สารานกุ รมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซยี น ในเดอื นสงิ หาคม ค.ศ. ๒๐๐๐ มกี ารพพิ ากษาโทษวา่ อนั วารม์ พี ฤตกิ รรมรกั รว่ ม เพศและถกู จำ� คุกเพิม่ อีก ๙ ปี รวมเปน็ ๑๕ ป ี ตอ่ มาคดีน้ีถูกยกฟอ้ งใน ค.ศ. ๒๐๐๔ หลงั การอทุ ธรณ์ (แต่กถ็ ูกฟอ้ งใหมใ่ น ค.ศ. ๒๐๐๘) ความขัดแยง้ ระหว่างมหาธรี ์กับอนั วาร์ กอ่ ใหเ้ กดิ การขดุ คยุ้ แฉความผดิ ของบคุ คลทงั้ สอง อกี ประการหนงึ่ มหาธรี ป์ ฏเิ สธทจ่ี ะแก้ ปัญหาเศรษฐกิจตามแนวที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (Interna- tional Monetary Fund–IMF) แนะนำ� เพราะเขาเกรงว่าจะกระทบกระเทือนธุรกจิ ของ ชาวมลายูรุ่นใหม่ซึ่งเขาสร้างไว้ต้ังแต่เข้ารับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีคร้ังแรก เขาใช้ มาตรการแก้ไขเศรษฐกิจท่ีตรงกันข้ามกับค�ำแนะน�ำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เช่น ตัง้ กองทุน ๖๐,๐๐๐ ลา้ นริงกติ (RM 60 Billion) เพื่อซอ้ื หุ้นท่ลี ดค่า ซ้ือกลับธุรกจิ ท่ีโอนให้เอกชนไปแล้วด้วยราคาเดิมก่อนเศรษฐกิจตกต่�ำ เช่น ซื้อธุรกิจการบินมาเลเซีย กลับมาเป็นของรัฐโดยให้ราคาสูงเป็น ๒ เท่าของราคาขณะน้ัน บริษัทธุรกิจที่มีนักการ เมอื งเกยี่ วขอ้ งสามารถรบั เงนิ ทนุ สนบั สนนุ จากบรษิ ทั อนื่ ๆ ได ้ สรปุ ไดว้ า่ มหาธรี พ์ ยายาม แกว้ กิ ฤตการณก์ ารเงนิ ดว้ ยการใหเ้ ศรษฐกจิ ลอยตวั และชว่ ยเหลอื ชนชน้ั นายทนุ ชาวมลายู ไปในเวลาเดยี วกัน ความอยุตธิ รรม ความไมโ่ ปร่งใส และประสิทธภิ าพหย่อนยานทเี่ กดิ ขน้ึ จากการแกป้ ญั หาเศรษฐกจิ ดว้ ยวธิ ีการดงั กล่าว ตลอดจนความขดั แย้งระหว่างเขากบั อันวาร์ ท�ำใหม้ หาธีร์เห็นวา่ ตนควรจะวางมือจากการเมือง แม้ว่าจะด�ำรงต�ำแหนง่ นายก รัฐมนตรแี หง่ มาเลเซยี ได้นานกว่านายกรฐั มนตรี ๓ คนทีแ่ ล้วมา เขาประกาศลาออกจาก ต�ำแหน่งใน ค.ศ. ๒๐๐๓ และตั้งอบั ดุลลอฮ์ บนิ ฮะจี อะห์มัด บาดาวี (Abdullah bin Haji Ahmad Badawi) รองนายกรัฐมนตรีขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากเขา มหาธีร์ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้ังแต่ ค.ศ. ๑๙๘๑-๒๐๐๓ รวม ประมาณ ๒๒ ปี ในการเลือกต้ัง ค.ศ. ๒๐๐๔ พรรคบารีซานนาซียอนัลได้เสียงข้างมากอย่าง ท่วมท้น สาเหตุส�ำคัญประการหน่ึงคือ มาจากการก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาโดยกลุ่ม มสุ ลิมหวั รนุ แรงอลั กออดิ ะฮ์ (Al-Qaida) ซึง่ เรยี กตามเวลาท่ีเกิดเหตกุ ารณว์ า่ เหตกุ ารณ์ ๑๑ กันยายน (๙/๑๑) การใช้เคร่ืองบินโจมตีเป้าหมายสัญลักษณ์ในสหรัฐอเมริกา 194
มาเลเซีย พร้อมกนั คอื อาคารเวลิ ด์เทรดเซนเตอร์และอาคารเพนตากอน มีผลส�ำคัญตอ่ การเลอื ก ต้ังเพราะผู้น�ำพรรคปาสหลายคนแสดงความช่ืนชมต่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ที่ก่อ เหตุสลดใจนี้ เป็นเหตใุ หก้ ลุ่มชนทงั้ มสุ ลิมและท่ีมิใช่มุสลิมเกดิ ความหวาดกลวั และหันไป เลอื กอบั ดลุ ลอฮ์ บาดาวซี งึ่ เปน็ มสุ ลมิ ทางสายกลาง อบั ดลุ ลอฮส์ ญั ญาวา่ จะปฏริ ปู ประเทศ เลกิ ระบบการเมืองที่ใชเ้ งนิ ซ้อื เสยี ง และขจัดคอรร์ ัปชนั เพมิ่ รายได้แก่ชาวชนบท ในการเลือกต้ัง ค.ศ. ๒๐๐๘ พรรคบารีซานนาซียอนัลได้คะแนนเสียงลดลง พรรคดีเอพี พรรคปาส และพรรคปาร์ตีเคเอดีลันรักยัตหรือพีเคอาร์ (Parti Keadilan Rakyat–PKR) ซง่ึ รวมกันเปน็ พรรคผสมชนะการเลอื กต้งั ในคาบสมุทรมลายู พรรคพีเค อารซ์ งึ่ อนั วารเ์ ปน็ หวั หนา้ พรรค ไดท้ น่ี งั่ ในสภาถงึ ๓๑ ทน่ี งั่ ทงั้ นี้ เพราะชว่ งทเ่ี ขาไมม่ สี ทิ ธิ์ สมัครรับเลือกต้ังน้ัน เขาสามารถเดินทางไปหาเสียงทั่วประเทศและปลูกความนิยมใน พรรคของเขา พรรคผสมเลือกอับดุลลอฮ์ บาดาวี เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เม่ือถึงเดือน เมษายน ค.ศ. ๒๐๐๙ บาดาวีลาออกจากต�ำแหน่งและให้นะญีบ อับดุล ราซัก (Najib Abdul Razak) บุตรอดตี นายกรฐั มนตรีคนที่ ๒ ขึน้ ด�ำรงตำ� แหนง่ นายกรัฐมนตรี นะญบี นบั เป็นนายกรัฐมนตรีคนท่ี ๖ ในการเลอื กตง้ั ค.ศ. ๒๐๑๓ นะญบี อับดลุ ราซักยังด�ำรง ต�ำแหน่งนายกรฐั มนตรมี าจนถึงปจั จุบนั (ค.ศ. ๒๐๑๕) การเมืองภายในประเทศมาเลเซียมีทีท่ามั่นคงเพราะไม่มีพรรคฝ่ายค้านท่ี เข้มแข็ง อันวาร์ อิบรอฮีมซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านต้องข้อหารักร่วมเพศซึ่งเป็น ความผิดร้ายแรงตามกฎหมายมาเลเซีย เขาย่ืนอุทธรณ์ต่อศาลสหพันธ์ แต่ในท่ีสุด ศาล กพ็ พิ ากษาวา่ เขาผดิ จริงตามหลักฐาน มผี ลให้เขาตอ้ งติดคุกอกี ตัง้ แต่วันท่ี ๑๐ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๑๕ แมจ้ ะพน้ โทษจำ� คกุ ภายใน ๕ ปี เขากจ็ ะขาดคณุ สมบตั ใิ นการสมคั รรบั เลอื ก ตั้งซึ่งจะมีขึ้นใน ค.ศ. ๒๐๑๘ พรรคฝ่ายค้านจะต้องรีบหาผู้น�ำคนใหม่มาแทนอันวาร์ อิบรอฮีม เพอ่ื ท�ำหนา้ ทฝี่ ่ายค้านอยา่ งมีประสิทธิภาพ ในดา้ นการตา่ งประเทศ มาเลเซยี เปน็ สมาชกิ กอ่ ตง้ั ของสมาคมอาเซยี น สมาชกิ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปก (Asia-Pacific Economic 195
สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพื่อนบา้ นในอาเซียน Co-operation–APEC) เปน็ สมาชกิ องคก์ ารการประชมุ อสิ ลามหรอื โอไอซี (Organization of Islamic Conference–OIC) และเป็นสมาชกิ เครอื จักรภพ (Commonwealth of Nations) นอกจากน้ี ยงั เปน็ สมาชกิ ของขบวนการไมฝ่ กั ใฝฝ่ า่ ยใดหรอื นาม (Non-Aligned Movement–NAM) และเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ปัจจุบันเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ สภาความมนั่ คงแหง่ สหประชาชาติ และเป็นประธานของสมาคมอาเซียนใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ซึ่งเป็นต�ำแหน่งหมุนเวียน มาเลเซียยึดนโยบายเป็นกลาง มีความสัมพันธ์อันดีกับทุก ประเทศโดยไม่ค�ำนึงว่าประเทศนั้น ๆ จะมีอุดมการณ์อย่างไร แต่ไม่ยอมรับความเป็น ประเทศของอิสราเอล และไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล มาเลเซียเป็น ผสู้ นับสนุนทแี่ ข็งขนั ของรัฐปาเลสไตน์ ในด้านวัฒนธรรม มาเลเซียมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพราะเป็นดินแดนที่มี ชนชาตหิ ลากหลาย มาเลเซยี อนรุ กั ษแ์ ละสง่ เสรมิ วฒั นธรรมตา่ ง ๆ ในประเทศ ตง้ั แต่ ค.ศ. ๑๙๗๑ รฐั บาลวางนโยบายวฒั นธรรมแหง่ ชาตวิ า่ วฒั นธรรมมาเลเซยี ตอ้ งมพี น้ื ฐานมาจาก วัฒนธรรมของชนพ้ืนเมืองในมาเลเซีย ซ่ึงอาจน�ำวัฒนธรรมอื่น ๆ มาผสมผสานได้ตาม ความเหมาะสม และศาสนาอสิ ลามตอ้ งมบี ทบาทสำ� คญั ในวฒั นธรรมมาเลเซยี รฐั สง่ เสรมิ บาฮาซามาเลเซยี เหนอื ภาษาอนื่ ๆ อยา่ งไรกด็ ี เนอ่ื งจากวฒั นธรรมมาเลเซยี คลา้ ยคลงึ กบั วัฒนธรรมอินโดนีเซียพอควร ท�ำให้ท้ัง ๒ ประเทศอ้างความเป็นเจ้าของ เช่น ดนตรี หัตถกรรม อาหาร กฬี าพน้ื เมืองบางชนิด. (ศรสี ุรางค์ พลู ทรพั ย์) 196
มาเลเซยี บรรณานุกรม AFP. “Malaysia”, Bangkok Post. February 11, 2015. Andaya, Barbara Watson; Andaya, Leonard Y. A History of Malaysia. 2nd ed. Honolulu: University of Hawaii Press, 2001. Baker, Jim. Crossroads: A Popular History of Malaysia and Singapore. 3nd ed. Singapore: Marshall Cavendish International (Asia) Private Ltd., 2014. Encyclopedia Americana: Malaysia. vol. 18, p.160-166. Gagliano, Felix V., 1995. Hooker, Virgina Matheson. A Short History of Malaysia: Linking East and West. Singapore: Allen&Unwin, 2001. Martin, Dan. “Malaysia”, Bangkok Post. February 12, 2015. Ricklefs, M.C.; Lockhart, Bruce; Lau, Albert; Rayes, Portia; Aung-Thwin, Maitrii. A New History of Southeast Asia. Basingstoke: Palgrave Macmillan, 2010. 197
สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา Republic of the Union of Myanmar สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมา เปน็ ประเทศทตี่ งั้ อยใู่ นเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ภาคพื้นทวีป (Mainland Southeast Asia) มีทรัพยากรธรรมชาติท่ีอุดมสมบูรณ์และ มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์อย่างมาก เมียนมาเป็นชาติเก่าแก่ที่มีความรุ่งเรือง ดา้ นอารยธรรมมายาวนาน เดมิ รจู้ กั กนั ในชอื่ พมา่ (Burma) อาณาจกั รโบราณในเมยี นมา เป็นส่วนหน่ึงของอาณาจักรเร่ิมแรกของในภูมิภาคนี้ และเมื่อถึงก่อนสมัยใหม่ เมียนมา เป็นชาติท่ีมีความเข้มแข็งท่ีสุดชาติหน่ึงในภูมิภาค ในสมัยอาณานิคม เมียนมาตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังได้รับเอกราชในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ประสบปัญหาทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากความแตกแยกท้ัง ในบรรดาชนชาติพม่าด้วยกันเองและกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ท่ีต่อต้านรัฐบาลกลาง ความแตกแยกขดั แยง้ นที้ ำ� ใหก้ องทพั เขา้ มายดึ อำ� นาจและปกครองเมยี นมาแบบอยอู่ ยา่ ง โดดเดย่ี วตั้งแต่ต้นทศวรรษ ๑๙๖๐ จนมีการเปลี่ยนแปลงส�ำคัญอีกครั้งตั้งแต่ประมาณ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ เป็นต้นมา ปัจจุบันกล่าวได้ว่าเมียนมาอยู่ในช่วงเปล่ียนผ่าน ท้งั ทางการเมืองและเศรษฐกจิ 199
สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพอื่ นบ้านในอาเซียน ประเทศเมียนมาตั้งอยู่ด้านตะวันตกสุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ ๖๗๖,๕๗๘ ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่ใหญ่ท่ีสุดในภูมิภาคน้ีในแง่ของ การมีเขตพืน้ ท่ีเป็นผนื เดียวติดต่อกัน มีพรมแดนตดิ ต่อกบั ประเทศตา่ ง ๆ ๕ ประเทศ คอื จนี (พรมแดนตดิ ตอ่ กนั ยาวประมาณ ๒,๑๐๐ กโิ ลเมตร) ไทย (ประมาณ ๑,๘๐๐ กโิ ลเมตร) อินเดีย (ประมาณ ๑,๔๐๐ กโิ ลเมตร) ลาว (ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร) และบังกลาเทศ (ประมาณ ๒๐๐ กโิ ลเมตร) เมอื งหลวงคอื กรงุ เนปยีดอ (Naypyidaw) เมียนมามีเทือกเขาท่ีพาดจากเหนือลงมาทางใต้ และค่อย ๆ ลาดต่�ำลงมา เป็นแนวตะวันออกและตะวันตก ได้แก่ เทือกเขาอาระกัน (Arakan) เทือกเขาพะโค [Bago หรือเพะกู (Pegu)] เทอื กเขาชนิ (Chin) และชาน (Shan) ส่วนแม่น้ำ� สายหลัก ไดแ้ ก่ แมน่ ำ้� อริ วดี (Irrawaddy) แมน่ ำ้� ชนิ ดว์ นิ (Chindwin) แมน่ ำ�้ สะโตง (Sittaung) และ แม่น้ำ� สาละวนิ (Salween; Thanlwin) แม่น�้ำเหล่าน้ไี หลลงมาเป็นแนวเดยี วกับเทือกเขา หรอื ระหวา่ งแนวเทอื กเขา พน้ื ทปี่ ระเทศเมยี นมาจงึ ถกู แบง่ เปน็ เขตทร่ี าบยาวและกวา้ งใน แนวเหนือ-ใต้มากกว่าจะเป็นแนวตะวันออก-ตะวันตก ลักษณะทางภูมิศาสตร์เช่นนี้มี สว่ นอยา่ งมากตอ่ พฒั นาการทางวฒั นธรรมและประวตั ศิ าสตร์ของเมยี นมา ในบรรดาเขตทร่ี าบของเมยี นมา เขตทร่ี าบลมุ่ แมน่ ำ�้ อริ วดี ซงึ่ มพี นื้ ทเี่ ปน็ แนวยาว อยู่ตอนกลางของประเทศ เป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์และให้ผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ มากท่ีสุด นอกจากนั้น ยังเป็นเขตท่ีมีประชากรอยู่หนาแน่นมากท่ีสุดด้วย อารยธรรม ท่ีรุ่งเรืองสูงสุดหรือท่ีเรียกว่าอารยธรรมสมัย “คลาสสิก” หรือ “ยุคทอง” ก็ปรากฏใน พ้ืนท่ีส่วนน้ีของประเทศ ในทางการเมืองก็มีอ�ำนาจเข้มแข็งและสามารถควบคุมดินแดน ส่วนอ่ืน ๆ ของประเทศไว้ได้เกือบโดยตลอด ลุ่มแม่น้�ำอิรวดีในส่วนของเมียนมาตอนบน (Upper Myanmar) จึงเรียกได้ว่าเป็น “ดินแดนใจกลาง” (heartland) ของประเทศ อันเป็นดินแดนท่ีแม่น้�ำอิรวดีและแม่น�้ำชินด์วินมาบรรจบกัน และขยายต่อลงมาถึง เมืองแปร (Prome; Pyi) บนฝั่งแม่น�้ำอิรวดีและเมืองตองอู (Toungoo) บนฝั่งแม่น�้ำ สะโตง เขตพื้นท่ีส่วนน้ีมีช่ือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เขตแห้งแล้ง” (Dry Zone) เพราะ มฝี นตกเฉลี่ยเพียง ๑,๑๔๐ มิลลเิ มตรต่อปีเทา่ นั้น 200
