Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ราชาศัพท์

Description: ราชาศัพท์ไทย
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคงเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ

Search

Read the Text Version

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่ 1. p 1-8-6 Sep.indd 1 9/6/12 6:30:47 PM

ราชาศพั ท ์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวในโอกาสพระราชพธิ ี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 คณะอนุกรรมการจัดทำตน้ ฉบับหนังสอื ราชาศพั ท ์ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนกั นายกรฐั มนตร ี สำนกั งานเสรมิ สร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตร ี จดั พิมพเ์ ผยแพร่ ครง้ั ท่ี 4 พุทธศกั ราช 2555 ฉบับปรบั ปรุงครง้ั ท่ี 2 จำนวน 10,000 เล่ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาต ิ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data. สำนักงานเสรมิ สรา้ งเอกลกั ษณ์ของชาต,ิ ราชาศัพท์. -- พมิ พค์ ร้งั ที่ 4.-- กรงุ เทพฯ : สำนักงาน, 2555. 416 หน้า. 1. ภาษาไทย -- ราชาศพั ท.์ I. ชอ่ื เรอื่ ง. 495.913 ISBN 978-616-235-142-6 พมิ พ์ท่ี : บรษิ ัทด่านสทุ ธาการพิมพ์ จำกดั 307 ซอยลาดพร้าว 87 แขวงคลองเจา้ คณุ สิงห ์ เขตวงั ทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 0-2966-1600-6 โทรสาร 0-2966-1609 หนงั สอื เผยแพรห่ ้ามจำหนา่ ย 1. p 1-8-19 Sep.indd 2 9/19/12 5:33:39 PM

คำปรารภ เน่ืองในมหามงคลสมัยท่ีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 รัฐบาลและปวงชนชาวไทยมีความปลื้มปีติช่ืนชมโสมนัส เป็นล้นพ้น จึงพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติด้วยความจงรักภักดีและความสำนึกใน พระมหากรณุ าธิคณุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเม่ือพุทธศักราช 2489 และได้ทรง ประกาศพระปฐมบรมราชโองการ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เม่ือพุทธศักราช 2493 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพ่ือประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นับแต่บัดน้ันตราบจน ปัจจุบัน พระองค์ทรงยึดม่ันในทศพิธราชธรรมและทรงพระวิริยอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อย ใหญ่นานัปการ เพ่ือบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงชนชาวไทยตลอดมา ด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน ่ และพระอัจฉริยภาพอันล้ำเลิศ พระองค์ได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการลดภาวะวิกฤตด้าน ส่ิงแวดล้อม ตลอดจนพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการ เพื่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน รวมทั้งพระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือเป็นแนวทาง ให้พสกนกิ รดำรงชวี ติ ร่มเยน็ เปน็ สขุ อย่างย่ังยืน พระราชกรณยี กจิ นานปั การอนั เกิดจากพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ ตลอดจนพระราชจริยวัตรอันงดงามของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ล้วนเป็นคุณูปการย่ิงใหญ่แก่ประเทศและประชาชน ส่งผลให้ประเทศมีความม่ันคงอุดมสมบูรณ์ และเจริญรุ่งเรืองพัฒนาก้าวหน้า พระเกียรติคุณของพระองค์จึงเป็นท่ีแซ่ซ้องสรรเสริญทั้งในประเทศ และนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวจึงเป็นพระมง่ิ ขวญั รม่ เกล้าของชาวไทยทัง้ ปวง ซึง่ ล้วน เทิดทนู พระมหากรณุ าธิคุณไว้เหนอื เศียรเกล้ามาโดยตลอด รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายประมวล เอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ พิจารณาเห็นชอบให้ หน่วยราชการ องค์กร และเอกชน จัดพิมพ์หนังสืออันมีคุณค่า เพื่อเทิดพระเกียรติคุณและ พระปรชี าสามารถในด้านตา่ งๆ ใหป้ รากฏยั่งยืนสืบไปตราบกาลนาน 1. p 1-8-6 Sep.indd 3 9/6/12 6:31:20 PM

ในนามของรัฐบาลและประธานกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน่ืองในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ขออนุโมทนาในความวิริยอุตสาหะของหน่วยราชการ องค์กร เอกชน และคณะกรรมการ ฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ตลอดจนคณะทำงานทุกคณะที่ได้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ สาขาต่างๆ ท่ีทรงคุณค่า อันจะอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประชาชน น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เปน็ ราชสกั การะแด่พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ผูส้ ถติ ในดวงใจของปวงประชาราษฎรตลอดกาล ขอจงทรงพระเจรญิ ยง่ิ ยนื นาน เทอญ (นางสาวยงิ่ ลักษณ์ ชินวัตร) นายกรฐั มนตร ี ประธานกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรต ิ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว เนอ่ื งในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธนั วาคม 2554 1. p 1-8-19 Sep.indd 4 9/19/12 5:34:09 PM

คำนำ มหามงคลสมัยท่ีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 นี้ รัฐบาลชุดท่ีแล้ว รัฐบาลปัจจุบัน และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติเพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหา ท่ีสุดมิได้ รัฐบาลในนามคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 จึงได้ มอบหมายให้คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาดำเนินงานจัดทำหนังสือ วิชาการสาขาต่างๆ พร้อมท้ังจัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติ เน่ืองในมหามงคลโอกาส น้ีด้วย คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุพิจารณาเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เลือกสรรและจัดพิมพ์หนังสือหลายสาขาในนามของรัฐบาล เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผย แพร่หนังสืออันทรงคุณค่าเหล่านั้นให้แก่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง เพื่อเป็นผลงานทรัพย์สินทาง ปัญญาของแผ่นดิน โดยเฉพาะพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหนังสืออื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นหนังสือที่พิมพ์ในนามของคณะกรรมการฝ่ายประมวล เอกสารและจดหมายเหตุ หนงั สือจดหมายเหตุการพระราชพธิ ีและกิจกรรมเฉลมิ พระเกยี รติ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และหนังสือที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนแสดงเจตนารมณ์ ขอพิมพ์ร่วม เฉลิมพระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวด้วย คณะกรรมการฯ จะแจกจ่ายหนังสือเหล่านี้ไปยังแหล่งความรู้ต่างๆ ท่ัวทุกภูมิภาคของประเทศ และในต่างประเทศท่ัวโลก เพ่ือยังประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าของประชาชนทุกระดับ ทั้งนี้ โดยตระหนักว่าการสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานอันทรง คุณค่าอำนวยประโยชน์เก้ือกูลแก่สาธารณชนเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรม แลว้ ยังเปน็ การสรา้ งส่งิ อนุสรณ์ทเ่ี ปน็ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาของชาติไวใ้ นแผ่นดินสบื ไป ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ปวงชนชาวไทยจักได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวาง จากหนังสือดีมีคุณค่าสะท้อนวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองม่ันคงของชาติ และจะได้ร่วมกันธำรงรักษา ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ม่ันคงยั่งยืน เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระวิริยอุตสาหะพัฒนาและปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยามโดยทว่ั กัน (นางสุกมุ ล คุณปลมื้ ) รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงวฒั นธรรม ประธานกรรมการฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหต ุ 1. p 1-8-19 Sep.indd 5 9/19/12 5:34:28 PM

คำช้ีแจง ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ทรงทำนุบำรุง บ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขของอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม และขัตติยวัตร ขัตติยธรรม พระมหากรุณาธิคุณดังกลา่ วทำให้พระมหากษตั ริย์ทรงเปน็ ศนู ย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยตลอดมา บรรพชนไทยเคารพสักการะพระมหากษัตริย์ และต้องการแสดงออกว่าเทิดทูนพระประมุข ของชาติไว้สูงสุด จึงคิดถ้อยคำที่ควรแก่พระเกียรติมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูล พระกรุณาให้ต่างจากถ้อยคำท่ีสามัญชนพูด คำราชาศัพท์น้ีได้ใช้เป็นภาษาแบบแผนสืบต่อกันมา ถือเป็นวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ จึงเห็นสมควรจัดทำหนังสือราชาศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง ครั้งท่ี 2 เผยแพร่แก่นักเรียน เยาวชน และ ประชาชนท่ีสนใจศึกษาและใช้ราชาศัพทใ์ ห้ถูกแบบแผน การจัดทำหนังสือราชาศัพท์คร้งั น้ี คณะอนุกรรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือราชาศัพท์ ได้ปรับปรุง จากฉบับเดิม ท่ีจัดทำไว้เมื่อพุทธศักราช 2553 และใช้ข้อมูลจากหนังสือ เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับ ราชาศัพท์ท่ีใช้อยู่ในปัจจุบันตามท่ีปรากฏช่ือในบรรณานุกรมท้ายเล่ม เป็นแนวทางในการพิจารณาปรับ ต้นฉบับให้ถูกต้องสมบูรณ์ข้ึน รวมทั้งได้จัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ แยกคำสุภาพท่ีใช้แก่พระสงฆ์และ บุคคลทั่วไปพิมพ์ไว้เป็นภาคผนวกท้ายเล่ม เพิ่มภาพประกอบเพ่ือเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าพร้อม ทงั้ ดชั นีคน้ คำ คณะอนุกรรมการฯ ขอขอบคุณหน่วยงาน และบุคคลต่างๆที่กรุณาอนุเคราะห์ให้ข้อมูล คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลุล่วงเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาเร่ือง คำราชาศพั ทแ์ ละการใชภ้ าษาไทย ตลอดจนธำรงรักษาไวซ้ งึ่ เอกลกั ษณท์ างภาษาอันมีค่าของชาตสิ ืบไป คณะอนุกรรมการจดั ทำต้นฉบับหนงั สือราชาศัพท ์ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ 1. p 1-8-6 Sep.indd 6 9/6/12 6:32:14 PM

สารบาญ สารบาญ 7 คำอธบิ ายวิธีใชห้ นังสือราชาศพั ท ์ 8 1 อธิบายราชาศพั ท์และการใช้ราชาศพั ท์ 9 2 ราชาศพั ท์หมวดตา่ งๆ 33 1 ขัตติยตระกูล 34 2 รา่ งกาย 45 3 อาการ 53 4 นาม 78 5 เคร่ืองแต่งกาย เคร่ืองประดบั 101 ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครอื่ งใชท้ ัว่ ไป 6 ศพั ท์ทีใ่ ชใ้ นการพระราชพิธีและการพระราชกศุ ล 111 7 เครื่องราชกกธุ ภัณฑ์และเครอ่ื งราชูปโภค 215 8 พระราชนเิ วศนม์ ณเฑียรสถาน 235 9 พระราชพาหนะ 245 10 ลกั ษณนาม 264 บท 3 คำนำพระนามและคำนำนาม 267 บท 4 คำนามและคำกรยิ าที่มีความหมายอย่างเดียวกนั แตใ่ ชร้ าชาศัพท์ต่างกัน 274 บท 5 การใชร้ าชาศัพท์ในการเขยี นหนงั สือ การกราบบงั คมทูลพระกรณุ า 309 กราบบังคมทูล กราบทูล และทลู ด้วยวาจา ภาคผนวก 334 ภาคผนวก 1 คำสุภาพ 335 ภาคผนวก 2 คำสภุ าพเรียกสตั วแ์ ละอน่ื ๆ 354 ภาคผนวก 3 ลักษณนาม 358 ภาคผนวก 4 คำขึ้นตน้ คำสรรพนาม คำลงท้าย ในการเขยี นหนงั สือ 364 ถงึ พระสงฆ์และบคุ คลท่ัวไป ภาคผนวก 5 คำขึน้ ต้น คำสรรพนาม คำลงท้าย ในการกลา่ วรายงาน 367 พระสงฆแ์ ละบคุ คลทวั่ ไป บรรณานุกรม 371 ดชั น ี 376 รายนามคณะกรรมการอำนวยการจดั งานเฉลิมพระเกยี รติพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั เน่ืองในโอกาสพระราชพิธมี หามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 รายนามคณะอนกุ รรมการฝายประมวลเอกสารและจดหมายเหต ุ รายนามคณะอนุกรรมการจดั ทำต้นฉบับหนังสอื ราชาศพั ท์ เฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ในโอกาสพระราชพธิ ีมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 1. p 1-8-19 Sep.indd 7 9/19/12 5:34:57 PM

คำอธิบาย วธิ ใี ช้หนังสือราชาศัพท ์ หนังสือราชาศัพท์ฉบับนี้ จัดทำข้ึนเพื่อให้การค้นหาคำราชาศัพท์ที่ต้องการสะดวกขึ้น ท้งั จากคำราชาศพั ท์และคำสามัญ จงึ จดั ทำคำอธบิ ายวธิ ีใช้หนงั สือไวด้ ังต่อไปน ้ี 1. คำราชาศัพท์จัดไว้เป็นหมวด เรียงลำดับตามความสำคัญของคำท่ีเกี่ยวข้องกับพระมหา กษัตริย์ เร่ิมต้นด้วยขัตติยตระกูล ร่างกาย อาการ นาม เคร่ืองแต่งกาย เครื่องประดับ ภาชนะใช้สอย อาหาร และเครื่องใช้ทั่วไป ศัพท์ท่ีใช้ในการพระราชพิธีและการพระราชกุศล เคร่ืองราชกกุธภัณฑ์และ เคร่ืองราชูปโภค พระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน พระราชพาหนะ ลักษณนาม คำนำพระนามและ คำนำนาม คำนามและคำกริยาที่มีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ใช้ราชาศัพท์ต่างกัน การใช้ราชาศัพท์ ในการเขยี นหนังสอื การกราบบังคมทลู พระกรณุ า กราบบงั คมทลู กราบทูล ทูล และรายงานดว้ ยวาจา 2. การจดั คำในแตล่ ะหมวด 2.1 จะขึ้นต้นด้วยคำราชาศัพท์ อธิบายความหมายและบอกฐานันดรศักดิ์ของ ผใู้ ชค้ ำราชาศัพท์นนั้ ๆ 2.2 จัดคำตามลำดบั อนั ควร เช่น ในหมวดร่างกาย จะเริ่มตน้ จากเบื้องบนลงไป ถงึ เบื้องลา่ ง คอื ศรี ษะ แขน มอื ลำตัว ขา และเท้า 2.3 จัดคำท่ีใช้แก่พระมหากษัตริย์ก่อน แล้วจึงถึงคำท่ีใช้แก่สมเด็จพระบรม- ราชนิ นี าถ และต่อไปตามลำดบั พระบรมวงศานุวงศ์ ถา้ ไม่บอกวา่ ใชแ้ กพ่ ระราชวงศ์ช้ันใด หมายความว่า ใช้แก่พระราชวงศ์ทุกช้ัน 1. p 1-8-6 Sep.indd 8 9/6/12 6:58:08 PM

บทที่ 1 อธิบายราชาศพั ท์และการใชร้ าชาศพั ท์ ตามที่เข้าใจกันท่ัวไป ราชาศัพท์ หมายถึงถ้อยคำจำพวกหนึ่งท่ีมีลักษณะพิเศษ เป็น คำท่ใี ช้แกพ่ ระมหากษัตรยิ ์และเจ้านาย เชน่ คำว่า พระเนตร พระกรรณ พระบาท พระหตั ถ์ สรง เสวย เปน็ ต้น ทจ่ี ริง ราชาศัพท์ มีความหมายกวา้ งกว่าน้ี ตำราของ พระยาศรสี นุ ทรโวหาร (นอ้ ย อาจารยางกูร) อธิบายคำนี้ไว้เป็นใจความว่า ราชภาษา อันสมมติเรียกว่า ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำ ภาษาที่ผู้ทำราชการพึงศึกษาจดจำไว้ใช้ให้ถูกในการกราบบังคมทูลพระกรุณา ในการเขียนหนังสือ และแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะกล่าวถึงผู้ใด สิ่งใดก็ใช้ถ้อยคำให้สมความ ไม่ให้พลาดจาก แบบแผนเยี่ยงอยา่ งท่มี มี าแตก่ อ่ น ทีม่ าของราชาศัพท์ ราชาศัพท์เกิดขึ้นในชั้นแรกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในฐานะท่ีทรงเป็น ประมุขของชาติ ให้สูงกวา่ คนในชาติ ดงั ลายพระหตั ถ์ของสมเด็จพระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใน พระนิพนธ์ สาส์นสมเด็จ เลม่ ท่ี 23(1) วา่ “ลักษณะที่ไทยใช้ ราชาศัพท์ก็เป็นคำที่ผู้ที่มิใช่เจ้าใช้เรียกกิริยาหรือวัตถุอันเป็นของ เจ้า หรือว่าโดยย่อ ราชาศัพท์ดูเป็นคำท่ีผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ หรือถ้าว่า อีกอย่างหน่ึง ดูเป็นเอาภาษาของคนจำพวกอื่น ที่ใช้สำหรับผู้ท่ีมาเป็นเจ้านายผู้ปกครองของตน มีเค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่า เห็นได้ว่า ราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดกกว่าท่ีอื่น ย่ิงเหนือข้ึนไปยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ หม่อมฉันอยากสันนิษฐานว่า มูลของราชาศัพท์จะเกิดด้วย เมื่อเขมรปกครองเมืองละโว้ ในอาณาเขตเมืองละโว้ พลเมืองมีหลายชาติ คำพูดเป็นหลายภาษา ปะปนกัน ท้ังเขมร ไทย และละว้า ไทยพวกเมืองอู่ทองคงพูดภาษาไทย มีคำภาษาอ่ืนปนมากกว่า ภาษาไทยทพ่ี ดู ทางเมอื งเหนอื หรอื จะเปรียบให้เห็นใกล้ๆ เชน่ ภาษาไทยที่พดู กันทางเมอื งอบุ ลกับท่ี พูดกันในกรุงเทพฯ ในเวลานี้ก็ทำนองเดียวกัน ครั้นรวมเมืองเหนือกับเมืองใต้อยู่ในปกครองของ กรุงศรีอยุธยา เจ้านายท่ีเคยอยู่เมืองเหนือนับแต่สมเด็จพระบรมราชาธิราชสามพระยา เป็นต้น ได้ปกครองกรุงศรีอยุธยาและตีเมืองเขมรได้ ได้เขมรพวกท่ีเคยปกครองเมืองเขมรเข้ามาเพ่ิมเติม ระเบียบราชาศัพท์จึงเริ่มเกิดข้ึนต้ังแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้น แต่เจ้านาย (1) สาส์นสมเดจ็ ฉบบั ลงวนั ที่ 29 กันยายน 2484 (ฉบบั องค์การค้าครุ สุ ภา พ.ศ. 2516) เลม่ 23 หนา้ 106-107 9 2. up 9-32-7 Sep.indd 9 9/20/12 10:42:58 AM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เคยตรัสอยู่แต่ก่อนอย่างไรก็ตรัสอยู่อย่างน้ัน ใช้ราชาศัพท์แต่กับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายท่ีทรง ศักดสิ์ ูงกวา่ หรอื เสมอกัน นว่ี ่าด้วยกำเนิดของราชาศพั ท์ ถ้าวา่ ต่อไปถงึ ความประสงคท์ ่ใี ช้ราชาศัพท์ ดูก็ชอบกล สังเกตตามคำที่เอาคำภาษามคธและสันสกฤตมาใช้ เช่นว่า พระเศียร พระโอษฐ์ พระหัตถ์ พระบาท เป็นต้น ดูประสงค์จะแสดงว่าเป็นของผู้สูงศักดิ์กว่าที่มิใช่เจ้าเท่าน้ัน แต่ท่ีเอา คำสามัญในภาษาเขมรมาใช้ เช่น พระขนง พระเขนย และพระขนอง เปน็ ตน้ ดูเป็นแต่จะเรยี กให้ บริวารท่ีเป็นเขมรเข้าใจ มิใช่เพราะถือว่าภาษาเขมรสูงศักดิ์กว่าภาษาไทย ชวนให้เห็นว่า เม่ือแรก ต้ังราชาศัพท์ ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และราชาศัพท์ในครงั้ แรกจะไมม่ ีมากมายนกั ต่อมาภายหลังจงึ คดิ เพ่ิมเติมขึ้น” พระวรเวทย์พิสฐิ (เซ็ง ศิวะศรยิ านนท)์ กลา่ วไวใ้ นหนงั สือ หลักภาษาไทย วา่ “ต้นเดมิ ท่ีจะเกิดมีราชาศัพท์ขึ้น ก็เพราะเมื่อไทยเราต้ังชาติเข้มแข็งขึ้นในดินแดนท่ีเข้ามาปกครองใหม่ คือ ดินแดนประเทศสยามนี้ เราก็เลือกผู้ท่ีมีความสามารถ มีลักษณะเป็นอัจฉริยบุคคลในคณะ แล้ว ยกขึ้นเป็นประมุขของชาติเพื่อคุ้มครองชาติให้ม่ันคงและนำชาติให้ประสบชัย ตลอดถึงความเป็น อารยชาติ ผทู้ ี่ได้รับเลือกเปน็ ประมุขน้เี รียกกนั วา่ พระราชาธิบด”ี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ตรัสไว้ในปาฐกถาเรื่อง กถาเรื่อง ภาษา ว่า “นอกจากคำพูดและวิธีพูดทั่วไปแล้ว ยังมีคำพูดและวิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะ เหล่าอีกด้วย เช่น ราชาศัพท์ของเรา เป็นต้น ฝร่ังไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว แต่มีวิธีพูดยกย่อง ชั้นพระมหากษัตริย์หรอื ชั้นผูด้ ีเหมือนกัน แตว่ ธิ พี ดู เช่นนี้ไมม่ กี ฎเกณฑ์ตายตัว โดยมากมักจะเปน็ วิธี พดู อยา่ งสุภาพเท่านนั้ เอง” คำที่ใช้เป็นราชาศัพท์ของไทย ส่วนใหญ่เป็นคำภาษาอ่ืน มาจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เหตุที่ใช้คำภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เป็นคำราชาศัพท์ของไทยน้ัน นักปราชญ์ทาง ประวัติศาสตร์และทางภาษากล่าวว่า การนำคำในภาษาเขมรมาใช้นั้นเป็นการเทิดพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน นอกจากนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหม่ืน นราธิปพงศ์ประพนั ธ์ ยังไดต้ รัสไว้ในปาฐกถาเร่ือง สยามพากย์ วา่ “การใช้ราชาศพั ท์ เพ่อื จะยกยอ่ งฐานะของพระราชาใหส้ ูงข้นึ ” คำเขมรท่ีต่อมานำมาใช้เป็นราชาศัพท์นั้น ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักต่างๆ มีใช้อยู่มากและ ใชแ้ กค่ นสามัญทั่วไป มไิ ด้ใช้แกพ่ ระมหากษตั ริย์ เช่น 10 2. up 9-32-7 Sep.indd 10 9/7/12 8:04:49 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ศิลาจารึกสุโขทัย หลกั ที่ 1 จารึกพ่อขนุ รามคำแหง คำวา่ ทรง “คนในเมอื งสุโขทัยนี้มกั ทาน มกั ทรงศีล มกั โอยทาน” (บรรทดั ท่ี 9 ด้าน 2) ศลิ าจารึกสโุ ขทัย หลักที่ 2 จารึกวดั ศรชี มุ (พุทธศักราช 1884-1910) คำว่า เสด็จ “พระศรีรัตนมหาธาตุเจ้ากูลูกหน่ึงมีพรรณงามดังทอง... เสด็จมาแต่กลาง หาว” (บรรทัดท่ี 66 ดา้ น 2) คำว่า บังคม “คนทั้งหลายไหว้กันเต็มแผ่นดิน อุปมาดังเรียงท่อนอ้อยไว้มาก... เขาจึงขึ้น บงั คม” (บรรทดั ท่ี 73 ดา้ น 2) ส่วนท่ีใช้คำภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีเป็นราชาศัพท์นั้น พระวรเวทย์พิสิฐ กล่าวไว้ใน หนังสือ หลักภาษาไทย ว่า เป็นเพราะคำทั้งสองน้ีเป็นคำทางพระศาสนาซึ่งถือว่าเป็นคำสูง จึงนำ มาใชเ้ ปน็ ราชาศัพท์ด้วย คำราชาศัพท์ มีใช้เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังที่ พลตรี หม่อม ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) กล่าวไว้ในเรื่อง กิริยามารยาทและการใช้ ถ้อยคำในราชสำนัก ว่า “ราชาศัพท์ที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรก เห็นจะเป็นกฎ มณเฑียรบาลในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยา ในกฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ มีพระราชกำหนดถ้อยคำท่ีจะใช้กราบทูล คำท่ีใช้เรียกส่ิงของใช้ และวิธีใช้คำรับ อาจถือเอาเป็น ราชาศัพท์ฉบับแรกได้ ดังท่ีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ทรงแสดง พระมติทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ไว้แล้วว่า ระเบียบ ราชาศพั ท์จึงเร่มิ ขึ้นตั้งแตร่ ัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นตน้ ” 11 2. up 9-32-7 Sep.indd 11 9/7/12 8:04:50 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ การใช้ราชาศัพท ์ ราชาศัพท์ส่วนมากเป็นศัพท์ท่ีมาจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร และคำไทยรุ่นเก่า สามารถสังเกตได้ว่ามักเป็นคำประสม ประกอบข้ึนด้วยคำตั้งแต่สองคำข้ึนไป และกำหนดให้ใช้ในท่ี ต่ำสูงต่างกัน ในบทน้ี จะต้ังข้อสังเกตให้ศึกษาถึงราชาศัพท์ท่ีใช้เป็นคำชนิดต่างๆ ว่าแต่ละชนิด มีลักษณะอย่างไร และมีวิธีการอันใดที่พึงถือเป็นหลักในการประกอบคำเข้าด้วยกัน ให้สำเร็จเป็น ราชาศพั ทท์ ม่ี ีความหมายถกู ต้องตรงกับที่ประสงคจ์ ะใช ้ ข้อหนึ่ง ราชาศพั ทท์ ่ีใชเ้ ปน็ ชอื่ ที่เรยี กวา่ คำนาม หรือสามานยนาม ในไวยากรณ์ มี ๒ ลกั ษณะ คือ ๑. คำท่ีไม่ต้องใช้คำใดๆ เข้าประกอบ ได้แก่ คำนามท่ีเป็นช่ือของส่ิงท่ีรวมกันอยู่เป็น หมู่มาก เช่น สมาคม คณะ รัฐบาล มูลนิธิ บริษัท โรงเรียน สงฆ์ ที่ทางไวยากรณ์เรียก สมุหนาม พวกหนึ่ง อีกพวกหน่ึงได้แก่คำนามที่เป็นราชาศัพท์แล้วในตัว เช่น คำว่า วัง ตำหนัก หม่อม หม่อมห้าม เจ้าจอม ชายา เป็นตัวอย่าง พวกหลังน้ี บางทีเมื่อจะใช้ในที่สูงข้ึนไปกว่าศักดิ์ของคำ ต้องประกอบคำอื่นเข้าด้วย ให้ได้ความหมายตรงกับท่ีต้องการ อย่างคำว่า ตำหนัก (เรือนของ เจ้านาย) ประกอบคำ พระ เป็น พระตำหนัก กลายเป็นเรือนหลวง (เรือนของพระมหากษัตริย์) หรือคำว่า ชายา ซ่ึงหมายถึงหม่อมเจ้าท่ีเป็นภรรยาของเจ้านาย และคำน้ียังอาจประกอบคำอื่นๆ เข้าไดอ้ ีก เป็น พระวรชายา พระราชชายา พระวรราชชายา พระอัครชายา ซ่งึ ลว้ นมีความหมาย เปล่ียนไปตามความมุ่งหมายท่ีจะใช้ให้สูงและสำคัญยิ่งข้ึนเพียงใด หรือคำว่า เจ้าจอม ซ่ึงหมายถึง พระสนมของพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบวรราชเจ้า ก็อาจเล่ือนเป็น เจ้าจอมมารดา (เมื่อ มีพระเจ้าลูกเธอ) เป็น เจ้าคุณจอมมารดา (เมื่อได้รับสถาปนาให้มีศักดิ์สูงเป็นพิเศษ) หรืออาจ ตัดคำ เจ้า ออกเสีย เหลือแต่ จอมมารดา ก็ได้ เมื่อใช้สำหรับพระสนมในกรมพระราชวังบวร วไิ ชยชาญ ที่มพี ระโอรสธดิ า ๒. คำที่ตอ้ งใช้คำอืน่ เขา้ ประกอบใหเ้ ป็นราชาศัพท์ ซึง่ มหี ลักสังเกตในการประกอบดงั นี้ ๒.๑ คำที่ใชแ้ ก่พระมหากษตั รยิ ์ ๒.๑.๑ คำนามที่เป็นส่ิงสำคัญอันควรยกย่อง ใช้คำ เช่น พระบรมอรรคราช พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัครราช พระอัคร พระมหา นำหน้า เช่น พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนก พระบรมราช- ชนนี พระบรมราชโองการ พระบรมราชบรุ พการี พระบรมราชวงศ์ พระบรมราชาภเิ ษก พระบรม- ราชูปถัมภ์ พระบรมราชานุเคราะห์ พระบรมราชานุสรณ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรม- ราโชวาท พระบรมมหัยกา พระบรมราชินี พระบรมโพธิสมภาร พระบรมเดชานุภาพ พระบรม- 12 2. up 9-32-7 Sep.indd 12 9/7/12 8:04:52 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นามาภิไธย พระปรมาภิไธย พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมศพ พระบรมทนต์ พระบรมอัฐิ พระบรมญาติ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครราชเทวี พระอคั รราชชายา พระอัครมเหสี พระอคั ร- เทวี พระอัครชายา พระมหามณเฑียร พระมหาปราสาท พระมหาอุณาโลม พระมหามงกุฎ พระมหาสังวาล พระมหาสังข์ พระมหาเศวตฉัตร พระมหากรุณา พระมหากรุณาธิคุณ พระมหา มงคล ๒.๑.๒ คำนามที่เป็นส่ิงสำคัญรองลงมา หรือที่ประสงค์จะมิให้ปนกับเจ้านาย อื่นๆ หรือไม่ประสงค์จะให้รู้สึกว่าสำคัญดังข้อต้น ให้ใช้คำว่า พระราช ประกอบข้างหน้า เช่น พระราชวงั พระราชนเิ วศน์ พระราชอำนาจ พระราชวงศ์ พระราชประสงค์ พระราชดำริ พระราช- ดำรัส พระราชกุศล พระราชปรารถนา พระราชปรารภ พระราชทรัพย์ พระราชลัญจกร พระราชทาน พระราชอทุ ิศ ๒.๑.๓ คำนามที่เป็นสิ่งสามัญทั่วไป ที่ไม่ถือว่าสำคัญ และไม่ประสงค์จะแยก ให้เห็นว่าเป็นนามใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ ให้ใช้คำว่า พระ นำหน้า เช่น พระเจ้า พระองค์ พระกร พระหัตถ์ พระบาท พระโลหิต พระบังคน พระวาตะ พระเคราะห์ พระโรค พระแสง พระศรี พระยี่ภู่ พระแท่น พระเก้าอ้ี พระป้าย พระโธรน พระดิ่ง พระถ้วย พระฉาย พระสาง พระเขนย พระขนอง พระขนน คำทีเ่ ติมตามขอ้ ๒.๑.๓ น้ี และแม้ตามข้อ ๒.๑.๑ และ ๒.๑.๒ มีข้อน่าสงั เกตว่า ก. ส่วนใหญ่เป็นคำบาลี สันสกฤต คำเขมร และคำไทยเก่า แต่บางคำก็เป็น คำไทยธรรมดาและคำต่างภาษา เชน่ คำจีน คำฝรัง่ ซงึ่ อนโุ ลมใช้ พระ นำหน้าดว้ ย ข. บางทีเป็นคำชนิดอ่ืน แต่เม่ือเติมคำแต่งแล้วกลายเป็นคำนาม เช่น ประชวร (ป่วยเจ็บ-กริยา) พระประชวร (ความป่วยเจ็บ-นาม) สาง (หวี-กริยา) พระสาง (หวี-นาม) อุทิศ (กริยา) พระราชอุทิศ (นาม) ดำริ (กริยา) พระดำริ (นาม) ค. ถ้านามใดเป็นคำประสมซ่ึงมีคำ พระ ประกอบอยู่แล้ว ห้ามใช้คำ พระ นำหน้า ซ้อนอกี เชน่ ธารพระกร ฉลองพระเนตร รองพระบาท พานพระศรี ทองพระกร เคร่อื งพระสำอาง ตุ้มพระกรรณ บั้นพระองค์ ขนั พระสาคร อนึ่ง บุคคลท่ีเป็นพระญาติหรือเก่ียวข้องกับพระมหากษัตริย์ ย่อมมีคำบัญญัติให้ใช้ เป็นการเฉพาะ ซ่ึงจะกล่าวต่อไปข้างหน้าในบทนี้ แต่ถ้าใช้เป็นกลางๆ สำหรับพระประมุขอ่ืนๆก็ใช้ พระราช นำหน้า เช่น พระราชมารดา พระราชบิดา พระราชภคินี ถ้าบุคคลน้ันมิใช่เจ้านาย มกั ใช้ พระ นำ เช่น พระอยั กา พระมาตลุ า พระชนก พระชนน ี ส่วนสามัญชนท่ีเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยทางอื่น ใช้ พระ นำหน้า เช่น พระ อาจารย์ พระสหาย พระพเ่ี ลยี้ ง พระนม 13 2. up 9-32-7 Sep.indd 13 9/7/12 8:04:54 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๒.๑.๔ คำนามท่ีเป็นสิ่งท่ีไม่สำคัญ หรือมิได้กล่าวให้เป็นความสำคัญและ คำนั้นเป็นคำไทย บางคำใช้คำ หลวง หรือ ต้น ประกอบเข้าข้างหลังให้เป็นราชาศัพท์ได้ เช่น ลกู หลวง หลานหลวง ของหลวง รถหลวง เรือหลวง สวนหลวง มา้ ต้น ช้างตน้ ควรสังเกตว่า นามท่ีใช้คำประกอบท้ายตามข้อนี้ มีนัยต่างกันอยู่ตามคำประกอบนั้นๆ ท้ังยังมีความหมายไม่ตรงทีเดียวกับนามที่มีคำนำหน้าตามข้อ ๒.๑.๑, ๒.๑.๒ และ ๒.๑.๓ (สว่ น หลวง ทแ่ี ปลว่า ใหญ่ เชน่ คำ ภรรยาหลวง เขาหลวง ทะเลหลวง ไมจ่ ัดวา่ เปน็ คำประกอบ ท้ายเพ่อื ใหค้ ำหน้าเป็นคำราชาศพั ท)์ ๒.๑.๕ คำนามที่มีคำประกอบท้ายอ่ืนๆ ตามข้อ ๒.๑.๔ บางทียังประกอบ คำ พระ เข้าข้างหน้าไดด้ ้วย เพ่ือบ่งบอกวา่ เป็นคำใชแ้ ก่พระมหากษัตริย์ เช่น คำว่า พระเครื่องต้น ๒.๑.๖ บางคำประกอบคำอ่ืนๆ เข้าให้เป็นราชาศัพท์ด้วย มีความหมายต่าง กนั ไปตามคำทีป่ ระกอบ เช่น รถยนตพ์ ระท่ีนงั่ เรือยนต์พระที่น่งั รถทรง เรอื ทรง มา้ ทรง ชา้ งทรง น้ำสรง หอ้ งสรง ท่สี รง ของเสวย โตะ๊ เสวย หอ้ งบรรทม ที่บรรทม ท่ปี ระทับ ทีป่ ระพาส ๒.๒ คำท่ีใช้สำหรับเจ้านาย มีการใช้คำประกอบแตกต่างกันหลายอย่าง เพราะ เจ้านายมีหลายช้ัน กล่าวโดยย่อ ต้ังแต่สมเด็จพระบรมราชินีนาถลงไปจนถึงหม่อมเจ้า หลักการ ประกอบคำตามแบบแผนที่เคยเห็นใช้มีดังตอ่ ไปน ้ี ๒.๒.๑ ใช้คำ พระราช นำหน้านามบางคำท่ีใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช(๑) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช- กุมารี ตลอดจนนามท่ีสำคัญ เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชบัณฑูร พระราชบัญชา พระราช- ประวัติ พระราชดำริ พระราชดำรัส พระราชกิจ พระราชกุศล พระราชประสงค์ พระราโชบาย พระราโชวาท พระราชูทศิ พระราชานเุ คราะห์ ๒.๒.๒ ใช้คำ พระ นำหน้านามสำหรับพระบรมวงศ์ ตามข้อ ๒.๒.๑ ในนาม ท่ีไม่สำคัญ และสำหรับพระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า ท้ังในนามสำคัญและไม่ สำคัญ เชน่ พระเศียร พระองค์ พระหตั ถ์ พระบาท พระหทยั พระศพ เวน้ แตห่ ม่อมเจ้าไมใ่ ช้ พระ นำ คงพูดวา่ เศียร องค์ หัตถ์ หทยั ศพ ๒.๒.๓ พระราชพาหนะ เช่น รถยนต์พระที่น่ัง เรือยนต์พระที่นั่ง ใช้แก่ เจ้านายตามข้อ ๒.๒.๑ รถยนต์ที่นั่ง เรือยนต์ท่ีน่ัง ใช้แก่พระราชวงศ์ช้ันสมเด็จเจ้าฟ้าและ พระองค์เจา้ รถยนตพ์ ระประเทียบ ใชแ้ กส่ มเดจ็ พระสังฆราช รถของหม่อมเจ้าทเ่ี สดจ็ แทนพระองค์ (1) คือผู้ท่ีไดร้ ับแต่งตงั้ ให้เป็นผ้ดู ำรงสิรริ าชสมบัตสิ ืบตอ่ ไป อาจเป็นลกู ชาย น้องชาย หรือหลานชายก็ได้ 14 2. up 9-32-7 Sep.indd 14 9/7/12 8:04:56 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระมหากษัตริย์ และรถเชิญพระพุทธรูปสำคัญ รถยนต์ประเทียบใช้แก่องคมนตรีที่เป็นผู้แทน พระองคพ์ ระมหากษัตรยิ ์ รถทรง เรือทรง มา้ ทรง ๒.๒.๔ คำที่เป็นนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหรือ คำต่อแต่อย่างใด เช่น คำว่า เจ้าจอม (ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า) หม่อม (ในกรมพระราชวังบวร และเจา้ นาย) วัง ตำหนกั ชายา หม่อมห้าม ตามท่กี ลา่ วไว้ในข้อ ๑ ๒.๓ นามท่ีเป็นช่ือของคน สัตว์ ส่ิงของ หรือสิ่งอื่นที่เป็นของห่างไกล มิได้เก่ียว เนื่องกับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย รวมท้ังเป็นคำที่มีข้ึนมาในชั้นหลังๆ ซึ่งบางทีก็มีชื่อเป็น คำต่างภาษา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องตกแต่งหรือเปล่ียนแปลงให้เป็น ราชาศพั ทแ์ ต่อย่างใด ใหใ้ ชค้ ำเดมิ ตามปรกติ พระกระยาหารค่ำวันน้ีมีซุปจูเลี่ยน เน้ือสันอบเบียร์ มันชาโต มาเซดวนผัก (สลัดผัก) แกงต้มส้มปลากระบอก ผัดพริกขิงไข่เค็ม ผัดข้าวโพดอ่อนกับไก่ เปียกข้าวเหนียวดำ สม้ ตรา แตงหอม ลูกพลบั พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั ทรงใชเ้ ครือ่ งคอมพวิ เตอร์ชำนาญกว่าใครๆ ๒.๔ นามที่ต้องใช้คำประกอบดังกล่าวแล้ว เป็นพวกช่ือท่ัวไป ท่ีทางไวยากรณ์ เรียก ว่าสามานยนามอย่างหน่ึง อาการนามอีกอย่างหน่ึง น่าสังเกตว่านามสองชนิดน้ี บางทีท่านบัญญัติ คำไวใ้ หใ้ ชต้ า่ งกนั ตามชน้ั ของบคุ คล เชน่ คำวา่ จดหมาย หรอื หนงั สอื ทา่ นบญั ญตั คิ ำไว้ ใหใ้ ชต้ า่ งกนั หลายอย่าง ดงั นี้ พระราชหตั ถเลขา ใช้แก ่ พระมหากษัตรยิ ์ พระราชสาส์น ใชแ้ ก่ พระมหากษัตริย์ (ในการเจรญิ สมั พันธไมตรีกับตา่ งประเทศ) ลายพระราชหัตถ์ ใช้แก่ สมเด็จพระบรมราชินนี าถ สมเดจ็ พระบรมราชนิ ี สมเดจ็ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนน ี สมเด็จพระยพุ ราช สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช สยามมกฎุ ราชกมุ าร สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร ี 15 2. up 9-32-7 Sep.indd 15 9/7/12 8:04:58 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระมหาสมณสาส์น ใช้แก ่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า พระสมณสาส์น ใชแ้ ก่ สมเดจ็ พระสังฆราชเจา้ ลายพระหตั ถ์ หรอื พระอักษร ใชแ้ ก ่ เจา้ นายและสมเดจ็ พระสงั ฆราช ข้อสอง ราชาศพั ทท์ ี่เปน็ ช่อื เฉพาะของบุคคล ทางไวยากรณ์เรียกว่า วิสามานยนาม มีวิธีประกอบคำให้ใช้เป็นราชาศัพท์ตายตัวอยู่ กล่าวคอื ๑. วสิ ามานยนามอันเปน็ ช่อื เฉพาะ (รวมทั้งนามสกุล) ของบคุ คล เช่น สำรวย สวยพร้งิ เป็นต้นน้ัน จะต้องมีคำนำหน้าเรียกว่าสามานยนามนำหน้าชื่อประกอบด้วยเสมอ จึงจะนับว่า สมบูรณ์ ถ้าจะใช้ให้ถูกต้อง ต้องเป็นเด็กหญิงสำรวย สวยพร้ิง นางสาวสำรวย สวยพริ้ง นางสำรวย สวยพริ้ง คุณหญงิ สำรวย สวยพรงิ้ ท่านผหู้ ญิงสำรวย สวยพรงิ้ ดงั นี้ พระมหากษัตริย์และเจ้านายก็เช่นเดียวกัน จำต้องมีคำสามานยนามนำพระปรมาภิไธย พระบรมนามาภิไธย พระนามาภิไธย และพระนาม ด้วยเสมอ มีสามานยนามที่บัญญัติไว้ให้ใช้นำ ดังน ี้ ๑.๑ พระมหากษัตริย์ ใช้คำ พระบาทสมเด็จพระ นำพระปรมาภิไธย และยังมีวิธี เขียนพระปรมาภไิ ธยไดเ้ ป็น ๓ อยา่ ง คือ ๑.๑.๑ อย่างย่ิง เขียนพระปรมาภิไธยเต็มตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ เช่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรนี ฤบดนิ ทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพติ ร ๑.๑.๒ อย่างกลาง ละสร้อยพระปรมาภิไธย พระบรมนามาภิไธย เสียบ้าง เช่น พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาจฬุ าลงกรณ์ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอย่หู ัว ๑.๑.๓ อยา่ งย่อ ย่อเอาแตส่ ่วนสำคัญของพระปรมาภิไธยไว้ เชน่ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหลา้ นภาลัย พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหดิ ล พระอฐั มรามาธบิ ดนิ ทร พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช 16 2. up 9-32-7 Sep.indd 16 9/7/12 8:05:00 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๑.๒ พระมหากษัตริย์ท่ียังมิได้รับพระบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์ในอดีต และพระราชสมัญญา ใช้ สมเด็จพระ นำ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระบรม- ไตรโลกนาถ สมเดจ็ พระมหาบุรษุ ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีคำขานพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช สมเด็จ พระมหาธีรราชเจา้ พระมหากษัตริย์ในอดีตน้ัน บางทีก็ใช้คำนำตามท่ีปรากฏในพระราชพงศาวดาร เช่น พอ่ ขุนศรีอินทราทติ ย์ พอ่ ขุนรามคำแหงมหาราช พระยาลไิ ท ขนุ หลวงสรศักด ิ์ สว่ นพระมหากษัตรยิ ต์ า่ งประเทศ ใชค้ ำนำพระนามตา่ งกนั เปน็ ตน้ ว่า พระจกั รพรรดิ สมเด็จพระเจ้า สมเดจ็ พระ พระเจ้า เชน่ พระจักรพรรดิไฮเลเซลาสซี ที่ ๑ สมเด็จพระเจา้ จอร์จ ท่ี ๕ สมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์ พระเจ้ากรุงนอร์เวย์ พระเจ้ากรุงเดนมาร์ก จำเป็นต้องสังเกต จดจำตามทที่ างราชการใช(้ ๑) ๑.๓ คำท่ีใช้แก่เจ้านาย มีสามานยนามท่ีใช้เป็นคำนำพระนามเจ้านายโดยเฉพาะ เพื่อบอกสกุลยศ และอิสริยยศ ซ่ึงในตำราไวยากรณ์(๒) เรียกว่า สามานยนามบอกเครือญาติ กับ สามานยนามบอกชน้ั เจ้านาย ท่ีมักใช้ประกอบกันทงั้ สองอยา่ งเป็นส่วนมาก ดังนี้ ๑.๓.๑ สามานยนามบอกเครือญาติ คือ คำนำพระนามท่ีแสดงว่าเป็น พระประยรู ญาตชิ น้ั ใดกับพระมหากษตั รยิ ์ ตามทีจ่ ะอธิบายต่อไปข้างหน้า ๑.๓.๒ สามานยนามบอกช้นั เจ้านาย มี ๓ ชนั้ คอื เจ้าฟา้ พระองค์เจา้ และ หม่อมเจ้า นอกจากนี้ เจ้านายช้ันเจ้าฟ้า และพระองค์เจ้ายังมีพระอิสริยยศ ต่างกรม อีก ๗ ชั้น คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข กรมพระยา กรมพระ กรมหลวง กรมขุน และกรมหมน่ื ตามหลกั เกณฑข์ า้ งตน้ จึงเข้าใจไดว้ า่ เมอื่ เขยี นพระนามเจา้ นาย จะต้องลงสามานย- นามบอกเครือญาติ กับ สามานยนามบอกชั้น ก่อน แล้วจึงต่อด้วยพระนาม ซึ่งอาจเป็นพระนาม เดิม หรือพระนามกรม หรือทั้งสองอย่าง และถ้าทรงมียศทางทหารหรือพลเรือน จะลงสามานย- นามบอกยศ ในเบื้องตน้ ด้วยกไ็ ด้ ดงั ตวั อยา่ งตอ่ ไปน ี้ (๑) ในรัชกาลปัจจุบันคำที่เรียกพระมหากษัตริย์ต่างประเทศใช้ว่า สมเด็จพระราชาธิบดีแห่ง ตามด้วยช่ือประเทศ เช่น สมเด็จ พระราชาธิบดีแห่งมาเลเชีย ถ้าพระมหากษัตริย์เป็นหญิงใช้ว่า สมเด็จพระราชินีนาถ ตามด้วยพระนามและชื่อประเทศ เช่น สมเด็จพระราชนิ นี าถเอลซิ าเบธ ท่ี ๒ แหง่ สหราชอาณาจกั ร หรอื ตามดว้ ยชือ่ ประเทศ เช่น สมเดจ็ พระราชินนี าถแหง่ เดนมารก์ เป็นตน้ (๒) สยามไวยากรณ์ วจวี ิภาค ของพระยาอุปกิตศิลปสาร (น่ิม กาญจนาชีวะ) 17 2. up 9-32-7 Sep.indd 17 9/7/12 8:05:02 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ – พลเอก สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจา้ ฟา้ มหาวชริ าลงกรณ สยามมกฎุ ราชกมุ าร(๑) – พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากร ปิยชาติ สยามบรมราชกุมาร(ี ๒) – จอมพล สมเดจ็ พระราชปติ ลุ าบรมพงศาภมิ ขุ เจา้ ฟา้ ภาณรุ งั ษสี วา่ งวงศ์ กรมพระยา ภาณพุ ันธุวงศวรเดช – สมเด็จพระเจา้ พน่ี างเธอ เจ้าฟ้ากลั ยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครนิ ทร ์ – จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนคร สวรรคว์ รพนิ ิต – สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานรศิ รานวุ ัดตวิ งศ์ – สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาท นเรนทร – มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศว์ โรปการ – พระเจา้ บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวตั ิ กรมพระสมมตอมรพนั ธ ุ์ – พระเจา้ ราชวรวงศเ์ ธอ พระองค์เจา้ วรรตั น์ กรมหมนื่ พิศาลบวรศักด์ิ – พระราชวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จ้ากลั ยาณประวตั ิ กรมหมน่ื กวีพจนส์ ุปรชี า – พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร กรมหม่ืนนครสวรรค์ ศกั ดิ์พินติ – พระวรวงศ์เธอ พระองคเ์ จา้ สิงหนาทราชดรุ งคฤทธิ ์ เจ้านายช้ันหม่อมเจ้าน้ัน ไม่มีสามานยนามบอกเครือญาติ แต่ต้องลงราชสกุล ต่อท้ายนามด้วย เช่น หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ พลเรือเอก หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล ๑.๔ คำที่ใช้แก่พระสงฆ์ พระสงฆ์มีหลายชั้นและมีสามานยนามบอกสมณศักด์ิ นำนามตา่ งกันตามชน้ั ๑.๔.๑ เจ้านายท่ีทรงผนวชและทรงดำรงสมณศักด์ิ เป็นสมเด็จพระมหา- สมณเจ้าก็ดี เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าก็ดี ให้ใช้ตามประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา เช่น กรณีท่ีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาสมเด็จพระเจ้าบรม- วงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ส่วนกรณีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรตน้ัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า (๑) สยามมกุฎราชกุมาร เปน็ สามานยนามบอกตำแหนง่ มีขึน้ คร้ังแรกในรัชกาลที่ ๕ (๒) สยามบรมราชกมุ ารี เป็นสามานยนามบอกตำแหน่ง มีขึน้ ครัง้ แรกในรชั กาลปจั จุบัน 18 2. up 9-32-7 Sep.indd 18 9/7/12 8:05:03 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เจา้ อยูห่ วั ทรงสถาปนาพระยศทางราชตระกูล เป็นพระเจา้ วรวงศ์เธอ กรมหม่ืนชินวรสิรวิ ฒั น์ และ ทรงสถาปนาให้ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระปกเกลา้ เจา้ อยู่หวั ทรงเลอ่ื นเปน็ กรมหลวง ดังน้นั การออกพระนามทางราชการจงึ ออกพระนาม ตามทางราชตระกูลก่อน แล้วต่อด้วยพระยศทางสงฆ์ไว้ท้ายพระนาม คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ดังน้ีเป็นต้น แต่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มิได้ทรงเป็นเจ้านายมาก่อน(๑) จึงไม่มีสามานยนามบอกเครือญาติ คงใช้ นามแสดงสมณศักด์ินั้นนำแทน ส่วนสมเด็จพระสังฆราชท่ีมิใช่เจ้านาย ใช้พระนามอย่างสมเด็จ พระราชาคณะแล้วเติมตำแหน่งไว้ท้าย ได้แก่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงั ฆปริณายก และ สมเด็จพระญาณสงั วร สมเดจ็ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปรณิ ายก ๑.๔.๒ ราชตระกูล ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าท่ีทรงอุปสมบท บรรพชา ลงไปจนถึง หม่อมหลวงที่อุปสมบท บรรพชา เรียกสกุลยศนำหน้าฉายาด้วย เช่น หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ หม่อมเจ้าพระมหาเพลารถ หม่อมเจ้าพระภุชงค์ หม่อมเจ้าพระประภากร หม่อมเจ้า พระอรุณนิภาคุณากร หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าพระมนุษย นาคมานพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระประชาธิปกศักดิเดชน์ อน่ึง พระมหากษัตริย ์ เม่ีอทรงพระผนวช ไม่ใช้ว่า พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ใช้ว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัวซ่ึงทรงพระผนวช หมอ่ ม เปน็ คำนำนามสตรี (สามัญชน) ทเ่ี ปน็ หมอ่ มห้ามของเจา้ นาย ใชน้ ำหน้า ชื่อตัวและชื่อราชสกุล เช่น หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา หม่อมประพาล จักรพันธ์ุ ณ อยธุ ยา แตถ่ า้ เปน็ หมอ่ มราชวงศ์ หรอื หมอ่ มหลวง ตอ้ งใชค้ ำ หมอ่ มราชวงศ์ หรอื หมอ่ มหลวง นำหนา้ เช่น หม่อมหลวงสรอ้ ยระย้า ยคุ ล ห้ามใชค้ ำ หม่อม หรือคำนำอนื่ ๆนำหนา้ เปน็ อันขาด เจ้าจอม เปน็ คำนำนามพระสนม ใชน้ ำหนา้ ช่ือตัว และตอ่ ท้ายด้วยคำท่บี ง่ บอก วา่ เป็นพระสนมในรัชกาลใด เชน่ เจ้าจอมสมบุญ ในรัชกาลท่ี ๕ เจา้ จอมแส ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมมารดา เป็นคำนำนามพระสนมที่มีพระราชโอรสธิดา เช่น เจ้าจอม มารดาตานี ในรัชกาลที่ ๑ เจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลท่ี ๕ เจ้าจอมมารดาน่วม ในสมเด็จ พระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ถ้าเป็นพระสนมในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ใช้ จอมมารดา นำ เช่น จอมมารดาปอ้ ม ในกรมพระราชวงั บวรวไิ ชยชาญ(๒) ((๑๒)) แมีฐลาะนมันีบดารงกศรกั ณดท์ิ ีทาี่ทงรรงาสชถสากปุลนวาา่ หหมม่อ่อมมหร้าามชขวองงศเ์ชจืน่้านนาพยชวั้นงษล ์ูกหลวงข้ึนเป็น “เจ้าจอมมารดา” หากว่าหม่อมนั้นได้เป็นขรัวยายของ เจ้าฟ้าพระราชโอรสธิดาของพระมหากษัตริย์ เช่น หม่อมจีนในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ได้รับพระราชทาน สถาปนาเป็นเจา้ จอมมารดาจีน เนือ่ งจากได้เป็นขรัวยายของสมเด็จเจา้ ฟา้ ยุคลฑิฆมั พร สมเดจ็ เจ้าฟา้ มาลนิ นี พดารา และสมเดจ็ เจา้ ฟ้านิภานภดล ในรชั กาลที่ ๕ 19 2. up 9-32-7 Sep.indd 19 9/7/12 8:05:06 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เจ้าคุณจอมมารดา ในรัชกาลท่ี ๕ ทรงสถาปนาเจ้าจอมมารดา เป็น เจ้าคุณ จอมมารดา ๔ ท่าน คือ เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลท่ี ๔ เจ้าคุณจอมมารดาเป่ียม ใน รัชกาลท่ี ๔ เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้าเจ้าอยู่หัว และ เจ้าคุณจอม มารดาแพ ในรชั กาลท่ี ๕ เจ้าคณุ จอมมารดาทง้ั ๔ ทา่ นนี้ ต่อมาในรชั กาลท่ี ๖ ทรงสถาปนาเจา้ คุณ จอมมารดาเป่ียม ขึ้นเป็น สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา และทรงสถาปนาเจ้าคุณจอม มารดาแพ ขนึ้ เปน็ เจา้ คณุ พระประยรุ วงศ์ จงึ มคี ำ เจา้ คณุ พระ เปน็ คำนำนามอกี คำหนง่ึ พระ เป็นคำนำนามพระสนมเอกในรัชกาลท่ี ๖ คือ พระสุจริตสุดา กับ พระอินทราณี ซ่งึ ภายหลังทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจา้ อนิ ทรศกั ดศิ จี พระวรราชชายา ๒. วิสามานยนามอันเป็นช่ือของบุคคล อาจแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ ช่ือตัว กับ ราชทินนาม ๒.๑ ช่ือตัว หรือนามเดิม ย่อมหมายรวมถึงนามสกุลท่ีบุคคลใช้ตามกฎหมายด้วย เช่น สัญญา สุเรนทรานนท์ หรือ พรทิพย์ วัยกิจ ซ่ึงเม่ือเติมสามานยนามนำหน้าช่ือเป็น “นาย สญั ญา สเุ รนทรานนท”์ และ “นางสาวพรทพิ ย์ วัยกิจ” แลว้ ก็เปน็ วิสามานยนามทีถ่ กู ต้องสมบูรณ์ ๒.๒ ราชทินนาม คือ นามที่ได้รับพระราชทานพร้อมกับยศ สมณศักดิ์ และ บรรดาศกั ด์ิ นามใดท่ีบคุ คลชั้นใดได้รบั พระราชทานโดยนัยนถ้ี อื เป็น ราชทินนาม ทงั้ ส้นิ เชน่ อบุ าลี คุณูปมาจารย์ (พระภิกษุ) พหลพลพยุหเสนา (ขุนนาง) ซึ่งเมื่อประกอบสามานยนามเข้าข้างหน้า ตามระเบียบแล้วจะเป็นราชทินนามราชาศัพท์ท่ีสมบูรณ์ ดังนี้ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อทราบลักษณะของ สามานยนามนำหน้าชื่อ และ วิสามานยนามอันเป็นชื่อ ของบุคคลชั้นต่างๆ แล้ว ก็พึงพิจารณาใช้ประกอบกันให้เป็น วิสามานยนามราชาศัพท์ ให้ ถูกต้อง ในทน่ี จี้ ะยกตัวอย่างไว้เป็นแบบเพื่อสังเกต ดังน ้ี จอมพล สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ บรพิ ตั รสขุ มุ พนั ธ์ กรมพระนครสวรรคว์ รพนิ ติ มหาอำมาตย์นายก สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาเทวะวงศว์ โรปการ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหม่ืนพิทยาลงกรณ์ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพทั ธ (หมอ่ มราชวงศ์สท้าน สนทิ วงศ)์ มหาเสวกเอก เจา้ พระยาวรพงศพพิ ฒั น์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ท่านผหู้ ญิงสรุ ณรงค์ (จรวย โชตกิ เสถียร) 20 2. up 9-32-7 Sep.indd 20 9/7/12 8:05:07 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ทา้ วศรีสจั จา (สงั วาลย์ บุณยรัตพนั ธ์ุ) หัวหม่ืน พระยาประสานดุรยิ ศพั ท์ (แปลก ประสานศพั ท์) พระยาประดับดรุ ิยกิจ (แหยม วณี นิ ) หลวงไพเราะเสียงซอ (อุน่ ดรู ยะชีวิน) นายจำนงราชกจิ (จรัญ บณุ ยรัตพนั ธ์ุ) พลโท หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ พนั ตำรวจโท ประวิณ เกษมสขุ สมเดจ็ พระมหาวรี วงศ์ (อ้วน ติสฺโส) พระพรหมมนุ ี (ผนิ สวุ โจ) พระครูไพโรจน์โพธวิ ัฒน์ (เจริญ โ ตภาโส) พระเจรญิ ดอนจันทร์ (ต ปญฺโ น.ธ. เอก) สามเณรสุโข สราญใจ ฯลฯ ๓. ลักษณนาม(๑) ที่ต้องเปลี่ยนแปลงใช้ตามระเบียบราชาศัพท์ มีเฉพาะลักษณนามที่ ใช้แก่พระมหากษัตริย์และเจ้านายเท่าน้ัน พระมหากษัตริย์และเจ้านายช้ันสูง ใช้ว่า พระองค์ เช่น สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์ พระราชโอรสท้ังส่ีพระองค์ สำหรับเจ้านาย ช้นั รองลงมาให้ใช้ องค์ เชน่ หมอ่ มเจา้ ห้าองค์ ดงั นี้ อน่ึง ส่วนของร่างกาย เคร่ืองใช้ เครื่องเสวย ที่เป็นของสำคัญของพระมหากษัตริย์และ ของเจ้านาย ก็ใช้ลักษณนามว่า องค์ เช่น พระทนต์สององค์ (ซี่) พระท่ีนั่งสององค์ (หลัง) พระแสงปืนสององค์ (กระบอก) เสวยได้หลายองค์ (คำ) ตรัสได้ไม่ก่ีองค์ (คำ) (๑) ดูบทท่ี ๒ หมวดที่ ๑๐ ลักษณนาม ประกอบ 21 2. up 9-32-7 Sep.indd 21 9/7/12 8:05:09 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ข้อสาม คำแทนชอื่ หรือทเ่ี รียกว่า คำสรรพนาม ในไวยากรณ์ สรรพนามที่จะต้องเปล่ียนแปลงใช้ตามราชาศัพท์ มีแต่บุรุษสรรพนาม พวกเดียว และมีคำใชม้ าก สำหรบั บคุ คลตา่ งชั้นกัน ทใี่ ช้กันเปน็ แบบแผนแต่กอ่ นมดี งั น(้ี ๑) บรุ ุษที่ ๑ คำสรรพนาม ผูพ้ ดู ผู้ฟงั ข้าพระพทุ ธเจ้า ผูน้ ้อย(๒) พระมหากษัตรยิ ์ พระบรมวงศ์(๓) พระบรมวงศช์ ้ันพระองค์เจ้า (ทเี่ ปน็ พระราชโอรส ธดิ าของพระมหากษตั ริย)์ เกลา้ กระหมอ่ ม ผ้นู อ้ ย (ชาย) พระอนวุ งศช์ ัน้ พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ เกล้ากระหมอ่ มฉัน ผู้น้อย (หญิง) พระองค์เจา้ และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจา้ (ทีท่ รงกรม) กระหมอ่ ม ผู้น้อย (ชาย) พระอนุวงศช์ ั้นพระวรวงศ์เธอ หม่อมฉัน ผู้นอ้ ย (หญงิ ) พระองค์เจ้า (ทม่ี ิได้ทรงกรม)(๔) หม่อมเจา้ (๑) ดูระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ภาคผนวก (ฉบับแก้ไข พ.ศ. ๒๕๓๙) ด้วย เพ่ือให้ทราบคำ ที่ราชการบัญญัตใิ หใ้ ชใ้ นปัจจบุ นั (๒) ผู้น้อย ได้แก่ พระบรมวงศานวุ งศ์ และบคุ คลท่ัวไป (๓) ในรัชกาลปัจจุบัน พระบรมวงศ์หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช วิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ (๔) ในรัชกาลปัจจุบัน พระอนุวงศ์ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ พระเจ้า หลานเธอ พระองคเ์ จา้ สิริภาจฑุ าภรณ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองคเ์ จา้ อทติ ยาทรกติ คิ ณุ 22 2. up 9-32-7 Sep.indd 22 9/7/12 8:05:11 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ คำสรรพนาม ผพู้ ูด ผู้ฟงั ข้าพระพุทธเจา้ ผูน้ ้อย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เกล้ากระหม่อม ผนู้ ้อย (ชาย) สมเด็จพระสงั ฆราช เกล้ากระหมอ่ มฉัน ผนู้ อ้ ย (หญิง) บุรุษที่ ๒ คำสรรพนาม ผพู้ ดู ผู้ฟงั ใตฝ้ ่าละอองธลุ ีพระบาท ผนู้ อ้ ย พระมหากษตั ริย์ ใตฝ้ ่าละอองพระบาท ผูน้ ้อย สมเดจ็ พระบรมราชนิ ีนาถ สมเด็จพระบรมราชิน ี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเดจ็ พระบรมราชชนนี สมเดจ็ พระยุพราช สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกฎุ ราชกุมาร สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ใตฝ้ า่ พระบาท ผนู้ ้อย พระราชวงศช์ ัน้ สมเด็จเจา้ ฟ้าและพระองคเ์ จา้ (พระราชโอรสธดิ าของพระมหากษตั รยิ ์) ฝา่ พระบาท ผนู้ อ้ ย พระราชวงศช์ นั้ พระเจา้ วรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ และพระวรวงศเ์ ธอ พระองคเ์ จา้ (ทีท่ รงกรม) หมอ่ มเจา้ สมเดจ็ บรมบพิตรพระราช พระสงฆ์ พระมหากษตั ริย ์ สมภารเจ้า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ บรมบพติ รพระราชสมภาร พระสงฆ ์ สมเด็จพระบรมราชิน ี เจา้ , มหาบพติ ร สมเดจ็ พระบรมราชชนก 23 2. up 9-32-7 Sep.indd 23 9/7/12 8:05:13 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ คำสรรพนาม ผู้พูด ผู้ฟัง สมเด็จพระบรมราชชนน ี สมเดจ็ พระยุพราช สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกฎุ ราชกุมาร สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี บพติ ร(๑) พระสงฆ์ พระราชวงศต์ ั้งแต่สมเด็จเจ้าฟา้ ถึงหมอ่ มเจา้ บุรุษที่ ๓ คำสรรพนาม แทนบุคคล พระมหากษัตรยิ ถ์ ึงพระองคเ์ จา้ พระองค์ ข้อสี่ คำแสดงกิริยาอาการและความมี ความเป็น ทีเ่ รยี กว่า คำกริยา ในไวยากรณ์ กริยาท่ีเปล่ียนแปลงใช้ตามระเบียบราชาศัพท์โดยมากมีอยู่แต่กริยาที่จะ ใช้แก่พระมหากษัตรยิ ์กับเจา้ นาย และมักจะใชอ้ ยา่ งเดียวกนั หรือคลา้ ยคลึงกนั มีลกั ษณะดังนี้ ๑. เป็นคำเฉพาะตา่ งจากคำกรยิ าสามญั เชน่ ผทม, ประทม, บรรทม = นอน ทอดพระเนตร = ด,ู มอง, แล เสวย = กิน ประทบั = อยู,่ อยู่กับท่ี สรง = อาบนำ้ , ล้าง ตรสั , ดำรัส = พดู กร้ิว = โกรธ โปรด = รกั , ชอบ, เอ็นดู ประชวร = ป่วย, เจ็บ (๑) ดูตัวอยา่ งพระบรมราโชวาทในรัชกาลท่ี ๖ ท่ีพระราชทานแกเ่ สอื ป่า นกั เรียนมหาดเลก็ หลวง นักเรยี นในพระบรมราชปู ถัมภ์ ฯลฯ 24 2. up 9-32-7 Sep.indd 24 9/7/12 8:05:15 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ทรง = แปลไดห้ ลายความหมายแล้วแต ่ นามขา้ งท้ายจะบ่งความ เชน่ ทรงรถ ทรงมา้ ทรงธรรม ทรงศลี ทรงดนตรี ทรงพระโอสถมวน ๒. ใช้ ทรง เป็นกริยานุเคราะห์ นำหน้ากริยา เช่น ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงถวาย ทรงรับ ทรงชุบเลี้ยง ทรงผนวช เป็นต้น แต่จะใช้ ทรง นำหน้ากริยาท่ีเป็นราชาศัพท์สำหรับ พระมหากษัตริยแ์ ละเจา้ นายอยแู่ ลว้ (ตามข้อ ๑) ใหเ้ ปน็ ทรงประชวร ทรงเสวย ทรงประทบั ไมไ่ ด้ เป็นอันขาด ๓. ใช้ ทรง นำหน้านามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาวลีราชาศัพท์ เช่น ทรงพระกรุณา ทรง พระประชวร ทรงพระดำริ ทรงผนวช เจ้านายประชวร แต่ พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวทรง พระประชวร เจ้านายทรงผนวช แต่ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวทรงพระผนวช ๔. คำ ทรง จะใช้นำกริยาท่ีมีนามราชาศัพท์ต่อท้ายมิได้ เช่น ห้ามใช้ว่า ทรงมี พระมหากรุณา ทรงมีพระราชดำริ ทรงมีพระบรมราชโองการ ทรงเป็นพระราชโอรส ทรงทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาท ต้องใช้ว่า ทรงพระมหากรุณา (ตามข้อ ๓) หรือมีพระมหากรุณา ทรง พระราชดำริ หรือมีพระราชดำริ มีพระบรมราชโองการ เป็นพระราชโอรส ซูบพระองค์ ทอดพระเนตร สนิ้ พระชนม์ เสยี พระทยั ทราบฝา่ ละอองธลุ ีพระบาท ๕. ใช้คำ เสด็จ นำหน้ากริยาบางคำ ทำนองเดียวกับใช้ ทรง นำก็ได้ และความหมาย สำคัญจะอยู่ที่กริยาท่ีอยู่ข้างหลัง เช่น เสด็จไป เสด็จกลับ เสด็จมา เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จอยู่ เสด็จประพาส เสด็จผ่านพิภพ เสด็จดำรงราชย์ เสด็จสถิต เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เสด็จ สวรรคต ๖. เป็นคำบัญญัติแยกใช้ตามช้ันบุคคล กริยาพวกนี้จำเป็นต้องสังเกตจดจำเป็นคำๆ ไป ตัวอยา่ งเช่น กริยา ราชาศัพท ์ ใช้แก ่ หมายเหต ุ เกดิ ทรงพระราชสมภพ, พระมหากษตั ริย ์ เสด็จพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระบรมราชนิ ี สมเดจ็ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี 25 2. up 9-32-7 Sep.indd 25 9/7/12 8:05:17 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ กริยา ราชาศัพท ์ ใช้แก ่ หมายเหต ุ สมเดจ็ พระยุพราช สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกฎุ ราชกมุ าร สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร ี สมภพ, ประสูติ พระราชวงศ์ต้งั แตส่ มเด็จเจ้าฟา้ ถงึ หม่อมเจา้ คลอดบุตร มพี ระประสตู ิกาล สมเดจ็ พระบรมราชนิ ีนาถ สมเดจ็ พระบรมราชนิ ี ประสตู ิ พระราชวงศต์ ั้งแตส่ มเดจ็ เจ้าฟา้ ถงึ หมอ่ มเจ้า สั่ง มีพระบรมราชโองการ พระมหากษัตรยิ ์ (ดำรัส) เหนือเกลา้ ฯ สัง่ วา่ มพี ระราชโองการสั่งวา่ พระมหากษัตรยิ ท์ ่ยี งั มไิ ด้ทรงรับ พระบรมราชาภิเษก มพี ระราชเสาวนยี ์ สมเดจ็ พระบรมราชนิ นี าถ สมเด็จพระบรมราชนิ ี มีพระราชบัณฑรู วา่ สมเด็จพระยพุ ราช สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกฎุ ราชกุมาร สมเดจ็ พระบวรราชเจ้า มหาสรุ สงิ หนาท กรมพระราช- วงั บวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจา้ มหาเสนานรุ กั ษ์ กรมพระราช- วงั บวรสถานมงคล 26 2. up 9-32-7 Sep.indd 26 9/7/12 8:05:19 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ กรยิ า ราชาศพั ท์ ใชแ้ ก่ หมายเหตุ สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ มหาศักดิพลเสพย์ กรมพระ ราชวังบวรสถานมงคล มีพระบณั ฑูรว่า กรมพระราชวงั บวรวิไชยชาญ มีพระราชบัญชาวา่ สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร ี มีพระราชดำรสั สั่ง สมเดจ็ พระบรมราชชนก สมเดจ็ พระบรมราชชนนี สมเดจ็ พระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธริ าช สยามมกุฎราชกมุ าร สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร ี มพี ระดำรสั สงั่ พระราชวงศช์ นั้ สมเดจ็ เจ้าฟ้า และพระองคเ์ จา้ มพี ระบัญชา กรมพระราชวงั บวรสถานภิมุข สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า สมเดจ็ พระสังฆราชเจา้ สมเดจ็ พระสงั ฆราช กิน เสวย พระมหากษัตริย,์ เจ้านาย รบั พระราชทาน (อาหาร) ผนู้ อ้ ยใชก้ ราบบังคมทลู พระกรณุ า และกราบบังคมทูล พระบรมวงศ์ ตาย เสด็จสวรรคต, สวรรคต พระมหากษัตริย์ สมเดจ็ พระบรมราชินีนาถ 27 2. up 9-32-7 Sep.indd 27 9/7/12 8:05:20 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ กรยิ า ราชาศพั ท์ ใช้แก่ หมายเหตุ สมเดจ็ พระบรมราชินี สมเดจ็ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนน ี สมเด็จพระยุพราช สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ ทวิ งคต กรมพระราชวงั บวรวไิ ชยชาญ – เคยใชแ้ ก่ สมเด็จพระ อนุชาธิราช ในรชั กาลที่ ๖ และสมเดจ็ พระ ราชปติ ุลาบรม พงศาภิมขุ ใน รัชกาลท่ี ๗ ซ่งึ ทรงไดร้ บั การเฉลมิ พระยศพเิ ศษ ส้ินพระชนม ์ พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟา้ และพระองคเ์ จ้า สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า สมเดจ็ พระสงั ฆราชเจ้า สมเด็จพระสงั ฆราช ถึงชีพิตกั ษัย, ส้ินชพี ิตักษยั หม่อมเจา้ – ภาษาปากใช ้ ถงึ ชพี ตกั ษยั , ส้นิ ชีพตกั ษยั วา่ ส้ินชพี 28 2. up 9-32-7 Sep.indd 28 9/7/12 8:05:22 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๗. คำที่มีลักษณะดังคำในข้อ ๖ ข้างต้น แต่เป็นคำสำหรับผู้น้อยท่ีจะต้องใช้แก่บุคคล ช้ันต่างๆ เชน่ กริยา ราชาศพั ท์ ใช้แก่ ให ้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย (ของเลก็ ), พระมหากษัตรยิ ์ น้อมเกล้านอ้ มกระหม่อมถวาย (ของใหญ)่ สมเด็จพระบรมราชนิ นี าถ ถวาย (สงิ่ ที่เปน็ นามธรรม เชน่ สมเดจ็ พระบรมราชินี ถวายพระราชกศุ ล ถวายพระพรชยั มงคล) สมเด็จพระบรมราชชนก สมเดจ็ พระบรมราชชนน ี สมเดจ็ พระยพุ ราช สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช สยามมกุฎราชกมุ าร สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ถวาย (สง่ิ ทีเ่ ปน็ นามธรรม เช่น พระราชวงศ์ชนั้ สมเด็จเจ้าฟา้ ถวายพระกุศล) และพระองค์เจ้า ถวาย (สิ่งของ) พระราชวงศ์ช้นั สมเดจ็ เจ้าฟา้ ถงึ หม่อมเจา้ ขอให้ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหมอ่ มถวาย(๑) พระมหากษัตริย ์ (ของเลก็ ), สมเดจ็ พระบรมราชนิ ีนาถ ขอพระราชทานนอ้ มเกลา้ นอ้ มกระหมอ่ มถวาย(๒) สมเดจ็ พระบรมราชนิ ี (ของใหญ่), สมเดจ็ พระบรมราชชนก ขอพระราชทานถวาย(๓) (สง่ิ ที่เป็นนามธรรม) สมเดจ็ พระบรมราชชนน ี สมเดจ็ พระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกมุ าร สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ าร ี (๑)–(๓) ระบุพระปรมาภิไธย หรือพระนามาภิไธยตอ่ ท้าย 29 2. up 9-32-7 Sep.indd 29 9/7/12 8:05:24 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ กรยิ า ราชาศพั ท์ ใชแ้ ก่ ขอพระราชทานถวาย สมเด็จเจ้าฟา้ พระองคเ์ จา้ ขอประทานถวาย หม่อมเจา้ ขอถวาย พระมหากษตั ริย์ถึงสมเด็จเจ้าฟา้ พระองคเ์ จา้ และหม่อมเจา้ สมเด็จพระสังฆราช ขอ ขอพระราชทาน ขอประทาน บอก กราบบังคมทลู พระกรุณา พระมหากษัตริย์ กราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมราชินนี าถ สมเดจ็ พระบรมราชินี สมเดจ็ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนน ี สมเด็จพระยพุ ราช สมเด็จพระบรมโอรสาธริ าช สยามมกฎุ ราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กราบทูล พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจา้ ฟา้ และพระองค์เจ้า ทูล หมอ่ มเจ้า ขอ้ ห้า คำวเิ ศษณท์ ี่ใช้เปน็ ราชาศัพท์ คำวิเศษณ์ที่จัดว่าต้องเปลี่ยนแปลงใช้ให้เป็นราชาศัพท์ มีอยู่แต่ประติชญาวิเศษณ์ หรือ คำวิเศษณ์ที่แสดง คำรับ พวกเดียว และเม่ือใช้เป็นราชาศัพท์ มีคำบัญญัติให้ใช้ต่างกันตาม ชน้ั บุคคล จงึ จำเป็นตอ้ งศกึ ษาและจดจำเป็นคำๆ ไป ตัวอย่างเช่น 30 2. up 9-32-7 Sep.indd 30 9/7/12 8:05:26 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ผใู้ ช ้ ราชาศัพท์ ใช้แก ่ พระสงฆ ์ ขอถวายพระพร พระมหากษตั รยิ ถ์ งึ หม่อมเจ้า พระมหากษัตริย ์ บคุ คลทัว่ ไป พระพทุ ธเจา้ ข้าขอรบั พระมหากษตั ริยถ์ งึ สมเด็จเจา้ ฟ้า รับใสเ่ กลา้ ใสก่ ระหมอ่ ม บคุ คลทั่วไป พระพุทธเจา้ ขา้ ขอรับ(๑) พระพทุ ธเจ้าข้า พระองค์เจา้ ลกู หลวง บคุ คลทว่ั ไป ขอรับกระหม่อม, กระหมอ่ ม, พระองคเ์ จา้ และหม่อมเจ้า เพคะ ข้อหก การกราบบงั คมทูลพระกรุณา กราบบังคมทูล กราบทูล ทูลเจ้านาย ในการกราบบังคมทูลพระกรุณา นอกจากจะต้องใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องแล้ว ยังต้องใช้ ถ้อยคำให้ถูกแบบแผน ดังน้ ี ๑. คำท่ีใช้แก่พระมหากษัตริย์ เม่ือจะกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยไม่มีพระราชดำรัส ดว้ ยกอ่ น ต้องขึน้ คำนำว่า ขอเดชะฝ่าละอองธลุ พี ระบาทปกเกลา้ ปกกระหม่อม แล้วจึงดำเนินเรอื่ ง เม่อื จบแล้วลงท้ายวา่ ดว้ ยเกลา้ ด้วยกระหมอ่ ม ขอเดชะ ถ้ามีพระราชดำรัสส่ัง ให้กราบบังคมทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ รับใส่เกล้าใส่ กระหมอ่ ม แล้วดำเนนิ เรอ่ื ง และลงท้ายวา่ ดว้ ยเกลา้ ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ถ้าเป็นการด่วน ให้กราบบังคมทูลเน้ือเรื่องขึ้นก่อน แล้วลงท้ายว่า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ รับใสเ่ กล้าใส่กระหมอ่ ม หรอื ดว้ ยเกล้าดว้ ยกระหมอ่ ม ขอเดชะ ๒. เม่ือจำเป็นจะต้องกล่าวถึงของหยาบและสกปรก เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ ต้องใช้ คำนำขึ้นกอ่ น อย่างท่ใี ชค้ ำว่า ขอโทษ ดังน ้ี ไม่ควรจะกราบบงั คมทลู พระกรุณา ใช้แก่ พระมหากษัตริย ์ ไม่ควรจะกราบบงั คมทูล ใช้แก่ เจ้านายช้นั สูง(๒) ไม่ควรจะกราบทูล ใชแ้ ก่ เจา้ นายช้นั รองลงมา(๓) (((๓๒๑))) พใพนรรปะะจัรรจาาชชุบววนั งงศศใช์ต์ชใ้ ง้ั้ันนแสกตมาส่ รเดมกจ็เรดเาจ็จบา้ พบฟรงั า้ ะคแบมลรทะมลูพรรราาะชยอนิ งงนีาคนา์เถตจถัว้า งึขสอมงทเดห็จาพรร ะเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี 31 2. up 9-32-7 Sep.indd 31 9/7/12 8:05:28 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๓. เมื่อจะกล่าวถึงว่าตนเองได้รับความสุขสบายหรือปลอดภัยจากอันตราย ให้ใช้คำว่า เดชะพระบารมปี กเกลา้ ปกกระหมอ่ ม กอ่ นดำเนนิ เรือ่ ง ๔. เม่ือกล่าวถึงเร่ืองที่ได้รับอนุเคราะห์ด้วยประการต่างๆ แล้ว ให้ใช้ พระมหา กรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม ต่อท้ายเร่ือง สำหรับกราบบังคมทูลพระกรุณา และใช้ พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม สำหรับเจ้านาย หรือจะใช้คำน้ีกับพระมหากษัตริย์ กไ็ ด้ ๕. เม่ือกล่าวถึงเรื่องท่ีพลาดพล้ังหรือเกรงจะพลาดพล้ังไป ซึ่งจะต้องแสดงความเสียใจ เป็นธรรมดา ในมารยาทการพูด ให้ใช้คำว่า พระราชอาญา (อาชญา) ไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม ต่อท้ายเร่ือง สำหรับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จ พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และใช้คำว่า พระอาญา (อาชญา) ไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม ต่อท้ายเรื่อง สำหรับพระราชวงศ์ช้ันสมเด็จเจ้าฟ้าและ พระองคเ์ จา้ 32 2. up 9-32-7 Sep.indd 32 9/7/12 8:05:30 PM

บทที่ ๒ ราชาศพั ทห์ มวดต่างๆ คำศัพท์เน่ืองในพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์แต่ละลำดับชั้น ได้จำแนก หมวดของคำราชาศพั ทไ์ วแ้ ต่ละประเภท ดังนี้ หมวดท่ ี ๑ ขตั ตยิ ตระกูล หมวดท่ี ๒ รา่ งกาย หมวดท่ี ๓ อาการ หมวดท่ี ๔ นาม หมวดท ี่ ๕ เครื่องแต่งกาย เคร่ืองประดบั ภาชนะใชส้ อย อาหาร และเครื่อง ใชท้ ว่ั ไป หมวดที่ ๖ ศัพทท์ ใ่ี ช้ในการพระราชพธิ แี ละการพระราชกศุ ล หมวดท่ี ๗ เครือ่ งราชกกธุ ภัณฑแ์ ละเครือ่ งราชปู โภค หมวดท่ี ๘ พระราชนิเวศนม์ ณเฑยี รสถาน หมวดท่ี ๙ พระราชพาหนะ หมวดท่ี ๑๐ ลักษณนาม 33 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 33 9/7/12 8:09:42 PM

หมวดที่ ๑ ขัตติยตระกลู ขัตติยตระกูล แปลว่า ตระกูลของพระมหากษัตริย์ หมายถึงพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ทุกชั้น(๑) หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ตลอดจนผู้ท่ีใช้ราชสกุลโดยกำเนิด ขัตติยตระกูลของไทย มคี ำใชเ้ ปน็ ทางการวา่ ราชสกลุ ราชตระกูล หรอื ราชนกิ ูล พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ(๒) – บรรพบรุ ษุ ของพระมหากษตั รยิ ์ สมเดจ็ พระปฐมบรมมหาชนก – หมายถึง สมเด็จพระบรมชนกาธิบดีแห่งพระบาท สมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช สมเด็จพระบรมปยั กาธริ าช – ปทู่ วด ตาทวด ท่ีเป็นพระมหากษัตรยิ ์ สมเดจ็ พระบรมมหาปยั กาธิบด,ี สมเดจ็ พระมหาปัยกาธิบดี(๓), สมเด็จพระบรมปัยกา, พระบรมไปยกา พระปัยกา พระไปยกา – ปู่ทวด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง ใช้คำน้ี หมายถึง สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ดูประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ พ.ศ. ๒๔๐๔- ๒๔๐๗) พระเปตามหัยกา, – ปู่ทวดของเจ้านาย พระเปตามไหยกา พระมาตามหยั กา, – ตาทวดของเจา้ นาย พระมาตามไหยกา (๑) เจ้านายชั้นสูง ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี (๒) เดจูปา้ รนะาชยุมชปั้นรระอกงาศไดร้แชั กก่าสลมทเี่ด๔็จเภจา้าคฟา้ ๖ พระองค์เจ้า พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๐๗ (๓) ศัพท์บาลวี ่า ปยฺยก เขยี นตามแบบโบราณเป็น ไปยกา และยงั มีคำอื่นๆ เชน่ มหัยกา มไหยิกา อัยกา 34 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 34 9/7/12 8:09:42 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระบรมราชมาตามหัยกา – ตา ใช้เฉพาะ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ เป็นพระบิดา ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นพระบรมราช มาตามหัยกาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หวั สมเด็จพระเจา้ บรมปัยยิกาเธอ – ย่าทวด ยายทวดของพระมหากษัตริย์ ใช้เฉพาะ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมปัยยิกาเธอของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู วั สมเด็จพระบรมราชปยั ยกิ า – ย่าทวด ยายทวดของพระมหากษัตริย์ ใช้เฉพาะ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ซ่ึงเป็นสมเด็จ พระบรมราชปัยยิกาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยหู่ วั สมเด็จพระราชมหาปัยยิกาเธอ – ย่าทวด ยายทวดของพระมหากษัตริย์ ใช้เฉพาะ สมเด็จพระศรีสุลาลัย ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชมหา ปัยยิกาเธอของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว สมเดจ็ พระบรมปยั ยิกา – ย่าทวด ยายทวด ที่เป็นสมเด็จพระบรมราชินี หรือ พระบรมวงศท์ ่ที รงศักด์ิสูงเปน็ พิเศษ สมเดจ็ พระปัยยิกา – ยา่ ทวด ยายทวด ท่เี ป็นสมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ 35 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 35 9/7/12 8:09:44 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระปยั ยกิ า, พระไปยิกา(๑) – ย่าทวด ยายทวดของเจ้านาย ที่มิได้เปน็ เจา้ นาย พระเปตามหยั ยิกา, – ยา่ ทวดของพระมหากษัตริย ์ พระเปตามไหยิกา(๒) พระมาตามหยั ยิกา, – ยายทวดของพระมหากษัตริย ์ พระมาตามไหยกิ า สมเดจ็ พระบรมอยั กาธิราช(๓), – ปู่ ตา ทเ่ี ป็นพระมหากษตั ริย์ สมเด็จพระบรมอยั กาธบิ ดี, สมเดจ็ พระบรมอยั กา, พระบรมอัยกา สมเดจ็ พระเจา้ อัยกาเธอ – ปู่ของพระมหากษัตริย์ ใช้เฉพาะกรมสมเด็จพระ ปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าอัยกาเธอ ของพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั พระอัยกา, – ปู่ ตาของเจา้ นาย ทม่ี ไิ ดเ้ ปน็ เจา้ นาย พระไอยกา สมเด็จพระบรมราชอัยยกิ า – ย่าของพระมหากษัตริย์ ใช้เฉพาะกรมสมเด็จพระศรี สุริเยนทรามาตย์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมราชอัยยิกา ของพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั สมเดจ็ พระบรมอยั ยิกา, – ย่า ยายของพระมหากษตั ริย์ สมเด็จพระอยั ยกิ า, หมายถึง ย่า ยาย ที่ทรงศักดิ์สูงเทียบเท่าสมเด็จ พระบรมมหยั ยิกาเธอ พระบรมราชชนนีของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระ บรมมหยั ยกิ าเธอ กรมสมเดจ็ พระสดุ ารตั นราชประยรู (๔) พระบรมอยั ยิกา – ยา่ ยายของพระมหากษัตริย์ (((๑๓๒))) ศดเชปูพั ่นรทะ์บพชารมุ ละปีวบร่าาะปทกยสาศยฺมกิรเดชัา็จกเพาขลียรทะนี่จต๔ุลามจภอแามบคเบก๖โลบพ้าร.เาศจณ.้า๒อเปย๔น็ ู่ห๐๔ัวไป-๒เยป๔ิก็น๐าส๗ ม เด็จพระบรมอัยกาธิราชของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล (๔) อพดรลุะยบเาดทชส มเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปล่ียนคำนำพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราช- ประยรู 36 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 36 9/7/12 8:09:46 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระอัยยิกา (หรือ พระไอยกิ า – ยา่ ยายของเจ้านาย ท่มี ไิ ดเ้ ปน็ เจา้ นาย และพระไอยกีทีใ่ ช้ตามแบบเก่า) สมเดจ็ พระบรมชนกนาถ, – พ่อ ทีเ่ ปน็ พระมหากษตั ริย ์ สมเดจ็ พระบรมชนกาธริ าช, สมเดจ็ พระบรมราชชนก, สมเดจ็ พระบรมราชบิดา, สมเดจ็ พระบรมชนกาธิบดี สมเดจ็ พระราชบดิ า, – พ่อของพระมหากษตั รยิ ์ พระราชบิดา พระบดิ า, พระบดิ ร, – พอ่ ทเ่ี ป็นเจ้าฟา้ หรือพระองคเ์ จา้ พระชนก(๑) – พ่อของเจา้ นาย ที่มไิ ด้เป็นเจา้ นาย สมเด็จพระบรมราชชนนพี นั ปีหลวง – แมข่ องพระมหากษตั ริย์ สมเดจ็ พระบรมราชชนน,ี – แม่ของพระมหากษัตริย์ หมายถึง แมท่ ไี่ ด้รบั สถาปนา สมเดจ็ พระราชชนนี ให้ทรงพระอสิ รยิ ยศสงู พระราชชนน,ี พระราชมารดา – แม่ของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายช้ันสมเด็จ เจา้ ฟา้ พระชนน(ี ๒), พระมารดา – แมข่ องเจ้านาย สมเด็จพระบรมราชปติ ุลา, – ลุง อา (พี่ชาย น้องชาย ของพ่อ) ท่ีเป็นพระมหา สมเด็จพระปติ ุลาธิราช, กษตั ริย์ สมเด็จพระราชปติ ลุ าธิบดี ((๒๑)) เเชชน่น่ สพมรเดะช็จพนกระขรอูปงสสมริ ิโเสดภ็จพาครยะม์อหมรานินทาครนาาบรรี มพรราะชชนินีนมีขีนอางมสวม่าเดทจ็ อพงร ะอมรินทราบรมราชินีในรชั กาลท่ี ๑ มีพระนามเดิมวา่ ส้ัน 37 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 37 9/7/12 8:09:48 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ สมเดจ็ พระราชปติ ลุ าบรมพงศาภมิ ุข(๑) – ลุง อา ที่เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ที่ทรงศักด์ ิ สงู เปน็ พเิ ศษ สมเดจ็ พระราชปติ ลุ า – ลุง อาของพระมหากษัตริย์ ท่ีเป็นสมเด็จพระเจ้า บรมวงศเ์ ธอ พระราชปติ ุลา – ลุง อา ของพระมหากษตั ริย์ พระปิตลุ า – ลงุ อาของเจา้ นาย สมเด็จพระปิตุจฉาเจา้ , – ปา้ อา (พสี่ าว นอ้ งสาวของพอ่ ) ของพระมหากษตั รยิ ์ สมเดจ็ พระราชปติ ุจฉา, หมายถึง ป้า อา ที่เป็นพระมเหสี หรือ เป็นสมเด็จ สมเด็จพระปิตจุ ฉา พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอที่ทรงศกั ด์สิ งู พระราชปติ ุจฉา – ปา้ อา ของพระมหากษัตรยิ ์ พระปิตจุ ฉา – ปา้ อา ของเจ้านาย พระอาว(์ ๒), พระอา – นอ้ งของพ่อ ทเี่ ปน็ เจ้านาย พระมาตุลา – ลุง น้า (พี่ชาย น้องชายของแม่) ของเจา้ นาย สมเด็จพระมาตจุ ฉาเจา้ , – ปา้ นา้ (พส่ี าว นอ้ งสาวของแม)่ ของพระมหากษตั รยิ ์ สมเด็จพระราชมาตุจฉา, หมายถึง ป้า น้า ท่ีเป็นพระมเหสี หรือ เป็นสมเด็จ สมเด็จพระมาตจุ ฉา พระเจ้าบรมวงศ์เธอท่ที รงศักดส์ิ ูง พระมาตุจฉา – ปา้ นา้ (พส่ี าว นอ้ งสาวของแม)่ ของเจา้ นาย พระมาตลุ าน ี – ป้าสะใภ้ น้าสะใภ้ (ภรรยาของพ่ีชาย น้องชายของ แม)่ ของพระมหากษตั รยิ ์ (๑) รัชกาลท่ี ๗ ใช้คำน้ีเป็นคำนำพระนามเฉพาะสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุ พนั ธุวงศวรเดช พระองค์เดียว (๒) “อาว”์ เป็นคำราชาศัพท์เกา่ หมายถึง อาผชู้ าย รวมถงึ อาเขย “อา” หมายถึง อาผหู้ ญิง รวมถงึ อาสะใภ้ 38 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 38 9/7/12 8:09:49 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ สมเดจ็ พระบรมเชษฐาธิราช, – พชี่ ายของพระมหากษตั ริย์ ทีเ่ ป็นพระมหากษตั รยิ ์ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิบด(ี ๑) สมเดจ็ พระโสทรเชษฐภาดา, – พีช่ ายร่วมอทุ รของพระมหากษัตรยิ ์ สมเดจ็ พระโสทรเชษฐา สมเดจ็ พระเจ้าพ่ียาเธอ, – พช่ี ายของพระมหากษตั รยิ ์ ที่เป็นสมเด็จเจา้ ฟา้ สมเด็จพระเชษฐา พระเจา้ พี่ยาเธอ – พช่ี ายของพระมหากษตั รยิ ์ ทเี่ ปน็ พระองคเ์ จา้ พระเชษฐา(๒), พระเชษฐภาดา, – พชี่ ายของเจ้านาย พระเชษฐภาตา สมเด็จพระอนชุ าธริ าช – น้องชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า ซึง่ ไดร้ ับเฉลิมพระยศพเิ ศษ(๓) สมเด็จพระราชโสทรานุชา – นอ้ งชายรว่ มอทุ รของพระมหากษตั รยิ ์ สมเดจ็ พระเจ้าน้องยาเธอ, – น้องชายของพระมหากษตั ริย์ ทเี่ ป็นสมเด็จเจา้ ฟ้า สมเด็จพระราชอนุชา, สมเด็จพระอนชุ า พระเจ้าน้องยาเธอ, พระราชอนุชา – นอ้ งชายของพระมหากษัตรยิ ์ ท่ีเปน็ พระองค์เจา้ พระกนษิ ฐภาดา, พระอนุชา – น้องชายของเจ้านาย พระราชภาดา – พ่ีชาย น้องชาย ท่ีเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระมหา กษตั ริย์ พระภาดา – พี่ชาย น้องชาย ที่เปน็ ลูกพลี่ กู นอ้ งของเจา้ นาย (๑) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐาธิบดีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระบรมเชษฐาธิบดีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาท สมเดจ็ พระปรเมนทรมหาอานนั ทมหดิ ล พระอฐั มรามาธบิ ดนิ ทร เปน็ สมเดจ็ พระบรมเชษฐาธบิ ดขี องพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทร มหาภมู ิพลอดุลยเดช ((๒๓)) ไเชดษแ้ ฐกาส่ มเปเดน็ จ็ คพำรทะ่ไี อทนยชุใชา้ธแริ ตาชใ่ นเภจาา้ ษฟาา้ บจากั ลรแีพลงะษสภ์ ันวู สนกาถฤตกมรมไิ ดห้หลมวางพยคษิ วณาโุมลวก่าปพระชี่ ชาายนแาถตห่ แมลาะยถสึงมผเเู้ ดปจ็น็ พใหระญอ ่ นชุ าธริ าช เจา้ ฟา้ อษั ฎางค์ เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสมี า 39 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 39 9/7/12 8:09:51 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินี – พ่ีสาวร่วมอุทรของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จ เจา้ ฟา้ สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ – พี่สาวของพระมหากษัตรยิ ์ ท่เี ปน็ สมเด็จเจา้ ฟา้ พระเจา้ พ่ีนางเธอ – พส่ี าวของพระมหากษตั รยิ ์ ท่ีเป็นพระองคเ์ จ้า สมเดจ็ พระเจ้าน้องนางเธอ – นอ้ งสาวของพระมหากษตั รยิ ์ ที่เปน็ สมเด็จเจ้าฟ้า พระเจา้ นอ้ งนางเธอ – นอ้ งสาวของพระมหากษตั รยิ ์ ท่เี ป็นพระองคเ์ จา้ สมเด็จพระเจา้ ภคนิ เี ธอ – พ่ีสาว น้องสาว ที่เป็นลูกพ่ีลูกน้องของพระมหา กษัตรยิ ์ ทเ่ี ป็นสมเด็จเจา้ ฟ้า พระภคนิ (ี ๑) – พส่ี าว นอ้ งสาว ทเ่ี ปน็ ลกู พล่ี กู นอ้ งของพระมหากษตั รยิ ์ และเจ้านาย สมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช – ลูกชายของพระมหากษัตริย์ ท่ีทรงสถาปนาข้ึนเป็น สยามมกฎุ ราชกมุ าร พระรัชทายาทสืบสนองพระองค์ ทรงพระเศวตฉัตร ๗ ช้ัน เป็นตำแหน่งมีครั้งแรกในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว สมเด็จพระยพุ ราช – ผสู้ บื ราชสมบตั ิ เปน็ พระมหากษัตริยต์ อ่ ไป สมเด็จหนอ่ พระพุทธเจ้า(๒) – ลูกชายของพระมหากษัตริย์ ท่ีประสูติแต่สมเด็จ พระอัครมเหสี และเป็นผู้สืบราชสมบัติสนอง พระองค์ต่อไป สมเด็จพระเจา้ ลกู ยาเธอ – ลูกชายของพระมหากษตั รยิ ์ ท่เี ป็นสมเด็จเจา้ ฟา้ พระราชโอรส, พระราชบตุ ร – ลูกชายของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า หรอื พระองค์เจา้ พระเจ้าลกู ยาเธอ – ลูกชายของพระมหากษตั รยิ ์ ทเี่ ปน็ พระองคเ์ จ้า พระโอรส, พระบุตร – ลกู ชายของสมเดจ็ เจ้าฟา้ และพระองค์เจ้า (๑) ถา้ ต้องการเขยี นใหช้ ดั เจน พสี่ าว ใช้ เชษฐภคินี นอ้ งสาว ใช้ กนิษฐภคนิ ี ถ้าเป็นพ่นี ้องรว่ มอทุ ร เตมิ คำว่า โสทร ข้างหน้า (๒) เป็นคำดัง้ เดิมในกฎมณเฑยี รบาลครงั้ กรุงศรีอยธุ ยา 40 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 40 9/7/12 8:09:53 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โอรส, บุตร – ลกู ชายของหม่อมเจ้า (คือ หม่อมราชวงศ)์ สมเด็จพระเจา้ ลูกเธอ(๑) – ลกู สาวของพระมหากษัตรยิ ์ ทเี่ ปน็ สมเด็จเจ้าฟ้า พระราชธิดา, พระราชบตุ รี – ลูกสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าและ พระองค์เจา้ พระเจ้าลกู เธอ(๒) – ลูกสาวของพระมหากษัตรยิ ์ ท่เี ปน็ พระองคเ์ จา้ พระธดิ า, พระบุตรี – ลูกสาวของสมเดจ็ เจ้าฟ้าและพระองคเ์ จา้ ธดิ า, บุตรี – ลกู สาวของหมอ่ มเจ้า (คือ หมอ่ มราชวงศ์) สมเดจ็ พระเจ้าหลานเธอ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็น สมเดจ็ เจา้ ฟา้ พระเจ้าหลานเธอ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ท่ีเป็น พระองค์เจ้า (เทียบพระเจา้ วรวงศเ์ ธอ) พระหลานเธอ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ท่ียกเป็น พระองคเ์ จ้า (เทยี บพระวรวงศเ์ ธอ) พระราชนดั ดา(๓) – หลานชาย หลานสาว (ลูกของลูก) ของพระมหา กษัตริย ์ พระนัดดา – หลานชาย หลานสาว ที่ปู่หรือตาเป็นลูกของ พระมหากษัตริย ์ นดั ดา – หลานชาย หลานสาว ที่ปู่หรือตาเป็นหลานของ พระมหากษตั รยิ ์ พระภาคไิ นย – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็น ลูกของพ่ีสาวหรอื น้องสาว พระภาติยะ – หลานชาย หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ที่เป็น ลกู ของพีช่ ายหรือนอ้ งชาย (๑)- (๒) สมเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลกู เธอน้ี หมายถึง พระราชโอรส พระราชธิดาโดยรวมด้วย ภาษาปากใชว้ า่ ลูกหลวง (๓) ภาษาปากใชว้ ่า หลานหลวง 41 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 41 9/7/12 8:09:55 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระภาตกิ ะ(๑) – หลานชายของพระมหากษัตริย์ ท่ีเป็นลูกของพ่ีชาย หรอื น้องชาย พระภาตกิ า(๒) – หลานสาวของพระมหากษัตริย์ ท่ีเป็นลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้คำนำ พระนาม สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภา พัณณวดี วา่ สมเด็จพระเจา้ ภาตกิ าเธอ พระราชปนัดดา – เหลนชาย เหลนหญงิ ของพระมหากษัตริย์ พระปนดั ดา – เหลนชาย เหลนหญงิ ของสมเดจ็ เจา้ ฟา้ และพระองคเ์ จา้ ปนดั ดา – เหลนชาย เหลนหญิงของหม่อมเจ้า พระบรมราชสวามี – สามี ทีเ่ ป็นพระมหากษัตริย ์ พระสวามี – สามขี องเจ้านาย ทเ่ี ปน็ เจ้านาย พระสาม,ี พระภัสดา(๓) – สามขี องเจ้านาย ทมี่ ิได้เปน็ เจา้ นาย สมเดจ็ พระบรมราชินีนาถ – ภรรยาเอกหรือพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย ์ ซงึ่ ไดร้ บั สถาปนาเปน็ ผสู้ ำเรจ็ ราชการแทนพระองค(์ ๔) สมเดจ็ พระบรมราชนิ ี – ภรรยาเอกหรือพระอคั รมเหสีของพระมหากษัตรยิ ์ สมเดจ็ พระบรมราชเทวี – ภรรยาเอกหรือพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย ์ ทเี่ ปน็ เจา้ นาย พระอคั รราชเทว,ี พระอัครชายาเธอ, – ภรรยาเอกหรือพระมเหสีของพระมหากษัตริย์ ท่ีเป็น สมเด็จพระราชิน(ี ๕) เจ้านาย (๑)–(๒) ดูหนังสือเร่ืองราชาศัพท์ ฉบับของกรรมารบุตร พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงสรรสารกิจ (เคล้า คชนันทน์) ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๓ (๓) พบในพระราชพงศาวดาร เช่น หมอ่ มเสม พระภสั ดาของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาเทพสดุ าวดี เปน็ ทพี่ ระอนิ ทรรักษา เจ้ากรม พระตำรวจฝ่ายพระราชวังบวรฯ ((๕๔)) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้คำวา่ ผ้สู ำเรจ็ ราชการแผ่นดินต่างพระองค์ หรือ ผู้สำเรจ็ ราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ภรรยาเอกหรอื พระอคั รมเหสขี องพระมหากษตั รยิ ท์ ่ยี ังมไิ ดร้ บั พระบรมราชาภเิ ษก มีเป็นคร้ังแรกในรัชกาลปัจจุบัน 42 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 42 9/7/12 8:09:57 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พระอคั รมเหสี – ภรรยาเอกของพระมหากษัตรยิ ์ ทีเ่ ป็นเจา้ นาย พระราชชายา – ภรรยาหรือพระมเหสีของพระมหากษัตรยิ ์ พระมเหสี – ภรรยาของพระมหากษตั รยิ ์ ทเี่ ป็นเจา้ นาย พระวรราชชายา(๑) – ภรรยาของพระมหากษัตรยิ ์ ท่ีเป็นเจ้านาย เจ้าคณุ จอมมารดา – ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ท่ีมิได้เป็นเจ้านาย ซ่ึงม ี ลกู ชายหรือลกู สาว มี ๔ ท่าน คือ เจ้าคณุ จอมมารดา สำลี เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม เจ้าคุณจอมมารดาเอม และเจ้าคุณจอมมารดาแพ เจ้าคณุ พระ – ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ที่มิได้เป็นเจ้านาย ซ่ึงม ี ลูกชายหรือลูกสาว มี ๑ ท่าน คือ เจ้าคุณพระประ ยุรวงศ ์ เจ้าจอมมารดา – ภรรยาของพระมหากษัตริย์ ท่ีมิได้เป็นเจ้านาย ซ่ึงม ี ลูกชาย หรือลกู สาว เจา้ จอม, เจา้ จอมอยงู่ าน – ภรรยาของพระมหากษัตริย์และกรมพระราชวัง บวรสถานมงคล ท่ีมิได้เป็นเจ้านายและไม่มีลูกชาย หรอื ลูกสาว จอมมารดา – พระสนมของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญท่ีมี ลูกชายหรอื ลูกสาว พระวรชายา – ภรรยาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎ ราชกมุ าร(๒) ที่เป็นเจา้ นาย พระชายา – สมเด็จเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้า ที่เป็นภรรยาเอกของ สมเด็จเจา้ ฟ้าหรอื พระองค์เจ้า ชายา – หม่อมเจ้า ที่เป็นภรรยาเอกของพระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจา้ (๑) มใี นรชั กาลท่ี ๖ (๒) มใี นรัชกาลปัจจบุ นั 43 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 43 9/7/12 8:09:59 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ หม่อม, หมอ่ มหา้ ม – ภรรยาของสมเด็จเจ้าฟ้าถึงหม่อมเจ้า ท่ีมิได้เป็น เจ้านาย สะใภ้หลวง, – ภรรยาของลูกพระมหากษัตริย์ บางแห่งเรียกว่า สะใภห้ ลวงพระราชทาน พระชายาพระราชทาน พระสุณิสา – ลูกสะใภข้ องพระมหากษัตริยถ์ ึงพระองค์เจา้ พระชามาดา – ลกู เขยของพระมหากษัตริยถ์ งึ พระองคเ์ จา้ พระสสรุ ะ, พระสัสสรุ ะ – พอ่ สามี พ่อตา พระสัสสุ – แม่สามี แมย่ าย พระบรมวงศานวุ งศ(์ ๑) – พระราชวงศต์ ง้ั แตส่ มเดจ็ พระบรมราชนิ ีนาถ ถงึ หมอ่ มเจ้า ราชตระกูล, ราชสกลุ , ราชนกิ ุล, – บุคคลผู้อยู่ในราชสกุลทุกมหาสาขาซึ่งสืบสายมาแต่ ราชนกิ ลู พระปฐมวงศ์ พระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร สถานมงคล และกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ในพระบรมราชจักรวี งศ์ ราชนิ กิ ลุ , ราชนิ กิ ูล – บุคคลผู้อยู่ในราชสกุลทุกมหาสาขา ท่ีเป็นพระญาต ิ ข้างสมเด็จพระบรมราชิน ี เจา้ ครอก – คำโบราณ เรียกผู้มีเช้ือสายเจ้านายโดยกำเนิด ทง้ั ฝ่ายพอ่ และแม่ ตงั้ แตส่ มเดจ็ เจ้าฟ้าถึงหม่อมเจา้ เจ้าขรวั , ขรัวตา, ขรวั ยาย – สามัญชน ที่เป็นตา ยายของสมเด็จเจ้าฟ้าและพระ องคเ์ จา้ ทเ่ี ป็นลูกชายลกู สาวของพระมหากษัตริย ์ ลูกหลวง – ลกู ชาย ลกู สาวของพระมหากษตั รยิ ์ หลานหลวง – หลานชาย หลานสาว ท่ปี ่หู รือตาเป็นพระมหากษัตรยิ ์ (๑) ประกอบด้วย พระบรมวงศ์ กับ พระอนวุ งศ์ (ดบู ทที่ ๕ ประกอบ) 44 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 44 9/7/12 8:10:00 PM

ราชาศัพท ์ หมวดที่ ๒ พระเจา้ ร่างกาย พระเศยี ร พระสิรัฐิ,(๑) พระสสี กฏาหะ ความหมาย เสน้ พระเจา้ หวั , ศีรษะ ของพระมหากษตั รยิ ์ พระเกศา, พระเกศ, พระศก หวั , ศีรษะ ไรพระเกศา, ไรพระเกศ, ไรพระศก กะโหลกศีรษะ, กะโหลกพระเศียร ขมวดพระเกศา, ขมวดพระศก เสน้ ผมของพระมหากษัตริย ์ พระโมฬี, พระเมาฬ ี เสน้ ผม พระจไุ ร ไรผม พระจุฑามาศ ขมวดผมท่ีเป็นก้นหอย พระเวณิ จกุ หรือมวยผม พระนลาฏ ไรจกุ , ไรผม พระขนง, พระภม ู มวยผม, ท้ายทอย พระอุณาโลม เปยี ผม, ช้องผม พระเนตร, พระนยั นะ, พระจักษุ หน้าผาก พระเนตรดำ, ดวงพระเนตรดำ ค้วิ พระเนตรขาว ขนหวา่ งควิ้ พระกนีนิกา, พระเนตรดารา ดวงตา หนงั พระเนตร, หลังพระเนตร ตาดำ ตาขาว แก้วตา หนังตา, เปลือกตา, หรอื หลงั ตา (๑) อ่านวา่ พระ-สิ-รัด-ถิ มาจากพระบาลมี หาสติปัฏฐานสตู ร คำท่ีลงทา้ ย ฐิ ต้องอา่ นออกเสียงว่า ถิ ทุกคำ 45 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 45 9/7/12 8:10:00 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ราชาศพั ท ์ ความหมาย พระโลมจักษ,ุ ขนพระเนตร ขนตา ขอบพระเนตร ขอบตา มา่ นพระเนตร ม่านตา ต่อมพระเนตร ตอ่ มนำ้ ตา, ทอ่ นำ้ ตา พระอัสสุธารา, พระอสั สชุ ล, น้ำพระเนตร น้ำตา พระนาสิก, พระนาสา จมูก สนั พระนาสิก, สนั พระนาสา สันจมูก ช่องพระนาสกิ ช่องจมูก พระโลมนาสิก, ขนพระนาสิก ขนจมกู พระปราง แก้ม พระกำโบล, กระพุ้งพระปราง กระพงุ้ แกม้ พระมสั ส ุ หนวด พระทาฐกิ ะ, พระทาฒิกะ เครา, หนวดท่คี าง พระโอษฐ์ ปาก พระตาลุ, เพดานพระโอษฐ ์ เพดานปาก พระทนต์ ฟัน พระทันตมงั สะ, พระทนั ตมงั สา เหงอื ก ไรพระทนต์ ไรฟัน พระทาฐะ, พระทาฒะ เขย้ี ว พระกราม(๑) ฟันกราม (๑) พบคำว่า พระทังษฎรา หมายถึง ฟันกราม ในหนังสืออภิธานศัพท์สันสกฤต-ไทย-อังกฤษ ของนายร้อยเอกหลวงบวรบรรณรักษ์ (นิยม รักไทย) 46 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 46 9/7/12 8:10:02 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ราชาศพั ท์ ความหมาย พระชิวหา ลิ้น ต้นพระชิวหา, มลู พระชิวหา ต้นลนิ้ , ลิน้ ไก่, โคนลิน้ พระหน(ุ ๑) คาง ต้นพระหนุ ขากรรไกร, ขากรรไตร, หรอื ขาตะไกร พระกรรณ ห,ู ใบห ู ช่องพระโสต, ชอ่ งพระกรรณ ช่องหู พระพกั ตร์ ดวงหนา้ ผวิ พระพกั ตร,์ พระราศี ผิวหนา้ พระศอ คอ ลำพระศอ ลำคอ พระกณั ฐมณี ลกู กระเดอื ก พระชตั ตุ(๒) คอต่อ พระรากขวญั ไหปลารา้ พระอังสา บา่ , ไหล่ พระองั สกฏุ จะงอยบา่ พระพาหา, พระพาห ุ แขน (ต้งั แตไ่ หลถ่ งึ ข้อศอก) พระกร ปลายแขน (ต้ังแต่ขอ้ ศอกถงึ ข้อมือ) พระกปั ระ, พระกโประ ศอก, ข้อศอก พระกัจฉะ รักแร ้ พระกัจฉโลม, พระโลมกัจฉะ ขนรกั แร้ ((๑๒)) อจา่านกวอ่าภหิธะา-นนัป ุ ปทีปิกาฯ หรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จ พระสงั ฆราชเจา้ สกลมหาสังฆปรินายก 47 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 47 9/7/12 8:10:04 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ราชาศพั ท์ ความหมาย พระหัตถ์ มอื ขอ้ พระกร, ขอ้ พระหัตถ ์ ข้อมือ ฝา่ พระหัตถ์ ฝา่ มือ หลังพระหตั ถ์ หลงั มือ พระองคุล,ี นว้ิ พระหัตถ ์ นิ้วมอื พระองั คฐุ นว้ิ หวั แม่มือ พระดชั น ี นว้ิ ช้ ี พระมัชฌิมา นว้ิ กลาง พระอนามกิ า นว้ิ นาง พระกนษิ ฐา นิ้วก้อย ขอ้ นิว้ พระหตั ถ์, พระองคุลีบัพ ขอ้ นิว้ มือ พระมุฐ,ิ (๑) กำพระหตั ถ ์ กำมือ, กำหมดั , กำปนั้ พระนขา, พระกรชะ เล็บ พระอรุ ะ, พระทรวง อก พระหทัย, พระหฤทัย, พระกมล หวั ใจ พระถนั , พระเต้า, พระปโยธร(๒) เต้านม ยอดพระถัน หวั นมของผูห้ ญิง พระจจู กุ ะ(๓) หวั นมของผูช้ าย พระกษริ ธารา น้ำนม (๑), (๓) จาก สยามบาลีอภิธาน ของนาคะประทปี มหามกฏุ ราชวิทยาลยั จดั พมิ พ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ตามแบบฉบับเดิม (๒) จาก อภิธานัปปทีปิกาฯ หรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรนิ ายก 48 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 48 9/7/12 8:10:06 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ราชาศัพท ์ ความหมาย พระครรโภทร, พระคพั โภทร ครรภ ์ พระอุทร ทอ้ ง พระนาภ(ี ๑) สะดือ, ท้อง พระสกุน, พระครรภมล รก สิ่งท่ตี ดิ มากับสายสะดือเดก็ ในครรภ์ สายพระสกุน(๒) สายรก กล่องพระสกนุ มดลูก พระกฤษฎ,ี บั้นพระองค์, พระกฏ ิ สะเอว, เอว พระปรศั ว์ สขี ้าง พระผาสุกะ(๓) ซี่โครง พระปฤษฎางค,์ พระขนอง หลัง พระโสณี ตะโพก พระทน่ี ั่ง กน้ , ท่ีนงั่ ทับ พระวัตถ(ิ ๔) กระเพาะปสั สาวะ พระคุยหฐาน, พระคยุ หประเทศ นิมิตชาย(๕), อวัยวะเพศชาย พระโยนี นมิ ติ หญิง(๖), อวัยวะเพศหญงิ พระอัณฑะ อัณฑะ พระอรู ุ ต้นขา, โคนขา, ขาออ่ น พระเพลา ขา, ตัก พระชานุ เข่า (๑) ใช้เมือ่ มอี าการประชวรเกีย่ วกบั ท้อง เช่น ลงพระนาภี ปวดพระนาภ ี (๒) พบอีกคำหนึง่ ใชว้ า่ สายพระนาภี (๓)–(๔) จาก สยามบาลีอภธิ าน ของนาคะประทปี มหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ตามแบบฉบบั เดมิ (๕)–(๖) นิยมใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว 49 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 49 9/7/12 8:10:08 PM

ราชาศัพท์ เฉลิมพระเกียรติในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ราชาศัพท ์ ความหมาย พระชงฆ ์ แขง้ หลงั พระชงฆ์ นอ่ ง พระโคปผกะ ตาตมุ่ นวิ้ พระบาท(๑) นิว้ เท้า พระบาท เทา้ ขอ้ พระบาท ขอ้ เทา้ หลังพระบาท หลงั เทา้ ฝ่าพระบาท ฝ่าเท้า พระปณั ห,ิ พระปราษณี, สน้ พระบาท ส้นเท้า พระฉว ี ผวิ หนัง, ผวิ กาย พระฉายา เงา พระโลมา ขน พระมงั สา เนือ้ หรอื กลา้ มเนอ้ื พระอสา สิว พระปฬี กะ ไฝ, ขีแ้ มลงวนั พระปปั ผาสะ ปอด พระยกนะ(๒) ตับ พระวกั กะ ไต พระปหิ กะ มา้ ม พระอนั ตะ ลำไส้ใหญ่ (๑) น้ิวพระบาท แต่ละนิ้วมีช่ือเรียกเหมือนคำสามัญ เช่น น้ิวพระบาทใหญ่ น้ิวพระบาทช้ี น้ิวพระบาทกลาง น้ิวพระบาทนาง นิ้วพระบาทกอ้ ย จากราชาศพั ทฉ์ บบั เขยี น ของหม่อมอนุวัฒน์วรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์สงิ หนทั ปราโมช) (๒) อา่ นวา่ ยะ-กะ-นะ 50 3 up 33-88-7 Sep.55 .indd 50 9/7/12 8:10:10 PM


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook