Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

Description: สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน.

Search

Read the Text Version

สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซยี น บรรณานุกรม เทรินบูล, แมรี. ประวตั ศิ าสตร์มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรไู น. แปลโดย ทองสกุ เกตโุ รจน์. กรงุ เทพฯ : กรมวชิ าการ กระทรวงศกึ ษาธิการ, ๒๕๔๐. นิพัทธ์พร  เพ็งแก้ว. สารคดีที่เปิดประตูสู่อินโดจีน : บันทายฉมาร์และเดียงพลาโต. กรุงเทพฯ : แพรวสำ� นกั พิมพ์, ๒๕๓๘. ปรานี  วงษ์เทศ. สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๓. ภวู ดล ทรงประเสริฐ. อินโดนีเซยี : อดีตและปัจจุบนั . กรุงเทพฯ : สำ� นักพิมพจ์ ุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๓๙. ไรอัน, เอน็ .เจ. การสรา้ งชาตมิ าเลเซยี และสงิ คโปร.์ แปลโดย ม.ร.ว.ประกายทอง สิรสิ ขุ . กรงุ เทพฯ : มลู นิธิโครงการตำ� ราสังคมศาสตรแ์ ละมนุษยศาสตร์, ๒๕๒๖. สจุ ติ ต ์ วงษเ์ ทศ. สวุ รรณภมู ิ : ตน้ กระแสประวตั ศิ าสตรไ์ ทย. กรงุ เทพฯ : สำ� นกั พมิ พม์ ตชิ น, ๒๕๔๙. ฮอลล,์ ด.ี จ.ี อ.ี ประวตั ศิ าสตรเ์ อเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ : สวุ รรณภมู -ิ อษุ าคเนยภ์ าคพสิ ดาร. เลม่ ๑. แปลโดย ทา่ นผหู้ ญิงวรณุ ยุพา สนิทวงศ์ ณ อยธุ ยา และคณะ. พมิ พ์ ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยและมูลนิธิโครงการต�ำรา สังคมศาสตรแ์ ละมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๙. Blusse, Leonard. “On the Waterfront: Life and Labour Around the Batavian Roadstead”. In Haneda Masashi (ed.). Asian Port Cities 1600-1800: Local and Foreign Cultural Interactions, pp.119-138. Singapore: NUS Press, 2009. 94

สาธารณรฐั อินโดนเี ซยี Borthwick, Mark. Pacific Century: The Emergence of Modern Pacific Asia. USA: Westview Press, 1992. Mc Gee, T.G. The Southeast Asian City: a Social Geography of the Primate Cities of Southeast Asia. London: G. Bell and Sons, Ltd., 1967. Merrillees, Scott. Batavia in Nineteenth Century Photographs. Singapore: Archipelago Press, 2000. Raffles, Thomas Stamford. The History of Java. Kuala Lumpur: Oxford University Press, 1994. Reid, Anthony. Southeast Asia in the Age of Commerce 1450–1680 Volume One: The Lands below the Winds. Yale University, 1988. 95



สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว Lao People’s Democratic Republic สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว หรือ Lao PDR) เป็น ประเทศหนงึ่ ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตท้ ม่ี ปี ระวตั ศิ าสตรส์ บื ยอ้ นไปถงึ อาณาจกั รลา้ นชา้ ง (Lan Xang) ซ่ึงตอ่ มาแตกแยกเปน็ ๓ อาณาจกั ร คอื หลวงพระบาง (Luang Prabang) เวียงจันทน์ (Vientiane; Viang Chan) และจัมปาสักหรือจ�ำปาศักดิ์ (Champasak) ต้ังแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ฝร่ังเศสเข้าปกครองลาวในฐานะรัฐในอารักขา (protectorate) รวมอาณาจกั รลาวทงั้ หมดเขา้ ดว้ ยกนั และผนวกเปน็ สว่ นหนงึ่ ของอนิ โดจนี ของฝรั่งเศส (French Indochina) ภายหลังได้รับเอกราชลาวแตกแยกเป็นฝ่ายต่าง ๆ เกิดสงครามกลางเมืองยืดเย้ืออยู่หลายปี จนพรรคคอมมิวนิสต์ลาวท่ีมีชื่อทางการว่า พรรคประชาชนปฏวิ ัติลาว (Lao People’s Revolutionary Party–LPRP) ยึดอ�ำนาจ ไดแ้ ละกอ่ ตง้ั สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาวขน้ึ ใน ค.ศ. ๑๙๗๕ สปป. ลาวเปน็ ประเทศเดยี วในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตท้ ไี่ มม่ ที างออกทะเล เปน็ ประเทศท่มี ีขนาดกวา้ งใหญ่เมือ่ เทียบกบั จ�ำนวนประชากร คือ มีพนื้ ที่ ๒๓๖,๘๐๐ ตาราง กิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของพ้ืนท่ีประเทศไทย) แต่มีประชากรเพียง ๖.๘ ล้านคน (ค.ศ. ๒๐๑๔) มพี รมแดนทล่ี อ้ มรอบโดยพมา่ กมั พชู า สาธารณรฐั ประชาชนจนี ไทย และ เวียดนาม  สภาพท่ีต้ังท�ำให้ลาวมีฐานะเป็นดินแดนกันชนระหว่างชาติเพ่ือนบ้านท่ี 97

สารานกุ รมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซยี น เขม้ แขง็ กวา่ โดยเฉพาะระหวา่ งไทยกบั เวยี ดนาม รวมทงั้ เปน็ เสน้ ทางผา่ นดา้ นการคา้ และ การคมนาคม ดนิ แดนดา้ นตะวนั ตกทต่ี ิดกับไทยสว่ นใหญ่มีแมน่ ้�ำโขงกัน้ (สว่ นท่มี ีแม่น�้ำ โขงเป็นพรมแดนธรรมชาติยาวประมาณ ๙๒๐ กิโลเมตรจากพรมแดนไทย-ลาวทั้งหมด ๑,๗๓๐ กิโลเมตร) ซึ่งเป็นท้ังแหล่งน�้ำเพ่ือการเกษตรและเส้นทางคมนาคมมาแต่สมัย โบราณ และในปัจจุบันแม่น�้ำสาขาของแม่น�้ำโขงยังเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน�้ำที่ส�ำคัญ ของเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนดา้ นตะวนั ออกซึง่ มคี วามยาว ๒,๑๓๐ กิโลเมตร อยู่ติดกบั เวียดนาม มีเทอื กเขาอันนมั (Annamite Chain) ก้ันพรมแดนสว่ นใหญ่ ซึง่ เปน็ เขตแบ่งวัฒนธรรมระหว่างเวียดนามกับลาวและไทยด้วย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือมี เทือกเขาหลวงพระบาง (Luang Prabang Range) ก้ันระหว่างลาวกับที่ราบสูงในภาค ตะวนั ออกเฉยี งเหนือของไทย ลาวมีพรมแดนทางใต้ติดกบั กมั พชู ายาว ๕๔๑ กโิ ลเมตร ดนิ แดนตอนใตข้ องลาวยงั ปรากฏปราสาทหนิ ซงึ่ เปน็ มรดกของอารยธรรมขอมโบราณ เชน่ วดั ภู ซง่ึ แสดงถงึ ความสัมพันธใ์ กลช้ ิดระหว่างลาวกบั กัมพูชาในอดีต พรมแดนตอนเหนือ โบราณสถานวัดภู 98

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ทต่ี ดิ กบั จนี เปน็ แนวภเู ขายาว ๔๒๓ กโิ ลเมตร และมแี มน่ ำ้� โขงกนั้ พรมแดนระหวา่ งลาวกบั พม่ายาว ๒๓๕ กิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่ยังเป็นป่าเขา [ยอดเขาสูงท่ีสุดคือ ภูเบ้ีย (Phou Bia) สูง ๒,๘๑๘ เมตร] สลับด้วยท่ีราบและทร่ี าบสูง เขตทรี่ าบสงู ๒ แหง่ ได้แก่ ที่ราบสูงเชียงขวาง (Xiengkhouang Plateau) ทางเหนือ และท่ีราบสูงโบโลเวน (Boloven Plateau) ทางใต้ ภมู ิอากาศของลาวสว่ นใหญ่อยู่ในเขตร้อนชืน้ ได้รับอทิ ธิพล จากลมมรสมุ เมอื งใหญท่ ส่ี ดุ ของลาวปจั จบุ นั คอื กรงุ เวยี งจนั ทน์ ซง่ึ มปี ระชากรประมาณ ๕๖๙,๐๐๐ คน เมืองใหญร่ องลงมาไดแ้ ก่ หลวงพระบาง สะหวนั นะเขต (Savannkhet) และปากเซ (Pakse) ตามหลักฐานทางโบราณคดี มีการต้ังถ่ินฐานในดินแดนที่เป็นประเทศลาว ปจั จบุ นั มาตง้ั แตย่ ุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะมีร่องรอยของสังคมเกษตรกรรมมาไม่ น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช และในช่วงระหว่าง ๑,๕๐๐-๗๐๐ ปีก่อนคริสต์ ศกั ราช ก็มหี ลกั ฐานการใช้วัตถุสำ� รดิ และเครือ่ งมอื ที่ทำ� ด้วยเหลก็ ตามลำ� ดบั อย่างไรก็ดี ต้ังแตป่ ระมาณคริสตศ์ ตวรรษท่ี ๔–๘ ปรากฏชมุ ชนเมอื งตามรมิ ฝั่งแมน่ ้ำ� โขง นอกจาก หลักฐานดังกล่าวแล้ว ความเป็นมาของลาวช่วงแรก ๆ ไม่ปรากฏชัด กล่าวคือ มักเป็น ต�ำนาน เชน่ ตำ� นานขนุ บรม และตำ� นานที่เกย่ี วขอ้ งอกี ๒ เรื่อง คอื ต�ำนานนานอ้ ยอ้อย หนู และตำ� นานน�้ำเตา้ ปงุ ต�ำนาน ๒ เร่ืองน้ีอธบิ ายก�ำเนดิ ของชนชาติตา่ ง ๆ ในบริเวณ ทีร่ าบลมุ่ แม่น้�ำโขง ซ่ึงแบ่งเปน็ ๒ กลมุ่ ใหญ่ คอื กลุ่มท่ี ๑ เปน็ ชนชาติท่ีเจรญิ แลว้ ได้แก่ ไทย ยวน ลาว และอีกกลุ่มหนง่ึ คอื พวกข่าหรอื ขมุ เร่ืองราวเหล่าน้ีสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวลาว และชนชาตทิ พี่ ดู ภาษาไท (Tai) อืน่ ๆ ในลาวปัจจบุ ัน ซ่งึ อพยพเขา้ มาตงั้ รกรากอยูใ่ นดนิ แดนนี้ โดยเฉพาะในส่วนที่อยู่ ๒ ฟากฝง่ั แม่น้�ำโขง มีพวกข่าหรือขมซุ ่งึ เป็นชนชาติท่ีพูด ภาษาตระกลู ออสโตรเอเชยี ตกิ (Austroasiatic) หรอื มอญ-เขมร (Mon-Khmer) อาศัย อยู่ก่อนแล้ว ส่วนภาษาไทยและลาวอยู่ในตระกูลภาษา “ไท” หรือ “ไท-กะได” (Tai-Kadai) ชนชาติท่ีตั้งรกรากอยู่เดิมน้ีบางกลุ่มยังคงมีต�ำนานและเรื่องเล่าที่กล่าวถึง ความขัดแย้งกับชนชาติที่เข้ามาใหม่ ในบางกรณีเป็นเร่ืองท่ีคนลาวใช้วิธีหลอกลวงให้ ชนชาตทิ ี่อย่มู าแตเ่ ดิมยกท่ดี ินใหต้ น ชนชาตดิ ัง้ เดมิ เหลา่ น้ที ่ียงั คงอยู่ในเขตพน้ื ทีร่ าบมัก 99

สารานุกรมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพ่ือนบ้านในอาเซยี น ถูกกลืนเข้ากับชนชาติลาว แต่มีจ�ำนวนมากท่ีถอยร่นข้ึนไปอยู่ในท่ีสูงและเขตภูเขา ดังปรากฏเป็นชนกลุ่มน้อยในเขตที่สูงท่ีเรียกรวมกันไปว่า “ลาวเทิง” (Lao Theung) โดยเฉพาะชนชาติข่าหรือขมุที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร [ลาวแบ่งประชากรออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ “ลาวล่มุ ” (Lao Loum) คือ คนลาวที่อยู่พนื้ ราบ ลาวเทิง คือ คนลาวทอ่ี ยู่ ในเขตพื้นทสี่ งู และ “ลาวสูง” (Lao Soung) คือ คนลาวทเ่ี ป็นชาวเขา เช่น ม้ง ท่อี ยใู่ น เขตภเู ขา] ความเปน็ มาของลาวปรากฏชดั ขนึ้ เมอ่ื มกี ารกอ่ ตงั้ อาณาจกั รขน้ึ ทเี่ ชยี งดงเชยี ง ทอง หรอื หลวงพระบางในปจั จบุ นั (ตามตำ� นานกลา่ ววา่ ษสี องพน่ี อ้ งสรา้ งเมอื งเชยี งดง และเชียงทอง รวมเรียกว่าเชียงดงเชียงทอง) สันนิษฐานว่าเมืองน้ีคงเป็นศูนย์อ�ำนาจ ของชนชาติที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรมาก่อนจะตกอยู่ในอ�ำนาจของชนชาติลาว อย่างไรก็ตาม มักจะถือกันว่าประวัติศาสตร์ลาวเริ่มต้นจากเร่ืองราวของพระเจ้าฟ้างุ้ม [หรอื “ฟา้ ง่มุ ” (Fa Ngum) ครองราชย์ ค.ศ. ๑๓๕๓-๑๓๗๓] ท่ีกล่าวกันว่าสบื เชอ้ื สาย มาจากขุนลอ โอรสขุนบรม นับเป็นล�ำดับที่ ๒๔ ในสายของกษัตริย์ตามต�ำนานน้ี เจ้าฟ้างุ้มถูกเนรเทศจากอาณาจักรเชียงดงเชียงทองและเดินทางไปถึงอาณาจักรเมือง พระนคร (Angkor) พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญงิ กมั พชู า และรวบรวมผ้คู นเดนิ ทาง ขน้ึ เหนอื เพอื่ จะกลบั ไปบา้ นเกดิ เมอื งนอน ระหวา่ งนนั้ กผ็ กู ไมตรกี บั เจา้ ผคู้ รองแวน่ แควน้ ต่าง ๆ จนสามารถยึดเชียงดงเชียงทองได้จากพระปิตุลา (ลุง) และก่อต้ังอาณาจักร ลา้ นชา้ งขนึ้ ใน ค.ศ. ๑๓๕๓ ซง่ึ รว่ มสมยั กบั พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลไิ ทย) แหง่ อาณาจกั ร สโุ ขทยั (ครองราชย์ ค.ศ. ๑๓๕๔-๑๓๗๖) พระยากอื นาแหง่ อาณาจกั รลา้ นนา (ครองราชย์ ค.ศ. ๑๓๕๕-๑๓๘๕) และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) แห่งอาณาจักรอยุธยา (ครองราชย์ ค.ศ. ๑๓๕๐-๑๓๖๙) พระเจา้ ฟ้างมุ้ ครองราชย์อย่จู นถึง ค.ศ. ๑๓๗๓ เหล่าเสนาอ�ำมาตยไ์ ม่อาจทน กับความโหดเหี้ยมของพระองค์ได้ จึงบังคับให้ทรงสละราชสมบัติ พระองค์ล้ีภัยไปอยู่ท่ี เมอื งนา่ น ซงึ่ เปน็ จงั หวดั หนง่ึ ของไทยปจั จบุ นั และสน้ิ พระชนมท์ นี่ น่ั พระราชโอรสองคโ์ ต ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมามีพระนามว่า พระเจ้าสามแสนไทย (Samsenthai ครองราชย์ ค.ศ. ๑๓๗๓-๑๔๑๖) อยูใ่ นราชสมบตั ิถึง ๔๓ ปี และเมื่อสวรรคตใน ค.ศ. ๑๔๑๖ ก็เกดิ 100

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ความแตกแยกในอาณาจักรล้านชา้ ง และความแตกแยกเชน่ นีย้ ังคงอยู่ต่อมาเกอื บตลอด ในประวัติศาสตร์ลาว  อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ลาวก็มีช่วงท่ีสงบและรุ่งเรืองอยู่ หลายสมัยดว้ ยกนั โดยเฉพาะในสมยั ของพระเจ้าโพธิสารราช (Phothisalat ครองราชย์ ค.ศ. ๑๕๒๐-๑๕๔๗) พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (Sai Setthathilat ครองราชย์ ค.ศ. ๑๕๔๗-๑๕๗๑) และพระเจ้าสุริยวงศา (Soulignavongsa ครองราชย์ ค.ศ. ๑๖๓๗-๑๖๙๔) พระเจ้าโพธิสารราชได้รับอิทธิพลด้านพุทธศาสนามาจากอาณาจักรล้านนา ซ่ึงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับล้านช้างในเวลาน้ัน ทรงท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา ท�ำให้ ล้านช้างมีความรุ่งเรืองในด้านศิลปะและวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เก่ียวกับพระพุทธศาสนา อยา่ งมาก ท่ีส�ำคญั คอื พระเจา้ โพธสิ ารราชไดท้ รงอัญเชญิ พระบาง ซึง่ เดมิ ประดษิ ฐานอยู่ ท่เี มอื งเวยี งคำ� มาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงดงเชยี งทอง ราชธานีของลา้ นชา้ งจงึ มีชอ่ื วา่ หลวงพระบาง นับแต่นั้นมา ต่อมา ในสมัยพระเจา้ ไชยเชษฐาธริ าช โปรดใหย้ า้ ยราชธานี จากหลวงพระบางมาอยู่ท่ีนครเวียงจันทน์ใน ค.ศ. ๑๕๖๐ เพ่ือหลีกเลี่ยงอ�ำนาจของ หงสาวดี พระราชทานนามราชธานใี หมน่ วี้ า่ “พระนครจนั ทบรุ ศี รสี ตั นาคนหตุ อตุ ตมราชธาน”ี นอกจากน้นั ยังทรงท�ำไมตรีกบั สมเด็จพระมหาจักรพรรดิแหง่ กรุงศรอี ยธุ ยา เพอื่ ตอ่ ตา้ น พม่าซ่งึ มีอ�ำนาจเขม้ แขง็ มากในขณะนัน้ ทรงท�ำนุบำ� รงุ พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะทรง สร้างหอพระแก้วเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตท่ีทรงอัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านนา ทรงสรา้ งพระเจดียโ์ ลกจุฬามณี (พระธาตุหลวง) ทีน่ ครเวียงจนั ทน์ ทรงสถาปนาพระธาตุ ศรีสองรักร่วมกบั อาณาจักรอยธุ ยาทีเ่ มอื งด่านซ้าย (อยใู่ นจงั หวัดเลยของไทยในปัจจบุ ัน) และทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมท่ีเมืองนคร (นครพนม) พระเจ้าสุริยวงศาทรงอยู่ ในราชสมบัติยาวนาน ทรงท�ำให้อาณาจักรรุ่งเรืองเข้มแข็ง จึงถือกันว่ารัชสมัยนี้เป็น ยคุ ทองของอาณาจกั รลา้ นชา้ ง แตห่ ลงั สมยั ของพระองคไ์ มน่ าน บา้ นเมอื งกแ็ ตกแยกออก เปน็ หลายอาณาจักร ในสมัยท่ีอาณาจักรล้านช้างรุ่งเรืองสูงสุด มีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนลาว ในปัจจุบันท้ังหมด ดินแดนส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บางส่วนของมณฑลหยุนหนาน (Yunnan) ของจีน และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ 101

สารานกุ รมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน เมืองหลวงพระบาง มองจากพระธาตพุ สู ี เวียดนาม การย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมาท่ีนครเวียงจันทน์ในสมัยของพระเจ้า ไชยเชษฐาธิราช นอกจากจะมเี หตุผลด้านยทุ ธศาสตร์ คอื หลกี เลยี่ งการรกุ รานจากพมา่ คงมีเหตุผลด้านเศรษฐกิจอยู่ด้วย กล่าวคือ ต้องการเชื่อมโยงอาณาจักรล้านช้างกับ ความเจริญด้านการค้าท่ีก�ำลังขยายตัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลักฐานว่าบริษัท อินเดียตะวนั ออกของฮอลนั ดาหรือวโี อซี (Dutch East India Company–VOC) สนใจ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของลาว จึงส่งพ่อค้าชื่อ แคร์ริต ฟัน เวยส์โตฟฟ์ (Gerrit van Wuysthoff) มาเยือนอาณาจักรล้านช้างใน ค.ศ. ๑๖๔๑-๑๖๔๒ เราไม่ทราบแน่ชัดว่าศูนย์อ�ำนาจที่หลวงพระบางหรือเวียงจันทน์หลัง ค.ศ. ๑๕๖๐ สามารถควบคุมดินแดนอันกว้างใหญ่ท่ีเข้าใจว่าอยู่ใต้อ�ำนาจของอาณาจักรล้าน ชา้ งไวไ้ ด ้ พระราชพงศาวดารและหลักฐานอน่ื ๆ บ่งชีว้ ่า ล้านชา้ งมีโครงสร้างทางการ เมอื งซบั ซอ้ นนอ้ ยกวา่ อยธุ ยาซง่ึ มขี นาดไลเ่ ลยี่ กนั แมม้ กี ารจดั ระบบราชการทมี่ กี ารควบคมุ ตามล�ำดบั ชน้ั และมชี อ่ื ตำ� แหน่งจ�ำนวนมากท่คี ล้ายคลึงกบั ท่ีมีอยใู่ นอาณาจกั รชนชาติไท 102

สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว อนื่ ๆ แตเ่ มอื งตา่ ง ๆ ทอ่ี ยใู่ นอาณาจกั รลา้ นชา้ งดจู ะเปน็ อสิ ระในการปกครองตนเองอยา่ ง มาก ลา้ นชา้ งเผชญิ กบั การคกุ คามจากภายนอกไมม่ ากนกั เมอื่ เทยี บกบั อาณาจกั รลา้ นนา หรืออยุธยา ท่ีเป็นเช่นนี้เนื่องจากต�ำแหน่งที่ต้ังมากกว่าความเข้มแข็งทางทหาร หรือ การจดั ระเบียบการปกครอง ล้านชา้ งมีความขดั แย้งกบั อาณาจักรใกลเ้ คยี งทงั้ หมด คือ ล้านนา อยธุ ยา พม่า กัมพูชา และเวียดนาม แตก่ ไ็ มเ่ คยไดร้ ับความบอบชำ�้ เทียบได้กับที่ ล้านนาและอยุธยาได้รับ หลังจากล้านช้างแตกเป็นหลายอาณาจักรในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๘ แล้ว อาณาจักรลาวเหล่าน้ันจงึ ถูกคกุ คามจากภายนอกอยา่ งรุนแรง อาณาจักรล้านช้างมีพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาหลัก อย่างไร ก็ตาม ยังมีข้อถกเถยี งว่า นิกายเถรวาทซ่ึงกลายมาเปน็ รากฐานทางสังคมและวัฒนธรรม ของล้านช้าง เข้ามาในดินแดนนี้อย่างไร พระราชพงศาวดารบางเรื่องระบุว่า นิกายน้ี เข้ามาในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม อันเป็นผลมาจากการท่ีพระมเหสีท่ีเป็นเจ้าหญิงกัมพูชา ทรงเหน็ ความเสอ่ื มโทรมของศาสนาในราชอาณาจักรในเวลานน้ั จึงทรงขอใหจ้ ดั ส่งพระ ภกิ ษแุ ละพระคมั ภรี บ์ าลมี าจากอาณาจกั รเมอื งพระนคร แตไ่ มม่ จี ารกึ หรอื พระราชกำ� หนด ใดระบชุ ดั เจนวา่ พระพทุ ธศาสนานกิ ายเถรวาทปรากฏในอาณาจกั รลา้ นชา้ งมาตงั้ แตค่ รสิ ต์ ศตวรรษที่ ๑๔ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอาจเข้ามาประดษิ ฐานในล้านชา้ งในชว่ ง คริสตศ์ ตวรรษท่ี ๑๕ นี่เอง และในพื้นทบี่ างส่วนของอาณาจักร นกิ ายนอี้ าจเขา้ มาในช่วง หลงั จากน้ันอกี ตอ่ มา พระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านชา้ งได้รับอทิ ธพิ ลอยา่ งมากจาก พระพุทธศาสนาแบบล้านนา อันเป็นผลมาจากการติดต่ออย่างใกล้ชิดทางวัฒนธรรม ระหว่างอาณาจักรล้านนากบั อาณาจักรล้านช้าง เมือ่ พระเจา้ สุริยวงศาสวรรคต ยุคทองของอาณาจกั รลา้ นช้างกส็ ิน้ สดุ ลงพรอ้ ม กบั ความเป็นอันหน่งึ อนั เดยี วกันของอาณาจักร เกิดความระสำ่� ระสายจากการแกง่ แยง่ อำ� นาจของเชอ้ื พระวงศ์ อาณาจกั รลา้ นชา้ งแตกเปน็ ๓ อาณาจกั รทเ่ี ปน็ อสิ ระแกก่ นั ไดแ้ ก่ หลวงพระบาง เวยี งจนั ทน์ และจมั ปาสกั นอกจากนน้ั ชนชาตพิ วนในเชยี งขวาง (ปจั จบุ นั คอื แขวงหนงึ่ ของลาว) กไ็ ดแ้ ยกตวั ไปตง้ั อาณาจกั รอสิ ระเชน่ เดยี วกนั การทลี่ าวขาดความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันท�ำให้ถูกแทรกแซงและกดดันจากชาติเพื่อนบ้านท่ีเข้มแข็งกว่า ในเวลาตอ่ มา โดยเฉพาะสยามในสมยั ธนบรุ แี ละเวยี ดนามสมยั ราชวงศง์ เหวยี น (Nguyen) 103

สารานกุ รมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซยี น นอกจากนั้น ในชว่ งครสิ ต์ศตวรรษท่ี ๑๘ อาณาจกั รลาวต่าง ๆ ยังขดั แยง้ และท�ำสงคราม กนั เองดว้ ย โดยเฉพาะหลวงพระบางกบั เวยี งจนั ทน์ เจา้ ผคู้ รองอาณาจกั รตา่ ง ๆ ใชว้ ธิ กี าร แสวงหาพันธมิตรจากภายนอกเข้ามาช่วยเหลือเมื่อเกิดความขัดแย้ง ท้ังภายในและ ระหว่างอาณาจักร ซง่ึ เป็นปจั จัยสำ� คัญทีท่ �ำใหช้ าตเิ พ่อื นบา้ นเขา้ มาแทรกแซงได้ สาเหตทุ ส่ี มเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ มหาราช (ครองราชย์ ค.ศ. ๑๗๖๗-๑๗๘๒) เขา้ ไป แทรกแซงลาว ก็เนื่องมาจากความขัดแย้งภายในของลาวเอง (ความขัดแย้งระหว่าง พระเจ้าศิริบุญสาร  กษัตริย์เวียงจันทน์กับเจ้าพระวอ เจ้าพระตา สองขุนนางผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึกฯ และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชน�ำทัพไปตีอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดย ยกข้ึนไปทางใต้ผ่านทางอาณาจักรจัมปาสัก ซึ่งเห็นว่าจะสู้กองทัพไทยไม่ได้ จึงยอม สวามิภกั ด์ิ จากนัน้ ทพั ไทยก็รกุ ขึน้ เหนือ จนสามารถยึดเวยี งจนั ทน์ไดส้ ำ� เรจ็ เวียงจันทน์ ตกเป็นประเทศราชของไทยนับแต่นั้น หลวงพระบางซ่ึงเป็นอริกับเวียงจันทน์ตลอดมา ก็ช่วยเหลือไทยในสงครามครั้งนี้อย่างเต็มท่ี แต่พอสงครามส้ินสุดลง ไทยก็บังคับให้ หลวงพระบางยอมสวามิภักดิ์เป็นเมืองข้ึนด้วยเช่นกัน อาณาจักรล้านช้างท้ัง ๓ แห่ง จึงตกเปน็ ประเทศราชของไทยทง้ั หมดในชว่ งนเี้ อง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้า อนุวงศ์ พระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าศิริบุญสารข้ึนครองราชย์ในนครเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์เป็นผู้มีความสามารถหลายด้าน เคยยกกองทัพไปช่วยไทยรบกับพม่าจนได้ ชยั ชนะหลายคร้ัง แตเ่ มอื่ ขึ้นมามอี ำ� นาจ ก็ทรงตอ้ งการเปน็ อิสระจากไทยและยกกองทัพ ไปยึดกรงุ เทพฯ แต่เดนิ ทพั มาได้เพยี งนครราชสมี า กองทัพไทยตีกองทพั เจ้าอนวุ งศพ์ า่ ย แพ้ เม่อื เจ้าอนุวงศ์ซ่งึ ได้รับความช่วยเหลอื จากเวียดนามกลบั มายดึ นครเวียงจันทน์ได้อีก ครั้งหน่ึง กองทัพกรุงเทพฯ บุกข้ึนไปตีนครเวียงจันทน์เป็นคร้ังท่ี ๒ เผาท�ำลายนคร เวียงจันทน์และล้มเลิกอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ นครที่เคยเป็นศูนย์อ�ำนาจส�ำคัญ แหง่ หนง่ึ ของลาวกลายเปน็ เมอื งรา้ งในปเี ดยี วกนั   เจา้ อนวุ งศถ์ กู จบั ตวั สง่ ลงไปทก่ี รงุ เทพฯ พร้อมด้วยพระบรมวงศานวุ งศ์ และสิน้ พระชนมใ์ น ค.ศ. ๑๘๒๙ 104

สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว เมื่ออาณาจักรลาวทั้ง ๓ แห่งตกอยู่ภายใต้อ�ำนาจของไทยแล้ว ฝ่ายไทยก็ ค่อย ๆ ขยายอ�ำนาจเขา้ ไปควบคมุ หัวเมอื งสว่ นใหญ่ในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือของไทย ปจั จบุ นั ซงึ่ เปน็ ดนิ แดนทเี่ คยอยใู่ ตอ้ ำ� นาจของอาณาจกั รตา่ ง ๆ ของลาวมากอ่ น นอกจาก นน้ั ไทยยงั ขยายอำ� นาจเขา้ ไปในแวน่ แควน้ ตา่ ง ๆ ซง่ึ อยทู่ างดา้ นตะวนั ออกและทางเหนอื ของลาวปัจจุบัน ซ่ึงไทยต้องเผชิญกับอิทธิพลของเวียดนามที่มีอยู่เหนือดินแดนต่าง ๆ ดงั กลา่ วดว้ ยเชน่ กนั ดงั นน้ั หากไมน่ บั รวมแวน่ แควน้ ทมี่ อี ทิ ธพิ ลเวยี ดนามปรากฏอยแู่ ลว้ ก็กล่าวไดว้ า่ ไทยมีอ�ำนาจเหนือดินแดนลาวเกือบสมบรู ณ์ จนฝรั่งเศสขยายอ�ำนาจเข้ามา ในทศวรรษ ๑๘๘๐ ฝร่ังเศสเริ่มขยายอ�ำนาจเข้ามาในอินโดจีนตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๙ โดยสง่ กองกำ� ลังเขา้ โจมตีดานงั (Danang) ใน ค.ศ. ๑๘๕๘ และยึด ๓ จังหวดั ใน เวยี ดนามตอนใตไ้ ดใ้ น ค.ศ. ๑๘๖๒ ในปตี อ่ มาสมเดจ็ พระนโรดม (Norodom ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๖๐-๑๙๐๔) กษตั ริย์กมั พูชา ซง่ึ ขณะนั้นมีฐานะเปน็ ประเทศราชของไทย ก็ท�ำ สนธสิ ญั ญายอมเปน็ รฐั ในอารกั ขาของฝรงั่ เศส  ฝรง่ั เศสขยายอำ� นาจเขา้ ยดึ ครองเวยี ดนาม ได้ท้งั หมดใน ค.ศ. ๑๘๘๔ และรวมเวยี ดนามและกัมพชู าจดั ต้งั เป็นอินโดจนี ของฝร่งั เศส ใน ค.ศ. ๑๘๘๗ ท�ำให้พรมแดนของไทยด้านที่ติดต่อกับประเทศราชลาวจึงประชิดกับ ดนิ แดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ในทศวรรษ ๑๘๖๐ กบฏไท่ผิงในจีนท�ำให้มีชาวจีนพลัดถ่ินจากจีนตอนใต้ ทเ่ี รยี กกนั วา่ จนี ฮอ่ (Ho; Haw) รวมตวั เปน็ กองโจรเขา้ ปลน้ สะดมดนิ แดนในเขตแมน่ ำ�้ ดำ� และแมน่ ำ�้ แดงในเวยี ดนาม สบิ สองจไุ ท [(Sipsong Chu Tai) หรอื สบิ สองเจา้ ไต (Sipsong Chau Tai) ปัจจุบนั อยูใ่ นเวียดนาม] จนถึงหัวพนั (Houa Phanh แขวงหน่งึ ของลาวใน ปัจจุบัน) จีนฮ่อแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๓ กลุ่ม คือ พวกธงแดง ธงด�ำ และธงเหลือง ใน ดนิ แดนลาว คนเหลา่ นแี้ บง่ เขตกนั เขา้ ปลน้ สะดมอาณาบรเิ วณตงั้ แตร่ อบ ๆ หลวงพระบาง ไปจนถงึ พรมแดนดา้ นตะวนั ออกของเชยี งขวาง ใน ค.ศ. ๑๘๗๔ เจ้าค�ำสุก (Chao Khamsouk ต่อมาคือ พระเจ้าสกั รนิ ทรฤทธิ์ แหง่ อาณาจกั รลา้ นชา้ งหลวงพระบาง ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๘๙-๑๙๐๕) ทรงตอ่ ต้านและ 105

สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซยี น ขบั ไลพ่ วกฮอ่ แตกกระจดั กระจาย แตพ่ วกนก้ี ก็ ลบั มารวมตวั กนั ไดใ้ หมแ่ ละมงุ่ โจมตหี วั พนั และเชยี งขวาง เจา้ อง่ึ (Chao Ung ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๖๖-๑๘๗๖) กษัตริย์แหง่ เชยี ง ขวางขณะน้ัน ทรงขอความช่วยเหลือจากเวยี ดนามในการต่อต้านจนี ฮ่อ แตส่ ิน้ พระชนม์ ในการรบ กองกำ� ลังเวยี ดนามจงึ หนีไปจากเชียงขวาง พวกฮ่อเขา้ ปลน้ สะดมเชียงขวาง เกือบจะกลายเป็นเมืองร้างเพราะประชากรส่วนใหญ่อพยพหนีลงใต้ไปเวียงจันทน์และ ดนิ แดน ๒ ฝ่ังแมน่ �้ำโขง บ้างก็หนไี ปซ่อนอยใู่ นเขตปา่ เขา เม่อื สนิ้ เจ้าอึง่ พระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าขันตี (Khanti ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๗๖-๑๘๘๕) ราชบตุ รของเจา้ อึ่ง ครองราชย์เป็นกษตั รยิ ์แห่งเชยี งขวางสบื ต่อมา สยามซึ่งมีอ�ำนาจเหนือหลวงพระบางและเชียงขวางตระหนักดีว่า ฝรั่งเศส ไม่เพียงต้องการยึดครองเวียดนาม แต่ยังต้องการสร้างความมั่นคงให้แก่ดินแดนท่ีตน ปกครองด้วยการขยายอ�ำนาจเข้ามาในลาวด้วย จึงเหน็ ว่าหากไมส่ ามารถฟืน้ ฟคู วามสงบ ไดด้ ว้ ยการขบั ไลพ่ วกจนี ฮอ่ ออกไป กค็ งตอ้ งสญู เสยี ทง้ั หลวงพระบางและเชยี งขวางใหแ้ ก่ ฝรั่งเศส ใน ค.ศ. ๑๘๘๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้จัด กองทพั ไปปราบฮอ่ และปกปอ้ งอาณาจกั รทง้ั สอง อยา่ งไรกด็ ี การปราบปรามพวกฮอ่ เปน็ เรื่องยาก เพราะเป็นพวกไม่มีหลักแหล่ง เม่ือถูกโจมตีก็แตกหนีกระจัดกระจายไป แต่ก็ รวมตัวกันกลับมาใหม่เพ่ือโจมตีและปล้นสะดมจุดที่เห็นว่าท�ำได้ง่ายที่สุด ประกอบกับ ทหารไทยเกิดการเจ็บป่วย อ่อนก�ำลังด้วยขัดสนเสบียงอาหาร กองทัพไทยจึงถอยไปตั้ง อยู่ที่หนองคาย เมื่อกองทัพไทยถอนออกจากเชียงขวางแล้ว พวกฮ่อก็แบ่งก�ำลังกันลงไปตี เวียงจันทน์ ดังนั้น ใน ค.ศ. ๑๘๘๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จงึ โปรดเกล้าฯ ใหพ้ ระเจา้ นอ้ งยาเธอ กรมหมนื่ ประจักษ์ศิลปาคมคมุ กองทัพไปปราบฮ่อ อีกคร้ัง กองทัพไทยเขา้ โจมตีพวกฮ่อที่เวียงจันทนจ์ นแตกพา่ ย และยงั ไล่ติดตามพวกฮอ่ ไปจนถึงเชียงขวาง นอกจากน้ัน ยังโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสงชูโต ตอ่ มาคือ จอมพล เจา้ พระยาสรุ ศกั ดิ์มนตรี) น�ำทพั ขนึ้ ไปโจมตพี วกฮอ่ ซ่งึ ลงมาปล้นสะดม หวั พนั พวกฮอ่ ถกู ขบั ไลอ่ อกไปจากเชยี งขวางและหวั พนั ทงั้ หมด อยา่ งไรกต็ าม การปราบ ปรามพวกฮ่ออย่างเด็ดขาดไม่อาจท�ำได้โดยง่าย โดยเฉพาะเม่ือถูกฝร่ังเศสปราบก็หนี เข้ามาในเขตไทย และเม่อื ถกู ไทยปราบก็หนเี ข้าไปอยูใ่ นเขตฝร่งั เศส 106

สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ท่งุ ไหหิน เมืองเชยี งขวาง ดังน้ัน เมือ่ พวกฮอ่ เขา้ ปลน้ สะดมและเผาเมืองหลวงพระบางไดใ้ น ค.ศ. ๑๘๘๗ ราชสำ� นกั สยามจงึ ไมเ่ พยี งแตถ่ อดเจา้ อนุ่ คำ� (Oun Kham หรอื พระเจา้ มหนิ ทรเทพนภิ ากร ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๗๒-๑๘๘๗) กษัตริย์ผู้ครองหลวงพระบางออกจากต�ำแหน่ง และ ตง้ั เจา้ คำ� สกุ ใหค้ รองราชยเ์ ปน็ พระเจา้ สกั รนิ ทรฤทธ์ิ เทา่ นน้ั แตย่ งั รว่ มมอื กบั ฝรง่ั เศสปราบ ปรามพวกฮ่อในปตี อ่ มา ดว้ ยการให้กำ� ลังของแต่ละฝ่ายโจมตขี ับไลจ่ นี ฮ่อจากเขตของตน และมาบรรจบกันท่เี มืองแถงหรือเดยี นเบยี นฟู (Dien Bien Phu) จงึ สามารถขับไล่พวก จีนฮ่อออกไปได้ส�ำเร็จ อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสฉวยโอกาสอ้างสิทธิปกครองเมืองแถงและ สบิ สองจไุ ท ในชน้ั แรก ฝรง่ั เศสแจง้ วา่ จะไมล่ ว่ งล้�ำเขา้ มาในหวั พนั ซง่ึ มกี องก�ำลงั ทหารไทย ตัง้ อยกู่ อ่ นแลว้ แตไ่ ม่ยอมถอนทหารฝรัง่ เศสออกไปจากเมืองแถงและสบิ สองจุไท เพราะ อา้ งวา่ เคยส่งบรรณาการใหแ้ ก่ลาวและเวยี ดนามมาก่อน ฝา่ ยไทยซงึ่ มีปัญหาเรื่องแผนท่ี ไม่เรยี บรอ้ ย จงึ ไม่อาจยืนยนั อ�ำนาจการปกครองของไทยตอ่ ฝรัง่ เศสได้ ปัญหาดังกล่าวนี้ 107

สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่ือนบา้ นในอาเซยี น มที ม่ี าจากการทเ่ี มอื งซง่ึ อยไู่ กลจากศนู ยอ์ ำ� นาจของไทยสง่ บรรณาการใหแ้ กร่ ฐั ใหญท่ กุ รฐั ทีม่ ีอำ� นาจเพ่ือความอยู่รอด ในทส่ี ดุ ทั้ง ๒ ฝา่ ยตกลงกันได้ช่วั คราวดว้ ยการใหฝ้ า่ ยไทย ตัง้ กองทหารรักษาเมอื งเชียงขวางและหัวพัน และฝรง่ั เศสตั้งกองทหารรกั ษาสิบสองจุไท จนกว่ารัฐบาลทั้ง ๒ ฝ่ายจะตกลงกันได้เรื่องเขตแดน ส่วนเมืองแถง กองทหารของท้ัง ๒ ฝ่ายยังต้ังรักษาการอยู่ แต่ในท่ีสุดไทยก็ต้องถอนก�ำลังจากเมืองแถงเพราะทน การรบเร้าของฝร่ังเศสที่ไม่รักษาสัญญาท่ีท�ำไว้ไม่ได้ เหตุการณ์คร้ังนี้ท�ำให้ไทยเสีย สิบสองจไุ ทและเมอื งแถงแก่ฝรั่งเศสไปโดยปรยิ าย การรุกคืบหน้าของฝร่ังเศสไม่หยุดย้ังอยู่เพียงนี้ เพราะต้องการดินแดนฝั่งซ้าย แม่น�้ำโขงทั้งหมด ฝรั่งเศสแจ้งแก่ไทยใน ค.ศ. ๑๘๘๙ ว่า ดินแดนเวียดนามตั้งแต่เชียง ขวางถึงกัมพูชามีอาณาเขตจดแม่น�้ำโขง เม่ือไทยไม่ยอมรับข้ออ้างน้ี ฝรั่งเศสก็ขอเข้ามา ส�ำรวจสิบสองจุไท ค�ำม่วน (Khammouane ปัจจุบันเป็นแขวงหน่ึงของลาว) ไปจนถึง สตึงแตรง (Stung Treng จังหวัดหนึ่งของกัมพูชาปัจจุบัน) เพื่อน�ำผลการส�ำรวจไปใช้ ปักปันเขตแดน นอกจากน้ัน ฝร่ังเศสยังได้น�ำพระราชสาส์นของพระเจ้ามันธาตุราช (Mantha Tourath ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๑๗-๑๘๓๖) แห่งอาณาจักรล้านช้าง หลวงพระบาง ที่ทรงมไี ปถงึ จักรพรรดมิ ินห์หมาง (Minh Mang ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๒๐- ๑๘๔๐) เพื่อยืนยันอ�ำนาจของเวียดนามเหนือหลวงพระบางและเชียงขวาง ฝรั่งเศส ต้องการให้ไทยรับรู้ว่า ฝร่ังเศสที่ปกครองเวียดนามขณะนั้น ไม่เพียงแต่มีอ�ำนาจ เหนอื เชยี งขวางเทา่ นนั้ แตอ่ าจรวมไปถงึ คำ� มว่ นและดนิ แดนฝง่ั ตะวนั ตกของแมน่ ำ�้ โขงดว้ ย ฝร่ังเศสจึงหวังว่าการส�ำรวจดินแดนเหล่าน้ีอย่างทั่วถึงจะสามารถค้นพบหลักฐาน ที่อาจน�ำมาใช้หักล้างข้ออ้างของไทย ในการมีอ�ำนาจเหนือลาวได้ส่วนฝ่ายไทยเห็น วา่ หากมกี ารปกั ปนั เขตแดนอยา่ งชดั เจน กจ็ ะขจดั ปญั หาการกระทบกระทงั่ ตา่ ง ๆ ระหวา่ ง กนั จึงยนิ ยอมให้ฝรงั่ เศสด�ำเนนิ การสำ� รวจได้ ผู้ทม่ี บี ทบาทส�ำคญั ในเร่ืองน้ี คอื โอกสุ ต์ ปาวี (Auguste Pavie ค.ศ. ๑๘๔๗- ๑๙๒๕) ซึง่ เปน็ รองกงสุล (vice-consul) ประจ�ำหลวงพระบางตงั้ แต่ ค.ศ. ๑๘๘๖ ปาวี เร่ิมส�ำรวจลุ่มแม่น�้ำโขงมาก่อนหน้านั้นหลายปี กล่าวคือ เขาใช้เวลารวมกันถึงประมาณ ๑๖ ปรี ะหวา่ ง ค.ศ. ๑๘๗๙-๑๘๙๕ ท้งั เดินเท้า นัง่ ชา้ ง  และใชแ้ พเปน็ พาหนะ เป็นระยะ 108

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ทางประมาณ ๓๐,๐๐๐ กโิ ลเมตร ส�ำรวจพน้ื ท่รี วมกนั ท้ังหมดประมาณ ๖๒๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ อ่าวสยามจนครอบคลุมดินแดนอินโดจีนปัจจุบัน ทั้งหมด คณะส�ำรวจซ่ึงมีอยู่หลายชุดในชว่ งระยะเวลา ดังกล่าวเรียกว่า คณะส�ำรวจปาวี (Missions Pavie) ในส่วนของการส�ำรวจต้ังแต่เชียงขวางถึงสตึงแตรงน้ัน แม้ว่าการส�ำรวจจะเสร็จส้ินต้ังแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๘๙๑ แต่การเจรจาเรื่องเขตแดนก็ยังมิได้เร่ิมขึ้น ในช่วงเดอื นกรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๙๒ จนถึงกมุ ภาพนั ธ์ ค.ศ. ๑๘๙๓ ฝ่ายสยามพยายามให้มีการเจรจาเรื่องน้ี แตฝ่ รั่งเศสก็พยายามบ่ายเบยี่ งและยงั มีเหตกุ ระทบกระทงั่ โอกุสต์ ปาวี ท่ีฝร่ังเศสใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างกระแสต่อต้านไทย ในประเทศฝร่ังเศส และน�ำมา เปน็ ขอ้ อา้ งในการเรยี กรอ้ งต่อฝ่ายไทย คอื กรณที ี่ฝรง่ั เศสอ้างว่าคนของตนถูกข่มเหงจาก เจ้าหน้าทีไ่ ทยทที่ ่าอุเทน (อำ� เภอหนง่ึ ของจงั หวดั นครพนมปัจจุบัน) และหนองคาย และ กรณีของมาสซี (Massie) กงสุลฝรง่ั เศสประจ�ำหลวงพระบางฆา่ ตัวตาย (ทำ� ให้ปาวีได้รบั แต่งตั้งให้ดำ� รงตำ� แหนง่ นี้แทน) เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๙๓ ปาวเี รียกรอ้ งใหไ้ ทยถอนกำ� ลังออกจากดนิ แดนฝัง่ ซ้ายแม่น�้ำโขงทั้งหมด ฝรั่งเศสอ้างสิทธิเหนือดินแดนส่วนนี้เพราะถือว่าเคยอยู่ภายใต้ อ�ำนาจเวียดนาม และเรียกร้องค่าท�ำขวัญให้แก่ชาวฝร่ังเศสที่อ้างว่าถูกเจ้าหน้าท่ีไทย ขม่ เหง และเพอ่ื สนบั สนนุ ขอ้ เรยี กรอ้ งนฝี้ รง่ั เศสกส็ ง่ เรอื ปนื ชอื่ Lutin เขา้ มาจอดทอดสมอ ในแม่น้�ำเจ้าพระยาใกล้กับสถานทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ ฝ่ายไทยคัดค้านการอ้างสิทธิ ของฝรั่งเศส และในเดือนเมษายน–พฤษภาคม ฝร่ังเศสใช้ก�ำลังโจมตีกองรักษาด่าน ของไทย ๓ แห่ง ผลจากการปะทะกันคร้ังน้ีท�ำให้ตอโร (Thoreaux) ผู้บังคับบัญชา กองกำ� ลงั ชดุ ที่ ๓ ของฝรง่ั เศสถกู จบั และกรอสกแุ รง็ (Grosgurin) ผชู้ ว่ ยเสยี ชวี ติ พรอ้ มกบั กองก�ำลังชาวเวยี ดนามหลายคน 109

สารานุกรมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซยี น ฝร่ังเศสอาศัยเหตุท่ีเกิดขึ้นเป็นข้ออ้างในการกดดันไทยมากข้ึน ในช่วงท่ี สถานการณเ์ รม่ิ ตงึ เครยี ด องั กฤษน�ำเรือจากราชนาวี ๓ ลำ� มาจอดอย่ทู ่ีปากน�ำ้ เจา้ พระยา เพื่อการเคล่ือนย้ายพลเมืองอังกฤษในกรณีฉุกเฉิน ฝรั่งเศสด�ำเนินการเช่นเดียวกันบ้าง สง่ั ใหเ้ รอื รบ ๒ ลำ� ชอื่ Comète และ Inconstant แลน่ เขา้ มาโดยไมย่ อมจอดอยทู่ ปี่ ากนำ้� ในชว่ งเยน็ วนั ท่ี ๑๓ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๙๓ มกี ารปะทะกบั ฝา่ ยไทยทปี่ อ้ มพระจลุ จอมเกลา้ แต่ก็ยังสามารถฝ่าเข้ามาได้ แล้วมาจอดอยู่ท่ีหน้าสถานทูตฝรั่งเศสเมื่อเวลาประมาณ ๓ ทุม่ และเลง็ ปนื ไปที่พระบรมมหาราชวัง ในวันท่ี ๒๐ กรกฎาคม ฝร่งั เศสยื่นค�ำขาดใหไ้ ทย ยอมรบั สทิ ธขิ องฝรง่ั เศสเหนอื ดนิ แดนฝง่ั ซา้ ยแมน่ ำ้� โขงทง้ั หมด รวมทง้ั เกาะตา่ ง ๆ ในลำ� นำ้� ให้ไทยถอนกองกำ� ลงั ออกไป จา่ ยคา่ เสียหายจากการปะทะกันทางทหาร ลงโทษชาวไทย ที่เกย่ี วขอ้ งในเร่ืองน้ี และจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเปน็ จ�ำนวน ๒ ล้านฟรังก์ ฝ่ายไทยหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากอังกฤษเม่ือต้องเผชิญหน้ากับ ฝรงั่ เศส แตเ่ มอื่ ไมไ่ ด้รับความช่วยเหลือใด ๆ กไ็ ม่มีทางเลือก จึงต้องยอมท�ำสนธสิ ัญญา กับฝร่ังเศสเม่ือวันที่ ๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๙๓ ผลของสนธิสัญญาและอนุสัญญาต่อท้าย ท�ำให้ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขงต้ังแต่สตึงแตรงในกัมพูชาข้ึนไปจนตลอด หลวงพระบาง รวมเปน็ พน้ื ที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และความสญู เสียอนื่ ๆ โดย เฉพาะการยอมให้เสียมเรยี บ พระตะบอง และฝั่งขวาแม่น้ำ� โขงระยะ ๒๕ กิโลเมตรเป็น เขตปลอดทหารและปลอดภาษี การยอมให้ฝรั่งเศสต้ังสถานกงสุลข้ึนที่โคราชและน่าน และการยอมให้ฝรง่ั เศสยดึ ครองจันทบุรีไว้จนกวา่ ฝา่ ยไทยจะได้ด�ำเนนิ การในเรอ่ื งต่าง ๆ ตามสนธิสัญญา รวมทั้ง “คดีพระยอดเมืองขวาง” ที่เก่ียวข้องกับการเสียชีวิตของ กรอสกแุ รง็ เสร็จสิน้ ความปรารถนาของฝร่ังเศสมิได้อยู่เพียงแค่การได้ครอบครองดินแดนฝั่งซ้าย แม่น�้ำโขงเท่านั้น (ดินแดนเหล่าน้ีส่วนใหญ่ร้างผู้คนและได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ โดยเฉพาะการสรู้ บทผ่ี า่ นมา) เพราะดินแดนฝ่งั ขวาแม่น�้ำโขงอุดมสมบรู ณ์กว่าและยงั อยู่ ในอ�ำนาจของไทย ซงึ่ อาจรวมไปถึงดนิ แดนลุ่มนำ้� เจ้าพระยาดว้ ย เหนอื ขน้ึ ไปน้ันฝร่ังเศส อ้างสทิ ธิเหนือดินแดนทเ่ี คยส่งบรรณาการใหแ้ ก่หลวงพระบางท้งั หมด รวมท้ัง ๘ ใน ๑๒ เมอื งในสบิ สองปันนา [(Sipsong Pan Na) ปจั จุบันเปน็ เขตปกครองพเิ ศษชนชาติไตใน 110

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มณฑลหยุนหนาน (Yunnan) ของจีน] แม้ว่าเมืองเหล่านี้จะสวามิภักด์ิต่อพม่าและจีน ก็ตาม ในท่ีสุด ฝร่ังเศสก็ได้ครอบครองส่วนที่ปัจจุบันเป็นแขวงหลวงน้�ำทา (Luang Namtha) และส่วนหน่ึงของพงสาลี (Phongsali ปัจจุบันคอื แขวงหนง่ึ ของลาว) อันเป็น ผลจากสนธิสญั ญาท่ีทำ� กับจีนใน ค.ศ. ๑๘๙๕ นอกจากนนั้ ฝรง่ั เศสยังอา้ งสทิ ธเิ หนอื เมืองสงิ (Muang Sing ปจั จุบนั เป็นเมือง หนึ่งในแขวงหลวงน�้ำทา) ตามสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๘๙๓ กับไทยด้วย แต่เมืองนี้เป็นรัฐ บรรณาการของเชียงตุง [Kengtung ปัจจุบันเป็นเมืองในรัฐชาน (Shan) ของเมียนมา (Myanmar)] ทีอ่ ย่ภู ายใต้อำ� นาจของอังกฤษ เม่ือสถานการณเ์ รม่ิ ตึงเครยี ด อังกฤษก็สง่ ก�ำลังทหารคุรข่า (Gurkha) ไปปกป้องเมืองสิง แต่ท้ังอังกฤษและฝรั่งเศสก็ไม่ต้องการ เผชิญหนา้ กันทางทหาร ดงั น้นั ทง้ั ๒ ฝา่ ยจงึ ตกลงใช้รอ่ งนำ้� ลกึ (thalweg) ของแมน่ ำ�้ โขงเป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่างรัฐชานของอังกฤษกับลาวตอนบนของฝร่ังเศส ส่วน เมอื งสิงตกเปน็ ของฝรั่งเศส ความตกลงระหวา่ งองั กฤษกบั ฝรง่ั เศสทลี่ งนามกนั ในเดอื นมกราคม ค.ศ. ๑๘๙๖ ก�ำหนดให้ไทยเป็นกลางและเป็นเอกราช เพ่อื เปน็ ดินแดนกันชนระหว่าง ๒ มหาอ�ำนาจ ให้หลักประกันเอกราชของไทยในเขตลุ่มแม่น้�ำเจ้าพระยา ซ่ึงครอบคลุมภาคกลางของ ประเทศไทยปจั จบุ นั เทา่ นนั้ แตไ่ มไ่ ดก้ ลา่ วถงึ ดนิ แดนสว่ นอน่ื ๆ ดว้ ย ทงั้ องั กฤษและฝรง่ั เศส จงึ มอี สิ ระทจ่ี ะขยายอำ� นาจของตนตอ่ ไป ไดแ้ ก่ การขยายอำ� นาจขององั กฤษในคาบสมทุ ร มลายแู ละฝร่ังเศสในส่วนทเ่ี หลือของล่มุ แม่น�้ำโขง ในส่วนของฝรั่งเศส  การขยายอ�ำนาจในช่วงนี้มิได้เป็นไปตามความมุ่งหมาย เดิมท่ีอย่างน้อยต้องการครอบครองดินแดนซ่ึงครอบคลุมทั้งท่ีราบสูงโคราช (Khorat Plateau) และลมุ่ แมน่ ำ�้ เจา้ พระยา ผลจากสนธสิ ญั ญาทไ่ี ทยทำ� กบั ฝรง่ั เศสใน ค.ศ. ๑๙๐๔ แมจ้ ะท�ำให้ไทยไดจ้ นั ทบรุ ีซึง่ ถกู ฝรง่ั เศสยึดไปภายหลังวิกฤตการณ์ ค.ศ. ๑๘๙๓ กลบั คนื มา แตไ่ ทยกต็ อ้ งยอมเสยี ดนิ แดนอน่ื เปน็ การแลกเปลยี่ น ไดแ้ ก่ ดนิ แดนหลวงพระบางสว่ น ทอี่ ยฝู่ ง่ั ขวาของแมน่ ำ�้ โขง (ตวั เมอื ง ซ่ึงอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้�ำตกเป็นของฝร่ังเศสตามสนธิ สัญญา ค.ศ. ๑๘๙๓) ดินแดนฝั่งขวาแม่น้�ำโขงของลาวตอนใต้คือจัมปาสักกับมโนไพร และตราด นอกจากนั้น ในการก�ำหนดเส้นพรมแดนใหม่ระหว่างไทยกับหลวงพระบาง 111

สารานุกรมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพือ่ นบ้านในอาเซยี น ทำ� ใหไ้ ทยตอ้ งสญู เสยี ดนิ แดนทเี่ ปน็ ของไทยแท้ ๆ รวมไปถงึ ดา่ นซา้ ยในจงั หวดั เลยปจั จบุ นั ใหแ้ ก่ฝรงั่ เศสด้วย ความตกลง Entente Cordiale ระหว่างอังกฤษกบั ฝรงั่ เศสทีล่ งนามใน ค.ศ. ๑๙๐๔ ยอมรบั เขตอทิ ธพิ ลของแตล่ ะฝา่ ยในขณะนน้ั และยนื ยนั วา่ ทงั้ ๒ ชาตจิ ะไมย่ ดึ ครอง ไทย แตค่ วามตกลงนไี้ มม่ ผี ลตอ่ การขยายดนิ แดนของทง้ั องั กฤษและฝรงั่ เศสในเวลาตอ่ มา กล่าวคอื ใน ค.ศ. ๑๙๐๗ ไทยลงนามในสนธิสญั ญากบั ฝรงั่ เศส ยกดนิ แดนดา้ นตะวันตก ของกมั พชู า คอื เสยี มเรียบ พระตะบอง และศรีโสภณให้แก่ฝรง่ั เศส สว่ นฝรัง่ เศสยอมคนื ดินแดนด่านซา้ ยและตราดใหแ้ ก่ไทย ดินแดนลาวส่วนท่เี หลอื ซงึ่ ไทยเสียใหแ้ ก่ฝรัง่ เศสใน ครง้ั นน้ี บั วา่ เปน็ ดนิ แดนลาวสว่ นนอ้ ยเทา่ นน้ั (แตก่ ท็ ำ� ให้ สปป. ลาวมอี าณาเขตอยา่ งทเี่ ปน็ อยู่ในปัจจุบัน) คือ ดินแดนทางใต้ของไซยะบุรีลงมาถึงด่านซ้าย ซ่ึงกลับมาเป็นของไทย ใน ค.ศ. ๑๙๐๙ ไทยท�ำสนธิสญั ญากบั อังกฤษยกดินแดนตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู คือ ตรงั กานู (Terengganu) กลนั ตนั (Kelantan) ปะลิส (Perlis) และเกดะห์หรอื ไทรบรุ ี (Kedah) ใหแ้ กอ่ งั กฤษ ผลตอบแทนทไ่ี ทยไดร้ บั จากการทำ� สนธสิ ญั ญาทงั้ ๒ ฉบบั นท้ี ำ� ให้ ไทยมอี ิสรภาพดา้ นการศาลมากขนึ้ เมื่อถึง ค.ศ. ๑๙๐๗ อินโดจีนของฝร่ังเศสก็รวมดินแดนท่ีประกอบด้วย ๓ ประเทศในปัจจุบนั คอื กัมพชู า สปป. ลาว และเวยี ดนาม แตอ่ ินโดจีนของฝร่ังเศสในสมยั นน้ั มิได้มี ๓ ประเทศเชน่ ทุกวันน้ี แตป่ ระกอบดว้ ยดินแดน ๕ สว่ นดว้ ยกัน ได้แก่ กมั พูชา ลาว อนั นมั (Annam) ตังเกย๋ี (Tonkin) และโคชนิ ไชนา (Cochinchina) ในบรรดาดนิ แดนทั้ง ๕ ส่วนน้ีมีเพียงโคชินไชนา (ภาคใต้ของเวียดนามปัจจุบัน อันนัมคือภาคกลาง และตังเกยี๋ คอื ภาคเหนอื ) ทีฝ่ รงั่ เศสปกครองในฐานะอาณานิคม (colony) สว่ นดินแดน อกี ๔ แห่งมีฐานะเป็นรฐั ในอารกั ขา (protectorate) ของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ในทาง ปฏบิ ัติ ฐานะความเปน็ อาณานคิ มและรฐั ในอารกั ขายากจะแยกแยะไดช้ ดั เจน ลาวในฐานะรฐั ในอารกั ขาแมจ้ ะดคู ลา้ ยวา่ เปน็ อนั หนง่ึ อนั เดยี วกนั ภายใตฝ้ รงั่ เศส แต่ลาวก็ยังประกอบด้วยแว่นแคว้นหลากหลาย ทางเหนือคือหลวงพระบาง ซึ่งฝร่ังเศส ให้การคมุ้ ครองในฐานะรัฐในอารกั ขาโดยตรง แตล่ าวภาคกลางประกอบดว้ ยเมืองตา่ ง ๆ ที่เคยภักดีต่อราชส�ำนักกรุงเทพฯ และหรือเว้ (Hue) ส่วนทางใต้ยังมีผู้สืบเช้ือสายจาก 112

