Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นักการเมืองถิ่นอุดรธานี

นักการเมืองถิ่นอุดรธานี

Description: เล่มที่ 60 นักการเมืองถิ่นอุดรธานี

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ชื่อเสียงของผู้มีอิทธิพลบางคนอาจเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ไม่รู้ว่าใครเป็นหัวคะแนนให้แก่ผู้สมัครคนไหน ทั้งที่หัวคะแนน จะมีจำนวนมากกว่าผู้มีอิทธิพลมาก นอกจากนั้นบทบาทของ ผู้มีอิทธิพลอาจไม่ปรากฏในบางพื้นที่ แต่ความสำคัญของ หัวคะแนนจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในทุกเขตเลือกตั้ง หัวคะแนนมีความสัมพันธ์กับชาวบ้านในหลายลักษณะ อาจจะ เพียงรู้จักกันธรรมดาไปจนถึงเป็นญาติพี่น้องกัน หรือหัวคะแนน อาจเป็นผู้กว้างขวางหรือเป็นผู้มีอำนาจในท้องถิ่น หัวคะแนน เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างชาวบ้านผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครจะยอมรับว่าหัวคะแนนเป็น สิ่งจำเป็นเพราะว่าหัวคะแนนเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ส่วนตัว ใกล้ชิดหรือเป็นผู้นำของชุมชนท้องถิ่นที่ชาวบ้านให้ความนิยม และนับถือในขณะที่ชาวบ้านอาจจะไม่เคยรู้จักไม่เคยมีความ สัมพันธ์หรือไม่เคยเห็นผู้สมัครรับเลือกตั้งมาก่อน บทบาทของ หัวคะแนนจึงได้แก่การเชื่อมประสานระหว่างชาวบ้านกับ ผู้สมัครด้วยการพบปะชวนชาวบ้านให้ลงคะแนนสนับสนุน ผู้สมัครคนนั้นคนนี้ได้ ส่วนหนึ่งของความสำเร็จของหัวคะแนน ในการชักจูงให้ชาวบ้านลงคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครที่ตน สนับสนุนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ตนมีกับชาวบ้านนั้น แน่นแฟ้นลึกซึ้งขนาดไหน เช่น เคยมีบุญคุณกันมาหรือไม่ หรือ ตนเองเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านมากแค่ไหน ซึ่งถ้าหากว่าความ สัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนกับชาวบ้านไม่ถึงกับลึกซึ้งหรือ แน่นแฟ้นมาก หัวคะแนนอาจจะต้องอาศัยปัจจัยอย่างอื่น เช่น เงิน เป็นเครื่องช่วยโน้มน้าวจิตใจชาวบ้านให้สนับสนุนผู้สมัคร ของตนหรือในบางกรณีหัวคะแนน ก็อาจจะทำหน้าที่เป็นแค่ 36

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง กลไกประสานระหว่างการ “ซื้อ–ขาย” คะแนน ระหว่างผู้สมัคร รับเลือกตั้งกับชาวบ้านผู้ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเท่านั้น แม้แต่ ในกรณีของการซื้อเสียง ถ้าผู้สมัครไม่ใช้วิธีเป็นผู้ไปแจกเอง โดยมีหัวคะแนนเป็นผู้แจกแทน ก็ต้องให้ตัวผู้จ่ายเงินแก่ชาว บ้านเป็นบุคคลที่ชาวบ้านนิยมนับถือด้วยการแจกเงินจึงจะได้ ผล มิฉะนั้นก็อาจจะพบกับกรณีของการ “แจกไม่ออก” หรือ เป็นการสูญเสียเงินไปเปล่าๆ โดยไม่ได้คะแนนเสียงอะไร ตอบแทนคืนมา ที่สำคัญคือจะมีผู้สมัครน้อยรายที่คิดว่าจะชนะ การเลือกตั้งด้วยการซื้อคะแนนเสียงเพียงอย่างเดียวโดยไม่หา เสียงด้วยวิธีอื่นเลย เพราะฉะนั้นบทบาทของหัวคะแนนโดยปกติ แล้วจึงมีอยู่ทุกขั้นตอน (อัมมาร สยามวาลา และคณะ. 2535. หน้า 92-101) ความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนกับชาวบ้าน อาจเป็นได้ตั้งแต่เรื่องของความสัมพันธ์ส่วนตัว ความสัมพันธ์ที่ มีความผูกพันที่มีกันมาแต่เดิม การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างตัวหัวคะแนนกับผู้สมัคร อาจเป็น เรื่องของความผูกพันสนิทสนมกันเป็นส่วนตัวหรือเป็นเรื่องของ การว่าจ้างที่มีค่าตอบแทนเป็นลักษณะของธุรกิจแท้ๆ ก็ได้ อยู่ที่ ว่าความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนกับชาวบ้าน แม้ว่าจะเป็น กรณีของการจ้างงานหรือซื้อเสียง ต้องมีความสัมพันธ์สนิทสนม ไว้เนื้อเชื่อใจหรือการรู้จักกันมาก่อน เป็นฐานสำหรับการทำ ข้อตกลงกัน แต่ระหว่างหัวคะแนนกับตัวผู้สมัครอาจเป็นไปได้ที่ จะเป็นเรื่องของการจ้างล้วนๆ โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้อง รู้จักสนิทสนมกันมาก่อนเลย การแยกหัวคะแนนอย่างคร่าวๆ ตามลักษณะของความสัมพันธ์ที่หัวคะแนนมีกับผู้สมัคร และ 37

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ตามบทบาทหน้าที่ของหัวคะแนนเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หัวคะแนนหลัก กับหัวคะแนนรอง มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. หัวคะแนนหลักหรือหัวคะแนนระดับหนึ่ง ได้แก่ บุคคลที่มีความสัมพันธ์สนิทสนมกับตัวผู้สมัครในทางใด ทางหนึ่งมาก่อนการเลือกตั้ง เช่น อาจเป็นญาติพี่น้อง เคยมี บุญคุณอุปถัมภ์กันมาก่อนกล่าวคือ เป็นบุคคลที่ผู้สมัครไว้เนื้อ เชื่อใจได้ว่าให้ความสนับสนุนแก่ตนโดยสุจริตไม่ได้หวัง อามิสสินจ้างตอบแทนในรูปหนึ่งรูปใดในทันทีทันใด นอกจากนี้ หัวคะแนนหลักต้องเป็นบุคคลที่กว้างขวาง มีพรรคพวกหรือ คนรู้จักในท้องถิ่น และรู้ตื้นลึกหนาบางของการเมืองในท้องถิ่น รู้จักคุ้นเคยกับผู้นำในท้องถิ่นเป็นอย่างดี สามารถช่วย กลั่นกรองคัดเลือกคนที่จะเข้ามาช่วยงานหาเสียงของผู้สมัคร ได้อย่างถูกต้อง เพราะหัวคะแนนหลัก ปกติจะไม่ลงไปสัมผัสกับ ชาวบ้านระดับทางการ “แปรเปลี่ยนให้เป็นคะแนน” โดยตรงแต่ จะเป็นตัวการติดต่อและควบคุมหัวคะแนนระดับล่างๆ ให้กับ ผู้สมัครอีกทีหนึ่ง นอกจากหัวคะแนนหลักจะเป็นบุคคลสำคัญ อยู่ในระดับของผู้ร่วมวางแผนหรือยุทธศาสตร์การเลือกตั้งให้แก่ ตัวผู้สมัครแล้ว บางครั้งอาจมีบทบาทช่วยเหลือด้านการเงินแก่ ตัวผู้สมัครอีกด้วย เช่น จัดเลี้ยงให้ผู้สมัคร ลงขันช่วยเหลือ ผู้สมัครทางการเงินหรือให้กู้ยืมเงินไปใช้ในการรณรงค์หาเสียง เป็นต้น หัวคะแนนหลักของผู้สมัครอาจเป็นได้ตั้งแต่ ผู้นำท้องถิ่นระดับต่างๆ ในจังหวัด อำเภอ ลงไปจนถึงตำบล ตั้งแต่พ่อค้า นักธุรกิจใหญ่ สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภา 38

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง จังหวัด หรือครูใหญ่ จนถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คนสำคัญๆ ที่ ชาวบ้านหลายๆ หมู่บ้านรู้จักและเคารพนับถือ ในกรณีที่ผู้สมัคร เป็น ส.ส. เดิม จะเห็นว่า ส.ส.และหัวคะแนนหลัก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ที่เป็นผู้นำท้องถิ่นมักจะมีความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนกัน มาโดยตลอด เช่น ผู้นำท้องถิ่นอาจเสนอโครงการพัฒนาท้องถิ่น ของตนไปยัง ส.ส. ซึ่งอาศัย งบพัฒนาจังหวัดเป็นเครื่องมือ ตอบสนองให้เท่ากับเป็นการช่วยสร้างคะแนนนิยมให้แก่กัน และกัน หรืออาจช่วยเหลือเกื้อกูลกันในรูปแบบอื่นๆ และ ถ้าหากหัวคะแนนระดับนี้เกิดสนใจที่จะลงสมัครรับเลือดตั้ง เสียเอง โอกาสที่จะได้รับเลือกตั้งก็มีอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองอย่างเต็มที่ 2. หัวคะแนนรองและหัวคะแนนระดับล่างๆ ได้แก่ บุคคลที่มิได้ผูกพันสนิทสนมกับตัวผู้สมัครในทางใด ทางหนึ่งมาก่อนการเลือกตั้ง หรือถ้ามีก็เป็นเพียงความสัมพันธ์ แบบผิวเผิน แต่หัวคะแนนรองอาจมีความสัมพันธ์ที่สนิทสนม หรือเคยเกื้อหนุนอุปถัมภ์กันมาก่อนกับหัวคะแนนหลักของ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเข้ามาทำงานให้แก่ผู้สมัครโดยการ ร้องขอหรือสั่งงานจากหัวคะแนนหลัก โดยที่ผู้สมัครและ หัวคะแนนระดับล่างๆ (ซึ่งมีความสำคัญลดหลั่นลงไปอีกหลาย ระดับ) อาจจะไม่เคย พบปะกันเลย ในกรณขี องขา้ ราชการระดบั ลา่ งๆ ทห่ี นว่ ยเหนอื ระดมมาช่วยหาเสียงให้แก่นักการเมือง อาจนับว่าเป็นกลุ่ม หัวคะแนนได้เหมือนกัน ปกติแล้วหัวคะแนนระดับรองๆ ลงไปนี้ 39

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี จะคาดหวังค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่ชัดเจนและเป็นคราวๆ ไป ตามแต่จะตกลงกัน โดยหัวคะแนนหลักอาจช่วยกลั่นกรองและ กำหนดอัตราค่าจ้างให้แทนผู้สมัคร และถ้าเป็นกรณีที่ผู้สมัคร เป็นผู้สมัครประเภทตัวจริงคนเดียว ก็ไม่จำเป็นว่าหัวคะแนน ระดับล่างจะรับทำงานให้แก่ผู้สมัครดังกล่าวเพียงผู้เดียว คือ หัวคะแนนพวกนี้จะไม่รับช่วยผูกขาดเฉพาะราย ในทางตรงกัน ข้ามหัวคะแนนรองอาจจะรับทำงานให้แก่ผู้สมัครหลายๆ คน พร้อมกัน คือรับทำงานให้แก่ผู้สมัครเท่ากับจำนวน ส.ส.ที่อาจมี ได้ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ เช่น ถ้าเขตเลือกตั้งนี้มี ส.ส. ได้ 3 คน หัวคะแนนรองจะรับทำงานให้กับผู้สมัครเต็ม 3 คน เพราะนั่น ย่อมหมายถึงค่าตอบแทนที่มากขึ้น หัวคะแนนในระดับรองหรือระดับล่างนี ้ จะปฏิบัติงานได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ที่มีกับ หัวคะแนนหลักว่ามีมากน้อยแค่ไหน ยังขึ้นอยู่กับผลประโยชน ์ ที่จะได้รับจากหัวคะแนนหลักหรือจากตัวผู้สมัครแต่ละคน จะไม่มีข้อผูกพันอันใดระหว่างตัวผู้สมัครกับหัวคะแนนรอง เกินไปกว่าการเลือกตั้งเฉพาะครั้ง ในสมัยหน้าหัวคะแนนระดับ รองอาจทำงานให้กับผู้สมัครรายอื่นแทนได้ถ้าหากว่าเงื่อนไข ดีกว่า ความซื่อสัตย์ของหัวคะแนนระดับนี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้สมัคร และหัวคะแนนหลักไม่อาจจะวางใจได้ และการจัดตั้งระบบ หัวคะแนนที่มีเครือข่ายถาวรลงไปจนถึงหมู่บ้านจึงเป็นเรื่องที่ ยากที่สุด เพราะถ้าผูกพันกันเป็นการถาวรก็จำเป็นที่จะต้องมี ระบบอะไรบางอย่างที่จะหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์นี้ไว้ให้อยู่ใน ระดับดีตลอดไป 40

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามเนื่องจากการระดมคะแนนเสียง หรือแม้แต่การแจกเงินซื้อเสียงเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ ส่วนตัวเป็นพื้นฐาน หัวคะแนนระดับรองจึงเป็นตัวจักรกล อันสำคัญที่สามารถแปรเสียงให้เป็นคะแนน ซึ่งผู้สมัครและหัว คะแนนหลักไม่อาจมองข้ามไป โดยทั่วไปแล้วหัวคะแนนระดับ ล่างๆ ได้แก่ พระ ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน หรือประธานคุ้มต่างๆ ภายในหมู่บ้าน แล้วแต่ลักษณะความเชื่อถือของชุมชน ในชุมชนชาวไทยมุสลิม หัวคะแนนที่สำคัญได้แก่ผู้นำทางศาสนาไม่ใช่กำนันหรือ ผใู้ หญบ่ า้ นหรอื ถา้ เปน็ ชมุ ชนไทยพทุ ธ ตอ้ งพจิ ารณาวา่ ในหมบู่ า้ น หรือในตำบลนั้นๆ ใครเป็นผู้ที่มีบทบาทมีความสำคัญในการ ชักนำชาวบ้านได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะข้อกำหนดให้ ข้าราชการทุกระดับวางตัวเป็นกลางอย่างเป็นเคร่งครัด เพราะ ฉะนั้นหัวคะแนนระดับล่างจึงแปรเปลี่ยนจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปเป็นผู้นำของมวลชนจัดตั้งระดับหมู่บ้านที่ราชการเป็นผู้จัดตั้ง เอง เช่น หัวหน้า กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มอาสาสมัครอื่นๆ ฯลฯ แต่กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน อาจจัดหัวคะแนนประเภทนี้ให้ทำ หน้าที่แทนตนในหลายพื้นที่ กำนันผู้ใหญ่บ้านจะได้รับ ค่าตอบแทนเพื่อให้วางตัวเฉย ๆ ไม่ต้องสนับสนุนแต่ไม่ต้อง จับกุมกวดขันผู้กระทำผิดด้วยหัวคะแนนกับการรณรงค์หาเสียง จะเห็นได้ว่า การจัดตั้งเครือข่ายของระบบ หัวคะแนนที่โยงใยระหว่างผู้ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในระดับ หมู่บ้านขึ้นมาถึงหัวคะแนน และระหว่างหัวคะแนนระดับรอง ขึ้นมาถึงหัวคะแนนหลัก และต่อไปขั้นตอนนี้ก็เป็นสิ่งที่ผู้สมัคร จริงทุกคนกระทำเหมือนกันหมด จึงอาจมีความจำเป็นที่จะต้อง 41

