Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore LK010-หนังสือประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง

LK010-หนังสือประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง

Description: LK010-หนังสือประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง

Search

Read the Text Version

งานวชิ าการเพอ่ื ศกึ ษาเรยี นรู้ประวตั ศิ าสตร์ศรลี งั กา เลม่ ๒

พระมหาพจน สุวโจ, ดร. ประวัติศาสตรคณะสงฆศรีลังกายุคกลาง: วาดวยนิกายสงฆ การบริหารทรัพยสิน การศึกษาสงฆ คติความเชื่อ และการฟนฟูพระศาสนา/พระมหาพจน สุวโจ, ดร. ๑. ประวัติศาสตรคณะสงฆศรีลังกา ............... ยุคกลาง ๒. การศึกษาสงฆ ............... ยุคกลาง ๓. คติความเช่ือ ............... ศรีลังกา ๔. การฟนฟูพระศาสนา ............... ศรีลังกา เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ : 978-616-7821-49-8 พิมพคร้ังท่ี ๑ : สิงหาคม ๒๕๕๙ จํานวนพิมพ : ๑๕๐ เลม กองบรรณาธิการ : พระครูศรีปญญาวิกรม, ดร. พระมหาถนอม อานนฺโท รศ.ดร. เอกฉัท จารุเมธีชน รศ.วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก พัสริน ไชยโคตร วันเพ็ญ พรมเมือง เอมมิกา แกวสรดี พิสูจนอักษร : พระมหาพจน สุวโจ, ดร. ออกแบบปก : อเนก เอ้ือการุณวงศ ดําเนินการจัดพิมพ : สาละพิมพการ ๙/๖๐๙ ซอยกระทุมลม ๖ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต.กระทุมลม อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๒๐ โทร. ๐-๒๔๒๙๒๔๕๒, ๐๘๕-๔๒๙๔๘๗๑ email:[email protected]

คา� นิยม หนังสือ ”ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง : ว่าด้วยนิกายสงฆ์ การบริหารทรัพย์สิน การศึกษาสงฆ์ คติความเชื่อ และการฟนฟูพระศาสนา„ เล่มน้ี เป็นผลงานของพระมหาพจน์ สุวโจ, ดร. ซึ่งเป็นอาจารย์ประจ�าวิทยาลัยสงฆ์ บุรีรัมย์ ได้มีความพากเพียรถอดแปลมาจากดุษฎีนิพนธ์แล้วปรับปรุงเรียบเรียง เป็นภาษาเรียบง่าย เหมาะส�าหรับผู้ใหม่เพิ่งเร่ิมต้นอ่านประวัติศาสตร์เร่ืองราวของ ศรีลังกา ถือว่าเป็นทางลัดในการศึกษาประวัติศาสตร์ศรีลังกาโดยแท้ หลังจากอ่านเน้ือหาตลอดท้ังเล่มแล้ว ท�าให้รู้สึกว่าประวัติศาสตร์ศรีลังกา มีอะไรมากมายเหลือเกินที่ชาวพุทธไทยยังไม่รู้ โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ดเู หมอื นวา่ พระสงฆไ์ ทยจะถอดแบบมาจากศรลี งั กาแทบทง้ั สน้ิ มเี พยี งบางอยา่ งเทา่ นนั้ ทนี่ า� มาปรบั ปรงุ ใหเ้ หมาะสมกบั วฒั นธรรมของไทย แตก่ ย็ งั คงมกี ลนิ่ อายของศรลี งั กาอยู่ มีเรื่องหนึ่งน่าสนใจไม่น้อยคือธรรมกิตติวงศ์หรือผู้สืบสายมาจากพระธรรม กีรติเถระ ซ่ึงไม่มีใครทราบก่อนเลยว่าท่านเป็นพระไทยรูปหนึ่งเดินทางไปประกาศ ศาสนาบนเกาะลังกา และมีลูกศิษย์ลูกหาระดับพระสังฆราชหลายรูป เพราะส่วนใหญ่ เราทราบแต่เพียงว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีพระสมณทูตไทยโดยการน�าของ พระอุบาลีมหาเถระ ได้เดินทางไปประดิษฐานสยามวงศ์บนเกาะลังกา พอมาอ่านพบ เร่ืองนี้ก็ท�าให้เกิดความรู้ใหม่อย่างไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ขออนุโมทนาขอบคุณ พระมหาพจน์ สุวโจ, ดร. ท่ีได้อุตสาหะพากเพียร แปลงานวิจัยเกี่ยวกับศรีลังกาออกมาสู่บรรณพิภพอย่างต่อเน่ือง อันจะเป็นการจุด ประกายให้นักวิชาการไทยหันมาให้ความสนใจศรีลังกามากข้ึน ซ่ึงจะน�าไปสู่การ ศึกษาวิเคราะห์ในวงกว้างต่อไป (พระศรีปริยัติธาดา) ผู้อ�านวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

กล่าวน�ำ ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลางมีความพิเศษหลายด้าน ท้ังในแง่ ของการเชื่อมผ่านจากยุคเก่ากล่าวคืออนุราธปุระ ก่อนที่จะส่งต่อไปยังอาณาจักร โปโฬนนารุวะ อาณาจักรดัมพเดณิยะ อาณาจักรยาปหุวะ อาณาจักรกุรุแณคะละ อาณา จักรคัมโปละ และอาณาจักรโกฏเฏในที่สุด ห้วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลา เกินสองศตวรรษ ซึ่งมีการปรับเปล่ียนรูปแบบและวิถีชีวิตแตกต่างไปจากยุคเก่า เป็นธรรมดาวิสัย การเปล่ียนแปลงดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ชาวพุทธศรีลังกาได้เป็นอย่างดี สังเกตได้จากกษัตริย์ทุกพระองค์ล้วนสนับสนุน คณะสงฆ์อย่างเต็มก�ำลัง ท�ำให้คณะสงฆ์เกิดมิติทางสังคมหลายสิ่งหลายอย่าง ท้ังหมดท้ังปวงเรียกว่าพัฒนาการคณะสงฆ์ศรีลังกา เน้ือหาของดุษฎีนิพนธ์เริ่มต้นเรื่องราวของนิกายสงฆ์ยุคกลาง ซึ่งเป็นยุค เปลี่ยนผ่านจากเดิมมี ๓ นิกายหลัก กล่าวคือ ส�ำนักมหาวิหาร ส�ำนักอภัยคิรีวิหาร และส�ำนักเชตวันวิหาร แต่คร้ันมีการปฏิรูปพระศาสนาครั้งใหญ่สมัยพระเจ้าปรา กรมพาหุท่ี ๑ นิกายสงฆ์น้อยใหญ่ได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวในชื่อว่าส�ำนักมหาวิหาร โดยยึดเอาจารีตปฏิบัติของส�ำนักมหาวิหารเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ แม้จะรวม เป็นหนึ่งเดียวก็จริง แต่วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์กลับเป็นตัวแบ่งคณะสงฆ์ออกเป็น ๒ กลุ่ม กล่าวคือ คณะคามวาสีและคณะวนวาสี การแยกกันดังกล่าวมิได้หมายความว่าต่างฝ่ายต่างประพฤติพระธรรมวินัย ตามความคิดเห็นของกลุ่มตน เป็นแต่เพียงลักษณะแห่งการประพฤติปฏิบัติเท่านั้น กล่าวคือ พระสงฆ์ที่ศึกษาพระไตรปิฎกสงเคราะห์พิธีกรรมใกล้ชิดกับชาวบ้านอย่าง เป็นกันเอง เรียกว่าคามวาสี หมายถึงผู้อยู่บ้าน ส่วนพระสงฆ์ท่ีปรารถนาความ หลุดพ้นเพราะเบ่ือหน่ายวิถีแห่งโลก ได้ปลีกตัวออกไปปฏิบัติธรรมตามป่าเขาและ ดอยดง โดยทิ้งเร่ืองโลกีย์สุขไว้เบื้องหลัง เรียกว่าวนวาสี หมายถึงผู้อยู่ป่า การเรียก

ชื่อเช่นน้ีเป็นเพียงภาพรวมเท่าน้ัน เพราะความจริงแล้วพระสงฆ์คามวาสีและวนวาสี ล้วนอยู่ปะปนกัน บางครั้งพ�ำนักพักอาศัยอยู่ในอารามเดียวกัน เพียงแต่สังกัดแห่ง ตนเท่าน้ันท่ียังคงรักษาสืบทอดตามครูอาจารย์ ประการส�ำคัญคือ ไม่ว่าพระป่าวนวาสีหรือพระบ้านคามวาสีล้วนสนในใคร่ การศึกษาแทบท้ังสิ้น หลักฐานเหล่านี้สืบค้นได้จากกติกาวัตรท่ีตราเป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ส�ำหรับเป็นแนวปฏิบัติของพระสงฆ์ทั้งมวล และวรรณกรรมน้อยใหญ่สมัย น้ันล้วนสามารถอ้างเป็นหลักฐานได้อย่างชัดเจน การแข่งขันการแต่งคัมภีร์น่าจะเป็น เอกลักษณ์ของพระสงฆ์ศรีลังกามาแต่ยุคดั้งเดิม จึงเป็นผลให้เกาะลังการ�่ำรวยด้วย สรรพวิชาทั้งคดีโลกและคดีธรรม น�ำให้พระสงฆ์ชาววิเทศเดินทางมาศึกษาสีหลนิกาย และน�ำไปเผยแผ่ยังมาตุภูมิแห่งตน การศึกษาสงฆ์ประสบความส�ำเร็จเพราะมีสถาบันการศึกษาอันเข้มแข็ง ซึ่ง สมัยน้ันเรียกกันว่าอายตนะ แม้จะสืบต่อประเพณีมาแต่สมัยอนุราธปุระก็จริง แต่ อายตนะสมัยนี้ตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดีกว่า สังเกตได้จากกษัตริย์ ทุกพระองค์ให้การอุปถัมภ์เป็นอย่างดี อีกทั้งชาวบ้านก็น้อมถวายการอุปัฏฐากดูแล อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง การเรียนการสอนตามอายตนะสมัยน้ัน มิใช่เน้นเฉพาะ พระภิกษุสามเณรเท่าน้ัน แต่เปิดกว้างเอื้อประโยชน์แก่ฆราวาสด้วย จึงเป็นเหตุให้ มีศาสตร์ภายนอกแทรกซ้อนอยู่ตามอายตนะน้อยใหญ่ แม้นักวิชาการจะมองว่าศาสตร์ภายนอกเหล่าน้ัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนา เส่ือมถอยจนเป็นเหตุให้มีการสังคายนาหลายต่อหลายครั้ง แต่ความจริงอีกด้านคือ การเปิดกว้างด้วยการศึกษาเล่าเรียนศาสตร์ภายนอกเหล่านั้น ท�ำให้วงการศึกษา ศรีลังกาขยายขอบเขตเอื้อประโยชน์แม้แก่ศาสนิกอ่ืน ซึ่งเดินทางมาจากหลากหลาย ดินแดน นอกจากน้ัน ศาสตร์ภายนอกเหล่าน้ันยังต่อยอดให้นักศึกษาศรีลังกาสามารถ เช่ือมโยงกับแนวคิดแบบใหม่ภายนอกอย่างลงตัว ยากที่ดินแดนอ่ืนจะสามารถลอก เลียนแบบได้ หลักฐานคือมีพระสงฆ์ศรีลังกาสามารถแต่งคัมภีร์ภาษาสิงหลประเภท สันเดศยะลุ่มลึกด้วยอรรถรสไม่แพ้วรรณกรรมอมตะอย่างเมฆทูตของการิกทาส

การศกึ ษาสงฆม์ ปี ระเดน็ หนงึ่ นา่ สนใจไมน่ อ้ ยคอื การจะทำ� ใหส้ ถาบนั การศกึ ษา อยู่ได้นานปีโดยไม่ต้องกังวลกับความเป็นอยู่จ�ำต้องมีผู้อุปถัมภ์อย่างเป็นรูปธรรม สถาบันท่ีเข้ามาโอบอุ้มคือพระมหากษัตริย์ น่าสนใจคือกษัตริย์ทุกพระองค์ถือว่าเป็น พระราชภารธุระท่ีจะต้องเข้ามาดูแลสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาสงฆ์พัฒนาต่อเน่ือง เรื่อยไป จึงกลายเป็นประเพณีถวายท่ีดินหรืออ่างเก็บน้�ำให้อารามวิหาร เพื่อเก็บภาษี ไว้หนุนเสริมอารามน้อยใหญ่ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง เรียกประเพณีแบบน้ีว่าพระบรม ราชูทิศ หรือกัลปนาอุทิศ เม่ืออารามวิหารได้รับกัลปนาเป็นจ�ำนวนมาก จ�ำต้องมีการบริหารให้ถูกต้อง ตามหลักแห่งพระธรรมวินัย จึงต้องมีฆราวาสกลุ่มหน่ึงเข้ามาบริหาร โดยส่วนใหญ่ เป็นญาติของเจ้าอาวาสหรือเจ้าส�ำนัก พอเวลาเน่ินนานออกไปคติความเชื่อว่าทรัพย์สิน เปน็ ของสงฆว์ ดั ไดก้ ลายรา่ งเปน็ ระบบศษิ ยานศุ ษิ ยป์ รมั ปรา หมายถงึ การสบื ทอดมรดก จากอาจารย์สู่ลูกศิษย์ หรือญาติปรัมปราหมายถึงการสืบทอดมรดกจากญาติสู่ญาติ ความยุ่งยากซับซ้อนจึงเริ่มเกิดมีข้ึนกลายเป็นเร่ืองใหญ่ น�ำไปสู่ระบบครอบครองดูแล ทรัพย์สินของวัดแบบวรรณะ หลักฐานเหล่าน้ีพบเห็นในกติกาวัตรนับแต่ยุคโปโฬนนา รุวะเรื่อยมาจนถึงสมัยแคนดี แม้ปัจจุบันก็หาได้เส่ือมคลายหายไปจากสังคมสงฆ์ไม่ สงิ่ หนงึ่ ซงึ่ ดษุ ฎนี พิ นธเ์ ลม่ นหี้ ยบิ ยกขนึ้ มาวเิ คราะหอ์ ยา่ งกลา้ หาญคอื สถานภาพ ของสตรีศรีลังกายุคกลาง เป็นที่ทราบกันดีว่าศรีลังกาน้ันรับมรดกอารยธรรมมาจาก อินเดีย ด้วยเหตุน้ันโครงสร้างทางสังคมจึงไม่ได้แตกต่างจากอินเดียชมพูทวีป แต่น่า สนใจเป็นอย่างยิ่งคือสถานภาพของสตรีชาวศรีลังกากลับเปิดกว้างอย่างเสรี ไม่ได้ เป็นชนชั้นท่ีถูกกดขี่ข่มเหงแต่อย่างใด สามารถรับการศึกษาเสมอบุรุษเพศอย่างเท่า เทียมกัน อาจเป็นเพราะยุคนี้ได้รับมรดกตกทอดมาจากยุคอนุราธปุระ ซ่ึงเปิดกว้างให้ สตรีเข้าอุปสมบทเป็นภิกษุณีก็เป็นได้ วัฒนธรรมของศรีลังกายุคกลางจึงสืบทอด ประเพณีเช่นนั้นมา แม้ไม่ปรากฏว่าเกิดมีภิกษุณีสงฆ์ก็จริง แต่โอกาสท่ีสังคมหยิบยื่น ให้สตรีเพศก็ไม่ได้แตกต่างแต่อย่างใด ด้านคติความเชื่อของศรีลังกายุคกลาง ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้เน้นกล่าวถึงพระ เข้ียวแก้วเป็นหลัก โดยมีเรื่องราวเก่ียวเน่ืองกับบาตรของพระพุทธเจ้าสอดแทรกเสริม

เข้ามาด้วย เหตุเพราะศรีลังกายุคกลางน้ันให้ความส�ำคัญกับพระเข้ียวแก้วค่อนข้างสูง พัฒนาการของพระเขี้ยวแก้วท่ีเห็นได้ชัดเจนยุคน้ีคือจากเดิมเช่ือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ แห่งราชบัลลังก์ กลายมาเป็นส่ิงศักด์ิสิทธิ์ผู้ประทานฝน สันนิษฐานว่าสมัยนั้นชาว ศรีลังกาย้ายถ่ินฐานลงใต้ต�ำแหน่งบริเวณชุ่มช่ืนด้วยฝน การท�ำการเกษตรเป็นเร่ือง จ�ำเป็นอย่างยิ่ง ความต้องการฝนเพ่ือท�ำการเกษตรจึงเป็นเรื่องหลีกเล่ียงมิได้ แม้จะ ก่อเกิดพัฒนาการ แต่พระเข้ียวแก้วก็ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธศรีลังกา นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ด้านคติความเช่ือเร่ืองเทพเจ้าน้อยใหญ่บนเกาะลังกานั้น ผู้วิจัยหลีกเลี่ยงท่ี จะให้ความส�ำคัญแก่เทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นการเฉพาะ จึงเน้นอธิบายเรื่องราว ของจตุเทพผู้คุ้มครองเกาะลังกาเป็นส�ำคัญ โดยพยายามวิเคราะห์ให้เห็นว่าเทพเจ้า เหลา่ นเี้ ปน็ การผสมผสานกนั ระหวา่ งเทพเจา้ ดงั้ เดมิ ของชาวลงั กากบั เทพเจา้ ฮนิ ดู ประเดน็ น่าสนใจคือคติความเชื่อเทพเจ้าเหล่าน้ีมาถึงจุดสูงสุดสมัยกลางนี้เอง เมื่อชาวพุทธ เปิดพ้ืนท่ีให้เทพเจ้าชาวฮินดูเข้าไปประดิษฐานร่วมกับพระพุทธรูปตามวิหารน้อยใหญ่ ได้ ด้านหนึ่งอาจมองว่าเป็นการประนีประนอมกับฮินดู แต่หากมองอีกด้านจะเห็นว่า อิทธิพลของพราหมณ์เร่ิมแทรกแซงสถาบันกษัตริย์จนยากท่ีจะปฏิเสธได้ กล่าวกันว่า พราหมณ์น้อยใหญ่พยายามสร้างเรื่องราวเพ่ือเปลี่ยนเทพเจ้าดั้งเดิมของชาวลังกาให้ เป็นฮินดู และสามารถเปล่ียนแปลงความเชื่อได้หลายองค์ ประเด็นส�ำคัญท่ีผู้วิจัยไม่ละเลยคือการฟื้นฟูพระศาสนา อันเป็นผลสืบเนื่อง มาจากพระสงฆ์ละท้ิงการศึกษาหันไปสนใจเร่ืองทรัพย์สินของอารามวิหารมากเกินไป บางส่วนหันไปประกอบอาชีพท�ำพิธีกรรมแบบพราหมณ์ เป็นเหตุให้ศาสนาเส่ือมโทรม ผสมแทรกกับการท�ำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กันเองของราชวงศ์สิงหล แม้จะมี การฟื้นฟูพระศาสนาหลายต่อหลายครั้ง ก็หาได้ย่ังยืนยาวนานไม่ พฤติกรรมของ พระสงฆ์นอกรีตยังคงมีต่อเน่ืองเร่ือยมา กลา่ วโดยสรปุ ดษุ ฎนี พิ นธเ์ ลม่ นส้ี ามารถตอบคำ� ถามเกยี่ วกบั คณะสงฆศ์ รลี งั กา ยคุ กลางไดเ้ กอื บทกุ บรบิ ท จะขาดหายไปบา้ งกเ็ ฉพาะเรอื่ งความสมั พนั ธก์ บั ตา่ งประเทศ เท่านั้น ซ่ึงมีงานวิจัยอีกหลายเล่มกล่าวถึงแล้ว อย่างไรก็ตามถือได้ว่าดุษฎีนิพนธ์

เล่มน้ีเป็นงานวิจัยอีกเล่มหน่ึง ซึ่งทรงคุณค่าต่อการศึกษาเร่ืองราวศรีลังกาเป็นอย่างยิ่ง และสามารถต่อยอดประวัติศาสตร์ศรีลังกาได้อีกหลายมิติ ผู้แปลขอขอบพระคุณพระศรีปริยัติธาดา ผู้อ�านวยการวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ที่เขียนค�าน�าให้ด้วยความเมตตายิ่ง ขออนุโมทนาขอบคุณญาติธรรมหลายท่านท่ีช่วย อ่านต้นฉบับพร้อมค�าแนะน�าอันเป็นประโยชน์ อีกท้ังสนับสนุนการพิมพ์ด้วยจิตอัน เป็นศรัทธาย่ิง ด้วยเห็นว่าไม่มีทานอันใดประเสริฐอีกแล้วนอกจากธรรมทาน และ ขอบคุณพระมหาถนอม อานนฺโท ผู้อ�านวยการส�านักงานวิทยาลัย ท่ีเข้าใจความเป็น นักวิชาการด้วยการปล่อยให้มีเวลาแปลงานจนแล้วเสร็จตามมโนรถ (พระมหาพจน์ สุวโจ, ดร.) อาจารย์ประจ�าวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙

สารบญั หน้า ค�ำนิยม กล่าวน�ำ ๒ ๘ บทที่ ๑ บทน�ำ ๑๓ วรรณกรรมเก่ียวข้อง ๑๙ ๒๒ บทท่ี ๒ คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ ๓๐ เรื่องราวของนิกายสงฆ์ ๓๔ ธรรมเนียมพระป่าวนวาสี ๓๗ พระสงฆ์สายวนรัตนะ ๕๖ พัฒนาการแห่งธรรมกีรติวงศ์ ๖๑ พระสารีบุตรมหาสามี ๖๔ อายตนะกับสองนิกาย ๗๑ สมณศักดิ์ลังกา บทท่ี ๓ อายตนะ ก�ำเนิดอายตนะ อิทธิพลของเวฬัยก์การะ พัฒนาการแห่งอายตนะ ต�ำแหน่งเจ้าส�ำนักอายตนะ

บทท่ี ๔ ทรัพย์สมบัติของอารามวิหาร ๘๔ ทรัพย์สมบัติของอารามวิหาร ๘๘ พระบรมราชูทิศ ๙๓ ทรัพย์สินนอกจากที่ดิน ๑๐๐ การบริจาคเพ่ือเป็นพุทธบูชา ๑๐๔ ผู้รับมรดกของอารามวิหาร ๑๑๐ การอุทิศตามความเชื่อแต่ละบุคคล ๑๒๔ ๑๓๓ บทที่ ๕ การบริหารทรัพย์สมบัติของอารามวิหาร ๑๔๐ การบริหารทรัพย์สิน ๑๕๒ ต�ำแหน่งหน้าท่ีของชาวอารามวิหาร ๑๕๕ ผู้รับมรดกอารามวิหาร ๑๖๓ ๑๖๘ บทท่ี ๖ การศึกษาคณะสงฆ์ ๑๗๔ ราชูปถัมภ์ด้านการศึกษาสงฆ์ หลักสูตรการเรียนการสอน สภาพการศึกษาสงฆ์ ศาสตร์บอกพุทธศาสนา การศึกษาสงฆ์เกิดพัฒนาการสองนัยยะ

บทที่ ๗ ความเช่ือ พิธีกรรมและประเพณี ๑๙๔ เร่ืองราวเก่ียวกับพระเข้ียวแก้วและบาตร ๒๐๙ ความเช่ือเก่ียวกับพระโพธิสัตว์ ๒๑๕ ความเชื่อเกี่ยวกับเทพอุบลวัน ๒๒๒ ความเชื่อเก่ียวกับเทพสุมนะ ๒๒๗ คติความเช่ือเทพเจ้าฮินดู บทที่ ๘ ปฏิรูปการพระศาสนา ๒๕๒ เหตุแห่งการปฏิรูปพระศาสนา ๒๕๗ การตรากติกาวัตร ๒๖๑ ต�ำแหน่งทางคณะสงฆ์ บทท่ี ๙ บทสรุป ๒๗๖ รายนามกษัตริย์ ๒๗๘ บรรณานุกรม



๑ บทนำ�

วรรณกรรมเกี่ยวข้อง งานวิจัยเล่มน้ีเป็นการศึกษาประวัติคณะสงฆ์ศรีลังการะหว่างพุทธศักราช ๑๗๐๐-๑๙๐๐ ระยะเวลาก่อนหน้าน้ีมีนักเขียน ๓ ท่าน ท�ำการวิจัยระดับปริญญาเอก มาแล้ว ผู้บุกเบิกเป็นคนแรกคืออธิการัม ได้เขียนงานวิจัยชื่อว่าประวัติศาสตร์พระ พุทธศาสนาในศรีลังกายุคแรกเร่ิม (Early History of Buddhism in Ceylon) ตีพิมพ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ มีเนื้อหาครอบคลุมต้ังแต่ยุคแรกจนถึงพุทธศตวรรษ ท่ี ๑๐ งานวิจัยเล่มถัดมาเป็นผลงานของพระราหุลเถระ ชื่อว่าประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ในศรีลังกา (History of Buddhism in Ceylon) ตีพิมพ์เม่ือพุทธศักราช ๒๔๙๙ เนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์นับต้ังแต่พุทธศตวรรษท่ี ๘-๑๕ ส่วนอีกคนหน่ึงคือ คณุ วรรธนะไดท้ ำ� งานวจิ ยั ชอื่ วา่ ประวตั ศิ าสตรค์ ณะสงฆศ์ รลี งั กาตง้ั แตส่ มยั พระเจา้ เสนะ ท่ี ๑ จนถึงการบุกรุกยึดครองของพระเจ้ามาฆะ (พ.ศ.๑๓๔๓-๑๗๕๘) (History of Buddhist Sangha in Ceylon from the time of Sena I to the Invasion of Magaha (800-1215 A.D.) ซ่ึงงานวิจัยเล่มน้ียังไม่มีการตีพิมพ์แต่อย่างใด งานวิจัยเล่มแรกแตกต่างจากเล่มอ่ืน ในแง่เน้นการกล่าวถึงการเผยแผ่และ ผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัยในเกาะลังกา ส่วนงานวิจัยสองเล่มหลัก เน้นกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์และพัฒนาการของสถาบันสงฆ์๑ ๑ See also, G. Panabokke, The Evolution and History of the Buddhist Monastic Order with special reference to the Sangha in Ceylon, Ph.D. Thesis, Lancaster University, 1969, unpublished. งานวิจัยเล่มนี้ไม่เหมาะสมส�ำหรับการอ้างอิงเพราะขณะ การท�ำงานวิจัยเล่มน้ียังท�ำการเรียบเรียงอยู่

บทน�า 3 ส�าหรับงานวิจัยเล่มน้ีสืบต่อประวัติศาสตร์คณะสงฆ์จากพุทธศักราช ๑๗๐๐- ๑๙๐๐ เหตุเพราะไม่มีใครศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนาในยุคน้ีอย่างเป็นระบบ มี งานเขยี นหลายเล่มทีพ่ าดพิงถงึ บางช่วงแห่งประวตั ศิ าสตรพ์ ระพทุ ธศาสนายุคน้ี ดังเชน่ ประวัติศาสตร์ศรีลังกา เล่ม ๓ ของเอเลียต วรรณคดีบาลีในศรีลังกาของมาลาลา เสเกรา วัฒนธรรมศรีลังกายุคกลางของเบเชอร์ต ซึ่งเล่มน้ีตีพิมพ์เน่ืองในงานครบรอบ การมรณกรรมของไกเกอร์ ประวัติศาสตร์ของศรีลังกา เล่ม ๑ ภาค ๒ ตีพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยศรีลังกา วรรณกรรมสิงหลของโคดกุมบุระ ประวัติศาสตร์สิงหลของ ชัยติลกะ ประวัติศาสตร์บาลีและพระพุทธศาสนาเถรวาทของพระพุทธทัตตเถระ ความเป็นไปสมัยอาณาจักรดัมพเดณิยะ ภาค ๒ ซ่ึงเป็นผลงานของพระสุมนโชติเถระ การตรากติกาวัตรและโปโฬนนารุกติกาวัตรและดัมพเดณิกติกาวัตร พร้อมด้วย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพระธรรมวิสุทธิเถระ นอกจากนั้น เป็นบทความของ ปรณวิตานะช่ือว่ามหายานในศรีลังกา ตีพิมพ์ในวารสารแห่งศาสตร์ของศรีลังกา หมวด G ภาค ๒ และบทความของคอด์ริงตันเรียกอาณาจักรคัมโปละของศรีลังกา ซ่ึงตีพิมพ์ในวารสารสมาคมเอเชียราชูปถัมภ์ (ศรีลังกา) ภาค ๓๒ เลขท่ี ๘๖ คริสต์ ศักราช ๑๙๓๓ ส�าหรับหลักฐานอ้างอิงจากวรรณกรรมนั้น ส่วนใหญ่น�ามาจากคัมภีร์จุลวงศ์ ภาค ๒-๓ คัมภีร์ปูชาวลิยะ ดัมพเดณิกติกาวะตะ คัมภีร์ดาฬดาสิริตะ และคัมภีร์ นิกายสังครหยะ คมั ภรี จ์ ลุ วงศ์ ภาค ๒ นน้ั ไมป่ รากฏนามผเู้ ขยี น มเี นอื้ หากลา่ วถงึ ประวตั ศิ าสตร์ สืบต่อจากคัมภีร์มหาวงศ์จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๔ ส่วนภาค ๓ แต่งโดยพระติบโบฏวาเวสิทธารถพุทธรักษิตเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้ากีรติศรีราช สิงหะแห่งอาณาจักรแคนดี มีเนื้อหากล่าวถึงประวัติศาสตร์สืบต่อมาจากภาคก่อน แม้คัมภีร์ประเภทต�านานจะถูกตั้งค�าถามมากมายตลอดยุคท่ีกล่าวถึงแล้ว แต่ไม่มี งานชิ้นใดระบุเฉพาะเจาะจงถึงรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๔ แม้แต่รายละเอียด ในระหว่างรัชสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒ และพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๔ ซึ่งปรากฏ ในคัมภีร์ปูชาวลิยะของพระมยูรปาทเถระ แต่งในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒

4 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง ก็กล่าวถึงรายละเอียดประวัติศาสตร์ยุคดัมพเดณิยะสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ ตั้งแต่ต้นรัชกาลจนถึงสิ้นสุดการครองราชย์ของพระองค์ ส่วนดัมพเดณิกติกาวัตร หรือกฎข้อบังคับพระสงฆ์ในสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ ได้ให้ข้อมูลอย่างดียิ่ง เก่ียวกับวิถีชีวิตของพระสงฆ์และการศึกษาสงฆ์ในสมัยอาณาจักรดัมพเดณิยะ ส่วน คัมภีร์ดาฬดาสิริตะได้กล่าวถึงประวัติพระเขี้ยวแก้วและอ้างถึงรัชสมัยของพระเจ้า ปรากรมพาหุที่ ๔ และสุดท้ายคือคัมภีร์นิกายสังครหยะ ได้บรรยายประวัติศาสตร์ ศาสนาจนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๕ มีเน้ือหาส่วนใหญ่อธิบายถึง พระราชกรณียกิจ และเป็นข้อมูลเก่ียวกับงานวิจัยเล่มนี้ สมควรบันทึกไว้ว่า ยกเว้นอาณาจักรดัมพเดณิยะและรัชสมัยของพระเจ้า ปรากรมพาหุท่ี ๔ แห่งอาณาจักรกุรุแณคะละแล้ว ข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้นแทบจะไม่มี คุณค่าต่องานวิจัยเล่มน้ีเลย แม้กระท่ังหลักฐานทางอักษรโบราณที่พยายามเติมเต็ม ส่วนท่ีขาดหายไปจากวรรณกรรมก็มีคุณค่าน้อยนักเช่นกัน ความจริงคือเกิดความ เสียหายของศิลาจารึกซึ่งจารข้ึนสมัยพระเจ้านิสสังกมัลละ แม้การพิสูจน์ยืนยันบาง หลักจะสามารถพบเห็นจากยุคคัมโปละก็ตาม ความหนักแน่นเชิงอ้างอิงจึงเบาลงไป วรรณกรรมภาษาบาลีบางเล่มถือว่ามีส่วนช่วยเหลืองานวิจัยเล่มน้ีด้วยเช่นกัน บรรดาวรรณกรรมเหล่าน้ัน คัมภีร์สมันตปาสาทิกาหรือคัมภีร์อรรถกถาอธิบาย พระวินัยปิฎก เป็นงานเขียนมากล้นด้วยข้อมูลเชิงเนื้อหา เป็นผลงานของพระพุทธ โฆษาจารย์ ซึ่งพระนักปราชญ์รูปน้ีโด่งดังแพร่หลายในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ คัมภีร์ สารัตถทีปนีของพระสารีบุตรเถระ และคัมภีร์วิมติวิโนทนีของพระโจฬิยะกัสสปเถระ เป็นต�าราอธิบายแต่งแก้คัมภีร์สมันตปาสาทิกา ผู้เขียนเล่มแรกมีชีวิตอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ส่วนรูปที่สองมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับรูปแรกแต่อายุ นอ้ ยกวา่ คมั ภรี อ์ กี เลม่ หนงึ่ ชอื่ วา่ ปาลมี ตุ ตกวนิ ยวนิ จิ ฉยะ หรอื อกี ชอ่ื หนง่ึ วา่ วนิ ยสงั คหะ เป็นหนังสือสรุปคัมภีร์อรรถกถาพระวินัย และคัมภีร์ฎีกานามว่าปาลีวิมุตตกวินย วินิจฉยฎีกา คัมภีร์ท้ังสองเล่มเป็นผลงานของพระสารีบุตรมหาสามี ซึ่งโด่งดังใน พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ส่วนคัมภีร์วินยลังการะน้ันเป็นคัมภีร์ฎีกาแต่งแก้คัมภีร์ปาลี วิมุตตกวินยวินิจฉยะอีกที ถือว่าเป็นผลงานของพระสงฆ์ชาวพม่าสมัยยุคอาณาจักร

บทน�า 5 โกฏเฏ ด้านคัมภีร์วินยวินิจฉยฎีกาของพระพุทธทัตตเถระเป็นคัมภีร์ฎีกาแต่งแก้คัมภีร์ วินยวินิจฉยะ ผู้แต่งคัมภีร์วินยวินิจฉยะคือพระวาจิสสรเถระ ซ่ึงเป็นศิษย์ของ พระสารีบุตรเถระ คมั ภรี ส์ มนั ตปาสาทกิ าซง่ึ มเี นอ้ื หากลา่ วถงึ สมยั พทุ ธศตวรรษที่ ๑๐ นน้ั ลกั ษณะ ท่ีปรากฏจ�าเป็นที่ต้องน�ามาอธิบายในยุคหลัง ส่วนคัมภีร์ช้ันฎีกาที่อธิบายคัมภีร์สมันต ปาสาทิกาน้ันไม่ได้ละเลยเร่ืองราวของยุคนี้ สังเกตว่าผู้เขียนต้องการอ้างเร่ืองราวที่ ปรากฏพบเหน็ ตามหลกั ฐานแตเ่ บอื้ งตน้ เชน่ เดยี วกนั กบั คมั ภรี ว์ นิ ยวนิ จิ ฉยะและคมั ภรี ์ วินยาลังการะ แม้คัมภีร์เหล่าน้ีจะมีเน้ือหาอันจ�ากัดแต่ก็ถือว่ามีคุณค่าต่อการอ้างอิง เช่นกัน สา� หรบั พฒั นาการสา� คญั เกย่ี วกบั ยคุ นนี้ น้ั ผวู้ จิ ยั ไดพ้ ยายามสบื คน้ แหลง่ ขอ้ มลู ดั้งเดิมถอยหลังไปไกลเท่าที่จะสามารถสืบหาได้ แต่ก็พยายามแสดงให้เห็นถึงความ แตกต่างจากยุคเก่าก่อน นอกจากน้ัน ได้กล่าวถึงปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงอิทธิพลของคติความเช่ือของศาสนาอ่ืน ซึ่งน�าไปสู่พัฒนาการอย่างเด่นชัด กล่าวโดยสรุป งานวิจัยเล่มน้ีพยายามเน้นกล่าวเร่ืองราวพัฒนาการทางศาสนาดังกล่าว ถึงเบื้องต้น โดยเดินตามเนื้อหาด้านต�านานอย่างลงตัวและแผ่ขยายครอบคลุมเท่าที่ จะท�าได้



๒ คณะสงฆแ์ ยกเปน็ สองคณะ

เร่ืองราวของนิกายสงฆ์ คณะสงฆ์สมัยน้ีแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม กล่าวคือคามวาสี (หมายถึงพระสงฆ์ ที่อยู่อาศัยตามหมู่บ้าน) และวนวาสี (หมายถึงพระสงฆ์ที่อยู่อาศัยตามป่าเขา)๑ การปรากฏตัวของคณะสงฆ์สองกลุ่มน้ีได้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างความยุ่งยาก สับสนทางโครงสร้างของคณะสงฆ์ ซ่ึงสมัยด้ังเดิมแท้มีการรวมเป็นกลุ่มเพียงนิกาย เดียวเท่านั้น หลักฐานส่วนใหญ่ไม่เน้นกล่าวถึงก�ำเนิดของคณะสงฆ์สองกลุ่มน้ีนัก เพียง ชี้บอกว่ามีการรวมตัวกันปรากฏเป็นรูปร่างในรัชสมัยของพระเจ้าวิชัยพาหุท่ี ๓ (พ.ศ.๑๗๗๕-๑๗๗๙)๒ จุดก�ำเนิดของคณะสงฆ์ทั้งสองกลุ่มคงต้องย้อนรอยถอยหลัง ไปยุคแรกเริ่มสมัยพุทธกาล ซึ่งหลักฐานระบุว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ล้วนอยู่อาศัยใกล้ หมู่บ้านหรือศูนย์กลางชุมชน พระสงฆ์ผู้สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร (อรัญญิกังคะ) ก็มีก�ำเนิดมาต้ังแต่ยุคพุทธกาลเฉกเช่นเดียวกัน๓ คัมภีร์จุลวรรคแห่งวินัยปิฎกยืนยัน ถงึ การมอี ยดู่ งั กลา่ ววา่ สมยั พทุ ธกาลพระสงฆห์ มใู่ หญผ่ ยู้ นิ ดใี นปา่ ตา่ งชนื่ ชมแลสมาทาน พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ พระสงฆ์ผู้อยู่ป่าเมื่อจ�ำต้องเดินทางเข้าหมู่บ้าน ควรถอดรองเท้าและเปล้ืองผ้าออกแล้วห่มผ้าสามผืน (ติมัณฑะละ)๔ และขณะเดิน ท่ามกลางบ้านควรส�ำรวมด้วยการปิดส้นเท้า ต้องพิจารณาดูน�้ำด่ืม น�้ำล้าง ไม้สีไฟ และตรวจสอบเสบยี งสำ� หรบั เดนิ ทางวา่ พรอ้ มแลว้ หรอื ยงั สงิ่ ควรเรยี นรสู้ องอยา่ งอน่ื อกี คือควรรู้เรื่องฤกษ์ยาม (นักขัตตปทานิ) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และควรรอบรู้ เรื่องโชคชะตาราศี (ทิสากุสเลนะ ภาวิตัพพัง)๕

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 9 พระสงฆ์ผู้อยู่ป่าพากันละเว้นข้อส�ารวมระวังตามพุทธบัญญัติ ซึ่งเป็นเหตุผล หนง่ึ ทเี่ ปน็ รากเหงา้ แหง่ ความเสอื่ มโทรมของพระศาสนาอนั สบื ทอดมาจากการสงั คายนา คร้ังที่ ๒ ซ่ึงจัดขึ้นท่ีเมืองไพศาลี ประมาณหน่ึงศตวรรษภายหลังพุทธปรินิพาน๖ หลักฐานส่วนน้ีแสดงให้เห็นว่าก่อนพระพุทธศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ยังเกาะลังกา พระสงฆ์ผู้อยู่ป่าในดินแดนชมพูทวีปได้มีรูปแบบแยกกันออกอย่างชัดเจน อาจเป็นไป ได้ว่าพระสงฆ์ผู้ชื่นชอบการอยู่สันโดษปฏิบัติธรรมตามป่าเขา ย่อมมีความแตกต่างจาก พระสงฆ์ผู้อยู่อาศัยตามบ้าน คาดเดาเอาว่าพระสงฆ์เหล่าน้ีเรียกว่าพระป่า ส�าหรับเกาะลังกาน้ันหลักฐานกล่าวถึงคณะสงฆ์สองกลุ่มน้ีเป็นครั้งแรกใน คมั ภรี ม์ หาวงศ์ ซงึ่ บรรยายเกย่ี วกบั พระราชกรณยี กจิ ดา้ นศาสนาของพระเจา้ ลญั ชตสิ สะ (พ.ศ.๔๒๔-๔๓๔) โดยระบุว่าพระองค์โปรดให้สร้างอริฏฐวิหารและกุญชรหีนกวิหาร อีกทั้งแจกจ่ายเภสัชมอบถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่อาศัยตามบ้านด้วย พระราชกรณียกิจ ของพระองค์ดังกล่าวนี้สามารถบ่งช้ีว่าพระสงฆ์มีสองกลุ่ม โดยเฉพาะพระสงฆ์ท่ีได้รับ พระราชทานเภสัชก็บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นผู้พ�านักพักอาศัยตามหมู่บ้าน การวินิจฉัย เช่นน้ีมีหลักฐานสนับสนุนจากรายละเอียดเก่ียวกับอริฏฐวิหาร ซึ่งสันนิษฐานว่าต้ังอยู่ ที่อริฏฐบรรพต (ปัจจุบันเรียกว่าริฏิคะละ)๗ อันเป็นสถานที่พักอาศัยอันโด่งดังของ พระสงฆ์ฝ่ายวนวาสี ลักษณะพิเศษของพระสงฆ์ผู้อยู่ตามหมู่บ้านช้ีให้เห็นว่าแม้ กุณชรหีนกวิหารก็เป็นสถานที่อยู่ของพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสี หากเป็นเช่นนั้นคณะสงฆ์ สองกลุ่มดังที่วิเคราะห์มาก็แยกกันเป็นสองกลุ่มอย่างเด่นชัดต้ังแต่พุทธศตวรรษท่ี ๗ ดังเช่น มิหินตะเล (เจติยบรรพต) เวสสคิริ สิตุลเพาวะ (จิตตลบรรพต) ปิดุลาคะละ ระชะคะละ ตันติริมาเล เป็นต้น อารามวิหารเหล่าน้ีล้วนเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานอันข้ึนช่ือตั้งแต่ยุคแรกเร่ิม ไกเกอร์แสดงความเห็นว่าวนวาสีนิกายจากแคว้นกาลิงคะและแคว้นโจฬะเข้า สู่เกาะลังกาในรัชสมัยของพระเจ้าอัคคโพธิท่ี ๑ (พ.ศ.๑๑๑๔-๑๑๔๗)๘ แต่ไม่ได้ระบุ หลักฐานเพ่ือสนับสนุนความคิดแห่งตน ส่วนมาลาลาเสเกราเห็นว่า พระสงฆ์ฝ่าย วนวาสีมีกล่าวถึงคร้ังแรกสมัยพระเจ้าอัคคโพธิท่ี ๒ (พ.ศ.๑๑๔๗-๑๑๕๗) เม่ือกษัตริย์ แห่งแคว้นกาลิงคะได้เดินทางมาเกาะลังกาแล้วผนวชกับพระโชติปาลเถระ๙ มีหลักฐาน

10 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง ปรากฏว่าคณะสงฆ์สองกลุ่มนี้เกิดมีแล้วก่อนคริสตกาล การยืนยันว่าพระสงฆ์ฝ่าย วนวาสีเพิ่งมีคร้ังแรกสมัยพระเจ้าอัคคโพธิที่ ๒ จึงไม่สมเหตุสมผล คัมภีร์จุลวงศ์กล่าวถึงคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสีค่อนข้างบ่อยจนส้ินสุดอาณาจักร อนุราธปุระ โดยเน้นย้�าว่าพระเจ้ากัสสปะท่ี ๔ (พ.ศ.๑๔๔๑-๑๔๕๗) และพระนางเทวา ผู้เป็นมารดาของสักกเสนาบดีโปรดให้สร้างท่ีอยู่อาศัยแด่พระสงฆ์ผู้อยู่ป่า๑๐ พระเจ้า มหินทะท่ี ๔ (พ.ศ.๑๔๙๙-๑๕๑๕) โปรดให้ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ฝ่ายวนวาสี เป็นนิตย์๑๑ และโปรดให้พระทาฐานาคเถระผู้อยู่ป่าแสดงพระอภิธรรมให้ฟังด้วย๑๒ พระสงฆ์กลุ่มหน่ึงนามว่าปังสุกุลิกา หมายถึงผู้ห่มผ้าบังสุกุลก็จัดเป็นพระสงฆ์ฝ่าย วนวาสีเช่นกัน พระเจ้าเสนะที่ ๑ (พ.ศ.๑๓๗๗-๑๓๙๖) โปรดให้สร้างอารามบน อริฏฐบรรพตมอบถวายแก่สงฆ์กลุ่มน้ี๑๓ หลักฐานอีกส่วนหน่ึงบอกว่าสมัยพระเจ้า อุทยะน้ันพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสีกลุ่มหน่ึงอยู่อาศัยท่ีตโปวนะ๑๔ หลักฐานเหล่านี้แสดง ให้เห็นว่าพระสงฆ์ผู้อยู่ป่าได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายจนถึงคราวล่มสลายของอาณาจักร อนุราธปุระ คณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสีเริ่มปรากฏเห็นเป็นองค์กรทรงอิทธิพลต่อคณะสงฆ์ ท้ังมวลสมัยอาณาจักรโปโฬนนารุวะ ล่วงเข้าสมัยอาณาจักรโปโฬนนารุวะพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชได้ทรงรวม คณะสงฆ์สามนิกายให้เป็นหน่ึงเดียวและตรากฎข้อบังคับเรียกว่าโปโฬนนารุกติกาวัตร สมัยน้ันพระทิมบุลาคละมหากัศยปเถระ ผู้เป็นพระสงฆ์หัวหน้าฝ่ายวนวาสีได้ด�ารง ต�าแหน่งชั้นสูงสุดทางคณะสงฆ์๑๕ เหตุเพราะมีคุณธรรมงดงามสมบูรณ์พร้อมด้วย ศีลาจารวัตร๑๖ พระเถระได้รับการยอมรับว่าแตกฉานด้านหลักค�าสอนแลเสมอด้วย คณุ ธรรมเทา่ เทยี มกนั ๑๗ การทพี่ ระเถระขนึ้ รง้ั ตา� แหนง่ หวั หนา้ คณะสงฆต์ ลอดสงั ฆมณฑล ในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ แสดงให้เห็นว่าคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสีได้รับการยอมรับ นับถือตลอดเกาะลังกา หลักฐานบอกว่าหลังจากพระเจ้าปรากรมพาหุได้รวบรวม คณะสงฆ์สามนิกายให้เป็นหน่ึงเดียวแล้ว ความแตกต่างด้านนิกายได้หายไป ท�าให้ คณะสงฆ์สองกลุ่มเกิดพัฒนาการหลอมรวมเป็นเนื้อเดียว

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 11 การตรวจสอบวิธีการรวมคณะสงฆ์เป็นหนึ่งเดียวน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง คัมภีร์จุลวงศ์ซึ่งอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิรูปศาสนาระบุว่าพระสงฆ์ ท้ังสามนิกาย กล่าวคือ ส�านักมหาวิหาร ส�านักอภัยคิรีวิหาร และส�านักเชตวันวิหาร ซ่ึงไม่ลงรอยกัน ได้ถูกขับออกจากคณะสงฆ์๑๘ พระสงฆ์ทั้งมวลแห่งส�านักอภัยคิรีวิหาร และส�านักเชตวันวิหารล้วนมีความผิด บางส่วนถูกขับออกจากคณะสงฆ์ บางส่วน อนุญาตให้คงภาวะเป็นสามเณร๑๙ คณะสงฆ์ทั้งสองกลุ่มได้ลดบทบาทลง อีกทั้งไม่มี พระเถระผู้ใหญ่ท�าหน้าที่สืบต่อประเพณีจึงไม่สามารถอยู่ร่วมกันดังอดีต๒๐ ด้วยเหตุนั้น สา� นกั มหาวหิ ารจงึ ดดู กลนื สา� นกั อนื่ หลกั ฐานจากโปโฬนนารกุ ตกิ าวตั รอา้ งวา่ หนงึ่ นกิ าย มาจากสามนิกายนั้นเอง๒๑ จารึกกัลยาณีก็อ้างถึงเช่นเดียวกัน๒๒ หลังจากฟื้นฟูพระศาสนาครั้งน้ีแล้วก็คงเหลือเพียงธรรมเนียมของส�านัก มหาวิหารที่ยอมรับว่าถูกต้องตามพุทธประเพณี อย่างไรก็ตามความตึงเครียดระหว่าง นิกายก็ต้องมีการควบคุมเร่ือยมา สันนิษฐานว่าต้ังแต่น้ันเป็นต้นมาสามส�านักซึ่งมี การรวมกันเป็นองค์กรสมัยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๓ (พ.ศ.๑๗๗๕-๑๗๘๓) ได้กลายมา เป็นสองคณะแทน แม้จะเป็นความจริงว่าท้ังสองคณะมาจากนิกายเดิม แต่หลักฐาน อันเล็กน้อยของนิกายทั้งสามที่รักษาประเพณีจนถึงยุคต่อมาได้พยายามสนับสนุน หลักฐานอ้างอิงว่า นิกายเหล่าน้ันยังคงมีการด�ารงรักษาธรรมเนียมสืบต่อ แต่หาก สืบสวนข้อมูลแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เป็นจริงตามน้ัน จารึกศิลาแห่งดัมบุลละของพระเจ้านิสสังกมัลละอ้างว่าพระองค์โปรดให้ รวบรวมทั้งสามนิกายซึ่งแตกแยกแบ่งกลุ่มเป็นเวลายาวนาน๒๓ จารึกอีกแห่งหน่ึงจาก รัมภาวิหารของกษัตริย์พระองค์เดียวกันก็บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงสร้างความเช่ือม่ัน ด้วยการรวบรวมคณะสงฆ์ทั้งสามนิกายให้เป็นหน่ึงเดียว๒๔ เนื้อหาที่ระบุไว้ในจารึก อันก่อนชี้ว่า คณะสงฆ์สามกลุ่มได้แตกแยกกันเป็นเวลาเน่ินนาน ก่อนนั้นพระองค์ ไม่สามารถรวบรวมได้ เพราะพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๑ ได้รวบคณะสงฆ์ทั้งสามกลุ่ม เรียบร้อยแล้ว๒๕ การรวมกันเป็นนิกายเดียวเหมือนการรักษาสืบต่อเรื่อยมาระหว่าง รัชสมัยของพระองค์ แต่ไม่มีหลักฐานช้ีบอกว่าการรวมคณะสงฆ์คร้ังนี้ได้กลายเป็น ความแตกแยกภายในหรือไม่ มีความเป็นไปได้ว่าคณะสงฆ์อาจเกิดพัฒนาการ

12 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง จนตึงเครียด ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๑ จึงเป็นเหตุให้ พระเจ้านิสสังกมัลละต้องรวบรวมนิกายสงฆ์อีกคร้ังหน่ึง เห็นสมควรศึกษาให้รู้แน่นอนก่อนว่าหลักฐานกล่าวถึงพระองค์ว่าโปรดให้ รวบรวมคณะสงฆ์สามนิกายเป็นจริงหรือไม่ หากพระองค์รวบรวมคณะสงฆ์สาม นกิ ายจรงิ ยอ่ มทา� ใหพ้ ระองคเ์ ปน็ พระมหากษตั รยิ พ์ ระองคส์ ดุ ทา้ ยทป่ี ระสบความสา� เรจ็ ในการรวมคณะสงฆ์สามนิกายเป็นหนึ่งเดียว ซ่ึงอาจเป็นหลักฐานสนับสนุนความมีอยู่ เร่ืองการแตกแยกของสามนิกายยุคต่อมา แต่การกล่าวอ้างของพระองค์ไม่มีหลักฐาน ยืนยันแม้จากต�านาน ดูเหมือนว่าผู้บันทึกเหตุการณ์ทางศาสนาอาจละเลยเหตุการณ์ ดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มพระสงฆ์แห่งส�านักอภัยคิรีวิหารและส�านักเชตวันวิหาร ท่ีได้รับราชานุญาตให้คงเพศเป็นสามเณรและด�ารงอยู่จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้า นิสสังกมัลละ คงได้รับความเมตตาจากพระองค์ พระสงฆ์กลุ่มนี้ล้วนไม่มีอ�านาจทาง การเมืองที่จะด�าเนินการเช่นน้ัน เพราะถูกถอดยศมีฐานะเป็นเพียงสามเณร๒๖ หากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดข้ึนระหว่างรัชสมัยของพระองค์จริง ย่อมเป็นเรื่องยุ่งยากที่ จะอธิบายว่าเหตุการณ์น้ีถูกนักเขียนยุคกลางละเลยได้อย่างไร คัมภีร์ดาฬดาสิริตะระบุว่าพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒ (พ.ศ.๑๗๘๓-๑๘๑๓) โปรดให้รวบรวมมหาสงั ฆะซงึ่ แตกแยกเปน็ นิกายน้อยใหญส่ มัยตน่ื กลัวทมฬิ หินชาติ๒๗ แต่ไม่ได้ระบุเรื่องนิกายเหล่านี้ คัมภีร์ปูชาวลิยะและคัมภีร์จุลวงศ์เองก็กล่าวถึงคณะ สงฆ์สองส�านักเช่นกัน๒๘ คัมภีร์ดาฬดาสิริตะยืนยันเช่นเดียวกันแม้อาจพล้ังเผลอใช้ ศัพท์ว่านิกายก็ตาม คัมภีร์ปูชาวลิยะได้พรรณนาถึงพระราชกรณียกิจมากมายของ พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๔ (พ.ศ.๑๘๑๓-๑๘๑๕) เฉพาะด้านศาสนานั้นระบุว่าทรงจัดแจง ความสะดวกสบายตามสถานที่กราบไหว้บูชาซึ่งเป็นของสามนิกาย (ตุนนกาเยหิ)๒๙ หลกั ฐานอา้ งองิ เชน่ นกี้ ร็ ะบเุ พยี งโครงสรา้ งทางศาสนา ซงึ่ เปน็ ประเพณขี องนกิ ายทงั้ สาม ต้ังแต่ยุคเริ่มต้น อรรถาธิบายดังกล่าวไม่สามารถสรุปได้ว่าสมัยนั้นมีสามนิกายจริง หรือไม่

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 13 ธรรมเนียมพระปาวนวาสี ช่ือของอายตนะหลายแห่งมีกล่าวถึงในหลักฐานสมัยน้ีเช่นกัน บรรดาอายตนะเหล่านั้น อุตตโรมูละ เสลันตรสมูหะ และมหาเนตตปาสา ทายตนะ มีต้นก�าเนิดมาจากส�านักอภัยคิรีวิหาร ส่วนเสนาปติมูละมาจากส�านักเชตวัน วิหารต้ังแต่สมัยอนุราธปุระ๓๐ การอ้างถึงอายตนะท้ังสามของยุคนี้เหมือนช้ีให้เห็นถึง ความมีอยู่ของนิกาย ซ่ึงสถาบันการศึกษาเหล่านั้นสังกัดอยู่ แต่น่าเสียดายว่าสถาบัน เหล่าน้ีไม่มีความเกี่ยวข้องกับนิกายเลย การอ้างถึงอายตนะจึงไม่สามารถยืนยันถึง การมีอยู่ของนิกายได้ และหากมีเรื่องราวเก่ียวกับพระสงฆ์ยุคนี้ ส�านักอภัยคิรีวิหาร และส�านักเชตวันวิหารก็ไม่มีการกล่าวถึงเลย หลักฐานเบื้องต้นชี้บอกว่าหลังจากรวมสามนิกายเป็นหนึ่งเดียวสมัยพระเจ้า ปรากรมพาหุท่ี ๑ (พ.ศ.๑๖๙๖-๑๖๗๕) หมู่คณะของแต่ละนิกายก่อนหน้าน้ีก็ถึงคราว อวสาน และหลังจากน้ันคณะสงฆ์ได้รวมตัวกันเป็นสองกลุ่มใหญ่ การวิเคราะห์เช่นน้ี พยายามอธิบายถึงรูปแบบการสืบค้นท่ีถูกต้องซ่ึงพยายามสนับสนุนวิธีการใหม่ โปโฬนนารุกติกาวตั รระบุว่าจดุ ประสงคอ์ ยา่ งหนงึ่ ของการออกกฎข้อบงั คับคอื เพื่อเป็นเครื่องมือเชิงโครงสร้าง และประสงค์ให้พระสงฆ์ด�าเนินชีวิตตามแนวทางแห่ง คนั ถธรุ ะหมายถงึ มหี นา้ ทศี่ กึ ษาพระธรรมคมั ภรี ์ และวปิ สั สนาธรุ ะหมายถงึ การปฏบิ ตั ธิ รรม เพ่ือความมั่นคงยาวนานของพระศาสนา๓๑ คัมภีร์อังคุตตรนิกายก็ยืนยันหลักฐาน เช่นเดียวกันน้ี๓๒ จารึกแผ่นศิลาของพระเจ้านิสสังกมัลละก็แนะน�าให้พระสงฆ์ยึดมั่น ในธุระสองประการน้ัน๓๓ การด�าเนินชีวิตตามหลักคันถธุระน้ัน พระสงฆ์ต้องมีหน้าท่ี ศึกษาและสนใจเทศนาธรรม อีกท้ังสวดพระปริตร เป็นต้น หากประพฤติตนเช่นน้ี ช่ือว่าผูกพันใกล้ชิดกับสังคม วิถีชีวิตจึงเชื่อมโยงสอดคล้องกับพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสี คัมภีร์อรรถกถากล่าวว่าพระสงฆ์ฝ่ายคันถธุระไม่ชื่นชอบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่กติกาวัตรระบุว่าพระสงฆ์ท้ังหมดไม่ว่ารับหน้าท่ีใดจ�าต้องฝกวิปัสสนากรรมฐาน วันละสามเวลา๓๔ หลักฐานท้ังสองแห่งเห็นตรงกันว่าสารัตถะของพระสงฆ์ยุคนี้คือ การสนใจการศึกษา

14 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง คัมภีร์อรรถกถาสุตตนิบาตกล่าวถึงพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีนามว่าวาสธุรเถระ๓๕ ซ่ึงพ�านักอาศัยกับอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นระยะเวลา ๕ ปี เพ่ือปฏิบัติตามหน้าที่ ของศิษย์ (วัตตปฏิวัตตะ) และเรียนรู้พระปาฏิโมกข์และสองภาณวารหรือสามภาณวาร หลังจากนั้นต้องปฏิบัติธรรมตามหลักสูตรวิปัสสนา๓๖ โปโฬนนารุกติกาวัตรอธิบายว่า พระสงฆฝ์ า่ ยวปิ สั สนาธรุ ะตอ้ งเสยี สละเวลาทง้ั หมดทง้ั สนิ้ เพอ่ื ปฏบิ ตั วิ ปิ สั สนากรรมฐาน หลังจากจบหลักสูตรการศึกษาแล้ว อาจจะเป็นระยะเวลาประมาณ ๕ ปี๓๗ สันนิษฐาน ว่าพระสงฆ์ผู้ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้แยกตัวอยู่โดดเดียว และอาจ จะชื่นชอบฝ่ายวนวาสีมากกว่าคามวาสี แต่หลักฐานสมัยเดียวกันน้ีแสดงว่ายุคกลาง น้ันไม่มีความแตกต่างเร่ืองรูปแบบการด�าเนินชีวิตของพระสงฆ์ทั้งสองกลุ่ม๓๘ อาจเป็น ไปไดว้ า่ ผอู้ อกกฎระเบยี บโปโฬนนารกุ ตกิ าวตั รตอ้ งการยา้� เตอื นใหพ้ ระสงฆท์ งั้ สองกลมุ่ เดินตามธุระท้ังสอง จึงกระทบต่อโครงสร้างวิถีชีวิตของกลุ่มแห่งตนเป็นธรรมดา ศาสโนบายของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒ ก็มีสารัตถะทางโครงสร้างคล้ายคลึงกัน หลังจากจัดแจงการรวมคณะสงฆ์แล้ว พระองค์ได้นิมนต์พระสงฆ์ท้ังฝ่าย คามวาสีและฝ่ายอรัญวาสีมาประชุมกัน เพ่ือหาแนวทางพัฒนาให้ก่อเกิดความดีงาม แกพ่ ระศาสนา คมั ภรี จ์ ลุ วงศร์ ะบวุ า่ พระองคโ์ ปรดใหส้ รา้ งอารามปา่ บนยอดเขาปฏุ ภตั ตเสละ (ภาษาสิงหลเรียกว่าปลาพัตคะละ) มอบถวายแด่พระสงฆ์ผู้ต้องการฝกฝนและด�ารง ความบริสุทธ์ิแห่งพระธรรมวินัย อีกท้ังเป็นแหล่งรวมพระสงฆ์นักปราชญ์ตลอดท้ัง คัมภีร์ส�าคัญท่ีหายากท่ีน�ามาจากชมพูทวีป พระสงฆ์ลังกาต่างได้รับการส่ังสอนตาม คัมภีร์ส�าคัญ ดังเช่น ตรรกศาสตร์ ไวยากรณ์ เป็นต้น และได้รับการฝกฝนจนกลาย เป็นนักปราชญ์ ด้วยวิธีน้ีพระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดให้ขยายภาคปฏิบัติและภาคปริยัติข้ึน อีก๓๙ หลกั ฐานดงั กล่าวชใี้ ห้เหน็ ว่าพระสงฆ์ผู้ฝกฝนเพ่ือบรรลธุ รรมล้วนพ�านักพกั อาศัย ในอารามป่าของคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี ซึ่งมากมีด้วยพระสงฆ์ที่ผ่านการร่�าเรียนภาค ปริยัติมาแล้ว แม้คณะสงฆ์สองกลุ่มจะไม่มีความคล้ายคลึงกันด้านธุระทั้งสองเลย อีกด้านหน่ึงบ่งช้ีว่าคณะสงฆ์ทั้งสองกลุ่มมีพัฒนาการเรื่อยมาต้ังแต่ยุคแรกเร่ิม เม่ือ แต่ละนิกายหลอมรวมเข้ากับธุระท้ังสองแล้วสร้างอัตลักษณ์แห่งตน จึงก่อเกิดพัฒนา รุดหน้ามากขึ้น

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 15 คัมภีร์หลายเล่มระบุถึงความร่วมมือกันของพระสงฆ์ทั้งสองกลุ่ม เน่ืองจาก ยงั มพี ระสงฆบ์ างรปู ทดี่ า� เนนิ ชวี ติ ไมเ่ หมาะสมหรอื ประพฤตนิ อกรตี อกี ทง้ั มบี รรทดั ฐาน แบบใหมท่ คี่ ณะสงฆต์ อ้ งทราบ เดาเอาวา่ พระสงฆฝ์ า่ ยวนวาสลี ว้ นฝก ฝนอยา่ งเครง่ ครดั เพื่อบรรลุมรรคผล ขณะที่พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีต่างมุ่นมั่นด้านส่งเสริมปัญญา หลักฐาน ส่วนน้ีสันนิษฐานโดยอาศัยพ้ืนฐานจากการวิเคราะห์ สมัยนี้มีพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสี บางรูปท่ีมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะพระนักปราชญ์มากกว่าผู้อุทิศด้านวิปัสสนาภาวนา เริ่มต้นจากพระสีลวังสธรรมกีรติเถระแห่งส�านักปลาพัตคะละฝ่ายวนวาสี พระเถระรูปน้ีได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทรงภูมิความรู้มากกว่าอุทิศตนเพื่อบรรลุ ธรรม คัมภีร์สัทธรรมาลังการยะยกย่องท่านว่าเป็นพระเถระผู้เปียมด้วยเมตตา ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก อุทิศแรงกายถวายพระศาสนา เช่ียวชาญอักษรเชิงตรรกะ กอปรธรรมสัมมาปฏิบัติ และเช่ียวชาญด้านไวยากรณ์๔๐ รูปแบบเช่นนี้ไม่ถือว่า เป็นลักษณะของพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสี พระเถระรูปต่อมาที่สืบทอดสายธรรมกีรติคือ พระชัยพาหุธรรมกีรติเถระและพระวิมลติธรรมกีรติเถระ พระเถระเหล่าน้ีล้วน ข้ึนชื่อด้านคันถธุระเช่นเดียวกัน๔๑ แต่หากอาศัยเพียงคุณลักษณะเช่นว่านี้ ย่อมไม่ สามารถพิสูจน์ถึงอัตลักษณ์ของคณะสงฆ์แต่ละกลุ่มได้ อาจมีคนเห็นแย้งว่าอาศัยความผูกพันระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ก็สามารถ ก�าหนดอัตลักษณ์พ้ืนฐานของคณะสงฆ์ได้ แต่ก็เป็นเรื่องยากนักเพราะมีข้อยกเว้น มากมาย ตัวอย่างเช่น พระสังฆรักขิตมหาสามีสังกัดฝ่ายคามวาสีอ้างว่าพระอรัญญก เมธังกรเถระแห่งวนวาสเี ป็นศษิ ย์ของท่าน๔๒ อกี แหง่ หน่งึ ระบุวา่ พระสังฆรกั ขติ มหาสามี และพระสุมังคลเถระแห่งนันทีปริเวณะอ้างว่าพระสารีบุตรเถระเป็นอาจารย์ของตน๔๓ พระสังฆรักขิตมหาสามีรูปน้ีสังกัดฝ่ายคามวาสี ส่วนพระสุมังคลเถระสังกัดฝ่ายวนวาสี ด้วยเหตุน้ันความสัมพันธ์ของอาจารย์กับศิษย์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่จ�าเป็นต้อง ยืนยันว่าเป็นกลุ่มเดียวกันเสมอไป

16 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง มีพระสงฆ์หลายรูปที่มีนามปรากฏว่าวนรัตน์ ค�าว่าวนรัตน์๔๔ แปลว่า อัญมณี แห่งป่า เป็นชื่อท่ีเหมาะกับพระป่าวนวาสี พระสงฆ์ผู้มีนามดังกล่าวจึงเป็นพระสงฆ์ ฝ่ายวนวาสี จึงเห็นควรอธิบายเก่ียวกับคณะสงฆ์ฝายวนวาสี พระเมธังกรเถระแห่งวัดอุทุมพรคิรี (ทิมบุลาคละ) ผู้ร้ังต�าแหน่งหัวหน้าสงฆ์ ฝ่ายวนวาสีในรัชสมัยของพระเจ้าวิชัยพาหุท่ี ๓๔๕ ชื่อว่าเป็นหน่ึงในพระสงฆ์ผู้ใหญ่ ซึ่งโด่งดังสมัยนี้ ดัมพเดณิกติกาวัตรระบุว่าท่านเป็นหัวหน้าพระสงฆ์แห่งวนวาสี ผู้มี ส่วนร่วมในการออกกฎระเบียบชื่อว่าวิชัยพาหุกติกาวัตร คัมภีร์ขุททสิกขาฎีกาและ คัมภีร์สัมพันธจินตาระบุว่าขณะด�ารงต�าแหน่งหัวหน้าสงฆ์แห่งทิมบุลาบรรพต พระ เมธังกรเถระได้ช่วยเหลือพระสังฆรักขิตมหาสามีแห่งคามวาสีช�าระพระศาสนา๔๖ พระอานนท์เถระผู้แต่งคัมภีร์ปทสาธนสันนยะได้ยกย่องพระเมธังกรเถระแห่งทิมบุลา บรรพตผู้เป็นครูแห่งตนว่าเป็นพระเถระผู้ยิ่งใหญ่ (มหายติ) และกล่าวถึงพระสังฆ รักขิตเถระว่าด�ารงต�าแหน่งเป็นมหาสามี๔๗ รายละเอียดในดัมพเดณิกติกาวัตรอ้าง ศัพท์ว่ามหายติ ตรงกับค�าว่ามหาเถระหรือพระเถระผู้ใหญ่ สมัยการสังคายนาพระศาสนาโดยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ (พ.ศ.๑๗๙๓) พระองค์โปรดให้แต่งต้ังต�าแหน่งมหาสามีแก่พระอรัญญกเมธังกรเถระ ผู้เป็นศิษย์ ผู้ใหญ่ของพระวนรัตนพุทธวังสะ๔๘ สันนิษฐานว่าท่านเป็นรูปเดียวกันกับพระเมธังกร แห่งทิมบุลาคละ ซ่ึงร้ังต�าแหน่งหัวหน้าคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี อีกทั้งด�ารงต�าแหน่ง มหาสถวีระในรัชสมัยของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๓ เหตุเพราะทรงภูมิธรรมฉลาดสามารถ ท่านอาจจะด�ารงต�าแหน่งมหาสามีต่อจากพระสังฆรักขิตมหาสามีผู้มรณภาพล่วงแล้ว และสมญานามว่าอรัญญกเมธังกรเถระน่าจะเกิดข้ึนภายหลัง หลักฐานบอกว่าไม่มี พระเถระรปู ใดรง้ั ตา� แหนง่ มหาสามหี ลงั จากมรณกรรมของพระสงั ฆรกั ขติ เถระ นอกจาก ความโด่งดังแพร่หลายของพระอรัญกเมธังกรเถระเท่าน้ันท่ีปรากฏเห็นตามคัมภีร์ น้อยใหญ่

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 17 ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าพระเจ้าวิชัยพาหุท่ี ๓ ได้ทรงท�าสังคายนาพระศาสนา หรือไม่ ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณพุทธศักราช ๑๗๗๕-๑๗๘๓๔๙ การสงั คายนาพระศาสนาของพระเจา้ ปรากรมพาหทุ ่ี ๒ จดั ขนึ้ ในปพี ทุ ธศกั ราช ๑๗๙๕๕๐ กฎระเบียบกติกาวัตรระบุว่าพระเถระผู้สามารถข้ึนรั้งต�าแหน่งมหาสามีต้องครบ ๔๐ พรรษา หลังจากอุปสมบทขณะอายุครบ ๒๐ ปี๕๑ หรือว่าพระอรัญญกเมธังกรเถระ มีอายุเกิน ๕๐ พรรษาระหว่างพุทธศักราช ๑๗๖๕-๑๗๗๙ จึงไม่น่าเป็นไปได้ว่า ท่านมีชีวิตเกินพุทธศักราช ๑๗๙๕ ด้วยเหตุน้ันช่องว่างเวลาจึงไม่จ�าเป็นต้องพูดถึง ยกเว้นยอมรับว่าพระเมธังกรแห่งทิมบุลาคละและพระอรัญญกเมธังกรเถระเป็น รูปเดียวกัน หลักฐานอีกแห่งหน่ึงโต้แย้งว่าพระวนรัตนพุทธวังสเถระผู้เป็นอาจารย์ ของพระอรญั ญกเมธงั กรเถระมชี วี ติ สมยั อาณาจกั รโปโฬนนารวุ ะหรอื ตอนตน้ อาณาจกั ร ดัมพเดณิยะ นามหรือฉายาวนรัตนะอาจเป็นข้อสังเกตว่าท่านสังกัดคณะสงฆ์วนวาสี พระพทุ ธทตั ตเถระบอกวา่ พระอรญั ญกเมธงั กรเถระกบั พระวนรตั นเมธงั กรเถระ เป็นผู้แต่งคัมภีร์ปโยคสิทธิ เป็นผู้ถือก�าเนิดจากวงศ์อันไร้มลทิน และสืบสายมาจาก พระสุมังคลมหาเถระแห่งโธมโดณิวิหาร๕๒ พระวนรัตนเมธังกรเถระน้ันสืบเชื้อสายวงศ์ แห่งพระสุมังคลเถระ เพราะมีประเด็นให้สังเกตคือ ๑) พระสุมังคลเถระมีพรรษาแก่ กว่าพระเมธังกรเถระ และ ๒) ท่านมีชื่อเสียงเป็นท่ีรู้จักแพร่หลายกว่าพระเมธังกรเถระ คมั ภรี ป์ โยคปสทิ ธริ ะบวุ า่ พระสมุ งั คลเถระมชี วี ติ อยใู่ นรชั สมยั ของพระเจา้ ภวู เนกพาหุ๕๓ ผเู้ ป็นพระราชโอรสของกษัตรยิ พ์ ระนามว่าปรากรมพาหุ ดูเหมอื นวา่ พระเจา้ ภวู เนกพาหุ เป็นกษัตริย์พระองค์แรกท่ีใช้พระนามนี้๕๔ หากถือเอาตามมติเบื้องต้นพระวนรัตน เมธังกรเถระต้องเป็นรุ่นเดียวกันกับพระสุมังคลเถระหรือมีพรรษามากกว่าเป็นแน่ เพราะมีหลักฐานว่าพระอารัญกเมธังกรเถระไม่มีชีวิตอยู่หลังจากพุทธศักราช ๑๗๙๕ เหตุเพราะต่อมากษัตริย์พระองค์เดิมโปรดให้แต่งต้ังต�าแหน่งมหาสามีแก่พระเถระ นามว่าอโนมัสสีเถระ๕๕ หลักฐานส่วนนี้จึงพิสูจน์ได้ว่าพระวนรัตนเมธังกรเถระเป็น พระอรัญกเมธังกรเถระแน่นอน อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพระมหาสามีรูปนี้โด่งดัง มากกว่าพระสุมังคลมหาสถวีระ ด้วยเหตุน้ันจึงมีการกล่าวถึงศิษย์มากกว่าอาจารย์

18 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง ยงั มพี ระเมธงั กรเถระอกี รปู หนงึ่ ซง่ึ มชี วี ติ อยรู่ ะหวา่ งรชั สมยั ของพระเจา้ ปรากรม พาหุท่ี ๔ (พ.ศ.๑๘๔๕-๑๘๖๙) ผู้เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรกุรุแณคะละ๕๖ หลักฐานบอกว่าหลังจากโปรดให้แปลคัมภีร์ชาดกบาลีเป็นภาษาสิงหลแล้ว พระองค์ ได้มอบถวายแด่พระเถระผู้ชาญฉลาดนามว่าเมธังกร ด้วยหวังว่าพระคัมภีร์จะได้รับ การรักษาสืบต่อจากรุ่นสู่รุ่น๕๗ สันนิษฐานว่าพระเมธังกรเถระรูปน้ีอาจเป็นรูปเดียวกัน กับพระวนรัตนเมธังกรเถระ มาลาลาเสเกราเห็นว่าพระวนรัตนเมธังกรเถระผู้แต่งคัมภีร์ปโยคสิทธิเป็น รูปเดียวกันกับพระเมธังกรเถระผู้แต่งคัมภีร์ชินจริต๕๘ หลักฐานระบุว่าผู้แต่งคัมภีร์ ชินจริตพ�านักพักอาศัยปริเวณะที่สร้างถวายโดยพระเจ้าวิชัยพาหุ ผู้เป็นจอมเหนือเกล้า ของราชวงศ์๕๙ ปริเวณะแห่งน้ีน่าจะเป็นวิชัยพาหุปริเวณะแห่งหมู่บ้านโตฏคามุวะ ซ่ึงเป็นศูนย์กลางการศึกษานามอุโฆษของคณะสงฆ์คามวาสี๖๐ เมื่อผู้แต่งคัมภีร์ชินจริต ยืนยันว่าท่านสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี แต่พระวนรัตนะบอกว่าท่านเป็นธงชัยของ คณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี ด้วยเหตุน้ันจึงสันนิษฐานว่าพระวนรัตนเมธังกรเถระผู้เขียน คัมภีร์ปโยคสิทธิ เป็นคนละรูปกับพระเมธังกรเถระผู้แต่งคัมภีร์ชินจริต ส่วน พระสุมังคลเถระน้ันหากถือตามค�าอ้างของพระสังฆรักขิตมหาสามีผู้แต่งคัมภีร์ ขุททสิกขาฎีกาแล้วไซร้ก็น่าจะเป็นพระสงฆ์สังกัดคณะวนวาสี๖๑ คาถาอารัมภบทใน คัมภีร์วินยสารัตถทีปนีของพระวาจิสสรเถระ ซ่ึงเป็นศิษย์ของพระสารีบุตรเถระระบุ ว่าพระสุมังคลเถระสังกัดคณะสงฆ์อรัญวาสี เป็นอีกรูปหน่ึงซ่ึงเชิญให้ท่านแต่งคัมภีร์ เล่มนี้๖๒ ส่วนพระสุมังคลเถระแห่งนันทีปริเวณะซ่ึงเป็นผู้แต่งคัมภีร์อภิธัมมัตถวิกาสินี อนั เปน็ คมั ภรี แ์ ตง่ แกค้ มั ภรี อ์ ภธิ รรมาวตารบอกวา่ ทา่ นเปน็ ศษิ ยข์ องพระสารบี ตุ รเถระ๖๓ หากท่านเป็นศิษย์ของพระสารีบุตรเถระจริง ท่านต้องร่วมสมัยกับพระสังฆรักขิตเถระ และพระวาจิสสรเถระด้วย จึงพอยืนยันได้ว่าท่านคือพระอารัญกสุมังคลเถระ ส่วน คัมภีร์วินยวินิจฉัยฎีกาก็อ้างถึงพระสุมังคลเถระผู้อยู่อาศัยตามป่าเขา๖๔ ความจริงคือ ท่านได้รับอาราธนาจากพระสังฆรักขิตมหาสามีให้แต่งคัมภีร์ขุททสิกขาฎีกา ด้วยเหตุน้ัน จงึ สนั นษิ ฐานวา่ ทา่ นยอ่ มมชี วี ติ รว่ มสมยั กบั พระสงั ฆรกั ขติ มหาสามแี ละพระเมธงั กรเถระ

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 19 พระสงฆ์สายวนรัตนะ ส�าหรับพระเวเทหเถระผู้แต่งคัมภีร์สมันตกูฏวัณณนา คัมภีร์รสวาหินี และ คัมภีร์สีหลสัททลักขณะก็สังกัดคณะสงฆ์วนวาสีเช่นกัน๖๕ ช่วงสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ยัง เป็นท่ีถกเถียงกัน แม้มีหลักฐานส�าคัญอย่างหน่ึง แต่ก็เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตถึง ความเป็นไปได้ถึงช่วงสมัยเท่าน้ัน๖๖ หากพิจารณาตามบัญชีรายช่ือพระเถระนักปราชญ์ ผู้โด่งดังสมัยอาณาจักรโปโฬนนารุวะและสมัยน้ี คัมภีร์นิกายสังครหยะได้ระบุชื่อ พระเวเทหเถระด้วย กล่าวคือ พระสารีบุตรเถระ พระสังฆรักขิตเถระ พระสุมังคลเถระ พระวาจิสสรเถระ พระธรรมกีรติเถระ พระนาคเสนเถระ พระอานันทเถระ พระเวเทห เถระ พระพุทธัปปิยเถระ และพระอโนมทัสสีเถระ จึงสามารถยืนยันแน่นอนว่า พระนักปราชญ์ผู้เรืองนามที่กล่าวถึงเบื้องต้นมีชีวิตอยู่ภายหลังพระสารีบุตรเถระ๖๗ หากตรวจสอบรายช่ือตามต�านานหรือเรียงตามล�าดับพรรษาก็จะเห็นว่าพระเวเทหเถระ เป็นพระรุ่นหลังพระอานนท์เถระหรือพระสังฆรักขิตเถระเป็นต้น แต่บางทีท่านอาจเป็น พระหนุ่มร่วมสมัยกับพระเถระหลายรูป คัมภีร์สมันตกูฏวัณณนาและคัมภีร์รสวาหินี บอกว่าครูของพระเวเทหเถระช่ือว่าอานนท์ผู้เป็นอัญมณีแห่งป่า (อรัญญรัตนานันทะ)๖๘ ลูกศิษย์อีกรูปหนึ่งของพระอานนท์เป็นผู้แต่งคัมภีร์สารัตถสมุจจยะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ แต่งแก้คัมภีร์จตุภาณวารบาลีก็ระบุช่ือของพระอานนท์ว่าเป็นอาจารย์แห่งตนด้วย๖๙ หากระบอุ ายขุ องพระอานนทเ์ ถระกส็ ามารถคาดคะเนอายขุ องพระเวเทหเถระไดเ้ ชน่ กนั ยังมีพระอานนท์อีกรูปหนึ่งซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นธงชัยแห่งตัมพปัณณิ อ้างถึงโดยพระพุทธัปปิยเถระซ่ึงเป็นผู้แต่งคัมภีร์รูปสิทธิ๗๐ จารึกของพระนางสุนทร มหาเทวีผู้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าวิกรมพาหุท่ี ๑ (พ.ศ.๑๖๕๔-๑๖๗๕) ได้สรรเสริญ พระอานนท์เถระว่าเป็นธงชัยท่ีชูขึ้นเหนือแผ่นดินลังกา๗๑ ความคล้ายคลึงกันของศัพท์ ซึ่งพรรณนาถึงพระเถระท้ังสองรูปได้รับการยกย่องเช่นเดียวกัน จึงต้ังข้อสังเกตว่า ต้องเป็นพระรูปเดียวกันเป็นแน่ ปรณวิตานะยืนยันว่าพระพุทธัปปิยเถระมีชีวิตอยู่ช่วง พุทธศตวรรษท่ี ๑๗๗๒ หากจารึกอ้างถึงเหตุการณ์ร่วมสมัยจริงอาจารย์ของท่านก็ต้อง มีชีวิตอยู่สมัยเดียวกัน ปรณวิตานะและพระพุทธทัตตเถระตั้งข้อสังเกตว่าพระอานนท์ เถระรูปนี้เป็นอาจารย์ของพระเวเทหเถระ๗๓ ผู้มีนามฉายาว่าอรัญญรัตนะหรืออัญมณี

20 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง แห่งป่า เพราะมีความหมายดุจเดียวกันกับค�าว่าวนรัตนะ นามอันโด่งดังเช่นน้ีอาจใช้ เปน็ นามฉายาของพระสงฆฝ์ า่ ยวนวาสี เพราะทกุ รปู ลว้ นใชช้ อ่ื นเี้ ปน็ นามฉายาแหง่ ตน๗๔ แต่พระอานนท์เถระผู้มีนามปรากฏในคัมภีร์รูปสิทธิไม่อ้างถึงนามฉายาเช่นนี้เลย ตรงกันข้ามผู้แต่งคัมภีร์ถ่ายความอักษรจากคัมภีร์ปทสาทนะเป็นพระอรัญญรัตน อานันทะ คัมภีร์อธิบายว่าพระเถระเป็นหน่ึงซ่ึงม่ันคงต่อการประพฤติปฏิบัติและ เป็นหน่ึงแห่งนักพรตผู้สันโดษ๗๕ ด้วยคุณสมบัติท้ังสองน้ียืนยันได้ว่าท่านเป็น พระสงฆ์ฝ่ายวนวาสี และอาจเป็นพระเถระนามว่าอานนท์ผู้ได้รับฉายาว่าอัญมณี แห่งป่าก็เป็นได้ ถามว่าพระอานนท์เป็นศิษย์ของพระเมธังกรเถระแห่งส�านักทิมบุลาคละ ซ่ึงต่อมาได้เป็นศิษย์ของพระสังฆรักขิตมหาสามีอีกทอดหน่ึงจริงหรือไม่ คัมภีร์ นิกายสังครหยะระบุนามของพระอานนท์น�าหน้าพระเวเทหเถระ อาจเป็นไปได้ว่าท่าน เป็นครูของพระเวเทหเถระ หากพิจารณาตามความเป็นจริง ย่อมเห็นว่าพระเวเทหเถระ มีชีวิตสมัยหลังพระเมธังกรเถระ ผู้เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี ซ่ึงมีชีวิตสมัย พระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๓ และสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒๗๖ หากคัมภีร์นิกายสังครหยะ อ้างรายนามตามน้ัน ย่อมยืนยันว่าพระเวเทหเถระมีพรรษายุกาลแก่กว่าหรืออย่างน้อย ร่วมสมัยกับพระอโนมทัสสีเถระ เพราะเหตุผลท่ีแตกต่างเช่นน้ี โกนาวจึงสมมติพระเวเทหเถระว่ามีชีวิตสมัย เดียวกัน ตัวอย่างเช่นพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒ ทรงครองราชย์ปีพุทธศักราช ๑๗๗๙- ๑๘๑๓ การโต้แย้งของโกนาวยืนยันจากหลักฐานของเทวประติราชะ ซ่ึงปรากฏในบท ส่งท้ายของคัมภีร์สิทัตสังคราวะ๗๗ พร้อมด้วยเทวประติราชะผู้เป็นเสนาบดีของพระเจ้า ปรากรมพาหุที่ ๒ คัมภีร์สิทัตสังคราวะนั้นแต่งโดยพระเวเทหเถระตามค�าอาราธนา ของเทวะประติราชะ๗๘ การถกเถียงกันอาจสรุปว่าพระเวเทหเถระมีชีวิตร่วมสมัยกับ เทวประติราชะ๗๙ เพราะเสนาบดีท่านน้ีเป็นผู้มีบทบาทส�าคัญ นับต้ังแต่ปีที่สิบสามแห่ง การครองราชย์ของพระเจ้าปรากรมพาหุ มีพระเถระรั้งต�าแหน่งมหาสามีสองรูปในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 21 รูปแรกนามว่าอรัญกเมธังกรเถระผู้ท�าหน้าที่เป็นประธานสงฆ์ในการฟื้นฟู พระศาสนา (พ.ศ.๑๗๙๓)๘๐ ส่วนรูปท่ีสองนามว่าอโนมัสสีมหาสามี รูปหลังน้ีว่า ตามหลักฐานสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี ต�านานกล่าวถึงงานพระศาสนาของท่าน ซ่ึงมีเทวประติราชะเป็นผู้ด�าเนินการ เหตุการณ์น้ีอาจเกิดข้ึนภายหลังปีท่ีสิบสามแห่ง การครองราชย์ของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒๘๑ ช่วงระยะเวลาอันแน่นอนสมัยท่าน รั้งต�าแหน่งมหาสามีไม่สามารถรู้ได้แน่ชัด ทราบแต่ว่าพระอารัญกเมธังกรเถระด�ารง ต�าแหน่งในปีพุทธศักราช ๑๗๙๓ และพระอโนมทัสสีเถระอาจรั้งต�าแหน่งมหาสามี ภายหลังปีพุทธศักราช ๑๗๙๓ แต่คงไม่เกินปีท่ีสิบสามแห่งการครองราชย์ของ พระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒ (พ.ศ.๑๘๐๙) กุมารันตุงคะยืนยันว่าพระเถระนักปราชญ์ นามว่าปติราชปิรุวันหิมิเป็นรูปเดียวกันกับพระอโนมทัสสีมหาสามี๘๒ สา� หรบั พระสลี วงั สเถระผแู้ ตง่ คมั ภรี ธ์ าตมุ ญั ชสุ าพา� นกั พกั อาศยั อยทู่ ย่ี กั ขทั ทเิ ลนะ๘๓ พระพุทธัตตเถระอธิบายว่านามนี้มีชื่อคล้ายกับยักคิริเลนะ๘๔ หลักฐานส่วนนี้ชี้บอกว่า เป็นสถานที่สันโดษส�าหรับพ�านักของคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี ด้วยเหตุน้ันพระสีลวังสะ แห่งยักขัททิเลนะอาจเป็นพระสงฆ์สังกัดคณะวนวาสี ยังมีพระสงฆ์อีกหลายรูปท่ีใช้ค�าว่าวนรัตนะน�าหน้าหรือต่อท้ายช่ือแห่งตน บรรดาพระสงฆ์เหล่าน้ัน พระพุทธวังสวนรัตนะผู้เป็นอาจารย์ของพระอรัญก เมธังกรเถระก็เป็นรูปหน่ึงซึ่งนิยมใช้ค�าว่ารัตนะต่อท้ายช่ือแห่งตน๘๕ ผู้แต่งคัมภีร์ ปโยคสิทธิก็มีนามว่าวนรัตนเมธังกรเถระ๘๖ ระยะเวลาแห่งการมีชีวิตอยู่ไม่ทราบชัด พระบรมราชูทิศแห่งมดวลวิหารในหริสปัตตุจารึกปีสกะ ๑๖๗๗ ระบุว่าพระสงฆ์ นามว่านาคลวนรัตนะได้เดินทางออกจากเมืองกุรุแณคะละ เพ่ือไปแมดวะละขณะ การจลาจลปะทุข้ึน โดยการน�าของโพทาปานันดาเพื่อต่อต้านพระเจ้าปรากรมพาหุ ท่ี ๔๘๗ หลักฐานส่วนนี้ชี้บอกว่าท่านมีชีวิตในรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์น้ี คัมภีร์ วุตตมาลาซ่ึงเขียนขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๕ (พ.ศ.๑๘๘๗-๑๙๐๒) ระบถุ งึ พระเถระผใู้ หญน่ ามวา่ วนรตั นะผสู้ งั กดั คณะสงฆฝ์ า่ ยวนวาส๘ี ๘ สว่ นพระสงั ฆราช ผู้ท�าหน้าที่เป็นประธานการสังคายนา ซึ่งจัดขึ้นในปีท่ีสี่แห่งการครองราชย์ของพระเจ้า ภูวเนกพาหุท่ี ๔ (พ.ศ.๑๘๘๔-๑๘๙๔) ผู้เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรคัมโปละ เป็นท่ี

22 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง รู้จักแพร่หลายในนามวนรัตนมหาสามีแห่งอมรคิริวาสะ๘๙ สันนิษฐานว่าพระวนรัตนเถระ ท่ีกล่าวถึงในคัมภีร์วุตตมาลาน่าจะเป็นรูปเดียวกันนี้ คอดริงตันอ้างในคัมภีร์ปุสตกนามาวลิยะว่าพระวนรัตนะแห่งแครคะละปัทมา วตีปริเวณะ ซึ่งเป็นผู้โด่งดังในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๖ เป็นหลานชาย ของพระวนรัตนะมหาสามีแห่งอมรคิริวิหาร๙๐ เช่ือกันว่าท่านสังกัดคณะสงฆ์ฝ่าย วนวาสี๙๑ จารึกแคระคะละหมายเลข ๑ ซ่ึงพรรณนาเร่ืองราวในรัชสมัยของพระเจ้า วิชัยพาหุที่ ๕ (พ.ศ.๑๘๗๘-๑๘๘๔) ได้ระบุถึงพระมหาสามีนามว่าแครคะละวนรัตนะ ผู้ร้ังต�าแหน่งราชคุรุ๙๒ หากพิจารณาหลักฐานเบ้ืองต้น พระเถระรูปน้ีอาจมีชีวิตอยู่ ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าวิชัยพาหุท่ี ๕ (พ.ศ.๑๘๗๘-๑๘๘๔) พระเจ้าภูวเนกพาหุ ท่ี ๔ (พ.ศ.๑๘๘๔-๑๘๙๔) และพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๕ (พ.ศ.๑๘๘๗-๑๙๐๒) ประมาณสองทศวรรษคร่ึง สันนิษฐานว่าพระเถระท้ังสามรูปเป็นคนเดียวกัน แต่ พระวนรัตนเถระที่แคระคะละตามจารึกอักษรโบราณพิจารณาแล้วน่าจะเป็นพระอมร คิริวาสะ ซ่ึงปรากฏรายชื่อตามคัมภีร์นิกายสังครหยะและเก่ียวเน่ืองกับรัชสมัยของ พระเจ้าภูวเนกพาหุท่ี ๔ ซ่ึงท่านเกี่ยวข้องกับแคระคะละโดยตรงเพราะท่านเป็นสมภาร เจา้ อาวาสวดั แหง่ นี้ และทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั อมรคริ วิ าสะอาจเปน็ เพราะเกย่ี วพนั ทางครอบครวั หรือการสืบทอดดูแลอารามวิหาร ด้วยเหตุน้ันจึงไม่จ�าเป็นต้องพิสูจน์ว่ามีพระเถระ นามว่าวนรัตนะท่ีแตกต่างกันหรือไม่ พระเถระบางรูปไม่สามารถยืนยันได้ว่าสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายไหน แต่พระสงฆ์ ผู้มีนามว่าวนรัตนะดังกล่าวแล้วอาจสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี พัฒนาการแห่งธรรมกีรติวงศ์ คัมภีร์วุตตมาลาระบุถึงพระเถระผู้ใหญ่สองรูปนามว่าภูวเนกพาหุเถระและ พระธรรมกิตตินั้น สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี๙๓ ผู้แต่งคัมภีร์อนาปัตติทีปนีอ้างว่า ท่านเป็นศิษย์ของพระภูวเนกพาหุเถระแห่งปังสุปัพพตวิหาร๙๔ ไม่แน่ใจว่าพระเถระ รูปน้ีเป็นรูปเดียวกันกับที่ระบุไว้ในรายช่ือคัมภีร์วุตตมาลาหรือไม่ พระธรรมกิตติเถระ ที่ปรากฏชื่อในคัมภีร์วุตตมาลาจะกล่าวถึงต่อไปข้างหน้า๙๕ คาดเดาเอาว่าท่านคงเป็น

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 23 พระสีลวังสธรรมกีรติเถระ เพราะมีพระเถระผู้ใหญ่สี่รูปท่ีสังกัดส�านักปลาพัตคะละ วนวาสี ธรรมกีรติน้ันเป็นชื่อท่ีมีการรักษาสืบต่อกันมาหลายรุ่น การสืบทอดของคณะสงฆ์กลุ่มนี้ค่อนข้างสับสน คมั ภรี ส์ ทั ธรรมรตั นากรยะซงึ่ เขยี นขน้ึ พทุ ธศกั ราช ๑๙๖๒๙๖ บนั ทกึ รายละเอยี ด เก่ียวกับพระเถระผู้ใหญ่นามว่าธรรมกีรติ ผู้ท�าหน้าที่บูรณะซ่อมแซมวิหารหินนามว่า ศรีธานยากฎกะ๙๗ คร้ันเดินทางกลับเกาะลังกาท่านได้สร้างอารามสองแห่ง แห่งแรก อยบู่ นยอดเขาอลวตรุ ะ สว่ นอกี แหง่ หนง่ึ อยบู่ นแผน่ หนิ ทคี่ ฑลาเดณยิ ะเรยี กวา่ สทั ธรรม ติลกะ๙๘ นอกจากน้ัน ท่านยังแต่งคัมภีร์ปารมีมหาสตกะและคัมภีร์ชนานุราคจริตะด้วย พระธรรมกีรติรูปนี้สังกัดคณะสงฆ์คามวาสิกวังสะหรือคณวาสีวังสะ ท่านมีชีวิตอยู่ถึง ๑๑๐ ปี และรั้งต�าแหน่งมหาสามี ช่ือส่วนตัวของท่านคือสีลวังสะ๙๙ จารึกคฑลาเดณิยะของพระเจ้าภูวเนกพาหุท่ี ๔ (พ.ศ.๑๘๘๔-๑๘๙๔) ระบุว่า พระธรรมกีรติเถระรูปหนึ่งแห่งคณแวสิวังสะมีความเกี่ยวข้องกับวิหารสองช้ันที่ วัดศรีธานยาฏกะ แห่งอมราวดีประเทศอินเดีย๑๐๐ และการก่อสร้างวิหารหินขณะท่าน เดินทางกลับเกาะลังกาแล้ว๑๐๑ เพราะเกิดการขาดช่วงไปไม่ต่อเน่ืองจารึกจึงไม่ให้ รายละเอียดชัดเจน แต่หากตรวจสอบกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในคัมภีร์สัทธรรม รัตนากรยะแล้ว ย่อมยืนยันได้ว่า พระธรรมกีรติเถระในจารึกเป็นรูปเดียวกันกับ พระสีลวังสะธรรมกีรติเถระ เพราะหลักฐานเกี่ยวข้องกับวัดธานยากฏกะและการ สังกัดคณวาสีวังสะ มีพระเถระผู้ใหญ่นามว่าธรรมกีรติ ๓ รูป ปรากฏในบทส่งท้ายของคัมภีร์ สัทธรรมาลังการยะ๑๐๒ องค์ท่ีสองมีลักษณะคล้ายกับพระสีลวังสะธรรมกีรติเถระท่ี อ้างถึงในคัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะและจารึกคฑลาเดณิยะ นอกจากคัมภีร์สัทธรรม รัตนากรยะแล้ว คัมภีร์สัทธรรมาลังการยะยังระบุว่าพระเถระรูปนี้พักอาศัยอยู่ท่ีมาลติ มาลเสยะในเมืองคังคาสิริปุระ (คัมโปละ)๑๐๓ และคฑลาเดณิยะ ท่านได้แต่งคัมภีร์ สุชาตัปปสาทะ ซึ่งถือว่าเป็นงานเขียนอีกเล่มหน่ึง นอกจากสองเล่มท่ีอ้างถึงใน คัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะแล้ว๑๐๔

24 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง พระสีลกุลเถระผู้แต่งคัมภีร์ปารมีมหาสตกะไม่กล่าวถึงพระสีลวังสเถระ เพียงแต่บอกว่าท่านพ�านักอยู่เกาะลังกาซ่ึงปกครองโดยกษัตริย์พระนามว่าวิชัยพาหุ ผู้ประสูติในราชวงศ์พระนามว่าพระเจ้าปรากรมพาหุ๑๐๕ กษัตริย์นามว่าวิชัยพาหุตาม ค�าอ้างน้ีมีถึงห้าพระองค์๑๐๖ นอกจากน้ัน ท่านยังระบุอีกว่าพระสีลวังสเถระพ�านักอยู่ที่ กโดฆะบริเวณมลยเทสอันร่มร่ืน ส่วนอารามวิหารที่ท่านพักนั้นเป็นเพียงสถานท่ี ส�าหรับนักบวช๑๐๗ บทส่งท้ายของคัมภีร์นิกายสังครหยะ ซึ่งผู้แต่งนามว่าธรรมกีรติ สังฆราชา และมีนามส่วนตัวว่าเทวรักขิตะชัยพาหุได้อ้างว่าท่านเป็นศิษย์ของพระธรรม กิตติยติสสระ ผู้เป็นยอดแห่งนักบุญ และมีชีวิตระหว่างพระเจ้าภูวเนกพาหุแห่ง คังคสิริปุระ ท่านได้สร้างวิหารท่ีคฑลาเดณิยะและพักอยู่ท่ีน้ีเป็นเวลานาน๑๐๘ พระเจ้า ภูวเนกพาหุแห่งคังคสิริปุระยืนยันแล้วว่าเป็นกษัตริย์พระองค์ท่ีสี่ตามช่ือน้ัน และ พระธรรมกิตติเถระผู้โด่งดังสมัยกษัตริย์พระองค์น้ีก็คือพระสีลวังสธรรมกีรติเถระ๑๐๙ อาจเป็นไปได้ว่าช่วงนั้นท่านร้ังต�าแหน่งพระเถระหรือพระมหาเถระ พระธรรมกีรติมหาสามีในคัมภีร์นิกายสังครหยะเป็นผู้หนึ่งซ่ึงสืบสายมาจาก ส�านักปลาพัตคะละ และมีช่ือเสียงแผ่ขจรไปไกลตลอดทุกสารทิศ (ทสทิขิปตลกีรติ) นี้เป็นหลักฐานสนับสนุนว่าพระสังฆราชรูปน้ีได้ช่วยเหลือเสนาบดีอลคักโกนาระช�าระ พระศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าวิกรมพาหุท่ี ๓ (พ.ศ.๑๙๐๒-๑๙๑๗)๑๑๐ ค�าว่า ”ช่ือเสียงของพระสังฆราชรูปนี้แผ่ขจรไปทุกทิศ„ ยืนยันได้ว่าพระสีลวังสเถระรูปนี้มี ชื่อเสียงเช่นเดียวกับอาจารย์แห่งตน บทส่งท้ายแห่งคัมภีร์ปารมีมหาสตกะบรรยายว่า ครูของพระสีลวังสะได้รับการยกย่องในฐานะพระมหาสามี ซ่ึงนามของท่านโด่งดัง ทว่ั เกาะลงั กาและนานาวเิ ทศ๑๑๑ คมั ภรี เ์ ลม่ เดยี วกนั นรี้ ะบอุ กี วา่ พระเถระรปู นร้ี ง้ั ตา� แหนง่ มหาสามใี นรชั สมยั ของพระเจา้ ภวู เนกพาหทุ ่ี ๑ (พ.ศ.๑๘๑๕-๑๘๒๗) ซงึ่ เปน็ ผปู้ กครอง เมืองสุภปัพพตะ (ยาปหุวะ)๑๑๒ สันนิษฐานว่าอาจารย์ของท่านอาจมรณภาพก่อน รัชสมัยของพระเจ้าวิกรมพาหุที่ ๓ จึงปรากฏหลักฐานว่าด�ารงต�าแหน่งสังฆราชและ มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าวิกรมพาหุท่ี ๓ มีนามปรากฏว่าพระสีลวังสธรรมกีรติเถระ หลักฐานว่าท่านรั้งต�าแหน่งพระสังฆราชปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมาลังการยะ ส่วนหลักฐานว่าท่านด�ารงต�าแหน่งมหาสามีปรากฏเห็นในคัมภีร์นิกายสังครหยะและ

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 25 คัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะ๑๑๓ รายนามตามคัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะระบุช่ือของท่าน เป็นช่ือแรกตามนามธรรมกีรติแห่งส�านักปลาพัตคะละ ส่วนคัมภีร์ปารมีมหาสตกะและ คัมภีร์สัทธรรมาลังการยะบอกว่า พระเถระผู้มีนามปรากฏเป็นคนแรกคืออาจารย์ของ ท่าน๑๑๔ ถัดมาเป็นพระสีลวังสะและพระเทวรักขิตชัยพาหุผู้เป็นศิษย์ ซึ่งเป็นผู้แต่ง คัมภีร์หลายเล่ม ดังเช่น คัมภีร์นิกายสังครหยะ คัมภีร์กวีนิพนธ์ภาษาสิงหลนามว่า พาลาวตาร๑๑๕ คัมภีร์ชินโพธาวลี และคัมภีร์สัทธรรมาลังการยะ ท่านได้รั้งต�าแหน่ง สังฆราช ซึ่งก่อนนั้นเป็นต�าแหน่งครูแห่งตน๑๑๖ พระเถระรูปสุดท้ายที่ร้ังนามธรรมกีรติและต่อมาด�ารงต�าแหน่งมหาสามีคือ พระวิมลกีรติเถระ ท่านรูปนี้เป็นผู้แต่งคัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะในปีที่เจ็ดแห่งการ ครองราชย์ของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๖๑๑๗ คัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะบอกว่าท่าน ไม่กล่าวถึงการสืบสายตามนามว่าธรรมกีรติเลย คัมภีร์โกกิลสันเดศยะระบุต�าแหน่ง มาหิมิมีนามว่าธรรมกิตต๑ิ ๑๘ พระเมธังกรเถระบอกว่าพระสังฆราชรูปน้ีเป็นรูปเดียวกัน กับพระชัยพาหุเทวรักขิตเถระ๑๑๙ คัมภีร์โกกิลสันเดศยะกล่าวถึงระยะเวลาระหว่าง พุทธศักราช ๒๐๐๓-๒๐๑๐๑๒๐ พระชัยพาหุธรรมกีรติเถระรั้งต�าแหน่งมหาสามี (มหาสวามี) ปีพุทธศักราช ๑๙๓๙ สมัยน้ันท่านเป็นผู้ช�าระพระศาสนา๑๒๑ ในฐานะเป็น พระมหาสามีท่านอาจจะเป็นผู้สูงอายุเป็นแน่ ไม่แน่ใจว่าท่านมีชีวิตอยู่สมัยแต่งคัมภีร์ โกกิลสันเดศยะหรือไม่ กล่าวคือประมาณเจ็ดทศวรรษหลังจากท่านได้ร้ังต�าแหน่ง มหาสามี รู้แต่ว่าพระวิมลกีรติธรรมกีรติเถระเป็นนักเขียนนามอุโฆษระหว่างรัชสมัย พระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๖๑๒๒ ด้วยเหตุนั้นผู้รั้งต�าแหน่งมหาสามีซึ่งปรากฏในคัมภีร์ โกกิลสันเดศยะ ต้องเป็นพระวิมลกีรติเถระหรือพระธรรมกีรติรูปอื่นเป็นแน่ เพราะ หลักฐานที่ชัดเจนกว่าน้ีไม่มีอีกแล้ว ความสับสนกับหลักฐานอ้างอิงเก่ียวกับประวัติการสืบทอดต�าแหน่งธรรมกีรติ ท้ิงให้เกิดความสับสนกลายเป็นปัญหาส�าคัญอย่างหนึ่ง พระเทวรักขิตมหาสามีผู้ท�าหน้าที่เป็นประธานการสังคายนาพระศาสนาในปี พุทธศักราช ๑๙๓๙ และกล่าวถึงในคัมภีร์นิกายสังครหยะในฐานะทวิตียะธรรมกีรติ เป็นศิษย์ของพระเถระนามพระสีลวังสธรรมกีรต๑ิ ๒๓ ด้วยเหตุน้ันจึงมิต้องสงสัยว่าท่าน

26 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง เป็นพระเทวรักขิตะชัยพาหุที่กล่าวถึงสองครั้งในคัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะ๑๒๔ การ ยา้� เตอื นกเ็ พอื่ ยนื ยนั วา่ ทา่ นเปน็ นกั เขยี นทกี่ ลา่ วถงึ ในรายชอื่ ซง่ึ รงั้ ตา� แหนง่ พระสงั ฆราช สืบสายตามพระธรรมกีรติเถระ หากยอมรับกันว่าพระเทวรักขิตะเป็นรูปที่สองตาม หลักฐานกล่าวอ้างแล้วไซร้ พระสีลวังสเถระผู้เป็นครูของท่านต้องเป็นพระธรรมกีรติ รูปแรก และพระวิมลกีรติเถระต้องเป็นรูปท่ีสามซึ่งสืบทอดต่อจากท่านอีกที หากถือ เอาตามนี้พระสีลวังสเถระผู้เป็นครูต้องมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าภูวเนกพาหุท่ี ๑ แต่ไม่มีนามปรากฏในบัญชีรายช่ือเลย หากยอมรับว่าครูของพระสีลวังสเถระเป็นรูปแรก พระสีลวังสเถระเป็นรูปที่ สอง พระชัยพาหุเป็นรูปที่สามและพระวิมลกีรติเป็นรูปท่ีส่ี ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะยุติ ด้วยการระบุว่าพระเทวรักขิตเถระเป็นรูปที่สองตามคัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะและ คัมภรี ์นกิ ายสังครหยะ๑๒๕ พระเมธงั กรเถระเหน็ วา่ พระสีลวังสเถระและพระชัยพาหุเถระ เป็นรูปแรกและรูปท่ีสอง เพราะว่าพระเถระสองรูปสืบสายและอาศัยอยู่ท่ีคฑลาเดณิ ยะ๑๒๖ พระพุทธธัตตเถระแย้งว่า การพิจารณาเร่ิมต้นพร้อมกับพระธรรมกีรติรูปแรก ที่ร้ังต�าแหน่งพระสังฆราชปรินายก (กล่าวคือพระสีลวังสธรรมกีรติ) และได้ตัดรายชื่อ ของครูออกเสีย๑๒๗ ควรบันทึกไว้ว่าต�าแหน่งมหาสามีมีนัยส�าคัญเช่นเดียวกับพระ สงั ฆราชระหวา่ งทา่ นมชี วี ติ อยู่ พระเถระรปู แรกมกี ลา่ วถงึ คอ่ นขา้ งกวา้ งขวาง เมอื่ อธบิ าย ถงึ พระสลี วงั สธรรมกรี ติ มเี พยี งคมั ภรี ส์ ทั ธรรมาลงั การยะเทา่ นนั้ ทเี่ รยี กทา่ นวา่ สงั ฆราช๑๒๘ ส่วนคัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะและคัมภีร์นิกายสังครหยะเอ่ยถึงท่านในต�าแหน่ง มหาสามีหรือเพ้ียนไปจากช่ือนี้๑๒๙ เป็นที่น่าแปลกเมื่อพบว่าหลักฐานจ�านวนมากระบุนามสังฆราช ตัวอย่างเช่น คัมภีร์สัทธรรมาลังการยะ กล่าวถึงท่านในอันดับสองของการสืบสาย ด้วยเหตุนั้น การโต้แย้งว่าพระธรรมกีรติรูปแรกรั้งต�าแหน่งสังฆราชจึงขาดความน่าเชื่อถือ ปัญหานี้ถือว่าเป็นการเช่ือมประเด็นกับการก่อตั้งสมาชิกผู้สืบสายธรรมกีรติ แห่งปลาพัตคะละวนวาสี การเร่ิมต้นต�าแหน่งทางคณะสงฆ์วนวาสีนี้ภายใต้การน�าของ พระธรรมกีรติรูปแรก ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าท่านร้ังต�าแหน่งในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรม พาหุท่ี ๒ กษัตริย์พระองค์นี้โปรดให้คัดเลือกและส่งมอบพระสงฆ์ผู้ปรารถนาอุทิศตน

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 27 ด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไปที่ส�านักปลาพัตคะละวนวาสี เหตุการณ์น้ีเกิดขึ้น ไม่นานหลังจากฟื้นฟูพระศาสนาแล้ว (พ.ศ.๑๗๙๓)๑๓๐ คัมภีร์จุลวงศ์บรรยายราย ละเอยี ดอยา่ งประทบั ใจวา่ การสงั คายนาครง้ั นถี้ อื วา่ เปน็ สว่ นหนง่ึ ของงานดา้ นศาสนา๑๓๑ หลักฐานเบ้ืองต้นช้ีให้เห็นแล้วว่าพระสงฆ์รูปแรกเป็นครูของพระสีลวังสธรรมกีรต๑ิ ๓๒ อาจจะมีการอ้างอิงกล่าวถึงพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งนามว่าวนวาสะก่อนพระสังฆราชผู้ ก่อต้ังวงศ์ธรรมกีรติก็เป็นได้ พระเถระผเู้ ปน็ อาจารยข์ องพระสลี วงั สธรรมกรี ตเิ ถระ ไดร้ บั การรบั การยกยอ่ ง ว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังรู้จักแพร่หลายท่ัวเกาะลังกาและนานาวิเทศ๑๓๓ หลักฐาน ส่วนนี้น่าบ่งถึงพระธรรมกิตติเถระแห่งแคว้นตัมพรัฏฐะ ผู้เป็นปฐมบรมบูรพาจารย์ แห่งส�านักปลาพัตคะละ คัมภีร์จุลวงศ์ระบุว่าท่านเป็นพระเถระผู้มากพรรษายุกาล โด่งดังระบือไปไกลว่างดงามด้วยศีลาจารวัตร คร้ันทรงทราบกิตติศัพท์ของท่านแล้ว ปรารถนาจะยกย่องสรรเสริญ พระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒ จึงโปรดให้นิมนต์ท่านมา เกาะลังกา๑๓๔ พระสังฆราชรูปน้ีและอาจารย์ของพระสีลวังสธรรมกีรติเถระล้วนได้รับ การยกย่องสรรเสริญเสมอเหมือนกัน ด้วยเหตุน้ันจึงสันนิษฐานว่าพระเถระท้ังสอง เป็นรูปเดียวกันเป็นแน่ พระพุทธทัตตเถระไม่เห็นด้วยกับการอ้างว่าพระตมลิงคมุธรรมกิตติเถระเป็น ผู้ก่อต้ังสายธรรมกีรติแห่งส�านักปลาพัตคะละ เหตุเพราะไม่มีหลักฐานระบุว่าท่าน ได้รับแต่งตั้งเป็นสมภารเจ้าอาวาสแห่งปลาพัตคะละวนวาสี๑๓๕ ความจริงคือไม่มี หลกั ฐานระบวุ ่าใครสมัยนนั้ ได้รบั แตง่ ตัง้ ตา� แหนง่ สมภารเจา้ ส�านกั แห่งนีจ้ ึงเห็นสมควร เป็นของพระตมลิงคมุธรรมกิตติเถระ พระพุทธทัตตเถระแย้งอีกว่าการสืบสายธรรม กีรติ ซึ่งก่อตั้งโดยพระตมลิงคมุธรรมกิตติเถระไม่มีอยู่จริง เพราะศิษย์ของท่านได้เดิน ทางกลับอโยธยาแล้ว๑๓๖ ค�าแย้งมีว่าพระธรรมกิตติเถระผู้แต่งคัมภีร์สัทธรรมสังคหะ ซ่ึงเดินทางกลับอโยธยาเป็นศิษย์ของพระตมลิงคมุธรรมกิตติเถระ พระเถระรูปนี้ได้ พ�านักอาศัยอยู่ในอารามนามว่าลังการาม ซ่ึงสร้างถวายโดยพระเจ้าบรมราช๑๓๗ มี กษัตริย์สองพระองค์นามว่าบรมราชา ปรณวิตานะเห็นว่าพระธรรมกีรติเถระรูปน้ี มชี วี ติ อยใู่ นรชั สมยั ของพระเจา้ บรมราชาพระองคแ์ รก ซงึ่ ครองราชยป์ ระมาณพทุ ธศกั ราช

28 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง ๑๙๑๓-๑๙๓๑๑๓๘ หากถือเอาระยะเวลาตามความคิดเห็นของปรณวิตานะก็สามารถ สันนิษฐานได้ว่าพระธรรมกิตติเถระ มีชีวิตประมาณตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงมีความเป็นไปได้ว่าพระเถระรูปนี้ไม่ได้เป็นศิษย์ของพระตมลิงคมุธรรมกิตติเถระ ซึ่งมีชีวิตในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ (พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๑๓) ความจริงคือ ไม่มีหลักฐานเล่มใดเลยบอกว่าพระตมลิงคมุธรรมกิตติเถระมีศิษย์หรือไม่ แต่ก็อาจ เป็นไปได้ว่าท่านรับศิษย์ผู้สืบทอดที่อยู่ในลังกา ความเป็นไปได้คือพระตมลิงคมุธรรม กิตติเถระเป็นพระสังฆราชรูปแรกแห่งสายธรรมกีรติ ซ่ึงได้รับแต่งตั้งเป็นสมภาร เจ้าส�านักปลาพัตคะละวนวาสี ประเด็นน้ีจึงเห็นว่าไม่ควรมองข้ามผ่านเลยไป เกยี่ วกบั การสบื สายธรรมกรี ตนิ น้ั คมั ภรี ส์ ทั ธรรมรตั นากรยะไดส้ บื คน้ ผสู้ บื ทอด พระสีลวังสธรรมกิตติเถระสายตรงจากส�านักมหาวิหาร ซึ่งเดิมสร้างตรงบริเวณ มหาเมวุนาอุทยานกลางเมืองอนุราธปุระ๑๓๙ การสืบทอดโดยตรงจากส�านักมหาวิหาร เป็นเรื่องส�าคัญยิ่ง หากพิจารณาเห็นอิทธิพลก็สามารถคล้อยตามเน้ือความของคัมภีร์ สัทธรรมรัตนากรยะ และคัมภีร์นิกายสังครยะ เก่ียวกับค�าสั่งของพระสงฆ์แห่งส�านัก ปลาพัตคะละวนวาสี หลักฐานส่วนนี้ชี้ถึงลูกศิษย์ของพระสีลวังสเถระว่าเป็นอันดับ สองแห่งส�านักปลาพัตคะละวนวาสี และย�้าอีกว่าพระสีลวังสเถระนับเป็นรูปแรก๑๔๐ หากการพิจารณาตามหลักฐานน้ีก็ถือว่าพระสีลวังสะเถระสืบสายโดยตรงจากส�านัก มหาวิหารแห่งเมืองอนุราธปุระ การละเลยอาจารย์ของพระสีลวังสเถระ ก็พิสูจน์ให้เห็น แล้วว่าเป็นพระตมลิงคมุธรรมกีรติเถระน้ันเอง เหตุเพราะท่านไม่สืบสายมาจากส�านัก มหาวิหาร ด้วยความจริงดังน้ีพระตมลิงคมุธรรมกีรติเถระจึงไม่ได้รับการยอมรับว่า เป็นรูปแรกของสายธรรมกีรติแห่งส�านักปลาพัตคะละวนวาสี แต่หากวิเคราะห์ตาม หลักฐานท่านเป็นผู้ก่อตั้งส�านักปลาพัตคะละและเป็นผู้ก่อก�าเนิดสมาชิกแห่งวนวาสี แต่การยอมรับเบ้ืองต้นต้องพบกับความยุ่งยากอีกอย่างหนึ่ง เม่ือพระสีลวังส ธรรมกรี ตเิ ถระเปน็ ศษิ ยข์ องพระเถระรปู หนง่ึ ซงึ่ ยนื ยนั กนั แลว้ วา่ คอื พระตมลงิ คมธุ รรม กีรติเถระ ค�าถามคือพระเถระมิใช่ผู้สืบสายมาจากส�านักมหาวิหารแห่งเมืองอนุราธปุระ จะมีศิษย์ผู้สืบทอดโดยตรงจากส�านักมหาวิหารได้อย่างไร หากเป็นศิษย์ของพระ ตมลิงคมุธรรมกีรติจริง เหตุใดพระสีลวังสะจึงได้รับการอุปสมบทจากพระสงฆ์ส�านัก

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 29 มหาวิหาร อาจเป็นไปได้ว่าท่านเป็นลูกหลานสืบสายโดยตรงมาจากส�านักมหาวิหาร ส่วนรายชื่อของพระธรรมกีรติรูปแรกในหนังสือสัทธรรมรัตนากรยะที่ถูกตัดออกน้ัน ก็สามารถอธิบายได้ หากวิเคราะห์เชิงต้ังข้อสังเกตย่อมสรุปได้ว่าพระตมลิงคมุธรรม กีรติเถระ เป็นอาจารย์ของพระสีลวังสะจริง และท่านเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการ แต่งต้ังให้เป็นสมภารเจ้าส�านักแห่งปลาพัตคะละวนวาสี การถกเถียงกันเช่นนี้ท�าให้เกิดประเด็นอ่ืนตามมา คัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะสืบค้นหาต้นก�าเนิดของพระธรรมกีรติย้อนหลัง ไปไม่ไกลเกินพระสีลวังสะ๑๔๑ โดยอธิบายถึงการสืบสายว่าเป็นลูกหลานสายธรรมกีรติ จึงระบุว่าพระสีลวังสเถระเป็นลูกหลานสืบสายโดยตรงมาจากส�านักมหาวิหารแห่ง มหาเมวุนาอุทยานกลางเมืองอนุราธปุระ๑๔๒ การถกเถียงเบื้องต้นยังเปิดเผยให้รู้ว่า พระเถระองค์แรกไม่มีกล่าวถึงเลย คัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะได้ปฏิเสธว่าพระผู้ใหญ่ ซึ่งปรากฏเป็นช่ือแรก ย้�าอีกว่าพระสีลวังสเถระเป็นรูปแรกในการสืบสาย และยืนยัน ว่าเป็นลูกหลานสืบสายมาจากส�านักมหาวิหาร หากเป็นเช่นนั้นพระเทวรักขิตเถระผู้เป็น พระสังฆราชรูปท่ีสองตามคัมภีร์สัทธรรมรัตนกรยะและคัมภีร์นิกายสังคหยะก็ละเว้น พระสังฆราชรูปแรกเสีย พระเมธังกรเถระกล่าวว่าราชคุรุธรรมกิตติผู้แต่งคัมภีร์ทาฐาวังสะ เป็นผู้ก่อต้ัง คณะสงฆ์แห่งส�านักปลาพัตคะละ โดยยืนยันว่าพระสงฆ์รูปแรกท่ีพ�านักพักอาศัยเป็น นักเขียนมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๑ และอ้างอีกว่าท่านมีอายุ ประมาณ ๖๗ ปี ในปีพุทธศักราช ๑๗๕๔-๑๗๕๕ ขณะแต่งคัมภีร์ทาฐาวังสะ๑๔๓ หากถือเอาตามหลักฐานน้ีการสถาปนาศูนย์กลางคณะสงฆ์วนวาสีอาจจะปรากฏตัวข้ึน ภายหลังปีพุทธศักราช ๑๗๙๓๑๔๔ พระเมธังกรเถระไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ระยะเวลาเพียงแต่บอกว่าพระธรรมกีรติเถระรูปน้ีอาจจะมีอายุ ๙๕ ปี เม่ือแรกก่อต้ัง ส�านักแห่งนี้๑๔๕ ความจริงคือท่านอาจจะมีอายุ ๑๐๕ ปี แต่ถ้าอ้างว่า พ.ศ.๑๗๕๕ ท่านคงมีอายุ ๖๗ ปี

30 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง หลักฐานเก่ียวกับการสืบสายของคณะสงฆ์ส�านักปลาพัตคะละวนวาสีกล่าวถึง เพียงพระเถระผู้ใหญ่รูปเดียว กล่าวคือผู้มีชื่อเสียงโด่งดังก่อนพระสีลวังสธรรมกีรติ เถระ และรู้กันว่าพระสงฆ์รูปแรกน่าจะมีชีวิตอยู่อย่างช้าสมัยพระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๑ (พ.ศ.๑๘๑๕-๑๘๒๗)๑๔๖ ซึ่งเป็นเรื่องยากนักที่จะยืนยันว่าพระราชคุรุธรรมกีรติเป็นผู้ ก่อต้ังส�านักแห่งน้ี พระเมธังกรเถระพยายามประนีประนอมเหตุผล ด้วยการกล่าวว่า มีพระสงฆ์สองรูปของสายนี้ก่อนพระสีลวังสเถระธรรมกีรติเถระ แต่หามีนักปราชญ์ คนอ่ืนเห็นด้วยไม่ คัมภีร์ปารมีมหาสตกะระบุว่าอาจารย์ของพระสีลวังสเถระพ�านักอยู่ในหมู่บ้าน ชื่อว่ากโดฆะ ซึ่งเป็นสถานท่ีบ�าเพ็ญฌานอยู่บริเวณมลยเทสะอันน่าร่ืนรมย์๑๔๗ พระพุทธทัตตเถระช้ีว่าปัจจุบันคือหมู่บ้านดุคันนาวะ๑๔๘ แต่มุดิยันเสยืนยันว่าเป็น หมู่บ้านอลวตุระ โดยอธิบายว่ากโดฆะเป็นการสะกดผิด ศัพท์บาลีท่ีถูกต้องควรเป็น กันโดฆะ ซึ่งเม่ือเปล่ียนเป็นภาษาสิงหลมาจากรูปศัพท์ว่าอลวตุระ๑๔๙ คัมภีร์สัทธรรม รัตนากรยะอ้างว่าเมื่อเดินทางกลับเกาะลังกาแล้วพระสีลวังสเถระได้สร้างอาราม บนยอดเขานามว่าอลวตุระ๑๕๐ ความจริงคือศัพท์ภาษาบาลีว่ากโดฆะเปลี่ยนเป็น ภาษาสิงหลว่าอลวตุระ ส่วนคัมภีร์สัทธรรมาลังการยะบอกว่าพระเถระพ�านักอยู่ท่ี มาลติมาลเสนใกล้นครอันรุ่งเรืองและร่มร่ืนชื่อว่าคังคสิริปุระ๑๕๑ คัมภีร์สัทธรรมา ลังการยะและคัมภีร์สัทธรรมรัตนากรยะบันทึกตรงกันว่าพระสีลวังสธรรมกีรติพ�านัก อยู่ท่ีสัทธรรมติลกวิหารบริเวณคฑลาเดณิยะ๑๕๒ คัมภีร์นิกายสังครหยะเสริมอีกว่า คฑลาเดณิยะเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่ง และพระเถระมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้า ภูวเนกพาหุแห่งคังคสิริปุระ๑๕๓ พระสารีบุตรมหาสามี สา� หรบั หลกั ฐานอา้ งถงึ พระสงฆแ์ หง่ คามวาสที ถ่ี กู ตอ้ งมนี อ้ ยมาก แมพ้ ระสารบี ตุ ร มหาสามีผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับพระทิมบุลาคละมหากัศยปะก็ไม่ชัดเจน แต่เห็นสมควร บันทึกว่าไม่มีต�าแหน่งมหาสามีนับตั้งแต่เร่ิมต้นพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ ซึ่งเป็นช่วงเวลา ระหว่างการรุกรานของพระเจ้ามาฆะจนการเสวยราชย์ของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๓ จึงไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าพระสารีบุตรเถระมีชีวิตอยู่สมัยนั้น บางคร้ังอาจจะมี

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 31 หลักฐานอ้างอิงว่าสมัยนั้นพระสารีบุตรเถระด�ารงต�าแหน่งมหาสามีเป็นครั้งแรก๑๕๔ แต่ก็คงผ่านไปอีกหลายปีจนกระท่ังมีการฟื้นฟูพระศาสนาในรัชสมัยพระเจ้าวิชัยพาหุ ที่ ๓ ความจริงคือพระสารีบุตรเป็นศิษย์ของพระทิมบุลาคละมหากัศยปะ และ เป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักด์ิชั้นสูงของคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี๑๕๕ บทส่งท้ายของคัมภีร์ สารัตถทีปนีซึ่งพระสารีบุตรเป็นผู้เขียนเองได้กล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าขอยอกรวันทา พระบิดาแห่งสังฆะ ผู้แตกฉานในพระวินัย งดงามด้วยคุณธรรมอันตัวข้าพเจ้าเคยอยู่ ร่วมอุปัฏฐากดูแล และข้าพเจ้าได้น้อมน�าท�างานพระศาสนาด้วยตนเอง๑๕๖ ปัญหาคือ พระมหากัศยปเถระเคยให้ความช่วยเหลือพระสารีบุตรเรื่องงานพระศาสนาหรือไม่ จึงเห็นว่าไม่จ�าเป็นต้องเช่ือตามตัวอักษรท่ีบอกว่าท่านเป็นศิษย์อาจารย์กัน ความจริง แล้วเป็นพระอนุเถระนามสุเมธะผู้ท่ีพระสารีบุตรเถระอ้างว่าเป็นอาจารย์ พระสุเมธะรูป น้ีชื่อว่าเป็นพระเถระผู้ทรงภูมิธรรมและทรงปิฎกตรัย๑๕๗ ท่านสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายไหน ไม่มีกล่าวถึง ด้วยเหตุนั้น ความเกี่ยวข้องระหว่างพระสารีบุตรกับพระมหากัศยปะจึง ไม่สามารถชี้ชัดถึงสังกัดได้ สมัยแต่งคัมภีร์ปาลีมุตตกวินยวินิจฉัยหรืออีกนามหนึ่งว่าวินยสังคหะ พระสารีบุตรเถระได้พ�านักอยู่ท่ีวัดเชตวัน ซ่ึงท่านพรรณนาไว้ว่าเป็นที่น่ายินดีส�าหรับ โยคีผู้ใฝ่ธรรม๑๕๘ อารามอันน่ายินดีของโยคีแห่งนั้นอาจจะหมายถึงส�านักวนวาสี แตก่ ารอา้ งเชน่ นไี้ มส่ อดคลอ้ งกบั หลกั ฐานอกี หลายแหง่ คมั ภรี จ์ ลุ วงศไ์ ดใ้ หร้ ายละเอยี ด เก่ียวกับอาคารของวัดเชตวันวิหารและจ�านวนพระสงฆ์ผู้อยู่อาศัย โดยบรรยายว่า อารามแห่งน้ีสร้างเลียนแบบมหาวิหารอันลือนาม (สาวัตถี) มีปราสาท ๘ หลัง แต่ละหลังสูง ๓ ชั้น กษัตริย์โปรดให้สร้างถวายพระเถระผู้ใหญ่ผู้เป็นเจ้าส�านัก แห่งอายตนะทั้งแปด ส�าหรับปราสาทอันใหญ่โตสวยงามพร้อมห้องระเบียงและห้อง ท�าสังฆกิจ โปรดให้สร้างถวายพระสารีบุตรเถระผู้หนักแน่นมั่นคงในพระวินัย๑๕๙ หลักฐานช้ีบอกถึงการสร้างปราสาทถวายแก่พระเถระผู้เป็นเจ้าส�านักแห่ง อายตนะท้ังแปด เอกสารเช่นน้ีถือว่าพยายามเช่ือมโยงบ่งถึงคณะสงฆ์ท่ีพระสารีบุตร เถระสังกัดอยู่ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าการสร้างปราสาทถวายพระอายตนวาสินและ พระสารีบุตรอยู่ภายในเชตวันอารามเดียวกัน คัมภีร์ปาลีมุตตกวินยวินิจฉัยจึงระบุไว้

32 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง ว่าพระสารีบุตรพ�านักอยู่ท่ีวัดเชตวัน๑๖๐ ด้วยเหตุนั้นปราสาทที่สร้างถวายพระสารีบุตร ที่วัดเชตวัน ซ่ึงอ้างถึงแล้วในคัมภีร์จุลวงศ์จึงสามารถก�าหนดสถานที่ได้อย่างชัดเจน และปราสาทส�าหรับพระสงฆ์แห่งอายตนะท้ังแปดก็ปรากฏเห็นเป็นหลักฐานทันทีหลัง จากอ้างถึงวัดเชตวันและพระสารีบุตรเถระ ด้วยเหตุน้ันปราสาทที่สร้างถวายพระสงฆ์ แห่งอายตนะท้ังแปดจึงต้องอยู่ภายในวัดเชตวันเท่านั้น ความเช่ือมโยงของหลักฐาน สอดคล้องกับเนื้อความในคัมภีร์วุตตมาลาสันเดศยะ ซึ่งอ้างถึงพระสงฆ์แห่งมูละโดย บอกว่าพระเถระผู้ใหญ่ (มหาสถวีระ) แห่งอุปลันตรมูละ เสนาปติมูละ สโรคามมูละ และมหาเนตตปาสาทมูละล้วนสังกัดคามวาสี๑๖๑ จึงยืนยันได้ว่ามูละสี่แห่งเหล่านี้สังกัด คณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี หลักฐานส่วนอ่ืนท่ีเกี่ยวข้องกับพระโมคคัลลานเถระแห่งสโรคามสมูหะ ซึ่งเป็นผู้แต่งคัมภีร์อภิธานัปปทีปิการะบุว่าท่านแต่งคัมภีร์เล่มนี้ขณะพักอาศัยอยู่ท่ี อารามนามวา่ เชตวนั ๑๖๒ จงึ เหน็ ไดว้ า่ อยา่ งนอ้ ยมลู ะสแ่ี หง่ ซงึ่ สงั กดั คณะสงฆฝ์ า่ ยคามวาสี อยู่ในวัดเชตวัน ความผูกพันฉันพ่ีน้องของมูละแห่งอื่นกับคณะสงฆ์ทั้งสองกลุ่ม ไม่มีกล่าวถึง สันนิษฐานว่าพระสงฆ์ทั้งหมดหรือบางรูป ซ่ึงหมายถึงส่ีมูละที่สังกัด คณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสีไม่สามารถยืนยันได้ มีข้อสังเกตว่าเฉพาะพระสงฆ์คามวาสี เท่านั้นพ�านักอยู่ภายในวัดเชตวันมหาวิหาร ด้วยเหตุนั้นปัญหาเกี่ยวกับต้นสังกัดของ พระสารีบุตรเถระจึงต้องวิเคราะห์สืบค้นกันต่อไป แตค่ วามเปน็ มติ รฉนั พน่ี อ้ งของพระสารบี ตุ รกบั คณะสงฆฝ์ า่ ยคามวาสดี เู หมอื น มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจน พระวาจิสสรสังฆราชหรืออีกนามหน่ึงว่าพระศรีราหุลเถระ แห่งหมู่บ้านโตฎคามุวะ อ้างว่าท่านเป็นหลานชายของพระอุตตโรมูละราหุละมหาเถระ ผู้สืบเช้ือสายมาจากพระสารีบุตรมหาสามี๑๖๓ หลักฐานส่วนน้ีเป็นการพาดพิงถึง ความสัมพันธ์ของพระศรีราหุลเถระกับการสืบสายมาจากพระสารีบุตร ซ่ึงสามารถ สนับสนุนค�ากล่าวอ้างได้ หากเป็นเช่นน้ัน ความเก่ียวพันทางเช้ือสายของพระสารีบุตร ก็เป็นอันชัดเจน เช่ือกันว่าพระราหุลเถระแห่งหมู่บ้านโตฏคามุวะสังกัดคณะสงฆ์ ฝ่ายคามวาสี หากท่านอ้างว่าเป็นหลานของพระสารีบุตรจริง ความสัมพันธ์ด้าน การสืบทอดย่อมชัดเจนว่าพระศรีราหุลเถระต้องสังกัดส�านักอุตตโรมูละ เหตุเพราะ

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 33 พระสารีบุตรเถระผู้เป็นปู่ของท่านเคยเป็นเจ้าส�านัก หากพระสารีบุตรมหาสามีสังกัด ส�านกั มลู ะของพระอตุ ตโรมลู ะจรงิ การอา้ งวา่ สบื สายมาจากพระสารีบตุ รมหาสามีก็เป็น จริง อาจเป็นไปได้ว่าพระสารีบุตรเถระเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี พระคลตุคุมูละ มหาสามีอีกรูปหนึ่งเก่ียวข้องกับวิหารท่ีตีรถคาม (โตฏคามุวะ)๑๖๔ หลักฐานดังกล่าวนี้ สามารถสรุปอย่างมีเหตุผลว่าพระสงฆ์แห่งวิหารนี้สังกัดคณะคลตุรุมูละ พระศรีราหุล เถระผู้เป็นสมภารแห่งอารามนี้คงไม่สังกัดคณะอุตตโรมูละเป็นแน่ แต่ยังมีลักษณะ การอาศัยร่วมกันระหว่างพระสงฆ์ของมูละน้อยใหญ่ระหว่างยุคนี้ และความเก่ียวข้อง ของพระคลตรุ มุ ลู ะมหาสามกี บั อารามนามวา่ โตฏคามวุ ะจงึ มใิ ชเ่ ปน็ เรอื่ งยงุ่ ยากทจี่ ะตอ้ ง ระบุชัดเจน พระราชครุ ธุ รรมกรี ตเิ ถระผแู้ ตง่ คมั ภรี ท์ าฐาวงั สะในปที สี่ ามแหง่ การครองราชย์ ของพระมเหสีลีลาวดี (พ.ศ.๑๗๔๐-๑๗๔๓)๑๖๕ และพระวาจิสสรเถระผู้ปกปอง พระเข้ียวแก้วสมัยความวุ่นวายทางการเมืองจากการรุกรานของพระเจ้ามาฆะ๑๖๖ ต่างมีชีวิตอยู่ตอนต้นของยุคน้ี พระเถระผู้ใหญ่สองรูปน้ีล้วนอ้างว่าเป็นศิษย์ของ พระสารีบุตรมหาสามี แต่ความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาจารย์และศิษย์ไม่สามารถตัดสิน ถึงสังกัดของท่านจนกว่าจะมีหลักฐานภายนอกมาสนับสนุน๑๖๗ เป็นที่รู้กันว่าพระสงฆ์ แห่งส�านักอุตตโรมูละท�าหน้าท่ีดูแลพระเข้ียวแก้ว๑๖๘ ดูเหมือนว่าพระวาจิสสรเถระ ก็มีหน้าท่ีดูแลพระเข้ียวแก้วเช่นกัน๑๖๙ ท่านจึงสังกัดส�านักอุตตโรมูละ หากเป็นเช่นนั้น จริงพระวาจิสสรเถระต้องสังกัดคณะสงฆ์คามวาสีเป็นแน่ ส่วนสังกัดของพระราชคุรุ ธรรมกิตติเถระไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ สมัยนี้คณะสงฆ์คามวาสีปรากฏเห็น (คร้ังแรก) ในดัมพเดณิกติกาวัตร โดย บอกว่าพระสังฆรักขิตมหาสามี (มหาสวามี) ผู้ท�าหน้าที่เป็นประธานสงฆ์ในการ ตรากฎหมายนามว่าวิชัยพาหุกติกาวัตร และพระเถระอีกรูปหนึ่งผู้ด�ารงต�าแหน่งมหา สถวีระนามว่าเมธังกรเถระต่างสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี๑๗๐ พระเมธังกรเถระรูปนี้ เป็นผู้แต่งคัมภีร์ชินจริต สันนิษฐานว่าพ�านักอาศัยอยู่ที่วิชัยพาหุปริเวณะแห่งหมู่บ้าน โตฏคามุวะ๑๗๑ ท่านด�ารงต�าแหน่งมหาสถวีระแห่งคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี และเป็นผู้มี ส่วนร่วมในการตรากติกาวัตรสมัยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๔๑๗๒

34 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง อายตนะกับสองนิกาย ศัพท์ว่าอุภยสาสนะ๑๗๓ และอุภยวาสะ๑๗๔ ซึ่งใช้ส�าหรับคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี และวนวาสีอธิบายถึงการศาสนายุคต่อมา เช่น การสังคายนาสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุ ที่ ๔ (พ.ศ.๑๘๔๕-๑๘๖๙) สมัยพระเจ้าวิกรมพาหุที่ ๓ (พ.ศ.๑๙๐๒-๑๙๑๗) และ สมัยพระเจ้าภูวเนกพาหุท่ี (พ.ศ.๒๐๑๒-๒๐๒๐) ๖๑๗๕ แต่ไม่มีหลักฐานอื่นใดกล่าว ถึงคณะสงฆ์ท่ีเกี่ยวข้องกับการสังคายนาท้ังสามคร้ังนี้เลย หลักฐานอ้างว่ามูละ ๔ กล่าวคือ อุปลันตรมูละ (คลตุรุมูละ) เสนาปติมูละ (เสเนวิรัดมูละ) สโรคามมูละ (วิลคัมมูละ) และมหาเนตตปาสาทมูละ (มหาเนตปามูละ) สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี๑๗๖ คณะของพระสารีบุตรก็ชี้บอกว่าส�านักอุตตโรมูละ (อุตุคุมูละ) เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี๑๗๗ หากประเพณีการรักษาสืบทอดไม่ ขาดสายจนกระท่ังถึงยุคคัมโปละแล้วไซร้ พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ซึ่งสังกัดส�านัก มูละเหล่านั้นก็ต้องเป็นพระคลตุรุมูละเมตไตรย์๑๗๘ พระคลตุรุมูละมหาสามีแห่งอาราม นามว่าตีรถคามะ๑๗๙ พระวีทาคมะไมตรียะแห่งมหาเนตปามูละ๑๘๐ พระศรีปรากรมพาหุ แห่งวิมลคัมมูละ๑๘๑ และพระสังฆราชแห่งส�านักอุตุรุมูละตามล�าดับ เช่ือกันว่าพระสงฆ์แห่งวีทาคมะสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี๑๘๒ คัมภีร์วุตตมา ลาสันเดสะช้ีว่าพระสงฆ์แห่งส�านักมหาเนตปามูละสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี หากถอื ตามประเพณวี า่ พระสงฆแ์ หง่ สา� นกั วที าคมะเปน็ วนวาสยี อ่ มไมม่ หี ลกั ฐานชดั เจน ส่วนการสร้างหลักฐานเช่ือมโยงว่า พระศรีราหุลเถระสังกัดคามวาสีนั้น ศิษย์ของ ท่านนามว่าพระสุมังคลเถระ ซ่ึงเป็นผู้แต่งกวีนิพนธ์ภาษาสิงหลช่ือภักติสตกยะ๑๘๓ ก็ต้องสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีเช่นกัน หลักฐานเบ้ืองต้นพยายามพิสูจน์ต้นสังกัดของพระสงฆ์ทั้งสองคณะ แต่ไม่ สามารถครอบคลุมสมาชิกคณะสงฆ์ทั้งหมดได้ ปัญหายุ่งยากส�าหรับคณะสงฆ์ฝ่าย คามวาสีคือไม่สามารถระบุถึงสังกัดคณะสงฆ์ได้แน่นอน คาดเดาเอาว่าพระสงฆ์แห่งคณะวนวาสีนั้นอาศัยอยู่ตามป่าเขาและสถานท่ี โดดเดี่ยว ตัดขาดจากกิจกรรมทางศาสนาทั้งมวล แต่มีพระสงฆ์บางรูปอาศัยอยู่ตาม

คณะสงฆ์แยกเป็นสองคณะ 35 บ้านและศูนย์กลางของชุมชน พระสีลวังสะธรรมกีรติผู้แต่งคัมภีร์นิกายสังครหยะ บอกวา่ ท่านพา� นักอย่ทู ่ีสัทธรรมติลกวหิ ารใกลห้ ม่บู า้ นกฑลาเดณิยะ๑๘๔ คัมภีรส์ ทั ธรรม รัตนากรยะและจารึกกฑลาเดณิยะก็ยืนยันเช่นน้ัน๑๘๕ แม้วิหารกโดฆะท่ีท่านเคยพ�านัก ก่อนย้ายมาอยู่กฑลาเดณิยะก็เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กเช่นกัน๑๘๖ สันนิษฐานว่าผู้สืบสาย ต่อจากท่านคงด�าเนินตามเอาแบบอย่าง แม้จะเป็นอยากในการสืบต่อก็ตาม จารึกศิลาภาษาสิงหลของพระเจ้าภูวเนกพาหุท่ี ๔ จากวัดลังกาติลกะยืนยัน ว่าพระสงฆ์ท้ังสองกลุ่มอยู่อาศัยในสังฆารามสองแห่งภายในบริเวณศรีมหาวิหาร กล่าวคือที่ลังกาติลกะ๑๘๗ จารึกศิลาอลวลอมุนะบอกว่าแม้วิหารที่สิงคุรุวานะก็สร้าง โดยพระสงฆ์สองกลุ่ม๑๘๘ หลักฐานส่วนน้ีชี้ว่าพระสงฆ์คณะวนวาสีบางรูปอาศัยอยู่ร่วม ชายคาเดียวกันกับพระสงฆ์คณะคามวาสี สมัยน้ีศูนย์กลางของพระสงฆ์คณะวนวาสีมีหลายแห่ง บรรดาอารามเหล่าน้ัน ทิมบุลาคละโด่งดังมากสุด ซึ่งมีประธานสงฆ์นามว่าพระมหากัศยปเถระ เป็นผู้ โด่งดังสูงสุดสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ ถัดมาเป็นพระเมธังกรมหาสถวีระผู้มีส่วน ร่วมในการตราดัมพเดณิกติกาวัตร๑๘๙ ส่วนส�านักปลาพัตคะละเป็นท่ีรู้จักแพร่หลายสมัยอาณาจักรดัมพเดณิยะ ส�านักวัตตะละและส�านักเบนโตฏะก็เป็นศูนย์กลางคณะสงฆ์วนวาสีเช่นกัน๑๙๐ ส�านักวนวาสะละบริเวณวัตตละก็อาจจะเก่ียวข้องกับคณะสงฆ์ฝ่ายวนวาสี หมู่บ้าน อีกแห่งหนึ่งซ่ึงมีช่ือเหมือนกันอยู่ระหว่างเมืองมาตระและเมืองตังคัลละก็ปรากฏว่า มีวิหารของพระสงฆ์คณะวนวาสีเช่นกัน๑๙๑ คาดเอาเดาว่าหมู่บ้านวนวาสะละซึ่งอยู่ใกล้ วัตตละน่าจะมีต้นก�าเนิดอันเดียวกัน พระสงฆ์แห่งน้ีเก่ียวข้องกับวัดอมรคิริวาสะ วัดคฑลาเดณิยะ วัดรายิคาม และวัดแครคะละ๑๙๒ ซ่ึงล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงโด่งดัง เหมือนส�านักของคณะสงฆ์วนวาสีแห่งอ่ืน การเคลอื่ นยา้ ยของพระสงฆฝ์ า่ ยวนวาสเี ขา้ ไปสศู่ นู ยก์ ลางของชมุ ชนมลี กั ษณะ ค่อยเป็นค่อยไป และท่ีสุดก็เป็นความพร้อมกันระหว่างคณะสงฆ์สองกลุ่มจนเกิด ความคุ้นเคยใกล้ชิด พัฒนาการเช่นนี้ท�าให้เกิดวิถีชีวิตส่งอิทธิพลต่อคณะสงฆ์อีก

36 ประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ศรีลังกายุคกลาง กลุ่มหน่ึง เบื้องต้นทราบกันว่าพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสีผูกพันอยู่กับวิปัสสนาธุระ๑๙๓ ประพฤติวินัยอย่างเคร่งครัดและไม่สนใจการศึกษา แต่ความจริงคือพระสงฆ์ฝ่าย วนวาสีบางรูป เป็นนักปราชญ์มีความสามารถเทียบเท่าพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสี ตัวอย่าง เช่น พระเมธังกรเถระแห่งส�านักทิมบุลาคละ พระสีลวังสะธรรมกีรติเถระ พระชัยพาหุ ธรรมกีรติเถระ และพระวิมลกีรติธรรมกีรติเถระ เป็นต้น หลักฐานจากดัมพเดณิกติกาวัตรระบุว่า พระเถระผู้สมควรด�ารงต�าแหน่ง มหาสามีต้องรอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก๑๙๔ กฎเกณฑ์เช่นน้ีอาจย้อนถอยหลังไป ยุคโปโฬนนารุวะ เพราะมีหลักฐานช้ีบอกว่าสมัยนั้นมีพระสงฆ์นักปราชญ์หลายรูป ดังเช่น พระทิมบุลาคละมหากัศยปเถระ๑๙๕ ด้วยเหตุนั้นพัฒนาการดังกล่าวน่าจะเริ่ม จากยุคโปโฬนนารุวะเป็นต้นมา ค�าถามคือหากสนใจคันถธุระจะท�าให้การปฏิบัติเฉ่ือยชาหรือไม่ หลักฐานยืนยันว่าพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีเป็นผู้ฝักใฝ่คันถธุระกล่าวคือศึกษา พระธรรมคัมภีร์๑๙๖ อาจมีวิถีชีวิตหันเหไปหลายทิศทาง อาศัยว่าอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง กับพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสีบางรูป อาจมีอิทธิพลต่อพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีจนเป็นเหตุให้ หันมาสนใจปฏิบัติ คัมภีร์อรรถกาไม่ยกย่องพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีผู้ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานเลย๑๙๗ โปโฬนนารุกติกาวัตรและดัมพเดณิกติกาวัตรเห็นชอบให้พระสงฆ์ ฝ่ายคามวาสีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวันละสามครั้ง๑๙๘ ความเพิกเฉยของคัมภีร์ อรรถกถาท�าให้เห็นว่าพระสงฆ์ผู้เคร่งคันถธุระไม่ปฏิบัติกรรมฐานท้ังหมด แต่ราย ละเอียดของกติกาวัตรกลับช้ีให้เห็นว่าพระสงฆ์ท้ังมวลควรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตรงน้ีอาจมาจากอิทธิพลความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ฝ่ายวนวาสีก็เป็นได้ หลักฐานระบุว่าเกิดความร้าวฉานระหว่างคณะสงฆ์สองกลุ่ม ในรัชสมัย ของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๓ (พ.ศ.๑๗๗๕-๑๗๘๓) พระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๒ (พ.ศ.๑๗๘๓-๑๘๑๓) พระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๔ (พ.ศ.๑๘๘๔-๑๘๙๔) และพระเจ้า วิกรมพาหุท่ี ๓ (พ.ศ.๑๙๐๒-๑๙๑๗)๑๙๙ แต่ความผูกพันระหว่างอาจารย์กับศิษย์ ของพระสงฆ์สองกลุ่มยังคงสัมพันธ์กันอยู่๒๐๐ พระสังฆรักษิตมหาสามีแห่งคณะสงฆ์