Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 62นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์

62นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์

Published by Meng Krub, 2021-05-11 06:13:41

Description: 62นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย ดร.สชุ าดา วัฒนา ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุชาดา วฒั นา. นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ-์ - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2561. 367 หน้า. 1. นักการเมือง - - ประจวบคีรีขันธ์. 2. ประจวบคีรีขันธ์ - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหัสสิง่ พิมพ์ของสถาบันพระปกเกลา้ สวพ.61-XX-600.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนงั สอื 978-974-449-XXX-X ราคา พมิ พค์ รงั้ ท่ี 1 2561 จำนวนพิมพ์ 500 เล่ม ลิขสทิ ธิ ์ สถาบันพระปกเกล้า ทป่ี รกึ ษา ศาสตราจารย์(พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้แตง่ ดร.สุชาดา วัฒนา ผ้พู มิ พผ์ ้โู ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จดั พิมพโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพท์ ี่ บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225

นักการเมืองถ่ิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดร.สุชาดา วัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

คำนำ รายงานการวจิ ยั เรอ่ื งโครงการสำรวจขอ้ มลู นกั การเมอื งถน่ิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับนักการเมืองถิ่น หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ครั้งแรก ใน พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2554 ทำให้การวิจัยนี้ต้องครอบคลุมทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประวัติศาสตร ์ การเลอื กตง้ั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรของจงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ์ และทำความรู้จักกับนักการเมืองถิ่นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านการศึกษาภูมิหลังและเส้นทางทางการเมือง ซึ่งทำให้ผู้วิจัย เองได้รับความรู้ในเบื้องต้นมากมาย และเกิดแรงบันดาลใจที่จะ ศกึ ษาวจิ ยั ในจงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธใ์ นประเดน็ อน่ื ๆ ตอ่ ไป งานวิจัยครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยซาบซึ้งกับความเอื้อเฟื้อของ กลั ยาณมติ รเกา่ จากโรงเรยี นประจวบวทิ ยาลยั ทผ่ี วู้ จิ ยั ไมส่ ามารถ เอ่ยนามได้ครบทุกคน ที่ทำให้ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญ และได้มีโอกาสสัมภาษณ์อดีตนักการเมืองประจวบคีรีขันธ์ และครอบครัว รวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัด ประจวบครี ีขนั ธ์ ตามรายช่อื ที่ปรากฎอย่ใู นภาคผนวก ผ้วู จิ ัยร้สู ึก เป็นเกียรติและขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ ที่กรุณาสละ เวลาอนั มคี า่ มาใหข้ อ้ มลู และแลกเปลย่ี นขอ้ คดิ เหน็ ทง้ั น้ี ตอ้ งรวม

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ ถงึ มติ รภาพใหมๆ่ ทเ่ี กดิ ขน้ึ และสานตอ่ ความสมั พนั ธจ์ ากการวจิ ยั ในครั้งนี้ อาทิ คุณอวยพร คีรีวิเชียร (ทั่งทอง) คุณธิดารัตน์ ประจวบเหมาะ และคณุ จนิ ตนา เอย่ี มวนั นกั จดั รายการวทิ ยแุ ละ นกั สอ่ื สารมวลชน ผสู้ นบั สนนุ แหลง่ ขอ้ มลู ทส่ี ำคญั ทผ่ี วู้ จิ ยั ทไ่ี มอ่ าจ ละเลยที่จะต้องขอบคุณ คือ คุณบุษบา ลาภวิไล บรรณารักษ ์ ห้องสมุดกระทรวงมหาดไทย ท่กี รณุ าให้ยืมหนงั สอื จากห้องสมดุ ได้ต่อเนื่องยาวนาน และคุณกนกวรรณ อรรถการุณพันธ ์ พนักงานปกครองชำนาญการ กรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย ที่แนะนำหนังสือหายากจากห้องสมุดสมเด็จเจ้าฟ้า ยุคลทิฆัมพร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตลอดจน ใหค้ ำแนะนำแหลง่ คน้ ควา้ ขอ้ มลู อน่ื ๆ ผู้วิจัยต้องขอขอบคุณสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบัน พระปกเกล้า ที่สนับสนุนทุนวิจัย และมอบหมายให้ คุณสกล สิทธิกัน เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก ทำให ้ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นด้วยอัธยาศัยไมตรีและ นำ้ ใจทม่ี ใี หก้ นั ผวู้ จิ ยั คาดหวงั วา่ ขอ้ มลู จากการวจิ ยั ครง้ั นจ้ี ะเปน็ ประโยชน์ ต่อผู้สนใจ และทำให้ชาวประจวบคีรีขันธ์ได้ร่วมเรียนรู้และ ภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของเมืองและนักการเมืองถิ่น หรือ เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ สร้างคุณูปการให้กับจังหวัดถิ่นเกิด เพื่อให้เกิดพัฒนาการทาง การเมอื ง และพฒั นาจงั หวดั ของเราควบคกู่ นั ไป สชุ าดา วฒั นา ผ้วู จิ ัย

บทคัดย่อ โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ ทางการเมืองของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านการศึกษาภูมิหลัง และเส้นทางทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2554 การศึกษาในภาพรวม พบว่า นับตั้งแต่การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2476 จนถึง การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2554 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ รวมจำนวน 23 ครั้ง มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง จำนวน 34 พรรค แต่มีพรรคการเมืองที่ผู้สมัครของพรรคได้รับเลือกตั้ง จำนวน 7 พรรค มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้ง หรือนักการ เมืองถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 14 คน มีภูมิหลังและ

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ เส้นทางทางการเมืองแตกต่างกันไปตามการเปลี่ยนแปลงบริบท ทางการสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งใน ระดับชาติและในพื้นที่ ทั้งนี้ สามารถจำแนกนักการเมืองถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ออกเป็น 3 ยุค คือ 1. นักการเมืองถิ่นในยุคที่ 1 (พ.ศ.2476 – 2495) เป็นยุค ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองยังไม่สังกัดพรรคการเมือง ในยุคนี้มีนักการเมืองถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง จำนวน 5 คน นักการในเมืองถิ่นเหล่านี้มีคุณสมบัติส่วนบุคคลที่โดดเด่น และ เป็นที่ยอมรับ อาทิ มาจากครอบครัวชนชั้นสูง มีฐานะทางสังคม และเศรษฐกิจดี มีการศึกษา หรือมีความสามารถทางวิชาการ และอาชีพเป็นที่ยอมรับ และก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่ มีชื่อเสียงระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งมีความสามารถ ในการเข้าถึงศูนย์กลางอำนาจในระดับชาติได้ คุณสมบัต ิ ส่วนตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว ทำให้ได้รับเลือกตั้ง เป็นนักการเมืองถิ่น 2. นักการเมืองถิ่นในยุคที่ 2 (พ.ศ.2500 – 2539) เป็นยุค ที่พรรคการเมืองต้องออกไปแสวงหาผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม ในแต่ละจังหวัดมาสังกัดพรรคการเมืองของตนเอง เพื่อทำให้ พรรคการเมืองของตนเองได้รับการเลือกตั้งให้เป็นเสียง ส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อรักษาฐานอำนาจทาง การเมืองเดิม หรือเข้าสู่ตำแหน่งทางการบริหาร นักการเมืองถิ่น ในยุคนี้จึงต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดในพื้นที่ ทั้งฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อเป็น ฐานเสียงในพื้นที่ในการเลือกตั้งทุกๆ ครั้ง VII

