Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

Description: สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน.

Search

Read the Text Version

สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ ประเทศเพอ่ื นบา้ น ในอาเซียน ฉบบั ราชบัณฑิตยสภา

สารานกุ รมประวตั ศิ าสตร์ ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน ฉบบั ราชบัณฑติ ยสภา

สารานุกรมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพอื่ นบ้านในอาเซียน ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสภา พมิ พค์ รงั้ ที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๘ จ�ำนวน ๒๐,๐๐๐ เล่ม หา้ มจ�ำหนา่ ย ส�ำนกั งานราชบัณฑติ ยสภาสงวนลิขสทิ ธิ์ ส�ำนกั งานราชบณั ฑิตยสภา สนามเสือปา่ เขตดสุ ิต กรงุ เทพมหานคร ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖–๗๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๘๑ website: www.royin.go.th e-mail: [email protected] ขอ้ มูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหง่ ชาติ ส�ำนักงานราชบณั ฑติ ยสภา. สารานกุ รมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพอื่ นบา้ นในอาเซยี น ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสภา. –– พมิ พค์ รัง้ ท่ี ๑. –– กรงุ เทพฯ : สำ� นักงานราชบณั ฑติ ยสภา, ๒๕๕๘. ๓๘๐ หน้า 1. อาเซยี น – – ประวตั ิศาสตร์ – – สารานุกรม I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๐.๐๓ ISBN 978-616-389-010-8 แบบปก เฉลมิ พนั ธ์ ทาสวัสด์ิ ศลิ ปกรรม กลุ ณา แย้มงามเหลือ พมิ พ์ท่ ี หจก. อรุณการพมิ พ์ ๔๕๗/๖-๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐ ๒๒๘๐ ๒๑๘๗-๘ E-mail: [email protected]  www.aroonkarnpim.co.th

ค�ำนำ� สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia Nations) หรือท่ีรู้จักกันดีในชื่อ สมาคมอาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การความ ร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อต้ังข้ึนเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๗ (พ.ศ. ๒๕๑๐) ประเทศสมาชิกแรกก่อต้ังมี ๕ ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไนเข้าร่วมเป็นสมาชิกใน ค.ศ. ๑๙๘๔ (พ.ศ. ๒๕๒๗) เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกใน ค.ศ. ๑๙๙๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลาวและ เมียนมาเข้าเป็นสมาชิกใน ค.ศ. ๑๙๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๐) และประเทศล่าสุดคือ กัมพูชา เข้าเปน็ สมาชิกใน ค.ศ. ๑๙๙๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒) รวมเปน็ ๑๐ ประเทศ สมาคมอาเซยี น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือช่วยเหลือซ่ึงกันและกันทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ และวัฒนธรรม เพ่ือสร้างเสถียรภาพ ความม่ันคง และความเป็นปึกแผ่น ของประชาชาตแิ ละภมู ภิ าคเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ ปัจจุบัน สมาชิกอาเซียนก�ำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซงึ่ ไดต้ กลงกนั ไวใ้ นการประชมุ สดุ ยอดอาเซยี น ครง้ั ที่ ๒๑ เมอ่ื ค.ศ. ๒๐๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) ว่า ประชาคมอาเซียนจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันท่ี ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) มีเป้าหมายความร่วมมือส�ำคัญ ๓ ด้าน ประกอบด้วย ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC) สำ� นกั งานราชบณั ฑติ ยสภาจงึ ไดจ้ ดั พมิ พห์ นงั สอื สารานกุ รมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศ เพอ่ื นบา้ นในอาเซยี น ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสภา ขนึ้ เพอ่ื เผยแพรค่ วามรเู้ กยี่ วกบั ประวตั ศิ าสตร์ ของประเทศสมาชกิ ในอาเซยี นและใช้เปน็ แหล่งอ้างองิ ทางวิชาการ ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภาขอขอบคุณคณะบรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรม ประวัติศาสตร์สากล ภูมิภาคเอเชีย และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ที่ได้เสียสละ (3)

ก�ำลังกาย ก�ำลังสติปัญญา และเวลาอันมีค่า เพื่อสร้างสรรค์ผลงานน้ี จนส�ำเร็จลุล่วง ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานน้ีจะเป็นประโยชน์และเป็นหนังสืออ้างอิง ทางวชิ าการแกป่ ระชาชนผู้สนใจทว่ั ไป. สำ� นกั งานราชบณั ฑติ ยสภา พฤษภาคม ๒๕๕๘   (4)

สารบญั หนา้ (๓) ๑ ค�ำน�ำ ๒๑ บรไู นดารุสซาลาม ๖๓ ราชอาณาจักรกัมพูชา ๙๗ สาธารณรัฐอินโดนเี ซยี ๑๔๑ สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ๑๙๙ มาเลเซยี ๒๔๓ สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมา ๒๙๑ สาธารณรัฐฟิลิปปนิ ส์ ๓๒๕ สาธารณรัฐสิงคโปร ์ ๓๗๑ สาธารณรัฐสงั คมนิยมเวยี ดนาม ๓๗๓ รายชื่อผู้เขยี น ๓๗๔ แหล่งทมี่ าภาพประกอบ จดั ทำ� โดย



บรไู นดารสุ ซาลาม บรูไนดารุสซาลาม Brunei Darussalam บรูไนดารุสซาลาม  หรือท่ีมักเรียกกันว่า  บรูไน  เป็นประเทศท่ีต้ังอยู่ทาง ชายฝง่ั ตะวนั ตกเฉยี งเหนอื ของเกาะบอรเ์ นยี ว  มพี น้ื ทขี่ นาดเลก็ ประชากรไมม่ าก แตเ่ ปน็ ประเทศทมี่ ง่ั คง่ั กวา่ ประเทศเพอื่ นบา้ นในภมู ภิ าคเดยี วกนั เนอ่ื งจากมที รพั ยากรนำ้� มนั และ ก๊าซธรรมชาติในปริมาณค่อนข้างมากเม่ือเทียบกับขนาดของประเทศและจ�ำนวน ประชากร นับต้ังแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. ๑๙๘๔ เป็นต้นมา รัฐบาลบรูไน พยายามอย่างต่อเน่ืองในการใช้ความมั่งค่ังดังกล่าวเพื่อรักษาระบอบการปกครอง พัฒนาประเทศ เสริมสร้างความมั่นคง รวมท้ังสถานภาพของบรูไนในเวทีความสัมพันธ์ ระหวา่ งประเทศ บรูไนมีพื้นที่ประมาณ ๕,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตแ้ ลว้ ถอื วา่ บรไู นมขี นาดเลก็ มเี พยี งสงิ คโปรเ์ ทา่ นน้ั ทมี่ พี น้ื ทน่ี อ้ ย กว่าบรูไน ภาคเหนอื ของประเทศจดทะเลจีนใต้ สว่ นพรมแดนทางบกตดิ กบั รฐั ซาราวะก์ หรือซาราวัก (Sarawak) ของมาเลเซีย พ้ืนท่ีของประเทศบรูไนแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน 1

สารานุกรมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซยี น ไมต่ ่อเน่ืองกันโดยมพี ้ืนท่ีท่เี รียกวา่ ลิมบัง (Limbang) ซึ่งถือว่าเปน็ ส่วนหนึง่ ของประเทศ มาเลเซียค่ันอยู่ระหว่างกลาง พ้ืนท่ีด้านตะวันออกเรียกว่าเขตเติมบูรง (Temburong) มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง แต่มีป่าอุดมสมบูรณ์ พื้นท่ีด้านตะวันตกซ่ึงเป็นพื้นท่ี ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ต้ังของกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) เมอื งหลวงของประเทศ ภูมิประเทศทางด้านตะวันตกของบรูไนส่วนใหญ่เป็นท่ีราบ มีเนินเขาที่สูง ไม่มากนัก แตล่ ึกเข้าไประดบั ความสูงจะคอ่ ย ๆ เพมิ่ ขึน้ ทางด้านตะวันออกของประเทศ บรเิ วณชายฝงั่ ทะเลเปน็ ทรี่ าบ ส่วนพนื้ ทต่ี อนในประกอบด้วยภเู ขาสงู เป็นสว่ นใหญ่ บรูไน เป็นประเทศทีม่ ภี มู ิอากาศร้อนชน้ื มฝี นตกเฉลย่ี ตลอดปคี อ่ นข้างมากและมอี ณุ หภูมิแบบ ประเทศในแถบศนู ยส์ ตู ร ทำ� ใหบ้ รไู นมปี ่าฝนท่อี ดุ มสมบูรณ์ในหลาย ๆ สว่ นของประเทศ ดงั นนั้ แมว้ า่ บรไู นจะมพี นื้ ทไี่ มใ่ หญน่ กั แตก่ ม็ พี ชื และสตั วห์ ลากหลายชนดิ ใน ค.ศ. ๒๐๐๕ บรไู นมีประชากรประมาณ ๓๗๐,๑๐๐ คน ความหนาแนน่ ของประชากรเฉลยี่ ๖๔ คน ตอ่ ๑ ตารางกโิ ลเมตร อตั ราการเพม่ิ ของประชากรบรไู นอยทู่ รี่ อ้ ยละ ๒.๙ ใน ค.ศ. ๒๐๐๕ ปัจจุบนั (ค.ศ. ๒๐๑๔) บรไู นมปี ระชากร ประมาณ ๔๒๒,๖๐๐ คน กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองท่ีใหญ่ที่สุดของประเทศ มพี น้ื ทป่ี ระมาณ ๑๐๐ ตารางกโิ ลเมตรและมปี ระชากรตามสถติ ใิ น ค.ศ. ๒๐๐๓ ประมาณ ๗๘,๐๐๐ คน เมอื งสำ� คญั อืน่ ๆ ไดแ้ ก่ เมืองมอู ารา (Muara) เป็นเมืองทา่ ทม่ี ีท่าเรือใหญ่ หา่ งจากบนั ดาร์เสรีเบกาวันไปทางทิศตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ๔๑ กิโลเมตร เมอื งเซอรอี า (Seria) เปน็ ศนู ยก์ ลางของอตุ สาหกรรมนำ�้ มนั และกา๊ ซธรรมชาติ สว่ นเมอื งกวั ลาเบอลาอติ (Kuala Belait) เมืองเปอกันตูตง (Pekan Tutong) และเมืองบางาร์ (Bangar) เป็น ศูนยก์ ลางการบรหิ ารของเขตเบอลาอิต (Belait) ตตู ง (Tutong) และเติมบรู ง ตามลำ� ดับ บรไู นในปจั จบุ ันเป็นเพียงสว่ นเลก็ ๆ ของอาณาจักรบรูไนในอดีตที่มีอาณาเขต แผ่ไพศาลไปทั่วเกาะบอร์เนียว และยังได้ขยายอ�ำนาจขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะซูลู (Sulu) และหมู่เกาะบีซายัส (Visayas) อันเป็นดินแดนของฟิลิปปินส์ 2

บรูไนดารุสซาลาม ในปัจจบุ นั ด้วย บันทกึ ของจนี สมยั ราชวงศซ์ ง่ (Song ค.ศ. ๙๖๐–๑๒๗๙) กล่าววา่ บรูไน เปน็ อาณาจักรหน่งึ ในบัญชีรายช่ือของอาณาจักรทางทะเลใตท้ ่ีสง่ บรรณาการใหแ้ ก่จนี ตงั้ แตป่ ลายครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๓ ถงึ ปลายครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๔ อาณาจกั รบรไู น ตกอยู่ใต้อ�ำนาจของอาณาจกั รมชั ปาหิต (Majapahit) บนเกาะชวา หลังจากอาณาจักร มชั ปาหติ เส่ือมลง บรูไนจงึ เป็นอสิ ระ ต่อมา ในคริสตศ์ ตวรรษที่ ๑๕ อาณาจกั รเมอลากา หรือมะละกา (Melaka Empire) ขยายอ�ำนาจเขา้ ยึดครองบรูไน ในสมยั ทอ่ี ย่ภู ายใต้การ ปกครองของมะละกา เจ้าผู้ครองอาณาจักรบรูไน คือ อาลัก เบอร์ ตาบาร์ (Alak Ber Tabar) ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมุสลิมแห่งมะละกา จากนั้นมาบรูไนได้กลายเป็น อาณาจกั รทเ่ี จ้าผู้ครองและประชาชนสว่ นใหญ่นบั ถือศาสนาอิสลาม บรูไนเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมากจากการติดต่อค้าขายกับจีนและมะละกา ทง้ั นเ้ี ปน็ เพราะบรไู นดำ� เนนิ นโยบายทางการเมอื งทย่ี อมมคี วามสมั พนั ธแ์ ละประนปี ระนอม กบั อาณาจกั รใหญ่ ๆ ทผี่ ลดั เปลย่ี นกนั ขยายอ�ำนาจ ท�ำให้อาณาจกั รเหลา่ น้นั ปฏบิ ัติดตี ่อ บรู ไน โดยเฉพาะในสมยั ทอี่ าณาจกั รใหญ่ ๆ ยดึ นโยบายดา้ นการคา้ ประสานกบั การเมอื ง บรูไนซ่ึงเป็นอาณาจักรท่ีมีการค้าเป็นเศรษฐกิจหลักจึงสามารถแสวงหาผลประโยชน์ ได้อย่างเต็มท่ี เช่น ในการค้าขายกับจีนนั้น บรูไนก็ยอมรับระบบบรรณาการของจีน มบี นั ทกึ ของชาวจนี กลา่ ววา่ จนี ตอ้ งการรงั นกจากแถบบอรเ์ นยี ว และในครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๗ บรูไนก็ส่งรังนกไปขายยังประเทศจีนได้ หลักฐานจากราชวงศ์ซ่งระบุว่าชาวจีนรู้จักกัน ดีว่าการบูรเป็นสินค้ามาจากบรูไน นอกจากนี้ มีการขุดค้นพบเหรียญของชาวจีนและ เครื่องปั้นดินเผาแบบจีนในบริเวณปากแม่น้�ำซาราวักเป็นจ�ำนวนมาก ที่แสดงให้เห็นว่า จีนมีการคา้ ขายทางเรอื กบั เขตบอร์เนียว (Borneo) ทางภาคตะวนั ตก บรไู นสามารถรวบรวมการบรู ซงึ่ เปน็ สนิ คา้ ทเี่ ปน็ ทตี่ อ้ งการในเวลานนั้ ได้ แมไ้ มไ่ ด้ เปน็ ผผู้ ลติ เอง มหี ลกั ฐานวา่ ชาวบรไู นนำ� เสอื้ ผา้ ทสี่ ง่ มาจากกมั เบย์ (Cambay) และเบงกอล (Bengal) ไปแลกการบูรจากผปู้ กครองชาวพื้นเมอื งในเขตบอร์เนยี ว สลุ ต่านบรไู นมีพระ ปรีชาสามารถในการด�ำเนนิ นโยบายตา่ ง ๆ เม่อื รวมกับความสามารถด้านการค้าขายของ ชาวบรูไน สง่ ผลใหบ้ ทบาทดา้ นการคา้ ของบรไู นกบั อาณาจกั รต่าง ๆ เพิ่มมากขนึ้ 3

สารานกุ รมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ในปลายคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๕ บรูไนพัฒนาเป็นเมืองท่าส�ำคัญ พ่อค้ามุสลิม จากทต่ี า่ ง ๆ มกั แวะพกั จอดเรอื ตงั้ คลังสนิ คา้ และแลกเปลย่ี นสินคา้ ระหว่างกัน หลังจาก โปรตเุ กสเขา้ ยึดครองมะละกาใน ค.ศ. ๑๕๑๑ แลว้ บรูไนกพ็ ้นจากอ�ำนาจของมะละกา และมีฐานะเป็นรัฐเอกราช มีความรุ่งเรืองสูงสุดทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นศูนย์กลาง การคา้ บนเสน้ ทางเดนิ เรอื ของพอ่ คา้ มสุ ลมิ จนี และญปี่ นุ่ มคี วามสมั พนั ธอ์ นั ดกี บั โปรตเุ กส มาโดยตลอด โปรตเุ กสเขา้ มาตงั้ สถานกี ารคา้ ทบี่ รไู นใน ค.ศ. ๑๕๒๖ และใชบ้ รไู นเปน็ เมอื ง ทา่ จอดพักเรือสินคา้ ตามเสน้ ทางระหวา่ งมะละกากับมาเก๊า (Macao) แม้ว่าบรูไนจะมีเศรษฐกิจมั่งคั่ง แต่ก็เกิดความยุ่งยากอยู่เสมอ ด้วยสาเหตุ จากการแย่งชิงอ�ำนาจในกลุ่มชนชั้นปกครอง ต่างฝ่ายต่างน�ำก�ำลังทหารต่างชาติ ได้แก่ ชาติสเปนและโปรตุเกสเข้าสู้รบกัน บางคร้ังมีความรุนแรงถึงกับเป็นสงครามกลางเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เช่น ในกลางคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๖ น้ัน ศรีเลละ (Sri Lela) ซึ่งต่อต้านการปกครองของสุลต่านได้เดินทางไปยังฟิลิปปินส์ เพ่ือขอให้ข้าหลวงใหญ่สเปนประจ�ำฟิลิปปินส์ช่วยเหลือ เขากล่าวหาว่าคู่กรณีท่ีเป็น พระญาติแย่งชิงราชสมบัติ และให้สัญญาต่อข้าหลวงใหญ่สเปนว่า ถ้าสเปนช่วยเหลือ ตนจะยกดินแดนท่ีเป็นอาณานิคมให้แก่กษัตริย์สเปนเป็นการตอบแทน สเปนซ่ึงก�ำลัง ต้องการขยายอ�ำนาจในบริเวณน้ีอยู่แล้วจึงเข้ามาช่วยเหลือฝ่ายของศรีเลละ เป็นผลให้ บรไู นถกู รุกรานและถกู ทำ� ลายจนเกิดความเสยี หาย สเปนเข้ามาแทรกแซงแข่งอ�ำนาจกับโปรตุเกสเพราะสเปนเห็นว่าโปรตุเกส พยายามปกป้องผลประโยชน์ของตนในภูมิภาคน้ีด้วยการสนับสนุนชาวพ้ืนเมือง บนเกาะมินดาเนา (Mindanao) ให้ต่อต้านสเปน พร้อมท้ังสร้างความสัมพันธ์ ทางการทูตกับบรูไนให้แน่นแฟ้นด้วยการแสดงท่าทีว่าจะให้ความช่วยเหลือบรูไนทันที หากรอ้ งขอ ใน ค.ศ. ๑๕๗๘ สเปนยกกองทัพเขา้ บุกบรูไนท�ำใหศ้ รีเลละได้ขน้ึ ครองราชย์ เป็นสุลต่าน แต่บรไู นยงั คงรกั ษาความเปน็ อิสระไวไ้ ด ้ หลงั จากสเปนถอนกองก�ำลังออก ไปแลว้ อดตี สลุ ตา่ นกท็ รงรวบรวมกำ� ลงั ไปขอความชว่ ยเหลอื จากโปรตเุ กสใหม้ าชว่ ยกรู้ าช 4

บรูไนดารสุ ซาลาม บัลลังกค์ นื ใน ค.ศ. ๑๕๘๐ กองทัพเรือสเปนจึงมาบุกบรูไนอกี คร้งั การบุกของสเปนใน ครั้งที่ ๒ นีท้ �ำให้ศรเี ลละไดก้ ลับขนึ้ ครองราชยเ์ ปน็ สุลตา่ นอีกคร้ังหนึง่ เหตกุ ารณว์ นุ่ วายในลกั ษณะเชน่ นเ้ี กดิ ขนึ้ อกี ใน ค.ศ. ๑๖๖๒ สลุ ตา่ นถกู ฝา่ ยตรง ขา้ มวางแผนโคน่ อำ� นาจโดยอา้ งถงึ ความไมส่ งบในอาณาจกั ร และผนู้ ำ� ของกลมุ่ กอ่ การตงั้ ตัวขึ้นเป็นสุลต่าน ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็พยายามขอให้กองก�ำลังของชาวหมู่เกาะซูลู (Sulu) มาช่วยฝ่ายตนและต่างก็เสนอดินแดนในความยึดครองของฝ่ายตรงข้ามให้แก่สุลต่าน แห่งซูลูเป็นการแลกเปลี่ยน การแย่งชิงอ�ำนาจซ่ึงเกิดขึ้นหลายครั้งท�ำให้สุลต่านต้อง ทรงยอมเสียดินแดนในครอบครองบางส่วนให้ต่างชาติท่ีสนับสนุนพระองค์ ย่ิงมีการแย่ง ชิงอ�ำนาจมากคร้ังเท่าใด บรูไนก็ต้องสูญเสียดินแดนไปมากข้ึน ทั้งมีผลกระทบโดยตรง ต่อเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สภาพดังกล่าวยังท�ำให้เมือง ต่าง ๆ ถือโอกาสเป็นอิสระจากบรูไน แม้ว่าปัญหาเศรษฐกิจจะรุนแรงข้ึน แต่ราชส�ำนักบรูไนก็ยังคงหารายได้จาก ภาษีท่ีเก็บจากราษฎร สร้างความกดดันให้ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ นอกจากปัญหา เศรษฐกจิ แลว้ ปญั หาดา้ นการปกครองกเ็ พม่ิ ขน้ึ ขา้ ราชการทไี่ ดร้ บั มอบหมายใหป้ กครอง ดนิ แดนตา่ ง ๆ มกั ขาดความจงรกั ภกั ดแี ละไมย่ อมรบั อำ� นาจของสลุ ตา่ น ตา่ งกแ็ สวงหาผล ประโยชนก์ ันอยา่ งเตม็ ที่ และปกครองอยา่ งกดขจี่ นเกดิ การต่อตา้ นจากประชาชน ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เป็นช่วงเวลาท่ีอังกฤษขยายอิทธิพล เขา้ มาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจมส์ บรกุ (James Brooke) นกั แสวงโชคชาวอังกฤษ พยายามชักชวนให้รัฐบาลอังกฤษสนใจบรูไน เขาอ้างว่ามีความจ�ำเป็นที่ต้องมีสถานี เติมเชื้อเพลิงระหว่างสิงคโปร์กับฮ่องกง การจลาจลแย่งชิงราชสมบัติใน ค.ศ. ๑๘๔๒ เปิดโอกาสให้เจมส์ บรุกซ่ึงมีบทบาทส�ำคัญในการช่วยปราบจลาจลได้รับความดี ความชอบจากสุลต่าน ได้รับแต่งต้ังให้ด�ำรงต�ำแหน่งราชาแห่งซาราวัก บรูไนกับเจมส์ บรุกท�ำสนธิสัญญากันใน ค.ศ. ๑๘๔๖ ท�ำให้อังกฤษเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจ ในบรไู นมากข้นึ 5

สารานกุ รมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพือ่ นบ้านในอาเซียน เจมส์ บรกุ ราชาแหง่ ซาราวัก ชาลส์ บรุก ราชาแห่งซาราวัก 6

บรไู นดารสุ ซาลาม ตอ่ มา เจมส์ บรกุ เรมิ่ ขยายอำ� นาจเพอ่ื ผลประโยชนส์ ว่ นตวั และตอ้ งการใหร้ ฐั บาล องั กฤษสนบั สนุนแนวทางของตน ในระยะแรกรฐั บาลองั กฤษยอมรับ แตต่ ่อมาเขาขยาย อำ� นาจมากขนึ้ รฐั บาลองั กฤษจงึ คัดคา้ นเพราะเห็นวา่ ขัดต่อผลประโยชนด์ ้านอ่นื ๆ ของ อังกฤษในบรเิ วณบอร์เนยี วเหนอื รวมทัง้ สั่งหา้ มเจมส์ บรุกไม่ใหข้ ยายอำ� นาจเขา้ สู่บรูไน การที่อังกฤษเพ่ิมบทบาทของตนอย่างต่อเนื่องในบริเวณดังกล่าวท�ำให้บรูไน ต้องยอมรับอำ� นาจของอังกฤษ เพราะไมส่ ามารถขอความช่วยเหลอื จากอาณาจักรอืน่ ๆ มาช่วยถ่วงดุลอำ� นาจของอังกฤษ ฉะนั้น องั กฤษจึงเปน็ ชาติเดียวทีช่ ่วยปอ้ งกันบรูไนจาก การรกุ รานของซาราวกั การทบ่ี รไู นตอ้ งเผชญิ กบั ภาวะเลวรา้ ยรอบดา้ นอยา่ งตอ่ เนอื่ งทำ� ให้ สุลต่านต้องทรงขอให้รัฐบาลอังกฤษคุ้มครองบรูไน ด้วยการท�ำสนธิสัญญายอมเป็นรัฐ ในอารกั ขาขององั กฤษในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๘๘๘ เมื่อบรูไนกลายเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษแล้ว รัฐบาลอังกฤษไม่ได้แต่งตั้ง ผู้แทนระดับสูงมาประจ�ำยังราชส�ำนัก การตัดสินใจท่ีส�ำคัญท้ังหมดตกอยู่ในมือของ ข้าหลวงอังกฤษซึ่งประจำ� อยู่ที่สงิ คโปร์ แมส้ ุลต่านครองราชย์ในฐานะผู้ปกครองประเทศ แตใ่ นทางปฏบิ ตั ติ อ้ งทรงรบั ฟงั คำ� แนะนำ� จากองั กฤษ อยา่ งไรกต็ าม การเปน็ รฐั ในอารกั ขา ขององั กฤษไมไ่ ดช้ ว่ ยใหป้ ญั หาเกยี่ วกบั ดนิ แดนของบรไู นหมดสน้ิ ไป ดงั จะเหน็ ไดจ้ ากความ ขดั แยง้ เรอ่ื งดนิ แดนลมิ บงั ซงึ่ เกดิ ขน้ึ หลายครงั้ ตอ่ มาใน ค.ศ. ๑๘๙๐ ผปู้ กครองเขตลมิ บงั ขอใหช้ าลส์ บรุก (Charles Brooke) ราชาแหง่ ซาราวักมาช่วยจัดการแยกลิมบงั ไปจาก การปกครองของบรูไนและบีบบังคับให้สุลต่านบรูไนต้องทรงยินยอม เม่ือสุลต่านบรูไน ทรงปฏิเสธ ชาลส์ บรุกได้ใช้อ�ำนาจเข้ายึดครองลิมบังซึ่งอังกฤษก็ไม่ได้เข้ามาช่วยแก้ไข สถานการณใ์ นทางทีเ่ ปน็ ประโยชน์ต่อบรูไนเท่าใดนกั ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ญ่ีปุ่นเข้ายึดครองบรูไนต้ังแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ จนกองทหารออสเตรเลียเข้ามาปลดปล่อยบรูไนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ชว่ งเวลา ๒-๓ ปีหลงั จากสงครามสิ้นสุดลง บรไู นมงุ่ ฟ้ืนฟบู ูรณะประเทศ โดยเฉพาะการผลติ นำ้� มนั ซงึ่ องั กฤษเรม่ิ ไวแ้ ละหยดุ ชะงกั ไปในชว่ งสงคราม ในเวลาเดยี วกนั 7

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพอื่ นบา้ นในอาเซียน อังกฤษกม็ คี วามคิดรเิ ริ่มใหด้ ินแดนตา่ ง ๆ ของอังกฤษในเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ ซง่ึ รวม ถึงคาบสมทุ รมลายู สงิ คโปร์ และบอร์เนยี วรวมกันเปน็ สหพันธรฐั การเปลยี่ นแปลงทางการเมอื งในภมู ภิ าคและทา่ ทขี ององั กฤษทจี่ ะถอนตวั ออกไป จากภูมิภาคนี้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งท่ี ๒ กลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อ ความม่ันคงและการเมืองของบรูไนอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง ๒ ทศวรรษ ความ ไม่แน่นอนดังกล่าวก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มที่มีแนวคิดทางการเมืองต่างกัน กลุ่มหนึ่งนิยมระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในขณะที่อีกกลุ่มหน่ึง ต้องการการปกครองแบบประชาธิปไตยท่ีมีฐานจากมวลชน นอกจากนี้ ยังมีแนวคิด ที่ขัดแย้งกันในเร่ืองสถานภาพของรัฐใหม่ว่าจะรวมกับคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula) และดนิ แดนอน่ื ๆ ในบอร์เนียวเหนือ (North Borneo) หรือจะรวมเฉพาะ ดินแดนในบอร์เนยี วเหนือเปน็ อีกประเทศหนึง่ ใน ค.ศ. ๑๙๕๓ สุลตา่ นโอมาร์ อาลี ไซฟดุ ดนิ ท่ี ๓ (Omar Ali Saifuddin III) ทรงแต่งต้ังคณะกรรมาธิการข้ึนเพ่ือร่างรัฐธรรมนูญของบรูไน ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๕๔ พระองค์ทรงจัดต้ังสภาระดับเขตข้ึน แต่การร่างรัฐธรรมนูญมีความคืบหน้าน้อยมาก ขณะเดียวกัน ใน ค.ศ. ๑๙๕๖ มีการก่อตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกของบรูไนช่ือ พรรคประชาชนบรูไนหรือพีอาร์บี (Parti Rakyat Brunei–PRB; Brunei’s People Party) ซ่ึงได้รับแบบอย่างมาจากพรรคแนวเอียงซ้ายซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในมลายา แม้ พรรคการเมืองดังกล่าวจะอ้างว่าจงรักภักดีต่อสุลต่าน แต่ก็ผลักดันให้มีการปกครองใน ระบอบประชาธปิ ไตย รวมทงั้ ตอ้ งการใหบ้ รไู นเขา้ เปน็ สว่ นหนง่ึ ของสหพนั ธรฐั ซงึ่ ประกอบ ดว้ ยรฐั บนเกาะบอรเ์ นยี ว ๓ รฐั พรรคพอี ารบ์ ไี ดร้ บั การสนบั สนนุ จากประชาชนพอสมควร และใน ค.ศ. ๑๙๕๗ กเ็ รยี กร้องให้บรไู นเป็นเอกราช ตามรัฐธรรมนญู บรไู นซึ่งประกาศใช้ ใน ค.ศ. ๑๙๕๙ อังกฤษยังคงรบั ผิดชอบในด้านการปอ้ งกนั ประเทศและการต่างประเทศ ของบรไู นอยู่ แตม่ อบอำ� นาจการปกครองภายในใหอ้ ยใู่ ตก้ ารดแู ลของสุลต่านซ่งึ ทรงเป็น ประมุขของสภาบริหารและปกครองด้วยการสนับสนุนของสภาเขตซ่ึงมาจากการเลือก ต้งั และสภานิติบญั ญตั ิ 8

บรูไนดารสุ ซาลาม พรรคพีอาร์บีเรียกร้องให้มีการเลือกต้ังอย่างเร่งด่วนเพื่อให้บรูไนเป็น เอกราชภายใน ค.ศ. ๑๙๖๓ และผนวกกบั รัฐอนื่ ๆ ในเกาะบอรเ์ นยี ว ขณะที่สลุ ตา่ นมี พระประสงค์จะร่วมมือกับสหพันธรัฐมลายาท่ีเพิ่งได้รับเอกราชเมื่อ ค.ศ. ๑๙๕๗ เพ่ือ รวมดนิ แดนตา่ ง ๆ ทเี่ คยอยภู่ ายใตก้ ารปกครองขององั กฤษใหเ้ ปน็ หนงึ่ เดยี ว พระองคท์ รงมี ทา่ ทตี อบรบั ขอ้ เสนอของตนกู อบั ดลุ เราะหม์ าน (Tunku Abdul Rahman) นายกรฐั มนตรี ของสหพันธรัฐมลายาซึ่งเสนอในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๖๑ เพื่อก่อตั้งสหพันธรัฐ ใหม่ขึ้นโดยรวมมลายา สิงคโปร์ และดินแดนทั้ง ๓ รัฐบนเกาะบอร์เนียวเข้าด้วยกัน ทำ� ใหเ้ กิดการเผชิญหน้าอย่างเปิดเผยระหว่างผ้ทู ส่ี นบั สนุนสลุ ตา่ นกบั พรรคพอี าร์บี ในการเลือกตั้งระดับเขต ค.ศ. ๑๙๖๒ ผู้แทนของพรรคพีอาร์บีได้ครองที่น่ัง ในสภาเขตเกือบทั้งหมด ท�ำให้บุคคลเหล่านี้มีบทบาททางอ้อมในการเลือกสมาชิกสภา นิติบัญญัติด้วย พรรคพีอาร์บีหาเสียงด้วยการเน้นการเสริมสร้างประชาธิปไตยในบรูไน ปฏิเสธข้อเสนอของสหพันธรัฐมลายา และสนับสนุนให้ก่อต้ังสหพันธรัฐบอร์เนียวขึ้น ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๖๒ พรรคพีอาร์บีร่วมมือกับนักการเมืองในซาราวักและ บอร์เนียวเหนือต่อต้านการก่อต้ังสหพันธรัฐใหม่ตามแนวคิดของอังกฤษและสหพันธรัฐ มลายา รวมทั้งเรียกรอ้ งการสนบั สนนุ จากประชาคมโลก ในเดอื นธนั วาคม ค.ศ. ๑๙๖๒ หลงั จากลม้ เหลวในความพยายามผลกั ดนั ขอ้ เสนอตอ่ สภานติ บิ ญั ญตั ิ เพอื่ ใหม้ กี ารประกาศ เอกราชโดยรวมรัฐทั้ง ๓ รัฐบริเวณเกาะบอร์เนียวตอนเหนือเข้าเป็นประเทศเดียวกัน สมาชิกพรรคพีอาร์บีหันมาใช้ก�ำลังลุกฮือข้ึนในนามของกลุ่มท่ีใช้ช่ือว่า กองก�ำลังปลด ปล่อยบอร์เนียวเหนือ กลุ่มดังกล่าวประกาศจัดตั้งรัฐบาลปฏิวัติแห่งกาลีมันตันเหนือข้ึน สลุ ตา่ นทรงปราบปรามดว้ ยการสนบั สนนุ จากกองทหารขององั กฤษทป่ี ระจำ� อยใู่ นสงิ คโปร์ ท�ำให้ฝ่ายกบฏยอมจ�ำนน ระหว่างนี้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินและยุบพรรคพีอาร์บี หลังจากน้ัน สุลต่านทรงปกครองโดยใช้พระราชอ�ำนาจจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน การกบฏนท้ี ำ� ใหส้ ลุ ตา่ นทรงตระหนกั ถงึ ปญั หาดา้ นความมนั่ คงและความสำ� คญั ในการรว่ มมอื กับสหพันธรัฐมลายาก่อตั้งประเทศซ่ึงรวมดินแดนท่ีเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษบน คาบสมุทรมลายาและบอรเ์ นียวเหนือเข้าด้วยกัน 9

สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพอื่ นบ้านในอาเซียน อย่างไรก็ดี การเจรจาเพ่ือก่อตั้งสหพันธรัฐใหม่ตามแนวคิดของอังกฤษและ สหพันธรัฐมลายาก็ประสบความล้มเหลว ส่วนหน่ึงเพราะไม่สามารถตกลงกันได้เร่ือง ฐานะของสุลต่านบรูไนในรัฐที่จะรวมกันใหม่นี้ และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากข้อขัดแย้ง เกย่ี วกบั รายไดจ้ ากนำ้� มนั ดว้ ยเหตนุ ี้ บรไู นจงึ ถอนตวั ออกจากการเจรจาซง่ึ นำ� ไปสกู่ ารกอ่ ตงั้ สหพันธรัฐตามแนวทางของตนกู อับดุล เราะห์มานข้ึนในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๖๓ โดยไม่มีบรูไนร่วมด้วย ความล้มเหลวในการเจรจารวมท้ังความไม่ไว้วางใจอินโดนีเซีย ซ่ึงรัฐบาลบรูไนเช่ือว่าให้การสนับสนุนฝ่ายกบฏ ท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบรูไนกับ ประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองตึงเครียด สถานการณ์ดังกล่าวท�ำให้รัฐบาลบรูไนต้องพึ่งพา อังกฤษมากขึ้น การกบฏใน ค.ศ. ๑๙๖๒ นอกจากส่งผลให้เกิดการยุบพรรคพีอาร์บีซ่ึงเป็น ปฏิปกั ษ์ตอ่ สลุ ต่านบรไู นแลว้ ยังส่งผลกระทบตอ่ พรรคการเมืองอ่ืน เชน่ พรรคพนั ธมติ ร บรไู นหรอื บีเอพี (Brunei Alliance Party–BAP) ซึง่ เปน็ การรวมตัวกนั ของหลายพรรคท่ี สนบั สนนุ ใหบ้ รไู นรว่ มเปน็ สว่ นหนงึ่ ของสหพนั ธรฐั ทก่ี อ่ ตงั้ ใหม ่ ในการนี้ สลุ ตา่ นทรงเพกิ เฉย ต่อข้อเรียกร้องของพรรคบีเอพีที่จะให้มีการเลือกต้ังสภานิติบัญญัติอย่างเต็มรูปแบบ สุลต่านเพียงแต่ทรงอนุญาตให้มีการเลือกตั้งสมาชิกบางส่วนของสภานิติบัญญัติ และ เปลีย่ นรูปแบบของสภาบริหารใหเ้ ปน็ คณะรัฐมนตรี แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะกดดันสุลต่านให้ทรงเร่งปฏิรูปการเมือง แต่พระองค์ ก็ยังทรงยืนยันให้มีคณะรัฐมนตรีที่พระองค์ทรงแต่งต้ัง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๖๖ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ก็รวมตัวกันเป็นพรรคเอกราชแห่งประชาชนบรูไนหรือบีพีไอพี (Brunei People’s Independence Party–BPIP) และเรียกร้องให้มีรัฐบาลท่ีเป็น ประชาธปิ ไตย มคี ณะรัฐมนตรี และมกี ารเลือกตั้งสภานติ ิบญั ญัติ แต่การเรยี กรอ้ งนีไ้ ม่ได้ รบั การตอบสนองแต่อย่างใด ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๖๗ เกิดความเปลีย่ นแปลงทางการเมอื ง ทสี่ �ำคัญข้นึ ในบรไู น กล่าวคอื สุลตา่ นทรงสละราชสมบตั ิให้แก่พระราชโอรส ซง่ึ อาจเป็น ความพยายามที่จะสถาปนาความม่ันคงและความต่อเน่ืองทางการเมืองเพื่อให้ระบอบ 10

บรูไนดารุสซาลาม การปกครองแบบเดิมด�ำรงอยู่ได้ต่อไปมากกว่าที่จะเป็นการปฏิรูปคร้ังใหญ่ตามท่ีอังกฤษ และพรรคบพี ไี อพปี ระสงค์ ในช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๖๐ จนถึงต้นทศวรรษ ๑๙๗๐ ดูเหมือนว่าชาว บรูไนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการเจรจาเร่ืองการปรับเปล่ียนบทบาทของอังกฤษใน บรูไนมากกว่าการปฏิรูปการเมืองภายใน ในสนธิสัญญาซึ่งบรูไนลงนามกับอังกฤษเม่ือ ค.ศ. ๑๙๗๑ ระบใุ ห้แก้ไขรัฐธรรมนญู ค.ศ. ๑๙๕๙ ใหส้ ลุ ต่านทรงมีอำ� นาจด้านกจิ การ ภายในประเทศอย่างเต็มที่ ส่วนอังกฤษรับผิดชอบด้านการต่างประเทศ นอกจากน้ัน ยังมีการลงนามในข้อตกลงอีกฉบับหน่ึงให้หน่วยทหารคุรข่า (Gurkha) ของอังกฤษยัง คงอยูใ่ นบรไู นด้วย แม้ว่ารัฐบาลบรูไนจะรักษาระบอบการเมืองแบบเดิมไว้ได้ในระดับหน่ึง แต่ การกดดนั จากภายนอกทำ� ให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงทส่ี ำ� คัญในเวลาตอ่ มา ใน ค.ศ. ๑๙๗๗ ท่ีประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติตกลงรับข้อมติของมาเลเซียท่ีให้มีการ เลอื กตัง้ อย่างเสรใี นบรูไน ยุตกิ ารควบคุมพรรคการเมือง และยอมให้ผลู้ ี้ภัยทางการเมือง กลับประเทศ ส่วนอังกฤษซ่ึงขณะน้ันพรรคแรงงานเป็นรัฐบาล ก็ต้องการให้บรูไนเป็น เอกราช สุลต่านบรไู นทรงวิตกกับสถานการณด์ ังกล่าวเป็นอยา่ งมาก จึงเสด็จไปองั กฤษ ในเดอื นมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๗๘ เพอ่ื เจรจาให้องั กฤษคงสถานภาพรัฐในอารักขาของบรูไน ไว้ แตก่ ไ็ มป่ ระสบผลส�ำเร็จ ใน ค.ศ. ๑๙๗๙ ท้ัง ๒ ฝ่ายหาขอ้ ยุตไิ ดค้ ือ บรไู นไดร้ ับเอกราช จากองั กฤษในวนั ที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๘๔ และเพอื่ ใหบ้ รไู นมนั่ ใจในดา้ นความมน่ั คงของ ประเทศจึงลงนามในข้อตกลงฉบับใหม่ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๘๓ ระบุว่า บรูไนให้ กองทหารคุรข่าซ่ึงอย่ภู ายใตก้ ารบงั คบั บัญชาขององั กฤษต้งั ม่ันอยใู่ นบรไู นต่อไป นบั ตั้งแตไ่ ดร้ ับเอกราชจนถึงปจั จบุ ัน สุลตา่ นยงั คงมีอ�ำนาจสูงสุด มีสภาต่าง ๆ ถวายความช่วยเหลือในการปกครองประเทศ เช่น สภารัฐธรรมนูญ สภาองคมนตรี คณะรฐั มนตรี สภานติ บิ ญั ญตั ิ สภาศาสนา สภาการสบื ราชสมบตั ิ สลุ ตา่ นทรงมพี ระราช- อ�ำนาจแตง่ ตงั้ สมาชิกขององคก์ รเหล่านี้ รวมทั้งทรงด�ำรงตำ� แหน่งนายกรฐั มนตรดี ้วย 11

สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่ือนบา้ นในอาเซยี น บรูไนมีอุดมการณ์แห่งรัฐท่ีเรียกว่า “Melayu Islam Beraja” (MIB) ประกอบด้วย ภาษาและวัฒนธรรมมลายู ศาสนาอิสลาม และการเมืองในระบอบ สมบรู ณาญาสิทธริ าชย์ซึ่งมีสุลตา่ นเปน็ ผปู้ กครอง สว่ นการปกครองในระดบั ทอ้ งถน่ิ สลุ ตา่ นทรงตง้ั คณะกรรมการทปี่ รกึ ษาขน้ึ ใน ค.ศ. ๑๙๙๓ มหี นา้ ทร่ี บั ฟงั ทกุ ขส์ ขุ ของประชาชนในหมบู่ า้ นตา่ ง ๆ ซงึ่ มหี วั หนา้ หมบู่ า้ นและ เจ้าหน้าท่หี มบู่ ้านเป็นกรรมการ การปกครองระดบั หมู่บ้านนี้เปน็ ส่วนสำ� คญั ในการเชื่อม ต่อระหว่างรฐั บาลกบั ประชาชน ส่วนอ�ำนาจตลุ าการนนั้ การพจิ ารณาคดใี นทอ้ งถ่นิ อยู่ ในดุลยพินิจของหน่วยงานด้านยุติธรรมและองค์กรศาสนาในท้องถิ่นนั้น ๆ การอุทธรณ์ เกย่ี วกบั ศาสนาใหส้ ภาศาสนาเปน็ ผพู้ จิ ารณา การพจิ ารณากรณอี นื่ ๆ เปน็ หนา้ ทขี่ องศาล อทุ ธรณแ์ ละศาลสูงของประเทศ สลุ ตา่ นมีอ�ำนาจแตง่ ต้งั ผู้พจิ ารณาคดีหรือผพู้ พิ ากษา บรูไนมปี ญั หาเกี่ยวกับความมัน่ คงทางการเมืองคอ่ นขา้ งนอ้ ย ปญั หาท่ีสำ� คญั ก็ คอื ปัญหาที่เกดิ จากกลุ่มกำ� ลงั พอี ารบ์ ี (PRB) ซง่ึ ต่อต้านระบอบการปกครองในปัจจุบนั กลุ่มนีเ้ คยก่อกบฏมาครง้ั หนึ่งแล้วใน ค.ศ. ๑๙๖๒ ซ่ึงอังกฤษได้ชว่ ยปราบปรามจนสำ� เร็จ ประชาชนทัว่ ไปคอ่ นขา้ งพอใจการปกครองและสวัสดกิ ารต่าง ๆ ทีร่ ฐั มอบให้อยา่ งเต็มท่ี เช่น การศึกษาเล่าเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สุลต่านบรูไนทรงช่วยเหลือและใกล้ชิดกับ ประชาชน ทรงเย่ียมเยียนประชาชนอยา่ งสม่ำ� เสมอ บรไู นมพี รรคการเมอื งซงึ่ ตงั้ ขน้ึ ถกู ตอ้ งตามกฎหมายหลายพรรค พรรคสำ� คญั ทม่ี ี กจิ กรรมทางการเมอื งมาอยา่ งยาวนานและยงั คงมบี ทบาทในระดบั หนง่ึ จนถงึ ปจั จบุ นั คอื พรรคเอกภาพแห่งชาตบิ รูไน (Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei–PPKB; Brunei NationalSolidarityParty) นอกจากนนั้ ยงั มพี รรคการเมอื งอนื่ ๆทมี่ กี จิ กรรมทางการเมอื ง ปรากฏใหเ้ หน็ อยใู่ นบางชว่ งเวลา แตใ่ นภาพรวมแลว้ กม็ บี ทบาทคอ่ นขา้ งจำ� กดั เชน่ พรรค พฒั นาชาตบิ รไู น (Parti Pembanguan; Brunei National Development Party–BNDP) พรรคสำ� นึกของประชาชนบรไู น (Parti Kesedaran Rakyat Brunei–PAKAR; Brunei People’s Awareness Party) 12

บรูไนดารสุ ซาลาม สมเด็จพระราชาธิบดฮี ัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน 13

สารานกุ รมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพือ่ นบา้ นในอาเซยี น แม้รัฐบาลบรูไนมิได้จัดการเลือกต้ังระดับชาติอีกเลยนับต้ังแต่พรรคพีอาร์บี กอ่ รฐั ประหารใน ค.ศ. ๑๙๖๒ และพรรคการเมอื งกม็ บี ทบาทคอ่ นขา้ งจำ� กดั แตป่ ระชาชน ส่วนใหญ่พอใจการบริหารประเทศของรัฐบาลท่ีให้สวัสดิการแก่ประชาชน จึงไม่มีความ กระตือรือรน้ ท่ีจะร่วมกิจกรรมทางการเมอื งมากกว่าทเ่ี ป็นอยู่ ไมค่ ดิ จะตัง้ พรรคการเมือง ใหม่ ๆ มาแก้ปัญหาของประเทศ การมรี ะบบสวัสดกิ ารอย่างมากน้ีเปน็ ผลมาจากความ ม่ังคั่งของประเทศท่ีเกิดจากการส่งออกน้�ำมันและก๊าซธรรมชาติ ชาวบรูไนมีรายได้ค่อน ข้างดี ไมต่ อ้ งเสยี ภาษเี งินได้บุคคล ประชาชนส่วนใหญ่ท�ำงานประจำ� เปน็ ข้าราชการหรือ เจ้าหน้าท่ีของรัฐซ่ึงมีความม่ันคงสูง ผู้ท่ีท�ำการค้าขายเป็นชาวจีนและชาวต่างชาติอื่น ๆ รัฐเป็นผู้วางนโยบายต่าง ๆ ในด้านการค้าและการลงทุน เอกชนเป็นแต่เพียงผู้สานต่อ เท่านน้ั นโยบายของรฐั จึงมีบทบาทสำ� คัญและท�ำใหก้ ลมุ่ ผลประโยชนใ์ นบรูไนมีบทบาท คอ่ นข้างจ�ำกดั ในดา้ นสอ่ื สารมวลชน หนงั สอื พมิ พแ์ ละสอ่ื อน่ื ๆ อยใู่ นการควบคมุ ของรฐั อยา่ ง เข้มงวด รัฐบาลใช้มาตรการหลายด้านในการควบคุมหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง การขออนญุ าตพมิ พเ์ ผยแพร่ การเปน็ เจ้าของหนงั สอื พิมพ์ รวมทัง้ ใหอ้ ำ� นาจแกก่ ระทรวง มหาดไทยอยา่ งเตม็ ทใ่ี นการพจิ ารณาเพกิ ถอนใบอนญุ าตการตพี มิ พเ์ ผยแพรห่ นงั สอื พมิ พ์ และสอ่ื อืน่ ๆ ในดา้ นความมนั่ คง สลุ ตา่ นทรงเปน็ ศนู ยร์ วมอำ� นาจการบงั คบั บญั ชากองทพั ทรง ดำ� รงตำ� แหนง่ รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงกลาโหมและผบู้ ญั ชาการทหารสงู สดุ กองทพั บรไู น มขี นาดคอ่ นขา้ งเลก็ มกี ำ� ลงั พลประมาณ ๗,๐๐๐ นาย สว่ นใหญเ่ ปน็ ก�ำลงั พลในกองทพั บก ในดา้ นอาวธุ กองทพั บกบรไู นมรี ถถงั ขนาดเบาและรถหมุ้ เกราะลำ� เลยี งพลจำ� นวนไมม่ าก รวมทั้งมีขีปนาวุธจากพ้ืนสู่อากาศและอาวุธหนักอื่น ๆ อีกจ�ำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม อังกฤษก็ยังคงให้กองทหารคุรข่ารวมทั้งหน่วยเฮลิคอปเตอร์บางส่วนต้ังม่ันอยู่ในบรูไน ส่วนกองทัพอากาศประกอบด้วยเคร่ืองบินรบ เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธ และเครื่องบินฝึก จ�ำนวนไมม่ าก รวมทง้ั มเี คร่ืองบินโดยสารทท่ี นั สมยั จ�ำนวนหน่งึ ซงึ่ ใชเ้ ปน็ พระราชพาหนะ ของสลุ ตา่ นและพระราชวงศ์ สว่ นกองทพั เรอื ประกอบดว้ ยเรอื รบขนาดเลก็ เปน็ สว่ นใหญ่ 14

บรไู นดารสุ ซาลาม แตม่ จี ำ� นวนหนงึ่ ทตี่ ดิ อาวธุ ทนั สมยั และมเี รอื ยกพลขนึ้ บกจำ� นวนไมม่ ากนกั รฐั บาลบรไู น ซื้ออาวุธส่วนใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และสิงคโปร์เป็นหลัก นอกจากนี้ กองทพั บรไู นเสรมิ สรา้ งความรว่ มมอื กบั ประเทศตา่ ง ๆ หลายประเทศ เชน่ สหรฐั อเมรกิ า อังกฤษ สิงคโปร์ ออสเตรเลยี นวิ ซแี ลนด์ รวมทงั้ ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะ สิงคโปร์ก็สง่ ทหารเขา้ มาชว่ ยเหลือในด้านการฝกึ อบรมและให้การศึกษา ปัญหาทางด้านความม่ันคงของบรูไนในปัจจุบันไม่ตึงเครียดมากนัก แม้จะมี ปัญหาความสัมพันธ์กับมาเลเซียซ่ึงเป็นประเทศเดียวที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับบรูไน อย่บู า้ ง แตก่ ็อยใู่ นระดับทปี่ ระนีประนอมกันได้ อีกท้ังบรูไนก็ไมไ่ ดอ้ ยูใ่ นบรเิ วณทีม่ ีความ ขัดแยง้ ระหวา่ งประเทศอย่างรุนแรง ดว้ ยเหตนุ ี้ การเตรยี มพรอ้ มทางดา้ นการทหารจึง เป็นสร้างศักยภาพในการป้องปรามการคุกคามที่อาจจะเกิดข้ึนในอนาคตและเพ่ือรักษา ความสงบเรยี บรอ้ ยภายใน เชน่ ปญั หาการลกั ลอบขา้ มพรมแดน การลกั ลอบตดั ไมท้ ำ� ลายปา่ ในด้านเศรษฐกิจ บรูไนนับได้ว่าเป็นประเทศที่มั่งค่ังที่สุดประเทศหน่ึง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน่ืองจากมีทรัพยากรน้�ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่มากเม่ือ เทียบกับขนาดของประเทศ ใน ค.ศ. ๑๙๗๙ บรูไนเคยผลิตน้�ำมันสูงถึงประมาณ ๒๖๐,๐๐๐ บารเ์ รลตอ่ วนั หลงั จากนนั้ กไ็ ดล้ ดปรมิ าณการผลติ และการสง่ ออกลงเลก็ นอ้ ย เพอ่ื รกั ษาแหลง่ นำ้� มนั ในประเทศไมใ่ หห้ มดเรว็ เกนิ ไป ในค.ศ.๒๐๐๖ปรมิ าณการผลติ นำ้� มนั ของบรไู นลดลงเหลอื เพยี งประมาณ ๑๖๐,๐๐๐ บารเ์ รลตอ่ วนั เทา่ นน้ั นอกจากนนั้ บรไู น ยงั ผลิตก๊าซธรรมชาตมิ ากเปน็ อนั ดบั ๔ ของโลก ทำ� ให้บรูไนไดเ้ ปรยี บดุลการคา้ มาตลอด และมเี งนิ ทนุ สำ� รองระหวา่ งประเทศคอ่ นขา้ งมาก ปญั หาหลกั ของบรไู นคอื การทตี่ อ้ งพงึ่ รายไดจ้ ากการขายนำ�้ มนั และกา๊ ซธรรมชาตมิ ากเกนิ ไป จงึ ตอ้ งวางแผนพฒั นาภาคการผลติ ดา้ นอ่ืน ๆ เพอื่ ทดแทนรายได้จากน�ำ้ มันและก๊าซธรรมชาติซ่งึ เป็นทรัพยากรทไ่ี ม่สามารถ สรา้ งทดแทนขน้ึ ใหม่ได้ ประชากรส่วนใหญข่ องบรไู นเปน็ ชาวมลายรู อ้ ยละ ๖๕ ของประชากรทั้งหมด นอกนั้นเป็นชาวจีนและชาวพ้ืนเมืองด้ังเดิมหลายชาติพันธุ์ ชาวบรูไนเช้ือชาติต่าง ๆ 15

สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซียน สามารถอยรู่ ว่ มกนั ไดอ้ ยา่ งสนั ติ ไมม่ คี วามขดั แยง้ ทางดา้ นเชอ้ื ชาตทิ เ่ี ปน็ ภยั ตอ่ ความมนั่ คง ของชาต ิ ชาวบรไู นสว่ นใหญน่ บั ถอื ศาสนาอสิ ลาม แตก่ ม็ ปี ระชาชนสว่ นนอ้ ยนบั ถอื ศาสนา อื่น ๆ เชน่ ศาสนาครสิ ต์ ศาสนาพุทธ นอกจากน้นั ชาวพื้นเมืองดง้ั เดิมบางสว่ นก็นบั ถอื ความเชอ่ื แบบดง้ั เดิมในเผา่ ของตนเอง ชาวบรูไนมีความเป็นอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากรัฐบาลให้การอุดหนุนทางด้าน ที่อย่อู าศยั การศกึ ษา และการสาธารณสุข ใน ค.ศ. ๒๐๐๑ มีผ้ทู ่อี า่ นออกเขยี นไดร้ ้อยละ ๙๓.๗ ของประชากรทงั้ ประเทศ แตช่ าวบรไู นไมม่ คี า่ นยิ มในดา้ นการศกึ ษาตอ่ ในระดบั สงู มากนกั แมว้ า่ จะไดร้ บั การสนบั สนนุ จากรฐั บาลกต็ าม ดงั นนั้ บรไู นจงึ ขาดแคลนบคุ ลากร ในหลายด้านซ่ึงจ�ำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อันเป็นอุปสรรคส�ำคัญต่อการพัฒนาภาค การผลิตอน่ื ๆ เพอื่ ทดแทนรายได้จากน้ำ� มันและกา๊ ซธรรมชาติ เนอื่ งจากบรไู นเปน็ ประเทศทม่ี ขี นาดเลก็ และมปี ระชากรนอ้ ย รวมทง้ั มศี กั ยภาพ ทางการทหารจำ� กดั บรไู นจงึ จำ� เปน็ ตอ้ งดำ� เนนิ นโยบายตา่ งประเทศเชงิ รบั เปน็ หลกั ปฏบิ ตั ิ ตามแนวทางของอาเซียน และพยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก นอกจากนั้น บรูไนยังให้ความส�ำคัญกับการทูตแบบพหุภาคี ซ่ึงจะช่วยลดข้อเสียเปรียบ ของบรูไนในการด�ำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศลงได้ในระดับหน่ึง ดังจะเห็นได้ว่า บรไู นใหค้ วามสำ� คญั กบั กลมุ่ อาเซยี น องคก์ ารการประชมุ อสิ ลาม และเครอื จกั รภพองั กฤษ บรไู นหลกี เลย่ี งความขดั แยง้ กบั ประเทศเพอ่ื นบา้ นทใี่ กลช้ ดิ โดยเฉพาะมาเลเซยี และอนิ โดนเี ซยี แมบ้ รไู นมที า่ ทที ปี่ ระนปี ระนอมกบั มาเลเซยี มาโดยตลอด แตป่ ญั หาความ ขดั แยง้ เรื่องพรมแดนกบั มาเลเซยี ยงั หาข้อยุติไม่ได้ สว่ นความสัมพนั ธ์กับอนิ โดนีเซยี นัน้ แม้ว่าจะมีความห่างเหินกันมานานนับต้ังแต่ต้นทศวรรษ ๑๙๖๐ ซึ่งอินโดนีเซียด�ำเนิน นโยบายแทรกแซงการเมอื งในบรไู นและใชน้ โยบายเผชญิ หนา้ (Confrontation) แตภ่ าย หลงั ไดร้ บั เอกราช บรไู นกไ็ ดพ้ ยายามสรา้ งความสมั พนั ธอ์ นั ดกี บั อนิ โดนเี ซยี อยา่ งสมำ่� เสมอ บรูไนใช้ความมั่งค่ังทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือประเทศอื่นในรูปแบบของเงินให้เปล่า 16

บรไู นดารุสซาลาม และเงินกู้ เช่น ช่วยเหลือประเทศเพ่ือนบ้านเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วง ปลายทศวรรษ ๑๙๙๐ นอกจากนั้น ยังเน้นการลงทุนในต่างประเทศเพื่อเป็นกระจาย ความเสยี่ งทางเศรษฐกจิ เชน่ ลงทนุ ดา้ นปศสุ ตั วใ์ นออสเตรเลยี ลงทนุ ดา้ นอสงั หารมิ ทรพั ย์ ในประเทศเพื่อนบ้านและในประเทศที่พัฒนาแล้ว นับตั้งแต่ได้รับเอกราชเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน บรูไนสามารถปรับนโยบายต่างประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และความเปลย่ี นแปลงต่าง ๆ ในด้านการเมอื งและเศรษฐกิจได้ดี ถอื ได้ว่าบรไู นสามารถ ผสมผสานแนวทางด้งั เดมิ เข้ากับแนวทางใหมภ่ ายใต้กระแสโลกาภวิ ตั น์ได้อยา่ งกลมกลืน ในระดบั หนึ่ง นบั ตงั้ แตท่ ศวรรษ ๒๐๐๐ เปน็ ตน้ มา ราคานำ�้ มนั ในตลาดโลกทเ่ี พม่ิ สงู ขน้ึ อยา่ ง มาก ไดส้ รา้ งความมงั่ คงั่ ทางเศรษฐกจิ ใหแ้ กบ่ รไู นเปน็ อยา่ งมาก แตใ่ นขณะเดยี วกนั กม็ ผี ล ทำ� ให้การลดการพง่ึ พิงรายได้จากปิโตรเลยี มโดยเพมิ่ รายไดจ้ ากภาคการผลิตอนื่ ๆ ไมไ่ ด้ รับการผลักดนั เทา่ ทค่ี วร อย่างไรก็ตาม ราคานำ�้ มันซ่ึงลดลงอยา่ งรวดเร็วนับตัง้ แต่ปลาย ค.ศ. ๒๐๑๔ เป็นต้นมา เริ่มส่งผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจของบรูไนมากข้ึน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นการยืนยันถึงความจ�ำเป็นอย่างเร่งด่วนท่ีจะต้องเพ่ิมรายได้ จากภาคการผลิตอื่น ๆ มากข้ึน เพ่ือท่ีเศรษฐกิจของบรูไนจะได้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ในอนาคต. (นภดล ชาติประเสรฐิ ) 17

สารานกุ รมประวัติศาสตร์ประเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซยี น บรรณานุกรม นภดล  ชาติประเสริฐ. “นโยบายต่างประเทศบรูไน” ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : นโยบายต่างประเทศหลังวิกฤตเศรษฐกิจ (ค.ศ. ๑๙๙๗–๒๐๐๖). สีดา สอนศรี บรรณาธิการ. กรงุ เทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๐. ศิริพร  สมัครสโมสร. บรูไน : อาณานิคมของอังกฤษ. กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวจิ ยั , ๒๕๔๑. สดี า  สอนศร.ี “การเมอื งการปกครองของบรไู น” ใน เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ : การเมอื ง การปกครองหลงั ส้นิ สุดสงครามเยน็ . สีดา สอนศรี บรรณาธิการ. กรงุ เทพฯ : คณะรฐั ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,์ ๒๕๔๖. สุพรรณี กาญจนัษฐิติ. “บรูไนดารุสซาลาม” ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากล สมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม ๑ อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๓๙. Ahmad, Azman. “Brunei Darussalam: Towards Reform and Sustainable Progress”, Southeast Asian Affairs 2005. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2005. Asia 1994 Yearbook: Far Eastern Economic Review. Hongkong: Far Eastern Economic Review Limited, 1993. Asia 1998 Yearbook: Far Eastern Economic Review. Hongkong: Far Eastern Economic Review Limited, 1997. Asia 1999 Yearbook: Far Eastern Economic Review. Hongkong: Far Eastern Economic Review Limited, 1998. Asia 2000 Yearbook: Far Eastern Economic Review. Hongkong: Far Eastern Economic Review Limited, 1999. 18

บรไู นดารสุ ซาลาม Asia 2001 Yearbook: Far Eastern Economic Review. Hongkong: Far Eastern Economic Review Limited, 2000. Case, William. “Brunei in 2006: Not a Bad Year”, Asian Survey. Vol. XLVII, No.1, January/February 2007. Cleary, Mark and Francis, Simon. “Brunei Darussalam: The Outside World Intrudes”, Southeast Asian Affairs 1999. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 1999. Siddique, Sharon. “Negara Brunei Darussalam: A New Nation but an Ancient Country”, Southeast Asian Affairs 1985. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 1985. Sulaiman, Hamzah. “Negara Brunei Darussalam: Socio-Economic Concerns Amid Stability and Plenty”, Southeast Asian Affairs 2003. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2003. Thambipillai, Pushpa and Sulaiman, Hamzah. “Brunei Darussalam: After a Decade of Independence”, Southeast Asian Affairs 1995. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 1995. Turnbull, C. M. “History: Brunei”, Regional Surveys of the World: The Far East and Australia 2005. edited by Lynn Daniel. London: Europa Publications, 2005. 19



ราชอาณาจกั รกมั พชู า ราชอาณาจักรกัมพูชา Kingdom of Cambodia กัมพูชา เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ มีวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่มีความเป็นมายาวนานตั้งแต่โบราณกาล แต่หลังจากมีความ รุ่งเรืองสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ และ ๑๓ แล้ว อาณาจักรกัมพูชาก็ตกต�่ำลง เร่อื ย ๆ สว่ นหนึ่งเปน็ ผลมาจากการใช้ทรพั ยากร โดยเฉพาะอย่างยงิ่ แรงงานคนในการ ทำ� สงครามและการสรา้ งปราสาทหนิ อยา่ งมากมาย รวมทงั้ การขยายอำ� นาจของไทยและ เวียดนามตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ จนถึง ค.ศ. ๑๘๖๓ กัมพูชาตกเป็นรัฐ ในอารักขาของฝร่ังเศส ซึ่งแม้จะหยุดยั้งการขยายอ�ำนาจของไทยและเวียดนามเข้ามา ในกมั พชู า แตอ่ าณาจกั รนกี้ ถ็ กู กดขขี่ ดู รดี จากรฐั บาลอาณานคิ มอยา่ งหนกั ในสมยั ทกี่ มั พชู า เป็นอาณานิคมของฝร่ังเศส ฝร่ังเศสไม่ได้วางรากฐานท่ีส�ำคัญให้แก่การปกครองและ การพฒั นาเศรษฐกจิ ทจี่ ะทำ� ใหก้ มั พชู าสามารถยนื อยไู่ ดด้ ว้ ยตนเองอยา่ งมนั่ คงภายหลงั ได้ รับเอกราชใน ค.ศ. ๑๙๕๓ หลังจากกัมพูชา พน้ ช่วงที่เรยี กว่า “ยุคทอง” นัน่ คอื ประมาณ ๑ ทศวรรษ ภายหลงั เอกราชท่กี มั พชู าเตบิ โตกา้ วหนา้ ในด้านตา่ ง ๆ แล้ว ก็ต้องประสบ 21

สารานุกรมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน กบั ทงั้ ปญั หาเศรษฐกจิ และความขดั แยง้ ทางการเมอื งรนุ แรงซงึ่ น�ำไปสสู่ งครามกลางเมอื ง ท่ียืดเย้ือกว่าจะได้ “เกิดใหม่” อีกครั้งในต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ ปัจจุบันกัมพูชามีเนื้อที่ ๑๘๑,๐๓๖ ตารางกิโลเมตร และมีพลเมอื งประมาณ ๑๕,๔๕๘,๓๐๐ คน (ค.ศ. ๒๐๑๔) ท�ำให้เกือบจะเป็นรัฐท่ีเล็กท่ีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองหลวงชื่อพนมเปญ (Phnom Penh) ดินแดนประเทศกัมพูชาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทะเลสาบเขมร (Tonle Sap) ซึ่งเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ต่อกับเขตท่ีต่�ำของลุ่มแม่น�้ำโขง (Mekong Lowland) อาณาเขตดา้ นตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ตดิ กบั ลาว ดา้ นตะวนั ออกและดา้ นใตต้ ดิ กบั เวยี ดนาม ดา้ นตะวนั ตกเฉียงใตค้ ืออ่าวไทย ดา้ นตะวันตกและด้านเหนอื ตดิ กบั ประเทศไทย กมั พูชา รายล้อมไปด้วยเทือกเขาที่เปรียบเสมือนพรมแดนตามธรรมชาติ คือ ทิวเขาพนมดงรัก (Dangrek) ทางเหนอื ทิวเขาพนมกระวาน (Cardamom) ด้านตะวันออกเฉียงใต้ และ ทวิ เขาพนมด�ำไร (Damrei) หรือทวิ เขาช้าง (Elephant) ด้านตะวันออก ทะเลสาบเขมร 22

ราชอาณาจกั รกมั พชู า ประเทศกมั พูชาอยูใ่ นเขตท่ีลมุ่ เปน็ สว่ นมากคือ ประมาณ ๓ ใน ๔ ของพนื้ ท่ี ใน สว่ นนแ้ี ทบจะไมม่ สี ว่ นใดสงู เกนิ ๓.๐๕ เมตรเหนอื ระดบั ทะเลปานกลาง ดนิ แดนทร่ี าบลมุ่ มนี �้ำทว่ มบางช่วงในแต่ละปี สภาพภูมิอากาศรอ้ นช้นื ซง่ึ เหมาะแกก่ ารปลูกขา้ ว แมด้ ้วย เคร่ืองมือท่ีง่ายที่สุดและแม้ว่าท่ีดินของกัมพูชาโดยทั่วไปจะไม่อุดมสมบูรณ์นัก กัมพูชา มีแหล่งน้�ำซ่ึงเป็นที่มาของอาหารที่ส�ำคัญคือล�ำน�้ำโขงและสาขาของแม่น�้ำสายน้ีซ่ึงนับ เป็นแม่น้�ำสายใหญ่และยาวที่สุดแห่งหน่ึงในโลก รวมท้ังทะเลสาบเขมรซึ่งมีความผูกพัน ใกลช้ ิดและมอี ิทธพิ ลตอ่ ท้ังวิถีชีวิตและระบบเศรษฐกิจของกมั พชู ามาเป็นเวลาช้านาน ทะเลสาบเขมรเช่ือมกบั แมน่ �ำ้ โขงดว้ ยแม่น�้ำทะเลสาบซ่งึ มีความยาวรวม ๑๔๐ กิโลเมตร ในฤดูมรสุมปริมาณน�้ำที่เอ่อท้นล�ำน้�ำโขงจะไหลเข้ามาเก็บกักอยู่ในทะเลสาบ และเม่อื พ้นฤดูฝน จะค่อย ๆ ไหลกลบั ไปหล่อเลย้ี งเขตดินดอนสามเหลยี่ มปากแมน่ ้ำ� โขง เขตนี้จึงไม่ค่อยประสบอุทกภัยเช่นในเขตดินดอนสามเหล่ียมปากแม่น้�ำแดงในเวียดนาม ตอนเหนอื นอกจากนน้ั ทะเลสาบยงั เปน็ แหลง่ ประมงนำ�้ จดื ทใี่ หญท่ ส่ี ดุ ในภมู ภิ าค ในชว่ ง ทศวรรษ ๑๙๕๐ มีชาวกัมพูชาประมาณ ๓๐,๐๐๐ คนประกอบอาชีพประมงใน แหล่งน�้ำนี้ และสามารถจับปลาได้ถึงคร่ึงหนึ่งของปริมาณปลาน�้ำจืด ๑๓๐,๐๐๐ ตัน ท่ีจับได้ในกัมพูชาแต่ละปี ความผูกพันของชาวกัมพูชากับล�ำน�้ำโขงจะเห็นได้จากการ ท่ีชาวกัมพูชาจัดงานฉลองทุก ๆ ปีเม่ือสิ้นฤดูฝน อันเป็นช่วงที่น�้ำในทะเลสาบเร่ิมไหล เปลยี่ นทิศทางซ่งึ ถอื เป็นงานเทศกาลทส่ี �ำคัญที่สดุ อยา่ งหนง่ึ ในกัมพชู า ชาวกมั พชู าจดั อย่ใู นชาตพิ นั ธอ์ุ อสโตร-เอเชยี ตกิ (Austro-Asiatic) หรอื ท่เี รียก โดยทว่ั ไปวา่ มอญ-เขมร (Mon-Khmer) อาณาจักรเริม่ แรกทเ่ี ก่ยี วขอ้ งผูกพันกบั กัมพูชา คือ ฟูนัน (Funan) อันเป็นชื่อที่ชาวจีนใช้เรียกอาณาจักรน้ีเม่ือเข้ามาติดต่อต้ังแต่ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๓ อาณาจักรฟูนันมีอ�ำนาจปกครองมาจนถึงเขตดินดอน สามเหล่ียมปากแม่น้�ำโขง มีศูนย์กลางท่ีเป็นเมืองขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่าย ล�ำคลองท่ีเช่ือมโยงกับดินแดนที่อยู่ลึกข้ึนไปทางภาคพื้นดิน ฟูนันมีรากฐานด้าน เกษตรกรรมท่ีก้าวหน้าและมีอารยธรรมท่ีรุ่งเรืองมาก แต่รากฐานส�ำคัญท่ีสุดของ 23

สารานกุ รมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซียน ความรุ่งเรืองเข้มแข็งของฟูนันอยู่ท่ีก�ำลังรบและการค้าทางทะเลซ่ึงท�ำให้สามารถขยาย อ�ำนาจไปไดไ้ กลถงึ แหลมมลายใู นช่วงเวลาหนงึ่ ลกั ษณะสำ� คญั อกี ประการหนงึ่ ของอาณาจกั รฟนู นั คอื การรบั อารยธรรมอนิ เดยี อทิ ธพิ ลของอารยธรรมอนิ เดยี ปรากฏชดั ตง้ั แตป่ ระมาณครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๔ โดยมเี ชอื้ สาย เจ้านายและพราหมณ์ชาวอินเดียเข้ามามีอ�ำนาจปกครองอาณาจักรน้ีได้ในบางช่วงด้วย อิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรมที่ส�ำคัญ ได้แก่ การรับศาสนาพราหมณ์เข้ามา เมอื่ ประมาณครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๔ การรบั ตวั อกั ษรจากอนิ เดยี ใตม้ าใชแ้ ละปรบั เปน็ ตวั อกั ษร เขมรตอ่ มา รวมทง้ั ภาษาสนั สกฤตทใี่ ชใ้ นพธิ กี รรมและวรรณกรรม การรบั ระบบกฎหมาย มนธู รรมศาสตรท์ เี่ ขา้ มามอี ทิ ธพิ ลตอ่ โลกทรรศนแ์ ละแบบแผนทางการปกครอง เชน่ ระบบ การปกครองแบบเทวราช (Devaraja) และที่ส�ำคัญย่ิงในทางปฏิบัติก็คือการรับความรู้ ด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ที่ท�ำให้สามารถก�ำหนดปฏิทินได้แม่นย�ำและน�ำไปใช้ ประโยชนด์ ้านการค�ำนวณฤดกู าลเพอ่ื การเกษตรและการเดนิ เรอื อาณาจกั รเขมรในสมยั ตอ่ มารวมทง้ั อาณาจกั รเมอื งพระนคร (Angkor) ทถี่ อื วา่ เป็นสมัยท่ียิ่งใหญ่รุ่งเรืองที่สุดของกัมพูชา ได้รับเอาทั้งดินแดนส่วนใหญ่และวัฒนธรรม ของฟูนันไว้ โดยอาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงในทางชาติพันธุ์กับประชากรของ อาณาจกั รโบราณน้ีเลยก็ได้ ตง้ั แต่ปลายคริสต์ศตวรรษท่ี ๖ เป็นต้นมา เรื่องราวของฟนู นั ไมป่ รากฏในหลัก ฐานจนี อกี เลย แตป่ รากฏวา่ มศี นู ยอ์ ำ� นาจใหญน่ อ้ ยทอี่ ยทู่ างเหนอื ขน้ึ ไปแยง่ ชงิ กนั เปน็ ใหญ่ อย่างไรก็ดี หลักฐานเกี่ยวกับสมัยก่อนการปรากฏของอาณาจักรเมืองพระนครในคริสต์ ศตวรรษที่ ๙ มนี อ้ ยมาก หลกั ฐานจนี ทำ� ใหเ้ ราไดร้ จู้ กั อาณาจกั รทมี่ มี ากอ่ นอาณาจกั รเมอื ง พระนครอีกแห่งหน่งึ คอื เจนละ (Chenla) ท่ีกลายมาเป็นศูนยอ์ �ำนาจส�ำคญั เกือบตลอด ช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี ๗-๘  ศูนย์อ�ำนาจดังกล่าวน้ีเข้าใจว่าอยู่บริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบ เขมรเลยมาถึงแม่น�้ำโขงทางด้านตะวันออก แต่อาจจะไม่มีความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน มากนกั ตอ่ มาในชว่ งครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๘ อาณาจกั รเจนละแยกเปน็ เจนละบกและเจนละน�้ำ 24

ราชอาณาจกั รกมั พูชา และในสภาพความระสำ�่ ระสายในชว่ งหลังของคริสต์ศตวรรษท่ี ๘ พระเจ้าชยั วรมนั ที่ ๒ (Jayavarman II) กท็ รงดำ� เนนิ การรวบรวมกมั พชู าใหเ้ ป็นอนั หนึ่งอันเดียวกัน อาณาจักรที่มีมาก่อนอาณาจักรเมืองพระนครคงจะมีมากกว่าที่เราทราบ แต่เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษท่ี ๙ ประวัติศาสตร์กัมพูชาก็เข้าสู่ยุคท่ีนับเป็นการเร่ิมต้นของ การสรา้ งเอกลกั ษณข์ องตนเองและความเปน็ อนั หนงึ่ อนั เดยี วกนั ทางการเมอื ง จดุ เรม่ิ ตน้ ดังกล่าวคือการสถาปนาอาณาจักรกัมพูชาข้ึนอีกแห่งหนึ่งใกล้ชายฝั่งด้านเหนือของ ทะเลสาบเขมรโดยพระเจา้ ชัยวรมันท่ี ๒ ประมาณชว่ งปลายคริสตศ์ ตวรรษที่ ๘ หรือต้น คริสตศ์ ตวรรษที่ ๙ แตเ่ ดมิ เป็นท่ียอมรบั กันตลอดมาว่า ค.ศ. ๘๐๒ เป็นปีทขี่ นึ้ ครองราชย์ แต่จากการค้นคว้าในระยะหลังบ่งช้ีว่ารัชสมัยของพระองค์อาจเริ่มมาก่อนหน้าน้ัน หลายปี นครวดั อาณาจกั รทพ่ี ระเจา้ ชยั วรมนั ที่ ๒ ทรงสถาปนาขนึ้ อาจจะถอื ไดว้ า่ เปน็ ความตอ่ เนอ่ื งกบั ชว่ งสมยั เจนละ แตก่ มั พชู าทป่ี ระกอบไปดว้ ยแวน่ แควน้ นอ้ ยใหญท่ แ่ี ขง่ ขนั แยง่ ชงิ กันเป็นใหญข่ องช่วงสมยั เจนละกับกมั พชู าท่คี ่อย ๆ รวบรวมกนั เปน็ ปึกแผ่นและย่งิ ใหญ่ กลายมาเปน็ จักรวรรดิในช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี ๙-๑๐ นัน้ มคี วามแตกตา่ งกันอยา่ งชดั เจน ทง้ั นเ้ี นอ่ื งมาจากปจั จยั หลากหลายทงั้ ทางดา้ นสงั คม ประชากร และเศรษฐกจิ โดยเฉพาะ 25

สารานุกรมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพ่ือนบ้านในอาเซยี น ปราสาทบายน ปราสาทบันทายสรี แบบแผนหรอื จารตี ทางการปกครองทรี่ บั เขา้ มา คอื ลทั ธเิ ทวราช ซงึ่ สอดคลอ้ งกบั แนวทาง การปกครองแบบดั้งเดิมของกัมพูชาซึ่งยอมรับให้ผู้น�ำมีอ�ำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงไม่กี่ ศตวรรษต่อมา อาณาจกั รทพ่ี ระเจา้ ชยั วรมันที่ ๒ ทรงกอ่ ต้ังข้ึนนกี้ ็กลายเป็นอาณาจกั รที่ ร่งุ เรอื งยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในรัชสมยั ของพระเจา้ สรุ ิยวรมันท่ี ๒ (Suryavarman II) ผู้ทรง กอ่ ตัง้ นครวดั และพระเจา้ ชยั วรมันท่ี ๗ (Jayavarman VII) ผูก้ อ่ ต้งั นครธมเปน็ ศนู ยก์ ลาง ของอาณาจกั รเมอื งพระนครและไดก้ ลายมาเปน็ มรดกทางวฒั นธรรมส�ำคญั ของมนษุ ยชาติ อย่างไรก็ตาม พ้ืนฐานของความแตกแยกด้ังเดิมก็ดูจะไม่ได้สูญส้ินไปและ ไดก้ ลายมาเปน็ มรดกแหง่ อดตี อกี ประการหนง่ึ ทก่ี มั พชู าสมยั ใหมร่ บั เอามา เอยี น แมบ็ เบตต์ (Ian Mabbett) และเดวิด แชนด์เลอร์ (David Chandler) ได้ตั้งข้อสังเกตเก่ียวกับ อาณาจักรเขมรไว้อย่างน่าสนใจว่า “อาณาจักรเขมรความจริงแล้วเป็นประดิษฐกรรม โดยนำ้� มอื มนษุ ย์ เปน็ อาณาจกั รทร่ี วบรวมขน้ึ จากชมุ ชนหลากหลายทต่ี ง้ั รกรากรว่ มกนั อยู่ ได้โดยอาศัยแหล่งน�้ำร่วมกัน และมีความเป็นชุมชนใหญ่ร่วมกันอีกช้ันหนึ่งคือ การที่ประชากรพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรเท่าน้ัน” นักวชิ าการท้ังสองยงั ไดก้ ลา่ วต่อไปวา่ แม้ปจั จัยด้านภมู ศิ าสตร์ ดา้ นเศรษฐกิจ หรือด้านประชากร อาจมีส่วนท�ำให้ชุมชนท่ีมีเจ้าผู้ครองตนเองเหล่านี้รวมตัวกันเป็น อาณาจักรเขมรท่ีมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ลืมว่า 26

ราชอาณาจกั รกมั พชู า ชาวเขมรเองน้ันได้อาศัยพลังทางวิญญาณแห่งเทวะผู้ยิ่งใหญ่เป็นท่ียึดเหนี่ยวสร้างความ เป็นอันหน่ึงอันเดียวกันขึ้นมาด้วย ดังน้ัน สถาบันพระมหากษัตริย์ในกัมพูชาจึงมีความ ส�ำคัญในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันมาเป็นเวลานาน จนถึงปจั จบุ ัน ลักษณะเด่นของอาณาจักร โบราณตั้งแต่ฟูนันมาจนถึงอาณาจักร เมืองพระนครคือ ความสามารถด้าน เกษตรกรรมและชลประทาน เมืองที่ เป็นศูนย์กลางของฟูนันมีเครือข่าย ล�ำคลองท่ีเช่ือมโยงถึงเขตชนบทท่ีลึก เข้าไปในภาคพ้ืนดินดังได้กล่าวแล้ว ในสมัยอาณาจักรเจนละชาวกัมพูชา รู้จักใช้วิธีเก็บกักน้�ำเพ่ือไว้ใช้เพาะปลูก บาราย ในฤดูแล้ง และต่อมาในสมัยอาณาจักรเมืองพระนครก็มีการสร้างอ่างเก็บน�้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า บาราย (baray) อ่างเก็บน้�ำขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง ๘ กิโลเมตร กว้าง ๑.๖ กิโลเมตร นอกจากนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะได้รับการฟื้นฟูใหม่ จากน�้ำท่วมในแต่ละปี รากฐานทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในสมัยต่อมายังอยู่ท่ีการเกษตรและ การประมงเป็นส�ำคัญ แม้ว่าชาวเขมรจะขยายอ�ำนาจมาถึงดินแดนชายฝั่งทะเลต้ังแต่ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๗ (ไม่นับอาณาจักรฟูนันที่มีศูนย์กลางอยู่ใกล้ชายฝั่งและ มงุ่ ดา้ นการคา้ และการขยายอำ� นาจทางทะเลอยแู่ ลว้ ) แตก่ ม็ ไิ ดพ้ ฒั นาศกั ยภาพทางทะเล ไม่วา่ จะในด้านการค้าหรือกำ� ลงั ทางทหาร ประชากรกัมพชู าท่ีต้ังรกรากในเขตแหล่งน้ำ� ภาคพ้ืนดิน มีเส้นทางคมนาคมทางน�้ำท่ีท�ำให้สามารถติดต่อถึงกันและเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ภายในภาคพน้ื ดนิ ไดโ้ ดยงา่ ย เสน้ ทางนำ�้ และทะเลสาบทเี่ ดนิ เรอื ไดม้ คี วามยาวรวมกนั เกอื บ 27

สารานกุ รมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซยี น ๑,๔๔๐ กิโลเมตร ดังน้ัน เม่ือประกอบกบั การที่มภี ูเขาและป่าไมเ้ ปน็ เครื่องกดี ขวางตาม แนวชายฝั่งอ่าวไทย ชาวเขมรจึงมุ่งความสนใจไปที่ดินแดนภายในประเทศมากกว่า จะมุ่งมาทางทะเล แม้ว่าจะมีช่องทางสู่ทะเลได้โดยตรง อาณาจักรกัมพูชาในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ ๘ ท่ีเรียกว่า เจนละน้�ำ แท้จริงแล้วก็เป็นศูนย์อำ� นาจท่ีมุ่งไปทางภาคพื้นดิน มากกวา่ ทางทะเล การพฒั นาทา่ เรอื ชายฝั่งทะเลกเ็ พ่งิ เกิดขึน้ เม่อื ไมน่ านมาน้ีเอง เมอ่ื อาณาจักรกัมพูชายา้ ยศูนยอ์ ำ� นาจจากเขตอาณาจกั รเมอื งพระนครลงมาที่ พนมเปญซงึ่ อยทู่ างใตใ้ กลก้ บั ฝง่ั ทะเลมากขน้ึ ตงั้ แตก่ ลางครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๕ ผลประโยชน์ ทางเศรษฐกจิ ของกัมพชู ากเ็ ริ่มเข้าไปเกย่ี วขอ้ งกับการคา้ ทางทะเลมากข้นึ มหี ลกั ฐานวา่ เมื่อถึงช่วงคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๗ กมั พชู าเป็นคู่แข่งของอยธุ ยาด้านการคา้ กบั ตา่ งชาติ อนั แสดงถึงศักยภาพด้านเศรษฐกิจของกัมพูชาท่ีเก่ียวข้องกับผลประโยชน์ด้านน้ี อย่างไร ก็ตาม ความสนใจของชาวกมั พูชาโดยทวั่ ไปแล้วอยู่ทางภาคพืน้ ดินมากกวา่ ทางทะเล สงิ่ ทนี่ า่ เสยี ดายสำ� หรบั กมั พชู ากค็ อื รากฐานทางเศรษฐกจิ ดงั กลา่ วทเี่ คยกา้ วหนา้ ในสมัยโบราณ กลับมิได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าย่ิงข้ึนไปอีกในเวลาต่อมา แม้กระท่ัง เมื่อไม่นานมานี้เกษตรกรรมของกัมพูชาก็ยังคงล้าหลังและมีสภาพไม่แตกต่างไปจาก เม่ือหลายรอ้ ยปีกอ่ นเทา่ ใดนกั ทีส่ ำ� คญั คือชว่ งหลังสมัยอาณาจักรเมอื งพระนคร อำ� นาจ ของอาณาจกั รกมั พชู าไดเ้ สอ่ื มลงเรอื่ ย ๆ มหี ลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรท์ ร่ี ะบถุ งึ การโจมตี ของไทยต่ออาณาจกั รเมอื งพระนครในชว่ งสมัยอยธุ ยาตอนต้น เชื่อกันวา่ การรุกรานของ ไทยในคร้ังนั้นและในระยะต่อมามีส่วนท�ำให้อาณาจักรกัมพูชาเส่ือมลง เม่ือถึงคริสต์ ศตวรรษท่ี ๑๗ เวยี ดนามกไ็ ดข้ ยายตวั ลงมาตง้ั รกรากในดนิ ดอนสามเหลยี่ มปากแมน่ ำ้� โขง อันเป็นดินแดนของกัมพูชามาก่อน จากนั้นท้ังไทยและเวียดนามต่างก็แข่งขันกันเข้าไป อุปถัมภแ์ ละครอบงำ� กมั พชู า ประสบการณ์ส�ำคัญประการหน่ึงของกัมพูชาในช่วงหลังสมัยอาณาจักรเมือง พระนครจึงได้แก่การดิ้นรนเพ่ือความอยู่รอดในภาวะท่ีต้องถูกขนาบข้างและคุกคาม โดยอาณาจกั รทเ่ี ขม้ แขง็ กว่า คอื ไทยและเวียดนาม กัมพชู าไดร้ บั ผลกระทบมากท่สี ดุ จาก การขยายตวั ลงมาทางใตข้ องเวยี ดนาม ซง่ึ เมื่อถึงชว่ งทศวรรษ ๑๖๒๐ ได้เขา้ มาตง้ั รกราก 28

ราชอาณาจกั รกมั พชู า ในบรเิ วณดนิ ดอนสามเหลยี่ มปากแมน่ ำ้� โขงและกลนื ดนิ แดนกมั พชู าในบรเิ วณนไี้ ป ทำ� ให้ ดินแดนเวียดนามตอนใต้ในปัจจุบันยังมีประชากรที่พูดภาษาเขมรเป็นจ�ำนวนมาก ท่ีเรียกว่า ขแมร์กรอม (Khmer Krom) เวียดนามเริ่มเข้ามาแทรกแซงในการเมือง ของราชส�ำนักกัมพูชาตั้งแต่ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๗ ซ่ึงเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักร กมั พชู าตอ้ งประสบกบั ความแตกแยกภายในอยา่ งรนุ แรง มกี ารกบฏ การตอ่ สแู้ ยง่ ชงิ อำ� นาจ และสงครามกลางเมอื งหลายต่อหลายครั้ง ราชส�ำนักไทยท่ีได้เข้าไปมีอิทธิพลในกัมพูชา มาก่อนแล้วก็มีเวียดนามเป็นคู่แข่ง และต้ังแต่น้ันมาสภาพความสัมพันธ์สามเส้า ระหวา่ งไทย กมั พชู า และเวยี ดนามกเ็ กิดข้ึน ความจำ� เปน็ ในการดนิ้ รนเพอ่ื ความอยรู่ อดทำ� ใหก้ มั พชู าในระยะตอ่ มาตอ้ งฝกั ใฝ่ ฝ่ายโน้นบ้างฝ่ายน้ีบ้าง หรือมิฉะน้ันก็ยอมรับอ�ำนาจของท้ัง ๒ ฝ่ายพร้อม ๆ กัน ทั้ง ราชสำ� นกั ไทยและเวยี ดนามตา่ งอา้ งสทิ ธเิ หนอื กมั พชู าโดยมกั จะเปรยี บวา่ ไทยเปน็ “พอ่ ” สว่ นเวยี ดนามนน้ั เปน็ “แม”่ ดงั นนั้ เมอ่ื ไมม่ ฝี า่ ยใดฝา่ ยหนง่ึ มอี ทิ ธพิ ลเหนอื อกี ฝา่ ยหนง่ึ ใน กัมพชู า ทัง้ ๒ ราชส�ำนักกจ็ ะร่วมกนั ทำ� หนา้ ท่ี “เลี้ยงดู” หรือควบคมุ ราชส�ำนกั กัมพูชา การดนิ้ รนเพอื่ ความอยรู่ อดยงั เหน็ ไดจ้ ากการทก่ี มั พชู าเปลยี่ นยา้ ยทต่ี ง้ั นครหลวงบอ่ ยครง้ั ในภาวะทตี่ อ้ งเผชญิ กบั อทิ ธพิ ลและการคกุ คามของไทยและเวยี ดนาม ดงั ทสี่ มเดจ็ พระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงวินิจฉยั ไวอ้ ย่างน่าสนใจ ดังน้ี “ท�ำเลท้องที่กรุงกัมพูชาตอนข้างเหนือต้ังแต่เมืองบันทายเพชรขึ้นมา เป็นที่ดอน [ในฤดูร้อน] ไทยไปถึงง่ายกว่าญวน ตอนข้างใต้เมืองพนม เพญ็ ลงไปเปน็ ทที่ างนำ�้ ไปถงึ ญวนไดง้ า่ ย แมแ้ ตค่ รง้ั กรงุ เกา่ ถา้ กรงุ กมั พชู า เป็นอริกับไทยเมื่อใด ก็มักไปต้ังเมืองพนมเพ็ญเป็นเมืองหลวง ถ้าเป็น อริกับญวนก็มาตั้งข้างเหนือ เช่น เมืองบันทายเพชรและเมืองอุดง อันเปน็ ทีญ่ วนมาถึงได้ยาก” ความปรารถนาของกมั พชู าทจ่ี ะเปน็ อสิ ระจากอำ� นาจของทงั้ ไทยและเวยี ดนาม มีอยู่ตลอดเวลาและเมื่อมีโอกาสเม่ือใดก็จะต้ังตนเป็นอิสระ เช่น ในช่วงที่ไทย เสียกรุงศรีอยุธยาคร้ังที่ ๒ แก่พม่า หรือในช่วงท่ีเวียดนามเกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย 29

สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซยี น จากกบฏไตเซิน (Tay Son Rebellion) อย่างไรก็ดี ความพยายามครั้งส�ำคัญท่ีจะ หลีกเล่ียงความกดดันจากเพ่ือนบ้านท้ังสองคือการไปพึ่งอิทธิพลฝรั่งเศสซ่ึงน�ำไปสู่ การสูญเสยี เอกราชในท่ีสดุ ฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องกับกัมพูชาโดยคณะมิชชันนารีตั้งแต่คริสต์ ศตวรรษที่ ๑๘ ในศตวรรษต่อมา นักองค์ด้วงกษัตริย์กัมพูชาไม่เพียงแต่ทรงเปิดรับ การติดต่อและมีสันถวไมตรีต่อฝร่ังเศสและชาวยุโรปอื่น ๆ เท่านั้น เมื่อถึงช่วงกลาง ศตวรรษยังได้ทรงพยายามแสวงหาการสนับสนุนจากฝร่ังเศสเพื่อคานอ�ำนาจของไทย และเวียดนามด้วย หลังจากท่ีฝร่ังเศสประสบความส�ำเร็จในการขยายอ�ำนาจใน โคชินไชนา (Cochinchina) ซ่ึงอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระนโรดม (Norodom) แล้ว กัมพูชาจึงท�ำสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝร่ังเศสใน ค.ศ. ๑๘๖๓ และ ใน ค.ศ. ๑๘๖๗ ราชสำ� นกั ไทยก็ยอมรบั รสู้ ทิ ธิของฝรงั่ เศสในกมั พูชา การทฝ่ี รง่ั เศสเขา้ มามอี �ำนาจทำ� ใหก้ มั พชู าพน้ จากอทิ ธพิ ลของเพอื่ นบา้ นคอื ไทย และเวยี ดนาม รวมทงั้ ทำ� ใหเ้ กดิ ความสงบและเสถยี รภาพในชนบททถี่ กู คกุ คามจากปญั หา โจรผู้รา้ ยอยู่ตลอดเวลาไดบ้ า้ ง แต่ฝรั่งเศสเองก็ไมส่ ามารถปราบปรามโจรเหลา่ นไ้ี ด้อย่าง ราบคาบ อยา่ งไรกด็ ี ฝรงั่ เศสมไิ ดใ้ หค้ วามสนใจทจี่ ะสรา้ งความเจรญิ กา้ วหนา้ ใหแ้ กก่ มั พชู า เท่าใดนัก นอกจากการฟื้นฟูบูรณะปราสาทโบราณท่ีมีอยู่มากมายและให้การอุปถัมภ์ เฉพาะราชสำ� นกั และชนชนั้ สงู จำ� นวนนอ้ ยแลว้ ความสนใจหลกั ของฝรงั่ เศสดจู ะจำ� กดั อยู่ ทก่ี ารเพ่มิ ผลผลติ ขา้ วและยางพาราเพื่อผลประโยชนท์ างการคา้ ของตนเปน็ ส�ำคัญ ความเปลยี่ นแปลงสำ� คญั ในสมยั อาณานคิ มของกมั พชู าทปี่ ระชาชนมชี วี ติ ผกู พนั อยู่กับ “ฤดูกาล น้�ำ ข้าว และระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ” มาโดยตลอด ได้แก่ ความ เปลยี่ นแปลงดา้ นการคมนาคมทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั ผลประโยชนแ์ ละความสนใจทางการคา้ ของ ฝร่งั เศสโดยตรง กมั พชู ามเี สน้ ทางนำ้� ทใ่ี ชเ้ ปน็ เสน้ ทางคมนาคมภายในประเทศมาแตส่ มยั โบราณ แตพ่ นื้ ทปี่ ระเทศทเี่ ปน็ ปา่ เขาเปน็ อาณาบรเิ วณกวา้ งกเ็ ปน็ อปุ สรรคตอ่ การคมนาคมขนสง่ 30

ราชอาณาจักรกัมพชู า การต้ังถิ่นฐาน และการค้า การพัฒนาดา้ นคมนาคมในสมัยอาณานคิ มยงั ผลให้เม่ือถึงช่วง ทศวรรษ ๑๙๒๐ กัมพูชามีเส้นทางส�ำหรับใช้เดินทางติดต่อถึงกันอย่างกว้างขวางและ รวดเรว็ ขนึ้ ทงั้ ทางรถยนตแ์ ละรถไฟ และสามารถขยายตลาดสำ� หรบั ผลติ ผลของประชากร ออกไปอยา่ งไมเ่ คยปรากฏมาก่อน อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งในทางเศรษฐกิจ ฝร่ังเศสก็ดูจะไม่ได้ให้ความสนใจ กมั พชู าเทา่ ใดนกั เมอื่ เทยี บกบั ความสนใจทฝ่ี รงั่ เศสใหแ้ กโ่ คชนิ ไชนา การพฒั นาโครงสรา้ ง พน้ื ฐานดา้ นเศรษฐกจิ จงึ มนี อ้ ยมาก แมจ้ ะมกี ารดำ� รทิ จ่ี ะสรา้ งทางรถไฟเชอื่ มกรงุ พนมเปญ กบั ไซง่ อ่ นแตก่ ไ็ มเ่ คยมกี ารด�ำเนนิ การ ทางรถไฟสายเดยี วทส่ี รา้ งเสรจ็ ในสมยั ทฝ่ี รง่ั เศสยงั ปกครองอยคู่ ือ เสน้ ทางจากพนมเปญถงึ ปอยเปตทพ่ี รมแดนไทย ซงึ่ เสรจ็ สมบรู ณ์ใน ค.ศ. ๑๙๓๒ การสรา้ งทางรถไฟสายนก้ี เ็ พอื่ ขนสง่ ขา้ วจากเขตลมุ่ น้�ำทะเลสาบเขมรเพอื่ สง่ ออก ไดต้ ลอดปี จนกระทง่ั ชว่ งหลงั สงครามโลกครง้ั ที่ ๒ จงึ ไดส้ รา้ งทางรถไฟสายสำ� คญั อกี สาย หนง่ึ เช่ือมพนมเปญกับกมั ปงโสม พัฒนาการด้านเศรษฐกิจที่ส�ำคัญคือการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร มีการ ผลิตข้าวและข้าวโพดในปริมาณมากเพ่ือการค้าเป็นครั้งแรกในสมัยอาณานิคม เม่ือ เศรษฐกจิ ของอนิ โดจนี เรมิ่ ฟน้ื ตวั ในชว่ งกลางทศวรรษ ๑๙๓๐ การสง่ ออกขา้ วของกมั พชู า โดยเฉพาะจากแหล่งผลิตในพระตะบอง (Battambang) มีปริมาณถึง ๑๐๐,๐๐๐ เมตริกตันต่อปี กระน้ันก็ตาม เมื่อเทียบกับโคชินไชนาท่ีฝร่ังเศสให้ความสนใจพัฒนาระบบ ชลประทานเพอื่ ขยายการปลกู ขา้ วอยา่ งมากแลว้ การพฒั นาระบบชลประทานในกมั พชู า นับว่ามีน้อยมาก การขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวในดินแดนกัมพูชาท่ีอยู่ในเขตดินดอน สามเหลย่ี มปากแมน่ ำ�้ โขง ซงึ่ มปี ระชากรอยเู่ บาบางมาก ไดร้ บั ความสนใจกต็ อ่ เมอื่ ฝรงั่ เศส เห็นลู่ทางการขยายการสง่ ออกน่ันเอง มีการต้งั โรงสขี า้ วและสร้างทา่ เรือข้ึนในพนมเปญ เพ่ือกิจการนี้และเม่ือประกอบกับการที่กัมพูชามีพลเมืองน้อย ท�ำให้เม่ือถึงทศวรรษ ๑๙๓๐ กัมพูชาก็กลายเป็นชาติท่ีสง่ ออกข้าวมากท่ีสุดเป็นอันดบั ๓ ของโลก การขยายตวั 31

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพ่ือนบ้านในอาเซยี น ของการคา้ ส่งออกทำ� ให้กมั พูชาซง่ึ มีระบบเศรษฐกิจขนาดเลก็ และออ่ นแอเรมิ่ ผูกพันและ พ่ึงพาโลกภายนอกมากขึ้น ภาวะเช่นน้ีด�ำรงอยู่ต่อมากระทั่งหลังจากได้รับเอกราช โดยเฉพาะตลอดชว่ งทศวรรษ ๑๙๕๐ และ ๑๙๖๐ เงนิ ตราต่างประเทศเกอื บจะทง้ั หมด ของกมั พชู ามาจากรายไดจ้ ากการสง่ ออกขา้ ว ยางพารา และข้าวโพด ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่อยู่ในชนบท ด�ำรงชีพอยู่ได้ด้วยการท�ำเกษตรกรรมแบบ ยงั ชีพ อันเปน็ สว่ นหนง่ึ ของวถิ ีชีวติ ของประชากรกมั พูชามาโดยตลอด ประชากรกัมพชู า กวา่ รอ้ ยละ ๘๐ เปน็ ชนชาตเิ ขมร (Khmer) ส่วนใหญป่ ระกอบอาชพี ท�ำนา ตั้งรกรากอยู่ ในเขตตอนใตข้ องประเทศและในเขตพนื้ ทขี่ นานไปกบั ลำ� นำ้� โขงระหวา่ งเวยี ดนามตอนใต้ กบั จงั หวดั สตงึ แตรง กลมุ่ ชาตพิ นั ธอ์ุ น่ื ๆ ไดแ้ ก่ ชาวจนี และเวยี ดนาม ซงึ่ เมอ่ื ถงึ ชว่ งทศวรรษ ๑๙๕๐ มีรวมกันประมาณร้อยละ ๑๐ ของประชากรท้ังประเทศ ที่เหลือเป็นชนชาติ มลายู-จาม ไทย ลาว ชาวเขา และอ่ืน ๆ ชาวจีนส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย ส่วน ชาวเวียดนามจะท�ำการประมง เปน็ คนงานในสวนยางพารา พอ่ คา้ และช่างฝีมือประเภท ต่าง ๆ ท้ังชาวจีนและเวียดนามมักจะอยู่ในเมืองโดยเฉพาะพนมเปญและพระตะบอง หรือมฉิ ะนน้ั กจ็ ะอยใู่ นหมบู่ ้านขนาดใหญ่ การท่ีกัมพูชาเป็นประเทศที่มีดินแดนกว้างใหญ่เมื่อเทียบกับจ�ำนวนประชากร ขนาดเล็ก ดินแดนกัมพูชาจงึ เป็นทหี่ มายตาของชาวเวยี ดนามท่ปี ระสบปญั หาขาดแคลน ท่ีดินท�ำกิน สมเด็จพระนโรดมที่ทรงยอมท�ำความตกลงเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส กด็ ว้ ยความมงุ่ หวงั ประการหนงึ่ คอื ยตุ กิ ารอพยพเขา้ มาของชาวเวยี ดนาม แตผ่ ลทเี่ กดิ ขนึ้ กลบั เปน็ วา่ ในสมยั อาณานคิ มนเ่ี องทม่ี ชี าวเวยี ดนามจำ� นวนมากหลงั่ ไหลเขา้ มาในกมั พชู า ท้งั ทเ่ี ปน็ เจ้าหนา้ ที่ในระบอบปกครองอาณานิคมและผู้เขา้ มาตงั้ รกรากท�ำมาหากนิ ในดนิ แดนทย่ี งั มผี นื แผน่ ดนิ กวา้ งใหญแ่ หง่ น้ี ความตงึ เครยี ดทางเชอื้ ชาตริ ะหวา่ งชาวกมั พชู ากบั เวียดนามยงั คงเปน็ ปญั หามาจนกระทงั่ ทุกวนั น้ี โครงสร้างทางสังคมดั้งเดิมของกัมพูชาประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ชาวนา ข้าราชการ และสถาบันพระมหากษัตริย์ รูปแบบทางชนช้ันดังกล่าวมีมาตั้งแต่สมัย อาณาจักรเมืองพระนคร ซึ่งมีชนช้ันที่มีบทบาทและผลประโยชน์เก่ียวพันกับศาสนาค่ัน 32

ราชอาณาจกั รกัมพูชา กลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับชาวนาอิสระ โดยไม่นับชนช้ันล่างลงไปอีกคือ ทาส ชาวกัมพูชาน้อยคนนักท่ีจะประกอบอาชีพคา้ ขาย การสะสมทรพั ยส์ นิ เงนิ ทองและ การลงทุนประกอบการโดยชาวกัมพูชาโดยท่ัวไปมีจ�ำกัด การเปลี่ยนหรือเล่ือนช้ัน ทางสังคมก็เป็นไปได้ยากมาก อย่างไรก็ดี โอกาสทางสังคมเริ่มเปิดแก่ประชาชน จ�ำนวนมากข้ึนในสมัยอาณานิคม โดยมีการน�ำระบบการศึกษาแผนใหม่เข้ามาและ เปิดโอกาสใหช้ าวกมั พชู าเข้ามาเป็นข้าราชการในระบอบปกครองอาณานิคมดว้ ย พัฒนาการดังกล่าวมีผลส�ำคัญในด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ การมชี นชนั้ ใหมเ่ กดิ ขนึ้ จากการขยายตวั ของชนชน้ั นำ� ในเมอื งทม่ี โี อกาส ไดร้ บั การศกึ ษาแผนใหม่ กอ่ นหน้า ค.ศ. ๑๙๔๕ ชาวกมั พูชาท่ีอยู่ในเขตเมืองนอกเหนอื ไปจากข้าราชการและข้าราชบริพารในราชส�ำนักแล้ว มีน้อยมาก ประชากรในเมือง สว่ นใหญ่ ไดแ้ ก่ พอ่ คา้ ชาวจนี และผทู้ ไี่ มใ่ ชเ่ ขมรอน่ื ๆ เชน่ พอ่ คา้ และชา่ งฝมี อื ชาวเวยี ดนาม นอกจากนน้ั พัฒนาการนี้ยงั มผี ลทางการเมอื งด้วย คอื ชนชนั้ ใหมท่ ่ีได้รบั การศึกษารวม ท้ังผู้ท่ีได้มีโอกาสไปศึกษาในฝร่ังเศส จะมีส่วนส�ำคัญในการต่อสู้เรียกร้องเอกราชและ การปฏวิ ัติในกัมพชู าในเวลาต่อมา การต่ืนตัวเรียกร้องเอกราชเพ่ิงปรากฏชัดเจนประมาณช่วงทศวรรษ ๑๙๓๐ แม้จะมีกรณีการใช้ความรุนแรงต่อฝร่ังเศส เช่น กรณีฆาตกรรมเฟลิซ ลุย บาร์เด (Felix Louis Bardez) ข้าหลวงประจ�ำกัมปงจามเมื่อวนั ที่ ๑๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๕ ระหว่างการเดินทางไปเร่งรัดเก็บภาษี ณ ต�ำบลแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดดังกล่าว ก็ถือว่า เป็นกรณีเฉพาะอย่างมากจนไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าเป็นบทเร่ิมต้นของกระแสชาตินิยม กมั พูชา ในชว่ งทศวรรษ ๑๙๓๐ ไดป้ รากฏความเคลอ่ื นไหวและพฒั นาการทมี่ สี ว่ นทำ� ให้ ชาวกมั พชู าเกดิ สำ� นกึ แหง่ ความเปน็ ชาตขิ องตนมากขน้ึ พฒั นาการสำ� คญั ประการหนง่ึ คอื การน�ำเอาระบบการศึกษาแผนใหม่เข้ามาในกัมพูชา โรงเรียนมัธยมศรีสวัสด์ิอันเป็น สถาบันการศึกษาขั้นสูงสุดขณะนั้นเป็นแหล่งพลังก้าวหน้าท่ีส�ำคัญ ความเคลื่อนไหว ท่ีจะมผี ลต่อมาอีกประการหนึง่ คอื การจัดต้งั สถาบนั พทุ ธศาสนา (Buddhist Institute) 33

สารานุกรมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพอื่ นบา้ นในอาเซยี น ขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๓๐ โดยฝรงั่ เศส เพอื่ ต่อต้านอิทธพิ ลไทยทีจ่ ะผา่ นมาทางพระพทุ ธศาสนา และคณะสงฆ์ สถาบันแห่งน้ีมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้เคล่ือนไหวด้านชาตินิยมท่ีจะเข้า มามีบทบาทส�ำคัญทางการเมืองในระยะต่อมาในกัมพูชาก่อนเอกราช โดยเฉพาะ ซนั งอ็ ก ทนั ห ์ (Son Ngoc Thanh) ซัน ง็อก ทันห ์ นวน เจยี ความเคล่ือนไหวส�ำคัญเพื่อเอกราชเริ่มอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษต่อมา การขยายอ�ำนาจของญ่ีปุ่นที่เข้ามายึดครองกัมพูชาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน ค.ศ. ๑๙๔๑ มีสว่ นสำ� คญั ทัง้ ในการกระตุ้นความรู้สกึ ชาตินยิ มกมั พชู าและท�ำให้รากฐาน ของฝรั่งเศสในอินโดจีนท้ังหมดอ่อนแอลง สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงขึ้นครองราชย์ ขณะมพี ระชนมายเุ พียง ๑๘ พรรษา ต่อจากสมเด็จพระมณวี งศ์ในปเี ดียวกนั น้นั พระองค์ ทรงพยายามเจรจากับฝร่ังเศสที่กลับมาครอบครองกัมพูชาอีกในช่วงหลังสงครามโลก คร้ังท่ี ๒ เพ่ือให้มอบอ�ำนาจการปกครองตนเองแก่กัมพูชามากข้ึน ข้อตกลงที่เรียกว่า ความตกลงชวั่ คราว (Modus Vivendi) ทท่ี รงทำ� กบั ฝรง่ั เศสใน ค.ศ. ๑๙๔๖ ทำ� ใหก้ มั พชู า มีรัฐธรรมนูญของตนเองและเปดิ โอกาสให้มีการจดั ตัง้ พรรคการเมอื งเพือ่ ด�ำเนินกิจกรรม ทางการเมืองที่เร่ิมขยายลงสู่ประชาชนทั่วไป นอกจากน้ัน ในเขตชนบทก็มีขบวนการ เขมรอสิ ระ (Khmer Issarak) ที่ขยายการต่อต้านฝรง่ั เศสด้วยกำ� ลังอย่างกวา้ งขวาง 34

ราชอาณาจักรกัมพชู า นอกจากกลมุ่ การเมอื งเชน่ พรรคเดโมแครตทด่ี ำ� เนนิ การในเมอื งเพอื่ ใหก้ มั พชู า สามารถได้เอกราชกลับคืนมาโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีฝ่ายต่อต้านในชนบทอีก หลายกลมุ่ หลายฝา่ ย ซง่ึ อาจแบง่ ออกไดเ้ ปน็ ๒ กระแส คอื กลมุ่ ฝา่ ยขวาและกลมุ่ ฝา่ ยซา้ ย ผู้ท่ีอาจนบั อยูใ่ นกลมุ่ ฝา่ ยขวากเ็ ชน่ ดาป โชน (Dap Chhoun) ซ่งึ เชื่อกนั วา่ หนงั เหนียว และมีอิทธิฤทธ์ิด้านเวทมนตร์ด�ำเนินกิจกรรมต่อต้านฝรั่งเศสอยู่ในเขตพระตะบอง และเสยี มราฐ ส่วนผทู้ ี่อยใู่ นขบวนการฝ่ายซ้ายทส่ี ำ� คญั ขณะนั้นได้แก่ เสวี เฮง ลง บันรวต (Sieu Heng Long Bunruot) [ตอ่ มาคือ นวน เจีย (Nuon Chea) ผนู้ ำ� ระดบั สูงของ กมั พชู าประชาธปิ ไตย] ซนั งอ็ ก มนิ ห์ (Son Ngoc Minh) และ ตู สโมท (Tou Samouth) สองคนหลังนี้เคยเป็นพระภิกษุมาก่อน กลุ่มฝ่ายซ้ายนี้ได้จัดต้ังเป็นพรรคที่ผูกพันใกล้ชิด กบั ขบวนการคอมมวิ นสิ ตอ์ นิ โดจนี ชอื่ พรรคปฏวิ ตั ปิ ระชาชนเขมรหรอื เคพอี ารพ์ ี (Khmer People’s Revolutionary Party–KPRP) ใน ค.ศ. ๑๙๕๒ และได้กลายเป็นพลงั สำ� คญั ในการปฏิวัติของกมั พูชาในเวลาต่อมา ขบวนการน้ีร่วมมอื กับกองก�ำลงั เขมรอิสระอืน่ ๆ จนสามารถขยายการควบคุมพน้ื ท่ชี นบทไดอ้ ย่างกวา้ งขวาง ความสำ� เรจ็ ของขบวนการคอมมวิ นสิ ตด์ งั กลา่ ว ท�ำให้สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงวิตกกังวลว่ากัมพูชาจะ เป็นเอกราชภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ พระองคย์ งั ทรงหวน่ั เกรงดว้ ยวา่ นกั การเมอื งกลมุ่ เดโมแครต ที่ได้รับความนิยมจากชาวกัมพูชาอย่างกว้างขวางอยู่ใน ขณะนั้น อาจประสบความส�ำเร็จข้ึนมาจากการจัดตั้ง สาธารณรัฐกัมพูชาเมื่อได้เอกราช จึงตัดสินพระทัยที่จะ ไม่เป็นเพียงกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือเป็นเครื่องมือ ของฝร่ังเศสอีกต่อไป แต่จะทรงปกครองกัมพูชาด้วย สมเด็จพระนโรดมสหี นุ พระองคเ์ อง ดงั นนั้ ในชว่ งตน้ ค.ศ. ๑๙๕๒ พระองคก์ ท็ รง ยึดอ�ำนาจรัฐบาลและประกาศยุบสภาเพื่อจะด�ำเนินการเรียกร้องเอกราชจากฝร่ังเศสให้ ไดภ้ ายใน ค.ศ. ๑๙๕๕ พระองคท์ รงเรยี กการดำ� เนนิ การครง้ั นนั้ วา่ ราชรณรงคเ์ พอื่ เอกราช 35

สารานกุ รมประวัติศาสตร์ประเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซยี น (The Royal Crusade for Independence) ในการเสดจ็ ไปเจรจากบั ฝรั่งเศส พระองค์ ทรงใชก้ ารรกุ คบื หนา้ ของคอมมวิ นสิ ตเ์ ปน็ เครอื่ งตอ่ รองสำ� คญั และในวนั ท่ี ๘ พฤศจกิ ายน ค.ศ. ๑๙๕๓ นน้ั เอง ฝรง่ั เศสซ่งึ กำ� ลังเผชญิ กบั วกิ ฤตการณท์ างทหารในสงครามอนิ โดจีน กต็ ัดสนิ ใจมอบเอกราช “สมบูรณ์และเป็นที่พอใจ” คนื ใหแ้ ก่กัมพูชา เอกราชดังกล่าวมีความหมายส�ำคัญต่อสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ความส�ำเร็จ ครง้ั นท้ี ำ� ใหพ้ ระองคท์ รงเปน็ ผแู้ ทนแตผ่ เู้ ดยี วของกมั พชู าในการประชมุ นานาชาตทิ เ่ี จนวี า ว่าด้วยปัญหาอินโดจีนใน ค.ศ. ๑๙๕๔ พระองค์ทรงใช้โอกาสน้ีต่อต้านการยอมรับ สถานะของขบวนการคอมมิวนิสต์กัมพูชา (อย่างท่ีให้แก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ลาวและ เวียดนาม) จึงมีผลเท่ากับเป็นการปิดโอกาสที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะเติบโตพัฒนาต่อไป ภายหลงั เอกราช พระองค์เท่าน้นั ที่ทรงไดร้ ับมอบหมายจากทีป่ ระชมุ ใหป้ กครองกมั พูชา และนำ� พาประเทศไปสรู่ ะบอบการปกครองแบบประชาธปิ ไตย พระองคเ์ สดจ็ กลบั กมั พชู า อยา่ งผชู้ นะ ตลอด ๒ ขา้ งทางจากสนามบนิ สกู่ รงุ พนมเปญมปี ระชาชนนบั แสนรอรบั เสดจ็ สมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงสละราชสมบัติในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๕ โดยทรงให้พระราชบดิ าข้นึ ครองราชยแ์ ทน เพอ่ื จะไดเ้ ขา้ มามีบทบาททางการเมอื งอย่าง เตม็ ตวั   เจา้ สหี นทุ รงมงุ่ หวงั ทจี่ ะใหก้ ารเมอื งกมั พชู าดำ� เนนิ ไปอยา่ งมนั่ คงและเปน็ อนั หนงึ่ อันเดียวกัน จึงได้จัดต้ังกลุ่มการเมืองท่ีเรียกว่า สังคมราษฎร์นิยม (Sangkum Reastr Niyum) ขึ้นส�ำหรับเป็นกลไกในการรวบรวมผู้มีความรู้ความสามารถเข้าร่วมบริหาร กิจการบ้านเมืองให้รุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป ซ่ึงในความเป็นจริงกลับกลายเป็นที่รวม ของพรรคเล็กพรรคน้อยต่าง ๆ รวมทั้งบางส่วนของพรรคเดโมแครต ในการเลือกต้ัง คร้ังแรกของกัมพูชาเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๕๕ กลุ่มการเมืองกลุ่มนี้ก็กวาดท่ีน่ัง ท้ังหมดในสมัชชาแห่งชาติที่มีอยู่ ๙๑ ท่ีน่ัง พรรคเดโมแครตได้รับคะแนนเสียงเพียง ร้อยละ ๑๓ และพรรคประชาชนท่ีเป็นองค์กรหน้าฉากของขบวนการคอมมิวนิสต์ ไดร้ ับคะแนนเสยี งเพียงร้อยละ ๓.๕ เท่าน้นั ช่วงหลงั การเลอื กตง้ั ค.ศ. ๑๙๕๕ นับเป็น “ยคุ ทอง” ของกมั พูชาหลังเอกราช แม้ว่าการเมอื งจะดูยงุ่ เหยิงสบั สนเพราะมกี ารเปลย่ี นรัฐบาลบ่อยครง้ั เฉพาะเจา้ สีหนเุ อง 36

ราชอาณาจกั รกัมพชู า นน้ั ทรงผลดั เปลย่ี นหมนุ เวยี นขนึ้ เปน็ หวั หนา้ คณะรฐั บาลถงึ ๔ ครง้ั ภายในระยะเวลาเพยี ง ๑ ปี แต่กัมพูชาซ่ึงเลือกด�ำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) ในด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เติบโตก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยมีการขยายการศึกษา การสาธารณสุข เครือข่ายการขนส่งคมนาคม และการปรับปรุงประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ภายใต้ฉาบหน้าของความก้าวหน้าเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันโดยมีเจ้าสีหนุ เป็นผู้น�ำความแตกแยกทางการเมืองที่ร้ายแรงเริ่มก่อตัวและขยายวงกว้างจนกลายเป็น สงครามกลางเมอื งในทส่ี ุด เม่ือพ้นช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๖๐ อันเป็นช่วงที่อ�ำนาจและบารมีของเจ้าสีหนุ ร่งุ เรอื งสงู สุดนนั้ รฐั บาลของพระองคก์ ุมอำ� นาจเบด็ เสรจ็ ในรฐั สภา จากการทีก่ ลมุ่ สงั คม ราษฎรน์ ยิ มไดร้ ับชยั ชนะเด็ดขาดตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๕ กเ็ ร่มิ ถกู ตอ่ ตา้ นทา้ ทาย เศรษฐกิจ ของประเทศเรมิ่ ประสบปญั หารนุ แรงขนึ้ ประชากรกมั พชู าเพมิ่ ขน้ึ อยา่ งรวดเรว็ (ประมาณ ๗,๐๐๐,๐๐๐ คนใน ค.ศ. ๑๙๗๐) ท่ีดินท�ำการเพาะปลูกเร่ิมลดน้อยลง ประชาชนมี โอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น ทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษา แต่การว่าจ้างแรงงาน ยังมีจ�ำกัด โดยเฉพาะในภาครัฐไม่มีอัตราว่างและไม่มีก�ำลังเงินพอที่จะขยายการรับ บุคลากรเข้าท�ำงานได้อีก ดังนั้นในช่วง ค.ศ. ๑๙๖๓-๑๙๖๔ จึงเกิดความวุ่นวายทาง การเมอื งและการกอ่ จลาจล ซงึ่ นำ� ไปสคู่ วามรนุ แรงครงั้ สำ� คญั คอื การลกุ ฮอื ของประชาชน และชาวนาที่ซมั โลต์ (Samlaut) ในเขตตะวนั ตกเฉียงใต้ของจงั หวดั พระตะบองในเดอื น เมษายน ค.ศ. ๑๙๖๗ การลกุ ฮอื ทซี่ มั โลตแ์ ละการปราบปรามอยา่ งรนุ แรงทตี่ ามมา นบั เปน็ จดุ เปลยี่ น สำ� คญั ในการตอ่ สขู้ องขบวนการคอมมวิ นสิ ตก์ มั พชู า นน่ั คอื การหนั ไปใชแ้ นวทางการตอ่ สู้ ดว้ ยอาวุธ ขบวนการนี้มีผนู้ �ำกลมุ่ ใหม่เข้ามาชน้ี �ำตั้งแต่ตน้ ทศวรรษ ๑๙๖๐ คือกลมุ่ ของ ปญั ญาชนทไ่ี ดร้ บั การศกึ ษาจากฝรง่ั เศสทจี่ ะมบี ทบาทสำ� คญั ตอ่ มา เชน่ พล พต (Pol Pot) และเอียง ซารี (Ieng Sary) การเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ของขบวนการคอมมิวนิสต์ ในครั้งนี้ หมายถึงว่าไมม่ ีความหวงั ใด ๆ ท่จี ะประนปี ระนอม กลุ่มการเมอื งกมั พูชาแตก เป็น ๒ ข้ัวอย่างชัดเจน คือ กลุ่มฝ่ายขวาและกลุ่มฝ่ายซ้าย มีผลท�ำให้กัมพูชาเข้าสู่ 37

สารานุกรมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน สงครามกลางเมืองในที่สุด กลุ่มฝ่ายขวามีลอน นอล (Lon Nol) และเจ้าสิริมาตะ (Sirikmatak) เป็นผู้น�ำคุมอ�ำนาจอยู่ในเมือง ส่วนฝ่ายซ้ายคือขบวนการคอมมิวนิสต์ซ่ึง ด�ำเนินการต่อต้านอยู่ในเขตชนบท ในเดอื นมีนาคม ค.ศ. ๑๙๗๐ กลุ่มฝา่ ยขวาทีเ่ ขา้ ใจกัน ว่าได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกาซ่ึงเข้ามาแทรกแซงทางทหารอยู่ในเวียดนาม ขณะน้ัน ได้ยึดอ�ำนาจจากเจ้าสีหนุและได้เปลี่ยนระบอบการปกครองของกัมพูชาเป็น สาธารณรฐั พล พต เอียง ซาร ี ลอน นอล การโค่นลม้ เจา้ สหี นใุ นเดือนมนี าคม ค.ศ. ๑๙๗๐ มีผลส�ำคัญต่อการต่อสู้ของ ขบวนการคอมมิวนิสต์กัมพูชา กล่าวคือ เดิมคอมมิวนิสต์เวียดนามเคยอยู่ในฐานะเป็น พนั ธมติ รกบั เจา้ สหี นุ และไมเ่ ตม็ ใจทจ่ี ะชว่ ยเหลอื ขบวนการคอมมวิ นสิ ตก์ มั พชู าในการตอ่ ตา้ นรฐั บาลทเ่ี ปน็ พนั ธมติ รของตน อยา่ งนอ้ ยกจ็ นกวา่ เวยี ดนามจะบรรลเุ ปา้ หมายแหง่ การ ต่อต้านสหรัฐอเมริกาแล้ว แต่เม่ือเจ้าสีหนุถูกโค่นล้มโดยกลุ่มท่ีต่อต้านคอมมิวนิสต์ เวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามจึงต้องปรับเปลี่ยนท่าทีของตนด้วยการหันมาให้การ สนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์กัมพูชาอย่างเต็มตัว กองทัพกัมพูชาจึงต้องเผชิญหน้า โดยตรงกับกองก�ำลังเวียดนามที่ทะลักเข้ามาในดินแดนกัมพูชาอย่างมากมายเกือบจะ ในทันทีท่เี จา้ สีหนุหมดอ�ำนาจ คือมีการปะทะกันในวนั ที่ ๑ เมษายน ค.ศ. ๑๙๗๐ นน่ั เอง นอกจากนั้น การท่ีเจ้าสีหนุทรงเปล่ียนฝ่ายมาเป็นผู้น�ำแนวร่วมแห่งชาติต่อต้าน 38

ราชอาณาจกั รกมั พูชา ฝ่ายสาธารณรัฐก็ท�ำให้พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาสามารถใช้พระนามและบารมีของ พระองคใ์ นการระดมพลงั สนบั สนนุ ในเขตพนื้ ทช่ี นบท กำ� ลงั เหลา่ นไ้ี ดก้ ลายมาเปน็ “ทหาร สีหนุ” ที่ติดอาวุธและฝึกฝนโดยเวียดนาม ท้ายที่สุด จีนซ่ึงมีความสัมพันธ์อยู่กับท้ัง เจ้าสีหนุและขบวนการคอมมิวนิสต์กัมพูชา เม่ือมาถึงช่วงน้ีก็สามารถให้การช่วยเหลือ สนบั สนุนแนวรว่ มเจา้ สหี นไุ ดอ้ ยา่ งเตม็ ตัวเช่นกนั ปฏิบัตกิ ารของกลุ่มการเมอื งฝา่ ยขวาที่ โคน่ ล้มเจา้ สีหนใุ นครง้ั นัน้ จงึ เปน็ การเสรมิ ก�ำลงั ให้แกข่ บวนการคอมมิวนสิ ตก์ มั พูชาอย่าง คาดไมถ่ ึง ในช่วง ๒ ปีหลังจากน้ัน ขบวนการคอมมิวนิสต์กัมพูชาซ่ึงเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่ หลายในนาม “เขมรแดง” (Khmer Rouge) กค็ ่อย ๆ กลายมาเปน็ กองก�ำลงั ทีเ่ ข้มแข็ง เม่ือถึงกลาง ค.ศ. ๑๙๗๒ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาขยายออกไปถึงกว่า ๒๐,๐๐๐ คน โดยมีกองกำ� ลังติดอาวุธทง้ั หญิงและชายประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ก�ำลงั ท่ี ระดมเขา้ มาใหมเ่ หลา่ นี้ สว่ นใหญเ่ ปน็ คนหนมุ่ สาวจากครอบครวั ชาวนาทยี่ ากจนในชนบท ทโ่ี ดดเดย่ี วหา่ งไกล ซง่ึ มจี ำ� นวนมากไมร่ หู้ นงั สอื นอกจากนี้ ยงั มคี อมมวิ นสิ ตก์ มั พชู าดง้ั เดมิ ที่เข้าไปอยู่ในเวียดนามเหนือภายหลังข้อตกลงในการประชุมท่ีนครเจนีวา ค.ศ. ๑๙๕๔ (Geneva Conference, 1954) ทเ่ี ดนิ ทางกลับมาสมทบ แตพ่ วกนถ้ี กู กำ� จัดกวาดลา้ งไป แทบหมดสน้ิ โดยกลุ่มพล พต-เอยี ง ซารใี นเวลาต่อมา เมอ่ื ถึงปลาย ค.ศ. ๑๙๗๒ เขมร แดงได้ควบคุมพื้นท่ีไว้ได้กว่าครึ่งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเขตชนบทและป่าเขา โดยมี ประชาชนอยู่ในเขตยึดครองประมาณร้อยละ ๔๐ ของประชากรทั้งหมด และก็เร่ิมบีบ กระชบั ใกล้พนมเปญเขา้ ไปทุกที แม้ว่ากองก�ำลังเวียดนามต้องถอนตัวไปจากกัมพูชาตามข้อตกลงหยุดยิงปารีส (Paris Agreement) ในเดอื นมกราคม ค.ศ. ๑๙๗๓ แตก่ องทัพสาธารณรฐั กัมพชู าก็ถูก ทำ� ลายจนแทบยอ่ ยยบั ไปตง้ั แตก่ ารตอ่ สกู้ บั กองกำ� ลงั เวยี ดนามในชว่ ง ค.ศ. ๑๙๗๐–๑๙๗๑ ดงั นน้ั พรรคคอมมวิ นสิ ตก์ มั พชู าจงึ สามารถควบคมุ การปฏวิ ตั ไิ ดอ้ ยา่ งเตม็ ท่ี การทงิ้ ระเบดิ อยา่ งหนกั หนว่ งในชว่ งนเ้ี ปน็ เวลาหลายเดอื นโดยเครอ่ื งบนิ บี ๕๒ (B-52) ของสหรฐั อเมรกิ า 39

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพ่ือนบา้ นในอาเซยี น ท่ีบินไปจากเกาะกวมและประเทศไทย สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะ อยา่ งยง่ิ ทำ� ใหพ้ ลเรอื นเสยี ชวี ติ หลายหมน่ื คน เมอ่ื การทงิ้ ระเบดิ ยตุ ลิ งโดยคำ� สงั่ ของรฐั สภา สหรัฐอเมริกา เขมรแดงก็สามารถอวดอ้างได้ว่าได้พิชิตสหรัฐอเมริกาแล้ว เมื่อถึงกลาง ค.ศ. ๑๙๗๔ แมว้ า่ จะประสบความสญู เสยี อยา่ งหนกั แต่ฝ่ายเขมรแดงกด็ จู ะมนั่ ใจแลว้ วา่ ชยั ชนะอยู่แค่เออ้ื ม อีกไม่ถึง ๑ ปตี ่อมา คือในวันที่ ๑๗ เมษายน ค.ศ. ๑๙๗๕ เขมรแดง ก็ยดึ พนมเปญได้ ผู้น�ำเขมรแดงถือว่าการ “ปลดปล่อย” พนมเปญคร้ังน้ีเป็นการเร่ิมต้นศักราช ใหมอ่ ย่างแทจ้ รงิ ของประวตั ศิ าสตร์กมั พชู า เป็นการเรมิ่ ต้นแบบพลกิ แผ่นดนิ ดว้ ยการลม้ ล้างรากฐานทุกอย่างของสังคมเดิมท่ีพวกน้ีเห็นว่าอยู่ภายใต้อิทธิพลต่างชาติ เต็มไปด้วย ความเหลอื่ มลำ�้ เอารดั เอาเปรยี บ และฉอ้ ราษฎรบ์ งั หลวง ดงั นน้ั แบบอยา่ งความสมั พนั ธ์ ที่เคยมีมาก่อนไม่ว่าจะในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง น่ันคือตั้งแต่ความผูกพัน ในครอบครัวไปจนถึงความสมั พนั ธ์ระหว่างรฐั กับพลเมืองจะต้องถูกขจัดไปใหห้ มดสน้ิ ในช่วงระยะเวลาส้นั ๆ ภายหลงั ชัยชนะของคอมมวิ นิสต์ สังคมกมั พชู าก็กลาย เปน็ สงั คมทเี่ ปลยี่ นแปลงอยา่ งพลกิ โฉมหนา้ มากทสี่ ดุ ในโลก กมั พชู ามไิ ดเ้ ปน็ ราชอาณาจกั ร อีกต่อไป ศาสนาพุทธท่ีย่ังยืนควบคู่มากับสังคมกัมพูชาเป็นเวลาช้านานสูญส้ินสถานะ วัดและอารามตา่ ง ๆ ถกู ปิดท้งิ รา้ ง เงินตราถูกยกเลกิ คนนบั จ�ำนวนลา้ น ๆ ถูกบงั คับให้ ออกจากเขตเมืองเพ่ือไปท�ำการผลิตทางการเกษตรในชนบท ร้านค้า โรงเรียน กิจการ ไปรษณีย์ ฯลฯ ถกู ปดิ หมด ทรพั ยส์ นิ ทกุ อยา่ งถกู ยดึ เปน็ ของรฐั ไมม่ กี ารถอื ครองโดยเอกชน อกี ตอ่ ไป แมก้ ระทงั่ การแพทย์แผนใหมก่ ไ็ มม่ ีใหแ้ กป่ ระชาชนท่วั ไปด้วย ในทางสงั คมน้นั แบบแผนในการด�ำรงชวี ิตไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษา เสื้อผา้ เครือ่ งแตง่ กาย ทรงผม เครือ่ ง ประดับ หรือแม้กระท่ังแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวถูกเปล่ียนใหม่หมด โดยยึดหลักการงดเว้น อดออม และเป็นชนบทอย่างแท้จริง มีการจัดตั้งชุมชนหมู่บ้าน ขน้ึ ใหมซ่ ง่ึ มกี ารศกึ ษาเพยี งระดบั พน้ื ฐานและการศกึ ษาทางการเมอื งใหเ้ ขา้ ใจปรชั ญาและ ค่านยิ มของการปฏิวตั เิ พื่อจะสร้างสงั คมใหม่ท่ีบริสุทธิข์ ้ึนอยา่ งรวดเรว็ 40

ราชอาณาจกั รกัมพูชา รัฐธรรมนญู ใหม่ ค.ศ. ๑๙๗๖ อันเปน็ ฉบับที่ ๓ ของกมั พชู า กำ� หนดเรยี กชื่อ ประเทศวา่ กัมพชู าประชาธิปไตย (Democratic Kampuchea) ซึง่ เปน็ ช่อื ทเี่ ขมรแดงใช้ เรียกขบวนการของตนมาจนปัจจุบัน คือ พรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือพีดีเค (The Party of Democratic Kampuchea–PDK) เจา้ สหี นซุ งึ่ เสดจ็ กลบั กมั พชู าภายหลงั การปลดปล่อยโดยคอมมิวนิสต์เพื่อด�ำรงต�ำแหน่งประมุขแห่งรัฐแต่ในนามก็ทรงถูกถอด จากสถานะดังกล่าว และถูกกักบริเวณอยู่ในพนมเปญจนกระทั่งถึงช่วงก่อนหน้าที่ เวยี ดนามจะบกุ ยดึ พนมเปญเมอ่ื ตน้ ค.ศ. ๑๙๗๙ อยา่ งไรกต็ าม ตวั บคุ คลทเ่ี ปน็ ผนู้ ำ� ระดบั สูงก็ยังไม่เป็นท่ีเปิดเผย การจัดต้ังคณะรัฐบาลกระท�ำกันในที่ประชุมลับในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๗๕ โดยมีพล พตรับผดิ ชอบดา้ นเศรษฐกจิ และการปอ้ งกันประเทศ จากนน้ั กม็ ี การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติในเดือนเมษายนปีต่อมา ได้มีการวาง “แผนพัฒนา ๔ ปี” แต่ยังไม่มโี อกาสไดใ้ ชอ้ ย่างเตม็ รูปแบบ วางแนวทางส�ำหรับการกา้ วกระโดดไปข้าง หนา้ (Great Leap Forward) อย่างทเี่ คยมกี ารดำ� เนนิ การในจีน ความม่งุ หมายคือใหม้ ี การปฏวิ ตั โิ ครงสรา้ งทางสงั คมและเศรษฐกจิ กมั พชู าใหเ้ ขา้ สรู่ ะบบสงั คมนยิ มอยา่ งรวดเรว็ และเปน็ ขน้ั ตอนโดยอาศยั การพึ่งพาตนเอง ตามหลักการทีก่ �ำหนดไวใ้ นรฐั ธรรมนูญ การเกษตรถกู กำ� หนดใหเ้ ปน็ รากฐานสำ� คญั ของการพฒั นาเศรษฐกจิ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การเพ่ิมปริมาณการผลิตข้าวเพื่อส่งออก และน�ำเงินตราต่างประเทศมาเป็น คา่ ใชจ้ ่ายในการน�ำเข้าป๋ยุ เครื่องสูบน�ำ้ และเครอื่ งจักรการเกษตร ซ่ึงจะชว่ ยเพ่มิ ปริมาณ การผลิตยิ่งข้ึนไปอีก การขยายการส่งออกตามข้ันตอนน้ีเองจะท�ำให้เกิดการพัฒนา อตุ สาหกรรม รัฐบาลไดย้ ดึ ที่ดินทง้ั หมดเปน็ ของรฐั คือ เปน็ ทรพั ยส์ นิ ขององคก์ าร (Angkar) อนั เปน็ ชอ่ื ทคี่ นทวั่ ไปใชเ้ รยี กกลมุ่ ผนู้ ำ� ระดบั สงู สดุ ซงึ่ ไมเ่ คยเปดิ เผยตวั กอ่ นเดอื นกนั ยายน ค.ศ. ๑๙๗๗ มกี ารจดั ตง้ั คอมมูนขนาดใหญซ่ ่ึงตอ้ งรบั นโยบายและเป้าหมายในการผลติ จากส่วนกลาง ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกว่าจะเข้าร่วมในคอมมูนแห่งใด จะใช้ชีวิตใน ทอ้ งถน่ิ ไหน หรอื จะทำ� หนา้ ทอี่ ะไร เมอื่ ไมม่ เี งนิ ตรากไ็ มม่ กี ารจา่ ยคา่ แรงและไมม่ กี ารออม 41

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซียน ไม่ว่าจะในลักษณะใด ฝ่ายบริหารคอมมูนจะเป็นผู้ก�ำหนดชั่วโมงท�ำงานและการปัน ส่วนอาหาร ปัจจัยส�ำคัญของการผลิตทางการเกษตรคอื การชลประทาน มีการใชแ้ รงงาน คนเปน็ จำ� นวนมากแตก่ ารดำ� เนนิ งานตอ้ งเผชญิ ปญั หานานาประการ มที ง้ั ปญั หาการขาด การวางแผนชลประทานทดี่ ี และขาดประสทิ ธิภาพในการดำ� เนนิ งานเพราะขาดบุคลากร ทมี่ คี วามรคู้ วามสามารถ แมว้ า่ ในบางทอ้ งทจี่ ะมผี เู้ ชย่ี วชาญจากจนี มาใหค้ ำ� แนะนำ� อยดู่ ว้ ย ก็ตาม การชลประทานบางแห่งพังทลายลงเมื่อถึงฤดูฝนแรกเท่านั้น การผลิตทางการ เกษตรแบบคอมมูนที่ขาดเครื่องมือ เคร่ืองจักรกล เมล็ดพันธุ์พืช ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย และ ความไมพ่ อเพยี งของปัจจัยพื้นฐานสำ� หรบั การด�ำรงชีพของแรงงาน ไมส่ ามารถก่อให้เกิด ผลผลติ สว่ นเกนิ ขึ้นมาได้ ประชากรใหมท่ สี่ ่วนใหญ่เกณฑม์ าใช้แรงงานจากในเมืองทัง้ ๆ ที่ขาดประสบการณ์และความเคยชินกับการเกษตรและสภาพชีวิตในชนบท ต้อง เหนื่อยยาก อดอยาก ขาดแคลน และเจบ็ ป่วย โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งจากโรคขาดอาหารร้าย แรงทเ่ี กิดขนึ้ อย่างกว้างขวาง ท�ำให้เสียชวี ติ เปน็ จำ� นวนมาก ทุ่งสังหาร 42

ราชอาณาจกั รกัมพชู า แผนการเร่งการผลิตทางการเกษตรซึ่งก�ำหนดไว้เป็นค�ำขวัญว่าจะผลิตให้ได้ “๓ ตันต่อ ๖ ไร”่ จึงเปน็ ความล้มเหลวโดยสน้ิ เชิง แต่แทนท่ผี ูน้ �ำกมั พูชาประชาธิปไตยจะ ตระหนักถึงความผิดพลาดและไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของแนวนโยบายของตน กก็ ลบั ไปเพง่ เลง็ วา่ มกี ารกอ่ วนิ าศกรรมหรอื พยายามทจี่ ะขดั ขวางทำ� ลายไมใ่ หร้ ฐั บาลบรรลุ เป้าหมายตามนโยบายได้ ประชาชนจ�ำนวนมากถูกสังหารเพราะความหวาดระแวง ดงั กลา่ ว เมอื่ ถงึ ปลาย ค.ศ. ๑๙๗๖ ในขณะทคี่ วามอดอยากกำ� ลงั ลกุ ลามออกไปอยา่ งกวา้ ง ขวางนนั้ พล พตกด็ จู ะย่งิ กังวลกบั แผนการของศัตรูที่จะโคน่ อำ� นาจตน ความขดั แยง้ กบั เวียดนามก็เพิม่ ความรุนแรงย่ิงขึ้น แต่สง่ิ ที่ผ้นู ำ� กัมพชู าประชาธิปไตยห่วงกังวลไม่น้อยไป กว่าการคุกคามของเวียดนามก็คือศัตรูจากภายใน ดังนั้น ในช่วง ค.ศ. ๑๙๗๗-๑๙๗๘ บรรดาแกนนำ� พรรคไดถ้ กู ก�ำจดั ในการกวาดลา้ งครงั้ ใหญ่ ผทู้ ่ถี ูกสงั หารในชว่ งนร้ี วมไปถึง ผทู้ ีเ่ คยร่วมงานใกลช้ ิดกบั พล พตเป็นเวลานานหลายปี ในบรรดารัฐมนตรี ๑๒ คนที่ไดร้ ับ แตง่ ตัง้ ใน ค.ศ. ๑๙๗๕ น้ัน ๕ คนถกู กำ� จัดไปในที่สุด ในช่วงที่พล พตด�ำเนนิ การถอนรากศตั รูที่ อยู่ภายใน ความตึงเครียดรุนแรงกับเวียดนามก็ยิ่ง เพ่ิมขึ้น กัมพูชาประชาธิปไตยตัดความสัมพันธ์ ทางการทูตกับเวียดนามเม่ือส้ิน ค.ศ. ๑๙๗๗ และ ในปีต่อมา เขียว สัมพัน (Khieu Samphan) ก็ประกาศว่า เวียดนามเป็น “ศัตรูหมายเลขหน่ึง” แทนจักรวรรดินิยมอเมริกา ข้อส�ำคัญคือความ ตึงเครียดอย่างรุนแรงระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา เกดิ ขน้ึ ในชว่ งทคี่ วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ งจนี กบั เวยี ดนาม เขยี ว สัมพัน เสอ่ื มทรามลงอยา่ งมากดว้ ย ความหวาดระแวงวา่ จนี จะอยู่เบ้ืองหลังการคุกคามท้าทายของกัมพูชาประชาธิปไตยในช่วงนี้ น่าจะเป็นเหตุผล สำ� คญั ทีท่ �ำใหเ้ วยี ดนามตัดสินใจใช้กำ� ลงั ล้มล้างระบอบปกครองนใี้ นปลาย ค.ศ. ๑๙๗๘ 43