในสงั คมอษุ าคเนยเ์ ชอื่ วา่ กษตั รยิ เ์ มอื่ ผา่ นพธิ พี ราหมณจ์ ะถอื วา่ เปน็ เทพเจา้ ทอ่ี วตารลงมา และเมอื่ รบั คตศิ าสนาพทุ ธทำ� ใหถ้ อื วา่ พระองคเ์ ปน็ พระโพธสิ ตั วท์ ลี่ งมาจตุ จิ าก สวรรคช์ น้ั ดสุ ติ แนวคดิ ของศาสนาทง้ั สองนไ้ี ดผ้ สมผสานเขา้ กบั คตคิ วามตายดงั้ เดมิ ของอษุ าคเนยท์ ี่ เมอ่ื มคี นตาย จะมกี ารเลน่ ดนตรรี อ้ งรำ� ทำ� เพลงเพอ่ื เปน็ การเรยี กขวญั และหลอกลอ่ ขวญั ใหก้ ลบั เขา้ รา่ ง ด้วยเหตุน้ีเอง ท�ำให้กระบวนแห่งานพระบรมศพของไทยมีความยิ่งใหญ่อลังการและเต็มไปด้วย เคร่ืองประกอบพระเกียรติยศเพ่ือเป็นการส่งเสด็จกษัตริย์กลับคืนสู่สรวงสวรรค์ ไม่ต่างกันกับ ในกระบวนแห่เทพเจ้าในศาสนาพราหมณใ์ นวโรกาสส�ำคญั อย่างไรก็ตาม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรง ยกเลกิ กระบวนรูปสตั วส์ ังเค็ด เทวดาคูแ่ ห่ และคนท่แี ต่งตวั แบบทหารแบบโบราณ แต่เปลยี่ นมาใช้ กระบวนทหารทง้ั ๔ เหลา่ และในกระบวนแหพ่ ระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั จากพระที่นั่งอัมพรสถานในพระราชวังดุสิตทรงโปรดให้ทหารยิงปืนใหญ่สลุต นับต้ังแต่สรงน้�ำ พระบรมศพจนกระบวนเข้าไปถึงพระบรมมหาราชวัง และยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกพอสมควร นอกจากน้ีแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังมีธรรมเนียมการใช้ราชรถปืนใหญ่ทรงพระบรมโกศเพ่ิมเติม มาอกี ซงึ่ ทง้ั หมดนไ้ี ดก้ ลายมาเปน็ แบบแผนของงานพระบรมศพในสมยั หลงั อยา่ งไรกต็ าม ในขณะที่ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้มีการปรับเปล่ียนกระบวนแห่ แต่จะพบได้ว่าในกระบวนแห่พระบรมศพ พระบาทสมเดจ็ พระนโรดมสุรามฤต เม่อื พ.ศ.๒๕๐๓ ยังคงถือปฏิบตั ิตามคติด้ังเดมิ อยู่ การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลท่ี ๖ น้ีเป็นผลโดยตรงมาจากการรับอิทธิพลจาก ตะวันตกโดยเฉพาะจากอังกฤษดังเช่นในงานพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่มี การใชร้ าชรถปนื ใหญอ่ ญั เชญิ พระบรมศพ เชน่ เดยี วกบั กรณขี องการยกเลกิ กระบวนรปู สตั วห์ มิ พานต์ และเทวดาโดยแทนท่ีด้วยกระบวนทหารนั้นก็สะท้อนถึงการพยายามท�ำให้กระบวนแห่พระบรมศพ มีความเปน็ เร่ืองทางโลก (secular world) มากขึ้น โดยเป็นการส่งเสด็จพระบรมศพในฐานะท่เี ป็น กษัตรยิ ์ผนู้ ำ� กองทพั และพสกนิกร พระเมรุสร้างข้ึนภายใต้คติเขาพระสุเมรุ ซ่ึงเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและภพภูมิทั้งสาม ลกั ษณะทางกายภาพเชงิ อดุ มคตขิ องเขาพระสเุ มรปุ ระกอบดว้ ยเขาพระสเุ มรเุ ปน็ จอมเขากงึ่ กลางสงู 14 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ทสี่ ดุ ล้อมรอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์ ๗ ทวิ สลบั ดว้ ยมหานทีสที ันดร อกี ทัง้ มที วปี ทงั้ สี่และมหาสมุทร ทั้งส่ีประจ�ำตามทิศ เชิงเขาพระสุเมรุเป็นป่าหิมพานต์ ซึ่งเป็นท่ีอาศัยของสัตว์นานาพันธุ์ ยอดเขา พระสุเมรุเป็นท่ีตัง้ ของสวรรคช์ ัน้ ดาวดงึ ส์ ซง่ึ มพี ระอนิ ทรเ์ ป็นกษตั ริยผ์ ปู้ กครอง ประทบั ในไพชยนต์ มหาปราสาท พระองคย์ งั ทำ� หนา้ ท่เี ป็นเทวราชผูอ้ ภิบาลโลก และคอยช่วยเหลอื พระพุทธเจา้ ดงั น้ัน พระเมรคุ อื ปราสาทไพชยนตอ์ นั ตงั้ อยบู่ นเขาพระสเุ มรนุ นั่ เอง นอกจากนี้ ดว้ ยความตอ้ งการใหเ้ ทพเจา้ ฮินดูกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลแบบพุทธ ท�ำให้มีการประดับตกแต่งพระเมรุด้วยเทวดา ทา้ วจตุโลกบาล และตรีมูรติท้ังสามองค์คือ พระนารายณ์ พระศวิ ะ และพระพรหมอกี ด้วย ความจรงิ แล้ว คตเิ ขาพระสุเมรนุ ้ีก็คือการจ�ำลองภมู ปิ ระเทศบริเวณเขาหมิ าลัยและแผ่นดิน ที่แผ่รายรอบออกไปจนจรดมหาสมุทรน่ันเอง นอกจากนี้แล้ว ในอินเดียเองน้ันผู้นับถือศาสนา พราหมณแ์ ละพทุ ธจะไมท่ ำ� พระเมรเุ พอื่ เผาศพดงั เชน่ ของทง้ั ไทย กมั พชู า และลาว หากแตเ่ ปน็ เพยี ง การเผาศพบนกองฟอน ณ ท่าน้�ำอันศักด์ิสิทธ์ิ ไม่มีอาคารใดๆ คลุมเป็นพิเศษ ดังน้ัน การสร้าง พระเมรุเพ่ือเผาพระบรมศพจึงเป็นการปรับปรุงคติความเช่ือจากอินเดียให้เข้ากับวัฒนธรรมด้ังเดิม ของอษุ าคเนย์เอง เป็นไปได้ว่ารูปแบบการเผาศพด้ังเดิมของกรุงศรีอยุธยาอย่างน้อยนับแต่สมัยสมเด็จ พระไชยราชาธิราชข้ึนไป เป็นพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพบนกองฟืนไม้หอมชนิดต่างๆ จนกระทั่งในคราวพระราชพธิ พี ระบรมศพสมเดจ็ พระนเรศวรจงึ เรม่ิ ใชพ้ ระเมรุ (เรยี ก พระสเุ มรมุ าศ) ซงึ่ ประกอบดว้ ยเมรุทิศ เมรุราย (เมรุแทรก) สามสร้าง (หรือส�ำซ่าง คือ ระเบียงคดท่ีต่อเชื่อมกับ เมรุทิศและเมรุราย) ฉตั รตา่ งๆ และรว้ั ราชวตั ิ นอกจากน้ี ยงั ตอ้ งมหี มอู่ าคารอกี หลายหลงั เพอ่ื ใชใ้ น พระราชพธิ เี ชน่ หอเปลอ้ื ง พระทน่ี ั่งทรงธรรม ทับเกษตร ศาลาลูกขนุ ทับเกษตร ทิม ประร�ำ เปน็ ตน้ อาจอธบิ ายวา่ การถวายพระเพลงิ ดว้ ยพระเมรนุ เ้ี ปน็ ผลมาจากการพฒั นาขนึ้ ของคตพิ ราหมณม์ ากขน้ึ (นนทพร อยมู่ ั่งมี ๒๕๕๙) หรือเกีย่ วขอ้ งกบั การรับวฒั นธรรมเขมร แตก่ ป็ ระเพณีการทำ� บ้านให้กับ ผู้วายชนม์นี้ ก็อาจมีรากมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมในอุษาคเนย์ที่ฝังศพใต้บ้าน ต่อมาปรับเปล่ียน เป็นการท�ำบ้านอุทิศให้กบั ผตู้ ายในปา่ ชา้ ตวั อยา่ งเชน่ ชาวไทดำ� จะทำ� ‘เฮอื นแฮว่ ’ เปน็ เรอื นจำ� ลอง ของคนตาย (แฮว่ ) เพอื่ ใหค้ นตายมีท่ีอยู่ที่ป่าแฮ่ว (ป่าช้า) ก่อนที่จะเชิญขวัญผีกลับไปหิ้งผีเรือน ในบ้านของคนเปน็ ซ่ึงพธิ นี ีม้ ีสว่ นคลา้ ยกับเฮอื นตานน้อยทางภาคเหนือ ในแง่ของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของพระเมรุส�ำหรับพระมหากษัตริย์ นับจากสมัย อยธุ ยาถงึ สมยั รตั นโกสนิ ทร์ในรัชกาลท่ี ๕ ทำ� เป็นทรงปราสาทยอดปรางค์ ซง่ึ เรียกว่าพระเมรุใหญ่ โดยมีพระเมรุมาศ (พระเมรุทอง) ทรงมณฑปอีกองค์ก่อสร้างไว้ภายในเพ่ือใช้ประดิษฐานพระโกศ จนกระทงั่ ในงานพระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั จงึ ไดม้ กี ารใชพ้ ระเมรทุ รงบษุ บก หรือมณฑป ซ่ึงเดิมก็คือพระเมรุมาศที่อยู่ช้ันใน สาเหตุของความเปลี่ยนแปลงน้ีเป็นผลมาจากการ ปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของชนช้ันน�ำสยามที่ต้องการเน้นความทันสมัยมากข้ึนจึงจ�ำเป็นต้องตัดทอน สถาปัตยกรรมที่มีขนาดใหญ่โตลงให้เกิดความเรียบง่ายมากข้ึน อีกท้ังการยกเลิกระบบการเกณฑ์ แรงงานไพรท่ าส ทำ� ใหเ้ ปน็ เรอ่ื งยากทจี่ ะสรา้ งพระเมรขุ นาดใหญไ่ ดอ้ ยา่ งเชน่ ในระบบการเมอื งแบบเกา่ และยังเป็นการส้ินเปลืองอย่างมาก ซึ่งสะท้อนการมองโลกตามความเป็นจริงของชนช้ันน�ำสยาม 15เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
ดว้ ยเหตนุ ้ี เมอื่ รชั กาลที่ ๕ สวรรคต บรรดาเสนาบดจี งึ ไดป้ ระชมุ กนั และลงความเหน็ วา่ จะทำ� พระเมรุ เป็นอาคารทรงบุษบกแทน (แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคณะ ๒๕๕๕) ซึ่งเท่ากับเป็นการขยายขนาด ของพระเมรุทององค์ในเป็นพระเมรุใหญ่ทรงปราสาทแทน ส่งผลท�ำให้พระเมรุทรงบุษบกกลาย มาเป็นต้นแบบในงานพระบรมศพและพระศพของเจ้านายสมัยหลังต่อมา และยังรวมไปถึงเมรุของ สามญั ชนอกี ด้วย พระปรางค์วัดไชยวัฒนารามที่สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททองมักได้รับการเปรียบเทียบ เสมอว่าเป็นถาวรอาคารที่ก่อสร้างจ�ำลองพระเมรุเอาไว้ โดยเฉพาะปรางค์ประจ�ำมุมและทิศซึ่งควร มีรูปแบบเป็นตัวแทนของเมรุทิศและเมรุรายในสมัยอยุธยา ในขณะท่ีรูปทรงของปรางค์ประธาน คงไม่ใช่ลักษณะของพระเมรุหลัก ทั้งนี้เพราะรูปทรงของปรางค์คือความพยายามในการจ�ำลอง ปรางค์ประธานของปราสาทนครวัดหรือไม่ก็คือปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ ดังน้ัน รูปแบบพระเมรุ องค์กลางควรจะใกล้เคียงกับอาคารทรงเมรุท่ีรายล้อมปรางค์ประธานคือเป็นอาคารทรงปราสาท ซ้อนชั้นท่ีมียอดปรางค์ขนาดเล็ก นอกจากน้ี จากการค้นพบภาพวาดพระเมรุงานพระบรมศพ พระเพทราชาล่าสุด ก็อาจท�ำให้เทียบเคียงได้ว่าพระเมรุของพระเจ้าปราสาททองอาจใกล้เคียงกัน โดยเป็นพระเมรุทรงจัตุรมุขยอดปรางค์ ๙ ยอด ความจริงแล้ว คติการสร้างปราสาทเป็นสถานที่ สำ� หรบั ปลงพระบรมศพนเี้ ปน็ คตเิ กา่ แกท่ สี่ มั พนั ธก์ บั อารยธรรมเขมร ดงั เชน่ การสรา้ งปราสาทนครวดั ทอี่ ทุ ศิ ใหแ้ ดพ่ ระเจา้ สรุ ยิ วรมนั ที่ ๒ เปน็ ตน้ ซงึ่ จะพบดว้ ยวา่ แผนผงั การวางตำ� แหนง่ ของอาคารตา่ งๆ นั้น ยงั มคี วามใกล้เคียงกนั อีกด้วยกบั พระเมรุในสมัยอยธุ ยา อน่งึ ความจรงิ แล้ว พระเมรไุ ม่ไดท้ �ำให้เฉพาะกษตั รยิ ์เทา่ น้ันหากแต่ยงั มกี ารสร้างพระเมรุ ให้กับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางอีกด้วยโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามบรรดาศักด์ิและ ฐานานุศักดิ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ช้ันคือ พระเมรุเอก โท และตรี ซึ่งพระเมรุเอกคงไว้ให้ กบั พระมหากษตั รยิ ์เท่านัน้ นอกจากนี้ ในสมยั รตั นโกสินทร์ สมเด็จพระอนุชาธริ าช กรมพระราชวงั บวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงสร้างเมรุปูนส�ำหรับปลงศพผู้มีบรรดาศักด์ิ ท้ังน้ีเพ่ือลดภาระปัญหา การปลงศพท่ีต้องสร้างพระเมรุทุกครั้งและยังเต็มไปด้วยเคร่ืองประกอบอีกหลายอย่าง โดยสร้าง เมรปุ นู ทแี่ รกคอื วดั สวุ รรณาราม ตอ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดท้ รงโปรดเกลา้ ใหส้ รา้ ง อีกทวี่ ดั อรณุ ราชวรารามและวัดสระเกศ ซึ่งลว้ นเปน็ วดั ทตี่ งั้ อย่นู อกก�ำแพงเมือง ในพน้ื ทงี่ านพระเมรยุ งั มกี ารจดั มหรสพ ซง่ึ เปน็ สว่ นหนง่ึ ของงานสมโภชพระบรมศพ จำ� นวน ๗ วันหรือตามความเหมาะสม อาจกล่าวได้ว่า ด้วยแนวคิดท่ีเช่ือว่ากษัตริย์ท่ีสวรรคตเสด็จกลับ สู่สวรรค์ ดังน้นั เป้าหมายหลักของงานพระบรมศพจงึ มิใช่งานโศกเศรา้ หากเปน็ งานทนี่ ่ายินดีปรีดา และถอื เปน็ การเคารพตอ่ กษตั รยิ เ์ ปน็ ครง้ั สดุ ทา้ ยไปพรอ้ มกนั ตามทหี่ ลกั ฐานในสมยั อยธุ ยาตอนปลาย ปรากฏว่ามหรสพที่เล่นมีโขน หุ่นกระบอก งิ้ว ละครชาตรี เทพทองมอญร�ำ เพลงปรบไก่ เสภา เลา่ นยิ าย ในสมยั รตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ มเี พม่ิ เตมิ อกี เชน่ หมอลำ� หนงั เชดิ สงิ โต มงั กร ญวนรำ� กระถาง เป็นต้น โดยแสดงในโรงระบ�ำทั้ง ๑๕ โรง ซ่ึงตั้งอยู่ระหวา่ งระทา (เสาดอกไม้เพลิง) ซ่ึงมักเรียกว่า ช่องสทั ธา ส่วนหน้าระทามกี ารต้งั เสาส�ำหรบั เลน่ กายกรรมตา่ งๆ เช่น ไตล่ วด หกคะเมน นอนดาบ เปน็ ตน้ ซึ่งการละเล่นต่างๆ นีค้ วบคุมและเลน่ โดยขุนนางชำ� นาญการทั้งหมด 16 เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
จากประเภทของมหรสพสะท้อนท่ีมาของวัฒนธรรมการละเล่นจากหลายชาติหลายชนชั้น เชน่ ของไทยไดแ้ กก่ ารเลน่ เพลงปรบไกแ่ ละเสภา ของมอญไดแ้ กม่ อญรำ� ของเวยี ดนาม (ญวน) ไดแ้ ก่ รำ� กระถาง ของจนี ไดแ้ กง่ วิ้ เชน่ เดยี วกบั กายกรรมทค่ี งมาจากจนี ซงึ่ ไดร้ บั ความนยิ มอยา่ งสงู ในสมยั ราชวงศ์ถัง ในขณะที่การแสดงของราชส�ำนักเช่นโขน ซ่ึงเล่นเรื่องรามเกียรต์ิอันเป็นวรรณกรรม ยอพระเกียรติกษัตริย์ เน้ือหาหลักมีที่มาจากอินเดีย ส่วนท่าทางการเล่นผสมกันระหว่างอินเดีย กับท้องถ่ิน ของชาวบ้านร่วมกับราชส�ำนักได้แก่ละครชาตรีท่ีมักเล่นเร่ืองพระสุธนนางมโนห์ราและ พระรถเสน (นางสิบสอง) เหตุท่ีสองเรื่องน้ีนิยมเล่นเพราะเป็นไปได้ว่าเรื่องพระสุธนนางมโนห์รา เป็นภาคจบของพระรถเสนนางเมรี (สุจิตต์ วงษ์เทศ ๒๕๕๙) อาจกล่าวได้ว่า พื้นที่งานพระเมรุ ยงั ไดก้ ลายเปน็ พนื้ ทขี่ องการปะทะสงั สรรคท์ างวฒั นธรรมและชนชน้ั และแสวงหาความบนั เทงิ เรงิ ใจ คลายเศร้าของเหลา่ ขนุ นางและไพรฟ่ ้าไปพรอ้ มกัน อยา่ งไรก็ตาม มหรสพงานร่นื เริงตา่ งๆ เหล่าน้ี รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระประสงค์ให้ยกเลิกไปในงานพระบรมศพของพระองค์เองเพ่ือเป็นการแสดง ความเคารพตอ่ ผลู้ ว่ งลบั อยา่ งแทจ้ รงิ ทำ� ใหโ้ รงมหรสพ ตน้ กลั ปพฤกษท์ ง้ิ ทาน และระทาดอกไมเ้ พลงิ ถกู ยกเลกิ ไปทง้ั หมด ซงึ่ ไดเ้ ปลยี่ นบรรยากาศของงานพระเมรเุ คลอื บคลมุ ไปดว้ ยความเงยี บและเศรา้ โศก ส่วนทส่ี ่ี การถวายพระเพลิงและพธิ กี รรมทเี่ กดิ ข้นึ ภายหลงั ในส่วนของขั้นตอนการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบรมศพในพระโกศหรือในหีบ พระบรมศพจะถกู อญั เชญิ ไปประดษิ ฐานบนพระจิตกาธาน หรือเรยี กอย่างสามัญชนว่า เชิงตะกอน ส�ำหรบั ส่วนประกอบของจิตกาธานมี ๒ สว่ นคือ ฐานเผา และตารางเผาศพ โดยแทน่ จิตกาธานนี้ จะได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร พร้อมทั้งมีไม้จันทน์และไม้หอมอ่ืนๆ ท่ีใช้เป็นเช้ือเพลิง นอกจากนแ้ี ลว้ ในคราวงานพระบรมศพพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ยงั มธี รรมเนยี มโบราณ บางอย่างด้วยคอื การทิ้งเบยี้ ๓๓ เบี้ย เพื่อเปน็ ค่าจ้างเผาต่อตากลียายกลา ซงึ่ เช่ือกนั วา่ เป็นเจา้ ของ ปา่ ชา้ และมีมะพร้าวแก้วอีกอยา่ งท่ีใชส้ ำ� หรับล้างพระพกั ตรพ์ ระบรมศพหรอื ทฐ่ี านพระโกศ เพื่อเอา นำ้� บริสุทธ์ิทเ่ี ปรยี บกบั กศุ ลกรรมนน้ั ลา้ งอกศุ ลกรรม ในเอกสารสมัยอยุธยาระบุว่า ไม้จันทน์ถูกใช้ในพิธีศพโดยมีทั้งน�ำไปวางหรือเผาข้างศพ เพอื่ ใหเ้ กดิ กลน่ิ หอม ในขณะทกี่ ารถวายพระเพลงิ พระบรมศพจะใชท้ อ่ นจนั ทนเ์ ปน็ ฟนื นยิ มใชต้ น้ จนั ทน์ ยนื ตน้ ตายในปา่ สำ� หรับดอกไมจ้ ันทนน์ นั้ ไมไ่ ด้มกี ารระบุแน่ชดั วา่ เรม่ิ ตน้ ใช้เมือ่ ใด สมเดจ็ ฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานรศิ รานุวดั ตวิ งศท์ รงให้ความเหน็ ว่าดอกไมจ้ ันทน์เป็นของประดิษฐใ์ นสมัยหลัง โดยนำ� ท่อนจันทน์มาดัดแปลงเป็นดอกไม้ซ่ึงปกติใช้ร่วมกับ “ธูปเทียนข้าวตอกดอกไม้” ท่ีใช้ขอขมาศพ แน่นอนว่าสาเหตุที่ใช้ไม้จันทน์เพราะมีกลิ่นหอมสามารถกลบกล่ินของศพได้ แต่ท่ีต้องกลบกลิ่น กเ็ พราะงานศพของผคู้ นในอษุ าคเนยโ์ ดยเฉพาะการตงั้ พระบรมศพของกษตั รยิ ท์ ก่ี ระทำ� อยา่ งยาวนานนี้ ท�ำใหจ้ ำ� เปน็ ตอ้ งใช้ไม้ท่มี ีกลิน่ หอม นอกจากเช้ือเพลิงท่ีท�ำจากท่อนจันทน์แล้ว เมื่อพระโกศพระบรมศพได้รับการอัญเชิญมา ประดิษฐานยังพระจิตกาธานภายในพระเมรแุ ลว้ จะกระทำ� การเปลือ้ งพระลองช้นั นอกออก จากน้ัน เจา้ พนกั งานจะนำ� พระโกศจนั ทนเ์ ขา้ ประกอบแทน เดมิ ทพี ระโกศจนั ทนน์ จ้ี ะเผาไปพรอ้ มกบั พระบรมศพ แตภ่ ายหลงั ได้มกี ารเกบ็ ไวเ้ พอ่ื ใหค้ นรุ่นหลังไดศ้ กึ ษางานช่างโบราณตามพระราชประเพณีเอาไว้ 17เสด็จสแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
ครน้ั ครบกำ� หนดวนั สมโภชจงึ ถงึ วนั ถวายพระเพลงิ พระบรมศพ เดมิ ทกี ารนบั แตส่ มยั อยธุ ยา ถงึ สมยั รชั กาลที่ ๕ แหง่ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ มกั จะถวายพระเพลงิ ในชว่ งบา่ ยและกระทำ� ใหเ้ สรจ็ ภายใน วันเดียวกัน ในจดหมายเหตุงานพระบรมศพเจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ เมื่อ พ.ศ.๒๒๗๘ ไดร้ ะบขุ นั้ ตอนวา่ พระบรมโกศทห่ี มุ้ ภายนอกจะถกู ถอดออกเหลอื แตพ่ ระลองใน จากนนั้ จงึ ใหล้ ดมา่ น พระเมรปุ ดิ ทง้ั สท่ี ศิ จากนนั้ เจา้ พนกั งานจะตดิ ตงั้ เพดานหยวก (กลว้ ย) เพอื่ ใชก้ นั ไฟไหม้ โดยผกู เหนอื พระจิตกาธาน รวมทั้งติดตั้งเสาและตารางเหล็กที่ใช้ถวายพระเพลิง ส่วนพระบรมศพถูกอัญเชิญ ออกจากพระลองมาสรงนำ�้ จากนน้ั จงึ อญั เชญิ พระบรมศพขน้ึ ประดษิ ฐานเหนอื พระจติ ธากาน แลว้ จงึ ถวายพระเพลงิ ในระหวา่ งนัน้ มีเครื่องดนตรปี ระโคมไปพรอ้ มกัน อย่างไรกต็ าม ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอย่หู ัวน้ี ถือเปน็ งาน คร้ังแรกท่ีเกิดธรรมเนียมการเปิดเพลิง หรือเรียกอย่างชาวบ้านว่าเผาจริงและเผาหลอก (เผาพิธี) กลา่ วคอื ภายหลงั จากอญั เชญิ พระบรมศพจากพระทน่ี งั่ ดสุ ติ มหาปราสาทเพอ่ื ออกมาถวายพระเพลงิ ยังพระเมรทุ อ้ งสนามหลวง การเปิดเพลิงจะกระทำ� ในตอนกลางคืน ซึ่งระหวา่ งการถวายพระเพลงิ นี้ ทหารจะบรรเลงแตรวงพร้อมกับยิงปืนใหญ่และปืนเล็กเพอ่ื เปน็ การถวายพระเกียรตยิ ศ ธรรมเนียม การเปิดเพลิงนี้เร่ิมต้นข้ึนเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ โดยเป็นความคิดของเจ้าพนักงานเผาศพหลวง ที่ไม่ต้องการให้ผู้ที่ไปช่วยงานเดือดร้อนร�ำคาญกลิ่นจากการเผาศพ ธรรมเนียมดังกลา่ วนี้ได้กลาย มาเป็นแบบแผนการจัดงานพระบรมศพและพระศพสืบเน่ืองมา ดังเห็นได้จากงานถวายพระเพลิง พระบรมศพสมเดจ็ พระศรีนครนิ ทราบรมราชชนนี ในวันรุ่งข้ึนจะเป็นการเก็บพระบรมอัฐิ ในคราวงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ นี้ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จข้ึนพระเมรุมาศ เจ้าพนักงาน ภษู ามาลาเปดิ ผา้ คลมุ พระองั คาร จากนน้ั ทรงสรงนำ�้ พระสคุ นธท์ พี่ ระบรมอฐั ิ เจา้ พนกั งานแจงพระรปู และแปรพระรปู ถวาย จากนน้ั ทรงจดุ เทยี นเครอื่ งนมสั การทองนอ้ ย และกราบถวายบงั คมพระบรมอฐั ิ แลว้ ตามดว้ ยราชนกิ ลุ มาเดนิ สามหาบ จากนน้ั จงึ พระองคท์ รงประมวล (เลอื ก) พระบรมอฐั บิ รรจพุ ระโกศ ขน้ั ตอนการแจงพระรปู และการเดนิ สามหาบคอื ความพยายามใหข้ วญั กลบั คนื รา่ ง ถงึ แมว้ า่ จะเปลยี่ นจากประเพณกี ารฝงั ศพมาเปน็ การเผาศพกต็ าม โดยการแจงพระรปู จะเปน็ การเอาเถา้ ถา่ น และกระดกู มาเรยี งเปน็ รปู คน ครงั้ แรกใหห้ นั หวั ไปทางทศิ ตะวนั ตก ซง่ึ เปน็ ทศิ ของความตาย แลว้ คอ่ ย หนั หวั มาทางทศิ ตะวนั ออก ซง่ึ เปน็ ทศิ ของการเกดิ ขน้ั ตอนนเ้ี รยี กวา่ แปรรปู อาจสรปุ ไดว้ า่ สดุ ทา้ ยแลว้ การตายก็คือการเกดิ ข้นึ อกี ครง้ั หนึ่ง ส่วนการเดินสามหาบนเ้ี ลกิ กระท�ำในพธิ ีหลวงไปแลว้ สามหาบ คือการให้ญาติหาบอาหารแห้งและสด ระหว่างเดินมีการกู่ร้องและให้คนขานรับ การกู่ร้องอาจเพื่อ เรยี กขวัญผใี หก้ ลับคนื ร่างหรือให้มารับอาหารในสามหาบเพ่ือเอาไปกินในโลกหน้า หลงั จากขนั้ ตอนขา้ งตน้ นจี้ ะเปน็ พธิ กี ารเกบ็ รกั ษาพระบรมอฐั ิ การลอยพระองั คาร และการบรรจุ พระสรีรางคาร (พระองั คาร) ท่ีสสุ านหลวงตามล�ำดับ ซง่ึ โดยรวมแล้วเป็นการผสมผสานกันระหว่าง พิธีพุทธกับความเช่ือดั้งเดิมของคนในภูมิภาคนี้ เดิมทีในสมัยอยุธยา สถานที่ฌาปนกิจของผู้มี บรรดาศกั ดสิ์ งู เชน่ พระเจา้ แผน่ ดนิ จะทำ� การสรา้ งพระเจดยี ค์ รอบทงั้ อฐั แิ ละองั คารธาตุ ดงั เชน่ การสรา้ ง 18 เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
วัดพระรามท่ีสร้างข้ึนบนพื้นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง เป็นต้น คติน้ีอาจสืบมาต้ังแต่ธรรมเนียมการสร้างปราสาทบนป่าช้าอันเป็นพ้ืนที่ศักดิ์สิทธ์ิ ดังเห็นได้จาก การสรา้ งปราสาทพนมวัน เปน็ ตน้ ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการบรรจุพระอัฐิในพระเจดีย์เช่นกรณีพระบรมอัฐิของสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถท่ีวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซ่ึงท�ำให้วัดพระศรีสรรเพชญ์เปรียบได้กับสุสานหลวง และตอ่ มาไดม้ กี ารใชท้ า้ ยจระนำ� ของพระวหิ ารหลวงเปน็ สถานทเี่ กบ็ พระบรมอฐั แิ ละพระอฐั ิ ครน้ั สมยั กรุงรัตนโกสินทร์ เกิดการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียม โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกลา้ ให้เกบ็ พระบรมอฐั ขิ องพระปฐมบรมมหาชนกไว้ในพระบรมมหาราชวงั แทน ไมบ่ รรจุ ในพระเจดีย์ เน่ืองด้วยเกรงว่าถ้าบ้านเมืองแตกแก่ข้าศึกจะได้เอาพระบรมอัฐิไปด้วยได้โดยสะดวก สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิหอพระธาตมุ ณเฑยี ร ท�ำให้กลายมาเป็นธรรมเนยี มสืบมาในชั้นหลัง ซึ่งตอ่ มาพระทน่ี ั่งจักรมี หาปราสาทไดใ้ ช้เปน็ ทเ่ี กบ็ พระบรมอฐั อิ ีกแห่งหน่งึ ดว้ ย การเก็บพระบรมอัฐิของพระมหากษัตรยิ ใ์ นศาสนสถานเชน่ เจดีย์ หรืออาคาร นไ้ี มป่ รากฏ ในธรรมเนยี มของศาสนาพราหมณ์ แต่ปรากฏเฉพาะในศาสนาพุทธที่บรรจุพระบรมอฐั ิในพระเจดีย์ ซึ่งมีที่มาจากการฝังศพในเนินดินแล้วเปลี่ยนมาเป็นการเผาแล้วเก็บพระอัฐิในเจดีย์ ในกรณีท่ี รชั กาลท่ี ๑ ทรงใหเ้ กบ็ พระบรมอฐั ใิ นพระบรมมหาราชวงั นี้ อาจสมั พนั ธก์ บั แนวคดิ ดงั้ เดมิ ในการตงั้ ศพ ในบา้ น หรอื ยอ้ นกลบั ไปสมยั กอ่ นประวตั ศิ าสตรท์ เ่ี ปน็ การฝงั ศพใตถ้ นุ เรอื น รอ่ งรอยนอ้ี าจเหน็ ไดจ้ าก ก่อนหน้าการน�ำพระบรมอัฐิไปประดิษฐานยังหอพระธาตุมณเฑียรน้ีจะมีการสมโภชพระบรมอัฐิ ทพี่ ระเมรแุ ละบำ� เพญ็ พระราชกศุ ลทพ่ี ระทนี่ งั่ ดสุ ติ มหาปราสาท ซง่ึ เสถยี รโกเศศอธบิ ายวา่ การทำ� บญุ อฐั ิ ในเรือนถอื เปน็ งานมงคล เพราะเป็นการท�ำบญุ เรอื น ในส่วนของพระอังคารนน้ั ในสมยั ก่อนหน้ารัชกาลที่ ๖ จะนำ� ไปลอยยงั วัดปทมุ คงคา ซงึ่ ธรรมเนยี มนย้ี กเลกิ ไปโดยรชั กาลท่ี ๖ เมอื่ ครง้ั งานพระบรมศพรชั กาลที่ ๕ โดยเปลย่ี นใหเ้ ปน็ อญั เชญิ ไปบรรจุไว้ยังใต้ฐานรัตนสิงหาสน์ของพระพุทธชินราชที่วัดเบญจมบพิตร ส่วนเจ้านายพระองค์อื่น มีการบรรจุยังสถานท่อี ันเหน็ สมควรตา่ งกนั ไป แบบอยา่ งธรรมเนยี มการลอยพระองั คาร (องั คารแปลวา่ ขเ้ี ถา้ ) นสี้ นั นษิ ฐานวา่ ไดแ้ บบอยา่ ง มาจากพราหมณ์หรือพุทธ เหตุท่ีลอยที่วัดปทุมคงคา คงเพราะชื่อคงคาพ้องกับชื่อแม่น้�ำศักด์ิสิทธ์ิ ของอนิ เดยี ทก่ี รงุ พาราณสี อยา่ งไรกต็ าม สงั เกตไดว้ า่ พระองั คารและพระบรมอฐั ขิ องสมเดจ็ พระไชย ราชาธิราชได้น�ำบรรจุในพระโกศเงินแล้วแห่ไปโดยกระบวนเรือไปยังที่วัดแห่งหน่ึง เช่นเดียวกับ พระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั บรมโกศทีอ่ ัญเชิญขึ้นเรือพระท่นี ัง่ เมือ่ ถึงหน้าวัดไชยวฒั นาราม แลว้ จงึ จรดพระองั คารคอื การถว่ งลงในนำ�้ ระหวา่ งพายเรอื นยี้ งั มกี ารรอ้ งโหโ่ ยนยาวกนั ออื้ องึ พรอ้ มกบั เสียงฆ้องกลองและปี่พาทย์ราดตะโพนอีกด้วย แบบแผนดังกล่าวคงสืบมาจากความเชื่อดั้งเดิมคือ เรือส่งวิญญาณ แต่เปล่ียนจากศพมาเป็นอังคารแทน ประเพณีการเก็บศพในโลงรูปเรือและส่งศพ ไปตามแมน่ ำ�้ แลว้ ไปเกบ็ ยงั ถำ�้ นยี้ งั ปรากฏในกลมุ่ ชนบนเกาะบอรเ์ นยี ว และในไทยเองกพ็ บประเพณี การเก็บศพในโลงรปู เรอื (ผีแมน) นี้ท่ถี �ำ้ ในจงั หวัดกาญจนบุรีและแม่ฮ่องสอนเช่นกนั 19เสดจ็ สู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
จากท่ีกล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าในงานพระบรมศพและพระเมรุนั้นเต็มไปด้วยความรู้ มากมายทสี่ ะทอ้ นทง้ั รากทางวฒั นธรรมดงั้ เดมิ ของคนในภมู ภิ าคน้ี และอทิ ธพิ ลของศาสนาพทุ ธและ พราหมณ์ ซง่ึ ไดผ้ สมผสานกนั และหลายสงิ่ หลายอยา่ งยงั คงสบื เนอื่ งมาจนถงึ ทกุ วนั น้ี โดยรายละเอยี ด ของประเด็นต่างๆ จะถูกน�ำเสนอผ่านการวเิ คราะห์ในบทความ ๑๙ เรอ่ื งในหนังสือเล่มน้ี ๑๙ ทศั นะตอ่ งานพระบรมศพและพระเมรุ บทความ ๑๙ เรื่องในหนังสือเล่มนี้เขียนข้ึนโดยนักวิชาการรุ่นใหม่ผู้เช่ียวชาญสาขา ประวตั ิศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตรศ์ ิลปะ ภาษาไทย และวรรณคดี ท�ำใหม้ ุมมองและวธิ ีวิทยา ในการศึกษาเรื่องงานพระบรมศพและพระเมรุนั้นมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ในภาพรวมแล้ว เนอื้ หาทง้ั หมดมคี วามสอดคลอ้ งกนั และนำ� เสนอประเดน็ หลายอยา่ งทนี่ า่ สนใจ ซง่ึ ไมส่ ามารถหาอา่ น ได้ง่ายนักจากหนังสือทั่วไป อาจมีบางท่านคิดว่าบทความบางเรื่องในหนังสือเล่มนี้มีเน้ือหาที่หนัก เกินไป ไม่เหมาะส�ำหรับการศึกษาในระดับโรงเรียนเพราะพิมพ์ภายใต้งบประมาณของส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ทว่าการที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของไทยให้ก้าวหน้าในอนาคตได้น้ัน สิ่งส�ำคัญอย่างย่ิงยวดที่ต้องเร่งท�ำคือการพัฒนาองค์ความรู้ ทางวิชาการ ซึ่งนี่คือเป้าหมายส่วนหน่ึงของการจัดท�ำหนังสือเล่มน้ีข้ึนมา อน่ึง ต้องกล่าวก่อนว่า ปัญหาอย่างหน่ึงของการเขียนอธิบายเก่ียวกับพระราชพิธีพระบรมศพและพระเมรุในหนังสือเล่มนี้ คือการใช้ค�ำราชาศัพท์ เพราะมีความต่างกันในเรื่องล�ำดับฐานันดรและอิสริยยศของผู้วายชนม์ รวมถึงความต่างของวิธีการจัดล�ำดับศักดิ์ระหว่างกษัตริย์ต่างประเทศ ดังน้ัน ราชาศัพท์ต่างๆ ได้ พยายามใช้และจัดวางอย่างเหมาะสมและระมัดระวงั ตามสมควร เนอื้ หาของบทตา่ งๆ ลำ� ดบั จากเวลาทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละขนั้ ตอนพธิ พี ระบรมศพ กลา่ วคอื บทความเร่ิมต้นด้วยการเล่าเร่ืองคติความเชื่อเกี่ยวกับความตายจากสมัยบรรพกาลมาจนถึง งานพระบรมศพและพระเมรุในสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน โดยประเด็นร่วมกัน ของทุกบทความคือความพยายามในการอธิบายถึงคติความเช่ือเก่ียวกับความตายด้ังเดิมของคน ในภมู ภิ าคนที้ ผี่ สมผสานเขา้ กบั ความเชอ่ื จากอนิ เดยี และตอ่ มาไดผ้ สมผสานเขา้ กบั ความเชอ่ื ทง้ั จาก จีนและตะวันตก ซ่ึงในท้ายที่สุดได้ตกทอดมาเป็นพระราชพิธีพระบรมศพและพระเมรุดังที่เห็น ในทุกวันนี้ ต่อไปนี้จะขอสรุปเนื้อหาหลักของบทความโดยย่อและประเด็นส�ำคัญบางเร่ืองท่ีข้าพเจ้า เหน็ จากการอา่ นบทความ ดงั นี้ บทความแรกในหนังสือเล่มนี้คือ คนตาย เพราะขวัญหายต้องท�ำพิธีเรียกขวัญนาน หลายวนั : งานศพปัจจุบัน สืบทอดพิธีกรรมหลายพนั ปีมาแล้ว โดย นาย สุจติ ต์ วงษเ์ ทศ นบั ได้วา่ เป็นบทความที่ท้าทายต่อกรอบคิดกระบวนการภารตภิวัฒน์ (Indianization) คือการท�ำให้เป็น อนิ เดยี อยา่ งยง่ิ ทเ่ี สนอโดยนกั วชิ าการฝรงั่ เศสคอื ยอรจ์ เซเดส์ เพราะความพยายามในการชใ้ี หเ้ หน็ วา่ รากฐานทางความเชอื่ และวฒั นธรรมความตายของไทยหรอื อาจมองแบบรวมๆ วา่ คอื “อษุ าคเนย”์ นนั้ มมี าก่อนจะรับวฒั นธรรมจากอนิ เดยี อยา่ งน้อยก็ ๒,๕๐๐ ปมี าแลว้ และยงั มพี ลงั ด�ำรงอยจู่ นกระทง่ั ในปัจจุบัน ซงึ่ สามารถสงั เกตได้ผ่านพธิ กี รรมความตายไม่ว่าจะเป็นงานศพเจ้าหรอื สามญั ชนก็ตาม สาเหตทุ ง่ี านศพหรอื พระบรมศพในไทยตอ้ งทำ� นานกวา่ ในโลกตะวนั ตกกเ็ พราะมคี วามเชอ่ื วา่ “ขวญั ” นนั้ 20 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
