Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ๐.รวมเล่มหนังสือ ๑๐๐ ปี การ อศจ.ไทย

๐.รวมเล่มหนังสือ ๑๐๐ ปี การ อศจ.ไทย

Description: ๐.รวมเล่มหนังสือ ๑๐๐ ปี การ อศจ.ไทย

Search

Read the Text Version

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๓๓ พระธรรมนิเทศทวยหาญมีสุขภาพไม่แข็งแรงนัก เจ็บป่วยบ่อย แต่ก็มีชีวิตอยู่ยืน ยาวมาจนถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ จึงได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งท่ีคอ สิริอายุ ได้ ๘๖ ปี ๑ เดือน ๑๐ วนั --------------------------------

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๓๔ อาจริยบูชา “พันเอก ปิ่น มทุ ุกนั ต”์ ผู้สรา้ งคุณปู การแกพ่ ระพุทธศาสนา ชีวิตนี้เพอื่ ธรรม104 .................................. “มคี นไมน่ ้อยทีม่ ักไม่พอใจในส่งิ ทต่ี นได้ กลับไปพอใจกับสง่ิ ท่ีตนไม่ได้ เขา้ ตาํ รา “เมยี ตัวไมร่ ัก เทีย่ วไปรักเมยี คนอนื่ ” คนประเภทนจี้ ึงมักต้องเป็นทุกข์ ไมค่ อ่ ยได้เจอสุข เพราะชอบเลื่อนความสุขไปไวท้ ่อี ื่นเสยี ” 105 อ่านเกรด็ ธรรมข้างบนนแ้ี ลว้ ทาํ ให้ย้อนระลึกถงึ อดีตอนุศาสนาจารย์ทหารบกท่าน หนึ่ง ท่ีมีผลงานโดดเด่นในการปกป้องและเผยแผ่พระพุทธศาสนากว่า ๔ ทศวรรษ ท่าน อธิบาย สาธยายหลักธรรมได้ซาบซ้ึง กินใจ เข้าใจง่าย สามารถทําสิ่งท่ีเป็นนามธรรมให้เป็น รูปธรรม ผลงานของท่านทําให้คนหนุ่มคนสาว ท่ีไม่ค่อยสนใจธรรมะ ได้หันมาศึกษาธรรมะ ท่านเปน็ นักเผยแผ่ธรรมทเี่ ล่ืองช่ือแหง่ ยคุ ๒๕ พทุ ธศตวรรษ ทา่ นผ้นู คี้ ือ พ.อ.ปิ่น มุทุกนั ต์ ในโอกาสท่ีครบ ๑๐๐ ปีชาตกาลของท่านเมื่อวันท่ี ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ขอนําเร่ืองราวชีวิตของท่านมานําเสนอให้ท่านผู้อ่าน เพ่ือรําลึกถึงบุคคลผู้สร้างคุณูปการแก่ พระพุทธศาสนาและประเทศชาติมาอย่างยาวนาน แม้ท่านจะจากโลกนี้ไปกว่า ๔๗ ปีแล้ว แตว่ รรณกรรมของทา่ นกย็ ังคงโดดเดน่ เป็นท่ีน่าศึกษามาจนถึงปัจจบุ ัน พ.อ.ปนิ่ มุทกุ นั ต1์ 06 เกดิ เมอ่ื วนั พุธที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๕๙ ณ บา้ นคาํ พระ ตาํ บล คาํ พระ อําเภออาํ นาจเจรญิ จงั หวดั อุบลราชธานี เป็นลกู คนท่ี ๙ (คนสดุ ทอ้ ง) ของนาย มหาธริ าช (มน่ั ) กบั นางสดุ ซา 104 เรียบเรยี งโดย พ.ท. เกรียงไกร จนั ทะแจ่มหน.วชิ าการและการศกึ ษา กอศจ.ยศ.ทบ. 105 ดูรายละเอียดใน,พ.ต.ปิ่น มุทุกันต์, กลวิธีแก้ทุกข์, สํานักพิมพ์คลังวิทยา : พระนคร, ๒๔๙๙.

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๓๕ นายมหาธริ าช (มน่ั ) บิดาผ้ใู ห้กําเนดิ เด็กชายปิ่น ผสู้ ร้างคณุ ูปการแก่ พระพุทธศาสนาในเวลาตอ่ มา เด็กชายปิ่น เป็นคนมีอัธยาศัยร่าเริง ฉลาดขยันขันแข็ง ไม่ชอบอยู่เฉย ๆ มี ความรับผิดชอบ มีอุปนิสัยกล้าได้ กล้าเสีย มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์และมีภาวะผู้นํา แม้จะยงั อย่ใู นวยั เดก็ พออายุได้ ๙ ขวบ ได้เข้าเรียนช้ันประถมที่โรงเรียนประชาบาลบ้านคําพระ เป็นเด็กท่ีมีผลการเรียนดีจนเป็นที่ชอบใจของครูอาจารย์ หลังจากจบช้ันประถม ๔ แล้ว ด้วยความท่ีครอบครัวมีฐานะยากจน บิดามารดาไม่มีเงินส่งท่านเรียนหนังสือ จึงได้นําไป ฝากเป็นศิษยว์ ัด อยู่กบั เจ้าอาวาสวัดบา้ นคําพระ วัดบา้ นคําพระ ปจั จุบันอยใู่ นเขตปกครองของ อ.หัวตะพาน จ.อาํ นาจเจรญิ อยู่เป็นศิษย์วัดได้ระยะหน่ึง เด็กชายป่ินได้บวชเป็นผ้าขาว (ผู้ถือศีล ๘) ที่วัด ปา่ สายธดุ งค์กรรมฐานไม่ไกลจากบ้านคําพระนัก ได้มีโอกาสออกธุดงค์ติดตามรับใช้และ ฝึกปฏิบัติไปกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์พระอาจารย์ม่ัน ภูริทตฺโต ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานท่ีผู้คนเคารพ ศรัทธาเป็นอย่างย่ิง ซึ่งเด็กชายปิ่นได้เข้า กราบคารวะและเรียนกรรมฐานจากพระอาจารย์ม่ัน ภรู ทิ ตฺโต อีกดว้ ย 106 รักพงษ์ แซ่โซว, ป่ิน มุทุกันต์ ชีวิตน้ีเพื่อธรรม, เอกสารพิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทานใน วโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา, ๒๕๕๔.

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๓๖ พระอาจารยส์ ิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้นาํ พา พระอาจารยม์ ่นั ภูรทิ ตฺโต พระ ด.ช.ปนิ่ เขา้ สูเ่ ส้นทางสายกรรมฐานและ อาจารยผ์ ้สู อนพระกรรมฐานเด็กชาย ปฏิบตั ิกบั พระอาจารยม์ ั่น ภรู ิทตโฺ ต ปนิ่ เปน็ เวลากว่า ๒ ปี ต่อมาในปี ๒๔๗๔ บิดาของท่านได้ถึงแก่กรรมลง จึงได้กลับมาช่วยเหลือการ งานที่บ้านระยะหนึ่ง แต่มารดาอยากให้ท่านบวช จึงพาท่านไปบวชเป็นสามเณรท่ี วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากบวชเรียนแล้วท่านก็สอบได้นักธรรมช้ันตรี ช้ันโท ช้ันเอกพร้อมกับบาลีไวยากรณ์ ในระยะเวลา ๓ ปี ทําให้มารดาของท่านปลาบปลื้ม ใจยิง่ นกั ในช่วงเป็นสามเณร ท่านได้สนใจแนวทางการเทศนาของท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ย่ิงนัก เพราะท่านเป็นพระสุปฏิปันโน มีช่ือเสียงทางด้านเทศนาโวหารและการปฏิบัติธรรมโดย เป็นสหายธรรมท่มี คี วามคุน้ เคยกับพระอาจารย์มน่ั ภรู ทิ ตฺโต พระอุบาลคี ุณูปมาจารย์ (จันทร์ สริ ิจนโฺ ท) องคต์ ้นแบบแหง่ การแสดงธรรมท่ซี าบซึง้ กินใจ ของ พ.อ.ปิน่ มุทุกนั ต์

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๓๗ สามเณรปิ่น ได้อา่ นหนงั สอื ธรรมเทศนาของท่านเจ้าคุณฯ ซ้ําแล้วซ้ําเล่าจนจํา ได้ขึ้นใจ เมื่อมีโอกาส เกิดสถานการณ์ที่ต้องข้ึนเทศน์ในงานบุญ ท่านก็ได้อาศัยความจํา จากบทธรรมเทศนานี้ ข้ึนแสดงธรรมจนเป็นที่ติดอกติดใจของผู้ฟัง ท่านจึงเป็นสามเณร นักเทศน์ตั้งแต่น้ันเป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมาท่านก็ได้พัฒนาความสามารถของ ตนเอง จนเกิดความชํานาญกระท่ังได้กลายเป็นนักเทศน์ นักบรรยายธรรมที่มีวาทะ คมคาย จับใจผฟู้ งั อย่างแพรห่ ลายในเวลาตอ่ มา หลังสอบได้นักธรรมช้ันเอก พระอาจารย์ของท่าน คือ พระครูสุวรรณวารี คณารักษ์ (วิเชียร) ได้นําท่านไปฝากกับพระมหาเฉย ยโส (ธรรมพันธ์ุ) วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ซ่ึงเป็นสํานักเรียนที่มีช่ือเสียงแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครขณะนั้น เม่ืออายุ ๒๐ ปีท่านจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสัมพันธวงศ์ เม่ือปี ๒๔๗๙ โดยมีสมเด็จ พระวชิรญาณวงศ์ (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง วชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระรัชชมงคลมุนี เป็นพระ กรรมวาจารย์ และพระมหาเฉย ยโส เปน็ พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า“วิริยากโร” (แปลว่า ผู้กระทําความเพียร) จากนั้นท่านก็ได้รับความก้าวหน้าทางการศึกษาตามลําดับ โดยสอบได้เปรยี ญธรรม ๗ ประโยค สํานักวัดสัมพันธวงศ์แห่งน้ีเป็นแหล่งฝึกฝนกิริยามารยาทและฝึกฝนนักเทศน์ ที่ทรงประสิทธิภาพทําให้พระมหาปิ่น วิริยากโร ได้รับการฝึกฝนอบรมและเพิ่มพูนทักษะ ความสามารถในการเทศน์ได้อย่างดี จนท่านกลายเป็นนักเทศน์นักบรรยายธรรมที่ มหาชนรู้จักในเวลาต่อมา ผลงานของท่านเป็นท่ีพอใจของพระเถระผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จ พระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส ถึงกับกล่าวเปรียบท่านว่า “เหมือนด่ัง เพชรประดับหัวแหวน ท่ีจะนําไปประดับท่ีไหนก็มีแต่จะเปล่งประกาย สร้างมูลค่าให้แก่ แหวนวงน้นั ” แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์พลิกผลันท่ีทําให้ท่านต้องลาสิกขาแบบปัจจุบัน ทันด่วน เมื่อวันท่ี ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๘๗ เน่ืองจากเหตุผลการบริหารงานบางประการ ภายในวดั แตเ่ พชรไม่ว่าจะอยู่ท่ีไหนกย็ ังเป็นเพชรวนั ยงั คํา่ ภายหลังจากท่ีท่านได้ลาสิกขาออกมา ได้เข้าสอบบรรจุเป็นอนุศาสนาจารย์ ทหารบก เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๘๘ ซ่ึงสามารถสอบได้เป็นอันดับท่ี ๑ นับเป็น จุดเร่ิมต้นชีวิตนักเผยแผ่ธรรมที่มีช่ือเสียงแห่งยุค ๒๕ พุทธศตวรรษในเวลาเพียงไม่กี่ปี ต่อมา

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๓๘ เปน็ อนุศาสนาจารยท์ หารบกผู้มคี วามสามารถในการบรรยายธรรม เป็นท่ีสนใจของข้าราชการ พระสงฆแ์ ละประชาชน งานอนุศาสนาจารย์ เป็นงานที่ถูกจริตของท่านยิ่งนัก เพราะนอกจากจะ อบรมธรรมแก่ทหารในหนว่ ยต่าง ๆ ท้ังในกรุงเทพและต่างจังหวัดแล้ว ยังต้องไปบรรยาย ธรรมแก่ผู้ต้องขังในเรือนจําอีกด้วย นอกจากนั้นท่านยังได้รับเชิญให้ไปบรรยายธรรม ปาฐกถาธรรมในสถานท่ีและโอกาสอันหลากหลาย ในปี ๒๔๙๗ ท่านได้เริ่มจัดรายการธรรมะเผยแผ่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ เช่น รายการแก้ปัญหาทางธรรมและปัญหาชีวิต ทางสถานีวิทยุกรมการทหารสื่อสาร, รายการมุมสว่างทางวิทยุ ท.ท.ท., รายการนาทีทอง ทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่งปรากฏว่า แนวทางและลีลาความสามารถของท่านเป็นที่ถูกอก ถูกใจผู้คนเป็นอันมากท้ังพระสงฆ์ และฆราวาส จะมีแฟนคลับคอยติดตามประหน่ึงติดหนังติดละครเลยทีเดียว แต่รายการ ที่ทําให้ท่านเป็นท่ีรู้จักของส่ือมวลชน และมหาชน คือ รายการธรรมนิเทศ อันเป็น รายการท่ีมุ่งอบรมให้ความรู้ทางธรรมแก่ทหาร หากแต่ไม่เพียงทหารเท่าน้ันที่รับฟัง ชาวบา้ นท่วั ไปตลอดทั้งพระสงฆ์ ตา่ งช่นื ชอบติดอกตดิ ใจเป็นการใหญ่ และหาก พ.อ.ป่ิน มุทกุ ันต์ ไดร้ ับเชิญไปบรรยายธรรมหรือปาฐกถาธรรมที่ไหน ส่วนใหญ่ท่ีนั่งมักไม่เพียงพอ ผู้คนต้องยืนเบยี ดเสยี ดกันล้นสถานท่ี ตอ่ มาในปี ๒๔๘๙ ท่านได้สมรสกับ อาจารย์จรัสศรี ประภัสสร ธิดาของนาย บุญสืบและนางละมุน ประภัสสร มีพยานรักด้วยกัน ๒ คน คือ นางสาวจันทิมา และ นาง ภาณุพงษ์ มุทกุ ันต์

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๓๙ พันเอกป่นิ และอาจารย์จรสั ศรี (ประภสั สร) คูช่ วี ิตผู้อยู่ เบือ้ งหลงั งานเผยแผ่ พระพทุ ธศาสนา แม้ท่านจะเป็นท่ีรู้จักของคนหมู่มาก มีชื่อเสียงในสังคมมาโดยลําดับ แต่ท่านก็ มิได้ลุ่มหลงในช่ือเสียง คําชื่นชมและลาภสักการะที่ตามมา เพราะท่านมีปณิธานที่จะ ทํางานเผยแผ่ธรรมด้วยใจบริสุทธ์ิ มุ่งประโยชน์ของเพ่ือนมนุษย์เป็นที่ต้ัง มิได้มุ่งหวัง ช่ือเสียงหรือลาภสักการะใด ๆ โดยก่อนการบรรยายท่านจะตั้งจิตแผ่เมตตาส่งความ ปรารถนาดอี ยา่ งจรงิ ใจแกป่ ระชุมชนท่มี ารับฟงั นอกจากท่านจะมวี ิชาความรดู้ ีแล้ว ท่านยัง มีความประพฤติท่ีดีอีกด้วย โดยยึดหลักท่ีว่า “ยถาวาที ตถาการี (สอนคนอื่นเช่นไร ให้ทํา ตนเช่นน้ัน) ” ดังมีเหตุการณ์เมื่อปี ๒๔๙๗ เกิดเหตุเพลิงไหม้ชุมชนย่านบ้านพักของท่าน ทําให้ท่านสูญเสียทรัพย์สินทุกอย่าง เหลือเพียงเสื้อผ้าติดตัวเท่านั้น นับเป็นเรื่องราวท่ีน่า ทุกข์ใจย่ิงนัก สําหรับปุถุชนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ แต่สําหรับ พ.อ.ป่ิน มุทุกันต์แล้ว ท่านได้ ถือเป็นโอกาสปฏิบัติธรรมไปด้วย โดยนํา “กลวิธีแก้ทุกข์” ซึ่งท่านได้บรรยายแก่มหาชน มาปฏิบัติ และเป็นส่ิงพิสูจน์ด้วยว่า อัคคีภัยท่ีเกิดกับครอบครัวของท่าน มิอาจลามมามอด ไหมถ้ งึ ใจของทา่ นได้เลย ท่านยงั คงออกบรรยาย ปาฐกถาธรรมเพื่อประโยชน์เก้ือกูลแก่ชน หมู่มาก โดยไม่สะทกสะท้านกับความวอดวายทเ่ี กดิ ข้ึน ตลอดเวลาท่ีท่านเป็นอนุศาสนาจารย์ทหารบกน้ี ท่านได้สร้างผลงานอันเป็น คุณประโยชน์แก่ทางราชการ สังคมและพระพุทธศาสนาไว้เป็นอันมาก เช่น การบรรยาย ชุดพิเศษในวาระเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ภายใต้ผลงาน “พุทธศาสตร์” มีประชาชน สนใจสมัครเป็นนักศึกษาพุทธศาสตร์กับท่านเป็นจํานวนมากเกินกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระทัย และสนพระทัยตอ่ คาํ บรรยายชุดนีด้ ้วย และมีเหตุการณ์เขียนหนังสือเรื่องปุจฉา วิสัชชนา ๑๙๕๘ มีเนื้อหาโจมตี พระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรงในหลายประเด็น ซึ่งผู้เขียนเป็นนักบวชต่างศาสนา ท่านก็ได้ แสดงปาฐกถาพิเศษเพื่อชี้แจงข้อกล่าวหาร้ายแรงน้ัน เพ่ือความเข้าใจอันถูกต้องต่อ พระพุทธศาสนา แบบบัวไม่ชํ้า นํ้าไม่ขุ่น ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์ปาฐกถาพิเศษของท่าน เพื่อให้ชาวพุทธและศาสนิกต่างศาสนาได้ศึกษาและทําความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๔๐ หลังจากภารกิจปกป้องพระพุทธศาสนาผ่านไปไม่นาน ด้วยบทบาท อนุศาสนาจารย์ทหารบก ท่ีนอกจากอบรมธรรมะให้แก่กําลังพลแล้ว ยังต้องให้คําปรึกษา แกห่ น่วยทหารในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ทเ่ี ก่ียวกับทหารซ่งึ นับถือศาสนาอ่ืนดว้ ย เชน่ เม่ือปี ๒๕๐๒107 กรณีองค์กรของชาวซิกข์ ได้ร้องขอให้ทหารที่นับถือซิกข์ไม่ต้องสวมหมวก โดย ให้โพกผ้าบนศีรษะตามข้อกําหนดทางศาสนาแทน ซึ่งท่านก็เป็นผู้ประสานกับทาง กองทัพบกในการผอ่ นผนั ให้ทหารซกิ ข์ไมต่ อ้ งสวมหมวก ต่อมา ปี ๒๕๐๓ ท่านได้รับอนุมัติให้เดินทางไปทัศนศึกษา เพื่อดูงานด้าน ศาสนาในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นเวลา ๒๐ วัน โดยได้รับการสนับสนุนการ เดินทางจาก บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) ,ชาวอินเดียผู้นับถือซิกข์และสถานทูต อินเดียได้อํานวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ในการเดินทาง ซึ่งการไปทัศนศึกษาในคร้ังน้ีได้ เกิดเหตุการณ์น่าประทับใจคือ ชาวซิกข์ทั่วโลกที่เมืองอมฤตสระ ได้มอบดาบศรีซาฮิบแก่ ท่านเพื่อตอบแทนที่ท่านเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย และท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าองค์ดาไลลามะ พระประมุขแห่งธิเบตถึงท่ี ประทับส่วนพระองค์ ก่อนลากลับยังได้รับพระราชทานบัตรลงพระปรมาภิไธยจากองค์ดา ไลลามะเป็นทร่ี ะลึกอีกด้วย ซง่ึ การเดนิ ทางไปทศั นศึกษาครงั้ นเ้ี ป็นการเดินทางเพอื่ ประกาศ พระศาสนาและสร้างศาสนสัมพันธ์กบั ศาสนกิ ต่างศาสนา เปน็ อยา่ งดี ศกึ ษาภมู ปิ ระเทศและวฒั นธรรม ประเทศอนิ เดยี ถน่ิ กําเนดิ พระพทุ ธศาสนา ได้เข้าร่วมเป็นคณะทํางานเพื่ออบรมศีลธรรมแก่ผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาล ในช่วงปี ๒๕๐๒ ได้นําเสนอโครงการศาสนสถานประจําหน่วยทหาร เพื่อปลูกฝังธรรมะ และสร้างทัศนคติท่ีต่อกําลังพล ทําให้ทุกมณฑลทหารบกมีศาสนสถานประจําหน่วยเกิด ข้ึนมาโดยลําดบั , ร้ือฟ้ืนโครงการหอพักบุตรข้าราชการทหารบก เพ่ืออํานวยความสะดวก แก่บุตรทหารท่ีไม่อาจโยกย้ายไปตามบิดา/มารดา ด้วยเหตุผลทางการเรียน โครงการนี้ทํา ให้เกิดการจัดต้งั โรงเรยี นกองทพั บกอุปถัมภ์ตามมาอีกด้วย, เสนอจัดตั้งโรงเรียนการศาสนา และศลี ธรรมทหารบก โดยมีการเปดิ การศึกษา รุน่ ทีแ่ รกเมอ่ื พ.ศ.๒๕๐๐ ปจั จุบันได้เปิดทํา 107 เร่ืองเดียวกัน, หนา้ ๙๐.

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๔๑ การเรียนการสอนเป็นรุ่นที่ ๖๐ แล้ว และมีแผนจะเปิดสอนออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ กําลังพลได้ศึกษาอย่างทั่วถึงในทุกภูมิภาค นอกจากน้ันกองทัพบกยังมีบรรจุวิชาการ ศาสนาและศลี ธรรม ลงในหลักสตู รการศึกษาของโรงเรยี นเหลา่ สายวทิ ยาการทุกหลกั สตู ร ขณะท่ีท่านเพียรสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและพระศาสนาอย่างไม่รู้จักเบื่อ รู้จกั ทอ้ ในฐานะอนุศาสนาจารย์ทหารบกนั้น กระทรวงกลาโหมได้โอนท่านไปรับราชการใน ตาํ แหนง่ รกั ษาการรองอธบิ ดีกรมการศาสนา กระทรวงศกึ ษาธิการ เมื่อ ๗ ธันวาคม ๒๕๐๕ และในปีถัดมาอธิบดีกรมการศาสนาเกษียณอายุราชการ ท่านก็ได้เลื่อนตําแหน่งอธิบดี กรมการศาสนาในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๐๖ ท่านจึงได้รับภารธุระในการบํารุงสนับสนุน พระศาสนาของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองตามสมควรแก่ฐานะ แต่โดยเหตุท่ีคนไทยส่วนใหญ่ นับถือพระพุทธศาสนา งานส่วนมากจึงเก่ียวข้องกับพระพุทธศาสนา การเข้ามานั่งเก้าอี้ อธิบดีกรมการศาสนาครั้งนี้ พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ มีความตั้งใจแน่วแน่ในอันที่จะสร้างความ เจรญิ ใหเ้ กิดแกพ่ ระพุทธศาสนาและหนว่ ยราชการแห่งน้ี โดยทา่ นปรบั ปรุงงานใหม้ ีคุณภาพ และประสิทธภิ าพยิ่งข้นึ มีการปรบั โครงสร้าง ขยายอัตราขนานใหญ่ เพ่ือให้เหมาะกับภาระ งานท่ีรับผิดชอบ พัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าท่ีให้พร้อมรองรับแผนงานโครงการต่าง ๆ นับเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่นับแต่จัดต้ังกรมเลยทีเดียว ท่านได้เสนอแผนงาน/โครงการ สาํ คัญ ๆ เชน่ ได้ดําเนินการป้องกันความมัวหมองอันเน่ืองจากเรื่องศาสนสมบัติที่จะเกิดกับ พระพุทธศาสนา โดยเตรยี มออก พระราชบัญญัติคมุ้ ครองวัดในพระพทุ ธศาสนา โครงการพระธรรมทูต เพ่ือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่มหาชนทั้งในและ ต่างประเทศ เมอื่ ปี ๒๕๐๗ โครงการน้ปี ระสบผลสัมฤทธอ์ิ ย่างรวดเร็วและเจริญก้าวหนา้ สืบ มาจนปจั จุบนั ทงั้ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั ยังทรงรับไว้ในพระบรมราชปู ถัมภ์อกี ดว้ ย ภาพในประวตั ิศาสตร์ที่ พ.อ.ป่นิ บนั ทึกรว่ มกบั คณะ ณ วดั สมั พันธวงศ์

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๔๒ โครงการพัฒนาวัดท่ัวประเทศ โดยได้รับความเห็นขอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อปี ๒๕๐๗ -๒๕๑๘ มีส่วนราชการเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กรมการศาสนา กรมศิลปากร กรมอาชีวศึกษา กรมการปกครอง กรมโยธาธิการ กรมการแพทย์ สํานักงบประมาณ และ มหาเถรสมาคมโดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ โครงการน้ีจึงดําเนิน ไปอย่างคล่องตัว ส่งผลให้วัดหลายแห่งที่ทรุดโทรมได้รับการปรับปรุงให้สะอาด เรียบร้อย ยังความศรัทธาปสาทะให้เกิดแก่พุทธศาสนิกชนท้ังประเทศนับเป็นการสร้างคุณประโยชน์ ในวงกว้างแก่พระพทุ ธศาสนา จัดต้ังหน่วยนพกะ เพ่ือสงเคราะห์พุทธมามกะผู้เยาว์ เนื่องจากสมัยก่อน เยาวชนในครอบครวั หน่ึงมมี ากหากแต่ยากจน อาจถกู ชักนําให้เดินทางผิด เข้าสู่ลัทธิมืดมน ไร้อนาคต เป็นการดําเนินการด้วยการจําแนกตามสภาพ ออกเย่ียมเยียนเพ่ือบํารุงขวัญให้ กําลังใจ ส่งเสริมทางดีงาม สนับสนุนการศึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาชีวิต เป็นการปกป้อง ใหพ้ น้ จากหายนะภยั ทงั้ หลาย การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับรัชดาภิเษก เมื่อปี ๒๕๐๖ เพื่อส่งเสริมให้คน ไทยได้ศึกษาพระไตรปิฎกมากขึ้น ทําให้มีผู้คนสนใจมากมาย จนขาดตลาดลงในเวลาเพียง ๕ ปี ท่านจึงดําริให้จัดพิมพ์เป็นคร้ังที่ ๒ โดยกําหนดให้เป็นฉบับรัชดาภิเษก ฉลองวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงครองราชย์ครบ ๒๕ ปี ในปี ๒๕๑๔ รวมเล่มจาก จํานวน ๘๐ เลม่ เป็น ๔๕ เลม่ ตามจาํ นวนปที ีพ่ ระพุทธองค์ทรงปฏิบตั ิพทุ ธกจิ สร้างวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพ่ือบรรยายธรรมและ สอนวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อปี ๒๕๐๘ ท่านได้ริเร่ิมด้วยการจัดซื้ออาคาร ๒ ช้ันครึ่ง พร้อม เนอื้ ท่ี ๕๐๐ ตารางวา เพือ่ สร้างวดั และได้จัดให้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๙ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ เสด็จพระราชดําเนินเป็นองค์ประธาน และมีพระราชสิทธิมุนี หัวหน้าคณะพระธรรมทูต สายองั กฤษเปน็ เจ้าอาวาสรูปแรก นับต้ังแต่ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งสําคัญในกรมการศาสนาเมื่อปี ๒๕๐๕ เป็นต้นมานั้น ท่านก็มุ่งมัน สร้างประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ ทําให้ ท่านมีภารกิจด้านงานบริหารมากมาย จนต้องห่างเหินจากงานบรรยายธรรมท่ีรักสุดชีวิต ท่านจึงเผยแผ่ธรรมผ่านงานเขียนแทน โดยท่านอาศัยช่วงเวลากลางคืนและเช้าตรู่ก่อนไป ทํางานในการสร้างสรรค์ผลงาน แม้ยามพักผ่อนสุดสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็ยังมิ วายต้องนําพางานเขียนไปทําด้วย และด้วยความที่ท่านเป็นคนมุมานะ ทุ่มเทกับงานนี้เอง เปน็ เหตุให้ทา่ นป่วยด้วยโรคทางเดินอาหาร จนต้องเจ็บออด ๆ แอด ๆ บั่นทองสมรรถภาพ การทาํ งานของท่านลง

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๔๓ นาํ ผแู้ ทนจากศาสนาต่าง ๆ เขา้ เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ท่านได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ในช่วงปลายปี ๒๕๑๓ แต่หลังจากเข้ารับ การรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ว ร่างกายของท่านกลับซูบซีดไร้เร่ียวแรง เม่ือพิจารณาเห็นว่า คงไม่อาจทํางานให้ราชการได้อย่างเต็มท่ีเหมือนเม่ือก่อน ท่านจึงตัดสินใจย่ืนหนังสือ ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๑๔ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุกิจ นิมมานเหมินท์) ได้ยับยั้งการลาออกนั้น เน่ืองจากเสียดายในความสามารถ ของทา่ น โดยขอให้ลาป่วยแทนการลาออก อธิบดีปนิ่ ไดช้ ี้แจงข้อเท็จจรงิ แก่ข้าราชการกรมการศาสนาก่อนลาป่วยเพอื่ พักรกั ษาตัว

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๔๔ แต่ในปีถัดมา ท่านเห็นว่าไม่อาจฝืนต่อไปได้ จึงได้ขอลาออกจากราชการด้วย เหตุผลเร่ืองสุขภาพ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ และหลังจากลาออกได้ไม่นาน ท่านก็ได้เข้ารับการรักษาตัวท่ีโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แม้จะต้องประสบกับภาวะ ทุกขเวทนาแรงกล้าจากโรคภัยที่เบียดเบียนจนต้องมีการให้ออกซิเจน แต่ท่านก็ได้อาศัย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นที่พ่ึงในการรับมือกับทุกขเวทนาในเวลาเจ็บป่วยได้ เป็นอย่างดี พ.อ.ป่ิน ได้ยกเอาอานาปานสติเป็นหลักพิจารณาเพื่อให้เกิดปีติและนําไปสู่ สภาวะอุเบกขาในท่ีสุด ท้ังน้ีเน่ืองจากปกติในยามท่ียังแข็งแรงดี ท่านไหว้พระสวดมนต์ และทําสมาธิก่อนนอนทุกคืน ทําให้จิตเสพคุ้นกับการปฏิบัติอานาปานสติ จึงไม่เป็นการ ยากเลยที่ท่านจะน้อมจิตเข้าสู่อารมณ์กรรมฐานน้ี แม้ขณะท่ีกําลังกายถดถอยและจิตใจ ถูกรบกวนจากทกุ ขเวทนาอนั แรงกลา้ อยู่ก็ตาม จึงถือว่าเป็นข้อได้เปรียบของผู้ที่ต้ังใจพากเพียรปฏิบัติธรรมเป็นนิตย์ต้ังแต่ท่ี ร่างกายและจติ ใจยังแข็งแรงเป็นปกติ เพราะถ้าร้ังบ่ายเบี่ยงไว้ปฏิบัติยามแก่เฒ่าเร่ียวแรง ถดถอย ยงิ่ ถูกโรคภัยเบียดเบียนด้วยแล้ว ก็ย่ิงเป็นการยากที่จะน้อมจิตไปสู่อารมณ์ทาง ธรรมได้ เพราะแม้ขณะร่างกายแข็งแรงจิตใจเป็นปกติดี จิตยังไม่เข้มแข็งพอที่นําตนเข้า สู่การปฏิบัติได้ จะกล่าวไปใยกับการคาดหวังท่ีจะเร่งกระทําเอาในขณะท่ีจิตใจและ ร่างกายเศร้าหมอง ท้อถอย ถูกทุกขเวทนารุมเร้า ซ่ึงมีแต่จะจมไปกับความทุกข์ โดน ทุกขเวทนาฉุดลากพาไปด้วยเท่านั้นเอง อาการท่ีจิตไม่อาจมีสติต้ังมั่นเป็นของตนเองได้ ต้องหลงไปกับอารมณ์ทุกขเวทนาจนบางรายถึงกับละเมอเพ้อคล่ังออกมา น่ีเองที่ทาง พระท่านเรียกว่า “หลงตาย” และผู้ที่หลงตายน้ันยากนักที่จะคาดหวังสุคติได้ การศึกษาปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่า อํานวยประโยชน์สุข ให้ แม้ในขณะปัจจบุ ันและในเวลาอนั วกิ ฤตทิ ี่กาํ ลังจะสนิ้ ลม ดังนั้นแม้สภาพร่างกายของ พ.อ.ป่ิน จะผ่ายผอมทรุดโทรมลงโดยลําดับ อัน เน่ืองจากอํานาจแห่งโรคภัยท่ีรุมเร้าเบียดเบียนท่านหนักข้ึนทุกขณะ แต่โดยทั่วไปท่านก็ ไม่ได้แสดงอาการทรมานกระสับกระส่ายออกมาให้ปรากฏแต่อย่างใด อันแสดงถึง สภาวะจิตที่ได้รับการประคับประคองไว้เป็นอย่างดี จวบจนกระท่ัง ๑๕.๔๕ นาฬิกา ของวนั อังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๑๕ ท่านจึงถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการอันสงบท่ามกลาง ความอาลยั รักจากภรรยา บตุ ร-ธดิ าและสมั พนั ธชนทเี่ ฝา้ อยู่ข้างเตยี ง สิรอิ ายรุ วม ๕๕ ปี งานบําเพ็ญกุศลศพของท่านจัดขึ้นที่วัดโสมนัสวิหาร ระหว่างเดือนเมษายน ถึง กรกฎาคม ๒๕๑๕ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รชั กาลที่ ๙ )และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลที่๙) เสด็จพระราช ดําเนินทรงเป็นองค์ประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๔๕ วัดเทพศิรนิ ทราวาส เมื่อวันจันทร์ท่ี ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างหาที่สุดมิได้ ยังความปลาบปลื้มแก่ครอบครัวมุทุกันต์อย่าง ซาบซึง้ ดร. จันทมิ า มุทุกันต์ (คนนั่งด้านซา้ ย) แม้ พ.อ.ป่ิน มุทุกันต์ ลูกสาวของ พ.อ. ป่ิน มุทกุ ันต์ ได้ลาจากไปกว่า ๔๗ ปีแล้ว แต่ เสียงบรรยายธรรม เสียงปาฐกถา ธรรม ท่ีมีลีลาและโวหารอันอาจ หาญ เฉียบคมของท่านในรูปแบบ วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา กว่า ๓๔ เร่ือง108ยังคงเป็นมรดก ธรรมที่ยังคงต ราตรึงในมโน สัญเจตนาของอนุชนคนรุ่นหลังมาจวบจนปัจจุบัน หลายโครงการที่ท่านได้ริเริ่มสร้างไว้ก็ ยังคงมีการสานต่อมาจวบจนปัจจุบัน และยังคงสร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและ พระพทุ ธศาสนาอยา่ งไม่มีวันกาํ หนดหมดอายุ นับได้ว่า พ.อ.ป่ิน มุทุกันต์ เป็นผู้มีสายตาอันยาวไกลและมุ่งมั่นท่ีจะ สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาอย่างจริงจัง โดยมุ่งพัฒนาใน ๓ ปัจจัยหลกั คอื ด้านศาสนธรรมผา่ นโครงการพระธรรมทูต ทําใหศ้ าสนธรรมเข้าไปสู่หัวใจ ของมหาชนทัง้ ในและต่างประเทศ, ด้านศาสนวตั ถุผ่านโครงการพัฒนาวัดทั่วประเทศ ทํา ให้สังคมไทยในยุคของท่านงามเรืองรองไปด้วยวัดวาอาราม และด้านศาสนบุคคลผ่าน โครงการนพกะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน ให้เป็นคนดี มีคุณภาพและคุณธรรม เพื่อให้สังคมไทยเกิดความม่นั คง และม่งั ค่ังอยา่ งยัง่ ยนื ตราบนานเทา่ นาน เนื่องในโอกาสวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เวียนมาบรรจบ ซ่ึงเป็นวาระครบ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย จึงนาํ เสนอเกยี รติประวตั ิของ พ.อ.ป่ิน มุทุกันต์ ใน ฐานะเป็นอนุศาสนาจารย์ท่ีสร้างคุณูปการอย่างมากมายแก่ประเทศชาติ พระศาสนา จึง ขอเชิญชวนท่านผู้อ่าน ติดตามผลงานของท่าน เพื่ออนุสรณ์ถึงเกียรติคุณของ พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ผู้อุทิศชีวิตน้ีเพื่อพระธรรมและพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตของท่าน ตาม QR.code ได้ครบั 108 รักพงษ์ แซ่โซว, ๔ ทศวรรษมรดกธรรม จาก ปิ่น มุทุกันต์ , เอกสารพิมพ์เผยแผ่เป็น ธรรมทานในโอกาสคณุ แมส่ มปอง ลิ้มเรืองรอง อายุ ๘๐ ป,ี ๒๕๕๕.

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๔๖ อาจริยบชู า “พ.อ. ทองคาํ ศรโี ยธิน” 109 .............................. ท่านอาจารย์ทองคําทองลํ้าค่า110 ทอง บริสุทธ์ิแท้ เลอคุณ ค่าเฮย คาํ หยาดหวานละมุน โสดพรอ้ ง ศรี ศาสน์พอ่ นาํ หนุน นานเนือ่ ง โยธนิ ธีรราฎร์ซ้อง แซ่ด้าวสรรเสริญ ทา่ นอาจารย์ทองคําทองล้ําค่า นอ้ มศรัทธาดว้ ยใจไมข่ ดั เขินเ ป็นแบบอยา่ งคุณธรรมควรดําเนนิ ใหเ้ จริญรอยตามคณุ ความดี ท่านถึงพร้อมดว้ ยพรหมวิหารธรรม เมตตาลํ้าฉ่ําใจในทกุ ท่ี เปี่ยมด้วยความกรุณาเออ้ื อารี ท่านมากมีน้ําใจใหท้ กุ คน มทุ ิตายนิ ดเี มื่อมสี ขุ ผ้ทู อ้ ทุกขป์ ลอบใจใหห้ ายหมน่ แมค้ ราวใดไม่อาจช่วยดว้ ยกรรมดล วางกมลอุเบกขาคราเป็นกลาง ทา่ นสขุ ุมเยอื กเยน็ อย่เู ปน็ นจิ สะทอ้ นจติ ผ่องแผว้ แววสว่าง รอนความโลภโกรธหลงลงเบาบาง มุ่งในทางอริยมรรคส่หู ลกั ชยั สักกายะอตั ตาหาไม่แลว้ ยดึ ไตรรตั นแ์ นแ่ น่วหมดสงสยั ไม่ลว่ งศีลสังวรระวังภยั อยดู่ ้วยใจปกติวิหารธรรม ท่านถงึ ธรรมสอนธรรมธรรมกถา รอ้ ยลลี าโลมใจให้ช่นื ฉํ่า 109 หก.กอศจ.ลาํ ดบั ที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๑๖ – ๒๕๒๑) 110ชาญชัย รวิรังสิมา ประพันธ์ในนาม ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชปู ถัมภ์

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๔๗ ซาบซึ้งตรงึ ใจในนํ้าคาํ ดุจลํานาํ ธรรมธารรนิ ผา่ นใจ ทา่ นเปรยี บดงั ดวงจนั ทร์คืนวนั เพญ็ สว่างเย็นเปน็ สุขเมื่ออยูใ่ กล้ ให้ทั้งแสงส่องทางสว่างไกล ให้สายใยอบอุ่นละมนุ มาน แม้คราวใดใครท่ีมปี ญั หา ท่านเมตตาช่วยตรองมองรอบด้าน แนะแนวทางนุ่มนวลใครค่ รวญการ มงุ่ ประสานประโยชนไ์ วใ้ หเ้ กิดคุณ ท่านไมค่ ดิ ม่งุ ร้ายให้ใครซํา้ แมถ้ อ้ ยคาํ ก็ไม่ใหใ้ ครเคืองขนุ่ มีแตร่ กั เมตตาเกอ้ื การุญ มีแต่บุญอุน่ ใจเม่ือใกล้ชดิ ทา่ นเป็นหลกั เป็นชัยในเรอ่ื งธรรม เปน็ ผู้นําธรรมทานเจือจานศิษย์ จะเหนอ่ื ยยากเพยี งใดไม่เคยคดิ เปน็ กัลยาณมติ รจติ เมตตา หา้ สิบปีเคียงคยู่ วุ พุทธฯ เปรยี บประดจุ ดวงมณที ลี่ า้ํ ค่า เฉิดฉายพรายแสงแหง่ ปัญญา นําพายุวพทุ ธก้าวรุดไกล แปดสิบปที ว่ี ัยไม่หวนกลับ ยง่ิ นบั ย่ิงเหน็ ความยิ่งใหญ่ บนเส้นทางยาวนานทผ่ี า่ นวยั มอบชวี ิตอุทศิ ให้ธรรมทาน ทา่ นสูงคา่ ควรศษิ ยน์ ้อมจติ เทิด ผู้เลอเลิศคุณธรรมนาํ สุขศานต์ ทองเน้อื แท้บริสทุ ธิ์ดุจอาจารย์ ศิษย์ขอจารจดไวใ้ นแผน่ ดนิ ........................................ พระในบ้าน111 ขออนุโมทนาท่านวิทยากรท่ีมีความเสียสละ ที่มาประคับประคองลูกโยคีให้ก้าว จากที่มืดไปพบแสงสว่าง ก้าวจากที่มีความทุกข์ไปพบท่ีเยือกเย็น ท่านเจ้าภาพท่ีบํารุง อาหารมาตลอด ๗-๘ วัน ผู้ปฏิบัติธรรมถ้ายุ่งกับการทํามาหากินก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรม เพราะฉะน้ัน จึงเป็นผู้มีพระคุณอย่างย่ิงต่อผู้ปฏิบัติ ท่านเหล่านี้คือ คุณอาทร-คุณยุพยง ติตติรานนท์, คุณย่าสมหมาย พรรณรักษา, คุณจักษณา เอี่ยมวสันต์ บริษัททันตสยาม วิสาหกจิ ผู้สละทรัพย์เพอื่ ลกู โยคี เปน็ มหากุศลอย่างยิ่ง วนั หนึง่ เมอื่ ๒๕๔๓ ปมี าแลว้ วันนั้นเป็นวันวิสาขบูชา เจา้ ชายสิทธัตถะบรรพชา แล้ว ๖ ปี บําเพ็ญเพียรมาถึงวันข้ึน ๑๕ คํ่า เดือน ๖ มาแสวงหาท่ีปฏิบัติธรรม เพ่ือให้ ตรัสรู้ในวันน้ี ตอนเช้าประทับอยู่ใต้ต้นไม้ คนใช้ของลูกเศรษฐีออกมาดู ได้บนไว้ท่ีต้นไม้ ขอใหป้ ระสบความสาํ เร็จในชีวติ จะมาแกบ้ นในวันวสิ าขบชู า คนใช้มาปัดกวาดโคนต้นไม้ เห็นเจา้ ชายประทบั สมาธใิ ต้ต้นไม้ บารมีเต็มเป่ยี ม ผวิ พรรณผ่องใส คนใช้ก็วิ่งไปบอกนาย 111 พ.อ. ทองคํา ศรีโยธิน บรรยายเมื่อวันวสิ าขบูชา ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓ หลักสตู ร พฒั นาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ๑๔-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓.

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๔๘ ว่าเห็นเทวดาน่ังใต้ต้นไม้ นางสุชาดาปรุงอาหารอย่างดีชื่อข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองมา น้อมถวาย พระองค์ก็ทรงรับ แล้วเสด็จไปใต้ต้นโพธ์ิเพื่อเสวยพระกระยาหาร เสร็จแล้ว อธิษฐานเส่ียงทาย หากบรรลุเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ําข้ึนไป ในที่สุดถาดก็จมไปถึงที่อยู่ของพญานาค เป็นอันว่าอาหารม้ือนั้นเปล่ียนเจ้าชายให้ กลายเป็นศาสดาเอกของโลก มื้อสําคัญท่ีสุดของพระพุทธเจ้า เหมือนพวกเราทุกคนใน ที่นี้รับประทานอาหารของเจ้าภาพ ใครท่ีเป็นถาดเงินปฏิบัติไปจะเป็นถาดทองคํา เปล่ียนเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ เปล่ียนดวงวิญญาณจาก วิญญาณแมลงวันเป็นแมลงผึ้ง ตอมแต่ดอกไม้หอม วันวิสาขบูชาเป็นวันที่เปลี่ยนจาก เจ้าชายเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะฉะนั้น ลูกทุกคนท่ีปฏิบัติวิปัสสนา เป็นผู้มีบุญสูง มาบําเพ็ญเพียรในระยะเวลาสําคัญท่ีสุดของโลกคือวันวิสาขบูชา วันน้ีเป็นวันท่ี ๔ ของ การปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ลูกทุกคนจะเปล่ียนชีวิตใหม่ จากถาดเงินเป็นถาดทองคํา เปล่ียนจากพลอยเป็นเพชร วันที่ ๖ ของการปฏิบัติจะมีเสียงแว่วบอกตัวเอง ไม่สูบบุหร่ี มา ๖ วัน ทําไมจะกลับไปเป็นทาสอีก เปลี่ยนจากแมลงวันเป็นแมลงผ้ึง ลูกทุกคนที่ไม่ดี จะเปลี่ยนตัวเอง พัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุขด้วยการบําเพ็ญสมาธิ ทําจิตใจให้ เป็นสมาธิเป็นปัจจุบัน มีมารยาท เปลี่ยนชีวิตใหม่ เหมือนตายแล้วเกิดใหม่ เป็นสาระอัน ประเสริฐ การพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุขเหมือนการบ่มมะม่วง พอวันที่ ๔ จะรู้ ได้ทันทีว่ามะม่วงสุกเพราะกลิ่นหอม ใครอดทนมากก็หอม ใครทําคนน้ันได้ เหมือนการ ทํานา อยู่ที่ความขยัน ทํามากก็ได้มาก ทําน้อยก็ได้น้อย การพัฒนาจิตทําให้มะม่วง เปลี่ยนสีผิวจากเขียวเป็นเหลือง เปลี่ยนรสจากเปร้ียวเป็นหวาน วันแรกที่ลูกเข้ามาลูกยัง ดิบ กิริยามารยาทยังแข็งกระด้าง จิตใจก็ไม่เช่ือม่ัน วิทยากรแนะนําลูกให้ทําช้าๆ มีสติ ตอนนี้จิตใจสงบกว่าวันแรก กริยาก็นุ่มนวล กราบก็สวย เสียงก็นุ่ม เทวดาก็ช่ืนชม เล่ือมใส จิตใจของลูกก็เป็นมะม่วงที่สุก นุ่มนวล อ่อนโยน สุภาพ เป็นยอดคน เหมือนกับ ยอดไม้ ต้องอ่อน ยกตัวอย่าง คนท่ีคนรักกันทั้งเมืองขณะนี้คือสมเด็จพระเทพ รตั นราชสดุ า ท่านทรงสภุ าพนมุ่ นวล คนรักทัง้ เมือง ขณะนี้ลูกอ่อนโยนกว่าเดิม พัฒนาได้ จริง ลูกปฏิบัติถึงวันน้ีลูกจะมีเมตตา รู้จักให้อภัย เปล่ียนจากเปร้ียวเป็นหวาน สมุห์บัญชี หญิงคนหนง่ึ มารายงานวา่ เธอเปน็ คนไมย่ อมใคร ใครทําให้เจ็บใจต้องเอาคืน แต่ขณะนี้ใจ เย็นลงแล้ว ให้อภัยได้แล้ว โยคีชายคนหน่ึงมีบัญชีแค้นในใจ ขณะน้ีได้ฉีกท้ิงแล้ว ให้อภัย แผ่เมตตาให้ จากวันแรกถึงวันท่ี ๔ จะเปล่ียนไป ผิวพรรณผ่องใส ใจเย็น ใจเป็นนายกาย เป็นบ่าว สงบ ใบหน้าสดใส จิตใจผ่องใส การพัฒนาจิตพิสูจน์ได้ท้ังหมด มะม่วงดิบไม่มี กล่ินหอม วันนี้เริ่มมีกล่ินหอม ใจหอม ความจริงในตัวเราไม่มีอะไรหอม แต่จะหอมได้ อย่างไร ดอกมะลิเป็นราชินีดอกไม้หอม หอมเย็นช่ืนใจ เขาจึงร้อยมาบูชาพระพุทธรูป ร้อยถวายในหลวง พระราชินี แก่นไม้ในป่า เช่น แก่นจันทน์ ยังหอมในตัว รากไม้ เช่น

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๔๙ รากกฤษณา ก็หอมธรรมชาติ เอามารวมใส่พานต้ัง ยังหอม แต่คนเราหอมย่ิงกว่าน้ัน หอมคุณธรรมความดีออกมาจากใจ วันท่ี ๓ ถึง ๔ มีใครจิตใจหอมฟุ้งไปถึงพ่อแม่บ้าง คิดถึงพ่อแม่เป็นพิเศษ ระลึกถึงว่าทําอย่างไรจึงจะชวนท่านมาปฏิบัติได้ นี้แหละกลิ่น หอมของเรา “สะตัญจะคัณโฑ ปฏิวาตะเมติ” กล่ินหอมของคนดีจะฟุ้งย่ิงกว่ามะลิ แก่น จันทน์ รากกฤษณา กล่ินหอมของคนดี ยอดกตัญญู หอมทั้งตามลมท้ังทวนลม หอมไกล ไดเ้ ป็นพันกิโล ใครเป็นยอดกตัญญูดูกันที่หัวใจ ระลึกถึงผู้มีคุณ ตอบแทนผู้มีคุณ หอมฟุ้ง มาจากใจ “คุณแมห่ นาหนักเพ้ยี งพสุธา” ทงั้ หนาท้ังหนกั ยังกับแผ่นดิน ไม่มีแผ่นดินก็ไม่มี ตึก แม่ใหญ่ขนาดน้ี ยิ่งใหญ่ท่ีสุด “อันมือไกวเปลไซร้แต่ไรมา คือหัตถาครองพิภพจบ สากล” มือไกวเปลเล็กๆ น้ีคอื มอื ครองโลก โลกกค็ อื ลกู ทน่ี ัง่ อย่นู ้ี แม่ปัน้ มากบั มอื อาจารย์เป็นลูกกําพร้า พ่อ ตายตั้งแต่ ๔ ขวบ แม่อาจารย์มีความ ทุกข์โศก กลับไปหาพ่อตัวที่บ้าน พ่อมี ภรรยาใหม่ ไมแ่ สดงความเมตตา บังเอิญ ได้พบแม่ชีท่านหน่ึง อยู่ท่ีเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ได้คุยกับแม่ชี ในท่ีสุดก็ ตัดสินใจบวชเป็นแม่ชี เพราะแม่เป็นชีจึง กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดอาจารย์ตามไป เอาพ่ีชายไปเป็นครูสอนท่ีโน่น แล้วมารับอาจารย์ พอเรียนจบประถมก็อยากจะเรียน มัธยม ไม่มีสิทธิเรียน ไม่มีค่าเล่าเรียน แม่บอกว่าลูกเรียนหนังสือพระ เรียนให้เก่งสัก อย่างแล้วจะเป็นที่พ่ึงของชีวิตได้ ก็เชื่อแม่จึงบวช และเรียนหนังสือ จนมีความรู้ พอสมควร จบออกมาจากพระ โรงเรียนนายร้อย จ.ป.ร. รับให้เป็นอาจารย์สอนศาสนา ในโรงเรียนนายร้อย ยศพันเอกพิเศษน้ีเป็นยศอาจารย์สอนศาสนานักเรียนนายร้อย ยิง ปืนไม่เป็น เพราะแม่ จึงมีสิทธิเป็นอาจารย์นักเรียนนายร้อย แม่เป็นอาจารย์คนแรก แม่ เป็นพระพรหมของลกู สอนเราทั้งรกั ทงั้ ทะนุถนอม เป็นอาจารย์คนแรก อาจารย์จําได้แม่ พูดว่า “ถัดจากหัวใจแม่ คือลูก” ช้ีที่หัวใจ ลูกอย่าเกเร เราลูกไม่มีพ่อ เพราะฉะน้ัน อาจารย์ทําบาปน้อยท่ีสุด เกเรน้อยที่สุด เราไม่มีพ่อ หมั่นศึกษาเล่าเรียน โตข้ึนได้เล้ียง แม่ พอเป็นอาจารย์นักเรียนนายร้อยมีเงินเดือน มียศ ท่ีแม่สอนจริงหมด มีความรู้ดี ความประพฤติดีพอสมควร คนให้ความยกย่องเพราะแม่ป้ัน ใครท่ีกําแหงกับแม่เลิกกํา แหง อย่านึกว่าตัวเก่ง เพราะแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ลูกกราบ ลูกบํารุงเล้ียง ลูกจะ ทะนุถนอม จะปฏิบัติด่ังพระอรหันต์ เพราะฉะน้ันลูกจึงมีแต่ความรุ่งเรือง ลาภยศ สรรเสริญจะมาเป็นแถว ค้าขายเจริญ ผู้ปั้นเราคือแม่ คนที่ ๒ คือ คุณบิดรดุจอากาศ กว้าง คุณพ่อเหมือนอากาศออกซิเจน โลกนี้แผ่นดินน้ี ถ้าไม่มีออกซิเจนก็อยู่ไม่ได้

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๕๐ ออกซิเจนทําให้มีชีวิต เพราะฉะน้ันอย่าทะเลาะกับพ่อ ไม่มีอากาศออกซิเจน ไม่มีต้นไม้ ไม่มีชวี ิต ไม่มีเรา พ่อมีพระคุณยิ่งใหญ่ บางคนทะเลาะกับพ่อเพราะพ่อมีแม่ใหม่ปล่อยให้ เราอยู่กับแม่ พ่อท้ิงเรา เราก็เจ็บใจแทนแม่ ไม่นับถือท่าน มีพระองค์หนึ่งเรียนหนังสือ พระจนได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยค วันนั้นไปรับพัด ขณะที่รอก็ไปนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ มีผลไม้ หล่นมาตรงหน้า เกิดแวบข้ึนมา ผลไม้น้ีมีแม่เป็นต้นไม้จึงเกิดเป็นผลขึ้นมา และเรามา จากไหน ต้นของเราก็ต้องเท่ากับแม่ชีซิ แวบขึ้นมา ถ้าไม่มีพ่อ เราก็ไม่ได้เรียนสําเร็จ มาถึงวันนี้ ท่านต้องแยกไปเพราะกฎแห่งกรรมทําให้แยกกันได้ กฎแห่งกรรมทําให้ แต่งงานกัน เพราะฉะนั้นพระคุณเอาไว้ต่างหาก เราเป็นหน้ีใครเราต้องจัดการใช้หนี้ ไม่ ใช้หน้ไี ม่ใช่คนดี คนดีทโ่ี ลกตอ้ งการคือยอดกตัญญู เพราะฉะน้ัน คนที่สร้างความสะเทือน ใจให้กับพ่อแม่ ต้องล้างใจวันนี้ ตอบแทนบุญคุณท่านตามเหมาะตามควร พระคุณ ย่ิงใหญ่คือท่านเล้ียงเรามา รักเราจริง ไม่มีใครรักเราเท่ากับแม่กับพ่อ “อันชนกชนนีนี้รัก เจา้ เทียบเท่าชีวากว็ า่ ได”้ พอ่ แมร่ ักลูกเท่าชีวติ ตอนอาจารย์เป็นพันตรี ไปสอนที่โคราช เขามีรถจิ๊บจัดให้ อาจารย์สั่งคนขับรถ ออกนอกเทศบาลไปอําเภอปักธงชัย ๔ โมงเย็น คนเอาวัวมาเล้ียงใกล้ถนน รถว่ิงไปพอดี กับวัวข้ามถนน รถผ่านไปไม่ได้ มีแม่วัวตัวหนึ่งไม่ยอมเดิน พอเข้าไปใกล้เห็นลูกวัวยืนพิง ขาแม่อยู่ มันคลอดลูกตอนกินหญ้า แม่วัวหันมาค้อนอาจารย์ตาโตๆ นาทีน้ันอาจารย์ สะเทือนใจ พ่อแม่รักลูกเท่าชีวิต ตอนนี้เห็นจริง แม่วัวรักลูกกว่าชีวิต แม่อาจารย์รัก อาจารย์ยิ่งกว่าชีวิต พอรถจอดสนิทแล้ว แม่มันชวนลูกค่อยๆ เดิน ที่มันไม่กระโดด เพราะมันรู้ว่าลูกกระโดดตามไม่ได้ รถต้องทับตายแน่ แม่รักลูกยิ่งชีวิต วัวตัวน้ีสละชีวิต ช่วยลูก ลูกวัวตัวน้ีตอบแทนแม่อย่างไร ลูกวัวเป็นสัตว์เดรัจฉาน ใจถึงธรรมะได้น้อยมาก ลูกวัวไม่ตอบแทนบุญคุณ ลูกวัวสู้ลูกคนไม่ได้ แต่ไม่แน่ รับรองว่าวัวจะไม่เถียงแม่ ไม่ทํา ให้แม่นํ้าตาไหล แต่ลูกคนทําให้แม่ร้องไห้ก่ีครั้ง กําแหงว่าตัวใหญ่ เถียงแม่ ตวาดแม่ แสดงว่าสู้ลูกวัวไม่ได้ คนอกตัญญูสู้ลูกวัวไม่ได้ วันน้ีลูกจิตใจแจ่มใส รู้สํานึก นี้แหละ ปัญญาเกิดแล้ว พัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข น้ําตาซึม เห็นข้อบกพร่องตัวเอง เห็นความผิดของตัว คนกําลังเป็นบัณฑิต ปัญญาเกิด จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะฉะน้นั ไม่ต้องเสยี ดาย คนกําลังรับปริญญาจากพระพุทธเจ้า นํ้าตาจะซึม เป็นน้ําตา ของปัญญา เป็นบัณฑิตเปล่ียนแปลงได้จากการปฏิบัติน้ียอด ผู้จัดการธนาคารปฏิบัติ ธรรมแล้วมาบอกว่า เต่ียอยู่กับผม ผมก็ภูมิใจว่าผมเป็นคนกตัญญู แต่ปฏิบัติธรรมแล้ว รู้ตัว ตกลงผมยังใช้ไม่ได้ เลี้ยงเต่ียก็ได้บุญตอบแทนค่าอาหาร แต่ยังเลวอยู่ เตี่ยผมแก่ ตอนเช้าผมจะกินข้าว กินขนมปัง กาแฟ กับลูกกับเมีย ส่วนเตี่ยให้คนใช้ดูแล ผมไม่ดูแล แต่งตัวเสร็จผมก็เดินผ่าน เต่ียก็นั่งเงียบๆ เหงาๆ คนเดียว ผมก็เดินผ่านไปทํางาน ตอน เย็นกลับมาก็เดินผ่านเตยี่ ไปคุยกับเมียกับลูก แล้วก็ไปเล่นกับไอ้ด่าง ตกลงผมมีเวลาให้ไอ้

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๕๑ ด่าง แต่ไม่มีเวลาให้เตี่ย ผมเลวมาก ผู้จัดการธนาคารมีความรู้สูง ได้ปริญญาแต่ไม่ส่อง กระจกดูเงาตัวเอง ไอ้ด่างมีอะไรก็เล่นด้วยพูดด้วย กับเตี่ยไม่พูดสักคํา ผมมาประชุมท่ี กรุงเทพฯ โทรศัพท์กลับบ้าน เต่ียเป็นคนรับสาย ผมก็ขอพูดกับต๋ิม ไม่พูดกับเต่ีย นํ้าใจ แห้งขนาดนี้ ไม่รู้บุญคุณ ไม่ตอบแทนบุญคุณ ผมเลวมาก ต้องเปล่ียนแปลงตัวเองใหม่ ต้องมีเวลาให้เต่ีย นางพยาบาลก็ยังดูคนไข้อย่างประคับประคอง น่ีเต่ียเป็นพระอรหันต์ ไม่ดูแล ลูกทุกคนเอาไปคิด พ่อแม่เป็นอาจารย์คนแรกท่ีสอนลูก ลูกอย่างน้ันลูกอย่างน้ี เราโตข้ึนแลว้ กาํ แหง ไม่ต้องโตมาก ขนาดเรียนมัธยม แม่สอนอย่างนั้นอย่างนี้ รําคาญจะ ตาย ไม่ต้องพูดมาก เบื่อ บางทีก็กระทืบเท้า แทนที่จะขอบคุณ ส่งไปเรียนหนังสือก็ลืม ตัวว่าฉันเรียนมัธยมแม่เรียนประถม ๔ แม่สอนเพราะลูก เป็นลูกของแม่จึงสอน ไม่ใช่ลูก แม่ แม่ไม่สอน มีความรักยังไม่สะเทือน ทุ่มเทเวลาท้ังหมดให้เพื่อน มีอะไรก็เพื่อน เอา เวลาให้เพื่อน ไม่มีเวลาให้แม่ให้พ่อ ลูกทุกคนไปพิจารณาตัดสินตัวเอง ตอนน้ีลูกเห็น ตวั เองยนื อยู่หนา้ กระจกบานใหญ่ ลกู เห็นดินหมอ้ เปื้อนหน้า ต้องมใี ครบอกไหม ลูกเห็นก็ เข้าห้องน้ําล้างเอง เห็นความผิดของตัวเอง ปัญญาเกิดจากการภาวนา แม่บางคนมา กราบขอบคุณอาจารย์ ส่งลูกมาปฏิบัติ บอกว่าดิฉันได้ลูกคนใหม่ เปล่ียนเป็นคนละคน เปลี่ยนจากตะก่ัวเป็นเงิน เปลี่ยนจากเงินเป็นทองคํา พระพุทธเจ้าเปลี่ยนเขาแล้ว เห็น หรือยงั มะม่วงหอม คราวน้ี ไปดูฝ่ายอกตัญญู หมดความเจริญ ชีวิตล้มลุกคลุกคลาน ไม่เห็นพระคุณ ของพ่อแม่ ตรงกันข้ามกับฝ่ายมีคุณธรรม อีกรายเป็นนักธุรกิจ กู้เงินมาต้ังโรงงานขาย ไฟฟ้า ขายดิบขายดี วันหน่ึงไล่เต่ียอายุ ๗๐ ปีออกจากบ้าน หอบผ้าไปขออาศัยคนรู้จัก อยู่ ซ้ําใจ ไม่นานก็ตาย ทําบุญกับพระอรหันต์ชีวิตเจริญ ทําบาปกับพระอรหันต์ตกนรก หมกไหม้ ย่อยยับภายใน ๑ ปี ตอนนั้นเงินบาทลอยตัว ยุคพลเอกเปรม บริษัทถูกยึด หมดตัว บาปที่ทํากับผู้มีพระคุณโดยเฉพาะกับพ่อแม่ นอกจากโรงงานถูกยึด ตัวเองยัง เป็นอัมพฤกษ์ซีกซ้าย พูดเสียงก็แหบๆ แต่ก่อนเคยเสียงดัง ในท่ีสุดยิงตัวตาย เพราะฉะน้นั ลูกทุกคนจัดการกบั ตัวเองให้เหมาะให้ควร คราวนี้มาดูคนหอมยิ่งกว่าดอกมะลิ นักเรียนนายร้อย จ.ป.ร. ช้ันปีท่ี ๑ จะคดั เลือกคนท่ีนสิ ยั ดี วินัยดี ขยันเรียนดี ผลการเรียนดี จะส่งคนยอดดีไปเรียนโรงเรียน นายร้อยฝรั่งเศส ไปเรียนแข่งกับนักเรียนฝรั่งเศส ฟังรู้บ้างไม่รู้บ้างไม่ได้ ต้องขยัน วัน เสาร์อาทิตย์ไม่ได้หยุด ไม่ได้เที่ยว ต้องปรับตัว ต้องขยัน จะกินข้าวต้องไปที่โรงเลี้ยง มี แต่อาหารฝร่ัง อยากกนิ อาหารไทย ก็ไปท่ีบ้านท่านทูตทหาร ไปช่วยล้างชาม ขูดมะพร้าว พออาหารเสร็จก็กินรว่ มกัน เปน็ เด็กขยัน ชว่ ยงานทุกอย่าง พอครบ ๒ ปี ท่านทูตจะกลับ กรุงเทพฯ นักเรียนนายร้อยคนนี้ก็ไปหาท่านทูตขอฝากเงินท่ีเก็บไว้ ๔-๕ พันบาท มาให้ พ่อ พ่อเป็นคนขายถ่านในคลอง เช่าเรือไปขายถ่านได้เงินมาเล้ียงแม่กับน้อง “ผมขอส่ง

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๕๒ เงินใหพ้ อ่ เพื่อซื้อเรือขายถ่านจะได้ไม่ต้องไปเช่าเรือ จะได้มีเงินเหลือเก็บ” ท่านทูตได้ฟัง ก็ตะลึง ไม่นึกว่าจะเป็นยอดกตัญญูขนาดนี้ ไม่ต้องรอให้สําเร็จแล้วค่อยมาตอบแทน บุญคุณ หอมยิ่งกว่ามะลิ พอสําเร็จกลับมารับราชการเจริญรุ่งเรือง ได้เล่ือนยศขึ้นไป ขณะน้เี ปน็ พลเอก เป็นอันว่าถ้าการกตัญญูชีวิตราบรื่นรุ่งเรือง ถ้าอกตัญญูเนรคุณ เหมือนตาลยอด ด้วน หนอนเจาะยืนตาย ต่อให้เป็นรัฐมนตรีก็ยืนตาย จะพาไปพบยอดกตัญญูอีกคนหนึ่ง เพ่ือให้ลูกประทับใจ ในหัวใจของพ่อแม่มีแต่เสียสละให้ลูกมากมาย ชีวิตก็ไม่เสียดาย ทรัพย์สมบัติก็ไม่เสียดาย มีอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอนุบาลคนหนึ่ง มีคนรักกันท้ังตลาด เพราะเป็นคนใจบุญ เล่าให้ฟังว่า ตอนดิฉันเป็นนักเรียน ดิฉันจน พอโรงเรียนจะเก็บค่า เทอมก็ไปหาแม่ แม่ถอดสร้อยจากคอออกให้เขาไปตัดขายเท่ากับค่าเทอม สละได้ ทํา เพื่อลูกได้ พ่อแม่ยิ่งใหญ่ท่ีสุด ลูกท่ีตอบแทนก็มี ไม่ตอบแทนก็มี อยู่ที่จิตใจใครได้สัมผัส ธรรมะมากกว่ากัน ที่บ้านพักคนชราบางแค มีคนแก่ท่ีมีลูกทั้งน้ัน แต่ลูกไม่ดูแล มีบ้างพอ ถึงวันสงกรานต์ก็ซ้ือขนม ข้าวของมาให้ พาลูกพาเมียมาเยี่ยม ๓๖๕ วัน ในหน่ึงปีมาหา สักครงั้ กช็ นื่ ใจ จติ ใจแจ่มใส และในจาํ นวนลกู ที่ไม่มา แมก่ น็ ั่งแหง้ เหี่ยว เพราะฉะนั้น ความหวังของพ่อแม่ มี ๓ ความหวัง “ยามแก่เฒ่าหวังเจ้าเฝ้ารับ ใช้” ตอนยงั ไมแ่ ก่ทาํ ขนมขายส่งลูกเรยี น ตัวเองเหน่อื ยไมว่ ่า พอแก่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็หวังพึ่งลูก “ยามเจ็บไข้หวังเจ้าเฝ้ารักษา” แก่แล้วมือเท้าทํางานไม่ได้หวังให้ลูกช่วย ประคอง เหมือนนํ้าในลําธาร มีน้ําในลําธารท่ีไหนไหลข้ึนที่สูงบ้าง จิตใจคนที่ไม่ปฏิบัติ ธรรม ไม่ซ้ึงในความกตัญญูๆ จะไหลไปหมด จะไหลกลับไปหาพ่อแม่น้ันยาก มีคุณน้าคน หนึ่งเล่าให้ฟังว่าลูกดิฉันแต่งงานออกไป ดิฉันแบ่งที่ดินให้ปลูกบ้าน นานๆ จะไปอยู่ด้วย วันหน่ึงดิฉันไปค้างท่ีบ้านลูกสาว กําลังทานข้าว ลูกสาวเรามีอะไรอร่อยก็ตักให้สามี แม่ ไม่ตักให้ แปลว่ากระแสนํ้าไหลไปหาแฟนหาลูกหมด ไม่ได้ไหลมาหาแม่ ส่วนมรดกลูก สาวบอกว่าถ้าแบ่งมรดกเขาจะต้องได้เท่ากับคนอ่ืน แต่มีอะไรอร่อยก็ตักให้ผัวหมด จะ ตักให้ทั้ง ๒ คน ก็จะได้บุญเท่ากัน ส่วนคนท่ีมีคุณธรรมพิเศษ ส่งไปเล้ียงต้นลําธารได้ น้ํา ไหลลงตํ่าก็สร้างเคร่ืองสูบน้ํา มีสายยางต่อ เลี้ยงต้นลําธารได้ เพราะฉะน้ัน ขณะน้ีลูกมี เคร่อื งสบู สง่ ไปตน้ ลําธารได้ รอ้ ยคนจะมีสักกี่คนที่ทําได้ การปฏิบัติธรรมนี้ยอดที่ทําให้เรา เห็น ยามแก่เฒ่าหวังเจ้าเฝ้ารับใช้ ใครเป็นมือเป็นเท้าให้พ่อแม่ ได้ปฏิบัติรับใช้จนพ่อแม่ ส้นิ ลมในออ้ มแขนถือวา่ ยอด ในหลวงของเราเปน็ ยอดสุด ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทที่ รงคณุ ธรรมสูงยิ่งกว่าฟ้า ใหญ่ยิ่งกว่าพสุธา ลึกยิ่งกว่ามหาสมุทร เย็นย่ิงกว่าน้ําในคงคา ในหลวงองค์นี้ยอดกตัญญู เราเกิดมาได้พบผู้มีบุญ ยอดกตัญญูเป็นสิริมงคลกับชีวิต ทรงรับใช้ประเทศชาติ “เราจะ ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ตลอดกว่า ๕๐ ปี

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๕๓ ทรงช่วยเหลือประชาชน ทั้งภาคเหนือ, กลาง, อีสาน, ใต้ ทรงสร้างอ่างเก็บน้ํามากมาย ทรงส่งเสริมอาชีพ ขณะน้ีโลกได้ตัดสินให้ว่ากษัตริย์ไทยยอดท่ีสุด มีคุณธรรม ช่วยเหลือ ประชาชน เสียสละ “ยามแก่เฒ่าหวังเจ้าเฝ้ารับใช้” ทุกคนคงเห็นภาพในหลวงทรงประคองสมเด็จ ยา่ เสด็จพระราชดาํ เนินท่ามกลางคนเฝ้าจาํ นวนมาก เป็นภาพที่ประทับใจคนท้ังประเทศ อาจารย์ทราบจากเลขานุการของสมเด็จย่า ท่านเล่าว่าประมาณ ๑ ปี ก่อนสมเด็จย่าจะ สน้ิ พระชนม์ ในหลวงทรงตระหนักว่า สมเดจ็ ยา่ ทรงมพี ระชนมายุ ๙๔ แล้ว ต้องรีบใช้หนี้ ตอนเย็นในหลวงเสด็จวังสระปทุม ไปเสวยพระกระยาหารกับสมเด็จย่า สัปดาห์หน่ึง ๕ วัน ทรงตักอาหารอร่อยถวายสมเด็จย่า ทรงชี้ชวนอันนี้อร่อย อันน้ันอย่างนั้นอันนี้อย่างนี้ ทรงป้อนพระราชชนนีของท่านเหมือนกับแม่ป้อนเราตอนเด็กๆ อีกอย่างขณะที่เสวย ใน หลวงทรงรับส่ังถามสมเด็จย่าว่า ตอนในหลวงทรงพระเยาว์ สมเด็จย่าเคยทรงสอนอะไร ท่ีสําคัญบ้าง ทรงยากฟัง ซึ่งสมเด็จย่าก็จะทรงเล่าให้ฟัง “ยามเจ็บไข้ หวังเจ้าเฝ้ารักษา” เมื่อสมเด็จย่าทรงพระประชวร เข้าโรงพยาบาลศิริราช ในหลวงเสด็จไปเย่ียมทุกคืน ประมาณตี ๒ ถึง ๔ เวลาในหลวงกับสมเด็จย่าบังเอิญประชวรพร้อมๆ กัน อยู่ โรงพยาบาลเดียวกัน สมเด็จย่าประทับซีกหนึ่ง ในหลวงประทับอีกซีกหน่ึง วันหนึ่งใน หลวงเสด็จออกมานอกห้อง ทอดพระเนตรเห็นพยาบาลเข็นรถสมเด็จย่าผ่าน ในหลวง เสด็จตรงมาทร่ี ถสมเด็จย่าแล้วทรงเข็นรถแทนพยาบาล สมเด็จย่าก็ทรงกอดในหลวง “ยามใกล้จะตายวายชีวา หวังลูกช่วยปิดตาเม่ือสิ้นใจ” ขณะที่สมเด็จย่าจะ ส้ินพระชนม์ ในหลวงไม่ได้ประทับใกล้ พอทรงทราบก็รีบเสด็จไปยังห้องสมเด็จย่าซ่ึง นอนสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลงทรงเข้าไปคุกเข่ากราบลงท่ีพระอุระของสมเด็จย่า พระ พักตร์ในหลวงทรงซบลงกับหัวใจของแม่ ทรงระลึกถึงความเสียสละของแม่ น้ําตาหล่ัง ออกมา เป็นภาพประทับใจย่ิง หอมหัวใจของคุณแม่ หัวใจใครก็หอมสู้หัวใจของคุณ พ่อคุณแม่ไม่ได้ ในหลวงทรงหวีพระเกศาให้สมเด็จย่าด้วย หวีให้สวยที่สุดในโลก ไม่ รังเกียจ ไม่กลัว แต่งตัวให้แม่ อาจารย์ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับสมเด็จกรมพระยาดํารงรา ชานุภาพซ่ึงเป็นพระราชโอรสรัชกาลท่ี ๔ ตอนพระชนมายุได้ ๗ พรรษา รัชกาลที่ ๔ สวรรคต เจ้าจอมมารดาชุ่มต้องออกจากหวัง สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงอยู่ กับแม่ เป็นลูกยอดกตัญญู เรียนหนังสือเก่ง ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงต้ังให้เป็นเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ดํารงตําแหน่งอยู่ ๒๐ ปี กรมพระยาดํารงฯ เสวยเช้าแล้ว พอรถ ประจําตําแหน่งมารับก็เดินทางไปหาแม่ที่เรือนอีกหลัง ข้ึนไปกราบก่อนไปทํางาน ถ้าแม่ น่ังที่เก้าอ้ี ก็กราบท่ีเท้า หน้าผากติดหลังเท้าเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต หากแม่นั่งพับเพียบก็ กราบที่ตัก เพราะเท้าซ้อนที่ตัก ก่อนนอน ๓ ทุ่มก็ลงจากวังมากราบแม่แล้วค่อยไปนอน เราทําสู้ท่านไม่ได้ กลับไปต้องไปกราบเท้าใช้หน้ี เคารพผู้มีพระคุณต้องสิ่งสูงสุดไปสัมผัส

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๕๔ กับสิ่งท่ีต่ําสุดของผู้มีพระคุณ คือหน้าผากกับเท้าของผู้มีพระคุณ ใครทําได้เป็นสิริมงคล ชีวิต ก่อนนอนก็กราบ หาคนเทียบไม่ได้อีกแล้ว อาจารย์เวลาเงินเดือนออกก็เอา เงินเดือนไปให้แม่ท่ีวัด เพราะแม่เป็นแม่ชี ชวนลูกกับเมียไปด้วย ต่ืนเช้าเดินผ่านห้องก็ เอาหม้อปัสสาวะมาเท ขณะที่เดินลงบันไดรู้สึกตัวเองเบา ภูมิใจว่าเราเป็นลูกกตัญญู ปกติสวดมนต์จะกราบ ๕ ครั้ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มารดาบิดา ครูบาอาจารย์ กราบผู้ท่ีควรกราบควรเคารพควรบูชา วันหน่ึงแม่มาพักด้วย ก็สวดมนต์ก่อนนอน พอ กราบครั้งท่ี ๔ หมอนมันหัวเราะ แม่มาอยู่ด้วยทําไมไม่ไปกราบที่ตักเอง ก็ผลัดกับหมอน เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน พอถึงพรุ่งน้ีก่อนนอนก็ไปคุยกับแม่เรื่องธรรมะ พอได้เวลาพักผ่อน อาจารย์ก็ยกมือเตรียมจะกราบ มันรู้สึกจ๊ักกะเดียมมือ ตกลงวันน้ันกราบไม่สําเร็จ “ทําดี เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา” เพราะฉะนั้น พรุ่งนี้ต้องเอาใหม่ทําอย่างไรถึงจะกราบแม่ได้ อาจารย์มีลูกสาว กําลังเรียนอยู่อนุบาลก็บอกกับลูกว่าถ้าอยากเรียนเก่งให้ไปนวดคุณย่า พอได้เวลานานพอสมควรก็บอกลูกสาวให้มากราบคุณย่าพร้อมกัน คุณย่าก็ย้ิมแก้มปริ สวยที่สุด คงให้คะแนนสมกับเป็นอนุศาสนาจารย์สอนคนทั่วไป แต่ท่ีไหนได้ต้องอาศัย บารมลี ูกกราบแม่แก้เขิน ประเด็นสุดท้าย ขอเล่าเรื่องอาจารย์ของอาจารย์ ขณะน้ีท่านเสียแล้ว แม่ของ ท่านตาบอดท้ัง ๒ ข้าง ผู้มีพระคุณต้องเป็นพระประธานของบ้าน ต้องให้แม่อยู่ท่ีสง่า ไม่ มีท่านไม่มีเรา เพราะมีท่านจึงมีวันนี้ ท่านอาจารย์บอกว่าท่านให้เงินเดือนแม่เดือนละ ๓๐๐ บาท วันน้ีท่านกําลังคิดจะตัดรายจ่ายภายในบ้าน อาจารย์บอกให้ตัดเงินที่ให้แม่ได้ ไหม ทา่ นบอกวา่ ปหี นึง่ เสอื้ ผ้า ๓ ชุดให้รา่ งกาย อาหารใหท้ าน เงิน ๓๐๐ บาท เพื่อเลี้ยง หัวใจแม่ เคยไหมทเี่ ราไมม่ ีเงนิ ในกระเปา๋ หวั ใจเราเหีย่ วเฉาเหมือนดอกไม้เหี่ยว ตอนไหน เงินเดือนออกหัวใจบาน วันไหนเงินเดือนออกก็คลานเข้าไปหาคุณแม่เอาเงินไปให้ คุณ แม่ก็ให้ศีลให้พรเอาเก็บไว้ใต้หมอน เม่ือตอนท่ีหลานชายเกิดก็รับขวัญด้วยสร้อยทอง เวลามีคนมาเรี่ยไรบอกบุญให้สร้างโบสถ์ ที่นครนายก คุณแม่ก็ทําบุญด้วยเงินท่ีเราให้ ทํา ให้แม่ได้ทําบุญไต่บันใดข้ึนสวรรค์ เพราะฉะน้ันใครเงินเดือนขึ้นก็ข้ึนให้แม่ด้วย หลังๆ ท่านไม่ค่อยกล้าไปต่างจังหวัดเพราะแม่แก่มาก ตอนกลางคืนต้องลงมาดูประมาณตี ๒ ชงโอวัลตินให้ด่ืม ตอนนี้โยคีมีจิตที่เอิบอ่ิมประทับใจในพระคุณแม่ หลวงพ่อวัดอัมพวัน ขึ้นเทศน์ให้ทุกคนฟังว่า “วันเกิดของเราคือวันตายของแม่” ให้จําไว้ทุกคน พอวันเกิด ของเราก็ซื้อขนม, พวงมาลัยไปกราบแม่ ถ้าเก่งจริงต้องล้างเท้าให้ด้วย คนน้ันจึง เจริญรุ่งเรือง เพราะฉะนั้นโอกาสน้ีลูกนั่งสมาธิกําหนดปวดหนอๆ ให้คิดว่าแม่คลอดเรา เจ็บกว่าน้ี ปวดกว่าน้ี วันนี้เราจะบูชาพระคุณแม่ ของดีอยู่เลยตายไปนิดเดียว ขอให้ลูก ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมสูงยิ่งๆ ข้ึนไป ประสบความสําเร็จ รู้คุณธรรม เปล่ียนแปลง พฤติกรรมตวั เอง ปรารถนาสงิ่ ใดจงสมประสงค์ทกุ ประการ

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๕๕ สามารถรับชมการบรรยายธรรมของทา่ นอาจารยไ์ ด้ที่ QR.code ....................................

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๕๖ อาจรยิ พจน์ พันเอก บวั ทอง ประสานเนตร “ความคิดเหน็ บางอยา่ ง” .............................. ผมได้ทราบว่ากองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก จะสถาปนากิจการ วปิ ัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐานในหลักการทางพระพุทธศาสนา ผมรู้สึกดีใจพอใจ เป็นอย่างมาก และขอสรรเสริญความคิดในทางสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์แก่กิจการ อนุศาสนาจารย์อยา่ งแท้จรงิ กจิ การอนุศาสนาจารย์จะเจริญไปไม่ได้ หากจะมัวแต่ปฏิบัติ ตามประเพณีการปฏิบัติต่าง ๆ ตามท่ีเคยปฏิบัติมา พวกเราคงจะเคยเห็นและชินกับการ ปฏิบัติเดมิ ๆ เชน่ การอบรมศีลธรรมแกก่ าํ ลังพลของหน่วยเดือนละ ๑-๒ ครั้ง ตามจํานวน หน่วยท่ีอยู่ในความรับผิดชอบของตน โดยอบรมไปแล้วก็อย่างน้ันๆ ไม่เห็นมีการ เปล่ียนแปลงใดๆ ภายในหน่วย เคยทําความผิดใดๆ ก็ทําความผิดน้ันๆ ซํ้าๆ ซากๆ ธรรมะที่ใช้สอนอบรมก็เป็นหัวข้อเดิมๆ ซ้ําซากตามแต่อนุศาสนาจารย์น้ันจะนํามาสอน เพราะอนุศาสนาจารย์ประจําหน่วยจะมีเพียง ๑-๒ คนเท่าน้ัน แต่ละคนก็ต้องประจํา หน่วยนั้นคนละหลายปี แม้จะนิมนต์พระสงฆ์หรือเชิญบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิมาอบรมแทน ตนบ้างเป็นบางครั้ง ก็สักแต่เพียงรับฟังเป็นพิธีเพียงเท่าน้ัน ไม่เห็นมีผลอะไรเท่าที่ควร แต่หากแต่จะจัดหาวิธีการใหม่ๆ โดยใช้การอบรมตามแนววิปัสสนากรรมฐาน อย่างที่เรา คิดกันอยู่ คิดว่าผลคงจะเปล่ียนแปลงไปบ้าง แต่เราอย่าไปเล็งผลเลิศในการบรรลุมรรค ผลนิพานใดๆ ท้ังส้ิน เอาแต่เพียงสร้างให้คนเป็นคนดี อยู่ในศีลในธรรมก็เพียงพอ นอกจากน้ันเราอย่าลืมเยาวชนและบุคคลภายนอกด้วย อย่างหวังแต่เพียงเอาเฉพาะ กาํ ลังพลท่ีเป็นทหารเท่านั้น ในระยะปิดเทอมเราต้องสร้างหลักสูตรสั้นๆ สําหรับเยาวชน และครอบครัวทหารและประชาชนทั่วไป เราอย่าลืมนิมนต์พระสงฆ์ที่ชํานาญในทาง เจริญวิปัสสนากรรมฐานมาบรรยาย เพื่อดึงดูดบุคคลให้มาฟัง หรือมิฉะน้ันก็อาจจะส่ง อนุศาสนาจารย์ท่ีมีจริตนิสัย ไปอบรมกรรมฐานในสํานักท่ีมีช่ือเสียงและเป็นท่ีนับถือของ ประชาชนทั่วไปเป็นรุ่นๆ แล้วกลับมาช่วยกันเป็นอาจารย์สอน คงจะได้ผลบ้างไม่มากก็

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๕๗ น้อย สมัยน้ีประชาชนสนใจในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาก ผมเห็นสมัยหน่ึงเมื่อคร้ัง หลวงพ่อพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ได้จัดต้ังกองการ วิปัสสนาขึ้นในวัดมหาธาตุโดยใช้โบสถ์และวิหารเป็นสถานท่ีอบรม และจัดบริเวณ วิหารคตสําหรับพระภิกษุและสามเณร โดยมีท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทธิ เป็นอาจารย์ สอน ปรากฏมีประชาชนไปปฏิบัติธรรมเป็นจํานวนมาก วันเสาร์-อาทิตย์และวันนักขัต ฤกษ์ ภายในวัดมหาธาตุ แทบหาท่ีเดินไม่ได้ คนแน่นไปหมด แต่ต่อมาคนท่ีมาปฏิบัติก็ นอ้ ยลงกว่าสมัยทท่ี า่ นเจา้ คณุ โชดก ญาณสทิ ธิ เป็นพระอาจารยส์ อน อน่ึงกิจการ อนุศาสนาจารย์กองทัพบกไม่ใช่จะยุติเพียงแค่นี้ เราจะต้องจัดต้ังเป็น “เหล่า” ของ ตนเองให้ได้ จะช่ือว่า “เหล่าอนุศาสนาจารย์” หรืออื่นใดก็ได้ เราจะได้บริหารกิจการ ของเราด้วยตนเอง และทําเป็นนโยบายของเราโดยอิสระ ไม่ต้องไปพึ่งกรมสารบรรณ ทหารบกเป็นเหล่าอย่างเดี๋ยวน้ี ครั้งหนึ่งผมจําได้ว่าขณะผมมียศเป็น พันโท ผมได้ถูก ส่งไปเรียนหลักสูตรนายทหารสารบรรณ/สัสดี ชั้นนายพันร่วมกับนายทหารเหล่าสาร บรรณของหน่วยต่าง ๆ รู้สึกว่าจะเป็นรุ่นท่ี ๒๑ ผมได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้านายทหาร นักเรียนในรุ่นน้ันด้วย ผมได้ปกครองนายทหารน้ันมาได้โดยเรียบร้อย ขณะที่ผมศึกษา ผมมองไม่เห็นเน้ือหาในหลักสูตรจะเก้ือกูลต่อกิจการอนุศาสนาจารย์เลย เมื่อผมเรียนจบ หลักสูตรกลับมารับราชการต่อที่กองอนุศาสนาจารย์ ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า แผนกวิชาการ ผมจึงได้คิดจัดตั้งหลักสูตรนายทหารอนุศาสนาจารย์ข้ึน โดยจัดเป็น ๒ หลักสูตร คือหลักสูตรนายทหารอนุศาสนาจารย์ชั้นต้น (เทียบเท่าช้ันนายร้อย) และ หลักสูตรอนุศาสนาจารย์ชั้นสูง(เทียบเท่าชั้นนายพัน) ท้ัง ๒ หลักสูตร ผมคิด เขียน และ พิมพ์ดีดด้วยตนเองทั้งสิ้น ได้ขออนุมัติจัดต้ังหลักสูตรจากกองทัพบกเป็นหลักสูตรหลัก ตามแนวทางรับราชการ ได้รับการอนุมัติหลักสูตรเรียบร้อย จึงได้ใช้เป็นหลักสูตรในสาย วิทยาการอนุศาสนาจารย์จวบปัจจุบันน้ี ทั้งน้ีได้อาศัยใบบุญจากกรมสารบรรณทหารบก ที่กรุณาให้เข้าศึกษาในโรงเรียนสารบรรณทหารบกเพียงปีละ ๑-๒ คนเท่าน้ัน ซ่ึงกว่าที่ นายทหารอนุศาสนาจารย์จะได้เรียนกันครบทุกนายจะต้องใช้เวลาเกือบ ๑๐๐ ปี เราจะ เล่ือนยศอนุศาสนาจารย์ในแต่ละครั้งจะต้องอิงการศึกษาช้ันนายร้อย และช้ันนายพัน ดว้ ย เชน่ นายร้อยจะตดิ ยศรอ้ ยเอก-พนั ตรีได้ ตอ้ งผา่ นการศกึ ษาหลักสูตรช้ันนายร้อย จะ ติดยศพันโทได้ ต้องผ่านการศึกษาหลักสูตรชั้นนายพัน เมื่อมีสองหลักสูตรแล้วเช่นนี้ เรา ก็สามารถขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนได้ เม่ือมีโรงเรียนแล้วเราก็สามารถจัดตั้งเป็น “เหล่า” ไดก้ จิ การอนุศาสนาจารยก์ ็ไดเ้ จรญิ เตบิ โตยงิ่ ๆขนึ้ ไปได้ สมกบั พระปณิธานของล้นเกล้ารัช การท่ี ๖ สบื ไป ---------------------

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๕๘ อาจริยพจน์ พ.อ. ศรีสวสั ดิ์ แสนพวง112 .......................... สําหรับหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย (๑ มิถุนายน ๒๕๖๒) ซึ่ ง ท่ า น อ ดี ต อ นุ ศ า ส น า จ า ร ย์ ทุ ก ท่ า น ไ ด้ ม อ บ ส ม บั ติ อั น ท ร ง คุ ณ ค่ า ม ห า ศ า ล แ ก่ อนุศาสนาจารย์รุ่นหลงั ๆ ได้ดําเนินรอยตามอย่างตอ่ เนอ่ื ง จนครบ ๑๐๐ ปี กิจการของหน่วยงาน จะดําเนินไปด้วยดีและเจริญก้าวหน้า เพราะอาศัย ผู้ร่วมงานแต่ละคนแต่ละฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ ตามปกติ หากขัดข้อง จะทําให้งาน น้ันๆ หยุดชะงัก หรือเสื่อมถอย เช่นเดียวกับนาฬิกาท่ีเดินตรงเวลา เพราะอาศัยตัวจักร แต่ละชิ้นทาํ งานตามปกติ หากชิน้ ใดช้ินหนึ่งขัดขอ้ ง จะหยดุ เดนิ หรอื เดนิ ไมต่ รงเวลา ..................................... 112 ผอ.กอศจ.ยศ.ทบ. ลําดบั ที่ ๑๔ (พ.ศ.๒๕๓๓ – ๒๕๓๗)

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๕๙ อาจริยพจน์ พ.อ. สัมฤทธิ์ คมขํา113 “ความเป็นอนศุ าสนาจารย”์ .......................................... \"ทุกหน่วยราชการ หรือแม้องค์กรเอกชน กําหนดให้มีกฎเกณฑ์และมีวัฒนธรรม การปฏิบัติเป็นของตนเอง เพ่ือความดํารงอยู่ดีและความพัฒนาย่ิงข้ึนของหน่วย/องค์กร และบุคลากร กองทัพเป็นหน่วยราชการใหญ่ จึงมีกฎเกณฑ์และวัฒนธรรมการปฏิบัติเป็นของ ตนเอง เฉพาะกองทัพบก ซ่ึงมีกําลังพลมากกว่ากองทัพอ่ืนๆ จึงมีระเบียบ คําส่ัง เป็น ต้นไวอ้ ยา่ งเปน็ มาตรฐาน และเป็นวัฒนธรรมของกองทพั และของกําลงั พลอยา่ งชัดเจน อนุศาสนาจารย์กองทัพบก มีหน้าที่ปฏิบัติการหรืออํานวยการเก่ียวกับการ ศาสนา และให้คําแนะนําแก่ผู้บังคับบัญชาในปัญหาท้ังปวงเก่ียวกับศาสนาและขวัญ รวมทง้ั การปฏบิ ตั ิทเ่ี กย่ี วกับศาสนาและขวัญ เน่ืองจากมีภารกิจหน้าที่ดังกล่าว ท่ีประชุมอนุศาสนาจารย์จึงมีมติให้มีวินัย (จรรยาบรรณ) ของอนุศาสนาจารย์ดว้ ยการออกเปน็ ประกาศคณะอนุศาสนาจารย์ (ฉบับ ที่ 1) ไว้ต้ังแต่ 17 เมษายน 2501 เป็นต้นมา โดยได้รวบรวมข้อปฏิบัติของ อนุศาสนาจารย์ตั้งแต่ปฐมอนุศาสนาจารย์ ได้ถือปฏิบัติสืบกันมาน่ันเอง มาเป็นวินัย ของอนศุ าสนาจารย์ จึงเทา่ กบั ว่าอนุศาสนาจารย์มวี ินัย 2 ช้ัน คือ 1. วนิ ยั ทหารในฐานะอนุศาสนาจารยเ์ ป็นทหาร 2. วินยั ของอนศุ าสนาจารย์ในฐานะเปน็ อนุศาสนาจารย์ 113 ผอ.กอศจ. ลาํ ดับท่ี ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๑)

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๖๐ การเป็นอนุศาสนาจารย์ เม่ือผ่านการสอบคัดเลือกคือสอบได้ ก็ได้รับการ แต่งต้ังยศเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตําแหน่งอนุศาสนาจารย์ ซ่ึงกองทัพก็ออกคําสั่ง แต่งต้ังให้ตามข้ันตอน ไม่มีส่ิงใดยุ่งยาก แต่ความเป็นอนุศาสนาจารย์น้ัน อนุศาสนาจารย์ล้วนแต่ถือกันว่าไม่มีใครแต่งต้ังให้เป็นได้ ฉะนั้นถึงจะมีตําแหน่งเป็น อนศุ าสนาจารย์แลว้ ความเปน็ อนุศาสนาจารย์ก็อาจจะยังไม่เกดิ ขน้ึ อนุศาสนาจารย์แต่ละนายจึงฝึกอบรมตนเองเพิ่มเติม ให้มีฉันทะและศรัทธาใน ตําแหน่งหนา้ ท่ี มีจติ วญิ ญาณ รกั และชอบในภารกิจของตนจรงิ และมีความรู้สึกเป็นสุข ใจเม่ือไดป้ ฏบิ ตั ภิ ารกจิ หน้าท่ตี น อนั เป็นภารกิจหนา้ ที่ทเ่ี ปน็ บญุ กุศลและเสียสละ มีมโน ธรรมสํานึกที่จะอยู่ในขอบเขตของตน เพื่อจะได้เข้าถึงความเป็นอนุศาสนาจารย์ ที่แทจ้ รงิ จงึ เทา่ กับว่าการเป็นอนศุ าสนาจารย์เปน็ ไดด้ ้วย ภูมิรู้ ที่สอบผ่านเข้ามาได้และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น แต่ความเป็นอนุศาสนาจารย์ เปน็ ได้ดว้ ย ภูมธิ รรม ไม่มีใครออกคาํ สง่ั แต่งตง้ั ให้เป็นได้ อนุศาสนาจารย์ผู้นั้นเท่านั้นท่ี จะแตง่ ต้งั ใหต้ นมคี วามเปน็ อนศุ าสนาจารย์ไดเ้ อง อน่ึงอนุศาสนาจารย์เป็นผู้ได้บวชเรียนศึกษามาทางด้านพระพุทธศาสนาโดยตรง จึงล้วนแต่เป็นผู้มีสํานึกอยู่เสมอว่า ตนเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ที่เผยแผ่ พระพุทธศาสนาแก่กําลังพลทุกประเภทในกองทัพ จึงย่อมจําเป็นที่จะต้องให้การ สนับสนุนกิจการของคณะสงฆ์ด้วยความเต็มใจ มีศรัทธามั่นคง และสนับสนุนส่งเสริม พระสงฆ์ทป่ี ฏิบตั ดิ ีปฏิบัติชอบเป็นสปุ ฏบิ ัติสม่ําเสมอ สิง่ สาํ คญั อีกประการหน่ึงคอื ผูเ้ ข้ามาเป็นอนุศาสนาจารย์เริ่มแรกในกองทัพ ยัง ไม่คุ้นเคยกับระบบราชการและการเป็นข้าราชการ ไม่ได้ฝึกอบรมวิชาทหารโดยตรงมา ตามขั้นตอน หากแต่เป็นนายทหารสัญญาบัตรในทันที เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็น อนศุ าสนาจารย์ จงึ ย่อมสมควรที่จะอ่านศึกษาหนังสือ/เอกสาร 5 ประการต่อไปน้ีต้ังแต่ ตอนเรม่ิ ต้นเขา้ รับราชการ คือ 1. คมู่ ือการอนุศาสนาจารย์กองทพั บก 2. หลกั นยิ มอนุศาสนาจารย์ทหารบก (ซึง่ มีอยใู่ นเล่มนแี้ ลว้ ) 3. หลกั ปฏบิ ัตริ าชการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หวั 114 4. มรรยาททหาร115 114พระราชนิพนธ์เร่ืองหลกั ราชการ 10 ประการเมือ่ 20 ก.พ. 2457 ณ พระราชวังสนาม จันทร์ : ผู้เขียนไดม้ อบให้ กอศจ.ยศ.ทบ. เมอ่ื ๑ พ.ค. ๖๒ 115 พระนิพนธ์ของ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ : ผู้เขียนได้มอบให้ กอศจ.ยศ. ทบ. เมือ่ ๑ พ.ค. ๖๒

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๖๑ 5. ระเบียบงานสารบรรณของสํานักนายกรัฐมนตรี และระเบียบงาน สารบรรณของกองทัพบก ซึ่งตามข้อ 3,4 น้ี แม้นายทหารชั้นประทวน ที่สอบได้จะได้รับยศเป็นนายทหาร สญั ญาบตั ร ยงั ได้รับการอบรมจาก ยศ.ทบ.เป็นสว่ นรวม ฉะนน้ั อนุศาสนาจารย์ซ่ึงได้รับ การแต่งต้ังยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรเป็นครั้งแรก จึงควรจะได้อ่าน ศึกษา ปฏิบัติ ตามที่เกี่ยวข้อง และนําไปประยุกต์ใช้ในหน้าท่ีการบรรยายอบรมทางศีลธรรมวัฒนธรรม ต่อไป คมู่ ือการ อศจ.ทบ. หลกั ปฏิบติราชการ พระนพิ นธ์ “มรรยาท ทหาร” ระเบยี บงานสารบรรณ ..........................................

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๖๒ อาจริยพจน์ พล.ต.ชอบ อนิ ทฤทธ์ิ116 “ชีวิตทีเ่ หมอื นฝนั ” .......................................... เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ประมาณเดือนพฤษภาคม เด็กน้อยคนหน่ึงอายุได้ ๑๒ ปี เดินตามแม่ นางเงิน อินทฤทธิ์ และ ลุง นายปั้น หมื่นเดช ไปตามทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ – อรัญประเทศ มุ่งสู่วัดโยธาราษฎร์ศรัทธาธรรม ตําบลดงพระราม อําเภอ เมือง จงั หวดั ปราจนี บรุ ี ห่างจากบ้านประมาณ ๕ กโิ ลเมตร เม่ือถึงวัดแล้ว ท่านทั้งสองได้ พาไปพบกับท่านสมภารคือท่านพระครูใบฎีกาสถิตย์ วณฺณรํสิโย (ต่อมาได้เลื่อนสมณ ศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ช้ันโท ในราชทินนามท่ีพระครูวาที วรคุณ) และได้มอบเด็กชายคนดังกล่าว คือ เด็กชายชอบ อินทฤทธ์ิ ให้กับท่านสมภาร แลว้ ท่านทั้งสองกล็ ากลับบ้าน ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้น เด็กชายชอบ อินทฤทธิ์ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร จําได้ ว่าท่ีบวชพร้อมกันในวันน้ัน มีบวชพระ ๒ รูป สามเณร ๓ รูป หลวงพ่อพระครูดํา (ช่ือเดิมของท่านสมภาร) เป็นคนเข้มงวดเอาใจใส่ดูแลพระเณรในปกครองอย่างจริงจัง ทั้งในด้านจริยาวัตร และการศึกษา พระเณรรูปใดไม่เรียบร้อยท่านจะตําหนิอย่างรุนแรง ส่วนการศึกษาท่านก็ส่งเสริมเต็มท่ี โดยตั้งกฎเพ่ือเป็นแรงจูงใจว่าใครสอบได้นักธรรมโท จะส่งไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ แล้วท่านก็ทําตามสัญญา ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยส่งสามเณร ชอบ อินทฤทธ์ิ และ สามเณรสมพงษ์ ใจอุ่น ไปอยู่ท่ีวัดบวรมงคล สามเณรวิโรจน์ อาํ นรรฆ ไปอย่วู ัดบรมนิวาส ณ วัดบวรมงคล (ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดลิงขบ) น่ีเอง คือเป็นจุดเร่ิมต้นสําคัญจุดท่ี สอง ทําให้ข้าพเจ้าได้พัฒนาตัวเองข้ึนอย่างมากมาย ด้านความรู้ ได้นักธรรมเอก เปรียญ 116 ผอ.กอศจ.ยศ.ทบ. ลาํ ดับที่ ๑๘ ( พ.ศ.๒๕๔๓ – ๒๕๔๕ )

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๖๓ ธรรม ๗ ประโยค ปริญญาศาสนศาสตร์บัณฑิต ด้านประสบการณ์ชีวิตมีมากมายสามารถ นําไปใช้ไดอ้ ยา่ งดี เม่อื ลาสิกขาออกมาเปน็ ผู้ครองเรอื น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กุศลกรรมส่งให้ได้เข้ารับราชการทหารในตําแหน่ง อนุศาสนาจารย์ สังกัดกองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารทหาร ซ่ึงมีท่านอาจารย์ พ.อ.ปาน จันทรานุตร เป็นหัวหน้ากองฯ ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการในหน่วยต่างๆ ดังน้ี พ.ศ.๒๕๑๕ จังหวัดทหารบกลพบุรี พ.ศ.๒๕๒๔ ศูนย์สงครามพิเศษ พ.ศ.๒๕๒๖ โรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.๒๕๓๘ กองทัพภาคท่ี ๑ พ.ศ.๒๕๔๐ กลับคืนสู่กอง อนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ในตําแหน่งหัวหน้าแผนกอบรม รอง ผู้อํานวยการกองฯ และผู้อํานวยการกองฯ ในท่ีสุด ก่อนจะเกษียณอายุรับราชการใน พ.ศ. ๒๕๔๕ (เกษียณก่อนกําหนด ๑ ปี) นับเป็นบุญอย่างยิ่งของข้าพเจ้าท่ีได้มีโอกาสปฏิบัติงาน ในหน่วยต่างๆ ดังกล่าวที่มิใช่หน่วยกําลังรบซึ่งมันตรงกับอุปนิสัยของข้าพเจ้าท่ีชอบความ เรียบง่าย ไม่ชอบความโลดโผน ทําให้การปฏิบัติงานเกิดผลดีแก่ตนเองและหน่วยตาม สมควร สําหรับผลงานที่เป็นรูปธรรมควรแก่การจารึกจดจํา ของ อนุศาสนาจารย์ร่นุ หลังๆ ไดบ้ ้างคอื ๑. มีส่วนผลักดันให้มีการสร้างศาสนสถานประจําโรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกลา้ อําเภอเมอื ง จงั หวดั นครนายก และยงั ไดร้ ับพระเมตตาจากเจ้าพระคุณสมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระพุทธ ชินสีห์ ภปร. ประดิษฐานเป็นพระพุทธปฎิมาประธานประจําศาสนสถานน้ีด้วย และเป็นพระมหา กรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ท่ีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถ บพิตร ที่ได้เสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเททองพระพุทธปฏิมาดังกล่าว ด้วย พระองคเ์ อง ณ วัดบวรนเิ วศวหิ าร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๒. จัดโครงการอุปสมบทหมู่นักเรียนนายร้อยในเวลาปิดภาคการศึกษาเดือน เมษายน ต้ังแต่ พ.ศ.๒๕๒๕ จนเป็นประเพณีปฏิบัติมาถึงทุกวันน้ี ซ่ึงเป็นวิธีการอีกอย่าง หนงึ่ ทจี่ ะแทรกคุณธรรมเขา้ ในจิตใจของนักเรยี นนายร้อยท่ีจะเป็นผนู้ ําสงั คมต่อไป ๓. ปรับปรุงห้องทํางาน ๑ ห้อง ที่กองอนุศาสนาจารย์ให้เป็นห้องพระบารมี เป็นท่ปี ระดิษฐษนพระบรมรปู พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยหู่ วั พระผู้พระราชทาน กําเนิดกิจการอนุศาสนาจารย์ และนับเป็นบุญของคณะอนุศาสนาจารย์เป็นอย่างย่ิงท่ีเจ้า ประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้เมตตามอบ พระบรมรูปดังกล่าวใหก้ บั กองอนศุ าสนาจารย์ ๔. เสนอเพิ่มกิจกรรมในการแสดงความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหา กรุณาธคิ ุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อกิจการอนุศาสนาจารย์ ด้วยการจัดคณะอนศุ าสนาจารยน์ าํ พวงมาลาไปวาง ณ พระบรมราชานสุ าวรียพ์ ระองคท์ ่าน

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๖๔ ณ สวนลุมพีนี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในภาคเช้าของวันท่ี ๒๕ พฤจิกายน จากเดิม ทม่ี แี ตก่ ารบําเพญ็ กศุ ลนอ้ มอุทิศถวายในภาคกลางวนั เพย่ี งอยา่ งเดียว กิจการอนุศาสนาจาย์ได้ดําเนินมาจนครบ ๑๐๐ ปี ในวันนี้แล้ว ด้วยอาศัยการสืบ ต่อเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ของครูบาอาจารย์รุ่นแล้วรุ่น เล่า และข้าพเจ้ามั่นใจเป็นอย่างย่ิงว่ากิจการอันเป็นมหากุศลนี้จะยืนยงมั่นคงตลอดไป แต่ ท้ังน้ันท้ังน้ีขึ้นอยู่กับปัจจัยสําคัญ ๒ ประการคือ ๑. การสนับสนุนของผู้บังคับบัญชา ๒. การปฏบิ ตั ติ นและจติ วิญญาณของอนุศาสนาจารย์ ในปัจจัย ๒ อย่างนี้ ปัจจัยที่ ๑ จะไม่กล่าวถึง ปัจจัยท่ี ๒ เรื่องการปฏิบัติงาน เช่ือ ในความสามารถของอนุศาสนาจารย์ทุกท่านอยู่แล้ว แต่เรื่องจิตวิญญาณในการเป็น อนศุ าสนาจารยส์ าํ คญั มาก ถ้าจติ ใจไม่มั่นคงในวิชาชีพน้ีแล้ว กําลังพลในกองทัพก็จะพากัน เส่ือมศรัทธา คุณความดีที่บุรพาจารย์ท่านสร้างสมมานั้น ก็จะเสื่อมสลายไปในท่ีสุด เพราะฉะนัน้ เมอ่ื รักที่จะเป็นอนศุ าสนาจารย์ ตอ้ งเป็นใหไ้ ด้ท้งั กายและใจ เป็นแลว้ เปน็ เลย การทํางานของคนเรา บางคนประสบความสําเร็จ บางคนก็ไม่ประสบความสําเร็จ ซง่ึ ก็เป็นเรอ่ื งปกตธิ รรมดา จากประสบการณท์ ่ไี ดท้ ํางานมา ๓๐ ปีเศษ และคาํ ช้ีแนะของครู อาจารย์ พอจะประมวลได้ว่า คนประสบความสาํ เร็จในการทํางานต้องมคี ุณ ๓ ประการ ๑. คณุ วุฒิ ความรู้ ๒. คณุ ภาพ ความสามารถ ๓. คุณธรรม ความดี คุณวุฒิ ความรู้แบ่งเป็น ๒ คือ รอบรู้ กับ รู้รอบ รอบรู้ หมายรู้แจ้ง รู้จริงงานใน หน้าที่ของตน เช่น เป็นอนุศาสนาจารย์ต้องแม่นยําในหลักธรรมเร่ืองราวของคณะสงฆ์ เมื่อเกิดวิกฤตทางศาสนา ต้องให้ข้อเสนอแนะท่ีถูกต้องกับผู้บังคับบัญชาได้ ส่วนรู้รอบ น้ัน เป็นการแสวงหาความรู้อ่ืนๆ เพ่ิมเติมเพื่อใช้ในการประสานในการปฏิบัติงาน หรือ ช่วยเหลือสังคมในด้านที่เป็นประโยชน์ต่างๆ เร่ืองน้ีครูบาอาจารย์ท่านสร้างเครดิตไว้สูง มาก เช่นพระธรรมนิเทศทวยหาญ (อยู่ อุดมศิลป์) ปฐมอนุศาสนาจารย์ ท่านได้รับความ ไว้วางใจจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้เป็นผู้ตรวจสอบคําภาษาที่ใช้ให้ ถูกต้องเหมาะสม พันเอก (พิเศษ) ปาน จันทรานุตร ได้รับตําแหน่งเป็นลูกขุน ตัดสินคดี พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ เขียนหนังสือตอบบาทหลวง เมื่อมีการ จาบจ้วงคาํ สอนในพระพุทธศาสนา เปน็ ตน้ คุณภาพ หมายถึง ความสามารถในการทํางาน โดยเฉพาะงานในหน้าท่ีของ ตนเอง ทําให้สุดความสามารถ ให้มีผลประจักษ์แก่ผู้บังคับบัญชาและกําลังพล อนุศาสนาจารย์บางท่านอาจจะพูดเก่ง พูดจนคนติดใจ มีงานท่ีไหนต้องเห็นหน้าและได้ ยินเสยี งทา่ น บางท่านปฏบิ ัติพิธีเกง่ งานพธิ ีทกุ อย่างมที ่านแล้วเรียบร้อย ถ้าขาดท่านไปก็

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๖๕ จะมีเสียงตามมาว่า ท่านอนุศาสน์หายไปไหน เก่งอย่างใดอย่างหน่ึงถือว่าใช้ได้ ถ้าเก่งทุก อย่างถอื วา่ สุดยอด คุณธรรม หมายถึง ความประพฤติท่ีดีงามตามกรอบของหน่วยงานต่างๆ ท่ีได้ กําหนดไว้ สําหรับอนุศาสนาจารย์นอกจากจะต้องประพฤติตามกฎหมายบ้านเมือง ระเบียบวินัยของทหารแล้ว จะต้องปฏิบัติตนในกรอบจรรยาบรรณของอนุศาสนาจารย์ ๑๓ ขอ้ อีกดว้ ย และเพราะจรรยาบรรณ ๑๓ ขอ้ นแี้ หละ ทาํ ใหก้ ําลงั พลในกองทัพเชื่อถือ ศรทั ธาในตวั อนุศาสนาจารยถ์ ึงแม้จะมียศต่ํากว่าเขาก็ตาม การทํางานทุกอย่างมีทั้งศาสตร์และศิลป์ บางครั้งใช้ศาสตร์ บางคร้ังใช้ศิลป์ บางคร้ังใช้ท้ังศาสตร์และศิลป์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น ข้าพเจ้าเองไม่ได้เก่ง อะไรมากมายนัก แต่เป็นคนโชคดี คือมีผู้บังคับบัญชาดี มีผู้ใต้บังคับบัญชาดี มีผู้ร่วมงาน ดี เข้าทํานองที่ว่า ผู้ใหญ่ดึง ผู้น้อยดัน จึงทําให้ประสบความสําเร็จทั้งในหน้าที่การงาน และยศตําแหน่ง ท่ีสุดของท่ีสุด ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ พระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิ พลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พันเอกชอบ อินทฤทธ์ิ เป็น พลตรี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม หาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า ขอเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้ ตราบจนวันตาย น่ีคือชีวิต จาก..... ดิน ส.ู่ ....ดาว ชา่ งเหมือนฝนั จรงิ ๆ ..........................................

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๖๖ อาจริยพจน์ พันเอก ชัยกร ธรรมชัยปราการ117 ขา้ พเจ้า....ผเู้ ป็นทาสพระรัตนตรยั ----------------- รับราชการ -บรรจุท่ี กอศจ.ยศ.ทบ. ปี ๑๔ -เปน็ อศจ.กรมการบนิ ทหารบกปี ๑๖ -เปน็ อศจ.รด ปี ๒๔ -เปน็ อศจ.พล.ม. ๒ ปี ๒๘ -เป็น หน.ศาสนพิธี กอศจ.ยศ.ทบ. ปี ๓๑ -เป็น อศจ.นสศ. ปี ๓๔ -เปน็ อศจ.ทภ.๑ ปี ๓๙ -เปน็ ประจาํ มทบ.๑๑ ปี ๔๔ -เกษยี ณอายรุ าชการ ปี ๔๖ ความปรารถนาหลังเกษยี ณ ขอ หวัง เพียง ปฏิบัติ ขอ หวัง เพยี ง ปฏิบตั ิ ขอนอ้ มกราบ คุณพระพทุ ธ สดุ วเิ ศษ 117 อดีต อศจ.ทภ.๑ ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และเผยแผ่ธรรมะ แก่นายทหารนักเรยี น,นายสิบนักเรียนของ กอศจ.ยศ.ทบ. และประชาชนทั่วไป

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๖๗ ขอนอ้ มเกศ แด่พระธรรม คําสดใส ขอนบสงฆ์ นอบน้อม พร้อมกายใจ หวงั แทนคุณ พทุ ธศาสน์ ชาตเิ ลอเลศิ หวังชูเชดิ เทดิ ประชา พาสุขสันต์ หวังดวงตา เห็นธรรม ในฉบั พลัน หวังนอกนั้น ไม่มีจากน้ีเลย เพยี งพแลว้ สาํ หรับชาติ ปัจจุบนั เพียงแค่นน้ั คงไม่เพลิน เกนิ เฉลย เพียงแค่นี้ ไม่ไร้ผล จนเฉยเมย เพยี งภิเปรย อยา่ งหวัง ดัง่ จนิ ตนา ปฏิบตั ิ เด๋ียวน้ี อยา่ รีรอ ปฏิบัติ มใิ ชข่ อ ลอ่ ตันหา ปฏิบัติ ในทานศีล ภาวนา ปฏิบัติ ด้วยปัญญา นิพพานเอยฯ โดย...ชธ.๓๕๘ ของฝากจากคนแก่ พระพุทธศาสนา ประกอบด้วยพระสัทธรรม ๓ ประการ คือ ปริยัติสัทธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม และปฏิเวธสัทธรรม หากขาดอย่างใดอย่างหน่ึง พระพุทธศาสนาก็ไม่ สมบูรณ์ หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มท่ี และไม่เจริญอีกต่อไป เหมือนต้นไม้ท่ีต้องสมบูรณ์ ดว้ ยเปลอื ก กะพ้ี แก่น การพิทักษ์พระพุทธศาสนา จึงต้องพิทักษ์ส่วนประกอบท้ังสามประการนี้ไว้ให้ สมบูรณ์ หรอื อยา่ งนอ้ ยก็ใหอ้ ย่ใู นข้ันท่ีสามารถใชง้ านไดอ้ ยา่ งมั่นใจ อนุศาสนาจารย์ เป็นองค์กรหนึ่งที่สําคัญในการพิทักษ์พระพุทธศาสนา เพราะ สามารถนําธรรมะในพระพุทธศาสนาไปเข้าถึงประชากรได้ทุกประเภท ทุกระดับช้ัน ทั้ง เป็นบุคลากรที่ได้รับการคัดกรองมาเป็นอย่างดี ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความ ประพฤติ บคุ ลิกภาพ วาทศลิ ป์ ปฏิภาณไหวพริบ ดังนั้นอนุศาสนาจารย์ จึงควรพัฒนาตนให้มีความพร้อมในการใช้ส่วนประกอบ ทั้งสามนี้ ให้อยู่ในระดับท่ีจะปลูกศรัทธาได้ในระดับท่ีน่าพอใจ โดยใช้หลักต่อไปนี้ในแต่ ละส่วนประกอบ ด้านปริยัติ โดยเฉพาะการเผยแผ่ ต้องสมบูรณ์ด้วยหลัก ๔ ส คือ สันทัสสนา สมาทปนา สมตุ เตชนา และสัมปหังสนา ด้านปฏิบัติ ต้องตรวจสอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นบุญสิกขา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซ่ึงเปน็ ไตรสิกขา ด้านปฏิเวธ ใช้อินทรีย์ ๕ เป็นเครื่องตรวจสอบ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตนิ ทรีย์ สมาธนิ ทรีย์ และปญั ญนิ ทรยี ์ สัทธรรมสาม (ปรยิ ัติ ปฏิบตั ิ ปฏิเวธ) รหู้ ลักธรรม คําจริง สิ่งดีเลศิ สดุ ประเสริฐ เกดิ กศุ ล ยลสุขสันต์ ผลักอธรรม นําออกไป ห่างไกลพลนั อบายนนั้ อย่าใหบ้ ุก รกุ ถึงใจ

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๖๘ ลดโลภะ โทสะ โมหะทงิ้ ราคะน่ิง สิ่งมัวหมอง ต้องผลักไส น้อมนาํ ใจ ใฝเ่ รยี นรู้ สหู่ ลกั ธรรม ให้รจู้ ัก หักหา้ มตน พน้ พาลภยั ดูให้นิ่ง อยา่ วิ่งไว ใจถลํา เรียนใหร้ ู้ ดูให้จาํ ทําใหจ้ ริง สอ่ งดูธรรม ด้วยปญั ญา หาทางพน้ จติ ม่นั คง เป็นกลาง ห่างสับสน ใช้จิตเพ่ง พินิจซิ สตินาํ ดวงกมล จะผุดผ่อง สอ่ งนพิ พานฯ เม่อื เห็นทาง สวา่ งใจ ไม่มวั หลง โดย..ชธ..๓๕๘ จนเม่ือใด ใจปล่อยวาง ทั้งสกล พนั เอก...สมเปน็ ครูผสู้ ั่งสอน ชยั กร...กระทําชัยใหโ้ ดดเด่น ธรรมชัย...ใช้ธรรมทา่ นยาํ้ เน้น ปราการ...เปน็ กําแพงแหง่ ศีลธรรม สอนอยา่ งไรทาํ อย่างนนั้ ครชู ้ันเลศิ ศิษยท์ นู เทดิ วาทีทค่ี มขาํ งามศีลาอาจาระเห็นประจาํ ทกุ เชา้ ค่าํ เคร่งครดั ฝกึ หัดคน ทา่ นอาจารยช์ ัยกรสอนด่งั พระ .....................................

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๖๙ อาจรยิ พจน์ พล.ต. บุญนาค มูลลา118 ............................................... กระผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับเชิญให้ส่งอาจริยพจน์ มาตีพิมพ์ใน หนงั สอื อนุสรณ์ การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย เพอ่ื เปน็ ข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ ในคร้ังนี้ ในโอกาสอันสําคัญน้ี ทําให้เราทั้งหลายรู้สึกสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สุดมิได้ ทั้งนี้ ด้วยทรงหยั่งรู้การณ์อนาคต ไกลโดยแท้ จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ใหส้ ถาปนากองอนุศาสนาจารย์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2462 และกิจการในระยะ 100 ปีต่อมา ได้สร้างคุณประโยชน์แก่กองทัพไทยเป็นอย่างยิ่ง ไม่ ว่าจะเป็นยามสงบหรือยามสงคราม ไม่ว่าในสมรภูมิในประเทศหรือนอกประเทศ ทหาร ของเรามีขวัญกําลังใจและคุณธรรม ท้ังมีสติยึดมั่น เด็ดเด่ียว แน่วแน่ ไม่ท้อถอยท่ีจะ ประกอบภารกิจ เพ่ือพิทักษ์รักษา ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ให้เจริญม่ันคงอยู่ ตลอดเวลา การทท่ี รงเลือกนักการศาสนาไปเป็นผู้บํารุงน้ําใจกองทัพนั้น ก็นับได้ว่า พระองค์ ทรงไว้ซึ่งพระราชปรีชาญาณอันหยั่งรู้อย่างถ่องแท้ ในเร่ืองชีวิตจิตใจของมนุษย์ เพราะ ส่ิงท่ีจะเบียดเบียนจิตใจคนเราให้ซีดเซียวผอมโซนั้น ไม่มีอะไรเก่งไปกว่าความคิดช่ัวร้าย และขุ่นหมอง ท่ีเรียกว่า กิเลส และสิ่งท่ีจะสู้กับกิเลสได้ ก็ไม่มีอะไรดีไปกว่า การสร้าง พลังแก่กล้าให้แก่จิตใจ ด้วยเหตุผลและความเป็นจริงอันมีอยู่ในพระธรรมคําสั่งสอนของ พระพทุ ธศาสนา การท่ีทรงเลือกแล้วอย่างนี้ งานอนุศาสนาจารย์ในกองทัพไทยจึงเป็นงานท่ีหนัก เพราะเป็นงานยกระดับจิตของกําลังพลให้สูงข้ึน เพราะสภาวจิตของกําลังพลในปัจจุบัน 118 ผอ.กอศจ.ยศ.ทบ. ลําดบั ที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔)

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๗๐ นี้มีอยู่ 2 จําพวก พวกแรกคือพวกจิตขุ่นมัว จิตรับการกดดันจากสภาวะทางเศรษฐกิจ หรือกดดันจากงาน นายทหารประทวนผู้มีเงินเดือนน้อย รับภาระบุตรหลายคน ต้องส่ง เสียค่าเทอมท่ีแพง พวกอาหาร เครื่องนุ่งห่มท่ีแพงข้ึนโดยตลอด บางคร้ังอาจต้องขัดสน บ้าง ต้องกู้หน้ียืมสิน กู้ธนาคาร ดอกเบ้ียก็แพง สารพัดที่จะกู้เพ่ือนําเงินมาจุนเจือ ครอบครวั เมื่อจิตของเราเกิดจากความขัดข้องขุ่นมัว ก็จะเร่ิมแสดงออกในลักษณะเป็นคน พาล คิดชั่ว พูดชั่ว ทําชั่ว เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ให้ถือเงินก็ยักยอกเงิน ให้คุมน้ํามันก็ ยักยอกน้ํามัน ตั้งแก๊งที่ไม่ดี ชวนกันกินเหล้าติดอบายมุข ติดยาเสพติด ทําให้ลูกหลาน เห็นเป็นตัวอย่าง พลอยติดเหล้า บุหร่ี ติดยาเสพติด ไม่เรียนหนังสือ กลายเป็นอันธพาล ไป อีกพวกหน่ึงมีลักษณะพาล ไม่คํานึงถึงระเบียบวินัย ผู้บังคับบัญชาตักเตือนไม่ได้ พอ ตักเตือนก็โกรธหันมาคอยจับผิดผู้บังคับบัญชา เห็นผิดเป็นชอบ ชอบวุ่นงานคนอื่น งาน ตนไมร่ อู้ ะไร ชอบรอ้ งเรยี นทําบัตรสนเทห่ ์ หาดใี สต่ วั หาชว่ั ใส่คนอ่นื จะแก้จิตพาล คือกิเลส โลภ โกรธ หลง อารมณ์ร้ายต่างๆ ก็ต้องแก้ที่จิตน่ันเอง แก้ท่ีนายเพราะจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว คือยกจิตเขาให้สูงขึ้น ฝึกจิตบริหารจิตด้วยพา เขาหม่ันทําบุญให้ทาน รักษาศีลเจริญเมตตา เพื่อลดความอยาก จิตเขามีอํานาจจึงจะ ตอบโต้กิเลสได้ ทําจติ ใหม้ ีอํานาจก็ดว้ ยหม่ันเจริญจติ ตภาวนา นงั่ สมาธิ ฟังธรรม ให้จิตไม่ ขุ่นมัว เมื่อใจไม่เป็นพาล ใจเป็นบัณฑิต ก็จะเกิดปัญญา พิจารณาเห็นส่ิงต่างๆ เป็นความ จรงิ ของชวี ิต พวกท่ีสอง ตรงข้ามกับพวกแรก มีจิตผ่องใส ใจเป็นบัณฑิต ผลงานดี พลังจิตสูง เป็นท่ีไว้ใจผู้บังคับบัญชา มีจิตละอายบาป มีเมตตาแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ บริหารงาน ทัง้ ครอบครัวและราชการได้เปน็ อย่างดี เกบ็ เงนิ ส่งลกู หลานเรยี นได้สูงๆ กําลังพลทั้งสองพวกนั้น เกี่ยวข้องกับงานภารกิจของอนุศาสนาจารย์ด้วยกัน ทั้งน้ัน แต่จําพวกที่หนึ่ง น้ัน เป็นผู้ที่จะท้าทายงานอนุศาสนาจารย์เป็นอย่างยิ่งในการที่ จะต้องใช้วิชาความรู้เข้าไปแก้ปัญหาให้ผู้บังคับบัญชา ดังคําโคลงท่ีนักปราชญ์ท่าน ประพนั ธไ์ วว้ า่ ทา่ มกลางโลกวา้ วนุ่ อลเวง โฉดชั่วชิงโฉงเฉง ท่ัวหลา้ เด็กผู้ใหญไ่ ปเ่ กรง กลวั กฎ หมายนา เหตลุ ่มุ หลงไขวค่ วา้ ลาภยศทรัพย์สนิ ยนิ ชดั เพชรหนง่ึ แล้ว พรายแสง สกาวอรา่ มโรจน์แรง รุ่งฟ้า รศั มสี อ่ งมโนแทง ทะลุจิต

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๗๑ บรสิ ทุ ธ์ิหยุดทกุ ขก์ ล้า ดบั รอ้ นสู่เกษม อนุศาสนาจารย์จึงต้องมีธรรมาวุธไว้แก้ปัญหาของกําลังพลท่ีท่านรับผิดชอบอยู่ ต้องแก้ต้ังแต่ ผบ.หน่วย ไล่ลงไปจนถึงพลทหาร ซ่ึงมีลักษณะปัญหาแตกต่างกันไป สรรพาวุธใช้เพ่ือให้ศัตรูยอมแพ้ แต่ธรรมาวุธใช้เพื่อให้ทุกคนได้รับชัยชนะจากกิเลส อนศุ าสนาจารย์รบด้วยธรรมาวธุ พระพุทธเจา้ ใช้ธรรมาวธุ ในการสู้รบแม้กับองคุลีมาลเอง ผูส้ ําเรจ็ งานจะต้องคน้ ใหพ้ บ พิเภก : ยอดนกั ข่าว ปโุ รหติ าจารย์ ขงเบง้ : นกั วางแผน วิเคราะหท์ ํางาน หาจุดด้อยจดุ เดน่ เจงกิสข่าน : นกั ปฏิบตั ิ นักรบ อนุศาสนาจารย์น้ันควรระลึกอยู่เสมอว่า ก่อนจะแก้ปัญหาคนอื่น ต้องแก้ปัญหา ตนเองให้ได้เสียก่อน เราเป็นหมอใจจึงไม่ควรป่วยทางใจเสียเอง ต้องมีสัจจะซื่อสัตย์ สุจริต ต้องเสียสละ ควรบําเพ็ญสังคหวัตถุ 4 อย่างสมํ่าเสมอ อย่าทําตนเป็นคนมักได้ อุทิศตนให้คนอ่ืนได้ร่มเย็น แม้บางครั้งตัวเองจะยืนในท่ีร้อน ซ่ึงเป็นคุณลักษณะอันวิเศษ ของสัตบุรุษ ดงั คาํ สภุ าษิตทีว่ า่ ฉายมญญสสฺ กพุ พนตฺ ิ ตกิ ขฺ นตฺ ิ สยมาตเป ผลานปิ ิ ปรสฺเสว รกุ ฺขา สปปฺ ุริสาอิว สร้างร่มเงาให้ความร่มเย็นแก่ผู้อ่ืน ทั้งคนและหมู่สัตว์ ส่วนตนเองยินดียืนหยัด รับความร้อนของแสงแดด อย่างไม่พร่ันพรึง ถึงคราวมีลูกมีผล ก็มีเพ่ือให้ผู้อื่น สัตว์อ่ืน ไดร้ ับประทาน หาใชม่ เี พื่อตนเองไม่

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๗๒ อาจรยิ พจน์ พ.อ. ประเสริฐ หนูหอม119 “เลก็ ๆ น้อยๆ 100 ปี อศจ.ไทย” .......................................... ขอแสดงความดีใจ-ปลื้มใจ ต่อกิจการอนุศาสนาจารย์ทหารไทย ที่ยืนยงคงอยู่มา ไดด้ ว้ ยดถี ึง 100 ปี และอยอู่ ยา่ งมศี กั ดิ์ศรี มีคณุ คา่ ต่อกองทัพไทย ตน้ ไมท้ ม่ี ีอายุยนื ถึง 100 ปี ตอ้ งมแี กน่ ภายในแขง็ แรง และมีรากหย่ังลึกลงไปใน ดนิ ทาํ ให้เกดิ ความม่ันคง ไม่หักโคน่ เพราะแรงลม-ฝน-แสงแดดท่แี ผดกลา้ ของดีมีคุณค่า ย่อมคงทนต่อการพิสูจน์ และเป็นที่ยอมรับนับถือของมหาชน จึง ยืนหยัดอยู่ได้ ส่วนของไม่ดี ไร้คุณค่า ย่อมไม่ทนต่อการพิสูจน์ และไม่เป็นท่ียอมรับของ มหาชน ยอ่ มเสอ่ื มสลายไปตามกาลเวลา อศจ.ไทยเป็นทรัพยากรบุคคลท่ีมีคุณค่า-มีสมรรถนะในทางจริยธรรม-คุณธรรม- ความประพฤติดี (ซึ่งถือได้ว่าเป็นแก่นภายในจิตใจ) เป็นที่ยอมรับ-นับถือของกําลังพล กองทัพไทย สมคําว่า “อนุศาสนาจารย์” ตลอดมา เยี่ยงปฐมอนุศาสนาจารย์ คือ พระ ธรรมนิเทศทวยหาญ ผ้ไู ด้สร้างชือ่ เสียงอนั ดีงามใหแ้ กก่ าํ ลงั พลผเู้ ขา้ สู่สงครามโลกคร้ังท่ี 1 ดว้ ยการชว่ ยเหลือและบาํ รุงขวญั ทหารไดเ้ ป็นอย่างดี ช่วยขจัดวิกฤตการณ์แก้ปัญหาเร่ือง กาํ ลงั พลใหผ้ ูบ้ ังคับบญั ชาลลุ ่วงไปไดจ้ นเป็นทไี่ ว้วางใจของผู้บังคับบญั ชา ผู้เขียนในฐานะอดีต อศจ. คนหน่ึง ขอขอบคุณและแสดงความภูมิใจในความ วิริยะอุตสาหะของ อศจ. กองทัพไทยทุกท่าน ท่ีได้ช่วยกันบํารุงรักษา-ประคับประคอง- บริหารกิจการ อศจ. ไทย ให้คงอยู่และ เจรญิ รุ่งเรืองมาตราบเท่าทกุ วันน้ี นํ้าแข็งย่อมละลายด้วยนํ้าและความร้อน แท่งเทียนย่อมละลายและอ่อน ปวกเปียกเพราะไฟและความร้อนตามสภาพแวดล้อม อศจ. มิใช่นํ้าแข็งและแท่งเทียนท่ี 119 อดตี หน.อบรม กอศจ.ยศ.ทบ.

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๗๓ จะละลายและอ่อนเปียกไปตามสภาพแวดล้อม นั่นคือ อศจ. ต้องยึดม่ันในระเบียบวินัย อันเป็นหัวใจของชาติ ในจริยธรรม และจรรยาบรรณของ อศจ. อย่างจริงจัง-จริงใจ และ ทํางานด้วยอุดมการณ์ของ อศจ. อย่างไม่เส่ือมคลาย อย่าว่าแต่ 100 ปีท่ีผ่านมา ต่อให้ อีก 200 ปี ข้างหน้า กิจการ อศจ. กค็ งยืนหยัดอยไู่ ดอ้ ย่างสบาย

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๗๔ อาจาริยพจน์ พล.ต. สมพงษ์ ถิ่นทวี120 ............................. ความมั่นคงของชาติและความสงบสุขร่มเย็นของประชาชนในชาติ คือความ รับผิดชอบส่วนหนึ่งของอนุศาสนาจารย์ไทย ท่ีต้องน้อมนําเอาหลักธรรมในทาง พระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาท่ีชาวไทยส่วนใหญ่เชื่อถือศรัทธา มาเป็นหลักธรรมนําวิถี ชีวิต ทั้งในด้านการครองตน ครองคน และครองงาน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจ ความ สมคั รสมานสามคั คี ความเสยี สละประโยชนส์ ่วนตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ตลอดจน ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และพร้อมท่ีจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข อันนับเป็นความ จาํ เป็นสงู สดุ ต่อประเทศชาตใิ นทกุ สถานการณ์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๒ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ผู้ เป็นปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา ทรงเร็งเห็นความสําคัญในการนําหลักธรรมคําสั่ง สอนทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาประชาชนของพระองค์ มีพระบรมราชโองการดํารัส เหนือเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมตั้งกองอนุศาสนาจารย์ขึ้นในทหารบก และทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระธรรมนิเทศทวยหาญ (รองอํามาตย์ตรี อยู่ อุดมศิลป์) เป็น หัวหนา้ อนุศาสนาจารย์ (ปฐมอนศุ าสนาจารย)์ เพือ่ ทาํ หน้าทส่ี บื สานพระราชปณิธานของ พระองค์ มาตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๒ กิจการอนุศาสนาจารย์ไทยได้ เริ่มขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่นมา 120 ผอ.กอศจ.ยศ.ทบ. ลําดับท่ี ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙), เลขาธิการสมาคม อนุศาสนาจารย์ไทย

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารยไ์ ทย ๓๗๕ ตามลาํ ดบั โดยได้ขยายกิจการไปอยู่ตามหน่วยราชการต่าง ๆ ได้แก่ อนุศาสนาจารย์กรม เสมียนตรา สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อนุศาสนาจารย์กองบัญชาการกองทัพ ไทย อนุศาสนาจารย์ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ อนุศาสนาจารย์สํานักงานตํารวจ แห่งชาติ และอนุศาสนาจารย์กรมราชทัณฑ์ ซ่ึงคณะอนุศาสนาจารย์ต้ังแต่อดีตถึง ปัจจุบัน ได้ทําหน้าที่สร้างความมั่นคงให้กับประเทศชาติ ทะนุบํารุงพระ พุทธศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยได้สืบสานพัฒนางานในหน้าท่ีรับผิดชอบมา อย่างต่อเน่ือง จนเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับหน่วย กําลังพลและครอบครัว ตลอดทัง้ ประชาชนทวั่ ไป ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ กระผมได้มีโอกาสเข้ามาทําหน้าที่ในฐานะ อนุศาสนาจารย์ทหารบก นอกจากจะทําหน้าที่เป็นผู้บํารุงขวัญและกําลังใจให้กับ ข้าราชการทหารแล้ว ยังได้เห็นบทบาทของอนุศาสนาจารย์กับการเสนอนโยบายการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกําลังพลกองทัพบก จนก่อให้เกิดศูนย์พัฒนาจิตใจกําลังพล กองทัพบกขนึ้ ไดร้ ว่ มกันจดั ทาํ แผนงาน โครงการ และกิจกรรม\"นํากาํ ลังพลเข้าหาธรรมะ และนําธรรมะพัฒนากําลังพล\" อย่างเป็นรูปธรรม ได้เห็นจุดแข็งของอนุศาสนาจารย์ไทย คือ ความมุ่งม่ันจัดการศึกษาอบรมคุณธรรมแก่กําลังพลอย่างต่อเน่ือง ท้ังในด้านปริยัติ และการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ตลอดท้ังด้านศาสนพิธีประเพณีและ วัฒนธรรมอันดีงาม ปัจจุบันถึงแม้กระผมจะเกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่า ความเป็นอนุศาสนาจารย์ยัง ติดอยู่กับตัวและคงจะติดตัว ไปจนกว่าชวี ิตจะหาไม่ ซึ่งคาด ว่าอดีตอนุศาสนาจารย์ทุก ท่ า น ก็ ค ง มี ค ว า ม รู้ สึ ก ไ ม่ แตกตา่ งกัน บทบาทและ หน้าท่ีของอนุศาสนาจารย์ใน ปัจจุบัน มีการพัฒนาอย่าง กว้างขวางมากข้ึนตามยุคตาม สมัย จนเป็นท่ีเช่ือถือเช่ือมือและเช่ือใจจากทุกภาคส่วน แต่อย่างไรก็ตาม อนุศาสนาจารย์ เองก็ต้องมีศรัทธาอย่างแรงกล้าต่ออาชีพของตน มีเมตตาธรรมต่อบุคคลอ่ืน ดํารงตนด้วย อุบาสกธรรม เป็นต้นแบบของพุทธศาสนิกชน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พัฒนางานอย่าง ต่อเนื่อง ตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยยึดหลักการตามพระราชดํารัสของ

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเทศนาเสือป่าท่ีพยายามตอกย้ําให้คนไทยเกิด ความสํานกึ เหน็ คุณค่าของพระพทุ ธศาสนา ตอนหนึ่งวา่ \"ศาสนาย่อมเป็นหลักสําหรับจะช้ีให้ถูกทาง ว่าอย่างไรจะเป็นทางที่ประพฤติดี ข้าพเจ้ารู้สึกด้วยความแน่ใจว่า คนเราทุกคนจําเป็นต้องมีศาสนา พระพุทธศาสนาเป็น ของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด ผู้ท่ีแปลงศาสนาคนเขาดูถูกยิ่งกว่าผู้ท่ี แปลงชาติ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าได้ทําหน้าที่สมควรแก่ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เราตั้งใจจะ รักษาศาสนาของเราด้วยชีวิต ข้าพเจ้าและท่านทั้งหลายต้ังใจอยู่ในข้อนี้ และถ้าท่าน ตัง้ ใจจะชว่ ยขา้ พเจ้าในกิจอนั ใหญ่นแ้ี ลว้ ก็จะเป็นทีพ่ อใจขา้ พเจ้าเป็นอันมาก\" อนุศาสนาจารย์ คือผู้ทํางานหมุนกงล้อแห่งธรรม ด้วยการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาตามหน้าท่ีพุทธศาสนิกชน ซ่ึงมีงานหลักอยู่ที่ \"ศึกษาคําส่ังสอนของ พระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามคําส่ังสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตาม ด้วย\" อันเป็นหลักปฏิบัติตามพระดํารัสของพระพุทธองค์ท่ีตรัสแก่พระอรหันต์สาวกรุ่น แรก ๖๐ รปู ว่า ๑. \"ดูกรภิกษุท้ังหลาย บัดน้ี เราพ้นแล้วจากบ่วงท้ังปวง ทั้งท่ีเป็นของทิพย์ ที่ เป็นของมนุษย์ แม้เธอท้ังหลายก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ท้ังท่ีเป็นของทิพย์ ท่ีเป็นของ มนุษย์\" นีค่ ือภารกิจแรกในดา้ นการศกึ ษา หรอื งานในองคก์ รศึกษา ๒. \"เธอท้ังหลายจงเที่ยวจารึกไป เพ่ือประโยชน์แก่มหาชน เพื่อความสุขแก่ มหาชน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ต่อชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย\" น่ีคือวัตถุประสงค์หลักของพระพุทธศาสนาที่มีความมุ่งหมายอยู่ที่ การช่วยชาวโลก ด้วยการทําตนเป็นผู้ให้ และเป็นการให้ในส่ิงท่ีตนจะมีให้ สิ่งนั้นคือ \"พระปริยัติศาสนา\" ตามนัยแห่งพระพุทธดํารัสท่ีว่า \"จงแสดงธรรมอันงามในเบ้ืองต้น ท่ามกลาง ทส่ี ดุ สมบูรณ์ ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ\" เถิด ในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ในวันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ นี้ ก ร ะ ผ ม ข อ อ้ า ง อิ ง คุ ณ พ ร ะ ศ รี รัตนตรัย และบุญกุศลท่ีได้บําเพ็ญ มา ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทาน กิจการอนุศาสนาจารย์ไทย และได้ โ ป ร ด ด ล บั น ด า ล ใ ห้ บุ ร พ า จ า ร ย์ ผู้ ช่ ว ย สื บ ส า น ก า ร อ นุ ศ า ส น า จ า ร ย์ ทุ ก ท่ า น

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๗๗ คณะอนุศาสนาจารย์ ครอบครัว ตลอดทั้งประชาชนท่ัวไป จงประสบสิริสวัสด์ิพิพัฒนมง คล สมบูรณ์พูนผลในส่ิงอันพึงปรารถนา เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบตั ิ และงอกงามไพบลู ยใ์ นธรรมขององคส์ มเดจ็ พระสมั มาสัมพทุ ธเจ้า ตลอดไป เทอญ ...........................................

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารยไ์ ทย ๓๗๘ อาจรยิ พจน์ พ.อ. วสิ ิทธ์ิ วิไลวงศ1์ 21 .......................................... พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกล้าเจา้ อยู่หัว ได้พระราชทานกิจการอนุศาสนาจารย์ ไทย จวบปัจจบุ นั ครบ ๑๐๐ ปี โดยทรงเลือก รองอํามาตย์ตรี อยู่ อุดมศิลป์ (อํามาตย์ตรี พระธรรมนิเทศทวยหาญ) ซ่ึงรับราชการอยู่ในกรมราชบัณฑิต กระทรวงธรรมการ ให้ เป็นอนุศาสนาจารย์ตามกองทหารออกไปยังประเทศยุโรป โดยมีพระประสงค์ให้เป็น ผู้สอนทหาร ช่วยรับธุระของพระองค์ในการส่ังการสอนทหารช่วยปลดเปลื้องบรรเทา ความทุกขร์ อ้ น จะไดค้ อยอนศุ าสนพ์ รํ่าสอนและปลอบโยนปลดเปล้ืองในยามทกุ ข์ ฉะนั้นการบรรเทาความทุกข์ร้อน และการพรํ่าสอนปลอบโยนปลดเปลื้องความ ทุกข์ของกําลังพล และครอบครัวพร้อมท้ังประชาชนท่ัวไปจึงเป็นหน้าท่ีหลักของ อนศุ าสนาจารย์ ธุระหน้าท่ีในพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ กิจหน้าท่ีด้านการศึกษา เล่าเรียน และวิปัสสนาธุระ กิจหน้าที่ด้านการเจริญวิปัสสนา ซ่ึงศตวรรษแรก อนุศาสนาจารย์ ได้ทําหน้าที่โดนการอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมหาร คือได้ทําหน้าที่โดย การใหก้ ารศึกษาอบรม การบรรยายธรรมเปน็ ส่วนใหญ่ กล่าวโดยรวมคือได้ทําหน้าที่ด้าน ปริยัติ เม่ือกาลมาถึงศตวรรษที่ ๒ ซึ่งเป็นยุคท่ีชาวโลกได้หันมาสนใจพระพุทธศาสนา ด้วยการบําเพ็ญจิตภาวนาหรือเจริญกรรมฐาน อนุศาสนาจารย์จึงควรให้ความสําคัญกับ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยการนําตนเข้าสู่วิถีของการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติ ปัฏฐานสี่อันเป็นวิชาเอก เป็นทางสายเอก (มิใช่ทางสายโท หรือทางในตรอก ซอก ซอย) ทจ่ี ะทาํ ไปสู่ความพน้ ทุกข์ หรือมีทุกข์นอ้ ยลง เพอื่ ให้ตนเองไดร้ ับรสแห่งพระธรรม ได้เห็น ผลจากการปฏิบัติธรรมท่ีเกิดข้ึนกับตนเอง จนเกิดศรัทธาอย่างม่ันคง ด้วยผลแห่งการ ปฏิบัติธรรม และเกิดทักษะท่ีจะนํากําลังพลเข้าสู่วิถีแห่งการปฏิบัติธรรม เนื่องจากในยุค น้ีมีเวลาให้กับพระพุทธศาสนาน้อย เมื่อเขามีเวลาให้น้อยก็เปรียบเสมือนพระสงฆ์ท่ีมา 121 ผอ.กอศจ.ยศ.ทบ. ลําดับที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๕๙ – ปจั จบุ ัน )

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนศุ าสนาจารย์ไทย ๓๗๙ บวชในตอนแกช่ ราแล้ว ซ่งึ พระพทุ ธองคจ์ ะทรงให้ไปทําธุระท่ี ๒ คือ วิปัสสนาธุระ ฉะน้ัน การนําธรรมะมาพฒั นาคนที่มีเวลาน้อย จงึ เป็นธรรมคือการนาํ ปฏบิ ตั ิธรรม บทบาทหน้าท่ีท่ีจะนําองค์กรของอนุศาสนาจารย์ให้มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ ๒ น้ี จึงเป็นบทบาทหน้าที่ในการสอนการปฏิบัติธรรม จึงจะนํามาให้สายวิทยาการ อนุศาสนาจารยม์ คี วามเจริญก้าวหน้าอย่างยงั่ ยนื ..........................................

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๘๐ บทท่ี ๑๙ บทความ

อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๘๑ บทบาทอนุศาสนาจารย์กับการพัฒนาเยาวชน พ.อ. อรุณ นลิ สุวรรณ (อดตี อนศุ าสนาจารย์ กองทัพภาคที่ ๔) .......................................... ๑. เกร่ินนํา พันโท เกรียงไกร จันทะแจ่ม ได้ขอให้เขียนบทความเร่ือง “บทบาท อนุศาสนาจารย์กับการพัฒนาเยาวชน” เพื่อนําไปลงพิมพ์ในหนังสือ ๑๐๐ ปี การ อนุศาสนาจารย์ไทย ด้วยเห็นว่าข้าพเจ้าทําโครงการเกี่ยวกับเยาวชนตลอดมา ก็รู้สึกเขิน นิดๆ เพราะงานที่ทําเป็นงานเล็กๆ ของสํานักสงฆ์ คือ “โครงการของศูนย์ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตําบลท่าข้าม” (ศอต.ท่าข้าม) เป็นโครงการไม่ใหญ่ แต่ต้ัง ปณิธานไวใ้ นใจว่าจะทาํ ไปตลอดชวี ติ ก็จะเลา่ ถึงวิธีคิดในการทาํ งานส่วนน้ีสกู่ นั ฟัง ๒. ความเป็นมาของโครงการ

อนสุ รณ์ ๑๐๐ ปี การอนุศาสนาจารย์ไทย ๓๘๒ ก่อนอื่นก็จะขอเล่าความเป็นมาก่อนจะมาเป็น “โครงการศูนย์ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตําบลท่าข้าม” สักเล็กน้อย กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ข้าพเจ้าจบการศึกษาช้ัน ป.๔ จากโรงเรียนวัดหินเกล้ียง ตําบลท่าข้าม อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ไม่สามารถเรียนต่อช้ัน ป.๕ ได้ เพราะพ่อป่วยหนัก แม่ไม่อนุญาตให้ เรียน จนถึงปี พ.ศ.๒๕๐๓ พ่อถงึ แก่กรรม แม่ขอใหข้ า้ พเจา้ บวชเณรหน้าศพพ่อ บวชแล้ว ก็ไปอยู่วัดท่าข้าม ท่องบทสวดมนต์กับหลวงตา จนจบปาฏิโมกข์ แต่ไม่ได้เรียนนักธรรม เพราะไม่มีครูสอน จนมาถึงปี พ.ศ.๒๕๐๖ พระอธิการเทือน ปนาโท (พระครูปนาทธรรมคุณ) เจ้า อาวาสวัดหินเกล้ียง มาเปิดสอนนักธรรมท่ีสํานักสงฆ์วชิรธรรม (เกาะปลัก) ซึ่งเป็นสํานัก เรียนพระปริยัติธรรมประจําตําบลท่าข้าม ได้ซักชวนข้าพเจ้ากับเพ่ือนๆสามเณรวัดท่า ข้ามและวัดอ่ืน ๆ อีกหลายรูปไปเรียนนักธรรม โดยท่านพระอธิการเทือน ปนาโท เป็น ผู้สอนเอง ปรากฏว่าในปีนั้น สามเณรอรุณ นิลสุวรรณ สอบนักธรรมชั้นตรีได้เป็นรูปแรก ของตําบลทา่ ข้าม ตอ่ มาพระอธิการเทอื น ปนาโท พิจารณาเห็นว่า ข้าพเจา้ มแี ววทางการศกึ ษา ใน ปี พ.ศ.๒๕๐๘ จึงจดั สง่ ไปเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ณ วัดคูหาสวรรค์ จงั หวัด พทั ลุง และในปี พ.ศ.๒๕๑๐ สอบ ป.ธ. ๑-๒ ได้ ปี ๒๕๑๑ สอบ ป.ธ. ๓ ได้ และ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สอบ ป.ธ.๔ ได้ ตามลาํ ดบั จากน้นั เดนิ ทางเข้ากรงุ เทพมหานคร เข้าศึกษาต่อ ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั วัดมหาธาตุ ทา่ พระจนั ทร์ ในปี ๒๕๑๓ จนจบปริญญาตรี พทุ ธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตนิ ยิ มอันดบั ๒) ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ (พธ.บ.รุน่ ที่ ๒๔ รุน่ เดียวกบั พระพรหมบัณฑิต (ประยรู ธมมฺ จติ ฺโต) อดตี อธิการบดี ม.มจร.) จากนัน้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ก็ไปปฏบิ ตั ิศาสนกจิ ที่อําเภอยา่ นตาขาว จังหวัดตรงั ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เดนิ ทางไป ศกึ ษาต่อระดับปรญิ ญาโท ณ มหาวทิ ยาลยั มทั ราส รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ปี พ.ศ.