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ประมาณการให้แน่นอนพอสมควรว่า ความรับผิดชอบหรือ ความสามารถของหัวคะแนนมีมากน้อยแค่ไหน วิธีการคือ เมื่อเริ่มดำเนินงานมาถึงขั้นที่ได้หัวคะแนนระดับรองผ่านทาง หัวคะแนนหลักมาแล้ว ก็จะมีการเรียกประชุมหัวคะแนนทั้งหมด เพื่อตรวจสอบว่าแต่ละคนจะสามารถระดมคนในชุมชนของตน ออกมาลงคะแนนเสียงได้เท่าไร หัวคะแนนแต่ละคนก็จะตั้ง เป้าหมายคะแนนออกมาให้ ซึ่งเป้าหมายคะแนนเหล่านี้จะต้อง รวมกันแล้วได้ไม่น้อยกว่าตัวเลขที่ผู้สมัคร และคณะผู้วางแผน ได้กำหนดไว้เป็นหลักเกณฑ์จาก ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา เพื่อ ความแน่ใจบางครั้งหัวคะแนนระดับล่างๆ ต้องลองเข้าไป ทาบทามกับชาวบ้านว่าจะสามารถชักจูงให้มาลงคะแนนเสียง สนับสนุนผู้สมัครได้สักกี่คน(ปกติหัวคะแนนจะต้องมีรายชื่อผู้มี สิทธิออกเสียงเลือกตั้งในหมู่บ้านของตนอยู่แล้ว) รายงานที่ได้ รับจากหัวคะแนนรองหลังจากปฏิบัติการคือเป้าหมายคะแนน ที่อาจจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดและตัวเลขที่ได้มา ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงระหว่างหัวคะแนนกับผู้สมัครหรือ ตัวแทน ถ้าตัวเลขออกมาต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับตัวเลข ประมาณการที่ได้กำหนดไว้แต่เดิม หัวคะแนนหลักหรือผู้สมัคร ก็จำเป็นต้องพิจารณาเพิ่มพูนพื้นที่ (หมู่บ้าน) ที่จะเข้าไปหา คะแนนเสียงหรือเพิ่มจำนวนคะแนนให้มากขึ้นไปอีก (อัมมาร สยามวาลา และคณะ, 2535, หน้า 96-100) สำหรับจำนวนคะแนนเสียงที่หัวคะแนนระดับ ล่าง สามารถจะคุมได้นั้นย่อมแตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติ ของหัวคะแนนแต่ละคน ในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ อาจให้หัวคะแนน หนึ่งคนรับผิดชอบระดมคะแนนเสียงไม่เกิน 10-20 หลังคาเรือน 42

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง คือ หัวคะแนนหนึ่งคนคุมเสียงของคน 30-40 คนแต่ถ้า หัวคะแนนเป็นผู้นำ เช่น ผู้นำกลุ่มเกษตรกร กลุ่มชาวไร่ ฯลฯ ก็อาจระดมเสียงได้มากกว่าหัวคะแนนในหมู่บ้าน ส่วนในแต่ละ หมู่บ้านจะใช้หัวคะแนนระดับนี้กี่คนแล้วแต่ความใหญ่เล็กของ หมู่บ้าน เงื่อนไขการตรวจสอบในการเลือกตั้งเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2535 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนสำหรับการทำงาน ของหัวคะแนน คือ มีการเพิ่มจำนวนช่วงที่ติดต่อระหว่าง หัวคะแนนหลักไปถึงชาวบ้านมากขึ้นเพื่อป้องกันการตรวจสอบ จากทางราชการ และในขณะเดียวกันก็มีการย่อยจำนวนผู้คน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหัวคะแนนย่อยลงไป ทำให้มี หัวคะแนนย่อยจำนวนมากขึ้น แต่ละคนรับผิดชอบดูแลการจ่าย ค่าตอบแทนและควบคุมคนไปเลือกตั้งจำนวนคนไม่มาก ในบาง พื้นที่หัวคะแนนย่อยอาจรับผิดชอบเพียง 2-3 ครอบครัวในแต่ละ หมู่บ้านเท่านั้น อย่างที่เรียกกันว่าเป็นระบบ “ไดเร็คเซล” เช่น ในหมู่บ้านหนึ่งๆ จะจัดให้มีหัวคะแนนระดับ ก. ประมาณ 3-12 คน ตามความเหมาะสม จากนั้นหัวคะแนนระดับ ก. ก็จะ ไปหาหัวคะแนน หรือสมาชิกระดับ ข. อีกคนละ 3-5 คน สมาชิก ระดับ ข. ก็จะไปหาสมาชิก (ชาวบ้าน) เพิ่มอีก คนละ 5 คน เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวคะแนนระดับล่าง ๆ เป็นส่วนที่มีบทบาทสูงในการ “แปรเสียงให้เป็นคะแนน” กับ ตัวผู้สมัคร เป็นไปในลักษณะที่ไม่แน่นแฟ้นหรือลึกซึ้งมาก คือ จะเป็นความสัมพันธ์ที่ผ่านตัวหัวคะแนนหลักหรือหัวคะแนนรอง โดยมีค่าตอบแทนแต่ละคราว ๆ เป็นตัวกำหนดซึ่งอาจจะเกิดขึ้น 43

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ได้ในกรณีที่ผู้สมัครฝ่ายตรงกันข้ามใช้วิธีการตั้งเป้าคะแนนเป็น สัดส่วนกับเงินตอบแทน เช่น ถ้าหัวคะแนนทำคะแนนได้เท่านี้ หัวคะแนนจะได้ค่าตอบแทน 30,000 บาท ถ้าสูงขึ้นไปอีกจะได้ 40,000 บาท ฯลฯ เพราะ จะทำให้หัวคะแนนไปหาผู้สมัคร ที่ร่ำรวยกว่า ในขณะเดียวกันที่ต้องอาศัยหัวคะแนนระดับรองๆ ลงไปในทุกขั้นตอนของการหาเสียง ทางฝ่ายผู้สมัครต้อง พยายามหามาตรการเพื่อให้แน่ใจว่าหัวคะแนนในระดับล่างๆ ของตนจะไม่เห็นประโยชน์ของคู่แข่งดีกว่าตน โดยเฉพาะเมื่อได้ รับข้อเสนอเรื่องผลประโยชน์ที่สูงกว่า เพราะฉะนั้นจึงจำเป็น ต้องมีการติดตามประเมินผลการทำงานของหัวคะแนนในระดับ นี้บ้าง เช่น ทางผู้สมัครอาจใช้วิธีส่งคนของตนเข้าไปติดตาม ดูแลผลงานการทำงานของหัวคะแนนในหมู่บ้านที่สุ่มตัวอย่าง มา หรือเลือกหมู่บ้านที่มีปัญหาโดยลองเข้าไปดูว่ามีการทำงาน ประชาสัมพันธ์ มีการชักจูงชาวบ้านอย่างไรบ้างหรือไม่ มีการ แจกจ่ายเงินทองตามที่ตกลงกันไว้อย่างไรหรือไม่หรือไม่ก็อาจใช้ วิธีการรับฟังจากชาวบ้านที่เข้ามาหาที่ศูนย์เอง เพราะถ้ามี ชาวบ้านมาหาผู้สมัครที่ศูนย์พร้อมกับข้อเสนอว่าจะเป็น หัวคะแนนให้ แสดงว่าหัวคะแนนของตนไม่ได้ทำงานตามที่ ตกลงกันไว้ หรืออาจยังไม่ได้เริ่มงาน (ซึ่งอาจเป็นกลยุทธ์ การทำงานของหัวคะแนนนั้นๆ เองก็ได้) ในการเลือกตั้งครั้งที่ ผ่านมาพรรคการเมืองบางครั้งใช้วิธีการให้หัวคะแนนนำเงินไป แจกชาวบ้านเป็นคนชุดหนึ่ง จากนั้นจึงให้มีคนอีกชุดหนึ่งเข้าไป ตรวจสอบดูการจ่ายเงินว่ามีการจ่ายให้แก่ชาวบ้านจริงหรือไม่ หรือถ้ามีคู่แข่งมาแจกในอัตราที่เท่ากันหรือมากกว่าก็จะมี การแจกเพิ่มในอัตราที่สูงกว่า เป็นต้น นอกจากการตรวจสอบ 44

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง การทำงานของหัวคะแนนโดยทางอ้อมแล้ว ผู้สมัครบางคนอาจ ใช้วิธีการที่กระทำกันอย่างเข้มงวดกว่ากับการชำระเงินค่าจ้าง ซึ่งในกรณีนี้ถ้าหัวคะแนนสามารถระดมคะแนนเสียงได้ตรง เป้าในหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ ก็เป็นอันว่ายกเลิกสัญญาไป แต่ถ้า หัวคะแนนไม่สามารถระดมคะแนนเสียงได้ตามเป้าหมาย ก็แสดงว่าหัวคะแนนผิดสัญญา ผู้สมัครก็อาจฟ้องร้องเอาตาม สัญญาข้อตกลงทางกฎหมายที่ได้ตกลงกัน (อัมมาร สยามวาลา และคณะ, 2535, หน้า 97-98) ความรับผิดชอบในเรื่องการจัดตั้งระบบ หัวคะแนน เป็นความรับผิดชอบส่วนตัวของผู้สมัครทั้งสิ้น ยกเว้นในบ้างพื้นที่ที่ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง และยอมรับระบบพรรค การสนับสนุนหรือความสัมพันธ์ที่มีอยู่ ระหว่างผู้สมัครและหัวคะแนนเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลไม่ใช่เรื่อง ของพรรคการเมือง จึงเห็นได้ว่าหากผู้สมัครประเภทตัวประกอบ ในทีมที่เกิดอยากจะรณรงค์หาเสียงอย่างจริงจัง ผู้สมัคร ประเภทตัวจริงก็จะพยายามกีดกันไม่ให้หัวคะแนนของตน ประสานงานกับหัวคะแนนของผู้สมัครประเภทตัวประกอบ นั่นคือ แม้ว่า ส.ส. จะพยายามให้ระบบหัวคะแนนที่ตนเองได้จัด ตั้งขึ้นนั้นเป็นระบบ ที่ถาวร มีการรวมกลุ่มที่มีความผูกพันกัน อย่างแน่นแฟ้นต่อไป แต่ก็มุ่งจำกัดให้ระบบนี้เป็นเพียงแค่ องค์กรระดับเล็กๆ ที่มีตนเองเป็นศูนย์กลางเท่านั้น มิได้มีความ มุ่งหวังมั่นที่จะให้องค์กรดังกล่าวเป็นของพรรคการเมืองแต่ อย่างไร สำหรับการสร้างระบบหัวคะแนนที่ถาวรขึ้นในระดับ ล่างหรือการเปลี่ยนสถานะของ “หัวคะแนน” ไปเป็น “แกนนำ” ประจำตำบลหรือหมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับการขยายความสัมพันธ์แบบ 45

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี อุปถัมภ์เกื้อกูลกันให้คงดำเนินอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในช่วงเวลา ปกติที่ไม่มีการหาเสียงเลือกตั้ง 2.5.3 บทบาทของหัวคะแนน บทบาทของหัวคะแนนเริ่มจากการประชาสัมพันธ์ให้ ชาวบ้านได้รู้จักว่าผู้สมัครของฝ่ายตนคือใคร ซึ่งอาจเริ่มจาก ขั้นตอนของการชักชวน และโน้มน้าวจิตใจชาวบ้านให้ลง คะแนนให้ผู้สมัครที่ตนสนับสนุนได้ด้วยการติดแผ่นปลิว ป้าย โฆษณาตามบ้านต่างๆ ภายในหมู่บ้าน ในบางพื้นที่ผู้สมัคร หรือหัวคะแนนหลักอาจใช้วิธีจัดงานเลี้ยง เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้สมัครได้พบปะกับหัวคะแนนในระดับความสัมพันธ์ของตนกับ ชาวบ้านเป็นการปูทางก่อนที่จะมีการขอความสนับสนุนให้กับ ผู้สมัครของตนต่อไป (ลิขิต ธีรเวคิน. 2543. หน้า 450-467) นอกจากการทำงานด้านประชาสัมพันธ์ หัวคะแนนยังทำ หน้าที่สำคัญในการรับฟังข่าวคราวความคิดเห็นของชาวบ้าน หรือความเคลื่อนไหวต่าง ๆในท้องถิ่นของตนและรายงานต่อ ผู้สมัครเพื่อดำเนินการต่อไปอีก เช่น กรณีที่มีคู่แข่งแอบทำลาย แผ่นป้ายหาเสียงหรือแอบให้ร้ายป้ายสี หัวคะแนนในพื้นที่ก็จะ ทำหน้าที่ดูแลและแก้ต่างให้ โดยเฉพาะข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับ สถานการณ์การหาเสียงหรือกิจกรรมและแผนการของคู่แข่ง ที่หัวคะแนนเข้ามายังศูนย์การเลือกตั้ง จะช่วยให้ฝ่ายวางแผน ของผู้สมัครกำหนดได้อย่างถูกต้องว่าควรจะใช้ยุทธวิธีอย่างไร ควรจะให้ผู้สมัครออกไปพบปะปราศรัยหรือแจกของแก่ชาวบ้าน ที่จุดใด เมื่อไร โดยหัวคะแนนจะทำหน้าที่ประสานงานใน หมู่บ้าน เช่น ออกติดแผ่นปลิว แจกบัตรหาเสียงในหมู่บ้าน 46

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง ตำบล เป็นการปูทางก่อนหรือในบางพื้นที่หัวคะแนนอาจจัด กลุ่มของตนออกช่วยเหลือเพื่อนบ้านในกิจกรรม เช่น การลงแขก ถางปา่ ไถนาหรอื บรกิ ารเอารถไปแจกนำ้ แกช่ าวบา้ น ยามหน้าแล้ง สิ่งที่นิยมทำกันมาก คือการให้บริการรถขนศพแก่ ชาวบ้าน ซึ่งหัวคะแนนของผู้สมัครสามารถอ้างได้ตลอดเวลาว่า เป็นเรื่องของการทำบุญทำกุศล ฯลฯ เมื่อมีการปราศรัย หัวคะแนนก็อาจทำหน้าที่ผู้นำในการปราศรัยหรือโฆษณา ประจำเวที ส่วนในกรณีที่มีการแจกของแก่ชาวบ้านหัวคะแนน จะเป็นกลไกสำคัญในการนำสิ่งของดังกล่าวไปแจก เพราะคือ โอกาสที่จะกล่าวย้ำกับชาวบ้านว่าผู้สมัครที่ตนสนับสนุนคือใคร บทบาทของหวั คะแนนมมี ากในวนั สดุ ทา้ ย คอื วนั เลอื กตง้ั เริ่มตั้งแต่การจัดพาหนะรับส่งคนไปลงคะแนน การคุมคนใน ความรับผิดชอบของตนไปลงคะแนน ซึ่งจะต้องมีการวางแผนไว้ อย่างดีในเรื่องจำนวนรถ เรือ คนขับ เขตรับผิดชอบ จุดนัดพบ เพอ่ื แจกเงนิ ฯลฯ โดยจะตอ้ งพยายามทำใหค้ รบทกุ หนว่ ยเลอื กตง้ั หากทำไม่ได้ก็ต้องเลือกเอาเฉพาะหน่วยเลือกตั้งใหญ่ๆ หัวคะแนนจะตรวจสอบว่ามีคนไปลงคะแนนตรงตามบัญชีที่ได้ ตกลงกันไว้ล่วงหน้า โดยระบุอย่างชัดเจนว่าหัวคะแนนแต่ละคน รับผิดชอบ กี่คน กี่ครอบครัว และจะนำจำนวนคนอย่างน้อย ที่สุดเท่าไรไปลงคะแนน ในกรณีที่ชาวบ้านที่ตนดูแลรับผิดชอบ ยังไม่ออกมาใช้สิทธิ หรือในกรณีจำนวนผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด ในหน่วยเลือกตั้งยังต่ำอยู่มาก หัวคะแนนก็จะต้องตรวจสอบ การขานคะแนนตรวจดูความถูกต้องเรื่องการนับบัตรดี บัตรเสีย การกรอกคะแนน การรวมคะแนน ฯลฯ อย่างละเอียด และ จะค้านทันทีเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น จากนั้นก็จะรายงาน 47

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี การลงคะแนนในหน่วยดังกล่าวต่อศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อไป 2.5.4. พรรคการเมืองกับการรณรงค์หาเสียง ลักษณะการรณรงค์หาเสียงต้องอาศัยบทบาทของ หัวคะแนนในท้องถิ่นเป็นหลักโดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวผู้สมัคร แต่ละคนจะสะท้อนว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่มีบทบาท น้อยมากในการเลือกตั้ง ในการคัดคนเข้ารับสมัครรับเลือกตั้ง ในนามของพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองทั้งหลายต่างมุ่งไป ที่คน ที่มีโอกาสจะชนะการเลือกตั้งมากที่สุดได้แก่ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร(พิสูจน์แล้วว่ามีคะแนนนิยมอยู่ในระดับสูง) คนที่ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในชุมชน หรือมีตำแหน่งหน้าที่ เช่น เป็นนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด อยู่ก่อน โดยไม่ต้องคำนึงว่าบุคคลดังกล่าวเป็นคนอย่างไร ทำคุณประโยชน์หรือจะสร้างปัญหาให้แก่พรรคของหลายๆ พรรคที่จะดึงตัวอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหลายมาเข้า พรรคของตน แม้ว่าจะหมายถึง การขับไล่ผู้สมัครเก่าของพรรค ก็ตามหรือถ้าหากพรรคจะมีผู้สมัครหน้าใหม่มาลงสมัครเป็น ผู้สมัครตัวจริง ผู้สมัครดังกล่าวก็ล้วนแล้วแต่เป็นคนมั่งมีอย่าง สูงทั้งสิ้น อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่เข้าใจ สถานภาพของตนเอง และมักจะเลือกร่วมกับพรรคการเมือง ที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุดแก่ตน โดยไม่คำนึงถึงนโยบายพรรคเท่าใด นัก ส่วนใหญ่แล้วอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักจะให้เหตุผล ในการย้ายพรรคว่าเป็นไปตามความเรียกร้องของประชาชน หรือเพื่อว่าตนจะได้สามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากขึ้น เนื่องจากพรรคที่ย้ายมาเข้าสังกัดเป็นพรรคใหญ่ และโดยปกติ 48

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง แล้วพรรคการเมืองที่มีแนวโน้มว่าจะได้เป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุด หรือเป็นพรรคที่ผู้คนเชื่อกันว่าจะได้รับเลือกตั้งมากที่สุด และจะ สามารถดึงดดู ผู้สมัครมาเข้าด้วยมากที่สุด หลังเหตุการณ์ยุบสภาทุกครั้ง พรรคการเมืองมีทางเลือก ทจ่ี ะเตบิ โตอยา่ งชา้ ๆ โดยคดั เอาเฉพาะผทู้ ม่ี คี ณุ ภาพ มอี ดุ มการณ์ ร่วมกันลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยหวัง ผลประโยชน์ทางการเมืองเฉพาะหน้าเป็นหลัก พรรคการเมือง ไทยมักจะเลือกการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยมุ่งหวังผล ทางการเมืองระยะสั้นแทน โอกาสที่จะเกิดความไม่ลงรอยกัน ภายในพรรคหลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งย่อมมีมาก ในบาง กรณีอาจเกดิ ความขัดแยง้ ขน้ึ อย่างรนุ แรงกอ่ นทจี่ ะมีการเลอื กตง้ั ก็ได้ พรรคการเมืองส่วนใหญ่มักจะให้โอกาสสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเดิมของตนในท้องที่มีส่วนในการจัดตั้งทีมผู้สมัคร หรือคัดเลือกผู้สมัคร เป็นไปได้ว่าแทนที่จะดึงเอาคนดีมีชื่อเสียง เข้ามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมอาจพยายามผลักดัน พรรคพวกของตนซึ่งไม่ดี หรือไม่มีชื่อเสียงเข้ามาหรือถ้าหากว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมไม่แน่ใจในบารมีของตนแทนที่จะ พยายามสรรหาคนที่ดีมีชื่อเสียงมาร่วมทีม ส.ส.เดิม อาจจะ กีดกันไม่ให้คนดีที่มีชื่อเสียงมาร่วมทีมด้วย เพราะเกรงว่าจะมา ตัดคะแนนและทำให้ตนเองแพ้การเลือกตั้งไป แม้ว่าพรรค การเมืองจะมีกลไกในการตรวจสอบคุณภาพของบุคคล แต่ด้วย ความที่พรรคการเมืองปรารถนาจะเป็นพรรคใหญ่เพื่อมีอำนาจ ต่อรองในการเข้าร่วมรัฐบาลมาก ก็จะต้องเลือกเข้าข้างสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเก่ามากกว่า ถึงแม้ว่าผู้สมัครใหม่จะเป็นผู้ที่มี คุณสมบัติดีพร้อมอย่างไรก็ตาม ผู้สมัครหน้าใหม่จะมีโอกาสได้ 49

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี รับคัดเลือกเป็นผู้สมัครตัวจริงในนามของพรรคการเมืองที่ตน ประสงค์และในเขตเลือกตั้งที่ตนต้องการก็ต่อเมื่อเป็นนายทุนที่ พรรคหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมต้องการการสนับสนุน หรือเป็นผู้สมัครที่พรรคเชื่อในบารมีว่าสามารถทำให้ลูกทีมชนะ แบบยกทีม หรือเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมปรารถนา จะขยายฐานของตนภายในพรรคด้วยการมีกลุ่ม สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในสังกัดเพิ่มขึ้น นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ถ้าผู้สมัครหน้าใหม่คนใดได้รับโอกาสจากพรรคของตนให้ลง สมคั ร และจดั ตง้ั ทมี ผสู้ มคั รไดเ้ องในเขตเลอื กตง้ั ใดหมายความวา่ ทางพรรคเองไม่ได้หวังว่าจะชนะเลือกตั้งในเขตนั้น (ลิขิต ธีรเวคิน, 2543, น. 460-467) ข้อจำกัดประการที่สำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองต้อง มุ่งรักษาผู้สมัครที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมไว้ หรือพยายามแย่งตัวผู้สมัครที่มีโอกาสมากที่สุดว่าจะชนะ การเลอื กตง้ั มาเขา้ พรรค เนอ่ื งจากพรรคการเมอื งทกุ พรรคมเี งนิ ทนุ สำหรับการเลือกตั้งจำกัด และโดยปกติแล้วพรรคการเมืองจะไม่ ทุ่มเงินทุนในการรณรงค์หาเสียงให้แก่ผู้สมัครที่ไม่มีเงินทุน ทรัพย์เป็นของตนเอง แม้เป็นคนดีครบถ้วนหรือแม้ว่าจะมีทุน ทรัพย์อยู่บ้าง แต่บังเอิญไปอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกันกับคู่แข่ง ที่มีทุนทรัพย์มาก ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดผลลัพธ์ก็จะเหมือนกัน คือมีโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้งมากแค่ไหน โดยพิจารณา คุณสมบัติของตัวผู้สมัครและความพร้อมด้านทุนทรัพย์ของ คู่แข่งในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ประกอบด้วยเหตุนี้อดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจึงมักจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ หรืออย่าง สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะย่อมเชื่อถือได้ว่ามีคะแนนนิยมและ 50

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มีฐานะอยู่บ้าง การลงทุนของพรรคจึงไม่สญู เปล่า ส่วนผู้สมัครที่ทางพรรคมีความมั่นใจในชัยชนะน้อยมาก หรือไม่มีเลย ก็จะได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินน้อยหรือ ไม่ได้รับเลย ไม่ว่าบุคคลจะมีคุณสมบัติส่วนตัวดีอย่างไร นโยบายอาจปรับไปในกรณีที่พรรคการเมืองบางพรรคมี ฐานเสียงหนาแน่นมากในพื้นที่ และหัวหน้าทีมซึ่งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเดิมมีบารมีมากอยู่แล้ว และปรารถนา จะขยายฐานเสียงของตนภายในพรรค กล่าวคือหัวหน้าทีมจะ รับเงินอุดหนุนจากพรรคน้อยกว่าลูกทีมซึ่งตนประสงค์จะ “อุ้ม” เข้าสภา ส่วนผู้สมัครหน้าใหม่ที่มีฐานะคะแนนดีอยู่แล้วจะไม่ได้ รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากพรรคเลย เช่นเดียวกันกับ ผู้สมัครประเภทตัวประกอบในทีม แม้แต่กับผู้สมัครที่พรรค ยินยอมจะสนับสนุนด้านการเงินอย่างเต็มที่ เพราะคาดว่าจะได้ รับชัยชนะ พรรคการเมืองก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนอยู่บ้าง อย่างน้อยที่สุดก็จะไม่ให้เงินอุดหนุนไปเลยทีเดียวเป็นก้อนใหญ่ เพราะเคยมีกรณีผู้สมัครบางคนรับเงินไปแล้วแต่มิได้หาเสียง อย่างจริงจังกลับนำเงินอุดหนุนจากพรรคไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จนหมด พรรคการเมืองจึงแก้ปัญหาโดยการให้เงินอุดหนุนแก่ ผู้สมัครเป็นงวดๆ และตรวจสอบว่าผู้สมัครหาเสียงจริงจังหรือไม่ ก่อนที่จะจ่ายงวดต่อๆ ไป แต่สำหรับกรณีของผู้สมัครที่เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิม และเป็นตัวเกร็งว่าจะชนะ เลือกตั้ง ผู้สมัครมีโอกาสมากกว่าพรรคการเมืองที่จะตั้งข้อ เรียกร้อง ซึ่งไม่ได้หมายถึงจำนวนเงินเท่านั้นแต่หมายถึงทั้ง จำนวนเงินที่ต้องการและการสั่งจ่ายเป็นเงินสดครั้งเดียว 51

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี จากทุกกรณีที่กล่าวมา สรุปได้ว่า พรรคการเมืองนั้น ไม่สามารถจะช่วยผู้สมัครได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ในกรณีของพรรคเล็กๆ บางพรรค ผู้สมัครต้องเข้าไปโอบอุ้ม พรรคในทางการเงิน ดังที่ว่าตำแหน่งเลขาธิการพรรคการเมือง มักจะเป็นตำแหน่งนายทุนพรรคหรือผู้หาเงินให้พรรค นอกจาก ความช่วยเหลือด้านการเงินซึ่งสำคัญที่สุดแล้ว รูปแบบ ความช่วยเหลือที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ให้กับผู้สมัครจะออก มาในรูปแบบของการจัดส่งทีมปราศรัยอันประกอบด้วยบุคคล ในพรรคที่มีความสำคัญระดับชาติไปช่วยหาเสียงให้เป็น ครั้งคราว นอกจากนั้นก็อาจมีการแจกสติ๊กเกอร์ ใบปลิว และ เอกสารหาเสียงของพรรค ให้เอาไปใช้แจกจ่ายหาเสียงได้ บางพรรคอาจมีกิจกรรมที่พิเศษ เช่น จัดส่งเอกสารช่วยทำงาน ให้โดยทางผู้สมัครต้องรับภาระค่าเบี้ยเลี้ยงหรือพรรคอาจช่วย ในการประเมินคะแนนเสียงระหว่างรณรงค์ให้ชื่อเสียงของ พรรคการเมืองบางพรรคในบางพื้นที่หรือในบางเรื่อง อาจกล่าว ได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่ไม่ได้หวังพึ่งพรรคการเมือง มากนัก และในบางท้องที่เมื่อการหาเสียงไม่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ส่วนรวมของพรรค ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งก็ไม่ สามารถจะดำเนินการให้แนวทางเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจจะเนื่องด้วยปัญหาหลายประการ เช่น งบประมาณ ประสิทธิภาพการทำงาน การขาดอำนาจ ที่แท้จริง ฯลฯ ผู้สมัครจึงจะต้องพึ่งตนเองหรือเป็นอิสระจาก พรรคอยู่มากในการหาเสียง ในเรื่องนี้ผู้สมัครบางคนหลีกเลี่ยง ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยให้เหตุผล ว่าคนกรุงเทพฯ เลือกพรรคมากกว่าบุคคล แต่กระแสความนิยม 52

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พรรคมักแปรเปลี่ยนไปอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นถ้าประสงค์จะเล่น การเมืองนานๆ ก็จะต้อง “เกิด” ทางการเมืองในต่างจังหวัด ด้วยความสามารถของตน ผู้สมัครส่วนใหญ่เชื่อว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในประเทศไทย ยังคงเป็นที่บุคคลมากกว่าเลือกพรรค ดังนั้น นโยบายของพรรคจึงไม่มีความสำคัญเท่าใด และไม่มีความ แตกต่างกันมาก นอกจากนี้ นโยบายของพรรคยังสามารถ ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับพรรค การเมืองอื่นๆ ที่จะเข้าร่วมรัฐบาลหลังเลือกตั้ง พรรคที่ม ี นโยบายเฉพาะตัว เช่น พรรคสังคมนิยม ต้องหายไป ผู้สมัครจะ สังกัดพรรคอะไรก็ได้ขอให้เป็นคนที่ทำให้ประชาชนพอใจ และ ในการหาเสียงจะมีการพูดถึงนโยบายของพรรคน้อยกว่าที่พูด ถึงตัวบุคคลมาก หากจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดพูดถึง พรรคการเมืองหรือเข้ามามีบทบาทในการช่วยรณรงค์หาเสียง ให้แก่เพื่อนร่วมพรรคมากกว่าปกติ เป็นเพราะว่าสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรผู้นั้นดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคและในคณะ รัฐบาลหรืออยากจะขยายฐานการเมืองของตนภายในพรรค เพื่อจะได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคและในคณะรัฐบาลต่อไป จึงจำเป็นต้องออกมาช่วยเหลือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต ความรับผิดชอบของตนหรือในสังกัดของตน และแม้แต่ในกรณี นี้ก็มักจะปรากฏว่าเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีฐานทาง เศรษฐกิจดีด้วยเท่านั้นที่สามารถ จะทำหน้าที่นี้ได้ดี หาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีเฉพาะแต่ฐานความนิยมของ ประชาชนต้องออกมารับหน้าที่นี้แล้วในที่สุดก็อาจพบว่าตนเอง ไม่สามารถรักษาที่นั่งของตนในสภาไว้ 53

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี การเน้นวัตถุประสงค์ที่จะเข้าร่วมรัฐบาลโดยการสร้าง พรรคให้มีขนาดใหญ่ในระยะเวลาอันสั้นพร้อมกับการตระหนัก ถึงขีดความสามารถที่จำกัดในการสนับสนุนผู้สมัครอย่าง พอเพียงและกว้างขวาง (แม้ว่าจะถูกบังคับโดยข้อกำหนดของ รัฐธรรมนูญให้ส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกิดความ คาดหวังที่จะเป็นจริงได้ของทุกพรรค) ทำให้พรรคการเมือง เกือบทุกพรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคการเมืองที่เกิดใหม่ สามารถจะเป็นอะไรได้มากกว่า “พรรคภูมิภาค” คือเป็นพรรคที่ ต้องทุ่มทรัพยากรอันจำกัดของตน เพื่อให้ได้รับความนิยมจาก ประชาชนในภาคหนึ่งหรือจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง มากกว่าที่จะ เป็นพรรคแห่งชาติที่มีความนิยมจากประชาชนและฐานเสียง ทั่วทุกภาค จึงเป็นจุดอ่อนสำคัญที่เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้กุม อำนาจและกลไกรัฐเข้าแทรกแซงเฉพาะพื้นที่เฉพาะพรรค เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้งได้ ดังปรากฏ เป็นข่าวในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2535 ซึ่งก็ส่งผล ให้รัฐบาลที่เกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง ต้องเป็นรัฐบาลผสม ตามแนวที่กลุ่มดังกล่าวต้องการแทนที่จะเป็นการรวมกลุ่มหรือ ต่อรองกันโดยธรรมชาติระหว่างพรรคการเมืองด้วยกันเอง 2.6 แนวความคิดของผู้มีสิทธิเลือกต้ัง ต่อผู้สมัครรับเลือกต้ัง ถวิลวดี บุรีกุล และโรเบิร์ต บี.อัลบริตตัน (2550) อ้างถึง ใน. ถวิลวดี บุรีกุล, 2554, น. 8-9) พบว่า องค์ประกอบหนึ่ง ทางการเมืองที่มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้ ตัดสินใจในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 54

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตัดสินใจเลือกโดยใช้คุณลักษณะที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นเกณฑ์ ได้แก่ ประการแรก คุณลักษณะด้านความเชี่ยวชาญทาง นโยบาย และข้อพิจารณาว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ที่สามารถ ทำงานบริหารได้หรือไม่ ประการที่สอง ซึ่งอยู่คนละขั้วกับประการแรก ประกอบ ด้วยแนวคิดท้องถิ่นนิยมที่สูงมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะทำอะไรให้ชุมชน ท้องถิ่นได้บ้าง ประการที่สาม เป็นลักษณะส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่ เช่น บุคลิกภาพ ซึ่งอาจจะไม่มีความเชื่อมโยงกับความสามารถ ทางการเมืองหรือการบริหารเลย และที่เห็นได้ว่า ประการ 1 และ 2 เป็นทัศนคติที่สัมพันธ์ กับข้อสันนิษฐาน “สองนคราประชาธิปไตย” ซึ่งเสนอโดยเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ลักษณะที่สอดคล้องกับคุณลักษณะนี้ กล่าวถึง พรรคการเมืองใหญ่อย่าง “พรรคประชาธิปัตย์” ซึ่งประกอบ ตัวแทนของชนชั้นสูงที่มากด้วยประสบการณ์มีความสัมพันธ์กับ คุณลักษณะประการที่ 1 คือเกณฑ์เรื่องความเชี่ยวชาญและ ความสามารถมากกว่าปัจจัยอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ และ คุณลักษณะที่ 2 ซึ่งเป็นแนวคิดท้องถิ่นนิยม มีความสัมพันธ์กับ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของ “พรรคไทยรักไทย” มากกว่า และมีความ สัมพันธ์กับพรรคอื่นด้วย ข้อมูลสะท้อนถึงสิ่งที่อาจอธิบายได้ว่าเป็นความขัดแย้ง ขั้นพื้นฐานระหว่างประชาชนซึ่งเชื่อว่าการเมือง (และรัฐบาล 55

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นผลมาจากการเมือง) ควรเป็นตัวแทนของทางเลือกเชิง นโยบายในกลุ่มพรรคการเมืองต่างๆ ตามรูปแบบของ “พรรคการเมืองที่มีความรับผิดชอบ” และกลุ่มประชาชน ผู้ออกเสียงเลือกตั้งในแบบดาวน์เชี่ยน (Downsian) ซึ่งมอง การเลือกตั้งว่าเป็นโอกาสที่จะแสวงหาประโยชน์ส่วนตนให้มาก ที่สุด ทั้งนี้ดาวน์ (Downs,1957) มองว่า การเลือกตั้งเป็นการ แข่งขันของพรรคการเมือง เขาเห็นว่า หัวใจสำคัญของการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยคือ ประชาชนอาจใช้สิทธิออก เสียงซึ่งเป็นวิธีการที่จะสร้างประโยชน์ส่วนบุคคลหรือประโยชน์ ของตนให้มากที่สุด สำหรับดาวน์นั้นทางเลือกของผู้ออกเสียง เลือกตั้งคือการคำนวณว่า ผู้สมัคร (หรือพรรค) ใด ที่มีแนวโน้ม จะนำประโยชน์สูงสุด มาให้แก่ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ความ แตกต่างดังกล่าวแสดงถึงความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง “ประชาธิปไตยสองรูปแบบ” หรือความแตกต่างขั้นพื้นฐาน ในวัฒนธรรมการเมืองระหว่างมหานครกับชนบท 2.7 แนวคิดเก่ียวกับพฤตกิ รรมการออกเสยี งเลอื กตัง้ พฤติกรรมเกี่ยวกับการออกเสียงเลือกตั้งของคนไทย ที่ผ่านมา สามารถสรุปลักษณะสำคัญได้ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ (อัษฎางค์ ปาณิกบุตร, 2544, น. 405- 406) 2.7.1 การใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ราษฎรไทยยังขาดความรู้ ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย และประชาชนยังไม่ได้รับความศึกษาอย่างแพร่หลาย ขณะเดียวกันการสื่อสารที่ยังไม่เจริญก้าวหน้า ทำให้การแจ้ง 56

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง ข่าวสารแก่ราษฎรมีอุปสรรค สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อย ซึ่งสถิติการเลือกตั้งที่ผ่านมา ปรากฏว่า การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ถึงการเลือกตั้งครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีอัตราเฉลี่ยของการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน เท่ากับ ร้อยละ 38.70 โดยในการเลือกตั้งครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2491 มีผู้ไปใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 26.54 ส่วนการเลือกตั้งครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุดถึง ร้อยละ 57.40 และเป็นครั้งแรกที่ ประชาชนชาวไทยไปใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ เลือกตั้งทั้งหมดแต่การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นที่กล่าวหากันว่า “เป็นการเลือกตั้งสกปรก” จนทำให้คณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบลู สงคราม ต้องถูกรัฐประหารในที่สุด ในยุคแรกของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ คนไทย ส่วนใหญ่เพ่งเล็งที่ตัวบุคคลมากกว่าพรรคการเมือง และ การพิจารณาผู้สมัครรับเลือกตั้งของคนไทยจะคำนึงถึง ความผูกพันส่วนตัวและคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้สมัครเป็น ส่วนใหญ่ โดยแทบจะไม่ได้พิจารณาถึงพรรคการเมืองที่ผู้สมัคร นั้นสังกัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) ดังจะเห็นได้จากการที่มี ผู้สมัครอิสระไม่สังกัดพรรคการเมืองใดได้รับการเลือกจำนวน ไม่น้อยจากการเลือกตั้งแต่ละครั้งที่ผ่านมา ยกเว้นการเลือกตั้ง ที่บังคับให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมือง นอกจากนี้ในการ สำรวจผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยกรมการปกครองในการเลือกตั้ง เมอ่ื วนั ท่ี 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ปรากฏวา่ ประชาชนสว่ นใหญ่ ยึดถือตัวบุคคลในการลงคะแนนเสียงมากกว่าจะพิจารณาจาก 57

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี พรรคการเมืองที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัด โดยผู้อาศัยในเขต ชนบทมีแนวโน้มที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยพิจารณาจาก ตัวผู้สมัครมากกว่าผู้อาศัยในเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร จากการที่คนในภูมิภาคยังมีแนวโน้มเลือกตัวบุคคลมากกว่า พรรค จึงส่งผลให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อย ที่ผูกขาดชนะการเลือกตั้งทั้งๆ ที่มีพฤติกรรมย้ายพรรคจนสับสน ซึ่งหากประชาชนลงคะแนนเลือกตามพรรคแล้วก็คงไม่ได้รับ การเลือกตั้ง คนไทยไปลงคะแนนเสียงด้วยความสำนึกว่าเป็น หน้าที่มากกว่า เพื่อแสดงออกซึ่งการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือ ควบคุมรัฐบาล หรือเพื่อให้คนที่ตนพอใจเข้าไปทำงาน คนไทย ส่วนใหญ่ยังเห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่หรือ บทบาทเพียงเพื่อเป็นปากเสียงแทนตนเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ลงคะแนนเสียงเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งเช่นกันแต่ไม่ มากนัก คือ เห็นว่าเป็นเพียงการเลือกตัวแทนเท่านั้นไม่ใช่ เป็นการเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดจาก ความรู้สึกว่าตนเองมีอิทธิพลหรือมีอำนาจหรือมีประสิทธิภาพ ทางการเมือง (Political Efficiency) ที่จะผลักดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในตัวรัฐบาลในนโยบายของรัฐบาล หรือเพื่อให้ ผู้ที่ตนพอใจได้รับการเลือกตั้งเข้าไปทำงาน การลงคะแนนเสียง เลือกตั้งเป็นเพียงเรื่องของการปฏิบัติตามหน้าที่ของพลเมือง เมื่อการไปลงคะแนนเป็นเพียงเรื่องของการทำตามหน้าที่ โอกาสที่จะถูกชักจูงไปลงคะแนนเสียงย่อมเป็นไปได้ง่าย เป็น ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบถูก “ระดม” (Mobilized Participation) (สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2527, น. 241-22) 58

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง 2.7.2. พฤติกรรมการเลือกต้ังเบ่ียงเบน การเลือกตั้งทั่วไปหรือเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแต่ละครั้งที่ผ่านมา มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ ไม่สามารถดำเนินการเลือกตั้งให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์และ หลักเกณฑ์การเลือกตั้ง สาเหตุที่สำคัญคือ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้พยายามทำทุกวิธีทางที่จะเอาชนะ การเลือกตั้งโดยมีพฤติกรรมตามคำพังเพยที่ว่า “ไม่ได้ด้วยเล่ห์ เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์เอาด้วยคาถา” จึงทำให้เกิด พฤติกรรมการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต หรือเรียกว่า “พฤติกรรม การเลือกตั้งเบี่ยงเบน” โดยพฤติกรรมการเลือกตั้งเบี่ยงเบนใน ประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้ (กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, 2518, น. 64-70) 1. การใช้อทิ ธิพลของระบบราชการ พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลหรือมีสมาชิกของพรรค ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย มีโอกาสใช้อิทธิพลของระบบราชการที่มีขอบข่ายอำนาจโยงใย อยู่ทั่วราชอาณาจักรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการหาเสียง เลือกตั้งให้กับลูกพรรคการเมืองของตนทั้งโดยทางตรงและ ทางอ้อม ซึ่งบางครั้งก็มีการใช้อิทธิพลของระบบราชการ บุคลากรและอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ของทางราชการเพื่อให้ เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบ การเลือกตั้งของ พรรคการเมืองใดพรรคหนึ่งหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่ง โดยไม่สุจริต เพราะข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 59

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด นายอำเภอ สารวัตรใหญ่ ตำรวจภูธรอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ที่สามารถบันดาลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง คนหนึ่งคนใดชนะการเลือกตั้งได้ ดังนั้นพรรคการเมืองต่างๆ จึงต้องการดแู ลกำกับกระทรวงมหาดไทยให้ได้ นอกจากนี้ยังมีกระทรวงอื่นอีกที่พรรคการเมือง ที่กำกับดแู ลมีโอกาสสร้างความได้เปรียบในการหาเสียงเลือกตั้ง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้เพราะกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วยข้าราชการ “ครู” โดยเฉพาะครูประถมศึกษา กระจายอยู่ทั่วประเทศ และในสังคมไทยนั้นครูจะได้รับ การเคารพนับถือจากประชาชนมากโดยเฉพาะในสังคมชนบท ครูจึงเป็นผู้มีอิทธิพลในการชี้นำให้ประชาชนเลือกหรือไม่เลือก ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งเป็นอย่างมาก ดังนั้นครูประถม ศึกษาจึงเป็นหัวคะแนนสำคัญในการเลือกตั้งแทบทั้งสิ้น และ กระทรวงศึกษาธิการยังมีอิทธิพลต่อการให้เงินอุดหนุนโรงเรียน วัด สมาคม และมูลนิธิต่างๆ จึงทำให้พรรคการเมืองที่กำกับ ดูแลกระทรวงศึกษาธิการมีความได้เปรียบในการหาเสียง เลือกตั้งให้กับสมาชิกลูกพรรคของตน การใช้อิทธิพลของระบบ ราชการนั้น โดยทั่วไปพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลหรือพรรค ร่วมรัฐบาลจะได้เปรียบกว่าพรรคการเมืองฝ่ายค้านเพราะ ข ้ า ร า ช ก า ร ฝ ่ า ย ป ก ค ร อ ง ต ล อ ด จ น ข ้ า ร า ช ก า ร ป ร ะ เ ภ ท อ ื ่ น ๆ จะเต็มใจให้การสนับสนุนมากกว่าพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จึงทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรครัฐบาลได้เปรียบพรรค ฝ่ายค้าน 60

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง 2. กลวธิ กี ารทำลายคู่แข่งขนั กลวิธีการทำลายผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้แข่งขัน มีตั้งแต่วิธีการฉีกโปสเตอร์หาเสียงเลือกตั้งของฝ่ายตรงข้าม การขุดคุ้ยประวัติของคู่ต่อสู้มาประจานในความชั่วร้าย เพื่อให้ สังคมเกลียดชัง ไม่ว่าจะเป็นเท็จหรือจริงก็ตาม การจัดหา “มอื ปนื รบั จา้ ง” เพอ่ื ฆา่ หวั คะแนนของฝา่ ยตรงขา้ ม การปาระเบดิ ในการปราศรัยหาเสียงของฝ่ายตรงข้าม แต่ที่เป็นภยันตราย อย่างยิ่งก็คือ การฆ่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นเรื่องที่เลวร้ายสำหรับระบอบประชาธิปไตยอย่างมาก เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องให้การคุ้มครองผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นรายบุคคลอย่างมาก โดยถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนเป็น บุคคลที่สำคัญที่จะต้องให้ความคุ้มครองชีวิตอย่างเต็มที่ การทำลายผู้สมัครรับเลือกตั้งที่นิยมกันมากในอดีต คือการกล่าวหาผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองที่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดว่ามีพฤติการณ์เป็นคอมมิวนิสต์ เช่น การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่สังกัดพรรคการเมืองที่มีนโยบายแนวสังคมนิยม ร้องทุกข์ว่า ถูกสถานีวิทยุของทางราชการโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้ พรรคการเมืองที่มีนโยบายแนวสังคมนิยม แพ้การเลือกตั้ง นอกจากนี้การใช้สื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์โจมต ี ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองก็จะทำกันทั่วไป ดังนั้น พรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีหนังสือพิมพ์สนับสนุน ย่อมได้เปรียบ พรรคการเมืองใหญ่ๆ จึงต้องใช้กลวิธีต่างๆ ที่จะ ได้รับการสนับสนุนจากหนังสือพิมพ์และเป็นกระบอกเสียงของ ตนหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัด 61

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี 3. การใช้เงินซ้ือคะแนนเสียงเลือกตั้งและสิทธิ เลอื กต้ัง นับตั้งแต่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยและจัดให้มีการเลือกตั้ง พบว่า กลวิธีในการให้ได้ รับคะแนนเสียงโดยการซื้อคะแนนเสียงเป็นที่นิยมกันอย่าง แพร่หลาย โดยเฉพาะการจ่ายเงินให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นรายบุคคล จนกลายเป็นวิธีหลักเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง ในสังคมไทย และเป็นประเพณีในเทศกาลการเลือกตั้งของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง กล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยปราศจากการ ซื้อสิทธิขายเสียง ดังนั้นการเลือกตั้งของประเทศไทยจึงมีการใช้ เงินซื้อคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยกลวิธีต่างๆ อาทิ การเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 และครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ซึ่งหนังสือพิมพ์รายวัน แทบทุกฉบับได้นำพฤติกรรมที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้จ่ายเงินให้ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเพื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งลง คะแนนเสียงให้แก่ตนโดยมิชอบมาตีแผ่ต่อสาธารณชน ส่วนการ ซื้อขายคะแนนเสียงก็มีวิธีการที่แยบยลและขั้นตอนที่ซับซ้อน เช่น “วิธีตกเขียวคะแนน” เป็นการหาเสียงคล้ายๆ กับการหว่าน พืชหวังผล โดยมีข้อผูกมัดระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มี สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง “ขบวนการลากพาและการยิงกระสุน” เป็นการร่วมมือระหว่างบุคคลหลายกลุ่มที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ กิจกรรมการเลือกตั้งในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นกระบวนการ เป็นต้น และนอกจากการซื้อขายเสียงเลือกตั้งแล้วยังมีการขาย สิทธิเลือกตั้งโดยการซื้อขายบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็น 62

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง กลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การใช้เทคนิคการโกงการเลือกตั้งด้วยวิธีการ ต่าง ๆ พฤติกรรมการเลือกตั้งเบี่ยงเบนล้วนแต่เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศ ไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องปฏิรูป การเมืองไทยเพื่อให้พฤติกรรมการเลือกตั้งเบี่ยงเบนหมดหรือ ลดน้อยลง 2.7.3 กลวิธีโกงการเลือกต้ัง การโกงการเลือกตั้งเป็นพฤติกรรมการเลือกตั้งเบี่ยงเบน โดยทัศนะของนักวิชาการและผู้สนใจการเมืองที่อยู่นอกเวท ี การแข่งขันทางการเมืองเห็นว่า เป็นการกระทำที่มิชอบ แต่ นักการเมือง และหัวคะแนนที่เข้าร่วมในการรณรงค์หาเสียง กลับเห็นว่า การทุจริตในการเลือกตั้งเป็นเพียงกฎเกณฑ์ของ การแข่งขัน (Rule of Political Game) (ไพฑูรย์ บุญวัฒน์, 2538, น. 27) ที่ต้องป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถใช้เทคนิค การโกงได้ แต่ถ้ามีโอกาสก็พร้อมที่จะทุจริตและใช้วิธีการ ทุกอย่างเพื่อให้ได้คะแนนสนับสนุน ถึงแม้ว่าการกระทำนั้น อาจจะผิดกฎหมาย ถ้าคู่แข่งจับได้ก็หมายความว่า ยังมีจุดอ่อน ในเรื่องไหวพริบ ไม่ทันเกมหรือรายละเอียดรอบคอบไม่เพียงพอ และกฎหมายอาจเป็นเพียงแค่ข้อกำหนดที่ทางราชการวางไว้ แต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ นักการเมืองและหัวคะแนนจึงเห็น ว่าการโกงการเลือกตั้งเป็นเรื่องธรรมดาและจะต้องต่อสู้แข่งขัน กันเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและกีดกันไม่ให้คู่แข่งขัน ประสบความสำเร็จ ซึ่งเทคนิคและวิธีการโกงการการเลือกตั้ง ที่นิยมกันทั่วไปได้สรุปได้ดังนี้ (วัชรา ไชยสาร, 2544, น. 53-63) 63

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 1. วิธีการเวียนเทียน หมายถึงการรับจ้างที่ได้รับ ค่าจ้างหรือผลประโยชน์อื่นใดก็ตามให้ไปใช้สิทธิออกเสียง เลือกตั้งทั้งของตนเองและผู้อื่นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หลายๆ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในเขต เลือกตั้งนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยอาจใช้หลักฐานในการแสดงตัว เป็นมีสิทธิ ออกเสียงเลือกตั้งปลอม เพื่อประโยชน์อันมิชอบของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกัน มากที่สุด โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งมีอิทธิพล และมีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายข้าราชการ การเวียนเทียน จะกระทำอย่างโจ่งแจ้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของ คณะกรรมการการตรวจนับคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้ง โดย โอกาสที่คณะกรรมการจะช่วยการโกงได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสนใจในการตรวจสอบหลักฐานของผู้ที่มาใช้ สิทธิเลือกตั้งและถ้าหน่วยเลือกตั้งนั้นไม่มีผู้แทนหรืออาสาสมัคร ของพรรคการเมืองทำหน้าที่คอยติดตามสอดส่องดูแล ตรวจสอบในฐานะเป็นกรรมการตรวจนับคะแนน โอกาสโกง ก็จะมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการโกงการเลือกตั้งจะทำโดยในครั้งแรก ของการไปใชส้ ทิ ธเิ ลอื กตง้ั หวั คะแนนผทู้ ค่ี นุ้ เคยกบั คณะกรรมการ ตรวจนับคะแนน จะพาประชาชนไปลงคะแนน ในชื่อของผู้มี สิทธิออกเสียงเลือกตั้งคนอื่นคนละหลายๆ ครั้ง โดยปกติ หัวคะแนนจะตรวจสอบล่วงหน้าว่า เจ้าของชื่อจะมาใช้สิทธิ เลือกตั้งหรือไม่ บางครั้งหัวคะแนนและผู้มาลงคะแนนเสียง จะใช้วิธีแสดงบัตรประจำตัวประชาชนทางด้านหลังของบัตร ซึ่งไม่มีชื่อและรูประบุอยู่เพื่อประโยชน์ในการอ้างชื่อของผู้อื่น ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนั้นการใช้บัตรเหลือง 64

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (บัตรที่ทางราชการออกให้แทนบัตรจริง) แทนบัตรประจำตัว ประชาชนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากเพราะบัตรเหลือง จะไม่มีรูปถ่ายหรือหลักฐานอื่นใดแสดงว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง นั้นจะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าของบัตรเหลืองหรือไม่ 2) วิธีการพลร่ม หมายถึงการที่บุคคลซึ่งไม่มีสิทธิ ออกเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้งแทนผู้อื่น โดยผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่มักเป็นผู้รับจ้างจากผู้สมัครรับ เลือกตั้งหรือพรรคการเมืองโดยมิชอบให้ไปแสดงตนว่าเป็นผู้มี สิทธิเลือกตั้งในนามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้น ซึ่งมีส่วนคล้ายกับ การเวียนเทียน 3) วิธีการไพ่ไฟ หมายถึงการใช้บัตรเลือกตั้งปลอม หรือบัตรเลือกตั้งที่มีการกาเครื่องหมายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง นอกหน่วยเลือกตั้งโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้วนำไปใส่รวมกับ เลือกตั้งที่มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง 4) วิธีการบัตรผี หมายถึงบัตรเลือกตั้งที่ผู้สมัคร รับเลือกตั้งหรือผู้อื่นสามารถนำออกจากหน่วยเลือกตั้งได้ก่อน หรือระหว่างลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อนำไปทำการทุจริตได้ โดยกลวิธีต่างๆ โดยอาจจะใช้การปลอมแปลงบัตรเลือกตั้ง ที่คณะกรรมการตรวจสอบนับคะแนนร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วย โดยอาจจะปลอมแปลงบัตรเป็นจำนวนมากและกระจายให้ผู้มี สิทธิออกเสียงมากๆ คน โดยให้กากหมายเลขคู่แข่งขัน คนสำคัญๆ ไว้ทุกๆ คนให้มากเท่าที่จะกระจายได้ และให้นำ ติดตัวไปยังหน่วยเลือกตั้งเมื่อมาแสดงตัวรับบัตรเลือกตั้งจริง จากเจ้าหน้าที่ที่ประจำหน่วยเลือกตั้งแล้วบุคคลเหล่านี้จะสลับ 65

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี เปลี่ยนกับ “บัตรผี” โดยเอาบัตรเลือกตั้งจริงออกมาและนำเอา “บัตรผี” กลับมาส่งคืนให้เจ้าหน้าที่เพื่อหย่อนใส่หีบเลือกตั้ง แล้วบุคคลเหล่านั้นก็จะนำเอาบัตรเลือกตั้งจริงออกมาข้างนอก โดยกาหมายเลขของผู้รับเลือกตั้งที่มีอิทธิพลของตนเอาไว้ ทั้งหมดแล้วหมุนเวียนให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งคนอื่นๆ ที่ถูก “ซื้อตั๋ว” กระทำเช่นเดียวกันเรื่อย ๆจนหมดเวลาการลงคะแนน เสียง นอกจากนั้นยังมี “บัตรผีจริง” ซึ่งเกิดจากความบกพร่อง ของระบบทะเบียนราษฎร โดยเมื่อสำรวจรายชื่อผู้มีสิทธิ ออกเสียงเลือกตั้งพบว่าบางคนเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะนำ บัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลเหล่านั้นมาให้คนอื่นสวมตัว ไปใช้สิทธิการเลือกตั้งแทน วิธีการโกงเลือกตั้งแบบ “ไพ่ไฟและบัตรผี” จำเป็น ต้องได้รับความร่วมมือจากกรรมการตรวจนับคะแนนทั้งหมด รวมทั้งฝ่ายปกครองและตำรวจที่มารักษาความสงบเรียบร้อย มิฉะนั้นอาจมีปัญหาและถูกจับได้ง่าย เพราะจำนวนผู้มา ใช้สิทธิกับจำนวนบัตรที่มาใช้สิทธิอาจไม่ตรงกัน ถ้าไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงหลักฐานการมาใช้สิทธิของประชาชนให้สอดคล้อง กับจำนวนบัตรที่ใช้ในการลงคะแนนเสียง แต่ปัจจุบันจะกระทำ ได้ยากขึ้นหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะมีการตรวจสอบ นับจำนวนผู้มาใช้สิทธิและบัตรเลือกตั้งที่ได้ใช้ไปในทุกๆ หนึ่งชั่วโมงว่ามีจำนวนสอดคล้องกันหรือไม่ ถ้าไม่สอดคล้องกัน ก็แสดงว่ามีเงื่อนงำและส่อเค้าว่าเกิดการทุจริตในการลงคะแนน เสียงเลือกตั้งขึ้น ซึ่งกรรมการตรวจนับคะแนนมีสิทธิที่จะแจ้งไป ยังผู้ว่าราชการจังหวัดและขอให้ยุติการลงคะแนนของหน่วย เลือกตั้งดังกล่าวได้ 66

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5) วิธีการใช้บัตรเหลือง หมายถึง บัตรประจำตัว ประชาชนชั่วคราว ซึ่งฝ่ายปกครองออกให้ใช้แทนบัตรประจำตัว ประชาชนตามกฎหมาย โดยสามารถนำไปใช้แสดงตนแทน บัตรประจำตัวประชาชนในการออกออกเสียงเลือกตั้งได้ “บัตรเหลือง” นี้สามารถใช้ในการโกงการเลือกตั้งได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำไปใช้กับวิธีการ “เวียนเทียน” เพราะบัตรแทนนี้ไม่มีรูปถ่ายทำให้สามารถแอบอ้างแสดงตัว ได้โดยง่าย การใช้วิธีกลโกงการเลือกตั้งแบบนี้มักจะแอบอ้าง กระทำในการย้ายชื่อคนเข้าไปในเขตเลือกตั้งล่วงหน้า โดยมาก จะเป็นการย้ายคนงานเข้าไปในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบริษัท ใหญ่ๆ แล้วรีบแจ้งให้นายอำเภอหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทราบ เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของ ตำบลนั้นๆ และบุคคลเหล่านี้มักจะใช้ “บัตรเหลือง”ไปแสดงตน ใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งใช้วิธีการ “เวียนเทียน”ตามที่ ได้กล่าวมาแล้ว 6) การโกงดว้ ยวธิ กี ารนบั คะแนน การโกงการเลอื กตง้ั ด้วยวิธีนี้มักจะเกิดขึ้นระหว่างการตรวจนับคะแนนเสียง สนับสนุนของผู้รับสมัครเลือกตั้งแต่ละคน กรรมการตรวจนับ คะแนนอาจจะพยายามเพิ่มคะแนนให้แก่ผู้สมัครที่เขาสนับสนุน โดยแกล้งทำเป็นกาผิดหมายเลขในระหว่างการตรวจนับคะแนน หรือแกล้งละเลยไม่ยอมกาคะแนนให้แก่ผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม การโกงหรืออาจแกล้งทำบัตรเสีย โดยวิธีนับคะแนนนี้จะทำได้ ก็ต่อเมื่อหน่วยเลือกตั้งดังกล่าวนั้นต้องอยู่ในเขตอำเภอ อิทธิพลของผู้สมัครคนนั้นอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้ประชาชน 67

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี โดยทั่วไปและกรรมการตรวจนับคะแนนที่เป็นกลางจะไม่กล้า โต้แย้งการทุจริตการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น จากวิธีการโกงการเลือกตั้งที่กล่าวมาแล้วนั้น ปัจจุบัน “การเวียนเทียน” เป็นวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุดเพราะสะดวก และหากมีกรรมการตรวจนับคะแนนรู้เห็นเป็นใจและร่วมมือกับ หัวคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การจับผิดก็จะทำได้ยาก ซึ่งการใช้กลโกงใดก็ตามจึงต้องขึ้นอยู่กับอำนาจและอิทธิพล ของผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนที่มีอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง ดังกล่าว ที่สำคัญต้องมีกรรมการตรวจนับคะแนนในหน่วย เลือกตั้งเป็นผู้สนับสนุนและไม่ขัดขวางการดำเนินการ ทั้งนี้ยังมีกลเม็ดการโกงเลือกตั้งอีกมากมาย ซึ่งมีวิธีการ แตกต่างกันไป ดังนี้ (ลิขิต ธีรเวคิน, 2543, น. 457) 1. ซื้อเสียงเลือกตั้งโดยผ่านหัวคะแนน คือบุคคลที่รับ หน้าที่ในการรับเงินส่วนหนึ่งซื้อเสียงจากประชาชนและมีการ กันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวโดยมากจะเป็นผู้ที่มี อิทธิพลในท้องถิ่น และบ่อยครั้งที่เป็นราชการระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นการซื้อเสียงที่เห็นกันอย่างชัดเจนที่สุด 2. การใชเ้ งนิ ซอ้ื เสยี งหนา้ หนว่ ยเลอื กตง้ั ในวนั ทล่ี งคะแนน ซึ่งเรียกกันว่า “ซื้อปลาสด” หรือ “ยิงเผาขน” ประชาชนที่มายัง หน่วยเลือกตั้งก็ซื้อกันตรงนั้นเลยหรือที่เรียกกันว่า “Buying on the spot” 3. จ้างรถประจำทาง สองแถว รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รับส่งคนมาลงคะแนนเสียงโดยไม่เสียค่าบริการ พร้อมทั้งได ้ รับเงินด้วย 68

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 4. ให้หัวคะแนนไปสัญญาว่าเมื่อลงคะแนนให้แล้ว จะให้เงินหลังวันประกาศผลเป็นค่าตอบแทน 5. แจกเงินในปั๊มน้ำมันย่อยหรือที่เรียกว่าปั๊มลอย ซึ่งก็คือปั๊มที่มีถังน้ำมันและมีเครื่องสูบน้ำมันที่เป็นหลอดแก้ว โดยให้คนไปเติมน้ำมันฟรี เพื่อแลกกับคะแนนเสียง 6. แจกขา้ วสาร อาหารแหง้ นำ้ ปลา นำ้ มนั พชื ผา้ ขาวมา้ 7. เอาเงินไปวางไว้ในร้านค้าย่อยแล้วบอกให้ประชาชน ไปเบิกของได้ในจำนวนที่กำหนดไว้เพื่อแลกกับการลงคะแนน เสียงให้ 8. รับรองว่าจะประกันราคาพืชไร่ สร้างถนน สร้างฝาย กั้นน้ำ ถ้าหากได้รับเลือกตั้ง 9. เอาเงินไปวางไว้ให้กับบุคคลที่ไว้ใจเพื่อให้ไปเล่น การพนัน โดยต่อให้เบอร์ของตนเป็นผู้รับเลือกและได้รางวัลสูง เพื่อคนที่เล่นการพนันจะเทคะแนนเสียงให้และจูงใจผู้อื่น ลงคะแนนเสียงให้ 10. เปิดให้แทงแบบยี่กี ซึ่งเป็นการพนันแบบจีนโดยให้ รางวัลแบบ 10 เท่า เพื่อตอบแทนกับการสนับสนุนโดยการให้ พรรคพวกมาลงคะแนนเสียงให้ 11. ใช้ข้าราชการฝ่ายปกครองและตำรวจร่วมมือกับ นายบ่อน ให้ช่วยซื้อเสียงมิฉะนั้นจะสั่งปิดสถานบริการ 12. ใช้อิทธิพลแจกยาบ้าให้กับผู้ที่ติดยาเพื่อเป็นรางวัล ให้กับการที่ไปลงคะแนนเสียงให้ 69

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี 13. ให้ข้าราชการไปบังคับ ขู่เข็ญกับชาวบ้านให้มา ลงคะแนนเสียงให้ เป็นการใช้อิทธิพลที่ผิดกฎหมาย 14. เลี้ยงโต๊ะจีนย่อยในบ้านครั้งละ 2 โต๊ะเพื่อไม่ให้เป็นที่ เอิกเกริก โดยได้รับการสนับสนุนการลงคะแนนเสียงให้เป็น การตอบแทน 15. ใชอ้ ำนาจแฝงโดยการจดั งานเลย้ี ง จากนน้ั กป็ รากฏตวั เพื่อเป็นการสร้างบุญคุณซึ่งเป็นการผิดกฎหมายเลือกตั้ง 16. ใช้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านข่มขู่ หลอกลวงชาวบ้านว่า ผู้สมัครรายอื่นไม่มีผลงาน จะไม่ทำประโยชน์ให้กับชุมชน จึงไม่ ควรลงคะแนนเสียงให้ 17. ใช้ข้าราชการที่วางตัวไม่เป็นกลางเอื้ออำนวยต่อ การลงคะแนนเสียงที่เป็นประโยชน์ต่อตน ข้าราชการดังกล่าว มักจะได้รับคำสั่งมาอีกทีหนึ่ง 18. ใช้วิธีการล็อคเขตไม่ให้ผู้สมัครคนอื่นเข้าไปในเขต โดยการทำลายโปสเตอร์ แผ่นประกาศต่างๆ 19. ใช้ความสัมพันธ์จากองค์กรจัดตั้งมวลชน เช่น มลู นิธิ สมาคม NGOs โดยมีการบริจาคแบบแอบแฝงเพื่อให้มีการ สนับสนุนทางการเมือง 20. ขอให้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองช่วยเหลือ ในด้านคะแนน จากคะแนนจัดตั้งโดยคะแนนดังกล่าวเป็น คะแนนพื้นฐานที่สำคัญ 21. ซื้อกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด และซื้อกรรมการ อ่านคะแนนเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อตน 70

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พฤติกรรมการเลือกตั้งที่เบี่ยงเบน รวมถึงเทคนิคและ วิธีโกงการเลือกตั้งที่กล่าวมาแล้วนั้นได้ถูกนำมาเป็นกลยุทธ์ ในการเลือกตั้งและได้สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมทางการเมือง ในเชิงลบแก่ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เมื่อพฤติกรรม การเลือกตั้งในประเทศไทยเป็นเช่นนี้ จึงทำให้ระบอบ ประชาธิปไตยไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของกลุ่มประชาชนที่มี ความรู้ และนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม (ลิขิต ธีรเวคิน, 2548, น. 496-498) 2.8 แนวคดิ ทฤษฎีเกย่ี วกับระบบอปุ ถมั ภ์ในสงั คมไทย แนวคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์ที่มีนักวิชาการชี้ให้เห็น ความจริงข้อหนึ่งว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างที่เน้น ความแตกต่างระหว่างฐานะตำแหน่งซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้อุปถัมภ์ที่มีฐานะสูงกว่าและผู้รับอุปถัมภ์ที่มีฐานะ ต่ำกว่า และมีผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ไว้ ดังนี้ (อมรา พงศาพิชญ์และปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2539, น. 137, 185) ลิขิต ธีรเวคิน (2542, น. 6) กล่าวว่า ระบบอุปถัมภ์ คือ ระบบความสัมพันธ์ในสังคมจารีต ค่านิยมโดยการจัดกลุ่ม ระหว่างผู้อุปถัมภ์หนึ่งคน และผู้ใต้อุปถัมภ์จำนวนหนึ่งโดย ผู้อุปถัมภ์จะเป็นคนซึ่งมีฐานะในสังคม หรืออำนาจทาง การบริหาร มีเงินทองและเป็นที่นับหน้าถือตา สามารถให้คุณ ให้โทษ กับผู้ที่อยู่ใต้อุปถัมภ์ในระดับหนึ่ง 71

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2539, น. 171-172) ได้อธิบายว่า ระบบ อุปถัมภ์ เป็นระบบความสัมพันธ์ของคน 2 ฝ่ายซึ่งไม่เท่าเทียม กันในหลาย ๆ ด้าน ต่างฝ่ายต่างมาแลกเปลี่ยนสินค้าและ บริการซึ่งกันและกัน แต่เป็นการแลกเปลี่ยนที่ไม่เหมือนกัน ผู้ใหญ่อาจให้สินค้าแก่ผู้น้อย ในขณะที่ผู้น้อยให้บริการแก่ ผู้ใหญ่หรือกลับกันก็ตามแต่กรณี ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ดำรง อยู่ได้ไม่ใช่เพียงพอเพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์เท่านั้น แต่ต้องมีอุดมการณ์ที่ช่วยจรรโลงความสัมพันธ์อย่างนี้เอาไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ แนวคิด และคำศัพท์ คำจำกัดความ คำเรียกขานว่า “ผู้อุปถัมภ์” (Patron) เป็นคำที่มีที่มาจากสเปนหมายความว่า บุคคลผู้มี อำนาจ สถานภาพ ฉันทานุมัติ คำจำกัดความ (Sanction) และอิทธิพล คำนี้อาจใช้เรียนนายจ้างหรือผู้สนับสนุนการจัด พิธีกรรมต่างๆ และแม้กระทั่งนักบุญองค์อุปถัมภ์ โดยที่บุคคล เหล่านี้จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ที่มีอำนาจด้อยกว่า หรือเป็น “ผู้รับอุปถัมภ์” (Client) ที่ต้องการความช่วยเหลือและ การปกป้อง (Foster, 1963) ผู้อุปถัมภ์ให้ประโยชน์โดยหวังจะได้ ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของสินค้า ความภักดี การสนับสนุน ทางการเมืองและบริการในรูปแบบต่างๆ จากผู้รับผู้อุปถัมภ ์ ของตน (ส่วนใหญ่แล้วผู้อุปถัมภ์หนึ่งคนจะมีผู้รับอุปถัมภ์ หลายคน เช่น กรณีของระบบศักดินาไทย ซึ่งเจ้านายคนหนึ่ง จะมีบ่าวไพร่หลายคนหรือกรณีของเจ้าพ่อที่มีลูกน้องหลายคน) ความสัมพันธ์ในเชิงตอบแทนซึ่งกันและกัน (reciprocal relationships) นี้อาจออกมาในรูปที่สัญญาแบบทางการ (formal contract) ที่มีการกำหนดสิทธิและข้อผูกพันของทั้งสองฝ่ายอย่าง 72

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ชัดเจนโดยทั่วไปในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายคือ ผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ ฝ่ายหลังมักจะเป็นผู้เสียเปรียบ เพราะโดยคำจำกัดความแล้ว ผู้อุปถัมภ์เป็นผู้ที่อ่อนแอกว่า ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง แม้ว่าผู้อุปถัมภ์อาจจะ ต้องอาศัยผู้ได้รับอุปถัมภ์ของตนอย่างเป็นกลุ่มก้อนในบาง สถานการณ์ เช่นการหาเสียงเลือกตั้งหรือในกรณีพิพาท ที่มีการแบ่งพวกเป็นก๊กเป็นเหล่า (อมรา พงศาพิชญ์และปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2539, น. 27-28) แนวคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์ (The patron-client system) ระบบอุปถัมภ์กับโครงสร้างสังคมไทย แม้แนวคิดที่ว่าสังคมไทย มีโครงสร้างหลวม (Thailand Loosely structured Social System) หาแนวคิดที่จะเข้าใจสังคมไทยได้ดียิ่งขึ้น แนวคิดการวิเคราะห์ ระหว่างระบบอุปถัมภ์กับชั้นทางสังคมโดยความเป็นจริงแล้ว ไมม่ ขี อ้ ขดั แยง้ กนั (Compatible) ระบบอปุ ถมั ภใ์ นแงป่ รากฏการณ์ ที่เป็นจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ และการยอมรับกันว่าเป็นตัวเชื่อม ระหว่างบุคคลต่างชนชั้นกัน อันมีผลทำให้ภาพรวมของการจัด ช่วงชั้นขาดความเด่นชัด ทั้งนี้โดยความจริงที่ว่าความสัมพันธ์ ทางชนชั้นมีลักษณะเป็นแนวนอนระหว่างกลุ่มคนที่มีชั้นฐานะ ผลประโยชน์และอำนานร่วมกัน ในสังคมไทยความสัมพันธ์ ทั้ง 2 ระบบอยู่ร่วมกัน หากต้องการเข้าในพลวัตของกลุ่ม ในระดบั จลุ ภาค โดยจำกดั ความตามระบบอปุ ถมั ภ์ ผไู้ ดป้ ระโยชน์ มากคือผู้อุปถัมภ์แต่ผู้อุปถัมภ์จะต้องรับผิดชอบต่อการกินดีอยู่ดี ของผู้รับอุปถัมภ์ด้วย กฎแห่งศีลธรรมของระบบอุปถัมภ์คือ การตอบแทนซึ่งกันและกันเป็นหลักสำคัญ แต่ปัจจุบันนี้การเอา รัดเอาเปรียบผู้ที่อยู่ในฐานะที่ด้อยกว่ามีมากขึ้น ผลที่จะเกิด 73

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ตามมาก็อาจเป็นการรวมตัวของชนชั้นผู้รับอุปถัมภ์เพื่อ ช่วยเหลือตนเอง ซึ่งมีลักษณะของการเกิดชั้น ทางสังคม ยอมรับว่ามีระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบอุปถัมภ์ในแวดวงของข้าราชการ ยังคงมีอยู่อย่างชัดแจ้ง เช่น ระบบพรรคพวกที่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันของ ผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ประเด็นที่สำคัญคือว่าระบบอุปถัมภ์ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มักจะจำกัดกันอยู่ในระดับกลุ่มเล็กๆ หลายๆ กลุ่มที่อาจแข่งขันหรือร่วมมือกันก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับ ระบบอุปถัมภ์ช่วยให้เข้าใจลักษณะพลวัตของสังคมไทยใน ระดับย่อย (micro level) ที่เป็นที่สนใจและทำให้เกิดความเข้าใจ ลักษณะโครงสร้างของสังคมไทยในแง่มุมหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่งในวงวิชาการการศึกษาโครงสร้างทางชนชั้น ซึ่งถือว่าเป็นระดับมหภาค (macro level) ยังคงเป็นหัวข้อสำคัญ นั่นย่อมมีความหมายว่า การศึกษาระบบอุปถัมภ์หรือชั้นทาง สังคม (social class) ยังคงเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับสังคมไทย เส้นสายโยงใยของระบบความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ยังคงตัด ผ่านเส้นแบ่งของชั้นทางสังคมและมีผลให้ภาพของสังคมไทย ในลักษณะของการแบ่งชนชั้น (class consciousness) ส่วนหนึ่ง ยังคงติดอยู่ที่ความเชื่อในเรื่องผู้ใหญ่-ผู้น้อย ผู้อุปถัมภ์และ ผู้รับอุปถัมภ์ ความกตัญญู บุญคุณ แม้ว่าสังคมไทยได้มีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (อมรา พงศา พิชญ์ และ ปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2539, น. 1-8) สังคมไทยเป็นสังคมที่เรียกร้องให้สมาชิกมีสมรรถภาพ ในการทำงานให้เกิดสัมฤทธิ์ผลน้อยกว่าสังคมตะวันตก ผู้ใหญ่ ไม่คาดหวังว่าผู้น้อยจะมีความสามารถในการทำงานให้เกิด 74

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ผลสำเร็จสูง ส่วนผู้น้อยเองจะรู้สึกปลอดภัยใต้ความคุ้มครอง ของผู้ใหญ่ การแข่งขันระหว่างผู้ใหญ่ ผู้น้อยจึงไม่มีความ สัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย จึงเป็นความสัมพันธ์แบบพ่อกับลูก แบบให้ ความคุ้มครองหรือผู้อุปถัมภ์กับผู้อยู่ใต้ปกครองหรือผู้น้อย ในความอุปถัมภ์ การยอมรับความแตกต่างในเรื่องฐานะของ บุคคลการเน้นการพึ่งผู้อื่นและการยึดมั่นตัวบุคคล ยังคงมี อิทธิพลต่อการปกครองไทยปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าลักษณะ เจ้าขุนมูลนายยังคงอยู่ในระบบราชการไทยค่อนข้างมาก ข้าราชการจำนวนไม่น้อยมีความรู้สึกว่าตนเป็นนายของ ประชาชนเหมือนดังเช่น มูลนายเป็นนายของพวกไพร่ ทั้งๆ ที่ ตามแนวความคิดของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ ข้าราชการ ไม่ได้เป็นนายของประชาชน หากแต่เป็นผู้นำบริการต่างๆ ของ รัฐไปสู่ประชาชนภายใต้ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายจากรัฐโดยข้าราชการจะได้รับเงินเดือนเป็น ผลตอบแทนในการปฏิบัติงาน เงินเดือน เหล่านี้ได้จากภาษี อากรของประชาชน ข้าราชการ จึงมีฐานะเป็นผู้รับใช้ประชาชน แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น ข้าราชการกลับรู้สึกว่าตนเป็น นายของประชาชนและทางฝ่ายประชาชนเองก็ยอมรับ มีความ รู้สึกต่อข้าราชการเหมือนดังเป็นมูลนายของตน มีความเกรง กลัว นอบน้อมและเคารพเชื่อฟังระบบราชการ จึงมีอิทธิพลใน การควบคุมความคิดและพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน เหมือนระบบไพร่เคยควบคุมวิถีชีวิต และความคิดอ่านของ พวกไพร่ในสังคมสมัยเก่า ส่วนในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ข้าราชการผู้ใหญ่และข้าราชการผู้น้อยภายในระบบราชการ ก็ได้รับอิทธิพลลักษณะความสัมพันธ์ของระบบไพร่อยู่ไม่น้อย 75

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ระบบราชการไทยยังยึดมั่นในความผูกพันธ์กันเป็นเชิงส่วนตัว ตามลักษณะความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ มากกว่าจะมีความ สัมพันธ์กัน นอกจากลักษณะเจ้าขุนมูลนายที่ปรากฏอยู่ใน ระบบราชการแล้ว การอุปถัมภ์ค้ำชู การเน้นการพึ่งพาผู้อื่น การยึดมั่นในตัวบุคคลยังคงมีอิทธิพลอยู่มากในสังคมไทย ดังจะเป็นได้ว่าพรรคการเมือง จะเสื่อมหรือจะเจริญรุ่งเรือง ก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้าพรรคเป็นสำคัญ บุคคลใดแม้จะมีความ สามารถมากเพียงไหน หากไม่ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากผู้ใหญ่ ที่มีอำนาจแล้วก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเจริญก้าวหน้าใน ตำแหน่งหน้าที่การงานอย่างเต็มที่ ความสามารถในการฝากตัว กับผู้มีอำนาจจึงเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งทั้งหมดที่กล่าว มาข้างต้นทำให้ระบบอุปถัมภ์ยังอยู่ในโครงสร้างสังคมไทย เรื่อยมาจนเป็นธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมคนไทยในการ ปฏิบัติตน (อุดม รุ่งเรืองศรี, 2531, น. 11, อ้างถึงใน. สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์, 2557) ผู้อุปถัมภ์ต้องมีศิลปะแห่งการปกครอง กล่าวคือต้องรู้จัก การใช้พระเดชพระคุณ นายที่ใช้พระเดชตลอดเวลาอาจจะสร้าง ความกลัวให้กับลูกน้อง และยอมสยบอยู่ใต้การบังคับบัญชา แต่ในส่วนลึกก็พร้อมที่จะตีจาก ดังนั้นจึงต้องใช้พระเดชพระคุณ ในลักษณะสมดุล พระคุณได้แก่การเอื้ออำนวยประโยชน์ ให้ความเมตตา ให้ความเอื้อเฟื่อเผยแผ่ ดูแลให้ความสุขกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือกับลูกน้อง แต่ถ้าใช้พระคุณจนเกินกว่า เหตุก็จะถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกบีบคั้น ถูกล่อลวงด้วยวิธีการ ต่างๆ ผู้อุปถัมภ์ที่ดีจึงต้องรู้จักการใช้จังหวะของการใช้พระเดช 76

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พระคุณ รวมทั้งการใช้ความสามารถในสร้างดุลยภาพขึ้นทั้ง สองส่วน เนื่องจากบารมีเป็นฐานสำคัญทางการเมืองและ ทางสังคม การสร้างบารมีด้วยการสร้างความดีทำให้ตนเป็น ที่ยอมรับในหมู่ชนทั่วไปจึงเป็นเรื่องความสำคัญและถือเป็น ทุนชนิดหนึ่ง บารมีของผู้อุปถัมภ์สามารถจะวัดได้จากจำนวน ลูกน้องที่อยู่ในอาณัติของตน ดังนั้นการมีคนที่อยู่ในอาณัติเป็น จำนวนมากหรือมีผู้ติดสอยห้อยตามมากจึงเป็นดัชนีชี้ถึงบารมี ของคนคนนั้น การบังคับบัญชาคนเป็นจำนวนมากหรือ การควบคุมคนเป็นเครื่องวัดบารมีอย่างหนึ่ง แต่บารมีที่แท้จริง ก็คือการมีคนที่มีความภักดีและมีความผูกพัน ไม่ว่าจะเป็น ลกั ษณะถาวรดว้ ยความรสู้ กึ สว่ นตวั หรอื การเออ้ื อำนวยประโยชน์ ต่างตอบแทนที่ลงตัวก็ตาม ดังนั้นผู้อุปถัมภ์ในสังคมไทยจึงต้อง สร้างบารมีด้วยการหาพรรคพวกมากๆ อันแสดงให้เห็นถึง การเป็นผู้ที่กว้างขวางในสังคมและการมีคนสนับสนุน ปรากฏการณ์ที่จะชี้ให้เห็นถึงบารมีด้วยจำนวนคนนั้นก็ถือใน โอกาสที่มีงานมงคลต่างๆ เช่นงานแต่งงานของลูกๆ งานฉลอง ขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองรับตำแหน่ง การไปส่งร่ำลาเมื่อเดินทาง ไปที่อื่น แม้กระทั่งงานศพที่ก็สามารถวัดบารมีได้จากจำนวน พวงหรีด ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงส่วนที่เป็น ระบบอุปถัมภ์ แต่ภายใต้กระแสลัทธิล่าอาณานิคม สังคมไทย จำเป็นต้องมีการพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินแบบใหม่โดย การจัดระบบราชการแบบตะวันตกขึ้น โดยระบบใหม่เน้น หลักการการบริหารจากที่ปลอดจากความสัมพันธ์ส่วนตัว เน้นที่ หลักคุณธรรมคือความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตามเมื่อระบบ 77

นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุดรธานี ทันสมัยดังกล่าวมาใช้กับสังคมไทยก็มีลักษณะผิดรูปผิดฝา เพราะระบบอุปถัมภ์แบบดั้งเดิมยังคงอิทธิพลอยู่อย่างไม่ เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในกระทรวงต่างๆ จึงมีการแบ่งเป็นกลุ่มๆ มีลูกน้องเป็นกลุ่มซึ่งรอบล้อมหัวหน้ากลุ่ม บางครั้งก็ใช้หลักแห่ง ภูมิภาคเป็นเขตแบ่ง เช่นหัวหน้าเป็นคนภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน บางครั้งก็ใช้พื้นที่แคบลงไปเช่นใช้ตัวจังหวัด และ บางครั้งก็ใช้ความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษา เช่นมีการแบ่ง เป็นสิงห์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทยด้วยสีต่างๆ อันสะท้อนถึงตัวแทนของคณะรัฐศาสตร์แต่ละมหาวิทยาลัย ระบบราชการแบบสมัยใหม่จึงเกิดขึ้นโดยมีระบบอุปถัมภ์ซ้อน อยู่ข้างใน จากสภาพระบบอุปถัมภ์ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในระบบ การปกครองบริหารและขยายไปถึงสภาวะในพรรคการเมือง ต่างๆ รวมตลอดทั้งในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้เห็นชัดว่า การพยายามทำให้เกิดการทันสมัยในระบบการปกครองบริหาร จะพบอุปสรรคที่สำคัญยิ่งก็คือ มรดกตกทอดมาแต่ในอดีต ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขในระยะเวลาอันสั้น อันได้แก่ ระบบอุปถัมภ์ดังกล่าวมาแล้วขณะเดียวกันอิทธิพลของระบบ อุปถัมภ์ก็ยังส่งผลพฤติกรรมของประเทศในความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ โดยประเทศเล็กจะมีแนวโน้มที่จะวิ่งไปพึ่งพา ประเทศใหญ่ เช่น ครั้งหนึ่งประเทศสยามต้องอาศัยอังกฤษเป็น ที่พึ่งเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชทางการเมืองเนื่องจากกำลังถูก ฝรั่งเศสคุกคาม สมัยต่อมาก็ต้องอาศัยสหรัฐอเมริกาเป็นเกราะ ป้องกันตัวโดยมองสหรัฐอเมริกาในลักษณะผู้อุปถัมภ์มาถึง ปัจจุบันก็อาจจะมองทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนเพื่อให้เอื้ออำนวย 78

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง ประโยชน์ต่อตน ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงผู้อุปถัมภ์ในระบบ การบริหารและการเมืองไทยขึ้นอยู่กับผลประโยชน์และ การอยู่รอดเป็นที่ตั้งพฤติกรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน และไม่น่าถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะในแง่ความเป็นจริงทุกประเทศทำเพื่อผลประโยชน ์ แห่งชาติและความอยู่รอดทั้งสิ้น ระบบอุปถัมภ์ยังแผ่ไปถึง วงการธุรกิจ ข่าวที่เกี่ยวกับเถ้าแก่ใหญ่ให้การสนับสนุนพรรค พวกซึ่งเป็นที่ชอบพอกันจนได้ดิบได้ดีเป็นเศรษฐี เป็นเรื่องที่ ได้ยินบ่อยครั้ง ในขณะเดียวกันในบริษัทห้างร้านก็มีการจับกลุ่ม กันพอสมควร อย่างไรก็ตามเนื่องจากโลกของธุรกิจเป็นโลกแห่ง การแข่งขันซึ่งมีดัชนีเห็นชัดเรื่องกำไรขาดทุน ต้นทุนและ ค่าใช้จ่าย ตัวแดงและตัวดำ ประโยชน์และความเสียหาย ดังนั้น ตราบเท่าที่ไม่กระทบต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ระบบอุปถัมภ์ ก็อาจจะถูกนำมาพิจารณา แต่ถ้าหากจะว่ากันถึงที่สุดแล้วใน วงธุรกิจมีการตัดสินใจที่คมชัดและแน่นอน มีเป้าหมายที่ไม่ คลุมเครือนั้นคือ ต้องทำกำไรและรักษาผลประโยชน์ให้มาก ที่สุด โดยนัยนี้ น้ำหนักของระบบอุปถัมภ์จึงน้อยกว่าในวงการ การบริหารและทางการเมือง ถึงแม้จะมีความพยายาม ที่จะปฏิรูปการเมืองเพื่อพัฒนาระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยให้ต่อเนื่องและยั่งยืน แม้จะพยายามจัด โครงสร้างพรรคให้ทันสมัยให้มีจำนวนน้อยลง มีนโยบาย ที่ชัดเจนมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด มีการสนับสนุนทาง การเงินจากฝ่ายทางรัฐ แต่โครงสร้างและพฤติกรรมนอกแบบ อันได้แก่ โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นระบบอุปถัมภ์และ พฤติกรรมแบบจารีตนิยม อันขัดแย้งต่อจารีตประเพณีในระบบ 79

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี ประชาธิปไตยก็ยังปรากฏอยู่ การแบ่งเป็นกลุ่มการเล่นพรรค เล่นพวกการต่อรองโดยไม่สมเหตุสมผลในหลายเรื่องจึงปรากฏ เป็นข่าวอยู่เนืองๆ สภาวะดังกล่าว ทำให้เกิดความแคลงใจถึง ศักยภาพของการบรรลุถึงระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ในสังคมไทย (ลิขิต ธีรเวคิน, 2548, น. 514-517) 2.9 แนวคิดกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Groups) กลุ่มผลประโยชน์หรือบางทีก็เรียกว่า “กลุ่มกดดัน” (Pressure) หมายถึงกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องต่อสู้ เพื่อสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่นกลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรี กลุ่มสหภาพแรงงานต่อสู้เพื่อขอเพิ่มค่าจ้าง กลุ่มสมาคมพ่อค้า กลุ่มนิสิตนักศึกษา กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน พรรคการเมือง เป็นต้น วิทยา นภาศิริกุลกิจ และสุรพล ราชภัณฑารักษ์ (2539) (อ้างถึง ใน. จุมพล หนิมพานิช, 2545, น. 27-30) ได้จัดแบ่งประเภทของ กลุ่มผลประโยชน์ตามแนวของศาสตราจารย์มอริส ดูแวร์ เซ่ (Marice Duverger) เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. กลุ่มผลักดันจรงิ อันได้แก่ 1.1) กลุ่มผลักดันเฉพาะกรณีเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเฉพาะเรื่อง ในอเมริกา เรียก Lobby 1.2) กลุ่มผลักดันบางส่วน ส่วนมากจะเป็นกลุ่ม ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น สหภาพแรงงาน สมาคม นายจ้าง ฯลฯ 1.3) กลุ่มผลักดันเอกชน เช่น สมาคมสตรีสมาคม เยาวชน 80

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 1.4) กลุ่มผลักดันมหาชน เกิดขึ้นโดยหน่วยงานของ รัฐเพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลมี นโยบายตามที่กลุ่มต้องการหรือ อาจจะเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น 1.5) กลุ่มผลักดันภายนอกประเทศ เป็นกลุ่มจากรัฐ อื่นอาจจะเป็นรัฐบาลของประเทศอื่น หรือ กลุ่มองค์การระหว่าง ประเทศ เป็นต้น 2. กลุ่มผลักดันแฝง เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการ ด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนทั่วไป เป็นต้นว่า 2.1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เป็นกลุ่มนักวิชาการเชี่ยวชาญ เฉพาะเรื่อง เช่น สำนักงานจัดหาทุนเพื่อการเลือกตั้ง Lobby เป็นต้น 2.2) กลุ่มสื่อสารมวลชน เป็นกลุ่มผลประโยชน์ แบ่งเป็นหลายรูปแบบ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ เป็นต้น 3. กลุ่มผลักดันมวลชน เป็นกลุ่มที่แข็งแกร่งและ มีประสิทธิภาพมาก มีเครือข่ายประสานกันทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศ เช่น ขบวนการต่อต้านการเหยียดสีผิว ขบวนการสันติภาพเขียว (Green Peace) ขบวนการต่อสู้พิทักษ์ สิทธิสตรีสำหรับในประเทศไทยก็มีตัวอย่างให้เห็นหลายกลุ่ม เช่น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มสมัชชาคนจน กลุ่มยังเติร์คของนายทหาร จปร. รุ่นที่ 7 เป็นต้น บรรดากลุ่ม ผลประโยชน์หรือกลุ่มผลักดันต่างๆ ข้างต้นเมื่อรวมตัวกัน หากมีวัตถุประสงค์เจรจาต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น 81

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี การมีบทบาทในการกำหนดนโยบายสำคัญหรือมีตำแหน่ง บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจ การจัดสรรทรัพยากรในการบริหาร อาจจะกลายรูปเป็นพรรคการเมือง ซึ่งกลุ่มจะมีพลังต่อรอง ได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ ขนาดของกลุ่ม สถานภาพ การยอมรับของสังคมที่มีต่อกลุ่ม ความสามัคคีของสมาชิก ในกลุ่ม ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำของผู้นำกลุ่ม 2.10 การศึกษางานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง กระบวนการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยได้ทำ การศึกษางานวิจัยในโครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นักการเมืองถิ่นของสถาบันพระปกเกล้า ในจังหวัดที่อยู่พื้นเพ เดียวกัน มีบริบททางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่คล้ายคลึง กันกับจังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยจึงขอเลือกศึกษาเฉพาะ นักการเมืองถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ที่มี นัยสำคัญต่อการศึกษาวิจัยจังหวัดอุดรธานีครั้งนี้ โดยจะ เ ล ื อ ก ศ ึ ก ษ า จ า ก ผ ล ก า ร ศ ึ ก ษ า อ ยู ่ 8 จ ั ง ห ว ั ด ไ ด ้ แ ก ่ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัด อุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ ประเทือง ม่วงอ่อน (2556, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อทราบข้อมูลนักการเมืองจังหวัดศรีสะเกษที่ได้รับ การเลือกตั้งตั้งแต่สมัยแรกจนถึงปัจจุบัน 2) เพื่อทราบข้อมูล นักการเมืองจังหวัดศรีสะเกษที่มีบทบาทสำคัญในการเมือง ระดับชาติ 3) เพื่อทราบเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ 82

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมที่เก่ียวข้อง นักการเมืองในจังหวัดศรีสะเกษทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น และ 4) เพื่อทราบรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ใช้ระเบียบวิธีการ วิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการสังเกตการณ์แบบคนใน (insider) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (induction) เน้นศึกษานักการเมืองถิ่นที่เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ พ.ศ. 2476 - 2554 จังหวัดศรีสะเกษมีการเลือกตั้งแบบทั่วไปและเลือกตั้ง ซ่อมทั้งหมด 32 ครั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับ การเลือกตั้งทั้งหมด 62 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก ของจังหวัดศรีสะเกษ คือ ขุนพิเคราะห์คดี(อินทร์ อินตะนัย) นักการเมืองถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด คือ นายปิยะณัฐ วชั ราภรณ์ (11 สมยั ) รองลงมา นายสงา่ วชั ราภรณ์ นายไพโรจน์ เครือรัตน์ และนายบุญชง วีสมหมาย ตามลำดับ นักการเมือง ถิ่นในช่วงแรกมักเป็นกลุ่มข้าราชการบำนาญในพื้นที่เป็น เจ้าของโรงเรียน ก่อนที่จะเป็นยุคของกลุ่มนักธุรกิจ พ่อค้า เชื้อสายจีน ทนายความ นักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญหรือ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายเทพ โชตินุชิต (รัฐมนตรี, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์) นายบุญชง วีสมหมาย (เลขาธิการนายกรัฐมนตรี,รองประธานสภา ผู้แทนราษฎร) นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ (รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, รองประธานรัฐสภา) นายจำนงค์ โพธิสาโร(รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์) 83

นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุดรธานี เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัด ศรีสะเกษทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น มีการสืบทอดเป็นตระกูล ทางการเมือง สานต่อจากบิดามายังบุตรด้วยการลงสมัครรับ เลือกตั้งคู่กันหรือบิดาเลิกเล่นการเมืองแล้วบุตรมาลงสมัคร รับเลือกตั้งต่อ โดยอาศัยฐานเสียงเดิมของตระกูล ตระกูลที่ สำคัญ คือ วัชราภรณ์, วีสมหมาย, เครือรัตน์, ไตรสรณกุล และ อังคสกุลเกียรติ หลังปี 2550 กลุ่มการเมืองท้องถิ่นได้ขยายตัวกลายเป็น คู่แข่งของกลุ่มการเมืองระดับชาติมากขึ้น เนื่องจากความ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษอ่อนแอของกลุ่มการเมืองระดับ ชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์และโครงสร้างทาง การเมืองที่ไม่เอื้อ รวมทั้งปัญหาการยุบพรรคไทยรักไทย พรรค พลังประชาชนและพรรคชาติไทย ประกอบกับประสบการณ์ ทางการเมืองยังมีอยู่น้อย ขณะที่กลุ่มการเมืองท้องถิ่นเริ่มมี ความเข้มแข็งมากขึ้นเนื่องจากการผูกขาดชัยชนะและการรวม กลุ่มเป็นพันธมิตรกันระหว่างนายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ และ นายวิชิต ไตรสรณกุล เพื่อต่อสู้กับกลุ่มการเมืองระดับชาติ รูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญคือ การแจกเงิน และสิ่งของ การชูความเป็นผู้มีความรู้ได้รับปริญญา การชู ความเป็นคนในพื้นที่หรือท้องถิ่น(ท้องถิ่นนิยม) การสนับสนุน การศึกษา การกีฬาและกิจกรรมของชุมชน เน้นการแก้ปัญหา ปากท้องของคนในพื้นที่ การจัดตั้งหัวคะแนน (แกนจัดตั้ง) การลงพื้นที่ของผู้สมัคร การใช้รถแห่เป็นขบวนคาราวาน 84

แนวคิดทฤษฎีและวรรณกรรมท่ีเก่ียวข้อง โชว์ตัวผู้สมัครและทีม ส.ส.ฯลฯ หลังปี 2540 นักการเมืองถิ่น จังหวัดศรีสะเกษใช้กีฬาเป็นสื่อในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตัวเองมากขึ้น บางคนใช้วิธีการทำบุญตามวัดและสถาน ปฏิบัติธรรมต่าง ๆ การมอี ตั ลกั ษณท์ เ่ี ชอ่ื มโยงกบั กลมุ่ ชาตพิ นั ธท์ุ ห่ี ลากหลาย ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษซึ่งประกอบด้วย ลาว เขมร ส่วย (กูย) เยอ ฯลฯ ส่งผลต่อลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองและ พฤติกรรมในการเลือกตั้ง นักการเมืองที่จะได้รับการเลือกตั้ง มักเป็นบุคคลที่ประชาชนเห็นว่าสามารถพึ่งพาได้ ความสัมพันธ์ เชิงอุปถัมภ์ยังมีบทบาทสำคัญในสังคม อย่างไรก็ตามยุค นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ศรสี ะเกษปจั จบุ นั พฤตกิ รรมในการเลอื กตง้ั เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคย ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์ (2551, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย ระหว่าง พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2548 เพื่อ ศึกษาเครือข่ายทางการเมืองและความสัมพันธ์ของนักการเมือง กับประชาชนในแต่ละช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง เพื่อศึกษา รูปแบบการหาเสียงวิธีการสร้างคะแนนนิยม และเพื่อศึกษา บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการอื่นๆ ที่มี ส่วนสนับสนุนนักการเมือง โดยการใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งประกอบด้วยการศึกษา วิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยการค้นหาข้อมูลจากบุคคล 85