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว เจ้าผู้ครองจัมปาสัก ซึ่งยังคงส่งบรรณาการให้แก่ไทย เมื่อฝร่ังเศสเข้ามามีอ�ำนาจใน ดินแดนส่วนนี้ของลาวภายหลงั สนธิสญั ญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (ภายหลงั สนธิ สัญญา ค.ศ. ๑๘๙๓ ดนิ แดนสว่ นตะวนั ตกของจมั ปาสักยงั อยู่ในอ�ำนาจไทย) ฝรั่งเศสมิได้ ฟื้นฟูอาณาจักรจัมปาสักข้ึนใหม่  เจ้านุ้ย (Chao Nyuy) ซึ่งยังคงพ�ำนักอยู่ในดินแดนนี้ (เจ้านายอน่ื ๆ สว่ นมากหนีไปอยกู่ รงุ เทพฯ) กไ็ ดร้ บั การยอมรับจากฝรัง่ เศส แตง่ ตัง้ ใหเ้ ขา เปน็ ขา้ หลวงปกครองแขวงจัมปาสกั มีเมอื งหลวงใหม่อยทู่ ป่ี ากเซ ดงั นน้ั หลวงพระบางซงึ่ ยงั มกี ษตั รยิ ป์ กครองอยจู่ งึ เปน็ รฐั ในอารกั ขาของฝรง่ั เศส เท่าน้ัน ดินแดนส่วนท่ีเหลืออยู่ใต้การปกครองโดยตรงของฝรั่งเศส แต่ความแตกต่าง ระหว่างดินแดน ๒ ส่วนนี้ก็มิได้ก�ำหนดชัดเจนในทางกฎหมาย แม้ว่าต่อมามีการยืนยัน สถานะความเปน็ รัฐในอารักขาของหลวงพระบาง แต่ความสมั พันธข์ องหลวงพระบางกับ ดินแดนส่วนที่เหลือของลาวก็มิได้ก�ำหนดให้ชัดเจน ฝรั่งเศสไม่ยอมให้กษัตริย์ที่ หลวงพระบางมีฐานะเป็นประมุขของลาวท้ังหมดแม้กระทั่งในเชิงสัญลักษณ์ จนกระท่ัง ฝร่ังเศสกลับมาปกครองลาวอีกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งท่ี ๒ จึงยอมรับให้กษัตริย์ แห่งหลวงพระบางมฐี านะเปน็ กษตั รยิ ์แห่งราชอาณาจักรลาว ฝร่ังเศสแบ่งเขตพื้นท่ีเพื่อจัดระเบียบการปกครองในลาวออกเป็น ๑๑ แขวง บวกกับหลวงพระบาง แต่ละแขวงมขี ้าหลวงฝร่ังเศส (Résident หรือ Commissioner ในหลวงพระบาง) ปกครอง และฟน้ื ฟเู วยี งจนั ทนเ์ ปน็ นครหลวงและศนู ยก์ ลางการปกครอง ฝร่ังเศสปกครองลาวโดยตรง ยกเว้นในหลวงพระบางซ่ึงมีสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต เจ้าศรสี ว่างวงศ์ (Sisavangvong ครองราชย์ ค.ศ. ๑๙๐๔-๑๙๕๙) เป็นกษัตรยิ ป์ กครอง มีคณะผู้ปกครองประกอบด้วย เจ้ามหาอุปราช [เจ้าบุญคง (Chao Bounkhong) เป็น เจ้ามหาอปุ ราชลาวในชว่ ง ค.ศ. ๑๘๘๘-๑๙๒๐] ราชวงศ์ ราชบตุ ร และรฐั มนตรขี วา-ซา้ ย ซงึ่ เปน็ เจ้านายในราชวงศ์ นอกจากน้ี ยงั มีขุนนางข้าราชการทที่ �ำหน้าที่เป็นฝา่ ยบรหิ าร อกี จำ� นวนหนง่ึ หลวงพระบางประกอบดว้ ยหลายแขวงหรอื เมอื ง มเี จา้ แขวงและเจา้ เมอื ง เป็นผปู้ กครอง การปกครองโดยตรงของฝรง่ั เศสในแตล่ ะแขวงครอบคลมุ กจิ การทกุ อยา่ งตง้ั แต่ งานยุติธรรม การเก็บภาษี และงานโยธาธิการ ส่วนการรักษากฎหมายและความเป็น 113

สารานุกรมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพื่อนบา้ นในอาเซยี น ระเบียบมหี น่วยงานท่เี รียกว่า Garde Indigène ประกอบดว้ ย หัวหน้าทเ่ี ป็นชาวฝรง่ั เศส และเจา้ หน้าทีซ่ ง่ึ ในชว่ งแรกเปน็ ชาวเวียดนาม ต่อมากม็ ีชาวลาวเข้าไปท�ำหนา้ ท่จี �ำนวน มากข้ึน เม่ือแขวงขยายตัวมีประชากรเพ่ิมข้ึน ระบบการปกครองก็ขยายตัวมีบุคลากร ฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาท�ำหน้าที่รับผิดชอบในกิจการท่ีเพิ่มขึ้น เช่น ต�ำรวจลับจาก Sûreté Général de l’Indochine ฝ่ายบญั ชเี งินเดือน ไปรษณยี ์ ครูโรงเรยี น แพทย์ และฝา่ ย อื่น ๆ เจ้าหนา้ ทป่ี ระเภทเสมียน พนกั งานระดับบนและระดบั กลางมกั เปน็ ชาวเวียดนาม ส่วนชาวลาวเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่าง เช่น ล่ามแปล เสมียนพนักงานชั้นผู้น้อย คน ท�ำความสะอาด กุลี แตล่ ะแขวงแบง่ เขตการปกครองเปน็ เมอื ง (district; muong) หรอื กอง (khong) ในเขตพนื้ ทชี่ นกลมุ่ นอ้ ย มเี จา้ เมอื ง (chao muong) หรอื นายกอง (nay khong) ปกครอง แตล่ ะเมอื งแบ่งย่อยออกไปเป็นตาแสง (tasaeng) ประกอบดว้ ย หมบู่ า้ นตา่ ง ๆ เรยี กว่า บา้ น (ban) มนี ายบา้ น (nay ban) หรอื พอ่ บ้าน (pho ban) ปกครอง มเี จ้าหน้าทท่ี ่ีเปน็ ชาวฝร่ังเศสน้อยมากแม้ในส่วนท่ีฝร่ังเศสปกครองโดยตรง (ประมาณ ๓-๔ คนในแขวง ขนาดเลก็ หรอื ทอี่ ยหู่ า่ งไกล) โดยเฉพาะในพนื้ ทที่ ป่ี ระชากรเปน็ ลาวเทงิ หรอื ลาวสงู ฝรงั่ เศส มักก�ำหนดให้คนพ้ืนเมืองปกครองกันเอง ส่วนในระดับเมืองซ่ึงขึ้นกับระดับแขวงมี เจ้าหน้าทส่ี ่วนใหญเ่ ปน็ ชาวเวียดนาม ฝรงั่ เศสใหค้ วามสำ� คญั เปน็ พเิ ศษในเรอ่ื งการเลกิ ทาสและการเกบ็ ภาษ ี การเลกิ ทาส มคี วามสำ� คญั ในแงท่ บ่ี ง่ บอกถงึ “ภารกจิ ในการสรา้ งความกา้ วหนา้ ” (civilizing mission) ของฝรั่งเศส ส่วนการเก็บภาษเี ป็นความจ�ำเปน็ ในเรอื่ งค่าใชจ้ า่ ยในการปกครองลาว ใน ส่วนของการเลิกทาสนั้น ฝรั่งเศสยกเลิกระบบทาสท้ังในรูปแบบของการน�ำเอาชนกลุ่ม นอ้ ยหรอื ลาวเทงิ มารบั ใชน้ ายทเ่ี ปน็ ลาวลมุ่ และการเปน็ ทาสจากการเปน็ หน ี้ สว่ นในเรอื่ ง การเก็บภาษี มีการเก็บภาษีเป็นเงินมากข้ึน รวมท้ังภาษีในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ภาษี เครื่องด่ืมแอลกอฮอล์  แม้ครัวเรือนท่ีมิได้เสพเคร่ืองด่ืมประเภทนี้เลยก็ต้องเสียภาษี ชนดิ นด้ี ว้ ย นอกจากนน้ั ยงั มกี ารเกบ็ คา่ ธรรมเนยี มตา่ ง ๆ ตง้ั แตก่ ารออกเอกสารเดนิ ทางไป จนถงึ การจดทะเบยี นอาวุธปืน 114

สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว การเก็บภาษีเป็นเงินมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของลาว คือ ครัวเรือนต้องผลิต สนิ คา้ และพชื ผลทม่ี คี ณุ คา่ ทางการพาณชิ ยม์ ากขนึ้ (แมว้ า่ การผลติ เพอื่ ยงั ชพี จะยงั คงเปน็ รปู แบบหลกั ในทางเศรษฐกจิ ) เพอ่ื จะไดม้ เี งนิ สำ� หรบั นำ� ไปจา่ ยภาษ ี อยา่ งไรกด็ ี ประชากร ส่วนใหญ่ในลาวมิได้เป็นชาวนายากจนไร้ท่ีดิน (ซ่ึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลาย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เพราะชาวลาวสามารถท�ำการเพาะปลูกในท่ีดิน ซ่ึงมอี ยู่เป็นจำ� นวนมาก ในขณะทลี่ าวสงู และลาวเทิงก็ยงั สามารถขายฝ่ิน (กจิ การผูกขาด ทท่ี ำ� รายไดจ้ ำ� นวนมากแกร่ ะบอบปกครองอาณานคิ ม) หรอื ของปา่ เพอื่ เปน็ รายไดส้ ำ� หรบั ชำ� ระภาษีไดเ้ ชน่ กัน สง่ิ ทส่ี รา้ งความไมพ่ อใจแกป่ ระชาชน คอื การเกณฑแ์ รงงานทย่ี งั คงมอี ยู่ ซง่ึ สว่ น ใหญ่เป็นไปเพอ่ื พฒั นาโครงสรา้ งพนื้ ฐานตา่ ง ๆ โดยเฉพาะถนนและสง่ิ ก่อสร้าง ในทาง สังคมและวัฒนธรรม ประชากรส่วนใหญ่ยังคงด�ำเนินชีวิตในแนวจารีตดั้งเดิม  ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลกิ มีบทบาทในวิถีชวี ติ ของประชาชนน้อยมาก ประชาชนท่วั ไปดู จะยอมรับระบอบปกครองอาณานิคมฝรั่งเศสที่ท�ำให้สงครามและการกวาดต้อนผู้คนที่ เคยมีอยบู่ ่อยครงั้ หมดสิน้ ไป อยา่ งไรกต็ าม ความไมพ่ อใจและการตอ่ ตา้ นระบอบปกครองอาณานคิ มฝรง่ั เศส ก็มีอยู่ มีสาเหตุจากภาระด้านภาษี การเกณฑแ์ รงงาน การสญู เสียรายไดจ้ ากฝ่ิน (กรณี ประชากรทางตอนบนของลาว เมื่อมีชาวจีนเข้ามาเก่ียวข้องในกิจการผูกขาดของรัฐ ประเภทน)้ี การสญู เสยี แรงงานทาสทเ่ี ปน็ แหลง่ รายไดอ้ ยา่ งหนงึ่ (ในกรณปี ระชากรตอนลา่ ง ของประเทศ) รปู แบบการตอ่ ตา้ นมที ง้ั การหลกี เลย่ี งการเสยี ภาษี และการกอ่ ความไมส่ งบ เช่น ในแขวงหัวพันเม่ือ ค.ศ. ๑๘๙๕ กบฏผ้มู บี ญุ ในลาวตอนใต้ในปีเดียวกัน ฝร่ังเศสใช้ เวลาจนถึง ค.ศ. ๑๙๑๐ จึงสามารถคุมอ�ำนาจในเขตท่ีราบสูงโบโลเวนของลาวได้ แต่ยังมีกลุ่มกบฏกลุ่มหนึ่งท่ียืนหยัดต่อต้านอยู่ในเขตภูเขาอีกหลายปีต่อมา  ใน ค.ศ. ๑๙๐๘ ชาวไทลื้อ (Lue) ในพงสาลีก่อการกบฏ ซึ่งฝร่ังเศสต้องใช้เวลาถึง ๒ ปีจึง ปราบลงได ้ จากนั้นใน ค.ศ. ๑๙๑๔ ชาวไทลือ้ ในเมืองสิงใชย้ ุทธวิธีแบบกองโจรลุกฮือข้นึ ต่อต้านฝรงั่ เศสอยู่ถงึ ๒ ปี ท�ำให้ฝรั่งเศสต้องใช้ก�ำลงั ปราบปรามและลดฐานะจากเมืองที่ 115

สารานุกรมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพือ่ นบา้ นในอาเซียน มีเจ้าผู้ครอง (principality) เป็นเมืองท่ีฝร่ังเศสปกครองโดยตรง นอกจากน้ัน ในช่วง เดยี วกนั ก็มีความไม่สงบในซ�ำเหนอื (Xam Neua ปัจจบุ ันคือเมืองหลกั ของแขวงหวั พนั ) ตะวนั ตกเฉยี งเหนือของเวียดนาม และพงสาลี ซ่ึงมีท้งั ชาวจนี ชนชาตไิ ทลอื้ และขมุเขา้ มาเกี่ยวข้อง หลังจากฝร่ังเศสสามารถรักษาความสงบได้ในช่วงปลาย ค.ศ. ๑๙๑๕ พงสาลกี ็ถกู เปลย่ี นฐานะเป็นเขตพน้ื ท่ีทหารท่ี ๕ (Military Territory V มีการจดั ต้ังเขต ปกครองประเภทนี้มาแล้ว ๔ เขตทางตอนเหนือของเวียดนามซ่ึงเป็นเขตติดต่อกับ พรมแดนจนี ) ยิ่งไปกว่านั้น ชาวเผา่ ม้ง (Hmong) ซงึ่ เคยอยขู่ า้ งฝร่งั เศสก็กอ่ กบฏขน้ึ ใน ค.ศ. ๑๙๑๘ ฝรั่งเศสต้องใช้กองก�ำลังขนาดใหญ่ปราบปรามเป็นเวลา ๒ ปีจึงสงบ การก่อความไม่สงบของชาวม้งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนชาติต่าง ๆ ท่ีอยู่ภายใต้ การปกครองของฝรั่งเศสเป็นส�ำคัญ (ผู้น�ำม้งข้ึนอยู่กับเจ้าหน้าท่ีระดับแขวงที่เป็น ชนชาตลิ าวหรอื พวนอกี ตอ่ หนึง่ ) ในช่วงท่ีฝร่งั เศสปกครองลาว ประชากรของลาวเพิ่มจากประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คนใน ค.ศ. ๑๙๑๐ เปน็ กว่า ๘๐๐,๐๐๐ คนใน ค.ศ. ๑๙๒๑ และถงึ ๑,๐๓๘,๐๐๐ คน ใน ค.ศ. ๑๙๓๖ แมช้ าวฝรั่งเศสท่ีเข้าไปอยใู่ นลาว (สว่ นใหญ่เข้าไปอยู่ในฐานะเจา้ หน้าท่ี ในระบอบปกครองอาณานคิ ม) จะมจี ำ� นวนน้อย (จากไม่กรี่ อ้ ยคนใน ค.ศ. ๑๙๑๐ มาเปน็ ประมาณ ๑,๐๐๐ คนในเวลาตอ่ มา) แตฝ่ ร่งั เศสสนบั สนุนชาวจนี และชาวเวยี ดนาม โดย เฉพาะผ้ทู เี่ ป็นพอ่ ค้าและช่างฝมี อื ต่าง ๆ เข้าไปต้ังรกรากอยู่ในเขตเมืองสำ� คญั ๆ จนทำ� ให้ คนเหล่านี้มจี �ำนวนมากกวา่ คนพื้นเมือง กล่าวได้ว่า ประมาณ ค.ศ. ๑๙๒๐ ลาวอยู่ในภาวะสงบ การบรหิ ารประเทศเขา้ รูปเข้ารอย มกี ารจัดระบบยุติธรรมใหม่ กิจการตา่ ง ๆ เชน่ ด้านสาธารณสขุ การศกึ ษา การเกษตรและสตั วบาลขยายตวั และการคมนาคมกส็ ะดวกขน้ึ ซง่ึ ลาวนา่ จะมพี ฒั นาการ ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องแม้จะไม่รวดเร็ว แต่ปรากฏว่าเศรษฐกิจของลาวแทบไม่มี พัฒนาการใด ๆ  แม้ชาวฝรั่งเศสท่ีไปลงทุนเพ่ือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท่ีมีอยู่ใน ดนิ แดนนก้ี น็ อ้ ยมาก 116

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใน ค.ศ. ๑๙๒๐ ฝรงั่ เศสเรมิ่ การปฏริ ปู ทางการเมอื งดว้ ยการจดั ตงั้ สภาทปี่ รกึ ษา ระดับแขวงในส่วนที่ฝร่ังเศสปกครองโดยตรง  อีก ๓ ปีต่อมามีการตั้งสภาท่ีปรึกษาของ ชาวพื้นเมือง (Indigenous Consultative Assembly ฝรั่งเศสต้ังสภาแบบน้ีในเขต ปกครองอนื่ ๆ ของฝรง่ั เศสในอนิ โดจนี แลว้ ทง้ั ๔ เขต) ทำ� หนา้ ทใี่ หค้ �ำปรกึ ษาขา้ หลวงใหญ่ ฝร่ังเศส (Résident Supérieur) ในความเป็นจรงิ สภาน้ีเป็นเพยี งตัวแทนชนชั้นนำ� ของ ลาว นอกจากนนั้ ยงั มกี ารจดั ตัง้ หอการค้าและการเกษตร (Chamber of Commerce and Agriculture) ซง่ึ มสี มาชิกที่มาจากท้ังคนพื้นเมืองและชาวฝรั่งเศส แต่เป็นตวั แทน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการคา้ ของฝร่งั เศสเปน็ ส�ำคัญ ชนชั้นน�ำลาวมีจ�ำนวนน้อยมากและต้องพึ่งพาฝรั่งเศสเป็นส�ำคัญ จึงขาดแรง ผลักดันให้มีการปฏิรูปทางการเมืองมากไปกว่าน้ี การพัฒนาให้ทันสมัยก็ด�ำเนินไปอย่าง เชอ่ื งชา้ เชน่ ใชเ้ วลาถงึ ๓๐ ปกี วา่ จะมกี ารจดั ทำ� ระบบกฎหมายใหม่ โรงเรยี นฝกึ กฎหมาย และการปกครอง (Practical School of Law and Administration) ส�ำหรับฝึก ข้าราชการพลเรือนก็เพงิ่ จัดตง้ั ข้นึ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๘ การบริหารราชการ ระดบั แขวงอยใู่ นความรบั ผดิ ชอบของเจา้ หนา้ ทชี่ าวเวยี ดนามเปน็ สำ� คญั (ยกเวน้ หลวงพระบาง เจ้าหน้าที่ในระดับนี้รวมท้ังเจ้าแขวงเป็นชาวลาว) ขณะท่ีในระดับเมือง เจ้าเมืองต่าง ๆ บรหิ ารราชการด้วยอาศยั ประสบการณ์ของตนเปน็ หลัก การขาดแคลนบุคลากรส�ำหรับท�ำหน้าท่ีปกครองบ้านเมือง เน่ืองจากขาดการ สง่ เสริมการศกึ ษา งบประมาณดา้ นนี้เพ่งิ เรม่ิ ตงั้ ขน้ึ ใน ค.ศ. ๑๙๐๕ และถกู จ�ำกดั ให้น้อย ที่สุดโดยยังคงให้วัดท�ำหน้าที่ส่ังสอนชาวลาวให้อ่านออกเขียนได้และความรู้พ้ืนฐานด้าน พระพทุ ธศาสนาและศลี ธรรมเทา่ นนั้ มโี รงเรยี นประถมทส่ี อนภาษาฝรง่ั เศสเพยี งไมก่ แี่ หง่ และผใู้ หก้ ารอุปถมั ภโ์ รงเรยี นมักเป็นชมุ ชนชาวเวียดนามในลาวน่ันเอง ใน ค.ศ. ๑๙๐๗ มคี รูชาวฝร่ังเศสในลาวเพยี ง ๔ คนเท่านน้ั อกี ๒๐ ปีต่อมา โรงเรียนแบบนีม้ ีจำ� นวนมาก ขนึ้ เพราะประชากรในเขตเมอื งใหญ่ ๆ เพิ่มข้นึ จนถึง ค.ศ. ๑๙๑๗ จึงมโี รงเรียนประถม ท่ีสอนเป็นภาษาฝร่ังเศสครบ ๖ ปี ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๒๑ ก็จัดต้ังโรงเรียนมัธยมต้น 117

สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพอื่ นบา้ นในอาเซียน โรงเรยี นแรกและแหง่ เดยี ว คอื โรงเรยี นมธั ยมตน้ ปาวี (Collège Pavie) ขน้ึ ในเวยี งจนั ทน์ ชาวลาวตอ้ งไปเรยี นตอ่ ระดบั มธั ยมปลายหรอื เตรยี มอดุ มศกึ ษาทฮ่ี านอย ใน ค.ศ. ๑๙๒๓ มีการก่อตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาขึ้นในเวียงจันทน์เพื่อฝึกช่างปูนและช่างไม้ และใน ค.ศ. ๑๙๒๘ มโี รงเรยี นสอนภาษาบาลซี งึ่ เปน็ สาขาของสถาบนั พระพทุ ธศาสนา (Buddhist Institute) แห่งกรุงพนมเปญ เม่ือถงึ ค.ศ. ๑๙๓๐ มโี รงเรียนท้งั หมด ๘๒ แหง่ ครู ๒๐๘ คน (ในจำ� นวนน้ี ๒๑ คนเปน็ ชาวฝรง่ั เศส) สอนนกั เรยี น ๖,๔๐๐ คน หลงั จากนนั้ เกดิ ภาวะเศรษฐกจิ ตกตำ่� มกี ารตัดงบประมาณการศึกษา เมื่อส้นิ ทศวรรษจึงมเี ด็กในวยั ศึกษาเพียง ๑ ใน ๒๐ คน ที่มโี อกาสไดเ้ ข้าโรงเรยี น และจำ� นวนนักเรยี นในโรงเรยี นมธั ยมต้นปาวีมีเพียง ๑๒๐ คน ในจ�ำนวนนี้ ๑๗ คนเปน็ เดก็ หญงิ นักเรยี นทีจ่ บการศกึ ษาระดับมัธยมมนี ้อยคนนักจะได้ เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา เมื่อถึง ค.ศ. ๑๙๓๙ มีนักศึกษาลาวเพียง ๗ คนที่ศึกษา ในระดบั นี้ในเวยี ดนาม จนถึงต้นทศวรรษ ๑๙๔๐ การศกึ ษาในลาวจึงเร่ิมพฒั นามากขน้ึ พัฒนาการด้านสังคมอ่ืน ๆ ก็ไม่ดีกว่ามากนัก โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ในระยะเร่ิมแรกเป็นการให้บริการแก่ชาวยุโรปเป็นส�ำคัญ (คนเหล่านี้มีปัญหาเก่ียวกับ โรคเมอื งรอ้ น) ใน ค.ศ. ๑๙๑๐ มแี พทยช์ าวฝรง่ั เศสในลาวเพยี ง ๕ คน เมอ่ื ถงึ ค.ศ. ๑๙๓๐ มีโรงพยาบาล ๖ แห่ง ร้านขายยา ๕๕ แห่ง และสถานรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน ๒ แหง่ ในชว่ งเศรษฐกจิ ตกต�่ำบรกิ ารดา้ นสาธารณสุขกไ็ ดร้ บั ผลกระทบดว้ ย โรงพยาบาล มีอยู่ในเวียงจันทน์เท่านั้น ซ่ึงให้บริการแก่ชุมชนชาวฝร่ังเศสและเขตเมืองเป็นหลัก เพราะในนครหลวงของลาวคนพ้ืนเมืองเป็นประชากรส่วนน้อย ความก้าวหน้าด้าน สาธารณสุขโดยเฉพาะท่ีวัดจากอายุเฉล่ียของประชากร จ�ำนวนทารกท่ีเสียชีวิต และ จำ� นวนผู้ป่วยดว้ ยโรคตา่ ง ๆ เช่น มาลาเรีย วัณโรค จงึ มีความก้าวหน้านอ้ ยมาก กิจการทไ่ี ด้รบั ความสนใจและได้รบั งบประมาณอย่างมาก คอื ดา้ นโยธาธกิ าร รวมทัง้ กจิ การไปรษณียแ์ ละโทรเลข งานเหลา่ นี้ท�ำให้ยังคงตอ้ งใช้การเกณฑแ์ รงงาน และ การก่อสร้างส่วนใหญ่มุ่งไปที่การสร้างท่ีพักอาศัยที่สะดวกสบายส�ำหรับชาวฝร่ังเศสและ ส�ำนักงานส�ำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ส่ิงก่อสร้างเหล่านี้จ�ำนวนมากรายเรียงอยู่ริมฝั่ง 118

สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว แม่น�้ำโขงในเวียงจันทน์และเมืองอ่ืน ๆ มีรูปทรงสถาปัตยกรรมอาณานิคมแบบฝรั่งเศส (French Colonial Architecture) นอกจากนั้น ยังมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ เชน่ ศนู ย์กฬี า สโมสร รวมทงั้ ถนน ส่วนช้ันในเปน็ ทีอ่ ยู่ของชาวฝรัง่ เศส ถดั ไปก็จะเป็น ย่านชาวจีนและเวียดนาม ส่วนชาวลาวจะอยู่ในบริเวณท่ีเป็นขอบนอกซึ่งแทบไม่ได้รับ การเหลียวแลจากทางการ กิจกรรมและการด�ำเนินงานของฝรั่งเศสในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมซ่ึงมี ผลตอ่ การสรา้ งสำ� นกึ ความเปน็ ชาตใิ นหมชู่ นชนั้ นำ� ของลาว คอื การปฏสิ งั ขรณแ์ ละอนรุ กั ษ์ โบราณสถานและการค้นคว้าวิจัยด้านประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของลาว ใน เวยี งจนั ทน์มกี ารบรู ณปฏสิ ังขรณพ์ ระธาตุหลวงและวดั พระแก้ว ดว้ ยความชว่ ยเหลอื ของ ส�ำนกั ฝรัง่ เศสแห่งปลายบุรพทศิ (École Française d’Extrême Orient–EFEO) หรือ การขดุ คน้ และบรู ณะปราสาทหนิ วดั ภใู นจมั ปาสกั นอกจากนนั้ การกำ� หนดตวั เขยี นภาษา ลาวใหเ้ ปน็ มาตรฐาน (เขยี นตามเสยี ง ไมไ่ ดเ้ ขยี นในลกั ษณะทเ่ี ปน็ การถอดคำ� มาจากภาษา บาลีหรือสันสกฤต) รวมท้ังการฟ้นื ฟูพระพทุ ธศาสนาและการบรู ณปฏิสังขรณว์ ดั ตา่ ง ๆ ก็ มีสว่ นสรา้ งสำ� นึกในความเปน็ ชาตชิ าวลาวมากขึน้ ใน ค.ศ. ๑๙๓๑ มกี ารจดั ตงั้ สถาบัน พระพทุ ธศาสนาแห่งลาว (Lao Buddhist Institute) ซ่งึ เปดิ สอนภาษาบาลี และต่อมา เจ้ามหาชีวติ ศรีสว่างวงศ ์ เจา้ เพชรราช รัตนวงศา 119

สารานกุ รมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซยี น ใน ค.ศ. ๑๙๓๗ ก็มีการก่อตัง้ สถาบนั ภาษาบาลี (College of Pali) ผทู้ ่ใี หค้ วามสนใจ ประวตั ิศาสตรแ์ ละวัฒนธรรมของลาวอย่างย่งิ คอื เจ้าเพชรราช รตั นวงศา (Phetsarath Rattanavongsa ค.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๕๙) โอรสองคท์ ี่ ๓ ของเจ้ามหาอปุ ราชบญุ คง (สืบเชอื้ สายมาจากเจ้ามหาอุปราชอุ่นแก้วที่เป็นต้นตระกูลเดิม) ซึ่งจบการศึกษาจากฝรั่งเศส และต่อมาได้เป็นเจ้ามหาอุปราชและนายกรัฐมนตรีของหลวงพระบาง เจ้าเพชรราชมี ผู้ช่วยซึ่งท�ำหน้าท่ีเป็นเลขานุการส่วนตัว คือ มหาศิลา วีระวงศ์ (Sila Viravong) ผู้ซึ่ง ต่อมาได้รับการยอมรับเป็นปราชญ์คนส�ำคัญของชาวลาวในฐานะผู้ริเริ่มการค้นคว้า ประวตั ศิ าสตร์ลาวโดยคนลาวเอง การศกึ ษาค้นคว้าด้านประวัตศิ าสตร์ วรรณกรรม และ วฒั นธรรม และการถกเถียงเกีย่ วกบั เรอ่ื งต่าง ๆ เหลา่ นี้ จะมสี ่วนส�ำคญั ในการสรา้ งแรง กระตุ้นเก่ียวกับชาตนิ ิยมในลาว จรงิ อยู่ในชว่ งน้นั กระแสชาตนิ ิยมลาวยงั ไมป่ รากฏ แตก่ ็ ถือได้ว่าเป็นการวางรากฐานให้แก่การก่อตัวของกระแสเช่นน้ีในช่วงทศวรรษ ๑๙๔๐ ส่งผลใหเ้ กิดขบวนการกู้ชาตเิ ม่อื สงครามโลกคร้งั ท่ี ๒ ส้นิ สุดลง ขบวนการทางการเมืองที่เคลื่อนไหวต้ังแต่ช่วงทศวรรษ ๑๙๓๐ คือ พรรค คอมมิวนิสต์อินโดจีน (Indochinese Communist Party–ICP) ซึ่งก่อต้ังข้ึนในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๓๐ แม้วา่ ในช่วงแรก ๆ มีเพียงชาวเวียดนามเทา่ นัน้ ทเี่ ป็นสมาชกิ แต่ กม็ คี วามพยายามตงั้ แตต่ น้ ทศวรรษทจ่ี ะเผยแพรอ่ ดุ มการณค์ อมมวิ นสิ ตใ์ นบรรดาชาวลาว และเม่อื ถงึ กลาง ค.ศ. ๑๙๓๔ ก็เรม่ิ มีชาวลาวเข้ามาเป็นสมาชกิ แม้วา่ จะยงั มจี ำ� นวนน้อย มากก็ตาม ผู้ที่ได้รับเกียรติถือว่าเป็นคอมมิวนิสต์ลาวคนแรกเป็นข้าราชการจากสะหวัน นะเขตชือ่ “ค�ำแสน” (Khamsaen) อย่างไรก็ดี ความสนใจในลัทธิคอมมิวนิสต์ของชาวลาวนับว่ายังมีน้อยมาก จึงมีผลในแง่ของการปลุกกระแสชาตนิ ยิ มในลาวนอ้ ยมากเชน่ กนั จนกระทง่ั ต้นทศวรรษ ๑๙๔๐ จึงเริม่ ปรากฏความเคลือ่ นไหวท่ีเรยี กได้ว่าเป็นขบวนการชาตินิยม คอื ขบวนการ ฟน้ื ฟชู าติ (Movement for National Renovation) ซึ่งมงุ่ ไปในด้านวฒั นธรรม และ ขบวนการ “ลาวเป็นลาว” (Lao Pen Lao Movement) ชว่ งนม้ี ีการออกเอกสารและ ส่ิงพมิ พ์ต่าง ๆ และการจัดต้งั คณะกรรมการและสมาคมสง่ เสริมกิจกรรมดา้ นวฒั นธรรม และกฬี าเพอื่ โนม้ นา้ วให้เยาวชนและสตรลี าวเข้ามามสี ว่ นร่วมดว้ ย 120

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว แม้ฝร่ังเศสจะสนับสนุนการศึกษาและวัฒนธรรมเพ่ือสร้างความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันของลาวภายใต้ร่มธงของฝรั่งเศส แต่ลาวก็ได้รับอานิสงส์จากการสนับสนุน ในเรอื่ งนดี้ ว้ ย โดยเฉพาะในดา้ นการศกึ ษา มกี ารจดั ตงั้ โรงเรยี นมากขน้ึ ในชว่ ง ค.ศ. ๑๙๔๐- ๑๙๔๕ และมีจ�ำนวนไม่น้อยที่จัดตั้งข้ึนในเขตชนบท และพร้อมกันนั้นก็มีการเร่งสร้าง ความกา้ วหน้าในด้านอ่นื ๆ เชน่ การสร้างถนน การปรบั ปรงุ บรกิ ารทางสงั คม การเกษตร นอกจากนั้น ใน ค.ศ. ๑๙๔๓ ยังมีการจัดตั้งหน่วยทหารลาวหน่วยแรกข้ึน เม่ือกระแส ชาตนิ ยิ มลาวเรม่ิ มพี ลงั ขบั เคลอื่ นของตนเอง การสนบั สนนุ จากฝรง่ั เศสกไ็ มม่ คี วามจำ� เปน็ ใด ๆ อีกต่อไป เม่ือถึงช่วงนี้ความรู้สึกชาตินิยมลาวโดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่มิใช่การ ต่อต้านไทยและเวียดนามโดยอาศัยความช่วยเหลือของฝร่ังเศส แต่เป็นการเรียกร้อง เอกราชเลยทเี ดียว ใน ค.ศ. ๑๙๔๐ ญีป่ นุ่ ยดึ ครองอินโดจนี แต่ยงั คงให้ฝรงั่ เศสปกครองดนิ แดนน้ี ต่อมา เมอ่ื ญีป่ ุ่นยึดอ�ำนาจจากฝรง่ั เศสในเดอื นเมษายน ค.ศ. ๑๙๔๕ เจา้ ศรสี วา่ งวฒั นา (Chao Si Savangvatthana ค.ศ. ๑๙๐๗-๑๙๗๘) ซ่ึงเป็นเจา้ ฟ้ามกฎุ ราชกุมารขณะนน้ั เรียกร้องให้ชาวลาวช่วยเหลือฝรั่งเศสต่อต้านญี่ปุ่น แต่นักชาตินิยม เช่น เจ้าเพชรราช ไม่เห็นด้วย เมื่อญี่ปุ่นบีบบังคับให้กษัตริย์ลาวทรงประกาศเอกราชของลาวเม่ือวันท่ี ๘ เมษายนปีเดียวกัน เจ้าเพชรราชที่พร้อมจะร่วมมือกับ ญี่ปุ่นก็ได้รับการยืนยันให้อยู่ในต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของหลวงพระบางท่ีเขาถือครองมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๔๑ เจา้ เพชรราชกเ็ ชน่ เดยี วกบั ผนู้ ำ� ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ขณะนน้ั หลายคน ทยี่ นิ ยอมรว่ มมอื กบั ญป่ี นุ่ เพอ่ื เปา้ หมาย ของการได้รับเอกราชอย่างแท้จริง แต่ก็ไม่สามารถ โน้มน้าวให้ญี่ปุ่นรวมลาวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ส่ิงท่ี เขาท�ำได้ในขณะนั้น คือพยายามขจัดอิทธิพลเวียดนาม ท้ังในด้านเศรษฐกิจและในระบบราชการของระบอบ ปกครองอาณานิคม แต่ก็ไม่ประสบความส�ำเร็จมากนัก เจา้ ศรสี วา่ งวฒั นา ในบางเมอื ง เช่น สะหวนั นะเขต ทา่ แขก ชมุ ชนเวยี ดนาม ตอ่ มาเปน็ เจา้ มหาชวี ติ 121

สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน มกี องกำ� ลงั ตดิ อาวธุ ของตนเอง  นอกจากนน้ั ในชว่ งปลายสงครามโลกครงั้ ท่ี ๒ ซงึ่ มคี วาม สับสนปนั่ ป่วนอยทู่ ัว่ ไป ก็มกี ลมุ่ เคลอื่ นไหวใหม่ ๆ เกดิ ขึ้นอกี หลายกลุ่ม กลุ่มหนึง่ คอื ลาวเสรี (Lao Seri) ทจี่ ดั ตงั้ ข้ึนคขู่ นานกบั ขบวนการเสรไี ทยของ ไทยใน ค.ศ. ๑๙๔๔ และแม้จะเป็นกลุ่มต่อต้านญ่ีปุ่นแต่ก็ต้องการขับไล่ฝรั่งเศสออกไป ด้วย กลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลจากไทย มีฐานปฏิบัติการอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย และยงั ได้รับการอปุ ถมั ภ์จากส�ำนกั งานกิจการทางยทุ ธศาสตร์ (Office of Strategic Services–OSS หน่วยงานน้ีจะกลายมาเป็น CIA ในเวลาต่อมา) ผู้น�ำ กลุ่มน้ีคือ อุ่น ชนะนิกร (Un Xananikon ค.ศ. ๑๙๐๗-๑๙๗๘) ซ่ึงมาจากตระกูลท่ี ทรงอิทธิพลตระกลู หนง่ึ ในเวยี งจันทน์ เม่อื ญป่ี ุ่นยอมจำ� นนกลมุ่ น้กี ็เปล่ยี นเป็นขบวนการ ลาวเป็นลาวที่ได้กล่าวถึงแล้วและต้องการร่วมมือกับกลุ่มชาตินิยมอ่ืน ๆ ในการต่อต้าน การกลับมาของฝร่ังเศส กลมุ่ ท่ีรวมนักชาตนิ ยิ มหลากหลายเข้าไวด้ ้วยกัน คือ ขบวนการ ลาวอสิ ระ (Lao Issara) อยา่ งไรกต็ าม แมข้ บวนการนจี้ ะแสดงถงึ การขยายตวั ของกระแส ชาตินิยมในลาวในระดับกว้าง แต่ชนชั้นน�ำลาวขณะนั้นก็ยังคงมีความแตกแยกอยู่และ นำ� ไปสู่ความขดั แยง้ รนุ แรงหลังเอกราช ความแตกแยกของลาวเห็นได้ชดั เมื่อญ่ีปุ่นยอมจำ� นน ฝร่ังเศสกลบั มายดึ ครอง ลาวตอนเหนือได้โดยไม่ยากนักเพราะมีก�ำลังบางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่น้ีอยู่แล้ว และ สมเดจ็ พระเจา้ ศรีสวา่ งวงศ์ เจา้ มหาชีวติ ลาว กย็ งั ทรงปรารถนาทีจ่ ะอยูใ่ ต้อำ� นาจฝรั่งเศส เจ้าบญุ อ้มุ (Boun Oum ค.ศ. ๑๙๑๑-๑๙๘๑) เช้ือสายราชวงศ์จัมปาสักซึง่ ยังมอี ิทธพิ ล อยู่ในลาวตอนใต้ ก็ให้ความร่วมมือกับกองก�ำลังฝร่ังเศส ท�ำให้ฝรั่งเศสกลับไปยึดครอง ปากเซไดใ้ นชว่ งกลางเดอื นกนั ยายน ค.ศ. ๑๙๔๕ อยา่ งไรกด็ ี ในลาวภาคกลางเจา้ เพชรราช เข้ายึดครองเวียงจันทน์จากญ่ีปุ่นและไม่ยอมให้ข้าหลวงใหญ่ฝร่ังเศสกลับเข้ามา ปกครองอีก  นอกจากน้ัน อุ่น ชนะนิกร ก็ข้ามจากฝั่งไทยพร้อมกับกองก�ำลังติดอาวุธ จำ� นวนหนง่ึ เขา้ ยดึ ครองสะหวนั นะเขตและทา่ แขกจากญี่ปุน่ และชาวเวยี ดนาม แม้ว่าเจ้าเพชรราชในฐานะนายกรัฐมนตรีและเจ้ามหาอุปราชหลวงพระบาง จะได้รับการยอมรับนับถือในฐานะหัวหน้าขบวนการลาวอิสระ แต่นอกจากฝรั่งเศสจะ ไม่ชอบท่าทีชาตินิยมแข็งกร้าวของเขาแล้ว ยังมีปัญหาความอิจฉาริษยาและการแย่งชิง 122

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความเป็นใหญ่ระหว่างราชวงศ์ลาวที่หลวงพระบางกับเจ้ามหาอุปราช โดยเฉพาะความ ไมล่ งรอยเปน็ การสว่ นตวั ระหวา่ งมกฎุ ราชกมุ ารศรสี วา่ งวฒั นากบั เจา้ เพชรราช เจา้ บญุ อมุ้ ซง่ึ ไมไ่ วว้ างใจเจา้ เพชรราชดว้ ยเชน่ เดยี วกนั จงึ รว่ มมอื กบั เจา้ ศรสี วา่ งวฒั นาในการตอ่ ตา้ น เจ้าเพชรราช  ความไม่ลงรอยกันเองท�ำให้แม้แต่ปัญหาส�ำคัญอย่างเช่นเอกราชของลาว ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ขบวนการลาวอิสระจึงไม่ประสบความส�ำเร็จในความพยายาม ที่จะไม่ใหฝ้ ร่ังเศสกลบั เขา้ มาปกครองลาวอีก ความไม่ลงรอยระหว่างราชส�ำนักหลวงพระบางกับเจ้าเพชรราชปะทุข้ึนเป็น ความขัดแยง้ ในเดือนตลุ าคม ค.ศ. ๑๙๔๕ เม่อื เจา้ มหาชวี ติ ลาวทรงมพี ระราชสาส์นไปถงึ เวยี งจนั ทนเ์ มอ่ื วนั ที่ ๑๐ ตลุ าคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ปลดเจา้ เพชรราชจากตำ� แหนง่ นายกรฐั มนตรี และเจ้ามหาอุปราช แต่ผู้น�ำลาวอิสระก็ด�ำเนินการเปิดประชุมคณะกรรมการประชาชน (People’s Committee ประกอบด้วยสมาชกิ ๓๔ คน ส่วนใหญเ่ ป็นผู้ท่เี คยเคลื่อนไหว ในขบวนการลาวเปน็ ลาวมาตง้ั แตช่ ว่ งตน้ ทศวรรษ ๑๙๔๐ และเจา้ แขวงหลายแหง่ ซงึ่ ขณะ นั้นมิได้อยู่ในเวียงจันทน์) ยืนยันเอกราชของลาว จัดท�ำรัฐธรรมนูญช่ัวคราว และจัดต้ัง รัฐบาลช่วั คราวของ “ปะเทดลาว” (Pathet Lao) จากนน้ั รฐั บาลช่ัวคราวกจ็ ัดต้งั รัฐสภา ชวั่ คราวประกอบดว้ ยสมาชกิ ๔๕ คน (ยงั ไมอ่ าจจดั การเลอื กตงั้ ไดใ้ นสถานการณบ์ า้ นเมอื ง ขณะนน้ั ) ฝรงั่ เศสยนื ยนั จะใหก้ ารสนบั สนนุ เจา้ มหาชวี ติ จงึ ทรงประกาศใหก้ ารดำ� เนนิ งาน ท้ังหมดนี้ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และส่ังให้เจ้าเพชรราชไปเฝ้าที่หลวงพระบาง แต่เจ้าเพชรราชไม่ยอมไปและในวันที่ ๒๐ ตุลาคมปีเดียวกันรัฐสภาช่ัวคราวก็ลงมติ ถอดถอนสมเดจ็ พระเจา้ ศรสี วา่ งวงศ์ออกจากตำ� แหน่งกษัตริย์ ส่ิงท่ีน่าสนใจอย่างมากคือ รัฐบาลชั่วคราวที่จัดต้ังขึ้นในเวียงจันทน์ในตอนน้ัน ประกอบด้วยบุคคลผู้ท่ีจะมีบทบาทส�ำคัญในลาวในช่วงหลังเอกราช ที่ส�ำคัญ คือ เจา้ สุวรรณภมู า (Souvanna Phouma ค.ศ. ๑๙๐๑-๑๙๘๔) นอ้ งชายของเจา้ เพชรราช และเจา้ สภุ านวุ งศ์ (Souphanouvong ค.ศ. ๑๙๐๙-๑๙๙๕) นอ้ งชายตา่ งมารดาและเปน็ น้องชายคนสุดท้องของคนท้ังสอง ท้ังเจ้าสุวรรณภูมาและเจ้าสุภานุวงศ์ส�ำเร็จการศึกษา ด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันช้ันน�ำของฝรั่งเศส ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีและ รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการตา่ งประเทศ คอื คำ� เมา วไิ ล (Khammao Vilai ค.ศ. ๑๘๙๒- 123

