Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศ

หนังสือการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศ

Description: หนังสือการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศ

Search

Read the Text Version

งานวชิ าการเพอ่ื ศกึ ษาเรยี นรู้ประวตั ศิ าสตรศ์ รลี งั กา เลม่ ๑๐

เหตุการณ์ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ภาพจิตรกรรมต�ำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช วัดวังตะวันตก เมืองนครศรีธรรมราช การประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในอาณาจักรตามพรลิงค์ พิมพ์คร้ังท่ี ๑ : พ.ศ.๒๕๖๓ จ�ำนวนพิมพ์ : ๕๐๐ เล่ม ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร. การประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในอาณาจักรตามพรลิงค์. นครปฐม: สาละพิมพการ, ๒๕๖๓ ๓๑๖ หน้า. ๑. ลังกาวงศ์-พระพุทธศาสนา. ๒. การประดิษฐาน-อาณาจักรตามพรลิงค์. I. ช่ือเรื่อง ISBN 978-616-572-993-2 กองบรรณาธิการ : พระครูศรีปัญญาวิกรม, ผศ.ดร. พระมหาถนอม อานนฺโท. ดร. ดร.ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ วันเพ็ญ ปะกินะโม, เอมมิกา โน้ตสุภา พิสูจน์อักษร : พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร. ออกแบบปก : อเนก เอื้อการุณวงศ์ ด�ำเนินการจัดพิมพ์ : สาละพิมพการ ๙/๖๐๙ ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๒๐ โทร. ๐-๒๔๒๙๒๔๕๒, ๐๘๙-๘๒๙-๘๒๒๒, ๐๖๑-๒๓๒-๕๙๒๘ email:[email protected]

ก คำ� นยิ ม ประเทศไทยมีปฏิสัมพันธ์ทางศาสนากับประเทศศรีลังกามายาวนาน ความสัมพันธ์ดังกล่าวปรากฏเห็นในรูปแบบของหลักค�ำสอนและคติความเชื่อท้ัง ฝ่ายมหายานและเถรวาท กล่าวเฉพาะพระพุทธศาสนามหายาน สันนิษฐานว่าไทย น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรศรีวิชัย หลักฐานยืนยันคือพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชองค์เดิมและพระบรมธาตุไชยา อีกแห่งหน่ึงเป็นหลักฐานโบราณคดี บริเวณท่ีราบระตุโบโกแห่งชวาตอนกลางได้ระบุ นามว่าพระโพธิสัตว์กมลปาณิ ซ่ึงสอดคล้องกับนามพระโพธิสัตว์ปทุมปาณิแห่งจารึกวัดเสมาเมือง อ�ำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ส่วนพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาหรือลัทธิลังกาวงศ์นั้น ได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยต้ังแต่สมัยอาณาจักรทวารดี ดังปรากฏเห็นรอย พระพุทธบาทท่ีวัดสระมรกต อ�ำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และโบราณสถาน หลายแห่งบริเวณจังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี ส�ำหรับงานวิจัยเร่ือง ”การประดษิ ฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศใ์ นอาณาจักร ตามพรลิงค์„ เป็นผลงานค้นคว้าเกี่ยวกับการเผยแผ่ลัทธิลังกาวงศ์ในประเทศไทย อีกเล่มหน่ึง ซ่ึงมีลักษณะแตกต่างจากงานเขียนเล่มอ่ืน กล่าวคือผู้วิจัยพยายามสืบค้น เร่ืองราวประวัติศาสตร์ไทยผ่านหลักฐานของศรีลังกา ขณะเดียวกันก็ศึกษาวิเคราะห์ หลักฐานฝ่ายไทยเปรียบเทียบศรีลังกา โดยก�ำหนดระยะเวลาเฉพาะสมัยอาณาจักร ตามพรลิงค์ ผลจากการวิจัยท�ำให้ทราบว่าอาณาจักรไทยที่ปรากฏในหลักฐานของ ศรีลังกาครั้งแรกช่ือว่าตามพรลิงค์ การปรากฏตัวของตามพรลิงค์นอกจากจะชี้ให้เห็น ว่าเป็นฝ่ายรับพระพุทธศาสนามาจากศรีลังกาแล้ว ยังเป็นผู้สร้างความเสียหายให้แก่ ศรีลังกาด้วย เพราะได้ยกทัพบุกรุกเกาะลังกาถึงสองครั้ง จุดเด่นของงานวิจัยเล่มนี้ นอกจากจะวเิ คราะหก์ ารประดษิ ฐานลทั ธลิ งั กาวงศใ์ นอาณาจกั รตามพรลงิ คอ์ ยา่ งละเอยี ด แล้ว ผู้วิจัยยังสืบค้นเหตุการณ์บ้านเมืองและวิเคราะห์การพระศาสนาของศรีลังกา สมัยเดียวกันอย่างชัดเจนด้วย

ข ขอแสดงความชื่นชมยินดีและอนุโมทนา พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร. อาจารย์ประจ�าวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ท่ีเพียรพยายามสร้างสรรค์งานอันทรงคุณค่า ด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างศรีลังกากับไทย อันจะเกิดการศึกษาเรียนรู้กันและกันสืบไป (พระราชปริยัติกวี, ศ.ดร.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ค คำ� นยิ ม ข้าพเจ้าได้รู้จักพระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร. อาจารย์ประจ�ำวิทยาลัยสงฆ์ บรุ รี ัมย์ ต้ังแตด่ ำ� รงต�ำแหน่งรองคณบดบี ัณฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ตอนน้ันท่านได้มาศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาพระพุทธศาสนา และ เม่ือสอบวิทยานิพนธ์ข้าพเจ้าก็ท�ำหน้าที่เป็นประธานสอบ จากนั้นไม่ได้พบกันนาน ทราบภายหลังว่าท่านได้ไปศึกษาต่อปริญญาเอกท่ีมหาวิทยาลัยเกลาณียะ ประเทศ ศรีลังกา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าเคยไปศรีลังกาหลายคร้ังแต่ไม่มีโอกาสได้ พบกัน เคยอ่านบทความเก่ียวกับศรีลังกาในวารสารศิลปวัฒนธรรม มีผู้ใช้นามปากกา ว่าลังกากุมาร ตอนแรกไม่ทราบว่าเป็นใครมาทราบทีหลังว่าเป็นพระมหาพจน์ สมยั ศกึ ษาอยทู่ ศี่ รลี งั กาพระมหาพจนเ์ ปน็ ผสู้ นใจประวตั ศิ าสตร์ นอกจากเขยี น วทิ ยานพิ นธเ์ ปน็ ภาษาองั กฤษแลว้ ทา่ นยงั ไดใ้ ชเ้ วลาวา่ งศกึ ษาภาษาสงิ หลดว้ ย นกั ศกึ ษา ไทยท่ีไปเรียนศรีลังกาส่วนใหญ่ได้ความรู้ภาษาอังกฤษกลับมา แต่พระมหาพจน์ได้ ศึกษาภาษาสิงหลด้วย ซึ่งเป็นภาษาประจ�ำชาติศรีลังกา ส�ำหรับงานวิชาการของท่านนั้น บางทีก็ใช้ข้อมูลภาษาสิงหลโดยตรง ท�ำให้นึกถึงพระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์วิสุทธิ มรรค ซึ่งเดินทางจากอินเดียไปศรีลังกา เพ่ือแปลคัมภีร์อรรถกถาภาษาสิงหลโบราณ เป็นอรรถกถาภาษาบาลี เช่น คัมภีร์สมันตปาสาทิกา ซึ่งเป็นงานแปลไม่ใช่งานแต่ง พระมหาพจน์นั้นเม่ือเขียนงานเก่ียวกับศรีลังกา มักใช้ข้อมูลภาษาสิงหลเป็นปฐมภูมิ และฉบับแปลภาษาอังกฤษประกอบ นักวิชาการเช่นนี้หาไม่ได้ง่ายนัก เม่ือกลับมาเมืองไทย พระมหาพจน์ได้เป็นอาจารย์สอนประจ�ำวิทยาลัยสงฆ์ บุรีรัมย์ ได้อุทิศเวลาต่องานวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศรีลังกา โดยเฉพาะ ความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศไทย ผลงานของพระมหาพจน์ได้ขยาย พรมแดนความรยู้ ง่ิ ขน้ึ ซงึ่ อทิ ธพิ ลงานเขยี นประวตั ศิ าสตรพ์ ระพทุ ธศาสนาเชน่ นป้ี รากฏ เห็นในคัมภีร์ของพระนักปราชญ์ล้านนา ดังเช่น คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ของพระ รตั นปญั ญาเถระ และคมั ภรี ต์ ำ� นานมลู ศาสนาของพระพทุ ธพกุ ามและพระพทุ ธญาณเจา้

ง ซงึ่ ไดแ้ นวทางการแตง่ และขอ้ มลู หลกั มาจากคมั ภรี ท์ ปี วงศแ์ ละคมั ภรี ม์ หาวงศ ์ ในวงการ ภาษาบาลี ถ้าใครต้องการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในศรีลังกาแล้ว จะขาด ต�าราหลัก ๒ เล่มน้ีไม่ได้ กล่าวได้ว่าศรีลังกำศึกษำโดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา พระมหาพจน์ถือว่าเป็นคุรุทางด้านน้ี เพราะท่านผลิตผลงาน หลายเล่ม ล่าสุดช่วงการระบาดของโรคโควิด ๑๙ (COVID-19) ท่านได้ตีพิมพ์หนังสือ เล่มหนึ่งและได้ส่งต้นฉบับให้ข้าพเจ้าอ่าน ข้าพเจ้าเห็นว่ามีประเด็นน่าสนใจ จึงให้ ขอ้ เสนอแนะและต้งั ขอ้ สงั เกต เพือ่ ปรบั ปรุงงานวิชาการตอ่ ไป ผลงานของพระมหาพจน์ ทุกเล่มท�าให้ข้าพเจ้าได้ความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะสิ่งท่ีเคยสงสัยก็ท�าให้หายสงสัย ”กำรประดิษฐำนพระพุทธศำสนำลังกำวงศ์ในอำณำจักรตำมพรลิงค์„ เป็น งานวิจัยที่อธิบายจุดเร่ิมต้นกล่าวคือการเมืองและการพระศาสนาในศรีลังกาอย่าง ละเอียด จากน้ันจึงพรรณนาบทบาทของสมณทูตศรีลังกา ผู้เดินทางมาเผยแผ่ พระศาสนาในอาณาจักรตามพรลงิ คอ์ ย่างชัดเจน ประเด็นนา่ สนใจคือผ้วู จิ ยั อา้ งองิ หลกั ฐานชั้นต้นกล่าวคือคัมภีร์ภาษาบาลีและคัมภีร์ภาษาสิงหล ซึ่งเป็นผลงานของพระสงฆ์ นักปราชญ์ชาวศรีลังกาท้ังสิ้น นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ผู้วิจัยยังใช้ข้อมูลที่เป็นภาษา สิงหล ซ่ึงนักวิชาการไทยส่วนใหญ่ใช้ฉบับแปลจากภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่หนังสือ แปลเหลา่ นนั้ บางทกี แ็ ปลไมต่ รงกบั ตน้ ฉบบั งานวจิ ยั เลม่ นข้ี า้ พเจา้ ไดม้ โี อกาสอา่ นตลอด ท้ังเล่ม รู้สึกช่ืนชมผู้วิจัยที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลท้ังฝ่ายศรีลังกาและไทยได้ อย่างละเอียด โดยช้ีให้เห็นว่าลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแผ่ยังอาณาจักรตามพรลิงค์ อย่างไร วิธีการประดิษฐานลัทธิลังกาวงศ์ในอาณาจักรตามพรลิงค์เป็นอย่างไร และ อธิบายประเด็นส�าคัญกล่าวคืออาณาตามพรลิงค์ได้ตอบแทนศรีลังกาอย่างไรบ้าง ขออนุโมทนายินดีกับพระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร. ซ่ึงผลิตผลงานเชิง ประวัตศิ าสตรอ์ ันทรงคุณคา่ สามารถเป็นแหล่งค้นควา้ วิชาการด้านศรีลงั กาเปน็ อย่างดี หวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ วา่ จกั ผลติ ผลงานเชน่ นเี้ รอ่ื ยไป เพอื่ เปน็ ประโยชนต์ อ่ วงวชิ าการตอ่ ไป (พระราชปริยัติมุนี, รศ.ดร.) คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จ ค�านยิ ม สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีปณิธาน คือเพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ เพ่ือ พฒั นาจติ ใจและปญั ญาในระดับชาตแิ ละนานาชาต ิ โดยเนน้ กลยทุ ธห์ ลกั คอื ๑) พฒั นา นักวิจัย ผลิตผลงานวิจัยด้านพระพุทธศาสนาที่ครอบคลุมทุกกลุ่มความรู้ และสร้าง เครือข่ายความร่วมมือนักวิจัยและการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ๒) ส่งเสริมให้มี การเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการ น�าองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอน การพัฒนาบุคคลและสังคม และกิจการคณะสงฆ์ ท้ังในระดับชาติและนานาชาติ ๔) ส่งเสริมให้ผลการวิจัยได้รับ การอ้างอิง การน�าเสนอ การน�าไปใช้ การตีพิมพ์ และได้รับรางวัลระดับชาติและ นานาชาติ และ ๕) พัฒนาระบบการบริหารการจัดการงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ งานวิจัยเร่ือง ”กำรประดิษฐำนพระพุทธศำสนำลังกำวงศ์ในอำณำจักร ตำมพรลิงค์„ ของพระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร. อาจารย์ประจ�าวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย ์ ได้รับการพิจารณาจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์แล้วว่า เป็นผลงานที่มีคุณค่าเชิง ประวตั ศิ าสตรท์ างพระพทุ ธศาสนา โดยเฉพาะความสมั พนั ธท์ างศาสนาระหวา่ งศรลี งั กา กับไทยสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ ความส�าคัญของงานวิจัยเล่มน้ีคือการอ้างอิง หลักฐานท้ังฝ่ายศรีลังกาและฝ่ายไทย ซึ่งหลักฐานท้ังสองฝ่ายต่างสอดคล้องกัน อย่างลงตัว จึงช้ีให้เห็นว่าการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในอาณาจักร ตามพรลิงค์ มีความสมเหตุสมผลในบริบทของประวัติศาสตร์ท้ังการเมืองและ การศาสนา ขอช่ืนชมยินดีกับพระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร. ที่ตีพิมพ์งานวิจัยเพ่ือเผยแพร่ แก่วงวิชาการ ซึ่งสามารถต่อยอดองค์ความรู้เก่ียวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ระหว่างศรีลังกาและไทยได้เป็นอย่างดี (พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.) ผู้อ�านวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ค�ำนำ� การปฏสิ มั พนั ธท์ างศาสนาและการเมอื งระหวา่ งไทยกบั ศรลี งั กามหี ลายเหตกุ ารณ์ ชวนให้ศึกษาค้นคว้า เหตุเพราะไทยและศรีลังกามีประวัติศาสตร์เก่ียวข้องเช่ือมโยง กันมาหลายศตวรรษ บางครั้งศรีลังกาเป็นฝ่ายสงเคราะห์ไทยในลักษณะของ ศาสนูปการ บางคร้ังไทยเราก็เป็นฝ่ายสงเคราะห์ศรีลังกาคืนบ้างในฐานะช่วยฟื้นฟู พระศาสนา ทั้งน้ีไม่รวมถึงการเกื้อกูลด้วยการถ่ายโอนศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และ ประติมากรรม ซึ่งข้อมูลเหล่าน้ีมีนักวิชาการไทยและศรีลังกาช่วยกันศึกษาค้นคว้าจน ละเอียดแล้ว ผู้วิจัยในฐานะเคยพ�ำนักอาศัยศรีลังกาเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ อีก ท้ังศึกษาประวัติศาสตร์ศรีลังกาและไทยในสายตาของศรีลังกามานาน จึงพิจารณาเห็น ว่าประวัติศาสตร์ไทยในมุมมองของศรีลังกามีผู้ศึกษาค้นคว้าน้อยมาก หากมีใคร สักคนท�ำหน้าที่สืบค้นแล้วน�ำมาเชื่อมโยงกับหลักฐานฝ่ายไทย น่าจะสามารถเติมเต็ม ความสงสัยหลายอย่างได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนเร่ิมต้นจับประเด็นงานวิจัยจากข้อความในคัมภีร์มหาวงศ์ ๒ แห่ง หน่ึงน้ัน ว่าด้วยพระเจ้าจันทรภาณุแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ของไทย ได้ส�ำแดง นาวิกานุภาพด้วยการยกทัพเข้าโจมตีเกาะลังกา เพ่ือแย่งชิงพระเข้ียวแก้วและบาตร ของพระพุทธเจ้า (คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค ๒, หน้า ๒๔๙ และ ๒๖๐) อีกหนึ่งน้ัน กลา่ วถงึ พระเจา้ ปรากรมพาหแุ หง่ อาณาจกั รดมั พเดณยิ ะของศรลี งั กา ไดอ้ าราธนานมิ นต์ พระธรรมกิตติเถระชาวอาณาจักรตามพรลิงค์ ให้ไปช่วยฟื้นฟูการพระศาสนาใน ศรลี งั กา ซง่ึ ก�ำลังเสอ่ื มโทรมเสียหายเพราะพระสงฆ์พากันประพฤตินอกธรรมนอกวินยั (คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค ๒, หน้า ๒๖๔) ค�ำส�ำคัญของงานวิจัยชิ้นน้ีจึงสรุปรวมลงที่ พระเจ้าจันทรภาณุ พระเจ้า ปรากรมพาหุ และพระธรรมกิตติเถระ เพอื่ เชอ่ื มโยงและสงั เคราะหเ์ นอื้ หาใหร้ วมกนั เปน็ เนอื้ เดยี ว การวเิ คราะหข์ อ้ มลู ที่เก่ียวข้องจึงปรากฏเห็นเป็นจ�ำนวนมากในบทท่ี ๒ และบทท่ี ๓ เพราะผู้วิจัยต้องการ

ช ช้ีให้เห็นว่าบุคคลท้ังสามมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มิใช่มีอ้างถึงเฉพาะใน หลักฐานฝ่ายศรีลังกาเท่าน้ัน แต่ระบุถึงในหลักฐานโบราณคดีของไทยด้วย นอกจาก น้ัน การจะร้อยเรียงเรื่องราวของบุคคลท้ังสามให้สมบูรณ์มากข้ึน จ�ำเป็นต้องวิเคราะห์ โดยอาศัยหลักฐานปฐมภมู ิของศรีลงั กาบา้ ง หลักฐานของนักวิชาการสมัยใหม่บ้าง ส่วน การวิเคราะห์ ๔ ประเด็น กล่าวคือ อิทธิพลวรรณกรรม การก่อตั้งคณะป่าแก้ว คติ ความเช่ือพระเข้ียวแก้ว และคติการสร้างพระบรมธาตุ ผู้วิจัยได้หยิบยกเอามาจาก จุดเด่นของวรรณกรรมประเภทลายลักษณ์อักษรของไทย เพราะเหตุว่าอิทธิพล ความเช่ือเหล่านี้ล้วนเป็นที่รู้จักแพร่หลายของชาวพุทธศรีลังกาสมัยอดีต เช่ือว่าไทยน่า จะรับมาจากศรีลังกาอีกทอดหนึ่ง ส่ิงท่ีต้องออกตัวส�ำหรับนักวิชาการน้อยใหญ่ตรงน้ีคือ เนื้อหาท่ีน�ำมาเขียนครั้ง นมี้ หี ลกั ฐานกลา่ วอา้ งทงั้ ของศรลี งั กาและไทยคอ่ นขา้ งจำ� กดั เทา่ ทม่ี อี ยกู่ ล็ ว้ นเปน็ เอกสาร ชั้นปฐมภูมิเป็นหลัก อีกประการหน่ึง ข้อมูลใกล้มือก็น้อยนักจ�ำเป็นต้องเดินทางไปศรี ลังกาหลายคร้ัง เพื่อสืบค้นหาเอกสารหลักฐานตามห้องสมุดหลายแห่ง จึงเป็นเหตุให้ เวลาท�ำการวิจัยย่นระยะส้ันลงกว่าท่ีคาดหมายเอาไว้ เพราะจ�ำกัดด้วยเวลาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเน้นการวิเคราะห์เป็นหลัก โดยใช้หลักฐานปฐมภูมิของศรีลังกาเป็นบทตั้ง หากนักวิชาการเห็นว่าประเด็นใดยังไม่สมบูรณ์ ผู้วิจัยก็พร้อมน้อมรับโดยไม่โต้แย้ง เพราะเชื่อว่าการเห็นต่างเป็นความงอกงามทางวิชาการ และสามารพัฒนาต่อยอดจน กลายเป็นองค์ความรู้ในที่สุด ผวู้ จิ ยั กราบขอบพระคณุ บรู พาจารยช์ าวไทยและศรลี งั กา ผบู้ นั ทกึ ประวตั ศิ าสตร์ ให้คนรุ่นหลังได้สืบค้นจนทราบถึงความเป็นจริง กราบขอบพระคุณพระเถระผู้ใหญ่ ชาวศรีลังกาท่ีเมตตาตอบค�ำถามอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ขอบพระคุณสหธรรมิกชาว ศรีลังกาและชาวรัฐฉานตลอดท้ังภิกษุณีชาวไทยที่คอยช่วยเหลือเสาะหาหนังสือต�ำรา เก่าหายาก อนุโมทนาขอบคุณญาติโยมชาวศรีลังกาหลายท่านที่เป็นสารถีน�ำส่ง ตลอด จนช่วยเหลือติดตามเอกสารหายากจนส�ำเร็จตามเจตนาประสงค์ เหนือส่ิงอื่นใดกราบ ขอบพระคุณอย่างสูงย่ิง Ven. Tallalle Mahinda Thero และ Ven. Mapalane Shanta Thero เจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชัยเสขรารามแห่งเมืองโคลัมโบ

ฌ ประเทศศรลี งั กา ทเี่ มตตาใหท้ พ่ี กั และดแู ลตลอดระยะเวลาการเดนิ ทางไปสบื คน้ เอกสาร หลักฐานหลายครั้ง กราบขอบพระคุณพระราชปริยัติกวี, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย พระราชปริยัติมุนี, รศ.ดร. คณบดีคณะพุทธศาสตร์ และ พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อ�านวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ที่เมตตาเขียนค�า นิยมให้ความความยินดี กราบขอบพระคุณพระมหาถนอม อานันโท, ดร. รองผู้อ�านวย การฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ และพระครูศรีปัญญาวิกรม, ผศ.ดร. ผู้อ�านวย การบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาปรัชญา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ท่ีให้ก�าลังใจในการผลิตผล งานวิชาการด้วยดีเสมอมา สุดท้ายอนุโมทนาขอบคุณ คุณสุรเชษฐ์ แก้วสกุล ที่มอบ ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดวังตะวันตก เพ่ือประกอบหนังสือ จนท�าให้หนังสือเล่มนี้ สมบูรณ์มากข้ึน (พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร.) บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ญ ชื่อรายงานการวิจัย : การประดษิ ฐานพระพทุ ธศาสนาลงั กาวงศใ์ นอาณาจกั ร ตามพรลิงค์ ผู้วิจัย : พระมหาพจน์ สุวโจ, ผศ.ดร., พระครูศรปี ัญญาวิกรม, ผศ.ดร, พระมหาถนอม อานนฺโท, ดร. ส่วนงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ปีงบประมาณ : ๒๕๕๙ ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ กล่าวคือ ๑) เพื่อศึกษาหลักฐาน ทางโบราณคดีและประวัติความเป็นมาของอาณาจักรตามพรลิงค์ ๒) เพ่ือศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างศรีลังกากับอาณาจักรตามพรลิงค์ และ ๓) เพื่อศึกษาการ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในอาณาจักรตามพรลิงค์ ผลจากการวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เผยแผ่เข้าสู่อาณาจักรตามพรลิงค์ แบง่ เปน็ ๒ สมยั ระยะแรกสมยั ราชวงศไ์ ศเลนทรแหง่ อาณาจกั รศรวี ชิ ยั ปกครอง หวั เมอื งบรเิ วณคาบสมทุ รไทย ซงึ่ สมยั นนั้ พระพทุ ธศาสนามหายานไดร้ บั ราชปู ถมั ภ์ เป็นอย่างดี ส�ำหรับพระสงฆ์ศรีลังกาที่มาเผยแผ่สมัยน้ันล้วนสังกัดส�ำนัก อภัยคิรีวิหาร ซึ่งเป็นผู้ฝักใฝ่ค�ำสอนมหายาน สังเกตได้จากเร่ืองราวของ พระเขยี้ วแกว้ ทปี่ รากฏเหน็ ในวรรณกรรมประเภทลายลกั ษณอ์ กั ษรและการสรา้ ง พระบรมธาตุเจดีย์ ล้วนบ่งชัดว่าเป็นคติความเชื่อของคณะสงฆ์ส�ำนักอภัยคิรี วิหารแห่งศรีลังกา ส่วนระยะหลังเกิดขึ้นสมัยอาณาจักรโปโฬนนารุวะแห่ง ศรีลังกา คราวเม่ือพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชปฏิรูปพระพุทธศาสนา สมัยน้ี อาณาจักรน้อยใหญ่ตา่ งยอมรับว่าคณะสงฆศ์ รีลังกาเครง่ ครดั ในค�ำสอนเถรวาท

ฎ นิกาย หลักฐานระบุว่านอกจากจะมีพระสงฆ์ศรีลังกาออกไปเผยแผ่ลัทธิ ลังกาวงศ์ยังต่างแดนแล้ว พระสงฆ์แห่งดินแดนอุษาคเนย์ต่างพากันเดินทางมา บวชแปลงพร้อมศึกษาจารีตปฏิบัติตามแบบศรีลังกาด้วย ส�ำหรับคณะสงฆ์ ศรีลังกาที่เดินทางมาเผยแผ่ยังอาณาจักรตามพรลิงค์น้ันเป็นท่ีรู้จักกันในชื่อว่า ป่าแก้ววนรัตน์ ส่วนความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างศรีลังกากับอาณาจักร ตามพรลิงค์น้ัน ปรากฏเห็นเด่นชัดสมัยอาณาจักรดัมพเดณิยะของศรีลังกา แต่เป็นลักษณะขัดแย้งมากกว่าความช่วยเหลือเก้ือกูลกันและกัน หลักฐาน ฝ่ายศรีลังการะบุว่าพระเจ้าจันทรภาณุแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ ได้ยกทัพเรือ อันย่ิงใหญ่เกรียงไกรไปบุกรุกเกาะลังกาถึง ๒ คร้ัง จุดประสงค์คือต้องการ ครอบครองพระเขี้ยวแก้วอันเป็นส่ิงศักด์ิสิทธ์ิของชาวลังกา แต่ก็พ่ายแพ้จน ทำ� ใหพ้ ระเจา้ จนั ทรภาณสุ วรรคตในสมรภมู ิ เหตเุ ปน็ เชน่ นนั้ เพราะพระเขยี้ วแกว้ ไดร้ บั การเชอื่ ถอื วา่ เปน็ สทิ ธโิ ดยชอบธรรมสำ� หรบั การครองราชยเ์ หนอื เกาะลงั กา ผู้ครอบครองรักษาย่อมได้รับการยกย่องจากชาวศรีลังกา สันนิษฐานว่าพระเจ้า จันทรภาณุแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระองค์มีสิทธิโดย ชอบธรรมที่จะครองราชย์เหนือเกาะลังกาเช่นกัน เพราะครั้งหนึ่งพระเข้ียวแก้ว เคยมาประดิษฐานบริเวณหาดทรายแก้วชเลรอบหรือเมืองนครศรีธรรมราช คติความเช่ือเก่ียวกับพระเข้ียวแก้วดังกล่าวน่าจะทรงอิทธิพลต่อกษัตริย์ อาณาจักรตามพรลิงค์ จนเป็นเหตุให้พระองค์ยกทัพไปบุกรุกเกาะลังกา ดังกล่าว

ฏ Research Title : The Establishment of Lankavamsa Buddhism in Tambralinga Kingdom Researchers : Phramaha Phocana Suvaco, Ph.D, Phrakrusripanyavikrom, Ph.D. Phramaha Thanorm Arnando, Ph.D. Department : Mahachulalongkornrajavidyalaya University Burirum Buddhist College Fiscal Year : 2559/2016 Research Fund : Mahachulalongkornrajavidyalaya University Abstract There are 3 aims of this research; 1) to study archaeological documents and history of Tambralinga kingdom, 2) to study the relation between Sri Lanka and Tambralinga kingdom and 3) to study the establishment of Lankavamsa Buddhism in Tambralinga kingdom. The result of research finds that; Lankavamsa Buddhism spreads to Tambralinga kingdom into 2 periods. The former appears in Shailendra dynasty of Srivijaya who occupies Thai peninsular. This dynasty mainly supports and promotes Mahayana Buddhism. Sri Lankan missionary who propagates Buddhism in Srivijaya kingdom belongs to Abhayagiri School. This group prefers to Mahayana doctrine. This refers to the story of the Tooth Relic which records in writing literatures and story of Stupa. The latter appears in Polonnaruwa kingdom of Sri Lanka when the king Prakamabahu, the Great, reforms the Sangha. This time,

ฐ many Buddhist countries accept Sri Lanka as the land of pious and austere monks. The documents show that not only Sri Lankan missionary propagates Buddhism in aboard, but monks of the south-east Asia also come to ordinate and learn tradition of Sri Lanka. Specially, Sri Lankan missionary who propagates Lankavamsa Buddhism to Tambralinga kingdom knows as Vanaratana Forest Monastery. The political relation between Sri Lanka and Tambralinga kingdom distinctly appears in Dambadeniya kingdom of Sri Lanka as confliction character. The reference of Sri Lanka mentions that king Chandrabanu of Tambralinga kingdom naval invades Sri Lanka twice. The objective is to occupy the Tooth Relic as the sacred thing. The invasion ends with the death of king Chandrabanu. It is believed that the Tooth Relic was accepted as the legitimate right to the sovereignty. Those who occupy was accepted and respected by people. Probably, king Chandrabanu considers that he has the legitimate right to the sovereignty because the Toot Relic used to enshrine in the beach of Nakon Sri Thammarat. This cult probably influences to king of Tambralinga and causes him to invade Sri Lanka.

สารบญั หน้า ค�ำนิยม ก ค�ำน�ำ ฉ บทคัดย่อภาษาไทย ญ บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ฏ ค�ำอธิบายสัญลักษณ์และค�ำย่อ ณ บทท่ี ๑ บทน�ำ ๓ ๑.๑ ความส�ำคัญของปัญหา ๓ ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๖ ๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย ๖ ๑.๔ นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย ๖ ๑.๕ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ๗ ๑.๖ วิธีการด�ำเนินการวิจัย ๑๕ ๑.๗ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑๕ บทที่ ๒ หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติความเป็นมาของอาณาจักร ๒๕ ตามพรลิงค์ ๒๕ ๒.๑ หลักฐานทางโบราณคดี ๒๕ ๒.๑.๑ ศิลาจารึก ๓๖ ๒.๑.๒ เอกสารโบราณ ๕๖ ๒.๑.๓ โบราณวัตถุ ๖๓ ๒.๑.๔ โบราณสถาน ๗๐ ๒.๒ ประวัติความเป็นมาของอาณาจักรตามพรลิงค์ ๗๐ ๒.๒.๑ ตามพรลิงค์ในฐานะหลากหลายช่ือ

๒.๒.๒ ตามพรลิงค์ในฐานะเมืองท่า ๘๒ ๒.๒.๓ ตามพรลิงค์ในฐานะหลากหลายศาสนา ๙๐ ๒.๒.๔ ตามพรลิงค์ในฐานะรัฐอิสระ ๙๙ ๒.๓ สรุป ๑๐๓ บทที่ ๓ ความสัมพันธ์ระหว่างศรีลังกากับอาณาจักรตามพรลิงค์ ๑๑๓ ๓.๑ อาณาจักรโปโฬนนารุวะก่อนสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ ๑๑๓ ๓.๒ สมัยพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๑ ๑๑๘ ๓.๒.๑ การสร้างบ้านแปลงเมือง ๑๑๘ ๓.๒.๒ การปฏิรูปพระศาสนา ๑๒๑ ๓.๓ ความสัมพันธ์กับอาณาจักรตามพรลิงค์ ๑๒๙ ๓.๔ อาณาจักรดัมพเดณิยะก่อนการกอบกู้บ้านเมือง ๑๓๗ ๓.๔.๑ การกอบกู้บ้านเมือง ๑๓๙ ๓.๔.๒ การฟื้นฟูพระศาสนา ๑๔๗ ๓.๕ ความสัมพันธ์กับอาณาจักรตามพรลิงค์ ๑๕๓ ๓.๖ สรุป ๑๕๖ บทที่ ๔ การประดิษฐานพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในอาณาจักรตามพรลิงค์ ๑๖๕ ๔.๑ ด้านวรรณกรรม ๑๖๕ ๔.๒ ด้านการก่อตั้งคณะป่าแก้ว ๑๗๖ ๔.๓ ด้านคติความเช่ือพระเขี้ยวแก้ว ๑๘๖ ๔.๔ ด้านคติการสร้างพระบรมธาตุ ๒๐๐ ๔.๕ สรุป ๒๐๙ บทท่ี ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๑๗ ๕.๑ บทสรุป ๒๑๗ ๕.๒ องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ๒๒๒ ๕.๓ ข้อเสนอแนะ ๒๒๓ บรรณานุกรม ๒๒๔ ภาคผนวก ๒๕๑ ภาคผนวก ก บทความวิชาการ ๑ ๒๕๒ ภาคผนวก ข บทความวิชาการ ๒ ๒๗๘ ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย ๒๙๕

ณ ค�ำอธิบายสัญลักษณ์และค�ำย่อ พระไตรปิฎกและอรรถกถา วิ.มหา. (ไทย) = วินัยปิฏก มหาวรรค ม.มู. (ไทย) = มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ องฺ.ทสก. (ไทย) = อังคุตตรนิกาย ทสกวรรค ขุ.ม. (ไทย) = ขุททกนิกาย มหาวรรค สมันต ๑ = คัมภีร์สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ สุมังคลวิลาสินี = คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อ.ขุ.ธ. ๒ = อรรถกถา ขุททกนิกาย ธรรมบท ภาค ๒ คัมภีร์ส�ำคัญ จารึก ๑ = จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ พุทธศักราช ๒๕๒๙ จารึก ๒ = จารึกในประเทศไทย เล่ม ๒ พุทธศักราช ๒๕๒๙ จารึก ๕ = จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ พุทธศักราช ๒๕๒๙ ต�ำนานพระธาตุ = ต�ำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ต�ำนานเมือง = ต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราช ถูปวงศ์ = พระคัมภีร์ถูปวงศ์ ต�ำนานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์ ทาฐาธาตุวงศ์ = พระคัมภีร์ทาฐาธาตุวงศ์ ต�ำนานพระเขี้ยวแก้ว ทีปวงศ์ = พระคัมภีร์ทีปวงศ์ ต�ำนานว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป พระนิพพานโสตร = พระนิพพานโสตร ฉบับศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ ส�ำนวนที่ ๑ มหาวงศ์ ๑ = คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค ๑ ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวงศ์ ๒ = คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค ๒ ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศิลปะทักษิณ = ศิลปทักษิณก่อนพุทธศตวรรษท่ี ๑๙

ต UCHC = University of Ceylon Press, History of Ceylon, Vol.I, Pt.II. JCBRAS = Journal of the Ceylon Branch of the Royal Asiatic Society หมายเหตุ : อกั ษรยอ่ ในงานวจิ ยั น้ี หากเปน็ พระไตรปฎิ กอา้ งองิ จากพระไตรปฏิ กภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๓๙ ผู้วิจัยได้ระบุหมายเลขและค�ำย่อ พระไตรปิฎกเป็น เล่ม/ข้อ/หน้า หลังค�ำย่อชื่อคัมภีร์ เช่น ม.มู. (ไทย) = มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑๒/๑๘๑-๑๘๔/๑๘๖-๑๙๗ หมายถึง เล่ม ๑๒ ข้อท่ี ๑๘๑-๑๘๔ หน้าท่ี ๑๘๖-๑๙๗ ส�ำหรับคัมภีร์อรรถกถาอ้างจากฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนคัมภีร์หรือหนังสือนอกนั้นอ้างจากต้นฉบับ





ตามพรลิงค์ 1

บรรยายภาพ: ภาพจิตรกรรมฝาผนังต�ำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช วัดวังตะวันตก เมืองนครศรีธรรมราช

บทท่ี ๑ บทน�ำ ๑.๑ ความส�ำคัญของปัญหา อาณาจักรตามพรลิงค์พัฒนามาจากเมืองท่าค้าขาย (seaport) เพราะตั้งอยู่ ในท�ำเลอันเหมาะสมเป็นเส้นทางการค้าของพ่อค้าวาณิชต่างชาติ เช่น อินเดีย จีน ชวา มลายู ถือว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจส�ำคัญแห่งหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู นอกจากน้ัน ยังมีความเหมาะสมด้านภูมิศาสตร์ เพราะมีท่ีราบชายฝั่งทะเลมากและอุดมสมบูรณ์ อีกท้ังมีแม่น้�ำล�ำคลองหลายสายไหลผ่าน จึงท�ำให้มีพื้นท่ีท�ำนาเพาะปลูกมากกว่า เมืองอ่ืน เป็นเหตุให้มีการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว๑ สันนิษฐานว่าเมือง ตามพรลิงค์น่าจะเกิดมีข้ึนตั้งแต่พุทธศตวรรษท่ี ๗-๘ เพราะมีหลักฐานหลายแห่งกล่าว ถึงในฐานะเป็นเมืองท่าส�ำคัญอันเป็นท่ีรู้จักกันดีในหมู่นักเดินเรือและพ่อค้าชาวอินเดีย อาหรับและจีน๒ หลักฐานบอกว่าเมืองตามพรลิงค์เร่ิมสั่งสมอ�ำนาจทางการเมืองมา ต้ังแต่พุทธศตวรรษท่ี ๑๔ คร้ันต่อมาอาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายลง จึงแยกตัวปกครอง เป็นอิสระและสามารถสร้างความรุ่งเรืองม่ันคงอย่างยาวนาน โดยมีเมืองขึ้นเป็นขอบ ขัณฑสีมา ๑๒ เมือง เรียกกันว่า ”เมืองขึ้นสิบสองนักษัตร„ อันได้แก่ เมืองสายบุรี เมืองปัตตานี เมืองกะลันตัน เมืองปะหัง เมืองไทรบุรี เมืองพัทลุง เมืองตรัง เมือง ชุมพร เมืองบันไทยสมอ เมืองสะลุเอา เมืองตะก่ัวป่า และเมืองกระบุรี๓ แสดงให้เห็น ๑ ดูรายละเอียดใน ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์, ”ตามพรลิงค์”, (มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๕), หน้า ๘๐-๘๑. ๒ ดูรายละเอียดใน ปรชี า นุน่ สุข, ”รอ่ งรอยชมุ ชนโบราณของพราหมณใ์ นนครศรธี รรมราช”, (มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๗), หน้า ๓๔-๓๕. ๓ วิเชียร ณ นคร และคณะ, นครศรีธรรมราช, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, ๒๕๒๑), หน้า ๘๐.

4 บทน�ำ วา่ อาณาจกั รตามพรลงิ คม์ พี ฒั นาการมาจากเมอื งทา่ คา้ ขายกอ่ นทจี่ ะกลายเปน็ อาณาจกั ร ขนาดใหญ่ และสร้างความยิ่งใหญ่จนกระท่ังมีกองทัพเรืออันเกรียงไกรเป็นที่ลือนาม ตลอดดินแดนอุษาคเนย์ อาณาจักรตามพรลิงค์เจริญรุ่งเรืองสูงสุดประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ สมัยพระเจ้าจันทรภาณุ พระองค์ทรงขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวางโดยควบคุม หลายหัวเมือง ทางทิศใต้ถึงเมืองปัตตานีและเมืองไทรบุรี ทางทิศเหนือถึงเมืองมะริด ทางตะวันออกจรดทะเลอา่ วไทย ทศิ ตะวันตกจรดทะเลชอ่ งมะละกาและทะเลอนั ดามัน นอกจากน้ัน พระองค์ยังยกทัพเรือไปรุกรานเกาะลังกาถึง ๒ คร้ัง แสดงให้เห็นถึง ความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของกษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ ข้อมูลจากจีนระบุว่า กษัตริย์แห่งมลายูได้ส่งทูตพร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการไปยังราชส�ำนักจีน เพื่อ ขอร้องพระเจ้าจักรพรรดิจีนให้ห้ามปรามไทยมิให้รุกรานมลายู๔ หลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรตามพรลิงค์ท้ังด้านการเมือง การปกครองและการค้า นอกจากนั้น ยังบ่งบอกถึงฐานะของอาณาจักรตามพรลิงค์ใน สายตาชาวจีนด้วย ด้านคติความเช่ือทางศาสนาน้ัน อาณาจักรตามพรลิงค์นับถือศาสนาพราหมณ์ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษท่ี ๑๐-๑๑ โดยมีหลักฐานทางโบราณวัตถุเป็นจ�ำนวนมาก ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ พระพุทธศาสนามหายานได้เข้ามามีอิทธิพลต่อ ความเชื่อของชาวตามพรลิงค์ อันเน่ืองมาจากบริเวณแถบนี้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักร ศรีวิชัย ล่วงเข้าพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ อิทธิพลพุทธศาสนามหายานแบบจามได้เข้า มามีบทบาทต่อชาวตามพรลิงค์ อนั เน่ืองมาจากความอ่อนแอหมดอำ� นาจของอาณาจักร ศรวี ชิ ยั และอทิ ธพิ ลพทุ ธศาสนามหายานแบบศรวี ชิ ยั ไดเ้ ขา้ มามบี ทบาทในพทุ ธศตวรรษ ท่ี ๑๗-๑๘ ก่อนท่ีกษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์จะหันไปนับถือพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์๕ อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนามหายาน สามารถพบเห็น ในหลักฐานทางโบราณคดี ดังเช่น ศิลาจารึก ศิลปวัตถุ ศาสนสถาน เป็นต้น ๔ อ้างแล้ว, ”ตามพรลิงค์„, หน้า ๙๘-๑๐๑. ๕ ดูรายละเอียดใน มณศ์ฑิชา โมสาลียานนท์, „ร่องรอยของคติพุทธศาสนามหายานใน จังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙”, (มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔), หน้า ๙๗.

ตามพรลิงค์ 5 ความโด่งดังแพร่หลายของอาณาจักรตามพรลิงค์ในฐานะเป็นศูนย์กลางแห่ง ลัทธิลังกาวงศ์ เป็นเหตุให้พ่อขุนรามค�ำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัย โปรดให้จัดส่ง คณะราชทูตมาทูลขอพระสงฆ์แห่งอาณาจักรแห่งนี้ เพ่ือเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธ ศาสนายังอาณาจักรสุโขทัย หลักฐานดังกล่าวปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง หลักท่ี ๑ ความว่า ”เบ้ืองตะวันตกเมืองสุโขทัยมีอรัญญิก พ่อขุนรามค�ำแหงกระท�ำ โอยทาน แก่มหาเถรสังฆราชเรียนจบปิฎกไตรย หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุก แต่เมืองศรีธรรมราชมา„๖ หลักฐานอีกแห่งหนึ่งบันทึกไว้ในต�ำนานพระพุทธสิหิงค์ วา่ ”.... พระเจา้ ไสยณรงค์ (พระรว่ ง) ไดเ้ สดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปยงั เมอื งนครศรธี รรมราช ทรงตรัสถามพระเจ้าศิริธรรมราชในเรื่องต่างๆ และได้ทราบข่าวว่าในประเทศลังกามี พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงมาก จึงได้ตรัสให้พระเจ้าศิริธรรมราช ซ่ึงรู้จักกับพระเจ้ากรุงลงกา ให้ส่งทูตไปบังคับเอาพระพุทธสิหิงค์มาจากพระเจ้า กรุงลังกา ....„๗ พระพุทธสิหิงค์อาจสามารถตีความหมายได้หลายบริบท หากมองด้าน การเมืองอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์แห่งสุโขทัยต้องการขยายดินแดน หากวิเคราะห์ด้าน ศาสนาอาจหมายถึงการขอพระสงฆ์ไปเผยแผ่พระศาสนายังอาณาจักรสุโขทัย หลักฐานดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาในอาณาจักรตามพรลิงค์อย่างดียิ่ง แต่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ นน้ั ยงั ไมม่ นี กั วจิ ยั ทา่ นใดใหค้ วามสนใจเปน็ การเฉพาะ ผวู้ จิ ยั เหน็ วา่ หากทำ� วจิ ยั ประเดน็ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางศาสนาระหว่างอาณาจักรตามพรลิงค์กับลังกา น่าจะเป็นการ เติมเต็มประวัติศาสตร์ไทยให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ด้านศาสนา และสามารถชบี้ อกไดว้ า่ เหตใุ ดลทั ธลิ งั กาวงศจ์ งึ ทรงอทิ ธพิ ลและเจรญิ มนั่ คงในอาณาจกั ร ตามพรลิงค์ จนเป็นเหตุเชิญชวนให้พ่อขุนรามค�ำแหงส่งทูตมาขอพระสงฆ์ไปเผยแผ่ ลัทธิลังกาวงศ์ที่อาณาจักรสุโขทัย และงานวิจัยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการพระ พุทธศาสนาในเมืองไทย ๖ ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑, (กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๒๑), หน้า ๒๑-๒๒. ๗ พระปริยัติธรรมธาดา, ต�ำนานพระพุทธสิหิงค์, (พระนคร: โรงพิมพ์พิพรรฒธนากร, ๒๔๗๕), หน้า ๙.

6 บทน�ำ ๑.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑.๒.๑ เพอ่ื ศกึ ษาหลกั ฐานทางโบราณคดแี ละประวตั คิ วามเปน็ มาของอาณาจกั ร ตามพรลิงค์ ๑.๒.๒ เพอื่ ศกึ ษาความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งศรลี งั กากบั อาณาจกั รตามพรลงิ ค์ ๑.๒.๓ เพอื่ ศกึ ษาการประดษิ ฐานพทุ ธศาสนาลงั กาวงศใ์ นอาณาจกั รตามพรลงิ ค์ ๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย ๑.๓.๑ ขอบเขตด้านเอกสาร ศึกษาจากต�ำราวิชาการ งานวิจัย และเอกสารท่ี เกี่ยวข้อง ๑.๓.๒ ขอบเขตดา้ นเนอื้ หา ศกึ ษาคตคิ วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ งอาณาจกั รดมั พเดณยิ ะ ของศรีลังกากับอาณาจักรตามพรลิงค์ของไทย เน้นด้านการเมืองและศาสนา และ การประดิษฐานพุทธศาสนา ๑.๓.๓ ขอบเขตด้านระยะเวลาในการวิจัย ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ถึงกันยายน ๒๕๕๙ ๑.๔ นิยามศัพท์ท่ีใช้ในการวิจัย ๑.๔.๑ ลัทธิลังกาวงศ์ หมายถึง พระพุทธศาสนาตามจารีตปฏิบัติและ คติความเช่ือของศรีลังกา ๑.๔.๒ ตามพรลิงค์ หมายถึง อาณาจักรที่พัฒนาจากชุมชนเมืองท่าค้าขาย จนถึงรับอิทธิพลลัทธิลังกาวงศ์จากประเทศศรีลังกา ประมาณพุทธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๖ ๑.๔.๓ โปโฬนนารุวะ หมายถึง อาณาจักรของศรีลังกาสมัยกลาง โดยเฉพาะ รชั สมยั พระเจา้ ปรากรมพาหมุ หาราช ถอื วา่ เกาะลงั กาเจรญิ รงุ่ เรอื งสงู สดุ ทงั้ ดา้ นการเมอื ง การค้า และการศาสนา จนสามารถส่งพระสมณทูตไปประกาศศาสนายังดินแดน อษุ าคเนย์ ๑.๔.๔ ดัมพเดณยิ ะ หมายถงึ อาณาจักรของศรีลังกาสมัยหลังโปโฬนนารุวะ โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ มีปฏิสัมพันธ์ทางศาสนาและการเมืองกับ อาณาจักรตามพรลิงค์อย่างชัดเจน

ตามพรลิงค์ 7 ๑.๔.๕ หลักฐานทางโบราณคดี หมายถึง เอกสารทางประวัติศาสตร์และ หลกั ฐานทางโบราณคดี เชน่ ศลิ าจารกึ เอกสารโบราณ โบราณวตั ถุ โบราณสถาน เปน็ ตน้ ๑.๔.๖ การประดิษฐาน หมายถึง การเผยแผ่และตั้งมั่นของลัทธิลังกาวงศ์ ในตามพรลิงค์ ๑.๔.๗ ความสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ทางการเมืองและศาสนา ๑.๕ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง ๑.๕.๑ รามัญสมณะวงษ์ เป็นหนังสือแปลจากจาฤกสีลากัลยาณีของพระเจ้า ธรรมเจดีย์ ซ่ึงพระมหาวิชาธรรม (เรือง เปรียญ) เป็นผู้แปลจากแท่งศิลาจารึกซึ่งบันทึก ด้วยอักษรรามัญและภาษามคธ มีเนื้อหากล่าวถึงพระเจ้าธรรมเจดีย์ผู้ปรารถนาช�ำระ รามัญสมณะวงษ์ให้บริสุทธิ์ จึงทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาอย่างแตกฉาน คร้ันสอบสวนจนเข้าใจถูกต้องแล้ว จึงโปรดให้ผูกสีมากัลยาณีไว้เป็นแบบแผนวิธีใน รามัญประเทศ ประเดน็ ท่ีเก่ียวขอ้ งกับอาณาจักรตามพรลงิ คค์ ือพระฉปฏเถระชาวมอญ ได้ไปศึกษาจารีตปฏิบัติแบบลังกาแล้วน�ำมาเผยแผ่แก่บ้านเกิดเมืองนอน โดยมี พระสัทธิวิหาริกสมัครใจเดินทางมาด้วย ๔ รูป ได้แก่ พระสีวลีเถระผู้เป็นบุตรชาว ตามลิตถิคาม พระตามลินทเถระพระราชโอรสของพระเจ้ากัมโพช พระอานันทเถระ บุตรชาวเมืองกิญจิปุรี และพระราหุลบุตรชาวลังกา คร้ันเผยแผ่ลังกาวงศ์ในดินแดน มอญและพม่าจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายแล้ว พระฉปฏเถระผู้เป็นหัวหน้าได้ส่งพระราหุ ลเถระไปเผยแผ่ยังเกาะมลัยจนกษัตริย์และชาวเมืองศรัทธาเลื่อมใสสมัครออกบวช เป็นจ�ำนวนมาก๘ หลักฐานส่วนนี้พยายามชี้บอกถึงการเชื่อมโยงพระพุทธศาสนา ลังกาวงศ์กับอาณาจักรตามพรลิงค์ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษท่ี ๑๗ เป็นต้น ๘ รามญั สมณะวงษ.์ พระมหาวิชาธรรม (เรอื ง เปรียญ). แปลจากจาฤกสิลากัลยาณี (นนทบรุ :ี ส�ำนักพิมพ์ศรีปัญญา, ม.ป.ท.), หน้า ๑๔-๑๘.

8 บทน�ำ ๑.๕.๒ คัมภีร์จุลวงศ์ (Culavamsa) เป็นคัมภีร์บันทึกประวัติศาสตร์ศรีลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีมีการสืบต่อกันมาหลายยุคสมัย แบ่งออกเป็น ๔ ภาค กล่าวคือ ภาคแรกกลา่ วถงึ ประวตั ศิ าสตรศ์ รลี งั กาตง้ั แตส่ มยั พระเจา้ สริ เิ มฆวณั ณะแหง่ อาณาจกั ร อนุราธปุระจนถึงสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชแห่งอาณาจักรโปโฬนนารุวะ ภาคสองเร่ิมต้นจากสมัยของพระเจ้าวิชัยพาหุท่ี ๒ แห่งอาณาจักรดัมพเดณิยะถึงสมัย ของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๔ แห่งอาณาจักรคุรุแณคะละ ภาคสามกล่าวถึงสถานการณ์ ความเป็นไปของเกาะลังกาตั้งแต่สมัยพระเจ้าภูวเนกพาหุท่ี ๒ แห่งอาณาจักรคัมโปละ ถึงสมัยพระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะแห่งอาณาจักรแคนดี และภาคสุดท้ายเร่ิมต้นจาก พระเจา้ ราชาธริ าชสงิ หะถงึ สมยั พระเจา้ ศรวี กิ รมราชสงิ หะ ซง่ึ เปน็ กษตั รยิ พ์ ระองคส์ ดุ ทา้ ย แห่งเกาะลังกา เฉพาะภาคที่สองนั้นมีเรื่องราวกล่าวถึงกษัตริย์ลังกาพระนามวา่ พระเจา้ ปรากรมพาหทุ ่ี ๒ (พ.ศ.๑๗๗๙-๑๘๑๓) แหง่ อาณาจกั รดมั พเดณยิ ะ ได้ส่งคณะราชทูต ไปนิมนต์พระธรรมกิตติเถระจากอาณาจักรตามพรลิงค์มาช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนา๙ หลักฐานส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าสมัยน้ันพระพุทธศาสนาในอาณาจักรตามพรลิงค์เจริญ รุ่งเรืองมากจนเป็นที่ยอมรับของลังกา ๑.๕.๓ พระคัมภีร์ถูปวงศ์ มีเน้ือหาว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์ เป็นผล งานการนิพนธ์ของพระวาจิสสรเถระ ผู้เป็นศิษย์พระสารีบุตรเถระสมัยอาณาจักร โปโฬนนารุวะ พระเถระรูปน้ีเป็นผู้ทรงปราชญ์แตกฉานในพระไตรปิฎก เน้ือหาของ คัมภีร์เร่ิมต้นจากการบ�ำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ การสร้างสถูปประดิษฐานพระ บรมสารีริกธาตุของอดีตพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ตอนพุทธปรินิพพาน การสร้างสถูป เจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระเจ้าอชาตศัตรู การสร้างสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกมหาราช การประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกา การอัญเชิญ พระธาตุรากขวัญเบื้องขวาและต้นพระศรีมหาโพธ์ิไปลังกา พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย โปรดให้สร้างมหาสถูปและโลหมหาปราสาท เน้ือหาส่วนใหญ่เน้นการสร้างมหาสถูป ๙ Culavamsa, part II, Wilhelm Geiger, (Delhi: Asian Educational Service, 1992), p. 154.

ตามพรลิงค์ 9 ของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย๑๐ สันนิษฐานว่าเร่ืองราวการสร้างมหาสถูปของพระเจ้า ทุฏฐคามณีอภัยน่าจะเป็นแรงบันดาลใจ ให้พระเจ้าจันทรภาณุแห่งตามพรลิงค์สร้าง พระบรมธาตุเจดีย์ก็เป็นได้ ๑.๕.๔ คัมภีร์ทาฐาธาตุวงศ์ มีเน้ือหาว่าด้วยพระเข้ียวแก้วของพระพุทธเจ้า เป็นงานรจนาของพระธรรมกิตติเถระแห่งอาณาจักรโปโฬนนารุวะตอนปลาย นอกจาก เล่มนี้แล้ว พระธรรมกิตติเถระยังแต่งคัมภีร์มหาวงศ์สืบต่อเล่มแรกด้วย เน้ือหาของ คัมภีร์ทาฐาธาตุวงศ์เร่ิมต้นสมัยพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นสุเมธดาบส ได้รับ พุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าและบ�ำเพ็ญบารมีเร่ือยมาจนมาบังเกิดเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ จากนั้นคัมภีร์เล่าถึงการเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ การบ�ำเพ็ญทุกรกิริยา การตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ การแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ การเสด็จ เกาะลังกา เหตุการณ์สมัยพุทธปรินิพพาน พระเขมเถระอัญเชิญพระเข้ียวแก้วไปมอบ ถวายพระเจ้าพรหมทัตแห่งกาลิงคะ เกิดสงครามแย่งชิงพระเข้ียวแก้วหลายครั้ง พระเจ้าคุหสิวะกษัตริย์แห่งกาลิงคะมอบหมายให้เจ้าชายทันตกุมารและเจ้าหญิง เหมมาลาอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปถวายกษัตริย์ลังกา เรื่องราวจบลงด้วยพระเจ้า กิตติสิริเมฆะแห่งลังกาถวายความเคารพพระเข้ียวแก้วอย่างยิ่งใหญ่๑๑ เรื่องพระ เข้ียวแก้วปรากฏเห็นในต�ำนานนครศรีธรรมราชหลายเล่ม สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับ อิทธิพลมาจากคัมภีร์ทาฐาธาตุวงศ์เล่มน้ีเป็นแน่ ๑.๕.๕ ต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราชและต�ำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช นักปราชญ์สันนิษฐานว่าต�ำนานทั้งสองเล่มแต่งข้ึนสมัยอาณาจักรอยุธยา มีเน้ือหา เป็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือว่าด้วยคติความเชื่อเก่ียวกับพระทันตธาตุและ พระพุทธศาสนาจากลังกา ตลอดทั้งการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์โดยพระเจ้าศรีธรรมา โศกราชแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ ความแตกต่างของเน้ือหามีเพียงเน้นให้ความส�ำคัญ ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์คนละด้าน ต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราชเน้นสรรเสริญยกยอ ๑๐ ถูปวงศ์, หน้า ๑-๑๒๓. ๑๑ ทาฐาธาตุวงศ์, หน้า ๒๑-๔๘.

10 บทน�ำ พระเดชานุภาพของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ขณะท่ีต�ำนานพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชเน้นอธิบายพระกฤดานุภาพของกษัตริย์แห่งราชวงศ์มหาราชา เนื้อหา ในต�ำนานทั้งสองเล่มชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์อย่างเด่นชัด๑๒ อาจเป็นไปได้ว่าเน้ือหาของต�ำนานทั้งสองเล่มแต่งโดยพระสงฆ์สองนิกาย ซ่ึงได้รับ ราชูปถัมภ์จากราชวงศ์ท้ังสอง ต่อมาภายหลังมีผู้เรียบเรียงเชื่อมโยงให้กลายเป็น เน้ือเดียวกันดังปรากฏเห็นในปัจจุบัน ๑.๕.๖ พระนิพพานโสตร เป็นวรรณกรรมท้องถ่ินภาคใต้ประเภทค�ำกลอน ไม่ปรากฏช่ือผู้แต่ง เนื้อหาน�ำมาจากต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราช และต�ำนานพระธาตุ นครศรีธรรมราชเป็นหลัก เพราะมุ่งหวังกล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ และการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช เป็นวรรณกรรมท่ีถึงพร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์ เพราะส่ือให้เห็นถึงคุณค่าสังคมโดยเฉพาะด้านโลกทัศน์ ค่านิยมและขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวใต้ได้เป็นอย่างดี ถือได้ว่ามีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์อย่างสมบูรณ์ เพราะกอปรรสความและรสค�ำอย่างลึกซึ้ง๑๓ สังเกตเห็นว่าเนื้อหาของคัมภีร์เล่มนี้ ย้อนถอยหลังไปถึงสมัยกาลแห่งพุทธปรินิพพาน นอกจากแต่งเร่ืองให้เช่ือมโยงกับ พระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังเน้นพระราชจริยวัตรของพระเจ้าอโศกมหาราช ในฐานะ องค์เอกอุปถัมภกพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งเร่ืองราวให้เช่ือมต่อกับ กษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ ในฐานะผู้ประพฤติตามเอาแบบอย่างพระเจ้าอโศก มหาราช จึงเป็นท่ีมาของค�ำว่า ”ศรีธรรมาโศกราช„ ๑.๕.๗ ต�ำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช มีเน้ือหากล่าวถึงพราหมณ์ ที่เดินทางมาจากอินเดียภาคใต้แล้วเผยแผ่จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในคาบสมุทรมลายู โดยเฉพาะเมืองนครศรีธรรมราช และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพราหมณ์ เมืองนครศรีธรรมราชกับพราหมณ์ในราชธานีสมัยการเปล่ียนแปลงอ�ำนาจการเมือง การปกครอง ตลอดจนวัฒนธรรมที่เก่ียวกับศาสนาพราหมณ์ในเมืองนครศรีธรรมราช ๑๒ เรอื่ งเมอื งนครศรธี รรมราช, (กรงุ เทพมหานคร: กรมการทหารสอ่ื สาร, ๒๕๑๐) หนา้ ๔๖-๖๓. ๑๓ พระนิพพานโสตร, หน้า ๒๕-๑๐๘.

ตามพรลิงค์ 11 ซ่ึงมีระบบและระเบียบพิธีอย่างชัดเจน หลักฐานยังอ้างอีกว่าพวกพราหมณ์ได้รับการ ยกเวน้ การเกบ็ ภาษี โปรดใหม้ หี นา้ ทรี่ กั ษาเทวสถานและควบคมุ ขา้ รบั ใชข้ องเทวสถาน๑๔ หลักฐานดังกล่าวแม้จะเป็นบันทึกสมัยอยุธยาตอนปลายก็จริง แต่ก็ถือได้ว่าเป็น หลักฐานส�ำคัญ เพราะบ่งถึงอิทธิพลของพราหมณ์ในเมืองนครศรีธรรมราช ๑.๕.๘ มณศ์ฑิชา โมสาลียานนท์ ได้เขียนงานวิจัยช่ือ ”ร่องรอยของคติ พุทธศาสนามหายานในจังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙” พบว่า คติพุทธศาสนามหายานบริเวณเมืองนครศรีธรรมราชได้รับอิทธิพลจากภายนอก เป็นหลัก กล่าวคือสมัยพุทธศตวรรษท่ี ๑๓-๑๘ ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักร ศรีวิชัยในฐานะเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองขึ้น นอกจากน้ัน ยังส่งอิทธิพลแผ่ไปยัง อาณาจักรทวารวดีลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาด้วย เพราะหลักฐานคือพระพิมพ์ดินเผาบริเวณ เมอื งนครปฐมและนครสวรรคม์ ลี กั ษณะคลา้ ยคลงึ กบั พระพมิ พท์ คี่ น้ พบในนครศรธี รรมราช และอีกคร้ังหน่ึงสมัยพุทธศตวรรษท่ี ๑๘-๑๙ ตามพรลิงค์ได้รับอิทธิพลคติความเช่ือ ของพุทธศาสนานิกายตันตระจากเขมร โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีมากมายยืนยัน๑๕ ๑.๕.๙ ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ เสนองานวิจัยเร่ือง ”ตามพรลิงค์” สรุปความ ว่าอาณาจักรตามพรลิงค์เกิดข้ึนราวพุทธศตวรรษท่ี ๗-๘ ในฐานะเป็นศูนย์กลางการ ค้าขายทางทะเล อยู่ภายใต้อ�ำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยเป็นเวลายาวนาน จึงได้รับ อิทธิพลแบบอย่างทางศิลปกรรมและพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานเป็นอันมาก อีก ท้ังเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรกัมพูชา ครั้นอาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายได้ แยกตนปกครองเป็นอิสระ ได้ติดต่อรับแบบอย่างทางพระพุทธศาสนามาจากลังกา จนพุทธศาสนาลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองแพร่หลาย อาณาจักรตามพรลิงค์มาเจริญรุ่งเรือง ๑๔ ตำ� นานพราหมณเ์ มอื งนครศรธี รรมราช, ศนู ยว์ ฒั นธรรมภาคใต,้ วทิ ยาลยั ครนู ครศรธี รรมราช จัดพิมพ์เน่ืองในการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งท่ี ๒ วันที่ ๒๕-๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๕. หน้า ๑-๓๔. ๑๕ อ้างแล้ว, มณศ์ฑิชา โมสาลียานนท์, ”ร่องรอยของคติพุทธศาสนามหายานในจังหวัด นครศรีธรรมราชก่อนพุทธศตวรรษท่ี ๑๙„, หน้า ๑.

12 บทน�ำ สูงสุดราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เพราะมีอิทธิพลแผ่ไปอย่างกว้างขวางเกือบตลอด แหลมมลายู ควบคุมเมืองท่าและเส้นทางการเดินบกข้ามแหลมมลายูท้ังสองฝั่ง สมัยต่อมาอ่อนแอลงตกเป็นเมืองข้ึนของอาณาจักรสุโขทัย๑๖ ๑.๕.๑๐ ปรีชา นุ่นสุข ได้เขียนงานวิจัยเร่ือง ”ร่องรอยชุมชมโบราณของ พราหมณ์ในนครศรีธรรมราช„ สรุปว่า พราหมณ์ในนครศรีธรรมราชได้ปรากฏชัดแจ้ง มาต้ังแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย โดยมีหลักฐานท้ังประติมากรรมและ ศิลาจารึกเป็นเครื่องสนับสนุน ครั้นในราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๑-๑๔ ศาสนาพราหมณ์ ท้ังไศวนิกายและไวษณพนิกายได้เจริญสูงสุดในนครศรีธรรมราช โดยมีหลักฐาน ทั้งประติมากรรม โบราณสถานและศิลาจารึกเป็นเครื่องยืนยัน อีกทั้งมีข้อที่น่าสังเกต ว่าในช่วงน้ีศาสนาพราหมณ์ทั้งสองนิกายและพระพุทธศาสนา ได้กลมกลืนผสมผสาน กันเป็นอย่างดี ศาสนาพราหมณ์ได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นเวลายาวนานเคียงคู่กับ เมืองนครศรีธรรมราช แม้ว่าระยะหลังจะถูกลดบทบาทลงไปบ้างเพราะเหตุผลทางการ เมือง แต่อิทธิพลของศาสนาน้ีก็ยังคงอยู่อย่างเหน่ียวแน่นในนครศรีธรรมราชตราบจน ปัจจุบัน๑๗ ๑.๕.๑๑ อมรทาสะ ลิยนคามะเก ได้เขียนหนังสือเร่ือง ”การล่มสลายของ อาณาจักรโปโฬนนารุวะและการก�ำเนิดเกิดขึ้นของอาณาจักรดัมพเดณิยะ„ (The Decline of Polonnaruwa and the Rise of Dambadeniya) ผู้เขียน พยายามมงุ่ เนน้ เนอ้ื หาหนกั ไปทางดา้ นการเมอื ง โดยชใี้ หเ้ หน็ วา่ อาณาจกั รโปโฬนนารวุ ะ ท่ีเคยย่ิงใหญ่เกรียงไกรต้องมาถึงการอวสานในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมปัณฑุ (พ.ศ.๑๗๕๕-๑๗๕๘) โดยการบุกรุกท�ำลายของพระเจ้ามาฆะ ผู้เป็นกษัตริย์แห่ง แควน้ กาลงิ คะทางชายฝง่ั ทะเลตะวนั ออกของอนิ เดยี ครน้ั สญู เสยี ศนู ยก์ ลางการปกครอง อันยิ่งใหญ่ย่อมเป็นเรื่องยากท่ีจะกอบกู้บ้านเมืองได้โดยเร็ว แม้พระเจ้าวิชัยพาหุท่ี ๓ (พ.ศ.๑๗๗๕-๑๗๗๙) จะแยกตัวมาต้ังอาณาจักรดัมพเดณิยะปกครองเป็นเอกเทศ ๑๖ อ้างแล้ว, ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์, ”ตามพรลิงค์„, หน้า ๑. ๑๗ อา้ งแลว้ , ปรชี า นนุ่ สขุ , ”รอ่ งรอยชมุ ชนโบราณของพราหมณใ์ นนครศรธี รรมราช„, หนา้ ๑.

ตามพรลิงค์ 13 กต็ าม แตก่ ต็ อ้ งเผชญิ กบั การบกุ รกุ ของพระเจา้ จนั ทรภาณุ ผเู้ ปน็ กษตั รยิ แ์ หง่ อาณาจกั ร ตามพรลงิ คท์ างภาคใตข้ องประเทศไทย จนยากตอ่ การกอบกบู้ า้ นเมอื งใหเ้ ปน็ เอกราช๑๘ ๑.๕.๑๒ สิริมา วิกรมสิงหะ ได้ท�ำงานวิจัยเร่ือง ”ยุคของพระเจ้าปรากรม พาหุท่ี ๑„ (The Age of Parakramabahu I) ผู้วิจัยได้พรรณนาวีรประวัติของ พระเจ้าปรากรมพาหุในฐานะกษัตริย์มหาราชหน่ึงเดียวในศรีลังกา โดยอ้างหลักฐาน เป็นจ�ำนวนมากทั้งของศรีลังกาและต่างประเทศมายืนยันความน่าเชื่อถือของ พระราชกรณียกิจของกษัตริย์พระองค์น้ี เช่น ด้านการปกครองเป็นที่เกรงขามของ กษัตริย์ทมิฬแห่งอินเดียตอนใต้ และขยายอิทธิพลมาถึงอาณาจักรน้อยใหญ่บริเวณ ดนิ แดนอษุ าคเนย์ ด้านการเกษตรได้สร้างอ่างเก็บน้�ำส�ำหรับกักเก็บน้�ำไว้ใช้ทางการ เกษตร จนเกาะลังกาสมัยนั้นขึ้นช่ือในฐานะฉางข้าวแห่งตะวันออก และด้านพระพุทธ ศาสนามีความเจริญสูงสุด เพราะเป็นผลมาจากการรวมนิกายน้อยใหญ่ให้กลายเป็น นิกายหนึ่งเดียว ท�ำให้การศึกษาคณะสงฆ์ประสบความส�ำเร็จ มีพระสงฆ์นักปราชญ์ แตง่ ตำ� ราเปน็ จำ� นวนมาก และไดม้ กี ารสง่ พระสงฆส์ มณทตู เดนิ ทางไปเผยแผพ่ ระศาสนา ยังดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะอาณาจักรน้อยใหญ่บริเวณดินแดนอุษาคเนย์๑๙ ๑.๕.๑๓ สิรเิ สนะ ได้แตง่ หนังสือเร่ือง ”ศรลี งั กาและเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้: ความสัมพันธ์ทางการเมือง ศาสนาและวัฒนธรรม คริสต์ศักราช ๑๐๐๐-๑๕๐๐„ (Ceylon and South-east Asia: Political, Religious and Cultural Relations from A.D. c1000 to c1500) พบวา่ เนื่องจากเกาะลงั กาส่วนใหญ่เปน็ ดินแดนชายทะเล จึงโดดเด่นเร่ืองการค้าทางทะเลมาแต่เดิม ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาแต่สมัยโบราณ ด้วยเหตุผลเช่นน้ีย่อมมีการเรียนรู้เรื่องการเมือง เร่ืองศาสนาและเร่ืองวัฒนธรรมมา เป็นธรรมดา แต่หาได้มีความมั่นคงชัดเจนไม่ ครั้นพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชทรง กอบกู้บ้านเมืองจนมั่นคงเป็นหนึ่งเดียวแล้ว เป็นเหตุให้การเมืองและพระศาสนาเจริญ ๑๘ Amaradasa Liyanagamage, The Decline of Polonnaruwa and the Rise of Dambadeniya, (Colombo, the Department of Cultural Affairs, 1967), pp. 133-140. ๑๙ Sirima Wickramasinghe, The Age of Parakramabahu I, The thesis submitted for the Degree of Doctor of Philosophy, University of London, 1958. pp. 2-7.

14 บทน�ำ รุ่งเรือง ท�ำให้ดินแดนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์สนใจ พากันเดิน ทางมาศึกษาประเพณีศรีลังกาเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนาเถรวาท แล้วน�ำไปเผยแผ่ยังดินแดนแห่งตนจนรุ่งเรืองแพร่หลายสืบมาถึงปัจจุบัน๒๐ ๑.๕.๑๔ คุณวรรธนะ ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ”จีวรและงอนไถ: ระบบ อารามวิหารและรายได้ทางเศรษฐกิจในยุคกลางตอนต้นของศรีลังกา„ (Robe and Plough: Monasticism and Economic Interest in Early Medieval Sri Lanka) ผู้แต่งบอกว่าเหตุท่ีเลือกช่วงระยะเวลาเกือบส่ีศตวรรษ นับต้ังแต่รัชสมัย ของพระเจ้าเสนะที่ ๑ (พ.ศ.๑๓๗๗-๑๓๙๖) จนถึงการบุกรุกอาณาจักรโปโฬนนารุวะ ของพระเจ้ามาฆะ (พ.ศ.๑๗๕๘) เพราะเป็นจุดเปล่ียนแปลงส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการอพยพเมืองหลวงจากเขตแล้งไปสู่เขตช้ืน เป็นการเปลี่ยนวิธีการท�ำ เกษตรกรรมจากการสร้างเข่ือนหรืออ่างเก็บน้�ำกลายเป็นอาศัยลมมรสุม สี่ศตวรรษ ดังกล่าวเป็นช่วงความรุ่งเรืองแห่งการชลประทานถึงขีดสุด เป็นผลให้สถาบันกษัตริย์ และข้าราชบริพารสามารถอุปถัมภ์คณะสงฆ์ด้วยการถวายกัลปนาหรือพระบรมราชูทิศ เป็นจ�ำนวนมาก คณะสงฆ์เองก็เกิดการพัฒนาจนช่ือเสียงโด่งดังเป็นท่ีรู้จักแพร่หลาย ของดินแดนเหล่าอ่ืน แต่ความรุ่งเรืองดังกล่าวก็มาถึงจุดเส่ือมโทรมเสียหาย เพราะ การบุกรุกท�ำลายของพระเจ้ามาฆะแห่งอาณาจักรกาลิงคะ๒๑ จากหลักฐานดังกล่าวเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาในศรีลังกามี ความรุ่งเรืองม่ันคงเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชแห่งอาณา จักรโปโฬนนารุวะนั้น ล้วนได้รับการยอมรับจากนานาอารยวิเทศว่าเจริญรุ่งเรืองไปไกล เป็นท่ีเกรงกลัวของกษัตริย์แห่งอินเดียและอาณาจักรบนดินแดนอุษาคเนย์ ขณะที่ อาณาจักรตามพรลิงค์มีพัฒนาการมาจากเมืองท่าและขยายกลายเป็นอาณาจักรส�ำคัญ ท้ังอาณาจักรดัมพเดณิยะของศรีลังกาและอาณาจักรตามพรลิงค์แห่งคาบสมุทรไทย ๒๐ W.M. Sirisena, Ceylon and South-East Asia, (Colombo: S. Godage & Brothers (Pvt) Ltd, 2016), pp. 1-6. ๒๑ R.A.L.H. Gunawardhana, Robe and Plough: Monasticism and Economic Interest in Early Medieval Sri Lanka, (Arizona: The University of Arizona Press, 1979), pp. 3-5.

ตามพรลิงค์ 15 ต่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันในลักษณะของการค้าขาย การติดต่อด้วยลักษณะ ดังกล่าวเป็นเหตุให้ทางอาณาจักรตามพรลิงค์น�ำเอาพระพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิ ลังกาวงศ์เข้ามาเผยแผ่ยังอาณาจักรแห่งตน จนกลายเป็นท่ีรู้จักแพร่หลายและมั่นคง หยั่งรากฝังลึกในสังคมของชาวไทยภาคใต้สืบเน่ืองมาถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าหากมีการศึกษาวิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบ หลกั ฐานทงั้ ทางศรลี งั กาและประเทศไทย โดยเนน้ หลกั ฐานทางโบราณคดแี ละวรรณกรรม เป็นหลัก น่าจะท�ำให้เห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักร อีกทั้งสามารถเป็นหลักฐานยืนยันถึงความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในคาบสมุทรไทยสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ก�ำลังรุ่งเรืองและส่งผลสืบมาถึงปัจจุบัน อีกท้ังงานวิจัยชิ้นนี้ยังสามารถตอบค�ำถามด้วยการเช่ือมโยงไปถึงศิลาจารึกของ พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งพระองค์ได้ส่งราชทูตมาขอ พระสงฆล์ ทั ธลิ งั กาวงศจ์ ากเมอื งนครศรธี รรมราช ไปเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนายงั อาณาจกั ร สุโขทัย ๑.๖ วิธีการด�ำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดย ศึกษาจากข้อมูลช้ันปฐมภูมิกล่าวคือคัมภีร์อรรถกถาและวรรณคดีสิงหล ถัดมา เป็นหลักฐานโบราณคดี ได้แก่ ศิลาจารึก เอกสารโบราณ โบราณวัตถุ และโบราณ สถาน รวมถึงหนังสือเอกสารภาษาต่างประเทศ แล้วน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์พร้อมน�ำ เสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา (Descriptive Analysis) ๑.๗ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๑.๗.๑ ท�ำให้ทราบหลักฐานโบราณคดีและประวัติความเป็นมาของอาณาจักร ตามพรลิงค์ ๑.๗.๒ ท�ำให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างศรีลังกากับอาณาจักรตามพรลิงค์ ๑.๗.๓ ทำ� ใหท้ ราบการประดษิ ฐานพระพทุ ธศาสนาลทั ธลิ งั กาวงศใ์ นอาณาจกั ร ตามพรลิงค์

16 บทน�ำ แผนที่คาบสมุทรมาเลย์บริเวณอาณาจักรตามพรลิงค์ (คัดลอกภาพจาก www.antiquemaps- fair.com)

ตามพรลิงค์ 17 ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ในสายตาของชาวตะวันตก (คัดลอก ภาพจาก www.antiquemaps-fair.com)

18 บทน�ำ เจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช สัญลักษณ์ของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (คัดลอก ภาพจาก www.pantip.com) พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (คัดลอกภาพจาาก www.pantip.com)

ตามพรลิงค์ 19 พระวษิ ณภุ ายในพพิ ธิ ภณั ฑส์ ถานแหง่ ชาตนิ ครศรธี รรมราช (คดั ลอกภาพจาก www.pantip.com)

20 บทน�ำ เจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช (คัดลอกภาพจาก www.pantip.com) พระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว จังหวัดพัทลุง สัญลักษณ์ลัทธิลังกาวงศ์ (คัดลอกภาพจาก www.pantip.com)

ตามพรลิงค์ 21 พระพุทธรูปรอบพระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ วัดพะโคะ จังหวัดสงขลา (คัดลอกภาพ จาก www.pantip.com) พระพุทธรูปรอบพระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (คัดลอกภาพจาก www.pantip.com)

22 บทน�ำ

ตามพรลิงค์ 23

บรรยายภาพ: ภาพจิตรกรรมฝาผนังต�ำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช วัดวังตะวันตก เมืองนครศรีธรรมราช

บทท่ี ๒ หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติความเป็นมา ของอาณาจักรตามพรลิงค์ บทนี้แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น ๒ ส่วน กล่าวคือ หลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับอาณาจักรตามพรลิงค์และประวัติความเป็นมาของอาณาจักรตามพรลิงค์ เฉพาะหลกั ฐานทางโบราณคดนี นั้ ผวู้ จิ ยั ไดว้ เิ คราะหส์ บื คน้ จากศลิ าจารกึ เอกสารโบราณ โบราณวัตถุ และโบราณสถาน เพ่ือยืนยันถึงพัฒนาการของอาณาจักรตามพรลิงค์ ส่วนประวัติความเป็นมาของอาณาจักรตามพรลิงค์ ได้แยกออกเป็นประเด็นส�ำคัญ ได้แก่ ความมีชื่อหลากหลาย ความเป็นเมืองท่า ความหลากหลายทางศาสนา และความเป็นรัฐอิสระ ท้ังน้ีเพ่ือชี้ให้เห็นว่าอาณาจักรตามพรลิงค์นั้นมีความโดดเด่น สมัยอดีตอย่างไร ๒.๑ หลักฐานทางโบราณคดี ๒.๑.๑ ศิลาจารึก ๑) จารึกวัดเสมาเมือง๑ จารึกหลักนี้พบท่ีวัดเสมาเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๕๐ ลักษณะของศิลาจารึกเป็นแผ่นรูปใบเสมา กว้าง ๕๐ ซม. สูง ๑๐๔ ซม. และหนา ๙ ซม. ศิลาจารึกหลักนี้จารึกเป็นอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ระบุว่าพุทธศักราช ๑๓๑๘ ศิลาจารึกแบ่งเป็น ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๒๙ บรรทัด ส่วนด้านที่ ๒ มี ๔ บรรทัด ในประชุมศิลาจารึกสยามภาคท่ี ๒ ก�ำหนดเป็นหลักที่ ๒๓ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ส�ำหรับการค้นคว้าหลักฐานประวัติของศิลาจารึกหลักน้ีไม่สามารถ ๑ จารึก ๑, หน้า ๑๘๗-๒๐๓.

26 หลักฐานทางโบราณคดี สรุปได้ชัดเจน ภาคภาษาไทยอ้างว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพ ทรงได้มาจากวัดเสมาเมือง แล้วรับส่ังให้ส่งมายังหอพระสมุดวชิรญาณ ส่วนภาคภาษาฝร่ังเศสศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์อ้างว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพไดม้ าจากตำ� บลเวยี งสระ อำ� เภอบา้ นนา จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี แล้วรับส่ังให้ส่งมายังหอพระสมุดวชิรญาณ ส่วนหลักฐานเก่ามีหมายเหตุไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมเธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งเป็นเสนาบดีกระทรวง มหาดไทย ทรงน�ำจารึกหลักนี้มาแต่ต�ำบลเวียงศักดิ์ แขวงเมืองนครศรีธรรมราช คราวเสด็จตรวจราชการหัวเมืองชายทะเลตะวันตก ได้โปรดเกล้าประทานไว้ในวัด พระศรีรัตนศาสดาราม ส�ำหรับผู้อ่านเป็นคนแรกคือนายสิทธ์ิ เม่ือวันท่ี ๓๑ เมษายน ร.ศ.๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๕๐) ต่อมา ศาสตราจารย์ ยอร์ซ เซเดส์ ได้อ่านแปลและพิมพ์ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ ย่างเข้า พ.ศ.๒๕๑๐ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร น�ำจารึกหลักนี้มาศึกษาและอ่านใหม่แต่ไม่ได้พิมพ์เผยแผ่ ครน้ั พ.ศ.๒๕๒๖ นายชะเอม แกว้ คลา้ ย ผเู้ ชยี่ วชาญภาษาสนั สกฤต กองหอสมดุ แหง่ ชาติ ได้ด�ำเนินการอ่านแปลจารึกหลักน้ีอีกคร้ังหนึ่ง พร้อมทั้งแยกศัพท์วิเคราะห์ไว้ อย่างละเอียด และนายจิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร ได้แปลสรุปค�ำจารึกไว้ในหนังสือของมหาวิทยาลัยศิลปากร เนอื้ ความของจารกึ กลา่ วถงึ พระเกยี รตคิ ณุ ของพระเจา้ ศรวี ชิ ยั แหง่ ไศเลนทร วงศ์ (ศรีวิชเยนทรราชา) ผ้เู ป็นอธิราชเหนอื ราชาน้อยใหญ่มีพระกฤดาภนิ ิหารแผไ่ พศาล ทรงโดดเด่นด้านศาสนูปถัมภ์ กล่าวคือโปรดให้สร้างอาคาร ๓ หลังท�ำด้วยอิฐให้เป็น ทีอ่ ยู่ของ ”พระโพธสิ ัตวผ์ ทู้ �ำลายมารด้วยมือทีถ่ ือดอกบวั อีกแห่งหนึ่งกลา่ วถงึ การสรา้ ง เจดีย์ ๓ ฤดูแล้วมอบถวายแด่ ”ผู้ยอดเยี่ยมท่ีสุดในบรรดาพระชินะทั้งหมดที่อยู่ใน ทศทิศ„ และตอนท้ายสรุปว่าพระองค์ช่ือว่า ”เป็นพระวิษณุองค์ที่ ๒„ เพราะทรง พลานุภาพเสมือนเทพเจ้า หลักฐานดังกล่าวสามารถตีความได้ว่าพระเจ้าศรีวิชัยแห่ง ไศเลนทรวงศ์ทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายาน เพราะพระโพธิสัตว์ผู้ถือดอกบัว สามารถท�ำลายมารน้ันมิใช่ใครอ่ืนแต่เป็นพระอวโลกิเตศวร ส่วนพระชินะพุทธเจ้านั้น

ตามพรลิงค์ 27 สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระชินพุทธเจ้าของมหายาน ส�ำหรับหลักฐานอ้างว่าพระเจ้า ศรีวิชัยเป็นพระวิษณุองค์ท่ี ๒ น่าจะหมายถึงเป็นอวตารของพระวิษณุ หากเป็นเช่น น้ันย่อมสามารถชี้ให้เห็นว่าสมัยพระเจ้าศรีวิชัยพระองค์นี้ มีการนับถือพระพุทธศาสนา มหายานและฮินดูควบคู่กันไป ๒) จารึกวัดหัวเวียงเมืองไชยา ๑๒ จารกึ หลกั นพ้ี บทว่ี ดั เวยี ง อำ� เภอไชยา จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี เมอ่ื พทุ ธศกั ราช ๒๔๗๗ ลักษณะจารึกเป็นรูปใบเสมา ประเภทหินชนวน กว้าง ๔๗ ซม. สูง ๑๘๑ ซม. และหนา ๑๔ ซม. ศิลาจารึกมีจ�ำนวน ๑ ด้าน มี ๑๖ บรรทัด จารึกเป็นอักษร ขอม ภาษาสันสกฤต ระบุว่าพุทธศักราช ๑๗๗๓ ในประชุมศิลาจารึกสยามภาคท่ี ๒ ก�ำหนดเป็นหลักที่ ๒๔ (ก) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร จารกึ หลกั นี้ สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานภุ าพ ทรงได้มาจากวัดเวียง อ�ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกับจารึก สฏ.๓ ขณะเสดจ็ ไปตรวจราชการหวั เมอื งชายทะเลใต้ เมอ่ื รตั นโกสนิ ทร์ ศก ๑๒๓ (พทุ ธศกั ราช ๒๔๔๗) เนื้อความของจารึกกล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองตามพรลิงค์พระนามว่าจันทร ภาณุศรีธรรมราชแห่งปทุมวงศ์ เป็นผู้อุปถัมภ์ดูแลพระพุทธศาสนาจนพระเกียรติยศ เล่ืองลือไปไกล ทรงเชี่ยวชาญนีติศาสตร์หรือการปกครองผู้คนเสมือนพระเจ้าอโศก มหาราชหรือพระธรรมาโศกราช ประเด็นน่าสนใจคือหากพุทธศักราชถูกต้องดังอ้างไว้ ว่า ๑๗๗๓ ก็สอดคล้องกับหลักฐานในคัมภีร์มหาวงศ์ของศรีลังกาซ่ึงระบุว่า ช่วงเวลา น้ันมีกษัตริย์จากอาณาจักรตามพรลิงค์พระนามว่าจันทรภาณุได้ยกทัพไปบุกรุกเกาะ ลังกา เพื่อแย่งชิงพระเขี้ยวแก้วและบาตรของพระพุทธเจ้า๓ หลักฐานดังกล่าวน้ียัง สามารถยืนยันได้อีกว่าพระเจ้าจันทรภาณุพระองค์น้ีน่าจะมีกองทัพเรืออันยิ่งใหญ่ เกียงไกร ถึงขนาดยกทัพไปแย่งชิงพระเข้ียวแก้วจากกษัตริย์ลังกา ผู้วิจัยสันนิษฐาน ๒ จารึก ๕, หน้า ๑๔๔-๑๔๖. ๓ มหาวงศ์ ๒, หน้า ๒๕๖-๒๖๒.

28 หลักฐานทางโบราณคดี ว่าราโชบายสิทธยาตราของกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยน่าจะมีผลต่อเน่ืองจนถึงสมัย พระเจา้ จนั ทรภาณุ สว่ นการอา้ งพระเขยี้ วแกว้ และบาตรของพระพทุ ธเจา้ นา่ จะเปน็ เพยี ง อุบายในการท�ำสงครามเท่าน้ัน ๓) จารึกวัดหัวเวียงไชยา ๒๔ จารกึ หลกั นพี้ บทวี่ ดั เวยี ง อำ� เภอไชยา จงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี เมอื่ พทุ ธศกั ราช ๒๔๔๗ ลักษณะจารึกเป็นทรงส่ีเหลี่ยม ประเภทหินชนวน กว้าง ๓๑ ซม. สูง ๗๐ ซม. และหนา ๑๒ ซม. จารึกอักษรมีจ�ำนวน ๑ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด จารึกเป็น อักษรขอม ภาษาบาลี ระบุว่าพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ ในประชุมศิลาจารึกสยามภาคที่ ๒ กำ� หนดเปน็ หลกั ท่ี ๒๔ (ข) ปจั จบุ นั เกบ็ รกั ษาไวท้ ห่ี อพระสมดุ วชริ ญาณ หอสมดุ แหง่ ชาติ กรงุ เทพมหานคร จารกึ หลักน้ี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานภุ าพ ทรงได้มาจากวัดเวียง อ�ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกับจารึก สฏ.๓ ขณะเสดจ็ ไปตรวจราชการหวั เมอื งชายทะเลใต้ เมอ่ื รตั นโกสนิ ทร์ ศก ๑๒๓ (พทุ ธศกั ราช ๒๔๔๗) เนอ้ื ความของจารกึ กลา่ วถงึ เหตกุ ารณพ์ ระพทุ ธเจา้ เสดจ็ ลงมาจากเทวโลก สู่เมืองสังกัสสนคร ชาวพุทธเรียกเหตุการณ์นี้ว่าวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก กล่าวคือทรง เปิดโลกท้ัง ๓ ได้แก่ เทวโลก ยมโลก และมนุษยโลก ให้มองเห็นถึงกันด้วย พุทธานุภาพ ซึ่งตรงกับวันข้ึน ๑๕ ค่�ำ เดือน ๑๑ นอกจากน้ัน จารึกยังกล่าวถึงการ ตระเตรียมไทยทานของชาวพุทธเพ่ือถวายแด่พระพุทธเจ้าคราวน้ันด้วย เร่ืองราวเหล่า น้ีคัดลอกมาจากคัมภีร์อรรถกกถาขุททกนิกาย ธรรมบท เรื่องยมกปาฏิหาริย์๕ หาก วิเคราะห์ตามหลักฐานสันนิษฐานน่าจะเป็นคติความเชื่อของพระพุทธศาสนาเถรวาท แห่งลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งสอดคล้องกับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ติวังกวิหาร (Tivanga Pilimage) เมืองโปโฬนนารุวะ ประเทศศรีลังกา ซึ่งมีภาพบรรยายการเสด็จลงมาจาก ๔ จารึก ๕, หน้า ๑๔๗-๑๕๒ ๕ อ.ขุ.ธ. ๒, หน้า ๒๑๐-๒๑๕.