Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การทดสอบทางสรีรวิทยาสำหรับนักกีฬา

การทดสอบทางสรีรวิทยาสำหรับนักกีฬา

Published by niromlee.m, 2020-05-22 04:19:47

Description: เอกสารประกอบการสอน 02301526 การทดสอบทางสรีรวิทยาสำหรับนักกีฬา สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการสอน รายวชิ า 0230527 การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนกั กีฬา (Physiological Testing for Athletes) อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ คณะวิทยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นักกฬี า คำนำ เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 02301527 การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกีฬา (Physiological testing for Athlete) จดั ทาและเรยี บเรยี งข้นึ เพ่ือใช้ประกอบการเรียนการสอน สาหรับ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การเป็นผู้ฝึกกีฬา คณะ วทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ สาหรับเนื้อหาในเอกสารประกอบการเรียนการสอนเล่มน้ี จะประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ บทนาการทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกีฬา การตรวจคัดกรองสุขภาพและการเตรียม ความพร้อมก่อนการทดสอบ การทดสอบองค์ประกอบของร่างกาย การทดสอบสมรรถภาพด้านแอโรบิค การทดสอบสมรรถภาพด้านแอนแอโรบิค การทดสอบความอ่อนตัว การทดสอบความแข็งแรง ความ อดทนและพลังของกล้ามเน้ือ การทดสอบความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว การทดสอบการทรงตัว การทดสอบที่เฉพาะเจาะจงกับชนิดกีฬา และชุดการทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรับนักกีฬาประเภท ตา่ ง ๆ ผู้เรยี บเรียงหวงั วา่ เอกสารประกอบการสอนเล่มน้ี จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนทจี่ ะใช้ประกอบการ เรยี น ให้มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจในเน้อื หาของรายวชิ าดังกล่าวนี้มากขึ้น หากมีขอ้ บกพร่องประการใด ผู้เรยี บ เรยี งขอนอ้ มรบั เพอ่ื นาไปปรบั ปรงุ ใหด้ ยี งิ่ ขึน้ ต่อไป ดร.นริ อมลี มะกาเจ กรกฎาคม 2557 อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนักกฬี า (1) สารบญั หน้า (1) สารบญั 1 33 บทท่ี 1 บทนา: การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนกั กีฬา 65 (Introduction to Physiological Testing for Athlete) 103 153 บทท่ี 2 การตรวจคัดกรองสขุ ภาพและการเตรียมความพร้อมกอ่ นการทดสอบ 181 (Health Screening and Athlete Preparation) 205 255 บทท่ี 3 การทดสอบองค์ประกอบของรา่ งกาย 285 (Body Composition Testing) 301 331 บทที่4 การทดสอบสมรรถภาพด้านแอโรบิค 359 (Aerobic Fitness Testing) บทท่ี 5 การทดสอบสมรรถภาพด้านแอนแอโรบคิ (Anaerobic Fitness Testing) บทท่ี 6 การทดสอบความออ่ นตวั (Flexibility Testing) บทท่ี 7 การทดสอบความแขง็ แรง ความอดทนและพลังของกล้ามเนอ้ื (Muscle Strength, Endurance and Power Testing) บทที่ 8 การทดสอบความเรว็ และความคล่องแคลว่ ว่องไว (Speed and Agility Testing) บทที่ 9 การทดสอบการทรงตัว (Balance Testing) บทท่ี 10 การทดสอบสมรรถภาพทางกายทีเ่ ฉพาะเจาะจงกับชนิดกฬี า (Sports-Specific Testing) บทที่ 11 ชดุ การทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรบั กีฬาประเภทตา่ ง ๆ (Physical Fitness Test Battery for Sports) เอกสารอา้ งองิ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรับนักกฬี า 1 บทท่ี 1 บทนา: การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกฬี า (Introduction to Physiological Testing for Athlete) อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกีฬา มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรับนกั กฬี า 2 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 1 บทนา: การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรบั นักกฬี า 1. หวั ข้อเนือ้ หาประจาบท 1) ความหมายของสมรรถภาพทางกาย 2) ประเภทของสมรรถภาพทางกาย 3) ศัพทท์ ี่เก่ยี วข้องกับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 4) ขอบขา่ ยของการทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรับนักกฬี า 5) ความสาคัญและประโยชน์ของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 6) การเลือกแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย 7) การสรา้ งแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย 8) การประเมนิ ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรบั นกั กีฬา 2. วตั ถุประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม หลังจากศึกษาจบบทน้ีแลว้ ผ้เู รยี นสามารถ 1) อธิบายความหมายของสมรรถภาพทางกายได้ 2) อธบิ ายประเภทและความหมายขององคป์ ระกอบสมรรถภาพทางกายดา้ นต่าง ๆ ได้ 3) อธิบายความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ที่เก่ยี วข้องกับการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ 4) อธิบายขอบขา่ ยของการทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรับนักกฬี าได้ 5) อธบิ ายความสาคญั และประโยชน์ของการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ 6) อธบิ ายเกยี่ วกับการเลือกแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ 7) อธบิ ายขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายได้ 8) อธิบายการประเมนิ ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรับนกั กฬี าได้ 3. วธิ ีการสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอนประจาบท 1) การบรรยายจากเอกสารประกอบการสอนสไลด์นาเสนอบทเรียนจากไฟล์ Power point และไฟล์วดิ โี อ 2) การสาธติ วธิ กี าร และการฝกึ ทดลองปฏบิ ตั ิจรงิ 3) อภปิ รายประเด็นปญั หาและข้อสงสัย 4) การทดลองในปฏบิ ตั ิการที่ 1 5) ทาแบบฝึกหัดทา้ ยบทที่ 1 อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นกั กฬี า 3 4. สอื่ การเรยี นการสอน 1) เอกสารประกอบการสอน 2) สไลด์นาเสนอบทเรยี น เปน็ ไฟล์Power point 3) ไฟล์วิดีโอจากเว็บไซต์และแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 4) แบบฝกึ หัดท้ายบท 5. การวดั ผลและการประเมินผล 1) ตรวจสอบจากแบบฝึกหดั ทา้ ยบท 2) สงั เกตความสนใจของผูเ้ รยี น 3) สังเกตจากการถามคาถามและตอบคาถามของผู้เรียน 4) ตรวจสอบความถูกต้องของผลการทดลองในปฏิบัตกิ ารที่ 1 อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนกั กฬี า 4 อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรับนักกฬี า 5 บทที่ 1 บทนา: การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรบั นักกฬี า การประสบความสาเร็จในการแข่งขันของนักกีฬาน้ัน จะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความสามารถของนกั กฬี าหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเปน็ ปัจจัยด้านสมรรถภาพทางกาย (physical factors) ปัจจัย ด้านทักษะ (technical factors) ปัจจัยด้านแทคติก (tactical factors) รวมไปถึงปัจจัยด้านสมรรถภาพทาง จิตใจ (psychological factors) ซง่ึ ปจั จยั ตา่ ง ๆ ดงั กล่าวน้ี จะมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน โดย การเตรียมทมี ฝึกซ้อมนักกฬี าใหม้ ปี ระสิทธิภาพ จะต้องฝึกซ้อมให้ครอบคลุมกับปัจจัยท้ังสี่ด้านนี้ให้อยู่ในระดับ ที่ดี จึงจะทาให้นักกีฬาสามารถท่ีจะใช้สมรรถภาพทางกาย ทักษะ แทคติค และสมรรถภาพทางจิตใจในขณะ แขง่ ขันได้อยา่ งเต็มขดี ความสามารถ โดยปัจจัยด้านสมรรถภาพทางกาย เป็นปัจจัยหน่ึงที่สาคัญอย่างย่ิงในการ ท่ีจะทาให้นักกีฬาประสบผลสาเร็จในการแข่งขันได้ นักกีฬาที่มีการเตรียมพร้อมทางด้านร่างกายได้อย่าง สมบูรณ์แข็งแรง และมีสมรรถภาพทางกายในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับท่ีดี จะช่วยให้นักกีฬาสามารถใช้ทักษะ และแทคติกในกีฬาชนิดนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากข้ึน อีกท้ังการมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับท่ีดี จะช่วยปอู งกันและลดปัญหาการบาดเจบ็ ทีเ่ กดิ ข้นึ ในขณะแข่งขันของนักกีฬาได้ ในการแขง่ ขนั ของกฬี าแตล่ ะชนิด จะมีลักษณะความตอ้ งการสรีรวิทยาที่แตกต่างกันไป กีฬาบางชนิด ต้องใช้ระดับความหนักขณะแข่งขันท่ีสูงมาก เช่น การแข่งขันวิ่ง 400 เมตร และการยกน้าหนัก หรือบางชนิด กีฬาจะใช้ความหนักระดับปานกลาง เช่น การวิ่งมาราธอน และการว่ายน้าระยะไกล ส่วนในกีฬาประเภททีม เช่น ในกฬี าฟตุ บอล บาสเกตบอล และวอลเลย์บอล ระดับความหนักของการแข่งขันจะไม่คงที่และต่อเนื่อง มี การเคลื่อนไหวและเคลอื่ นทีห่ ลากหลายรปู แบบ ต้งั แต่การยนื อยู่กบั ที่ การเดิน การว่ิง การกระโดด รวมถึงการ เคล่อื นที่ไปพรอ้ มกับลูกบอล เปน็ ต้น ซ่ึงลกั ษณะความแตกต่างของระดับความหนักในกีฬาแต่ละชนิด จะส่งผล ให้ความตอ้ งการทางสรีรวิทยาในขณะแข่งขันของกีฬาแต่ละชนิดแตกต่างกันด้วย ดังนั้นสมรรถภาพทางกายที่ นักกีฬาต้องใช้ในการแข่งขันก็จะมีสัดส่วนหรือปริมาณที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะธรรมชาติของ เคลือ่ นไหว กฎกติกา และระยะเวลาการแขง่ ขนั ของกฬี าชนดิ นั้น ๆ โดยทั่วไป สมรรถภาพทางกายสาหรับนักกีฬา จะสามารถแบ่งเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเน้ือ พลังของกล้ามเน้ือ ความเร็ว และ คลอ่ งแคลว่ ว่องไว เป็นต้น ซ่ึงองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายดังกล่าวนี้ จะสัมพันธ์โดยตรงกับการทางานใน ระบบต่าง ๆ ของร่างกายท่ีเกี่ยวข้องกับเคลื่อนไหวของนักกีฬา ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้ามเนื้อ ท่ีต้องทาหน้าที่ หลักในการหดตัวเพื่อออกแรงในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ระบบประสาทท่ีทาหน้าที่ส่ังการและควบคุมการ เคลื่อนไหวให้เป็นไปตามที่ต้องการ รวมถึงระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจที่ทาหน้าท่ีขนส่งออกซิเจน และสารอาหารตา่ ง ๆ ไปให้กลา้ มเน้อื ใชใ้ นการสร้างพลังงาน เป็นต้น อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรบั นักกฬี า 6 โดยความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายกับการทางานของระบบต่าง ๆ ท่ีมีผลต่อ ความสามารถของนกั กีฬาน้นั แสดงไดด้ งั ภาพที่ 1 ภาพที่ 1 สมรรถภาพทางกายและการทางานของระบบตา่ ง ๆ ทเี่ กยี่ วข้องกบั ความสามารถของนกั กีฬา ที่มา: Hoffman (2002) ในสถานการณ์ของการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันกีฬา นักกีฬาจะต้องใช้ความสามารถในการเคล่ือนไหว และการทางานของรา่ งกายในระดบั ความหนักและระยะเวลาตามลักษณะของแต่ละชนิดกีฬา การทดสอบทาง สรีรวิทยาสาหรับนักกีฬา (physiological testing for athlete) จะเป็นกระบวนที่ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพ การทางานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายท่ีเก่ียวข้องกับการเคลื่อนไหวของนักกีฬา โดยจะประกอบด้วยการ ทดสอบสมรรถภาพทางกายในองค์ประกอบด้านต่าง ๆ และการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาที่ตอบสนองและ เปล่ียนแปลงในขณะออกกาลังกาย ขณะฝึกซ้อม และขณะแข่งขันกีฬา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการ ใช้ออกซิเจน ระดับความเข้มข้นของกรดแลคติก คลื่นไฟฟูากล้ามเน้ือ เป็นต้น ซึ่งตัวแปรทางสรีรวิทยาต่าง ๆ ดังกลา่ วนี้ จะสามารถบง่ ช้ีถงึ ประสทิ ธภิ าพการทางานของร่างกายท่ีจะส่งผลตอ่ ความสามารถของนักกีฬาได้ ประโยชน์ที่สาคัญของการทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกีฬานั้น จะทาให้ทราบถึงความพร้อมและ ความสมบรู ณข์ องรา่ งกายนกั กฬี า ใชใ้ นการประเมนิ ประสทิ ธิภาพของโปรแกรมการฝึกซ้อม ท่ีจะทาให้เห็นท่ีถึง ข้อบกพร่องและจุดอ่อนต่าง ๆ ของนักกีฬาแต่ละคนได้ รวมถึงเป็นกระบวนการท่ีนามาใช้ในการคัดเลือกตัว ของนักกีฬา ดังน้ันผลที่ได้จากการทดสอบและการประเมินจึงสามารถบ่งช้ีถึงการเปล่ียนแปลงและการพัฒนา ของสมรรถภาพทางกายนกั กีฬา รวมถงึ ประสิทธภิ าพการทางานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่เก่ียวข้องกับการ เคลือ่ นไหวได้เป็นอยา่ งดี อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนกั กฬี า 7 เนื้อหาในบทน้ี จะกล่าวถงึ ภาพรวมของเน้อื หาทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับการทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกีฬา โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ ความหมายและองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย ความสาคัญและ ประโยชน์ของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ การเลือกแบบทดสอบ การ สร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐาน และการประเมินผลสมรรถภาพทางกายสาหรับนักกีฬา โดยในหัวข้อ ตา่ ง ๆ มีรายละเอียดดังตอ่ ไปน้ี ความหมายของสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกาย (physical fitness) เป็นสิ่งสาคัญในการดารงชีวิตของมนุษย์ โดยสมรรถภาพ ทางกายเป็นพื้นฐานเบ้ืองต้นในการที่จะทาให้มนุษย์สามารถประกอบภารกิจในชีวิตประจาวันได้สาเร็จและมี ประสิทธิภาพ ในสมัยโบราณ มนุษย์ต้องดิ้นรนกับการแสวงหาอาหารและท่ีอยู่อาศัย ต่อสู้กับข้าศึก ศัตรู