เพยี งแค่ออกจากรา่ งเพยี งชวั่ คราว วันหน่งึ ก็จะกลับมา ทำ� ใหเ้ กดิ พิธเี รียกขวัญ ซึ่งต้องจดั งานร่นื เริง เพอ่ื เช้อื เชิญให้ขวญั กลบั มา และมเี กดิ มีพธิ ีกรรมการฝงั ศพคร้ังท่ี ๒ คือการเก็บศพเก็บกระดูกในไห ทตี่ อ่ มาไดพ้ ฒั นากลายเปน็ โกศ (พระบรมโกศ) ในปจั จบุ นั แตถ่ า้ ขวญั ไมก่ ลบั คนในสมยั โบราณกจ็ ะ ทำ� พธิ สี ง่ ขวญั ดว้ ยการใชเ้ รอื สง่ ขวญั /วญิ ญาณ ซง่ึ ภายหลงั ไดป้ รบั เปลย่ี นรปู แบบกลายมาเปน็ ราชรถ แน่นอนแนวคิดน้ียังต้องรอการพิสูจน์ให้มากขึ้นแต่อย่างน้อยท่ีสุดก็ได้ช่วยกรุยทางให้นักวิชาการ รุ่นหลังทีจ่ ะไม่อธบิ ายทกุ ส่ิงทกุ อย่างวา่ ได้รับอิทธพิ ลมาจากอนิ เดียทั้งหมด พธิ พี ระบรมศพนบั เปน็ ขน้ั ตอนประณตี มรี ายละเอยี ดตา่ งๆ มาก บทความเรอื่ ง พระราชพธิ ี พระบรมศพพระมหากษัตรยิ ์ในสมยั รัตนโกสินทรโ์ ดยสังเขป โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัสวีสริ ิ เปรมกลุ นนั ท์ แหง่ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร เปน็ บทความเปดิ ทใี่ หภ้ าพรวมของขน้ั ตอนและแบบแผน เกยี่ วกบั พระราชพธิ พี ระบรมศพนบั ตงั้ แตต่ น้ จนจบ คอื นบั ตงั้ แตข่ นั้ ตอนการสรงนำ�้ และถวายเครอื่ งทรง พระบรมศพไปจนถงึ การจัดเกบ็ พระบรมอฐั ิ ท�ำให้เกิดภาพและความเขา้ ใจตอ่ พระราชพิธชี ัดเจนข้นึ นอกจากน้ี ในบทความยังแทรกประเด็นท่ีมีความน่าสนใจในแง่มุมของประวัติศาสตร์ศิลปะด้วย กค็ อื การนำ� พระชฎาและเครอ่ื งประดบั ทท่ี รงพระบรมศพของกษตั รยิ ไ์ ปหลอ่ ขนึ้ เปน็ พระพทุ ธรปู ซงึ่ เครอื่ งประดบั ของพระบรมศพนพ้ี บวา่ มคี วามคลา้ ยคลงึ กนั อยา่ งมากกบั ภษู าอาภรณแ์ ละเครอ่ื งถนมิ พมิ พาภรณ์ (คอื เครอื่ งประดบั ) ของพระพทุ ธรปู ทรงเครอ่ื ง ในประเดน็ ดงั กลา่ วนี้ ทำ� ใหข้ า้ พเจา้ นกึ ถงึ ภาวะของการเปล่ยี นรูป (transform) จากรา่ งกายที่เป็นเนอ้ื หนงั ไปส่รู า่ งกายที่เปน็ อมตะหรือเปน็ นิรันดร์ หรอื จากกายเน้ือไปสู่กายที่ละเอยี ดขึน้ ซ่ึงสอดคล้องกบั แนวคิดในการศกึ ษารา่ งกาย (body) ของนกั วชิ าการตา่ งประเทศทใี่ หค้ วามสำ� คญั กบั การอธบิ ายภาวะเปลย่ี นผา่ น และที่น่าสนใจด้วยก็คือ ลักษณะเด่นอย่างหน่ึงของภูมิภาคอุษาคเนย์ที่มีการสร้างพระพุทธรูปหรือเทวรูปให้เป็นท่ีสถิตของ พระวิญญาณของกษัตริย์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ไม่พบในอินเดียทั้งๆ ที่เป็นต้นก�ำเนิดของการสร้าง พระพุทธรูป ดังนั้น คงไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่าพระพุทธรูปท่ีเกิดจากการหล่อด้วยพระชฎาและ เครือ่ งประดับคือรูปจ�ำลองของพระมหากษัตรยิ ใ์ นรูปที่เปน็ พระพทุ ธเจ้า บทความเรอ่ื งการสรงนำ�้ และประดษิ ฐานพระบรมศพ โดย อาจารย์ ธนโชติ เกยี รตณิ ภทั ร แหง่ มหาวทิ ยาลัยรามค�ำแหง เปน็ การอธิบายระเบยี บและขนั้ ตอนการสรงนำ�้ รวมถงึ การประดษิ ฐาน พระบรมศพลงในพระบรมโกศ อาจกล่าวได้ว่าถ้าหากเปรียบเทียบข้ันตอนดังกล่าวกับการท�ำศพ ของสามญั ชนแลว้ การสรงนำ�้ พระบรมศพกค็ อื การอาบนำ�้ ศพ โดยมเี ปา้ หมายเพอ่ื ใหศ้ พสะอาด และ อาจตคี วามไดว้ า่ เปน็ การชำ� ระลา้ งใหร้ า่ งกายบรสิ ทุ ธเ์ิ พอื่ เตรยี มตวั เดนิ ทางไปโลกหนา้ ดว้ ยเหตนุ เี้ อง จึงจ�ำเป็นต้องการแต่งเครื่องแต่งกายใหม่ให้กับศพด้วย ในขณะที่การประดิษฐานพระบรมศพลงใน พระบรมโกศก็คือการบรรจุศพลงในโลงศพ ต่างกันแต่ว่าศพสามัญชนบรรจุลงในโลงรูปสี่เหล่ียม แตพ่ ระบรมศพบรรจขุ องในพระบรมโกศ ซง่ึ มรี ปู ทรงคลา้ ยกบั โถมฝี าปดิ ทตี่ ง้ั ขนึ้ โดยมี ๒ ชน้ั ชน้ั นอก มไี วเ้ พอื่ ประดบั ตกแตง่ ใหส้ วยงามเรยี กวา่ “พระโกศทองใหญ”่ ถา้ เปรยี บเทยี บกบั สามญั ชนในปจั จบุ นั ก็คือโลงศพช้ันนอกท่ีมักมีสีขาวตกแต่งด้วยลายทองอย่างสวยงาม ส่วนช้ันในเรียกว่า “พระลอง” ค�ำว่าลองนี้มาจากค�ำว่าโลง มีลักษณะเป็นโกศท่ีไม่มีการตกแต่งลวดลายอะไร ไม่ต่างจากโลงศพ ชั้นในของสามัญชนท่ีไว้ใช้ส�ำหรบั การเผาในเมรุ 21เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ภายในพระที่น่ังดุสิตมหาปราสาท ซึ่งเป็นท่ีประดิษฐานพระบรมโกศของรัชกาลท่ี ๙ นั้น จะเห็นได้ว่าเต็มไปด้วยเคร่ืองประกอบพระราชพิธีพระบรมศพจ�ำนวนมาก ซึ่งยากนักที่สามัญชน โดยทวั่ ไปจะทราบไดว้ า่ ชน้ิ ไหนเปน็ อะไรบา้ ง มหี นา้ ทกี่ ารใชง้ านอยา่ งไร และมคี ตคิ วามเชอ่ื ใดแฝงอยู่ ในบทความเรอื่ ง ศลิ ปะและคตคิ วามเชอ่ื ในเครอื่ งประกอบพระราชพธิ พี ระบรมศพ โดย อาจารย์ ธนกฤต ลออสวุ รรณ แหง่ มหาวทิ ยาลยั รามคำ� แหง เปน็ บทความทอ่ี ธบิ ายเครอ่ื งประกอบพระราชพธิ แี ทบจะ ทั้งหมดอย่างละเอียดลออ ซึ่งด้านหน่ึงท�ำให้เห็นถึงระเบียบแบบแผนของราชส�ำนักท่ีสะท้อนราก ทางวฒั นธรรมทมี่ มี าอยา่ งยาวนาน แตอ่ กี ดา้ นหนงึ่ ทสี่ ำ� คญั ดว้ ยกค็ อื การประดบั ตกแตง่ และการถวาย เคร่ืองประกอบพระราชพิธีพระบรมศพของรัชกาลท่ี ๙ น้ี มีความพิเศษกว่าคร้ังใดๆ ซ่ึงสามารถ สังเกตได้จากจ�ำนวนและศักดิ์ของเครื่องประกอบพระราชพิธี ท้ังนี้เป็นเพราะ “พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ” พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ย่ิงใหญ่และประกอบพระราช กรณยี กจิ เพอ่ื ปวงชนชาวไทยและประเทศอย่างที่ยากจะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดมาเทียบได้ นั่นเอง นอกจากน้ีแล้ว สิ่งหน่ึงที่เม่ืออ่านบทความนี้อยากจะชวนให้สังเกตด้วยว่า ประการแรก แบบแผนของการจัดวางต้ังแต่งเครื่องประกอบพระราชพิธีในครั้งนี้มีความคล้ายคลึงกับในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๖ ทั้งนี้คงเป็นเพราะในสมัยดังกล่าวน้ีเป็นช่วง เวลาที่ระเบียบแบบแผนท่ีผสมผสานกันระหว่างสยามเก่ากับสยามใหม่ที่ปรากฏในงานพระบรมศพ เริ่มเกิดความลงตัวแล้ว ประการท่ีสอง มีความพยายามหลายอย่างในการที่จะตั้งแต่งจัดวางเคร่ือง ประกอบพระราชพิธีพระบรมศพรัชกาลที่ ๙ ให้มีความคล้ายคลึงกับรัชกาลท่ี ๕ ท้ังนี้เพราะถือว่า ทง้ั สองพระองคเ์ ปน็ พระมหากษตั รยิ ผ์ ยู้ ง่ิ ใหญด่ ว้ ยกนั ทง้ั คู่ ประการทสี่ าม เครอ่ื งประกอบพระราชพธิ ี ท่ีถวายพระบรมศพนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับธรรมเนียมของสามัญชนแล้วก็คือเคร่ืองเซ่นศพเพื่อให้ ผตู้ ายนำ� ไปใช้ในโลกหนา้ แต่ในขณะเดยี วกันกก็ ลบั สรา้ งความร้สู ึกใหว้ า่ ผ้ตู ายน้ันยังมีชวี ติ อยู่เพียง แตเ่ ป็นอกี โลกหน่งึ เท่านนั้ อาจกล่าวไดว้ า่ การอ่านส่งิ สำ� คญั ท่ดี ูเหมอื นจะเป็นส่งิ ละอันพันละนอ้ ยน้ี แท้จริงแล้วก็คือการอ่านเพื่อเข้าใจระบบคิดในการจัดระเบียบสิ่งของเพื่อเช่ือมโยงกับมิติทาง ประวตั ศิ าสตร์ สิ่งท่ีขาดไม่ได้ในงานศพไม่ว่าจะเป็นสามัญชนหรือเจ้าก็คือ ดนตรี ถือเป็นความงาม ความไพเราะภายใต้ความโศกเศรา้ บทความเร่ือง ดนตรีในพระราชพธิ พี ระบรมศพ โดย อาจารย์ ดร.สายปา่ น ปรุ วิ รรณชนะ แห่งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวนั ได้ชเ้ี หน็ ถึงหนา้ ทีข่ องดนตรที ีไ่ ม่ได้มี เพียงการสร้างบรรยากาศในงานศพหรือท�ำให้งานศพไม่เงียบงัน แต่หากดนตรียังมีหน้าท่ีอีก หลายประการ ซ่ึงอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบหลักคือ แบบแรกคือ หน้าท่ีของดนตรีตามคติ แบบจารีต ซึ่งมีหน้าท่ีในการเรียกขวัญให้กลับคืนสู่ร่าง และเสียงดนตรีเป็นเสมือนกับสะพาน เช่ือมต่อระหว่างโลกน้ีกับโลกหน้า เป็นต้น แบบท่ีสองคือ หน้าท่ีของดนตรีตามคติแบบสมัยใหม่ ซง่ึ เปน็ การแสดงความอาลยั ความโศกเศรา้ และการยอพระเกยี รติ ซงึ่ สะทอ้ นถงึ ความผกู พนั ระหวา่ ง ประชาชนกับพระองคท์ ่านได้เป็นอยา่ งดี จะเหน็ ไดว้ า่ ในชว่ งทร่ี ชั กาลที่ ๙ เสดจ็ สวรรคตไมน่ านนกั ไดเ้ กดิ ขอ้ ถกเถยี งมากมายเกยี่ วกบั เครอื่ งแต่งกายที่ใชใ้ นการไวท้ กุ ข์ ซึ่งสาเหตขุ องการถกเถียงดังกลา่ วเกดิ ขึ้นส่วนหน่ึงเปน็ ผลมาจาก 22 เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
การขาดองคค์ วามรใู้ นเรอื่ งการไว้ทกุ ข์ บทความเรอ่ื ง พฒั นาการธรรมเนยี มไวท้ ุกข์ จากระเบยี บรัฐ สู่มารยาททางสังคม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล แห่งมหาวิทยาลัย รามค�ำแหง เป็นการอธิบายพัฒนาการและความเป็นมาของธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับต้ังแต่อดีต จนถงึ ปจั จบุ ัน ซ่ึงเดิมนนั้ ผู้คนในอุษาคเนย์โดยเฉพาะในดินแดนท่ีเรียกว่าประเทศไทยมีธรรมเนยี ม การไวท้ กุ ขด์ ว้ ยการนงุ่ หม่ สขี าวเปน็ หลกั ถา้ ไมม่ กี ส็ ามารถทจ่ี ะแตง่ ชดุ สอี น่ื ๆ ได้ หรอื บางกลมุ่ ชาตพิ นั ธ์ุ กไ็ มไ่ ดม้ ีธรรมเนยี มการแตง่ ชุดสีขาวก็สามารถใช้สีอื่นได้เชน่ กัน นอกจากนี้แลว้ ยังเป็นไปได้ด้วยวา่ ธรรมเนยี มการนงุ่ หม่ ขาวของสยามอาจสมั พนั ธก์ บั วฒั นธรรมจนี อยา่ งไรกต็ าม เมอื่ สยามรบั คา่ นยิ ม จากตะวันตกในสมัยรัชกาลท่ี ๔-๕ เข้ามาได้เกิดธรรมเนียมการแต่งชุดงานศพและไว้ทุกข์ ด้วยชุดด�ำ โดยมีกฎเกณฑ์อย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าผู้ตายเป็นผู้ใหญ่กว่ามีศักดิ์มากกว่าให้แต่งชุดขาว ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ตายอายุน้อยกว่ามีศักด์ิน้อยกว่าให้แต่งชุดด�ำ นอกจากน้ีแล้วในช่วงเวลา ดังกล่าวยังได้เกิดธรรมเนียมปลีกย่อยอื่นๆ ที่ยังคงท�ำมาอยู่จนถึงปัจจุบันคือการแจกการ์ดงานศพ แต่แล้วจุดตัดท่ีส�ำคัญที่ท�ำให้ชุดสีด�ำกลายเป็นสีงานศพก็คือภายหลังจากการเปล่ียนแปลง การปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ จนอาจกล่าวได้ว่า เสื้อผ้าท่ีแต่งไปงานศพหรือไว้ทุกข์เป็นผลผลิต ทางประวัติศาสตร์ และสัมพันธ์กับต�ำแหน่งแห่งท่ีทางสังคม ซึ่งอาจจะอนุมานได้ด้วยว่าเหตุที่สีด�ำ ถกู เลอื กขึ้นมานัน้ กเ็ พราะสีดำ� คอื สีของผ้นู อ้ ยที่หมายถึงประชาชนนัน่ เอง “ตะวนั ตก” ในความหมายกวา้ งไดก้ ลายเปน็ แกนกลางทางวฒั นธรรมและระเบยี บแบบแผน ใหมข่ องราชสำ� นกั สยาม/ไทย นบั ตงั้ แตส่ มยั รชั กาลที่ ๔ เปน็ ตน้ มาไมเ่ วน้ แมแ้ ตใ่ นงานศพ บทความ เรอื่ งธรรมเนียมตะวนั ตกในพระราชพิธพี ระบรมศพกษตั ริย์สยาม โดย อาจารย์ วสิน ทบั วงษ์ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ช้ีให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพระราชพิธีพระบรมศพของสยาม โดยผสมผสานเข้ากับตะวันตกโดยมีอังกฤษเป็นต้นแบบส�ำคัญ ดังเห็นได้จากธรรมเนียมปฏิบัติ หลายประการ นับตั้งแต่การอนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าไปกราบถวายบังคับพระบรมศพ ถงึ ในพระบรมมหาราชวงั ได้ ซงึ่ สะทอ้ นการเปลยี่ นแปลงโลกทศั นข์ องชนชน้ั นำ� สยามทม่ี ตี อ่ พสกนกิ ร อีกธรรมเนียมหน่ึงที่เกิดข้ึนก็คือการใส่ชุดไปงานศพและไว้ทุกข์ด้วยชุดสีด�ำ ซ่ึงบทความน้ีบอก อย่างชัดเจนว่าเป็นอิทธิพลที่ได้รับจากการแต่งชุดไว้ทุกข์ของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย ดังเหน็ ไดจ้ ากเมอ่ื รชั กาลที่ ๕ เสดจ็ สวรรคต สมเดจ็ พระศรพี ชั รนิ ทราบรมราชนิ นี าถ ในรัชกาลท่ี ๕ ได้ทรงไว้ทุกข์ด้วยการแต่งชุดด�ำเช่นกันตามโอกาส นอกเหนือไปจากนี้ ชนช้ันน�ำสยามยังรับ ธรรมเนียมการยิงสลุตถวายความเคารพแด่พระบรมศพ และการใช้ราชรถปืนใหญ่แห่พระบรมศพ ซ่ึงก็ได้รับอิทธิพลมาจากอังกฤษเช่นกัน หากกล่าวในอีกทางหน่ึงก็คือ ภายหลังจากอารยธรรม ตะวันตกได้กลายมาแกนของอารยธรรมแทนที่อินเดียและจีนแล้ว ชนช้ันน�ำสยามก็ได้ปรับมา ประยุกต์ใช้กับของด้ังเดิม ซึ่งท�ำให้ประเพณีมีความร่วมสมัย หรือมองในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ จารีต ประเพณีนน้ั มกี ารปรับเปล่ียนอยตู่ ลอดเวลาไมไ่ ด้หยดุ เคลอ่ื นไหวอย่างทีค่ ดิ กนั โดยทวั่ ไป ความตายเป็นเรื่องส�ำคัญของคนในทุกศาสนาความเช่ือ ในวรรณคดีไทยที่แต่ง โดยชนช้ันน�ำสยามท้ังในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ดีหรือสมัยอยุธยานอกจากจะมีการบรรยายถึงฉาก พระราชพธิ พี ระบรมศพแลว้ ยงั มกี ารพรรณนาถงึ พธิ กี รรมเกย่ี วกบั ความตายของคนในแตล่ ะศาสนา 23เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารหรือบ้างก็รับรู้ผ่านวรรณกรรมต่างชาติ บทความเร่ือง พ้ืนที่ของ พระ ผี ฤๅษี และบาทหลวง ในพิธีกรรมความตายในสังคมไทยจากฉากงานพระศพ โดย ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล อาจกล่าวได้ว่าสังคมไทย ทั้งสมัยรัตนโกสินทร์หรืออยุธยาต่างเป็นสังคมนานาชาติหลากวัฒนธรรม (อาจเรียกได้ว่าเป็น cosmopolitan) ดังนั้น เป้าหมายของบทความน้ีอย่างหน่ึงก็คือ ความพยายามในการอธิบาย ใหเ้ หน็ วา่ นอกจากงานพระศพอยา่ งไทยแล้ว ในสังคมไทยยังมงี านศพแบบอื่นๆ ซงึ่ ชนชนั้ น�ำสยาม ได้ท�ำการบันทึกไว้ในรูปของวรรณคดี ดังน้ัน แน่นอนในเมื่อภาษาในการบันทึกต้องท�ำให้สวยและ กระชับสมเป็นวรรณคดีแต่ก็พบได้ว่าพิธีกรรมศพของบางศาสนามีรายละเอียดบางประการ ที่ผิดปกติไปจากองค์ความรู้ในปัจจุบันท่ีมี เพราะการรับรู้ของผู้แต่งวรรณคดีนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การคน้ พบความผดิ ปกตเิ ลก็ ๆ นอ้ ยๆ นเ้ี อง ท่ีทำ� ให้ต้องหดั สังเกตให้มากขึ้นเวลาทอ่ี ่านวรรณคดี ด้วยเช้ือสายของราชวงศ์จักรีท่ีมีเชื้อสายของชาวจีนผสมผสาน ท�ำให้ในงานพระราชพิธี พระบรมศพนับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่งั เกล้าเจา้ อยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มธี รรมเนยี มการถวาย กงเตก๊ ขนึ้ แตค่ วามเขา้ ใจนก้ี เ็ ปน็ เพยี งขอ้ มลู พนื้ ฐานทค่ี นทว่ั ไปรบั รกู้ นั ทวา่ บทความเรอื่ ง พธิ กี งเตก๊ ในราชสำ� นกั ไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สรุ สทิ ธ์ิ อมรวณชิ ศกั ด์ิ แหง่ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ไมเ่ พยี งอธบิ ายใหถ้ งึ แนวคดิ ของชาวจนี ในการทำ� กงเตก๊ เทา่ นน้ั หากแตย่ งั ชว่ ยทำ� ใหเ้ หน็ วา่ พระสงฆ์ ท่ีเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมในงานพระบรมศพน้ันไม่ใช่มีเพียงพระจีนเท่าน้ันหากแต่ยังมีพระญวณ (เวียดนาม) ที่มีบทบาทส�ำคัญในพิธีกรรมดังกล่าวอีกด้วย ซ่ึงการเข้ามามีอิทธิพลของพระญวน ในราชส�ำนักนี้มีความสัมพันธ์อย่างลึกซ้ึงท้ังในแง่มุมทางประวัติศาสตร์และความสนพระทัย ส่วนพระองค์ระหว่างรัชกาลที่ ๔ กับผู้น�ำพระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายคือองฮึงเจ้าอาวาสวัดญวน ตลาดนอ้ ย อาจกล่าวได้วา่ บทความนไ้ี มใ่ ช่บทความท่ีทำ� ให้เข้าใจพธิ กี รรมกงเต๊ก ทวา่ สงิ่ สำ� คัญด้วย คือการมองเห็นประวตั ศิ าสตร์ของชาวจีนและญวน นับตงั้ แต่ตน้ กรุงรัตนโกสินทร์จนถงึ ปัจจบุ ันผ่าน กงเตก๊ บทความเร่ือง เมรุในศิลปะอินเดีย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า ถึงแม้ว่าโดยรูปแบบและคติของพระเมรุมาศ ของไทยจะรับมาจากอินเดียกต็ าม แตง่ านศพ-งานพระบรมศพของอนิ เดยี เองก็ไม่เคยมีธรรมเนียม การสร้างพระเมรุมาศเพ่ือใช้ในการเผาศพ โดยมีเพียงการเผาศพอย่างเรียบง่ายที่ฆาฏหรือท่าน�้ำ เผาศพริมแม่น�้ำคงคาเท่าน้ัน ดังน้ัน พระเมรุมาศจึงเป็นคติความเช่ือที่ผู้คนในอุษาคเนย์รับแล้ว มาปรับปรุงให้กลายเป็นแบบแผนพิธีกรรมในเร่ืองความตาย (mortuary practice) ของตัวเอง พดู อกี แบบคือเปน็ การผสมความเชื่อระหวา่ งอนิ เดยี กบั ทอ้ งถิน่ (India + Local) ในบทความเรอื่ ง สเุ มรบุ รรพต ในจกั รวาลวทิ ยาอนิ เดยี และสยาม โดย ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชานปว์ ชิ ช์ ทดั แกว้ แหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ถอื ไดว้ า่ เปน็ สว่ นขยายตอ่ การทำ� ความเขา้ ใจ คติความเช่ือเร่ืองเขาพระเมรุในอินเดียอย่างละเอียดทั้งในศาสนาพุทธและฮินดู เมื่อศาสนาพุทธ รบั คตคิ วามเชอื่ เรอ่ื งเขาพระเมรมุ าจากฮนิ ดแู ลว้ มกี ารปรบั ใชอ้ ยา่ งไร ซง่ึ ทำ� ใหเ้ กดิ ภาพทช่ี ดั เจนขนึ้ วา่ ในการสรา้ งพระเมรมุ าศของไทย (กระทง่ั ในงานศลิ ปกรรมอนั เนอื่ งในศาสนาของไทย) มสี ว่ นเหมอื น 24 เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
และสว่ นตา่ งจากคตคิ วามเชอ่ื ในอนิ เดยี อยา่ งไรบา้ ง ดงั จะเหน็ ไดช้ ดั วา่ พระเมรมุ าศและงานพระบรมศพ คอื ภาพสะทอ้ นของการผสมผสานความเชอ่ื ระหวา่ งคตพิ ทุ ธกบั ฮนิ ดเู ขา้ ดว้ ยกนั ซง่ึ ผา่ นการตคี วามของ ผู้คนในอุษาคเนย์ อาจกลา่ วไดว้ า่ รปู แบบของพระเมรมุ าศและปรางคไ์ ทยนน้ั ไดร้ บั ทง้ั อทิ ธพิ ลในแงข่ องคตแิ ละ รูปแบบทางสถาปตั ยกรรมจากรัฐโบราณท่เี คยย่งิ ใหญม่ าก่อนคอื อาณาจกั รเขมร (กัมพชู า) ดงั นนั้ ในบทความเร่อื ง สืบย้อนความสัมพันธข์ องปราสาทเขมร พระปรางคไ์ ทย และพระเมรุยอดปรางค์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร บทความได้ช้ี ใหเ้ หน็ วา่ นับตั้งแต่พระเมรุมาศสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ข้ึนไปน้ัน ถอื เปน็ มรดกตกทอดไปไกลถงึ วฒั นธรรมเขมรโบราณ ดงั เหน็ ไดจ้ ากการสรา้ งปราสาทนครวดั ทส่ี รา้ ง เพอ่ื อทุ ศิ ใหก้ บั พระเจา้ สรู ยวรมนั ท่ี ๒ (สรุ ยิ วรมนั ท่ี ๒) เมอ่ื เกอื บพนั ปที แ่ี ลว้ เพยี งแตป่ รบั จากคตฮิ ินดู ใหก้ ลายมาเป็นพุทธเทา่ นนั้ เม่ือไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบภาพวาดพระเมรุและกระบวนแห่พระบรมศพของสมเด็จ พระเทพราชา โดย Barend J. Terwiel ผูเ้ ชี่ยวชาญประวตั ศิ าสตรไ์ ทย นับเป็นครงั้ แรก ที่ท�ำให้เห็น รปู แบบของพระเมรแุ ละกระบวนแหพ่ ระบรมศพสมยั อยธุ ยา มากกวา่ จะจนิ ตนาการจากคำ� พรรณนา ในเอกสารเก่าเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี ภาพวาดนี้ยังไม่ได้รับการวิเคราะห์มากนัก ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ พิชญา ส่มุ จินดา แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จงึ ไดเ้ ขยี นบทความเรือ่ ง ขอ้ วินจิ ฉยั เก่ียวกับภาพงานพระเมรุสมเด็จพระเพทราชาที่ค้นพบใหม่ เพ่ือเป็นการวิเคราะห์ภาพวาดน้ี อย่างละเอียด ท�ำให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบแห่งงานพระเมรุพระบรมศพของกษัตริย์ สมัยอยุธยาได้เป็นอย่างดี ซ่ึงช่วยให้สามารถน�ำไปเปรียบเทียบเพื่อเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของ รูปแบบพระเมรุและกระบวนแห่พระบรมศพสมยั รตั นโกสินทรไ์ ด้ บทความได้อธบิ ายชดั ว่า พระเมรุ สมัยต้นรัตนโกสินทร์สืบมีความใกล้เคียงอย่างมากกับสมัยสมเด็จพระเพทราชา พระเมรุทอง สอ่ื ความหมายถึงวมิ านไพชยนต์บนเขาพระสเุ มรุ สิง่ ปลูกสร้างต่างๆ ทัง้ โรงสังเค็ด โรงรำ� ระทา และ พมุ่ ดอกไมเ้ พลงิ ทตี่ งั้ ตามรายทางกระบวนเชญิ พระบรมศพมคี วามหมายเชงิ สญั ลกั ษณต์ ามคตจิ กั รวาล และการบ�ำเพ็ญบารมีในพุทธศาสนาของกษัตริย์ทั้งในฐานะท่ีทรงเป็นสมมติเทพและการสั่งสม พระบารมี เพ่ือรอการตรสั รูเ้ ป็นพระพทุ ธเจา้ ในอนาคต หลายท่านคงเคยได้ยินวา่ วดั ไชยวัฒนารามสมัยกรุงศรอี ยธุ ยาเปน็ วัดทีส่ ร้างข้ึนบนนิวาส สถานเดิมของพระราชมารดาที่เสียชีวิตไปก่อนที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจะขึ้นครองราชย์ แต่ ค�ำถามที่ไปไกลกว่านั้นก็คือแนวคิดในการสร้างวัดบนพื้นท่ีถวายพระเพลิงพระบรมศพโดยเฉพาะ ในสมยั อยธุ ยานนั้ มมี าตงั้ แตเ่ มอ่ื ใด ในบทความเรอ่ื ง ธรรมเนยี มสรา้ งวดั บนทถี่ วายพระเพลงิ พระบรมศพ ในสมยั อยุธยา เร่อื งจรงิ หรอื เร่อื งแต่ง? โดย ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภสั สร์ ชูวิเชยี ร แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แสดงให้เห็นว่าแนวคิดเร่ืองการสร้างศาสนสถานเหนือพ้ืนที่ปลงศพ มีมาแล้วในวัฒนธรรมเขมรตัวอย่างเช่นท่ีปราสาทพนมวัน หรือในวัฒนธรรมสุโขทัยเช่นท่ีวัดชมชื่น เป็นต้น ซึ่งท้ังสองแห่งพบการสร้างศาสนสถานเหนือพ้ืนที่ฝังศพที่มีมาแล้วต้ังแต่สมัยก่อน ประวตั ศิ าสตรต์ อนปลายหรอื ตน้ ประวตั ศิ าสตร์ หมายความวา่ หลกั คดิ ในการสรา้ งศาสนสถานบางแหง่ 25เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ของคนสมัยโบราณนั้นสัมพันธ์กับการสร้างบนพื้นท่ีศักด์ิสิทธ์ิ (sacred place) นอกจากนี้แล้ว ศาสนาพุทธยังเป็นกรอบแนวคิดส�ำคัญท่ีซ้อนทับลงไปในการสร้างเจดีย์หรือปรางค์ขึ้นด้วย เพอ่ื เปน็ การทำ� ใหพ้ นื้ ทแ่ี หง่ นน้ั เปรยี บเสมอื นกบั พน้ื ทท่ี พี่ ระพทุ ธเจา้ ทรงเคยเสดจ็ มา หรอื อยา่ งนอ้ ย กเ็ ป็นพน้ื ท่ใี นการร�ำลกึ ถึงพระพทุ ธองค์ ดงั น้นั เมื่อมกี ารตายของบุคคลสำ� คญั เกดิ ข้นึ จึงเป็นเหตใุ ห้ มีการสร้างเจดีย์ข้ึนเพ่ือให้สอดคล้องกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ต้องก�ำหนดให้พื้นท่ีใด พนื้ ทหี่ นง่ึ เปน็ พนื้ ทศี่ กั ดสิ์ ทิ ธ์ิ อาจกลา่ วไดว้ า่ บทความนต้ี อ้ งการหาสง่ิ ทเี่ รยี กวา่ แกนกลางของความคดิ หรือสารัตถะ (essential) ในการสร้างศาสนสถานของคนโบราณ บทความเรอื่ ง กระบวนทศั นท์ แี่ ปรเปลยี่ นในการออกแบบพระเมรใุ นสมยั รตั นโกสนิ ทร์ โดย อาจารย์ ดร.เกรยี งไกร เกิดศริ ิ แห่งมหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร และคณะนักวิจยั ประกอบด้วยวรนิ ทร์ รวมสำ� ราญ, ภทั ร ราหลุ , วษิ ณุ หอมนาน, กลุ พชั ร์ เสนวี งศ์ ณ อยธุ ยา, และ แสงจนั ทร์ ผอู้ ยสู่ ขุ ได้พยายามน�ำเสนอว่า พระเมรุไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่ใช้ส�ำหรับการประกอบงานพระบรมศพและ พระศพเท่าน้ัน หากยังเป็นการแสดงออกถึงพระราชอ�ำนาจและส่งเสริมความเป็นกษัตริย์ในยุคต้น รัตนโกสินทร์ไปพร้อมกัน ด้วยเหตุน้ี ท�ำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงจ�ำเป็นตอ้ งมีการจัดพระราชพธิ ีพระบรมศพพระชนกนาถ ของพระองค์ อยา่ งไรก็ตาม เม่ือเขา้ สู่ สมยั รชั กาลที่ ๔ สถาปตั ยกรรมพระเมรมุ าศไดม้ กี ารเปลย่ี นแปลงอยา่ งพลกิ ฝา่ มอื กลา่ วคอื ตวั อยา่ งเชน่ พระเมรุบางหลังเช่นของพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณภัควดี ท่ีสร้างปราสาทอยู่บน ภเู ขาจ�ำลองแทนเขาพระสเุ มรทุ ด่ี สู มจริง นอกจากนแ้ี ล้ว รูปแบบของสถาปตั ยกรรมพระเมรุยังเกดิ ความเปลยี่ นแปลงอยา่ งใหญห่ ลวงอกี ประการหนงึ่ ในสมยั รชั กาลท่ี ๕ คอื ออกแบบพระเมรทุ รงบษุ บก หรอื มณฑปขึ้น ซงึ่ ต่อมาเมือ่ พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าสวรรคต เหลา่ เสนาบดีจงึ ได้ตัดสนิ ใจ สร้างพระเมรุของรัชกาลที่ ๕ เป็นทรงบุษบก ซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบให้กับพระเมรุมาศสมัยหลัง ดงั เชน่ พระเมรขุ องพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ดว้ ยเหตนุ เี้ อง จงึ ทำ� ใหพ้ ระเมรุ ทรงบษุ บกได้กลายเปน็ พระเมรุเฉพาะของพระเจ้าแผ่นดินแทนทีพ่ ระเมรทุ รงปราสาทยอดปรางค์ บทความเร่ือง ราชรถในงานพระบรมศพสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นบทความที่ต่อเนื่อง จากเร่ืองราวกระบวนพระบรมศพกษัตริย์สมัยอยุธยาที่อัญเชิญด้วยราชรถ บทความน้ีเขียนโดย นาย ยทุ ธนาวรากร แสงอรา่ ม ภณั ฑารกั ษป์ ระจำ� กรมศลิ ปากร โดยเปน็ บทความทอ่ี ธบิ ายรปู แบบ ทางศิลปะของพระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ และราชรถองค์อ่ืนๆ ซึ่งต่างแฝงไปด้วย ประวัติศาสตร์การสร้างและคติความเชื่ออย่างละเอียดลออ เพราะไม่เพียงราชรถจะเป็นสัญลักษณ์ ของกษัตริย์ท่ีเปรียบเสมือนกับพระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราชเท่านั้น หากแต่ยังสัมพันธ์กับ คติความเชื่อในพระพุทธศาสนาด้วยโดยเฉพาะพระมหาพิชัยราชรถที่มีช่ือปรากฏในคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนาที่ต้องการสื่อความหมายถึงการชนะสงครามอันย่ิงใหญ่คือกิเลส ดังนั้น คงไมผ่ ดิ นกั ทจ่ี ะกลา่ วไดว้ า่ การอญั เชญิ พระบรมศพบนพระมหาพชิ ยั ราชรถกค็ อื อญั เชญิ พระผปู้ ราบมาร คือพระพทุ ธเจา้ ท้ังราชส�ำนักและผู้คนในอุษาคเนย์ต่างมีการรับและแลกเปล่ียนวัฒนธรรมกันมาตั้งแต่ อดีตจนถงึ ปจั จบุ นั งานพระบรมศพและพระเมรุไม่ไดจ้ ดั ขึน้ เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแตย่ ัง 26 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่ือในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
ถือปฏิบัติในประเทศเพ่ือนบ้านอีกด้วย ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา (พม่า) และอินโดนีเซีย ทเี่ กาะบาหลี เพอ่ื เปน็ การเปดิ มมุ มองและเปรยี บเทยี บความเหมอื นความตา่ งของพระราชพธิ พี ระบรมศพ จึงได้เลือกเฉพาะประเทศท่ีมีพรมแดนประชิดติดกับประเทศไทย ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า บทความทง้ั สามเรอื่ งไดแ้ ก่ เรอ่ื ง งานพระศพกษตั รยิ ล์ า้ นชา้ งในสมยั รฐั จารตี โดย อาจารย์ ธรี ะวฒั น์ แสนค�ำ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เรื่อง พระราชพิธีพระบรมศพพระมหากษัตริย์กัมพูชา โดย นาย ซรี อ็ ง เลง และ อาจารย์ ณฐั พล จันทร์งาม แห่งมหาวิทยาลยั ศิลปากร และสดุ ท้าย เรอื่ งตงี โจห่ ์ด่อ: งานพระบรมศพของกษัตริยเ์ มียนม่ามงี ตยาจี โดย นาย สทิ ธพิ ร เนตรนยิ ม แหง่ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมจะพบว่าพระราชพิธีพระบรมศพของไทยน้ันมีความคล้ายคลึงกัน อย่างมากกับกัมพูชาและลาวโดยเฉพาะการประดิษฐานพระบรมศพลงในพระบรมโกศ รวมถึง การใช้ราชรถอัญเชิญพระบรมศพ แสดงวา่ ทั้งสามประเทศหรืออาณาจักรนเ้ี คยมวี ฒั นธรรมรว่ มราก กันอย่างเหนียวแน่น ในขณะที่พม่าไม่มีธรรมเนียมการประดิษฐานพระบรมศพลงในพระบรมโกศ หากแต่ใช้โลงศพแทน ทว่าสิ่งหน่ึงท่ีมีลักษณะร่วมกันก็คือการใช้ราชรถและพระเมรุ จนอาจกล่าว ได้ว่าพิธีพระบรมศพของกษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์น้ีมีวัฒนธรรมร่วมกัน และถือเป็นอัตลักษณ์ และตัวตนทางวฒั นธรรมความตายของคนในภมู ภิ าคนน้ี ่นั เอง ในทา้ ยทสี่ ดุ ขอขอบพระคณุ หนว่ ยงานและผทู้ มี่ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ งดงั น้ี นายการณุ สกลุ ประดษิ ฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผู้อ�ำนวยการสถาบัน สงั คมศกึ ษา, ฆสั รา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายวชิ าการ มวิ เซียมสยาม, ดร.ด�ำรงค์ อดุลยฤทธิกุล คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และ ดร.ภาสพงศ์ ศรีพิจารณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร,์ นกั วชิ าการทกุ ท่านทีเ่ ขยี นบทความตา่ งๆ ในหนังสอื เล่มน้ี และยังเป็นท่ีปรึกษาให้กับผู้เขียนด้านข้อมูลอีกด้วย นอกจากน้ี ขอขอบคุณผู้ช่วยเหลือ ดา้ นขอ้ มลู ดงั นี้ อาจารยก์ ติ ตพิ งศ์ บญุ เกดิ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , นายคงสจั จา สุวรรณเพ็ชร และบคุ คลต่างๆ อกี เปน็ จ�ำนวนมากท่ีไมไ่ ดก้ ล่าวถึงในทน่ี ้ี 27เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
รายการอา้ งอิง กรมศลิ ปากร. ๒๕๕๙. การประโคมยำ�่ ยาม. Available at: https://goo.gl/2YNjDx [สบื คน้ เมอื่ ๒๓ พ.ค. ๒๕๖๐]. นนทพร อยมู่ ง่ั ม.ี ธรรมเนยี มพระบรมศพและพระศพเจา้ นาย, พมิ พค์ รงั้ ที่ ๒. กรงุ เทพฯ: มตชิ น. นนั นา วรเนตวิ งศ์ และคณะ. ๒๕๓๘. “การทอ่ งเทย่ี ว การเดนิ ทาง และการผจญภยั ของเฟอรด์ นิ นั ด์ เมนเดซ ปนิ โต,” ใน รวมเรอื่ งแปลหนงั สอื และเอกสารทางประวตั ศิ าสตร์ ชดุ ที่ ๓. กรงุ เทพฯ: กรมศลิ ปากร. แนง่ นอ้ ย ศกั ดศ์ิ ร,ี ม.ร.ว. และคณะ. ๒๕๕๕. สถาปตั ยกรรมพระเมรใุ นสยาม, เลม่ ๑ และ เลม่ ๒. กรงุ เทพฯ: ธนาคารกรงุ เทพ และ สมาคมสถาปนกิ สยาม. บำ� เพญ็ ณ อบุ ล และคณะ. ๒๕๓๕. อบุ ลราชธานี ๒๐๐ ป.ี กรงุ เทพฯ : หา้ งหนุ้ สว่ นจำ� กดั โรงพมิ พช์ วนพมิ พ.์ พพิ ฒั น์ กระแจะจนั ทร.์ ๒๕๕๘. “พญาคนั คากบกุ สวรรคป์ ราบภยั แลง้ สเู้ ทวดา,” ศลิ ปวฒั นธรรม. ปที ี่ ๓๖, ฉบบั ที่ ๑๐ (ส.ค. ๒๕๕๘), น.๑๓๘-๑๕๗. สจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ. ๒๕๕๖. “ดนตรผี ี เพอ่ื ชวี ติ คน” ใน ผี ในหลกั ฐานคนตายและคนเปน็ , พพิ ฒั น์ กระแจะจนั ทร,์ บรรณาธกิ าร. กรงุ เทพฯ: คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์ สจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ. ๒๕๕๙. “พระสธุ น มโนหร์ า ภาคจบของพระรถ เมรี วรรณกรรมลมุ่ นำ�้ โขงเลอื่ นลงลมุ่ นำ้� เจา้ พระยาถงึ ภาคใต,้ ” ใน มตชิ นออนไลน.์ วนั ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙. Available at: https:// www.matichon.co.th/news/142989 [สบื คน้ เมอื่ ๑๐ พ.ค. ๒๕๖๐]. Terwiel, Barend J. 2016. “Two Scrolls Depicting Phra Petracha’s Funeral Procession in 1704 and the Riddle of their Creation.” Journal of the Siam Society (Vol.14), pp.79 - 94. 28 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
๑ คนตายเพราะขวัญหาย ต้องท�ำพธิ ีเรยี กขวัญนานหลายวัน :งานศพปัจจุบนั สืบทอดพิธีกรรมหลายพนั ปมี าแล้ว สุจติ ต์ วงษ์เทศ มตชิ น, http://www.sujitwongthes.com พธิ ศี พราว ๒,๕๐๐ ปมี าแลว้ จากภาพเขยี นบนผนงั ถำ้� ทเ่ี ขยี นขนึ้ ๒ คราวทบั ซอ้ นกนั อาจยคุ เดยี วกนั หรอื ไล่เล่ียกนั คราวแรกเขียนแบบเงาทบึ คราวหลงั เขียนแบบโครงรา่ ง [คัดลอกจากภาพเขียนถ�ำ้ ลายแทง บา้ นผาสามยอด ต.ผานกเค้า อ.ภกู ระดึง จ.เลย จากหนงั สือ ศิลปะถ�้ำ จงั หวัดเลย (พเยาว์ เข็มนาค เรียบเรียง) กรมศิลปากร พิมพ์คร้ังแรก พ.ศ.๒๕๓๔] งานศพเปน็ พิธกี รรมส�ำคัญและยิ่งใหญท่ ีส่ ุดในชีวิตของมนุษย์ท้ังโลก ในไทยมีงานศพต่อเนื่องยาวนานหลายวันหลายคืน แล้วมีมหรสพร้องร�ำท�ำเพลง ดีดสี ตีเป่าสนุกสนานด้วยฆ้องกลองปี่ ล้วนเก่ียวข้องกับความเชื่อเรื่องขวัญในศาสนาผีของอุษาคเนย์ หลายพันปมี าแลว้ 29เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
จะรวบรวมหลกั ฐานประวตั ศิ าสตร์ โบราณคดี และมานษุ ยวทิ ยา เทา่ ทหี่ าไดม้ าตคี วามและ อธิบาย แล้วเรียบเรียงเลา่ เร่อื งอยา่ งง่ายๆ ไม่เคร่งครดั ตามล�ำดับตั้งแตต่ น้ จนปลาย ดงั นี้ (๑) ขวัญของคน มองไม่เหน็ จับตอ้ งไม่ได้ (๒) เรยี กขวญั เพราะขวัญหาย ต้องทำ� พิธีนาน หลายวันหลายคืน (๓) แหล่งฝังศพ อยู่ใต้ถุนเรือน และลานกลางบ้าน (๔) ส่งขวัญขึ้นเมืองฟ้า มีหมาน�ำ ต้องไปทางน�้ำ (๕) เครื่องประโคมงานศพ ปี่, ฆ้อง, กลอง ต้นแบบปี่พาทย์ (๖) สรุป งานศพปจั จุบนั สืบทอดพิธกี รรมหลายพันปีมาแลว้ พิธีกรรมยังท�ำสืบเน่ืองจนปัจจุบัน แต่ส่วนปลีกย่อยบางอย่างปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง วิถีชีวิตของสังคมสมยั ใหมท่ ีเ่ ปลย่ี นไปจากเดิม พิธกี รรมในภาพเขยี น ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ภาพเขยี นถำ้� ลายแทง อ.ภกู ระดงึ จ.เลย นา่ จะเปน็ งานศพ หรอื พธิ กี รรมเกยี่ วกบั ความตาย ยคุ ดกึ ด�ำบรรพ์หลายพันปีมาแลว้ หรอื กอ่ นมีภาพเขียน รปู คนทั้งแบบเงาทบึ และแบบโครงร่าง ตงั้ ใจวาดไม่เขา้ สดั สว่ นคนจรงิ ยุคน้ัน (ทั้งๆ ทำ� ได้) เพราะเจตนาแสดงรูปบรรพชน (สรปุ จากเรอ่ื ง “ศิลปะถ้�ำและชาวสวุ รรณภมู ิ” ของ นธิ ิ เอยี วศรวี งศ์ พิมพ์รวมในหนังสือ ประวัติศาสตร์แห่งชาติฯ ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พิมพ์ คร้ังแรก พ.ศ.๒๕๔๙) ที่ตายไปเป็นผีขวัญสิงสู่อยู่เมืองบนเมืองฟ้า (หรือท่ีใดท่ีหน่ึง) ซ่ึงไกลมาก อกี ฟากหนึง่ ของน่านน้�ำกวา้ งใหญ่ มรี ปู คนแนวนอน น่าจะหมายถงึ คนตายที่ขวัญหาย แล้วขวัญไมค่ ืนรา่ ง หมาเปน็ สตั วน์ ำ� ทางผขี วญั ทเี่ พงิ่ ตายตอ้ งเดนิ ทางไกลมากไปอยกู่ บั บรรพชนเมอื งฟา้ เพราะ ผขี วญั ใหม่ไปโดดเดย่ี วไมถ่ กู มีรูปคนท�ำท่าเป่าเขาสัตว์ หรือเป่าอะไรสักอย่างให้มีเสียงดัง กับมีรูปคนสวมหน้ากาก เขาสัตว์และคนอ่นื ๆ ทำ� ท่าคลา้ ยรอ้ งร�ำทำ� เพลงใน “งนั เฮอื นดี” พธิ ีเรยี กขวัญคนื รา่ ง (คนตาย) กิจกรรมในภาพเขียนถ�้ำลายแทงไม่ยุติแค่นี้ อาจมีผู้อธิบายเป็นอย่างอ่ืนที่ต่างไปก็ได้ ไมจ่ �ำเปน็ ตอ้ งพธิ ีศพเทา่ นัน้ พิธศี พตา่ งระดับ ชมุ ชนยคุ แรกเรม่ิ เมอ่ื หลายพนั ปมี าแลว้ มคี นตา่ งระดบั ไดแ้ ก่ คนตระกลู ผนู้ ำ� กบั คนธรรมดา สามญั ชนท่ัวไป พิธศี พจึงมีต่างกนั ๑. พิธีศพตระกูลผู้น�ำ ได้แก่ หมอผีหัวหน้าเผ่าพันธุ์ มีพิธีกรรมก�ำหนดกฎเกณฑ์เป็น แบบแผน ในหลุมศพพบโครงกระดูกและเคร่ืองมือเครื่องใช้ต่างๆ จ�ำนวนมากท�ำจากเทคโนโลยี กา้ วหน้า (น่าเช่อื ว่าเปน็ ตน้ ทางพิธีศพสืบจนปัจจบุ นั ) ๒. พิธีศพคนทั่วไป ไม่พบหลักฐานเหมือนศพตระกูลผู้น�ำ เข้าใจว่าท�ำพิธีเรียกขวัญ ชว่ งเวลาหนงึ่ ก่อน เมอ่ื เสรจ็ แล้วท้ิงไว้กลางทุ่งหรอื กลางป่าปลอ่ ยใหแ้ รง้ กากินซากศพนนั้ มีร่องรอยประเพณีอยู่ที่ม่อนนะแฮ้ง [(แฮ้ง คือ แร้ง) อ.แจ้ห่ม จ.ล�ำปาง] พบกองหิน เป็นเนินรูปวงกลม ชาวบ้านเอาศพไปวางบนเนินให้แร้งลงกินเนื้อหนังจนเหลือแต่ซาก ต่อจากนั้น 30 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
๑ เอาโครงกระดูกไปท�ำพิธีฝังบริเวณหินต้ัง บนม่อนนะแฮ้ง (จากหนังสือ สร้างบ้านแปงเมือง ของ ศรีศกั ร วลั ลโิ ภดม ส�ำนักพิมพม์ ตชิ น พมิ พค์ รงั้ แรก พ.ศ.๒๕๖๐ หนา้ ๘๒-๘๓) ๑. ขวัญของคน มองไม่เหน็ จบั ตอ้ งไม่ได้ คนพื้นเมืองอุษาคเนย์นับถือศาสนาผี และทุกชาติพันธุ์มีความเช่ือคล้ายคลึงกันเก่ียวกับ ขวัญต้ังแต่หลายพนั ปมี าแลว้ สบื จนทุกวนั นี้ เชื่อว่าคนตายเพราะขวัญหายจากร่างของคน แล้วหาทางกลับร่างไม่ถูก ถ้าเรียกขวัญ คนื ร่างไดค้ นกฟ็ ้ืนคนื เปน็ ปกติ จงึ มีพธิ เี รียกขวญั ตอ่ เนือ่ งหลายวันหลายคนื ขอใหข้ วัญกลบั เขา้ รา่ ง (แตไ่ มส่ �ำเรจ็ ) หลงั รบั ศาสนาพทุ ธจากอนิ เดยี และลงั กา มคี วามเชอ่ื เปลย่ี นไปเปน็ เรอ่ื งวญิ ญาณ แตพ่ ธิ ศี พ แบบพทุ ธกถ็ กู ปรบั เป็นแบบศาสนาผี มพี ิธกี รรมใช้เวลานานมาก อาจนานที่สดุ ในโลกก็ได้ ความเช่ือตามศาสนาพุทธมีวิญญาณ หมายถึงสิ่งที่เช่ือกันว่ามีอยู่ในร่างกายของทุกคน เมอ่ื คนตายวญิ ญาณจะล่องลอยออกไปหาท่ีเกดิ ใหม่ เรียกเวยี นว่ายตายเกดิ วญิ ญาณในภาษาไทย ใชล้ กั ษณะนามวา่ ดวง คือ ดวงวิญญาณ คลา้ ยจะบอกวา่ มสี ณั ฐาน กลม และมแี สงสวา่ ง แตย่ งั ไมเ่ คยพบหลกั ฐานประวตั ศิ าสตรโ์ บราณคดวี า่ มรี ปู ดงั้ เดมิ แทจ้ รงิ อยา่ งไร? (ขวญั มีรูปร่างตามความเชอ่ื ดกึ ด�ำบรรพ์ ดงั จะพบต่อไปขา้ งหนา้ ) มองไมเ่ ห็น จับตอ้ งไม่ได้ ขวญั คอื สว่ นทไี่ มเ่ ปน็ ตวั ตนของคน จงึ เปน็ สง่ิ มองไมเ่ หน็ จบั ตอ้ งไมไ่ ด้ ลกั ษณะเปน็ หนว่ ยๆ เคลอื่ นไหวได้ และมหี ลายหน่วย แตล่ ะหนว่ ยสิงสอู่ ยู่กระจายไปตามสว่ นตา่ งๆ ของร่างกาย และมี ความสำ� คญั มากเทา่ ๆ กับสว่ นทเ่ี ปน็ รา่ งกาย [คนมสี ว่ นประกอบสำ� คญั อยู่ ๒ สว่ น ไดแ้ ก่ ๑. สว่ นที่เปน็ ตวั ตนคือรา่ งกาย กับ ๒. สว่ นท่ี ไมเ่ ป็นตัวตนคือขวญั ] ขวัญแต่ละคนมจี ำ� นวนเทา่ ไร ขึน้ อย่กู ับความเชอ่ื ของกลมุ่ ชนนั้นๆ เช่น ไทด�ำในเวยี ดนาม เชื่อวา่ “มีราว ๘๐ ขวญั อย่ขู ้างหน้า ๓๐ อยูข่ า้ งหลงั ๕๐ ขวัญ” และ “ขวัญเปน็ องคป์ ระกอบส�ำคญั อนั จะขาดไมไ่ ดข้ องชวี ติ มขี วญั จงึ มชี วี ติ ” [ชาตพิ นั ธน์ุ พิ นธก์ ารตาย โดย ฆสั รา ขมะวรรณ มกุ ดาวจิ ติ ร ในหนังสือ ทฤษฎีบ้านเมอื งฯ ส�ำนักพมิ พ์สรา้ งสรรค์ พมิ พ์คร้ังแรก พ.ศ.๒๕๕๓ หนา้ ๑๕๐] ขวญั บนหวั ตรงกลางกระหมอ่ ม เรยี กจอมขวญั (หรอื ขวญั กก) นอกนน้ั เรยี กตามชอื่ อวยั วะ เช่น ขวญั ห,ู ขวญั ตา, ขวญั ใจ, ขวญั มือ, ขวญั แขน, ขวญั ขา ฯลฯ ขวญั เอย๋ ขวญั มา ไม่ง่ายท่ีจะเข้าใจและเข้าถึงความเป็นขวัญของคนทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ ผมเองก็อยู่ ห่างไกลมาก จึงขอพึ่งพาค�ำอธิบายของ อ.ยุกติ มุกดาวิจิตร (ในเอกสารยังไม่พิมพ์เป็นเล่ม) 31เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
“จากเรอื่ งรกั โรแมนตคิ สกู่ ารตอ่ สทู้ างชนชน้ั อา่ นวรรณกรรม ‘สง่ ชสู้ อนสาว’ ของชาวไตดำ� ในเวียดนาม” โดยสรปุ ดังนี้ สงั คมไตไมไ่ ดน้ บั ถอื ศาสนาสากล แตค่ นไตเชื่อในศาสนาแถน-ผี-ขวญั แบบของ ไตเอง เกิม่ จอ่ ง อธิบายว่า “ขวัญกค็ อื ผชี นิดหนงึ่ มันจงึ แสดงความเปน็ เอกเทศของมันในสภาวะ ความเปน็ จริงของเราเอง เช่น เป็นไปไดท้ ี่ขวัญของใครคนหนง่ึ จะตกใจงา่ ย แมว้ ่าตวั เขาเองจะเป็น คนจติ ใจเข้มแขง็ ” ความเป็นเอกเทศดังกล่าวท�ำให้ขวัญต้องได้รับการดูแลแตกต่างจากร่างกายคน คนไต เช่อื วา่ คนแตล่ ะคนมี ๘๐ ขวัญ แบง่ เป็น ๓๐ อยขู่ า้ งหนา้ ๕๐ อยดู่ ้านหลงั อวยั วะบางอวยั วะมขี วญั ของตนเอง ขวัญมีลักษณะพิเศษคือมันมีชีวิตของมันเอง แต่มันก็อยู่เป็นส่วนหน่ึงของคนแต่ละคน ด้วยความเป็นตัวของตัวเองในระดับหน่ึง ขวัญจึงอาจหนีไปจากคนได้ทุกเม่ือ หรือบางคร้ังขวัญ อาจจะหลงทาง หลงเพลินกับอะไรกลางทาง หลงหลบั นอนกลางทาง ไมม่ าอยกู่ บั เน้อื กบั ตัวเรา น่ันเป็นสาเหตุหน่ึงของความเจ็บป่วย หากเป็นเช่นนั้นก็จะต้องจัดพิธีเรียกขวัญ สู่ขวัญ ขวัญจงึ ตอ้ งการการบำ� รงุ เสมอ คนไตจงึ มีพิธี “ปา่ วขวญั ” เปน็ การสวดบ�ำรุงขวัญดว้ ยการพาขวญั ไปเทีย่ วแล้วพากลับอยา่ งเปน็ ระบบ แทนท่จี ะใหม้ นั ไปเที่ยวกนั เองแลว้ หลงเพลินไมก่ ลบั มา นอกจากน้นั ในการเดินทางไปส่งผที ีเ่ มอื งฟา้ บางคร้งั ก็ต้องระวงั วา่ ขวญั ของคนเปน็ ที่ไป ส่งผีขวัญคนตายจะหลงตามไปอยู่เมืองฟ้ากับผีขวัญคนตาย จึงต้องรีบน�ำทางขวัญคนเป็นกลับมา “เมืองลุ่ม” หรอื เมืองมนษุ ยน์ ่นั เอง ขวญั ทอี่ ยรู่ อบตวั เราไมไ่ ดม้ เี ฉพาะขวญั ของเราเอง แตย่ งั อาจมขี วญั ของคนทผ่ี กู พนั ใกลช้ ดิ กับเรามากอยดู่ ้วย เช่น ขวัญหญิง รู้สกึ ว่าตนเองมีขวญั ของขวญั ชายอยเู่ คยี งข้างเสมอ นอกจากขวัญ ซึ่งเป็นแนวคิดท่ีคนไทยส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ส�ำหรับ ชาวไต คนเรายังมสี ภาพเหนือธรรมชาติขา้ งเคยี งอืน่ ๆ อีก นน่ั คือ “มงิ่ ” “แนน” และ “หงิ ” มง่ิ และ แนนมคี วามหมายที่สมั พนั ธก์ ันใกล้ชิด ในภาษาไทย ลำ� พงั คำ� ว่ามง่ิ อาจจะฟังดูเปน็ เพยี งคำ� คลอ้ งจองค่กู ับค�ำว่าขวัญ เช่น มงิ่ ขวญั แตใ่ นความเขา้ ใจของคนไต มง่ิ และขวญั มีความสมั พันธท์ ค่ี ่อนข้างชดั เจนเปน็ ระบบ ส�ำหรบั คนไต คำ� ว่าม่ิงจะค่กู บั แนน อย่างไรกด็ ี ทง้ั ขวญั มิง่ แนน ตา่ งกม็ ีความสมั พันธ์กัน อย่างเปน็ ระบบ เกิ่ม จ่อง อธบิ ายมโนทศั นม์ ิง่ และแนน ว่า “มง่ิ และแนนเป็นแนวคิดนามธรรมทม่ี ลี กั ษณะ รูปธรรมดั่งจุดสมดุลของขวัญ หรือกล่าวได้ว่ามันเป็นรากฐานของชีวิต หากม่ิง-แนนยังอยู่ ก็หมายความวา่ ยงั มชี ีวติ อยู่ ตรงกนั ขา้ ม หากมง่ิ -แนนพงั ทลายไป ชีวิตกห็ าไม่ หรือหมายความว่า ขวัญจะแยกตัวจากรา่ งกาย กลายเป็นผชี นดิ อนื่ ไปตลอดกาล” เกม่ิ จ่อง อธิบายเพิ่มว่ามง่ิ กบั แนนใหเ้ หน็ ภาพได้ดว้ ยอกั ษร T กลับหวั เส้นนอน _ คอื แนน เปน็ รากฐาน สว่ นเสน้ ตง้ั | คอื มงิ่ ขวญั จะนง่ั หรอื ยนื บนแนนแลว้ พงิ หรอื องิ อยกู่ บั มงิ่ หรอื กลา่ วกนั 32 เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
๑ เปน็ คำ� คลอ้ งของภาษาไตวา่ “นัง่ ใสม่ ิง่ อิงใส่แนน” เรอื นคนไตเมอ่ื กอ่ นจึงปลกู ต้นกล้วยและต้นอ้อย ไวแ้ ทนสญั ลักษณข์ องมง่ิ และแนน เพื่อใหข้ วัญของคนเปน็ ในเรือนมีทีน่ ง่ั ท่ยี นื ที่อิงและพงิ น่นั เอง แนนกบั มง่ิ มคี วามสำ� คญั ตอ่ การมชี วี ติ อยา่ งลกึ ซงึ้ ไมใ่ ชม่ เี พยี งระดบั ปจั เจกชน แตใ่ นความ สมั พนั ธ์ระหวา่ งบุคคลและชวี ิตของสังคมขนาดใหญ่ อยา่ งบา้ นและเมอื ง กม็ มี ิง่ กับแนนดว้ ยเช่นกัน ส�ำหรบั การเป็นคู่ครองกัน หากจะใหเ้ ปน็ คู่ครองท่ีม่ันยนื ก็จะมีการตรวจสอบว่าแนนของ ทั้งสองคนนน้ั เขา้ กัน เหมาะกนั หรือ “แฝงแนน” กนั หรือไม่ หากไมแ่ ฝงแนนกนั กจ็ ะมีการท�ำพิธี ให้แนนของทง้ั สองแฝงกนั ก็ได้ ในระดบั สงั คมขนาดใหญน่ นั้ นอกจากมขี วญั ของเมอื งแลว้ แตล่ ะเมอื งยงั มกั มี “ปอมมง่ิ เมอื ง” หมายถงึ ภเู ขาลกู หนง่ึ ของเมอื งทจ่ี ะเปน็ ทฝี่ งั กระดกู ทเ่ี ผาแลว้ ของเจา้ เมอื งไว้ เขาลกู นนั้ นอกจากมชี อื่ ของภูเขาแล้ว ยังเรยี กวา่ เปน็ ภูเขาทีเ่ ปน็ ม่ิงของเมือง หรือเปน็ ท่อี งิ ของขวญั เมอื งนนั้ เอง ส่วน “หงิ ” เปน็ มโนทศั นท์ ี่ไมค่ อ่ ยเปน็ ทร่ี ู้จกั กนั สำ� หรบั คนไทยมากนัก [เกมิ่ จ่อง (๒๔๗๗-๒๕๕๐) เป็นนักปราชญ์ชาวไทด�ำ (เวียดนาม) ที่นักวิชาการไทยรูจ้ กั ทวั่ ไปอกี ชอื่ หนง่ึ วา่ “ศาสตราจารยค์ ำ� จอง” ไดร้ บั ยกยอ่ งเปน็ เสาหลกั ทางวชิ าความรเู้ กยี่ วกบั ไต-ไท ในเวยี ดนาม ต่อมานกั วชิ าการไทยกลุ่มหนง่ึ ร่วมกันพิมพห์ นงั สือทร่ี ะลกึ (หลงั เกม่ิ จอ่ ง ถึงแกก่ รรม) เพอ่ื ถา่ ยทอดและแสดงคณุ ปู การ ชอ่ื ทฤษฎบี า้ นเมอื ง ศาสตราจารยค์ ำ� จอง กบั การศกึ ษาชนชาตไิ ท ฉตั รทิพย์ นาถสภุ า, พเิ ชฐ สายพันธ์ บรรณาธกิ าร สำ� นักพมิ พส์ รา้ งสรรค์ พิมพค์ รัง้ แรก พ.ศ.๒๕๕๓] คนตาย เพราะขวญั หาย ขวัญเป็นอ�ำนาจก�ำหนดและก�ำกับการมีชีวิตของมนุษย์ว่าเป็นคนหรือผี หากขวัญ สิงสอู่ ยตู่ ามอวยั วะในร่างกายครบถว้ น ผนู้ ั้นเป็นคน หากขวัญแยกตัวหนอี อกไป ผนู้ นั้ เป็นผี เรยี ก ผีคน ขวญั ทแ่ี ยกตัวหนไี ป เป็นผขี วญั [จากบทความเร่ือง “ผลงานชิ้นเอกของอาจารย์ค�ำจอง” โดย พิเชฐ สายพันธ์ ในหนงั สือ ทฤษฎบี า้ นเมืองฯ ส�ำนกั พมิ พส์ รา้ งสรรค์ พมิ พ์คร้งั แรก พ.ศ.๒๕๕๓ หนา้ ๓๑] ดว้ ยเหตนุ เ้ี อง ผกี บั คนเกยี่ วขอ้ งกนั เสมอ โดยมกี จิ กรรมเซน่ ผเี ลยี้ งผี แลว้ ไปมาหาสรู่ ะหวา่ ง ผกี บั คนไมข่ าด ดงั มขี อ้ ความตอนเรม่ิ ตน้ นทิ านลมุ่ นำ้� โขง เรอ่ื งกำ� เนดิ มนษุ ยจ์ ากนำ�้ เตา้ ปงุ กล่าวถงึ กำ� เนดิ จักรวาลมีดินหญ้าฟ้าแถน โดยผีกับคนไปมาหาสู่กันสม�่ำเสมอว่า “ก่อเป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้า เป็นแถน ผีแลคนเท่ยี วไปมาหากนั บ่ขาด” ผแี ถนและผอี น่ื ๆ มีลกั ษณะทุกอยา่ งเหมือนในเมอื งมนุษย์ ผูค้ นทีต่ ายไปแลว้ กลายเปน็ ผี ก็ท�ำมาหากิน มีชีวิตเหมือนอยู่บนโลกมนุษย์ แต่อยู่ในอีกมิติหน่ึง ซึ่งใช้ชีวิตท�ำนาปลูกข้าวหุงหา อาหารเช่นกัน [สรปุ จากหนังสือ ประวัตศิ าสตรส์ บิ สองจไุ ท ของ ภัททิยา ยิมเรวัต ส�ำนักพิมพ์สร้างสรรค์ พิมพค์ ร้งั แรก พ.ศ.๒๕๔๔ หนา้ ๒๑๘] มีผู้รรู้ ะบบความเชื่อนอี้ ธบิ ายวา่ เพราะผี (ทง้ั ผคี นกับผขี วญั ) จะขึน้ บนฟา้ ไปรวมพลังกบั ผีบรรพชนท่ีสิงสถิตอยู่ท่ีน่ันก่อนแล้ว (โดยไม่เกิดอีก) เพ่ือเป็นพลังปกป้องคุ้มครองชุมชนกับ คนเครอื ญาตยิ งั มีชีวติ ในโลกมนุษย์ 33เสด็จส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
[อนิ เดยี ยคุ พระเวท เชอื่ วา่ คนตายไปอยใู่ นโลกของบรรพชน (ปติ ฤโลก) แลว้ กลบั มาเกดิ อกี (มีในบทความเรอื่ ง “ลว้ งลึกเร่ือง ‘กาม’ และความรักในศาสนาพราหมณ”์ โดย คมกฤช อยุ่ เตก็ เค่ง ใน มติชนสดุ สัปดาห์ ฉบับวันท่ี ๑๗-๒๓ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๖๐ หน้า ๘๑)] รปู ร่างขวญั ขวญั สำ� คญั อยา่ งยงิ่ ตอ่ ความมชี วี ติ ของคนทงั้ หลาย คนจงึ วาดหรอื สลกั จำ� ลองรปู รา่ งขวญั ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแลว้ บนกลองทองมโหระทกึ , บนภาชนะดินเผา ฯลฯ หนา้ กลองมโหระทกึ มลี วดลายเปน็ วงกลมมแี ฉก นกั โบราณคดนี านาชาตแิ ละไทย อธบิ าย มานานมากแลว้ ว่าเปน็ รปู ดาว แตน่ า่ จะอธบิ ายไดอ้ กี ทางหนง่ึ วา่ เปน็ รปู ขวญั เชน่ ขวญั บนหวั ของคน ทำ� ขนึ้ เปน็ สญั ลกั ษณ์ ในพิธีเรียกขวัญคนตายในงานศพ แล้วใชใ้ นพิธเี รยี กขวญั งานอื่นๆ ดว้ ย ดาว กลองมโหระทกึ ทรงกลม หลอ่ ดว้ ยโลหะทองสำ� รดิ ใชต้ ปี ระโคมในงานศพ ราว ๒,๕๐๐ ปมี าแล้ว หนา้ กลองมโหระทกึ เป็นแผ่นกลม ตรงกลางสลักเปน็ รปู ดาว มรี ศั มีเป็นแฉก [สมัยกอ่ นประวตั ิศาสตร์ในประเทศไทย ของ ชนิ อย่ดู ี กรมศลิ ปากร พิมพค์ รง้ั แรก พ.ศ. ๒๕๑๐ หน้า ๖๐-๗๑] ต่ังหิน ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว สลักลวดลายเป็นรูปขวัญอย่างเดียวกับลายหม้อบ้านเชียง และลายหน้า กลองทอง (มโหระทกึ ) นักโบราณคดีลาวเช่ือว่าตั่งหินเป็นต้นแบบกลองมโหระทึก พบในแขวงหลวงพระบาง บริเวณภูเขาลีบ บ้านหัวสะดงิ เมืองปากแซง ฯลฯ ทีข่ อบมลี ายรปู ตัว S บนตัง่ หิน อย่างเดียวกับลายหม้อบ้านเชียง [จากประวัติศาสตร์ลาว (ดึกด�ำบรรพ์-ปัจจุบัน) ฉบับกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมของลาว พิมพ์ เผยแพร่ (แปลเป็นภาษาไทย โดย ผศ.ดร.ทรงคณุ จันทจร) สถาบนั วิจัยศิลปะและวฒั นธรรมอีสาน มหาวทิ ยาลัย มหาสารคาม พิมพ์ครัง้ แรก พ.ศ.๒๕๕๑ หนา้ ๘-๑๐] ปุ่มนูน มรี ศั มีเป็นแฉกอยกู่ งึ่ กลางหน้ากลองทอง (มโหระทกึ ) คือ รปู ขวัญ ใชต้ ปี ระโคมเรยี กขวญั ในงานศพ ราว ๒,๕๐๐ ปมี าแลว้ [ภาพกลองทอง (มโหระทกึ ) พบทมี่ อ่ นวดั เกษมจติ ตาราม อ.เมอื ง จ.อุตรดิตถ]์ 34 เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
๑ ตะวนั รปู ดาว มรี ศั มเี ปน็ แฉก บางคนเหน็ วา่ เปน็ ตะวนั มเี สน้ วงแหวนลอ้ มระยะหา่ งเทา่ กนั ตะวันบนกลองมโหระทกึ ของกะเหรย่ี งส่วนใหญ่มี ๘ แฉก, ๑๐ แฉก, ๑๒ แฉก, ๑๔ แฉก, ๑๖ แฉก [การเปรยี บเทยี บรปู แบบกลองมโหระทกึ ในประเทศไทย ประเทศจนี และประเทศเวยี ดนาม โดย พรพล ปั่นเจริญ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อน ประวตั ิศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๔๐] (ซา้ ย) ลายขวญั บนหมอ้ บา้ นเชยี ง ราว ๒,๕๐๐ ปมี าแลว้ เปน็ รปู วงกลม มแี ฉก ลกั ษณะเดยี วกบั หนา้ กลอง มโหระทกึ และตง่ั หนิ ในลาว แสดงวา่ หนา้ กลองมโหระทกึ เปน็ ลายขวญั เหมอื นลายหมอ้ บา้ นเชยี ง (แถวลา่ ง) ลายหมอ้ บา้ นเชยี งแบบตวั s อยา่ งเดยี วกบั ลายตงั่ หนิ ในลาว (ลายเสน้ จากหนงั สอื วฒั นธรรมบา้ นเชยี ง โดย ชนิ อยดู่ ี กรมศลิ ปากร พมิ พ์คร้ังแรก พ.ศ. ๒๕๑๕) ตาเหลว (เฉลว) เปน็ วธิ ขี ดั แตะแรกสดุ เพอ่ื จะใหข้ นึ้ รปู เปน็ ภาชนะตา่ งๆ ตามตอ้ งการอนั มที ม่ี าจากขวญั ของคน ต่อมายกย่องเป็นลายศักดิ์สิทธ์ิใช้คุ้มครองป้องกันเหตุร้ายทั้งปวง จึงท�ำตาเหลวปักไว้บริเวณส�ำคัญๆ เช่น ทางเขา้ ชมุ ชนหมบู่ า้ น (ภาพจาก ศนู ยข์ อ้ มลู กลางทางวฒั นธรรม กระทรวงวฒั นธรรม http://www.m-culture.in.th.) ขวัญ หน้ากลองมโหระทึก บางใบมีปุ่มนูนกลมอยู่ตรงศูนย์กลาง มีรัศมีเป็นแฉก แล้วมี วงแหวนหลายช้นั แผ่ล้อมรอบรศั มีปมุ่ นูนอกี ทหี นงึ่ ควรเปน็ ขวญั มากกวา่ ดาวและตะวัน ขวญั มอี ยู่ในรา่ งกายของทุกคน แต่ท่ีสำ� คญั คือ จอมขวัญซ่งึ อยูบ่ นกลางกระหม่อมท่มี สี ่วน นนู กบั มรี ากผมจัดเรียงเปน็ วงคล้ายกน้ หอย เชน่ เดียวกับลายเขยี นสีหม้อบา้ นเชยี ง ลายขวญั บนหม้อบ้านเชียง ภาชนะเขียนสี ท่ีบา้ นเชียง (อ.หนองหาน จ.อุดรธาน)ี อายุ ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีลวดลายต่างๆ กนั แต่ท่พี บมากจนเปน็ ลกั ษณะเฉพาะ แลว้ เปน็ ท่ีรู้จักทว่ั ไป เรยี กลายก้นหอย (แบบลายนวิ้ มือ) นนั่ คอื ลายดวงขวญั ทค่ี นยคุ นน้ั ทำ� ขนึ้ เพอื่ ทำ� ขวญั เรยี กขวญั สขู่ วญั คนตาย เสมอื นมขี วญั ของคนตายอยใู่ นหม้อใบนน้ั 35เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
รูปร่างขวัญเป็นเส้นวงๆ วนเวียนซ้อนกันหลายชั้นตามต้องการ โดยช่างเขียนเคยเห็น ลกั ษณะทเ่ี ชอ่ื วา่ นนั่ คอื ขวญั จากบรเิ วณโคนเสน้ ผมบนกลางกระหมอ่ มของทกุ คน แลว้ ยงั เหน็ ตามโคน เส้นขนที่เปน็ ขวัญบนตวั สตั ว์ เชน่ ควาย, ววั ๒. เรยี กขวญั เพราะขวญั หาย ต้องทำ� พิธีนานหลายวันหลายคืน มหรสพสนกุ สนานเฮฮาในงานศพของไทยทกุ วนั น้ี มเี หตจุ ากความเชอื่ เรอื่ งขวญั ในศาสนา ผีหลายพนั ปมี าแลว้ ของคนทกุ เผา่ พนั ธุ์ในอษุ าคเนย์ วา่ คนตาย ขวัญไมต่ าย แต่ขวัญหายออกจาก รา่ ง แล้วหลงทางกลับไมไ่ ด้ ถา้ เรยี กขวญั กลับคืนรา่ งเหมือนเดิม คนก็ฟ้ืนเปน็ ปกติ ดงั นนั้ เมอื่ มคี นตาย เครอื ญาตพิ นี่ อ้ งตอ้ งเชญิ หมอผหี มอขวญั ขบั ลำ� คำ� คลอ้ งจองทำ� พธิ เี รยี ก ขวัญหลายวันหลายคืน โดยท้ังชุมชนตีเกราะเคาะไม้ประโคมฆ้องกลองปี่ร้องร�ำท�ำเพลงเต้นฟ้อน สนกุ สนานเฮฮา ส่งเสียงดงั กึกก้องใหข้ วัญได้ยนิ ขวัญจะไดก้ ลบั ถกู ทางตามเสยี งนนั้ แล้วคนื ร่าง การละเลน่ เรยี กขวญั เหลา่ น้ี เปน็ ตน้ แบบพธิ ศี พปจั จบุ นั เชน่ (๑) พระสงฆส์ วดอภธิ รรม (๒) ชาวบ้านสวดคฤหัสถ์ (๓) มหรสพและดนตรีป่ีพาทยต์ ่างๆ การละเลน่ เรียกขวญั หลายพันปมี าแล้ว ยคุ แรกเรม่ิ มกี ารละเลน่ เรยี กขวญั พบหลกั ฐานเปน็ ลายสลกั บนขวานสำ� รดิ ๒ ชนิ้ วฒั นธรรม ดองซอน อายรุ าว ๒,๕๐๐ ปีมาแลว้ ฝังรวมกับส่ิงของอ่นื ๆ ในหลมุ ศพท่ีเวยี ดนาม ลายสลักเป็นรูปหมอขวัญกับหมอแคนขับล�ำท�ำท่าฟ้อน กางแขน ย่อเข่า ก้าวขา เป็น สญั ลักษณพ์ ธิ ีเรียกขวัญคนตายคนื ร่างท่ีฝงั อยนู่ นั้ (Victor Goloubew, L’ Age du Bronze au Tonkin et dans le Nord-Annam ใน BEFEO : Tom XXIX 1929) คล้ายกับภาชนะเขยี นสรี ูป ขวัญ วัฒนธรรมบา้ นเชียง พบในหลุมศพท่ีบา้ นเชียง จ.อดุ รธานี คำ� เรียกขวัญ, ค�ำสขู่ วัญ ใชข้ ับลำ� ในงานศพ เรมิ่ ตน้ ดว้ ยคำ� บอกเลา่ กำ� เนิดโลกและมนษุ ย์ ต่อด้วยประวัติบ้านเมืองต่างๆ เป็นความเรียงร้อยแก้วสลับค�ำคล้องจอง พบแทรกในตอนต้น พงศาวดารลา้ นช้าง และมใี น เล่าความเมอื ง และ ความโทเมือง [บทความ “ความโทเมอื ง จาก เมืองหม้วย” ของ เจมส์ อาร.์ แชมเบอรเ์ ลน (James R. Chamberlain) พิมพ์คร้ังแรกในวารสาร รวมบทความประวตั ิศาสตร์ ฉบบั ๘ (ก.พ.๒๕๒๙) อา้ งไว้ในหนงั สือ ประวตั ิศาสตร์ไทดำ� : รากเหง้า วฒั นธรรม-สงั คมไทยและเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ของ ยกุ ติ มุกดาวจิ ติ ร พิมพ์ครั้งแรก โดย สำ� นกั ศลิ ปวัฒนธรรมร่วมสมยั กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.๒๕๕๗] เรยี กขวญั , สู่ขวญั ทีห่ ายไปให้คนื ร่างกายเดิม ยงั มรี ่องรอยเคา้ มลู อยใู่ นบทเรยี กขวัญ ของไทด�ำ สมุ ิตร ปิตพิ ัฒน์ (ศาสนาและความเชอ่ื ไทดำ� พ.ศ.๒๕๔๕ หนา้ ๘๙) พบวา่ ปัจจุบนั เรียก บทสวดส่งผี มีโครงสร้างส�ำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนท่ี ๑ เรียกผขี วัญกลับ ไม่ว่าจะอยทู่ ไ่ี หน ในป่า บนบก ในนำ�้ ขอใหผ้ ขี วญั กลับเรือน และบอกใหผ้ ขี วญั รูส้ กึ ตวั 36 เสด็จสแู่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
๑ (ซ้าย) “งนั เฮอื นด”ี พธิ เี รยี กขวัญคืนร่างคนตายยุคดกึ ด�ำบรรพ์ ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ มหี มอขวัญกับ หมอแคนขับลำ� ค�ำคลอ้ งจองทำ� นองงา่ ยๆ เปา่ แคนคลอ แล้วฟอ้ นประกอบ (ขวา) เครอ่ื งมือส�ำรดิ มีลายสลัก ขดุ พบในหลมุ ศพท่เี วยี ดนาม ส่วนที่ ๒ บอกทางผขี วัญไปเมืองฟา้ ว่าไปทางไหน? ผ่านอะไร? ตอ้ งทำ� ยงั ไง? ฯลฯ หมอผี หรอื หมอขวญั ตอ้ งสวดสว่ นท่ี ๑ นานหลายวนั หลายคนื เพอ่ื เรยี กผขี วญั แตจ่ ะนาน ขนาดไหนขึ้นอยู่กบั เครือญาตพิ น่ี อ้ งกำ� หนด ครนั้ นานมากจนเหน็ วา่ ขวญั ไมก่ ลับถาวรแลว้ จึงสวด ส่วนที่ ๒ ทางอสี านเรยี กกจิ กรรมความเชอื่ อยา่ งนวี้ า่ งนั เฮอื นดี เปน็ ตน้ แบบหรอื ตน้ ทางของมหรสพ ในงานศพของไทย (ลมุ่ น�ำ้ เจา้ พระยา ภาคกลาง) พบในวรรณกรรมต่างๆ ว่า มปี พ่ี าทย์, โขนละคร, หนงั ใหญ่, ลเิ ก, เสภา ฯลฯ 37เสด็จส่แู ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
งันเฮอื นดี งนั เฮือนดี หมายถึงมกี ารละเลน่ ร่ืนเริงบนเรือนมคี นตาย (ขวัญไม่ตาย) ในประเพณลี าวมหี มอลำ� หมอแคนเลน่ ขบั ลำ� คลอแคน, มอี า่ นหนงั สอื กาพยก์ ลอนวรรณกรรม เชน่ สินไซ, การะเกด ฯลฯ แล้วมเี ล่นตา่ งๆ เชน่ เสือตกถงั ฯลฯ [งนั หมายถึง งานมกี ารละเลน่ รอ้ งรำ� ท�ำเพลงขบั ลำ� อึกทึกครึกโครม, เฮือนดี คือ เรอื นดี หรือเรอื นมีการละเล่นเรยี กขวัญ (คนตาย) ใหค้ ืนรา่ ง] [สรปุ สาระสำ� คัญจากสารานกุ รมวฒั นธรรมไทย ภาคอสี าน เล่ม ๓ หน้า ๘๒๑-๘๒๕] งานศพตามประเพณีลาวในอสี านมี “มโหสบคบงัน” (มโหสบ กลายจาก มหรสพ, คบงัน แปลว่า ฉลอง, สมโภช, รนื่ เริง) เล่านทิ านโดยอา่ นจากหนงั สอื ผกู ใบลานเป็นทำ� นอง (เรียก อ่าน หนังสือ), เล่นดีดสีตีเป่าร้องร�ำท�ำเพลง ขับล�ำค�ำกาพย์กลอน กับเล่นว่าเพลงโต้ตอบ ฯลฯ มีใน วรรณกรรมอีสานเรื่ีองสังขท์ องวา่ ฝงู เคยเหลน้ ตตี ะโพน พิณพาทย์ ขบั แข่งฮ้องโคลงฟ้า กาพย์สาร [สรุปจากสารานกุ รมภาษาอีสานฯ พิมพค์ รง้ั แรก พ.ศ.๒๕๓๒ หน้า ๑๕๘] งันเฮือนดีหลายวันหลายคืน ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสวดอภิธรรมเมื่อหลังรับศาสนา และอารยธรรมจากอนิ เดยี -ลังกา สบื จนทุกวันนี้ โดยยกศาสนาพทุ ธมาเคลอื บผี เทา่ กับผี เปน็ หลักการใหญ่ สว่ นพทุ ธเป็นอปุ กรณป์ ระกอบ เพราะตามประเพณีในอินเดีย ไม่มีสวดอภิธรรมงานศพ “เม่ือมีผู้วายชนม์ก็จะห่อหุ้มศพ ดว้ ยผา้ ประดบั ดอกไมว้ างบนแคร่ และนำ� ไปประชมุ เพลงิ ทนั ท”ี (จากบทความเรอ่ื งพธิ เี กยี่ วกบั ความตาย ในศาสนาพราหมณ-์ ฮนิ ดู โดย คมกฤช อยุ่ เตก็ เคง่ ในมตชิ นสดุ สปั ดาห์ ฉบบั ประจำ� วนั ท่ี ๒๑-๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๙ หนา้ ๘๑) งนั เฮอื นดใี นอสี าน มคี ำ� อธบิ ายของพระโพธวิ งศาจารย์ (ตสิ โฺ ส อว้ น) จะคดั มาโดยปรบั ยอ่ หน้าใหมใ่ หอ้ า่ นง่าย ดังน้ี “ทบ่ี า้ นของผตู้ ายนน้ั ตงั้ แตว่ นั ทต่ี ายไป ตอนกลางคนื มผี คู้ นทร่ี จู้ กั รกั ใครแ่ ลวงศาคณาญาติ พร้อมทงั้ เพ่ือนบา้ นทใ่ี กล้เคยี งมางันกันเรยี กวา่ งันเรือนดี (คอื คนมาประชมุ ช่วยพรอ้ มกัน) ------ หญงิ สาวชายหนมุ่ กม็ าพดู หยอกเยา้ กนั ในงานน้ี ผทู้ เี่ ปา่ แคนเปนกเ็ อาแคนมาเปา่ เลน่ หมอลำ� พวกทอี่ า่ นหนงั สอื เปนกห็ าหนงั สอื เรอ่ื งคำ� กลอนโบราณมาอา่ น เชน่ เรอ่ื งสงั ขศ์ ลิ ปไ์ ชย เรอื่ งการะเกษ เหลา่ นเ้ี ปนตน้ แลมกี ารเล่นอีกหลายอย่าง เชน่ หมากหาบ (หมากแยก) เสือกนิ หมู (เสอื กนิ ววั ) หมากเกงิ้ ตะเวน (เสอื ตกถงั ) หมากแกง้ ขช้ี า้ ง (ทอดไม)้ พวกของเลน่ เหลา่ นมี้ ชี อบเลน่ อยใู่ นพวกหญงิ สาวชาย หนุ่ม ถ้าใครแพ้ชนะกันมักมีทุบตีหยอกเย้ากันในหมู่คณะหญิงสาวชายหนุ่ม ถ้าคนที่มีอายุแล้ว หันไปฟังหนังสอื ทเ่ี ขาอ่าน การงนั เรอื นดชี นดิ นี้นับตง้ั แต่วนั ท่ีตายไป บางทีมีจนถงึ วันน�ำศพไปเผาหรือฝัง ถ้าเปนผู้ที่ ตระกลู เชอ้ื วงศม์ บี นั ดาศกั ด์ิ อยา่ งมากงนั กนั ตง้ั เดอื นอยา่ งนอ้ ยก็ ๓ วนั ๕ วนั ๗ วนั ตามฐานานรุ ปู ของ 38 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
๑ คนพน้ื เมอื ง เมอื่ นำ� ศพไปเผาหรอื ฝงั เสรจ็ แลว้ กลบั มาตอ้ งทำ� บญุ เรอื น สวดมนตเ์ ยน็ ๓ วนั รงุ่ ขน้ึ ฉนั เชา้ ในระหว่าง ๓ วนั ทีส่ วดมนต์นนั้ มงี นั เรอื นดีเหมอื นกนั ” [ลัทธธิ รรมเนียมตา่ งๆ ภาคที่ ๑๘ ตอนที่ ๓ วา่ ด้วยประเพณีของชนชาวมณฑลอีสาน โดย พระโพธิวงศาจารย์ (ติสโส อ้วน) เรยี บเรยี ง พมิ พ์ครัง้ แรก พ.ศ.๒๔๖๙] งานศพมกี ารละเลน่ สนกุ เฮฮา เปน็ ประเพณดี ง้ั เดมิ ของกลมุ่ ชนในภมู ภิ าคอษุ าคเนย์ พระโพธิวงศาจารย์ (ติสโส อ้วน) อธบิ ายวิธจี ัดการศพผไู้ ท (หรอื ไทดำ� , ลาวโซง่ ) จะคดั มา โดยปรบั ยอ่ หน้าใหม่ใหอ้ า่ นง่าย ดงั นี้ “ถา้ ผ้ตู ายมีบุตรเ์ ขย ในเวลากลางคนื ต้องมกี ารกระทบสาก วิธีนจ้ี ะเวน้ เสียมิได้ คอื มสี าก ๗ คู่ จบั กระทบกันแล้ว ลกู เขยทุกคนเต้นไปตามระหวา่ งสาก ถา้ เตน้ ไม่ดสี ากถูกขา ถา้ เต้นไม่เปน ต้องจ้างคนเตน้ แทน ตอ้ งเต้นทกุ ๆ คืนจนกวา่ จะน�ำศพออกจากบ้าน นอกจากนก้ี ็มีหมอลำ� หมอแคน เล่นกนั สนกุ สนานครกึ คร้ืนเฮฮา การนำ� ศพไปเผาหรอื ฝงั ถา้ เปนผมู้ ตี ระกลู หรอื มที รพั ยส์ มบตั ิ มกั มพี ระสงฆน์ ำ� หนา้ ศพ และ มีสวดอภิธรรมไปตามทาง นอกจากนี้กม็ ีหมอลำ� หมอแคนเล่นกนั เฮฮาไปตามทาง” [ลทั ธธิ รรมเนยี มตา่ งๆ ภาคที่ ๑๘ ตอนท่ี ๑ วา่ ดว้ ยชนชาตภิ ไู ทย และชาตญิ อ่ โดยพระโพธิ วงศาจารย์ (ตสิ ฺโส อว้ น) เรียบเรยี ง พิมพค์ ร้ังแรก พ.ศ.๒๔๖๙] พิธีศพของไทด�ำ สุมิตร ปิติพัฒน์ มีงานวิจัยอธิบายงานศพของไทด�ำในเวียดนามว่า เมอื่ คนมีชวี ติ ตามปกติ ขวัญจะอยใู่ นรา่ งกายของคนตามอวยั วะต่างๆ อย่างครบถ้วน หากขวัญออก จากร่างไปบางส่วน (เมื่อคนตกใจหรือเจ็บไข้) ญาติพ่ีน้องต้องท�ำพิธีเรียกขวัญ, สู่ขวัญ ให้กลับ เขา้ สรู่ า่ งกายตามเดิม คนนัน้ จงึ จะหายเจบ็ ไข้ ถา้ ขวญั ไมก่ ลบั เขา้ รา่ ง ความเจบ็ ปว่ ยกไ็ มท่ เุ ลา หรอื ถา้ ขวญั ออกหมดไปจากรา่ ง คนกต็ าย “หากขวญั ออกจากร่างกายจนหมดคนจะตาย แลว้ เคลื่อนไหวไม่ไดต้ ลอดไป” ขวัญท่ีออกจากร่างจะกลายเป็นผีขวัญ คือไม่มีรูปร่าง จึงมองไม่เห็น แต่อาจท�ำอะไร บางอย่างไดท้ ี่มีผลกระทบกระเทือนถงึ ผู้ยังมีชีวิตอยู่ โดยเฉพาะลกู หลานในครอบครัว [ศาสนาและความเชอื่ ไทดำ� ในสบิ สองจไุ ท สาธารณรฐั สงั คมนยิ มเวยี ดนาม โดย สมุ ติ ร ปติ พิ ฒั น์ สถาบนั ไทยคดีศึกษา มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครง้ั แรก พ.ศ.๒๕๔๕ หนา้ ๑๐๖] มหรสพในงานศพของไทย งนั เฮอื นดใี นอสี านและในกลมุ่ ผไู้ ท เปน็ พธิ กี รรมสบื เนอื่ งจากชมุ ชนดกึ ดำ� บรรพห์ ลายพนั ปี มาแล้ว จากน้ันสง่ ทอดไมข่ าดสายสชู่ มุ ชนบ้านเมอื งปจั จบุ นั นับเป็นต้นทางงานศพของไทยซึ่งพบท่ัวไป แต่ที่ส�ำคัญมีในวรรณกรรมราชส�ำนัก กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ เชน่ อิเหนา, ขุนช้างขนุ แผน อิเหนา บทละครพระราชนิพนธ์ ร.๒ พรรณนาการละเล่นสนุกสนานเฮฮางานพระเมรุ ทเี่ มอื งหมนั หยา ขุนช้างขุนแผน แต่งหลัง ร.๒ พระพันวษาส่ังประหารชีวิตนางวันทอง แล้วมีงานศพ มกี ารละเล่นมหรสพหลายอย่าง คนดูทกุ ชนช้ันสนุกโลดโผนเฮฮา 39เสด็จสู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
ขวัญหายตอ้ งเรียกขวญั คนตาย ขวัญไม่ตาย แตข่ วัญหายจากร่าง แลว้ หลงทางจนหาทางกลับไม่ได้ กลับไมถ่ กู ญาตพิ น่ี ้องลูกหลานต้องท�ำพิธเี รยี กขวัญ มีการละเลน่ เสียงดังเพอื่ สนกุ ครึกคร้นื เฮฮา หวัง ใหข้ วัญได้ยนิ จะได้กลับถกู ทางเขา้ รา่ งได้ เรยี กขวญั คนหายปว่ ย มตี วั อยา่ งคำ� เรยี กขวญั ของไทดำ� ในเวยี ดนาม โดย (หมอ) ผมี ด ดงั น้ี “ขวัญเอ๋ย... ยามลงจากฟ้ามาสู่โลกข้างล่างน้ี อย่าได้ไปผิดทาง อย่าผ่านไปทางอ่ืน ที่ไม่ถกู ถ้าเสน้ ทางมนั ลำ� บาก ค่อยๆ ลงมา... ขวญั เอย๋ ... อย่าไดห้ ยุดทบ่ี ้านทไ่ี ม่รู้จกั ขวญั เอ๋ย... อยา่ ไดก้ ระจดั กระจายอยูก่ ลางหาว ถา้ เจ้าไปอยเู่ หนือฟา้ ก็จะกลายเป็นบ้า ถา้ เจา้ ไปหยดุ อยบู่ นฟา้ เจา้ กจ็ ะโง่เง่า ลงมาเถอะ ลงมาทีพ่ ืน้ ดินข้างล่างนี้... กลับมาเรือนของเจ้าเถอะ” [ประวัตศิ าสตร์สบิ สองจุไท ของ ภทั ทยิ า ยิมเรวัต พมิ พ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๔๔ หน้า ๒๑๙] เรยี กขวญั โดยสนุ ทรภู่ พธิ เี รยี กขวญั ทำ� ขวญั มตี วั อยา่ งอยใู่ นกลอนเสภาขนุ ชา้ งขนุ แผน ตอน ก�ำเนิดพลายงาม แตง่ (ราว ร.๓-๔) โดยสนุ ทรภู่ ซ่ึงเกดิ และเตบิ โตในสังคมยคุ ต้นกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ มีประเพณีเรียกขวญั สูข่ วัญ ท�ำขวญั เป็นทร่ี บั รทู้ ว่ั ไปวา่ มใี นทกุ เผา่ พันธุ์ ท้ังลาว, มอญ, และไทย สนุ ทรภจู่ งึ แตง่ ทำ� ขวญั แบบไทย ภาคกลาง แลว้ มกี ารละเลน่ เปน็ มหรสพแบบลาวกบั แบบมอญ ซ่ึงมชี มุ ชนอยเู่ มอื งกาญจนย์ คุ นนั้ เหตจุ ากขุนช้างรังแกพลายงามทเี่ ปน็ ลูกติดนางวันทอง (เกดิ จากขนุ แผน) นางวันทองให้ พลายงามเดนิ ปา่ ตดั ทงุ่ จากเมอื งสพุ รรณไปหายา่ คอื นางทองประศรี อยเู่ มอื งกาญจนบรุ ี (ทเ่ี ขาชนไก)่ นางทองประศรีเห็นพลายงามยังเล็ก เดินทางกลางทุ่งนาป่าดงคนเดียว เกรงว่าขวัญหายไม่อยู่กับ เน้ือตัว (ขวัญมีทุกส่วนของร่างกาย คนบางกลุ่มเชื่อว่าคนเรามีมากกว่า ๘๐ ขวัญ) จึงท�ำขวัญ เรยี กขวัญคนื มาให้ครบ อยา่ หายหกตกหลน่ กลางทาง ท�ำขวัญตามประเพณขี องชุมชนลมุ่ น�ำ้ เจา้ พระยา มตี งั้ บายสแี ลว้ มเี วียนเทยี น บายสี หมายถงึ ข้าวขวัญของเจา้ แมข่ า้ ว (หรอื เจ้าแม่แห่งขา้ ว) มาจากค�ำเขมร บาย แปล ว่า ข้าว, สี แปลว่า ผู้หญิง (มาจากสตรี) ปจั จบุ ันนิยมเขยี นว่า แมศ่ รี เวียนเทียน ปรับปรุงจากประเพณอี ืน่ ทไ่ี มพ่ ราหมณ์, ไม่พุทธ แต่ยังค้นไม่พบว่าอะไร? จากไหน? มผี ้ชู แ้ี นะวา่ นา่ จะไดจ้ ากอินโด-เปอรเ์ ซีย (อหิ ร่าน) แตไ่ ม่แนใ่ จ มกี ลอนเสภาพรรณนาแลว้ สอดแทรกคำ� ขบั ลำ� ทำ� ขวญั เลยี นแบบกลอนเทศน์ หรอื รา่ ย ดงั นี้ ๏ พอ่ เมื้อเมอื งดง เอาพงเปน็ เหย้า อดึ ปลาอดึ ข้าว ขวัญเจา้ ตกหาย ขวญั อ่อนร่อนเร ่ ว้าเหวส่ ่กู าย อยู่ปลายยางยงู ท้องทุ่งทอ้ งนา ขวญั เผอื เม้ือเมนิ ขอเชิญขวญั พ่อ ฟังซอเสียงออ้ ขวญั พอ่ เจา้ จ๋า ข้าวเหนียวเต็มพอ้ ม ข้าวปอ้ มเต็มป่า ขวัญเจา้ จงมา สกู่ ายพลายเอย 40 เสดจ็ สู่แดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
๑ ๓. แหลง่ ฝังศพ อย่ใู ต้ถุนเรือน และลานกลางบ้าน เมอื่ มคี นตายซงึ่ เชอ่ื วา่ ขวญั หาย บรรดาญาตพิ น่ี อ้ งและคนในชมุ ชนตอ้ งรว่ มกนั ทำ� พธิ เี รยี กขวญั ด้วยหวังวา่ ขวญั จะคืนร่างเดิม แลว้ ฟืน้ นานหลายวนั จนเรมิ่ เนา่ จงึ เอาศพฝงั ดนิ รอขวญั พรอ้ มสง่ิ ของเครอ่ื งใชเ้ ตรยี มไวเ้ หมอื นครง้ั มีชวี ิต จะได้ใช้สอยเมอ่ื ฟืน้ บรเิ วณใตถ้ ุนเรอื นหรอื ลานกลางบ้าน ซ่ึงเป็นพ้นื ท่ีศกั ดิส์ ทิ ธ์ิ กระท่ังเน้ือหนังผุเปื่อยเหลือแต่กระดูก ก็พากันขุดกระดูกล้างน�้ำให้สะอาดบรรจุภาชนะ ดนิ เผา แลว้ ท�ำพธิ ีฝงั อีกครงั้ [เรียกพิธฝี ังศพครัง้ ท่ีสอง (Secondary burial)] ลานกลางบ้านเป็นที่ฝังศพตระกูลหมอผีหัวหน้าเผ่า เป็นพ้ืนท่ีศักด์ิสิทธิ์ ใช้ท�ำพิธีเล้ียงผี บรรพชน และพธิ กี รรมอนื่ ๆ ทง้ั ปี เพอื่ ขอความอดุ มสมบรู ณ์ จงึ เปน็ ศนู ยก์ ลางของหนว่ ยทางการเมอื ง การปกครองยคุ ดกึ ดำ� บรรพ์ เชอื่ กนั วา่ เปน็ ทสี่ งิ สขู่ องหมขู่ วญั บรรพชน ซง่ึ จะรวมพลงั กนั ปกปอ้ งคมุ้ ครอง เผา่ พนั ธ์ใุ ห้มั่นคงและพน้ โรคภัย เม่ือรับศาสนาจากอินเดียมาเป็นเคร่ืองมือทางการเมืองการปกครอง ท้ังฝ่ายพราหมณ์ และพทุ ธตา่ งตอ้ งยอมรบั นบั ถอื พนื้ ทศ่ี กั ดส์ิ ทิ ธข์ิ องคนพนื้ เมอื งทน่ี บั ถอื อยา่ งแขง็ แรงสบื มาแตด่ งั้ เดมิ มฉิ ะนนั้ กอ็ ยรู่ ว่ มกนั ไมไ่ ด้ จงึ สรา้ งสถปู เจดยี ค์ รอบสถานทศ่ี กั ดสิ์ ทิ ธแิ์ หง่ น้ี เชน่ วดั ชมชน่ื (จ.สโุ ขทยั ), ปราสาทพนมวนั (จ.นครราชสีมา) ฯลฯ (ซา้ ย) เรอื นยคุ บา้ นเชยี ง ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ เปน็ เรอื นเสาสงู มใี ตถ้ นุ เปน็ ทที่ ำ� กจิ กรรมในชวี ติ ประจำ� วนั เชน่ ตหี มอ้ , ทอผา้ , เลยี้ งววั ควาย, หงุ ขา้ ว ฯลฯ และเปน็ ทฝี่ งั ศพของคนในเรอื น นกั โบราณคดขี ดุ พบเศษภาชนะดนิ เผา เปน็ ชิ้นสว่ น รวมทัง้ กระดกู สตั ว์และเครือ่ งมือเครื่องใชต้ ่างๆ กระจัดกระจายคลา้ ยกองขยะ (ภาพวาดจากจนิ ตนาการ ของจติ รกรโครงการบ้านเชยี ง มหาวิทยาลยั เพนซลิ เวเนีย สหรฐั ) (ขวา) เรอื นเสาสงู ของชมุ ชนยคุ แรกๆ ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ นกั โบราณคดจี นิ ตนาการจากหลมุ เสาทข่ี ดุ พบ ในแหลง่ โบราณคดบี ้านหนองแชเ่ สา ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบรุ ี (ภาพจาก ลกั ษณะไทย เลม่ ๑ : ภมู ิหลงั ภาค ๒ ชมุ ชนสมยั กอ่ นประวตั ศิ าสตร์ โดย พสิ ฐิ เจรญิ วงศ์ อา้ งถงึ Sorensen, P. Archaeology in Thailand : Prehistoric through the Neolithic Age. Sawaddi, July-August, Bangkok, 1972: 21) 41เสด็จสแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
ฝังศพใตถ้ นุ เรือน งานศพ มที บ่ี า้ นคนตาย (ยงั ไมม่ วี ดั เพราะยงั ไมร่ บั ศาสนาจากอนิ เดยี แมม้ วี ดั แลว้ ในชนบท ยงั มีพธิ ศี พในบ้านจนเมื่อไมก่ ่ีปมี านี้) เมื่อเสร็จพิธีเรียกขวัญทุกอย่างแล้ว โดยใช้เวลานานจนเน้ือหนังร่างกายคนตายเน่าขวัญ ยังไม่กลับมา ต้องเอาศพฝังดิน ก็ฝังใต้ถุนเรือนหรือลานกลางบ้าน ด้วยหวังอีกว่าขวัญจะคืนร่าง จึงท�ำภาชนะเขียนสีเป็นลายขวัญฝังไปกับศพด้วย (เช่น หม้อลายเขียนสีในวัฒนธรรมบ้านเชียง ขุดพบท่บี ้านเชยี ง อ.หนองหาน จ.อดุ รธาน)ี โดยไม่มีโลงศพ คนดั้งเดิมฝังศพใส่หลุมไว้ใต้ถุนบ้าน ชุมชนบางแห่งฝังศพทับซ้อน บริเวณเดยี วกนั หลายยุค เพราะอยสู่ บื ต่อกันมานานหลายยคุ หลายสมยั นักโบราณคดขี ุดพบทั่วไป โดยเฉพาะภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์ [มีค�ำอธบิ ายอกี มากในหนงั สือสมยั กอ่ นประวตั ศิ าสตรใ์ นประเทศไทย ของ นายชนิ อยดู่ ี กรมศิลปากร พมิ พ์คร้ังแรก พ.ศ. ๒๕๑๐ หนา้ ๒๖, ๓๕, ๓๙, ๕๓, ๕๗ ฯลฯ] ศพหมอผหี วั หนา้ เผา่ พนั ธ์ุ โครงกระดกู มนษุ ยร์ าว ๓,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปมี าแลว้ นกั โบราณคดี ขุดพบบรเิ วณใตถ้ ุนเรอื น หรือลานกลางบ้าน (หมายถงึ กลางหมบู่ ้าน) และล้วนเป็นโครงกระดูกของ ตระกูลหวั หน้าเผ่าพันธ์ุ จงึ มสี งิ่ ของมคี ่าทีท่ �ำดว้ ยเทคโนโลยสี ูงจ�ำนวนมากฝงั รวมอยู่ดว้ ย (คนทว่ั ไป ไม่มี) เช่น เครื่องมอื โลหะสำ� รดิ , เหล็ก ฯลฯ ภาชนะดินเผาบรรจกุ ระดกู แบบต่างๆ เมอื่ ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ และเป็นตน้ แบบของโกศสมยั หลัง สบื จน ปจั จุบัน ขุดพบบริเวณทท่ี งุ่ กลุ าร้องไห้ [ภาพลายเสน้ จากบทความ ๒ เรอื่ ง ของ สกุ ญั ญา เบาเนดิ (กรมศลิ ปากร) คอื ๑. วฒั นธรรมทงุ่ กลุ ารอ้ งไห้ กับ ๒. คนตาย/ความเช่ือ/พิธีกรรม สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ จากหลักฐาน โบราณคดี พมิ พใ์ นหนงั สอื ทุง่ กลุ า “อาณาจกั รเกลอื ” ๒,๕๐๐ ปี จากยคุ แรกเริม่ ล้าหลงั ถึงยุคมั่งคง่ั ขา้ วหอม. ส�ำนัก พมิ พม์ ติชน, ๒๕๔๖ หน้า ๒๐๗-๒๙๙] ฝงั ศพนัง่ คนตาย เพราะขวญั หายออกไปจากร่างของคน ต้องมพี ธิ ีเรยี กขวญั ให้ขวญั คืนร่างแลว้ คน จะฟ้นื คนื เปน็ ปกติ แตถ่ ้าขวัญหายอย่างถาวรก็เอาศพไปฝงั โดยใส่ภาชนะตา่ งๆ เชน่ ดินเผา ฯลฯ (ทีจ่ ะมีพัฒนาการเป็นโกศทกุ วนั นี)้ ฝงั ศพนั่ง มัดศพท่างอตวั บรรจทุ ้งั รา่ งในภาชนะดินเผาทรงกลม มสี ง่ิ ของอทุ ศิ ขนาดเล็กๆ ใส่รวมด้วย มฝี าปิด ฝังดนิ แนวต้งั 42 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
๑ ไหหนิ ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ ใสก่ ระดกู คนตายในพธิ เี รยี กขวญั บางใบไหหนิ มฝี าปดิ ครอบขา้ งบน บางใบ มแี กะสลักด้านข้าง พบกระจัดกระจายทว่ั ไปท่ีทุ่งไหหิน เมืองโพนสะหวนั แขวงเชียงขวาง ในลาว ภาชนะฝงั ศพ (หมายถึงเครอ่ื งปัน้ ดินเผาใสร่ ่าง หรือกระดูกคนตาย) มี ๒ แบบ ไดแ้ ก่ (๑) ก้นกลมมน (เหมอื นหม้อดนิ เผา) พบในอีสานไม่น้อยกวา่ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว (๒) ทรงกระบอกยาว (เหมอื นแคปซูล) พบมากทางทงุ่ กุลารอ้ งไห้ในอสี าน ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว [มีรายละเอียดอีกมากในหนงั สือ โบราณคดใี นพนื้ ที่ทุ่งกุลารอ้ งไห้ โดย สุกัญญา เบาเนดิ กรมศลิ ปากร พิมพค์ รงั้ แรก พ.ศ.๒๕๕๓ หน้า ๑๒๕-๑๖๒] นอกจากภาชนะดินเผาขุดพบในไทยแลว้ ยงั มไี หหนิ (ท่งุ ไหหนิ แขวงเชียงขวาง ในลาว) เปน็ ภาชนะใสก่ ระดกู คนตาย ไหหิน เป็นเครือ่ งมือหนิ ทำ� จากแทง่ หนิ ขนาดใหญ่ (เท่าครกมองต�ำขา้ ว หรือใหญ่กว่ากม็ ี) รูปทรงสว่ นมากกลม แต่มีรูปเหล่ียมบ้าง ทำ� โดยใชเ้ ครอ่ื งมอื เหลก็ เจาะควา้ นแทง่ หนิ ใหข้ า้ งในกลวง (เหมอื นไห หรอื ตมุ่ ใสน่ ำ�้ หรอื ใส่ ปลาแดก) 43เสด็จสูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
ลายเสน้ จำ� ลองลกั ษณะของพระบาทสมเดจ็ พระปน่ิ เกลา้ พระศพงอเขา่ อยใู่ นพระบรมโกศ ทองใหญ่ หลังเสด็จสวรรคต พ.ศ.๒๔๐๙ (ค.ศ.๑๘๖๖) [สรปุ จากคำ� อธบิ ายและภาพของ ไกรฤกษ์ นานา ภาพจากหนังสือเดินทางรอบโลก (VOYAGE AUTOUR DU MONDE) ของเคาน์โบวัว (LE COMTE DE BEAUVOIR) ชาวฝร่ังเศส พิมพ์ที่ปารีส พ.ศ.๒๔๑๑ (ค.ศ.๑๘๖๘) ทำ� ขนึ้ ใชใ้ นพธิ ศี พของคนดกึ ดำ� บรรพร์ าว ๒,๕๐๐ ปมี าแลว้ นกั โบราณคดชี าวฝรงั่ เศสเขา้ ไป ศึกษาพบกระดกู คนเผาแลว้ กับเคร่ืองมือเครื่องใชอ้ น่ื ๆ ทใ่ี ช้ในพิธศี พ บรรจอุ ยภู่ ายใน เช่น ขวาน หินขดั , ลกู ปัดแกว้ , เครอ่ื งปน้ั ดินเผา, เครอื่ งประดับสำ� รดิ , เครือ่ งมอื เหลก็ , ฯลฯ บางแหง่ มหี ม้อหรือ ไหดนิ เผาบรรจกุ ระดกู คนฝังไวใ้ กลๆ้ ไหหนิ ด้วย บางใบมีฝาหินวางอยู่ข้างๆ บนฝาหินจ�ำหลักลวดลายอย่างหยาบๆ เป็นรูปคนท�ำท่ากบ, รปู สตั ว์ เช่น แมว, ตะกวด (แลน), ฯลฯ [จากค�ำน�ำเสนอ เรอื่ ง “พวนมาจากไหน?” ของ สจุ ิตต์ วงษ์เทศ ในหนงั สอื ประวตั ศิ าสตร์ เมืองพวน จากฉบบั ภาษาลาว โดย เจา้ คำ� หลวง หนอ่ คำ� ประธานราชวงศ์พวน (แปลเปน็ ภาษาไทย โดย พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร และ สมชาย นิลอาธิ) พิมพ์คร้ังแรก โดย ศาลามโหสถ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจนี บรุ ี พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า (๔๓)] ครรภ์มารดา ภาชนะใส่ศพหรือใส่กระดูกคนตาย (ที่ขุดขึ้นมาหลังเน้ือหนังเน่าเปื่อยหมดแล้ว) เสมือน คนื สู่ครรภม์ ารดา หรอื มีขวญั อย่ใู นครรภ์มารดา รูปร่างภาชนะใส่ศพ คล้ายผลน้�ำเต้าที่มีรูปร่างท้ังกลมและยาว แต่ผลที่กลมรีมีเอวคอด ดูคล้ายมดลูกของแม่ สอดคล้องกับค�ำบอกเล่าด้ังเดิมว่าคนมีก�ำเนิดจากผลน้�ำเต้า นักโบราณคดี 44 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชือ่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
๑ กรมศิลปากร เคยขุดพบ (อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด) ภาชนะดินเผาใส่กระดูกคนตาย ทรงกลม มีฝาปิดท�ำให้ดูแล้วคล้ายลูกน�้ำเต้า เป็นพยานว่าค�ำบอกเล่าดั้งเดิมน้ันได้รับยกย่องว่าศักด์ิสิทธิ์ เปน็ ทรี่ บั ร้กู ว้างขวางตั้งแต่ราว ๒,๕๐๐ ปมี าแลว้ โกศ ภาชนะใส่ศพท�ำด้วยดินเผาหรือหินเสมือนครรภ์มารดา ล้วนเป็นต้นแบบโกศ สมัยหลงั ๆ จนปจั จบุ นั โดยยมื คำ� ว่า โกศ จากภาษาบาล-ี สนั สกฤต เพ่อื เพ่ิมความศักดส์ิ ทิ ธิ์ แตใ่ น อินเดยี ไม่มีประเพณบี รรจุศพใสโ่ กศ (ซา้ ย) ภาชนะดนิ เผา มฝี า บรรจุกระดูกมนษุ ย์ ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ พบในแหลง่ โบราณคดีเขตทุ่งกลุ า รอ้ งไห้ อ.เกษตรวสิ ยั จ.ร้อยเอ็ด (ภาพจากหนงั สอื ศิลปวัฒนธรรมไทย กระทรวงวฒั นธรรม พมิ พค์ รั้งทีส่ อง พ.ศ. ๒๕๕๗ หนา้ ๔๔) (ขวา) ไหใส่ศพในประเพณขี องหมู่เกาะบอร์เนียว ขนาดใหญ่ใสศ่ พผู้ใหญ่ ขนาดเลก็ ใส่ศพเดก็ ทงั้ ๒ ใบ มีรอยต่อตรงไหล่ไห เพราะถูกเลื่อยเป็น ๒ ส่วน เอาศพบรรจุ แล้วปิดประกบด้วยชันยาเรือ (ภาพจากหนังสือ A Borneo Journey into Death by Peter Metcalf, University of Pennsylvania Press, Philadelphia, 1982) เฮือนแฮว่ ในป่าแฮว่ เมื่อสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมเปล่ยี นไป ต้องหามศพไปฝงั นอกชุมชน กจิ กรรมหามศพไปฝงั ไมว่ า่ ทลี่ านกลางบ้านหรอื นอกชมุ ชน ต้องมขี บวนแหป่ ระโคมดว้ ยป่ี ฆอ้ ง กลอง กบั รอ้ งตะโกนเรยี กขวัญ มีเค้าอยบู่ นภาพเขยี นในถ�้ำตาด้วง (บ้านวังกุลา ต.ชอ่ งสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี) และนา่ จะสืบเน่อื งกลายเป็นพธิ ีเดนิ สามหาบ เกบ็ กระดูกทกุ วันน้ี ต่อมาเรียกพืน้ ทฝี่ งั ศพตรงนั้นด้วยคำ� จำ� เพาะต่างกนั ดังนี้ ลมุ่ น้ำ� โขง เรียก ป่าแฮว่ , ปา่ เฮว่ (ตรงกับ ปา่ เลว หมายถงึ ปา่ ไม่ด)ี ล่มุ นำ้� เจา้ พระยา เรียก ปา่ ชา้ [ตรงกบั ป่าเลว (มวี ลีเทียบว่า เลวทรามต�่ำช้า) หมายถงึ ป่าไมด่ ี] ดว้ ยความเชอ่ื ทีต่ ดิ มากบั ประเพณีดง้ั เดิมฝงั ศพใตถ้ นุ เรือน จงึ ต้องปลูกเรือนครอ่ มหลมุ ฝงั ไว้ดว้ ย ไทดำ� เรียก เฮือนแฮว่ (หมายถึง เรอื นในปา่ ช้า) หรือเฮือนแฮ้ว 45เสดจ็ ส่แู ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรุมาศ
เฮือนแฮว้ ท่ีฝงั ศพของไทดำ� ในเวยี ดนาม [ภาพจากหนังสอื ประวัติศาสตร์สิบสองจุไท ของ ภทั ทยิ า ยิมเรวตั พมิ พ์ครง้ั แรก พ.ศ.๒๕๔๔ หนา้ ๒๕๓] ภทั ทยิ า ยมิ เรวตั (มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล) อา้ งถงึ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสรฐิ ณ นคร อธบิ ายวา่ เดิมค�ำนี้ คือ “เร้ียว” ซึ่งหมายถึง “คนท่ีตายไปนานแล้ว” และเรียกที่อยู่ของคนที่ตายไปแล้วว่า “ป่าเรี้ยว” จากค�ำว่า ปา่ เรี้ยว จึงกลายเปน็ ปา่ เร้ว ป่าเฮว้ ป่าเฮ้ยี ว หรือป่าแฮ้ว ในบางถ่นิ ภทั ทยิ า อธบิ ายอกี วา่ “ระหวา่ งตวั เรอื นและเนนิ ดนิ ใตถ้ นุ เรอื น จะมเี สน้ ฝา้ ยสขี าวทโี่ ยงจาก ที่นอนของผู้ตายบนเรือนมาสู่เนินดินบริเวณท่ีฝังกระดูก เรียกว่า ‘สายเจอว’ ซ่ึงจะเป็นเส้นทางให้ ผตู้ ายข้ึนมาใช้ข้าวของตลอดจนกินอาหารบนเรือน ภายนอกเฮือนแฮ้วนี้ ใกล้ๆ กันจะปักเสาท�ำกอแฮ้ว ซึ่งบนยอดของกอแฮ้วจะปักร่ม คล้ายฉตั ร (ของไทยเรา) บนเสาหลกั ตรงยอดท่ีมรี ่มปักอยนู่ ก้ี ็จะปักไมแ้ ยกออกไปท้งั ๒ ข้าง ซงึ่ จะ หอ้ ยธงผ้า สขี าว สีแดง มตี วั ม้า ตวั นก ส�ำหรบั เปน็ พาหนะในการเดินทางของผตู้ ายไปสู่เมอื งฟา้ ” (ประวัติศาสตร์สบิ สองจไุ ท พ.ศ.๒๕๔๔) 46 เสดจ็ สแู่ ดนสรวง ศลิ ปะ ประเพณี และความเชอ่ื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
๑ ๔. ส่งขวญั ข้ึนเมอื งฟา้ มีหมานำ� ตอ้ งไปทางนำ้� เม่ือนานไปขวัญหายถาวรแล้ว ต้องท�ำพิธีส่งขวัญข้ึนเมืองฟ้า มีหมาน�ำ ต้องไปทางน�้ำ เพ่อื รวมกบั ผีขวญั บรรพชน สมัยอยุธยา มีเผาศพตามประเพณีรบั จากอนิ เดีย แตย่ งั สบื เน่อื งเก็บกระดกู ตามคติด้งั เดิม พระบรมอฐั ิพระเจา้ แผ่นดินเชิญโดยเรอื นาคไปทางแม่น้ำ� เพ่อื บรรจุในพระสถปู ท่ีก�ำหนด หลังมีพระเมรุมาศ พระบรมศพถูกเชิญโดยราชรถ แต่หัวท้ายราชรถเป็นรูปนาค เป็น สัญลักษณห์ ลงเหลอื ตกค้างจากเรือนาค สง่ ขวญั ขนึ้ เมอื งฟ้า พธิ สี ขู่ วญั เปน็ ขอ้ ความบอกทางผขี วญั วา่ คนตายตอ้ งลอ่ งเรอื แพทางนำ�้ ไปเมอื งฟา้ มรี อ่ งรอย เหลืออยู่ใน ไต-ไท บางกลุ่มของเวยี ดนามภาคเหนอื เร่ิมดว้ ยบอกเล่าประวตั ิคนตาย ตั้งแตป่ ฏิสนธิ กระทง่ั เตบิ โตเป็นผ้ใู หญ่ แล้วแต่งงานมลี กู มีหลานจนแก่เฒ่าเจ็บไข้ล้มตาย จากนนั้ เชญิ ผขี วญั กนิ ขา้ วปลาอาหาร เสรจ็ แลว้ ออกเดนิ ทางไปเมอื งฟา้ ผา่ นหมบู่ า้ นตา่ งๆ หลายแห่ง แลว้ ลอ่ งเรอื หรือแพไปทางนำ้� อันเปน็ เส้นทางเช่ือมต่อระหว่างโลกมนษุ ย์กบั เมอื งฟา้ [คนไตและลาจีในภาคเหนือของเวียดนาม โดย รองศาสตราจารย์สุมิตร ปิติพัฒน์, รองศาสตราจารย์ ดร.เสมอชยั พลู สวุ รรณ, อาจารยพ์ เิ ชฐ สายพนั ธ์ สถาบนั ไทยคดศี กึ ษา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ พิมพค์ ร้งั แรก พ.ศ.๒๕๔๔ หน้า ๔๘] สง่ ขวญั ขึน้ เมอื งฟ้า ไปทางน�้ำ พบหลกั ฐานโบราณคดใี นหลายพ้ืนที่ มีโลงไม้ใส่ศพรูปรา่ ง คลา้ ยเรอื ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ ในถำ้� บนเทอื กเขาทางพรมแดนตะวนั ตกของไทย เชน่ จ.แมฮ่ อ่ งสอน, จ.กาญจนบุรี ฯลฯ น้�ำ ในจกั รวาลของคนดึกด�ำบรรพ์หลายพนั ปมี าแลว้ อยู่ระหว่างฟ้ากับดนิ ซงึ่ เป็นตวั เชือ่ ม นำ้� จากดนิ ข้นึ ฟ้า จกั รวาลของไทดำ� (ในเวยี ดนาม) ประกอบขน้ึ อย่างกวา้ งๆ ๓ สว่ น ตามลำ� ดับสูงตำ่� ได้แก่ เหนอื ข้นึ ไป เปน็ เมอื งฟา้ ทอ่ี ยู่ของแถนและผีขวญั ตรงกลาง เปน็ เมืองมนษุ ย์ เรยี กเมืองล่มุ ที่อยู่ ของคนท้ังหลาย ล่างลงไป เปน็ ท่ีอยู่ของคนแคระและผนี าผนี �ำ้ กับเงือก [ปรบั ปรุงโดยสรปุ งา่ ยๆ จากงานศกึ ษาค้นคว้าวจิ ัยของ อ็องรี แมสเปอโร กับคนอ่นื ๆ ท่ี อา้ งถงึ ในหนังสือ ประวัติศาสตรส์ ิบสองจุไท ของ ภัททิยา ยมิ เรวัต พ.ศ.๒๕๔๔ หนา้ ๒๓๐-๒๓๗] หมานำ� ทางไปเมอื งฟา้ มากกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแลว้ คนเชื่อว่าหมาเป็นสัตวศ์ กั ดิ์สทิ ธใ์ิ หก้ ำ� เนิดคน และหมามอี ำ� นาจ พเิ ศษนำ� ทางผขี วญั ของคนขวญั หายไมค่ นื รา่ ง ไปรวมพลงั กบั ผขี วญั บรรพชนทอ่ี ยบู่ นฟา้ นานมาแลว้ นบั ไมไ่ ด้ ขณะเดียวกันหมาก็นำ� พนั ธ์ุขา้ วจากฟา้ ให้คนปลกู กนิ 47เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชื่อในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
(ซา้ ย) เรือส่งขวญั คนตายขึน้ ฟา้ ไปทางนำ้� การแตง่ กายและท่าทางของผู้โดยสารทีอ่ าจหมายถงึ ขวัญของ คนตาย เพราะมีลักษณะเดียวกับท่าทางและการแตง่ ศพของคนพืน้ เมืองปจั จบุ นั ทางตอนใต้ของฟิลิปปนิ ส์ (ลายเสน้ บนภาชนะบรรจุกระดกู อายุราว ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว พบในถ้ำ� มานุงกัล ฟิลิปปินส์ จากหนังสือ The Tabon Cave : Archaeological explorations and excavations on Palawan Island by Fox Robert B. Philippines, 1970.) (ขวา) โลงไม้คล้ายเรือใส่ศพในพิธีกรรมราว ๒,๕๐๐ปี มาแล้ว นักโบราณคดีส�ำรวจและขุดพบบริเวณ ลุ่มน�้ำแควนอ้ ยกบั แควใหญ่ จ.กาญจนบุรี และในถ�้ำผแี มน อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮอ่ งสอน [มีรายละเอียดอีกมากในบทความเร่ือง “บทบาทของหมาในต�ำนาน และพิธีกรรมของ ชาตพิ นั ธต์ุ า่ งๆ ในอษุ าคเนย์ โดย ปฐม หงษส์ วุ รรณ พมิ พใ์ นวารสารอกั ษรศาสตร์ ฉบบั นทิ าน ตำ� นาน จนิ ตนาการ ความจรงิ (โดย ศริ าพร ณ ถลาง บรรณาธกิ ารประจำ� ฉบบั ) ปที ่ี ๓๕ ฉบบั ท่ี ๒ (กรกฎาคม- ธันวาคม ๒๕๔๙) หน้า ๒๑๓-๒๔๑] จงึ มีรปู หมาในภาพเขยี นบนเพิงผาและผนงั ถ�้ำแสดงผีขวญั บรรพชน เช่น ภาพเขยี นถ้�ำผา ลายแทง อ.ภูกระดึง จ.เลย, ภาพเขยี นเขาจันทนง์ าม อ.สีควิ้ จ.นครราชสีมา หมาน�ำขวญั ของคนตายสูเ่ มืองฟ้าไปทางน้�ำ รูปหมาเหมือนจรงิ แตร่ ปู คนไมเ่ หมือนจริง เพราะตอ้ งการ แสดงรูปร่างของบรรพชนที่ตายไปนานแล้ว (ลายเส้นจำ� ลองภาพเขียนสีอายุราว ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว ท่ีเขาจันทนง์ าม อ.สีคิว้ จ. นครราชสมี า) 48 เสดจ็ สูแ่ ดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเชอื่ ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
๑ เชิญอฐั ิไปทางน้ำ� เมอื งฟา้ ไปทางนำ้� เปน็ ความเชอ่ื ดงั้ เดมิ ดึกดำ� บรรพร์ าว ๒,๕๐๐ ปีมาแลว้ ครนั้ หลงั รบั พทุ ธ กับพราหมณ์ ยังสืบเนื่องในงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินไปทางน�้ำโดยเรือนาค ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.๑๐๐๐ กระทั่งหลงั พ.ศ.๒๐๐๐ ยุคต้นอยธุ ยา (กอ่ นมีพระเมรมุ าศ) มีร่องรอยและหลักฐานอยู่ในเอกสารชาวยุโรปพรรณนางานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระไชยราชาธิราช ยุคต้นอยุธยา (พ.ศ.๒๐๗๗-๒๐๘๙ มีสนมเอกนามว่า ศรีสุดาจันทร์) เมื่อเผาพระศพแลว้ เชญิ พระอัฐไิ ปทางนำ้� ดงั น้ี “บรรดาพิธีซ่ึงต้องท�ำในการนั้น อันเป็นขนบธรรมเนียมของประเทศน้ีคือต้ังฟืนกองใหญ่ อันมีไม้จันทน์ ไม้กฤษณา ไม้กระล�ำพัก และก�ำยาน แล้วน�ำพระศพของพระเจ้าแผ่นดินองค์ซึ่ง สวรรคตนัน้ ข้นึ วางเหนือกองฟนื ดงั กล่าว จุดไฟเผาด้วยวธิ ีการอันแปลกประหลาด... แต่ในทสี่ ดุ พระศพกก็ ลายเปน็ เถา้ ถา่ น พวกเขาเกบ็ ไวใ้ นพระโกศเงนิ ซง่ึ พวกเขาได้ จัดลงเรือซึ่งตกแต่งสวยงามมาก ติดตามไปด้วยเรือ ๔๐ ล�ำ มีพระสงฆ์น่ังเต็ม ซ่ึงเป็นพระมี สมณศกั ด์ิสูงที่สุด... ต่อจากนัน้ กเ็ ป็นขบวนเรือเล็กๆ ๑๐๐ ลำ� บรรทกุ รูปปนั้ สตั ว์ต่างๆ... ในขบวนนี้ เรือเหล่าน้ีทุกๆ ล�ำไปขึ้นบกที่วัด ช่ือวัด...พระอัฐิและพระอังคารของพระเจ้า แผน่ ดิน ซ่งึ บรรจุอยู่ในโกศเงนิ ไดถ้ ูกประดษิ ฐานไวท้ น่ี ัน่ ... แลว้ จุดไฟเผาบรรดารปู สตั ว์จ�ำนวนนบั ไม่ถว้ น ท้งั อยูใ่ นลกั ษณะยนื ในเรือ เรอื ศกั ดิ์สิทธ์ิ ลายสลักบนไหสำ� ริดใส่กระดูกคนตาย อายรุ าว ๒,๕๐๐ ปี มาแลว้ พบทเี่ วียดนาม บนฝาไหมปี ระติมากรรมลอยตวั หญงิ ชายประกบกนั แสดงท่าร่วมเพศ เปน็ สญั ลกั ษณ์ของการเจรญิ เผ่าพันธ์ุ เพื่อความสมดุลท่ีสูญเสียเครือญาติไป (ภาพจากหนังสือ จ้วง: เครือญาติตระกูลไทยผู้ย่ิงใหญ่ คนไทยอยู่ ทนี่ ี่ ทอ่ี ุษาคเนย์ ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร พมิ พค์ ร้งั แรก พ.ศ.๒๕๓๗) เรือศักดสิ์ ิทธ์ิสวุ รรณภมู ิ ราว ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว ลายสลักด้านข้างกลองมโหระทึก พบที่วดั มัชฌมิ าวาส (วัดกลาง) ต.ดอนตาล อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร (ภาพจากหนังสือ กลองมโหระทึกในประเทศไทย. เมธินี จิระวฒั นา. ส�ำนักพิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ กรมศลิ ปากร, ๒๕๔๖.) 49เสด็จสู่แดนสรวง ศิลปะ ประเพณี และความเช่อื ในงานพระบรมศพและพระเมรมุ าศ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402