สารานกุ รมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซียน เจา้ สุวรรณภูมา เจา้ สภุ านุวงศ์ ๑๙๖๕) อดตี เจ้าเมืองเวยี งจันทน์และเป็นคนสนทิ ของเจ้าเพชรราช บคุ คลอ่ืน ๆ ในคณะ รัฐมนตรีที่ส�ำคัญ ได้แก่ เจ้าสมสนิท วงศ์กตรัตน์ (Somsanit Vongkotrattana ค.ศ. ๑๙๑๓-๑๙๗๕) หลานของเจา้ เพชรราช เปน็ รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงมหาดไทยและ ยุติธรรม อุ่น ชนะนิกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และพันตรี สิง รัตนสมัย (Sing Rattanasamay) รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงกลาโหม ทง้ั ๒ คนน้อี ย่ใู นขบวนการ ลาวเสรแี ละลาวเป็นลาว กะต่าย ดอน สะสอรติ (Katay Don Sasorith ค.ศ. ๑๙๐๔- ๑๙๕๙) รฐั มนตรีว่าการกระทรวงการคลงั และนยุ้ อภยั (Nyuy Aphai) รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ สองคนหลังน้มี าจากขบวนการฟื้นฟูชาติ เจ้าสุวรรณภูมาได้อยู่ในคณะรัฐมนตรีในช้ันแรกและเจ้าสุภานุวงศ์ซึ่งด�ำรง ต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมก็เดินทางมาถึงเวียงจันทน์ใน เวลาต่อมา ช่วงกอ่ นหน้านน้ั เขาอยู่ในกรุงฮานอยเพ่อื ติดตอ่ กบั โฮจมิ นิ ห์ (Ho Chi Minh) เพอ่ื ยนื ยนั การสนบั สนนุ ของลาวในการตอ่ สเู้ พอ่ื เอกราชของเวยี ดนาม ผทู้ เ่ี ขา้ มามบี ทบาท ส�ำคัญในชว่ งหลังเอกราช คอื ภมู ี หนอ่ สวรรค์ (Phoumi Nosavan ค.ศ. ๑๙๒๐-๑๙๘๕) เสนาธกิ ารกองกำ� ลงั ซง่ึ อนุ่ ชนะนกิ ร จดั ตง้ั ขนึ้ ไกสอน พมวหิ าน (Kaysone Phomvihane ค.ศ. ๑๙๒๐-๑๙๙๒) และหนูฮัก พูมสะหวัน (Nouhak Phoumsavanh ค.ศ. ๑๙๑๐-๒๐๐๘) ซึง่ ปฏบิ ัติงานอยู่ในกองกำ� ลังน้ี 124

สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว ผทู้ ม่ี อี ทิ ธพิ ลอยา่ งมากในรฐั บาลลาวอสิ ระ คอื เจา้ สภุ านวุ งศท์ ไี่ ดเ้ ปน็ ผบู้ ญั ชาการ “กองทพั เพอื่ การปลดปลอ่ ยและปอ้ งกนั ลาว” (Army for the Liberation and Defence of Laos) นอกจากนั้นยังเปลี่ยนต�ำแหน่งเจ้าสุภานุวงศ์มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ และให้เจ้าสุวรรณภูมารับต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการ และคมนาคมแทน อทิ ธพิ ลของเจา้ สภุ านวุ งศใ์ นชว่ งนม้ี าจากการทเ่ี ขาไดร้ บั การหนนุ หลงั จากขบวนการเวยี ดมินห์ (Viet Minh) ในหนว่ ยต่าง ๆ ของกองก�ำลงั ท่เี ขาบงั คบั บญั ชา อยใู่ นขณะนน้ั มี “ทีป่ รกึ ษา” เปน็ นายทหารของเวยี ดมนิ หป์ ระจำ� อยู่ นอกจากนนั้ เขายงั ด�ำเนินงานให้รัฐบาลลาวอิสระลงนามในความตกลงร่วมมือทางทหารกับรัฐบาลของ โฮจมิ นิ หใ์ นเวียดนามดว้ ย รัฐบาลช่ัวคราวของลาวประสบปัญหาทุกด้าน โดยเฉพาะงบประมาณท่ีไม่มี แม้แต่จะจ่ายเงินเดือนให้แก่ข้าราชการ ที่ส�ำคัญคือ ฝรั่งเศสไม่มีทีท่าจะยอมเจรจาเร่ือง เอกราชลาวกบั ฝา่ ยลาวอสิ ระ แต่พยายามทีจ่ ะกลบั มายึดครองลาว โดยยึดเชียงขวางได้ ในชว่ งปลายเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๔๖ และในช่วงเดือนตอ่ มาก็ขยายกำ� ลังเสริมความ มั่นคงทางทหารในลาวตอนใต้ ก�ำลังผสมลาว-เวียดนามที่ท่าแขกซ่ึงเจ้าสุภานุวงศ์ บัญชาการอยพู่ ยายามตอ่ ต้านฝรงั่ เศส แต่ถูกโจมตีอย่างหนักในวนั ที่ ๓๑ มีนาคมปนี น้ั มี ผู้บาดเจบ็ และเสยี ชวี ิตประมาณ ๑,๐๐๐ คน ซง่ึ สว่ นใหญเ่ ป็นพลเรือนทพ่ี ยายามหนีข้าม แมน่ ำ�้ โขงมาฝง่ั ไทย เจา้ สภุ านวุ งศไ์ ดร้ บั บาดเจบ็ จากกระสนุ ปนื ทยี่ งิ กราดลงมาจากเครอ่ื ง บนิ ด้วย ส่วนอุ่น ชนะนิกรหนีไปเวยี งจนั ทน์ผา่ นทางประเทศไทยไดพ้ ร้อมกบั ผรู้ อดชีวติ ประมาณ ๓๐๐ คน ชุมชนชาวเวยี ดนามในเมอื งทา่ แขกถกู ทำ� ลายยอ่ ยยับโดยกองก�ำลงั ของลาวกบั ฝรง่ั เศส ฝรง่ั เศสยดึ เวยี งจนั ทนไ์ ดใ้ นวนั ที่ ๒๔ เมษายน ค.ศ. ๑๙๔๖ และยดึ หลวงพระบาง (ฝ่ายลาวอิสระยึดหลวงพระบางได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อนหน้านั้น) กลับคืนมาใน ช่วงกลางเดือนต่อมา รฐั บาลลาวอสิ ระพร้อมดว้ ยผสู้ นบั สนุนประมาณ ๒,๐๐๐ คนและ ครอบครวั ขา้ มฝง่ั มายงั ประเทศไทย เจา้ มหาชวี ติ ทรงแสดงความขอบคณุ และชน่ื ชมฝรง่ั เศส ในการกลับเข้ามาปกครองลาว 125

สารานกุ รมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพอื่ นบ้านในอาเซียน ฝรั่งเศสด�ำเนินการจัดระเบียบการปกครองใหม่ มีการท�ำความตกลงช่ัวคราว กบั ลาวในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ ซ่งึ ยืนยนั ความเป็นอันหนงึ่ อนั เดยี วกนั ของลาว ที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ยังเป็นส่วนหน่ึงของสหภาพฝร่ังเศส (French Union) หรืออินโดจีนของฝร่ังเศส เจ้าบุญอุ้ม ซึ่งยอมสละสิทธิ์ท่ีจะเป็นเจ้า ผู้ครองจัมปาสักและยอมให้ดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรหน่ึงของลาวแห่งนี้รวมเป็น ส่วนหน่ึงของราชอาณาจักรลาว ได้รับการตอบแทนจากฝร่ังเศสด้วยการต้ังเป็นจเร แห่งราชอาณาจกั ร (Inspector-General of the Kingdom) ไปตลอดชีวิต นอกจากนน้ั ยงั มคี วามตกลงเฉพาะในเร่ืองต่าง ๆ อกี หลายเรอื่ ง แตใ่ นการจัด ระเบียบทางการเมอื งใหม่ครั้งน้ี แมล้ าวจะมโี อกาสได้ปกครองตนเองมากข้นึ แต่ฝรั่งเศส ก็ยังควบคุมกิจการต่าง ๆ ไว้อย่างกว้างขวาง ต้ังแต่การป้องกันประเทศและการ ต่างประเทศ ไปจนถึงกิจการไปรษณีย์และเหมืองแร่ ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบในเรื่อง การศึกษา สาธารณสุข การเกษตร และการโยธาเปน็ สำ� คัญ แม้ฝา่ ยลาวอิสระจะไมย่ อมรบั ความตกลงจดั ระเบยี บการปกครองคร้ังนี้ แต่ใน ท่ีสุดราชอาณาจักรลาวก็ค่อย ๆ เป็นรูปเป็นร่างข้ึน มีการเลือกต้ังสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยสมาชิก ๔๗ คนในเดอื นธนั วาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ และเปดิ ประชุมครั้งแรกใน วันท่ี ๑๕ มีนาคมปีต่อมา คณะรัฐบาลช่ัวคราวท่ีจัดตั้งขึ้นมีเจ้าสุวรรณรัฐ (Souvan- narath ค.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๖๐) น้องชายต่างมารดาอีกคนหน่ึงของเจ้าเพชรราชเป็นผู้น�ำ หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซ่ึงยืนยันความเป็นรัฐปกครองตนเอง (autono- mous state) ภายในสหภาพฝรั่งเศส ก็มีการเลือกต้ังคร้ังแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๗  ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน มีการจัดประชุมครั้งแรก รัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สมาชิก ๓๕ คนและมี ผุย ชนะนิกร (Phuy Xananikon) เป็นประธาน ได้รับรอง เจ้าสุวรรณรัฐให้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรี ๖ คน รฐั บาลชดุ นจี้ ึงถอื วา่ เป็นรฐั บาลแห่งราชอาณาจักรลาวชดุ แรก พัฒนาการด้านสังคมที่ส�ำคัญในช่วงนี้ คือ ด้านการศึกษา ซึ่งเริ่มได้รับความ สนใจมากขน้ึ มกี ารจดั ตงั้ โรงเรยี นประถมขน้ึ ใหมอ่ กี หลายแหง่ โรงเรยี นมธั ยมตน้ ปาวกี ไ็ ด้ รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนระดับมัธยมปลาย (Lycée) และมีการจัดตั้งโรงเรียนระดับ 126

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มัธยมต้นขึ้นในหลวงพระบาง ปากเซ และสะหวันนะเขต  นักเรียนที่เรียนเก่งท่ีสุดและ เป็นบุตรหลานผู้มีอิทธิพลทางการเมืองก็จะมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงข้ึนในเวียดนาม หรอื ในฝรง่ั เศส การสาธารณสขุ กไ็ ดร้ ับการปรับปรงุ ใหด้ ีข้นึ มีการจัดตงั้ โรงพยาบาลและ ร้านขายยาขึ้นอีก แม้จะยังมีปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากร ในส่วนของการบริหารราชการโดยท่วั ไป เพราะทั้งประเทศมีข้าราชการเพยี ง ๔๐๐ คน และเจ้าหน้าท่ีด้านเทคนิคอีกประมาณ ๗๐๐ คนเท่าน้ัน การพัฒนาบุคลากรอาศัย การเรยี นรใู้ นระหวา่ งการปฏบิ ตั งิ านเปน็ ส�ำคญั เมอ่ื ฝรัง่ เศสเรม่ิ เพล่ยี งพลำ�้ ในสงครามอนิ โดจีน (Indochina War) ท่ีดำ� เนินมา ต้ังแต่ปลาย ค.ศ. ๑๙๔๖ ก็ถูกกดดันโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาให้ยอมตามข้อเรียก รอ้ งของกลุ่มชาตนิ ิยมตา่ ง ๆ ในอินโดจีนมากขึน้ ฝ่ายลาวอิสระทล่ี ี้ภยั อยใู่ นประเทศไทย กลา่ วหารฐั บาลลาววา่ เปน็ เพยี งหนุ่ เชดิ ของฝรงั่ เศส เมอ่ื ถงึ ปลายทศวรรษ ๑๙๔๐ ทกุ ฝา่ ย จงึ เรยี กรอ้ งใหฝ้ รง่ั เศสขยายอำ� นาจการปกครองตนเองใหแ้ กล่ าวมากขนึ้ พวกหวั ไมร่ นุ แรง ในขบวนการลาวอิสระยอมรับการขยายการปกครองตนเองดังกล่าวและกลับเข้ามามี สว่ นรว่ มทางการเมืองในลาว สว่ นกลุ่มชาตินยิ มหวั รนุ แรงในขบวนการที่มีเจา้ สุภานุวงศ์ เปน็ ผู้นำ� ไม่ยอมรบั และแยกตวั ไปเขา้ กับฝา่ ยเวียดมินห์ สถานะของลาวอิสระในช่วงนี้ได้รับผลกระทบจากความเปล่ียนแปลงทาง การเมอื งในประเทศไทย ซงึ่ หนั เหไปสนบั สนนุ สหรฐั อเมรกิ าและฝรงั่ เศสมากขนึ้ ฝา่ ยของ เจ้าสุภานุวงศ์ที่ใกล้ชิดกับเวียดมินห์มาตลอดจึงแทบไม่มีทางเลือกนอกจากหันไปหา เวยี ดมนิ หด์ งั กลา่ วแลว้ ในชว่ งเวลาเดยี วกนั นก้ี ม็ กี ารจดั ตงั้ กองกำ� ลงั ลาวอสิ ระกองแรก มี ไกสอน พมวหิ าน เปน็ ผบู้ งั คบั บญั ชาในเขตตะวนั ออกเฉยี งใตข้ องลาว ซงึ่ จะพฒั นามาเปน็ กองทัพปลดปล่อยประชาชนลาว (Lao People’s Liberation Army) จึงกล่าวได้ว่า ขบวนการคอมมิวนิสต์ลาวเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงน้ีและจะมีบทบาทส�ำคัญ ในเวลาตอ่ มา ขบวนการลาวอิสระสลายตัวอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๙ พวกหวั ไม่รุนแรงในขบวนการน้ี ซ่ึงรวมทัง้ คำ� เมา วไิ ล เจา้ สุวรรณภมู า และกะต่าย ดอน สะสอริต ได้รับการอภัยโทษและเดินทางกลับมาลาว เจ้าเพชรราชยังคงพ�ำนักอยู่ใน 127

สารานกุ รมประวัติศาสตร์ประเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซียน กลมุ่ ผู้น�ำของฝา่ ยปะเทดลาว กรงุ เทพฯ เพราะไมย่ อมประนปี ระนอมกบั ฝรงั่ เศส แตก่ ไ็ มป่ รารถนาจะไปพง่ึ พาเวยี ดมนิ ห์ อย่างไรก็ตาม เม่ือกลุ่มผู้น�ำลาวอิสระกลับมา ก็มีการเจรจาที่จะให้คืนอ�ำนาจให้รัฐบาล ลาวมากขนึ้ โดยเฉพาะการยอมใหม้ กี ารจดั ตง้ั กองทพั แหง่ ชาตลิ าว และหลงั จากตกลงกนั ได้ในเร่ืองน้ีในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๕๐ อังกฤษก็ให้การรับรองเอกราชลาวแม้จะ ยังไม่มีการจัดต้ังสถานเอกอัครราชทูตข้ึนในเวียงจันทน์ก็ตาม จากน้ันก็มีชาติยุโรปและ ลาตินอเมริกาหลายชาติให้การรับรองด้วย รวมทั้งประเทศไทยท่ีมีการแลกเปล่ียน เอกอัครราชทูตกัน  สถานะด้านต่างประเทศของลาวจึงได้รับการยกระดับสูงขึ้น และ แม้วา่ จะยงั ไมไ่ ด้เป็นสมาชกิ องคก์ ารสหประชาชาตจิ นกระท่งั เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ แตก่ ็เข้ารว่ มในองคก์ ารในเครือสหประชาชาตหิ ลายแหง่ การกลับมาของผู้น�ำลาวอิสระมีผลตอ่ การเมืองภายในของลาว โดยเฉพาะเกดิ การแข่งขันระหว่างกลุ่มลาวอิสระกับกลุ่มสนับสนุนฝร่ังเศส มีการจัดต้ังรัฐบาลใหม่ใน เดอื นกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๕๐ โดยมี ผุย ชนะนิกร ผูน้ ำ� ส�ำคญั ของฝา่ ยสนับสนุนฝรง่ั เศส เปน็ นายกรฐั มนตร ี ปญั หาการขาดแคลนบคุ ลากรทำ� ใหพ้ วกทเี่ ขา้ มาใหมเ่ ขา้ มามสี ว่ นรว่ ม ไดไ้ มย่ ากนัก ในการเลอื กต้งั สภาผแู้ ทนราษฎรเม่ือเดอื นสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๕๑ พรรคของ 128

สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่มุ ลาวอิสระไดร้ บั ชัยชนะ แต่กย็ งั ไมไ่ ด้เสยี งขา้ งมากเด็ดขาด ผยุ ชนะนกิ รลาออก เจ้า สุวรรณภูมาจึงได้เป็นผู้น�ำในการจัดต้ังรัฐบาลเป็นครั้งแรก รัฐบาลของเขาด�ำเนินการให้ ฝรง่ั เศสถา่ ยโอนอำ� นาจควบคมุ กจิ การดา้ นตา่ ง ๆ มาเปน็ ของรฐั บาลลาวมากขน้ึ อกี มกี าร จัดทำ� แผนพฒั นาเศรษฐกิจ ๕ ปี (ค.ศ. ๑๙๕๒-๑๙๕๗) และมีความก้าวหนา้ หลายด้าน เชน่ การศึกษา สาธารณสขุ การเกษตร การโยธา ในช่วงน้ี กลุ่มลาวอิสระหัวรุนแรงก็แยกไปด�ำเนินการจัดต้ังขบวนการปฏิวัติ ประกอบด้วยแนวร่วมท่ีเรยี กวา่ “แนวลาวอสิ ระ” (Neo Lao Issara) และรัฐบาลท่ีเรียก ว่า “ปะเทดลาว” (Pathet Lao ชื่อน้ีจะเป็นช่ือท่ีใช้เรียกขบวนการคอมมิวนิสต์ลาวใน เวลาต่อมา) เมอื่ ประกอบกบั กองทพั ปลดปลอ่ ยที่ไดจ้ ดั ตัง้ ข้ึนแล้ว กก็ ลา่ วได้วา่ ขบวนการ คอมมวิ นสิ ตล์ าวกอ่ รปู ขนึ้ แลว้ เกอื บจะโดยสมบรู ณ์ เพยี งแตย่ งั มไิ ดจ้ ดั ตงั้ พรรคคอมมวิ นสิ ต์ ลาวข้ึน เพราะขณะนั้นผู้น�ำคนส�ำคัญ เช่น ไกสอน พมวิหาน ซ่ึงเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม และหนฮู กั พมู สะหวนั รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงเศรษฐกจิ และการคลงั ยงั เปน็ ส่วนหนง่ึ ของพรรคคอมมิวนสิ ต์อนิ โดจนี คนอ่นื ๆ ในคณะรัฐบาลซ่งึ จะเป็นท่ีรูจ้ กั ตอ่ มา นอกจากเจา้ สภุ านวุ งศท์ ดี่ ำ� รงตำ� แหนง่ ประธานาธบิ ดแี ละรฐั มนตรวี า่ การกระทรวง การตา่ งประเทศ เชน่ ภมู ี วงศว์ จิ ติ ร (Phoumi Vongvichit ค.ศ. ๑๙๐๙-๑๙๙๔) รฐั มนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ค�ำไต สีพันดอน (Khamtai Siphandon ค.ศ. ๑๙๒๔-) พนู สปี ะเสิด (Phoun Sipasoet) นอกจากน้นั ยังมีตัวแทนของชนกลมุ่ น้อยเขา้ ร่วมใน คณะรัฐบาลด้วย เพราะการต่อสู้ของขบวนการคอมมิวนิสต์ลาวต้องอาศัยก�ำลังของ ชนกลุ่มน้อยอยา่ งมาก เมื่อมีการยุบพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนใน ค.ศ. ๑๙๕๑ ก็มีการจัดตั้งพรรค คนงานเวยี ดนาม (Vietnam Workers Party หรอื พรรคคอมมวิ นสิ ตเ์ วยี ดนาม) และพรรค คอมมวิ นิสต์กัมพชู าขน้ึ ในปเี ดยี วกนั แต่พรรคคอมมิวนิสต์ในช่อื ว่า พรรคประชาชนลาว (Phak Paxaxon Lao; Lao People’s Party หรือตอ่ มาคือ Lao People’s Revolu- tionary Party) กอ่ ตั้งขนึ้ ภายหลังเมอ่ื วนั ท่ี ๒๒ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ แต่แมก้ ระทัง่ ในชว่ ง ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นอย่างเป็นทางการ ขบวนการปะเทดลาวก็ด�ำเนินการขยาย ฐานมวลชนของตนในเขตชนบทอย่างกว้างขวาง และสามารถขยายฐานปฏิบัติการแบบ 129

สารานุกรมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพือ่ นบา้ นในอาเซียน กองโจรออกไปพรอ้ ม ๆ กนั เม่ือถงึ เดอื นเมษายน ค.ศ. ๑๙๕๓ ขบวนการปะเทดลาวยึด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาวเป็นฐานท่ีม่ันส�ำคัญ โดยเฉพาะซ�ำเหนือซ่ึงเป็นฐาน บญั ชาการของคอมมวิ นสิ ตล์ าวตอ่ มา รวมทงั้ จดั ตง้ั ซำ� เหนอื และพงสาลเี ปน็ เขตปลดปลอ่ ย (liberated zone) ด้วย นับเป็นครั้งแรกท่ีฝ่ายปะเทดลาวมีเขตพ้ืนท่ีปกครองตนเอง จึงกลา่ วได้ว่า ลาวถกู แบง่ ออกเป็น ๒ สว่ นท้งั ในทางการเมืองและการปกครอง ลางพา่ ยแพข้ องฝรงั่ เศสในสงครามอนิ โดจนี ปรากฏชดั ชว่ งนแ้ี ลว้ เชน่ กนั รฐั บาล ฝรงั่ เศสประกาศความต้งั ใจทีจ่ ะมอบเอกราช “สมบรู ณ”์ ให้แกท่ ้ัง ๓ ประเทศอนิ โดจีน การเจรจากบั รฐั บาลลาวสำ� เรจ็ ลลุ ว่ งโดยมกี ารลงนามกนั ในสนธสิ ญั ญามติ รภาพและความ สัมพันธ์กับฝรั่งเศส (Treaty of Friendship and Association with France) เม่ือวันท่ี ๒๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๓ มอบเอกราชสมบูรณ์แกล่ าวซ่ึงยงั คงร่วมอยใู่ นสหภาพฝรง่ั เศส อยา่ งไรกด็ ี ในชว่ งสดุ ทา้ ยของสงครามอนิ โดจนี ปฏบิ ตั กิ ารทางทหารของเวยี ดมนิ หใ์ นลาว มสี ว่ นทำ� ใหข้ บวนการปะเทดลาวขยายพนื้ ทท่ี ยี่ ดึ ครองออกไป ทงั้ ในเขตพน้ื ทชี่ นกลมุ่ นอ้ ย ในลาวภาคกลางและภาคใต้ รวมทง้ั พงสาลแี ละเขตตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของหลวงพระบาง เมื่อมีการจัดการประชุมเจนีวาเพื่อพิจารณาปัญหาอินโดจีน (การประชุมคร้ังนี้เร่ิมข้ึน ๑ วันหลังการพ่ายแพ้ของฝร่ังเศสท่ีเดียนเบียนฟูเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๕๔) หนูฮัก พูมสะหวัน เป็นตวั แทนของฝ่ายปะเทดลาวเขา้ ร่วมประชมุ ด้วย ท่ีประชุมใหก้ าร รบั รองเอกราชของลาว (และกมั พชู า) รบั รองเขตยดึ ครอง ของปะเทดลาวท่ีซ�ำเหนือและพงสาลี และก�ำหนดให้ จดั การเลอื กตง้ั เสรใี น ค.ศ. ๑๙๕๕ เพอ่ื ใหป้ ระชาชนลาว ไดต้ ดั สนิ อนาคตทางการเมอื งของตนเองและสรา้ งความ เปน็ อนั หนง่ึ อนั เดยี วกนั ภายในชาติ แม้จะมีความเห็นไม่ลงรอยกันภายในราช ภมู ี หนอ่ สวรรค์ อาณาจกั รลาววา่ ฝา่ ยปะเทดลาวควรจะเขา้ มามสี ว่ นรว่ ม ทางการเมืองภายหลังเอกราชหรือไม่ รวมท้ังยังมีความ 130

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขดั แยง้ ระหวา่ งรัฐบาลทเ่ี วียงจนั ทน์กับปะเทดลาว แต่ก็ หนฮู ัก พูมสะหวัน มีการจัดการเลือกตั้งข้ึนในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ ใน ๑๐ แขวงจากทั้งหมด ๑๒ แขวง เพราะไม่มีการ จัดการเลือกตั้งใน ๒ แขวงที่เป็นเขตยึดครองของ ปะเทดลาว ซึ่งประณามการเลือกต้ังคร้ังน้ีว่าไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้งมี เจ้าสุวรรณภูมาเปน็ นายกรฐั มนตรี ซึ่งมเี ปา้ หมายหลัก คือ การให้ลาวเป็นกลางและมีความเป็นอันหน่ึง อันเดียวกันภายในชาติด้วยการให้ลาวทุกฝ่ายเข้ามามี ส่วนร่วมทางการเมือง แต่การด�ำเนินงานเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายน้ี นอกจากต้องเผชิญกับกระแสต่อต้านจาก พวกฝา่ ยขวาในลาวเองแลว้ ยงั มคี วามกดดนั จากภายนอก อีกด้วย กล่าวคือ ท้ังรัฐบาลไทยและสหรัฐอเมริกา ไมต่ อ้ งการใหฝ้ า่ ยปะเทดลาวเขา้ มามสี ว่ นรว่ มในรฐั บาลลาว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาพยายามทุกวิถีทางท่ีจะไม่ให้มี การจดั ต้ังรัฐบาลผสมที่มีปะเทดลาวรว่ มอย่ดู ้วย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ฝ่ายปะเทดลาวก็เสริม สร้างความเข้มแข็งมากย่ิงข้ึนทั้งในทางทหารภายใต้ การบังคับบัญชาของ ไกสอน พมวิหาน (เมื่อถึง ค.ศ. ไกสอน พมวิหาร ๑๙๕๖ กองทพั ของปะเทดลาวเพ่ิมขนึ้ ถงึ ๒ เทา่ เปน็ ๑๕ กองพนั ประจำ� การและหนว่ ย สนับสนนุ อกี จำ� นวนหนึง่ ) และในทางการเมืองคอื การจัดต้งั พรรคประชาชนลาว (ต่อมา คือพรรคประชาชนปฏวิ ตั ิลาว) ในเดอื นมีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ ในส่วนของเจ้าสุวรรณภูมานั้น แม้จะถูกต่อต้านขัดขวาง แต่ก็ยังมุ่งม่ันเจรจา กบั เจา้ สภุ านวุ งศข์ องฝา่ ยปะเทดลาวเพอ่ื จดั ตง้ั รฐั บาลผสม การเจรจาประสบความสำ� เรจ็ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๕๖ และในเดือนมีนาคมปีต่อมา เจ้าเพชรราชที่ยังพ�ำนักอยู่ 131

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพือ่ นบ้านในอาเซียน ในประเทศไทยก็เดินทางกลับมาเวียงจันทน์ เพื่อสนับสนุนความตกลงนี้ (และเสียชีวิต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๙) จากนน้ั ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๕๗ สมชั ชา แห่งชาติลาว (สภาผู้แทนราษฎร) ก็ลงมติเป็นเอกฉันท์รับรอง “รัฐบาลชั่วคราวแห่ง การรวมชาติ” (Provisional Government of National Union) รฐั มนตรี ๒ คนของ ฝ่ายปะเทดลาว คือ เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผน ฟื้นฟูบูรณะ และพฒั นาเมือง และภมู ี วงศว์ จิ ิตร เป็นรฐั มนตรีวา่ การกระทรวงศาสนาและวจิ ิตรศลิ ป์ รฐั บาลชุดน้ปี ระกอบด้วยรัฐมนตรีรวมท้ังส้ิน ๑๔ คน มกี ารจดั การเลอื กตงั้ เพม่ิ เตมิ ขน้ึ ในเดอื นพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๕๘ แนวลาวรกั ชาติ (Neo Lao Hak Xat; Lao Patriotic Front) ซ่ึงลงแข่งขันในฐานะตัวแทนของ ปะเทดลาวได้ ๙ ท่ีน่ังจากทง้ั หมด ๒๑ ทีน่ ั่ง พรรคสนั ตภิ าพ (Santiphap) ซงึ่ ได้ ๔ ทีน่ ัง่ ก็เป็นพรรคฝ่ายซ้ายท่ีเป็นแนวร่วมของปะเทดลาว  การเลือกตั้งครั้งน้ีจึงนับเป็นความ ส�ำเร็จของฝ่ายซ้ายท่ีมีการจัดตั้งทางการเมืองดีกว่าและสามารถเข้าถึงประชาชนในเขต ชนบทมากกว่าฝ่ายอื่น ๆ เจ้าสุภานุวงศ์ได้รับเลือกตั้งในเขตเวียงจันทน์ด้วยคะแนน เสียงสูงสุด และได้รับเลือกเป็นประธานสมัชชาแห่งชาติ การเลือกต้ังคร้ังน้ีมีผลเท่ากับ เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลงเจนีวาโดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม รัฐบาล ผสมชุดแรกของลาวด�ำรงอยู่ได้เพียง ๘ เดือนเท่าน้ัน การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะด้วยการระงับความช่วยเหลือจนก่อให้เกิดวิกฤติด้านการเงิน มีส่วนส�ำคัญ ในการบอ่ นทำ� ลายรฐั บาลชดุ นี้ ความยงุ่ เหยงิ ทางการเมอื งทต่ี ามมา รวมทง้ั การยดึ อำ� นาจ โดยร้อยเอก กองแล (Kong Le) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๐ น�ำลาวไปสู่ สงครามกลางเมอื งในที่สดุ มกี ารจัดประชุมเจนวี าครง้ั ที่ ๒ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๖๑ เพอ่ื พิจารณา ปัญหาลาว แต่ก่อนเปิดประชุม กองก�ำลังของฝ่ายปะเทดลาวร่วมกับฝ่ายเป็นกลางที่มี กองแลเปน็ ผนู้ ำ� กค็ วบคมุ พน้ื ท่ี ๒ ใน ๓ ของลาวไวไ้ ดแ้ ลว้ การประชมุ ดำ� เนนิ ไปอยา่ งยดื เยอ้ื สหรฐั อเมริกาและสหภาพโซเวยี ตจงึ ตอ้ งร่วมกันกดดันให้ ๓ เจา้ ลาว คอื เจา้ สวุ รรณภูมา 132

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว เจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาสัก และเจ้าสุภานุวงศ์ ในฐานะตัวแทนของลาวฝ่ายเป็นกลาง ฝ่ายขวา และฝ่ายซา้ ย ตามล�ำดบั ยอมรว่ มประชุมกันในเดอื นมกราคมปีตอ่ มา ขอ้ เสนอ ของฝา่ ยปะเทดลาวทจ่ี ะใหส้ ดั สว่ นในคณะรฐั มนตรขี องฝา่ ยขวาและฝา่ ยซา้ ยมจี ำ� นวนเทา่ กนั และสว่ นใหญเ่ ปน็ ของฝา่ ยเปน็ กลางไดร้ บั การยอมรบั รว่ มกนั แมว้ า่ สหรฐั อเมรกิ าและ นายพลภมู ี หนอ่ สวรรคท์ มี่ อี ำ� นาจคมุ กองทพั ลาวขณะนนั้ จะไมพ่ อใจนกั แตก่ ไ็ มม่ ที างเลอื ก อืน่ ใดทีจ่ ะยตุ กิ ารสู้รบทดี่ ำ� เนินอยูใ่ นลาว นอกจากนน้ั ความไร้ประสิทธิภาพของกองทพั รฐั บาลกท็ ำ� ใหส้ หรฐั อเมรกิ าหมดหวงั ในตวั นายพลภมู ี หนอ่ สวรรคท์ เี่ คยเชอ่ื วา่ จะเปน็ ผนู้ ำ� ทหารท่ีเข้มแข็งในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ดังน้ัน ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงมีการลงนามในความตกลงเจนีวาซึ่งประกาศให้ลาวเป็นกลางและวางแนวทางที่จะให้ หลกั ประกนั ในเรอื่ งน้ ี ผลจากความตกลงนท้ี ำ� ให้มีการจัดตงั้ รัฐบาลผสมชดุ ที่ ๒ ของลาว เจ้าสุวรรณภูมากลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี และมีรัฐมนตรีจากฝ่ายเป็นกลาง ๑๑ คน จากทง้ั หมด ๑๙ คน เม่ือถึงช่วงน้ีสถานการณ์สู้รบในเวียดนามใต้รุนแรงข้ึนพร้อม ๆ กับการขยาย การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น เวียดนามเหนือก็เร่ิมส่งก�ำลังพลและ ยทุ ธสมั ภาระลงมาทางใต้มากขึน้ ซง่ึ ต้องอาศัยเสน้ ทางโฮจิมนิ ห์ (Ho Chi Minh Trail) ที่บางส่วนผ่านดินแดนลาว ท�ำให้เป็นการยากที่ลาวจะรักษาความเป็นกลางไว้ได้ ความ ออ่ นแอและแตกแยกภายในประเทศยงิ่ ทำ� ใหส้ ถานะของลาวเลวรา้ ยลงอกี ลาวแตล่ ะฝา่ ย อาศยั การสนบั สนนุ จากชาตทิ เี่ ปน็ อรกิ นั เปน็ สำ� คญั กลา่ วคอื ปะเทดลาวพงึ่ พาเวยี ดนามเหนอื จนี และสหภาพโซเวยี ต ลาวฝา่ ยขวาแสวงหาการสนบั สนนุ จากไทยและสหรฐั อเมรกิ า ลาว ฝา่ ยเปน็ กลางในเวลาตอ่ มากเ็ อนเอยี งมาทางฝา่ ยตะวนั ตก ยง่ิ ไปกวา่ นนั้ กลมุ่ ฝา่ ยขวาและ ฝ่ายเป็นกลางก็มิได้มีความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันภายใน เช่น ฝ่ายเป็นกลางนอกจาก จะมีพรรคลาวเป็นกลาง (Lao Pen Kang) ท่ีเจ้าสุวรรณภูมาจัดตั้งขนึ้ ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๖๑ ยังมีพรรคอื่น ๆ เช่น พรรคสันติภาพเป็นกลางของกินิม พลเสนา (Kinim Ponsena) ซึ่งใกล้ชิดกับฝ่ายซ้าย และพรรคมิตรภาพท่ีนักศึกษาหัวเอียงซ้าย 133

สารานกุ รมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพ่อื นบ้านในอาเซยี น จดั ตงั้ ขนึ้ รฐั บาลผสม ๓ ฝา่ ยทเ่ี จา้ สวุ รรณภมู าจะเปน็ หลกั ประกนั ใหแ้ กท่ ง้ั ความเปน็ กลาง และความเปน็ อนั หนงึ่ อนั เดยี วกนั ของลาว จงึ ยากจะดำ� รงอยไู่ ดใ้ นทา่ มกลางความขดั แยง้ ท้งั ภายในและภายนอกเชน่ น้ี ในชว่ งปลาย ค.ศ. ๑๙๖๒ ตอ่ กบั ชว่ งปตี อ่ มา มกี ารลอบสงั หารเกดิ ขน้ึ หลายครงั้ ท่ีส�ำคัญคือ การลอบสังหาร กินิม พลเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมอ่ื วนั ที่ ๑ เมษายน ค.ศ. ๑๙๖๓  นอกจากนน้ั ยงั เกดิ การสรู้ บระหวา่ งกองกำ� ลงั ฝา่ ยเปน็ กลางด้วยกันเอง และเม่ือประกอบกับการแทรกแซงจากทั้งเวียดนามเหนือซึ่งยึดพ้ืนที่ ชายแดนด้านตะวันออกของลาวเพื่อปกป้องเส้นทางโฮจิมินห์ และสหรัฐอเมริกาท่ีใช้ “สงครามลับ” (secret war) ทางตอนเหนือของลาวโดยอาศัยกองก�ำลังม้งและกลุ่ม ชาติพนั ธอุ์ ่นื ๆ เพือ่ ตอ่ สกู้ บั คอมมวิ นิสต์ รฐั บาลผสมชดุ ท่ี ๒ ของลาวก็ส้นิ สดุ ลงเมือ่ สน้ิ ค.ศ. ๑๙๖๓ สงครามกลางเมืองในลาวก็เริ่มข้ึนใหม่ และเม่ือถึงช่วงน้ีไม่เพียงแต่ความ เปน็ กลางของลาวจะถกู ทำ� ลาย แตล่ าวยังถูกดงึ เขา้ ไปเปน็ สว่ นหนึง่ ของสงครามอินโดจนี ครงั้ ท่ี ๒ หรือท่ีเรยี กกนั ท่วั ไปวา่ สงครามเวียดนาม (Vietnam War) ตง้ั แตป่ ระมาณกลางทศวรรษ ๑๙๖๐ สหรฐั อเมรกิ าเขา้ ไปแทรกแซงทางทหาร ในเวียดนามอย่างเต็มตัว โจมตีท้ิงระเบิดอย่างหนักในพื้นที่ด้านตะวันออกของลาวเพ่ือ ตอ้ งการทำ� ลายเสน้ ทางโฮจมิ นิ ห์ รวมทงั้ เขตทเ่ี ปน็ ทม่ี นั่ ของฝา่ ยคอมมวิ นสิ ต์ (สหรฐั อเมรกิ า ปฏบิ ตั กิ ารทิ้งระเบดิ ในลาวรวมทัง้ สนิ้ ๕๘๐,๐๐๐ เทีย่ วบนิ เฉล่ยี ๔๐๐ ลูกต่อวนั ในเขต คอมมิวนิสต์ และ ๑๖,๐๐๐ ลกู ตอ่ วนั ในเขตเส้นทางโฮจมิ นิ ห)์ ในขณะที่เวยี ดนามเหนือ ก็ได้ให้การสนับสนุนฝ่ายปะเทดลาวอย่างเต็มท่ี และรุกล้�ำเข้ามาในดินแดนลาวนับคร้ัง ไม่ถ้วน รัฐบาลและกองทัพราชอาณาจักรลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา สญู เสยี พ้นื ที่ควบคมุ ใหแ้ กฝ่ า่ ยปะเทดลาวไปเร่ือย ๆ เม่อื ถงึ ค.ศ. ๑๙๗๒ ฝ่ายปะเทดลาว ก็คุมพื้นที่ได้ประมาณร้อยละ ๘๐ ของประเทศ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันทั้ง ๒ ฝ่าย เจรจาตกลงหยดุ ยงิ กนั และในเดอื นมกราคม ค.ศ. ๑๙๗๓ เมอ่ื สหรฐั อเมรกิ าทำ� ความตกลง หยดุ ยงิ กบั เวยี ดนามเหนอื รฐั บาลลาวจำ� ตอ้ งยอมลงนามในความตกลงฟน้ื ฟสู นั ตภิ าพและ ความปรองดองแหง่ ชาติ (Agreement on the Restoration of Peace and National 134

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว Reconciliation) เม่ือวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน ความตกลงน้ีน�ำไปสู่การจัดตั้ง รฐั บาลผสมชดุ ที่ ๓ ในเดอื นเมษายน ค.ศ. ๑๙๗๔ โดยมเี จา้ สวุ รรณภมู าเปน็ นายกรฐั มนตร ี อย่างไรกด็ ี การส้รู บในเวียดนามและกมั พชู ากย็ ังดำ� เนินตอ่ ไป ชัยชนะของฝา่ ย คอมมิวนิสต์ในเวียดนามและกัมพูชาช่วง ค.ศ. ๑๙๗๔ ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๗๕ ทำ� ใหฝ้ า่ ยขวาในลาวเสยี ขวญั อยา่ งมาก และเมอ่ื เกดิ ความวนุ่ วายทางการเมอื ง (เหตกุ ารณ์ รนุ แรงทส่ี ดุ ในชว่ งนค้ี อื เจา้ บญุ อมุ้ ณ จมั ปาสกั ถกู ขวา้ งระเบดิ ใสร่ ถยนตจ์ นเสยี ชวี ติ ) สมเดจ็ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา (ข้ึนครองราชย์ ค.ศ. ๑๙๕๙ หลังจากสมเด็จเจ้ามหาชีวิต ศรีสวา่ งวงศส์ น้ิ พระชนม์) กท็ รงประกาศยุบสภาเมือ่ วนั ที่ ๑๓ เมษายน ค.ศ. ๑๙๗๕ จาก นั้นรฐั มนตรฝี ่ายขวาในรฐั บาลผสมทง้ั ๕ คน ก็ลาออกและเดนิ ทางเข้าประเทศไทย และ ฝา่ ยปะเทดลาวกย็ ดึ อำ� นาจทางทหารไดห้ มดทงั้ ประเทศในเดอื นตอ่ มา พรอ้ มทง้ั ยดึ อำ� นาจ การปกครองลาวได้อย่างเบ็ดเสร็จเมื่อผู้น�ำปะเทดลาวประกาศจัดตั้งรัฐบาลภายใต้พรรค ประชาชนปฏวิ ตั ลิ าวเมอื่ วนั ที่ ๒ ธนั วาคม ค.ศ. ๑๙๗๕ ราชอาณาจกั รลาวกน็ บั วา่ สน้ิ สดุ ลง แม้ในช้ันแรกรัฐบาลใหม่ของลาวแต่งตั้งให้อดีตเจ้ามหาชีวิตเป็นท่ีปรึกษารัฐบาล แต่ ภายหลัง พรรคประชาชนปฏิวัติลาวก็ได้กุมตัวอดีตเจ้ามหาชีวิตและพระมเหสีไปคุมขัง ในคา่ ยกักกนั จนส้นิ พระชนมใ์ นเวลาตอ่ มา ผ้ทู ีข่ น้ึ มามอี ำ� นาจสูงสุดในลาว คอื ไกสอน สมเด็จเจ้ามหาชวี ิตศรสี วา่ งวฒั นา พมวหิ าน ซงึ่ ดำ� รงตำ� แหนง่ เลขาธกิ ารใหญค่ ณะบรหิ าร และพระนางคำ� ผยุ งานศนู ยก์ ลางพรรคประชาชนปฏวิ ตั ลิ าว และเมอ่ื ฝา่ ย ปะเทดลาวยึดอ�ำนาจการปกครองและเปลี่ยนช่ือ ประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เขาก็ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของระบอบ ใหมน่ ้ี ตอ่ มาใน ค.ศ. ๑๙๙๑ ไดเ้ ป็นประธานประเทศ ต่อจากเจ้าสุภานุวงศ์ประธานประเทศคนแรกจน กระท่ังถึงแก่อสัญกรรมในปีต่อมา ผู้น�ำระดับสูงของ 135

สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพ่ือนบา้ นในอาเซยี น สปป.ลาว ในช่วงแรกน้ีส่วนใหญ่ก็คือสมาชิกดั้งเดิมของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ซ่ึง นอกจาก ไกสอน พมวหิ าน และเจา้ สุภานวุ งศแ์ ล้วยังมหี นฮู กั พูมสะหวนั ภมู ี วงศว์ จิ ิตร ค�ำไต สีพันดอน พูน สีปะเสดิ และสีสะหวาด แก้วบนุ พนั เปน็ ต้น ปจั จบุ ันบคุ คลเหลา่ นี้ ส่วนใหญ่เสียชีวิตหรือวางมือทางการเมืองไปหมดแล้ว ที่ยังมีชีวิตอยู่คือ สีสะหวาด แกว้ บนุ พนั ซงึ่ ยงั เปน็ กรรมการกลางพรรคฯ และคำ� ไต สพี นั ดอน เปน็ ทปี่ รกึ ษาคณะบรหิ าร งานศูนยก์ ลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว รฐั ธรรมนญู ฉบบั ปจั จบุ นั ของลาวประกาศใชเ้ มอื่ ค.ศ. ๑๙๙๑ ซงึ่ กำ� หนดใหล้ าว เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมที่มีลัทธิมากซ์-เลนิน (Marxism-Leninism) เป็นพ้ืนฐาน ด้านอุดมการณ์และมีพรรคการเมืองพรรคเดียวเป็นองค์กรช้ีน�ำประเทศ คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ทางการลาวเรียกระบอบปกครองของตนว่า “ระบอบ ประชาธิปไตยประชาชน” ผ้นู ำ� ปจั จบุ นั นบั เป็นรุ่นที่ ๒ และ ๓  ผู้ดำ� รงตำ� แหน่งประธาน ประเทศในปจั จบุ นั และยงั เปน็ เลขาธกิ ารใหญค่ ณะบรหิ ารงานศนู ยก์ ลางพรรคประชาชน ปฏวิ ตั ลิ าว คอื พลโท จมู มะลี ไซยะสอน (Choummaly Sayasone เกดิ เมอื่ ค.ศ. ๑๙๓๖) สว่ นนายกรฐั มนตรขี องลาวคนปจั จบุ นั คอื ทองสงิ ทำ� มะวง (Thongsing Thammavong เกิดเม่อื ค.ศ. ๑๙๔๔) แม้ว่าปัจจุบันลาวยังคงเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยท่ีสุด (least developed country–LDC) ประเทศหน่ึง แต่ก็ก้าวหน้าไปอย่างมากในหลายด้านในช่วงเกือบ ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา หลังจากท่ีรัฐบาลประกาศปรับเปล่ียนแนวทางการพัฒนาแบบ สงั คมนิยมของตนมาเปน็ “นโยบายจินตนาการใหม่” (new thinking policy) ใน ค.ศ. ๑๙๘๖ นโยบายนต้ี อ่ มาเปลย่ี นเปน็ นโยบายปฏริ ปู หรอื การเปลย่ี นแปลงใหม่ (renovation policy) ในแนวทางเดยี วกบั นโยบาย “โดย่ เมย้ ” (Doi Moi) ของเวยี ดนาม ความมงุ่ หมาย หลกั ประการหนงึ่ ของนโยบายปฏริ ปู คอื เชอื่ มเศรษฐกจิ ของลาวเขา้ กบั ระบบทนุ นยิ มโลก มากขน้ึ [ลาวไดเ้ ขา้ เปน็ สมาชกิ องคก์ ารการคา้ โลก (World Trade Organization–WTO) เม่อื ค.ศ. ๒๐๑๓] เพอ่ื ใหล้ าวเติบโตกา้ วหนา้ ในทางเศรษฐกจิ ได้อยา่ งรวดเร็ว ทงั้ พรรค 136

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชาชนปฏวิ ตั ลิ าวและรฐั บาลลาวไดก้ ำ� หนดวสิ ยั ทศั นท์ จ่ี ะใหล้ าวพน้ จากฐานะความเปน็ ประเทศพฒั นานอ้ ยท่ีสดุ ภายใน ค.ศ. ๒๐๒๐ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme–UNDP) ระบุวา่ ในช่วงประมาณ ๒ ทศวรรษทีผ่ า่ นมา อตั ราความยากจน (poverty rate) ของลาวลดลงจากร้อยละ ๔๖ ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ มาเปน็ รอ้ ยละ ๒๗.๖ ใน ค.ศ. ๒๐๑๔ และก็คาดหมายกันว่าลาวจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal–MDG) ในการลดความยากจนลงไดค้ รง่ึ หนงึ่ ภายใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ความส�ำเร็จของลาวในการสร้างความเติบโตก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและ สังคมในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้การพัฒนามนุษย์ดีข้ึนอย่างมาก ซ่ึงเห็นได้จากดัชนีการ พัฒนามนษุ ย์ (human development index) ในช่วง ค.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๑๒ ซึ่งมีคา่ เพ่มิ ขึ้น เช่น อายเุ ฉลี่ย จ�ำนวนปีทีอ่ ยู่ในโรงเรยี น รายได้ประชาชาติต่อหวั ปจั จบุ นั ลาวอยู่ใน ล�ำดับที่ ๑๓๘ จากจ�ำนวน ๑๘๗ ประเทศตามรายงานการพัฒนามนุษย์ ค.ศ. ๒๐๑๓ (2013 Human Development Report) อยา่ งไรกด็ ี ปญั หาส�ำคัญสำ� หรบั ลาวทงั้ ในปจั จบุ นั และอนาคต คือ ผลพวงจาก การพัฒนาจะตกถึงประชาชนท่ัวไปหรอื ไม่ เพยี งใด ในช่วง ๕ ปที ่ผี ่านมา (ค.ศ. ๒๐๐๙- ๒๐๑๔) ลาวมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉล่ียร้อยละ ๗ ต่อปี แต่ก็ปรากฏว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ระหว่างชายกับหญิง ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และระหว่างผู้ท่ีพ�ำนักอยู่ในภูมิภาคที่ต่างกัน กว้างมากยิ่งข้ึน รัฐบาลจะต้องหาทางลด ชอ่ งวา่ งนใ้ี หไ้ ดห้ ากจะบรรลเุ ปา้ หมายการพฒั นาแหง่ สหสั วรรษทกุ ดา้ นภายใน ค.ศ. ๒๐๑๕ การเติบโตทางเศรษฐกิจของลาวเท่าที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศในการน�ำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์และในการผลิตไฟฟ้าพลังน้�ำ จงึ จำ� เปน็ ตอ้ งทำ� ใหเ้ กดิ การพฒั นาทย่ี ง่ั ยนื และรายไดจ้ ากการพฒั นาในลกั ษณะนต้ี กไปถงึ มือประชาชนอย่างทว่ั ถึง 137

สารานกุ รมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซยี น ปญั หาส�ำคัญอีกประการหน่ึงที่ลาวยังต้องเผชญิ อยู่จนถึงทกุ วนั นี้ คอื การทย่ี งั มีระเบิดท่ียังไม่ระเบิด (unexploded ordnance–UXO) ต้ังแต่สมัยสงครามอินโดจีน คร้งั ที่ ๒ อยอู่ กี เป็นจ�ำนวนมาก ในระหวา่ งสงครามครัง้ นนั้ มีการทิ้งระเบิดลงในลาวกว่า ๒ ลา้ นตนั และประมาณร้อยละ ๓๐ ของระเบิดเหลา่ นัน้ ยังไมร่ ะเบดิ และยังคงมีผลใน การทำ� ลายชวี ิตและจำ� กดั พ้นื ท่ีในการผลติ และการขยายตัวด้านเกษตรกรรมของลาว. (ธรี ะ นชุ เป่ยี ม) 138

สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว บรรณานกุ รม Osborne, Milton. The Mekong: Turbulent past, uncertain future. New York: Grove Press, 2000. Ricklefs, M.C.; Lockhart, Bruce; Lau, Albert; Reyes, Portia and Maitrii Aung-Twin. A New History of Southeast Asia. Basingstoke: Palgrave Macmillan, 2010. Simms, Peter and Sanda. The Kingdoms of Laos: Six hundred years of history. Surrey: Curzon Press, 1999. Stuart-Fox, Martin. A History of Laos. Cambridge: Cambridge University Press, 1997. 139



มาเลเซีย มาเลเซยี Malaysia มาเลเซีย เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศ สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations–ASEAN) ประกอบด้วยคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula) และส่วนเหนือของเกาะบอร์เนียว (Borneo) มาเลเซียมีสถานภาพเป็น สหพันธรัฐ ประกอบด้วยรัฐ ๑๑ รัฐ มีเมืองหลวงชื่อ กัวลาลุมปูร์หรือกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) ใชส้ กุลเงนิ ริงกิต (Ringgit) วันชาตคิ อื วันที่ ๓๑ สิงหาคม มาเลเซียมีเน้ือที่ท้ังหมด ๓๒๙,๗๔๙ ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมดินแดนบน แผ่นดินใหญ่และเกาะเล็ก ๆ ๑๓๑,๕๘๗ ตารางกิโลเมตร ดินแดนบนเกาะบอร์เนียว ซงึ่ เป็นทต่ี ัง้ ของรฐั ซาราวะก์หรอื ซาราวัก (Sarawak) เนอ้ื ท่ี ๑๒๔,๔๔๙ ตารางกิโลเมตร และรฐั ซาบะฮห์ รือซาบาฮ์ (Sabah) เนือ้ ที่ ๗๓,๗๑๓ ตารางกโิ ลเมตร มาเลเซยี สามารถ ติดต่อทางถนนและรถไฟกับประเทศไทยและข้ามช่องแคบโจโฮร์หรือยะโฮร์ (Johor Strait) ไปยังสาธารณรัฐสิงคโปร์  ดินแดนมาเลเซียมีภูเขาเทือกส้ัน ๆ หลายเทือก 141

สารานุกรมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซยี น ทางเหนือซ่ึงลดหล่ันเป็นเขาเต้ีย ๆ และที่ราบไปทางใต้สู่บริเวณท่ีต่�ำโจโฮร์ (Johor Lowlands) โดยท่ัวไป คาบสมทุ รมลายูเป็นเทือกเขาเต้ยี ๆ ซง่ึ แซมด้วยทร่ี าบ ลุ่มที่เพาะปลูกได้ดี บริเวณรัฐซาราวะก์และรัฐซาบะฮ์บนเกาะบอร์เนียวเป็นภูเขาและ ที่ราบทำ� นองเดยี วกนั ยอดเขาสูงสุดในประเทศมาเลเซีย คอื ยอดเขากีนาบาลู (Mount Kinabalu) ซ่ึงสูง ๔,๑๐๑ เมตร อยู่ในรัฐซาบะฮ์ มาเลเซียอุดมด้วยป่าเขตศูนย์สูตร ที่มีฝนชุกซ่ึงมีประมาณร้อยละ ๗๐ ของประเทศ แม่น้�ำเป็นสายส้ัน ๆ ส่วนใหญ่ไหล จากเหนอื ไปใต ้ ผคู้ นมกั อาศยั อยรู่ มิ แมน่ ำ�้ หรอื รมิ ทะเล เพราะตดิ ตอ่ กนั ไดง้ า่ ยกวา่ ทางบก ซึ่งมักเป็นภูเขาและป่าทึบ แม่น�้ำส�ำคัญ ได้แก่ แม่น้�ำราจัง (Rajang) ในรัฐซาราวะก์ ซ่ึงเดินเรือได้ประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร ส่วนแม่น�้ำกีนาบาตังกัน (Kinabatangan) ในรัฐซาบะฮ์เปน็ ทางน้�ำส�ำคญั มากของรัฐ อุณหภูมเิ ฉลีย่ ในมาเลเซีย ๒๗ องศาเซลเซยี ส นำ�้ ฝนเฉลี่ย ๒,๕๕๐ มิลลิเมตร ดินในมาเลเซียไม่ค่อยดีนัก ยกเว้นบริเวณชายฝั่งทะเล แต่เหมาะแก่การปลูก ยางพาราซ่ึงไม่ต้องการดินอุดมสมบูรณ์มาก ต้นสับปะรดก็ปลูกได้ดี บริเวณป่าทึบมีไม้ เศรษฐกิจอยพู่ อควร เชน่ ไมส้ ัก ไม้แกน่ จันทน์ การบรู ไม้ไผ่ มสี ตั วป์ า่ เชน่ ช้าง เสือโคร่ง เสอื ดาว หมี ลิงอุรังอตุ ัง ชะนี แรดจำ� นวนหน่งึ แร่ธาตุที่ส�ำคัญ คือ น้�ำมนั ดบี กุ เหลก็ และทองคำ� ชาวมาเลเซียส่วนใหญ่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเชียน (Austronesian) หรือมาลาโย-พอลินีเชียน (Malayo-Polynesian) ซ่ึงใช้พูดกันมากในบริเวณกลุ่มเกาะ มลายู (Malay Archipelago) เนื่องจากดินแดนนี้คุมช่องแคบเมอลากา (Straits of Melaka) หรอื ช่องแคบมะละกา (Straits of Malacca) ซงึ่ เปน็ เส้นทางเดินเรอื ทส่ี �ำคญั จึงเปน็ ดินแดนทมี่ ีกลุ่มชนหลายกลุม่ มาต้งั ถ่นิ ฐานและผสมผสาน นอกจากชนพน้ื เมืองที่ พูดภาษาตระกลู มาเลย์ ซ่งึ ต่อมาเรยี กว่า ภาษามลายู (Bahasa Melayu) แลว้ ยังมีชน เชือ้ ชาติจนี ซึง่ พูดภาษาจีน ชนเชือ้ ชาติอินเดยี จากอนิ เดยี ใตแ้ ละศรีลงั กา เชน่ ชาวทมฬิ (Tamil) ส่วนในมาเลเซียตะวันออก คือ รัฐซาบะฮ์และซาราวะก์น้ัน นอกจากมีชาวจีน และชาวมลายูแล้วยังมีชนพื้นเมืองด้ังเดิมอีกประมาณ ๒๕ เผ่า เช่น พวกอีบัน (Iban) 142

มาเลเซีย ซ่ึงเรียกอีกชื่อว่า ชาวดายักทะเล (Sea Dayak) อยู่ในรัฐซาราวะก์ และเดิมเป็นนักล่า หวั มนษุ ย ์ ชาวดายกั ทะเลอยใู่ นบา้ นทเ่ี รยี กวา่ บา้ นยาว (Long House) ซง่ึ หลายครอบครวั อยู่ร่วมกัน ส่วนชาวดายักบก (Land Dayak) อยู่บนเขาบริเวณรัฐซาราวะก์ตะวันตก เรยี กอกี ช่ือหน่งึ วา่ บดี ายูฮ์ (Bidayuh) นอกจากนี้ ยงั มชี าวกาดาซนั (Kadazan) ซ่งึ เป็น ชนพน้ื เมอื งกลมุ่ ใหญ่ท่ีสุดในรฐั ซาบะฮ์ ชาวมลายเู ปน็ ชนชาตทิ มี่ จี ำ� นวนมากทสี่ ดุ ในมาเลเซยี คอื ประมาณรอ้ ยละ ๕๖ เป็นชนชาติเดียวกับพวกที่อยู่ในเกาะจาวาหรือชวา (Java) ซูมาเตอราหรือสุมาตรา (Sumatra) ซลู าเวซหี รอื สลุ าเวสี (Sulawesi) และหมเู่ กาะอน่ื ๆ ในอนิ โดนเี ซยี ชาวมลายู มเี ปน็ จำ� นวนมากในบรเิ วณชนบทของรฐั เกอดะฮห์ รอื เกดะห์ (Kedah) เปอรล์ ซิ หรอื ปะลสิ (Perlis) เกอลนั ตนั หรอื กลันตัน (Kelantan) เตอเริงกานู (Terengganu) หรอื ตรังกานู (Trengganu) และปาฮังหรอื ปะหงั (Pahang) อาชีพหลกั คอื ปลูกข้าว และอยู่กันเป็น หมบู่ า้ น (Kampong) พดู ภาษามลายู ซงึ่ ปจั จบุ นั เขยี นดว้ ยอกั ษรโรมนั เลกิ ใชอ้ กั ษรอาหรบั ดังแต่ก่อน ชาวมลายูส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จึงมีมัสยิดเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้าน แม้จะ ยึดม่ันในหลักส�ำคัญ ๕ ประการของอิสลาม ซึ่งได้แก่ เชื่อว่าไม่มีพระเป็นเจ้าอ่ืนใด นอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดคือ เราะซูล (rasul ผู้ประกาศศาสนา) ของอัลลอฮ์ ท�ำพธิ นี มาซหรือละหมาดวนั ละ ๕ คร้งั ถอื ศลี อดในเดือนรอมะฎอน บริจาคซะกาต และ ประกอบพิธีฮัจญ์อย่างน้อย ๑ คร้ังในชีวิต แต่ชาวมลายูบางส่วนก็ยังปฏิบัติตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรษุ เช่น เชอ่ื ผีหรอื ฮันตู (Hantu) ชนชาตอิ น่ื ๆ ในมาเลเซยี ไดแ้ ก่ ชาวจนี มปี ระมาณรอ้ ยละ ๓๒ สว่ นใหญอ่ พยพ เขา้ มาเม่ือปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แลว้ ตง้ั รกรากสืบตอ่ มา ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่ใน บรเิ วณทปี่ ลกู ยางพารา หรอื ทำ� เหมอื งดบี กุ ซงึ่ อยทู่ างฝง่ั ตะวนั ตกของมาเลเซยี แตป่ จั จบุ นั รอ้ ยละ ๗๕ ของชาวจีนจะอยใู่ นเมือง ชาวจนี สว่ นใหญ่นับถือลทั ธขิ งจอ๊ื พระพทุ ธศาสนา ลทั ธเิ ตา๋ หรอื ครสิ ตศ์ าสนา และมกั ผสมผสานความเชอื่ เหลา่ นเ้ี ขา้ ดว้ ยกนั ความเชอื่ สำ� คญั คอื การบชู าบรรพบรุ ษุ นอกจากนย้ี งั ยกยอ่ งวรี บรุ ษุ ทอ้ งถนิ่ เปน็ เทพเจา้ ชาวจนี ในมาเลเซยี แบ่งเป็นกล่มุ ตามภาษาพดู ซง่ึ ไดแ้ ก่ จนี ฮกเกี้ยน กวางต้งุ ฮักกา (แคะ) และแตจ้ ิ๋ว 143