ปูองกันตัวจากสัตว์ร้ายและหนีภัยธรรมชาติ ปัจจัยเหล่าน้ีล้วนเป็นส่ิงผลักดันให้มนุษย์ต้องมีพละกาลังที่ แข็งแรง มีความทรหดอดทน และความรวดเร็วเพ่ือใหร้ อดพ้นจากอนั ตรายตา่ ง ๆ และดารงให้มชี ีวติ อยู่รอด การมีสมรรถภาพทางกายที่ดี สามารถสร้างข้ึนได้โดยการทาให้ร่างกายมีกิจกรรมการเคล่ือนไหวการ ออกกาลังกาย หรือการเล่นกีฬา ซ่ึงระดับของสมรรถภาพทางกายจะมีมากน้อยเพียงใดข้ึนอยู่กับปริมาณและ ประเภทของการออกกาลงั กายหรอื เล่นกฬี า ดังนน้ั จงึ จาเปน็ อยา่ งย่ิงที่จะต้องมกี ิจกรรมการเคล่ือนไหวหรือการ ออกกาลังกายเป็นประจาอย่างสม่าเสมอ เพื่อให้ร่างกายมีสมรรถภาพทางกายที่ดีซ่ึงเป็นปัจจัยสาคัญท่ีทาให้ ร่างกายมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อันจะช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพของชีวิตที่ดีได้ สาหรับในนักกีฬา ปัจจัยการมีสมรรถภาพทางกายที่ดีถือเป็นสิ่งท่ีมีความสาคัญอย่างยิ่ง ในการท่ีจะช่วยให้นักกีฬาแสดงออกใน ทักษะและเทคนิคในกีฬาชนิดต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักกีฬาที่จะประสบความสาเร็จในการแข่งขัน จะต้องมีสมรรถภาพทางกายที่ดีเป็นพื้นฐานสาคัญ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าสมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งสาคัญ และจาเปน็ สาหรบั บคุ คลในทกุ เพศและทกุ วยั สาหรับความหมายของสมรรถภาพทางกายน้นั ได้มีผู้ให้ความหมายไว้อย่างมากมายและกว้างขวางซ่ึง ข้ึนอยูก่ บั ชว่ งยคุ สมยั รวมถึงวัตถุประสงค์ในการนาไปใช้ว่าจะนาสมรรถภาพทางกายไปให้ความหมายกับกลุ่ม ใด คนทั่วไป ผู้ปุวย หรือนักกีฬาเป็นต้น อย่างไรก็ดีถึงแม้จะมีการนิยามความหมายและการให้คาจากัดความ ของสมรรถภาพทางกายแตกต่างกันไปแต่อย่างไรก็ดี การแบ่งองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายจะมี ลักษณะใน ทิศท า งที่คล้ าย กัน โ ด ย ตั วอย่ างคว ามห มาย ของส มร ร ถภ าพทางกาย ที่ได้ การ น าเ ส น อมีห ล าย ความหมายดังตวั อย่างตอ่ ไปน้ี (Miller 2002) Safrit ปี ค.ศ. 1981 ได้ใหค้ วามหมายเก่ยี วกบั สมรรถภาพทางกายไว้ 2 ลักษณะ คือ ในทางสรีรวิทยา หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวและการคืนสู่สภาพปกติภายหลังการออกกาลังกายอย่างหนัก และอีก อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรับนักกฬี า 8 ความหมายหน่งึ หมายถึงความสามารถในการประกอบกิจกรรมประจาวันด้วยความแข็งขัน และกระฉับกระเฉง โดยไม่รู้สึกเหนื่อยจนเกินไปและมีพลังงานสารองเพียงพอท่ีจะประกอบกิจกรรมยามว่างได้อย่าง สนุกสนาน และสามารถเผชิญกบั เหตกุ ารณฉ์ กุ เฉินที่ไม่ได้ คาดหมายไวล้ ่วงหน้าได้ Hockey ปี ค.ศ.1993 ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกาย คือ “ความสามารถในการประกอบ กิจกรรมประจาวันดว้ ยความแขง็ ขนั และกระฉบั กระเฉงโดยไม่รู้สึกเหน่ือยจนเกินไป และมีพลังงานสารองเพียง พอทจ่ี ะประกอบกิจกรรมยามวา่ งไดอ้ ย่างสนกุ สนานและสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ฉุกเฉินท่ีไม่ได้คาดหมายไว้ ลว่ งหนา้ ” Cobin และ Lindsey ปี ค.ศ. 1994 ได้ให้ความหมายไว้วา่ “สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถใน การทางานของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบอย่างน้อย 11 ด้าน และองค์ประกอบแต่ ละด้านจะทาให้บุคคลสามารถทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนุกเพลิดเพลินในเวลาว่าง มีสุขภาพดี ไม่เป็น โรคเก่ียวกับการขาดการออกกาลังกาย (hypokinetic disease) และสามารถเผชิญ กับเหตุการณ์ฉุกเฉินได้” โดยแบง่ องค์ประกอบทีเ่ กีย่ วข้องกบั สุขภาพ และองค์ประกอบทเี่ กี่ยวข้องกบั ทกั ษะ Hayward and Vivian ปี ค.ศ. 1998 ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายไว้ว่า “ความสามารถ ในปฏบิ ตั ิงานในชีวิตประจาวนั รวมถงึ กจิ กรรมทางกายต่าง ๆ โดยปราศจากความเม่ือยล้า” American College of Sports Medicine (ACSM) ปี ค.ศ. 1999 ให้ความหมายของสมรรถภาพ ทางกายไว้ว่า “เป็นความสามารถในการประกอบกิจกรรมประจาวันโดยไม่รู้สึกเหนื่อยจนเกินไป บุคคลท่ีมี สมรรถภาพทางกาย จะมีพลังงานไม่เพียงแต่การประกอบกิจกรรมประจาวันเท่านั้น แต่ยังสามารถร่วม กิจกรรมทัง้ ทว่ี างแผนและไม่ได้วางแผนไวน้ อกบา้ นหรอื สถานท่ที างานอ่นื ๆ จากตัวอย่างของความหมายของสมรรถภาพทางกายท่ีได้มีผู้กาหนดในช่วงยุคสมัยที่ต่าง ๆ พอสรุป ความหมายของสมรรถภาพทางกายได้ว่า “สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถของร่างกายในการทางานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและมี ประสทิ ธิภาพ” โดยคุณลกั ษณะของผทู้ ่ีมีสมรรถภาพทางกายท่ดี ี จะตอ้ งมีลกั ษณะต่อไปนี้ 1. สามารถประกอบกจิ วตั รประจาวันโดยปราศจากความเหนือ่ ยลา้ เกินควร 2. ลดปัจจยั เสี่ยงเก่ยี วกบั ปัญหาสขุ ภาพอันเน่อื งจากการขาดออกกาลังกาย 3. มีสขุ ภาพทีส่ มบรู ณ์แขง็ แรงข้ันพ้ืนฐานทีเ่ พยี งพอต่อการเข้ารว่ มกิจกรรมทางกายในรปู แบบตา่ ง ๆ เช่นกิจกรรมกีฬา การออกกาลังกาย กจิ กรรมนันทนาการเป็นต้น อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรบั นักกฬี า 9 ประเภทของสมรรถภาพทางกาย ในปัจจุบัน ได้มีนักวิชาการท้ังในและต่างประเทศ ได้แบ่งประเภทของสมรรถภาพทางกาย ไว้หลาย ลักษณะ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ว่าจะนาไปใช้ประโยชน์ในลักษณะใด หรือขึ้นอยู่กับว่าผู้ท่ีให้ความหมายของ สมรรถภาพทางกายนั้น อยู่ในแวดวงสาขาใด เชน่ วงการแพทย์ วงการวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ หรือ วงการผู้ฝกึ สอนกฬี า เปน็ ต้นโดยในเอกสารการสอนเล่มนี้ จะขอแสดงการแบง่ ประเภทของสมรรถภาพทางกาย ในบางลักษณะท่เี กยี่ วขอ้ งกบั รายวิชาน้ีเท่านั้น ซึ่งการแบ่งประเภทของการทดสอบจะแบ่งตามลักษณะต่อไปน้ี ประกอบด้วย การแบ่งสมรรถภาพทางกายตามเปูาหมายหรือวัตถุประสงค์การแบ่งสมรรถภาพทางกายตาม สรรี วิทยาการทางานของร่างกาย และการแบ่งสมรรถภาพทางกายตามความสามารถกลไกของการเคลือ่ นไหว o การแบง่ ประเภทของสมรรถภาพทางกายตามเปา้ หมายหรือวตั ถุประสงค์ โดยทั่วไป สมรรถภาพทางกาย สามารถแบง่ ออกได้ได้เปน็ 2 ประเภท ตามเปูาหมายหรือวัตถุประสงค์ คือ สมรรถภาพทางกายที่เก่ียวข้องกับสุขภาพ (health-related physical fitness) และสมรรถภาพทางกาย ที่เก่ียวข้องกับทักษะ (skill-related physical fitness) โดยในแต่ละประเภทของสมรรถภาพภาพทางกาย ประกอบด้วยองคป์ ระกอบสมรรถภาพทางกายด้านตา่ ง ๆ ดงั ตอ่ ไปนี้ 1. สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวขอ้ งกบั สุขภาพ เป็นสมรรถภาพทางกายท่ีเกี่ยวข้องกับการเพ่ิมความสามารถประสิทธิภาพในการทางานของร่างกาย ซ่ึงที่มีส่วนสนับสนุนช่วยในการลดปัจจัยเส่ียงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรค ความดนั เลือดสูง โรคปวดหลงั ตลอดจนปญั หาต่าง ๆ ท่ีเกิดจากการขาดการออกกาลังกาย สมรรถภาพทางกาย ที่เก่ียวข้องกับสุขภาพประกอบด้วย 1.1 ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ (cardiorespiratory endurance) หมายถึง ความสามารถในการทางานของระบบระบบไหลเวียนเลือดซึ่งได้แก่หัวใจและหลอดเลือด และระบบ หายใจในการขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเน้ือที่ออกแรง ทาให้ร่างกายสามารถท่ีจะทางานปฏิบัติกิจกรรม ต่าง ๆ ไดเ้ ป็นระยะเวลายาวนานได้ 1.2 ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือ (musclestrength) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเน้ือหรือกลุ่ม กล้ามเน้อื ในออกแรงด้วยความสามารถสงู สุด 1.3 ความอดทนของกล้ามเนื้อ (muscle endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อหรือ กลุ่มกล้ามเนือ้ ในการออกแรงซา้ ๆ ได้อยา่ งตอ่ เน่ืองและเปน็ ระยะเวลานาน อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นกั กฬี า 10 1.4 ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น (flexibility) หมายถึง ความสามารถของข้อต่อต่าง ๆ ของ รา่ งกายทีเ่ คลอ่ื นไหวได้เต็มช่วงของการเคล่อื นไหว 1.5 องคป์ ระกอบของรา่ งกาย (body composition) หมายถงึ ส่วนต่าง ๆ ท่ีประกอบขึ้นเป็นน้าหนัก ตวั ของร่างกายคนเรา โดยจะแบง่ เปน็ 2 ส่วนคือ ส่วนท่ีเป็นไขมัน (fat mass) และส่วนที่ปราศจากไขมัน (fat- free mass) เช่น กระดูก กล้ามเน้ือและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกาย โดยท่ัวไปจะประมาณค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของ นา้ หนักท่เี ป็นส่วนของไขมนั ทม่ี อี ยู่ในร่างกาย 2. สมรรถภาพทางกายทเี่ ก่ียวข้องกบั ทักษะ เป็นสมรรถภาพท่ีเกี่ยวข้องกับความสามารถในการทางานของร่างกายที่ช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติ กิจกรรมและทักษะการเคล่ือนไหวต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสมรรถภาพทางกายประเภทนี้จะ ประกอบด้วยองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายท่ีเกี่ยวข้องกับสุขภาพท้ัง 5 ด้าน ได้แก่ความอดทนของระบบ ไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และ องค์ประกอบของร่างกายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ร่วมกับองค์ประกอบสมรรถภาพทางกลไก (motor fitness) ซึ่งประกอบดว้ ย 6 ดา้ น ได้แก่ 2.1 ความเร็ว (speed) หมายถงึ ความความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีก จดุ หนึง่ ตามเปูาหมายท่ีต้องการโดยใช้ระยะเวลาทนี่ ้อยท่สี ุด 2.2 พลงั ของกล้ามเนอ้ื (muscle power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการออกแรงสูงสุด โดยใช้เวลาที่สน้ั ทีส่ ุด ซ่ึงจะตอ้ งมคี วามแขง็ แรงของกลา้ มเน้ือและความเรว็ เปน็ องคป์ ระกอบหลกั 2.3 ความคล่องแคล่วว่องไว (agility) หมายถึง ความสามารถในการเปล่ียนทิศทางการเคล่ือนท่ีหรือ ตาแหนง่ ของร่างกายได้อยา่ งรวดเรว็ และสามารถควบคมุ ได้ 2.4 การทรงตัว (balance) หมายถึง ความสามารถในการควบคุมรักษาตาแหน่งและท่าทางของ ร่างกายให้อย่ใู นลกั ษณะตามท่ตี ้องการได้ ทั้งขณะอยูก่ บั ท่หี รือในขณะที่มกี ารเคล่ือนที่ 2.5 เวลาปฏิกิริยา (reaction time) หมายถึง ระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่ร่างกายเร่ิมมีการตอบสนอง หลงั จากทไี่ ด้รับการกระตนุ้ ซ่ึงเป็นความสามารถของระบบประสาทเมื่อรับรู้การถูกกระตุ้นแล้วสามารถส่ังการ ให้อวยั วะทท่ี าหน้าทเ่ี กีย่ วข้องกับการเคลอ่ื นไหวให้มีตอบสนองอยา่ งรวดเร็วได้ 2.6 การประสานสัมพันธ์ในการเคลอื่ นไหว (coordination) หมายถงึ ความสามารถในการเคล่ือนไหว หรือปฏบิ ตั ทิ กั ษะกลไกทส่ี ลับซับซ้อนในเวลาเดยี วกันได้อย่างราบร่ืนและแม่นยาโดยอาศัยตามือและเท้าซึ่งเป็น ความสมั พันธ์ในการทางานร่วมกันระหวา่ งระบบประสาทและระบบกลา้ มเน้ือ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นกั กฬี า 11 การแบ่งสมรรถภาพทางกายออกเป็น 2 ประเภทตามรูปแบบข้างต้น เป็นท่ียอมรับและนิยมใช้กัน ท่วั ไปในปัจจุบนั เนอ่ื งจากสามารถนามาใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยสมรรถภาพทางกายท่ีเกี่ยวข้องกับสุขภาพ จะมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะเป็นสมรรถภาพทางกายที่สาคัญและจาเป็นสาหรับบุคคลทั่วไป ส่วน สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับทักษะจะมีท้ังหมด 11 องค์ประกอบ ซึ่งจะเป็นสมรรถภาพทางกายท่ีสาคัญ และจาเปน็ สาหรับนกั กฬี าในทุกชนดิ กฬี า รวมถึงในบางสาขาอาชีพ เช่น ตารวจ ทหาร พนักงานดับเพลิง และ หน่วยก้ภู ยั เป็นต้น (Corbin et.al, 2006) o การแบ่งประเภทของสมรรถภาพทางกายตามสรีรวิทยาการทางานของร่างกาย การแบ่งสมรรถภาพทางกายในลักษณะนี้ จะมีการแบ่งตามองค์ประกอบสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับการ ทางานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะสรีรวิทยาการทางานของ ร่างกาย คือ สมรรถภาพของระบบการใช้พลังงาน (energy fitness) และสมรรถภาพของระบบประสาทและ กล้ามเน้ือ (neuromuscular fitness) ซ่ึงสมรรถภาพทางกายแต่ละประเภท ประกอบด้วยองค์ประกอบ สมรรถภาพทางกายดา้ นต่าง ๆ ดังต่อไปน้ี (Martens, 2004) 1. สมรรถภาพของระบบการใชพ้ ลงั งาน เปน็ สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกบั ประสทิ ธภิ าพการใชพ้ ลังงานในขณะเคลื่อนไหว ปฏิบัติกิจกรรม ตา่ ง ๆ ทเี่ ก่ียวข้องกับการออกกาลงั กายและเล่นกีฬา โดยประกอบดว้ ย 1.1 สมรรถภาพด้านแอโรบิค (aerobic fitness) หมายถึง ความสามารถในการทางานของระบบ หัวใจ ระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ในการนาออกซิเจนไปให้กล้ามเน้ือ เพื่อใช้ผลิตเป็นพลังงานใน การเคลื่อนไหวร่างกาย ซ่ึงเป็นสมรรถภาพที่สาคัญสาหรับกีฬาหรือการออกกาลังกายท่ีมีการเคล่ือนไหว ตอ่ เนอ่ื งทีใ่ ชร้ ะยะเวลานาน โดยใชร้ ะบบพลังงานแบบแอโรบิค (aerobic energy system) เป็นระบบพลังงาน หลัก เช่น การวิ่งระยะไกล การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค ไตรกีฬา หรือกีฬาในประเภททีม เช่น ฟุตบอล เทนนิส ทีต่ อ้ งใชร้ ะยะเวลาการแขง่ ขันทย่ี าวนาน เป็นต้น 1.2 สมรรถภาพด้านแอนแอโรบิค (anaerobic fitness) หมายถึง ความสามารถในการทางานของ กล้ามเนื้อในการออกแรงโดยใช้พลังงานที่สะสมอยใู่ นกลา้ มเน้อื โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน มาใช้ผลิตเป็นพลังงาน ในการเคลอื่ นไหวร่างกาย เป็นสมรรถภาพท่ีสาคัญสาหรับกิจกรรมกีฬาที่ต้องออกแรงด้วยความสามารถสูงสุด ในระดับความหนักท่ีสูง โดยใช้ระยะเวลาสั้น ๆ โดยใช้ระบบพลังงานแบบแอนแอโรบิค (anaerobic energy system) เป็นระบบพลงั งานหลกั เชน่ การวิ่งและการวา่ ยน้าในระยะส้ัน เป็นต้น 2. สมรรถภาพของระบบประสาทกล้ามเนอ้ื เปน็ สมรรถภาพทางกายท่ีเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทางานของระบบกล้ามเน้ือในการเคลื่อนไหว โดยมีองคป์ ระกอบของสมรรถภาพทางกายดังนี้ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรบั นกั กฬี า 12 2.1 ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength endurance) หมายถึง ความสามารถในการหดตัวของ กลา้ มเนอ้ื เพอ่ื ตา้ นแรงทจ่ี ะมากระทา เช่น การแข่งขนั ยกนา้ หนกั 2.2 ความอดทนของกล้ามเน้ือ (muscle endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อในการ รกั ษาระดบั การออกแรงอยา่ งต่อเนื่องและยาวนาน เช่น การแข่งขนั พายเรือ และการปนื หน้าผา เป็นตน้ 2.3 พลังของกล้ามเน้ือ (muscle power) หมายถึง ความสามารถในการทางานอย่างทันทีทันใดของ กล้ามเน้อื ดว้ ยความพยายามสงู สุด เช่น การยกนา้ หนัก การขวา้ งจกั ร และการกระโดดรูปแบบตา่ งๆ 2.4 ความเร็ว (speed) หมายถึงความสามารถของกล้ามเน้ือในการทางานบางส่วนหรือทั้งหมดของ รา่ งกายในการเคลื่อนทไ่ี ปส่เู ปูาหมายโดยใชเ้ วลาน้อยทีส่ ดุ เช่น การว่งิ ดว้ ยความเร็วระยะส้ัน ๆ ในกีฬาฟุตบอล และบาสเกตบอลเป็นตน้ 2.5 ความอ่อนตัว (flexibility) หมายถึง ความสามารถในการยืดเหยียดของกล้ามเน้ือ เอ็น และข้อต่อ ต่างๆ โดยได้ช่วงของมุมการเคลื่อนไหวท่ีมากกว่าปกติ เช่น การเคล่ือนไหวในกีฬายิมนาสติกส์ และบัลเลย์ ที่ นักกฬี าจะตอ้ งมีการเหยยี ดหรอื ยืดสว่ นตา่ ง ๆ เพื่อเคล่ือนไหวในมุมที่มากกวา่ ปกติ o การแบ่งประเภทของสมรรถภาพทางกายตามความสามารถทางกลไกการเคลือ่ นไหว สมรรถภาพทางกายตามความสามารถทางกลไกการเคล่ือนไหว (biomotor abilities) สามารถแบ่ง องค์ประกอบสมรรถภาพทางกายท่ีเก่ียวข้องกับความสามารถของนักกีฬาในการปฏิบัติกิจกรรมในทักษะหรือ การเคลือ่ นไหวในกีฬาชนิดต่าง ๆ ซง่ึ จะใช้พน้ื ฐานองคป์ ระกอบสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ ท่ีสาคัญ 5 ด้าน ดงั นี้ คือ ความแขง็ แรง ความเรว็ ความอดทน ความออ่ นตัว และการประสานสัมพนั ธใ์ นการเคลื่อนไหว ภาพที่ 2 ความสามารถทางกลไกการเคลอื่ นไหว (biomotor abilities) ของนักกฬี า ที่มา: Bompa (1999) อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรบั นักกฬี า 13 จากภาพที่ 1 แสดงความสามารถทางกลไกการเคล่ือนไหวซึ่งเป็นพ้ืนฐานสมรรถภาพทางกายของ นกั กีฬา โดยจะเห็นไดว้ ่า องคป์ ระกอบสมรรถภาพทางกายท้ัง 5 ด้านจะมคี วามเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกัน และ เป็นสมรรถภาพทางกายท่ีจะช่วยสนับสนุนให้นักกีฬาสามารถปฏิบัติทักษะกีฬาและทักษะการเคลื่อนไหว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของสมรรถภาพทางกายที่แบ่งตามความสามารถทางกลไกการเคล่ือนไหว มรี ายละเอยี ดดงั น้ี 1. ความแขง็ แรง เป็นความสามารถกล้ามเนื้อที่หดตัวกระทาต่อแรงต้านด้วยแรงสูงสุด เช่น การยกน้าหนัก การผลัก การดัน เป็นต้นโดยทว่ั ไปความแขง็ แรงสามารถจาแนกออกได้เปน็ 3 ประเภท คือ 1.1 ความแข็งแรงสูงสุด (maximum strength) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อในการหดตัวแต่ละ คร้งั โดยได้แรงมากท่ีสุด ความแข็งแรงสูงสุดมีความสาคัญสาหรับกีฬาประเภทท่ีต้องการใช้กาลังและความเร็ว ในการเคล่ือนไหว หรือการแข่งขันกีฬาประเภทที่ต้องการเอาชนะแรงต้านทานมาก ๆ เช่น การแข่งขันยก นา้ หนกั มวยปล้า และยโู ด เปน็ ตน้ 1.2 ความแข็งแรงแบบยืดหยุ่น (elastic strength) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อท่ีออกแรง เคล่ือนไหวกระทากับแรงต้านได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้แรงมากท่ีสุดในช่วงระยะเวลาท่ีจากัดหรือในช่วง ระยะเวลาสัน้ ๆ ตวั อย่างกิจกรรมการเคลอื่ นไหวทต่ี อ้ งใช้ความแข็งแรงแบบยืดหยุ่น เช่น การกระโดดขึ้นโหม่ง ในกฬี าฟุตบอล การกระโดดขน้ึ ตบหรอื สกดั กนั้ ในกีฬาวอลเลยบ์ อล เปน็ ตน้ 1.3 ความแข็งแรงแบบอดทน (strength endurance) คือ ความสามารถของกล้ามเน้ือในการออก แรงเพื่อการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เป็นคุณสมบัติของกล้ามเน้ือที่รวมไว้ซึ่งความแข็งแรงและระยะเวลาใน การปฏิบตั กิ ิจกรรมการเคล่ือนไหวไดย้ าวนาน ตัวอยา่ ง เช่น กีฬาประเภทบุคคลที่จะต้องปฏิบัติซ้าในทักษะเดิม เปน็ ชว่ ง ๆ จนกระท่งั ส้นิ สดุ การแข่งขัน เช่น การแขง่ ขันวง่ิ ระยะ 200 เมตร 400 เมตร ว่ายน้า 100 เมตร และ พายเรอื กรรเชียง 500 เมตร เปน็ ตน้ 2. ความอดทน หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเน่ืองยาวนาน นักกีฬาท่ีมี ความอดทนจะสามารถปฏิบัติทักษะการเคล่ือนไหวได้อย่างต่อเน่ืองในสภาวะท่ีมีอาการเม่ือยล้าเกิดข้ึน สมรรถภาพดา้ นความอดทน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคอื 2.1 ความอดทนแบบแอโรบิค (aerobic endurance) หมายถึง ความสามารถในการทางานของ กล้ามเนื้อที่ใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน เพ่ือให้กล้ามเนื้อใช้ในการเคลื่อนไหว โดยมีระบบหายใจและ ระบบไหลเวียนเลือดทาหน้าท่ีนาขนส่งไปให้กล้ามเนื้อ กีฬาประเภทที่ใช้ระยะเวลาในการแข่งขันต่อเน่ือง ยาวนาน มคี วามจาเป็นตอ้ งมีสมรรถภาพดา้ นน้มี าก อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรบั นักกฬี า 14 2.2 ความอดทนแบบแอนแอโรบิค (anaerobic endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเน้ือ ในการออกแรงอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน โดยใช้พลังงานที่ถูกเก็บสะสมไว้ในกล้ามเน้ือโดยไม่มีการใช้ ออกซิเจนในการสันดาปพลังงาน ความอดทนแบบไม่ใช้ออกซิเจนเป็นสมรรถภาพที่จะช่วยให้นักกีฬาสามารถ ออกแรงกระทาซา้ ได้อย่างต่อเนื่อง หรือออกแรงกระทาซ้าได้บ่อยคร้ังข้นึ ในสภาวะทีม่ ีการเมื่อยลา้ เพิ่มขึ้น 3. ความเร็ว หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนท่ีจากท่ีหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอย่างรวดเร็ว โดย สามารถจาแนกออกได้ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ 3.1 กาลงั ความเร็ว (power speed) เป็นความสามารถในการออกแรงด้วยความเร็วระดับสูง มีความ จาเป็นสาหรับกีฬาประเภทที่มีการเปล่ียนจังหวะหรือทิศทางการเคลื่อนที่บ่อยๆ เช่น กีฬาทีมประเภทต่าง ๆ ฟุตบอล วอลเลย์บอล และบาสเกตบอล เปน็ ตน้ 3.2 ความเร็วสงู สุด (maximum speed) จาเป็นสาหรับกีฬาประเภทท่ีมีการเคลื่อนไหวหรือเคล่ือนท่ี อย่างต่อเน่ือง ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 10 วินาที เช่น การว่ิงด้วยความเร็วสูงสุดระยะสั้น ๆ ในกีฬา ประเภททมี การวงิ่ 100 และการวา่ ยน้า 50 เมตร เป็นต้น 3.3 ความเร็วอดทน (speed endurance) เป็นความเร็วท่ี จาเป็นสาหรับนักกีฬาประเภทท่ีมีการ เคลอ่ื นไหวรวดเร็ว และปฏบิ ตั ิซ้าตอ่ เนื่องหรอื ปฏบิ ตั ซิ ้าเป็นช่วงๆ อย่างไรก็ดี สมรรถภาพด้านความเร็ว ยังหมายถึงความเร็วในการรับรู้และตอบสนองของระบบ ประสาท ซง่ึ แบง่ ออกได้เป็น 3 ข้ันตอน คือเวลาปฏิกิริยา (reaction time) เวลาการเคล่ือนไหว (movement time) และเวลาตอบสนอง (response time) 4. ความอ่อนตวั เป็นความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อต่อการยืดหยุ่นของกล้ามเน้ือและเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อ ต่อนั้นๆโดยความความอ่อนตัวจะเป็นตัวกาหนดช่วงการเคลื่อนไหว (range of motion) ซึ่งจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของกล้ามเน้ือเอ็นกล้ามเนื้อและพังผืดรอบข้อต่อนักกีฬาท่ีมีความอ่อนตัวดีจะส่งเสริม การเคล่ือนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพและท่ีสาคัญช่วยปูองกันและลดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดย ธรรมชาติ มุมการเคล่ือนไหวของข้อต่อแต่ละส่วนของร่างกาย จะขึ้นอยู่เอ็น พังผืด เนื้อเย่ือเกี่ยวพัน และ กล้ามเน้ือที่มายึดเกาะอยู่โดยรอบข้อต่อนั้น อาการบาดเจ็บที่ข้อต่ออาจเกิดขึ้นได้ เม่ืออวัยวะหรือกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนงึ่ ท่ีเก่ยี วขอ้ งกับขอ้ ตอ่ ส่วนนั้นถูกใช้เคลื่อนไหวเกนิ ขอบเขต อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกฬี า 15 5. การประสานสมั พันธ์ในการเคลอ่ื นไหว หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติการเคล่ือนไหวท่ีมีสลับซับซ้อน โดยการใช้ร่างกายหลายส่วนมา ประกอบกัน เพื่อให้ปฏิบัติทักษะการเคล่ือนไหวตามต้องการ ด้วยจังหวะการเคล่ือนไหวในแต่ละข้ันตอนและ แต่ละส่วนของร่างกายอย่างสัมพันธ์กัน โดยองค์ประกอบสาคัญของการประสานสัมพันธ์ในการเคล่ือนไหว ไดแ้ ก่ จังหวะ (rhythm) และความแมน่ ยา (accuracy) ความสามารถทางกลไกและการเคล่ือนไหวของร่างกายมีความเก่ียวข้องและสัมพันธ์กับองค์ประกอบ สมรรถภาพทางดา้ นอืน่ ๆ อีกหลายดา้ น ดงั แสดงได้ดงั ภาพตอ่ ไปน้ี ภาพท่ี 3 ความสัมพนั ธแ์ ละการเชอ่ื มโยงระหว่างความสามารถทางกลไกการเคล่ือนไหว (biomotor abilities) กบั สมรรถภาพทางกายดา้ นอื่น ๆ ทม่ี า: Bompa (1999) สรุป สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถของร่างกายในการทางานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพโดยสามารถแบ่งประเภทของสมรรถภาพทางกายได้หลายลักษณะ ซึ่งการทราบและเข้าใจใน ความหมายของสมรรถภาพทางกายและองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายในด้านต่างๆ จะทาให้การวิเคราะห์ เลือกทดสอบสมรรถภาพทางกายมาใช้มีความถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักท่ีสาคัญ ข้อหนึ่งท่ีผู้เรียนจะต้องสามารถวิเคราะห์และเลือกแบบทดสอบสมรร ถภาพทางกายให้ถูกต้องและเหมาะสม สอดคลอ้ งกบั องคป์ ระกอบสมรรถภาพทางกายของแต่ละชนิดกีฬาได้ อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนกั กฬี า 16 ศัพท์ทเี่ กย่ี วข้องกบั การทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย สมรรถภาพทางกาย (physical fitness) หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการทางานต่าง ๆ ได้ อยา่ งเหมาะสมและมปี ระสทิ ธิภาพ สมรรถนะทางการกีฬา (sports performance) หมายถึง ความสามารถในการใช้องค์ประกอบของ สมรรถภาพทางกายดา้ นต่าง ๆ รวมถงึ ทักษะทางกฬี าไดอ้ ย่างมีประสทิ ธิภาพ การทดสอบ (test) หมายถึง แบบหรอื เครอื่ งมือสาหรับวัดความสามารถของบุคคลท่ีแสดงออกมาเช่น แบบทดสอบความแข็งแรงกล้ามเน้ือต้นขา แบบทดสอบความเร็ว และแบบทดสอบความออ่ นตัว เปน็ ตน้ การวัดผล (measurement) หมายถึง การเปรียบเทียบส่ิงที่ต้องการทราบกับเครื่องมือมาตรฐานเพ่ือ ตอ้ งการทราบขนาดและปริมาณซึ่งทราบผลได้ทันทีเช่น นักกีฬาทดสอบทดสอบความอ่อนตัวในท่านั่งงอตัวได้ 18 เซนตเิ มตร เป็นตน้ การประเมินผล (evaluation) หมายถึง การนาข้อมูลท่ีได้จากการวัดผลมาพิจารณาเพื่อประเมินค่า หรือตีราคาตัวอย่างเช่น นักกีฬาทดสอบความอ่อนตัวได้ 21 เซนติเมตร เม่ือนามาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ มาตรฐาน พบว่านกั กีฬามีความออ่ นตัวอยูใ่ นระดับดีมาก เปน็ ต้น การประเมินแบบอิงกลุ่ม (norm-reference evaluation) หมายถึง การเปรียบเทียบคะแนนหรือผล การทดสอบจากแบบทดสอบของบุคคลใดบุคคลหน่ึงกับบุคคลอ่ืน ๆ ท่ีได้ทาแบบทดสอบเดียวกัน น่ันคือเป็น การใช้เพื่อจาแนกหรือจัดลาดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบน้ี เป็นการเปรียบเทียบคะแนนท่ีได้กับคะแนน ของคนอนื่ ๆ เพื่อใช้จัดลาดับหรอื เปรียบเทยี บระหว่างบุคคลหรอื กลุ่ม การประเมินแบบอิงเกณฑ์ (criterion-reference evaluation) หมายถึง การเปรียบเทียบคะแนน หรือผลการทดสอบจากแบบทดสอบของบุคคลใดบุคคลหน่ึงกับเกณฑ์มาตรฐานหรือจุดมุ่งหมายท่ีได้กาหนดไว้ เชน่ การนาผลการทดสอบเทยี บกับเกณฑม์ าตรฐานของระดบั ชาติ หรอื การประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพ ทางกายในช่วงฝึกซ้อมว่านักกีฬามีระดับสมรรถภาพทางกายเพิ่มข้ึนจากโปรแกรมการฝึกท่ีผู้ฝึกสอนนามาใช้ หรอื ไม่ การประเมนิ ลักษณะนี้ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบที่ได้กับเกณฑ์มาตรฐานท่ีได้กาหนด ไว้ หรือใชส้ าหรบั การประเมินความก้าวหน้าหรือประสิทธิภาพของโปรแกรมการฝึกซ้อม เป็นต้น โดยคะแนน จะถูกนาเสนอในรปู ของผา่ นหรอื ไม่ผ่านตามเกณฑท์ กี่ าหนดไว้ เกณฑม์ าตรฐาน (standard norm) หมายถึง มาตรฐานที่กาหนดไว้ในเร่ืองใดเรื่องหนึ่งของประชากร กลุ่มใดกลุม่ หนึง่ ซง่ึ จะใช้ผลที่ได้จากการทดสอบไปเปรียบเทียบกบั ประชากรในลกั ษณะเดยี วกันได้ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนกั กฬี า 17 ขอบข่ายของการทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรบั นกั กีฬา การทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรับนักกฬี านน้ั จะมีขั้นตอนและรายละเอียดที่มีความสลับซับซ้อน พอสมควร ทงั้ น้ีเนือ่ งจากกฬี าแต่ละชนดิ มีความต้องการทางสรีรวิทยา รูปแบบกิจกรรมการเคลื่อนไหว รวมถึง องค์ประกอบสมรรถภาพทางกายท่ีใช้แตกต่างกันดังนั้นการทดสอบสมรรถภาพทางกายในองค์ประกอบด้าน ต่าง ๆ จึงควรมีความเฉพาะเจาะจงและครอบคลุมกับชนิดกีฬาที่จะทาการทดสอบให้มากท่ีสุดซึ่งการแบ่ง ขอบข่ายของการทดสอบสมรรถภาพทางกายท่ีชัดเจนจะช่วยทาให้ผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถพิจารณาเลือก องค์ประกอบที่จะต้องทาการทดสอบได้ง่ายและชัดเจนมากข้ึนโดยท่ัวไปการแบ่งขอบข่ายของการทดสอบ สมรรถภาพทางกายสาหรับนักกีฬาแบ่งได้หลายรูปแบบ ในเอกสารประกอบการสอนเล่มน้ี จะแบ่งตาม สรีรวิทยาของการทางานของระบบร่างกายท่ีเก่ียวข้องกับกิจกรรมการเคล่ือนไหวทางการกีฬา โดยมีขอบข่าย การทดสอบดังน้ี (Martens, 2004; Hoffman, 2002 และ Australian Institute of Sports, 2013) 1. การทดสอบสัดส่วนและองค์ประกอบของร่างกาย เป็นทดสอบเพื่อศึกษาโครงสร้างของร่างกาย ขนาดเสน้ รอบวงบริเวณต่าง ๆ รวมไปถึงเปอร์เซ็นตไ์ ขมันในร่างกายและขนาดของมวลกล้ามเน้ือ เปน็ ต้น 2. การทดสอบสมรรถภาพดา้ นแอโรบิค เป็นการทดสอบเพื่อศึกษาความสามารถในการใช้พลังงานใน ระบบแอโรบิค โดยเป็นระบบท่ีร่างกายต้องใช้ออกซิเจนในการสังเคราะห์พลังงานสาหรับการเคลื่อนไหวซ่ึง เก่ียวข้องความสามารถของระบบหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด และระบบหายใจในการขนส่งออกซิเจนไปให้ กล้ามเน้ือทางาน โดยดัชนีทน่ี ิยมใชใ้ นการทดสอบและประเมินสมรรถภาพด้านนี้ ได้แก่ อัตราการใช้ออกซิเจน สูงสุด (maximal oxygen consumption: 2max) แอนแอโรบิคเทรสโฮล (anaerobic threshold) และ ประสิทธิภาพของการเคลอ่ื นไหว (running economic) 3. การทดสอบสมรรถภาพด้านแอนแอโรบิค เป็นการทดสอบความสามารถในการใช้พลังงานในระบบ แอนแอโรบคิ โดยเป็นระบบท่ีรา่ งกายจะใชพ้ ลังงานท่สี ะสมอยู่แลว้ ในกลา้ มเนือ้ มาใช้สาหรับการเคล่ือนไหว โดย ไม่ต้องใช้ออกซิเจนมาสังเคราะห์พลงั งานโดยสมรรถภาพด้านแอโรบิคจะสามารถทดสอบหรือวัดมาเป็นค่าพลัง สูงสุดของการใช้พลังงานระบบแอนแอโรบิค (anaerobic power) และค่าความสามารถในการทางานระบบ แอนแอโรบคิ (anaerobic capacity) รวมถงึ คา่ ดชั นีความล้า (fatigue index) 4. การทดสอบสมรรถภาพของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นการทดสอบสมรรถภาพทางกายท่ี เกี่ยวข้องกับการทางานของระบบประสาทและระบบกล้ามเน้ือ ซึ่งได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความ อดทนของกลา้ มเนอื้ พลังกลา้ มเนอ้ื ความเรว็ ความคล่องแคลว่ ว่องไว และการทรงตวั อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนกั กฬี า 18 ความสาคญั และประโยชนของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การทดสอบสมรรถภาพทางกาย (physical fitness test) มีจุดมุ่งหมายหลักท่ีสาคัญเพื่อทราบถึง ระดับสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาหรือผู้เข้ารับการทดสอบว่ามีสมรรถภาพอยู่ในระดับใด ซึ่งแบบของการ ทดสอบสมรรถภาพทางกายมอี ยู่หลายรปู แบบ แตล่ ะรปู แบบแบบจะมีเกณฑ์ปกตหิ รอื เกณฑ์มาตรฐาน(norms) ที่สามารถนาไปเปรียบเทียบระดับสมรรถภาพทางกายท่ีได โดยผลจากการทดสอบจะสามารถนาไปประเมิน สถานภาพทางกายและความก้าวหน้าของโปรแกรมการฝึกซ้อมได้ โดยประโยชน์และความสาคัญของการ ทดสอบสมรรถภาพทางกายมีดังตอ่ ไปน้ี (Tossavainnen, 2003) o สาหรบั นักกีฬา 1. ทาให้ทราบจุดแข็งและจดุ ออ่ นของสมรรถภาพทางกายในแต่ละด้าน ว่านักกีฬามีระดับสมรรถภาพ ทางกายอยู่ในระดับใด ผู้ฝึกสอนสามารถที่จะออกแบบโปรแกรมและจัดรูปแบบการฝึกซ้อมให้สอดคล้องและ เหมาะสมกบั ระดับสมรรถภาพทางกายของนกั กีฬาแต่ละคนได้ 2. ผลของการทดสอบสมรรถภาพทางกายสามารถเป็นข้อมูลย้อนกลับให้ผู้ฝึกสอน ใช้ประเมินระดับ สมรรถภาพทางกายและความก้าวหน้าของโปรแกรมการฝึกซ้อมท่ีจะได้จัดให้นักกีฬาโดยสามารถนาผลการ ทดสอบมาเปรียบเทยี บเปน็ ระยะ ๆ ในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อดพู ฒั นาการและความกา้ วหนา้ ของนักกีฬา 3. เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ หรือการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดข้ึนกับนักกีฬาได้โดยการทดสอบ สมรรถภาพทางกายจะเป็นตัวแปรหน่ึงที่สามารถนามาใช้บ่งชี้ถึงภาวะการฝึกซ้อมที่หนักเกินไปของนักกีฬาได้ ซ่งึ ภาวะดังกล่าว จะทาให้นักกีฬามีโอกาสเสี่ยงอย่างยิ่งท่ีจะทาให้นักกีฬาได้รับการบาดเจ็บและจะทาให้ระดับ สมรรถภาพทางกายลดลงได้ 4. ทาให้นักกีฬามคี วามรู้ ความเขา้ ใจเกยี่ วกับการทดสอบประสทิ ธิภาพทางทางานของร่างกาย รวมถึง กระบวนการการตอบสนองและปรับตัวทางสรีรวทิ ยาของระบบตา่ งๆ จากการฝกึ ซ้อมและแข่งขนั กีฬาได้ 5. เป็นแรงจูงใจในการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบหรือนักกีฬามีความสนใจในการฝึกซ้อมและ พฒั นาความสามารถของรา่ งกายให้มศี กั ยภาพเพ่ิมมากขนึ้ o สาหรับผู้ฝึกสอนและทมี 1. เพื่อใช้ในกระบวนการคัดเลือกตัวนักกีฬา ซึ่งข้อมูลของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายทาให้ผู้ ฝึกสอนสามารถนามาพจิ ารณาเลอื กนกั กีฬาที่มีระดับสมรรถภาพทางกายที่ดีเข้ารว่ มกบั ทมี ได้ อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนักกฬี า 19 2. เป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้ฝึกสอนสามารถออกแบบโปรแกรมการฝึกให้สอดคล้องกับจุดแข็งและ จุดอ่อนของสมรรถภาพทางกายในแต่ละด้านของนักกีฬาเป็นเฉพาะรายบุคคลได้ อันจะทาให้การฝึกซ้อมมี ความถกู ต้องและประสทิ ธภิ าพมากข้ึน 3. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่ได้ ผู้ฝึกสอนสามารถที่จะเก็บบันทึกเป็นข้อมูลสถิติของทีมใน แตล่ ะปีหรอื แตล่ ะฤดูกาลได้ ทาให้เห็นถึงพัฒนาการของนักกีฬาแต่ละคน รวมท้ังสามารถนาผลท่ีได้มาจัดและ ออกแบบโปรแกรมการฝกึ ซอ้ มให้มีความเหมาะสมได้ 4. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายจะช่วยควบคมุ ระดับความหนักและปริมาณการฝึกซ้อมให้อยู่ใน ระดับทเี่ หมาะสมไมห่ นกั และมาเบาเกนิ ไปได้ 5. แบบทดสอบท่ีมีมาตรฐานสงู สามารถที่จะช่วยควบคุมคุณภาพของการฝกึ ซ้อมดา้ นสมรรถภาพทาง กายให้อยู่ในระดับทีต่ ้องการได้ 6. ช่วยให้กระบวนการฟ้ืนฟูสมรรถภาพของนักกีฬาที่ได้รับการบาดเจ็บ มีประสิทธิภาพมากข้ึน โดย บางรายการเป็นการทดสอบที่สอดคลอ้ งกบั หน้าที่การทางานของระบบการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกายทาให้ การวินิจฉัยเพ่อื ให้การรกั ษามีความถกู ต้องมากขึน้ นกั กฬี าจะสามารถหายจากการบาดเจ็บได้เร็วขึน้ 7. ช่วยให้ผู้ฝึกสอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสรีรวิทยาการทางานของร่างกาย รวมถึงผลของการ ฝกึ ซอ้ มรปู แบบตา่ งๆ ทม่ี ตี อ่ สมรรถภาพทางกายและประสิทธภิ าพการทางานของร่างกายในระบบต่างๆทาให้ผู้ ฝกึ สอนสามารถยกระดับให้มคี วามเป็นมอื อาชีพมากขึ้น การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นกระบวนการท่ีสาคัญท่ีใช้ในการวางแผนการฝึกซ้อมต่างๆ ของ นกั กีฬา โดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายมีประโยชน์และความสาคัญในหลายด้านข้ึนอยู่กับวัตถุประสงค์ว่า จะนาผลการทดสอบทไ่ี ด้ไปใชป้ ระโยชนใ์ นดา้ นใดเป็นสาคัญ การเลือกแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย การทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นกระบวนการที่สาคัญในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของ นักกีฬา ซ่ึงผลที่ได้จากการทดสอบสมรรถภาพจะเป็นข้อมูลสาคัญที่จะนาไปใช้ในการจะจัดโปรแกรมและวาง แผนการฝึกซ้อมรวมถึงใช้ประเมินความก้าวหน้าของโปรแกรมการฝึกและใช้ในการคัดเลือกตัวนักกีฬา โดย แบบทดสอบทน่ี ามาใช้ในการประเมินสมรรถภาพทางกายจะต้องเป็นแบบทดสอบที่มีความเฉพาะเจาะจงและ สอดคลอ้ งกับชนิดกีฬานั้น จะทาให้การประเมินสมรรถภาพทางกายมีความถูกต้องมากที่สุด โดยท่ัวไปหลักใน การเลือกแบบทดสอบท่ีเหมาะสมเพื่อท่ีจะนาแบบทดสอบไปใช้ทดสอบสมรรถภาพทางกายควรคานึงและ พจิ ารณาลักษณะดงั ตอ่ ไปน้ี (Hastad & Lacy,1998 และ Briggs, 2013) อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรบั นักกฬี า 20 1. มีความเที่ยงตรง (validity) หมายถึง แบบทดสอบมีความสามารถวัดในสิ่งท่ีต้องการวัดตรงตาม จุดมงุ่ หมายทต่ี ้องการจะทดสอบ 2. มีความเชอ่ื ถอื ได้ (reliability) หมายถึง แบบทดสอบมคี วามคงทแี่ น่นอนไม่ว่าจะนาแบบทดสอบไป ใชก้ คี่ รั้งกต็ าม ผลลพั ธจ์ ะไดเ้ หมอื นเดมิ เม่ือใชก้ ับกลุม่ ประชากรเดียวกันและสภาพแวดล้อมท่ีเหมือนกัน 3. มีความเป็นปรนัย (objectivity) หมายถึง แบบทดสอบมีความแน่นอนและชัดเจนในการ ดาเนนิ การทดสอบและให้คะแนน แม้จะมีผู้วดั หลายคนก็ไดผ้ ลการทดสอบหรอื คะแนนท่เี ทา่ กนั 4. มเี กณฑ์ปกติ (norms) หมายถงึ มาตรฐานที่กาหนดไว้ในเร่อื งใดเรื่องหน่ึงของประชากรกลุ่มใดกลุ่ม หน่ึง แบบทดสอบที่ดีจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถนาผลการทดสอบไปเปรียบเทียบกับประชากรใน ลักษณะเดียวกนั ได้ 5. มีความไว (sensitivity) หมายถงึ คุณสมบตั ดิ ้านความละเอยี ดและความสามารถในการตรวจสอบ หรือวดั คา่ ตวั แปรต่าง ๆ ไดอ้ ย่างรวดเรว็ 6. มีอานาจจาแนก (discriminative) หมายถึงแบบทดสอบความสามารถจาแนกระดับสมรรถภาพ ทางกายระหวา่ งผู้ทีม่ ีสมรรถภาพทางกายทีอ่ ยูร่ ะดบั ดแี ละอยู่ระดับต่าได้ 7. มีความเฉพาะเจาะจง (specificity) หมายถึงแบบทดสอบมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการ เคลอ่ื นไหวในชนดิ กฬี า 8. มีลักษณะประหยัด (economy) ลักษณะของแบบทดสอบท่ีดีต้องเป็นแบบทดสอบที่ไม่ต้องเสีย ค่าใช้จา่ ยมากในดา้ นตา่ งๆ เชน่ อปุ กรณ์ สถานท่ี เจ้าหนา้ ที่ รวมถึงงา่ ยและสะดวกในการดาเนินการทดสอบ 9. มีความน่าสนใจ (interest) เป็นแบบทดสอบท่ีดึงดูดความสนใจของผู้รับการทดสอบ ให้ผู้ทดสอบ จะใช้ความสามารถในการทาการทดสอบอย่างเต็มความสามารถ ซ่ึงทาให้ทราบผลที่แท้จริงของผู้เข้ารับการ ทดสอบได้ อย่างไรก็ดี ในการพิจารณาเลือกแบบทดสอบท่ีนามาใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายน้ันจะต้อง พิจารณาคุณลักษณะด้านความเที่ยงตรง (validity) ความเช่ือม่ัน (reliability) ความเป็นปรนัย (objectivity) จะและเกณฑ์มาตรฐาน (norms) ก่อนจะพิจารณาองค์ประกอบด้านอ่ืน ๆ (Baumgartner and Jackson. 1999) อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนกั กฬี า 21 การสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย แบบทดสอบและเกณฑม์ าตรฐานเปน็ เคร่ืองมอื สาคัญท่จี ะใชใ้ นการประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพ ทางกายได้ ในกรณีที่จาเป็นจะต้องมีการสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานขึ้นมาใหม่ อันเนื่องมาจากไม่มี แบบทดสอบท่ีเหมาะสมหรือสอดคล้องกับกลุ่มที่หรือองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายต้องการทดสอบ จะมี หลักและขั้นตอนการสรา้ งแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายและเกณฑม์ าตรฐานสมรรถภาพทางกายดงั น้ี o การสรา้ งแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในการสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ขึ้นมาใหม่ มีกระบวนการและข้ันตอนที่สาคัญ ๆ ดงั ต่อไปน้ี (Miller, 2002) 1. ตัดสินใจเลอื กองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายด้านที่สาคัญ และจาเป็นท่ีจะต้องใชใ้ นการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย 2. เลือกรายการและวิธีดาเนินการทดสอบท่ีจะนามาใช้ทดสอบในองค์ประกอบของสมรรถภาพทาง กายดา้ นนั้น 3. ทดลองใช้รายการและวธิ ดี าเนินการทดสอบกับกล่มุ ตัวอยา่ งเลก็ ๆ 4. ปรับปรุงรายการและวิธีดาเนนิ การทดสอบหลงั จากได้ทดลองในระยะหนง่ึ แลว้ 5. นาแบบทดสอบทุกรายการท่ีได้สร้างขึ้นมาและผ่านการทดลองใช้ไปหาคุณภาพของแบบทดสอบ ดา้ นความเท่ยี งตรง ความเชอื่ ถอื ได้ และความเปน็ ปรนยั ในแต่ละรายการแล้วนั้นไปใชก้ ลุ่มตัวอยา่ งกลมุ่ ใหญ่ 6. สร้างเกณฑ์มาตรฐานและปรับปรุงแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย เพื่อให้มีความเหมาะสมและ ทันสมัยต่อเหตกุ ารณ์อยู่เสมอ ดังน้ันสามารถสรุปหลักและขั้นตอนในการสร้างแบบทดสอบได้ดังนี้ คือวางแผนการสร้าง แบบทดสอบโดยกาหนดจดุ ประสงค์ของการสร้างแบบทดสอบแล้วจึงทาการเลือกทักษะที่ต้องการวัดนั้นไม่ควร ยากจนเกินไป วิธีการดาเนินการทดสอบง่าย ใช้เวลาและอุปกรณ์น้อย มีความเหมาะสมกับเพศและอายุ เม่ือ สร้างแบบทดสอบแล้วควรนาไปทดลองใช้เพ่ือหาข้อบกพร่องและนามาปรับปรุงแก้ไข จากนั้นต้องผ่านการหา คุณภาพของเครือ่ งมอื เพื่อหาคา่ ความเท่ยี งตรง ความเชือ่ ถือได้ ความเปน็ ปรนัยและสร้างเกณฑ์ปกติ อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นกั กฬี า 22 o การสรา้ งเกณฑม์ าตรฐานสมรรถภาพทางกาย เกณฑ์มาตรฐานเป็นมาตรฐานท่ีกาหนดไว้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของประชากรกลุ่มใดกลุ่มหน่ึง ซ่ึง นามาใช้ในการนาคะแนนหรอื ผลจากการทดสอบไปเปรยี บเทยี บกบั ประชากรในลักษณะเดียวกันได้ โดยมีการ แบ่งประเภท ขอบขา่ ยและลกั ษณะ รวมถงึ กระบวนการวีการสรา้ งเกณฑม์ าตรฐานมีดังนี้ ประเภทของเกณฑ์มาตรฐาน ประเภทของเกณฑ์มาตรฐานนัน้ มีหลายประเภท ซึง่ สามารถแบง่ ได้ตามลักษณะของระดับของเกณฑ์ท่ี จัดทา และการแบ่งตามลักษณะการใช้สถิติ โดยการแบ่งประเภทของเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละลักษณะมี รายละเอียดดังต่อนี้ (Baumgartner and Jackson, 1999) 1. การแบง่ ตามระดบั ของเกณฑ์ทีจ่ ัดทา 1.1 เกณฑ์มาตรฐานระดับชาติ (national Norms) เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้นามาใช้ประโยชน์ใน การเปรยี บเทยี บระดบั ภาพรวมของประเทศ โดยสามารถท่ีจะนาไปใช้ในการเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรอื่น