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ ด ้ ว ย ค ุ ณ ส ม บ ั ต ิ ส ่ ว น ต ั ว แ ล ะ ท ร ั พ ย า ก ร ท ี ่ ไ ด ้ ร ั บ การสนับสนุนจากพรรคการเมืองในรูปแบบต่างๆ รวมทั้ง บทบาทของข้าราชการและงบประมาณจากพรรครัฐบาล นักการเมืองถิ่นในยุคนี้จึงสามารถสร้างบารมี อิทธิพล และ การยอมรับได้อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากระยะเวลาของยุคนี ้ ที่ยาวนานถึง 39 ปี แต่มีนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นนักการเมืองถิ่นเพียง 6 คน บางคนผูกขาดการเป็น นักการเมืองถิ่นยาวนานที่สุด ถึง 11 ปี โดยพรรคการเมือง ที่ได้รับความนิยมยาวนานถึง 6 สมัย คือ พรรคชาติไทย อย่างไรก็ดี ในยุคนี้มีปรากฎการณ์นักการเมืองย้ายพรรค ที่สังกัดหลายครั้ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในระดับชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อสถานะและบทบาทของพรรค เช่น การรัฐประหาร ความขัดแย้งในพรรคการเมืองเดิม ทำให้ สมาชิกลาออกมาตั้งพรรคใหม่ เป็นต้น รวมทั้งปรากฎการณ์ “กลุ่มการเมือง” (faction) เพื่อต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง นอกจากนั้น ยุคนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ผู้สมัครจากพรรค ประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเป็นนักการเมืองถิ่น จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ 3. นักการเมืองในยุคที่ 3 (พ.ศ.2544 - 2554) เป็น นักการเมืองถิ่นที่เป็นผลผลิตของการเปลี่ยนทางการเมือง หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่ส่งผลให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงปรากฎการณ์ ทางการเมืองที่สะท้อนให้เห็นพัฒนาการทางการเมืองในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ 1) การมี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาเป็นองค์กรที่รับผิดชอบ VIII

นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์ การจัดการและกำกับดูแลการเลือกตั้งแทนกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่การเลือกตั้งใน พ.ศ.2544 2) การเลือกตั้งผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง ใน พ.ศ. 2547 ที่ทำให้ พรรคการเมืองในระดับชาติ ลงไปสนับสนุนการเลือกตั้ง นักการเมืองท้องถิ่น เพื่อสร้างเครือข่ายทางการเมืองและ เป็นฐานเสียง รวมทั้งสนับสนุนนักการเมืองท้องถิ่นให้ก้าวขึ้นมา เป็นนักการเมืองระดับชาติ 3) การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง ให้เป็นแบบผสมระหว่างการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชี รายชื่อพรรค ซึ่งทำให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องตัดสินใจ เลือกนักการเมืองถิ่น โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของนักการเมือง ในเขตเลือกตั้งของตนเอง และยึดโยงกับความศรัทธาที่มีต่อ อุดมการณ์พรรค หรือชื่นชอบนโยบายพรรคการเมืองด้วย ปฏิสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 ประการ ดังกล่าว ทำให้เกิดนักการเมืองถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รุ่นใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 4 คน ภายใต้รูปแบบ เครือข่ายการเมืองที่เรียกว่า “ประจวบโมเดล” หรือการสร้าง เครือข่ายที่เชื่อมโยงการเมืองระดับท้องถิ่นและการเมืองระดับ ชาติเข้าด้วยกันด้วยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ อย่างไรก็ดี ภูมิหลังของนักการเมืองถิ่นจากสถานะทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และประสบการณ์การเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ภายใต้การสนับสนุนจากพรรคการเมือง ยังเป็นปัจจัยสำคัญ ในการได้รับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ IX

Abstract The research entitled has the main purpose to study the political development in Prachuap Khiri Khan Province through the exploration of the background and political career paths of local politician to being MPs of Prachuap Khiri Khan Province since the first election of MPs in 1933 until the last one in 2011. The overall finding reveals that all the candidates came from 34 political parties in the 25 elections of MPs in Prachuap Khiri Khan Province but only 7 parties of 14 candidates won the election. The 14 MPs as the local politician of Prachuap Khiri Khan Province had the different backgrounds and career paths varied by the socio-economic and political changed overtime both in national and local levels. This research classifies local politician of Prachuap Khiri Khan Province into 3 generations. The first generation of local politicians came from the first election in 1933 up to 1952 in which all the candidates were not affiliated with a political parties. The 5 successful

นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์ local politician were outstanding qualified ,some were from the respected and well known families with good socio-economic status ,some provided opportunities and contributed benefits to the localities or renowned nationally and internationally, as well as the ability to access the political power in the national politics. In this generation personal qualities of the local politicians were the key factor to become the national politicians in the national politics as MPs. The local politicians in the second generation came from the election during 1957 – 1996. In these elections the political parties played the active role in political recruitment of qualified candidates in each province in order to gain the majority votes to secure their political power and access as many as political positions .The local politician in this generation must be the most qualified candidates in term of socio-economic status and political network to becoming canvassing network in any elections. The combination of qualified candidates and the support of political parties with variety of resources including government personnel’s and budgets, the local politician in this generation would create prestige, influence and also sustain and extend their political and financial power longer. No wonder that in 39 years of this period the people of Prachuap Khiri Khan Province had only 6 local politician working in the national politics because some politicians monopolized the longest position of 11 years. The political party, Chart Thai Party, had been the most popular and won XI

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ the 6 elections. However there were the political phenomena of candidates moving from one political party to another’s several times due to political situation at the national level effecting on the status and role of the political party such as the coup and the conflict among the party members. One of the conflict of political parties included the “faction” or political groups in any political party organized in order to negotiate for political power and benefits. Anyway, this period was also the first for candidate from the Democratic Party elected as a local politician of Prachuap Khiri Khan Province. The third generation of local politicians of Prachuap Khiri Khan Province came from the election during 2001-2011. The promulgation of the Constitution of the Kingdom of Thailand BE 2540 resulted in significant political changes that reflected the political developments in Prachuap Khiri Khan Province .One of important political change is the established of the Election Commission (EC) and the transfer of the responsibility of all the elections from the Ministry of Interior to EC. Including the MPs elections in 2001. The second one is the first directed election for the executive of the Local Administration in 2004. So this time was also the first time political parties from the national level got involved at the local politics .Supporting the election of local administration , the political party could gain their political networks and the votes as well as the encouragement of local politicians to step up to the national politics. Another crucial changes was the initiative of electoral system, the XII

นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์ combination of vote for candidate, one man one vote, and vote for political party and policy. Voters would consider both the qualification of candidate and make decision based on faith of political party’s ideology and policy. The interaction of at least three factors as mentioned above under a political strategy called. “Prachuap Model” or the creation of networks linking the local politics (the local administration) and national politics together with the cooperation of various sectors in the localities, the voters of Prachuap Khiri Khan Province voted for 4 new local politician of the Democrat Party who not only had the financial power but also the experience of local politics in local administration. However, this research can conclude that the personal qualification of local politician , backgrounds of good socio- economic status, educated and experience as the local politician in the local administration under the support of political parties are also the key factors for local politician to stepping up to national politics. XIII

สารบัญ หน้า คำนำ IV บทคัดยอ่ VI Abstract X บทท่ี 1 บทนำ 1 1.1 ความเป็นมา หลักการและเหตุผล 1 1.2 วัตถุประสงค์ 4 1.3 ขอบเขตการวิจัย 4 1.4 วิธีดำเนินการ 5 1.5 ระยะเวลาในการดำเนินการ 5 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 บทที่ 2 จงั หวดั ประจวบครี ีขนั ธ์ ประวตั คิ วามเปน็ มา 7 สภาพปจั จบุ ัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต 2.1 ประวัติความเป็นมา 8 2.2 การพัฒนาพื้นที่และยกฐานะเป็นอำเภอเพิ่มเติม 11 2.3 แนวคิดและข้อเสนอการจัดตั้งจังหวัดไกลกังวล 14 2.4 ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 17

นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์ หน้า 2.5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน 19 2.6 ความสำคัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และ 29 ทิศทางการพัฒนาในอนาคต 2.7 บทสรุป 50 บทท่ี 3 ประวัตกิ ารเลอื กตง้ั นกั การเมอื งถิน่ 52 จงั หวดั ประจวบคีรขี ันธ์ 52 3.1 บทนำ 54 3.2 ประวัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 129 ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3.3 บทสรุป บทที่ 4 ทฤษฎีและกรอบแนวคิดในการวจิ ยั 132 4.1 คำถามการวิจัย 132 4.2 แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 134 4.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง การเลือกตั้ง 134 และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4.2.2 แนวความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเมือง 173 4.3 บทสำรวจข้อมลู นักการเมืองถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 177 4.3.1 นายมิ่ง เลาห์เรณ ู 177 4.3.2 นายทองสืบ ศุภมาร์ค 180 4.3.3 หม่อมหลวงต้อย ชุมสาย 183 4.3.4 หลวงอุปกรณ์รัถวิถี (สระ แสง-ชโู ต) 189 4.3.5 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร 191 4.3.6 นายต้าน ประจวบเหมาะ 199 4.3.7 นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง 201 4.3.8 นายพีระพงศ์ อิศรภักดี 210 4.3.9 นายสำเภา ประจวบเหมาะ 223 4.3.10 นายวิเศษ ใจใหญ่ 229 XV

