Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore (คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.3 ล.1

(คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.3 ล.1

Published by แชร์งานครู Teachers Sharing, 2021-01-18 11:21:03

Description: (คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.3 ล.1
คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เล่ม 1
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Keywords: (คู่มือ)หนังสือเรียนสสวท พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.3 ล.1,คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์,กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560),หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Search

Read the Text Version

คู่มือครูรายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ ๓ เล่ม ๑ ตามมาตรฐานการเรยี นร้แู ละตวั ชี้วดั กลุ่มสาระการเรยี นรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑ จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธกิ าร



คำชี้แจง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถที่ทัดเทียมกับนานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการในการ สืบเสาะหาความรู้และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไปน้ี โรงเรียนจะต้องใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. จึงได้จัดทำหนังสือเรียนท่ีเปน็ ไปตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนได้ใช้ สำหรับจดั การเรยี นการสอนในชั้นเรยี น คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๑ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล่มนี้ สสวท. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้ประกอบหนังสือเรียนรายวิชา พื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ เล่ม ๑ โดยภายในคู่มือครูประกอบด้วย ผังมโนทัศน์ ตัวชี้วัด ข้อแนะนำการใช้คู่มือครู ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาและกิจกรรม ในหนังสือเรียนกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตลอดจนแนว การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะรอบดา้ น ทั้งการอ่าน การสำรวจตรวจสอบ การฝึกปฏิบัติ การปฏิบัติการทดลอง การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแห่งศตวรรษท่ี ๒๑ จติ วิทยาศาสตร์ กระบวนการสบื เสาะหาความรู้ ทักษะการคิด การอ่าน การสื่อสาร การแก้ปัญหา ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมี คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ อย่างมี ความสุข ในการจัดทำคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เล่ม ๑ กล่มุ สาระการเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีเลม่ น้ี ได้รบั ความรว่ มมืออยา่ งดีย่งิ จากคณาจารย์ ผูท้ รงคุณวุฒิ นักวิชาการ และครผู สู้ อน จากสถาบนั การศกึ ษาต่าง ๆ จงึ ขอขอบคณุ ไว้ ณ ทน่ี ้ี สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งวา่ คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๓ เล่ม ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ท่ีจะชว่ ยใหก้ ารจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์มีประสิทธภิ าพและประสิทธิผล หากมขี อ้ เสนอแนะใดท่ีจะทำให้ คู่มอื ครเู ล่มนี้สมบรู ณ์ย่ิงขึน้ โปรดแจ้ง สสวท. ทราบดว้ ย จกั ขอบคุณยง่ิ (ศาสตราจารย์ชูกจิ ลิมปจิ ำนงค)์ ผอู้ ำนวยการสถาบนั สง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

สารบัญกระทรวงศึกษาธิการ คำชี้แจง หน้า เป้าหมายของการจัดการเรยี นการสอนวทิ ยาศาสตร์ คณุ ภาพของผเู้ รียนวิทยาศาสตร์ เม่อื จบชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 ก ทักษะทส่ี ำคัญในการเรยี นรู้วิทยาศาสตร์ ข ผังมโนทัศน์ (concept map) รายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 3 เล่ม 1 ค ตวั ชีว้ ดั สาระการเรียนร้แู กนกลางวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ช ข้อแนะนำการใช้คู่มือครู ซ การจดั การเรียนการสอนวทิ ยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ญ การจัดการเรยี นการสอนที่เน้นการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ น การจัดการเรียนการสอนท่ีสอดคลอ้ งกบั ธรรมชาตขิ องวิทยาศาสตร์ น และกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ ป การวดั ผลและประเมินผลการเรยี นร้วู ิทยาศาสตร์ ตารางแสดงความสอดคล้องระหว่างเนอ้ื หาและกจิ กรรม ระดับชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 3 เล่ม 1 ฝ กับตวั ชว้ี ัดกล่มุ สาระการเรียนรวู้ ิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ. 2560) ตาม ภ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน พุทธศักราช 2551 รายการวัสดอุ ุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ป.3 เล่ม 1 ร 1 หน่วยท่ี 1 การเรียนรสู้ ิ่งต่าง ๆ รอบตัว 1 3 ภาพรวมการจดั การเรียนร้ปู ระจำหน่วยที่ 1 การเรียนรู้ส่งิ ต่างๆ รอบตัว 6 บทที่ 1 เรียนรู้แบบนกั วทิ ยาศาสตร์ 15 บทนีเ้ รม่ิ ต้นอย่างไร 20 เรื่องที่ 1 ทกั ษะการจัดกระทำและสือ่ ความหมายข้อมูล 38 กิจกรรมที่ 1 จดั กระทำและสอ่ื ความหมายข้อมลู ได้อย่างไร 44 เรื่องที่ 2 ทักษะการหาความสัมพันธร์ ะหวา่ งสเปซกบั สเปซและสเปซกบั เวลา และทกั ษะ 57 การสรา้ งแบบจำลอง 68 81 กจิ กรรมที่ 2.1 ความสัมพันธ์ระหวา่ งสเปซกบั สเปซเป็นอย่างไร 86 กิจกรรมท่ี 2.2 ความสมั พนั ธ์ระหวา่ งสเปซกบั เวลาเป็นอย่างไร กิจกรรมที่ 2.3 สร้างแบบจำลองอธบิ ายกระบอกปริศนาได้อย่างไร เร่อื งท่ี 3 หลักฐานกบั การสื่อสารทางวทิ ยาศาสตร์ กิจกรรมท่ี 3 คำตอบที่น่าเชื่อถือเปน็ อย่างไร

สารบัญ กิจกรรมทา้ ยบทที่ 1 เรยี นรแู้ บบนักวิทยาศาสตร์ หน้า แนวคำตอบในแบบฝึกหดั ท้ายบท 100 103 หนว่ ยที่ 2 อากาศและชวี ติ ของสัตว์ 111 111 ภาพรวมการจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยท่ี 2 อากาศและชีวิตของสัตว์ 113 บทท่ี 1 อากาศและความสำคญั ตอ่ ส่งิ มชี ีวิต 116 บทนเี้ รมิ่ ตน้ อย่างไร 121 เรื่องที่ 1 อากาศ 125 140 กจิ กรรมท่ี 1.1 อากาศมีส่วนประกอบไรบ้าง 160 กจิ กรรมที่ 1.2 ลดมลพิษทางอากาศได้อย่างไร 183 กจิ กรรมที่ 1.3 ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร 185 กิจกรรมทา้ ยบทท่ี 1 อากาศและความสำคญั ต่อสิง่ มชี ีวติ 188 แนวคำตอบในแบบฝกึ หัดทา้ ยบท 191 บทท่ี 2 การดำรงชีวิตของสัตว์ 199 บทน้เี รม่ิ ตน้ อย่างไร 204 เร่ืองท่ี 1 สิ่งทจ่ี ำเป็นต่อการเจริญเตบิ โตและการดำรงชวี ิตของสัตวแ์ ละมนษุ ย์ 218 กิจกรรมท่ี 1.1 สตั ว์ต้องการส่ิงใดในการเจริญเติบโตและการดำรงชวี ิต 231 กจิ กรรมท่ี 1.2 มนุษย์ตอ้ งการส่งิ ใดในการเจริญเตบิ โตและการดำรงชวี ติ 236 เรื่องที่ 2 วัฏจกั รชีวติ ของสัตว์ 261 กิจกรรมที่ 2 วัฏจักรชวี ิตของสตั ว์เปน็ อยา่ งไร 264 กจิ กรรมท้ายบทที่ 2 การดำรงชวี ติ ของสตั ว์ 266 แนวคำตอบในแบบฝึกหัดท้ายบท 284 แนวคำตอบในแบบทดสอบท้ายเล่ม 285 บรรณานกุ รม คณะทำงาน

ก คู่มอื ครูรายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 เปา้ หมายของการจดั การเรียนการสอนวทิ ยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษย์ใช้กระบวนการสังเกต สำรวจ ตรวจสอบ และการทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้วนำผลท่ีได้มาจัดระบบหลักการ แนวคิด และทฤษฎี ดังน้ันการเรียนการสอนวิทยาศาสตรจ์ ึงมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากท่ีสุด นั่นคือใหเ้ กดิ การเรียนรู้ทงั้ กระบวนการและองค์ความรู้ การจดั การเรียนรวู้ ิทยาศาสตรใ์ นสถานศกึ ษามเี ป้าหมายสำคัญ ดังนี้ 1. เพ่ือใหเ้ ขา้ ใจแนวคดิ หลักการ ทฤษฎี กฎและความรพู้ ืน้ ฐานของวิทยาศาสตร์ 2. เพอ่ื ใหเ้ ข้าใจขอบเขตธรรมชาตขิ องวทิ ยาศาสตร์ และขอ้ จำกัดของวทิ ยาศาสตร์ 3. เพอื่ ให้มีทกั ษะท่สี ำคัญในการสืบเสาะหาความรู้และพัฒนาเทคโนโลยี 4. เพื่อให้ตระหนักถึงการมีผลกระทบซึ่งกันและกันระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และ สงิ่ แวดล้อม 5. เพื่อนำความรู้ แนวคิดและทักษะต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ สังคมและการดำรงชีวิต 6. เพ่ือพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะ ในการสอ่ื สาร และความสามารถในการประเมนิ และตดั สนิ ใจ 7. เพ่ือให้เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างสรา้ งสรรค์ ⎯ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

คู่มอื ครรู ายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ข คุณภาพของผ้เู รยี นวทิ ยาศาสตร์ เมอ่ื จบชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ 3 นักเรียนที่เรียนจบช้ันประถมศึกษาปีที่ 3 ควรมีความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ และจิตวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 1. เขา้ ใจลกั ษณะทวั่ ไปของสิ่งมชี ีวิตและการดำรงชีวติ ของสิง่ มชี วี ติ รอบตัว 2. เขา้ ใจลกั ษณะที่ปรากฏ ชนิดและสมบตั ิบางประการของวสั ดุท่ใี ชท้ ำวัตถุและการเปลย่ี นแปลงของวัสดุ รอบตัว 3. เข้าใจการดึง การผลัก แรงแม่เหล็ก และผลของแรงที่มีต่อการเปล่ียนแปลงการเคล่ือนที่ของวัตถุ พลังงานไฟฟ้า และการผลติ ไฟฟา้ การเกดิ เสยี ง แสงและการมองเห็น 4. เข้าใจการปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาว ปรากฏการณ์ขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ การเกิดกลางวันกลางคืน การกำหนดทิศ ลักษณะของหิน การจำแนกชนิดดิน และการใช้ประโยชน์ ลักษณะและความสำคญั ของอากาศ การเกดิ ลม ประโยชนแ์ ละโทษของลม 5. ตงั้ คำถามหรือกำหนดปัญหาเก่ยี วกบั สง่ิ ที่จะเรียนรู้ตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ สังเกต สำรวจ ตรวจสอบโดยใช้เคร่ืองมืออย่างง่าย รวบรวมข้อมูล บันทึก และอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบด้วย การเขียนหรือวาดภาพ และส่ือสารส่ิงที่เรียนรู้ด้วยการเล่าเร่ือง หรือด้วยการแสดงท่าทางเพื่อให้ผู้อื่น เขา้ ใจ 6. แกป้ ัญหาอยา่ งง่ายโดยใช้ข้ันตอนการแก้ปัญหา มีทักษะในการใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เบ้อื งต้น รักษาขอ้ มลู สว่ นตวั 7. แสดงความกระตือรือร้น สนใจท่ีจะเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์เก่ียวกับเรื่องท่ีจะศึกษา ตามที่กำหนดให้หรอื ตามความสนใจ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็น ผ้อู ่นื 8. แสดงความรับผิดชอบด้วยการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมุ่งม่ัน รอบคอบ ประหยัด ซ่ือสัตย์ จนงานลุล่วงเป็นผลสำเร็จ และทำงานรว่ มกับผูอ้ ่นื อย่างมีความสุข 9. ตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต ศึกษา หาความรูเ้ พ่ิมเตมิ ทำโครงงานหรือสรา้ งชนิ้ งานตามท่กี ำหนดให้หรอื ตามความสนใจ สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ค คมู่ ือครรู ายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ทกั ษะที่สำคญั ในการเรียนรู้วทิ ยาศาสตร์ ทักษะสำคัญท่ีครูผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดข้ึนกับผู้เรียนเมื่อมีการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เช่น ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะแหง่ ศตวรรษที่ 21 ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ (Science Process Skills) การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพ่ือนำไปสู่ การสืบเสาะค้นหาผ่านการสังเกต ทดลอง สร้างแบบจำลอง และวิธีการอื่นๆ เพื่อนำข้อมูล สารสนเทศและ หลักฐานเชิงประจักษ์มาสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดหรือองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ทักษะการสังเกต (Observing) เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอยา่ งหนึ่งหรือ หลายอย่างสำรวจวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง โดยไม่ลงความคิดเห็นของ ผู้สังเกต ประสาทสัมผัสท้ัง 5 ได้แก่ การดู การฟังเสียง การดมกลิ่น การชิมรส และการสมั ผสั ทักษะการวัด (Measuring) เป็นความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงความสามารถในการหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ จากเคร่ืองมือที่เลือกใช้ออกมาเป็น ตวั เลขได้ถกู ต้องและรวดเร็ว พรอ้ มระบหุ น่วยของการวัดได้อยา่ งถูกต้อง ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) เป็นความสามารถในการคาดการณ์อย่างมี หลักการเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ โดยใช้ข้อมูล (Data) หรือสารสนเทศ (Information) ที่เคย เกบ็ รวบรวมไว้ในอดตี ทกั ษะการจำแนกประเภท (Classifying) เป็นความสามารถในการแยกแยะ จัดพวกหรือจัดกลุ่ม ส่ิงต่าง ๆ ที่สนใจ เช่น วัตถุ สิ่งมีชีวิต ดาว และเทหวัตถุต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ท่ีต้องการศึกษาออกเป็น หมวดหมู่ นอกจากนี้ยังหมายถึงความสามารถในการเลือกและระบุเกณฑ์หรือลักษณะร่วมลักษณะใดลักษณะ หน่งึ ของส่งิ ตา่ ง ๆ ท่ีต้องการจำแนก ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา (Relationship of Space and Time) สเปซ คือ พ้ืนท่ีที่วัตถุครอบครอง ในท่ีนี้อาจเป็นตำแหน่ง รูปร่าง รูปทรงของวัตถุ สิ่งเหล่านี้อาจมีความสัมพันธ์กัน ดงั น้ี การหาความสัมพันธ์ระหวา่ งสเปซกับสเปซ เป็นความสามารถในการหาความเกี่ยวข้อง สัมพั น ธ์กัน ระห ว่างพื้ น ที่ ที่ วัตถุต่างๆ (Relationship between Space and Space) ครอบครอง การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกบั เวลา เป็นความสามารถในการหาความเก่ียวข้อง สัมพันธ์กันระหว่างพ้ืนท่ีท่ีวัตถุครอบครอง (Relationship between Space and Time) เมอื่ เวลาผา่ นไป ⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