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมยี นมา ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ส�ำคัญอีกประการหน่ึงของเมียนมา คือ ทรัพยากร ธรรมชาติ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมิได้น�ำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มท่ี เมียนมาเป็นประเทศท่ีมี ประชากรตง้ั รกรากอยเู่ บาบางทส่ี ดุ แหง่ หนง่ึ ในเอเชยี คอื ๖๙.๙ คนตอ่ ๑ ตารางกโิ ลเมตร และมอี ตั ราการเพมิ่ ของประชากรเพยี งรอ้ ยละ ๐.๗๘ ตอ่ ปี เมยี นมาจงึ สามารถผลติ อาหาร ไดพ้ อเลย้ี งประชากรซง่ึ ปจั จบุ นั มอี ยปู่ ระมาณ ๖๐ ลา้ นคนไดโ้ ดยไมเ่ คยมปี ญั หา ประมาณ ร้อยละ ๔๑ ของพื้นท่ีของประเทศยังเป็นเขตป่าไม้และป่าทึบ และมีอัตราการตัดไม้ ทำ� ลายปา่ ทต่ี ำ่� ทส่ี ดุ เปน็ ลำ� ดบั ๒ ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ และเปน็ แหลง่ ทรพั ยากรปา่ ไม้ ทยี่ งั มไิ ดถ้ กู ทำ� ลายแหลง่ ใหญท่ ส่ี ดุ ในโลก นอกจากนนั้ เมยี นมายงั มแี หลง่ นำ�้ จดื ในปรมิ าณ ตอ่ หัวของประชากรสูงกวา่ ทีม่ อี ยใู่ นอนิ เดียหรือจนี เมียนมาเป็นประเทศที่ขึ้นช่ือใน เรอื่ งอญั มณี โดยเฉพาะทบั ทมิ ซงึ่ ถอื วา่ งดงาม ทส่ี ดุ ในโลกแซฟไฟร์ไพลนิ และหยกทรพั ยากร อย่างอ่ืน ได้แก่ น้�ำมันและก๊าซธรรมชาติ (มีแหล่งส�ำรองน้�ำมันซึ่งยืนยันแล้ว ๕๐ ลา้ นบาเรลและแหลง่ สำ� รองกา๊ ซธรรมชาตอิ กี ๑๐ ลา้ นลา้ นลกู บาศกฟ์ ตุ ) แรธ่ าตุ เชน่ ดบี กุ ทังสเตน ตะก่ัว เงิน ทองแดง และสังกะสี ตลอดจนไมส้ ักและไม้เน้อื แข็งอน่ื ๆ เมยี นมามชี ายฝง่ั ทะเลทยี่ าวถงึ รอ้ ยละ ๔๐ ของพรมแดนประเทศ ซงึ่ ใหผ้ ลผลติ จากทะเลจ�ำนวนมาก พ้ืนที่ทะเลที่ใกล้กับชายฝั่งอุดมไปด้วยปลา กุ้ง และผลผลิตจาก ทะเลอ่ืน ๆ มีอ่าวธรรมชาตอิ ยหู่ ลายแหง่ บนเสน้ ทางการคา้ ของเอเชีย แมบ้ างเมอื งซ่งึ ตง้ั อยบู่ นปากแมน่ ำ้� ทตี่ ืน้ เขินจากดินโคลนตกตะกอน เช่น พะโค พะสมิ (Pathein; Bassein) จนไม่ได้เป็นเมืองท่าส�ำคัญเช่นในอดีต แต่ส่วนใหญ่อยู่บนฝั่งหรือใกล้กับมหาสมุทร จึงยังคงเป็นจุดส�ำคัญส�ำหรับการค้า และดินแดนส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินก็มีความ สำ� คญั มากขนึ้ เพราะเปน็ แหลง่ ปลกู ขา้ ว ดนิ ดอนสามเหลยี่ มเมยี นมา (Myanmar Delta) 201
สารานกุ รมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซียน ซ่ึงเป็นส่วนที่แม่น้�ำอิรวดีแยกเป็น ๙ สาขาเม่ือไหลลงสู่อ่าวเมาะตะมะหรือมะตะบัน (Gulf of Mottama; Martaban) ยังเป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวตลอดเวลา คือ ขยาย ตัวประมาณ ๓ เมตรต่อปี และมีระบบการระบายน้�ำ เป็นเขตปลูกข้าวมาต้ังแต่สมัย อาณานิคม ในช่วงน้ันเขตนี้ดึงดูดผู้คนจากท้ังดินแดนส่วนอ่ืนของเมียนมาและ จากตา่ งประเทศ เมอื่ ถึงกลางครสิ ต์ศตวรรษที่ ๒๐ ยา่ งกุง้ (Yangon; Rangoon) และ เมยี นมาตอนลา่ ง (Lower Myanmar) ก็มปี ระชากรหนาแนน่ ท่ีสุดแห่งหนึง่ ของประเทศ หลักฐานเก่าแก่ที่สุดบ่งบอกว่า ส่วนที่เป็นเขตลุ่มแม่น�้ำในเมียนมามีมนุษย์อยู่ อาศัยต้ังแต่ยุคหินเก่า (Paleolithic Age) หรืออาจจะนานกว่าน้ัน แต่แหล่งต้ังถิ่นฐาน ส่วนใหญ่ของมนุษย์ในช่วงก่อนประวัติศาสตร์อยู่ในยุคหินใหม่ (Neolithic Age) และ ยุคโลหะต่าง ๆ แหล่งต้ังถ่ินฐานเหล่านี้ปรากฏตามแม่น�้ำสายหลักต่าง ๆ และสาขา ของแม่น�้ำเหล่านี้ หรือในเขตใกล้เคียง รัฐโบราณในเมียนมาในยุคต่อ ๆ มาก็อยู่ในเขต แห้งแลง้ ของเมียนมาตอนบนนเี่ อง ปัจจบุ นั เมียนมามีกลมุ่ ชาติพันธุห์ ลักประมาณ ๗ กลุ่มและกลุม่ ย่อย ๆ อกี เป็น จ�ำนวนมาก แต่เกือบทุกกลุม่ อยู่ใน ๓ ตระกูลภาษาจากท้ังหมด ๔ ตระกูลภาษาหลักของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ทิเบต-พม่า ((Tibeto-Burman) ไต-กะได (T’ai-Kadai) ออสโตร-เอเชียตกิ (Austro-Asiatic) และออสโตรนเี ชียน (Austronesian) กลมุ่ ทอ่ี ยใู่ นตระกลู ทเิ บต-พมา่ เปน็ กลมุ่ ใหญท่ ส่ี ดุ รวมแลว้ ประมาณรอ้ ยละ ๘๕ ของประชากรทงั้ หมด ในจ�ำนวนนปี้ ระมาณรอ้ ยละ ๖๙–๗๐ พดู ภาษาพมา่ เป็นภาษาแม่ กลุ่มท่ีพูดภาษากะเหรี่ยงมีจ�ำนวนรองลงมา คือ ประมาณร้อยละ ๖–๗ จากนั้นเป็น กลุ่มท่ีพูดภาษาอาระกันซึ่งเป็นภาษาถ่ินที่มีลักษณะทางภาษาใกล้เคียงกับภาษาพม่า มากทสี่ ดุ มีประมาณรอ้ ยละ ๔ ส่วนทเ่ี หลือเปน็ ชนกลุม่ นอ้ ย เช่น กะฉ่ิน (Kachin) ชิน (Chin) ลสิ ู (Lisu) อาขา่ (Akha) ลาฮู (Lahu) และนาคา (Naga) กลมุ่ ทอี่ ยใู่ นตระกลู ภาษา ไต-กะได เปน็ ประชากรกลมุ่ ใหญล่ ำ� ดบั ที่ ๒ ไดแ้ ก่ ประชากรทพ่ี ดู ภาษาไทยใหญห่ รอื ฉาน ซงึ่ มปี ระมาณรอ้ ยละ ๙ ของประชากรทงั้ หมดในปจั จบุ นั กลมุ่ ในตระกลู ออสโตร-เอเชยี ตกิ นบั 202
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมยี นมา เปน็ กลมุ่ เลก็ ทสี่ ดุ ในบรรดากลมุ่ ชาตพิ นั ธห์ุ ลกั โดยเฉพาะชนชาตมิ อญ มปี ระมาณรอ้ ยละ ๒ ของประชากร และกลมุ่ อืน่ ๆ ในตระกลู น้ี เชน่ ปะหลอ่ ง (Pahaung) วา้ (Wa) กย็ ง่ิ มี ผพู้ ดู ภาษาจำ� นวนนอ้ ยลงไปอกี กลมุ่ ท่ีพูดภาษาตระกูลออสโตรนเี ชียนมีจำ� นวนน้อยมาก ไดแ้ ก่ พวกชนเผา่ ทะเล (sea-gypsies) เชน่ พวกมอแกน (Mogen) ซอแลน (Solen) แหง่ กลมุ่ เกาะมะรดิ (Mergui) ทอี่ ยทู่ างชายฝง่ั ตะวนั ตกของตะนาวศรี (Tenasserim) นอกจากนน้ั ยังมกี ลมุ่ คนท่อี ยู่ในส่วนใต้สดุ ของจังหวดั น้ี ซึง่ พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเชียน ทะเลสาบตองตะมาน กล่มุ ชนเก่าแก่ท่สี ุดกลมุ่ หนึ่งในประเทศเมียนมา คือ พวกพยู (Pyu) กลุ่มชนนี้ ต้ังถ่ินฐานอยู่ในบริเวณเบะตะโน (Beikthano) ฮานลีน (Halin) และ ตะเยคิตะยา (Thayekittaya) หรือท่ีเรียกกันในภาษาสันสกฤตว่า “ศรีเกษตร” (Sriksetra) จากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (carbon dating; radiocarbon dating) 203
สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบา้ นในอาเซียน วัตถุโบราณต่าง ๆ ท่ีพบในเขตดงั กลา่ วแสดงวา่ แหลง่ เบะตะโนมีการต้งั ถ่ินฐานเปน็ เมอื ง มาต้ังแต่ศตวรรษท่ี ๒ ก่อนคริสต์ศักราช วัฒนธรรมพยูอาจมีอยู่ก่อนได้รับอิทธิพล จากวฒั นธรรมอนิ เดยี และรงุ่ เรอื งอยจู่ นกระทงั่ ตน้ สมยั อาณาจกั รพกุ าม (Bagan; Pagan) ต่อมา อาณาจักรพุกามมีชาวพม่าเป็นประชากรหลักซึ่งเป็นกลุ่มชนที่แตกต่างกับพยู แต่ก็มีความใกล้ชิดกันท้ังในด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ในท่ีสุดชนชาติพม่าก็เข้ามา ผสมผสานและกลนื พวกพย ู มหี ลกั ฐานบง่ ชชี้ ดั วา่ รากฐานทางวฒั นธรรมของพกุ ามแทจ้ รงิ แลว้ เปน็ พยู จารึกภาษาพยูที่หลงเหลืออยู่ยังไม่สามารถอ่านได้หมด และยังมีความรู้เก่ียว กบั ยุคนนี้ ้อยมาก เชน่ พระนามกษัตริยไ์ มก่ ี่องค์ในแหลง่ ฮานลีนและศรเี กษตร แตม่ ีหลกั ฐานทางโบราณคดมี ากกวา่ และมีการขดุ ค้นทง้ั ๓ แหลง่ ทกี่ ลา่ วอยา่ งกวา้ งขวาง รวมทั้งท่ี ไมงม์ อ (Maingmaw) ผลจากการขดุ คน้ ทง้ั ๔ แหลง่ ชช้ี ดั วา่ มกี ารตงั้ เมอื งทม่ี กี ำ� แพงลอ้ ม รอบ ซ่งึ คงจะเป็นศนู ย์อำ� นาจของพยู แต่ไม่สามารถระบไุ ด้วา่ เป็นศนู ย์อ�ำนาจอิสระหรอื เช่อื มโยงกันภายใต้อ�ำนาจของเจ้าผคู้ รองคนใดคนหนง่ึ นอกจากน้ัน อาจระบุได้ว่า พยู เป็นกล่มุ ชนทเ่ี ก่าแกท่ ี่สุดกลมุ่ หน่ึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รบั อทิ ธพิ ลวัฒนธรรมบาง อยา่ งของอนิ เดยี เหน็ ได้จากชือ่ “Beikthano” ซึ่งมีความหมายวา่ “นครแห่งพระวษิ ณุ” และมีการค้นพบท่ีบูชาทั้งส�ำหรับเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและพระพุทธเจ้าหลายแห่ง อิทธิพลอินเดียยังปรากฏในงานสถาปัตยกรรม การท�ำเหรียญ และตัวเขียนจารึกหลาก หลาย วตั ถโุ บราณจากแหลง่ ของพยแู สดงวา่ มกี ารเชอ่ื มโยงกบั แหลง่ อนื่ ๆ ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ท่ีได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียและน่านเจ้า (Nanzhao) ในจีนตอน ใต้ มีการขดุ ค้นพบเหรยี ญพยูไกลถึงดนิ ดอนสามเหลี่ยมปากแมน่ ำ้� โขง ซง่ึ แสดงให้เหน็ วา่ วัฒนธรรมและการค้ามาในเสน้ ทางเดียวกนั หลังจากสมัยพยู คือ สมัยพุกาม ซ่ึงเป็นหน่ึงในบรรดาอาณาจักรที่นัก ประวตั ศิ าสตรม์ กั เรยี กวา่ “คลาสสกิ ” ของเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต ้ ในกลางครสิ ตศ์ ตวรรษ ที่ ๙ นา่ นเจา้ โจมตอี าณาจกั รพยสู ดุ ทา้ ยทยี่ งั หลงเหลอื อย ู่ อาณาจกั รพกุ ามกลายเปน็ ศนู ย์ อำ� นาจทีเ่ ขม้ แข็ง สามารถแข่งขนั กบั อาณาจกั รเมอื งพระนคร (Angkor) ของชาวกมั พชู า 204
สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมา ในการขยายอ�ำนาจครอบง�ำดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ศาสนาพุทธ รงุ่ เรอื งในสมยั น ี้ กอ่ นครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๑๑ มหี ลกั ฐานเกย่ี วกบั พกุ ามนอ้ ยมาก แตใ่ นครสิ ต์ ศตวรรษท่ี ๑๑ เรอื่ งราวของกษตั รยิ แ์ ละเหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ ชดั เจนมากขนึ้ เปน็ เรอ่ื งราวของ กษตั รยิ ท์ ท่ี รงอำ� นาจ ๒ พระองค์ คอื พระเจา้ อนริ ทุ ธ์ (Aniruddh; Anawrahta ครองราชย์ ค.ศ. ๑๐๔๔–๑๐๗๗) และพระเจา้ จานสฏิ ฐา (Kyanzittha ครองราชย์ ค.ศ. ๑๐๘๔–๑๑๑๑) ท้ัง ๒ พระองค์ขยายอ�ำนาจอาณาจักรพุกามไปควบคุมพม่าตอนบนท้ังหมดและลงมา ทางใต้จนถึงส่วนท่ีเป็นคาบสมุทร รวมทั้งวางรากฐานการปกครองพุกามมาจนถึงคริสต์ ศตวรรษท่ี ๑๓ พฒั นาการสำ� คญั อกี ประการหนง่ึ คอื พกุ ามเปลยี่ นมารบั พระพทุ ธศาสนา นิกายเถรวาทแบบลงั กาวงศท์ เ่ี ป็นรากฐานของสังคมและวฒั นธรรมพกุ ามตอ่ มา ทงุ่ เจดีย์ เมืองพกุ าม พกุ ามมลี กั ษณะของรฐั โบราณในรปู แบบทเี่ รยี กวา่ “มณั ฑละ” (Mandala หรอื “มณฑล”) คือ เป็นรัฐเครือข่ายท่ีประกอบด้วยแว่นแคว้นหลากหลาย กระจายอ�ำนาจ การปกครองจากศนู ยก์ ลางเพอ่ื ครอบครองดนิ แดนเหลา่ นี้ แตค่ วามสมั พันธก์ บั ศนู ย์กลาง ไม่ปรากฏชัดและมักแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี พุกามมีช่วงท่ีรุ่งเรือง มีเสถียรภาพ มกี ารขยายอำ� นาจอยา่ งตอ่ เนอื่ ง และเจรญิ รงุ่ เรอื งสงู สดุ ในปลายครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๒ ถงึ ตน้ 205
สารานกุ รมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซยี น ครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๑๓ โดยเฉพาะในสมยั พระเจา้ นรปตสิ ทิ ธุ (Narapatisithu ครองราชย์ ค.ศ. ๑๑๗๓–๑๒๑๐) และพระเจา้ นดวงมยา (Nadaungmya ครองราชย์ ค.ศ. ๑๒๑๐–๑๒๓๔) ในชว่ งนพี้ กุ ามมอี ำ� นาจครอบคลมุ เขตทร่ี าบของเมยี นมาปจั จบุ นั ชนชนั้ ปกครองของพกุ าม มัง่ ค่ังและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เห็นไดจ้ ากการสร้างวัดข้ึนใหม่อีกเป็นจ�ำนวนมาก ในทศวรรษ ๑๒๗๐ ราชวงศห์ ยวน (Yuan) หรอื มองโกลของจนี ขยายอ�ำนาจ ลงมาถงึ เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ทำ� ใหเ้ กดิ การรบพงุ่ กบั พกุ ามยดื เยอื้ หลายปี แมพ้ กุ ามจะ อาศยั การทตู ชว่ ยผอ่ นคลายความตงึ เครยี ดไดบ้ า้ งในทศวรรษตอ่ มา แตใ่ นทส่ี ดุ พวกมองโกล ก็เข้ามารุกรานคร้ังใหญ่ใน ค.ศ. ๑๒๘๘ แม้ว่าพวกมองโกลไม่อาจยึดนครหลวงและ อาณาจกั รพกุ ามได้ แตก่ ท็ ำ� ใหพ้ กุ ามเสอื่ มอำ� นาจและออ่ นแอลง ประกอบกบั ความขดั แยง้ ภายในและกบฏของพวกมอญในเขตพม่าตอนล่าง พุกามจึงล่มสลายลงในปลายคริสต์ ศตวรรษท่ี ๑๓ กษัตรยิ อ์ งคส์ ุดท้ายของพุกามถกู “สามพ่นี อ้ งไทยใหญ่” (Three Shan Brothers) โค่นล้ม แม้ไม่อาจระบุชาติพันธุ์ของบุคคลเหล่านี้ได้แน่ชัดก็ตาม พุกามก็ เช่นเดียวกับอาณาจักรเมืองพระนครภายหลังการย้ายนครหลวงลงมาทางใต้ ที่ยังคงมี อทิ ธพิ ลตอ่ ส�ำนกึ และวฒั นธรรมของพมา่ ตอ่ มา หลงั จากนนั้ กษตั รยิ ต์ า่ ง ๆ มกั เสรมิ สรา้ ง อ�ำนาจดว้ ยการอ้างวา่ สบื เชื้อสายมาจากราชวงศ์พกุ าม หลังสมัยพกุ าม มีศูนยอ์ �ำนาจปรากฏขึน้ ๔ แหง่ แห่งแรกอยู่ในเขตภเู ขาทาง ตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาปัจจุบัน เป็นเขตที่มีพวกไทยใหญ่เคยอพยพเข้ามาตั้ง หลักแหล่งจากถ่ินเดิมแถบพรมแดนจีนกับเวียดนาม ในระยะใกล้เคียงกันน้ี มีการก่อตั้ง อาณาจกั รองั วะ (Ava) ซงึ่ เป็นศูนยอ์ �ำนาจท่ี ๒ ในชว่ ง ค.ศ. ๑๓๖๔–๑๓๖๕ และเปน็ นครหลวงแห่งใหม่ในพมา่ ตอนบน อาณาจกั รใหมน่ ้ี เชอื้ สาย ๓ องคข์ องราชวงศพ์ ุกาม ยังคงจารีตหลายอย่างของพุกามไว้ ความสัมพันธ์ของอังวะกับอาณาจักรของไทยใหญ่ มีท้ังขัดแย้งและร่วมมือกัน ศูนย์อ�ำนาจท่ี ๓ เป็นอาณาจักรที่ค่อนข้างเอกเทศอยู่ใน เขตตะวันตกของอาระกันหรือยะไข่ (Rakhine) อังวะไม่สามารถควบคุมอาณาจักรนี้ได้ จงึ ยอมรบั มะรวก-อ ู (Mrauk-U) ซง่ึ เปน็ ศนู ยอ์ ำ� นาจของอาระกนั วา่ เปน็ อาณาจกั รอสิ ระ และศนู ยอ์ ำ� นาจแห่งท่ี ๔ คอื อาณาจกั รรามัญ (Ramanna) ของพวกมอญ ในเขตพม่า 206
สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมียนมา ตอนลา่ งทพี่ ะโคหรอื หงสาวดี พวกมอญถอื โอกาสสรา้ งอำ� นาจของตนในชว่ งทศ่ี นู ยอ์ ำ� นาจ ในเขตพมา่ ตอนบนออ่ นแอลง นอกจากนั้น มอญยงั ได้เปรยี บทไี่ มไ่ ด้อยใู่ นเขตทไี่ ทยใหญ่ จะรกุ รานได้ และอยู่ใกลก้ บั แหลง่ การค้าทางทะเลท่กี �ำลังขยายตวั อาระกนั มพี ฒั นาการ ทง้ั ในด้านการเมอื งและเศรษฐกจิ ผกู พนั กบั การคา้ ในย่านอ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) และเครือข่ายการค้าของมุสลิมท่ีก�ำลังขยายตัวอยู่ขณะนั้น แต่ก็มีจารีตด้านภาษาและ วัฒนธรรมรว่ มกบั พม่าตอนบนอยู่มาก กลางครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๓ จนถงึ กลางครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๕ เปน็ ชว่ งทศ่ี นู ยอ์ ำ� นาจ และชมุ ชนตา่ ง ๆ ทต่ี ง้ั อยบู่ นเสน้ ทางแมน่ �้ำอริ วดไี มส่ ามารถรวมตวั กนั ได้ แตใ่ นปลายครสิ ต์ ศตวรรษที่ ๑๕ ต่อตน้ ครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๖ ความเป็นอันหน่ึงอนั เดียวกันทางการเมืองก็ กลับมาใหม่ ในช่วงนีศ้ นู ยอ์ ำ� นาจเปลย่ี นลงมาทางใตไ้ ปอยทู่ ่เี มอื งตองอู ซงึ่ ขณะนน้ั อยใู่ น สถานะท่ีสามารถสืบทอดมรดกของสมัยพุกามได้ กล่าวคือ ตองอูเป็นพม่าโดยชาติพันธุ์ สามารถรวบรวมชาวพม่าที่หนีความวุ่นวายจากการรุกรานของไทยใหญ่ในพม่าตอนบน มาแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ในพม่าตอนล่าง นอกจากน้ัน ตองอูยังมีผู้น�ำท่ีมี บุคลิกและความสามารถท่ีครองใจคนได้ ตองอูเร่ิมขยายอ�ำนาจตั้งแต่ทศวรรษ ๑๓๕๐ ดว้ ยการรกุ รานจอ๊ กเซ (Kyaukse) ซ่ึงเปน็ อู่ข้าวอู่นำ้� ของพมา่ ตอนบน และขณะนนั้ อยู่ใต้ อ�ำนาจของอังวะแต่เพียงในนาม ในช่วงน้ี อังวะอ่อนแอลงมากแล้ว ดังนั้น ตั้งแต่ปลาย คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ จนถึงคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๖ ในสมัยพระเจ้ามิงยินโย (Mingyinyo ครองราชย์ ค.ศ. ๑๔๘๖–๑๕๓๑) ตองอกู ม็ อี ำ� นาจและอทิ ธพิ ลทงั้ ทางการเมอื ง เศรษฐกจิ และวฒั นธรรมแทนท่ีองั วะ ตอ่ มา พระเจา้ ตะเบง็ ชะเวตี้ (Tabinshweihti ครองราชย์ ค.ศ. ๑๕๓๑–๑๕๕๐) ได้สืบทอดนโยบายขยายอ�ำนาจและดินแดนของพระเจ้ามิงยินโยซ่ึงมุ่งสร้างฐานอ�ำนาจ ของตองอใู นเขตพม่าตอนลา่ ง พระองค์ทรงตระหนักในศกั ยภาพดา้ นการคา้ ของดนิ แดน ชายฝงั่ ทะเล จึงไดย้ ดึ เมืองทา่ สำ� คญั ของมอญคอื พะโค เมอ่ื ค.ศ. ๑๕๓๙ ด้วยความช่วย เหลอื ของทหารรบั จา้ งมสุ ลมิ และสถาปนาเมอื งพะโคเปน็ นครหลวงแหง่ ราชวงศต์ องอใู หม่ พะโคยังเป็นแหล่งท่ีมาของรายได้จากการค้าทางทะเล (ภาษีการค้า การผูกขาด 207
สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพือ่ นบา้ นในอาเซียน พระราชวงั บเุ รงนอง และภาษีผ่านทาง) อีกด้วย ต่อมา พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung ครองราชย์ ค.ศ. ๑๕๕๑–๑๕๘๑) ทรงรวมพม่าตอนบนและตอนล่างเข้าด้วยกันได้เป็นครั้งแรกหลังจาก สมยั พกุ าม ประกาศพระองค์เปน็ “จักรวารติน” (cakkavartin แปลวา่ ผู้พชิ ติ จักรวาล) ตามแบบแผนของพระเจ้าอโศกมหาราช (Ashoka ครองราชย์ ๓๐๔–๒๓๒ ปกี อ่ นครสิ ต์ ศักราช) แห่งอินเดีย และเลียนแบบพระเจ้าอโนรธาและพระเจ้าจานสิฏฐาแห่งพุกาม การขยายอ�ำนาจขึ้นไปตอนเหนือท�ำให้พม่าตอนบนซ่ึงยังมีอาณาจักรอังวะปกครองอยู่ บางส่วนของมณีปุระ (Manipur) และอาณาจักรฉานหรือไทยใหญ่ท้ังหมดตกเป็นรัฐ บรรณาการของพะโค การทพ่ี ระจา้ บเุ รงนองทรงรวบรวมกำ� ลงั เพมิ่ ขนึ้ เปน็ จำ� นวนมาก ทำ� ใหส้ ามารถ พชิ ติ กรงุ ศรอี ยธุ ยาไดใ้ น ค.ศ. ๑๕๖๙ และขยายอำ� นาจไปถงึ อาณาจกั รลา้ นนาและลา้ นชา้ ง 208
สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมา พระเจา้ บเุ รงนองทรงเปน็ กษตั รยิ ท์ ปี่ กครองดนิ แดนทก่ี วา้ งใหญท่ สี่ ดุ ในประวตั ศิ าสตรข์ อง เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ คอื ครอบคลมุ ตงั้ แตอ่ าระกนั จนถงึ เขตแดนกมั พชู า และจากพมา่ ตอนลา่ งไปจนถึงชายแดนหยุนหนานหรอื ยนู นาน (Yunnan) ของจนี เมื่อพระเจ้าบเุ รงนองสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. ๑๕๘๑ ก็เกดิ การแย่งชิงราชสมบตั ิ กัน เมืองข้ึนต่าง ๆ จึงถือโอกาสแยกตัวออกไป การที่พม่าพยายามพิชิตอาณาจักรไทย ตา่ ง ๆ ท�ำให้สญู เสียท้ังทรพั ยากรและกำ� ลังคน เจ้าผู้ครองที่เคยขึน้ ตอ่ พะโค โดยเฉพาะ ตองอู อาระกนั และอยุธยา ก็ยกกองทัพมารกุ รานและเผาเมอื งพะโคใน ค.ศ. ๑๕๙๙ ภายหลังสงครามทยี่ ดื เยื้ออยหู่ ลายปี องั วะกไ็ ด้รบั การฟนื้ ฟขู ้ึนเปน็ ศนู ยอ์ �ำนาจ ใหม่ในทศวรรษ ๑๖๓๐–๑๖๕๐ เชื้อสายของราชวงศ์ตองอูท่ีล่มสลายไปแล้วมาหลบ ภัยอยู่ที่นี่ การร้ือฟื้นศูนย์อ�ำนาจท่ีอังวะ ท�ำให้เกิดความเกี่ยวพันระหว่างพม่าตอนบน กับพม่าตอนล่าง เศรษฐกิจของพม่าในช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๔–๑๖ อยู่ท่ีการขยาย พื้นที่การเกษตรออกไป การค้ากับจีนผ่านหยุนหนาน และดินแดนพม่าตอนล่างที่เป็น ศนู ย์กลางด้านการคา้ ระหว่างภูมภิ าค มสี ว่ นส�ำคญั ในการเก้ือหนุนตลาดของจีน อินเดยี และหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่พื้นท่ีซ่ึงถือว่าเป็น “ดินแดนใจกลาง” ของ ชมุ ชนพมา่ ทงั้ ในอดตี และปจั จบุ นั คอื “เขตแหง้ แลง้ ” ของพมา่ ตอนบน ดนิ แดนสว่ นนเี้ ปน็ รากฐานของอารยธรรมดงั้ เดมิ ของพมา่ เปน็ ดนิ แดนทพี่ มา่ ไดเ้ ปรยี บทงั้ ในดา้ นการเกษตร และประชากร (ก่อนหน้าสมัยอาณานิคมพม่าตอนบนสามารถผลิตข้าวได้มากกว่าพม่า ตอนล่าง) เมื่อมีการฟื้นฟูอังวะเป็นศูนย์อ�ำนาจใหม่ของพม่า นอกจากฟื้นฟูโอกาส ทางเศรษฐกจิ กบั หยนุ หนานแล้ว ยังมีการปรับโครงสร้างทางกฎหมายและเศรษฐกจิ การ คลงั ตลอดจนความสมั พนั ธใ์ กลช้ ดิ กบั คณะสงฆ์ ขณะเดยี วกนั กม็ กี ารฟน้ื ฟพู ลงั และความ สร้างสรรค์ของพะโคซง่ึ มคี วามเป็น “สากล” (cosmopolitan) มากกว่า ให้ผสมผสาน กับพน้ื ฐานทางการเกษตรที่ยงั่ ยืนของพมา่ ตอนบนดว้ ย อย่างไรก็ตาม คร่ึงหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ อังวะเริ่มเสื่อมอ�ำนาจ ส่วนหนงึ่ มาจากความแตกแยกภายใน ราชส�ำนักไม่สามารถควบคุมเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้อีกต่อไป 209
สารานกุ รมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพือ่ นบ้านในอาเซียน นอกจากนน้ั บรรดาขนุ นางกเ็ พมิ่ อำ� นาจดว้ ยการยกั ยอกเงนิ และทรพั ยากรจากสว่ นกลาง มาสนบั สนนุ เครอื ขา่ ยระบบอปุ ถมั ภข์ องตน ทำ� ใหก้ ารสบื ทอดอำ� นาจไมส่ ามารถเปน็ ไปได้ อย่างราบร่ืน เป็นปัญหาท่ีพม่าประสบมาตลอดช่วงประวัติศาสตร์ การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ในราชสำ� นกั ในปลายทศวรรษ ๑๖๐๐ และตน้ ทศวรรษ ๑๗๐๐ สง่ ผลตอ่ การควบคมุ บงั คบั บญั ชาการทพั ทง้ั ยงั มปี ญั หาเจา้ นายทแี่ ยง่ ชงิ อำ� นาจกนั และคณะสงฆท์ มี่ บี ทบาทสำ� คญั ใน สงั คมพม่า นอกจากนี้ อังวะยังตอ้ งเผชญิ กับการรุกรานจากมณีปรุ ะ การกบฏของแควน้ ไทยใหญ่ตา่ ง ๆ และการแข็งข้อของอาณาจักรมอญทพี่ ะโค ใน ค.ศ. ๑๗๕๒ พระยาทะละ (Binya Dala) กษัตริยพ์ ะโคนำ� กองทพั มารกุ ราน ส่งผลใหอ้ ังวะสิน้ อ�ำนาจลง ในทศวรรษ ๑๗๕๐ ผู้น�ำท้องถ่ินคนหนึ่ง ช่ือ อลองพญา (Alaungpaya) สามารถเอาชนะคู่แข่งคนอื่น ๆ และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์อังวะ (ครองราชย์ ค.ศ. ๑๗๕๒–๑๗๖๐) ต้ังราชวงศ์อลองพญาหรือคองบอง (Konbaung Dynasty) จากน้ันกย็ กทัพไปพชิ ติ พะโคและศนู ย์อ�ำนาจต่าง ๆ ทีอ่ ย่ใู นเครือขา่ ยของอาณาจกั รมอญ ได้ส�ำเร็จใน ค.ศ. ๑๗๕๗ ชัยชนะครั้งน้ีท�ำให้มอญไม่สามารถฟื้นอ�ำนาจขึ้นมาได้ อีกเลย อีก ๒ ปีต่อมา พระเจ้าอลองพญา สามารถเอาชนะพวกไทยใหญ่และได้ ปกครองมณีปุระ ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาอีกหลายองค์ เช่น พระเจ้ามังระ (Hsinbyushin ครองราชย์ ค.ศ. ๑๗๖๓– ๑๗๗๖) พระเจ้าปะดุง (Bodawpya ครอง ราชย์ ค.ศ. ๑๗๘๒–๑๘๑๙) พระเจ้าบายีดอ (Bagyidaw ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๑๙–๑๗๓๗) พระเจ้ามินดง มิน (Mindon Min ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๕๓–๑๘๗๘) และพระเจา้ สปี อ่ (Thibaw ครองราชย์ ค.ศ. ๑๘๗๗–๑๘๘๕) ซง่ึ เปน็ กษตั รยิ ์ องคส์ ุดท้ายของพม่า พระเจา้ สปี อ่ และพระนางศุภยาลัต 210
สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมา เหตกุ ารณส์ ำ� คญั ในสมยั ราชวงศ์คองบอง คอื การทำ� ศกึ ปราบไทยใหญ่ จัดการ ความขัดแย้งกับจีนในปัญหาหยุนหนาน ท�ำศึกกับอยุธยา และโยกย้ายประชากรไปต้ัง ถิ่นฐานใหม่ในเขตดินดอนสามเหล่ียม แสดงถึงความพยายามของราชส�ำนักที่จะจัด ระเบยี บการควบคุมประชากร ก�ำหนดพรมแดนของอาณาจกั ร และสร้างอำ� นาจควบคุม ดินแดนส่วนต่าง ๆ ในพม่า ส่วนปัญหาที่ราชส�ำนักคองบองเผชิญก็เป็นปัญหาเดียวกับ กษัตริย์องค์อ่ืน ๆ ของพม่าก่อนหน้านั้น คือ ปัญหาการแบ่งแยกในราชส�ำนัก การแข่ง อำ� นาจกนั ของขนุ นาง และคณะสงฆท์ แ่ี มจ้ ะแตกแยกแตก่ ย็ งั มอี ทิ ธพิ ลทางการเมอื งอยมู่ าก อย่างไรก็ดี ปัญหาสำ� คัญท่สี ุดทท่ี �ำให้พมา่ สูญเสียเอกราช คือ ปญั หาพรมแดน ดา้ นตะวนั ตก อนั เปน็ ปญั หาทพี่ มา่ ไมเ่ คยเผชญิ มากอ่ น นอกจากนนั้ ราชสำ� นกั และกองทพั พม่ายังขาดประสบการณ์โดยเฉพาะความสามารถทางทหารและโลกทัศน์ของบริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India Company) ปัญหาน้ีสืบเน่ืองจาก ทง้ั นโยบายขยายอำ� นาจของพมา่ ในครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๘ ทพ่ี ยายามผนวกดนิ แดนทอี่ ยทู่ าง พรมแดนดา้ นตะวนั ตกมาเปน็ ของพมา่ และการขยายอทิ ธพิ ลของบรษิ ทั อนิ เดยี ตะวนั ออก ของอังกฤษ อาณาจกั รท่ีมลี ักษณะกงึ่ อิสระ ๓ แห่ง คอื อาระกัน มณีปุระ (Manipur) และอัสสัม เคยเป็นดินแดนกันกระทบระหว่างอาณานิคมอังกฤษในอินเดียกับดินแดน อาณาจักรอังวะของพม่า แต่ในต้นคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๙ พม่าเข้ามามีอ�ำนาจมากขึ้น ในดินแดนเหล่าน้ี ท�ำใหเ้ จ้าหน้าที่อังกฤษทงั้ ในลอนดอนและกลั กตั ตา (Calcutta) หรอื โกลกาตา (Kolkata) วติ กกงั วลในเรอื่ งความมน่ั คงปลอดภยั จงึ สง่ กำ� ลงั ทหารไปประจำ� อยู่ ตามชายแดนเพ่อื ปอ้ งกนั การรกุ ล�ำ้ ของกองก�ำลงั พมา่ ความหวาดระแวง การขาดความรู้ ความเขา้ ใจ และความเช่ือมั่นในตนเองมากเกนิ ไปของท้งั ๒ ฝ่าย ท�ำใหก้ ารแก้ปญั หาเป็น ไปโดยยากและสลบั ซบั ซอ้ นขน้ึ และท�ำใหอ้ งั กฤษรุกคบื หน้าจนสามารถยดึ ครองพมา่ ได้ การท่ีอังกฤษยึดครองพม่าได้เป็นผลมาจากสงครามอังกฤษ-พม่า (Anglo- Burmese Wars) ๓ คร้ังด้วยกัน ได้แก่ สงครามครั้งที่ ๑ ค.ศ. ๑๘๒๔–๑๘๒๖ พม่าต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ๑ ล้านปอนด์ และต้องยกอัสสัมมณีปุระ อาระกัน และตะนาวศรี ให้แก่องั กฤษ สงครามครั้งท่ี ๒ ค.ศ. ๑๘๕๒–๑๘๕๓ พม่าเสยี พะโคและ 211
สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซยี น กองเรืออังกฤษเขา้ โจมตีรา่ งกุง้ ค.ศ. ๑๘๒๔ ดนิ แดนพมา่ ตอนล่างใหแ้ ก่อังกฤษ และสงครามครง้ั ท่ี ๓ ค.ศ. ๑๘๘๕ พม่าเสียดนิ แดน ท่ีเหลือคือ ดินแดนพม่าตอนบนให้แก่อังกฤษ ซึ่งหมายถึงการสูญเสียเอกราชของพม่า ใหแ้ ก่องั กฤษโดยสมบูรณ์ องั กฤษผนวกพม่าและประกาศเมอ่ื วนั ที่ ๒๖ กุมภาพนั ธ์ ค.ศ. ๑๘๘๖ ให้พม่า ทเี่ คยเปน็ อาณาจกั รยงิ่ ใหญ่ เปน็ จงั หวดั หนงึ่ ของอนิ เดยี ซงึ่ ขณะนนั้ อยภู่ ายใตก้ ารปกครอง ขององั กฤษ เนรเทศกษตั รยิ พ์ มา่ ไปอนิ เดยี ชาวพมา่ โดยเฉพาะในเขตชนบทตอ่ ตา้ นองั กฤษ อยู่ได้ไม่นานนักเพราะขาดผู้น�ำ เม่ือถึง ค.ศ. ๑๘๘๗ ชาวพม่าที่อยู่ในชุมชนหมู่บ้าน ต่าง ๆ ก็เร่ิมเข้ามาอยู่ฝ่ายอังกฤษ พ่อค้าและพระภิกษุก็มีส่วนในการเช่ือมประสาน เจ้าหน้าท่ีอังกฤษกับชุมชนเหล่านี้ นอกจากนั้น โครงการที่อังกฤษด�ำริข้ึน เช่น การ ก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมเมืองตองอูกับมัณฑะเลย์ (Toungoo-Mandalay Railway) กเ็ ปน็ ทยี่ อมรบั ของชาวพมา่ ทม่ี งี านทำ� สว่ นดนิ แดนทอ่ี ยขู่ อบนอกซงึ่ สว่ นใหญเ่ ปน็ ชาตพิ นั ธ์ุ หลากหลายยงั คงตอ้ งใชก้ ำ� ลงั ทหารควบคมุ เพราะยงั มกี ารตอ่ ตา้ นจากพวกกะฉน่ิ และชนิ 212
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา แต่กลุ่มชาติพันธุ์เหล่าน้ีจ�ำนวนมากก็สามารถบูรณาการเข้ามาเป็นส่วนหน่ึงของพม่าได้ ด้วยการแตง่ ตั้งเจ้าหน้าท่ีการเมอื งข้นึ มาบรหิ ารกิจการของชุมชนเหล่าน้ี พระราชบัญญัติรัฐฉาน (Shan States Act) ค.ศ. ๑๘๘๘ ก�ำหนดให้มี “ผกู้ ำ� กบั ” (superintendent) ชาวองั กฤษทำ� หนา้ ทร่ี ะงบั ขอ้ พพิ าท ใหก้ ารรบั รองสถานะ ของเจ้าไทยใหญ่ท่ีให้ความร่วมมือและส่งบรรณาการเป็นรายปี เจ้าไทยใหญ่เหล่าน้ี มอี ำ� นาจทางกฎหมายอยา่ งจำ� กดั ในขณะทอ่ี งั กฤษมสี ทิ ธเิ หนอื ทรพั ยากรธรรมชาตทิ งั้ หมด ในดินแดนนน้ั ๆ และเขา้ ควบคุมกิจการท้องถ่นิ เมือ่ มคี วามจ�ำเปน็ เขตปกครองอ่นื ๆ เช่น บริเวณสาละวนิ -เชียงตุง (Salween-Kengtung) ซึ่งมอี าณาเขตกวา้ งขวางและอยตู่ ดิ กับ สยาม รวมทั้งเขตที่ติดกับมณฑลหยุนหนานของจีน ก็มีการก�ำหนดเขตแดนให้ชัดเจน ข้ึนในช่วง ค.ศ. ๑๘๙๐–๑๘๙๔ (ในการก�ำหนดเขตแดนคร้ังนี้ไทยยอมยกเมืองต่วนกับ เมอื งสาดให้แก่พมา่ ของอังกฤษด้วย) อังกฤษจัดการปฏิรูปการ บริหารขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๘๗ ปัญหา ส�ำคัญคือ อังกฤษขาดความเข้าใจ บทบาทที่สถาบันกษัตริย์ของพม่า เคยมีในกิจการศาสนา ซึ่งเป็น อัตลักษณ์ของคนพม่าท่ีเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์ใหญ่ท่ีสุดในดินแดนนี้ ก ษั ต ริ ย ์ ท ร ง เ ป ็ น ผู ้ ป ก ป ้ อ ง แ ล ะ อุปถัมภ์คณะสงฆ์และ “ธรรมะ” หรือหลักธรรมในพระพุทธศาสนา นับเป็นส่วนส�ำคัญย่ิงในวิถีชีวิตของ ทหารซปี อยขององั กฤษ คนพม่า การที่อังกฤษหลกี เล่ยี งท่จี ะ เก่ียวข้องในกิจการศาสนา ส่งผลโดยตรงต่อท่าทีของคนพม่าท่ีมีต่อระบอบปกครอง ใหม่ท่ีเข้ามา ความไม่เข้าใจดังกล่าวท�ำให้อังกฤษไม่ยอมรับรองอ�ำนาจของประมุข 213
สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพื่อนบา้ นในอาเซียน คณะสงฆ์ (thathanabaing) ที่เคยได้รับการแต่งต้ังจากพระมหากษัตริย์ อังกฤษ จึงหมดหวังที่จะได้ “ใจ” ของคนพม่าไปตั้งแต่แรก อังกฤษมุ่งจัดระเบียบการบริหาร ในระดับท้องถิ่น เพราะเหน็ วา่ จำ� เปน็ ตอ้ งมเี จ้าหน้าทที่ มี่ อี �ำนาจในเรื่องการเงนิ การศาล และดูแลความสงบสุขและความเป็นระเบียบในท้องถ่ิน เมื่อมีการออกพระราชบัญญัติ จัดระเบียบการปกครองพม่าตอนบนใน ค.ศ. ๑๘๘๗ ก็มีการแต่งต้ังเจ้าหน้าท่ี ฝ่ายปกครองท้องถิ่นท่ีเรียกว่า ตูจี (thugyi) ไปประจ�ำแต่ละหมู่บ้านจ�ำนวนประมาณ ๑๗,๐๐๐–๑๘,๐๐๐ แห่ง ขณะน้ันอย่างเร่งด่วน ซ่ึงนับเป็นการเปล่ียนแปลงส�ำคัญ เพราะเปลี่ยนจากอ�ำนาจท่ีเกิดจากความคุ้นเคยและมีลักษณะเป็นส่วนตัวหรือ เกื้อกูลกันแบบเดิม มาเป็นอ�ำนาจที่แต่งต้ังจากส่วนกลางชาวบ้านจึงไม่ไว้ใจคนเหล่าน้ี นอกจากน้ัน การแต่งตั้งเจ้าหน้าท่ีส�ำรวจและจัดเก็บข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ สภาพพ้ืนท่ี และภูมิทัศน์ด้านวัฒนธรรม ซ่ึงด�ำเนินการมาต้ังแต่ ค.ศ. ๑๘๗๒ ก็มีผลต่อการก�ำหนด อัตราภาษีท่ีมักต้องจ่ายเป็นเงินสดตามก�ำหนดและขาดความยืดหยุ่นของระบบเดิมที่ ประชาชนคนุ้ เคย เม่ือมีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ เช่น กรมโยธาธิการ กรมการเกษตร กรมสาธารณสุขและสัตวแพทย์ และหน่วยงานระดับเทศบาล ก็ย่ิงท�ำให้รัฐคุมอ�ำนาจ ในกิจการของท้องถ่ินมากข้ึน ยกเว้นงานด้านชลประทานที่ด�ำเนินการโดยกรมโยธา- ธกิ ารแลว้ คนพมา่ มไิ ดช้ นื่ ชมโครงการตา่ ง ๆ เหลา่ นเี้ ทา่ ใดนกั เพราะดำ� รขิ น้ึ โดยมไิ ดน้ ำ� พา ตอ่ ความคดิ หรอื ความตอ้ งการของคนพมา่ แมก้ ระทง่ั การมถี นนลาดยาง ไฟฟา้ บรกิ ารดา้ น การแพทย์ สขุ าภบิ าล การประปา และสาธารณูปโภคอน่ื ๆ คนพมา่ เห็นว่า โครงการนี้จัด ท�ำข้ึนเพ่ือประโยชน์ของชาวยุโรปเป็นหลัก และการเก็บภาษีอัตราสูงเพ่ือเป็นค่าใช้จ่าย ในเร่ืองเหล่าน้ีก็ท�ำให้ชุมชนในเขตเมืองหลายแห่งต่อต้านท่ีถูกผนวกเป็นส่วนหน่ึงของ เขตเทศบาล หลงั สงครามองั กฤษ-พมา่ ครั้งท่ี ๒ องั กฤษน�ำระบบกฎหมายอาณานิคมเขา้ ไป ใช้ในพมา่ ตอนลา่ ง มเี จ้าหน้าทฝี่ ่ายบรหิ ารคนหนึ่งทำ� หน้าที่ตดั สนิ คดคี วามต่าง ๆ ท้ังหมด แต่เนื่องจากบุคคลผู้นี้มีภาระหน้าท่ีมาก จึงต้องอาศัยกฎหมายจารีตในกรณีที่เหมาะสม 214
สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมียนมา แนวทางปฏิบัติเช่นน้ีก่อให้เกิดความลักล่ันระหว่างวิถีปฏิบัติท่ัวไปกับการด�ำเนินคดีใน ศาลอย่างเป็นทางการ เร่ืองร้ายแรงยังต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของข้าหลวงใหญ่ (Chief Commissioner) แตก่ ม็ ีน้อยคร้งั ท่มี ีการยน่ื อทุ ธรณ์ไปถึงรัฐบาลอาณานิคม เมอ่ื เศรษฐกจิ ขยายตวั และจ�ำเปน็ ตอ้ งด�ำเนนิ งานทางกฎหมายทเ่ี ปน็ มาตรฐาน จงึ มกี ารแตง่ ตง้ั ขา้ หลวงฝา่ ยกฎหมาย (legal commissioner) ขนึ้ อกี ตำ� แหนง่ หนงึ่ ในพมา่ ตอนลา่ งเมอื่ ค.ศ. ๑๘๗๒ และตอ่ มาใน ค.ศ. ๑๘๙๐ กแ็ ตง่ ตง้ั ผชู้ ว่ ยขา้ หลวงฝา่ ยกฎหมาย ส�ำหรับพม่าตอนบน รวมทั้งเจ้าหน้าท่ีฝ่ายกฎหมายระดับอ�ำเภอท่ีท�ำงานเต็มเวลาด้วย ใน ค.ศ. ๑๙๐๐ กจ็ ัดตัง้ ศาลประจ�ำพมา่ ตอนล่าง (Chief Court of Lower Burma) และ ใหม้ ีฝา่ ยตลุ าการในระบบราชการพลเรือนใน ค.ศ. ๑๙๐๕ ระบบกฎหมายในพมา่ คอ่ ย ๆ เปลยี่ นไปจากจารตี และคา่ นยิ มทค่ี นพมา่ คนุ้ เคย มากขึ้นทุกที แต่กฎหมายก็กลับเป็นอาชีพที่นิยมของชนชั้นน�ำชาวพม่าอยู่หลายช่ัวคน เพราะเม่ือเศรษฐกิจขยายตัว กฎระเบียบ วิธีพิจารณาความ และรูปแบบความสัมพันธ์ ใหม่ ๆ จำ� เปน็ ตอ้ งมกี ารบรหิ ารจดั การอยา่ งเปน็ ระบบ กอ่ ใหเ้ กดิ กฎหมายเฉพาะดา้ นตา่ ง ๆ ท่ีเป็นโอกาสให้นักกฎหมายชาวพม่าใช้เป็นช่องทางประกอบอาชีพเฉพาะในด้านน้ัน ๆ ได้ นอกจากนั้น กฎหมายยังมสี ่วนชว่ ยกำ� หนดรปู แบบทางภาษาท่ใี ช้ในการอภปิ รายทาง การเมอื งเม่ือกระแสชาตินิยมเตบิ โตขน้ึ ในเวลาต่อมาดว้ ย การท่ีอังกฤษครอบครองพม่าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและ เศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง พม่าเคยเป็นดินแดนที่ค่อนข้างปิดและโดดเด่ียว อยู่ในฐานะ เลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพ่ึงพาภายนอก เปลี่ยนไปเป็นดินแดนส�ำหรับผลิต โดยเฉพาะ ข้าวเพ่อื ส่งออกใหแ้ ก่ตลาดโลก องั กฤษเขา้ มารกุ รานแหลง่ ตงั้ รกรากถนิ่ ฐานของชาวพมา่ คอื ดนิ แดนทอ่ี ยดู่ า้ นใน ไดแ้ ก่ เขตลมุ่ แมน่ ำ�้ อริ วดตี อนบน (Upper Irrawaddy) ซง่ึ มเี มอื งหลกั ๆ ไดแ้ ก่ มณั ฑะเลย์ (Mandalay) องั วะ และพกุ าม ซงึ่ เหมาะแกก่ ารปลกู ขา้ วโดยใชร้ ะบบการชลประทานและ การระบายนำ�้ ทซี่ บั ซอ้ น อาณาจกั รพมา่ ยงั นำ� เขา้ ขา้ วจากดนิ แดนพมา่ ตอนลา่ ง โดยใชก้ าร 215
สารานกุ รมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ควบคมุ ตลาดเพอ่ื เปน็ หลกั ประกนั วา่ จะมปี รมิ าณขา้ วในราคาตำ�่ เพยี งพอสำ� หรบั ประชากร ท่ีอยู่ในส่วนลึกของดินแดนที่เป็นประเทศเมียนมาปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ กษัตริย์ราชวงศ์คองบองจ�ำกัดการส่งออกข้าวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอ่ืน ๆ อีกบาง ประการ ในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนพม่าตอนล่างก็สามารถผลิตข้าวได้ มากกวา่ ดนิ แดนพมา่ ตอนบน และเมอื่ องั กฤษเขา้ มากย็ า้ ยศนู ยอ์ �ำนาจทางการเมอื งมาอยู่ ท่ีย่างกุ้งซง่ึ เป็นเมืองทอ่ี ยูช่ ายฝัง่ ในชว่ งนมี้ ปี จั จยั หลายประการทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ความเปลย่ี นแปลงในพมา่ เชน่ องั กฤษ ยกเลกิ ขอ้ จำ� กดั ตา่ ง ๆ ในเรอื่ งการผลติ และการคา้ ขา้ ว การขยายปรมิ าณความตอ้ งการขา้ ว ในตลาดโลก การคมนาคมขนสง่ ระหวา่ งชาตทิ สี่ ะดวกรวดเรว็ ขนึ้ หลงั การเปดิ ใชค้ ลองสเุ อซ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๙ และความก้าวหน้าด้านการเดินสมุทรโดยใช้เรือกลไฟในช่วง ค.ศ. ๑๘๗๐–๑๘๘๐ มผี ลอยา่ งมากในการสง่ เสรมิ การคา้ ระหวา่ งประเทศ และการอพยพของ ชาวนาพม่าจ�ำนวนมากจากดินแดนส่วนลึกภายในประเทศเข้ามาในเขตรอบนอก รวม ทงั้ ในเขตลุ่มแมน่ �ำ้ อิรวดตี อนล่าง เพื่อแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ทางเศรษฐกจิ การสง่ ออก ข้าวเริ่มเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษ ๑๘๖๐ และพื้นที่ปลูกข้าวก็เพ่ิมจาก ประมาณ ๒,๕๑๑,๓๐๐ ไร่ใน ค.ศ. ๑๘๘๕ เป็น ๙,๘๕๕,๐๐๐ ไร่ใน ค.ศ. ๑๙๓๖ เฉพาะในเขตดินดอนสามเหล่ียมปากแม่น�้ำอิรวดี พื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจากประมาณ ๑,๗๗๐,๐๐๐–๒,๐๒๓,๐๐๐ ไร่ในช่วงกลางทศวรรษ ๑๘๕๐ เป็น ๒๒,๐๐๒,๓๐๐ ไร่ ในกลางทศวรรษ ๑๙๓๐ การเพม่ิ ปรมิ าณการผลติ ขา้ วไมไ่ ดเ้ กดิ ขน้ึ จากนวตั กรรมดา้ นเทคโนโลยกี ารผลติ หรอื การจดั ระเบยี บการผลติ ใหม่ แตเ่ ปน็ การขยายพนื้ ทเี่ พาะปลกู และเพม่ิ จำ� นวนแรงงาน การดำ� เนนิ งานในลกั ษณะนสี้ รา้ งปญั หาเมอื่ พน้ื ทใ่ี นการขยายการปลกู ขา้ วคอ่ ย ๆ หมดไป และจ�ำนวนประชากรเพิ่มข้ึน การส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อขยายปริมาณการผลิตท�ำให้ กจิ กรรมทางเศรษฐกจิ ดา้ นอน่ื ๆ โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ อตุ สาหกรรมขนาดเลก็ ในชนบทตกตำ่� หรอื หมดไป องั กฤษใชศ้ กั ยภาพในการผลติ ขา้ วไดเ้ ปน็ จำ� นวนมากของดนิ ดอนสามเหลยี่ ม ปากแม่น�้ำอิรวดีด้วยการพัฒนาระบบการควบคุมน้�ำท่วมและระบบการระบายน้�ำ 216
สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมา เมยี นมาในฤดแู ลง้ น�้ำในแมน่ �้ำจะแหง้ จนเห็นพ้นื ทราย โดยใช้เทคโนโลยีของอังกฤษ รวมทั้งใช้แรงงานอพยพชาวพม่าและแรงงานราคาถูกจาก อนิ เดีย เมอ่ื ชาวนาพมา่ ตงั้ หลกั ฐานของตนเองไดม้ ากขนึ้ ทำ� ใหต้ อ้ งนำ� เขา้ แรงงานราคา ถูกจากอินเดียตามฤดูกาล เพื่อท�ำงานในโรงสีข้าวและท่าเรือเม่ือการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น จำ� นวนแรงงานชาวอนิ เดยี ทอี่ พยพเขา้ มาเพม่ิ จากประมาณปลี ะ๑๕,๐๐๐คนในค.ศ.๑๘๗๖ เปน็ ปีละ ๓๐๐,๐๐๐ คนในทศวรรษ ๑๙๒๐ จ�ำนวนประชากรในเขตพม่าตอนล่างก็เพม่ิ จาก ๒.๕๙ ลา้ นคน ใน ค.ศ. ๑๘๗๒ เปน็ ๘.๙๑๘ ลา้ นคนใน ค.ศ. ๑๙๔๑ แหลง่ ทนุ ส�ำหรบั ชาวนามกั ไดแ้ กส่ นิ เชอื่ ระยะสน้ั หรอื ระยะยาว ซงึ่ ไดม้ าดว้ ยการนำ� ทดี่ นิ ไปจำ� นอง เพอ่ื ใหม้ ี เงินทนุ บกุ เบกิ ทีด่ ินแหลง่ ใหม่ และเปน็ เงินทนุ ท่ีใชใ้ นการผลิตขา้ วแต่ละปี เงนิ ก้สู ว่ นใหญ่ ในปลายสมยั อาณานคิ มมาจากชาวอินเดียในวรรณะยอ่ ยท่ีเรยี กวา่ เฉตตียาร์ (Chettiar) ซ่ึงคุ้นเคยกับระบบการเงินของอังกฤษในอินเดียเป็นอย่างดี พวกน้ีเริ่มส่งตัวแทนเข้าไป ในชนบทตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. ๑๘๘๐ และเม่ือถึงทศวรรษ ๑๙๓๐ ก็มีบริษัทของพวก เฉตตียารถ์ งึ ๑,๓๐๐ แหง่ กระจายอย่ใู นท้องถิ่น สว่ นใหญ่อยู่ในเขตอ�ำเภอต่าง ๆ 217
สารานุกรมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซียน แม้มาตรฐานการครองชีพและโอกาสทางเศรษฐกิจของชาวนาพม่าสูงขึ้น แต่เกษตรกรรายย่อยกลับตกอยู่ในภาวะเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดโลกยิ่งขึ้น ทกุ ที เม่ือเกดิ ภาวะเศรษฐกิจตกตำ่� ท่วั โลกในทศวรรษ ๑๙๒๐ และตน้ ทศวรรษ ๑๙๓๐ สง่ ผลกระทบอยา่ งรนุ แรงตอ่ ชาวพมา่ การขาดสง่ เงนิ กู้ (ทงั้ ดอกเบยี้ และเงนิ ตน้ ) ทำ� ใหท้ ดี่ นิ คอ่ ย ๆ ตกไปอยู่ในมือของนายทนุ เงนิ ก้แู ละเจ้าของท่ีดินรายใหญม่ ากขน้ึ ทกุ ที เกษตรกร ท่ีถือครองที่ดินรายย่อยจึงกลายเป็นผู้เช่าที่ดินท�ำกินหรือเป็นแรงงานในท่ีดินของผู้อื่น ที่ดินท�ำกินของชาวพม่ามีขนาดเล็กประมาณ ๒๕–๕๐ ไร่ เมื่อท่ีดินตกไปอยู่ในมือของ นายทุนเงินกู้ท่ีมิได้ท�ำกินบนที่ดินของตน ท่ีดินเหล่านี้ก็ยังอยู่ในสภาพกระจัดกระจาย เป็นผืนเล็ก ๆ ท่ีนายทุนให้ชาวนาเช่าท�ำกินมากกว่าจะมีการลงทุนในลักษณะของไร่นา ขนาดใหญ่ พัฒนาการทางการเกษตรที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นสาเหตุส�ำคัญของความไร้ เสถยี รภาพทางการเมอื งทเ่ี กดิ ขนึ้ ในเวลาตอ่ มา ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งผเู้ ชา่ ทดี่ นิ กบั เจา้ ของ ท่ีดินเสื่อมทรามลง กอ่ ให้เกดิ ความขดั แย้งระหวา่ งชาตพิ นั ธแ์ุ ละการลกุ ฮือของประชาชน ใน ค.ศ. ๑๙๔๑ องั กฤษออกพระราชบญั ญตั กิ ารโอนสทิ ธใิ นทดี่ นิ (Land Alienation Act) เพ่ือแก้ปัญหาน้ี แต่ก็สายเกินไป เพราะท่ีดินจ�ำนวนมากได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของ ผู้ท่ีมิได้เป็นเกษตรกรแล้ว ในระยะแรกชาวพม่ามีส่วนพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกในเขต ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้�ำอิรวดี แต่ต่อมาพวกเฉตตียาร์ก็ค่อย ๆ เข้ามาแทนท่ีชาว องั กฤษในการเปน็ ผูป้ ระกอบการด้านต่าง ๆ ท่ีเก่ยี วกบั การเกษตร ขณะที่ชาวจีนก็มีส่วน ในการใหบ้ ริการด้านการค้าในเขตเมือง ภาคส่วนต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของพม่าจึงค่อย ๆ ถูกควบคุมโดยผู้ที่มิไดเ้ ปน็ ชาวพม่า และชาวพมา่ สว่ นใหญก่ ย็ ังคงเปน็ ชาวนา พัฒนาการทางอุตสาหกรรมมีน้อยมาก สินค้าอุตสาหกรรมเป็นสินค้าน�ำ เข้าแทบท้ังสิ้น พม่าในสมัยอาณานิคมจึงแทบไม่มีการพัฒนาหรือการถ่ายทอดทักษะ ความชำ� นาญทจ่ี ำ� เปน็ สำ� หรบั ระบบเศรษฐกจิ สมยั ใหมใ่ หช้ าวพน้ื เมอื งเลย พฒั นาการของ ทุนนิยมในพม่าจึงเป็นระบบที่เจ้าอาณานิคมเข้ามาตักตวงผลประโยชน์ แม้ว่าตลอด สมัยอาณานิคม พม่าจะมี “ส่วนเกิน” (surplus) จากการส่งออกมากกว่าการน�ำเข้า 218
สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมา เป็นจ�ำนวนมาก แต่ส่วนเกินเหล่าน้ีก็มักถูกน�ำออกนอกประเทศทั้งในแง่ที่เป็นรายได้ (จากการใช้แรงงานอพยพ) หรือผลก�ำไรของบริษัทต่างชาติ มิได้น�ำไปลงทุนใหม่ (re-investment) ภายในประเทศ อันเปน็ เง่อื นไขสำ� คญั ของการขยายตัวทางเศรษฐกจิ ต่อไปอีก ดังนั้น ชาวพม่าจึงได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจท่ีเกิดขึ้น น้อยกวา่ คนอ่ืน ๆ และท่สี �ำคญั คอื ต้ังแต่องั กฤษเขา้ มามีอ�ำนาจใน ค.ศ. ๑๘๒๖ จนพมา่ ได้รับเอกราชใน ค.ศ. ๑๙๔๘ ในสายตาขององั กฤษ พมา่ เป็นเพียง “ปลายส่วนตอ่ ขยาย” (distant appendage) ของจกั รวรรดอิ งั กฤษในอนิ เดียเทา่ น้ัน ในสมัยอาณานิคม มีความเปล่ียนแปลงทางสังคมท่ีเป็นผลมาจากความ เปลย่ี นแปลงทางเศรษฐกจิ ทเี่ กดิ ขน้ึ หลายประการอกี ดว้ ย กลมุ่ ใหมท่ างสงั คมทสี่ ำ� คญั คอื ชาวพม่าที่ไร้ท่ีดินท�ำกินและต้องกลายเป็นผู้ใช้แรงงานหรือกลายเป็นผู้เช่าท่ีดิน เจ้าของ ท่ีดินที่ร่�ำรวยและพ่อค้าคนกลางซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวพม่า ผู้ใช้แรงงานในเมืองท่ีในช่วง แรกเป็นชาวอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในช่วงทศวรรษ ๑๙๒๐ และ ๑๙๓๐ แรงงาน พวกนี้ก็เป็นชาวพม่ามากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีชาวพม่าท่ีเป็นเจ้าหน้าท่ีในส�ำนักงานและ ผู้ใช้วิชาชีพต่าง ๆ กลุ่มชนชั้นกลางขนาดเล็กเกิดข้ึนเพราะคนเหล่าน้ีมีโอกาสได้รับ การศกึ ษาและทำ� งานเปน็ เจา้ หนา้ ทร่ี ะดบั ลา่ ง ๆ ในระบอบปกครองอาณานคิ ม สว่ นหนงึ่ มบี ทบาทนำ� ในขบวนการชาตนิ ยิ มสมยั ใหมข่ องพมา่ ผปู้ ระกอบการชาวพมา่ จำ� นวนนอ้ ย ท่ีมีส่วนในกิจการอุตสาหกรรมที่เก่ียวข้องกับการผลิตข้าวค่อย ๆ ถูกผลักดันออกไป จากการแข่งขันโดยชาวอินเดียและแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจตกต่�ำในทศวรรษ ๑๙๓๐ อย่างไรก็ดี แม้มีบทบาทน้อยในทางเศรษฐกิจ แต่คนพม่าก็ยังมีสถานะ ทางการเมืองและการบริหาร โดยเฉพาะอย่างย่ิงจากการท่ีมีโอกาสเข้าไปเป็นเจ้าหน้าท่ี ในระบอบปกครองอาณานคิ ม ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีความซับซ้อนเนื่องจากความหลากหลาย ด้านชาติพันธุ์ในพม่า ในปลายสมัยอาณานิคมมีความขัดแย้งเก่ียวกับความแตกต่าง ทางชนช้ันเกิดข้ึนหลายคร้ัง โดยเฉพาะการประท้วงและต่อต้านของชาวนา แต่ในช่วง วิกฤติทางเศรษฐกิจ เช่น เม่ือราคาข้าวตกต่�ำลงกว่าครึ่งระหว่าง ค.ศ. ๑๙๒๘–๑๙๓๑ 219
สารานกุ รมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซยี น กเ็ กดิ ความขดั แย้งทาง “เชอ้ื ชาต”ิ (racial) หรอื “ชาตพิ นั ธุ”์ (ethnic) เชน่ การจลาจล คร้ังร้ายแรงที่เกิดข้ึนในย่างกุ้งเม่ือเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ ระหว่างคนงานท่าเรือ ชาวอินเดียกับแรงงานชาวพมา่ ท�ำใหม้ ผี ้เู สียชีวติ ถึง ๑๒๐ คนและบาดเจ็บอกี ๙๐๐ คน กบฏอาจารย์ซาน (Saya San Rebellion) ทีม่ อี ดตี พระภิกษชุ าวพม่าเปน็ ผูน้ ำ� ในเดอื น ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๓๐ และตอ่ เนือ่ งเป็นระยะ ๆ จนกระทัง่ ถงึ กลาง ค.ศ. ๑๙๓๒ มิได้ เป็นความขัดแย้งทางเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์โดยตรง แต่ก่อให้เกิดความรุนแรงในแง่ ดังกล่าวด้วยการจลาจลครั้งส�ำคัญอีกครั้งหน่ึงในย่างกุ้งเม่ือเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๓๑ ซงึ่ เปน็ การจลาจลตอ่ ตา้ นชาวจนี ความขดั แยง้ รนุ แรงทส่ี ดุ ระหวา่ งชาวพมา่ กบั ชาวอนิ เดยี เกดิ ขนึ้ ในชว่ งเดอื นกรกฎาคม–สงิ หาคม ค.ศ. ๑๙๓๘ ในยา่ งกงุ้ และขยายไปถงึ มณั ฑะเลย์ ท�ำให้มีผูเ้ สยี ชวี ติ ๒๐๐ คนและบาดเจบ็ อีกประมาณ ๑,๐๐๐ คน ในต้นครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๒๐ กระแสชาตนิ ิยมเรมิ่ ปรากฏในพม่า โดยเฉพาะการ จดั ตง้ั ยวุ พทุ ธกิ สมาคมหรอื วายเอม็ บเี อ (Young Men’s Buddhist Association–YMBA) [เลยี นแบบสมาคมเยาวชนครสิ เตยี น (Young Men’s Christian Associations–YMCA)] ข้ึนใน ค.ศ. ๑๙๐๖ ที่ต้องต้ังเป็นสมาคมทางศาสนาเพราะสมาคมเช่นน้ีได้รับอนุญาต จากเจ้าหน้าท่ีของอาณานิคมให้ด�ำเนินการได้ ต่อมามีสภาร่วมของสมาคมชาวพม่าหรือ จีซีบเี อ (General Council of Burmese Associations–GCBA) ขึ้นมาทดแทน สภาน้ี เป็นท่ีรวมของสมาคมแห่งชาติ [National Associations หรือเรียกในภาษาพม่าว่า วุนทนอุ าทิน (Wunthanu athin)] จ�ำนวนมากที่จัดต้ังขึน้ ในหมูบ่ า้ นต่าง ๆ ทว่ั พม่า ผู้น�ำรุ่นใหม่ของพม่าเกิดขึ้นจากชนชั้นที่มีการศึกษา รวมทั้งผู้ที่ได้รับอนุญาต ให้ไปศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษ คนเหล่าน้ีเชื่อว่าสถานการณ์ในพม่าจะดี ขึ้นหากมีการปฏิรูป ผลจากการเคลื่อนไหวท�ำให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในต้นทศวรรษ ๑๙๒๐ และจัดตัง้ สภานิติบญั ญตั ทิ ย่ี งั มีอ�ำนาจจำ� กัด นอกจากน้ัน ยังจัดตง้ั มหาวทิ ยาลยั ย่างกุ้งเป็นวิทยาลัยสมทบของมหาวิทยาลัยกัลกัตตาในอินเดียต้ังแต่ ค.ศ. ๑๘๗๘ และ พัฒนาตอ่ มา จนได้รบั การยกฐานะข้ึนเปน็ มหาวิทยาลัยใน ค.ศ. ๑๙๒๐ และพม่ามกี าร ปกครองตนเองมากข้ึนภายใต้ระบอบปกครองอินเดีย แต่ชาวพม่าจ�ำนวนไม่น้อยเห็นว่า 220
สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมา การเปล่ียนแปลงยังไม่รวดเร็วพอและการปฏิรูปก็ไม่ครอบคลุมกว้างขวางพอ ใน ค.ศ. ๑๙๒๐ เกดิ การประทว้ งนดั หยดุ เรยี นเปน็ ครง้ั แรกของนกั ศกึ ษามหาวทิ ยาลยั เพอ่ื ประทว้ ง พระราชบญั ญัติมหาวิทยาลัย (University Act) ซึง่ นกั ศึกษาเห็นวา่ เอือ้ ประโยชน์เฉพาะ แต่ชนชัน้ น�ำและจะทำ� ใหร้ ะบอบปกครองอาณานิคมดำ� รงอย่ตู ่อไป ความเคล่ือนไหวต่อมา ของกลุ่มชาตินิยม คือ การก่อต้ัง สมาคมเราชาวพม่า (Dobama Asiayone; We-Burmans Association) สมาชกิ ของสมาคมน้ี เรียกตนเองว่า “ทะข่ิน” (thakin) ทแี่ ปลวา่ “นาย” (master) เชน่ เดยี ว นายพลอองซาน กบั คำ� ว่า “sahib” หรือ “นาย” ท่ี ชาวอินเดียใช้เรียกคนอังกฤษ (เมื่ออังกฤษยึดครองพม่า พม่าเรียกคนอังกฤษว่า ทะข่ิน ต่อมานักศึกษาน�ำค�ำน้ี ไปใช้เป็นค�ำน�ำหน้าช่ือในขบวนการชาตินิยม) แต่นัย ของค�ำว่า “ทะข่ิน” กค็ ือ ชาวพม่าเปน็ นายของประเทศของตน หลังจากมีการประทว้ ง หยุดเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย เป็นครั้งที่ ๒ ใน ค.ศ. ๑๙๓๖ อันเกิดจากการ ที่ผู้น�ำนักศึกษา ๒ คน คือ อองซาน (Aung San) และโกนุ (Ko Nu) ถูกไล่ออก เพราะไม่ยอมเปิดเผยช่ือนักศึกษาที่เขียนบทความโจมตีผู้บริหารระดับสูงของสถาบัน ผ้นู �ำนกั ศึกษา ๒ คนนี้กเ็ ขา้ ร่วมสมาคมเราชาวพมา่ ใน ค.ศ. ๑๙๓๗ อังกฤษแยกการปกครองพม่าออกจากอินเดีย และอนุญาต ให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีบทบัญญัติให้มีการเลือกตั้งเพ่ือจัดตั้งสภา แต่มาตรการนี้กลับ กอ่ ใหเ้ กดิ ความขดั แยง้ กนั ทางความคดิ ระหวา่ งชาวพมา่ ดว้ ยกนั เอง กลา่ วคอื ชาวพมา่ บาง คนเหน็ ว่าเปน็ กลอุบายที่จะแยกพม่าออกจากความก้าวหน้าในการปฏริ ปู ท่จี ะมีขึน้ อีกใน อินเดีย แต่บางส่วนเห็นว่าเป็นเรื่องดีท่ีพม่าจะหลุดจากการปกครองอินเดียเพ่ือจะได้มี พฒั นาการทางการเมอื งของตนเอง อยา่ งไรกด็ ี การปฏริ ปู คร้ังนี้ทำ� ใหม้ กี ารเลอื กตงั้ และ 221
สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพอื่ นบ้านในอาเซยี น บามอว์ (Ba Maw) ซงึ่ จบการศึกษาระดบั ปริญญาเอกจากฝรั่งเศสไดเ้ ป็นนายกรฐั มนตรี คนแรกกอ่ นพมา่ ไดร้ บั เอกราช ตอ่ มาใน ค.ศ. ๑๙๓๙ อซู อว์ (U Saw) กข็ น้ึ มาดำ� รงตำ� แหนง่ นี้แทน และอยู่ในต�ำแหน่งจนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๔๒ เม่ือเขาถูกเจ้าหน้าท่ีอังกฤษจับกุม ในข้อหาวา่ ไปตดิ ต่อกบั ญ่ีปนุ่ กอ่ นเกิดสงครามมหาเอเชยี บูรพา ขบวน การทะขิ่นเรียกร้องให้มีการลุกฮือขึ้นท่ัวประเทศ ทางการพม่าจึงออกหมายจับผู้น�ำขบวนการนี้ หลายคน รวมท้ังอองซาน ท�ำให้เขาต้องหนีไป จีนเพื่อหาทางติดต่อกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ เจ้าหน้าท่ีญี่ปุ่นที่รู้ความเคล่ือนไหวของอองซาน เสนอให้ความช่วยเหลือแก่เขา และสนับสนุนการ ลุกฮือของประชาชนทั่วประเทศพม่า อองซานเดิน ทางกลับพม่าในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพ่ือรวบรวม คนหนมุ่ ๒๙ คน ใหร้ ว่ มเดนิ ทางไปกบั เขาเพอื่ รบั การ ดร.บามอว์ ฝึกทางทหารทเ่ี กาะไหห่ นานหรอื ไหหลำ� (Hainan) คนเหล่าน้ีเม่ือกลับก็เป็นที่รู้จักกันในนาม “กลุ่มสามสิบสหาย” (Thirty Comrades) เม่ือญ่ีปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทยและเข้าถึงกรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ อองซานก็ประกาศจัดตั้งกองทัพเพื่อเอกราชของพม่าหรือบีไอเอ (Burma Independence Army–BIA) ข้ึนในประเทศไทย โดยคาดหมายว่ากองทัพญี่ปุ่น คงจะบกุ เข้าพมา่ ในปีตอ่ มา ญปี่ นุ่ มคี วามเหน็ ไมล่ งรอยกนั ในเรอื่ งพมา่ พนั เอก ซซุ กุ ิ (Suzuki) ผสู้ นบั สนนุ กลมุ่ สามสิบสหายต้องการให้กลุ่มนี้จัดต้ังรัฐบาลชั่วคราว แต่ผู้น�ำทหารของญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย เมอื่ ญป่ี นุ่ ยดึ พมา่ ไดใ้ น ค.ศ. ๑๙๔๒ กใ็ หบ้ ามอวจ์ ดั ตง้ั รฐั บาล ประกอบดว้ ยบคุ คลหลายฝา่ ย เช่น อองซาน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทะข่ินตันทุน (Than Tun) ผู้น�ำ 222
สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมา คอมมิวนิสต์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่ีดินและเกษตรกรรม และยังมีผู้น�ำฝ่าย สงั คมนยิ มคอื ทะขน่ิ นุ (Nu) ด้วย ใน ค.ศ. ๑๙๔๓ ญ่ีปุ่นให้เอกราชแก่พม่าแต่เพียงในนาม ไม่นานต่อมาก็เห็น ว่า ค�ำมัน่ สญั ญาต่าง ๆ ของญ่ปี นุ่ ไมอ่ าจเชื่อถือได้ และบามอว์กถ็ ูกญป่ี ุ่นหลอก อองซาน ซงึ่ ผดิ หวงั กบั ญป่ี นุ่ จงึ หนั ไปเจรจากบั ผนู้ ำ� คอมมวิ นสิ ต์ คอื ทะขน่ิ ตนั ทนุ และทะขน่ิ โส (Soe) รวมท้ังผู้น�ำฝ่ายสังคมนิยม และจัดต้ังองค์การต่อต้านเผด็จการฟาสซิสต์หรือเอเอฟโอ (Anti-Fascist Organization–AFO) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๔ องค์การน้ีต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็นสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์หรือเอเอฟพีเอฟแอล (Anti-Fascist People’s Freedom League–AFPFL) และมบี ทบาทสำ� คญั ในการเมือง พม่าภายหลงั เอกราช เอเอฟโอกับฝ่ายพันธมิตรติดต่อกันอย่างไม่เป็นทางการใน ค.ศ. ๑๙๔๔ และ ค.ศ. ๑๙๔๕ ผา่ นหน่วยงานของอังกฤษทเี่ รียกวา่ ฟอร์ซ ๑๓๖ (Force 136) เมือ่ วันที่ ๒๗ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ กองทพั กชู้ าตพิ ม่าที่ได้เปลี่ยนชอื่ เปน็ กองทัพแหง่ ชาติพม่าหรือ บีเอ็นเอ (Burma National Army–BNA) ก็ลุกฮือขึ้นในเขตชนบทเพ่ือต่อต้านญี่ปุ่น หลังจากน้ัน มีการร�ำลึกถึงวันที่ ๒๗ มีนาคมว่าเป็น “วันต่อต้าน” (Resistance Day) จนรฐั บาลทหารของพมา่ เปลย่ี นเปน็ “วนั กองทพั ” (Tatmadaw [Armed Forces] Day” ในเวลาตอ่ มา อองซานและคณะตกลงกับลอร์ดเมานต์แบตเทน (Lord Mountbatten) ผ้บู ญั ชาการกองกำ� ลงั ฝา่ ยพนั ธมติ รในเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ ให้กองก�ำลงั ของอองซาน เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรในนามกองก�ำลังพม่ารักชาติ (Patriotic Burmese Forces) เม่ือสงครามยุติลงข้าหลวงอังกฤษ คือ เซอร์เรจินัลด์ ดอร์แมน-สมิท (Reginald Dorman-Smith) เดินทางกลับมาพม่า แต่รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่จัดท�ำโครงการทาง การเมืองที่มุ่งฟื้นฟูบูรณะด้านกายภาพของประเทศ จึงยังไม่มีการเจรจาเร่ืองเอกราช ท�ำให้เอเอฟพีเอฟแอลต่อต้านรัฐบาลนี้ แต่เอเอฟพีเอฟแอลก็มีความร้าวฉานภายใน 223
สารานุกรมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซียน ด้านยุทธศาสตร์ ระหว่างกลุ่มของอองซานและผู้น�ำสังคมนิยมฝ่ายหน่ึง กับกลุ่ม คอมมวิ นสิ ตอ์ กี ฝา่ ยหนงึ่ ความขดั แยง้ ครงั้ นที้ ำ� ใหท้ ะขน่ิ ตนั ทนุ ถกู บบี บงั คบั ใหล้ าออกจาก ตำ� แหนง่ เลขาธกิ ารเอเอฟพเี อฟแอลในเดอื นกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ ตอ่ มาในเดอื นตลุ าคม พรรคคอมมวิ นสิ ต์กถ็ กู ขบั ออกจากเอเอฟพเี อฟแอลด้วย ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๔๖ เซอร์ฮิวเบริ ต์ แรนซ์ (Hubert Rance) ไดเ้ ป็น ข้าหลวงอังกฤษแทนดอร์แมน-สมิท ทันทีท่ีเข้ามารับต�ำแหน่ง ต�ำรวจในย่างกุ้งก็ นดั หยดุ งานประทว้ งซงึ่ ขยายลกุ ลามไปสหู่ นว่ ยงานอน่ื ๆ ของรฐั บาล ทำ� ใหเ้ กอื บจะเปน็ การ นัดหยุดงานท่ัวไป แรนซ์พยายามระงับเหตุการณ์ไม่ให้บานปลายด้วยการเจรจากับ อองซาน และโน้มน้าวใหเ้ ขาเข้ารว่ มสภาผู้บรหิ ารของข้าหลวง (Governor’s Executive Council ทำ� หนา้ ทค่ี ลา้ ยกบั คณะรฐั มนตร)ี พรอ้ มกบั สมาชกิ คนอนื่ ๆ ในเอเอฟพเี อฟแอล สภาบริหารชุดใหม่ ซ่ึงมีความน่าเช่ือถือยิ่งข้ึนเพราะมีผู้น�ำชาตินิยมเข้าไปร่วมด้วย เร่ิมเจรจาเรื่องเอกราชของพม่าที่กรุงลอนดอน การเจรจาประสบความส�ำเร็จและ มีการลงนามในความตกลงระหว่างอองซานกับนายกรัฐมนตรีเคลเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee) ในวันที่ ๒๗ มกราคม ๑๙๔๗ อย่างไรก็ดี ความตกลงครั้งนี้สร้าง ความไม่พอใจแก่ทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์และกลุ่มอนุรักษนิยมในพม่า กลุ่มคอมมิวนิสต์ ธงแดง (Red Flag Communists) ที่น�ำโดยทะขิ่นโสถอนตัวออกไปต่อสู้แบบใต้ดิน สว่ นกลมุ่ อนรุ กั ษนิยมก็ต้ังตนเป็นปฏปิ ักษก์ บั รัฐบาล นอกจากนี้ อองซานยงั ประสบความสำ� เรจ็ ในการทำ� ความตกลงกบั ชนกลมุ่ นอ้ ย ตา่ ง ๆ ในการประชุมทีป่ างโหลง (Panglong) เมือ่ วนั ท่ี ๑๕ กมุ ภาพนั ธ์ ค.ศ. ๑๙๔๗ ด้วย แม้วา่ หลงั จากนน้ั ไม่นานจะเกดิ กบฏขน้ึ ที่อาระกัน มพี ระภิกษุช่ือ อเู สนดา (U Seinda) เป็นผู้นำ� และขยายตัวออกไปยงั เขตอน่ื ๆ แต่เม่ือถึงชว่ งน้ี เอเอฟพเี อฟแอลทมี่ อี องซาน เปน็ ผนู้ ำ� และกลมุ่ สงั คมนยิ มกไ็ ดร้ บั ความนยิ มอยา่ งกวา้ งขวาง ทำ� ใหเ้ อเอฟพเี อฟแอลชนะ การเลอื กต้งั สภารา่ งรัฐธรรมนญู (ซ่งึ จะทำ� หนา้ ท่ีเปน็ สภานติ ิบัญญตั ติ ่อไป) อย่างท่วมทน้ ในเดอื นเมษายน ค.ศ. ๑๙๔๗ 224
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา อย่างไรก็ดี ประมาณ ๓ เดือนต่อมา ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สร้างความ ตื่นตะลึงให้แก่คนท้ังชาติ คือ ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๗ อูซอว์ อดีตนายก รัฐมนตรีช่วงสมัยก่อนเอกราช ซึ่งมีความคิดอนุรักษนิยม ให้กองก�ำลังติดอาวุธของเขา บกุ เข้าไปในอาคารสำ� นกั เลขาธกิ าร (Secretariat Building) ซึ่งกำ� ลงั มีการประชมุ สภา บรหิ าร (คณะรฐั มนตร)ี และสงั หารอองซานพรอ้ มกบั รฐั มนตรอี กี ๖ คน รวมทง้ั เลขาธกิ าร คณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีก ๑ คน อูซอว์ถูกจับ ส่งตัวข้ึนศาล และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ในระหว่างการไต่สวนปรากฏว่ามีนาย ทหารองั กฤษระดบั กลางจำ� นวนหนงึ่ เกยี่ วขอ้ งกบั การสงั หารครงั้ นดี้ ว้ ย จงึ ตอ้ งขนึ้ ศาลและ ถูกตัดสินจ�ำคุกในที่สุด วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ได้กลายมาเป็นวันร�ำลึกถึงเหตุการณ์นี้ เรยี กวา่ “วนั ของผสู้ ละชีวิต” (Martyrs’ Day) จนทุกวนั นี้ เม่ืออองซานเสยี ชวี ติ ลง ทะขิ่นนุ ผู้นำ� กลุ่มสงั คมนยิ มในเอเอฟพเี อฟแอลจงึ ได้ รับการร้องขอให้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และเป็นประธานในพิธีประกาศเอกราชของพม่า เมอ่ื วันท่ี ๔ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๘ ความรู้สึกของคนพมา่ ทต่ี อ้ งการพ้นจากอ�ำนาจและ อิทธิพลของอังกฤษรุนแรงมากจนท�ำให้เมื่อได้รับเอกราช พม่าไม่ยอมเข้าร่วมอยู่ใน เครอื จกั รภพองั กฤษ (British Commonwealth) ดงั เชน่ ชาตทิ เ่ี คยเปน็ อาณานคิ มองั กฤษ อนื่ ๆ เช่น อนิ เดีย ปากสี ถาน หลงั ไดร้ บั เอกราช พมา่ จดั การปกครองประเทศดว้ ยระบอบประชาธปิ ไตยแบบ ระบบรัฐสภา (parliamentary system) พม่าเป็นสาธารณรัฐเรียกว่า สหภาพพม่า (Union of Burma) ใน ค.ศ. ๑๙๘๙ รัฐบาลทหารของพม่าเปล่ียนช่ือประเทศเป็น “Union of Myanmar” ก่อนมาใช้ช่ือปัจจุบัน คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีเจ้าส่วยใต้ (Sao Shwe Thaik) เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายแห่งยองห้วย (Yawnghwe) ชาวไทยใหญ่เป็นประธานาธิบดี และอูนุ (U Nu คนเดียวกับทะขิ่นนุ “U” เป็นค�ำน�ำ หน้าช่ือ) เป็นนายกรัฐมนตรี ระบบรัฐสภาของพม่าประกอบด้วย ๒ สภา ได้แก่ สภาผ้แู ทนราษฎร (Chamber of Deputies) และสภาผ้แู ทนกลุม่ ชนชาติ (Chamber of Nationalities) 225
สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่ือนบ้านในอาเซยี น เจ้าสว่ ยใต้ อูนุ ช่วงประมาณ ๑๐ ปีแรกภายหลังเอกราช พม่าประสบปัญหาและความยาก ล�ำบากมาก ปัญหาส�ำคัญคือความไม่สงบท่ีเกิดขึ้นจากการกบฏและการก่อการร้ายของ กลมุ่ ตา่ ง ๆ เชน่ กลมุ่ คอมมวิ นสิ ตธ์ งแดงของทะขนิ่ โส คอมมวิ นสิ ตธ์ งขาวของทะขน่ิ ตนั ทนุ กลุ่มกบฏทน่ี �ำโดย โบลายอง (Bo La Yaung) ซ่ึงเคยเป็นหน่ึงในบรรดากลุ่มสามสบิ สหาย และกลุ่มทหารกบฏท่ีเรียกตนเองว่ากองทัพปฏิวัติพม่าหรืออาร์บีเอ (Revolutionary Burma Army–RBA) ซง่ึ มีผนู้ �ำ ๓ คนทีเ่ คยอย่ใู นกลุ่มสามสบิ สหายเชน่ เดียวกัน อย่างไร ก็ตาม ปัญหาส�ำคัญท่ีท�ำให้การเมืองในพม่าหลังเอกราชขาดเสถียรภาพอย่างมาก คือ ปัญหาชนชาตทิ ่ีไม่ใช่ “พมา่ ” โดยเฉพาะกลุม่ ชนมุสลมิ อาระกัน ทเี่ รยี กตนเองวา่ มญู าฮดิ (Mujahid) และกลมุ่ สหภาพกะเหรยี่ งแหง่ ชาตหิ รอื เคเอน็ ยู (KarenNationalUnion–KNU) นอกจากกลุ่มกบฏและกลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ แล้ว ดินแดนตอนเหนือของพม่ายังอยู่ใต้ การควบคุมของกองก�ำลังกว๋อหมินต่ังหรือเคเอ็มที (Kuomintang–KMT) อยู่เป็นเวลา หลายปหี ลงั จากพรรคคอมมวิ นสิ ตจ์ นี ประสบชยั ชนะบนจนี แผน่ ดนิ ใหญเ่ มอื่ เดอื นตลุ าคม ค.ศ. ๑๙๔๙ กองกำ� ลังนส้ี ร้างปัญหาใหแ้ กร่ ัฐบาลพมา่ ไม่น้อย 226
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมยี นมา หลังจากจัดต้ังรัฐบาลในระบบรัฐสภาใน ค.ศ. ๑๙๔๘ นายกรัฐมนตรีอูนุ ก็ด�ำเนินการให้พม่าเป็นรัฐสวัสดิการ (welfare state) ตามแนวทางสังคมนิยม ช่วงนี้ แม้ต้องเผชิญปัญหาความไม่สงบภายในประเทศ แต่พม่าก็ยังมีอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจอยา่ งน่าพอใจ ในระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๗–๑๙๔๘ และ ค.ศ. ๑๙๖๑–๑๙๖๒ พม่ามีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (gross domestic product–GDP) เฉล่ียร้อยละ ๕.๓ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ ๑๙๕๐ นั้น พม่าไม่ใช่ ประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหน่ึงอย่างทุกวันน้ี กระนั้นก็ตาม หากเทียบกับเศรษฐกิจ ในชว่ ง ค.ศ. ๑๙๓๘–๑๙๓๙ เศรษฐกจิ พมา่ หลังเอกราชก็ตอ้ งถอื วา่ มีสมรรถนะต่ำ� กว่า ประสบการณ์จากสมัยอาณานิคมมีผลส�ำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล พมา่ ในชว่ งหลงั เอกราช อยา่ งนอ้ ย ๒ ดา้ นดว้ ยกนั ดา้ นหนงึ่ คอื ชาวนาและเกษตรกรพมา่ ตอ้ งสญู เสยี ทดี่ นิ แกผ่ ทู้ ม่ี ใิ ชช่ าวพมา่ ซง่ึ สว่ นใหญเ่ ปน็ ชาวอนิ เดยี รฐั บาลอาณานคิ มมไิ ดส้ นใจ ความทกุ ขย์ ากของชาวพมา่ ทถ่ี มทวขี น้ึ จากการสญู เสยี ทด่ี นิ สรา้ งความเจบ็ ปวดแกช่ าวพมา่ อยา่ งยิง่ เกอื บครงึ่ หนึง่ ของทีด่ ินทใ่ี ชใ้ นการเพาะปลูกทัง้ หมดเปน็ ท่ีดนิ ทีม่ ไิ ด้ถือครองโดย คนพน้ื เมอื ง และผทู้ ถ่ี อื ครองกม็ ไิ ดท้ ำ� กนิ บนผนื ดนิ เหลา่ น ี้ อกี ดา้ นหนงึ่ คอื การเปดิ ประเทศ เพื่อค้าขายกับต่างประเทศ ท�ำให้เศรษฐกิจพม่าพ่ึงพาการส่งออกข้าวเป็นสินค้าหลัก เพียงอย่างเดียว ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จากการเปิดเสรีทางการค้าตกอยู่กับชาวต่างชาติ และบริษัทของคนพวกน้ี ขณะที่ชาวนาและผู้ใช้แรงงานในภาคการเกษตรไร้ท่ีท�ำกิน แทบไมม่ สี ว่ นใด ๆ ในการพฒั นาเศรษฐกิจทเี่ กดิ ข้นึ ทำ� ให้พม่ากลายเปน็ “ประเทศดอ้ ย พฒั นา” ประเทศหนึ่งเท่านน้ั การก�ำหนดนโยบายพัฒนาประเทศไปในแนวทางชาตินิยมและสังคมนิยม เห็นได้จากการโอนกิจการเป็นของรัฐ (nationalization) การให้ชาวพม่าเป็นผู้ด�ำเนิน กิจการหรือประกอบการแทนชาวต่างชาติ (Burmanization) การพัฒนาอุตสาหกรรม เพ่ือทดแทนการนำ� เข้า (import-substitution industrialization) ซ่งึ อาศยั การกีดกนั สนิ คา้ ตา่ งชาตดิ ว้ ยการตงั้ กำ� แพงภาษศี ลุ กากรไวค้ อ่ นขา้ งสงู แทนระบบการคา้ เสรขี องสมยั 227
สารานกุ รมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพ่ือนบา้ นในอาเซียน อาณานิคม รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอูนุออกพระราชบัญญัติการโอนท่ีดินเป็นของรัฐ (Land Nationalization Act ค.ศ. ๑๙๔๘) เพอื่ กระจายทดี่ ินให้แก่ชาวนาและเกษตรกร ท่ีท�ำมาหากินบนผืนดินจริง ๆ โดยมีฐานะเป็นผู้เช่าที่ดินจากรัฐ (state tenants) รวม ทงั้ โอนกิจการต่าง ๆ มาเปน็ ของรฐั เช่น การค้าขา้ ว อุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัทเดินเรือ บรษิ ัทน้ำ� มัน นอกจากรฐั บาลจะเข้าควบคมุ กิจการหลกั ๆ แล้ว ยงั มีแผนด�ำเนินงานอื่น ๆ เช่น เพิ่มผลผลติ ไม้ซงุ และแร่ธาตุ ขยายเสน้ ทางรถไฟและทางหลวง พฒั นาการคมนาคม ขนสง่ ทางนำ้� และทา่ เรอื เพอ่ื พฒั นาเศรษฐกจิ และการคา้ ระหวา่ งประเทศ พฒั นาไฟฟา้ พลงั น�้ำ พัฒนาศูนยอ์ ุตสาหกรรม ๓ แห่ง คอื อกั ยับ (Akyab ปัจจุบนั คอื เมอื งชิตตเว (Sittwe)] ในรฐั อาระกนั มยงิ ยนั (Mayingyan) ในเขตพมา่ ตอนบน และยา่ งกงุ้ พฒั นาอตุ สาหกรรม เพื่อทดแทนการน�ำเขา้ มงุ่ เน้นการแปรรปู อาหาร ส่ิงทอ และวัสดุกอ่ สรา้ ง แผนของอนู ทุ จ่ี ะสรา้ งพมา่ ใหเ้ ปน็ รฐั สวสั ดกิ าร เรยี กวา่ ปยดี อตา (Pyidawtha) ซึง่ หมายถงึ ดินแดนแหง่ ความสุข สะทอ้ นอทิ ธิพลความคิดสงั คมนิยมในองั กฤษที่เรียกว่า ลัทธิสังคมนิยมเฟเบียน (Fabian Socialism) และลัทธิมากซ์ในทศวรรษ ๑๙๓๐ แผนน้ีครอบคลุมทุกด้านของสังคมและระบบเศรษฐกิจ มีเป้าหมายหลักคือ เพ่ิมความ หลากหลายในการผลิตทางการเกษตร ไม่ได้มุ่งไปท่ีการผลิตข้าวเช่นในสมัยอาณานิคม ขยายอุตสาหกรรมที่เก่ียวข้องกับการเกษตร ปรับปรุงโครงสร้างพ้ืนฐานด้านการขนส่ง และคมนาคม ท�ำให้กระแสไฟฟ้ามีใช้กว้างขวางยิ่งขึ้น และขยายการค้าทั้งภายในและ ตา่ งประเทศ ทส่ี �ำคัญคอื ตอ้ งการเพ่ิมท้ังปริมาณและความหลากหลายของผลผลิตตา่ ง ๆ สร้างโอกาสใหม่ ๆ ทั้งในด้านการท�ำงาน ยกระดับมาตรฐานการศึกษาและสาธารณสุข และอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางและการตดิ ตอ่ คมนาคม ด้านสวัสดิการสังคม มีการต้ังเป้าหมายไว้สูงมาก โดยเฉพาะการปรับปรุง ระบบการศกึ ษาและสาธารณสขุ ของชาติ รวมทง้ั การจัดหาท่อี ยอู่ าศยั แกป่ ระชาชน ดา้ น สาธารณสขุ มุ่งเน้นใหก้ ารศึกษาเพอื่ ป้องกันโรค การรกั ษาสขุ ภาพให้แข็งแรง โภชนาการ 228
สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมียนมา สุขอนามัยท่ีเก่ียวกับสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูการแพทย์พื้นบ้าน เป็นต้น ด้านการปฏิรูป ศกึ ษา มงุ่ ใหก้ ารศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานแกท่ กุ คน ขจดั การไมร่ หู้ นงั สอื ในหมผู่ ใู้ หญแ่ ละจดั หาทนุ เพ่ือการศึกษาระดบั สูงในต่างประเทศ แตล่ ะหม่บู า้ นต้องมีโรงเรียนประถมศกึ ษา ๑ แห่ง และขยายโรงเรียนมธั ยมต้นและมัธยมปลายออกไปใหเ้ รว็ ทีส่ ดุ ปัญหาทอี่ ยอู่ าศยั ในพมา่ มีมากขน้ึ เพราะเกดิ ความไม่สงบภายในประเทศ ทำ� ใหป้ ระชาชนหนีภยั เข้ามาอยู่ในเมือง มากขึ้น เกดิ ชุมชนแออัดขึน้ เปน็ ดอกเห็ด จึงตอ้ งสรา้ งทอี่ ยอู่ าศยั จ�ำนวนมาก นอกจากน้ี ยังมีสวสั ดกิ ารแก่คนดอ้ ยโอกาส เชน่ เด็กกำ� พรา้ เดก็ เรร่ อ่ น คนชรา และคนพิการ มีการ จัดตั้งศนู ย์ดแู ลเด็กเลก็ และสถานรบั เลี้ยงเดก็ ในชุมชนตา่ ง ๆ ฟื้นฟกู ารศกึ ษาในวัดทเี่ คย ซบเซาในสมัยอาณานคิ มเพอ่ื ส่งเสรมิ การรณรงคเ์ รอื่ งการร้หู นังสือ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๕๕ องค์การสหประชาชาติส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ไปใหค้ วามชว่ ยเหลือทางวชิ าการแกพ่ มา่ แอนสท์ ฟรดี รชิ ชูมัคเคอร์ (Ernst Friedrich Schumacher) กร็ ว่ มเดนิ ทางไปดว้ ย หนงั สอื ทเ่ี ขาตพี ิมพใ์ น ค.ศ. ๑๙๗๓ เรื่อง Small Is Beautiful มบี ททีว่ ่าดว้ ย “เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ” (Buddhist Economics) ซง่ึ เขา ไดแ้ รงบนั ดาลใจจากประสบการณ์ในพม่าช่วงนน้ั แนวคิดรัฐสวัสดิการของนายกรัฐมนตรีอูนุปรับเปล่ียนเป็นแผนพัฒนา ๘ ปี (Eight-Year Plan) ใน ค.ศ. ๑๙๕๒ เม่ือน�ำแผนน้ีมาใช้ได้เพียงไม่กี่ปีก็ต้องเลิกล้ม เพราะรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกข้าวต�่ำกว่าที่คาดหวังไว้มาก ราคาขา้ วในตลาดโลกตกตำ่� ลง และสถานการณภ์ ายในประเทศกย็ งั ไมส่ งบลงอยา่ งแทจ้ รงิ นอกจากนนั้ ยงั มีปัญหาและขอ้ จำ� กดั เชน่ ขาดนโยบายท่ีชัดเจนและการเตรียมการทดี่ ี การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพเพราะขาดบุคลากรท่ีมีความรู้ความช�ำนาญซ่ึงเป็น ปญั หาสำ� คญั ผเู้ ชย่ี วชาญตา่ งประเทศทเ่ี ขา้ มาชว่ ยเหลอื ทางวชิ าการประมาณวา่ พมา่ จำ� เปน็ ต้องมีบุคลากรท่ีมีความรู้ความสามารถในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๖–๑๙๕๘ ถึง ๖๕,๐๐๐ คน ในจำ� นวนนค้ี วรเปน็ นกั วทิ ยาศาสตร์ วศิ วกร สถาปนกิ ผจู้ ดั การ ผบู้ รหิ าร ตลอดจนหวั หนา้ งานทม่ี ีความรู้ความสามารถสงู และผา่ นการฝกึ อบรมมาอยา่ งดีถึง ๑๓,๐๐๐ คน ซ่งึ พม่า 229
สารานุกรมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพื่อนบา้ นในอาเซยี น ไม่สามารถจะผลิตบุคลากรประเภทต่าง ๆ จ�ำนวนมากได้ทัน หรือจะว่าจ้างจาก ตา่ งประเทศกย็ งั ไมท่ นั ตอ่ ความตอ้ งการ ในเรอ่ื งการบรหิ ารจดั การ ยงั มลี กั ษณะเปน็ ระบบ ราชการท่ีขาดประสิทธิภาพ ควบคุมสั่งการจากระดับสูง (โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีเข้า มาส่งั การโดยตรง) ลงมาตามล�ำดับช้ัน และขาดทัง้ แนวคิดและกลไกให้ประชาชนเข้ามา มสี ว่ นรว่ ม รวมท้งั ขาดความชัดเจนในเรอื่ งบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชน หลังจากยุติแผนพัฒนา ๘ ปี ใน ค.ศ. ๑๙๕๕ รัฐบาลทบทวนเป้าหมาย ตา่ ง ๆ ใหม่ ในชว่ ง ๔ ปที เี่ หลอื ของแผนพฒั นาฉบบั นกี้ ลายมาเปน็ แผนพฒั นา ๔ ปฉี บบั แรก (First Four-year Plan) ซึ่งเนน้ การเกษตรและการชลประทานมากขึน้ แตก่ ย็ ังไม่เพียง พอ และรฐั บาลยงั คงใหค้ วามสำ� คญั ตอ่ การพฒั นาโครงสรา้ งพนื้ ฐานทางกายภาพทงั้ ในดา้ น การผลิตกระแสไฟฟา้ การขนสง่ และการคมนาคม อยา่ งไรกต็ าม แมจ้ ะทุ่มเทให้แก่การ ลงทนุ ในดา้ นต่าง ๆ อยา่ งมาก แตร่ ฐั บาลกไ็ มใ่ หห้ รอื ไม่มเี วลาเพยี งพอทจี่ ะท�ำใหโ้ ครงการ พฒั นาก่อให้เกดิ ผลอย่างจรงิ จัง หลายโครงการจึงถกู ระงบั ไปก่อนเวลาอันควร สภาพในชนบทของพมา่ ช่วงนี้ดีขึน้ บ้างเล็กนอ้ ย โดยเฉพาะเร่ืองการศึกษาและ สาธารณสุข มีโรงเรียนประถม มธั ยมต้น และมัธยมปลาย เพิม่ ข้นึ ทวั่ ประเทศเปน็ จำ� นวน หลายพันแหง่ จ�ำนวนโรงเรียนประถมศกึ ษาเพ่มิ จาก ๓,๓๓๕ แหง่ เป็น ๑๑,๕๕๗ แห่ง และจ�ำนวนนักเรียนในระดับประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย รวมแล้วเพิ่มขึ้นถึง ๓ เท่าตัวจาก ๖๖๖,๐๐๐ คน เป็น ๑,๗๖๔,๐๐๐ คน ขณะท่ีจ�ำนวนนักศึกษาในระดับ อดุ มศึกษาก็เพิ่มข้นึ กว่า ๒ เทา่ จากไมถ่ ึง ๖,๐๐๐ คน เป็นกวา่ ๑๒,๐๐๐ คน ในดา้ น สาธารณสุข ในสมัยอาณานิคมประชาชนในเขตชนบทยังต้องพึ่งการแพทย์พื้นบ้าน เป็นหลัก แต่หลังเอกราชก็เร่ิมได้รับบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น จ�ำนวน ของศูนย์สุขภาพชนบท (rural health centres) ซงึ่ เร่มิ จัดตงั้ ขนึ้ ใน ค.ศ. ๑๙๕๓ เพ่ิมขึ้น จาก ๑๑๒ แห่งใน ค.ศ. ๑๙๕๔ เป็น ๔๙๑ แห่งในชว่ ง ค.ศ. ๑๙๖๑–๑๙๖๒ นอกจากน้ัน ยังมโี ครงการรณรงค์ดา้ นสาธารณสขุ เช่น การต่อตา้ นโรคมาเลเรยี โรคเรื้อน และวณั โรค ในระยะแรกภายหลงั เอกราช รฐั บาลพมา่ ไดร้ บั ความชว่ ยเหลอื จากตา่ งประเทศ ในการฟื้นฟูบูรณะประเทศ แต่การที่สหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้กองก�ำลังจีนคณะชาติ 230
สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมยี นมา อยู่ในดินแดนพม่า ท�ำให้ในที่สุดรัฐบาลพม่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากต่างชาติส่วน ใหญ่และดำ� เนินนโยบายเป็นกลางแบบไมฝ่ ักใฝฝ่ ่ายใด (non-aligned policy) ในเดอื น เมษายน ค.ศ. ๑๙๕๕ พมา่ เขา้ รว่ มการประชมุ บนั ดงุ (Bandung Conference) ทปี่ ระเทศ อนิ โดนเี ซยี ซง่ึ เปน็ การประชมุ ของชาตแิ อฟรกิ าและเอเชยี ในฐานะผนู้ ำ� สำ� คญั ประเทศหนงึ่ ในขบวนการไม่ฝกั ใฝ่ฝา่ ยใด เหน็ ได้จากการท่ีพมา่ เป็นหนึ่งในบรรดาชาติแรก ๆ ทใ่ี ห้การ รับรองประเทศอิสราเอลและสาธารณรฐั ประชาชนจีน เม่ือ ค.ศ. ๑๙๕๘ เศรษฐกิจของประเทศเริ่มกระเต้ืองข้ึน แต่ความไม่เช่ือมั่น ว่ารัฐบาลจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาได้ตามที่ให้ค�ำมั่นสัญญาไว้ก็มีมากขึ้น ทกุ ที ในเอเอฟพีเอแอลของนายกรัฐมนตรอี นู ุก็แตกแยกกนั เป็น ๒ ฝา่ ย ได้แก่ กล่มุ ของ อูนุฝ่ายหนึ่งกับกลุ่มของบะส่วย (Ba Swe) และจอว์เย่ง (Kyaw Nyein) อีกฝ่ายหน่ึง ทงั้ ๆ ทก่ี ารสรา้ งความปรองดองของอูนุกบั กลุ่มชาติพนั ธต์ุ า่ ง ๆ ประสบความส�ำเร็จอย่าง ไม่คาดหมาย คือได้รับการยอมรับจากกลุ่มที่ส�ำคัญหลายกลุ่มด้วยกัน สถานการณ์ ในรัฐสภาไร้เสถียรภาพ อูนุรอดพ้นจากการลงมติไม่ไว้วางใจเพราะเสียงสนับสนุนจาก พรรคแนวรว่ มแห่งชาตหิ รือเอ็นยูเอฟ (National United Front–NUF) ท่เี ป็นฝา่ ยค้าน เนือ่ งจากพรรคนม้ี ีผแู้ ทนทเี่ ชือ่ กันวา่ เปน็ คอมมิวนิสตร์ ว่ มอยู่ดว้ ย นายทหารในกองทัพจงึ เห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์พม่าและอูนุอาจจะร่วมมือกันโดยอาศัยพรรคแนวร่วมแห่งชาติ เปน็ ตัวเช่อื ม ค.ศ. ๑๙๕๘ อูนุลาออกจาก นายพลเนวิน ตำ� แหนง่ นายกรฐั มนตรี นายพลเนวนิ (Ne Win) เสนาธิการทหารบก ขึ้นมาเป็นผู้น�ำรัฐบาล รักษาการ รัฐบาลส่ังจับกุมผู้ท่ีฝักใฝ่พรรค คอมมิวนิสตก์ วา่ ๔๐๐ คน ในจ�ำนวนน้ี ๑๕๓ คนถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะโกโก (Coco) ในทะเลอนั ดามนั และในบรรดาผถู้ กู เนรเทศกม็ ี อองตัน (Aung Than) พีช่ ายของอองซานรวม 231
สารานุกรมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพือ่ นบ้านในอาเซยี น อยู่ด้วย นอกจากน้ันยังมีการสั่งปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับเนวินเป็นผู้น�ำรัฐบาลรักษา การจนมีการเลือกตั้งใหมใ่ น ค.ศ. ๑๙๖๑ พรรคการเมืองใหม่ของอนู ุ คือ พรรคสหภาพ (Union Party) ได้รับชัยชนะ อูนุจึงกลับมาจัดต้ังรัฐบาลบริหารประเทศอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี คณะทหารซ่ึงมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศอยู่ ๑๘ เดือนก่อนหน้า นั้น เห็นว่าสหภาพพม่าก�ำลังจะแตกสลายภายใต้รัฐบาลอูนุ ซึ่งด�ำเนินนโยบายทาง เศรษฐกจิ เบยี่ งเบนไปจากแนวทางสงั คมนยิ มทผี่ กู้ อ่ ตงั้ ประเทศคอื อองซานไดว้ างไว้ ดงั นนั้ ในวันที่ ๒ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๖๒ เนวินจึงน�ำคณะทหารเข้ายึดอ�ำนาจการปกครอง อกี ครั้งหนึง่ รฐั บาลเผด็จการทหารของเนวินก�ำหนด “เสน้ ทางระบบสังคมนิยมแบบพมา่ ” (Burmese Road to Socialism) เป็นแนวทางหลกั ในการปกครองและบรหิ ารประเทศ ในดา้ นการเมือง รฐั บาลเนวนิ ร้ือโครงสรา้ งท้งั หมดท่ีพัฒนามาในชว่ ง ๑๔ ปีหลงั เอกราช ด้วยการยกเลิกระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย ๒ สภา ยุบต�ำแหน่งประธานาธิบดีและ รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่าง ๆ จัดระเบียบการศาลใหม่ให้รวมศูนย์อยู่ที่ศาลสูงสุด (supreme court) นอกจากนั้นยังยกเลิกหรือปรับเปล่ียนโครงสร้างการบริหารที่มีมา ต้ังแต่สมัยอาณานิคมใหม่ตามแนวทางท่ีพวกชาตินิยมหัวรุนแรงในช่วงทศวรรษ ๑๙๓๐ เคยเสนอไว้ เนวินด�ำรงต�ำแหน่งประธานสภาปฏิวัติ (Revolutionary Council) ซ่ึงมีอ�ำนาจท้ังในด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ จัดต้ังคณะกรรมการด้าน ความมั่นคงและบริหารซึ่งมีผู้บัญชาการทหารเป็นประธาน มีอ�ำนาจน�ำนโยบายรัฐบาล ไปปฏิบัติในระดับรัฐ เขต (division) และท้องถ่ินรวมทั้งควบคุมกลไกระบบ การบรหิ ารราชการทงั้ หมดและสถานการณท์ างการเมอื งโดยทัว่ ไป ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๖๒ สภาปฏิวัติจัดตั้งพรรคการเมืองของตนข้ึน เรียกว่า พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าหรือบีเอสพีพี (Burma Socialist Programme Party–BSPP) มีเนวินเป็นประธาน ในช้นั แรก สมาชกิ พรรคกค็ อื สมาชิกสภาปฏิวัติ ในตน้ ทศวรรษ ๑๙๗๐ จงึ ขยายสมาชกิ ภาพของพรรคออกไป และใชก้ ารเป็นสมาชิกพรรคเป็น ปัจจัยเกอ้ื หนุนหนา้ ทีก่ ารงานภาครฐั ใน ค.ศ. ๑๙๗๔ มีการจัดทำ� รัฐธรรมนูญซึง่ ก�ำหนด 232
สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมียนมา ให้พม่าเป็นรัฐท่ีมีพรรคการเมืองพรรคเดียวแบบประเทศคอมมิวนิสต์ และใช้นโยบาย เศรษฐกจิ แบบสงั คมนิยม รัฐบาลพยายามตัดเศรษฐกิจของพม่าออกจากระบบการค้าโลก ในทศวรรษ ๑๙๕๐ ประมาณว่าพม่ามสี ่วนรว่ มกับตลาดโลกถึงร้อยละ ๔๐ ของมูลค่าการค้าทง้ั หมด แต่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ ๒๖ ในทศวรรษต่อมา การท่ีรัฐควบคุมเศรษฐกิจท้ังหมด ท�ำให้ความแตกต่างด้านรายได้ในสังคมลดน้อยลงไป อย่างไรก็ตาม ผลกระทบโดยรวม ด้านเศรษฐกิจนับว่ามหาศาล ปริมาณการผลิตข้าวตกต�่ำลง ท�ำให้พม่าสูญเสียฐานะการ เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่รายหนึ่งของโลก รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศก็ลดลงไป ด้วย ในทศวรรษ ๑๙๖๐ ความเติบโตทางเศรษฐกิจมนี ้อยมาก ประมาณวา่ ในชว่ ง ค.ศ. ๑๙๖๓-๑๙๗๔ อุตสาหกรรมเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีเพียงร้อยละ ๒.๖ เท่านั้นเพราะการ แทรกแซงของรฐั บาลในระบบเศรษฐกจิ และความไรป้ ระสทิ ธภิ าพดา้ นการบรหิ ารจดั การ ระบบเศรษฐกิจพม่าภายใต้เผด็จการทหารจึงอยู่ในภาวะล่มสลาย ประชาชน ตอ้ งพง่ึ ตลาดมดื เพอื่ แสวงหาสนิ คา้ อปุ โภคบรโิ ภคและสง่ิ จำ� เปน็ อน่ื ๆ ทร่ี ฐั ไมส่ ามารถจดั หา ให้ได้ ตลอดทศวรรษ ๑๙๗๐ ประชาชนประสบปัญหามากข้ึนเพราะค่าครองชีพสูงข้ึน อย่างต่อเน่ือง ในกลางทศวรรษ ๑๙๘๐ เศรษฐกิจพม่าก็ใกล้ภาวะวิกฤติ ผลิตภาพ (productivity) ด้านการผลิตทางการเกษตรไม่เพิ่มขึ้น เน่ืองจากขาดพัฒนาการด้าน เทคโนโลยี ขณะท่ีประชากรยังคงเพิ่มข้ึน อุตสาหกรรมท่ีรัฐด�ำเนินการไม่สามารถผลิต สนิ คา้ เพอื่ สนองความตอ้ งการของประชาชนไดอ้ ยา่ งพอเพยี ง แมร้ ฐั บาลยงั ตอ้ งพงึ่ พาสนิ คา้ ตลาดมดื จากประเทศไทย ในเดอื นธนั วาคม ค.ศ. ๑๙๘๗ เนวนิ ยอมรบั ในทป่ี ระชมุ ภายใน ของสมาชิกอาวุโสของกองทัพ พรรค และรัฐบาล ว่าระบบสังคมนิยมของพม่าประสบ ความล้มเหลว ในขณะเดียวกัน สหประชาชาติก็จัดให้พม่าอยู่ในบัญชีชาติที่ “พัฒนา น้อยท่สี ดุ ” (least developed country) ซ่ึงพม่าอยูใ่ นขนั้ ท่เี รียกวา่ “ลม้ ละลาย” ปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ คา่ ใช้จา่ ยในการน�ำเขา้ เพิ่มสงู ขนึ้ เพราะขาดดุลการคา้ อย่างรุนแรง หนี้ต่างประเทศสูงข้ึนอย่างเป็นประวัติการณ์ ชาติที่ให้กู้ยืม เช่น ญ่ีปุ่น ก็เตอื นว่า พมา่ จำ� เป็นต้องปฏิรปู เศรษฐกิจ มฉิ ะนน้ั จะยตุ กิ ารใหค้ วามช่วยเหลอื ใน ค.ศ. 233
สารานกุ รมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซยี น ๑๙๘๗ รฐั บาลพมา่ ประกาศยกเลิกธนบัตรท่มี ีมูลค่าสงู ทัง้ หมด แล้วพิมพธ์ นบตั รขนึ้ ใหม่ ท�ำให้ร้อยละ ๖๐ ของเงินที่อยู่ในมือของประชาชนหมดค่าลงทันที การตัดสินใจของ เนวินสร้างความแปลกใจให้แก่ทุกคนรวมทั้งผู้ใกล้ชิดกับเขาด้วย มาตรการนี้อาจมี เปา้ หมายทำ� ลายตลาดมดื เพราะพอ่ คา้ ตลาดมดื ถอื เงนิ จา๊ ต (kyat) ไวใ้ นมอื เปน็ จำ� นวนมาก หรืออาจต้องการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ เพราะขณะนั้นพม่าไม่มีระบบธนาคารท่ีมี ประสิทธภิ าพพอ การต่อตา้ นรฐั บาลทหารมีมาตัง้ แตช่ ่วงเร่มิ ต้น ในเดอื นกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๖๒ นกั ศกึ ษาเดนิ ขบวนประทว้ งสภาปฏวิ ตั ทิ ยี่ ตุ คิ วามเปน็ อสิ ระของมหาวทิ ยาลยั ยา่ งกงุ้ รฐั บาล ปราบปรามอยา่ งรวดเรว็ และรนุ แรง ผนู้ ำ� นกั ศกึ ษาหลายคนถกู จบั และมกี ารระเบดิ ทำ� ลาย สโมสรนกั ศึกษาท่ีเปน็ ศูนยก์ ลางการเคลอ่ื นไหวมาหลายชั่วคน ใน ค.ศ. ๑๙๗๔ นักศกึ ษา เดนิ ขบวนอกี ครงั้ เมอื่ มกี ารจดั งานศพอถู น่ั (U Thant) อดตี เลขาธกิ ารสหประชาชาตใิ นชว่ ง ค.ศ. ๑๙๖๑-๑๙๗๑ นอกจากนั้น กองทพั กเ็ รมิ่ แสดงความไม่พอใจเนวิน แมก้ ารคบคิด เพ่ือโค่นล้มเขาจะไม่ส�ำเร็จ แต่เนวินก็อยู่ในสภาพโดดเดี่ยว ไม่เข้าใจสภาพความเป็นไป ของบ้านเมืองมากย่ิงขน้ึ บางคร้งั ก็ตดั สนิ ใจจากความเชือ่ เชน่ โหราศาสตร์ มากกวา่ เป็น ผลจากการศกึ ษาวเิ คราะห์สภาพความเปน็ จรงิ ที่เปน็ อยู่ ในเดือนมนี าคม ค.ศ. ๑๙๘๘ มีการเดินขบวนคร้ังใหญ่ทั่วประเทศเพื่อตอ่ ตา้ น ทงั้ เนวนิ และบเี อสพพี ี ทำ� ใหเ้ นวนิ ตอ้ งประกาศลาออกจากตำ� แหนง่ ประธานพรรคในเดอื น กรกฎาคมปีเดียวกัน แต่ความวุ่นวายที่ด�ำเนินอยู่ท�ำให้กองทัพจัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎหมาย และความสงบเรียบร้อยของรัฐหรือสลอร์ก (State Law and Order Restoration Council–SLORC) ในวนั ท่ี ๑๗ กนั ยายน ค.ศ. ๑๙๘๘ ขน้ึ มาปกครองและบรหิ ารประเทศ มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกและปราบปรามการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ๔๕๑ คน (ตัวเลขของทางการ แต่จ�ำนวนที่แท้จริงของผู้เสียชีวิต คงจะสงู กวา่ นัน้ มาก) ค.ศ. ๑๙๘๘ จงึ เปน็ จดุ เปลีย่ นสำ� คญั ทงั้ ในดา้ นการเมือง เศรษฐกจิ และสังคม 234
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในด้านการเมือง เนวินดูจะหมดอ�ำนาจไปต้ังแต่เมื่อสลอร์กข้ึนมาปกครอง ประเทศ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ มีการจัดการเลือกต้ังทั่วไป อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ผู้น�ำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารซ่ึงได้รับความนิยมจากประชาชน อยา่ งกวา้ งขวาง ถกู ขดั ขวางไมใ่ หล้ งเลอื กตงั้ เพราะแตง่ งานกบั ชาวตา่ งชาติ (นางมสี ามเี ปน็ ชาวองั กฤษ) นางถกู กกั บรเิ วณเพราะถกู กลา่ วหาวา่ ปลกุ ปน่ั ยยุ งใหม้ กี ารเดนิ ขบวนตอ่ ตา้ น รัฐบาล อยา่ งไรกต็ าม พรรคการเมอื งของนาง คอื สนั นบิ าตแหง่ ชาตเิ พอ่ื ประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี (National League for Democracy–NLD) ได้รับคะแนนเสียงถึง ร้อยละ ๖๐ ของผู้มาใช้สิทธ์ิออกเสียงเลือกตั้งและได้ ๓๙๒ ท่ีนั่งจากทั้งหมด ๔๘๕ ที่นั่งในสมัชชาประชาชน (People’s Assembly) แต่ทหารที่ยังมีอ�ำนาจอยู่ขณะนั้น แสดงท่าทีชัดเจนว่า จะไม่ยอมถ่ายโอนอ�ำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือนจนกว่าการร่าง รัฐธรรมนูญใหม่จะด�ำเนินการแล้วเสร็จและจัดต้ังรัฐบาลตามแนวทางของรัฐธรรมนูญ สถานการณท์ างการเมอื งจงึ ชะงกั งนั อยู่เชน่ นต้ี อ่ มาเป็นเวลานาน อองซานซจู ี 235
สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซยี น ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายประการบีเอสพีพี สลายตวั ไป รฐั บาลทหารเปลย่ี นชอ่ื ประเทศจาก “พมา่ ” เปน็ “เมยี นมา” ใน ค.ศ. ๑๙๘๙ ในทศวรรษต่อมารัฐบาลหาทางยุติการสู้รบกับชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ และเมื่อถึง กลางทศวรรษก็มีกลุ่มที่เคยต่อสู้กับรัฐบาล ๑๗ กลุ่มยอมยุติการสู้รบ มีเพียงกลุ่ม สหภาพกะเหร่ียงแห่งชาติหรือเคเอ็นยูเท่าน้ันที่ยังไม่ยอมตกลง ในช่วงน้ี อองซานซูจี ยังคงถกู กักบรเิ วณ กระบวนการรา่ งรัฐธรรมนูญยตุ ิลงใน ค.ศ. ๑๙๙๖ (และมกี ารรื้อฟ้ืน ขน้ึ ใหมใ่ นเวลาตอ่ มา) เมอื่ สมาชกิ พรรคเอน็ แอลดเี ดนิ ออกจากสภารา่ งรฐั ธรรมนญู และไม่ ยอมเข้าร่วมกระบวนการน้ี ซ่ึงเอน็ แอลดรี ะบวุ ่าไม่เปน็ ประชาธปิ ไตย ในปีต่อมา สลอร์ก เปล่ยี นชื่อใหมเ่ ป็นสภาสันตภิ าพและการพฒั นาแห่งรัฐหรือเอสพดี ซี ี (State Peace and Development Council–SPDC) การสู้รบกับชนกลุ่มน้อยที่ยังมิได้หมดส้ินไปท�ำให้มี ผู้ลี้ภัยกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนอยู่ในค่ายในประเทศไทย นอกจากนั้น การขยายตัวของ เศรษฐกจิ ไทยในชว่ งนน้ั ทำ� ใหม้ แี รงงานจากเมยี นมาหลงั่ ไหลเขา้ ไปทำ� งานในประเทศไทย เปน็ จ�ำนวนมาก กระแสกดดันจากภายนอกท�ำให้รัฐบาลทหารต้องยอมปล่อยตัวอองซานซูจี ใน ค.ศ. ๒๐๑๐ (ก่อนหน้านั้นเคยมีการปล่อยตัวและก็ถูกกักบริเวณอีก) นอกจากนั้น รฐั บาลยงั ยอมใหม้ โี ครงการปฏริ ปู ซงึ่ รวมไปถงึ การอนญุ าตใหม้ พี รรคการเมอื งหลายพรรค วนั ท่ี ๑๐ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๘ มกี ารจดั ออกเสยี งลงประชามตวิ า่ จะรบั รา่ งรฐั ธรรมนญู ท่ีรัฐบาลจัดท�ำข้ึนหรือไม่ ปรากฏตามรายงานของรัฐบาลว่าร้อยละ ๙๙ ของประชาชน ผู้มีสทิ ธิออกเสียงจำ� นวน ๒๒ ลา้ นคนมาใชส้ ิทธ์ขิ องตน และรอ้ ยละ ๙๒.๔ ของผูม้ าออก เสยี งใหค้ วามเหน็ ชอบรา่ งรฐั ธรรมนญู รฐั บาลจดั การออกเสยี งลงประชามตขิ ณะทเ่ี มยี นมา กำ� ลงั ประสบภัยครงั้ รา้ ยแรงจากพายุไซโคลนนารก์ สี (Cyclone Nargis) ในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๑๐ รัฐบาลจัดให้มีการเลือกต้ังทั่วไป มพี รรคการเมืองลงแข่งขันถึง ๔๐ พรรค ในจ�ำนวนน้ีมีสว่ นหน่ึงเปน็ พรรคที่เป็นตวั แทน กลมุ่ ชนชาตติ า่ ง ๆ พรรคเอน็ แอลดซี งึ่ ไดร้ บั ชยั ชนะทว่ มทน้ ในการเลอื กตงั้ เมอื่ ค.ศ. ๑๙๙๐ ตดั สนิ ใจไมร่ ว่ มการเลอื กตงั้ ครงั้ น้ี ทำ� ใหพ้ รรคเอกภาพและการพฒั นาแหง่ สหภาพ (Union 236
สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมียนมา Solidarity and Development Party) ซง่ึ รฐั บาลทหารใหก้ ารสนบั สนนุ ไดร้ บั ชยั ชนะได้ ๒๕๙ ท่นี ง่ั จากทง้ั หมด ๓๓๐ ท่นี ง่ั ในสภาผ้แู ทนราษฎร (House of Representatives) ท่ีมาจากการเลือกตั้ง (อีก ๑๑๐ ที่น่ังเป็นผู้แทนท่ีมาจากการแต่งต้ัง) นอกจากสภานี้ ยังมีสภาชนชาติ (House of Nationalities) ซ่ึงมีผู้แทนท้ังจากการเลือกต้ังและไม่ได้ เลอื กตัง้ รวม ๒๒๔ คน ต่อมาในวนั ที่ ๑ เมษายน ค.ศ. ๒๐๑๒ มีการเลอื กตงั้ ซอ่ มจ�ำนวน ๔๖ ทนี่ ัง่ พรรคเอ็นแอลดีลงแข่งขันจำ� นวน ๔๔ ท่นี ัง่ และได้รับชยั ชนะ ๔๓ ทน่ี ่งั ในการ เลือกตั้งซ่อมคร้ังน้ี อองซานซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดีได้รับเลือกต้ังเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรด้วย การเลือกทว่ั ไปคร้ังตอ่ ไปจะมีขึ้นใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ปจั จบุ นั ตำ� แหนง่ ผนู้ ำ� สงู สดุ ในเมยี นมา คอื ประธานาธบิ ดี ซงึ่ เปน็ ทงั้ ประมขุ ของ รัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีได้รับการเลือกโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้มาจากการเลือกต้ังโดยตรงอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาหรือฝรั่งเศส ปัจจุบันผู้ด�ำรง ต�ำแหน่งนี้มาตั้งแต่วันท่ี ๓๐ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๑๑ คือ เต็งเส่ง (Thein Sein) ซ่ึงเคย เป็นผู้บัญชาการทหารและเคยด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วง ค.ศ. ๒๐๐๗-๒๐๑๑ จะเหน็ ไดว้ า่ ในชว่ งเปลยี่ นผา่ นทางการเมอื งครง้ั สำ� คญั น้ี กองทพั ยงั คงมอี ำ� นาจและอทิ ธพิ ล อยูอ่ ยา่ งมากในเมียนมา ในด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลทหารของพม่าพยายามน�ำนโยบายปฏิรูปมาใช้และ เปล่ียนระบบเศรษฐกิจให้เป็นแบบตลาด พร้อมกับหาทางดึงเงินลงทุนจากต่างชาติ เข้าประเทศ มีการประกาศใช้กฎหมายการลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Law) ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๘๙ ก็ประกาศยกเลกิ กฎหมายจัดตงั้ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Law of Establishment of Socialist Economic System) ทใ่ี ช้มาตงั้ แต่ ค.ศ. ๑๙๖๕ และยงั นำ� มาตรการเปดิ เสรใี นดา้ นตา่ ง ๆ มาใชเ้ พอื่ เปลยี่ นไปสรู่ ะบบเศรษฐกจิ แบบตลาด อย่างไรก็ตาม การปรับเปล่ียนนโยบายอย่างกะทันหันและท�ำตามอ�ำเภอใจ โดยเฉพาะหลังจากมีการเปลี่ยนจากสลอร์กมาเป็นสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ หรอื เอสพดี ซี ใี น ค.ศ. ๑๙๙๗ ทำ� ใหบ้ รรยากาศทางเศรษฐกจิ ในเมยี นมามคี วามไมแ่ นน่ อน เกือบตลอดเวลา อย่างไรก็ดี แม้ผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้ยังไม่ปรากฏชัด และ 237
สารานุกรมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพอื่ นบ้านในอาเซยี น เมียนมายังอยู่ในสถานะประเทศยากจนท่ีสุดประเทศหนึ่งในโลก แต่มีความก้าวหน้าใน ดา้ นสงั คมมากขน้ึ โดยเฉพาะการศกึ ษา สาธารณสขุ และการพฒั นาชนบท โอกาสทางการ ศึกษาเปิดกว้างมากขึ้น มีการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดีข้ึนระดับหน่ึง กระจาย สถาบันอุดมศึกษาออกไปในเขตพ้ืนที่ต่าง ๆ ท่ัวประเทศ (มีเหตุผลทางการเมือง คือ ไม่ต้องการให้นักศึกษารวมตัวกันเป็นกลุ่มพลังทางการเมืองได้ง่าย) ท�ำให้การศึกษาใน ระดับนเี้ ปดิ กวา้ งมากขึ้น แม้อาจารยผ์ ู้สอนยังมคี ุณวุฒคิ ่อนขา้ งต่�ำ ในดา้ นสาธารณสขุ รฐั บาลเมยี นมานำ� ระบบสาธารณสขุ พน้ื ฐานมาใช้ ประกอบ ด้วย การส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ท�ำให้สถานะด้านสาธารณสุขของประเทศ ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะในเขตพื้นท่ีชายแดนซ่ึงมีระดับการพัฒนาล้าหลังกว่าดินแดนส่วน อ่ืน ๆ ของประเทศมาตงั้ แตส่ มยั อาณานิคม หลงั ค.ศ. ๑๙๘๙ เมอ่ื การเจรจาหยุดยงิ กบั กลุ่มตดิ อาวุธต่าง ๆ ประสบความสำ� เร็จ (มเี พียงบางกลุม่ ท่ียงั ตอ่ สู้กบั รัฐบาลอยู่) ก็มกี าร พฒั นาโครงสรา้ งพืน้ ฐานท้ังดา้ นกายภาพและทางสงั คม กลา่ วคอื นอกจากการสรา้ งถนน สะพาน และอน่ื ๆ แลว้ ยงั เปดิ โรงพยาบาลและสง่ิ อ�ำนวยความสะดวกด้านสาธารณสขุ ข้ึนใหมอ่ ย่างรวดเร็วด้วย ปญั หาทย่ี งั คงมีอยู่ คอื ความยากจนในชนบท รัฐบาลชดุ ต่าง ๆ ของเมยี นมาจงึ มุ่งขจัดความยากจนในชนบทให้ลดน้อยลง ในเมียนมาไม่มีการก�ำหนดเส้นความยากจน ของชาติ (national poverty line) แต่มีการประมาณการจากองค์การระหวา่ งประเทศ และนักวิจัยอิสระไว้ไม่น้อย เช่น การส�ำรวจของธนาคารโลกใน ค.ศ. ๑๙๗๗ ระบุว่า ประชากรเมียนมาร้อยละ ๔๐ มีฐานะยากจน และในจ�ำนวนประชากรท่ีจัดว่ายากจน ๑๖.๗ ลา้ นคนนนั้ ๑๒.๕ ล้านคนอาศยั อยูใ่ นชนบท และอกี ๔.๒ ลา้ นคนอยใู่ นเขตเมือง ใน ค.ศ. ๑๙๙๗ กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (International Monetary Fund–IMF) รายงานวา่ ประชากรเกือบรอ้ ยละ ๒๕ เป็นประชากรยากจน ส่วนใหญ่ไร้การศึกษา ว่างงาน และไม่มีที่ดินท�ำกิน ในปีเดียวกัน ธนาคารโลกยัง ประเมินว่า ครัวเรือนร้อยละ ๒๒.๙ หรือประชากรประมาณ ๑๐.๖ ล้านคน ด�ำรงชีพ อย่ใู นระดบั ตำ�่ กว่าระดบั การยังชพี ท่ีนอ้ ยทีส่ ดุ (minimum subsistence level) 238
สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมียนมา ความยากจนในชนบทยังก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงด้านสิ่งแวดล้อม แม้ ในช่วงท่ีต้องเผชิญความยากล�ำบากท่ีสุด ชาวนาก็มักไม่ยอมโยกย้ายถ่ินฐาน แต่จะหา ทางด�ำรงชีพด้วยการท�ำไร่เล่ือนลอย ตัดฟืน และเผาถ่าน ในเขตภูเขาหรือป่าใกล้ ๆ หมู่บ้าน อีกทั้งประชากรที่เพ่ิมข้ึน ส่งผลให้เกิดการท�ำลายป่าและความเสื่อมโทรมของ ส่ิงแวดล้อม อย่างไรก็ดี ความยากจนค่อย ๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยเฉพาะต้ังแต่ ประมาณ ค.ศ. ๑๙๘๖ เมียนมาเป็นประเทศท่ีม่ังค่ังด้วยทรัพยากร แต่ได้รับผลในทางลบจากการเข้า มาควบคุมของรัฐในด้านต่าง ๆ รวมท้ังจากนโยบายเศรษฐกิจท่ีไร้ประสิทธิภาพ การฉ้อ ราษฎรบ์ งั หลวง และความยากจนในชนบท บรรยากาศดา้ นธรุ กจิ ยงั ไมแ่ จม่ ใสแมจ้ ะมกี าร เปลยี่ นแปลงสำ� คญั ทางการเมอื งตงั้ แต่ ค.ศ. ๒๐๑๐ เพราะยงั มปี ญั หาความไรป้ ระสทิ ธภิ าพ และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ท�ำให้ความมั่งค่ังจากทรัพยากรธรรมชาติกระจุกอยู่ในมือ ของกลุ่มชนชั้นน�ำท่ีเป็นผู้น�ำทางทหารและสมัครพรรคพวกทางธุรกิจ ในช่วง ค.ศ. ๒๐๑๐-๒๐๑๑ มีการประกาศใช้นโยบายการแปรรูป แต่ผลจากการดำ� เนินนโยบาย นท้ี ำ� ใหม้ กี ารถา่ ยโอนทรพั ยข์ องรฐั โดยเฉพาะทเ่ี ปน็ อสงั หารมิ ทรพั ยไ์ ปเปน็ ของครอบครวั ผู้น�ำทางทหารท�ำให้ช่องว่างระหว่างชนช้ันน�ำทางการเมืองและเศรษฐกิจกับสาธารณชน ทัว่ ไปขยายกว้างมากขน้ึ แม้จะมีการเปิดเสรีด้านการลงทุน แต่ก็ยังมีปัญหาความอ่อนแอด้านหลัก นติ ธิ รรม (rule of law) ในระยะที่ผ่านมา นกั ลงทุนสนใจลงทุนเฉพาะการใชป้ ระโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ การผลิตกระแสไฟฟ้า ป่าไม้ และ การท�ำเหมืองแร่ แต่ผลประโยชน์จากการลงทุนเหล่าน้ีมิได้ตกแก่ประชนชนส่วนใหญ่ นอกจากนั้น กิจการเหมืองแร่และป่าไม้ยังมีผลในแง่ของการสร้างความเส่ือมโทรม ด้านส่ิงแวดลอ้ มดว้ ย กิจการด้านอื่น ๆ เช่น การผลิตทางอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ ก็ยังต้องเผชิญปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่อ่อนแอ นโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้าที่ ไม่แน่นอน ทรัพยากรมนุษย์ท่ียังไม่ได้พัฒนาขึ้นเพ่ือเป็นพลังในการพัฒนาเศรษฐกิจได้ 239
สารานกุ รมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพื่อนบา้ นในอาเซียน อย่างเต็มก�ำลัง ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงท่ียังมีอยู่อย่างกว้างขวาง การเข้าถึงแหล่ง ทุนในด้านการลงทุนยังไม่เพียงพอ และธนาคารเอกชนยังด�ำเนินกิจการภายใต้ข้อจ�ำกัด ต่าง ๆ ท�ำให้ภาคเอกชนเข้าถึงสินเชื่อและบริการอื่น ๆ ได้ยาก การถูกคว�่ำบาตรทาง เศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกอื่น ๆ ในช่วงท่ีผ่านมา (ปัจจุบันมาตรการ เหล่าน้ียกเลิกหรือผ่อนคลายลงมากแล้ว) มีผลกระทบอย่างมากต่อกิจการอุตสาหกรรม เช่น ดา้ นสง่ิ ทอที่กำ� ลังขยายตวั กิจการธนาคารท่ีกำ� ลังพฒั นา ใน ค.ศ. ๒๐๑๑ รฐั บาลเมยี นมาเรมิ่ ดำ� เนนิ มาตรการในการปฏริ ปู และเปดิ ระบบ เศรษฐกิจของประเทศด้วยการลดภาษีส่งออก ผ่อนคลายการควบคุมภาคการเงิน และ พยายามติดต่อขอความช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ แต่รัฐบาลยังต้อง ปรบั ปรงุ อกี หลายดา้ น โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกจิ โครงสร้างพ้นื ฐานทางกฎหมายและ ธรุ กิจ ตลอดจนสถานการณท์ างการเมืองโดยท่ัวไป. (ธีระ นชุ เป่ยี ม) 240
สาธารณรัฐแหง่ สหภาพเมียนมา บรรณานกุ รม Michael Aung-Thwin and Maitraii Aung-Thwin. Myanmar since the Ancient Times: Traditions and Transformations. London: Reaktion Books, 2012. Myat Thein. Economic Development of Myanmar. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2004. Ricklefs, M.C.; Lockhart, Bruce; Lau, Albert; Reyes, Portia and Maitrii Aung-Twin. A New History of Southeast Asia. Basingstoke: Palgrave Macmillan, 2010. Thant Myint-U. The River of Lost Footprints: A Personal History of Burma. New York: Faber and Faber, 2007. 241
สาธารณรัฐฟลิ ิปปินส์ สาธารณรฐั ฟลิ ปิ ปนิ ส์ Republic of the Philippines สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร (Maritime Southeast Asia) มีประชากรประมาณ ๑๐๐ ลา้ นคน นบั เป็นประเทศท่ีมี จำ� นวนประชากรมากเปน็ อนั ดบั ๒ ของภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตร้ องจากอนิ โดนเี ซยี ฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ปน็ ๑ ใน ๕ ประเทศทรี่ ว่ มกอ่ ตง้ั สมาคมประชาชาตแิ หง่ เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations–ASEAN) และมบี ทบาทท่ี แข็งขนั ในพลวัตของความสมั พนั ธ์ระหว่างประเทศแหง่ ภมู ิภาคน้ี แมฟ้ ลิ ปิ ปนิ สจ์ ะเปน็ ประเทศทมี่ ลี กั ษณะภมู ปิ ระเทศ ภมู อิ ากาศ สงิ่ แวดลอ้ มทาง กายภาพ ส่ิงมีชวี ิต ตลอดจนถงึ ชาตพิ ันธ์ุของประชากรมนุษย์ ทีค่ ลา้ ยคลงึ และสัมพันธ์กบั ดนิ แดนเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตส้ ว่ นอน่ื ๆ แตฟ่ ลิ ปิ ปนิ สก์ ม็ คี วามแตกตา่ งอนั เนอ่ื งมาจาก พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อยู่หลายประการ ในยุคก่อนอาณานิคม ผู้คนในบริเวณนี้ ตั้งหลักแหล่งอยู่อย่างกระจัดกระจาย ไม่มีหน่วยการปกครองหรือศาสนาความเช่ือใดท่ี ขยายอิทธพิ ลครอบคลุมท้งั หมเู่ กาะ ทัง้ ยงั ไดร้ บั อิทธิพลทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม 243
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382