คมู่ ือ การปฏิบัติงานนิตเิ วช (ส�ำ หรับแพทยแ์ ละบุคลากรทางการแพทย์) กระทรวงสาธารณสุข จัดท�ำ โดย สำ�นักบรหิ ารการสาธารณสุข สำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสขุ
คู่มือการปฏบิ ัตงิ านนติ ิเวช (สำ�หรบั แพทย์และบคุ ลากรทางการแพทย)์ กระทรวงสาธารณสุข ISBN : 978-616-11-2083-2 พมิ พค์ รัง้ ที่ 1 พฤษภาคม 2557 จำ�นวนพิมพ์ 2,500 เล่ม ท่ีปรึกษา นายแพทย์วชริ ะ เพง็ จันทร ์ รองปลดั กระทรวงสาธารณสขุ นายแพทยธ์ งชยั เลศิ วิไลรตั นพงศ์ ผู้อ�ำ นวยการสำ�นักบริหารการสาธารณสขุ คณะผู้จดั ทำ� นายแพทย์พรเพชร ปัญจปยิ ะกุล รองผู้อำ�นวยการส�ำ นักบรหิ ารการสาธารณสุข นายแพทย์นิติกร โปริสวาณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทยพ์ ีรยทุ ธ เฟื่องฟุ้ง คณะแพทย์ศาสตรศ์ ิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหดิ ล นายแพทย์วจิ ารณ์ วชริ วงศากร คณะแพทยศาสตรศ์ ริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหดิ ล นายแพทย์ศักดา สถิรเรอื งชยั คณะแพทยศาสตรศ์ ิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทยภ์ าณวุ ฒั น์ ชตุ ิวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย นายแพทย์วศิ าล วรสวุ รรณรักษ์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นายแพทย์วิธู พฤกษนันท์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์ นายแพทยจ์ ตุวิทย์ หอวรรณภากร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลยั นเรศวร นายแพทยณ์ ัฐสทิ ธิ์ เจริญสนั ติ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั นเรศวร แพทย์หญงิ วรทั พร สิทธิจรญู คณะแพทยศ์ าสตร์ มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ นายแพทยท์ ศนยั พพิ ัฒนโ์ ชติธรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตรเ์ ฉลิมพระเกียรติ แพทย์หญงิ ปานใจ โวหารดี สถาบนั นิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุตธิ รรม นายแพทย์กนั ต์ ทองแถม ณ อยธุ ยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานเุ คราะห์ จังหวดั เชยี งราย นายแพทยศ์ กั ด์สิ ทิ ธ์ิ บุญลักษณ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธปิ ระสงค์ จังหวดั อบุ ลราชธานี นายแพทยเ์ ชาวกจิ ศรเี มืองวงศ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช จงั หวัดพิษณุโลก นายแพทยธ์ รี พร เหลอื งรงั ษิยากุล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสมี า นายแพทย์ปยิ ะ ดรุ งคเดช โรงพยาบาลล�ำ พนู จังหวัดลำ�พูน นายแพทย์ณฐั วุฒิ ชอ่มุ เกฤษ โรงพยาบาลราชบุรี จงั หวัดราชบุรี นายแพทยอ์ นิรตุ วรวาท โรงพยาบาลพระปกเกล้า จงั หวดั จนั ทบรุ ี นายแพทยภ์ ทั รพงษ์ สินประจกั ษ์ผล โรงพยาบาลสงขลา จงั หวดั สงขลา แพทยห์ ญงิ สุธิดา บชู ติ รตั นคุณ โรงพยาบาลสุราษฎรธ์ านี จังหวัดสรุ าษฎรธ์ านี นายแพทยธ์ ญั ญศักด์ิ เอกเวชวิท โรงพยาบาลพุทธโสธร จงั หวัดฉะเชงิ เทรา นางกนกนาค หงสกลุ ส�ำ นักบรหิ ารสาธารณสุข นางสาวศิรนิ ภา ยะจา สำ�นักบรหิ ารสาธารณสขุ ผู้สนับสนนุ งบประมาณ มูลนธิ เิ อเชีย ประเทศไทย (The Asia Foundation) A
คำ�นิยม ภารกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ถือเป็น หน้าที่หลักของกระทรวงสาธารณสุข ซ่งึ ไม่เพียงความรบั ผดิ ชอบ ตอ่ การเจบ็ ปว่ ยของผปู้ ว่ ยเทา่ นน้ั แตย่ งั เปน็ การปฏบิ ตั งิ านทอ่ี าศยั ความรทู้ างวชิ าชพี ดา้ นน้ี เพอื่ อ�ำนวยประโยชนต์ อ่ ประชาชนและสงั คม โดยรวมอกี ดว้ ย งานดา้ นนติ เิ วชศาสตรจ์ งึ เปน็ ภารกจิ ส�ำคญั อยา่ งหนง่ึ ทน่ี อกจากจะเกย่ี วขอ้ งกบั ผปู้ ว่ ยทม่ี ารบั บรกิ ารในโรงพยาบาลแลว้ ยังเก่ียวข้องกับผู้เสียชีวิตและกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย ที่เรียกร้องให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ได้ใช้ความรู้ ความสามารถในการตอบค�ำถามที่เกิดข้ึน และค้นหาความจริง ซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญในการบงั คบั ใชก้ ฎหมายอยา่ งเป็นธรรม กระทรวงสาธารณสขุ ซ่งึ เปน็ หน่วยงานหลักของประเทศ ท่ีมีบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขเป็นจ�ำนวนมากที่สุด และกระจายภารกจิ ครอบคลมุ พนื้ ทรี่ บั ผดิ ชอบไดท้ ว่ั ถงึ ทง้ั ประเทศ ตระหนักว่าการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ รวมถึงงานด้าน นติ ิเวชศาสตรท์ เ่ี ป็นงานของแพทย์โดยแท้นน้ั ถอื เป็นหน้าท่หี ลกั อย่างหนงึ่ ที่กระทรวงฯ จะต้องจดั ใหม้ ีบริการได้อยา่ งท่วั ถึงและมี ประสทิ ธภิ าพ เพอ่ื ตอบสนองตอ่ ภารกจิ ของรฐั และเชอ่ื มโยงหนา้ ท่ี ในฐานะกลไกของบา้ นเมอื ง เข้ากับกลไกอนื่ ๆ รวมถงึ กลไกของ กระบวนการยตุ ธิ รรม อนั จะน�ำความผาสกุ เรยี บรอ้ ยแกป่ ระชาชน และสงั คม B
คู่มือการปฏิบัติงานนิติเวช (ส�ำหรับแพทย์และบุคลากร ทางการแพทย)์ กระทรวงสาธารณสขุ เลม่ น้ี จงึ เกดิ ขน้ึ มาโดยด�ำริ ของกระทรวงสาธารณสขุ รว่ มกบั การสนบั สนนุ จากหนว่ ยงานอนื่ ๆ ท้ังภาครฐั และเอกชน อาทิ สมาคมแพทย์นติ เิ วชแหง่ ประเทศไทย ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทยในสังกัดแพทยสภา สถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานในกองทัพ และส�ำนักงาน ต�ำรวจแห่งชาติ ฯลฯ ที่ได้จัดท�ำแนวทางปฏิบัติงานให้ง่ายและ เป็นระบบต่อการใช้งาน ทั้งต่อแพทย์ เจ้าหน้าที่และบุคลากร ทางการแพทย์ ที่ต้องปฏิบัติงานด้านนิติเวชศาสตร์ ท้ังใน โรงพยาบาลและหนว่ ยงานสาธารณสขุ สงั กดั กระทรวงสาธารณสขุ และยงั อาจรวมถงึ หน่วยงานดา้ นการแพทย์และสาธารณสขุ อ่ืน ๆ และผูส้ นใจโดยทัว่ ไปอีกด้วย ขอขอบคุณ บรรณาธิการ ผู้จัดท�ำเนื้อหา และคณะ ท�ำงานทกุ ท่าน ทไ่ี ดเ้ สยี สละแรงกาย แรงใจ และก�ำลงั สติปญั ญา รวบรวมความรู้และประสบการณ์อันมีค่า จัดท�ำหนังสือเล่มนี้ มอบใหเ้ ปน็ สมบตั ขิ องชาตโิ ดยไมค่ ดิ ประโยชนส์ ว่ นตวั ใด ๆ และท่ี ส�ำคญั ยิง่ คอื ขอขอบคุณมูลนิธิเอเชยี (The Asia Foundation) ผู้ทใ่ี ห้การสนับสนนุ งบประมาณในการจดั ท�ำคมู่ ือฯ เลม่ นี้ หวงั เปน็ อย่างย่ิงวา่ ประโยชน์ทเ่ี กิดขึน้ จากหนังสอื เล่มน้ี จะส่งผลอนั ส�ำคัญต่อทกุ ภาคส่วนท่เี ก่ยี วขอ้ ง โดยเฉพาะอย่างย่ิง ตอ่ คณุ ภาพชวี ติ และสงั คมของประชาชนผเู้ ปน็ เจา้ ของประเทศตอ่ ไป นายแพทยณ์ รงค์ สหเมธาพฒั น์ ปลดั กระทรวงสาธารณสขุ C
ค�ำ นิยม คมู่ อื การปฏบิ ตั งิ านนติ เิ วช (ส�ำหรบั แพทยแ์ ละบคุ ลากร ทางการแพทย์) ท่ีจัดท�ำโดยกระทรวงสาธารณสุข ซ่ึงอยู่ในมือ ของท่านเลม่ น้ี จะสามารถตอบโจทย์ทที่ า่ นสงสยั ไดใ้ นทุกค�ำถาม ไม่เฉพาะแพทย์และเจ้าหน้าท่ีที่เกี่ยวข้องกับงานนิติเวชเท่าน้ัน หากยงั ครอบคลมุ ถงึ บคุ ลากรทางการแพทยแ์ ละเจา้ หนา้ ทสี่ าธารณสขุ ในทกุ ระดบั ทงั้ ในโรงพยาบาลศนู ย์ โรงพยาบาลทว่ั ไป ตลอดจนถงึ โรงพยาบาลชุมชน ในสังกดั ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงาน ด้านการแพทยแ์ ละสาธารณสุขทม่ี ีปญั หาทางนิติเวชศาสตร์ และ ยงั ใช้งานไดก้ ับผ้ทู ส่ี นใจใฝร่ ้ทู ่วั ไปดว้ ย ขอขอบคุณแพทย์นิติเวชและคณะท�ำงานทุกท่าน ทร่ี วบรวมขอ้ มลู องคค์ วามรไู้ ดห้ ลากหลาย ละเอยี ดถกู ตอ้ ง สามารถ น�ำไปปฏิบตั ไิ ด้โดยง่าย D
ขอขอบพระคุณ ส�ำนักบริหารการสาธารณสุข ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ท่ีได้จัดพิมพ์หนังสือ เล่มนี้ เพอ่ื เผยแพร่ใหแ้ กบ่ ุคลากรทางการแพทย์ ได้น�ำไปพัฒนา ระบบงานนิตเิ วช เพ่มิ พูนประสิทธภิ าพ ประสบความส�ำเร็จ และ เกดิ ประโยชนส์ ูงสุดตอ่ ส่วนรวมตอ่ ไป ศาสตราจารยค์ ลินกิ เกยี รติคุณ นายแพทยส์ มชาย ผลเอ่ียมเอก นายกสมาคมแพทย์นติ เิ วชแห่งประเทศไทย E
ค�ำ นยิ ม เวชปฏิบัติทางนิติเวชศาสตร์ เป็นเวชปฏิบัติท่ีมี ความส�ำคัญอย่างย่ิงส�ำหรับแพทย์ โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน ที่ผู้รับบริการต้งั ความหวังต่อแพทย์ไว้สงู การประกอบเวชปฏิบัติ จึงควรให้ความสนใจ ที่จะท�ำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้ ความหวังดขี องเราต่อผู้ปว่ ยเกดิ ผลในทางลบ คูม่ ือการปฏบิ ัตงิ านนติ ิเวชเลม่ นเ้ี ขยี นโดย แพทยน์ ติ เิ วช ผเู้ ชยี่ วชาญหลายทา่ นจากหลายสถาบนั เปน็ การรวบรวมทง้ั ทฤษฎี และประสบการณ์ ข้อควรปฏิบัติ และข้อควรระวังที่ครอบคลุม เน้ือหาอย่างครบถ้วนในการท�ำงานดา้ นนิตพิ ยาธวิ ิทยา (Forensic Pathology) นิติเวชคลินิก (Clinical Forensic Medicine) นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) นิตซิ โี รโลยี ชวี วทิ ยาและ วตั ถพุ ยาน (Forensic Biology and Serology) เคมวี เิ คราะหแ์ ละ นิติพิษวทิ ยา (Analytical Chemistry and Forensic Toxicology) และ การประยกุ ตใ์ ชห้ ลกั กฎหมายและเวชจรยิ ศาสตร์ (Medical Ethics) เปน็ คมู่ อื ทอ่ี า่ นงา่ ย เหมาะสมส�ำหรบั นสิ ติ นกั ศกึ ษาแพทย์ F
แพทยท์ วั่ ไป และแพทยส์ าขาอนื่ ๆ รวมถงึ บคุ ลากรทางการแพทย์ เป็นประโยชน์อย่างมากที่จะช่วยให้แพทย์ทั้งหลายและบุคลากร ทางการแพทยไ์ ด้ประกอบวิชาชพี ได้อย่างถกู ต้อง ขอช่ืนชมผู้แต่งทุกท่านที่ได้เสียสละเวลา แรงกายและ แรงใจทท่ี �ำให้คู่มอื เล่มน้ีมคี วามสมบรู ณ์ และใชอ้ า้ งองิ ไดต้ ่อไป ศาสตราจารย์ นายแพทยพ์ งษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ ประธานราชวทิ ยาลัยพยาธิแพทยแ์ ห่งประเทศไทย G
ค�ำ นิยม การประกอบวชิ าชพี แพทยแ์ ละการสาธารณสขุ เปน็ การ ปฏบิ ัตงิ านเพ่อื ประโยชน์ต่อเพอ่ื นมนุษย์ โดยทวั่ ไป ยอ่ มสง่ ผล ต่อสังคมด้วย ความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาการและแนวทาง ปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสม ถือเป็นเร่ืองท่ีส�ำคัญอย่างยิ่งต่อ ผลสัมฤทธิ์ท่ีพึงปรารถนา และประเด็นปัญหาทางนิติเวชศาสตร์ ยอ่ มแทรกอยใู่ นเวชปฏบิ ตั ทิ วั่ ไป รวมถงึ กระบวนการทางสาธารณสขุ อยเู่ สมอ ดงั นนั้ ความรคู้ วามเขา้ ใจในศาสตรด์ งั กลา่ วรวมถงึ แนวทาง ในการปฏิบัติ เพื่อจัดการกับประเด็นทางนิติเวชศาสตร์ท่ีพบเจอ จงึ ตอ้ งบม่ เพาะใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพ และมงุ่ ตอ่ ประโยชนท์ ง้ั ผทู้ ไี่ ดร้ บั ผลนน้ั เอง รวมไปถงึ กระบวนการยตุ ธิ รรมทเ่ี ปน็ ผใู้ ชผ้ ลดงั กลา่ วดว้ ย คมู่ อื การปฏบิ ตั งิ านนติ เิ วชเลม่ น้ี ไดร้ วบรวมองคค์ วามรแู้ ละ ประสบการณไ์ วเ้ ปน็ พน้ื ฐาน และยงั ไดจ้ ดั ระเบยี บแนวความคดิ จนถงึ วางแนวทางปฏบิ ตั ทิ เี่ หมาะสม เพอื่ ใหผ้ ทู้ เ่ี กยี่ วขอ้ งในระดบั ตน้ คอื แพทยท์ ว่ั ๆ ไปและบคุ ลากรทางการแพทย์ ไดน้ �ำไปประยกุ ตใ์ ชใ้ ห้ เกดิ ประโยชนต์ อ่ วชิ าชพี นอกจากนี้ ยงั จดั วางประเดน็ และตรรกะ H
ความคดิ ทน่ี า่ จะเปน็ ประโยชนท์ างวชิ าการส�ำหรบั นกั ศกึ ษาแพทย์ และแพทย์ประจ�ำบ้านในสาขานิติเวชศาสตร์ รวมถึงผู้ท่สี นใจใฝ่รู้ ทว่ั ไปไดอ้ ีกทางหนง่ึ ขอแสดงความชื่นชมในความสามารถ ประสบการณ์ และความอุตสาหะของผู้แต่งทุกท่าน ที่ได้สละเวลาอันมีค่า เพอ่ื อทุ ศิ ผลงานอนั เปน็ คณุ ประโยชนต์ อ่ วงการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ รวมไปถึงผลที่ได้ต่อประชาชนโดยท่ัวไป และหวังเป็นอย่างย่ิงว่า จะอ�ำนวยความยุติธรรมต่อประเทศชาติได้เทียบเท่ามาตรฐาน ของอารยประเทศต่อไป รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมบูรณ์ ธรรมเถกงิ กจิ ประธานคณะอนุกรรมการฝกึ อบรมและสอบฯ สาขานิติเวชศาสตร์ ราชวทิ ยาลัยพยาธแิ พทย์แห่งประเทศไทย I
คำ�นำ� งานด้านนิติเวชศาสตร์เป็นงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ท่ีเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกในสังคม ทั้งผู้ป่วยและผู้ตาย โดยตอบสนองต่อปัญหารายบุคคล และต่อระบบการปกครองด้วยกฎหมาย ท�ำให้งานด้านนี้ ดูเหมือนเป็นงานในกระบวนการยุติธรรม แต่แท้ท่ีจริงแล้ว กลบั เปน็ งานทตี่ อ้ งการความรคู้ วามสามารถทางวทิ ยาศาสตร์ การแพทย์ ควบคไู่ ปกบั ความเขา้ ใจตอ่ ความตอ้ งการของระบบ สงั คมในปจั จบุ นั ทต่ี อ้ งการใหแ้ พทยแ์ ละบคุ ลากรทางสาธารณสขุ ไดต้ ระหนกั วา่ ความเจบ็ ปว่ ยของผปู้ ว่ ยแตล่ ะรายนนั้ นอกจาก จะต้องการการบรกิ ารด้านการรักษาเยยี วยาแล้ว ยงั ต้องการ ความเหน็ ทางการแพทย์ ในเรอ่ื งการเจ็บป่วย ซ่งึ อาจจะเปน็ อันหน่ึงอันเดียวกับปัญหาข้อพิพาทหรือการเรียกร้องสิทธิ ที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมาย หรืออาจจะเป็นสาเหตุของ การเจบ็ ปว่ ยนนั้ ดว้ ยเหตนุ ี้ แพทยแ์ ละบคุ ลากรทางการแพทย์ จงึ ไมอ่ าจหลกี เลยี่ งหรอื ปฏเิ สธการด�ำเนนิ การทางนติ เิ วชศาสตร์ ต่อผปู้ ว่ ยที่มารับบริการได้เลย ภารกิจดังกล่าวจึงตกอยู่กับบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงาน ของรัฐที่เป็นแกนหลักของระบบการให้บริการและรับภาระ ที่มีปริมาณงานที่มากที่สุดของประเทศ อย่างไรก็ตาม J
กลบั พบวา่ มบี คุ ลากรทางการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ จ�ำนวนมาก ยังขาดแนวทางการจัดการความรู้ที่สามารถน�ำไปปฏิบัติงาน ด้านนิติเวชศาสตร์ได้จริง ท�ำให้ไม่ม่ันใจในกระบวนการ ชันสูตรพลกิ ศพและการดแู ลผ้ปู ว่ ยทางนติ ิเวชคลนิ ิก รวมไป ถึงกระบวนการจัดการและความรับผิดชอบเก่ียวเนื่องอย่าง เปน็ ระบบ ดงั นนั้ ส�ำนกั บริหารการสาธารณสุข ส�ำนักงาน ปลดั กระทรวงสาธารณสขุ จงึ ไดม้ ดี �ำรทิ จี่ ะรวบรวมองคค์ วามรู้ ทางด้านนิตเิ วชศาสตรใ์ ห้เป็นระบบที่เหมาะสมในการปฏบิ ัติ คู่มือการปฏิบัติงานนิติเวช (ส�ำหรับแพทย์และ บคุ ลากรทางการแพทย)์ เลม่ น้ี มคี วามมงุ่ หมายส�ำคญั ส�ำหรบั บุคลากรทางการแพทย์ ไดใ้ ช้เปน็ ประโยชน์ เพอื่ เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานจริง ๆ ทั้งงานด้านนิติพยาธิวิทยา เช่น การชันสูตรพลิกศพ ด้านนิติเวชคลินิกส�ำหรับการตรวจ ผู้ป่วยคดี ด้านเวชศาสตร์ชันสูตรส�ำหรับการเก็บและ แปลผลสงิ่ สง่ ตรวจทเ่ี ปน็ วตั ถพุ ยานทางการแพทย์ และการให้ ความเหน็ ทางนติ เิ วชศาสตร์ ซงึ่ เปน็ หวั ใจส�ำคญั ของงานดา้ นน้ี รวมไปถึงหลักการจัดการและความรู้ส�ำหรับน�ำไปใช้ปฏิบัติ ในเรอ่ื งทเี่ กย่ี วขอ้ งและพบไดบ้ อ่ ย แนวคดิ หลกั ของการวางเนอื้ หา ในหนงั สอื จงึ มไิ ดม้ งุ่ หวงั จะใหม้ รี ายละเอยี ดเชน่ เดยี วกบั ต�ำรา ซึ่งสามารถหาอ่านได้มากมายในท้องตลาดท้ังภาษาไทยและ ภาษาอน่ื หากแตจ่ ะสรา้ งสรรคใ์ หอ้ อกมาเพอ่ื วางกรอบประเดน็ ทางความคิดและแนวทางในการลงมือปฏิบัติที่ส�ำคัญ ๆ อยา่ งยน่ ยอ่ กระชบั และครอบคลมุ ปญั หาทพ่ี บไดบ้ อ่ ยและสมควร K
จดั การไดด้ ้วยตนเอง รวมถงึ เปน็ ท่ีปรึกษาคกู่ ายติดไมต้ ดิ มอื ในยามท่ีต้องการท่ามกลางสถานการณ์จริง และยังอาจจะมี ประโยชนต์ อ่ การศกึ ษาในวชิ านติ เิ วชศาสตรข์ องนกั เรยี นแพทย์ รวมถงึ ผสู้ นใจทว่ั ไปดว้ ย บรรณาธิการตระหนักดีว่า ความรู้ความเข้าใจ ในเนอื้ หาวชิ าตา่ ง ๆ ยอ่ มตอ้ งมคี วามลกึ ซง้ึ ลดหลน่ั กนั ไปตาม ความถนดั และความเชี่ยวชาญของแต่ละคน ดังนน้ั เราจึงได้ วางแนวทางของเน้ือหาและกลั่นกรองรายละเอียดของผู้แต่ง ในแตล่ ะบท พรอ้ มทงั้ ดดั แปลงแกไ้ ขตกแตง่ จนคดิ วา่ เขา้ กนั ได้ กบั แนวคดิ ทไ่ี ดว้ าดหวงั ไวม้ ากทสี่ ดุ ในท�ำนองทว่ี า่ “เดก็ อา่ นได้ ผู้ใหญ่อ่านดี” คือ ได้ทั้งความรู้ความเข้าใจเป็นการทั่วไป หรือสามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างเป็นข้ันเป็นตอนจริง ๆ ฉะนั้น จะมีเน้อื หาในบทท่ีจ�ำเป็น “ตอ้ งร”ู้ ทเี่ ข้มข้น เนอื้ หา ในบทประกอบที่ “ควรร”ู้ พอสังเขปและกระชับ และเนอื้ หา ในบทท่ี “นา่ ร”ู้ ท�ำนอง “รไู้ วใ้ ชว่ า่ ใสบ่ า่ แบกหาม” ตามสมควร ดงั ทปี่ รากฏในค�ำแนะน�ำหนงั สอื ในสว่ นถดั ไป และยงั ไดบ้ รรจุ ชอ่ื บททเ่ี กย่ี วขอ้ งเชอ่ื มโยงและสามารถเทา้ ความถงึ กนั และกนั แทรกไวใ้ นสว่ นตา่ ง ๆ ดว้ ยในแนวเดยี วกนั กบั การเปดิ ดแู ผนที่ หรอื การอ่านหนังสือพมิ พ์ อย่างไรก็ดี ความเข้าใจในเน้ือหาวิชาการท่ีแท้จริง อยา่ งลกึ ซง้ึ และกวา้ งขวางนน้ั อาจจะมปี ระโยชนต์ อ่ การน�ำไป ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องม่ันใจย่ิงขึ้น ซ่ึงเนื้อหาของหนังสือ เล่มน้ีไม่อาจตอบสนองต่อเป้าหมายท่ีว่าน้ันได้ทั้งหมด L
เราไดแ้ ตเ่ พยี งวางกรอบประเดน็ วางตรรกะความคดิ และชแ้ี นะ แนวทางจากประสบการณ์จากการปฏิบัติมาอย่างช�่ำชองของ ผู้เขยี นแต่ละท่าน ดงั นั้น เมือ่ ท่านได้อ่านหนงั สอื จนสามารถ น�ำไปใช้งานได้ แต่ยังติดใจหรือใคร่รู้ใฝ่ค้นหาท่ีจะสืบค้น ความร้ทู างวชิ าการ หรือไตร่ตรองเนื้อหาอยา่ งมีวจิ ารณญาณ อันเป็นเป้าหมายและปรัชญาการศึกษาที่น่าชื่นชมยิ่งนั้น เรากไ็ ด้แนะน�ำเอกสารทางวิชาการ หรอื หนงั สือต�ำราทคี่ ดิ ว่า เหมาะสม ใหเ้ ปน็ แหล่งค้นควา้ เพมิ่ เติมตอ่ ไปได้ หนังสือทั้งเล่มเกิดขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์ตามที่ท่าน ถอื อย่นู ี้ เพียงเพราะบรรณาธกิ ารกห็ าไดไ้ ม่ หากแต่เกดิ จาก ความอุตสาหะย่ิงของผู้แต่งทุกท่านท่ีได้สละเวลาจากงาน ประจ�ำในหนา้ ที่ เพอ่ื มาอทุ ศิ โดยไมห่ วงั สนิ จา้ งรางวลั ใหก้ บั งาน ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบ แต่กลับท�ำด้วยความเต็มใจ โดยถือว่าเป็นหน้าท่ีอย่างหนึ่งต่อส่วนรวม อันเป็นส่ิงท่ีวิชา นติ เิ วชศาสตร์ ไดม้ ลี มหายใจของมนั เปน็ ปกตวิ สิ ยั อยา่ งนเี้ สมอมา นอกจากน้ียังขอขอบคุณในน�้ำใจและความเสียสละ ของคณะผู้จัดท�ำทุกท่านจากส�ำนักบริหารการสาธารณสุข ส�ำนกั งานปลดั กระทรวงสาธารณสขุ ทที่ มุ่ เทใหก้ บั การจดั ท�ำรปู เลม่ ใหน้ ่าใชส้ อยในเวลาอันจ�ำกัดย่ิง ท้งั ทีม่ ีรายนามปรากฏอย่ใู น ภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้หรือผู้ที่ปิดทองหลังพระก็ตาม รวมไปถึงผู้บงั คับบญั ชาในส�ำนกั ฯ และนายแพทย์พรเพชร ปญั จปยิ ะกลุ ทไ่ี ดส้ นบั สนนุ และอ�ำนวยการจดั ท�ำ แตอ่ ยา่ งไร กต็ าม บรรณาธกิ ารขอกลา่ วนามของผทู้ ม่ี สี ว่ นเปน็ พเิ ศษ ไดแ้ ก่ M
นายแพทยท์ ศนยั พพิ ฒั นโ์ ชตธิ รรม แหง่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลมิ พระเกียรติ ท่ไี ดจ้ ดั การประสานงานและอ�ำนวยการใน หลาย ๆ สว่ นจนท�ำใหง้ านส�ำเรจ็ , อาจารย์นายแพทยม์ าโนช โชคแจม่ ใส แหง่ ภาควชิ านิตเิ วชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่ และ แพทย์หญิงวรทั พร สิทธจิ รญู แห่งภาควิชานติ เิ วชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรนี ครทิ รวโิ รฒ ทไี่ ดพ้ สิ จู นอ์ กั ษร และคณุ กนกนาค หงสกลุ ท่ีได้จัดการเรอ่ื งตา่ ง ๆ จนเรยี บรอ้ ยลลุ ่วง เพอื่ ใหก้ ารจดั ท�ำหนงั สอื ทง้ั เลม่ เปน็ ผลงานและสมบตั ิ อันภาคภมู ิใจ ภาพประกอบท้ังหลายในหนังสือเลม่ นี้ จงึ เป็น ภาพสว่ นตวั ของผเู้ ขยี นแตล่ ะทา่ นโดยไมไ่ ดค้ ดั ลอกมาจากทใี่ ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ีต้องกล่าวถึงไว้ด้วยความขอบคุณและ ซาบซง้ึ ในนำ้� ใจ กค็ ือ ภาพวาดลายเส้นกราฟฟิกอันสวยงาม ส�ำหรับประกอบความเข้าใจในเน้ือหาการปฏิบัติ ท่ีปรากฏ อยูใ่ นหนังสอื เล่มน้ี เกดิ จากฝีมอื ของ คุณมณีรัตน์ สายทอง นกั วชิ าการโสตทศั นศกึ ษาทางการแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์ ศริ ริ าชพยาบาล มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล ทไ่ี ดจ้ ดั ท�ำใหอ้ ยา่ งเตม็ ใจ และกระตือรือร้นอย่างย่ิงในทันทีที่ได้รับการร้องขอ และยัง อนุญาตใหล้ งตพี มิ พโ์ ดยไม่คดิ คา่ ลขิ สิทธห์ิ รอื ค่าตอบแทนใด ค�ำขอบคณุ ในทา้ ยทสี่ ดุ นี้ คงขาดไปเสยี มไิ ด้ เนอ่ื งดว้ ย การสนบั สนนุ ทนุ ทรัพย์จากมูลนิธเิ อเชีย ประเทศไทย ท�ำให้ เกดิ หนงั สอื เลม่ นใี้ นฉบบั พมิ พค์ รงั้ แรกขน้ึ ความมงุ่ หมายของ ทา่ นเปน็ ไปตามวตั ถปุ ระสงคข์ ององคก์ ร ทตี่ อ้ งการใหเ้ กดิ สงั คม N
ทดี่ ี มหี ลกั นติ ธิ รรม และอ�ำนวยความยตุ ธิ รรมตอ่ สทิ ธพิ นื้ ฐาน ของมนษุ ยชาติโดยทัว่ ถึงอย่างเทา่ เทยี ม ถึงกระนั้น การท�ำงานทุกอย่างย่อมมีข้อผิดพลาด บกพรอ่ งได้ ในนามของส�ำนกั บรหิ ารการสาธารณสขุ ส�ำนกั งาน ปลัดกระทรวงสาธารณสขุ ใคร่ขอนอ้ มรับไวท้ ัง้ หมด และหวัง เปน็ อย่างย่ิงว่า จะไดร้ บั ค�ำแนะน�ำทีม่ คี า่ จากท่าน เพื่อน�ำมา ปรบั ปรงุ ตอ่ ไปในอนาคตทเี่ หมาะสม อยา่ งไรกต็ าม หากหนงั สอื เล่มน้ีจะมีประโยชนอ์ นั ดีงามปรากฏใหเ้ ห็นอยู่บ้าง กข็ ออุทศิ ความดนี นั้ แด่ “คร”ู ทง้ั หลายนบั ตงั้ แต่ “ครคู นแรก” ซงึ่ ทา่ น เหล่านั้น เปรียบเสมือนอิฐที่ถมอยู่ก้นบ่อท่ีใครก็มองไม่เห็น แต่เป็นฐานรากให้มีอาคารทางวิชาการนี้พ้นขึ้นมาและตั้งอยู่ ไดอ้ ย่างสงา่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่าน จะได้ใช้สอยเน้ือหา ในหนังสือได้อย่างสมประโยชน์ เพื่อให้วิชานิติเวชศาสตร์ ได้มีโอกาสอ�ำนวยความผาสุกแก่ผู้คนในสังคมได้อย่าง เท่าเทียมเสมอภาค และน�ำไปสู่การแก้ไขข้อพิพาทอย่างเปน็ ภาวะวิสัยตามกรอบกติกาของกฎหมาย ด้วยการพิสูจน์ ความจริงเชิงประจักษท์ เ่ี ท่ยี งแท้และเปน็ นริ ันดร์ นติ กิ ร โปรสิ วาณชิ ย์ กันต์ ทองแถม ณ อยธุ ยา บรรณาธิการ O
สารบญั ค�ำนิยมปลัดกระทรวงสาธารณสขุ B ค�ำนยิ มนายกสมาคมแพทยน์ ิตเิ วชแห่งประเทศไทย D ค�ำนิยมประธานราชวทิ ยาลัยพยาธิแพทยแ์ ห่งประเทศไทย F ค�ำนิยมประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ H สาขานิติเวชศาสตร์ ราชวทิ ยาลัยพยาธิแพทยแ์ ห่ง J ประเทศไทย P ค�ำน�ำ T สารบัญ V สารบญั ภาพ X สารบัญตาราง 1 ค�ำแนะน�ำการใช้ 7 19 บทท่ี 1 งานดา้ นนติ ิเวชศาสตร์ในเวชปฏิบตั ิทั่วไป 35 บทที่ 2 หลักและวธิ กี ารชันสตู รพลกิ ศพ 47 บทที่ 3 การตรวจสถานที่เกิดเหตรุ ่วมกับเจา้ พนักงาน 55 บทท่ี 4 การถ่ายภาพทางนิตเิ วชศาสตร์ 69 บทที่ 5 รายงานการชนั สูตรพลิกศพ บทท่ี 6 หนงั สอื รบั รองการตาย บทที่ 7 หลกั การพสิ ูจนเ์ อกลกั ษณบ์ ุคคล P
บทท่ี 8 การจดั การศพท่ตี ายเปน็ จ�ำนวนมาก 75 และกรณภี ัยพบิ ตั ิ 81 บทที่ 9 การประมาณเวลาตาย 91 บทท่ี 10 การชนั สูตรบาดแผลทางนิตเิ วชศาสตร์ 95 บทที่ 11 Blunt Force Injury 101 บทท่ี 12 sharp Force Injury 109 บทที่ 13 Traffic Injury and Fall 117 บทที่ 14 บาดแผลกระสนุ ปนื และวตั ถรุ ะเบิด 125 บทที่ 15 Asphyxia 143 บทท่ี 16 Drowning and Submersion Injury 149 บทท่ี 17 Physical Agents 165 บทท่ี 18 การถกู ทอดทิ้งจนเจบ็ ป่วยหรือเสยี ชวี ิต (Neglect) 171 บทท่ี 19 แนวทางการปฏิบัตใิ นการตรวจผปู้ ว่ ย 181 หรือผู้บาดเจ็บจากการถูกซ้อมทรมาน 197 บทที่ 20 Child Abuse and Infanticide 215 บทที่ 21 Rape and Sexual Offense 221 บทท่ี 22 Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) 233 และ Sudden Unexpected Death in Infancy (SUDI) บทท่ี 23 การตายท่ีเกย่ี วเนอ่ื งกบั การรกั ษา บทที่ 24 หลักการตรวจและให้ความเหน็ ทางนติ เิ วชคลนิ กิ Q
บทที่ 25 การตรวจผปู้ ่วยทางนติ ิเวชคลินกิ 243 ที่มลี กั ษณะเฉพาะบางประการ 249 บทท่ี 26 การเขยี นรายงานทางนิตเิ วชคลนิ กิ เก่ยี วกบั 259 การบาดเจบ็ 271 บทที่ 27 การเขียนรายงานผู้ป่วยหรอื ผู้ต้องหา 281 ในคดคี วามผิดทางเพศ 289 บทท่ี 28 การเขียนหนงั สอื รับรองทางการแพทยท์ ส่ี �ำคัญ 299 บทที่ 29 การเกบ็ สิ่งสง่ ตรวจทางนิติเวชศาสตร์ 315 บทท่ี 30 หลกั การทางนติ ิพิษวทิ ยาทสี่ �ำคญั 329 บทที่ 31 เรอื่ งทางนติ ิพษิ วิทยาที่พบได้บอ่ ย 339 บทท่ี 32 แอลกอฮอล์ 347 บทที่ 33 ส่ิงส่งตรวจทางพิษวิทยา 355 บทที่ 34 การเปน็ พยานศาลของแพทย์ 361 บทที่ 35 ความปลอดภัยกบั การปฏิบัตงิ านเก่ยี วกับศพ บทที่ 36 การชันสูตรศพมสุ ลมิ บทท่ี 37 การเปดิ เผยขอ้ มลู ด้านสขุ ภาพ จากประวัติการรกั ษาหรือเวชระเบยี นผูป้ ว่ ย R
หนงั สือทแี่ นะน�ำเปน็ แหลง่ คน้ ควา้ เพิ่มเติม 369 ภาคผนวก ก 377 • (ส�ำเนา) ค�ำสัง่ กระทรวงสาธารณสขุ ที่ 1735/2556 แตง่ ตัง้ คณะกรรมการอ�ำนวยการและคณะท�ำงาน จัดท�ำคู่มอื การปฏิบัตงิ านนิติเวช (ส�ำหรับแพทย์และบุคลากรทางการ แพทย์) กระทรวงสาธารณสุข • (ส�ำเนา) ค�ำสัง่ กระทรวงสาธารณสุข ที่ 1946/2556 แตง่ ตง้ั คณะกรรมการอ�ำนวยการและคณะท�ำงาน จัดท�ำค่มู อื การปฏบิ ัตงิ านนิติเวช (ส�ำหรับแพทยแ์ ละบคุ ลากร ทางการแพทย)์ กระทรวงสาธารณสขุ (เพิ่มเติม) ภาคผนวก ข 389 รายชือ่ หนว่ ยงานในประเทศไทย ท่ีมกี ารด�ำเนินงานนิตเิ วช ภาคผนวก ค 403 ประมวลภาพสีในเลม่ S
สารบญั ภาพ ภาพท่ี 4.1 ตัวอยา่ งการถ่ายภาพสถานท่ีเกิดเหต ุ 44 ภาพที่ 4.2 ตัวอยา่ งการถ่ายภาพศพ 45 ภาพที่ 4.3 ตัวอย่างการถา่ ยภาพบาดแผล 46 ภาพที่ 5.1 แสดงรายงานของต�ำรวจ 49 ที่ใชเ้ ปน็ บันทกึ รายละเอยี ด ภาพที่ 5.2 แสดงแบบรายงานของแพทย์ที่ต�ำรวจมใี ห้ 50 (อยูใ่ นหน้าหลังของภาพท่ี 5.1) ภาพที่ 6.1 แสดงหนงั สอื รบั รองการตายแบบ ท.ร. 4/1 58 ภาพที่ 11.1 แสดง patterned injury 96 ภาพท่ี 11.2 แสดง tramline contusion 97 ภาพที่ 11.3 แสดง blunt penetrating wound 98 ภาพที่ 12.1 แสดง tissue bridging 103 ภาพท่ี 12.2 แสดง cut wound 103 ภาพท่ี 12.3 แสดง stab wound 104 ภาพที่ 12.4 แสดงการวดั บาดแผล 105 ภาพที่ 12.5 แสดงการวัดบาดแผลเมอื่ ขอบบาดแผล 106 อยชู่ ดิ กนั (approximated wound) ภาพที่ 21.1 แสดงท่าทาง supine frog-leg 205 ส�ำหรบั genital approach ในผู้ป่วยเด็กโต ภาพที่ 21.2 แสดงทา่ ทาง Knee-chest 206 ส�ำหรับ genital approach ในผ้ปู ว่ ยเดก็ เลก็ T
ภาพที่ 26.1 แสดงหน้าแรกของแบบใบน�ำสง่ 252 ผู้บาดเจ็บให้แพทย์ตรวจของต�ำรวจ 253 265 ภาพท่ี 26.2 แสดงหน้าหลงั ทเี่ ป็นส่วนที่แพทยใ์ ช้ 266 ส�ำหรบั เขียนรายงาน 274 287 ภาพที่ 27.1 ตัวอยา่ งใบน�ำสง่ จากพนกั งานสอบสวน 334 ภาพท่ี 27.2 ตัวอยา่ งรายงานชนั สูตรบาดแผล 335 336 ผถู้ ูกลว่ งละเมดิ ทางเพศ ภาพที่ 28.1 แสดงรูปแบบการกรอกใบรับรองแพทย ์ ภาพที่ 29.1 สรุปแนวทางการเก็บชีววัตถุพยาน ภาพที่ 33.1 แสดงการเจาะ femoral vein ด้วย open technique ภาพที่ 33.2 การท�ำ suprapubic aspiration เพื่อเกบ็ ปัสสาวะ ภาพท่ี 33.3 การเจาะและเกบ็ vitreous humor (น�ำ้ ลูกตา) U
สารบัญ ตาราง ตาราง 9.1 สรุปแนวทางส�ำหรับแปลผลการตรวจ 88 ประมาณเวลาตาย จากการเปล่ยี นแปลง ภายหลังตายเบอื้ งต้น ตาราง 14.1 การวนิ ิจฉัยบาดแผลกระสุนปนื ชนดิ ตา่ ง ๆ 120 ตารางท่ี 15.1 เปรยี บเทียบความแตกตา่ ง 138 ระหว่างการแขวนคอกับการถกู รัดคอ ตารางที่ 15.2 แสดงขอ้ แตกตา่ งระหว่าง traumatic 141 และ positional asphyxia ตารางที่ 20.1 ความแตกต่างของ accidental 185 injuries และ NAI ตารางท่ี 31.1 organophosphate และ carbamate 303 ทใี่ ช้บ่อยในไทย ตารางที่ 31.2 detection time ของสารเสพตดิ 313 และยา ใน urine ตารางที่ 32.1 ระดบั แอลกอฮอลใ์ นเลือด 317 กับอาการทางคลินิก ตารางที่ 33.1 ปรมิ าณและลกั ษณะสง่ิ สง่ ตรวจ 337 ทางพษิ วิทยา ตาราง 35.1 ระดับความเส่ยี งจากศพใน 353 ขัน้ ตอนการเกบ็ รักษาศพ V
W
ค�ำแนะน�ำการใช้หนังสือ บทที่ “ต้องร”ู้ บทท่ี “ควรรู”้ บทที่ “น่ารู้” บทที่ 1 เป็นภาพรวม บทที่ 7, 9-17 และ 20-22 บทท่ี 8, 18 และ 19 ของการปฏบิ ัติงาน เปน็ หวั ขอ้ ทางนติ พิ ยาธิ เปน็ หวั ขอ้ ทเี่ ปน็ ประเดน็ วทิ ยาและนติ เิ วชคลนิ กิ ทางสงั คมและการจดั การ บทท่ี 2-6 เปน็ เรอื่ ง ในกรณีตา่ ง ๆ การชนั สูตรพลกิ ศพ บทท่ี 23, 25 และ 28 บทท่ี 30-32 เปน็ หวั ขอ้ เปน็ ประเดน็ ท่พี บไดใ้ น บทท่ี 24, 26, 27, ทางนิตพิ ษิ วทิ ยา เวชปฏิบตั ิ และ 29 เปน็ เรอื่ งผปู้ ว่ ย ทางนิตเิ วชคลินกิ บทท่ี 34 เป็นเรอ่ื ง บทท่ี 35-37 เปน็ หวั ขอ้ บทท่ี 33 เป็นเรือ่ ง พยานแพทย์ ทางการปฏบิ ตั หิ ลาย ๆ การเก็บส่ิงส่งตรวจท่ี เร่อื งที่ออ่ นไหว จ�ำเปน็ หนังสือเล่มน้ีได้จัดแบ่งหมวดหมู่เนื้อหาตามล�ำดับ ความส�ำคญั ในการปฏบิ ตั ดิ งั ตารางขา้ งบน ทา่ นสามารถเลอื ก อา่ นตามความจ�ำเปน็ ตอ่ การใชง้ าน หรอื ถา้ หากจะอา่ นเอาเรอื่ ง อาจจะอา่ นเนอ้ื หาไลไ่ ปตามล�ำดบั ความส�ำคญั นี้ จะท�ำใหเ้ ขา้ ใจ พื้นฐานเป็นล�ำดับข้ันไป คือ เรื่องท่ี “ต้องรู้” ก่อนเร่ืองที่ “ควรร”ู้ และเรอ่ื งท่ี “นา่ รู้” นอกจากนี้ ลกั ษณะของหนงั สือ ยงั มปี ระเด็น ดงั นี้ 1. เรอ่ื งท่ี “ตอ้ งร”ู้ จะบรรยายเปน็ ขน้ั ตอนทางปฏบิ ตั ิ อย่างละเอียด เป็นเนื้อหาพื้นฐานส�ำหรับปฏิบัติตามเกณฑ์ มาตรฐานของแพทยสภา 2. เร่ืองท่ี “ควรรู้” เป็นเน้ือหาเสริมความเข้าใจ เฉพาะกรณี โดยทา่ นตอ้ งมคี วามรคู้ วามเขา้ ใจเรอ่ื งที่ “ตอ้ งร”ู้ X
เปน็ อยา่ งดีกอ่ น เช่น หากทา่ นต้องออกชันสูตรพลิกศพ หรอื ตรวจผปู้ ว่ ยทถ่ี กู ยงิ ทา่ นตอ้ งรแู้ ละปฏบิ ตั ติ ามหลกั พนื้ ฐานใหไ้ ดก้ อ่ น แล้วท่านอาจจะอ่านบทที่ 14 เกี่ยวกับบาดแผลกระสุนปืน ในบทดงั กลา่ ว เพยี งแตบ่ รรยายเนอ้ื หาพอสงั เขป ไมม่ ากเพยี งพอให้ ทา่ นตรวจวนิ จิ ฉยั และลงความเหน็ ไดอ้ ยา่ งถกู ตอ้ งสมบรู ณแ์ บบ ดงั น้ัน เราจะชีป้ ระเดน็ ในทางปฏิบัตไิ ว้ เพ่ือให้เปน็ แนวทาง 3. เร่อื งท่ี “ควรร้”ู เปน็ เรอ่ื งที่คาบเกย่ี วกันท่ีอาจจะ ใชไ้ ดก้ ับกรณีของศพหรอื ผู้ปว่ ย 4. เรอื่ งที่ “นา่ รู้” เป็นบททเ่ี สรมิ ขน้ึ มา โดยพบวา่ บางทา่ นอาจจะพบกบั ปญั หาเหลา่ นี้ และอาจจะตอ้ งการค�ำแนะน�ำ 5. ในแต่ละบทจะมีวงเล็บดัชนี ที่ชี้ไปยังเนื้อหา ในบทอื่นทเี่ กีย่ วขอ้ งหรอื เทา้ ความถงึ กัน ท�ำให้เนอื้ หาท่ีบรรจุ ไว้ในหนังสือเล่มน้ีส้ันลง ซึ่งท่านสามารถอ่านขยายความได้ จากดชั นชี ี้บทในวงเล็บ 6. ท้ายเล่มจะมีหนังสือหรือเอกสารที่แนะน�ำ ให้เป็นแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม ท่ีท่านสามารถศึกษาต่อได้เอง ในระดับท่ีลึกลงไปได้ หรืออาจจะเป็นเนื้อหาที่น�ำมาอ้างอิง เป็นหลกั ฐานในหนงั สอื เล่มนี้ เราไดค้ ัดสรรมาแลว้ ว่าเอกสาร เหล่าน้มี ีมาตรฐานดที ่ีสดุ และเหมาะสมต่อการศกึ ษา Y
บทท่ี 1 งานดา้ นนิตเิ วชศาสตร์ ในเวชปฏิบตั ทิ ่วั ไป นติ ิกร โปรสิ วาณชิ ย์
นติ ิเวชศาสตร์ วชิ านติ เิ วชศาสตร์ (forensic medicine) เปน็ วชิ าแพทย์ ท่ีอาศัยวิชาพยาธิวิทยาเป็นฐานแต่มุ่งเน้นในส่วนของสาเหตุ ทผี่ ดิ ธรรมชาติ (unnatural cause of illness) เปน็ หลกั ไดแ้ ก่ การบาดเจ็บ (trauma) ทเี่ รียกว่า นิติพยาธิวิทยา (forensic pathology) และการได้รับสารเคมี หรือ ยา ที่เรียกว่า นติ พิ ษิ วทิ ยา (forensic toxicology) โดยมผี ลตอ่ รา่ งกายมนษุ ย์ แล้วเก่ียวเนื่องกับสิทธิหน้าที่และความรับผิดทางกฎหมาย ในกรณีต่าง ๆ การปฏบิ ตั งิ านทางนติ เิ วชศาสตร์ เปน็ เรอื่ งของการหา ขอ้ มลู ทางการแพทย์ แลว้ วนิ จิ ฉยั ลงความเหน็ เพอื่ หาวา่ ความจรงิ ทางภาวะวสิ ยั (objectivity) เปน็ อยา่ งไร ในบางครงั้ อาจจะตอ้ ง คาบเกีย่ วกบั ความร้อู น่ื ของแพทยศาสตร์ เชน่ จิตเวชศาสตร์ อายรุ ศาสตรแ์ ละศลั ยศาสตรส์ าขาตา่ ง ๆ สตู ศิ าสตร-์ นรเี วชวทิ ยา รงั สวี ทิ ยา เปน็ ตน้ นอกจากนก้ี ารพสิ จู นค์ วามจรงิ อาจจะตอ้ ง ใชค้ วามรทู้ างวทิ ยาศาสตรอ์ น่ื ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง เชน่ พนั ธศุ าสตร์ กายวภิ าคศาสตร์ ชวี เคมี ชวี วทิ ยา จลุ ชวี วทิ ยา วทิ ยาภมู คิ มุ้ กนั เปน็ ต้น เพ่อื สบื คน้ ขอ้ มลู ท่เี กี่ยวข้องกบั รา่ งกายมนษุ ย์ซง่ึ ตอ้ ง ใชพ้ สิ จู นท์ างกฎหมายทเ่ี ราเรยี กวา่ นติ วิ ทิ ยาศาสตร์ (forensic science) 2 บทที่ 1 งานด้านนิติเวชศาสตรใ์ นเวชปฏิบตั ิทัว่ ไป
งานทางนติ เิ วชศาสตรใ์ นภาพรวม งานทางนติ เิ วชศาสตรเ์ ปน็ การประกอบวชิ าชพี เวชกรรม เพราะเป็นการวินิจฉัยและให้ความเห็นต่อพยาธิสภาพของ มนุษย์ ซึ่งจะเป็นคนละความหมายกับคำ�ว่านิติวิทยาศาสตร์ ทเ่ี นน้ การตรวจทางหอ้ งปฏบิ ตั กิ ารทางวทิ ยาศาสตร์ ซงึ่ แพทย์ เพียงแต่นำ�มาใช้ประโยชน์ร่วมกับงานทางนิติเวชศาสตร์ ตวั อย่างงานทางนติ เิ วชศาสตร์เหลา่ นัน้ ได้แก่ 1. งานดา้ นนติ พิ ยาธวิ ทิ ยา เปน็ การตรวจชนั สตู รศพ (postmortem inquest) ตงั้ แตก่ ารชนั สตู รพลกิ ศพในทท่ี พ่ี บศพ (postmortem examination in death scene investigation) และการผา่ ศพ (forensic autopsy) งานดา้ นนเี้ ปน็ กระบวนการ ตามกฎหมาย ท�ำให้การตรวจศพทางนิติเวชศาสตร์น้ัน แตกตา่ งไปจากการตรวจศพทางพยาธวิ ทิ ยา นบั ตงั้ แตม่ อี �ำนาจ และกระบวนการทางกฎหมายรองรบั ลกั ษณะงานทโ่ี ดยมาก แลว้ เกยี่ วขอ้ งกบั การตายผดิ ธรรมชาติ และเปน็ การตรวจศพทใ่ี ช้ พสิ จู นค์ วามจรงิ ของการกระท�ำความผดิ มากกวา่ การตรวจหา พยาธสิ ภาพของโรค 2. งานด้านนิติเวชคลินิก (clinical forensic medicine) เปน็ การตรวจชนั สตู รบาดแผล การบาดเจบ็ สารพษิ สารเคมีหรือยาท่ีผู้ป่วยได้รับ รวมถึงผู้ป่วยด้วยโรคทุกโรค ทต่ี อ้ งใชค้ วามเหน็ เกยี่ วเนอ่ื งกบั อาการเจบ็ ปว่ ยไปใชท้ างกฎหมาย และการตรวจทางนติ ิวิทยาศาสตร์บางเร่ืองของผปู้ ว่ ยหรอื ผู้ท่ี มปี ัญหาตอ้ งพิสูจน์ บทที่ 1 งานดา้ นนติ ิเวชศาสตรใ์ นเวชปฏิบตั ทิ ั่วไป 3
3. การตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ ร่างกายมนุษย์ อาจจะเปน็ ศพหรือผปู้ ่วย และอาจจะรวมถึง ส่ิงส่งตรวจจากสิ่งแวดล้อมท่ีเกี่ยวข้องกับเหตุท่ีเกิดต่อมนุษย์ โดยตรง เช่น การตรวจพิสูจน์โครงกระดูก เป็นงานทาง นิติมานษุ ยวิทยา (forensic anthropology) การตรวจพสิ ูจน์ คราบเลือด คราบอสุจิหรือสารคัดหลั่งของมนุษย์ เป็นงาน ทางนิตซิ โี รโลยี ชีววทิ ยาและวัตถพุ ยาน (forensic biology and serology) การตรวจพิสูจนส์ ารพันธกุ รรม เปน็ งานทาง นติ พิ นั ธศุ าสตร์ (forensic genetics) หรอื การตรวจพสิ จู นส์ ารเคมี จากรา่ งกายมนุษยห์ รอื สารทีม่ นษุ ยน์ ่าจะได้รบั เปน็ งานทาง เคมีวเิ คราะห์และนติ พิ ิษวทิ ยา (analytical chemistry and forensic toxicology) 4. การประยกุ ตใ์ ชห้ ลกั กฎหมายและเวชจรยิ ศาสตร์ (medical ethics) กบั เวชปฏบิ ตั ิ ทงั้ การดแู ลผปู้ ว่ ยทว่ั ไปและกรณี ความเสย่ี งทางการแพทย์ ซงึ่ ในหนงั สอื เลม่ นีจ้ ะไมก่ ลา่ วถงึ ใน รายละเอียด ลกั ษณะงานในระดบั เวชปฏบิ ตั ิท่วั ไป แพทย์เวชปฏิบัติรวมถึงแพทย์ในสาขาอ่ืน ๆ ที่ไม่ใช่ แพทย์นิติเวช หลีกเล่ียงไม่ได้ท่ีจะต้องใช้นิติเวชศาสตร์ ท้ังปัญหาทางนิติเวชศาสตร์โดยแท้ และปัญหาทางคลินิก ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั กฎหมาย อยา่ งไรกต็ าม ลกั ษณะงานมขี อบเขต จ�ำ กัด แตเ่ รื่องที่จะพบไดบ้ อ่ ย คือ 4 บทที่ 1 งานด้านนติ เิ วชศาสตร์ในเวชปฏบิ ตั ทิ ั่วไป
1. การชันสูตรพลิกศพในท่ีท่ีพบศพตามกฎหมาย รวมถึงการออกรายงานและใบรับรองการตาย (ดูบทท่ี 2-7 และบทอ่นื ๆ ซ่ึงเปน็ รายละเอยี ดเฉพาะเรอื่ ง) 2. งานด้านนิติเวชคลินิก มักจะเป็นการตรวจ ออกรายงานและเอกสารทางการแพทย์ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บ ได้รับสารพิษหรือยา และกรณีความผิดทางเพศ (ดูบทท่ี 10-12, 21, 24, 26- 31 และ 32) นอกจากนห้ี ากผปู้ ว่ ยทด่ี แู ล มปี ญั หาทต่ี อ้ งใชค้ วามเหน็ ทางการแพทยก์ บั เรอื่ งทางกฎหมาย รวมทั้งเร่ืองเวชจริยศาสตร์ และความเส่ียงบางประการด้วย (ดบู ทที่ 23 และ 35-37) 3. การเก็บส่งิ สง่ ตรวจจากผู้ปว่ ยหรอื ศพ (ดบู ทท่ี 7, 29, 30 และ 33) 4. การเปน็ พยานของแพทย์ (ดบู ทที่ 34) บทท่ี 1 งานดา้ นนิตเิ วชศาสตรใ์ นเวชปฏิบตั ทิ ว่ั ไป 5
6
บทท่ี 2 หลกั และวิธีการชันสตู รพลกิ ศพ นิตกิ ร โปริสวาณิชย์
การชันสตู รพลกิ ศพคอื อะไร คือการตรวจศพตามที่กฎหมายบังคับ (ประมวล กฎหมายวิธพี ิจารณาความอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 148-156) ต้องจัดการโดยเจ้าหน้าท่ีของรัฐท่ีมีอ�ำนาจหน้าท่ี และเป็น สว่ นหนึ่งของการสอบสวนการตายท่มี ีพนักงานสอบสวนเปน็ ผ้รู บั ผิดชอบหลัก วัตถปุ ระสงคห์ ลักของกฎหมายไทย ต้องการตรวจสอบว่าการตายน้ันเป็นผลจาก การกระท�ำความผิดทางอาญาหรือไม่ และต้องการค้นหา ความจริงอย่างครบถ้วนอย่างเป็นภาวะวิสัย เพื่อคุ้มครอง สทิ ธขิ องบคุ คลนนั้ แมจ้ ะเสยี ชวี ติ ไปแลว้ และมกี รณที ตี่ อ้ งการ ตรวจสอบการใชอ้ �ำนาจรฐั คอื การตายทเี่ กดิ จากเจา้ หนา้ ทร่ี ฐั กระท�ำในปฏิบัติหนา้ ท่ี และการตายในระหว่างความควบคุม ของเจ้าพนกั งาน การตายท่ตี ้องชันสตู รพลกิ ศพ ตามกฎหมายน้ันมสี าระอย่เู พียง “การตายทปี่ รากฏ แน่ชัดว่าตายโดยผิดธรรมชาติหรือมีเหตุสงสัยว่าจะตายโดย ผิดธรรมชาต”ิ ได้แก่ การตายจาก trauma และ chemical agent (แตก่ ฎหมายจะเรยี กพฤตกิ ารณก์ ารตาย 5 ประการ คือ ฆ่าตัวตาย, ถูกผู้อ่ืนท�ำให้ตาย, ถูกสัตว์ท�ำร้าย, 8 บทท่ี 2 หลักและวธิ ีการชันสูตรพลกิ ศพ
ตายโดยอบุ ตั เิ หตุ และตายโดยยงั มปิ รากฏเหตุ วา่ เปน็ เหตตุ าย) เวน้ แตต่ ายดว้ ยโรคทม่ี กี ารกลา่ วหาวา่ การรกั ษาไมไ่ ดม้ าตรฐาน และการตายในระหวา่ งความควบคมุ ของเจา้ พนกั งานทกุ กรณี เช่น ถกู กกั ขงั หรอื จ�ำคกุ อยู่ เหตทุ ส่ี งสยั วา่ จะตายโดยผดิ ธรรมชาตนิ น้ั ในกฎหมาย ไดร้ วมถงึ “การตายโดยยงั มปิ รากฏเหต”ุ ซง่ึ เปน็ กรณที ไ่ี มแ่ นช่ ดั วา่ ปว่ ยด้วยโรคหรอื อาจจะเปน็ การตายผิดธรรมชาตไิ ด้ ตัวอย่างกรณีที่ต้องให้มีการชันสูตรพลิกศพกรณี ที่ตายในโรงพยาบาลและทา่ นเป็นแพทยเ์ จ้าของไข้ 1. ผู้ป่วยหมดสติที่ไม่มีประวัติใด ซึ่งมีผู้น�ำส่ง ยังห้องฉุกเฉินแล้วต่อมาได้เสียชีวิตลงโดยยังไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเป็นการตายผิดธรรมชาติได้ 2. ผปู้ ว่ ย trauma หรอื toxicology แมจ้ ะไดว้ นิ จิ ฉยั ชดั เจนแลว้ แตไ่ ดเ้ สยี ชวี ติ ลงจากการบาดเจบ็ นน้ั ไมว่ า่ จะไดร้ บั การรกั ษาแลว้ หรือไม่ 3. ผู้ป่วย trauma หรือ toxicology ได้รับการ วินจิ ฉัยชัดเจนและไดร้ บั การรักษาแล้ว แตไ่ ดเ้ สียชีวิตลงจาก ภาวะแทรกซ้อน เช่น จากการตดิ เชอ้ื ในปอด 4. ผปู้ ว่ ย trauma หรอื toxicology ไดร้ บั การวนิ จิ ฉยั ชดั เจนและไดร้ บั การรกั ษาจนสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ ต่อมาอีกนานมีภาวะแทรกซ้อนจาก morbidity เช่น นอน ไมร่ สู้ กึ ตวั และตอ่ มาเกดิ การตดิ เชอ้ื แทรกซอ้ น เชน่ pneumonia บทที่ 2 หลกั และวธิ กี ารชันสูตรพลิกศพ 9
การแจ้งเจ้าหน้าท่ผี ูม้ หี นา้ ท่ใี นการชันสูตรพลิกศพ ให้แจ้งแก่พนักงานสอบสวน (ต�ำรวจ) แห่งท้องที่ ทศี่ พนน้ั อยู่ ตามทตี่ ง้ั ของโรงพยาบาล (กรณที ต่ี ายในโรงพยาบาล) ผู้ท่มี ีหนา้ ท่ชี ันสูตรพลกิ ศพ สรปุ ไดเ้ ปน็ 2 กรณี คอื 1. กรณที ว่ั ไป ประกอบดว้ ยเจา้ พนกั งาน 2 ฝา่ ย คอื พนกั งานสอบสวนแหง่ ทอ้ งทท่ี พี่ บศพกบั แพทยท์ พี่ นกั งานสอบสวน แจ้งมาร่วมชันสูตร 2. กรณีพิเศษ (ในบางครั้งอาจจะเรียกว่าเป็น การชนั สตู รพลิกศพ “วสิ ามัญ”) มดี ว้ ยกัน 2 กรณี ได้แก่ การตายท่ีเกิดขึ้นโดยการปฏิบัติหน้าท่ีของเจ้าพนักงาน เช่น วสิ ามญั ฆาตกรรม หรอื การตายในระหวา่ งอยใู่ นความควบคมุ ของเจา้ พนกั งาน เชน่ นกั โทษเสยี ชวี ติ ในเรอื นจ�ำ, นกั โทษปว่ ย มารกั ษาในโรงพยาบาลแลว้ เสยี ชวี ติ ฯลฯ การชนั สตู รพลกิ ศพ จะต้องประกอบด้วยเจ้าพนักงาน 4 ฝ่าย ได้แก่ พนักงาน สอบสวน แพทย์ พนักงานอยั การ และพนักงานฝา่ ยปกครอง 10 บทที่ 2 หลักและวิธีการชันสตู รพลกิ ศพ
กรณที ่แี พทย์มเี หตุขดั ข้องไมอ่ าจไปชันสูตรพลกิ ศพ ในท่ีท่พี บศพได้ มีกฎหมายว่าด้วยการมอบหมายให้เจ้าหน้าท่ี(อ่ืน) ไปร่วมชันสูตรพลิกศพแทน คือ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือเจ้าหน้าท่ีในสังกัดส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดท่ีผ่าน การอบรมทางนติ เิ วชศาสตรแ์ ลว้ และกระท�ำไดเ้ ฉพาะการตาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 148 (3) (4) และ (5) คือ กรณที ่ีถกู สตั ว์ท�ำรา้ ย ตายโดยอบุ ตั เิ หตุ หรือตายโดยยงั มปิ รากฏเหตุ เทา่ น้ัน ไมใ่ ช่เหตุฆ่าตัวตาย หรือ ถกู ผอู้ ่ืนท�ำให้ตาย และผทู้ ่ี ออกไปแทนนั้นท�ำหน้าท่ีเพียงตัวแทนแพทย์โดยถือว่าแพทย์ ได้กระท�ำการน้นั เอง หมายความว่า ผทู้ ่ีออกไปจะท�ำหน้าที่ เพยี งแต่เก็บข้อมลู ตรวจศพเบ้ืองต้น และรายงานแก่แพทย์ ทมี่ อบหมาย เพอื่ ใหแ้ พทยร์ บั ทราบ ตดั สนิ ใจ และออกเอกสาร ควรตรวจศพในท่ที ่พี บศพแตแ่ รก และไมค่ วรเคล่อื นยา้ ย เพราะกฎหมายก�ำหนดไว้เพ่ือให้ตรวจลักษณะ ของศพและส่ิงแวดล้อมที่เป็นพยานหลักฐานให้ครบถ้วน มากท่ีสุด ซ่ึงจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เก่ียวข้องรวมถึง ความรับผิดชอบของแพทย์ด้วย แต่หากมีเหตุจ�ำเป็นท่ีอาจ เคลอื่ นยา้ ยมาตรวจในทีส่ ะดวกได้ คือ บทที่ 2 หลักและวธิ กี ารชนั สูตรพลิกศพ 11
1. กรณที มี่ เี หตจุ �ำเปน็ ตอ้ งกระท�ำเพอื่ ปอ้ งกนั อนั ตราย แกอ่ นามยั ของประชาชน หรอื เพอ่ื ประโยชนส์ าธารณะอยา่ งอนื่ 2. การเคล่ือนย้ายศพน้ัน ไม่ท�ำให้การชันสูตร พลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป เช่น ศพที่ถูกรถชน โดยมีผู้เห็นเหตุการณ์จ�ำนวนมาก และกีดขวางการจราจร อาจจะถ่ายภาพไว้ แล้วเคล่ือนย้ายศพมาตรวจในท่ีท่ีสะดวก และปลอดภัย เช่น ริมบาทวิถี, ศพที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ ร้ายแรงซึ่งสามารถติดต่อสู่ผู้อ่ืนได้ ควรรีบเคลื่อนย้ายไป ในสถานที่ปลอดภัย หรือ ศพที่ตายในเพลิงไหม้อาคาร ซง่ึ อยใู่ นสภาพไมป่ ลอดภยั ควรยา้ ยศพมาตรวจในทป่ี ลอดภยั วัตถุประสงค์ของการชันสูตรพลิกศพในทางปฏิบัติ และความส�ำคญั กฎหมายบัญญัติไว้ 6 ประการ และพอจะสรุป ความส�ำคญั ได้ คือ 1. ผู้ตายเป็นใคร มีความส�ำคัญยิ่ง หากเป็น การฆาตกรรม และกรณีทตี่ อ้ งพสิ ูจนเ์ อกลักษณบ์ ุคคล เช่น ตายเปน็ จ�ำนวนมาก 2. ตายทไี่ หน มคี วามส�ำคญั ยง่ิ หากเปน็ การฆาตกรรม 3. ตายเมอื่ ใด มคี วามส�ำคญั ยง่ิ หากเปน็ การฆาตกรรม 4. เหตตุ ายคอื อะไร เปน็ เรอื่ งการวนิ จิ ฉยั ทางการแพทย์ 12 บทท่ี 2 หลักและวธิ ีการชนั สตู รพลกิ ศพ
5. พฤติการณ์ของการตายเป็นอะไร เพ่ือให้ ความเหน็ วา่ ความตายนน้ั เกดิ จากกรณใี ด ไดแ้ ก่ การฆา่ ตวั ตาย ถูกผู้อ่ืนท�ำให้ตาย ตายโดยสัตว์ท�ำร้าย ตายโดยอุบัติเหตุ ตายโดยโรคธรรมชาติ หรือตายโดยมิทราบพฤติการณ์ โดยให้ความเหน็ ร่วมกบั พนกั งานสอบสวน 6. ถ้าตายโดยคนท�ำร้าย ให้กล่าวว่าใครหรือสงสัย ว่าใครเปน็ ผ้กู ระท�ำผดิ เทา่ ทจ่ี ะทราบได้ เช่น กรณฆี า่ ข่มขนื ควรจะต้องเก็บสารคัดหล่ังจากช่องคลอดน�ำไปตรวจดีเอ็นเอ เพื่อหาวา่ ใครเป็นผกู้ ระท�ำ หมายเหตุ วัตถปุ ระสงคท์ ้ัง 6 ขอ้ ขา้ งต้น จะอยู่ใน ส�ำนวนการชันสูตรพลิกศพ ซ่ึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ผ้ชู นั สูตรพลิกศพท�ำความเห็นรว่ มกัน ขัน้ ตอนและหวั ขอ้ ในการตรวจศพ แพทย์ผู้มีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ณ ท่ีพบศพ เพยี งแตต่ รวจศพภายนอกเทา่ นนั้ โดยตรวจใน 3 หวั ขอ้ ไดแ้ ก่ 1. การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล (ดบู ทที่ 7) 2. การประมาณเวลาตาย (ดบู ทท่ี 9) 3. หาสาเหตุการตาย บทท่ี 2 หลักและวิธีการชันสูตรพลิกศพ 13
ประเดน็ ในการตรวจศพเพ่อื หาสาเหตแุ ละพฤตกิ ารณ์ การตาย สง่ิ ตอ่ ไปนเ้ี ปน็ check list เพอ่ื ใหผ้ ตู้ รวจใชค้ วามรเู้ ทา่ ทม่ี ี ตรวจหาสง่ิ ตา่ ง ๆ และตง้ั ประเดน็ ค�ำถามเปน็ ขน้ั ๆ เพอ่ื ตรวจสอบวา่ ยังติดขัดไม่ชัดแจ้งในข้อใดบ้าง และมีความส�ำคัญต้องท�ำให้ รชู้ ัดหรือไม่ (ดหู วั ขอ้ ความส�ำคญั ขา้ งตน้ ) 1. ตรวจหาบาดแผลหรอื สงิ่ ทเี่ ปน็ ผลมาจากการบาดเจบ็ และรอ่ งรอยทศี่ พหรอื สง่ิ ทพ่ี บรอบตวั ทบ่ี ง่ บอกวา่ มกี ารใชห้ รอื ถูกวางยาและสารพิษตา่ ง ๆ ก่อน รว่ มกับการซกั ประวตั ิตาม สมควร เพื่อดูว่าเป็นโรคหรือตายผิดธรรมชาติ 2. กรณีท่ีปรากฏชัดหรอื มเี หตสุ งสยั วา่ เป็น trauma 2.1 การบาดเจ็บน้ันมีอะไร และพบที่ใดบ้าง ของร่างกาย 2.2 การบาดเจ็บแต่ละแห่งนั้นเกิดขึ้นก่อนหรือ หลงั การตาย 2.3 การบาดเจบ็ นน้ั มสี ว่ นทเ่ี ปน็ สาเหตกุ ารตาย ไดห้ รือไม่ อยา่ งไร 2.4 การบาดเจ็บนนั้ เกดิ จากอะไรบา้ ง 2.5 การบาดเจ็บน้ันเข้ากันกับเหตุการณ์หรือ สถานท่พี บศพหรอื ไม่ 2.6 จากข้อมูลข้างต้น พอจะสรุปได้หรือไม่ ว่ามีพฤติการณ์การตายอย่างไร และกรณีท่ีถูกผู้อื่นกระท�ำ ใหด้ ขู ้อถดั ไป 14 บทท่ี 2 หลักและวธิ ีการชนั สูตรพลิกศพ
2.7 หากมีการบาดเจ็บหลายอย่าง บอกได้ หรอื ไมว่ า่ อยา่ งไหนเกดิ ขนึ้ กอ่ น และมกี ลไกการบาดเจบ็ อยา่ งไร 2.8 การบาดเจบ็ นน้ั มลี กั ษณะพเิ ศษ หรอื จ�ำเพาะ ทต่ี อ้ งตรวจค้นหรอื ไม่ และตรวจจากอะไรบ้าง 2.9 การบาดเจ็บนั้น แต่ละอย่างก่อให้เกิด pathophysiology อยา่ งไร หรอื ผตู้ ายสามารถท�ำอะไรตอ่ ไปไดบ้ า้ ง หลังจากไดร้ ับบาดเจ็บ และท�ำไดห้ รอื มชี วี ิตอยูไ่ ด้นานเท่าใด 2.10 มีวัตถุพยานที่จะต้องเก็บและส่งตรวจ หรือไม่ และจะตอ้ งท�ำอยา่ งไรในเรอ่ื งดังกล่าว 3. กรณที ป่ี รากฏชดั หรอื มเี หตสุ งสยั วา่ เปน็ toxicology 3.1 ผตู้ ายนา่ จะไดร้ บั สารพษิ ใด และพบสารพษิ เหลา่ น้ันจากท่ใี ด หรือสงสัยวา่ จะมีอยทู่ ่ีใดบ้าง ในทพี่ บศพ 3.2 ปรมิ าณทไี่ ดร้ ับ 3.3 สารและปริมาณที่พบ น่าจะเป็นสาเหตุ การตายไดห้ รอื ไม่ 3.4 ได้รับอยา่ งไร 3.5 พฤตกิ ารณท์ ไี่ ดร้ บั คืออะไร 3.6 จะตอ้ งตรวจยนื ยันหรือไม่ บทที่ 2 หลกั และวิธีการชันสตู รพลกิ ศพ 15
เม่ือตรวจศพครบแล้ว แพทย์มีหน้าท่ีต้อง ด�ำเนินการต่อไปนี้ 1. ตัดสินใจร่วมกับเจ้าพนักงานคนอ่ืนว่าควรส่งศพ ตรวจเพิ่มเติมหรอื ไม่ 2. แจ้งญาติท่ีเก่ียวข้องให้ทราบเสมอ แต่ไม่ต้องขอ ความยนิ ยอม ในการผา่ ศพ เพียงแตต่ อ้ งอธบิ ายเหตผุ ลและ ความจ�ำเป็น 3. ท�ำเอกสารตามกฎหมายวา่ ดว้ ยการชนั สตู รพลกิ ศพ คอื บันทกึ รายละเอียดแหง่ การชนั สตู รพลกิ ศพ และรายงาน ของแพทย์ (ดบู ทท่ี 5) 4. กรณีท่ีไม่ส่งศพไปตรวจเพ่ิมเติม ให้ออกหนังสือ รับรองการตาย (ดูบทที่ 6) การส่งศพหรือส่ิงส่งตรวจไปตรวจเพ่มิ เตมิ ในกฎหมายใหอ้ �ำนาจเจา้ พนกั งานฯ ไว้ ใหส้ ง่ ศพ หรอื สงิ่ สง่ ตรวจไปตรวจเพมิ่ เตมิ กต็ อ่ เมอ่ื “เพอ่ื พบเหตขุ องการตาย” ซึ่งไม่ได้หมายความถึงสาเหตุของการตายแต่อย่างเดียว แต่รวมไปถึงประเด็นอ่ืน ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันตาม check list ข้างต้น เท่าท่ีเห็นว่า “จ�ำเป็น” จากวัตถุประสงค์หลักและ ประเดน็ ตา่ ง ๆ สรปุ เปน็ ขอ้ บง่ ชเ้ี พอ่ื ใหส้ ะดวกตอ่ การพจิ ารณา ความจ�ำเปน็ โดยมคี วามจ�ำเปน็ ลดหลั่นกนั ลงไป คอื 16 บทที่ 2 หลกั และวิธกี ารชนั สูตรพลกิ ศพ
1. พฤติการณ์ท่ีตายความคลุมเครือว่าถูกท�ำให้ตาย ได้หรือไม่ ต้องส่งศพตรวจโดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น กรณีท่ี สงสัยว่าศพที่ฆ่าตวั ตาย อาจจะเปน็ การฆาตกรรม ขอ้ สงสยั นัน้ เป็นไดจ้ ากทั้งการตรวจศพ การสอบสวนของต�ำรวจ หรือ ขอ้ สงสัยของญาติ 2. การตายท่ีปรากฏชัดว่าเป็นการฆาตกรรม หรือถูกผู้อื่นกระท�ำ เป็นคดีความ ถึงแม้จะพบสาเหตุ การตายอย่างชัดเจนตั้งแต่แรก แต่ต้องการข้อมูลและ ความเห็นตามประเด็น 2.7-2.10 ส�ำหรับค้นหาความจริง ถา้ ไมส่ ง่ ศพตรวจ ผชู้ นั สตู รพลกิ ศพตอ้ งตอบค�ำถามไดค้ รบถว้ น หรือไม่กระทบตอ่ รูปคดี 3. ศพทตี่ ายดว้ ยโรคทเ่ี ปน็ กรณี medical malpractice 4. ศพเนา่ เวน้ แตแ่ นใ่ จวา่ ไม่ถูกกระท�ำใหต้ าย เช่น จมน้�ำตาย 5. ผตู้ ายทม่ี อี ายนุ อ้ ย และตายกะทนั หนั โดยไมท่ ราบ สาเหตุ เว้นแต่แนใ่ จวา่ ไม่ถกู กระท�ำใหต้ าย 6. ศพทมี่ ปี ระกนั ชวี ติ ซงึ่ ตอ้ งพสิ จู นเ์ หตตุ ายใหแ้ นช่ ดั เชน่ มปี ระกนั เฉพาะโรคทไี่ มม่ ปี ระวตั กิ ารรกั ษา และมปี ระกนั อบุ ัตเิ หตุโดยไมม่ ีหลักฐานแสดงเหตุตายจากการบาดเจ็บ 7. กรณีที่มีข้อบ่งช้ีตามประเด็นอื่น ๆ เช่นการพิสูจน์ เอกลักษณ์บุคคลกรณีการตายจ�ำนวนมาก การตรวจหา สารเสพตดิ ตามทีพ่ นกั งานสอบสวนร้องขอ เป็นต้น บทท่ี 2 หลักและวิธกี ารชนั สูตรพลิกศพ 17
กระบวนการและความรบั ผดิ ชอบในการสง่ ศพตรวจ เปน็ ความรบั ผดิ ชอบของพนกั งานสอบสวนตามระเบยี บ ต�ำรวจ แพทยเ์ พยี งแต่ให้ความเห็นวา่ ควรสง่ ศพตรวจหรือไม่ หากพนักงานสอบสวนมีความเห็นต่าง แพทย์ก็เพียงเขียน ความเหน็ ของตนเพิม่ ลงท้ายรายงานวา่ ใหส้ ง่ ศพตรวจเทา่ น้นั การชันสตู รพลิกศพมุสลิม มคี �ำสงั่ กระทรวงมหาดไทย ท่ี 408/2517 กบั ระเบยี บ การชนั สตู รพลกิ ศพของกรมต�ำรวจขอ้ 319 วรรคท้าย และ หนงั สอื ของส�ำนกั จฬุ าราชมนตรที ี่ สฬ. 223/2541 ทขี่ อรอ้ งให้ ละเวน้ การผา่ หรอื ท�ำลายสว่ นของศพใหม้ ากทส่ี ดุ หากไมจ่ �ำเปน็ และสมควรรีบตรวจชันสูตรพลิกศพโดยเร็วเพื่ออ�ำนวย ความสะดวกแกก่ ารประกอบพธิ ที างศาสนา แตห่ ากวา่ มเี หตจุ �ำเปน็ ดงั กลา่ วมาแลว้ กส็ ามารถสง่ั ใหผ้ า่ ศพได้ เพราะหลกั ศาสนาอสิ ลาม นน้ั ใหถ้ อื ความจ�ำเปน็ ของกฎหมายบา้ นเมอื งเปน็ หลกั เพยี งแต่ ขอใหค้ วามเคารพและใหเ้ กียรติตอ่ ร่างผตู้ าย (ดูบทท่ี 36) 18 บทท่ี 2 หลกั และวิธกี ารชนั สตู รพลิกศพ
บทท่ี 3 การตรวจสถานท่เี กดิ เหตุ ร่วมกับเจ้าพนักงาน วิจารณ์ วชริ วงศากร พีรยุทธ เฟ่ืองฟุ้ง
สถานทเ่ี กดิ เหตุ (crime scene) หมายถงึ สถานทท่ี มี่ ี ความเกย่ี วขอ้ งกบั เหตอุ าชญากรรมทง้ั หมด ซงึ่ เปน็ ความหมาย ทกี่ วา้ งมากกวา่ สถานทพี่ บศพ อาจเปน็ สถานทเ่ี กดิ การฆาตกรรม สถานที่ที่มีการเคลื่อนย้ายศพมาซ่อนไว้ หรือสถานท่ีพบ วัตถุพยานก็ได้ แต่ทางปฏิบัติจะเน้นเฉพาะสถานที่พบศพ เพราะเกยี่ วขอ้ งกบั แพทยท์ ว่ั ไปในการชนั สตู รพลกิ ศพโดยตรง การเข้าไปตรวจสถานท่เี กดิ เหตขุ องเจ้าพนักงาน เจา้ พนกั งานทจ่ี ะเขา้ ตรวจสถานทเ่ี กดิ เหตรุ ว่ มกบั แพทย์ ได้แก่ พนกั งานสอบสวนเจา้ ของคดี และเจา้ หน้าทวี่ ิทยาการ ต�ำรวจ หรือเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน โดยวัตถุประสงค์ ในการตรวจสถานที่เกดิ เหตขุ องพนักงานสอบสวนได้แก่ 1. พิสูจน์ว่ามีการกระท�ำความผิดเกิดขึ้นใน ทเี่ กดิ เหตุ หรอื ไม่ 2. การกระท�ำความผดิ เกดิ ข้ึนมลี กั ษณะอย่างไร 3. ใครเป็นผู้กระท�ำความผดิ เจ้าหน้าท่ีวิทยาการต�ำรวจ หรือเจ้าหน้าที่พิสูจน์ หลักฐาน คือ เจ้าพนักงานท่ีมีความเชี่ยวชาญในการตรวจ สถานทเ่ี กดิ เหตแุ ละเกบ็ วตั ถพุ ยานทพี่ บเพอื่ น�ำไปตรวจพสิ จู น์ โดยวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนการท�ำงานหลัก ๆ ของเจ้าหน้าท่ีวิทยาการ ต�ำรวจ ได้แก่ การจัดท�ำแผนที่จ�ำลองสถานที่เกิดเหตุและ บันทึกภาพ การเก็บวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ และการตรวจ 20 บทท่ี 3 การตรวจสถานทีเ่ กิดเหตรุ ว่ มกับเจ้าพนกั งาน
พิสูจนว์ ัตถพุ ยานโดยวิธีการทางวทิ ยาศาสตร์ โดยการท�ำงาน ท้ังหมดข้างต้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ในเร่ืองวัตถุประสงค์ ทั้ง 3 ข้อ ของการตรวจสถานท่ีเกิดเหตุ โดยปกตกิ อ่ นทแี่ พทย์ และเจา้ หน้าทว่ี ทิ ยาการต�ำรวจ จะเข้าไปที่สถานที่เกิดเหตุ สถานท่ีเกิดเหตุจะถูกเก็บรักษา ไว้มิให้บุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องโดยพนักงานสอบสวน ตาม ป.วิ.อ. อาญา มาตรา 150 ทวิ เพ่ือมิให้ผลทางคดี เปล่ียนแปลงไปก่อนท่ีการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น (เว้นแต่ ในกรณีจ�ำเป็นต้องท�ำเพื่อป้องกันอันตรายแก่อนามัย หรือ เพอื่ ประโยชนส์ าธารณะอน่ื ๆ ) แตใ่ นทางปฏบิ ตั อิ าจมบี คุ คล ภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องในสถานที่เกิดเหตุได้ เช่น ญาติ ของผตู้ าย หรอื เจา้ หน้าท่มี ลู นิธิ ซง่ึ อาจท�ำให้สถานทเี่ กดิ เหตุ เปลีย่ นแปลงไปจากเดมิ ได้ ซ่ึงแพทย์ต้องค�ำนงึ ถงึ ด้วย การเขา้ ไปตรวจศพในสถานท่ีเกดิ เหตุของแพทย์ ส่ิงที่แพทย์ต้องค�ำนึงถึงก่อน เม่ือไปถึงสถานที่ เกดิ เหตคุ ือ 1. ค�ำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เช่น กรณีไฟไหม้ กา๊ ซรั่ว สารเคมีอันตราย วตั ถุระเบิด การตาย จากกระแสไฟฟ้า การตายบนทางจราจร โครงสร้างของ อาคารไม่ม่ันคง หรือกรณีภัยพิบัติ ให้เจ้าหน้าที่ท่ีเกี่ยวข้อง ตรวจสอบและยนื ยนั เรอ่ื งความปลอดภยั หรอื อาจไมต่ อ้ งเขา้ ไป เองโดยให้ผู้ที่มีหน้าท่ีอื่นที่ต้องเข้าไปอยู่แล้วช่วยเก็บข้อมูล บทที่ 3 การตรวจสถานทเี่ กิดเหตุรว่ มกับเจา้ พนกั งาน 21
ถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ และเคลื่อนย้ายศพ ออกมาตรวจ ในท่ีที่ปลอดภัย หรือในกรณีที่จ�ำเป็นต้องเข้าไปเป็นอย่างยิ่ง ก็ตอ้ งสวมอปุ กรณ์ปอ้ งกนั ตนเองตามแตก่ รณี 2. กรณที ตี่ อ้ งมกี ารตรวจสถานทเ่ี กดิ เหตุ ใหถ้ ามพนกั งาน สอบสวนวา่ พนกั งานสอบสวน และเจา้ หนา้ ทวี่ ทิ ยาการต�ำรวจ เขา้ ตรวจสถานทเ่ี กดิ เหตุ และเกบ็ วตั ถพุ ยานในสถานทเี่ กดิ เหตเุ สรจ็ แลว้ หรอื ไม่ เพราะแพทยไ์ มค่ วรเขา้ ไปตรวจสถานทเ่ี กดิ เหตกุ อ่ น เจา้ พนกั งานเหลา่ นี้ เนอื่ งจากอาจเขา้ ไปท�ำลายวตั ถพุ ยานตา่ ง ๆ โดยความรเู้ ท่าไมถ่ ึงการณไ์ ด้ แพทยค์ วรรอใหเ้ จา้ พนกั งานได้ ท�ำการเก็บวัตถุพยานท้ังหมดในสถานท่ีเกิดเหตุก่อนแล้วจึง เขา้ ไปตรวจศพพร้อมกับเจ้าพนักงานดังกล่าว 3. หากสถานท่ีเกิดเหตุมีการเปล่ียนแปลง ให้ถาม พนักงานสอบสวนว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร เชน่ ต�ำแหนง่ หรอื ทา่ ทางของศพเปลยี่ นแปลงจากเดมิ อยา่ งไร, ต�ำแหน่งของสิ่งของ เช่น อาวุธ หรอื คราบเลอื ด ในท่เี กิดเหตุ เปล่ียนแปลงจากเดมิ อย่างไร เพราะสงิ่ เหลา่ น้ีมีผลตอ่ การให้ ความเหน็ ในการตรวจศพดว้ ย 22 บทท่ี 3 การตรวจสถานท่เี กิดเหตุรว่ มกับเจ้าพนักงาน
แนวทางท่วั ไปในการตรวจสถานท่เี กดิ เหตขุ องแพทย์ 1. ตรวจหาสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งใช้ในการพิสูจน์บุคคล เชน่ บัตรประจ�ำตัวประชาชน, ของใชส้ ่วนตวั ที่พบ (เพ่อื ระบุ วา่ ผ้ตู ายคือใคร) 2. การตรวจท่าทางของศพ เช่น นอนคว่�ำหรือ นอนหงาย, แขวนคอในท่ายนื หรือท่าน่ัง เป็นตน้ 3. การตรวจคราบเลือดในท่ีเกิดเหตุ ใช้บอกสาเหตุ การตายได้ เชน่ พบกองเลือดปริมาณมาก แสดงถึงตายจาก การเสียเลือด 4. การตรวจสงิ่ ของทสี่ มั พนั ธก์ บั ศพ ไดแ้ ก่ การตรวจพบ อาวธุ ในท่เี กิดเหตุ แพทยค์ วรระบชุ นดิ , ขนาด และต�ำแหน่ง ของวตั ถทุ พ่ี บวา่ สมั พนั ธก์ บั ศพอยา่ งไร และแพทยค์ วรดลู กั ษณะ บาดแผลของศพเทียบกบั อาวธุ ทพ่ี บในท่เี กดิ เหตุดว้ ย 5. การตรวจทเ่ี กดิ เหตเุ พอื่ หาขอ้ มลู เพมิ่ เตมิ (scene marker) เชน่ การโทรศพั ทค์ รงั้ สดุ ทา้ ย หรอื จ�ำนวนหนงั สอื พมิ พ์ ท่พี บหน้าบา้ น และข้อมูลเรื่องส่งิ แวดล้อมในท่เี กิดเหตุ เช่น อุณหภูมิในห้องท่ีเกิดเหตุ ส่ิงเหล่าน้ีมีความส�ำคัญในการ ให้ความเห็นเรื่องเวลาตายเม่ือพิจารณาร่วมกับการตรวจ postmortem change บทท่ี 3 การตรวจสถานทีเ่ กิดเหตุรว่ มกับเจา้ พนักงาน 23
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354
- 355
- 356
- 357
- 358
- 359
- 360
- 361
- 362
- 363
- 364
- 365
- 366
- 367
- 368
- 369
- 370
- 371
- 372
- 373
- 374
- 375
- 376
- 377
- 378
- 379
- 380
- 381
- 382
- 383
- 384
- 385
- 386
- 387
- 388
- 389
- 390
- 391
- 392
- 393
- 394
- 395
- 396
- 397
- 398
- 399
- 400
- 401
- 402
- 403
- 404
- 405
- 406
- 407
- 408
- 409
- 410
- 411
- 412
- 413
- 414
- 415
- 416
- 417
- 418
- 419
- 420
- 421
- 422
- 423
- 424
- 425
- 426
- 427
- 428
- 429
- 430
- 431
- 432
- 433
- 434
- 435
- 436
- 437
- 438
- 439
- 440
- 441
- 442