ค่มู อื ครรู ายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ง ทักษะการใช้จำนวน (Using Number) เป็นความสามารถในการใช้ความรู้สึกเชิงจำนวน และการคำนวณเพื่อบรรยายหรอื ระบุรายละเอียดเชิงปริมาณของส่งิ ท่สี งั เกตหรือทดลอง ทักษะการจัดกระทำและส่ือความหมายข้อมูล (Organizing and Communicating Data) เป็นความสามารถในการนำผลการสังเกต การวดั การทดลอง จากแหล่งต่าง ๆ มาจัดกระทำใหอ้ ยู่ในรปู แบบท่ี มคี วามหมายหรือมีความสมั พันธ์กันมากขึ้น จนงา่ ยต่อการทำความเข้าใจหรือเห็นแบบรูปของขอ้ มลู นอกจากนี้ ยังรวมถึงความสามารถในการนำข้อมูลมาจัดทำในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ สมการ การเขยี นบรรยาย เพอื่ ส่อื สารให้ผูอ้ ่ืนเข้าใจความหมายของขอ้ มูลมากข้ึน ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) เป็นความสามารถในบอกผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ สถานการณ์ การสังเกต การทดลองที่ได้จากการสังเกตแบบรูปของหลักฐาน (Pattern of Evidence) การพยากรณ์ ที่แม่นยำจึงเป็นผลมาจากการสังเกตท่ีรอบคอบ การวัดท่ีถกู ต้อง การบันทึก และการจัดกระทำกับข้อมูลอย่าง เหมาะสม ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypotheses) เป็นความสามารถในการคิดหาคำตอบ ล่วงหน้าก่อนดำเนินการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพ้ืนฐานคำตอบที่คิด ล่วงหน้าท่ียังไม่รู้มาก่อน หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน การตั้งสมมติฐานหรือคำตอบที่คิดไว้ ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความท่ีบอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซ่ึงอาจเป็นไปตามท่ี คาดการณไ์ วห้ รือไมก่ ็ได้ ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) เป็นความสามารถในการ กำหนดความหมายและขอบเขตของสิ่งต่าง ๆ ทอี่ ยู่ในสมมติฐานของการทดลอง หรือทเี่ ก่ียวข้องกบั การทดลอง ใหเ้ ข้าใจตรงกัน และสามารถสงั เกตหรอื วดั ได้ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Controlling Variables) เป็นความสามารถในการ กำหนดตัวแปรต่าง ๆ ท้ังตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมให้คงที่ ให้สอดคล้องกับสมมติฐาน ของการทดลอง รวมถึงความสามารถในการระบุและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ซ่ึงอาจ ส่งผลต่อผลการทดลอง หากไม่ควบคุมให้เหมือนกันหรือเท่ากัน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง ได้แก่ ตัวแปรตน้ ตวั แปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคมุ ให้คงที่ ซงึ่ ลว้ นเปน็ ปจั จยั ท่ีเกี่ยวขอ้ งกับการทดลอง ดงั นี้ ตวั แปรต้น (Independent Variable) หมายถงึ สง่ิ ทเ่ี ป็นต้นเหตทุ ำใหเ้ กิดการเปลย่ี นแปลง จงึ ต้อง จัดสถานการณ์ให้มีสงิ่ นี้แตกต่างกนั ตวั แปรตาม (Dependent Variable) หมายถงึ สิง่ ทเ่ี ปน็ ผลจากการจัดสถานการณ์บางอยา่ งให้ แตกต่างกัน และเราตอ้ งสงั เกต วดั หรอื ตดิ ตามดู ตัวแปรทตี่ ้องควบคุมให้คงท่ี (Controlled Variable) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ท่ีอาจส่งผลต่อการจดั สถานการณ์ จงึ ต้องจดั ส่ิงเหล่าน้ีใหเ้ หมือนกันหรอื เท่ากัน เพื่อให้มน่ั ใจว่าผลจากการจัดสถานการณ์เกิดจาก ตวั แปรต้นเทา่ นนั้ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

จ คู่มือครูรายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ทักษะการทดลอง (Experimenting) การทดลองประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบ การทดลอง การปฏบิ ัติการทดลอง และการบนั ทกึ ผลการทดลอง ทกั ษะการทดลองจึงเป็นความสามารถในการ ออกแบบและวางแผนการทดลองได้อย่างรอบคอบ และสอดคล้องกับคำถามการทดลองและสมมติฐาน รวมถึงความสามารถในการดำเนินการทดลองได้ตามแผน และความสามารถในการบันทึกผลการทดลองได้ ละเอยี ด ครบถ้วน และเทยี่ งตรง ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interpreting and Making Conclusion) เป็น ความสามารถ ในการแปลความหมาย หรือการบรรยาย ลักษณะและสมบัติของข้อมูลท่ีมีอยู่ ตลอดจน ความสามารถในการสรปุ ความสมั พนั ธข์ องขอ้ มลู ทั้งหมด ทกั ษะการสร้างแบบจำลอง (Formulating Models) เป็นความสามารถในการสร้างและใช้สิ่งที่ ทำขึ้นมาเพ่ือเลียนแบบหรืออธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาหรือสนใจ เช่น กราฟ สมการ แผนภูมิ รูปภาพ ภาพเคล่ือนไหว สามารถประเมินแบบจำลอง และปรับปรุงแบบจำลองที่สร้างข้ึน รวมถึงความสามารถในการ นำเสนอข้อมูล แนวคิด ความคิดรวบยอดเพ่ือใหผ้ ูอ้ ื่นเข้าใจในรปู ของแบบจำลองแบบต่าง ๆ ทกั ษะแหง่ ศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ราชบัณฑิตยสถานได้ระบุทักษะท่ีจำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 ซ่ึงสอดคล้องกับสมรรถนะที่ควรมีในพลเมือง ยุคใหม่รวม 7 ด้าน (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2558; ราชบัณฑิตยสถาน, 2557) ในระดับประถมศึกษาจะเน้นให้ครผู สู้ อนสง่ เสริมใหน้ ักเรียนมที ักษะ ดงั ต่อไปน้ี การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง การคิดโดยใช้เหตุผลที่หลากหลาย เหมาะสมกับสถานการณ์ มีการคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ ประเมินหลักฐานและข้อคิดเห็นด้วยมุมมอง ท่ีหลากหลาย สังเคราะห์ แปลความหมาย และจัดทำข้อสรุป สะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้ ประสบการณแ์ ละกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหา (Problem Solving) หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย หรือ ปัญหาใหม่ โดยอาจใช้ความรู้ ทกั ษะ วิธีการและประสบการณท์ ีเ่ คยรูม้ าแล้ว หรือการสืบเสาะหาความรู้ วธิ ีการ ใหม่มาใช้แก้ปัญหา นอกจากนี้ยังรวมถึงการซักถามเพื่อทำความเข้าใจมุมมองท่ีแตกต่าง หลากหลายเพ่ือให้ได้ วธิ ีแกป้ ญั หาท่ดี ีย่งิ ขน้ึ การส่ือสาร (Communication) หมายถึง ความสามารถในการส่ือสารได้อย่างชัดเจน เชื่อมโยง เรียบเรียงความคิดเเละมุมมองต่าง ๆ แล้วสื่อสารโดยการใช้คําพูด หรือการเขียน เพ่ือให้ผู้อื่นเข้าใจได้ หลากหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการฟังอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เข้าใจ ความหมายของผู้ส่งสาร ความร่วมมือ (Collaboration) หมายถึง ความสามารถในการทำงานร่วมกับคนกลุ่มต่าง ๆ ที่ หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกียรติ มีความยืดหยุ่นและยินดีที่จะประนีประนอม เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายการทำงาน พร้อมทั้งยอมรับและแสดงความรับผิดชอบต่องานที่ทำร่วมกัน และเห็นคุณคา่ ของผลงาน ท่พี ฒั นาขึน้ จากสมาชกิ แต่ละคนในทมี ⎯ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คู่มือครูรายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ฉ การสร้างสรรค์ (Creativity) หมายถึง การใช้เทคนิคที่หลากหลายในการสร้างสรรค์แนวคิด เช่น การระดมพลังสมอง รวมถึงความสามารถในการพัฒนาต่อยอดแนวคิดเดิม หรือได้แนวคิดใหม่ และ ความสามารถในการกลัน่ กรอง ทบทวน วิเคราะห์ และประเมินแนวคิด เพื่อปรับปรุงให้ไดแ้ นวคดิ ทจ่ี ะส่งผลให้ ความพยายามอยา่ งสรา้ งสรรคน์ ้ีเปน็ ไปได้มากทสี่ ดุ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology (ICT)) หมายถึง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพ่ือเป็นเครื่องมือสืบค้น จัดกระทํา ประเมนิ และสือ่ สารข้อมูลความรตู้ ลอดจนรู้เทา่ ทันส่ือโดยการใชส้ ่ือต่าง ๆ ได้อยา่ งเหมาะสม มปี ระสทิ ธภิ าพ สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ช คมู่ ือครรู ายวิชาพืน้ ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ผงั มโนทศั น์ (concept map) รายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช้ันประถมศกึ ษาปที ่ี 3 เลม่ 1 ประกอบด้วย ไดแ้ ก่ ได้แก่ ⎯ สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

คมู่ ือครรู ายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ซ ตัวชว้ี ดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ตวั ชี้วัด สาระการเรยี นรู้แกนกลาง ว1.2 ป.3/1 • มนุษย์และสัตว์ต้องการอาหาร น้ำ และอากาศ เพื่อการ บรรยายส่ิงที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการ ดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต เจริญเติบโตของมนุษย์และสัตว์ โดยใช้ข้อมูล ทร่ี วบรวมได้ ว1.2 ป.3/2 • อาหารช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโต น้ำช่วย ตระหนักถึงประโยชน์ของอาหาร น้ำ และ ให้รา่ งกายทำงานได้อย่างปกติ อากาศใชใ้ นการหายใจ อากาศ โดยการดูแลตนเองและสัตว์ให้ได้รับ สิง่ เหล่านอ้ี ย่างเหมาะสม ว1.2 ป.3/3 • สัตว์เม่ือเป็นตัวเต็มวัยจะสืบพันธ์ุมีลูก เมื่อลูก สร้างแบบจำลองที่บรรยายวัฏจักรชีวิตของ เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยก็สืบพันธุ์มีลูกต่อไปได้อีก สัตว์ และเปรียบเทียบวัฏจักรชีวิตของสัตว์ หมุนเวียนต่อเน่ืองเป็นวัฏจักรชีวิตของสัตว์ ซึ่งสัตว์ บางชนดิ แต่ละชนิด เช่น ผีเส้ือ กบ ไก่ มนุษย์จะมีวัฏจักรชีวิตท่ี ว1.2 ป.3/4 เฉพาะ และแตกต่างกัน ตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์ โดยไม่ทำ ใหว้ ฏั จกั รชวี ิตของสัตว์เปลี่ยนแปลง ว3.2 ป.3/1 • อากาศโดยท่ัวไปไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ประกอบด้วย แก๊ส ระบุส่วนประกอบของอากาศ บรรยาย ไนโตรเจน แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ความสำคัญของอากาศ และผลกระทบของ แก๊สอ่ืน ๆ รวมทั้งไอน้ำ และ ฝุ่นละออง อากาศมี มลพิษทางอากาศต่อสิ่งมีชีวิต จากข้อมูลที่ ความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต หากส่วนประกอบของ รวบรวมได้ อากาศไม่เหมาะสม เน่ืองจากมีแก๊สบางชนิดหรือฝุ่น ว3.2 ป.3/2 ละอองในปริมาณมาก อาจทำให้เป็นอันตรายต่อ ตระหนักถึงความสำคัญของอากาศ โดย สิง่ มชี วี ติ ชนิดตา่ ง ๆ จัดเป็นมลพิษทางอากาศ นำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนในการลดการ • แนวทางการปฏิบัติตนเพื่อลดมลพิษทางอากาศ เช่น เกดิ มลพิษทางอากาศ ใช้พาหนะร่วมกัน หรือเลือกใช้เทคโนโลยีท่ีลดมลพิษ ทางอากาศ สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ฌ คู่มอื ครรู ายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ว3.2 ป.3/3 • ลม คืออากาศท่ีเคล่ือนท่ี เกิดจากความแตกต่างกันของ อธิบายการเกดิ ลมจากหลักฐานเชิงประจักษ์ อุณหภูมิอากาศบริเวณท่ีอยู่ใกล้กัน โดยอากาศบริเวณ ที่มีอุณหภูมิสูงจะลอยตัวสูงขึ้น และอากาศบริเวณที่มี อณุ หภูมิตำ่ กวา่ จะเคลื่อนเข้าไปแทนที่ ว3.2 ป.3/4 • ลมสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนในการ บรรยายประโยชน์และโทษของลมจาก ผลิตไฟฟ้า และนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรม ข้อมูลท่รี วบรวมได้ ต่าง ๆ ของมนุษย์ หากลมเคล่ือนที่ด้วยความเร็วสูง อาจทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่อชีวิตและ ทรพั ย์สนิ ได้ ⎯ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวิชาพนื้ ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ญ ข้อแนะนำการใช้ค่มู อื ครู คู่มือครูเล่มน้ีจัดทำขึ้นเพ่ือใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมสำหรับครู ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ นักเรียนจะได้ฝึกทักษะจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการสังเกต การสำรวจ การทดลอง การสืบค้นข้อมูล การอภปิ ราย การทำงานรว่ มกัน ซง่ึ เป็นการฝกึ ให้นักเรียนช่างสังเกต รู้จักตง้ั คำถาม รู้จักคิดหาเหตผุ ล เพอื่ ตอบ ปัญหาต่าง ๆ ไดด้ ้วยตนเอง ท้ังน้โี ดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนไดเ้ รยี นรู้และค้นพบดว้ ยตนเองมากที่สุด ดงั นั้น ในการจัดการเรียนรู้ ครูจงึ เปน็ ผู้ช่วยเหลือ ส่งเสรมิ และสนบั สนุนนักเรียนให้รจู้ กั สบื เสาะหาความร้จู ากสอื่ และ แหลง่ การเรียนรตู้ ่าง ๆ และเพ่ิมเติมข้อมูลท่ีถูกต้องแกน่ ักเรียน เพื่อให้นักเรยี นมีทักษะจากการศึกษาหาความรู้ ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์จากคู่มือครูเล่มน้ีมากที่สุด ครูควรทำความเข้าใจในรายละเอียดของแต่ละ หวั ข้อ และข้อเสนอแนะเพม่ิ เตมิ ดังนี้ 1. สาระการเรยี นรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้แกนกลางเป็ นสาระการเรี ยนรู้เฉพาะกลุ่ มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีท่ีปรากฏในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัด ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็น สำหรับเป็นพ้ืนฐานเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และเป็นพ้ืนฐานในการศึกษาต่อในระดับท่ีสูงขึ้น โดย สอดคล้องกับสาระและความสามารถ ความถนัดและความสนใจของนักเรียน ในทุกกิจกรรมจะมี สาระสำคัญ ซ่ึงเป็นเน้ือหาสาระที่ปรากฏอยู่ตามสาระการเรียนรู้โดยสถานศึกษาสามารถพัฒนาเพ่ิมเติม ได้ตามความเหมาะสม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัด ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ได้เพ่ิมสาระเทคโนโลยี ซ่ึงประกอบด้วยการออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ ท้ังน้ีเพ่ือเอ้ือต่อการจัดการเรียนรู้ บูรณาการสาระทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ตาม แนวคิดสะเต็มศึกษา 2. ภาพรวมการจัดการเรียนรปู้ ระจำหน่วย ภาพรวมการจัดการเรยี นรูป้ ระจำหน่วยมีไว้เพื่อเช่ือมโยงเนื้อหาสาระกับมาตรฐานการเรียนรแู้ ละ ตวั ช้ีวัดที่จะได้เรียนในแต่ละกิจกรรมของหน่วยน้ัน ๆ และเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนนำไปปรบั ปรุงและ เพิม่ เตมิ ตามความเหมาะสม 3. จุดประสงค์การเรยี นรู้ แต่ละหน่วยการเรียนรู้นักเรียนจะได้ทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย ในแต่ละส่วนของหนังสือเรียนทั้ง ส่วนนำบท นำเร่ือง และกิจกรรมมีจุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับตัวช้ีวัดช้ันปีเพื่อให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ โดยยึดหลักให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ สืบเสาะหาความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการแก้ปัญหา การส่ือสาร และความสามารถในการตัดสินใจ การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตและ สถาบันส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ฎ คูม่ อื ครรู ายวิชาพืน้ ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ในสถานการณ์ใหม่ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และค่านยิ มท่ีเหมาะสม สามารถอยใู่ นสังคมไทยได้อยา่ งมีความสุข 4. บทนมี้ อี ะไร ส่วนที่บอกรายละเอียดในบทน้ัน ๆ ซึ่งประกอบด้วยช่ือเร่ือง คำสำคัญ และชื่อกิจกรรม เพื่อครู จะได้ทราบองคป์ ระกอบโดยรวมของแต่ละบท 5. สือ่ การเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ส่วนท่ีบอกรายละเอียดส่ือการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ท่ีต้องใช้สำหรับการเรียนในบท เร่ือง และ กิจกรรมน้ัน ๆ โดยส่ือการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ประกอบด้วยหน้าหนังสือเรียนและแบบบันทึก กิจกรรม และอาจมีโปรแกรมประยุกต์ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนูปกรณ์หรือตัวอย่างวีดิทัศน์ ปฏิบตั กิ ารทางวทิ ยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความมัน่ ใจในการสอนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สำหรบั ครู 6. ทกั ษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละทกั ษะแหง่ ศตวรรษที่ 21 ทักษะที่นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็น ทักษะท่ีนักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ ส่วนทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะท่ีช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของนักเรียนในด้านต่าง ๆ เพอ่ื ใหท้ ันต่อการเปลย่ี นแปลงของโลก ⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

คู่มอื ครูรายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ฏ วีดทิ ศั น์ตัวอยา่ งปฏิบตั ิการวิทยาศาสตร์สำหรบั ครูเพื่อฝึกฝนทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรต์ า่ ง ๆ มดี งั นี้ รายการ ทักษะกระบวนการทาง Short link QR code วิทยาศาสตร์ วีดิทศั น์ การสังเกตและการ การสังเกตและการลงความเห็น http://ipst.me/8115 ลงความเห็นจากขอ้ มลู จากข้อมลู ทำได้อย่างไร วีดิทัศน์ การวัดทำได้อยา่ งไร การวดั http://ipst.me/8116 วีดทิ ัศน์ การใช้ตัวเลขทำได้ การใช้จำนวน http://ipst.me/8117 อยา่ งไร วดี ทิ ศั น์ การจำแนกประเภท การจำแนกประเภท http://ipst.me/8118 ทำได้อย่างไร วดี ทิ ศั น์ การหาความสัมพันธ์ การหาความสัมพนั ธ์ระหวา่ ง http://ipst.me/8119 ระหว่างสเปซกับสเปซ สเปซกบั สเปซ ทำได้อย่างไร วดี ทิ ศั น์ การหาความสัมพันธ์ การหาความสมั พนั ธ์ระหวา่ ง http://ipst.me/8120 ระหวา่ งสเปซกบั เวลา สเปซกับเวลา ทำได้อย่างไร วีดทิ ัศน์ การจัดกระทำและส่ือ การจัดกระทำและส่ือความหมาย http://ipst.me/8121 ความหมายข้อมูล ขอ้ มลู ทำได้อยา่ งไร วีดิทัศน์ การพยากรณ์ทำได้ การพยากรณ์ http://ipst.me/8122 อยา่ งไร สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ฐ ค่มู อื ครูรายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 รายการ ทักษะกระบวนการทาง Short link QR code วทิ ยาศาสตร์ http://ipst.me/8123 วดี ทิ ัศน์ ทำการทดลองได้ อยา่ งไร การทดลอง วีดทิ ัศน์ การตั้งสมมตฐิ านทำ การตงั้ สมมตฐิ าน http://ipst.me/8124 ไดอ้ ยา่ งไร วีดทิ ศั น์ การกำหนดและ การกำหนดและควบคุมตวั แปร http://ipst.me/8125 ควบคุมตวั แปรและ และการกำหนดนิยาม การกำหนดนยิ ามเชงิ เชิงปฏิบัตกิ าร http://ipst.me/8126 ปฏิบตั กิ ารทำได้ http://ipst.me/8127 อย่างไร การตคี วามหมายข้อมลู และ ลงขอ้ สรปุ วีดิทศั น์ การตคี วามหมาย ขอ้ มลู และลงข้อสรปุ ทำได้อยา่ งไร วีดทิ ัศน์ การสร้างแบบจำลอง การสร้างแบบจำลอง ทำได้อย่างไร ⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คู่มอื ครรู ายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ฑ 7. แนวคิดคลาดเคลอ่ื น ความเชื่อ ความรู้ หรือความเข้าใจท่ีผิดหรือคลาดเคล่ือนซ่ึงเกิดขึ้นกับนักเรียน เนื่องจาก ประสบการณ์ในการเรียนรู้ท่ีรับมาผิดหรือนำความรู้ที่ได้รับมาสรุปตามความเขา้ ใจของตนเองผิด แล้ว ไม่สามารถอธิบายความเข้าใจนั้นได้ ดังนั้นเม่ือเรียนจบบทน้ีแล้วครูควรแก้ไขแนวคิดคลาดเคล่ือนของ นกั เรยี นให้เปน็ แนวคดิ ทีถ่ กู ต้อง 8. บทน้ีเริม่ ต้นอยา่ งไร แนวทางสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนนั้น ๆ โดยและให้นักเรียน ตอบคำถามสำรวจความรู้ก่อนเรียน จากนั้นครูสังเกตการตอบคำถามของนักเรียนและยังไม่เฉลย คำตอบท่ีถกู ต้อง เพอ่ื ให้นักเรียนไปหาคำตอบจากเรื่องและกจิ กรรมต่าง ๆ ในบทนั้น 9. เวลาทใ่ี ช้ การเสนอแนะเวลาท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนว่าควรใช้ประมาณกี่ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ ครูผู้สอนได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ไดอ้ ย่างเหมาะสม อยา่ งไรก็ตามครูอาจปรบั เปลยี่ นเวลาไดต้ าม สถานการณ์และความสามารถของนกั เรยี น 10. วัสดุอปุ กรณ์ รายการวัสดุอปุ กรณ์ทง้ั หมดสำหรบั การจัดกจิ กรรม โดยอาจมีทั้งวัสดุส้ินเปลือง อปุ กรณ์สำเร็จรูป อปุ กรณพ์ น้ื ฐาน หรืออืน่ ๆ 11. การเตรยี มตวั ลว่ งหนา้ สำหรับครู เพ่ือจัดการเรียนร้ใู นคร้ังถดั ไป การเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป เพื่อครูจะได้เตรียมส่ือ อุปกรณ์ เคร่ืองมือต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในกิจกรรมให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีและมีจำนวนเพียงพอกับนักเรียน โดย อาจมบี างกจิ กรรมตอ้ งทำลว่ งหนา้ หลายวนั เชน่ การเลย้ี งปลา ข้อเสนอแนะเพม่ิ เติม นักเรยี นในระดับช้ันประถมศกึ ษา มีกระบวนการคิดท่เี ปน็ รปู ธรรม ครจู งึ ควรจัดการเรยี นการสอนท่ี มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติหรือทำการทดลองด้วยตนเอง ซ่ึงเป็นวิธีหน่ึงที่นักเรียนจะได้มีประสบการณ์ตรง ดังนัน้ ครผู ูส้ อนจึงต้องเตรียมตวั เองในเรอ่ื งตอ่ ไปน้ี 11.1 บทบาทของครู ครูจะต้องเปล่ียนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ เป็นผชู้ ่วยเหลอื โดยส่งเสริมและสนับสนนุ นักเรียนในการแสวงหาความร้จู ากส่อื และแหล่ง การเรียนรตู้ ่าง ๆ และให้ข้อมูลทถ่ี ูกต้องแกน่ ักเรียน เพื่อใหน้ ักเรียนได้นำข้อมูลเหลา่ น้ันไป ใชส้ รา้ งสรรค์ความรขู้ องตนเอง สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ฒ คู่มอื ครูรายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 11.2 การเตรียมตัวของครูและนักเรียน ครูควรเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมในการทำ กิจกรรมต่าง ๆ แต่บางคร้ังนักเรียนไม่เข้าใจและอาจจะทำกิจกรรมไม่ถูกต้อง ดังน้ันครูจึง ต้องเตรียมตัวเอง โดยทำความเข้าใจในเร่อื งตอ่ ไปนี้ การสืบค้นข้อมูลหรือการค้นคว้าด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถามจากผู้รู้ในท้องถ่ิน ดูจากรูปภาพแผนภูมิ อ่านหนังสือหรือเอกสารเท่าท่ีหาได้ น่ันคือการให้นักเรียนเป็นผู้หา ความรู้และพบความรหู้ รอื ข้อมลู ดว้ ยตนเอง ซง่ึ เป็นการเรยี นรู้ดว้ ยวิธีเสาะหาความรู้ การนำเสนอ มีหลายวิธี เช่น ให้นักเรียนหรือตัวแทนกลุ่มออกมาเล่าเรื่องที่ได้รับ มอบหมายให้ไปสำรวจ สังเกต หรือทดลอง หรืออาจให้เขียนเป็นคำหรือเป็นประโยคลงใน แบบบันทึกกิจกรรมหรือสมุดอ่ืนตามความเหมาะสม นอกจากน้ีอาจให้วาดรูป หรือตัด ขอ้ ความจากหนังสือพิมพ์ แล้วนำมาตดิ ไว้ในหอ้ ง เปน็ ตน้ การสำรวจ ทดลอง สืบค้นข้อมูล สร้างแบบจำลองหรืออ่ืน ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้เป็น สง่ิ สำคัญอย่างยิ่งต่อการเรยี นรู้วิทยาศาสตร์ ครูผสู้ อนสามารถใหน้ ักเรยี นทำกิจกรรมได้ท้ัง ในห้องเรียน นอกห้องเรียนหรอื ทบี่ ้าน โดยไมจ่ ำเป็นต้องใช้อุปกรณว์ ิทยาศาสตร์ราคาแพง อาจใช้อุปกรณ์ท่ีดัดแปลงจากสิ่งของเหลือใช้ หรือใช้วัสดุธรรมชาติ ข้อสำคัญ คือ ครผู ู้สอนต้องให้นักเรียนทราบว่า ทำไมจึงต้องทำกิจกรรมนนั้ และจะต้องทำอะไร อยา่ งไร ผลจากการทำกิจกรรมจะสรุปผลอย่างไร ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ ความคิด และ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พร้อมกับเกิดค่านิยม คุณ ธรรม เจตคติ ทางวิทยาศาสตร์ดว้ ย 12. แนวการจดั การเรียนรู้ แนวทางสำหรับครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วย ตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผลและสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการนำเอาวิธีการต่าง ๆ ของกระบวนการทาง วทิ ยาศาสตร์ไปใช้ วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ สสวท. เห็นว่าเหมาะสมท่ีจะนำนักเรียนไปสู่เป้าหมายทีก่ ำหนด ไว้ก็คือ วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซ่ึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การมองเห็นปัญหา การสำรวจ ตรวจสอบ และอภิปรายซกั ถามระหวา่ งครูกับนักเรยี นเพื่อนำไปสูข่ ้อสรปุ ข้อเสนอแนะเพ่ิมเติม นอกจากครูจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามคู่มือครูน้ี ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความ เหมาะสมเพอื่ ใหบ้ รรลุจดุ มุ่งหมาย โดยจะคำนงึ ถงึ เร่อื งต่าง ๆ ดงั ตอ่ ไปนี้ 12.1 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้ตลอดเวลาด้วยการกระตุ้นให้นักเรียนลงมือทำกิจกรรมและอภิปรายผล โดยครู อาจใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้คำถาม การเสริมแรงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้การ เรียนการสอนนา่ สนใจและมชี ีวติ ชีวา ⎯ สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

คู่มอื ครรู ายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ณ 12.2 การใช้คำถาม เพ่ือนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนและลงข้อสรุป โดยไม่ใช้เวลานานเกินไป ท้ังนี้ ครูต้องวางแผนการใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้คำถามท่ีมีความยากง่าย พอเหมาะกับความสามารถของนักเรียน 12.3 การสำรวจตรวจสอบซ้ำ เป็นส่ิงจำเป็นเพ่ือให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดังน้ันในการจัดการเรียนรู้ ครูควรเน้นย้ำให้นักเรยี นไดส้ ำรวจตรวจสอบซำ้ เพอ่ื นำไปสขู่ ้อสรุปทถ่ี ูกตอ้ งและเชอื่ ถอื ได้ 13. ขอ้ เสนอแนะเพมิ่ เตมิ ข้อเสนอแนะสำหรับครูที่อาจเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ เช่น ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ท่ี เหมาะสมหรือใช้แทน ข้อควรระวงั วธิ ีการใชอ้ ุปกรณใ์ ห้เหมาะสมและปลอดภัย วิธกี ารทำกิจกรรมเพื่อ ลดขอ้ ผิดพลาด ตวั อยา่ งตาราง และเสนอแหล่งเรยี นรเู้ พื่อการค้นคว้าเพมิ่ เติม 14. ความรู้เพ่ิมเติมสำหรับครู ความรู้เพ่ิมเติมในเน้ือหาที่สอนซ่ึงจะมีรายละเอียดท่ีลึกข้ึน เพ่ือเพ่ิมความรู้และความมั่นใจ ในเร่ืองที่จะสอนและแนะนำนักเรียนท่ีมีความสามารถสูง แต่ครูต้องไม่นำไปสอนนักเรียนในช้ันเรียน เพราะไม่เหมาะสมกับวยั และระดับช้นั 15. อยา่ ลมื นะ ส่วนท่ีเตือนไม่ให้ครูเฉลยคำตอบท่ีถูกต้อง ก่อนที่จะได้รับฟังความคิดและเหตุผลของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเองและครูจะได้ทราบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องน้ันอย่างไร บ้าง โดยครูควรให้คำแนะนำเพ่ือให้นักเรียนหาคำตอบได้ด้วยตนเอง นอกจากน้ันครูควรให้ความสนใจ ต่อคำตอบของนกั เรียนทุกคนดว้ ย 16. แนวการประเมนิ การเรยี นรู้ การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้จากการอภิปรายในช้ันเรียน คำตอบของนักเรียนระหว่าง การจัดการเรียนรู้และในแบบบันทึกกิจกรรม รวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทไ่ี ด้จากการทำกจิ กรรมของนกั เรยี น 17. กจิ กรรมทา้ ยบท ส่วนทใ่ี หน้ กั เรยี นได้สรปุ ความรู้ ความเขา้ ใจ ในบทเรยี น และไดต้ รวจสอบความรู้ในเนื้อหาทเ่ี รยี น มาทงั้ บท หรืออาจตอ่ ยอดความรใู้ นเร่อื งนัน้ ๆ ข้อแนะนำเพม่ิ เติม 1. การสอนอา่ น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า “อ่าน” หมายถึง ว่าตาม ตวั หนังสือ ถ้าออกเสียงด้วย เรยี กว่า อ่านออกเสียง ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ หรอื อีกความหมาย ของคำว่า “อ่าน” หมายถึง สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ ตีความ เชน่ อา่ นรหสั อา่ นลายแทง สถาบนั ส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ด คู่มอื ครูรายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ปีพุทธศักราช 2541 กรมวิชาการ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญ จำเป็นต้องเน้นและฝึกฝนให้แก่นักเรียนเป็นอย่างมาก เน่ืองจากการอ่านเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ผู้อ่าน สร้างความหมายหรือพัฒนาการวิเคราะห์ ตีความในระหว่างอ่าน ผู้อ่านจะต้องรหู้ ัวเรื่อง รู้จุดประสงค์การอ่าน มี ค ว า ม รู้ ท า ง ภ า ษ า ใก ล้ เคี ย ง กั บ ภ า ษ า ที่ ใช้ ใน ห นั งสื อท่ี อ่ าน แ ล ะจ ำ เป็ น ต้ องใช้ ป ระส บ การ ณ์ เดิ ม ที่ เป็ น ประสบการณ์พ้ืนฐานของผู้อ่าน ทำความเข้าใจเรื่องท่ีอ่าน ท้ังน้ีนักเรียนแต่ละคนอาจมีทักษะในการอ่านที่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ประสบการณ์เดิมของนักเรียน ความสามารถด้านภาษา หรือความสนใจเรอื่ งที่อ่าน ครูควรสงั เกตนกั เรียนว่านักเรียนแต่ละคนมีความสามารถในการอ่านอยใู่ นระดับใด ซึ่งครูจะตอ้ งพจิ ารณาทงั้ หลักการอ่าน และความเขา้ ใจในการอ่านของนักเรียน การร้เู ร่อื งการอ่าน (Reading literacy) หมายถงึ การเข้าใจขอ้ มลู เน้ือหาสาระของส่งิ ท่ีอา่ น การใช้ ประเมนิ และสะท้อนมุมมองของตนเองเกยี่ วกับสิ่งท่ีอา่ นอย่างตงั้ ใจเพ่อื บรรลเุ ปา้ หมายสว่ นตัวของตนเองหรือ เพื่อพัฒนาความรแู้ ละศกั ยภาพของตนเองและนำความรู้และศกั ยภาพนั้นมาใชใ้ นการแลกเปลยี่ นเรียนร้ใู น สังคม (PISA, 2018) กรอบการประเมินผลนักเรยี นเพ่ือให้มสี มรรถนะการอ่านในศตวรรษท่ี 21 ตามแนวทางของ PISA สามารถ สรุปได้ดงั แผนภาพด้านล่าง จากกรอบการประเมินดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การรู้เรื่องการอ่านเป็นสมรรถนะท่ีสำคัญที่ครูควรส่งเสริมให้ นักเรียนมีความสามารถให้ครอบคลุม ต้ังแต่การค้นหาข้อมูลในสิ่งท่ีอ่าน เข้าใจเน้ือหาสาระที่อ่านไปจนถึง ประเมินค่าเนื้อหาสาระท่ีอ่านได้ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยการอ่านเพ่ือหาข้อมูล ทำความเข้าใจเน้ือหาสาระของสิ่งที่อ่าน รวมท้ังประเมินส่ิงท่ีอ่านและนำเสนอมุมมองของตนเองเก่ียวกับส่ิงท่ี อ่าน นักเรียนควรไดร้ บั ส่งเสริมการอา่ นดังต่อไปนี้ ⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

คู่มอื ครรู ายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ต 1. นกั เรยี นควรได้รับการฝึกการอ่านข้อความแบบตอ่ เนื่อง จำแนกข้อความแบบต่างๆ กนั เช่น การบอก การพรรณนา การโต้แย้ง รวมไปถึงการอ่านข้อเขียนที่ไม่ใช่ข้อความต่อเน่ือง ได้แก่ การอ่านรายการ ตาราง แบบฟอร์ม กราฟ และแผนผัง เป็นต้น ซึ่งข้อความเหล่าน้ีเป็นสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็นใน โรงเรียน และจะต้องใช้ในชีวิตจริงเม่ือโตเปน็ ผู้ใหญ่ ซึ่งในคู่มือครเู ล่มน้ีต่อไปจะใช้คำแทนข้อความทั้งที่ เปน็ ขอ้ ความแบบต่อเน่อื งและขอ้ ความท่ีไมใ่ ช่ข้อความต่อเนื่องวา่ ส่ิงท่ีอา่ น (Text) 2. นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนให้มีความสามารถในการประเมินส่ิงท่ีอ่านว่ามีความเหมาะสมสอดคล้อง กับลักษณะของข้อเขียนมากน้อยเพียงใด เช่น ใช้นวนิยาย จดหมาย หรือชีวประวัติเพ่ือประโยชน์ ส่วนตัว ใช้เอกสารราชการหรือประกาศแจ้งความเพ่ือสาธารณประโยชน์ ใช้รายงานหรือคู่มือต่างๆ เพ่อื การทำงานอาชีพ ใช้ตำราหรือหนังสือเรยี น เพ่ือการศกึ ษา เปน็ ต้น 3. นักเรียนควรได้รับการฝกึ ฝนใหม้ สี มรรถนะการอา่ นเพื่อเรยี นรู้ ในดา้ นตา่ ง ๆ ต่อไปนี้ 3.1 ความสามารถท่จี ะคน้ หาเนือ้ หาสาระของสิ่งที่อา่ น (Retrieving information) 3.2 ความสามารถทจ่ี ะเขา้ ใจเน้ือหาสาระของสิง่ ท่ีอา่ น (Forming a broad understanding) 3.3 ความสามารถในการแปลความของสิ่งที่อ่าน (Interpretation) 3.4 ความสามารถในการประเมินและสามารถสะท้อนความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากมุมมองของตน เกี่ยวกบั เนอ่ื หาสาระของส่งิ ที่อา่ น (Reflection and Evaluation the content of a text) 3.5 ความสามารถในการประเมินและสามารถสะท้อนความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากมุมมองของตน เก่ียวกับรปู แบบของสง่ิ ที่อ่าน (Reflection and Evaluation the form of a text) ท้ังน้ี สสวท. ขอเสนอแนะวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อเปน็ การฝกึ ทกั ษะการอ่านของนกั เรยี น ดังน้ี  เทคนิคการสอนแบบ DR-TA (The directed reading-thinking activity) การสอนอ่านท่ีมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิด กลั่นกรองและตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการอ่าน ด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนคาดคะเนเนื้อหาหรือคำตอบล่วงหน้าจากประสบการณ์เดิมของนักเรียน โดยมี ขัน้ ตอนการจัดการเรยี นการสอน ดงั นี้ 1. ครจู ดั แบ่งเนอื้ เรื่องท่ีจะอา่ นออกเป็นส่วนย่อย และวางแผนการสอนอ่านของเน้ือเรือ่ งท้งั หมด 2. นำเข้าส่บู ทเรียนโดยชักชวนใหน้ ักเรียนคดิ ว่านักเรยี นรู้อะไรเกีย่ วกับเร่ืองที่จะอ่านบ้าง 3. ครใู ห้นกั เรยี นสงั เกตรูปภาพ หัวขอ้ หรอื อื่น ๆ ทีเ่ ก่ียวกบั เนอื้ หาที่จะเรียน 4. ครูตั้งคำถามให้นักเรียนคาดคะเนเนื้อหาของเรื่องที่กำลังจะอ่าน ซ่ึงอาจให้นักเรียนคิดว่าจะได้เรียน เกี่ยวกบั อะไร โดยครูพยายามกระตุน้ ใหน้ ักเรียนได้แสดงความคดิ เห็นหรอื คาดคะเนเนื้อหา 5. ครูอาจให้นักเรียนเขียนสิ่งท่ีตนเองคาดคะเนไว้ โดยจะทำเป็นรายคนหรือเป็นคู่ก็ได้ หรือครูนำ อภปิ รายแลว้ เขียนแนวคิดของนกั เรยี นแต่ละคนไว้บนกระดาน 6. นักเรียนอ่านเน้ือเร่ือง จากน้ันประเมินหรือตรวจสอบ และอภิปรายว่าการคาดคะเนของตนเองตรง กบั เน้ือเรื่องที่อ่านหรอื ไม่ ถ้านักเรยี นประเมินว่าเร่ืองที่อ่านมีเน้ือหาตรงกับท่ีคาดคะเนไว้ให้นักเรียน แสดงขอ้ ความทสี่ นบั สนนุ การคาดคะเนของตนเองจากเนื้อเรื่อง สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ถ คูม่ อื ครรู ายวิชาพืน้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 7. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูวิเคราะห์ว่านักเรียนแต่ละคนสามารถใช้การคาดคะเนด้วย ตนเองอย่างไรบ้าง 8. ทำซ้ำขั้นตอนเดิมในการอ่านเน้ือเรื่องส่วนอื่น ๆ เม่ือจบทั้งเรื่องแล้ว ครูปิดเร่ืองโดยการทบทวน เนอ้ื หาและอภิปรายถึงวิธีการคาดคะเนของนักเรียนทคี่ วรใชส้ ำหรับการอ่านเร่ืองอน่ื ๆ  เทคนคิ การสอนแบบ KWL (Know – Want – Learn) การสอนอ่านท่ีมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นระบบ โดยผ่านตาราง 3 ช่อง คือ K-W-L (นักเรยี นรู้อะไรบ้างเกยี่ วกบั เร่ืองท่ีจะอ่าน นักเรียนตอ้ งการรู้ อะไรเกี่ยวกับเรื่องท่ีจะอ่าน นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน) โดยมีขนั้ ตอนการจัดการเรียนการสอน ดงั น้ี 1. นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยการใช้คำถาม การนำด้วยรูปภาพหรือ วีดิทศั น์ท่ีเก่ียวกับเนอื้ เร่ือง เพ่ือเชือ่ มโยงเขา้ สเู่ รื่องทจ่ี ะอ่าน 2. ครูทำตารางแสดง K-W-L และอธิบายขั้นตอนการทำกิจกรรมโดยใช้เทคนิค K-W-L ว่ามีข้ันตอน ดงั น้ี ขัน้ ที่ 1 กิจกรรมก่อนการอ่าน เรียกว่า ข้ัน K มาจาก know (What we know) เป็นขั้นตอนท่ีให้ นักเรียนระดมสมองแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับเรื่องที่จะอ่าน แล้วบันทึกส่ิงท่ีตนเองรู้ลงใน ตารางช่อง K ขั้นตอนน้ีช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตนเองรู้อะไรแล้วต้องอ่านอะไร โดยครูพยายาม ตั้งคำถามกระตนุ้ ใหน้ กั เรยี นไดแ้ สดงความคดิ เหน็ ขั้นท่ี 2 กิจกรรมระหว่างการอ่าน เรียกว่า ข้ัน W มาจาก want (What we want to know) เป็น ขั้นตอนท่ีให้นักเรียนต้ังคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการรู้เก่ียวกับเรื่องที่กำลังจะอ่าน โดยครูและ นักเรยี นรว่ มกันกำหนดคำถาม แลว้ บันทึกสิง่ ทีต่ อ้ งการรู้ลงในตารางช่อง W ขน้ั ที่ 3 กิจกรรมหลังการอ่าน เรียกว่า ข้ัน L มาจาก learn (What we have learned) เป็น ขั้นตอนท่ีสำรวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการอ่าน โดยหลังจากอ่านเน้ือเรื่อง นักเรียน หาข้อความมาตอบคำถามท่ีกำหนดไว้ในตารางช่อง W จากน้ันนำข้อมูลที่ได้จากการอ่านมา จดั ลำดบั ความสำคญั ของข้อมูลและสรปุ เน้ือหาสำคัญลงในตารางช่อง L 3. ครแู ละนกั เรียนร่วมกันสรปุ เน้อื หา โดยการอภปิ รายหรือตรวจสอบคำตอบในตาราง K-W-L 4. ครแู ละนักเรียนอาจรว่ มกันอภิปรายเก่ียวกับการใช้ตาราง K-W-L มาช่วยในการเรียนการสอนการอ่าน  เทคนคิ การสอนแบบ QAR (Question-answer relationship) การสอนอ่านท่ีมุ่งเน้นให้นักเรยี นมีความเข้าใจในการจัดหมวดหมู่ของคำถามและตั้งคำถาม เพ่ือให้ได้มา ซ่ึงแนวทางในการหาคำตอบ ซึ่งนักเรียนจะได้พิจารณาจากข้อมูลในเนื้อเรื่องท่ีจะเรียนและประสบการณ์เดิม ของนกั เรียน โดยมีขนั้ ตอนการจดั การเรยี นการสอน ดังนี้ 1. ครูจัดทำชดุ คำถามตามแบบ QAR จากเรื่องทน่ี ักเรียนควรรู้หรือเร่ืองใกล้ตัวนักเรียน เพ่ือช่วยใหน้ ักเรยี น เขา้ ใจถงึ การจัดหมวดหมู่ของคำถามตามแบบ QAR และควรเชอ่ื มโยงกับเร่ืองที่จะอ่านต่อไป ⎯ สถาบันส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

ค่มู ือครูรายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ท 2. ครูแนะนำและอธิบายการสอนแบบ QAR โดยครูควรชี้แจงนักเรียนเก่ียวกับการอ่านและการตั้งคำถาม ตามหมวดหมู่ ได้แก่ คำถามที่ตอบโดยใช้เนื้อหาจากเร่ืองที่อ่าน คำถามท่ีต้องคิดและค้นคว้า คำถามที่ ไมม่ ีคำตอบโดยตรง ซง่ึ จะต้องใชค้ วามรเู้ ดิมและสิง่ ท่ีผเู้ ขยี นเขียนไว้ 3. นักเรียนอา่ นเน้อื เรือ่ ง ต้ังคำถามและตอบคำถามตามหมวดหมู่ และรว่ มกนั อภปิ รายเพอื่ สรปุ คำตอบ 4. ครแู ละนกั เรียนรว่ มกนั อภปิ รายเกีย่ วกับการใช้เทคนิคนี้ดว้ ยตนเองไดอ้ ยา่ งไร 5. ครูและนกั เรียนอาจร่วมกนั อภิปรายเกี่ยวกบั การใช้ตาราง K-W-L มาชว่ ยในการเรยี นการสอนการอ่าน 2. การใชง้ านสอ่ื QR CODE QR CODE เป็นรหัสหรือภาษาท่ีต้องใช้โปรแกรมอ่านหรือสแกนข้อมูลออกมา ซ่ึงต้องใช้งานผ่าน โทรศัพท์เคล่ือนท่ีหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ท่ีติดต้ังกล้องไว้ แล้วอ่าน QR Code ผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น LINE (สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่) Code Two QR Code Reader (สำหรับคอมพิวเตอร์) Camera (สำหรับ ผลิตภณั ฑ์ของ Apple Inc.) ขน้ั ตอนการใช้งาน 1. เปิดโปรแกรมสำหรับอา่ น QR Code 2. เลอื่ นอุปกรณอ์ ิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศพั ท์เคลื่อนท่ี แท็บเล็ต เพ่ือส่องรปู QR Code ได้ทัง้ รูป 3. เปิดไฟลห์ รือลิงก์ที่ขนึ้ มาหลงั จากโปรแกรมไดอ้ ่าน QR CODE **หมายเหตุ อุปกรณ์ทใ่ี ช้อา่ น QR CODE ต้องเปดิ Internet ไวเ้ พอื่ ดงึ ข้อมูล 3. การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ความจรงิ เสริม (ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ) เทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) เป็นโปรแกรมท่ีสร้างขึ้นเพ่ือเป็นส่ือเสริมช่วยให้นักเรียนเข้าใจ เนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยใช้งานผ่านโปรแกรมประยุกต์ “AR สสวท. วิทย์ ประถม” ซ่งึ สามารถดาวนโ์ หลดไดท้ าง Play Store หรอื App Store **หมายเหตุ เนื่องจากโปรแกรมมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ เพ่ือการใช้งานท่ีดีควรมีพื้นท่ีว่างในเครื่องไม่ต่ำกว่า 2 GB หากพ้นื ท่ีจัดเก็บไม่เพยี งพออาจต้องลบข้อมูลบางอย่างออกก่อนติดต้งั โปรแกรม ขน้ั ตอนการติดตงั้ โปรแกรม 1. เข้าไปท่ี Play Store ( ) หรอื App Store ( ) 2. คน้ หาคำวา่ “AR สสวท. วทิ ย์ประถม” 3. กดเข้าไปท่ีโปรแกรมประยุกต์ที่ สสวท. พฒั นา 4. กด “ติดต้งั ” และรอจนติดตั้งเรียบร้อย 5. เขา้ สู่โปรแกรมจะปรากฏหน้าแรก จากนั้นกด “วธิ กี ารใช้งาน” เพ่ือศึกษาการใช้งานโปรแกรม เบ้อื งต้นดว้ ยตนเอง สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ธ คมู่ อื ครูรายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 6. หลังจากศกึ ษาวธิ ีการใชง้ านดว้ ยตนเองแล้ว กด “สแกน AR” 7. กดดาวนโ์ หลดที่ระดบั ชัน้ ป. 3 8. เปิดหน้าหนังสือเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 3 ท่ีมีสัญลักษณ์ AR แล้วส่องรูปท่ีอยู่บริเวณสัญลักษณ์ AR โดยมีระยะห่างประมาณ 10 เซนตเิ มตร และเลือกดูภาพในมุมมองต่าง ๆ ตามความสนใจ ⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คู่มอื ครูรายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 น การจัดการเรียนการสอนวทิ ยาศาสตร์ในระดับประถมศกึ ษา นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) ตามธรรมชาติแล้วมีความอยากรู้อยากเห็น เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยการค้นพบ จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยอาศัย ประสาทสัมผัสท้ังห้า ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตอนต้น จึงควรให้โอกาสนักเรียนมี ส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ การสำรวจตรวจสอบ การค้นพบ การต้ังคำถามเพ่ือนำไปสู่การอภิปราย การแลกเปลี่ยนผลการทดลองด้วยคำพูด หรือภาพวาด การอภิปรายเพื่อสรุปผลร่วมกัน สำหรับนักเรียนใน ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-ป.6) มีพัฒนาการทางสติปัญญาจากข้ันการคิดแบบรูปธรรมไปสู่ขั้นการ คิดแบบนามธรรม มีความสนใจในส่ิงต่าง ๆ รอบตัว และสนใจว่าสิ่งต่าง ๆ ถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่างไร และทำงานอย่างไร นักเรียนในช่วงวัยนี้ต้องการโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มโดยการทำงาน แบบร่วมมือ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกันซ่ึงจะเป็นการสร้างความสามัคคี และประสานสัมพนั ธร์ ะหวา่ งนกั เรียนในระดับน้ีดว้ ย การจดั การเรยี นการสอนทเ่ี น้นการสืบเสาะหาความรทู้ างวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อศึกษาส่ิงต่าง ๆ รอบตัว อย่างเป็นระบบ และเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับส่ิงที่ศึกษาด้วยข้อมูลที่ได้จากการทำงานทางวิทยาศาสตร์ มีวิธีการอยู่ หลากหลาย เชน่ การสำรวจ การสืบคน้ การทดลอง การสรา้ งแบบจำลอง นักเรียนทุกระดับช้ันควรได้รับโอกาสในการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาความสามารถ ในการคิดและแสดงออกด้วยวิธีการที่เชื่อมโยงกับการสืบเสาะหาความรู้ซึ่งรวมท้ังการตั้งคำถาม การวางแผนและ ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้ การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูล การคิดอย่างมี วิจารณญาณและมีเหตุผลเก่ียวกับความสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานและการอธิบาย การสร้างและวิเคราะห์ คำอธบิ ายที่หลากหลาย และการสือ่ สารข้อโตแ้ ย้งทางวิทยาศาสตร์ การจัดการเรยี นการสอนท่ีเนน้ การสืบเสาะหาความรู้ ควรมีหลายรปู แบบ แตล่ ะรปู แบบมคี วามต่อเนื่องกัน จากที่เน้นครเู ป็นสำคัญไปจนถงึ เนน้ นกั เรียนเปน็ สำคญั โดยแบง่ ไดด้ ังนี้ • การสืบเสาะหาความรู้แบบครูเป็นผู้กำหนดแนวทาง (Structured Inquiry) ครูเป็นผู้ต้ังคำถามและบอก วธิ ีการใหน้ ักเรียนค้นหาคำตอบ ครูชี้แนะนกั เรยี นทกุ ข้นั ตอนโดยใชก้ ระบวนการทางวิทยาศาสตร์ • การสืบเสาะหาความรู้แบบท้ังครูและนักเรียนเป็นผู้กำหนดแนวทาง (Guided Inquiry) ครูเป็นผู้ต้ังคำถาม และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้ในการสำรวจตรวจสอบให้กับนักเรียน นักเรียนจะเป็นผู้ออกแบบการทดลอง ดว้ ยตัวเอง • การสืบเสาะหาความรู้แบบนักเรียนเป็นผู้กำหนดแนวทาง (Open Inquiry) นักเรียนทำกิจกรรมตามที่ครู กำหนด นักเรียนพัฒนาวิธี ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบจากคำถามที่ครูต้ังข้ึน นักเรียนตั้งคำถามในหัวข้อท่ี ครเู ลอื ก พรอ้ มทงั้ ออกแบบการสำรวจตรวจสอบด้วยตนเอง สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

บ คูม่ ือครูรายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 การสบื เสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในหอ้ งเรยี น เราสามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียนโดยจัดโอกาสให้นักเรียนได้ สืบเสาะหาความรู้ ทางวทิ ยาศาสตร์ตามที่หลักสูตรกำหนด ด้วยกระบวนการแบบเดยี วกันกบั ที่นักวิทยาศาสตร์สืบเสาะ แต่อาจมี รปู แบบทหี่ ลากหลายตามบริบทและความพร้อมของครูและนักเรียน เช่น การสืบเสาะหาความร้แู บบปลายเปิด (Opened Inquiry) ที่นักเรียนเป็นผู้ควบคุมการสืบเสาะหาความรู้ของตนเองต้ังแต่การสร้างประเด็นคำถาม การสำรวจตรวจสอบ (Investigation) และอธิบายส่ิงท่ีศึกษาโดยใช้ข้อมูล (Data) หรือหลักฐาน (Evidence) ที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบ การประเมินและเช่ือมโยงความรู้ท่ีเก่ียวข้องหรือคำอธิบายอื่นเพื่อปรับปรุง คำอธบิ ายของตนและนำเสนอต่อผอู้ ่ืน นอกจากนี้ ครูอาจใช้การสืบเสาะหาความรู้ทต่ี นเองเป็นผ้กู ำหนดแนวใน การทำกิจกรรม (Structured Inquiry) โดยครูสามารถแนะนำนักเรียนได้ตามความเหมาะสม การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ครูสามารถออกแบบการสอนให้มีลักษณะ สำคญั ของการสืบเสาะ ดงั นี้ ภาพ วัฏจักรการสืบเสาะหาความรูท้ างวิทยาศาสตร์ในหอ้ งเรียน ⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คูม่ ือครรู ายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ป การจัดการเรียนการสอนทสี่ อดคลอ้ งกบั ธรรมชาตขิ องวิทยาศาสตร์ และกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของวิทยาศาสตร์ที่มีความแตกต่างจากศาสตร์อ่ืน ๆ เป็นค่านิยม ข้อสรุป แนวคิด หรือคำอธิบายท่ีบอกว่า วิทยาศาสตร์คืออะไร มีการทำงานอย่างไร นักวิทยาศาสตร์คือใคร ทำงานอย่างไร และงานด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคม ค่านิยม ข้อสรุป แนวคิด หรือคำอธบิ ายเหลา่ นี้จะผสมกลมกลืนอยู่ในตวั วิทยาศาสตร์ ความรทู้ างวทิ ยาศาสตร์ และการ พัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น ความเข้าใจเก่ียวกับธรรมชาติ ของวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนและ ประสบการณ์ที่ครูจัดให้แก่นักเรยี น ความสามารถในการสังเกตและการสื่อความหมายของนักเรยี นในระดับนี้ ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ครูควรอำนวยความสะดวกในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแนวคิด ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน นักเรียนในระดับนี้เร่ิมท่ีจะเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร วิทยาศาสตร์ทำงาน อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์ทำงานกันอย่างไรโดยผ่านการทำกิจกรรมในห้องเรียน จากเรื่องราวเก่ียวกับ นกั วทิ ยาศาสตร์ และจากการอภิปรายในห้องเรียน นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลายซ่ึงกำลังพัฒนาฐานความรู้โดยใช้การสังเกตมากขึ้น สามารถนำความรู้มาใช้เพื่อก่อให้เกิดความคาดหวังเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โอกาสการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในระดับนี้ ควรเน้นไปที่ทักษะการต้ังคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การสร้างคำอธิบายท่ีมีเหตุผลโดยอาศัย พยานหลักฐานทป่ี รากฏ และการส่ือความหมายเกีย่ วกับความคดิ และการสำรวจตรวจสอบของตนเองและของ นกั เรียนคนอ่ืน ๆ นอกจากนี้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์สามารถเพ่ิมความตระหนกั ถงึ ความหลากหลายของคน ในชุมชนวิทยาศาสตร์ นักเรียนในระดับน้ีควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ช่วยให้เขาคิดอย่างมีวิจารณญาณ เก่ียวกับพยานหลกั ฐานและความสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานกบั การอธบิ าย การเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์ของนกั เรยี นแตล่ ะระดับช้นั มีพัฒนาการเป็นลำดับดงั นี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถ ชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 2 สามารถ • ต้ังคำถาม บรรยายคำถาม เขียนเก่ยี วกบั • ออกแบบและดำเนินการสำรวจตรวจสอบเพื่อ คำถาม ตอบคำถามที่ได้ตง้ั ไว้ • บันทกึ ข้อมลู จากประสบการณ์ สำรวจ • สื่อความหมายความคิดของเขาจากส่ิงทีส่ งั เกต • อ่านและการอภปิ รายเร่ืองราวตา่ ง ๆ เก่ยี วกบั ตรวจสอบชัน้ เรียน • อภปิ รายแลกเปล่ยี นหลกั ฐานและความคิด วทิ ยาศาสตร์ • เรยี นรู้ว่าทุกคนสามาเรียนรวู้ ิทยาศาสตรไ์ ด้ สถาบนั สง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ผ คู่มือครูรายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 3 สามารถ ชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 4 สามารถ • ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ • ตั้งคำถามท่ีสามารถตอบไดโ้ ดยการใช้ • ใหเ้ หตุผลเกีย่ วกบั การสังเกต ฐานความรู้ทางวทิ ยาศาสตร์และการสังเกต การสอื่ ความหมาย • ทำงานในกลมุ่ แบบรว่ มมือเพ่ือสำรวจ • ลงมอื ปฏบิ ตั ิการทดลองและการอภปิ ราย ตรวจสอบ • คน้ หาแหลง่ ข้อมลู ทเ่ี ชื่อถือได้และบูรณาการ • คน้ หาขอ้ มลู และการส่ือความหมายคำตอบ ขอ้ มูลเหล่านั้นกบั การสังเกตของตนเอง • ศกึ ษาประวัตกิ ารทำงานของนักวิทยาศาสตร์ • สรา้ งคำบรรยายและคำอธิบายจากสงิ่ ที่ สังเกต • นำเสนอประวัติการทำงานของ นักวิทยาศาสตร์ ชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถ ช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 6 สามารถ • สำรวจตรอบสอบ • สำรวจตรอบสอบทเ่ี นน้ การใช้ทกั ษะ ทางวิทยาศาสตร์ • ต้ังคำถามทางวิทยาศาสตร์ • รวบรวมข้อมลู ทเี่ กี่ยวข้อง การมองหา • ตคี วามหมายข้อมลู และคิดอย่างมี แบบแผนของข้อมลู การส่ือความหมาย วจิ ารณญาณโดยมหี ลักฐานสนบั สนนุ และการแลกเปล่ียนเรียนรู้ คำอธบิ าย • เข้าใจความแตกต่างระหวา่ งวิทยาศาสตร์ • เข้าใจธรรมชาตวิ ิทยาศาสตรจ์ ากประวตั ิการ และเทคโนโลยี ทำงานของนักวิทยาศาสตร์ที่มีความมานะ อตุ สาหะ • เขา้ ใจการทำงานทางวิทยาศาสตรผ์ ่าน ประวตั ศิ าสตร์ของนักวทิ ยาศาสตรท์ ุกเพศ ทีม่ หี ลายเชอ้ื ชาติ วัฒนธรรม สามารถอ่านข้อมูลเพ่ิมเติมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นการสืบเสาะหาความรู้ทาง วิทยาศาสตรแ์ ละการจัดการเรยี นรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวทิ ยาศาสตร์และกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ จากคู่มอื การใชห้ ลักสตู ร http://ipst.me/8922 ⎯ สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

คมู่ อื ครรู ายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ฝ การวดั ผลและประเมินผลการเรียนร้วู ิทยาศาสตร์ แนวคิดสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พุทธศกั ราช 2545 ทเี่ น้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจดั กิจกรรมการเรียนร้ทู ่ีเปิด โอกาสให้ผู้เรียนคิดและลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการท่ีหลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เต็มตามศักยภาพ การวัดและประเมินผลจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในหอ้ งเรยี น เพราะสามารถทำให้ผสู้ อนประเมนิ ระดบั พัฒนาการการเรียนรขู้ องผเู้ รียนได้ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนมีหลากหลาย เช่น กิจกรรมสำรวจภาคสนาม กิจกรรมการสำรวจ ตรวจสอบ การทดลอง กิจกรรมศึกษาค้นคว้า กิจกรรมศึกษาปัญหาพิเศษ หรือโครงงานวิทยาศาสตร์ อย่างไร ก็ตามในการทำกิจกรรมเหล่าน้ีต้องคำนึงว่านักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพแตกต่างกัน นักเรียนจึงอาจทำงาน ชน้ิ เดียวกันได้สำเร็จในเวลาท่ีแตกต่างกนั และผลงานท่ีได้ก็อาจแตกตา่ งกนั ด้วย เม่ือนกั เรยี นทำกจิ กรรมเหล่าน้ี แล้วก็ต้องเก็บรวบรวมผลงาน เช่น รายงาน ช้ินงาน บันทึก และรวมถึงทักษะปฏิบัติต่าง ๆ เจตคติทาง วทิ ยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ความรัก ความซาบซึ้ง กิจกรรมท่ีนักเรียนได้ทำและผลงานเหล่าน้ีต้องใช้ วิธีประเมินท่ีมีความเหมาะสมและแตกต่างกันเพื่อช่วยให้สามารถประเมินความรู้ความสามารถและความรู้สึก นึกคิดทแ่ี ทจ้ ริงของนกั เรียนได้ การวดั ผลและประเมนิ ผลจะมปี ระสทิ ธภิ าพก็ตอ่ เมื่อมีการประเมนิ หลาย ๆ ด้าน หลากหลายวิธี ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกบั ชีวิตจริง และต้องประเมินอย่างต่อเน่ือง เพื่อจะไดข้ ้อมูลที่ มากพอทจ่ี ะสะท้อนความสามารถที่แทจ้ รงิ ของนกั เรยี นได้ จดุ มงุ่ หมายหลกั ของการวดั ผลและประเมินผล 1. เพ่ือค้นหาและวินิจฉัยว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเนือ้ หาวิทยาศาสตร์ มีทักษะความชำนาญ ในการสำรวจตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างไรและในระดับใด เพ่ือเป็น แนวทางใหค้ รูสามารถวางแผนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาการเรยี นรู้ของนักเรียนได้ อยา่ งเตม็ ศักยภาพ 2. เพ่อื ใชเ้ ป็นข้อมลู ยอ้ นกลบั สำหรับนักเรยี นวา่ มีการเรยี นรู้อยา่ งไร 3. เพือ่ ใชเ้ ป็นขอ้ มลู ในการสรุปผลการเรียน และเปรยี บเทยี บระดบั พฒั นาการด้านการเรยี นรขู้ องนกั เรียน แตล่ ะคน การประเมินการเรยี นรู้ของนกั เรียน มี 3 แบบ คอื การประเมินเพ่ือค้นหาและวนิ ิจฉัย การประเมิน เพอ่ื ปรับปรุงการเรียนการสอน และการประเมนิ เพือ่ ตดั สินผลการเรยี นการสอน การประเมินเพ่ือค้นหาและวินิจฉัย เป็นการประเมินเพ่ือบ่งช้ีก่อนการเรียนการสอนว่า นักเรียนมี พื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ และแนวคิดท่ีคลาดเคล่ือนอะไรบ้าง การประเมินแบบน้ีสามารถ บ่งชไ้ี ด้ว่านกั เรียนคนใดต้องการความชว่ ยเหลือเปน็ พิเศษในเร่ืองท่ีขาดหายไป หรือเป็นการประเมินเพื่อพฒั นา ทักษะที่จำเป็นก่อนท่ีจะเรียนเรื่องต่อไป การประเมินแบบน้ียังช่วยบ่งชี้ทักษะหรือแนวคิดท่ีมีอยู่แล้วของ นักเรียนอีกด้วย การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นการประเมินในระหว่างช่วงท่ีมีการเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

พ คู่มือครรู ายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 การสอน การประเมินแบบน้ีจะช่วยบ่งชี้ระดับที่นักเรียนกำลังเรียนอยู่ในเร่ืองที่ได้สอนไปแลว้ หรือบ่งช้ีความรู้ ของนักเรยี นตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ เป็นการประเมินที่ให้ข้อมูลยอ้ นกลับกบั นกั เรียนและกับ ครูว่าเปน็ ไปตามแผนการท่วี างไวห้ รือไม่ ข้อมูลทไ่ี ด้จากการประเมินแบบน้ไี ม่ใชเ่ พ่ือเป้าประสงคใ์ นการให้ระดับ คะแนน แตเ่ พ่ือชว่ ยครูในการปรบั ปรุงการสอน และเพ่อื วางแผนประสบการณต์ ่าง ๆ ทจ่ี ะใหก้ บั นกั เรียนต่อไป การประเมินเพื่อตัดสนิ ผลการเรยี นการสอน เกดิ ขนึ้ เมอื่ สน้ิ สดุ การเรยี นการสอนแล้ว ส่วนมากเป็น “การสอบ” เพ่ือใหร้ ะดับคะแนนแก่นักเรียน หรือเพ่ือให้ตำแหน่งความสามารถของนักเรียน หรือเพื่อเป็นการบ่งช้ี ความก้าวหน้าในการเรียน การประเมินแบบนี้ถือว่ามีความสำคัญในความคิดของผู้ปกครองนักเรียน ครู ผบู้ ริหาร อาจารย์แนะแนว ฯลฯ แต่ก็ไม่ใช่เป็นการประเมินภาพรวมทั้งหมดของความสามารถของนักเรียน ครู ต้องระมัดระวังเมื่อประเมินผลรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนของนักเรียน ท้ังนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล ความ ยตุ ิธรรม และเกดิ ความเทย่ี งตรง การตัดสินผลการเรียนของนักเรียนมักจะมีการเปรียบเทียบกับสิ่งอ้างอิง ส่วนมากการประเมิน มักจะอ้างอิงกลุ่ม (norm reference) คือเป็นการเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนโดยเปรียบเทียบกับกลุ่ม หรือคะแนนของนักเรียนคนอ่ืนๆ การประเมินแบบกลุ่มนี้จะมี “ผู้ชนะ” และ “ผู้แพ้” อย่างไรก็ตามการประเมิน แบบอิงกลุ่มนี้จะมีนักเรียนครึ่งหน่ึงท่ีอยู่ต่ำกว่าระดับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม นอกจากน้ียังมีการประเมินแบบอิง เกณฑ์ (criterion reference) ซ่ึงเป็นการเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนกับเกณฑ์ท่ีตั้งเอาไว้โดยไม่ คำนึงถึงคะแนนของนักเรียนคนอ่ืนๆ ฉะน้ันจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนจะต้องชัดเจนและมีเกณฑ์ที่บอกให้ ทราบว่าความสามารถระดับใดจึงจะเรียกว่าบรรลุถึงระดับ “รอบรู้” โดยท่ีนักเรียนแต่ละคน หรือชั้นเรียนแต่ละ ชัน้ หรือโรงเรียนแต่ละโรงจะไดร้ ับการตัดสินว่าประสบผลสำเร็จก็ต่อเมื่อ นกั เรียนแตล่ ะคน หรอื ชั้นเรยี นแตล่ ะชั้น หรือโรงเรียนแต่ละโรงได้สาธิตผลสำเร็จ หรือสาธิตความรอบรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือตามเกณฑ์ท่ีตั้งไว้ ข้อมูลท่ีใช้สำหรับการประเมินเพ่ือวินิจฉัย หรือเพ่ือปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเพ่ือตัดสินผลการเรียน การสอนสามารถใช้การประเมินแบบอิงกลุ่มหรืออิงเกณฑ์ เท่าที่ผ่านมาการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนการ สอนจะใชก้ ารประเมินแบบอิงกลุ่ม แนวทางการวดั ผลและประเมินผลการเรยี นรู้ การเรียนรจู้ ะบรรลุตามเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรทู้ ีว่ างไว้ ควรมีแนวทางดังต่อไปน้ี 1. วัดและประเมินผลท้ังความรู้ความคิด ความสามารถ ทักษะกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม คา่ นิยมดา้ นวิทยาศาสตร์ รวมทง้ั โอกาสในการเรยี นรู้ของนักเรียน 2. วิธกี ารวดั และประเมนิ ผลต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรูท้ ่ีกำหนดไว้ 3. เกบ็ ข้อมูลจากการวัดและประเมินผลอยา่ งตรงไปตรงมา และต้องประเมินผลภายใตข้ ้อมลู ท่มี ีอยู่ 4. ผลของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรยี นต้องนำไปสูก่ ารแปลผลและลงข้อสรุปทีส่ มเหตุสมผล 5. การวัดและประเมินผลต้องมีความเท่ียงตรงและเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีการวัดและโอกาสของการ ประเมนิ ⎯ สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คมู่ อื ครูรายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ฟ วธิ กี ารและแหลง่ ข้อมูลท่ีใชใ้ นการวดั ผลและประเมนิ ผล เพอ่ื ใหก้ ารวดั ผลและประเมนิ ผลได้สะท้อนความสามารถที่แทจ้ ริงของนักเรียน ผลการประเมินอาจ ได้มาจากแหล่งข้อมูลและวธิ กี ารตา่ งๆ ดงั ต่อไปนี้ 1. สังเกตการแสดงออกเปน็ รายบคุ คลหรอื รายกลมุ่ 2. ชิน้ งาน ผลงาน รายงาน 3. การสมั ภาษณ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 4. บันทกึ ของนกั เรียน 5. การประชุมปรกึ ษาหารอื ร่วมกันระหวา่ งนักเรียนและครู 6. การวดั และประเมินผลภาคปฏบิ ัติ 7. การวดั และประเมินผลดา้ นความสามารถ 8. การวดั และประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มผลงาน สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ภ คู่มือครูรายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 ตารางแสดงความสอดคล้องระหวา่ งเนอื้ หาและกจิ กรรม ระดับชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 3 เล่ม 1 กับตัวช้วี ัด กลมุ่ สาระการเรยี นรู้วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ. 2560) ตาม หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน พทุ ธศักราช 2551 หนว่ ยการ ชอื่ กิจกรรม เวลา ตัวชว้ี ัด เรียนรู้ (ชว่ั โมง) บทท่ี 1 เรยี นรูแ้ บบนกั วทิ ยาศาสตร์ - หน่วยท่ี 1 เรือ่ งที่ 1 ทกั ษะการจัดกระทำและ 1 การเรยี นร้สู ่งิ 1 ว 3.2 ป.3/1 ต่าง ๆ สอื่ ความหมายข้อมลู ระบุส่วนประกอบของอากาศ รอบตัว กจิ กรรมท่ี 1 จัดกระทำและ 2 บรรยายความสำคัญ ของ สอื่ ความหมายข้อมูลได้อย่างไร อากาศ และผลกระทบของ หน่วยที่ 2 เรอื่ งท่ี 2 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหวา่ ง 1 มลพิษทางอากาศต่อส่ิงมีชีวิต อากาศและ สเปซกบั สเปซและสเปซกับเวลา และ จากข้อมลู ที่รวบรวมได้ ชวี ิตของสตั ว์ ทักษะการสรา้ งแบบจำลอง 2 กิจกรรมท่ี 2.1 ความสัมพนั ธ์ระหวา่ ง สเปซกับสเปซเป็นอยา่ งไร 2 กิจกรรมที่ 2.2 ความสัมพนั ธ์ระหว่าง สเปซกบั เวลาเปน็ อยา่ งไร 2 กจิ กรรมที่ 2.3 สร้างแบบจำลอง อธบิ ายกระบอกปริศนาได้อย่างไร 1 เร่อื งที่ 3 หลกั ฐานกับการส่ือสารทาง วทิ ยาศาสตร์ 2 กิจกรรมท่ี 3 คำตอบทีน่ า่ เช่ือถือเป็น อย่างไร 1 กจิ กรรมท้ายบทท่ี 1 เรียนรแู้ บบนักวิทยาศาสตร์ 1 บทที่ 1 อากาศและความสำคญั ต่อสิง่ มีชีวติ 1 เรอ่ื งที่ 1 อากาศ 3 กิจกรรมท่ี 1.1 อากาศมีส่วนประกอบ อะไรบ้าง 3 กจิ กรรมท่ี 1.2 ลดมลพิษทางอากาศได้ อยา่ งไร 4 กิจกรรมที่ 1.3 ลมเกิดขน้ึ ได้อย่างไร ⎯ สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คู่มอื ครรู ายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ม หน่วยการ ช่อื กจิ กรรม เวลา ตัวชี้วดั เรยี นรู้ กิจกรรมท้ายบทที่ 1 อากาศและความสำคญั ต่อ (ชวั่ โมง) สง่ิ มชี วี ิต 1 ว 3.2 ป.3/2 บทที่ 2 การดำรงชีวิตของสัตว์ เรือ่ งท่ี 1 สิ่งทีจ่ ำเปน็ ตอ่ การเจรญิ เติบโตและ ต ระห นั ก ถึ งค ว าม ส ำคั ญ การดำรงชีวติ ของสตั ว์และมนุษย์ ของอากาศ โดยนำเสนอแนว กจิ กรรมท่ี 1.1 สตั วต์ ้องการส่ิงใดใน การเจรญิ เติบโตและการดำรงชีวิต ทางการปฏิบัติตนในการลด กจิ กรรมท่ี 1.2 มนุษยต์ อ้ งการสิง่ ใดใน การเจริญเติบโตและการดำรงชวี ติ การเกดิ มลพิษทางอากาศ เร่ืองท่ี 2 วัฏจักรชวี ิตของสัตว์ กจิ กรรมท่ี 2 วัฏจักรชีวิตของสัตว์เปน็ ว 3.2 ป.3/3 อยา่ งไร กจิ กรรมท้ายบทท่ี 2 การดำรงชวี ิตของสตั ว์ อ ธิ บ า ย ก า ร เกิ ด ล ม จ า ก หลักฐานเชิงประจกั ษ์ ว 3.2 ป.3/4 บรรยายประโยชน์และโทษ ของลมจากข้อมูลที่รวบรวม ได้ 1 ว1.2 ป.3/1 1 บ ร ร ย า ย สิ่ งที่ จ ำ เป็ น ต่ อ ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต แ ล ะ 3 การเจริญเติบโตของมนุษย์ แล ะสัตว์ โด ยใช้ข้อมู ลท่ี 2 รวบรวมได้ ว1.2 ป.3/2 1 ตระหนักถึงประโยชน์ของ 2 อาหาร น้ำ และอากาศ โดย การดูแลตนเองและสัตว์ให้ 1 ได้ รั บ ส่ิ ง เห ล่ า นี้ อ ย่ า ง เหมาะสม ว1.2 ป.3/3 ส ร้ า ง แ บ บ จ ำ ล อ ง ท่ี บรรยายวัฏจักรชีวิตของสัตว์ และเปรียบเทียบวัฏจักรชีวิต ของสตั ว์ บางชนดิ สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ย คูม่ อื ครรู ายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 หน่วยการ ชอ่ื กจิ กรรม เวลา ตวั ชวี้ ัด เรยี นรู้ (ชัว่ โมง) ว1.2 ป.3/4 ต ร ะ ห นั ก ถึ งคุ ณ ค่ า ข อ งชี วิ ต สัตว์ โดยไม่ทำให้วัฏจักรชีวิต ของสัตวเ์ ปล่ยี นแปลง แบบทดสอบทา้ ยเลม่ 1- รวมจำนวนชัว่ โมง 39 หมายเหต:ุ กจิ กรรม เวลาท่ีใช้ และสง่ิ ที่ต้องเตรียมล่วงหนา้ น้ัน ครสู ามารถปรับเปล่ียนเพิ่มเตมิ ได้ตามความ เหมาะสมของสภาพท้องถิ่น ⎯ สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คูม่ ือครรู ายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ร รายการวัสดุอปุ กรณว์ ิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ลำดับท่ี รายการ จำนวน/กลุม่ จำนวน/ห้อง จำนวน/คน หนว่ ยท่ี 1 การเรยี นรสู้ ่ิงตา่ ง ๆ รอบตัว 1 ใบแจ้งคา่ ไฟฟา้ 1 ชุด (6 ใบ) 1 แผน่ 2 กระดานสำหรบั ต่อตวั ตอ่ 1 ชดุ 1 เม็ด 3 ตวั ต่อ 1 ใบ 4 ลกู อมเคลอื บสี 5 จานพลาสตกิ สีขาว 6 น้ำ 7 นาฬกิ าจับเวลา 1 เครอ่ื ง 1 อัน 8 แกนของม้วนกระดาษเยอื่ 1 ชุด 1 เลม่ 9 กระบอกปริศนา 2 เสน้ 1 เสน้ 10 กรรไกร 11 เชือก 12 ยางรัดของ หน่วยท่ี 2 อากาศและชีวติ ของสัตว์ 1 กระติกนำ้ แข็ง 1-2 ใบ 2 กิโลกรมั 2 นำ้ แขง็ 3 ถงุ พลาสติก 1 ใบ 1 เสน้ 4 ยางรดั ของ 1 ผืน/แผน่ 1 ม้วน 5 ผ้าสะอาดหรือกระดาษเย่ือ 1 มว้ น 1 เล่ม 6 เทปใส 1 อัน 7 เชอื ก 8 กรรไกร 9 ไม้บรรทัด 10 กระดาษเทาขาวเจาะชอ่ ง 2 แผ่น 11 เทอรม์ อมเิ ตอร์ 2 อนั 1 แผน่ 12 กระดาษ สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ล คูม่ อื ครรู ายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ลำดบั ที่ รายการ จำนวน/กลุ่ม จำนวน/หอ้ ง จำนวน/คน 13 ธปู 1 ดอก 1 เลม่ 14 ไมข้ ีดไฟ 1 กลกั 1 เร่อื ง 15 กระป๋องทราย 1 ใบ 1 ถงุ 16 เทยี นไข 1 เล่ม 1 เครอื่ ง 17 ฝาขวดนำ้ 1 อนั 1 เคร่อื ง 18 ขวดน้ำพลาสติกใบใหญ่ 1 ใบ 19 ขวดน้ำพลาสติกใบเล็ก 1 ใบ 20 วดี ทิ ศั นเ์ ก่ียวกบั การเจรญิ เติบโตและการดำรงชีวิตของ สัตว์ชนดิ ตา่ ง ๆ 1 ถัง 21 น้ำ 1 ใบ 22 ภาชนะสำหรบั เลีย้ งปลา 23 สำลี 3 ใบ 24 จานกระดาษ 1 อัน 25 กระชอนตักปลา 3 ตวั 26 ลูกปลา 1 ถุง 27 อาหารปลา 28 ทวี่ ดั ส่วนสงู 1 ชุด 29 เคร่อื งช่งั นำ้ หนัก 1 ชดุ 30 สมดุ รายงานสุขภาพประจำปี 31 บตั รภาพแสดงการเจริญเตบิ โตในระยะตา่ ง ๆ ของมนุษย์ ไก่ และผเี ส้ือไหม 32 บตั รคำ ⎯ สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

ค่มู อื ครรู ายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 ว สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

หนว่ ยที่ 1 การเรียนรูส้ ิ่งตา่ ง ๆ รอบตัว1 ค่มู ือครรู ายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนร้สู ่งิ ตา่ ง ๆ รอบตัว ภาพรวมการจดั การเรยี นรปู้ ระจำหนว่ ยท่ี 1 การเรียนรูส้ ง่ิ ตา่ ง ๆ รอบตวั บท เร่ือง กจิ กรรม ลำดับแนวคิดต่อเน่อื ง ตัวช้ีวัด - บทที่ 1 เรียนรู้แบบ เร่ืองที่ 1 ทักษะการจัด กจิ กรรมที่ 1 จดั กระทำ  การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล นักวทิ ยาศาสตร์ กระทำและสื่อ และสอื่ ความหมายข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จาก ได้อยา่ งไร การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความหมายข้อมลู มาจัดกระทำใหม่ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กิจกรรมท่ี 2.1 เพื่อสื่อความหมายของข้อมูลให้เข้าใจได้ เรอื่ งท่ี 2 ทักษะการหา ความสมั พนั ธ์ระหว่าง ง่าย ถกู ตอ้ ง และรวดเรว็ ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ ง สเปซกับสเปซเปน็ อย่างไร สเปซกบั สเปซ  ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ และสเปซกบั เวลา และ กิจกรรมที่ 2.2 กับสเปซเป็นความสามารถในการหา ทักษะการสร้าง ความสมั พันธ์ระหวา่ ง ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของวัตถุกับท่ี แบบจำลอง สเปซกับเวลาเป็นอยา่ งไร ว่างท่วี ตั ถุนน้ั จะเข้าไปอยหู่ รือครอบครอง เรอ่ื งที่ 3 หลกั ฐานกับ กจิ กรรมท่ี 2.3 สรา้ ง  ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ การสื่อสารทาง แบบจำลองอธิบาย กับเวลาเป็นความสามารถในการหา วิทยาศาสตร์ กระบอกปริศนาได้อยา่ งไร ความสัมพันธ์ของพื้นที่หรือตำแหน่งที่ วัตถุครอบครองท่ีเปลี่ยนแปลงไปเม่ือ กจิ กรรมท่ี 3 คำตอบที่ เวลาผา่ นไป นา่ เชื่อถือเปน็ อย่างไร  ทักษะการสร้างแบบจำลองเป็ น รว่ มคิด รว่ มทำ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร ส ร ้ า ง ห ร ื อ ใ ช้ แบบจำลองเพื่อสื่อสารหรืออธิบาย แนวคิดหรือปรากฏการณ์ โดยทำเป็น รูปภาพ งานปั้น แผนภาพ หรอื อื่น ๆ  คำตอบที่น่าเชื่อถือคือคำตอบที่มี หลักฐานที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมา สนับสนุนคำตอบ และมีการสื่อสารให้ ผู้อื่นเข้าใจโดยมีการเชื่อมโยงคำตอบกับ หลักฐานอยา่ งเป็นเหตุเปน็ ผล ⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

ค่มู อื ครรู ายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตวั 2 สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

3 คู่มือครูรายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 | หน่วยท่ี 1 การเรียนรู้ส่ิงตา่ ง ๆ รอบตวั บทที่ 1 เรียนรแู้ บบนักวิทยาศาสตร์ งมชี วี ิตจุดประสงคก์ ารเรียนรู้ประจำบท เมอื่ เรียนจบบทน้ี นักเรยี นสามารถ 1. ใช้ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา และทักษะการสร้าง แบบจำลองในการสบื เสาะและอธิบายความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ 2. ใชห้ ลักฐานทีน่ ่าเชอื่ ถือมาประกอบการอธบิ าย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เวลา 16 ชั่วโมง แนวคดิ สำคญั บทนมี้ อี ะไร ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซของวัตถุ เรอ่ื งที่ 1 ทกั ษะการจัดกระทำและสื่อ ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล และทักษะ ความหมายข้อมูล การสร้างแบบจำลอง เป็นทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถนำไปใช้ใน กจิ กรรมท่ี 1 จัดกระทำและส่ือความหมายข้อมูล กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพ่ือให้ได้ ไดอ้ ยา่ งไร ห ล ั ก ฐ า น ท่ี น ่ า เ ช ื ่ อ ถ ื อ ม า ส น ั บ ส น ุ น ค ำ ต อ บ อ ย ่ า ง สมเหตุสมผล เร่อื งที่ 2 ทักษะการหาความสัมพนั ธ์ระหวา่ ง สเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา สื่อการเรียนรแู้ ละแหล่งเรียนรู้ หนา้ 1-42 และทักษะการสร้างแบบจำลอง หนา้ 1-43 1. หนงั สือเรียน ป.3 เลม่ 1 กจิ กรรมท่ี 2.1 ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งสเปซกับสเปซ 2. แบบบนั ทึกกจิ กรรม ป.3 เลม่ 1 เปน็ อย่างไร กจิ กรรมที่ 2.2 ความสมั พันธ์ระหวา่ งสเปซกับเวลา เปน็ อย่างไร กจิ กรรมที่ 2.3 สร้างแบบจำลองอธบิ ายกระบอก ปริศนาได้อย่างไร เรือ่ งท่ี 3 หลักฐานกบั การสื่อสารทาง วทิ ยาศาสตร์ กิจกรรมที่ 3 คำตอบทีน่ ่าเชอื่ ถอื เปน็ อย่างไร ⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี

คมู่ อื ครูรายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 | หนว่ ยท่ี 1 การเรยี นรูส้ ่ิงต่าง ๆ รอบตัว 4 ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์และทกั ษะแหง่ ศตวรรษที่ 21 รหัส ทักษะ กิจกรรมท่ี 1 2.1 2.2 2.3 3 ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ S1 การสงั เกต  S2 การวดั S3 การใชจ้ ำนวน  S4 การจำแนกประเภท  S5 การหาความสัมพนั ธ์ระหวา่ ง   สเปซกับสเปซ   สเปซกบั เวลา S6 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล   S7 การพยากรณ์ S8 การลงความเห็นจากข้อมลู   S9 การตั้งสมมตฐิ าน  S10 การกำหนดนยิ ามเชิงปฏบิ ตั ิการ S11 การกำหนดและควบคุมตวั แปร   S12 การทดลอง   S13 การตคี วามหมายข้อมูลและลงข้อสรปุ S14 การสรา้ งแบบจำลอง   ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21   C1 การสรา้ งสรรค์ C2 การคดิ อยา่ งมีวจิ ารณญาณ C3 การแกป้ ัญหา C4 การสือ่ สาร C5 ความร่วมมือ C6 การใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร หมายเหตุ : รหสั ทักษะที่ปรากฏน้ี ใช้เฉพาะหนังสือค่มู ือครูเล่มนี้ สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

5 คูม่ ือครูรายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 | หนว่ ยที่ 1 การเรยี นรู้สิง่ ตา่ ง ๆ รอบตัว แนวคิดคลาดเคล่ือน แนวคิดคลาดเคล่ือนที่อาจพบและแนวคิดที่ถูกต้องในบทท่ี 1 เรยี นร้แู บบนกั วิทยาศาสตร์ มดี ังตอ่ ไปนี้ แนวคดิ คลาดเคล่ือน แนวคดิ ทถ่ี กู ตอ้ ง แบบจำลองที่สร้างขึ้นต้องเหมือนของจริงมากที่สุด แบบจำลองไม่จำเป็นต้องเหมือนของจริงมากที่สุด เนื่องจาก (ลฎาภา และลือชา, 2560) แบบจำลองเป็นการเลือกเป้าหมายบางอย่างจากของจริงนั้น ๆ เพื่อสื่อสารหรืออธิบายเท่านั้น ดังนั้นลักษณะบางอย่างของ ของจริงอาจไม่ได้แสดงให้เห็นในแบบจำลองที่สร้างข้ึน (ลฎาภา และ ลอื ชา, 2560) แบบจำลองตอ้ งเปน็ วัตถุหรอื สง่ิ ของท่ีเป็นรูปธรรมเท่านัน้ แบบจำลองไมจ่ ำเปน็ ต้องเป็นวตั ถุ หรือส่ิงของที่เป็นรูปธรรม (ภรทพิ ย์ ชาตรี และ พจนารถ, 2557) เช่น รูปปั้น แผนภาพ แบบจำลองอาจเป็นนามธรรม เช่น คำพูด สูตร หรือสมการต่าง ๆ ก็ได้ (ภรทิพย์ ชาตรี และ พจนารถ, 2557) ถา้ ครพู บวา่ มีแนวคดิ คลาดเคลอ่ื นใดท่ียงั ไม่ไดแ้ ก้ไขจากการทำกจิ กรรมการเรียนรู้ ครูควรจัดการเรยี นร้เู พ่ิมเตมิ เพอ่ื แก้ไขต่อไปได้ ⎯ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ค่มู ือครรู ายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 | หน่วยท่ี 1 การเรยี นรู้ส่งิ ตา่ ง ๆ รอบตัว 6 บทนเ้ี ริม่ ตน้ อยา่ งไร (2 ช่ัวโมง) ในการทบทวนความรู้พื้นฐาน ครูควรให้เวลานักเรียนคิดอย่าง 1. ครูทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เหมาะสม รอคอยอย่างอดทน ที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 โดยอาจใช้ นักเรียนต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้ คำถามว่า นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทักษะใด ถูกต้อง หากตอบไม่ได้หรือลืม มาแล้วบ้าง แต่ละทักษะมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้สืบเสาะหา ครตู อ้ งใหค้ วามรทู้ ีถ่ กู ตอ้ งทันที ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของ ตนเองจากที่เคยเรียนรู้มา เช่น ทักษะการสังเกตเป็นการใช้ประสาท ในการตรวจสอบความรู้เดิม สัมผัสในการเก็บข้อมูล การจำแนกประเภทเป็นการจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ ครูรับฟังเหตุผลของนักเรียนเป็น ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หากครูค้นพบว่านักเรียนยังมีความเข้าใจ สำคัญ ครูยังไม่เฉลยคำตอบใด ๆ คลาดเคลื่อนในประเด็นใด ครูอาจใช้เวลาในการอภิปรายกับนักเรียน แต่ชักชวนให้หาคำตอบที่ถูกต้อง เพิ่มเติมเพือ่ แกไ้ ขความเข้าใจคลาดเคลือ่ นนั้น ๆ) จากกิจกรรมตา่ ง ๆ ในบทเรียนนี้ 2. ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับทักษะการจัดกระทำและ ข้อเสนอแนะเพ่ิมเตมิ สื่อความหมายข้อมูล ทักษะการสร้างแบบจำลอง และหลักฐานกับ สื่อสารทางวิทยาศาสตร์ โดยนำภาพแมว 2 ตัว ตัวละภาพ มาให้ ครูสามารถดาวน์โหลดภาพแมว นกั เรยี นสังเกต โดยแมวทง้ั สองตวั มขี นาดแตกต่างกัน และในภาพแมว จากเว็บไซตท์ ่ีอนุญาตใหใ้ ช้ไดฟ้ รี เชน่ ทตี่ ัวมขี นาดใหญก่ วา่ มีชามอาหารวางอยูด่ ว้ ย จากน้นั ใช้คำถาม ดงั นี้ 2.1 จากการสังเกตแมวในภาพ นักเรียนได้ข้อมูลอะไรบ้าง (ข้อมูล 1. แมวทม่ี ีขนาดใหญ่ จาก ลักษณะของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขนาดของรา่ งกาย) shorturl.at/dqM17, 2.2 จากการสังเกตแมวทั้งสองตัวมีข้อมูลใดบ้างที่เหมือนกัน และมี shorturl.at/yHIY2, ข้อมูลใดบ้างที่แตกต่างกัน (นักเรียนตอบตามสิ่งที่สังเกตได้ เช่น https://bit.ly/2PaBi0a ข้อมูลที่เหมือนกัน ได้แก่ มีขา 4 ขา มีหัว หู หาง ตีน ข้อมูลที่ แตกตา่ งกัน ได้แก่ ขนาดรา่ งกาย สีขน สตี า) 2. แมวทีม่ ขี นาดเล็ก จาก 2.3 ถ้าต้องการบอกเล่าข้อมูลที่ได้จากการสังเกตภาพแมวทั้ง 2 ตัว https://bit.ly/2HFgN7K , ให้กับคนที่ไม่เคยเห็นภาพแมวน้ี นักเรียนจะทำได้อย่างไรบ้าง https://bit.ly/39P7Qot (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น เล่าลักษณะของแมวจาก ความจำให้คนอื่นฟัง วาดภาพและชี้ส่วนต่าง ๆ ของแมวแล้ว นำไปให้ผอู้ ่ืนดู หรอื ถ่ายภาพแมวแลว้ นำไปใหผ้ อู้ ่ืนดู) 2.4 ระหว่างรูปวาดแล้วชี้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายกับภาพถ่าย นักเรียนคิดว่าอะไรจัดเป็นแบบจำลอง เพราะเหตุใด (นักเรียน ตอบตามความเข้าใจ ซึ่งคำตอบที่ครูควรรู้คือ รูปวาดจัดเป็น แบบจำลอง เพราะเปน็ สงิ่ ทีส่ รา้ งข้ึนมาเพื่อแทนสิง่ ที่มีอยจู่ ริง) สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

7 คมู่ อื ครรู ายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 | หน่วยท่ี 1 การเรียนร้สู ิง่ ต่าง ๆ รอบตัว 2.5 จากภาพของแมว นักเรียนคิดว่าแมวมีขนาดแตกต่างกัน เพราะเหตุใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น แมวมีขนาด แตกต่างกันเพราะมีอายุไม่เท่ากัน แมวท่ีอายุมากกว่ามีขนาด ลำตัวใหญ่กว่าแมวที่อายุน้อย หรือแมวมีขนาดแตกต่างกัน เพราะมีอาหารกินไม่เท่ากัน แมวในภาพที่มีชามอาหารวางอยู่มี ขนาดลำตวั ใหญก่ วา่ แสดงว่ามอี าหารกินมากกวา่ ) 2.6 จากคำตอบทั้งหมด นักเรียนคิดว่าคำตอบของเพื่อนคนใด น่าเชื่อถือกว่ากัน เพราะเหตุใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ ของตนเองพร้อมบอกเหตุผลประกอบ เช่น ตอบว่าแมวมีขนาด แตกต่างกันเพราะมีอาหารกินไม่เท่ากัน เพราะในภาพเห็นว่า แมวที่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่ากำลังกินอาหารแสดงว่ามีอาหารกนิ มากกว่า) 3. ครูชักชวนนักเรียนศึกษาเรื่องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยให้อ่าน ชื่อหน่วย และอ่านคำถามสำคัญประจำหน่วยที่ 1 ดังนี้ จัดกระทำ ข้อมูลและนำเสนอความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ไดอ้ ย่างไร นักเรียนตอบคำถาม โดยครูยังไม่ต้องเฉลยคำตอบ แต่จะให้นักเรียน ย้อนกลบั มาตอบอกี ครัง้ หลงั จากเรยี นจบหนว่ ยน้ีแล้ว 4. ครูให้นักเรียนอ่านชื่อบท และจุดประสงค์การเรียนรู้ประจำบท ใน หนงั สือเรียน หน้า 1 จากน้นั ครูใช้คำถามเพอ่ื ตรวจสอบความเข้าใจ ดังนี้ 4.1 บทนจ้ี ะได้เรียนเร่ืองอะไร (เร่ืองการเรียนรู้แบบนักวทิ ยาศาสตร์) 4.2 จากจุดประสงค์การเรียนรู้เมื่อเรียนจบบทนี้นักเรียนสามารถทำ อะไรได้บ้าง (สามารถใช้ทกั ษะการจัดกระทำและส่ือความหมาย ข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา และทักษะการสร้างแบบจำลองในการ สืบเสาะและอธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสามารถใช้ หลักฐานที่น่าเชื่อถือมาประกอบการอธิบายความรู้ทาง วทิ ยาศาสตร์) 5. นกั เรียนอา่ นช่ือบทและแนวคิดสำคัญ ในหนังสอื เรยี นหน้า 2 จากน้ันครู ใช้คำถามดังนี้ จากการอ่านแนวคิดสำคัญ นักเรียนคิดว่าจะได้เรียน เก่ียวกับเรื่องอะไรบ้าง (เรียนเรื่องทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซ ของวัตถุ ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลทักษะ การสร้าง ⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ค่มู อื ครูรายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เล่ม 1 | หนว่ ยท่ี 1 การเรยี นร้สู ่งิ ตา่ ง ๆ รอบตวั 8 แบบจำลอง และการใช้หลักฐานที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนคำตอบอย่าง หากนักเรียนไม่สามารถตอบ สมเหตุสมผล) คำถามหรืออภิปรายได้ตามแนว 6. ครูชักชวนให้นักเรียนสังเกตรูปแผนที่และตาราง และอ่านเนื้อเรื่องใน คำตอบ ครูควรให้เวลานักเรียนคิด หนังสือเรียนหน้า 2 โดยครูฝึกทักษะการอ่านตามวิธีการอ่านที่ อย่างเหมาะสม รอคอยอย่างอดทน เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน ครูตรวจสอบความเข้าใจจาก และรับฟังแนวความคิดของ การอ่าน โดยใชค้ ำถามดงั น้ี นกั เรยี น 6.1 ในหนังสือเรียนหน้า 2 นี้มีการนำเสนอข้อมูลเรื่องอะไร (ข้อมูล เวลาที่คนในจังหวัดต่าง ๆ เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) 6.2 การนำเสนอข้อมูลเวลาท่ีคนในจงั หวัดต่าง ๆ เหน็ ดวงอาทิตย์ข้ึน สามารถนำเสนอในรูปแบบใดบ้าง (นำเสนอในรูปแบบแผนภาพ และตาราง) ในกรณีที่นักเรยี นไม่ได้ตอบว่าแผนภาพ ครูสามารถ อธิบายเพิ่มเติมได้ว่าภาพที่เขียนหรือสร้างขึ้นซึ่งอาจมีข้อความ หรือสัญลักษณ์ประกอบเพื่ออธิบายเรื่องต่าง ๆ ให้ชัดเจนขึ้น เรียกวา่ แผนภาพ 6.3 จากข้อมูลที่แสดงในแผนภาพและในตารางนักเรียนสามารถ ลงความเห็นได้ว่าอย่างไร (ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 คนในแต่ละจงั หวดั เหน็ ดวงอาทติ ย์ขน้ึ ไม่พร้อมกนั ) 6.4 การนำเสนอข้อมลู ในรูปแบบแผนภาพและตาราง นักเรียนคิดว่า การจัดกระทำข้อมูลในรูปแบบใดที่ช่วยให้เปรียบเทียบข้อมูลได้ ง่ายว่าจังหวัดใดเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนและหลัง เพราะเหตุใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง เช่น ตาราง เพราะ ข้อมูลเวลาจัดไวอ้ ยา่ งเปน็ ระเบียบอยู่ในแถวเดียวกันทำให้ดูเวลา ไดง้ ่าย และเปรียบเทียบเวลาของแต่ละจังหวัดได้งา่ ย) 6.5 การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภาพและตาราง นักเรียนคิดว่า แบบไหนที่สามารถบอกได้เร็วกว่ากันว่าคนในภาคใดของ ประเทศไทยจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนภาคอื่น ๆ เพราะเหตุใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของตนเอง เช่น การนำเสนอ ข้อมูลในรูปแบบแผนภาพทำให้บอกได้เร็วกว่า เนื่องจากเรา สามารถเห็นได้ชดั เจนและรวดเร็ววา่ แต่ละจังหวัดอยู่ในตำแหน่ง ใดของแผนภาพและตำแหน่งนั้นเป็นภาคใด พร้อมทั้งมีข้อมูล เวลาทค่ี นในจงั หวดั น้นั เหน็ ดวงอาทิตยข์ ้นึ ประกอบอยดู่ ้วย จึงทำ ให้บอกได้อย่างรวดเร็วว่าคนในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือจะเห็น สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

9 คู่มือครูรายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เลม่ 1 | หนว่ ยท่ี 1 การเรียนร้สู ่งิ ตา่ ง ๆ รอบตัว ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนภาคอื่น ๆ เพราะจังหวัดอุบลราชธานีที่อยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 05:30 น. ก่อน จังหวัดอนื่ ๆ ทอี่ ยูใ่ นภาคอ่นื ๆ) 6.6 ถ้านักเรียนมีข้อมูลบางอย่าง และต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ และมีความน่าเชื่อถือ นักเรียนจะต้องทำอย่างไรบ้าง (นักเรียน ตอบตามความเข้าใจ เช่น ตอ้ งเป็นขอ้ มูลท่ีมหี ลักฐานทนี่ า่ เช่ือถือ มาสนับสนุนอยา่ งสมเหตุสมผล และนำข้อมูลนน้ั มาจัดกระทำให้ เข้าใจได้งา่ ย) 7. ครูชักชวนนักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบนักวทิ ยาศาสตร์ ในสำรวจความรู้ก่อนเรียน 8. นักเรียนทำสำรวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า 2-6 โดยนักเรียนอ่านข้อมูลที่กำหนดให้ และอ่านคำถามแต่ละข้อ ครู ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน จนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทำได้ ด้วยตนเอง จึงให้นักเรียนตอบคำถาม คำตอบของแต่ละคนอาจ แตกตา่ งกัน และคำตอบอาจถูกหรือผดิ ก็ได้ 9. ครูสังเกตการตอบคำถามของนักเรียนเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมี แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์อย่างไรโดยอาจสุ่มให้ นักเรียน 2-3 คน นำเสนอคำตอบของตนเอง ครูยังไม่ต้องเฉลยคำตอบ แต่จะให้นักเรียนย้อนกลับมาตรวจสอบอีกครั้งหลังจากเรียนจบบทน้ี แล้ว ทั้งนี้ครูควรบันทึกแนวคิดคลาดเคลื่อนหรือแนวคิดที่น่าสนใจของ นักเรียน แล้วนำมาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไข แนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง และต่อยอดแนวคิดที่น่าสนใจของ นักเรียนตอ่ ไป ⎯ สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี