Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อักษรส่อสาร_ฉบับสมบูรณ์

อักษรส่อสาร_ฉบับสมบูรณ์

Description: อักษรส่อสาร_ฉบับสมบูรณ์

Search

Read the Text Version

อกั ษร ส่อสาร



อกั ษร สอ่ สาร ฉบบั สมบูรณ์ พมิ พ์แจกเป็นธรรมบรรณาการด้วยศรทั ธาของญาติโยม หากท่านไม่ได้ใชป้ ระโยชน์จากหนงั สอื น้แี ล้ว โปรดมอบให้กับผอู้ ื่นท่ีจะได้ใช้ จะเปน็ บญุ เปน็ กุศลอย่างยงิ่

อักษรส่อสาร ฉบบั สมบรู ณ์ ชยสาโร ภิกขุ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๗๙๓๐-๐๗-๗ สงวนลขิ สทิ ธิ์ หา้ มคดั ลอก ตัดตอน หรอื น�ำไปพมิ พ์จำ� หน่าย หากท่านใดประสงค์จะพิมพ์แจกเปน็ ธรรมทาน โปรดติดต่อ มูลนธิ ปิ ญั ญาประทปี หรอื โรงเรยี นทอสี ​๑๐๒๓/๔๗ ซอยปรดี พี นมยงค์ ๔๑ สุขุมวิท ๗๑ เขตวัฒนา กทม. ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๗๑๓-๓๖๗๔ www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org จัดทำ� โดย มูลนิธปิ ัญญาประทีป พิมพค์ ร้ังท่ี ๑ เมษายน ๒๕๕๙ จำ� นวน ๖,๐๐๐ เลม่ ผู้เรียบเรียง ศรีวรา อิสสระ ศิลปกรรม วิชชุ เสรมิ สวัสดศิ์ ร,ี ปริญญา ปฐวนิ ทรานนท์ ภาพประกอบ พีรพัฒน์ ตตยิ บญุ สูง, ฤทัย บญุ ทวีกจิ พิมพท์ ี่ บรษิ ทั โรงพมิ พอ์ ักษรสมั พนั ธ์ (1987) จำ� กดั โทรศพั ท์ ๐-๒๔๒๘-๗๕๐๐ ดำ� เนนิ การพิมพ์ บริษัท คิว พรน้ิ ท์ แมเนจเมน้ ท์ จำ� กดั โทรศพั ท์ ๐-๒๘๐๐-๒๒๙๒

คำ� นำ� ช่วงเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ท่วี ดั ป่านานาชาติ พระอาจารยช์ ยสาโร เคยแสดงธรรมท่ีใช้ตัวอักษรในภาษาไทยเป็นแกนน�ำ  โดยในวันพระแรก ได้เริ่มจากอกั ษร ก. ไก่ ตอ่ ด้วย ข.ไข่ ตลอดพรรษาเทศน์ได้หลายตวั อักษร แต่ยงั ไม่ครบ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ คณะศิษย์ไดข้ ออนญุ าตทา่ นจดั พิมพ์ธรรมเทศนา ซึง่ ทา่ นต้ังช่อื หนังสือว่า “อกั ษรส่อสาร” โดยแยกพมิ พ์ เป็นเลม่ ทหี่ น่งึ และเลม่ ทีส่ อง ในปลายปี ๒๕๕๘ คณะศิษย์ไดข้ ออนุญาต พระอาจารยพ์ ิมพ์ฉบับรวมเล่มเพอ่ื เผยแผต่ ่อไปในวงกวา้ ง ขออนุโมทนาบุญในกุศลเจตนาของลูกศิษย์และญาติโยมทุกคนท่ีมี สว่ นช่วยใหห้ นงั สือเล่มนส้ี ำ� เร็จลลุ ว่ งด้วยดี ขอให้พลังบุญอนั เกิดจากการให้ ธรรมเป็นทาน จงเปน็ พลวปจั จยั อ�ำนวยพรให้ญาตโิ ยมเจรญิ งอกงามในส่งิ ท่ี เปน็ บุญเป็นกุศล ตงั้ แต่ระดบั ก. ไก่ ถึงระดับ ฮ. นกฮูก และขอให้ทกุ ทา่ น ใชค้ วามรูท้ ่ไี ด้จากการอ่าน “อักษรสอ่ สาร” ในการประยกุ ต์ใชภ้ าษาของตน เพอ่ื เข้าถงึ สงิ่ เลิศประเสริฐทอ่ี ยู่เหนือภาษา ขอกราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ในเมตตาของท่านเป็น อย่างสูง คณะศิษยานุศษิ ย์ ธนั วาคม ๒๕๕๘



อักษรสอ่ สาร ธรรมะจากตัวอักษรไทย

สารบญั

ก. ไก่ ๑ ข. ไข่ ๑๕ ค. ควาย ๒๑ ฆ. ระฆัง ๓๑ ง. งู ๕๑ จ. จาน ๕๙ ฉ. ฉ่ิง ๖๗ ช. ช้าง ๗๕ ญ. หญิง ๙๑ ฐ. ฐาน ๑๐๙ ฒ. ผู้เฒ่า ๑๒๓ ณ. เณร ๑๓๓ ด. เด็ก ๑๔๗ ต. เต่า ๑๕๙ ท. ทหาร ๑๗๑ พ. พาล ๑๘๕ ม. ม้า ๒๑๑ ย. ยักษ์ ๒๔๓ ร. เรือ ๒๗๕ ล. ลิง ๒๙๕ ษ. ฤาษี ๓๑๑



.  ไก่ มีเรื่องเกี่ยวกับไก่มากมายทีเดียวในพระสูตรและในค�ำสอนของ ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะในสายวดั ปา่ ท่านมกั จะใชส้ ่งิ แวดล้อมทงั้ ที่ มีชีวิตและไม่มีชีวิตมาเป็นคติธรรม  เพ่ือให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เร่ืองธรรมชาติของตัวเอง  โดยอาศัยธรรมชาตินอกตัวเป็นตัวอย่าง หลวงพ่อชาท่านเมตตาไก่ป่า  ไก่ป่าจึงมีบทบาทส�ำคัญ  ท่านมัก จะชมให้พระเณรฟังว่า  ไก่ป่าต่างจากไก่บ้านตรงที่มีความส�ำรวม ชยสาโร ภิกขุ 1

ระมดั ระวังตวั มาก ไม่ใช่วา่ พอมใี ครเอาเหยอื่ มาล่อแลว้ จะว่ิงเข้าไปกนิ ซึ่งก็จะตอ้ งตายแนๆ่ หลวงพอ่ จึงใหเ้ ราเอาไกป่ ่าเป็นตัวอย่าง ทา่ น ต้องการใหพ้ ระระวงั ตัว ไม่ประมาท ให้มคี วามรอบรู้ ให้เปน็ ผู้ทค่ี ิด ก่อนทำ� คิดก่อนพดู ไมห่ นุ หนั พลันแล่น หรือ อยากทำ� อะไรก็ทำ� ไป เลย อยากพูดอะไรกพ็ ดู ไปเลย ผทู้ หี่ ลงใหลในเหยอื่ ตา่ ง  ๆ ทางโลก กต็ ายไดเ้ ชน่ เดียวกบั ไก่ที่ว่งิ เขา้ หาเหย่ือ แมก้ ายอาจจะไมต่ าย แต่ ก็ตายจากคุณธรรม  ตายจากความดี  เราจึงได้ธรรมะจากไก่ป่า เร่อื งความระมดั ระวัง มีพระสูตรหนึ่งท่ีมีเร่ืองเก่ียวกับไก่  พระพุทธองค์ตรัสถึง หลักการปฏิบัติว่าท�ำอย่างไรจึงจะเจริญ  ต้องอาศัยอะไรบ้างเพ่ือ ให้การปฏิบัติก้าวหน้า  ท่านตรัสว่า  การปฏิบัติไม่ได้ข้ึนอยู่กับการ อ้อนวอนสิ่งศักด์ิสิทธ์ิหรือการตั้งความปรารถนาไว้อย่างแรงกล้า เช่น  ขอให้เราได้พ้นจากความทุกข์  ขอให้เราได้พ้นจากความยึดมั่น 2 อักษรส่อสาร

ถือมั่นต่างๆ  ท่านว่าการขออย่างน้ีคงไม่ได้ผล  ที่จริงการตั้งความ ปรารถนากอ็ าจมผี ลอยู่บา้ ง แตเ่ ปน็ เรอ่ื งทางจติ วทิ ยามากกว่า คอื การ ตั้งปณิธานหรือขอนนั่ ขอนี่ อาจชว่ ยให้จิตใจม่งุ มัน่ ในทางน้นั มากขนึ้ เหมือนเป็นการรวบรวมก�ำลังใจหรือท�ำให้เป้าหมายของตัวเองชัดขึ้น ทำ� ใหเ้ ราไดร้ ะลึกอยู่ในเปา้ หมายของตัวเองมากขึน้ สมมติว่าเราต้ังปณิธาน  ขอให้เราเป็นคนที่ไม่โมโหผู้อื่นเลย ขอใหเ้ ราหลดุ พ้นจากการโมโห ขอให้เราเปน็ คนใจเยน็ จากนไี้ ปทุกครงั้ ท่เี ราเรมิ่ รสู้ ึกโมโห เราอาจจะระลกึ ถงึ ปณธิ านของเรา ซงึ่ อาจจะชว่ ย ให้เราระงับอารมณ์ไดบ้ ้าง เป้าหมายที่ชดั เจนวา่ จะไมโ่ มโหหรือจะเปน็ คนใจเย็นนั้น  จะเปน็ ทรี่ ะลกึ ของสติได้  แตไ่ ม่ใช่วา่ สิ่งศกั ดสิ์ ิทธ์ิ หรือ เทวดาท่ีไหนจะท�ำให้เราไม่โมโหคนอื่น  เพราะมันเหลือวิสัยของส่ิง นอกตัวเรา ชยสาโร ภกิ ขุ 3

พระพทุ ธองค์ทรงสอนว่ามนั อยูท่ เี่ รา อยู่ที่การปฏบิ ตั ทิ ่ถี กู หลัก ถา้ เราปฏบิ ตั ิไม่ถูกหลัก ถ้าเรายงั หลงใหลอยู่กับรูป เสียง กลิน่ รส โผฏฐัพพะ ยังปลอ่ ยจติ ให้ว่งิ ตามอารมณ์อยูต่ ลอดเวลา เปน็ ผูท้ หี่ ลง อารมณ์อยู่ตลอดเวลา  ถึงเราจะปรารถนาแรงกล้าอย่างไร  มันก็ ไม่ได้ผล  แต่ถ้าเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  ปฏิบัติถูกหลักท้ังใน ดา้ นศีล สมาธิ ปญั ญา เปน็ ผมู้ ศี รทั ธา เป็นผูม้ ีศีล เป็นผู้มวี ริ ยิ ะ ความพากเพียรพยายามท่ีถูกต้อง  แม้จะไม่ต้ังความปรารถนา การปฏบิ ตั กิ ย็ ่อมเกดิ ผลอย่ดู ี พระพุทธองคท์ รงอุปมาว่าเหมอื นแม่ ไก่กบั ไข่ ถา้ แมไ่ ก่ไมก่ กไข่ด้วยดี ไม่ฟกั ไข่ดว้ ยดี จะปรารถนาอย่างไร ลูกไก่กไ็ มเ่ กิด แต่ถ้าแมไ่ ก่นอนกกไขอ่ ย่างต่อเน่ืองด้วยดี ฟักไขด่ ว้ ยดี แม่ไก่ไม่จ�ำเป็นต้องต้ังความปรารถนาหรืออ้อนวอนขอให้ลูกไก่เกิด โดยสวัสดี  แต่มันจะเปน็ เอง  เพราะแมไ่ กท่ ำ� ถกู ตอ้ งตามหลกั   ฉะนน้ั ลกู ไกจ่ ะเกดิ หรอื ไมเ่ กิด  จะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย  ขึ้นอยู่กับการ ทำ� หนา้ ที่อย่างถูกตอ้ งของแม่ไก่ ไมไ่ ดอ้ ยทู่ ี่การตัง้ ความปรารถนา 4 อักษรส่อสาร

ถา้ เราอยากจะพน้ ทกุ ขห์ รอื อยากจะทำ� จติ ใจของเราใหส้ งบ เราต้องปฏิบัติให้ถูกหลัก  เราต้องเป็นผู้มีศีลธรรมเป็นฐาน ต้องมีสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ  ต้องมีสติความระลึกได้  ต้องมี สัมปชัญญะความรู้ตัว  ต้องมีความเพียรพยายามที่จะละเลิก นิสัยท่ีไม่ดี  ป้องกันจิตใจไม่ให้ส่ิงไม่ดีไม่งามเกิดข้ึน  พยายาม ท�ำสง่ิ ทดี่ ที ง่ี ามที่ยงั ไม่เกิดให้เกิดข้ึน และเพียรรกั ษาสิ่งดีๆ ที่เกดิ ขน้ึ แล้วใหด้ ียง่ิ   ๆ  ขน้ึ ไป มันไม่ได้อยู่แค่ท่ีการต้ังความปรารถนา  นี่ เปน็ พระสตู รทท่ี า่ นเอาแมไ่ กม่ าอปุ มา คร้งั หนึ่งหลวงพ่อชาอบรมพระฝรง่ั ทีช่ อบน่ังสมาธินานๆ ทา่ น เตือนสติใหร้ ะวัง อย่าหลงวา่ นง่ั ยิ่งนานยงิ่ ดี มนั ไม่ใชว่ า่ จะดีเสมอไป ทา่ นเปรยี บเหมอื นกบั ไก ่ ทแี่ มจ้ ะนง่ั นานสกั เทา่ ใด ปญั ญากไ็ มเ่ กดิ สกั ที เราจะเอาแต่ระยะเวลาท่ีนั่งเป็นประมาณไม่ได้  ท่านบอกว่ามันไม่ได้ อยูท่ อี่ ิรยิ าบถ มันอยทู่ ่ีวา่ ในระหว่างทีน่ ่ังนั้น จิตใจเราอยูท่ ไี่ หน หาก จิตใจไมอ่ ยกู่ ับอารมณ์กรรมฐาน  หรือจติ ใจมวั แตไ่ ปคิดเรื่องน้นั เรอื่ งนี้ แมจ้ ะนง่ั นานเทา่ ใด  กไ็ มเ่ กดิ ประโยชน ์ เราจะเอาอิริยาบถเป็นเครื่อง วัดการปฏิบัติของเราไม่ได้ ท่านสอนว่า คุณภาพดีกว่าปริมาณ เม่ือ จะปฏิบัติ ก็จงปฏิบัติอย่างมีคณุ ภาพ ถงึ แมว้ า่ เมอื่ อยบู่ า้ น เราจะมี เวลาปฏบิ ตั ไิ ดไ้ มน่ านนกั กท็ ำเวลานั้นให้มีคุณภาพ มีคุณภาพด้วย การต้ังอกตั้งใจ ไม่ใช่สักแต่ว่านั่งพอเป็นพิธีหรือไม่ตั้งใจ ปล่อยจิต ให้ไปหมกมุ่นอยู่กับเร่ืองอดีตบ้าง  หรือปล่อยให้จิตเพ้อฝันเร่ือง อนาคตทีย่ ังมาไม่ถึงบา้ ง นานๆ เข้าเราก็จะรู้สึกทอ้ แทใ้ จ นงั่ สมาธิ ชยสาโร ภิกขุ 5

ไมเ่ ห็นได้เรอ่ื งเลย ปัญหามนั ไมไ่ ดอ้ ยู่ที่สมาธิ ไม่ไดอ้ ย่ทู ี่คำ� ส่ังสอน และไม่ไดอ้ ย่ทู ีว่ ธิ ีการ เพราะส่ิงเหล่าน้ันลว้ นดีอยแู่ ล้ว เพราะผ้ทู ีใ่ ช้ ค�ำส่ังสอนและวิธีการของพระพุทธองค์เป็นเคร่ืองมือในการฝึก อบรมจิตจนเกิดผลมีมากมายนับไม่ถ้วน หากการปฏิบัติของเรามักจะไม่ได้ผล  เพราะขาดความต่อ เนื่องหรือความสม่�ำเสมอในการปฏิบัติ  ซ่ึงข้ึนอยู่กับความตั้งใจ ของเรา คนบางคนขยันกป็ ฏิบัติ ข้ีเกยี จขีค้ ร้านกไ็ ม่ปฏบิ ตั ิ จิตใจสบาย ก็นง่ั สมาธิบา้ ง จิตใจวุ่นวายกลัดกลมุ้ ซึมเศรา้ ก็ไมน่ ่งั เหตุผลทไ่ี ม่นง่ั เพราะคิดวา่ ถา้ นง่ั ก็คงไม่สงบ นเ่ี ปน็ ความคิดผิด เพราะถ้าเราไม่ฝึกนงั่ ย่อมไม่มีวันที่เราจะสามารถชนะจิตใจของตนเอง  ไม่มีวันที่เราจะ ได้พ้นจากความวุ่นวาย  แต่ถ้าเราอดทน  จะสงบหรือไม่สงบช่างมัน เราจะต้องนั่งให้ได้ ถา้ เราน่ังอยกู่ บั อารมณท์ ่ีวา้ วุ่นขนุ่ มวั ก็พยายาม ปลอ่ ยๆๆๆๆ เหมือนกับตุ๊กตาลม้ ลกุ ล้มแล้วก็ลกุ ล้มแล้วกล็ ุก 6 อักษรส่อสาร

ลม้ แล้วก็ลกุ ไม่ยอมเบ่อื ในทส่ี ุดแล้วเราจะได้พบวันท่จี ิตใจพ้นจาก อารมณ์นั้นได้  ซ่ึงจะเป็นประสบการณ์ทสี่ �ำคญั และมอี านสิ งสม์ ากใน ชวี ติ เพราะหลงั จากนน้ั เราจะไมเ่ ชื่ออารมณ์เหมือนแต่ก่อน เราจะ มีสัญญาจ�ำได้หมายรู้ว่า  ครั้งหน่ึงเราเคยทุกข์มาก  น่ังสมาธิแล้ว ไม่คิดว่าจะได้ผลดีอะไร แต่ก็น่ังเพียงเพราะครบู าอาจารย์ท่านสอน อย่างน้ัน ก็พยายามน่ังอยู่อย่างนั้น แต่ไม่น่าเชื่อท่ีจิตใจมันพลิก พลิกจากความวนุ่ วายที่สดุ เปน็ สงบนงิ่ ไม่รวู้ ่าเปน็ ไปได้อยา่ งไร เม่อื เรามปี ระสบการณอ์ ยา่ งนแี้ ลว้ จะทำ� ใหเ้ รามกี ำ� ลงั ใจ เวลาจติ ใจวนุ่ วาย เราจะไม่พึ่งสิ่งอื่น  เราจะไม่หนีจากอารมณ์ของตัวเอง  แต่จะกล้า เผชิญหน้ากับอารมณ์น้ัน  การไม่กล้าเผชิญหน้ากับอารมณ์ของ ตนเอง เปน็ การส่งเสรมิ ความออ่ นแอของจติ ใจ เมือ่ เกิดความทุกข์ ความเดอื ดรอ้ น ก็จะหาวิธกี ลบเกล่อื นอารมณ์ด้วยกาม คือดทู ีวีบ้าง ไปพูดคยุ กับใครบา้ งหรือกนิ อะไรสกั อยา่ ง ส่งิ เหลา่ นลี้ ้วนแตเ่ ปน็ กาม หรือเปน็ เคร่ืองกลบอารมณ์ ชยสาโร ภกิ ขุ 7

พระพุทธองค์ตรัสว่า  หากทุกข์มากๆ  ก็ให้เข้าห้องพระหรือ หาท่ีสงบ  นั่งขัดสมาธิ  ดูลมหายใจเข้าลมหายใจออก  ยอมอยู่กับ อารมณ์ ไมก่ ลัวอารมณ์ ไมต่ ้องหลบอารมณ์ แต่ใหอ้ ย่กู ับอารมณจ์ น อารมณ์นั้นดับไป  อารมณ์ก็เป็นแค่สังขารเท่านั้นเอง  อารมณ์ ส่วนมากเป็นเสอื กระดาษ  ไมใ่ ชข่ องจริงของจังอะไร แตเ่ ราไป สำ� คัญมน่ั หมาย ปล่อยให้มันเป็นเร่ืองใหญ่ เป็นเรอ่ื งน่ากลวั เพราะ เราขข้ี ลาดจนไม่ยอมจะอยู่กบั มนั ถ้าเราไม่สงบแล้วไม่ยอมฝึกสมาธิเพราะคิดว่านั่งแล้วจะไม่สงบ ก็เหมือนกับคนท่ีก�ำลังไม่สบาย  เพ่ือนชวนให้ไปหาหมอ  ก็บอกว่า ไม่ไปหรอก  จะไปท�ำไม  มันป่วยมากเกินกว่าที่จะไปหาหมอ  ก็ถ้า ไม่นั่งสมาธแิ ล้ว มนั จะสงบได้อย่างไร ท่านจงึ ใหเ้ ราน่งั แต่ใหน้ งั่ ด้วย ความเพียรพยายาม ไมใ่ ชส่ ักแตว่ ่าเอาอิรยิ าบถน่ังอยา่ งเดยี ว ถา้ เปน็ เช่นนน้ั ทา่ นบอกวา่ เหมือนไก่ท่ีนงั่ เฉยๆ แลว้ ไม่เกิดปญั ญาอันใด อุปมาท่ีเกี่ยวกับไก่อีกเรื่องของหลวงพ่อชา  ท่านว่าคนเรามัก ไม่คอ่ ยพอใจกบั สง่ิ ท่มี อี ย่ ู เหมือนมีไกแ่ ต่อยากใหไ้ กเ่ ป็นเป็ด หรือถา้ มีเป็ดก็อยากให้เป็ดเป็นไก่ ทา่ นวา่ ความอยากแบบนี้จะทำ� ใหเ้ ปน็ ทกุ ข์ เปล่าๆ  เพราะเป็นไปไม่ได้ท่ีเป็ดจะเปล่ียนเป็นไก่หรือไก่จะเปล่ียน เป็นเปด็ 8 อักษรส่อสาร

ท่านสอนให้เรายอมรับความจริง  ยอมรับส่ิงท่ีมีอยู่ว่ามัน เป็นอย่างนแ้ี หละ เปน็ ตามเหตตุ ามปัจจยั ของมัน หากว่าเราไม่ พอใจหรือต้องการให้ดีกว่านี้  เราก็ต้องสร้างเหตุสร้างปัจจัยให้ ค่อย  ๆ  มีการเปลี่ยนแปลง  แต่ถ้าเป็นอย่างน้ีแล้วอยากให้เป็นอีก อย่างหน่ึง  เราก็จะเป็นทุกข์มาก  เหมือนว่าเราอยู่ในท่ีเย็นแต่อยาก ให้มันร้อน  หรืออยู่ในท่ีร้อนแต่อยากให้มันเย็น  มันก็เป็นไปไม่ได้ นอกจากเราจะเปิดแอร์หรือเปิดพัดลม  ซึ่งทุกวันน้ีคนเรามีโอกาส มากกว่าคนในสมัยก่อน  แต่ถ้าเราอยู่ในธรรมชาติที่ไม่มีไฟฟ้าและ เครอื่ งอ�ำนวยความสะดวกสบาย เชน่ อย่เู มืองรอ้ น แล้วมวั แต่นัง่ คดิ ว่า ทำ� ไมมันจึงรอ้ นนัก อยากจะให้มันเย็นกว่าน้ีสักหน่อยก็จะดี โอ... ชยสาโร ภิกขุ 9

ไม่ไหวๆ อย่างน้ีก็เป็นทุกข์เพราะอยากให้ร้อนเป็นเย็น หรือว่าอยู่ ในท่ีหนาวเย็น โอ...หนาวเหลือเกนิ หนาวจริงๆ อยากให้รอ้ นกวา่ นี้ สักหน่อย  อย่างน้ีพระพุทธองค์ตรัสว่า  เป็นการสร้างความทุกข์แก่ ตนเองโดยใช่เหตุ เราต้องรู้เท่าทัน  ร้อนมันเป็นอย่างน้ีแหละ  ที่ร้อนเพราะมัน เป็นหน้าร้อน  หน้าร้อนต้องเป็นอย่างนี้  หน้าหนาวตอ้ งเปน็ อยา่ งน้ี เรากร็ เู้ ทา่ ทนั   ถา้ รสู้ กึ ไมส่ บายจากความรอ้ น  เราก็หาโอกาสท่ีจะหลบ จากความร้อนไปหาความเย็นบ้างถ้าสามารถท�ำได้  หรือหากว่าเย็น มาก  การหาโอกาสหลบจากความเย็นบ้างก็ไม่ใช่เร่ืองผิด  แต่ในขณะ ที่เรายังหลบไม่ได้  และจ�ำต้องอยู่กับความร้อนหรือต้องอยู่กับความ เย็นด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง  เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์กับความร้อน ความเย็น  ต้องท�ำใจยอมรับความจริง  ไม่ขัดแย้งกับความจริง ความสงบอยู่ที่การยอมรับ  แต่ไม่ได้หมายความว่า  ถ้ายอมรับ แล้วจะต้องปล่อยปละละเลย  หากหมายถึงการยอมรับว่า  ใน ขณะน้ีมันก็เป็นอย่างน้ี  ถ้าเราต้องการให้มีความเปล่ียนแปลง หรือต้องการให้ต่างไปจากน้ี เราก็ต้องค่อย  ๆ  สร้างเหตุสร้าง ปัจจัย  หากไม่ท�ำเช่นน้ัน ความเปล่ียนแปลงก็จะเกิดข้ึนไม่ได้ ซงึ่ หลวงพอ่ บอกวา่ เหมอื นกับคนโง่ที่ต้องการให้ไก่กลายเป็นเป็ดหรือ ให้เป็ดกลายเป็นไก่ 10 อักษรส่อสาร

นอกจากน้ียังมีส�ำนวนไทยอีกมากที่เก่ียวกับค�ำว่าไก่ เชน่ ไก่ ไดพ้ ลอย หมายถงึ การได้สงิ่ ทีด่ มี ีคุณคา่ แต่ไมร่ คู้ ุณค่าของส่งิ นน้ั ซ่ึง ทกุ วนั นีเ้ ปน็ กนั มาก  คนในยุคปจั จบุ ัน แมอ้ ยูก่ ับสง่ิ ทมี่ แี ก่นสารสาระ แต่ก็ไมเ่ ห็นแก่นสารสาระของมนั ไมเ่ ห็นว่าส�ำคญั แตก่ ลับเหน็ สิง่ ที่ ไม่มีแก่นสารหรือส่ิงเหลวไหลว่าเป็นส่ิงที่ส�ำคัญ  มีคนจ�ำนวนไม่น้อย ทีเ่ ห็นว่าศาสนาไม่มคี วามส�ำคัญอะไรต่อชีวิตประจำ� วัน สูก้ ารกม้ หน้า ก้มตาท�ำงานเพ่ือให้ได้ลาภได้ยศได้สรรเสริญได้สุขไม่ได้  เขาเห็น โลกธรรมหรือการละเล่นต่างๆ ว่ามีความส�ำคัญมากกว่า  ทุกวันน้ี การละเล่นหลายอย่างกลายเป็นแก่นสารชีวิตของคนจ�ำนวนมาก เหลือเกิน  พาให้จิตใจตกต่�ำ  เพราะไม่ยินดีไม่พอใจกับส่ิงท่ีจะช่วย พัฒนาจิตใจ  แต่กลับไปยินดีไปพอใจกับสิ่งกระตุ้นประสาทท้ังหลาย โดยเข้าใจว่าความสุขอยู่ท่ีการกระตุ้นประสาท  อยู่ที่ความต่ืนเต้น ทั้งๆ  ที่ผู้ที่แสวงหาความตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลานั้น  ย่อมต้อง ประสบกับความเบื่อหน่ายเป็นธรรมดา  เพราะความเบื่อหน่าย และความเซ็งเป็นเงาตามตวั ของความตน่ื เตน้ ชยสาโร ภิกขุ 11

พุทธศาสนามีพระศรีรัตนตรัยเป็นรัตนะ  เป็นเพชรพลอย หากทุกวันน้ีคนท�ำตัวเองเหมือนไม่เป็นมนุษย์  แทนที่จะเป็นมนุษย์ ท่เี หน็ คณุ คา่ ของศรรี ตั นตรยั กลับทำ� ตนเปน็ ไก่ ไกไ่ ด้พลอย ถา้ ไกไ่ ด้ พลอยหรือได้ศรีรัตนตรัย  ก็ไม่สนใจและไม่เห็นคุณค่า  ซ่ึงเป็นเรื่อง ท่ีน่าเสียดายว่า  คนเรามีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยความยาก ล�ำบากยิ่ง  แล้วยังเกิดในเมืองไทยหรือในประเทศท่ีพระพุทธ ศาสนายังรงุ่ เรืองอยู่ แต่กลับประมาท กลบั ไม่สนใจ กลับไม่ รู้เรอ่ื ง สังคมเราจงึ มีปัญหามากมาย พวกเราที่เป็นพุทธศาสนิกชน  เป็นคนเข้าวัด  เราต้องเป็น ตัวอย่างท่ีดี  ไม่จ�ำเป็นต้องไปเทศน์ให้ใครฟังหรอก  เพียงแค่ เราย้ิมแย้มแจ่มใสด้วยธรรม มีความสุข มีความใจเย็น มีความ รอบคอบ ใช้ชีวิตด้วยสติปัญญา  มีความอดทน  มคี วามเอ้อื เฟ้อื เผ่อื 12 อักษรส่อสาร

แผ่ต่อเพ่ือนมนุษย์  ผู้ท่ีได้เห็นก็เกิดความประทับใจ  จะช่วยให้เขา หันมาเห็นความส�ำคญั ของศาสนามากขนึ้ เพราะเห็นผลดีทพ่ี ระพุทธ ศาสนาซ่งึ เปน็ เรอ่ื งของการศึกษาปฏิบตั ิมีตอ่ คนเขา้ วัด แตค่ �ำทมี่ ักจะ ได้ยินบอ่ ยๆกค็ ือ ไม่น่าเช่อื ว่าคนนน้ั คนนี้เข้าวัดตงั้ หลายปแี ลว้ ทำ� ไม เขายังเหมือนเดิม ท�ำไมเขาเป็นอยา่ งนัน้ อย่างนไ้ี ด้ ยงั คงขีโ้ กรธข้โี มโห อยมู่ าก เขา้ วดั ฟงั ครบู าอาจารยเ์ ทศนท์ กุ วนั พระกไ็ ม่เห็นเปล่ียนแปลง ดีข้ึน เลยท�ำให้คนอ่ืนไม่อยากเข้าวัด ทำ� ให้คนจ�ำนวนมากยงั เป็นไก่ ไดพ้ ลอยอยู่ ฉะนั้นเราต้องฝึกต้องหัด  ถ้าไม่ฝึกไม่หัดมันก็เป็นแค่ไก่อ่อน คอื ไมม่ ปี ระสบการณใ์ นการปฏบิ ตั ิ เรอ่ื งการปฏบิ ตั นิ ้ี ไม่มีใครจะท�ำให้ เราได้ ต้องเตือนตัวเองบ่อย  ๆ ว่า เราจะกา้ วหนา้ หรอื ถอยหลงั อยทู่ ต่ี วั เราเอง ไมไ่ ดอ้ ยทู่ ใ่ี ครอน่ื เราไดฟ้ ังค�ำส่ังสอนแล้ว ต้องเอา ไปทดลอง ตอ้ งเอาไปปฏบิ ตั ิ ชยสาโร ภกิ ขุ 13



.  ไข่ เร่อื งของ ข.ไข่ จะมนี ้อยกวา่ ก.ไก่ ท่พี อนึกไดก้ ็มีพระสูตรท่ี พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบพระหรือนักปฏิบัติกับผู้เลี้ยงโคหรือ วัว  ทา่ นว่าลกั ษณะของผู้เล้ียงววั ทีด่ ี คือเป็นผู้เข่ียไข่ขาง ไข่ขางใน ภาษาอีสานหมายถึงไข่แมลงวัน  ผู้เลี้ยงวัวที่คอยสังเกตวัวที่อยู่ใน ความดแู ล ดวู ่ามไี ขข่ างท่ตี รงไหน ก็รบี เข่ียทง้ิ ให้ววั ถือเป็นคนเล้ยี งโค เล้ยี งววั ทด่ี ี ชยสาโร ภกิ ขุ 15

ท่านวา่ พระและนกั ปฏิบตั ิท่ีดกี เ็ ชน่ เดียวกนั ต้องรู้จักเข่ยี ไขข่ าง การเขี่ยไข่ขางของพระและนักปฏิบัติน้ัน  หมายถึงการเข่ียความคิด ที่ไมด่ ี ๓ ประเภท ซึง่ รวมกนั เรียกว่า มจิ ฉาสงั กปั ปะ  อนั เปน็ ความ ด�ำริหรือความคิดในทางท่ีเป็นพิษเป็นภัย  เป็นอันตรายต่อจิตใจหรือ ตอ่ ชวี ิตของเรา คือ ๑.  ความด�ำริหรือความคิดในกาม  ในเร่ืองทางเนื้อหนังหรือใน ทางที่เป็นอกุศลท่ัวๆ ไป ๒.  ความดำ� รหิ รือความคดิ ในทางม่งุ รา้ ยด้วยโทสะ ๓.  ความด�ำริหรือความคิดในการเบียดเบียนคนอ่ืนหรือ สัตว์อื่น ส�ำหรับข้อแรก  ความด�ำริในเร่ืองกาม  ท่านว่าเมื่อมีความคิด หรือการปรุงแต่งในเรอ่ื งน้เี กดิ ข้ึน เราตอ้ งรบี จัดการขจดั มันเสียทนั ที อย่าปล่อยไว้ เพราะสง่ิ เหล่านเ้ี ป็นอันตราย มนั จะทำ� ลายบุญกศุ ลท่ีอยู่ ในจิตใจของเราอย่างรวดเร็ว ความคิดปรงุ แต่งในเรอื่ งสงิ่ สวยส่ิงงาม ในเรื่องความสุขส�ำราญทางเน้ือหนัง  เร่ืองความสนุกสนานต่างๆ นานา  ถ้าจิตใจชอบคิดในจุดท่ีสนุกหรือจุดท่ีสวยงามของสิ่งต่างๆ 16 อักษรส่อสาร

จิตใจก็จะพอใจอยู่ตรงจุดน้ัน  จนไม่มีก�ำลังใจที่จะหลุดพ้นจากความ ยึดติดในสิ่งเหล่าน้ันได้  ความสนใจหรือฉันทะความต้องการท่ีจะ พ้นจากความยึดม่ันถือมั่นต่างๆ  ก็จะน้อยลง  ความตั้งใจจะปฏิบัติ ธรรมก็จะลดน้อยลง  จะเกิดความขัดแยง้ ขน้ึ ในใจเรา ข้อทส่ี อง ความคดิ ในทางพยาบาทปองรา้ ย ทา่ นว่าเป็นอันตราย มาก  เป็นการท�ำร้ายตัวเอง  เมื่อความคิดในลักษณะนี้เกิดขึ้น  เรา ต้องพยายามดับทันที  ถ้าไม่สามารถดึงจิตออกจากอารมณ์นี้ด้วย พลังสตแิ ละพลงั สมาธิ ก็ต้องใชป้ ญั ญา พิจารณาใหเ้ หน็ โทษของความ โกรธ โทษของความคิดพยาบาท จนเกดิ ความละอาย เกิดความเกรง กลวั เกิดความระมดั ระวัง  พจิ ารณาให้เหน็ วา่   การปล่อยจิตใจของ เราให้หมกมุ่นอยู่กับความโกรธความไม่พอใจความดุร้ายนั้น  เป็น สิ่งท่ีน่าละอาย  ทุกคร้ังท่ีเราปล่อยให้จิตใจคิดปรุงแต่งในจุดที่เราไม่ พอใจคนอน่ื   นั่นเปน็ การดึงจิตลงไปส่ทู ่ตี �่ำท่ีสกปรก เป็นการปลอ่ ย ใหจ้ ติ เราเองแปดเปอ้ื น เมื่อเกิดความโกรธความไมพ่ อใจ ก็พิจารณา ให้เหน็ ว่า มันกเ็ ปน็ แคอ่ ารมณ์ มนั ไม่ใชเ่ รา ไมใ่ ช่ของเรา เปน็ การใช้ ปญั ญาช่วยใหเ้ ลกิ คดิ ในทางพยาบาท ชยสาโร ภิกขุ 17

ข้อท่ีสาม  ความคิดในทางเบียดเบียนคนอ่ืนหรือสัตว์อ่ืน  ซึ่ง บางครั้งอาจจะไมใ่ ชด่ ว้ ยความพยาบาทอยา่ งเดียว อาจเกิดความคิด ท่ีจะเบียดเบียนเพื่อความสนุกบ้าง  หรือด้วยความรู้สึกเฉยๆ  ต่อ ความทุกข์ของคนอื่นหรือสัตวอ์ ่ืน เชน่ พวกทชี่ อบตกปลา เขาตกปลา เบียดเบียนปลา ท�ำให้ปลาเป็นทกุ ข์และทำ� ให้ปลาตาย ทง้ั ๆ ทเี่ ขาไม่ ได้โกรธปลา  เขาไม่ได้ท�ำด้วยความด�ำริในทางพยาบาท  แต่มีความ ด�ำริในทางเบียดเบียน  ฉะนั้นความด�ำริในทางเบียดเบียนจึงตรงกัน ข้ามกับความกรุณาซ่ึงเป็นความคิดที่จะให้สรรพสัตว์ท้ังหลายพ้นจาก 18 อักษรส่อสาร

ความทกุ ข์ ส่วนความพยาบาทน้นั ตรงขา้ มกับเมตตาธรรมหรอื ความ หวงั ดตี อ่ สรรพสตั ว์ท้ังหลาย สมั มาสังกปั ปะ คอื ๑.  ความคิดที่ออกจากกาม  หรือความคิดท่ีปราศจากกาม เป็นความคิดในทางสร้างสรรค์  เป็นความคิดในทางเก้ือกูลเพื่อน มนุษย์  และเป็นความคิดในทางแสวงหาสัจธรรมความจรงิ ๒.  ความคิดในการไมพ่ ยาบาท คือคิดเมตตา มคี วามหวงั ดี ต่อสรรพสัตว์ท้ังหลายอย่างสมำ่� เสมอ  ไมม่ กี ารเลอื กทรี่ ักมกั ทีช่ งั ๓.  ความคดิ ในการไม่เบียดเบียน คือความด�ำริในทางกรุณา ความคดิ ทจี่ ะให้สรรพสัตว์ทัง้ หลายพ้นจากความทุกข์โดยสิน้ เชงิ ทุกคร้ังที่ความคิดปรุงแต่งในทางไม่ดีเกิดข้ึน  ท่านเปรียบเทียบ เหมอื นกบั ไข่ขางบนตวั ววั ทา่ นว่าเราต้องทำ� ตนเหมอื นคนเลี้ยงววั ทีด่ ี ตอ้ งหมน่ั เขย่ี ไข่ขางหรือความคดิ ปรงุ แตง่ ในทางท่ไี ม่ดที ้ิง ชยสาโร ภกิ ขุ 19



.  ควาย อาตมามกั จะสงสยั วา่ ท�ำไมโดยท่ัวๆ ไปแล้ว คนไทยเปน็ ผูม้ ี ความกตัญญูกตเวทีมากพอสมควร  จนถือเป็นเอกลักษณ์ของเราได้ โดยเฉพาะคนอีสาน  เป็นผู้รู้จักบุญคุณของผู้มีพระคุณมาก อาตมา ว่าควายมีบุญคุณมากต่อมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย  ก่อนท่ีจะมีเคร่ือง ทุ่นแรงในระยะหลังๆ  น้ี  หลายร้อยหลายพันปีก่อน  เราท�ำนาได้ เพราะมีควาย  ควายช่วยมนุษย์ท�ำนา  ช่วยให้เรามีข้าวกิน  แต่ดู เหมือนว่าทุกวันน้ีคนไม่ค่อยจะค�ำนึงถึงบุญคุณที่ควายมีต่อมนุษย์ สักเท่าใด  เห็นได้จากการฆ่าควายทั่วประเทศไทยทุกวัน  ไม่รู้ว่า จ�ำนวนสักเท่าไหร่ ปีหน่ึงไม่รู้ก่ีหมื่นก่ีแสนตัว ที่ต�ำบลบุ่งหวายของ เรานี้ก็ยังมีตลาดขายควาย อาตมาไม่ค่อยเห็นด้วยกับวลีท่ีว่า  “สีซอให้ควายฟัง”  เหมือน ใช้ควายเป็นสัญลักษณ์ของความโง่  “สีซอให้ควายฟัง”  หมายถึง “สอนคนโงไ่ ม่เกิดประโยชน์” อะไรทำ� นองน้ี เรารไู้ ดอ้ ย่างไรว่าควาย เป็นสัตวท์ ่โี ง่ ใครจะไปรู้ได้ ถ้าเราดวู า่ หน้ามนั โง่ กไ็ มใ่ ชเ่ รื่องแนเ่ สมอ ไป คนบางคนดหู น้าแล้วว่าไม่นา่ จะฉลาด แต่กลับฉลาดมาก อย่างน้ี ชยสาโร ภิกขุ 21

กม็ ีใช่ไหม บางคนดหู น้าแลว้ นา่ จะเป็นคนฉลาด แต่กลบั ไมฉ่ ลาดเลย ก็มี  แล้วท�ำไมเราดูควายแล้วคิดว่ามันโง่  คิดว่ามันไม่ฉลาด  จริงๆ แล้วมันอาจจะฉลาดก็ได้  การตัดสินจากอาการภายนอกอย่าง เดียว ยอ่ มไม่แน่นอนเสมอไป อาตมาว่าควายท�ำงานให้มนุษย์มานานแล้ว  เราควรจะให้ เกียรติมันบ้าง  เม่ือมันแก่จนท�ำงานไม่ไหวแล้ว  เราก็น่าจะปล่อยให้ มนั ได้พักผอ่ นในบนั้ ปลายของชีวติ ท�ำไมตอ้ งไปฆา่ มนั ดว้ ย ทำ� ไมตอ้ ง ไปกนิ มนั อาตมาวา่ นไ่ี มเ่ หมาะสมเลย มนุษยเ์ ราท�ำบาปเพราะความ อยากมากเหลือเกิน ให้ความส�ำคัญกบั เรอื่ งการกินมาก อยากกนิ เน้ือ สัตว์ อยากกินลาบ อยากกินอะไรต่อมิอะไร ยอมฆ่าสัตว์เพียงเพราะ อยากกินของอร่อย 22 อักษรส่อสาร

ที่ จ ริ ง ใ น ยุ ค นี้ เ ร า มี สิ ท ธิ์ แ ล ะ มี โ อ ก า ส ท่ี จ ะ เ ล่ี ย ง บ า ป ข ้ อ ปาณาติบาตไดม้ ากกว่าคนสมัยโบราณ เพราะทุกวันนม้ี ีอาหารให้เรา เลือกมากมายหลายอยา่ งกว่าสมัยก่อน ฉะนน้ั จึงไม่ใชเ่ ร่อื งจ�ำเป็น เลยที่เราตอ้ งไปฆา่ สัตวม์ าเป็นอาหาร อาตมาดสู ถติ ขิ องคนทแี่ ขง็ แรง ท่ีสุดในโลก  แชมป์โลกคนหนึ่งในการวิดพ้ืน  สามารถวิดพ้ืนโดยไม่ หยุดหนง่ึ หมื่นเจ็ดพนั ครั้ง ท้งั ๆ ทีเ่ ขาเป็นคนทานเจ ไม่เคยทานเนื้อ สตั ว์เลย นี่เปน็ ตัวอยา่ งวา่   ไมต่ ้องทานเนื้อสัตว์ก็แขง็ แรงได้  แต่เรา ถูกหลอกกันมาวา่ ถ้าไม่ทานเน้อื สัตวแ์ ลว้ จะไมแ่ ขง็ แรง น่นั เป็นการ หลอกโฆษณาชวนเชื่อมากกว่า ท่านอาจารย์สุเมโธเป็นผู้หน่ึงท่ีชอบควาย  ท่านเคยเล่าอย่าง ติดตลกวา่ ตอนทบี่ วชใหมๆ่ เช้าวันหน่งึ ท่านเดินกลับจากบิณฑบาต จติ ใจตอนน้นั ยงั รูส้ ึกไมส่ งบ  คดิ มาก ฟุ้งซ่านมาก ท่านเห็นควายยืน เฉยอยู่ รู้สึกว่ามันสงบเหลอื เกนิ   ท่านก็คดิ วา่ อยากจะสงบเหมือน ชยสาโร ภิกขุ 23

ควายบา้ ง  หลงั จากนนั้ บางคร้งั ท่ที า่ นนงั่ สมาธิ ทา่ นกภ็ าวนาโดยเอา ควายและความสงบของมนั เปน็ นิมิต นกึ ถึงควาย เห็นหนา้ ควาย เห็น ตวั ควาย จนความรูส้ ึกสงบเกดิ ขน้ึ ท่านกก็ �ำหนดความรู้สึกน้ันไว้  นี่ เป็นลักษณะของผู้มีปัญญา  คือ  ไม่ว่าท่านเดินไปไหนหรืออยู่ท่ีไหน ท่านจะสามารถหยิบยกส่ิงนอกตัวมาเป็นคติธรรมสอนจิตใจตนเอง ไม่ใช่ว่าน้อมเข้ามาย้อมจิตใจให้โลภให้โกรธให้หลง  หากสามารถ น้อมเขา้ มาเพื่อประโยชนใ์ นการปฏบิ ัติ ทา่ นใชป้ ญั ญาแกป้ ญั หาของตัวทา่ นเองไดเ้ ก่งมาก จติ ใจของ คนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไมใ่ ชว่ า่ เราจะทำ� ตามแตต่ ำ� ราเสมอไป เราตอ้ งฉลาดในการหาวิธีแกป้ ัญหาของเราให้ได้ แล้วเราจะรู้ได้ อย่างไรว่า วิธีการของเราถูกหรือผิด ก็ให้ดูจากผลท่ีเกิดข้ึน  ถ้า จิตใจก�ำลังวุ่นวายในเรื่องใดเรือ่ งหนง่ึ เราก็ลองหาวธิ ปี ฏบิ ตั ดิ ู หาก ปรากฏว่าปัญหาน้ันหมดไป  ก็ไม่ต้องไปสงสัยว่า  วิธีน้ีถูกไหมหนอ ไม่เคยเห็นใครสอนเรื่องน้ีเลย  ไม่เคยเจอในพระไตรปิฎกหรือต�ำรา ไหนๆ มันจะถูกไหมหนอ เราไม่ต้องสงสยั อย่างน้ี เราดทู ี่จติ ใจของ เราเองท่ีเคยมอี ุปสรรค เมื่อใช้วธิ นี ้แี ลว้ ผา่ นอุปสรรคได้ ยอ่ มแสดงว่า “ใช้ได้” มีเรื่องตลกเก่ียวกับควายอีกเรื่องหนึ่ง  ชาวตะวันตกท่ีมาอยู่วัด ปา่ นานาชาตใิ หม่ๆ  มกั จะขอตามพระออกบิณฑบาต เม่อื เหน็ ควาย เปน็ ครงั้ แรกในชีวติ หลายคนจะตื่นเต้นมาก จะถา่ ยรูปควายกันคน 24 อักษรส่อสาร

ละหลายๆ รูป สว่ นพวกเราที่เห็นควายอยู่ทุกวันตั้งแต่เกิด ก็รู้สึก ประหลาดใจ แหม...จะต่ืนเต้นอะไรกันนกั หนา ไมเ่ หน็ จะมอี ะไร เราจึงได้เห็นความส�ำคัญของความเคยชิน  สองคนเจอสิ่ง เดียวกัน คนหนง่ึ เหน็ ทุกวันๆ กร็ สู้ กึ เฉยๆ ส่วนอกี คนกลับต่นื เต้น เพราะไม่เคยเห็น กเ็ หมือนกับพวกเราท่ีมโี อกาสไปเมืองนอก  จะเห็น บางส่ิงบางอย่างว่าดีเหลือเกินหรือแปลกเหลือเกิน  แต่คนท่ีอยู่เป็น ประจำ�   เขากไ็ ม่ร้สู ึกอะไร ปฏกิ ริ ยิ าทงั้ สองอย่างนไ้ี มใ่ ชท่ างสายกลาง ยังไม่ใช่ความพอดี ทั้งคนที่ตื่นเต้นกับของแปลกใหม่ และคนท่ีเห็น ทกุ วันจนชนิ ล้วนยงั ไมเ่ หน็ ตามความเป็นจริงเหมือนกนั ฉะนัน้ เม่ือ เจอของใหม่  ท่านจึงสอนว่าอย่าต่ืนเต้นจนเกินไป  ให้พิจารณาว่ามัน ก็เปน็ แคส่ งั ขาร  ท่เี ป็นไปตามเหตุตามปัจจัย อยู่สถานท่นี ี้ ประเทศนี้ เหตุปจั จัยเปน็ อย่างนี้ ผลมนั จึงออกมาเปน็ อย่างน้ี เหตุปัจจยั ในแต่ละ ประเทศต่างกนั ผลกย็ ่อมต่างกันตามเหตุตามปจั จยั น้นั ๆ ชยสาโร ภกิ ขุ 25

ขอย้�ำในเรื่องน้ีว่า  ผู้มีปัญญาจะต้องพิจารณาให้เห็นสิ่ง ท้ังหลายว่าเป็นผลของเหตุปัจจัย  เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าเข้าใจในจุดนี้แล้ว  ความยึดติดและความทุกข์  จะบรรเทา ลดน้อยลงทันทีหรืออาจจะหายไปทันที  มันเป็นอย่างน้ีเพราะมี เหตุมีปัจจัยเป็นอย่างน้ี  ส่วนคนที่อยู่กับสิ่งใดนานๆ  ก็ต้องมีสติอยู่ ในปัจจุบัน  แม้จะอยู่กับส่ิงใดนาน  ก็จะไม่ประมาทต่อส่ิงนั้น  จะยัง ซาบซ้ึงในสิง่ ท่ีดแี ละจะยังระมัดระวงั ในส่วนทไ่ี มด่ ี ทา่ นจงึ ใหเ้ รามสี ต ิ ใหเ้ ปน็ ผตู้ งั้ อกตง้ั ใจฝกึ ฝนจติ ใจของเรา ให้อยู่กับความจริงในปัจจุบัน  ไม่เสียดายและห่วงอาลัยถึงเร่ือง เก่าทผ่ี า่ นไปแล้ว  ไม่เพอ้ ฝันถึงสิง่ ทยี่ งั ไมเ่ กดิ ถา้ เราอยู่กับปจั จุบัน ชีวิตของเราจะเรียบง่ายข้ึนมาทันที  ความรู้สึกยุ่งเหยิงเกิดจากความ คิดปรุงแต่งในเร่ืองต่างๆ เรื่องคนอ่ืน  เร่ืองคนนั้นเรื่องคนนี้  เร่ือง ท่ีเป็นอดีตนานมาแล้ว  ซึ่งเหมือนกับอาหารเก่าที่บูดเน่า  แทนที่จะ 26 อักษรส่อสาร

เอาไปทง้ิ กลับเก็บเอามาอุ่นใหม่ ถึงอุ่นแล้วก็ยงั ทานไมไ่ ดอ้ ยดู่ เี พราะ มันบูด  เราจะเก็บอาหารบูดๆ  ไว้ท�ำไม  เราจะเก็บอารมณ์บูดๆ ไว้ท�ำไม บางคนผูกโกรธเก่งมาก เร่ืองที่เกิดข้ึน ๕ ปี ๑๐ ปี หรอื ๒๐ ปี ทีแ่ ล้ว ยังจำ� ไดท้ ุกประการ จ�ำไดห้ มดว่าเราพูดอย่างน้ัน เขาพูดอย่างนี้ เขาท�ำอย่างนั้น จ�ำได้แม่นเลย แตส่ ง่ิ ทว่ี ่าจ�ำไดแ้ ม่นนัน้ จะเป็น ความจริงหรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  เพราะความจ�ำของเรามัน หลอกเราได้เหมือนกัน  เราอาจจะรู้จักกับใครสองคนท่ีผิดใจกัน มานานแล้ว  ต่างคนต่างยังจ�ำเร่ืองท่ีทะเลาะขัดแย้งกันได้แม่นย�ำ มาก ต่างคนตา่ งจำ� ไดอ้ ยา่ งไม่มวี นั ลมื แต่เมือ่ เล่าให้เราฟัง ปรากฏว่า ความจ�ำไม่ตรงกัน  น่ันเป็นเพราะคนเราพร้อมท่ีจะเข้าข้างตัวเองอยู่ เสมอ ฉะนัน้ ในขณะที่เรารับรสู้ ิ่งใด มันมกี เิ ลสอยู่ด้วยในขณะนัน้ ท้งั   ๆ ทีค่ วามจ�ำของเราดมี าก เรามนั่ ใจวา่ เราจ�ำได้ ความจ�ำของ เราอาจจะดจี รงิ แตส่ ง่ิ ท่จี ำ� ไวอ้ าจจะไม่ถูกก็ได้ เมื่อมีอารมณ์  เราจะจับแต่ประเด็นที่มันตรงกับใจของเรา เช่น  เวลาเรานั่งฟังเทศน์  อาจจะมีประเด็นที่เรารู้สึกว่ามันถึงใจ จริงๆ หรือเกดิ ความสงสยั ว่า ทท่ี า่ นอาจารย์เทศน์ชา่ งตรงกบั เรา จรงิ ๆ ทา่ นว่าเราหรือเปลา่ นะ อกี สองวนั ตอ่ มา มคี นถามว่า วันก่อน ทา่ นอาจารย์เทศน์เรื่องอะไร เรากจ็ ะจำ� ไดเ้ ฉพาะประเดน็ ทม่ี นั ถกู ใจ เราหรอื มผี ลตอ่ อารมณแ์ ละจิตใจของเรา เราจะรู้สึกว่าในการแสดง ชยสาโร ภกิ ขุ 27

ธรรมวันน้ัน  เร่ืองน้ันคือเร่ืองส�ำคัญท่ีสุดหรือมีน�้ำหนักที่สุด  เราจึง จำ� ได้แม่น แตส่ ำ� หรับคนอื่นๆ ทเี่ ขาไมร่ ูส้ กึ ตอ่ จุดน้ัน แม้จะฟังเทศน์ กัณฑ์เดียวกัน สิ่งท่ีเขาจ�ำอาจจะไปคนละทางหรือเปน็ คนละอย่าง ก็ได้ เพราะแตล่ ะคนมกั เลอื กจ�ำส่ิงท่ตี รงกับสิง่ ทเี่ ขาสนใจหรอื พร้อม ท่ีจะรบั   เรอ่ื งคนทะเลาะกนั ก็เชน่ เดยี วกัน เขาพูดอย่างน้ัน เขาพดู อย่างน้ี ส่ิงทเ่ี ราจ�ำไดอ้ าจจะเปน็ แคเ่ รอื่ งปลกี ยอ่ ย แตเ่ รากลบั ถอื เปน็ ประเดน็ ใหญ่ จำ� ไดแ้ มน่ จรงิ ๆ น่ีเปน็ การท�ำร้ายตัวเองอย่างมาก คนเรามกั ไม่เมตตาไมห่ วังดตี ่อตัวเองเทา่ ทีค่ วร ชอบคิดชอบพดู ชอบทำ� สงิ่ ตา่ งๆ  ราวกบั ไมเ่ ปน็ มติ รกบั ตวั เอง  แตต่ งั้ ใจจะเปน็ ศตั รกู บั ตัวเองเสียมากกว่า  ส�ำหรับผู้มีสติมีสัมปชัญญะมีความรู้ตัวท่ัว พร้อมอยู่ในปัจจุบัน  เม่ือเรื่องในอดีตปรากฏข้ึนในใจ  ก็ย่อม รู้เท่าทันว่า น่ีคืออดีตอารมณ์ เป็นอารมณ์ซึ่งมีส่ิงท่ีเกิดขึ้นใน 28 อักษรส่อสาร

อดีตเป็นเน้ือหา  แต่ตัวอารมณ์น้ันเป็นของปัจจุบันที่เกิดข้ึน เด๋ียวน้ี  เรื่องอนาคตก็เช่นเดียวกัน  ท้ัง  ๆ  ท่ีเรื่องท่ีคิดและ เน้ือหาของมันเป็นเรอ่ื งทอ่ี ยู่ในอนาคต แต่อารมณต์ ัวความคิดน่ี อยู่ในปัจจุบนั ทา่ นจงึ ใหเ้ ราร้เู ท่าทนั วา่ นคี่ ือสักแต่วา่ ความคดิ นีค่ อื สกั แต่วา่ ความจำ� มนั ก็แคน่ ้ันเอง จิตใจจะไดไ้ ม่ยงุ่ เหยิงมาก ไม่ต้องพัวพนั กับอารมณต์ า่ งๆ มาก ให้มนั อยใู่ นปัจจุบนั เมือ่ จติ ใจ เราเรียบง่ายอย่ใู นปัจจุบัน ไมค่ ิดปรงุ แตง่ มนั กจ็ ะสดชนื่ ขึ้นมาทนั ที เหมอื นกบั เราได้วางภาระอะไรๆ ต่างๆ ลง จะรูส้ ึกเบาสบาย ในกรณี ที่จ�ำเป็นต้องเอาเรื่องจากอดีตมาคิดเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน เราก็คิดได้ หรอื ในกรณที ่ตี ้องวางแผน เรากว็ างแผนได้ แตท่ ำ� อยู่ ในปจั จบุ ัน ชยสาโร ภิกขุ 29



.  ระฆัง ผู้ที่มาอยู่ในวัดจะมีระฆังเป็นนาฬิกา  และระฆังน้ันก็เป็น เครื่องเปิดเผยความรู้สึกของชาววัดได้ด้วย  หมายความว่า  ทุกคร้ังท่ี ได้ยินเสียงระฆัง  ก็มักจะมีความรู้สึกเกิดขึ้น  จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะ ได้สำ� รวจความรู้สึกของตวั เองได้ เชน่ ได้ยนิ เสยี งระฆังตอนตสี ามแล้ว รู้สึกอยา่ งไร บางคนฟงั แลว้ อาจจะเกดิ ความรสู้ กึ รำ� คาญหรอื ไมอ่ ยาก ฟงั หรอื ไม่เชอื่ วา่ จะถงึ ตีสามแล้ว รู้สกึ ยังนอนไมอ่ ่ิม บางคนร้สู กึ ตัว แล้วลกุ ขึน้ ทันที บางคนกย็ งั ไม่อยากลกุ อยากจะนอนตอ่ แต่ความร้สู กึ ชยสาโร ภกิ ขุ 31

ต่อเสียงระฆังมักจะเปลี่ยนแปลงไม่คงที่  บางวันได้ยินเสียงระฆังตอน เชา้ ก็ลกุ ข้นึ ทนั ที บางวันก็ไม่อยากจะลกุ   ฉะนน้ั เสียงระฆังจึงท�ำให้ ได้รู้จักตัวเอง  ชว่ ยผู้ทม่ี าใหม่ให้มรี ะเบียบ ใหต้ นื่ แตเ่ ชา้ นอกจากนี้ ความรู้สึกต่อเสียงระฆังเดียวกันในเวลาอื่นมักจะไม่เหมือนกัน  เช่น เสียงระฆงั ฉนั ตอนเช้าหรือเสยี งระฆังฉันนำ้� ปานะตอนบ่าย ความรสู้ ึก มักจะเป็นไปในทางที่ดี ดงั น้ันการใชร้ ะฆังจงึ เป็นวธิ กี ารหน่ึงของครูบา อาจารย์ 32 อักษรส่อสาร

ตั้งแต่สมัยโบราณ  ครูบาอาจารย์จะใช้ความเป็นอยู่ปกติ ธรรมดาในวัดและข้อวัตรปฏิบัติ  ให้นักบวชหรือนักปฏิบัติได้รู้ตัวเอง ให้มีความเป็นอยู่เพ่ือความสงบ  แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางสิ่งบาง อย่างท่ีไม่ได้มุ่งตรงท่ีความสงบ  แต่มุ่งที่การกวนกิเลสท่ีก�ำลังตก ตะกอน บางทีพระหรอื ผู้มาใหม่ยังไมเ่ ขา้ ใจ กม็ กั จะเกดิ ความรงั เกียจ หรอื ความไมพ่ อใจในขอ้ วัตรปฏบิ ัตบิ างอย่าง มกั บน่ วา่ ท�ำให้ไม่สงบ หรอื ทำ� ใหร้ สู้ ึกเครียด เป็นสิ่งทน่ี ่าจะเปลยี่ นแปลงแก้ไข เพราะปฏบิ ัติ ตามแล้วไม่สงบเลย  แท้ที่จริงแล้วข้อวัตรปฏิบัติบางอย่างไม่ใช่เพื่อให้ สงบ  แตต่ ้องการให้ไม่สงบ  ตอ้ งการใหเ้ ราเหน็ จิตใจ ตอ้ งการให้เรา เห็นกิเลส เชน่ การฉนั มอ้ื เดยี ว เปน็ ตน้ ถ้าได้ฉนั สองม้อื ก็จะสบาย และสงบกว่าน้ี  การฉันม้ือเดียวก่อกวนกิเลสของชาววัดมาก  เราจะ เหน็ ความอยาก  เห็นความกังวล เห็นความกลัว เราจะเห็นกิเลส หลายๆ อยา่ ง เพราะเรารวู้ า่ วันน้เี ราจะฉนั ม้ือเดยี ว ฉนั เสร็จแล้ว ตงั้ อีก ๒๔ ชัว่ โมงจงึ จะได้ฉันอาหารอีกครั้ง หลวงพ่อจันเคยเล่าว่า  ตอนบวชใหม่ๆ  ท่านก็เป็นห่วงเรื่อง การฉนั   ตกั ขา้ วเหนียวใสบ่ าตรแล้วเกดิ กลัววา่ จะไมพ่ อ กลวั วา่ ตอน เย็นจะหวิ กเ็ ลยตักข้าวเพิม่ ให้กอ้ นใหญ่ขน้ึ แต่เม่อื ได้ฉนั ข้าวเหนยี ว ยังไม่หมดก็อิ่มเสียก่อน  ข้าวท่ีเหลืออยู่ก็พอดีกับข้าวท่ีได้เพิ่มเข้าไป จริงๆ  แล้วเท่าท่ีตักไว้แต่เดิมก็พอดีอยู่แล้ว  แต่เกิดกลัวว่าจะไม่พอ จงึ เพม่ิ เขา้ ไป แล้วก็ไมไ่ ดฉ้ นั ส่วนที่เพมิ่ นนั้ มักจะเป็นเช่นนบี้ อ่ ยๆ ชยสาโร ภกิ ขุ 33

ฉะนัน้ การฉนั มอื้ เดียวซ่ึงเป็นกฎของวัด จึงไมไ่ ด้มงุ่ ทีจ่ ะท�ำให้ พระหรือผถู้ อื ศีล ๘ สงบ แตต่ ้องการจะก่อกวนกิเลสใหน้ กั ปฏิบัตไิ ด้ เผชิญหน้ากับกิเลสของตัวเอง  ถ้าจะเอาแต่ความสบายหรือความ สงบเป็นหลักเสมอไปก็ไม่ถูกเหมือนกัน  เพราะความสงบบางอย่าง เกดิ ข้นึ ได้จากการหลบั หูหลบั ตาไมย่ อมรับหรือไมร่ บั รู้ตวั กเิ ลส ถ้าความหมายของชีวิตหรือความสุขของเราขึ้นอยู่กับ สิ่งท่ีตัวเราเองบังคับไม่ได้  เราก็จะอยู่ในภาวะที่ล่อแหลมต่อ ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา  พระพุทธศาสนาจึงสอนให้เราด�ำเนิน ชีวิตด้วยสติปัญญา  อย่าไปด�ำเนินชีวิตตามความอยาก  หรือ ด้วยความหวังลม  ๆ แลง้   ๆ ใหเ้ ราฉลาดในการด�ำเนินชวี ติ   แมว้ ่า พทุ ธศาสนามีคำ� สอนเกี่ยวกบั ชาติกอ่ นบา้ ง ชาตหิ น้าบา้ ง แต่ค�ำสอน กวา่ ๙๐ เปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องชาตนิ ้ี เปน็ เรอ่ื งคณุ ภาพชวี ติ ของมนุษย์ ทำ� อยา่ งไรชีวติ ของเราจะมีคุณภาพ ท�ำอยา่ งไรจึงจะมชี ีวิตที่เรา ภูมใิ จได ้ ทำ� อย่างไรเราจึงจะมีชีวิตทีเ่ รามนั่ ใจวา่ มคี วามหมาย 34 อักษรส่อสาร

เมื่อเราเร่ิมจะสนใจว่าท�ำอย่างไรชีวิตของเราจึงจะมีคุณภาพ คณุ ภาพชวี ติ ทดี่ งี ามเปน็ อยา่ งไร เราจะเรมิ่ สนใจพทุ ธศาสนา  เพราะ มีหลักค�ำสอนที่จะช่วยมนุษย์ในการพัฒนาตนเองให้พ้นจาก ความทุกข์  ความเดือดร้อนต่าง  ๆ  และให้ได้สัมผัสความสุขท่ี แท้จริง  ถ้าเราไม่อยากเป็นทุกข์  และอยากมีความสุขมากกว่าท่ีเรา มีอยู่ทุกวันนี้  เราควรจะสนใจเร่ืองพุทธศาสนา  ไม่ใช่สนใจแค่ข้ัน เปลือก แต่ต้องเขา้ ถงึ แก่นของพระศาสนา  เราจึงจะซาบซง้ึ   เพราะ ไดเ้ หน็ คณุ ค่าของศาสนาจรงิ ๆ เหมอื นกับการเปน็ เจ้าของรถยนต์ดีๆ เช่น รถเบนซ์ รถบีเอ็ม  แคช่ มรปู ลกั ษณภ์ ายนอกของมันขณะท่ีจอดไว้ เฉยๆ เรากอ็ าจจะมคี วามสุขระดบั หนงึ่ แต่การทซี่ ้ือรถยนต์ดๆี แลว้ ไม่ขับขี่ ได้แต่มองเฉยๆ ความประทับใจในคุณคา่ และประโยชนข์ อง มันจะเทียบกันไม่ได้เลยกับความรู้สึกเม่ือได้น่ังในรถแล้วขับออกไป เราจงึ จะได้รับรคู้ วามยอดเยย่ี มจรงิ ๆ ของรถยนตค์ นั น้ี ชยสาโร ภกิ ขุ 35

ฉะนนั้ ทุกวนั น้เี ราเปน็ ทกุ ขเ์ พราะเราคิดมาก คิดไมห่ ยดุ เป็นทุกข์เพราะเรางมงาย  งมงายเรื่องอะไร  เราเช่ืองมงายในความ คดิ ของตัวเอง เช่ืองมงายในความรู้สกึ ของตัวเอง เชื่องมงายใน อารมณ์ของตวั เอง สมมตวิ ่าเกดิ ความรู้สกึ ขเ้ี กียจขค้ี ร้าน กเ็ ช่ือว่า นัน่ คอื เรา ของๆ เรา แล้วกท็ �ำตามความรู้สกึ นัน้   น่กี เ็ รียกว่างมงาย หรอื ใครท�ำอะไรที่เราไมช่ อบ เกดิ อารมณ์โกรธขึ้นมา ก็เช่อื อารมณ์ เชื่อความโกรธว่าเป็นของจริงของจงั แล้วก็ท�ำตามพดู ตามอารมณ์นนั้ สรา้ งบาปสรา้ งกรรมให้ตัวเองต้องเดอื ดรอ้ นใจ จติ ใจของคนเรานม้ี นั ออ่ นแอไมม่ กี ำ� ลงั   ยกตวั อยา่ งหนงั สอื ลงั น้ี ส�ำหรบั คนทีไ่ มเ่ คยออกก�ำลังกาย  ไม่คอ่ ยมกี �ำลงั กจ็ ะยกไมค่ อ่ ยไหว ถามวา่ หนกั ไหม  กจ็ ะวา่ มนั หนกั   แตส่ ำ� หรบั คนทอี่ อกกำ� ลงั กายวดิ พนื้ ทุกวัน  การท่ีจะยกลังนั้นย่อมไม่เป็นปัญหา  ถามว่าหนักไหม  ก็จะ วา่ ไม่หนกั ฉะนน้ั ความหนักมนั ไม่ได้อยทู่ ี่ลงั หนงั สอื อย่างเดยี ว แต่มนั 36 อักษรส่อสาร

อยู่ท่ีก�ำลังของคนยกมากกวา่ เวลาเราเปน็ ทกุ ข์ วิตกกังวล เศร้าโศก เสียใจ จะให้ปล่อยวาง มันก็ปล่อยวางไม่ได้ เพราะเร่ืองมันใหญ่ รบั ไม่ไหว แตม่ นั ไม่ไดอ้ ยทู่ ี่อารมณ์อยา่ งเดยี ว มนั อย่ทู ี่จติ ใจของเราที่ ขาดการฝกึ อบรม หากจติ ใจไดร้ ับการฝึกอบรมดีแล้ว เร่อื งเล็ก  ๆ น้อย  ๆ  ก็จะไม่บานปลายเป็นเร่ืองใหญ่ท่ีท�ำให้ทุกข์ทรมาน จิตใจเหมือนแต่ก่อน เมอ่ื เปน็ ทกุ ข์ เรากจ็ ดั การแก้ไขเองไดโ้ ดยไม่ ตอ้ งไปพง่ึ ใครหรืออะไรนอกตวั เรา เพราะเรามีความเชื่อมั่นในตัวเอง เม่ือเจอปัญหา เรากจ็ ะมกี �ำลงั พอที่จะแกป้ ญั หาและปลอ่ ยวาง ความทุกข์ได้ ชีวิตของเราในโลกน้ีต้องเจอท้ังสมหวังและผิดหวัง  อย่าได้ คิดเลยว่า  ถ้าเราท�ำดีแล้ว  เราจะต้องสมหวังสมปรารถนาในทุกส่ิง ทุกอยา่ ง เพราะมันเปน็ ไปไมไ่ ด้ คนท่ีจะกา้ วหน้าในอาชีพการงาน คือ  คนท่ีไม่ทุกข์มากกับอุปสรรคท่ีเกิดข้ึน  ไม่ทุกข์มากกับความผิด ชยสาโร ภิกขุ 37

หวังตา่ งๆ ที่เกดิ ขึน้ เพราะถงึ จะฉลาดเพียงใด  แต่ถา้ ปลอ่ ยจิตให้ กลัดกลุ้มซึมเศร้ากับอุปสรรคที่เกิดข้ึน  ก็จะไม่ก้าวหน้าในอาชีพการ งาน  คนทเี่ ห็นแก่ตวั และเจา้ อารมณ์ ไม่ว่าจะท�ำงานที่ไหน แม้จะ ฉลาด มีความคดิ สรา้ งสรรค์และเขา้ ใจงานทั้งหมด แต่เขา้ กับเพื่อน รว่ มงานไมไ่ ด้ เจ้านายกย็ ่อมจะไมอ่ ยากได้เหมอื นกัน เพราะทกุ วนั น้ี ส่งิ ทีบ่ รษิ ัทหรอื เจา้ นายตอ้ งการมากที่สุด คือ ผูท้ ี่สามารถท�ำงาน เปน็ ทมี ได้ คนท่ีเอาแตใ่ จตัวเอง คดิ ว่าตัวเองถกู หมด คนอืน่ ผดิ หมด กไ็ มม่ ีใครอยากรบั ไม่มใี ครอยากได้ เพราะไอคิวหรอื ความฉลาด เปน็ แคส่ ว่ นหนึง่ ของชีวิตเรา เราตอ้ งมีอคี ิวด้วย ซึ่งเป็นความฉลาด ท่ไี มไ่ ดว้ ัดทผี่ ลการสอบในสถาบันการศกึ ษา 38 อักษรส่อสาร

อีคิว  คือ  ความฉลาดทางอารมณ์ท่ีท�ำให้เราเป็นผู้มี วุฒิภาวะซึ่งส�ำคัญมาก  รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง  รู้จักการเอาใจ เขาใสใ่ จเรา รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่น วางตัวเองได้เหมาะสม รู้จัก ปรับพฤติกรรมการกระท�ำต่างๆ ในที่ต่างๆ ใหเ้ หมาะสม โดยไมเ่ สยี หลักการของตัวเอง  ถ้าเรามีหลักการมีอุดมการณ์มีอุดมคติของ ตนเอง  แล้วสามารถยืนหยัดอยู่ในหลักการและอุดมการณ์นั้นได้ เราจะสามารถเคารพนบั ถอื ตวั เองได้ ถา้ เราเปน็ ผทู้ อี่ ยใู่ นกรอบของ ศีลธรรม  แม้กิเลสจะเกิดขึ้นบ้าง  แต่เราบังคับใจตัวเองจนห้าม มันได้ เราก็เคารพนับถือตัวเองได้เชน่ กัน เรอื่ งของศีลเปน็ เรอ่ื ง ของความสมคั รใจ ไม่ใชเ่ รื่องบังคบั ไมม่ ใี ครจะบังคับใหเ้ รารกั ษา ศีลได้  เราเห็นความดีงามท่ีเกิดข้ึนจากการมีศีลธรรม  เราถามตัว เองวา่ เราอยากจะอยูใ่ นชุมชนแบบไหน ตอ้ งการใหค้ นในชมุ ชนมีความ เหน็ อกเหน็ ใจซึง่ กนั และกัน  ไวว้ างใจซึ่งกันและกนั ใชไ่ หม บรรยากาศ ดๆี เช่นนี้ไม่ไดเ้ กิดข้ึนเอง หากเกดิ จากการชว่ ยกนั สรา้ งบรรยากาศ ใหเ้ ปน็ เช่นนน้ั และเครอ่ื งมอื ในการสร้างบรรยากาศทดี่ ีกค็ ือศีลธรรม นัน่ เอง ศีลธรรมจึงมีอานิสงส์ทั้งภายในและภายนอก  ด้าน ภายนอกศีลธรรมเป็นเครื่องรับประกันเก้ือหนุนชุมชนให้มีความ ไว้วางใจซ่ึงกันและกัน  มีความเห็นอกเห็นใจกัน  มีความสมาน สามคั คกี นั ถ้าหากคนในชมุ ชนไมม่ ศี ลี ธรรม ใครอยากท�ำอะไรก็ ชยสาโร ภกิ ขุ 39

ท�ำไป ใครอยากพูดอะไรกพ็ ูด มันจะสามคั คกี ันไดห้ รือ ทกุ คนจึงต้อง เสยี สละบางสิง่ บางอยา่ ง ไมใ่ ช่ว่าตัวเองอยากได้อะไรแล้วจะตอ้ งได้ ต้องเป็นอย่างน้ี  เป็นอย่างอนื่ ไม่ไดเ้ ป็นอนั ขาด ถ้าทกุ คนคดิ อย่างน้ี ก็ย่อมจะมีแต่ความขัดแย้งแก่งแย่งกันอยู่ตลอดเวลา  ส่วนด้าน ภายใน ผ้ทู ่ีมีศีลธรรม  กิเลสในใจจะไม่กำ� เริบเสบิ สาน  จะเปน็ ผู้มีหิริโอตตัปปะ  มีความละอายต่อบาป  มีความเกรงกลัวต่อบาป ไม่เปน็ อนั ตรายทั้งตอ่ ตนเองและผ้อู นื่ เรามมี าตรฐานทช่ี ัดเจนที่จะ เปน็ ผูท้ ี่ดีงาม กายก็ดีงาม วาจาก็ดงี าม จติ ใจกด็ ีงาม  แต่เราจะดไี ด้ กด็ ้วยการกระท�ำและการปฏิบัตขิ องเรา ไม่มีใครจะล้างกิเลสให้ 40 อักษรส่อสาร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook