Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นักการเมืองถิ่นอุดรธานี

นักการเมืองถิ่นอุดรธานี

Description: เล่มที่ 60 นักการเมืองถิ่นอุดรธานี

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 5. เป็นหนึ่งในแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) ซึ่งถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี พร้อมให้จำเลยทั้ง 2 ลงคำพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐและไทยโพสต์เป็นเวลา 3 วันจากคดีหมิ่นประมาท นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 6. หัวหน้าหน่วยควบคุมการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานอ้อยและน้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม 7. เลขาธิการสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ จังหวัด อุดรธานี 8. รองเลขาธิการสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 9. เลขาธิการชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย 10. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ตามพระราช บัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 11. คณะกรรมการบริหารน้ำตาลทราย ตามพระราช บัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 12. กรรมการนโยบายการขายบริษัทอ้อยและน้ำตาล ทราย จำกัด 13. รองประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน 14. สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี 15. โฆษกคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภา ผู้แทนราษฎร 336

ข้อมูลการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 16. รองประธานคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภา ผู้แทนราษฎร 17. กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร 18. โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม 19. กรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล 20. เลขานุการประจำนายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร) 21. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรีเพื่อการ พัฒนาภาคอีสาน (พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร) 22. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการ ทั่วไป พ.ศ. 2557 ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย (การเลือกตั้งตกเป็น โมฆะ) 60. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2512 สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี สถาบันกอล์ฟซานดิเอโก ปริญญาโทด้าน การบริหารธุรกิจ วิทยาลัยอเมริกันและสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับนางธัญญธร นามสกุลเดิม คือ สุรีวังอารีย์ สายสัมพันธ์ทางการเมือง เป็นบุตรชายของ นายประจวบ ไชยสาส์น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต่างประเทศ อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม ประสบการณ์การ ทำงานในช่วงแรกทำงานธนาคาร ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายกิจการ สาขา บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ (มหาชน) จำกัด ต่อมา 337

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ได้เข้าสู่งานการเมืองโดยคุณสมบัติสำคัญในการลงสมัคร รับเลือกตั้งในช่วง ปี 2500 นั้นคือผู้สมัครต้องจบการศึกษา ในระดับวุฒิปริญญาตรี จากการบอกเล่าของนายจักรพรรดิ ไชยสาสน์ (พี่ชาย) เล่าว่า ขณะนั้นตัวเองยังขาดคุณสมบัติ ประการนี้อยู่จึงทำให้นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ที่มีคุณสมบัติตาม ข้อที่กล่าวมาเป็นผู้ลงสมัครในเขตพื้นที่อำเภอกุมวาปีเป็นพื้นที่ หลักที่เป็นบ้านเกิดและครอบครัวของตนเอง เสมือนกับ การสืบทอดอุดมการณ์ของพ่อ(นายประจวบ ไชยสาส์น) ที่มี ฐานคะแนนเสียงและเครือข่ายทางการเมืองอยู่มากจึงมีส่วน ช่วยทำให้ลูกๆ นั้นได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานีอีกด้วย ซึ่งนายต่อพงษ์ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2544 ในนามพรรคเสรีธรรมและดำรงตำแหน่งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 3 สมัย บทบาททางการเมอื ง 1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี พ.ศ. 2550 เขต 2 (แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเดียวเลือกได้ 3 คน) พื้นที่ อำเภอ กุมภวาปี หนองหาน วังสามหมอ ศรีธาตุ โนนสะอาด ไชยวาน กู่แก้ว สังกัดพรรคพลังประชาชน 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี พ.ศ. 2548 เขต 8 พื้นที่อำเภอกุมภวาปี และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม สังกัด พรรคไทยรักไทย 3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี พ.ศ. 2544 เขต 8 พื้นที่อำเภอกุมภวาปี และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม สังกัด พรรคเสรีธรรม 338

ข้อมูลการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4. กรรมาธิการการสาธารณสุข 1 พฤษภาคม 2545 5. กรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ 1 พฤษภาคม 2545 6. รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 9 ธันวาคม 2546 ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 7. กรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค 27 เมษายน 2548 8. เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการการ ต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ในช่วงที่เกิดความขัดแย้งไทย- กัมพูชา 27 มิถุนายน 2551 9. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 61. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นบุตรของ นายโชคสมานและนางวงเดือน สีลาวงษ์ เกิดที่บ้านเลขที่ 221 ต.กุดจับ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี อาชีพข้าราชการ สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำเร็จการศึกษา พ.ศ.2537 และ ปริญญาโท สาขาการเงินระหว่างประเทศสถานที่ศึกษา Westminster university สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2539 บทบาททางการเมือง 1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี เขต 9 พ.ศ. 2548 พื้นที่ อำเภอกุดจับ อำเภอบ้านผือ(เฉพาะตำบลเขือน้ำ ตำบล คำบง ตำบลโนนทอง และ ตำบลหนองหัวคู) และอำเภอ หนองวัวซอ (ยกเว้น ตำบลหนองบัวบาน) 339

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี เขต 9 พ.ศ. 2544 พื้นที่ อำเภอกุดจับ อำเภอบ้านผือ (เฉพาะ ตำบลเขือน้ำ ตำบล คำบง ตำบลโนนทอง และ ตำบลหนองหัวคู) และอำเภอ หนองวัวซอ (ยกเว้น ตำบลหนองบัวบาน) 62. นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 จบการศึกษา วท.บ. (เทคโนโลยีการเกษตร) วิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร ที่อยู่ 329/1 หมู่ 1 ถ.อุดร-หนองคาย ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี อาชีพกำนัน บทบาททางการเมอื ง ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 สมัย 1. ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2526, 2529, 2531 2. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2535-2537 3. รองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน พ.ศ. 2550 4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 10 พ.ศ. 2548 -2549 เขตพื้นที่อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูง และ อำเภอบา้ นผอื (ยกเวน้ ตำบลเขอื นำ้ ตำบลคำบง ตำบลโนนทอง และตำบลหนองหัวคู) สังกัดพรรคไทยรักไทย 5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 10 พ.ศ. 2544 – 2548 เขตพื้นที่ อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูง และ 340

ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำเภอบา้ นผอื (ยกเวน้ ตำบลเขอื นำ้ ตำบลคำบง ตำบลโนนทอง และตำบลหนองหัวค)ู สังกัดพรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535) 6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 3 พ.ศ.2539 – 2543 เขตพื้นที่ อำเภอกุดจับ อำเภอบ้านผือ อำเภอ หนองวัวซอ อำเภอน้ำโสม และอำเภอนายูง สังกัดพรรค เสรีธรรม (พ.ศ.2535) 7. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 3 พ.ศ.2538 – 2539 เขตพื้นที่ อำเภอกุดจับ อำเภอบ้านผือ อำเภอ หนองวัวซอ อำเภอน้ำโสม และกิ่งอำเภอนายูง สังกัดพรรค เสรีธรรม (พ.ศ. 2535) 8. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี เขต 2 พ.ศ. 2531 – 2534 เขตพื้นที่อำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลาง อำเภอ สุวรรณคูหา อำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม และกิ่งอำเภอนายูง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 9. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี เขต 2 พ.ศ.2526 – 2529 เขตพื้นที่อำเภอหนองบัวลำภู อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอ น้ำโสม อำเภอบ้านผือ อำเภอนากลาง และ อำเภอสุวรรณคูหา สังกัดพรรคกิจสังคม 63. นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี สถานที่ติดต่อบ้านเลขที่ 89 หมู่ที่ 4 ตำบลนาดี อำเภอ หนองแสง จังหวัดอุดรธานี อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้งคืออาชีพ 341

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี เกษตรกร ปัจจุบันเป็นนักการเมืองเพียงคนเดียวที่ยังอยู่ใน สมาชกิ กลมุ่ ทางการเมอื งอยเู่ ปน็ กลมุ่ เพอ่ื นเนวนิ ของนกั การเมอื ง จังหวัดอุดรธานี (ศนู ย์ติดตามประชาธิปไตยไทย, 2558) บทบาททางการเมือง 1. ชว่ ยราชการสำนกั งานเลขาธกิ ารสำนกั นายกรฐั มนตรี 2. ช่วยราชการสำนักงานเลขานุการ รมว.กระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคม 3. ช่วยราชการสำนักงานเลขานุการ รมว.มหาดไทย 4. คณะอนุกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.โคนมและผลิตภัณฑ์ นม 5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี (ชุดที่ 23) เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอ หนองแสง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม สังกัดพรรคพลังประชาชน การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 ปัจจุบันอยู่พรรคภูมิใจไทย สำหรับ วิธีการหาเสียงที่ถือว่าเอกลักษณ์ คือ ออกหาเสียงแบบทัวร ์ นกขมิ้น ค่ำไหนนอนนั่น และการนำเสนอนโยบายของพรรค 64. นายอนันต์ ศรีพันธ์ุ นายอนันต์ ศรีพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2489 มีภูมิลำเนาเดิมเป็นคนจังหวัดชัยภูมิ สำเร็จการศึกษา เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถสอบบรรจุข้าราชการ ได้ ซึ่งเข้ารับการบรรจุราชการในตำแหน่งเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทำให้นายอนันต์ มีบทบาทสำคัญและเป็นที่ 342

ข้อมูลการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รู้จักของบุคคลต่างๆ ทั้งทางราชการ ท้องถิ่น และชุมชนพื้นที่ ต่างๆ ในจังหวัดอุดรธานี สำหรับบุคคลที่เป็นที่รู้จักทางการเมือง ที่สนิทคุ้นเคยกันคือ วิเชียร ขาวขำ (ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539) และนายแพทย์วิชัย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2548 ในช่วงปลายชีวิตของการดำรงตำแหน่งราชการ นายอนันต์ ได้ย้ายตำแหน่งทางราชการจากจังหวัดอุดรธานี ไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคในจังหวัดเชียงใหม่ แต่ดำรง ตำแหน่งได้ไม่นาน (ประมาณ 6 เดือน) เกษียณอายุราชการ และกลับมาอาศัยอยู่กับครอบครัวในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัด อุดรธานี ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2549 นายอนันต์ เริ่มก้าวเข้าสู่ เส้นทางการเมือง โดยการลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แตไ่ มไ่ ดร้ บั เลอื กตง้ั ใหด้ ำรงตำแหนง่ และเหตกุ ารณท์ างการเมอื ง ในช่วงนั้นมีการรัฐประหารเกิดขึ้น ต่อมาหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 นายอนันต์ ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ครั้งแรกในฐานะนักการเมือง ซึ่งสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) สำหรับแรงจูงใจ และ ผู้แนะนำเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งนี้ คือ นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิช กุล (ที่ในช่วงนั้นเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทยเช่นกัน) จึงทำให้นายอนันต์ ได้รับโอกาสก้าวสู่การดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ตลอดจนบทบาท ความรู้ความสามารถเดิมที่เคย ดำรงตำแหน่งงานทางราชการด้วย จึงทำให้เป็นที่รู้จักของ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และนอกจากนี้แรงจูงใจ ที่สำคัญนายอนันต์ ตั้งใจจะเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดัน ให้กรมส่งเสริมเกษตรยังมีบทบาทสำคัญต่อสังคม และ 343

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ประชาชน เพราะเนื่องจากช่วงหนึ่งมีรัฐมนตรีที่มีแนวคิดจะยุบ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงทำให้นายอนันต์ ต้องการเข้าไปมี บทบาทในด้านของการเกษตรว่ามีส่วนสำคัญต่อสังคม และ ประชาชน วธิ กี ารหาเสยี งเลือกตง้ั การหาเสียงในการเลือกตั้งจะใช้วิธีการเข้าถึงบุคคล ที่รู้จักในแต่ละหมู่บ้านที่นายอนันต์ มีความสนิทสนมมาตั้งแต่ ทำงานในภาคส่วนราชการในตำแหน่งเกษตรอำเภอ เพราะมี โอกาสลงพื้นที่ชุมชนหรือทำงานร่วมกับผู้นำของหมู่บ้านจนรู้จัก คุ้นเคย วัฒนธรรมของคนอีสานมีการ “ผูกเสี่ยว” เพื่อแสดงถึง ความเป็นเพื่อนคอยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อประสาน ผ่านเพื่อนที่รู้จักในแต่ละชุมชนซึ่งเป็นคนในพื้นที่ กลุ่มเพื่อนก็จะ ประสานบุคคลที่ชื่นชอบตัวผู้สมัครเพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย กลุ่มหัวคะแนนเพิ่มมากขึ้น การหาเสียงด้วยวิธีการเข้าถึง ตัวประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเพื่อสร้างความเป็นกันเอง โดยการ เดินลงพื้นที่ชุมชนในเขตที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในแต่ละชุมชน พร้อมด้วยทีมงาน มีการแจกโปรเตอร์แนะนำตัวผู้สมัคร การหาเสียงด้วยวิธีการติดป้ายหาเสียงตามจุดเด่นๆ ในพื้นที่ ชุมชน และวิธีการใช้รถแห่ขบวนโฆษณาหาเสียงรอบหมู่บ้าน การหาเสียงด้วยการปราศรัยย่อยตามหมู่บ้านหรือชุมชนพร้อม กันกับทีมงานผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตพื้นที่เดียวกันที่สังกัด พรรคพลังประชาชน ซึ่งในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 นั้น เป็นการเลือกตั้งแบบ 1 เขตสามารถเลือกได้ 3 คน มีผู้สมัคร สังกัดเดียวกันในขณะนั้น ได้แก่ 1) นายอนันต์ ศรีพันธุ์ 344

ข้อมูลการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2) พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ และ 3) นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ มีวิธีการปราศรัยแบบแนะนำตัวผู้สมัคร ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ความรู้ความสามารถ และให้ผู้สมัครพูดคุย ปราศรัยกับพี่น้องประชาชน การชนู โยบายพรรคที่สามารถทำได้ จริง นโยบายที่สามารถช่วยประชาชนในพื้นที่ และบอกว่า ประชาชนจะได้รับผลประโยชน์อะไรจากผลของนโยบาย การชู หัวหน้าพรรคที่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่จะดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองในระดับสูง หรือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในพรรค ที่ประชาชนรู้จัก ชื่นชอบในการเมืองระดับชาติ การหาเสียงด้วย การปราศรัยใหญ่ เป็นการปราศรัยลักษณะที่ทางพรรคการเมือง จะส่งบุคคลสำคัญของพรรคลงมาช่วยในการปราศรัยในเขต พื้นที่ระดับจังหวัดอุดรธานีหรือพื้นที่ในลักษณะที่เป็นเวทีใหญ่ๆ 2-3 จังหวัดมารับการปราศรัยพร้อมกันครั้งเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ จะจัดขึ้นในตัวเมืองพื้นที่จังหวัด หรือตัวอำเภอ จะมีการจัดขึ้น ประมาณ 15-20 วันก่อนมีการเลือกตั้ง เช่นกรณีกรณีของพรรค พลังประชาชน เมื่อการเลือกตั้งในปี 2550 ในเขตพื้นที่จังหวัด อุดรธานีได้มีการปราศรัยใหญ่ โดยส่งนักการเมืองที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของประชาชน มีบทบาทสำคัญต่อพรรคการเมือง คือ นายเฉลิม อยู่บำรุง และนายสมัคร สุนทรเวช พร้อมด้วยทีมงาน ลงมาช่วยในการปราศรัยใหญ่ เป็นต้น บทบาททางการเมือง 1. คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและ ประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญประจำจังหวัดอุดรธานี 345

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี (ชุดที่ 23) เขตท่ี 1 การเลอื กตง้ั แบบ 1 เขต 3 คน สงั กดั พรรคพลงั ประชาชน เมื่อ พ.ศ. 2550 พื้นที่ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองแสง และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม 3. รองประธานคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ 4. สภาผู้แทนราษฎร มีบทบาทในการผลักดัน พระราชบัญญัติสภาเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และในบทบาท ระดับท้องถิ่น มีส่วนในการผลักดันให้เกิดการสร้างโครงสร้าง พื้นฐาน เช่น ถนน โดยมีการติดต่อประสานงานกับผู้มีส่วน เกี่ยวข้องดำเนินการซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิก สภาผแู้ ทนราษฎร และนอกจากนย้ี งั มกี ารใหค้ วามรู้ ใหค้ ำปรกึ ษา พี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้านการเกษตรและช่วยเหลือปัญหา ด้านต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ วิทยุชุมชน และศูนย์ ประสานงาน 5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี (ชุดที่ 24) เขตที่ 3 การเลือกตั้งแบบ 1 เขต 1 คน สังกัดพรรคเพื่อไทย เมื่อ พ.ศ. 2554 พื้นที่ อำเภอเมืองอุดรธานี (เฉพาะตำบล บ้านขาว ตำบลนากว้าง และ ตำบลนาข่า) อำเภอเพ็ญ และ อำเภอสร้างคอม 65. นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ 2492 สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สถาบันราชภัฏมหาสารคาม 346

ข้อมูลการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บทบาททางการเมือง 1. ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุดรธานี (ส.จ.) 2. เป็นผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีเขต 2 (ชุดที่ 23) พื้นที่อำเภอหนองหาน, อำเภอกุมภวาปี, อำเภอ โนนสะอาด, อำเภอศรีธาตุ, อำเภอไชยวาน, อำเภอวังสามหมอ และอำเภอกู่แก้ว สังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีเขต 6 (ชุดที่24) พื้นที่อำเภอวังสามหมอ, อำเภอศรีธาตุ, อำเภอ ไชยวาน และอำเภอกู่แก้ว สังกัดพรรคเพื่อไทย ประเภทแบ่งเขต การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2554 66. นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ประวัติด้าน การศึกษาประถมเรียนที่จังหวัดอุดรธานี มัธยมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ช่วง 2528- 2529 เรียนมหาลัยหอการค้า และต่อมาได้มีโอกาสเรียนที่อเมริกา ท้องถิ่นจัดการเพื่อการศึกษา (Local School Collage) ต่อมากลับ มาเรียนต่อที่มหาลัย ABAG และศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขา บริหารธุรกิจการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เมื่อเรียน จบย้ายกับมาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานีในช่วงปี 2545 ทำงานด้าน ประกันสังคม และเรียนปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง 347

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ไปพร้อมกับทำงานทางการเมืองช่วยพ่อและน้องชายในพื้นที ่ มาโดยตลอด เคยมีชื่อเป็นหนึ่งในกลุ่มเพื่อนเนวิน ก่อนการยุบ พรรคพลังประชาชน สายสัมพันธ์นักการเมือง คือ นายประจวบ ไชยสาส์น (บิดา) อดีตหัวหน้าพรรคเสรีธรรม และอดีตกรรมการ บริหารพรรคไทยรักไทย (บ้านเลขที่ 111) ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทาง การเมืองเป็นเวลา 5 ปี หลังการยุบพรรคไทยรักไทย พี่ชาย นายตอ่ พงษ์ ไชยสาสน์ รฐั มนตรชี ว่ ยวา่ การกระทรวงสาธารณสขุ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เส้นทางการเขา้ สูก่ ารเมอื ง เส้นทางการเมืองของนายจักรพรรดิ ไชยสาส์น นับว่ามี ความผูกพันและอาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเพราะเกิดใน ตระกูลที่ปู่นั้นเป็นผู้นำหรือผู้ปกครอง (ปู่เป็นกำนัน) ถือเป็น ทายาทของนักการเมืองบิดา คือ นายประจวบ ไชยสาส์น ซึ่งเป็นนักการเมืองถิ่นที่มาจากอาชีพนักปกครองโดยเฉพาะ ซึ่งก่อนนายประจวบ จะเข้าสู่เส้นทางการเมืองนั้นเดิมมีอาชีพ เป็นราชการปลัดอำเภอ จึงทำให้ตลอดชีวิตของนายจักรพรรดิ ได้เรียนรู้และสัมผัสประการณ์ต่างๆ จากการติดตามคุณพ่อ ไปลงพื้นที่หาเสียงปราศรัย ตามชุมชนต่างๆ นายจักรพรรดิ เล่าว่า “ผมเริ่มรู้จักการเมืองตั้งแต่ผมอายุ 8 ขวบ เพราะผมได้ ตามพ่อประจวบไปหาเสียงในพื้นที่ต่างๆ ในชุมชน และได้เรียน รู้วิธีการต่าง ๆ จากทีมงานของพ่อ ได้เห็นเพื่อนนักการเมืองของ พ่อมากมาย ได้รู้และได้เห็นวิธีการเทคนิค วิธีการหาเสียง หลากหลายรูปแบบที่พ่อและทีมงานใช้ ตลอดจนบททาง การเมือง และได้ช่วยคุณพ่อในการหาเสียงมาตลอด” และเวลา 348

ข้อมูลการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในช่วงการเลือกตั้ง ปี 2544 ได้มีส่วนช่วยสนับสนุน น้องชาย คือนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ในการเสียงเลือกตั้ง การวางทีมงาน เป็นทั้งผู้อำนวยการประสานงานให้ขณะที่ น้องชายเป็นผู้แทน (เพราะเวลาส่วนมากของ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จะอยู่แต่ในสภา นายจักรพรรดิเองเปรียบเสมือน ผู้แทนที่อยู่ในระดับพื้นที่เขตเพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ และ ค อ ย ป ร ะ ส า น ง า น ก ั บ พ ี ่ น ้ อ ง ป ร ะ ช า ช น ) บ ท บ า ท ข อ ง นายจักรพรรดิ มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะถือเป็น นักการเมืองถิ่นที่ทั้งชีวิตเติบโตมากับคำว่าผู้แทนหรือ นักการเมือง มองอีกมุมหนึ่งก็คือ เป็นนักการเมืองถิ่นโดย ธรรมชาติ เพราะนายจักรพรรดิ เล่าอีกต่อไปว่า “เริ่มแรกของ การเป็นนักการเมืองนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ต้องอาศัยประสบการณ์ และการฝึกฝนเป็นอย่างมาก เช่นในเรื่องของการพูดปราศรัย การเข้าถึงประชาชนเพื่อให้รู้จักตัวนักการเมืองเอง จริงอยู่ว่า พ่อของผมเป็นอดีตนักการเมืองที่อาจจะสร้างฐานเสียงไว้มาก ในจังหวัดอุดรธานี แต่ผมต้องการให้ประชาชนรู้จักตัวตน ของเราที่เป็นเราเอง เริ่มแรกของการลงสมัคร สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของนายจักรพรรดินั้นเรื่องที่ท้าทายเป็นอยากมา คือ ต้องไปลงสมัครในเขตพื้นที่อำเภอที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง (บ้านเกิดอำเภอกุมภวาปีแต่ต้องอำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอทุ่งฝน และอำเภอพิบูลย์รักษ์) ซึ่งพื้นที่ เขตนี้มีคู่แข่งทางการเมืองที่ถือว่า เป็นคู่แข่งที่มีประการณ์และ มีฐานเสียงเดิมในเขตพื้นที่เดิมอยู่แล้ว คือนายแพทย์วิชัย แต่ปัจจัยที่ทำให้ผมอาจจะมาจากหลายปัจจัย เช่น ปัจจัย ฐานเสียงเดิมของพ่อ ปัจจัยพรรคการเมือง ปัจจัยนโยบายพรรค 349

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ปัจจัยทีมงานผู้สมัครพรรคเดียวกันที่มีฐานเสียงและมีประชาชน รู้จักอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว” การที่เข้ามาสู่ตำแหน่งผู้แทนราษฎร ครั้งนี้เป็นเรื่องที่บังเอิญมากเพราะ เขตเลือกตั้งเขต 3 จังหวัด อุดรธานีขนาดนั้นขาดผู้ลงสมัครอีก 1 คน (เป็นการเลือกตั้งแบบ แบ่งเขต 1 เขต 3 คน) ทำให้ทางพรรคพลังประชาชนนั้น ตอ้ งสรรหาบคุ คลเพอ่ื ทจ่ี ะลงสมคั รในเขตดงั กลา่ ว คณะกรรมการ บริหารพรรคได้ติดต่อมาทางนายประจวบ ไชยสาส์น ในฐานะ นักการเมืองคนสำคัญของจังหวัดอุดรธานี ว่ามีบุคคลใดไหมที่ เหมาะสมในการลงสมัคร นายประจวบ จึงได้แนะนำลูกชาย ซึ่งเป็นนายจักรพรรดิ ให้มาลงสมัคร (ลงสมัครก่อนวันเลือกตั้ง เพียง 25 วัน) จึงทำให้นายจักรพรรดิ มองว่าเป็นเรื่องบังเอิญ และตื่นเต้นเป็นอยากมา เพราะเคยทำงานแต่อยู่เบื้องหลังมา นาน ถึงเวลาที่ตัวเองต้องก้าวสู้เส้นทางนักการเมืองเต็มตัว จนประสบผลสำเร็จได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ครั้งในการลงสมัคร นอกจากนี้ในอนาคตการเมืองในระดับถิ่น จังหวัดอุดรธานี อาจคาดคะเนได้ว่า นายจักรพรรดิ และ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น สองพี่น้องตระกูลไชยสาส์นจะมีความ สำคัญบนเวทีการเมืองทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศอยู่ เสมอถ้ามีการเลือกตั้งขึ้นอีกในอนาคต บทบาททางการเมือง 1. ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด อุดรธานี เขต 3 (ชุดที่ 23) พื้นที่อำเภอเพ็ญ, อำเภอสร้างคอม, อำเภอบ้านดุง, อำเภอทุ่งฝน และอำเภอพิบูลย์รักษ์ สังกัดพรรค พลังประชาชน การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 350

ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2. คณะกรรมาธิการการตำรวจ (ตำแหน่งรองประธาน) 3. ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด อุดรธานี เขต 6 (ชุดที่ 24) พื้นที่อำเภอวังสามหมอ, อำเภอ ศรีธาตุ, อำเภอไชยวาน และอำเภอกู่แก้ว สังกัดพรรคเพื่อไทย การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2554 4. กรรมาธิการการปกครอง พ.ศ. 2554 67. นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม เกิดเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2498 จบการศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตร์ วิทยาลัยครูอุดรธานี, ปริญญาโท สาขาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาชีพรับราชการครู เส้นทางการเมือง เริ่มต้นจากการทำงานเป็นตัวแทนครูในด้านต่างๆ เคย อยู่กลุ่มเพื่อนเนวิน ในพรรคพลังประชาชน แล้วเข้ามาสู ่ เส้นทางการเมืองในบทบาทต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 2. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ 3. ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร 4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดที่ 23 จังหวัด อุดรธานี เขต 4 พื้นที่ อำเภอบ้านผือ, อำเภอน้ำโสม, อำเภอ นายูง, อำเภอกุดจับ และอำเภอหนองวัวซอ สังกัดพรรค พลังประชาชน การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 351

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี 5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดที่ 24 จังหวัด อุดรธานี เขต 8 พื้นที่อำเภอเมืองอุดรธานี (เฉพาะตำบล หนองไฮ และตำบลบ้านตาด), อำเภอบ้านผือ (เฉพาะตำบล คำบง ตำบลเขือน้ำ และตำบลหนองหัวคู), อำเภอกุดจับ และ อำเภอหนองวัวซอ สังกัดพรรคเพื่อไทย การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2554 6. ที่ปรึกษา (พิเศษ) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุดรธานี 2555 นอกจากนี้ยังมีช่วงหนึ่งซึ่งเป็นด้านที่น่าจับตามอง คือ กกต. มีมติเอกฉันท์ส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง พิจารณาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในจังหวัดอุดรธานี เขต 4 แทน นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม (พร้อมด้วยนายวิเชียร ขาวขำ) สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรอดุ รธานี เขต 4 ของพรรคพลงั ประชาชน กรณีแจกซีดี และให้ทรัพย์สินเพื่อการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ลงคะแนน นอกจากนี้ กกต.ยังมีมติให้ดำเนินคดีอาญากับ หวั คะแนนทไ่ี ปดำเนนิ การ 12 เมษายน พ.ศ.2552 นายเกรยี งศกั ด์ิ ร่วมขึ้นเวทีปราศรัยกับกลุ่มคนเสื้อแดงของชมรมคนรักอุดร ที่มาร่วมชุมนุมปิดถนนบริเวณสี่แยกถนนบายพาสอุดร- ขอนแก่น ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี และส่วนการย้ายพรรค จากพรรคพลังประชาชน(ยุบพรรค) สู่พรรคเพื่อไทย 68. นายขจิตร ชัยนิคม (นักการเมืองถ่นิ ผู้ให้สมั ภาษณ์) เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2494 จบการศึกษา ปริญญาตรี คณะการศึกษา สาขาสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ 352

ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนลงสมัคร รับเลือกตั้งเคยรับราชการครู ประสบการณ์ทำงานเคยเป็น ครูใหญ่ ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอต่างๆ ในจังหวัด อุดรธานี เป็นเวลา 20 ปี, ประธานคณะกรรมการสหกรณ์ ออมทรัพย์ครูอุดรธานี จำกัด, เลขาธิการชมรมครูประชาบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประธานสภามนตรี สมาพันธ์ สมาคมครปู ระถมศึกษาแห่งประเทศไทย บทบาททางการเมือง 1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดที่ 17 จังหวัด อุดรธานี เขต 3 พื้นที่ อำเภอบ้านดุง, อำเภอหนองหาน, อำเภอ ไชยวาน, อำเภอศรีธาตุ, อำเภอวังสามหมอ, กิ่งอำเภอทุ่งฝน และกิ่งอำเภอสร้างคอม สังกัดพรรคความหวังใหม่ การเลือกตั้ง เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2535 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดที่ 19 จังหวัด อุดรธานี เขต 2 พื้นที่ อำเภอหนองหาน, อำเภอสร้างคอม, อำเภอบา้ นดงุ , อำเภอทงุ่ ฝน, อำเภอไชยวาน, อำเภอวงั สามหมอ, กง่ิ อำเภอพบิ ลู ยร์ กั ษ์ และกง่ิ อำเภอกแู่ กว้ สงั กดั พรรคความหวงั ใหม่ การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538 3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดที่ 20 จังหวัด อุดรธานี เขต 2 พื้นที่ อำเภอหนองหาน, อำเภอสร้างคอม, อำเภอบา้ นดงุ , อำเภอทงุ่ ฝน, อำเภอไชยวาน, อำเภอวงั สามหมอ, กง่ิ อำเภอพบิ ลู ยร์ กั ษ์ และกง่ิ อำเภอกแู่ กว้ สงั กดั พรรคความหวงั ใหม่ การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2539 353