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ หน้า 4.3.11 ร.ต.อ.พเยาว์ พูลธรัตน์ 232 4.3.12 นายมนตรี ปาน้อยนนท์ 236 4.3.13 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน 240 4.3.14 นายประมวล พงศ์ถาวราเดช 258 บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ 265 5.1 สรุปภาพรวมนักการเมืองถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 265 5.2 อภิปรายผล 280 5.2.1 กรอบการวิเคราะห์ 280 5.2.2 ผลการวิจัย 285 5.3 ข้อเสนอแนะ 303 บรรณานุกรม 304 ภาคผนวก 313 ภาคผนวก 1 ประวัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 313 ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2476-2554 ภาคผนวก 2 ทำเนยี บนกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ์ 318 พ.ศ. 2476- 2554 ภาคผนวก 3 ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 325 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2500 – 2554 ภาคผนวก 4 สรุปการสัมภาษณ์อดีตสมาชิกสภา 341 ผู้แทนราษฎร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และผู้เกี่ยวข้อง ประวตั ิผวู้ จิ ัย 348 XVI

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ สารบัญแผนภาพ หน้า แผนภาพที่ 4.1 โครงสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองระดับท้องถิ่น- 172 ระดับชาติในประเทศไทย XVII

นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์ สารบัญตาราง หนา้ ตารางที่ 5.1 ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 294 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ตารางที่ 5.2 ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 294 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 XVIII

บ1ทท ี่ บทนำ 1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็น 1 ในเมืองชายแดน ที่มี ประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับการสู้รบ สงคราม และการค้าขาย ชายแดน ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะเดียวกัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก็มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ และทิวทัศน์ที่สวยงาม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเป็นพื้นที่ที่มีการอพยพมาตั้งรกรากของราษฎรจากพื้นที่อื่นๆ และการสร้างที่ประทับเพื่อรองรับการแปรพระราชฐานของ พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ รวมทั้งที่พักเพื่อการพักผ่อน ของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร รวมทั้งเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงเป็นจังหวัดที่มีความผูกพันกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ด้านความมั่นคง ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การประมง การค้าชายแดนและการท่องเที่ยว ในบริบทของ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถูกกำหนด ให้มีตำแหน่งการพัฒนาในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับ ประชาคมอาเซียนผ่านการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศ สหภาพเมียนมาร์ หนึ่งในประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ด้วยสภาพพื้นที่ที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในมิติ ด้านต่างๆ บทบาทของนักการเมืองถิ่น หรือสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือก เพื่อให้เข้าไปทำหน้าที่ในการ กำหนดนโยบายสาธารณะจึงสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในส่วนรวม และการพัฒนาพื้นที่จังหวัดให้สอดคล้องกับ ศักยภาพของจังหวัด และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งต้องคำนึงถึงการแบ่งปันผลประโยชน์สาธารณะอย่างเป็น ธรรม ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การศึกษาพัฒนาการทางการเมืองที่ผ่านมา พบว่า เมื่อ พูดถึงนโยบายสาธารณะ เรามักจะให้ความสนใจกับการศึกษา การเมืองระดับชาติ ขณะที่เห็นว่า การเมืองในระดับท้องถิ่นเป็น เรื่องของผลประโยชน์ต่างตอบแทนที่ยึดโยงอยู่กับวัฒนธรรม การเมืองแบบอุปถัมภ์ หรือสะท้อนให้เห็นเพียงเครือข่าย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตระกูลต่างๆ ในพื้นที่ ในฐานะกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) หัวคะแนนในพื้นที่

บทนำ กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองระดับชาติ ซึ่งนำไปสู่ ความภักดีทางการเมือง (political loyalty) ที่มีความหมายตรงกัน ข้ามกับภารกิจที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เขาเหล่านั้นไปทำหน้าที่ กำหนดนโยบายสาธารณะ (public policy) ที่จะต้องคำนึงถึง ผลประโยชน์สาธารณะ (public interest) มากกว่าผลประโยชน์ ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ดี ปรากฎการณ์กลุ่มการเมืองในพรรคการเมือง (faction) เพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น การเป็น พรรคร่วมรัฐบาลและการทุจริตเชิงนโยบายจึงจะเป็นประเด็นที่ชี้ ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาโครงสร้างทางการเมืองของ นักการเมืองถิ่น (local political structure) กับการเมืองระดับชาติ ผ่านการศึกษาภูมิหลัง เส้นทางและบทบาทของนักการเมืองถิ่น ในบริบทของการเมืองระดับชาติ จึงกล่าวได้ว่า การเมืองถิ่น และนักการเมืองถิ่น มิใช่สิ่งที่อยู่นอกปริมณฑลของการเมือง ระดับชาติ แต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ กล่าวอีกนัยหนึ่ง นักการเมืองถิ่นเป็นตัวแสดงทางการเมือง (political actors) ที่ สำคัญยิ่งต่อการศึกษาพัฒนาการการเมืองไทยในภาพรวม อย่างไรก็ตาม บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่าง นักการเมืองถิ่นกับการเมืองระดับชาติย่อมแตกต่างกันไปใน แต่ละพื้นที่ การศึกษาวิจัยนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ จึงเป็นการวิจัยเพื่อแสวงหาปรากฎการณ์แห่ง ความจริง (evidence-based research) ทางการเมืองภายใต้ การเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม เศรษฐกิจในแต่ละยุคสมัย

นักการเมืองถ่ินประจวบคีรีขันธ์ 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อศึกษาพัฒนาการทางการเมืองของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ที่เชื่อมโยงกับการเมืองระดับชาติ 1.2.2 เพื่อศึกษาประวัติและเส้นทางทางการเมืองของ นักการเมืองถิ่นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1.3 ขอบเขตของการวิจัย 1.3.1 ศึกษาประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และ ทิศทางการพัฒนาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทำความ เข้าใจบริบทของนักการเมืองถิ่น 1.3.2 ศึกษาพัฒนาการทางการเมือง และประวัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2554 และปรากฎการณ์การเมืองที่น่าสนใจใน ช่วงเวลาต่างๆ เกี่ยวกับกลุ่มผลประโยชน์ และเครือข่าย ที่เชื่อมโยงกับการเมืองระดับชาติ 1.3.3 ศึกษาประวัติและเส้นทางการเมืองของ นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 14 คน รวมถึงกลยุทธ์ หรือยุทธวิธีในการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองถิ่นที่ใช้ใน แต่ละยุคสมัย 1.3.4 สังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองถิ่นและพรรคการเมืองระดับ ชาติ

บทนำ 1.4 วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย 1.4.1 การศึกษา/วิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การศึกษา ประวัติความเป็นมาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประวัติการเลือกตั้งของประเทศไทยและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2554 การทบทวนทฤษฎีการเมืองที่เกี่ยวข้อง การศึกษาการเมืองถิ่นในจังหวัดอื่นๆ ที่ดำเนินการมาแล้ว เพื่อใช้เป็นกรอบการศึกษาประวัตินักการเมืองและวิเคราะห์ แนวโน้มการเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1.4.2 การสัมภาษณ์นักการเมือง และผู้ที่สามารถให้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนในพื้นที่ ญาตินักการเมือง สื่อมวลชน เป็นต้น 1.4.3 การสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลตามข้อ 1.4.1 และ 1.4.2 1.5 ระยะเวลา 8 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2558 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 มีข้อมลู เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา สถานการณ์ ปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ใน อนาคต

นักการเมืองถิ่นประจวบคีรีขันธ์ 1.6.2 รู้จักนักการเมืองถิ่น หรือนักการเมืองในพื้นที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเข้าใจพัฒนาการทางการเมือง ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่การเลือกตั้งในครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 1.6.3 เข้าใจโครงสร้างทางการเมืองที่เชื่อมโยงการเมือง ถิ่นและการเมืองระดับชาติ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเกิดความ ตื่นตัวทางการเมือง เกิดสำนึกความเป็นพลเมือง และส่งเสริม ให้เกิดการเมืองภาคพลเมือง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับนักการเมือง 1.6.4 องคค์ วามรทู้ ไ่ี ดร้ บั จากการวจิ ยั จะเปน็ ปรากฎการณ์ ทางการเมือง (evidences) ที่ช่วยสนับสนุนหรือวิพากษ์ทฤษฎี การเมืองที่มีการศึกษามาก่อนแล้ว และ/หรือนำไปต่อยอดเพื่อ การศึกษาวิจัยการเมืองไทยต่อไป

บ2ทท ่ี ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต การศึกษาที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ในการศึกษาพัฒนาการ ทางการเมือง ในรูปของพัฒนาการการสร้างกลุ่มการเมือง ไม่ว่า จะเป็นภาคประชาสังคม เครือข่ายกลุ่มผลประโยชน์ และ นักกการเมืองระดับต่างๆ ในจังหวัด จำเป็นต้องให้ความสำคัญ กับการศึกษาสภาพภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและ สังคมของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจของกลุ่มต่างๆ ตลอดจน การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของนักการเมือง และการผลักดัน นโยบายสาธารณะ ทั้งในระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งจะ ปรากฎอยู่ในทิศทางการพัฒนาจังหวัด หรือแผนงาน โครงการ ของรัฐที่ไปดำเนินการในพื้นที่ที่อาจจะเอื้อประโยชน์ให้กับ

นักการเมืองถ่ินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชาชนทุกกลุ่ม หรือบางกลุ่ม และนำไปสู่ความขัดแย้งและ ต่อสู้ทางการเมือง การศึกษาเส้นทางทางการเมืองของนักการเมืองถิ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงเริ่มจากการทำความเข้าใจกับประวัติ ความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจกับประวัติการเลือกตั้งนักการเมือง ถิ่น ภูมิหลังและเส้นทางทางการเมืองของนักการเมืองถิ่น เหล่านั้น 2.1 ประวัติความเป็นมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีบันทึกประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า อาณาบริเวณของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน คือ เมือง นารัง เมืองกุย เมืองปราณ เมืองบางตะพาน ซึ่งเป็นหัวเมือง ปักษ์ใต้ของกรุงศรีอยุธยา และเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในการควบคุมการเดินทางติดต่อกันระหว่างหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ และเป็นเส้นทางการเดินทัพของทัพไทยและ ทัพพม่าผ่านทางด่านสิงขร ที่สามารถระดมพล ช้าง ม้า จาก เมืองกุย หรือเมืองกุยบุรี รวมทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ ที่คอยสกัดทัพพม่าที่จะยกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี ราว พ.ศ.2317 เมื่อพม่าได้ยกทัพเข้า มาตีทั้งทางกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครไชยศรี เมืองราชบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี รวมทั้งมีทหารจำนวนหนึ่งเข้ามา ปล้นค่ายทับสะแก เมืองกำเนิดนพคุณ (เมืองบางตะพานเดิม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา) พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้เจ้าเมืองกุย และเจ้าเมืองปราณบุรี ทำลายบ่อน้ำ หนองน้ำต่างๆ ตาม

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต รายทาง ที่คิดว่าทัพพม่าจะยกทัพมาให้หมด เพื่อไม่ไห้เป็น กำลังแก่ฝ่ายข้าศึกได้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากการทำสงครามกับกองทัพ พม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เมืองต่างๆ ถูกทำลาย และทิ้งร้างไว้ จึงมีการตั้งเมืองใหม่และกำหนดหัวเมืองที่ขึ้น ตรงต่อกรุงเทพฯ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น เรียกว่าเมืองเอก เมืองโท เมืองจัตวา โดยที่หัวเมืองเอก โท ตรี มีเมืองขึ้นจำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินธ์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก ซึ่งเดิมขึ้นกับ กรมท่ามาขึ้นกับกรมพระกลาโหม ซึ่งหัวเมืองดังกล่าวรวมถึง เมืองกุย เมืองคลองวาฬ และเมืองปราณ ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า- นภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “เมืองบางนางรม” ขึ้นที่ ปากคลองบางนางรม (ปัจจุบัน คือ อำเภอมืองประจวบคีรีขันธ์) เข้าข่ายเมืองจัตวา ขึ้นกับเมืองเพชรบุรี แต่เนื่องจากที่ดิน บริเวณดังกล่าวไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก จึงย้ายที่ว่าการ เมืองไปตั้งที่ “เมืองกุย” ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีบ้านเรือน หนาแน่นกว่า และให้สร้างจวนเจ้าเมืองขึ้น แต่คงใช้ชื่อ “เมือง บางนารม” ตามเดิม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ.2377 พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำบลบางตะพานขึ้น เป็นเมือง ชื่อว่า “เมืองกำเนิดนพคุณ” เป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นต่อ กรมพระกลาโหม

นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ใน พ.ศ.2398 พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกุย เมือง คลองวาฬ เมืองบางนางรม เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อจาก “เมืองกุย” เป็น “เมืองประจวบคีรีขันธ์” ซึ่งแปลว่า เมืองอัน เป็นที่สบเหมาะของหมู่ขุนเขา แต่ยังคงตั้งที่ว่าการเมืองอยู่ที่ บ้านวังยาว เมืองกุยบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2435 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เปลี่ยนแปลงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยในส่วน ภูมิภาคให้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกําเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร เข้ากับเมืองปราณบุรี และเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่เคยขึ้นกับจังหวัดเพชรบุรี มาจัดตั้งขึ้นเป็น “เมืองปราณบุรี” มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับมณฑลราชบุรี มีที่ว่าการอยู่ที่อ่าว เกาะหลักหรืออ่าวประจวบคีรีขันธ์ปัจจุบัน ส่วนเมืองปราณบุรี เดิมนั้นยังคงอยู่ที่ปากคลองปราณ (บ้านปากน้ำปราณใน ปัจจุบัน) และให้เรียกชื่อว่า “เมืองปราณ” โดยให้ขึ้นอยู่กับเมือง ปราณบุรีที่ตั้งใหม่ดังกล่าว ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า- เจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่า การเรียกชื่อ “เมืองปราณ” เก่า กับ “เมืองปราณบุรี” ใหม่นั้น จะทำให้เกิดความสับสน นานไป อาจเกิดความเข้าใจผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2458 จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมือง ปราณบุรีเป็น “เมืองประจวบคีรีขันธ์” 10

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต กล่าวได้ว่า พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน เมื่อ ครั้งตั้งเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์นั้น ประกอบด้วย 3 เมือง คือ เมืองประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน) เมืองปราณบุรี (อำเภอปราณบุรีในปัจจุบัน) และเมืองกำเนิด นพคุณ (อำเภอบางสะพานในปัจจุบัน) 2.2 การพฒั นาพ้ืนที่และยกฐานะเป็นอำเภอเพมิ่ เติม จากการรวมตัวกันของ 3 เมือง/อำเภอ ขึ้นเป็นจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ใน พ.ศ. 2449 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้พัฒนา พื้นที่จนมีความเจริญ และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภออีก 5 อำเภอ ดังนี้ อำเภอหวั หนิ อำเภอหัวหินเคยเป็นพื้นที่ในการปกครองของอำเภอ ปราณบุรี มีเรื่องเล่าขานกันว่า ราว พ.ศ. 2377 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่เกษตรกรรม บางแห่งของเมืองเพชรบุรีแห้งแล้งกันดารมาก ราษฏรกลุ่มหนึ่ง จึงทิ้งถิ่นย้ายลงมาทางใต้ และได้มาพบพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมและทำการประมง ทั้งยังมีกลุ่มหิน กระจัดกระจายอยู่อย่างสวยงาม จึงตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็น เขาตะเกยี บในปจั จบุ นั และเรยี กชอ่ื หมบู่ า้ นนว้ี า่ “บา้ นสมอเรยี ง” ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหารต้นราชสกุลกฤดากร) ได้สร้าง พระตำหนักใหญ่ ชื่อ “แสนสำราญสุขเวศน์” ขึ้น ทางด้านใต้ ของหมู่หินริมทะเล และทรงขนานนามหาดทรายบริเวณนั้นว่า “หัวหิน” 11

นักการเมืองถ่ินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หัวหินได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2449 ต่อมา ใน พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดให้สร้าง “วัง ไกลกังวล” ขึ้น เพื่อใช้ในการแปรพระราชฐานมาพักในจังหวัด ชายทะเล กิ่งอำเภอหัวหินจึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ หัวหิน เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2492 เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มี ความเจริญ และเป็นที่ตั้งของวังไกลกังวล ทั้งยังเป็นสถานที่ ตากอากาศที่เป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่อมา ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล ตำบลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ.2538 โดยขยายเขต เพิ่มเติมพื้นที่จากเดิม 72 ตารางกิโลเมตร เป็น 86.36 ตาราง กิโลเมตร ซึ่งเป็นการขยายพื้นที่ลงไปในทะเล 500 เมตรด้วย อำเภอทบั สะแก ท้องที่อำเภอทับสะแกในปัจจุบัน เดิมทีเป็นที่รกร้าง ว่างเปล่า ประกอบด้วยป่าไม้เบญพรรณ ระหว่างเทือกเขา ตะนาวศรกี บั ทะเลอา่ วไทย อยใู่ นทอ้ งทอ่ี ำเภอเมอื งประจวบครี ขี นั ธ์ และอำเภอบางสะพาน เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางบก และทางทะเล จึงมีราษฎรอพยพเข้ามาทำมาหากินอยู่ตลอด เวลา โดยตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา 3 แห่ง คือ หมู่บ้านทับสะแก หมู่บ้านห้วยยางและหมู่บ้านอ่างทอง และได้รับการยกฐานะขึ้น เป็นกิ่งอำเภอใน พ.ศ. 2481 เรียกว่า “กิ่งอำเภอทับสะแก” ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลทับสะแก ตำบลห้วยยางและ ตำบลอ่างทอง ต่อมาได้ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 12

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต อำเภอกุยบุร ี หลังจากที่มีการย้ายที่ทำการ “เมืองประจวบคีรีขันธ์” จาก “เมืองกุย” ไปอยู่ในพื้นที่เกาะหลัก ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2449 เมืองกุยบุรีเป็นพื้นที่ในปกครองของ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้รับการยกฐานะเป็นกิ่ง อำเภอใน พ.ศ. 2503 ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอกุยบุรี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2506 อำเภอบางสะพานนอ้ ย พื้นที่อำเภอบางสะพานน้อยเดิมเป็นพื้นที่อยู่ในอำเภอ บางสะพาน และใน พ.ศ. 2517 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณา เห็นว่าอำเภอบางสะพานมีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีประชากรมาก จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตำบล บางสะพาน ตำบลปากแพรก ตำบลทรายทองอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางสะพานน้อย โดยมี ผลตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2517 เป็นต้นมา ต่อมาได้รับ การยกฐานะเป็นอำเภอตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2524 อำเภอสามรอ้ ยยอด การตั้งอำเภอสามร้อยยอดเป็นการแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของอำเภอปราณบุรีและอีกส่วนหนึ่งของอำเภอกุยบุรี โดยใน ครั้งแรกทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลสามร้อยยอด ตำบลศิลา ลอย และตำบลไร่เก่า จากอำเภอปราณบุรีออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามร้อยยอด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อ 13

นักการเมืองถ่ินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2538 ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2538 กระทรวง มหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งตำบลศาลาลัยขึ้น โดยแบ่งพื้นที่ 6 หมู่บ้านจากตำบลไร่เก่า ของอำเภอกุยบุรี และได้มีพระราช กฤษฎีกาโอนตำบลไร่ใหม่จากอำเภอกุยบุรีมาอยู่ในเขต การปกครองของทางกิ่งอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2539 และได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ สามร้อยยอด ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 มีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 2.3 แนวคิดและขอ้ เสนอการจัดตัง้ จงั หวัดไกลกงั วล ใน พ.ศ. 2549 สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายก- รัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะจัดตั้งจังหวัดไกลกังวลขึ้น โดยให้แยก อำเภอปราณบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอสามร้อยยอดออกจาก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแยกอำเภอชะอำ ออกจากจังหวัด เพชรบุรี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดไกลกังวล เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา ในครั้งนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ให้สอบถามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งผลการสำรวจความเห็นพบว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ รวมทั้งสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกระดับ นักการเมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่คัดค้านไม่เห็นด้วย จึงสั่งยุติเรื่อง ไป 14

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต ต่อมา ใน พ.ศ. 2551 ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรณ์ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดไกลกังวลขึ้นอีก ครั้งหนี่ง สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ได้ระบุ เหตุผลความจำเป็นว่า เนื่องจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประชากรอาศัยจำนวนมาก และมีพื้นที่กว้าง ส่งผลให้ ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อราชการ เพื่อให้เป็น ประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน จึงสมควรแยกอำเภอปราณบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอ สามร้อยยอด ออกจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแยกอำเภอ ชะอำ ออกจากจังหวัดเพชรบุรี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดไกลกังวล โดยให้เปลี่ยนชื่อ อำเภอหัวหิน เป็นอำเภอเมืองไกลกังวล เพื่อ เป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษครบ 77 พรรษา เอกสารประกอบการแสดงความเห็นการจัดตั้งจังหวัด ไกลกังวล ระบุว่าจังหวัดไกลกังวลที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่มีเนื้อที่ 3,136.832 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 136,448 คน ซึ่งนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น ให้สัมภาษณ์ว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์การแบ่งจังหวัดเนื่องจากพื้นที่ ที่สมควรจะเป็นจังหวัดใหม่ จะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่น ตารางกิโลเมตร และเมื่อแบ่งแล้ว จังหวัดนั้นควรมีพื้นที่เหลือ ไม่ต่ำกว่า 5 พันตารางกิโลเมตร ไม่ควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอ น้อยกว่า 6 แห่ง และจะต้องสำรวจความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม หากเป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง การเฉลิมพระเกียรติฯ หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ 15

นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชาชน ก็จะต้องนำมาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ ดังกล่าวด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ในมาตรา 10 ของพระราช บัญญัติการจัดตั้งจังหวัดไกลกังวล ระบุว่า ให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งได้รับการเลือกตั้ง จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี ก่อนที่พระราช บัญญัติฯ จะใช้บังคับ ให้เป็น ส.ส. และ ส.ว.ในพื้นที่เดิม จนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ส่วนสมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ทั้ง 2 จังหวัด ในเขตเลือกตั้งซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ใน วันที่พระราชบัญญัติฯ นี้ใช้บังคับ ให้เป็นสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดไกลกังวล และให้ระยะเวลาสิ้นสุดลงตาม ระยะเวลาของสมาชิกภาพแห่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี จากนั้น ให้เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไกลกังวล ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น ภายใน 60 วัน ตั้งแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หลังจากที่กระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือสอบถาม ความเหน็ หนว่ ยงานทีเ่ กีย่ วข้อง รวมท้ังสมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ นายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในขณะนั้น ให้สัมภาษณ์ว่า ในสภาองค์การบริหารส่วนจัหวัด ประจวบครี ขี นั ธ์ เคยมกี ารพดู คยุ เรอ่ื งน้ี และสว่ นใหญไ่ มเ่ หน็ ดว้ ย กับการตั้งจังหวัดใหม่ และทราบว่านักการเมืองท้องถิ่นจำนวน มากในจังหวัดเพชรบุรี ก็ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้เช่นกัน 16

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต ส่วนนายมนตรี ปาน้อยนนท์ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์เช่นกันว่า ไม่เห็นด้วยในการตั้ง จังหวัดใหม่ เนื่องจากเบื้องต้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ประชากรและพน้ื ท่ี รวมทง้ั จำนวนอำเภอ นอกจากนน้ั ประชาชน ในอำเภอทางโซนใตห้ รอื อำเภอทเ่ี หลอื ของจงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ์ คงไม่ยินยอม เนื่องจากอำเภอหัวหิน เป็นที่ตั้งของวังไกลกังวล และเป็นที่ประทับ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งจังหวัด ในฐานะประจวบคีรีขันธ์เป็นเมืองที่ประทับ ข้อเสนอการจัดตั้งจังหวัดไกลกังวลจึงยุติเรื่องไปอีก ครั้งหนึ่ง 2.4 ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองและ ผู้ว่าราชการจังหวัดมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนการจัดตั้งเป็นจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ใน พ.ศ. 2449 จนถึง พ.ศ. 2558 รวม 46 คน (นายประสงค์ อิศรภักดี และนายประสงค์ พิทูรกิจจา ดำรง ตำแหน่ง 2 ครั้ง) ดังนี้ ชอื่ ชว่ งเวลาดำรงตำแหน่ง 1. พระพิชัยชลสินธ์ (จันทร์ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล 2. พระพิชัยชลสินธ์ (สิงห์ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมลู 3. พระพิชัยชลสินธ์ (พุธ ไชยมงคล) ไม่ทราบข้อมูล 4. หลวงบริบาลคีรีมาส (ทิม) พ.ศ. 2436 5. พระพิบลู ย์สงคราม (จร) พ.ศ. 2444–2450 6. หม่อมเจ้าปราณี เนาวบุตร พ.ศ. 2450–2458 17

นักการเมืองถ่ินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 7. พระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราษฎรนายก พ.ศ. 2458–2471 8. อำมาตย์เอกหม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม พ.ศ. 2471–2476 9. หลวงภวู นารถ นรานุบาล พ.ศ. 2476–2478 10. พระบริหารเทพธานี พ.ศ. 2478–2479 11. หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ พ.ศ. 2480 12. หลวงวิมลประชาภัย พ.ศ. 2480 –2481 13. น.ท.ขุนจำนงภูมิเวท พ.ศ. 2481 14. ขุนบำรุงรัตนบุรี พ.ศ. 2481–2484 15. น.ท.สุรชิตชาญฤทธิ์รณสุวรรณโนดม พ.ศ. 2485–2487 16. นายแม้น อรจันทร์ พ.ศ. 2482–2487 17. ขุนสำราญราษฎร์บริรักษ์ พ.ศ. 2487–2488 18. นายอุดม บุญยประสพ พ.ศ. 2488–2489 19. ขุนสนิท ประชาราษฎร์ พ.ศ. 2489–2490 20. ขุนปัญจพรรคพิบูล พ.ศ. 2490–2491 21. นายถนอม วิบูลย์มงคล พ.ศ. 2491–2492 22. นายแสวง พิมทอง พ.ศ. 2492–2494 23. นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ. 2494–2495 24. นายอรรถ วิสตู รโยธาพิบาล พ.ศ. 2495 25. พ.ต.อ.จำรัส โรจนจันทร์ พ.ศ. 2495–2496 26. นายแสวง รุจิรัตน์ พ.ศ. 2496 27. พ.ต.อ.ตระกูล วิเศษรัตน์ พ.ศ. 2496–2497 28. นายประสงค์ อิศรภักดี พ.ศ. 2497–2499 29. นายสอาด ปายะนันท์ พ.ศ. 2499–2503 30. นายประจักษ์ วัชรปาน พ.ศ. 2503–2510 31. นายประหยัด สมานมิตร พ.ศ. 2510–2513 18

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต 32. นายสุวิทย์ ยิ่งวรพันธุ์ พ.ศ. 2513–2515 33. นายสุชาติ พัววิไล พ.ศ. 2515–2518 34. นายสอาด ศิริพัฒน์ พ.ศ. 2518–2519 35. นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ พ.ศ. 2519–2522 36. นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ พ.ศ. 2522–2523 37. นายเสน่ห์ วัฑฒทาธร พ.ศ. 2523–2525 38. น.อ.จำลอง ประเสริฐยิ่ง ร.น. พ.ศ. 2525–2526 39. นายบรรโลม ภุชงคกุล พ.ศ. 2526–2528 40. ม.ล.ภัคศุก กำภ ู พ.ศ. 2528–2529 41. นายบุญช่วย ศรีสารคาม พ.ศ. 2529–2532 42. ร.อ.อำนวย ไทยานนท์ พ.ศ. 2532–2537 43. นายกอบกุล ทองลงยา พ.ศ. 2537–2539 44. นายประสงค์ พิทรู กิจจา พ.ศ. 2539–2547 45. นายกิตติพงษ์ สุนานันท์ พ.ศ. 2547–2549 46. นายประสงค์ พิทูรกิจจา พ.ศ. 2549–2551 47. นายปานชัย บวรรัตนปราณ พ.ศ. 2551–2552 48. นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล พ.ศ. 2552–2558 2.5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน 2.5.1 สัญลักษณ์และคำขวัญประจำจังหวัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดหนึ่งใน 25 จังหวัด ภาคกลางของประเทศไทย สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ คือ “พระที่นั่งคูหาสวรรค์” ซึ่งสร้างขึ้นใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 19

นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คำขวัญประจำจังหวัด คือ “เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด-เขา-ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ” ซึ่งสะท้อนให้เห็น ประวัติศาสตร์ของเมืองบางสะพาน ที่เป็นแหล่งทองคำ และ ศักยภาพของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้านเกษตรกรรม และ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ 2.5.2 ท่ีตั้ง อาณาเขต และลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง ที่ 12 องศา 31 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 99 องศา 9 ลิปดาตะวันออก กับ 100 องศา 1 ลิปดา ตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันตกของ กรุงเทพมหานคร ประมาณ 325.3 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ กับจังหวัดใกล้เคียงและสหภาพเมียนมาร์ คือ ทิศเหนือติดต่อ กับอำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัด เพชรบุรี ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ จังหวัด ชุมพร ทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ความยาวชายฝั่ง ทะเลประมาณ 224.8 กิโลเมตร ทิศตะวันตกติดต่อกับสหภาพ เมียนมาร์ โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดน ยาวประมาณ 283 กิโลเมตร ความยาวของจังหวัดจากทิศเหนือจดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร จ ั ง ห ว ั ด ป ร ะ จ ว บ ค ี ร ี ข ั น ธ ์ เ ป ็ น จ ั ง ห ว ั ด ข น า ด ก ล า ง มีพื้นประมาณ 6,367.62 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.50 ไร่ แต่เป็นพื้นที่ป่าถึง 1,708,488 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 42.92 ของพื้นที่จังหวัด จำแนกพื้นที่ป่าไม้ออกเป็น 3 ลักษณะ ประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 6 แห่ง พื้นที่วนอุทยาน 6 แห่ง และพื้นที่ป่าสงวนแห่ง 20

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต ชาติ โดยการออกกฎกระทรวงประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 20 ป่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงมีปัญหาในเรื่องการบุกรุกป่า เพื่อครอบครองพื้นที่ทำเกษตรกรรมปลูกยางพารา โดยกลุ่ม นายทุนผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง และการขยายที่ดินทำกินของ ราษฎรในพื้นที่และจากที่อื่น ส่วนใหญ่เป็นในเขตป่าสงวน แห่งชาติทับสะแก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จ ในกรม กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ด้านทิศเหนือ ท้องที่ อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย ทำให้ต้อง บูรณาการการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้ง จังหวัด ประกอบด้วย หน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก ตำรวจตระเวน ชายแดนที่ 14 กองบัญชาการรักษาดินแดนจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ หน่วยป้องกันรักษาป่า เจ้าหน้าที่อุทยาน แห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน 2.5.3 การปกครองและประชากร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 435 หมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 16 แห่ง (เทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาล ตำบล 14 แห่ง) และ 44 องค์การบริหารส่วนตำบล ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์มีประชากร จำนวน 525,107 คน เป็นเพศชาย 260,580 คน คิดเป็นร้อยละ 49.62 เพศหญิง 264,527 คน คิดเป็นร้อยละ 50.37 มีสมาชิกสภาผู้แทนได้ 3 คน ประชากร 21

นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา คือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ตามลำดับ 2.5.4 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) พ.ศ. 2554 ณ ราคาประจำปี มีมูลค่าเท่ากับ 59,255 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ จังหวัดต่อหัว (GPP Per Capita) ใน พ.ศ. 2554 เท่ากับ 121,705 บาท/คน/ปี รายได้ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาเกษตรกรรม สาขา อุตสาหกรรม การค้าปลีก การค้าส่ง โรงแรมและภัตตาคาร และประมง ตามลำดับ สาขาเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญและทำรายได้ ให้จังหวัดหวัดประจวบคีรีขันธ์คือ สับปะรด มะพร้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ปลูกสับปะรดมากที่สุด ในประเทศไทย และมีปริมาณการผลิตและส่งออกสูงเป็นอันดับ หนึ่งของโลกอีกด้วย โดยร้อยละ 20 ของผลผลิตใช้บริโภค ผลสดภายในประเทศ และร้อยละ 80 ส่งเข้าโรงงานแปรรูปเพื่อ การส่งออก ใน พ.ศ. 2555 พื้นที่เพาะปลูก 509,231 ไร่ พื้นที่ เกบ็ เกย่ี ว 248,378 ไร่ ปรมิ าณผลผลติ ประมาณ 1.06 ลา้ นตนั ตอ่ ปี มีเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด 12,406 ครัวเรือน โดยมีเกษตรกร ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกสับปะรดไว้แล้ว 8,000 ราย 137 กลุ่ม มีโรงงานแปรรูปสับปะรดมากถึง 33 โรง มีมูลค่าการส่งออก 24,109.14 ล้านบาท ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ญี่ปุ่น รัสเซีย สเปน อิหร่าน สับปะรด จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้จังหวัดเป็นอันดับหนึ่ง 22

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้จังหวัด เป็นอันดับสองรองจากสับปะรดและมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ในประเทศ ในปี พ.ศ. 2555 มีพื้นที่ปลูก 471,073 ไร่ พื้นที ่ เก็บเกี่ยว 415,654 ไร่ ปริมาณผลผลิต 337,181.15 ตัน มูลค่า การผลิต 1,442.50 ล้านบาท เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว 24,784 ครัวเรือน และมีโรงงานเพื่อแปรรูปมะพร้าว จำนวน 40 โรงงาน ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดที่มี แนวโน้มการเพิ่มพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพดินฟ้า อากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา และเป็นพืชที่รัฐบาล ให้การสนับสนุนเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก โดยใน พ.ศ. 2555 มีพื้นที่ ปลูก 148,785 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 4.55 ผลผลิตเฉลี่ย 220.89 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณผลผลิต 14,441.94 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 2.03 ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้ม การเพาะปลูกมากขึ้น เนื่องจากเป็น พืชพลังงานที่เป็นทางเลือก ใหม่ของเกษตรกร และสภาพพื้นที่ในหลายอำเภอมีความ เหมาะสมในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน ใน ปี พ.ศ. 2555 มีพื้นที่ ปลูก 94,790 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 2.20 พื้นที่เก็บเกี่ยว 52,358 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 3.58 ผลผลิตประมาณ 0.13 ล้านตัน มลู ค่าการผลิต 670.23 ล้านบาท ปัจจุบันมีโรงงาน แปรรูปปาล์มน้ำมัน 6 โรงงาน มูลค่าการลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท การประมง นอกจากพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับ จังหวัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ยังมีศักยภาพทางด้านประมงสูง 23

นักการเมืองถ่ินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับชายทะเลยาวถึง 224 กิโลเมตร และ มีจำนวนหมู่บ้านและตำบลที่ติดทะเล ทั้งหมด 48 หมู่บ้าน 23 ตำบล และ 3 เทศบาล พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดถือเป็น แหล่งผสมพันธุ์วางไข่อาศัยเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำที่มี ความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาทู ปลาลัง ปลากะตัก ปูม้า หมึก และหอยลาย เป็นต้น การประมงทะเลจึงเป็นอาชีพดั้งเดิม และสำคัญของประชาชนในจังหวัดที่ก่อให้เกิดรายได้และธุรกิจ จากการประมงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2555 มีปริมาณผลผลิต จำนวน 84,250 ตัน มูลค่า 3,169 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการ ประมงพื้นบ้าน มีปริมาณ 28,705 ตัน มูลค่า 2,166 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 20.91 ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์มีเรือประมงขึ้นทะเบียน ทั้งหมด 2,683 ลำ ส่วนใหญ่เป็นเรือพื้นบ้านขนาดเล็ก นอกจากนี้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งยังมีส่วนสำคัญ ในการสร้างรายได้ให้กับจังหวัด เช่น การเลี้ยงกุ้ง ทะเล ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 99 เป็นกุ้งขาว โดยใน พ.ศ. 2555 มีปริมาณ 39,616 ตัน มูลค่า 4,862 ล้านบาท มีฟาร์มประมาณ 800 – 1,000 ฟาร์ม มีพื้นที่เลี้ยง 1 – 1.5 หมื่นไร่ ส่วนการเลี้ยง สัตว์น้ำชายฝั่งอื่นๆ เช่น ปลากะพงขาว ปลากะรัง หอยแมลงภู่ หอยนางรม ยังมีผลผลิตน้อย และยังไม่ขยายตัวมากนัก ภาคอุตสาหกรรม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีโรงงาน อุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้น 607 โรงงาน เงินลงทุนรวม 50,149.40 ล้านบาท และมีอัตราการจ้างแรงงาน 28,774 คน ส่วนใหญ่เป็น 24

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต โรงงานขนาดเล็ก โดยเป็นอุตสาหกรรมอาหารมากที่สุด จำนวน 130 โรง ช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2556 มีการขยายตัวการลงทุนด้าน อุตสาหกรรมที่สูงขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2555 มีโรงงานอุตสาหกรรม ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ จำนวน 18 โรง น อ ก จ า ก อ ุ ต ส า ห ก ร ร ม แ ป ร รู ป ผ ล ผ ล ิ ต ก า ร เ ก ษ ต ร ดังที่กล่าวมาแล้ว อุตสาหกรรมหลักที่สำคัญของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก โดยที่รัฐบาล ได้กำหนดให้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเขต WESTERN SEABOARD เนื่องจากน้ำทะเลบริเวณชายหาดตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน มีความลึกสงู สุดประมาณ 14 เมตร สามารถ สร้างท่าเรือส่งสินค้าเข้าและออกนอกประเทศได้ และมี ศักยภาพที่จะเชื่อมโยงการขนส่งสินค้ากับประเทศสหภาพ เมยี นมาร์ ผา่ นดา่ นคลองลอย ตำบลรอ่ นทอง อำเภอบางสะพาน ซึ่งเป็นการย่นระยะทางของผู้ส่งสินค้า ในปี พ.ศ. 2536 บริษัท ในเครือสหวิริยา (SSI GROUP) จึงได้ก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึก ที่ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน โดยมีกลุ่มโรงงานเหล็ก ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง จำนวน 4 โรงงงาน วงเงินลงทุน 39,869 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 2,163 คน นอกจากนั้น ยังมีอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีจำนวนผู้ได้รับ ประทานบัตรจำนวน 24 ราย เปิดทำการ 12 ราย อุตสาหกรรม พลังงานทดแทน โดยมีโรงงานผลิตพลังงานทดแทน จำนวน 2 ราย และผลิตพลังงานทดแทนใช้ในโรงงานจำนวน 5 ราย การค้าชายแดน เนื่องจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมาร์ การค้า 25

นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชายแดน จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด ในระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2551 การค้าชายแดนผ่านด่านสิงขร ในลักษณะการค้าที่ผ่าน พิธีการศุลกากร มีมูลค่าการค้าปีละ 400 - 700 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำเข้าถ่านหิน แต่มูลค่าการค้าในปัจจุบันมีไม่ มากนักในปี พ.ศ. 2556 (ม.ค. - ส.ค. 56) มีมูลค่าการค้า ชายแดน รวมทั้งที่ผ่านพิธีการศุลกากรและไม่ผ่านพิธีการ ศุลกากร รวมทั้งมูลค่าการค้าบริเวณด่านสิงขร (ฝั่งไทย) จาก นักท่องเที่ยวชาวไทย และต่างประเทศ ประมาณ 240 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค่าชายแดน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริหารของจังหวัดพยายามที่จะผลักดันด่านสิงขร เป็นด่านถาวร และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็น ด่านถาวร อาทิ การปรับปรุงถนนทางหลวง การผลักดันให้ กองบิน 5 ของกองทัพอากาศเป็นสนามบินพานิชย์ การสร้าง ศูนย์ราชการใหม่ เป็นต้น การท่องเท่ียว เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศทาง ธรรมชาติของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีความหลากหลาย และแตกต่าง มีพื้นที่ป่าทั้งที่เป็นอุทยาน วนอุทยาน น้ำตก เป็น ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224 กิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็น หาดทรายขาวที่มีความลาดชันน้อย เหมาะแก่การมาท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่ง ของประเทศ เป็นหนึ่งในสามแห่งของโครงการริเวียร่าของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่มุ่งพัฒนาชายทะเล ฝั่งอ่าวไทยของจังหวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อ 26

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต รองรับนักท่องเที่ยวเชื่อมต่อกับจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง ด้วยเส้นทางการคมนาคมที่สามารถเดินทางไปยังจังหวัดได้ทั้ง ทางรถยนต์ ทางรถไฟและทางอากาศ นอกจากนั้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ยังมีแหล่งท่องเที่ยว ที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและ วัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ และความจงรัก ภักดีในสถาบันกษัตริย์ พระมหากษัตริย์หลายพระองค์เสด็จมา ประทับที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และยังเป็นที่ประทับแปร พระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับ ความนิยมอย่างสูงจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ อย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2554 มี นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวม 3,080,614 คน เพิ่มขึ้นจากปี พ .ศ. 2553 คิดเป็น ร้อยละ 25.83 รายได้จากการท่องเที่ยว 17,318.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี พ.ศ. 2553 คิดเป็นร้อยละ 63.67 จากภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ ์ จึงมีอัตราการว่างงานน้อยมาก แต่ยังมีปัญหาการขาดแคลน แรงงานในบางสาขา ข้อมูลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร โดย สำนักงานสถิติจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2556 (ไตรมาส 1) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 410,605 คน เป็นผู้อยู่ในกลุ่มแรงงาน 314,235 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ 313,245 คน คิดเป็นร้อยละ 99.68 ของ 27

นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด เป็นผู้ว่างงาน 990 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.32 ในส่วนของผู้มีงานทำ จำนวน 313,245 คน อยู่ใน ภาคเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 34.40 (107,738) และผู้ที่ทำงาน นอกภาคเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 65.60 (205,507 คน) ซึ่งผู้ที่ ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่ทำงานในสาขาขายส่ง ขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้บุคคล และของใช้ในครัวเรือน ร้อยละ 31.86 (65,484 คน) รองลงมา คือ สาขาโรงแรมและอาหาร ร้อยละ 16.32 (33,532 คน) และ สาขาการผลิต ร้อยละ 15.73 (32,318 คน) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ยังขาดแคลนแรงงานในภาค อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสาขาการผลิต โรงงาน แปรรูปสับปะรดเพื่อการส่งออกที่มีความต้องการแรงงานเป็น จำนวนมาก เพื่อผลิตสินค้าให้ทันเวลาและความต้องการของ ตลาด แม้ว่าจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานมาจากภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคเหนือมาทำงานในพื้นที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์แล้ว ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2556 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน จำนวนทั้ง สิ้น 19,689 คน 2.5.5 สถานการณ์ด้านสังคม สถานการณ์ด้านสังคมในมิติต่างๆ สรุปได้ ดังนี้ ปัญหาความยากจน การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็น พื้นฐาน (จปฐ.) ในปี พ.ศ. 2556 จำนวน 62,864 ครัวเรือน 406 หมู่บ้าน 44 ตำบล 8 อำเภอ (ไม่รวมพื้นที่เขตเทศบาล ตำบลที่ยกฐานะจาก อบต. ในเรื่องรายได้ พบว่า จังหวัด 28

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต ประจวบคีรีขันธ์ยังคงมีครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. 30,000 บาท/คน/ปี จำนวน 53 ครัวเรือน การเข้าถึงบริการสาธารณสุข จังหวัดประจวบคีรีขันธ ์ มีสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ / เอกชน รวมทั้งสิ้น 95 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,222 เตียง มีอัตราเตียงต่อประชากร = 1 : 423 (ข้อมูล ณ ธ.ค. 2555) บุคลากรทางการแพทย์ที่สำคัญในสังกัด ในกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ จำนวน 116 คน อัตรา แพทย์ต่อประชากร คิดเป็น 1 : 4006 ทันตแพทย์ จำนวน 44 คน อัตราทันตแพทย์ ต่อประชากร 1 : 10562 เภสัชกร 63 คน อัตราเภสัชกรต่อประชากร 1 : 7376 และพยาบาล 949 อัตรา ส่วนพยาบาลต่อประชากร 1: 490 (ข้อมูล ณ 1 กรกฎาคม 2556) (ฐานประชากรจากการสำมะโนประชากร ปี 2553 จำนวน 464,711 คน) โอกาสทางการศึกษาและประกอบอาชีพ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์มีสถานศึกษาในพื้นที่รวมทั้งหมด 290 แห่ง ในจำนวนนี้มีสถานศึกษาระดับอาชีวะศึกษา 4 แห่ง และระดับ อดุ มศกึ ษา 2 แหง่ จำนวนครผู สู้ อน 2,149 คน นกั เรยี น 39,854 คน การเข้าเรียนของประชากรวัยเรียน ในปีการศึกษา 2555 มี โอกาสในการศึกษาสูง 2.6 ความสำคัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และ ทิศทางการพัฒนาในอนาคต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดน ที่มี ประวัติความเป็นมาในอดีต และพัฒนาการในอนาคตที่มีความ 29

นักการเมืองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยในมิติต่างๆ รวมทั้งทิศทาง การเมือง กลุ่มผลประโยชน์และนโยบายสาธารณะ ดังนี้ 2.6.1 ด่านสิงขร : จากเส้นทางยุทธศาสตร์ทางการรบในอดีต ไปสู่เส้นทางการค้า การลงทุนและการท่องเท่ียวในอนาคต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดชายแดนมีพรมแดน ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศเมียนมาร์ โดยมีเทือกเขาตะนาว ศรีเป็นพรมแดนยาวประมาณ 283 กิโลเมตร ขณะที่ทาง ทิศตะวันออกติดกับทะเลอ่าวไทย มีชายทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับพม่า ในบริบทของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียในอนาคตอันใกล้ นี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้กำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ (strategic positioning) ของจังหวัดให้เป็นพื้นที่ด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และช่องทางการค้าที่จะนำไปสู่การสร้างความ เชื่อมโยงระหว่างกันในประชาคมอาเซียน ในสมยั กรงุ ศรอี ยธุ ยา อาณาเขตของจงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ์ ในปัจจุบัน คอื เมอื งนารัง (ปจั จุบนั อำเภอเมืองประจวบคีรีขนั ธ)์ เมืองคลองวาฬ เมืองกุย(ปัจจุบันอำเภอกุยบุรี) เมืองปราณ (ปัจจุบันอำเภอปราณบรี) เมืองบางตะพาน (ปัจจุบันอำเภอ บางสะพาน) และเมืองกำเนิดนพคุณ(ปัจจุบันอำเภอบางสะพาน น้อย) เมืองเหล่านี้ถูกบันทึกว่าเป็นหัวเมืองปักษ์ใต้ของ กรุงศรีอยุธยา มีสถานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงกับจังหวัดเพชรบุรี และมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการระดมไพร่พล 30

ประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบัน และทิศทางการพัฒนาในอนาคต ช้าง ม้า ในการเดินทัพไปรบกับพม่าในสมัยสมเด็จพระนเรศวร แห่งกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี เมืองเหล่านี้ถูกกำหนด ให้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมการเดินทาง ติดต่อกันระหว่างหัวเมืองฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ และการเดินทัพ ของทัพไทยไปพม่า รวมทั้งคอยสกัดทัพพม่าที่จะยกเข้ามาตีกรุง ศรีอยุธยาผ่านทางด่านสิงขร สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 ความพอสรุป ได้ว่า ด่านสิงขรเป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ส่งข่าวระหว่างประเทศ พม่าและประเทศไทย โดยแขวนทิ้งข่าวต่างๆไว้ตามต้นไม้ที่ ปลายด่าน อย่างไรก็ดี ในหลักฐานการเดินทางจากเมืองตะนาวศรีสู่ อาณาจักรสยามของพระสังฆราชแห่งเบริธ (Beryte) และ การเดินทางจากบางกอกไปมะริด (Mergui) ของเซเบเรต์ (Ceberet) ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชระบุว่า พื้นที่เมือง ประจวบคีรีขันธ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ และเส้นทางติดต่อค้าขายสำคัญเชื่อมต่อเมืองท่าทางฝั่งอ่าว ไทยกับเมืองท่าทางฝั่งเบงกอล คือ มะริดและตะนาวศรี หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเกี่ยวกับจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์กับพม่า คือ คนไทยผลัดถิ่นที่มีบรรพบุรุษเป็น คนไทย แต่ไปตกค้างหรือไปอาศัยอยู่ฝั่งพม่าตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ หลังจากกระทรวงมหาดไทยได้เปิดให้มีการ ขึ้นทะเบียนผู้พลัดถิ่นสัญชาติไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 จาก การสำรวจกลุ่มผู้ผลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย พบว่า 31


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook