Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

Description: สารานุกรมประวัติศาสตร์ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน.

Search

Read the Text Version

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพือ่ นบา้ นในอาเซียน เวยี ดนามใชก้ ำ� ลงั ทงั้ หมดไมต่ ำ่� กวา่ ๑๔ กองพล (กำ� ลงั พลจรงิ ๆ คงรวมกนั แลว้ ไม่ต่ำ� กวา่ ๑๒๐,๐๐๐ คน) ม่งุ เขา้ ยึดพนื้ ท่ีโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ กรงุ พนมเปญโดยตรง โดย แทบไม่มีการต่อต้านใด ๆ จากฝ่ายกัมพูชาประชาธิปไตยที่ได้สลายตัวหลบหนีไปก่อน หน้าที่เวียดนามจะมาถึง และในทันทีท่ียึดกัมพูชาได้ส�ำเร็จ ใน ค.ศ. ๑๙๗๙ เวียดนาม ก็จัดต้ังรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยผู้น�ำหลัก ๓ คน คือ ประธานาธิบดีเฮง สัมริน (Heng Samrin) ประธานรัฐสภาเจีย ซิม (Chea Sim) และเพน โสวนั (Pen Sovan) ต่อมา ฮุน เซน (Hun Sen) ได้เข้าไปแทนเพน  โสวัน ในต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การปฏิวัติของขบวนการคอมมิวนิสต์กัมพูชา กลุ่มพล พต-เอียง ซารีกน็ บั วา่ สิ้นสุดลง ระบอบการปกครองทเี่ วยี ดนามจดั ตงั้ ขน้ึ ในกรงุ พนมเปญ มชี อื่ เรยี กเปน็ ทางการ ขณะน้ันว่า สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาหรือพีอาร์เค (People’s Republic of Kampuchea–PRK) ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๙๐ ได้เปลี่ยนช่ือเป็นรัฐกัมพูชาหรือเอสโอซี (The State of Cambodia–SOC) กลมุ่ บคุ คลในรฐั บาลชดุ นเ้ี คยเปน็ สว่ นหนง่ึ ของกมั พชู า ประชาธปิ ไตย แต่ตอ่ มาไดต้ อ่ ตา้ นและหลบหนีการกวาดลา้ งของกลุ่มพล พต-เอียง ซารี เขา้ ไปในเวยี ดนาม เมอ่ื มีการเลือกต้งั และจดั ระเบยี บการปกครองในกัมพูชาใหม่ อกี ๒ ปี ตอ่ มา กม็ กี ารจดั ตง้ั พรรคปฏวิ ตั ปิ ระชาชนกมั พชู า (Cambodian People’s Revolutionary Party) เพ่ือย้�ำความสืบเนื่องกับพรรคคอมมิวนิสต์ที่จัดต้ังขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๕๐ คือ พรรคสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาหรือเคพีอาร์พี (Kampuchea People’s Republic Party–KPRP) กล่าวได้ว่า กัมพูชาในช่วงนั้นอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาดอย่างแท้จริง ประเทศขาดท้ังบุคลากรผู้มีความรู้ความช�ำนาญ ครู เจ้าหน้าท่ีทางเทคนิค แพทย์ และ อ่ืน ๆ สงครามที่ยืดเยื้อยาวนานและการรุกรานจากต่างชาติ รวมท้ังการท้ิงระเบิดของ สหรฐั อเมริกาในต้นทศวรรษ ๑๙๗๐ ไดท้ �ำลายโครงสรา้ งพน้ื ฐานและสัตวท์ จ่ี ะใช้แรงงาน เพอื่ การผลติ ทางการเกษตร ประชาชนทวั่ ไปกอ็ ยใู่ นภาวะแตกแยกระสำ�่ ระสายจากทง้ั ผล ของการปฏิวัติในช่วงสมัยของกัมพูชาประชาธิปไตยและจากการถูกรุกราน  ปัญหาท่ี 44

ราชอาณาจกั รกมั พูชา รัฐบาลใหม่ซึ่งแทบไม่มีแม้กระท่ังตัวบุคลากรที่จะบริหารประเทศจึงมีมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างย่ิงการฟื้นฟูการเกษตรเพื่อแก้ความอดอยากของประชาชน  รัฐบาลน้ี คงจะอยไู่ มไ่ ดห้ ากไมไ่ ดร้ บั การคำ้� จนุ ชว่ ยเหลอื ในดา้ นตา่ ง ๆ จากเวยี ดนามและจากประเทศ กลุ่มโซเวยี ตในระยะตอ่ มา กลุ่มกัมพูชาประชาธิปไตยเดิมซ่ึงได้ถอนก�ำลังจากกรุงพนมเปญหนีมาทาง พรมแดนไทยพร้อมกับผู้อพยพชาวกัมพูชาจ�ำนวนมากก่อนที่ทหารเวียดนามจะมาถึง ได้ร่วมมือกับกลุ่มต่อต้านอ่ืน ๆ คือ กลุ่มของเจ้าสีหนุ (ขณะนั้นเจ้าสีหนุประทับอยู่ที่ กรุงเป่ย์จิงหรือปกั กิง่ กอ่ นหน้าทเี่ วยี ดนามจะบกุ ถึงกรุงพนมเปญ) และกลุ่มเขมรเสรีของ ซอน ซานน์ (Son Sann) ซง่ึ เคยเปน็ นกั การเมอื งในสมยั ทเ่ี จา้ สหี นยุ งั ทรงปกครองกมั พชู าอยู่ ได้ร่วมกนั จัดต้ังรฐั บาลผสมกมั พชู าประชาธปิ ไตยหรอื ซีจดี ีเค (Coalition Government of Democratic Kampuchea–CGDK) ข้ึนใน ค.ศ. ๑๙๘๒ เพ่ือรณรงค์ทั้งทางทหาร การเมือง และการทูต โดยเฉพาะด้วยการอาศัยเวทีสหประชาชาติต่อต้านการยึดครอง ของเวียดนามและรัฐบาลพนมเปญ สถานการณ์ดังกล่าวทั้งภายในและภายนอกกัมพูชา จงึ ยืดเย้อื มาจนกระทงั่ สิ้นทศวรรษ ๑๙๘๐ ความเปลยี่ นแปลงสำ� คญั คอื การทเ่ี วยี ดนามตดั สนิ ใจถอนทหารไปจากกมั พชู า ต้ังแต่เดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๘๙ อันเป็นการปูทางให้แก่ “กระบวนการสันติภาพ” (peace process) ซ่ึงเริ่มมาก่อนหน้านั้นเล็กน้อยและเป็นผลสืบเนื่องมาจาก ความคล่ีคลายในบรรยากาศการเมืองโลกในช่วงของการยุติสงครามเย็น สาเหตุส�ำคัญ ท่ีท�ำให้เวียดนามถอนทหารคือ การที่เวียดนามต้องเผชิญกับความเสื่อมทรุดล้าหลังใน ด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เพราะปัญหากมั พูชาไดก้ ลายมาเปน็ ทั้งภาระผูกพันและเงอ่ื นไข ทท่ี ำ� ใหเ้ วยี ดนามตอ้ งถกู โดดเดยี่ วจากโลกตะวนั ตกทเ่ี ปน็ แหลง่ เงนิ ทนุ และความชว่ ยเหลอื ต่าง ๆ  ดังน้ัน เม่ือสหภาพโซเวียตซึ่งเคยให้การค�้ำจุนช่วยเหลือเวียดนามและรัฐบาล กมั พูชาในกรุงพนมเปญ เร่มิ ปรับเปลยี่ นทา่ ทีของตนเพือ่ ลดภาระผกู พันด้านต่างประเทศ และเพ่ือท�ำความเข้าใจกับมหาอ�ำนาจท่ีมีความขัดแย้งระหว่างกันอยู่โดยเฉพาะจีน เวยี ดนามจงึ จำ� เป็นต้องปรับเปลยี่ นทา่ ทขี องตน 45

สารานุกรมประวตั ิศาสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซยี น ความเคล่ือนไหวส�ำคัญที่น�ำไปสู่การด�ำเนินงานในแนวทางดังกล่าว ซึ่งต่อมา เรียกเป็นภาษาทางการทูตว่า กระบวนการสันติภาพ ก็คือการพบปะเจรจาระหว่าง เจา้ สหี นกุ บั ฮนุ เซนของฝา่ ยพีอารเ์ ค (Sihanouk-Hun Sen Talks) การเจรจาดังกล่าวน้ี มีข้ึนหลายครั้งต้ังแต่ช่วงปลาย ค.ศ. ๑๙๘๗ เมื่อเร่ิมมีการเจรจาคร้ังแรกท่ีกรุงปารีส จนกระทั่งมีการเจรจาครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพมหานคร ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ การพบปะเจรจาหลายต่อหลายครั้งที่กรุงปารีส จาการ์ตา และกรุงเทพมหานคร มิได้ สง่ ผลในแง่ท่ีเป็นความตกลงในประเด็นส�ำคัญใด ๆ แตใ่ นชว่ งนีเ้ องทีฝ่ ่ายพีอาร์เคได้ปรับ เปลี่ยนท่าทีมาหาทางยุติปัญหาด้วยการตกลงเจรจา ท�ำให้มีภาพพจน์เป็นท่ียอมรับ ในระดับนานาชาติมากข้ึน โดยเฉพาะการเปลี่ยนช่ือประเทศจากสาธารณรัฐประชาชน กมั พูชามาเป็นรัฐกัมพูชา และการประกาศละทิง้ อุดมการณ์สงั คมนยิ ม ในช่วงเวลาเดียวกันน้ีความเคลื่อนไหว ทางการทูตทสี่ ำ� คัญอีกประการหน่งึ คือ การประชุม อยา่ งไมเ่ ป็นทางการทจี่ าการต์ า (Jakarta Informal Meeting–JIM) ในช่วง ค.ศ. ๑๙๘๘-๑๙๘๙ (JIM I & JIM II) ผลจากการประชุมครั้งนค้ี ือ การยอมรับที่ จะให้มีการประชุมเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่าง หลายฝ่ายขน้ึ ที่กรุงปารสี (Paris Conference on Cambodia) ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ โดยมีอินโดนีเซียและฝรั่งเศสเป็น ฮุน เซน ประธานร่วมและมีชาติต่าง ๆ ทีเ่ ก่ียวขอ้ งทัง้ หมดเข้าร่วมประชุมดว้ ย อย่างไรก็ดี ความเคล่ือนไหวที่จะน�ำไปสู่การท�ำความตกลงกันได้ในท่ีสุด คือ การท่ีมหาอ�ำนาจซ่ึงเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความม่ันคงแห่งสหประชาชาติ ตดั สนิ ใจเขา้ มาจดั การปญั หากมั พชู า คณะมนตรคี วามมน่ั คงไดป้ ระชมุ กนั ในปญั หากมั พชู า คร้งั แรกในเดอื นมกราคม ค.ศ. ๑๙๙๐ และตกลงในหลกั การทีจ่ ะใหส้ หประชาชาตเิ ข้าไป มีบทบาทในการฟื้นฟูสันติภาพและก่อให้เกิดความปรองดองแห่งชาติข้ึนในประเทศนี้ 46

ราชอาณาจักรกมั พชู า ด�ำริส�ำคัญมาจากข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย ขณะนัน้ คือ กาเร็ท เอแวนส์ (Gareth Evans) ท่ีจะใหส้ หประชาชาติเข้าไป “ปกครอง” กัมพูชาเป็นการช่ัวคราวก่อนท่ีจะมีการถ่ายโอนอ�ำนาจให้แก่รัฐบาลท่ีชอบธรรมและ ได้รับการยอมรับขึ้นมาปกครองประเทศต่อไป โดยอาศัยข้อเสนอน้ีเอง ในที่สุดในเดือน สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ คณะมนตรีความมั่นคงก็ให้ความเห็นชอบแผนสันติภาพ สหประชาชาติท่ีก�ำหนดขึ้นมาในลักษณะของกรอบการด�ำเนินงาน (Framework Document) เพ่ือให้มีการตกลงทางการเมืองอย่างสมบูรณ์แบบ (comprehensive political settlement) ในกมั พชู า สาระส�ำคัญของกรอบดังกลา่ วมีดังนี้ การด�ำเนนิ การ ชวั่ คราวดา้ นการบรหิ ารปกครองกมั พชู ากอ่ นทจี่ ะมกี ารเลอื กตง้ั การจดั การดา้ นการทหาร ในช่วงดังกล่าว การจัดให้มีการเลือกตั้งภายใต้อ�ำนวยการของสหประชาชาติ การให้ การคุ้มครองด้านสิทธมิ นุษยชน การให้หลกั ประกนั โดยนานาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงเสนอแผนสันติภาพดังกล่าวนี้ให้แก่เขมรฝ่ายต่าง ๆ ท่ีขัดแย้งกันอยู่ในลักษณะท่ีเป็นการยื่นค�ำขาดว่าหากจะยอมรับแผนน้ีก็จะต้องรับไป ทั้งหมดโดยไม่มีเง่ือนไข กลุ่มเขมรท้ัง ๔ ฝ่ายตกลงยอมรับหลักการทั้งหมดของแผน สันติภาพสหประชาชาติเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ แต่กว่าจะมีการตกลงกันใน รายละเอยี ดต่าง ๆ ในขัน้ สดุ ท้ายกล็ ่วงมาถึงเดือนสงิ หาคมปีตอ่ มา หลังจากมีการเจรจา ต่อรองกันอีกหลายรอบ โดยเฉพาะอย่างย่ิง การเจรจาในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ท่ีพัทยาและกรุงเป่ย์จิง ความตกลงน้ีท�ำให้ในที่สุดมีการจัดท�ำสนธิสัญญาท่ีมีช่ือทางการ ว่าข้อตกลงเรื่องความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในปัญหาความขัดแย้งกัมพูชา (Agreements on a Comprehensive Political Settlement of the Cambodian Conflict) หรือที่มักเรียกกันย่อ ๆ ตามสถานที่ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ วา่ ขอ้ ตกลงปารสี (Paris Agreements) ขอ้ ตกลงนมี้ ี ๔ ส่วน ได้แก่ (๑) ใหท้ ำ� ความตกลง ทางการเมอื งอยา่ งสมบรู ณแ์ บบและใหส้ หประชาชาตเิ ขา้ ไปรกั ษาสนั ตภิ าพโดยจดั ตงั้ หนว่ ย งานชว่ั คราวท่เี รียกวา่ องคก์ ารบรหิ ารชวั่ คราวแห่งสหประชาชาตใิ นกัมพชู าหรืออนั แท็ก (UN Transitional Authority in Cambodia–UNTAC) (๒) ยนื ยันเอกราช อธปิ ไตย 47

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพอื่ นบา้ นในอาเซยี น บูรณภาพทางดินแดน และความเป็นกลางของกัมพูชา (๓) ให้ความช่วยเหลือ เพ่ือการพัฒนาและบูรณะฟื้นฟูประเทศกัมพูชาภายหลังการเข้าไปด�ำเนินงานของ สหประชาชาติ (๔) กรรมสารสุดท้าย (The Final Act) ซึ่งเป็นบทเกริ่นน�ำข้อตกลงท้ัง ๓ ฉบบั ข้างต้น ลกั ษณะเดน่ ของขอ้ ตกลงปารสี ไดแ้ กก่ ารเปน็ ความตกลงสมบรู ณแ์ บบ นอกจาก น้นั เพือ่ หาทางออกเกยี่ วกับปัญหาทสี่ หประชาชาติจะต้องเขา้ ไปปกครองกมั พูชาซ่ึงเปน็ รัฐเอกราชมีอธิปไตยเป็นการชั่วคราว จึงให้มีการจัดตั้งสภาสูงสุดแห่งชาติหรือเอสเอ็นซี (Supreme National Council–SNC) ขน้ึ ประกอบดว้ ยเขมรทง้ั ๔ ฝา่ ยเพอื่ เปน็ “องคก์ ร เฉพาะท่ีแสดงถึงการมีเอกราช อธิปไตย และความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันของกัมพูชา ในช่วงของการเข้าไปมีบทบาทชัว่ คราวของสหประชาชาต”ิ ท้ายทส่ี ดุ ข้อตกลงนกี้ ำ� หนด บทบาทหน้าท่ีท้ังด้านทหารและพลเรือนของสหประชาชาติอย่างไม่เคยมีมาก่อน สาระ ส�ำคัญของข้อตกลงประกอบด้วย ข้อตกลงหยุดยิงและการปลดอาวุธของฝ่ายต่าง ๆ การรกั ษากฎหมายและความเปน็ ระเบียบ การสง่ ตวั ผูล้ ้ีภยั กลับกมั พูชา การสง่ เสริมสิทธิ มนุษยชนและหลักการพ้ืนฐานส�ำหรับรัฐธรรมนูญใหม่ของกัมพูชา การควบคุมดูแล งานด้านการปกครองและการบริหารประเทศบางด้านโดยหน่วยงานของสหประชาชาติ ท่ีจะจัดตั้งข้ึน การจัด การด�ำเนินการ และการตรวจสอบการเลือกตั้งในกัมพูชา โดยสหประชาชาติ ระยะเวลาที่สหประชาชาตจิ ะเขา้ ไปด�ำเนนิ การเปน็ การชว่ั คราว (transitional period) ดงั กลา่ วนั้นถือวา่ เร่ิมตัง้ แต่วนั ท่ี ๒๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ (วันทีม่ กี ารลงนามใน ข้อตกลงปารีส) ไปจนกระทั่งสภาร่างรัฐธรรมนูญท่ีจะมาจากการเลือกตั้งด�ำเนินการร่าง รัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นและมีการจัดต้ังรัฐบาลใหม่ท่ีชอบธรรมข้ึนปกครองประเทศต่อไป ซึ่งในตอนน้นั ก�ำหนดไวป้ ระมาณเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๓ ในชว่ งระยะเวลาดังกลา่ วนี้ เอสเอน็ ซจี ะเปน็ องคอ์ ำ� นาจแทนความเปน็ อธปิ ไตยของกมั พชู า และมอี นั แทก็ ซง่ึ จดั ตงั้ ขน้ึ โดยคณะมนตรคี วามมน่ั คงในเดอื นกมุ ภาพนั ธ์ ค.ศ. ๑๙๙๒ เปน็ ผดู้ ำ� เนนิ การตามขอ้ ตกลง ปารีส  ภารกิจของหน่วยงานน้ีคือ การรักษาสันติภาพ (peace-keeping) ภารกิจนี้ เก่ียวข้องกับการตรวจสอบการหยุดยิง การถอนกองก�ำลังต่างชาติออกไปจากกัมพูชา 48

ราชอาณาจกั รกมั พชู า การควบคุมดูแลการปลดประจ�ำการกองก�ำลังเขมรฝ่ายต่าง ๆ ลงร้อยละ ๗๐ และให้ กองก�ำลงั ทีเ่ หลืออยู่ในท่ีตงั้ ทก่ี �ำหนด เพ่ือสร้างความมัน่ ใจให้แก่ฝ่ายตา่ ง ๆ ท่ขี ดั แย้งกนั และป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก งานด้านพลเรือนที่ส�ำคัญ ๒ ประการ ได้แก่ (๑) การเข้าไปควบคุมดูแลกิจการส�ำคัญของรัฐ ๕ ด้านคือ การป้องกันประเทศ ความมน่ั คงภายใน การคลงั ขา่ วสาร และการต่างประเทศ และ (๒) การจดั การและการ ตรวจสอบการเลือกต้ังทั่วไปเพ่ือให้เป็นขั้นตอนแรกท่ีจะน�ำไปสู่ระบบเสรีประชาธิปไตย บนรากฐานของพหุนิยม นอกจากน้ัน ยังมีภารกิจอื่น ๆ ได้แก่ (๑) ประสานงาน กับส�ำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติด้านผู้ลี้ภัย (United Nations High Commissioner for Refugees–UNHCR) ในการส่งตัวชาวกมั พชู ากว่า ๓๗๐,๐๐๐ คน ที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยกลับกัมพูชา (๒) เสริมสร้างสภาพแวดล้อมท่ีจะให้ หลกั ประกนั ดา้ นการเคารพสทิ ธมิ นษุ ยชนและเสรภี าพขน้ั พน้ื ฐานตา่ ง ๆ และ (๓) ชว่ ยเหลอื ในการวางแผนและระดมความช่วยเหลือในการบูรณะฟื้นฟูกัมพูชาทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ งบประมาณท่ีก�ำหนดไว้อย่างเป็นทางการส�ำหรับการด�ำเนินงานของ สหประชาชาติในปัญหากมั พชู าประมาณ ๑,๕๐๐ ลา้ นดอลลาร์สหรฐั แตห่ ากรวมความ ชว่ ยเหลอื ดา้ นการบรู ณะฟน้ื ฟแู ละพฒั นาประเทศทชี่ าตติ า่ ง ๆ ใหค้ ำ� มนั่ วา่ จะใหแ้ กก่ มั พชู า แล้ว งบประมาณส�ำหรับสร้างสันติภาพภายในประเทศนี้รวมแล้วประมาณ ๒,๕๐๐- ๒,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ การด�ำเนินงานของอันแท็กอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ (Special Representative of the UN Secretary General) ผู้ท่ีได้รับแต่งตั้งให้ท�ำหน้าท่ีนี้คือ นักการทูตชาวญี่ปุ่นชื่อ ยะซุชิ อะกะชิ (Yasushi Akashi) และภารกจิ หลากหลายของหนว่ ยงานดังกล่าวนี้แบง่ ออกเปน็ ๗ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายทหาร ฝ่ายต�ำรวจ ฝ่ายจัดส่งผู้ล้ีภัยกลับถ่ินฐาน ฝ่ายสิทธิมนุษยชน ฝา่ ยสารสนเทศและการศึกษา ฝา่ ยบริหาร และฝ่ายจัดการเลือกตง้ั ก่อนท่ีอันแท็กจะเริ่มด�ำเนินการตามข้อตกลงปารีส ได้มีการส่งชุดปฏิบัติการ ล่วงหน้าในกัมพชู า (UN Advance Mission in Cambodia–UNAMIC) ประกอบดว้ ย บคุ ลากร ๒๐๐ คน ไปกมั พชู าตงั้ แตเ่ ดอื นพฤศจกิ ายน ค.ศ. ๑๙๙๑ เพอ่ื เตรยี มการสำ� หรบั 49

สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซยี น การเขา้ มาปฏบิ ตั กิ ารของอนั แทก็ กวา่ จะจดั ตง้ั เปน็ กองกำ� ลงั และบคุ ลากรฝา่ ยพลเรอื นได้ พร้อมกล็ ่วงไปถึงปีตอ่ มา กลา่ วคือ เม่อื ถึงเดอื นกนั ยายน ค.ศ. ๑๙๙๒ สหประชาชาตกิ ็มี กองกำ� ลงั รกั ษาสนั ติภาพ ๑๕,๙๐๐ คน ต�ำรวจ ๓,๖๐๐ คน และเจา้ หน้าท่พี ลเรอื นรวม ทั้งเจา้ หน้าทฝ่ี ่ายเลือกตั้งรวม ๓,๐๐๐ คน ภารกิจส�ำคัญเฉพาะหน้าของอันแท็กคือ ควบคุมดูแลการหยุดยิง ตรวจสอบ และยืนยันการถอนก�ำลังต่างชาติ ยุติการส่งยุทธสัมภาระต่าง ๆ เข้าไปในกัมพูชา และ กู้กับระเบิดจ�ำนวนมหาศาล ปัญหาหนักที่ต้องเผชิญคือ ฝ่ายเขมรแดงไม่ยอมปลดอาวุธ และสลายกำ� ลังของตนตามข้อตกลง รวมท้ังไมอ่ นญุ าตให้เจ้าหน้าท่สี หประชาชาติเขา้ ไป ตรวจสอบในเขตยึดครองของตนด้วย การละเมิดข้อตกลงของเขมรแดงในเรื่องนี้ ท�ำให้แผนการที่จะปลดอาวุธและสลายก�ำลังฝ่ายต่าง ๆ ต้องเลิกล้มไปก่อนท่ีจะด�ำเนิน การเสร็จสิ้น เพราะอันแท็กเกรงว่าหากจะปลดอาวุธและสลายก�ำลังฝ่ายอ่ืน ๆ เท่าน้ัน กจ็ ะทำ� ใหเ้ สยี ดลุ ทางทหารระหวา่ งฝา่ ยตา่ ง ๆ สถานการณเ์ รม่ิ รนุ แรงขน้ึ เรอ่ื ย ๆ ตลอดชว่ ง ค.ศ. ๑๙๙๒ ท�ำให้กองก�ำลงั รักษาสันตภิ าพสหประชาชาตเิ สียชวี ิต ๑๓ นายและบาดเจ็บ อีกไม่น้อยกว่า ๕๐ นาย เม่ือถึงเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๙๓ ฝ่ายเขมรแดงประกาศ ถอนตัวจากกระบวนการสันติภาพด้วยการไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง และในเดือนเมษายน เขมรแดงก็ถอนก�ำลังและบุคลากรออกจากนครหลวงของกัมพูชาเพื่อไปตั้งมั่นในเขต ยดึ ครองของตน ข้ออ้างของเขมรแดง คือ สถานการณ์ทางการเมืองในกัมพูชายังไม่เป็นกลาง อยา่ งแท้จรงิ ตามเง่อื นไขของข้อตกลง เพราะเขมรแดงเชื่อว่ายงั มกี องกำ� ลงั เวียดนามแฝง ตวั อยใู่ นกมั พชู า และเอสโอซกี ย็ งั กมุ อำ� นาจในการปกครองบรหิ ารประเทศอยโู่ ดยอนั แทก็ มิได้เข้าไปมบี ทบาทในดา้ นต่าง ๆ ตามที่กำ� หนดไว้อยา่ งแท้จริง การถอนตัวของเขมรแดงออกจากกระบวนการสันติภาพท�ำให้หวั่นเกรงกันใน ตอนนั้นว่าปฏิบัติการของสหประชาชาติในกัมพูชาจะล้มเหลว จึงต้ังความหวังไว้ที่การ จัดการเลือกตั้งทั่วไปเพ่ือให้ชาวกัมพูชาได้ตัดสินใจก�ำหนดชะตาชีวิตทางการเมืองของ ตนเอง ซง่ึ กเ็ ปน็ ทนี่ า่ ยนิ ดวี า่ การดำ� เนนิ งานในดา้ นนขี้ องอนั แทก็ ปรากฏผลเปน็ ทนี่ า่ พอใจ 50

ราชอาณาจักรกมั พูชา โดยฝา่ ยจดั การเลอื กตง้ั ไดจ้ ดั การลงทะเบยี นผมู้ สี ทิ ธอิ อกเสยี งในการเลอื กตงั้ จำ� นวน ๔.๗ ลา้ นคน หรอื กวา่ ร้อยละ ๙๐ ของชาวกมั พชู าทม่ี คี ุณสมบัติทงั้ หมดเสร็จสน้ิ ภายในเดอื น ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๒ นอกจากนน้ั การรณรงคเ์ รือ่ งการศกึ ษาและขอ้ มลู ขา่ วสารก็นับว่า ไดผ้ ลดยี ง่ิ โดยเฉพาะในการสรา้ งความตน่ื ตวั แกป่ ระชาชนจำ� นวนมากทย่ี งั ไมร่ หู้ นงั สอื และ อยใู่ นชนบท ภารกิจของฝ่ายจัดการเลอื กตั้งของอนั แทก็ มีดังน้ี (๑) ร่วมกบั เอสเอน็ ซีกำ� หนด กรอบทางกฎหมายและข้อบังคับส�ำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly) จ�ำนวน ๑๒๐ คน ซ่งึ หลงั จากใหค้ วามเหน็ ชอบรัฐธรรมนญู ฉบับใหม่แล้ว ก็จะเปลยี่ นสถานะเป็นสมชั ชาแห่งชาติ (National Assembly) หรอื สภา ผแู้ ทนราษฎร (๒) จดั ทำ� โครงการรณรงคด์ า้ นการศกึ ษาและการประชาสมั พนั ธอ์ ยา่ งกวา้ ง ขวาง เพอ่ื ใหส้ าธารณชนเขา้ ใจความสำ� คญั ของการออกเสยี งลงคะแนน อนั รวมไปถงึ ความ ลับและความปลอดภยั ของคะแนนเสยี งทล่ี งไป (๓) จัดการลงทะเบียนผู้มีสทิ ธิออกเสียง เลอื กตงั้ ครง้ั นแ้ี ละกำ� หนดวา่ แตล่ ะจงั หวดั จะมที น่ี งั่ ในสภาไดเ้ ปน็ จำ� นวนเทา่ ใด (๔) ดำ� เนนิ การและควบคุมดูแลการจดทะเบียนพรรคการเมือง (๕) จัดการเลอื กตั้งทัว่ ไป ณ ศนู ยล์ ง คะแนน ๑,๔๐๐ หนว่ ยและนบั คะแนน โดยการดำ� เนนิ การทงั้ หมดจะตอ้ งเสรจ็ สน้ิ กอ่ นถงึ ฤดูฝน ค.ศ. ๑๙๙๓ (กอ่ นกลางเดือนมิถนุ ายน) ในการจดั การเลือกตงั้ คร้ังนอ้ี นั แท็กใชอ้ าสาสมคั รสหประชาชาติจำ� นวน ๔๖๐ คน เจ้าหน้าที่เลือกต้ังชาวกัมพูชาท่ีได้รับการคัดเลือกและฝึกอบรม ๔๘,๐๐๐ คน เจ้าหน้าท่ีควบคุมและสังเกตการณ์จากนานาชาติ ๑,๐๐๐ คน นอกจากน้ัน ตั้งแต่วันท่ี ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๙๒ กองก�ำลัง ๑๕,๕๐๐ คนของอันแท็กได้เปล่ียนภารกิจและ จัดสรรก�ำลังใหม่เพ่ือเข้าประจ�ำใน ๒๗๐ ท้องที่ เพื่อท�ำหน้าที่เป็นหน่วยคุ้มครองการ เลือกตงั้ รวมท้งั อำ� นวยความสะดวกด้านการขนสง่ และการส่งกำ� ลังบำ� รงุ การเลือกตั้งทั่วไปที่มีข้ึนในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๙๓ เป็นไป โดยเรียบร้อยมีผู้มาใช้สิทธิในการลงคะแนนประมาณร้อยละ ๙๐ ของผู้ที่ลงทะเบียนไว้ และไมม่ เี หตกุ ารณร์ นุ แรงใด ๆ อยา่ งทห่ี วน่ั เกรงกนั ไวก้ อ่ นหนา้ นน้ั ผลการเลอื กตงั้ ปรากฏวา่ 51

สารานุกรมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพอื่ นบา้ นในอาเซียน พรรคฟนุ ซนิ เปก (FUNCINPEC) ทมี่ เี จา้ รณฤทธิ์ โอรสของ เจา้ สีหนุเปน็ ผ้นู ำ� ไดจ้ ำ� นวนท่นี ง่ั มากที่สดุ คือ ๕๘ ทนี่ ัง่ ได้ คะแนนเสยี งรอ้ ยละ ๔๕ ของผมู้ าใชส้ ทิ ธิ พรรคประชาชน กมั พูชาหรอื ซีพพี ี (Cambodian People’s Party–CPP) ของฮุน เซนได้ ๕๑ ท่นี ่งั และได้คะแนนเสียงรอ้ ยละ ๓๘ ของผู้มาใช้สิทธิ พรรคเสรีประชาธิปไตยแนวพุทธหรือ บแี อลดพี ี (Buddhist Liberal Democratic Party–BLDP) ของกลุ่มแนวร่วมเคพีเอ็นแอลเอฟของซอน ซานน์ได้ เจา้ รณฤทธ์ิ ๑๐ ที่นั่ง และได้คะแนนเสยี งรอ้ ยละ ๑๐ ของผมู้ าใช้สิทธิ ที่เหลืออีก ๑ ที่น่ังเป็นของขบวนการปลดปล่อยชาติกัมพูชาหรือกลุ่มมูลินัก (Mouve- mentde liberationnationale du Kampuchea–MOULINAK) สภารา่ งรฐั ธรรมนญู ไดเ้ รมิ่ ประชมุ ในเดอื นมถิ นุ ายน ค.ศ. ๑๙๙๓ หลงั จากมเี คา้ ความยงุ่ ยากเกดิ ขน้ึ ในชว่ งระยะสนั้ ๆ เมอ่ื กลมุ่ หวั รนุ แรงในพรรคซพี พี ที ไี่ มย่ อมรบั ผลการ เลือกตั้งขู่ว่าจะแยกดินแดนด้านตะวันออกของกัมพูชาออกไปเป็นอิสระ ดังนั้น จึงมี การจดั ตง้ั รฐั บาลชวั่ คราวโดยมเี จา้ รณฤทธเ์ิ ปน็ นายกรฐั มนตรคี นที่ ๑ และฮนุ เซนเปน็ นายก รัฐมนตรีคนท่ี ๒ ทั้งน้ีเพื่อเป็นการประนีประนอมระหว่างพรรคการเมืองใหญ่คือ พรรคซีพีพีกับพรรคฟุนซินเปกรัฐธรรมนูญใหม่ท่ีร่างขึ้นเสร็จส้ินและประกาศใช้เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน ก�ำหนดระบอบปกครองกัมพูชาให้เป็นแบบรัฐสภาที่มีกษัตริย์เป็น ประมขุ โดยสมเดจ็ พระนโรดมสหี นทุ รงยอมกลับมาครองราชบัลลงั กก์ ัมพูชาอีกคร้ังหน่ึง ชวี ติ ใหมท่ างการเมอื งของกมั พชู าถกู กำ� หนดใหด้ ำ� เนนิ ไปตามครรลองของหลกั นติ ธิ รรม โดยมหี ลกั การพนื้ ฐานสำ� คญั ดงั น้ี (๑) กำ� หนดใหร้ ฐั ธรรมนญู เปน็ กฎหมายสงู สดุ ของประเทศ (๒) คุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิข้ันพ้ืนฐานทางการเมืองต่าง ๆ (๓) เป็นระบอบเสรีประชาธิปไตยบนรากฐานของพหุนิยมทางการเมือง (๔) มีสถาบัน ตุลาการทีเ่ ป็นอิสระ (๕) ยืนยันความเปน็ เอกราช อธิปไตย ความเป็นกลาง และความ เปน็ อนั หนึ่งอนั เดยี วกันของชาติ 52

ราชอาณาจกั รกมั พูชา รัฐธรรมนูญใหม่ของกัมพูชาซึ่งร่างขึ้นในกรอบของข้อตกลงปารีสก�ำหนดหลัก การตา่ ง ๆ เหล่าน้ีไวช้ ัดเจน โดยยำ้� ในเร่ืองสทิ ธิของการเปน็ เจา้ ของทรพั ย์สนิ สว่ นบคุ คล สทิ ธขิ ้นั พ้ืนฐานอืน่ ๆ และระบบเศรษฐกจิ แบบตลาดเสรี ในด้านโครงสรา้ งทางการเมือง ก�ำหนดให้กัมพูชาปกครองโดยระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรัฐสภาที่มาจากการ เลอื กตัง้ ทกุ ๕ ปแี ละมีสมาชิกอย่างน้อย ๑๒๐ คน คณะรัฐมนตรีประกอบดว้ ยรฐั มนตรี อาวุโสจ�ำนวน ๖ คนดแู ลกิจการหลัก ๆ รฐั มนตรี ๑๒ คนและรฐั มนตรรี ะดับท่เี รยี กวา่ รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงอีกจำ� นวนหนงึ่ ส่วนการปกครองท้องถ่ิน มีการจัดระเบียบการปกครองแบ่งเป็นจังหวัด (province; khet) เทศบาลนคร (municipality) และอำ� เภอ (district; srok) ปจั จบุ นั (ค.ศ. ๒๐๑๕) กมั พชู าแบง่ ออกเป็น ๒๕ จงั หวัด ๒๖ เทศบาลนคร และ ๑๕๙ อำ� เภอ ภารกิจส�ำคัญของรัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกต้ัง คือ พัฒนาการปกครอง ระบอบเสรปี ระชาธปิ ไตยขึ้นในกมั พชู า บรู ณะฟื้นฟูและพฒั นาประเทศ และฟ้นื ฟูระบบ ตลาดเสรี แน่นอนว่าในสภาพท่ีบอบช้�ำจากสงครามท่ียืดเยื้อยาวนาน การด�ำเนินการ เพอื่ ใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายดงั กลา่ วนบั วา่ ยากยง่ิ และยงั มขี อ้ สงสยั ดว้ ยวา่ การพฒั นาระบบเสรี ประชาธปิ ไตยจะเปน็ ไปไดห้ รอื ไม่ ทสี่ ำ� คญั คอื กมั พชู าตอ้ งเผชญิ ปญั หาอปุ สรรคใหญห่ ลวง มากมาย เชน่ ความออ่ นแอดา้ นโครงสรา้ งพน้ื ฐานเพอื่ การพฒั นาเศรษฐกจิ ระบบกฎหมาย ทย่ี งั ออ่ นแอ โดยเฉพาะตอ้ งมกี ารปฏริ ปู ระบบยตุ ธิ รรมโดยเรว็ การขาดแรงงานฝมี อื ปญั หา การเมืองกัมพชู ายังไรเ้ สถยี รภาพเพราะมคี วามขดั แย้งสงู ปญั หาประการหลงั นนี้ บั วา่ สำ� คญั ทส่ี ดุ สง่ิ แรกทรี่ ฐั บาลตอ้ งเผชญิ คอื การจดั การ กับเขมรแดงที่ไม่เข้าร่วมวิถีทางการเมืองปรกติ ดังนั้น ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๔ รัฐบาลจึงประกาศให้เขมรแดงเป็นขบวนการนอกกฎหมาย อย่างไรก็ดี การสู้รบกับ เขมรแดงยงั คงดำ� เนนิ ตอ่ มาโดยทฝ่ี า่ ยรฐั บาลไมส่ ามารถเอาชนะไดโ้ ดยเดด็ ขาด การคกุ คาม ของเขมรแดงแม้อาจจะไม่ถึงขั้นที่จะโค่นล้มรัฐบาลได้ในขณะน้ัน แต่ก็เป็นภาระหนัก ส�ำหรับงบประมาณด้านความม่ันคงและเป็นเครื่องส่อแสดงถึงความไม่ปรกติสุขภายใน 53

สารานุกรมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซียน ประเทศ อย่างไรก็ดี ปัญหาความแตกแยกภายในของเขมรแดงเองที่กลายมาเป็น ประโยชน์ต่อฝ่ายรัฐบาลในท่ีสุด เริ่มต้ังแต่การท่ีเอียง ซารีน�ำก�ำลังเขมรแดงประมาณ ๓,๐๐๐ คน แยกตวั มาเขา้ กบั ฝา่ ยฮนุ เซนในเดอื นสงิ หาคม ค.ศ. ๑๙๙๖ ในเดอื นมถิ นุ ายน ปีต่อมา พล พตได้สัง่ ฆา่ ซอน เซน็ (Son Sen) และครอบครวั รวม ๑๔ คน แต่การกระท�ำ ของเขาครงั้ นกี้ ท็ ำ� ใหเ้ ขาถกู ยดึ อำ� นาจ นำ� ไปสกู่ ารสนิ้ อำ� นาจและสขุ ภาพเสอ่ื มโทรมจนสน้ิ ชวี ติ ลงในทสี่ ดุ ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๘ หลงั จากนนั้ จนถึงชว่ งปตี อ่ มา บคุ คลระดบั ผู้น�ำของเขมรแดงก็ได้เข้ามอบตัวกับรัฐบาลทั้งหมด นับเป็นการสิ้นสุดของขบวนการน้ี โดยสนิ้ เชิง แม้ปัญหาเขมรแดงจะหมดไป แต่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะระหว่างพรรคฟุนซินเปกกับพรรคซีพีพียังคงด�ำเนินต่อมา และเพิ่มความ ตึงเครียดย่ิงขึ้นตั้งแต่ช่วง ค.ศ. ๑๙๙๖ โดยมาถึงขั้นแตกหักในเดือนกรกฎาคมปีต่อมา ด้วยความหว่ันเกรงว่าเจ้ารณฤทธ์ิจะสมคบกับเขมรแดงท่ีหลงเหลืออยู่ในเวลานั้น ฝา่ ยฮนุ เซนจึงตัดสนิ ใจยดึ อ�ำนาจและท�ำให้เจ้ารณฤทธิต์ ้องหนอี อกนอกประเทศอกี ครัง้ สถานการณ์ในกัมพูชามีทีท่าจะหวนกลับไปสู่สงครามกลางเมืองครั้งใหม่ เม่ือมีทั้งการปะทะกันด้วยอาวุธและด้วยคารมระหว่างปรปักษ์ ๒ ฝ่ายเกือบตลอดปี ในตน้ ค.ศ. ๑๙๙๘ ฮนุ เซนยนื ยนั ทา่ ทแี ขง็ กรา้ ววา่ เจา้ รณฤทธทิ์ หี่ ลบหนอี อกนอกประเทศ ก่อนการยึดอ�ำนาจในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๗ จะต้องขึ้นศาลในข้อหาลักลอบ น�ำอาวธุ เข้ามาในราชอาณาจักรและลักลอบตดิ ต่อเจรจากับเขมรแดง ดังน้ัน เขาจะต้อง ถกู จับกุมทันทีท่ีเดนิ ทางกลับเขา้ มาในกมั พูชา ความรนุ แรงคร้ังใหมท่ ี่เกดิ ขึน้ น้ีท�ำใหห้ วั่นเกรงกันว่าการเลือกตั้งทกี่ ำ� หนดใหม้ ี ข้ึนใน ค.ศ. ๑๙๙๘ อาจต้องถูกระงับไป หรือมิฉะน้ันก็จะเป็นการเลือกต้ังโดยไม่มีการ แขง่ ขนั กนั อยา่ งเสรแี ละยตุ ธิ รรม นานาชาตทิ หี่ วน่ั วติ กเกย่ี วกบั เรอื่ งนจี้ งึ ไดพ้ ยายามกดดนั ฮนุ เซนด้วยการระงบั ความช่วยเหลือต่าง ๆ ท�ำให้ฮุน เซนต้องยอมรับแผนสนั ตภิ าพของ 54

ราชอาณาจกั รกัมพชู า ญป่ี นุ่ ซ่ึงเปน็ ชาตผิ ้ใู หค้ วามช่วยเหลอื รายสำ� คญั ในทส่ี ุด มสี าระสำ� คญั คอื ให้มกี ารหยุดยิง ใหก้ องกำ� ลงั ของเจา้ รณฤทธกิ์ ลบั เขา้ ไปเปน็ สว่ นหนงึ่ ของกองทพั กมั พชู าและยตุ กิ ารตดิ ตอ่ ใด ๆ กบั เขมรแดง ให้มีการพิจารณาไต่สวนเจ้ารณฤทธิใ์ นขณะทเ่ี จ้าตัวอยนู่ อกประเทศ และใหส้ มเดจ็ พระนโรดมสหี นทุ รงอภยั โทษภายหลงั การพจิ ารณาตดั สินความผิด ฮุน เซนยอมรับแผนของญ่ีปุ่นตามเง่ือนไขต่าง ๆ เหล่านี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๙๘ และจะยอมให้เจ้ารณฤทธกิ์ ลับมาเขา้ รว่ มการเลือกต้ังภายหลงั การพิจารณา ตัดสินคดีได้  จากน้ันในวันที่ ๔ มีนาคม ศาลทหารก็พิจารณาตัดสินจ�ำคุกเจ้ารณฤทธิ์ ๕ ปี ในข้อหาลักลอบน�ำอาวุธเข้ามาในราชอาณาจักร และอีก ๒ สัปดาห์ต่อมาเขาก็ ถกู ตดั สนิ จำ� คกุ ๓๐ ปแี ละปรบั อกี กวา่ ๕๐ ลา้ นดอลลารส์ หรฐั ในขอ้ หาสมคบกบั เขมรแดง ทเ่ี ป็นขบวนการนอกกฎหมาย แตห่ ลงั จากนัน้ สมเดจ็ พระนโรดมสีหนุก็โปรดให้อภยั โทษ เจ้ารณฤทธิ์ เพื่อให้เจ้ารณฤทธ์ิสามารถน�ำพรรคฟุนซินเปกเข้าแข่งขันในการเลือกตั้ง ซงึ่ จะมขี น้ึ การเตรียมการเลือกตั้งเริ่มมาต้ังแต่ต้นปี เมื่อรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบบัญชี รายชอ่ื คณะกรรมการเลอื กต้ังแหง่ ชาติ (National Election Committee) ท่เี สนอมา โดยคณะรัฐมนตรี จากน้ันในเดอื นมนี าคมรฐั สภาก็ลงมติใหค้ วามเห็นชอบให้มกี ารจัดตง้ั ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court)  ท้ัง ๒ องค์กรที่ได้จัดต้ังข้ึนน้ีจะเป็นกลไก สำ� คญั สว่ นหนงึ่ ในการจดั การเลอื กตงั้ อยา่ งเสรแี ละยตุ ธิ รรมตามการคาดหวงั ของประชาชน กมั พูชาและนานาชาติ ประชาชนกว่า ๕.๓ ล้านคน หรือประมาณร้อยละ ๙๗ ของผู้มีคุณสมบัติที่ จะมสี ทิ ธใิ นการลงคะแนนเสยี งเลอื กตง้ั ไดม้ าลงทะเบยี นเพอื่ มาใชส้ ทิ ธิ และเมอื่ ถงึ วนั เลอื ก ต้ังในวนั ท่ี ๒๖ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๘ ประมาณร้อยละ ๙๐ ของคนเหลา่ นกี้ ็ออกมาใช้ สิทธิของตน มีพรรคการเมืองถึง ๓๙ พรรคท่ีจดทะเบียนเพื่อลงแข่งขันในการเลือกต้ัง เพอื่ ชงิ ทน่ี ง่ั ในสภาผแู้ ทนราษฎรซงึ่ มที งั้ หมด ๑๒๒ ทนี่ งั่ ในครง้ั นี้ แตพ่ รรคการเมอื งทแี่ ขง่ ขนั 55

สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน กันจริง ๆ มีอยู่ ๓ พรรคเท่านั้น คือ พรรคซีพีพี พรรค ฟุนซินเปก และพรรคสมรังสี (Sam Rainsy Party) ของ สม รงั สี อดตี รัฐมนตรีคลังในช่วงของรฐั บาลผสมคร้งั แรก ทั้ง ๓ พรรคใหญ่มีแนวนโยบายในการหาเสียง คล้ายกัน เพียงแต่แตกต่างกัน ในการเน้นประเด็นต่าง ๆ เท่านั้น ประเด็นในการหาเสียงพอสรุปเป็นแนวหลัก ๆ ได้ ๔ ประการคือ (๑) เร่งฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (๒) ตอบสนองความตอ้ งการทางสงั คมโดยเฉพาะในดา้ นชวี ติ สม รังสี และความเป็นอยู่ (๓) ส่งเสริมสิทธิทางการเมือง และ (๔) ปกป้องเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพทางดินแดนของชาติ ผลการเลอื กตัง้ ปรากฏว่า พรรคซพี ีพไี ด้ ๖๔ ทน่ี งั่ พรรคฟุนซินเปกได้ ๔๓ ทน่ี ั่ง และพรรคสมรังสีได้ ๑๕ ที่นั่ง การเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและด้วย ความเรียบร้อย ไม่มีเหตุร้ายแรงใด ๆ อย่างท่ีหว่ันเกรงกันไว้ก่อนหน้าน้ี ความเห็นของ ผสู้ งั เกตการณจ์ ากนานาชาตกิ ร็ ะบวุ า่ เปน็ การเลอื กตง้ั ทบี่ รสิ ทุ ธยิ์ ตุ ธิ รรมในระดบั ทยี่ อมรบั ได้ มีการประท้วงคัดค้านผลการเลือกตั้งโดยพรรคฟุนซินเปกและพรรคสมรังสีซ่ึงก่อให้ เกิดความวุ่นวายอยู่ระยะหน่ึง ในที่สุดในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ก็มีการตกลงท่ี จะจัดต้ังรัฐบาลผสมขึ้นใหม่ระหว่างพรรคซีพีพีกับพรรคฟุนซินเปก โดยพรรคสมรังสีขอ อยู่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียว ฮุน เซนได้รับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ผู้เดียว เจ้ารณฤทธิ์ ยอมรบั ตำ� แหนง่ ประธานสภาผแู้ ทนราษฎร และเจยี ซมิ รบั ตำ� แหนง่ ประธานวฒุ สิ ภาทจี่ ะ จัดตงั้ ขึน้ เม่ือวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๘ รัฐสภากไ็ ด้ให้ความไว้วางใจแก่รัฐบาล ในการทจ่ี ะปกครองบรหิ ารประเทศต่อไป พฒั นาการทางการเมอื งกมั พชู าตงั้ แตป่ ลายทศวรรษ ๑๙๙๐ คอื “อำ� นาจนยิ ม” (authoritarianism) ภายใต้การครอบง�ำของพรรคซีพีพี ผู้ที่มีบทบาทโดดเด่นท่ีสุดของ พรรคน้ีและในการเมืองกัมพูชาโดยรวม ก็คือนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ซ่ึงอยู่ในอ�ำนาจมา 56

ราชอาณาจักรกัมพชู า ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๘๕  แม้ว่าโดยรูปแบบ ระบบการเมืองของกัมพูชาจะยังคงเป็น ประชาธปิ ไตยแบบรฐั สภา (parliamentary democracy) ทปี่ ระกอบดว้ ยพรรคการเมอื ง หลายพรรค แต่การท่ีฮุน เซนและพรรคซีพีพีเข้าควบคุมอ�ำนาจทางการเมืองในระบบน้ี อยา่ งเบด็ เสรจ็ ยง่ิ ขน้ึ ทกุ ทกี ป็ รากฏชดั ตง้ั แตก่ ารเลอื กตง้ั ทว่ั ไปใน ค.ศ. ๒๐๐๓ และ ๒๐๐๘ ในการเลอื กต้ัง ค.ศ. ๒๐๐๓ พรรคซีพีพีได้ ๗๓ ท่ีนั่งจากทั้งหมด ๑๒๓ ทนี่ ั่ง (ได้คะแนนเสียงร้อยละ ๔๗.๓ เพ่ิมข้ึนจากคร้ังท่ีแล้วซ่ึงได้คะแนนเสียงร้อยละ ๔๑.๔) พรรคสมรังสีได้ ๒๔ ที่นั่ง (ได้คะแนนเสียงร้อยละ ๒๑.๙ เพิ่มข้ึนจากครั้งที่แล้วซ่ึงได้ รอ้ ยละ ๑๔.๓) และพรรคฟนุ ซินเปกได้ ๒๖ ทนี่ งั่ (ไดค้ ะแนนเสียงร้อยละ ๒๐.๘ ลดลง จากครั้งท่ีแล้วซ่ึงได้ร้อยละ ๓๑.๗) พรรคอ่ืน ๆ ไม่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรจาก การเลอื กตง้ั ครง้ั นเ้ี ลย อยา่ งไรกด็ ี แมว้ า่ พรรคซพี พี จี ะไดท้ นี่ ง่ั มากกวา่ อกี ๒ พรรคพอควร แตก่ ย็ งั มจี ำ� นวนสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรไมเ่ พยี งพอสำ� หรบั การลงคะแนนเสยี งเลอื กนายก รัฐมนตรี เน่ืองจากจ�ำนวนที่นั่งท่ีได้ คือ ๗๓ ที่น่ังจาก ๑๒๓ ท่ีนั่ง ยังไม่ถึง ๒ ใน ๓ ของจ�ำนวนสมาชิกท้ังหมดตามทร่ี ฐั ธรรมนญู กำ� หนดไว้ ดังน้นั กว่าจะมกี ารจดั ตั้งรฐั บาล ใหม่ก็ล่วงถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๔ เมื่อพรรคซีพีพีสามารถบรรลุข้อตกลงกับ พรรคฟุนซนิ เปกได้ ในการเลอื กต้งั ครั้งต่อมาในเดอื นกรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๐๘ พรรคซพี พี ีชนะอย่าง ทว่ มทน้ คอื ได้ ๙๐ ท่ีน่ังจาก ๑๒๓ ที่นัง่ (ไดค้ ะแนนเสียงร้อยละ ๕๘.๑ เพิม่ ข้ึนจากคร้ัง ทแี่ ล้วท่ีไดร้ อ้ ยละ ๔๗.๓) พรรคสมรังสีได้ ๒๖ ท่นี ง่ั (ไดค้ ะแนนเสยี งรอ้ ยละ ๒๑.๙ เท่ากับ ครง้ั ทแ่ี ล้ว) พรรคสิทธิมนษุ ยชน [(Human Rights Party) ซึ่งตั้งขน้ึ เมอื่ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๐๗ โดยซอน ซแู บร์ต (Son Soubert) บุตรชายของซอน ซานน์] ได้ ๓ ท่ีนงั่ (ได้คะแนนเสียงร้อยละ ๖.๖๒) พรรคนโรดมรณฤทธิ์หรือเอ็นอาร์พี [(Norodom Ranariddh Party–NRP) ซึ่งพระนโรดมรณฤทธิ์แยกตัวจากพรรคฟุนซินเปกมาตั้ง พรรคใหมเ่ มื่อเดอื นพฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๖] ได้ ๒ ท่นี ่งั (ไดค้ ะแนนเสยี งรอ้ ยละ ๕.๖๒) และพรรคฟุนซินเปกได้ ๒ ท่ีนงั่ (ไดค้ ะแนนเสียงร้อยละ ๕.๐๕ ลดลงจากครง้ั ท่ีแล้วซงึ่ ได้ รอ้ ยละ ๒๐.๘) ส่วนพรรคอน่ื ๆ ไมไ่ ดท้ ่ีนั่งในสภาผ้แู ทนราษฎร 57

สารานกุ รมประวัติศาสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซยี น ผลการเลอื กตงั้ คร้งั น้ีทำ� ให้พรรคซีพพี ีได้คะแนนเสยี งเกิน ๒ ใน ๓ ของจ�ำนวน สมาชิกท้ังหมดในสภาผู้แทนราษฎร นอกจากน้ี รัฐบาลฮุน เซนยังแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใน ค.ศ. ๒๐๐๖ ลดจ�ำนวนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรในการลงมติไว้วางใจ (vote of confidence) จาก ๒ ใน ๓ มาเป็นเสียงข้างมากเด็ดขาด (absolute majority) ซึ่งส่งผลให้มีความจ�ำเป็นน้อยลงที่จะต้องอาศัยรัฐบาลผสมหรือการเจรจา ต่อรองกับพรรคเล็ก ๆ ต่อมาในการเลือกตั้งสภาคอมมูน (commune councils) หรอื สงั กัด (sangkat) เม่ือเดือนมถิ นุ ายน ค.ศ. ๒๐๑๒ พรรคซีพพี ไี ด้ ๑,๕๙๒ ทนี่ ่ังจาก ท้ังหมด ๑,๖๓๓ ท่ีน่ัง การครองท่ีนั่งอย่างเกือบเบ็ดเสร็จทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและ สภาทอ้ งถน่ิ แสดงใหเ้ หน็ อยา่ งเดน่ ชดั วา่ พรรคซพี พี ผี กู ขาดอำ� นาจทางการเมอื งในกมั พชู า โดยแท้และมีทที า่ ว่าระบบการเมอื งกำ� ลังจะกลายเปน็ ระบบพรรคเดยี ว อำ� นาจนยิ มทางการเมอื งในกมั พชู าสง่ ผลใหพ้ รรคซพี พี รี วบอ�ำนาจทงั้ ฝา่ ยบรหิ าร ฝา่ ยนติ บิ ญั ญตั ิ และควบคมุ ฝา่ ยตลุ าการไดด้ ว้ ย การเลอื กตง้ั ไมอ่ าจถอื ไดว้ า่ เปน็ อสิ ระและ โปร่งใส คณะกรรมการการเลือกต้ังแห่งชาติหรือเอ็นอีซี (National Election Committee–NEC) แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคนของรัฐบาล เพราะสมาชิกของคณะ กรรมการชดุ ปัจจุบันซ่งึ มี ๙ คนไดร้ บั การสรรหามาตามสัดสว่ นของพรรคท่ีได้รับคะแนน เสียงในสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกต้ังพรรคฝ่ายค้านไม่สามารถหาเสียงอย่างมี ประสิทธิผล ส่วนหน่ึงเพราะสื่อหลักโดยเฉพาะโทรทัศน์มีบริษัทหรือองค์การท่ีเก่ียวข้อง กับพรรคซพี ีพคี วบคุม และงบประมาณในการรณรงคห์ าเสียงของพรรคต่าง ๆ กแ็ ตกตา่ ง กันอยา่ งมาก เช่น ในการเลือกต้งั ทอ้ งถ่ินเมอื่ เดือนมถิ นุ ายน ค.ศ. ๒๐๑๒ พรรคซพี ีพใี ช้ จา่ ยเงนิ ในการหาเสยี งโดยเฉลย่ี ๙,๐๐๐ ดอลลารส์ หรฐั ตอ่ ทอ้ งถนิ่ ขณะทพี่ รรคสมรงั สใี ช้ เงินหาเสียงโดยเฉล่ีย ๑,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ พรรคสิทธมิ นุษยชน ๓๐๐ ดอลลารส์ หรฐั พรรคนโรดมรณฤทธิ์ ๒๐๐ ดอลลารส์ หรฐั และพรรคฟนุ ซนิ เปกตำ่� กวา่ ๒๐๐ ดอลลารส์ หรฐั ใน ค.ศ. ๒๐๑๒ ก่อนมกี ารเลือกตั้งท่ัวไปในปตี อ่ มา พรรคสมรงั สกี บั พรรคสทิ ธิ มนุษยชนรวมกันเป็นพรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชาหรือซีเอ็นอาร์พี [(Cambodia National Rescue Party–CNRP) ซึง่ สือ่ มวลชนไทยมกั เรียกว่า “พรรคกู้ชาต”ิ ] เพื่อให้ 58

ราชอาณาจกั รกัมพูชา เสียงของพรรคฝ่ายค้านเป็นกลุ่มก้อนมากข้ึน น่ันคือ ไม่ให้เสียงแตกเพราะแย่งคะแนน เสียงกนั เอง ในการเลือกต้งั ทั่วไปเม่อื วนั ท่ี ๒๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๓ มพี รรคการเมอื ง รวมท้ังสิ้น ๘ พรรคลงแข่งขัน มีการคาดหมายกันไว้ก่อนหน้าน้ีว่า พรรคซีพีพีซึ่ง ไดเ้ ปรยี บทกุ ดา้ น จะไดร้ บั ชยั ชนะอยา่ งทว่ มทน้ อกี ครงั้ แตผ่ ลการเลอื กตงั้ ผดิ ความคาดหมาย กล่าวคือ แม้ว่าพรรคซีพีพียังได้ที่นั่งมากท่ีสุด แต่จ�ำนวนท่ีนั่งก็ลดลงอย่างมาก คือ จาก ๙๐ ท่ีนงั่ ในการเลอื กตงั้ ทั่วไปครัง้ กอ่ นมาเป็น ๖๘ ทนี่ ่ัง ในขณะที่พรรคซีเอน็ อาร์พี ไดท้ ี่น่งั เพมิ่ เปน็ ๕๕ ท่ีนง่ั คือเพิม่ ข้ึนถงึ ๒๖ ทนี่ ่ัง สว่ นพรรคอืน่ ๆ รวมท้ังพรรคฟนุ ซนิ เปก และพรรคชาตินิยม (Nationalist Party) หรือพรรคนโรดมรณฤทธ์เิ ดมิ ไม่มีพรรคใดไดท้ ี่ นั่งในสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกต้ังครั้งน้ี ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. ๒๐๑๔ พรรคชาตินิยมไดร้ วมกบั พรรคซเี อ็นอาร์พี พรรคฝา่ ยคา้ นกลา่ วหาวา่ หากไมม่ กี ารทจุ รติ ในการเลอื กตง้ั ฝา่ ยคา้ นคงจะเปน็ ฝ่ายชนะการเลือกต้ังครั้งนี้ หลังการเลือกต้ังจึงมีการเดินขบวนและชุมนุมประท้วงอย่าง ต่อเนือ่ งถงึ ๑ ปีเต็มซง่ึ เป็นท้งั การประท้วงผลการเลอื กตง้ั และการเรียกรอ้ งใหเ้ พมิ่ ค่าแรง และความไม่พอใจต่ออิทธิพลของเวียดนามในกัมพูชา พรรคฝ่ายค้านไม่ยอมเข้าร่วม ประชมุ รฐั สภา ในเดอื นมกราคม ค.ศ. ๒๐๑๔ รฐั บาลใชค้ วามรนุ แรงปราบปรามผปู้ ระทว้ ง ทำ� ใหม้ ผี เู้ สยี ชวี ติ ๔ คน อยา่ งไรกด็ ี พรรคซเี อน็ อารพ์ ยี อมเขา้ รว่ มประชมุ สภาผแู้ ทนราษฎร หลงั มกี ารพบปะและตกลงกบั ฝา่ ยรฐั บาลในวนั ที่ ๒๒ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ สาระสำ� คญั ในการตกลงครัง้ นี้ คอื แบง่ การเป็นผู้น�ำในสภาแห่งนี้ด้วยการใหส้ มาชิกพรรคซอี าร์เอน็ พี เป็นรองประธานคนที่ ๑ และสมาชิกพรรคซีพีพเี ป็นรองประธานคนท่ี ๒ พรรคฝ่ายคา้ น จะเป็นประธานคณะกรรมาธิการ ๕ ชุดจากทั้งหมด ๑๐ ชุด รวมท้ังคณะกรรมาธิการ ต่อต้านการคอร์รัปชัน (Anti-corruption Commission) ที่จัดต้ังข้ึนใหม่ สม รังสี ทไี่ มร่ ว่ มในการเลอื กตง้ั เพราะไมส่ ามารถกลบั จากตา่ งประเทศไดท้ นั สมคั รรบั เลอื กตง้ั ตาม ก�ำหนดได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง แห่งชาติ การตกลงครั้งน้ีมีผลให้สมาชิกพรรคฝ่ายค้านท่ีได้รับการเลือกตั้งสาบานตน เขา้ ท�ำหน้าทใี่ นสภาผแู้ ทนราษฎรเม่ือวันที่ ๕ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ 59

สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซยี น ผลการเลือกตัง้ ทว่ั ไปใน ค.ศ. ๒๐๑๓ แสดงให้เหน็ ความไม่พอใจของประชาชน ท่มี ีต่ออำ� นาจนิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะต่อฮนุ เซน นายกรฐั มนตรีทอี่ ยใู่ นตำ� แหน่งนม้ี า อย่างยาวนาน นอกจากนั้น แม้เศรษฐกิจของกัมพูชาจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วใน ทศวรรษกอ่ นหนา้ นน้ั แตร่ ายไดต้ อ่ หวั ยงั ถอื วา่ ตำ่� มากเมอื่ เทยี บกบั ชาตเิ พอ่ื นบา้ นสว่ นมาก อตุ สาหกรรมสำ� คญั ของกมั พชู า คอื อตุ สาหกรรมสง่ิ ทอและการทอ่ งเทย่ี ว ขณะทปี่ ระชาชน สว่ นใหญย่ งั ประกอบอาชพี เกษตรกรรมอยใู่ นชนบท และมฐี านะยากจน แมจ้ ะมกี ารเลอื ก ต้ังทั่วไปอย่างต่อเน่ืองมาต้ังแต่ ค.ศ. ๑๙๙๓ แต่การเมืองในกัมพูชาก็ยังไม่เป็นปรกติ จนกระทงั่ สนิ้ ทศวรรษ ๑๙๙๐ และเขา้ รว่ มเป็นสมาชิกอาเซียนใน ค.ศ. ๑๙๙๙ ในชว่ ง ค.ศ. ๒๐๐๔-๒๐๐๗ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (gross domestic product–GDP) ของกมั พชู ามอี ตั ราการเตบิ โตสงู ถงึ กวา่ รอ้ ยละ ๑๐ แตก่ ไ็ ดร้ บั ผลกระทบ สำ� คญั ในชว่ งวกิ ฤตเิ ศรษฐกจิ ค.ศ. ๒๐๐๘-๒๐๐๙ จากนนั้ เศรษฐกจิ กเ็ รมิ่ ฟน้ื ตวั แตก่ มั พชู า ยงั อาศัยความชว่ ยเหลือจากตา่ งประเทศอยูอ่ ย่างมาก ปญั หาสำ� คัญในกัมพชู า คอื ความยากจน คอร์รัปชัน และการใชอ้ �ำนาจนิยม ของรัฐบาล ปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นในกรณีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างนายทุนกับ เกษตรกรซ่ึงสร้างความไม่พอใจให้ประชาชนอย่างมาก ในสื่อมวลชนจะปรากฏรายงาน การปะทะกันระหว่างชุมชนกับนักลงทุนท่ีได้รับสัมปทานการใช้ที่ดินจากรัฐ ปัจจุบันนัก ลงทุนทง้ั ท่ีเปน็ ชาวกัมพูชาและชาวตา่ งชาติครอบครองทดี่ ินในลกั ษณะนเี้ ปน็ จ�ำนวนมาก (ขอ้ มลู จากบางแหลง่ ระบวุ า่ มปี ระมาณ ๒๕ ลา้ นไรห่ รอื กวา่ รอ้ ยละ ๒๐ ของทดี่ นิ ทง้ั หมด ในประเทศ) ในขณะท่ีรัฐบาลให้การอุปถัมภ์แก่นักลงทุนต่าง ๆ อย่างมากนั้น รัฐบาลก็ ยงั ไม่สามารถสนองความจ�ำเปน็ พนื้ ฐานของประชาชน ไมว่ า่ ในเรือ่ งการจัดหาน�้ำสะอาด ท่ีอยู่อาศัยที่พอเพียงและเหมาะสม บริการด้านสาธารณสุข ความยุติธรรมทางสังคม การศกึ ษา และอื่น ๆ. (ธรี ะ นุชเปี่ยม) 60

ราชอาณาจักรกัมพูชา บรรณานกุ รม Chandler, David P. A History of Cambodia. Second edition. Chiang Mai: Silkworm Books, 1993. . Facing the Cambodian Past: Selected essays 1971-1994. Chiang Mai: Silkworm Books, 1996. Edward, Penny. Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945. Chiang Mai: Silkworm Books, 2007. Osborne, Milton. The French Presence in Cochinchina and Cambodia: Rule and response (1859-1905). Ithaca, New York: Cornell University Press, 1969. . The Mekong: Turbulent Past, Uncertain future. New York: Grove Press, 2000. 61



สาธารณรฐั อินโดนีเซยี สาธารณรฐั อนิ โดนเี ซยี Republic of Indonesia สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพ้ืน สมทุ ร (Maritime Southeast Asia) มพี ื้นทีก่ วา้ งใหญ่ประกอบดว้ ยหมู่เกาะจำ� นวนมาก อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก อินโดนีเซียมีประเทศเพื่อนบ้านท่ี รายล้อม คือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และออสเตรเลีย ด้านตะวันตกติดต่อกับ อาณาเขตของอนิ เดยี ในทะเลอนั ดามนั และหมเู่ กาะนโิ คบาร์ การทอี่ นิ โดนเี ซยี เปน็ ประเทศ ใหญ่ท่ีมีประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับการมีรากฐาน ด้านอารยธรรมท่ีเก่าแก่ มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากร และปัจจุบันมีพัฒนาการ ทางการเมืองที่ก้าวหน้าในแนวทางประชาธิปไตย ท�ำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ได้รับ ความสนใจและมคี วามสำ� คัญมากท่สี ุดประเทศหนง่ึ ในภมู ภิ าคนี้ อินโดนีเซียมเี นอ้ื ที่ ๕,๑๙๓,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร เปน็ แผน่ ดิน ๒,๐๒๗,๐๘๗ ตารางกโิ ลเมตร พ้ืนท่ีทะเล ๓,๑๖๖,๑๖๓ ตารางกโิ ลเมตร เป็นประเทศหมูเ่ กาะทม่ี ขี นาด ใหญท่ สี่ ดุ ในโลก ประกอบดว้ ยเกาะใหญน่ อ้ ยจำ� นวน ๑๗,๕๐๘ เกาะ กระจายอยตู่ ามแนว เสน้ ศนู ย์สูตร ในจำ� นวนท้ังหมดน้ี มปี ระมาณ ๖,๐๐๐ เกาะทไี่ มม่ ีผู้คนอาศยั อยู่ กลมุ่ เกาะ เหล่านแ้ี บ่งออกเปน็ ๔ ส่วน คอื (๑) หมเู่ กาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา (Java) 63

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพ่อื นบา้ นในอาเซียน สุมาตรา (Sumatra) หรือซูมาเตอรา (Sumatera) บอร์เนียว [(Borneo) หรือ กาลีมันตัน (Kalimantan)] และซูลาเวซี (Sulawesi) (๒) หมู่เกาะซนุ ดาน้อย ประกอบ ด้วย เกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี (Bali) ล็อมบ็อก (Lombok) ซุมบาวา (Sumbawa) ซุมบา (Sumba) ฟลอเรส (Flores) และติมอร์ บารตั (Timor Barat) หรอื ติมอรต์ ะวนั ตก (West Timor) (๓) หมูเ่ กาะมาลูกู (Maluku) หรือโมลุกกะ (Moluccas) หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ ต้ังอยู่ระหว่างซูลาเวซีกับปาปัว [Papua เดิมเรียกว่า อีเรียนจายา (Irian Jaya)] บนเกาะนิวกีนี (New Guinea) (๔) อเี รยี นจายา อยทู่ างทศิ ตะวนั ตกของปาปวั นวิ กนิ ี (Papua New Guinea) อนิ โดนเี ซยี มพี รมแดนท้งั หมดยาว ๒,๘๓๐ กิโลเมตร โดยมพี รมแดนตดิ ต่อกบั ประเทศตมิ อร์-เลสเต ๒๒๘ กโิ ลเมตร มาเลเซยี ๑,๗๘๒ กโิ ลเมตร และปาปัวนวิ กนิ ี ๘๒๐ กิโลเมตร มีเกาะใหญ่ ทส่ี ุด ๕ เกาะ ท่ีอินโดนเี ซยี เปน็ เจา้ ของท้ังหมด ๓ เกาะ คอื เกาะชวา เกาะสมุ าตรา และ เกาะซลู าเวซี สว่ นอกี ๒ เกาะ คอื เกาะบอรเ์ นยี ว อนิ โดนเี ซยี เปน็ เจา้ ของสว่ นใหญ่ ยกเวน้ ดินแดนท่เี ป็นประเทศบรูไน และรัฐซาราวะกห์ รอื ซาราวัก (Sarawak) กับรัฐซาบะฮ์หรือ ซาบาฮ์ (Sabah) ของมาเลเซยี อกี เกาะหนง่ึ คือ เกาะนวิ กนิ ี อนิ โดนีเซียเปน็ เจา้ ของส่วน ที่เรียกวา่ นวิ กินตี ะวนั ตก สว่ นทางทศิ ตะวันออกเปน็ ของปาปวั นิวกนิ ี ภูเขาไฟปะททุ เี่ กาะกรากะเตา เมื่อ ค.ศ. ๒๐๐๘ 64

สาธารณรัฐอนิ โดนีเซยี อินโดนีเซียตั้งอยู่ในเขตท่ีเรียกว่า “วงแหวนไฟ” (Ring of Fire) ซ่ึงเป็นเขต รอยต่อของเปลือกโลกครอบคลุมพื้นท่ีหลายประเทศที่ต้ังอยู่ ๒ ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อินโดนเี ซียจึงประกอบด้วยภเู ขาไฟจ�ำนวนมาก และปจั จบุ ันมภี ูเขาไฟมีพลงั ถึง ๑๕๐ ลูก ด้วยเหตุน้ี อินโดนีเซยี จงึ อยใู่ นเขตทีเ่ สี่ยงต่อภัยพิบตั ิจากการเปล่ยี นแปลงทางธรณวี ทิ ยา เหตกุ ารณแ์ ผน่ ดนิ ไหวและภเู ขาไฟระเบดิ ครง้ั ใหญ่ ๆ มกั เกดิ ขนึ้ ในบรเิ วณน้ี เชน่ การปะทุ ของภูเขาไฟครั้งรุนแรงที่สุดท่ีเกาะกรากะเตา (Krakatau) หรือกรากะตัว (Krakatoa) เมอ่ื วนั ที่ ๒๖-๒๘ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๓ แรงระเบิดทำ� ให้เกดิ คลืน่ สนึ ามิสูงกว่า ๓๐ เมตร มปี ระชากรบนเกาะชวาและเกาะสมุ าตราเสยี ชีวิตถึง ๓๖,๐๐๐ คน เถ้าถ่าน ฝุ่น และ ควันพงุ่ สงู ถึง ๒๗ กิโลเมตร เสยี งระเบิดไดย้ ินไกลถงึ ประเทศออสเตรเลีย ฟิลิปปนิ ส์ และ ญ่ีปนุ่ ใน ค.ศ. ๒๐๐๔ เกดิ แผ่นดนิ ไหวครง้ั ใหญท่ ี่สง่ ผลให้เกิดการเคลื่อนตัวของเปลือก โลก ท�ำให้เกิดคล่ืนสึนามิซ่ึงได้คร่าชีวิตคนอินโดนีเซียท่ีอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเกาะ สุมาตราไปเกือบ ๑๗๐,๐๐๐ คน ใน ค.ศ. ๒๐๐๖ เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ท่ีเมือง ยอกยาการต์ า (Yogyakarta) และใน ค.ศ. ๒๐๑๐ เกดิ การปะทคุ รงั้ ใหญข่ องภเู ขาไฟเมอราปี (Merapi) เถ้าถา่ น ฝุ่น และควันพงุ่ สงู ๒ กโิ ลเมตร และตกลงสหู่ มู่บา้ นบรเิ วณเชิงเขาไกล ถึง ๘ กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต ๓๐๔ คน ต้องอพยพผู้คนออกจากเมืองยอกยาการ์ตาถึง ๕๐,๐๐๐ คน  อย่างไรก็ตาม เถ้าภูเขาไฟเหล่านี้อุดมด้วยแร่ธาตุที่จ�ำเป็นต่อพืช ท�ำให้ พน้ื ท่ีในเกาะชวาและบาหลอี ดุ มสมบูรณเ์ หมาะแก่การเพาะปลกู ลักษณะภมู ิอากาศเขตรอ้ นและภมู อิ ากาศแถบศูนยส์ ตู ร ทำ� ใหอ้ นิ โดนเี ซยี เปน็ ประเทศที่มคี วามหลากหลายทางชีวภาพเปน็ อันดบั ๒ รองจากบราซลิ   และยังปกคลุม ด้วยพื้นที่ป่ากว่าร้อยละ ๖๐ ของประเทศ พ้ืนท่ีกว่าคร่ึงหนึ่งของอินโดนีเซียอุดมด้วย ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ส่งผลให้อินโดนีเซียได้เปรียบในการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ พัฒนาประเทศ แต่เนื่องจากขาดการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ กอปรกับ ประชากรทีเ่ พ่ิมข้นึ อย่างรวดเร็ว ท�ำใหเ้ กดิ ปัญหาต่าง ๆ เช่น ท่ดี นิ ท�ำกนิ ความยากจน ปญั หาสงั คม และสง่ิ แวดลอ้ ม มกี ารเผาทำ� ลายพน้ื ทปี่ า่ เพม่ิ ขน้ึ เนอื่ งจากประชาชนบกุ รกุ ปา่ เพอ่ื เปน็ ทอี่ ยอู่ าศยั และทำ� การเกษตร การทำ� ลายพน้ื ทม่ี ผี ลกระทบตอ่ ระบบนเิ วศปา่ และ ทำ� ใหส้ ัตวป์ า่ จำ� นวนมากไมม่ ที ีอ่ ย่อู าศยั หรอื ล้มตายไป บางชนิดถงึ กับสญู พนั ธ์ไุ ปกม็ ี 65

สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพอ่ื นบ้านในอาเซียน อินโดนีเซียไม่เพียงแต่เป็นประเทศหมู่เกาะท่ีใหญ่ท่ีสุดในโลกเท่าน้ัน แต่ยังมี ประชากรมากถงึ ๒๕๑,๑๖๐,๑๐๐ ล้านคน (ค.ศ. ๒๐๑๔) ประกอบด้วยกลุ่มชาติพนั ธ์ุ กว่า ๓๐๐ กลุ่ม กลุ่มใหญ่ท่ีสุด คือ ชวา (ประมาณร้อยละ ๔๒ ของจ�ำนวนประชากร ท้ังหมด) รองลงมาคือ ซุนดา มลายู และมาดรู า  บริเวณที่มีประชากรอาศยั หนาแนน่ ทสี่ ดุ คอื เกาะชวา ซง่ึ มกี ารแบง่ เขตวฒั นธรรมหลกั เปน็ ๒ กลมุ่ คอื วฒั นธรรมชวา (บรเิ วณ ชวากลางและชวาตะวันออก) กับวัฒนธรรมซุนดา (บริเวณชวาตะวันตก) ขณะที่กลุ่ม เกาะอนื่ ๆ ประกอบด้วยเชือ้ ชาติและเผ่าพันธทุ์ ี่หลากหลาย แตล่ ะกล่มุ ตา่ งมีมรดกทาง วัฒนธรรมและการสืบทอดลักษณะทางสังคมของตนเอง ซ่ึงก่อให้เกิดความหลากหลาย ทางวฒั นธรรมดว้ ย ชวาเปน็ กลมุ่ ประชากรขนาดใหญแ่ ละเปน็ วฒั นธรรมทเ่ี กา่ แกข่ องหมู่ เกาะแห่งนี้ ท�ำให้ในช่วงการสร้างกระแสชาตินิยมอินโดนีเซียเพ่ือต่อสู้กับระบอบ อาณานิคม ชาวอินโดนีเซียได้น�ำวัฒนธรรมชวามาเป็นฐานรากของการสร้างวัฒนธรรม แห่งชาติ ปัจจุบันวัฒนธรรมชวาจึงกลายเป็นรากฐานส�ำคัญของวัฒนธรรมอินโดนีเซีย ประชากรประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ จ�ำนวนมาก ท�ำให้อินโดนีเซียมีภาษาถิ่น มากกวา่ ๗๐๐ ภาษา สว่ นใหญ่อย่ใู นตระกลู ภาษาออสโตรนเี ซยี น ภาษาราชการทใี่ ชก้ ัน อยใู่ นปจั จบุ นั คอื ภาษาอนิ โดนเี ซยี (Bahasa Indonesia) ทพ่ี ฒั นามาจากกลมุ่ ภาษามลายู หลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรร์ ะบวุ า่ ภาษามลายโู บราณใชม้ าตงั้ แตส่ มยั ศรวี ชิ ยั (Srivijaya) ตอ่ มาใช้เป็นภาษาทางการค้ากนั อยา่ งแพร่หลายในรัฐชายฝั่งทะเลของสมุ าตรา มะละกา หรอื เมอลากา (Malacca; Melaka) และชวา ในสมัยอาณานคิ ม เนเธอรแ์ ลนดไ์ ดบ้ รรจุ ภาษามลายูเปน็ ส่วนหน่งึ ของหลักสตู รการเรยี นการสอนในโรงเรียน จึงท�ำใหภ้ าษามลายู กลายเป็นภาษากลางที่ผู้คนจากต่างชาติพันธุ์และวัฒนธรรมใช้ในการส่ือสาร จนกระท่ัง ในวนั ที่ ๒๘ ตลุ าคม ค.ศ. ๑๙๒๘ ทป่ี ระชมุ เยาวชนแหง่ ชาตอิ นิ โดนเี ซยี ไดร้ ว่ มกนั ประกาศ ปฏิญญาท่ีจะสถาปนาประเทศอินโดนีเซีย โดยยึดหลักการส�ำคัญท่ีว่า “ชาติเดียวกัน ภาษาเดยี วกัน และบ้านเกิดเมอื งนอนเดียวกนั ” (satu bangsa, satu bahasa, satu tanah-air_one nation, one-language, one homeland) ท�ำให้ภาษามลายู กลายเป็นภาษาประจำ� ชาติ และเปลี่ยนมาเรียกว่า “ภาษาอนิ โดนเี ซยี ” นับแตน่ น้ั มา 66

สาธารณรัฐอนิ โดนเี ซยี อินโดนีเซียเป็นประเทศท่ีมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรม มากที่สุดชาติหน่ึง อีกทงั้ ยงั เป็นประเทศทม่ี ปี ระชากรมากเป็นอนั ดบั ๔ ของโลก รองจาก จีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ท�ำให้ชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาและความเชื่อหลาก หลาย อีกทั้งการเป็นศูนย์กลางการค้าท่ีส�ำคัญในอดีตและอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักร ตา่ ง ๆ ในประวตั ศิ าสตร์ ทำ� ให้ดินแดนแหง่ น้ีไดร้ ับอิทธพิ ลทางวฒั นธรรมจากภายนอกอยู่ ตลอดเวลา ในรัฐธรรมนูญได้ประกาศศาสนาทางการไว้ถึง ๖ ศาสนา คอื อิสลาม คริสต์ นกิ ายโปรเตสแตนต์ ครสิ ตน์ กิ ายโรมนั คาทอลกิ ฮนิ ดู พทุ ธ และขงจอ๊ื ประชากรสว่ นใหญ่ นบั ถือศาสนาอสิ ลาม แม้จะมีประชากรมุสลิมมากท่สี ดุ ในโลก แตส่ าธารณรฐั อินโดนีเซีย ไม่ได้ประกาศตนเป็น “รัฐอิสลาม” อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมของ อนิ โดนเี ซยี ผกู พนั อยกู่ บั อทิ ธพิ ลของศาสนาอสิ ลามเปน็ สว่ นใหญ่ สว่ นศาสนาทเ่ี กา่ แกท่ ส่ี ดุ ในหมู่เกาะคือ ศาสนาฮินดู แม้ในปัจจุบันจะไม่ใช่ความเชื่อหลักของคนในชาติ แต่ ประชากรสว่ นใหญใ่ นเกาะบาหลยี งั คงรกั ษาความเชอ่ื และสบื สานพธิ กี รรมตา่ ง ๆ ไวอ้ ยา่ ง งดงาม ในปัจจบุ นั เกาะบาหลกี ลายเปน็ สถานท่ีท่องเที่ยวทีด่ งึ ดูดนกั ท่องเทย่ี วจากนานา ประเทศเขา้ มาดม่ื ด่ำ� กับเสน่หว์ ฒั นธรรมฮินดูอยา่ งต่อเน่อื ง อิทธพิ ลทางศาสนาเหล่านไี้ ด้ สง่ ผลต่อการสรา้ งรูปแบบเฉพาะทางวฒั นธรรมผา่ นศลิ ปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏศลิ ป์ ดนตรี ศลิ ปะการแสดง วรรณคดี รวมถงึ การแตง่ กาย ในส่วนวัฒนธรรมด้านอาหาร ของอินโดนีเซียก็แสดงลักษณะเฉพาะ ตุมเปง็ ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายเช่นกัน อาหารอินโดนีเซียมีความแตกต่างไป ตามสังคมและวฒั นธรรมพ้นื ถนิ่ อาหาร ซง่ึ เปน็ ทน่ี ยิ ม คอื ขา้ วผดั (nasi goreng) สลัดผัก (gado gado) สะเต๊ะ (sate) และซุปซาโต (sato) นอกจากน้ี ยังมี 67

สารานกุ รมประวัติศาสตรป์ ระเทศเพือ่ นบา้ นในอาเซยี น อาหารพื้นถิ่นของแต่ละเกาะซ่ึงมีลักษณะเฉพาะของตน อาหารจานหลักที่ส�ำคัญใน วฒั นธรรมชวาอกี อยา่ ง คอื ตมุ เปง็ (Tumpeng) ซง่ึ ไดร้ บั การประกาศใหเ้ ปน็ อาหารประจำ� ชาติใน ค.ศ. ๒๐๑๔ “ตุมเป็ง” เป็นอาหารดั้งเดิมของคนชวา ซุนดา และมาดูรา เป็น อาหารประเภทขา้ วทพ่ี นู สงู เปน็ รปู กรวย (คลา้ ยกบั ภเู ขา) โดยใชก้ รวยจากใบไผห่ รอื ใบตอง เปน็ แมพ่ มิ พ ์ มเี ครอื่ งเคยี งทรี่ ายลอ้ มประกอบดว้ ย เนอ้ื สตั ว์ ผกั และอาหารทะเล ลกั ษณะ ของอาหารจานนี้บ่งบอกถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเกาะชวาท่ีเต็มไปด้วยภูเขาและ ภูเขาไฟ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ศักด์ิสิทธิ์และที่อยู่ของบรรพบุรุษและเทพเจ้า ดังนั้น ชาวอินโดนีเซียจึงท�ำอาหารจานนี้เพื่อเฉลิมฉลองและขอบคุณเทพเจ้าส�ำหรับ ผลผลติ ทอี่ ดุ มสมบรู ณ ์ หลายเมอื งในอนิ โดนเี ซยี เชน่ ยอกยาการต์ า ใชต้ มุ เปง็ ในการฉลอง วันชาติของอินโดนีเซียด้วย โดยเป็นการสวดเพื่อขอความปลอดภัยและสุขสงบให้แก่ ประเทศ ด้านการปกครอง อินโดนีเซียมีการปกครองระบอบ “สาธารณรัฐ” ที่มีการ เลอื กตงั้ ตามระบบรฐั สภาและมปี ระธานาธบิ ดเี ปน็ ผนู้ ำ� สงู สดุ เมอื งหลวง คอื กรงุ จาการต์ า (Jakarta) โครงสรา้ งการบรหิ ารของอนิ โดนเี ซยี แบง่ เปน็ ๓๓ จงั หวดั (province) และเขต ปเแมตกือล่ คงะรแจอบงั ง่งหพอวอิเดั ศกแษเบปง่ ็น๕อตอ�ำเกบขเปตล็น(แเsขตuต่bลdะ(rจiesังgtrหeicnวtcัดsi_มeksีรe_­ะkcบaaบbmกuapาtรaaบtneร)nิหแ)าลแระลแจะลาเะมกนอืตงิ�ำตบิบ(cลัญiแtiญบes่ังต_เิขปkอo็นงtหaตม)นู่บจเ้าาอนกง (villages-desa) ซ่งึ กลา่ วได้ว่า ระดบั เขตและเมืองเป็นกลไกส�ำคญั ในการบริหารทอ้ งถ่ิน ท�ำหน้าที่จัดสรรสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ แก่ประชาชน อินโดนีเซียมีเมือง ขนาดใหญ่ ๕ เมอื ง คอื จาการ์ตา ซรู าบายา (Surabaya) บนั ดงุ (Bandung) เซอมารัง (Semarang) และเมดนั (Medan) สเี่ มอื งแรกตง้ั อยใู่ นเกาะชวา สว่ นเมอื งเมดนั อยใู่ นเกาะ สุมาตรา การปกครองระดับหม่บู ้านมอี ทิ ธพิ ลต่อชวี ิตประจำ� วันของประชาชนมากทส่ี ุด เขตปกครองพเิ ศษ ๕ เขต ประกอบดว้ ย อาเจะฮ์ (Aceh) จาการ์ตา ยอกยา การ์ตา ปาปวั และปาปัวบารัตหรือปาปัวตะวันตก เขตเหลา่ นจี้ ัดการบริหารเขตของตน เป็นอิสระจากรัฐบาลกลาง เช่น รัฐบาลอาเจะฮ์สามารถประกาศใช้กฎหมายเฉพาะเขต 68

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ของตนโดยนำ� กฎหมายอิสลาม (Shari’ah) มาใชใ้ น ค.ศ. ๒๐๐๓ ส่วนยอกยาการก์ าตา ได้รับสถานะเป็นเขตปกครองพิเศษเพราะให้ความร่วมมือในสงครามปฏิวัติอินโดนีเซีย (ค.ศ. ๑๙๔๕–๑๙๔๙) และยังเปน็ ดินแดนที่มสี ลุ ตา่ นปกครองมายาวนานต้ังแตก่ อ่ นสมยั อาณานิคม ในเขตน้ีจึงมีสุลต่านปกครองและมีต�ำแหน่งข้าหลวงที่มาจากการเลือกตั้ง แต่เน่ืองจากสุลต่านองค์ปัจจุบันทรงได้รับเลือกตั้งเป็นข้าหลวง จึงด�ำรงต�ำแหน่งทั้ง ๒ ต�ำแหน่งพร้อมกัน ปาปัวตะวันตกได้รับสถานะพิเศษน้ีใน ค.ศ. ๒๐๐๑ เพราะเคย มีประวัติการเคลื่อนไหวท่ีต้องการแยกดินแดน รัฐบาลกลางจึงให้สถานะพิเศษเพ่ือจูงใจ ใหช้ าวปาปวั ยอมอยภู่ ายใตก้ ารปกครองของอนิ โดนเี ซยี ตอ่ ไป และจาการต์ าในฐานะทเี่ ปน็ เมอื งหลวงของประเทศ ตง้ั แตย่ คุ กอ่ นประวตั ศิ าสตร์ พบหลกั ฐานวา่ พวกโฮโมอเิ รก็ ตสั (Homo Erectus) หรือท่ีเรียกกันว่า มนุษย์ชวา (Java man) อาศัยอยู่บนเกาะชวาในบริเวณหมู่เกาะ อินโดนีเซียมาต้ังแตก่ ่อน ๕๐๐,๐๐๐ ปมี าแลว้ หลังจากนน้ั ก็มีมนษุ ยก์ ลุม่ ออสโตรนเี ซีย (Austronesian) และเมลานเี ซยี (Melanesian) เข้ามาต้งั ถิ่นฐาน ประชากรเหล่าน้รี ู้จัก การทำ� นาดำ� (wet rice cultivation) และกลา่ วไดว้ า่ เกษตรกรรมเปน็ ปจั จยั สำ� คญั ทท่ี ำ� ให้ เกิดชุมชน ผนวกกับท�ำเลท่ีตั้งใกล้ชายฝั่งทะเลท�ำให้รัฐและอาณาจักรต่าง ๆ ในแถบนี้ เป็นตัวกลางซื้อขายแลกเปล่ียนสินค้าระหว่างรัฐภายในกับต่างชาติที่มาติดต่อ การค้า จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญอีกประการหน่ึงในการก่อตัวของรัฐและอาณาจักรในแถบน้ี  ความ อดุ มสมบรู ณข์ องทรพั ยากรธรรมชาตขิ องอนิ โดนเี ซยี ทำ� ใหม้ พี อ่ คา้ ตา่ งชาตเิ ดนิ ทางเขา้ มา ติดต่อค้าขายอยู่เป็นประจ�ำ อินโดนีเซียจึงรับอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสม ผสาน เริ่มต้ังแต่อิทธิพลของอินเดียซึ่งก่อให้เกิดอาณาจักรฮินดูและพุทธข้ึนในช่วงคริสต์ ศตวรรษแรก ๆ นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษท่ี ๗ เป็นต้นมา ได้เกิดรัฐที่เป็นศูนย์กลางการค้าทาง ทะเลทส่ี ำ� คญั ขึ้นหลายแห่ง อาณาจักรใหญ่ในบริเวณหม่เู กาะอนิ โดนีเซยี คอื อาณาจักร ศรีวิชัย ซึ่งมีอิทธิพลในด้านการค้าทางทะเลระหว่างอินเดียกับจีน ศรีวิชัยมีเมืองส�ำคัญ หลายเมืองซึ่งอยู่ต้ังแต่ตอนใต้ของประเทศไทยจนถึงเกาะสุมาตรา เช่น บริเวณจังหวัด 69

สารานุกรมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพอ่ื นบา้ นในอาเซยี น สรุ าษฎร์ธานแี ละนครศรธี รรมราชในประเทศไทย เมืองปาเลิมบงั (Palembang) หรือ ปาเลม็ บงั ในเกาะสมุ าตราซงึ่ มบี ทบาทในการคมุ ชอ่ งแคบมะละกา เมอื งบนั ตมั (Bantam) ในเกาะชวาที่คุมช่องแคบซุนดาและเมืองท่าต่าง ๆ ทางตอนเหนือของเกาะชวา เมือง เกดะห์ (Kedah) หรือไทรบุรีทางตอนเหนือของช่องแคบมะละกา เป็นท่าเรือส�ำหรับ จอดแวะพักเพือ่ รอลมมรสมุ เปลี่ยนทศิ ไปอนิ เดีย และเปน็ ทข่ี นถ่ายสินค้าจากอินเดีย นอกจากน้ี หลักฐานของจนี ยงั กลา่ วถึงเมืองกนั โตลีใน ค.ศ. ๔๔๑ วา่ เป็นเมอื ง ท่าส�ำคัญที่ส่งบรรณาการให้จีน สันนิษฐานว่าอาจเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ภกิ ษชุ าวจนี ชอื่ อจ้ี งิ (Yijing) ผเู้ ดนิ ทางมาศรวี ชิ ยั ในครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๗ (ค.ศ. ๖๗๑) บนั ทกึ ไวว้ า่ ศรวี ิชยั เปน็ ศูนยก์ ลางการศึกษาพระพุทธศาสนา มีพระสงฆก์ วา่ ๑,๐๐๐ รูป เป็น ศูนย์กลางการเรียนการสอนภาษาสันสกฤต ภิกษุอี้จิงได้เรียนภาษาสันสกฤตที่ศรีวิชัย เป็นเวลา ๖ เดือนเพ่ือเตรียมตัวเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาท่ีมหาวิทยาลัยนาลันทา (Nalanda) ในอินเดยี และพบหลกั ฐานรูปหล่อสัมฤทธพิ์ ระโพธิสตั วใ์ นบริเวณน้ีซึ่งยืนยนั ถึงอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายานในศรีวิชัยซ่ึงมีความส�ำคัญในฐานะศูนย์กลาง การคา้ และศนู ยก์ ลางพทุ ธศาสนานกิ ายมหายาน ปจั จยั สำ� คญั ทที่ ำ� ใหศ้ รวี ชิ ยั รงุ่ เรอื งและ มอี ำ� นาจบรเิ วณคาบสมทุ รและหมเู่ กาะ คอื มกี องทพั เรอื ทเ่ี ขม้ แขง็ เพอ่ื ปอ้ งกนั เสน้ ทางการ คา้ และคมุ้ ครองเรอื สนิ ค้าจากโจรสลดั จงึ สามารถคุมเส้นทางการค้าในช่องแคบมะละกา และชอ่ งแคบซนุ ดา ตลอดจนเส้นทางเดินเรอื สนิ คา้ ระหวา่ งจนี กับอนิ เดียไว้ได ้ นอกจาก น้ัน ศรีวิชัยยังได้รับการสนับสนุนจากจีนอย่างดีจึงสามารถผูกขาดการค้าในบริเวณน้ีได ้ ศรีวิชัยเสื่อมลงและสูญเสียบทบาทการเป็นพ่อค้าคนกลางประมาณคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๓–๑๔ เมื่อจีนหันมาค้าขายโดยตรงกับบริเวณหมู่เกาะ ชวาภาคกลางและภาค ตะวันออกรุ่งเรืองข้ึนมาแทนที่ศรีวิชัย ท�ำให้เมืองปาเล็มบังท่ีเคยเป็นแหล่งรวมพ่อค้า นานาชาติและสนิ ค้าหลากหลายชนิด กลายสภาพเป็นท่ีซอ่ งสมุ ของโจรสลัดไปในทส่ี ดุ อาณาจกั รหนงึ่ ทเี่ ปน็ คแู่ ขง่ สำ� คญั ของศรวี ชิ ยั คอื อาณาจกั รมาตารมั (Mataram) ซ่ึงมีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง  มาตารัมนับถือศาสนาฮินดูและสักการะศิวลึงค์ทั่วท้ัง ดนิ แดน เทวสถานท่ีปรากฏบริเวณท่ีราบสงู เดียง (Dieng) ในชวาเปน็ ของลัทธไิ ศวนกิ าย 70

สาธารณรัฐอนิ โดนีเซยี โบโรบูดรู ์ หรอื บโุ รพุทโธ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๗–๑๒ นอกจากน้ี ยังมีเทวสถาน ปรัมบานัน (Prambanan) ในชวากลางซ่ึงสร้างตามคติในศาสนาฮินดูเช่นเดียวกัน สว่ นทางตะวันตกของมาตารัมมอี าณาจกั รทีป่ กครองโดยราชวงศไ์ ศเลนทร์ (Sailendra) เช่ือกันว่ากษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์สืบเช้ือสายมาจากราชวงศ์ฟูนัน (Funan) ท่ีลี้ภัยมา จากบริเวณดินดอนสามเหล่ียมปากแม่น้�ำโขง เม่ือพวกเจนละ (Chenla) เข้าท�ำลาย อาณาจักรฟนู ันใน ค.ศ. ๖๒๗  คำ� ว่า ไศเลนทร์ หมายถงึ กษัตริยแ์ ห่งภูเขา จงึ ใช้ความ หมายและสัญลักษณ์เช่นเดียวกับฟูนัน  ราชวงศ์ไศเลนทร์เข้ามามีอิทธิพลเหนือมาตารัม ต้ังแต่ต้นคริสต์ศตวรรษท่ี ๘ ราชวงศ์น้ีนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและได้สร้าง พุทธสถานขนาดใหญ่หลายแห่งที่ส�ำคัญคือ โบโรบูดูร์ (Borobudur) หรือบุโรพุทโธ ในยอกยาการ์ตา ซ่งึ สร้างข้ึนในสมยั พระเจ้าวิษณุ (ค.ศ. ๗๗๘) และเสร็จในสมยั พระเจา้ ซามาราตงุ กา (Samaratunga) ใน ค.ศ. ๘๒๔ กษตั รยิ แ์ หง่ ราชวงศไ์ ศเลนทรพ์ ยายามขยายดนิ แดนไปในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ เช่น ใน ค.ศ. ๗๖๗ ยกทัพเรือไปโจมตีชายฝั่งตังเก๋ียของเวียดนาม ต่อมา ค.ศ. ๗๗๔ และ ๗๘๗ ได้ยกทัพเรือไปโจมตีชายฝั่งอาณาจักรจัมปาถึง ๒ ครั้งและยังสามารถยึด 71

สารานกุ รมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซยี น อาณาจักรเจนละได้ ราชวงศ์ไศเลนทร์หมดอ�ำนาจในชวาภาคกลางประมาณกลางคริสต์ ศตวรรษท่ี ๙ แต่เช้ือสายของราชวงศ์ไปมีอ�ำนาจในศรีวิชัยแทน ฝ่ายราชวงศ์ของ มาตารัมกลับมามีอ�ำนาจขึ้นใหม่ในชวาภาคกลาง ในที่สุดก็ย้ายอาณาจักรไปชวาภาค ตะวนั ออกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ ท้ิงชวาภาคกลางให้รกรา้ ง ใน ค.ศ. ๑๐๐๖ ราชวงศ์ไศเลนทรท์ ี่ไปครองศรวี ชิ ัยพยายามกำ� จัดอำ� นาจของ อาณาจักรในชวาตะวันออก ซ่ึงเคยมาโจมตีศรีวิชัยก่อนหน้านั้น ต่อมา ชวาตะวันออก ฟื้นตัวจนมีความเข้มแขง็ ขึ้นมาไดใ้ นสมยั ของกษตั รยิ ์อัยรล์ งั คะ (Airlangga ค.ศ. ๑๐๑๙– ๑๐๔๕) แต่เมื่อสิ้นสมัยของพระองค์ ชวาตะวันออกก็แบ่งแยกออกเป็น ๒ อาณาจักร อยู่ระยะหน่ึง คือ ด้านตะวันออกของแม่น้�ำบรันตัส (Brantas) กลายเป็นอาณาจักร จังกาละ (Janggala) และดา้ นตะวนั ตกเป็นอาณาจักรเกดรี ี (Kediri) ต่อมา อกี ประมาณ ๑๓๐ ปี ทั้ง ๒ อาณาจกั รได้รวมกนั อีกครั้งดว้ ยการแต่งงานและใช้ชอ่ื วา่ อาณาจกั รเกดีรี (ค.ศ. ๑๐๔๕–๑๒๒๑) แต่อาณาจักรแหง่ นีห้ มดอำ� นาจลงใน ค.ศ. ๑๒๒๒ และมรี ฐั ใหญ่ ข้ึนมามีอ�ำนาจแทนที่คือ อาณาจักรสิงหส่าหรี (Singhasari; Singosari ค.ศ. ๑๒๒๒– ๑๒๙๒) ในพงศาวดารชวาฉบับท่ีเรียกว่า ปาราราตน (Pararaton หรือ หนังสือเรื่อง กษัตรยิ )์ กลา่ ววา่ เก็น อังร็อก (Ken Angrok) เปน็ ผ้ตู ้งั รัฐใหม่นี้ขน้ึ มา กษัตรยิ ท์ ย่ี ่งิ ใหญ่ ท่ีสุดของสิงหส่าหรีคือกษัตริย์ องคส์ ดุ ทา้ ย มพี ระนามวา่ พระเจา้ เกอร์ตานาการา (Kertanagara) หรือพระเจ้าเกียรตินคร (ค.ศ. ๑๒๖๘–๑๒๙๒) ขยายอำ� นาจของ อาณาจักรสิงหส่าหรีไปทั่วเกาะ ชวา รวมไปถึงหมู่เกาะโมลุกกะ ดินแดนตะวันตกเฉียงใต้ของ บอร์เนียว และยังสามารถฟื้นฟู ปาราราตน พงศาวดารชวา 72

สาธารณรฐั อินโดนีเซยี ความยง่ิ ใหญข่ องเกาะชวาแขง่ กบั เกาะสมุ าตรา เพอื่ ควบคมุ ชอ่ งแคบซนุ ดาเหมอื นในอดตี อีกคร้ัง อาณาจักรสิงหส่าหรีเสื่อมลงในปลายคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๓ ขณะน้ันราชวงศ์ หยวน (Yuan) หรือมองโกลมีอ�ำนาจข้ึนในจีน จักรพรรดิกุบไลข่านหรือกูบิไลข่าน (Kublai Khan; Khubilai Khan ค.ศ. ๑๒๖๐-๑๒๙๔) ทรงส่งทูตมาเรียกบรรณาการ จากรฐั ในแถบเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ รวมท้ังอาณาจักรสิงหส่าหรี แตพ่ ระเจา้ เกอรต์ า- นาการาปฏิเสธ และสังหารทูต กุบไลข่านจึงส่งกองทัพเรือไปโจมตี แต่ก่อนท่ีกองทัพ มองโกลจะมาถึง ขุนนางคนหน่ึงในราชส�ำนักยึดอ�ำนาจและปลงพระชนม์พระเจ้า เกอร์ตานาการา ในระหว่างนั้นเจ้าชายวิชัย (Vijaya) ซ่ึงมีเช้ือสายปฐมกษัตริย์ เก็น อังร็อก และเปน็ บุตรเขยของพระเจ้าเกอร์ตานาการาลี้ภัยไปอย่ทู เ่ี กาะมาดรู า (Madura) ซึ่งต้ังท่ีม่ันในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เม่ือกองทัพมองโกลมาถึงก็ต้องพบกับเหตุการณ์จลาจล ภายในอาณาจักรสิงหส่าหรี จึงเปลี่ยนแผนและเข้าช่วยเหลือเจ้าชายวิชัยให้กอบกู้บ้าน เมอื งคนื จากน้นั ไม่นานเจ้าชายวิชยั ปราบกบฏเป็นผลส�ำเรจ็ และสถาปนาอาณาจักรขน้ึ มาใหม่ โดยต้ังเมอื งหลวงข้นึ ท่หี มบู่ ้านท่ีทรงเคยใชเ้ ป็นท่มี น่ั กอบกู้บัลลังกแ์ ละเปลีย่ นช่ือ เป็น อาณาจกั รมชั ปาหติ (Majapahit) ตามช่อื หม่บู า้ นนัน้ ตลอดปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ และต้น รปู ปัน้ คชมาดา คริสต์ศตวรรษท่ี ๑๔ อาณาจักรมัชปาหิตฟื้นฟูความ สงบของบา้ นเมอื งจนสามารถเขา้ ครอบครองเกาะชวาได้ ทั้งหมด มัชปาหิตจึงเป็นจักรวรรดิที่ย่ิงใหญ่ต้ังแต่ต้น ครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๔ เปน็ ตน้ มา ดว้ ยความสามารถของ คชมาดา (Gaja Mada) ซง่ึ เปน็ มุขมนตรีทีเ่ ก่งกาจและ ด�ำรงต�ำแหน่งยาวนานท่ีสุด คชมาดาบริหารกิจการ ภายในมัชปาหิตเรื่อยมาต้ังแต่ ค.ศ. ๑๓๓๐ จนถึง สมัยของพระเจ้าฮายัม วูรุก (Hayam Wuruk 73

สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบา้ นในอาเซียน ค.ศ. ๑๓๕๐–๑๓๘๙) ท�ำให้มัชปาหิตสามารถครอบครองดินแดนด้านตะวันออกของ เกาะสมุ าตรา ชายฝง่ั ตอนใตแ้ ละทศิ ตะวนั ตกของเกาะบอรเ์ นยี ว หมเู่ กาะโมลกุ กะ บรเิ วณ ภาคใตข้ องเกาะซลู าเวซี หมเู่ กาะบนั ดา และดนิ แดนทงั้ หมดในคาบสมทุ รมลาย ู มชั ปาหติ สามารถควบคมุ เส้นทางผา่ นช่องแคบซุนดาและมะละกาไวไ้ ดต้ ลอดครสิ ต์ศตวรรษที่ ๑๔ แต่เพียงผู้เดียว มัชปาหิตจึงเป็นดินแดนที่ร่�ำรวยและมีอ�ำนาจมากท่ีสุดในหมู่เกาะ อินโดนีเซียขณะนั้น แม้แต่อาณาจักรท่ีอยู่ห่างไกลออกไป เช่น อยุธยา กัมพูชา จัมปา เวียดนาม จีน ต่างก็พยายามสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรนี้ เมืองท่าต่าง ๆ ทางตอนเหนือของเกาะชวาเป็นศูนย์กลางการค้าระหวา่ งประเทศ ปัจจยั ทท่ี ำ� ใหม้ ัชปาหติ เสือ่ มอำ� นาจลง ได้แก่ การเผยแผศ่ าสนาอสิ ลามเข้ามา ในเขตหมเู่ กาะอนิ โดนเี ซยี ตงั้ แตป่ ลายครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๓ ทำ� ใหเ้ จา้ ผคู้ รองเมอื งทา่ หลาย แห่งท้ังในชวาและสุมาตราหันไปนับถือศาสนาอิสลามและใช้พลังศาสนาแยกตัวจาก มชั ปาหติ ศนู ยก์ ลางการคา้ และศาสนาอสิ ลามแหง่ ใหมเ่ กดิ ขน้ึ ทเี่ มอื งมะละกาในคาบสมทุ ร มลายูจนกลายเป็นคู่แข่งที่ส�ำคัญของมัชปาหิต นอกจากนั้น อาณาจักรอยุธยา ยงั แผอ่ ทิ ธพิ ลลงมายงั คาบสมทุ รมลายดู ว้ ย การสน้ิ สดุ อำ� นาจของมชั ปาหติ นบั เปน็ จดุ เรมิ่ ต้นประวัติศาสตร์การขยายตัวของศาสนาอิสลามซึ่งส่งผลให้ดินแดนแถบหมู่เกาะ อินโดนีเซียและคาบสมทุ รมลายูกลายเป็นชุมชนมสุ ลมิ ขนาดใหญ่แหง่ หน่ึง เมอื่ แรกนน้ั ศาสนาอสิ ลามคงจะเขา้ มากบั พอ่ คา้ มสุ ลมิ ทคี่ วบคมุ การคา้ สว่ นใหญ่ ในมหาสมุทรอนิ เดยี จากนน้ั การเผยแผ่ศาสนาโดยกลุ่มท่ีเรียกวา่ ซฟู ี (Sufi) ซึง่ ปรากฏใน ครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๑๒ กส็ ง่ ผลอยา่ งมากตอ่ การขยายตวั ของอสิ ลามทงั้ ในอนิ เดยี และเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าท่ีเป็นมุสลิมคงจะเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่นานหลัง การกอ่ ตั้งศาสนาอสิ ลามใน ค.ศ. ๖๒๒ ศนู ยก์ ลางส�ำคญั ของอสิ ลามในภมู ภิ าคนีก้ ค็ อื จีน ตอนใต้ และเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ภาคพ้นื สมุทร ปรากฏหลกั ฐาน เช่น ป้ายหนิ จารึก ชอื่ บนหลมุ ฝงั ศพ หลกั ฐานทง้ั ทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละโบราณคดอี นื่ ๆ เกยี่ วกบั การปรากฏ ของอสิ ลามในยคุ แรก ตงั้ แตจ่ มั ปาในเวยี ดนามภาคกลางปจั จบุ นั ไปจนถงึ ซรู าบายาในชวา ตะวันออก ท�ำให้สันนิษฐานได้ว่า ศาสนาอิสลามเข้ามาถึงภูมิภาคนี้ต้ังแต่ประมาณช่วง 74

สาธารณรัฐอินโดนีเซยี ครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๑๐ แลว้ บนั ทกึ ของจนี ในชว่ งนน้ั เกยี่ วกบั อาณาจกั รจมั ปา ซง่ึ รบั อทิ ธพิ ล จากศาสนาฮินดู กร็ ะบชุ อื่ ของบคุ คลท่ีเปน็ มสุ ลมิ หลายคน เช่น “Pu Lo E” (Abu Ah) และ “Hu Xuan” (Hussain) บุคคลเหล่านค้ี งจะเปน็ ข้าราชสำ� นัก หรอื มิฉะน้ันก็คงเปน็ พ่อค้า อย่างไรก็ดี เมื่อถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๒ ก็ปรากฏอาณาจักรมุสลิม แรก ๆ ข้นึ ในเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตภ้ าคพืน้ สมทุ ร และในศตวรรษตอ่ มา กป็ รากฏงาน เขยี นที่มลี กั ษณะเปน็ ประวัตศิ าสตรท์ อ้ งถน่ิ ท่เี รียกวา่ “บาบดั ” (babad) และ “ฮกิ ายตั ” (hikayat) งานเขียนเหล่านี้ช้ีให้เห็นว่ามีวัฒนธรรมอิสลามปรากฏอยู่ตามเมืองชายฝั่ง สมุ าตรา เช่น เปอดรี ์ (Pedir) เปอรล์ ะก์ (Perlak) อาเจะฮ์ (Aceh) ซามดู ราหรอื สมทุ ร (Samudra) และปาไซ [Pasai บางครง้ั ก็เรยี กรวมกันวา่ ซามูดราปาไซ หรอื สมุทรปาไซ (Samudra Pasai)] ซ่ึงอยู่เหนือสุดของเกาะสมุ าตรา ตามหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตร์ ปาไซซงึ่ ตง้ั อยทู่ างชายฝง่ั ตอนเหนอื ของอาเจะฮ์ นบั เปน็ อาณาจกั รมสุ ลมิ แหง่ แรกในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตภ้ าคพนื้ สมทุ ร ใน ค.ศ. ๑๒๘๒ เจา้ ผู้ครองปาไซสง่ ทตู มุสลมิ ๒ คน ชือ่ ฮสุ เซน (Husein) และสลุ ัยมาน (Sulaiman) ไป ยังจีน และอีก ๑๐ ปีต่อมา คือ ใน ค.ศ. ๑๒๙๒ มารโ์ ก โปโล (Marco Polo) กบ็ นั ทึกไว้ วา่ ประชาชนของเปอร์ละก์ (หรอื “Ferlec” ในบนั ทึกของเขา) เป็นมุสลิม มกี ารคน้ พบ ศลิ าจารึกของสุลตา่ นอลั มาลิก ซอเละฮ์ (Al-Malik Saleh) กษัตรยิ อ์ งคแ์ รกของปาไซ ซ่ึง ส้ินพระชนมใ์ น ค.ศ. ๑๒๙๗ ในสุสานกษตั รยิ ข์ องอาณาจกั รนี้ เร่ืองราวตามจารกึ ท่ีคน้ พบได้รับการยืนยันจากเรื่องราวเกี่ยวกับสุลต่านองค์น้ีในวรรณกรรมเชิงประวัติ เช่น Hikayat Raja-Raja Pasai, Sejarah Melayu ตลอดจนบันทึกของนักเดินเรอื และนกั เดินทาง เชน่ อบิ น์ บัตตตู า (Ibn Battuta) โตเม ปเี รส (Tome Pires) และเจงิ้ เหอ (Zheng He) เมอื่ ถงึ ชว่ งนน้ั ปาไซเปน็ ทรี่ จู้ กั ของมสุ ลมิ ในตะวนั ออกกลาง โดยเฉพาะอยา่ ง ย่ิงในเมกกะ (Mecca) และอียิปต์ มีบันทึกหลักฐานว่า มีปราชญ์ทางศาสนาหรือ “อุละมา” (ulama) ของเมกกะบางคนขอความเห็นทางศาสนา (fatwa) มายังอุละมา ของปาไซ 75

สารานุกรมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพื่อนบ้านในอาเซยี น ภาพเขยี นวาลซี างาทมี่ เี ผยแพรท่ ว่ั ไป ส่วนในชวา ปรากฏหลักฐานว่า เม่ือถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ก็มีมุสลิมอยู่ใน บรรดาชนชั้นน�ำในราชธานีของอาณาจักรมัชปาหิต เน่ืองจากมีหลุมฝังศพของมุสลิมอยู่ ใกล้กับศูนย์อ�ำนาจของอาณาจักรมัชปาหิตซ่ึงแสดงให้เห็นว่า มีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม จ�ำนวนไม่น้อยอยู่ในบรรดาข้าราชส�ำนักและชนช้ันสูงในราชวงศ์กษัตริย์ของอาณาจักรน ้ี นอกจากน้ัน เมืองท่าทางตอนเหนือของชวาก็ได้กลายเป็นรัฐสุลต่าน (sultanate) ซ่ึง แขง่ ขนั กบั มชั ปาหติ ในดา้ นการคา้ ชนชน้ั นำ� ในเมอื งทา่ เหลา่ นเี้ ปน็ คนกลมุ่ ใหม่ โดยเฉพาะ ท่ีเป็นพ่อคา้ ซ่งึ มจี �ำนวนไมน่ อ้ ยเปน็ คนต่างชาติ หลักฐานเอกสารที่มีการค้นพบเม่ือไม่นานมานี้ท่ีเมืองเซอมารัง (Semarang เมอื งหลวงของจงั หวดั ชวากลาง) และเจอรบี น (Cheribon; Cirebon เมอื งทา่ ชายฝง่ั ตอน เหนอื ของอนิ โดนเี ซยี ) ซงึ่ เปน็ บนั ทกึ เรอ่ื งราวในภาษามลายู อา้ งวา่ การขยายตวั ของศาสนา อสิ ลามในชวาสืบเนอ่ื งมาจากมุสลมิ ชาวจนี เชน่ เมอื่ เจ้ิง เหอ (Zheng He) น�ำกองทพั เรอื เดนิ ทางมาถงึ เอเชียตะวันออกเฉยี งใตใ้ น ค.ศ. ๑๔๐๓ ผู้ชว่ ยของเขาคนหนง่ึ ซงึ่ เป็นมุสลมิ 76

สาธารณรฐั อินโดนเี ซีย ไม่ได้กลับไปพร้อมกับเขาด้วย แต่พ�ำนักอยู่ในชวาต่อมา การเข้ามาต้ังรกรากของบุคคล ผนู้ ้อี าจมสี ว่ นในการแผ่ขยายศาสนาอิสลามในชวา แตจ่ ริง ๆ แลว้ ศาสนานี้เข้ามาปรากฏ และแผข่ ยายในดินแดนนม้ี าก่อนหน้าน้ันแล้ว ตามจารตี ของชวานั้น เชื่อกันวา่ การขยาย ตวั ของอสิ ลามในชว่ งครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๑๖ เปน็ ผลมาจากความพยายามของคณะผเู้ ผยแผ่ ศาสนา ๙ คนที่เรียกว่า วาลีซางา (Wali Sanga) คนเหล่าน้ีมีท้ังท่ีเป็นชาวอาหรับ จีน อินเดีย และชวา คนแรกในบรรดา ๙ คนน้ียืนยันได้ว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง ๆ ชือ่ ว่า มาลิก อบิ รอฮมี (Malik Ibrahim) หลมุ ฝังศพของเขาทีเ่ กรอซกิ ์ (Gresik) ใกล้ ๆ กบั ซูราบายาระบุว่าเขาสน้ิ ชวี ิตใน ค.ศ. ๑๔๑๙ จารึกทีห่ ลมุ ฝังศพระบุดว้ ยวา่ ผู้ตายเปน็ พ่อค้ามาจากรัฐคุชราต (Gujarat ในอินเดียตะวันตกปัจจุบัน) แต่เป็นชาวเปอร์เซีย โดยก�ำเนิด แต่จารึกมิได้กล่าวถึงการเผยแผ่ศาสนาของเขา หลุมฝังศพของวาลีซางา ท้ัง ๙ คนได้กลายมาเป็นท่เี ยยี่ มเยือนของผทู้ ี่มศี รัทธา เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ก็ ปรากฏอาณาจกั รมสุ ลมิ ขนึ้ แลว้ ในเขตชายฝง่ั ตะวันตกของคาบสมุทรมลายู ได้แก่ เประ เกดะห์ ปะหงั กลนั ตนั และตรงั กานู ไปจนถงึ ปตั ตาน ี เมอ่ื ถงึ ปลายครสิ ตศ์ ตวรรษนี้ ปรากฏ การใช้กฎหมายอิสลามในอาณาจักรต่าง ๆ จารกึี ท่เี กรอซิก์ แลว้ อยา่ งไรกด็ ี ศนู ยก์ ลางสำ� คญั ของอสิ ลาม ในเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ภาคพืน้ สมทุ รในครสิ ต์ศตวรรษที่ ๑๕ กค็ อื มะละกา ซง่ึ ก่อตง้ั ขึน้ ใน ค.ศ. ๑๔๐๐ ต้ังอย่รู ิมฝงั่ ช่องแคบมะละกาตอนใต้ จากหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละโบราณคดี ทำ� ใหท้ ราบเรอื่ งราวของกษตั รยิ ์ มะละกาองค์หน่ึง คือ ปรเมศวร (Parameswara) กษัตริย์องค์น้ีทรงเปล่ียนมานับถือ ศาสนาอิสลามใน ค.ศ. ๑๔๑๔ และใชพ้ ระนามมุสลิมว่า เมอกัต อิสกันดาร์ ชาฮ์ (Megat Iskandar Shah) พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงปาไซ และทรงมีส่วนส�ำคัญ ในการท�ำให้ ประชาชนในอาณาจกั รของพระองค์เปล่ยี นมานบั ถอื ศาสนาอสิ ลามดว้ ย 77

สารานกุ รมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพ่ือนบ้านในอาเซยี น ตอ่ มา ในสมยั ของกษตั รยิ ม์ ซู ฟั ฟรั ชาฮ์ (Muzaffar Shah) ซงึ่ ครองราชยใ์ นชว่ ง ค.ศ. ๑๔๔๖-๑๔๕๙ ทรงประกาศให้อิสลามเป็นศาสนาทางการของรัฐ ทั้งภูมิปัญญา ทางศาสนาและความเป็นผู้น�ำของกษัตริย์ท่ีครองราชย์สืบต่อมา รวมทั้งการขยายตัว ด้านการค้าและอ�ำนาจทางการเมือง มีส่วนท�ำให้ศาสนาอิสลามขยายออกไปไม่เพียงแต่ ในดินแดนคาบสมทุ รมลายเู ท่านน้ั แตค่ รอบคลมุ ไปถงึ ดินแดนอ่ืน ๆ ในเขตลมุ่ แม่น�ำ้ และ ชายฝง่ั ทะเล โดยเฉพาะท่มี ีการตดิ ต่อทางการค้าอยา่ งใกล้ชดิ กบั มะละกา เช่น ปาเลม็ บงั ในสุมาตรา ปัตตานีในประเทศไทย บอร์เนียวเหนือ บรูไน และมินดาเนาทางใต้ ของฟิลิปปนิ ส์ ชนชาติตะวันตกเริ่มเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปลายคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๕ มีเป้าหมายที่ส�ำคัญท้ังด้านศาสนา การค้า การแสวงหาเครื่องเทศ และเกยี รตภิ มู ขิ องอาณาจกั ร เนอ่ื งจากพอ่ คา้ มสุ ลมิ คมุ การคา้ ตง้ั แตท่ ะเลเมดเิ ตอรเ์ รเนยี น ถึงโลกตะวันออกซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่มะละกา โปรตุเกสจึงแสวงหาเส้นทางเดินเรือเข้า มายงั โลกตะวนั ออกและเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ และยดึ มะละกาไดส้ ำ� เรจ็ ใน ค.ศ. ๑๕๑๑ เมื่อโปรตุเกสพบว่าแหล่งเครื่องเทศส�ำคัญอยู่ที่หมู่เกาะโมลุกกะและหมู่เกาะบันดา จงึ พยายามเขา้ มาผกู ขาดการคา้ เครอ่ื งเทศในบรเิ วณน ี้ โปรตเุ กสตงั้ สถานกี ารคา้ ขนึ้ หลายแหง่ เชน่ ทกี่ ัวหรอื โคอา (Goa; Goa) มะละกา มาเก๊า (Macau) ในเวลาไลเ่ ล่ียกนั สเปนก็ ขยายอ�ำนาจผ่านทวปี อเมรกิ าใต้เขา้ มาในเอเชีย มาตง้ั ทม่ี ัน่ อยู่ในฟลิ ิปปนิ ส์ และพยายาม เข้ามาค้าขายทห่ี มเู่ กาะเครื่องเทศ จึงขัดแย้งกบั โปรตุเกส ตอ่ มาสเปนผนวกโปรตเุ กสได้ และส่ังปิดเมืองท่าลิสบอนไม่ให้พ่อค้ายุโรปภาคเหนือมารับสินค้าตะวันออก ส่งผลให้ ฮอลนั ดาตอ้ งมาหาซอื้ สนิ คา้ ทตี่ ะวนั ออกเอง เนอ่ื งจากฮอลนั ดาไมย่ งุ่ เกยี่ วกบั เรอ่ื งศาสนา ในระยะแรกชาวพื้นเมืองจึงยินดีค้าขายด้วย ฮอลันดาจึงประสบความส�ำเร็จ และเริ่ม เขา้ ยดึ ครองอนิ โดนเี ซียทีละส่วน เมอื่ โปรตเุ กสยดึ ครองมะละกาใน ค.ศ. ๑๕๑๑ และตอ่ มาฮอลนั ดากเ็ ขา้ มาครอบ ครองใน ค.ศ. ๑๖๔๒ รฐั ตา่ ง ๆ ในชวาไมอ่ ยู่ในฐานะทีจ่ ะข้นึ มาเป็นผู้นำ� มุสลิมในภูมภิ าค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรแทนมะละกาได้ แม้ว่าชวาส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้ 78

สาธารณรัฐอินโดนเี ซีย อิทธิพลของอิสลามแล้วก็ตาม รัฐท่ีข้ึนมามีบทบาทน�ำกลายเป็นอาเจะฮ์ มีหลักฐาน ภาษามลายบู ันทึกไวว้ ่า รฐั นีไ้ มเ่ พียงแต่ควบคุมรัฐมลายไู วไ้ ด้หลายแหง่ เท่านั้น แต่ยังเปน็ เมอื งทา่ ทมี่ กี ารเตบิ โตขยายตวั ดา้ นการคา้ อยา่ งมากดว้ ย โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในสมยั สลุ ตา่ น อิบรอฮีม (Ibrahim) หรืออาลี โมกายัต ชาฮ์ (Ali Moghayat Shah ครองราชย์ ระหว่าง ค.ศ. ๑๕๐๗-๑๕๒๘) และสุลต่านอิสกันดาร์ มาฮ์โกตา อาลัม (Iskandar Mahkota Alam ครองราชย์ระหวา่ ง ค.ศ. ๑๖๐๗-๑๖๓๖) อาเจะฮ์ต้ังอยู่ในจดุ ยุทธศาสตร์ คือ จดุ ทเี่ ช่อื มต่อระหว่างดนิ แดนหมูเ่ กาะของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพ้ืนสมุทรกับอินเดีย เม่ือประกอบกับการได้ควบคุมการค้า เคร่ืองเทศท่ีก�ำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในขณะน้ัน มีส่วนส�ำคัญท่ีท�ำให้รัฐนี้กลายเป็น ศูนย์กลางของภูมิปัญญาทางศาสนาอิสลามไปพร้อมกันด้วย อิทธิพลของอาเจะฮ์ขยาย ต่อมาถึงด้านตะวันออกของอินโดนีเซีย เช่น ซูลาเวซี ล็อมบอก กาลีมันตัน มากัสซาร์ (Makassar) ครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี ๑๖ เปน็ ชว่ งทีศ่ าสนาอสิ ลามขยายตวั กว้างขวางทีส่ ุด อิสลาม ได้ขยายเข้าไปถึงหมู่บ้านท่ีอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของเกาะส�ำคัญ ๆ ของประเทศ อินโดนีเซียปัจจุบัน ในสุมาตราการขยายตัวมีลักษณะเป็นการเคลื่อนจากทางเหนือ จากอาเจะฮ์ลงมาในดินแดนส่วนอื่น ๆ ของเกาะ รวมท้ังมีนังกาเบา (Minangkabau) ที่อยู่ทางด้านตะวันตก ไปจนถึงประชากรที่เป็นชาวเขา อาเจะฮ์ได้กลายเป็นศูนย์กลาง ส�ำคัญของอิสลามแทนมะละกาท่ีตกอยู่ในอ�ำนาจของโปรตุเกสตั้งแต่ ค.ศ. ๑๕๑๑ และยังเป็นศนู ยก์ ลางศาสนาอสิ ลามทเ่ี ขม้ แข็งทสี่ ดุ แห่งหน่ึงจนทกุ วันนี้ รัฐสุลต่านที่ข้ึนมาเป็นผู้น�ำอิสลามในภูมิภาคน้ีสืบต่อจากอาเจะฮ์ก็คือยะโฮร์ แตก่ ารทย่ี ะโฮรข์ น้ึ มามบี ทบาทน�ำทำ� ใหเ้ ปน็ ชอ่ งทางทม่ี หาอ�ำนาจยโุ รปโดยเฉพาะฮอลนั ดา ขยายอำ� นาจของตนในเวลาตอ่ มา กลา่ วคอื ฮอลนั ดาไดร้ ว่ มมอื กบั ยะโฮรท์ ม่ี คี วามขดั แยง้ กบั อาเจะฮ์ ทำ� ให้ยะโฮร์เปน็ ฝา่ ยได้เปรยี บ เม่อื ยะโฮร์มีบทบาทนำ� แทนอาเจะฮ์ ทำ� ใหม้ ี การฟื้นฟูศาสนาอิสลามในภูมิภาคน้ี ซ่ึงด�ำเนินอยู่จนถึงประมาณกลางคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๗ ท้ังความเป็นผู้น�ำอิสลามและอ�ำนาจทางเศรษฐกิจของยะโฮร์มีบันทึกไว้ในเวลา 79

สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน ตอ่ มา โดยเฉพาะงานดา้ นศาสนาและวรรณกรรมในภาษาบูกิซ (Bugis เปน็ หน่ึงในภาษา และชาติพันธุ์ส�ำคัญในซูลาเวซีใต้) ของช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ คือ Tuhfat-ul-Nafis (The Precious Gift) และ Salasilah Raja-raja Melayu dan Bugis (The Genealogy of Malay and Bugis Kings) ฮอลนั ดาเขา้ มาตงั้ สถานกี ารคา้ แหง่ แรกทเี่ มอื งบนั เตนิ (Banten) ดา้ นตะวนั ตก ของเกาะชวาใน ค.ศ. ๑๖๐๓ และตอ่ มาใน ค.ศ. ๑๖๑๑ กต็ ัง้ สถานีการค้าท่จี าร์ยาการต์ า บนเกาะชวา [หลังจากน้ัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ปัตตาเวีย (Batavia) และจาการ์ตา ตาม ล�ำดับ] ฮอลันดาพัฒนาเมืองน้ีจนกลายเป็นศูนย์กลางการบริหารปกครองของบริษัท อนิ เดียตะวนั ออกของฮอลนั ดาหรือวโี อซี (Dutch East India Company; Vereenigde Oostindische Compagnie–VOC) ฮอลนั ดาไมเ่ พยี งแตค่ า้ ในบรเิ วณหมเู่ กาะเครอ่ื งเทศ เทา่ นนั้ แตย่ งั คา้ กบั โลกภายนอกดว้ ย เนอ่ื งจากเมอื งปตั ตาเวยี ตง้ั อยใู่ นศนู ยก์ ลางเครอื ขา่ ย การคา้ ทางทะเลระหวา่ งยโุ รปและเอเชยี ในชว่ งเวลานน้ั เรอื สนิ คา้ จากยโุ รปทตี่ อ้ งการเดนิ ทางเข้ามาค้าขายในทะเลตะวันออกจ�ำเป็นต้องผ่านเมืองปัตตาเวีย เพ่ือเข้าไปสู่จีนและ ญ่ีปุ่น ในบริเวณย่านน้�ำแห่งน้ีไม่ได้มีเพียงพ่อค้ายุโรปเข้ามาซื้อขายแลกเปล่ียนสินค้า เท่านั้น แต่ยังมีบรรดาพ่อค้าจีน อินเดีย และพ่อค้าพ้ืนเมืองจากตั๋งเก๋ียและหมู่เกาะ ต่าง ๆ ทีน่ ำ� สินคา้ ของตนเขา้ มาคา้ ขายดว้ ย ผกู้ อ่ ตงั้ เมอื งปตั ตาเวยี คอื ยนั ปเี ตอรสโ์ ซน ยัน ปีเตอรสโ์ ซน คูน คนู (Jan Pieterszoon Coen) ข้าหลวงใหญ่ เขานำ� ผังเมืองและรูปแบบสถาปัตยกรรมของเมือง อัมสเตอร์ดัมในฮอลันดามาเป็นต้นแบบ และน�ำ ระบบคลองและชลประทานมาเปน็ สว่ นหนง่ึ ของการ พฒั นาเมอื ง จนไดร้ บั ยกยอ่ งวา่ เปน็ “ราชนิ แี หง่ ตะวนั ออกและฮอลนั ดาในเขตศนู ยส์ ตู ร” (Queen of the East—Holland in the Topics) แห่งคริสตศ์ ตวรรษ 80

สาธารณรัฐอนิ โดนีเซีย ท่ี ๑๗ ตวั เมืองเดมิ ตั้งอยูบ่ รเิ วณปากแม่น�้ำซลี ีวง (Ciliwong) ภายในตวั เมืองมกี ารสรา้ ง ถนนขนานกับคลอง และปลูกต้นไม้เรียงรายริมถนน พร้อมกับสร้างตึกแบบตะวันตก ส�ำหรับเป็นร้านค้าและท่ีเก็บสินค้า ตึกร้านค้าเหล่านี้ ต่อมากลายเป็นต้นแบบของการ สรา้ งตกึ แถวในสงิ คโปร์ มลายู และสยาม ในคริสตศ์ ตวรรษท่ี ๑๘ เมอื งปตั ตาเวยี กลาย เป็นเมืองร้างเพราะเกิดโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ต้องย้ายผู้คน ลงไปทางใตข้ องกำ� แพงเมอื ง และสรา้ งถน่ิ พำ� นกั อาศยั ใหมท่ น่ี นั่ ซง่ึ กลายเปน็ เขตเมอื งใหม่ ของปตั ตาเวีย ทีป่ ระกอบไปด้วยบ้านพักอาศยั สโมสรเต้นรำ� สวนสาธารณะ เปน็ ตน้ แต่ ขณะท่ีเขตเศรษฐกิจการค้ายงั คงอยู่ที่เดิม ตอ่ มาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ดว้ ยความเปน็ เมอื งสมยั ใหมแ่ ละมรี ะบบคลองทค่ี ลา้ ยกบั กรงุ เทพฯ ปตั ตาเวยี จงึ กลายเปน็ ๑ ใน ๒ เมอื ง ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต ้ (อกี เมอื งหนง่ึ คอื สงิ คโปร)์ ทเี่ ปน็ ตน้ แบบเมอื งสมยั ใหมส่ ำ� หรบั การปรับปรงุ กรุงเทพฯ ในต้นรชั สมยั พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว เมืองปัตตาเวยี ตลอดระยะเวลาเกือบ ๒๐๐ ปี วีโอซีสร้างผลก�ำไรอย่างมหาศาลจากการค้า ทน่ี ่ี แต่ขณะเดียวกนั ก็ต้องแข่งขันแยง่ ชิงผลประโยชน์กับประเทศยโุ รปอนื่ ๆ รวมถงึ การ ตอ่ ตา้ นจากกลมุ่ ชนพนื้ เมอื ง ในชว่ งตน้ ครสิ ตศ์ ตวรรษที่ ๑๘ เปน็ ชว่ งทว่ี โี อซกี ำ� ลงั มอี ำ� นาจ สูงสุดทางการค้า ท้ังการค้าเคร่ืองเทศและสินค้าอุปโภคและบริโภคจากจีนและญี่ปุ่น 81

สารานุกรมประวัตศิ าสตร์ประเทศเพ่อื นบ้านในอาเซียน ต่อมา ความต้องการเคร่ืองเทศลดน้อยลง ประกอบกับบริษัทประสบปัญหาการทุจริต อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง รวมท้ังต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้าโดยเฉพาะกับ อังกฤษ จนเกิดสงครามกับอังกฤษใน ค.ศ. ๑๗๘๐ จึงส่งผลให้ภาวะการเงินของบริษัท เร่มิ ฝดื เคือง ผลก�ำไรทเี่ คยได้ลดลง ในชว่ ง ๕๐ ปสี ุดทา้ ยบริษัทขาดทนุ มากกวา่ ได้ก�ำไร จึงต้องปิดตัวลงและถ่ายโอนกิจการให้รัฐบาลฮอลันดาเข้ามาดูแล ใน ค.ศ. ๑๘๐๐ เปน็ การเข้าสรู่ ะยะที่ ๒ คือ รฐั บาลฮอลันดาบริหารงานบริษัทนีเ้ อง ในช่วงแรก รัฐบาลประกาศใช้นโยบายระบบเพาะปลูกหรือระบบการเกษตร (Culture System; Cultivation System) รัฐบาลผูกขาดการค้าและการลงทุนไว้ แตเ่ พียงผเู้ ดียว ระบบนก้ี �ำหนดให้ประชาชนแบ่งทดี่ นิ ๑ ใน ๕ ของทด่ี ินสำ� หรับเพาะปลูก ท้ังหมดมาปลูกพืชเศรษฐกิจตามที่ฮอลันดาก�ำหนด เช่น อ้อย คราม กาแฟ ชา และ นำ� ผลผลติ ส่งใหร้ ัฐบาลฮอลันดาแทนคา่ เชา่ ท่ีดิน ตอ่ มา แนวคดิ เสรนี ิยมและมนษุ ยนยิ ม ท่ีมีบทบาทในยุโรปช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ท�ำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เร่ือง การเอารดั เอาเปรยี บชนพน้ื เมอื งอยา่ งรนุ แรง นำ� ไปสกู่ ารเปลยี่ นแปลงนโยบายจากระบบ การเกษตรมาเป็นเสรนี ยิ ม ดว้ ยการเปดิ ใหเ้ อกชนเข้ามาลงทนุ มากข้ึน ผลจากการยกเลิก การผูกขาด ท�ำให้ต้องยกเลิกระบบการเกณฑ์แรงงาน แต่กระน้ันชนพ้ืนเมืองยังคงเป็น กลุ่มแรงงานที่ถูกนายทุนเอารัดเอาเปรียบ ด้วยเหตุนี้ การต่อต้านยังคงขยายตัวเพ่ิม มากขนึ้ กอปรกบั การเผยแพรค่ วามคดิ สมยั ใหมจ่ ากโลกอสิ ลาม กอ่ ใหเ้ กดิ ขบวนการปฏริ ปู ศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษท่ี ๑๙ ท�ำให้คนพื้นเมืองตื่นตัว และตอ่ ตา้ นจกั รวรรดนิ ยิ ม จากสาเหตตุ า่ ง ๆ ดงั กลา่ ว รฐั บาลฮอลนั ดาจงึ หนั มาใชน้ โยบาย จรยิ ธรรม (Ethical Policy) เชน่ เพม่ิ สวสั ดกิ ารใหแ้ กช่ นพนื้ เมอื งมากขนึ้ ในดา้ นการศกึ ษา ยอมให้มีส่วนร่วมทางการเมือง ถึงกระน้ัน นโยบายนี้ยังถูกโจมตีจากกลุ่มนักชาตินิยม อินโดนเี ซียซ่ึงเพม่ิ จำ� นวนมากขึ้นในช่วงต้นครสิ ต์ศตวรรษที่ ๒๐ การเคลอื่ นไหวของขบวนการชาตนิ ิยมในอินโดนีเซยี แบง่ ออกเปน็ ๒ ช่วง คอื ช่วงกอ่ นสงครามโลกครั้งท่ี ๑ และชว่ งหลังจากสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ ในระยะแรก กลุ่ม ตา่ ง ๆ ทเี่ คลอ่ื นไหวยงั เนน้ เปา้ หมายทก่ี ารฟน้ื ฟวู ฒั นธรรมพนื้ เมอื งและสง่ เสรมิ การศกึ ษา 82

สาธารณรฐั อินโดนีเซีย แบบตะวนั ตก เปน็ ลักษณะกลุม่ ท่ีแยกกันตามชาติพนั ธ์ุ ไมม่ ีเปา้ หมายทางการเมืองหรอื การเรียกร้องเอกราช แต่ละกลุ่มต่างตัง้ สมาคม เชน่ สมาคมบูดีอูโตโม (Budi Utomo ค.ศ. ๑๙๐๘) กอ่ ตงั้ โดยกลมุ่ ชนชน้ั สงู ของชวาซง่ึ เรยี กวา่ ปรยี ายี (priyayi) ทต่ี อ้ งการฟน้ื ฟู วัฒนธรรมและส่งเสริมการศึกษาแบบตะวันตก สมาคมจีน (Tiong Hoa Hwe Koan–THHK ค.ศ. ๑๙๐๐) ก่อต้ังโดยกลุ่มเชื้อสายจีนที่รับแนวคิดชาตินิยมจาก คังโหย่วเว่ย์ (Kang Youwei) เน้นการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อและส่งเสริมการศึกษาแบบ ตะวนั ตก สมาคมอสิ ลาม (Sarekat Islam ค.ศ. ๑๙๑๒) เปน็ กลมุ่ ทใ่ี ชศ้ าสนาอสิ ลามสรา้ ง เอกภาพและความรู้สึกร่วมกัน กลุ่มน้ีมีสมาชิกจ�ำนวนมากและเป็นขบวนการมวลชน พรรคอินเดียตะวันออก (East Indies Party ค.ศ. ๑๙๑๑–๑๙๑๓) ก่อตั้งโดยกลุ่ม ยเู รเชยี นและอดตี สมาชกิ บดู อี โู ตโม กลมุ่ นไ้ี มเ่ นน้ การแบง่ แยกทางชาตพิ นั ธห์ุ รอื วฒั นธรรม แต่เรียกร้องการมีส่วนร่วมในการปกครอง จัดเป็นกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ทเ่ี ด่นชดั ทสี่ ุด จงึ ท�ำให้ถกู จบั ตามองและถกู ปิดไป หลังสงครามโลกคร้ังที่ ๑ การเคลื่อนไหวของกลุ่มปัญญาชนได้เปลี่ยนเป็น การเรียกร้องทางการเมืองและต่อสู้เพื่อเอกราช ในทศวรรษ ๑๙๒๐ แนวคิดชาตินิยม และการจดั ตง้ั อนิ โดนเี ซยี ไดข้ ยายเขา้ มาในกลมุ่ นกั เคลอ่ื นไหวรนุ่ ใหม ่ ขณะเดยี วกนั แนวคดิ สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ก็เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้น�ำรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน กลุ่มส�ำคัญ ในชว่ งนี้ เชน่ สมาคมชาวอนิ โดนเี ซยี หรอื พีไอ (Perhimpunan Indonesia–PI) ซงึ่ จดั ตัง้ โดยนกั ศกึ ษาอนิ โดนเี ซยี ทเ่ี คยไปศกึ ษาในประเทศเนเธอรแ์ ลนด ์ กลมุ่ นน้ี ำ� แนวคดิ การจดั ต้ังอินโดนีเซียเข้ามาเผยแพร่ พรรคคอมมิวนิสต์อินเดียตะวันออก ต่อมาเปล่ียนเป็น พรรคคอมมวิ นสิ ตอ์ นิ โดนเี ซยี หรอื พเี คไอ (Partai Kommunis Indonesia–PKI) ทม่ี สี มาชกิ เป็นแรงงานในเมืองใหญ่ สมาคมตามนั ซสิ วา (Taman Siswa หรอื The Garden of Learning) ซ่ึงเน้นการบ่มเพาะจิตส�ำนึกทางการเมือง จรรยาบรรณ และเสริมสร้าง วัฒนธรรมแห่งชาติอินโดนีเซีย สมาคมตามันซิสวาจัดตั้งโรงเรียนข้ึนหลายแห่งเพื่อสอน ตามอุดมการณ์ดังกล่าวนี้ พรรคชาตินิยมอินโดนีเซียหรือพีเอ็นไอ (Partai Nasional Indonesia–PNI) ซึ่งซูการ์โน (Sukarno) นักชาตินิยมคนส�ำคัญของอินโดนีเซียเป็น ผูก้ ่อต้งั 83

สารานุกรมประวตั ศิ าสตรป์ ระเทศเพ่ือนบา้ นในอาเซียน เมอื่ แนวคดิ “อนิ โดนเี ซยี ” ไดร้ บั การ ตอบรบั จากกลุม่ ตา่ ง ๆ มากข้ึน ในการประชมุ เยาวชนแห่งชาติอินโดนีเซียเมื่อ ค.ศ. ๑๙๒๘ ท่ีประชุมก�ำหนดสัญลักษณ์ทางการเมืองของ อินโดนีเซีย โดยประกาศให้ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) เป็นภาษาประจ�ำชาติ และประกาศอดุ มการณแ์ หง่ รฐั ในภาษาชวา คอื “Bhinneka tunggal Ika” มีความหมายว่า สัญลกั ษณแ์ หง่ ชาติอนิ โดนีเซยี “เอกภาพในความหลากหลาย” เน่ืองจากการ สรา้ ง “อนิ โดนเี ซยี ” ขนึ้ มานน้ั ตอ้ งอาศยั การหลอมรวมใหเ้ กดิ เอกภาพทา่ มกลางความแตก ตา่ งและหลากหลายทางชาตพิ นั ธแ์ุ ละวฒั นธรรม ซงึ่ เปน็ ลกั ษณะทเี่ ดน่ ชดั ของอนิ โดนเี ซยี นอกจากนน้ั ยงั ไดป้ ระกาศหลกั การสำ� คญั ทวี่ า่ “ชาตเิ ดยี วกนั ภาษาเดยี วกนั และบา้ นเกดิ เมืองนอนเดียวกัน” ต่อมา หลังจากได้รับเอกราชแล้ว มีการน�ำสัญลักษณ์แห่งชาติ เหลา่ นม้ี าไวใ้ นตราแผน่ ดนิ ทเ่ี ปน็ ภาพครฑุ (garuda) กางปกี ปกี แตล่ ะขา้ งมี ๑๗ แฉก และ หางมี ๘ แฉก ซ่ึงหมายถงึ วนั ที่ ๑๗ สงิ หาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ที่อนิ โดนีเซยี ประกาศเอกราช และทที่ รวงอกของครฑุ มสี ญั ลกั ษณข์ องปญั จศลี ปรากฏอยู่ สว่ นทขี่ าของครฑุ ไดเ้ กาะเกยี่ ว คำ� ขวญั ของชาตใิ นภาษาชวาไว้ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของแนวคิดชาตินิยม ท�ำให้รัฐบาลฮอลันดาหันมา ปราบปรามการเคลอ่ื นไหวของกลมุ่ ชาตนิ ยิ มอยา่ งรนุ แรง จนดเู หมอื นวา่ ความหวงั ในการ ปลดปลอ่ ยอนิ โดนเี ซยี เปน็ สงิ่ ทยี่ งั อยไู่ กลเกนิ เออื้ ม หนทางไปสเู่ อกราชอาจจะยาวนานกวา่ นี้ หากปราศจาก “สงครามมหาเอเชยี บรู พา” กลา่ วคอื ในชว่ งสงครามดงั กลา่ ว อนิ โดนเี ซยี ถูกกองทัพญ่ีปุ่นยึดครอง ท�ำให้ขบวนการชาตินิยมอินโดนีเซียกลับมาเคลื่อนไหว อีกครั้งหนึ่ง ซูการ์โนและนักชาตินิยมอ่ืน ๆ อาศัยโอกาสนี้น�ำอินโดนีเซียไปสู่เอกราช กองทพั ญป่ี นุ่ จดั ตงั้ “คณะกรรมการเตรยี มงานเพอื่ เอกราชของอนิ โดนเี ซยี ” (Committee for Preparatory Work for Indonesian Independence–BPUPKI) ในเดอื นมีนาคม 84

สาธารณรัฐอินโดนเี ซยี ค.ศ. ๑๙๔๔ และมผี นู้ ำ� ชาตินิยมจากหลายกลุ่มเขา้ รว่ มเปน็ สมาชิก คณะกรรมการชดุ นี้ ได้เสนอหลักปัญจศีล (pancasila) เป็นปรัชญาของอินโดนีเซียข้ึนเป็นคร้ังแรกในการ ประชมุ เมื่อวนั ท่ี ๑ มถิ นุ ายน ค.ศ.๑๙๔๕ กลา่ วไดว้ ่า ปัญจศลี เป็นอุดมการณ์ ๕ ประการ อันเป็นรากฐานการด�ำรงอยู่ร่วมกันของคนในรัฐ ประกอบด้วยความเชื่อในพระเป็นเจ้า (Belief in God) ชาตนิ ยิ ม (Nationalism) สากลนยิ ม (Internationalism) ความยตุ ธิ รรม ทางสังคม (Social Justice) และประชาธิปไตย (Democracy) ปรัชญานี้สร้างความ ไม่พอใจให้แก่กลุ่มผู้น�ำมุสลิม สุดท้ายจึงประนีประนอมตามข้อตกลงท่ีเรียกกันภายหลัง ว่า “กฎบัตรจาร์กาตา” ว่ารัฐอินโดนีเซียที่จะเกิดข้ึนต้องยึดหลักศรัทธาในพระเป็นเจ้า และตอ้ งนำ� กฎหมายชารีอะห์มาบังคับใช้ (แตข่ ้อหลงั ซกู ารโ์ นได้ยกเลกิ ไปเมือ่ อินโดนเี ซีย ไดเ้ อกราช) นอกจากนั้น คณะกรรมการยังยกร่างรัฐธรรมนูญท่ีก�ำหนดให้อินโดนีเซียเป็น สาธารณรัฐและเป็นรัฐเดี่ยว โดยให้อ�ำนาจสูงสุดแก่ประธานาธิบดี และก�ำหนดขอบเขต ของประเทศอนิ โดนเี ซยี ใหร้ วมไปถงึ ดนิ แดนในมลายแู ละบอรเ์ นยี วซงึ่ เปน็ อาณานคิ มของ องั กฤษ เมอ่ื สงครามยตุ ลิ งดว้ ยความพา่ ยแพข้ องญป่ี นุ่ กลมุ่ ผนู้ ำ� ชาตนิ ยิ มซง่ึ มซี กู ารโ์ นและ โมฮัมมัด ฮัตตา (Mohammad Hatta) เป็นผู้น�ำประกาศเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ใน วันท่ี ๑๗ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ เนเธอร์แลนด์พยายามกลบั เข้ามายึดครองอีกคร้งั แต่ อนิ โดนเี ซยี ยงั คงตอ้ งรว่ มกนั ตอ่ สเู้ พอื่ ไมใ่ หเ้ นเธอรแ์ ลนดก์ ลบั เขา้ มาปกครอง ทำ� ใหเ้ กดิ การ ปะทะและต่อสู้กันระหว่างเนเธอร์แลนด์กับกองทัพอินโดนีเซียตลอดช่วง ค.ศ. ๑๙๔๕– ๑๙๔๙ องั กฤษได้เขา้ มาเป็นผเู้ จรจาไกล่เกลยี่ ใหท้ ัง้ ๒ ฝา่ ยลงนามในข้อตกลงลงิ กดั จาตี (Linggadjati Agreement) ใน ค.ศ. ๑๙๔๖ โดยเนเธอรแ์ ลนดย์ อมรบั อำ� นาจรฐั ของรฐั บาล อนิ โดนีเซยี ในเกาะชวาและสุมาตรา ตอ่ มา ภายหลงั เนเธอร์แลนดล์ ะเมิดข้อตกลงโดยนำ� ทหารเขา้ โจมตอี ินโดนเี ซยี ทำ� ให้ประเทศอ่ืน ๆ เช่น ออสเตรเลยี และอินเดยี ยน่ื เรื่องให้ คณะมนตรคี วามมนั่ คงแหง่ สหประชาชาตเิ ขา้ จดั การ สหประชาชาตไิ ดเ้ ขา้ ระงบั ขอ้ พพิ าท โดยตง้ั คณะกรรมการ ประกอบดว้ ย ออสเตรเลีย เบลเยยี ม และสหรัฐอเมริกา ทำ� หนา้ ท่ี ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและเรียกร้องการหยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้น�ำคน 85

สารานุกรมประวตั ศิ าสตร์ประเทศเพ่ือนบ้านในอาเซียน สำ� คญั ของอนิ โดนีเซยี คือ ซูการ์โนและฮตั ตาไปกกั ขัง ต่อมา ทหารอินโดนีเซยี สามารถ ชว่ ยเหลอื นำ� ตวั ผนู้ ำ� ทงั้ สองออกมาได ้ ในระยะน้ี ทกุ ประเทศทว่ั โลกตา่ งตำ� หนกิ ารกระทำ� ของเนเธอร์แลนด์และคณะมนตรีความมั่นคงกดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่ อนิ โดนีเซยี ทา้ ยที่สุด อินโดนเี ซยี สามารถไดอ้ �ำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ดว้ ยแรงกดดนั จากสหประชาชาติ และสถาปนา “สาธารณรัฐอนิ โดนีเซยี ” ขึ้นอยา่ งภาคภูมิ ในวนั ที่ ๒๗ ธนั วาคม ค.ศ. ๑๙๔๙ แตค่ วามยงุ่ ยากยงั คงมอี ยเู่ นอื่ งจากเนเธอรแ์ ลนดไ์ มย่ นิ ยอมใหร้ วม ดนิ แดนอเิ รยี นตะวนั ตกเขา้ กับอินโดนีเซยี ทง้ั ๒ ฝ่ายจึงเตรยี มการสู้รบกันอกี ในทีส่ ุด เนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอ�ำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอิเรียนตะวันตกและให้ ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียง ประชามติปรากฏว่าชาวอีเรียน (ปาปัว) ตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอีเรียน (ปาปัว) ตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซีย เม่ือเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๖๓ ภายหลังได้รับเอกราชใน ค.ศ. ๑๙๔๙ แล้ว มีการประกาศจัดตั้งรัฐบาลของ สาธารณรัฐอินโดนีเซยี มีซกู าร์โนดำ� รงตำ� แหน่งประธานาธิบดคี นแรก และกรงุ จาการ์ตา เป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปีเดียวกนั อินโดนีเซยี ก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ ก�ำหนดให้อินโดนีเซียมีการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federation) เรียกชื่อประเทศว่า สหรัฐอินโดนเี ซยี (United States of Indonesia) ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๕๐ มกี ารจดั ตั้ง ระบบรฐั สภา ตลอด ๒ ทศวรรษแรกนบั ต้งั แต่ไดร้ ับเอกราช ซกู าร์โนบริหารประเทศด้วย การปลกุ กระแสชาตนิ ยิ มและใชอ้ ำ� นาจเผดจ็ การในการปกครอง กอปรกบั ปญั หาเศรษฐกจิ และความม่ันคง โดยเฉพาะเมื่อโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น อินโดนีเซียต้องรับมือกับ การขยายอทิ ธพิ ลของลทั ธคิ อมมวิ นสิ ต์ ในชว่ งเวลานน้ั ขบวนการคอมมวิ นสิ ตใ์ นอนิ โดนเี ซยี มคี วามแขง็ แกรง่ มาก พรรคคอมมวิ นสิ ตแ์ หง่ อนิ โดนเี ซยี เคยเปน็ หนง่ึ ในพรรคคอมมวิ นสิ ต์ ทมี่ ีสมาชิกมากที่สดุ ในโลก นอกจากนี้ สภาพความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำ� ใหผ้ ้คู น ในสว่ นอนื่ ๆ เรม่ิ ไมพ่ อใจทต่ี อ้ งตกอยภู่ ายใตก้ ารปกครองของรฐั บาลกลางทชี่ วา เกดิ ความ รู้สึกว่าวัฒนธรรมท้องถ่ินของตนถูกบดบังโดยวัฒนธรรมชวา ท�ำให้เกิดกระแสแบ่งแยก 86

สาธารณรฐั อนิ โดนีเซีย ดินแดนขึ้นในบางพ้ืนท่ี โดยเฉพาะการเกิดกบฏต่อต้านรัฐบาลในเกาะสุมาตราและเกาะ ซูลาเวซี แม้ว่าซูการ์โนได้พยายามน�ำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้ปกครอง ในช่วงแรก ๆ แต่ก็ไม่ได้ผล ท�ำให้เขาตัดสินใจปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองประเทศ โดยประกาศยกเลกิ รฐั ธรรมนญู ค.ศ. ๑๙๕๐ และใหก้ ลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๙๔๕ ทใ่ี หอ้ ำ� นาจสงู สดุ แกป่ ระธานาธบิ ดี สง่ ผลใหร้ ะบบรฐั สภาแบบตะวนั ตกยตุ ลิ งและไมไ่ ดน้ ำ� กลับมาใชอ้ กี จนกระทงั่ ค.ศ. ๑๙๙๙ การเปลยี่ นแปลงครง้ั น้ันทำ� ให้ฝ่ายบรหิ ารมอี �ำนาจมากขนึ้ ลดความส�ำคญั ของ ผู้แทนท่ีมาจากการเลือกต้ังโดยประชาชน ส่งผลให้กองทัพและกลุ่มการเมืองมุสลิม รวมถงึ พรรคคอมมวิ นสิ ตแ์ หง่ อนิ โดนเี ซยี เขา้ มามบี ทบาทมากขนึ้ และปฏเิ สธทจี่ ะกระจาย อ�ำนาจการปกครองออกจากศูนย์กลางไปให้ท้องถ่ิน ยุคน้ีได้รับการขนานนามว่า ยุคประชาธิปไตยชน้ี �ำ (Guided Democracy ค.ศ. ๑๙๕๗–๑๙๖๕) ซกู าร์โนกา้ วข้ึนมา มีอ�ำนาจทางการเมืองอย่างมากในฐานะผู้น�ำสูงสุดของประเทศ ในด้านนโยบาย ต่างประเทศ ซูการ์โนด�ำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวต่อเพ่ือนบ้านในภูมิภาคโดยเฉพาะ มาเลเซยี โดยประกาศนโยบายเผชญิ หนา้ (Confrontation Policy) เพอ่ื คดั คา้ นโครงการ จัดตั้งสหพันธรัฐมลายา แต่ก่อนท่ีเหตุการณ์จะร้ายแรงมากขึ้น ก็เกิดการเปล่ียนแปลง ทางการเมอื งในอินโดนเี ซยี ประธานาธิบดีซูการ์โนสิ้นอ�ำนาจหลังเหตุการณ์คืนวันท่ี ๓๐ กันยายน ค.ศ. ๑๙๖๕ ตอ่ กับวันท่ี ๑ ตลุ าคม จากการกอ่ การรฐั ประหารโดยพวกคอมมวิ นิสต์ทีเ่ รยี กกัน ว่า เกสตาปู [Gestapu ค�ำย่อในภาษาอินโดนีเซียมาจาก “ขบวนการ ๓๐ กันยายน” (Gerakan September Tigga Puluh)] อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้ยังมีความคลุมเครือ อย่ไู ม่น้อย ซ่งึ อาจจะไมม่ วี ันคลี่คลาย แต่ก็คาดคะเนได้ว่านโยบายของซูการโ์ นท้ังภายใน และด้านต่างประเทศกอ่ ใหเ้ กิดความหวั่นเกรงในกล่มุ พลงั ท่มี ใิ ช่พวกคอมมิวนสิ ต์ เพราะ นโยบายภายในของซกู ารโ์ นทำ� ใหพ้ รรคคอมมวิ นสิ ตอ์ นิ โดนเี ซยี หรอื พเี คไอเตบิ โตเขม้ แขง็ มากข้ึนทุกที ขณะที่ในด้านการต่างประเทศ ซูการ์โนต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษและ สหรัฐอเมริกาอยา่ งรุนแรง 87

สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพือ่ นบ้านในอาเซยี น ช่วงก่อนหน้าเหตุการณ์วันที่ ๓๐ กันยายนไม่นาน มีข่าวลือเก่ียวกับ การรัฐประหารและการคบคิดเตรียมการตา่ ง ๆ รวมท้ังเรื่องสุขภาพของซกู ารโ์ น มีการตี พิมพ์ภาพถ่ายเอกสารซ่ึงอ้างว่าเป็นของเอกอัครราชทูตอังกฤษถึงกระทรวงการต่าง ประเทศของตน เสนอแผนการร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาเพื่อรุกรานอินโดนีเซียด้วยการ สนับสนุนของกองก�ำลังทอ้ งถิน่ (ที่เคยมีกรณพี ยายามก่อการกบฏมาแล้วในสุมาตรา) ใน คนื วันท่ี ๓๐ กนั ยายน นายพลคนสำ� คญั ของอินโดนีเซีย ๖ นายถกู จบั และถกู ฆาตกรรม อย่างทารุณในวันตอ่ มา ผู้ทร่ี อดไปไดค้ ือ นายพลอบั ดลุ ฮาริส นาซตู ิออน (Abdul Haris Nasution) และนอกจากน้นั ยงั มีพลตรี ซูฮาร์โต (Suharto) ทอี่ าจไม่ไดอ้ ยู่ในบญั ชีของ นายทหารทจี่ ะถกู กำ� จดั มาตง้ั แตแ่ รก ซฮู ารโ์ ต ผบู้ ญั ชาการกองกำ� ลงั สำ� รองทางยทุ ธศาสตร์ (KONSTRAD) เข้ามาควบคุมบังคับบัญชากองทัพบกเพื่อต่อต้านการรัฐประหารและ สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น จากถ้อยแถลงของฝ่ายทหาร ผู้ท่ีอยู่เบ้ืองหลังความพยายามในการรัฐประหารคร้ังนี้คือ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย โดยมีพันโท อุนตุง (Untung) ผู้บังคับการกองก�ำลังรักษาความปลอดภัยท�ำเนียบ ประธานาธิบดีเปน็ ผลู้ งมอื ดำ� เนนิ การ อย่างไรก็ตาม เหตกุ ารณแ์ ละรายละเอียดเก่ยี วกับ เบ้อื งหลังทแี่ ท้จรงิ คงจะไม่มวี ันได้รับรู้กนั ทง้ั หมด เปน็ ไปไดว้ า่ พเี คไอรว่ มมอื กบั ทหารบางสว่ น ชงิ ลงมอื ดำ� เนนิ การตดั หนา้ “คณะ นายพล” ทอ่ี าจกำ� ลงั วางแผนโคน่ ลม้ ประธานาธบิ ดอี ยแู่ ลว้ เพอื่ กำ� จดั กวาดลา้ งคอมมวิ นสิ ต์ หรอื อาจเปน็ เพราะพเี คไอคดิ วา่ ประธานาธบิ ดใี กลเ้ สยี ชวี ติ และจะทำ� ใหส้ ถานะของตนอยู่ ในอันตราย แต่การท่ีฝ่ายคอมมิวนิสต์หวังโค่นล้มซูการ์โนโดยตรงไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะพเี คไอยงั ตอ้ งหวงั พง่ึ อำ� นาจและบารมขี องประธานาธบิ ดอี ยา่ งมาก ถงึ กระนนั้ กย็ งั มีขอ้ สงสัยเก่ียวกับบทบาทและความเก่ียวขอ้ งของทงั้ ซกู าร์โนและจนี ซึ่งขณะน้นั มีความ สมั พนั ธใ์ กลช้ ิดกบั อินโดนีเซียอย่างมาก อาจเปน็ เพราะท้งั ซูการโ์ นและจีนเห็นวา่ โอกาส สกุ งอมเพยี งพอทจี่ ะดำ� เนนิ การเปลยี่ นอนิ โดนเี ซยี ใหเ้ ปน็ สงั คมนยิ ม แตไ่ มว่ า่ จะในกรณใี ด ก็ตาม ความล้มเหลวของขบวนการ ๓๐ กันยายน ท�ำให้พันธมิตรเป่ย์จิง-จาการ์ตา ส้นิ สดุ ลง 88

สาธารณรัฐอนิ โดนีเซยี ภายหลังการพยายามก่อการรัฐประหารครั้งน้ี พีเคไอถูกท�ำลายลงโดยส้ินเชิง กลา่ วกนั วา่ มีผ้เู สยี ชวี ติ ๕๐๐,๐๐๐–๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ความรุนแรงและโหดร้ายทารณุ มี มากท่ีสุดในชวาและบาหลี พีเคไอกลายเป็นพรรคการเมืองนอกกฎหมาย ผู้น�ำและ ผ้เู ก่ยี วข้องกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ คนถูกจบั กุมคมุ ขงั นายพลซูฮาร์โตเข้ามากมุ อ�ำนาจท่ีแท้ จริง แมว้ ่าซูการโ์ นยงั คงอยใู่ นต�ำแหน่ง ในช่วง ค.ศ. ๑๙๖๕–๑๙๖๖ ซกู ารโ์ นพยายาม ฟน้ื ฟอู ำ� นาจทางการเมอื งของตน แตก่ ไ็ มป่ ระสบความสำ� เรจ็ ในเดอื นมนี าคม ค.ศ. ๑๙๖๗ ซฮู ารโ์ ตก็ข้ึนมารักษาการในตำ� แหนง่ ประธานาธิบดี สมัยที่ประธานาธิบดีซูฮาร์โตบริหารประเทศเรียกว่า “ยุคระเบียบใหม่” (New Order) กลุ่มจีนและคอมมิวนิสต์ (ส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้ต่อต้านกองทัพ) ถูกปราบ ปรามอย่างรุนแรง ขณะนั้น ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงส�ำหรับหลาย ประเทศในภูมิภาคแห่งน้ี กลยุทธ์ที่ส�ำคัญอย่างหน่ึงท่ีน�ำมาใช้สกัดกั้นการขยายตัวของ แนวคิดคอมมิวนิสต์ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความเป็นอยู่ท่ีดีข้ึนของประชาชน ประธานาธิบดีซูฮาร์โตเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งเสริมการลงทุนจากต่าง ประเทศ ตลอดชว่ งทศวรรษ ๑๙๗๐ และ ๑๙๘๐ เศรษฐกจิ ของอินโดนเี ซียเตบิ โตและ แขง็ แกรง่ ข้นึ อยา่ งรวดเรว็ โดยเฉพาะรายไดจ้ ากการส่งออกนำ�้ มนั รวมถึงการปรับความ สมั พนั ธก์ บั เพอ่ื นบา้ นใหมใ่ นเชงิ สรา้ งสรรคด์ ว้ ยการประกาศยกเลกิ นโยบายเผชญิ หนา้ และ ร่วมกอ่ ต้งั อาเซยี น (ASEAN) ใน ค.ศ. ๑๙๖๗ ซ่ึงเปน็ กล่มุ ความรว่ มมอื ระดบั ภมู ภิ าค และ ด้วยความสามารถในการจัดสรรผลประโยชน์ในกลุ่มชนช้ันผู้น�ำเป็นอย่างดี ท�ำให้ยุค ระเบยี บใหมด่ �ำรงอย่ไู ด้ถงึ ๓๒ ป ี อยา่ งไรก็ดี ปญั หาท่ีตามมาพร้อมกบั ความส�ำเร็จดา้ น เศรษฐกิจ คือ ปัญหาการฉอ้ ราษฎร์บงั หลวงและการท่รี ฐั บาลผกู ขาดอำ� นาจมายาวนาน จนเกิดวกิ ฤตการณท์ างเศรษฐกิจในเอเชยี เม่ือ ค.ศ. ๑๙๙๗-๑๙๙๘ ระบบเศรษฐกจิ ของ อนิ โดนเี ซยี ไดร้ บั ผลกระทบอยา่ งรนุ แรงสง่ ผลใหป้ ระธานาธบิ ดซี ฮู ารโ์ ตลาออกจากตำ� แหนง่ ใน ค.ศ. ๑๙๙๘ หลงั จากครองอำ� นาจมานานถงึ ๓๒ ปี บาจารดุ ดนิ ฮาบบี ี (Bacharuddin Habibie) รองประธานาธิบดีไดเ้ ป็นประธานาธบิ ดีสืบตอ่ มา 89

สารานุกรมประวตั ิศาสตรป์ ระเทศเพื่อนบา้ นในอาเซยี น ซกู ารโ์ น ซฮู ารโ์ ต เมกาวตี ซูการ์โนปุตรี ซูซโี ล บัมบัง ยโุ ธโยโน 90

สาธารณรฐั อินโดนีเซยี หลังจากนั้น อินโดนีเซียได้ปฏิรูปทางการเมืองใหม่เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ เขม้ แขง็ ยกเลกิ การผกู ขาดอ�ำนาจในรฐั บาลอยา่ งทเ่ี คยเปน็ มา และมรี ฐั บาลทผ่ี นู้ �ำมาจาก การเลอื กตงั้ ตอ่ เนอื่ งมา คอื อบั ดลุ เราะหม์ าน วาฮดิ (Abdulrahman Wahid) และเมกาวตี ซกู ารโ์ นปตุ รี (Megawati Sukarnoputri) กระบวนการเสรมิ สรา้ งความเขม้ แขง็ ในระบอบ ประชาธปิ ไตยยงั ดำ� เนนิ ไปพรอ้ มกบั การใหอ้ ำ� นาจการปกครองตนเองในสว่ นภมู ภิ าคมาก ข้ึน กล่าวได้ว่า ความพยายามในการปฏิรูปการเมืองใหม่ตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๑๙๙๐ เป็นตน้ มา ท�ำให้ปญั หาต่าง ๆ ไดร้ ับการแก้ไขใหด้ ขี นึ้ เชน่ ใน ค.ศ. ๑๙๙๙ ชาวตมิ อร์ ตะวันออกไดล้ งประชามติแยกตัวออกไปจากอินโดนเี ซีย หลงั จากอยู่ใต้การปกครองของ อินโดนีเซียถึง ๒๕ ปีและต่อสู้เรียกร้องเพ่ือจัดตั้งประเทศมาเป็นเวลานาน ต่อมาใน ค.ศ. ๒๐๐๕ รฐั บาลอินโดนีเซียสามารถเจรจายตุ ิการต่อสใู้ นอาเจะฮไ์ ดส้ �ำเร็จ เมือ่ มกี ารเลอื กต้ังประธานาธบิ ดีโดยตรงขน้ึ เปน็ ครง้ั แรกใน ค.ศ. ๒๐๐๔ และ ผทู้ ีไ่ ดร้ ับเลือกเข้าดำ� รงต�ำแหนง่ ประธานาธบิ ดคี นท่ี ๖ ของอนิ โดนีเซีย คอื ซูซโี ล บัมบงั ยุโธโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) นายทหารนอกราชการ และไดก้ ลบั มาด�ำรง ต�ำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ ๒ ใน ค.ศ. ๒๐๐๙ รัฐบาลซูซีโลเริ่มการปฏิรูปด้าน ต่าง ๆ ไม่เพียงแต่การปฏิรูปกองทัพเท่านั้น ยังได้พยายามผลักดันกฎหมายที่สนับสนุน การบรหิ ารอยา่ งอสิ ระในระดบั ภมู ภิ าคและลดความขดั แยง้ ของกลมุ่ ทตี่ อ้ งการแยกดนิ แดน ในอาเจะฮแ์ ละปาปัว อกี ทั้งยังฟ้นื ฟูเศรษฐกจิ และปฏิรูปไปสูก่ ารเปดิ เสรีการตลาด มีการ ลงนามเปดิ การคา้ เสรรี ว่ มกบั ประเทศตา่ ง ๆ และยง่ิ กวา่ นน้ั ซซู โี ลใหค้ วามใสใ่ จอยา่ งจรงิ จงั ต่อการขจัดปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาท่ีบ่ันทอนเสถียรภาพ ความมั่นคงและความมั่งคั่งของอินโดนีเซียตลอดมา การปฏิรูประบบเศรษฐกิจของ ประธานาธิบดีซูซีโลสร้างความเจริญเติบโตภายในประเทศและลดความเหลื่อมล้�ำ ด้านรายได้ของประชาชน อีกทั้งการปรับปรุงนโยบายด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อ รองรับการพัฒนาของประเทศและเตรียมความพร้อมในการเปล่ียนแปลงของภูมิภาค ถึงแม้ว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและ ภาพลักษณข์ องอนิ โดนีเซยี โดยเฉพาะอยา่ งย่ิง ภัยจากการกอ่ การร้าย เช่น เหตุระเบดิ ทบี่ าหลใี น ค.ศ. ๒๐๐๒ การปราบปรามการก่อการร้ายกลุม่ ต่าง ๆ เชน่ กลุม่ จามาอะห์ 91

สารานุกรมประวัตศิ าสตรป์ ระเทศเพือ่ นบา้ นในอาเซียน อิสลามิยะฮ์หรือเจไอ (Jamaah Islamiah–JI) เหตุระเบิดที่โรงแรมในกรุงจาการ์ตา (ค.ศ. ๒๐๐๙) และมหันตภัยธรรมชาติสึนามิท่ีคร่าชีวิตผู้คนในเกาะสุมาตราไปกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คนใน ค.ศ. ๒๐๐๔ รวมไปถงึ ภยั ธรรมชาตอิ ื่น ๆ เช่น แผ่นดินไหว โคลนถล่ม น�้ำท่วมใหญ่ เหตกุ ารณเ์ หล่านล้ี ้วนสง่ ผลกระทบต่อเศรษฐกจิ และสงั คมอย่างประเมนิ ค่า ไมไ่ ด้ ประธานาธิบดีซูซีโลยืนกรานต่อสู้และไม่เห็นด้วยกับแนวทางของกลุ่มก่อการ ร้ายหัวรนุ แรงถงึ แม้จะอา้ งอิงกับหลกั ศาสนา โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ เหตุการณค์ วามรุนแรง ใน ค.ศ. ๒๐๐๙ ท�ำให้เขาก�ำหนดเป้าหมายการพัฒนาด้านการศึกษาและขจัดปัญหา ความยากจนเป็นยุทธศาสตร์ส�ำคัญส�ำหรับการบริหารประเทศในสมัยท่ี ๒ ของเขา ใน ค.ศ. ๒๐๑๑ อินโดนีเซียได้จัดท�ำ “แผนแม่บทเพ่ือการเร่งรัดและขยายการพัฒนา เศรษฐกจิ ของอินโดนเี ซยี ค.ศ. ๒๐๑๑-๒๐๒๕” (Master Plan for Acceleration and Expansion of Indonesia Economic Development 2011–2025) หรอื ชอ่ื ยอ่ ว่า MP3EI เพื่อเปน็ แนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยมเี ปา้ หมายมงุ่ สร้างให้อนิ โดนเี ซยี เป็น ประเทศทมี่ เี ศรษฐกจิ ใหญต่ ดิ อนั ดบั ๑ ใน ๑๐ ของโลกภายใน ค.ศ. ๒๐๒๕ ซงึ่ อนิ โดนเี ซยี สามารถบรรลุเป้าหมายนไี้ ด้ เพราะได้ประเมินจดุ แขง็ ของประเทศ ๓ ดา้ น คือ ด้านปจั จัย ทรัพยากรมนุษย์ ดว้ ยจำ� นวนประชากรที่มจี �ำนวนมาก ท�ำให้อนิ โดนีเซยี มีความได้เปรยี บ ในเรื่องแรงงานการผลิต และอินโดนีเซียยังเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนท่ีมีอัตราค่าแรง ค่อนข้างต�่ำ ในด้านปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ อินโดนีเซียมีความอุดมสมบูรณ์ ด้านทรัพยากรธรรมชาตแิ ละทรพั ยากรดา้ นเศรษฐกิจอย่างมาก ไมว่ า่ จะเป็นนำ�้ มนั ปาลม์ ดีบุก ทองแดง เหลก็ และการประมง เปน็ ตน้ และสุดทา้ ย คือ ปจั จัยดา้ นภูมศิ าสตร์ ดว้ ย ความเปน็ หมเู่ กาะลอ้ มรอบดว้ ยทะเล ทำ� ใหม้ เี สน้ ทางขนสง่ ทางทะเลทตี่ ดิ ตอ่ เชอ่ื มกบั เสน้ ทางทะเลของโลกได้โดยตรง นอกจากน้ี ในแผนนี้ยังได้มีการก�ำหนด ๖ เขตเศรษฐกิจ ที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาประเทศอีกด้วย ท่ีเน้นทั้งการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ภาค การบริการ ภาคการเกษตรกรรม แปรรูปพลังงาน ความมั่นคงทางอาหาร และ การท่องเท่ียว ในแผนนี้ยังเช่ือม่ันว่า ในยุคเศรษฐกิจแห่งปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-Based Economy) เศรษฐกิจต้องพัฒนาจากการผลิตที่ขับเคล่ือน 92

สาธารณรฐั อินโดนีเซยี โดยนวตั กรรม ดงั นน้ั รฐั บาลจงึ จ�ำเปน็ ต้องจดั การศกึ ษาท่ีดใี หก้ ับประชาชน เพอื่ ให้เกดิ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไป อันจะเป็นเสาหลักให้กับการพัฒนา เศรษฐกจิ ของประเทศในล�ำดับตอ่ ไป แต่ปัญหาเศรษฐกิจยงั ไม่ไดร้ ับการแกไ้ ขอยา่ งท่ีควร จะเป็น แม้จะมีการประเมินในแผนพัฒนาฯ ถึงจุดแข็งและความพร้อมของอินโดนีเซีย ในการพฒั นาดา้ นเศรษฐกจิ กต็ าม แตต่ ลอดระยะเวลาทผ่ี า่ นมา อนิ โดนเี ซยี ยงั คงตอ้ งพงึ่ พา การนำ� เขา้ จากตา่ งประเทศ และยงั ขาดความชดั เจนในเรอื่ งนโยบายความมน่ั คงทางอาหาร และพลงั งาน โดยเฉพาะการพงึ่ พาดา้ นอาหารจากประเทศออสเตรเลยี ซงึ่ โยงไปถงึ ปญั หา การไมม่ ีท่ดี ินทำ� กนิ และปญั หาการวา่ งงาน ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ อินโดนเี ซยี ไดม้ ีการลงคะแนนเสยี งเลอื กต้ัง ประธานาธิบดขี ้นึ หลังจากการสิ้นสุดวาระที่ ๒ ของประธานาธบิ ดซี ซู ีโล บมั บัง ซ่งึ ถอื เป็น ครง้ั ที่ ๓ ในการเลอื กตงั้ ประธานาธบิ ดโี ดยตรงของอนิ โดนเี ซยี ในครง้ั นมี้ ผี ลู้ งสมคั รรบั เลอื ก เป็นประธานาธิบดี ๒ คน คอื อดีตนายพล ปราโบโว ซเู บยี นโต (Prabowo Subianto) อดีตผู้บังคับบัญชาหน่วยสงครามพิเศษ แต่ถูกให้ออกจากราชการในข้อหาลักพาตัวนัก เคลือ่ นไหว และปลุกระดมใหเ้ กิดความไม่สงบ โจโก วีโดโด (Joko Widodo) อดีตนายก เทศมนตรเี มอื งโซโลตะวนั ออกและผ้วู ่าการกรงุ จาการต์ า (ค.ศ. ๒๐๑๒) ด้วยภาพลกั ษณ์ ความเป็นคนธรรมดา เข้าถึงง่าย ประกอบกับนโยบายของวีโดโดท่ีเน้นการปรับปรุง สวสั ดกิ ารของประชาชน เชน่ แกป้ ญั หาความยากจนและสรา้ งงานใหไ้ ด้ ๑๐ ลา้ นตำ� แหนง่ ใน ๕ ปี รวมถงึ การปฏิรปู ระบบราชการใหม่ เพือ่ กระจายผลประโยชนไ์ ปยงั ทุกกลมุ่ อยา่ ง เทา่ เทยี ม เขาจงึ ไดร้ บั คะแนนเสยี งอยา่ งมาก เมอ่ื เทยี บกบั อดตี นายพลซเู บยี นโต ทถ่ี กู มอง วา่ เปน็ กลมุ่ อำ� นาจเกา่ ทสี่ บื ทอดจากอดตี ประธานาธบิ ดซี ฮู ารโ์ ต และในวนั ที่ ๒๒ กรกฎาคม ปีเดียวกัน คณะกรรมการเลือกตั้งกลางได้ประกาศผลการเลือกตั้ง เป็นชัยชนะของ โจโก วีโดโด ซ่งึ ขึ้นดำ� รงตำ� แหนง่ ในวนั ที่ ๒๐ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ ในฐานะประธานาธิบดี คนท่ี ๗ ของอินโดนีเซีย. (อดุ มพร ธรี ะวิริยะกลุ ) 93