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดที่ 24 จังหวัดอุดรธานี เขต 4 พื้นที่ อำเภอบ้านดุง, อำเภอทุ่งฝน และ อำเภอพิบูลย์รักษ์ (ยกเว้น ตำบลดอนกลอย) สังกัดพรรค เพื่อไทย การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2554 5. กรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิ มนุษยชน พ.ศ. 2554 6. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม พ.ศ. 2539 7. ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2535 8. ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 69. นางเทียบจุฑา ขาวขำ เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษา ศิลปะศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ประกาศนียบัตรชั้น สูง สาขาการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยังยื่น รุ่นที่ 1 สถาบัน พระปกเกล้า สมรสกับ วิเชียร ขาวขำ บทบาททางการเมอื ง 1. สมาชิก อบจ.จังหวัดอุดรธานี 3 สมัย 2. ประธานสภา อบจ.จังหวัดอุดรธานี และ 3. ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยชุดที่ 24 จังหวัดอุดรธานี เขต 9 พื้นที่ อำเภอบ้านผือ (ยกเว้น ตำบล คำบง ตำบลเขือน้ำ และตำบลหนองหัวคู), อำเภอน้ำโสม และ อำเภอนายงู สังกัดพรรคพรรคเพื่อไทย ประเภทแบ่งเขต 354

บ5ทท ่ี ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และ ความสัมพันธ์ทางการเมือง จังหวัดอุดรธานี มีผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2554 รวมทั้งหมด จำนวน 69 คน ประกอบด้วยเพศชาย จำนวน 65 คน และ เพศหญิงจำนวน 4 คน โดยสภาผู้แทนราษฎร (สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร) คนแรกของจังหวัดอุดรธานี คือ ขุนรักษาธนากร (กลึง เพาทธทัต) สมาชิกสภาผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด คือ นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย นายประจวบ ไชยสาส์น และ นายรักเกียรติ สุขธนะ เคยได้รับการเลือกตั้งคนละ 7 สมัย รองลงมาคือ นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ นายประยูร สุรนิวงศ์ นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ นายประสบ บุษราคัม

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี และนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล เคยได้รับการเลือกตั้งคนละ 6 สมัย โดยผู้วิจัยแบ่งประเด็นนำเสนอดังนี้ 5.1 ภูมิหลังของนักการเมืองในจังหวัดอุดรธานี นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีส่วนใหญ่มีภูมิหลัง ทางการศึกษา สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมและครอบครัวที่ดี ถือว่ามีต้นทุนที่เอื้อต่อการได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร และทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในพื้นที่จังหวัด อุดรธานี จากการประกอบอาชีพ การทำงานร่วมกับประชาชน ร่วมไปถึงเครือข่ายของกลุ่มอาชีพกลุ่มเดียวกัน สำหรับ กลุ่มอาชีพของนักการเมืองในจังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยสามารถ จำแนกออกได้ดังต่อไปนี้ 1) กลมุ่ ข้าราชการ สมาชิกสภาผู้ทนราษฎรส่วนใหญ่ในจังหวัดอุดรธานี เป็นข้าราชการรวม 23 คน สามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้ 1.1 ข้าราชการพลเรือน มี 6 คน ได้แก่ ขุนรักษา ธนากร (กลึง เพาทธทัต) หลวงวิวิธสุรการ (ตำแหน่งเสมียน, ปลัดอำเภอ และข้าหลวง) นายวิเชียร เวชสวรรค์ (ผู้ว่าราชการ จงั หวดั ) นายประจวบ ไชยสาสตร์ (ปลดั อำเภอ) และนายสมภาพ ศรีวรขาน (ผู้ว่าราชการจังหวัด) และนายอนันต์ ศรีพันธุ์ นักวิชาการการเกษตรจังหวัดอุดรธานี 1.2 ข้าราชการครู อาจารย์ มี 9 คน ได้แก่ นายสวน พรหมประกาย นายญวง เอี่ยมศิลา นายพิมพ์ มหาพินิจ นายเติม สืบพันธุ์ นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย 356

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง นายไตรภพ เมาะราศี นายขจิตร ชัยนิคม นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม และนายประยูร สุรนิวงศ์ 1.3 ข้าราชการทหาร มี 2 คน ได้แก่ ร้อยโท ขุนสรไกรพิศิษฐ (ประจวบ มหาขันธ์) และพันเอกสมคิด ศรีสังคม 1.4 ข้าราชการด้านสาธารณสุข มี 5 คน ได้แก่ นายแพทย์อ้วน นาครทรรพ นายแพทย์สมศักดิ์ วรคามิน นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล นายวรพจน์ วงศ์สง่า (เภสัชกร) และนางเตือนใจ นุอุปละ (พยาบาล) 1.5 ข้าราชการตำรวจ มีเพียงคนเดียวคือ พ.ต.ท. สุรทิน พิมานเมฆินทร์ 2) กลุ่มนกั การเมืองทอ้ งถนิ่ มี 8 คน ได้แก่ สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานี 6 คน คือ นายศราวุธ เพชรพนมพร นายไชยยา พรหมา นายรักเกียรติ สุขธนะ นางเทียบจุฑา ขาวขำ นายธีระชัย แสนแก้ว และนายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 1 คน คือ วิเชียร ขาวขำ และนายโชคสมาน สีลาวงษ์ เป็นนักการเมืองถิ่นใน พื้นที่ 3) กลุม่ กำนนั ผ้ใู หญ่บ้าน มี 2 คน ได้แก่ นายทองดี มนิสสาร และนายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ 357

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 4) กลุ่มนักธุรกิจ และพนกั งานบริษัทเอกชน มี 8 คน ได้แก่ นายแสวง พิบูลย์ศราวุธ นายสมเจตน์ ฤกษะสุต นายโสภณ วีรชัย นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ นายไพรัช นุชิต นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น และนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น 5) กล่มุ นักกฎหมาย มี 8 คน ได้แก่ นายธีระยุทธ วานิชชัง นายไชยยศ จิรเมธากร นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ นายจำรัส มัฆนาโส นายปณิธาน ธาระวาณิช นายสุรยุทธ ธาระวาณิช นายสุรยุทธ กิติราช นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ และนายประสพ บุษราคัม 5.2 เส้นทางการเข้าสู่การเมือง จากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ผู้สมัครเดิมประกอบอาชีพ หลักเป็นกลุ่มข้าราชการ กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มนักกฎหมาย กลุ่มนักธุรกิจ และพนักงานบริษัท เอกชน ผันบทบาทของตนเองเข้าสู่เส้นทางการเมืองระดับชาติ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุดรธานี โดยมีที่มาดังนี้ 1. มีความเกี่ยวข้องกับ “ขบวนการเสรีไทย” ในพื้นที่ ภาคอีสาน ทำให้นักการเมืองถิ่นเกิดความสนใจเรียนรู้ และ ได้รับประสบการณ์จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น แล้วได้ เข้ามาสู่เส้นทางการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งมีทั้ง นักการเมืองที่สังกัดพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พรรค 358

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง เสรีไทยประชาธิปไตย และไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง ได้แก่ ขุนรักษาธนาการ นายอ้วน นาครทรรพ นายบุญคุ้ม จันทรศรี สุริยวงศ์ นายญวง เอี่ยมศิลา นายเกษม ปทุมเวียง นายเติบ สืบพันธุ์ และนายสม วาสนา 2. มีความสนใจงานด้านการเมืองด้วยตนเอง ตัวอย่าง เช่น นายวรพจน์ วงศ์สง่า มีความสนใจการเมืองมาก ซึ่งมี พี่ชายคนโตเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกนคร ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ และประสบการณ์ทางการเมืองจาก พี่ชาย หลังจากเรียนจบการศึกษาอายุเพียง 23 ปี ได้ลงสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุดรธาน ี ที่หนุ่มที่สุด รวมทั้งนายกิตติศักดิ์ หันตสงเคราะห์ ที่กล่าวว่า “เดิมเป็นผู้ไม่เคยสนใจงานด้านการเมืองมาก่อน การลงเล่นการเมืองเกิดขึ้นจากตนเองที่อยากรู้อยากลอง เพราะอยากแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตนมีความรู้ความสามารถ ที่จะเป็น ตัวแทนหรือผู้แทนคนได้” (กิตติศักดิ์ หัตสงเคราะห์, 2558, สัมภาษณ์) นายเฉลิมชัย สนิทวงศ์ชัย เข้าสู้เส้นทางการเมือง จากอาชีพครู ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสหกรณ์ครูอุดรธานี ทำให้มีฐานเสียงเป็นที่รู้จักในกลุ่มครูจำนวนมาก แล้วจึง ตัดสินใจลงสู่การเมืองครั้งแรกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2519 และ พ.ต.ท. สุรทิน พิมานเมฆินทร์ มีแรงบันดาลใจคิดอยากจะเป็นนักการเมืองขึ้นมา เนื่องจาก แนวคิดที่อยากเข้ามาทำหน้าที่นักการเมืองที่ดี ดำรงความ 359

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ยุติธรรมให้กับสังคม ดังคำกล่าว สุรทิน พิมานเมฆินทร์ ที่กล่าวว่า “นักการเมืองในฐานะผู้แทนราษฎรมีหน้าที่อย่างไร ทำอะไร อยากจะทำ อยากจะเป็นบ้าง และอีกหนึ่งเหตุผล ที่สำคัญ นักการเมืองในยุคนั้นใช้อำนาจโดยมิชอบทำให้ คิดอยากจะก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองเพื่อต่อสู้กับความ ไม่ยุติธรรม” (พ.ต.ท. สุรทิน พิมานเมฆินทร์, 2558, สัมภาษณ์) 3. การชักชวนสนับสนุนจากเพื่อน นักการเมือง และ ผู้นำพรรคการเมือง ได้แก่ นายไพรัช นุชิต เข้าสู่การลงสมัคร รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากการชักชวนของ นักการเมือง นายรักเกียรติ สุขธนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุดรธานี ซึ่งทั้งสองเคยรู้จักกันมาก่อนจากการเป็นสมาชิกสภา จังหวัดอุดรธานีด้วยกัน จากการชักชวนดังกล่าว นายไพรัช ก็ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็น ครั้งแรกในสังกัดพรรคกิจสังคม นายไชยา พรหมมา เข้ามาสู่เส้นทางการเมืองจาก นักการเมืองถิ่นแล้วมีการทาบทามติดต่อจากทีมงานอดีต รัฐมนตรีให้ลงคู่กับนายประจวบ ไชยสาส์น เพราะนายประจวบ ต้องการฐานเสียงในพื้นที่เดิมของนายไชยา พรหมา เข้ามา ช่วยเสริมเพื่อให้ได้รับเลือกตั้ง รวมทั้ง นายอนันต์ ศรีพันธุ์ ที่กล่าวว่า 360

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง “สำหรับแรงจูงใจ และผู้แนะนำเข้าสู่การลงสมัครรับ เลือกตั้ง คือ นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล ที่ในช่วงนั้น เป็นนักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทยเหมือนกัน จึงทำให้ได้รับ โอกาสก้าวสู่การดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนบทบาท ความรู้ความสามารถเดิมที่เคยดำรงตำแหน่งงานทางราชการ ด้วย จึงทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และนอกจากนี้ผมตั้งใจจะเข้ามามีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ กรมส่งเสริมเกษตรยังมีบทบาทสำคัญต่อสังคม และประชาชน” (อนันต์ ศรีพันธุ์, 2558, สัมภาษณ์) 4. มีความเกี่ยวข้องกับครอบครัว ได้แก่ 1) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ซึ่งจากการบอกเล่า นายจักรพรรดิ ที่กล่าวว่า “การเข้าสู่การเมืองของพี่นั้นมีเกณฑ์คุณสมบัติจบ การศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเป็นผู้ลงสมัครในเขตพื้นที่ อำเภอกุมวาปีเป็นพื้นที่หลักที่เป็นบ้านเกิดและครอบครัว ของตนเองได้ เสมือนกับการสืบทอดอุดมการณ์ของพ่อ (นายประจวบ ไชยสาส์น) ที่มีฐานคะแนนเสียงและเครือข่าย ทางการเมืองอยู่มากจึงมีส่วนช่วยทำให้ลูกๆ นั้นได้รับเลือก เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีอีกด้วย” (จักรพรรดิ ไชยสาส์น, 2558, สัมภาษณ์) 2) นางเทียบจุฬา ขาวขำ เล่าว่า 361

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี “การเข้าสู่มาเส้นทางการเมืองของตนเองนั้น ส่วนหนึ่งเพราะได้ช่วยเหลือจากสามี และในสมัยที่สามียัง ทำงานการเมือง ตนเองก็มีโอกาสได้สัมผัส มีโอกาสได้เรียนรู้ งานด้านการเมืองจากสามี” (เทียบจุฬา ขาวขำ, 2559, สัมภาษณ์) 3) นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น ที่กล่าวว่า “ผมมีความผูกพันและอาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ชีวิตเพราะเกิดในตระกูลที่ปู่นั้นเป็นผู้นำหรือผู้ปกครอง (ปู่เป็น กำนัน) พ่อคือ นายประจวบ ไชยสาส์น ซึ่งเป็นนักการเมืองถิ่น ที่มาจากอาชีพนักปกครองโดยเฉพาะ ซึ่งก่อนพ่อจะเข้าสู่ เส้นทางการเมืองนั้นเดิมมีอาชีพเป็นราชการปลัดอำเภอ จึงทำให้ตลอดชีวิตของผมได้เรียนรู้และสัมผัสประการณ์ต่างๆ จากการติดตามคุณพ่อไปลงพื้นที่หาเสียงปราศรัย ตามชุมชน ต่างๆ ผมเริ่มรู้จักการเมืองตั้งแต่ผมอายุ 8 ขวบ เพราะผม ได้ตามพ่อประจวบไปหาเสียงในพื้นที่ต่างๆ ในชุมชน และ ไดเ้ รยี นรวู้ ธิ กี ารตา่ งๆ จากทมี งานของพอ่ ไดเ้ หน็ เพอ่ื นนกั การเมอื ง ของพ่อมากมาย ได้รู้และได้เห็นวิธีการเทคนิค วิธีการหาเสียง หลากหลายรูปแบบที่พ่อและทีมงานใช้ ตลอดจนบททาง การเมือง และได้ช่วยคุณพ่อในการหาเสียงมาตลอด และ เวลาต่อมาในช่วงการเลือกตั้ง ปี 2544 ได้มีส่วนช่วยสนับสนุน น้องชาย คือ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ในการเสียงเลือกตั้ง การวางทีมงาน เป็นทั้งผู้อำนวยการประสานงานให้ขณะที่ น้องชายเป็นผู้แทน เพราะเวลาส่วนมากของสมาชิกสภา 362

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง ผู้แทนราษฎร จะอยู่แต่ในสภา นายจักรพรรดิเองเปรียบเสมือน ผู้แทนที่อยู่ในระดับพื้นที่เขตเพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ และ คอยประสานงานกับพี่น้องประชาชน” (จักรพรรดิ ไชยสาส์น, 2558, สัมภาษณ์) บทบาทของนายจักรพรรดิ มีความน่าสนใจเป็นอย่าง มากเพราะถือเป็นนักการเมืองถิ่นที่ทั้งชีวิตเติบโตมากับคำว่า ผู้แทนหรือนักการเมือง 5.3 เครือข่ายและความสัมพันธ์ของ กลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนสนับสนุน ทางการเมือง 1. เครือข่ายเสรีไทย กลุ่มเสรีไทยจังหวัดอุดรธานี มีนายอ้วน นาครทรรพ เป็น หัวหน้า นายเพ่ง โพธิจินดา นายมี ศรีทองสุข และนายจันทร์ วชิรภักดิ์ เป็นผู้ร่วมงาน นอกจากนั้นยังมีข้าหลวงประจำจังหวัด กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ บางส่วนให้การสนับสนุน โดยมี ราษฎรในเขตบ้านสามพร้าว (อำเภอเมือง) บ้านไชยวาร บ้านหนองหลัก บ้านสะงวย (อำเภอหนองหาร) มีเครือข่าย ผู้ฝึกอบรม ได้แก่ ครูประชาบาลและประชาชนในเขต อำเภอเมือง เพ็ญ บ้านผือ หนองบัวลำภู หนองหาร และอำเภอ กุมภวาปี นายสวน พรหมประกายและนายญวง เอี่ยมศิลา โดยใช้เครือข่ายเหล่านี้เพื่อเข้าถึงมวลชนและส่งผลให้ได้รับ การเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร นักการเมืองอย่างนายวรพจน์ วงศ์สง่า ก็เป็นอีกคนที่ได้รับเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 363

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เพราะพี่ชายคนโต นายทองปาน วงศ์สง่า เป็นนักการเมืองจังหวัดสกลนคร และเป็นเสรีไทยร่วมกับเตียง ศิริขันธ์ ต่อต้านญี่ปุ่นที่เข้ามาประเทศไทยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามเครือข่ายเสรีไทยเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังและ มีบทบาทในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อสถานการทางการณ์เมือง เปลี่ยนไป การสื่อสารทางการเมืองเริ่มเปิดมากขึ้น ก็ทำให ้ เครือข่ายเสรีไทยหมดแรงสนับสนุนทางการเมืองไปในที่สุด 2. เครือข่ายการเมืองท้องถ่ิน การเมืองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานีมีความสำคัญต่อฐาน เสียงและฐานอำนาจการเมืองระดับชาติเป็นอย่างมาก เห็นได้ จากการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2555 ทพ่ี รรคเพอ่ื ไทยตอ้ งใหน้ ายวเิ ชยี ร ขาวขำ ลาออกจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย มาลง สมัครตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เพื่อชิง พื้นที่รวมถึงเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทย เพราะ มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยหลายคนลงสมัคร เช่น น.ส.กีรติกานต์ พิมานเมฆินทร์ ลูก พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรอุดรธานี พรรคเพื่อไทย เขต 2 และนายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ทำให้เห็นการช่วงชิงอำนาจ ในท้องถิ่น ในอดีต เมื่อครั้งการเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2547 นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย และอดีตรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์ ได้หันมาลงการเมืองท้องถิ่นและ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 364

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง คนแรกเช่นกัน (อำนาจ ศรีพระจันทร์, 2558, น. 678) นั่นจึงเป็น สิ่งยืนยันและแสดงให้เห็นความสำคัญของเครือข่ายทาง การเมืองท้องถิ่นที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ได้รับชัยชนะ ในการเลือกตั้งระดับชาติ ภาพการเมืองระดับชาติและการเมือง ท้องถิ่นจึงแนบแน่นอย่างแยกกันไม่ออก อย่างเช่น นายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ได้แต่งตั้ง อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเครือญาติของอดีต สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรหลายคน ในตำแหน่งสำคัญ เช่น นายพูล ศักดิ์ อยู่ประเสริฐ เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุดรธานี และนายขจิต ชัยนิยมเป็นที่ปรึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นอีกหลายตระกูล ที่ยังคงทำงานการเมืองท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่น นางอรวรรณ ศรีพันธ์ อดีตสมาชิกสภาเทศบาลนครอุดรธานี (สท.) ลูกสะใภ้ นายอนันต์ ศรีพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี ได้รับ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (ส.อบจ.) นายสมเกียรติ สุขธนะ น้องชายนายรักเกียรติ สุขธนะ เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และ นายวรภาส เพชรพนมพร น้องชายนายศราวุธ เพชรพนมพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ที่แพ้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (ส.อบจ.) ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นเครือข่าย ที่เชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่นในท้องถิ่น 365

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี 3. เครือข่ายคนเสื้อแดง คนเสื้อแดง ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรม ทางการเมืองโดยเฉพาะการเลือกตั้งในช่วงหลัง พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา อย่างเช่นในส่วนการเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานีโดยตรงครั้งที่สามเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555 พรรคเพื่อไทยได้ส่งนายวิเชียร ขาวขํา อดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีในนามกลุ่มเพื่อไทยอุดรธานี โดยมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีพรรคเพื่อไทย และ นายขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักษ์อุดร “คนเสื้อแดง” สนับสนุน ทำให้นายวิเชียร ขาวขำ ได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จะเห็นว่าเครือข่าย คนเสื้อแดงมีส่วนสำคัญต่อนักการเมืองระดับชาติ และ นักการเมืองท้องถิ่นภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเคยพูดว่า “จังหวัด อุดรธานีเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง” โดยคนเสื้อแดงมีการ ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านสถานีวิทยุที่สำคัญ เช่น สถานี วิทยุคนรักอุดร 97.5 MHz สถานีวิทยุเสียงอุดร (คนรู้ใจ) 99.75 MHz สถานีวิทยุปกป้องสถาบัน 91.25 MHz และสถานีวิทยุ สมัชชาเรดิโอ 95.25 MHz เป็นต้น กลุ่มคนเสื้อแดงและแกนนำเสื้อแดง เช่น นายอานนท์ แสนน่าน และนายขวัญชัย ไพรพนา ในจังหวัดอุดรธานียังได้ เปิดตัวเขตอำเภอเสื้อแดง โดยมีทั้งหมด 41 หมู่บ้านที่เป็น เสื้อแดงทั้งหมด หลังจากนั้น โครงการอำเภอเสื้อแดงเป็น 366

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง โครงการที่ขยายออกมาจากการเคลื่อนไหวของหมู่บ้านเสื้อแดง ซึ่งหลายหมู่บ้านทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกตัวเองเป็น หมู่บ้านเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการ ถึงแม้ว่า การแสดงพลังสนับสนุนของหมู่บ้านเสื้อแดงจะค่อนข้าง กระจัดกระจาย โดยโครงการนี้จัดขึ้นภายใต้จุดประสงค์หลัก สามประการ คือ เพื่อให้การศึกษาเรื่องความสำคัญของ ประชาธิปไตย เพื่อการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และเพื่อ ส่งเสริมเศรษฐกิจภายในระดับหมู่บ้าน เพื่อเป็นการส่งเสริม ความรู้ด้านประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหว ทางการเมืองของคนเสื้อแดงถือว่ามีส่วนสำคัญต่อการเมือง ระดับชาติและท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ที่นิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 4. เครือข่ายพรรคการเมือง เครือข่ายพรรคการเมืองเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมาก และถือเป็นกระแสที่ช่วยให้ผู้สมัครสามารถชนะการเลือกตั้ง ได้ในที่สุด แต่ในช่วงแรกที่มีการเลือกตั้งครั้งที่ 1- 7 ยังไม่มี นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีสังกัดพรรคการเมือง จวบจน มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พรรคการเมืองจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุน นักการเมืองของพรรค โดยมีพรรคการเมืองที่โดเด่นที่สามารถ สนับสนุนนักการเมืองจนได้รับการเลือกตั้ง เช่น พรรค เสรีประชาธิปไตย ที่จดทะเบียนก่อตั้งตามพระราชบัญญัติ พรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยมี นายเมธ รัตนประสิทธิ์ เป็นหัวหน้าพรรคมีนายบุญคุ้ม 367

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี จันทรศรีสุริยวงศ์ เป็นเลขาธิการพรรคและมีร้อยโท จารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นรองเลขาธิการพรรค โดยทั้งหมดถือเป็น กลุ่มเสรีไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พรรคเสรีประชาธิปไตยได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าสภา ทั้งสิ้น 11 คนและ 3 ใน 11 คนนั้น เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ นายเกษม ปทุมเวียง นายญวง เอี่ยมศิลา และนายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ นับเป็นพรรค การเมืองที่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าสภามากที่สุด เป็นอันดับ 3 เป็นรองแค่พรรคเสรีมนังคศิลา ที่ได้ 83 คน และ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ 30 คน ซึ่งจำนวน ด้วยความที่พรรค เสรีประชาธิปไตยเป็นพรรคที่ก่อตั้งมาจากกลุ่มเสรีไทย และ นายเกษม ปทุมเวียง นายญวง เอี่ยมศิลา และนายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ ก็เป็นเสรีไทยด้วย จึงส่งผลให้ชนะการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามกระแสพรรคการเมืองในยุคแรกยังไม่ สามารถตัดสินแพ้ชนะในการเลือกตั้งได้ เพราะประชาชน ส่วนใหญ่ไว้ใจในตัวผู้สมัครมากกว่าพรรค เช่น นายประจวบ ได้รับการเลือกตั้งมากถึง 7 สมัย ก็มีการย้ายพรรคหลายพรรค โดย พ.ศ. 2526 พรรคชาติไทย พ.ศ. 2529 พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2535 พรรคชาติพัฒนา พ.ศ. 2544 พรรคเสรีธรรม (ยุบ รวมกับไทยรักไทย) แต่ยังคงได้รับการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องและ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในสุด แต่กระแสของพรรคการเมืองมีความเข้มข้นและมีผลต่อ การเลือกตั้งมากขึ้น โดยผู้วิจัยจะขอนำเสนอเฉพาะพรรคที่มี อิทธิพลต่อการตัดสินใจจนนำไปสู่การชนะเลือกตั้งของพรรค 368

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง นั้นๆ ทั้งนี้เริ่มจากช่วงที่พรรคความหวังใหม่ได้รับการเลือกตั้ง เข้าไปในสภามากที่สุดช่วง พ.ศ. 2538-2539 โดย พ.ศ. 2538 พรรคความหวังใหม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด อุดรธานี 4 คน และ 6 คน ใน พ.ศ. 2539 ส่งผลให้ พล.อ. ชวลิต ยงใจยทุ ธ หวั หนา้ พรรคในขณะนน้ั ไดด้ ำรงตำแหนง่ นายกรฐั มนตรี โดยมีผลมาจากกระแสเรื่องพรรคการเมืองของคนอีสานและ ให้คนอีสานมีบทบาทในการเลือกนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มีภาพของผู้ใหญ่ใจดีที่คอยช่วยเหลือ ชาวอีสาน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและ รักษาราชการผู้บัญชาการสูงสุด พ.ศ. 2530 ได้น้อมนำโครงการ ในพระราชดำริ “อสี านเขยี ว” มาสพู่ น่ี อ้ งชาวอสี าน จงึ เปน็ ภาพท่ี คนอีสานยังจดจำและนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ในที่สุด หลังจากกระแสพรรคความหวังใหม่ ก็มีพรรคไทยรักไทย ถือเป็นพรรคที่มาแรงที่สุดในจังหวัดอุดรธานีจนถึงปัจจุบัน ด้วยกระแสที่มาแรงมากถึงขนาดที่ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลายคนไม่กล้าย้ายพรรค เพราะหากย้ายแล้วอาจไม่ได้รับ การเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก พรรคไทยรักไทยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นพรรคการเมืองแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 23 คน นำโดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยในการเลือกตั้งครั้งแรก ของพรรค พ.ศ. 2544 ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 คน และ ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดใน พ.ศ. 2548 ถึงแม้พรรค ไทยรักไทยจะถูกยุบตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองใน 369

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ในคดีจ้างพรรคเล็ก ลงเลือกตั้ง กลุ่มไทยรักไทย มีมติส่งอดีต สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเก่า สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน เพื่อลงรับ เลือกตั้งครั้งใหม่ หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยเชิญนายสมัคร สุนทรเวช มาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชนก็ได้รับเลือกตั้งเกือบยกจังหวัด แพ้เพียงเขตของนายเชิดชัย วิเชียรวรรณ สังกัดพรรคภูมิใจไทย เท่านั้น ต่อมาภายหลังศาลมีมติเอกฉันท์ให้พรรคพลังประชาชน เนื่องจากนายยงยุทธ ติยไพรัช กระทำความผิดตามพราะ ราชบัญญัติเลือกตั้ง มีผลให้การเลือกตั้งไม่สุจริต และให้ เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคซึ่งดำรงตำแหน่ง ระหว่างกระทำความผิดเป็นเวลา 5 ปี ห ล ั ง จ า ก า ร ย ุ บ พ ร ร ค พ ล ั ง ป ร ะ ช า ช น ส ม า ช ิ ก ส ภ า ผู้แทนราษฎรและสมาชิกพรรคเกือบทั้งหมดได้ย้ายเข้าสังกัด พรรคเพื่อไทยยกเว้นกลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งภายหลังย้ายไปสังกัด พรรคภูมิใจไทย และในการเลือกตั้งใหญ่ พ.ศ. 2554 พรรค เพื่อไทยก็ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดอุดรธานีครบทุกเขต ด้วยกระแสความนิยมในตัว พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่มีมา ตั้งแต่เป็นพรรคไทยรักไทย พลังประชาชนและเพื่อไทย ทั้งนี ้ อาจกล่าวได้ว่า กระแสพรรคก็คือกระแสของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นั่นเอง 370

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง 5.4 รูปแบบและวิธีการหาเสียง สมัยแรกๆ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งใช้วิธีการเดินเข้าถึง ประชาชนให้มากที่สุดในเขตพื้นที่ การหาเสียงแบบนกขมิ้น ค่ำในนอนนั้น ยกมือไหว้ สัมผัสมือ พูดคุยถามสาระทุกข์สุขดิบ ต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นกันเองกับพี่น้องประชาชน มีการ แจกบัตรแนะนำตัวผู้สมัคร ติดป้ายหาเสียงตามหมู่บ้าน ใช้รถหาเสียงขนาดเล็กเปิดโฆษณาตัวผู้สมัคร การปราศรัยย่อย ตามพื้นที่หมู่บ้านและแนะนำตัวผู้สมัครผ่านรถขายเสียง ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ความรู้ความสามารถ และ ให้ผู้สมัครพูดคุยปราศรัยกับพี่น้องประชาชน (พ.ต.ท. สุรทิน พิมานเมฆินทร์, 2558, สัมภาษณ์) การชูนโยบายพรรคที่ สามารถทำได้จริง นโยบายที่สามารถช่วยประชาชนในพื้นที่ และบอกว่าประชาชนจะได้รับผลประโยชน์อะไรจากผลของ นโยบาย การชูหัวหน้าพรรคที่ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่จะดำรง ตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูง หรือผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในพรรค ที่ประชาชนรู้จัก ชื่นชอบในการเมือง (ขจิตร ชัยนิยม, 2558, สัมภาษณ์) ต่อมาใช้วิธีการเข้าถึงหัวคะแนนซึ่งบุคคล ที่รู้จักในแต่ละหมู่บ้านที่ผู้ลงรับสมัครมีความสนิทสนม ผู้นำ ของหมู่บ้านจนรู้จักคุ้นเคย วัฒนธรรมของคนอีสานมีการ “ผูกเสี่ยว” เพื่อแสดงถึงความเป็นเพื่อนคอยอาศัย ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เมื่อประสานผ่านเพื่อนที่รู้จักในแต่ละชุมชน ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ กลุ่มเพื่อนก็จะประสานบุคคลที่ชื่นชอบตัว ผู้สมัครเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายกลุ่มหัวคะแนนเพิ่มมากขึ้น โดยการเดินลงพื้นที่ชุมชนในเขตที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในแต่ละ 371

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ชุมชน พร้อมด้วยทีมงาน มีการแจกโปสเตอร์แนะนำตัวผู้สมัคร การหาเสียงด้วยวิธีการติดป้ายหาเสียงตามจุดเด่น ๆ ในพื้นที่ ชุมชน และวิธีการใช้รถแห่ขบวนโฆษณาหาเสียงรอบหมู่บ้าน รวมถึงวิธีการหาเสียงโดยการแจกเงินผู้มาฟังการปราศรัย ดังเช่นที่นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น ที่กล่าวว่า “ในวัยเด็กเคยเห็นทีมงานช่วยกันนำธนบัตร 20 บาท มาเย็บติดกันเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในพน้ื ทท่ี น่ี ายประจวบ ไชยสาสน์ ไปปราศรยั ตามหมบู่ า้ นตา่ งๆ” (จักรพรรดิ ไชยสาส์น, 2558, สัมภาษณ์) ขณะที่นายกิติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ก็มีลักษณะ คล้ายกับนายประจวบ ไชยสาส์น คือ ในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 ได้ให้ทีมงานนำธนบัตรใบละสิบบาทเพื่อเป็นค่า พาหนะคนที่มาฟัง ทำให้จากที่ไม่มีใครให้ความสนใจก็เริ่ม ทยอยมามากขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มลานปราศรัยทุกคืน วิธีการเช็ค คะแนนเสียงนั้นจะใช้วิธีการขับรถตะเวนรอบพื้นที่ชุมชน เพื่อ เช็คคะแนนจากหัวคะแนน และยามที่เข้าเวนยามตอนกลางคืน ว่าฐานคะแนนเสียงเป็นอย่างไรบ้าง มีการเคลื่อนไหวของคู่แข่ง ที่ลงสมัครอย่างไรบ้าง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเช็คคะแนนเสียงในช่วง คืนใกล้วันเลือกตั้ง และที่ขาดไม่ได้คือการร่วมงานพิธีต่างๆ ของ ชาวบ้าน (กิติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์, 2558, สัมภาษณ์) ด้านนายไพรัช นุชิต ได้กล่าวถึงการหาเสียงว่า สิ่งที่ ขาดมิได้สำหรับการเลือกตั้งแต่ละครั้งคือการซื้อเสียงจาก ชาวบ้าน ซึ่งการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 372

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง นายไพรัชหมดเงินไปกับการซื้อเสียงชาวบ้านหัวละ 100 บาท เป็นเงินทั้งหมดประมาณ 20 ล้านบาทจึงทำให้สามารถเอาชนะ คู่แข่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีคะแนนเป็นอันดับ 1 ได้เป็น ส.ส. สมความปรารถนา (นพพล อัคฮาด, 2555) ส่วนนายขจิตร ชัยนิยม อาศัยเครือข่ายครูและบุคลากร ทางการศึกษาเดิมเป็นฐานในการหาเสียง ดังคำกล่าวที่ว่า “ผมมีพี่น้อง เพื่อนฝูงที่เป็นครูและทำงานด้วยกันมาก่อน จึงทำให้ได้รับการสนับสนุนเมื่อก้าวมาเล่นการเมือง” (ขจิตร ชัยนิยม, 2558, สัมภาษณ์) ทั้งนี้เครือข่ายเดิมที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเคยทำงานก็นับว่า มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและเป็นฐานเสียงของนักการเมือง นั้นๆ และอีกส่วนหนึ่งก็คือกระแสพรรคการเมืองมีส่วนในการ เพิ่มคะแนนเสียงเป็นอย่างมาก โดยสรุปรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือก ตั้งที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้ 1. การลงพื้นที่เดินพบประพูดคุยกับพี่น้องประชาชน 2. การแจกบัตรแนะนำตัวผู้ลงสมัคร 3. การติดป้ายหาเสียง 4. การใช้รถแห่หาเสียง 5. การปราศรัยย่อยในพื้นที่หมบู ้าน 6. การปราศรัยใหญ่ระดับพื้นที่จังหวัด ที่มีนักการเมือง คนสำคัญของพรรคร่วมปราสัยด้วย 373

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 7. การให้ระบบหัวคะแนน 8. การแจกเงินเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มารับฟังการปราสัย 9. การแจกเงินซื้อเสียง 10. การรว่ มงานพิธีกรรมมงคล อวมงคล และงานพิธกี าร ต่างๆ 5.5 ความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่น ในระดับเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี สู่บทบาทการเมืองในระดับชาติ ความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นในระดับเขตพื้นที่ จังหวัดอุดรธานีสู่บทบาทการเมืองในระดับชาติมีความสำคัญ ต่อกันมาก ดังกรณีการสมัครตำแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือเป็นการชิงพื้นที่ทางการเมืองท้องถิ่น อันเป็นฐานเสียงสำคัญของการเมืองระดับชาติ เช่น พ.ต.ท. สุรทิน พิมานเมฆินทร์ ส่ง น.ส.กีรติกานต์ พิมานเมฆินทร์ ลงสมัคร และนายวิเชียร ขาวขำ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น การสร้างเครือข่ายการเมืองท้องถิ่นอีกหลายตระกูลที่ยังคง ทำงานการเมืองท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่นตระกูลศรีพันธ์ นำโดยนายอนันต์ ศรีพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี ที่ส่งนางรัตติยา ศรีพันธุ์ ภรรยาและนางอรวรรณ ศรีพันธ์ อดตี สมาชกิ สภาเทศบาลนครอดุ รธานี (สท.) ลกู สะใภ้ ลงเลอื กตง้ั เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (ส.อบจ.) นายสมเกียรติ สุขธนะ น้องชายนายรักเกียรติ สุขธนะ เป็น 374

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และนายวรภาส เพชรพนมพร น้องชายนายศราวุธ เพชรพนมพร อดีตสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ที่แพ้การเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (ส.อบจ.) ก็ได้ รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุดรธานี เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงอย่าง เหนียวแน่นในท้องถิ่น ก่อนที่นักการการเมืองท้องถิ่นและผู้ที่ได้ รับการสนับสนุนจากนักการเมืองท้องถิ่นจะก้าวขึ้นไปเป็น นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีทั้ง 69 คน ถือเป็น ผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับจังหวัดอุดรธานีหลายประการ และมี นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีอีกหลายคนที่ก้าวขึ้นไปมี บทบาทในการเมืองระดับชาติ โดยมีตำแหน่งที่สำคัญ ดังนี้ นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 - 12 มกราคม พ.ศ. 2519 นายแสวง พิบูลย์สราวุธ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อุดรธานีและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2536-2537และเป็นรองประธาน สภาผู้แทนราษฎร 2537-2538 375

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี นายประยูร สุรนิวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตร ี ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2533 นายวิเชียร เวชสวรรค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตร ี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (11 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2526) นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ในรัฐบาล ของพลเอกสจุ นิ ดา คราประยรู พน้ จากตำแหนง่ ในชว่ งเหตกุ ารณ์ พฤษภาทมิฬและได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และถูกปรับ ออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 นางเตือนใจ นุอุปละ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุข ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เลขานุการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2531 และรองเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2535 นายประจวบ ไชยสาสน์ รฐั มนตรวี า่ การทบวงมหาวทิ ยาลยั และรัฐมนตรีช่วยว่าการอีกหลายกระทรวง นายรักเกียรติ สุขธนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (พ้นจากตำแหน่ง 7 พ.ย. 2540 เนื่องจากนายกฯ 376

ภูมิหลัง การหาเสียง เครือข่าย และความสัมพันธ์ทางการเมือง ลาออก) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (ลาออก 15 ก.ย. 2541) รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 29 กันยายน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และรักษาการอยู่จนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (ยุบสภา 27 ก.ย.2539) นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายประสพ บุษราคัม ได้รับแต่งตั้งเป็นเป็นรัฐมนตร ี ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสลู านนท์ นายไชยยศ จิรเมธากร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตร ี ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการดำรงตำแหน่ง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยเป็นโควตารัฐมนตรีของพรรคเพื่อแผ่นดิน นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตร ี ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 377

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี นายธีระชัย แสนแก้วได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตร ี ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีในอดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงตั้งแต่ในพื้นที่จนถึงระดับชาติ เช่น ในยุคที่เกี่ยวข้องกับเสรีไทย ก็มีนักการเมืองถิ่นในจังหวัด อุดรธานีร่วมขบวนการด้วยตลอดมา จนขึ้นไปสู่ตำแหน่ง รัฐมนตรีอย่างนายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์และกรณี การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองที่นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี หลายคนได้เปลี่ยนขั้วไปอยู่กับกลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคภูมิใจไทย อย่างกรณีนายไชยยศ จิรเมธากร ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ กับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในทางการเมืองระดับชาติและ นักประวัติศาสตร์ทางการเมืองต้องศึกษาและทำความเข้าใจ 378

บ6ทท ี่ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การศกึ ษานักการเมืองถนิ่ จังหวดั อดุ รธานี มีวัตถปุ ระสงค์ 5 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของจังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อศึกษาข้อมูลนักการเมือง จังหวัดอุดรธานีที่เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรตั้งแต่ยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบัน 3. เพื่อศึกษา พรรคการเมอื ง เครอื ขา่ ยและความสมั พนั ธข์ องกลมุ่ ผลประโยชน์ ที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด อุดรธานี 4. เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัคร รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตพื้นที่การเลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 5. เพื่อเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นในระดับเขตพื้นที่จังหวัด อุดรธานีสู่บทบาทการเมืองในระดับชาติ

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี แนวคิดที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับ การดำเนินการเลือกตั้ง แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามรอย ระบอบประชาธิปไตย แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง แนวคิด เกี่ยวกับการเลือกตั้ง แนวคิดเกี่ยวกับการหาเสียง แนวคิดของ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง แนวคิดเกี่ยวกับ พฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับระบบ อุปถัมภ์ในสังคมไทย แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มประโยชน์ (Interest Groups) งานวิจัยนักการเมืองถิ่นอาศัยระเบียบวิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งประกอบด้วยวิธีการศึกษา ดังนี้ 1. มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ งานวิจัย หนังสือ และวิเคราะห์เอกสารในประเด็นสำคัญ ที่สำคัญ 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) คือการ สัมภาษณ์นักการเมืองที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร รวมถึงบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลโยงไปถึง นักการเมืองในพื้นที่ได้ในประเด็นที่ต้องการศึกษา 3. วิเคราะห์ เปรียบเทียบ สรุปข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการศึกษา เอกสารที่เกี่ยวข้องออกเป็นประเด็นที่สำคัญและมีประโยชน ์ ต่อการศึกษาวิจัย ซึ่งกำหนดขอบเขตของการศึกษา ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยศึกษา เฉพาะนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึง พ.ศ. 2554 380

บทสรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 6.1 สรุปผลการศึกษา 1. ประวัติศาสตร์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมความเป็นอยู่ ของจังหวัดอุดรธานี ประวัติศาสตร์ทางการเมืองจังหวัดอุดรธานี จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พบว่า พื้นที่จังหวัด อุดรธานีในปัจจุบันเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปีจากหลักฐานที่พบที ่ บ้านเชียง อำเภอหนองหาน และภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ ที่อำเภอบ้านผือ และสืบต่อมาจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ.1200-1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ.1600-1800) และสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1800-2000) จากหลักฐานที่พบ คือ ใบเสมา และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ ที่ปรักหักพัง ทั้งนี้จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงคราม คือ กบฏเจ้าอนุวงศ์ที่ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา และ กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู ได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพ เจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่ง ในปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อ หรือกบฏไต้เผงจากจีน ซึ่งกองทัพไทย ได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว และได้เกิดเหตุการณ์ พวกฮ่อขึ้นอีกครั้ง ในปีพ.ศ. 2428 สมัยรัชกาลที่ 5 พวกฮ่อเที่ยว ปล้นสะดมและก่อความไม่สงบ รบกวนชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา และมีท่าทีจะรุนแรงขึ้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงโปรดกรุณาให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพใหญ่ 381

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนแตกพ่ายไป หลังจากปราบ พวกฮ่อได้ไม่นานไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรียกว่า กรณี พิพาท ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละดินแดนสวนน้อยเพื่อรักษา ประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้าม ประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขง ดังนั้นหน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำ อยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง หรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็น ข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามา จนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อ บ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้ง จังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้าน แห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ใน ปัจจุบัน) และ หนองน้ำอีกหลายแห่ง รวมทั้งห้วยหมากแข้ง ซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงให้ ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อ หมากแข้ง ใน พ.ศ. 2436 ได้ทรงริเริ่มสร้างบ้านหมากแข้งให้เกิด ความเจริญจากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดร และต่อมาได้ยก ฐานะเป็นจังหวัด หลังจาก พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้ยกเลิก มณฑลต่างๆ มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิกแต่คงฐานะเป็นจังหวัด 382

บทสรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ อุดรธานีจนกระทั่งปัจจุบันนี้ อนึ่งในวันที่ 18 มกราคมของทุกปี จังหวัดอุดรธานีได้กำหนดจัดงานวันที่ระลึกคล้ายวันจัดตั้งเมือง อุดรธานี จังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2 ระยะทาง 564 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,730,302 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ติดต่อกับจังหวัด หนองคาย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลยแบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,880 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 181 แห่ง ประกอบด้วย 1 อบจ, 1 เทศบาลนคร, 3 เทศบาลเมือง, 67 เทศบาลตำบล และ 109 อบต. ปัจจุบันจังหวัดอุดรธานีมี 9 เขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรทั้งหมด 9 คน เป็นจังหวัดที่สำคัญในทางการเมือง ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยกล่าวว่า จังหวัดอุดรธานีเป็น เมืองหลวงของคนเสื้อแดง และเป็นจังหวัดที่เป็นฐานเสียงของ พรรคเพื่อไทย และเป็นหัวเมืองใหญ่ในทางการเมือง มีกลุ่ม การเมืองและกิจกรรมทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ด้านเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดอุดรธานี (GPP) พ.ศ. 2556 มีมูลค่า 103,742 ล้าน จัดอยู่ในลำดับที่ 1 ของ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 เป็นลำดับที่ 4 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือรองจากจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และอุบราชธานี ตามลำดับ ลำดับที่ 24 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลจังหวัดอุดรธานี (GPP) พ.ศ.2556 ขยายตัว 383

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ร้อยละ 6.3 ขยายตัวต่อเนื่องที่ขยายตัวร้อยละ 4.3 จาก พ.ศ. 2555 รายได้เฉลี่ยต่อประชากร (GPP Per Capita) พ.ศ. 2556 มีมูลค่า 81,419 บาท/คน/ปี จัดอยู่ในลำดับที่ 3 ของ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 รองจากจังหวัด หนองคายและจังหวัดเลย ลำดับที่ 5 ของภาคตะวันออก เฉลี่ยเหนือ รองจากจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา หนองคาย และเลย ตามลำดับ และอยู่ในลำดับที่ 50 ของประเทศ ด้านสังคม จังหวัดอุดรธานีเป็นสังคมด้านเกษตรกรรม มีพื้นที่ทั้งหมด 7,331,439 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 4,575,847 ไร่ (62.59 %) แบ่งเป็น 1. พื้นที่ทำนา จำนวน 2,331,385 ไร่ 2. พื้นที่ทำไร่ จำนวน 1,290,952 ไร่ 3. พื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน 492,086 ไร่ 4. พื้นที่ปลกู ไม้ยืนต้น จำนวน 116,135 ไร่ 5. พื้นที่ปลูกไม้ผล จำนวน 51,927 ไร่ 6. พื้นที่ปลกู พืชผัก 15,582 ไร่ 7. พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 13,878 ไร่ 8. พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับจำนวน 800 ไร่ และ 9. พื้นที่อื่นๆ จำนวน 263,102 ไร่ (7.87%) 2. ข้อมูลนักการเมืองจังหวัดอุดรธานีที่เคยได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้ังแต่ยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบัน จังหวัดอุดรธานี มีผู้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2554 รวมทั้งหมด จำนวน 69 คน ประกอบด้วยเพศชาย จำนวน 65 คน และ เพศหญิงจำนวน 4 คน โดยสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) คนแรก 384

บทสรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ของจังหวัดอุดรธานี คือ ขุนรักษาธนากร (กลึง เพาทธทัต) เมื่อ พ.ศ. 2476 เขตเลือกตั้งที่ 1 สมาชิกสภาผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด คือ นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ นายประจวบ ไชยสาส์น และ นายรักเกียรติ สุขธนะ เคยดำรงตำแหน่งมาแล้วทั้งหมด 7 สมัย รองลงมา คือ นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ นายประยูร สุรนิวงศ์ นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ นายประสบ บุษราคัม และนายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล เคยดำรงตำแหน่งมาแล้วทั้งหมด 6 สมัย สมาชิกสภาผู้ทนราษฎรส่วนมากมักจะเป็นข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ นักกฎหมาย นักธุรกิจ และนักการเมืองท้องถิ่น ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ภูมิหลังของนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานีมีกลุ่ม ข้าราชการข้าราชการมากที่สุดถึง 23 คน โดยเฉพาะข้าราชการ ครมู ีถึง 9 คน 3. พรรคการเมือง เครือข่ายและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์ท่ีมีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง ในจังหวัดอุดรธานี พรรคการเมือง เครือข่ายและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์ที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง ในจังหวัดอุดรธานีในอดีต เช่น กลุ่มเสรีไทยจังหวัดอุดรธานี ที่มีนายอ้วน นาครทรรพ เป็นหัวหน้า นายเพ่ง โพธิจินดา นายมี ศรีทองสุข และนายจันทร์ วชิรภักดิ์ เป็นผู้ร่วมงาน มีเครือข่ายผู้ฝึกอบรม ได้แก่ ครูประชาบาลและประชาชนในเขต อำเภอเมือง เพ็ญ บ้านผือ หนองบัวลำภู หนองหาร และอำเภอ กุมภวาปี นายสวน พรหมประกายและนายญวง เอี่ยมศิลา 385