ๆ ท่มี ลี กั ษณะและคล้ายคลึงกันในการจัดทาเกณฑ์ประเภทนี้ จะจาแนกข้อมูลออกตามระดับอายุ เพศ รวมถึง จาแนกตามองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ 1.2 เกณฑ์มาตรฐานระดับท้องถิ่น (local norms) เป็นเกณฑ์ท่ีจัดทาขึ้นในกลุ่มเฉพาะท้องถ่ิน ซ่ึง นามาใชป้ ระโยชน์ในการนาไปเปรียบเทียบกับกลุ่มระดับท้องถิ่นอ่ืน ๆ อาจจะกาหนดเป็นระดับภูมิภาค ระดับ จังหวดั ระดับอาเภอ และระดับตาบล เปน็ ต้น 1.3 เกณฑ์มาตรฐานระดับโรงเรียน (school norms) เป็นเกณฑ์มาตรฐานท่ีใช้นามาใช้ประโยชน์ ในการเปรียบเทียบระดับโรงเรียนทมี่ คี วามคลา้ ยคลึงขอกลุ่มนักเรยี น สภาพแวดล้อมของชั้นเรยี น เป็นต้น 1.4 เกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่ม (special group norms) เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่จัดทาขึ้นเฉพาะ กลุ่ม เชน่ กลุ่มของนักกีฬา หรอื กลมุ่ ผปู้ ุวยในโรคต่าง ๆ เป็นต้น 2. การแบง่ ตามสถติ ิท่ใี ช้ 2.1 เกณฑ์มาตรฐานเปอร์เซ็นต์ไทล์ (percentile norms) เกณฑ์มาตรฐานลักษณะนี้ สร้างจาก คะแนนดิบที่มาจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดี แล้วดาเนินการหาค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ซ่ึงแสดง เปน็ คะแนนการจัดอันดับสามารถเปรียบเทียบและแปลความหมายได้ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกีฬา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรบั นกั กฬี า 23 2.2 เกณฑม์ าตรฐานคะแนนที (t-score norms) เกณฑ์มาตรฐานลักษณะน้ี นิยมใช้กันมากเพราะ มีการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐานสามารถท่ีจะนามาบวกลบและหาเฉล่ียได้มีความเหมาะสมใน การแปลความหมาย 2.3 เกณฑ์มาตรฐานสเตไนน์ (stanines norms) เกณฑ์มาตรฐานลักษณะน้ี จัดเป็นคะแนน มาตรฐานชนิดหนึ่ง มีคะแนนเพียง 9 ค่า ต้ังแต่ 1-9 คะแนน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 5 คะแนนและส่วน เบย่ี งเบนมาตรฐานเท่ากับ 2 คะแนน 2.4 เกณฑ์มาตรฐานตามอายุ (age norms) แบบทดสอบมาตรฐานบางอย่างหาเกณฑ์ตามอายุ เพ่อื ดูพฒั นาการในเรอื่ งเดยี วกนั ว่าอายตุ ่างกนั จะมีพฒั นาการอย่างไร 2.5 เกณฑ์มาตรฐานระดับชั้น (grade Norms) เป็นการหาเกณฑ์มาตรฐานตามระดับชั้นว่า คะแนนเท่ากันควรอยู่ระดับชั้นไหนจึงจะเหมาะสม แบบทดสอบท่ีจะทาเกณฑ์มาตรฐานชนิดน้ีได้ก็ต้องเป็น เน้ือหาเดียวกนั ดงั น้นั การวัดท่มี เี น้ือหาแตกต่างกัน จะไมส่ ามารถใชเ้ กณฑใ์ นลักษณะน้ไี ด้ เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายนั้นสามารถแบ่งได้หลายลักษณะ ดังน้ันการเลือกใช้เกณฑ์ มาตรฐานให้มีความเหมาะสมและถูกต้องนั้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของข้อมูล วัตถุประสงค์ในการ นาไปใช้รวมถงึ กลุ่มของผู้ทเี่ ข้ารบั การทดสอบเปน็ สาคัญ ขอบขา่ ยและลกั ษณะของเกณฑม์ าตรฐาน ในการสร้างเกณฑ์มาตรฐานน้ันประชากรที่ใช้ต้องมีจานวนมาก ข้อมูลท่ีนามาสร้างเกณฑ์มาตรฐาน ต้องเปน็ ตัวแทนของประชากรจรงิ โดยการสรา้ งเกณฑ์มาตรฐานมขี อบข่ายดังนี้ (Morrowet.al, 2000) 1. ประชากรที่ใช้ในการสร้างเกณฑ์มาตรฐานจะต้องมจี านวนท่ีมากพอ 2. ประชากรหรือข้อมูลที่นามาสร้างเกณฑ์มาตรฐานต้องมีความเป็นตัวแทนท่ีดีโดยการสุ่มที่กระจาย คา่ ทไ่ี ด้ไมส่ ูงหรอื ตา่ จนเกินไป 3. เกณฑ์มาตรฐานท่ีได้ควรใช้เฉพาะกลุ่มในท้องถิ่นเท่านั้น เพราะแต่ละท้องถ่ินหรือแต่ละประเทศมี ความแตกต่างกนั 4. เกณฑ์มาตรฐานต้องมีการปรับปรุงตามช่วงเวลาท่ีผ่านไปให้มีความเป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่ เสมอ อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรบั นกั กฬี า 24 วิธีการสร้างเกณฑ์มาตรฐาน ในการสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย โดยทั่วไปนิยมใช้แบ่งระดับออกเป็นระดับ สมรรถภาพทางกายออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก ระดับดี ระดับปานกลาง ระดับต่าและระดับต่ามาก ซง่ึ การแบง่ ลักษณะเปน็ ระดบั ช้ันทงั้ ห้าระดบั มวี ธิ กี ารดังตอ่ ไปนี้ (Morrow et al,2000) 1. การสร้างเกณฑจ์ ากค่าพิสยั วธิ ีการนี้จะนาข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมมาได้ ซ่ึงได้จาแนกตามกลุ่ม ตามเพศและอายุ และสมรรถภาพ ทางกายไว้เรียบร้อยแล้ว มาหาค่าพิสัย ซ่ึงได้แก่ ผลต่างของค่าสูงสุดและค่าต่าสุด จากน้ันนาค่า พิสัยมาหา ความกว้างของคะแนนแต่ละระดับช้ันโดยการนาพิสัยไปหารด้วยจานวนช้ัน ในที่น้ีคือ 5 ช้ัน ดังนั้นทุก ๆ ชั้น จึงมคี วามกว้างของคะแนนเท่ากนั ตัวอย่างเช่น ต้องการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของการทดสอบ ลุก-นั่ง 1 นาที ของนักกีฬาฟุตบอล โรงเรียนกีฬาทั่วประเทศ ค่าสูงสุดที่นักกีฬาทดสอบได้ คือ 65 ครั้ง และค่าต่าสุด คือ 35 ครั้ง กาหนดช้ันของ เกณฑ์สมรรถภาพทางกายเป็น 5 ระดับชั้น ดงั น้ันมีวิธกี ารสรา้ งเกณฑม์ าตรฐานดงั ต่อไปน้ี 1.1) หาพิสัยเทา่ กบั 65-35 = 30 1.2) หาความกวา้ งของคะแนนแต่ละช้นั เทา่ กบั 30/5 = 6 ดังนัน้ เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายท่ีไดม้ ีดงั น้ี ระดับสมรรถภาพทางกาย จานวนคร้งั ระดับดมี าก 59-65 ระดบั ดี 53-58 47-52 ระดับปานกลาง 41-46 ระดบั ตา่ 35-40 ระดับตา่ มาก 2. สรา้ งเกณฑจ์ ากคะแนนจากค่าเฉลีย่ และสว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสรา้ งเกณฑม์ าตรฐานโดยใช้วิธกี ารนี้ จะกาหนดให้ภาพรวมของผู้ท่ีเข้ารับการทดสอบคนส่วนใหญ่ มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผู้เข้ารับการทดสอบท่ีได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยจะมี สมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดแี ละดมี าก และผู้เข้ารับการทดสอบท่ีได้คะแนนต่ากว่าค่าเฉล่ียจะอยู่ในระดับ ต่าและต่ามากโดยการกาหนดเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายจากค่าเฉล่ียและส่วนเบ่ีย งเบนมาตรฐาน กาหนดไดด้ ังน้ี อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนกั กฬี า 25 ระดบั สมรรถภาพทางกาย การกาหนดผลการทดสอบ ดีมาก มากกวา่  + 2 S.D. ดี ระหวา่ ง  + 1 S.D. ถึง  + 2 S.D. ปานกลาง  ±1 S.D. ตา่ ระหว่าง  -1 S.D. ถึง  -2 S.D. ตา่ มาก นอ้ ยกว่า  -2 S.D. ถ้าคะแนนผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ มีหน่วยเป็นเวลา ดัชนีความล้า หรือระดับ ไขมันในร่างกาย จะแปลความหมายในทางกลับกันคือ คะแนนน้อยแล้วจัดว่ามีระดับสมรรถภาพทางกายท่ีดี เกณฑท์ ี่สรา้ งจะกาหนดดังนี้ ระดับสมรรถภาพทางกาย การกาหนดผลการทดสอบ ดีมาก มากกวา่  -2 S.D. ดี ระหวา่ ง  -1 S.D. ถึง  -2 S.D. ปานกลาง  ±1 S.D. ตา่ ระหว่าง  + 1 S.D. ถงึ  + 2 S.D. ตา่ มาก นอ้ ยกวา่  + 2 S.D. 3. สรา้ งเกณฑจ์ ากคะแนนมาตรฐานแบบที (t-score) การสร้างเกณฑ์ลักษณะนี้ จะเป็นการสร้างเกณฑ์โดยการแปลงคะแนนหรือข้อมูลดิบท่ีทดสอบได้ซ่ึง เป็นข้อมูลดิบมาแปลงเป็นคะแนนมาตรฐาน ทั้งน้ีเนื่องจากคะแนนที่ได้จากการทดสอบแต่ละคร้ังจะเป็น คะแนนดิบ ท่ียังไม่มีความหมายในแง่การเปรียบเทียบ โดยเฉพาะผลคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ในหลาย ๆ องคป์ ระกอบ ถา้ นาคะแนนดิบมาเปรียบเทียบกนั แลว้ จะไมม่ ีความหมาย ตัวอย่างเช่น นาย ก ทดสอบแรงบีบมือได้ 40 กิโลกรัมทดสอบดันพ้ืนได้ 30 คร้ังถ้าต้องการ เปรียบเทียบว่าผลการทดสอบท่ีได้ท้ังสองด้าน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่นด้วยกันแล้ว การทดสอบด้านใดที่ทา คะแนนได้ดีกว่า ซ่ึงหากนาคะแนนดิบไปคิดจะไม่สามารถทาได้เพราะความยากง่ายของแต่ละสมรรถภาพทาง กายและหน่วยของการวัดแตกต่างกัน ดังนั้นในการนาคะแนนที่ได้จากผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกันให้ได้ ความหมายน้ัน ทาได้โดยการเปล่ียนคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน ทั้งน้ีเพราะคะแนนมาตรฐานจะมี ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคงที่ ซ่ึงคะแนนมาตรฐานเป็นคะแนนที่แบ่งช่วงการวัดเท่าๆกัน (interval scale) การแจกแจงของคะแนนจะมีคา่ เฉลยี่ และสว่ นเบย่ี งเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐานมีหลายชนิด ในที่น้ี จะกล่าวเฉพาะคะแนน มาตรฐานแบบซี (z-score) และ คะแนนมาตรฐานแบบที (t-score) เท่าน้ัน อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนักกฬี า 26 3.1) คะแนนมาตรฐานแบบซี (z-score) หาไดจ้ าก Z  xx คะแนนของแตล่ ะหน่วย s ค่าเฉลีย่ ของข้อมลู ท้ังหมด ส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐานของข้อมูลทั้งหมด X คอื  คือ S คือ 3.2) คะแนนมาตรฐานแบบที (t-score) จะหาได้จากการนาคะแนนมาตรฐานแบบซี (z- score) ของแตล่ ะหนว่ ยทคี่ านวณไดเ้ ปลีย่ นเป็นคะแนนมาตรฐาน T = 50 + 10(Z) 3.3) นาคะแนน ที่ได้ทงั้ หมดมาสรา้ งตารางแจกแจงความถี่ โดยแบ่งเป็น 5 อันตรภาคช้ันคือ ชว่ งชั้นคะแนนระดบั ดีมาก ระดบั ดี ระดบั ปานกลาง ระดบั ต่า และระดบั ต่ามาก ระดบั สมรรถภาพทางกาย การกาหนดผลการทดสอบ ดีมาก >T65 ดี T55 - T65 ปานกลาง T45 – T55 ตา่ T35 – T45 ตา่ มาก <T35 คะแนนมาตรฐานแบบ T เหมาะที่จะนามาใช้ในกรณีที่มีการทดสอบสมรรถภาพทางกายในหลาย ๆ องคป์ ระกอบซง่ึ มหี น่วยท่ีแตกต่างกนั ความยากงา่ ยของรายการทดสอบที่แตกต่างกัน ซึ่งหาต้องการศึกษาดูว่า มีนักกีฬาหรอื ผ้ทู ดสอบคนใดที่ผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์ท่ีกาหนดหรือไม่ สามารถใช้คะแนนมาตรฐานแบบ ทีหาคาตอบได้ เชน่ ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จานวน 3 คน ปรากฏผลดงั ตอ่ ไปนี้ ลาดบั ท่ี รายชือ่ คะแนนสมรรถภาพทางกาย 1. นายสาโรจน์ มิ่งขวญั 65 2. นายไพทรู ย์ เจรญิ ศรี 60 3. นายวิรัช ไชยชาญ 55 ซ่ึงคณะกรรมการควบคุมการประเมินผลการทดสอบได้กาหนดเกณฑ์การผ่านการทดสอบ จะต้องได้ คะแนนมาตรฐานแบบทีเท่ากับ 70 โดยคะแนนการทดสอบของนักกีฬาท้ังหมด 100 คน มีค่าเฉล่ียเท่ากับ 50 อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรบั นกั กฬี า 27 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5 คะแนนดังนั้นจะสามารถตรวจสอบว่านักกีฬาทั้งสามคนน้ี จะผ่าน เกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพทางกายท่ีกาหนดไว้หรือไม่ จากวธิ กี ารต่อไปนี้ จากสตู รกาหนดให้ Z  x  x และ T = 50 + 10(Z) s ลาดบั ที่ รายช่อื คะแนน Z-score T-score ผลการสอบ 65 3 80 สอบผ่าน 1. นายสาโรจนม์ ่งิ ขวัญ 60 2 70 ไม่ผ่าน 55 1 60 ไม่ผ่าน 2. นายไพทรู ย์ เจริญศรี 3. นายวิรัช ไชยชาญ สรุป มีนายสาโรจนม์ ิ่งขวญั คนเดยี วที่ทดสอบผา่ นตามเกณฑ์ท่ีกาหนด ส่วนนายไพทรู ย์ เจริญศรีและ นายวริ ชั ไชยชาญทดสอบไม่ผา่ น 4. การสร้างเกณฑ์จากเปอรเซ็นไทล์ (percentile) เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นการวัดตาแหน่งของข้อมูลโดยการแปลงข้อมูลแต่ละชุดให้อยู่ในลักษณะ เดียวกัน โดยแบ่งชุดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ออกเป็น 100 ส่วน เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบข้อมูล ระหว่างขอ้ มลู คนละชดุ กนั ตัวอย่างเกณฑม์ าตรฐานสมรรถภาพทางกายโดยใช้เปอร์เซ็นตไ์ ทล์ ซึ่งเป็นเกณฑม์ าตรฐานการทดสอบ ยืนกระโดดไกลของนกั กีฬาจาแนกตามเพศ % ลาดับ การทดสอบยืนกระโดดไกล (เมตร) 90 นักกีฬาชาย นักกฬี าหญิง 80 70 3.75 3.15 60 50 3.39 2.93 40 30 3.09 2.79 20 10 2.94 2.64 2.79 2.49 2.64 2.34 2.49 2.19 2.34 2.04 2.19 1.89 ที่มา: Miller (2002) อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรับนกั กฬี า 28 การประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การประเมินผลสมรรถภาพทางกาย เป็นกระบวนการที่ช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา ด้านต่างๆ ได้ ซ่ึงผลจากการทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกายจะนาใช้ร่วมในการวางแผนการ ฝึกซ้อมหรือจดั เปน็ ขอ้ มูลสถิติเพ่ือทานายแนวโน้มพัฒนาการและความสาเร็จการการแข่งขันกีฬาต่อไปได้ โดย การประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายจะเป็นข้ันตอนที่ทาภายหลังการทดสอบสมรรถภาพทางกาย เสร็จส้นิ แลว้ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สาคัญอย่างยิ่ง เพราะการทดสอบจะมีความหมายก็ต่อเม่ือผลการทดสอบท่ีได้ สามารถบอกได้ว่าระดับสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาที่เข้ารับการทดสอบอยู่ในระดับใด เช่น อยู่ในระดับดี มาก ระดับปานกลาง หรืออยู่ในระดับต่า เป็นต้น ผลที่ได้จากข้ันตอนการประเมินผลการทดสอบ นอกจากจะ ทาให้ทราบถึงระดับสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาแล้ว ยังเป็นข้อมูลท่ีสาคัญในการพิจารณาเลือกรูปแบบ การฝึกที่เหมาะสมกับนักกีฬา เหมาะสมกับตาแหน่ง เหมาะสมกับแผนหรือแทคติคของทีม อีกทั้งยังเป็น เครื่องกระตุ้นหรือแรงจูงใจให้นกั กฬี าพยายามพัฒนาตนเอง เพ่อื ให้มีสมรรถภาพทางกายทส่ี ูงขึ้นตอ่ ไป โดยท่วั ไปการประเมนิ ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายสามารถแบ่งออกได้ 2 วิธี ตามวัตถุประสงค์ ของการทดสอบ ดงั นี้คอื (ฝุายวทิ ยาศาสตร์การกฬี า การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2542) o การประเมนิ ผลสถานภาพของผเู้ ข้ารบั การทดสอบ (status evaluation) การประเมินผลวธิ ีนี้ จะทาให้ทราบถึงสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาที่เข้ารับการทดสอบในขณะนั้น วา่ อยใู่ นระดบั ใด ซง่ึ ในการประเมนิ ผลจะตอ้ งมีเกณฑ์มาตรฐานของสมรรถภาพทางกายแต่ละด้านที่นามาใช้ใน การทดสอบ การประเมินผลรูปแบบนี้ จัดเป็นการดูภาพรวมของสมรรถภาพทางกายของกลุ่มนักกีฬาที่เข้ารับ การทดสอบ ซง่ึ การประเมินสมรรถภาพทางกายในกลุ่มนักกีฬา นอกจากจะต้องประเมินแยกตามอายุและเพศ แล้ว ยังต้องแยกตามชนิดกีฬาอีกด้วย ซึ่งจะใช้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกันไม่ได้ ทั้งน้ีเพราะแต่ละชนิดกีฬา สมรรถภาพทางกายทใ่ี ชจ้ ะแตกตา่ งกนั ไป o การประเมนิ ผลความก้าวหน้าของผเู้ ข้ารับการทดสอบ (progress evaluation) การประเมินผลชนิดน้ี จะต้องมีผลการทดสอบอย่างน้อยสองครั้งขึ้นไป เพ่ือดูพัฒนาการของระดับ สมรรถภาพทางกายของนกั กีฬาที่เขา้ รับการทดสอบว่าดีขึ้นมากน้อยเพียงใด อาจจะไม่ต้องนาเกณฑ์มาตรฐาน มาใช้ก็ได้ ทงั้ นีเ้ พราะวัตถุประสงค์หลักเพยี งแคต่ ้องการดคู วามก้าวหน้าของสมรรถภาพทางกายในแต่ละบุคคล จากโปรแกรมการฝึกซ้อมท่ีนักกีฬาได้รับเท่านั้น ซ่ึงการประเมินผลวิธีนี้ เหมาะท่ีจะนามาใช้ในกรณีท่ีไม่ สามารถหาเกณฑ์มาตรฐานท่ีสอดคล้องกับกลุ่มของนักกีฬาที่เข้ารับการทดสอบได้ หรือในกรณีที่ต้องการดู ประสิทธภิ าพของโปรแกรมการฝกึ ซอ้ มท่ไี ด้กาหนดไวว้ า่ สามารถจะพฒั นาระดับสมรรถภาพได้มากน้อยเพียงใด อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรบั นักกฬี า 29 จากวิธีการประเมินผลสมรรถภาพทางกายทั้งสองวิธีข้างต้น มีจุดดีหรือจุดเด่นแตกต่างกันออกไป ดงั นนั้ การที่จะพจิ ารณาเลือกวธิ ีการประเมินว่าจะใช้รูปแบบหรือวิธีการใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เป็นสาคัญ โดยการประเมินสมรรถภาพทางกายที่มีประสิทธิภาพมากท่ีสุด คือ การประเมินผลที่สามารถ ประเมิน ได้ท้ังสองวิธีในเวลาเดียวกัน คือ สามารถประเมินได้ท้ังแบบการประเมินผลสถานภาพของผู้เข้ารับ การทดสอบ (status evaluation) และการประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เข้ารับการทดสอบ (progress evaluation) และนอกจากนั้น จะตอ้ งเป็นประเมินไดท้ ง้ั รายบคุ คลและประเมินเป็นทีมหรือกลุม่ สรุป การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกีฬา เป็นการทดสอบสมรรถภาพทางกายในองค์ประกอบด้าน ต่าง ๆ ท่ีเกี่ยวข้องกับระบบการทางานของร่างกายท่ีใช้ในการเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติทักษะกิจกรรมขณะ แขง่ ขนั ของนกั กีฬา การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรับนกั กีฬาที่ผเู้ รียบเรียงใช้ในเอกสารประกอบการสอนเล่มน้ี จะประกอบดว้ ยการทดสอบในองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายดา้ นตา่ ง ๆ ดังหวั ข้อตอ่ ไปน้ี 1. การวดั สัดสว่ นและองค์ประกอบของรา่ งกาย 2. การทดสอบสมรรถภาพการทางานของระบบพลังงาน 2.1 การทดสอบสมรรถภาพด้านแอโรบิค 2.2 การทดสอบสมรรถภาพดา้ นแอนแอโรบิค 3. การทดสอบสมรรถภาพการทางานของระบบประสาทและกลา้ มเนื้อ 3.1 การทดสอบความแข็งแรงความอดทน และพลังของกล้ามเน้ือ 3.2 การทดสอบความอ่อนตัวและความยืดหยนุ่ 3.3 การทดสอบความเรว็ และความคล่องแคลว่ วอ่ งไว 3.4 การทดสอบการทรงตวั และการประสานสมั พนั ธใ์ นการเคลอื่ นไหว 4. การทดสอบสมรรถภาพทางกายท่ีเฉพาะเจาะจงกับประเภทกีฬา ประโยชน์ที่ได้จากการทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรับนักกีฬา จะทาให้ทราบถึงระดับสมรรถภาพทาง กายด้านต่างๆ ของนักกีฬา ซ่ึงจะเป็นข้อมูลสาคัญในการนาไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการฝึกซ้อมของ นกั กฬี าให้มีประสิทธภิ าพมากข้นึ อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรับนักกฬี า 30 คาถามและปฏบิ ัตกิ ารทา้ ยบทท่ี 1 1. อธิบายความหมายและประเภทของสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ สาหรบั การทดสอบในนักกีฬา 2. จงอธบิ ายประโยชนแ์ ละความสาคัญของการทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรบั นักกีฬา 3. หากท่านจะต้องทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรบั นักกีฬาฟุตบอล ท่านมีแนวทางในการพิจารณา เลอื กแบบทดสอบท่จี ะอย่างไรบ้าง 4.การทดสอบ (test) การวัดผล (measurement) และการประเมินผล (evaluation) มีแตกต่างและ เกย่ี วขอ้ งกนั อย่างไร จงยกตวั อย่างประกอบ 5. หากท่านมีความประสงค์ท่ีจะสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายขึ้นมาใหม่สาหรับทดสอบใน นกั กฬี าวอลเลยบ์ อลระดับเยาวชน ท่านจะมกี ระบวนการสร้างแบบทดสอบอยา่ งไร 6. ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาฟุตบอล ที่คัดเลือกเข้าโรงเรียนกีฬาของนักกีฬา จานวน 3 คนปรากฏผล ดังตอ่ ไปน้ี ลาดับท่ี รายชอื่ คะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกาย 1 นาย A 68 2 นาย B 63 3 นาย C 59 นักกีฬาจะผ่านการทดสอบได้จะต้องได้คะแนนมาตรฐาน T เท่ากับ 70 โดยคะแนนการทดสอบของ นักกีฬาท้ังหมด 30 คน มีคา่ เฉลยี่ เท่ากับ 64 คะแนน ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6 คะแนน ดังน้ันนักกีฬา ท้ัง 3 คนนี้ จะผา่ นเกณฑก์ ารทดสอบสมรรถภาพทางกายที่กาหนดไวห้ รือไม่ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นกั กฬี า 31 7. จากผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนกั กีฬาจานวน 5 ต่อไปนี้ นกั กีฬาคนใดไดผ้ ลการ ทดสอบท่ดี ีทสี่ ดุ เรยี งลาดบั จากคนที่ได้คะแนนมากไปน้อย No. นักกีฬา รายการทดสอบ 1A ลกุ น่งั 1 นาที ดนั พืน้ 1 นาที แรงเหยยี ดขา แรงบีบมือ 2B (จานวนคร้ัง) (กโิ ลกรัม) 3C (จานวนครงั้ ) (กิโลกรัม) 4D 45.0 45 5E 32.0 23.0 120 55 54.0 52 43.0 34.0 165 35 50.0 35 38.0 143 40.0 186 26.0 200 8. จงสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพด้านความอดทนแบบแอโรบิค จากรายการทดสอบ The Multistage Fitness Test ซ่ึงบันทึกผลการทดสอบเป็นระยะทาง (เมตร) โดยเก็บข้อมูลในนักกีฬาฟุตบอล จานวน 50 คน ดังนี้ 2200 1560 1360 800 2400 2240 2120 2600 960 1440 1820 1800 2440 2520 1040 2140 1120 1480 1240 2460 840 960 1760 1400 1880 1820 2140 2140 1800 800 1240 2100 2100 1120 960 1400 2460 1820 1600 1680 1440 1760 2200 2200 1560 1040 2140 2240 2240 2120 โดยให้แบง่ เกณฑม์ าตรฐานสมรรถภาพด้านแอโรบิคออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับดีมาก ระดับดี ระดับ ปานกลาง ระดับต่า และระดบั ต่ามาก โดยเกณฑ์มาตรฐานท่ีสร้างข้ึนให้สร้างจากคะแนนพิสัย คะแนนค่าเฉลี่ย และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน และคะแนนมาตรฐานแบบที (t-score) อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นักกฬี า 32 อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรบั นักกฬี า 33 บทท่ี 2 การตรวจคดั กรองสุขภาพและการเตรียมความพรอ้ มก่อนการทดสอบ (Health Screening and Athlete Preparation) อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกฬี า มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนักกฬี า 34 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 2 การตรวจคดั กรองสขุ ภาพและการเตรยี มความพร้อมก่อนการทดสอบ 1. หวั ข้อเนื้อหาประจาบท 1) การตรวจคดั กรองสุขภาพ 2) การประเมินความพร้อมก่อนการทดสอบและออกกาลังกาย 3) การวัดชพี จรขณะพักและความดันเลอื ด 4) การจัดเตรยี มความพรอ้ มก่อนการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 4) การเตรยี มตวั และข้อควรปฏบิ ัติในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2. วัตถุประสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม หลังจากศกึ ษาจบบทนี้แล้ว ผเู้ รียนสามารถ 1) อธบิ ายรายละเอยี ดของการตรวจคัดกรองสุขภาพในด้านต่าง ๆ สาหรบั นกั กีฬาได้ 2) อธบิ ายความสาคญั และวธิ ีการประเมนิ ความพรอ้ มของนักกีฬาก่อนออกกาลงั กายได้ 3) อธิบายความสาคญั และวิธีการวดั ชพี จรและความดนั เลือดของนักกีฬาได้ 4) อธิบายข้ันตอนการจดั เตรียมความพร้อมในด้านตา่ ง ๆ ก่อนการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ 4) อธบิ ายการเตรียมตวั และขอ้ ควรปฏบิ ตั ใิ นขณะทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ 3. วิธีการสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอนประจาบท 1) การบรรยายจากเอกสารประกอบการสอน สไลดน์ าเสนอบทเรยี นจากไฟล์ Power point 2) การสาธติ วิธีการ และการฝกึ ทดลองปฏิบตั ิจรงิ 3) อภิปรายประเด็นปัญหาและข้อสงสัย 4) การทดลองในปฏบิ ตั ิการท่ี 2 5) ทาแบบฝึกหดั ทา้ ยบทท่ี 2 4. สือ่ การเรยี นการสอน 1) เอกสารประกอบการสอน 2) สไลด์นาเสนอบทเรียน เป็นไฟล์ Power point 3) ไฟลว์ ิดโี อจากเว็บไซต์และแหลง่ ข้อมลู ตา่ ง ๆ 4) แบบฝึกหดั ท้ายบท 5. การวดั ผลและการประเมินผล 1) ตรวจสอบจากแบบฝึกหดั ท้ายบท 2) สังเกตความสนใจของผูเ้ รยี น 3) สงั เกตจากการถามคาถามและตอบคาถามของผู้เรียน 4) ตรวจสอบความถูกต้องของผลการทดลองในปฏบิ ตั ิการท่ี 2 อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรบั นกั กฬี า 35 บทท่ี 2 การตรวจคดั กรองสุขภาพและการเตรียมความพรอ้ มก่อนการทดสอบ การทดสอบสมรรถภาพทางกายสาหรับนักกีฬา เป็นกระบวนการที่จะต้องให้นักกีฬาได้ปฏิบัติและ แสดงความสามารถในการเคล่อื นไหวตามรปู แบบของการทดสอบสมรรถภาพทางกายในองค์ประกอบทางด้าน ต่าง ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ ซ่ึงจะทาให้ผลที่ได้จากการทดสอบ มีความถูกต้องและสามารถนาไปใช้ ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยนักกีฬาที่จะเข้ารับการทดสอบจะต้องมีสภาพร่างกายท่ีดี ผ่านการฝึกซ้อมอย่าง ต่อเน่ืองมาระดับหนึ่ง จึงสามารถจะเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ ทั้งน้ีเนื่องจากการทดสอบ สาหรับนักกีฬาน้ัน รายการทดสอบจะมีระดับความหนักของกิจกรรมที่ใช้ในการทดสอบท่ีสูงมาก ซ่ึงหาก นักกฬี ามีสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมจะทาการทดสอบ อาจจะทาให้นักกีฬาเส่ียงต่อการ บาดเจ็บและอันตรายท่ีอาจจะเกิดข้ึนต่อร่างกายได้ ดังน้ันจึงจาเป็นที่จะต้องมีการตรวจสุขภาพและการ ประเมนิ ความพร้อมของนักกีฬาก่อนการทดสอบเสมอ (Australian Institute of Sports, 2013) เน้ือหาในบทน้ี จะกล่าวถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพ การประเมินความพร้อมก่อนการทดสอบและ ออกกาลังกาย การวัดชีพจรและความดันเลือด การจัดเตรียมความพร้อมก่อนดาเนินการทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย การเตรียมตัวและข้อควรปฏิบัติของนักกีฬาในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ซึ่งหัวข้อดังกล่าวน้ี เป็นหัวขอ้ ทมี่ คี วามสาคญั ท่ีจะต้องรู้และเข้าใจก่อนท่ีจะเร่ิมดาเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา ต่อไป การตรวจคดั กรองสุขภาพ ก่อนท่ีจะทาการทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งของบุคคลท่ัวไปและนักกีฬา โดยท่ัวไปแล้วควรจะทา การตรวจสอบและคัดกรองสุขภาพเสียก่อน ซ่ึงข้อมูลต่าง ๆ ท่ีได้จะเป็นประโยชน์ต่อการทดสอบสมรรถภาพ ทางกายและการแปลผล นอกจากนีย้ งั สามารถใชข้ ้อมูลน้ีประกอบการจัดโปรแกรมการออกกาลังกายและการ ฝกึ ซอ้ มได้ การตรวจคัดกรองสุขภาพ (health screening) เป็นการตรวจสอบภาวะสุขภาพและลักษณะวิถีการ ดาเนินชีวิต เพ่ือดูปัจจัยเส่ียงที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะออกกาลังกายหรือปฏิบัติกรรมท่ีต้องใช้ความหนัก ระดับสูงๆ ซึ่งการตรวจคัดกรองสุขภาพจะประกอบด้วยการประเมินอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ประวัติ สุขภาพของตนเองและครอบครัว ลักษณะวิถีการดาเนินชีวิต การเซ็นใบยินยอม รวมถึงจะมีการแสดงค่าปกติ ของค่าต่าง ๆ ท่ีใช้ในการแสดงสัญญาณชีพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดและคลื่นไฟฟูาหัวใจ เป็นต้น (Heyward, 2006) อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรับนักกฬี า 36 โดยท่ัวไปการออกกาลังกายหรือการใช้แรงเพ่ือปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่าง ๆ รวมไปถึงการ ฝึกซอ้ มกีฬา นอกจากจะใหป้ ระโยชนต์ อ่ สุขภาพร่างกายแลว้ หากออกกาลังกายหรือปฏิบัติกิจกรรมท่ีหนักมาก เกินไป อาจเกิดผลเสียหรือโทษต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการบาดเจ็บท่ีเก่ียวข้องกับกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อที่เกิดจากกล้ามเน้ือขาดความยืดหยุ่นและความแข็งแรงที่เหมาะสม รวมถึงผลท่ีมีต่อระบบ การทางานของหัวใจและการไหลเวยี นเลือด เช่น หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) โดยไม่ทราบสาเหตุหรือไม่มี เหตุล่วงหน้ามาก่อน เช่นนักกีฬาเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นอย่างฉับพลัน ทาให้เสียชีวิตในขณะฝึกซ้อมหรือ แขง่ ขนั ซึ่งภาวะความเสี่ยงตา่ งๆ เหล่านี้ สามารถเกดิ ข้ึนได้ทัง้ ในทุกช่วงเวลา ดังน้ันก่อนที่จะเริ่มการออกกาลัง กายควรมีการสารวจประเมินตัวเราดูก่อนว่ามีความพร้อม หรือมีปัจจัยเส่ียงต่างๆ ท่ีอาจเกิดขึ้นจากการออก กาลงั กายมากนอ้ ยแค่ไหน อย่างไร โดยระบบตา่ งๆ ของรา่ งกายทมี่ ีความเส่ยี ง และผลกระทบอันดับแรกๆ จาก การออกกาลังกาย ได้แก่ (ACSM, 2006) - ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับอากาแทรกซ้อนของผู้เป็นโรคหัวใจอยู่ ก่อนแลว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอยา่ งตรงกับการออกกาลงั กาย - ระบบหายใจ อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับการออกกาลังกาย ได้แก่ อาการหอบหืด ซึ่งใน บางคนอาการหอบหืดจะถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นมาจากการออกกาลังกายได้ หรือโรคถุงลมโปุงพองในกลุ่มคนที่ สบู บหุ รี่ จะส่งผลทาให้เกดิ การหายใจลาบากในขณะออกกาลงั กาย - ระบบกล้ามเน้ือ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดการบาดเจ็บจากสาเหตุของกล้ามเน้ือขาดความแข็งแรง และ ความยดื หยุ่นทเี่ หมาะสม ทาใหเ้ กดิ อาการกล้ามเน้ืออักเสบ ปวดตามกระดกู และข้อตอ่ ตา่ งๆ เป็นตน้ - ระบบการเผาผลาญพลังงาน โรคท่ีเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญพลังงานหลักๆ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจมาจากการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าไม่ระมัดระวังการเกิดการบาดเจ็บหรือมี บาดแผลเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบท่ีรุนแรงตามมา เช่น แผลไม่หายและเกิดติดเชื้อทาให้ต้องตัดแขนหรือขาส่วน น้นั ท้ิงไป ดังน้ัน การได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วนถูกต้องเก่ียวกับประวัติสุขภาพ จะทาให้เราสามารถออก กาลังกายได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัย รวมถึงลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ท่ีอาจเกิดขึ้นจากการออกกาลังกายลงได้ อย่างมาก ซึง่ การตรวจคัดกรองสขุ ภาพจะมีประโยชน์ดงั ตอ่ ไปนี้ (Heyward, 2006) 1. ทาใหท้ ราบสภาพร่างกาย รวมถึงปัจจยั เสย่ี งตา่ งๆ ที่อาจมผี ลต่อการออกกาลงั กาย 2. ชว่ ยกาหนดข้อห้าม ตา่ งๆ ในการออกกาลังกาย 3. ช่วยในเรอ่ื งการกาหนดรปู แบบโปรแกรมการออกกาลังกายทเี่ หมาะสมและปลอดภัย 4. ปอู งกนั ความผดิ พลาดทอ่ี าจจะเกิดขึ้นจากการออกกาลังกาย อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรบั นักกฬี า 37 o องคป์ ระกอบของการตรวจคดั กรองสุขภาพ การตรวจคัดกรองสุขภาพ จะประกอบด้วย การสอบถามประวัติทางการแพทย์ (medical history questionnaire) การวิเคราะหป์ ัจจัยเส่ียงของการเป็นโรคหัวใจ (coronary risk factor analysis) การเซ็นใบ ยินยอม (informed consent) และการตรวจทางคลินิก (clinical examination) โดยองค์ประกอบต่าง ๆ มี รายละเอยี ดดงั นี้ (Heyward, 2006) การสอบถามประวตั ทิ างการแพทย์ เปน็ การสัมภาษณ์ประวัติสุขภาพของผู้เข้ารว่ มโปรแกรมในอดีตและปัจจุบัน ตลอดจนประวัติสุขภาพ ของครอบครัว ประวัติการรักษาโรคต่าง ๆ การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ลักษณะอาการของโรคท่ี เป็นอยู่ ตลอดจนประวัติสุขภาพของงครอบครัว การวิเคราะหอ์ ตั ราเส่ยี งการเป็นโรคหัวใจ การประเมินวิถีการ ดาเนนิ ชีวิต สอบถามขอ้ มลู เก่ยี วกบั การออกกาลงั กาย การรับประทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหร่ี และสภาวะเครียดการตรวจเช็คร่างกาย โดยขั้นตอนที่ถูกต้อง ผู้รับการทดสอบจะต้องผ่านการตรวจร่างกาย โดยแพทย์ การวเิ คราะห์ปัจจยั เสย่ี งของการเปน็ โรคหัวใจ เป็นการตรวจประเมินอตั ราเส่ยี งของการเป็นโรคหวั ใจและโรคทเี่ ก่ียวขอ้ งกับระบบไหลเวียนเลือดและ ระบบหายใจซง่ึ ในขณะออกกาลังกายหรือทดสอบ สมรรถภาพทางกายจะต้องได้รับการดูแลและควบคุมพิเศษ จากแพทย์ การเซ็นใบยินยอม เป็นการอธิบายวัตถุประสงค์ ปัจจัยเส่ียง ประโยชน์จากการทดสอบสมรรถภาพและเห็นการให้ความ ยินยอมในการเข้าร่วมโปรแกรม โดยก่อนที่จะเริ่มทาการทดสอบสมรรถภาพทางกาย จะต้องให้ผู้เข้ารับการ ทดสอบทราบถึงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการทดสอบ อัตราเสี่ยงท่ีอาจจะเกิดข้ึนและประโยชน์ที่จา ไดร้ ับ เม่ือผ้เู ข้ารับการทดสอบเข้าใจดีแลว้ จงึ ให้ลงนามไวเ้ ป็นหลักฐาน การตรวจทางคลินกิ เป็นการตรวจโดยทีมแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคและความเส่ียงต่าง ๆ ซ่ึงการตรวจทางคลินิกจะ ประกอบด้วยการตรวจหลายด้าน เช่น การตรวจร่างกายท่ัวไป การตรวจโรคความดันเลือดสูง และการ ประเมนิ การทางานของคลน่ื ไฟฟูาหัวใจ การตรวจคา่ ตา่ ง ๆ จากองคป์ ระกอบของเลือดว่าอยู่ในระดับที่ผิดปกติ หรอื ไม่ เปน็ ตน้ โดยตวั อย่างคา่ ปกตขิ องตวั แปรทว่ี ัดจากองคป์ ระกอบเลอื ดแสดงไว้ในตารางที่ 2.1 อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นกั กฬี า 38 ตารางท่ี 2.1 ตวั อยา่ งการตรวจค่าตา่ ง ๆ จากองค์ประกอบของเลอื ด ตวั แปร ค่าปกติ ไตรกลเี ซอไรด์ (triglycerides) < 150 mg/dl คอเลสเตอรอลรวม (total cholesterol: TC) < 200 mg/dl แอลดีแอล คอเลอสเตอรอล (LDL cholesterol) < 100 mg/dl เอชดีแอล คอเลอสเตอรอล (HDL cholesterol) ≥ 40 mg/dl อตั ราส่วนระหวา่ ง TC/ HDL cholesterol น้าตาลในเลือด (blood glucose) 3.5 ฮโี มโกลบนิ (hemoglobin) 60-109 mg/dl - สาหรบั เพศชาย - สาหรบั เพศหญิง 13.5-17.5 g.dl ฮิมาโตครติ (hematocrit) 11.5-15.5 g/dl - สาหรับเพศชาย - สาหรับเพศหญงิ 40-52% โปแตสเซย่ี ม (potassium) 35-48% ยูเรยี (urea) 3.5-5.5 meg/dl ธาตเุ หล็ก (iron) 4-24 mg/dl - สาหรบั เพศชาย - สาหรับเพศหญงิ 40-190 µg/dl แคลเซย่ี ม (calcium) 35-180 µg/dl ทม่ี า: ดดั แปลงจาก Heyward (2006) 8.5-10.5 mg/dl อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นักกฬี า 39 o การตรวจคัดกรองสุขภาพสาหรับนกั กีฬา ในกลุ่มนักกีฬา การทดสอบสมรรถภาพทางกายเพ่ือเตรียมการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬา จะมีรายการ ทดสอบท่ีใช้ระดับความหนักเข้มข้นกว่าคนทั่วไป ดังน้ันการตรวจคัดกรองสุขภาพจะต้องมีองค์ประกอบอ่ืน ๆ เพิ่มเติมที่แตกต่างจากลุ่มบุคคลท่ัวไป โดยมีการประเมินปัจจัต่าง ๆ และองค์ประกอบด้านอ่ืน ๆ เพิ่มเติม ดงั ตอ่ ไปนี้ - การประเมนิ ความเสย่ี งเชงิ คุณภาพ (qualitative risk assessment metrix) - การตรวจความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเน้ือ (musculoskeletal screening) - แบบสอบถามข้อมลู นักกีฬา (pretest athlete questionaaire) การประเมนิ ความเส่ียงเชิงคุณภาพ การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพของนักกีฬา จะเป็นการประเมินว่า นักกีฬาที่ผู้เข้ารับการประเมิน ท่ีผ่านมาได้ประสบปัญหาบาดเจ็บในการฝึกซ้อมหรือกีฬาที่แข่งขันอยู่ในระดับใดและบ่อยคร้ังเพียงใด ในรูป ของตารางเมตริกซ์ ซ่ึงสามารถจะทาให้ทราบปัจจัยเส่ียงของนักกีฬาได้ โดยในนักกีฬาแต่ละประเภทและ นกั กีฬาแต่ละคนจะมรี ะดบั ของปจั จยั เส่ียงท่ไี มเ่ หมือนกนั เหตุการณ์ โอกาสที่จะเปน็ อบุ ตั เิ หตรุ า้ ยแรง บอ่ ยมาก บอ่ ย นาน ๆ ครั้ง ไม่เคย มปี จั จัยเส่ยี ง มีปจั จัยเส่ยี ง การบาดเจบ็ ที่มีอาการ มีปัจจัยเส่ยี ง มีปจั จยั เสยี่ ง ระดบั ปานกลาง หนกั มาก ระดับสูง มีปจั จยั เสย่ี ง การบาดเจบ็ ท่ีมอี าการ มปี ัจจยั เสี่ยง ระดบั สงู ระดบั สงู ระดับปานกลาง ไม่หนกั มาก มปี ัจจยั เส่ียง การบาดเจบ็ ท่เี ล็กน้อย ระดับสงู มปี จั จยั เสย่ี ง มีปจั จยั เสยี่ ง ระดบั ต่า มปี จั จัยเสี่ยง มปี ัจจัยเส่ียง ระดบั สงู ระดับปานกลาง ระดบั ต่า ระดบั สงู มีปัจจัยเสีย่ ง มีปัจจัยเสีย่ ง มีปัจจัยเสย่ี ง ระดับปานกลาง ระดับปานกลาง ระดบั ปานกลาง มปี จั จยั เสี่ยง มปี จั จยั เสย่ี ง ระดับปานกลาง ระดับตา่ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรับนกั กฬี า 40 การตรวจความผดิ ปกติของระบบกระดูกและกล้ามเน้อื (Musculoskeletal screening) เป็นการประเมนิ หาความผิดปกตขิ องระบบกระดกู และกล้ามเน้ือส่วนตา่ ง ๆ ของนักกีฬาที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนไหวและออกแรงในขณะแขง่ ขนั หรือฝกึ ซ้อมกีฬา โดยมีการตรวจในองคป์ ระกอบต่อไปนี้ ประเภทของการประเมนิ ตวั อย่างการประเมิน การประเมินลักษณะทา่ ทาง - ความโค้งของแนวกระดกู สนั หลงั (posture test) - แนวของสะโพก เขา่ และเทา้ การประเมนิ การเคล่ือนไหวของข้อต่อ - การเคลอ่ื นไหวของหวั ไหลใ่ นท่า Shoulder flexion (mobility test) - การเคลื่อนไหวของหวั ไหลใ่ นท่า Shoulder prone internal and external rotation in 90° การประเมินความออ่ นตัว (flexibility test) - การวัดความยาวของdกระดูกสะบัก การประเมินความแขง็ แรง (ftrength test) - การทดสอบท่า Calf heel raise test - การทดสอบท่า Shoulder internal and external การประเมินความมน่ั คงของข้อตอ่ rotation test (ftability test) - Ankle medial ligament stress test - Shoulder apprehension test for Iinterior glenohumeral joint instability แบบสอบถามข้อมูลนกั กีฬา แบบสอบถามข้อมลู นักกีฬา (Pretest athlete questionaaire) เปน็ แบบสอบถามทใี่ หน้ ักกีฬาตอบ ในข้อคาถามต่าง ๆ ในองค์ประกอบดา้ นต่าง ๆ ต่อไปน้ี - ข้อมูลดา้ นอาหารทรี่ ับประทาน - ข้อมูลดา้ นสภาพแวดล้อมสถานท่ีฝึกซ้อม - ขอ้ มลู ด้านการเจ็บปวุ ย - ข้อมูลดา้ นอาการบาดเจบ็ จากการฝกึ ซ้อมหรือแขง่ ขัน - ข้อมูลด้านการใชย้ า - ขอ้ มลู ด้านการฝกึ ซ้อม โดยตวั ออย่างของแบบฟอรม์ แบบสอบถามข้อมลู ของนักกีฬาสแดงไดจ้ ากแบบฟอร์มดังต่อไปนี้ อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวิทยาสาหรบั นักกฬี า 41 แบบสอบถามข้อมูลนกั กีฬา (pretest athlete questionaaire) ข้อมูลทั่วไป ช่ือนกั กีฬา…………………………………………………………………………. วันทีท่ ดสอบ……………………………………. อายุ……………. เพศ……….…… น้าหนัก………..…. สว่ นสงู ……....…. เวลาทท่ี าการทดสอบ……………………….. ประเภทกีฬา………………………………………………………………………. สถานที่ทาการทดสอบ………………………. ทีม/สโมสร…………………………………………………………………………. …………………………………………………….. ที่อยู่………………………………………………………………………………………………………………………………………………. เบอรโ์ ทรศัพทต์ ิดต่อ……………………………………………………………. อีเมลล์……………………………………………. ข้อมลู ดา้ นอาหารทร่ี ับประทาน - ท่านรบั ประทานอาหารก่อนทาการทดสอบมาแลว้ เป็นเวลากช่ี ่วั โมง……………………………………………………. - อาหารท่ีทา่ นรบั ประทานก่อนมารับการทดสอบ……………………………………………………………………………….. - ใหร้ ะบุอาหารท่ีทา่ นไดร้ บั ประทานมาเม่ือ 24 ชัว่ โมงท่ีแล้ว อาหารเชา้ ……………………………………………………………………………………………………………………………………. อาหารกลางวัน……………………………………………………………………………………………………………………………… อาหารค่า……………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อมลู ดา้ นสภาพแวดลอ้ มสถานทฝี่ กึ ซ้อม - ในช่วง 2 สัปดาหท์ ผี่ า่ นมาหรอื ไม่ ท่านไดฝ้ ึกซอ้ มในสภาวะอากาศที่รอ้ นจัด ใช่ ไมใ่ ช่ หากตอบวา่ ใช่ ให้ระบุรายละเอยี ดเพ่มิ เติม……………………………………………………………………………………….. - ในชว่ ง 2 สัปดาหท์ ี่ผา่ นมา ทา่ นได้ฝกึ ซอ้ มหรอื นอนหลับในสภาวะทีส่ ูงหรือไม่ ใช่ ไมใ่ ช่ หากตอบว่าใช่ ให้ระบุรายละเอยี ดเพิ่มเตมิ ………………………………………………………………………………………. ข้อมลู ด้านการเจบ็ ปวุ ย - ปัจจบุ ันทา่ นมอี าการเจบ็ ปวุ ยหรอื เปน็ โรคใดหรอื ไม่ ใช่ ไมใ่ ช่ หากตอบว่าใช่ ให้ระบุรายละเอียดเพ่มิ เตมิ ……………………………………………………………………………………….. - ในชว่ ง 2 สัปดาหท์ ่ีผา่ นมา ทา่ นมีอาการเจ็บปวุ ยหรอื เปน็ โรคใดหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หากตอบว่าใช่ ใหร้ ะบุรายละเอยี ดเพิม่ เตมิ ……………………………………………………………………………………….. ข้อมลู ด้านอาการบาดเจ็บจากการฝกึ ซ้อมหรือแขง่ ขัน - ปัจจุบันทา่ นมอี าการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมหรือแข่งขนั หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หากตอบว่าใช่ ให้ระบรุ ายละเอียดเพิม่ เติม……………………………………………………………………………………….. - ในชว่ ง 2 สัปดาห์ท่ผี า่ นมา ทา่ นมอี าการบาดเจบ็ จากการฝึกซอ้ มหรือแขง่ ขันหรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หากตอบว่าใช่ ใหร้ ะบรุ ายละเอยี ดเพม่ิ เตมิ ……………………………………………………………………………………….. อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นกั กฬี า 42 ขอ้ มลู ดา้ นการใชย้ า - ปจั จบุ ันท่านไดร้ ับทานยาหรือไม่ ใช่ ไมใ่ ช่ หากตอบว่าใช่ ใหร้ ะบุรายละเอียดเพิ่มเตมิ ……………………………………………………………………………………….. - ในช่วง 2 สปั ดาห์ที่ผา่ นมา ทา่ นได้ทานยาหรอื ไม่ ใช่ ไมใ่ ช่ หากตอบวา่ ใช่ ใหร้ ะบรุ ายละเอยี ดเพิ่มเตมิ ……………………………………………………………………………………….. - ในชว่ ง 2 สัปดาหท์ ี่ผา่ นมา ท่านได้รับประทานผลลิ ภณั ฑ์อาหารเสรมิ หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หากตอบว่าใช่ ให้ระบุรายละเอยี ดเพมิ่ เติม……………………………………………………………………………………….. ขอ้ มูลดา้ นการฝกึ ซ้อม - ให้ทา่ นระบรุ ะดบั ความหนักของการฝึกซ้อมภาพรวมในสัปดาห์ทีผ่ ่านมาของทา่ น ระดับเบา ระดบั ปานกลาง ระดบั หนัก ระดับหนกั มาก - ให้ท่านระบุระดับความร้สู ึกเม่ือยล้าในขณะน้ี (0 = ไม่รู้สกึ อะไร; หนักมาก ๆ) ระดบั 0 ระดับ 1 ระดบั 2 ระดับ 3 ระดับ 4 ระดบั - จานวนระยะเวลาทีท่ ่านได้ทาการฝกึ ซ้อมในครั ้งสุดทา้ ย …………….นาที - ใหร้ ะบลุ ักษณะโปรแกรมการฝกึ ซอ้ ม ในชว่ งสามวันทผ่ี ่านมา ชว่ งวัน ช่วงเวลาการฝึกซ้อม ระดับความหนัก (เบา ปานกลาง หนัก) เม่ือวาน สองวนั ท่แี ล้ว สองวนั ที่แลว้ อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตร์การกฬี า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรบั นักกฬี า 43 การประเมินความพร้อมก่อนการทดสอบสมรรถภาพทางกาย เป็นการตรวจสอบความพร้อมของร่างกายก่อนการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การออกกาลังกาย และการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและการออกกาลังกาย โดยจะประเมินจากแบบสอบถามที่กาหนดเพ่ือหาปัจจัย เสี่ยงต่าง ๆ การประเมินความพร้อม และตรวจสอบว่าร่างกายพร้อมท่ีจะออกกาลังกายได้หรือไม่ มากน้อย เพียงใด ซ่ึงแบบประเมินความพร้อมก่อนการออกกาลังกายท่ีนิยมใช้ทั่วไป ได้แก่ PAR-Q หรือ Physical Activity Readiness Questionnaire เพ่ือประเมินตนเองก่อนเริ่มโปรแกรม เหมาะสาหรับคนเริ่มต้นออก กาลังกายในระดับความหนักที่เบา-ปานกลาง (low–moderate intensity) ถ้าตอบว่า “ใช่” อย่างน้อยหน่ึง ข้อขน้ึ ไป ควรปรึกษาแพทย์หรือขอคาแนะนาจากผู้เช่ียวชาญก่อนออกกาลังกาย แต่ถ้าตอบ “ไม่ใช่” ท้ังหมดก็ สามารถเริ่มการออกกาลังกายได้ โดยแบบประเมินความพร้อมก่อนการออกกาลังกาย PAR-Q แสดงได้จาก แบบประเมนิ ต่อไปนี้ (Heyward, 2006) แบบประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนเข้ารว่ มการออกกาลงั กาย (Physical Activity Readiness Questionnaire: PAR-Q) ใช่ ไม่ใช่ 1. ทา่ นเคยได้รบั การตรวจจากแพทยว์ ่าเปน็ โรคหัวใจหรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ 2. ท่านเคยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกในขณะออกกาลังกายหรือไม่? ใช่ ไมใ่ ช่ 3. ทา่ นเคยอาการหน้ามืดเปน็ ลม หรอื วิงเวยี นศีรษะบ่อย ๆ หรือไม่? ใช่ ไมใ่ ช่ 4. ทา่ นเคยไดร้ ับการตรวจจากแพทยว์ ่ามคี วามดนั เลอื ดสูงหรอื ไม่? ใช่ ไม่ใช่ 5. ท่านมีปญั หาเกย่ี วกบั โรคกล้ามเนอื้ กระดกู และข้อต่อ ซึ่งจะเป็น อุปสรรคสาหรบั การออกกาลงั กายหรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ 6. ทา่ นมคี วามผดิ ปกติของรา่ งกายอ่นื ๆ นอกเหนือจากท่ีกล่าวมาแลว้ ซึ่งอาจเป็นข้อจากัดในการออกกาลังกายหรือไม่? ใช่ ไม่ใช่ 7. เท่าที่ทราบมา ยังมเี หตุผลอน่ื อีกหรือไม่ ทท่ี าใหท้ ่านไมส่ ามารถทจ่ี ะ ออกกาลังกายได้? โดยถ้าตอบว่า “ใช่” อย่างน้อยหนึ่งข้อขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์หรือขอคาแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญ ก่อนออกกาลังกาย แต่ถ้าตอบ “ไม่ใช่” ทั้งหมดก็สามารถเร่ิมการทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อวาง แผนการออกกาลังกายและได้ นอกจากนั้น ยังสามารถประเมินโดยใช้เกณฑ์ของ American College of Sport Medicine หรือ ACSM ซ่ึงแบบประเมินน้ีจะประกอบด้วยส่วนของปัจจัยเส่ียง จะถามเกี่ยวกับประวัติครอบครัวท่ีเส่ียงต่อโรค หลอดเลือดหัวใจ การสูบบุหร่ี การออกกาลังกาย โรคประจาตัว การตรวจร่างกาย การวัดไขมันเลือดและ น้าตาลในเลือด อาการของโรคหัวใจ ได้แก่ เจ็บหน้าอก บวม เหนื่อย หายใจลาบาก ภาวะท่ีควรเลื่อนการ ทดสอบสมรรถภาพรา่ งกายออกไป เชน่ การตง้ั ครรภ์ มีอาการไม่สบาย เชน่ เปน็ ไข้หวัด เป็นตน้ อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรีรวทิ ยาสาหรับนักกฬี า 44 โดยตัวอย่างแบบประเมินความพร้อมก่อนออกกาลงั กายโดยใชเ้ กณฑ์ของสมาคมกีฬาเวชศาสตร์แหง่ อเมริกา (American College of Sport Medicine: ACSM) แสดงได้จากแบบฟอร์มตอ่ ไปน้ี แบบสอบถามคดั กรองความเสีย่ งก่อนออกกาลังกายโดยใชเ้ กณฑ์ของ ACSM ใหก้ าเครื่องหมาย ( ⁄ ) ถกู หนา้ ขอ้ ความทสี่ อดคล้องกับตัวท่าน 1. ปจั จัยเสี่ยง (ถ้ามปี จั จัยเสีย่ งสองชนดิ ข้นึ ไป จดั อยู่วา่ มปี จั จยั เสีย่ งระดบั ปานกลาง) ……….. 1. ญาตพิ ี่น้องของท่านเปน็ โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเปลีย่ นหลอดเลือด หัวใจ หรือเสยี ชวี ติ ทนั ที ก่อนอายุ 55 ปี สาหรับผูช้ ายหรอื 65 ปี สาหรับผู้หญิง ……….. 2. ปจั จุบันทา่ นสบู บุหรอ่ี ยู่หรือเลิกสบู บุหร่แี ล้วแต่ไมเ่ กิน 6 เดือน ……….. 3. ท่านมคี วามดันเลอื ดเทา่ กับหรอื มากกวา่ 140 มม.ปรอท หรือหรอื ทานยาควบคุมความดันอยู่ ……….. 4. ทา่ นมรี ะดับคอเลสเตอรอล LDL มากกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลติ ร หรอื คอเลสเตอรอลรวม 200 มลิ ลกิ รมั /เดซิลิตรหรือมีระดบั คอเลสเตอรอล HDL นอ้ ยกวา่ 35 มลิ ลิกรัม/เดซลิ ิตร ……….. 5. ทา่ นมรี ะดับน้าตาลชว่ งอดอาหารเช้ามากกว่าหรือเทา่ กับ 110 มลิ ลิกรัม/เดซิลติ ร ……….. 6. ทา่ นมีดัชนมี วลกายมากกวา่ 30 ตารางเมตร/กโิ ลกรัม หรอื รอบเอวมากกวา่ 100 เซนตเิ มตร ……….. 7. ท่านไม่ได้ออกกาลงั กายวันละ 30 นาที อย่างตอ่ เนื่องทุกวนั หรอื เกือบทกุ วัน 2. อาการ (ถา้ มีอาการ 1 ชนิดขึ้นไป จดั ว่ามีความเสีย่ งอย่รู ะดับสงู ) ……….. 1. ท่านมหี รอื เคยมีอาการเจ็บหรือแนน่ หน้าอกหรือบริเวณใกล้เคยี ง ……….. 2. ท่านมหี รอื เคยมีอาการหนา้ มืดเปน็ ลมหรือวิงเวียนศรี ษะ ……….. 3. ท่านรู้สกึ หายใจลาบากหรอื อึดอัดเวลานอนหรือนอนราบ ……….. 4. ทา่ นมหี รอื เคยมีอาการเทา้ บวม ……….. 5. ทา่ นมีหรือเคยมีอาการหัวใจเต้นเรว็ ผิดปกตหิ รอื หวั ใจสนั่ ……….. 6. ทา่ นมหี รอื เคยมีอาการเจ็บทีข่ าหรือนอ่ งโดยรูส้ กึ ปวดเป็นชว่ ง ๆ ……….. 7. แพทย์เคยบอกวา่ ทา่ นมีเสียงหวั ใจทีผ่ ิดปกติ ……….. 8. ท่านรสู้ ึกเหนือ่ ยล้าผิดปกตหิ รือหายใจลาบากเม่ือทากิจกรรม 3. ปจั จยั อ่นื ๆ ……….. 1. ทา่ นมอี ายมุ ากกว่า 45 ปี สาหรบั ผ้ชู าย หรอื 55 สาหรบั ผ้หู ญงิ (จดั มีความเสี่ยงระดับสงู ) ……….. 2. ท่านมีโรคต่อไปน้หี รือไม่ : โรคหวั ใจ โรคหลอดเลอื ดสว่ นปลาย โรคหลอดเลอื ดสมอง โรค อดุ กนั้ ทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคไตหรือโรคเกี่ยวกับตับ ……….. 3. ท่านมปี ัญหาของกระดกู และข้อต่อ เช่น ข้อต่ออักเสบ ……….. 4. ท่านมีไขห้ วัดหรอื ไขห้ วัดใหญ่หรือการอักเสบตดิ เชื้อ ……….. 5. ท่านอยู่ในชว่ งกาลงั ตง้ั ครรภ์ ……….. 6. ทา่ นมปี ัญหาอน่ื ๆ ทีท่ าให้ไม่สามารถออกกาลังกายได้ ท่ีมา: ดัดแปลงจาก Heyward (2006) อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตร์การกฬี า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรบั นักกฬี า 45 แบบประเมินความพร้อมก่อนการออกกาลังกายโดยใช้เกณฑ์ของ ACSM ข้างต้น สามารถแปล ความหมายของข้อมูลท่ไี ด้ดังนี้ (ACSM, 2007) 1. ความเสยี่ งระดบั ต่า มีอายุนอ้ ยกว่า 45 ปี สาหรับผู้ชาย หรอื 55 สาหรับผู้หญิง และมีปัจจัยเสี่ยงไม่ เกนิ 1 ขอ้ สามารถออกกาลังกายหรือทดสอบดว้ ยความสามารถสูงสดุ ได้ 2. ความเสยี่ งระดับปานกลาง มอี ายุมากกวา่ 45 ปี สาหรับผู้ชาย หรือ 55 สาหรับผู้หญิง และมีปัจจัย เสย่ี งไมเ่ กนิ 2 ขอ้ สามารถออกกาลงั กายหรือทดสอบท่ีความหนกั ระดบั ปานกลางได้ 3. ความเสี่ยงระดับสูง มีอายุมากกว่า 45 ปี สาหรับผู้ชาย หรือ 55 สาหรับผู้หญิง และมีอาการหรือ เป็นโรค 1 ชนดิ ขนึ้ ไป การออกกาลังกายหรือการทดสอบจะต้องกระทาภายใตก้ ารดแู ลจากแพทย์อยา่ งใกล้ชิด โดยผู้ที่มีภาวะอาการหรือโรคต่อไปนี้ ห้ามเข้าร่วมการออกกาลังกายหรือเข้ารับการทดสอบ สมรรถภาพทางกายโดยเด็ดขาด ซึ่งไดแ้ ก่ - มีการเปล่ยี นแปลงของคลนื่ ไฟฟาู หวั ใจทีบ่ ง่ บอกว่ามีภาวะหัวใจขาดเลือด - มีอาการแน่นบริเวณหนาอก - ภาวะหัวใจเต้นผิดปกตทิ ีไ่ ม่สามารถควบคมุ ได้ - ภาวะล้นิ หวั ใจตบี อยา่ งรุนแรง - ภาวะหวั ใจวายท่ีควบคมุ ไมไ่ ด้ - ภาวะหลอดเลือดปอดถูกอุดก้ันอย่างเฉียบพลันหรือเนือ้ ปอดตาย - กลา้ มเน้อื หวั ใจหรือเยอื่ หุ้มหัวใจอกั เสบเฉยี บพลัน - สงสยั หรือมีภาวะหลอดเลอื ดแดงใหญ่โปงุ พอง - ภาวะตดิ เชื่ออยา่ งเฉยี บพลนั ขอ้ บง่ ชใ้ี นการหยดุ การออกกาลังกายหรือหยดุ การทดสอบสมรรถภาพทางกายประกอบด้วยบด้วย - เรม่ิ มีอาการเจ็บหน้าอก - ความดนั systolic ไม่เพม่ิ ขึ้นเม่อื เพิม่ ระดับความหนกั ของออกกาลังกาย - ความดนั systolic สงู มากกว่า 260 มม.ปรอท หรือความดัน diastolic สูงกว่า 115 มม.ปรอท - มีอาการเลือดไปเล้ยี งไมพ่ อ เชน่ รู้สึกหนา้ มดื จะเปน็ ลม สบั สน หน้าซีด คลื่นไส้ และผวิ หนังเย็น - อัตราการเต้นของหวั ใจไมเ่ พ่ิมขนึ้ ตามระดบั ความหนักของการออกกาลังกาย - จงั หวะการเต้นของหวั ใจมกี ารเปลย่ี นแปลงผิดปกตอิ ยา่ งชัดเจน - ผทู้ ดสอบรอ้ งขอให้หยุดทาการทดสอบ - ร่างกายมีการตอบสอนงใหเ้ หน็ ชัดถึงความเหนอ่ื ยลา้ อย่างทส่ี ุด - เครอื่ งมอื หรืออปุ กรณ์ชารุดหรือมีปัญหา อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วิทยาสาหรบั นักกฬี า 46 การวดั ชีพจรและความดันเลอื ด ชีพจรและความดันเลอื ด จดั เป็นสัญญาณชีพ (vital signs) พ้ืนฐานอย่างหนึ่งท่ีสามารถบ่งบอกถึงการ มีชีวิตอยู่และบ่งชี้ถึงสภาวะสุขภาพของในแต่ละบุคคลได้ โดยทั่วไปการวัดชีพจรและความดันเลือดใช้เป็น ข้อมูลพ้ืนฐานในการตัดสินสภาวะสุขภาพของผู้ท่ัวไปหรือนักกีฬา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของชีพจรและความดัน เลือดจะสามารถบ่งบอกถึงการเปล่ียนแปลงหรือความผิดปกติในการทาหน้าที่ของร่างกายเบื้องต้นได้ โดย หลักการและวธิ ีการวดั ชพี จรและความดนั เลอื ดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชีพจร (pulse) ชพี จร เปน็ การหดและขยายตัวของผนังหลอด ซ่ึงเกิดจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่างด้านซ้าย ทาให้ ผนงั ของหลอดเลอื ดแดงขยายออกเปน็ จังหวะ ในขณะทีเ่ ลือดไหลผ่านไปตามหลอดเลือด ธรรมชาติของหลอด เลือดแดงมีความยืดหยุ่นได้ และมีกล้ามเน้ือวงรอบหลอดเลือด เม่ือหัวใจบีบ 1 คร้ัง เลือดจานวนหนึ่งจะถูก สูบฉีดเข้าไปในหลอดเลือด ดันให้หลอดเลือดแดงขยายออก เมื่อแรงดันในหลอดเลือดลดลง หลอดเลือดจะ หยุ่นตวั กลบั ประกอบกบั การหดตัวของกลา้ มเน้ือวงรอบหลอดเลือด ทาให้หลอดเลือดตีบแคบลง เป็นการช่วย ดันเลือดให้เคล่อื นไปสูอ่ วัยวะสว่ นปลายตอ่ ไป ในการทางานของระบบไหลเวยี นเลือด หัวใจจะบีบและคลายตัว สลับกันเป็นจังหวะ หลอดเลือดจึงยืดและหยุ่นตัวเป็นจังหวะตามไปด้วย ทาให้เกิดคลื่นท่ีเห็นได้หรือสัมผัสได้ ชีพจรสามารถคลาพบได้ท้ังหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดา แต่นิยมคลาท่ีตาแหน่งของหลอดเลือดแดง มากกว่า เพราะจะคลาได้ชัดเจน หาตาแหน่งการคลาได้ง่ายกว่า โดยบริเวณที่สามารถคลาชีพจรได้คือ ท่ี ขมับ ด้านข้างของคอ ขอ้ มือ ขอ้ พับขอ้ ศอก ขาหนีบ และหลังเทา้ เป็นต้น (Robergs, and Roberts, 1997) o ปจั จัยท่ีมีผลต่อการเปลีย่ นแปลงชีพจร (Power and Howley, 2001) 1. อายุ อตั ราชพี จรในแตล่ ะชว่ งอายุจะมแี ตกตา่ งกนั โดยเมื่ออายุเพิ่มขนึ้ อัตราชพี จรจะลดลง 2. เพศ อัตราชีพจรของเพศหญิงจะเร็วกวา่ ชายเล็กนอ้ ยในชว่ งวยั รนุ่ และในวัยผู้ใหญ่ 3. การออกกาลังกาย เมื่อระดับความหนักของการออกกาลังกายเพ่ิมข้ึน ชีพจรจะเพิ่มสูงขึ้นตามไป ด้วย เน่ืองจากกล้ามเน้ือต้องการออกซิเจนเพ่ิมข้ึน จึงทาให้เพิ่มการเต้นของหัวใจมากขึ้น เพื่อจะได้นา ออกซเิ จนไปกบั กระแสเลอื ดเพ่ือสง่ ไปยงั กล้ามเน้ือ 4. อารมณ์ อัตราการเต้นของหัวใจขึ้นอยู่กับระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมี 2 ส่วน คือ ระบบประสาท ซิมพาทตี คิ (sympathetic) และพาราซมิ พาทีติค (parasympathetic) อารมณ์ทเี่ กิดขึน้ เช่น ความกลัว ความ โกรธ ความวิตกกังวล การรับรู้ความเจ็บปวด จะไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาทีติคทาให้หัวใจบีบตัวเร็วข้ึน สาหรับการกระตุน้ ระบบประสาทพาราซมิ พาทีตคิ ทาให้หัวใจเตน้ ชา้ ลง อาจารย์ ดร.นริ อมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทดสอบทางสรรี วทิ ยาสาหรบั นักกฬี า 47 5. สภาพอากาศ เมอ่ื อย่ใู นทม่ี อี ากาศร้อน จะทาใหช้ พี จรเต้นเร็วข้ึน และชีพจรจะเต้นเร็วขึ้นเม่ือความ ดันของเลอื ดลดลงจากผลของหลอดเลือดสว่ นปลายขยายออกเมื่อถูกความร้อน 6. การเป็นไข้ อัตราการเต้นของชีพจรเพิ่มข้ึน เพ่ือปรับตัวให้เข้ากับความดันเลือดที่ต่าลง ซึ่งเป็นผล มาจากหลอดเลอื ดส่วนปลายขยายตัวทาใหอ้ ุณหภูมริ างกายสูงข้ึน 6. การได้รับยา ยาบางชนิดสามารถลดและเพ่ิมอัตราความเร็วของชีพจรได้ เช่น ยาโรคหัวใจ digitalis สามารถลดอัตราการเตน้ ของชพี จร โดยมฤี ทธิใ์ นการกระตุน้ ให้ parasympathetic ทางานเพ่ิมข้นึ 7. การตกเลือด การสูญเสียเลือดจากระบบหลอดเลือดประมาณ 10% ของจานวนเลือดทั้งหมด จะ ทาให้ชพี จรเรว็ ขึ้น 8. ท่าทาง เมือ่ อย่ใู นท่ายนื ชพี จรจะเรว็ กว่าเมื่ออยู่ในท่านั่งหรือนอน ทั้งนี้เพราะหัวใจต้องบีบตัวให้เร็ว ข้ึนเพอื่ ฉีดเลือดไปเลย้ี งร่างกาย o วิธกี ารวัดชพี จร โดยท่ัวไป ในการวัดชีพจร สามารถตรวจวัดได้ด้วยการคลา ซ่ึงมีขั้นตอนและวิธีในการปฏิบัติ ดงั ตอ่ ไปน้ี (Heyward, 2006) 1. ใช้ปลายน้ิวช้ี นิ้วกลาง นิ้วนาง วางแตะลงบนตาแหน่งหลอดเลือดแดงที่ข้อมือด้านนอก แนว เดยี วกับหัวแมม่ อื หรอื บริเวณเสน้ เลือดที่ลาคอ กดเบาๆ พอให้รู้สึกถึงการเต้นของหลอดเลือด ไม่ควรใช้หัวแม่ มือในการคลาชพี จร เพราะ หลอดเลอื ดท่นี ้ิวหวั แมม่ ือเต้นแรง อาจทาใหเ้ กิดความสบั สนได้ 2. นับการเต้นของชีพจรให้ครบ 1 นาที พรอ้ มกบั สงั เกตจังหวะการเต้น ความหนัก และความเบาของ ชีพจรดว้ ย ถ้าชีพจรไม่สม่าเสมอหรอื มีอัตราการเต้นที่ผิดปกติ หรือความหนักเบาผดิ ปกตคิ วรนับใหม่ อีกครั้งให้ แนใ่ จ เพอื่ ประเมนิ การทางานของหวั ใจ 3. การนับอัตราชีพจรในเด็ก อาจต้องใช้วิธีฟังอัตราการเต้นของหัวใจ แทนการคลาชพี จร เพราะในเดก็ เลก็ คลาชพี จรไดไ้ ม่ชดั เจน 4. บันทึกจานวนคร้ังของชีพจร และจังหวะการเต้นชีพจร เพ่ือใช้ เปรยี บเทียบลกั ษณะการเต้นของชพี จรแตล่ ะคร้ัง ภาพท่ี 2.1 วิธกี ารวัดชีพจร ทม่ี า: http://www.lifespanfitness.com/explore-lifespan/heart-rate-training-zones.html อาจารย์ ดร.นิรอมลี มะกาเจ | คณะวิทยาศาสตรก์ ารกีฬา มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook