38 ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตรทำให้ทราบเป้าหมายแนวทาง และขอบเขตในการดำเนินการจัด การศกึ ษาของโรงเรยี น จากแนวคิดดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าการประเมินหลักสูตรทำให้ทราบว่าหลักสูตรที่ สร้างข้ึนน้ันมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร สามารถนำข้อมูลท่ีได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรให้มี คุณภาพตอ่ ไป 2.7 รูปแบบของการประเมินหลกั สูตร รปู แบบการประเมินมีอยู่หลายรปู แบบ ดังนั้นในการออกแบบประเมิน ผปู้ ระเมินจะต้อง พิจารณาว่าจะดำเนินการประเมินอย่างไร จงึ จะทำใหผ้ ลการประเมนิ ที่ถกู ต้องตามสภาพความเป็นจริง ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการของผู้ที่จะใช้ผลประเมิน ถ้าพิจารณาให้ละเอียด รูปแบบการ ประเมินบางรูปแบบจะมีความคล้ายคลึงกัน รูปแบบของการประเมินหลักสูตร มีนักวิชาการซึ่ง เชี่ยวชาญทางด้านหลกั สูตรและการประเมนิ ผลเสนอแนะหลายรปู แบบด้วยกัน ซ่งึ สามารถนำมาศึกษา เพื่อเลอื กใชใ้ หเ้ หมาะสมกับความต้องการ ในปัจจุบันรูปแบบของการประเมนิ หลักสตู รสามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (สนุ ยี ์ ภูพ่ นั ธ์, 2546: 259) 1. รูปแบบของการประเมินหลักสูตรท่ีสร้างเสร็จใหม่ๆ เป็นการประเมินผลก่อนนำ หลักสูตรไปใช้ กลุ่มนี้จะเสนอรูปแบบที่เด่น ๆ คือ รูปแบบการประเมินหลักสูตรด้วยเทคนิคการ วเิ คราะหแ์ บบปุยแซงค์ (Puissance Analysis Technique) 2. รปู แบบของการประเมินหลักสูตรในระหวา่ งหรือหลังการประเมินหลักสูตรสามารถ แบ่งเป็นกล่มุ ยอ่ ย ๆ ไดเ้ ปน็ 4 กลุ่มดังนี้ 2.1 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดจุดมุ่งหมายเป็นหลัก (Goal Attainment Model) เป็นรปู แบบการประเมินที่จะประเมินว่าหลักสูตรมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจาก จุดมุ่งหมายเป็นหลัก กล่าวคือพิจารณาว่าผลท่ีได้รับเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ เช่น รูปแบบการ ประเมนิ หลกั สตู รของ Tyler และรูปแบบการประเมนิ หลกั สูตรของ Hammond 2.2 รูปแบบการประเมินหลักสูตรท่ีไม่ยึดเป้าหมาย (Goal Free Evaluation Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่ไม่นำความคิดของผู้ประเมินเป็นตัวกำหนดความคิดในโครงการประเมินผู้ ประเมินจะประเมินเหตุการณ์ท่ีเกิดตามสภาพความเป็นจริงมีความเป็นอิสระในการประเมินและต้อง ไมม่ ีความลำเอียง เช่น รูปแบบการประเมินหลกั สตู รของ Scriven 2.3 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก (Criterion Model) เป็น รูปแบบการประเมินทต่ี ้องอาศยั ผูเ้ ชี่ยวชาญในการตัดสนิ คุณค่าของหลกั สตู รโดยใช้เกณฑ์เป็นหลกั เช่น รปู แบบการประเมินหลักสตู รของ Stake 2.4 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ช่วยในการตัดสินใจ (Decision–Making Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นการทำงานอย่างมีระบบเก่ียวกับการรวบรวมข้อมูล การ วิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลน้ัน ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของ ผู้บริหารหรือผู้ท่ีเกี่ยวข้อง เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของ Provus รูปแบบการประเมิน หลกั สูตรของ Stufflebeam และรูปแบบการประเมินหลักสูตรของ Doris T. Gow เปน็ ตน้
39 การประเมินหลักสูตรมีขอบเขตตา่ ง ๆ ที่จะต้องทำการประเมนิ กว้างขวางมาก ดงั นนั้ วิธีการ ประเมินหลักสูตรจึงต้องได้รับการวิเคราะห์และออกแบบให้สามารถท่ีจะประเมินได้ครบถ้วนใน ขอบข่ายสาระท้ังหมด รูปแบบต่าง ๆ ท่ีจะใช้ในการประเมินผลมีอยู่หลายรูปแบบ ผู้มีหน้าท่ีในการ ประเมินผลจำเป็นต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจให้กระจ่างชัด และจะต้องนำรูปแบบต่าง ๆ ไปใช้อย่าง ถูกต้องตรงตามจุดหมายและลักษณะของขอบข่ายสาระแต่ละอย่าง ทั้งนี้เป็นไปได้ว่า การประเมินผล ขอบข่ายสาระท้ังหมดของหลักสูตรจำเป็นต้องใช้วิธกี ารหลายวิธหี รือหลาย ๆ รปู แบบ จึงจะไดข้ ้อมลู ที่ มีความเชื่อมั่นในการที่จะนำไปพัฒ นาหลักสูตรให้มีคุณค่าเหมาะสมกับความต้ องการของสังคม รปู แบบการประเมินมดี ังน้ี รปู แบบการประเมนิ หลักสตู รของปุยแซงส์ (The Puissance Analysis Technique) ปุยแซงส์เทคนิคเปน็ วิธีการประเมินผลหลักสตู รแบบหน่ึง โดยการวิเคราะหห์ ลักสูตรในด้าน องค์ประกอบ 3 ส่วนของ Tyler คือ 1) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective) 2) กจิ กรรมการเรียนการสอน (Instruction Activity) และ3) การประเมินผล (Assessment Task) โดย องค์ประกอบท้ังสามต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันและกันดังตารางของปุยแซงส์ เม่ือวิเคราะห์และ คิดคำนวณโดยใช้หลักสูตรของปุยแซงส์ แล้วผลท่ีได้รับจะทำให้รู้ว่าคุณภาพของหลักสูตรอยู่ในระดับ ใด การประเมินผลหลักสูตร จะต้องรวบรวมจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนการสอน วัสดุการเรียน และเทคนิคการวัดผลต่าง ๆ ของหน่วยย่อย ๆ ท้ังหมดในหลักสูตร เพ่ือใส่ลงในตาราง วิเคราะห์ปุยแซงส์ (The Puissance Analysis Matrix) ผลการวิเคราะห์จะเป็นตัวเลขชี้ให้เห็นว่า หลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับใด การประเมินหลักสูตรโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบปุยแซงส์นี้ Walbesseer ได้นำแนวความคิดของไทเลอร์ (Tyler) เก่ียวกับองค์ประกอบสำคัญในการสร้าง หลักสูตรซึ่งมีทั้งหมด 3 ส่วนท่ีสัมพันธ์กัน คือ จุดประสงค์ ประสบการณ์การเรียนรู้หรือกิจกรรมการ เรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ หรือท่ีเรียกความสัมพันธ์น้ีว่า “วงแหวนของไทเลอร์” (Tyler Loop) Walbesseer ได้นำองค์ประกอบของทั้ง 3 ส่วนมาวิเคราะห์โดยใช้ตารางวิเคราะห์ปุย แซงส์ นอกจากน้ี Walbesseer ยังนำหลักการและทฤษฎีท่ีเก่ียวข้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของ Gagne ซึ่งได้แก่ รูปแบบของการเรียนรู้ (Learning Types) และพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ แสดงออกมาให้เห็นได้ (Performance Classes) มาสร้างเป็นตารางวิเคราะห์ปุยแซงค์ Gagne (อ้าง ถงึ ใน สนุ ีย์ ภู่พันธ์, 2546: 276-278) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรวู้ ่ามี 2 มิติ คอื มิติท่ี 1 ความรู้ท่ีให้แก่ผู้เรียน มี 6 รูปแบบ แต่ละรูปแบบจะให้ค่าของความรู้แตกต่าง กนั ตามลำดบั ดงั น้ี 1. ความรู้แบบลูกโซ่ ครูมุ่งสอนให้ผู้เรียนได้รับความรู้ โดยสอนให้ผู้เรียนสามารถทำ อะไรใหเ้ ป็นลำดับข้นั ตอนตอ่ เน่อื งไปไดเ้ ชน่ ท่อง บรรยาย เป็นแลว้ นกึ ออกมีคา่ เท่ากับ 1 คะแนน 2. ความรู้แบบเช่ือมโยงโดยใช้คำพูด ครูที่มุ่งสอนให้ผู้เรียนรู้จักลำดับข้ันตอน อธิบาย เชือ่ มโยงด้วยคำพูด เช่น การทอ่ งกลอนใชค้ ำพดู ทเี่ ก่ยี วขอ้ งมคี า่ เทา่ กับ 2 คะแนน 3. ความรู้แบบผสมผสาน ครูมุ่งสอนให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานสิ่งท่ีเรียนมาได้ ต้องการให้จำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบความแตกต่าง เช่น สามารถแยกไม้ดอกไม้ประดบั ได้ แยกพืช ใบเลยี้ งคใู่ บเลี้ยงเด่ยี วได้ เป็นต้น มคี ่าเทา่ กับ 3 คะแนน
40 4. ความรู้แบบความคิดรวบยอด ผู้เรียนที่ได้รับความรู้แบบนี้จะเข้าใจในสิ่งท่ีเรียนได้ ถูกต้อง เช่น รู้ว่านกเป็นอย่างไร มีปีก 2 ปีก ขา 2 ขา สามารถบินได้ คือการรู้วิธีการเข้าใจการเกิด ความคดิ รวบยอดและสรุปได้ มีคา่ เทา่ กับ 4 คะแนน 5. ความรู้แบบหลักการ ผู้เรียนท่ีได้ความรู้ขั้นน้ีสามารถจะผสมผสานแนวคิดหลาย ๆ แนวคิดเข้ากัน ทำให้เกิดหลักการใหม่ รู้กฎเกณฑ์ เกิดความสนใจ สรุปหลักการได้มีค่าเท่ากับ 5 คะแนน 6. ความรู้แบบแก้ปัญหา ผู้เรียนได้รับความรู้ข้ันน้ีจะสามารถใช้ความรู้ใช้แก้ปัญหาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โลหะทุกชนิดเม่ือได้รับความร้อนจะขยายตัวการต่อรางรถไฟจึงต้องเว้น ระยะไวเ้ พื่อให้โลหะขยายตวั ปอ้ งกันการโก่งตัวของเหลก็ ความรู้ระดับนเ้ี ป็นความรูท้ ่ีสูงสุดมีค่าเท่ากับ 6 คะแนน มิติที่ 2 มิติท่ีเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ มีผลมาจากความรู้ที่ได้ทั้ง 6 ขั้นระดับของ พฤตกิ รรมนแ้ี บง่ ไดเ้ ปน็ 3 ระดบั 9 ข้ันตอนคอื ระดับที่ 1 เป็นระดบั พฤติกรรมทีง่ ่ายทสี่ ุด มีค่าเท่ากบั 1 คะแนน มี 3 ขน้ั 1.1 การบอกช่ือหรือชี้เพ่ือแสดงถึงการสามารถที่จำสิ่งที่เรียนได้ การเรียกช่ือ สิ่งของได้ ครูชี้แล้วเดก็ สามารถบอกชื่อได้ 1.2 การเลือกหรือการบอกลักษณะ บอกลักษณะของส่ิงของได้ บอกลักษณะของ สัตวไ์ ด้ 1.3 การบอกกฎเกณฑ์ บอกกฎเกณฑ์ท่ีท่องไว้ได้ เช่น การท่องสูตรคูณโดยมาก แลว้ เปน็ ความรู้ข้นั fact, concept และ principle ซง่ึ เป็น Cognitive Domain เปน็ ส่วนใหญ่ ระดับที่ 2 เป็นระดบั พฤติกรรมการเรียนรมู้ คี ่าปานกลาง มี 2 ขน้ั แตล่ ะข้ันมคี ่าเท่ากับ 2 คะแนน 2.1 การลำดับ หมายถึง การเรยี งลำดับได้ถูกตอ้ ง เชน่ การเรียงลำดับกษัตรยิ ์ท่ีทรง เป็นมหาราชของไทยได้ การเรยี งลำดับอกั ษรไทยได้ เป็นตน้ 2.2 การสาธิต แสดงเปน็ ตวั อย่าง เช่น การสาธิตการไหว้ ระดับท่ี 3 เป็นระดับพฤติกรรมทางการเรียนรู้ท่ีมีค่ามากท่ีสุด มี 4 ข้ันตอน แต่ละ ขน้ั ตอนมคี ่าเท่ากับ 3 คะแนน คอื 3.1 การสรา้ งส่ิงใดสงิ่ หนึง่ เชน่ การสรา้ งรปู แบบ (Model) 3.2 การอธบิ ายหรือบรรยาย สามารถบรรยายได้ถกู ตอ้ งตามกำหนด เช่น บรรยาย คุณลกั ษณะผู้ท่มี ลี ักษณะเป็นนักบรหิ าร นกั ประชาธปิ ไตย นักแนะแนว เป็นตน้ 3.3 การจำแนกหรือแยกแยะให้จำแนกแยกแยะประเภทของสงิ่ ของได้ เช่น สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตวค์ รงึ่ บกคร่งึ นำ้ สัตวม์ ีกระดูกสันหลงั และสัตวท์ ไ่ี ม่มีกระดูกสันหลัง เปน็ ต้น 3.4 การประยุกต์ใชก้ ฎเกณฑ์คือการเรียนรู้กฎเกณฑ์แลว้ นำไปใช้ได้ เช่น a2 – b2= (a - b) (a + b ) 102 - .252= (10 + .5) (10 - .5) ตามหลักการเรียนรู้ของ Gagne ความรู้หรอื พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ยากหรืออยู่ในอันดับ สูง มากเท่าใด ก็จะเป็นความรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ท่ีลึกซ้ึงและสามารถนำส่ิงท่ีเรียนไปใช้ให้เป็น
41 ประโยชน์ได้มากขึ้นเท่าน้ัน ดังนั้นหลักสูตรใดท่ีมุ่งสอนให้ผู้เรียนมีความรู้และแสดงพฤติกรรมการ เรียนรู้ขั้นสงู ข้นึ ได้ หลกั สตู รน้ันนับว่าเปน็ หลกั สูตรที่มคี ุณภาพดี รูปแบบการประเมินหลกั สูตรของ Tyler Tyler (1969) เป็นผู้ที่วางรากฐานการประเมินหลักสูตร โดยเสนอแนะแนวคิดว่าการ ประเมินหลกั สูตรเปน็ การเปรียบเทียบว่าพฤตกิ รรมของผเู้ รยี นที่เปลย่ี นแปลงไปเปน็ ไปตามจดุ มงุ่ หมาย ที่ได้ตั้งไว้หรอื ไม่ โดยการศึกษารายละเอียดขององคป์ ระกอบของกระบวนการจัดการศึกษา 3 ส่วนคือ จุดมุ่งหมายทางการศึกษา ประสบการณ์การเรียนรู้ และการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ผู้เรยี น ดงั แผนภาพที่ 2 จดุ มุ่งหมายของการศึกษา ประสบการณเ์ รยี นรู้ การพิจารณาผลสมั ฤทธิ์ แผนภาพที่ 2 ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งองคป์ ระกอบทางการศึกษา (Tyler, 1969: 116) จากแผนภาพที่ 2 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการศึกษาตามแนวคิดของ Tyler ตามแนวคิดน้ีพ้ืนฐานของการจัดหลักสูตรก็คือ ผู้จัดทำหลักสูตรจะต้องสามารถวางจุดหมายท่ี ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเปล่ียนหรือมีพฤติกรรมเป็นอย่างไรพยายามจัดประสบการณ์การสอนเพ่ือ ช่วยผู้เรียนให้เปล่ียนพฤติกรรมไปตามท่ีต้องการ บทบาทของการประเมินหลักสูตรเป็นส่วนหน่ึงของการ เรียนการสอนและเป็นส่วนหน่ึงของการพัฒนาหลักสูตรจึงอยู่ท่ีการดูผลผลิตของหลักสูตรว่าตรงตาม จุดมุ่งหมายหรือไม่ แนวคิดของ Tyler จึงยึดความสำเร็จของจุดหมายเป็นหลัก Tyler มีความเห็นว่า จดุ มงุ่ หมายของการประเมนิ หลักสูตรคอื 1. เพ่ือตัดสินว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้ังไว้ในรูปของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ประสบความสำเร็จหรือไม่ ส่วนใดท่ีประสบความสำเร็จก็อาจเก็บไว้ใชไ้ ด้ต่อไป แต่ส่วนใดที่ไม่ประสบ ความสำเรจ็ ควรจะปรับปรงุ แกไ้ ข 2. เพื่อประเมินค่าความก้าวหน้าทางการศึกษาของกลุ่มประชากรขนาดใหญ่เพื่อให้ สาธารณชนได้ข้อมูลท่ีน่าเช่ือถือและเข้าใจปัญหาความต้องการของการศึกษา และเพ่ือใช้ข้อมูลน้ัน เป็นแนวทางในการปรบั ปรุงนโยบายทางการศึกษาที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วยเหตุน้ีการประเมินหลักสูตร จึงเปน็ ส่วนหนึง่ ของการเรียนการสอนและของการประเมินคุณค่าของหลักสูตรด้วย Tyler (1969) ไดจ้ ดั ลำดับข้ันตอนการเรียนการสอนและการประเมินผล ดังนี้ 1. กำหนดจุดมุ่งหมายอย่างกว้าง ๆ โดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ในการกำหนด จุดมุ่งหมาย (Goal Sources) คือนักเรียน สังคม และเนื้อหาสาระส่วนปัจจัยที่กำหนดขอบเขตของ จดุ มุ่งหมาย (Goal Sources) คอื จติ วิทยาการเรียนรู้ และปรัชญาการศึกษา 2. กำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็น พฤตกิ รรมท่ตี อ้ งการวดั หลังจากจัดประสบการณ์การเรยี นรู้
42 3. กำหนดเน้ือหาหรือประสบการณก์ ารเรียนรเู้ พ่ือให้บรรลจุ ดุ มงุ่ หมายท่ีตงั้ ไว้ 4. เลือกวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่จะทำให้เนื้อหาหรือประสบการณ์ท่ีวางไว้ ประสบความสำเรจ็ 5. ประเมินผลโดยการตัดสินใจด้วยการวัดผลทางการศึกษา หรือทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรยี น 6. หากหลักสูตรไม่บรรลุตามจดุ มุ่งหมายท่วี างไว้ กจ็ ะต้องมกี ารตัดสินใจทจ่ี ะยกเลกิ หรือ ปรับปรุงหลักสูตรนั้น แต่ถ้าบรรลุตามจุดมุ่งหมายก็อาจจะใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อ ปรับปรุงการกำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสังคมท่ีเปล่ียนแปลง หรือใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา คณุ ภาพของหลักสตู ร วิธีการประเมินภาคขยายของ Tyler Tyler (1969) มีความเชื่อว่าการประเมินค่าโปรแกรมเป็นกระบวนการท่ีช่วยสร้าง พัฒนา ปรับปรุง และทำให้โปรแกรมทางการศึกษาที่มีคุณภาพดำรงอยู่อย่างยั่งยืน สาระของการประเมิน สรปุ ไดด้ งั นี้ (สมหวัง พธิ ยิ านุวฒั น์, 2541: 130–131) การประเมินค่าวัตถปุ ระสงค์ โปรแกรมทางการศกึ ษาท่ีมอี ยู่มากมายและมีความหลากหลาย ก็ด้วยวัตถุประสงค์ของโปรแกรมท่ีต้องการเน้นในจุดท่ีแตกต่างกัน และในบางคร้ังวัตถุประสงค์ของ โปรแกรมกถ็ ูกบิดเบือนไปจากหลักการทคี่ วรจะเป็น เพราะส่ิงที่เน้นในวัตถุประสงค์ของโปรแกรมไม่ได้ นำมาพิจารณาให้เหมาะสม ในการประเมินโปรแกรมเพ่ือวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและการให้ทุน สนับสนุนหรือส่งเสริมโปรแกรมต่างๆจึงมีความจำเป็นท่ีต้องประเมินวัตถุประสงค์ของโปรแกรม การศึกษาดว้ ยเกณฑ์ดงั นี้ เกณฑ์ 1 วัตถปุ ระสงค์ควรเป็นเรอื่ งท่ีสอดคลอ้ งกบั ปรัชญาทางการศึกษาของสถาบัน เกณฑ์ 2 วตั ถปุ ระสงค์ควรมคี วามเกย่ี วข้องและเหมาะสมกบั เน้ือหาวชิ าในรายวชิ านัน้ ๆ เกณฑ์ 3 วัตถุประสงค์ที่เสนอไว้ในโปรแกรมควรเป็นส่ิงท่ีผู้เรียนจะได้มีโอกาสในการใช้ สิ่งท่เี ขาจะไดเ้ รียนรไู้ ป นน่ั คอื สง่ิ ทีเ่ ขาจะได้เรยี นรู้จะเป็นประโยชนก์ ับเขาในทางปฏบิ ตั ิ เกณฑ์ 4 วัตถุประสงค์ควรมีความเหมาะสมในแง่ท่ีเป็นความต้องการ ความสนใจ และ เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน และในกรณีที่เป็นวัตถุประสงค์ท่ีสำคัญแต่ผู้เรียนไม่สนใจใน โปรแกรมก็ควรที่จะกำหนดวัตถุประสงค์เพ่ือท่ีจะพัฒนาแรงจูงใจในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์นั้น ดว้ ย รูปแบบการประเมนิ หลกั สูตรของ Hammond Hammond (1967) มีแนวคิดในการประเมินหลักสูตรโดยยึดจุดประสงค์เป็นหลักคล้าย Tyler แต่ Hammond ได้เสนอแนวคิดที่ต่างจากTyler โดยท่ี Hammond เสนอว่า โครงสร้าง สำหรับการประเมินน้ันประกอบด้วยมิติ (Dimensions) ใหญ่ ๆ หลายมิติด้วยกัน แต่ละมิติก็จะ ประกอบด้วยตัวแปรสำคญั ๆ อีกหลายตัวแปร ความสำเรจ็ หรือความล้มเหลวของหลักสูตร ขึ้นอยู่กับ การปะทะสัมพนั ธ์ (Interaction) ระหวา่ งตัวแปรในมติ ติ ่าง ๆ เหล่านี้ มิตทิ ้ัง 3 ได้แก่ มติ ดิ ้านการเรียน การสอน มิติด้านสถาบนั และมติ ดิ า้ นพฤติกรรม 1. มิตดิ า้ นการสอน ประกอบดว้ ยตวั แปรสำคญั 5 ตัวแปรคอื
43 การจัดช้ันเรียนและตารางสอน คือการจัดครูและนักเรียนให้พบกัน และดำเนิน กิจกรรมการเรยี นการสอน ซึง่ สว่ นการจัดในสว่ นน้ีจะต้องคำนงึ ถงึ เวลาและสถานท่ีด้วย เนื้อหาวิชา หมายถึง เน้ือหาวิชาที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน การจัดลำดับ เนอื้ หาใหเ้ หมาะสมกบั ระดบั วุฒภิ าวะของผู้เรียนและช้ันเรยี นแต่ละระดับ วิธีการ หมายถึง หลักการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนรวมทั้ง ปฏสิ มั พนั ธ์ระหวา่ งครูกบั นักเรียน และนักเรียนกบั นกั เรียน ส่งิ อำนวยความสะดวกตา่ ง ๆ หมายถงึ สถานที่ อปุ กรณ์ เครื่องมือและอุปกรณพ์ เิ ศษ หอ้ งปฏบิ ตั กิ าร วัสดสุ น้ิ เปลอื งต่างๆ รวมถึงสงิ่ ท่มี ีผลต่อการใชห้ ลักสูตร และการสอนดา้ นอื่น งบประมาณ หมายถึง เงินท่ีใช้เพ่ืออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน การซอ่ มแซม เงินเดอื นครู ค่าจา้ งบุคลากรท่ีจะทำให้งานการใชห้ ลกั สูตรประสบความสำเรจ็ 2. มิติด้านสถาบัน ประกอบด้วยตัวแปรที่ควรคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร 5 ตัว แปร คือ นักเรียน มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตรได้แก่ อายุ เพศ ระดับชั้นท่ีกำลังศึกษา ความสนใจ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน สุขภาพกายและสุขภาพจิต ภูมิหลังทาง ครอบครวั ครู มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ อายุ เพศ วุฒิสูงสุด ทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการสอน เงินเดือน กิจกรรมที่ทำเวลาว่าง การฝึกอบรมเพิ่มเติม เก่ยี วกบั การใช้หลักสูตรในชว่ งระยะเวลา 1-3 ปี และความพึงพอใจในการปฏิบตั งิ าน ผบู้ รหิ าร มีองค์ประกอบท่ีต้องคำนึงถึงในเวลาประเมินหลกั สูตร ได้แก่ อายุ เพศ วุฒิ สูงสุดทางการศึกษา ประสบการณ์ทางการบริหาร เงินเดือน ลักษณะทางบุคลิกภาพ การฝึกอบรม เพ่ิมเติมเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรในช่วงระยะเวลา 1-3 ปี และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้าน วิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ มีองค์ประกอบท่ีต้องคำนึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ อายุ เพศ ความเช่ียวชาญเฉพาะด้านลักษณะของการให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือลักษณะทางบุคลิกภาพและ ความพงึ พอใจในการปฏิบัติงาน ครอบครัว มีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ สถานภาพ สมรส ขนาดของครอบครัวรายได้ สถานที่อยู่ การศึกษา การเป็นสมาชิกของสมาคม การโยกย้าย จำนวนบตุ รทีอ่ ยู่ในโรงเรียนนี้ และจำนวนญาตทิ อ่ี ยูร่ ่วมโรงเรียน ชุมชน มีองค์ประกอบท่ีต้องคำนึงถึงในการประเมินหลักสูตร ได้แก่ สภาพชุมชน จำนวนประชากร การกระจายของอายุประชากร ความเชื่อ (ค่านิยม ประเพณี ศาสนา) ลักษณะทาง เศรษฐกจิ สภาพการใหบ้ รกิ ารสุขภาพอนามยั และการรับนวัตกรรมเทคโนโลยี 3. มิติด้านพฤติกรรม มีองค์ประกอบของพฤติกรรม 3 ด้าน คือพฤติกรรมด้านความรู้ (Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านทักษะ (Psychomotor Domain) และพฤติกรรมด้านเจตคติ (Affective Domain)
44 แนวความคิดการประเมินหลักสูตรของ Hammond เริม่ ดว้ ยการประเมินหลักสูตรท่ี กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลเปน็ พ้ืนฐานท่ีจะนำไปสกู่ ารตัดสนิ ใจ แล้วจึงเริ่มกำหนด ทิศทางและกระบวนการของการเปล่ียนแปลงหลักสูตรขน้ั ตอนของการประเมินหลกั สตู รมีดังน้ี 1. กำหนดส่ิงท่ีต้องการประเมิน ควรจะเริ่มต้นท่ีวิชาใดวิชาหน่ึงในหลักสูตร เช่น ภาษาไทย คณติ ศาสตร์ และจำกัดระดบั ช้นั เรยี น 2. กำหนดตวั แปรในมติ ิการสอนและมติ ิสถาบันใหช้ ดั เจน 3. กำหนดจุดประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม โดยระบถุ ึง 1) พฤตกิ รรมของนักเรยี นทแี่ สดงว่า ประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ท่ีกำหนด 2) เงื่อนไขของพฤติกรรมท่ีเกิดขึ้น 3) เกณฑ์ของ พฤติกรรมทบี่ อกให้รู้วา่ นักเรยี นประสบความสำเรจ็ ตามจุดประสงค์ มากนอ้ ยเท่าใด 4. ประเมินพฤติกรรมท่ีระบุไว้ในจุดประสงค์ ผลท่ีได้จากการประเมินจะเป็น ตวั กำหนดที่พจิ ารณาหลักสตู รท่ีดำเนินการใชอ้ ยเู่ พ่อื ตัดสนิ รวมทั้งการปรบั ปรงุ เปล่ียนแปลงหลกั สตู ร 5. วิเคราะห์ผลภายในองค์ประกอบและความสันพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เพ่ือให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมแท้จริงที่เกิดข้ึน ซ่ึงจะเป็นผลสะท้อนกลับไปสู่วัตถุประสงค์เชิง พฤติกรรมท่ีตั้งไว้ และเป็นการตัดสินว่าผลหลกั สูตรน้นั มีประสทิ ธิภาพเพียงใด 6. พจิ ารณาสง่ิ ท่ีควรเปลี่ยนแปลงปรับปรุง แนวคิดในการประเมินหลักสูตรของ Hammond ใช้แนวคิดของTyler เป็นพ้ืนฐาน ในการกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม และการใช้ข้อมูลจากการประเมินผลในการปรับปรุง จุดประสงค์ของหลักสูตรนั้น แต่ Hammond ให้แนวทางท่ีเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ตัวแปรของ มิติดา้ นการสอน และมิติด้านสถาบันซึง่ อาจมีผลต่อการสำเร็จของหลักสูตรนน้ั ด้วย รูปแบบการประเมินหลักสูตรของ Stake (The Stake’s Congruence Contingency Model) รูปแบบการประเมินหลักสูตรของ Stake (1975) เป็นรูปแบบการประเมินหลักสูตรท่ียึด เกณฑ์เป็นหลัก Stake (1975) ได้ให้ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่า เป็นการบรรยายและ ตัดสินคุณค่าของหลักสูตร ซึ่งเน้นเรื่องการบรรยายส่ิงท่ีจะถูกประเมินโดยอาศัยผู้เช่ียวชาญหรือ ผ้ทู รงคุณวุฒิในการตัดสินคุณคา่ มีจุดมุง่ หมายที่จะประเมินผลหลักสูตรโดยการประเมินส่วนประกอบ ของการจัดการเรียนการสอนหลาย ๆ ส่วน โดยไม่เพียงแต่พิจารณาเฉพาะผลที่เกิดจากการใช้ หลักสูตรเท่าน้ัน ดงั นน้ั Stake (1975) จึงเสนอว่าควรมีการพิจารณาข้อมูลเพ่ือประเมินผลหลักสูตร 3 ด้าน คือ 1. ด้านส่ิงที่มาก่อน หรือสภาพก่อนเริ่มโครงการ (Antecedent) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ เอื้อให้เกิดผลจากหลักสูตรและเป็นส่ิงท่ีมีอยู่ก่อนการใช้หลักสูตรอยู่แล้วประกอบด้วย 7 หัวข้อคือ บุคลิกและนิสัยของนักเรียน บุคลิกและนิสัยของครู เน้ือหาในหลักสูตร วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการ สอน อาคารสถานที่ การจัดโรงเรียน ลักษณะของชมุ ชน 2. ด้าน กระบ วนการเรียน การสอน (Instructional Process or Transactions) หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่มีการเรียนการสอนระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียน กับครู ครูกับผู้ปกครอง ฯ เป็นขั้นของการใช้หลักสูตร ซ่ึงประกอบด้วย 5 หัวข้อคือ การสื่อสาร การ จัดแบ่งเวลา การลำดบั เหตุการณ์ การให้กำลงั ใจ และบรรยากาศของส่งิ แวดล้อม
45 3. ด้านผลผลิต หรือผลที่ได้รับจากโครงการ (Outcomes) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการ ใช้หลักสูตร ประกอบด้วย 5 หัวข้อคือ ผลสัมฤทธ์ิของนักเรียน ทัศนคติของนักเรียน ทักษะของ นกั เรยี น ผลทีเ่ กดิ ขนึ้ กับครู และผลท่เี กิดขน้ึ กับสถาบัน รูปแบบการประเมินหลักสูตรของ Provus (Provus’ Discrepancy Evaluation Model) Provus ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินหลักสูตรซ่ึงเรียกว่า “การประเมินผล ตามความแตกต่างหรือประเมินผลความไม่สอดคล้อง” (Discrepancy Evaluation) ซ่ึงจะประเมิน หลักสูตรท้ังหมด 5 ส่วน คือ 1) การออกแบบ (Design) 2) ทรัพยากรหรือส่ิงที่เร่ิมต้ังไว้เมื่อใช้ หลักสูตร (Installation) 3) กระบวนการ (Process) 4) ผลผลิตของหลักสูตร (Products) 5) ค่าใช้จ่ายหรือผลตอบแทน (Cost) ในแต่ละส่วนจะมีข้ันตอนการประเมินผลเหมือนกันโดยจะ ดำเนินการเป็น 5 ข้ันตอนดังน้ี ข้ันที่ 1 ผู้ประเมินจะต้องกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน (Standards - S) ของส่ิงท่ีต้องการ วดั กอ่ น เชน่ มาตรฐานด้านเน้อื หา เปน็ ต้น ข้ันท่ี 2 ผู้ประเมินต้องรวบรวมขอ้ มูลเก่ียวกับการดำเนินงานหรอื การปฏบิ ตั ิจรงิ ของส่งิ ท่ี ตอ้ งการวดั ( Performance - P) ขนั้ ท่ี 3 ผู้ประเมินนำข้อมูลท่ีรวบรวมไดใ้ นข้ันที่ 2 มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ท่ีตัง้ ไวใ้ นข้นั ท่ี 1 ( Compare - C) ขั้นที่ 4 ผู้ประเมินศึกษาความแตกต่าง หรือความไม่สอดคล้องระหว่างผลการปฏิบัติ จรงิ กับเกณฑ์มาตรฐาน (Discrepancy - D) ขั้นที่ 5 ผู้ประเมินส่งผลการประเมินไปให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลใน การตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรว่าจะยกเลิกการใช้หลักสูตรท่ีประเมิน หรือปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติ หรอื เกณฑม์ าตรฐานใหม้ ีคุณภาพดขี ึ้น (Decision Making) S C D Decision Making P แผนภาพที่ 3 รูปแบบการประเมนิ ของ Provus (อ้างถึงใน สนุ ยี ์ ภ่พู นั ธ์, 2546: 274) S = Standard เป็นขัน้ แรกของการดำเนนิ การประเมินหลักสูตร กล่าวคือ ผู้ประเมินผล ต้องตัง้ สงิ่ มาตรฐานที่ตอ้ งการวัดไว้ก่อน P = Performance หลังจากดำเนินการข้ันแรกเรียบร้อยแล้ว ผู้ประเมินจะต้องรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือการปฏิบัติจริง ในส่ิงที่ต้องการวัดมาให้เพียงพอ ข้อมูลที่รวบรวม ควรเปน็ ขอ้ มลู ท่แี สดงใหเ้ หน็ พฤติกรรมทีช่ ัดเจน C = Compare เม่ือตงั้ มาตรฐานและรวบรวมขอ้ มูลเสรจ็ แล้ว ก็นำข้อมลู มาเปรยี บเทียบ เกณฑม์ าตรฐานทีต่ งั้ ไว้
46 D = Discrepancy จากการเทียบข้อมูลกับมาตรฐานท่ีกำหนดไว้ ผู้ประเมินพบว่ามี ช่องวา่ งอะไรท่ีเกิดข้ึนกบั ผลที่คาดหวงั D = Decision Making ประเมินจะส่งผลประเมินไปให้ผู้ที่จะตัดสินใจเก่ียวกับหลักสูตร เพอื่ ตัดสินใจอย่างใดอยา่ งหนึ่ง แบบการประเมินผลหลักสูตรของโพรวัสน้ี สะดวกแก่ผู้ประเมินหลายประการ และเป็น กระบวนการท่ีส่งให้เห็นถึงการตัดสินใจของผู้บริหารว่าจะใช้หรือไม่ หรือจะปรับปรุงเพิ่มเติม หรือจะ หยบิ ยกข้อมูลใดข้อมลู หน่ึงมาพิจารณา รูปแบบการประเมนิ หลักสตู รของ Stufflebeam Stufflebeam (2003) ได้อธบิ ายความหมายของการประเมนิ ผลทางการศกึ ษาเอาไวว้ ่าเป็น กระบวนการบรรยายการหาขอ้ มูล และการให้ข้อมูล เพื่อการตดั สินใจหาทางเลือก ฉะนั้นรูปแบบการ ประเมินผลหลักสูตรตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม จึงเป็นรูปแบบท่ีเหมาะสมแก่การช่วยตัดสินใจเพ่ือ หาทางเลือกท่ีดีท่ีสุด ตามปกติสถานการณ์ในการตัดสินใจ (Decision Settings) โดยทั่วไปจะ ประกอบดว้ ยมิตทิ ส่ี ำคญั อยู่ 2 ประการ คือ 1. มิติด้านข้อมูลท่ีมีอยู่ (Information Grasp) คือ ถ้าเราจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เราจำเป็นตอ้ งคำนึงวา่ เรามีข้อมลู เกยี่ วกบั เรื่องนัน้ อยู่มากน้อยเพยี งใดแลว้ 2. มิติด้านปริมาณความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขนึ้ (Degree of Change) คือ ถ้า เราจะตัดสินใจทำอะไรซักอย่างหนึ่ง เราต้องคำนึงว่าเม่ือเราทำไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก นอ้ ยสักแคไ่ หน การตัดสินใจน้ันไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใดก็ตามจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเชิงประเมิน (Evaluation Data) มาช่วยเป็นพ้ืนฐาน เพราะการตัดสินใจใด ๆ ของผู้บริหารท่ีไม่ใช้ข้อมูลเชิง ปริมาณมาเป็นพื้นฐานในการหาทางเลือก ย่อมเส่ียงต่อความล้มเหลวในการดำเนินงานตามทางเลือก นั้นอย่างมาก ส่วนการตัดสินใจท้ังปวงทางการศึกษานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจะจัดเนื้อหาวิชาใน หลักสูตรอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีไหน จะใช้ส่ือการเรียนการสอนอะไร จะจัดกิจกรรม เสริมหลกั สูตรอะไร ถา้ พจิ ารณาในแง่ของวิธีการกบั ผลที่จะเกดิ ข้ึนและส่งิ ท่ีคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราอาจจำแนกการตดั สนิ ใจออกไดเ้ ป็น 4 ประเภท คือ
47 ผลท่ีเกิดข้ึน ส่ิงท่คี าดหวัง สงิ่ ที่เปน็ จริง (1) (4) การตดั สนิ ใจเกย่ี วกบั การวางแผน การตัดสนิ ใจเกยี่ วกบั คณุ สมบัติท่ี (Planning) พึงประสงค์ (Recycling) (2) (Planning) วิธีทำ การตัดสนิ ใจเก่ียวกบั โครงสร้าง (3) (Structuring) การตัดสินใจเกี่ยวกบั การนำไปใช้ (Implementing) แผนภาพที่ 4 ประเภทและความสมั พันธข์ อง Stufflebeam ต่อสง่ิ ทค่ี าดหวังและส่งิ ที่เป็นจริง (อา้ งถงึ ใน สุนยี ์ ภู่พนั ธ์, 2546: 266) 1. การตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผน (Planning Decisions)เป็นการตัดสินใจโดย การคาดหวงั ว่าเราต้องการให้เกิดผลทางการศกึ ษาอย่างไร เชน่ หลังจากที่นักเรียนจบช้นั ประถมปีท่ี 6 ไปแล้วนักเรียนควรจะมีคุณสมบัติท่ีเด่น อย่างไรบ้าง ฉะนั้นการตัดสินใจชนิดน้ีจึงนำมาเป็นประโยชน์ ในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหรือในการวางแผนจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี จึงเรียกการ ตดั สนิ ใจอยา่ งนี้วา่ การตัดสินใจเกยี่ วกบั การวางแผน 2. การตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้าง (Structuring Decisions)เป็นการตัดสินใจโดย การคาดหวังว่าท่ีว่าถ้าต้องการให้เกิดผลทางการศึกษาตามที่คาดหวังไว้ในข้อ 1 นั้น เราควรจะวาง โครงสร้างหรือวางรูปแบบของการใช้หลักสูตรที่พึงประสงค์เอาไว้อย่างไร เช่นถ้าจะให้นักเรียนมี คุณสมบัติตรงตามท่ีคาดหวังเอาไว้นั้น โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมอย่างไร การบริหารควรจะเป็น แบบใด ครูควรจัดการเรียนการสอนอยา่ งไร ควรจัดใหม้ ีกิจกรรมเสริมหลกั สตู รอะไรบา้ ง ฯลฯ จึงเรยี ก การตัดสินใจแบบนวี้ า่ การตดั สินใจเกยี่ วกับโครงสร้าง 3. การตัดสินใจเก่ียวกับการนำไปใช้ (Implementing Decision)เป็นการตัดสินใจ ว่า ตามความเป็นจริงน้ันได้มีการนำหลักสูตรไปใช้ตามแนวทางที่คาดหวังเอาไว้หรือไม่ มีการควบคุม หรือแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้วิธีการที่เกิดข้ึนจริง ๆ เป็นไปตามท่ีต้องการมากน้อยเพียงใด จึงเรียกการ ตดั สนิ ใจแบบนวี้ ่า การตัดสินใจเกยี่ วกับการนำไปใช้ 4. การตัดสินใจเก่ียวกับคุณสมบัติท่ีพึงประสงค์ (Recycling Decisions)เป็นการ ตัดสนิ ใจหลงั จบการศึกษาตามหลักสตู รไปแลว้ นั้นจริงแล้วนักเรียนมีคณุ สมบัติเป็นอย่างไรมคี วามรู้ มี ทักษะ มเี จตคติ เป็นอย่างไรและตรงตามที่คาดหวังเอาไว้หรอื ไม่ ทีอะไรบ้างที่ต้องรกั ษาเอาไว้ และมี อะไรบ้างที่ต้องละทง้ิ หรือนำมาปรบั ขยายเสียใหม่ จงึ เรียกการตัดสนิ ใจแบบนี้ว่าการตัดสินใจเก่ียวกับ คณุ สมบัติที่พึงประสงค์
48 Stufflebeam ได้ให้แนวคิดไว้ว่า ในการประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งสำคัญท่ีเราต้อง ประเมนิ อยู่ 4 ด้านคือ 1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้หลักการและเหตุผลมากำหนดจุดมุ่งหมาย การประเมินสภาพแวดล้อมจะช่วยให้ผู้พัฒนา หลักสูตรรู้ว่า สภาพแวดล้อมที่เก่ียวข้องกับการจัดการศึกษามีอะไรบ้างสถานการณ์ท่ีคาดหวังกับ สภาพที่แท้จรงิ ในสภาพแวดลอ้ มดงั กล่าวเป็นอย่างไร มคี วามต้องการ หรือปัญหาอะไรบ้างท่ียังไม่ได้ รับการตอบสนองหรือแก้ไข มีโอกาสและสรรพกำลังที่จำเป็นอะไรบ้างท่ียังไม่ได้ถูกนำมาใช้ใน การศึกษา และสืบเน่ืองมาจากปัญหาอะไร ประเด็นการประเมินครอบคลุม เก่ียวกับนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นโยบายขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น มูลนิธิ สมาคม ความต้องการของชุมชน การตีตราของสังคม ความคาดหวังของผู้ปกครอง ผู้ใช้บัณฑิต แผน วิสัยทัศน์ จุดหมาย โครงสร้างหลักสูตร เป็นต้น ในการประเมินสภาพแวดล้อมน้ี ผู้ ประเมนิ อาจใชว้ ธิ ีดังต่อไปนี้ 1.1 การวเิ คราะห์ความคิดรวบยอด (Conceptual Analysis) 1.2 การทำวจิ ัยด้วยการเก็บขอ้ มลู มาวิเคราะห์จรงิ (Empirical Studies) 1.3 การอาศัยทฤษฎีและความคิดเห็นของผู้เช่ียวชาญการประเมินสภาพแวดล้อมนี้ จะช่วยใหไ้ ด้ข้อมูลทเ่ี ป็นประโยชน์ในการตัดสนิ ใจด้านการวางแผนหรือกำหนดจดุ มงุ่ หมาย (Planning Decisions) 2. การประเมินตัวป้อน (Inputs Evaluation) เป็นการประเมินท่ีมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลมาช่วยตัดสินใจว่าจะใช้ทรัพยากรหรือสรรพกำลังต่าง ๆ ท่ีมีอยู่เพ่ือให้บรรลุผลตาม จุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างไร จะขอความช่วยเหลือด้านทรัพยากรและสรรพกำลังจากแหล่ง ภายนอกดีหรือไม่จะใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใดประเด็นการประเมินครอบคลุม เก่ียวกับ งบประมาณ อาคารสถานที่ คุณลักษณะ/คุณวุฒิ/คุณสมบัติ/ประสบการณ์ของผู้บริหาร ผู้สอน/ จำนวน คุณภาพของผู้เรียน/ พ้ืนฐานความรู้ผู้เรียน สื่อวัสดุ/อุปกรณ์/หนังสือตำรา เอกสารหลักสูตร การสนับสนุนส่งเสริมของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เวลาและช่วงเวลา เป็นต้น ซ่ึงการประเมิน ตวั ป้อนอาจกระทำไดโ้ ดย 2.1 จัดทำในรปู แบบของคณะกรรมการ 2.2 อาศัยผลงานวจิ ยั ท่เี ก่ียวขอ้ งที่มผี ทู้ ำเอาไวแ้ ลว้ 2.3 วา่ จา้ งผ้เู ชีย่ วชาญมาให้คำปรกึ ษา 2.4 ทำการวจิ ัยเชงิ ทดลองเปน็ การนำร่อง 3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมาย เพ่ือสบื ค้นจุดอ่อนของรปู แบบการดำเนินงานตามท่ีคาดหวังเอาไว้ หรือจุดอ่อนของการดำเนินงานใน ขั้นทดลองใช้หลักสูตร เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกวิธีการต่อไป ฉะนั้น จึงต้องมีการจดบันทึกผลการประเมินกระบวนการน้ันจำเป็นต้องอาศัยวิธีการหลายๆ วิธีทั้งเชิง ปริมาณและเชิงคุณภาพ เช่น การสังเกตแบบมีส่วนร่วมปฏิบัติการวิเคราะห์การปะทะสัมพันธ์การ สมั ภาษณ์การใช้แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่าการให้เขียนรายงานประเภทปลายเปิด
49 เป็นต้น ประเด็นการประเมินครอบคลุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตร การนิเทศ การกำกับ ตดิ ตาม การจัดการเรยี นการสอน การวดั และประเมนิ ผล และการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา เป็นต้น 4. การประเมินผลผลิต (Products Evaluation) มีจุดมุ่งหมายจะตรวจสอบว่าผลท่ี เกิดขึ้นกับนักเรียนน้ันเป็นไปตามท่ีคาดหวังเอาไว้มากน้อยเพียงใด อาจทำได้โดยการเปรียบเทียบกับ เกณฑ์สัมพันธ์กับหลักสูตรอืน่ ท่ีมีอยู่ก็ได้ ในกระบวนการการศึกษานั้นการประเมินผลผลติ จะให้ข้อมูล ท่ีนำมาช่วยตัดสินใจว่ามีกิจกรรมทางการศึกษาอะไรบ้างท่ีควรทำต่อไป เลิกทำ หรือควรนำมา ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลที่จะนำไปเช่ือมหรือสานต่อเข้ากับขั้นตอนอื่น ๆ ของ กระบวนการทางการศึกษาได้อีกด้วย เช่น โรงเรียนหน่ึงมีปัญหาครูไม่พอสอนหรือครูมีภารกิจมากจน ไม่มีเวลาจะเตรียมการสอนให้ได้ผล จึงได้คิดค้นนวัตกรรมทางการสอบแบบ RIT (Reduced Instructional Time) ข้ึนมาใช้เสร็จแล้วก็ทำการประเมินผลผลิตของการเรียนแบบ RIT ดู พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนั้นอยู่ในข้ันท่ีน่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง และยังพบว่านวัตกรรม ดังกล่าวมีความพร้อมที่จะนำไปเผยแพร่ในโรงเรียนอ่ืน ๆ ท่ีประสบปัญหาอยา่ งเดียวกนั ได้ เพราะเป็น สิ่งที่ทำได้ง่ายไม่ส้ินเปลืองมากนัก อย่างน้ีผู้บริหารการศึกษาก็อาจใช้ผลจากการประเมินดังกล่าวมา ชว่ ยในการตัดสินใจประกาศใหโ้ รงเรียนต่าง ๆ นำนวัตกรรมแบบ RIT ไปใชจ้ ัดการเรียนการสอนต่อไป การประเมินผลผลิตนี้จะให้ข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจว่า จะเก็บรักษาไว้ เลิกใช้ หรือปรับปรุงแก้ไข ใหม่ (Recycling Decisions) เนื่องจาก Stufflebeam (2003) ให้แนวคิดว่าในการประเมินผลหลักสูตรนั้นมีสิ่งท่ี จะต้องประเมินอยู่ 4 อย่าง คือ Context, Input, Process, และ Products รูปแบบการประเมินผล ของเขาจึงเป็นที่รู้จักกัน โดยท่ัวไปว่าเป็น CIPP Model ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินผลกับการ ตดั สินใจตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม ดงั แผนภาพท่ี 5 Planning Structuring Implementing Recycling (Objective) (Designing) (Operating) (Judgment) Context Input Process Product Evaluation Evaluation Evaluation Evaluation แผนภาพท่ี 5 ความสมั พนั ธ์ระหวา่ งการประเมินผลกบั การตัดสินใจ (สนุ ยี ์ ภู่พันธ์, 2546: 270) ในการเมินหลักสูตรตามแนวคิด CIPP Model ต่อมาได้มีการขยายแนวคิด โดยขยาย ผลผลติ (Product) ออกเป็น IEST โดย I (Impact) เป็นผลกระทบที่นอกเหนอื จากผลผลิตที่ต้องการให้ เกิด E (Effectiveness) เป็นประสิทธิผลท่ีเกิดขึ้น S (Sustainable) เป็นความย่ังยืนของผลท่ีเกิดขึ้น และ T (Transportation) เป็นผลที่สามารถถ่ายทอดขยายผลต่อเน่ืองได้ (มาเรียม นิลพันธ์ุ, 2553: 30-35)
50 Context บริบท Input ปจั จยั Process กระบวนการ Product ผลผลติ Impact ผลกระทบ Effectiveness ประสทิ ธิผล Sustainable ความยั่งยืน Transportation การถา่ ยทอด การขยายผล ผลจากการขยายแนวคิดทำให้การประเมินหลักสูตรตามแนวคิดของ CIPP Model มีการ ขยายการประเมินผลผลิต (Product) โดยส่วนใหญ่นิยมขยายผลการประเมินผลผลิตครอบคลุมถึง ผลกระทบ(Impact) ด้วย คือเน้นการประเมินกระทบ (Impact Evaluation) ท่ีมีจุดมุ่งหมายเพื่อ พิจารณาผลที่ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ของหลักสูตรท่ีกำหนดไว้ อาจมีผลกระทบทั้งทางบวกและ ทางลบ ประเด็นการประเมินครอบคลุมเกี่ยวกับการศึกษาต่อ การมีงานทำ การได้รับรางวัล เกียรติยศ เกียรติบัตร การเป็นท่ียอมรับ การมีชื่อเสียงของสถาบัน การนำไปประยุกต์ใช้ในการ ปฏบิ ัตงิ าน เป็นต้น การประเมินหลักสูตรเพ่ือการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร สามารถสรุปแต่ละด้านของการ ประเมินกับประเภทการตดั สนิ ใจได้ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การประเมินหลักสูตรเพ่ือการตดั สนิ ใจเกีย่ วกับหลักสูตร ประเภทของการประเมนิ ประเภทของการตดั สินใจและการใช้ประโยชนจ์ ากการประเมนิ C: Context Evaluation Planning Decision - กำหนดหรอื เลอื กนโยบาย/ (การประเมนิ บรบิ ท) (การตดั สนิ ใจเก่ียวกับการวางแผน) เปา้ หมาย/จุดมุ่งหมายของหลักสตู ร I: Input Evaluation Structuring Decision - กำหนดโครงสร้างการดำเนนิ งาน (การประเมนิ ปจั จัย) (การตัดสนิ ใจเกยี่ วกับโครงสรา้ งเพอ่ื ทรัพยากรกลยทุ ธ์ แผนงานและวธิ กี าร กำหนดวธิ ีการ) ดำเนนิ ตามหลกั สูตร P: Process Evaluation Implementing Decision - ติดตามและกำกับการดำเนนิ งานตาม (การประเมนิ กระบวนการ) (การตัดสินใจเกย่ี วกับการปฏบิ ตั )ิ แผน - ปรบั ปรุง ปรับเปล่ียน วิธกี าร ดำเนินงานใหเ้ หมาะสม - รายงานความกา้ วหน้าของหลกั สตู ร P: Product Evaluation Recycling Decision - ยตุ ิ/ลม้ เลิก (การประเมินผลผลติ ) (การตดั สนิ ใจเพ่ือการทบทวน) - ปรบั เปล่ยี น - คงไว้/ชะลอ - ขยาย ซึ่งสาระของการตัดสินใจเก่ียวกับหลักสูตรสามารถสรุปท่ีสะท้อนสภาพที่เกิดข้ึนจริง (Actual) กบั การคาดหวัง (Expect) ได้ดงั น้ี
51 ผล(Ends) คาดหวงั Expect/ เกณฑ์ เกดิ ข้ึนจริง Actual/ สภาพทปี่ ฏบิ ตั ิ ( 1. การตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผน 4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน เมื่อ วิธกี าร โด ย มี จุ ด มุ่ งห ม าย เพื่ อ ก ารก ำห น ด สิ้นสุด โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือการตัดสินการ (Means) จุดมุ่งหมาย (Planning Decisions) บรรลุความสำเรจ็ (Recycling Decisions) 2. การตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนด 3. การตัดสินใจเก่ียวกับการดำเนินงาน โดยมี โครงสร้าง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการ จุดมุ่งหมายเพ่ือการดำเนินงาน การควบคุม เลือกวิธีการที่เหมาะสม (Structuring การกลั่นกรองกระบวนการ (Implementing Decisions) Decisions) สำหรบั การประเมนิ หลักสตู รน้นั สามารถกระทำได้ระหวา่ งดำเนินการใชห้ ลักสูตรและหลังใช้ หลักสตู รแลว้ โดยบทบาทการประเมินในแต่ละชว่ งแตกตา่ งกนั ดงั ตารางท่ี 2 ตารางที่ 2 บทบาทการประเมินหลักสูตรในแตล่ ะชว่ ง บทบาทการประเมนิ การประเมิน Formative Evaluation Summative Evaluation เนน้ Decision-making เนน้ Accountability C: Context เปน็ ขอ้ แนะนำสำหรับเลือก ตดั สนิ ใจเกย่ี วกับวัตถุประสงค์และสิ่ง Evaluation วัตถุประสงคแ์ ละกำหนดลำดับ ทจ่ี ำเปน็ พน้ื ฐานสำหรบั การเลือกสงิ่ ท่ี ความสำคัญ สอดคล้องกับความต้องการความ คาดหวังโอกาส และปญั หา I: Input Evaluation เปน็ ข้อเสนอแนะสำหรบั การเลอื ก ตัดสินเลือกกลยุทธ์และทรัพยากร กลยุทธ์ทรพั ยากรโครงการ เป็น และให้เหตผุ ลทางเลือก ปัจจัยสำหรับการออกแบบการ ดำเนนิ การ P: Process เป็นข้อเสนอแนะทางการปฏบิ ัติ/การ ตดั สินการดำเนนิ งานที่เป็นจริง Evaluation ดำเนินงาน และควบคมุ การ ดำเนินงาน P: Product เป็นขอ้ เสนอแนะสำหรับการยุติ – ตัดสินผลท่ีเกิดข้ึนและการตัดสินใจ Evaluation คง/ชะลอ ปรับเปลย่ี น - ขยาย ย้อนกลบั ปรับปรุงโครงการ
52 การประเมินหลักสูตรสามารถกระทำได้หลายวิธีซึ่งควรเหมาะกับส่ิงท่ีประเมินและผู้ให้ ข้อมูลในการประเมินหลักสูตรการประเมินหลักสูตรในแต่ละด้านตามแนวคิดของ CIPP โดยมี รายละเอียดในตารางท่ี 3 ตารางที่ 3 วัตถุประสงคข์ องการประเมินหลักสูตรในแต่ละด้านตามแนวคิดของ CIPP การประเมนิ บริบท การประเมนิ ปจั จัย การประเมนิ กระบวนการ การประเมินผลผลิต 1. เพอื่ กำหนดบริบท/ 1. เพื่อกำหนดและประเมิน เพื่อหาและคาดคะเน 1. เพื่อตัดสินผลผลติ สภาพแวดลอ้ มท่เี กย่ี วข้อง สมรรถนะ เกย่ี วกบั ผลจากการดำเนนิ 2. เพ่ือหาความสมั พนั ธ์ 2. เพือ่ หากลุ่มเป้าหมายและ 2. เพือ่ หาทางเลือกยทุ ธวธิ ี ตามหลักสตู รในดา้ นต่างๆ ระหวา่ งผลผลติ กับ ความตอ้ งการของกล่มุ ในการดำเนินตามหลักสตู ร ดงั น้ี วัตถปุ ระสงค์ของหลักสูตร 3. เพอื่ หาเวลาและโอกาสที่ 3. เพ่อื กำหนดการออกแบบ 1. ข้นั ตอนการดำเนินงาน 3. หาความสัมพนั ธ์ ต้องการสนองความต้องการ การดำเนนิ การตามยุทธวธิ ี 2. ผลจากการดำเนนิ งาน ระหวา่ งผลผลิตกบั บริบท 4. เพื่อวินิจฉยั ปญั หาภายใต้ 4. เพอื่ กำหนดงบประมาณ ตามการออกแบบ ปัจจัย และกระบวนการ ความต้องการนนั้ ๆ เพือ่ 5. เพ่อื การกำหนดเวลา เพอ่ื ทจ่ี ะหาขอ้ มูลและ 4. เพือ่ แปลความหมายใน ตดั สนิ ใจวา่ วตั ถปุ ระสงค์ท่ี 6. เพื่อการกำหนดกจิ กรรม สารสนเทศในการตัดสนิ ใจ แง่คณุ คา่ ของขอ้ 1–3 เหมาะสมของหลักสตู รควร ตา่ งๆ ตามหลักสูตร เกยี่ วกบั แผนงานและ 5. ระบุการปฏิบตั กิ าร/ วดั เป็นอะไร โดยใชว้ ิธวี ิเคราะห์ โดยการจัดลำดับคณุ ภาพ กิจกรรมตา่ ง ๆ ผลสมั ฤทธ์ิตามเกณฑ์ท่ี ระบบการสำรวจ การวจิ ยั / การวเิ คราะห์ทรัพยากร 3. เพอ่ื ตัดสนิ ใจ กำหนดไวต้ าม วิเคราะห/์ ตรวจเอกสาร การวจิ ยั / วิเคราะห์/ ตรวจ กระบวนการ วตั ถปุ ระสงค์ของโครงการ การสัมภาษณ์ การจัดลำดบั เอกสาร การสมั ภาษณ์ 4. เพื่อตัดสินกจิ กรรม 6. เปรยี บเทยี บผลของ คุณภาพ การสอบถาม การสอบถาม ภายในกระบวนการ โครงการกบั เกณฑ/์ การสนทนากลุ่ม และวิธี ความเหมาะสม โดยการกำกับ มาตรฐาน/ ความคาดหวงั Delphi Technique ความ ความคิดเห็น (Monitoring) และตดิ ตาม 7. ผลเชงิ ปริมาณและ สอดคลอ้ ง ความคดิ เหน็ ความเพยี งพอ เกย่ี วกบั ศักยภาพการ คุณภาพ ความพงึ พอใจ ความเปน็ ไป ความสะดวกในการใช้ ดำเนนิ งานตามโครงการ ระดับการปฏบิ ตั ิ ได้ ความพึงพอใจ กิจกรรมต่าง ๆ และโดย ความคดิ เหน็ การอธบิ ายกระบวนการท่ี ความเหมาะสม กระทำ ระดบั การปฏิบัติ ความพึงพอใจ ความคิดเห็น ความ เหมาะสม ความเพียงพอ ความพึงพอใจ ความสัมพนั ธ์ จากตัวอย่างรูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า แต่ละรูปแบบต่าง พยายามประเมินสิ่งต่างๆที่เก่ียวกับหลักสูตรให้มากที่สุด ซึ่งในการประเมินหลักสูตรคร้ังนี้ผู้วิจัยได้นำ รูปแบบการประเมินของ Stufflebeam มาเป็นแนวทางในการประเมินหลักสูตร เน่ืองจากเป็น รูปแบบการประเมินท่ีครอบคลุมองค์ประกอบทุกด้านของหลักสูตรอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ไม่ เน้นการวิเคราะห์จุดใดจุดหนึ่งแต่เป็นรูปแบบการประเมินที่มีความต่อเน่ืองทำให้ได้ข้อมูลครบถ้วน เพ่ือนำไปสู่การตัดสินใจเก่ียวกับหลักสูตร อย่างไรก็ตาม เน่ืองจากการประเมินหลักสูตรในระดับ การศึกษาขั้นพ้ืนฐานนั้นมีผลลัพธ์ที่จะเกิดข้ึนกับนักเรียนถึงองค์ประกอบด้านผลกระทบเท่าน้ัน จึงไม่
53 สามารถประเมินองค์ประกอบด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ได้อย่าง ชัดเจน ผู้วิจัยจึงประเมินหลักสูตรตามองค์ประกอบ 5 ด้านของ CIPPI Model โดยพิจารณาข้อมูลที่ จะนำมาใชใ้ นการประเมนิ หลักสูตรดังน้ี 1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) หมายถึง การประเมินความ สอดคล้องชัดเจนของวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติได้จริง ในด้าน ปรัชญา วิสัยทัศน์ นโยบาย/พันธกิจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน โครงสร้างหลักสูตร ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา และหน่วย/แผนการจัดการ เรยี นรู้ 2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) หมายถึง การประเมินความ เหมาะสมของคุณวุฒิและคุณลักษณะของผู้บริหาร คุณวุฒิและคุณลักษณะของอาจารย์ พ้ืนฐานด้าน ความรู้ความสามารถของผู้เรียน เอกสารหลักสูตร อาคารเรียน วัสดุอุปกรณ์การเรียน งบประมาณ แหล่งเรียนรแู้ ละสภาพแวดลอ้ ม การสนบั สนุบของชุมชน และปัจจยั นำเขา้ อน่ื ๆ โดยรวม 3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) หมายถึง การประเมนิ เก่ยี วกับ การบริหารจัดการหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดการ ระบบอาจารย์ท่ีปรึกษา การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พฤติกรรมของอาจารย์ พฤติกรรมของนักเรียน การนเิ ทศตดิ ตาม และการประกันคณุ ภาพ 4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) หมายถึง การประเมินเก่ียวกับ ผล การเรียนรู้ของนักเรยี น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ผลงานของนักเรียน ความสามารถใน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน บุคลิกภาพของนักเรียน ทักษะทางปัญญาของนักเรียน สมรรถนะ ด้านการจัดการเรยี นรู้ของอาจารย์ ความคดิ เหน็ ของนกั เรยี นและอาจารย์ต่อหลักสตู ร 5. การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) หมายถึง การประเมินผลที่เกิด ข้ึนกับนักเรียนและบุคลากรท่ีเกี่ยวข้องกับหลักสูตรโรงเรียน ได้แก่ การเผยแพร่ผลงานวิชาการของ อาจารย์และนักเรียน ความรู้สึกเป็นเจ้าของและภาคภูมิใจต่อสถาบัน การยอมรับของชุมชน/สังคม การมีส่วนร่วมในการพัฒนากจิ กรรมการเรียนการสอนของนักเรียน และบุคลากรภายในและภายนอก หน่วยงาน เป็นท่ีทราบกันดีว่ารูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Evaluation Model) ตามแนวคิดของ Stufflebeam นั้น ได้ถูกนำมาใช้ในการประเมินโครงการต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโครงการ ทางการศึกษาในประเทศไทย อย่างไรก็ดีการใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ ในวงวิชาการของไทยยังมี มโนทัศน์การใช้ท่ีคลาดเคล่ือนอยู่มาก ปัจจุบันนี้ Stufflebeam ได้มีการปรับพัฒนารูปแบบการ ประเมิน CIPP เป็น CIPPIEST แล้ว รูปแบบการประเมิน CIPPIEST เป็นส่วนปรับขยายของรูปแบบการ ประเมิน CIPP โดยปรับขยายการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ออกเป็นการประเมินผล กระทบ (Impact Evaluation) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) การประเมิน ความย่ังยืน (Sustainability Evaluation) และการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) ของส่ิงที่ได้รับการประเมิน และจากการขยายการประเมินผลผลิต ตามรูปแบบการ ประเมิน CIPP เดิมน้ัน แท้ท่ีจริงก็คือ การประเมินในส่วนท่ีสตัฟเฟิลบีม เรียกว่า “ผลลัพธ์” (Outcomes) ของโครงการนั่นเอง ดังนั้นวิธีการนำรูปแบบการประเมิน CIPPIEST ไปใช้จึงยังคงมี
54 ลักษณะเช่นเดียวกับการใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ที่กล่าวผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า ของรูปแบบการประเมินทั้งที่เป็นการประเมินเป็นระยะๆและการประเมินสรุปรวม (รัตนะ บัวสนธ์ิ, 2556: 7, 23-24) งานวิจยั ท่เี กยี่ วข้องกับการประเมินหลักสูตร สำหรบั งานวิจยั เชงิ ประเมินหลักสตู รในระดับการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน ที่ใช้รปู แบบการประเมิน CIPP Model มีหลายสถาบันที่ใช้องค์ประกอบของการประเมินหลักสูตร 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้าน ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีตัวอย่างงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้องกับการประเมิน หลักสตู รในรปู แบบ CIPP ดงั นี้ ฐิติมา นิติกรวรากุล (2554) วิจัยเร่ือง การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้าน โป่ง “สามัคคีคุณูปถัมภ์” จังหวัดราชบุรี ช่วงชั้นท่ี 3 – 4 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดบ้านโป่ง “สามัคคีคุณูปถัมภ์” ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการบริหารโรงเรียน และครูผู้สอนเห็นว่าเหมาะสมในระดับมาก ผ้ปู กครองและนักเรียน เหน็ วา่ เหมาะสมในระดับปานกลาง สุภา นิลพงษ์ (2554) วิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 มีความมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบ้ืองต้น ด้านกระบวนการ ด้าน ประสิทธิผล และด้านผลกระทบ เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจปรับปรุงแก้ไขหรือดำเนินการใช้ หลักสูตรต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบรบิ ท จุดมุ่งหมายของหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 มีความสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสังคมไทยตามพระราชกฤษฎีกา จัดต้ังโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในระดับมากที่สุด โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหาวิชามีความ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรในระดับมากท่ีสุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารมีความคิดเห็น ว่าความพร้อมและศักยภาพของครูผู้สอนและส่ือการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีความ เหมาะสมอยู่ในระดบั มาก สำหรับด้านแหล่งการเรียนรู้และงบประมาณ ผูบ้ ริหารมีความเห็นว่ามีความ หลากหลาย ความเพียงพอ และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากท่ีสดุ ครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าความ พร้อมและศักยภาพของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้และงบประมาณ มีความเหมาะสม และความเพียงพออยู่ในระดับมาก นักเรียนมีความคิดเห็นว่าความพร้อมและศักยภาพของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ มีความเหมาะสมและความเพียงพออยู่ในระดับมาก 3) ด้าน กระบวนการ ผบู้ รหิ ารมีความคิดเห็นว่าการปฏิบัติของครูในด้านการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ด้านการวัด และประเมินผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสำหรับด้านการวางแผนการเตรียมความพร้อมและ การบริหารหลักสูตรผู้บริหารมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ครูผู้สอนมีความ คิดเห็นวา่ การปฎิบตั ิของครูในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมนิ ผล และดา้ นการ วางแผนการเตรียมความพร้อมและการบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก นักเรียนมี ความคิดเห็นว่าการปฏิบัติของครูในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผลมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านประสิทธิผล นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูง
55 มาก มีความสามารถด้านการอ่าน การคิด วิเคราะห์และการเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน ระดับสูงกว่า 3.50 ในทุกด้าน 5) ด้านผลกระทบของหลักสูตร ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าการใช้ หลักสูตรมีผลกระทบต่อการพัฒนาครูผู้สอน ส่ือการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก สำหรบั งบประมาณ การจดั กิจกรรมการเรยี นรู้ การวัดผลและประเมินผล การบริหารจัดการหลกั สูตร ความรู้ความสามารถของนักเรียนและคุณลักษณะของนักเรียนมีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง ครูผู้สอนเห็นว่าการใช้หลักสูตรมีผลกระทบต่อการพัฒนาครูอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านอื่นๆ ครูผู้สอนเห็นว่ามีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง นักเรียนมีความคิดเห็นว่าการใช้หลักสูตรมี ผลกระทบอยู่ในระดบั มากทกุ ด้าน จิรภัทร เพ็ชรมงคล (2555) ทำวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรวิชาวิทยาการทหาร มี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรวิชาวิทยาการทหาร ดวยการใชรูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ ซิพพ P (CIPP Model) ของ Daneil L. Stufflebeam ซึ่งประกอบดวย 4 ดาน คือ ดานสภาวะ แวดล้อม (Context evaluation) ดานปจจัยนําเขา (Input Evaluation) ดา้ นกระบวนการ (Process Evaluation) และดานผลผลิต (Product Evaluation) เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร วิชาวิทยาการทหาร ใหเหมาะสมและสอดคลองกับบทบาทของกองทัพไทยใหมีความทันสมัยและ รองรับตอสถานการณโลกในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า นิสิตนักศึกษาและอาจารยผูสอน การ ประเมินปจจัยดานสภาวะแวดลอม (Context) โดยรวมมีคุณภาพ ความเหมาะสมของหลักสูตรอยูใน ระดับมากและมากที่สุดตามลําดับ ดานปจจัยนําเขา (Input) โดยรวมมีคุณภาพ ความเหมาะสมของ หลักสูตรอยูในระดับมาก ดานกระบวนการ (Process) โดยรวมมีคุณภาพ ความเหมาะสมของ หลักสูตรอยู่ในระดับมากท่ีสุดและมาก ตามลําดับ และดานผลผลิต (Product) โดยรวมมีคุณภาพ ความเหมาะสมของหลักสูตรอยูในระดับมากที่สุด แนวทางการพฒั นาหลักสูตรวิชาวิทยาการทหาร 1) เน้ือหาควรเปลี่ยนจากเรียนยุทธศาสตรเพ่ือเขาหากองทัพ เปนการเรียนจากกองทัพและใหกองทัพนํา เขาหายุทธศาสตรและความมั่นคงและเพ่ิมชั่วโมงของเหลาทัพจากเดมิ เหล่าทัพละ 3 ช่ัวโมง เป็นเหล่า ทัพละ 6 ช่ัวโมง 2) สงเสริมงบประมาณในการนํานิสิตนักศึกษาไปดูงาน การจัดทําตําราและเว็บไซต หรือแมแตการใหเคร่ืองหมายประดับสําหรับผูสําเร็จการศึกษาหลักสูตรวิชาวิทยาการทหาร 3) สถาบันวิชาการปองกันประเทศควรคัดเลือกอาจารยเอง ควรขึ้นทะเบียนอาจารยท่ีมีความสามารถใน การสอนผานเกณฑและเชิญเปนรายบุคคล 4) ควรขยายผลหลักสูตรวชิ าวิทยาการทหารโดยเปดสอน เปนวชิ าโท 5) สถาบันวิชาการปองกันประเทศ ควรดําเนินการอยางเร่งด่วนเพ่ือให้มหาวทิ ยาลัยอ่ืน ๆ ไดมีสวนเขารวมในโครงการน้ีเพิ่มข้ึน จันทิวา เตจ๊ะ นพพร ธนะชัยขันธ์ และสุดาพร ปัญญาพฤกษ์ (2560) ทำวิจัยเรื่อง การ ประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนแม่ลาววิทยาคม อำเภอแม่ ลาว จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ โรงเรียนแม่ลาววิทยาคม ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้าน ผลผลิต เป็นการวิจัยแบบสำรวจโดยใช ้รูปแบบประเมินแบบ CIPP ของ Stufflebeam ผลการ ประเมิน พบว่าคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนแม่ลาว วิทยาคม อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ของคณะผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการกลุ่มงานวิชาการ และวิจัย งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นด้านบริบทในระดับมาก ด้าน
56 ปัจจัยเบื้องต้นในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการในระดับมากที่สุด และด้านผลผลิตในระดับมาก ท่ีสุด โดยภาพรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากท่ีสุด นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และช้ัน มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นด้านบริบทในระดับมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้นในระดับมาก ด้าน กระบวนการในระดับมาก และด้านผลผลิตในระดับมากที่สุด โดยภาพรวมแล้วมีความคิดเห็นอยู่ใน ระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นด้านบริบทในระดับมาก ด้านปัจจัยเบ้ืองต้น ในระดับมาก ด้านกระบวนการในระดับมาก และด้านผลผลิตในระดับมากท่ีสุด โดยภาพรวมแล้วมี ความคดิ เห็นอยู่ในระดบั มากทส่ี ดุ ชญากาณฑ์ ขันธ์แก้ว (2560) วิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนตาม หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็น ภาษาอังกฤษ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตร แบบซิปป์ เพ่ือประเมินหลักสูตรตามองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินด้านบริบทมคี วามเหมาะสมในระดับ มาก โดยประเด็นที่มีค่าเฉล่ียสูงสูด ได้แก่ ด้านการเป็นหลักสูตรท่ีส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษใน การส่ือสารในสถานการณ์ต่างๆ ได้ และมีเนื้อหาและกิจกรรมในหลักสูตรเน้นการฝึกทักษะทาง ภาษาอังกฤษท้ัง 4 ทักษะ จากการสนทนากลุ่ม มีข้อเสนอแนะว่า การกำหนดวัตถุประสงค์ของ หลักสูตรควรมีความชัดเจน และการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีประเด็นการประเมินที่มีค่าเฉล่ีย สูงสุด ได้แก่ ด้านผู้สอนมีการใช้การวิจัยเพื่อแก้ปัญหา และใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของ ผู้เรียน จากการสนทนากลุ่ม มีข้อเสนอแนะว่า ในการคัดเลือกครูชาวต่างชาติ ควรมีการกำหนด คุณสมบัติว่าควรเป็นผู้ที่สำเรจ็ การศึกษาสายการศึกษา และควรทำข้อตกลงเก่ียวกบั การปฏิบัติหน้าที่ ผลการประเมนิ ด้านกระบวนการมคี วามเหมาะสมในระดับมาก โดยมปี ระเด็นการประเมินทม่ี ีค่าเฉล่ีย สูงสุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการวัดและประเมิน ความสามารถด้านภาษาของผู้เรียน จากการสนทนากลุ่ม มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดกิจกรรมอ่นื ๆ ทส่ี ่งเสริมความสามารถทางภาษาของ ผลการประเมนิ ดา้ นผลผลิตมคี วามเหมาะสมในระดบั มาก โดยมี ประเด็นการประเมินท่ีมีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและหา วิธกี ารที่นำไปสู่การแก้ปัญหาได้ จากการสนทนากลมุ่ โดยภาพรวมผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ต่อการจดั การเรียนการสอนตามหลกั สตู ร นารี อุไรรักษ์ พัชนี กุลฑานันท์ และเบญจพร วรรณูปถัมภ์ (2562) ทำวิจัยเร่ือง การ ประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพ่ือ ประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยใช้รูปแบบการ ประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model ซ่ึงได้ดำเนินการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัย นำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินการใช้หลักสูตร สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวม พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการ ประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในด้านบริบท โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
57 มากท่ีสุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านวิสัยทัศน์ของ สถานศึกษา ด้านพันธกิจหลักของสถานศึกษา ด้านวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา และด้านโครงสร้าง หลักสูตรของสถานศึกษา 3) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในด้านปัจจัยนำเข้า โดย ภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยูใ่ นระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ท้ัง 4 ด้าน คือ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานท่ี และด้านส่ือ วัสดุ และอุปกรณ์ 4) ผลการประเมินการใชห้ ลักสูตรสถานศกึ ษา ในด้านกระบวนการ โดยภาพรวมพบว่ามีความ เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และเม่ือพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ และดา้ นการบรหิ ารจัดการหลกั สูตร และมี 2 ด้าน ที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ 5) ผลการ ประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในด้านผลผลิต โดยภาพรวมพบว่ามีเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเม่ือพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากท้ัง 2 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน และด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ส่วนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมี ผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี นอยู่ในระดับดี นอกเหนือจากงานวิจัยประเมินหลักสูตรแล้ว มีงานวิจัยท่ีเก่ียวกับการประเมินโครงการก็มี หลกั การดำเนนิ งานเช่นเดยี วกนั ดงั ตัวอยา่ งงานวจิ ยั ประเมนิ โครงการต่อไปนี้ Shi (2006) ได้ศึกษาการประเมินโครงการผู้ช่วยสอนนักศึกษานานาชาติ International teaching assistant (ITA) โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ด้านบริบท ด้านทรัพยากรหรือ ปัจจัยเบ้ืองต้น ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร ด้านผลงานท่ีปรากฏโดยใช้กรอบคำถามต่อไปนี้คืออะไร คือความต้องการของผู้ช่วยสอนนานาชาติระดับความต้องการเป็นอย่างไร อะไรเป็นสิ่งที่จะบอกถึง กิจกรรมท่ีต้องการกิจกรรมต่างๆที่จัด มีประสิทธิภาพหรือไม่ โครงการที่จัดขึ้นบรรลุหรือไม่ ผลผลิตที่ บอกถึงความสำเร็จของโครงการในมหาวิทยาลัยต่างๆ แตกต่างกันหรอื ไม่ มีการเกบ็ รวบรวมข้อมลู โดย การส่งแบบสอบถามไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ 8 แห่งซึ่งแต่ละแห่งจะต้องมีนักศึกษานานาชาติอย่าง น้อย 1,000 คน แบบสอบถามท่ีตอบกลับมาได้มากกว่าร้อยละ 70 ผลการศึกษาพบว่าโครงการ ดังกลา่ วช่วยส่งเสรมิ ความสามารถทางภาษาและทักษะการส่อื สารไดม้ ากแต่ยังมีอัตราการเข้าร่วมของ นกั ศึกษาในมหาวทิ ยาลัยต่างๆอยใู่ นระดบั ต่ำขาดการประเมินประสทิ ธภิ าพในการสอนระยะยาวพบว่า ผลการประเมนิ ระดับคุณภาพอยู่ในเกณฑร์ ะดับสีจากท้ังหมดเจ็ดระดับนอกจากนั้นพบว่ากระบวนการ นเิ ทศติดตามจะช่วยให้โครงการเกดิ ประสทิ ธิภาพสงู สดุ ซ่ึงตอ้ งมีการพูดคุยแลกเปลยี่ นความคิดเหน็ กัน ทง้ั ในสว่ นผูร้ ว่ มงานในโครงการ งานวิจัยประเมินหลักสูตรระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานบางสถาบันจะมีการประเมินโดยใช้ รูปแบบการประเมินในแบบอื่น ๆ เช่น Balanced Scorecard : BSC ขน้ึ กับวตั ถุประสงคข์ องงานวิจัย ทตี่ ้องการอยา่ งไร มตี ัวอย่างงานวจิ ัยดงั น้ี มนัส จันทร์พวง (2549) ทำวิจัยเร่ือง การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสิรินธรราช วิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โดยใช้แนวคิด BALANCED SCORECARD (BSC) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสิรินธรราช วิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โดยใช้แนวคิด
58 BALANCED SCORECARD (BSC) ใน 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง มุมมอง ด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร มุมมองด้านการพัฒนาบุคลากร มุมมองด้านงบประมาณและ ทรัพยากร ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสริ ินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม มี ความเหมาะสมในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายมุมมองพบว่า ในทุกมุมมอง ได้แก่ มุมมองด้าน นักเรียนและผู้เก่ียวข้อง มุมมองด้านการพัฒนาหลักสตู ร มุมมองด้านการพัฒนาบุคลากร และมุมมอง ด้านงบประมาณและทรัพยากรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี 2) มุมมองด้านนักเรียนและผู้เก่ียวข้อง พบว่าคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ความสามารถในการคิด และมีวิสัยทัศน์ในการ แสวงหาความร้ดู ้วยตนเอง รักการเรยี นรู้ และพฒั นาตนเองอย่างต่อเนือ่ ง ทักษะในการทำงาน รักการ ทำงานและเจตคติต่ออาชีพ สุขนิสัย สุขภาพ และสุขภาพจิตท่ดี ี สุนทรียภาพ ลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมระดบั ดี แต่ ควรปรบั ปรุงความรู้และทักษะท่ีจำเป็นตามหลักสูตร 3) มุมมองด้านกระบวนการการพัฒนาหลักสูตร พบว่า การจัดทำหลักสูตร การใชแ้ ละการบริหารหลักสูตร คุณภาพของครผู ู้สอนตามรูปแบบการเรยี น เพ่ือรับรู้ การประเมินผลนักเรยี นระดับห้องเรียน แต่ละกลมุ่ สาระการเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับดี 4) มุมมองด้านการพัฒนาบุคลากรพบว่า ครูมีความสามารถในด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ความสามารถในการสอนของครูผู้สอน ความพึงพอใจของผู้บริหารและครูในการปฏิบัติงาน ความสามารถของผูบ้ รหิ ารในการใช้หลักสูตรมีความเหมาะสมระดับดี และ5) มุมมองด้านงบประมาณ และทรัพยากรพบว่า งบประมาณในการบริหารจัดการ ความคุ้มค่าในการจัดการศึกษา มีความ เหมาะสมระดับดี ฤดีมาศ ศรีสุข (2557) ทำวิจัยเรอื่ งการประเมินหลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรียนในฝนั ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีท่ี 1–6 โดยใช้แนวคิดการวัดผลเชิงดุลยภาพ (Balanced Scorecard) กรณีศึกษา โรงเรียนราชวินิตบางเขน มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพ่ือประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนราชวินิต บางเขน ระดับช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1–6 โดยใช้แนวคดิ การวัดผลเชงิ ดุลยภาพ (Balanced Scorecard) ตาม 4 มุมมองได้แก่ มุมมองด้านนักเรียนและผู้เก่ียวข้อง มุมมองด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร มุมมองด้านการพัฒนาบุคลากร และมุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร ผลการศึกษาพบว่า โดย ภาพรวมผลการประเมินบรรลุตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของโรงเรียนในระดับมาก และจากการ พิจารณาผลการประเมินแต่ละมุมมอง พบว่า ทุกมุมมองมีระดับความเหมาะสมมากเช่นกัน แสดงให้ เห็นว่า โรงเรียนราชวินิตบางเขนมีการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจริง ทำให้เกิดความสมดุลในทุก มุมมองตามกรอบแนวคิดการวัดผลเชิงดลุ ยภาพ (Balanced Scorecard) นอกจากนี้ ในการสำรวจงานประเมินหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา พบว่าส่วนใหญ่มักจะใช้ รูปแบบการประเมิน CIPP Model ซ่ึงมีองค์ประกอบการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัย นำเข้า ดา้ นกระบวนการ และด้านผลผลติ หรอื บางเรอื่ งอาจมกี ารประเมินตามองค์ประกอบถึง 8 ดา้ น และบางเรอ่ื งอาจมีการประเมนิ ตามองค์ประกอบเพยี ง 3 ดา้ นเทา่ น้ัน มตี ัวอยา่ งงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับ การประเมนิ หลกั สตู รในรปู แบบ CIPP ดังนี้ จริญญา สมานญาติ (2554) วิจัยเร่ือง การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรม วชิ าวิทยาศาสตรก์ ารกีฬาสถาบันการพลศกึ ษา วทิ ยาเขตภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื มีวัตถปุ ระสงค์เพื่อ
59 ประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑติ โปรแกรมวชิ าวทิ ยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศกึ ษา วิทยา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ผลการวิจัยพบว่า 1) คณาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต เห็นว่าด้านบริบทโดยรวมและจำแนกตามด้านย่อย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของ หลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหาสาระของหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรสำรวจความต้องการของผู้เรียน เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา หลักสูตรตอ่ ไป และควรจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการส่ือสาร ภาษาอังกฤษและคำศพั ทท์ ่ีต้องใช้ ในศูนย์สุขภาพ รายวิชาแอโรบิกและโยคะเพ่ิมเติม 2) คณาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต เห็นว่าด้าน ปัจจัยเบ้ืองต้นโดยรวมและจำแนกตามด้านยอ่ ย ได้แก่ คุณลักษณะผู้เรียน คุณลักษณะของคณาจารย์ และวัสดุการศึกษา สื่อ ตำราเรียน และสถานที่เรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมี ข้อเสนอแนะว่าควรจัดเคร่ืองคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาเพ่ือใช้ในการสืบค้นข้อมูลให้เพียงพอ และ ควรเพิ่มอุปกรณ์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนให้มากข้ึน 3) คณาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต เห็นว่าด้านกระบวนการโดยรวมและจำแนกตามด้านย่อย ได้แก่ กระบวนการ จัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และการบริหารจัดการหลักสตู ร มีความเหมาะสมอยู่ ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรวางแผนเพิ่มอัตรากำลังคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ให้เพียงพอกับภาระงาน เพ่ือให้คณาจารย์รับผิดชอบเฉพาะงานสอนเพียงอย่างเดียว 4) บัณฑิต ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต และเพื่อนร่วมงานของบัณฑิตเห็นว่า ด้านผลผลิตโดยรวมและจำแนกตาม ด้านย่อย ได้แก่ คุณภาพการปฏิบัติงานทั่วไป ด้านคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ และคุณภาพการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมี ขอ้ เสนอแนะวา่ บัณฑิตควรศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ และทันสมัยเพิ่มเตมิ เพ่ือให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของโลกปัจจุบัน และเป็นการพัฒนาตนเอง โดยสรุป หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชา วิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมทุก ด้านอยู่ในระดับมาก จึงสมควรใช้หลักสูตรน้ีต่อไป แต่ควรหาแนวทางพัฒนาให้หลักสูตรมีความ เหมาะสมมากยงิ่ ขน้ึ เพื่อความเป็นเลศิ ดา้ นวิทยาศาสตร์การกฬี า พรทิพย์ ไชยโส และคณะ (2554) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎี บัณ ฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตร 5 ปี ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) วัตถุประสงค์และโครงสร้างของหลักสูตรมีความ เหมาะสมต้ังแต่ระดับมากข้ึนไป 2) การดำเนินการใช้หลักสูตรมีความเหมาะสมท้ังในเร่ืองของ คุณสมบัติของนิสิตท่ีรับเข้ามาเรียน กระบวนการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ท่ีปรึกษาวิทยานิพนธ์ การจัดปัจจัยที่สนับสนุนการเรียนการสอน ประโยชน์ของกิจกรรมต่างๆ ท่ีจัด และการดำเนินงาน ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Waikato และ3) บัณฑิตมีความสามารถและทักษะในการจัดการเรียน การสอนและการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับต้ังแต่มากขึ้นไป ผ้บู งั คบั บญั ชาบณั ฑิตมคี วามพึงพอใจตอ่ บัณฑิตในระดับมากทสี่ ุด มาเรียม นิลพันธ์ุ และคณะ (2554) วิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อ ประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตด้านผลกระทบ
60 ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพ่ือศึกษาปัญหาและแนวทางการ พัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ในการประเมิน หลกั สูตรใช้วิธกี ารประเมินของ Danial L. Stufflebeam รปู แบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยภาพรวมพบว่า บัณฑิต นักศึกษา ผู้สอน/กรรมการ ตรวจสอบวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการดำเนินงาน/อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะ และผู้ใช้บัณฑิต มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินด้าน บริบท ในภาพรวมและรายข้อพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อท่ีมีค่าเฉลี่ยมากท่ีสุดคือ วัตถุประสงค์หลักสูตรเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน และข้อท่ีมี คา่ เฉลยี่ นอ้ ยท่ีสดุ คือ ความเหมาะสมของจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด 3) ผลการประเมินดา้ นปัจจยั นำเข้า ในภาพรวมและรายข้อพบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก เมอื่ พิจารณารายข้อ พบว่า ข้อ ท่มี ีค่าเฉล่ียมากที่สุดคือ คุณวุฒิ ความรู้ ประสบการณผ์ ลงานทางวชิ าการและผลงานวิจัยของอาจารย์ มีศักยภาพที่เหมาะสม และข้อที่มีค่าเฉล่ียน้อยท่ีสุดคือ มีห้องปฏิบัติการจุดเช่ือมต่อ Internet ห้อง ทำงานแลกเปล่ยี นเรยี นร้ทู ี่เหมาะสม 4) ผลการประเมินด้านกระบวนการในภาพรวมและรายข้อพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งข้อที่มีค่าเฉล่ียมากที่สุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์มีการ ตรวจสอบงาน และให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ อย่างชัดเจนเหมาะสม และข้อที่มีค่าเฉล่ียน้อยที่สุดคือการ บริการด้านธุรการ การยืนคำร้องลงทะเบียน ต่าง ๆ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย/ผู้บริหารคณะ มีความ คิดเห็นว่า กระบวนการของหลักสูตรมีความเหมาะสม แต่ควรเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง เพ่ิมเติมจากการเรียนในช้ันเรียน 5) ผลการประเมินด้านผลผลิตในภาพรวมและรายข้อพบว่า มีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก เม่ือพิจารณารายข้อพบว่า บัณฑิต มีความคิดเห็นว่าบัณฑิตท่ีสำเร็จ การศกึ ษามีความเปน็ ผู้นำทางวิชาการ/วิชาชีพ มีความสามารถพัฒนาหลักสตู รได้ และมีความสามารถ ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากท่ีสุด ส่วนนักศึกษา ผู้สอน/กรรมการตรวจสอบ วิทยานิพนธ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารมหาวิทยาลัย/ผู้บริหารคณะ คณะกรรมการ ดำเนินงาน/อาจารย์ประจำหลักสูตร มีความคิดเห็นว่า บัณฑิตที่จบการศึกษาตามหลักสูตรมี คุณลักษณะท่ีเหมาะสม 6) ผลการประเมินด้านผลกระทบในภาพรวมและรายข้อพบว่า มีความ เหมาะสมอยใู่ นระดับมาก โดยผูใ้ ช้บัณฑติ มีความคิดเหน็ ในภาพรวมวา่ หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากทส่ี ุด เพ่ือพิจารณารายข้อ พบวา่ ขอ้ ที่มคี ่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บัณฑิตได้นำความร้ทู ไี่ ด้เรยี นมา ไปสร้างผลงานทางวิชาการหรือนวัตกรรมการเรียนการสอน และผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตส่งผล ต่อการดำเนินงานของหน่วยงานได้รับผลประโยชน์ตรงตามที่คาดหมาย และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เช่ียวชาญในการดำเนินงานต่าง ๆ ใน หน่วยงานและนอกหน่วยงาน 7) ผลการประเมินด้านประสทิ ธิผลในภาพรวมและรายข้อพบว่า มีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากท่ีสุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อท่ีมีค่าเฉล่ียมากท่ีสุดคือผลการ ปฏิบัติงานของบัณฑิต ส่งผลต่อประสิทธิภาพด้านวิชาการภายในหน่วยงาน ข้อท่ีมีค่าเฉลี่ยน้อยท่ีสุด คอื ประสิทธิภาพด้านการจัดการของหน่วยงาน 8) ผลการประเมนิ ดา้ นความยั่งยืนในภาพรวมและราย ข้อพบวา่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทสี่ ุด เม่อื พจิ ารณารายข้อพบว่า ข้อที่มคี ่าเฉลี่ยมากที่สดุ คือ การพัฒนาวิชาชีพ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยท่ีสุดคือการศึกษาดูงานในประเทศ และ9) ผลการประเมิน
61 ด้านการถ่ายโยงความรู้ ในภาพรวมและรายข้อพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายขอ้ พบว่า ขอ้ ท่ีมคี ่าเฉล่ียมากทส่ี ดุ คอื บณั ฑติ นำความรู้ไปปฏิบตั งิ านไดเ้ ข้ากับการเปลี่ยนแปลงและ ประยกุ ตก์ ับตามความต้องการของชุมชนโดยการปรับปรุงและการนำไปใช้ เกีย่ วกบั แนวคิดและทฤษฎี ใหม่ให้เหมาะสมกับการเปล่ียนแปลง และข้อท่ีมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บัณฑิตท่ีสำเร็จการศึกษาได้รับ เชิญเปน็ วิทยากรด้านหลักสูตรการสอน และการนิเทศ บงกช เอ่ียมช่ืน (2555) วิจัยเรือ่ ง การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วทิ ยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2550) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2550) ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยจะประเมิน ความเหมาะสมของหลักสูตรใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยเบ้ืองต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ.2550) ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเหมาะสม ดังนี้ 1) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ ปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้าง เนื้อหา อาจารย์ เหมาะสม นักศึกษาควร ปรับปรุงเร่ืองคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษารวมท้ังจำนวนนักศึกษาท่ีไม่เป็นไปตามกำหนด อุปกรณ์การ เรียน สื่อการเรยี น สถานทเ่ี รียน ควรปรับปรุงเรอ่ื งจำนวนและอุปกรณ์ในห้องเรยี นและหอ้ งปฏบิ ัติการ 2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการบริหารหลักสูตร เหมาะสม แต่ควรปรับปรุงเร่ือง การจัดหาทุนการศึกษาและวิจัย รวมท้ังการประชาสัมพันธ์หลักสูตร 3) ด้านผลผลิต มหาบัณฑิตมีคุณสมบัตติ ามวตั ถุประสงค์ของหลักสูตร แต่ควรพัฒนาความสามารถใน การใช้เทคโนโลยี และควรมกี ารประเมนิ คณุ ลักษณะของมหาบัณฑิต มาเรียม นิลพันธ์ุ และคณะ (2555) วิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มี วัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั 1) เพื่อประเมินบริบทของหลักสูตรในดา้ นวัตถุประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร และรายวิชา 2) เพ่ือประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตรในด้านส่ือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ สภาพ ห้องเรียน จำนวนอาจารย์ และสิ่งอำนวยความสะดวก 3) เพ่ือประเมินกระบวนการของหลักสูตรใน ดา้ นการจัดการเรียนรู้การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติการ การบริหารจัดการ หลักสูตร และกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของหลักสูตรในด้านความรู้ความ เข้าใจ ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการสอนและการนิเทศ ความสามารถใน การวิจัย และการมีคณุ ธรรม และ5) เพ่อื ประเมินผลกระทบของหลกั สูตร ในด้านความสามารถในการ ประยุกต์ใช้เพ่ือการปฏิบัติงาน การพัฒนาวิชาชีพ ความเป็นผู้นำ สมรรถนะในด้านหลักสูตร การสอน และการนิเทศ โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI Model ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท หลักสูตร พบวา่ รายวิชาตา่ งๆ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเห็นว่าควรมกี ารปรับปรุงรายวิชา พืน้ ฐาน รายวิชาบงั คับ และรายวชิ าเลือก รายวชิ าทม่ี ีความเหมาะสมมาก คือรายวิชาการวิจัยทางการ ศึกษาและเห็นว่า รายวิชาได้ส่งเสริมให้นักศึกษามีความสามารถในการพัฒนาและการวิจัยทาง หลักสูตรและการนิเทศ มีทักษะกระบวนการคิดข้ันสูง มีพัฒนาทางเชาวน์อารมณ์ (EQ) ทำให้ผู้เรียน ตระหนักในความสำคัญทางวัฒนธรรมทัง้ ระดบั ท้องถิน่ และระดับสากลควรเพ่ิมเวลาเรียนในรายวิชาที่ เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้ส่ือและเทคโนโลยี
62 นวัตกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร และเปิดวิชาเลือกเพิ่มขึ้นเก่ียวกับหลักสูตร การ สอน หรือการนิเทศที่ระบุเฉพาะเร่ือง หรือระดับช้ันเรียน การจัดโครงสร้างของหลักสูตร และ โครงสร้างรายวิชามีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ควรมีการปรับปรุงให้เน้นการฝึกปฏิบัติ และให้ ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรได้ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวม และรายข้ออยู่ในระดับมาก มีแหล่งสืบค้นแสวงหาความรู้ที่ตอบสนองต่อการสืบค้นหาความรู้ มี ทรัพยากรการเรียนรู้ท่ีเอ้ือและสนับสนุนผู้เรียนและตรงกับความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้มี ความสะดวกในการเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยเี พื่อนำมาประกอบการเรียนรู้ในห้องเรยี น สภาพ ห้องเรียนมีส่ือและวัสดุที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ท่ีหลากหลาย มีบุคลากรภายนอก (วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ) เข้ามาร่วมในระบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และกระบวนการคิด และมีหน่วยงาน องค์กรจากภายนอกให้การสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้ ควรเพ่ิมจำนวนอาจารย์ผู้สอนประจำสาขา ให้เพียงพอสำหรับการสอนและการดูแลการทำวิทยานิพนธ์ ควรพัฒนาระบบการยืมคืนวิทยานิพนธ์ และควรมีการขยายเวลาการใหบ้ ริการยมื คืนในวันเสาร์และวันอาทติ ย์ 3) ด้านกระบวนการ พบว่าการ จัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ท้ังน้ีมีความคิดเห็นว่า นักศึกษาได้รับการ กระตุ้นให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากอาจารย์ สาขาวิชามีบรรยากาศเรียนรู้แบบร่วมมือกัน มีการจัดการเรียนรู้ท่ีดีเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ใน ประเด็นท่ีสำคัญ ท้ังเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล ได้รับการกระตุ้นให้กล้าซักถามเพ่ือพัฒนาความรู้ ใน ช้นั เรยี นอาจารย์และนักศกึ ษามีปฏสิ ัมพนั ธ์ มีการปฏิบัติการวจิ ยั ทางด้านหลกั สูตรและการนเิ ทศท่ีเน้น การนำทรัพยากรท้องถิ่นมาพัฒนาหลักสูตร นักศึกษามีส่วนร่วมในการวางแผนการออกแบบการ จัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ มาก โดยมีความคิดเห็นว่า การประเมินกระบวนการเรียนรู้มีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนในการประเมิน มีการ ประเมินความก้าวหน้าและพัฒนาการ นักศึกษามีส่วนร่วมประเมินพัฒนาการในการเรียนรู้และปรับ แผนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งมีการประเมินจากหน่วยงานสถานศึกษาภายนอก โดยเฉพาะการฝึก ปฏิบัติการ และการทำวิทยานิพนธ์ 4) ด้านผลผลิต โดยภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมากท่ีสุด คือ มีความรู้ความเข้าใจและเช่ียวชาญด้านหลักสูตรและการนิเทศ มีความสามารถในการปฏิบัติงานเป็น ศึกษานิเทศก์ นักพัฒนาหลักสูตร ฝ่ายวิชาการของสถานศึกษา ผู้สอน มีคุณธรรมในวิชาชีพมี ความสามารถในการศึกษาคน้ คว้าวิจยั ดา้ นการศึกษาหลกั สูตรและการนิเทศ เป็นผนู้ ำการเปลีย่ นแปลง ในการพัฒนาหลักสูตรประเภทต่างๆ ท้ังหลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรระดับ ท้องถ่ิน และสามารถนำเทคนิควิธีสอนใหม่ๆไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและ ร่วมมือกันเรียนรู้ มีคุณธรรมในวิชาชีพ มีความเป็นมืออาชีพที่มีคุณธรรม และ5) ด้านผลกระทบ พบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก สามารถนำความรู้และประสบการณ์ท่ีได้รับไปใช้ใน การปฏิบัติงาน ประสบการณ์การทำวิทยานิพนธ์ช่วยพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงาน และ วิชาชีพของตนเอง การนำความรู้ท่ีได้ในระหว่างเรียนไปปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง และมี ความสามารถในการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีทางด้านหลักสูตรและการนิเทศ ไปพัฒนาผู้เรียน มี ทักษะความสัมพันธ์ระหวา่ งบุคคลและกลุ่ม สามารถในการวางแผนและการจัดการมีภาวะความเป็น ผู้นำทางด้านวชิ าการ มีการพัฒนาทักษะการส่ือสาร และเป็นผ้นู ำการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี การ จดั การเรยี นการสอน มีคุณธรรมและจริยธรรมในวชิ าชีพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนประเด็น
63 อ่ืนๆพบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเกี่ยวกับประโยชน์ท่ีได้จากการศึกษา มีความภาคภูมิใจ ในสาขาวิชา สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและ ขยายผลใหผ้ อู้ ื่นได้ มีนา ดาวเรือง (2555) วิจัยเร่ือง การประเมินหลักสูตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ แขนงวิชาธุรกิจการบินโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน ดุสิต มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อประเมินหลักสูตรอุตสาหกรรมท่องเท่ียวและบริการ แขนงวิชา ธุรกจิ การบิน โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ พุทธศักราช 2548 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP) ของสตัฟเฟิลบีม โดยประเมินใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้าน บรบิ ท ดา้ นปัจจัยนำเข้า ดา้ นกระบวนการ ดา้ นประสทิ ธผิ ล และด้านความยง่ั ยืน ผลการวจิ ัยพบว่า 1) ด้านบริบท อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการบินและผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต มีความคิดเห็นว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนอาจารย์นิเทศการศึกษามี ความคิดเห็นว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้าน ปัจจัยนำเข้า นักศึกษา บัณฑิต อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า คุณสมบัติผู้เรียน มีความเหมาะสม ส่วน คณุ สมบัติอาจารย์ และทรพั ยากรสนับสนนุ มีความเหมาะสมอย่ใู นระดับมาก อาจารย์และผู้เชย่ี วชาญ ด้านธุรกิจการบนิ มคี วามคดิ เหน็ ว่าเน้ือหาของหลกั สตู ร มีความเหมาะสมอยใู่ นระดับมาก ส่วนอาจารย์ นิเทศการศึกษามีความคิดเห็นว่า เน้ือหาของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากท่ีสุด ส่วน อาจารย์ อาจารย์นิเทศการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการบินมีความคิดเห็นว่า โครงสร้างของ หลักสูตรมีความเหมาะสม 3) ด้านกระบวนการ นักศึกษา บัณฑิต อาจารย์ มีความคิดเห็นว่า การ บรหิ ารหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล มีความเหมาะสม อยใู่ นระดบั มาก มาเรียม นิลพันธ์ุ และคณะ (2556) วิจัยเรื่อง การประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพือ่ ประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรยี น ต้นแบบการใช้หลักสูตร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการของโรงเรียน ต้นแบบการใช้หลักสูตร และบุคลากรทางการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงประเมินใช้หลักการ แนวคิดของ การประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร 1.1) ด้านสภาพการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย (1) หลักการ แนวคิดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามแนวคิด Standard based curriculum วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดีมีความชัดเจนเน้นเป้าหมายการจัดการศึกษา แต่มีรายละเอียดมาก เกินไปจนขาดอัตลักษณ์ ควรมีการกำหนดให้สั้น กระชับสะท้อนปรัชญาการศึกษาไทยและหลักการ เศรษฐกิจพอเพียง เอกสารหลักสูตรสถานศึกษา พบว่าโรงเรียนต้นแบบกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ แต่เขียน วิสัยทัศน์ไม่ครอบคลุมสภาพความต้องการของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น ควรเน้นภาพอนาคตที่พึง ประสงค์ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีการกำหนดไว้ชัดเจน แต่ยังขาดรายละเอียดในการทำแนวทางการ จัดการเรียนการสอน แผนการจัดประสบการณ์ ครูยังขาดความเข้าใจในการจัด และการประเมิน
64 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรระบุจุดประสงค์แต่ละ ประเภทและระดับชั้นให้ชัดเจน การบริหารจัดการหลักสูตร ผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนหน่ึงยังขาด ความรู้ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างแท้จริง ขาดการเป็นผู้ดูแล พ่ีเลี้ยง การช่วยเหลือ (mentoring and coaching) ทเ่ี กี่ยวข้องกับหลกั สูตร การสอนและการประเมิน การจัดการเรยี นการ สอน มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร แต่บางส่วนยังสอนแบบเดิม สอนโดยไม่อิงมาตรฐาน ตัวชี้วัด หลกั สูตรสถานศึกษา ยังขาดความเข้าใจในการวิเคราะห์มาตรฐานตัวช้ีวัดเพ่ือนำไปสู่การสอน และการสอนยังไม่เอ้ือให้ผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง การออกแบบหน่วยและแผนการจัดการ เรียนรู้ มีองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ส่วนใหญ่ครบถ้วน แต่เนื้อหาและสาระสำคัญในแต่ละ องค์ประกอบไม่สอดคล้องกนั และครสู ่วนใหญไ่ ม่เข้าใจกระบวนการออกแบบการเรียนรู้แบบยอ้ นกลับ (Backward Design) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีการระบุเกณฑ์การประเมินผลแต่ละระดับ ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นการวัดและประเมินผลในระดับความรู้ ความจำ และยังไม่อิงมาตรฐาน ตัวชี้วัด การวัดและประเมินผลระดับชาติ ยังไม่ครอบคลุมและสอดคล้องกับมาตรฐานตัวช้ีวัด ครูผู้สอนขาดความรู้เก่ียวกับเทคนิคและวิธีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง คุณภาพผู้เรียนตาม มาตรฐานและตวั ชวี้ ัด มีการระบไุ ว้ชดั เจนแต่ยังไมส่ ะท้อนคณุ ภาพผู้เรียนด้านคนดี และคุณภาพผู้เรียน จากการทดสอบระดับชาติ ไม่สามารถบง่ บอกความสามารถทแี่ ทจ้ ริง ควรมกี ารพิจารณาเพมิ่ ตวั ชว้ี ัดใน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สะท้อนความเป็นคนดี และการทดสอบ ระดบั ชาตคิ วรสมั พนั ธก์ บั มาตรฐานและตัวชี้วัด อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และคณะ (2556) รายงานการวิจัยเรื่อง “การประเมินหลักสูตร ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” มี วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพ่ือ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา พ.ศ. 2547 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน กระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบของหลักสูตร 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา พ.ศ. 2547 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ผลการวิจัยพบวา่ 1) ผลการประเมินดา้ น สภาวะแวดล้อมทั้งในภาพรวมและรายด้าน ซ่ึงประกอบด้วย แผนการดำเนินงาน ของภาควิชา/ สาขาวิชา และจุดแข็งและจุดอ่อน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินด้าน ปัจจัยนำเข้าในภาพรวมและรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ โครงสร้างและเนื้อหา คุณสมบัติ ของผู้เรียนและการสอบคัดเลือก คุณสมบัติของคณาจารย์/อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและงบประมาณในการผลิตบัณฑิตมีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ผล การประเมินด้านกระบวนการท้ังในภาพรวมและรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย พฤติกรรมการจัดการ เรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การจัดการเรียนการสอน การให้บริการ สนับสนุน และการบริหารหลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินด้าน ผลผลิต นกั ศึกษาทงั้ สองรุ่นจบการศกึ ษาตามหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100.00 มีงานทำคิดเป็นร้อยละ 93.33 และทำงานตรงสาขาร้อยละ 86.67 และผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าคุณลักษณะบัณฑิตในภาพรวม มี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ5) ผลการประเมินด้านผลกระทบทั้งในภาพรวมและราย
65 ด้าน ซ่ึงประกอบด้วย คุณลักษณะบัณฑิตท่ีปฏิบัติงานหรือศึกษาต่อในหน่วยงาน ผลการปฏิบัติงาน ของบัณฑติ และความพงึ พอใจตอ่ การปฏิบตั ิงานของบัณฑิตพบว่า มีความเหมาะสมอย่ใู นระดบั มาก รัตนศิริ เข็มราช และคณะ (2558) วิจัยเร่ือง การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาโลก มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมิน หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาโลก (หลักสูตร นานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ภาควิชาบัณฑิตศึกษานานาชาติ การพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรได้มาตรฐาน สอดคล้อง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) โดยผ่านเกณฑ์ประเมินตัวบ่งช้ีบังคับ และตัวบ่งช้ีร่วม รวมทั้งสิ้น 12 ตัวบ่งช้ี 2) หลักสูตรมีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตร ฐานหลักสูตรระดับ บัณฑิตศกึ ษา (IQA) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึง่ เป็นไปตามเกณฑ์ทั้ง 12 ข้อ 3) ผล การประเมินตามแนวคดิ CIPP Model 3.1) ด้านบรบิ ทของหลักสูตร นิสติ มคี วามพึงพอใจอยู่ในระดับ มากท่ีสุด และสอดคล้องกับความเห็นของอาจารย์ผู้สอน คือ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร แผนการ จัดการศึกษา ความทันสมัยของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชา มีความเหมาะสม สอดคล้อง และ ทันสมัย แต่ยังคงต้องปรับเปล่ียนตามสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น 3.2) ปัจจัยนำเข้า นิสิตมีความพึง พอใจอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับอาจารย์ผู้สอน คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ส่ิงสนับสนุนต่างๆ มี ความเพียงพอ เหมาะสม นิสิตและกระบวนการคัดเลือกนิสิต นิสิตมีพื้นฐานที่แตกต่างหลากหลาย การปรับพ้ืนฐานทักษะการเรียนรเู้ ป็นส่ิงจำเปน็ และอาจารย์ผู้สอน มีคุณภาพสามารถปรบั การสอนให้ เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน แต่ควรเพ่ิมเติมทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้มาก ยิ่งขึ้น 3.3) กระบวนการ อาจารย์ประจำหลักสูตรมีความพึงพอใจต่อกระบวนการบริหารหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับนิสิตมีความพึงพอใจต่อ กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนิสิตมีความ ต้องการการเรียนเสริมด้านทักษะภาษาอังกฤษ เน่ืองจากพ้ืนฐานภาษาอังกฤษของกลุ่มผู้เรียนมีความ หลากหลาย และผู้สอนได้เนน้ การสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรยี นไดม้ ีส่วนร่วม สรา้ งพื้นฐานและผ่านเกณฑ์ มาตรฐานที่ยอมรับได้เหมือนกัน รวมท้ังการสอนเสริมตามความสนใจและศักยภาพของผู้เรียน 3.4) ผลผลิต นิสิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของนิสิตที่ได้รับการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ใช้ มหาบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อมหาบัณฑิตใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับความคิดเห็นจาก อาจารย์ผสู้ อนคือ รายวิชาท่ีเรียนตามหลักสูตรเหมาะสม ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ ประสบการณ์จากการ เรียนและการวิจัยที่ได้รับการพัฒนานำมาปรับใช้ในการทำงานได้ และทักษะด้านภาษาอังกฤษได้รับ การพัฒนาอยา่ งถกู ตอ้ งและเพียงพอต่อการปฏบิ ตั ิงาน เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (2558) วิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวตั ถปุ ระสงคข์ องการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตและนิสิตท่ีมีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน คณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาบัณฑิตและผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับบัณฑิตท่ีมีต่อการ ปฏิบัติหน้าท่ีของบัณฑิตท่ีสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอน คณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรการศึกษา มหาบณั ฑิต สาขาวิชาการสอนคณติ ศาสตร์ ผลการวจิ ยั พบว่า 1) ความคิดเหน็ ของบัณฑิตและนิสติ ทีม่ ี
66 ต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 2) ความคดิ เหน็ ของผู้บังคับบัญชาบัณฑิตและผู้ทเี่ ก่ียวข้องกบั บัณฑติ ที่มตี อ่ การปฏบิ ัติ หนา้ ที่ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรการศกึ ษามหาบณั ฑิต สาขาวิชาการสอนคณติ ศาสตร์ ในภาพรวมเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์เห็นว่า ปรัชญา วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และเน้ือหารายวิชาของหลักสูตรมีความชัดเจน เหมาะสม และสามารถนำไป ปฏิบัติได้จริง แต่ควรปรับลดจำนวนหน่วยกิตของหมวดวิชาพ้ืนฐานทางการศึกษา ควรมีการบรรจุ รายวิชาเกี่ยวกับนวัตกรรมหรือวิธีการสอนแนวใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์ศึกษา ควรมีการจัดหา เอกสาร ตำรา หนังสือ และสื่อต่างๆ ทางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพ่ิมขึ้น และในภาพรวมของ คุณภาพบณั ฑติ ส่วนใหญ่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลกั สูตร คมสัน ตรีไพบูลย์ และคณะ (2558) วิจัยเร่ือง การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพ่ือ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) ได้แก่ ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) เพอ่ื ศกึ ษาปญั หาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสตู รการศกึ ษาบัณฑิต (หลักสตู ร 5 ปี) สาขาวชิ า การสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินหลักสูตร การศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) ได้แก่ ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจยั นำเข้า ด้านกระบวนการ และดา้ นผลผลติ โดยภาพรวมพบวา่ มีความคิดเหน็ ว่าเหมาะสมอยู่ ในระดับมาก และ2) ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีสิ่งที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงได้แก่ ด้านบริบทพบว่า ปรัชญาของหลักสูตร สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาสังคมน้ันไม่สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาสังคม ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า สภาพแวดล้อมยังไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ด้านกระบวนการพบว่า เครื่องมือและวิธีการท่ีใช้ในการวัดผลไม่มคี วามเหมาะสมและไม่มีประสทิ ธภิ าพ และด้านผลผลติ พบว่า ในหมวดวชิ าศึกษาท่วั ไป ด้านทกั ษะทางปญั ญา นสิ ิตไม่สามารถแก้ปัญหาไดโ้ ดยนำหลักการต่าง ๆ มา อา้ งอิงไดอ้ ยา่ งเหมาะสม นพมณี เช้ือวัชรินทร์ และคณะ (2558) วิจัยเรื่อง การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนชีววิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนชวี วิทยา (หลกั สูตรปรับปรงุ พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั บูรพา ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) พร้อมกับการประเมินควบคู่ไปกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework: TQF) และกรอบการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในระดับหลักสูตร (Internal Quality Assurance: IQA) ผลวิจัยในภาพรวมพบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีรายละเอียดในแต่ละด้านคือ 1) ด้านบริบท มีความ
67 เหมาะสมในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ มี ความเหมาะสมในระดบั มาก 4) ดา้ นผลผลิต มีความเหมาะสมในระดับมาก และจากการประเมินตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualification Framework: TQF) และ กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (Internal Quality Assurance: IQA) พบวา่ ผ่านเกณฑท์ ตี่ ้ังไวใ้ นทุกตวั บ่งชี้ สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ และคณะ (2558) วิจัยเรื่อง การประเมินหลกั สูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพ่ือ 1) ประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 2) ประเมิน หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และ 3) เพ่ือประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอน ภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรงุ พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรู พา ตามรูปแบบซิปป์ ซึ่ง เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกรอบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาภายในระดับหลักสตู ร พ.ศ.2557 พบว่า มีการกำกับให้เปน็ ไป ตามมาตรฐานอย่างต่อเน่ือง เม่ือมีอาจารย์ประจำหลักสูตรลาศึกษาต่อ ก็ได้มีการรับอาจารย์ใหม่ ทดแทนอาจารย์ประจำหลักสูตร 2) ผลประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวชิ า การสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่ามีผล การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 3) ผลประเมิน หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน นิสิต ผู้บริหาร สถานศึกษา และครูพ่ีเล้ียง พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากในทุกด้าน และผู้เชี่ยวชาญและ อาจารย์ประจำหลกั สูตร มคี วามคิดเห็นตอ่ หลักสตู รดา้ นบริบทควรปรับวตั ถุประสงคข์ องหลกั สูตรและ วิชาเอก ส่วนด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยภาพรวมมีความเหมาะสมสอดคล้อง กับหลักสูตร พงศ์ประเสรฐิ หกสวุ รรณ และนุสรา พีระพัฒนพงศ์ (2559) วิจัยเร่ือง การประเมินหลกั สูตร และความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต : กรณีศึกษาหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ประเมิน หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้มหาบัณฑิต และ3) จัดทำ ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ท่ีได้ ข้อมูลจากกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และบัณฑิตในหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านบริบท
68 (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า วัตถุประสงค์ของ หลักสูตรมีความเหมาะสมเปน็ ลำดับแรก มคี ่าเฉล่ยี ระดบั มากทีส่ ุด ด้านปจั จยั นำเข้า (Input) มีผลการ ประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า คุณสมบัติ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของ กรรมการบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสมลำดับแรกระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ (Process) มี ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เม่ือพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การบริหารหลักสูตรมีความเหมาะสม ลำดับแรก อยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เม่ือพิจารณา เป็นรายข้อพบว่า จำนวนการมีงานทำมีค่าเฉล่ียลำดับแรกอยู่ในระดับมาก ภาพรวมความคิดเห็นของ ผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะและการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาพบว่า มีผลการ ประเมินอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ลำดับแรก คือด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบคุ คลมคี ่าเฉล่ียระดบั มาก Brigman (1992: 2814-A) ได้ศึกษาเพ่ือประเมินผลของหลักสูตรการฝึกความพร้อมของ นกั เรียน ท่ีมีต่อความตั้งใจ ความเข้าใจในการฟังและทักษะทางสังคมของนักเรียนอนุบาล ปัญหาวิจัย คอื การขาดทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องมีมาก่อน ซ่ึงทำให้ผลการเรยี นอ่อน วิธีดำเนินการศึกษา ใช้ ช้ันเรียนอนุบาล 12 ห้อง (นักเรียน 260 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา 3 โรงเรียนในเขตนครหลวง แอตแลนตา สุ่มเลือก 6 ห้อง เป็นกลุ่มเปรียบเทียบและอีก 6 ห้องเป็นกลุ่มทดลอง ลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ของท้ัง 3 โรงเรียนเหมือนกันมาก แต่ละโรงเรียนมีชั้นเรียนทดลอง 2 ห้องและชั้น เรียนเปรียบเทียบ 2 ห้อง เก็บรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม การวิเคราะห์ความ แปรปรวนร่วมใช้วิเคราะห์ทางสถิติ ผลปรากฏว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยหลักสูตรการฝึกความ พร้อมของนักเรียนทำคะแนนได้สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ในการวัดความ เข้าใจในการอ่านและในแบบวัดการให้คะแนนพฤติกรรมนักเรียน สรุปได้ว่านักเรียนทุกชั้นเรียน สามารถรับการฝึกได้ในทักษะการเรียนรู้ท่ีจำเป็นต้องมีมาก่อนในด้านความตั้งใจ การฟังและการตอบ และการเข้ากับคนอ่ืนได้ (ทักษะทางสังคม) ผลก็คือพฤติกรรม “ความสำเร็จในโรงเรียน” เหล่าน้ี เพิม่ ขึน้ และนักเรยี นสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมใหมเ่ ป็นมีผลสมั ฤทธเ์ิ พ่มิ ขึ้น (ความเข้าใจในการฟงั ) จากการศึกษางานวิจัยที่เก่ียวข้องกับการประเมินหลักสูตรทั้งในระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน และระดับอุดมศึกษาข้างต้น พบว่า มีการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP ตามแนวคิด ของ Danial L. Stufflebeam โดยผลการประเมินทุกด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากทั้งด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ส่วนด้านท่ีมีการประเมินเพ่ิมเติม คือ ด้าน ผลกระทบ ด้านประสทิ ธิผล และด้านความย่ังยืน มีผลการประเมินอยูใ่ นระดับมากท่ีสุด และด้านการ ถ่ายโยงความรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการประเมินหลักสูตรท่ี ทำให้ไดผ้ ลการประเมินครบถว้ น และครอบคลมุ องคป์ ระกอบทุกดา้ นของหลักสูตร
69 3. หลักสูตรโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) 3.1 หลักสูตรปกติ (โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศนู ย์วิจัยและพัฒนาการศกึ ษา, 2560) วิสัยทัศน์ จัดการศึกษาเพ่ือเป็นการสร้างทางเลือกให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ มุ่งสู่สถาบันอุดมศึกษา โดยมีความเปน็ ผู้นำดำรงคุณธรรมตามทส่ี ังคมต้องการ พันธกจิ 1. ให้การฝกึ ประสบการณ์วิชาชีพครูแกน่ ิสิตศกึ ษาศาสตร์ 2. ศกึ ษา วิจัย พัฒนาการศกึ ษา และบริการวชิ าการ 3. จัดการศึกษาเพ่ือเป็นการขยายโอกาสสำหรับเด็กและเยาวชน พร้อมไปกับการทำนุบำรุง ศิลปวฒั นธรรม เป้าหมาย 1. ผเู้ รยี นทกุ คนไดร้ ับการศกึ ษาทีม่ คี ุณภาพไมต่ ำ่ กว่ามาตรฐานการศึกษา 2. ผูเ้ รียนระดบั อนบุ าลศึกษามีความพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไดด้ ี 3. ผู้เรียนระดับประถมศึกษามีทักษะกระบวนการในการแสวงหาความรู้อย่างหลากหลาย มี คณุ ธรรม จริยธรรม และอย่ใู นสังคมได้อยา่ งมคี วามสขุ มคี วามสามารถในการแสดงออกและเป็นผู้นำ 4. ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา มีการพัฒนากระบวนการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ การ ดแู ลสขุ ภาพ มีคุณธรรม จรยิ ธรรม มคี วามสนุ ทรีย์ และสามารถศึกษาต่อตามความถนัดอย่างมคี ุณภาพ 5. คณาจารย์สามารถค้นคว้า วิจัย ทดลองเพื่อพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษาอย่าง มีคุณภาพ 6. โรงเรียนมรี ะบบการบรหิ ารหลักสตู รท่ีดีมีประสทิ ธิภาพ คุณลกั ษณะอันพงึ ประสงคข์ องนักเรยี น 1. มีความรู้ทางวชิ าการ มีความสามารถในการคดิ วเิ คราะห์ สงั เคราะห์ มีวจิ ารณญาณ มี ความคดิ สรา้ งสรรค์ และเปน็ บคุ คลในสงั คมแหง่ การเรยี นรู้ 2. มีทักษะด้านภาษาเพอื่ การสอื่ สารและใชเ้ ทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3. มบี คุ ลิกภาพในการเปน็ ผูน้ ำ ร้จู ักตนเอง พึงพาตนเองได้ และร่วมงานกับบุคคลอน่ื ได้ 4. มีคณุ ธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 5. มีสุนทรียภาพ และลกั ษณะนสิ ัยทางดา้ น ศลิ ปะ ดนตรี และกีฬา 6. มีสุขนสิ ยั สขุ ภาพกาย สขุ ภาพจติ ทดี่ ี ไมเ่ ก่ียวขอ้ งกบั ยาเสพติด 7. มีความเป็นประชาธิปไตย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ศลิ ปวฒั นธรรมไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอ้ ม มาตรฐานคณุ ภาพของผ้เู รยี น หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วทิ ยาเขต กำแพงแสน ศูนย์วิจยั และพัฒนาการศึกษา ไดก้ ำหนดคณุ ภาพของผู้เรยี นไว้ 5 มาตรฐาน ดงั นี้
70 มาตรฐานท่ี 1 การดำเนินชีวิตของตนเองท่ีดี (Well Being) การดูแลสุขภาพและความ เปน็ อยู่ท่ดี ขี องนกั เรยี น มาตรฐานท่ี 2 การอยู่ร่วมกันในสังคมและการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น (Belonging) การส่งเสริม ใหน้ ักเรยี นรสู้ ึกของความเปน็ เจ้าของ มาตรฐานที่ 3 การมสี ่วนร่วม มีจติ สาธารณะ (Contribution) นักเรยี นมโี อกาสในการเรียนรู้ ที่มีความเท่าเทียมกัน ได้รบั การส่งเสริมความสามารถทางสังคมและ การมีส่วนร่วมในการสรา้ งคุณค่า ของตนเอง ครอบครวั และสงั คม มาตรฐานที่ 4 การติดต่อส่ือสาร (Communication) นักเรียนใช้ความหลากหลายของ วธิ กี ารในการสื่อสารความตอ้ งการ ความคดิ ของตนเองเพอ่ื ใหผ้ ู้อ่ืนเขา้ ใจและตอบสนองแนวคิด มาตรฐานท่ี 5 การแสวงหาความรู้ (Exploration) การเรียนรู้ของนักเรียนมาจากการใฝ่รู้ ในการสำรวจสภาพแวดลอ้ ม กรอบแนวคิดหลักสตู ร การจัดหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน มีกรอบแนวคิดในการพัฒนาที่แตกต่างกันในแต่ ละระดับโดยในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ประถมศึกษาปีที่ 1-3) ใช้แนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences Theory : MI) ซ่ึ งประกอบด้ วย เชาว์ปั ญ ญ าด้ านภาษา (Linguistic Intelligence) เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical-Mathematical intelligence) เชาว์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Intelligence) เชาว์ปัญญา ด้านการเคลื่อนไหว ร่ างกายและกล้ ามเน้ื อ (Bodily-Kinesthetic Intelligence)เช าว์ ปั ญ ญ าด้ าน ด น ต รี (Musical Intelligence) เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อ่ืน (Interpersonal Intelligence) เชาว์ปัญญาด้าน การเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) และการใช้ทักษะในการเรียนรู้ (Skill-based learning)ซ่ึงประกอบด้วยการคิดแบบมี วิจารณญาณ (Critical Thinking) การส่ือสาร (Communication) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) ความคดิ สรา้ งสรรค์ (Creativity) ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ประถมศึกษาปีท่ี 4-6) และมัธยมศึกษาใช้ทักษะการ เรียนรู้ (21st Century Skills) ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving Skills) ทักษะการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity & innovation Skills) ทั กษ ะค วามเข้ าใจด้ าน ค วาม แตก ต่ างท างวัฒ น ธรรม (Cross-cultural Understanding Skills) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership Skills)ทักษะการส่ือสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันส่ือ (Communications, Information, and Media Literacy Skills) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computing and ICT Literacy Skills) ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และมีคณุ ธรรมจรยิ ธรรม (Compassion) การจดั หลักสูตรระดับประถมศึกษา 1. จัดสาระการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานให้มีความครอบคลุมตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ
71 2. การจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1-3 มุ่งเน้นการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences : MI) และการสอนโดยใช้ทักษะพื้นฐาน (Skills Based) เพ่ือให้ผู้เรียน บรรลุมาตรฐานคณุ ภาพของผเู้ รียน 3. การจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มุ่งเน้นการใช้ทักษะการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) และการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based) เพ่อื ให้ผเู้ รยี นบรรลมุ าตรฐานคุณภาพของผู้เรยี น 4. มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและเทคโนโลยีจนถึงข้ันการ นำความรู้ไปใช้ โครงสร้างหลกั สูตรระดบั ชัน้ ประถมศึกษา กลมุ่ สาระการเรียนรู/้ กิจกรรม เวลาเรียน (คาบ/สัปดาห์) ป.6 ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 5 กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ 5 3 ภาษาไทย 66655 3 2 คณติ ศาสตร์ 66655 2 2 วิทยาศาสตร์ 33333 3 25 สังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม 44433 4 6 สขุ ศกึ ษาและพลศึกษา 22222 35 ศลิ ปะ 2 2 2 2 2 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 22222 ภาษาตา่ งประเทศ 22233 รวมเวลาเรยี น (พน้ื ฐาน) 27 27 27 25 25 กิจกรรมพัฒนาผเู้ รียน 44444 รายวิชา/กจิ กรรมท่ีจดั เพ่ิมเตมิ 44466 รวมเวลาเรยี นท้ังหมด 35 35 35 35 35 หมายเหตุ บ : บูรณาการกล่มุ สาระภาษาไทย คณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์
72 โครงสร้างการเรยี น ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 1 โครงสร้างการเรียน ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 2 รหสั ช่อื รายวชิ า เวลาเรียน รหัส ชอื่ รายวชิ า เวลาเรียน (คาบ/สัปดาห์) (คาบ/สปั ดาห)์ รายวชิ าพื้นฐาน รายวชิ าพ้นื ฐาน ท 11101 ภาษาไทย 1 6 ท 12101 ภาษาไทย 2 6 ค 11101 คณติ ศาสตร์ 1 6 ค 12101 คณิตศาสตร์ 2 6 ว 11101 วทิ ยาศาสตร์ 1 3 ว 12101 วิทยาศาสตร์ 2 3 ส 11101 สงั คมศกึ ษา 1 3 ส 12101 สังคมศกึ ษา 2 3 ส 11102 ประวัติศาสตร์ 1 ส 12102 หน้าทพี่ ลเมือง 1 พ 12101 สุขศึกษาและพลศึกษา 2 2 สุขศกึ ษาและพล 2 ศ 12101 ศิลปะ 2 2 พ 11101 ศกึ ษา 1 2 ศ 11101 ศลิ ปะ 1 การงานอาชพี และ 2 2 ง 12101 เทคโนโลยี 2 2 การงานอาชพี และ 2 อ 12101 ภาษาองั กฤษ 2 ง 11101 เทคโนโลยี 1 (4) อ 11101 ภาษาองั กฤษ 1 (4) รายวชิ า/กิจกรรมเพ่มิ เตมิ 1 1 โครงการส่งเสรมิ ภาษาและเทคโนโลยี รายวิชา/กจิ กรรมเพม่ิ เติม บ 12201 รกั การอ่าน 2 โครงการสง่ เสรมิ ภาษาและ 2 1 เทคโนโลยี 1 ภาษาอังกฤษโดย บ 11201 รักการอ่าน อ 12201 ชาวต่างชาติ 2 1 1 ง 12201 คอมพิวเตอร์ 2 (3) ภาษาอังกฤษโดย (3) 1 อ 11201 ชาวต่างชาติ 1 1 กิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น 2 ง 11201 คอมพวิ เตอร์ 1 2 กจิ กรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน - กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน - - ลูกเสอื 35 กจิ กรรมแนะแนว 35 - ชมรม กิจกรรมนกั เรียน กิจกรรมเพื่อสงั คมและ - ลูกเสอื สาธารณประโยชน์ * - ชมรม กิจกรรมเพ่ือสังคมและ รวมเวลาเรียน สาธารณประโยชน์ * รวมเวลาเรยี น
73 โครงสรา้ งการเรียน ชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 3 โครงสรา้ งการเรยี น ชน้ั ประถมศกึ ษาปีที่ 4 รหัส ชื่อรายวชิ า เวลาเรยี น รหัส ช่ือรายวชิ า เวลาเรียน (คาบ/สัปดาห์) (คาบ/สัปดาห์) รายวชิ าพ้นื ฐาน รายวิชาพื้นฐาน ท 13101 ภาษาไทย 3 6 ท 14101 ภาษาไทย 4 5 ค 13101 คณิตศาสตร์ 3 6 ค 14101 คณิตศาสตร์ 4 5 ว 13101 วทิ ยาศาสตร์ 3 3 ว 14101 วทิ ยาศาสตร์ 4 3 ส 13101 สงั คมศกึ ษา 3 3 ส 14101 สงั คมศกึ ษา 4 2 ส 13102 ภูมิศาสตร์ 1 ส 14102 ประวัติศาสตร์ 1 พ 14101 สุขศกึ ษาและพลศึกษา 4 2 สุขศึกษาและพล 2 ศ 14101 ศลิ ปะ 4 2 พ 13101 ศึกษา 3 2 ศ 13101 ศิลปะ 3 การงานอาชพี และ 2 2 ง 14101 เทคโนโลยี 4 3 การงานอาชพี และ 2 อ 14101 ภาษาองั กฤษ 4 ง 13101 เทคโนโลยี 3 2 อ 13101 ภาษาองั กฤษ 3 (4) รายวชิ า/กิจกรรมเพ่ิมเติม (4) รายวิชา/กิจกรรมเพ่ิมเติม 1 บ 14201 รจู้ กั โครงงาน - โครงการส่งเสริมภาษาและ โครงการส่งเสรมิ ภาษาและเทคโนโลยี เทคโนโลยี 2 บ 14202 รักการอ่าน * 2 บ 13201 รักการอ่าน 1 2 ภาษาอังกฤษโดย ภาษาอังกฤษโดย 1 อ 14201 ชาวต่างชาติ 4 1 อ 13201 ชาวตา่ งชาติ 3 (3) ง 14201 คอมพวิ เตอร์ 4 (3) ง 13201 คอมพิวเตอร์ 3 1 1 2 กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน 2 กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี น กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมแนะแนว - กจิ กรรมนักเรยี น - กิจกรรมนักเรยี น 35 - ลูกเสอื 35 - ลกู เสือ - ชมรม - ชมรม กจิ กรรมเพื่อสังคมและ กิจกรรมเพอ่ื สงั คมและ สาธารณประโยชน์ * สาธารณประโยชน์ * รวมเวลาเรียน รวมเวลาเรียน
74 โครงสร้างการเรยี น ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 5 โครงสร้างการเรียน ชัน้ ประถมศึกษาปที ่ี 6 รหสั ช่ือรายวชิ า เวลาเรยี น รหสั ช่ือรายวชิ า เวลาเรียน (คาบ/สปั ดาห)์ (คาบ/สปั ดาห)์ รายวิชาพน้ื ฐาน รายวิชาพ้ืนฐาน ท 15101 ภาษาไทย 5 5 ท 16101 ภาษาไทย 6 5 ค 15101 คณติ ศาสตร์ 5 5 ค 16101 คณติ ศาสตร์ 6 5 ว 15101 วิทยาศาสตร์ 5 3 ว 16101 วทิ ยาศาสตร์ 6 3 ส 15101 สงั คมศึกษา 5 2 ส 16101 สังคมศึกษา 6 2 ส 15102 หนา้ ท่ีพลเมือง 1 ส 16102 ภมู ศิ าสตร์ 1 พ 16101 สุขศึกษาและพลศกึ ษา 6 2 สขุ ศกึ ษาและพล 2 ศ 16101 ศลิ ปะ 6 2 พ 15101 ศึกษา 5 2 ศ 15101 ศิลปะ 5 การงานอาชพี และ 2 2 ง 16101 เทคโนโลยี 6 3 การงานอาชพี และ 3 อ 16101 ภาษาองั กฤษ 6 ง 15101 เทคโนโลยี 5 2 อ 15101 ภาษาองั กฤษ 5 2 รายวชิ า/กิจกรรมเพม่ิ เติม (4) บ 16201 สรา้ งสรรคโ์ ครงงาน - รายวชิ า/กิจกรรมเพม่ิ เตมิ (4) โครงการสง่ เสริมภาษาและเทคโนโลยี บ 15201 เรยี นรู้โครงงาน - บ 16202 รกั การอ่าน * 2 โครงการส่งเสรมิ ภาษาและ 2 เทคโนโลยี 2 ภาษาองั กฤษโดย บ 15202 รักการอ่าน * 2 อ 16201 ชาวต่างชาติ 6 1 ง 16201 คอมพิวเตอร์ 6 (3) ภาษาองั กฤษโดย 1 1 อ 15201 ชาวตา่ งชาติ 5 (3) กิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น 2 ง 15201 คอมพวิ เตอร์ 5 1 กิจกรรมแนะแนว 2 กจิ กรรมนักเรยี น - กจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี น - ลกู เสอื 35 กิจกรรมแนะแนว - - ชมรม กิจกรรมนกั เรยี น 35 กิจกรรมเพือ่ สังคมและ - ลูกเสอื สาธารณประโยชน์ * - ชมรม กิจกรรมเพือ่ สังคมและ รวมเวลาเรียน สาธารณประโยชน์ * รวมเวลาเรยี น การจัดหลักสตู รระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ 1. จัดสาระการเรียนรู้ในรายวิชาพ้ืนฐานให้มีความครอบคลุมตามหลักสูตรแกนกลาง การศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551 ของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร 2. การจัดการเรียนการสอน มุ่นเน้นการใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี นบรรลุมาตรฐานคุณภาพของผ้เู รียน 3. มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทางด้านของภาษาเพ่ือการสื่อสาร การนำความรู้ ทางด้านของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามแนวคิดของ STEM education 4. จัดรายวิชาเพ่ิมเติม (เลือกเสรี) ที่มีความหลากหลายให้กับนักเรียนตามความถนัดและ ความสนใจ และสอดคล้องกับการศึกษาต่อ
75 โครงสรา้ งหลักสตู รระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ กลุม่ สาระการเรียนร้/ู กิจกรรม ม.1 หนว่ ยกิต รวม กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ ภาค ภาค ม.2 ม.3 ภาษาไทย 12 คณิตศาสตร์ ภาค ภาค ภาค ภาค วิทยาศาสตร์ 1212 สังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม สุขศึกษาและพลศกึ ษา 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 9.0 ศิลปะ 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 9.0 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 9.0 ภาษาต่างประเทศ 2.0 2.0 2.0 2.0 2.0 2.0 12.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 6.0 รวมหน่วยกิต (พน้ื ฐาน) 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 6.0 กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 6.0 รายวิชา/กิจกรรมท่จี ดั เพมิ่ เตมิ 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 9.0 รวมหนว่ ยกิตท้ังหมด รวมเวลาเรยี นทั้งหมด (คาบ/สัปดาห)์ 11.0 11.0 11.0 11.0 11.0 11.0 66.0 (4) (4) (4) (4) (4) (4) - 4.5 4.5 4.5 4.5 4.5 4.5 27.0 15.5 15.5 15.5 15.5 15.5 15.5 93.0 (35) (35) (35) (35) (35) (35) - โครงสร้างการเรยี น ช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี 1 ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรยี นที่ 2 รหสั ชื่อรายวชิ า หนว่ ยกติ รหสั ช่อื รายวิชา หนว่ ยกติ รายวชิ าพนื้ ฐาน รายวชิ าพื้นฐาน 1.5 ท 21102 ภาษาไทย 2 1.5 ท 21101 ภาษาไทย 1 1.5 ค 21102 คณติ ศาสตร์ 2 1.5 ว 21102 วทิ ยาศาสตร์ 2 1.5 ค 21101 คณติ ศาสตร์ 1 1.5 ส 21102 สงั คมศึกษา 2 0.5 ส 21104 ประวัตศิ าสตร์ 2 0.5 ว 21101 วทิ ยาศาสตร์ 1 1.5 พ 21102 สุขศกึ ษา 2 0.5 พ 21104 พลศึกษา 2 1.0 ส 21101 สงั คมศกึ ษา 1 1.5 ศ 21102 ศลิ ปะ 2 1.0 ง 21102 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 2 1.5 ส 21103 ประวัติศาสตร์ 1 0.5 อ 21102 ภาษาอังกฤษ 2 1.0 พ 21101 สุขศึกษา 1 0.5 รายวชิ า/กิจกรรมเพิ่มเติม 1.0 ว 21202 พลงั งานสะอาด 1.0 พ 21103 พลศึกษา 1 0.5 ค 21202 การประยกุ ต์ 2 อ 21202 เสรมิ ทกั ษะภาษาองั กฤษ 2 ศ 21101 ศลิ ปะ 1 1.0 ง 21101 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 1 1.0 อ 21101 ภาษาอังกฤษ 1 1.5 รายวชิ า/กจิ กรรมเพ่มิ เตมิ ว 21201 วทิ ยาศาสตร์ส่ิงแวดลอ้ ม 1.0 ค 21201 การประยุกต์ 1 1.0 อ 21201 เสรมิ ทกั ษะภาษาองั กฤษ 1 1.0
76 ภาคเรยี นที่ 1 หน่วยกติ ภาคเรยี นท่ี 2 หนว่ ยกิต 1.5 1.5 รหัส ชอื่ รายวิชา รหสั ช่อื รายวชิ า (1) (1) เลือกเสรี ............................................. เลอื กเสรี ................................................ (1) (1) กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน (2) กิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น (2) กจิ กรรมแนะแนว - กจิ กรรมแนะแนว - กิจกรรมนักเรยี น 15.5 กจิ กรรมนกั เรยี น 15.5 - ลกู เสอื - ลูกเสือ - ชมรม - ชมรม กจิ กรรมเพอื่ สังคมและสาธารณประโยชน์ * กิจกรรมเพ่อื สังคมและสาธารณประโยชน์ * รวมหนว่ ยกติ รวมหนว่ ยกิต โครงสรา้ งการเรียน ช้นั มัธยมศกึ ษาปที ี่ 2 ภาคเรยี นที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 รหัส ช่อื รายวชิ า หนว่ ยกติ รหัส ชอื่ รายวิชา หน่วยกิต รายวชิ าพืน้ ฐาน รายวิชาพน้ื ฐาน 1.5 1.5 ท 22101 ภาษาไทย 3 1.5 ท 22102 ภาษาไทย 4 1.5 1.5 ค 22101 คณิตศาสตร์ 3 1.5 ค 22102 คณิตศาสตร์ 4 0.5 0.5 ว 22101 วิทยาศาสตร์ 3 1.5 ว 22102 วิทยาศาสตร์ 4 0.5 1.0 ส 22101 สังคมศกึ ษา 3 1.5 ส 22102 สงั คมศึกษา 4 1.0 ส 22103 หน้าท่พี ลเมือง 1 0.5 ส 22104 หนา้ ทีพ่ ลเมอื ง 2 1.5 พ 22101 สุขศกึ ษา 3 0.5 พ 22102 สขุ ศกึ ษา 4 1.0 1.0 พ 22103 พลศกึ ษา 3 0.5 พ 22104 พลศกึ ษา 4 1.0 1.5 ศ 22101 ศลิ ปะ 3 1.0 ศ 22102 ศลิ ปะ 4 (1) การงานอาชีพและเทคโนโลยี (1) ง 22101 3 1.0 ง 22102 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 4 (2) - อ 22101 ภาษาองั กฤษ 3 1.5 อ 22102 ภาษาอังกฤษ 4 15.5 รายวชิ า/กิจกรรมเพม่ิ เตมิ รายวิชา/กจิ กรรมเพม่ิ เตมิ ว 22201 รักษ์โลกดว้ ย 5R 1.0 ว 22202 ผลติ ภณั ฑจ์ ากพันธ์ไุ ม้ ค 22201 การประยุกต์ 3 1.0 ค 22202 การประยุกต์ 4 อ 22201 เสรมิ ทกั ษะภาษาอังกฤษ 3 1.0 อ 22202 เสรมิ ทกั ษะภาษาองั กฤษ 4 เลือกเสรี .............................................. 1.5 เลือกเสรี ............................................... กิจกรรมพัฒนาผูเ้ รยี น กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี น กิจกรรมแนะแนว (1) กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนกั เรียน กจิ กรรมนักเรยี น - ลกู เสือ (1) - ลกู เสอื - ชมรม (2) - ชมรม กจิ กรรมเพ่ือสังคมและสาธารณประโยชน์ * - กจิ กรรมเพ่ือสงั คมและสาธารณประโยชน์ * รวมหนว่ ยกติ 15.5 รวมหน่วยกติ
77 โครงสรา้ งการเรียน ช้นั มัธยมศึกษาปที ี่ 3 ภาคเรยี นที่ 2 ภาคเรยี นที่ 1 รหสั ช่อื รายวชิ า รหัส ชือ่ รายวิชา หนว่ ยกติ รายวชิ าพนื้ ฐาน หน่วย ท 23102 ภาษาไทย 6 กติ รายวชิ าพื้นฐาน 1.5 ค 23102 คณติ ศาสตร์ 6 ท 23101 ภาษาไทย 5 1.5 ว 23102 วทิ ยาศาสตร์ 6 1.5 ค 23101 คณติ ศาสตร์ 5 1.5 ส 23102 สังคมศกึ ษา 6 1.5 ว 23101 วิทยาศาสตร์ 5 1.5 ส 23104 ภมู ิศาสตร์ 2 1.5 ส 23101 สงั คมศกึ ษา 5 0.5 พ 23102 สขุ ศึกษา 6 1.5 ส 23103 ภมู ศิ าสตร์ 1 0.5 พ 23104 พลศึกษา 6 0.5 พ 23101 สุขศึกษา 5 0.5 ศ 23102 ศลิ ปะ 6 0.5 พ 23103 พลศึกษา 5 1.0 ง 23102 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 6 0.5 ศ 23101 ศลิ ปะ 5 1.0 อ 23102 ภาษาองั กฤษ 6 1.0 ง 23101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5 1.5 รายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเตมิ 1.0 อ 23101 ภาษาองั กฤษ 5 ว 23202 สรา้ งสรรคง์ านไฟฟ้าและเคร่อื งกล 1.5 1.0 ค 23202 การประยุกต์ 6 รายวชิ า/กจิ กรรมเพ่มิ เตมิ 1.0 อ 23202 เสรมิ ทกั ษะภาษาอังกฤษ 6 1.0 ว 23201 STEM กบั การอนรุ กั ษพ์ ลงั งาน 1.0 เลอื กเสรี ...................................................... 1.0 ค 23201 การประยุกต์ 5 1.5 กจิ กรรมพัฒนาผ้เู รยี น 1.0 อ 23201 เสรมิ ทกั ษะภาษาอังกฤษ 5 1.5 เลือกเสรี ................................................ (1) กิจกรรมแนะแนว กจิ กรรมนักเรียน (1) กิจกรรมพฒั นาผ้เู รยี น (1) กจิ กรรมแนะแนว (2) - ลูกเสอื (1) กิจกรรมนักเรียน - - ชมรม (2) - ลูกเสือ 15.5 - - ชมรม กิจกรรมเพือ่ สังคมและสาธารณประโยชน์ * 15.5 กจิ กรรมเพื่อสงั คมและสาธารณประโยชน์ * รวมหน่วยกติ รวมหน่วยกติ การจัดหลกั สตู รระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1. จัดสาระการเรียนรู้ในรายวิชาพ้ืนฐานให้มีความครอบคลุมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขน้ั พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ 2. การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นการใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 (21st Century Skills) เพ่ือให้ผเู้ รยี นบรรลมุ าตรฐานคุณภาพของผ้เู รียน 3. มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนได้รบั การพัฒนาทางดา้ นของคณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ภาษาและ ศลิ ปกรรม เพ่ือให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความถนัดและความสนใจ 4. จัดรายวิชาเพ่ิมเติม (เลือกเสรี) ท่ีมีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองตามความถนดั ความ สนใจ และสอดคลอ้ งกับการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพในอนาคต
78 โครงสร้างหลักสูตรมัธยมศกึ ษาตอนปลาย โครงสรา้ งการเรียนวทิ ยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ โครงสร้างการเรียนวทิ ยาศาสตร์ - คณติ ศาสตร์ กล่มุ สาระการเรยี นร/ู้ กจิ กรรม ม.4 ม.5 ม.6 ภาค 1 ภาค 2 ภาค 1 ภาค 2 ภาค 1 ภาค 2 กลมุ่ สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 คณิตศาสตร์ 2.0 2.0 2.0 - - - วิทยาศาสตร์ 2.0 2.0 2.0 - - - สังคมศกึ ษา ศาสนาและวัฒนธรรม 1.5 1.5 1.5 1.5 1.0 1.0 สขุ ศกึ ษาและพลศึกษา 1.0 1.0 1.0 1.0 0.5 0.5 ศลิ ปะ 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 ภาษาตา่ งประเทศ 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 รวมหนว่ ยกติ (พื้นฐาน) 9.5 9.5 9.5 5.5 4.5 4.5 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (4) (4) (4) (4) (4) (4) รายวิชา/กิจกรรมที่จดั เพิม่ เตมิ 6.5 6.5 6.5 10.5 10.5 10.5 รวมหน่วยกิตทง้ั หมด 16.0 16.0 16.0 16.0 15.0 15.0 เวลาเรียนท้ังหมด (คาบ/สัปดาห์) (36) (36) (36) (36) (34) (34) โครงสร้างการเรยี นวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาปีท่ี 4 ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรยี นท่ี 2 รหัส ช่ือรายวิชา หนว่ ย รหัส ชอื่ รายวิชา หนว่ ยกติ กิต 1.0 รายวชิ าพ้นื ฐาน รายวิชาพืน้ ฐาน 2.0 2.0 ท 31101 ภาษาไทย 1 1.0 ท 31102 ภาษาไทย 2 1.0 0.5 ค 31107 คณติ ศาสตร์ 2.0 ค 31108 คณิตศาสตร์ 0.5 ว 31107 วทิ ยาศาสตร์ 2.0 ว 31108 วิทยาศาสตร์ 0.5 0.5 ส 31101 ศาสนศกึ ษาและคณุ ธรรมเพอ่ื ชวี ิต 1.0 ส 31102 มนุษยก์ ับสังคม 0.5 ส 31103 1.0 ประวัติศาสตรไ์ ทย 0.5 ส 31104 ประวัติศาสตร์สากล 1.0 พ 31101 สุขศึกษา 1 0.5 พ 31102 สขุ ศึกษา 2 1.0 พ 31103 พลศึกษา 1 0.5 พ 31104 พลศกึ ษา 2 1.0 ศ 31101 ศลิ ปะ 1 0.5 ศ 31102 ศิลปะ 2 1.0 ง 31101 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 1 0.5 ง 31102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 1.0 อ 31101 ภาษาองั กฤษ 1 1.0 อ 31102 ภาษาองั กฤษ 2 0.5 1.0 รายวชิ าเพ่มิ เตมิ รายวชิ าเพม่ิ เติม (1) ค 31201 ตรรกศาสตร-์ เรขาคณิตวเิ คราะห์ 1.0 ค 31202 ภาคตัดกรวย ว 31201 ฟิสกิ ส์ 1 1.0 ว 31202 ฟสิ กิ ส์ 2 ว 31221 เคมี 1 1.0 ว 31222 เคมี 2 ว 31241 ชีววิทยา 1 1.0 ว 31242 ชีววิทยา 2 อ 31201 เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ 1 1.0 อ 31202 เสรมิ ทกั ษะภาษาอังกฤษ 2 ง 31201 คอมพิวเตอรแ์ ละเทคโนโลยี 1 0.5 ง 31202 คอมพิวเตอรแ์ ละเทคโนโลยี 2 ........... เลอื กเสรี 1.0 ............ เลอื กเสรี กิจกรรมพัฒนาผเู้ รียน กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียน กจิ กรรมแนะแนว (1) กิจกรรมแนะแนว
79 ระดบั ช้นั มัธยมศึกษาปที ่ี 4 ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรียนที่ 2 รหสั ชอ่ื รายวิชา หนว่ ย รหสั ชอื่ รายวชิ า หน่วยกิต รวมหน่วยกติ กิต (3) กจิ กรรมนกั เรียน กิจกรรมนกั เรยี น - 16.0 - ชมรม (3) - ชมรม กจิ กรรมเพอื่ สงั คมและสาธารณประโยชน์ * - กจิ กรรมเพ่อื สังคมและสาธารณประโยชน์ * 16.0 รวมหน่วยกติ ระดบั ช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรยี นท่ี 2 รหัส ชือ่ รายวิชา หน่วย รหัส ช่ือรายวิชา หนว่ ยกติ กิต 1.0 รายวิชาพ้ืนฐาน รายวชิ าพน้ื ฐาน 1.0 0.5 ท 32101 ภาษาไทย 3 1.0 ท 32102 ภาษาไทย 4 0.5 0.5 ค 32109 คณติ ศาสตร์ 2.0 ส 32102 เศรษฐศาสตร์ 0.5 0.5 ว 32109 วทิ ยาศาสตร์ 2.0 ส 32104 หนา้ ทีพ่ ลเมือง 2 1.0 ส 32101 ภมู ิศาสตร์ 1.0 พ 32102 สขุ ศึกษา 4 2.5 2.5 ส 32103 หนา้ ทพ่ี ลเมอื ง 1 0.5 พ 32104 พลศกึ ษา 4 1.5 1.5 พ 32101 สขุ ศึกษา 3 0.5 ศ 32102 ศิลปะ 4 1.0 0.5 พ 32103 พลศกึ ษา 3 0.5 ง 32102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4 1.0 ศ 32101 ศลิ ปะ 3 0.5 อ 32102 ภาษาอังกฤษ 4 (1) ง 32101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3 0.5 (3) - อ 32101 ภาษาอังกฤษ 3 1.0 16.0 รายวชิ าเพิ่มเติม รายวิชาเพม่ิ เตมิ ค 32201 เมทริกซ์-ทฤษฎจี ำนวน 1.0 ค 32202 ฟงั กช์ นั ประยกุ ต์ ว 32203 ฟสิ ิกส์ 3 1.0 ว 32204 ฟสิ ิกส์ 4 ว 32223 เคมี 3 1.0 ว 32224 เคมี 4 ว 32243 ชีววทิ ยา 3 1.0 ว 32244 ชวี วิทยา 4 อ 32201 เสรมิ ทกั ษะภาษาอังกฤษ 3 1.0 อ 32202 เสรมิ ทกั ษะภาษาองั กฤษ 4 ง 32201 คอมพวิ เตอร์และเทคโนโลยี 3 0.5 ง 32202 คอมพวิ เตอรแ์ ละเทคโนโลยี 4 ............ เลอื กเสรี 1.0 ............ เลือกเสรี กจิ กรรมพัฒนาผ้เู รยี น กจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน กจิ กรรมแนะแนว (1) กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนกั เรยี น กิจกรรมนกั เรียน - ชมรม (3) - ชมรม กิจกรรมเพอื่ สงั คมและสาธารณประโยชน์ * - กจิ กรรมเพ่ือสังคมและสาธารณประโยชน์ * รวมหน่วยกิต 16.0 รวมหนว่ ยกติ
80 ระดบั ชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรียนที่ 2 รหัส ช่อื รายวชิ า หนว่ ย รหสั ช่อื รายวชิ า หน่วยกิต กิต 1.0 รายวชิ าพ้นื ฐาน รายวชิ าพ้ืนฐาน 1.0 0.5 ท 33101 ภาษาไทย 5 1.0 ท 33102 ภาษาไทย 6 0.5 0.5 ส 33101 อารยธรรมโลก 1.0 ส 33102 เหตกุ ารณ์โลกปจั จบุ ัน 1.0 พ 33101 สุขศึกษาและพลศกึ ษา 1 0.5 พ 33102 สุขศึกษาและพลศกึ ษา 2 2.5 2.5 ศ 33101 ศิลปะ 5 0.5 ศ 33102 ศิลปะ 6 1.5 1.5 ง 33101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5 0.5 ง 33102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 1.0 0.5 อ 33101 ภาษาอังกฤษ 5 1.0 อ 33102 ภาษาองั กฤษ 6 1.0 รายวชิ าเพ่ิมเติม รายวิชาเพม่ิ เตมิ (1) ค 33201 อนกุ รม-แคลคูลสั 2.5 ค 33202 สถติ ิ-ความน่าจะเป็น (3) - ว 33205 ฟสิ ิกส์ 5 2.5 ว 33206 ฟิสกิ ส์ 6 15.0 ว 33225 เคมี 5 1.5 ว 33226 เคมี 6 ว 33245 ชีววทิ ยา 5 1.5 ว 33246 ชวี วทิ ยา 6 อ 33201 เสรมิ ทกั ษะภาษาองั กฤษ 5 1.0 อ 33202 เสรมิ ทกั ษะภาษาอังกฤษ 6 ง 33201 คอมพวิ เตอร์และเทคโนโลยี 5 0.5 ง 33202 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 6 ............ เลือกเสรี 1.0 ............ เลอื กเสรี กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี น กจิ กรรมแนะแนว (1) กิจกรรมแนะแนว กจิ กรรมนกั เรียน กิจกรรมนกั เรียน - ชมรม (3) - ชมรม กิจกรรมเพอ่ื สงั คมและสาธารณประโยชน์ * - กิจกรรมเพือ่ สังคมและสาธารณประโยชน์ * รวมหนว่ ยกติ 15.0 รวมหน่วยกิต โครงสร้างหลกั สูตรมธั ยมศึกษาตอนปลาย โครงสร้างการเรียนภาษาต่างประเทศ โครงสร้างการเรยี นภาษาต่างประเทศ กลมุ่ สาระการเรียนรู/้ กจิ กรรม ม.4 ม.5 ม.6 ภาค 1 ภาค 2 ภาค 1 ภาค 2 ภาค 1 ภาค 2 กลุม่ สาระการเรยี นรู้ ภาษาไทย 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 คณิตศาสตร์ 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 วทิ ยาศาสตร์ 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 สงั คมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม 1.5 1.5 1.5 1.5 1.0 1.0 สุขศึกษาและพลศึกษา 1.0 1.0 1.0 1.0 0.5 0.5 ศิลปะ 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 ภาษาตา่ งประเทศ 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 รวมหน่วยกติ (พ้นื ฐาน) 7.5 7.5 7.5 7.5 6.5 6.5 กจิ กรรมพฒั นาผ้เู รยี น (4) (4) (4) (4) (4) (4) รายวชิ า/กิจกรรมทจี่ ดั เพ่มิ เติม 8.5 8.5 8.5 8.5 8.5 8.5 รวมหน่วยกติ ท้ังหมด 16.0 16.0 16.0 16.0 15.0 15.0 เวลาเรยี นทั้งหมด (คาบ/สัปดาห์) (36) (36) (36) (36) (34) (34)
81 โครงสร้างการเรียนภาษาต่างประเทศ ระดบั ชั้นมัธยมศกึ ษาปที ี่ 4 ภาคเรยี นที่ 1 ภาคเรยี นที่ 2 รหัส ชอ่ื รายวิชา หน่วย รหสั ช่ือรายวชิ า หน่วยกติ กิต 1.0 รายวิชาพน้ื ฐาน รายวิชาพ้ืนฐาน 1.0 1.0 ท 31101 ภาษาไทย 1 1.0 ท 31102 ภาษาไทย 2 1.0 ค 31101 0.5 ว 31101 คณติ ศาสตร์ 1 1.0 ค 31102 คณิตศาสตร์ 2 0.5 ส 31101 0.5 ส 31103 วทิ ยาศาสตร์ 1 1.0 ว 31102 วิทยาศาสตร์ 2 0.5 พ 31101 0.5 ศาสนศกึ ษาและคุณธรรมเพอ่ื ชวี ติ 1.0 ส 31102 มนษุ ยก์ บั สังคม 1.0 ประวัติศาสตร์ไทย 0.5 ส 31104 ประวตั ิศาสตร์สากล 5.0 1.0 สขุ ศกึ ษา 1 0.5 พ 31102 สขุ ศึกษา 2 1.0 0.5 พ 31103 พลศึกษา 1 0.5 พ 31104 พลศึกษา 2 1.0 ศ 31101 ศลิ ปะ 1 0.5 ศ 31102 ศิลปะ 2 (1) ง 31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 0.5 ง 31102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 อ 31101 ภาษาองั กฤษ 1 1.0 อ 31102 ภาษาองั กฤษ 2 (3) - รายวชิ าเพ่ิมเตมิ รายวชิ าเพิม่ เติม 16.0 ....31201 ภาษาจนี /ญ่ีปนุ่ /ฝรั่งเศส 1 5.0 ….31202 ภาษาจนี /ญี่ปนุ่ /ฝรัง่ เศส 2 อ 31201 เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ 1 1.0 อ 31202 เสริมทกั ษะภาษาองั กฤษ 2 ท 31201 ประวตั วิ รรณคดี 1 1.0 ท 31202 ประวตั วิ รรณคดี 2 ง 31201 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 1 0.5 ง 31202 คอมพวิ เตอรแ์ ละเทคโนโลยี 2 ............ เลอื กเสรี 1.0 ............ เลือกเสรี กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น กิจกรรมแนะแนว (1) กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนกั เรยี น กจิ กรรมนกั เรยี น - ชมรม (3) - ชมรม กิจกรรมเพอื่ สงั คมและสาธารณประโยชน์ * - กจิ กรรมเพอื่ สังคมและสาธารณประโยชน์ * รวมหน่วยกติ 16.0 รวมหนว่ ยกิต ระดบั ชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 5 ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรยี นท่ี 2 รหสั ชือ่ รายวิชา หนว่ ย รหัส ช่ือรายวิชา หน่วยกิต กิต รายวชิ าพื้นฐาน 1.0 ท 32101 รายวิชาพ้นื ฐาน 1.0 ค 32101 1.0 ว 32101 ภาษาไทย 3 1.0 ท 32102 ภาษาไทย 4 1.0 ส 32101 0.5 ส 32103 คณิตศาสตร์ 3 1.0 ค 32102 คณิตศาสตร์ 4 0.5 พ 32101 0.5 พ 32103 วิทยาศาสตร์ 3 1.0 ว 32102 วทิ ยาศาสตร์ 4 0.5 ศ 32101 0.5 ง 32101 ภูมิศาสตร์ 1.0 ส 32102 เศรษฐศาสตร์ 1.0 อ 32101 หนา้ ทีพ่ ลเมือง 1 0.5 ส 32104 หน้าที่พลเมือง 2 5.0 รายวิชาเพิ่มเตมิ 1.0 ....32201 สขุ ศกึ ษา 3 0.5 พ 32102 สุขศกึ ษา 4 1.0 อ 32201 0.5 ท 32201 พลศึกษา 3 0.5 พ 32104 พลศกึ ษา 4 1.0 ง 32201 ............ ศลิ ปะ 3 0.5 ศ 32102 ศิลปะ 4 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3 0.5 ง 32102 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 4 ภาษาองั กฤษ 3 1.0 อ 32102 ภาษาองั กฤษ 4 รายวิชาเพิม่ เตมิ ภาษาจีน/ญี่ปนุ่ /ฝร่งั เศส 3 5.0 .....32202 ภาษาจนี /ญ่ีปนุ่ /ฝร่งั เศส 4 เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ 3 1.0 อ 32202 เสริมทักษะภาษาอังกฤษ 4 ภาษากบั วัฒนธรรม 1.0 ท 32202 วรรณคดีมรดก คอมพิวเตอรแ์ ละเทคโนโลยี 3 0.5 ง 32202 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 4 เลือกเสรี 1.0 ............ เลือกเสรี
82 ระดับชั้นมัธยมศกึ ษาปีท่ี 5 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 รหสั ช่ือรายวิชา หน่วย รหสั ช่ือรายวชิ า หนว่ ยกิต กิต (1) กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รยี น กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน (3) กจิ กรรมแนะแนว (1) กจิ กรรมแนะแนว - 16.0 กิจกรรมนกั เรียน กิจกรรมนกั เรียน - ชมรม (3) - ชมรม กิจกรรมเพอ่ื สงั คมและสาธารณประโยชน์ * - กิจกรรมเพอื่ สงั คมและสาธารณประโยชน์ * รวมหนว่ ยกติ 16.0 รวมหนว่ ยกิต ระดับช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี 6 ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรยี นท่ี 2 รหสั ช่อื รายวิชา หน่วย รหสั ช่ือรายวิชา หนว่ ยกิต กิต 1.0 รายวชิ าพนื้ ฐาน รายวิชาพื้นฐาน 1.0 1.0 ท 33101 ภาษาไทย 5 1.0 ท 33102 ภาษาไทย 6 1.0 0.5 ค 33101 คณติ ศาสตร์ 5 1.0 ค 33102 คณิตศาสตร์ 6 0.5 0.5 ว 33101 วทิ ยาศาสตร์ 5 1.0 ว 33102 วิทยาศาสตร์ 6 1.0 ส 33101 อารยธรรมโลก 1.0 ส 33102 เหตกุ ารณ์โลกปัจจุบัน 5.0 1.0 พ 33101 สขุ ศึกษาและพลศกึ ษา 1 0.5 พ 33102 สขุ ศึกษาและพลศึกษา 2 1.0 0.5 ศ 33101 ศลิ ปะ 5 0.5 ศ 33102 ศิลปะ 6 1.0 ง 33101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 5 0.5 ง 33102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 (1) อ 33101 ภาษาอังกฤษ 5 1.0 อ 33102 ภาษาอังกฤษ 6 (3) - รายวิชาเพิ่มเติม รายวชิ าเพิ่มเตมิ 15.0 ....33201 ภาษาจีน/ญี่ปนุ่ /ฝรงั่ เศส 5 5.0 ....33202 ภาษาจีน/ญป่ี นุ่ /ฝรั่งเศส 6 อ 33201 เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ 5 1.0 อ 33202 เสรมิ ทักษะภาษาอังกฤษ 6 ท 33201 การพฒั นาทกั ษะทางภาษา 1.0 ท 33202 ภาษาในเพลง ง 33201 คอมพวิ เตอร์และเทคโนโลยี 5 0.5 ง 33202 คอมพวิ เตอร์และเทคโนโลยี 6 ............ เลอื กเสรี 1.0 ............ เลอื กเสรี กจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี น กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน กจิ กรรมแนะแนว (1) กจิ กรรมแนะแนว กิจกรรมนกั เรียน กิจกรรมนกั เรียน - ชมรม (3) - ชมรม กจิ กรรมเพอ่ื สังคมและสาธารณประโยชน์ * - กิจกรรมเพอื่ สังคมและสาธารณประโยชน์ * รวมหนว่ ยกิต 15.0 รวมหน่วยกิต
83 โครงสร้างหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงสร้างการเรียนศิลปกรรม โครงสร้างการเรยี นศิลปกรรม กล่มุ สาระการเรียนรู้/กิจกรรม ม.4 ม.5 ม.6 ภาค 1 ภาค 2 ภาค 1 ภาค 2 ภาค 1 ภาค 2 กลมุ่ สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 คณติ ศาสตร์ 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 วิทยาศาสตร์ 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 1.5 1.5 1.5 1.5 1.0 1.0 สุขศึกษาและพลศกึ ษา 1.0 1.0 1.0 1.0 0.5 0.5 ศิลปะ 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 ภาษาต่างประเทศ 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 1.0 รวมหน่วยกติ (พน้ื ฐาน) 7.5 7.5 7.5 7.5 6.5 6.5 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (4) (4) (4) (4) (4) (4) รายวิชา/กจิ กรรมทีจ่ ดั เพม่ิ เติม 8.5 8.5 8.5 8.5 8.5 8.5 รวมหน่วยกิตทั้งหมด 16.0 16.0 16.0 16.0 15.0 15.0 เวลาเรยี นทัง้ หมด (คาบ/สัปดาห์) (36) (36) (36) (36) (34) (34) โครงสรา้ งการเรียนศิลปกรรม ระดบั ชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 4 ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรียนที่ 2 รหสั ชอื่ รายวชิ า หนว่ ย รหัส ชอ่ื รายวชิ า หนว่ ยกติ กิต 1.0 รายวชิ าพ้ืนฐาน ภาษาไทย 1 รายวชิ าพ้ืนฐาน 1.0 คณิตศาสตร์ 1 1.0 ท 31101 วิทยาศาสตร์ 1 1.0 ท 31102 ภาษาไทย 2 1.0 ค 31101 ศาสนศึกษาและคุณธรรมเพอื่ ชวี ติ 1.0 ค 31102 คณิตศาสตร์ 2 0.5 ว 31101 ประวัติศาสตรไ์ ทย 1.0 ว 31102 วิทยาศาสตร์ 2 0.5 ส 31101 สุขศกึ ษา 1 1.0 ส 31102 มนุษยก์ บั สังคม 0.5 ส 31103 0.5 ส 31104 ประวตั ิศาสตรส์ ากล 0.5 พ 31101 พลศึกษา 1 0.5 พ 31102 สขุ ศึกษา 2 0.5 พ 31103 ศิลปะ 1 0.5 พ 31104 พลศกึ ษา 2 1.0 ศ 31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 0.5 ศ 31102 ศิลปะ 2 ง 31101 ภาษาองั กฤษ 1 0.5 ง 31102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 2.0 อ 31101 1.0 อ 31102 ภาษาองั กฤษ 2 2.0 1.0 รายวิชาเพิ่มเติม ประวตั ิวรรณคดี 1 รายวิชาเพิม่ เติม 2.0 ทอ่ งแดนอารยธรรมโลก 0.5 ท 31201 เสรมิ ทักษะภาษาองั กฤษ 1 2.0 ท 31202 ประวัติวรรณคดี 2 1.0 ส 31201 ภาษาองั กฤษเพอ่ื การศกึ ษาตอ่ 1 2.0 ส 31202 ภมู ศิ าสตรก์ ารทอ่ งเทยี่ ว อ 31201 คอมพวิ เตอร์และเทคโนโลยี 1 1.0 อ 31202 เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ 2 (1) อ 31203 เลอื กเสรี 2.0 อ 31204 ภาษาองั กฤษเพอ่ื การศกึ ษาตอ่ 2 ง 31201 0.5 ง 31202 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 ............ 1.0 ............ เลอื กเสรี กิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น กจิ กรรมแนะแนว (1) กจิ กรรมแนะแนว กจิ กรรมนกั เรยี น กจิ กรรมนกั เรยี น
84 ระดบั ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 4 ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรยี นท่ี 2 รหสั ช่ือรายวิชา หนว่ ย รหัส ชือ่ รายวิชา หน่วยกิต กิต - ชมรม (3) กจิ กรรมเพ่อื สงั คมและสาธารณประโยชน์ * (3) - ชมรม - รวมหนว่ ยกติ 16.0 - กจิ กรรมเพอ่ื สงั คมและสาธารณประโยชน์ * 16.0 รวมหนว่ ยกติ ระดับช้นั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนท่ี 2 รหัส ชอ่ื รายวชิ า หนว่ ย รหสั ช่ือรายวิชา หนว่ ยกติ กิต 1.0 รายวชิ าพนื้ ฐาน รายวิชาพนื้ ฐาน 1.0 1.0 ท 32101 ภาษาไทย 3 1.0 ท 32102 ภาษาไทย 4 1.0 0.5 ค 32101 คณติ ศาสตร์ 3 1.0 ค 32102 คณติ ศาสตร์ 4 0.5 0.5 ว 32101 วทิ ยาศาสตร์ 3 1.0 ว 32102 วิทยาศาสตร์ 4 0.5 0.5 ส 32101 ภูมศิ าสตร์ 1.0 ส 32102 เศรษฐศาสตร์ 1.0 ส 32103 หนา้ ทพ่ี ลเมอื ง 1 0.5 ส 32104 หนา้ ทพี่ ลเมือง 2 2.0 2.0 พ 32101 สขุ ศึกษา 3 0.5 พ 32102 สขุ ศกึ ษา 4 1.0 2.0 พ 32103 พลศกึ ษา 3 0.5 พ 32104 พลศกึ ษา 4 0.5 1.0 ศ 32101 ศิลปะ 3 0.5 ศ 32102 ศิลปะ 4 (1) ง 32101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3 0.5 ง 32102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4 (3) อ 32101 ภาษาองั กฤษ 3 1.0 อ 32102 ภาษาองั กฤษ 4 - 16.0 รายวิชาเพิ่มเติม รายวชิ าเพมิ่ เติม ท 32201 ภาษากับวัฒนธรรม 2.0 ท 32202 วรรณคดีมรดก ส 32201 ส่ิงแวดลอ้ มศกึ ษา 2.0 ส 32202 โลกศกึ ษา อ 32201 เสรมิ ทักษะภาษาอังกฤษ 3 1.0 อ 32202 เสรมิ ทักษะภาษาอังกฤษ 4 อ 32203 ภาษาองั กฤษเพ่ือการศกึ ษาตอ่ 3 2.0 อ 32204 ภาษาอังกฤษเพื่อการศกึ ษาตอ่ 4 ง 32201 คอมพวิ เตอรแ์ ละเทคโนโลยี 3 0.5 ง 32202 คอมพวิ เตอรแ์ ละเทคโนโลยี 4 ............ เลอื กเสรี 1.0 ............ เลอื กเสรี กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน กิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น กจิ กรรมแนะแนว (1) กจิ กรรมแนะแนว กจิ กรรมนกั เรยี น กจิ กรรมนกั เรยี น - ชมรม (3) - ชมรม กจิ กรรมเพ่อื สงั คมและสาธารณประโยชน์ * - กจิ กรรมเพื่อสงั คมและสาธารณประโยชน์ * รวมหนว่ ยกิต 16.0 รวมหน่วยกิต
85 ระดับชน้ั มัธยมศกึ ษาปีที่ 6 ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรียนท่ี 2 รหสั ชื่อรายวิชา หน่วย รหสั ชอื่ รายวิชา หน่วยกิต กิต 1.0 รายวิชาพื้นฐาน รายวชิ าพ้นื ฐาน 1.0 1.0 ท 33101 ภาษาไทย 5 1.0 ท 33102 ภาษาไทย 6 1.0 0.5 ค 33101 คณติ ศาสตร์ 5 1.0 ค 33102 คณิตศาสตร์ 6 0.5 0.5 ว 33101 วิทยาศาสตร์ 5 1.0 ว 33102 วทิ ยาศาสตร์ 6 1.0 ส 33101 อารยธรรมโลก 1.0 ส 33102 เหตกุ ารณ์โลกปัจจบุ นั 2.0 2.0 พ 33101 สุขศกึ ษาและพลศกึ ษา 1 0.5 พ 33102 สุขศกึ ษาและพลศึกษา 2 1.0 2.0 ศ 33101 ศลิ ปะ 5 0.5 ศ 33102 ศิลปะ 6 0.5 1.0 ง 33101 การงานอาชพี และเทคโนโลยี 5 0.5 ง 33102 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 6 (1) อ 33101 ภาษาองั กฤษ 5 1.0 อ 33102 ภาษาอังกฤษ 6 (3) รายวชิ าเพม่ิ เตมิ รายวชิ าเพ่ิมเติม - 15.0 ท 33201 การพัฒนาทกั ษะทางภาษา 2.0 ท 33202 ภาษาในเพลง ส 33201 สังคมและวฒั นธรรมไทย 2.0 ส 33202 กฎหมายน่ารู้ อ 33201 เสริมทักษะภาษาองั กฤษ 5 1.0 อ 33202 เสริมทักษะภาษาองั กฤษ 6 อ 33203 ภาษาอังกฤษเพอื่ การศกึ ษาตอ่ 5 2.0 อ 33204 ภาษาองั กฤษเพอ่ื การศกึ ษาตอ่ 6 ง 33201 คอมพวิ เตอรแ์ ละเทคโนโลยี 5 0.5 ง 33202 คอมพิวเตอรแ์ ละเทคโนโลยี 6 ............ เลือกเสรี 1.0 ............ เลือกเสรี กิจกรรมพัฒนาผูเ้ รยี น กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น กจิ กรรมแนะแนว (1) กจิ กรรมแนะแนว กจิ กรรมนกั เรยี น กจิ กรรมนกั เรยี น - ชมรม (3) - ชมรม กจิ กรรมเพ่อื สงั คมและสาธารณประโยชน์ * - กจิ กรรมเพอื่ สงั คมและสาธารณประโยชน์ * รวมหน่วยกิต 15.0 รวมหนว่ ยกติ เกณฑ์การวัดและประเมนิ ผลการเรยี นรู้ ระดับประถมศกึ ษา 1. การตดั สนิ ผลการเรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 (ตามหลักสูตรของ โรงเรียน) ได้กำหนดโครงสร้าง เวลาเรียน มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวช้ีวัด การอ่าน คิดวิเคราะห์และ เขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนท่ีสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ มีคุณภาพเต็มตามศักยภาพและให้สถานศึกษากำหนดหลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลการ เรยี นรู้ เพ่อื ตัดสินผลการเรียนของผูเ้ รียนดงั น้ี 1) ผเู้ รยี นตอ้ งมีเวลาเรยี นไมน่ ้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด 2) ผเู้ รียนต้องได้รับการประเมินทุกตวั ช้ีวดั และมีผลการประเมินผ่านไม่นอ้ ยกว่าร้อย ละ 60 ของตวั ชี้วดั ทง้ั หมด 3) ผ้เู รยี นต้องไดร้ บั การตัดสนิ ผลการเรยี นทุกรายวิชา 4) ผู้เรียนตอ้ งผา่ นเกณฑ์การประเมินการอ่าน คดิ วเิ คราะหแ์ ละเขยี น 5) ผู้เรยี นตอ้ งผา่ นเกณฑ์การประเมนิ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6) ผเู้ รยี นต้องผา่ นเกณฑ์การประเมนิ กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียนทุกกิจกรรม
86 2. การให้ระดบั ผลการเรียน การตัดสินผลการเรยี นรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ สถานศกึ ษาให้ระดบั ผล การเรยี น 8 ระดบั โดยใชร้ ะบบตวั เลข การตัดสินผลการเรียนใช้ระบบผ่าน และไม่ผ่านโดยกำหนดเกณฑ์การตัดสินผ่านแต่ละ วิชาทีร่ ้อยละ 50 จากนั้นจงึ ใหร้ ะดบั ผลการเรียนทีผ่ า่ นเปน็ ระบบตัวเลข ซึง่ สะท้อนมาตรฐานดงั ตาราง ระดับผลการเรียน ความหมาย ระบบร้อยละ 4 ดเี ยีย่ ม 80 – 100 3.5 ดมี าก 75 – 79 3 ดี 70 – 74 2.5 ค่อนข้างดี 65 – 69 2 ปานกลาง 60 – 64 1.5 พอใช้ 55 – 59 1 50 – 54 0 ผา่ นเกณฑข์ ั้นต่ำ 0 – 49 ต่ำกวา่ เกณฑ์ การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ผล การประเมินเป็นผ่าน ไมผ่ า่ น กรณที ผ่ี ่านให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเย่ียม ดี และผา่ น 1. ในการสรุปผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เพ่ือการเล่ือนชั้นและจบ การศกึ ษา กำหนดเกณฑก์ ารตดั สินเป็น 4 ระดบั และความหมายของแต่ละระดบั ดงั น้ี ดเี ยีย่ ม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ทีม่ คี ณุ ภาพดเี ย่ียมอยู่เสมอ ดี หมายถงึ มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวเิ คราะห์ และเขียน ทีม่ คี ณุ ภาพเปน็ ที่ยอมรบั ผ่าน หมายถึง มีผลงานท่ีแสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวเิ คราะห์ และเขียน ทมี่ ีคุณภาพเปน็ ที่ยอมรับ แตย่ ังมขี อ้ บกพร่องบางประการ ไมผ่ า่ น หมายถงึ มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการ ปรับปรุงแกไ้ ขหลายประการ 2. ในการสรปุ ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงคร์ วมทุกคุณลักษณะ เพื่อการเล่ือนช้ัน และจบการศกึ ษา กำหนดเกณฑก์ ารตัดสนิ เปน็ 4 ระดับ และความหมายของแต่ละระดับดังนี้ ดเี ยีย่ ม หมายถึง ผู้เรียนปฏิบัติตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม โดยพิจารณา จากผลการประเมินระดับดีเย่ียม และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการ ประเมินต่ำกว่าระดับดี
87 ดี หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อให้เป็นการ ยอมรับของสังคม ผา่ น หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเง่ือนไขที่สถานศึกษา กำหนด ไมผ่ ่าน หมายถงึ ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเง่ือนไขท่ี สถานศึกษากำหนด โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ต้ังแต่ 1 คุณลักษณะ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาท้ังเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมการ ปฏิบตั ิกิจกรรม และผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการประเมินเป็น ผา่ นและไมผ่ ่าน กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียนมี 3 ลกั ษณะ คือ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กจิ กรรมนกั เรียน ซึ่งประกอบด้วย กจิ กรรมลูกเสือ เนตรนารี กิจกรรมชมรม หรือชมุ นมุ 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ใหใ้ ช้ตวั อกั ษรแสดงผลการประเมนิ ดังนี้ “ผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรมและมี ผลงานตามเกณฑ์ท่สี ถานศึกษากำหนด “มผ” หมายถงึ ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรมและมี ผลงานไม่เปน็ ไปตามเกณฑ์ทส่ี ถานศึกษากำหนด “มสบ” หมายถงึ ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรมแต่มี ผลงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ท่สี ถานศึกษากำหนด ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “มสบ” “มผ” สถานศึกษาต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทำ กิจกรรมจนครบตามเวลาท่ีกำหนด หรือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะท่ีต้องปรับปรุง แก้ไข แล้ว จึงเปลี่ยนผลการเรียนจาก “มผ” เป็น “ผ” ทั้งน้ีดำเนินการให้เสร็จส้ินภายในปีการศึกษาน้ัน ยกเว้น มีเหตุ สดุ วิสัยใหอ้ ย่ใู นดลุ ยพินจิ ของสถานศึกษา 3. การเล่อื นระดับช้ัน สถานศึกษากำหนดเกณฑ์การเล่ือนช้ัน โดยพิจารณาสอดคล้องกับเกณฑ์การตัดสินผลการ เรยี น โดยกำหนดเกณฑ์การเล่ือนช้นั ดังนี้ 1) ผู้เรียนต้องมีเวลาเรยี นตลอดปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด 2) ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวช้ีวัดและมีผลการประเมินผ่านไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของตวั ชี้วัดทั้งหมด 3) ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนรายวิชาพื้นฐานทุกรายวิชาผ่านเกณฑ์ข้ันต่ำ ข้นึ ไป (คือตัง้ แต่ 1.00 ข้นึ ไป)
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430